Muse 1 v5

Page 1

ฉบับที่ 1 เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2557

เมื่อย – วง Scrubb คอร์ด คีย์ ดนตรี ชีวิต หม่ำ� ‘ไหม’ เชื่อมั้ย‘ไหม’กินได้อร่อยด้วย


magazine ฉบับที่ 1 เดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2557

Contents 3 Muse Chat

ชวนเด็กไทยให้ขี้สงสัย

4 Muse Idol

คอร์ด คีย์ ดนตรี ชีวิต

The rhythm of my life เมื่อย – ธวัชพนธ์ วงศ์บุญศิริ

12 Muse Latitude

เป็ดเหลือง ความสุขvที่ลอยละล่อง

16 Muse Plus

เชื่อไหม ‘ไหม’ กินได้

22 Muse Forward

แหล่งรวมแรงบันดาลใจ อาหารของความคิด

26 Muse Check in

นิทรรศการ ‘มองใหม่ด้ายไหม’

กองบรรณาธิการ ชนกพร ถิ่นพังงา ภูษิต ช่วยชูฤทธิ์ ปิ่นมุข หนูนุ่ม สุธิดา .........

มิวเซียมสยาม | สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ

เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ : 02 225 2777 โทรสาร : 02 225 2775 www.museumsiam.org www.facebook.com/museumsiamfan

ร่วมสร้างสรรค์เนื้อหาและออกแบบศิลปกรรมโดย

บริษัท เปเปอร์คอรัส จ�ำกัด 32/9 พุทธมณฑลสายสาย 2 ซอย 21 แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170 โทร.08 1919 5315 / 08 1513 4971


: ภาพ าร / ง เรื่อ รณาธิก บร กอง

chat

เพราะ ‘ค�ำถาม’ กระตุ้นกระบวนการ “คิด” เพราะ “ค�ำถาม’ เปิดโอกาสให้ ‘จินตนาการ’ เติบโต เพราะ ‘ค�ำถาม’ เป็นบ่อเกิดของ “ความรู้” มิวเซียมสยามจึงขอประกาศตัวเป็นผู้สนับสนุนหลักให้ เด็กไทยขี้สงสัยอย่างเป็นทางการ ! สงสัยอะไร อย่าเก็บค�ำถามไว้กับตัว แบ่งปันความสงสัย และมาช่วยกันหาค�ำตอบผ่านคอลัมน์ Muse Chat

รางวัลคนช่างสงสัย

ค�ำถามของคนช่างสงสัยที่ได้รับเลือกลงใน Muse Chat ประจ�ำฉบับ นอกจากจะได้คำ� ตอบคลีค่ ลายข้อสงสัยแล้ว ยังได้รับรางวัลไว้ภูมิใจและอวดเพื่อนด้วย • ส่งค�ำถามและความสงสัยมาได้ที่ museumsiam@ ndmi.or.th พร้อมชื่อและเบอร์โทรศัพท์ • สงสัยได้ทุกเรื่อง ไม่มีขอบเขต • หมดเขตส่งค�ำถามร่วมสนุก 31 พ.ค 2557 • รางวัล Power Bank พร้อมกระเป๋าผ้านิทรรศการ “มองใหม่ดา้ ยไหม” สุดเก๋ มูลค่ารวมกว่า 700 บาท จ�ำนวน 1 รางวัล

ทำ�ไม...? อะไร...? ที่ไหน...? อย่างไร...?

