พลังเยาวชน พลังแห่งการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลง

Page 1

พลังเยาวชน

พลังแห่งการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลง รูปธรรมการมีส่วนร่วมของเยาวชน

ในการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงชุมชนท่องเที่ยว ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการลดโลกร้อนและสร้างสุขภาวะชุมชน | Best Practice 4 กรณีศึกษาทั่วประเทศ |

คู่มือ โครงการสานพลังเยาวชน เสริมสร้างสุขภาวะชุมชน ร่วมลดโลกร้อน

ดำ�เนินการโดย สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน

สนับสนุนโดย สำ�นักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.)



พลังเยาวชน

พลังแห่งการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลง รูปธรรมการมีส่วนร่วมของเยาวชน ในการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงชุมชนท่องเที่ยว ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการลดโลกร้อนและสร้างสุขภาวะชุมชน

| Best Practice 4 กรณีศึกษาทั่วประเทศ | คู่มือ โครงการสานพลังเยาวชน เสริมสร้างสุขภาวะชุมชน ร่วมลดโลกร้อน

โดย สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน


พลังเยาวชน พลังแห่งการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลง คู่มือ โครงการสานพลังเยาวชน เสริมสร้างสุขภาวะชุมชน ร่วมลดโลกร้อน เขียนและเรียบเรียง จัดทำ�โดย สนับสนุนโดย ปกและรูปเล่ม พิสูจน์อักษร พิมพ์ครั้งแรก ISBN พิมพ์ที่

ฆนรุจ มิ่งเมธาพร โครงการสานพลังเยาวชน เสริมสร้างสุขภาวะชุมชน ร่วมลดโลกร้อน สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน ชั้น 3 คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม่เหียะ ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100 โทรศัพท์ 0 5394 8286-7 โทรสาร 0 5380 7001 www.cbt-i.org | http://cbtyouth.wordpress.com www.facebook.com/cbticlub | www.facebook.com/cbt.youth.club Email info@cbt-i.org หรือ cbtith@gmail.com สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมภพ ยี่จอหอ นุชนารถ สิงหภูติ มิถุนายน 2555 จำ�นวน 2,000 เล่ม 978-974-672-647-4 วนิดาการพิมพ์ 0 8178 3856 9



คำ�นำ�

เยาวชนไทยกำ�ลังเจริญเติบโตท่ามกลางความ ท้าทายจากกระแสการพัฒนาและกระแสการเปลีย่ นแปลง ด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และ การเมืองอย่างเชี่ยวกราก หนักหน่วง เนื่องด้วยเยาวชน คือวัยที่กำ�ลังขวนขวายเรียนรู้ สั่งสมประสบการณ์และ เติบโตอยูใ่ นสังคมทีก่ ำ�ลังเปลีย่ นแปลงนี้ เพือ่ เป็นผูร้ บั ช่วง ในการดูแลและพัฒนาประเทศต่อไปจากผู้ใหญ่ในรุ่น ปัจจุบัน จุดอ่อนของสังคมไทยที่เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย ประการหนึ่ง คือ การสอนให้เคารพผู้ใหญ่ และการให้ ความสำ�คัญกับผูอ้ าวุโส หรือผูท้ สี่ งู วัยกว่า มีประสบการณ์ มากกว่า ให้เด็กหรือเยาวชนรูจ้ กั การแสดงออกต่อผูใ้ หญ่ อย่างมีความเคารพนอบน้อม มีกิริยาวาจา มารยาทที่ดี ทัง้ ทางกายและใจ ซึง่ ถือเป็นข้อดีและเป็นเอกลักษณ์ของ สังคมไทยมาอย่างยาวนาน แต่ข้อเสียประการหนึ่งก็คือ การขาดโอกาสในการแสดงออก ในการให้ความคิดเห็น

ท่ามกลางวงสนทนา การได้ลงมือทำ� หรือร่วมรับผิดชอบ ในพื้นที่ต่าง ๆ ทางสังคมต่อเยาวชน เพียงเพราะถูก มองว่ายังไม่โตพอ ไม่มีความรับผิดชอบมากพอ โครงการสานพลังเยาวชน เสริมสร้างสุขภาวะ ชุมชน ร่วมลดโลกร้อน จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือและ ลดช่องว่างทางความคิดนีใ้ ห้แคบลง ผ่านการพิสจู น์ดว้ ย ความตั้งใจ กระตือรือร้น ความรู้ ความสามารถ และ ความรับผิดชอบต่อการทำ�กิจกรรมโครงการของเยาวชน ในแต่ละพืน้ ที ่ บนพืน้ ฐานความคิดความเชือ่ ทีว่ า่ เยาวชน มีพลังแห่งการสร้างสรรค์สังคมไม่น้อยไปกว่าผู้ใหญ่ ในปัจจุบนั เพียงแต่ขาดโอกาสและพืน้ ทีใ่ นการแสดงออก คำ�ว่าเยาวชนนั้น เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า เป็นวัยทีอ่ ยูต่ รงกลางระหว่าง “เด็ก” และ “ผูใ้ หญ่” โดย เด็กก็จะมีนิสัยรักสนุก มีความตื่นตัวในการแสดงออก และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา มีความ กระตือรือร้นสูง สำ�หรับผูใ้ หญ่กจ็ ะมีความรับผิดชอบตาม


บทบาทหน้าที่ที่ตนเองมีอยู่ในสังคม มีเหตุมีผลในการ แสดงออก บริหารจัดการเวลาได้อย่างเหมาะสม และ สามารถแก้ไขปัญหาหรือสถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่าง สุขมุ รอบคอบ เยาวชนจึงเป็นวัยทีผ่ า่ นช่วงความเป็นเด็ก จากอดีตและกำ�ลังจะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต เป็นวัยที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งสามารถนำ�จุดเด่นและความ ดีงามของคนทั้ง 2 ช่วงวัยนี้มาปรับประยุกต์ใช้กับตนเอง ได้ เยาวชนจึงเป็นวัยทีม่ คี วามสนุกสนาน ตืน่ ตัว พร้อม ทีจ่ ะเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ ๆ แต่กต็ อ้ งมีความรับผิดชอบ รูจ้ กั การ แบ่งเวลา ยามเล่นสนุกสนานก็เล่นให้เต็มที ่ แต่ถงึ เวลา ทำ�งานหรือปฏิบัติกิจกรรมใด ๆ ก็ตาม ก็ต้องตั้งใจและ มีความรับผิดชอบต่อการงานนัน้ และต้องขยันใฝ่หาความรู้ อยูเ่ สมอ เพือ่ การเป็นคนมีเหตุมผี ลและสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์เรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างครบองค์ประกอบ รอบด้าน และมีสติอยู่ตลอดเวลา เยาวชนจึงไม่จำ�เป็น ต้องทิ้งสิ่งดีงามในช่วงวันและวัยเด็กที่ล่วงเลยมาแล้ว

ให้หายไป และก็ไม่จำ�เป็นต้องรอให้โตเป็นผูใ้ หญ่เสียก่อน ถึงจะรูจ้ กั แบ่งเวลาหรือมีความรับผิดชอบได้ หากเยาวชน เป็นได้ดังนี้แล้ว กิจการงานใด ๆ ก็จะสามารถบรรลุล่วง ผ่านไปได้ เชื่อมั่นและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเยาวชนทุกคน ทีม่ คี วามแตกต่างหลากหลายทัง้ ทางด้านสังคม สิง่ แวดล้อม วิถชี วี ติ และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ จากทุกพืน้ ทีท่ วั่ ประเทศ ที่กำ�ลังเจริญเติบโตและอาศัยอยู่ในสังคมที่กำ�ลังมีการ เปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็วนี้ จะใช้โอกาสทีม่ ใี นแต่ละครัง้ ฝ่าฟันอุปสรรค สร้างความเชื่อมั่น และพิสูจน์ให้สังคม เห็นถึงพลังของพวกเราทุกคน พลังของเยาวชน พลังแห่ง การสร้างสรรค์สังคมอย่างเต็มที่เต็มความภาคภูมิ

ด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธา ฆนรุจ มิ่งเมธาพร ผู้จัดการโครงการสานพลังเยาวชนฯ



สาส์นจากผู้อ�ำ นวยการ สร้างโอกาส...สร้างสังคม

เส้นทางการเริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ “สานพลังเยาวชน เสริมสร้างสุขภาวะ ชุมชน ร่วมลดโลกร้อน” ทำ�ให้ค้นพบ “ความจริง” ที่ซุกซ่อนอยู่ เป็นปรากฏการณ์ที่ สังคมส่วนรวมควรต้องรับรู้และแสวงหาทางออกร่วมกัน

ขาดคนรุ่นหลังสานต่อ

เยาวชน (ส่วนใหญ่) ไม่อยู่บ้าน

ทัศนคติของผู้ใหญ่ผลักให้เยาวชนออกไกลไปจากถิ่น

ตอนเริ่มต้นโครงการ พบว่า สิ่งที่ผู้ใหญ่ในชุมชนร่วมกันทำ�การพัฒนาชุมชน โดยใช้การท่องเทีย่ วเป็นเครือ่ งมือ เพือ่ ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรม ไว้ให้ลกู หลานได้ใช้ประโยชน์และสืบทอด แต่กลุม่ เยาวชนทีร่ บั มรดกตกทอดยังขาดการ รับรู้และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา คนที่อยู่ในวัยเรียนออกไปเรียนนอกหมู่บ้าน คนที่ไม่เรียนออกไปทำ�งานนอก หมูบ่ า้ น การรวมกลุม่ คนวัยเดียวกันหรือใกล้เคียง มาทำ�งานร่วมกันเป็นไปได้อย่างยาก ลำ�บาก ค่านิยมทีต่ อ้ งการให้ลกู หลานได้เรียนหนังสือ มีการศึกษาสูง ทำ�งานนอกบ้าน มากกว่ากลับมาทำ�งานที่บ้าน ยังอยู่ในความคิดของผู้ปกครอง ทำ�ให้เยาวชนที่คืนถิ่น ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ

ผู้ใหญ่ท�ำ แทนเพราะกลัวเยาวชนทำ�ไม่สำ�เร็จ หรือทิ้งเยาวชนให้โดดเดี่ยว ผลักดันงานโดยลำ�พัง เยาวชนต้องการพี่เลี้ยงที่เป็นผู้ใหญ่ในชุมชนที่มีความเข้าใจ ให้โอกาส และ ร่วมคิด เป็นที่ปรึกษาในจังหวะเวลาที่เหมาะสม กระบวนการมีความสำ�คัญมากกว่า


จากความหลากหลายของชุมชน ที่แตกต่างทั้งด้านภูมิภาค ขนาดชุมชน และประสบการณ์ในการทำ�งาน ยังมีข้อค้นพบที่น่าสนใจ อาทิ

เยาวชนกลับบ้านหรืออยู่บ้านและมุ่งมั่นทำ�งานพัฒนาเพื่อบ้านเกิด

เครือข่ายและแรงบันดาลใจ

การเปิดพืน้ ทีแ่ ละสร้างโอกาสให้เยาวชนได้แสดงบทบาท เป็นเหมือนตัวช่วยทีท่ ำ�ให้เยาวชนไม่รสู้ กึ โดดเดีย่ ว ทำ�ให้ผู้ใหญ่ในชุมชนเห็นศักยภาพของพวกเขาและกลายเป็นพลังเสริมงานพัฒนาชุมชน ทุนทางธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรมทีช่ มุ ชนร่วมกันดูแล เป็นทุนทีส่ ำ�คัญทีท่ ำ�ให้เยาวชนสามารถเริม่ ต้นและต่อยอดได้ ขอเพียงให้โอกาส เช่น ถ้าหากไม่มีผู้ใหญ่ให้โอกาส หรือมีโครงการให้เยาวชนได้คิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ ชุมชนก็อาจเดินลำ�พังโดยขาด คนรุ่นใหม่มาเสริมแรง กรณีที่กล่าวถึง ได้แก่ บ้านบ่อเจ็ดลูก จ.สตูล ชุมชนสลักเพชร จ.ตราด บ้านหนองหล่ม จ.เชียงใหม่ บ้านห้วยตองก๊อ บ้านแม่ละนา จ.แม่ฮ่องสอน เป็นต้น ในเวทีนำ�เสนอความก้าวหน้าระดับจังหวัด ในจังหวัดที่มีชุมชนในโครงการจำ�นวนมาก เช่น เชียงใหม่ หรือ แม่ฮอ่ งสอน บทเรียนจากการทำ�งานของชุมชนหนึง่ สามารถช่วยคลีค่ ลายปมปัญหาของอีกชุมชนหนึง่ ได้ เช่น การสร้าง การรับรูใ้ ห้กบั ผูใ้ หญ่ การทำ�ให้ผใู้ หญ่ในชุมชนยอมรับ หรือความพยายามในการทำ�งานร่วมกันของเยาวชนทีม่ วี นั ว่าง ต่างกันระหว่างเยาวชนทีเ่ รียนหนังสือกับคนทีท่ ำ�งานแล้ว เวทีแลกเปลีย่ นเป็นเสมือนกำ�ลังใจให้กนั และกัน ทัง้ ปัญหา ที่คล้ายกัน และแนวทางแก้ไขปัญหาที่อาจนำ�ไปปรับใช้ได้

รวมทั้งในงานมหกรรม “สานพลังเยาวชน ลดโลกร้อน” ที่เยาวชนในโครงการนำ�ผลงานมาจัดแสดง เป็น ภาพสะท้อนให้เห็นพลังและความสามารถของเยาวชนที่สร้างแรงบันดาลใจให้ทั้งเยาวชนในเครือข่ายและผู้ใหญ่ ต่างชุมชนมองเห็นคุณค่าและพลังของเยาวชนได้เป็นอย่างดี

จิตอาสา จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง

แม้วา่ โครงการฯ จะเริม่ ต้นโดยมีกลุม่ เป้าหมายคือเยาวชน แต่ดว้ ยความเสียสละและจิตอาสาของผูน้ ำ� ผูใ้ หญ่ ในชุมชน และจิตอาสาของเยาวชนผูล้ กุ ขึน้ มาแสดงตนและรวมกลุม่ กันทำ�กิจกรรม หากปราศจากจิตอาสา และความ รับผิดชอบ ผลงานทีไ่ ด้แสดงตนต่อสาธารณะและกรณีศกึ ษาในหนังสือเล่มนีค้ งไม่สามารถเกิดขึน้ ได้ แม้วา่ โครงการฯ ในระยะที่ 1 จะยุตบิ ทบาทลง สำ�นึกรักบ้านเกิด การทำ�งานเพือ่ สังคม การสนับสนุนและให้กำ�ลังใจแก่คนทีต่ อ้ งการ ทำ�ดีเพื่อสังคม ล้วนเป็นพื้นฐานที่ดีในการสร้าง “หัวใจแห่งการแบ่งปัน” และ “การทำ�งานเพื่อท้องถิ่น” ให้กับคน ในสังคม


การคัดเลือกพื้นที่ในหมู่บ้านที่ทำ�เรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนและสร้างเงื่อนไขของกิจกรรมโครงการ ให้มีการเชื่อมโยง การท่องเที่ยวโดยชุมชน การสร้างสุขภาวะชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ สิง่ แวดล้อม และโลกร้อน แท้จริงแล้วเป็นเพียงกลยุทธ์เพือ่ ฝึกเยาวชนให้รจู้ กั การคิด-วิเคราะห์และอาสาทำ�งาน ผ่านการทำ�โครงการเพื่อท้องถิ่น

ในการนี้ทางสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน ใคร่ขอขอบคุณสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ในการให้ทุนสนับสนุนโครงการสานพลังเยาวชน เสริมสร้างสุขภาวะชุมชน ร่วมลด โลกร้อน เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพและมีบทบาทในการพัฒนาท้องถิ่นตน

พจนา สวนศรี ผู้อำ�นวยการสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน


สารบัญ 01 | ความเป็นมาโครงการ 12 | ผลผลิตโครงการ 13 | การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 04 | สุขภาวะคืออะไร กับการเยียวยาโลก 15 | ขยะลดโลกร้อน 06 | ความสำ�คัญของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

08 | การท่องเที่ยวโดยชุมชน 09 | 3 ประเด็นหลักกับการแก้ไขปัญหา สภาวะโลกร้อน

17 | สมุนไพรและอาหารต้านโลกร้อน 19 | โลกร้อนกับวิถีชีวิตพอเพียง 22 | ท่องเที่ยวลดโลกร้อน 25 | โลกร้อนกับพลังงานทางเลือก 27 | สื่อสร้างสรรค์ต่อต้านโลกร้อน


30 | กรณีศึกษา 4 พื้นที่ดีเด่น

32 | พื้นที่ดีเด่นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 40 | พื้นที่ดีเด่นด้านการส่งเสริม และอนุรักษ์วัฒนธรรม 52 | พื้นที่ดีเด่นด้านการท่องเที่ยว และสุขภาวะชุมชน 62 | พื้นที่ดีเด่นด้านนวัตกรรม และการใช้สื่อสร้างสรรค์

73 | Mind Map ลดโลกร้อน 76 | ผู้ใหญ่ใจดี...ที่ปรึกษา 78 | กลุ่มเยาวชนและชุมชน

พืน้ ทีด่ ำ�เนินงานโครงการฯ | ประมวลภาพ

79


ความเป็นมาโครงการ

โครงการสานพลังเยาวชน เสริมสร้างสุขภาวะ ชุมชน ร่วมลดโลกร้อน เกิดจากการพูดคุยอย่างเป็นกันเอง ระหว่างผู้แทนจากหมู่บ้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-Based Tourism : CBT) ในเวที “ริม ระเบียง” ซึ่งจะจัดขึ้นทุก 6 เดือน เพื่อพบปะแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นระหว่างชุมชนท่องเทีย่ วในพืน้ ทีภ่ าคเหนือถึง สถานการณ์และปัญหาในปัจจุบันของเยาวชนในพื้นที่ ที่ ขาดความรูค้ วามเข้าใจในท้องถิน่ ของตนเอง หากมีโอกาส ก็จะไปทำ�งานประกอบอาชีพ หรือดำ�เนินชีวติ นอกหมูบ่ า้ น เปลีย่ นแปลงวิถชี วี ติ วัฒนธรรมและความเชือ่ เป็นไปตาม คนเมืองที่มีวิถีชีวิตสมัยใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ชุมชนจึง ต้องการปลูกฝังแนวคิดและสร้างจิตสำ�นึกทีด่ ใี ห้กบั เยาวชน ภายในหมู่บ้านได้เรียนรู้และเข้าใจท้องถิ่นของตนเอง จนกระทัง่ สามารถเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาบ้านเกิด ให้เป็นสังคมที่เติบโตไปพร้อม ๆ กับเยาวชนได้ สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชนในฐานะองค์กร หลักทีท่ ำ�งานสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชน CBT ทัว่ ประเทศ จึงได้บรู ณาการความคิดนีร้ ว่ มกับสำ�นักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และกลุ่มเยาวชนใน 50 ชุมชนท่องเที่ยวทั่วทุกภูมิภาค พัฒนาโครงการที่มุ่งเน้น ให้เยาวชนเป็นต้นคิดในการสร้างสรรค์กจิ กรรมเพือ่ ชุมชน ผ่านระบบอาสาสมัครทีต่ อ้ งการทำ�ความดีเพือ่ หมูบ่ า้ นหรือ ชุมชนของตนเอง โดยพัฒนากิจกรรมโครงการทีเ่ กีย่ วข้อง

01 พลังเยาวชน


กับการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมสุขภาวะที่ดี และกิจกรรมการ ท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยโครงการจะเป็น ผู้ส่งเสริม ฝึกอบรม และพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้าน องค์ความรูเ้ กีย่ วกับสภาวะโลกร้อน จนกระทัง่ เข้าใจและ สามารถบูรณาการ 3 ประเด็นดังกล่าว นำ�ไปสูก่ ารแก้ไข ปัญหาสภาวะโลกร้อนได้อย่างมีนัยสำ�คัญ ระบบอาสาสมัครทีต่ อ้ งการหัวใจของการเสียสละ เพื่อหมู่บ้าน และการพัฒนากิจกรรมโครงการที่มาจาก ความต้องการของกลุม่ เยาวชนเอง จะเป็นเครือ่ งมือสำ�คัญ ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับเยาวชน สร้าง ความภาคภูมใิ จให้กบั เยาวชนในระหว่างการทำ�งานและ ปฏิบัติกิจกรรม จนกระทั่งมองเห็นศักยภาพและคุณค่า ของตนเองว่าสามารถเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคม ในระดับชุมชนได้ ตลอดจนกิจกรรมทีเ่ ยาวชนได้พฒ ั นา เพือ่ ชุมชนของตนเองนัน้ ยังสามารถสร้างการแลกเปลีย่ น เรียนรู้ให้กับบุคคลภายนอก เช่น กลุ่มนักศึกษา กลุ่ม ศึกษาดูงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มนักท่องเที่ยว ผ่าน การบูรณาการหรือผนวกกิจกรรมที่เยาวชนสร้างสรรค์ ร่วมกับผูใ้ หญ่ใจดีทดี่ แู ลและบริหารจัดการการท่องเทีย่ ว ในหมูบ่ า้ น ให้เป็นหนึง่ ในกิจกรรมท่องเทีย่ วทีเ่ ปิดโอกาส ให้ผมู้ าเยือนได้สมั ผัสและเห็นถึงพลังของเยาวชนในระดับ ท้องถิ่นทั่วประเทศ พลังเยาวชน 02


03 พลังเยาวชน


สุขภาวะคืออะไร?

