103 ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี

Page 1

1

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


2

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


หลักราชการ ๑๐ ประการ

๑.ความสามารถทำ�การงานให้เป็นผลสำ�เร็จได้ดียิ่งกว่าผู้ที่มีโอกาสเท่าๆ กัน ๒.ความเพียรกล้าหาญไม่ย่อท้อต่อความยาก และบากบั่นเพื่อจะข้ามความขัดข้องให้จงได้ ๓.ความไหวพริบรู้จักสังเกตและปฏิบัติตามควรโดยไม่ต้องมีใครเตือน ๔.ความรู้เท่าถึงการรู้จักปฏิบัติกิจการให้เหมาะด้วยประการทั้งปวง ๕.ความซื่อตรงต่อหน้าทีต่ ั้งใจกระทำ�กิจการซึ่งได้รับมอบให้เป็นหน้าที่ของตนโดยสุจริต ๖.ความซื่อตรงต่อคนทั่วไปประพฤติซื่อตรงต่อคนทั่วไป รักษาตนให้เป็นคนเชื่อถือได้ ๗.ความรู้จักนิสัยคนเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อจะวางตัวได้ถูกและเข้ากับบุคคลอื่นได้ดี ๘.ความรู้จักผ่อนผันผ่อนได้บ้างตามสมควรแก่เหตุ ๙.ความมีหลักฐานมีบ้านเรือน ครอบครัวที่มั่นคง และตั้งตนไว้ชอบ ๑๐.ความจงรักภักดีความยอมสละตนเพื่อประโยชน์แห่งท่าน

พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พิมพ์พระราชทานแจกข้าราชการ ในการพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ พ.ศ. ๒๔๕๗ 3

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


4

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


“การทำ�ดีนั้นทำ�ยากและเห็นผลช้า แต่ก็จำ�เป็นต้องทำ� เพราะหาไม่ความชั่วซึ่งทำ�ได้ง่าย จะเข้ามาแทนที่ และจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว แต่ละคนจึงต้องตั้งใจและเพียรพยายามให้สุดกำ�ลัง ในการเสริมสร้างและสะสมความดี”

พระบรมราโชวาท

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่ผู้สำ�เร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำ�รวจ ณ อาคารสวนอัมพร วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ 5

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


6

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


“งานราชการนั้น คืองานของแผ่นดิน มีผลเกี่ยวเนื่องโดยตรงถึงประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนทุกคน ดังนั้น ข้าราชการผู้ปฏิบัติบริหารงานของแผ่นดิน จึงต้องทำ�ความเข้าใจถึงความสำ�คัญในหน้าที่และความรับผิดชอบของตนให้ถ่องแท้ แล้วร่วมกันคิดร่วมกันทำ�ด้วยความอุตสาหะ เสียสละ และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยถือประโยชน์ที่จะเกิดจากงานเป็นหลักใหญ่ งานของแผ่นดินทุกส่วน จักได้ดำ�เนินก้าวหน้าไปพร้อมกัน และสำ�เร็จประโยชน์ที่พึงประสงค์ คือ ยังความเจริญมั่นคงให้เกิดแก่ประเทศชาติและประชาชนได้แท้จริงและยั่งยืนตลอดไป”

พระบรมราโชวาท

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือนเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ 7

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


วันผลิต : เดือนกรกฎาคม 2561


สารบัญ สารจากผู้บริหาร “ไชยา” ดินแดนอารยะ ต้นกำ�เนิดสุราษฎร์ฯ “เมืองคนดี” “ท่าข้าม” เมืองประวัติศาสตร์ พระราชทานนามสุราษฎร์ธานี เส้นทางตามรอยพระบาท องค์บูรพกษัตริย์ไทย

ขอขอบคุณ คุณทศพล งานไพโรจน์ (อดีตนายกเทศมนตรีเมืองท่าข้าม) เอื้อเฟื้อภาพและข้อมูล

หน้า 10 หน้า 14 หน้า 32 หน้า 42

จัดทำ�เนื้อหาและออกแบบรูปเล่ม บริษัท หมุยงันเต่า จำ�กัด ประสานงานและดูแลการผลิต คุณณรงค์ศักดิ์ พฤกษาไพบูลย์ คุณศศิวิมล บุญบรรเทิง


สารจากผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายวิชวุทย์ จินโต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี “สุราษฎร์ธานี” เป็นนามที่ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จพระราชดำ�เนินเลียบมณฑลปักษ์ ใต้ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 นับเป็นเวลา 103 ปี นอกจากความหมายของชื่อเมืองที่แปลว่า “เมืองคนดี” ซึ่งสะท้อนถึง ลักษณะนิสัยพลเมืองของจังหวัดที่มีกิริยามารยาทเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน มีจิตใจ โอบอ้อมอารีและตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม ยังแฝงนัยถึงพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านใน ขณะนั้นที่ต้องการให้พสกนิกรในเมืองนี้เป็น “คนดี มีความเสียสละ รักสามัคคีในหมู่คณะ และคำ�นึงถึงประโยชน์ โดยส่วนรวมของชาติ” ดังนัน้ พสกนิกรชาวไทยทุกคนโดยเฉพาะชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานีซง่ึ เป็นชาวเมืองคนดี ควรจะได้น้อมนำ�และยึดถือพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ต้องการให้พสกนิกรของ พระองค์เป็นคนดี มีความเสียสละ รักสามัคคีในหมู่คณะ เสียสละประโยชน์สุขส่วนตนและ คำ�นึงถึงส่วนรวมมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติและถ่ายทอดสู่ชนรุ่นหลังสืบไป เนือ่ งในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 103 ปี แห่งการพระราชทานนาม “สุราษฎร์ธานี” ในปีนี้ ผมขอแสดงความยินดีและร่วมภาคภูมิใจกับชาวจังหวัดสุราษฎร์ธานี และขอ อำ�นวยพรให้การจัดงานในครั้งนี้ประสบความสำ�เร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และขอ ร่วมเป็นพลังแห่งความเป็นเมืองคนดี ทั้งพลังกาย พลังใจ และพลังสติปัญญา เพื่อร่วมกัน สร้างสรรค์สง่ิ ดีงามและพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้มคี วามเจริญก้าวหน้าอย่างยัง่ ยืนตลอดไป 10

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


สารจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

นายทนงศักดิ์ ทวีทอง

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ 103 ปี ของการพระราชทานนามชื่อเมือง “สุราษฎร์ธานี” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ที่ ได้พระราชทานนามอันเป็นมงคลยิ่งนี้ให้กับชาวสุราษฎร์ธานี ผมจึงขอแสดงความยินดีและร่วมภาคภูมิใจที่ “เมืองคนดี” ของเรามีประวัติศาสตร์ และมรดกทางวัฒนธรรมอันยาวนาน โดยองค์บรู พกษัตริยห์ ลายพระองค์ทรงให้ความสำ�คัญ และเสด็จพระราชดำ�เนินเยือนจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จฯ เยือนถึง 15 ครั้ง จนในปัจจุบันเราก็มีในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงเป็นมิ่งขวัญและศูนย์รวมใจ ของปวงพสกนิกรชาวไทยทั้งมวล ขอให้พวกเราชาวสุราษฎร์ธานีด�ำ รงตนเป็นคนดี ยึดสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหา กษัตริย์เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ดำ�เนินชีวิตตามหลักคำ�สอนของท่านพุทธทาสภิกขุ พุทธกวี ที่ทุกท่านศรัทธา ขอให้มีความรักสามัคคีกัน เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเจริญให้กับ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และร่วมขับเคลื่อนประเทศชาติให้พัฒนาสถาพรยิ่งขึ้นสืบไป

11

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


สารจากนายกเทศมนตรีเมืองท่าข้าม

นายอนุวัตร์ รจิตานนท์ นายกเทศมนตรีเมืองท่าข้าม

“ท่าข้าม” กับนาม “สุราษฎร์ธานี” นั้นเกี่ยวเนื่องกันมาจากอดีต ด้วยครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ เลียบมณฑลปักษ์ ใต้และมา ประทับแรม ณ พลับพลาที่ประทับควนสราญรมย์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2458 พระองค์ ทรงมี พ ระราชกระแสรั บ สั่ ง เสนาบดี ก ระทรวงมหาดไทยให้ ป ระกาศเปลี่ ย นชื่ อ เมื อ งที่ ขณะนั้นชาวบ้านเรียกกันว่า “เมืองไชยาใหม่” เป็น “เมืองสุราษฎร์ธานี” และเปลีย่ นชือ่ “มณฑลชุมพร” ซึง่ เป็นชือ่ ทีต่ ดิ มาแต่ครัง้ ย้ายศาลาว่าการมณฑลชุมพรมาตัง้ อยูท่ บ่ี า้ นดอน เป็น “มณฑลสุราษฎร์” ตามชื่อเมืองที่ตั้งของศาลาว่าการมณฑลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 ในช่ ว งเวลานั้ น ประเทศสยามอยู่ ใ นสถานการณ์ ที่ เ พิ่ ง คลี่ ค ลายจากภั ย การล่ า อาณานิคมของชาติตะวันตก จึงมีความจำ�เป็นอย่างยิ่งยวดที่จะดำ�เนินการให้ประเทศสยาม มีความเป็นปึกแผ่น มัน่ คง ชนในชาติมคี วามเป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน มีความเสียสละ สมาน สามัคคี อันจะคงไว้ซึ่งเอกราชของชาติสืบไป นับเนื่องจากวันนั้นมาเป็นเวลา 103 ปี ที่ชื่อพระราชทานนี้ ได้รับการเรียกขาน ถือเป็น พระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานนามอัน เป็นมงคล “เมืองคนดี” นี้ิแก่ชาวสุราษฎร์ธานี การจัดงานเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 103 ปี สุราษฎร์ธานีนามพระราชทานในปีนี้ มุ่งหวังที่จะน้อมรำ�ลึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเล่าขานสืบต่อให้ชาวสุราษฎร์ธานีรุ่นหลังได้รับรู้และซึมซับกับความภาคภูมิใจนี้สืบไป 12

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


13

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี



“ไชยา”

ดินแดนอารยะต้นกำ�เนิดสุราษฎร์ฯ

“เมืองคนดี”


16

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


“ไชยา” ดินแดนอารยะ ต้นกำ�เนิดสุราษฎร์ฯ “เมืองคนดี” อาณาเขตที่ปัจจุบันคือจังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้นเคยเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีการ สั่งสมอารยธรรมมาตั้งแต่ยุคหินกลางหรือประมาณ 6,500 - 4,700 ปีก่อน

มนุษย์ ในยุคนี้ยังอาศัยอยู่ตามถ้ำ�หรือเพิงผา และรู้จักทำ�เครื่องมือเพื่อใช้ ในการ ดำ�เนินชีวิตแบบง่ายๆ แล้ว โดยพบหลักฐานหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัด แต่ที่จัด เป็นแหล่งสำ�คัญมีอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ * ถ้ำ�เบื้องแบบ ตั้งอยู่ที่ตำ�บลบ้านทำ�เนียบ อำ�เภอคีรีรัฐนิคม โดยพบโครง กระดูกมนุษย์ กระดูกและฟันของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ� สัตว์ปีก เปลือก หอย เมล็ดพืชป่า เศษภาชนะดินเผาประเภทหม้อก้นกลม หม้อสามขา ลูกกระสุนดินเผา สิ่ว ค้อน ทั่ง หินลับเครื่องมือ ขวานหินขัด หินทุบเปลือกไม้สำ�หรับทำ�ผ้า และเครื่องประดับ กำ�ไลหิน * ถ้ำ�เขาชี้ชัน ตั้งอยู่ที่ตำ�บลคลองหิน อำ�เภอบ้านตาขุน พบเครื่องมือหินกะเทาะ และภาชนะดินเผาประเภทหม้อก้นกลมลายเชือกทาบ * ถ้ำ�ปากอม ตั้งอยู่ที่ตำ�บลเขาพัง อำ�เภอบ้านตาขุน พบชิ้นส่วนโครงกระดูกและ ฟันมนุษย์ เครื่องมือหินกะเทาะ และขวานหินขัด มนุษย์ ในยุคหินกลางมีลักษณะความเป็นอยู่แบบสังคมนายพราน และจากหลักฐาน ที่พบข้างต้นทำ�ให้เชื่อได้ว่าอาหารหลักของบรรพบุรุษชาวสุราษฎร์ฯในยุคนั้นก็คือสัตว์ บกเลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์น้ำ� พืชป่าและรู้จักการปรุงอาหารด้วยการปิ้ง ย่าง หรือเผาแล้ว เนื่องจากกระดูกสัตว์และเปลือกหอยที่พบมีร่องรอยถูกเผาไหม้ และการพบเปลือกหอย ทะเลก็แสดงว่าชุมชนมนุษย์เหล่านี้มีการติดต่อกับชุมชนอื่นที่อยู่ใกล้ทะเลโดยอาศัยแม่น้ำ� ลำ�คลองที่มีหลายสายในพื้นที่

