ครบวงจร

Page 1

แนวทางการดำ�เนินงาน ศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย


แนวทางการดำ�เนินงาน ศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก


แนวทางการดำ�เนินงาน

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก คณะที่ปรึกษา นายประภาศ บุญยินดี นางกอบแก้ว จันทร์ดี นายพิสันติ์ ประทานชวโน นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ นายวีระศักดิ์ ประภาวัฒน์เวช นางอัจฉราวรรณ มณีขัติย์ คณะทำ�งาน นายธานี วรรณพัฒน์ นางสาวดวงนภา สงฆ์ประสิทธิ์ นายจิรวัฒน์ เพิ่มทอง นายดำ�รง สมหอม นางสาวภิญญภัค สินรา นางสาวฟารีดา ม่าเหร็ม นางพัชรินทร์ สมหอม เรียบเรียง นางสาวภิญญภัค สินรา พิสูจน์อักษร นางพัชรินทร์ สมหอม

อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้อำ�นวยการสำ�นักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน นักวิชาการพัฒนาชุมชนเชีย่ วชาญ ทีป่ รึกษาอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผู้อำ�นวยการกลุ่มงานส่งเสริมผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ

ออกแบบปก/จัดวางรูปเล่ม นางพัชรินทร์ สมหอม นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ พิมพ์ที่ บริษัทอัพทรูยู ครีเอทนิว จำ�กัด พ.ศ.๒๕๕๕ จำ�นวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม ISBN ๙๗๘-๙๗๔-๔๒๓-๑๒๓-๙ จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย สำ�นักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โทร./โทรสาร ๐๒-๑๔๑๖๐๖๒, ๐๒-๑๔๓๘๙๑๑


คำ�นำ� กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำ�หนดเป้าหมายการให้บริการเพื่อให้ ประชาชนในหมู่บ้านมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยกำ�หนดยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนอง นโยบายรัฐบาลดังกล่าว ด้วยการมุง่ พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้เข้มแข็ง ด้วยกลยุทธ์ในการ ส่งเสริมการผลิตให้ ได้มาตรฐานและส่งเสริมการบริหารผลิตภัณฑ์ (Product management) ให้เกิดประโยชน์สงู สุด โดยใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้จดั ตัง้ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบ วงจร ระดับอำ�เภอ จำ�นวน ๘๗๗ แห่ง เพือ่ ให้เป็นช่องทางในการเชือ่ มโยงการใช้ทรัพยากรจาก แหล่งทุน แหล่งผลิต แหล่งตลาด แหล่งความรู้ ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาขีดความ สามารถในการประกอบอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน เพื่อส่งผลต่อประชาชนในหมู่บ้าน ให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมการพัฒนาชุมชน ได้มีการเปลี่ยนชื่อ ศูนย์บริการ

ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร เป็น ศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน

พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดภายใต้วิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจ ฐานรากมั่นคง” โดยมีการทบทวนการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เพื่อให้เป็นแนวทางการดำ�เนินงานที่เหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ ในปัจจุบัน และได้จัด ทำ�เอกสารฉบับนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนใช้เป็นคู่มือในการดำ�เนินงานศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตามภารกิจของกรมการพัฒนาชุมชน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สงู สุดในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน เพือ่ ให้ชมุ ชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานราก มั่นคง ต่อไป

กรมการพัฒนาชุมชน มิถุนายน ๒๕๕๕



สารบัญ คำ�นำ�

ส่วนที่ ๑ ความเป็นมา ... ๘

ความเป็นมา ... ๑๑ ความหมาย ... ๑๒ วัตถุประสงค์ ... ๑๒ ประโยชน์ของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๑๒ กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ ... ๑๓ ผลการดำ�เนินงานศูนย์ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๒ – ๒๕๕๕ ... ๑๔

ส่วนที่ ๒ แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๑๘

สถานที่ดำ�เนินการ ... ๒๐ ภารกิจศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๒๑ โครงสร้างคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๒๓ การจัดทำ�แผนการดำ�เนินงานและแผนปฏิบัติการ ... ๒๔ การจัดทำ�ผลการดำ�เนินงาน ... ๒๕ รูปแบบการให้บริการ ... ๒๖ ข้อมูลในศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๒๗ ข้อมูลที่ควรให้บริการ ... ๒๘ เกณฑ์การพิจารณาการใช้จ่ายงบประมาณ ... ๒๙ บทบาทของหน่วยงานภาคี ... ๓๐ บทบาทหลักของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๓๑ Road Map ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๓๓ ตัวอย่างศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๓๕


ส่วนที่ ๓ ขั้นตอนการพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริม

เศรษฐกิจฐานราก ... ๓๘

ขั้นตอนที่ ๑ การประเมินศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๔๐ ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากตามเกณฑ์การประเมิน ... ๔๔ ขั้นตอนที่ ๓ การค้นหาความต้องการและศักยภาพพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ ... ๕๑ ขั้นตอนที่ ๔ การวิเคราะห์กลุ่มผู้มารับบริการ ... ๕๕ ขั้นตอนที่ ๕ การจัดทำ�แผนการให้บริการ ... ๕๗ ขั้นตอนที่ ๖ การประเมินผลการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๕๘

ส่วนที่ ๔ ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ

และปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ ... ๖๐


ภาคผนวก ... ๖๗ ภาคผนวก ก ... ๖๘

- หลักสูตรการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๖๙ - ตัวอย่างองค์ความรู้ที่ควรมีในศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๗๔ - ระเบียบการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๑๒๘ - เค้าโครงเว็บไซต์ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๑๒๙

ภาคผนวก ข ... ๑๓๑ - - - -

ตัวอย่างการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๑๓๒ ฟอร์มแผนการให้บริการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๑๗๘ แบบประเมินความพึงพอใจศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ... ๑๗๙ สัญลักษณ์ประเมินความพึงพอใจ ... ๑๘๐


ส่วนที่ ๑ ความเป็นมา


ความเป็นมา ความหมาย วัตถุประสงค์ ประโยชน์ของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ ผลการดำ�เนินงานศูนย์ตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ – ๒๕๕๕


10

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ความเป็นมา

รัฐบาลมีนโยบายในการพัฒนาโครงการที่เกิดจากศักยภาพของชุมชน และก่อ ให้เกิดรายได้อย่างยั่งยืน โดยการเชื่อมโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐ ท้องถิ่น และจังหวัด เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการของสมาชิกกลุม่ อาชีพ กลุม่ ผูผ้ ลิต/ผูป้ ระกอบการ หนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนโครงการแก้ไข ปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ประจำ�หมู่บ้าน กองทุนหมู่บ้าน และประชาชนในหมู่บ้าน เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาอาชีพ โดย รัฐบาลให้การสนับสนุนองค์ความรู้การเข้าถึงแหล่งทุน และพัฒนาขีดความสามารถการ บริหารจัดการในการประกอบอาชีพ กรมการพัฒนาชุมชน ได้กำ�หนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนให้ เข้มแข็ง โดยมีเป้าประสงค์คือ ประชาชนในหมู่บ้านมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ โดยใช้ กลยุทธ์ที่สำ�คัญคือ บูรณาการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น เพื่อเป็นการขับเคลื่อนกลยุทธ์ให้ตอบสนองต่อนโยบาย จึงสนับสนุนการจัดตั้ง ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก (ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร) ขึน้ และในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ กรมการพัฒนาชุมชน ได้เปลี่ยนชื่อศูนย์เพื่อให้สอดคล้องกับแผน ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ทีม่ เี ป้าหมายสูงสุดภายใต้วสิ ยั ทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง” จากศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบ วงจร เป็น “ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก”

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

11


ความหมาย

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก หมายถึง ศูนย์กลางการให้บริการทางวิชาการ และพัฒนาขีดความสามารถด้านการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน โดยเป็นช่องทางในการ เชือ่ มโยงการใช้ทรัพยากรจากแหล่งทุน แหล่งผลิต แหล่งตลาด แหล่งความรูท้ งั้ ภาครัฐ และภาค เอกชน และเป็นกลไกขับเคลือ่ นให้มกี ารเพิม่ ประสิทธิภาพ การบริหารจัดการแหล่งทุน กลุม่ อาชีพ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการหนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ สำ�หรับการสร้างงานสร้างอาชีพ และ สร้างรายได้แก่ชมุ ชน เพือ่ ส่งผลต่อประชาชนในหมูบ่ า้ น ให้มคี วามมัน่ คงทางเศรษฐกิจฐานราก ด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมเชือ่ มโยงการพัฒนาชุมชน ระหว่างภาคีการพัฒนาในระดับอำ�เภอ การให้บริการของศูนย์ฯ หมายถึง การให้บริการตามภารกิจของศูนย์ฯอย่างใดอย่าง หนึ่งหรือหลายอย่าง หรือทุกภารกิจแก่บุคคล/กลุ่มเป้าหมายที่ขอรับบริการของศูนย์ฯตาม ความต้องการของผู้รับบริการนั้น ๆ ทั้งในเชิงรับ คือ ให้บริการ ณ ที่ตั้งของศูนย์ฯ และเชิงรุก คือให้บริการเคลือ่ นที่ ตามความต้องการของชุมชนและตามสถานการณ์เร่งด่วน โดยการบริหาร จัดการและให้บริการในรูปคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผูแ้ ทนเครือข่าย OTOP แกนนำ�ชุมชน ผู้เชี่ยวชาญปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและภาคีหน่วยงานภาครัฐ

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่และแหล่งเงินทุน ๒. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้

ประโยชน์ของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

๑. ประชาชน กลุ่ม องค์กร ในพื้นที่ มีแหล่งในการขอรับคำ�ปรึกษา แนะนำ� และ ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ สามารถนำ�ไปใช้พัฒนาอาชีพและรายได้ให้ดีขึ้น ๒. เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจในระดับฐานราก ทำ�ให้ประชาชน กลุม่ องค์กร ทีม่ าขอรับบริการมีขอ้ มูลเพียงพอเพือ่ ใช้ประกอบการตัดสินใจประกอบอาชีพ ทำ�ให้ลดความเสีย่ ง ในด้านต่าง ๆ เช่น วัตถุดิบ การตลาด ทุนดำ�เนินการ เป็นต้น

12

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๓. เป็นสถานที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านภูมิปัญญา ฝีมือ ทักษะ ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ในระดับฐานราก อันเป็นการกระตุน้ ให้ประชาชน กลุม่ องค์กร เกิดการพัฒนาและ เรียนรู้ให้เท่าทันสภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจตลอดเวลา ๔. เป็นเวทีให้ผู้นำ�ชุมชน มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ในการพัฒนา เศรษฐกิจฐานราก ๕. เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และการทำ�งานร่วมกัน เกิดการพัฒนาการทำ�งานในรูปแบบเครือข่ายชุมชน กับภาคีการพัฒนาภาครัฐ และภาคเอกชน

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากกศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ได้แก่ ๑. กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชน ๒. กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ๓. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ๔. กองทุน กขคจ./กองทุนหมู่บ้าน ๕. กลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายอื่น ๆ ในชุมชน ๖. ประชาชนในหมู่บ้าน/ตำ�บล ฯลฯ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

13


ผลการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก (ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร) ปี พ.ศ. ๒๕๕๒

กรมการพัฒนาชุมชน ได้สนับสนุนงบประมาณ จำ�นวน ๔๓,๘๕๐,๐๐๐ บาท ในการ จัดตั้ง โดยใช้ชื่อว่า “ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร” ในระดับอำ�เภอทุกอำ�เภอ จำ�นวน ๘๗๗ แห่ง เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนเข้าถึงองค์ความรู้สมัยใหม่ และพัฒนาขีดความ สามารถในการประกอบอาชีพเพื่อก่อให้เกิดรายได้ โดยมีกรอบแนวทางประกอบด้วย ๑. จัดตั้งศูนย์ฯ ระดับอำ�เภอทุกอำ�เภอ จำ�นวน ๘๗๗ ศูนย์ ๆ ละ ๒๑,๕๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๘,๘๕๕,๕๐๐ บาท ๒. การแสวงหาและรวบรวมข้อมูล องค์ความรู้และคลังสมองด้านเศรษฐกิจ โดย ดำ�เนินการระดับจังหวัด ๗๕ จังหวัด ๆ ละ ๘๙,๓๑๘ บาท เป็นเงิน ๖,๖๙๘,๘๕๐ บาท ดำ�เนินการ ตามขั้นตอน ดังนี้ ๑) ประมวลความต้องการด้านเศรษฐกิจและการกำ�หนดจุดขายด้านเศรษฐกิจ ของทุกอำ�เภอในจังหวัด ๒) รวบรวมข้อมูล องค์ความรู้และคลังสมองด้านเศรษฐกิจเพื่อตอบสนองความ ต้องการของอำ�เภอ ๓) จัดทำ�สื่อ การสืบค้นข้อมูลแหล่งผลิต แหล่งทุน แหล่งความรู้ และแหล่งการ ตลาดตามความต้องการของอำ�เภอ ประกอบด้วย CD ข้อมูล เอกสาร ๓. สนับสนุนการดำ�เนินงานตามแผนปฏิบัติการศูนย์ฯ ในระดับอำ�เภอ ๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๘,๗๗๐,๐๐๐ บาท

14

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๔. ผลิตเครื่องมือในการให้บริการในระดับจังหวัด เพื่อสนับสนุนการให้บริการของ ศูนย์ฯ ในระดับอำ�เภอ โดยการจัดทำ�สื่อในการสืบค้นข้อมูลแหล่งผลิต แหล่งทุน แหล่งตลาด ประกอบด้วย CD ข้อมูล และเอกสาร ดำ�เนินการระดับจังหวัด ๆ ละ ๑๒๒,๙๗๔ บาท

ปี พ.ศ. ๒๕๕๓

กรมได้สนับสนุนงบประมาณจำ�นวน ๘,๗๑๙,๒๐๐ บาท เพื่อดำ�เนินการ ๓ กิจกรรม คือ ๑. พัฒนาศูนย์ฯ ต้นแบบ ดังนี้ ๑.๑ ฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯต้นแบบ เพื่อ ๑) ทบทวนการบริหารงานของศูนย์ฯ เช่น โครงสร้าง บทบาท หน้าที่ของ คณะกรรมการ ระเบียบ และภารกิจของศูนย์ฯ ๒) ออกแบบระบบข้อมูลด้านเศรษฐกิจ และการให้บริการ ๓) วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานศูนย์ฯ ๔) จัดทำ�แผนพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการศูนย์ฯ ดำ�เนินการระดับจังหวัด ๆ ละ ๑ รุน่ ๆ ละ ๑๕,๒๐๐ บาท รวม ๗๕ รุน่ เป็นเงิน ๑,๑๔๐,๐๐๐ บาท ๑.๒ สนับสนุนกิจกรรมการดำ�เนินงานตามแผนปฏิบตั กิ ารศูนย์ฯ ต้นแบบ ศูนย์ละ ๕๐,๐๐๐ บาท จำ�นวน ๗๕ ศูนย์ เป็นเงิน ๓,๗๕๐,๐๐๐ บาท ๒. ฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการศูนย์ฯ เพื่อ ๑) ทบทวนการบริหารงานของศูนย์ฯ เช่น โครงสร้าง บทบาท หน้าที่ของ คณะกรรมการ ระเบียบ และภารกิจของศูนย์ฯ ๒) ออกแบบระบบข้อมูลด้านเศรษฐกิจ และการให้บริการ ๓) วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานศูนย์ฯ ๔) จัดทำ�แผนพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการศูนย์ฯ ดำ�เนินการ ๗๕ จังหวัด/รุ่น ๆ ละ ๓๔,๗๔๑ บาท เป็นเงิน ๒,๖๐๕,๖๐๐ บาท ๓. ประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนการให้บริการศูนย์ฯ ดำ�เนินการในส่วนกลาง ๑ รุ่นเป็นเงิน ๙๒๓,๖๐๐ บาท ๔. จัดทำ�สื่อและเผยแพร่บทเรียนการให้บริการศูนย์ฯ ดำ�เนินการในส่วนกลาง เป็นเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

15


ปี พ.ศ. ๒๕๕๔

กรมฯ ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำ�เนินงานศูนย์ฯ จำ�นวน ๘๗๘ ศูนย์ ๆ ละ ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อดำ�เนินการ ๑. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร เพื่อทบทวนบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบ วงจร ๒. จัดทำ�แผนการให้บริการเพื่อพัฒนาทักษะและขีดความสามารถในการประกอบ อาชีพการบริหารจัดการกลุม่ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยมุง่ เน้นให้บริการหมูบ่ า้ นเศรษฐกิจ พอเพียงต้นแบบ ๓. ดำ�เนินงานตามแผนปฏิบตั กิ าร เช่นฝึกอาชีพต่าง ๆ สาธิตการผลิตและการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ๔. ให้บริการแก่กลุม่ อาชีพทัง้ ในและนอกศูนย์ ฯ ทุกอำ�เภอในปี ๒๕๕๓ จำ�นวน ๘๗๘ ศูนย์

16

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ปี พ.ศ. ๒๕๕๕

กรมฯ ได้ปรับเปลี่ยนชื่อศูนย์เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนา ชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๙ ที่มีเป้าหมายสูงสุดภายใต้วิสัยทัศน์ “ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจ ฐานรากมัน่ คง”เป็น “ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก” และจัดสรรงบประมาณ จำ�นวน ๒๗,๑๒๐,๐๐๐ บาท (ยีส่ บิ เจ็ดล้านหนึง่ แสนสองหมืน่ บาทถ้วน) ดำ�เนินกิจกรรมย่อย ๒ กิจกรรม คือ ๑. ทบทวนการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก (ศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร) เป็นเงิน ๗๘๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) ๒. สนับสนุนศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก (ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ ชุมชนครบวงจร) จำ�นวน ๘๗๘ ศูนย์ ๆ ละ ๓๐,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๒๖,๓๔๐,๐๐๐ บาท (ยี่สิบหกล้านสามแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

17


ส่วนที่ ๒ แนวทางการดำ�เนินงาน

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สถานที่ดำ�เนินการ ภารกิจศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โครงสร้างคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก การจัดทำ�แผนการดำ�เนินงานและแผนปฏิบัติการ การจัดทำ�ผลการดำ�เนินงาน รูปแบบการให้บริการ

18

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ข้อมูลในศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ข้อมูลที่ควรให้บริการ เกณฑ์การพิจารณาการใช้จ่ายงบประมาณ บทบาทของหน่วยงานภาคี Road Map ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก บทบาทหลักของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตัวอย่างศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

19


แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก

สถานที่ดำ�เนินการ

สถานที่ดำ�เนินการหรือสถานที่ตั้งของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ส่งผลใน ระดับหนึ่งต่อความสำ�เร็จของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การจัดหาสถานที่ที่ เหมาะสมควรพิจารณาให้รอบด้าน เช่น ๑. เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารหรือการให้บริการของหน่วยงานต่าง ๆ ๒. มีพื้นที่เพียงพอในการดำ�เนินการให้บริการ ๓. กลุ่มเป้าหมายที่มาขอรับบริการสามารถเดินทางมาขอรับบริการได้สะดวก ๔. มีระบบสาธารณูปโภคพร้อม ๕. มีเครื่องมือในการให้บริการ เช่น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ เอกสาร สิ่งพิมพ์เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ๖. ผู้ให้และผู้รับบริการต้องเห็นชอบและมีส่วนร่วมในการเลือกสถานที่ตั้งและใช้ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

20

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ภารกิจศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

๑. การศึกษา ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากจะต้องมีหน้าที่ในการศึกษาให้ รู้เท่าทันสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการของผู้รับบริการ จุดอ่อน จุดแข็ง ของศูนย์ฯ ของลูกค้า รวมทั้งศึกษาตำ�แหน่งทางเศรษฐกิจ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ เพื่อ กำ�หนดเป็นจุดขายของอำ�เภอ ๒. การให้ บ ริ ก าร เป็ น ภารกิ จ หลั ก ของศู น ย์ บ ริ ก ารส่ ง เสริ ม เศรษฐกิ จ ฐานราก ประกอบด้วย การให้บริการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ ข้อมูลการลงทะเบียน OTOP และการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ข้อมูลการจ้างงาน ข้อมูลราคา ผลผลิต ข้อมูลการผลิต การตลาด แหล่งทุน ตลอดจนให้บริการองค์ความรูใ้ หม่ ๆ การให้คำ�ปรึกษา แนะนำ�ด้านต่าง ๆ เช่น การตรวจสุขภาพกองทุน การแนะนำ�การทำ�บัญชี งบดุล กลุม่ ออมทรัพย์ กข.คจ. เป็นต้น ๓. สนับสนุน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ความรู้ ด้านเศรษฐกิจ การสนับสนุนวิทยากรหรือผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านการผลิต การตลาด การออม การสร้างรายได้ ประกอบอาชีพ เป็นต้น ๔. สนับสนุนสถานที่ในการพบปะเจรจา ธุรกิจ หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของผู้เกี่ยวข้อง ด้าน เศรษฐกิจ ๕. ส่งเสริมการประกอบอาชีพ การสร้าง รายได้เพิ่มขึ้นของประชาชน การค้า การลงทุน การ ออม ส่งเสริมให้กองทุนชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กองทุน กข.คจ. กองทุนหมู่บ้าน เป็นหลักในการ ให้การสนับสนุนแหล่งเงินทุนแก่ผู้มารับบริการ ก่อ ให้เกิดการลงทุนในการประกอบอาชีพ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

21


๖. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยการจัดเวทีสัมมนาในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจฐานราก ที่ประชาชนหรือผู้รับบริการให้ความสนใจ หรือเป็นเรื่องเกี่ยวกับปากท้องความเป็นอยู่ของ ประชาชน อาจใช้วิธีออกบริการเคลื่อนที่ลักษณะเป็นการจัด Event หรือการอบรมให้ความรู้ หรือการนำ�คนทีป่ ระสบความสำ�เร็จมาถ่ายทอดความรูเ้ ป็นตัวอย่างแก่ประชาชน หรือผูร้ บั บริการ ของศูนย์ ๗. การประสานงาน ในกรณีที่ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากไม่สามารถ ให้บริการได้อาจเนื่องมาจากสาเหตุไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านที่ผู้รับบริการต้องการ ศูนย์ตอ้ งส่งต่อ หรือชีช้ อ่ งไปยังหน่วยงานทีม่ ภี ารกิจเฉพาะด้านนัน้ ๆ เช่น การขอมาตรฐาน อย. ส่งไปยังสาธารณสุข หรือการขอสินเชือ่ ส่งไปยังธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น

22

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


โครงสร้างคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก ๑. องค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก มี ๒ ส่วน ประกอบด้วย - คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ประกอบด้วย ตัวแทนจากกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ดังนี้ ประธานเครือข่าย OTOP กองทุนหมู่บ้าน (กทบ.) คณะกรรมการโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ออมทรัพย์ฯ คณะกรรมการพัฒนาสตรี ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนระดับอำ�เภอ (ศอช.อ.) อาสาสมัครชุมชน (อช.) หมอดิน ปราชญ์ ชาวบ้าน นักธุรกิจที่ประสบความสำ�เร็จ ประธานชมรมกำ�นันผู้ใหญ่บ้าน - ทีป่ รึกษาคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ประกอบด้วย หน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ พัฒนาชุมชน เกษตร สารธารณสุข การศึกษานอกโรงเรียน สหกรณ์ สภาวัฒนธรรมอำ�เภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ๒. ตำ�แหน่งและจำ�นวนคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากขึ้นอยู่ กับความเหมาะสม และความจำ�เป็น เช่น ประธาน รองประธาน เลขานุการ เหรัญญิก ปฏิคม ประชาสัมพันธ์ และอาจมีกรรมการด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านวิชาการ/ ข้อมูล ด้านส่งเสริมอาชีพด้านส่งเสริมแหล่งทุน เป็นต้น

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

23


การจัดทำ�แผนการดำ�เนินงาน ของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก จะต้องมีการจัดทำ�แผนการดำ�เนินงานที่มี ทิศทางการดำ�เนินงานที่ชัดเจนครอบคลุมภารกิจของศูนย์ เพราะแผนการดำ�เนินงานจะทำ�ให้ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ดำ�เนินงานอย่างมีเป้าหมายและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ กำ�หนดไว้ ซึ่งแผนการดำ�เนินงานควรเป็นแผนระยะปานกลาง และแผนปฏิบัติการประจำ�ปี ดังนี้ - แผนระยะปานกลาง เป็นแผนการดำ�เนินงานที่มีการวางแผนการทำ�งานของ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก มีระยะเวลา ๓ – ๕ ปี ซึ่งเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าว่า ในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ควรจะต้องเตรียมตัวอย่างไร - แผนปฏิบัติการประจำ�ปี เป็นการนำ�แผนระยะปานกลางมาทบทวนและจัดทำ� เป็นแผนงาน/โครงการประจำ�ปีของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งจะดำ�เนินการ ในรอบปีของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยปรากฏไว้ในแผนปฏิบัติการประจำ�ปี

24

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


การจัดทำ�ผลการดำ�เนินงาน ของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

การจั ด ทำ � ผลการดำ � เนิ น งานศู น ย์ บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เป็นการนำ�ผล การดำ�เนินงานตามแผนการดำ�เนินงาน และแผน ปฏิบตั กิ ารทีศ่ นู ย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ให้บริการหรือดำ�เนินงานนำ�เสนอเพื่อให้ทราบ ว่ามีการทำ�อะไรไปแล้วบ้าง ผลเป็นประการใด อั น เป็ น การเผยแพร่ แ ละประชาสั ม พั น ธ์ ก าร ดำ�เนินงานศูนย์ให้หน่วยงานต่าง ๆ กลุม่ องค์กร และ ประชาชนทั่วไปได้ทราบด้วย ซึ่งผลการดำ�เนินงาน ศู น ย์ บ ริ ก ารส่ ง เสริ ม เศรษฐกิ จ ฐานราก ควรมี ผลการดำ � เนิ น งานประจำ � เดื อ น และเมื่ อ สิ้ น ปี ควรจัดทำ�เป็นผลการดำ�เนินงานประจำ�ปี

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

25


รูปแบบการให้บริการ ของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ๑. ให้บริการ ณ ที่ตั้งของศูนย์ ตามภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มาขอรับบริการ ตามความต้องการ โดยผู้แทนเครือข่าย OTOP เครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge Based OTOP : KBO) เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และผู้ที่ คณะกรรมการบริหารศูนย์มอบหมาย ๒. ให้ บ ริ ก ารโดยจั ด กิ จ กรรมเคลื่ อ นที่ ต ามความต้ อ งการของชุ ม ชน หรื อ ตาม สถานการณ์เร่งด่วน อาทิ การฝึกอบรมอาชีพระยะสัน้ ตามเมนูอาชีพทางเลือก การให้คำ�ปรึกษา แนะนำ�การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่ชมุ ชน โดยคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ผูแ้ ทน เครือข่าย OTOP เครือข่ายองค์ความรู้ KBO เครือข่ายอื่น เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และผู้ที่ คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ มอบหมาย ๓. บริการผ่านสื่อ เช่น วิทยุ ทีวี website ฯลฯ

26

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ข้อมูลในศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ควรมีขอ้ มูลทีค่ รอบคลุมด้านต่าง ๆ ในการให้ บริการ ประกอบด้วย ๑. ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ที่เป็นปัจจุบัน เช่น ข้อมูลด้านภูมิประเทศ ด้านสังคม และวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ ( การประกอบอาชีพ) ด้านสิ่งแวดล้อม ๒. ข้อมูลแหล่งทุน - ทุนในชุมชน เช่น กทบ. กข.คจ. กลุม่ ออมทรัพย์ฯ กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ฯลฯ - ทุนนอกชุมชน เช่น ธนาคาร สถาบันการเงินต่างๆ ฯลฯ ๓. ข้อมูลแหล่งผลิต แหล่งตลาด ช่องทางการจำ�หน่ายสินค้า รวมทั้งข้อมูลราคา ผลผลิตในท้องถิ่น เป็นต้น ั ญา ทรัพยากร ปราชญ์ชาวบ้าน แหล่งท่องเทีย่ ว เครือข่าย ๔. ข้อมูลอืน่ ๆ เช่น ภูมปิ ญ การพัฒนา เช่น กลุ่ม องค์กร หน่วยงานทั้ง ภาครัฐและเอกชน ฯลฯ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

27


ข้อมูลที่ควรให้บริการ ประกอบด้วย

28

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ข้อมูลอาชีพที่น่าสนใจ ผลิตภัณฑ์ชุมชนของอำ�เภอ จังหวัด ผลิตภัณฑ์เด่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุน กข.คจ. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ข้อมูลผลิตภัณฑ์ OTOP แหล่งศึกษาเรียนรู้ แหล่งดูงานที่น่าสนใจ แหล่งเงินทุน ข้อมูลด้านการผลิต ข้อมูลด้านการตลาด ข้อมูลด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ข้อมูลการให้ความรู้ การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน ข้อมูลการลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ข้อมูลการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ข้อมูลหมู่บ้าน OVC ข้อมูล KBO ข้อมูลการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เช่น อย. มผช. ฮาลาล ฯลฯ ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ข้อมูลแผนธุรกิจ ข้อมูลการขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ฯลฯ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


เกณฑ์การพิจารณาใช้จ่ายงบประมาณ งบประมาณในการสนับสนุนและพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก อาจแบ่งหมวดหมู่การใช้จ่ายงบประมาณออกเป็น ๕ ด้าน ได้แก่ ๑. ด้านระบบฐานข้อมูล เช่น การจัดหาคอมพิวเตอร์ การพัฒนาโปรแกรมจัดเก็บ ฐานข้อมูลและรายงานข้อมูล แฟ้มทะเบียนข้อมูล องค์ความรู้ (ด้านอาชีพ ทุน กิจกรรมธุรกิจ) เป็นต้น ๒. ด้านการพัฒนาบุคลากร เช่น ฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพคณะกรรมการศูนย์ ฝึกอบรมผูใ้ ห้บริการ หรือเจ้าหน้าที่ ศึกษาดูงาน เพิม่ ประสิทธิภาพบุคลากรประจำ�ศูนย์ เป็นต้น ๓. ด้านการประชาสัมพันธ์ เช่น จัดทำ�เอกสารแนะนำ�อาชีพ ได้แก่ แผ่นพับ ไวนิล CDข้อมูล วีดิทัศน์ บริการ Website ประชาสัมพันธ์รายการวิทยุ หรือโทรทัศน์ เป็นต้น ๔. ด้านการจัดกิจกรรมของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เช่น กิจกรรมฝึก อบรมการพัฒนาอาชีพ ฝึกอบรมเพือ่ การพัฒนาคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ การสาธิตการฝึกอาชีพ กิจกรรมให้ความ รู้ด้านเศรษฐกิจ ให้บริการศูนย์เคลื่อนที่ รถ Mobile เป็นต้น ๕. ด้านสถานที่ เช่น การพัฒนาและปรับปรุง ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ป้ายทีท่ ำ�การศูนย์ โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางเอกสาร ตู้เก็บเอกสาร ตู้โชว์ ฯลฯ ป้ายไวนิลข้อมูล แผนที่การเรียนรู้ ปรับปรุงภูมิทัศน์ศูนย์ เป็นต้น

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

29


บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุน ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ควรมีหน่วยงานภาคีภาครัฐและเอกชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการดำ�เนินงานเนือ่ งจากแต่ละหน่วยงานมีความเชีย่ วชาญเฉพาะด้าน ซึง่ บุคคลากรของ หน่วยงานเหล่านี้จะมาช่วยเสริมการดำ�เนินงานของศูนย์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็น ช่องทางให้เกิดการบูรณาการงบประมาณ และข้อมูล ซึ่งหน่วยงานภาคีภาครัฐและเอกชนที่ ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ได้แก่ เกษตร ปศุสตั ว์ การศึกษานอกโรงเรียน ประมง พาณิชย์ อุตสาหกรรม สาธารณสุข เกษตรและสหกรณ์ การเกษตร องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สือ่ มวลชน NGO/ภาคเอกชน สถาบันการเงิน เป็นต้น ซึง่ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากควรกำ�หนดบทบาทหน่วยงาน ภาคีภาครัฐ และเอกชน เช่น - เป็นคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก - เป็นที่ปรึกษาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก - เป็นวิทยากร - เป็นผู้ประสานงาน - เป็นผู้มาใช้บริการ

30

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


บทบาทหลักศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

๑. ค้นหาความต้องการของผูร้ บั บริการในด้านภูมปิ ญ ั ญา ฝีมอื ทักษะ วัสดุ อุปกรณ์หรือความคิดสร้างสรรค์ ทีม่ อี ยูใ่ นท้องถิน่ เพือ่ นำ�มาสนับสนุนหรือต่อยอดให้เกิดประโยชน์ ในการประกอบอาชีพ ๒. สนับสนุนองค์ความรูใ้ นด้านต่างๆ เพือ่ ให้ผรู้ บั บริการสามารถนำ�ไปใช้ประโยชน์ดา้ นเศรษฐกิจ เช่น องค์ความรูด้ า้ นการผลิต การตลาด การบริหารจัดการ แหล่งทุน เป็นต้น ๓. สนับสนุนช่องทางการตลาด เมื่อมีการผลิตสินค้าศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ต้องหาช่องทางการตลาด หรือแนะนำ�ช่องทางการจำ�หน่าย เพื่อขายสินค้าได้มีกำ�ไร ทำ�ให้ลดความเสี่ยงในการประกอบอาชีพ เมื่อขายสินค้าได้มีกำ�ไรจะส่งผลให้มีการออม เงินทุนในการลงทุนเพิ่มขึ้นจนมีการขยายกิจการ ส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งในที่สุด

บทบาทหลักศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก (ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร) ค้นหาความต้องการ - ด้านภูมิปัญญา - ด้านฝีมือ - ด้านทักษะ - ด้านวัสดุ อุปกรณ์ - ด้านความคิดสร้างสรรค์

เศรษฐกิจชุมชน - มีการออม - ต้นทุนเพิ่มขึ้น - มีการขยายกิจการ

ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมีความมั่นคง ๓๑

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

สนับสนุนองค์ความรู้

- ด้านการผลิต - ด้านการตลาด - ด้านการบริหารจัดการ - ด้านแหล่งทุน - ฯลฯ

ผู้รับบริการมีทักษะและ ขีดความสามารถในการประกอบอาชีพ สนับสนุนช่องทางการตลาด - ผลิตสินค้าขายได้มีกำ�ไร - ลดความเสี่ยงจากาารประกอบอาชีพ - สินค้ามีคุณภาพมาตรฐาน แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

๓๒


๓๓

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

๓๔


แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

35

ตัวอย่างรูปแบบศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตัวอย่างที่ ๑


ตัวอย่างศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ตัวอย่างที่ ๒

36

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก



ส่วนที่ ๓ ขั้นตอนการพัฒนา ศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก


ขั้นตอนที่ ๑ การประเมินศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานราก ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานรากตามเกณฑ์การประเมิน ขั้นตอนที่ ๓ การค้นหาความต้องการและศักยภาพของ พื้นที่ด้านเศรษฐกิจและการกำ�หนดจุดขาย ด้านเศรษฐกิจ ขั้นตอนที่ ๔ การวิเคราะห์กลุ่มผู้มารับบริการ ขั้นตอนที่ ๕ การจัดทำ�แผนการให้บริการ ขั้นตอนที่ ๖ การประเมินผลการดำ�เนินงานศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ขั้นตอนการพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก การพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ให้เป็นศูนย์ที่จะช่วยเหลือ ประชาชนในท้องถิ่นให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ผลิตสินค้าแล้วขายได้ ลดความเสี่ยงจาก การขาดทุนในการประกอบอาชีพ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากควรมีขั้นตอนการ พัฒนา ดังนี้

