วารสารประชาสัมพันธ์ อบจ สุราษฎร์ธานี ฉบับเดือนกันยายน 2559

Page 1

ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือน

อบจ.

สุราษฎร์ธานี วารสารเพื่อการประชาสัมพันธ์

กันยายน 2559 ISSUU

9

2559

www.suratpao.go.th : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ประธานสภา อบจ. ยุติการพิจารณารา่ งขอ้ บัญญัติงบประมาณรายจา่ ยเพิ่มเติม อ่านต่อหน้า

8

จังหวัดปฏิรูป การเรียนรู้

อ่านต่อหน้า

4

อ่านต่อหน้า

การสง่ เสริมศักยภาพ

ในการรักษาความสงบเรียบรอ้ ย และศีลธรรมอันดีแกป่ ระชาชน จังหวัดสุราษฎรธ์ านี อ่านต่อหน้า

6

7

ลูกป่าในใจคน

สร้างชุมชนสีเขียว


2

ปลัด อบจ.ขอคุย/สารบัญ/คณะผูจ ้ ัดทำ

ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

ปลัดอบจ. ขอคุย

EDITOR’S NOTE

เดือน ก.ย. 59

ขอต้อนรับปีงบประมาณใหม่

สวัสดีครับพี่น้องชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เคารพรักทุกท่าน วันเวลาผ่านมาอย่างรวดเร็ว เข้าสูร่ อยต่อของปีงบประมาณ 2559 ในเดือนกันยายน และก้ า วเข้ า สู่ ปี ง บประมาณใหม่ ใ นเดื อ นตุ ล าคม เรียกว่าแต่ละปีช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วเสียจริงๆ และในทุกสิ้นปีงบประมาณตามหลักของ ราชการ ชีวติ ข้าราชการทัว่ ไปก็จะครบรอบการทำงาน ที่เรียกว่าเกษียณอายุราชการ เมื่อครบกำหนด 60 ปี ข้าราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานีปนี ้ี ก็มพี ๆ่ี ทีเ่ คารพรักเกษียณอายุราชการ 6 ท่าน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันทุกวันเหมือนครั้ง เก่าก่อน แต่ความรักความผูกพันยังคงอยู่มิรู้เลือน เฉกเช่นคลื่นลูกเก่าค่อยๆ จางลงไป คลื่นลูกใหม่ก็จะ มีพลังเข้ามาเช่นเดียวกันเมือ่ มีขา้ ราชการเกษียณอายุ ก็จะต้องมีคนใหม่เข้ามาทดแทน จั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี ข องเราเองก็ ไ ด้ ผู้ว่าราชการคนใหม่ แทนนายวงศศิริ พรหมชนะ

สารบัญ

Contents เรื่องเด่นในเล่ม

2

ปลัด อบจ.ขอคุย คณะผู้จัดทำ

6

3

จากใจนายก อบจ.

7

เรื่องเด่นในเล่ม

4

เรื่องจากปก

8

เปิดสภา อบจ.สุราษฎร์ธานี

จังหวัดปฏิรูป การเรียนรู้

คณะผู้จัดทำ Positioning

การส่งเสริมศักยภาพ ในการรักษาความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีแก่ประชาชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ปลูกป่าในใจคน สร้างชุมชนสีเขียว ยุติการพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติม

ทีเ่ กษียณอายุราชการลง คือ นายอวยชัย อินทร์นาค ผูว้ า่ ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานีพอ่ เมืองสุราษฎร์ธานี ที่จะมาสานต่อภารกิจสำคัญเมื่อครั้งที่ท่านยังเป็น รองผูว้ า่ ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสร้างสรรค์ สิ่งใหม่ๆ ให้กับพี่น้องชาวเมืองคนดีต่อไป เมื่อเวลาผันผ่านไป ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นตามกาลเวลา แต่แม้ว่าวันและเวลาจะเปลี่ยน ผ่านไปเท่าใด แต่พวกเราชาวองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังคงมีความตั้งใจและมุ่งมั่น ที่จะพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีของเราในทุกๆ ด้าน เพือ่ ประโยชน์ของพีน่ อ้ งประชาชนทุกคนอย่างสูงสุด เพราะเราคือ “ข้าของแผ่นดิน”

สมศักดิ์ สิทธิเสรี ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

10 11

บอกเล่าเก้าสิบ

12 13 14

บอกเล่าเก้าสิบ

¡ÒÃàÊÔÁการฝึกอบรมกระบวนการรับฟังความคิดเห็น บอกเล่าเก้าสิบ

การส่งเสริมความเข้มแข็งทางการเมือง สู่การจัดตั้งสภาพลเมือง ¡ÒÃàÊÔÁการเสริมสร้าง สถาบันครอบครัว บอกเล่าเก้าสิบ

พัฒนาศักยภาพครูผดู้ แู ลเด็ก จังหวัดสุราษฎร์ธานี กิจกรรมชาว อบจ.

คณะที่ปรึกษา : นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, นายก่อเกียรติ อินทรักษ์, นายดำรงค์ เทือกสุบรรณ, นายวิวัฒน์ สรรพา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, นายไชยกฤต เอื้อกฤดาธิการ, นายศิลายุทธ์ คงอุดหนุน, เลขานุการนายกฯ, นายพงศ์รัตน์ ปิ่นแก้ว, นายปรีชา เรืองศรี, นายสมเกียรติ วิรัตน์ ที่ปรึกษานายกฯ, บรรณาธิการ : นายสมศักดิ์ สิทธิเสรี ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี, กองบรรณาธิการ : น.ส.อภิญญา ดำดี, น.ส.วรรณา ตะโฉ รองปลัดองค์การฯ, นายอภิรักษ์ ศักดา ผู้อำนวยการกองช่าง, นายชูชีพ ชูจิต ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, นางทิพย์วรรณ สุราษฎร์ ผูอ้ ำนวยการกองคลัง, นายเฉลิมพล บุรนิ ทร์พงษ์ ผูอ้ ำนวยการกองแผนและงบประมาณ, นายวิรชั นุน่ แก้ว ผูอ้ ำนวยการกองพัสดุและทรัพย์สนิ , นายสุปญ ั ญา ชูเพชร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมคุณภาพชีวิต, นายสุรัติ เพชรพริ้ม ผู้อำนวยการกองกิจการสภาฯ, นางยุพาพันธุ์ คงชนะ ผู้อำนวยการกองการท่องเที่ยวและกีฬา, นางวิมล บุญรอด ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่, นายสมหมาย นุ้ยแดง หัวหน้าสำนักปลัดฯ อำนวยการผลิต : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถ.ดอนนก ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 โทร : 077-272941 แฟกซ์ : 077-285110 Email : suratee@suratthani.go.th ออกแบบ/จัดพิมพ์โดย : บริษัท โรงพิมพ์ดีชัย จำกัด 1/7 ถ.พัฒนาการคูขวาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร : 075-322955, 085 - 8828838, 087 - 2802270 Email : Dchai@hotmail.co.th


จากใจนายก อบจ.

ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

3

จากใจนายก อบจ. ขอบคุณทุกท่าน

ที่ให้ความร่วมมือเพื่อจังหวัด “สุราษฎร์ธานี”ของเราทุกคน วันเวลาผ่านไปช่างรวดเร็วเสียจริง เพราะว่าเดือนกันยายนผ่านพ้น สิ้นปีงบประมาณ 2559 เข้าตุลาคม ก็เป็นปีงบประมาณ 2560 การพัฒนา ส่งเสริม ในด้านต่างๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเรานัน้ จำเป็น ต้องอาศัยงบประมาณเป็นจำนวนมากในการที่จะไปดำเนินการเรื่องดังกล่าวได้ โดยต้องเริ่มต้นจากการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีของเราเอง ต้องมีการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี เพื่อที่จะดำเนินการเตรียมโครงการต่างๆ ที่จะดำเนินการในระยะเวลา 3 ปี เมื่อเราได้จัดทำแผน 3 ปี เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในปีงบประมาณ นั้นๆ เราก็จะนำโครงการในแผนพัฒนา 3 ปี มาบรรจุไว้ในร่างข้อบัญญัติของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีตามความจำเป็นเร่งด่วน ต่ อ มาเราจะนำเสนอต่ อ สมาชิ ก สภาองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี เพื่อให้สภาฯ ได้ดำเนินการพิจารณาตามวาระ และเมื่อผ่านการ อนุมัติของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้ว ก็จะนำเสนอต่อ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพือ่ ประกาศและนำไปสูก่ ระบวนการดำเนินการ ตามข้อบัญญัตทิ ผ่ี า่ นสภาฯ เราก็จะสามารถนำงบประมาณมาใช้จา่ ยตามโครงการ ต่างๆ ได้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีของเราอย่างยั่งยืน โดยในปีงบประมาณ 2560 นี้ สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้อนุมัติงบประมาณเป็นจำนวนเงิน 1,192,816,500 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนงานด้านต่างๆ ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีของเรา

ต้องขอบคุณสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีทุกท่าน ทีเ่ ล็งเห็นความสำคัญของงบประมาณในปี 2560 นี้ ซึง่ จะสามารถดำเนินการในเรือ่ ง ต่างๆ ตามโครงการได้ เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนทุกคนอย่างแท้จริง และในเดือนตุลาคม 2559 นี้ เรามีประเพณีชกั พระ ทอดผ้าป่า แข่งเรือยาว จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประจำปี 2559 โดยในปีนี้ความแตกต่างจากทุกปี คือ เราจะมี บ้านพี่เมืองน้องอย่างจังหวัดอุบลราชธานี นำกระบวนการทำต้นเทียนพรรษามาให้ พี่น้องบ้านเราและนักท่องเที่ยวที่มาร่วมงานได้ชมกัน พร้อมด้วยต้นเทียนที่ประดับ ตกแต่งเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วร่วมขบวนแห่ในปีนี้ด้วย ถือได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการท่องเที่ยวในงานประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า แข่งเรือยาว จังหวัดสุราษฎร์ธานีของเรา นอกจากนักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวชมงานดังกล่าวในปีนี้แล้วนั้น จังหวัด สุราษฎร์ธานีของเรายังได้ต้อนรับ คณะผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด อุบลราชธานี และ เทศบาลนครอุบลราชธานี ที่มาร่วมงานด้วยเช่นกัน แต่การจัดงานประเพณีชักพระ ทอดผ้าป่า แข่งเรือยาว จังหวัดสุราษฎร์ธานี ก็ดี ต้องอาศัยความร่วมไม้ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ จากทุกภาค เพื่อให้งานนี้ บรรลุเป้าหมายได้อย่างเรียบร้อย เป็นที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ของพวกเราทุกคน ทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี


4

เรื่องจากปก

ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

จังหวัดปฏิรูป การเรียนรู้ พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 17 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองไว้หลายประการ รวมทั้งการจัดการการศึกษา ซึ่งเป็นภารกิจ สำคัญขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดเป็นบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น

นับตั้งแต่มีการปฏิรูปการศึกษา ครั้งใหญ่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 เป็นต้นมา ส่ ง ผลให้ ป ระเทศไทยมี พ ระราชบั ญ ญั ติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นับเป็น กฎหมายการศึกษาฉบับแรกของไทย โดยมี สาระเกีย่ วกับการปฏิรปู การศึกษาหลายด้าน ทีส่ ำคัญ ซึง่ เป็นหัวใจของการปฏิรปู ทัง้ หมด ก็คือ “การปฏิรูปการเรียนรู้” มุ่งสร้าง “วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้” ให้เกิดขึ้นแก่ เด็กไทยในทุ ก ฝ่ า ยที่ เ กี่ ย วข้ อ งแต่ ก็ เ ป็ น เรือ่ งยากทีจ่ ะให้การปฏิรปู การเรียนรูเ้ ป็นไป อย่างได้ผลและมีความยัง่ ยืน่ เนือ่ งจากต้องมี ยุทธศาสตร์ทม่ี ศี กั ยภาพและเหมาะสม ทัง้ นี้ การจัดการศึกษาให้มคี ณ ุ ภาพและได้มาตรฐาน

สอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการของบุ ค คล และสังคม มีความสำคัญยิง่ ในการพัฒนาคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของประเทศ องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญใน การปฏิ รู ป การเรี ย นรู้ ข องจั ง หวั ด ให้ มี คุ ณ ภาพโดยเกิ ด จากการมี ส่ ว นร่ ว มของ ทุกภาคส่วน จึงได้จัดโครงการจังหวัด ปฏิรปู การเรียนรูเ้ พือ่ ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย และอุดมการณ์ในการจัดการศึกษาเพื่อให้ จังหวัดมีระบบ กลไก และแนวทางสนับสนุน การพัฒนาครู การพัฒนาเด็กเยาวชนให้ มีความพร้อมในการเป็นกำลังสำคัญเพื่อ พัฒนาชาติต่อไป