พบกันฉบับหน้า กองบรรณาธิการ -3-



เซีย พูฟิว วิภาส ม ช : เรื่อง วรัตน์ บุญ : เนา ภาพ

idol

คอร์ ด คี ย ด ์ นตรี ช ว ี ต ิ The rhythm of my life เมื่อย–ธวัชพนธ์ วงศ์บุญศิริ

ใครจะไปรู้ว่ากีตาร์ตัวแรกในชีวิตที่เด็กหนุ่มคนหนึ่ง หยิบมาเกากึ่งเล่นกึ่งจริงใน ช่วงมัธยมปลาย จะมากลายเป็นทั้งเพื่อนตาย เพื่อนสนิท เป็นชีวิต ไปจนถึงเป็น ความภาคภูมใิ จของ เมือ่ ย-ธวัชพนธ์ วงศ์บญ ุ ศิริ ฟรอนท์แมนแห่งวงดูโอ สครับบ Muse จะพาคุณย้อนไทม์แมชชีนไปช่วงเวลาวัยหนุ่มของเขา วัยแห่งช่วงเวลาที่ ปราศจากความกลัวใดๆ (รับรองว่าบทสัมภาษณ์นี้ เต็มไปด้วยความห่าม บ้าบิ่น ล้วนๆ) โดยมีฉากหลังของโปสเตอร์วงอัลเทอร์เนทีฟแห่งยุค 90s อย่าง Oasis, Nirvana, New kids on the block วงโมเดิร์นด็อก เป็นฮีโร่ หรือมีซาวนด์แทร็ก เป็นศิลปินอินดี้ขวัญใจอย่าง พราย–ปฐมพร ปฐมพร คลอประกอบ ทั้งหมดนี้ พูดได้เต็มปากเต็มค�ำว่า “หล่อหลอมให้เขาเป็นคนในวันนี้จริงๆ”

เล่าถึงเครื่องดนตรีตัวแรก ที่ทำ�ให้คุณมีวันนี้ให้ฟังหน่อย

กีตาร์เป็นเครือ่ งดนตรีชนิ้ แรกทีผ่ มจับขึน้ มาเล่นเป็นจริงเป็นจัง ในช่วงมัธยมปลาย ผมเรียนทีโ่ รงเรียนราชวินติ บางแก้ว ท่ามกลางบรรยากาศทีเ่ ห็นเพือ่ นๆ ซ้อมดนตรี กัน ทุกวันนี้ผมยังไม่กล้าคิดเลยว่าโตขึ้นจะมาท�ำงานสายดนตรี แค่คิดว่ามันเป็น สิ่งที่ท�ำแล้วมีความสุข สนุกที่ได้อยู่กับมันมากกว่า การได้มาท�ำถึงวันนี้ก็นับว่า โชคดี และคิดถูกที่ตัดสินใจท�ำ ดนตรีไม่ใช่แค่เพื่อน แต่เป็นทุกอย่างในชีวิต ผม ยังจ�ำเวลาที่เข้านอนและหลับไปกับดนตรีของปฐมพร ในห้องมีโปสเตอร์วงที่ชื่น ชอบแปะ หรือช่วงเวลาทีเ่ ปิดเพลงดังๆ รบกวนชาวบ้าน (ซึง่ ก็คอื คนทีบ่ า้ นผมเอง)