ขั้นตอนที่ ๑ การประเมินศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก การประเมินศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก จะทำ�ให้ทราบถึงระดับการพัฒนา ของแต่ละศูนย์จากหลักเกณฑ์การประเมินตามประเด็นทีก่ ำ�หนดไว้ ทำ�ให้ศนู ย์ทราบสถานะของ ตนเอง ว่ามีจุดเด่น จุดด้อยด้านใด ซึ่งส่วนที่เป็นจุดด้อยจะได้ปรับปรุงพัฒนาต่อไป

40

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


แบบประเมินศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

ชือ่ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก................................................................................... ทีต่ งั้ ณ ............................................ตำ�บล........................อำ�เภอ...............จังหวัด........................ ที่

ประเด็นการประเมิน

เกณฑ์การประเมิน

๑. ด้านสถานที่

คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน รวม ๖ คะแนน

๑.๑ มีสถานที่ชัดเจน ๑.๒ มี ส ถานที่ ชั ด เจน และมี ป้ า ยศู น ย์ บ ริ ก าร ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ๑.๓ มีสถานที่ชัดเจน มีป้ายศูนย์บริการฯ และ มีวัสดุเครื่องมือให้บริการ ๒. ด้านโครงสร้างการบริหาร

๑ ๒ ๓ รวม ๗ คะแนน

๒.๑ มีคณะกรรมการบริหาร ๒.๒ มีคณะกรรมการที่ปรึกษา ๒.๓ มีระเบียบข้อบังคับ/ กติกา ๒.๔ มีการประชุม ๒.๕ มีแผนการดำ�เนินงาน ๒.๖ มีการรายงานผลการดำ�เนินงาน ๒.๗ มีการประชาสัมพันธ์ ๓. ด้ า นบทบาทภารกิ จ ของ ศูนย์บริการฯ

๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ รวม ๖ คะแนน

๓.๑ มีการศึกษาวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการ ของผู้รับบริการ ๓.๒ มีการสนับสนุน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ความรู้ ด้านเศรษฐกิจ ๓.๓ มีการสนับสนุนสถานที่ในการพบปะเจรจา ธุรกิจหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เกี่ยวข้อง ด้านเศรษฐกิจ แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

๑ ๑ ๑

41


ที่

ประเด็นการประเมิน

คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน ๓.๔ มีการส่งเสริมการประกอบอาชีพ การสร้าง ๑ รายได้เพิ่มขึ้นของประชาชน ๓.๕ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๑ ๓.๖ มีการประสานงานไปยังหน่วยงานทีม่ ภี ารกิจ ๑ เฉพาะด้าน เกณฑ์การประเมิน

๔. ด้านข้อมูลที่ให้บริการ

รวม ๖ คะแนน

๔.๑ มีข้อมูลทั่วไป ๔.๒ มีข้อมูลการผลิต ๔.๓ มีข้อมูลการตลาด ๔.๔ มีข้อมูลแหล่งทุน ๔.๕ มีข้อมูลคลังภูมิปัญญา ๔.๖ มีข้อมูลราคาผลผลิตในท้องถิ่น ๕. ด้านวิธีการให้บริการ

๖. ด้านรูปแบบการให้บริการ

42

๑ ๑ ๑ ๑ ๑ ๑ รวม ๔ คะแนน

๕.๑ มีการให้คำ�ปรึกษา แนะนำ� ๕.๒ มีการให้เอกสารความรู้ ๕.๓ มีการให้บริการสืบค้นข้อมูล ๕.๔ มีการให้บริการนอกสถานที่

๑ ๑ ๑ ๑ รวม ๓ คะแนน

๖.๑ มีการให้บริการ ณ ที่ตั้งของศูนย์ ๖.๑ มีการให้บริการเคลื่อนที่นอกศูนย์ ๖.๒ มีการให้บริการผ่านสื่อ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

๑ ๑ ๑


ที่

ประเด็นการประเมิน

๗. ด้ า นการมี ส่ ว นร่ ว มของ หน่วยงานภาคี

เกณฑ์การประเมิน

คะแนนเต็ม ๕๐ คะแนน รวม ๓ คะแนน

๗.๑ ภาครัฐ ๗.๒ ภาคเอกชน ๗.๓ เครือข่ายองค์กร

๘. ด้านงบประมาณ

๑ ๑ ๑ รวม ๓ คะแนน

๘.๑ มีงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ ๘.๒ มีงบประมาณสนับสนุนจากองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ๘.๓ มีงบประมาณสนับสนุนจากภาคเอกชน ๙. ด้านการให้บริการ (ต่อปี)

๑ ๑ ๑ รวม ๖ คะแนน

๙.๑ ให้บริการน้อยกว่า ๑๒ ครั้ง ๙.๒ ให้บริการ ๑๓ – ๒๔ ครั้ง ๙.๓ ให้บริการมากกว่า ๒๔ ครั้ง ๑๐. ด้านความพึงพอใจของผูร้ บั บริการ

๑ ๒ ๓ รวม ๖ คะแนน

๑๐.๑ พึงพอใจในระดับน้อย ๑๐.๒ พึงพอใจในระดับปานกลาง ๑๐.๓ พึงพอใจในระดับมาก

คะแนนรวม

๑ ๒ ๓ ๕๐

เกณฑ์การจัดระดับการประเมินศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก กำ�หนดเป็น ๓ ระดับ ดังนี้ ดี (A) มีคะแนนรวมจากการประเมินมากกว่า ๓๕ คะแนน พอใช้ (B) มีคะแนนรวมจากการประเมินระหว่าง ๒๐ – ๓๕ คะแนน ปรับปรุง (C) มีคะแนนรวมจากการประเมินต่ำ�กว่า ๒๐ คะแนน

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

43


ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานรากตามเกณฑ์การประเมิน เกณฑ์การประเมิน ๑.ด้านสถานที่ ๑.๑ สถานที่ชัดเจน

๑.๒ ป้ายศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานราก

แนวทางการพัฒนา กำ�หนดสถานที่ให้ชัดเจนโดยคำ�นึงถึง ๑. เป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารหรือการให้บริการของหน่วยงาน ต่าง ๆ ๒. มีพื้นที่เพียงพอในการดำ�เนินการให้บริการ ๓. กลุ่มเป้าหมายที่มาขอรับบริการสามารถเดินทางมาขอรับบริการได้ สะดวก ๔. มีระบบสาธารณูปโภคพร้อม ๕. มีเครื่องมือในการให้บริการ เช่น คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ได้ เอกสาร สิ่งพิมพ์เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น ๖. ผู้ให้และผู้รับบริการต้องเห็นชอบและมีส่วนร่วมในการเลือกสถานที่ ตั้งและใช้ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากต้องมีป้ายชื่อศูนย์ติดไว้ยังสถาน ที่ที่ทำ�การศูนย์ โดยใช้ข้อความ ดังนี้ “ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานรากอำ�เภอ.....”

๑.๓ วัสดุเครื่องมือให้ ภายในศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากควรมีวัสดุเครื่องมือในการ บริการ ให้บริการ และอำ�นวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการ เช่น ปากกา ดินสอ กระดาษ คอมพิวเตอร์ ปริ้นเตอร์

44

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


เกณฑ์การประเมิน

แนวทางการพัฒนา

๒. ด้านโครงสร้างการ บริหาร ๒.๑ คณะกรรมการ ๑. ให้มคี ณะกรรมการบริหารศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากทีม่ า บริหารศูนย์ จากตัวแทนกลุ่ม องค์กรต่าง ๆ เช่น กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มผู้ ผลิต ผูป้ ระกอบการ OTOP กลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ การผลิต กองทุน กขคจ./ กองทุนหมู่บ้าน กลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายอื่น ๆ ในชุมชน ประชาชนใน หมู่บ้าน/ตำ�บล เป็นต้น ๒. กำ�หนดบทบาทตำ�แหน่งหน้าที่ให้ชัดเจน ๓. จัดการประชุมชี้แจงทำ�ความเข้าใจตามบทบาทหน้าที่ ๔. มีการกำ�หนดวาระการดำ�รงตำ�แหน่งที่แน่นอน ๒.๒ คณะกรรมการที่ ๑. ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ปรึกษา ทีม่ าจากตัวแทนหน่วยงาน ต่าง ๆ เช่น พัฒนาชุมชน เกษตร สาธารณสุข การศึกษานอกโรงเรียน สหกรณ์ สภาวัฒนธรรมอำ�เภอ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ๒. ประชุมชี้แจงทำ�ความเข้าใจการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก ๓. จัดทำ�ข้อตกลงในการร่วมมือเพือ่ พัฒนาศูนย์บริการสงเสริมเศรษฐกิจ ฐานราก กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ (ในกรณีทสี่ ามารถดำ�เนินการได้) ๒.๓ ระเบียบข้อ บังคับ/ กติกา

๒.๓ การประชุม

๑. จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเพื่อ ร่างระเบียบ / กติกา ศูนย์ ๒. จัดทำ�เอกสารเพื่อประชาสัมพันธ์ระเบียบ / กติกา ศูนย์ให้ทราบโดย ทั่วกัน ๓. มีการทบทวนระเบียบ / กติกา ศูนย์ อย่างน้อย ๒ ปี / ครั้ง หรือ ตามความจำ�เป็น ๑. กำ�หนดการประชุมของคณะกรรมการไว้ในระเบียบ / กติกา ให้ชดั เจน ๒. กำ�หนดแผนปฏิบตั กิ ารของคณะกรรมการโดยประชาสัมพันธ์ให้ทราบ ๓. มีการบันทึกการประชุมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

45


เกณฑ์การประเมิน

แนวทางการพัฒนา

๑. กำ�หนดเป้าหมายและทิศทางในการดำ�เนินงานของศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก ไว้อย่างชัดเจนและครอบคลุมตามบทบาทภารกิจ ๒. มีแผนการดำ�เนินงานศูนย์หรือมีการบูรณาการแผนการดำ�เนินงาน กับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ๓. มีการทบทวนปรับปรุงแผนการดำ�เนินงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เสมอ ๒.๕ ผลการดำ�เนินงาน จัดทำ�และแสดงข้อมูลผลการดำ�เนินงานเพือ่ ใช้ประโยชน์ในการบริหาร / บริการ ไว้ ณ ทีท่ �ำ การศูนย์ หรือจัดทำ�เป็นเอกสารเผยแพร่ โดยปรับปรุง ข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

๒.๔ แผนการดำ�เนิน งาน

๒.๖ การ ประชาสัมพันธ์

ประชาสัมพันธ์ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอย่างต่อเนื่องโดย ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น ศูนย์บริการเคลื่อนที่ วิทยุ เว็บไซต์ แผ่นพับ เป็นต้น

๓. ด้านบทบาทภารกิจ ของศูนย์บริการฯ ๑. ศึกษาให้รู้เท่าทันสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ ๓.๑ การศึกษา วิเคราะห์ปัญหาความ ๒. วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการของผู้รับบริการ จุดอ่อน จุดแข็ง ของ ต้องการของผู้รับบริการ ศูนย์ฯ ของลูกค้า ๓. ศึกษาตำ�แหน่งทางเศรษฐกิจ เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ เพื่อกำ�หนดเป็น จุดขายของอำ�เภอ ๓.๒ การสนับสนุน สื่อ ๑. สนับสนุน สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ความรู้ด้านเศรษฐกิจ วัสดุ อุปกรณ์ความรู้ ๒. สนับสนุนวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญ ด้านการผลิต การตลาด การออม ด้านเศรษฐกิจ การสร้างรายได้ ประกอบอาชีพ เป็นต้น ๑. การเตรียมความพร้อมด้านสถานที่ เช่นการปรับภูมิทัศน์ของศูนย์ ๓.๓ การสนับสนุน สถานที่ในการพบปะ ๒. การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เช่นการอบรมให้ความรูแ้ ก่คณะ เจรจาธุรกิจหรือแลก กรรมการด้านต่าง ๆ ๓. การเตรียมความพร้อมด้านองค์ความรู้ เช่น ภูมิปัญญา ฝีมือ ทักษะ เปลี่ยนเรียนรู้ของผู้ เกี่ยวข้องด้านเศรษฐกิจ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

46

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


เกณฑ์การประเมิน

แนวทางการพัฒนา

๓.๔ การส่งเสริมการ ประกอบอาชีพ การ สร้างรายได้เพิ่มขึ้นของ ประชาชน

๑. การแสวงหาข้อมูลแหล่งทุน ได้แก่ กองทุนในชุมชน เช่น กลุม่ ออมทรัพย์ กข.คจ. กทบ. กองทุนนอกชุมชน เช่น ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ๒. ส่งเสริมให้ประชาชนมีการลงทุนประกอบอาชีพ ๓. จัดทำ�เมนูอาชีพทางเลือกให้กับผู้รับบริการ หรือประชาชนที่สนใจ ๔. ส่งเสริมให้ประชาชนมีการออม ๑. การจัดเวทีสัมมนาในเรื่องเกี่ยวกับเศรษฐกิจฐานราก ณ ที่ตั้งศูนย์ ๒. การให้บริการเคลื่อนที่โดยสอดแทรกกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเรือ่ งทีป่ ระชาชนหรือผูร้ บั บริการให้ความสนใจ หรือเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับ ความเป็นอยู่ของประชาชน ๓. การอบรมให้ความรู้ด้านเศรษฐกิจหรือการประกอบอาชีพ ๔. การนำ�คนที่ประสบความสำ�เร็จมาถ่ายทอดความรู้เป็นตัวอย่างแก่ ประชาชน หรือผู้รับบริการของศูนย์

๓.๕ การแลกเปลี่ยน เรียนรู้

๓.๖ การประสานงาน ๑. จัดทำ�ทะเบียนหน่วยงานภาครัฐภายในอำ�เภอ จังหวัด ไปยังหน่วยงานที่มี ๒. จัดทำ�ทะเบียนหน่วยงานภาคเอกชน เช่น NGO ปราชญ์ชาวบ้าน หรือ ภารกิจเฉพาะด้าน ผู้ที่มคี วามเชี่ยวชาญเฉพาะด้านภายในอำ�เภอ จังหวัด ๓. จัดทำ�ทะเบียนแหล่งทุนภายในอำ�เภอ จังหวัด ๔.ด้านข้อมูลที่ให้ บริการ ๔.๑ ข้อมูลทั่วไป

๔.๒ ข้อมูลการผลิต

๑. ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เช่น สภาพพื้นที่ การแบ่งเขตการปกครอง จำ�นวนแม่น้ำ� ลำ�คลอง ๒. ข้อมูลของประชากร เช่น เพศ อายุ การศึกษา ๓. ข้อมูลจำ�นวนสถานที่และสิ่งก่อสร้าง เช่น วัด โรงเรียน โรงพยาบาล ๑. ข้อมูลแหล่งวัตถุดิบในท้องถิ่น ๒. ข้อมูลด้านภูมิปัญญา ๓. ข้อมูลปัจจัยการผลิตทีม่ รี าคาถูก เช่นเครือ่ งจักร เมล็ดพันธ์พุ ชื เป็นต้น

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

47


เกณฑ์การประเมิน

แนวทางการพัฒนา

๔.๓ ข้อมูลการตลาด

๑. ข้อมูลราคาผลผลิตทางการเกษตร ๒. ข้อมูลสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน ๓. ข้อมูลช่องทางการตลาด เช่น การขายตามงานแสดงและจำ�หน่าย การขายตรง การขายทางเว็บไซต์ เป็นต้น ๑. ข้อมูลแหล่งทุนดอกเบี้ยตำ�่ ๒. การเขียนแผนธุรกิจเพื่อใช้บริการแหล่งทุน ๓. ข้อมูลระเบียบของแหล่งทุนต่าง ๆ ๔. ข้อมูลความรู้ในการบริหารจัดการทุนชุมชน

๔.๔ ข้อมูลแหล่งทุน

๔.๕ ข้อมูลคลัง ภูมิปัญญา

๑. ข้อมูลภูมิปัญญา ๕ ด้าน (อาหาร เครื่องดื่ม ผ้าเครื่องแต่งกาย ของใช้ ของตกแต่งของที่ระลึก สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร) ๒. ข้อมูลครูภูมิปัญญา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญา ๓. ข้อมูลหลักสูตรหรือองค์ความรู้การนำ�ภูมิปัญญามาพัฒนาเป็น สินค้า OTOP

๕. ด้านวิธีการให้บริการ ๕.๑ การให้คำ�ปรึกษา ๑. อบรมให้ความรูแ้ ก่กรรมการศูนย์เพือ่ ให้มคี วามพร้อมในการให้บริการ แนะนำ� ๒. พัฒนาบุคลิกภาพผู้ให้บริการให้มีความน่าเชื่อถือ ๕.๒ การให้เอกสาร ความรู้

๑. จัดเตรียมเอกสารให้เพียงพอต่อการให้บริการ ๒. จัดหมวดหมูเ่ อกสารเพือ่ ให้มคี วามสะดวกต่อการให้บริการ เช่น ข้อมูล ด้านการผลิต ข้อมูลด้านการตลาด ข้อมูลแหล่งทุน เป็นต้น

๕.๓ การให้บริการ สืบค้นข้อมูล

๑. จัดเตรียมคอมพิวเตอร์ ๒. มีไฟล์เอกสารที่บรรจุในเครื่อง หรือ CD ROM ๓. มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ๔. แนะนำ�วิธีการสืบค้นข้อมูลแก่ผู้มาขอรับบริการ

48

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


เกณฑ์การประเมิน ๕.๔ การให้บริการ นอกสถานที่

แนวทางการพัฒนา ๑. ศึ ก ษาผู้ ที่ จ ะรั บ บริ ก าร ณ สถานที่ ที่ ใ ห้ บ ริ ก าร เกี่ ย วกั บ อาชี พ สภาพเศรษฐกิจ วัตถุดิบในท้องถิ่น ภูมิปัญญา ทักษะ ฝีมือ เป็นต้น ๒. จัดลำ�ดับความสำ�คัญการให้บริการตามความสนใจของผู้รับบริการ ส่วนมาก ๓. จัดเตรียมข้อมูลให้พร้อมและเพียงพอที่จะให้บริการ

๖. ด้านรูปแบบการให้ บริการ ๖.๑ การให้บริการ ณ ๑. กำ�หนดเวลาให้บริการ ที่ตั้งของศูนย์ ๒. จัดทำ�ตารางหรือเวรผู้ให้บริการ ๓. แสดงชื่อ ตำ�แหน่งผู้ให้บริการ ๔. จัดเตรียมเอกสาร แผ่นพับ CD ฯลฯ ในการให้บริการ ๕. จัดทำ�แบบประเมินความพึงพอใจ ๖.๒ การให้บริการ ๑. จัดหาสถานที่ เคลื่อนที่นอกศูนย์ ๒. กำ�หนดวัน เวลา ในการเคลื่อนที่ไปให้บริการ ๓. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้รู้อื่น ๆ กรณีต้องให้ความรู้ที่ เป็นเรื่องเฉพาะด้านที่ผู้ให้บริการไม่มีความเชี่ยวชาญพอที่จะให้บริการ ๔. จัดเตรียมเอกสาร แผ่นพับ CD ฯลฯ ในการให้บริการ ๕. จัดทำ�แบบประเมินความพึงพอใจ ๖.๓ การให้บริการผ่าน ๑. จัดเตรียมเนื้อหาในการให้บริการ สื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ๒. กำ�หนดบุคคลที่จะให้บริการ อาจเป็นกรรมการศูนย์ หรืออาจเชิญ เว็บไซต์ ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาให้บริการในนามศูนย์ เป็นต้น ๓. กำ�หนดวันเวลาในการให้บริการ ๔. มีการประชาสัมพันธ์ก่อนให้บริการ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

49


เกณฑ์การประเมิน

แนวทางการพัฒนา

๗. ด้านการมีส่วนร่วม ของหน่วยงานภาคี - ภาครัฐ ภาคเอกชน ๑. เชิญหน่วยงานภาคีมาเป็นที่ปรึกษาศูนย์ เครือข่ายองค์กร ๒. ประชุมชี้แจงทำ�ความเข้าใจถึงการดำ�เนินงานศูนย์ ๓. กำ�หนดบทบาทภารกิจให้หน่วยงานภาคีเพื่อให้มีส่วนร่วมในการ ดำ�เนินงานศูนย์ ๔. เชิญมาเป็นผู้ให้บริการประจำ�หรือกรณีพิเศษแล้วแต่กรณี เช่น กรณี ให้บริการประจำ�กำ�หนดเวรการให้บริการรายสัปดาห์ หรือรายเดือน กรณีพิเศษ เช่น การเชิญเป็นวิทยากร ร่วมเวทีเสวนา เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เป็นต้น ๘. ด้านงบประมาณ - งบประมาณ สนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน ๙. ด้านการให้บริการ (ต่อปี)

- จัดทำ�โครงการเพือ่ เสนอของบประมาณจากแหล่งต่าง ๆ เช่น งบประมาณ ยุทธศาสตร์จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ๑. จัดทำ�แผนการให้บริการ ๒. ดำ�เนินการให้บริการตามแผน เช่น การให้บริการภายในศูนย์ การให้บริการเคลื่อนที่นอกศูนย์ และการให้บริการผ่านสื่อ เป็นต้น

๑๐. ด้านความพึงพอใจ ๑. จัดทำ�แบบประเมินความพึงพอใจ ของผู้รับบริการ ๒. ให้ผู้รับบริการประเมินความพึงพอใจหลังจากเสร็จสิ้นการรับบริการ ๓. สรุปผลการประเมินความพึงพอใจ ๔. ปรับปรุงแก้ไขประเด็นที่ได้รับการประเมินความพึงพอใจต่ำ�

50

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ขัน้ ตอนที่ ๓ การค้นหาความต้องการและศักยภาพ ของพื้นที่ด้านเศรษฐกิจ และการกำ�หนดจุดขาย ด้านเศรษฐกิจ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เป็นศูนย์ที่เป็นกลไกขับเคลื่อนการ ดำ�เนินงานด้านเศรษฐกิจฐานราก ทีม่ เี ป้าหมายหลักในการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ให้มคี วามมัน่ คง ดังนัน้ การจะพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มนั่ คง ต้องกำ�หนดให้ศนู ย์มี ภาระกิจทีต่ อบสนองความต้องการของผูร้ บั บริการด้านเศรษฐกิจด้วย ซึง่ การค้นหา ความต้องการและศักยภาพพืน้ ทีด่ า้ นเศรษฐกิจ และการกำ�หนดจุดขายด้านเศรษฐกิจ กรรมการบริหารศูนย์อาจใช้วธิ กี าร จัดประชุม จัดเวทีแลกเปลีย่ นเรียนรู้ แบ่งกลุม่ ย่อย ระดมสมอง โดยมีประเด็น ดังนี้

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

51


ความต้องการด้านเศรษฐกิจ

๑. ด้านการผลิต การฝึกอบรมด้านอาชีพ การศึกษาดูงาน การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการผลิต แหล่ง วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตที่มีราคาถูก การจัดตั้งโรงสีชุมชน ความรู้และเงินทุนในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ให้ได้มาตรฐาน การทดลองหรือวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ข้อมูลฤดูกาลที่มีผลต่อ การผลิตและราคาสินค้า รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตอย่างต่อเนื่อง ๒. ด้านการตลาด การจัดตั้งร้านค้าในชุมชน ศูนย์รวมและจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ การเรียนรู้ด้าน การตลาด การแสวงหาตลาดที่หลากหลาย สามารถจำ�หน่ายสินค้าได้สม่ำ�เสมอ การส่งเสริม การตลาดด้วยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การปลูกฝังค่านิยมในการบริโภคสินค้า ๓. ด้านแหล่งทุน การขอรับการสนับสนุนทุนจากภาครัฐ การเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ� การเขียน แผนธุรกิจเพื่อเป็นช่องทางการเข้าถึงแหล่งทุน ความรู้ด้านการบริหารจัดการทุนชุมชน การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุน และระเบียบของแหล่งทุนต่าง ๆ ๔. ด้านแหล่งความรู้ องค์ ค วามรู้ แ ละแหล่ ง เรี ย นรู้ ที่ จ ะมาสนั บ สนุ น กลุ่ ม ผู้ ผ ลิ ต ผู้ ป ระกอบการ แหล่งความรู้ด้านภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

52

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


จุดขายด้านเศรษฐกิจ

๑. แหล่งท่องเที่ยว แหล่งท่องเทีย่ วธรรมชาติในเชิงนิเวศน์ หรือ เชิงอนุรักษ์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ แหล่งท่อง เที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี ที่พักลักษณะโฮมสเตย์ อาหารพื้นถิ่น ๒. กลุ่มอาชีพ /ผลิตภัณฑ์ OTOP ศูนย์แสดงและจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP เป็นจุดขายด้านเศรษฐกิจ ที่เป็นช่องทางการตลาดที่ สร้างโอกาสให้กับผู้ผลิต ผู้ประกอบการในชุมชน โดย มีผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น เป็ น จุ ด ขายที่ ส ร้ า งอาชี พ และรายได้ เช่ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ หัตถกรรม จักสาน เครื่องเงินโบราณ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น ๓. ประเพณี / วัฒนธรรม / งานเทศกาล เป็นจุดขายที่สร้างอาชีพและรายได้ให้กับ ชุมชน โดยมีหว้ งเวลาทีช่ ดั เจน เช่น ประเพณีสารทเดือนสิบ ประเพณีบุญบั้งไฟ ประเพณีชักพระ งานเทศกาลมังคุด หวาน เป็นต้น

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

53


ข้อมูลองค์ความรู้และคลังสมองด้านเศรษฐกิจ

เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนและกรรมการศูนย์ ร่วมกันจัดทำ �ข้อมูลองค์ความรู้และ ทะเบียนคลังสมองด้านเศรษฐกิจ โดยมีการระบุสาขา หรือความเชี่ยวชาญ พร้อมทั้งจัดทำ � ตำ�นาน หรือบันทึกภูมิปัญญา รวบรวมและจัดระบบเป็นฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ในรูปแบบ ของเอกสาร แผ่นซีดี เก็บในคอมพิวเตอร์ เพื่อสะดวกรวดเร็วต่อการสืบค้นและให้บริการ ดังนี้ ๑. ด้านการผลิต รวบรวมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP องค์ความรู้ด้าน เศรษฐกิจทุกสาขา ทั้งทางด้านการเกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรม ที่มีอยู่ในชุมชน และ ภายนอกชุมชน ๒. ด้านการตลาด จัดทำ�ทะเบียนช่องทางการตลาดทั้งในชุมชน ในประเทศ และต่างประเทศ และ ห้วงเวลาที่สามารถจำ�หน่ายได้ โดยอาจทำ�เป็นปฏิทินการจำ�หน่ายสินค้า ๓. ด้านแหล่งทุน จัดทำ�ทะเบียนและข้อมูลแหล่งทุนที่สามารถเข้าถึงได้ ทั้งแหล่งทุนภายในชุมชน เช่น ทะเบียนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กองทุนหมู่บ้าน และแหล่งทุนภายนอกชุมชน เช่น สหกรณ์ ธนาคาร เป็นต้น ๔. ด้านแหล่งความรู้ มีการรวบรวมแหล่งเรียนรูท้ งั้ ภายในชุมชน เช่น กลุม่ อาชีพ ศูนย์เรียนรูช้ มุ ชน และ แหล่งเรียนรู้ภายนอก เช่น วิทยาลัยการอาชีพ ศูนย์ศึกษาการพัฒนา หอการค้าจังหวัด เพื่อ เชื่อมโยงแหล่งเรียนรู้กับศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

54

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ขั้นตอนที่ ๔ การวิเคราะห์กลุ่มผู้มารับบริการ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก กำ�หนดกลุม่ เป้าหมายทีม่ าใช้บริการหรือที่ ได้รบั ประโยชน์ประกอบด้วย กลุม่ อาชีพผลิตภัณฑ์ชมุ ชน กลุม่ ผูผ้ ลิต ผูป้ ระกอบการ OTOP กลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ การผลิต กองทุน กขคจ./กองทุนหมูบ่ า้ น กลุม่ /องค์กร/เครือข่ายอืน่ ๆ ใน ชุมชน ประชาชนในหมูบ่ า้ น/ตำ�บล ฯลฯ ซึง่ ก็คอื ลูกค้าของศูนย์นนั่ เอง ดังนัน้ การทีจ่ ะให้บริการ เพือ่ ให้ผรู้ บั บริการเหล่านีพ ้ งึ พอใจศูนย์ตอ้ งมีการวิเคราะห์ถงึ ความต้องการของผูร้ บั บริการ เหล่านี้ด้วยโดยมีวิธีการ ดังนี้ ๑. การรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ เป็นกิจกรรมพื้นฐานขั้นตอนแรก ศูนย์ต้องสร้างฐานข้อมูลผู้รับบริการ ซึ่งไม่ จำ�เป็นต้องซับซ้อนแต่ต้องเข้าใจได้ง่ายมีข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง เหมาะสม และพร้อมสำ�หรับ การนำ�มาใช้งาน เพื่อเจาะจงกลุ่มผู้รับบริการ สามารถแก้ปัญหาให้แต่ละกลุ่มจนเกิดความ พึงพอใจ ซึ่งฐานข้อมูลจะต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย สามารถนำ�ไปใช้ได้อย่างทันท่วงที และเหมาะสม โดยข้อมูลพื้นฐานของผู้รับบริการที่น�ำ มาใช้ในการจัดทำ�ฐานข้อมูลต้องมีการ ปรับเปลี่ยนอยู่สม่ำ�เสมอ และต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริง แม่นยำ� เชื่อถือได้ ตลอดจนสามารถ นำ�ไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ๒. การจัดแบ่งกลุ่มผู้รับบริการ เป็นการจัดแบ่งกลุม่ ผูร้ บั บริการจากฐานข้อมูลทีม่ อี ยู่ ซึง่ เมือ่ วิเคราะห์ฐานข้อมูล ผูร้ บั บริการแล้ว ก็น�ำ ข้อมูลดังกล่าวมาจัดแบ่งกลุม่ เป็นกลุม่ ๆ โดยการแบ่งกลุม่ สามารถใช้เกณฑ์ อะไรก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น แบ่งตามเกณฑ์ข้อมูลความต้องการที่ขอรับบริการ (ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านทุน เป็นต้น) การแบ่งกลุ่มผู้รับบริการอย่างเหมาะสมจะ ทำ�ให้ศูนย์สามารถสร้างความสัมพันธ์กับ ผูร้ ับบริการได้อย่างเฉพาะเจาะจง ตรงกับพฤติกรรม และความคาดหวังของผู้รับบริการ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

55


๓. การวิเคราะห์ข้อมูลผู้รับบริการแต่ละกลุ่ม เป็ น การวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล เพื่ อ กำ � หนดกิ จ กรรมสนั บ สนุ น การให้ บ ริ ก ารได้ อย่างเหมาะสมโดยต้องนำ�เสนอให้ตรงกับความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการ ซึ่งทำ�ให้ผู้รับบริการ เกิดความพึงพอใจและเป็นการรักษากลุ่มผู้รับบริการให้อยู่กับศูนย์ ตลอดไป นอกจากนี้กิจกรรมที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลจะต้องสามารถช่วยให้ผู้รับบริการ เข้าใจความต้องการของตนเอง หรืออาจจะเป็นการนำ�เสนอข้อมูลทีเ่ หมาะกับกลุม่ ผูร้ บั บริการ จะทำ�ให้การให้บริการสามารถกระทำ�ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การนำ�ข้อมูลของผูร้ บั บริการมาวิเคราะห์ จัดกลุม่ ตามเกณฑ์การขอรับ บริการ ยังสามารถนำ�มาใช้เพือ่ ตัดสินใจในการกำ�หนดกิจกรรมการให้บริการ และการสนับสนุน งบประมาณได้ด้วย ทำ�ให้เข้าถึงกลุ่มผู้รับบริการแต่ละกลุ่มได้อย่างทั่วถึง ทำ�ให้ผู้รับบริการ รู้สึกว่ากรรมการศูนย์เอาใจใส่และให้ความสำ�คัญกับเขามากขึ้น เป็นสิ่งทำ�ให้ผู้รับบริการเกิด ความพึงพอใจเพิ่มขึ้น

56

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ขั้นตอนที่ ๕ การจัดทำ�แผนการให้บริการ การจัดทำ�แผนการให้บริการของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก มีขั้นตอน หลักๆ ในการดำ�เนินการจัดทำ�แผน คือ ๑. เริ่มต้นจากการพูดคุยกลุ่มเป้าหมายที่มาขอรับบริการ ใน ๒ ลักษณะ คือ เชิงรับ โดยให้ผู้รับบริการมาใช้บริการที่ศูนย์ และเชิงรุกโดยผู้ให้บริการเคลื่อนที่พบปะพูดคุยในพื้นที่ ๒. ประชุมกรรมการศูนย์กำ�หนดโครงการ / กิจกรรม ที่จะให้บริการ ๓. ประเมินความสำ�เร็จของโครงการ / กิจกรรม ที่จะบรรจุในแผนการให้บริการ ๔. จัดลำ�ดับโครงการ / กิจกรรม ที่จะให้บริการก่อน หลัง ตามห้วงเวลาที่เหมาะสม ๕. กำ�หนดผู้ให้บริการ เป้าหมาย หรือแนวทางการให้บริการโดยเน้นการมีส่วนร่วม ของกรรมการศูนย์ และที่ปรึกษา ๖. ติดตามประเมินผลและทบทวนและปรับปรุงแผนการให้บริการตามความต้องการ ของผู้รับบริการ สิ่งที่ต้องคำ�นึง ในการจัดทำ�แผนการให้บริการ คือ ต้องกำ�หนดเป้าหมายที่ต้องการ อย่างชัดเจนที่จะเกิดขึ้นกับผูร้ บั บริการ ระบุเงือ่ นไข วิธกี ารและระยะเวลาทีจ่ ะทำ�ให้เป้าหมาย นั้นประสบความสำ�เร็จ กำ�หนด ความชัดเจนของการให้บริการ และผู้ให้บริการ ให้บริการ ที่สอดคล้องและเหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ การจัดทำ�แผนการให้ บริการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก มีประโยชน์ดังนี้ ๑. แผนการให้บริการเป็นเสมือน แผนที่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาศูนย์อย่าง ถูกวิธี ๒. แผนการให้ บ ริ ก ารทำ � ให้ ศู น ย์ ทราบว่าบริการต่าง ๆ ที่จำ�เป็นสำ�หรับผู้รับ บริการมีอะไรบ้าง รับบริการได้ที่ไหน ใช้ระยะ เวลาในการบริการนานเท่าใด

