วารสาร อบจ สุราษฎร์ธานี เดือน เมษายน 2559

Page 1

ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือน

อบจ.

สุราษฎร์ธานี วารสารเพื่อการประชาสัมพันธ์

เมษายน 2559 ISSUU

4

2559

www.suratpao.go.th : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญ พระชนมายุ 61 พรรษา

น. 4

อ่านรายละเอียด

อบรมสามเณรภาคฤดูร้อน ปี 2559

อ่านรายละเอียด

น. 7

อบรมลูกเสือชาวบ้าน

อ่านรายละเอียด

จากใจนายก อบจ.

น. 8

อ่านรายละเอียด

น. 3

คลองน้ำใส @ บ้านนาบน อ.ท่าชนะ

อ่านรายละเอียด

น. 6

ท้องถิ่นดีภาษีช่วย ท้องถิ่นสวยภาษีสร้าง ร่วมชำระภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากผู้ค้าน้ำมัน, ผู้ค้ายาสูบ, ผู้ประกอบการโรงแรม ตามกำหนด เพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่นสุราษฎร์ธานีอย่างยั่งยืนต่อไป


2

ปลัด อบจ.ขอคุย/สารบัญ/คณะผูจ ้ ัดทำ

ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ ปลัดอบจ. ขอคุย EDITOR’S NOTE

ในช่วงระยะเวลาเดือนเมษายนและ เดือนพฤษภาคมของทุกปี จะเป็นเดือนทีส่ ำคัญยิง่ ของพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า เนื่องด้วยใน วันที่ 2 เมษายนของทุกปี ถือเป็นวันคล้ายวัน พระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึง่ พระองค์ทรงเป็นพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพฯ เสด็จ พระราชสมภพ เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต หน่ ว ยงานภาครั ฐ และภาคเอกชนทั่ ว ประเทศ ต่างมีกจิ กรรมเพือ่ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กันตลอด ทั้งเดือน

สารบัญ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีเอง เราได้จดั กิจกรรมเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องใน โอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 61 พรรษา อาทิ การบรรพชาสามเณรทั่ ว จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ร่ ว มกั บ หน่ ว ยงานภาคเอกชนจั ด นิ ท รรศการ เฉลิมพระเกียรติ และกิจกรรมการแสดง การแข่งขัน วาดภาพ และการประกวดร้องเพลงของนักเรียน และเยาวชนในระดับชัน้ ป.1 - ม.6 เพือ่ ให้พน่ี อ้ ง ประชาชนได้รับทราบถึงพระราชประวัติ และ พระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ และได้รว่ มลงนาม ถวายพระพรสมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อแสดงออกถึงความจงรัก ภักดีของพี่น้องประชาชนด้วย และเนื่องด้วยในวันที่ 6 เมษายนของ ทุกปี เป็นวันครบรอบแห่งการก่อตั้งราชวงศ์จักรี หรือเรียกว่า วันจักรี เป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาท สมเด็ จ พระพุ ท ธยอดฟ้ า จุ ฬ าโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) เสด็จปราบดาภิเษก เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ขึน้ ครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพมหานคร ขึ้นเป็นเมืองหลวงของไทย มาจนถึงทุกวันนี้ และแม้ว่าเดือนเมษายนจะถือว่าเป็น เดือนที่ร้อนที่สุด แต่ทางองค์การบริหารส่วน จังหวัดก็มิได้นิ่งนอนใจในส่วนของปัญหาภัยแล้ง ซึ่ ง เป็ น ความเดื อ ดร้ อ นของพี่ น้ อ งประชาชน เราเองได้เฝ้าระวัง ติดตามและให้การสนับสนุน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ในจังหวัด

สุราษฎร์ธานีอย่างใกล้ชิด เพื่อบรรเทา และแก้ไข ปัญหาดังกล่าวให้แก่พี่น้องประชาชนด้วย และในเดื อ นพฤษภาคมที่ จ ะถึ ง นี้ ทีผ่ มเองได้กล่าวว่าเป็นเดือนทีส่ ำคัญอีกเดือนหนึง่ เพราะในเดือนพฤษภาคมนี้เองจะมี วันฉัตรมงคล ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันอันสำคัญยิ่งของประเทศไทย ในรั ช สมั ย ของพระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทร มหาภูมพิ ลอดุลยเดช (รัชกาลที่ ๙) รัชกาลปัจจุบนั เนื่องด้วยว่าวันฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึก ในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมพิ ลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริยแ์ ห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คื อ พระองค์ ไ ด้ ขึ้ น ครองราชสมบั ติ สื บ ต่ อ จาก สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั อานันทมหิดล เมือ่ วันที่ 9 มิถนุ ายน พ.ศ. 2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษา อยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะ แล้วจึงได้เสร็จนิวัติประเทศไทย และรัฐบาลไทย ได้นอ้ มเกล้าฯ จัดพระราชพิธบี รมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 นับแต่บัดนั้น มาจึงได้ถอื เอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวัน ฉัตรมงคลรำลึก และนอกจาก วันฉัตรมงคล แล้วยังมี วันพืชมงคล หรือพระราชพิธพี ชื มงคลจรดพระนังคัล แรกนาขวัญ ความมุง่ หมายอันเป็นมูลเหตุให้เกิดมี พระราชพิธนี ข้ี น้ึ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายไว้ ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระราชพิธีสิบสองเดือน

ว่า “การแรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ ในแผ่นดิน เป็นธรรมเนียมนิยมมีมาแต่โบราณก็ เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจ หมั่นในการที่จะทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะ ได้อาศัยเลี้ยงชีวิตทั่วหน้า เป็นต้นเหตุของความ ตัง้ มัน่ และความเจริญไพบูลย์แห่งพระนครทัง้ ปวง” เปรียบกับการสร้างขวัญและกำลังให้กับชาวนา และพี่น้องเกษตรกรอันเป็นกำลังหลักของชาติ หรือเรียกได้ว่าเป็นต้นแห่งฤดูของกาลเพาะปลูก ทำนาไร่ ตามความเชือ่ มาแต่โบราณ เกษตรหลายคน ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เคยได้รับรางวัลเกษตร ดีเด่นระดับชาติ เนื่องในงานพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพราะรัฐบาลกำหนด ให้เป็นวันเกษตรกรแห่งชาติด้วย พี่น้องบ้านเราหลายคนต่างดำรงคงไว้ ซึ่งอาชีพเกษตรกร ทำสวน ทำไร่ องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีก็ได้มีหลายโครงการที่ สนับสนุนพี่น้องเกษตรกรผ่านองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ พี่น้องเกษตรกรทุกคน และด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดมิได้ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

สมศักดิ์ สิทธิเสรี ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Contents

2

ปลัด อบจ.ขอคุย คณะผู้จัดทำ

7

บอกเล่าเก้าสิบ

บวชสามเณรภาคฤดูร้อน

12

กิจกรรมชาว อบจ.

3

จากใจนายก อบจ.

8

เปิดสภา อบจ.สุราษฎร์ธานี

14

Special Report

4

เรื่องจากปก

9

เปิดสภา อบจ.สุราษฎร์ธานี

6

บอกเล่าเก้าสิบ

เฉลิมพระเกียรติพระเทพฯ คลองน้ำใส @ บ้านนาบน

คณะผู้จัดทำ Positioning

10

ฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือชาวบ้าน

จังหวัดการเรียนรู้ สุราษฎร์ธานี

ฝึกอบรมสร้างเครือข่ายประชาธิปไตย เรื่องเด่นในเล่ม

การประกวดสื่อ - นวัตกรรม ร.ร.ในสังกัด อบจ.

คณะที่ปรึกษา : นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, นายก่อเกียรติ อินทรักษ์, นายดำรงค์ เทือกสุบรรณ, นายวิวัฒน์ สรรพา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, นายไชยกฤต เอื้อกฤดาธิการ, นายศิลายุทธ์ คงอุดหนุน, เลขานุการนายกฯ, นายพงศ์รัตน์ ปิ่นแก้ว, นายปรีชา เรืองศรี, นายสมเกียรติ วิรัตน์ ที่ปรึกษานายกฯ, บรรณาธิการ : นายสมศักดิ์ สิทธิเสรี ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, กองบรรณาธิการ : น.ส.อภิญญา ดำดี, น.ส.วรรณา ตะโฉ รองปลัดองค์การฯ, นายอภิรักษ์ ศักดา ผู้อำนวยการกองช่าง, นายชูชีพ ชูจิต ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, นางทิพย์วรรณ สุราษฎร์ ผูอ้ ำนวยการกองคลัง, น.ส.วรรณา ตะโฉ รักษาการผูอ้ ำนวยการกองแผนและงบประมาณ, นายวิรชั นุน่ แก้ว ผูอ้ ำนวยการกองพัสดุและทรัพย์สนิ , นายสุปญ ั ญา ชูเพชร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมคุณภาพชีวิต, นายสุรัติ เพชรพริ้ม ผู้อำนวยการกองกิจการสภาฯ, นางยุพาพันธุ์ คงชนะ ผู้อำนวยการกองการท่องเที่ยวและกีฬา, นางวิมล บุญรอด ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่, นายสมหมาย นุ้ยแดง หัวหน้าสำนักปลัดฯ อำนวยการผลิต : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถ.ดอนนก ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 โทร : 077-272941 แฟกซ์ : 077-285110 Email : suratee@suratthani.go.th ออกแบบ/จัดพิมพ์โดย : บริษัท โรงพิมพ์ดีชัย จำกัด 1/7 ถ.พัฒนาการคูขวาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร : 075-322955, 085 - 8828838, 087 - 2802270 Email : Dchai@hotmail.co.th


จากใจนายก อบจ.

ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

3

จากใจนายก อบจ.

เดือนเมษายนปีนี้ คงเป็นเดือนแห่งความสุขของพวกเราชาวจังหวัด สุราษฎร์ธานี เพราะตั้งแต่ต้นเดือนก็เป็นวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จ พระเทพพระรัตนราชสุดาฯ ซึง่ พวกเราเคารพเทิดทูลพระองค์ ผมขอเชิญ ชวนชาวสุราษฎร์ธานี ตั้งจิตอธิฐานให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวงในสากลโลก ได้โปรดดลบันดาลประทานพรให้พระองค์ทรงพระเจริญยิง่ ยืนนาน องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานีเอง ก็ได้จัดกิจกรรมเฉลิม พระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนือ่ งในโอกาสทีท่ รงเจริญ พระชนมายุ 61 พรรษา หลายกิจกรรม และเนื่องด้วยในเดือนเมษายนนี้ เป็นเดือนแห่งปีใหม่ไทยประเพณีสงกรานต์ 13 เมษายน เป็นการสืบสานประเพณี อันดีงามของไทย มีการสรงน้ำพระ รดน้ำ ผู้ใหญ่ และมีการเล่นน้ำกันอย่างอบอุ่น สนุกสนาน โดยองค์กรปกครองส่วน ท้ อ งถิ่ น หลายแห่ ง ได้ ร่ ว มจั ด กิ จ กรรม สงกรานต์ ขึ้ น ซึ่ ง ผมเองก็ มี โ อกาสได้ ไ ป ร่วมงาน เสมือนเป็นการคืนความสุขให้กับ ชาวเมืองคนดี ที่ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวมา ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ผ่อนคลาย ได้รว่ มกันทำบุญตักบาตร ทีส่ ำคัญครอบครัว ได้ มี กิ จ กรรมร่ ว มกั น อย่ า งพร้ อ มหน้ า พร้ อ มตา เป็ น ความสุ ข อย่ า งหนึ ่ ง ของ ครอบครัวด้วย ช่ ว งเดื อ นที่ ผ่ า นมาทางจั ง หวั ด

สุราษฎร์ธานี ก็ได้จดั งานสมโภชศาลหลักเมือง และกาชาดจังหวัด สุราษฎร์ธานี ประจำปี 2559 โดยทางองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี ได้สนับสนุนรถจักรยานยนต์ ให้ แ ก่ เ หล่ า กาชาดจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี เพือ่ เป็นของรางวัลนาวากาชาด มอบให้แก่ พี่ น้ อ งประชาชนที่ ร่ ว มสนั บ สนุ น นาวา กาชาดด้วย เรียกว่าหลายภาคส่วนร่วมด้วย ช่วยกันเพื่ อนำรายได้ไปช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์แก่พี่น้องประชาชนต่อไป เ ท ศ ก า ล ส ง ก ร า น ต์ ที่ เ ป็ น ช่วงแห่งการเดินทางท่องเที่ยว จังหวัด สุราษฎร์ธานีเราเอง ก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่มี นักท่องเทีย่ วทัง้ ชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดิ น ทางมาท่ อ งเที่ ย วเป็ น จำนวนมาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีกม็ ี หลายกิ จ กรรมที่ ส นั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม การ ท่องเที่ยว และหลายโครงการ ที่จะพัฒนา สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก อย่ า งแพร่ ห ลายต่ อ ไปเพื่ อ เป็ น การกระตุ้ น เศรษฐกิ จ ของจั ง หวั ด

ผ่านการท่องเที่ยว และหากในอนาคตการทำข้อตกลง บ้านพี่เมืองน้องของจังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดอุบลราชธานี ในการส่งเสริม การท่องเที่ยว “เข้าพรรษาต้องไปแห่เทียน พรรษาทีอ่ บุ ลราชธานี ออกพรรษาต้องมา ชักพระประเพณีสรุ าษฎร์ธานี” เป็นผลสำเร็จ ทัง้ สองจังหวัดก็นา่ จะได้รบั ผลประโยชน์จาก การทำข้อตกลงด้านการท่องเที่ยวดังกล่าว อย่างแน่นอน ไม่เฉพาะด้านการท่องเทีย่ วเท่านัน้ ที่องค์การบริการส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี สนับสนุน ยังมีอีกหลายภารกิจ อาทิ ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการกีฬา การส่งเสริมอาชีพ รวมถึงการพัฒนา คุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน ก็เป็น หน้ า ที่ ที่ เราองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ต้ อ งดู แ ลรั บ ผิ ด ชอบด้ ว ย เช่นกัน หากแต่สิ่งต่างๆ ที่เราได้ตั้ง

เป้าหมายไว้จะสำเร็จลงไม่ได้ หากมิได้รับ ความร่วมไม้ร่วมมือจากพี่น้องประชาชน ในพื้นที่ รวมถึงสภาองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยท่านสมาชิกสภา องค์การฯ ทุกท่านที่ได้เล็งเห็นความสำคัญ ในปัญหา ในภารกิจต่างๆ ผ่านข้อบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ออกมาเพื่ อ นำงบประมาณมาใช้ จ่ า ย ได้ตามโครงการต่างๆ เพือ่ พีน่ อ้ งประชาชน และเนื่ อ งในโอกาสเทศกาล สงกรานต์ ประจำปี 2559 ผมขอบารมีของ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านเคารพนับถือ ได้โปรด ดลบันดาลให้พน่ี อ้ งประชาชนทุกคนพบเจอ แต่สิ่งดีๆ ประสบความสำเร็จในหน้าที่ การงาน สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีความสุขทุกท่าน

ทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี


4

เรื่องจากปก

ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

งานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุ 61 พรรษา

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้า สิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ เสด็จพระราชสมภพเมือ่ วันเสาร์ท่ี 2 เมษายน พ.ศ. 2498 (ตรงกับวันขึน้ 10 ค่ำ เดือน 5 ปีมะแม สัปตศก) ณ พระทีน่ ง่ั อัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองค์ที่ 3 ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์ หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ เป็นผู้ถวายพระประสูติกาล และได้รับการถวายพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ พร้อมทั้งประทานคำแปลว่า นางแก้ว อันหมายถึง หญิงผู้ประเสริฐ และมีพระนามที่ข้าราชบริพาร เรียกทั่วไปว่า ทูลกระหม่อมน้อย พระนาม “สิรินธร” นั้น นำมาจาก สร้ อ ยพระนามของสมเด็ จ พระราชปิ ตุ จ ฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรี ราชสิรนิ ธร ซึง่ เป็นสมเด็จพระราชปิตจุ ฉา (ป้า) ในพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ภู มิ พ ล อดุลยเดช สำหรับสร้อยพระนาม “กิติวัฒนา ดุลโสภาคย์” ประกอบขึน้ จากพระนามาภิไธย ของสมเด็จพระบรมราชบุพการี 3 พระองค์ ได้แก่ “กิติ” มาจากพระนามาภิไธยของ “สมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ ิ พระบรมราชินนี าถ” สมเด็จพระราชชนนี (แม่) ส่วน “วัฒนา” มาจากพระนามาภิไธยของ “สมเด็จพระศรี สวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า” (สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี) สมเด็จพระปัยยิกา (ย่าทวด) และ “อดุล” มาจากพระนามาภิไธยของ “สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก” สมเด็จพระอัยกา (ปู่) เมื่อปี พ.ศ. 2501 พระองค์ทรงเริ่มเข้ารับการ ศึกษาระดับอนุบาลที่โรงเรียนจิตรลดา ซึ่งตั้ง อยู่ ภ ายในพระตำหนั ก จิ ต รลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต และทรงศึกษาต่อในโรงเรียน จิตรลดาจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ในปี พ.ศ. 2515 ก็ ท รงสอบไล่ จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในแผนกศิลปะ ด้วยคะแนนสูงสุดของประเทศ หลังจากนั้น พระองค์ทรงสอบเข้า ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษร ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสามารถ ทำคะแนนสอบเอนทรานซ์เป็นอันดับ 4 ของ ประเทศ ซึ่งถือเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ แรกที่ ท รงเข้ า ศึ ก ษาต่ อ ระดั บ อุ ด มศึ ก ษาใน ประเทศ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2520 พระองค์ ทรงสำเร็ จ การศึ ก ษาได้ รั บ ปริ ญ ญาอั ก ษร

