โนราเอกลักษณ์ชาวปักษ์ใต้

Page 1




สารบัญ โนรา 2

ความเป็นมาของโนรา

ของโนรา 6

การแสดงโนรา 14


เครื่องแต่งกายโนรา 26

บทสรุป 48

ความเชื่อ และพิธีกรรม 36 สารคดี

ลูกปัดโนรา เอกลักษณ์ทรงคุณค่า ภาคใต้ 52


1


โนรา โนรา หรือ มโนห์รา เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่สืบทอดกันมานานและนิยมกันอย่างแพร่หลายใน ภาคใต้ เป็นการละเล่นที่มีการร้อง การรำ� บางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางโอกาสมีบางส่วนแสดงตามคติ ความเชื่อที่เป็นพิธีกรรม โนรานั้นมีความเก่าแก่มาก ปรากฏตำ�นานเล่าขานกันหลายกระแส มีประเพณี ความเชื่อที่เกี่ยวข้องมากมาย ที่สำ�คัญคือ ประเพณี ความเชื่อที่เกี่ยวกับบูรพาจารย์โนราที่เรียกว่า “ครูต้น” และบรรพบุรุษที่เป็นโนราหรือนับถือวิญญาณครูโนราในชั้นหลัง ซึ่งรวมเรียกว่า “ครูหมอตายาย โนรา” มองในแง่ศิลปะ โนรามีองค์ประกอบและวิธีการเล่นทั้งดนตรี กระบวนรำ� กระบวนกลอนและการขับ ร้อง

2


กล่ า วได้ ว่ า โนราเป็ น มหรสพหรื อ ศิ ล ปะการรำ � ฟ้ อ นของชาว ภาคใต้โดยได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในจังหวัดต่างๆ  ทั้งภาคใต้ตอน บนและตอนกลาง นับตั้งแต่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา กระบี่ ตรัง พัทลุง และ สงขลา โดยเฉพาะจังหวัดพัทลุง และ ชุ ม ชนบริ เ วณลุ่ ม ทะเลสาบสงขลาที่ มี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ ประวั ติ ค วามเป็ น มาและตำ�นาน  รวมทั้งมีจำ�นวนคณะโนราที่มีชื่อเสียงอยู่เป็นจำ�นวนมาก                                 ในส่วนของการแสดงโนรานั้นกล่าวกันว่าก่อนที่โนราจะพัฒนามามีบทบาท เพื่อสร้างความบันเทิงแก่ชุมชน  โนราคงจะเป็นการแสดงสำ�หรับประกอบ พิธีกรรมสำ�คัญๆ  มาก่อน  นอกจากนี้พิธีกรรมและคตินิยมหลายอย่างที่ โนรากระทำ�หรือยึดถือ  ทำ�ให้คะเนได้ว่าต้องพัฒนามาจากการแสดงเพื่อ ประกอบพิธีกรรมสำ�คัญๆ  ก่อนที่จะปรับมาแสดงเพื่อความบันเทิงแก่ชุมชน มากขึ้ น   พิ ธี ก รรมและคติ นิ ย มที่ เ คยยึ ด มั่ น อยู่ ก็ นั บ วั น จะเปลี่ ย นรู ป และ สูญหายไป ด้วยอิทธิพลของศิลปะการแสดงรุ่นใหม่ ทำ�ให้บทบาทเดิมของ โนราเปลี่ยนไปเป็นบทบาทด้านสร้างความบันเทิงเพื่อความอยู่รอดมากขึ้น

3


4


5


ความเป็นมาของโนรา โนรามีความเก่าแก่ สืบทอดกันมายาวนาน จึงทำ�ให้ประวัติที่เล่าต่อๆ กันมาถูกปรุงแต่งตาม อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ความคิดและความเชื่อของแต่ละบุคคล จนกลายเป็นตำ�นานที่มีความผิดเพี้ยน กันไป เป็นหลายกระแสด้วยกัน กระแสที่ 1 ขุนอุปถัมภ์นรากร หรือโนราพุ่มเทวาเล่าไว้ว่า พระยาสายฟ้าฟาดเป็นกษัตริย์ครองเมืองๆ หนึ่ง มีชายาชื่อนางศรีมาลา มีธิดาชื่อ นวลทองสำ�ลี วันหนึ่งนางนวลทองสำ�ลีสุบินว่ามีธิดามาร่ายรำ�ให้ดู ท่ารำ�มี 12 ท่า มีดนตรีประโคม ได้แก่ กลอง ทับ โหม่ง ฉิ่ง ปี่ และแตระ นางให้ทำ�เครื่องดนตรีและหัดรำ�ตามที่สุบินเป็นที่ครึกครื้นในปราสาท

6


วั น หนึ่ ง นางอยากเสวยเกสรบั ว ในสระหน้ า วั ง   ครั้ ง นาง กำ�นัลเก็บมาถวายให้เสวยนางก็ทรงครรภ์แต่ยังคงเล่นรำ�อยู่ตาม ปกติ  วันหนึ่งพระยาสายฟ้าฟาดเสด็จมา ทอดพระเนตรการรำ� ของธิดา เห็นนางทรงครรภ์จึงซักไซ้เอาความจริง ได้ความว่าเหตุ เกิดจากเสวยเกสรบัว พระยาสายฟ้าฟาดไม่ทรงเชื่อ และทรงเห็น ว่านางทำ�อัปยศ จังรับสั่งให้เอานางไปลอยแพพร้อมด้วยสนมกำ�นัล 30 คน แพไปติดเกาะกะชัง นางจึงเอาเกาะนั้นเป็นที่อาศัย ต่อมาได้ ประสูติพระโอรส ทรงสอนให้โอรสรำ�โนราได้ชำ�นาญแล้วเล่าเรื่องแต่ หนหลังให้ฟัง ต่อมากุมารได้โดยสารเรือพ่อค้าไปเที่ยวรำ�โนรายังเมือง ของพระอัยกา  เรื่องเล่าลือถึงพระยาสายฟ้าฟาด  จึงทรงปลอม พระองค์ไปดูโนรา เห็นกุมารน้อยมีหน้าตาคล้ายพระธิดา  จึงทรง สอบถามจนได้ความจริงว่าเป็นพระราชนัดดา  จึงรับสั่งให้เข้าวัง และให้อำ�มาตย์ไปรับนางนวลทองสำ�ลีจากเกาะกระชัง  แต่นางไม่ ยอมกลับ พระยาสายฟ้าฟาดจึงกำ�ชับให้จับมัดขึ้นเรือพามา  ครั้น พอถึงปากน้ำ�  จะเข้าเมือง  ก็มีจระเข้ลอยมาขวางทางไว้  ลูกเรือ จึงต้องปราบจระเข้ ครั้นนางเข้าเมืองแล้ว พระยาสายฟ้าฟาดได้ ทรงจัดพิธีรับขวัญขึ้น และให้มีการรำ�โนราในงานนี้ โดยประทาน เครื่องต้นอันมี เทริด กำ�ไลแขน ปั้นเหน่ง สังวาลพาดเฉียง 2 ข้าง ปีกนกแอ่น หางหงส์ สนับเพลา ซึ่งเป็นเครื่องทรงของกษัตรย์ให้ เป็นเครื่องแต่งตัวของโนรา และพระราชาพระราชทานบรรดาศักดิ์ ให้แก่กุมารน้อยราชนัดดาเป็น ขุนศรีศรัทธา 7