17

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


สุราษฎร์ธานียุคประวัติศาสตร์ ช่วงเริ่มแรกของยุคประวัติศาสตร์บรรพบุรุษชาวสุราษฎร์ฯ เริ่มพัฒนาวิถีชีวิตสู่การ เพาะปลูกเพื่อบริโภคและแลกเปลี่ยน จึงอพยพมาจับจองพื้นที่ราบลุ่มบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ� และที่ราบริมฝั่งทะเลซึ่งอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชมากกว่า จนเกิดชุมชนใหญ่น้อย กระจายอยู่ตามที่ราบลุ่มริมน้ำ� ชุมชนเหล่านี้มีวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนกระทั่ง เข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่จึงเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วและรอบด้าน สืบเนื่องจากความ พิเศษด้านภูมิศาสตร์ที่ถูกขนาบด้วยทะเลเปิดนั่นคืออันดามันและอ่าวไทย ดินแดนนี้จึง เป็นทำ�เลที่ชาวโพ้นทะเลหมายปองให้เป็นฐานที่มั่นทางการค้าของตนดินแดนอุษาคเนย์ การเข้ามาของชาวต่างถิ่นได้นำ�ความรู้และวิทยาการด้านต่างๆ เข้ามาด้วย อีกทั้งยังทำ�ให้ เกิดชุมชนเมืองท่าใหม่ๆ แถบปลายด้ามขวาน ซึ่งนำ�ไปสู่การก่อตั้งรัฐอิสระขนาดใหญ่ ในเวลาต่อมา... ชุมชนเมืองท่าการค้าเริ่มเป็นปึกแผ่นอย่างจริงจังในช่วงพุทธศตวรรษที่ 5 - 6 หรือ ประมาณ 2,000 ปีก่อน...ใน “คัมภีร์มิลินทปัญหา” (แต่งขึ้นราว พ.ศ. 500) ของอินเดีย ได้ กล่าวถึงการเดินทางมาค้าขายและแสวงโชคในดินแดน “สุวรรณภูมิ” ซึ่งครอบคลุมพม่า ตอนใต้จรดคาบสมุทรมลายู โดยปรากฏชื่อเมืองท่าทางชายฝั่งทะเลตะวันตก เช่น “เมือง ตักโกละ” หรือเมืองตะกั่วป่า (ปัจจุบันอยู่ในเขตจังหวัดพังงา)และ “คัมภีร์เทศสะ” (แต่งใน พุทธศตวรรษที่ 7-8) ก็ได้กล่าวถึงเมืองตักโกละ และ “เมืองตามพรลิงค์” ว่าเป็นเมืองท่า ฝั่งทะเลตะวันออก (ปัจจุบันคือจังหวัดนครศรีธรรมราช) รวมทั้ง “หนังสือภูมิศาสตร์ของ ปโตเลมี” (Ptolemy’s Geography) ก็กล่าวถึง “เมืองดักโลละ” ว่าพ่อค้าชาวอินเดียสมัย โบราณเดินทางไปค้าขายเพราะเป็นตลาดส่งออกกระวาน (“ตักโกละ” เป็นภาษาบาลี ส่วน ภาษาสันสกฤตเขียนว่า “กักโกละ” แปลว่า ผลกระวาน) 18

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


ส่วนในจังหวัดสุราษฎร์ฯ ได้พบแหล่งโบราณคดีที่แสดงร่องรอยความเจริญของ ชุมชนเมืองท่าในยุคแรก ได้แก่ แหล่งโบราณคดีแถบตำ�บลวัง อำ�เภอท่าชนะ แหล่ง โบราณคดีวัดแก้ว อำ�เภอไชยา แหล่งโบราณคดีวัดเขาศรีวิชัย และแหล่งโบราณคดีควน พุนพิน อำ�เภอพุนพิน มีการพบกลองมโหระทึกสำ�ริด จำ�นวน 5 ใบ ที่อำ�เภอพุนพิน อำ�เภอ ไชยา อำ�เภอท่าชนะ และอำ�เภอเกาะสมุย กลองมโหระทึกโบราณเหล่านี้มีแหล่งผลิตอยู่ที่ มณฑลกวางสีและเวียดนามตอนเหนือ ใช้ ในการประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก แสดงให้เห็นว่าในยุคนั้นดินแดนที่เป็นสุราษฎร์ธานีในปัจจุบันมีการติดต่อค้าขายและ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชาวจีนและเวียดนามตอนเหนือแล้ว นอกจากนี้ยังพบหุ่นสำ�ริด รูปคนและสัตว์ เครื่องประดับสำ�ริด เครื่องมือเหล็ก เครื่องประดับทอง ลูกปัดจารึก อักษรพราหมี (อักษรที่ใช้ ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)แท่นหินบด รวมถึงต่างหู ที่เรียกว่า “ลิง-ลิง-โอ” (Ling-Ling-O) ทำ�จากหินสีเทาอมเขียวซึ่งมีแหล่งผลิตที่เกาะชวา (ประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) นั่นย่อมแสดงว่าบรรพบุรุษชาวสุราษฎร์ฯ มีการติดต่อ ค้าขายกับชาวเปอร์เซีย อินเดีย และชวาเช่นกัน รัฐโบราณในสุราษฎร์ฯ นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา ความเจริญทางด้านเทคโนโลยีการเดินเรือ ทำ�ให้การเดินทางข้ามมหาสมุทรไม่จำ�เป็นต้องอาศัยลมมรสุมอย่างเดียวอีกต่อไป เมืองท่า เล็กๆ จึงเริ่มลดความสำ�คัญลง คงเหลือเพียงเมืองท่าใหญ่มั่งคั่งที่พัฒนาขึ้นจนกลายเป็น ศูนย์กลางการปกครอง ชุมชนรอบอ่าวบ้านดอนก็เช่นกันที่เมืองท่าใหญ่ได้พัฒนาขึ้นเป็น อาณาจักรหรือรัฐ เมืองที่มีความสำ�คัญ ได้แก่ เมืองเวียงสระ เมืองคีรีรัฐ เมืองไชยา และ เมืองพุนพิน “เมืองเวียงสระ” ตัง้ อยูบ่ ริเวณทีร่ าบลุม่ แม่น�้ำ ตาปีและแม่น�้ำ พุมดวง มีอายุอยูใ่ นราว พุทธศตวรรษที่ 11-15 หรือ 16 โดยปรากฏร่องรอยผังเมืองและคูเมือง ด้วยทำ�เลที่อยู่ กึ่งกลางเส้นทางข้ามคาบสมุทร เมืองเวียงสระจึงเป็นชุมทางการคมนาคมที่เชื่อมเมืองท่า ระหว่างเมืองรอบอ่าวบ้านดอนและเมืองในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช นักโบราณคดี บางกลุ่มสันนิษฐานว่ามีความเป็นไปได้ที่เมืองเวียงสระจะเป็นเมืองเดียวเมืองพุนพิน หรือ “อาณาจักรผานผาน” ที่ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังฉบับหอหลวง และ จดหมายเหตุจีนที่บันทึกโดย “หม่าตวนหลิน” อาณาบริเวณของเมืองเวียงสระในยุค 19

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


นั้นครอบคลุมพื้นที่อำ�เภอเวียงสระ อำ�เภอบ้านนาสาร อำ�เภอพระแสง บางส่วนของอำ�เภอ บ้านนาเดิมและอำ�เภอพุนพิน รวมไปถึงอำ�เภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำ�เภอ อ่าวลึก จังหวัดกระบี่ในปัจจุบัน โดยมีการพบโบราณวัตถุหลายรูปแบบ เช่น ภาพสลักนูนสูง รูปพระพุทธเจ้าศากยมุนี (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 11) เทวรูปพระวิษณุศิลา (อายุราวพุทธ ศตวรรษที่ 12) เทวรูปพระวิษณุศิลา (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-16) และเทวรูปพระศิวะ ไภรวะ “เมืองคีรรี ฐั ” ทีเ่ มืองเวียงสระนักโบราณคดีได้พบจดหมายเหตุทรี่ ะบุวา่ ใน ค.ศ. 1006 มี ช าวอิ น เดี ย พวกหนึ่ ง อพยพหนี ก ารรุ ก รานของพวกมุ ส ลิ ม มาตั้ ง ถิ่ น ฐานใหม่ ที่ ทุ่ ง ตึ ก (ปัจจุบันอยู่ในอำ�เภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา) ก่อนจะถอยร่นมาตั้งหลักที่บ้านน้ำ�รอบ (ปัจจุบัน อยู่ในอำ�เภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) และก่อตั้งเป็นเมืองขนาดเล็ก นักโบราณคดี บางกลุ่มเชื่อว่าเมืองคีรีรัฐเก่าแก่กว่าเมืองเวียงสระ และภายหลังลดบทบาทลงมาเป็น เมืองบริวารของเมืองเวียงสระ เดิมมีชื่อว่า “เมืองธาราวดี” หรือ “คงคาวดี” ด้วยมีสายน้ำ� หลายสายล้อมรอบ แต่ภายหลังเปลี่ยนมาเรียกว่าเมืองคีรีรัฐ มีอาณาเขตครอบคลุม อำ�เภอคีรีรัฐฯ อำ�เภอพนม อำ�เภอบ้านตาขุน และอำ�เภอพุนพิน เมืองนี้แม้ไม่ได้เป็นเมืองท่า ศูนย์กลางการค้าเช่นเมืองไชยา แต่ก็ถือเป็นเมืองหน้าด่านสำ�คัญในการขนส่งสินค้าจาก อ่าวบ้านดอนไปสู่เมืองท่าต่างๆ ริมฝั่งทะเลอันดามัน “เมืองไชยา” หรือ “เมืองครหิ” หรือ “เมืองเกียโลฮิ” ที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีน นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่าเมืองไชยาเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ ช่วงหนึ่งในราว พ.ศ. 1200 - 1800 โดยสันนิษฐานจากความเจริญรอบด้านของบ้านเมือง ที่สะท้อนผ่านโบราณสถานต่างๆ ที่คงความยิ่งใหญ่ให้เห็นมาจนปัจจุบัน อาทิ พระบรมธาตุ ไชยา เป็นต้น อาณาเขตของเมืองไชยาในยุคนั้นครอบคลุมพื้นที่อำ�เภอไชยา อำ�เภอท่าฉาง อำ�เภอท่าชนะ บางส่วนของอำ�เภอพุนพิน อำ�เภอคีรีรัฐฯ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และบางส่วน ของอำ�เภอละแม จังหวัดชุมพร นอกจากโบราณสถานแล้วยังพบโบราณวัตถุที่เป็นสินค้า จากแดนไกลจำ�นวนมาก เช่น เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถัง (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 1215) ลูกปัดแก้ว ลูกปัดหิน วัตถุทำ�ด้วยหินหยก ต่างหูโลหะ และยังพบซากเมืองเก่าบริเวณวัด พระพิฆเนศวร (โรงเรียนท่าชนะ) ในอำ�เภอท่าชนะ จึงคาดว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นแหล่งชุมชน ขนาดใหญ่ของชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู โดยพบศิวลึงค์ เศียรพระวิษณุ ชิ้นส่วนพระ พิฆเนศวร และซากเทวะสถานศิลปะฮินดูในบริเวณนี้ด้วย 20

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


“เมืองพุนพิน” มีศูนย์กลางเมืองอยู่บริเวณควนพุนพินหรือควนท่าข้าม (ปัจจุบันเป็น ที่ตั้ง รพ.สวนสราญรมย์และตำ�บลท่าข้าม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ) และบริเวณวัดเขาศรีวิชัย หรือเขาพระนารายณ์ (อยู่ในตำ�บลเขาศรีวิชัย อำ�เภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี) เป็น เมืองขนาดเล็ก มีอายุรุ่นเดียวกับเมืองไชยา เป็นชุมทางการคมนาคมระหว่างเมืองคีรีรัฐ เมืองเวียงสระ เมืองไชยา และเมืองนครศรีธรรมราช ด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกว่า “ท่าข้าม” ใน อีกชื่อหนึ่ง เมืองตั้งอยู่บริเวณปากน้ำ�สามแพรก ไม่มีคัดคูเมืองหรือกำ�แพงเมือง ในฤดู น้�ำ หลากน้�ำ ท่วมจึงต้องสร้างศูนย์กลางเมืองไว้บนเขาหรือทีส่ งู ซึง่ เรียกว่า “ควน” นักโบราณคดี 21

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


22

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


สันนิษฐานว่า “อาณาจักรผานผาน” ในหนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถังฉบับหอหลวง น่าจะหมายถึงเมืองพุนพินนี้และน่าจะมีฐานะเป็นเมืองบริวารของเมืองไชยา ในบริเวณ ควนพุนพินมีการขุดพบลูกปัดแล้ว ลูกปัดหิน ลูกปัดทองคำ�รูปผลฟักทอง เครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์ถังและซ่ง เหรียญเงินอาหรับ พระพิมพ์ดินดิบ และยังพบประติมากรรมรูปพระ โพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำ�ริด (อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12) ส่วนในบริเวณวัดเขาศรีวิชัยพบ ประติมากรรมรูปพระวิษณุ และฐานเทวาลัยที่สร้างตามความเชื่อในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

