ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือน
อบจ.
สุราษฎร์ธานี วารสารเพื่อการประชาสัมพันธ์
พฤษภาคม 2559 ISSUU
5
2559
www.suratpao.go.th : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
จากสุราษฎร์ธานี เชื่อมสัมพันธ์อันดีต่อ ประเทศอินเดีย อ่านรายละเอียด
การฝึกอบรมสัมมนาอาสาสมัครประชาธิปไตย
อ่านรายละเอียด
น. 8
การส่งเสริมและพัฒนาชีวิตผู้สูงอายุ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
อ่านรายละเอียด
น. 7
วัน เปิดโลกใต้ทะเล เกาะเต่า ครั้งที่ 13 อ่านรายละเอียด
น. 14
ท้องถิ่นดีภาษีช่วย ท้องถิ่นสวยภาษีสร้าง ร่วมชำระภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากผู้ค้าน้ำมัน, ผู้ค้ายาสูบ, ผู้ประกอบการโรงแรม ตามกำหนดเพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่นสุราษฎร์ธานีอย่างยั่งยืนต่อไป
น. 4
2
ปลัด อบจ.ขอคุย/สารบัญ/คณะผูจ ้ ัดทำ
ปลัดอบจ. ขอคุย EDITOR’S NOTE
สารบัญ
สวัสดีครับพีน่ อ้ งชาวสุราษฎร์ธานี ที่เคารพรักทุกท่าน นับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2489 โดยที่ตามความใน รั ฐ ธรรมนู ญ แห่ ง ราชอาณาจั ก รไทย มาตรา ๙ การสืบราชสมบัติให้เป็นไป โดยนัยแห่งกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการ สืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ และประกอบด้ ว ยความเห็ น ชอบของ รัฐสภา ได้ลงมติ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ แสดงความเห็นชอบ เป็นเอกฉันท์ ในการที่จะอัญเชิญสมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมพิ ลอดุลยเดช ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ต่อไปตาม ความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๙ ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๓ / ตอนที่ ๓๙ / ฉบับพิเศษหน้า ๔/ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ มาจนถึงในวันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2559 ล่วงเวลาครบ 70 ปี ที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว เสด็ จ เถลิงถวัลยราชสมบัติ ครองราชย์สมบัติ ดูแลปวงประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ให้ผา่ นพ้นเรือ่ งราวต่างๆ มาอย่างมากมาย
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
และเนื่ อ งในโอกาสมหามงคล เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ครบ 70 ปี รั ฐ บ า ล ไ ด้ ก ำ ห น ด จั ด ง า น ฉ ล อ ง สิ ริ ราชสมบัตคิ รบ 70 ปี พร้อมกันนีไ้ ด้กำหนด ตราสัญลักษณ์ของการจัดงานขึน้ เพือ่ เทิดทูน สถาบั น พระมหากษั ต ริ ย์ อั น เป็ น ที่ รั ก ยิ่ ง ของปวงชนชาวไทย พร้อมทัง้ โครงการต่างๆ ทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับงานดังกล่าว และในโอกาสนี้ จึ ง ขอความร่ ว มมื อ จากส่ ว นราชการ ภาคเอกชน และประชาชนร่วมประดับธง ตราสัญลักษณ์ฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2560 ด้วย องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงนำเรือ่ งดังกล่าว มาบอกแก่ พี่ น้ อ งประชาชนทุ ก ท่ า นได้ รับทราบโดยทั่วกัน
นายเฉลิมพล บุรินทร์พงษ์
และในเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แต่งตั้ง นายเฉลิมพล บุรินทร์พงษ์ เป็น ผู้ อ ำนวยการกองแผนและงบประมาณ คนใหม่ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มศักยภาพ ของการบริหารงานองค์การบริหารส่วน จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ใ ห้ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ แก่พี่น้องประชาชนมากยิ่งขึ้น ในขณะเดี ย วกั น หลายเรื่ อ งราว หลายปั ญ หาของพี ่ น ้ อ งประชาชนทาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เองก็มิได้นิ่งนอนใจ ยังคงเร่งดำเนินการ แก้ไขสิง่ ต่างๆ เหล่านีใ้ ห้กบั พีน่ อ้ งประชาชน อย่างเต็มกำลัง เต็มความสามารถ เพื่อให้ พีน่ อ้ งประชาชนชาวเมืองคนดีสรุ าษฎร์ธานี ได้รับความสะดวกในเรื่องต่างๆ อย่าง เรียบร้อยต่อไป
สมศักดิ์ สิทธิเสรี ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Contents
2
ปลัด อบจ.ขอคุย คณะผู้จัดทำ
6
บอกเล่าเก้าสิบ
การประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
10
เรื่องเด่นในเล่ม
3
จากใจนายก อบจ.
7
บอกเล่าเก้าสิบ
11
กิจกรรมชาว อบจ.
4
เรื่องจากปก
8
เปิดสภา อบจ.สุราษฎร์ธานี
อาสาสมัครประชาธิปไตย
14
Cumming Soon
9
เรื่องเด่นในเล่ม
15
Special Report
จากสุราษฎร์ธานี เชื่อมสัมพันธ์อันดี ต่อประเทศอินเดีย
คณะผู้จัดทำ Positioning
การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ
การสร้างเครือข่ายสวัสดิการชุมชน
การพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว AEC
เปิดโลกทะเล
การพัฒนาเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้
คณะที่ปรึกษา : นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, นายก่อเกียรติ อินทรักษ์, นายดำรงค์ เทือกสุบรรณ, นายวิวัฒน์ สรรพา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, นายไชยกฤต เอื้อกฤดาธิการ, นายศิลายุทธ์ คงอุดหนุน, เลขานุการนายกฯ, นายพงศ์รัตน์ ปิ่นแก้ว, นายปรีชา เรืองศรี, นายสมเกียรติ วิรัตน์ ที่ปรึกษานายกฯ, บรรณาธิการ : นายสมศักดิ์ สิทธิเสรี ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, กองบรรณาธิการ : น.ส.อภิญญา ดำดี, น.ส.วรรณา ตะโฉ รองปลัดองค์การฯ, นายอภิรักษ์ ศักดา ผู้อำนวยการกองช่าง, นายชูชีพ ชูจิต ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, นางทิพย์วรรณ สุราษฎร์ ผูอ้ ำนวยการกองคลัง, นายเฉลิมพล บุรนิ ทร์พงษ์ ผูอ้ ำนวยการกองแผนและงบประมาณ, นายวิรชั นุน่ แก้ว ผูอ้ ำนวยการกองพัสดุและทรัพย์สนิ , นายสุปญ ั ญา ชูเพชร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมคุณภาพชีวิต, นายสุรัติ เพชรพริ้ม ผู้อำนวยการกองกิจการสภาฯ, นางยุพาพันธุ์ คงชนะ ผู้อำนวยการกองการท่องเที่ยวและกีฬา, นางวิมล บุญรอด ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่, นายสมหมาย นุ้ยแดง หัวหน้าสำนักปลัดฯ อำนวยการผลิต : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถ.ดอนนก ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 โทร : 077-272941 แฟกซ์ : 077-285110 Email : suratee@suratthani.go.th ออกแบบ/จัดพิมพ์โดย : บริษัท โรงพิมพ์ดีชัย จำกัด 1/7 ถ.พัฒนาการคูขวาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร : 075-322955, 085 - 8828838, 087 - 2802270 Email : Dchai@hotmail.co.th
จากใจนายก อบจ.