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

57


๓. แผนการให้บริการช่วยเพิ่มความสามารถ และความมั่นใจให้แก่ผู้ให้บริการและ ผู้รับบริการ ๔. แผนการให้บริการช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจเกี่ยวกับบทบาทภารกิจ ของศูนย์ ๕. แผนการให้บริการเป็นลักษณะการทำ �งานร่วมมือกันระหว่างกรรมการศูนย์ และบุคคลหลาย ๆ ฝ่ายทำ�ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และประสบการณ์ ที่เป็น ประโยชน์ต่อกัน ซึ่งจะทำ�ให้การพัฒนาศูนย์ และการให้บริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสรุปจะเห็นได้วา่ แผนการให้บริการเป็นเครือ่ งมือหรือแนวทางทีจ่ ะช่วยในการ พัฒนาศูนย์โดยเน้นความร่วมมือของกรรมการศูนย์ ที่ปรึกษาศูนย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการเป็นสำ�คัญ ส่งเสริมให้ศูนย์มีความมั่นใจในการให้ บริการด้านเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

ขั้นตอนที่ ๖ การประเมินผลการดำ�เนินงานศูนย์ บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การประเมินผลการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เป็นขั้นตอน สุดท้ายที่จะทำ�ให้ทราบว่าการปฏิบัติงานตามโครงการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด มีการเบี่ยงเบนไปจากสิ่งที่คิดไว้หรือไม่ ถ้าเบี่ยงเบนจะได้หาวิธีปรับปรุงแก้ไขความคาดหวัง กับการปฏิบัติจริงนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันให้ได้อย่างไร ซึ่งการประเมินผลการดำ�เนินงาน ศูนย์ ควรมีวัตถุประสงค์ของการประเมิน ดังนี้ ๑. เพื่อติดตามและประเมินแผนการให้บริการ ๒. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาโอกาสและข้อจำ�กัดของการดำ�เนินงานศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ๓. เพื่อเสนอแนวคิด และทิศทางการพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ในอนาคต

58

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


เค้าโครงเอกสารประเมินผลการดำ�เนินงาน ควรประกอบด้วย ๑. ความเป็นมา ๒. วัตถุประสงค์ของโครงการ ๓. เป้าหมายของโครงการ ๔. วิธีการดำ�เนินงานโครงการ ๕. งบประมาณ ๖. ผลการประเมิน ๗. ปัญหาอุปสรรค ๘. ข้อเสนอแนะ / ทิศทางการพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากในอนาคต

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

59


ส่วนที่ ๔ ปัญหา อุปสรรค และ ข้อเสนอแนะ


ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ ปัจจัยที่ทำ�ให้ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานรากประสบความสำ�เร็จ


ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ กรมการพัฒนาชุมชน ได้ก�ำ หนดเป้าหมายการให้บริการเพือ่ ให้ประชาชนในหมูบ่ า้ น มีความมัน่ คงทางเศรษฐกิจ โดยกำ�หนดยุทธศาสตร์เพือ่ ตอบสนองนโยบายรัฐบาลดังกล่าว ด้วยการมุ่งพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้เข้มแข็ง ด้วยกลยุทธ์ ในการส่งเสริมการผลิตให้ ได้ มาตรฐานและส่งเสริมการบริหารผลิตภัณฑ์ (Product management) ให้เกิดประโยชน์สงู สุด โดยใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้จัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ระดับอำ�เภอ จำ�นวน ๘๗๗ แห่ง ปัจจุบันศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก มีจำ�นวน ๘๗๘ แห่ง โดยมีศูนย์ ในระดับอำ�เภอทุกอำ�เภอทั่วประเทศ ซึ่งการดำ�เนินงานตั้งแต่ ปี ๒๕๕๒ ถึงปัจจุบัน มีปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้น รวมทั้งปัจจัยที่ทำ�ให้ศูนย์ประสบความสำ�เร็จ ดังนี้

ปัญหา / อุปสรรค

๑. ด้านการบริหารจัดการ - ความไม่ต่อเนื่องของการให้บริการ - เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ให้ความสำ�คัญในการให้บริการ - ลูกค้าขาดความเชื่อมั่น และไม่มั่นใจในการมาขอรับบริการ - ขาดการประชาสัมพันธ์ทำ�ให้ศูนย์ไม่เป็นที่รู้จัก - วัสดุ อุปกรณ์ สื่อในการทำ�งานไม่เพียงพอ

62

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๒. ด้านสถานที่ - สถานที่บางแห่งไม่เอื้ออำ�นวยต่อการให้บริการ เช่น คับแคบ ห่างไกล จุดศูนย์กลางด้านต่าง ๆ เป็นต้น ๓. ด้านงบประมาณ - งบประมาณไม่พอเพียง - ขาดการประสานแหล่งทุนเพือ่ สนับสนุนด้านการผลิตและขาดแหล่งจำ�หน่าย

ข้อเสนอแนะ

- - - -

การประชาสัมพันธ์ให้ต่อเนื่องและทั่วถึง เสริมบริการ ชิม ชม ช็อป พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ และคณะกรรมการศูนย์ ให้กรมการพัฒนาชุมชน กำ�หนดเป็นนโยบายที่สำ�คัญและต่อเนื่อง

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

63


ปัจจัยที่ทำ�ให้ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ประสบความสำ�เร็จ ๑. ด้านบุคคล - มีโครงสร้างคณะกรรมการและที่ปรึกษาชัดเจน - มีเจ้าหน้าที่ประจำ�ศูนย์และสามารถให้บริการตามความต้องการของผู้รับ บริการจนเกิดความพึงพอใจ - มีการประสานงาน และส่งเสริมการดำ�เนินงานให้เป็นไปตามแผนการดำ�เนินงาน รวมทั้งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการและงบประมาณอย่างเพียงพอจากภาครัฐ หรือเอกชน ๒. ด้านผลิตภัณฑ์ - มีทรัพยากรในชุมชน - มีขอ้ มูลทีเ่ กีย่ วข้องในด้านเศรษฐกิจของท้องถิน่ ครบถ้วน ถูกต้องเป็นปัจจุบนั ตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ เช่น ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน จปฐ. กองทุนชุมชน ข้อมูลภาคีที่เกี่ยวข้อง (มผช. อย. หมอดิน ฯลฯ)

64

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๓. ด้านการให้บริการ - มีการให้บริการอย่างครบวงจร (One stop service) - บรรยากาศภายในศูนย์ต้องรู้สึกผ่อนคลาย - กำ�หนดช่วงเวลาการให้บริการที่แน่นอน - ผู้ให้บริการมีการยิ้มแย้มแจ่มใส และเต็มใจให้บริการ (Service Mind) - การให้บริการเคลื่อนที่ Mobile Unit - มีวัสดุ ครุภัณฑ์ สื่อแผ่นพับ การค้นคว้า ครบถ้วนและเพียงพอ ๔. ด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ของศูนย์ ฯ - มี computer ครบชุด รวมทั้ง โต๊ะ ตู้ ฯลฯ - มีสื่อวิดิทัศน์มัลติมีเดีย พร้อมอุปกรณ์

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

65


66

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ภาคผนวก แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

67


ภาคผนวก ก

- หลักสูตรการประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก - ตัวอย่างองค์ความรู้ที่ควรมีในศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานราก - ระเบียบการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก - เค้าโครงเว็บไซต์ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

68

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


หลักสูตรการจัดประชุมเชิงปฎิบัติการ คณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก วัตถุประสงค์การจัดประชุมฯ ๑. เพื่อชี้แจงแนวคิด หลักการ วัตถุประสงค์ การดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก ๒. เพื่อจัดทำ�แผนการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ๓. เพือ่ กำ�หนดโครงการ / กิจกรรมในการให้บริการของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานราก ๔. เพื่อกำ�หนดกระบวนการดำ�เนินงานตามโครงการ/กิจกรรม การให้บริการ ๕. เพื่อกำ�หนดแผนการให้บริการของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

ตัวชี้วัด แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก จำ�นวน ๑ แนวทาง ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย ๑. แผนการดำ�เนินงานศูนย์ ๒. โครงการ / กิจกรรมในการให้บริการ ๓. กระบวนการดำ�เนินงานตามโครงการ / กิจกรรม ๔. แผนการให้บริการ ๕. ผลการดำ�เนินงานในปีที่ผ่านมา ๖. ปัญหา / อุปสรรค์ / ข้อเสนอแนะ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

69


กลุ่มเป้าหมาย

70

กลุ่มเป้าหมาย จำ�นวนตามความเหมาะสม ประกอบด้วย ๑. นักวิชาการพัฒนาชุมชน / พัฒนากร ๓. หน่วยงานภาคีภาครัฐ / เอกชน ๔. กรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ๖. แกนนำ�ชุมชน เช่น กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. อช. ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


การกำ�หนดหลักสูตรการประชุมเชิงปฎิบตั กิ ารคณะกรรมการศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ลำ�ดับที่

วิชา

รายละเอียด

ผลผลิต

การรับรายงานตัวเข้า ผู้เข้าร่วมประชุมรายงานตัว ณ ผู้ร่วมประชุมรายงานตัว ร่วมประชุม สถานที่ประชุม โดยดำ�เนินการ ครบถ้วนตามเวลา ดังนี้ - ตรวจสอบรายชื่อให้ถูกต้อง - ลงลายมือชื่อ - รับเอกสารประกอบการประชุม

สร้างความเข้าใจ ร่วมกัน

บทบาทภารกิจ - ความเป็นมาของโครงการ ศูนย์บริการส่งเสริม - บทบาทภารกิจของศูนย์บริการ เศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก - บทบาทภารกิจของหน่วยงาน ภาคีภาครัฐและเอกชน

การจัดทำ�แผนการ ดำ�เนินงานศูนย์ บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก

- กล่าวต้อนรับ - แนะนำ�กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ประชุม - แจ้งกำ�หนดการ - แจ้งวัตถุประสงค์ของการ ประชุม - แจ้งผลผลิตจากการประชุม

ได้สร้างความสัมพันธ์ ทักทาย ต้อนรับเข้าสู่ การประชุม และทราบ วัตถุประสงค์เป้าหมาย ให้เป็นทิศทางเดียวกัน

การเตรียมการ - แบบฟอร์ม รายงานตัว - เอกสาร ประกอบการ ประชุม - สถานที่จัดเวที - เครื่องเสียง - power point (ถ้ามี)

- power point ทราบแนวทางการ ดำ�เนินงานโครงการของ (ถ้ามี) หน่วยงานร่วมดำ�เนินการ และบทบาทภารกิจของ กรมการพัฒนาชุมชน

- วิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่ม OTOP กลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

71


ลำ�ดับที่

72

วิชา

รายละเอียด

- วิเคราะห์ความต้องการของ กลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ เช่น ความต้องการด้านการผลิต ความต้องการด้านการตลาด การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น - กำ�หนดแผนงาน / โครงการ ในการให้บริการตามผลการ วิเคราะห์ความต้องการของ กลุ่มเป้าหมาย - กำ�หนดแผนการดำ�เนินงาน เช่น แผนประจำ�ปี แผนระยะ ปานกลาง (แผน ๓ – ๕ ปี) ข้อมูลการให้บริการ - กำ�หนดข้อมูลในศูนย์บริการส่ง ของศูนย์บริการ เสริมศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมเศรษฐกิจ - วิธีการจัดหาข้อมูลเพื่อไว้ ฐานราก บริการในศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก - กำ�หนดรูปแบบการให้บริการ ของข้อมูลแต่ละประเภท เช่น บริการทางอินเตอร์ บริการด้วย เอกสาร เป็นต้น รูปแบบการให้ - รูปแบบการให้บริการ ณ ที่ตั้ง บริการ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานราก เช่น การกำ�หนดตาราง การให้บริการ - รูปแบบการให้บริการศูนย์ เคลื่อนที่ - การให้บริการผ่านสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เว็บไซต์ เป็นต้น

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

ผลผลิต

การเตรียมการ

แผนการดำ�เนินงานศูนย์ - ฟลิปชาร์ท บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ คลิปชาร์ป หรือ ฐานราก บอร์ด - แผนระยะสั้น (แผนประจำ�ปี) - แผนระยะปานกลาง (แผน ๓ – ๕ ปี)

ข้อมูลองค์ความรู้ด้าน เศรษฐกิจในรูปแบบ ต่าง ๆ เช่น แผ่นพับ ไฟล์เอกสาร CD ROM เป็นต้น

คลิปชาร์ป หรือ บอร์ด

รูปแบบการให้บริการ ๓ คลิปชาร์ป หรือ รูปแบบ บอร์ด


ลำ�ดับที่ ๗

วิชา ผลการดำ�เนินงาน

รายละเอียด

ผลผลิต

การเตรียมการ

- วิเคราะห์ผลการดำ�เนินงานใน ปีที่ผ่านมา - ปัญหา/อุปสรรคการดำ�เนิน งาน - ข้อเสนอแนะ - กำ�หนดแนวทางแก้ไขเพื่อ ปรับปรุงการดำ�เนินงานศูนย์

**หมายเหตุ หัวข้อวิชาสามารถปรับได้ตามความเหมาะสม

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

73


การทำ�ธุรกิจชุมชน สิ่งที่ต้องรู้ ในการทำ�ธุรกิจชุมชน

๑. หลักการจัดการ ๒. สินค้าและบริการ ๓. ลูกค้า ๔. การตลาด ๕. การผลิตและบริการ ๖. การจัดการด้านการเงิน ๗. การบริหารจัดการกลุ่มและคน ๘. แผนธุรกิจ

การขายให้มีกำ�ไร

ข้อแนะนำ� ๑. ต้องมั่นใจว่าสินค้าที่เราทำ�นั้น คนในชุมชนมีความเชี่ยวชาญเพียงพอ ๒. ต้องมั่นใจว่าการผลิตสินค้านั้นมีแหล่งวัตถุดิบที่หามายากและราคาถูก ๓. ต้องมั่นใจว่าสินค้านั้นมีคนต้องการซื้อ ๔. การรวมกลุ่มต้องมาจากความต้องการของคนในกลุ่มอย่างแท้จริง ๕. ควรมีการตกลงให้ชัดเจนว่าใครทำ�หน้าที่อะไร ๖. การแบ่งผลกำ�ไรต้องตกลงกันให้ชัดเจตั้งแต่ต้น รวมถึงความรับผิดชอบเมื่อเวลา ขาดทุนด้วย ๗. กลุ่มจะต้องคุยกันบ่อย ๆ และทุกคนต้องรู้เรื่องเท่ากัน เพื่อให้เข้าใจกัน ๘. ต้องแบ่งเวลาผลัดกันออกไปหาความรู้นอกชุมชนอย่างสม่ำ�เสมอ ๙. เมื่อเกิดปัญหาต้องรีบคุยกัน ๑๐.ต้องมีการจดบันทึกรายรับรายจ่ายให้ชัดเจน อย่างไม่ตกหล่น

74

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ข้อพึงระวัง ๑. หัวหน้ากลุ่มอย่าผูกขาดการตัดสินใจต้องให้สมาชิกมีส่วนในการตกลงใจทุกครั้ง ๒. หัวหน้ากลุ่มไม่ควรทำ�หน้าที่พร้อมกันหลายๆ หน้าที่ ๓. หัวกลุ่มไม่ควรถือเงินของกลุ่ม ๔. อย่าผูกขาดการเป็นกรรมการอยู่ที่คนเพียงกลุ่มเดียว ๕. จำ�ไว้วา่ สินค้าของเรามีคแู่ ข่งอยูเ่ สมอต้องทำ�ให้สนิ ค้าของเราน่าสนใจสำ�หรับลูกค้า ๖. การออกไปดูงานนอกชุมชน ไม่ควรผูกขาดที่คนคนเดียว ๗. อย่าแบ่งแยกออกจากชุมชน

แนวคิดและหลักการจัดการ

- การทำ�ธุรกิจชุมชนต้องมีการจัดการทรัพยากร ๔ ด้าน การจัดการธุรกิจคือ การนำ�ทรัพยากรทัง้ หลายมาดำ�เนินการดัดแปลงแปรรูปตาม ขั้นตอนที่เหมาะสมให้กลายเป็นสินค้าและบริการตามที่ลูกค้าต้องการ ได้แก่ ๑. วัสดุ ได้แก่ วัตถุดิบ อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ ๒. ข้อมูล ได้แก่ ข้อมูล ข่าวสาร เทคโนโลยี หลักการ วิธีการ ๓. เงิน ได้แก่ เงินทุน ค่าใช้จ่าย รายได้ รายจ่าย ๔. คน ได้แก่ คนงาน สมาชิก ผู้จัดการ - การทำ�ธุรกิจคล้ายกับการทำ�โต๊ะ ๔ ขา การทำ�ธุรกิจให้ได้ผลสำ�เร็จเปรียบได้กับการทำ�โต๊ะ ๔ ขา ให้แข็งแรงใช้งานได้ ซึ่งต้องมีการจัดการที่ดีทั้ง ๔ ขา แต่ละขาต้องแข็งแรงได้สัดส่วนสวยงาม ใช้งานได้เป็นธุรกิจที่ แข็งแรงตามต้องการ ได้แก่ ๑. การจัดการคนที่ดี ๒. การจัดการการผลิตสินค้าที่ดี ๓. การจัดการตลาดที่ดี ๔. การจัดการการเงินที่ดี

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

75


- การจัดการที่ดีมี ๔ ขั้นตอน

๑. คิดเป็นขั้นตอน ดังนี้ - การกำ�หนดเป้าหมาย แผนงาน ทิศทาง เวลา ขัน้ ตอนการทำ�งาน ผูร้ บั ผิดชอบ การใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร - วิธีการประเมินติดตามงาน การตรวจวัด ๒. ทำ�เป็นขั้นตอน ดังนี้ - การปฏิบัติหรือการลงมือทำ�ตามแผนงานที่วางไว้ - มีการสื่อสารทำ�ความเข้าใจขั้นตอนของงานให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง - มีการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแผนงานที่วางไว้ ๓. ตรวจเป็นขั้นตอน ดังนี้ - การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลเป็นระยะ ๆ เพื่อดูความก้าวหน้าของ งานที่ทำ�ไปตามแผน - การประเมินผล ดูแนวโน้มการทำ�จะถึงเป้าหมายหรือไม่ ถ้าไม่จะปรับปรุง อย่างไร ๔. แก้เป็นขั้นตอน ดังนี้ - การปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามเป้าหมาย หากมีปญ ั หาอุปสรรคจะได้ปรับ แก้อย่างทันเวลา - ในกรณีที่ทำ�ได้ตามเป้าหมายควรมีการปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม - ต้องมีการสรุปผลเป็นบทเรียนที่ได้รับทั้งความสำ�เร็จและความล้มเหลว - บันได ๓ ขั้น สู่ความสำ�เร็จในการทำ�ธุรกิจชุมชน ๑. ต้องมุง่ เน้นการสนองความต้องการและสร้าง “ความพึงพอใจ” ให้ลกู ค้าเป็น เป้าหมายสำ�คัญของธุรกิจชุมชน ๒. ต้องเห็นขั้นตอนการทำ�งานตั้งแต่ต้นจนจบครบวงจร โดยมีการจัดการที่มี ประสิทธิภาพ มีคุณภาพในทุกขั้นตอน และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง “ทำ�วันนี้ให้ดีกว่า เมื่อวาน”

76

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๓. การช่วยกันคิด ช่วยกันทำ� ช่วยกันดูแล ช่วยกันลงทุนลงแรงในทุกขั้นตอน เป็นการเน้นให้สมาชิก “ทุกคนมีส่วนร่วม” กันอย่างเท่าเทียมและคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่หรือ สินค้าใหม่ตลอดเวลา - ๖ หลักการจัดการธุรกิจชุมชนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและยั่งยืน ๑. หลักการจัดการทรัพยากร ๔ ด้าน ๒. หลักการจัดการแบบโต๊ะ ๔ ขา ๓. หลักการดูแลคน ๓ กลุ่ม คือ ลูกค้า ชุมชน และสมาชิก ๔. หลักการเดินตามบันได ๓ ขั้น ๕. หลักการจัดการที่ดี ๔ ขั้นตอน ๖. หลักการตัดสินใจแบบไม่ประมาท

การจัดการสินค้าและบริการ - พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของลูกค้า ๓ ประเภท ๑. เลือกน้อย (ซือ้ เร็ว) สินค้าบริการ ทีเ่ ลือกน้อย (ซือ้ เร็ว) เช่น น�้ำ พริก น�้ำ ปลา แชมพู สบู่ น้ำ�ยาล้างจาน ซึ่งมี คุณลักษณะของสินค้า ดังนี้ - ลูกค้าจะรู้จักสินค้าดีอยู่แล้วก่อนซื้อ - ใช้เวลาในการซื้อน้อย ตัดสินใจเร็ว - มักเป็นสินค้าที่มีการแข่งขันสูง ทางเลือกมาก - ทั่วไปจะเป็นสินค้าราคาต่ำ� - มีการซื้อใช้บ่อย ๆ - สินค้าเปลี่ยนแปลงช้า

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

77


กว้างขวางทั่วถึง

วิธีขาย - สินค้า ควรเสนอขายหลายขนาด - ราคา ราคาต่ำ� กำ�ไรน้อย ต้องกระตุ้นให้ซื้อจำ�นวนมาก - ช่องทางขาย ต้องผ่านคนกลางตัวแทนขาย เพื่อกระจายสู่ตลาดได้ - โฆษณา ควรมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ลดแลกแจกแถมเป็นประจำ�

๒. เลือกอยู่บ้าง (ซื้อช้า) สินค้าบริการ ที่เลือกอยู่บ้าง (ซื้อช้า) เช่น เสื้อผ้า รองเท้าของใช้หัตถกรรม เฟอร์นิเจอร์

คุณลักษณะของสินค้า ดังนี้ - ลูกค้าจะรู้จักสินค้าอยู่บ้างแล้วก่อนซื้อ - ต้องการศึกษาเปรียบเทียบ คุณภาพ ยี่ห้อ ราคา รูปแบบ ก่อนตัดสินใจซื้อ - ใช้เวลาอยู่ในระดับปานกลาง - เป็นสินค้าที่มีราคาปานกลางถึงสูง - เป็นสินค้าที่มีการแข่งขันระดับปานกลางถึงสูง

วิธีขาย - สินค้า ควรมีรปู แบบสินค้า คุณสมบัตหิ ลายประเภท เพือ่ เปรียบเทียบกัน - ราคา ตัง้ ราคาแตกต่างกันตามลักษณะสินค้า และตามการยอมรับของลูกค้า - ช่องทางขาย ขายผ่านร้านค้าเฉพาะ มีท�ำ เลเหมาะสม มีชอื่ เสียง ภาพพจน์ ของร้านดี ลูกค้ายอมรับ - โฆษณา อาศัยการลงสื่อประชาสัมพันธ์ ออกร้านแสดงสินค้า คนขาย อธิบายเก่ง

78

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๓. เลือกมาก (ซือ้ ยาก) สินค้าบริการ ทีเ่ ลือกมาก (ซือ้ ยาก) เช่น เครือ่ งประดับ อาหารเสริม กล้องถ่ายรูป รถยนต์ บ้าน ที่ดิน

คุณลักษณะของสินค้า ดังนี้ - จะเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ หรือมีชื่อเสียง - ลูกค้าจะตั้งใจพยายามเปรียบเทียบเพื่อเลือกสินค้าที่ดีที่สุด - ใช้เวลามากในการตัดสินใจซื้อ - มีราคาปานกลางถึงราคาสูงมาก - ลูกค้าจะติดยี่ห้อ มีความภักดีสูง

วิธีขาย - สินค้า ต้องมีเอกลักษณ์เฉพาะ ต้องพัฒนาตรายี่ห้อให้เป็นที่ยอมรับ - ราคา ตั้งราคาให้เหมาะสมกับภาพพจน์ของสินค้า - ช่องทางขาย ขายผ่านร้านค้าน้อยราย และควรมีร้านตัวแทนเฉพาะใน แต่ละพื้นที่ - โฆษณา อาศัยการลงสื่อโฆษณาที่ตรงกับลูกค้าเป้าหมาย ออกร้าน คนขายมีความชำ�นาญสูง

- วงจรชีวติ ของสินค้าและบริการ ๔ ขัน้ และวิธกี ารขายให้เหมาะสมกับแต่ละขัน้

๑. ขั้นเริ่มต้น เป็นขั้นการนำ�สินค้าใหม่ออกสู่ตลาด ผ่านการทดสอบตลาดแล้ว - ลักษณะสำ�คัญ ต้นทุนสูง ยอดขายต่ำ� ช่องทางขายแคบ ลูกค้าไม่รู้จัก ตราสินค้า และตรายี่ห้อ - วิธีขาย เน้นประเภทสินค้ามากกว่ายี่ห้อ เน้นการโฆษณาแนะนำ�สินค้า ประโยชน์ คุณสมบัติ กระตุ้นให้เกิดการทดลองใช้ ๒. ขั้นเติบโต เป็นขั้นที่ตลาดเริ่มยอมรับสินค้าและบริการแล้ว - ลักษณะสำ�คัญ ยอดขายเพิม่ ขึน้ เร็ว กำ�ไรมากขึน้ มีคแู่ ข่งเลียนแบบ สินค้า มีหลายรูปแบบ ราคาขายคงที่ มีคนกลางขายมากขึ้น

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

79


- วิธขี าย โฆษณาเพือ่ จูงใจให้ซอื้ ให้เกิดความต้องการใช้ กำ�หนดส่วนลดให้ ผู้ขายอย่างชัดเจน ๓. ขั้นโตเต็มที่ เป็นขั้นที่ตลาดยอมรับและเติบโตเต็มที่ - ลักษณะสำ�คัญ ยอดขายสูงคงตัว กำ�ไรคงตัวถึงลดลง คูแ่ ข่งมีมากขึน้ การ แข่งขันรุนแรง สินค้ามีการเปลี่ยนรูปแบบมากขึ้น - วิธีขาย ตั้งราคาขายตามรูปแบบสินค้า แสดงจุดเด่นให้ชัดเจน โฆษณา แข่งขันกับคู่แข่ง ๔. ขั้นตกต่ำ� เป็นขั้นที่ตลาดลดความนิยมในสินค้า - ลักษณะสำ�คัญ ยอดขายต่ำ� กำ�ไรลด สินค้าขายได้เฉพาะบางรูปแบบ คู่แข่งลดน้อยลงไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ - วิธีขาย ตัดหรือยกเลิกสินค้าที่ขายไม่ได้ หรือกำ�ไรน้อย ลดการโฆษณา ลดค่าใช้จ่ายทั้งการผลิต การจัดการ

ลูกค้าเป้าหมาย การแบ่งประเภทลูกค้ามี ๑๖ วิธี ๑. แบ่งตามภูมิภาคในโลก เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปอาฟริกา ๒. แบ่งตามประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น อเมริกา ๓. แบ่งตามภูมิภาคในประเทศ เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ๔. แบ่งตามเขตการปกครอง เช่น จังหวัด อำ�เภอตำ�บล หมูบ่ า้ น เทศบาลเมือง อบต. พัทยา กทม. ๕. แบ่งตามจำ�นวนประชากรในชุมชน เช่น มากกว่า ๕ ล้านคน ๓ – ๕ ล้านคน ๑ – ๓ล้านคน ๕แสน – ๑ ล้านคน เป็นต้น ๖. แบ่งตามสภาพชุมชน เช่น ชุมชนเมือง ชุมชนชานเมือง ชุมชนชนบท ชุมชนริม ทะเล ชุมชนที่สูง ภูเขา

80

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๗. แบ่งตามสภาพภูมิอากาศ เช่น เขตร้อน เขตร้อนชื้น เขตหนาว เขตฝนตกชุก ๘. แบ่งตามช่วงอายุ เช่น ต่ำ�กว่า ๕ ปี , ๕ – ๑๐ ปี , ๑๐ – ๑๕ ปี เป็นต้น ๙. แบ่งตามเพศ เช่น เพศชาย เพศหญิง ๑๐. แบ่งตามระดับการศึกษา เช่น ประถม มัธยม ปวช ปวส อนุปริญญา ปริญญาตรี ๑๑. แบ่งตามวงจรชีวิต เช่น โสด แต่งงานแล้ว ยังไม่มีลูก มีลูกยังเล็กอยู่ มีลูกที่จบ การศึกษาแล้ว ๑๒. แบ่งตามรายได้ สูงมาก สูงปานกลางค่อนข้างสูง ปานกลาง ต่ำ� ต่ำ�มาก ๑๓. แบ่งตามอาชีพ เช่น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เกษตรกร อาชีพอิสระ รับจ้าง ๑๔. แบ่งตามบุคลิกภาพ เช่น ทะเยอทะยาน เชือ่ มัน่ ในตนเอง ก้าวร้าว เก็บตัว สมถะ ชอบสังคม ฟุ่มเฟือย ๑๕. แบ่งตามวิถีการดำ�เนินชีวิต เช่น อนุรักษ์นิยม ทันสมัย รักษาสุขภาพ ชอบผจญ ภัย เป็นตัวของตัวเอง ชอบคล้อยตามเพื่อน สันโดษ ๑๖. แบ่งตามอัตราการใช้สินค้า เช่น ไม่เคยใช้ ใช้น้อย ใช้ปานกลาง ซื้อไปเป็นของ ฝาก เก็บเป็นที่ระลึก เอาไปใช้เอง

มีใครบ้างที่เป็นลูกค้า ๑. ตัวแทนขาย ๒. ร้านค้า ๓. ผู้ซื้อ ๔. ผู้ใช้

สิ่งที่ต้องคำ�นึงเกี่ยวกับลูกค้า ๑. เขาต้องการสินค้า บริการอะไร ๒. เงื่อนไขในการสนองความต้องการที่เหมาะสมคืออะไร ๓. จะสื่อสารข้อมูลถึงแต่ละคนให้ถูกต้องอย่างไร ๔. นิสัยการซื้อ การตัดสินใจแต่ละคนเป็นอย่างไร ๕. ลักษณะเฉพาะแต่ละประเภท แต่ละพื้นที่ของทุกคนเป็นอย่างไร

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

81


๖. ความสัมพันธ์ของพวกเขาเกี่ยวข้องกันอย่างไร ๗. จะเก็บข้อมูลด้วยวิธีไหนดี ๘. การรับรู้และทัศนคติของพวกเขาเป็นอย่างไร

การจัดการด้านการตลาด - เส้นทางการพัฒนาการตลาดของธุรกิจชุมชน ระยะที่ ๑ มุ่งผลิตเป็นหลัก ระยะนี้ต้องมีการควบคุมต้นทุน ระยะที่ ๒ มุ่งตัวสินค้า / บริการเป็นหลัก ระยะนี้ต้องพัฒนาการออกแบบสินค้า ระยะที่ ๓ มุ่งการขายเป็นหลัก ระยะนี้ต้องพัฒนาพนักงานขาย ระยะที่ ๔ มุ่งการตลาดเป็นหลัก ระยะนี้ต้องพัฒนาส่วนประกอบการตลาด ระยะที่ ๕ มุ่งความรับผิดชอบต่อสังคมและสภาพแวดล้อมเป็นหลัก ระยะนี้ต้อง ให้บริการกับสังคม - ส่วนประกอบการตลาด ๔ ส่วน ๑. สินค้า / บริการ ว่าด้วยการจัดการที่เกี่ยวข้องกับสินค้า เช่น คุณสมบัติของ สินค้า ความหลากหลาย รุน่ ขนาด สี คุณภาพสินค้า รูปแบบ ตราสินค้า ยีห่ อ้ การบรรจุ หีบห่อ การบริการ การรับประกัน อายุการใช้งาน มาตรฐานสินค้า เป็นต้น ๒. ราคา ว่าด้วยการจัดการที่เกี่ยวข้องกับราคา เช่น ราคาสินค้าขาย ส่วนลด ราคา ระยะเวลาการชำ�ระเงิน ระยะเวลาการให้สินเชื่อ ๓. การจัดจำ�หน่าย ว่าด้วยการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำ�หน่าย เช่น การขนส่ง การเก็บรักษาสินค้า คลังสินค้า การขายผ่านตัวแทนหรือคนกลาง การขายผ่าน ร้านค้า การขายตรงไปยังลูกค้า ๔. เสริมการขาย ว่าด้วยการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการขาย เช่น การโฆษณา การขายโดยพนักงานขาย การส่งเสริมการขายด้วยการลด แลก แจก แถม ตั้งรางวัล การให้ข่าว การประชาสัมพันธ์ การออกร้าน แสดงงาน เป็นต้น

82

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


การผลิตและการบริการ วงจรการผลิตสินค้าและบริการ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

83


-

๑๕ วิธีการลดต้นทุน ๑. ลดการสูญเสียเนื่องจากผลิตมากเกินไป ๒. ลดการสูญเสียเนื่องจากการเก็บวัสดุเกินจำ�เป็น ๓. ลดการสูญเสียเนื่องจากการขนย้ายมากเกินไป ๔. ลดการสูญเสียเนื่องจากการผลิตของแล้วเสียหาย ๕. ลดการสูญเสียเนื่องจากกระบวนการผลิตที่ไม่มีประสิทธิผล ๖. ลดการสูญเสียเนื่องจากการรอคอย ๗. ลดการสูญเสียเนื่องจากมีการเคลื่อนไหวมากเกินไป ๘. ลดความสูญเสียด้วยระบบป้องกันความผิดพลาด ๙. ลดความเสียหายจากวงจรที่ไม่ต้องการจะพัฒนา ๑๐. ลดความเสียหายจากสามัญสำ�นึกผิด ๆ ๑๑. ลดความเสียหายด้วนเทคนิค ๕ ส ๑๒. ลดความเสียหายด้วยหลักการ ๓ จริง ๑๓. ลดความเสียหายด้วยการทำ�งานเป็นทีม ๑๔. ลดความเสียหายด้วยหลักการสร้างเครือข่าย ๑๕. ลดความเสียหายด้วยหลักการวัดให้เป็นตัวเลข

การจัดการด้านการเงิน

84

เรื่องเงินที่ควรจะต้องรู้ ๕ เรื่อง ๑. ควรจะรู้วิธีการการจัดการการเงิน รายรับ และค่าใช้จ่าย ๒. ควรจะรู้วิธีการคิดต้นทุน ๓. ควรจะรู้การจดบันทึกรายการ รายรับ และค่าใช้จ่าย ๔. ควรจะรู้วิธีการทำ�งบกำ�ไรขาดทุน ๕. ควรจะรู้วิธีการทำ�งบกระแสเงินสด

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


โครงสร้างราคา ๑. ค่าวัตถุดิบ ๒. ค่าแรงงาน ๓. ค่าใช้จ่ายการผลิต ๔. ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ๕. ค่าใช้จ่ายด้านการดำ�เนินงาน

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

85


มาตรฐานผลิตภัณฑ์

86

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


- - - - -

การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร (ขอเครื่องหมาย อย.) หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร “ Q MARK ” ตราสัญลักษณ์นกยูงพระราชทาน ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลาม แห่งประเทศไทยว่าด้วยการดำ�เนิน กิจการฮาลาล พ.ศ. ๒๕๕๒