เรื่องจากปก

ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

5

การแข่งขันทักษะทางวิชาการเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) หนึง่ ใน กิจกรรมตามโครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ โดยความร่วมมือขององค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) จากการดำเนินงานภายใต้ 4 กิจกรรมของ โครงการจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ สุราษฎร์ธานี ไม่ว่าจะเป็น 1. การจัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาและการมีงานทำ 2. การจัดทำหลักสูตรพุทธทาสศึกษา 3. การพัฒนาเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) 4. การพัฒนาครูโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน (PLC)

ซึ่ ง ดำเนิ น การมาตั้ ง แต่ เ ดื อ น มิถุนายน 2558 หลังจากนั้นได้มีการ จั ด ตั้ ง สมั ช ชาการศึ ก ษาเพื่ อ ขั บ เคลื่ อ น โครงการ จังหวัดปฏิรูปภายใต้บริบท ของพืน้ ที่ Area-Based Education (ABE) จึงได้จดั ทำอีกหนึง่ กิจกรรม คือ การศึกษา เพื่ออาชีพ และเพื่อพัฒนาระบบการจัด การศึกษาที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ โดยการ มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สร้างโอกาส และความเสมอภาคสำหรับเด็กด้อยโอกาส โดยเฉพาะเด็ ก บกพร่ อ งทางการเรี ย นรู้ (LD) ซึ่งนายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เล็งเห็นถึงความสำคัญและต้องการพัฒนา เด็ ก เหล่ า นี้ ใ ห้ มี ค วามรู้ ค วามสามารถ เทียบเท่ากับเด็กอื่นๆ และสามารถอยู่ ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นปกติ จึงจัด ให้มกี จิ กรรมการจัดแสดงผลงานโรงเรียน/ ประกวดสถานศึกษาดีเด่น การประกวด สื่ อ การเรี ย นการสอนของครู อั ต ราจ้ า ง

และการแข่งขันทักษะทางวิชาการนักเรียน บกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) จำนวน 12 รายการ ดังนี้ 1. การจัดทำหนังสือเล่มเล็ก 2. การจัดสวนถาดแบบแห้ง 3. การจัดสวนถาดแบบชื้น 4. วาดภาพระบายสี 5. การเล่านิทาน 6. การเต้นหางเครื่องประกอบเพลง 7. เต้นแอโรบิค 8. ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่ง 9 .ประดิษฐ์งานใบตองประเภทบายศรี ปากชาม 10. ร้อยมาลัยดอกไม้สด 11. ประดิษฐ์ของใช้จากเศษวัสดุเหลือใช้ 12. ประดิษฐ์ของเล่นจากเศษวัสดุเหลือใช้ โดยจัดให้มีการแข่งขัน ระหว่าง วั น ที ่ 31 สิ ง หาคม - 2 กั น ยายน 59 ณ ศูนย์การค้าเซนทรัลพลาซา สุราษฎร์ธานี


6

เรื่องเด่นในเล่ม

ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

การส่งเสริมศักยภาพ

ในการรักษาความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดีแก่ประชาชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ตามที่รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ของชาติด้านการพัฒนาคน และสังคมที่มีคุณภาพในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด และปัญหาผู้มีอิทธิพล ประกอบกับนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีกรอบแนวคิดในภาพรวมของการพัฒนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่ยึด “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ให้สุราษฎร์ธานี ปลอดภัยน่าอยู่ น่าท่องเทย่ี ว น่าลงทุน มุง่ หวังให้ประชาชนมีคณ ุ ภาพชีวติ ที่ดีสังคมมีความเข้มแข็งบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม ปลอดจาก ยาเสพติด มีความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ มีความพร้อมในการรับมือ กับสถานการณ์ภัยพิบัติทุกประเภท นักลงทุนมีความเชื่อมั่น และส่งเสริม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข มีระบบ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทด้วยกระบวนการสันติวิธี เพื่อสร้างกระบวนการในการ แก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ปัจจุบันปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีแนวโน้มลดลง ความสำเร็จที่ได้รับเนื่องจาก การได้ รั บ ความร่ ว มมื อ เป็ น อย่ า งดี จ ากประชาชนผู้ เป็ น เจ้ า ของชุ ม ชน และมี ค วามตระหนั ก ในปั ญ หายาเสพติ ด โดยยอมเสี ย สละความสุ ข ความสบายส่วนตัว เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน

เพื่อเป็นการบูรณการร่วมกัน ระหว่ า งองค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุราษฎร์ธานี กับสถานีตำรวจภูธรจังหวัด สุราษฎร์ธานี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการรักษาความสงบเรียบร้อยและ ศี ล ธรรมอั น ดี ข องประชาชนในการ แสวงหาความร่ ว มมื อ จากประชาชน ผู้นำชุมชนแกนนำชุมชน ผู้นำท้องที่ ผูน้ ำท้องถิน่ เพือ่ สร้างเครือข่ายลักษณะ ปฏิบตั กิ ารเข้ามามีสว่ นร่วมของประชาชน ในการร่ ว มปฏิ บั ติ ง านเกี่ ย วกั บ การ รักษาความสงบเรียบร้อย ให้เป็น เครือข่ายความร่วมมือและอาสาสมัคร ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม การรักษาความสงบเรียบร้อย การรักษา ความปลอดภั ย ในชี วิ ต และทรั พ ย์ สิ น ของประชาชน ตลอดจนทัง้ การช่วยเหลือ กู้ภัยจากอุบัติเหตุต่างๆ เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ปัญหา

ยาเสพติด ความขัดแย้งทางสังคมใน ชุมชนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื ่ อ วั น ที ่ 3 กั น ยายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็น ประธานในพิธเี ปิดการฝึกอบรม โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการรักษา ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี แก่ ป ระชาชนในจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี กิจกรรมฝึกอบรมอาสาสมัครตำรวจบ้าน โดยมีพลตำรวจตรีอภิชาติ บุญศรีโรจน์ ผูบ้ งั คับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสุฟา้ ง แซ่หว่อง รองนายกเทศมนตรี นครสุราษฎร์ธานี หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมในพิธีเปิด โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วม อบรมทัง้ สิน้ 330 นาย ณ ศูนย์ฝกึ อบรม ตำรวจภูธรภาค 8 ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี


ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

เรื่องเด่นในเล่ม

7

ลูกป่าในใจคน

สร้างชุมชนสีเขียว

ทรัพยากรป่าไมเ้ ปน็ ทรัพยากรทีม่ คี วามสำคัญยิง่ เพราะมีผลต่อสภาพดิน ฟ้า อากาศ ป่าไม้ช่วยควบคุมอุณหภูมิ ตลอดจนใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ซึ่งนับวันป่าไม้ในธรรมชาติ จะถูกทำลายเหลือน้อยลง เพื่อคืนธรรมชาติที่มีความสมดุล ประเทศไทยจำเป็นต้องมีพื้นที่ป่าไม้ประมาณ 40% จึงมีความจำเปน็ ต้องประสานกับหน่วยงานต่างๆ ในการส่งเสริมประชาสัมพันธ์การมีสว่ นร่วม ในการปลูกต้นไม้ และความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน ในการช่วยกันดูแลทรัพยากรทาง ธรรมชาติ ส่งเสริมการทำสวนแบบวนเกษตร ทั้งในที่ดินส่วนตัว และในที่สาธารณะของ หมู่บ้าน เช่น บริเวณไหล่ทาง รอบสระน้ำ อ่างเก็บน้ำ ที่ป่าชุมชน ฯลฯ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้จดั ทำโครงการ ปลูกป่าในใจคนสร้างชุมชนสีเขียว ซึ่งนอกจากจะเป็นการส่งเสริมให้ ประชาชนปลูกป่า ช่วยเพิ่มต้นไม้แล้วยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรักษาสมดุลของธรรมชาติแบบยั่งยืน

เมื่อวันที่ 6 - 7 กันยายน 2559 นายวิวัฒน์ สรรพา รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดโครงการปลูกป่าในใจคนสร้างชุมชนสีเขียว ซึ่งกองช่าง องค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับศูนย์สง่ เสริมวนศาสตร์ ชุมชนที่ 12 (สุราษฎร์ธานี) จัดโครงการ ปลูกป่าในใจคนสร้างชุมชนสีเขียวจังหวัดสุราษฎร์ธานี ณ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี


8

ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

เปิดสภา อบจ.สุราษฎรธ ์ านี

ประธานสภา อบจ.สุราษฎรธ์ านี ยุติการพิจารณารา่ งขอ้ บัญญัติงบประมาณรายจา่ ยเพิ่มเติม ตามที่ได้มีการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยวิสามัญ สมัยที่สอง ประจำปี พ.ศ.2559 เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ.2559 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชั้น 3 โดยมีระเบียบวาระการประชุมทั้งหมด 8 วาระ

ระเบียบวาระที่ 1 เรือ่ งทีป่ ระธานแจ้งให้ทป่ี ระชุมทราบ ระเบียบวาระที่ 2 เรือ่ ง รับรองรายงานการประชุมสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 2 ฉบับ 1. รายงานการประชุมสภาฯ สมัยสามัญ สมัยทีส่ อง ประจำปี พ.ศ.2559 เมือ่ วันที่ 15 สิงหาคม 2559 2. รายงานการประชุ ม สภาฯ สมั ย สามั ญ สมัยที่สอง ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2559 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 มติที่ประชุม รับรองจำนวน 25 เสียง ไม่รับรอง - เสียง ระเบียบวาระที่ 3 ญัตติ ขออนุมัติโอนงบประมาณ รายจ่าย ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2559 จากทุกส่วน ราชการ จำนวน 84,000,000 บาท ไปตั้งจ่ายเป็น รายการใหม่ ในกองช่างหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง จำนวน 8 โครงการ มติที่ประชุม อนุมัติ 6 เสียง ไม่อนุมัติ 18 เสียง ระเบียบวาระที่ 4 ญัตติ ขออนุมัติขยายเวลาเบิกจ่าย เงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประประมาณ พ.ศ.2558 จำนวน 36 โครงการ เป็นเงินจำนวน 90,931,420 บาท มติที่ประชุม อนุมัติ 23 เสียง ไม่อนุมัติ - เสียง ระเบียบวาระที่ 5 ญัตติ ขออนุมัติกันเงินงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 จำนวน 78 โครงการ เป็นเงินจำนวน 355,428,500 บาท มติที่ประชุม อนุมัติ 21 เสียง ไม่อนุมัติ - เสียง

ระเบียบวาระที่ 6 ญัตติ ขอความเห็นชอบบันทึกข้อตกลงร่วมมือกันจัดทำบริการสาธารณะ เรื่อง การปรับปรุง สถานที่เพื่อการกีฬาและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ บริเวณพรุหน้าเมือง เทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัด สุราษฎร์ธานี มติที่ประชุม เห็นชอบ 22 เสียง ไม่เห็นชอบ - เสียง ระเบียบวาระที่ 7 ญัตติ ขอความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด เรื่อง งบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติม ฉบับที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 และ ระเบียบวาระที่ 8 เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) ไม่สามารถพิจารณาได้เนื่องจากมีการพักการประชุม แต่เมื่อกลับมาประชุม ไม่สามารถประชุมต่อได้ เนื่องจากสมาชิกสภาไม่ครบองค์ประชุม ต่อมาประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เรียกประชุมสมัยวิสามัญ สมัยที่สอง ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2559 ในวันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ.2559 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชั้น 3 เพื่อให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ประชุม และพิจารณาวาระการประชุมที่ยังไม่ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม ซึ่งมีระเบียบวาระ 4 วาระ


ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

ระเบียบวาระที่ 1 เรือ่ งทีป่ ระธานแจ้งให้ทป่ี ระชุมทราบ ระเบียบวาระที่ 2 เรื่อง รับรองรายงานการประชุมสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนือ่ งจาก เจ้าหน้าทีย่ งั ดำเนินการจัดทำรายงาน การประชุมสภาในคราวที่ผ่านมายังไม่แล้วเสร็จ วันนี้ จึงไม่ได้เสนอรายงานการประชุมสภา มาให้สภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดรับรอง ระเบียบวาระที่ 3 ญัตติ ขอความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เรื่อง งบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติม ฉบับที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 มติที่ประชุม รับหลักการ 27 เสียง ไม่รับ หลักการ 1 เสียง เมื่อมติที่ประชุมรับหลักการแล้วจึง ได้พิจารณากำหนดระยะเวลาเสนอคำแปรญัตติต่อ คณะกรรมการแปรญัตติร่างข้อบัญญัติ ชุดที่สภาได้ เลือกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2559 ประกอบด้วย