หากเราให้บุคคลทั่วไปอธิบายถึงความหมายและ ความเข้าใจของคำ�ว่าสุขภาพ คนทัว่ ไปจะนึกถึงการมีสขุ ภาพ ที่สมบูรณ์ ไม่ผอม ไม่อ้วน ร่างกายแข็งแรงไม่เจ็บป่วยเป็น โรค แต่แท้ที่จริงแล้ว องค์การอนามัยโลก ได้นิยามไว้ว่า “สุขภาพ หมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา มิใช่เพียงการปราศจากโรคหรือความ พิการเท่านัน้ ” (ตามนิยาม “สุขภาพ” ขององค์การอนามัย โลก และ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550) อันได้แก่ 1. สุขภาวะทางกาย หมายถึง การมีร่างกายที่ สมบูรณ์แข็งแรง มีเศรษฐกิจพอเพียง มีสิ่งแวดล้อมดี ไม่มี อุบัติภัย เป็นต้น 2. สุขภาวะทางจิต หมายถึง จิตใจที่เป็นสุข ผ่อน คลาย ไม่เครียด คล่องแคล่ว มีความเมตตา กรุณา มีสติ มีสมาธิ เป็นต้น 3. สุขภาวะทางสังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกัน ด้วยดี ในครอบครัว ในชุมชน ในที่ทำ�งาน ในสังคม ใน โลก ซึ่งรวมถึงการมีบริการทางสังคมที่ดี และมีสันติภาพ เป็นต้น 4. สุขภาวะทางปัญญา (จิตวิญญาณ) หมายถึง ความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากการมีจิตใจสูง เข้าถึง

ความจริงทั้งหมด ลดละความเห็นแก่ตัว ความดีสูงสุด ซึ่งขึ้นกับความเชื่อที่แตกต่างกันของแต่ละคน ซึง่ สามารถสรุปให้เข้าใจง่ายได้ความว่า การมี สุขภาพหรือสุขภาวะที่ดี คือ การมีร่างกายและจิตใจ ที่สมบูรณ์ อาศัยอยู่ท่ามกลางสังคมและสิ่งแวดล้อม ทีด่ ี ทีเ่ อือ้ ต่อการเจริญเติบโตอย่างมีคณ ุ ภาพ ทัง้ ทางกาย และจิตใจ มีสติปัญญาในการคิดไตร่ตรอง เข้าใจเหตุ และผลอย่างมีสติสัมปชัญญะในการดำ�รงชีวิตได้ดี โครงการสานพลังเยาวชนฯ ให้ความสำ�คัญใน การบูรณาการเรื่องการพัฒนาสุขภาวะเชิงปัจเจกและ สุขภาวะชุมชน ทีก่ ลุม่ เยาวชนในพืน้ ทีเ่ ป้าหมายได้มโี อกาส ศึกษาชุมชนของตนเอง เกี่ยวกับต้นทุนด้านสุขภาวะ ว่ามีหรือขาดด้านใดด้านหนึง่ หรือไม่ จนสามารถนำ�มา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และปรับประยุกต์ให้เป็นกิจกรรม การพัฒนา ภายใต้โครงการของเยาวชนเองได้ ซึ่งจะ เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนและชุมชนในพืน้ ที่ เป็นชุมชน สุขภาวะ ตลอดจนกระบวนการพัฒนากิจกรรมโครงการ จะทำ�ให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจถึงคำ�ว่า “สุขภาวะ ที่ดี” ได้อย่างเต็มที่ จนสามารถเป็นแกนนำ�เพื่อการ เปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะของชุมชนได้ในที่สุด พลังเยาวชน 04


05 พลังเยาวชน


ความสำ�คัญของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

หากพิจารณาถึงวิถีการดำ�รงชีวิตความเป็นอยู่ อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค หรือเครือ่ งนุง่ ห่ม ก็จะพบว่า ต้นทาง การผลิตทุกอย่างนั้น จำ�เป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้นทุนและปัจจัยในการผลิตด้วยกันทัง้ หมดทัง้ สิน้ และ ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ก็จะส่งเสริมให้เรามี สิ่งแวดล้อมที่ดี สะอาด ปราศจากสิ่งปฏิกูล หรือมลพิษ เจือปน เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยและการดำ�รงชีวิตได้ แต่ในปัจจุบนั ความรูค้ วามเข้าใจถึงความสัมพันธ์ และความสำ�คัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนี้ ยังขาดความตระหนักอย่างจริงจัง เราทิง้ ขยะลงแม่น้ำ�ลำ�ธาร ทั้งที่รู้ว่าจำ�เป็นต้องมีน้ำ�สะอาดไว้ใช้อุปโภคบริโภค เรา ปล่อยควันเสียอยู่ตลอดเวลาทั้งที่รู้ว่าเราต้องการอากาศ บริสุทธิ์ โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาพร้อมกับ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ ใช้ชีวิตอยู่กับความ สะดวกสบาย จนอาจจะไม่สามารถมองเห็นหรือเข้าใจความ สัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติได้ดีพอ การบูรณาการด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อม ให้เป็นอีกประเด็นหนึง่ ทีเ่ ยาวชนควรสนใจ ศึกษาเพิ่มเติมองค์ความรู้ จนเข้าใจถึงระบบความสัมพันธ์ ต่าง ๆ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม มูลเหตุและปัจจัย ในความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงต่าง ๆ จะทำ�ให้เยาวชนเกิด

สติปญ ั ญา สามารถมองเห็นความสัมพันธ์เหล่านีภ้ ายใน ชุมชนของตนเอง สามารถวิเคราะห์ถงึ สาเหตุของปัญหา ด้านสิ่งแวดล้อมได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อนำ�ไปสู่การ แก้ไขปัญหาหรือส่งเสริมให้สังคมชุมชนของตนเองให้มี สภาพความเป็นอยู่ที่เอื้อหนุนต่อการดำ�รงชีวิตที่ดีและ อาศัยอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชน คน และธรรมชาติได้

พลังเยาวชน 06


07 พลังเยาวชน


การท่องเที่ยวโดยชุมชน ต้นทุนพื้นที่ของเยาวชนในโอกาสและการแสดงศักยภาพ

การท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ การท่องเที่ยวที่ บริหารจัดการด้วยชุมชนเป็นหลัก จัดการท่องเที่ยวโดย คำ�นึงถึงความยัง่ ยืนของสิง่ แวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม และใช้ฐานทรัพยากรเหล่านัน้ อาทิ ธรรมชาติ สิง่ แวดล้อม วิถีชีวิต ประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ สร้างสรรค์เป็น โปรแกรมและกิจกรรมท่องเที่ยว โดยมีจุดมุ่งหมายไปที่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง “เจ้าของบ้าน” (ชุมชน) และ “แขกผู้มาเยือน” (นักท่องเที่ยว) เพื่อให้คนทั้ง สองฝั่งที่ต่างวัฒนธรรมได้เรียนรู้ เข้าใจ และเคารพซึ่งกัน และกัน โครงการสานพลังเยาวชนฯ ทำ�งานกับ 48 กลุม่ เยาวชนใน 50 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวที่เน้น การแลกเปลีย่ นเรียนรูท้ งั้ หมด กระจายตัวอยูต่ ามภูมภิ าค ต่าง ๆ ของประเทศ ข้อดีประการนีจ้ ะทำ�ให้เยาวชนมีโอกาส

ในการแสดงความสามารถนอกจากกับกลุ่มผู้ใหญ่ใน หมู่บ้านหรือชุมชนของตนเองแล้ว ยังสามารถแสดง ศักยภาพผ่านกิจกรรมต่าง ๆ หรือสร้างกิจกรรม ท่องเทีย่ วทีเ่ ป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อม ช่วยลดโลกร้อน ให้ นักท่องเที่ยวได้สัมผัสหรือเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเป็น รูปธรรมได้อีกทางหนึ่งด้วย ชุมชนท่องเที่ยว คือ สถานที่ที่ให้ “โอกาส” เยาวชนได้แสดงออกถึง มุมมอง ความคิดอ่าน ความรู้ ความสามารถ และศักยภาพต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมเยาวชน และเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ร่วมคิดร่วมทำ� ร่วม รับผิดชอบ การบริหารจัดการท่องเทีย่ ว ผ่านการยอมรับ จากกลุ่มผู้ใหญ่ผู้บริหารจัดการท่องเที่ยว ด้วยผลงาน ต่าง ๆ ที่เยาวชนได้พัฒนาขึ้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป พลังเยาวชน 08


3 ประเด็นหลัก กับการแก้ไขปัญหา สภาวะโลกร้อน ทำ�ไมต้องลดโลกร้อน? ทำ�ไมต้องลดโลกร้อน?

ปัญหาโลกร้อนเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ อาทิ การขนส่ง การอุปโภคบริโภค การใช้พลังงานอย่าง ฟุ่มเฟือยเพื่อตอบสนองความสุข การสร้างขยะมูลฝอย และน้ำ�เสีย เป็นต้น ทำ�ให้มีผลกระทบต่อสภาพ สิ่งแวดล้อมโดยรวมของโลก และกระทบต่อเนื่องไปถึง สิ่งมีชีวิตบนโลกด้วยเช่นกัน เช่น อุณหภูมิของน้ำ�ทะเล เปลี่ยนไปเพียงเล็กน้อยก็ทำ�ให้ปะการังตายได้ เมื่อ ปะการังซึ่งเป็นผู้ผลิตลำ�ดับต้น ๆ ของห่วงโซ่อาหาร ในทะเลตายไปหรือเหลือน้อยลง ก็ทำ�ให้สัตว์ทะเล ลดลงกระทบเป็นห่วงโซ่ไปด้วย โครงการสานพลังเยาวชนฯ ให้ความสำ�คัญถึง การบูรณาการการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมสุขภาวะที่ดี การจัดกิจกรรม ท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่เป้าหมาย 50 ชุมชนท่องเที่ยวทั่วประเทศ เพราะเห็นถึงความ

09 พลังเยาวชน


เชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของ 3 ประเด็นหลัก ดังกล่าวต่อการช่วยบรรเทา หรือแก้ไขปัญหาสภาวะ โลกร้อนได้อย่างมีนัยสำ�คัญ เช่น การปลูกป่าหรือ ดูแลรักษาป่าต้นน้ำ�ของเยาวชนในพื้นที่สูงจะช่วย ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นสาเหตุหลัก ของปัญหาสภาวะโลกร้อนได้ กิจกรรมที่ส่งเสริม สุขภาวะ หรือกิจกรรมท่องเทีย่ วทีล่ ดการใช้พลังงาน การแก้ไขปัญหาขยะของชุมชน การใช้วถิ ชี วี ติ ทีเ่ ป็น มิตรกับธรรมชาติ ฯลฯ และกิจกรรมต่าง ๆ อีก มากมาย ทีส่ ามารถสร้างสรรค์ หากเข้าใจถึงความ เชือ่ มโยงเกีย่ วเนือ่ งแล้ว ก็จะสามารถช่วยลดปัญหา สภาวะโลกร้อนได้ ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ นอกจากจะมีประโยชน์ต่อชุมชนเองแล้ว ก็ยังก่อ ให้เกิดประโยชน์กับสังคมรอบข้าง หรือสังคมโลก ในภาพรวมได้อีกด้วย เยาวชนในชุมชนท่องเทีย่ วเหล่านีย้ งั มีโอกาส อันดีอีกประการหนึ่ง คือการใช้หมู่บ้านที่เป็นแหล่ง ท่องเทีย่ วของตนเอง เป็นเครือ่ งมือในการสร้างโอกาส การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกิจกรรมลดโลกร้อน ดูแลรักษาสิง่ แวดล้อม ส่งเสริมสุขภาวะทีด่ ี ระหว่าง เยาวชนผู้มีจิตอาสากับนักท่องเที่ยวหรือแขก ผูม้ าเยือน ให้ได้มสี ว่ นร่วมอย่างจริงจัง ต่อการแก้ไข ปัญหาสภาวะโลกร้อน ผ่านกิจกรรมในรูปแบบ ต่าง ๆ ที่เยาวชนได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้น พลังเยาวชน 10


11 พลังเยาวชน


ผลผลิ ต โครงการ Output Outcome

โครงการสานพลังเยาวชนฯ ทำ�งานร่วมกับ 48

กลุ่มเยาวชน 50 หมู่บ้านเป้าหมาย (รายละเอียดชุมชน เป้าหมายโปรดศึกษาจากด้านท้ายเล่มหนังสือ) ทีม่ คี วาม หลากหลายทางชาติพนั ธุ์ ถิน่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ความเชือ่ ศาสนา ประเพณี วิถชี วี ติ และวัฒนธรรมต่าง ๆ โดยความท้าทาย และเป้าหมายร่วมของเยาวชนทั้งหมด คือ การใช้พลัง เยาวชนสร้างสรรค์กิจกรรมที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน ตนเองใน 3 ด้านที่เกี่ยวข้องดังได้กล่าวไปแล้วนั้น ให้ สามารถเชื่อมโยงไปสู่การบรรเทา ปรับตัว และแก้ไข ปัญหาสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ

โลกร้อนได้ โดยกิจกรรมทีเ่ ยาวชนทัว่ ประเทศได้สร้างสรรค์ นั้น มีความหลากหลายแตกต่างกันไป ซึ่งสามารถสรุป เป็นประเด็นทีเ่ ชือ่ มโยงไปสูก่ ารช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ 7 ประเด็น คือ 1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติกับ การเยียวยาโลก 2) ขยะลดโลกร้อน 3) สมุนไพรและ อาหารต้านโลกร้อน 4) โลกร้อนกับวิถีชีวิตพอเพียง 5) ท่องเที่ยวลดโลกร้อน 6) โลกร้อนกับพลังงานทาง เลือก และ 7) สื่อสร้างสรรค์ต่อต้านโลกร้อน โดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้ พลังเยาวชน 12


ผลผลิตโครงการ

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ กับการเยียวยาโลก การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะป่าไม้ ยังคงเป็นประเด็นสำ�คัญสำ�หรับการ ลดปัญหาสภาวะโลกร้อน เพราะต้นไม้เป็นหน่วยสำ�คัญ ในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และใช้ในกระบวนการ สังเคราะห์แสงเพือ่ สร้างอาหารและการเจริญเติบโต เป็น ผู้ผลิตที่สำ�คัญที่สุดในห่วงโซ่อาหาร สรุปได้ความว่า ต้นไม้เป็นผู้ดูดซับก๊าซและแปรเปลี่ยนเป็นกิ่งก้านสาขา ทำ�หน้าทีก่ กั เก็บก๊าซไว้ในรูปของเนือ้ เยือ่ ต่าง ๆ ไม่ให้ถกู ปล่อยออกไปสูช่ นั้ บรรยากาศนัน่ เอง โดยนอกจากต้นไม้ แล้ว ยังมีปะการังที่อยู่ในฐานะดูดซับก๊าซเพื่อสร้างเป็น กิง่ ก้านสาขาเช่นกัน การอนุรกั ษ์ทรัพยากรทางทะเล และ ทรัพยากรป่าไม้ เพิ่มพื้นที่ป่าและแหล่งที่อยู่อาศัยของ ปะการัง จึงเป็นการช่วยลดปัญหาด้านสภาวะโลกร้อนที่ ตรงและเห็นผลชัดเจนที่สุดประเด็นหนึ่ง กลุ่มเยาวชนในหลายพื้นที่เห็นถึงความสำ�คัญ ของป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ จึงได้พัฒนากิจกรรม การอนุรักษ์นี้อย่างสร้างสรรค์ อาทิ บ้านหัวทุ่ง ร่วมกับ

13 พลังเยาวชน

หมูบ่ า้ น ดูแลรักษาและปลูกป่าเพิม่ เติมในบริเวณป่าชุมชน บ้านหัวทุ่ง บ้านแม่กลางหลวง เชียงใหม่ ทำ�ฝายน้ำ�ล้น เพื่อชะลอการไหลของน้ำ�และกระจายน้ำ�ส่วนเกินเข้าสู่ พืน้ ทีป่ า่ เพิม่ ความชุม่ ชืน้ ให้แก่ระบบนิเวศ ร่วมกับนักศึกษา จากสถาบันอุดมศึกษาปลูกพืชสมุนไพรในบริเวณวัดและ ทีส่ าธารณประโยชน์ไว้ให้ชมุ ชนใช้ประโยชน์ในยามจำ�เป็น ชุมชนเวียงบัว พะเยา บ้านห้วยขี้เหล็ก เชียงราย ปลูกพืช สมุนไพรและต้นไม้เพิ่มเติม เช่น ต้นกล้วย ในป่าต้นน้ำ� เพือ่ เพิม่ ความชุม่ ชืน้ ในดินและรักษาป่าต้นน้ำ� บ้านหนอง แม่นา พิษณุโลก ร่วมกับอุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง จัดทำ�โป่งเทียมสำ�หรับสัตว์ป่า และปลูกป่าเพิ่มเติมใน พืน้ ทีเ่ สือ่ มโทรมของอุทยานทีม่ พี นื้ ทีร่ อยต่อติดกับหมูบ่ า้ น ชุมชนแก่งเกาะใหญ่ กำ�แพงเพชร ทำ�กิจกรรมดูแลรักษา และอนุรกั ษ์พนื้ ทีป่ า่ ชุมชนให้มคี วามชัดเจนขึน้ โดยเยาวชน เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการร่วมกับกลุ่มผู้ใหญ่ บ้าน แม่ละนา แม่ฮ่องสอน นอกจากจะดูแลรักษาป่าต้นน้ำ� ของชุมชนแล้ว ยังรณรงค์ให้ชมุ ชนปลูกต้นไม้ในพืน้ ทีว่ า่ ง


ของหมู่บ้านและหน้าบ้านอีกทางหนึ่ง ด้วยการเพาะชำ� กล้าไม้แจกจ่ายให้กบั สมาชิกชุมชน สำ�หรับเยาวชนทางใต้ เช่น เกาะยาวน้อย พังงา ทำ�งานร่วมกับโรงเรียนเกาะยาว วิทยา เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนโดยการปลูกและดูแลรักษา ป่าเดิมให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เยาวชนบ้าน บ่อเจ็ดลูก ทำ�โครงการอนุรกั ษ์ปา่ จากและเพิม่ พืน้ ทีป่ ลูก เพือ่ ให้เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ของชุมชน เยาวชนบ้าน ลีเล็ด สุราษฎร์ธานี ร่วมกับผู้ใหญ่ดูแลรักษาป่าชายเลน ชุมชน มากกว่า 10,000 ไร่ และใช้การท่องเที่ยวเป็น เครือ่ งมือในการจัดการดูแลป่า นอกจากนีย้ งั มีอกี หลาย กลุ่มเยาวชน ที่ทำ�กิจกรรมดูแลรักษาและเพิ่มพื้นที่ป่า ทั้งป่าบก และป่าชายเลนในภาคใต้อีกเป็นจำ�นวนมาก การอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติจากภูเขาถึงทะเล ไม่ว่าจะเป็นป่าต้นน้ำ� ป่าชุมชน ป่าชายเลน ปะการัง ทรัพยากรน้ำ� ทะเล และอืน่ ๆ นอกจากจะช่วยลดสภาวะ โลกร้อนโดยตรงแล้ว ยังเป็นการรักษาสมดุลธรรมชาติ ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ป้องกันน้ำ�หลากจากภูเขาสูง

ด้วยการดูดซับและชะลอน้ำ� ป้องกันคลื่นลม และการ พังทลายของริมตลิง่ เป็นแหล่งทีอ่ ยูอ่ าศัยของสัตว์ปา่ สัตว์ เล็กสัตว์นอ้ ย เพิม่ ความอุดมสมบูรณ์และความมัน่ คงทาง อาหารให้กบั มนุษย์ ไม่วา่ จะเป็นบนบกหรือในน้ำ�อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ป่าไม้ไม่ได้ดดู ซับก๊าซเพียงอย่าง เดียว แต่กย็ งั ปลดปล่อยก๊าซมีเทน ออกสูช่ นั้ บรรยากาศ จากการย่อยสลายและกิจกรรมของสัตว์ต่าง ๆ ในป่า อีกด้วย การบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพ จึงเป็นส่วน สำ�คัญอย่างมากต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรเหล่านี้ กลุ่ม เยาวชนทั้งหมดที่ทำ�กิจกรรมการอนุรักษ์ มีแผนงานที่ ชัดเจนในการบริหารจัดการป่าที่ตนเองรับผิดชอบ ผลัด เปลี่ยนหมุนเวียนกันติดตาม ตรวจสอบ ดูแลและรักษา ทรัพยากรที่พวกเขาและชุมชนมี ด้วยกำ�ลังกายและ พลังใจของเยาวชนทั้งหมดทั้งมวล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าป่า ทีก่ ำ�ลังเจริญเติบโตนีจ้ ะเจริญเติบโตอย่างยัง่ ยืนไปพร้อมกับ เยาวชน เพือ่ เป็นคุณประโยชน์ให้กบั สังคมส่วนรวมต่อไป ในอนาคต พลังเยาวชน 14


ผลผลิตโครงการ

ขยะลดโลกร้อน

ขยะเป็นสาเหตุสำ�คัญสาเหตุหนึง่ ทีม่ ผี ลต่อปัญหา สภาวะโลกร้อน เพราะปริมาณขยะ สะท้อนถึงปริมาณ การบริโภคของชุมชน และยังสะท้อนถึงพลังงานจำ�นวน มหาศาลที่ต้องใช้เพื่อกำ�จัดขยะเหล่านี ้ ไม่ว่าจะเป็นการ เผา การฝัง หรือการกำ�จัดด้วยวิธกี ารอืน่ ก็ตาม อีกทัง้ ขยะ ที่มีการกำ�จัดไม่ถูกต้อง ยังหมักหมมจนเกิดก๊าซมีเทน และก๊าซอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของโลกร้อนอีกด้วย เยาวชนในหลายพื้นที่ พัฒนาระบบการจัดการ ขยะในชุมชน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก คือ การจัดการ ขยะที่ต้นทาง ด้วยการพยายามไม่ให้ขยะเกิดขึ้นมา เช่น การรณรงค์การใช้ถุงผ้า ไม่รับถุงพลาสติกจากแม่ค้า ใช้ ผลิตภัณฑ์ทใ่ี ช้ซำ้ � กิจกรรมการจัดการขยะทีต่ น้ ทางเหล่านี้ เกิดขึน้ ทีช่ มุ ชนบางน้ำ�ผึง้ สมุทรปราการ ทีร่ ณรงค์ให้พอ่ ค้า แม่คา้ ในตลาดน้ำ�ลดการใช้ถงุ พลาสติก หันมาใช้บรรจุภณ ั ฑ์