กระแสที่ 2 โนราวัด จันทร์เรือง เล่าไว้ว่า ท้าวมัทศิลป์ นางกุญเกสี เจ้าเมืองปัญจา มอบราช สมบัติให้เจ้าสืบสาย ราชโอรสขึ้นครองแทน โดยแต่งตั้งให้เป็นพระยาสายฟ้าฟาด พระยาสายฟ้าฟาดมี ชายาชื่อ ศรีดอกไม้ มีธิดาชื่อนวลทองสำ�ลี เมื่อนางนวลทองสำ�ลีเจริญวัยขึ้น พระอินทร์คิดจะให้มีนักรำ� แบบใหม่ขึ้นในกุลชมพู จึงดลใจให้นางนวลทองสำ�ลีอยากกินเกสรบัว ขณะที่นางกินเกสรบัว พระอินทร์ ส่งเทพบุตรไปจุติในครรภ์ของนาง จากนั้นนางก็รักแต่ร้องรำ�สนุกสนาน พระยาสายฟ้าฟาดจึงสั่งเนรเทศ โดยให้จับลอยแพพร้อมด้วยพี่เลี้ยงไปเสียจากเมือง  พระยาหงส์ทองและพระยาเหมราช เห็นเช่นนั้น จึง วิตกว่าขนาดพระธิดาทำ�ผิดยังโดยลอยแพ ถ้าตนทำ�ผิดจะต้องโดยประหาร จึงหนีออกจาเมืองเสีย แพของนางนวลทองสำ�ลีลอยมาติดเกาะกระชัง นางคลอดบุตรชื่อว่า อจิตกุมาร เมื่ออติกุมารโต ขึ้นก็หัดรำ�ด้วยตนเอง และสามารถรำ�ทำ�แม่บทได้ครบ 12 ท่า ต่อมาข่าวการรำ�แบบใหม่นี้ได้แพร่ไปถึง เมืองปัญจา  เจ้าพระยาสายฟ้าฟาดให้คนไปรับมารำ�ให้ชาวเมืองดู  คณะของอจิตกุมารจึงมาถึงเมืองใน วันพุธตอนบ่าย  เมื่อเริ่มรำ� คนก็หลงใหล ฝ่ายนางนวลทองสำ�ลีได้เล่าความหลังให้กุมารฟัง อจิตกุมาร จึงหาทางพบกับเจ้าพระยาสายฟ้าฟาด เมื่อทูลถามว่า ที่ขับไล่นางนวลทองลำ�ลีไปนั้น  ชาวเมืองชอบใจ หรือไม่ เจ้าพระยาสายฟ้าฟาดตอบว่าไม่รู้ แต่น่าจะไม่พอใจ เพราะพระยาหงส์ทองและพระยาเหมราชหนี ไปด้วย อจิตกุมารถามว่า ถ้าพระยาทั้งสองกลับมาจะชุบเลี้ยงหรือไม่ เจ้าพระยาสายฟ้าฟาดตอบว่าจะชุบ เลี้ยงอีก อจิตกุมารจึงทำ�พิธีเชิญพระยาทั้งสองกลับมา โดยทำ�พิธีโรงครู ตั้งเครื่องสิบสอง และเชิญครูเก่า แก่ให้มาดูรำ� ถวายของเขา และเชิญมากินเครื่องบูชา เมื่อเชิญครูนั้น ได้เชิญพระยาทั้งหกซึ่งเป็นพี่เลี้ยง เจ้าพระยาสายฟ้าฟาดขึ้นกินเครื่องบูชาด้วย เมื่อทุกคนได้เห็นการรำ�ก็พอใจหลงใหลแต่เสียที่เครื่องแต่ง กายเป็นผ้าเก่า ๆ จึงหยิบผ้ายกที่จัดไว้เป็นเครื่องบูชาให้เปลี่ยนแทน  เจ้าพระยาสายฟ้าฟาดก็ได้เปลี่ยน เครื่องทรงและถอดมงกุฏให้เช่นกัน อจิตกุมารรำ�ถวายครูอยู่ 3 วัน 3 คืน พอถึงวันศุกร์จึงเชิญครูทั้งหมดให้กลับไปเสด็จพิธีพระยา สายฟ้าฟาด เปลี่ยนชื่อธิดาเพื่อสิ้นเคราะห์เป็นศรีมาลา ให้เปลี่ยนชื่อกุมารเป็นเทพสิงขร

8


9


กระแสที่ 3

เป็นตำ�นานละครชาตรีของกรมศิลปากร ได้ความว่า ท้าวทศวงค์ นางสุวรรณดารา ครอง กรุงศรีอยุธยามีพระธิดาชื่อนวลทองสำ�ลี ครั้นนางนวลทองสำ�ลีเจริญวัย เทพยาดาได้มาปฏิสนธิในครรภ์ โดยที่นางมิได้มีสวามี ความถึงท้าวทศวงศ์ จึงทรงให้โหรทำ�นายได้ความว่าชะตาบ้านเมืองจะบังเกิด นักเลงชาตรี ท้าวทศวงศ์เกรงจะอับอายแก่ชาวเมือง  จึงให้นางลอยแพไปเสีย  เทพยาดาบันดาลให้แพ ไปติดเกาะสีชังแล้วเนรมิตศาลาให้นางอยู่อาศัย เมื่อครรภ์ครบทศมาส ก็ประสูติพระโอรสเทพยดานำ�ดอก มณฑาสวรรค์มาชุบเป็นแม่นมชื่อ แม่ศรีมาลา แล้วชุบแม่เพียน แม่เภา เป็นพี่เลี้ยง ต่อมานางศรีมาลาและ พี่เลี้ยงพากุมารไปเที่ยวป่า ได้เห็นกินนรร่ายรำ�ในสระอโนตัวนทีก็จดนำ�ได้ เมื่อกุมารชันษาได้ 9 ปี เทพยาดาให้นามว่า พระเทพสิงขร แล้วเทพยาดาเอาศิลามาชุบเป็นพราน บุญพร้อมกับชุบหน้ากากพรานให้ด้วย  พรานบุญเล่นรำ�อยู่กับพระเทพสิงขรได้ขวบปีก็ชวนกันไปเที่ยว ในป่า เทพยาดาลงมาบอกท่ารำ�ให้ 12 ท่าทั้งเนรมิตทับให้ 2 ใบ ชื่อน้ำ�ตาตกกับนกเขาขัน เนรมิตกลอง ให้ใบหนึ่งชื่อ เภรีสุวรรโลก แล้วชุบขุนศรีศรัทธาขึ้นให้เป็นครูโนรา เมื่อเทพสิงขร และพรานบุณตื่นขึ้นเห็น ขุนศรีศรัทธา ทับ กลอง ก็ยินดี ชวนกันกลับศาลาที่พัก จากนั้นเทพยาดาเนรมิตเรือให้ลำ�หนึ่ง บุคคล ทั้งหมดจึงได้อาศัยเรือกลับอยุธยา เที่ยวเล่นรำ�จนลือกันทั่วว่า ชาตรีรำ�ดีนัก ท้าวทศวงศ์จึงรับสั้งให้เข้าเฝ้า ทอดพระเนตรเห็นนางนวลทองสำ�ลีก็ทรงจำ�ได้ตรัสถามความหนหลังแล้วโปรดปรานประทานเครื่องต้นให้ พระสิงขรใช้เล่นชาตรีด้วย