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
3
จากใจนายก อบจ.
เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนแห่งการต้อนรับภาคเรียนใหม่ เปิดการศึกษาใหม่ของนักเรียนทุกคน รวมถึงการปรับตัวของผู้ปกครองที่ต้องส่ง บุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาใหม่ด้วยเช่นกัน
สวั ส ดี ค รั บ พี่ น้ อ งชาวเมื อ งคนดี สุราษฎร์ธานีที่เคารพรักทุกท่าน องค์การ บริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี เ รามี สถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานีด้วยกัน 3 แห่ง ได้แก่ 1. โรงเรียนองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์) อำเภอดอนสัก 2. โรงเรียนองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2 (บ้านดอนเกลี้ยง) อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี 3. โรงเรียนองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 (บ้านนา) อำเภอ บ้านนาเดิม ซึ่งทั้ง 3 โรงเรียน มีทั้งบุคลากร ทางการศึกษา นักเรียน เจ้าหน้าที่ต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 2,000 คน องค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ให้การสนับสนุน ในเรื่องงบประมาณทั้งในเรื่องการพัฒนา อาคารสถานที่ของสถานศึกษา พัฒนา บุคลากร พัฒนาหลักสูตร รวมถึงพัฒนา ผูเ้ รียน ให้มคี ณ ุ ภาพและสัมฤทธิผ์ ลทางการ ศึกษาอย่างสูงสุด รวมถึงการจัดหาทุน การศึกษาจากผูท้ ป่ี ระสงค์ชว่ ยเหลือนักเรียน ให้ มี ทุ น ในการศึ ก ษาเล่ า เรี ย นอี ก ด้ ว ย
ที่สำคัญครู อาจารย์ของโรงเรียนองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็น กลไกสำคัญที่ช่วยเสริมความเข้มแข็งให้ กั บ โรงเรี ย นองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี และหากครู อาจารย์ของ โรงเรียนประสบปัญหา องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีเราต้องเข้าช่วยเหลือ เพราะเราคื อ ครอบครั ว องค์ ก ารบริ ห าร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ครอบครัวเดียวกัน อ ย่ า ง ก ร ณี ข อ ง ค รู แ ว ว ว ดี แก้วนาเล็ง หรือ ครูหนิง อาจารย์โรงเรียน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์) อำเภอดอนสัก ทีน่ อ้ งหนึง่ บุ ต รชายคนเดี ย วประสบอุ บั ติ เ หตุ ที่ จ.สงขลา ทำให้ ไ ม่ ส ามารถช่ ว ยเหลื อ ตัวเองได้ ผมได้ประสานกับทางเทศบาล นครสุราษฎร์ธานีเพือ่ ขอรับเตียงในโครงการ 1,000 เตียงที่บ้านของทางเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานีมาช่วยบรรเทาเบื้องต้นก่อน อีกทัง้ ประสาน อสม.ของเทศบาลฯ มาช่วย ดูแลในยามจำเป็น เพราะเมื่อถึงคราว เปิดภาคเรียน ครูหนิงก็จะต้องไปทำหน้าที่ ของแม่พิมพ์ของชาติ ไปสอนหนังสือแก่ บุตรหลานของพวกเรา ณ โรงเรียนองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสัก
ผดุงวิทย์) อำเภอดอนสัก แล้วใครจะช่วย ดู แ ลน้ อ งหนึ่ ง ในยามที่ ค รู ห นิ ง ไม่ อ ยู่ เป็นการบ้านทีพ่ วกเราต้องช่วยกันคิดต่อไป เหตุ ก ารณ์ แ บบนี้ ไ ม่ มี ใ ครอยาก ให้เกิดขึ้นกับตนเอง คนใกล้ชิด เพื่อนสนิท หรือคนข้างกาย เพราะหากเกิดขึ้นแล้ว เราเองมิสามารถรู้ได้เลยว่าจะดำเนินชีวิต อย่างไรต่อไป ผมเองได้เป็นตัวแทนชาวองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เข้าเยี่ยม และให้กำลังใจน้องหนึ่ง และมอบเงิน ช่วยเหลือให้แก่ครูหนิง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ที่ผ ่านมา แต่ก ็ ย ั ง ไม่ เพียงพอกับค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ผูท้ จ่ี ะประสงค์ชว่ ยเหลือน้องหนึง่ สามารถสมทบทุนได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาพุนพิน เลขบัญชี 8080299137 น.ส.แวววดี แก้วนาเล็ง สิ่ ง ที่ วั น นี้ พ วกเราชาวองค์ ก าร บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้มอบให้ อาจเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยที่เราช่วยเหลือได้ แต่หากกำลังใจที่พวกเราส่งมอบให้ไปนั้น คือ สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า เพราะเราคือ ครอบครั ว องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี ทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
4
เรื่องจากปก
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
จากสุราษฎร์ธานี
เชือ่ มสัมพันธ์อนั ดีตอ่
ประเทศอินเดีย
สุราษฎร์ธานี ประเทศไทยสานต่อการเยือน ของนักธุรกิจ และผู้แทนการค้าอินเดีย ที่เดินทางไปร่วมงาน เซาเทิร์น อินเตอร์ เนชั่นแนลเทรด เอ็กซ์โป (Southern International Trade Expo) ณ จังหวัด สุราษฎร์ธานี และได้ลงนามบันทึกความ เข้าใจระหว่างหอการค้าเมืองสุรัฐ และ หอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา สุ ร าษฎร์ ธ านี เ ป็ น จั ง หวั ด ที่ เ ป็ น ศูนย์กลางเชื่อมโยง กระจายสินค้าไปทั่ว ภูมิภาคของประเทศไทย มีความพร้อม เชิงยุทธศาสตร์ สามารถเชื่อมโยงเมืองใน เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2559 นายวงศศิริ พรหมชนะ ผูว้ า่ ราชการจังหวัด สุราษฎร์ธานี นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายก องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุ ร าษร์ ธ านี นายไชยกฤต เอื้อกฤดาธิการ เลขานุการ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษร์ธานี นายสุรัติ เพชรพริ้ม ผู้อำนวยการกอง กิจการสภา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้ประกอบการท่องเที่ยว การค้า จำนวน 50 คน เดินทางไปยังเมืองมุมไบ รัฐมหาราชตะ สาธารณรัฐอินเดีย เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริม การท่องเทีย่ ว การค้า การลงทุน Suratthani gateway of trade and tourism to thailand ณ ห้องอิมพีเรียล ฮอลล์
โรงแรมเซนท์ รีจิส เมืองมุมไบ โดยเวลา 14.00 น. รองกงศุลใหญ่ ณ นครมุมไบ นางสาวสิรินทร์ สุรทิณฑ์ กล่าวต้อนรับ และนายวงศศิริ วงศ์ชนะ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวเปิด งานสร้างความเชื่อมั่น ศักยภาพทางการ ท่องเที่ยว การค้า การลงทุน แก่ค ณะ ผูป้ ระกอบการท่องเทีย่ ว การค้า การลงทุน ผู้บริหารระดับสูงและแขกผู้มีเกียรติซึ่งมา ร่วมงานกว่า 100 ชีวิต กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อ เสริ ม สร้ า งความสั ม พั น ธ์ ท างการค้ า วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ระหว่าง เมืองมุมไบ สาธารณรัฐอินเดีย และจังหวัด