เมืองไชยาในยุคศรีวิชัยอันเฟื่องฟู ร่องรอยผังเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของเมืองไชยาปรากฏอยู่บนแนวสันทรายไชยา มีขอบเขตครอบคลุมบ้านเวียงจนถึงบ้านวัดแก้วเกือบจรดเขาน้ำ�ร้อน มีความยาวตามแนว ทิศเหนือ-ใต้ เกือบ 3 กิโลเมตร โดยพบโบราณสถานก่ออิฐขนาดใหญ่ที่วัดแก้วและวัดหลง (อายุประมาณศตวรรษที่ 14-15) โบราณสถานดังกล่าวนี้นักประวัติศาสตร์ได้วินิจฉัยว่า เป็นปราสาท 2 ใน 3 หลัง ที่ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 23 ด้านที่ 1 ซึ่งกล่าวถึงพระเจ้า กรุงศรีวิชัยสั่งให้สร้างปราสาทอิฐ 3 หลัง เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ปัทมปาณี พระผู้ผจญ พระยามาร และพระโพธิสัตว์วัชรปาณิ ส่วนปราสาทอีกหลังที่เหลือนั้นสันนิษฐานว่าอยู่ที่ วัดเวียงแต่ไม่หลงเหลือร่องรอยแล้ว การเป็นศูนย์กลางอาณาจักรศรีวิชัยของเมืองไชยานี้ปัจจุบันยังเป็นข้อถกเถียง โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีสันนิษฐานไว้หลายแนว เช่น 1.ศรีวชิ ยั เป็นอาณาจักรทีม่ อี �ำ นาจทางการเมืองมัน่ คง มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุม หมู่เกาะต่าง ๆ ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู ตลอดถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร มี ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เกาะสุมาตราหรือเกาะชวา 23

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


2.นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ไ ทยและต่ า งชาติ บ างท่ า นมี ค วามเห็ น ว่ า ศู น ย์ ก ลางของ อาณาจักรศรีวิชัยน่าจะอยู่บนคาบสมุทรบริเวณอำ�เภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และหรือ มีขอบเขตถึงบริเวณอำ�เภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช 3.นั ก วิ ช าการบางท่ า นมี ค วามเห็ น ว่ า อาณาจั ก รศรี วิ ชั ย มิ ไ ด้ มี ศู น ย์ ก ลางที่ ถ าวร แต่เปลี่ยนแปลงไปตามความเข้มแข็งของผู้นำ�ท้องถิ่นที่สามารถควบคุมอำ�นาจทางการค้า ไว้ได้ ศูนย์กลางของศรีวิชัยอาจจะอยู่ทั้งที่บริเวณหมู่เกาะหรือคาบสมุทรมลายู 4.“ศรีวิชัย” อาจไม่ใช่ชื่ออาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่เมืองใดเมืองหนึ่ง แต่เป็นชื่อ กว้างๆ ทางศิลปะและวัฒนธรรมของกลุ่มบ้านเมืองหรือแว่นแคว้น หรือรัฐน้อยใหญ่ที่มี วัฒนธรรมร่วมกัน เช่น การนับถือพระพุทธศาสนาในลัทธิมหายานที่แสดงออกด้วยรูปแบบ ทางศิลปกรรมที่เรียกกันว่า “ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย” อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลในศิลาจารึกหลักที่ 23 ยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ ระหว่างกรุงศรีวิชัยกับเมืองไชยา และราชวงศ์ไศเลนทร์แห่งชวา ในพุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่ง มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติโดยการสมรส

24

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


ดอกเตอร์ควอริตย์ เวลส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษได้เขียนเรื่องราวของกษัตริย์ ไศเลนทร์ ไว้ว่า... “เมื่อราว พ.ศ. 1273-1740 หลังจากที่อินเดียเกิดยุคเข็ญเป็นจลาจล อย่างหนักแล้ว ราชวงศ์ปาละได้เป็นส่วนใหญ่ในแคว้นเบงกอล บ้านเมืองจึงไม่สงบเป็น ปกติดังเดิม พระเจ้าแผ่นดินในราชวงศ์นี้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน อิทธิพลของ แคว้นนี้ ได้แพร่หลายไปทางตอนใต้ของอินเดียรวมทั้งแคว้นไมสอร์ซึ่งมีกษัตริย์ราชวงศ์ ดังคะ ทีเ่ ป็นเชือ้ สายของกษัตริยร์ าชวงศ์ปาละปกครองอยูด่ ว้ ย แต่บา้ นเมืองในแคว้นไมสอร์ ขณะนั้นไม่ค่อยเป็นปกตินัก จึงมีเจ้านายในราชวงศ์นี้พร้อมด้วยอนุชาสี่องค์ลงเรือข้ามน้ำ� ทะเลขึ้นบกที่เมืองตะกั่วป่า แล้วเดินทางเข้ามาแย่งเอา “เมืองครหิ” แล้วตั้งตนเป็นอิสระ ได้แผ่อาณาเขตออกไปจนตลอดแหลมมลายู และตั้งเป็นอาณาจักรศรีวิชัย” อาณาจักรศรีวิชัยถือเป็นตลาดใหญ่ของสินค้าเครื่องเทศในโลกยุคนั้นและมีความ เจริญด้านวิทยาการการต่อเรือและการเดินเรือจนสามารถเดินทางไปค้าขายยังดินแดน อาหรับ พ่อค้าชาวอาหรับจึงรู้จักกรุงศรีวิชัยและได้จดหมายเหตุไว้ โดยเรียกกรุงศรีวิชัยว่า “กรุงซามะดะ” มีขอ้ ความปรากฏในหนังสือเรือ่ งแหลมอินโดจีนสมัยโบราณของพระยาราชธน เกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงของกรุงศรีวิชัยในจดหมายเหตุชาวอาหรับอยู่ตอนหนึ่งว่า... “รายได้แผ่นดินของพระเจ้าไศเลนทร์ส่วนหนึ่ง ได้จากค่าอาชญาบัตรไก่ชน ไก่ตัวใด ชนะ ไก่นั้นตกเป็นสิทธิของมหาราช เจ้าของจะต้องนำ�ทองคำ�ไปถวาย สิ่งหนึ่งที่พ่อค้าชาว อาหรับเหล่านี้เห็นควรกล่าว คือ ในเวลาเช้าทุกวัน มหาราชเสด็จประทับในพระราชมณเฑียร ซึ่งหันหน้าสู่สระใหญ่ ขณะนั้นมหาดเล็กนำ�อิฐทองคำ�มาถวายแผ่นหนึ่ง พระองค์ทรงตรัส ให้ข้าราชการโยนอิฐทองคำ�ลงไปในสระทันที สระนี้น้ำ�ขึ้นลงเพราะมีคลองหรือลำ�ธารน้อยๆ เชื่อมถึงสระกับทะเล เวลาน้ำ�ขึ้นก็ท่วมกองอิฐทองคำ� ซึ่งโยนสะสมไว้ทุกวัน เวลาน้ำ�ลดก็ มองเห็นอิฐทองคำ�เหล่านั้นโผล่ขึ้นเหนือน้ำ� เมื่อต้องแสงแดดแลเหลืองอร่าม มหาราชตรัส ว่า “จงดูพลังของเรา” การโยนอิฐลงในสระนั้นเป็นประเพณีที่มหาราชแห่งกรุงซามะดะ ประพฤติสืบกันมา ถ้ามหาราชองค์ ใดสิ้นประชนม์ลง มหาราชองค์ที่สืบราชสมบัติต่อก็ เก็บรวบรวมอิฐทองคำ�เหล่านั้นไปหลอม แล้วทรงแจกจ่ายให้ปันแก่พระราชวงศ์ และ ข้าราชการ เหลือนอกนัน้ ประทานแก่คนยากจน จำ�นวนแผ่นอิฐทองคำ�ของมหาราชองค์หนึง่ ๆ ที่ โยนสะสมไว้ ในสระเมื่อถึงเวลาสิ้นพระชนม์ก็เก็บรวบรวมและจดจำ�นวนลงบัญชีไ ว้ ถูกต้อง ถ้าองค์ ใดเมื่อสิ้นพระชนม์ไปแล้วปรากฏว่ามีแผ่นอิฐทองคำ�ที่สะสมไว้เป็นจำ�นวน มากที่สุดก็นิยมยกย่องมหาราชองค์นั้นอย่างสูงเพราะถือว่าได้เสวยราชย์มานานปี จำ�นวน อิฐทองคำ�จึงมีมาก” 25

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


นับจากปลายพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา อาณาจักรศรีวิชัยได้เสื่อมอำ�นาจลง เนื่องจากจีนสมัยปลายราชวงศ์ซ่งได้เปลี่ยนนโยบายการค้าโดยสนับสนุนให้ชาวจีนแต่ง เรือค้าขายกับบ้านเมืองต่างๆ โดยตรง นอกจากนี้ยังถูกอินเดียโจมตี ดังปรากฏหลักฐานใน จารึกที่เมืองตันชอร์ ประเทศอินเดีย ซึ่งกล่าวถึงพระเจ้าราเชนทรโจฬะที่ 1 ได้นำ�ทัพโจมตี อาณาจักรศรีวิชัยและเมืองตามพรลิงค์ ใน พ.ศ. 1568 จนเป็นผลทำ�ให้อาณาจักรศรีวิชัย เดินหน้าสู่การล่มสลายในราวพุทธศตวรรษที่ 18 ...ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เมือง ไชยาตกอยู่ภายใต้การปกครองของเมืองนครศรีธรรมราช โดยในจารึกหลักที่ 24 พบที่วัด เวียง อำ�เภอไชยา ได้กล่าวถึงพระเจ้าจันทรภาณุผู้เป็นใหญ่แห่งตามพรลิงค์ ได้ทรงปลด ปล่อยประชาชนของพระองค์ที่ถูกชนชาติต่ำ�ปกครองมาแล้วให้สว่างรุ่งเรือง “ชนชาติต่ำ�” ในที่นี้มีผู้สันนิษฐานว่าหมายถึงชาวไชยา กำ�เนิดเมืองท่าทอง ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 อาณาจักรสุโขทัยเริ่มมีความเข้มแข็งและมีอิทธิแผ่ ไปทั่วดินแดนตอนกลางในสุวรรณภูมิ ขณะนั้นเมืองนครศรีธรรมราชยังมีอำ�นาจครอบคลุม ดินแดนคาบสมุทรทางใต้ ส่วนเมืองไชยาเป็นเพียงหัวเมืองท่าที่ขึ้นอยู่กับเมืองนครฯ และ ได้เกิดชุมชนใหม่ขึ้น ณ ริมฝั่งทะเลตะวันออกชื่อ “เมืองท่าทอง” มีศูนย์กลางอยู่บริเวณ ที่ราบลุ่มน้ำ�ท่าทองอุแทและบ้านกะแดะ ในเขตอำ�เภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานีใน ปัจจุบัน เมืองท่าทองมีความเจริญอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 19 และชาวเมืองท่าทอง มีความศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างยิ่ง จึงได้สร้างพุทธสถาน พระพุทธรูปไว้มากมายและยัง 26