10


กระแสที่ 4

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ  ทรงอ้างถึงหลักฐานอันเป็นตำ�นานที่ ได้ไปจากนครศรีธรรมราช  ดังปรากฏในหนังสือตำ�นานละครอิเหนาว่าในคำ�ไหว้ครูของโนรามีคำ�กล่าว ถึงครูเดิมของโนราที่ชื่อขุนศรีศรัทธา อยู่ในกรุงศรีอยุธยา มีความผิดต้องราชทัณฑ์ ถูกลอยแพไปเสียจาก พระนคร แพขุนศรีศรัทธาลอยออกไปจากปากน้ำ�ไปติดอยู่เกาะสีชัง  พวกชาวเรือทะเลมาพบเข้า จึงรับไป ส่งขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราช หรือเมืองนคร ขุนศรีศรัทธาจึงได้เป็นครูฝึกโนราให้มีขึ้นที่เมืองนครเป็นเดิม มา ทั้งยังประทานความเห็นอีกว่า ขุนศรีศรัทธานี้เป็นตัวละครที่มีชื่อเสียงมากในกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะ เมื่อเล่นเรื่อง “นางมโนราห์” ครั้นถูกเนรเทศไปอยู่เมืองนคร ก็ได้หัดชาวบ้านเล่นแบบเก่า ชาวเมืองนครซึ่ง ชอบพูดห้วนสั้นโดยตัดคำ�ต้นทิ้ง จึงเรียกละครชนิดนี้ว่า “โนรา”

11


12


13


การแสดงโนรา คณะโนรา

เดิมแล้วคณะโนราเป็นผู้ชายล้วนและมีตัวแสดงสำ�คัญเพียง 3 ตัว คือ นายโรงโนรา 1 คน ตัวนาง 1 ตัว และตัวจำ�อวด 1 ตัว ต่อมาคณะโนราได้พัฒนามาจนมีอย่างน้อยคณะละ 14 คน ประกอบด้วย ผู้ แสดง 7-10 คน หัวหน้าคณะเรียกว่า “โนราใหญ่” หรือ “นายโรง” โนราคนอื่นๆ เป็นตัวรำ� เรียงว่า “นางรำ�” ตัวตลกเรียกว่า “พราน” มีตัวตลกหญิงเรียกว่า “ทาสี” ต่อมาเมื่อมีโนราหญิง ตัวแสดงเป็นทาสีมักเรียกว่า  “อีแตน” นอกจากนั้นคณะโนราจะมีนักดนตรี หรือ “ลูกคู่” ประมาณ 5-7 คน มีหมอทางไสยศาสตร์ เรียก ว่า “หมอกบโรง” เด็กๆ ที่มีอายุราว 10-15 ปี คอยช่วยเหลือปรนนิบัติในเรื่องต่างๆ เรียกว่า “ตาเสือ” และ บางคนยังช่วยทำ�หน้าที่หาบคอนเครื่องใช้โดยเฉพาะหีบที่ใส่เทริดโนราเรียกว่า “ซุม” จึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “คมคอนซุม”

14


โรงโนรา

โรงโนรายุคแรก เป็นโรงโนราแบบไม่ยกพื้น สร้างเป็นรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า มี 4 เสา ขนาดประมาณ 4x4 เมตร หลังคาทรงหน้าจั่วมุงจาก เปิดโล่งทั้งสี่ด้าน  ภายในโรงปู ด้วยเสื่อคล้าหรือเสื่อกระจูด และมีพนักนั่งรำ�ทำ�ด้วยไม้ไผ่ ตั้งอยู่ ระหว่างเสาทั้ง 2 ด้านใดด้านหนึ่ง ยกเว้นด้านตะวันออกซึ่งถือว่า เป็นทิศอัปมงคล โรงโนรายุคที่สอง เริ่มมีขึ้นในราว พ.ศ. 2422 มีลักษณะ สำ�คัญที่การต่อเติมออกจากจั่วด้านใดด้านหนึ่งโดยทำ�เป็นเพิง หมาแหงนออกมา  กั้นฝาอย่างมิดชิดเพื่อใช้เป็นที่แต่งตัวและ พักผ่อนของโนรา โรงโนรายุคที่ 3 มีลักษณะคล้ายกับโรงโนรายุคที่2 แต่ ยกพื้นสูงขึ้น ปูพื้นด้วยไม้กระดานแล้วใช้เสื่อกระจูดปู ขนาด กว้างยาวของโรงโนราเพิ่มขึ้น โรงโนรายุคปัจจุบัน  ยกพื้นสูงเหมือนในยุคที่สาม แต่ หลังคาเปลี่ยนมาเป็นทรงหมาแหงนตลอดและมุงหลังคาด้วย ผ้าใบ  ด้านหน้าโรงจะกว้างขึ้นกว่าเดิม  เพราะโนรามีเครื่อง ประกอบเยอะขึ้น

15


ส่วนโนราที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนจากรูปแบบเดิม คือโรงโนราเพื่อประกอบพิธีที่เรียกว่า “โนราโรงครู” นิยม ปลูกทางทิศตะวันออก หรือทิศใต้ของเรือนผู้จัดพิธี มีขนาด 9x11 ศอก มีเสา 6 เสา ไม่ยกพื้น หลังคาจั่วปลูกส่วนยาว ไปตามตะวัน  โดยต่อส่วนของโรงด้านตะวันออกไปอีกราว 3 ศอก ทำ�เป็นเพิงยกพื้นเสมออก สำ�หรับวางเครื่องเซ่น ไหว้และเครื่องบูชาครู เรียกว่า “สาล” หรือ “พาไล” ด้าน ทิศใต้ของโรงโนราต่อเป็นระเบียง  สำ�หรับเป็นที่พักและ แต่งตัวของโนรา แล้วผูกดาดเพดานท้องโรงโยงสายสิญจน์ จากผ้าดาดเพดานให้ปลายข้างหนึ่งห้อยลงกลางโรง ปลาย อีกข้างหนึ่งโยงไปยังหิ้งครูหมอบนเรือน  พื้นโรงปูด้วย “สาดคล้า” ปูทับด้วยเสื่อกระจูด วางหมอนผูกผ้าขาวทับ เรียกว่า “สาดหมอน” บนหมอนวางไม้แตระติดเทียนเรียก ว่า “เทียนกาดครู” โรงพิธีอาจจะตกแต่งด้วยผ้า กระดาษสี ธงรายและสิ่งของอื่นๆ อีกก็ได้