เปิดสภา อบจ.สุราษฎรธ ์ านี

สุราษฎร์ธานี ได้กำหนดประชุมสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยวิสามัญ สมัยที่สาม ประจำปี พ.ศ.2559 ในวันจันทร์ ที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ชั้น 3 เพื่อดำเนินการใน ระเบียบวาระที่มีการค้างพิจารณา คือ ญัตติ ขอความ เห็นชอบร่างข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 โดยมี ระเบียบวาระ 3 วาระ ระเบียบวาระที่ 1 เรือ่ งทีป่ ระธานแจ้งให้ทป่ี ระชุมทราบ ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องการเข้า ร่วมโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “องค์การ บริหารส่วนจังหวัดในบริบทแห่งการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ร่วมกับสมาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย กำหนด

พ.ศ.2559 ซึง่ สภาได้มมี ติรบั หลักการแห่งร่างข้อบัญญัติ ไปแล้ว ในคราวประชุมสภาสมัยวิสามัญ สมัยที่สอง ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2559 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2559 และได้ส่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย เพิ่มเติม ฉบับที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ให้คณะกรรมการแปรญัตติร่างข้อบัญญัติพิจารณา โดยสภาแห่ ง นี้ ไ ด้ ก ำหนดเวลาระยะเวลา เสนอคำแปรญัตติ วันที่ 28 - 29 กันยายน 2559 เวลา 06.00 น. ถึ ง 18.00 น. ของแต่ ล ะวั น และ คณะกรรมการแปรญัตติร่างข้อบัญญัติได้ประชุมเพื่อ พิ จ ารณาการแปรญั ต ติ ร่ า งข้ อ บั ญ ญั ติ ฉ บั บ ดั ง กล่ า ว ในวั น ที ่ 30 กั น ยายน 2559 จึ ง ทำให้ ไ ม่ ส ามารถ เสนอให้ ส ภาพิ จ ารณาร่ า งข้ อ บั ญ ญั ติ ง บประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ได้ทันในปี

นายภคสรรค์ จันทร์หุ่น นายปรีชา เพชรรัตน์ นายนัตธพร อุไรโรจน์ นายสันติ พุฒศรี นายกฤษพณ หวานแก้ว นายภคสรรค์ จันทร์หนุ่ นายประดิษฐ์ แสงตะวันวงศ์ และนายประมุท สมบูรณ์ลักขณา นายภคสรรค์ จันทร์หนุ่ เสนอให้กำหนดระยะ เวลาเสนอคำแปรญัตติ วันที่ 27 กันยายน 2559 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ถึงวันที่ 28 กันยายน 2559 เวลา 13.00 น. และนายปรีชา เพชรรัตน์ เสนอให้ กำหนดระยะเวลาเสนอคำแปรญัตติ วันที่ 28 กันยายน 2559 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 18.00 น. วันที่ 29 กันยายน 2559 ตั้งแต่เวลา 06.00 น. ถึง 18.00 น. ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่นายภคสรรค์ เสนอ 7 เสียง เห็นชอบตามที่นายปรีชาเสนอ 16 เสียง และประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

จัดสัมมนาระหว่างวันที่ 26 - 28 ตุลาคม 2559 ณ ห้องประชุมคอนเวนชั่น โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระเบียบวาระที่ 2 ญัตติ ขอความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรือ่ ง งบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2559 ในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 ประธานได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าในระเบียบ วาระที่ 2 นี้ ประธานขอยุตกิ ารพิจารณาร่างข้อบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายเพิม่ เติม ฉบับที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ในวาระที่ 2 และวาระที่ 3 เนื่องจากการ พิจารณาญัตติ ขอความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การ บริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรื่อง งบประมาณ รายจ่ายเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 ประจำปีงบประมาณ

9

นายปรีชา เพชรรัตน์

งบประมาณ พ.ศ.2559 และเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ในวันที่ 30 กันยายน 2559 เงินงบประมาณ ในส่วนนี้ได้ตกเป็นเงินสะสมไปแล้ว จึงขอยุติการ พิจารณา ระเบียบวาระที่ 2 ญัตติ ขอความเห็นชอบ ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ฉบับที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 ในวาระที่ 2 และ วาระที่ 3 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ได้มีสมาชิกอภิปรายสลับกับการตอบคำถาม ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จนไม่ มี ผู้ ใ ดอภิ ป รายต่ อ ประธานสภาจึ ง ได้ ปิ ด การ ประชุม *****


10

บอกเลา่ เกา้ สิบ

ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

การฝึกอบรม

กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของประชาชน การรั บ ฟั ง ความคิ ด เห็ นของประชาชนเป็ น หลั ก การสำคั ญ ประการหนึ่ ง ของการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย จุดประสงค์สำคัญของกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ก็เพื่อเพิ่มบทบาทของ ภาคประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของฝ่ายปกครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการ จัดดำเนินการจัดให้มีโครงการของหน่วยงานรัฐที่สำคัญๆ ที่มีผลกระทบต่อประชาชนในประเทศต่างๆ ที่มีการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย การปกครองประเทศที่มาจากประชาชน ดังนั้นในการปกครองเพื่อให้สมาชิกใน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขจึงต้องถึงเอามติของปวงชนในสังคมเป็นใหญ่