-5-


ดนตรีไม่ใช่แค่เพื่อน แต่เป็นทุกอย่างในชีวิต ความห่ามของพวกเราจ�ำได้วา่ มีอยูว่ นั หนึง่ โรงเรียนจัดกิจกรรม ไม่มกี ารเรียนการ สอน พวกคุณครูกเ็ ล่นดนตรีไป พวกเรานึกสนุก เลยเข้าไปขอครูครับ อยากขอแจม เล่นด้วยคนได้ไหม แต่ครูบอกว่าไม่ได้ พวกเราจึงตัดสินใจปีนไปนอกโรงเรียน ปีน ไม่ส�ำเร็จ ก็ปีนใหม่ เพื่อไปเอาเครื่องดนตรีจากบ้านเพื่อนมาตั้งวงเล่นในโรงเรียน บ้าง มาตั้งเล่นหน้าห้องน�้ำ จนวงของพวกเราโดนครูมาไล่ แต่เพื่อนๆ มาห้าม ไม่ให้ครูเข้าไป...ก็ไม่รู้ว่าท�ำไปท�ำไม จนครั้งหนึ่งในหน้าสมุดพกเคยมีบันทึกไว้ว่า ‘ผมหนีโรงเรียนไปซ้อมดนตรี’ จนกระทัง่ ผมสอบเอนทรานซ์ตดิ ทีค่ ณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ท�ำให้ ผมพบกับพีบ่ อล (บอล-ต่อพงศ์ จันทบุบผา มือกีตาร์และสมาชิกวงสครับบ ผูด้ แู ล ด้านดนตรี) ตอนนั้นผมอยู่ปี 1 พี่บอลอยู่ปี 4 การมาเจอกันของเรา เริ่มจากผม อยากเดินไปท�ำความรู้จกั เขา สวัสดีครับ ผมชือ่ เมื่อย อยากเล่นดนตรี มาคิดตอน นีม้ นั ก็บอ๊ งๆ นะ เพียงเพราะผมอยากดูคอนเสิรต์ อยากเจอรุน่ พีท่ เี่ ล่นดนตรีเก่งๆ อยากคลุกคลีกับสิ่งเหล่านี้ สุดท้ายเราก็เข้าประกวดดนตรีกัน พี่บอลไปเล่นกีตาร์ แล้วมาสอนผมตีกลอง ซ้อมกัน ประกวดกัน

-6-


ทราบมาว่าก่อนจะเป็นสครับบในวันนี้ คุณเคยทำ�เพลงใต้ดินกัน มาก่อน

เราเริ่มต้นจากการเป็นวงที่ท�ำดนตรีใต้ดินขายเองกันมาก่อน โดยที่ไม่รู้กาลเทศะ อยากท�ำ อยากพิสูจน์ ก็ไปวางขายที่ร้านเจยู พันธุ์ทิพย์, ร้านน้องท่าพระจันทร์ ช่วงชีวิตที่ท�ำเพลงใต้ดิน เราเริ่มต้นท�ำเพลงอัดเอง ปรินท์หน้าปกเอง ตั้งชื่อว่า ‘สครับแอนด์ซาวนด์อเบาต์’ ท�ำออกมา 500 ม้วน แล้วไปฝากตามสหกรณ์ งาน ลอยกระทงที่มหาวิทยาลัย ราคาม้วนละ 60 บาท คนที่ซื้อไปมีทั้งเสียงด่า และ เสียงให้ก�ำลังใจ เพลงที่ท�ำไปมันก็ท�ำไปด้วยความกล้า มันไม่กลัวเกินไป มันมีแค่ นั้นจริงๆ พอเราขาย จ�ำได้ว่า เราก็เอามาฟังหลังจากท�ำเสร็จแล้ว โอ้โห นี่เราขาย เขาไปตั้ง 60 บาทเลยเหรอ ...มันห่วยนี่หว่า (หัวเราะ)

เชื่อว่าคนเราเวลาเริ่มต้นทำ�สิ่งที่ฝันสักอย่าง จะต้องมีโมเมนท์ว่า จะไปต่อดีหรือถอยหลัง สำ�หรับคุณเป็นแบบไหน