16


เครื่องดนตรี เครื่องดนตรีของโนราส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีให้จังหวะเทียบได้กับเครื่องดนตรีเบญจดุริยางค์ ตามตำ�ราอินเดีย

ทับ  เ ป็ น เ ค รื่ อ ง ด น ต รี ที่ สำ � คั ญ ที่ สุ ด   เพราะเป็ น ตั ว คุ ม จั ง หวะกำ � กั บ บทบาทลี ล า  ทำ�นองการรำ�และขับร้องกลอน  การเปลี่ยนกระบวนรำ�และร้อง กลอนทุ ก ครั้ ง ของโนรา  ทั บ ต้ อ งเปลี่ ย นตามทั น ท่ ว งที แ ละ กลมกลืน

โหม่ง  เป็นเครื่องดนตรีกำ�กับ จังหวะ มี 2 ลูก เสียงแหลมเรียก ว่า “หน่วยจี้” เสียงทุ่มเรียกว่า “หน่วยทุ่ม” มีส่วนสำ�คัญในการ ขับร้องกลอนให้ไพเราะ มีเสียง หวาน กังวาน อันเกิดจากความ กลมกลืนระหว่างเสียงของโนรา กับเสียงของโหม่ง

กลอง  เป็นเครื่องกำ�กับจังหวะ ที่ ค อยรำ � และขั ด จั ง หวะทั บ ที่ เรียกว่า  “ขัดลูกกลอง” ในอดีต กลองยั ง ใช้ ตี เ พื่ อ เป็ น สั ญ ญาณ บอกให้ รู้ มี โ นรามารำ �  หรื อ ตี เพื่ อ คารวะสิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ห รื อ สถานที่ที่ควรเคารพบูชา เวลาที่ เดินทางไปแสดงในที่ต่างๆ

17


ฉิ่ง มี 1 คู่ เป็นเครื่องกำ�กับ จั ง หวะ  ใช้ คู่ โ หม่ ง   โดยมุ ม หนึ่ งของรางโหม่งจะผูกฉิ่งฝา หนึ่งไว้ เวลาลูกคู่ตีโหม่ง จะใช้ มือข้างหนึ่งตีฉิ่งควบคู่ไปด้วย

ปี่

เป็ น เครื่ อ งเป่ า ชนิ ด เดียวของโนรา โดยมากจะใช้ ปี่ น อกหรื อ ปี่ ใ น  ปี่ ใ ช้ เ ป่ า เดิ น ทำ�นอง ทำ�ให้การบรรเลงดนตรี มีความไพเราะ

แตระ  หรือ แกระ หรือ กรับ มี ทั้ ง กรั บ อั น เดี ย วที่ ใ ช้ เ รี ย วไม้ หรือลวดเหล็กหลาย ๆ อันมัด เข้าด้วยกัน

18


โอกาสที่แสดง

การแสดงโนรามีแสดงทั่วไปในภาคใต้มาแต่โบราณ และเป็นที่นิยมกันมาก  จนบางคนอาจจะคลั่งไคล่ ฉะนั้นการ แสดงจึงมักแสดงเพื่อความบันเทิงทั่วๆ ไป หรือในงานกุศล เช่น ในโอกาสจัดงานฉลองต่างๆ เช่น งานฉลองอุโบสถ งาน ฝังลูกนิมิต ฯลฯ แต่ไม่นิยมแสดงในงานศพ และในงานสมรส  การจัดแสดงอาจแสดงคณะเดียวหรือโรงเดียว  ถ้าเป็นงาน ใหญ่ก็มักจะให้แข่งหรือประชันกัน ซึ่งทำ�กันมากเมื่อ 40 ปี ก่อน การรำ � อี ก แบบหนึ่ ง เรี ย กว่ า   “รำ � โรงครู ”   ซึ่ ง เป็ น พิธีกรรมของครูโนรา ที่มีรูปแบบเฉพาะ มีความเชื่อกันว่า  หากปฏิบัติผิดเพี้ยนไปจากที่ครูกำ�หนดไว้จะเกิดอันตรายแก่ผู้ จัด เช่น ลูกหลานหรือตัวเองเกิดเจ็บป่วย การแสดงโนราโรง ครูนี้มักแสดงเมื่อว่างงาน เช่น เดือน 6 เดือน 7 บรรพบุรุษซึ่ง เป็นโนราที่ล่วงลับไปแล้วอาจจะสั่งให้ลูกหลานรับโนราเล่น ปี ละครั้งหรือสองครั้งหรือแล้วแต่ตกลงกัน

19


20


วิธีบรรเลงและขนบธรรมเนียมปฏิบัติ

ในการแสดงตอนแรกก็มีลงโรง (โหมโรง) กาดโรงหรือกาดครู (เชิญครู) จนถึงท่ารำ�และแสดง เรื่องตามลำ�ดับ ลงโรงหรือโหมโรง คือ การประโคมเครื่องดนตรีเพื่อเรียกคนดู หรือเป็นการประกาศให้คนดู ทราบว่ากำ�ลังจะเริ่มแสดง กาดครูหรือเชิญครู โนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำ�คัญมาก ฉะนั้นก่อนที่จะรำ�ต้องไหว้ครูเชิญครูมา คุ้มรักษา หลายตอนที่การรำ�พัด สรรเสริญครู สรรเสริญคุณมารดา เชิญครูด้วยทำ�นองเพลงต่างๆ เริ่มออกรำ�หรือแสดงท่ารำ�  หัวหน้าคณะหรือโนราใหญ่ก็จะปล่อยลูกศิษย์รุ่นล่าสุดออกมา เรียงลำ�ดับรุ่นขึ้นมาเรื่อยๆ โดยนำ�ท่ารำ�ต่างๆ ไปจนถึงนายโรง หรือ “โนราใหญ่” ออกมารำ�เป็นคนสุดท้าย จับออกพราน  บทบาทและหน้าที่หลักของพรานนั้น  นอกจากแสดงบทตลกแล้ว  ก็คือเป็นตัว บอกเรื่องให้ผู้ดูทราบว่าโนราคณะนี้จะแสดงเรื่องอะไร  ดังนั้นผู้แสดงออกพรานจึงแสดงได้หลายบทแล้ว แต่เรื่องที่จะแสดง เช่น เป็นเจ้าเมือง ฤาษี เสนา หรือตัวแม่ แต่จะยกเว้นไม่แสดงเป็นตัวนาง การรำ�ทำ�บท สมัยก่อนเมื่อคณะโนราเดินทางไปแสดง ณ ที่ใด จะไปได้เพียง 2 วิธี คือ เดินอย่าง หนึ่ง และไปโดยเรืออย่างหนึ่ง ถ้าเดินไปพบธรรมชาติที่สวยงามก็มักจะจำ�มาชม ชมถี่ถ้วนว่ามีอะไรบ้าง สวยงามอย่างไร นอกจากชมธรรมชาติก็ยังชมสถานที่ การชมธรรมชาติเป็นวิธีการเดียวกับในวรรณคดี ไทยหลายๆ เรื่อง