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

87


การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร (ขอเครื่องหมาย อย.) “อาหาร” ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. ๒๕๒๒ หมายถึง “วัตถุทุกชนิดที่คน กิน ดื่ม หรือนำ�เข้าสู่ร่างการ แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติด ให้โทษ นอกจากนีอ้ าหารยังรวมถึงวัตถุทใี่ ช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย” ปัจจุบนั นีป้ ระชาชนในท้องถิน่ ต่าง ๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำ�วัตถุดบิ ทีไ่ ด้จากการเกษตรและการเลีย้ งสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ส�ำ เร็จรูปเพือ่ บริโภคหรือจำ�หน่าย เป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำ�จากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจาก สมุนไพร กะปิ น้ำ�ปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคณ ุ ภาพหรือมาตรฐานทีก่ ฎหมายกำ�หนด ผูผ้ ลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถกู ต้อง ตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำ�หน่ายต่อไป อนึง่ ผลิตภัณฑ์ทผี่ ลิตเพือ่ จำ�หน่ายมีจ�ำ นวนหนึง่ ทีเ่ ป็นผลิตภัณฑ์ทคี่ าบเกีย่ วหรือก้�ำ กึง่ ว่าจะเป็นยาหรืออาหาร เพือ่ ป้องกันความสับสนในเรือ่ งนี้ สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและ ยาจึงกำ�หนดแนวทางในการพิจารณาว่า ผลิตภัณฑ์ใดที่จัดเป็นอาหาร ต้องมีลักษณะดังนี้ ๑. มีส่วนประกอบเป็นวัตถุที่มีในตำ�ราที่รัฐมนตรีประกาศตามพระราชบัญญัติยา และโดยสภาพของวัตถุนั้นเป็นได้ทั้งยาและอาหาร ๒. มีข้อบ่งใช้เป็นอาหาร ๓. ปริมาณการใช้ไม่ถึงขนาดที่ใช้ในการป้องกันหรือบำ�บัดรักษาโรค ๔. การแสดงข้อความในฉลากและการโฆษณาอาหารที่ผสมสมุนไพรซึ่งไม่จัดเป็น ยานั้นต้องไม่มีการแสดงสรรพคุณเป็นยากล่าวคือป้องกัน บรรเทา บำ�บัด หรือรักษาโรคต่าง ๆ

88

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


การแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารแบ่งตามลักษณะการขออนุญาตผลิต ออกเป็น ๒ กลุ่มคือ ๑. กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อาหารกลุ่ ม นี้ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น อาหารที่ ไ ม่ แ ปรรู ป หรื อ ถ้ า แปรรู ป ก็ จ ะใช้ กระบวนการผลิตง่าย ๆ ในชุมชน ผูบ้ ริโภคจะต้องนำ�มาปรุงหรือผ่านความร้อนก่อนบริโภค อาหารกลุ่มนี้ผู้ผลิตที่มีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่ายโรงงาน (ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่ำ�กว่า ๕ แรงม้า หรือคนงานน้อยกว่า ๗ คน) สามารถผลิตจำ�หน่ายได้โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจาก สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่ต้องแสดงฉลาก อาหารที่ถูกต้องไว้ด้วย ๒. กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำ�เร็จรูปหรืออาหาร สำ�เร็จรูปแล้ว ซึง่ อาจก่อให้เกิดความเสีย่ งต่อผูบ้ ริโภคในระดับต�่ำ ปานกลางหรือสูง แล้วแต่กรณี ได้แก่ อาหารที่ต้องมีฉลาก อาหารกำ�หนดคุณภาพหรือมาตรฐาน หรืออาหารควบคุมเฉพาะ ดังนั้น จึงจำ�เป็นต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและขอขึ้นทะเบียนตำ�รับอาหาร หรือ จดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหารแต่ละชนิดแล้วแต่กรณี ได้ที่สำ �นักงาน คณะกรรมการอาหารและยาหรือสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

89


กลุ่มอาหารที่ไม่ต้องมีเครื่องหมาย อย. อาหารกลุม่ นี้ ผูผ้ ลิตไม่ตอ้ งขออนุญาตผลิตภัณฑ์ แต่ตอ้ งแสดงฉลากตามทีก่ ฎหมาย กำ�หนด นอกจากนี้หากสถานที่ผลิตเข้าข่ายโรงงานก็ต้องขออนุญาตตั้งโรงงานด้วย ดังนี้ กลุ่มและชนิดของอาหาร

เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต

ผลิตภัณฑ์จากพืช ข้าวกล้อง, ธัญพืชต่าง ๆ , งา เมล็ดถั่วแห้ง, พริกแห้ง, ข้าวเกรียบ (ไม่ทอด), ธัญพืชชนิดบด/ผง, พริกป่น n ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ปลาแห้ง, กุ้งแห้ง, รังนกแห้ง, ไข่เค็มดิบ, กะปิ, ปลาร้าผง/ดิบ, ปลาส้ม, น�้ำ บูด,ู น�้ำ ผึง้ (ทีผ่ ลิตจาก สถานที่ผลิตไม่เป็นโรงงาน)

๑. กรณีสถานที่ผลิตเข้าข่ายโรงงาน จะต้องยื่นขอตั้ง โรงงานผลิตอาหาร พร้อมหลักฐานตามที่ได้ก�ำ หนดไว้ เพื่อขอรับใบอนุญาตผลิตอาหาร ถ้าไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องยื่นขอ

n

อื่น ๆ เกลือบริโภค (เกลือป่น) n

90

๒. ตัวผลิตภัณฑ์ไม่ต้องขอ อย. แต่ต้องแสดงฉลาก ซึ่งข้อความในฉลากต้องแสดงชื่ออาหาร น้ำ�หนักสุทธิ (ของแข็ง, ผง) หรือปริมาตรสุทธิ (ของเหลว) เป็นระบบ เมตริก (เช่น กรัม กิโลกรัม ลูกบาศก์เซ็นติเมตร) (หรือ ซม. หรือ ลบ.ซม) ลิตร มิลลิลติ ร (หรือ มล.) ชือ่ และทีต่ งั้ ของสถานทีผ่ ลิต โดยมีค�ำ ว่า “ผลิตโดย” นำ�หน้าและวัน เดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อนตาม เงื่อนไขที่กำ�หนดไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๑๙๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ เรื่องฉลากอาหาร ๓. กรณีเกลือบริโภคไม่ต้องขอ อย. แต่ต้องผลิตให้ ได้มาตรฐานตามที่กำ�หนดไว้ ในประกาศในกระทรวง สาธารณสุขและต้องแสดงฉลาก

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. แต่ไม่ต้องส่งตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ อาหารกลุม่ นีไ้ ด้แก่ อาหารทีต่ อ้ งมีฉลากทีร่ ฐั มนตรีมไิ ด้กำ�หนดให้สง่ มอบฉลาก ผูผ้ ลิต จะต้องขออนุญาตสถานทีผ่ ลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ตอ่ สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดโดยใช้เอกสารและหลักฐานในการยื่นขออนุญาตดังนี้ กลุ่มและชนิดของอาหาร

เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต

เครื่องปรุงรสและน้ำ�จิ้ม เช่น l กรณีสถานทีผ่ ลิตเข้าข่ายโรงงาน จะต้องยืน่ ขอตัง้ เต้าเจีย้ ว, น�้ำ สลัด, ซอสน�้ำ มันหอย, โรงงานผลิตอาหาร พร้อมหลักฐานตามที่ได้ก�ำ หนดไว้ น�้ำ จิม้ สุก,ี้ น�้ำ จิม้ ไก่, น�้ำ จิม้ ปลาหมึก, กรณีที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารแล้วให้ยื่นสำ�เนาใบ น้ำ�เกลือปรุงอาหาร อนุญาตผลิตอาหาร จำ�นวน ๑ ฉบับ หรือ l

l

l

น�้ำ พริกทีส่ �ำ เร็จรูปทีร่ บั ประทาน ได้ทันที เช่น น้ำ�พริกเผา, น้ำ�พริกนรก, น้ำ�พริก สวรรค์, น้ำ�พริกปลาย่าง, ปลาร้า ทรงเครื่อง/แจ่วบอง ผลิตภัณฑ์จากผลไม้ เช่น กล้วยตาก, กล้วย/สาเก/ ขนุ น /ทุ เรี ย นทอด/อบกรอบ, กล้วย/สับปะรด/ทุเรียน/มะขาม/ ขนุนกวน,มะม่วง/มะขาม/ฝรั่ง/ มะกอก/มะยมดอง/มะม่ ว ง/ มะกรู ด /มะขาม/บอระเพ็ ด แช่อิ่ม,ชมพู่/มะยม/ฝรั่ง/มะเฟื่อง/ มะม่ ว งหยี , ลู ก หยี / มะขามคลุ ก น�้ำ ตาล,ส้มแผ่น/ส้มลิม้ ,มะพร้าว/ มะขาม/มะนาวดองแก้ว

กรณีสถานทีผ่ ลิตไม่เข้าข่ายโรงงาน ต้องยืน่ คำ�ขอ รับเลขสถานที่ผลิตอาหาร จำ�นวน ๒ ฉบับ พร้อมหลัก ฐานที่กำ�หนดไว้ กรณีที่ได้รับเลขสถานที่ผลิตอาหาร แล้ ว ให้ ยื่ น สำ � เนาคำ � ขอรั บ เลขสถานที่ ผ ลิ ต อาหาร จำ�นวน ๑ ฉบับ และ

l

การรับเลขสารบบอาหาร (หรือเลข อย.) ของ อาหารแต่ละชนิด จะต้องยื่นแจ้งรายละเอียดของ อาหารภายหลังการยืน่ ขออนุญาตตัง้ โรงงานผลิตอาหาร หรื อ ยื่ น คำ � ขอรั บ เลขสถานที่ ผ ลิ ต อาหารโดยยื่ น ใบ จดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียดอาหาร จำ�นวน ๒ ฉบับ โดยให้เขียนเครื่องหมาย “3” เลือกใน ο ขอ แจ้งรายละเอียดอาหาร” และเลือกว่าเป็นอาหารที่ ผลิตในกรอบข้อความว่า “ο ผลิต” พร้อมลงชื่อให้คำ� รับรองท้าย l

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

91


กลุ่มและชนิดของอาหาร l

l

เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต

ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ไส้กรอก, แหนม , หมูยอ, ลู ก ชิ้ น ,กุ น เชี ย ง, เนื้ อ สวรรค์ , ปลาแผ่น, หมูแผ่น, หมูหยอง, หมู ทุ บ , ปลากรอบปรุ ง รส, ปลาหมึกอบกรอบ, ไข่เค็มต้มสุก ขนมและอาหารขบเคี้ยว เช่ น ทองหยิ บ , ทองหยอด, ทองม้วน,ขนมหม้อแกง, ขนมปัง ปอนด์, บิสกิต,คุกกี้, ข้าวเกรียบ ทอด, เมี่ยงคำ�, ถั่วทอด ฯลฯ

ลูกอมและทอฟฟี่ เช่ น ลู ก อมรสนม, ลู ก อมรส มะขาม, ทอฟฟี่รสนม, ทอฟฟี่รส มะพร้าว

l

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มที่ ๑ ที่มีวัตถุ กันชื้นหรือสารดูดออกซิเจนใน ภาชนะบรรจุ

l

92

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


กลุม่ อาหารทีต่ อ้ งมีเครือ่ งหมาย อย. และรายงานผลการตรวจวิเคราะห์อาหารไว้ ให้ตรวจสอบ อาหารกลุ่มนี้ได้แก่ อาหารกำ�หนดคุณภาพหรือมาตรฐานที่รัฐมนตรีมิได้ก�ำ หนดให้ ส่งมอบฉลาก แต่กฎหมายกำ�หนดในเรือ่ งคุณภาพหรือมาตรฐานของอาหารแต่ละประเภทไว้ให้ ยืน่ ขออนุญาตผลิตต่อสำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัด (สสจ.) โดยใช้เอกสารและหลักฐานในการยื่นของอนุญาต ดังนี้ กลุ่มและชนิดของอาหาร อาหารกำ�หนดคุณภาพหรือมาตรฐาน l น้ำ�ส้มสายชู l น้ำ�มันสำ�หรับปรุงอาหาร เช่น น้ำ�มันหมู น้ำ�มันงา น้ำ�มัน มะพร้าว น้ำ�มันปาล์ม l น้ำ�แร่ ตามธรรมชาติ l ไข่เยี่ยวม้า l กาแฟ ชนิดคัว ่ เมล็ด/ผงสำ�เร็จรูป/ ปรุงสำ�เร็จ l ชา ชนิดชาใบ/ผงสำ�เร็จรูป/ปรุง สำ�เร็จ l น้ำ�พริกแกง เช่น น�้ำ พริกแกงส้ม น�้ำ พริกแกงเผ็ด น้ำ�พริกแกงเขียวหวาน l เครื่องปรุงรส เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น�้ำ ปลา ผลิตภัณฑ์ปรุงรสทีไ่ ด้จาก การย่ อ ยโปรตี น ของถั่ ว เหลื อ ง (ได้แก่ ซีอิ้วหรือซอสถั่วเหลือง ซอสปรุงรส) l แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด

เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต l

l

l

กรณีสถานทีผ่ ลิตเข้าข่ายโรงงาน ต้องยืน่ คำ�ขอตัง้ โรงงานผลิตอาหาร จำ�นวน ๑ ฉบับ พร้อมหลักฐาน ทีก่ �ำ หนดไว้ กรณีทไี่ ด้รบั ใบอนุญาตผลิตอาหารแล้ว ให้ยนื่ สำ�เนาใบอนุญาตผลิตอาหาร จำ�นวน ๑ ฉบับ หรือ กรณีสถานทีผ่ ลิตไม่เข้าข่ายโรงงาน ต้องยืน่ คำ�ขอ รับเลขสถานที่ผลิตอาหาร จำ�นวน ๒ ฉบับ พร้อม หลักฐานที่กำ�หนดไว้ กรณีที่ได้รับเลขสถานที่ผลิต อาหารแล้ว ให้ยื่นสำ�เนาคำ�ขอรับเลขสถานที่ผลิต อาหาร จำ�นวน ๑ ฉบับ และ การรับเลขสารบบอาหาร (หรือเลข อย.) ของ อาหารแต่ละชนิด จะต้องยืน่ จดทะเบียนอาหารภาย หลังการยื่นขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร หรือ ยื่ น คำ � ขอรั บ เลขสถานที่ ผ ลิ ต อาหาร โดยยื่ น ใบ จดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียดอาหาร จำ�นวน ๒ ฉบับ โดยให้เขียนเครื่องหมาย “๔” เลือกใน ο ขอจดทะเบียนอาหาร และเลือกว่าเป็นอาหารที่ ผลิตในกรอบข้อความว่า ο ผลิต พร้อมลงชือ่ ให้คำ� รับรอง

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

93


กลุ่มอาหารที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. และต้องส่งตัวอย่างอาหารตรวจวิเคราะห์ อาหารกลุ่มนี้ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะกฎหมายจะกำ�หนดคุณภาพมาตรฐาน เอาไว้ผผู้ ลิตจะต้องส่งตัวอย่างวิเคราะห์ตามทีก่ ฎหมายกำ�หนด และนำ�ผลวิเคราะห์มาประกอบ การยื่นขออนุญาตผลิตต่อสำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือสำ�นักงาน สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดยใช้เอกสารและหลักฐานในการยื่นขออนุญาตดังนี้ กลุ่มและชนิดของอาหาร

เอกสารที่ใช้ในการขออนุญาต

อาหารควบคุมเฉพาะ l เครื่ อ งดื่ ม ชนิ ด น้ำ � และผง ที่ ทำ � จากพื ช /ผั ก /ผลไม้ / สมุ น ไพร/ ธัญพืช/ถั่วเมล็ดแห้ง, น้ำ�ตาลสด, เครื่องดื่มรังนก,กาแฟถั่วเหลือง

กรณีสถานที่ผลิตเข้าข่ายโรงงาน ต้องยื่นดังนี้ ๑. คำ�ขอตั้งโรงงานผลิตอาหาร จำ�นวน ๑ ฉบับ หากได้รับอนุญาตแล้ว ให้ยื่นสำ�เนาใบอนุญาต ผลิตอาหาร จำ�นวน ๑ ฉบับ พร้อมหลักฐานที่ กำ�หนด ๒. คำ�ขอขึ้นทะเบียนตำ�รับอาหาร จำ�นวน ๒ ฉบับ ๓. รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ (ฉบับจริงพร้อม สำ�เนา อายุไม่เกิน ๑ ปี) จำ�นวน ๒ ชุด ๔. ฉลากอาหาร จำ�นวน ๕ ชุด

l

อาหารในภาชนะบรรจุทปี่ ดิ สนิท เช่น อาหารกระป๋อง อาหารบรรจุ ขวดแก้ ว ที่ ฝ ามี ย างรองด้ า นใน อาหารที่ บ รรจุ ก ล่ อ ง/ซอง/ ถุงอลูมิเนียมฟอยล์ที่ปิดผนึก

l

กรณีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่ายโรงงาน ต้องยื่นดังนี้ ๑. คำ�ขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหาร จำ�นวน ๒ ฉบับ l นมและผลิตภัณฑ์นม เช่น นมโค นมปรุงแต่ง นมเปรีย้ ว พร้อมหลักฐานทีก่ �ำ หนด กรณีทไี่ ด้รบั เลขสถาน ที่ผลิตอาหารแล้ว ให้ยื่นสำ�เนาคำ�ขอรับเลข ไอศกรีม เนยแข็ง เนย สถานที่ผลิตอาหารจำ�นวน ๑ ฉบับ l น้ำ � ดื่ ม /น้ำ � บริ โ ภคในภาชนะ ๒. คำ�ขออนุญาตให้ฉลากอาหาร จำ�นวน ๒ ฉบับ บรรจุที่ปิดสนิท ๓. รายงานผลการตรวจวิเคราะห์ (ฉบับจริงพร้อม l น้ำ�แข็งชนิดซอง/ก้อน สำ�เนาอายุไม่เกิน ๑ ปี) ๔. ฉลากอาหาร ๕ ชุด l

ที่มา : สำ�นักคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

94

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ชุมชน ๑. ขอบข่าย ๑.๑ เอกสารนีก้ �ำ หนดนิยาม คุณสมบัตขิ องผูย้ นื่ คำ�ขอ การรับรอง การตรวจติดตาม ผลการยกเลิกการรับรอง และอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องในการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ ชุมชน ๒. นิยาม ความหมายของคำ�ที่ใช้ในเอกสารนี้ มีดังต่อไปนี้ ๒.๑ การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน หมายถึง การให้การรับรองคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ชมุ ชนของผูผ้ ลิตในชุมชน ทีเ่ กิดการรวมกลุม่ กันประกอบกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่งทั้งที่จดทะเบียนอย่างเป็นทางการหรือที่ไม่มีการจดทะเบียน เป็นการรวมกลุ่มเองโดยธรรมชาติ หรือชุมชนในโครงการหนึ่งตำ�บล หนึ่ง ผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการคัดเลือกจากจังหวัด และ/หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชมุ ชนทีส่ �ำ นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม ได้ประกาศกำ�หนดไว้แล้ว ๒.๒ ผู้ยื่นคำ�ขอ หมายถึง ผู้ผลิตที่อยู่ในชุมชนและ/หรือจากโครงการหนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านการคัดเลือกจากคณะกรรมการอำ�นวยการ หนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ.) ๒.๓ ผู้ได้รับการรับรอง หมายถึง ผู้ยื่นคำ�ขอที่ผ่านการตรวจประเมินแล้ว และได้ รับการรับรองจากคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ๓. คุณสมบัติของผู้ยื่นคำ�ขอ ๓.๑ ผู้ยื่นคำ�ขอต้องมีคุณสมบัติในข้อหนึ่งข้อใด ดังต่อไปนี้ ๓.๑.๑ เป็นผู้ผลิตในชุมชนของโครงการ หนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้รับ การคัดเลือกจากคณะกรรมการอำ�นวยการหนึง่ ตำ�บล หนึง่ ผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ.นตผ.)

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

95


๓.๑.๒ เป็นกลุ่มหรือสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ หรือกลุ่มอื่น ๆ ตามกฏหมายวิสาหกิจชุมชน เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพก้าวหน้า กลุ่มธรรมชาติ เป็นต้น ๔. การรับรอง ๔.๑ การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ประกอบด้วยการดำ�เนินการดังนี้ ๔.๑.๑ ตรวจสอบสถานทีผ่ ลิตและเก็บตัวอย่างจากสถานทีผ่ ลิตส่งตรวจสอบ เพื่อพิจารณาออกใบรับรอง ๔.๑.๒ ตรวจติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ชมุ ชนทีไ่ ด้รบั การรับรอง โดยสุม่ ซื้อตัวอย่างที่ได้รับการรับรองจากสถานที่จำ�หน่าย เพื่อตรวจสอบ ๔.๒ การขอการรับรอง ให้ยนื่ คำ�ขอต่อสำ�นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม หรือสำ�นักงานอุตสาหกรรมจังหวัด หรือจังหวัด พร้อมหลักฐานและเอกสาร ต่างๆ ตามแบบที่สำ�นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกำ�หนด ๔.๓ เมือ่ ได้รบั คำ�ขอตามข้อ ๔.๒ แล้ว สำ�นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม จะนัดหมายการตรวจสอบสถานที่ผลิตเก็บตัวอย่างส่งทดสอบ หรือทดสอบ ณ สถานที่ผลิต ๔.๔ ประเมินผลการตรวจสอบว่าเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชมุ ชนทีไ่ ด้กำ�หนดไว้ หรือไม่ ๔.๕ ใบรับรองผลิตภัณฑ์ มีอายุ ๓ ปี นับตั้งแต่วันที่ระบุในใบรับรอง ๔.๖ การขอต่ออายุใบรับรองหรือการออกใบรับรองฉบับใหม่เมือ่ ใบรับรองฉบับเก่า สิ้นอายุ ให้ดำ�เนินการตามข้อ ๔.๒ ถึง ๔.๔ ๕. เงื่อนไขและการตรวจติดตาม ๕.๑ ผู้ได้รับการรับรอง ต้องรักษาไว้ซึ่งคุณภาพตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่กำ�หนดไว้ ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการรับรอง ๕.๒ การประเมินผลการตรวจสอบตัวอย่างที่สุ่มซื้อเพื่อตรวจติดตามผลต้อง เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่กำ�หนด ๕.๓ การตรวจติดตามผลทำ�อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

96

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๖. การยกเลิกการรับรอง สำ�นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จะยกเลิกใบรับรอง กรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ๖.๑ ผลิตภัณฑ์ที่ตรวจติดตามผลไม่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ๒ ครั้ง ติดต่อกัน ๖.๒ ผู้ได้รับการรับรองขอยกเลิกใบรับรอง ๖.๓ มีการประกาศแก้ไขหรือยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้กำ�หนดไว้ ๖.๔ เมื่อใบรับรองครบอายุ ๓ ปี นับจากวันที่ได้รับการรับรอง ๖.๕ กรณีมกี ารกระทำ�อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบตั ติ ามหลักเกณฑ์และเงือ่ นไข ต่างๆ ที่กำ�หนด เช่น การอวดอ้างเกินความเป็นจริง โฆษณาการได้รับการ รับรองครอบคลุมรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรอง ๗. อื่นๆ ๗.๑ ในกรณีทยี่ กเลิกใบรับรอง ผูไ้ ด้รบั การรับรองต้องยุตกิ ารใช้สงิ่ พิมพ์ สือ่ โฆษณา ที่มีการอ้างอิง ถึงการได้รับการรับรองทั้งหมด ๗.๒ สำ�นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม ไม่รบั ผิดชอบในการกระทำ�ใด ๆ ของผูไ้ ด้รบั การรับรองทีไ่ ด้กระทำ�ไปโดยไม่สจุ ริตหรือไม่ปฏิบตั ติ ามหรือฝ่าฝืน หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำ�หนด

ข้อแนะนำ�สำ�หรับผู้รับใบรับรองให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชุมชน ๑ ทั่วไป ๑.๑

เอกสารฉบับนีใ้ ช้ประกอบการได้รบั ใบรับรองให้แสดงเครือ่ งหมายผลิตภัณฑ์ ชุมชนซึง่ สำ�นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อตุ สาหกรรม (สมอ.) ได้ตรวจสอบการ ขอรับรองและคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชมุ ชน (กมช.) ได้ออกใบรับรอง โดยมีเงื่อนไขให้ผู้รับใบรับรองปฏิบัติดังเอกสารที่แนบข้างต้น

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

97


๒ ค่าใช้จ่าย ผู้รับใบรับรองไม่ต้องชำ�ระค่าใช้จ่าย ดังนี้ ๒.๑ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ชุมชน ๒.๒ ค่าตัวอย่างผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เก็บจากสถานที่จำ�หน่าย ๒.๓ ค่านำ�ส่งตัวอย่าง ๓ การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ๓.๑ ผูร้ บั ใบรับรองต้องแสดงเครือ่ งหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชมุ ชนกับผลิตภัณฑ์ ชุมชนที่เป็นไปตามมาตรฐานเท่านั้น ๓.๒ การแสดงเครือ่ งหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชมุ ชน การทำ�เครือ่ งหมายและฉลาก ๓.๒.๑ การแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำ�หนด ๓.๒.๒ การทำ�เครือ่ งหมายและฉลากต้องมีขอ้ ความครบถ้วนตามทีก่ �ำ หนด ไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและได้รับความเห็นชอบจาก สมอ. ๓.๒.๓ ระยะเวลาในการแสดงเครือ่ งหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชมุ ชนให้เป็น ไปตามเงื่อนไขที่กำ�หนด ๔ การตรวจสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบของ สมอ. ๔.๑ ในการควบคุมการใช้เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สมอ. จะได้ส่ง พนักงานเจ้าหน้าที่มาตรวจสถานที่ผลิตเป็นครั้งคราวและเก็บตัวอย่างจาก สถานที่ผลิต หรือจากแหล่งจำ�หน่ายไปตรวจสอบ ๔.๒ การมาตรวจสถานที่ผลิตเพื่อดูการทำ�และการใช้เครื่องหมายมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ชมุ ชน สมอ. จะไม่แจ้งให้ผรู้ บั ใบรับรองทราบล่วงหน้า ยกเว้นบางกรณี ๔.๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจสถานที่ผลิตต้องแสดงบัตรประจำ�ต่อเจ้าหน้าที่ ของสถานที่ผลิตทุกครั้ง ๔.๔ ในการตรวจสถานที่ผลิตและเก็บตัวอย่าง พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำ�เนินการ ดังนี้ ๔.๔.๑ การตรวจสถานที่ผลิต ๔.๔.๑.๑ ตรวจกรรมวิธกี ารทำ� การใช้เครือ่ งหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ชุมชนของสถานที่ผลิต

98

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๔.๔.๑.๒ พนักงานเจ้าหน้าที่จะแจ้งผลการตรวจสอบตัวอย่างที่ เก็บไปตรวจสอบในครั้งก่อน (ถ้ามี) ๔.๔.๒ การเก็บตัวอย่าง ๔.๔.๒.๑ พนักงานเจ้าหน้าทีจ่ ะเก็บตัวอย่างตามวิธกี ารและจำ�นวน ตามที่กำ�หนดในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน แต่อาจเก็บ ตัวอย่างเพิ่มขึ้น ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ใช้เป็นตัวอย่างอ้างอิง (๒) เพือ่ แบ่งส่งหน่วยตรวจสอบมากกว่า ๑ หน่วยขึน้ ไป (กรณีทหี่ น่วยตรวจสอบเดียวไม่สามารถตรวจสอบได้ครบ ทุกรายการตามที่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำ�หนด) ๔.๔.๒.๒ พนักงานเจ้าหน้าทีจ่ ะออกใบรับ-นำ�ส่งตัวอย่างของ สมอ. ให้สถานที่ผลิตทุกครั้งที่มีการเก็บตัวอย่างและจะให้ เจ้าหน้าที่ของสถานที่ผลิตลงนามจ่ายตัวอย่างในใบรับ นำ�ส่งตัวอย่างด้วยในบางกรณีการนำ�ส่งตัวอย่างพนักงาน เจ้าหน้าทีอ่ าจขอให้ผรู้ บั ใบรับรองนำ�ส่งตัวอย่างให้ สมอ. หรือหน่วยตรวจสอบก็ได้ ๔.๕ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์ สมอ. จะส่งตัวอย่างที่เก็บจากแหล่งต่างๆให้หน่วยตรวจสอบเพื่อตรวจสอบ และแจ้งผลการตรวจสอบให้ผู้ได้รับการรับรองทราบภายหลัง ๕ การเลิกประกอบกิจการ ผู้รับใบรับรองต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ สมอ. ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันเลิก กิจการ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

99


มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร

“ Q MARK ” ๑. ความเป็นมาและความสำ�คัญของ Q สืบเนื่องจากคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้มีมติใน การประชุม ครัง้ ที่ ๓-๒๕๔๖ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ให้หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ใช้เครือ่ งหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นเครือ่ งหมายเดียวกัน คือ เครือ่ งหมาย “Q” เพือ่ ลดความซ้ำ�ซ้อนในการใช้เครือ่ งหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึง่ เครือ่ งหมายนีแ้ สดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรและอาหารมีคณ ุ ภาพและความปลอดภัยพร้อมทัง้ ยังสือ่ ไปถึงผูบ้ ริโภคภายในประเทศและประเทศคูค่ า้ ให้เกิดความเชือ่ มัน่ ในระบบการผลิตและ ผลิตภัณฑ์สนิ ค้าเกษตรและอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานและเป็นทีย่ อมรับของนานาประเทศ หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการจัดทำ�บันทึกข้อตกลงความ ร่วมมือ (MOU) เรื่อง การใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร โดยมีการ ลงนามวันที่ ๒๖กันยายน ๒๕๔๖ ร่วมกัน ๘ หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน องค์การตลาดเพื่อ เกษตรกร และสำ�นักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อเป็นข้อผูกพันให้มี การนำ�เครื่องหมายรับรอง “Q” ไปใช้ในแนวทางเดียวกัน และมีการดำ�เนินการตามวิธีการ และแนวทางที่กำ�หนดไว้ใน MOU โดยหน่วยรับรองให้การรับรอง ตั้งแต่ระดับไร่นาจนถึง ผูบ้ ริโภค (From Farm To Table) เพือ่ ให้ผบู้ ริโภคได้รบั สินค้าทีม่ คี ณ ุ ภาพและมีความปลอดภัย รวมถึ ง เป็ น การส่ ง เสริ ม ให้ เ ป็ น ผู้ ผ ลิ ต ผู้ ป ระกอบการสิ น ค้ า เกษตรและอาหารของไทย ได้ตระหนักถึงคุณค่าความสำ�คัญของเครื่องหมายรับรอง “Q” ที่แสดงถึงความมีคุณภาพและ ปลอดภัย ดังนั้นจำ�เป็นต้องมีระบบการควบคุมกำ�กับดูแลการนำ�เครื่องหมายรับรอง “Q” ไปใช้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังมีระบบการจัดรหัสประกอบการแสดง เครื่องหมาย เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้กรณีที่มีการปลอมแปลงเอกสารใบรับรอง หรือกรณีตรวจพบสินค้ามีปัญหาด้านคุณภาพที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน

100

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๒. คำ�นิยาม/ความหมาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการกำ�หนดเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้า เกษตรและอาหารหรือ “Q” ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการรับรองสินค้าและรับรองระบบที่ หน่วยงานในกระทรวงฯ จะนำ�ไปใช้ให้การรับรอง รวมถึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้เมื่อ เกิดปัญหา ๒.๑ ลักษณะของเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ “Q” มีขนาดไม่ต�่ำ กว่า ๑๕ มิลลิเมตร เพือ่ ให้สามารถมองเห็นได้ชดั เจนและอ่านได้ดว้ ยตาเปล่า ๒.๒ สีของเครื่องหมาย “Q” สี สีเขียว สีน้ำ�เงิน สีแดง สีดำ� สีทอง

รหัสสีที่กำ�หนด C100,Y100BL60 M100,C100 M100,Y100 BL100 สีพิเศษสีทองหรือสีที่ใกล้เคียง

๒.๓ เครือ่ งหมาย “ Q “ ทีแ่ สดงถึงการรับรองสินค้า มีมาตรฐานความปลอดภัย ตามมาตรฐาน มกอช. หรือมาตรฐานสากล หาก มกอช. ยังไม่ประกาศมาตรฐานดังกล่าว อาจ ใช้มาตรฐานของกรมฯ โดยเครื่องหมายมีลักษณะเป็นรูปตัว Q หมายถึง การรับรองว่าสินค้ามี มาตรฐานความปลอดภัยตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ มกอช. หรือมาตรฐาน สากล หากยังไม่มีมาตรฐาน อาจใช้มาตรฐานของหน่วยงานที่มีอำ�นาจหน้าที่หรือระเบียบที่ ประกาศโดยหน่วยรับรองโดยเครื่องหมายมีลักษณะเป็นรูปตัว “Q” หมายถึง Quality สีเขียว เข้ม หางตัว “Q” เป็นสีธงชาติ ด้านล่างตัว “Q” เป็นรหัสทีแ่ สดงถึงรหัสหน่วยรับรอง ประเภท การรับรอง มาตรฐานที่ให้การรับรอง รหัสมาตรฐานบริษัท/ผู้ประกอบการ/ฟาร์มที่ได้รับการ รับรอง และชือ่ /ชนิด/ประเภทสินค้าทีน่ �ำ มาขอการรับรองมาตรฐาน ดังแสดงในภาพที่ ๑ ภาย ใต้รหัส มีการระบุระบบ หรือผลิตภัณฑ์ที่ให้การรับรอง และระบุถึงหน่วยงานที่ให้การรับรอง ดังแสดงในภาพที่ ๑

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

101


ภาพที่ ๑ แสดงตัวอย่างเครื่องหมายและความหมายของ “Q”

 หมายเหตุ: รายละเอียดการกำ�หนดรหัสมาตรฐานเครื่องหมาย “Q” สามารถดูได้ที่บันทึกข้อ ตกลงความร่วมมือ ภาพที่ ๒ ตัวอย่างการแสดงเครื่องหมาย “Q” 

หมายเหตุ: การแสดงเครื่องหมาย “Q” ให้หน่วยรับรองออกระเบียบ ขั้นตอนวิธีดำ�เนินการ การใช้ เครื่องหมายข้อความด้านล่างเครื่องหมาย “Q” รวมทั้งระบบที่ได้รับการรับรอง

102

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๓. ขอบข่าย ๓.๑ การรับรองสินค้า (Product Certification) หมายถึง การตรวจสอบ ให้การรับรองสินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Finished product) โดยมีการสุ่มตัวอย่าง การ ทดสอบ และการตรวจสอบว่าสินค้ามีคุณลักษณะทางด้านคุณภาพและความปลอดภัยเป็นไป ตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และมาตรฐานทั่วไปด้านความปลอดภัย เช่น สารพิษ ตกค้าง สารปนเปือ้ น รวมทัง้ มีการตรวจประเมินระบบการผลิตหรือกระบวนการผลิตว่าผูผ้ ลิต มีความสามารถในการรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าทีผ่ ลิตอย่างสม่�ำ เสมอได้ตาม มาตรฐานสินค้า เช่น เนื้อหมูอนามัย, ผักผลไม้สดปลอดภัย, กุ้งกุลาดำ�แช่เยือกแข็ง ซึ่งสามารถ แสดงเครื่องหมาย “Q” ไว้ที่ฉลาก สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งห่อหุ้ม สิ่งผูกมัด หรือบนสินค้าได้ การ รับรองสินค้ายังรวมถึงผลิตผลที่ได้จากการผลิตโดยระบบการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice : GAP), Code of Conduct (COC) และเกษตรอินทรีย์ หน่วยรับรองที่จะให้การ รับรองสินค้ามีการจัดระบบตามมาตรฐาน ISO/IEC Guide 65 : 1996 หรือตามข้อกำ�หนดที่ เทียบเคียงกันได้ ๓.๒ การรับรองระบบ หมายถึง การตรวจประเมินให้การรับรองระบบโดยคลอบคลุม กระบวนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารให้ได้ตามมาตรฐาน อันได้แก่ (๑) การรับรองระบบ GMP/HACCP เป็นการตรวจประเมินให้การรับรอง ระบบให้ได้ตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร (GMP/HACCP) โดยหน่วยรับรองทีใ่ ห้การ รับรองต้องมีการจัดระบบตามมาตรฐาน ISO/IEC Guide 62 : 1996 ซึ่งไม่สามารถแสดง เครื่องหมาย “Q” ที่ตัวสินค้า แต่ให้แสดงที่ส่วนอื่น เช่น เอกสารการรับรอง ประกาศนียบัตร และเอกสารการโฆษณาเผยแพร่ เป็นต้น (๒) การรับรองระบบการผลิตอื่นๆ ได้แก่ การรับรองระบบสวนป่า เป็นต้น