15 พลังเยาวชน

ที่มาจากธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดทำ� ถุงผ้าลายน่ารัก เพือ่ จัดจำ�หน่ายระดมทุนให้กบั กลุม่ และ เพื่อรณรงค์ให้กับนักท่องเที่ยวได้ใช้ประโยชน์ การจัดการขยะอีกประเภทหนึง่ คือการจัดการ ขยะที่ปลายทาง หมายถึง การบริหารจัดการขยะที่เกิด ขึน้ มาแล้วว่าจะทำ�อย่างไรกับขยะเหล่านัน้ เยาวชนเกาะ พิทกั ษ์ ชุมพร ทำ�โครงการนำ�ร่องการจัดการขยะอินทรีย์ กับสมาชิกโฮมสเตย์ ด้วยการนำ�ขยะสดและเศษอาหาร จากครัวเรือนมาหมักจนเกิดก๊าซหุงต้มและนำ�กลับไป ใช้ประโยชน์ได้ เยาวชนบ้านท่าตาฝัง่ แม่ฮอ่ งสอน และ บ้านผาหมอน - หนองหล่ม เชียงใหม่ คิดระบบการ จัดการขยะให้กบั ชุมชน ซึง่ อยูห่ า่ งไกลและไม่มหี น่วยงาน ท้องถิน่ รับผิดชอบ มีการจัดทำ�ถังขยะแยกประเภท จัดทำ� หลุมฝังกลบขยะ จัดเก็บขยะรีไซเคิลเพื่อรอส่งขายร้าน


รับซื้อของเก่า เด็ก ๆ ที่กู่กาสิงห์ ร้อยเอ็ด ทำ�งานรณรงค์ การนำ�ขยะมาใช้ซ้ำ�ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อลดการทิ้งและ นำ�กลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ เยาวชนบ้านน้ำ�เชี่ยว ตราด เกาะยาวน้อย พังงา บ้านแม่ละนา แม่ฮ่องสอน บ้าน คลองน้อย สุราษฎร์ธานี ทำ�งานรณรงค์ด้านการจัดการ ขยะให้ชุมชนรู้จักรักษาความสะอาด ทิ้งขยะให้เป็นที่ เป็นทางและลงถังเพื่อง่ายต่อการเก็บขน ทำ�กิจกรรมเก็บ ขยะตามลำ�คลอง ริมชายหาด และในบริเวณหมู่บ้าน เป็นประจำ�ทุกเดือน ปัจจุบันปัญหาการจัดการขยะเป็นเสมือนระเบิด เวลาทีร่ อวันถอดสลัก เพราะปริมาณขยะตามสถิตทิ ม่ี ากขึน้ ทุกปีในทุกหนแห่งกำ�ลังสร้างปัญหาในการจัดการเป็น อย่างมาก ภาครัฐไม่สามารถหาทีฝ่ งั กลบได้เพราะถูกชุมชน ใกล้เคียงต่อต้านด้านกลิน่ เหม็นและความสะอาด ครัน้ จะ

ใช้วิธีการเผากำ�จัด ก็มีต้นทุนและค่าดำ�เนินการสูง อีกทั้งยังเป็นการสร้างมลภาวะต่อชั้นบรรยากาศอย่าง หลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย การลุกขึ้นมาผลักดันหรือพัฒนากิจกรรมด้าน การจัดการขยะในชุมชนของกลุ่มเยาวชนต่าง ๆ ที่ กล่าวถึง ถือเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ปฏิวัติ ระบบคิด ที่ว่า “ขยะที่เราสร้างก็ต้องช่วยกันกำ�จัด” มากกว่าที่จะรอหน่วยงานภาครัฐ หรือองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ เป็นผูจ้ ดั การให้ ซึง่ มีความสำ�คัญเป็นอย่าง มากต่อการปรับแนวคิดชุมชนในด้านการบริหารจัดการ ขยะด้วยตนเอง คิดค้นวิธกี าร เพือ่ นำ�ไปสูค่ วามพยายาม ในการลดปริมาณขยะ ลดมลภาวะต่าง ๆ ทีม่ าพร้อมกับ ขยะ นำ�ไปสู่สุขภาวะชุมชนที่ดีมีคุณภาพสืบไป พลังเยาวชน 16


ผลผลิตโครงการ

สมุนไพรและอาหารต้านโลกร้อน หากเราใช้เครื่องมือการวิเคราะห์วงจรชีวิต ผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment, LCA1) เพื่อ วิเคราะห์ข้อมูลให้ทราบถึงที่มาที่ไปของผลิตภัณฑ์ชิ้นใด ชิ้นหนึ่งแล้ว ก็จะพบว่า ปัจจุบันการผลิตสินค้าหรือ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีความยุ่งยากซับซ้อน ใช้วัตถุดิบ ที่หลากหลาย มีขั้นตอนในการผลิตที่หลายขั้นตอน สิ้นเปลืองพลังงานเป็นอย่างมาก สำ�หรับอาหารและยา รักษาโรค ซึ่งถือเป็น 2 ใน 4 ปัจจัยสำ�คัญในการดำ�รง ชีวิตก็เช่นเดียวกัน หากใช้ LCA วิเคราะห์ดูจะพบว่า ปัจจุบันอาหารต่าง ๆ มีขั้นตอนและกระบวนการผลิต ที่มากขึ้น ใช้วัตถุดิบที่หลากหลายและขนส่งมาจาก 1 LCA คือการวิเคราะห์วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ที่จะวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ ชิ้นใดชิ้นหนึ่ง ให้ทราบถึงที่มา วัตถุดิบ องค์ประกอบ ขั้นตอนและ กระบวนการที่ใช้ในการผลิต การใช้พลังงาน ในการผลิตและขนส่ง เพื่อนำ�ไปสังเคราะห์และหาทางลดต้นทุน และปัจจัยในการผลิต ต่าง ๆ ให้มีค่าต่ำ�ลงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

17 พลังเยาวชน

สถานทีอ่ น่ื ไม่ใช่ภายในท้องถิน่ ตนเอง วิถชี วี ติ ทีเ่ ปลีย่ นไป ตามวันเวลาและความสะดวกสบายเหล่านี้ ทำ�ให้เรามี สุขภาพที่แย่ลงจากอาหารที่ไม่มีคุณภาพและปนเปื้อน ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็นสารปรุงแต่ง สารเคมีรกั ษา ความสดใหม่ และอื่น ๆ เป็นต้น การใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ พืชผัก สมุนไพรต่าง ๆ เพื่อประกอบอาหาร นอกจากจะ ทำ�ให้สุขภาพดีมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว ยังเป็นปัจจัย สำ�คัญที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนให้กับโลกใบนี้ได้อีกด้วย โดยการปลูกพืชผัก สมุนไพรท้องถิ่นเพื่อเป็นวัตถุดิบใน การอุปโภคบริโภค ช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้ดังนี้ - จะลดการใช้สารเคมี ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เพราะ เป็นการปลูกเพื่อพึ่งพาตนเอง ไม่ได้ทำ�ในเชิงพาณิชย์ และการปลูกพืชตามฤดูกาล ยังช่วยลดต้นทุนในการดูแล รักษาไปได้อีกมาก


- ลดการขนส่งจากภายนอก ลดบรรจุภัณฑ์ หีบห่อทีไ่ ม่จำ�เป็น การรับประทานพืชผักสดจะลดการถนอม อาหารซึ่งใช้พลังงานสูงได้เป็นอย่างดี - การปลูกพืชผักไว้ใช้ในครัวเรือนหรือหมู่บ้าน จะช่วยลดการเผาป่า - ลดต้นทุนด้านพลังงานในกระบวนการต่าง ๆ เช่นการปลูก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว - ฯลฯ เยาวชนในหลายพืน้ ทีเ่ ข้าใจประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ ได้ดี จึงได้ริเริ่มสร้างสรรค์โครงการจนประสบผลสำ�เร็จ เป็นตัวอย่างรูปธรรมทีด่ ใี ห้กบั เพือ่ นเยาวชนพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ได้ เช่น บ้านจาโบ่ แม่ฮ่องสอน ได้จัดทำ�สวนสมุนไพรใน “ป่าหลังบ้าน” โดยการสนับสนุนความรู้ ภูมิปัญญาใน การใช้ การปลูกและดูแลรักษาจากผูเ้ ฒ่าในหมูบ่ า้ น และ นำ�สมุนไพรเหล่านั้นมาเป็นส่วนผสมในการอบสมุนไพร เพือ่ สุขภาพให้กบั คนในหมูบ่ า้ น ตลอดจนเพือ่ ทำ�ให้ชมุ ชน มีสมุนไพรไว้ใช้ในยามจำ�เป็น ซึ่งแต่เดิมต้องออกไปเก็บ จากป่าที่ไกลและรกชัฏ บ้านผาเจริญ แม่ฮ่องสอน ที่ทั้ง หมู่บ้านปลูกพืชเมืองหนาวและทำ�เกษตรอินทรีย์ คนทั้ง หมูบ่ า้ นได้รบั การสนับสนุนจากกลุม่ เยาวชนในฐานะผูผ้ ลิต ปุย๋ อินทรียแ์ ละชีวภาพให้กบั ชุมชน และใช้เงินทุนหมุนเวียน จากกองทุนนำ�มาผลิตซ้ำ� เพือ่ ให้ชมุ ชนพึง่ ตนเอง ลดการ พึง่ พาจากภายนอก อีกทัง้ ปุย๋ เหล่านัน้ ยังใช้สำ�หรับพืชผัก สวนครัวที่ชุมชนปลูกอีกด้วย บ้านหนองหล่ม เชียงใหม่ รือ้ ฟืน้ ภูมปิ ญ ั ญาด้านการใช้สมุนไพรและจัดทำ�สวนสมุนไพร ในป่าชุมชนขึ้น เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนหันกลับมาพึ่งตนเอง และใช้สมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อการดำ�รงชีวิต เยาวชน

บ้านซะซอม อุบลราชธานี จัดทำ�สวนสมุนไพรเพือ่ ใช้เป็น ส่วนผสมในการอบสมุนไพรเพือ่ สุขภาพ ไว้คอยบริการ และสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว นอกจากนี้ยัง เลี้ยงปลา เพื่อส่งเสริมการบริโภคภายในหมู่บ้านและ นำ�เงินทุนเหล่านั้นมาหมุนเวียนในการเลี้ยงปลาในบ่อ ต่อ ๆ ไป บ้านเก๊าเดื่อ เชียงใหม่ ส่งเสริมการปลูก สมุนไพรและพืชผักครัวเรือน โดยจัดทำ�เรือนเพาะชำ�และ นำ�กล้าไม้เหล่านัน้ แจกจ่ายให้กบั สมาชิกในชุมชน เพือ่ แบ่งปันกันในยามที่พืชผักเจริญเติบโต ตลอดจนแปลง เพาะชำ�สมุนไพรยังเป็นแหล่งเรียนรูศ้ กึ ษาดูงานของชุมชน ต่าง ๆ ทัง้ ในและนอกพืน้ ที่ บ้านห้วยตองก๊อ แม่ฮอ่ งสอน รือ้ ฟืน้ เมนูอาหารท้องถิน่ ตามฤดูกาลต่าง ๆ เพือ่ กระตุน้ ให้ชุมชนเห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของอาหารเหล่านี้ ผ่านกระบวนการเก็บข้อมูลด้วยการซักถามเรียนรู้จาก กลุม่ เยาวชนตัวเล็ก ๆ ในหมูบ่ า้ น และบูรณาการให้เป็น ส่วนหนึ่งของเมนูอาหารที่นำ�เสนอให้กับนักท่องเที่ยว การรณรงค์ให้ประชาชนหันกลับมาใช้ชีวิตที่ พึ่งพาธรรมชาติ ไม่ใช่การปฏิเสธความเจริญก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีหรือความสะดวกสบายใด แต่อยู่บน พื้นฐานองค์ความรู้ความเข้าใจต่อการใช้ชีวิตที่เน้นการ พึง่ ตนเอง ลดค่าใช้จา่ ย ลดการใช้สารเคมีหรือสิง่ ปรุงแต่ง ต่าง ๆ ทีจ่ ะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิง่ แวดล้อม เพือ่ ให้เกิดสุขภาวะทีส่ มบูรณ์แข็งแรง ทัง้ กาย ใจ และสังคม ได้ดว้ ยกำ�ลังของตนเองและครอบครัว อีกทัง้ การส่งเสริม การใช้สมุนไพรและบริโภคอาหารท้องถิน่ นอกจากเป็นการ อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านการกินแล้ว ยังเป็นการ อนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่นไปในตัวอีกด้วย พลังเยาวชน 18


ผลผลิตโครงการ

โลกร้อนกับวิถีชีวิตพอเพียง วิถกี ารดำ�รงชีวติ ของคนเราล้วนต้องพึง่ พาปัจจัย 4 พอประมาณ ไม่อยากมีอยากได้เกินความจำ�เป็นของชีวติ

ในการดำ�เนินชีวิต ซึ่งมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ พืน้ ฐานสภาพแวดล้อม ฐานะ ทัศนคติและวิถขี องแต่ละคน แต่ละครอบครัว แต่ละชุมชน ซึ่งเมื่อรวมตัวกันแล้วจะ สะท้อนเป็นภาพการดำ�เนินชีวิตของสังคมใดสังคมหนึ่ง เช่น สังคมชาวเขา สังคมชนบท สังคมเมือง เป็นต้น และ วิถกี ารดำ�เนินชีวติ ของสังคมต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อ ปัญหาสภาวะโลกร้อนทั้งสิ้น เพราะการดำ�เนินชีวิตล้วน ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นฐานในการดำ�รงชีวิต โดย การนำ�ทรัพยากรมาผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อ ตอบสนองความต้องการในการอุปโภคบริโภค ทัง้ ทีจ่ ำ�เป็น และไม่จำ�เป็นมากมาย วิถีการดำ�เนินชีวิตที่น้อมนำ� พระราชดำ�รัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มาดำ�เนินชีวติ แบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นวิถีชีวิตที่ช่วยลดโลกร้อนได้ มาก เพราะเป็นการดำ�เนินชีวติ อยูบ่ นพืน้ ฐานความพอเพียง

19 พลังเยาวชน

นัน่ ย่อมหมายถึงการช่วยโลกประหยัดทรัพยากรเพือ่ การ ดำ�เนินชีวติ ของคนเรา ซึง่ จะเห็นได้จากตัวอย่างของเยาวชน จากหลากหลายหมู่บ้านที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เยาวชนบ้านแม่ละนา แม่ฮอ่ งสอน ใช้กระบวนการ ฝึกอบรมและเข้าค่าย เป็นเครือ่ งมือถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมปิ ญ ั ญาไทยใหญ่ในการใช้ชวี ติ ให้กบั เยาวชนในระดับ ประถมศึกษา ด้วยวิทยากรภายในหมูบ่ า้ นเองซึง่ ล้วนเป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีเนื้อหา เช่น การอีดน้ำ�มันงา จากแรงคนไม่ใช้เครือ่ งจักร การหีบอ้อย การทำ�นาทีเ่ น้น การพึ่งพาธรรมชาติ การดูแลรักษาป่า เป็นต้น ที่บ้าน รักไทย แม่ฮ่องสอน ชุมชนชาวจีนยูนนาน เข้าร่วม นำ�เสนอในเวทีประชาคมหมู่บ้านเพื่อผลักดันให้ชุมชน เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของต้นไม้ และร่วมกันปลูก ต้นไม้และปลูกป่าเพิม่ เติมทัง้ ในและรอบหมูบ่ า้ น ซึง่ ได้รบั


การตอบรับด้วยดีจากชุมชน ตลอดจนใช้การละเล่นของ ชาวจีนสมัยก่อน คือ ชิงช้า มาบริการนักท่องเที่ยวและ ระดมทุนจากการบริจาคเพือ่ นำ�เงินเหล่านัน้ กลับมาพัฒนา และดูแลรักษาหมู่บ้าน เช่น การทำ�ความสะอาด การ จัดการขยะ ฯลฯ บ้านรวมไทย (ปางอุง๋ ) ทำ�การเก็บข้อมูล ภูมปิ ญ ั ญาชุมชนในด้านต่าง ๆ เพือ่ เสริมสร้างความภาคภูมใิ จ ให้กบั กลุม่ เยาวชนได้เข้าใจทีม่ าของตนเองและบรรพบุรษุ ก่อนที่จะถูกกระแสจากคนภายนอกและสังคมเมือง มาเปลีย่ นแปลงแนวคิดและทัศนคติของเด็ก ๆ ในหมูบ่ า้ น พร้อมทัง้ นำ�เสนอข้อมูลผ่านศูนย์การเรียนรูช้ มุ ชน ทีไ่ ด้รบั ความร่วมมือจากทหารในการใช้สถานที่เป็นอย่างดี บ้าน ท่าตาฝัง่ แม่ฮอ่ งสอน ฝึกฝนเด็ก ๆ เพือ่ อนุรกั ษ์วฒ ั นธรรม การเต้นจิกกริ จนสามารถนำ�ไปแสดงในสถานที่ต่าง ๆ ด้วยความภาคภูมใิ จในวิถชี วี ติ ของตน และใช้กจิ กรรมเป็น เครือ่ งมือในการสร้างความสามัคคีระหว่างกลุม่ เด็ก ๆ ใน

หมู่บ้าน เช่น การสร้างสนามกีฬาด้วยพลังของเด็กเล็ก ในระดับประถมทั้งสิ้น โดยมีผู้ใหญ่เป็นเพียงผู้ควบคุม การก่อสร้างและออกแบบ ตลอดจนขยับไปถึงการลุกขึน้ มาจัดระบบการจัดการขยะให้กับชุมชนที่ห่างไกลเมือง ของหมู่บ้านตนเอง เยาวชนบ้านผาแตก เชียงใหม่ รวม กลุ่มกันเพื่ออนุรักษ์ภาษาเขียนของชนเผ่าปกาเกอะญอ ที่นับวันจะสูญหายไปเหลือแต่ภาษาพูด ตลอดจนการ อนุรักษ์และเรียนรู้ที่มาของลายผ้าต่าง ๆ ในการถักทอ ของภูมิปัญญาชนเผ่า เพื่อนำ�เสนอให้คนภายนอกได้ เรียนรู้และเข้าใจถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมเหล่านี้ บ้าน ห้วยตองก๊อ แม่ฮ่องสอน นอกจากจะจัดกิจกรรมการ อนุรกั ษ์ภมู ปิ ญ ั ญาด้านการรำ�ดาบและเป่าเขาควายแล้ว ยังอนุรักษ์อาหารและเมนูท้องถิ่น ด้วยการสร้างความ ภาคภูมิใจให้กับเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ผ่านกระบวนการ สัมภาษณ์ เก็บข้อมูล และลงมือปฏิบัติด้วยตัวเด็ก ๆ พลังเยาวชน 20


เอง เช่นการหาวัตถุดิบที่ประกอบอาหาร พืชผักพื้นบ้าน สมุนไพรต่าง ๆ สั่งสมองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านอาหาร จนกระทัง่ รูจ้ กั และเข้าใจวิถกี ารดำ�เนินชีวติ ทีพ่ งึ่ พาธรรมชาติ ของปู่ย่าตายาย และพ่อแม่ได้ อีกทั้งยังจัดกิจกรรมเวที แลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ะหว่างเยาวชนในหมูบ่ า้ นกับเยาวชนที่ ลงไปศึกษาเล่าเรียนและใช้ชีวิตนอกหมู่บ้านตามตัวเมือง ต่าง ๆ เช่น แม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่ ว่าพบเจอปัญหา อุปสรรค ความท้าทายอะไรบ้างต่อการดำ�เนินชีวิต เพื่อ ความรู้ความเข้าใจของคนต่างวัฒนธรรม ส่งเสริมความ ภาคภูมิใจในวิถีชีวิตของชุมชนตนเอง และให้เยาวชนมี ภูมิคุ้มกันต่อการเลือกวิถีการดำ�เนินชีวิตในอนาคต วิถีการดำ�เนินชีวิตที่ส่งเสริมให้เกิดการจัดการ ทีด่ ตี อ่ ปัญหาสภาวะโลกร้อน ไม่จำ�เป็นต้องหันกลับไปใช้ ชีวติ แบบโบราณดัง้ เดิม หรือปฏิเสธเทคโนโลยี ความทันสมัย ความสะดวกสบายต่าง ๆ และไม่จำ�เป็นต้องเป็นวิถีการ ดำ�เนินชีวิตแบบชนบทก็สามารถช่วยกันลดโลกร้อนได้

21 พลังเยาวชน

เพียงแต่ต้องเรียนรู้และเข้าใจถึงความเชื่อมโยงและ ผลกระทบจากการดำ�เนินชีวติ ของเราว่าส่งผลให้โลกร้อน ในด้านใดและอย่างไรบ้าง การแก้ปญ ั หาลดโลกร้อนทีด่ แี ละให้ผลเร็วทีส่ ดุ ก็คือการเริ่มต้นปรับเปลี่ยนวิถีการดำ�รงชีวิตของตนเอง ให้รจู้ กั พอประมาณ ลดการบริโภคอย่างฟุม่ เฟือย ความ อยากมีอยากได้ และความสะดวกสบายบางสิง่ บางอย่าง ลง เช่น ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ไปใช้บริการระบบ ขนส่งสาธารณะ ก็ถือว่าได้ช่วยลดโลกร้อนแล้ว เป็นต้น การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในระดับบุคคลและปัจเจก ก็เพื่อ สะท้อนไปสูว่ ถิ กี ารดำ�เนินชีวติ ของสังคมในระดับทีใ่ หญ่ ขึ้น จนกระทั่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ เริ่มต้นมาจากจุดเล็ก ๆ และมาจากความร่วมมือของ ทุกคนในสังคม เป็นเสมือนกับการจุดประกายดาวดวง น้อย ๆ ที่ส่องสว่างทั่วท้องฟ้าได้อย่างพร้อมเพรียงและ สวยงามขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดไป


ผลผลิตโครงการ

ท่องเที่ยวลดโลกร้อน โครงการสานพลังเยาวชน เสริมสร้าง โลกร้อนเพียงอย่างเดียว2

สุขภาวะชุมชน ร่วมลดโลกร้อน ดำ�เนินการ ร่วมกับเยาวชนจาก 50 ชุมชนทั่วประเทศ ซึง่ ล้วนมาจากหมูบ่ า้ นท่องเทีย่ วทีม่ ที รัพยากร อย่างหลากหลาย เรียกได้ว่าตั้งแต่ภูเขา จวบจนถึงทะเล และมีกจิ กรรมท่องเทีย่ วทีเ่ น้น การแลกเปลีย่ นเรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ชุมชน ภูมปิ ญ ั ญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งบูรณาการมาจาก ทรัพยากรธรรมชาติ สิง่ แวดล้อม การดำ�เนิน วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพภายในชุมชน เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม หากกิจกรรมท่องเทีย่ วสามารถ แสดงให้เห็นถึงประโยชน์และความเชือ่ มโยง ว่ามีสว่ นช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้ ก็จะทำ�ให้ เห็นถึงคุณค่าของการท่องเที่ยวว่าไม่ได้เป็น ผู้สร้างแต่ผลกระทบด้านลบต่อปัญหา

การท่องเทีย่ วโดยชุมชน หรือการท่องเทีย่ วในหมูบ่ า้ น เป็นการ ท่องเทีย่ วทีค่ อ่ นข้างแตกต่างกับการท่องเทีย่ วทัว่ ไป โดยการท่องเทีย่ ว รูปแบบอื่นอาจจะเน้นการพักผ่อน การบริการ ความสนุกสนาน และ ความสะดวกสบาย แต่การท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเน้นไปที่การแลก เปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตของคนท้องถิ่นบนทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์และ สวยงาม โดยนักท่องเที่ยวจะอยู่ภายใต้กฎระเบียบและกติกาที่ชุมชน กำ�หนดและออกแบบไว้ ซึ่งอาจทำ�ให้นักท่องเที่ยวอาจถูกลดความ สะดวกสบายลง เช่น การไม่มีเครื่องปรับอากาศไว้บริการ การที่ต้อง ใช้สงิ่ อำ�นวยความสะดวกร่วมกับเจ้าของบ้านและชุมชน เช่น ห้องน้ำ� และอื่น ๆ โดยสรุปคือหากนักท่องเที่ยวต้องการเข้าไปเที่ยวในชุมชน ก็ต้องปรับตัวเองให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน เป็นสมาชิกชุมชนไปในตัว โดยไม่เรียกร้องสิ่งอำ�นวยความสะดวกและการบริการจากชุมชนมาก 2 องค์การท่องเที่ยวโลก (UNWTO) ระบุว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมีส่วนสร้างก๊าซเรือน กระจกอันเป็นสาเหตุสำ�คัญของภาวะโลกร้อนร้อยละ 5 จากปริมาณการปลดปล่อยก๊าซ โดยรวมทั้งหมด หรือประมาณ 1,307 ล้านตันต่อปี : ที่มา UNWTO and UNEP (2007)

พลังเยาวชน 22


เกินความจำ�เป็น ชุมชนท่องเที่ยวทั่วประเทศ จะมีความชำ�นาญ และประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมทีค่ ำ�นึงถึงผลกระทบ ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการ บูรณาการวิถชี วี ติ และภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ เข้าไปในกิจกรรม ท่องเทีย่ วอย่างเชีย่ วชาญอยูแ่ ล้ว แต่การบูรณาการประเด็น ลดโลกร้อนให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมท่องเที่ยว ต้อง อาศัยเยาวชนที่มีองค์ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการ เชื่อมโยงเรื่องโลกร้อน เช่น วิธีการบรรเทา การป้องกัน และแก้ไข ตลอดจนการปรับตัวในสภาวะโลกร้อน เป็น ผู้บูรณาการและดำ�เนินกิจกรรมท่องเที่ยวดังกล่าว โดย เยาวชนจากบ้านรุ่งอรุณ แม่ฮ่องสอน เยาวชนบ้านถ้ำ� เชียงใหม่ ได้จดั ทำ�เส้นทางจักรยานเพือ่ เทีย่ วรอบหมูบ่ า้ น และป่าชุมชน ตลอดจนจัดหาจักรยานเพื่อรณรงค์ให้ นักท่องเทีย่ วใช้จกั รยานท่องเทีย่ วในพืน้ ทีต่ า่ ง ๆ ของชุมชน

23 พลังเยาวชน

บ้านนาตีน กระบี่ ปรับเปลี่ยนวิธีในการท่องเที่ยวและ เรียนรูว้ ถิ ชี วี ติ ชุมชนจากเดิมทีใ่ ช้รถยนต์ทสี่ นิ้ เปลืองพลังงาน น้ำ�มัน เป็นการใช้จักรยาน และปรับปรุงเส้นทางให้มี ความสวยงามต่อการปั่นชื่นชมบรรยากาศรอบหมู่บ้าน เยาวชนเกาะสุกร ตรัง จัดฝึกอบรมยุวมัคคุเทศก์ เพื่อให้ เป็นเยาวชนตัวน้อย ๆ คอยให้บริการนักท่องเที่ยวใน การพาเที่ยวชมรอบเกาะ บนเส้นทางจักรยานที่ร่วมกัน คิดระหว่างกลุ่มท่องเที่ยวที่เป็นผู้ใหญ่และตัวเยาวชนเอง บ้านถ้ำ�รงค์ เพชรบุรี จัดปรับโปรแกรมท่องเที่ยวใหม่ ให้มีความสอดคล้องกับแนวทางในการลดโลกร้อน เช่น ส่งเสริมให้ชมุ ชนปลูกต้นไม้รอบหมูบ่ า้ นและให้นกั ท่องเทีย่ ว ร่วมกิจกรรมปลูกต้นไม้ทุกครั้งที่มาเที่ยวถ้ำ�รงค์ บ้าน สันติชล แม่ฮอ่ งสอน จัดกิจกรรมการออกกำ�ลังกายแบบ ชาวจีน เช่น กังฟู ไทเก๊ก ไว้ให้นกั ท่องเทีย่ วได้ออกกำ�ลังกาย ในยามเช้า และตลอดวัน สำ�หรับผูท้ ตี่ อ้ งการแลกเปลีย่ น


เรียนรู้เพิ่มเติม เป็นต้น ในความเป็นจริง กิจกรรมทีเ่ ยาวชนกำ�ลังปฏิบตั ิ อยู่ในหมู่บ้านหลายกิจกรรม คือการส่งเสริมลดสภาวะ โลกร้อนอยู่ในตัว เช่น การให้นักท่องเที่ยวร่วมปลูกป่า ทัง้ ป่าบกและป่าชายเลน การพักร่วมกับชุมชนทีเ่ น้นความ เป็นอยู่ที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีเครื่องปรับอากาศ การใช้ ผ้าขนหนูผืนเดียวตลอดระยะเวลาที่พักในชุมชนมากกว่า ที่จะเปลี่ยนและซักทุกวัน การใช้วัสดุต่าง ๆ ที่มาจาก ธรรมชาติเพือ่ ทำ�หีบห่อ บรรจุภณ ั ฑ์ หรือเพือ่ ใช้ในกิจกรรม ท่องเที่ยว การใช้ซ้ำ� เช่น การใช้ปิ่นโตใส่อาหารให้ นักท่องเทีย่ วเวลาล่องเรือ การประหยัดน้ำ�และไฟในบ้านพัก การจัดการขยะทีม่ าจากการท่องเทีย่ ว ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้ ถือเป็นกิจกรรมทีม่ สี ว่ นช่วยลดปัญหาสภาวะโลกร้อนด้วยกัน ทั้งหมดทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องเข้าใจและสามารถเชื่อมโยง ได้ถึง ที่มา-ที่ไป ของความสัมพันธ์ดังกล่าว ซึ่งชุมชนมี

ต้นทุนสูงและปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำ�อยู่แล้วในการจัด กิจกรรมท่องเที่ยวรูปแบบนี้ เพียงแต่ยังไม่มีความรู้ความ เข้าใจถึงความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยเยาวชนในหมู่บ้าน เหล่านีจ้ ะเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการสร้างความรูค้ วามเข้าใจ ให้กับสมาชิกชุมชนและเป็นตัวอย่างที่ดีในวิถีปฏิบัติ จนผู้ใหญ่หรือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นสามารถเชื่อมโยงและ นำ�เสนอให้ผู้อื่นหรือนักท่องเที่ยวเห็นถึงคุณค่าของ การเลือกจุดหมายปลายทางเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวใด หมู่บ้านท่องเที่ยวหนึ่ง ว่ามีความหมายและความสำ�คัญ ต่อตนเอง ต่อชุมชน และต่อสังคมโลกมากเพียงใด ในสภาวะทีเ่ รากำ�ลังได้รบั ผลกระทบ ประสบปัญหาทีม่ า จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นอยู่ทุกวันนี้

พลังเยาวชน 24


ผลผลิตโครงการ

โลกร้อนกับพลังงานทางเลือก การใช้พลังงานไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การคมนาคมขนส่ง การใช้พลังงานใน ครัวเรือน ล้วนเป็นสาเหตุหลักของการปลดปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ออกสูช่ นั้ บรรยากาศ และก่อให้เกิด ปัญหาสภาวะโลกร้อน วิถชี วี ติ ชุมชนในปัจจุบนั ต่างก็พงึ่ พา พลังงานในการดำ�รงชีวติ เป็นอย่างมาก ไม่วา่ จะเป็นไฟฟ้า น้ำ�มัน ก๊าซหุงต้ม และพลังงานอื่น ๆ ภายในครัวเรือน การรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักใช้พลังงานอย่างประหยัด คุ้มค่า ภาครัฐได้มีการดำ�เนินการมาโดยตลอด ไม่ว่า จะเป็นการรณรงค์ให้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัด ไฟเบอร์ 5 การปิดไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งที่ไม่ได้ ใช้งาน การใช้รถเมล์ หรือระบบขนส่งมวลชนมากกว่าใช้ รถส่วนตัว เป็นต้น

25 พลังเยาวชน

พลังงานทางเลือกเป็นหนทางหนึง่ ทีก่ ำ�ลังได้รบั ความสนใจ เพือ่ ใช้ทดแทนพลังงานจากปิโตรเลียม ไม่วา่ จะเป็นการใช้เซลล์สรุ ยิ ะเพือ่ ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ การใช้พลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ เช่น ไบโอดีเซล ที่ผลิต ได้จากพืชทีใ่ ห้พลังงานได้ เช่น สบูด่ ำ� ปาล์มน้ำ�มัน และ น้ำ�มันพืชเหลือใช้ เป็นต้น เยาวชนที่เห็นความสำ�คัญ และเลือกทำ�กิจกรรมด้านการอนุรกั ษ์พลังงานและการใช้ พลังงานทางเลือกมีอยูห่ ลายหมูบ่ า้ นด้วยกัน อาทิ เยาวชน บ้านแม่กำ�ปอง เชียงใหม่ ทีจ่ ดั ทำ�เส้นทางท่องเทีย่ วทีเ่ น้น การศึกษาด้านการอนุรักษ์พลังงานของชุมชน เช่น การ ใช้ไฮโดรพาวเวอร์ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ�ให้กบั ประชาชนทัง้ หมูบ่ า้ น การผลิตน้ำ�ร้อน ตูอ้ บถนอมอาหาร จากพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น บ้านท่าข้าม จังหวัด


ตรัง กลุม่ เยาวชนเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการผลิตไบโอดีเซล จากน้ำ�มันมะพร้าวและน้ำ�มันพืชเหลือใช้ให้กับชุมชน นำ�ไปใช้ในการเกษตร บ้านนาชุมเห็ด จังหวัดตรัง ก่อสร้าง ที่พักที่เน้นการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานทาง เลือกในบริเวณสถานที่ดังกล่าว ตลอดจนการใช้เป็น สถานทีเ่ พือ่ ศึกษาดูงานด้านการอนุรกั ษ์พลังงานของชุมชน เช่น การเผาถ่านประสิทธิภาพสูง โรงสีข้าวไบโอดีเซล บ้านพรมโลก นครศรีธรรมราช กลุม่ เยาวชนก่อสร้างขนำ� ประหยัดพลังงานหรือที่พักสำ�หรับนักท่องเที่ยวที่เน้นการ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ประหยัดพลังงาน และอยู่คู่กับ ธรรมชาติ โดยเน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของ นักท่องเทีย่ วทีม่ โี อกาสมาใช้บริการทีพ่ กั ประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแห่งนี้ เป็นต้น พลังงานทางเลือก ถือเป็นทางออกของการดำ�รง ชีวติ ในอนาคตทีเ่ น้นการพึง่ พาธรรมชาติ ใช้ตน้ ทุนวัตถุดบิ จากธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมใกล้ตวั เน้นการหมุนเวียน และผลิตขึน้ ใหม่ได้เรือ่ ย ๆ มากกว่าใช้พลังงานจากน้ำ�มัน ปิโตรเลียมที่นับวันจะหมดไปและก่อปัญหาด้านมลพิษ สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นปัญหาสภาวะโลกร้อน ไว้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม การพัฒนาพลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน ยังต้องการความรู้ ความสามารถในการพัฒนาให้มปี ระสิทธิภาพและสามารถ ใช้งานทดแทนพลังงานจากปิโตรเลียมได้มากกว่าใน ปัจจุบนั ตลอดจนเทคโนโลยีทจี่ ะรองรับการใช้งานพลังงาน เหล่านี้ยังมีไม่มากพอ เช่น รถยนต์ หรือเครื่องจักรที่ สามารถใช้พลังงานทางเลือกเป็นพลังงานในการเดินเครือ่ ง ได้ และสำ�คัญทีส่ ดุ คือการปรับเปลีย่ นทัศนคติของประชาชน

ที่มีมาอย่างยาวนาน ถึงการเห็นความสำ�คัญ คุณค่า และประโยชน์ของพลังงานทางเลือก และไม่ยึดติดกับ น้ำ�มันปิโตรเลียมที่มีมาอย่างยาวนานให้หมดไป กลุ่มเยาวชนที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ จะเป็นกำ�ลัง สำ�คัญในการผลักดันครอบครัว ชุมชน และตนเอง ต่อ การใช้และบริโภคพลังงานอย่างประหยัด รู้คุณค่า เห็น ถึงปัญหาและความสำ�คัญต่อการปรับเปลีย่ นทัศนคติและ พฤติกรรมต่อการบริโภคพลังงาน ทัง้ จากปิโตรเลียมและ พลังงานทางเลือกอืน่ ๆ ทีส่ ามารถเชือ่ มโยงไปสูก่ ารช่วย ดูแลรักษาสภาวะแวดล้อมและปัญหาโลกร้อนให้บรรเทา เบาบางลงอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ด้วยพลัง ของเยาวชนคนตัวน้อย ๆ จากทั่วสารทิศของประเทศได้ อย่างเต็มภาคภูมิ

พลังเยาวชน 26


ผลผลิตโครงการ

สื่อสร้างสรรค์ต่อต้านโลกร้อน การรณรงค์ สื่อสารและประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้าง การรับรู ้ เพิม่ พูนองค์ความรูค้ วามเข้าใจให้กบั สาธารณชน จำ�นวนมาก ถือเป็นหัวใจสำ�คัญประการหนึ่งของการ เริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและช่วยลดโลกร้อนของสังคม งานรณรงค์ จึงไม่ได้มีคุณค่าน้อยไปกว่างานด้านอื่น ๆ ที่เยาวชน แต่ละกลุ่มเลือกทำ�หรือปฏิบัติ จุดเด่นของงานรณรงค์คือการใช้สื่อที่หลากหลาย ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นจำ�นวนมาก มีความ น่าสนใจ ไม่นา่ เบือ่ และสนุกสนานไปพร้อม ๆ กับเนือ้ หา และองค์ความรู้ที่ผู้รับสารจะได้รับ จุดนี้เองที่เป็นความ ท้าทายอย่างมากต่อเยาวชนที่เลือกนำ�เสนอและใช้สื่อ เพือ่ การสือ่ สารสังคมให้มคี วามรูค้ วามเข้าใจต่อสถานการณ์ ปัญหา และแนวทางการป้องกันแก้ไขสภาวะโลกร้อน

27 พลังเยาวชน

ในปัจจุบัน เยาวชนบ้านปะอาว อุบลราชธานี เรียนรู้ภูมิปัญญา หนังประโมทัยจากผูส้ งู อายุในหมูบ่ า้ น ตัง้ แต่ประวัตศิ าสตร์ ความเป็นมา กระบวนการทำ�ตัวหนัง ตัวพระ ตัวนาง ฯลฯ การไหว้ครู การเชิดและการแสดงตามบทต่าง ๆ เพื่อให้ กลุ่มเยาวชนสามารถใช้หนังประโมทัยเป็นเครื่องมือ ในการสื่อสารกับสาธารณะและบูรณาการเรื่องราวของ สภาวะโลกร้อนไปสู่เนื้อหาของบทได้ เยาวชนกลุ่ม เด็กรักป่า สุรินทร์ เลือกใช้การผลิตภาพยนตร์สั้น เรื่อง “ด๋ง-หวัน” ที่สะท้อนชีวิตของเด็กยากจนสองคน ผู้ดูแล ยายที่ชราภาพมากแล้ว บวกกับการสอดแทรกประเด็น โลกร้อนเข้าไปในภาพยนตร์ตลอดเรื่อง เยาวชนบ้าน ทะเลนอก ระนอง ใช้ละครหุน่ ทีต่ นเองถนัดออกแสดงตาม โรงเรียนต่าง ๆ ในพืน้ ที่ เพือ่ สือ่ สารกับเด็ก ๆ ในโรงเรียน


เรือ่ งการจัดการขยะอย่างถูกวิธี และการทำ�ความเข้าใจเรือ่ ง ปัญหาสภาวะโลกร้อนอย่างง่าย เพื่อให้เด็กเล็กเข้าใจ กลุ่มเยาวชนบ้านปลาค้าว อำ�นาจเจริญ ได้สืบทอดและ เรียนรู้ฝึกฝนการแสดงหมอลำ� จากรุ่นใหญ่ สู่รุ่นเยาวชน และรุ่นเล็ก จนฝีมืออยู่ในระดับแนวหน้า สามารถออก แสดงในงานต่าง ๆ ได้อย่างมีสีสัน สนุกสนาน ตลอดจน แต่งเพลงหมอลำ�เกีย่ วกับโลกร้อน และนำ�ไปบอกเล่าสือ่ สาร กับสาธารณชนผ่านการแสดงหมอลำ�ทุกครั้งที่มีโอกาส กลอนลำ�เพลิน สานพลังเยาวชนฯ (มันสิตายนำ�โลกฮ้อน) ( เกริน่ ) มันสิตายนำ�โลกฮ้อน อุกยามนอนฮอด ยามนั่ง จักหว่าเป็นนำ�หยัง หย่างข้างเหนือและข้างใต้ ปานไฟไหม้ฮ้อนจี่เผา เยาวชนเฮามาแก้ แลหาทางเข้า ซ้วนส่อย สานพลังกันใหญ่น้อย คอยสรรค์สร้างร่วมส่ง เสริม สุขภาวะให้ดีเพิ่ม เริ่มลดโลกร้อนหนอนำ�กัน ทั้ง กลางคืนและกลางวัน ให้ม่วนกัน อย่ามีฮ้อน ( เพลง ) โลกมันเปลี่ยนแปรผัน ทุกคืนวันนั้น นัง่ หลับนอน อยูไ่ ปไม่มคี วามสุข อยูไ่ ปไม่มคี วามสุข ไฟไหม้ ลุกทุกที่เดือดร้อน โลกเราไม่เหมือนแต่ก่อน มันแดด ฮ้อนน้ำ�แห้งขอดขัง พวกเราเหล­่าเยาวชน ทุกคนร่วมสาน พลัง เสริมสุขภาวะ เอาชนะโลกร้อนดั่งหวัง ทำ�กิจกรรม ต่าง ๆ ค่อยหาทางห่างร้อนผ่อนปรน ( เดิน ) คนเฮานี้ มีร่างกายดีจิตใจหมั่นเที่ยง ฟัง แต่เสียงหม่วนฟ้อน หนีฮ้อนอ่อนเพลีย ผัวเมียฮ้อนยาม นอนเปิดหน่าย เบิ่งนอนหงายเกลือกกลั้ว ผัวใกล้บ่อคลำ� ลุกอาบน้ำ�ยามค่ำ�ยามคืน ฝืนอดนอนแผ่ลงกะหยังฮ้อน มา

ตอนนี้หนีฮ้อนบ่อไหวนอพวกแม่ใหญ่ นอพวกพ่อใหญ่ เฮาชาวไทยพี่น้อง มาแก้ส่อยกัน ทุกหมู่บ้านปลูกป่าพา ฝัน พลังงานทัง้ หลายลดลงแพงไว้ เฮามาใช้มวลภูมปิ ญ ั ญา ลุงป้าแต่ก่อน มันสิลดโลกร้อน นอนสะท้านสั่นหนาว เดี๋ยวนี้ก้าวยุคใหม่ไทยเฮา เยาวชนโฮมกันสืบสานพลัง ไว้ กายใจฮ้อนยามหลับยามนอน แก้ผ้าแก้ผ่อน วังเขา หลอนต่อนซิ้น กินก้นก่นมัน การเลือกใช้สื่อเพื่อรณรงค์และสื่อสารกับสังคม ให้เกิดความรูค้ วามเข้าใจต่อปัญหาสภาวะแวดล้อมและ โลกร้อน จนนำ�ไปสู่แนวทางการปฏิบัติปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาตินั้น อาจจะเป็นเรือ่ งทีว่ ดั ผลได้ยาก แต่กใ็ ห้ผลด้านการรับรูท้ ี่ ค่อนข้างสูงต่อคนจำ�นวนมากและประหยัดค่าใช้จา่ ย โดย ส่วนสำ�คัญที่สุดก็คือการทำ�ให้เห็นเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่น เช่น การลดการใช้ถุงพลาสติกในชีวิตประจำ�วัน การ ปฏิเสธกล่องโฟม หรือการประหยัดพลังงาน ปิดน้ำ� ปิด ไฟฟ้ายามที่ไม่ได้ใช้ ให้เห็นเป็นประจำ�และสม่ำ�เสมอ แก่ผอู้ นื่ หากผูร้ ณรงค์ไม่สามารถปฏิบตั แิ ละประพฤติตวั ให้เป็นแม่แบบที่ดีได้แล้วไซร้ การรณรงค์ใด ๆ ก็ยาก ที่จะเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งกลุ่มเยาวชนใน หลากหลายพื้นที่ ที่ได้ใช้สื่อสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ เพือ่ การรณรงค์ลดโลกร้อน กำ�ลังประพฤติปฏิบตั ติ นอย่าง เข้มแข็ง เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่นเห็นและปฏิบัติ ตามอย่างสม่ำ�เสมอ สมกับคำ�ว่า พลังเยาวชน พลัง แห่งการสร้างสรรค์สังคม ตลอดมา พลังเยาวชน 28