เรื่องจากปก
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
ต่างประเทศด้านตะวันตกของไทย เช่น อินเดีย เข้าสู่ตลาดอาเซียน และเป็นแหล่ง ผลิตพืชเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อาหารทะเล สินค้าสุขภาพความงาม นอกจากนี้ยังมี แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า หมู่เกาะ อ่างทอง ขณะทีม่ มุ ไบเป็นเมืองท่าศูนย์กลาง การค้า การท่องเที่ยวที่สำคัญของอินเดีย ทำให้เมืองทั้งสองสามารถเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การขนส่งสินค้าระหว่างภูมภิ าค อาเซียนและเอเชียใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาคธุรกิจท่องเที่ยว การเจรจาการค้าของ ภาคธุรกิจ และนิทรรศการ จะเป็นช่องทาง เสริมสร้างโอกาสทางการค้า การลงทุน ตลอดจนความร่วมมือของทั้งสองเมืองให้ เป็นรูปธรรมมากขึ้น ภายในสถานที่จัดงานยังจัดให้มี การแสดงนิทรรศการแสดงศักยภาพของ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้งบริการท่องเที่ยว
ระดับโลก ความพร้อมรองรับนักท่องเทีย่ ว ชาวอินเดีย และจัดการแต่งงานทีเ่ กาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า อุทยานแห่งชาติเขาสก เขื่อนรัชชประภาฯ สินค้าทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก ยางพารา สินค้า เพือ่ สุขภาพ ความงาม สมุนไพร ผลไม้อบแห้ง อาหารทะเลแปรรูป นิทรรศการส่งเสริม วัฒนธรรม เช่น ประเพณีชกั พระ ทอดผ้าป่า การแสดงมวยไทยไชยา ซึ่งเป็นศิลปะการ ต่อสู้ที่มีชื่อเสียงเป็นเอกลัษณ์ จากนั้นได้จัดให้มีการเจรจาธุรกิจ (Business matching) ระหว่างผูป้ ระกอบการ ท่องเที่ยว และการค้า ระหว่างสุราษฎร์ธานี และเมืองมุมไบ การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากนักธุรกิจ ผู้ร่วมงาน ตลอดจนสื่อมวลชนเป็นอันมาก วันที่ 21 เมษายน 2559 คณะจาก จังหวัดสุราษฎร์ธานี นำโดยผู้ว่าราชการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เดินทางไปยังเมือง สุรัฐ รัฐคุชราชใต้ สาธารณรัฐอินเดีย เพือ่ เชือ่ มความสัมพันธ์ดา้ นสังคม วัฒนธรรม
และเศรษฐกิจ มีกิจกรรมส่งเสริมการ ท่องเที่ยว การค้า การลงทุน ภายใต้หัวข้อ Suratthani gateway of trade and tourism to thailand ในภาคบ่ายเป็น การพบปะระหว่ า งผู้ ว่ า ราชการจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี แ ละนายกเทศมนตรี เ มื อ ง สุรัฐ Mrs.Asmitaben Prafulbhai Shiroya และคณะ ซึ่งได้รับการต้อนรับ ด้วยบรรยากาศแห่งมิตรไมตรีจิตอันดียิ่ง ส่วนกิจกรรมในภาคค่ำ ณ โรงแรม Taj Gateway เป็นการแสดงนิทรรศการ ศักยภาพของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่สำคัญ เช่น ยางพารา ผลิตภัณฑ์จากยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ความงาม สินค้า SME และโอทอป ที่มี ชื่อเสียงของจังหวัด นิทรรศการแหล่ง ท่องเที่ยวทางทะเลที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า หมูเ่ กาะ อ่างทอง รวมทั้งการแสดงแลกเปลี่ยนทาง วัฒนธรรม ไทย - อินเดีย ได้รับความสนใจ
5
จากผูบ้ ริหาร - หอการค้าเมืองสุรฐั ตลอดจน แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานเป็นอย่างมาก เมืองสุรฐั เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ที่สำคัญของรัฐคุชราชใต้ และเป็นเมืองที่มี ความสั ม พั น ธ์ ใ กล้ ชิ ด ทางประวั ติ ศ าสตร์ กับสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย โดยพระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๖ พระราชทานนาม “สุราษฎร์ธานี” สอดคล้อง กับชื่อเมืองสุรัฐ ประเทศอินเดีย และยัง ทรงพระราชทานนาม “แม่นำ้ ตาปี” ซึง่ เป็น แม่น้ำสายหลักประจำเมืองตามชื่อแม่น้ำ “ตาปติ” ของอินเดีย และในครั้งนี้ยังมีการสานต่อจาก การเยือนของนักธุรกิจ ผู้แทนการค้า และ ผู้บริหารเมืองสุรัฐ ที่เดินทางมาร่วมงาน เซาเทิรน์ อินเตอร์เนชัน่ แนล เทรด เอ็กซโป ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตลอดจนการลงนาม บันทึกความเข้าใจ ระหว่างหอการค้าเมือง สุ รั ฐ และหอการค้ า จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 ณ เมือง มุมไบ อีกด้วย กิจกรรมในวันนี้จะเป็นการ ขยายช่องทาง ในการเจรจาหารือทางธุรกิจ เสริมสร้างโอกาสทางการค้า การลงทุน ตลอดจนความร่ ว มมื อ ของทั้ ง สองเมื อ ง ให้เป็นรูปธรรมต่อไป
6
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
บอกเล่าเก้าสิบ
การประกันคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน พระราชบั ญ ญั ติ แ ห่ ง การศึ ก ษา แห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ.2549 หมวดที่ 6 มาตรฐาน และการประกันคุณภาพการศึกษามาตรา 47 จัดให้มรี ะบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่ อ พั ฒ นาคุ ณ ภาพและมาตรฐานการ ศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน การศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วยระบบ การประกันคุณภาพภายใน และระบบ ป้องกันคุณภาพภายนอก ส่วนระบบ หลักเกณฑ์ และวิธกี ารประกันคุณภาพการ ศึกษา พ.ศ.2543 ซึ่งองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จัดการศึกษาให้ สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และในส่วน การประกันคุณภาพการศึกษาทั้งในระบบ ปฐมวัย และขั้นพื้นฐาน กรมส่งเสริมการ ปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีการปรับปรุง เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และมาตรฐานการศึ ก ษาของสำนั ก งาน รับรองมาตรฐานและการประกันคุณภาพ การศึกษา (สมศ : องค์การมหาชน) ดังนั้น เพื่อให้การจัดการศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้องกับ พระราชบั ญ ญั ติ ก ารศึ ก ษาแห่ ง ชาติ กฎกระทรวงศึกษาธิการ และการประเมิน ภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน
และการประกันคุณภาพการศึกษา องค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จดั ทำ โครงการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาของ สถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้น เมือ่ วันศุกร์ ที่ 29 เมษายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิด การอบรมเชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารการประกั น คุ ณ ภาพการศึ ก ษาระดั บ การศึ ก ษาขั้ น พื้นฐาน ณ ห้องแก้วสมุย คอนเวนชั่น 4 โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท โดยมีวตั ถุประสงค์ เพื่ อ ให้ ค รู แ ละบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา ทุกคน มีความรู้ ความเข้าใจ เครื่องมือ
การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ได้ปฏิบัติการจัดการประเมินการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษาของตน และได้ นำเครื่องมือประเมินคุณภาพภายในสถาน ศึ ก ษาไปประเมิ น ให้ ส อดคล้ อ งกั บ การ ประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งภายในการ จัดการอบรมยังได้รับเกียรติจากวิทยากร คือ คุณสากล ขวัญทอง ข้าราชการบำนาญ และคุณอมรพรรณ พานแก้ว ศึกษานิเทศก์ สังกัดเทศบาลเมืองท่าข้าม ซึ่งสองท่านนี้ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เรื่องการประกัน คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นอย่างดี มาเป็นวิทยากรในครั้งนี้
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
บอกเล่าเก้าสิบ
7
การส่งเสริมและพัฒนาชีวติ ผูส้ งู อายุ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ระบบบริ ก ารสุ ข ภาพให้ ค วามสำคั ญ กั บ ปัญหาของผู้สูงอายุ โดยมีกลยุทธ์หลัก คือ ให้ผู้สูงอายุสามารถดูแลตนเอง ปรับตัวให้ พึ่งตนเองและอยู่อย่างมีคุณค่า ศักดิ์ศรี ให้ยาวนานมากที่สุด การจั ด ตั้ ง ชมรมผู้ สู ง อายุ แ ละ หน่วยบริการเพื่อให้การดูแลและช่วยเหลือ ผู้ สู ง อายุ ม าเป็ น เวลายาวนานมากกว่ า 100 ปี โดยความร่วมมือกันระหว่างแกนนำ ผู้ สู ง อายุ ใ นชุ ม ชนและบุ ค ลากรด้ า น สุขภาพผูร้ ว่ มรับผิดชอบดูแล เพือ่ เสริมสร้าง สุขภาพและคุณภาพชีวิต โดยส่งเสริม ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกีฬา นันทนาการ การออกกำลังกาย บริการตรวจสุขภาพ ฟื้นฟูสมรรถภาพ การส่งเสริมการป้องกัน และดูแลสุขภาพตนเอง การดูแลจาก คลินิกพิเศษรวมทั้งการจัดตั้งหรือพัฒนา เครือข่ายในการดูแลผู้สูงอายุ ด้ ว ยพระราชบั ญ ญั ติ ผู้ สู ง อายุ พ.ศ.2546 มีสาระสำคัญในการให้ความ คุ้มครองส่งเสริมและสนับสนุนให้ผ้สู ูงอายุ ได้ รั บ สิ ท ธิ ป ระโยชน์ ค รอบคลุ ม ทุ ก ด้ า น ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจากผู้ สู ง อายุ นั้ น ถื อ เป็ น บุ ค คล ที่มีบทบาทสำคัญทั้งด้านครอบครัว สังคม และประเทศชาติ ที่นับวันมีความสำคัญ มากยิ่งขึ้น เนื่องด้วยจำนวนผู้สูงอายุกำลัง เพิ่มสัดส่วนขึ้นอย่างรวดเร็ว สังคมจึงต้อง ให้ความสนใจต่อประชากรผู้สูงอายุอย่าง จริงจังขึ้น เพราะเป็นพลังที่อาจนำมาซึ่ง การสร้ า งสรรค์ ป ระโยชน์ ใ ห้ แ ก่ สั ง คม จากความรู้สึก ความชำนาญที่สั่งสมและ หลากหลายหาไม่ ไ ด้ ใ นประชากรกลุ่ ม อายุอื่นๆ ดังพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ตรัสไว้ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา “ผู้สูงวัยที่เกษียณอายุราชการแล้ว ยังมี กำลังกาย กำลังความคิดและความสามารถ ทีจ่ ะช่วยชาติบา้ นเมือง” แต่ดว้ ยสภาพสังคม ปัจจุบนั ทีเ่ ปลีย่ นจากสังคมเกษตรเป็นสังคม อุตสาหกรรม ทำให้บทบาทผู้สูงอายุไทย ลดน้อยลงมาก การอยู่ในสภาวะการไร้ บทบาท อาจเป็นด้วยเกษียณอายุ การเจ็บป่วย เรื้อรัง หรือการถูกทอดทิ้ง ทำให้จิตใจของ ผู้สูงอายุเกิดความเครียด สับสน เสียความ เชื่อมั่น และความภาคภูมิใจในตนเอง เป็ น สาเหตุ ท ำให้ เ กิ ด ปั ญ หาสุ ข ภาพจิ ต ตามมา พร้อมกับความเสื่อมของร่างกาย ตามวัย จากสภาพปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้
ดังนัน้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานีได้เล็งเห็นและให้ความสำคัญ กับผู้สูงอายุ จึงจัดโครงการส่งเสริมและ พัฒนาชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเมื่อ วันที่ 12 พฤษภาคม 2559 นายก่อเกียรติ อินทรักษ์ รองนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธาน เปิดโครงการ ณ โรงเรียนมัธยมเปี่ยมรัก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยการ จัดการส่งเสริมและพัฒนาชีวิตผู้สูงอายุใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์ เพื่ อ พั ฒ นาศั ก ยภาพชมรมผู้ สู ง อายุ ห รื อ องค์ ก รผู้ สู ง อายุ ใ นจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสพบปะสังสรรค์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูแลสุขภาพ และให้ ชมรมผู้ สู ง อายุ มี ก ารแลกเปลี่ ย นเรี ย นรู้ เสริมสร้างการมีส่วนร่วม เกิดความรักและ สามัคคีกัน
8
เปิดสภา อบจ.สุราษฎร์ธานี
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
การฝึกอบรมสัมมนา อาสาสมัครประชาธิปไตยเชิงรุก อาสาสมัครสาธาณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. เกิดขึ้นจากแนวคิดที่จะให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ตลอดจนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานพัฒนา สาธารณสุข จึงได้นำเอาการสาธารณสุขมูลฐานมาเป็นกลวิธีหลักในการพัฒนา อสม. นั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะในการดูแลสุขภาพ ของตนเอง ครอบครัว และชุมชน บทบาทหน้าที่ของ อสม. มีบทบาทในการเป็นผู้นำการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน เป็นผู้นำการดำเนินงานพัฒนาสุขภาพอนามัยและคุณภาพประชาชนในหมู่บ้านและชุมชน เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชน และมี หน้าที่แก้ข่าวร้าย กระจายข่าวดี ชี้บริการประสานงานสาธารณสุข บำบัดทุกข์ประชาชน ดำรงตนเป็นตัวอย่างที่ดี นอกจากนั้น อสม. ยังได้กระจายอยู่ทุกพื้นที่ในหมู่บ้าน ในตำบล ในอำเภอของทุกจังหวัดในประเทศไทย