การเดินหน้าไปต่อของพวกเรา ผมว่ามันเป็นเสียงจากข้างในพวกเราเองล้วนๆ แม้เสียงร้องของผมจะโดนด่ามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว แต่เพราะเราไม่เคยสนใจเสียง ข้างนอกมาก มุ่งมั่นท�ำโดยความเชื่อว่า...ขนาดเราเองยังชอบเลย น่าจะมีคนอื่น ที่คิดแบบเรา สมัยก่อนการไรท์แผ่นยังไม่เป็นเรื่องง่ายเหมือนตอนนี้ เขาคิดค่าไรท์แผ่นละ 100 บาท ผมก็ตัดสินใจไรท์แผ่น เอาเพลงที่ท�ำเอง ไปฝากตามที่สถานีวิทยุ นั่ง รถไปคนเดียวเลย (หัวเราะ) สมัยก่อนสถานีวิทยุ 104.5 Fat Radio ถือเป็นพื้นที่ ที่สร้างศิลปินในห้องนอนมาหลายคน ผมก็ตั้งใจจะไปส่งแผ่นให้ป๋าเต็ด (ยุทธนา บุญอ้อม ผู้บริหารค่ายเพลงในขณะนั้น) ไปส่งแผ่นวันแรกก็ไม่เจอ ยามบอกให้ผมฝากไว้ ถ้าจะพบป๋าเต็ดก็ต้องโทรนัด ไอ้เราก็ใจเสีย กลัวว่าถ้าขืนฝากแผ่นไปแล้ว ไม่ยอมส่งให้จะท�ำยังไง ผมก็คิดว่า กลับบ้านก่อนดีกว่า วันรุ่งขึ้นก็โทรนัดด้วยตู้โทรศัพท์ข้างสถานี แล้วก็บอกยาม ว่า...ผมโทรนัดแล้วครับ ผมขึ้นไปรอนั่งเป็นชั่วโมง ยังจ�ำภาพได้เลยว่า เป็นภาพพี่เต็ดวิ่งออกจากห้อง ประชุม ‘เป็นไง มาส่งแผ่นเหรอ พี่ไปธุระนะ มาคุยกับผู้ช่วยพี่เลย’ ก็ได้เจอพี่จ๋อง (พงศ์นรินทร์ อุลิศ) แกก็นั่งฟังไล่ๆ ไปตามเพลง มีเพลงนึงชื่อว่า ‘ชูวีดูวีดั๊บ’ แก บอกว่าน่าฟัง แล้วแกก็เดินไปเปิดวิทยุเลย เราก็เฮ้ย...ความรู้สึกตอนนั้นมันงงๆ ท�ำไมมันเปิดได้เลย ท่ามกลางอีกหลายๆ คลื่นๆ ที่เราเคยเดินไปฝาก ซึ่งต้องมี ระบบขั้นตอน แต่คลื่นแฟตเป็นคลื่นที่ให้โอกาสน้องๆ คนใหม่ๆ ท่ามกลางเสียง วิจารณ์ที่เคยบอกเราเสมอว่า ‘แนวเพลงของเรามันขายไม่ได้’ สิ่งที่เราท�ำมันเป็น วงแคบมาก เขาอาจยังมีหลายๆ คนไม่เข้าใจ ผมว่าบางทีการทีเ่ ราอยูถ่ กู ที่ ถูกเวลา มันส�ำคัญมากเลยนะและต้องเจอคนที่มีทัศนคติแบบเดียวกับเราด้วย

-7-


อ ่ ื ช เ า ร เ ่ ี ท ง ่ ิ ส า ่ ว ์ น ผมอยากจะพิสูจ ่า ล ป เ อ ื ร ห า ร เ น อ ื ม มันมีคนเชื่อเห

จากสิ่งที่ไม่ประสบความสำ�เร็จ ก่อให้เกิด อะไรในวันนี้

ค�ำวิจารณ์ในแง่ลบคือความคิดเห็นที่ดี เวลาผมส่ง ให้เพื่อนฟัง อาจมีบางเสียงบอกว่า “ดีนะ ดีนี่” แต่ ค�ำวิจารณ์แย่ๆ เช่น เพลงมันไม่ไหวเลย เราต้องได้ รับค�ำวิจารณ์ที่ถึงพริกถึงขิง ผมก็ไปโพสต์ขายเพลง ในเว็บพันทิปแบบมั่วๆ เคยโดนแอดมินต่อว่า ว่าเรา ท�ำผิดกติกา พอเจอคนที่เคมีตรงกัน ผมอยากบอก น้องๆ เด็กรุ่นใหม่ว่า อย่าไปกลัว บางครั้งที่เรายัง ไปถึงจุดหมาย อาจเพราะเราไปอยู่ผิดที่ผิดเวลา ก็ อย่าเพิ่งท้อแท้ เวลาไปอยู่ผิดที่ เรามักจะได้ค�ำตอบ เสียน�้ำใจก็ต้องรอจังหวะและโชคชะตา แต่เมื่อมาเจอ โลกนี้ ถ้าคุณอยู่ถูกที่ ถูกเวลา ถูกคน มันก็เป็นไปได้ ดังนั้นจังหวะชีวิตส�ำคัญ