21


ออๆ ๆ ๆ ๆ ๆ..... นั่งพี่เหอเข้ามานั่ง สีเอ๋ยสีโตทำ�ราโพ ปากน้ำ�เมืองตะกั่วป่า ข้างซ้ายเกาะหล้า ศักดิ์สิทธิ์ฤทธี เรือพายเรือแจว ช่องทางหว่างเขา ตรงกลางหว่างวาริน ทำ�พื้นเป็นชั้นเป็นช่วง ทางขึ้นทางลง ศิลางอกออกยั่ว

นั่งทำ�เป็นสี สีโต ราพา มีบรรพตาชายวารี ข้างขวาเกาะสาหมี ย่านวารีอยู่หว่างขา ไปตามแถวลำ�เนา มีสำ�เนาสานสินธุ์ ยังมีหินล้อมรอบ ดูเป็นห้องเกินหงส์ ทางลงสรงสาคร กลับเป็นหัวไกรสร

บทสีโต ชมปากน้ำ�เมืองตะกั่วป่า

22


23


24


25


เครื่องแต่งกายโนรา ตามตำ�นานโนรากล่าวว่าเครื่องแต่งตัวโนราเป็น เครื่องต้นที่พระยาสายฟ้าฟาดประทานให้ขุนศรีศรัทธา  ซึ่งเป็นครูต้นของโนรา แต่เดิมโนราไม่สวมเสื้อ เพราะใช้ ผู้ชายแสดง การแต่งตัวจะแต่งกันกลางโรงโนรา

26


เทริ ด   เป็นเครื่องประดับศรีษะของตัว นายโรง เทริดมีลักษณะคล้ายมงกุฏยอดเตี้ยมีกรอบ หน้า มีด้ายมงคลประกอบ

ทับทรวง หรือศับทรวง หรือตาบ สำ�หรับ สวมห้อยไว้ตรงทรวงอก  นิคมทำ�ด้วยแผ่นเงินเป็น รูปคล้ายขนมเปียกปูน สลักเป็นลวดลาย ใช้แขวน กับสายคอห้อยระดับอก ปีกนกแอ่น หรือปีกแหน่ง ทำ�ด้วยเงิน เป็ น รู ป คล้ า ยนกนางแอ่ น กำ � ลั ง กางและใช้ สำ � หรั บ โนราใหญ่สวมติดกับสังวาลอยู่ที่ระดับเหนือสะเอว

ปีก หรือ หางหงส์ นิยมทำ�ด้วยเขาควาย หรือโลหะเป็นรูปคล้ายปีกนก  1 คู่ ใช้สำ�หรับคาด ทับผ้านุ่งตรงระดับสะเอว ปล่อยปลายอีกยื่นไปด้าน หลังคล้ายหางกินรี

27


หน้าเพลา หรือเหน็บเพลา  เป็นกางเกง ขาทรงกระบอกประมาณครึ่งน่อง ใช้สำ�หรับสวม แล้วนุ่งผ้านุ่งทับ ผ้านุ่ง  เป็นผ้ายาวสีเหลี่ยมผืนผ้า ใช้นุ่ง ทับหน้าเพลาให้กระชับ คล้ายนุ่งโจงกระเบน  แต่รั้ง ชายผ้าด้านหลังให้ห้อยลง ซึ่งการนุ่งผ้าของโนราจะ รั้งสูงและรัดรูปแน่นกว่านุ่งโจงกระเบน

หน้าผ้า  ลักษณะเดียวกับชายไหว ถ้า เป็นของโนราใหญ่หรือนายโรงโนรามักทำ�ด้วย ผ้า แล้วร้อยลูกปัดทาบเป็นลวดลาย ที่ทำ�เป็นผ้า  3  ชายไหว ผ้าห้อยหน้า คือผ้าสีต่างๆ ที่คาดห้อย คล้ายชายแครง แต่จะมีมากกว่า โดยปกติจะใช้ผ้าที่ โปร่งบางสีสด แต่ละผืนจะเหน็บห้อยลงทางด้านซ้าย และด้านขวาของหน้าผ้า

28


เครื่องลูกปัด

เครื่องแต่งตัว  ที่ร้อยด้วยลูกปัดเป็นลวดลายต่างๆ  ใช้ตกแต่งลำ�ตัวท่อนบน ประกอบด้วย

สาบบ่ า   หรือบ่า  เป็นแผง สายพาด  หรือสังวาล ลู ก ปั ด รู ป สามเหลี่ ย ม  มี   2  ชิ้นสำ�หรับสวมทับบนบ่าขวาซ้าย

เป็น สร้อยลูกปัด 2 เส้น ใช้คล้อง เฉียงบ่า พาดตัดตรงอกและ ลางหลัง

สายคอ   เป็นสร้อยลูกปัด

ร้อยเป็นแถบ เมื่อคล้องคอแล้ว จะห้อยลงระดับอก

29


พานโครง หรื อ พานนอก  ปิ้งคอ  เป็นแผงลูกปัด  รูป ปิ้งโพก  เป็นแผงลูปัด  รูป หรือรอบอก  เป็นแผงลูกปัดรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้พันรอบอก

สามเหลี่ ย ม  2  ชิ้ น   สำ � หรั บ สวมห้อยคอด้านหน้า 1 ชิ้น สำ�หรับสมคอด้านหน้า 1 ชิ้น และด้านหลัง 1 ชิ้น

สี่เหลี่ยมคางหมู คาดทับผ้านุ่ง ด้ า นหลั ง ระดั บ สะเอว  (โนรา บางคณะไม่นิยมใส่)

30


กำ�ไลต้นแขนและปลายแขน

นิยมทำ� ด้วยเงิน  ใช้สวมรัดต้นแขนและปลายแขน  เพื่อขบ รัดกล้ามเนื้อให้ดูทะมัดทะแมงและเพิ่มความสง่างาม ยิ่งขึ้น กำ�ไล หรือ ไหฺมฺล กำ�ไลของโนรามักทำ� ด้ ว ยทองเหลื อ ง  ใช้ ส วมข้ อ มื อ และข้ อ เท้ า ข้ า งละ หลายๆ วง เมื่อเวลาเปลี่ยนท่ารำ�จะได้มีเสียงดังเป็น จังหวะเร้าใจยิ่งขึ้น เล็ บ   เป็นเครื่องสวมนิ้วมือให้โค้งงาม คล้ายเล็บกินนร กินรี ทำ�ด้วยทองเหลือง หรือเงิน นิยมสวมมือละ 4 นิ้ว (ยกเว้นหัวแม่มือ)

ปิเหนง หรือปั้นแหน่ง คือเข็มขัด ทำ� ด้วยเงิน  หรือทองเหลือง  สลักเป็นลวดลายอย่าง สวยงาม หรือทำ�เป็นถมเงิน