29 พลังเยาวชน


กรณีศึกษา 4 พื้นที่ดีเด่น ด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

ด้านการส่งเสริม และอนุรักษ์วัฒนธรรม

ด้านส่งเสริม การท่องเที่ยว และสุขภาวะชุมชน

ด้านนวัตกรรม และการใช้สื่อ สร้างสรรค์

พลังเยาวชน 30


31 พลังเยาวชน


พื้นที่ดีเด่นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โครงการพลังผึ้งรักษ์โลก (Bee Power Save the World)

กลุ่มพลังผึ้งรักษ์โลก เกิดขึ้นจากการรวมตัว ของเยาวชนในตำ�บลบางน้ำ�ผึ้ง อำ�เภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ตำ�บลหนึ่งในพื้นที่บางกระเจ้า หรือกระเพาะหมู พื้นที่สีเขียวที่เรารู้จักกันดีในฐานะ ปอดของกรุงเทพมหานคร น้องหญิง นราวดี นวลสะอาด ประธานกลุ่มพลังผึ้งรักษ์โลกได้เล่าให้ฟังว่า “แรกเริ่ม เดิมทีงานพัฒนาในหมูบ่ า้ นจะเป็นหน้าทีข่ องผูใ้ หญ่หรือ กลุ่มต่าง ๆ ของชุมชนและเยาวชนก็มีสิทธิเข้าร่วมใน กิจกรรมต่าง ๆ อย่างเต็มที่แต่ไม่ได้อยู่ในฐานะผู้คิด ริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรม จนกระทั่งเมื่อโครงการสาน พลังเยาวชนฯ ได้ชกั ชวนให้เยาวชนเข้ามามีบทบาท ใน การสร้างสรรค์และพัฒนาชุมชน ตามความต้องการ และความสนใจของเยาวชนเอง เยาวชนในหมู่บ้านจึง ไม่รอช้าทีจ่ ะรวมตัวกันภายใต้ชอื่ กลุม่ พลังผึง้ รักษ์โลก ทีจ่ ะสร้างสรรค์กจิ กรรมต่าง ๆ ให้กบั หมูบ่ า้ นตามแนวคิด ที่เยาวชนมั่นใจว่าจะทำ�ได้” โดยกำ�ลังสำ�คัญผู้ชักชวนและรวบรวมผึ้ง

ตัวน้อย ๆ ที่กระจายอยู่ตามมุมต่าง ๆ ของชุมชน คือ ภา หรือ สุธาสินี ชัยเขื่อนขันธ์ นักพัฒนาชุมชนประจำ� ตำ�บล โดยภาได้เล่าให้ทมี งานฟังว่า “เมือ่ พีเ่ ลีย้ งโครงการ เข้ามาพูดคุยกับชุมชนถึงแนวทางในการพัฒนาเด็กและ เยาวชนผ่านโครงการสานพลังเยาวชนฯ ภาในฐานะ นักพัฒนาชุมชน จึงออกประสานงานกับกลุ่มก้อน ต่าง ๆ ในชุมชน เพราะบางน้ำ�ผึ้งมีบุคลากรที่เก่งและ มีศกั ยภาพมาก ก็ตดิ ต่อผ่านกลุม่ ผูใ้ หญ่เหล่านี้ จนกระทัง่ ตามหาผึ้งตัวน้อย ๆ ได้เยอะพอสมควร และภาก็ เห็นด้วยกับแนวทางของโครงการที่ว่าต้องการเยาวชน ทีม่ จี ติ สาธารณะ อาสาสมัครเข้ามาทำ�งาน การคัดเลือก เชิญชวนของภา จึงไม่มกี ารบังคับ เมือ่ รวบรวมเยาวชน ได้จำ�นวนหนึ่งแล้ว จึงจัดประชุมร่วมกับที่ปรึกษาเพื่อ ระดมสมองถึงกิจกรรมทีเ่ ยาวชนต้องการทำ�ให้กบั หมูบ่ า้ น โดยให้เยาวชนเป็นหลักในการแสดงความคิดเห็น เพราะ เขาต้องเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง” พลังเยาวชน 32


“สำ�หรับกิจกรรมการจัดการขยะ เนือ่ งจาก ชุมชนบางน้ำ�ผึ้งมีตลาดน้ำ�บางน้ำ�ผึ้งที่โด่งดังมาก เมือ่ มีนกั ท่องเทีย่ วจำ�นวนมาก ปัญหาขยะก็ตามมา กลุ่มเยาวชนจึงได้คิดถึงแนวทางในการจัดการขยะ ที่กำ�จัดยากเช่นขวดพลาสติก นำ�มาประดิษฐ์เป็น แจกันและกระถางต้นไม้ สิ่งที่เห็นเด่นชัดของงาน ประดิษฐ์นี้คือ การใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่ใช่ “การ ย้ายขยะจากแหล่งหนึง่ ไปอยูใ่ นอีกแหล่งหนึง่ ” โดย ทำ�บ้านขยะที่รับบริจาค เฉพาะขวดพลาสติก ซึ่งก็ ยังพบปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง เช่น นักท่องเที่ยว ไม่ได้ทงิ้ แต่เฉพาะขวดลงถัง แต่ทงิ้ ขยะอืน่ ๆ มากมาย ลงไปด้วย ทำ�ให้เราต้องมาจัดการขยะเหล่านี้อีกที หนึ่ง” น้องเนตร สปันนา นวลสะอาด หนึ่งในทีม เยาวชนเล่าให้ฟังพลางถอนหายใจ สำ�หรับแม่ค้าในตลาด กลุ่มเยาวชนได้ ทำ�การประชาสัมพันธ์และขอความร่วมมือผ่านการ ประชุมประจำ�เดือนของกลุม่ แม่คา้ ทีจ่ ดั ขึน้ โดย อบต. ถึงการลด ละ เลิก บรรจุภณ ั ฑ์ทที่ ำ�ลายสิง่ แวดล้อม หรือย่อยสลายยาก เช่น ถุงพลาสติก โดยร้านค้า ที่เข้าร่วมรายการจะทำ�การลดราคาสินค้าให้กับ นักท่องเทีย่ วทีม่ าซือ้ ของแล้วนำ�ถุงใส่ของมาเองหรือไม่ ขอรับถุงพลาสติก โดยน้อง ๆ กลุ่มเยาวชน ได้ กล่าวว่า “กิจกรรมนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างดี จากร้านค้าในตลาดน้ำ� ถึงแม้จะยังไม่ทงั้ หมดก็ตาม แต่ก็ถือเป็นแรงผลักดันให้เยาวชนทำ�งานต่อไป เพราะอย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่า มีคนเห็นด้วยกับ สิ่งที่พวกเราคนตัวเล็ก ๆ ได้คิดและลงมือทำ� บาง

33 พลังเยาวชน


ร้านถึงกับเลิกใช้พลาสติก แต่หันมาใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตองแทน เราก็แอบปลื้มใจอยู่ไม่น้อย” เด็ก หลายคนแย่งกันเล่าและกล่าวทิ้งท้าย กิจกรรมสุดท้ายที่ กลุ่มพลังผึ้งรักษ์โลก ได้ สร้างสรรค์ขึ้น คือการต่อยอดพัฒนายุวชนคนรุ่นใหม่ ให้มีองค์ความรู้ เข้าใจท้องถิ่น รักบ้านเกิด และเห็น ความสำ�คัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยการจัดค่ายเยาวชนในวันสำ�คัญต่าง ๆ จัดฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการอย่างต่อเนือ่ ง ให้เด็กได้มโี อกาสปลูกป่า พากลุม่ นักเรียนเข้าสวนป่าเรียนรูเ้ รือ่ งราวของธรรมชาติ และประโยชน์จากป่า โดยกิจกรรมทัง้ หมด กลุม่ เยาวชน พลังผึ้งรักษ์โลก เป็นผู้บริหารจัดการด้วยตนเอง แม้ กระทั่งการเป็นวิทยากรตามฐานให้ความรู้ต่าง ๆ กลุ่ม เยาวชนก็ดูแลกันเอง

เมื่อเยาวชนต้องการสร้างเยาวชน น้องฟ้ายังกล่าวต่อเนือ่ งว่า “นอกจากกิจกรรม หลัก ๆ ตามแผนงานแล้ว กลุม่ ของพวกตนยังมีแนวคิด ที่ต้องการสร้างคนรุ่นใหม่ เยาวชนรุ่นเล็กอีกรุ่นหนึ่งให้ สามารถต่อยอดแนวคิด ร่วมเป็นสมาชิก พัฒนาศักยภาพ ความรู้ความสามารถ จนเป็นกำ�ลังสำ�คัญให้กับกลุ่ม พลังผึ้งรักษ์โลกได้ กลยุทธ์ทกี่ ลุม่ เยาวชนโดยการนำ�ของน้องฟ้าใช้ ก็งา่ ย ๆ ไม่ได้ยงุ่ ยากอะไร อยูท่ คี่ วามเชือ่ มัน่ และศรัทธา ต่อเด็ก ๆ เหล่านี้ ด้วยการมอบหมายภารกิจที่สำ�คัญ ต่าง ๆ เช่น เป็นอาสาสมัครเก็บขยะในตลาดน้ำ� ให้กบั

น้อง ๆ ได้ทำ� “เพื่อน ๆ เห็นผมมาลงเรือเก็บขยะ ช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ ก็หัวเราะว่าไม่มีอะไรจะทำ� แล้วหรือ ผมก็น้อยใจนะ บางทีก็อาย แต่ก็ยังอยาก จะทำ�ต่อไป” เด็กน้อยรุ่นเล็กคนหนึ่ง กล่าวให้ฟัง ระหว่างสนทนา หรือไม่ว่าจะเป็นการวางแผนเก็บ ขยะรีไซเคิลจากหมู่บ้านต่าง ๆ ในตำ�บลบางน้ำ�ผึ้ง แล้วนำ�ไปขายให้รา้ นรับซือ้ ของเก่า โดยปล่อยให้คดิ ระบบบริหารจัดการ บัญชีต่าง ๆ ด้วยตนเอง ดูแล กันเอง และสุดท้ายแล้วรายได้ส่วนหนึ่งจะเป็นของ เยาวชนเหล่านี ้ การให้โอกาสเยาวชนรุ่นใหม่ได้เป็น วิทยากรกลุ่มตามฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ จากทีแรกก็ ดูรุ่นพี่ทำ�ไปก่อน หลัง ๆ ก็มอบหมายให้ดูแลและ สร้างทีมกันเอง เรียกว่า ค่อย ๆ ฝึก ค่อย ๆ ปั้น จนเขาแข็งแรงทางความคิด สมบูรณ์ทางการปฏิบัต ิ ก็ให้โอกาสเต็มที่ ปัจจุบนั กลุม่ เยาวชนพลังผึง้ รักษ์โลก มีสมาชิก รุน่ ใหม่ไฟแรงเหล่านี้ มากกว่า 20 คน และยังคงเป็น กำ�ลังสำ�คัญให้การทำ�งานต่าง ๆ ของชุมชนมาอย่าง ต่อเนื่อง

พลังเยาวชน 34


35 พลังเยาวชน


เมื่อผู้ใหญ่ให้โอกาส กับบทบาทของที่ปรึกษา

แนวคิดในการสร้างคนรุ่นใหม่มาทดแทน เติม เต็มกลุ่ม Bee Power Save the World หรือพลัง ผึ้งรักษ์โลก ให้มีเยาวชนหลายๆ รุ่นนี้ ส่วนหนึ่งได้รับ การสัง่ สมทางความคิดมาจากทีป่ รึกษาของเยาวชน ทีใ่ ห้ โอกาสในการทำ�งาน วางแผน และไม่ครอบงำ�ทางความ คิด แต่จะให้เวลาในการให้ข้อคิดเห็น เสนอแนะ และให้ กำ�ลังใจต่อการประชุมอยู่เสมอ “บางครั้งผมก็ด่าตรง ๆ เพื่อกระตุ้นเตือนเด็ก ๆ เหล่านี้ให้มีความรับผิดชอบ มากขึ้น ปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนงาน เพราะเด็ก ๆ ก็จะมีทั้งเรียนและกิจกรรมอื่น ๆ ที่อยู่ในวัยของพวกเขา หากไม่สามารถจัดการเวลาได้ ก็จะทำ�ให้ลำ�บากในตอน ท้าย จนกระทัง่ ไม่อยากทำ�อะไรต่อ แต่ผมจะไม่เป็นคน ลงมือทำ�แทนเด็ดขาด เด็ก ๆ เป็นผู้คิดเองมาตั้งแต่ต้น ก็ตอ้ งลงมือพิสจู น์ความสามารถด้วยตนเอง” นายกสำ�เนาว์ รัศมิทัต นายกองค์การบริหารส่วนตำ�บลบางน้ำ�ผึ้ง ในฐานะที่ปรึกษาคนหนึ่ง กล่าวไว้อย่างน่าสนใจ สิ่งสำ�คัญอีกประการหนึ่งของกลุ่มเยาวชนที่ได้ รับความสำ�เร็จมากมายนี้ คือ การมีที่ปรึกษาที่เข้าใจ บทบาทของการเป็นทีป่ รึกษา และคอยสนับสนุนเยาวชน เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นนายกสำ�เนาว์ รัศมิทัต นายก

อบต.บางน้ำ�ผึง้ เกรียงศักดิ์ วรรณฉวี ประธานสภาองค์การ บริหารส่วนตำ�บลบางน้ำ�ผึง้ สมศักดิ ์ สำ�ลีรตั น์ ปราชญ์ เกษตรของแผ่นดินจังหวัดสมุทรปราการ กำ�นัน ผูใ้ หญ่บา้ น ผ.อ.อุษณีย์ ขำ�ดวง ผูอ้ ำ�นวยการโรงเรียนวัดบางน้ำ�ผึง้ ใน “แรกเริ่มเดิมที เมื่อเราต้องการที่ปรึกษาให้กับเยาวชน ก็มกี ารติดต่อทำ�ความเข้าใจ และเรียนเชิญหลาย ๆ ท่าน ซึ่งก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และการแต่งตั้งคณะ ที่ปรึกษานี้ก็ไม่ได้ทำ�กันเล่น ๆ หรือใส่ให้มีจำ�นวนมาก ไว้ก่อน แต่ทุกท่านที่เข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้กับเยาวชน ได้ลงแรง ลงพลังเต็มที่ ในบทบาทที่แต่ละคนจะช่วยได้ เช่น นายกฯ เป็นคนนำ�เด็ก ๆ ให้มโี อกาสในการแลกเปลีย่ น ในเวทีประชุมกลุ่มแม่ค้าในตลาดน้ำ� กำ�นันท่านช่วยให้ แง่คิดและองค์ความรู้ต่อการอนุรักษ์สวนป่า ดิฉันก็สอน ให้เด็กๆ เห็นถึงการจัดการโปรแกรมให้นกั ท่องเทีย่ วเวลา เขามาเทีย่ วชมบ้านเรา เรียกได้วา่ ทีป่ รึกษาแต่ละคนของ บางน้ำ�ผึง้ หากได้รบั ตำ�แหน่งทีป่ รึกษาแล้ว ก็ได้เสียสละ เวลา และช่วยกันดูแลเด็ก ๆ เต็มที่ ตามความสามารถ ของแต่ละคน” ผูใ้ หญ่อาภรณ์ พานทอง อดีตผูใ้ หญ่บา้ น หมู่ที่ 3 คนเก่งกล่าว พลังเยาวชน 36


37 พลังเยาวชน


เมื่อผึ้งแสดงพลัง ความฝันก็จับต้องได้

ปัจจุบันนี้ กลุ่มเยาวชนชุมชนบางน้ำ�ผึ้งมี ความภาคภูมใิ จในผลงานทีต่ นเองได้วาดฝันไว้ตงั้ แต่ แรก ไม่ว่าจะเป็น การเพิม่ พืน้ ทีส่ วนป่า การอนุรกั ษ์ พันธุพ์ ชื การสร้างแนวทางในการจัดการขยะในตลาด น้ำ� การสร้างเยาวชนคนรุน่ ใหม่เพือ่ สานงานต่อไปใน อนาคต และทีม่ ากกว่านัน้ คือ การได้รบั การยอมรับ เป็นอันมากจากชุมชนในการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ทีเ่ มือ่ ก่อนจะอยูใ่ นมือของผูใ้ หญ่ ไม่วา่ จะเป็นการจัด งานใหญ่ของชุมชน การร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการ ผลักดันให้ชุมชนเป็นตำ�บลปลอดขยะ ซึ่งกำ�ลังเป็น แผนงานชิ้นใหม่ที่ท้าทายเยาวชน และคนในชุมชน เป็นอันมาก แต่กป็ ฏิเสธไม่ได้วา่ แรงบันดาลใจเหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากการแสดงพลังที่มุ่งมั่นของเยาวชน จนกระทั่งผู้ใหญ่ในชุมชนมีความภาคภูมิใจ วางใจ ในอนาคตของชุมชนให้อยู่บนบ่า จากคนรุ่นใหญ่ ไปสู่คนรุ่นใหม่ ได้อย่างเต็มภาคภูมิ กลุ่มเยาวชนพลังผึ้งรักษ์โลกเหล่านี้ไม่ได้ ดูแลรักษาสิง่ แวดล้อม ทำ�นุบำ�รุงรักษาต้นกล้าทีล่ งแรง ปลูกใหม่ให้กับสวนป่าชุมชนเพียงอย่างเดียว แต่ยัง เพาะบ่ม “ต้นกล้าเยาวชน” จากรุ่นสู่รุ่น ให้เจริญ เติบโตอย่างมีคณ ุ ภาพไปพร้อม ๆ กับป่าทีจ่ ะงอกงาม และสร้างคุณประโยชน์ตอ่ สังคมส่วนรวมอย่างเข้มแข็ง ต่อไป พลังเยาวชน 38


39 พลังเยาวชน


พื้นที่ดีเด่นด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรม

โครงการเยาวชนบ้านห้วยตองก๊อ

กลุ่มเยาวชนห้วยตองก๊อ ต.ห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

บ้านห้วยตองก๊อ เป็น ชุมชนชาวปกาเกอะญอ อยู่ใน หุบเขาค่อนข้างห่างไกลจาก ตัวเมือง เข้า – ออก ชุมชนลำ�บาก ตั้งอยู่ใน ต.ห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ที่ยังคงมีวิถีชีวิต พึง่ พิงธรรมชาติสงู ใช้พลังงานแสง อาทิตย์ เพือ่ ผลิตไฟฟ้าให้แสงสว่าง ใช้ฟืนจากป่าชุมชนในการหุงหา อาหาร ให้พลังงานและความอบอุน่ ใช้น้ำ�จากลำ�ธารและผันเข้าหมูบ่ า้ น เป็นระบบประปาภูเขา แต่ชุมชน ทีอ่ ยูไ่ กลเมืองขนาดนี ้ ก็ยงั หนีไม่ พ้นกระแสความเปลี่ยนแปลง ที่ โหมพัดเข้าสู่หมู่บ้าน เยาวชนเริ่ม ออกจากหมู่บ้านหันหน้าเข้าหา เมืองแม่ฮอ่ งสอนหรือเชียงใหม่ เพือ่ แสวงหาโอกาสในการประกอบ อาชีพ ต้องการมีวิถีชีวิตแบบคน เมือง ละทิง้ รากเหง้าและวัฒนธรรม ของตนเอง พลังเยาวชน 40


เสรีทอง ศักดิ์คีรีงาม ประธานกลุ่มเยาวชนบ้าน ห้วยตองก๊อ ก็เป็นหนึง่ ในนัน้ เช่นกัน โดยเสรีทองได้เข้าไป ใช้ชวี ติ และหางานทำ�ในเมืองเมือ่ หลายปีกอ่ น จนเริม่ รูส้ กึ ว่าชีวติ ในเมืองมีแต่ความวุน่ วาย และไม่ได้ดไี ปกว่าบ้าน ของตัวเองที่อยู่ไกลความเจริญเหล่านี้ จึงหันหน้ากลับสู่ หมู่บ้านและประกอบอาชีพการเกษตร ใช้ชีวิตอย่าง พอเพียงอยู่ในชุมชน เสรีทองสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในหมู่บ้านว่าไม่ได้แตกต่างไปจากในวัยที่เขาต้องการ

41 พลังเยาวชน

แสวงหาความสะดวกสบายจากชีวิตในเมือง แต่จะมี สักกีค่ นทีเ่ รียนรูช้ วี ติ ภายนอกแล้วหันกลับมาหมูบ่ า้ นและ เป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาชุมชนของพวกเขาให้ดีขนึ้ เขาจึงได้นำ�เรื่องราวและมุมมองเหล่านี้แลกเปลี่ยนกับ ที่ประชุมกลุ่มท่องเที่ยวและผู้หลักผู้ใหญ่ในชุมชน เพื่อ ก่อตัง้ กลุม่ เยาวชนบ้านห้วยตองก๊อขึน้ และร่วมพัฒนากิจกรรม ภายใต้โครงการสานพลังเยาวชนฯ เมื่อโอกาสมาถึง เวทีการพัฒนาโครงการ ประกอบด้วยหลายฝ่าย คือ กลุ่มเยาวชน สมาชิกกลุ่มท่องเที่ยว ที่ปรึกษา และ