ศาสตรบัณฑิต สาขาประวัตศิ าสตร์ เกียรตินยิ ม อันดับหนึ่ง เหรียญทอง ด้วยคะแนนเฉลี่ย 3.98 พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับ ปริญญาโท ด้านจารึกภาษาตะวันออก (ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร) ณ คณะ โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และสาขา ภาษาบาลีและสันสกฤต จากภาควิชาภาษา ตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ในระหว่างนัน้ มีพระราชกิจมาก จนทำให้ไม่สามารถทำวิทยานิพนธ์ในระดับ ปริญญาโทได้พร้อมกันทั้ง 2 มหาวิทยาลัย พระองค์จึงตัดสินพระทัยเลือกทำวิทยานิพนธ์ เพื่ อ ให้ ส ำเร็ จ การศึ ก ษาที่ ค ณะโบราณคดี มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรก่ อ น โดยทรงทำ วิทยานิพนธ์หัวข้อเรื่อง “จารึกพบที่ปราสาท พนมรุ้ง” ทรงสำเร็จการศึกษาได้รับปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และเข้ารับพระราชทาน

ปริญญาบัตรเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2522 หลังจากนั้น พระองค์ทรงทำวิทยานิพนธ์ หัวข้อเรือ่ ง “ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท” ทรงสำเร็จการศึกษาได้รบั ปริญญาอักษรศาสตร มหาบัณฑิต จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย และได้ เข้ า รั บ พระราชทาน ปริญญาบัตรเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 พระองค์ทรงเข้าศึกษาต่อในระดับ ปริญญาเอก ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ โดยพระองค์ผ่านการสอบ คั ด เลื อ กอย่ า งยอดเยี่ ย มด้ ว ยคะแนนเป็ น อันดับหนึ่งในบรรดาผู้เข้าสอบทั้งหมด และ ทรงเป็นนิสิตปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ รุ่นที่ 4 พระองค์ ทรงทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อเรือ่ ง “การพัฒนา นวั ต กรรมเสริ ม ทั ก ษะการเรี ย นการสอน ภาษาไทยสำหรั บ นั ก เรี ย นชั้ น มั ธ ยมศึ ก ษา


เรื่องจากปก

ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

ตอนปลาย” เนื่องจากพระองค์ทรงตระหนัก ว่ า สภาพการเรี ย นการสอนภาษาไทยนั้ น มีปัญหา เพราะนักเรียนไม่ค่อยสนใจเรียน ภาษาไทย มีความรู้ ความสามารถ ทักษะใน การเข้าใจและใช้ภาษาไม่เพียงพอ พระองค์ จึงทรงนำเสนอวิธกี ารสอนภาษาไทยในลักษณะ นวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนเพื่อ ส่ ง เสริ ม ความสนใจในการเรี ย นภาษาไทย ของนักเรียนและเป็นสื่อที่จะช่วยให้ครูสอน ภาษาไทยได้ง่ายขึ้น พระองค์ทรงสอบผ่าน วิทยานิพนธ์อย่างยอดเยีย่ ม สภามหาวิทยาลัย อนุ มั ติ ใ ห้ ท รงสำเร็ จ การศึ ก ษาในระดั บ ปริญญาเอก เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2529 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาท สมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ลอดุ ล ยเดช มีพระบรมราชโองการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรนิ ธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เฉลิมพระนามตามที่ จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมา คุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี” นับเป็น สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพระองค์แรก ที่ทรงดำรง พระอิสริยยศที่ “สยามบรมราชกุมารี” แห่ง ราชวงศ์จักรี ในการสถาปนาพระอิ ส ริ ย ยศ สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ตั้งแต่เริ่ม ตัง้ กรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบนั การสถาปนา

พระยศ “สมเด็จพระ” นั้น ส่วนใหญ่จะเป็น การสถาปนาพระยศของสมเด็ จ พระบรม ราชชนนี พระพันปีหลวง สมเด็จพระบรม อัยยิกาเธอ พระวิมาดาเธอ สมเด็จพระเจ้า พี่นางเธอ ในรัชกาลต่างๆ แต่การสถาปนาใน ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีการสถาปนาสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า ขึ้นเป็น “สมเด็จพระ” จึงเป็นพระเกียรติยศที่สูงยิ่ง สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์มีพระปรีชา สามารถในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านอักษรศาสตร์และดนตรีไทย ซึง่ พระองค์ ได้นำมาใช้ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และให้การ อุปถัมภ์ในด้านศิลปวัฒนธรรมของประเทศ จากพระราชกรณียกิจในด้านศิลปวัฒนธรรมนี้ พระองค์จึงได้รับการทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายพระสมัญญาว่า “เอกอัครราชูปถัมภก มรดกวัฒนธรรมไทย” และ “วิศิษฏศิลปิน” นอกจากนี้ พระองค์ยงั ทรงประกอบ พระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ เช่น ด้านการ ศึกษา การพัฒนาสังคม โดยทรงมีโครงการ ในพระราชดำริ ส่ ว นพระองค์ ห ลายหลาก โครงการ ซึ่งโครงการในระยะเริ่มต้นนั้น มุ่ ง เน้ น ทางด้ า นการแก้ ปั ญ หาการขาดสาร อาหารของเด็กในท้องถิ่นทุรกันดาร และ พัฒนามาสู่การให้ความสำคัญทางด้านการ ศึกษาเพื่อการพัฒนาราษฎร และด้วยสำนึกในพระมหาการุณาธิคณ ุ

5

ล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับสำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดงาน “เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสที่ทรง เจริญพระชนมายุ 61 พรรษา” เมื่อวันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2559 เพื่ อ สำนึ ก ในพระมหากรุ ณ าธิ คุ ณ ที่ ไ ด้ ท รงกอร์ ป กิ จ ส่ ง เสริ ม อนุ รั ก ษ์ ง าน ดนตรีไทย โดยจัดให้มกี จิ กรรมการแสดงความ สามารถของเด็กและเยาวชน ไม่ว่าจะเป็น กิ จ กรรมการแข่ ง ขั น วาดภาพในหั ว ข้ อ “เจ้าฟ้าแห่งงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” กิจกรรมการแข่งขันขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง และเพลงพระราชนิพนธ์ ของนักเรียนและ

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานการเปิดงานและมอบเงินรางวัล พร้ อ มเกี ย รติ บั ต รให้ กั บ นั ก เรี ย นที่ ช นะการ แข่งขัน ร่วมกับ น.ส.อภิญญา ดำดี รองปลัด องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี น.ส.วรรณา ตะโฉ รองปลัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายชูชีพ ชูจิต ผู้อำนวยการกองการศึกษาศาสนา และ วัฒนธรรม ณ ห้างสรรพสินค้าสหไทย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการสนับสนุนของรางวัล และสถานที่ ในการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 1. ศูนย์การค้าสหไทย การ์เด้น พลาซ่า สุราษฎร์ธานี คุณเฉลิมชัย ปัญจคุณาธร

เยาวชนในระดับชั้น ป.1 - ม.6 รวมไปถึง การแสดงชุดเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จาก โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์) โรงเรียนองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2 (บ้านดอนเกลี้ยง) โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ ธานี 3 (บ้านนา) กล่าวสุนทรพจน์เทิดพระเกียรติฯ ขับร้องเพลงนารีรัตนา และเพลง เผ หว่อ โจ่ว กั้ว ชุน เซี่ย ชิว ตง โดย ด.ญ. เมธาวดี คำดา นักเรียนชั้น ป.4 จากโรงเรียนจอย และการ แสดงมโนราห์ หนังตะลุง จากคณะเจษฎา โดยได้รับเกียรติจาก นายทนงศักดิ์ ทวีทอง

ผู้สนับสนุนสถานที่จัดงานโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 2. บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด คุณณปภพ ประภาวรเกียรติ ผูส้ นับสนุน ตั๋วภาพยนตร์ จำนวน 50 ที่นั่ง 3. บริ ษ ั ท บ้ า นดอนปิ ย ะกลการ จำกัด คุณ ธีระเดช ทีป ะปาล ผู้ส นับ สนุน ตุ๊กตาหมี จำนวน 20 ตัว 4. บริษัท ไบโอคอนซูเมอร์ จำกัด คุณอัมพิรา แก้วสังข์ ผู้สนับสนุนรางวัล จำนวน 30 ชิ้น


6

ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

บอกเล่าเก้าสิบ

แหล่งท่องเที่ยวเล็กๆ ที่อยากแนะนำ

คลองน้ำใส @ บ้านนาบน ต.สมอทอง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี