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

103


๔. เกณฑ์กำ�หนด ๔.๑ หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายรับรอง “Q” (สีเขียว) บนสินค้าเกษตรและ อาหาร (๑) การผลิตในระดับฟาร์มต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการ เกษตรที่ดี(Good Agricultural Practices; GAP) สำ�หรับการผลิตสินค้าเกษตรนั้น และได้รับ การตรวจสอบรับรองโดยหน่วยรับรองที่มีอำ�นาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (๒) การผลิตในระดับโรงงาน รวมทั้งโรงคัดบรรจุผักผลไม้ โรงฆ่าสัตว์ (ถ้ามี) ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติในการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practices; GMP) หรือมาตรฐานการวิเคราะห์ อันตรายและจุดควบคุมวิกฤต (Hazard Analysis and Critical Control Points; HACCP) และได้รับการตรวจสอบรับรองโดยหน่วยรับรองที่มี อํานาจหน้าที่เกี่ยวข้อง (๓) ผูข้ ออนุญาตใช้เครือ่ งหมาย ต้องมีระบบการเรียกคืนหรือติดตามสินค้าได้ กรณีทพี่ บว่ามี ปัญหา โดยใช้หลักการของการติดตามผลิตภัณฑ์ (product tracing / traceability) (๔) สินค้าจะต้องถูกตรวจสอบคุณภาพที่จําเป็น และตรวจวิเคราะห์สารพิษ ตกค้าง สารปนเปือ้ น หรือสิง่ อันตรายอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตามแผนการ ตรวจที่หน่วยรับรองกําหนด (๕) มาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจตาม ๑ – ๔ ใช้มาตรฐานสินค้า เกษตรและอาหารแห่งชาติที่ประกาศโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรณีสินค้าเกษตรใด ที่ยังไม่มีมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ให้ใช้มาตรฐานสากลหรือมาตรฐานอื่นที่ ได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ๔.๒ หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายรับรอง “Q Premium” (สีทอง) บนสินค้า เกษตรและอาหาร (๑) สิ น ค้ า และกระบวนการผลิ ต ทั้ ง หมด ต้ อ งได้ ต ามเกณฑ์ ข องการใช้ เครื่องหมายรับรอง “Q” (๒) สินค้านั้นผ่านการคัดแยกระดับชั้นคุณภาพ (Grading) และหรือผ่าน กระบวนการผลิต บรรจุ ดูแล ขนส่งเป็นพิเศษ ทําให้สนิ ค้ามีคณ ุ ภาพอยูใ่ นระดับพิเศษ โดยการ อ้างอิงมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช. ๙๐๐๕-๒๕๔๘) เรื่อง หลักเกณฑ์ การใช้เครื่องหมายรับรอง “Q” และ “Q Premium” กับสินค้าเกษตรและอาหาร

104

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


(๓) ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมาย ต้องมีระบบการจัดการสินค้า เพื่อให้มั่นใจ ว่าสินค้าที่วางจําหน่ายยังคงคุณภาพตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ดังข้างต้น รวมถึงการระบุ วันที่ผลิต บรรจุ หรือวันที่ควรบริโภคก่อน (Best before) บนสินค้า (๔) หน่ ว ยรั บ รองจะกํ า หนดรายละเอี ย ดหลั ก เกณฑ์ ก ารอนุ ญ าตใช้ เครื่องหมายรับรอง “Q Premium” โดยยึดหลักการประเมินความสามารถของผู้ประกอบ การทีย่ นื่ ขออนุญาตใช้เครือ่ งหมายรับรอง”Q Premium” ในการผลิต การคัดแยกชัน้ คุณภาพ การบรรจุ หรือการควบคุมดูแล ที่ทําให้มั่นใจในความสามารถของผู้ประกอบการ ทั้งนี้รวมถึง การตรวจติดตาม การนําเครื่องหมายไปใช้ของผู้ประกอบการให้เกิดความมั่นใจและความเชื่อ ถือโดยผู้บริโภค ๕. ขั้นตอนการดำ�เนินการขอเครื่องหมาย “ Q ” การขอรับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร “Q“ สำ�หรับการ รับรองการรับรองสินค้าเกษตรและอาหาร และการรับรองระบบการผลิต สามารถสรุปขัน้ ตอน การดำ�เนินการได้ ดังนี้

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

105


แผนภูมขิ นั้ ตอนการดำ�เนินการขอรับเครือ่ งหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร “Q” ขอรับ/ดาวน์โหลด รายละเอียด แบบคำ�ขอฯ จากหน่วยรับรองฯ กรอกแบบคำ�ขอฯ และเตรียมเอกสารแนบ ยื่นแบบคำ�ขอและเอกสารประกอบการพิจารณา เพื่อการตรวจสอบส่งไปหน่วยรับรอง (CB) เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องและ ตรวจสอบอื่นๆ เพื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์ การประเมิน/การทดสอบผลิตภัณฑ์ การพิจารณาอนุญาตหรือปฎิเสธ หมายเหตุ ๑. การตรวจสอบเลขรหัสมาตรฐาน การแจ้งข้อมูลการให้การรับรอง และประสานงาน ระหว่างหน่วยรับรองในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สามารถใช้งานผ่าน Website www. acfs.go.th/qsystem ถ้าเป็นหน่วยงานภายนอกติดต่อได้ตามสถานที่ติดต่อขอการรับรอง (รายละเอียดแสดงไว้ในหัวข้อสถานที่ติดต่อขอการรับรอง) ๒. หน่วยรับรองทีร่ บั ผิดชอบดูแลการรับรอง ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสตั ว์ กรมพัฒนาทีด่ นิ องค์การตลาดเพือ่ เกษตรกร และสำ�นักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ (รายละเอียดตามข้อ ๖)

106

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๖. สถานที่ติดต่อขอการรับรอง (๑) ผู้ประสงค์ขอการรับรองสินค้าเกษตรและอาหารสามารถขอทราบข้อมูลด้าน หลักเกณฑ์เงือ่ นไข หรือข่าวสารอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการให้การรับรองได้โดยตรงกับหน่วยงานที่ รับผิดชอบดูแล การให้การรับรองระบบการผลิตหรือสินค้า ตามรายละเอียด ดังต่อไปนี้ หน่วยรับรอง (CB) กรมวิชาการเกษตร กรมประมง - รับรองระบบการผลิตสัตว์น้ำ�จืด - รับรองระบบการผลิตสัตว์น�้ำ ชายฝัง่ - รับรองผลิตภัณฑ์ กรมปศุสัตว์ สำ�นักพัฒนาระบบและรับรอง มาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ - ส่วนรับรองด้านการปศุสัตว์ - ฝ่ายทะเบียนอาหารสัตว์ - โครงการเนื้อสัตว์อนามัย กรมพัฒนาที่ดิน องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร

เบอร์โทรศัพท์ ๐ ๒๕๗๙ ๖๑๓๔

WEB SITE www.doa.go.th www.fisheries.go.th ๐ ๒๕๗๙ ๘๒๐๓ www.thaiqualityshrimp.com ๐ ๒๕๖๑ ๔๖๗๙ ๐ ๒๕๕๘ ๐๑๕๐-๕ www.dld.go.th ๐ ๒๖๕๓ ๔๙๓๒ ๐ ๒๖๕๓ ๔๔๔๐ ๐ ๒๖๕๓ ๔๘๘๓ ๐ ๒๕๗๙ ๐๑๑๑ ต่อ ๓๑๒๐ ๐๒๒๗๙๒๐๘๐-๙ ต่อ ๓๐๖

www.ldd.go.th www.mof.or.th

(๒) หน่วยงาน/องค์กรทีป่ ระสงค์จะขอการรับรองการยอมรับความสามารถในฐานะ หน่วยรับรอง (CB) ติดต่อขอทราบรายละเอียดได้ที่ หน่วยรับรองระบบงาน (AB) เบอร์โทรศัพท์ WEB SITE สำ�นักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร ๐๒๕๗๙๘๓๘๔-๕ www.acfs.go.th และอาหารแห่งชาติ แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

107


๗. ข้อเสนอแนะ การขอรับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร “Q“ สำ�หรับการ รับรองการรับรองสินค้าเกษตรและอาหาร และการรับรองระบบการผลิต สามารถดูรายละเอียด ของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยรับรองใด โดยผ่าน Website www.acfs.go.th

108

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ตราสัญลักษณ์นกยูงพระราชทาน ๑. ความเป็นมาและความสำ�คัญ ผ้าไหมผืนงาม ในนามของไหมไทย ก้องไกลไปทัว่ โลก คงไม่เกินคำ�กล่าวนีเ้ พราะเสน่ห์ ไหมไทยได้ครองใจชาวโลกมานาน Thai silk กลาย เป็นส่วนหนึ่งในสัญลักษณ์ของประเทศ ในสายตาของชาวต่างชาติ และได้มีการ ส่งออกผ้าไหมไทยไปยังประเทศต่างๆ มูลค่านับ พันล้านบาท ไหมไทยยังได้ชื่อว่า The Queen of Silk. สืบเนื่องจากปัจจุบันมีผู้นำ�เข้าเส้นไหมและเส้นใยสังเคราะห์อื่นจากต่างประเทศ ทัง้ ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย เส้นไหมจึงมีทงั้ ทีไ่ ด้คณ ุ ภาพและด้อยคุณภาพ เมือ่ นำ�มาผลิตผ้า ไหม จึงทำ�ให้ผ้าไหมไทยด้อยคุณภาพลง แต่ผู้ผลิตยังคงใช้ตราสัญลักษณ์คำ�ว่า “ผ้าไหมไทย” หรือ “Thai Silk” เพื่อการค้า ทำ�ให้ผู้ซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่มั่นใจในคุณภาพ ของผ้าไหมไทยอีกต่อไป สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยและตระหนักถึงปัญหานี้ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญลักษณ์นกยูงไทย ให้เป็นเครื่องหมายรับรอง คุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย เพื่อให้มีการใช้เครื่องหมายรับรองอย่างกว้างขวางทั้งในและ ต่างประเทศ เป็นการแก้ปญ ั หาในด้านมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ผา้ ไหมไทยและการแอบอ้างนำ� คำ�ว่า “ไหมไทย (Thai Silk)” ไปใช้เพื่อการค้า อีกทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพ ๒. คำ�นิยาม/ความหมาย จากการประชุ ม โดยสถาบั น หม่ อ นไหมแห่ ง ชาติ เ ฉลิ ม พระเกี ย รติ ฯ ร่ ว มกั บ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และมูลนิธิศิลปาชีพ เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๔๕ มีมติให้มีการคุ้มครองไหมไทย ดังนั้นจึงมีการยกร่างข้อบังคับว่าด้วยการใช้ เครือ่ งหมายรับรองคุณภาพเส้น ไหมไทย โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ท�ำ การออกแบบตรา สัญลักษณ์พระราชทาน และวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ สำ�นักนายกรัฐมนตรีขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า รับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ไหมไทย มี ๔ ชนิด คือ Royal Thai Silk : นกยูง สีทอง , Classic Thai Silk : นกยูงสีเงิน , Thai Silk : นกยูงสีน้ำ�เงิน และ Thai Silk Blend : นกยูงสีเขียว โดยมีเครื่องหมายตราสัญลักษณ์พระราชทาน ดังนี้ แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

109


เครื่องหมายรับรองคุณภาพ ผ้าไหมไทย

110

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๒. ขอบข่าย ตราสัญญลักษณ์นกยูงพระราชทานทั้ง ๔ ชนิด จะปรากฎอยู่บนผืนผ้าอันงดงาม ที่มีกระบวนการผลิตแตกต่างกันทั้งชนิดของผ้าไหม การสาวไหม เส้นไหม การทอ การย้อม ตามข้อบังคับในการขอใช้เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ไหมไทย ของสถาบันหม่อนไหม แห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ สำ�นักงานปลัดกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ คุณค่าของตรานกยูง เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผ้าไหมไทย สร้างความเชื่อมั่นใน ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย ผู้บริโภคมั่นใจ ถ้าใช้ผ้าไหมที่มีตรานกยูง และอนุรักษ์ไหมไทยให้อยู่คู่ วัฒนธรรมของชาติ ๓. เกณฑ์กำ�หนด สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรมราชินนี าถ ให้การรับรองผ้าไหมไทยของผู้ผลิตผ้าไหมทั้งเกษตรกรรายย่อยและผู้ประกอบการรายใหญ่ เครือ่ งหมายรับรองตรานกยูงพระราชทานทีร่ บั รองคุณภาพผลิตภัณฑ์ไหมไทย ทัง้ ๔ ชนิด ที่พระราชทานให้ผู้ผลิต จะเน้นคุณสมบัติของวัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิตเป็นหลัก ดังนี้ ๑) Royal Thai Silk : นกยูงสีทอง เป็นผ้าไหมที่ผลิตโดยใช้เส้นไหมและวัตถุดิบ ตลอดจนกระบวนการผลิตที่เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยอย่างแท้จริง - ใช้เส้นไหมพันธ์ุไทยพื้นบ้านเป็นทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน - เส้นไหมต้องสาวด้วยมือผ่านพวงสาวลงภาชนะ - ทอด้วยกี่ทอมือแบบพื้นบ้านชนิดพุ่งกระสวยด้วยมือ - ย้อมด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม - ต้องผลิตในประเทศไทยเท่านั้น ๒) Classic Thai Silk : นกยูงสีเงิน เป็นผ้าไหมทีผ่ ลิตขึน้ โดยยังคงอนุรกั ษ์ภมู ปิ ญ ั ญา พื้นบ้านผสมผสานกับการประยุกต์ใช้เครื่องมือและกระบวนการผลิตในบางขั้นตอน - ใช้เส้นไหมพันธ์ไุ ทยพืน้ บ้านหรือพันธ์ไุ ทยปรับปรุงเป็นเส้นพุง่ และ/หรือเส้นยืน - เส้นไหมต้องสาวด้วยมือ - ทอด้วยกี่ทอมือ - ย้อมด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีที่ไม่ทำ�ลายสิ่งแวดล้อม - ต้องผลิตในประเทศไทยเท่านั้น แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

111


๓) Thai Silk : นกยูงสีน้ำ�เงิน เป็นผ้าไหมชนิดที่ผลิตด้วยภูมิปัญญาของไทยแบบ ประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีการผลิตเข้ากับสมัยนิยมและเชิงธุรกิจ ซึ่งผ้าไหมดังกล่าวมีคุณสมบัติ - ใช้เส้นไหมแท้เป็นทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน - ทอด้วยกี่แบบใดก็ได้ - ย้อมด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีก็ได้ - ต้องผลิตในประเทศไทยเท่านั้น ๔) Thai Silk Blend : นกยูงสีเขียว เป็นผ้าไหมที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตและ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ผสมผสานกับภูมิปัญญาไทยได้ลวดลายและสีสัน ที่มีการผสมผสาน ระหว่างเส้นใยไหมแท้กบั เส้นใยอืน่ ทีม่ าจากธรรมชาติ หรือเส้นใยสังเคราะห์รปู แบบต่างๆ ตาม วัตถุประสงค์การใช้งานหรือตามความต้องการของผู้บริโภค - ใช้เส้นไหมแท้เป็นส่วนประกอบหลัก มีเส้นใยอื่นเป็นส่วนประกอบรอง - ต้องระบุส่วนประกอบของเส้นใยอื่นให้ชัดเจน - ทอด้วยกี่แบบใดก็ได้ - ย้อมด้วยสีธรรมชาติ หรือสีเคมีก็ได้ - ต้องผลิตในประเทศไทยเท่านั้น ทัง้ นี้ ตราสัญลักษณ์ทงั้ ๔ ชนิด จะปรากฎอยูบ่ นผืนผ้าอันงดงามทีม่ กี ระบวนการ ผลิตที่แตกต่างกัน ทั้งชนิดของไหม การสาวไหม การทอ การย้อมและกระบวนการผลิต ตาม ข้อบังคับในการขอใช้เครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ไหมไทย ของสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สำ�นักงานปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ๕. ขั้นตอนการขอเครื่องหมายรับรอง การขอเครื่องหมายรับรองตรานกยูงพระราชทาน นั้น กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP จะต้องดำ�เนินการติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิม พระเกียรติฯ ภาค ๕ แห่ง และศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ทุกแห่งทั่วประเทศหรือศูนย์ หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ในจังหวัดเขตพื้นทีศ่ นู ย์ฯ เพือ่ ขอรับแบบฟอร์มคำ�ขอและดำ�เนิน การตามขั้นตอน ดังนี้

112

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


กรอกแบบฟอร์มยื่นคำ�ขอ พร้อมเอกสารหลักฐาน จนท. ออกใบรับรองคำ�ขอไว้เป็นหลักฐาน จนท. ตรวจสอบสถานที่ผลิตและนำ�ตัวอย่างผ้า/ ภาพถ่ายและหลักฐานเอกสารส่งส่วนกลาง สถาบันหม่อนไหมส่วนกลางตรวจสอบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ออกใบรับรอง (มีอายุ ๓ ปี) ติดตวงตา นกยูงพระราชทานริมผืนผ้า ทุกระยะ ๑ เมตร

หมายเหตุ ๑. ศูนย์ฯ จะดำ�เนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา ๓๐ วันทำ�การ ตัง้ แต่วนั รับคำ�ขอ ๒. ใบรับรองแสดงเครือ่ งหมายรับรองตรานกยูงพระราชทาน มีอายุการใช้งาน ๓ ปี ๖. สถานที่ติดต่อ ผู้ผลิตผ้าไหมไทยและผู้บริโภคที่สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ ๑. สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ โทร. ๐-๒๕๗๙ ๕๕๙๕ หรือ ๐-๒๕๗๙ ๓๑๑๘ ๒. สำ�นักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯภาค ๕ แห่ง ซึง่ ตัง้ อยูใ่ นจังหวัดกาญจนบุรี (โทร.๐-๓๔๕๕-๒๑๕๘) แพร่ (โทร. ๐-๕๔๖๑-๓๔๗๗) อุดรธานี (โทร.๐-๔๒๒๔-๑๙๘๔) นครราชสีมา (โทร. ๐-๔๔๒๑-๔๑๐๑) และจังหวัดชุมพร (โทร.๐-๗๗๖๑-๑๐๘๐)

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

113


๓. ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ทุกแห่ง ทั่วประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่(โทร.๐-๕๓๒๔-๘๐๗๖) น่าน (โทร.๐-๕๔๗๙-๘๐๘๕) แพร่ (โทร.๐-๕๔๖๑-๓๔๗๗) ตาก (โทร.๐-๕๕๕๙-๓๐๑๕) กาญจนบุรี (โทร.๐-๓๔๕๕-๒๑๕๘) ชุมพร (โทร.๐-๗๗๖๑-๑๐๘๐) นราธิวาส(โทร.๐๘-๑๕๔๗-๒๓๗๔) อุดรธานี(โทร.๐-๔๒๒๔-๑๙๘๔) หนองคาย (โทร.๐-๔๒๗๑-๑๘๐๘) เลย (โทร.๐-๔๒๘๑-๒๖๐๑) สกลนคร (โทร.๐-๔๒๘๑-๒๖๐๑) มุกดาหาร (โทร.๐-๔๓๖๑-๑๑๗๑) ร้อยเอ็ด(โทร.๐-๔๓๕๖-๙๐๐๗) ขอนแก่ น (โทร.๐-๔๓๒๕-๕๐๒๘) นครราชสีมา (โทร.๐-๔๔๒๑-๔๑๐๒-๓) ชัยภูมิ (โทร.๐-๔๔๘๑-๒๕๒๕) สุรินทร์ (โทร.๐-๔๔๕๑-๑๓๙๓) บุรีรัมย์ (โทร.๐-๔๔๖๘-๙๐๐๘) ศรีสะเกษ (โทร.๐-๔๕๖๑-๓๘๕๗) อุบลราชธานี (โทร.๐-๔๕๔๐-๕๓๐๘) และ สระบุรี (โทร.๐-๓๖๒๓-๗๒๖๖) ๗. ข้อควรรู้ ๗.๑ อัตราค่าธรรมเนียม ๑) ค่าธรรมเนียมการออกใบรับรองแสดงเครื่องหมายรับรอง ก. สำ�หรับคำ�ขอที่ผลิตผ้าไหมแต่ละชนิดไม่เกิน ๑,๐๐๐ เมตร ในเวลา ๓ ปี คิดอัตราใบรับรองละ ๕๐๐ บาท ข. สำ�หรับคำ�ขอที่ผลิตผ้าไหมแต่ละชนิดเกินกว่า ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 5๕,๐๐๐ เมตร ในเวลา ๓ ปี คิดอัตราใบรับรองละ ๑,๐๐๐ บาท ค. สำ�หรับคำ�ขอทีผ่ ลิตผ้าไหมแต่ละชนิดเกินกว่า ๕,๐๐๐ เมตรขึน้ ไป ในเวลา ๓ ปี คิดอัตราใบรับรองละ ๒,๐๐๐ บาท ๒) ค่าธรรมเนียมดวงตราสัญลักษณ์นกยูง ดวงตาละ ๕ บาท (ห้าบาทถ้วน) สำ�หรับติดบนริมผืนผ้าทุกระยะ ๑ เมตร ๗.๒ เส้นไหมทีใ่ ช้ในกระบวนการผลิตต้องเป็นเส้นไหมทีผ่ ลิตในประเทศไทยเท่านัน้

114

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

115


116

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

117


118

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

119


120

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

121


122

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

123


124

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

125


126

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

127


ระเบี ย บการดำ � เนิ น งานศู น ย์ บ ริ ก ารส่ ง เสริ ม เศรษฐกิจฐานราก ระเบียบศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยทั่วไปประกอบด้วยหมวดต่าง ๆ ดังนี้ ๑. หมวดที่ ๑ ว่าด้วยเรือ่ งความทัว่ ไป ประกอบด้วย คำ�จำ�กัดความต่าง ๆ วัตถุประสงค์ การบังคับใช้ เป็นต้น ๒. หมวดที่ ๒ ว่าด้วยเรือ่ งการประชุม กำ�หนดการประชุม วาระการประชุม เป็นต้น ๓. หมวดที่ ๓ ว่าด้วยเรื่องคณะกรรมการ ประกอบด้วย คุณสมบัติ วาระการดำ�รง ตำ�แหน่ง บทบาทหน้าที่ การสิ้นสุดวาระ เป็นต้น ๔. หมวดที่ ๔ ว่าด้วยเรื่องกิจกรรม ๕. หมวดที่ ๕ ว่าด้วยเรือ่ งการเงิน ทีม่ าของเงินทุนดำ�เนินการ การบริหาร การจัดสรร เงิน และการบัญชี เป็นต้น ๖. หมวดที่ ๖ อื่น ๆ

128

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


เค้าโครงเว็บไซต์ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานราก ชื่อเว็บไซต์ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอ.......... เนื้อหาเว็บไซต์

๑) ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลจังหวัด อำ�เภอ ประกอบด้วย - ด้านภูมิประเทศ - ด้านสังคมและวัฒนธรรม - ด้านประชากร เช่น จำ�นวน เพศ ช่วงอายุ - ด้านเศรษฐกิจ ( การประกอบอาชีพ) - ด้านสิ่งแวดล้อม - ฯลฯ ๒) ข้อมูลศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ประกอบด้วย - ข้อมูลคณะกรรมการศูนย์บริการฯ - ข้อมูลระเบียบและขั้นตอนในการให้บริการ - ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ - ข้อมูลแผน / ผลการดำ�เนินงานของศูนย์บริการฯ - ข้อมูลข่าวสารของภาครัฐ / เอกชน - ข้อมูล เมนูอาชีพต่างๆ - ข้อมูล ช่องทางการผลิตและการตลาด - ข้อมูลสถานการณ์ / แนวโน้ม / อุปสรรคในการประกอบอาชีพ - ข้อมูลด้านการผลิต / การลดต้นทุน - ข้อมูลทะเบียนผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ - แผนผังชี้เป้าสถานที่สำ�คัญต่างๆ - ข้อมูลด้านงบประมาณ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

129


- ข้อมูลทรัพยากร, ปราชญ์ชาวบ้าน,แหล่งท่องเที่ยว - ข้อมูลแหล่งเงินทุน เช่น ธนาคาร, สถาบันการเงิน กทบ., กข.คจ., กลุ่มออม ทรัพย์ฯ ฯลฯ - ข้อมูลเครือข่ายการพัฒนา เช่น กลุ่ม องค์กร หน่วยงานทั้ง ภาครัฐและ เอกชน,ฯลฯ - ข้อมูลหลักเกณฑ์การขอมาตรฐานต่าง ๆ เช่นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ๓) ข้อมูลกิจกรรมด้านเศรษฐกิจฐานราก ประกอบด้วย - การลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP - การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย - KBO - OVC - คลังภูมิปัญญา OTOP ...............................................................................

130

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ภาคผนวก ข - ตัวอย่างการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก - ฟอร์มแผนการให้บริการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก - แบบประเมินความพึงพอใจศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก - สัญลักษณ์ประเมินความพึงพอใจ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

131


จังหวัดสงขลา ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอหาดใหญ่ อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

“ ชมทางปักษ์ ใต้ หลากหลายเศรฐษกิจ ชีวิตอุดม รื่นรมย์ธรรมชาติ ชายหาดแหลมโพธิ์ ส้มโอสีชมพู คู่คลองอู่ตะเภา ขุนเขาโตนงาช้าง ” ข้อมูลทั่วไป

“หาดใหญ่” เป็นอำ�เภอขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางทางเศรฐษกิจที่สำ�คัญของ ภาคใต้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดสงขลา ระยะทางห่างจากตัวเมืองสงขลา ๓๐ กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามเส้นทางรถไฟ ประมาณ ๙๗๔ กิโลเมตรและทาง รถยนต์ ประมาณ ๙๙๓ กิโลเมตรลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีแนวภูเขาทาง ทิศตะวันตก ทิศใต้และทิศตะวันออก โดยพื้นที่ลาดจากทิศใต้และทิศตะวันตกไปสู่ทะเลสาบ สงขลา **วิสัยทัศน์ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอหาดใหญ่** “ บริการข้อมูลทันสมัย ส่งเสริมเศรฐษกิจชุมชนครบถ้วน ภายใต้ปราชญาเศรฐษกิจพอเพียง มุ่งสู่การเป็นชุมชนเข้มแข็งยั่งยืน ”

การก่อเกิดของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอหาดใหญ่

จังหวัดสงขลา ได้ดำ�เนินการจัดตั้งเครือข่ายศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ในระดับจังหวัดขึน้ โดยเน้นส่งเสริมสนับสนุนให้การพัฒนาเศรฐษกิจชุมชนให้มคี วามก้าวหน้า อย่างมีประสิทธิภาพ ทำ�ให้เกิดการบูรณาการทางด้านเศรฐษกิจ รวมทั้งเป็นการส่งเสริม กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคน พร้อมทั้งสร้างอาชีพที่หลากหลาย เป็นการสร้างภาคีความ ร่วมมือในลักษณะพหุภาคีมากยิง่ ขึน้ ส่งผลให้เกิดศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สำ�หรับ สมาชิกขององค์กรในระบบเครือข่ายระดับอำ�เภอทุกอำ�เภอท่ามกลางความร่วมมือจากภาคี ทุก ภาคส่วนของจังหวัดสงขลาและทีอ่ �ำ เภอหาดใหญ่ เป็นหนึง่ ในสิบหกอำ�เภอของจังหวัดที่ “ ศูนย์ บริการส่งเสริมเศรฐษกิจฐานรากอำ�เภอหาดใหญ่ ” เกิดขึ้นได้ตามใจปรารถนา โดยชาวบ้าน

132

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


อำ�เภอหาดใหญ่ นำ�โดยพัฒนาการอำ�เภอ ผู้นำ�ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และกลุ่มอาชีพตลอด จนกลุ่มทุนต่าง ๆ อำ�เภอหาดใหญ่ โดยสำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอ เตรียมการก่อเกิดด้วยการเตรี ยมความพร้อมเอกสารวิชาการ วิทยากร และวัสดุอุปกรณ์ สำ�หรับการระดมพลังทรัพยากรที่ มีอยูใ่ นอำ�เภอเพือ่ นำ�มารวมพลัง เป็นขุมทรัพย์ส�ำ หรับใช้ประโยชน์ในการก่อเกิดให้คงอยูอ่ ย่าง มีคุณค่า ซึ่งเป็นการตรียมความพร้อม “ ตนเอง ” ต่อไปเป็นการเตรียมความพร้อมภาคี โดยการแจ้งภาคีเป้าหมาย ได้แก่ สมาชิกกลุม่ อาชีพ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตผู้นำ�ชุมชน ปราชญ์ชาว บ้าน รวมนับได้ ๓๐ คน เพื่อบอกกล่าวว่า จะเชิญชวนให้มาช่วยกันคิด ช่วยการตัดสินใจ และ ช่วยกันทำ�ประโยชน์แก่ชาวอำ�เภอหาดใหญ่ ดังนี้

กิจกรรมในการประชุมเชิงปฎิบตั กิ ารระดับอำ�เภอ ระยะการดำ�เนินการ ๒ วัน มีดงั้ นี้ วันที่ ๑ ค้นหาความต้องการทางด้านเศรษฐกิจอำ�เภอ โดยกำ�หนดประเด็นเกี่ยวกับ - บรรยายนโยบายรัฐบาลกับการขับเคลื่อนเศรฐษกิจชุมชน ( OTOP/กองทุน หมู่บ้าน/SML ฯลฯ ) - สถานการเศรษฐกิจของอำ�เภอ ( ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสังคม การเมือง โดยวิธีการแบ่งกลุ่มย่อยและนำ�เสนอกลุ่มใหญ่ ) - วิเคราะห์ข้อมูลและศักยภาพเศรฐษกิจของอำ�เภอ ( วิเคราะห์แหล่งทุน สินค้า/ บริการ และผลผลิต วิเคราะห์การตลาด วิเคราะห์รายได้ โดยแบ่งกลุม่ ย่อยตามประเด็นเนือ้ หา และตัวแทนนำ�เสนอกลุ่มใหญ่ ) - ค้นหาความต้องการด้านเศรฐษกิจอำ�เภอ ( ความต้องการทุน ความต้องการ พัฒนาสินค้า/บริการและผลผลิต ความต้องการด้านตลาด ความต้องการด้านเพิ่มรายได้ โดย วิธีแบ่งกลุ่มย่อย นำ�เสนอกลุ่มใหญ่ วันที่ ๒ กำ�หนดทิศทางการส่งเสริม พัฒนา และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอำ�เภอ ( การ กำ�หนดจุดขายด้านเศรฐษกิจ กำ�หนดอัตลักษญ์ การกำ�หนดวิสยั ทัศน์การดำ�เนินงานเศรฐษกิจ โดยวิธีการแบ่งกลุ่มย่อย นำ�เสนอกลุ่มใหญ่ )

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

133


- - - -

องค์ประกอบและรูปแบบของศูนย์บริการส่งเสริมเศรฐษกิจฐานราก การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ จัดทำ�แผนปฎิบัติการ ( แผนการจัดตั้งศูนย์ ฯ เพื่อขับเคลื่อนศูนย์บริการ ฯ ) บรรยายสรุปผลการจัดเวที ประเมินผล มอบภารกิจ

สิ่งที่ช่วยกันค้นหา

๑. วิเคราะห์แหล่งทุน ๑.๑ แหล่งทุนจากการลงทุนของชุมชน ได้แก่ กลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ การผลิต และ กลุ่มสัจจะวันละบาท ๑.๒ แหล่งทุนจากภาครัฐ ได้แก่ กองทุนหมู่บ้าน งบกระตุ้นเศรษฐกิจหมู่บ้าน ละ ๑ ล้านบาท โครงการ กข.คจ. โครงการ SME โครงการอยู่ดีมีสุข โครงการ พพพ. ๑.๓ แหล่งทุนจากภาคเอชน ได้แก่ กลุ่มผลิตน้ำ�ดื่ม กลุ่มข้าวสารกลุ่มทำ�ปุ๋ย ชีวภาพ ธนาคาร/สหกรณ์ กลุ่มรับซื้อยางพาราสด ๒. วิเคราะห์สนิ ค้า / บริการ / ผลผลิต ได้ ๑๗ ประเภท ได้แก่ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ จากใบยางพารา น้ำ�ดื่ม ( โรงงานผลิตน้ำ�ดื่ม ) เครื่องแกงสำ�เร็จรูป น้ำ�พริกสำ�เร็จรูป ขนมทองม้วน / ขนมทองพับ น้ำ�ยาล้างจาน / น้ำ�ยาเอนกประสงค์ ปุ๋ยชีวภาพ ข้าว ( ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ) สัตว์เลี้ยง ( วัว สุกร เป็ด ไก่ ) ตัดเย็บเสื้อผ้าสำ�เร็จรูป บริการผูกผ้างานพิธี ดอกไม้จันทน์ ผลิตภัณฑ์จากเปลือกมะพร้าว ผลผลิตจากการประมง ( กุ้ง หอย ปู ปลา ปลาเค็ม กุ้งแห้ง ) ผลผลิตทางการเกษตร ( ผักสวนครัว กุ้ยฉ้าย ถั่วฝักยาว แตงกาว อ้อย สะตอ / สะตอดอง ส้มโอ ลองกอง แก้วมงกร ฯลฯ ) ๓. วิเคราะห์การตลาด ทั้งภายในและภายนอนชุมชนได้ ๗ แหล่ง ได้แก่ ขายเอง ในชุมชน ร้านค้าชุมชน ตลาดนัดหมู่บ้าน ขายปลีก ขายส่ง ตามร้านของชำ� ทางอินเตอร์เน็ต / โทรศัพท์ ติดป้ายโฆษณา และออกร้าน OTOP ภายในจังหวัด ต่างจัวหวัด และต่างประเทศ ๔. วิเคราะห์รายได้ ของคนในชุมชนมีรายได้มาจาก ๙ แหล่ง ได้แก่รายได้จากการ จำ�หน่ายสินค้า OTOP จากผลผลิตทางการเกษตร จากการประมงจากอาชีพเสริม จากการ ค้าขายของชำ� จากรัฐบาลสบันสนุน จากสัตว์เลี้ยง จากอาชีพรับจ้างส่วนบุคคล ( รับเหมา ก่อสร้าง / รับเหมาต่าง ๆ ) รายได้จากอาชีพรับจ้าง ( ในโรงงาน / บริษัท / ห้างร้านต่าง ๆ ) ๕. ค้นหาจุดขาย อัตลัษณ์ และความต้องการของอำ�เภอหาดใหญ่