สมาชิกชุมชน เพือ่ แลกเปลีย่ นพูดคุยและวิเคราะห์ถงึ สิง่ ที่ ชุมชนกำ�ลังประสบปัญหา ความท้าทายต่าง ๆ ตลอดจน สิ่งที่ต้องการอนุรักษ์ฟื้นฟู โดยข้อสรุปมุ่งเน้นไปที่การ ส่งเสริมให้เยาวชนในชุมชนได้เรียนรูแ้ ละเข้าใจในวิถชี วี ติ และวัฒนธรรมชนเผ่าที่เข้าถึงเข้าใจได้ง่าย ซึ่งประกอบ ไปด้วยกิจกรรมการจัดทำ�ฐานข้อมูลด้านอาหารตามฤดูกาล การเรียนรู้ศิลปะชนเผ่า (เป่าเขาควายและการรำ�ดาบ) เพื่อให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอที่พึ่งพิงและ อาศัยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่จะเน้น

การลงมือปฏิบตั จิ ริงด้วยกลุม่ เด็ก ๆ และกิจกรรมสุดท้าย คือ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ต้องการให้คนต่างวัยได้ ถ่ายทอดประสบการณ์และองค์ความรูต้ า่ ง ๆ ให้เยาวชน คนรุ่นหลังได้นำ�ไปสืบทอดหรือเข้าใจได้ และการแลก เปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคนต่างวิถี ที่ไปใช้ชีวิตอยู่ในเมือง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ชีวิตในสังคมเมือง ให้กบั เยาวชนทีใ่ ช้ชวี ติ อยูใ่ นหมูบ่ า้ นได้เรียนรูแ้ ละเข้าใจ

พลังเยาวชน 42


เมื่ออาหารคือรากฐานสำ�คัญ ของการเรียนรู้

กลุม่ เป้าหมายของโครงการทีก่ ลุม่ เยาวชนบ้าน ห้วยตองก๊อต้องการพัฒนาขึน้ คือ เยาวชนในระบบการ ศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มัธยมศึกษา ตอนต้น และเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษา ให้มี โอกาสได้เรียนรูอ้ ย่างเข้าใจถึงวิถชี วี ติ ของบรรพชนทีพ่ งึ่ พา อาศัยอยู่กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมแรกคือการเก็บข้อมูลอาหารตาม ฤดูกาลของชุมชน โดยการสัมภาษณ์กลุ่มบ้านต่าง ๆ ด้วยตัวของเด็ก ๆ เอง ทีมแกนนำ�เยาวชนให้ความสำ�คัญ กับกระบวนการสัมภาษณ์โดยให้เด็ก ๆ เป็นผูส้ มั ภาษณ์ อย่างละเอียดทีละบ้าน เล่าทีละอย่าง อรรถาธิบายถึง การปรุง และวัตถุดิบ กระบวนการเหล่านี้ทำ�ให้เด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ได้เห็นถึงที่มาของวัตถุดิบต่าง ๆ ซึ่งล้วน แล้วแต่เป็นของทีส่ ามารถหาได้จากป่าและพืน้ ทีเ่ กษตรกรรม รอบหมู่บ้านทั้งสิ้น!! ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพรที่ปลูกในไร่ สวน เห็ด ฟักทอง ข้าวโพด ผักนานาชนิดที่สามารถ หาได้จากป่าใกล้บา้ น แหล่งโปรตีนสำ�คัญก็มาจากหมู จากไก่ ที่เลี้ยงไว้ โดยชุมชนมีกฎระเบียบเคร่งครัดถึง การห้ามล่าสัตว์ป่ามาเป็นอาหารหรือเพื่อการอื่นโดย เด็ดขาด

43 พลังเยาวชน


“เมนูอาหารในทุกฤดูกาลของชุมชนห้วยตองก๊อ ต่างใช้ วัตถุดบิ ทีม่ าจากชีวติ ความเป็นอยูท่ า่ มกลางธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ที่สมบูรณ์” ข้อเท็จจริงนี้ถูกส่งต่อผ่านการเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ ของเด็ก ๆ ในหมู่บ้าน ซึ่งเมื่อเด็ก ๆ เข้าใจเช่นนี้แล้วก็ไม่ใช่เรื่อง ยากในการส่งเสริมให้เขาเหล่านั้นเห็นคุณค่า คุณประโยชน์ของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว พลังเยาวชน 44


รำ�ดาบและเป่าเขาควาย ความงดงามที่แทบจะเลือนหาย

อีกกิจกรรมหนึง่ ทีม่ สี สี นั ไม่แพ้กนั คือ การสืบทอด ภูมปิ ญ ั ญาการรำ�ดาบและเป่าเขาควาย ซึง่ มีความสัมพันธ์ ต่อวิถีชีวิตชนเผ่าชาวกะเหรี่ยงในอดีตเป็นอย่างมาก ชาวห้วยตองก๊อจะเป่าเขาควายในช่วงเริ่มต้นฤดู เกีย่ วข้าว เพือ่ แสดงความเคารพต่อแม่โพสพ ในพิธที ำ�ขวัญ ข้าว และเป่าเพื่อไล่สัตว์ร้ายในท้องไร่ท้องนายามเช้าตรู่ เพราะสมัยก่อนมีสัตว์ป่าชุกชุมทั่วไป การเป่าจะเป็นการ ไล่สัตว์เหล่านี้ให้หนีไปไกลจากไร่นาก่อนที่ชาวบ้านจะ เข้าไปเก็บเกี่ยวข้าว การรำ�ดาบสำ�หรับพวกเขาคือศิลปะป้องกันตัว เพราะในป่ารอบหมู่บ้านมีสัตว์ป่าชุกชุม และมีอันตราย ต่าง ๆ อยู่รอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นโจร หรือสัตว์ดุร้าย ครั้น ยุคปัจจุบัน สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปทำ�ให้ วิถชี วี ติ และวัฒนธรรมเหล่านีเ้ ริม่ เงียบหายไปและไม่มคี วาม จำ�เป็นเหมือนสมัยก่อน แต่วิสัยทัศน์ของกลุ่มเยาวชน โดยเฉพาะเสรีทองได้สะท้อนไว้อย่างน่าสนใจว่า “เราสามารถ สืบทอดและเก็บภูมิปัญญาเหล่านี้ไว้ได้ ถึงแม้จะไม่ได้ใช้ เพื่อประโยชน์เหมือนในอดีตแล้วก็ตาม แต่เป็นประเพณี และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น เป็นสิ่งที่น่า ภาคภูมิใจหากสามารถสืบทอดและเก็บไว้ให้เรียนรู้ได้ ก็ไม่ใช่สิ่งเสียหายอะไร และน่าภาคภูมิใจเสียด้วยซ้ำ�” ทีมเยาวชนจึงเริ่มกิจกรรมนี้ด้วยการสืบค้น

45 พลังเยาวชน

ภูมปิ ญ ั ญาและองค์ความรูท้ มี่ อี ยู่ หาครูทมี่ คี วามสามารถ รับหน้าที่ถ่ายทอดให้กับเยาวชน โดยแบ่งการเรียนรู้ ออกเป็นช่วงเย็นในวันปกติ และทั้งวันในช่วงวันหยุด เสาร์ – อาทิตย์ ใช้อาศรมในหมู่บ้านเป็นที่ฝึกปรือ ฝีมือ การถ่ายทอดให้กับเยาวชนได้ผู้เฒ่าในหมู่บ้าน มาเป็นครู การเรียนรู้จะเริ่มต้นด้วยการเล่าถึงประวัติ ความเป็นมาของศิลปะป้องกันตัวและการใช้ดาบให้ เด็ก ๆ ได้ฟังและเข้าใจก่อนที่จะเริ่มต้นการฝึกด้วย ดาบไม้ เรียนรู้การรำ�ดาบด้วยท่วงท่าต่าง ๆ ทีละท่า จนคล่องแคล่ว จึงเริ่มใช้ดาบจริง การฝึกใช้เวลา 2-3 เดือน เพือ่ ให้มนั่ ใจว่าเด็ก ๆ มีทกั ษะและความสามารถ ในระดับหนึง่ แล้ว ก็จะทำ�พิธนี ำ�ไปฝึกในป่า อีก 7 วัน ก็จะถือว่าเสร็จสิ้นขั้นตอนกระบวนการถ่ายทอด โดย ขั้นตอนสุดท้ายนี้จะสงวนไว้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น แต่ การฝึกในหมู่บ้านจะสามารถฝึกได้ทั้งชายและหญิง สำ�หรับการเป่าเขาควายก็เช่นเดียวกัน ครูผู้ สัง่ สอนจะเริม่ ต้นด้วยการเป่าให้ฟงั ก่อน แล้วสอบถาม ถึงความรู้สึกที่ได้ยินว่าเป็นเช่นไร จากนั้นจึงให้เด็ก ๆ ได้ฝกึ ทำ�ตาม เพราะการเป่าเขาควายไม่มตี วั โน้ตกำ�กับ แต่เป็นการเป่าผ่านความรู้สึก เปล่งออกมาเป็นเสียง สำ�เนียงที่มีเสน่ห์และเอกลักษณ์เฉพาะตัว


เมื่อศิลปะ คือการฝึกจิต

คุณูปการที่สำ�คัญประการหนึ่ง ของการฝึกรำ�ดาบและการเป่าเขาควาย คือการฝึกสมาธิ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของ ผู้ฝึกสอน โดยได้ให้มุมมองไว้อย่างน่า สนใจว่า “การฝึกรำ�ดาบต้องใช้สมาธิสงู ต้องตัง้ ใจ จิตไม่แกว่ง ไม่กังวลกับเรื่อง อืน่ การเป่าเขาควายก็เช่นกัน จะทำ�ให้ เด็ก ๆ มีสมาธิ คอยฟังเสียงทีต่ นเองเป่า ว่าจะออกมาเป็นทำ�นองใด มีคนเข้าใจ หรือสนใจไหม และสมาธิที่ว่านี้ เมื่อฝึก ให้ดกี จ็ ะมีประโยชน์กบั ตัวของเขาเอง ทัง้ ในการเรียนและในชีวิตประจำ�วัน” ซึ่ง มุมมองจากอาจารย์ผสู้ อนสัง่ นี้ ได้รบั การ ยืนยันจากลูกศิษย์ผู้ร่ำ�เรียนวิชาการฝึก ดาบว่า “การฝึกรำ�ดาบทำ�ให้ผมมีความ ตั้งใจมากขึ้น มีสมาธิ มีความมั่นใจ มากขึน้ ทุกครัง้ ทีไ่ ด้รำ�ดาบ ใจผมจะจดจ่อ อยู่กับมัน หลังจากรำ�ดาบเสร็จ เวลา อยู่บ้านรู้สึกว่าตนเองตั้งใจทำ�งาน ทำ� การบ้านก็จะตั้งใจมาก” พลังเยาวชน 46


เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โอกาสของคนต่างวัย หัวใจต่างวิถี

กิจกรรมที่โดดเด่นอีกกิจกรรมหนึ่ง คือเวทีแลก เปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่าง “คนต่างวัยต่างวิถี” โดยเสรีทองให้ มุมมองไว้ตั้งแต่ต้นว่า “ตนเคยไปใช้ชีวิตในเมือง จึงเห็น ภาพของความเป็นเมือง เห็นข้อดี ข้อเสีย แล้วจึงตัดสินใจ กลับมาอยู่หมู่บ้าน เมื่อกลับมาสู่หมู่บ้าน ก็คิดว่าจะทำ� อย่างไรให้เยาวชนรูเ้ ท่าทันและมีความตระหนักถึงชีวติ สังคม และสิง่ แวดล้อมทีแ่ ตกต่างกัน ของคนต่างวัฒนธรรม ไม่ตอ้ ง ไปลองผิดลองถูก” จึงเป็นที่มาของกิจกรรมนี้ เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มี 2 เวทีหลักด้วยกัน เวที แรกจะเป็นการถ่ายทอดแลกเปลี่ยน ระหว่าง “คนต่างวัย” ที่มีภูมิปัญญาในหมู่บ้าน มาให้ความรู้กับเยาวชนได้เรียนรู้ และเข้าใจ เช่น เรื่องโทษของยาเสพติด วิถีชีวิตชาวปกาเกอะญอในสมัยก่อน ประวัติศาสตร์หมู่บ้าน ฯลฯ เวทีที่ 2 จัดในช่วงปิดเทอม เป็นเวทีแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ะหว่างเยาวชน “คนต่างวิถี” ที่ไปใช้ชีวิตอยู่ในเมือง ไม่ว่าจะไปเพื่อการ ศึกษาต่อหรือทำ�งาน เยาวชนเหล่านีจ้ ะกลับเข้าสูห่ มูบ่ า้ นช่วง เดือนตุลาคม กลุ่มเยาวชนจึงใช้โอกาสนี้ในการจัดเวที พูดคุยแบบเป็นกันเองขึ้นเพื่อสะท้อนมุมมองของวิถีชีวิตที่ ดำ�รงอยูใ่ นเมืองว่ามีความยากลำ�บากอย่างไร คนภายนอก มองพีน่ อ้ งชนเผ่าอย่างไร เทคโนโลยี บ้านช่อง รถรา เหมือน หรือแตกต่างกับบ้านบนดอยอย่างไร สำ�หรับเยาวชนทีป่ ระกอบ อาชีพอยู่ในชุมชนไม่ได้ไปใช้ชีวิตในเมือง ก็จะบอกเล่า

47 พลังเยาวชน

เรือ่ งราวถึงเหตุผลของการเลือกใช้ชวี ติ เรียบง่าย การดำ�รง อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ การเริ่มต้นชีวิตครอบครัว การ แบ่งปันและเก็บหอมรอมริบ “วิถที แ่ี ตกต่างกันสุดขัว้ เช่นนี้ เมือ่ มาพบเจอและได้พดู คุยกันผ่านการถ่ายทอดทีม่ ากมาย ด้วยอารมณ์ ความรูส้ กึ และความสนุกสนานในบางครัง้ ทำ�ให้เป็นเวทีทเี่ กิดการเรียนรู้ เข้าใจซึง่ กันและกัน มากกว่า จะโทษว่าใครผิด หรือมองว่าวิถีชีวิตแบบไหนดีกว่ากัน” เสรีทอง ประธานกลุ่มเยาวชน ให้ข้อคิดไว้ในตอนท้าย


วิถีชีวิต วัฒนธรรม กับการลดโลกร้อน

หากพูดถึงความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยง ระหว่างวิถีชีวิต วัฒนธรรม กับการลดโลกร้อน อาจจะนึก ไม่ออกหรือเชื่อมโยงลำ�บาก แต่ในทัศนคติของกลุ่มเยาวชนที่นี่ ได้ให้มุมมองไว้อย่างน่าสนใจว่า “วิถีชีวิต ของพวกเราพีน่ อ้ งปกาเกอะญอ เป็นวิถที เี่ ป็นมิตรกับธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมอยูแ่ ล้ว แต่ความสะดวกสบาย ภายนอกกลับเข้ามาทำ�ให้ชีวิตเราเปลี่ยนไป และส่งผลให้โลกร้อนได้ กลุ่มเยาวชนบ้านห้วยตองก๊อ ได้ใช้ กิจกรรมเป็นเครือ่ งมือในการปรับเปลีย่ นพฤติกรรมชุมชน เช่น การจัดทำ�เมนูอาหารตามฤดูกาล เพือ่ กระตุน้ ให้คนในชุมชนรู้สึกภาคภูมิใจในวิถีชีวิต เป็นตัวอย่างให้เยาวชน และใช้วัตถุดิบท้องถิ่นปรุงอาหารมากขึ้น ไม่ต้องลงไปซื้อจากในเมืองเมื่อเราใช้ของในท้องถิ่น จะช่วยลดการเดินทางไปซื้อในเมืองได้ ของท้องถิ่นก็ ไม่มีอะไรที่ย่อยสลายยาก” พลังเยาวชน 48


เมื่อเยาวชนรักที่จะเรียนรู้ ครู ก็ภาคภูมิใจที่จะสั่งสอน

ความงดงามของการทำ�งานโครงการผ่านกิจกรรม ต่าง ๆ จนกระทั่งได้รับรางวัลดีเด่นด้านการอนุรักษ์ วัฒนธรรมนี้ เป็นที่ประจักษ์และปรากฏอยู่ในร่องรอย ความภาคภูมิใจของคนทุกวัยในหมู่บ้าน เยาวชนมีความ ภาคภูมใิ จทีไ่ ด้เรียนรูจ้ นกระทัง่ สามารถนำ�ศิลปวัฒนธรรม ที่ได้ฝึกฝนไปแสดงในสถานที่ต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจไม่ว่า จะเป็นที่แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร และ ในวันงานสำ�คัญต่าง ๆ ของชุมชนอีกหลายครั้ง สำ�หรับ ชุมชน จากเดิมทีไ่ ม่ได้สนใจต่อการสืบทอดและเก็บรักษา สิง่ ดีงามเหล่านีไ้ ว้ ก็รสู้ กึ ภาคภูมใิ จ ช่วยฝึกหัดเด็ก ๆ และ เข้าร่วมงานในทุกโอกาสที่มี ดั่งที่อดีตผู้ใหญ่บ้านทิณกร เล่อกา ประธานกลุ่มท่องเทีย่ วโดยชุมชนบ้านห้วยตองก๊อ ได้ให้ความเห็นไว้วา่ “ศรัทธาและความเชือ่ มัน่ เป็นสิง่ สำ�คัญ ผมในฐานะทีป่ รึกษา เมือ่ เห็นเด็ก ๆ และเยาวชน สามารถ ทำ�กิจกรรมให้เกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น และ รักบ้านเกิดของตนเองได้ขนาดนี้ ก็นา่ ภาคภูมใิ จมากแล้ว ชาวบ้านในหมู่บ้านก็มากล่าวชื่นชมอยู่ตลอดถึงความ สามารถที่เด็ก ๆ มี สำ�หรับผม เห็นประโยชน์ที่มากกว่า นัน้ คือการรวมตัวของเด็ก ๆ และเยาวชนทีม่ าทำ�กิจกรรม ดี ๆ มีประโยชน์ต่อชุมชน ต่อสังคม มากกว่าที่จะหันไป หาของมึนเมา บุหรี่ หรือยาเสพติด แค่นี้ก็นอนตาย ตาหลับแล้ว” ปัจจุบันนี้ หากใครได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยือน

49 พลังเยาวชน

หมู่บ้าน ก็จะพบเยาวชนรุ่นน้อย คอยให้การต้อนรับ และพาเทีย่ วป่า เทีย่ วน้ำ�ตกได้อย่างน่าสนใจ เจือ้ ยแจ้ว สนทนาเล่าเรือ่ งราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าและ ธรรมชาติ เจออะไรก็จะสามารถบอกได้วา่ พืชชนิดไหน กินได้ ทำ�ยาสมุนไพรได้ เป็นผักจิม้ น้ำ�พริกได้ กินเป็น ผลไม้ได้ ฯลฯ เด็ก ๆ เหล่านี้จะแข่งกันวิ่งนำ�หน้าผู้มาเยือน อยู่เสมอ แต่หากหันหลังกลับไปในเส้นทางที่ผ่านมา ก็จะเห็นว่า มีผู้ใหญ่ที่เดินติดตามเด็ก ๆ คอยเป็น กำ�ลังใจและติดตามดูอยู่ห่าง ๆ พร้อมรอยยิ้มที่ ริมฝีปากอยู่เสมอ


พลังเยาวชน 50


51 พลังเยาวชน


พื้นที่ดีเด่นด้านการท่องเที่ยวและสุขภาวะชุมชน

โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ฟื้นฟูทรัพยากร ต้านภัยโลกร้อน สืบทอดภูมิปัญญา พัฒนาบ่อเจ็ดลูก กลุ่มเยาวชนคนชายเลน บ้านบ่อเจ็ดลูก ต.ปากน้ำ� อ.ละงู จ.สตูล

ใครจะไปคิดว่า วัยรุ่นหัวโจกแห่งบ้านบ่อเจ็ดลูก ต.ปากน้ำ� อ.ละงู จ.สตูล จะลุกขึน้ มาเปลีย่ นแปลงตนเอง อย่างตั้งมั่นและฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ นานา เพื่อ ทำ�งานและพิสูจน์ตนเองให้ผู้ใหญ่ในชุมชนเห็น จน ปรับเปลีย่ นมุมมอง ต่อเด็กหัวโจกในชุมชนมุสลิมเช่นนีไ้ ด้ อย่างไม่น่าเชื่อ บุ๊ค หรือ บดินทร์ มูฉัมหมัดสมัน ประธานกลุ่ม เยาวชนคนชายเลน แห่งบ้านบ่อเจ็ดลูกได้เล่าให้เราฟัง ถึงทีม่ าทีไ่ ปของการเริม่ ต้นรวมตัวทีมเยาวชนว่า “แต่กอ่ น เวลาชุมชนหรือกลุม่ ท่องเทีย่ วทีน่ มี่ งี านอะไรก็จะเรียกกลุม่ เยาวชนไปช่วยงาน ผมก็จะหาเพือ่ นรวมทีมกันไปช่วยงาน เป็นครั้ง ๆ ไป ไม่ได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน แต่ ถ้ารวมตัวเพือ่ เล่นพิเรนทร์ตามประสาวัยรุน่ ก็มอี ยูแ่ ล้ว เช่น ขีม่ อเตอร์ไซค์เทีย่ วเล่นไปตามสถานทีต่ า่ ง ๆ ไม่ได้สนใจ ว่าใครจะเดือดร้อนบ้าง โครงการหรืองานทีเ่ ข้ามาในชุมชน ส่วนใหญ่ ผู้ใหญ่จะเป็นผู้รับผิดชอบ พวกเราจะเป็นเพียง แค่ผู้ตาม ไม่เคยรับผิดชอบอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน” พลังเยาวชน 52