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


มีปรากฏจนปัจจุบัน นอกจากนี้ยังได้สร้างประติมากรรมนูนสูงและนูนต่ำ�ทำ�จากดินเหนียว ประดับไว้บนเพดานถ้ำ� โดยเล่าเรื่องพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม ซึ่งเป็นศิลปะเฉพาะตัว ของชาวท่าทองที่ ได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวารวดีและจาม ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 กรุงสุโขทัยถูกแทนที่โดยอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา กรุงศรี อยุธยาได้สง่ กองทัพมายึดได้หวั เมืองใต้ทง้ั หมด ดังปรากฏในกฎหมาย “พระไอยการตำ�แหน่ง นายทหารหัวเมือง” พ.ศ. 1998 ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ที่ระบุชื่อเมือง คาบสมุทรที่อยู่ใต้การปกครองของอยุธยาว่า มีเมืองนครศรีธรรมราชเป็นหัวเมืองเอก เมือง พัทลุง ไชยา และชุมพร เป็นหัวเมืองตรี เมืองไชยามีเจ้าเมืองไชยาปกครอง มีบรรดาศักดิ์ เป็น “ออกพระวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม พระไชยาเมืองตรี” ในพุทธศตวรรษที่ 21 - 22 หัวเมืองทางใต้นับตั้งแต่เมืองไชยาลงไปจนถึงเมือง พัทลุงมักถูกรุกรานจากโจรสลัดมลายู ผนวกกับเกิดการเปลี่ยนแปลงชาติผู้นำ�เศรษฐกิจ ทางทะเลไปสู่พ่อค้าชาติตะวันตกที่ต้องการสร้างเมืองท่าของตน จึงมีการสนับสนุนให้ พ่อค้าชาวอาหรับที่มาตั้งถิ่นฐานที่เมืองสงขลา ณ เขาหัวแดง สร้างป้อมค่ายและตั้งตัวเป็น กษัตริย์ เรียกว่า “พระเจ้าเมืองสงขลา” ...พ.ศ. 2192 (สมัยพระเจ้าปราสาททอง) เมืองสงขลา ได้ขยายอิทธิพลโดยรวบรวมหัวเมืองใต้และเมืองไชยาไว้ ระหว่างปี พ.ศ. 2223-2230 เมือง สงขลาถูกกองทัพอยุธยา (สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ภายใต้ความช่วยเหลือจาก ฮอลันดาและฝรั่งเศสตีแตก ครอบครัวเจ้าเมืองสงขลาและชาวเมืองถูกกวาดต้อนมาอยู่ที่ เมืองไชยาและได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองไชยาโดยขึ้นตรงกับกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อพม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. 2310 กองทัพพม่าได้ยกทัพมาตีเมือง ไชยา ราษฎรในหมู่บ้านได้ร่วมตั้งค่ายต่อสู้อยู่ที่วัดอุบลแต่ไม่สามารถป้องกันบ้านเมืองไว้ได้ ในช่วงนี้ “หลวงสิทธินายเวร ปลัดเมืองนครศรีธรรมราช” ได้รวบรวมผู้คนและตั้งเป็น ชุมชนเจ้านคร ทั้งยังส่งคนมาเป็นผู้รั้งเมืองไชยา โดยย้ายศูนย์กลางเมืองมาอยู่ที่พุมเรียง กระทั่งปี พ.ศ. 2312 พระเจ้าตากสินได้ส่งกองทัพมาปราบเมืองนครศรีธรรมราช “หลวง ปลัดบูญชู” ชาวเมืองไชยาได้ประหารผู้รั้งเมืองไชยาที่ชุมชนเจ้านครตั้งเสีย และเข้าร่วมกับ กองทัพของพระเจ้าตากสินตีเมืองนครศรีธรรมราช หลวงปลัดบุญชูจึงได้รับแต่งตั้งให้เป็น “พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม” (พระยาคอปล้อง) ผู้ว่าการเมืองไชยาคนต่อมา 27

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


จากเมืองท่าทองสู่สุราษฎร์ธานี ช่วงสงครามเก้าทัพในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กองทัพพม่าได้ยกทัพมาตีหัวเมืองต่างๆ ทางใต้ แต่สมเด็จพระ อนุชาธิราช พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท สามารถนำ�ทัพตีตลบจนพม่าแตกทัพกลับไป รวมทั้งตีเมืองปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานูมาเป็นเมืองประเทศราชได้สำ�เร็จ แต่ เมืองท่าทองถูกทำ�ลายมากเกินกว่าที่จะบูรณะได้ สมเด็จพระอนุชาธิราชฯ จึงทรงแต่งตั้ง นายทหารหนุ่มในทัพให้เป็นผู้รั้งเมืองท่าทองคนใหม่แทนเจ้าเมืองเดิมที่หายสาบสูญไป ระหว่างสงคราม เจ้าเมืองใหม่นี้ชื่อ “นายสม” เขาได้อพยพชาวเมืองที่หลงเหลือย้ายมา ตั้งเมืองใหม่ที่บ้านกระแดะ (ที่ตั้งอำ�เภอกาญจนดิษฐ์ ในปัจจุบัน) โดยเรียกว่าเมืองท่าทอง ตามเดิม ส่วนนายสมต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “หลวงวิเศษ” ต่อมาได้ย้ายเมืองมาอยู่ที่ คลองมะขามเตี้ย (ตั้งอยู่ในอำ�เภอเมืองสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน)ในราวปี พ.ศ. 2336 หลวง วิเศษได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระวิสูตรสงครามรามภักดี” แต่ชาวบ้านยังคงเรียกขานว่า “พระท่าทอง” ครองเมืองท่าทองที่มะขามเตี้ยจนถึงปี พ.ศ. 2375 จึงถึงแก่กรรม โดยบุตร ชายพระวิสูตรได้ครองเมืองแทนมีบรรดาศักดิ์เป็น “พระพิทักษ์สุนทร” ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้ยังมีข้อความปรากฏใน “จดหมายเหตุรัชกาลที่ 3” ว่า ชาวบ้านดอนและชาวท่าทองมีความรู้ความชำ�นาญในการต่อเรือและมีไม้ตะเคียนทอง คุณภาพดีอยู่มากมาย จึงโปรดให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) มาตั้งอู่เรือที่บ้านดอน และเมืองท่าทองเพื่อต่อเรือพระที่นั่งและเรือรบ ส่งผลให้ชุมชนบ้านดอนเจริญรุ่งเรืองขึ้น กลายเป็นท่าเรือรับส่งสินค้าจากนานาชาติ แต่เนื่องจากริมคลองมะข้ามเตี้ยเป็นที่ลุ่มจึง มักถูกน้ำ�ท่วมขังเป็นเวลานานในช่วงฤดูน้ำ�หลาก ชาวเมืองท่าทองจึงเริ่มแยกย้ายออกไป ตั้งชุมชนใหม่บริเวณที่ดอนริมแม่น้ำ�หลวง และเรียกชุมชนใหม่นี้ว่า “บ้านดอน” พ.ศ. 2394 - 2411 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงมีพระ ราชดำ�ริวา่ เมืองบ้านดอนมีผคู้ นตัง้ บ้านเรือนอยูห่ นาแน่น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยา้ ยเมืองท่าทอง มาตั้งที่บ้านดอน แล้วพระราชทานนามเมืองใหม่ที่บ้านดอนว่า “เมืองกาญจนดิษฐ์” ยก ฐานะเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ และได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้นายพุ่ม บุตร เจ้าพระยานคร (น้อย) เป็นพระยากาญจนดิษฐ์บดี ครองเมืองกาญจนดิษฐ์ (บ้านดอน) พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบการ ปกครองท้องถิ่นสู้ระบบเทศาภิบาลโดยรวมอำ�นาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ยกเลิกระบบกินเมือง ที่เจ้าเมืองมีอำ�นาจเบ็ดเสร็จในการบริหารจัดการ และให้มีข้าหลวงเทศาภิบาลทำ�หน้าที่ 28

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


กำ�กับดูแลหัวเมืองต่างๆ แทนรัฐบาลกลาง ในช่วงเวลานี้หัวเมืองทางใต้ต่างมีความเจริญ ก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสาธารณูปโภค สาธารณสุข และการศึกษา พ.ศ. 2440 ได้มีการตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ฉบับแรก ซึ่งได้ แบ่งการปกครองหัวเมืองในภาคใต้ออกเป็น 3 มณฑล (ทั่วประเทศมี 18 มณฑล) ได้แก่ มณฑลภูเก็ต มณฑลชุมพร และมณฑลนครศรีธรรมราช และบริเวณ 7 เมือง ได้แก่ เมือง สายบุรี เมืองรามันห์ เมืองตานี เมืองระแงะ เมืองยะลา เมืองยะหริ่ง และเมืองหนองจิก สำ�หรับเมืองไชยาและเมืองกาญจนดิษฐ์ (บ้านดอน) รวมอยู่ในมณฑลชุมพร ศาลาว่าการ มณฑลอยู่ที่เมืองชุมพร ข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรกของมณฑลชุมพร คือ “พระยารัตน เศรษฐี” (คอชิมก๊อง ต้นตระกูล ณ ระนอง) ส่วนที่เมืองไชยาทางการได้แต่งตั้งนายพินิจ ราชการ เดิมเป็นมหาดเล็กหุ้มแพรของรัชกาลที่ 5 มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองไชยา... ต่อมา พ.ศ. 2442 ไชยาและเมืองกาญจนดิษฐ์ (บ้านดอน) ก็ถูกรวมเข้าเป็นเมืองเดียวกันเรียกว่า เมืองไชยา และได้ย้ายศูนย์กลางของมณฑลจากชุมพรมาอยู่ที่เมืองไชยา (บ้านดอน)

พลับพลาที่ประทับ เมืองไชยา 29

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2458 ขณะ เสด็จฯ เลียบมณฑลปักษ์ ใต้ และประทับแรมที่พระตำ�หนัก ณ ควนพุนพิน ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เปลีย่ นชือ่ เมืองไชยาเป็น “สุราษฎร์ธานี” หมายถึงเมืองคนดี และเปลีย่ นชือ่ แม่น้ำ�หลวงเป็น “แม่น้ำ�ตาปี” และโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเมืองท่าทองที่บ้านกระแดะขึ้น เป็นอำ�เภอกาญจนดิษฐ์ ส่วนเมืองไชยาเก่าให้เปลี่ยนเป็นอำ�เภอพุมเรียง (เมื่อ พ.ศ. 2480 อำ�เภอพุมเรียงเปลี่ยนชื่อเป็นอำ�เภอเมืองไชยา ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2490 ได้ตัดคำ�ว่าเมืองออก เรียกว่าอำ�เภอไชยา) ทรงเปลี่ยนชื่อมณฑลชุมพรเป็น “มณฑลสุราษฎร์” ต่อมาในปี พ.ศ. 2495 ได้เปลี่ยนคำ�ว่าเมืองเป็นจังหวัดและผู้ว่าการเมืองให้เรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัด พ.ศ. 2469 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยุบมณฑลสุราษฎร์ ให้ขึ้นกับมณฑลนครศรีธรรมราช ด้วยมีพระประสงค์จะตัดทอนรายจ่ายหลังจากเศรษฐกิจ ตกต่ำ�เพราะสงครามโลกครั้งที่ 1 ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบ ประชาธิปไตย รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารราชอาณาจักร สยาม พ.ศ. 2476 ส่งผลให้ระบบเทศาภิบาลถูกยกเลิก สุราษฎร์ธานีจึงมีฐานะเป็นจังหวัด หนึ่งในราชอาณาจักรสยามขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทยนับแต่นั้นมา ปัจจุบันจังหวัดสุราษฎร์ธานีประกอบด้วย 19 อำ�เภอ เป็นอำ�เภอบนแผ่นดินใหญ่ 17 อำ�เภอ ได้แก่ อำ�เภอท่าชนะ อำ�เภอท่าฉาง อำ�เภอไชยา อำ�เภอดอนสัก อำ�เภอ กาญจนดิษฐ์ อำ�เภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำ�เภอพุนพิน อำ�เภอคีรีรัฐนิคม อำ�เภอบ้านตาขุน อำ�เภอพนม อำ�เภอเคียนซา อำ�เภอเวียงสระ อำ�เภอพระแสง อำ�เภอบ้านนาสาร อำ�เภอ บ้านนาเดิม อำ�เภอวิภาวดี อำ�เภอชัยบุรี และอำ�เภอที่เป็นเกาะกลางอ่าวไทย 2 อำ�เภอคือ อำ�เภอเกาะสมุย และอำ�เภอเกาะพะงัน โดยเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่มากที่สุดในภาคใต้

30

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


ศาลาว่าการเมืองไชยา

31

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


“ท่าข้าม” เมืองประวัติศาสตร์ พระราชทานนามสุราษฎร์ธานี



“ท่าข้าม” เมืองประวัติศาสตร์ การพระราชทานนามสุราษฎร์ธานี ดังที่กล่าวไปในบทที่แล้วว่านักวิชาการด้านโบราณคดีได้ให้ข้อสรุปว่า ในราว พุทธศตรวรรษที่ 7-18 ได้เกิดเมืองโบราณที่มีความรุ่งเรืองในดินแดนที่เป็นจังหวัด สุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน ได้แก่ เมืองเวียงสระ เมืองคีรีรัฐนิคม เมืองไชยา เมือง พุนพินและเมืองท่าทอง

ในบทนี้จึงจะขอกล่าวถึงเมืองพุนพินหรือในอีกนามหนึ่งว่า “เมืองท่าข้าม” ที่มี ความสำ�คัญต่อประวัติศาสตร์เมืองสุราษฎร์ธานีในฐานะที่เป็นสถานที่พระราชทานนาม เมือง “สุราษฎร์ธานี” ในอดีตราวพุทธศตวรรษที่ 10 - 16 ซึ่งเป็นยุคทองของเส้นทางแพรไหมทางทะเล เมื อ งพุ น พิ น หรื อ เมื อ งท่ า ข้ า มมี บ ทบาทเป็ น ชุ ม ทางขนส่ ง สิ น ค้ า ระหว่ า งสองฝั่ ง ทะเล อันดามัน-อ่าวไทย ที่มีความสำ�คัญมากและยังมีการติดต่อค้าขายกับเมืองจีนโดยตรง โดย พบหลักฐานในเอกสารประวัติศาสตร์ราชวงศ์เหลียงฉบับหอหลวง และในหนังสือของ หม่าตวนหลิน (นักจดหมายเหตุจีน ผู้เขียนสารานุกรมจีนในราว พ.ศ. 0843) ซึ่งปรากฏชื่อ เมือง “ผานผาน” ซึ่งหมายถึงเมืองพุนพินชัดเจน ทั้งนี้หนังสือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง ฉบับหอหลวง ระบุไว้ว่า... “อาณาจักรผานผาน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของหลินอี้ (จัมปา) บนอ่าวแห่งหนึ่ง ของทะเลทางเหนือ มีทะเลเล็กคั่นกลาง จากหลินอี้ เดินทางจากเจียวโจว (ตังเกี๋ย) ไปถึง ที่นั่นใช้เวลา 40 วัน และอยู่ติดกับอาณาจักรหลางหยาซิ่ว (ลังกาสุกะ) ประชาชนเรียนอักษร พราหมณ์ และศรัทธาคำ�สอนของพระพุทธองค์อย่างมั่นคง ในปีที่ 9 ของรัชศกเจิ้นกวน (พ.ศ. 1178) พวกเขาได้ส่งทูตมาถวายสิ่งของพื้นเมืองเป็นเครื่องราชบรรณาการ” 34