31


หัวพราน หรือหน้าพราน เป็นหน้ากาก สำ�หรับตัวตลกนิยมทำ�ด้วยไม้พูด ไม้รัก ไม้ยอ โดย ถือเป็นเคล็ดว่าทำ�ให้พูดเก่ง พูดตลก มีคนรัก มีคน ยอ หัวพรานทำ�เป็น 2 แบบ แบบหนึ่งเป็นหน้าชาย ทาหน้าสีแดง เรียกว่า “หัวพราน” หรือ “หัวพรานผู้” อีกแบบหนึ่งเป็นหน้าหญิงทาหน้าสีขาวหรือสีเนื้อ เรียกว่า “หัวพรานเหมีย” หรือ “หัวทาสี”

32


33


34


35


ความเชื่อและพิธีกรรม ความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ของโนราได้มีการปฏิบัติสืบต่อกันมา เป็นเวลาช้านาน  มีความศักดิ์ศิทธิ์  เข้มข้น  และปฏิบัติให้ผิดจากที่เคยเป็น มาไม่ได้  หากปฏิบัติผิด  หรือลบหลู่ จะเกิดภัยต่อตนเอง จากความไม่พอใจ ของบรรพบุรุษโนรา โดยเฉพาะความเชื่อที่เกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมยัง มีความเข้มข้น และส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้เป็นโนรา ผู้เป็นเชื้อสายโนรา ลูกหลานตายายโนรา คนทรงครูหมอโนรา รวมทั้งชาวบ้านโดยทั่วไปที่นับถือ ตายายโนราด้วย

36


ความเชื่อเรื่องครูหมอโนรา

ความเชื่อเรื่องครูหมอโนรา ครูหมอโนราคือบูรพาจารย์หรือครูต้นโนรา และบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ไปแล้ว บางแห่งเรียกครูหมอโนราว่า “ตายายโนรา” หรือ “ครูหมอตายาย” ครูหมอโนรามีหลายองค์ดัง ปรากฏในตำ�นานโนรา บทกาศครู และบทร้องกลอนของโนรา เช่น ตาหลวงคง จอมเฒ่าหน้าทอง แม่ศรี มาลา พระเทพสิงขร เป็นต้น แต่มีครูหมอโนราที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นบุคคลสำ�คัญที่เรียกว่า “พระราชครู” นั้นมี 12 องค์ แบ่งเป็นฝ่ายชาย 6 องค์ ฝ่ายหญิง 6 องค์ ได้แก่ พระเทพสิงขร ขุนศรีศรัทธา พระม่วง ทอง หม่อมรอง พระยาสายฟ้าฟาด พรานบุญ แม่ศรีมาลา แม่นวลทองสำ�ลี แม่แขนอ่อนฝ่ายซ้าย แม่ศรี ดอกไม้ แม่คิ้วเหิน คณะโนราและชาวบ้านทั่วไปต่างมีความเชื่อว่าครูหมอโนรามีความผูกพันกับลูกหลานที่มีเชื้อ สายโนรา หากลูกหลานเพิกเฉยไม่เคารพบูชา ครูหมอโนราอาจจะให้โทษหรือลงโทษด้วยวิธีต่างๆ เช่น ปวดหัว ปวดท้อง หรืออาการบวมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายหรือเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะ มีอาการ ผอมแห้งแรงน้อย รับประทานอาการไม่ได้ เรียกอาการเช่นนี้ว่า “ครูหมอย่าง” หรือ “ตายายย่าง” หากเกิด อาการเหล่านี้ ก็ต้องไปหาหมอทางไสยศาสตร์หรือผู้ทรงครูหมอโนราหรือครูโนรา มาทำ�พิธีตั้งหิ้งบูชา โดยครูโนราหรือโนราใหญ่ หรือคนทรงครูหมอโนรา แล้วกล่าวคำ�สัญญาหรือทำ�ทานบนที่ชาวบ้านภาคใต้ เรียกว่า “เหฺมฺรย” ไว้กับครูหมอโนรา เมื่อหายป่วยหรือปลอดภัยแล้ว  ก็จะแก้บนด้วยการเซ่นไหว้นอมรับนับถือครูหมอโนรา  หาก ครูหมอโนราต้องการให้ลูกหลานคนใดเป็นผู้สืบทอดการรำ�โนรา หรือเป็นร่างทรงก็อาจจะสำ�แดงให้เห็น หรือบันดาลให้มีอาการต่างๆ  เช่นเดียวกันจนกว่าลูกหลานจะรับรู้สาเหตุและยอมรับการเป็นโนราหรือ ร่างทรง ความเชื่อเรื่องครูหมอโนรามีส่วนสำ�คัญที่ทำ�ให้มีส่วนสำ�คัญที่ทำ�ให้มีการสืบทอดการรำ�โนรา อย่างไม่ขาดสาย และโนรายังคงมีบทบาทหน้าที่และอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนทั้งด้านความเชื่อ และพิธีกรรมจากอดีตจนถึงปัจจุบัน 37


ความเชื่อเรื่องการรักษาอาการป่วยไข้

ชาวบ้านและคณะโนราเชื่อกันว่าครูหมอโนราและพิธีกรรมในโนราโรงครูสามารถรักษาอาการ ป่วยไข้บางอย่างได้ ซึ่งอาการป่วยไข้นั้นมาจากสาเหตุ 2 ประการ คืออาการป่วยไข้อันเกิดจากความผิด ปกติของร่างกาย และโรคภัยต่างๆ การรักษาเบื้องต้นก็คือการบนบานขอความช่วยเหลือจากครูหมอ โนราที่ตนเคารพนับถือให้หายป่วยจากโรคนั้น ๆ แล้วจะแก้บนเมื่อหายเป็นปกติ อาการป่วยไข้บางอย่าง เช่น การเสียสติ ถูกคุณไสย ถูกวิญญาณผีร้ายเข้าสิงร่าง หรือ “ผีเข้า” ต้องพาไปรักษากับครูหมอโนรา โดยผ่านศิลปินโนราหรือครทรงครูหมอโนรา การรักษาจะใช้ทั้งการบน การรดน้ำ�มนต์ การต้มยา การ ปัดเป่าด้วยเวทมตร์คาถา

ความเชื่อเรื่องการแก้บน

เชื่อว่าสามารถบนบานขอความช่วยเหลือจากครูหมอโนราในเรื่องต่างๆ ได้แม้ชาวบ้านทั่วไปที่ ไม่ได้มีเชื้อสายโนราโดยตรงการบนหรือการแก้บนของชาวบ้านและคณะโนรามีอยู่ 2 ลักษณะ คือ การบน และการแก้บนขอ การที่ชาวบ้านหรือลูกหลานตายายโนราขอความช่วยเหลือครูหมอโนรา ในเรื่องต่างๆ เช่น บนให้หายจากอาการป่วยไข้ บนให้พ้นจากกการถูกเกณฑ์ทหาร บนให้ของหายได้คืน เป็นต้น แต่ครู หมอโนราจะไม่รับช่วยเหลือในเรื่องผิดศีลธรรม เช่น เรื่องชู้สาว การลักขโมย การมุ่งร้ายต่อผู้อื่น เป็นต้น

ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์

ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโนราได้แก่ความเชื่อเกี่ยวกับโชคลาง ความเชื่อเกี่ยวกับ เวทมนตร์คาถา โดยเฉพาะการรำ�โนราโรงครูผู้ที่เป็นโนราใหญ่หรือหัวหน้าคณะจะต้องมีเวทมนตร์คาถา เพื่อป้องกันเสนียดจัญไร ป้องกันวิญญาณร้ายที่จะเข้ามาในพิธีโนราโรงครู ป้องกันคุณไสยที่จะได้รับจาก บุคคลอื่น การประกอบพิธีกรรมบางอย่างในโนราโรงครูจะต้องใช้เวทมนตร์คาถาประกอบเช่น การเบิก โรง การผู้ขี้ผูกเหยี่ยว การแต่งตัว การสวมเทริด การแทงเข้ (จระเข้) การเหยียบแสน การตัดผมผีช่อ การ รำ�ถีบหัวควาย การชักเสียงให้ไพเราะ เป็นต้น

38


ความเชื่อเรื่องเหยียบเสน

เสนเป็ น เนื้ อ งอกนู น จากระดั บ ผิวหนังเป็นแผ่น  ถ้ามีสีแดง เรียกว่า “เสน ทอง” ถ้ามีสีดำ�เรียก “เสนดำ�”  ไม่ทำ�ให้เจ็บ ปวดหรือมีอันตราย แต่ถ้างอกบนร่างกาย เช่น บนใบหน้าจะดูน่าเกลียด  ถ้าเป็นเด็ก ๆ เสนจะโตขึ้นตามอายุ เชื่อกันว่าเสนเกิด จากการกระทำ�ของผีที่เรียกว่า “ผีโอกะ แชง” ซึ่งเป็นผู้ทำ�หน้าที่เฝ้าเสาโรงโนรา และส่วนหนึ่งเป็นเพราะการทำ�เครื่องหมาย ของครู ห มอโนราเพื่อ ต้อ งการเอาเด็กคน นั้นเป็นโนราโดยผ่านทางผีโอกะแชง เสน ไม่ ส ามารถรั ก ษาให้ ห ายได้ น อกจากให้ โนราทำ�พิธีเหยียบเสนให้ในวันเข้าโรงครู  ซึ่งมักจะทำ�กันก่อนรำ�คล้องหงส์

39


40


พิธีกรรมโนราโรงครู

โนราโรงครูหมายถึงโนราที่แสดงเพื่อประกอบพิธีเชิญครูหรือบรรพบุรุษของโนรามายังโรงพิธี เพื่อรับการเซ่นสังเวย เพื่อรับของแก้บน และเพื่อครอบเทริดหรือผูกผ้าแก่ผู้แสดงโนรารุ่นใหม่ ด้วยเหตุที่ ต้องทำ�การเชื่อเชิญครูมาเข้าทรงยังโรงพิธี จึงเรียกพิธีกรรมนี้อีกชื่อหนึ่งว่า “โนราลงครู” ครูในความหมายของโนรามี 2 ความหมาย ความหมายแรกหมายถึง ผู้สอนวิชาการร้องรำ�โนรา แก่ตน หรือแก่บรรพบุรุษของตน ความหมายที่สอง หมายถึงบรรพบุรุษหรือผู้ให้กำ�เนิดโนรา เช่น ขุนศรี ศรัทธา นางนวลทองสำ�ลี และแม่ศรีมาลา เป็นต้น บรรพบุรุษตามความหมายนี้เเรียกอีกอย่างว่า “ตายาย โนรา” โนราโรงครูจะมีมาแต่เมื่อไหรนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด  สันนิษฐานว่าคงจะมีมาพร้อมกับ การเกิดโนราของภาคใต้เช่นเดียวกับการไหว้ครูของศิลปะการละเล่น และการแสดงอื่นๆ วัตถุประสงค์ของโนราโรงครูคือ  เพื่อไหว้ครูหรือไว้ตายายโนรา  ด้วยเหตุที่ศิลปินมีครู ดันนั้นผู้ แสดงโนราก็ดี เทือกเถาเหล่ากอก็ดี จึงเป็นธรรมเนียมว่าจะต้องมีการไหว้ครู และแสดงกตเวทิตาคุณต่อ ครูของตนอยู่เสมอ  เพื่อไว้แก้บน บางครั้งศิลปินโนราภาคใต้ยังเห็นว่า ครูโนราของตนที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมีเหตุเพทภัยแก่ตนและครอบครัว  หรือญาติมิตร  ก็มักจะบนบาน ศาลกล่าวต่อบรรพบุรุษเหล่านั้น บางครั้งก็อาจจะบนบานให้ประสบโชคดี เมื่อได้รับความสำ�เร็จตามที่บนบานแล้ว ก็จะต้องแก้บนให้ลุล่วง ทางออกในกรณีนี้คือการรำ�โรง ครูนั้นเอง อีกอย่างหนึ่งคือ เพื่อครอบเทริด ธรรมเนียมอย่างหนึ่งของศิลปินไทยคือการครอบมือแก่ศิลปิน ใหม่ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมอันเป็นมงคลของชีวิตศิลปิน สำ�หรับโนราภาคใต้ ก็ปฏิบัติในทำ�นองเดียวกัน ซึ่ง เรียกว่า “พิธีครอบเทริด” หรือ “พิธีผูกผ้าใหญ่” หรือ “พิธีแต่งพอก” พิธีนี้จัดขึ้นเมื่อใด ก็จำ�เป็นจะต้องมี การรำ�โนราโรงครูทุกครั้ง

41


42


43


ระยะเวลาในการทำ�พิธีการโนราโรงครู นิยมทำ�กันในฤดูแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ใน แถบจังหวัดตรัง มักทำ�กันในเดือนยี่ถึงเดือนสาม แถบจังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลามักทำ�ใน เดือนหกถึงเดือนเก้า ทำ�กันเป็นเวลา 3 วัน เริ่มจากวันพุธ แล้วสิ้นสุดในวันศุกร์ โดยวันแรกคือวันพุธ จะมีพิธีกรรม 3 ขั้นตอน ประกอบด้วยขั้นตอนแรกคือ “การเข้าโรง” คือ การที่เจ้าภาพไปรับคณะโนราที่จะมาประกอบพิธีรำ�โนราโรงครูเข้ามาสู่พิธี การไปรับนั้น เจ้าภาพจะต้อง เอาหมากพลูไปรอรับที่หน้าบ้าน ถือกันว่าหากไม่เอาหมากพลูไปรับ ก็จะเข้าไปในบ้านของเจ้าภาพ และ เข้าโรงพิธีไม่ได้ ขั้นตอนที่สองคือ “การเบิกโรง” เป็นการเปิดโรงพิธีเพื่อเชื้อเชิญให้บรรดาครูโนราหรือ บรรพบุรุษได้เข้ามาชุมนุมในพิธีกรรมที่จัดขึ้น ขั้นตอนที่สาม “การลงโรง” คือการโหมโรงด้วยเครื่องดนตรี การลงโรงจะเริ่มขึ้นภายหลังการเบิกโรงเสร็จลงสักครูหนึ่ง  ในการนี้โนราจะให้ลูกคู่ตีเครื่องดนตรีโหมโรง เสียก่อน เมื่อโหมโรงได้สักระยะหนึ่ง นายโรงก็จะทำ�การบูชาครู จากนั้นก็จะออกรำ� บางเจ้าภาพจะให้เล่น เป็นเรื่อง เป็นการรำ�เพื่อความบันเทิงไม่ได้เกี่ยวข้องกับพิธีอีกแล้ว บางเจ้าภาพก็อาจให้แสดงไปถึงสอง ยามก็เลิก บางแห่งก็ให้แสดงจนกว่าจะสว่างมี เป็นอันเสร็จพิธีกรรมในวันแรก วันที่สอง คือวันพฤหัสบดี ถือเป็นพิธีใหญ่ เพราะวันพฤหัสบดีถือเป็นวันครู พิธีกรรมในวันนี้จะ แตกต่างกันอยู่สองลักษณะ คือ พิธีกรรมเพื่อแก้บนและพิธีกรรมเพื่อครอบเทริด