ด้วยบทบาท ของ อสม. ซึง่ ต้องดำรงตนเป็นแบบ อย่างที่ดีในชุมชน และได้กระจายอยู่ทุกพื้นที่ของจังหวัด สุราษฎร์ธานี ประกอบกับการปกครองในระบบประชาธิปไตย คือ การปกครองซึ่งมุ่งเน้นในการให้ความสำคัญของ ภาคประชาชนเป็นหลัก ภาคประชาชนต้องเข้าใจถึง สาระสำคัญของประชาธิปไตย ว่าประชาชนมีสิทธิหน้าที่ อยูอ่ ย่างไร การปกป้องคุม้ ครองสิทธิประโยชน์ของตนและ ชุมชนเป็นอย่างไร และที่สำคัญคือการสร้างความเข้มแข็ง ของการเมืองของภาคประชาชน ให้มีส่วนร่วมตามหลัก ประชาธิปไตย ดั้งนั้นจึงเห็นควรส่งเสริมการสร้างศักยภาพให้ อสม.ทำหน้าทีบ่ ทบาทหนึง่ ในฐานะอาสาสมัครประชาธิปไตย
เชิงรุก เพื่อให้ อสม. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผล ในชุมชนในโอกาสต่อไป ดังนั้นองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึ ง ได้ จั ด โครงการการฝึ ก อบรมสั ม มนาอาสาสมั ค ร ประชาธิปไตยเชิงรุก เพื่อสร้างศักยภาพในบทบาท ประชาธิปไตยให้กับ อสม. เพื่อให้ อสม.นำองค์ความรู้ ด้านประชาธิปไตยไปขยายในชุมชน และดำรงตนเป็น แบบอย่างที่ดีตามวิถีประชาธิปไตย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดและบรรยายพิเศษในหัวข้อ เรื่อง “นโยบายองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับการมี
ส่วนร่วมพัฒนาท้องถิน่ ” การอบรมอาสาสมัครประชาธิปไตย เชิงรุก ประกอบด้ ว ยอาสาสมั ค รจาก 3 อำเภอ ได้ แ ก่ อำเภอเมื อ ง อำเภอกาญจนดิ ษฐ์ และอำเภอพุ น พิ น เข้าร่วมอบรมกว่า 150 คน โดยได้รับเกียรติจาก นายศักดิ์โกศล ถาวรพร รองประธานศูนย์พัฒนาการเมือง ภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายประวีณ จุลภักดี ประธานศูนย์พัฒนาการเมืองภาค พลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ นางสาวกรรณิการ์ แพแก้ว จากศูนย์พัฒนาการเมืองภาค พลเมือง สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดสุราษฎร์ธานี มาเป็น วิทยากรบรรยายให้ แ ก่ ผู ้ เข้ า อบรม ณ ห้ อ งแก้ ว สมุ ย คอนเวนชั่น 1 โรงแรมแก้วสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
เรื่องเด่น ในเล่ม
9
การสร้างเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สื บ เนื่ อ งจากที่ ส ถาบั น พั ฒ นา องค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวง พั ฒ นาสั ง คมและความมั่ น คงของมนุ ษ ย์ มอบหมายให้ จั ง หวั ด ดำเนิ น โครงการ สนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชน และ จั ด สรรงบประมาณในการดำเนิ น การ ในการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชน ภายใต้ ก ล ไ ก ข อ ง ค ณ ะ ก ร ร ม ส นั บ ส นุ น ก า ร ขับเคลือ่ นสวัสดิการชุมชนจังหวัด ซึง่ จังหวัด สุ ร าษฎร์ ธ านี ด ำเนิ น งานตามโครงการฯ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งสามารถจั ด ตั้ ง กองทุ น สวัสดิการชุมชน ได้ครอบคลุมทั้งจังหวัด 137 กองทุน/องค์การปกครองส่วนท้องถิน่ มีประชาชนที่เป็นสมาชิกกองทุนสวัสดิการ ชุมชนทั้งจังหวัด รวม 96,676 คน คิดเป็น
ร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมดในจังหวัด สุราษฎร์ธานี ที่เข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึง่ มีประชาชนจำนวนมาก ที่ ไ ม่ ส ามารถเข้ า ถึ ง สวั ส ดิ ก ารชุ ม ชนได้ ปัญหาอุปสรรค เนื่องจาก ขาดเครือข่ายที่ เป็ น กลไกในการดำเนิ น การกระจาย ประชาสัมพันธ์โครงการ ในระดับพืน้ ที่ และ ยั ง ขาดองค์ ค วามรู้ ใ นการขั บ เคลื่ อ นเพื่ อ กระจายสวัสดิการชุมชนให้เข้าถึงประชาชน ทุกคน ดังนั้นเพื่อให้กองทุนสวัสดิการ ชุมชน สามารถพัฒนาได้โดยศักยภาพ ตนเอง และยกระดับความเข้มแข็ง เพื่อ กระจายสวัสดิการให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ได้ อ ย่ า งครอบคลุ ม ประชากรทั้ ง หมดใน ตำบล องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี ได้พจิ ารณาจากปัญหาดังกล่าว แล้วจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังไม่มีเครือข่าย ในการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชน ที่ทำให้ ประชาชนได้เข้าถึงสวัสดิการชุมชน เพื่อให้ การดำเนินการของกองทุนสวัสดิการชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้มแข็งและเข้าถึง ประชาชนได้มากที่สุด ดังนัน้ องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุ ร าษฎร์ ธ านี จึ ง ได้ จั ด โครงการสร้ า ง เครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนจังหวัด สุราษฎร์ธานี ขึ้นมาโดยมี นายทนงศักด์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
สุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดโครงการ และกล่าวปาฐกถา เรื่อง “ทิศทางการ พัฒนาแบบมีส่วนร่วม สู่ สุราษฎร์ธานี เมืองคนดี ทีน่ า่ อยู”่ ซึง่ มีเครือข่ายสวัสดิการ ชุมชนครอบคลุม ทุกพื้นที่ในจังหวัด สุราษฎร์ธานีร่วมอบรมทั้งหมด 450 คน ณ โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และมีวัตถุประสงค์ เพื่ อ กระจายสวั ส ดิ ก ารชุ ม ชนให้ เข้ า ถึ ง ประชาชนทุกคนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสร้างเครือข่ายให้มีองค์ความรู้ ในการ ขับเคลือ่ นและประชาสัมพันธ์กองทุนสวัสดิการ ชุมชนให้เข้าถึงประชาชนในทุกระดับพื้นที่
10
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
เรื่องเด่นในเล่ม
การพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการท่องเที่ยวในการเข้าสู่ AEC ปัจจุบันการเจริญเติบโตของการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 3 ทศวรรษ ที่ผ่านมาและคาดว่าจะมีการเจริญเติบโตต่อไปอย่างไม่ หยุดยั้งในอนาคตข้างหน้าจนกลายเป็นอุตสาหกรรม ที่ทำรายได้อย่างมหาศาลถึงแม้ว่าบางสถานการณ์ที่การท่องเที่ยวมีการชะลอตัวลงหรือถอยลง บ้างแต่แนวโน้มการท่องเที่ยวจะเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีผลต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อันได้แก่