-8-


ซีดีเริ่มขายยาก เพราะคนเริ่มดาวน์โหลด โชว์ก็ยังไม่มีให้เล่น รู้ตัวเลยว่า ความ สามารถตอนนั้น เราอาจไม่ใช่วงที่เล่นดี ไม่น่าจ้างไปเล่นเท่าไร จ�ำได้ว่าสักพัก ใหญ่ๆ ถึงจะมีงานจ้างเข้ามาเพราะผมว่า สครับบในยุคแรกๆ เราอาจยังเป็นคนที่ คิด แต่ติดที่พรีเซนต์ไม่เก่ง วิถีของนักดนตรีมี 3 แบบนะ คือ 1. แต่งได้ เล่นไม่ได้ 2. แต่งไม่ได้ แต่เล่นดี แกะเพลงดี และ 3. แต่งดี เล่นดี ซึ่งเรายังอยู่ในเลเวล 1 เราจัดอยู่ในหมวด 1 ฟังเทปเล่นดี แต่ยังแสดงสดไม่ดี แต่ถ้ามาถามตอนนี้ผม คิดว่าผมมาสูสี ระดับ 3 แล้วนะ ประสบการณ์การเล่น การโชว์ ไม่รู้สึกแย่แล้ว

ทำ�เพลงร่วมกันมา 10 กว่าปี มีวิธีบาลานซ์ภายในวงอย่างไร

พี่บอลเป็นคนดูเรื่องดนตรี รู้ว่าจะเล่นยังไง จะโชว์ยังไง ส่วนผมเป็นส่วนของคน แต่งเพลง เริ่มต้นคิดงาน ความลงตัวของเราอยู่ที่ ผมมักเป็นคนเริ่ม พี่บอลเป็น สมัยไปสมัครเล่นงานดนตรีแฟตเฟสติวัล คนดูแล คนท�ำให้จบ เพราะผมจบงานไม่ได้ แต่พี่บอลเริ่มงานไม่ได้ มันเป็นเรื่องของเคมี คิวบอกว่าเต็มแล้ว ผมก็ขอร้องล่ะ เล่นตอนไหน โชคดีที่เราเติมเต็มส่วนที่อีกคนขาด ได้ท�ำกันมาเรื่อยๆ นั้นเพราะว่าเราเจอกัน ก็ได้ เขาก็เลยบอกว่างั้นตอนเที่ยง ก่อนซาวนด์เช็ก ในช่วงวัยที่ต่างคนต่างอยากค้นหาพอดี ตอนอายุ 20 ต้นๆ ในรั้วมหาวิทยาลัย ผมก็ เ อานะ...โอเค คิ ว แสดงผมเล่ น ตอนกลางวั น เพราะเป็นช่วงพักเบรกของวงอื่น และคนอื่นเตรียม ฝากไปถึงน้องๆ วัยรุ่น คุณคิดว่าช่วงเวลาค้นหาตัวเองก่อน ซาวนด์เช็กอยู่ แต่พอเราขึ้นเวทีไปเล่น ก็มีคนเริ่มมา อายุ 20 จำ�เป็นไหม ถามว่า เพลงที่เราเล่นมีแผ่นไหม งานแฟตฯ มี 2 วัน การค้นหาบางทีอาจไม่จำ� เป็นส�ำหรับเราก็ได้นะ พอสุดท้ายเราชอบอะไร เราจะท�ำ ผมเล่นโชว์แรกวันเสาร์ และคืนวันเสาร์นั้นผมกับพี่ ของเราเอง ไม่รู้จักเหนื่อย ไม่ท้อ บางที ยิ่งคิดมาก มันอาจจะเพี้ยนไปก็ได้ ผม บอลก็ไปนั่งไรท์แผ่นจนเช้า เพื่อจะเอาแผ่นมาขายต่อ ไม่ใช่คนเก่ง แต่เป็นคนที่ท�ำไม่หยุด ท�ำไปเรื่อยๆ ต่อให้มีแค่ 6-7 แต้ม เต็ม 10 วันอาทิตย์ ซึ่งเราไม่มีบูธ ก็ใช้วิธีฝากขาย วางแอบๆ ผม ก็ยังดื้อท�ำ หาโอกาส เอาเพลงไปส่ง ลงเว็บ ฝากขาย...ท�ำทุกอย่าง ใกล้ร้านหนังสือ ก็มีคนถามว่าท�ำไมมาขายแผ่นตรงนี้ เขาจัดไว้อีกมุมหนึ่งนะ มองย้อนไป เรานี่อยู่ผิดที่ ผิด ผมจ�ำวันที่ตัวเองไปร้านโดเรมี เพื่อไปฝากขายเทปเสร็จแล้วก็มายืนหน้าร้าน แล้ว แปะโปสเตอร์เล็กๆ ของเรา ไซส์ A5 ตามเสาไฟฟ้า แล้วไปยืนแจกใบปลิวว่าเทป ทางตลอดเลย (ยิ้ม) เราออกแล้วนะ ทั้งๆ ที่เราก็วางขายแค่ร้านเดียวนี่ล่ะ มันก็ตลกดีนะ ผมเกิ ด ในครอบครั ว คนจี น เป็ น ลู ก ชายคนโต ครอบครัวก็อยากให้มาช่วยกิจการที่บ้าน แต่ผมขอ ความกล้า ความห่ามแบบนั้น ทุกวันนี้ความรู้สึกแบบนั้นยังมี เวลาทดลองไว้ 2 ปี แต่เอาเข้าจริงก็เลยเถิด จน อยู่ไหม ที่บ้านเริ่มทวงสัญญา ผมยังรู้สึกว่าตอนนั้นยังคงครึ่ง ยอมรับว่าความไม่กลัว ความบ้าบิ่นของผมน้อยลง เพราะสิ่งเหล่านั้น เราเคยท�ำ กลางๆ ผมอยากจะพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราเชื่อ มันมีคน มันท�ำมาหมดแล้ว ตอนนี้ผมมีวงดนตรีอีกวงหนึ่งชื่อว่า Pop Dub มันเป็นวงที่ เชื่อเหมือนเราหรือเปล่า แต่ผมว่าที่บ้านเขาก็คงเริ่ม ไม่มีเนื้อร้อง มีแต่ดนตรี เราไปเที่ยว ไปฟังเพลง ไปเจอเทศกาลดนตรีหลายๆ ที่ ท�ำใจตั้งแต่ปีที่ 3 แล้วล่ะ (หัวเราะ) แม้ว่าผมท�ำเพลง โชคดีที่ได้ไปเทศกาลดนตรีที่ญี่ปุ่น เป็นวง Instrumental Band เราก็ตื่นเต้นมาก ต่อเนื่อง แต่ยังไม่ได้มีความมั่นคง หรือยังไม่มีรายได้ ท�ำแล้วก็หาที่เล่นตามร้านเล็กๆ ในเมืองไทย คนดูประมาณ 40-50 คน นี่ยังเป็น ให้ทบี่ า้ นชืน่ ใจ ยุคนัน้ เป็นช่วงรอยต่อ เทปหมดไปแล้ว สิ่งหนึ่งที่เติมเต็มและท�ำให้ผมรู้สึกสดใหม่อยู่ -9-