อำเภอท่าชนะเป็นอำเภอเก่าแก่มาแต่โบราณ เมื่อ พ.ศ. 2437 - 2441 ปรากฏหลักฐานว่าเคยเป็นอำเภอมาแล้ว เรียกว่า อำเภอประสงค์หรือพสง ตั้งที่บ้าน ปากน้ำบ้าน ท่ากระจาย ปรากฏหลักฐานในเอกสารสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่องมณฑลชุมพร ปี พ.ศ. 2441 ตอนหนึ่งว่า “อำเภอพสงทิศเหนือติดต่อกับเมืองหลังสวน เดิมพระวัฒนอุดม (พง) ว่าที่กรมการอำเภอ ตั้งที่ว่าการอำเภอพสง ที่ว่าการริมคลองริมน้ำ ตำบลท่าจาย ต่อมาเมือ่ พ.ศ. 2453 ทางราชการ ได้ยุบอำเภอประสงค์ ลงเป็นกิ่งอำเภอ เรียกว่า “กิ่งอำเภอประสงค์” ขึ้นอยู่กับ อำเภอไชยา และในที่สุดก็ยุบกิ่งอำเภอ ประสงค์ลงเป็นเพียงตำบลหนึ่งใน พ.ศ. 2463 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการ ปกครองในส่วนกลางและการด้อยพัฒนา ในท้องที่ ในระยะนี้ ค นส่ ว นใหญ่ จ ะรู้ จั ก ท่าชนะ ในนามของ “หนองหวาย” เพราะ แต่ เ ดิ ม มาเรี ย กสถานี ร ถไฟท่ า ชนะว่ า “สถานีหนองหวาย ” เมื่อชุมชนต่างๆ ใน เขตอำเภอประสงค์ เ ดิ ม ขยายตั ว ขึ้ น จาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการ ประมงชายฝั่ง ซึ่งได้แก่การทำโป๊ะและการ ขยายตัวของการเกษตรเกี่ยวกับการทำนา ทำสวน ทำให้ชุมชนท่าชนะเริ่มเจริญขยาย ตัวขึ้นใหม่ จนเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2491 ทางกระทรวงมหาดไทย จึงได้รวบรวม ตำบลต่างๆ ได้แก่ ตำบลประสงค์ ตำบลวัง ตำบลท่าชนะ ตำบลสมอทอง และตำบล คันธุลี ยกฐานะขึน้ เป็นกิง่ อำเภอใหม่อกี ครัง้ ขึน้ กับอำเภอไชยา โดยตัง้ ทีว่ า่ การกิง่ อำเภอ ที่ตลาดหนองหวาย ทางตะวันออกของ สถานีหนองหวาย ซึง่ อยูใ่ นเขตตำบลท่าชนะ จึงเปลีย่ นชือ่ อำเภอเสียใหม่วา่ “ กิง่ อำเภอ

ท่าชนะ” และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น อำเภออีกครั้งในปี พ.ศ. 2499 จนกระทั่ง ถึงปัจจุบัน คำว่า “ท่าชนะ” จากเค้าโครง ทางประวัตศิ าสตร์และคำบอกเล่าว่าเมือ่ ครัง้ กรมพระราชวังบวรฯ แม่ทัพปราบพม่า ทางหัวเมืองฝ่ายใต้ จนได้รับชัยชนะแล้ว ได้ประกาศความมีชยั และได้สร้างวัดชือ่ ว่า “โคธาราม” (วัดอัมพาวาสในปัจจุบัน) ขึ้น และได้ทำหลักไม้ตำเสาสีเ่ หลีย่ มหน้า 18 นิว้ สลักอักษรว่า “ชิต เม” แปลว่า “ชนะแล้ว” รวม 2 หลักปักไว้ที่คลองวังเก่า (หมู่ที่ 5 ตำบลวัง) และที่คลองชนะ (หมู่ที่ 5 ตำบล ท่าชนะ) จึงได้เอาชื่อท่าชนะมาตั้งเป็นชื่อ ของอำเภอนี้

คำบอกเล่าชาวบ้านว่าเดิมบริเวณนี้ เรียกว่า “ท่านาก” เพราะมีนากอาศัยอยู่ เป็นจำนวนมาก ตามสำเนียงภาษาถิ่นนี้ ออกเสียง “นาก” เป็น “นะ” จึงเรียกกันว่า “ท่านะ” ต่อมามีการแต่งเติมเป็น “ท่าชนะ” เพื่อให้ความหมายในทางที่เป็นสิริมงคล

ที่สำคัญอำเภอท่าชนะเป็นด่านแรกที่จะ เข้ า สู่ จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ห ากล่ อ งลงมา ทางภาคใต้ ส่วนใหญ่ชาวอำเภอท่าชนะจะ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และที่อำเภอ ท่ า ชนะนี้ เ องมี ส ถานที่ พั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจ บรรยากาศแบบสบายๆ มาแนะนำโดยการ นำของกำนัน และ ส.อบจ.ภูมิ เทือกสุบรรณ และ ส.อบจ.บุญยิ่ง ยังลี นั่นคือ คลองน้ำใส @ บ้านนาบน อำเภอท่าชนะ คลองน้ำใสแห่งนี้ เข้ามาจากทาง ถนนใหญ่ แยกหนองนิลไม่ไกลนัก ตั้งอยู่ ที่หมู่ 10 ตำบลสมอทอง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ถ้าไม่ใช่คนพื้นที่อาจจะหา ยากหน่อย ลองสอบถามคนในพื้นที่ได้ ที่ ส ำคั ญ ด้ ว ยภู มิ ศ าสตร์ ข อง ชาวบ้านในพื้นที่ได้ร่วมใจกันพัฒนาให้เป็น คลองน้ ำ ใสแห่ ง นี้ เ ป็ น สระน้ ำ ธรรมชาติ ใช้ในด้านการเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว เมือ่ เกิดเป็นสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว สิง่ ทีเ่ กิดตาม มาคือ การค้าขายอาหาร น้ำดื่ม ของคน ในพื้นที่ เรียกว่า ท่องเที่ยวเกิดเศรษฐกิจ ตามมา เมื่อเกิดความร่วมไม้ร่วมมือของ แหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น เพื่อเกิดแหล่ง ท่องเที่ยวแห่งใหม่ และยิ่งในช่วงภาวะ คนในท้ อ งถิ ่ น ที ่ อ ยากเห็ น ความเจริ ญ อากาศร้อนแบบนี้ก็จัดแจงเปลี่ยนสถานที่ การพัฒนาของพื้นที่ตนเองแบบนี้ อนาคต ทำฝายชะลอน้ำแบบง่ายๆ รับในช่วง ต่อไป องค์การบริหารส่วนจังหวัดคงจะได้ เทศกาลสงกรานต์แล้วยังได้ประโยชน์เพื่อ มีสว่ นร่วมพัฒนา คลองน้ำใส @ บ้านนาบน อำเภอท่าชนะ แห่งนี้อย่างแน่นอน การเกษตรในหน้าแล้งอย่างนี้อีกด้วย


ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

บอกเล่าเก้าสิบ

7

อบรมสามเณรภาคฤดูร้อน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2559 “เยาวชน” เป็นทรัพยากรบุคคลทีส่ ำคัญยิง่ ของครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในปัจจุบนั สังคมเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว ทัง้ ยาเสพติด เกม และอบายมุข เป็นเรื่องใกล้ตัวเยาวชนอย่างคาดไม่ถึง การสร้างเยาวชนให้เป็นผู้ที่เพียบพร้อม ด้วยความรู้คู่คุณธรรม อาจกระทำได้หลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่ได้รับ การยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานในสังคมไทย คือ การบรรพชาอุปสมบท เพื่อศึกษาและปฏิบัติธรรม อันเป็นรูปแบบของการฝึกฝนอบรมและควบคุมตน พร้อมทัง้ ขจัดขัดเกลากิเลสในใจตน เพือ่ ให้เป็นผูม้ กี าย วาจา ทีเ่ รียบร้อย และจิตใจทีด่ งี าม ตามแนวทางคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สามารถนำหลักธรรม ที่ได้เรียนรู้และฝึกฝนปฏิบัติด้วยดี รวมถึงนำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตสืบต่อไป การเปิดโอกาสให้เยาวชนจำนวน มากๆ ได้เรียนรู้พระพุทธศาสนาในช่วง ปิดเทอมพร้อมกัน ผ่านการบวชสามเณร ณ วัดใกล้บา้ น จึงเป็นเรือ่ งสำคัญและเร่งด่วน ควรที่ผู้ใหญ่จะร่วมกันสนับสนุนคนละไม้ ละมือ เพื่อปกป้องลูกหลานของเราเพื่อ ฟื้นฟูสังคมไทยให้ร่มเย็น อี ก ทั้ ง การบวชเรี ย นเป็ น หน้ า ที่ ของลูกผูช้ าย ความกตัญญูเป็นเครือ่ งหมาย ของคนดี ปู่ย่าตายายจึงปลูกฝังวัฒนธรรม การบวชทดแทนคุณให้แก่ลูกหลานไม่ใช่ บวชแก้บน รับจ้างบวช หรือบวชหน้าไฟ อย่างในปัจจุบัน เนื้อแท้ของการบวชนั้น คือ การยกตนของผู้บวชขึ้นเป็นส่วนหนึ่ง ของพระรัตนตรัย ดังนั้น ผู้เป็นบิดามารดา จึงได้ยกฐานะขึน้ เป็นญาติของพระรัตนตรัย ดังคำโบราณว่า “ได้เกาะชายผ้าเหลือง” เพราะบิ ด ามารดาเป็ น ผู้ ใ ห้ ก ำเนิ ด ชี วิ ต จึงมีพระคุณอันยากจะตอบแทนได้หมดสิน้ จึ ง เป็ น การดี ที่ เ ยาวชนไทยจะได้ บ วช ทดแทนพระคุณตั้งแต่ยังเยาว์วัย ในช่วง ปิดเทอมนี้ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี แ ละคณะสงฆ์ จั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี เล็งเห็นถึงความสำคัญ