บุค๊ ยังเล่าต่ออีกว่า เมือ่ พีเ่ ลีย้ งโครงการสานพลังเยาวชนฯ เข้าพบพูดคุยกับกลุม่ ท่องเทีย่ วและเยาวชน เพื่อชักชวนให้แสดงพลังของเยาวชนและเป็นกำ�ลังสำ�คัญในการพัฒนาหมู่บ้าน เมื่อถูกท้าทายเช่นนี้ บุ๊คและ เพื่อน ๆ จึงได้ตัดสินใจที่จะพิสูจน์ความสามารถและความตั้งใจให้กับผู้ใหญ่ในชุมชนเห็น จึงได้หาสมาชิก เพิ่มเติมและรวมตัวกัน “ถ้าทำ�แค่ 1-2 คน ผมจะรู้สึกอาย แต่ถ้าทำ�ร่วมกันเป็นทีมมันเหมือนมีเพื่อน มีคน เห็นด้วย ผมจะไม่ค่อยอายเท่าไหร่” บุ๊คให้เหตุผลถึงการหาสมาชิกกลุ่มเพิ่มเติม “พวกเราให้บุ๊คเป็นประธาน กลุ่ม เพราะบุ๊คเป็นหัวโจกเกือบทุกเรื่อง ก็จะรู้จักคนเยอะ น่าจะประสานงานได้ดี” มุมมองของนุด หนึ่งใน สมาชิกกลุ่มเยาวชนคนชายเลนที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการในการเลือกประธานของพวกเขา

53 พลังเยาวชน


เริ่มต้นเรียนรู้ต้นจาก จากรากถึงยอด จากต้นซอยถึงท้ายซอยหมูบ่ า้ น

กิจกรรมทีเ่ ยาวชนบ่อเจ็ดลูกเลือกทำ�คือการรือ้ ฟืน้ การใช้ประโยชน์จากต้นจาก แรกเริ่มเดิมทีมีความเห็นที่ แตกต่างหลากหลาย โดยบุ๊คเล่าให้เราฟังว่า “เริ่มต้น พวกเรามีความคิด 3 อย่าง คือ การทำ�ผ้ามัดย้อม การ จัดการขยะ และการอนุรกั ษ์ตน้ จาก เมือ่ มีการแลกเปลีย่ น ความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ สุดท้ายเราจึงเลือกกิจกรรม การอนุรักษ์ต้นจากเป็นกิจกรรมหลัก เพราะผ้ามัดย้อม เป็นของใหม่ หากเราจะทำ�เรื่องนี้ก็เท่ากับเริ่มต้นที่ศูนย์ ส่วนการจัดการขยะ ก็เป็นระบบที่ใหญ่เกินไปที่พวกเรา จะเริ่มต้นทำ�ได้ เพราะถ้าเริ่มต้นที่กิจกรรมใหญ่ ๆ แล้ว ไม่ประสบผลสำ�เร็จ ทุกคนก็จะหมดกำ�ลังใจได้ แต่ตน้ จาก เป็นพืชท้องถิ่นที่ชุมชนใช้ประโยชน์มานาน จากรากถึง ยอด และปัจจุบันป่าจากก็เริ่มเสื่อมโทรม ทุกคนในทีม จึงตัดสินใจเสนอโครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ฟื้นฟู ทรัพยากร ต้านภัยโลกร้อน สืบทอดภูมิปัญญา พัฒนา บ่อเจ็ดลูก นี้” กลุม่ เยาวชนใช้วธิ แี บ่งงานกันทำ� แบ่งกันหาข้อมูล ว่าจากใช้ทำ�อะไรได้บา้ ง และหาชาวบ้านทีย่ งั คงประกอบ อาชีพนั้น ๆ อยู่ เช่น การนำ�ใบจากมาทำ�จากมุงหลังคา การทำ�ไม้กวาด การใช้ใบและก้านจากทำ�เสวียนหม้อและ อุปกรณ์ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ หลังจากเก็บข้อมูล ครอบคลุมและชัดเจนแล้ว ก็ถึงขั้นลงมือปฏิบัติด้วยการ

เอาตนเอง (กลุ่มเยาวชน) เข้าไปเรียนรู้ถึงขั้นตอนและ วิธีการต่าง ๆ ในการทำ�ผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย จนกระทั่งมีทักษะในการผลิต เพื่อสืบทอดและต่อยอด ด้วยการผลิตเพือ่ จำ�หน่ายจ่ายแจกให้กบั ชุมชน “พวกเรา เรียนรูว้ ธิ กี ารทำ�ผลิตภัณฑ์จากต้นจากหลายอย่าง อย่าง เสวียนหม้อที่ใช้สำ�หรับรองหม้อต่าง ๆ การทำ�แจกัน จากก้านจาก การทำ�อุปกรณ์ภาชนะบางอันก็ทำ�กันได้ หมด บางชิน้ ก็ยากมาก คือรูว้ ธิ กี ารขึน้ รูป แต่ทำ�จนเสร็จ ไม่ได้” บุ๊คกล่าวให้เราฟังพลางหัวเราะ ขั้นตอนการเรียนรู้เหล่านี้ ทำ�ให้กลุ่มเยาวชน เข้าใจถึงวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ (แต่ละส่วนจากต้นจาก) กระบวนการ ผลิต การนำ�ไปใช้ประโยชน์ในวิถชี วี ติ ชุมชน ซึง่ ล้วนแล้ว แต่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ไม่ เหมือนใคร โดยตลอดระยะเวลาในการเรียนรูแ้ บบถึงลูก ถึงคนนี้ กลุ่มเยาวชนได้รับองค์ความรู้จากการถ่ายทอด ตลอดจนทักษะในการทำ�และผลิตเป็นอย่างมาก “ตอนนี้ มีอย่างเดียวทีเ่ รายังไม่สามารถผลิตหรือทำ�ได้ คือน้ำ�ตาล จากต้นจาก เพราะในชุมชนไม่มีใครทำ�แล้ว แต่ผู้สูงวัย ในชุมชนเล่าให้ฟงั ว่าสามารถผลิตน้ำ�ตาลจากงวงจากได้ แถมยังบอกวิธีและขั้นตอนการทำ�ให้เราทราบด้วย แต่ พวกเราก็ยังอยากเห็นของจริงอยู่ดี” บุ๊คกล่าวทิ้งท้าย พลังเยาวชน 54


ใช้จาก ก็ต้องปลูกจาก ใช้มาก ก็ต้องปลูกมาก กิจกรรมสำ�คัญอีกกิจกรรมหนึง่ ของกลุม่ เยาวชน คือการคิดริเริม่ อนุรกั ษ์และฟืน้ ฟูปา่ จากชุมชน “จาก การลงสำ�รวจและเก็บข้อมูล ทำ�ให้เห็นเลยว่าชุมชนยังคงใช้ทุกส่วนของต้นจากในการประกอบอาชีพและใน วิถีชีวิตอย่างเหนียวแน่น แต่ปริมาณป่าจาก ต้นจาก กลับลดลง บางบ้านก็ปลูกเองเป็นของส่วนตัว ส่วนที่ เป็นสาธารณะขึ้นตามป่าชายเลนและริมคลองทั้ง 3 สายของบ้านบ่อเจ็ดลูก คลองบ่อเจ็ดลูก คลองข้ามควาย คลองท่าแคท ในพื้นที่บ้านบ่อเจ็ดลูกมีพื้นที่ป่าจากประมาณ 40-50 ไร่ ปัจจุบันเหลือประมาณ 20-30 ไร่ ซึง่ ปัจจุบนั แม้ปา่ จากจะมีปริมาณทีล่ ดลง แต่กไ็ ม่มใี ครดูแลอย่างจริงจัง ชุมชนมีปา่ ชายเลนทีพ่ นั ธุไ์ ม้สว่ นใหญ่ เป็นไม้โกงกาง มีการอนุรกั ษ์และดูแลกันเป็นระบบอย่างดี แต่สำ�หรับป่าจากกลับไม่มใี ครนึกถึง ทัง้ ทีป่ ริมาณ

55 พลังเยาวชน


การใช้ของชุมชนมีสูง ในเมื่อเราใช้จากมากก็ต้องปลูก ให้เยอะๆ” ฮาริท หรือนายศราวุฒิ หวังสบู กล่าวให้ เราฟังอย่างเข้าใจง่าย เยาวชนคนหนุ่มกลุ่มนี้จึงเริ่มต้นด้วยการหา สถานที่สำ�หรับการปลูกป่าจากให้เป็นหลักแหล่ง เพื่อ ง่ายต่อการติดตามตรวจสอบ ซึง่ ได้ปรึกษาผูห้ ลักผูใ้ หญ่ ในหมู่บ้าน กลุ่มท่องเที่ยว ตลอดจนออกสำ�รวจด้วย ตนเอง จนกระทั่งได้ที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกต้นจาก ให้เป็นป่าจาก อยู่ในบริเวณป่าชุมชนท้ายหมู่บ้าน จากนัน้ จึงเริม่ ดำ�เนินงานในขัน้ ตอนต่าง ๆ อย่างต่อเนือ่ ง เช่น จัดหาและเพาะพันธุต์ น้ จาก ประชาสัมพันธ์เชิญชวน เด็กนักเรียน เยาวชนและประชาชนในหมู่บ้าน เข้าร่วม กิจกรรมปลูกต้นจาก แบ่งหน้าที่ในการติดตามดูแล การเจริญเติบโตของป่าจาก เป็นต้น

พลังเยาวชน 56


เมือ่ โอกาสถูกส่งผ่าน จากรุน่ สูร่ นุ่

ปัจจัยความสำ�เร็จสำ�หรับเยาวชนเหล่านี้ คือ การให้โอกาสจากทีมผูใ้ หญ่ในหมูบ่ า้ น “สมัยผมเป็น วัยรุ่น ผมก็เป็นหัวโจกเหมือนกัน ไม่มีใครเชื่อถือ ไม่มีใครพูดถึงในทางที่ดี แต่ผมก็สามารถพิสูจน์ให้ ชุมชนเห็นว่าผมก็เอาดีได้ ผมเข้ามาบริหารจัดการ กลุ่มท่องเที่ยว และดูแลการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ บ่อเจ็ดลูกนี้อย่างเอาจริงเอาจัง จนมีชื่อเสียงโด่งดัง แล้วทำ�ไมผมถึงจะให้โอกาสเด็ก ๆ ที่ถูกมองว่า ไม่เอาไหนเหล่านี้บ้างไม่ได้” บังยูหนา หลงสมัน หนึง่ ในแกนนำ�กลุม่ ท่องเทีย่ วโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก และในฐานะที่ปรึกษากลุ่มเยาวชน กล่าวให้เราฟัง อย่างภาคภูมิใจ อีกประการหนึง่ ทีท่ ำ�ให้เยาวชนเหล่านีม้ พี ลัง มีแรงในการปรับเปลี่ยนตนเอง คือ การมีที่ปรึกษา ที่ดี นอกจากให้โอกาสแล้ว สิ่งที่บังยูหนาและทีมที่ ปรึกษาเยาวชนไม่ได้กล่าวไว้ แต่สามารถเห็นได้ตลอด ระยะเวลาการทำ�งาน คือ การสนับสนุนอย่างต่อเนือ่ ง เต็มที ่ คอยดูแลเอาใจใส่กับงานที่เยาวชนทำ� และที่ สำ�คัญ คือ การเป็นกำ�ลังใจในยามที่กลุ่มเยาวชนมี ปัญหาและอุปสรรคในการทำ�งาน จนกลุ่มเยาวชน รู้สึกได้ถึงการมีที่พึ่งทางความคิดอ่าน และการให้ กำ�ลังใจ จนสามารถก้าวไปข้างหน้าฟันฝ่าอุปสรรค ได้อย่างมีกำ�ลังใจเต็มร้อย

57 พลังเยาวชน


เมือ่ ความท้าทายคือพลัง ให้ตั้งใจไปถึงฝั่งฝัน

กลุม่ เยาวชนคนชายเลน บ้านบ่อเจ็ดลูก ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 30 ชีวิตด้วยกัน ได้พิสูจน์ ให้ชุมชนเห็นแล้วว่าพวกเขามีพลังในการ เปลี่ยนแปลง ทั้งการเปลี่ยนแปลงตนเองที่ เมือ่ ก่อนติด “น้ำ�ท่อม” ซึง่ เป็นยาเสพติดชนิดหนึง่ ให้สามารถเลิกได้อย่างเด็ดขาด และสามารถ เปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้นได้ด้วยพลังที่พวกเขา มี ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ด้านการอนุรักษ์และ ส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น การรวมพลังกันเก็บ ขยะรอบชายหาด การเข้าช่วยเหลือกิจกรรม สาธารณะของชุมชน เช่นถางหญ้าให้กับ โรงพยาบาลชุมชน ก่อสร้างสนามกีฬาให้กับ โรงเรียนในหมู่บ้าน เป็นต้น ปัจจุบนั นี้ เมือ่ นักท่องเทีย่ วเข้ามาท่องเทีย่ ว ในบ้านบ่อเจ็ดลูก ก็จะถูกนำ�เสนอโปรแกรม ให้ร่วมกิจกรรมปลูกป่าจาก หรือเยี่ยมชมอาชีพ ชุมชนทีเ่ กีย่ วข้องกับการใช้ผลิตภัณฑ์จากต้นจาก มาผลิต เพื่อแสดงให้คนภายนอกได้เห็นถึง วิถชี วี ติ ชุมชนทีเ่ กีย่ วข้องกับจาก ได้มโี อกาสเรียนรู้ และเข้าใจ ได้ลงมือฝึกปฏิบัติ และได้จับจ่าย ซื้อสินค้าบางส่วนกลับไปเป็นของที่ระลึก พลังเยาวชน 58


59 พลังเยาวชน


เยาวชนทีไ่ ม่เอาไหนในสายตาชาวบ้านกลุม่ หนึง่ ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตนเองให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น เลิก ข้องแวะกับยาเสพติดอีกต่อไป และยังลุกขึน้ เป็นแกนนำ� ในการเปลี่ยนแปลงให้กลุ่มเยาวชนและคนอื่น ๆ ใน ชุมชนได้เห็นว่าชีวิตที่มีคุณค่าคืออะไร จนเกิดเป็น กระแสการเปลีย่ นแปลงและปรับเปลีย่ นมุมมองของชุมชน ต่อการให้โอกาสกับคนที่มีภาพติดลบหรือไม่ดี ให้ได้มี

โอกาสปรับปรุงตนเอง ให้อภัย เชื่อมั่นและยอมรับ ความผิดพลาดในอดีตหากเขาเหล่านั้นต้องการ เปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้น โอกาสจะถูกหยิบยื่นให้ จากคนในชุมชนเสมอ สิง่ ทีเ่ ยาวชนเหล่านีจ้ ดุ ประกาย ทางความคิดให้กับชุมชน เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจและ ประทับใจยิ่ง สมกับรางวัลดีเด่นด้านการท่องเที่ยว และสุขภาวะชุมชนที่ได้รับอย่างแท้จริง พลังเยาวชน 60


61 พลังเยาวชน


พื้นที่ดีเด่นด้านนวัตกรรมและการใช้สื่อสร้างสรรค์

โครงการสร้างสือ่ สะท้อนสังคม ร่วมลดโลกร้อน กลุ่มเยาวชนเด็กรักป่า ต.สำ�โรง อ.เมือง จ.สุรินทร์

ความท้าทายสำ�หรับเยาวชนในยุคปัจจุบันประการหนึ่ง คือ การศึกษาเรียนรู้และก้าวตามให้ทันเทคโนโลยี ที่กำ�ลังเจริญเติบโต และพัฒนาไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว และจะต้องเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีไปในทางที่ถูกที่ควร เช่น การใช้ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต เกมออนไลน์ และวัสดุอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อการศึกษาเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หลงมัวเมาไปกับเทคโนโลยีเหล่านั้น เยาวชนกลุ่มเด็กรักป่าก็เป็น หนึ่งในเยาวชนผู้พิสูจน์ให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมคุณค่าต่อตนเองและผูอ้ นื่ ในชุมชน สังคม ได้อย่างมีความหมาย กลุม่ เด็กรักป่า เริม่ ต้นจากสองนักพัฒนาสังคม พีจ่ ดื เข็มทอง โมราษฎร์ และพีห่ น่อย อาริยา โมราษฎร์ ทีเ่ คยทำ�งานต่อสูก้ บั ภาครัฐ และสังคมที่ไม่เป็นธรรมในประเด็นร้อนมาตั้งแต่สมัยอุดมศึกษา แล้วผันตัวเองมาทำ�งานเย็น โดยมุ่งพัฒนาเยาวชนเกี่ยวกับการศึกษา ทางเลือก มุ่งเน้นการใช้ศิลปะ สื่อและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการ จูงใจและสร้างความสนใจให้กับเด็ก ๆ โดยพี่จืดให้มุมมองไว้อย่าง น่าสนใจว่า “พลังที่เข้มแข็งที่สุด คือพลังความเข้าใจธรรมชาติ เข้าใจ และเห็นความสวยงาม ความสัมพันธ์ของธรรมชาติ แล้วใช้เครื่องมือ ถ่ายทอดความประทับใจเหล่านัน้ ในรูปแบบต่าง ๆ” อาทิ การใช้ศลิ ปะ การจัดค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้ละคร เป็นต้น พลังเยาวชน 62


63 พลังเยาวชน


โดยจุดเริม่ ต้นของการเลือกใช้สอ่ื ภาพยนตร์สน้ั เพือ่ นำ�เสนอประเด็นลดโลกร้อน มาจากการทีก่ ลุม่ เยาวชนได้เห็นตัวอย่างทีด่ ขี องพี่ ๆ ทีป่ รึกษาทัง้ สองคน ในการใช้สอ่ื รูปแบบต่าง ๆ เพือ่ การพัฒนาเยาวชนมา ตลอดระยะเวลาหลายปีกอ็ ยากจะลองทำ�ดูบา้ ง โดยมี จุดเริม่ ต้นในการเขียนและพัฒนาบททีเ่ ขาใหญ่ ใช้ ธรรมชาติเป็นแรงบันดาลใจและกระตุน้ การเรียนรู้ ซึง่ มี ทีป่ รึกษาและผูใ้ หญ่ใจดีเป็นผูค้ ดั ท้ายคอยให้คำ�ปรึกษา แนะนำ� ตลอดระยะเวลาการเข้าค่ายของทีมเยาวชน “ไม่นา่ เชือ่ ว่าบททีพ่ วกเราเลือกจะมาจากบทของเด็กชาย ตัวเล็ก ๆ คนหนึง่ คือ หวัน ซึง่ อาศัยอยูก่ บั ยายทีช่ รา มากแล้ว เราจึงเริม่ ต้นด้วยแรงบันดาลใจนี ้ และเอาบท ของหวันมาพัฒนากันต่อ” น้องกิก๊ อชิรญา เกิดบุญเพิม่ ประธานกลุม่ เล่าให้ฟงั ถึงทีม่ าทีไ่ ปของบทภาพยนตร์สน้ั สร้างสรรค์เรือ่ ง “ด๋ง-หวัน” ทีไ่ ด้รบั รางวัลดีเด่นด้าน นวัตกรรมและการใช้สอ่ื สร้างสรรค์ “กระบวนการทัง้ หมดของการจัดทำ�หนังสัน้ ของ พวกเรา กลุม่ เด็กรักป่าใช้กระบวนการจัดค่ายเพือ่ เติมเต็มองค์ความรูใ้ นด้านต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็นการสร้าง แรงบันดาลใจทีเ่ ขาใหญ่ การอบรมทำ�หนังสัน้ ในขัน้ ตอน ต่าง ๆ การถ่ายทำ� การตัดต่อ รายละเอียดปลีกย่อยที่ เกีย่ วข้องกับงานด้านเทคนิควิธกี ารอืน่ ๆ อีกหลายอย่าง เช่น การอัดเสียง การเลือกใช้มมุ กล้อง การใช้แสงและ เงา ดนตรีประกอบ เป็นต้น โดยเริม่ ต้นพวกเราไม่มน่ั ใจ ว่าจะทำ�ออกมาได้ดขี นาดไหน เพราะมันมีขน้ั ตอนและ

รายละเอียดมาก เจอปัญหาขณะถ่ายทำ�ตลอดเวลา แต่ พวกเราก็ส ู้ เพราะไม่อยากโดนพีจ่ ดื (ทีป่ รึกษากลุม่ ) ตำ�หนิ” น้องกิก๊ เล่าให้ฟงั ต่อ “พลังของเด็ก ๆ นัน้ มีเหลือเฟือ เหลือแค่ความ รับผิดชอบทีเ่ ขาต้องฝึกและเข้าใจให้ได้วา่ อะไรคือความ รับผิดชอบ เราเป็นเพียงผูโ้ ยนอาหารให้เขาไปปรุงตามใจ ชอบ โดยข้อดีของเยาวชนกลุม่ นีค้ อื มีแรงจูงใจในการ แสดงออก คือกล้าและต้องการทีจ่ ะแสดงออกให้เห็นถึง พลังของพวกเขา มีวนิ ยั และเคารพตนเอง พีจ่ ะช่วยเฉพาะ ในสิง่ ทีจ่ ำ�เป็นต้องช่วย โดยพีม่ วี ธิ ที ำ�งานกับเด็ก ๆ แบบ สรุปคร่าว ๆ ก็คอื 1. กระตุน้ ให้รสู้ กึ สนุกสนาน ทำ�ให้เขาสนใจ อยากรูอ้ ยากเห็น 2. ให้เขาเรียนรูด้ ว้ ยตนเองทัง้ ในสังคมและ สิง่ รอบข้าง 3. สอนให้เขาคิดเสมอว่า การทำ�เพือ่ คนอืน่ ต้องมาก่อน เพราะมันจะให้ความสุข 4. ต้องปล่อยวางในสิง่ ทีเ่ ขาทำ� ไม่แทรกแซง ความคิดและการลงมือปฏิบตั ิ 5. คอยอำ�นวยความสะดวกให้เกิดการเรียนรู้ คอยให้คำ�ปรึกษา พีจ่ ะทำ�งานค่อนข้างใกล้ชดิ กับพวกเขา ในฐานะ ทีป่ รึกษาแต่ไม่ใช่ทมี ทีจ่ ะต้องช่วยทำ�อะไร” พีจ่ ดื กล่าวถึง วิธกี ารและมุมมองในการทำ�งานร่วมกับเด็ก ๆ ให้เรา ได้เห็นภาพชัดเจนยิง่ ขึน้ พลังเยาวชน 64