44


วันที่สาม คือวันศุกร์ ถือเป็นวันสุดท้าย พิธีกรรมในวันนี้จึงมีไม่มาก กิจกรรมแรกคือ “การส่งครู” เนื่องจากได้เชิญตายายหรือครูโนรามาเข้าทรง และรับเครื่องเซ่นสังเวยจากลูกหลาน หรือรับไหว้จาก ลูกหลานเรียบร้อยแล้ว ก็เห็นว่าเป็นเวลาสมควรที่จะต้องเชิญตายายกลับ การส่งครูเริ่มตั้งแต่ตอนสาย ของวันศุกร์ โนราจะลงโรงแล้วให้นางโนรา หรือโนราเด็กออกรำ�ก่อน เมื่อใกล้เวลาเที่ยงจึงออกรำ� จะมี การสร้างจุดเร้าใจด้วยการขับและเสียงดนตรีอยู่เสมอ การแสดงโนราใหญ่ก็เช่นเดียวกับวันก่อนๆ แต่จะ มีพิเศษคือ จะมีการแสดง “รำ�คล้องหงส์” และ “รำ�แทงเข้” ประกอบด้วย เมื่อแทงเข้จบลง ก็ทำ�การร้อง กลอนเพื่อส่งครู เป็นอันว่าบรรดาครูโนราหรือตายายโนราก็กลับกันหมด จากนั้นนายโรงโนราหรือโนรา ใหญ่จะทำ�พิธิการ “ตัดเหฺมฺรย” คือการตัดเครื่องบูชาและอุปกรณ์การเซ่นสรวงบางอย่างออก โดยใช้มีด 1 ด้าม เทียน 1 แท่ง และหมากพลู 1 คำ� โนราใหญ่จะรำ�ท่าตัดเหฺมฺรย พร้อมกับจับอุปกรณ์การตัดดังกล่าว ไว้ในมือขวา แล้วทำ�การตัดของเว่นสรวง ขณะเดียวกันบุคคลในโรงพิธีก็จะช่วยยกเครื่องเซ่นบูชาลงจาก ศาล มาวางไว้ใต้ศาลเป็นอันเสร็จพิธี

45


46


47


บทสรุป

โนรา  ในฐานะมหรสพหรือสถาบันนันทนาการมีบทบาทหน้าที่ในการให้ความบันเทิง  การ แสดงโนราเพื่อความบันเทิง มีในแทบทุกกิจกรรมของชีวิต โนราได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า เป็นนาฏศิลป์ที่เป็นตัวแทนของชาวภาคใต้ ซึ่งบอกถึงความ แข็งกราว บึกบึน ฉับไว และเด็ดขาด เป็น กิจกรรมทางวัฒนธรรมที่เก่าแก่  เป็นการสื่อสารที่ใช้ร่างกายเป็นเครื่องมือ  และใช้การเคลื่อไหวไป อย่างมีจังหวะ  และมีความสัมพันธ์ระหว่างความคิดและจิตวัญญาณของผู้แสดง โนราจึงเป็นการแสดง ที่มีความสำ�คัญต่อชีวิตของชาวบ้านเกือบทั้งชีวิต  เพราะศิลปินโนราใช้การแสดงโนราเป็นเครื่องแสดง ปฏิกิริยาตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และต่อปัญหาสังคม โนราจึงนับได้ว่าเป็นส่วนประกอบ หนึ่งของประวัติศาสตร์สังคม และด้วยเหตุที่โนรามีการปรับมาเปลี่ยนทั้งรูปแบบและเนื้อหาในการแสดง

48


ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมและความต้องการของผู้ชม  จึงทำ�ให้โนราดำ�รงบทบาทหน้าที่ด้านความบันเทิงตลอดมา ในขณะเดียวกัน บทบาทหน้าที่ในการประกอบพิธีกรรมก็มีส่วนอย่างสำ�คัญต่อการดำ�รงอยู่ และมีวิถีผูกพันอย่างลึกซึ้งกับชีวิตและสังคมภาคใต้ คือ “ประเพณีโนรา โรงครู” ซึ่งยังมีการจัดพิธีและแนวปฏิบัติรองรับอย่างเข้มข้น ชาวบ้านที่มี บรรพบุรุษรุ่นใดรุ่นหนึ่งเป็นโนราจะต้องสืบทอดการทำ�พิธี โนราโรงครู เหตุ ที่พิธีกรรมโนราโรงครูและการนับถือครูหมอตายายโนราเป็นวิธีการของชาว ภาคใต้ในการนับญาติ และการรวมกลุ่ม รวมทั้งมีส่วนการแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งของบุคคล และสังคมส่วนรวมที่เป็นปัญหาพื้นฐานทั้งด้านร่างกายและ จิตใจ  ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศ ปากท้อง ความขัดแย้ง การอบรม สั่งสอนสมาชิกใหม่ ความลี้ลับเหนือธรรมชาติ ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ การ ติดต่อสื่อสารกัน การแสดงออก เป็นต้น ด้วยเหตุปัจจัยดังกล่าวในท่ามกลาง กระแสการเคลื่อนเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมม  โนรายังคงดำ�รงอยู่ ควบคู่กับสังคมของภาคใต้มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

49


50


51


52


53


อ้างอิง วินิดา ชุมนุม. โนรา กาหลอ. อาศรมวัฒนธรรม วลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2554 ฉัตรชัย ศุกระกาญจน์. พิธีกรรมที่น่าศึกษาใน โนราโรงครู. เชิดชูเกียตริ พุ่มเทวา ขุนอุปถัมภ์นรากร. สำ�นักงานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. 2523 ขนิษฐา จุลบล. หลังม่านโนรา. สำ�นักงานกองทุน สนับสุนนการวิจัย. 2551 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ศิลปะและวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2538

54





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.