แต่เดิมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เป็นรูปแบบที่ให้ประชาชนมี ส่วนร่วม คือให้ประชาชนในรัฐสามารถออกเสียงต่อกิจการบ้านเมืองหรือกฎหมาย ต่างๆ โดยตรง แต่เมื่อรัฐเจริญขึ้นและประชาชนมีจำนวนมากขึ้นการให้ประชาชน แต่ละคนเข้าไปใช้อำนาจย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหา จึงจำเป็นต้อง สถาปนาผู้ใช้อำนาจแทนประชาชน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนและรับเอาความ คิดเห็นของประชาชนไปปฏิบัติ แต่ในบางครั้งจะพบว่าตัวแทนของประชาชนได้ทำ การแสดงออกซึ่งไม่ตรงกับเจตนาส่วนร่วมของประชาชนไปปฏิบัติ ดั ง นั้ น องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นจั ง หวั ด สุ ร าษฎร์ ธ านี จึ ง เกิ ด แนวคิ ด ในเรื่ อ ง ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมขึ้น ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การที่ อำนาจในการตัดสินใจไม่ควรเป็นกลุ่มคนจำนวนน้อย แต่อำนาจดังกล่าวควรได้รับ การจัดสรรระหว่างประชาชน เพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสที่จะมีอิทธิพลต่อกิจกรรม ส่วนรวม ซึ่งการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมนั้น สามารถกระทำได้ หลายรูปแบบและมีระดับขัน้ ของการมีสว่ นร่วม โดยสามารถเรียงลำดับการมีสว่ นร่วม ของประชาชนจากน้อยไปหามากได้ดังนี้ คือ การให้ข้อมูล การเปิดรับความคิดเห็น ของประชาชน การปรึกษาหารือ การวางแผนร่วมกัน การร่วมปฏิบัติงาน การควบคุมโดยประชาชน

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2559 นายศิริ ศักดิ์ศรี สมาชิกสภาองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอไชยา เขต 2 เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการรับฟัง ความความคิดเห็นของประชาชน ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ขององค์การ บริหารส่วนจังหวัดโดยมีผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่นเข้าร่วมและประชาชนเข้าร่วม จำนวนกว่า 200 คน ณ อาคารอเนกประสงค์ อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี


ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

บอกเลา่ เกา้ สิบ

11

การส่งเสริมความเข้มแข็ง

ทางการเมืองภาคพลเมือง สู่การจัดตั้งสภาพลเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอำนาจสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทย โดยประชาชนทำหน้าที่ปกครองตนเองโดยตรง แต่ใน ทางปฏิบัติไม่สามารถทำได้ จึงเกิดรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยแบบผู้แทน โดยประชาชนเลือกผู้แทนขึ้นทำหน้าที่แทนตน และผู้แทนทำหน้าที่ร่วมกันเลือก ผู้บริหารประเทศ เพื่อกำหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติตามนโยบายการเลือกผู้แทน เข้าทำหน้าที่แทนตน เป็นกลไกเบื้องต้นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยแต่ การเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทนนั้น ยังไม่สามารถสนองและแก้ไข ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยได้อย่าง ทั่วถึง เนื่องจากโครงสร้างทางสังคมที่มีการขยายตัวและมีความสลับซับซ้อน ประกอบกับการแสวงหาผลประโยชน์ของบุคคลบางกลุ่มที่เกิดผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชนทำให้เกิดความเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อขอมีพื้นที่ เรียกร้องสิทธิทางการเมืองในการปกป้องผลประโยชน์ของตน การเมืองภาคประชาชน เป็นการเมืองแนวใหม่ที่ถือว่าประชาชนเป็น ตัวแสดงหลักไม่ใช่การเมืองแนวเดิมที่ประชาชนเป็นเพียงผู้ดูหรือผู้ปฏิบัติตาม โดยประชาชนจะมีบทบาทในการตัดสินใจทางการเมืองมากขึ้น เพื่อปกป้องและ เรียกร้องสิทธิของตนที่ควรจะได้รับ รวมทั้งติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการ ทำงานของรัฐ จังหวัดสุราษฎร์ธานีตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ตอนกลางภาคใต้ของประเทศไทย มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมประเพณี มากที่สุดเมืองหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากสภาพภูมิศาสตร์ที่อุดมสมบูรณ์ และชัยภูมทิ เ่ี หมาะสม ส่งผลให้สรุ าษฎร์ธานีมคี วามเจริญรุง่ เรือง สถานการณ์ปญ ั หา ทางการเมือง สภาพปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของ ประชาชนสุราษฎร์ธานีในภาครวมไม่แตกต่างจากจังหวัดอื่น แต่ด้วยเหตุผลที่

สุราษฎร์มีพื้นที่มากที่สุดในภาคใต้ มีประชาชนมากกว่า 1 ล้านคน และเป็นเมือง ท่องเที่ยวสำคัญ ปัญหาของจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงมีปริมาณมาก จากปัญหาต่างๆ ของสุราษฎร์ธานี ประกอบกับแนวคิดการเมืองใหม่ทถ่ี อื ว่าประชาชนเป็นตัวแสดงหลัก ซึ่งประชาชนจะมีบทบาทในการตัดสินใจทางการเมืองมากขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 1 กันยายน 2559 นายวิวัฒน์ สรรภา รองนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริม ความเข้มแข็งทางการเมืองภาคพลเมืองสู่การจัดตั้งสภาพลเมือง ซึ่งมี นายชยุตม์ เชาวน์ณัฐเศวตกุล ประธานสภาพลเมืองจังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมคณะกรรมการ กล่าวรายงาน และภายในครั้งนี้มีสมาชิกสภาพลเมืองเข้าร่วมกว่า 100 คน เพื่อ สนับสนุนการเมืองแนวใหม่ ที่ประชาชนจะมีบทบาทในการตัดสินใจทางการเมือง มากขึ้น ณ โรงแรม เคพาร์ สุราษฎร์ธานี


12

บอกเลา่ เกา้ สิบ

ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

การเสริมสร้าง

สถาบันครอบครัว ในหลายศตวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเกิดขึ้น เป็นอย่างมาก อันเป็นผลพวงมาจากการพัฒนาประเทศตามแนวคิดการพัฒนา กระแสหลักหรือการพัฒนาทีเ่ ดนิ ตามการชีน้ ำของประเทศตะวันตก ทำให้สงั คมพลอยถูก ขับเคลื่อนหรือบางส่วนอาจเข้าข่ายการถูกฉุดดึงไปตามกระแสการพัฒนาด้วย สถาบัน ครอบครัวไทยก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูกเชื่อมโยงเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้น การพัฒนาตามแนวคิดการพัฒนากระแสหลักให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่งคั่ง ร่ำรวยหรือความเจริญทางเศรษฐกิจ เน้นการพัฒนาแบบแยกส่วนทำให้เกิดกระบวนการ ดึงคนออกจากครอบครัว