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


ส่วนหนังสือของหม่าตวนหลิน ระบุลักษณะของเมืองผานผานว่า... “ประชากรส่วนใหญ่อยู่กันริมน้ำ� และไม่มีกำ�แพงเมือง มีระเนียดไม้ล้วนๆ ใช้แทน กำ�แพง กษัตริย์ประทับเอนบนพระที่นั่งรูปมังกร (นาค) ทอง มีข้าราชบริพารผู้ ใหญ่เฝ้าแหน มือไขว้ไว้บนบ่า ที่ประเทศนี้มีพราหมณ์จากเทียนจู๋ (อินเดีย) อยู่หลายคน ซึ่งได้ของ พระราชทานมากมาย กษัตริย์ทรงโปรดปรานพวกนี้อย่างมาก...” ท่าข้าม ชุมทางของการเดินทางในยุคกรุงธนบุรี สู่รัตนโกสินทร์ ในสมัยกรุงธนบุรีหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสถาปนากรุงใหม่ แล้ว ก็ยังปรากฏว่าหลวงสิทธิ ปลัดเมืองนครศรีธรรมราชที่ยกตัวขึ้นเป็นเจ้าเมืองนครฯ นับ ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแตกพ่ายยังไม่สิโรราบ ในพ.ศ. 2312 พระองค์จึงเสด็จนำ�ทัพลงมา ปราบปรามโดยทรงนำ�ทัพยาตราข้ามแม่น�ำ้ หลวงทีเ่ มืองท่าข้าม ซึง่ สะท้อนถึงความโดดเด่น ด้ า นยุ ท ธศาสตร์ ข องเมื อ งท่ า ข้ า มในฐานะที่ เ ป็ น ชุ ม ทางของการเดิ น ทางลงสู่ ป ลาย ด้ามขวานได้เป็นอย่างดี เมื่อกาลเวลาเดินทางมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น บทบาทในฐานะที่เป็นชุมชน หน้าด่านทางการค้าของหัวเมืองทางใต้ก็ลดทอนลงไป เมืองท่าข้ามไม่ได้ถูกพูดถึงในหน้า ประวัติศาสตร์อีกเลยจนกระทั่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เวลานั้ น เมื อ งบ้ า นดอนที่ อ ยู่ ใ นละแวกใกล้ เริ่ ม มี ป ระชากรจากทุ ก สารทิ ศ มาอยู่ อ าศั ย หนาแน่น พระองค์ทรงเล็งเห็นว่าบ้านดอนจะเป็นเมืองการค้าที่เจริญในอนาคตจึงทรงย้าย เมืองท่าทองจากริมคลองมะขามเตี้ยมารวมอยู่ที่บ้านดอนเสีย แล้วเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “เมืองกาญจนดิษฐ์” โดยมีเมืองท่าข้ามรวมอยู่ด้วย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 หลังจากมีพระราชดำ�ริ ให้กระทรวงมหาดไทยตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ฉบับแรกขึ้นใน ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) และได้ออกข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมืองตามมาอีกฉบับหนึ่งในปี ถัดมา โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่มณฑลเทศาภิบาล เป็นผลให้ ในปี พ.ศ. 2442 เมืองกาญจนดิษฐ์ที่บ้านดอนถูกยุบรวมกับเมืองไชยาเก่าโดยใช้ชื่อว่าเมืองไชยา และให้ รวมกับเมืองหลังสวน เมืองชุมพรแล้วยกฐานะขึ้นเป็น “มณฑลชุมพร” 35

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


ครัน้ ถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ 6 ชือ่ ของเมืองท่าข้าม ก็กลับ มาปรากฏในหน้าประวัตศิ าสตร์อกี ครัง้ โดยในปี พ.ศ. 2458 พระองค์เสด็จพระราชดำ�เนิน เลียบมณฑลปักษ์ ใต้อันเป็นการเสด็จทรงตรวจราชการโดยพิธี การเสด็จพระราชดำ�เนิน เลียบมณฑลปักษ์ ใต้ครั้งนั้น เดิมทางราชการมีความประสงค์จะใช้เรือพระที่นั่งมหาจักรี แต่เนื่องจากสภาพเรือชำ�รุดทรุดโทรมมาก กระทรวงทหารเรือในเวลานั้นจึงเห็นควรเช่า เรือกลไฟประชาธิปก ของบริษัท อิสเอเชียติกส์ จำ�กัด ซึ่งบริษัทฯ มีความปลาบปลื้มยินดี ที่จะถวายเรือลำ�ดังกล่าวเป็นเรือพระที่นั่งโดยไม่คิดมูลค่า แต่เมื่อพระองค์ทรงทราบจึงมี รับสั่งว่า “เห็นว่าตกลงกันเป็นการเช่าจะดีกว่า จะได้ไม่มีปัญหาทวงบุญคุณกันต่อไป...” โดยได้พระราชทานนามเรือเสียใหม่ว่า “เรืออรรคราชวรเดช” วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2458 เวลา 08.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จพระราชดำ�เนินโดยรถไฟพิเศษจากสถานีบางกอกน้อยไปยังสถานีรถไฟหัวหินเพื่อ ลงประทับเรือพระที่นั่งมุ่งหน้าลงใต้ และบางช่วงทรงเปลี่ยนมาเสด็จพระราชดำ�เนินโดย รถไฟพระที่นั่งเพื่อเข้าเมือง เส้นทางเสด็จฯ ในครั้งนั้นได้ผ่านเมืองบางนรา ตากใบ สายบุรี ปัตตานี แล้ววกกลับมายังเมืองสงขลา นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง ทุ่งสง ท่าข้าม และ บ้านดอน...จาก “จดหมายเหตุระยะทางเสด็จพระราชดำ�เนินเลียบมณฑลปักษ์ ใต้” ของ สักขี (พระยาศรีวรวงศ์ ม.ร.ว.จิตร สุทัศน์) ได้บันทึกการเสด็จพระราชดำ�เนินไว้ว่า... “วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 ขบวนรถไฟพระที่นั่งจากทุ่งสง เมือง นครศรีธรรมราช เข้าเขตเมืองไชยา มณฑลชุมพร พระยาบรักษ์ภูธรสมุหเทศาภิบาล อำ�มาตย์ โทพระยาวรฤทธิฤาไชย ผู้ว่าราชการเมืองไชยาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ ถวายดอกไม้ ธูปเทียนเครื่องบูชายิ่ง อัญเชิญเสด็จพระราชดำ�เนินเข้าเขตเมืองไชยา ขบวนรถไฟพระที่นั่งถึงสถานีที่บ้านท่าข้ามในช่วงเวลาห้าโมงเย็น ข้าราชการ เสือป่าตั้ง แถวรับเสด็จ หมู่พราหมณ์เป่าสังข์ และถวายน้ำ�สังข์ แล้วทรงรถยนต์พระที่นั่งไปตาม ทางถนนตัดใหม่ ณ บริเวณควนท่าข้าม (โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ในปัจจุบัน) เป็น พลับพลาไม้ ตั้งอยู่บนเนินดิน มีท้องพระโรงและเฉลียง มีห้องประทับ ห้องทรงพระอักษร ห้องเสวยคล้ายกับพระราชวังสราญรมย์ มีสนามใหญ่เป็นลานกว้าง มองเห็นลำ�น้ำ�สาย ใหญ่ข้างหน้า มีเรือนข้าราชบริพารเรียงรายตั้งอยู่ใกล้พลับพลาที่ประทับ...” ในการนี้ทรงมีพระราชดำ�รัสแก่ข้าราชการ พ่อค้าและชาวเมืองที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จ โดยสรุปว่า...ได้ทอดพระเนตร ทรงสดับเหตุการณ์และทรงพอพระราชหฤทัยในการทำ�งาน ของข้าราชการ จึงพระราชทานพระแสงราชศาสตรา ซึง่ เป็นเครือ่ งราชูปโภคไว้ตา่ งพระองค์ เป็นการมอบพระราชอำ�นาจไว้ ดังความตอนหนึ่งว่า... 36 ๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


ตลาดบ้านดอนเมื่อครั้งเป็นเมืองกาญจนดิษฐ์

ที่ทำ�การมณฑลสุราษฎร์

“...พระแสงศาสตราไม่ใช่เป็นที่หมายพระราชอำ�นาจซึ่งพระราชทานเฉพาะตัว สมุหเทศาภิบาลผู้เดียว ข้าราชการผู้อื่นควรรู้สึกว่าได้รับพระราชทานด้วย เป็นเครื่องหมาย อำ�นาจในราชการ ไม่ใช่มอบอำ�นาจให้ไว้ ใช้ส่วนตัว...” ต่อมาในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 ทรงมีพระบรมราชโองการให้ผู้แทน เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย มหาอำ�มาตย์ โท พระยามหาอำ�มาตยาธิบดีลงนามแทน เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นคือสมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ ในคำ�สั่ง ประกาศเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2458 มีใจความโดยสรุปว่า... ตามที่ได้มีการรวม เมืองกาญจนดิษฐ์ทบ่ี า้ นดอนเข้ากับเมืองไชยาและให้เรียกว่า เมืองไชยามาตัง้ แต่ พ.ศ. 2442 นัน้ แต่ปรากฏว่าประชาชนไม่ได้เรียกเมืองไชยาทีบ่ า้ นดอนว่าเมืองไชยาตามทีท่ างการกำ�หนด สร้างความสับสนแก่ข้าราชการตลอดจนประชาชนทั่วไป จึงพระราชทานนามเมืองใหม่ว่า “สุราษฎร์ธานี” อันมีความหมายว่าเมืองแห่งคนดี และเปลี่ยนนามอำ�เภอพุมเรียงมาเป็น อำ�เภอไชยาให้สอดคล้องกับความเข้าใจของประชาชน พร้อมทัง้ ให้ยา้ ยทีว่ า่ การมณฑลจาก เมืองชุมพรมาอยูใ่ นบริเวณเดียวกับศาลากลางเมืองไชยาทีบ่ า้ นดอน และเปลี่ยนนามที่ว่า การมณฑลชุมพรเป็น “ทีว่ า่ การมณฑลสุราษฎร์” ทัง้ ยังพระราชทานนามใหม่แก่แม่น�ำ้ หลวง เป็น “แม่น้ำ�ตาปี” ...ที่มาของนามนั้นทรงได้แนวคิดมาจากเมืองสุรัฎฐหรือสุราตใน ประเทศอินเดีย ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์คล้ายคลึงกัน และยังมีแม่น้ำ�ชื่อตาปติไหลผ่าน เมืองลงสูป่ ากอ่าวเช่นเดียวกับแม่น�ำ้ หลวงไหลทีผ่ า่ นเมืองไชยาด้วย ส่วนชือ่ เมืองกาญจนดิษฐ์ ที่เคยใช้เรียกเมืองที่บ้านดอนในสมัยรัชกาลที่ 4 นั้น ทรงให้ย้ายมาใช้เรียกเมืองท่าทองเก่า ซึ่งตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำ�ท่าทองอุแทและคลองกระแดะ ซึ่งภายหลังยกขึ้นเป็นอำ�เภอ กาญจนดิษฐ์ 37

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง ยังทรงพระราชทานนามพลับพลาไม้ที่ประทับ ณ ควนพุนพินว่า “พระตำ�หนักสราญรมย์” สวนในบริเวณนั้นจึงเปลี่ยนนามเป็น “สวน สราญรมย์” ตามไปด้วย... แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าพลับพลาที่ประทับได้ถูกรื้อถอนเพื่อ ทางการได้นำ�สถานที่ ไปสร้างเป็นโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชน ในด้านสุขภาพ แต่ที่แห่งนี้ก็ยังเป็นสถานที่สำ�คัญทางประวัติศาสตร์ที่ตราตรึงอยู่ในหัวใจ ของชาวท่าข้ามและชาวสุราษฎร์ธานีไม่เสื่อมคลาย ในภายหลังเหล่าข้าราชการและชาว เมืองสุราษฎร์ธานีจึงร่วมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้น และอัญเชิญ มาประดิษฐานไว้ ณ โรงพยาบาลแห่งนี้เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และได้จัดพิธี ถวายราชสักการะเนื่องในวันพระราชทานนามในวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นประจำ�ทุกปี โดย มีเหล่าข้าราชการ ทหาร ตำ�รวจ องค์กรภาคเอกชน และประชาชนทุกหมู่เหล่ามาร่วมพิธี โดยพร้อมกัน ข้าราชการและทหารตั้งแถวรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