ๆ ย อ ่ ื ร เ ป ไ � ำ ท ยุด ห ่ ม ไ � ำ ท ่ ี ท น ค น ็ ป เ ่ ต แ ง ่ ก เ ทำ� น อ ้ ื ค ่ ด ช ง ั ย ็ ก ม ผมไม่ใ ผ 0 1 ม ็ ต เ ม ้ ต แ ่ตอให้มีแค่ 6-7 สถานที่ที่สร้างแรงบันดาลใจของคุณเป็นแบบไหน

ผมชอบพิพิธภัณฑ์นะ เป็นสถานที่ที่เติมแรงบันดาลใจได้ดี ผมชอบพิพิธภัณฑ์ที่ ญี่ปุ่นมาก เพราะว่าเขาพยายามท�ำทุกอย่างให้เป็นเรื่องง่าย ใกล้ตัว ผมรู้สึกว่าเขา สามารถหยิบทุกเรือ่ งมาเป็นสาระได้หมดเลย อย่างโดราเอมอนมิวเซียม เข้าไปได้ เห็นต้นฉบับทีเ่ ป็นลายมือของอาจารย์ฟจุ โิ กะ หรือจิบลิมวิ เซียม มันมีความละเอียด ผมอยากให้พิพิธภัณฑ์ที่เมืองไทยหลายๆ แห่งให้ความส�ำคัญกับจุดนี้ อย่างบ้านเรา ผมชอบจังหวัดกาญจนบุรีนะ เมืองริมแม่น�้ำแคว ไม่ว่าจะสถานที่ บรรยากาศ มันเป็นที่ถูกหยุดไว้เวลานี้ ต่อให้ใครจะน�ำเอาวัฒนธรรมใดๆ เข้ามา แต่ที่นี่ก็ยังคงมีเอกลักษณ์แบบนี้ ชาวต่างชาติก็มาเพราะว่าอยากเห็นความบ้านๆ ของเราแบบนี้ ถ้าเทียบกับเชียงใหม่ หลายๆ คนอาจมองว่า เชียงใหม่ถูกความทัน สมัยจะปัน่ ให้เป็นเหมือนกรุงเทพ แต่กาญจนบุรยี งั มีเอกลักษณ์แบบนี้ เหมือนเวลา ถูกหยุดไว้แบบนี้ ผมชอบไปนั่งเล่นชิลๆ แถวแม่น�้ำแคว ไปดูบรรยากาศชาวบ้านๆ ผมชอบบรรยากาศงานวัดแบบปาหี่บ้านเรา มันคึกคัก น่ารักดี

คุณคิดว่า อะไรในความเป็นไทยที่เท่ และมีเสน่ห์ในสายตาคุณ

ผมว่าความ “โคตรไทย” หลายๆ อย่างก็หาค�ำตอบไม่ได้ว่าท�ำไมมันถึงเป็น แต่ มันเป็นเสน่ห์ที่เท่และมีเอกลักษณ์ ไม่น่าจะมีใครเลียนแบบได้ เวลาคุณเดินตาม ห้าง รถไฟฟ้า พอหกโมงแล้วทุกคนหยุดเพื่อยืนตรงเคารพธงชาติ พอโตขึ้นว่านี่ คือเรื่องโคตรแปลกเลยนะ ที่ประเทศอื่นไม่มีอย่างนี้แน่นอน นี่คือความเป็นไทย ที่มีเรื่องราวของมัน หรืออย่างภูมิปัญญาไทย ผ้าขาวม้า นับเป็นผ้าอเนกประสงค์ นุ่งก็ได้ เช็ดตัวก็ได้ คลุมหัวกันแดด โพกหัว แถมคุณแม่มักผูกเป็นผ้าอุ้มลูกก็ได้ ท�ำได้หลายสิง่ แถมลายพิมพ์ผา้ ก็รว่ มสมัย และมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนชาติใด เวลา เห็นคนแก่ๆ ผูกผ้าขาวม้า ประแป้งขาวๆ มันได้อารมณ์ดี ยิ่งโตยิ่งมองกลับไป ผม ว่าผ้าขาวม้าคือผ้าสารพัดประโยชน์ที่สะท้อนความเป็นไทยได้มีเสน่ห์อย่างหนึ่ง -10-