1. ก่ อ เกิ ด การสร้ า งรายได้ แ ละ กระจายรายได้ และเกิดการหมุนเวียนของ กระแสเงินทุนระดับสังคมเป็นการสร้าง รายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล 2. ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดกระแสการหมุนเวียนของเงินใน ระบบเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการลงทุนต่างๆ ทำให้ท้องถิ่นมีการพัฒนา ก่อให้เกิดความ เจริญของสังคม ฯลฯ 3. ช่ ว ยกระตุ้ น ให้ เ กิ ด การพั ฒ นา โครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้า ประปา โทรทัศน์ ฯลฯ เพือ่ เป็นการอำนวย ความสะดวกแก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วส่ ง ผลให้ ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ ได้รับความ สะดวกสบายไปด้วย 4. การสร้างความเจริญเติบโตของ อุ ต สาหกรรมภายในประเทศทั้ ง ที่ เ ป็ น อุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับนักท่องเที่ยว โดยตรงและโดยอ้อม 5. การช่ ว ยยกระดั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ประชาชนให้สูงขึ้น และช่วยสร้างงานสร้าง อาชีพในด้านต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับนักท่องเทีย่ ว โดยตรงและโดยอ้อมให้เพิ่มมากขึ้น 6. การสร้ า งเสริ ม สั น ติ ภ าพการ เดิ น ทางท่ อ งเที่ ย วช่ ว ยผู้ ค นที่ มี ค วาม แตกต่างด้านต่างๆ ให้ได้มีการแลกเปลี่ยน ในด้านต่างๆ และได้พบปะสังสรรค์กัน 7. การสนั บ สนุ น การฟื้ น ฟู แ ละ การอนุรักษ์ขนบธรรมเนียบ ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม 8. กระตุน้ ให้มกี ารสร้างสรรค์ทรัพยากร ในด้านต่างๆ ให้เกิดรายได้ เช่นการนำ
ทรั พ ยากรที่ ไ ม่ ใช้ แ ล้ ว มาทำเป็ น สิ น ค้ า ที่ ระลึกในรูปแบบต่างๆ 9. กระตุ้ น ให้ ค นมี ค วามรั ก และ ความเข้าใจในท้องถิ่นและประเทศของตน ประชาชนในแต่ละประเทศแต่ละท้องถิ่น ได้ เ ห็ น ถึ ง คุ ณ ค่ า และความสำคั ญ ของ ทรั พ ยากรในประเทศและท้ อ งถิ่ น นั้ น ๆ ทำให้เกิดแนวร่วมในการร่วมกันอนุรักษ์ และหวงแหนทรั พ ยากรในประเทศและ ท้องถิ่นนั้นๆ 10. ทำให้เกิดการศึกษาและค้นคว้า แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เพื่อเป็นการนำเสนอ สิง่ ใหม่ๆ ให้ประจักแก่สายตาของนักท่องเทีย่ ว และเป็นการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทาง ท่องเทีย่ วในท้องถิน่ หรือในประเทศมากขึน้ 11. ช่ ว ยในการพั ฒ นาด้ า นระบบ เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อช่วยในการอำนวย ความสะดวกแก่ นั ก ท่ อ งเที่ ย วและเพื่ อ ศักยภาพในการแข่งขัน
จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นอีกหนึ่ง จังหวัดของภาคใต้ที่มีชื่อเสียง และมีความ พร้อมด้านการท่องเทีย่ ว ไม่วา่ จะเป็นแหล่ง ท่องเทีย่ วทีม่ ชี อ่ื เสียงระดับโลก จนถึงแหล่ง ท่องเที่ยวระดับท้องถิ่นซึ่งเป็นที่รู้จักและ ได้ รั บ ความสนใจจากนั ก ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ชาวไทยและต่างประเทศ ด้ ว ยเหตุ ผ ลและปั ย จั ย หลาย ประการทีไ่ ด้กล่าวมาข้างต้น องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นในการพัฒนา ความรู้ ความพร้อมในการดำเนินการด้าน การท่องเทีย่ วอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการ ยกระดับและส่งเสริมการท่องเทีย่ วในจังหวัด สุราษฎร์ธานีให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านการท่องเที่ยวในการเข้าสู่ AEC
เมื ่ อ วั น อั ง คารที ่ 17 พฤษภาคม 2559 นายก่อเกียรติ อินทรักษ์ รองนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาบุคลากร ด้านการท่องเทีย่ วในการเข้าสู่ AEC รุน่ ที่ 3 ณ ภูผาลำธารรีสอร์ท อำเภอพนนม จังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ บุคลากรด้านการท่องเที่ยวมีความรู้และ พัฒนา ให้มีความพร้อมในการดำเนินการ ด้ า นการท่ อ งเที่ ย วอย่ า งมี คุ ณ ภาพและ ประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการส่งเสริมการ ท่ อ งเที่ ย วการพั ฒ นาศั ก ยภาพบุ ค ลากร ด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และการให้ ความรูเ้ กีย่ วกับบทบาทหน้าทีด่ า้ นการบริการ และเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อให้นักท่องเที่ยว ที่มาเยือนเกิดความประทับใจและอยาก กลับมาเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวอีกด้วย
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
กิจกรรม ชาว อบจ.
11
วันฉัตรมงคล เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมคณะข้าราชการ ได้เข้าร่วมพิธีถวาย ราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติเนื่องใน “วันฉัตรมงคล” โดยมี นายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีถวายราชสดุดี ณ ห้องประชุม เมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ร่วมลงนามข้อตกลง (MOU) โครงการรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย สวมหมวกนิรภัย
เตรียมความพร้อม “ปั่นให้หรอย ใจเกินร้อย เมืองคนดี ครั้งที่ 5”
เมือ่ วันอาทิตย์ท่ี 8 พฤษภาคม 2559 นายก่อเกียรติ อินทรักษ์ รองนายก องค์การบริการส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการประชุมเตรียมความ พร้อมการจัดการแข่งขันจักรยานทางไกล “ปั่นให้หรอย ใจเกินร้อย เมืองคนดี ครั้งที่ 5” ร่วมกับชมรมจักรยานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ ห้องประชุมโรงพยาบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมลงนามข้อตกลง (MOU) โครงการ รณรงค์ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย โดยมีนายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในการร่วมลงนามข้อตกลง (MOU) ณ ห้องโถง ใต้อาคารศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก องค์การบริหารส่วนตำบลหินซ้อน จังหวัดสระบุรี
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2559 นายสมหมาย นุ้ยแดง หัวหน้า สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก องค์การบริหารส่วนตำบลหินซ้อน จังหวัดสระบุรี ตามโครงการฝึกอบรมสัมมนา และทั ศ นศึ ก ษาดู ง านเพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการปฏิ บั ติ ง านให้ ป ระชาชน ณ ห้องประชุมสภา ชั้น 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
12
กิจกรรม ชาว อบจ.