38

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


ฐานบันไดพลับพลาที่ประทับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ณ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์

ท่าข้าม ยุคสงครามมหาเอเชียบูรพา ยังมีบนั ทึกประวัตศิ าสตร์อกี หน้าหนึง่ ทีก่ ล่าวขานถึงเมืองท่าข้ามซึง่ สามารถยืนยันว่า เมืองแห่งนีเ้ ป็นยุทธศาสตร์การเดินทางทีม่ คี วามสำ�คัญในภูมภิ าคก็คอื การทิง้ ระเบิดทำ�ลาย “สะพานโค้ง” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2... ความเป็นมาของสะพานแห่งนีเ้ ริม่ ต้นพร้อมกับการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้อนั เป็น พระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ทรงต้องการพัฒนาให้สยาม มีความเจริญทัดเทียมกับอารยะประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2449 ทรงมอบหมายให้มิสเตอร์ กิตตินส์ วิศวกรชาวอังกฤษ เป็นผูอ้ �ำ นวยการโครงการ มีสมเด็จฯ กรมพระยาดำ�รงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นเลขานุการกรมรถไฟหลวง โดยในการสำ�รวจเส้นทาง เพื่อการก่อสร้างนั้นได้มีพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ� ศรียาภัย) เจ้าเมืองไชยาในเวลานั้น ร่วมคณะด้วย และคณะสำ�รวจได้มีข้อสรุปร่วมกันว่าให้สร้างสะพานเหล็กข้ามแม่น้ำ�ตาปี ณ ตำ�บลท่าข้าม... แต่เดิมวิศวกรชาวอังกฤษได้ออกแบบรูปแบบของสะพานให้เป็นโครงสร้าง เหล็กทรงโค้ง บนสะพานแบ่งถนนเป็น 3 ช่วงคือ ทางรถไฟ ทางคนเดิน และทางเกวียน แต่เนื่องจากเวลานั้นชาวเมืองไม่ค่อยมีเกวียนใช้ จึงได้งดสร้างทางเกวียนเสีย และ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จก็ยังมิได้มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “สะพานโค้ง” ตามรูปทรงที่ปรากฏ 39

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


ตลาดท่าข้ามในอดีต

ในปี พ.ศ. 2484 กองทัพทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่สุราษฎร์ธานีโดยยึดเอาพื้นที่ บริเวณเชิงสะพานโค้งเป็นจุดลำ�เลียงพลไปมลายู พม่า และสิงคโปร์ กองกำ�ลังฝ่าย สัมพันธมิตรจึงส่งเครื่องบิน บี 24 บรรทุกระเบิดมาทำ�ลายสะพานเพื่อตัดเส้นทางเดินทัพ แต่ดว้ ยความแข็งแกร่งของส ะพานจึงไม่สามารถทำ�ลายได้ ในครัง้ แรก ในปี พ.ศ. 2486 ฝ่าย สัมพันธมิตรจึงพยายามเป็นคำ�รบสอง โดยนำ�โซ่รอ้ ยระเบิดเป็นพวงแล้วทิง้ ลงมา สะพานโค้ง จึงหักโค่นสู่สายน้ำ� ผลพวงของสงครามในครั้งนั้นยังได้ทำ�ลายบ้านเรือนในตลาดท่าข้าม จนเสียหายอย่างหนัก...หลังสงครามสงบลง สยามได้ว่าจ้างบริษัท CORMANLONG CO.,LTD ประเทศอังกฤษให้ทำ�การซ่อมแซมสะพาน โดยได้รื้อซากสะพานเดิมไปสร้างเป็น สะพานคลองยัน ในอำ�เภอคีรีรัฐนิคม และสร้างสะพานท่าข้ามขึ้นใหม่ตามแบบสะพาน พระรามที่ 6 ในเมืองหลวงใช้เวลาก่อสร้างราว 6 ปี แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกว่าสะพานโค้ง ต่อมา... จนกระทั่งวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2494 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานนามใหม่ว่า “สะพานจุลจอมเกล้า” เพื่อเทิด 40

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


พระเกียรติแด่รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ทรงริเริ่มก่อสร้าง โดยจังหวัดสุราษฎร์ฯ ได้ทำ�พิธีเปิด อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 คำ�ว่าสะพานโค้งจึงค่อยๆ เลือน หายไปจากบทสนทนาของชาวเมือง และถูกแทนที่ด้วยคำ�ว่าว่า “สะพานจุลฯ” หากแต่ คำ�ว่าสะพานโค้งยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำ�มิเลือนหาย ด้วยความสำ�คัญในฐานะที่ เป็นสะพานเหล็กข้ามน้ำ�สะพานแรกของจังหวัด และยังทำ�หน้าที่เป็นประตูสู่ตัวเมือง สุราษฎร์ฯ และเมืองต่างๆ ทางตอนใต้ มาช้านานนับตั้งแต่วันแรกที่เปิดใช้งานจนกระทั่ง ถูกทำ�ลายลง สะพานโค้งถูกทำ�ลาย

41

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี



เส้นทางตาม รอยพระบาท องค์บูรพกษัตริย์ไทย



พระธาตุศรีสุราษฎร์


พระธาตุศรีสุราษฎร์ (เขาท่าเพชร)

พระธาตุศรีสุราษฎร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่ในเขตห้าม ล่าสัตว์ป่าเขาท่าเพชร ตำ�บลมะขามเตี้ย อำ�เภอเมืองสุราษฎร์ฯ นับเป็น ปูชนียสถานองค์แรกของชาวอำ�เภอเมือง สร้างแล้วเสร็จครั้งแรกเมื่อปี 2500 เป็นพระธาตุทรงสูงเรียวคล้ายลำ�เทียน ส่วน ยอดบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 2 องค์ และพระธาตุของพระพุทธสาวกอีก 16 องค์ ในวันที่ 27 มีนาคม 2502 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ มาสักการะพระธาตุ และ ทรงปลูกต้นพะยอมไว้ที่หน้าองค์พระธาตุ ต่อมาในปี 2519 องค์พระธาตุชำ�รุดแตกร้าวที่ฐาน จึงได้ทำ�การสร้างใหม่ทั้งหมด มีอาจารย์จิตร (ประกิต) บัวบุษย์ เป็นผู้ออกแบบ สร้างแล้ว เสร็จในปี 2522 องค์พระธาตุปัจจุบันเป็นรูปเทียนพรรษาทรงเหลี่ยม โดยสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำ�เนินแทนพระองค์มาทรงประกอบ พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุสาวกในพระธาตุองค์ ใหม่ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2527 และทรงปลูกต้นเคี่ยมไว้เป็นที่ระลึกด้วย ต่อมาในวันที่ 26 - 27 มีนาคม 2553 ชาว อำ�เภอเมืองฯ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมด้วยองค์การบริหารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้จดั งาน “แห่ผ้าห่มพระธาตุศรีสุราษฎร์ แลธรรมชาติเขาท่าเพชร” ขึ้นเป็นครั้งแรก และได้ส่งเสริม ให้เป็นงานประเพณีของจังหวัด นักท่องเที่ยวจึงสามารถมาร่วมสักการะพระธาตุในงาน ดังกล่าว วันดังกล่าวได้ทุกปี

46

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


47

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


48

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


นอกจากนี้ เขาท่าเพชรยังเป็นจุดชมวิว ที่มองเห็นตัวเมืองสุราษฎร์ฯ ในมุมสูงได้ชัดเจน และยั ง ได้ รั บ การประกาศจั ด ตั้ ง ให้ เ ป็ น ศู น ย์ ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเมื่อปี 2519 ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีพัฒนาและส่งเสริมการ อนุรักษ์สัตว์ป่าเขาท่าเพชร มีสภาพโดยทั่วไป เป็นป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ จึงมีไม้มากค่า ให้ศึกษาหลายชนิด และพบสัตว์ป่ามากมาย อาทิ กระจง หมูป่า นกปรอด นกกระจิบกินปลี นกกระจิบเล็ก นักท่องเที่ยวสามารถเดินป่า ศึกษาธรรมชาติตามเส้นทางที่เจ้าหน้าที่จัดไว้ มีระยะทาง 800 เมตร ตลอดทางมีป้ายสื่อ ความหมายชัดเจน จึงสามารถเดินชมได้ด้วย ตนเอง

49

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


พระบรมธาตุไชยา 50

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


51

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


พระบรมธาตุไชยา

พระบรมธาตุไชยาตั้งอยู่ในวัดพระบรมธาตุไชยาวรวิหาร ตำ�บลเวียง อำ�เภอไชยา และเป็นสถานทีท่ พ ่ี ระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมพ ิ ลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เพื่อประกอบพระราชพิธีเวียนเทียนเนื่องในวัน วิสาขบูชา เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2510 จากโบราณสถานและโบราณวัตถุที่ค้นพบทำ�ให้ทราบว่าวัดนี้ ได้เดินทางข้ามกาล เวลามานับพันปีนับตั้งแต่ยุคทวาราวดี แต่มาบูรณะครั้งใหญ่ในยุคศรีวิชัย และสันนิษฐาน ว่ า องค์ พ ระธาตุ ถู ก ก่ อ สร้ า งขึ้ น ในยุ ค นี้ เ พื่ อ เป็ น สถานที่ บ รรจุ พ ระบรมสารี ริ ก ธาตุ ข อง พระพุทธเจ้า ต่อมาถูกทิ้งร้างอยู่เป็นเวลานานก่อนจะมีการบูรณะอีกหลายครั้งในยุคสมัย ต่างๆ นอกจากองค์พระธาตุแล้ว วัดนี้ยังมีสิ่งที่ควรชมมากมาย เช่น พระพุทธรูปฝีมือช่าง ไชยา 180 องค์ ที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารคดล้อมรอบเจดีย์ และพระสามพี่น้อง พระพุทธรูปศิลาทรายแดงสร้างในสมัยอยุธยา ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ลานกลางแจ้งในเขต พุทธาวาส ส่วนในเขตสังฆาวาสด้านทิศตะวันออกเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไชยา ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุ อาทิ กลองมโหระทึกสำ�ริดสมัยพุทธ ศตวรรษที่ 5 รูปจำ�ลองพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรที่สร้างในสมัยศรีวิชัย และหน้าบันไม้ จำ�หลักวิหารเก่าของวัดพระบรมธาตุไชยา ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมวัดพระบรมธาตุ ไชยาได้ทุกวัน ส่วนพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติไชยาจะปิดทำ�การในวันจันทร์-อังคาร 52

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


53

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


แหลมโพธิ์ (พุมเรียง)

จากวัดพระบรมธาตุไชยาลึกเข้าไปอีกเพียงไม่ถึง 10 กิโลเมตร ยังมีสถานที่ตามรอยเสด็จฯ ให้ศึกษาอีกแห่งหนึ่งชื่อ “แหลมโพธิ์” ซึ่งเป็นพื้นที่สันทรายขนาดใหญ่ที่เกิดจากตะกอนทับถมเหนือปากคลองพุมเรียง นับตั้งแต่ยุคศรีวิชัยจวบจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ แหลมโพธิ์ถือเป็นเมืองท่าสำ�คัญในเส้น ทางการเดินเรือจากจีนไปยังอินเดียและตะวันออกกลาง หรือที่เรียกว่า “เส้นทางแพรไหม 54

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


ทางทะเล” มีคำ�บอกเล่าสืบต่อกันมาของชาวพุมเรียงว่า ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช พระองค์เคยเสด็จฯ นำ�ทัพมาทางเรือ เพื่อมาปราบกองทัพพม่าที่เข้าโจมตีเมือง ไชยา โดยทรงจอดเรือขึ้นฝั่งที่แหลมโพธิ์แห่งนี้ ต่อมาในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสตามรอยมา โดยทรงขึ้นฝั่งที่แหลมโพธิ์และโปรดเกล้าฯ ให้ เหล่าข้าราชบริพารสร้างที่ประทับชั่วคราวขึ้นบนชายหาดแหลมโพธิ์นั้น ต่อมาทางราชการ จึ ง ได้ จั ด สร้ างพลั บ พลาที่ป ระทับขึ้นเพื่อเป็นสถานที่รำ�ลึกถึงพระมหากรุณ าธิคุณ ของ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ โดยก่อสร้างเป็นเรือนโปร่งทรงปั้นหยาตั้งอยู่ริมหาด สามารถ มองเห็นวิวทิวทัศน์ของแหลมโพธิ์และท้องทะเลได้กว้างไกล แม้วันนี้แหลมโพธิ์จะเป็นเพียงที่ตั้งของชุมชนชาวประมงเล็กๆ ที่น่าศึกษาวิถีชีวิต แต่เพราะยังคงสภาพธรรมชาติไว้ได้มาก อีกทั้งเป็นถิ่นหอยขาวรสเลิศ จึงมีนักท่องเที่ยว แวะไปเยือนหนาแน่นโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว 55