ดังกล่าว จึงจัดให้มีโครงการอบรมสามเณร ภาคฤดูร้อนขึ้น โดยให้เด็กและเยาวชน จำนวน 600 คนโดยประมาณ มาบรรพชา สามเณรในระหว่างปิดภาคเรียน ซึ่งมี รายละเอียดการอบรม ดังนี้ ฝึกอบรมเยาวชนเป็น“พุทธบุตร” ก่อนบวช 5 - 7 วัน จัดบรรพชาฝึกอบรมสามเณร ภาคฤดูร้อน จัดอบรมโดยแบ่งการอบรม เป็นกลุ่ม จัดการเรียนการสอนเป็นห้องเรียน และจัดวิทยากรบรรยายพิเศษ ให้ความรู้ร่วมกันในแต่ละวัน การจัดอบรมจะเริ่มดำเนินการ ระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน 2559 ทั้งนี้ เพื่ อ ปลู ก ฝั ง ความรู้ สึ ก นึ ก คิ ด ที่ ดี ง ามทาง ด้านจิตใจ เด็กและเยาวชนสามารถนำ ความรู้ทางด้านศีลธรรมไปประยุกต์ใช้ใน ชีวิตประจำวัน อันจะเป็นผลดีทั้งแก่ตนเอง ครอบครัว สังคมและประเทศชาติ รวมทั้ง ส่ ง เสริ ม อนุ รั ก ษ์ วั ฒ นธรรมไทยให้ ค งอยู่ สืบต่อไป โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการ จัดอบรมในหลายอำเภอ ดังนี้

ลำดับ สถานที่ 1 อำเภอเมือง - วัดพัฒนาราม - วัดกรวด

จำนวน

ระยะเวลา

60 รูป 60 รูป

9 เม.ย. - 30 เม.ย. 10 เม.ย. - 30 เม.ย.

2

อำเภอกาญจนดิษฐ์ - วัดถนนสุวรรณประดิษฐ์

60 รูป

3 เม.ย. - 29 เม.ย.

3

อำเภอดอนสัก - วัดวิสุทธิชลาราม

60 รูป

1 เม.ย. - 20 เม.ย.

4

อำเภอท่าชนะ - วัดกาฬสินธุ์ - วัดถ้ำเขากอบ - สำนักสงฆ์ร่มไทร - สำนักสงฆ์คลองสงค์ - วัดชัยธราวาส

5

อำเภอบ้านนาสาร - วัดควนสุบรรณ

6

อำเภอพนม - วัดพนม

50 รูป 50 รูป 30 รูป 20 รูป 20 รูป 62 รูป 50 รูป

1 เม.ย. - 30 เม.ย.

28 มี.ค. - 13 เม.ย. 3 เม.ย. - 30 เม.ย.


8

ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

เปิดสภา อบจ.สุราษฎร์ธานี

การพัฒนาส่งเสริมการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย (หลักสูตรลูกเสือชาวบ้านฯ)

ลูกเสือชาวบ้าน เป็นกลุม่ ของชาวบ้านทีม่ าทำประโยชน์ให้แก่สงั คมผ่านการลูกเสือ โดยทีม่ กี ารทำงานหรือการเข้าค่ายต่างๆ คล้ายกับลูกเสือทีม่ กี ารเรียนการสอน ตามโรงเรียน เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2512 โดยตำรวจตระเวนชายแดน ได้ฝึกสอนให้ชาวบ้านรู้จักดูแลความปลอดภัยในหมู่บ้าน การป้องกันตนเอง ตลอดจนการสอดแนม รักษาความปลอดภัยตามแนวชายแดนเป็นอันดับต้น (เพื่อป้องกันการคุกคามของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย)

มีการฝึกโดยนำเอาหลักในการ ฝึกวิชาลูกเสือมาเป็นแนวทางปฏิบตั ิ ภายหลัง ได้ รั บ การขยายไปสู่ ทั่ ว ทุ ก ภู มิ ภ าคและ ทุกจังหวัดของพืน้ ทีป่ ระเทศไทย เนือ่ งจาก เป็นองค์กรทีส่ ามารถเสริมสร้างให้ประชาชน ได้มีความผูกพัน เสริมสร้างความรักความ สามัคคีในหมู่คณะได้เป็นอย่างดี การฝึ ก อบรมลู ก เสื อ ชาวบ้ า น สมัยเริ่มแรก ใช้วิธีการแนะนำและชักจูง รวบรวมเอาประชาชน และเอาจิตใจของ ประชาชนให้มารวมกันเป็นมิตร เพือ่ ให้เข้า รวมกันเป็นหมู่คณะ โดยมีการใช้วิธีการ และเอากิจกรรมของลูกเสือ มาเสริมสร้าง ปลูกฝังนิสยั ให้เขารักบ้านเมือง รักถิน่ ฐาน รักหมู่คณะ ร่วมกันทำกิจกรรม ร่วมกัน พัฒนาบ้าน ที่อยู่อาศัย ร่วมกันเสียสละ ช่วยตนเอง และประการสำคัญให้มีความ จงรักภักดีตอ่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย ผลการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้าน หลักสูตรทดลองในช่วงแรกๆ ปรากฏว่า ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม กล่าวคือ สามารถใช้ เ ป็ น ฐานในการต่ อ ต้ า นและ ป้ อ งกั น อิ ท ธิ พ ลของลั ท ธิ ค อมมิ ว นิ ส ต์ อย่างได้ผล ดังนัน้ การฝึกอบรมจึงได้แพร่ขยาย ไปยังจังหวัดต่างๆ มีการส่งเจ้าหน้าที่จาก หลายพืน้ ทีเ่ ข้ามาฝึกอบรม เพือ่ กลับไปเป็น วิทยากรลูกเสือชาวบ้านในท้องถิน่ ของตนเอง ในการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้าน รุน่ ที่ 9 เมือ่ วันที่ 25 - 29 พฤศจิกายน 2514 ที่บ้านทรายมูล ต.อุ่มเหม้า อ.ธาตุพนม จ.นครพนม มีผเู้ ข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 238 คน ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็ จ พระศรี น คริ น ทราบรมราชชนนี ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีปิด นับเป็น พระองค์แรกที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อ ลูกเสือชาวบ้าน

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรกิ จ กรรมลู ก เสื อ ชาวบ้ า น ห่วงรัด ผ้าผูกคอ และหน้าเสือ และทรงรับ กิจการลูกเสือชาวบ้านในพระบรมราชา นุเคราะห์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาสภาลูกเสือแห่งชาติ พิจารณา เห็นว่ากิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นประโยชน์ แก่บ้านเมือง และการพัฒนาชุมชนเพราะ กิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นการดำเนินการ ที่ เ ผยแพร่ กิ จ กรรมและวิ ธี ก ารลู ก เสื อ ชาวบ้านเข้าสู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ในระบอบประชาธิปไตย เพื่อยังประโยชน์ ให้เกิดความรักความสามัคคี ความกลมเกลียว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่ประชาชน ทั้ ง ทางด้ า นร่ า งกายและจิ ต ใจของแต่ ล ะ บุคคล นอกจากนัน้ ยังเป็นการช่วยพัฒนา สังคมโดยทั่วไป โดยระบบหมู่ลูกเสือ จึงได้ ตกลงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นส่วนหนึง่ ของคณะลูกเสือแห่งชาติ เมือ่ 5 กรกฎาคม 2516 และ ฯพณฯ นายอภัย จันทวิมล รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร ซึ่ ง เป็ น ประธานคณะกรรมการบริ ห าร ลูกเสือแห่งชาติ ได้ตราข้อบังคับ ฉบับที่ 6 ลง 5 กรกฎาคม 2516 ให้ผู้อำนวยการ ลูกเสือจังหวัด เป็นผู้อำนวยการลูกเสือ ชาวบ้านโดยตำแหน่ง