134

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


สรุปความต้องการทางด้านเศรษฐกิจของอำ�เภอหาดใหญ่ ด้านแหล่งทุน - ต้องการขอรับการสนับสนุนแหล่งทุนจากองค์กรปกครองท้องถิน่ ในการสนับสนุน กิจกรรมด้านเศรษฐกิจชุมชน เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ - ต้องการให้กองทุนต่าง ๆ ในชุมชนมีการพัฒนาด้านศักยภาพคณะกรรรมการฯ - ต้องการความช่วยเหลือ / สนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน - การบริหารจัดการทุนให้เป็นระบบ ด้านการผลิต - ต้องการมีจดุ รวมผลผลิตทางการเกษตรในชุมชน เพือ่ เป็นสถานทีส่ �ำ หรับจำ�หน่าย ผลผลิต - ต้องการรวมสินค้าจากการทำ�ประมง ให้มีจุดรวมจำ�หน่ายสินค้า - ต้องการให้ส่งเสริมการรวมกลุ่มผลิตสินค้าที่สามารถลดร่ายจ่ายได้ เช่นทำ�น้ำ�ยา ล้างจาน น้ำ�ยาปรับผ้านุ่ม สบู่ แชมพู ฯลฯ เพื่อจำ�หน่ายหรือแลกเปลี่ยนในชุมชน - ต้องการพัฒนาสินค้า / ผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ( อย. / มผช. / ฮาลาล ) - ต้องการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ - ต้องการให้มีการส่งเสริมการผลิตแบบครบวงจร ด้านการตลาด - ต้องการผลิตและจำ�หน่ายสินค้าทีม่ คี ณ ุ ภาพ ราคาทีเ่ หมาะสม เพือ่ ให้คนในชุมชน มีความต้องการที่จะซื้อสินค้านั้น - ต้องการมีร้านค้าชุมชน ตลาดนัดชุมชน / หมู่บ้าน เพื่อจำ�หน่ายสินค้าอุปโภค / บริโภค หรือ จำ�หน่ายวัสดุ อุปกรณ์ทางด้านการผลิตและสินค้าจากชุมชน - ต้องการให้มีศูนย์รวมและจำ�หน่ายผลผลิต / ผลิตภัณฑ์ OTOP ของอำ�เภอ ด้านการเพิ่มรายได้ - ต้องการให้ส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อกิน ขาย หรือ แลกเปลี่ยน - ต้องการให้มีการส่งเสริมการแปรรูปทางการเกษตร / อาหารทะเล เพื่อกินขาย หรือแลกเปลี่ยน - ต้องการให้มีการส่งเสริมการออมเพื่อการผลิต

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

135


ด้านการบริหารจัดการ - ให้มีคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก - ให้จัดทำ�ฐานข้อมูลกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจฐานรากทุกหมู่บ้านในอำ�เภอ - ต้องการให้มีสื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของศูนย์ ฯ จุดขายด้านเศรฐษกิจชุมชนของอำ�เภอหาดใหญ่ - ตลาดน้ำ�คลองแห - ตลาดนัดในชุมชน / หมู่บ้าน - สินค้าจากทะเล / ด้านการเกษตร - ความเป็นเมืองธุรกิจ / ท่องเที่ยว - ผลผลิตทางการเกษตร - สินค้า OTOP อัตลักษณ์ด้านเศรษฐกิจชุมชนของอำ�เภอหาดใหญ่ - ความเป็นเมืองธุรกิจ - ผลผลิตทางการเกษตร - สินค้า OTOP สิ่งที่จะร่วมกันทำ� รูปแบบและบทบาทภารกิจของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก - สถานที่ตั้งศูนย์ ฯ ณ สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอหาดใหญ่ - มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ ประกอบด้วย ผู้แทนเครือข่าย OTOP ผู้นำ�ชุมชน ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และหน่วยงาน ( ภาครัฐ / เอกชน ) บทบาทภารกิจของศูนย์ - เป็นศูนย์กลางการให้ค�ำ ปรึกษาแนะนำ� และให้บริการทางวิชาการข้อมูล ข่าวสาร ความรูด้ า้ นการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาแหล่งทุน เพือ่ สร้างงาน สร้างอาชีพ และ สร้างรายได้แก่ชุมชน - เป็นศูนย์กลางการแลกเปลีย่ นเรียนรูแ้ ละพัฒนาศักยภาพ ด้านการผลิตการตลาด การบริหารจัดการทุน รวมทัง้ การพัฒนาอาชีพและรายได้ ระหว่างครัวเรือน กลุม่ องค์กร เครือข่าย และชุมชนในระดับอำ�เภอ - เป็นศูนย์กลางประสานกิจกรรมด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ศูนย์กลางจัดการ ความรู้ด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรฐษกิจชุมชน ในระดับอำ�เภอโดยเชื่อมโยงความรู้และ กิจกรรมกับศูนย์เรียนรู้ชุมชนทุกระดับ

136

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


รูปแบบการให้บริการ - ให้บริการ ณ จุดที่ตั้งศูนย์ ฯ คือ สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอ - ให้บริการโดยจัดกิจกรรมเคลือ่ นทีต่ ามความต้องการของชุมชน หรือ ตามสถานการณ์ เร่งด่วน เช่น กิจกรรมจังหวัดเคลื่อนที่ / อำ�เภอเคลื่อนที่ ผู้ให้บริการในศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก - ผู้แทนเครือข่าย OTOP และเครือข่ายอื่น ๆ - เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนทุกคน - ผู้ที่คณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ มอบหมาย กำ�หนดเป้าหมายการดำ�เนินงานของศูนย์ - จัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก จำ�นวน ๑ ศูนย์ - มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ ฯ อย่างชัดเจน - มีข้อมูลเศรษฐกิจชุมชนครบถ้วน - เป็นแหล่งเรียนรูใ้ นด้านเศรษฐกิจชุมชน และสามนรถเชือ่ มโยงศูนย์เรียนรูท้ กุ ระดับ - พัฒนากลุ่มองค์กรให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ - ดำ�เนินการตามแผนปฎิบัติการ ฯ ผู้ที่ร่วมรับผิดชอบและให้บริการ โครงสร้างคณะกรรมการศูนย์บริการส่งเสริมเศรฐษกิจชุมชนครบวงจรอำ�เภอหาดใหญ่ ๑. นายไพโรจน์ อ่อนเรือง ประธาน ๒. นายชาญวิทย์ ดารามิตร รองประธาน / ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ๓. นางสุพร เถกประสิทธิ์ ฝ่ายแหล่งทุน ๔. นางอัมพร กล้าหาญ ผู้ช่วยฝ่ายแหล่งทุน ๕. นางชวน สุราตะโก ฝ่ายการตลาด ๖. นายเผิน ศีรสุวรรณ ฝ่ายเศรษฐกิจพอเพียง ๗. นายเพรียร นิลรัตร์ ผู้ช่วยฝ่ายเศรษฐกิจพอเพียง ๘. นายประสิทธิ์ รุ่งเรือง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ๙. นางผ่องจิตร เครือทอง ฝ่ายทะเบียน ๑๐. นางดาราทิพย์ คงทอง ผู้ช่วยฝ่ายทะเบียน ๑๑. นางสุรีย์ มงคลนิสภกุล เลขานุการ/ผู้ช่วยฝ่ายประชาสัมพันธ์

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

137


๑๒. นายทุ่ม พัชณี กรรมการ ๑๓. นางสาวสมจิตร อัมโร กรรมการ ๑๔. นางกิ้มเตี้ยน ไชยกูล กรรมการ ๑๕. นายกอดาหลี บินหำ�หมัด กรรมการ ๑๖. นางรสสุคนธื จิตรณรงค์ กรรรมการ ๑๗. นายห้าสัน บิลหมัด กรรมการ ๑๘. พัฒนาการอำ�เภอหาดใหญ่ กรรมการ ๑๙. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนรับผิดชอบงานหนึ่งตำ�บล หนึ่งผลิตภัณฑ์ กรรมการ ๒๐. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนรับผิดชอบงาน กข.คจ. / กทบ. กรรมการ ๒๑. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนรับผิดชอบงานกลุ่มออมทรัพย์ ฯ กรรมการ ที่ปรึกษา ๑. นายอำ�เภอหาดใหญ่ ๒. ผู้จัดการธนาคราออมสิน สาขาหาดใหญ่ ๓. ผู้จัดการธนาคาร ธกส. สาขาหาดใหญ่ การให้บริการศูนย์ - ณ จุดที่ตั้งศูนย์ ฯ ซึ่งใช้สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอหาดใหญ่ สำ�หรับบริการ ข้อมูลผู้มาติดต่อทั้งข้อมูลที่เป็นเอกสาร และทางเว็บไซต์ การให้คำ�แนะนำ� ปรึกษา - ศูนย์บริการเคลื่อนที่ ( งบประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาท ) ดำ�เนินการ ๔ จุด โดยการ - ดำ�เนินการประชาสัมพันธ์ศูนย์ ฯ โดยใช้ไวนิล เอกสารแผ่นพับ - เชิญวิทยากรให้ความรู้ด้านแหล่งทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สาธิตการทำ�น้ำ�ยา เอนกประสงค์ จุดที่ ๑ ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านพรุ มีผู้เข้าร่วมครอบคลุม ๓ ตำ�บล คือ ตำ�บล บ้านพรุ ตำ�บลพะตง และตำ�บลคอหงส์ จุดที่ ๒ ณ สนามหน้าองค์การบริหารส่วนตำ�บลทุ่งตำ�เสา มีผู้เข้าร่วมครอบคลุม ๓ ตำ�บล คือ ตำ�บลทุ่งตำ�เสา ตำ�บลฉลุง และตำ�บลควนลัง จุดที่ ๓ ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำ�บลคูเต่า มีผู้เข้าร่วมครอบคลุม ๓ ตำ�บล คือ ตำ�บลคูเต่า ตำ�บลคลองแห และตำ�บลคลองอู่ตะเภา

138

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


จุดที่ ๔ ณ ที่ทำ�การกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อการผลิตบ้านานายด่าน ตำ�บลทุ่งใหญ่ มีผู้เข้าร่วมครอบคลุม ๓ ตำ�บล คือ ตำ�บลทุ่งใหญ่ ตำ�บลท่าข้ามและตำ�บลน้ำ�น้อย นอกจากศูนย์ ฯ อำ�เภอหาดใหญ่ จะให้บริการเคลื่อนที่ ๔ จุด ดังกล่าวแล้ว ศูนย์ ฯ ยังให้บริการในงานจังหวัดเคลื่อนที่ ณ ตำ�บลท่าข้าม อำ�เภอหาดใหญ่ ซึ่งได้รับการสนับสนุน และเชือ่ มโยงกิจกรรมกับเครือข่ายศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก จังหวัดสงขลาอีกด้วย การประชาสัมพันธ์ - ไวนิล โฆษณา ประชาสัมพันธ์ตามอำ�เภอเคลื่อนที่ และติดตั้งให้เหมาะสม - แผ่นพับประชาสัมพันธ์ภารกิจและการให้บริการศูนย์ ฯ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

139


จังหวัดอ่างทอง ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอวิเศษชัยชาญ ข้อมูลทั่วไปจังหวัดอ่างทอง คำ�ขวัญ “พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ ใหญ่ ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำ�กลอง เมืองสองพระนอน” จังหวัดอ่างทองเป็นจังหวัดเล็ก ๆ ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางตอนล่าง มีเนื้อที่ ๖๙๘ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ไม่มีป่าไม้และภูเขา มีแม่น้ำ�สายสำ�คัญไหล ผ่านสองสาย คือ แม่น�้ำ น้อยและแม่น�้ำ เจ้าพระยา จึงทำ�ให้จงั หวัดอ่างทองอุดมสมบูรณ์สามารถ ทำ�การเกษตรได้ตลอดปี อาชีพหลัก ได้แก่ ทำ�นา ทำ�สวน การปลูกพืชผักสวนครัว ฯลฯ จังหวัดอ่างทองเป็นจังหวัดซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วย งานหัตถกรรมท้องถิ่น ไม่ว่าจะ เป็นงานตุ๊กตาชาววัง การทำ�กลอง การทำ�อิฐดินแดง การผลิตเครื่องจักสาน อีกทั้งยังเป็น แหล่งกำ�เนิดเพลงพื้นบ้านลิเก เป็นจังหวัดบ้านเกิดของนายดอก นายทองแก้ว วีรชนคนกล้า ในศึกบางระจัน นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยวัดที่มีความสะอาดสวยงามและมีจุดเด่นที่น่าสนใจ มากมายกว่า ๒๐๐ วัด อันเป็นสถานที่ที่น่าศึกษาประวัติศาสตร์และเรื่องราวความเป็นมาใน อดีตของชาติ อำ�เภอวิเศษชัยชาญ เป็นอำ�เภอหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของ จังหวัดอ่างทองมีเนือ้ ทีป่ ระมาณ ๒๒๔.๗ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๑๔๐,๔๓๙ ไร่ มีระยะ ห่างจากจังหวัดอ่างทอง ประมาณ ๑๓ กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๕ ตำ�บล ๑๒๖ หมู่บ้าน มีเทศบาลตำ�บล ๔ แห่ง และองค์การบริหารตำ�บล ๑๒ แห่ง

140

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ทรัพยากรธรรมชาติ : แหล่งน้ำ�ที่สำ�คัญได้แก่ แม่น้ำ�น้อยและคลองขุน เศรษฐกิจ : อาชีพหลัก ได้แก่ ทำ�นา ทำ�สวน ผลผลิตทางการเกษตรที่สำ�คัญ คือข้าว มะม่วง และผักสวนครัว สำ�หรับอาชีพเสริม ได้แก่ การเลี้ยงสัตว์ และหัตถกรรมจักสาน

สถานที่ท่องเที่ยว :

- วัดเขียนเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งอยู่ที่หมู่ที่ 8 ตำ�บลศาลเจ้าโรงทอง ห่างจากตัว จังหวัด ๑๒ กิโลเมตร ภายในอุโบสถมีภาพเขียนฝาผนังที่งดงาม สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่าง สกุลเมืองวิเศษชัยชาญ สมัยอยุธยาตอนปลาย ลักษณะภาพคล้ายกับภาพเขียนที่พระอุโบสถ วัดเกาะและวัดใหญ่สุวรรณราม จังหวัดเพรชบุรี ซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกัน - วัดม่วงตัง้ อยูท่ หี่ มู่ ๖ ตำ�บลหัวตะพาน ระยะทางจากตัวจังหวัดถึงวัดม่วงประมาณ ๘ กิโลเมตร ใช้เส้นทางสายอูท่ อง – สุพรรณบุรี วัดจะอยูท่ างซ้ายมือมีพระอุโบสถล้อมรอบกลีบ บัวที่ใหญ่ที่สุดในโลก ภายในมีรูปปั้นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง มีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ มีรูปปั้นแสดงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับสงครามไทย พม่า ที่เมืองวิเศษชัยชาญ และสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ของดีเมืองอ่างทองได้ด้วย - อนุสาวรียน์ ายดอกนายทองแก้ว ประดิษฐานอยูท่ หี่ น้าโรงเรียนวิเศษชัยชาญ หมูที่ ๒ ตำ�บลไผ่จ�ำ ศีล ระหว่างกิโลเมตรที่ ๒๖ -๒๗ ตามเส้นทางสายศีรประจันต์ – วิเศษชัยชาญ เป็น อนุสรณ์สถานทีช่ าววิเศษชัยชาญและชาวอ่างทองร่วมกันสร้างเพือ่ รำ�ลึกถึงคุณงามความดีของ วีระบุรษุ แห่งบ้านโพธิท์ ะเลทัง้ สองท่านทีไ่ ด้สละชีวติ เป็นชาติพลีเพือ่ สูร้ บกับพม่าทีค่ า่ ยบางระจัน อย่างกล้าหาญ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๙ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จ พระราชดำ�เนินทรงเปิดอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ - โฮมสเตย์บ้านม่วงเตี้ย เลขที่ ๔๕ หมู่ที่ ๙ ตำ�บลม่วงเตี้ย มีกิจกรรมขี่จักรยาน สีข้าว ฝึกทำ�ปุ๋ยชีวภาพ ตกปลา และชมโบราณสถาน - โฮมสเตย์ชมรมเพือ่ นเกษตร ศูนย์การเรียนรูต้ �ำ บลไผ่จ�ำ ศีล หมูท่ ี่ ๖ ตำ�บลไผ่จ�ำ ศีล

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

141


การก่อเกิดศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอวิเศษชัยชาญ

ขั้นตอนและกระบวนการการจัดตั้งศูนย์ ฯ ๑. คัดเลือกบุคคลเป้าหมายเข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบตั กิ ารตามโครงการ โดยคัดเลือก จากตัวแทนด้านองค์กรทางเศรษฐกิจ จำ�นวน ๓๐ คน ประกอบด้วย กลุม่ ผูผ้ ลิต/กลุม่ ผูป้ ระกอบ การ OTOP กลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ การผลิตผูน้ �ำ ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน/ผูท้ รงคุณวุฒแิ ละภาคีการ พัฒนา ซึ่งนอกจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนแล้วยังมีเจ้าหน้าที่เกษตรและสาธารณสุขอีกด้วย ๒. กำ�หนดวัน เวลา สถานที่ ในการจัดประชุมเชิงปฎิบัติการ ซึ่งกำ�หนดเป็นวันที่ ๑๘ - ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์รวบรวมข่าวสารการจัดซือ้ /จัดจ้างทีว่ า่ การอำ�เภอวิเศษชัยชาญ ๓. กำ�หนดหลักสูตร/วิชาการ/ผู้รับผิดชอบ/เอกสารประกอบการประชุม ๔. จัดเก็บข้อมูลด้านเศรฐษกิจของหมู่บ้านเพื่อประกอบการประชุม ๕. จัดประชุมเชิงปฎิบัติการในระดับอำ�เภอ จำ�นวน ๒ วัน โดย ๕.๑ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ ๕.๒ ให้ความรูท้ างวิชาการประกอบด้วย การส่งเสริมเศรฐษกิจชุมชนระดับอำ�เภอ การค้นหาความต้องการและจุดขายทางเศรฐษกิจของอำ�เภอและแนวทางการจัดตัง้ ศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ๕.๓ แบ่งกลุ่มเพื่อระดมความคิด ประกอบด้วยการวิเคราะห์สถาณ์การด้าน เศรฐษกิจของอำ�เภอกำ�หนดรูปแบบศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก การเลือกตั้ง คณะกรรรมการศูนย์ฯ และการจัดทำ�แผนปฎิบัติการศุนย์ ๕.๔ คัดเลือกสถานที่ตั้งศูนย์และคณกรรมการศูนย์ ๖. จัดทำ�คู่มือ/แนวทางการจัดตั้งและการให้บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของ อำ�เภอ สถานที่ตั้งศูนย์ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอวิเศษชัยชาญ ตั้งอยู่ที่สำ�นักงานพัฒนา ชุมชนอำ�เภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สำ�หรับการประสานงานกลุม่ เศรฐษกิจชุมชนใช้ศนู ย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก อำ�เภอเป็นแม่ข่ายในการดำ�เนินงาน

142

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ผลการวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพด้านเศรษฐกิจของอำ�เภอวิเศษชัยชาญ จุดแข็ง

จุดอ่อน

๑. มีแห่ลงท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม/ หัตถกรรม ( วัด/ตลาด/หมู่บ้าน OTOP) ๒. มีหน่วยงานในพื้นที่ ( อปท./เกษตร/ สาธารณสุข/พช./กศน. ) ๓. มีปราชญ์ชาวบ้าน/ผู้ทรงคุณวุฒิด้าน เศรษฐกิจ สังคม อาชีพ สิ่งแวดล้อม ๔. มีผลิตภัณฑ์ OTOP ๕. มีกลุ่มอออมทรัพย์เพื่อการผลิต ๖. มีกองทุนหมู่บ้าน ๗. มีโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน โอกาส

๑. ไม่มีศูนย์รวมข้อมูลด้านเศรฐษกิจ ๒. ขาดความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ๓. ไม่มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญษท้องถิ่น ๔. ขาดตลาดในการจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ ๕. ไม่มีแหล่งเรียนรู้ด้านเศรฐษกิจ ๖. แหล่งงบประมาณไม่เพียงพอ ๗. ขาดความรู้ด้านอาชีพ

๑. มีห่นวยงานให้การสนับสนุน ๒. มีธนาคารพาณิชย์ ๓. มีงบประมาณตามยุทธศาสตร์จังหวัด ๔. กองทุนหมู่บ้าน ๕. โครงการ SME

๑. ปัจจัยการผลิตราคาสูง ๒. ผลิตราคาตกต่ำ� ๓. การแข่งขันด้านตลาดสูง

อุปสรรค

ประเด็นปัญหาความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจของอำ�เภอวิเศษชัยชาญ

จากการวิเคราะห์ด้านศักยภาพทางเศรษฐกิจของอำ�เภอ จากข้อมูลที่สำ�รวจจาก หมู่บ้านและจากเวทีการประชุมเชิงปฎิบัติการ สุรปประเด็นปัญหาและความต้องการในการ พัฒนาเศรษฐกิจของอำ�เภอวิเศษชัยชาญ เรียงตามลำ�ดับดังต่อไปนี้ ๑. การจัดทำ�ศูนย์ขอ้ มูลเศรษฐกิจชุมชนระดับอำ�เภอและแผนทีเ่ ชือ่ มโยงกลุม่ อาชีพ ๒. การสำ�รวจและกำ�หนดจุดสาธิตอาชีพและจุดศึกษาดูงานในพื้นที่อำ�เภอ ๓. กำ�หนดบทบาทหน้าที่คณะกรรมการให้มีความชัดเจนเพื่อนเป็นแนวทางในการ ปฎิบัติงาน

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

143


๔. จัดหาแหล่งจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ ๕. จัดหาแหล่งเงินทุน ( ระดมหุ้น/เงินออม ) ๖. ส่งเสริมการฝึกอาชีพในชุมชน ๗. สนันสนุนแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มเติม ๘. จัดตั้งร้านค้าชุมชน/แหล่งรวมผลิตภัณฑ์ชุมชน ๙. อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ๑๐.ส่งเสริมการปลูกสมุนไพร ๑๑.จัดตั้งโรงสีชุมชน ๑๒.จัดสวัสดิการให้สมาชิก ( เงินกู้ปลอดดอกเบี้ย/ฌาปนกิจ )

จุดขายของอำ�เภอวิเศษชัยชาญ

๑. สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ : โฮมสเตย์ชมรมเพื่อนเกษตร ศูนย์การเรียนรู้ตำ�บลไผ่จำ�ศีล ตำ�บลไผ่จำ�ศีล : โฮมสเตย์บา้ นม่วงเตีย้ เลขที่ ๔๕ หมูท่ ี่ ๙ ตำ�บลม่วงเตีย้ มีกจิ กรรมขีจ่ กั รยาน สีข้าวฝึกทำ�ปุ๋ยชีวภาพ ตกปลา และชมโบราณสถาน ๒. แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ได้แก่วัดเขียน วัดม่วง วัดไชโยวรวิหาร อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้ว ๓. หัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ จักสานผักตบชวาและตุ๊กตาชาววัง ๔. ของฝากจากอำ�เภอวิเศษชัยชาญ ได้แก่ ขนมก ขนมไทย ขนมเกสรลำ�เจียก

แผนการพัฒนาสนับสนุนศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร

อำ�เภอกำ�หนดแผนงาน/โครงการการพัฒนา สนับสนุนศูนย์บริการส่งเสริมเศรฐษกิจ ชุมชนครบวงจรระดับอำ�เภอ ตามประเด็นปัญหาความต้องการ เป็น ๒ ด้าน ดังนี้ ๑. ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของอำ�เภอ ๑) การจัดข้อมูลศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนระดับอำ�เภอ ๒) การจัดทำ�แผนเชื่อมโยงกล่มอาชีพของอำ�เภอ ๓) การสำ�รวจและกำ�หนดจุดสาธิตอาชีพและจุดศึกษาดูงานในพื้นที่ ๔) กำ�หนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการศูนย์ให้ชัดเจน

144

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๕) จัดหาแหล่งจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ ๖) ส่งเสริมการฝึกอาชีพในชุมชน ๗) สนับสนุนแหล่งท่องเที่ยว ๒. ด้านการส่งเสริม สนับสนุนกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน ๑) จัดหาแหล่งทุน ๒) จัดตั้งร้านค้าชุมชน/แหล่งรวมผลิตภัณฑ์ชุมชน ๓) อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ๔) ส่งเสริมการปลูกสมุนไพร ๕) จัดตั้งโรงสีชุมชน ๖) จัดสวัสดิการให้สมาชิก ( เงินกู้ปลอดดอกเบี้ย/ฌาปนกิจ )

คณะกรรรมการบริหารศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอวิเศษชัยชาญ

คณะกรรรมการบริหารศูนย์ฯ ประกอบด้วยกกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น ประธานมาจาก กลุม่ พัฒนาอาชีพวีรไท รองประธานฯ มาจากผูน้ �ำ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ส่วนคณะกรรมการอืน่ ๆ มาจากกลุม่ ผูผ้ ลิต ผูป้ ระกอบการหนึง่ ตำ�บล หนึง่ ผลิตภัณฑ์ ( OTOP ) ของอำ�เภอวิเศษชัยชาญ ดั้งนี้ ๑. นางบุญล้อม อยู่รับสุข ประธาน ๒. นายฉลอง คล้ายสังวาลย์ รองประทาน ๓. นางสาวฐิติพัชร์ รวยทรัพย์ เหรัญญิก ๔. นางจิรานุช เทียนประทีป เลขานุการ ๕. นางสาวธิดา นาคประดิษฐ์ ประชาสัมพันธ์ ๖. นางสมศิริ ประทุมหวล ปฎิคม ๗. นายเกษม จาบวิจิตร กรรมการ ๘. นายวิมล พวงบุบผา กรรมการ ๙. นายไพบูลย์ กลิ่นแก้ กรรมการ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

145


รูปแบบการให้บริการ

การให้ บ ริ ก ารภายในศู น ย์ ฯ : ศู น ย์ บ ริ ก ารส่ ง เสริ ม เศรษฐกิ จ ฐารากอำ � เภอ วิเศษชัยชาญ ให้บริการข้อมูล คำ�แนะนำ� ปรึกษา ซึ่งมีข้อมูลทั้งที่เป็นเอกสารและข้อมูลทั้งที่ เป็นเว็บไซต์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนของสำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอฯ เป็นหลักใน การให้บริการข้อมูลต่างๆ ในวัน เวลาราชการ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. สำ�หรับใน วันจันทร์และศุกร์ของสัปดาห์ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. จะมีคณะกรรมการบริหาร ศูนย์สบั เปลีย่ นหมุนเวียนมาให้บริการร่วมด้วย โดยจะดำ�เนินการหลังปรับปรุงระบบข้อมูลของ ศูนย์ฯ แล้วเสร็จซึง่ ในวันดังกล่าวผูม้ ารับบริการจะได้พบพูดคุย ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการ บริการศูนย์ฯ ตังจริง เสียงจริง กันเลยทีเดียว การให้บริการนอกศูนย์ฯ ( จุดสาธิต ) : ซึง่ จะมีประชาชนหรือคณะกรรมการกลุม่ / จุดสาธิต รับผิดชอบในการให้บริการ โดยจะเริ่มดำ�เนินการเมื่อคณะกรรมการศูนย์ฯ ระดับ อำ�เภอคัดเลือกจุดสาธิต/ศึกษาดูงานเสร็จแล้ว นอกจากนั้นยังมีการให้บริการนอกศูนย์ โดย การร่วมกิจกรรมคลินิกแก้จนในโครงการอำ�เภอยิ้มเคลื่อนที่เดือนละ ๑ ครั้ง อีกด้วย สำ�หรับผู้มาขอใช้บริการศูนย์ฯ ส่วนใหญ่มาขอรับบริการในเรื่องข้อมูลผลิตภัณฑ์ ( OTOP ) ข้อมูลด้านการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ข้อมูลด้านอาชีพและรายได้รวม ทั้งขอคำ�แนะนำ�ปรึกษาเกี่ยวกับการดำ�เนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เช่น ขอแบบ ฟอร์มต่างๆ ปรึกษาเกี่ยวกับระเบียบกองทุนหมู่บ้านฯเป็นต้น ผูท้ มี่ าขอใช้บริการศูนย์ฯ ก็มหี ลากหลายไม่วา่ จะเป็น ผูผ้ ลิต/ผูป้ ระกอบการ OTOP / กลุ่มองค์กร นักเรียน/นักศึกษา และประชาชนทั่วไป นอกจากนั้นยังมีทหารจากกองพันทหาร ปืนใหญ่ที่มาขอรับบริการข้อมูลจากศูนย์แห่งนี้ด้วยเช่นกัน ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอวิเศษชัยชาญ มีเอกสารข้อมูลมากมาย ที่เพียบพร้อมไปด้วยเนื้อหาสาระดีๆ ไว้แจกจ่ายแก่ผู้มารับบริการ อาทิ ๑. แผนที่ข้อมูลกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน ๒. ข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน/ปราชญ์ชาวบ้าน ๓. ข้อมูลกองทุนหมู่บ้าน ๔. ข้อมูลแก้ไขปัญหาความยากจน ( กข.คจ. ) ๕. แผ่นพับประชาสัมพันธ์ OTOP

146

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


การมีส่วนร่วมของภาคีพัฒนา

การจัดตัง้ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ได้รบั ความร่วมมืออย่างดียงิ่ จากภาคีพฒ ั นา ซึง่ มีหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมเป็นแหล่งความรู้ ไม่ ว่าจะเป็นธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธกส. )ทีม่ าให้ความรูด้ า้ นอาชีพ เช่น การทำ�น้ำ�ยาล้างจาน สบู่ น้ำ�ยาซักผ้า และแชมพูสระผม เป็นต้น ในส่วนของสำ�นักส่งเสริมการ ศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ก็มาช่วยสอนให้ความรูเ้ พิม่ เติม นอกจากนัน้ ยังมี สำ�นักงานอุตสาหกรรมจัวหวัด สำ�นักงานพาณิชย์จังหวัด สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด และ สำ�นักงานเกษตรจังหวัด เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวจะมาเป็นเจ้าภาพร่วมและนำ�ข้อมูลไป ใช้ประโยชน์อีกด้วย

ศูนย์นี้ก่อให้เกิดผลดีอย่างไรบ้าง

เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเห็นว่า ตั้งแต่ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอ วิเศษชัยชาญ เกิดขึ้นทำ�ให้ง่ายต่อการทำ�งานและเป็นแหล่งให้บริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเมื่อ ก่อนนั้นมีข้อมูลกระจัดกระจาย แต่ปัจจุบันสามารถจัดแจงข้อมูลให้เป็นระเบียบมากขึ้น โดย ใช้ศูนย์เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ ให้อยู่ที่แห่งเดียวกัน มีการบูรณาการข้อมูล กับหน่วยงานต่างๆ อีกทั้งศูนย์นี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นศูนย์การพบปะ แหล่งปรึกษาหารือ ของผู้ห้บริการและผู้รับบริการอีกด้วย สำ�หรับด้านผูม้ ารับบริการ กล่าวว่า เมือ่ ก่อนนัน้ ไม่คอ่ ยกล้าทีจ่ ะข้ามารับบริการหรือ ข้อคำ�แนะนำ�ปรึกษา แต่เมื่อก่อเกิดเป็นศูนย์บริการส่งเสริมเศรฐษกิจชุมชนครบวงจรขึ้นมา ทำ�ให้เกิดความมัน่ ใจและกล้าทีจ่ ะมาขอใช้บริการฐานราก เพราะเชือ่ มัน่ ในคำ�ว่า “ศูนย์บริการ” และเชือ่ ว่าผูใ้ ห้บริการย่อมมีความเต็มใจในการให้บริการทีด่ แี ละขณะนีก้ ไ็ ด้มาขอข้อมูล และขอ คำ�แนะนำ�ปรึกษาเกีย่ วกับข้อมูลด้านอาชีพและด้านแหล่งทุน จากเจ้าหน้าทีอ่ ยูบ่ อ่ ยครัง้ และได้ รับการบริการจากเจ้าหน้าที่ด้วยความเต็มใจ จากข้อมูลดังกล่าว จึงเป็นสิง่ ทีย่ นื ยันว่า ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอ วิเศษชัยชาญ เปิดตัวขึ้นมาพร้อมที่จะให้บริการแก่ทุกท่านที่เข้ามารับบริการ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

147


ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข

พัฒนาการอำ�เภอวิเศษชัยชาญ เล่าให้ฟังว่าการดำ�เนินงานดังกล่าวแม้จะพบ ปัญหาอุปสรรคอยู่บ้างแต่ไม่ใช่ปัญหาใหญ่โตอะไรจนเกินไป ปัญหาที่พบ ได้แก่ ผู้มาขอรับ บริการยังไม่มีมากนักและคณะกรรมการศูนย์ฯ ยังมีภารกิจอื่นๆ จึงไม่มีเวลาในการปฎิบัติ งานได้อย่างเต็มที่ แต่อย่างไรก็ตามอำ�เภอฯ ก็มแี นวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเน้นเรือ่ งการ ประชาสัมพันธ์ให้มากข้น เพือ่ ให้ประชาชนทัว่ ไปรูจ้ กั ศูนย์ฯ แห่งนี้ และมาขอรับบริการมากยิง่ ขึน้ รวมทัง้ การกำ�หนดหน้าทีร่ บั ผิดชอบของคณะกรรรมการให้มคี วามชัดเจนยิง่ ขึน้ เพือ่ พร้อม ให้บริการอย่างเต็มที่

148

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


จังหวัดนครศรีธรรมราช ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอลานสกา วิสัยทัศน์อำ�เภอลานสกา ลานสกาน่าอยู่ ประชาชนใฝ่เรียนรู้ เปิดสู่ท่องเที่ยว เศรษฐกิจมั่นคง รณรงค์สิ่งแวดล้อม พร้อมชุมชนเข้มแข็ง อำ�เภอลานสกา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากจังหวัด ๒๓ กิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงร้อยละ ๗๕ ของพื้นที่อยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาหลวงและป่าสงวนแห่งชาติ ลักษณะภูมิอากาศทั่วไปไม่ร้อนจัด ลมมรสุม พัดผ่านตลอดปี มีฤดู ๒ ฤดู คือ ร้อนตั้งแต่เดือนกุมพาพันธ์ – มิถุนายน ฤดูฝน ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม – มกราคม การปกครองแบ่งออกเป็น เทศบาลตำ�บล ๑ แห่ง องค์การบริส่วนต คำ�บลจำ�นวน ๕ แห่ง ๔๔ หมู่บ้าน ประกอบด้วย - ตำ�บลลานสกา จำ�นวน ๗ หมู่บ้าน - ตำ�บลเขาแก้ว จำ�นวน ๖ หมู่บ้าน - ตำ�บลกำ�โลน จำ�นวน ๑๒ หมู่บ้าน - ตำ�บลขุนทะเล จำ�นวน ๑๒ หมู่บ้าน - ตำ�บลท่าดี จำ�นวน ๗ หมู่บ้าน ประชากรทั้งหมด ๒๗,๘๗๘ คน แยกเป็นชาย ๑๓,๘๒๐ คน หญิง ๑๔,๐๘๕ คน กิจกรรม ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น มีงานเทศกาลมังคุดหวาน ประเพณีชักพระ การทำ�บุญ ให้ทานไฟ ประเพณีทำ�บุญสารทเดือนสิบ ประเพณีสงกรานต์ วันกตัญญู รดน้ำ�ผู้สูงอายุ งานวิ่งมาราธอนประจำ�ปี