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ตั้งอยู่ใน ตำ�บลดอนสัก อำ�เภอดอนสัก เดิมมีชื่อว่า “วัดเขาล้าน” ผู้ก่อสร้างวัดคือ พระอาจารย์ทอง เมื่อท่านมรณภาพชื่อวัดจึงถูก เปลี่ยนเป็น วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เพื่อเป็นที่ระลึกแด่ท่าน แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดหลวงพ่อจ้อย” เพราะหลวงพ่อจ้อยหรือ พระกิตติมงคลพิพัฒน์ เจ้าอาวาสรูปที่สอง เป็นที่เคารพนับถือ ของชาวบ้านดอนสักมาก

56

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


57

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


เนื่องจากสมัยที่ยังมีชีวิตอยู่ ท่านเป็นผู้นำ�ในการพัฒนาสาธารณูปโภคในอำ�เภอ ดอนสักจนบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง และเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จฯ ถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2513 ทรง ประกอบพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ และยังทรงมอบเงินส่วนพระองค์จำ�นวน 2 หมื่นบาท เพื่อเป็น ทุนตั้งต้นในการก่อสร้างเจดีย์จตุรมุข และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2519 เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เพื่อทรงเปิดประปาผิวดิน และพระราชทานธงลูกเสือชาวบ้าน ในครั้งนั้น ทรงพักเสวยพระกระยาหารภายในวัด แล้วจึงเสด็จฯ ออกเยี่ยมราษฎรที่มารอเข้าเฝ้าฯ ที่วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ มีสิ่งที่น่าชมหลายอย่าง ได้แก่ พระประธานเนื้อโลหะสมัย อยุธยา เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง (สำ�หรับใช้ประจำ�เรือพระ ) เจดีย์พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธบาทจำ�ลอง และอนุสาวรีย์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า วิภาวดีรังสิต นอกจากนี้ ยังมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นท้องทะเลกว้างไกล ทุกปีในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ชาวบ้านจะ จัดงาน “นมัสการพระสารีริกธาตุ ปิดทองรูปเหมือนหลวงพ่อจ้อย และแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ” ซึ่งมีคนมาร่วมพิธีเป็นจำ�นวนมาก 58

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ในอำ�เภอพุนพินอยู่ห่างจากอำ�เภอเมือง 12 กิโลเมตร เดิมมีชื่อว่า “สถานีรถไฟพุนพิน” ตัวอาคารสถานีเดิมสร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่มาถูกสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดจนเสียหายในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 กรมรถไฟหลวงจึงได้สร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นทดแทนและใช้มาจน ปัจจุบัน เหตุ ที่ สถานี ร ถไฟแห่ง นี้กลายเป็นสถานที่สำ�คัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัด ก็เพราะเมื่อวันที่3 กุมภาพันธ์ 2510 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้ เสด็จพระราชดำ�เนินโดยขบวนรถไฟพระที่นั่งกลับจากเยี่ยมเยียนพสกนิกรทางใต้ เมื่อเหล่า พสกนิกรทราบข่าวจึงพากันมารอเฝ้ารับเสด็จที่สถานีรถไฟสุราษฎร์ฯ จนเนืองแน่น เมื่อ ขบวนรถไฟพระที่นั่งเทียบชานชาลา ทั้งสองพระองค์จึงเสด็จฯ ขึ้นไปยังสะพานข้ามทาง รถไฟโดยมิได้อยู่ในหมายกำ�หนดการ และทรงโบกพระหัตถ์ทักทายประชาชนเป็นเวลานาน จึงเสด็จพระราชดำ�เนินต่อ 59

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


อนุสรณ์สถานรถแทรกเตอร์พระราชทาน อนุสรณ์สถานรถแทรกเตอร์พระราชทาน ตั้งอยู่ที่ด้านหน้าสวน สาธารณะขององค์การบริหารส่วนตำ�บลอิปัน ตำ�บลบ้านย่านดินแดง โดยชาวอำ�เภอพระแสงและจังหวัดสุราษฎร์ธานีร่วมกันก่อตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงพระ มหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีน้ำ�พระราชหฤทัยและใส่ใจในทุกข์สุขของพสกนิกรชาวพระแสง โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2511 พระองค์เสด็จพระราชดำ�เนินเยี่ยมราษฎรอำ�เภอพระแสง พร้อมด้วยสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และทรงพบว่าเส้นทางคมนาคมใน อำ�เภอทุรกันดารอย่างยิ่ง ทำ�ให้การติดต่อสัญจรทั้งภายในอำ�เภอและนอกอำ�เภอเป็นไป ด้วยความยากลำ�บาก จึงพระราชทานรถแทรกเตอร์บุลโดเซอร์ดี 4 แก่อำ�เภอพระแสง เพื่อใช้บุกเบิกทำ�ถนนระหว่างตำ�บลต่างๆ ของอำ�เภอให้ติดต่อกัน จนเกิดถนนหลวงสาย เวียงสระ-กระบี่ขึ้น โดยในการขนส่งรถครั้งนั้นต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ซีนุกบรรทุกชิ้นส่วน แทรกเตอร์บุลโดเซอร์ดี 4 ที่ถูกแยกชิ้นลงมาทีละชิ้น แล้วมาประกอบเป็นตัวรถที่พื้น เบื้องล่าง ต่อมาเมื่อรถถึงเวลาปลดประจำ�การ ชาวอำ�เภอพระแสงจึงได้รว่ มใจกันนำ�เสนอ ต่อจังหวัดให้จัดสร้างอนุสรณ์สถานแทรกเตอร์พระราชทานขึ้น โดยอัญเชิญรถขึ้นวางบน แท่นสูง ไม่ไกลกันนักยังมีต้นราชพฤกษ์ที่ทั้งสองพระองค์ทรงปลูกเมื่อคราวเสด็จฯ ครั้งนั้น ให้ชมด้วย 60

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


61

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


พระบรมราชนุสรณ์รัชกาลที่ 6 พระบรมราชานุสรณ์ รัชกาลที่ 6 ตั้งอยู่ในโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ตำ�บลท่าข้าม อำ�เภอพุนพิน จัดสร้างโดยความร่วมมือร่วมใจ ของชาวอำ�เภอพุนพินและ หน่วยงานราชการในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

62

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


63

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


สืบเนื่องจากในวันที่ 25 พฤศจิกายน ของทุกปี คณะกรรมการลูกเสือจังหวัด สุราษฎร์ธานี ได้จัดให้มีพิธีสักการะเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระ มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกทั้งนามจังหวัด “สุราษฎร์ธานี” เป็นนามพระราชทานจากพระองค์ จึงควรทีช่ าวสุราษฎร์ฯ จะมีพระบรมราชานุสาวรียข์ องพระองค์เพือ่ รำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคณ ุ โดยจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้หารือกับกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข เพือ่ นำ�ทีด่ นิ ส่วนหน้า ขอ งโรงพยาบาลสวนสราญรมย์เป็นทีป่ ระดิษฐานพระบรมรูป เนื่องจากบริเวณโรงพยาบาล ในอดีตคือ “ควนท่าข้าม” ซึ่งเคยเป็นที่ประทับแรมเมื่อครั้งเสด็จฯ ว่าราชการที่หัวเมืองไชยา และยังเป็นสถานที่พระราชทานนามสุราษฎร์ธานีในครั้งนั้นด้วย พระบรมราชานุสรณ์แห่งนี้มีลักษณะของพระบรมรูปทรงเครื่องแบบนายพลเสือป่า พรานหลวง หล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ� มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งพระองค์จริง ปัน้ โดย อาจารย์สนัน่ ศิลากร แห่งกองหัตถศิลป กรมศิลปกร โดยทำ�พิธอี ญ ั เชิญพระบรมรูปขึน้ ประดิษฐานบนพระแท่น ในวันที่ 17 มีนาคม 2521 และนับแต่วนั ที่ 25 พฤศจิกายน 2521 เป็นต้นมา จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้จดั ให้มกี ารถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์เป็นประจำ�ทุกปี

64

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


65

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


66

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


เขื่อนรัชชประภา

67

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


เขื่อนรัชชประภา ตั้งอยู่ที่ตำ�บลเขาพัง อำ�เภอบ้านตาขุน เดิมชื่อว่า “เขื่อนเชี่ยวหลาน” เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ที่สำ�คัญแห่งหนึ่งในภาคใต้ อีกทั้ง ในปี 2530 เป็นช่วงเวลาแห่งมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และ ในปีถัดมาคือ พ.ศ. 2531 รัฐบาลยังจัดให้มีพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เพื่อ เฉลิ ม ฉลองเนื่ อ งในวโรกาสที่ ท รงครองสิ ริ ร าชสมบั ติ ย าวนานกว่ า สมเด็ จ พระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าพระองค์ใดในประเทศ รัฐบาลจึงได้พิจารณา ให้โครงการก่อสร้างเขื่อนเชี่ยวหลานเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในช่วงเวลา แห่งมหามงคลทั้งสอง 68

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


เขื่อนรัชชประภาเริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2530 โดยวันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ พระราชดำ�เนินมาทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนและโรงไฟฟ้าพลังน้ำ�อย่างเป็นทางการ จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจของเขื่อนรัชชประภานั้นอยู่บริเวณสันเขื่อน ซึ่งมีจุดชมวิวที่ สามารถมองเห็นตัวเขื่อนดินที่ทอดยาวกั้นลำ�น้ำ�คลองแสง และสามารถชมทิวทัศน์อัน สวยงามของอ่างเก็บน้ำ�ได้ชัดเจน นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิริสัตตราช พระพุทธรูปประจำ�เขื่อนที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และมีอนุสาวรีย์พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วิภาวดีรังสิต ให้สักการะ ภายในอาณาบริเวณเขื่อนยังมีโรงแรม ห้องจัดเลี้ยง ห้องสัมมนา และสนามกอล์ฟขนาด 18 หลุม ซึ่งนอกจากเป็นสนามที่สวยงามมากแล้วยังมีชื่อเสียงด้าน ความท้าทายฝีมือ และมีร้านอาหารรสเยี่ยมที่มีเมนูเด็ดเป็นปลาธรรมชาติตัวโตๆ จากเขื่อน ให้เลือกชิมหลายร้าน 69

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


วัดสำ�เร็จ วัดสำ�เร็จ ตั้งอยู่ในตำ�บลหน้าเมือง อำ�เภอเกาะสมุย เป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาแต่ครั้งปลายกรุงศรีอยุธยาเดิมมีชื่อว่า “วัดมเรศ” ตามประวัติเล่าสืบมาว่าเป็นวัดที่พระเจ้าตากสินมหาราชเคยเสด็จฯ เมือ่ ครัง้ รวบรวม หัวเมืองใต้ ครัน้ ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั พระองค์ได้เสด็จฯ เกาะสมุย ตามรอยเสด็จฯ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินจนมาถึงวัดนี้ และทรงนมัสการสถูปขรัวพุดสอน (ขรัวพุทธสรณ์/ขรัวพุดษร) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสผู้ก่อสร้างวัด... จากรูปแบบสถาปัตยกรรมของ สิ่งปลูกสร้างที่สวยงามและมีความหลากหลายทำ�ให้เชื่อว่าวัดสำ�เร็จมีการปฏิสังขรณ์มา เป็นระยะ และน่าจะได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 จึงได้รับอิทธิพลศิลปะจีน ดังที่ปรากฏอยู่ ภายในวัดมีพระพุทธรูปที่มีลักษณะพุทธศิลป์ที่หาชมยาก อาทิ พระพุทธรูป ปางไสยาสน์ ในวิหารพระด้านทิศใต้ที่ต่างไปจากพระนอนองค์อื่นๆ ที่พบในประเทศ โดยพระ เศียรจะหันไปทางทิศตะวันตกและหันพระพักตร์ไปทิศเหนือ และยังมีพระพุทธรูปบริวารอีก 76 องค์ที่สร้างจากหินปะการัง แต่สิ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาเยือนวัดแห่งนี้ก็คือการกราบ

70

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


สักการะขอพระ “พระศิลายวง” พระประธานในอุโบสถที่มีพุทธลักษณะแบบพม่าแท้ และในไทยพบพระพุทธรูปเช่นนี้เพียง 4 องค์เท่านั้น...ว่ากันว่ากว่าจะได้องค์พระมา คณะพระภิกษุนำ�โดย “พ่อท่านขิก” และ “ภิกษุดำ�” ต้องธุดงค์ด้วยความยากลำ�บากไป ถึงเมืองมัณฑะเลย์ จนเป็นเหตุให้พ่อท่านขิกมรณภาพระหว่างทางด้วยไข้ทรพิษ หลังจาก นั้นคณะพระยังถูกโจรดักปล้นอยู่หลายครา แต่แคล้วคลาดมาได้ โดยเชื่อว่าเป็นเพราะ บารมีขององค์พระ เมื่อพระศิลายวงเดินทางมาถึงเกาะพะงันเมื่อ พ.ศ. 2450 คณะสงฆ์ นำ�โดยพระเกจิมีชื่อในยุคนั้นได้จัดพิธีสมโภชเบิกเนตรนานถึง 3 วัน 3 คืน แล้วจึงอัญเชิญ มาประดิษฐานที่วัดสำ�เร็จให้คนกราบไหว้บูชาจนทุกวันนี้... 71