ปรากฏว่าในปี 2518 ได้มีการ ฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านครบทุกจังหวัด สมดังพระราชประสงค์ และยังมีการฝึก อบรมลูกเสือชาวบ้านเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน ปัจจุบนั แม้วา่ กิจการลูกเสือชาวบ้าน จะได้ ล ดบทบาทและความสำคั ญ ลงไป แต่ก็ยังมีการจัดฝึกอบรมบ้างตามจังหวัด ต่างๆ และด้วยความสำคัญของกิจการ ลูกเสือชาวบ้านดังกล่าวมาข้างต้น องค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จัด การฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านทัง้ 19 อำเภอ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 เพื่อเสริมสร้างความ เข้มแข็งให้แก่ประชาชน โดยมีนายสมพร วัชรภูษติ สมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการฝึกอบรม พัฒนาส่งเสริม การปกครองตามระบอบ ประชาธิปไตย (หลักสูตรลูกเสือชาวบ้านฯ) โดยมี ลู ก เสื อ ชาวบ้ า นจากอำเภอต่ า งๆ จำนวน 19 อำเภอ เข้าร่วมโครงการในครัง้ นี้ ทั้งหมดจำนวน 300 คน ระหว่างวันที่ 21 - 22 เมษายน 2559 ณ ศูนย์บริการ ผู้สูงอายุบ้านท่าสะท้อน ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในกิจกรรมมีฐานการเรียนรู้ ตามฐาน 8 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 เรื่อง ลูกเสือชาวบ้านกับ

การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคน ในชาติ ฐานที่ 2 เรื่อง ลูกเสือชาวบ้านกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ ฐานที่ 3 เรื่อง อุดมการณ์ลูกเสือชาวบ้าน ฐานที่ 4 เรื่อง ลู ก เสื อ ชาวบ้ า นทบทวนกฎคำปฏิ ญ าณ ฐานที่ 5 เรื่อง ลูกเสือชาวบ้านกับความ เป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ช่วงเวลา 19.00 น. เริม่ พิธกี ลางคืน ซึ่งเป็นการละเล่นรอบกองไฟ ของลูกเสือ ชาวบ้าน โดยแบ่งกลุม่ กิจกรรม 5 กลุม่ และ มีการแข่งขันขนมโคสามช่า โดยอำเภอที่ ได้รบั รางวัลที่ 1 คือ อำเภอชัยบุรี รางวัลที่ 2 อำเภอคีรรี ฐั นิคม รางวัลที่ 3 อำเภอดอนสัก ในวั น ที ่ 2 จะมี ก ารสรุ ป ผลการ ดำเนินกิจกรรม รวบรวมปัญหา ข้อเสนอแนะ และทบทวนกิ จ การลู ก เสื อ ชาวบ้ า น โดยวิทยากรชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัด สุราษฎร์ธานี หลังจากนั้น จะเป็นกิจกรรม ฐานการเรียนรู้ (ต่อ) ฐานที่ 6 เรื่อง ลูกเสือ ชาวบ้าน กับหลักการสำคัญของลูกเสือ ชาวบ้าน ฐานที่ 7 เรื่อง บทบาทลูกเสือ ชาวบ้านในการสนับสนุนการพัฒนาท้องถิน่ ฐานที่ 8 เรื่อง ลูกเสือชาวบ้านกับกิจกรรม นันทนาการอย่างสร้างสรรค์ การจัดโครงการในครัง้ นี้ เป็นการ ร่ ว มดำเนิ น การระหว่ า งองค์ ก ารบริ ห าร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และชมรมลูกเสือ ชาวบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือว่าประสบ ผลสำเร็จเป็นทีน่ า่ พอใจ จากจำนวนสมาชิก ลูกเสือชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการฯ และ สรุปผลการทำกิจกรรมต่างๆ ตรงตาม วัตถุประสงค์ของโครงการที่ได้ตั้งไว้


ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

เปิดสภา อบจ.สุราษฎร์ธานี

9

สัมมนาสร้างเครือข่ายประชาธิปไตย

(กศน.สานฝันสมานฉันท์สู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์) ประเทศไทยมี ก ารปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข มาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2475 หลั ง จากเกิ ด การเปลี่ ย นแปลงการ ปกครองมาจากระบอบสมบู ร ณาญา สิทธิราชย์ ซึ่งการเมืองการปกครอง ของประเทศก็ได้ผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆ มีการพัฒนาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน รวมเวลา 83 ปี มีรัฐธรรมนูญทั้งหมด 18 ฉบับ ในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึง่ เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 18 ที่ได้ถูก ยกเลิกไปโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ไปแล้วนั้น ล้วนมีสาระสำคัญที่จะ

ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ของประชาชน และศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยและรวมถึงการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ แต่ยังมีเยาวชนและ ประชาชนอี ก จำนวนไม่ น้อ ยที่ยัง ขาด ความรู้ความเข้าใจ อีกทั้งไม่ให้ความ สนใจและความสำคั ญ เกี่ ย วกั บ การ ปกครองในระบอบประชาธิ ป ไตย ตลอดจนการมีสิทธิเสรีภาพ รวมถึง การที่ ไ ม่ ไ ด้ เ ข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในทาง การเมืองอย่างเต็มที่ จึงทำให้เกิด ปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นผลให้ประชาธิปไตย ของไทยไม่พัฒนาไปเท่าที่ควร

องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี จึงได้ตระหนักถึงความ สำคั ญ ของบทบาทและหน้ า ที่ ข อง เยาวชนไทย เพื่อให้เยาวชนเสริมสร้าง และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ สร้าง ทัศนคติเกี่ยวกับการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยทีส่ มบูรณ์ และยังนำความรู้ ที่ ไ ด้ รั บ ไปประยุ ก ต์ ใช้ ต ลอดจนนำไป เผยแพร่เพือ่ สร้างเครือข่ายการมีสว่ นร่วม ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่ อ ให้ เ ยาวชนเติ บ โตไปเป็ น ผู้ น ำที่ ดี ของชาติในอนาคต

เมื ่ อ วั น ที ่ 26 เมษายน 2559 กองกิ จ การสภาองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว น จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดทำโครงการฝึก อบรมสัมมนาสร้างเครือข่ายประชาธิปไตย โดยมีนายสุรัติ เพรชพริ้ม ผู้อำนวยการ กองกิ จ การสภาองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว น จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิด ในพิธกี ารฝึกอบรมสัมมนาสร้างเครือข่าย ประชาธิปไตยซึ่งมีนักเรียนนักศึกษาใน สังกัด กศน.จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้ารับ การสั ม มนาในครั ้ ง นี ้ ก ว่ า 100 คน ณ ภูผาและลำธารรีสอร์ท อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี


10

ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

เรื่องเด่นในเล่ม

โครงการประกวดสื่อ – นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้

โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในการเรียนการสอน โดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบที่สําคัญอยู่ 3 ประการ คือ ผูส้ อน ผูเ้ รียน และสือ่ การเรียน การสอน สื่อการเรียนการสอนที่ใช้กันมาก คือ ภาษาพูด และภาษาเขียน ต่อมาได้มีการ พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ ในปัจจุบันจะพบว่ามี สื่อการเรียนการสอนมากมายหลายชนิด เพราะถือว่า สื่อการเรียนการสอน คือ มือที่สามของครู ช่วยให้ครูสอนได้สนุก และมีประสิทธิภาพ ดังนั้น บทบาทของสื่อการเรียน การสอนในบทเรียน ก็คือ เป็นตัวกลาง ตัวช่วย ในการให้ข้อมูลความรู้หรือสิ่งบอก กล่าวผูเ้ รียน แต่การใช้สอ่ื การเรียนการสอน ให้ได้ผลนัน้ ต้องตรงกับจุดประสงค์ เนือ้ หา และกิจกรรมของบทเรียน อีกทั้งยังต้องใช้

อย่างประหยัด และคุ้มค่าอีกด้วย ในการนี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงจัดโครงการประกวดสื่อ - นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ โรงเรียนในสังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทั้ง 3 โรงเรียน ไดแก่ 1. โรงเรี ย นองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว น จังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์) 2. โรงเรี ย นองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว น จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2 (บ้านดอนเกลี้ยง) 3. โรงเรี ย นองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว น จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 (บ้านนา) ณ หอประชุมรินทอง โรงเรียน เมืองสุราษฎร์ธานี เพื่อส่งเสริมสนับสนุน ให้ครูได้ใช้ความรู้ความสามารถ ในการ ผลิตสื่อที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน

การสอนในแต่ ล ะกลุ่ ม สาระการเรี ย นรู้ ซึง่ จะทำให้ครูเกิดความมัน่ ใจ มีแรงจูงใจใน การพัฒนา และค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ใช้ กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ที่ ห ลากหลายเน้ น ผูเ้ รียนเป็นสำคัญ ซึง่ ในครัง้ นีม้ คี รูสง่ ผลงาน เข้าร่วมประกวดจำนวน 80 คน โดยมีนายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดโครงการ และมีนายชูชีพ ชู จ ิ ต ผู ้ อ ำนวยการกองการศึ ก ษาฯ กล่าวรายงาน ในการนี้นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังได้มอบ เกียรติบัตรและเงินรางวัลสำหรับครูที่ชนะ การประกวดและยังได้สนับสนุนเงินรางวัล เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ชนะ และผู้ที่ส่งผลงาน เข้าร่วมการประกวดทุกคนอีกด้วย

โดยการประกวดสื่อ - นวัตกรรม ประกอบด้วย 9 กลุ่มสาระ ดังนี้ 1. ปฐมวัย 2. ภาษาไทย 3. คณิตศาสตร์ 4. การงานอาชีพฯ 5. ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) 6. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 7. วิทยาศาสตร์ 8. ศิลปะ 9. สุขศึกษาและพลศึกษา


ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

เรื่องเด่นในเล่ม

ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพ ฝีมือแรงงานด้านการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ฯ หรืออื่นๆ ที่เป็นการเพิ่มผลผลิต

ด้ ว ยแรงงงานเป็ น ผู้ ที่ มี ค วาม สำคั ญ ในฐานะที่ เ ป็ น ปั ย จั ย หลั ก ในการ ผลิตสินค้า และเป็นทุนมนุษย์ที่สามารถ พั ฒ น า ศั ก ย ภ า พ ใ ห้ สู ง ขึ้ น ไ ด้ ซึ่ ง แรงงานคือผู้ที่อยู่ในวัยทำงานที่สามารถ ทำรายได้โดยใช้กำลังกายและกำลังความคิด ที่มีหลายระดับความรู้ ซึ่งจากกระแสใน สังคมไทยปัจจุบัน เน้นให้คนไทยจบการ ศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นอย่างต่ำจึงทำ ให้ ไ ม่ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของ ภาคการผลิตและก่อสร้างที่เน้นแรงงาน ขั้ น ต่ ำ ซึ่ ง ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งจบปริ ญ ญาตรี จึ ง ทำให้แรงงานขาดตลาด จนต้องนำแรงงาน ต่างด้าวเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่คนไทย ไม่ต้องการ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ หากเข้าสู่ ประชาคมอาเซียน อาจทำให้แรงงานฝีมือ คนไทยไม่สามารถเข้าแข่งขันกับประเทศ ในกลุ่มอาเซียนได้ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 กองส่งเสริมคุณภาพชีวิตองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดโครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพฝีมือแรงงานด้าน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ฯ หรืออื่นๆ ที่เป็น การเพิ่มผลผลิต ณ สวนอาหารป๊อปอาย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเพิ่มทักษะความรู้เกี่ยวกับ การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ

2. เพื่อยกระดับฝีมือแรงงานสู่ ตลาดแรงงานอุตสาหกรรมและพานิชยกรรม 3. เพื่อพัฒนาศักยภาพฝีมือ แรงงานในประเทศให้ทัดเทียมและสามารถ แข่ ง ขั น กั บ ประเทศในกลุ่ ม ประชาคม อาเซียน รวมถึงต่างประเทศได้ โดยมี นางสาวมณฑิ ร า จำปา สมาชิ ก องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ กล่าวรายงานการจัดโครงการ และมีนาย ก่อเกียรติ อินทรักษ์ รองนายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธาน ในพิ ธี เ ปิ ด โครงการส่ ง เสริ ม และพั ฒ นา อาชี พ ฝี มื อ แรงงานด้ า นการแปรรู ป ผลิตภัณฑ์ฯ หรืออื่นๆ ที่เป็นการเพิ่ม ผลผลิต โดยมีผเู้ ข้าอบรมในโครงการครัง้ นี้ จำนวน 100 คน จากผู้ประกอบการที่ใช้ ทักษะฝีมือแรงงาน รวมถึงประชาชนผู้ที่ สนใจ โดยได้รับเกียรติจากคณะวิทยากร ในพื้ น ที่ ที่ มี ค วามรู้ ด้ า นอาชี พ การทำ เดคูพาจ ซึ่งเป็นอาชีพที่สอดคล้องกับ สภาพพืน้ ทีจ่ งั หวัดสุราษฎร์ธานี ทีเ่ ป็นแหล่ง ท่องเที่ยว เป็นการส่งเสริมให้ประชาชน สร้างผลิตภัณฑ์จำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว ก่อให้เกิดเป็นการเสริมสร้างรายได้ให้กับ ครอบครัว และชุมชน

11


12

ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

กิจกรรม ชาว อบจ.

พิธีรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม พระอารามหลวง โดยมีพระพรหมจริยาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนใต้ เจ้าอาวาส วัดกะพังสุรนิ ทร์เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ประกอบพิธถี วายการต้อนรับพระบัญชา สมเด็จพระสังฆราช และมีนายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส อ่านพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช เรื่องแต่งตั้งพระเทพพิพัฒนาภรณ์ (ชูชาติ) ฉายา กตฺตวณฺโณ อายุ 75 พรรษา วิทยฐานะ ป.ธ.5 น.ธเอก เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพัฒนาราม พระอารามหลวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชนชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมในพิธีเป็น จำนวนมาก ณ วัดพัฒนาราม อารามหลวง

เมื่อวันศุกร์ที่ 1 เมษายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมพิธตี อ้ นรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งพระเทพพิพัฒนาภรณ์ (ชูชาติ กนฺตวณฺโณ) เป็นเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม

พิธีส่งมอบสนาม และเปิดใช้สนาม เทนนิสค่ายวิภาวดีรังสิต

ร่วมพิธีบรรจุแผ่นเงินแผ่นทอง ในเม็ดพระศก

เมือ่ วันเสาร์ท่ี 9 เมษายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมการส่งมอบสนาม และเปิดใช้สนาม เทนนิสค่ายวิภาวดีรังสิต ซึ่งสนามเทนนิสแห่งนี้ ได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2525 โดยงบประมาณจากภาคเอกชน เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับผู้รักสุขภาพ และ ชืน่ ชอบในกีฬาเทนนิส ต่อมาในปี 2558 อบจ.สุราษฎร์ธานี ได้ตง้ั งบประมาณ เพือ่ สนับสนุนในการปรับปรุงซ่อมแซมสนามให้เป็นสนามเทนนิสทีไ่ ด้มาตรฐาน

เมือ่ วันเสาร์ท่ี 9 เมษายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมพิธีบรรจุแผ่นเงินแผ่นทองในเม็ดพระศก พระพุทธเมตตา ณ สำนักสงฆ์เขาพนมวัง หมู่ที่ 6 ต.ป่าร่อน อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี โดยจัดสร้างเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งทางสำนักสงฆ์ฯ ได้จัดสร้างองค์พระ และทำการบรรจุ แผ่นเงิน แผ่นทองพร้อมวัตถุมงคลในเม็ดพระศก เพื่อที่จะนำขึ้นไปติดตั้งบน พระเศียรขององค์พระ โดยภายในงานมีพี่น้องประชาชนให้ความศรัทธาเข้า ร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชนที่มาใช้บริการ ซึ่งงานนี้บรรดานักกีฬาที่ ชื่นชอบในกีฬาเทนนิสต่างให้ความสนใจและประเดิมสนามใหม่กับกิจกรรม การแข่งขันเทนนิสเป็นจำนวนมาก ปิดท้ายด้วย พลตรีวิชัย ทัศนมณเฑียร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 45 กล่าวขอบคุณหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้อง ที่ให้การสนับสนุนครั้งนี้

รำลึกวีรชนอนุสรณ์สถานบ้านช่องช้าง เมื่อวันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2559 นายสมศักดิ์ สิทธิเสรี ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานวาง พวงมาลาคารวะวีรชน และกล่าวเปิดงานรำลึกวีรชนอนุสรณ์ สถานบ้านช่องช้าง ณ อนุสรณ์สถานบ้านช่องช้าง หมู่ที่ 7 ตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งภายใน งานยังมีการรดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุ แสดงมุทิตาจิต และรำลึก วีรชน ออกบูท๊ ร้านค้า จำหน่ายของในพืน้ ที่ บริการตรวจสุขภาพ แบบดัง้ เดิม การฝังเข็ม การนวดแผนไทย นิทรรศการความเป็นมา ของอนุสรณ์สถานฯ การแสดงของนักเรียน กลุม่ แม่บา้ นในพืน้ ที่


ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

กิจกรรม ชาว อบจ.