การก่อเกิดของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอลานสกา

การก่อเกิดของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก อำ�เภอลานสกา ได้จัดเวที ประชาคมจัดตั้งศูนย์ฯ จำ�นวน ๒ ครั้งนี้ แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

149


ครัง้ ที่ ๑ จัดเวทีประชาคมระดมความคิดเห็น ณ ศูนย์ OTOP ตำ�บลลานสกา มีผแู้ ทน จาก ๕ ตำ�บล จำ�นวน ๓๐ คน ผู้เข้าร่วมเวทีประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่ม OTOP เครือยข่าย กลุ่มอออมทรัพย์เพื่อการผลิต , เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน , ผู้นำ� อช. ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่ม อาชีพ กลุ่มผักปลอดภัยจากสารพิษ คณะกรรรมการพัฒนาสตรีอำ�เภอ (กพสอ.) ผู้ทรงคุณวุฒิ นายกเทศมนตรีตำ�บลลานสกา องค์การบริหารส่วนตำ�บล ผูจ้ ดั การการไฟฟ้าส่วนภูมภิ าค โดย มีหัวข้อในการจัดเวทีประชาคม ดังนี้ ๑. ค้นหาศักยภาพทางเศรษฐกิจของอำ�เภอ เวทีร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อค้นหา ศักยภาพทุนทางเศรษฐกิจของชุมชนในภาพรวมของอำ�เภอ แยกเป็นรายตำ�บลและตามจำ�นวน หมู่บ้าน ๒. วิเคราะห์สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจชุมชน ของอำ�เภอในภาวะปัจจุบันและ กระบวนการดำ�เนินงาน ๑) เวทีร่วมวิเคราะห์สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจชุมชนในภาพรวมของอำ�เภอ ๒) สรุปสาเหตุของปัญหาที่สำ�คัญ ๓) เวทีร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของชุมชน ๔) จุดแข็งของชุมชนที่ทำ�ให้ชุมชนอยู่รอด ๕) เวทีรว่ มแสดงความคิดเห็นถึงความต้องการของชุมชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ ของชุมชนในเข้มแข็ง ๖) เวทีร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ภาครัฐและภาคชุมชนควรให้การ ส่งเสริม และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาวะปัจจุบันของอำ�เภอ ๗) เวทีรว่ มแสดงความคิดเห็นถึงรูปแบบการให้บริการและการส่งเสริมเศรษฐกิจ ชุมชน ๘) กำ�หนดขอบเขตเบื้องต้นของจุดบริการแต่ละระดับ ๙) ร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นเกี่ยวกับภารกิจสำ�คัญของศูนย์ ๑๐) ร่วมหารือถึงประเด็นสำ�คัญที่ต้องการดำ�เนินการเพื่อนำ�ไปสู่การกำ�หนด เป้าหมายแผนปฏิบัติการและการปฎิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม ๑๑) กำ�หนดสรรหาคณะทำ�งาน ในเบือ้ งต้นยังไม่มกี ารเลือกคณะกรรมการ อย่างเป็น ทางการแต่ให้เลือกผูป้ ระสานงานเป็นรายตำ�บลไว้กอ่ น เพือ่ รอผลการจัดประชาคมให้แล้วเสร็จ ความต้องการด้านเศรษฐกิจ

150

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๓. จัดให้มีการพัฒนาศักยภาพของคนอย่างต่อเนื่อง ๑) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และบริการองค์ความรู้ให้ชุมชน ๒) สร้างอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ ๓) พัฒนาคุณภาพชีวติให้ครบทุกด้าน ๔) ส่งเสริมการตลาดและช่องทางการตลาด ๔. จุดขาย ๔.๑ ความเข้มแข็งของชุมชน ซึง่ มีศนู ย์เรียนรูช้ มุ ชนทุกตำ�บลและศูนย์เศรฐษกิจ พอเพียง ๔.๒ มีพืชเศรษฐกิจ คือ มังคุดหวานและสามารถนำ�เอาเปลือกมังคุดมาแปรรูป เป็นสบู่ ซึ่งเป็นสินค้า OTOP ที่ขึ้นชื่อของอำ�เภอ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ได้จัดทำ�เป็นรูปเล่มเก็บไว้และจัดเก็บใน คอมพิวเตอร์ สถานทีจ่ ดั ตัง้ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอลานสกาอยูท่ สี่ �ำ นักงาน พัฒนาชุมชนอำ�เภอลานและศูนย์OTOP อำ�เภอ ครั้งที่ ๒ จัดเวทีประชาคมเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก ณ OTOP ตำ�บลลานสกา โดยมีผู้รับคัดเลือกเป็นคณะกรรมการบริหาร ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจร จำ�นวน ๑๘ คน มาจากเครือข่ายกองทุนหมูบ่ า้ น (กทบ.) ผู้นำ� อช. กลุ่มปลอดสารพิษ รองนายก อบต. กลุ่มอาชีพ กลุ่มน้ำ�ดื่ม กลุ่ม OTOP เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนตำ�บล ผู้ทรงคุณวุฒิ นายกเทศมนตรี

รูปแบบการให้บริการ

๑. การจัดองค์กรการทำ�งาน เป็น ๓ ระดับ ๑.๑ ระดับอำ�เภอ - ประกอบด้วยตัวแทนราชการ ผูน้ �ำ ชุมชน เครือข่ายต่างๆ และภูมปิ ญ ั ญา ท้องถิ่น ๑.๒ ระดับตำ�บล - ประกอบด้วยตัวแทน องค์การบริหารส่วนตำ�บล ภาคราชการ แกนนำ� กลุ่มอาชีพ เครือข่ายทุน โรงเรียน วัด ปราชญ์ชาวบ้าน และตัวแทนแต่ละหมู่บ้านเยาวชน

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

151


๑.๓ ระดับหมู่บ้าน - จัดเป็นทีมปฎิบตั กิ ารประกอบด้วยตัวแทนท้องที่ ท้องถิน่ ผูน้ �ำ กลุม่ อาชีพ กลุ่มทุน ปราชญ์ชาวบ้าน และเยาวชน ๒. สถานที่ให้บริการส่งเสริม ๒.๑ ระดับอำ�เภอ - สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอ - ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้สู่ชุมชนอำ�เภอ - ศูนย์ OTOP อำ�เภอ ๒.๒ ระดับตำ�บล - องค์การบริหารส่วนตำ�บล - ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน - สถานประกอบการเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ๒.๓ ระดับหมู่บ้าน - ศูนย์เรียนรู้ชุมชน - ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง - กลุ่ม/ครัวเรือนตัวอย่าง/สถานศึกษา/วัด ๓. ลักษณะการให้บริการ มี ๒ ลักษณะ ๓.๑ การให้บริการ ณ จุดที่ตั้งศูนย์แต่ละระดับ ๓.๒ การจัดชุดให้บริการแก่ประชาชนถึงจุดขอรับบริการ ๔. จุดบริการแต่ละระดับ ดำ�เนินการดังนี้ ๔.๑ ระดับอำ�เภอ - จุดประสานงานกลาง - บริการองค์ความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ทุกประเภท - เชื่อมโยงการปฎิบัติกับศูนย์แต่ละระดับ ๔.๒ ระดับตำ�บล - จุดประสานงงานกลางตำ�บล - เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ - บริหารข้อมูล ข่าวสารและองค์ความรู้

152

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


สถานที่ให้บริการ

๑. สำ�นักพัฒนาชุมชนอำ�เภอลานสกา วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา ๐๙.๐๐. -๑๖.๐๐ น. ๒. ศูนย์ OTOP อำ�เภอ เปิดให้บริการทุกวัน ( ไม่เว้นวันหยุดราชการ )

การประชาสัมพันธ์การดำ�เนินการ

- - - - -

ประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับอำ�เภอ ประชุมประจำ�เดือน กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชุมขององค์การบริหารส่วนตำ�บลทุกตำ�บล การประชุมชาวบ้านของผู้ใหญ่บ้านทุกหมุ่บ้าน ศูนย์เรียนรู้ชุมชนของทุกตำ�บล

ผลการดำ�เนินกิจกรรมตามบทบาทภารกิจของศูนย์ฯ

๑. การเป็นแหล่งบริการ ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ แก่กลุ่มคนเป้าหมายและ ผู้ขอรับบริการ ได้แก่ - การรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ด้านอาชีพจากภายนอกชุมชน - การรวบรวมข้อมูลด้านอาชีพและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจัดทำ�เอกสารสรุป ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำ�นวน ๔ เล่ม ๔๐ ภูมิปัญญา - จัดทำ�ระบบข้อมูลในรูปเอกสารและบริการในระบบ IT - จัดทำ�เครือข่ายการเรียนรู้ระดับอำ�เภอกับศูนย์เรียนรู้ชุมชน จำ�นวน ๖ ศูนย์ ๒. ลักษณะการให้บริการ ดำ�เนินการใน ๒ ลักษณะ คือ - ให้บริการข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ ณ สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เอ และ ศูนย์ OTOP อำ�เภอ - การจัดชุดบริการฝึกอบรมเคลือ่ นที่ โดยเชือ่ มโยงกับศูนย์เรียนรูช้ มุ ชน สถาบัน การศึกษา อบต. และกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่มีความพร้อม ๓. การบริหารจัดการแหล่งการผลิต - จัดทำ�ฐานข้อมูลกลุ่มผู้ผลิต และผู้ผลิตรายเดียว รวม ๔๔ หมู่บ้าน - การจัดทำ�ข้อมูลกลุ่มผู้ผลิตที่ลงทะเบียน OTOP ปี ๒๕๕๒ จำ�นวน ๔๖ กลุ่ม - กลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำ�นวน ๓๒ กลุ่ม - จัดแหล่วงเรียนรู้ โดยการปฏบัติจริงในศูนย์เรียนรู้ชุมชน - พัฒนาเครือข่ายการผลิตปุ๋ยชีวภาพ เครือข่ายการผลิตของใช้ในครัวเรือน แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

153


๔. การบริหารจัดการเกี่ยวกับแหล่งการตลาด - เปิดศูนย์ OTOP ระดับอำ�เภอ - ส่งเสริมศูนย์การจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP และสินค้าชุมชน ระดับตำ�บล จำ�นวน ๖ จุด - ส่งเสริมการจำ�หน่ายสินค้าริมทาง - ร่วมกับผู้ประกอบการพัฒนาระบบการตลาดชุมชน - ร่วมกับผู้ประกอบการส่งเสริมกิจกรรมเครือข่ายร้านอาหารตามปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ๕. การบริหารจัดการด้านทุนและแหล่งทุน - จัดทำ�ข้อมูลกลุม่ ออมทรัพย์ฯ จำ�นวน ๑๑ กลุม่ เงินสัจจะ ๑๖๒,๙๕๔,๖๒๕ บาท - จัดทำ�ข้อมูลกองทุนหมูบ่ า้ น จำ�นวน ๔๔ กองทุน เงินกองทุนฯ ๔๖,๘๐๐,๐๐๐ บาท เงินสัจจะ ๖,๕๘๓,๐๐๐ บาท - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ จำ�นวน ๑ แห่ง - สหกรณ์การเกษตร จำ�นวน ๑ แห่ง ผู้รับบริการจากศูนย์ฯ จำ�นวน ๔๔ ชุมชน ขอรับบริการเกี่ยวกับเรื่องการผลิตการ ตลาด แหล่งทุน ความรู้เรื่องอาชีพ และมีการบริการเคลื่อนที่กับโครงการอำ�เภอยิ้ม และศูนย์ เรียนรู้ชุมชนของทุกตำ�บล ๖ แห่ง การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จุดเด่นของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอลานสกา คือ ความเข้มแข็ง ของผู้นำ�ชุมชนและคณะกรรมการบริหารศูนย์ ประโยชน์ในการจัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก เพื่อเป็นศูนย์กลางใน การให้ผู้รับบริการมารับบริการ ได้สะดวกยิ่งขึ้น และตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ

ภาคีที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนศูนย์ฯ มีดังนี้

- สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอลานสกา เทศบาลตำ�บลลานสกา องค์การบริหาร ส่วนตำ�บลทุกตำ�บล ศูนย์เรียนรู้ชุมชนทุกตำ�บล มีส่วนร่วมในการจัดเก็บ และรวบรวมข้อมูล - คณะกรรมการบริหารเครือข่ายศูนย์ฯ ของจังหวัด สนับสนุนการจัดทำ�เว๊บไซด์ เอกสารเผยแพร่ ในรูป CD

154

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


แผนปฏิบัติงานของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอลานสกา ที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖

กิจกรรม จัดประชาคมแกนนำ�ชุมชนระดับอำ�เภอ จัดประชาคมแกนนำ�ระดับตำ�บล จัดประชาคมแกนนำ�ระดับอำ�เภอ จัดทำ�ระบบข้อมูลกลุ่มอาชีพ เปิดศูนย์ OTOP อำ�เภอ เปิดตลาดนัด “อาหารปลอดภัย”

สถานที่ดำ�เนินการ ศูนย์ OTOP อำ�เภอ อบต./ศอช.ต. ที่ว่าการอำ�เภอ ทุกหมู่บ้าน เทศบาลตำ�บล ลานสกา

วัน เดือน ปี ๒๑-๒๒ ม.ค.๕๒ ๖,๑๑,๑๒,๑๗,กพ.๕๒ ๒๐ ก.พ.๕๒ มี.ค.๕๒ มึ.ค. ๕๒ เม.ย.๕๒

ปัจจัยที่ทำ�ให้การจัดตั้งศูนย์ฯ ประสบความสำ�เร็จ

ผูน้ �ำ ชุมชนมีความเข็มแข็ง มีภมู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ และเจ้าหน้าทีพ่ ฒ ั นาชุมชนของอำ�เภอ มีความเข้าใจแนวทางการจัดตั้ง

ข้อเสนอแนะ

กรมการพัฒนาชุมชนควรจัดอบรมเจ้าหน้าทีพ่ ฒ ั นาชุมชนทีร่ บั ผิดชอบให้เข้าใจก่อน ดำ�เนินการ และจัดสัมมนาคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ทุกศูนย์ให้เข้าใจแนวทางให้ชัดเจน

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

155


จังหวัดระยอง ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอบ้านค่าย คำ�ขวัญจังหวัดระยอง “ผลไม้รสล้ำ� อุตสาหกรรมก้าวหน้า น้ำ�ปลารสเด็ด เกาะเสม็ดสวยหรู สุนทรภู่กวีเอก” ระยอง ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่หลากหลายไปด้วยผลไม้นานาชนิด ผลไม้ที่ทำ�รายได้ให้ กับจังหวัดระยองสูงสุด ๕ ลำ�ดับแรก ได้แก่ ทุเรียน สับปะรด มะม่วง เงาะ และมังคุด จังหวัดระยอง ตั้งอยู่ในภาคตะวันออก ของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ เพียง ๑๗๙ กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติมาก ทำ�ให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศมาเยี่ยมเยือนในแต่ละปีเป็นจำ�นวนมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ เกาะเสม็ด เป็นเกาะที่มีหาดทรายขาวอยู่นอกชายฝั่งของตำ�บลเพ สภาพพืน้ ทีโ่ ดยทัว่ ไป เป็นทีร่ าบสลับทีด่ อนเป็นลูกคลืน่ ประกอบด้วยภูเขาเตีย้ ๆ ด้าน เหนือ และตะวันออกเป็นที่ราบสลับภูเขา ลาดต่ำ�ลงสู่อ่าวไทย ทางทิศใต้เป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำ�ได้ดี มีชายฝั่งทะเลเว้าแหล่งติดอ่าวไทย ยาวประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร

การแสวงหาและรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้และคลังสมองด้านเศรษฐกิจ

ก่อนที่จะก่อตั้ง ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากระดับอำ�เภอ เริ่มจากจังหวัด ได้รับทราบแนวทางการดำ�เนินงานจากกรมการพัฒนาชุมชน แล้วนำ�มาประชุมชี้แจงและ วางแผนการดำ�เนินงานร่วมกับพัฒนาการอำ�เภอ เพื่อให้ทุกอำ�เภอไปดำ�เนินการจัดตั้งศูนย์ฯ ตามแนวทางที่กำ�หนด หลังจากนั้นจังหวัดก็ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแสวงหาและรวบรวม ข้อมูลองค์ความรู้และคลังสมองด้านเศรษฐกิจตามความต้องการของอำ�เภอ สิ่งที่ได้จากเวทีระดับจังหวัด คือ ข้อมูลความต้องการด้านเศรษฐกิจชุมชนและจุด ขายของทุกอำ�เภอ ซึง่ จังหวัดได้รวบรวมจัดทำ�เป็นเอกสารเผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ เช่น เอกสาร แผ่นพับ แผ่นซีดี มอบให้ทุกอำ�เภอนำ�ไปไว้ให้บริการ นอกจากนี้ยังได้สร้างเครือข่ายศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนฐานรากจังหวัด ระยอง โดยจัดตั้งคณะกรรมการเครือข่ายฯ ๑ คณะ ประกอบด้วยผู้แทนของศูนย์บริการ

156

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจรจากทุกอำ�เภอ มีคณะกรรมการ KBO จังหวัด และเจ้าหน้าที่ พัฒนาชุมชน เป็นทีป่ รึกษาแกนหลักในการขับเคลือ่ นกิจกรรมคือ กลุม่ อาชีพ OTOP เนือ่ งจาก เป็นกลุ่มที่มีจำ�นวนมาก มีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ให้กับชุมชน แผนการดำ�เนินงาน ของ เครือข่ายศูนย์บริการฯ ที่วางไว้หลักๆ คือ การรวบรวมข้อมูลด้านเศรษฐกิจของจังหวัด นำ�มา จัดเป็นหมวดหมู่ให้ง่ายต่อการให้บริการและการนำ�มาใช้งานผลิตสื่อ และเผยแพร่องค์ความ รู้ด้านเศรษฐกิจชุมชน รวมทั้งการจัดกิจกรรมตลาดชุมชนสัญจรให้กับกลุ่ม OTOP และกลุ่ม อาชีพต่างๆ

อำ�เภอบ้านค่าย... เมืองประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

อำ�เภอบ้านค่ายยกฐานะเป็นอำ�เภอเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ คำ�ว่า “บ้านค่าย” มีที่มา คือ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐ สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย พม่าได้ยกทัพเข้ามา พระเจ้าตากสินเป็น แม่ทัพรักษาพระนครได้รวบรวมไพร่พลไปตีเมืองจันทบุรีระหว่างเดินทัพผ่านชลบุรี และตัด ตรงเข้าทางด้านใต้ของเมืองระยอง ได้ฝ่าวงล้อมของพม่าเข้าพักตั้งค่าย ณ ทิศตะวันออกเฉียง ใต้ของอำ�เภอบ้านค่ายในปัจจุบัน และต่อมาได้มีราษฎรอพยพมาจาก กรุงศรีอยุธยาถึงบริเวณ ที่ตั้งค่ายพัก จึงสร้างบ้านเรือนและตั้งเป็นหมู่บ้านและขนานนามหมูบ้านนี้ว่า “บ้านค่าย”

คำ�ขวัญอำ�เภอบ้านค่าย “หลวงปูท่ มิ คุม้ ลูกหลาน แหล่งโรงงานมีมากมาย แม่หลักเมืองป้องเรือ่ งร้าย คือบ้านค่ายเจ้าตากสิน” อำ�เภอบ้านค่ายตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกของจังหวัดระยอง ประชากรส่วนใหญ่มอี าชีพหลักทางการเกษตร ได้แก่ ทำ�ไร ทำ�สวนผลไม้ และทำ�นา อาชีพเสริม ได้แก่ อาชีพรับจ้างในโรงงาน อุตสาหกรรม ค้าขาย และเลี้ยงสัตว์แหล่งท่องเที่ยวที่สร้างราย ได้ที่สำ�คัญ ได้แก่ สวนสุภัทราแลนด์ และหมู่บ้าน OVC (OTOP Village Champion) หมู่ที่ ๔ ตำ�บลหนองตะพาน

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

157


ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอบ้านค่าย

ทีก่ ลุม่ ผลไม้แปรรูป บ้านหนองละลอก หมูท่ ี่ ๔ ตำ�บลหนองละลอก เป็นทีต่ งั้ ของศูนย์ บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอบ้านค่าย คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ซึ่งพัฒนาการ อำ�เภอได้เล่าถึงการก่อตั้งศูนย์ฯ ว่าหลังจากไปรับนโยบายและแนวทางการดำ�เนินงานการจัด ตั้งศูนย์ฯ จากจังหวัดแล้ว อำ�เภอก็มาวางแผนปฏิบัติงานโดย เตรียมความพร้อม ของทีมงานด้านวิชาการ วัสดุอปุ กรณ์ และสถานทีใ่ นการจัดเวที รวบรวมองค์ความรู้และความต้องการด้านเศรษฐกิจของชุมชน ประสานภาคีพัฒนา คือ เกษตร สาธารณสุขศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน และกลุ่ม เป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มอาชีพ กลุ่ม OTOP เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ผู้แทนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อ การผลิต และปราชญ์ชาวบ้านด้านเศรษฐกิจ เชิญชวนเข้าร่วมประชุมเพือ่ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจของอำ�เภอ ตามกำ�หนดเวลา จัดประชุม เชิงปฏิบตั กิ ารโดยการบรรยาย และแบ่งกลุม่ ย่อมเพือ่ ค้นหาความต้องการ ด้านเศรษฐกิจของอำ�เภอ และกำ�หนดจุดขายของอำ�เภอ พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอบ้านค่าย

จุดขายของอำ�เภอบ้านค่าย

๑. กลุ่มผลไม้แปรรูปบ้านหนองละลอก เลขที่ ๗/๑ หมู่ที่ ๔ ตำ�บลหนองละลอก อำ�เภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ผลิตภัณฑ์เด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มได้แก่ “สับปะรดกวน กะทิ” เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสับปะรดในท้องถิ่นที่มีคุณภาพ มีการผลิตที่สะอาดถูกหลัก อนามัย ตัวผลิตภัณฑ์มีรสชาติ หวาน มัน อร่อย ถูกใจผู้บริโคค ผ่านการรับรองมาตรฐาน อย. มผช. GMP บรรจุภัณฑ์มีทั้งแบบบรรจุถุงพลาสติก และบรรจุกล่อง ๒. หมู่บ้าน OVC (OTOP Village Champion) บ้านปากป่า หมู่ที่ ๔ ตำ�บลหนอง ตะพาน อำ�เภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำ�เภอ บ้านค่าย ประมาณ ๗ กิโลเมตร มีลักษณะเด่นที่เป็นจุดขาย คือ - ด้านชุมชน (P-People) เป็นชุมชนทีม่ คี วามสามัคคี ประชาชนมีสว่ นร่วมใน กิจกรรมและผู้นำ� มีความรับผิดชอบ แบ่งงานกันทำ�อย่างเป็นระบบ มีกลุ่มสตรีที่เข้มแข็ง และ มีเครือข่ายองค์กรในชุมชนที่เป็นทั้งเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการท่องเที่ยว - ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ (P-Product) โดยนำ�ผลไม้มาแปรรูปเพิ่มมูลค่า เช่น ทุเรียนทอด ทุเรียนกวน กล้วยกวน สับปะรดกวน มังคุดกวน และตะลิงปลิงหยี

158

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


- ด้านท่องเที่ยว (P-Place) มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยว เชิงธรรมชาติ ได้แก่ สวนมังคุดลุงพา โฮมสเตย์เรือนไทย และหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง - ด้านอนุรกั ษ์ (P-Preserve) มีวดั ปากเป่า เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน

การจัดตั้งศูนย์

จัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอ โดยเลือกที่ทำ�การกลุ่มผลไม้ แปรรูปบ้านหนองละลอก เป็นที่ทำ�การศูนย์เนื่องจากมีสถานที่กว้างขวาง สวยงาม เป็นที่รู้จัก ของประชาชนในอำ�เภอ การเดินทางไปมาสะดวกอยูไ่ ม่ไกลจากทีว่ า่ การอำ�เภอ มีกลุม่ /องค์กร ต่างๆ มาทัศนศึกษาดูงานเป็นประจำ� ประธานกลุม่ และสมาชิกเป็นหนึง่ ในคณะกรรมการบริหาร ศูนย์ สามารถให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาใช้บริการได้ตลอดเวลา ที่นี่จึงเปิดให้บริการทุกวัน

เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์ ๑ คณะ จำ�นวน ๑๖ คน ดังนี้ ที่ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖.

ชื่อ - สกุล นายยิ่งศักดิ์ เหมะชยางกูร นายอนุชาติ ทนศิริ นายสายชล บรรจงกิจ นายวิโรจน์ สุวรรณสว่าง นายสาวอนิญชยา เรืองวงษ์วาร นางสาวอรพรรณ ทองสุข นายสมชาย เทียมโชติ นางมยุรี ตันกุลรัตน์ นางลออ สุวรรณสว่าง นายสำ�เนียง สุขจำ�รัส นางบุญเรือน เอกฉัตร นางรวย ชื่นฤดี นางสาวเฉลียว บุญบรรจง นายมงคล ฆวีวงษ์ นายนิคม ศรีสมโภชน์ นายประสม อ่างแก้ว

ตำ�แหน่ง ประธาน รองประธาน รองประธาน รองประธาน เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ เหรัญญิก ผู้ช่วยเหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

ผู้แทนจากกลุ่ม/องค์กร กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ประธานเครือข่าย กทบ. ประธานกลุ่มชุมชนเข้มแข็ง กลุ่ม OTOP กลุ่มอาชีพ กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่ม OTOP กลุ่ม OTOP กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มอาชีพทำ�กะปิ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

159


คณะกรรมการ บริหารศูนย์แบ่งบทบาทภารกิจออกเป็น ๕ ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายการผลิต ฝ่ายการตลาด ฝ่ายพัฒนาแหล่งทุน ฝ่ายพัฒนาองค์ความรู้ และฝ่ายอนุรักษ์ การท่องเที่ยว มีขอ้ มูล ด้านเศรษฐกิจของอำ�เภอไว้ให้บริการแก่ผสู้ นใจ วิธกี ารจัดเก็บข้อมูลโดยคณะ กรรมการบริหารศูนย์รว่ มกับเจ้าหน้าทีจ่ ดั เก็บ วิเคราะห์ แล้วรวบรวมให้เป็นระบบ นอกจากนี้ ยังมีการบูรณาการข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ ในอำ�เภอด้วย มีแผน การดำ�เนินงาน ในเรื่องต่างๆ ดังนี้ ๑. ประชาสัมพันธ์การดำ�เนินงานของศูนย์โดยผ่านเวทีการประชุมต่างๆ เช่น การประชุม ผู้ใหญ่บ้าน กำ�นัน การประชุม อบต. และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อแผ่นพับ ใบปลิว วิทยุชุมชน เป็นต้น ๒. ประชุม/อบรม/ศึกษาดูงาน เพิม่ ความรูแ้ ก่คณะกรรมการบริหารศูนย์ ให้สามารถ บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการได้อย่างมั่นใจ ๓. รวบรวมผลิตภัณฑ์เพื่อการจำ�หน่าย ๔. ส่งเสริมสนับสนุนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ๕. ออกหน่วยเคลื่อนที่เพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจ ๖. จัดทำ�ข้อมูล/สารสนเทศ ในรูปแบบแผนที่ศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจของอำ�เภอ เชื่อมโยงข้อมูลกับศูนย์เรียนรู้ชุมชนในพื้นที่

ผลการดำ�เนินงาน

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอบ้านค่าย ปัจจุบนั มีผมู้ าใช้บริการจำ�นวน พอสมควร ส่วนมากข้อมูลที่มาขอรับบริการก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สินค้า OTOP เช่น การลง ทะเบียนเป็นผูป้ ระกอบการ OTOP การส่งผลิตภัณฑ์เข้าคัดสรร การขอรับทราบผลการคัดสรร การเข้าร่วมงานจัดแสดงและจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ส่วนด้านเงินทุนก็จะมีคณะกรรมการ กองทุนหมูบ่ า้ น คณะกรรมการกลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ การผลิต มาขอรับบริการเกีย่ วกับการจัดทำ� บัญชีกองทุน การบริหารจัดการกลุ่ม ส่วนกลุ่มอาชีพทั้งในและนอกพื้นที่ก็สนใจเกี่ยวกับการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น การแปรรูปผลไม้ การบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากคณะกรรมการ บริหารศูนย์จะเป็นผู้ให้ข้อมูลแล้ว ทางศูนย์ยังมีสื่อองค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจในรูปเอกสาร แผ่นพับ แฟ้ม ข้อมูล CD ไว้บริการด้วย

160

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


ผูบ้ ริหารงานพัฒนาชุมชน เห็นว่าการจัดตัง้ ศูนย์ฯ ไม่ใช่เรือ่ งยากและไม่ใช่เรือ่ งใหม่ เพียงแต่น�ำ ข้อมูลหรืองานประจำ�ทีท่ �ำ อยูแ่ ล้ว มาจัดหมวดหมูใ่ ห้เป็นระบบเพือ่ ให้งา่ ยต่อการให้ บริการเท่านั้นเอง นอกจากนี้การมีศูนย์ฯ ยังทำ�ให้เจ้าหน้าที่สามารถทำ�งานแทนกันได้ด้วย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เห็นว่าการมีศูนย์ฯ ทำ�ให้ทำ�งานง่ายขึ้นเพราะมีข้อมูลที่ พร้อมจะนำ�มาใช้ในการวางแผนการทำ�งาน และการให้บริการแก่กลุ่ม/องค์กร และหน่วยงาน ต่างๆ และมีเครือข่ายองค์กรช่วยให้บริการข้อมูลอีกด้วย คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ เห็นว่าการมีศูนย์ฯ ทำ�ให้รู้ข้อมูลของชุมชนตัวเอง เพิม่ ขึน้ มีเครือข่ายด้านการประกอบอาชีพ การตลาด มากขึน้ ประชาชนมีแหล่งเรียนรูม้ ากขึน้ เป็นสถานที่ศึกษาดูงานของประชาชน นักเรียน นักศึกษา ผูร้ บั บริการ คือหัวใจสำ�คัญของการจัดตัง้ ศูนย์ฯ จากการพูดคุยผูร้ บั บริการเห็นว่าการ ทีม่ ศี นู ย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจรอำ�เภอ ทำ�ให้มคี วามสะดวกในการเข้ามาขอรับ บริการข้อมูลการให้บริการของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการศูนย์ มีความรวดเร็วขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำ�เร็จในการดำ�เนินงานของศูนย์ฯ ได้แก่

- การมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและเป็นระบบพร้อมให้บริการแก่ผู้สนใจตลอดเวลา - มีงบประมาณสนับสนุนในการผลิตสื่อเพื่อบริการและเพื่อการประชาสัมพันธ์ - มีการเชือ่ มโยงข้อมูลทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่

“ต้องการข้อมูลด้านการประกอบอาชีพ ด้านแหล่งทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด หรือ ต้องการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ลิ้มรสความอร่อยของผลไม้ พักค้าง โฮม สเตย์ ติดต่อสอบถามได้ที่ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจรอำ�เภอบ้านค่าย บริการทุกระดับ ประทับใจ”

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

161


จังหวัดหนองบัวลำ�ภู ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก อำ�เภอศรีบญ ุ เรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู คำ�ขวัญอำ�เภอ : “ศรีบญ ุ เรืองเมืองคนดี ประเพณีบญ ุ บัง้ ไฟ ก่องข้าวใหญ่ชาวอีสาน เด่นตระการถ้ำ�ผาสวรรค์ อัศจรรย์เขาสามยอด” ศรีบุญเรืองเมืองหัตถกรรม นำ�สู่การท่องเที่ยว

อำ�เภอศรีบญ ุ เรือง เป็นหนึง่ ในหกอำ�เภอของจังหวัดหนองบัวลำ�ภู มีพนื้ ที่ ๘๓๐.๔๖๓ ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศใต้ห่างจากจังหวัดหนองบัวลำ�ภู ๓๓ กิโลเมตร ประกอบด้วย ๑๒ ตำ�บล ได้แก่ กุดสะเทียน โนนม่วง หนองแก ทรายทอง หันนางาม หนองบัวใต้ หนองกุงแก้ว ยางหล่อ ศรีบุญเรือง โนนสะอาด นากอก แลเมืองใหม่ มีครัวเรือนตามทะเบียนราษฎร์จำ�นวน ๒๔,๔๖๓ ครัวเรือน ประชากร จำ�นวน ๑๐๐,๒๗๓ คน เป็นชาย ๕๐,๗๘๗ คน และหญิง ๔๙,๔๘๖ คน ด้านเศรษฐกิจ อาชีพหลักของคนศรีบุญเรือง คือเกษตรกรรม มีพื้นที่การเกษตร จำ�นวน ๓๐๕,๘๘๖ ไร่ แยกเป็น พื้นที่ปลูกข้าว ๒๕๒,๙๓๘ ไร่ พื้นที่ทำ�ไร ๓๖,๖๑๙ ไร่ พืชเศรษฐกิจ คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง อ้อย ข้าวโพด มันสำ�ปะหลัง สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทีน่ า่ สนใจ คือ ถ้�ำ ผาสวรรค์ ตัง้ อยูห่ มูท่ ี่ ๕ ตำ�บลกุงแก้ว มีลกั ษณะ เป็นถ้ำ�หินย้อยอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหนองเรือ ถ้ำ�ผาเสด็จ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำ�บลกุงแก้ว มีลักษณะเป็นโพลงถ้ำ�อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหนองเรือ แก่งตาดฟ้า ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ ตำ�บล นากอก มีลักษณะเป็นโขดหินกลาง ลำ�น้ำ�พอง เหมาะสำ�หรับท่องเที่ยวพักผ่อนในวันหยุด บ่อน้ำ�ศักดิ์สิทธิ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำ�บลหนองบัวใต้ มีลักษณะเป็นบ่อน้ำ�รูปทรงกลม ลึกประมาณ ๘ เมตร มีความเป็นมาตั้งแต่สมัยขอม อายุประมาณ ๑,๐๐๐ ปี

162

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


การจัดตั้งศูนย์บริการฯ

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก อำ�เภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู ตัง้ ขึน้ เมือ่ วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๑ ใช้สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอศรีบญ ุ เรืองเป็นสถานทีต่ งั้ ของศูนย์ จัดตัง้ ขึน้ ตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาโครงการทีเ่ กิดจากศักยภาพของชุมชน อันก่อให้เกิดรายได้อย่างยัง่ ยืน โดยการเชือ่ มโยงการใช้ทรัพยากรของรัฐท้องถิน่ และจังหวัดให้ มีการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของสมาชิกกลุ่มอาชีพ กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP กลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ การผลิต กองทุน กข.คจ. กองทุนหมูบ่ า้ น และประชาชนในหมูบ่ า้ น เพื่อให้แต่ละชุมชนสามารถใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาอาชีพ สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอศรีบุญเรืองเป็นแกนหลักในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติ การเพือ่ จัดตัง้ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอศรีบญ ุ เรือง ใช้เวลาในการประชุมเชิง ปฏิบัติการ จำ�นวน ๒ วัน มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำ�นวน ๓๐ คน ประกอบด้วยตัวแทนเครือข่าย OTOP ผูน้ ำ�ชุมชน ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านเศรษฐกิจชุมชน ปราชญ์ ชาวบ้าน ตัวแทนเครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ตัวแทนเครือข่ายศูนย์ประสานงานองค์การชุมชน อำ�เภอศรีบุญเรือง ตัวแทนคณะกรรมการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทน วิทยาลัยการอาชีพ และตัวแทนเทศบาล