ทุกวันนี้แม้เราจะเติบโตจากครอบครัว แต่เราก็แทบจะไม่รู้จัก ครอบครัวอย่างแท้จริง เพราะขาดข้อมูลที่ลึกซึ้ง น่าเชื่อถือเกี่ยวกับ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสถาบันครอบครัวให้สามารถอ้างอิงเผยแพร่ได้ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2559 นายก่อเกียรติ์ อินทรักษ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดโครงการเสริมสร้าง สถาบันครอบครัว จัดระหว่างวันที่ 10 - 11 กันยายน 2559 โดยมีนาย สุปญ ั ญา ชูเพชร ผูอ้ ำนายการกองส่งเสริมคุณภาพชีวติ ร่วมเปิดโครงการ กิจกรรมเข้าฐาน ณ จุดต่างๆ เกมส์ นันทนาการ เพื่อส่งเสริมความรัก ความเข้าใจและความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว ณ อลงกตรีสอร์ท อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลของการพั ฒนานั้นแม้จะทำให้ครอบครัวไทยมี ส ภาวะทางเศรษฐกิ จ ที่ ดี ขึ้ น มีความสุขสบายด้านวัตถุมากขึ้น แต่ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวที่เคยแน่นและอบอุ่น ก็เริ่มเลือนหายไปเปลี่ยนแปลงเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่แนบแน่นดังก่อน ความผูกพันกันใน เชิงอารมณ์และความรู้สึกค่อนข้างน้อย คนในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันน้อยลง พ่อแม่ มีหน้าที่แสวงหาทรัพย์สินเงินทอง และวัตถุเพื่อมาเลี้ยงดูปรนเปรอความสุขให้ลูก ส่วนลูก ซึง่ ต้องทำหน้าทีเ่ รียนหนังสือ ก็ถกู วัฒนธรรมต่างชาติ และอบายมุขชักจูงไปในทางเสือ่ มเสีย การเติบโตเป็นผู้ใหญ่เป็นไปตามยถากรรม เด็กๆ เรียนรู้ด้วยชีวิตตนเองจากสังคมนอกบ้าน มากกว่าสังคมในบ้าน สภาพการณ์เช่นนี้หลายคนมองว่าสถาบันครอบครัวไทยกำลังตกต่ำ ไม่มีความเป็นครอบครัวเหลืออยู่


ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

บอกเลา่ เกา้ สิบ

พัฒนาศักยภาพ

ครูผู้ดูแลเด็ก

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่งในการับผิดชอบเยาวชน ในด้านการเลีย้ งดูโดยดูแลทัง้ ด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์ สังคม การติดตามพัฒนาการ ดังนั้น ครูผู้ดูแลเด็กควรเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีการพัฒนาตนเอง อยู่เสมอ แต่ด้วยความจำกัดทางงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพ บุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้ครอบคลุมทุกแห่ง ดั้งนั้นเพื่อให้บุคลากรของ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะและเพิ่มขีดความสามารถในการ ปฏิบัติงาน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการ พัฒนาและดูแลเด็ก จึงจัดโครงการพัฒนาศักยภาพครูผดู้ แู ลเด็ก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กเล็กในศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก ตลอดจนส่งเสริมการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มี ประสิทธิภาพและสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงมหาดไทยและกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น

13

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หมายถึง สถานที่ดูแลและให้การศึกษาเด็ก อายุ ระหว่าง 3 - 5 ปี เดิมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ในสังกัด กรมพัฒนา ชุมชน และกรมศาสนา ต่อมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้ถ่ายโอนมาให้ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นหน่วยงานปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ จากรัฐบาล เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการแทนตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนายชูชีพ ชูจิต ผู้อำนวยการกองการศึกษาฯ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้พบปะและกล่าวทักทายพูดคุยกับ คุณครูผเู้ ข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร “การพัฒนาศักยภาพครูผดู้ แู ลเด็ก” จังหวัด สุราษฎร์ธานี รุ่นที่ 4 จำนวน 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอท่าฉาง อำเภอไชยา อำเภอ เกาะสมุย อำเภอพนม อำเภอท่าชนะ อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอบ้านนาสาร และ อำเภอเวียงสระ ระหว่างวันที่ 4 - 5 กันยายน 2559 ณ โรงแรมแก้วสมุยรีสอร์ท


14

ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

กิจกรรม ชาว อบจ.

เวทีท้องถิ่นไทยครั้งที่ 6 ประจำปี 2559

วันที่ 8 กันยายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมงาน “เวทีท้องถิ่นไทย 2559” ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ โดยวิทยาลัยพัฒนาการปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า จัด “เวทีท้องถิ่นไทยครั้งที่ 6 ประจำปี 2559” ภายใต้แนวคิด “3Ds เปลี่ยนประเทศ”

เน้นการกระจายอำนาจ การพัฒนาประชาธิปไตย และการพัฒนาประเทศ โดยเชื่อว่า การกระจายอำนาจเป็นแกนหลักในการพัฒนาประชาธิปไตย และการพัฒนาประเทศ ภายใต้คอนเซ็ปท์ “ตลาดความรู้” สำหรับเวทีท้องถิ่นไทยจัดขึ้นทุก 2 ปี ครั้งนี้เป็น ครั้งที่ 6 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ภายในงานยังมีนิทรรศการความรู้จากหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาค ประชาสังคมทีน่ า่ สนใจนำเสนอ ไม่วา่ จะเป็น บูธนวัตกรรมการคัดกรองเด็กด้อยโอกาส ทางการศึกษาด้วยระบบสารสนเทศของ สสค.-สพฐ.-มน.-มธ. 10 จังหวัดนำร่อง และได้รับเกียรติจาก รศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ในการเข้า แลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการเพิ่มการดูแลเด็กพิเศษในศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบร่วม 20,000 ศูนย์ทั่วประเทศ ครอบคลุมเด็กกว่า ล้านคน และในครั้งนี้ โรงเรียน อบจ.สฎ.1 (ดอนสักผดุงวิทย์) ยังได้รับรางวัลเยาวชน สร้างสรรค์ นวัตกรรมท้องถิ่น ระดับดีเลิศ ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อชุมชน รวมทั้งอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายจรินทร์ จักกะพาก เยี่ยมบูธ อบจ.สุราษฎร์ฯ ท่านได้กล่าวชื่นชมหลักสูตรพุทธทาสศึกษา