13

พิธีวันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ เมือ่ วันพุธที่ 6 เมษายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมคณะข้าราชการ เข้าร่วมพิธีวันที่ระลึกพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ โดยมี นายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธี ณ ศาลากลาง ชั้น 5 ห้องประชุมเมืองคนดี

ร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2559 แห่ผ้าห่มพระพุทธรูปวัดถ้ำใหญ่

เมือ่ วันพุธที่ 13 เมษายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนายไชยกฤต เอื้อกฤดาธิการ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมงานประเพณี สงกรานต์ ประจำปี 2559 โดยมีนายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ให้ยั่งยืนสืบไป ตลอดจน เป็นการสร้างเอกลักษณ์ประเพณีสงกรานต์ของ จังหวัดสุราษฎร์ธานีให้เป็นที่รู้จัก ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาว ต่างชาติ ณ บริเวณสะพานนริศ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายภูมิ เทือกสุบรรณ สมาชิก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และ พี่น้องประชาชน ร่วมงานแห่ผ้าห่มพระพุทธรูปวัดถ้ำใหญ่ ณ วัดถ้ำใหญ่ ตำบลวัง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เปิดการแข่งขันฟุตบอล อบจ.สุราษฎร์ธานี คัพ อำเภอกาญจนดิษฐ์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2559 นายก่อเกียรติ อินทรักษ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิด การแข่งขันฟุตบอล อบจ.คัพ อำเภอกาญจนดิษฐ์ ณ สนามฟุตบอลโรงเรียน วัดวังไทร อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีนายปรีชา เพชรรัตน์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นผูก้ ล่าวรายงานวัตถุประสงค์ การแข่งขันฟุตบอล 11 คน ประเภทผู้นำท้องถิ่นและประเภทประชาชน เพื่อเป็นการคัดเลือกตัวแทนเข้าทำการแข่งขันในระดับจังหวัดต่อไป


14

ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

Special Report

จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ สุราษฎร์ธานี ตามทีม่ กี ารนำเสนอจังหวัดปฏิรปู การเรียนรูจ้ งั หวัดสุราษฎร์ธานี ในภาพรวม ว่ า ได้ ดำเนิ น การกิ จ กรรม 5 กิจ กรรม ได้แก่ 1. การจัดทำหลักสูตรพุทธทาสศึกษา 2. การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ ด้านการ ศึกษาและการมีงานทำ 3. การพัฒนาเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (เด็ก LD) 4. การพัฒนาครูโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน 5. การจัดตั้งสมัชชาการศึกษาจังหวัด สุราษฎร์ธานี ฉบับนี้ขอนำเสนอ การจัดทำ หลักสูตรพุทธทาสศึกษา และฉบับต่อๆ ไป จะนำเสนอกิจกรรมที่ 2 - 5 ตามลำดับ การจัดทำหลักสูตรพุทธทาส ความเป็นมา

ท่ า นพุ ท ธทาสเป็ น ต้ น ทุ น ทาง สังคมของจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีคุณค่า อันสูงยิ่ง คำสอนอันโดดเด่นของท่าน คือ เรื่อง “การปล่อยวาง” ผลงานอันยิ่งใหญ่ ของท่านคืองานนิพนธ์ชุด “ธรรมโฆษณ์” และงานอีกไม่น้อยกว่า 350 เล่ม ตลอดเวลาทีม่ ชี วี ติ อยูท่ า่ นพุทธทาส ภิกขุได้รับการสดุดีว่าเป็นมหาปราชญ์แห่ง พุทธธรรมบูรพาทิศ ที่มีเกียรติคุณไม่น้อย ไปกว่าท่านนาคารชุน ปราชญ์ใหญ่ฝ่าย มหายานในอดีต ปัญญาชนทั้งไทย และ ต่างประเทศถือว่า ท่านเป็นนักปฏิรูป พระพุ ท ธศาสนาที่ ส ำคั ญ ที่ สุ ด รู ป หนึ่ ง ของไทย และเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2548 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้มีมติให้

ประกาศยกย่ อ งพระธรรมโกศาจารย์ พุทธทาสภิกขุ เป็นบุคคลสำคัญของโลก เด็ก เยาวชน และประชาชนใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ควรรู้จักท่านเป็น อย่างดี และนำคำสอนของท่านมาศึกษา มาเรียนรู้ และนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิต ประจำวัน เพื่อให้ตนเอง ครอบครัว ชุมชน มีคุณธรรม จริยธรรม อยู่ร่วมกันในสังคม อย่างมีความสุข ส่งผลให้จงั หวัดสุราษฎร์ธานี เป็น “เมืองคนดี” วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้โรงเรียนได้นำหลักสูตรพุทธทาส ศึกษาไปใช้ในโรงเรียน 2. เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามี ความรูค้ วามเข้าใจหลักสูตรพุทธทาสศึกษา และสามารถจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ไ ด้ อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชน ให้ มี คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมสู ง ขึ้ น โดยใช้ หลักสูตรพุทธทาสศึกษาเป็นเครื่องมือ การดำเนินงาน 1. แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำหลักสูตร พุทธทาสศึกษา 2. วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร และแหล่งข้อมูลต่างๆ 3. ดำเนินการจัดทำกรอบหลักสูตรพุทธทาส ศึกษา 4. ทำประชาพิจารณ์ 5. กำหนดองค์ประกอบของหลักสูตร 6. กำหนดผลการเรียนรู้ 7. จัดทำคำอธิบายรายวิชา 8. จัดทำหน่วยการเรียนรู้ 9. จัดทำเอกสารประกอบการสอน 10. จัดทำคู่มือครู


ปีที่ 19 ฉบับที่ 202 ประจำเดือนเมษายน 2559

11. วิจัย ติดตาม ประเมินผล 12. ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร 13. ทดลองใช้หลักสูตร ผลการดำเนินงาน การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม เด็ ก และเยาวชนในจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี โดยใช้หลักสูตรพุทธทาสศึกษา ซึ่งเป็น หลักสูตรที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เรียน ในการเป็นคนดี มีศีลธรรม และจริยธรรม ได้ดำเนินการใน 3 ส่วน บัดนี้ ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทัง้ 3 ส่วน ได้แก่ 1. หลักสูตร ประกอบด้วย 5 สาระการ

บทที่ 5 ศีลธรรมกับการศึกษา บทที่ 6 ศีลธรรมในชีวิตประจำวัน บทที่ 7 ปณิธาน 3 บทที่ 8 คำสอนของท่านพุทธทาส 3. คู่มือครู ได้จัดทำหน่วยการเรียนรู้เพียง บางหน่วย เพื่อเป็นตัวอย่างให้ครูนำไปใช้ ในการจัดการเรียนรู้ต่อไป เรียนรู้ ดังนี้ ขัน้ ตอนต่อไป จะจัดประชุมวิพากษ์ สาระที่ 1 ประวั ต ิ แ ละผลงานของท่ า น หลักสูตร เอกสารประกอบการสอน และ พุทธทาส คู่มือครู คาดว่าจะจัดในวันที่ 1 เมษายน สาระที่ 2 ศีลธรรมในชีวิตประจำวัน 2559 ที่สวนโมกขพลาราม และจะนำ สาระที่ 3 ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) ข้อวิพากษ์ไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป สาระที่ 4 คำสอนสำคัญ ในปีการศึกษา 2559 จะนำ สาระที่ 5 คำสอนเรื่อง 5 ดี 2. เอกสารประกอบการสอนประกอบด้วย หลักสูตรพุทธทาสศึกษา ไปทดลองใช้ใน โรงเรียน 12 โรง ดังนี้ 8 บท ดังนี้ บทที่ 1 ประวัตแิ ละผลงานของท่านพุทธทาส 1. โรงเรียนบ้านหัวหมากบน อ.กาญจนดิษฐ์ 2. โรงเรียนบ้านแม่โมกข์ อ.กาญจนดิษฐ์ บทที่ 2 ทัศนทางศีลธรรม 3. โรงเรียนบ้านพรุยายชี อ.ไชยา บทที่ 3 ศีลแห่งความเป็นมนุษย์ 4. โรงเรียนบ้านควนสูง อ.เวียงสระ บทที่ 4 ปัญญา ศีล สมาธิ

Special Report

15

5. โรงเรียนวัดสามพัน อ.พระแสง 6. โรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 อ.เมือง 7. โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี อ.ไชยา 8. โรงเรียนพุทธนิคม อ.ไชยา 9. โรงเรียนมัธยมพุทธนิคม อ.ไชยา 10. โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์) อ.ดอนสัก 11. โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี 2 (บ้านดอนเกลีย้ ง) อ.เมือง 12. โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี 3 (บ้านนา) อ.บ้านนาเดิม ในระหว่ า งที่ ท ำการทดลองใช้ หลักสูตร จะตั้งคณะทำงานออกไปนิเทศ ติ ด ตามให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ เป็ น ระยะๆ พร้อมทั้งจัดตั้งคณะวิจัย เพื่อวิจัยการ ทดลองใช้หลักสูตรควบคู่กันไป


มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย มีศีลธรรม รักษาความซื่อสัตย์ เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย

มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมายผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่ มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความเข้มแข็งทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม มากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. 077-272941 www.suratpao.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.