ขั้นตอน/วิธีการจัดตั้ง

๑. กำ�หนดประเด็นการประชุม ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ การท่องเที่ยว ประเพณี วัฒนธรรม โดยเน้นการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ ๒. แบ่งกลุม่ ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบนั ปัญหาและผลสำ�เร็จ โดยแบ่งเป็น ๔ กลุม่ ๒.๑ กลุม่ ศึกษากลุม่ OTOP ศึกษาเกีย่ วกับการผลิต การตลาด และทุนดำ�เนินการ ๒.๒ กลุ่มศึกษาเรื่องทุน เช่น ทุนในชุมชน ทุนนอกชุมชน ๒.๓ กลุ่มศึกษาการตลาด เช่น ตลาดในชุมชน นอกชุมชน และต่างประเทศ ๒.๔ กลุม่ ศึกษาการบริหารจัดการ เช่น การบริหารงาน การผลิต การจัดจำ�หน่าย การตรวจสอบ ความสามัคคี ความซื่อสัตย์ ๓. สรุปผลการศึกษาวิเคราะห์จากกลุ่มย่อย ผลวิเคราะห์จากกลุ่มย่อยในการประชุมเชิงปฎิบัติการในระดับอำ�เภอได้จุดเด่น จุดขายด้านเศรษฐกิจ ความต้องการด้านเศรษฐกิจของอำ�เภอ และสภาพปัญหา ดังนี้ แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

163


๓.๑ จุดขายของอำ�เภอ คือ “ศรีบุญเรืองเมืองหัตถกรรม นำ�สู่การท่องเที่ยว” โดยมีผลิตภัณฑ์ แหล่งท่องเที่ยว ประเพณีวัฒนธรรมที่เป็นจุดขายของอำ�เภอ ดังนี้ ๑) ผลิตภัณฑ์กระติ๊บข้าวคล้า มีจุดเด่นคือ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้วัสดุ จากธรรมชาติ เป็นมรดกอีสาน ๒) การทอผ้า มีจุดเด่น มีลวดลาย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีคุณภาพ ๓) กลุม่ น�้ำ ผึง้ มีจดุ เด่น มีคณ ุ ภาพ สามารถแยกได้วา่ เป็นน�้ำ ผึง้ จากดอกไม้ ชนิดใด เป็นสินค้าที่ผ่านการคัดสรร ปี ๒๕๕๑ ได้ระดับ ๕ ดาว ๔) เที่ยววัดจันทร์ ประสิทธิ์กินปลาล่องแพบึงงิ้วบ้านสร้างเสี้ยน มีจุดเด่น คือ ปรากฎการณ์พญานาค บ่อน้ำ�ศักดิ์สิทธิ์ เส้นทางสะดวกสามารถเชื่อมโยงกับสถานที่ท่อง เที่ยวอื่นๆ ๕) ผาสามยอดผาจันใด มีจุดเด่นคือ เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ (ผู้ก่อการ ร้ายคอมมิวนิสต์) มีธรรมชาติสวยงาม เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดเลย ๖) บุญบั้งไฟล้าน มีจุดเด่น คือ เป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัด ๓.๒ ความต้องการด้านเศรษฐกิจของอำ�เภอศรีบุญเรือง ส่วนใหญ่เป็นความ ต้องการด้านการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ และการท่องเที่ยว คือ ๑) ส่งเสริมพัฒนาอาชีพการจักสานกระติบ๊ ข้าวคล้า ตำ�บลทรายทอง ตำ�บล หนองบัวใต้ ตำ�บลศรีบุญเรือง ๒) พัฒนาหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านหัตถกรรมเชิงธรรมชาติ ๓) พั ฒ นาแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย ววั ด จั น ทร์ ป ระสิ ท ธิ ปรั บ ปรุ ง ภู มิ ทั ศ น์ บึ ง งิ้ ว บ้านสร้างเสี้ยน ๔) จัดตั้งศูนย์จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ชุมน ๕) จัดฝึกอบรม/ศึกษาดูงาน แก่กลุ่มอาชีพ ๖) ส่งเสริมการผลิต โดยให้ความรู้ด้านวิชาการ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ ๗) ส่งเสริมให้กลุ่มอาชีพเข้าถึงแหล่งทุน ๘) ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อหลากหลายช่องทาง

164

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๓.๓ สภาพปัญหา ๑) ขาดการประสานความร่วมมือระหว่างผูน้ �ำ ชุมชน ผูน้ �ำ ท้องถิน่ กลุม่ อาชีพ และการส่งเสริมจากภาครัฐ ไม่ตรงตามความต้องการเท่าที่ควร ๒) การส่งเสริมปัจจัยการผลิต หรือทุนในการดำ�เนินการมีการสนับสนุนยัง ไม่ทั่วถึง ๓) การบริหารจัดการกลุม่ อาชีพยังมีปญ ั หาด้านความรู้ ประสบการณ์ ความ สามัคคี ความซื่อสัตย์สุจริต ๔. เลือกตัง้ คณะกรรมการ และกำ�หนดบทบาทหน้าทีก่ ารบริหารศูนย์บริการส่งเสริม เศรษฐกิจฐานราก อำ�เภอศรีบุญเรือง

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

165


การบริหารงาน โครงสร้างคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร ประธาน นายวีระ โพธิ์ศรี ตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิ เลขานุการ น.ส.กนกนุช จูมกุดรัง ตัวแทน กทบ. เหรัญญิก นางไสว ศรีคูเมือง ตัวแทนกลุ่ม OTOP เหรัญญิก นางไสว ศรีคูเมือง ตัวแทนกลุ่ม OTOP กรรมการ - นางประภาส จันทรประเทศ ตัวแทนกลุ่มอาชีพ - นายสุคนธนา สมสา ตัวแทนกลุ่ม OTOP - นายแสง คำ�มูล ตัวแทน กข.คจ. - นางสุภาพร เหลาบับภา ตัวแทนกลุ่ม OTOP - นางประทุมทอง บุญมี ตัวแทนกลุ่ม OTOP

166

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

คณะที่ปรึกษา - นายณัฐวัสส์ วิริยานภาภรณ์ นายอำ�เภอศรีบุญเรือง - นางอัญชลี พรหมา สตรีบำ�เพ็ญประโยชน์ - นางสุภาพร ศรีกาญจนา สมาชิก อบจ. เขต อ.ศรีบุญเรือง - นายปพิบูลย์ กาพย์มณี นายกเทศมนตรี ต.ยางหล่อ - นายรักไทย ศรีคูเมือง นายก อบต.หนองแก - นายวุฒิพงษ์ นิลนามะ นายก อบต.นากอก - นายบุญมี บุญประคม ประธานเครือข่าย กทบ. อ.ศรีบุญเรือง - นายวิพัฒน์ วงษ์ชารี ประธาน ศอช.อำ�เภอศรีบุญเรือง - นายพยงค์ พรหมจารย์ พัฒนาการอำ�เภอศรีบุญเรือง - น.ส.นิสากร ทุมทน นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำ�นาญการ


บทบาทหน้าที่คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอศรีบุญเรือง กำ�หนดบทบาทหน้าที่ คณะกรรมการศูนย์ฯ เพื่อขับเคลื่อนการดำ�เนินงานศูนย์บริการฯ ดังนี้ ๑. ประชาสัมพันธ์การดำ�เนินงานศูนย์บริการฯ ๒. บริการให้คำ�ปรึกษาแก่ผู้มาขอรับบริการจากศูนย์บริการฯ ๓. บริการข้อมูลข่าวสาร ๔. ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ/การท่องเที่ยว/ประเพณีวัฒนธรรม ๕. จัดตั้งและพัฒนาศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

รูปแบบการให้บริการ

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอศรีบญ ุ เรือง มีการให้บริการภายในศูนย์ (สำ�นักงานพัฒนาชุมชนอำ�เภอ) และบริการเคลือ่ นทีโ่ ดยไปร่วมกับอำ�เภอเคลือ่ นที่ (อำ�เภอยิม้ ) ผู้ที่ให้บริการคือเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ มีการจัดเก็บข้อมูลที่ ให้บริการแก่ผขู้ อรับบริการในรูปแบบเอกสาร บอร์ดแผนทีข่ อ้ มูล และการจัดเก็บเป็นไฟล์ขอ้ มูล ในเครื่องคอมพิวเตอร์ การประชาสัมพันธ์การดำ�เนินงานศูนย์ฯ มีการประชาสัมพันธ์ในการประชุมประจำ� เดือนของอำ�เภอ และโอกาสทีก่ รรมการเป็นวิทยากรจะสอดแทรกการดำ�เนินงานศูนย์บริการฯ แก่กลุ่มเป้าหมายในการประชุม หรืออบรมนั้นๆ

ผลการดำ�เนินงาน

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู มีการ ให้บริการ ณ ที่ตั้งของศูนย์ฯ และบริการเคลื่อนที่โดยร่วมกับอำ�เภอเคลื่อนที่ (อำ�เภอยิ้ม) ผู้ที่ให้บริการคือ คณะกรรมการบริหารศูนย์ และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำ�เภอ มีจำ�นวนผู้ มารับบริการตั้งแต่การจัดตั้งศูนย์เฉลี่ยเดือนละ ๒๐ คน เรื่องที่ให้บริการเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การแสวงหาแหล่งทุน ช่องทางการตลาด เศรษฐกิจชุมชน การพัฒนาอาชีพ การพัฒนผลิตภัณฑ์ OTOP โครงการ กข.คจ. การบูรณาการเงินทุนชุมชน การบริหารจัดการกองทุนหมูบ่ า้ น และมี ผลงานทีศ่ นู ย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก อำ�เภอศรีบญ ุ เรือง ได้ดำ�เนินการไปแล้ว คือ

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

167


๑. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนงานโครงการพัฒนา ด้านการพัฒนาอาชีพ การท่องเที่ยวประเพณี วัฒนธรรม ๒. ส่งตัวแทนกลุ่มอาชีพเข้าอบรมที่หน่วยงานจัดขึ้น เช่น อุตสาหกรรมจังหวัด พาณิชย์จังหวัด และพัฒนาชุมชนจังหวัด ๓. ประสานการพัฒนาวัดจันทร์ประสิทธิ์ ก่อสร้างรูปปั้นพญานาค ๔. ประสานงานการก่อสร้างขยายถนนลาดยางสายศรีบุญเรือง-โนนสัง ๕. ประสานนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำ�ภูกอ่ สร้างถนนสาย ตำ�บล ทรายทอง กิ่งอำ�เภอหนองนาคำ� ได้ ๑ กิโลเมตร ๖. ประสานความร่วมมือขอใช้ศนู ย์จ�ำ หน่ายผลิตภัณฑ์ต�ำ บลหนองบัวใต้จากองค์การ บริหารส่วนตำ�บลหนองบัวใต้ ได้ ๑ อาคาร ๗. ประชาสัมพันธ์งานบุญบั้งไฟล้านอำ�เภอศรีบุญเรือง ระหว่างวันที่ ๑๓ – ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๘. ประสานงานการก่อสร้างถนนตำ�บลหนองกุงแก้ว – วัดผาสามยอด ๙. ประสานการก่อสร้างอาคารศูนย์บริการฯ กับเทศบาลโนนสูงเปลือย ๑๐. นำ�คณะกรรมการไปศึกษาดูงานจังหวัดเพชรบุรี และพระนครศรีอยุธยา

ประโยชน์การจัดตั้งศูนย์บริการ

๑. มีความสะดวกในการขอรับบริการข้อมูล มาขอรับบริการที่จุดเดียวสามารถได้ ข้อมูลด้านเศรษฐกิจครบทุกด้าน ๒. การที่มีการบริการและให้บริการทำ�ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ให้ บริการและผู้รับบริการ ๓. คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก มีที่มาจากตัวแทน กลุ่มต่างๆ ทำ�ให้เกิดการบูรณาการ การดำ�เนินงานไปในทิศทางเดียวกันเป็นการเสริมสร้าง ความเข้มแข็งแก่ศูนย์บริการฯ

168

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


การมีส่วนร่วมของภาคี

การประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับอำ�เภอเพื่อค้นหาความต้องการด้านเศรษฐกิจ และจัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของอำ�เภอศรีบุญเรืองมีหน่วยงานภาคี ได้แก่ ตัวแทนจากวิทยาลัยการอาชีพ และเทศบาลเข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการ กำ�หนดจุดขายด้านเศรษฐกิจและค้นหาความต้องการด้านเศรษฐกิจของอำ�เภอ คณะกรรมการเครือข่ายศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนจังหวัดให้การสนับสนุน ด้านวิชาการในการให้ข้อแนะนำ� และเป็นที่ปรึกษาแก่ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนใน ระดับอำ�เภอ ซึ่งจะทำ�การผลิตสื่อในรูปแบบ VCD เอกสาร ข้อมูลด้านเศรษฐกิจที่เป็นจุดขาย ของแต่ละอำ�เภอและจัดทำ�แผนทีข่ อ้ มูล่ ผลิตภัณฑ์ OTOP ในภาพร่วมของจังหวัดเพือ่ จัดส่งไป ให้ทุกอำ�เภอในจังหวัดหนองบัวลำ�ภู

แผนปฏิบัติการศูนย์บริการฯ

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอศรีบุญเรือง กำ�หนดแผนปฏิบัติการใน การดำ�เนินงานของศูนย์ มีกิจกรรม ดังนี้

๑ จัดตั้งศูนย์แสดงและจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP

ระยะเวลา ดำ�เนินการ ธ.ค.๕๑ – ก.ย.๕๒

๒ จัดตั้งศูนย์บริการอย่างถาวร

ธ.ค.๕๑ – ก.ย.๕๒

๓ จัดอบรมทางวิชาการแก่กลุ่มอาชีพ/กลุ่ม OTOP

ธ.ค.๕๑ – ก.ย.๕๒

๔ จัดอบรมเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการกลุ่ม

ธ.ค.๕๑ – ก.ย.๕๒

ที่

โครงการ/กิจกรรม

๕ การบริการข้อมูลข่าวสาร โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซด์/ ธ.ค.๕๑ – ก.ย.๕๒ แผ่นพับ ๖ ประชุม ๓ เดือน/ครั้ง หรือตามภารกิจเร่งด่วน ธ.ค.๕๑ – ก.ย.๕๒

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

169


ปัจจัยแห่งความสำ�เร็จ

ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอศรีบญ ุ เรือง จังหวัดหนองบัวลำ�ภู มีความ สำ�เร็จในการดำ�เนินงานในระดับหนึ่ง ซึ่งมีปัจจัยเกื้อหนุนการดำ�เนินงาน ดังนี้ ๑. กรรมการบริหารศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากมีความพร้อมโดยเฉพาะ ประธานกรรมการบริหารศูนย์ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ (ผอ.โรงเรียน) ๒. กรรมการบริหารศูนย์ฯ มีความเสียสละและพร้อมในการมีส่วนร่วมดำ �เนิน กิจกรรม ๓. มีคณะกรรมการทีป่ รึกษาทีพ่ ร้อมจะให้การสนับสนุนการดำ�เนินงานศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

ปัญหา/อุปสรรค

๑. งบประมาณในการดำ�เนินงานไม่เพียงพอ เช่น ค่าพาหนะเดินทางมาให้บริการ ของคณะกรรมการ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในศูนย์ ๒. การประชาสัมพันธ์แนวคิด แนวทางการดำ�เนินงานของศูนย์ยังไม่ทั่วถึง ทำ�ให้ กลุ่มเป้าหมายไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ๓. คณะกรรมการบางคนยังไม่มีความเชี่ยวชาญและไม่มีความรู้เพียงพอในการ บริหารศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ

๑. ควรมีการจัดสรรงบประมาณในการดำ�เนินงานของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจ ฐานรากให้เพียงพอ ๒. ควรมีโครงการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ๓. ควรนำ�แผนการดำ�เนินงานศูนย์บริการฯ เชื่อมกับแผนขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นเพื่อประสานขอความร่วมมือ และขอสนับสนุนงบประมา

170

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ วิสัยทัศน์อำ�เภอพร้าว “ เมืองน่าอยู่ อู่อารยธรรม เกษตรกรรมสู่ครัวโลก ” ข้อมูลทั่วไป

อำ�เภอพร้าว มีพื้นที่ทิ้งสิ้น ๒,๐๒๑.๘๕๕ ตร.กม. สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้ ภูเขาและพื้นที่ราบลุ่ม สภาพดินดี อุณหภูมิเฉลี่ย ๑๖ – ๓๕ องศาเซลเซียส ทำ�ให้อำ�เภอพร้าว สามรถปลูกพืชผลได้ดีมีคุณภาพ ดังนี้ ๑. ข้าวขาวหอมมะลิ ๑๐๕ เป็นพืชเศรษฐกิจหลักของอำ�เภอพร้าว ได้รับรางวัล ชนะเลิศระดับประเทศ ปี ๒๕๔๘ ๒. ปลูกดอกเบญจมาศเป็นดอกไม้ส่งออกตลอดทั้งปี ๓. ปลูกมะม่วงน้ำ�ดอกไม้สีทองส่งออกประเทศญี่ปุ่น และแถบยุโรป ๔. มีโครงการหลวงปปลูกพืชเมืองหนาว เช่น ท้อบ๊วย กาแฟ ปวยเล้ง บล็อกเคอรี่ กระหล่ำ�สีม่วง ต้นหอม ซาโยเต้ เป้นต้น ๕. ปลูกไม้ผลและพืชไร่ เช่น ลำ�ไย กล้วยหอมทอง เงาะ ข้าวโพดพันธ์ุ ถั่วเหลือง ถั่วแระ ตะไคร้ ฯลฯ สามารถผลิตจำ�หน่ายหมุนวัยนได้ตลอดทั้งปี ๖. มีเกษตรอินทรีย์ ผลผลิตการเกษตรที่มีความปลอดภัย เช่น ข้าวซ้อมมือเกษตร ผสมผสานเกษตรทฤษฏีใหม่ อำ�เภอพร้าว เป็นอำ�เภอที่มีอารยธรรมเก่าแก่ มีบันทึกเล่าไว้ว่า เมื่อ ๗๐๐ กว่าปี พญาเม็งราย ได้มาหยุดทัพที่อำ�เภอพร้าว เรียกว่า “เวียงป๊าววังหิน” เพื่อสะสมไพร่พลและ เสบียงอาหารก่อนไปตีเมืองลำ�พูน แต่ไม่สำ�เร็จ จึงได้พบพื้นที่ที่มีชัยภูมิใหม่และขนานนามว่า “นครพิงค์” อำ�เภอพร้าวมีเจ้าผู้ครองนคร จึงทำ�ให้มีศาลหลักเมือง (โดยปกติจะมีจังหวัดละ ๑ แห่งเท่านั้น) และสถานที่สำ�คัญคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่อดีต คือพระเจ้าล้านตอง วัดพระธาตุ แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

171


กลางใจเมืองหรือวัดสะดือเมือง มีโบราณสถานพระธานุม่วงเนิ้ง อายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี ได้แก่ วัดพระเจ้าตนหลวง และวัดดอยแม่ปั๋ง ซึ่งอดีตเป็นที่พำ�นักของพระอาจารย์หนู สุจิตโต และ หลวงปู่แหวน สุจิณโน นอกจากนั้น อำ�เภอพร้าว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำ�คัญ ได้แก่ น้ำ�ตก บ่อน้ำ�พุร้อน ศูนย์พัฒนาเกษตรพื้นที่สูงม่อนล้าน และการเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตร อินทรีย์ที่มีการรวมกลุ่มอย่างเข็มแข็ง สามรรถเป็นจุดเรียนรู้ของประชาชน หรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ และต่างจังหวัด ทำ�ให้อำ�เภอพร้าวมีจุดขาย คือ แหล่งท่องเที่ยวทั้งเชิง เกษตรเชิงนิเวศน์ และเชิงวัฒนธรรม ได้อย่างหลากหลาย

การจัดตั้งศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

๑. กำ�หนดการหารือร่วมกันเพื่อจัดตังศูนย์ฯ ครั้ ง ที่ ๑ แจ้ ง กลุ่ ม เป้ า หมายเข้ า ร่ ว มเวที ร ะดมความคิ ด และหารื อ ร่ ว มกั น ประกอบด้วย ผู้แทนกลุ่มองค์กร ได้แก่ ผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มออมทรัพย์เพื่อ การผลิต กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนโครงการ กข.คจ. กลุ่มวิสาหกิจชุมชน อาสา พัฒนาชุมชน กรรมการพัฒนาสตรีตำ�บล องค์การบริการส่วนตำ�บล สหกรณ์และธนาคาร ขณะเดียวกันอำ�เภอได้ประสานกับ อบต.เพื่อประชาสัมพันธ์ ให้ชาวบ้านได้รับรู้โดยทั่วกัน ครั้งที่ ๒ กำ�หนดประชุมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการและที่ปรึกษาศูนย์บริการ ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก โดยให้ทกุ ตำ�บลคัดเลือกผูแ้ ทนองค์กร ตำ�บลละ ๒-๓ คน ทำ�ให้ศนู ย์ บริการฯ อำ�เภอพร้าวมีคณะกรรมการ จำ�นวน ๑๒ คน และที่ปรึกษา จำ�นวน ๒ คน ๒. การพิจารณาผู้เข้าร่วมประชุม การคัดเลือกผู้แทนจากองค์กรเข้าร่วมประชุม โดยพิจารณาบุคคลที่มีความรู้ ประสบการณ์และสภาวะผู้นำ� ๓. จัดหาสถานที่ตั้งศูนย์ โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่าย OTOP อำ�เภอพร้าว ให้ใช้สถานที่ศูนย์ จำ�หน่ายสินค้า OTOP อำ�เภอพร้าว ซึ่งได้รับงบประมาณโครงการ SME ของบ้านแจ่งกู่เรือง เป็นที่ทำ�การศูนย์ฯ ชั่วคราว

172

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๔. ความต้องการด้านเศรษฐกิจ จากการจัดเก็บข้อมูลด้านอาชีพและรวบรวมความต้องการของชาวบ้าน พบว่า ชาวบ้านต้องการให้อำ�เภอมีศูนย์จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ ๕. จุดขายและเอกลักษณ์ของอำ�เภอพร้าว มีดังนี้ ๑. ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรอินทรีย์ ๒. คร้วเรือนเกษตรกรปลูกผักปลอดสารพิษ ๓. เป็นแหล่งผลิตข้าวสารปลอดสารพิษ ๔. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่

การบริหารศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

๑. โครงสร้างคณะกรรมการ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจรอำ�เภอพร้าว

ที่ปรึกษา ๒

ประธาน รองประธาน

เหรัญญิก ๒

ปฏิคม ๓ เลขานุการ ๒

กรรมการ ๒

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

173


๒. วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อให้มีศูนย์รวมผลิตภัณฑ์เพื่อจำ�หน่าย ทำ�ให้สามารถขับเคลื่อน OTOPใน พื้นที่ออกสู่ตลาดนอกจังหวัด และสามารถสร้างรายได้เข้ามาในชุมชนให้มากขึ้น ๒) เพื่อแสวงหาความรู้ ๓) เพื่อเป็นศูนย์ให้ความช่วยเหลือกลุ่ม องค์กร และเครือข่าย ในด้านเศรษฐกิจ ๓. ภารกิจของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ๑) จัดทำ�ฐานข้อมูลทุกอาชีพที่มีในอำ�เภอพร้าว ๒) รวบรวมความต้องการชองชาวบ้าน ๓) ให้คำ�ปรึกษา แนะนำ�และนำ�ความรู้ไปใช้ ๔) บริหารจัดการการใช้เงินที่ได้รับสนับสนุนจากกรมการพัฒนาชุมชน

วิธีการให้บริการของศูนย์บริการฯ

๑) มอบหมายผูร้ บั ผิดชอบ ให้ดแู ลและจำ�หน่ายสินค้า OTOP ในศูนย์จ�ำ หน่ายสินค้า OTOP และเป็นผู้ให้บริการประจำ�ศูนย์ฯ ตามวัน เวลา ราชการ ๒) บริการข้อมูลด้านอาชีพของราษฎรในอำ�เภอพร้าว ๓) ให้ความรู้แก่ผู้เข้ามาใช้บริการ โดยให้คำ�ปรึกษา และมีเอกสารสำ�หรับศึกษา ค้นคว้า ๔) จัดการอบรมให้ความรู้แก่สมาชิก และกลุ่ม องค์กร ในอำ�เภอ ๕) กรณีผใู้ ห้บริการไม่สามารถให้ค�ำ ปรึกษาได้ จะประสานขอคำ�ปรึกษาจากสำ�นักงาน พัฒนาชุมชนอำ�เภอ หรือคณะกรรมการศูนย์

ผลการดำ�เนินงานของศูนย์ฯ

๑. จัดเก็บข้อมูลด้านกลุ่มอาชีพของอำ�เภอพร้าว โดยกรรมการแต่ละตำ�บล ซึ่งได้ รวบรวมไว้เป็นเอกสาร ๒. ให้คำ�แนะนำ�และคำ�ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ สำ�หรับกลุ่มเป้าหมายที่มาใช้บริการ ได้แก่สมาชิกผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ในด้านการลงทุนผลิต OTOP แผนธุรกิจ และการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ สมาชิก กลุ่ม องค์กรอื่น ในด้านความรู้เกี่ยวกับอาชีพ และเรื่องแหล่งทุน ๓. บริการข้อมูลสำ�หรับนักศึกษาเพื่อทำ�วิจัยประกอบการเรียน

174

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


๔. จัดฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ด้านการบรรจุภัณฑ์ การเขียนตำ�นานผลิตภัณฑ์ (Story of Product) และเรือ่ งทุนดำ�เนินการ โดยประสานสถาบัน การศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เป้นวิทยากรให้ความรู้ ๕. จัดทำ�ทะเบียนกลุ่มชุมชน/ผู้ประกอบการ OTOP ที่มาใช้บริการ เพราะต้องการ ให้สมาชิก OTOP มีความรู้ ทุกกลุ่มสามารถจัดทำ�แผนธุรกิจได้

ประโยชน์ของศูนย์

๑. มีเครือข่ายที่มีความพร้อม ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแจ่งกู่เรืองอนุเคราะห์ ให้ใช้สถานที่ร่วมกัน เป็นทั้งตลาดและแหล่งให้บริหารข้อมูล ๒. มีภาคีทใี่ ห้การสนับสนุน ดังนีว้ า่ ที่ ซึง่ เป็นครูบำ�นาญมีความเสียสละเป็นทีป่ รึกษา และร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ๓. นายอำ�เภอพร้าว สนับสนุนให้จดั ภูมทิ ศั น์บริเวณศูนย์ฯ ให้เกิดความสวยงามและ เสนอโครงการขอรับงบประมาณจากยุทธศาสตร์จงั หวัดเชียงใหม่สนับสนุนกิจกรรมของศูนย์ฯ ในปี ๒๕๕๓ เป็นเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ๔. หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องโดยตรงให้การสนับสนุน เช่น ในการให้ความรูแ้ ก่ผเู้ ข้าร่วม อบรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์สินค้า OTOP ได้แก่ อุตสาหกรรมจังหวัดร่วมเป็นวิทยากร

ปัจจัยที่เอื้อต่อการดำ�เนินงาน

๑. ศักยภาพของคณะกรรมการ ทุกคนเป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ ในการบริหาร งานกลุม่ และองค์กรของตนเอง และส่วนหนึง่ ยังเป็นผูป้ ระสานงานและเป็นกรรมการในงานหรือ ภารกิจของหน่วยงานอืน่ ด้วย ทำ�ให้สามารถเชือ่ มโยงความรูแ้ ละงบประมาณอันเป็นประโยชน์ ที่เกิดแก่สมาชิกศูนย์โดยตรง ๒. การสนับสนุนของเครือข่ายองค์ความรู้ OTOP จังหวัด ซึง่ ได้จดั ทำ�เว็บไซด์ส�ำ หรับ ผลักดันการดำ�เนินงานของศูนย์ ให้สามารถบริการแก่สมาชิกของศูนย์ได้ตรงเป้ามากขึ้น ๓. องค์กรมีภาพแห่งความสำ�เร็จกล่าวคือ มีภาพของศูนย์ฯ ที่สามารถให้บริการแก่ สมาชิกตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยราชการ และมีแนวคิดว่าสามารถดูแล ตัวเองได้ ๔. มีเครือข่ายทีมคี วามพร้อม ศูนย์ฯ มีกลุม่ วิสาหกิจชุมชนบ้านแจ่งกูเ่ รืองอนุเคราะห์ ให้ใช้สถานที่ร่วมกัน เป็นทั้งตลาดและแหล่งให้บริการข้อมูล แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

175


ปัญหาอุปสรรค

๑. ขณะนีก้ ารให้บริการของศูนย์ฯ ยังต้องใช้สถานทีข่ องสำ�นักงานพัฒนาชุมชนก่อน เนื่องจากอาคารของศูนย์วิสาหกิจชุมชนยังไม่สามารถเปิดจำ�หน่ายสินค้าได้ ๒. อาสาสมัครทีม่ ศี กั ยภาพยังมีนอ้ ย และไม่มคี า่ ตอบแทนต้องอาศัยเจ้าหน้าทีเ่ ป็นหลัก ๓. คณะกรรมการฯ ยังขาดความรูค้ วามเข้าใจในการขับเคลือ่ นการดำ�เนินงานของศูนย์

ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

๑. ควรสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่และคณะกรรมการศูนย์ฯ ๒. ควรสนับสนุนงบประมาณในพัฒนาศูนย์ฯ เพื่อให้ศูนย์ฯ สามารถปฏิบัติหน้าที่ เป็นศูนย์บริการและส่งเสริมได้อย่างแท้จริง

176

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

177

กิจกรรม/โครงการ

เป้าหมาย

๑ จัดตั้งศูนย์บริการฯ ให้เป็นตลาดของสินค้าชุมชน กลุ่ม OTOP ผลผลิตด้านการเกษตร ๒ จัดทำ�ฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ๑๑ ตำ�บล ๓ จัดฝึกอบราให้ความรู้แก่กลุ่มสนใจ กลุ่มผูส้ ุงอายุตำ�บลเวียง กลุ่มสนใจตำ�บลป่าใหม่ ๔ จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์ฯ คณะกรรมการฯ ๒๕ คน ๕ ให้บริการข้อมูลด้านเศรษฐกิจ กลุ่ม OTOP ๖ จัดทำ�ทะเบียนแหล่งทุน/ภูมิปัญญา ๑๑ ตำ�บล ๗ จัดทำ�แผนที่ข้อมูลเศรษฐกิจ ๑๑ ตำ�บล ๘ จัดทำ�สื่อแผ่นพับเพื่อการประชาสัมพันธ์ ๑,๐๐๐ แผ่น ๙ ออกอากาศวิทยุชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจ สถานีวิทยุชุมชน ๔ แห่ง โทรทัศน์ ของศูนย์ฯ ท้องถิ่น ๑ ช่อง ๑๐ ร่วมออกหน่วยอำ�เภอยิ้มเพื่อประชาสัมพันธ์ เดือนละ ๑ ครั้ง ตามกิจกรรม ภารกิจของศูนย์ฯ ที่อำ�เภอ ได้ดำ�เนินการ ๑๑ ร่วมดำ�เนินการตามโครงการเพิ่มศักยภาพสินค้า กลุ่มสินค้า OTOP และผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน (โครงการตามยุทธศาสตร์ จาก ๑๑ ตำ�บล จังหวัด ปี ๕๓)

ที่

คณะกรรมการศูนย์ฯ/จนท.พช.

ตค.๕๒ - กย.๕๓

คณะกรรมการศูนย์ฯ นางพูนทรัพย์ ทุนคำ�/จนท.พช. คณะกรรมการศูนย์ฯ/จนท.พช. คณะกรรมการศูนย์ฯ/จนท.พช. คณะกรรมการศูนย์ฯ/จนท.พช. คณะกรรมการศูนย์ฯ/จนท.พช.

คณะกรรมการศูนย์ฯ คณะกรรมการศูนย์ฯ คณะกรรมการศูนย์ฯ

ผู้รับผิดชอบ

คณะกรรมการศูนย์ฯ

๕,๐๐๐ -

๒,๕๐๐ ๕,๐๐๐ ๒,๕๐๐

งบประมาณ

สค.๕๒ เป็นต้นไป

๔ เดือน/ครั้ง ตั้งแต่ มค.๕๒ กค.๕๒-กย.๕๒ กค.๕๒-กย.๕๒ กย.๕๒ กค.๕๒ เป็นต้นไป

ระยะเวลา ดำ�เนินการ ๑ กพ.๕๒ ๑๗ กพ.๕๒ 26 มีค.๕๒

แผนปฏิบัติการของศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนครบวงจรปี 2552 อำ�เภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่


178

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

ที่

กิจกรรม

ระยะเวลา พื้นที่ดำ�เนินการ ผูร้ บั ผิดชอบ หมายเหตุ ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.

ฟอร์มแผนการให้บริการศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


แบบประเมินความพึงพอใจในการให้บริการข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอสวรรค์บันดาล **************************

ขอความอนุเคราะห์ท่านในการตอบแบบประเมินความพึงพอใจในการให้บริการเพื่อประโยชน์ในการ พัฒนาการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากอำ�เภอสวรรค์บันดาลให้ดียิ่งขึ้นการตอบแบบ ประเมินนี้จะไม่มีผลกระทบต่อผู้ตอบแบบประเมินใดๆ ทั้งสิ้น คำ�ชี้แจง โปรดทำ�เครื่องหมาย √ ในช่องที่ตรงกับความเป็นจริงและตรงกับความเห็นของท่านมากที่สุด ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบประเมิน ๑. เพศ ชาย หญิง ๒. ช่วงอายุ น้อยกว่า ๒๑ ปี ๒๑ – ๓๐ ปี ๓๑ – ๔๐ ปี ๔๑ – ๕๐ ปี ๕๑ – ๖๐ ปี ๖๑ ปี ขึ้นไป ๓. วุฒิการศึกษาสูงสุด ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี อื่นๆ(ระบุ)............................... ส่วนที่ ๒ ท่านมีความพึงพอใจในการให้บริการในประเด็นต่อไปนี้ มากน้อยเพียงใด ระดับความพึงพอใจ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด

ประเด็นความพึงพอใจ ๑) การให้บริการข้อมูลของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้อง ๒) ได้รับข้อมูลที่ตรงตามความต้องการ ๓) คุณภาพของข้อมูลที่ได้รับบริการ (เอกสาร/สื่อ/สิ่งพิมพ์/ฯลฯ ๔) การนำ�ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ๕) ระยะเวลาในการให้บริการ ๖) การได้รับความสะดวกในการรับบริการ ส่วนที่ ๓ ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะอื่นๆ เกี่ยวกับการให้บริการ

ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบประเมิน แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก

179


สัญลักษณ์การประเมินความพึงพอใจ

180

แนวทางการดำ�เนินงานศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก


“ศูนย์บริการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก” หมายถึง ศูนย์กลาง การให้ บริการ ทาง วิชาการ และ พัฒนาขีดความสามารถ ด้านการ

พัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน

สำ�นักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวามคม ๒๕๕๐ อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น ๕ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ๑๐๒๑๐ http://www.cep.cdd.go.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.