วันเยาวชนแห่งชาติ 2559

วันที่ 13 กันยายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดโครงการวันเยาวชนแห่งชาติ ประจำปี 2559 ณ โรงเรียนบ้านนาสาร โดยนายถาวร พรหมฉิม นายอำเภอบ้านนาสาร กล่าวต้อนรับ นายพิสิษฐ์ พูลพิพัฒน์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สุราษฎร์ธานีกล่าวรายงาน โดยกิจกรรมภายในงานได้แก่ การออกบูธนิทรรศการ การมอบทุน การศึกษากว่า 309 ทุน การแสดงศิลปะวัฒนธรรม และการแสดงคอนเสิร์ต เด็กและเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเข้าร่วมงานดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

วันต่อต้านคอร์รัปชั่นแห่งชาติ

วันที่ 11 กันยายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมงานวันต่อต้าน คอร์รัปชั่นแห่งชาติ ที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น ร่วมกับภาครัฐและ เอกชนจัดขึ้น เพื่อให้เกิดความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการ ต่อต้านปราบปรามคอร์รัปชั่นของประเทศอย่างเป็นรูปธรรมพร้อมทั้ง ตระหนักถึงภัยร้ายแรงและเห็นความสำคัญในการปราบปรามต่อต้าน คอร์รัปชั่นในหน่วยงาน โดยมีนายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในงาน ในงานยังมีหัวหน้าส่วน ราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน เข้าร่วมงานวันต่อต้านคอร์รัปชั่นแห่งชาติ เป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุมเมืองคนดี ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัด สุราษฎร์ธานี


ปีที่ 19 ฉบับที่ 207 ประจำเดือนกันยายน 2559

กิจกรรม ชาว อบจ.

15

โครงการฝึกอบรมส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม ผอ.กองการเจ้าหน้าที่ กล่าวรายงาน พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ สิทธิเสรี ปลัด อบจ.สุราษฎร์ธานี และ น.ส.อภิญญา ดำดี รองปลัด อบจ.สุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยข้าราชการ พนักงานของ อบจ.สุราษฎร์ธานี เข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก โดยมีกิจกรรมหลักเน้นการสร้างจิตสำนึก ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตามแนวทางพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการและได้รับเกียรติ บรรยายโดย อ.ไมตรี ทองประวัติ

วันที่ 17 กันยายน 2559 เวลา 9.00 น. นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นประธานเปิดโครงการ ฝึกอบรมส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรม เรื่อง คุณธรรมตามรอย พระยุคลบาท” ณ รร.บรรจงบุรี อ.เมืองฯ โดย ผอ.วิมล บุญรอด

วันปลอดรถ ลดโลกร้อน Car Free Day 2016

วันที่ 18 กันยายน 59 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี และชมรมจักรยานจังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดกิจกรรมการปัน่ จักรยานรณรงค์ “วันปลอดรถ ลดโลกร้อน Car Free Day 2016” โดยนายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี กล่าวต้อนรับ และปล่อยขบวนจักรยาน โดยมี นายธีระกิจ หวังมุทิตากุล นายกเทศมนตรี

นครสุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งกิจกรรมนี้ได้จัดขึ้น พร้อมกัน 76 จังหวัดทั่วประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ ประชาชนตระหนักถึงปัญหามลพิษในอากาศ มลพิษทางเสียง สนับสนุนนโยบายรัฐบาล ในการประหยัดพลังงานส่งเสริมการ เดินทางด้วยจักรยาน และลดปัญหาภาวะโลกร้อน โดยใช้เส้นทางปั่น ไป - กลั บ จากสนามกี ฬ ากลาง ไปตามถนนในเขตเทศบาล รวมระยะทาง 25 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการปลูกต้นไม้ บริเวณสนามกีฬากลางฯ มีคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ องค์กรภาครัฐ ภาคประชาชนเครือข่ายชมรมจักรยานเทศบาล นครสุราษฎร์ธานี ชมรมจักรยานจังหวัดสุราษฎร์ธานี และผู้ที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 500 คน

ความรัก ความผูกพัน ไม่มีวันเกษียณ

เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จดั งานมุทติ าจิตให้แก่ขา้ ราชการทีจ่ ะเกษียณอายุราชการ เพือ่ แสดงถึงความรัก ความผูกพัน เสริมสร้างขวัญและกำลังใจ สร้างความรัก ความสามัคคีให้กับบุคลากร ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า โดยในปีงบประมาณ 2559 นี้มีผู้เกษียณอายุราชการ จำนวน 6 ท่าน คือ 1. นายสุรัติ เพชรพริ้ม ผู้อำนวยการกองกิจการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2. นายชูชีพ ชูจิต ผู้อำนวยการกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3. นายวิรัช นุ่นแก้ว ผู้อำนวยการกองพัสดุและทรัพย์สิน 4. นายสมพร คงทอง ศึกษานิเทศก์ 5. นางปุณนภา เผ่าตระการ ครูโรงเรียน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3 (บ้านนาเดิม) 6. นายธีรภัทร์ นิรภัย พนักงานขับเครื่องกลขนาดกลาง

ยกเสาเอกหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 29 กันยายน 2559 นายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายก สุราษฎร์ธานี เป็นประธานในพิธียกเสาเอก ทั้งนี้มี นายธีระชัย ศรีโพธิ์ชัย ประธาน องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายไชยกฤต เอื้อกฤดาธิการ เลขานุการ หอการค้า และสมาชิกหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมพิธียกเสาเอกสำนักงานหอการค้า และร่วมยกเสาเอก ณ สำนักงานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานีหลังใหม่ จังหวัดสุราษฎร์ธานีหลังใหม่ โดยมีนายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัด


ท้องถิ่นดีภาษีช่วย ท้องถิ่นสวยภาษีสร้าง

ร่วมชำระภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จากผูค้ า้ น้ำมัน, ผูค้ า้ ยาสูบ, ผูป้ ระกอบการโรงแรม ตามกำหนด เพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่นสุราษฎร์ธานีอย่างยั่งยืนต่อไป

การชำระภาษี - ค่าธรรมเนียม อบจ. ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่

กองคลัง (ฝ่ายเร่งรัดและจัดเก็บรายได้) เบอร์โทรศัพท์ : 0-7727-2714


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.