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
แห่ผ้าห่มพระบรมธาตุไชยา
วันอาภากร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2559 นายทนงศั ก ดิ ์ ทวี ท อง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมถวาย สักการะ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์กรมหลวง ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เนื่องในวัน “อาภากร” ณ บริเวณศาลกรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์ ปากน้ำตาปี
เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2559 นายวิวัฒน์ สรรพา รองนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีพร้อมคณะ ร่วมงานวิสาขบูชา แห่ผ้าห่ม พระบรมธาตุไชยา ย้อนรอยวัฒนธรรมศรีวิชัยสู่อาเซียน ซึ่งจัดโดยสำนักวัฒนธรรม จังหวัดฯ และอำเภอไชยา ระหว่างวันที่ 19 - 20 พ.ค. 59 เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันสักการะพระบรมธาตุไชยา ปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดสุราษฎร์ฯ โดยนายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธี คณะอัญเชิญผ้าห่มพระบรมธาตุไชยา เริ่มขบวนตั้งแต่ ที่ว่าการอำเภอไชยา สู่พระบรมธาตุไชยา
เทนนิสสุราษฎร์ธานีโอเพ่น 2016
เมื่อวันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม 2559 นายทนงศักด์ ทวีทอง นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย นายก่อเกียรติ อินทรักษ์ นายกสมาคมกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมเป็นเกียรติและกล่าวต้อนรับนักกีฬา เทนนิสจากทั่วประเทศ ที่มาร่วมแข่งขัน โดยมีนายศุภวัช ศักดา รองผู้ว่าราชการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน “เทนนิสสุราษฎร์ธานี โอเพ่น 2016” ณ สนามเทนนิสกีฬากลาง
บันทึกข้อตกลง (MOU)
เมื ่ อ วั น พฤหั ส บดี ท ี ่ 12 ที่ ไ ด้ ม าตรฐานอี ก แห่ ง หนึ่ ง ในจั ง หวั ด พฤษภาคม 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง สุราษฎร์ธานี ณ ห้องเพชรสมุย เทศบาล นายกองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด นครเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี ร่วมกับเทศบาลนคร เกาะสมุย โดย นายรามเนตร ใจกว้าง นายกเทศมนตรีนครเกาะสมุย ร่วมลง นามทำบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อทำ กิจกรรมสาธารณะ ปรับปรุงและพัฒนา สนามกีฬาพรุหน้าเมือง ให้เป็นสนามกีฬา
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
กิจกรรม ชาว อบจ.
13
งานแถลงข่าว “หลักสูตรพุทธทาสศึกษา” เมือ่ วันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2559 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยกองการศึกษาฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จัดงานแถลงข่าว “หลักสูตรพุทธทาสศึกษา” เพื่อประชาสัมพันธ์การใช้หลักสูตรสำหรับโรงเรียน นำร่องทั้ง 14 แห่ง ในปีการศึกษา 2559 โดยนายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในครั้งนี้ พร้อมทั้งร่วมลงนามบันทึก ความเข้าใจในความร่วมมือทางวิชาการโครงการ พุทธทาสศึกษา ระหว่างมูลนิธิ จดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ณ หอพุทธทาสธรรมโฆษณ์ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี
ต้อนรับคณะครุศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
เมือ่ วันศุกร์ท่ี 20 พฤษภาคม 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีพร้อมคณะ ได้ให้การต้อนรับคณะจากมหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม (คณะครุศาสตร์) จำนวน 120 คน มาศึกษาดูงาน การจัดการ ศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการนี้นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้นำเสนอ 2 เรื่อง ที่ทางองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการอยู่ คือ 1) การจัดการเรียนการสอนหลักสูตร ปวช. ในโรงเรียน อบจ.สฎ.1 (ดอนสักผดุงวิทย์) 2) โครงการจังหวัดปฏิรปู การเรียนรูแ้ ละการจัดตัง้ สมัชชาการศึกษาจังหวัด
เปิดตัวสโมสรฟุตซอลสุราษฎร์ธานี (กุ้งสายฟ้า) เมื่อวันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2559 นายวงศศิริ พรหมชนะ ผูว้ า่ ราชการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนาย ก่อเกียรติ อินทรักษ์ รองนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมเปิดตัว สโมสรฟุตซอลสุราษฎร์ธานี (กุ้งสายฟ้า) โดยมีนายแทน เทือกสุบรรณ ประธาน สโมสรฯ ร่วมแถลงข่าวและเปิดตัวสโมสร ฟุตซอลสุราษฎร์ธานี (กุง้ สายฟ้า) ณ ลาน ชั้น 1 เซ็นทรัลพลาซา สุราษฎร
เปิดห้องปฏิบัติการเทคนิค ทางการแพทย์
เมือ่ วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิดห้องปฏิบัติการเทคนิคทาง การแพทย์ ณ บริเวณชั้น 1 โรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการให้บริการทางสาธารณสุขแก่ประชาชนที่ เข้ามารับการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี โรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความพร้อมในการให้บริการ ตรวจวินิจฉัยโรค โดยมีทีมนักเทคนิคการแพทย์ที่มีคุณภาพ พร้อมด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูง และผู้ป่วยไม่ต้องรอนาน อีกทั้งยังช่วย ลดความแออัดของโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
14
Cumming Soon
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
ล เ ะ ท ้ ต ใ ก ล วัน เปิดโ 3 1 ่ ี ท ง ้ ั ร ค า ่ ต เ เกาะ