65 พลังเยาวชน


เมือ่ หนังสัน้ มาจากพลังของเยาวชน

“หลังจากที่เราเรียนรู้ขั้นตอน เทคนิคและ วิธีการต่าง ๆ จนเข้าใจหมดแล้ว ก็เริ่มค้นหานักแสดง และถ่ายทำ� ตามบทที่ได้ช่วยกันเขียนไว้ ช่วงแรกเรา ทำ�แบบไม่มีทิศทางมากนัก แต่ก็ได้พี่เลี้ยงคอยให้ คำ�แนะนำ�อยูเ่ สมอ เพราะการถ่ายทำ�หนังมีรายละเอียด มาก ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่ถ่ายทำ� ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ แสง เงา และส่งผลไปถึงอารมณ์ของหนังโดยตรง มุมกล้อง และสิ่งต่าง ๆ ที่เราจะให้ปรากฏในจอภาพ ซึ่งสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้ เราไม่มีประสบการณ์ มาก่อน แต่ทำ�แล้วก็เข้าใจมากขึน้ รูจ้ กั มากขึน้ ตลอด ระยะเวลาการถ่ายทำ�ตัง้ แต่วนั แรกจนกระทัง่ ถึงวันสุดท้าย ทีต่ ดั ต่อ เรามีปญ ั หาทัง้ การถ่ายทำ�และปัญหาระหว่าง ทีมงานเพื่อน ๆ กันที่เห็นไม่ตรงกันบ้าง หรือไม่เข้าใจ กันบ้าง น้อยใจเพือ่ นทีอ่ อกไปบ้าง แต่สดุ ท้ายเราก็ผา่ น มันมาได้ ปัญหามีเรียกว่าเยอะจนไม่สามารถจะเล่า หมด แต่ก็ภูมิใจที่ผลงานของพวกเราได้รับรางวัล ในที่สุด” น้องกิ๊ก พูดถึงการทำ�งานและกลุ่มเยาวชน ด้วยความภาคภูมิใจ “อีกปัญหาหนึง่ ของพวกเรากลุม่ เด็กรักป่า คือ การจัดการเวลา พวกเรามาจากการรวมกันของเยาวชน หลายหมูบ่ า้ น หลายโรงเรียน ทำ�ให้การบริหารจัดการ เวลาเป็นเรือ่ งลำ�บากมาก ช่วงแรกก็ปล่อยปละละเลย และไม่มใี ครนำ�อย่างชัดเจนในการทำ�งานร่วมกันของ

กลุ่ม ทำ�ให้พี่จืดบ่นพวกเรา แต่ก็เป็นการกระตุ้นให้ พวกเราฮึดสูก้ บั งานและมีความรับผิดชอบมากขึน้ ” น้อง ปอนด์ สุชานันท์ คิดชนะ เล่าให้ฟังถึงปัญหา “เด็ก ๆ เหล่านีย้ งั แยกไม่ออกระหว่างการผลิต งานกับเรื่องส่วนตัว พี่ในฐานะที่ปรึกษาจะช่วยในสิ่งที่ ช่วยได้แต่จะไม่ทำ�แทนเด็ดขาด เยาวชนกลุม่ นีม้ จี ดุ เด่น ที่มีแรงจูงใจในการแสดงออก ไม่ขี้อาย มีวินัยและ ค่อนข้างเคารพตนเอง เพียงแต่ยงั จัดสรรเวลาไม่เก่ง แต่ กิจกรรมนี้มันตอบโจทย์ส่วนตัวของเด็ก ๆ ทุกคน ซึ่ง หาไม่ได้ในรอบรัว้ โรงเรียน” พีจ่ ดื ช่วยเสริมถึงเบือ้ งหลัง พลังเยาวชน 66


เมื่อแถวหน้าบุกป่าฝ่าฟัน แถวหลังนั้นก็คอยสนับสนุน

สิ่งที่น่าสนใจของกลุ่มเยาวชนกับที่ปรึกษา กลุ่มเด็กรักป่าแห่งบ้านแสลงพันธ์ และสมควรนำ�ไป เป็นตัวอย่างนั้น ได้แก่ การแบ่งบทบาทและหน้าที่ กันอย่างชัดเจนระหว่างกลุม่ เยาวชนกับทีป่ รึกษา โดย เยาวชนจะเป็นผูบ้ กุ ป่าฝ่าฟันและปฏิบตั กิ จิ กรรมให้สำ�เร็จ ลุลว่ งไปตามแผนทีว่ างไว้ ส่วนทีป่ รึกษาจะอยูใ่ นฐานะ ให้กำ�ลังใจสนับสนุนอยู่ข้างหลังห่าง ๆ คอยถ่ายทอด องค์ความรู้ที่จำ�เป็นต่อการผลิตสื่อหนังสั้น เช่น การ เขียนบท การถ่ายทำ� การจัดแสงและฉาก ตลอดจน การตัดต่อ เป็นต้น ซึ่งกลุ่มเยาวชนจำ�เป็นต้องได้รับ การสนับสนุนองค์ความรูเ้ ฉพาะด้านเหล่านีจ้ ากทีป่ รึกษา อย่างใกล้ชิดและสม่ำ�เสมอ จนกระทั่งสามารถนำ�ไป ปรับประยุกต์ใช้ได้อย่างมั่นใจ โดยการสนับสนุนนี้

67 พลังเยาวชน

ไม่ใช่การทำ�ให้ ทำ�แทน หรือสั่งให้ทำ�แต่ประการใด แต่เป็นการประสิทธิ์ประสาทวิชา องค์ความรู้ต่าง ๆ อย่างถ่องแท้ ถ่ายทอดไปสู่เยาวชนที่มีพลังอย่าง เต็มเปี่ยมเหล่านี้ เมื่อสอบถามถึงความภาคภูมิใจของกลุ่ม เยาวชนเด็กรักป่าทีม่ ตี อ่ การทำ�งานในครัง้ นี้ จนกระทัง่ ประสบผลสำ�เร็จและได้รับรางวัลตอบแทนความ เหน็ดเหนื่อยจากการทำ�งาน น้อง ๆ เยาวชนทุกคน ทยอยตอบด้วยความมั่นใจว่า “ภูมใิ จทีท่ ำ�งานแล้วประสบผลสำ�เร็จ เป็นผูน้ ำ� เพื่อนได้ทางความคิด รู้สึกโตเป็นผู้ใหญ่ สามารถ ทำ�งานกับผู้ใหญ่ได้ ถ้าตอนนั้น (จุดเริ่มเข้ากลุ่มเด็ก รักป่า) ไม่ได้เข้ามาที่นี่ ก็คงจะไม่มีโอกาส ไม่โตขึ้น


รู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ได้เป็น ไอดอล เป็นตัวอย่างที่ดี ให้กับน้อง ๆ ได้ทำ�ตาม” น้องกิ๊กเผยถึงความรู้สึกที่มี “ได้รับโอกาสทำ�งานด้วยตนเองตามความ สามารถทีม่ ี ช่วยให้จดั สรรเวลาและแบ่งแยกเรือ่ งส่วนตัว กับเรื่องงานได้ เวลาเข้าค่ายก็ได้อยู่ร่วมกัน เสมือน เป็นบ้านหลังหนึง่ ฝึกให้เราโตและอยูร่ ว่ มกับคนอืน่ ใน สังคม มีคนมองว่าเรือ่ งสือ่ ยาก พวกเราเป็นเพียงเยาวชน จะทำ�ได้หรือ สุดท้ายเราก็สามารถทำ�มันออกมาได้ แต่ คุณค่าของมันไม่ได้อยู่ที่หนังสั้นที่เราทำ�เสร็จ แต่อยู่ ระหว่างการทำ�งานทีไ่ ด้พฒ ั นาตนเองและประสบการณ์ ต่าง ๆ มากมาย งานช่วยขัดเกลาตัวเรา ทำ�ให้เราโต ขึน้ นิสยั เป็นผูใ้ หญ่ขนึ้ ค่ะ” น้องปอนด์พดู ถึงคุณค่าของ การทำ�งานครั้งนี้

“ภูมิใจและรู้สึกผูกพันกับเพื่อน งานนี้ทำ�ให้ ทุกคนได้มารูจ้ กั กัน หนูดใี จมากทีท่ กุ คนร่วมกันฝ่าฟัน มาถึงวันนี้” น้องหลง พรพิมล ชอบทำ�กิจ พูดเพียง สั้น ๆ แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรู้สึก “ภูมิใจที่มีโอกาสมากกว่าคนอื่น มีโอกาส รวมกลุ่มกับเพื่อน ๆ ผลิตงานออกมา คนดูไม่ว่าเขา จะหัวเราะหรือว่าร้องไห้กับผลงานของพวกเรา หนูก็ ภูมใิ จกับผลงานมาก” น้องเบนซ์ ธัญญาพร วรรณทอง สะท้อนความรู้สึกออกมา นอกจากนี้ ยังมีเด็ก ๆ ในวงสนทนาอีกหลายคน ทีช่ ว่ ยกันแสดงความภาคภูมใิ จผ่านคำ�พูด ผ่านสายตา และรอยยิ้มที่เปี่ยมด้วยความเชื่อมั่น จนสัมผัสได้ ไม่ยากเย็นนัก พลังเยาวชน 68


“ผมมองเห็นพัฒนาการของเด็ก ๆ ทุกคน เราไม่เร่ง ไม่รมแก๊ส ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ต้องรู้จัก ปล่อยวาง ไม่ยื่นมือไปทำ�แทนให้ ณ วันนี้ ผมมีความสุขมาก การที่ได้ดูแลเด็ก ๆ กลุ่มนี้ เหมือนผมได้ ดูแลพระเจ้า พวกเขาเป็นนักรบแนวหน้า เราเป็นเพียงแค่ผู้อำ�นวยความสะดวกให้พวกเขาอย่างเต็มที ่ เด็ก ๆ เขาต้องทำ�งานด้วยหัวใจไม่ใช่ถูกใครสั่ง และเขาต้องแก้ปัญหาด้วยตนเองให้ได้ มนุษย์เราจะเอา ชีวติ รอดหรือไม่รอดก็อยูท่ สี่ มองและไหวพริบนีล่ ะ่ เรียนหนังสือจะโง่หรือฉลาดก็ไม่สำ�คัญ แต่ทกุ คนต้อง เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาให้เป็น คุณค่าของคนอยู่ตรงนี้” พี่จืดกล่าวให้เราฟังทิ้งท้ายด้วยความภาคภูมิใจ

69 พลังเยาวชน


พลังเยาวชน 70


ปัจจุบนั กลุม่ เด็กรักป่า เป็นทีร่ จู้ กั ใน สังคมวงกว้างถึงความสามารถในการใช้ศลิ ปะ แขนงต่าง ๆ มาปรับประยุกต์ใช้เพือ่ อบรมสัง่ สอน และพัฒนาให้เด็กและเยาวชนในละแวกหมูบ่ า้ น ตำ�บลและอำ�เภอใกล้เคียง ตลอดจนเยาวชนจาก หลากหลายพืน้ ทีท่ ว่ั ประเทศ ทีส่ นใจเข้าร่วมกิจกรรม ทีท่ างกลุม่ เด็กรักป่าจัดขึน้ ให้มคี วามรูค้ วามเข้าใจ ถึงความสัมพันธ์ของชีวติ กับธรรมชาติ ตลอดจน ทักษะในการใช้ศลิ ปะแขนงต่าง ๆ มาเป็นสือ่ การ เรียนรูธ้ รรมชาติได้อย่างผสมกลมกลืน สำ�หรับ ความประทับใจทีม่ ากยิง่ ไปกว่านัน้ ก็คอื ผูด้ ำ�เนิน กระบวนการและร่วมถ่ายทอดเรือ่ งราวของศิลปะ กับธรรมชาติในการจัดค่ายแต่ละครัง้ ล้วนเป็น เยาวชนในกลุม่ เด็กรักป่าทัง้ หมด โดยพวกเขา จะแบ่งบทบาทหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบแตกต่าง กันไป เป็นภาพความงดงามทีเ่ ยาวชนกลุม่ หนึง่ กำ�ลังมุง่ มัน่ จัดกิจกรรมเพือ่ เพือ่ นเยาวชนด้วยกันเอง โดยมีสองนักพัฒนาทีอ่ าสาคอยดูแลพระเจ้า ตัวน้อย ๆ แห่งบ้านแสลงพันธ์ เมืองสุรนิ ทร์ ยืนยิม้ และคอยให้กำ�ลังใจพวกเขาอยูห่ า่ ง ๆ

71 พลังเยาวชน


พลังเยาวชน 72


Mind Map

แยกขยะ Recycle/Reuse

ลดโลกร้อน ลดการเดินทาง ที่ไม่จำ�เป็น ใช้พลังงานทางเลือก ไบโอดีเซล ละครหุ่น

หนังสั้น

ทำ�ให้เห็น เป็นตัวอย่าง ออกบูท ทำ�กิจกรรม ฝึกอบรมรุ่นน้อง ในโรงเรียน

ขยะสด ทำ�ปุ๋ย/EM

ฝังกลบ เตาเผา ประหยัดน้ำ�

ทำ�ระบบบำ�บัด น้ำ�เสียแบบง่าย

ลดการใช้ไฟ ใช้อุปกรณ์ ประหยัดไฟ

เสียงตามสาย ในหมู่บ้าน ประหยัดไฟ

ดูแลแหล่งต้นน้ำ�

การจัดการขยะ

จัดการสิ่งแวดล้อม

ปลูกและดูแลรักษาป่า บวชป่า, ทำ�แนวกันไฟ

อนุรักษ์ทรัพยากร

หมอลำ�

งานรณรงค์ เดินขบวน ลดการใช้จ่าย ที่ไม่จำ�เป็น

วิถีชีวิตในชุมชน

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อนุรักษ์วัฒนธรรม

ประหยัดน้ำ� อาหารท้องถิ่น พึ่งพาตัวเอง

73 พลังเยาวชน

ลดการ บริโภค

ลดขยะที่ต้นทาง

การจัดการน้ำ�เสีย พลังงาน

อนุรักษ์พืชท้องถิ่น และสมุนไพร

ใช้วัสดุธรรมชาติ ในชีวิตประจำ�วัน

จัดการขยะ ที่เกิดขึ้น

หนังประโมทัย ป้ายประชาสัมพันธ์

ลดการใช้ ถุงพลาสติก

ใช้ถุงผ้า

ใช้ชีวิตพอเพียง ลดการ อุปโภค/บริโภค


ใช้รถ/เรือ สาธารณะ/ท้องถิ่น เพิ่มเส้นทาง ท่องเที่ยวจักรยาน

ทำ�ฝาย ชะลอน้ำ�

แหล่งเรียนรู้ ด้านสภาวะโลกร้อน

ปลูกต้นไม้ริมทาง

เส้นทาง อนุรักษ์พลังงาน

ปลูกต้นไม้ รอบที่พัก ลดความร้อน

เก็บขยะ ชายหาด

ปลูกป่าบก ปลูกป่าชายเลน

ใช้ผ้าขนหนู/ผ้าห่ม จนกว่าจะสกปรก เปิดหน้าต่าง กางมุ้ง เน้นความโปร่ง สบาย

กิจกรรมท่องเที่ยว

ที่พัก

ถังดักไขมัน ตากผ้ากลางแจ้ง บำ�บัดน้ำ�เสีย อย่างง่าย ใช้วัสดุธรรมชาติ

บรรจุภัณฑ์ วัสดุหีบห่อ

วัสดุอุปกรณ์ บริการ

ใช้อุปกรณ์/เครื่องมือ ที่มีอายุการใช้งาน ยาวนาน

สร้างที่พัก เพื่อการเรียนรู้ พลังงานทางเลือก

ประหยัดน้ำ� ประหยัดไฟ

เส้นทางท่องเที่ยว กิจกรรม

ผลิตก๊าซชีวภาพ จากเศษอาหาร

อาหาร

ใช้ซ้ำ� เมนูท้องถิ่น ใช้วัตถุดิบ จากธรรมชาติ

ทำ�มื้อต่อมื้อ ปลอดสารพิษ

ผัก ผลไม้ เกษตรอินทรีย์ พลังเยาวชน 74

ภาพจาก www.hks.harvard.edu


75 พลังเยาวชน


ผู้ใหญ่ใจดี...ที่ปรึกษา

ปัจจัยความสำ�เร็จของโครงการสานพลังเยาวชนฯ ส่วนหนึง่ มาจากการมีคณะทีป่ รึกษา และคณะทำ�งาน ทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถหลากหลายสาขาความชำ�นาญและประสบการณ์ มีจติ ใจมุง่ มัน่ เสียสละ ทัง้ เวลา และ ความสามารถให้กบั เยาวชน ด้วยการให้ขอ้ เสนอแนะในช่วงเริม่ ต้นพัฒนาโครงการ ลงพืน้ ทีต่ ดิ ตามเยีย่ มเยียน ให้ กำ�ลังใจในช่วงปฏิบตั งิ านของเยาวชนถึงพืน้ ที่ แม้จะทุรกันดาร เดินทางไกลเพียงใดก็ตาม ตลอดจนร่วมถอด บทเรียนการทำ�งานในช่วงท้ายโครงการ เพือ่ ให้ขอ้ คิดเห็นต่อการพัฒนาเยาวชนอย่างต่อเนือ่ ง มีทศิ ทางและการ เสริมสร้างศักยภาพสุขภาวะเยาวชนให้มคี วามพร้อมทีจ่ ะเจริญเติบโต และร่วมเป็นส่วนหนึง่ ของสังคมอย่างรอบด้าน คณะทีป่ รึกษา / คณะทำ�งาน โครงการสานพลังเยาวชน เสริมสร้างสุขภาวะชุมชน ร่วมลดโลกร้อน 1. คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช สมาคมสร้างสรรค์ไทย 2. รศ.ดร.จันทนา อินทปัญญา นักวิชาการด้านการประเมินผลกระทบสิง่ แวดล้อม 3. รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 4. รศ.ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ สกว. ฝ่ายวิจยั เพือ่ ท้องถิน่ 5. ผศ.จิตศักดิ ์ พุฒจร มหาวิทยาลัยศิลปากร 6. ดร.ทัศนาวลัย อุฑารสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนนั ทา 7. กุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย 8. สาวิตรี ศรีสขุ กรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม 9. ชุตมิ า พัฒราช กรมการท่องเทีย่ ว 10. ระจิตตา ณ พัทลุง สำ�นักงานคณะผูเ้ ชีย่ วชาญด้านประชากร 11. ศรีสวุ รรณ จรรยา สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน 12. ชูศกั ดิ ์ จันทยานนท์ มูลนิธอิ อทิสติกไทย 13. นิพทั ธ์พงษ์ ชวนชืน่ Trekking Thai 14. นิรมล เมธีสวุ กุล บริษทั ป่าใหญ่ครีเอชัน่ จำ�กัด 15. สุวฒ ั น์ หม่นมัน่ องค์การบริหารส่วนตำ�บลวัดจันทร์ อำ�เภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พลังเยาวชน 76


77 พลังเยาวชน


กลุ่มเยาวชน และชุมชนในพื้นที่ดำ�เนินงานโครงการสานพลังเยาวชนฯ ภาคเหนือตอนบน

| เชียงใหม่ : บ้านผาหมอน-บ้านหนองหล่ม บ้านแม่กลางหลวง บ้านหัวทุ่ง บ้านเก๊าเดื่อ บ้านผาแตก บ้านถ้ำ� บ้านดอยปุย บ้านแม่กำ�ปอง | แม่ฮ่องสอน : บ้านสันติชล บ้านห้วยตองก๊อ บ้านจ่าโบ-บ้านผาเจริญ บ้านแม่ละนา บ้านรุ่งอรุณ บ้านรักษ์ไทย บ้านรวมไทย บ้านท่าตาฝั่ง | พะเยา : บ้านเวียงบัว | | เชียงราย : บ้านห้วยขี้เหล็ก บ้านจะบูสี |

ภาคเหนือตอนล่าง | เพชรบูรณ์ : บ้านหนองแม่นา บ้านมาตุลี-บ้านสนสวย | พิษณุโลก : บ้านร่องกล้า | | กำ�แพงเพชร : แก่งเกาะใหญ่ | นครสวรรค์ : บ้านหนองตายาย |

ภาคอีสาน | อุบลราชธานี : บ้านซะซอม บ้านปะอาว | อำ�นาจเจริญ : บ้านปลาค้าว | | ร้อยเอ็ด : บ้านกู่กาสิงห์ | สุรินทร์ : กลุ่มเด็กรักป่า |

ภาคกลางและภาคตะวันออก | สมุทรปราการ : ชุมชนบางน้ำ�ผึ้ง | เพชรบุรี : บ้านถ้ำ�รงค์ | ตราด : ชุมชนเกาะช้างใต้ บ้านน้ำ�เชี่ยว |

ภาคใต้ | ชุมพร : เกาะพิทักษ์ | ระนอง : บ้านทะเลนอก | สุราษฎร์ธานี : บ้านลีเล็ด บ้านคลองน้อย บ้านถ้ำ�ผึ้ง | | นครศรีธรรมราช : บ้านพรหมโลก | ตรัง : เกาะสุกร บ้านท่าข้าม บ้านนาชุมเห็ด | กระบี่ : บ้านนาตีน | | พังงา : เกาะยาวน้อย บ้านพรุใน บ้านทุ่งนางดำ� | สตูล : บ้านบ่อเจ็ดลูก ชุมชนภูผาเพชร | พลังเยาวชน 78


ประมวลภาพ รวมหัว...รวมฝัน พัฒนาโครงการ

79 พลังเยาวชน


สานงาน...สานพลัง

พลังเยาวชน 80


สีสัน...มหกรรมเยาวชนลดโลกร้อน

81 พลังเยาวชน


ถอดบทเรียนการทำ�งาน

พลังเยาวชน 82


รอยยิ้ม และมิตรภาพ

83 พลังเยาวชน


.................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... พลังเยาวชน 84


.................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................... 85 พลังเยาวชน



สสส.

สำ�นักงานกองทุนสนับสนุน

การสร้างเสริมสุขภาพ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.