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


น้ำ�ตกหน้าเมือง น้ำ�ตกหน้าเมือง 1 ตั้งอยู่ในตำ�บลหน้าเมือง อำ�เภอเกาะสมุย เป็น น้ำ�ตกที่มีชื่อติดอันดับต้นของแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมบนเกาะสมุยมา ยาวนาน เพราะมีความสูงของหน้าผาถึง 30-40 เมตร จึงทำ�ให้กระแสน้ำ�ที่ ไหลตกลงมามีความสวยงามมาก และยังแวดล้อมด้วยป่าเขียวชอุ่มเหมาะ แก่การพักผ่อน ปัจจุบันกรมป่าไม้ ได้ขึ้นทะเบียนให้พื้นที่บริเวณน้ำ�ตกเป็นวนอุทยาน น้ำ�ตกหน้า เมือง 1 เป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งราชจักรีวงศ์เคยเสด็จประพาสถึง 3 พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ดัง หลักฐานพระปรมาภิไธยย่อของทั้ง 3 พระองค์ที่ปรากฏอยู่บนโขดหินในบริเวณน้ำ�ตก นอกจากการลงเล่นน้ำ�ตกเย็นใสแล้ว ที่น้ำ�ตกนี้ยังมีกิจกรรมท่องเที่ยวน่าสนใจอีกหลาย อย่าง เช่น ขี่ช้างเที่ยวป่า ขับรถเอวี และในบริเวณใกล้กันยังมีร้านอาหาร ร้านขายของ ที่ระลึก รวมถึงมุมสงบๆ ให้ปิกนิกด้วย

72

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


หาดธารเสด็จ น้ำ�ตกธารเสด็จ หาดธารเสด็จ และน้ำ�ตาธารเสด็จ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานฯ ธารเสด็จ - เกาะพะงัน ซึ่งเป็นเขตที่มีระบบนิเวศสมบูรณ์และน่าศึกษามากแห่งหนึ่ง น้�ำ ตกธารเสด็จเป็นน้�ำ ตกทีม่ ขี นาดใหญ่ทส่ี ดุ บนเกาะพะงัน อยูห่ า่ งจากทีท่ �ำ การอุทยานฯ 25 กิโลเมตร ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ ยังเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ที่สำ�คัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากเคยเป็นที่เสด็จ ประพาสของพระมหากษัตริย์ไทยแห่งราชวงศ์จักรีถึง 4 พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุยลเดช บรมนาถบพิตร โดยทุกพระองค์ทรงจารึกพระปรมาภิไธยย่อไว้ที่ก้อนหินหลายก้อนในบริเวณใกล้ๆ น้ำ�ตก ซึ่งปรากฏร่องรอยถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีพลับพลาที่ประทับซึ่งสร้างขึ้นใหม่ทดแทน องค์เดิมที่ผุพังไปตามกาลเวลา ปลายทางของน้ำ�ตกธารเสด็จนี้ ไหลออกสู่อ่าวธารเสด็จ ซึ่ง มีแนวหาดขาวทอดยาวสวย และมีน้ำ�ใสจนมองเห็นพื้นเบื้องล่าง เหมาะแก่การลงเล่นน้ำ� อย่างยิ่ง

73

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


74

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


น้ำ�ตกธารประพาส น้ำ�ตกธารประเวศ ยังมีน้ำ�ตกอีกแห่งที่ 2 ในเขตอุทยานฯ ธารเสด็จ-เกาพะงัน ที่เคย เป็นสถานที่เสด็จประพาส นั่นคือน้ำ�ตกธารประพาส และ น้ำ�ตกธารประเวศ ทั้งสองแห่งได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จประพาสรอบอ่าวบ้านดอน เมื่อปี พ.ศ. 2432 น้ำ�ตกธารประพาสเป็นน้ำ�ตก ขนาดเล็ก ปลายน้ำ�ตกไหลออกสู่อ่าวธารประพาส บริเวณต้นน้ำ�ตกปรากฏรอยจารึกพระ ปรมาภิไธยย่อของรัชกาลที่ 5 และพบตัวอักษรคำ�ว่า “ธารประพาส” บนโขดหินบริเวณ ปลายน้ำ�ตก แต่ปัจจุบันถูกน้ำ�กัดเซาะจนตัวอักษรเลือนเกือบหมด ส่วนน้ำ�ตกธารประเวศ ได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 5 เมื่อคราวเสด็จ ประพาสรอบอ่าวบ้านดอนในปี พ.ศ. 2441 โดยพบรอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อและจารึกตัว อักษรคำ�ว่า “ธารประเวศ” บนก้อนหินที่บริเวณปลายน้ำ�ตก ปัจจุบันคำ�ว่า “ธาร” ค่อนข้าง ลบเลือนเพราะแรงน้ำ�เซาะเช่นกัน 75

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


วัดหน้าพระลาน วัดหน้าพระลานตั้งอยู่ที่ตำ�บลแม่น้ำ� อำ�เภอเกาะสมุย เป็นวัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จฯ เมื่อคราวเสด็จ ประพาสแหลมมาลายู โดยทรงบันทึกในพระราชหัตถเลขาไว้เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 ความว่า... “ที่ข้างแหลมเรียกว่าหน้าพระลาน...มีพระเจดีย์เป็นซุ้มคูหาสี่ด้านซ้อนสามชั้นสูง ประมาณสามวา อยูใ่ นกลางทีน่ น้ั องค์หนึง่ ว่าเป็นทีบ่ รรจุกระดูกขรัวพุดสอน ราษฎรนับถือกัน ถึงปีมาก่อพระทราย ถ้าเจ็บไข้ก็มาตั้งน้ำ�มนต์”... วัดหน้าพระลานมีสิ่งที่ควรค่าแก่การสักการะอยู่หลายอย่าง ที่ ไม่ควรพลาดคือ เจดีย์ขรัวพุดสอน ซึ่งเป็นอีกสถานที่หนึ่งที่บรรจุอัฐิธาตุของ “ขรัวพุดสอน” เกจิภิกขุรูป สำ�คัญที่ชาวสมุยให้ความเคารพศรัทธายิ่ง ด้วยเลื่อมใสในปฏิปทาและวัตรที่งดงาม อีก ทั้งยังเชื่อว่าท่านมีฌานที่แกร่งกล้าจึงมักปรากฏอิทธิปาฏิหาริย์ให้บรรดาลูกศิษย์อศั จรรย์ ใจ เสมอ ในหนังสือ “ชีววิ ฒ ั น์” พระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข (สมเด็จ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพนั ธุวงศ์วรเดช) ก็ได้กล่าวถึงภิกษุรปู นี้ ไว้มใี จความตอนหนึง่ ว่า... วัดหน้าพระลาน ในสมัยรัชกาลที่ 5

76

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


“ท่านขรัวพุดษรเป็นพระมาแต่ครั้งแผ่นดินขุนหลวงตาก.....คนชาวเกาะสมุยนิยม นับถือว่ามีวิทยาอาคมศักดิ์สิทธิ์ ตลอดการเจ็บไข้จนถึงคนเดินเรือผ่านมาหน้าเกาะสมุย ถูกคลื่นลม และบนบานคลื่นลมก็สงบเรียบร้อยไป เมื่อขรัวพุดษรตายแล้ว ราษฎรปลงศพ เก็บอัฐิใส่โถแก้วตั้งไว้พร้อมด้วยเครื่องสักการบูชา ยังมีอยู่จนบัดนี้ ชาวเกาะถือว่าถ้าจะไป ที่กันดาร ไปทัพ เป็นต้น เชิญเอากระดูกขรัวพุดษรผูกคอไปด้วยอัน 1 เป็นที่นิยมนับถือเป็น อันมาก” ยังมีคำ�บอกเล่าของชาวบ้านถึงประวัติของขรัวพุดสอนว่า ถิ่นกำ�เนิดของท่านอยู่ ละแวกบ้านหน้าเมือง เกาะสมุย และเป็นลูกทาสในเรือนเบี้ย มีหน้าที่เลี้ยงควาย ระหว่าง ที่เลี้ยงควายนั้นท่านมักนำ�โคลนหมาดที่ติดตัวควายมาเขียนอักขระซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ ผิดแปลกจากเด็กลูกทาสทั่วไป และมีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งขณะที่ทาสหยุดพักกินข้าวปลา หลังจากเกี่ยวข้าว เด็กพุดสอนไม่มีที่นั่งกินข้าวเพราะพื้นเฉอะแฉะไปด้วยน้ำ�และโคลน ท่านจึงรวบต้นข้าวที่เกี่ยวรวงแล้วเพียง 4-5 ต้น มาผูกเข้าด้วยกัน แล้วขึ้นไปนั่งโดยทีต่ น้ ข้าว ไม่ทรุดเอน จนเกิดเสียงเล่าลือว่าท่านเป็นผูม้ บี ญ ุ นายทาสจึงอนุญาตให้เด็กพุดสอนบรรพชา เป็นสามเณรและอุปสมบทในเวลาต่อมา

วัดราชธรรมาราม (วัดศิลางู) วัดราชธรรมมาราม ตั้งอยู่ในตำ�บลมะเร็ต อำ�เภอเกาะสมุย เดิม ชาวสมุยเรียกวัดนี้ว่า “วัดพระธาตุหินงู” เนื่ อ งจากมี เ จดี ย์ สี ท องทั้ ง องค์ ซึ่ ง เป็ น ที่ ป ระดิ ษ ฐานพระบรมสารี ริ ก ธาตุ ที่ ไ ด้ รับมอบจากท่านเจ้าคุณ พระอรรถทัศสุทธิพงศ์ แห่งวัดชีโทน อำ�เภอผักไห่ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่ทิวทัศน์สวยงามมากเนื่องจากอยู่ติดทะเลและเป็นหนึ่งใน สถานที่ประวัติศาสตร์ของเกาะสมุยที่พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เคยเสด็จพระราชดำ�เนินเยือน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2505 นอกจากเจดีย์สีทองมลังเมลืองแล้ว จุดที่ควรชมอีกแห่งคือ “โบสถ์แดง” สร้าง จากหินปูนเค็มที่มีอยู่มากมายบนเกาะสมุย นำ�มาทุบแล้วบดจนละเอียดผสมเข้ากับ ปูนซีเมนต์ จากนั้นนำ�สีแดงผสมลงไปเพื่อแก้ปัญหาสีปูนที่ไม่สดใสให้กลับสวยงามและมีสี 77

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


เสมอกัน นั่นจึงเป็นเหตุให้ โบสถ์ทั้งหลังมีสีแดงสวยแปลกตาอย่างยิ่ง ประกอบกับรูปแบบ ของสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างศิลปะศรีวิชัยและบายนโดยฝีมือช่างที่ ประณีต โบสถ์แดงจึงมีเสน่ห์สะดุดใจไม่แพ้วัดใดในภาคใต้

ลานหิน จปร.

ตั้งอยู่บริเวณทิศใต้ของหาดทรายรี บนเกาะเต่า อำ�เภอเกาะพะงัน แต่ชาวเกาะเรียกว่า “พ่อตา จปร.” คำ�ว่า “พ่อตา” นัน ้ หมายถึงเจ้าทีซ่ ง่ึ อยู่ ในชั้นภูมิเทพ ทำ�หน้าที่ปกปักคุ้มครองให้ชาวบ้านอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข จึงเป็นที่เคารพสักการะของชาวเกาะเต่าอย่างยิ่ง หินจปร. เป็นก้อนหินขนาด ย่อม โผล่ยอดสูงขึ้นมาจากพื้นดิน ด้านที่หันออกทะเลพบรอยจารึกพระปรมาภิไธยย่อของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสลักไว้เมื่อ ปี พ.ศ. 2442 บริเวณใกล้เคียง กันทางราชการได้อัญเชิญพระบรมรูปของพระองค์มาประดิษฐานไว้เพื่อให้ประชาชนและ นักท่องเที่ยวได้สักการะบูชาระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยอาณาประชาราษฎร์ จนเสด็จพระราชดำ�เนินมาไกลถึงเกาะเต่าแห่งนี้ ตรงบริเวณริมหาดใกล้หิน จปร. มี ลักษณะเป็นเป็นสวนหินธรรมชาติโผล่แทรกขึ้นมาบนหาดขาว จึงเป็นจุดที่นักท่องเที่ยว นิยมมานั่งชมพระอาทิตย์ตกยามเย็น 78

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


79

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

80

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


81

๑๐๓ ปี พระราชทานนาม สุราษฎร์ธานี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.