ะ งรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยแล รอ ลก งโ ขอ ำ น้ ดำ ง ่ หล ดแ ยอ ด เกาะเต่า เป็น 1 ใน 5 แหล่งสุ คน สร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 0 00 0, 50 า ่ กว ำ ่ ต ม่ ะไ ล ากทั่วโลก ปี ชาวต่างชาติที่ไหลเวียนมาจ ที่สวยงามและสมบูรณ์ ง ั าร ะก วป แน ล ะเ ท ต้ ใ ิ าต สน่ห์ของโลกธรรมช สองพันล้านบาทต่อปี ด้วยเ บโตไปอย่างรวดเร็ว ติ เ ็ วก ย ่ ที งเ อ ่ รท กา จ กิ ร ธุ ง อ ่ ื อย่างรวดเร็วและต่อเน ส่งผลให้เกาะเต่ามีการพัฒนา ีย การรุกล้ำแนวชายหาดและ เส ำ น้ ะ ขย น ่ เช า มม ตา ก็จะมีปัญหา เมื่อที่ใดมีความเจริญ ที่นั่น งกันไว้แต่่เนิ่นๆ รวมถึงการ อ ป้ าง วท แน าง งว อ ต้ จะ น ป็ ญหาใหญ่ที่จำเ แหล่งต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นปั ้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมต่อไป ไว า ่ เต าะ เก อง ข ติ ชา รม ธร ษา ัก ผู้ใหญ่บ้าน ชมรม ปลูกสร้าง จิตสำนึกที่ดี ในการร น นั กำ ชน อก คเ ภา าน ยง ว ่ หน า จะร่วมกับ น โดยทุกปีเทศบาลตำบลเกาะเต่ วเกาะเต่า กองทัพเรือ ประชาช ย ่ ที งเ อ ่ รท กา ม ริ เส ง ่ มส าค สม เกาะเต่า รักษ์เกาะเต่า ผู้ประกอบการใน ะองค์การบริหารส่วนจังหวัด แล ี าน ธ ์ ฎร าษ ร สุ ด ั หว ง จั ย ห่งประเทศไท ตำบลเกาะเต่า การท่องเที่ยวแ นี้ ได้จัดงานขึ้นเป็นครั้งที่ 59 25 ี นป ยใ โด น ้ ขึ ” า ต่ ะเ ดโลกใต้ทะเลเกา สุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรม “เปิ ่าวมา ล้า 13 นับตั้งแต่มีการจัดงานดังกล บาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเก ระ งพ ขอ ณ ุ ค ิ าธ ณ ุ กร หา ะม ที่สำคัญได้ร่วมน้อมรำลึกถึงพร ามปลื้มปิติแก่ราษฎรเกาะเต่า คว ง ่ ซึ มา นำ า ่ เต าะ เก าส ะพ าที่ได้เสด็จปร เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในคร เป็นยิ่งนัก - 19 มิถนุ ายน 2559 18 ่ ที ั น งว ่ า หว ระ ” 13 ่ ที ั ้ ง คร ลเกาะเต่า เกล้า การจดั งาน “วนั เปดิ โลกใต้ทะเ ีย์พระบาทสมเด็จพระจุลเจ้า วร สา เ ุ าน าช มร บร ระ าพ าล ายพวงม มีกิจกรรมมากมาย อาทิ ถว ามปฏิญญาเกาะเต่า ในหัวข้อ งน มล ว ่ รร กา เล ทะ า ต่ ะเ แล อ ื อยหอยมือเส เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ การปล่ ผู้ประกอบการ ศิลปินต่างๆ น ย ี เร ก นั าก งจ สด รแ กา น ยื ง ่ ั ร่วมกันอย่างย ร่วมกันอนุรักษ์และใช้ทรัพยากร ๆ อีกมากมาย ที่มาร่วมงาน และกิจกรรมอื่น
ปีที่ 19 ฉบับที่ 203 ประจำเดือนพฤษภาคม 2559
Special Report
15
การพัฒนาเด็กบกพร่อง ทางการเรียนรู้ (LD) เพื่อพัฒนาศักยภาพและให้อยู่ร่วมกับ ผู้อื่นในสังคมได้อย่างเหมาะสม
เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disorder : LD) เป็นส่วนหนึ่งของเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสมีประมาณร้อยละ 10 ของ จำนวนเด็กในระบบการศึกษาทั้งประเทศ โดยเด็กกลุ่มนี้มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการดูแลเรื่องการศึกษาอย่างเหมาะสม ถูกต้องตามหลัก วิชาการในสถานศึกษาที่มีความพร้อม มีครูที่ฝึกหัดมาด้านการศึกษาพิเศษ (Special Education) การส่งเสริมให้สถานศึกษา ครอบครัวและ ชุมชนร่วมกันพัฒนาเด็กเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้เค้าเติบโตใช้ชีวิตได้อย่างปกติและอยู่ร่วมกันในสังคมได้เหมือนเด็กทั่วไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้ร่วมผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยแท้จริง สภาพปัญหาเด็ก LD ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี 1. ขาดการดูแลเรือ่ งการจัดการศึกษาอย่าง เหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชาการใน สถานศึกษาที่มีความพร้อม 2. ครูไม่มีความรู้ในเรื่องคัดกรองเด็กจึง คัดกรองได้ไม่แม่นยำ 3. ขาดครูผู้ดูแลเด็ก LD 4. จิตแพทย์มนี อ้ ยไม่สามารถตรวจรับรอง ได้ทันเวลา 5. ผู้ปกครองไม่ยอมรับ 6. โรงเรียนไม่ให้ความสนใจ 7. ศูนย์การศึกษาพิเศษขาดบุคลากร งบประมาณ ห้องปฏิบัติการกระตุ้น พัฒนาการและอุปกรณ์
3. เพือ่ ให้เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ได้รบั พั ฒ นาการเรี ย นรู้ ต ามศั ก ยภาพได้ อ ย่ า ง เหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชาการและ อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข การดำเนินการ การพัฒนาเด็กบกพร่องทางการ เรียนรู้ (LD) ได้ดำเนินการดังนี้ 1. กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัด การเรียนร่วมสำหรับเด็กบกพร่องทางการ เรียนรู้ ให้กับผู้บริหารและครู เพื่อสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กบกพร่องทางการ เรียนรู้ ในกระบวนการและการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน ซึง่ มีการจัดอบรมจำนวน 2 รุน่ ได้แก่ รุน่ ที่ 1 วันที่ 28 -30 พฤษภาคม 2558 รุน่ ที่ 2 วันที่ 11 - 13 มิถนุ ายน 2558
วัตถุประสงค์ 1. เพือ่ พัฒนากลไก นวัตกรรมและเทคโนโลยี การจัดการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องทาง การเรียนรู้ 2. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร ภาครัฐ/เอกชน และท้องถิ่นในการร่วมกัน พัฒนาเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้
2. กิ จ กรรมจ้ า งครู ผ ู ้ ส อนตามโครงการ พัฒนาผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการ เรียนรู้ จำนวน 24 คน ให้กับสถานศึกษา 6 สังกัด เพื่อให้เด็กนักเรียนที่มีความ บกพร่องทางการเรียนรู้ ในสถานศึกษา มีพฒ ั นาการด้านการอ่าน การเขียน การคิด คำนวณที่ดีขึ้น
3. กิจกรรมจัดหาสื่อการเรียนการสอน ประเภท E-Book ให้กับโรงเรียน 80 โรง ประกอบด้วย 3.1 สื่อชุดอ่านเขียนเรียนคล่อง 80 ชุด 3.2 สื่อชุดด้านคิดคำนวณ 80 ชุด โดยสื่อเหล่านี้จะเป็นตัวที่นำไปสู่ การพัฒนาของเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ต่อไปในอนาคต 4. กิจกรรมประกวดสถานศึกษาดีเด่น ด้านการจัดการศึกษาพิเศษ 5. กิจกรรมจัดแสดงผลงานนักเรียน (Symposium) และการแข่งขันทักษะทาง วิชาการโดยผลงานที่จะแสดงนั้นจะเป็น ผลงานของสถานศึกษาดีเด่น ผลงาน สถานศึ ก ษาได้ รั บ จั ด สรรครู อั ต ราจ้ า ง ผลงานทีไ่ ด้รบั เลือกจากสือ่ และผลงานจาก การแข่งขันทักษะวิชาการของเด็กบกพร่อง ทางการเรียนรู้ 6. กิจกรรมนิเทศติดตามและประเมินผล การดำเนินงานของทุกกิจกรรมเป็นวีดที ศั น์ และเอกสารเย็บเล่ม เสนอผูเ้ กีย่ วข้องโดยมี การจัดกิจกรรม 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 เดือน สิงหาคม 2558 ครั้งที่ 2 สิ้นสุดโครงการจังหวัดปฏิรูป การเรียนรู้ ผลการดำเนินงาน จากการติดตามเด็กบกพร่องทาง การเรียนรู้ (LD) จำนวน 508 คน ในโรงเรียน
ทีอ่ งค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดสรรครูไปให้ ปรากฏว่าเด็กมีการพัฒนาการในภาพรวม โดยเฉลี่ยร้อยละ 32.47 (ก่อนการพัฒนา ร้อยละ 27.05 หลังการพัฒนาร้อยละ 59.52) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้ า นการอ่ า นเด็ ก มี พั ฒ นาการโดยเฉลี่ ย ร้อยละ 28.48 (ก่อนการพัฒนาร้อยละ 26.30 หลังการพัฒนาร้อยละ 54.78) ด้านการเขียนเด็กมีพัฒนาการโดยเฉลี่ย ร้อยละ 36.93 (ก่อนพัฒนาร้อยละ 19.76 หลังการพัฒนาร้อยละ 36.93) และด้าน การคิดคำนวณ เด็กมีพัฒนาการโดยเฉลี่ย ร้อยละ 31.99 (ก่อนการพัฒนาร้อยละ 35.10 หลังการพัฒนาร้อยละ 67.09)