มิวเซียมสยาม และนิทรรศการ “มองใหม่ ด้ายไหม” ตื่นตาตื่นใจไปกับผลิตภัณฑ์จาก ไหมในมุมที่คุณต้อง WoW! หนุ่มเมื่อย ก็ตื่นเต้นกับนิทรรศการนี้ด้วย

“ผมมีเพื่อนท�ำงานที่มิวเซียมสยาม เขาก็ชวนอยู่นะ ผมตั้งใจว่าจะหาเวลาไปดู (ยิ้ม) จากตอนเด็กๆ ผม คุ้นเคยกับผ้าห่มที่ท�ำจากผ้าไหม โตขึ้นมาก็ยังมีหมอน ปลอกหมอนเป็นผ้าไหม ผมใช้หมอนผ้าไหมนี้เวลา พักผ่อน งีบ แอบหลับก่อนขึ้นคอนเสิร์ตไกลๆ ดีนะ นุ่ม หลับสบาย (ยิ้ม) จริงๆ ไหมมีคุณสมบัติมากมาย มากกว่าจะท�ำเป็น หมอน โดยส่วนตัวอยากจะลองว่า ไหมจะใช้แทนวัสดุ อะไรได้บ้าง ถ้าเห็นใกล้ตัวสุดก็เป็นพวกเครื่องดนตรี อย่างแทมโบรีน หรือเพอร์คสั ชัน่ ไม่รวู้ า่ ถ้าหล่อไหมเป็น เพอร์คสั ชัน่ จะท�ำให้เสียงกังวาน ไพเราะขึน้ กว่าพลาสติก รึเปล่า ก็คงต้องลองดู ถ้าใครผลิตมาแล้ว บอกผมด้วย นะครับ ผมอยากขอมาลองเขย่า ส�ำหรับสเปซที่เรียกว่า Co coon & Co เป็นพื้นที่ให้คน ได้สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่ท�ำจากไหม น่าจะเป็น เรือ่ งดีทคี่ นใช้ไหมในการรักษาสภาพแวดล้อม ในการเอา ไหมมาอยู่ในชีวิตประจ�ำวันของเรา มองใหม่ด้ายไหม ...อยากให้ทุกๆ คนเริ่มมองเลยครับ” -11-


ger Ran ิภาส r e v ว : Sil ์ บุญ เรื่อง เนาวรัตน : ภาพ

e d u t i t la

เป็ดเหลือง

ความสุขที่ลอยละล่อง รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ แววตามีชีวิตชีวาของลูกน้อยที่อยู่ท่ามกลางอ่างอาบน�้ำ สบู่ ยาสระผม และตุ๊กตายางรูปเป็ดน้อย ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับ ฟลอเรนติจน์ ฮอฟแมน (Florentijn Hofman) ศิลปินชาวเนเธอร์แลนด์ในการ แบ่งปันความสุขให้กบั คนทัว่ โลกผ่านงาน Installation Art ทีใ่ ครได้เห็นต้องอมยิม้ และหวนคิดถึงวัยเยาว์ ฮอฟแมนออกแบบและควบคุมการตัดเย็บเป็ดยางสีเหลืองขนาดใหญ่ สูบลมให้พอง และพาไปล่องในแหล่งน�้ำสาธารณะ เพื่อชวนให้ผู้คนไม่ว่าผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ เด็กน้อย ได้ฉุกคิดว่าพวกเราล้วนใช้อ่างอาบน�้ำเดียวกัน เป็นอ่างอาบน�้ำสาธารณะที่ต้อง ร่วมกันรักษาดูแล และเขายังปรารถนาให้ใครก็ตามที่ได้เห็นเจ้าเป็ดยักษ์นี้ได้ลืม ความเครียด ละทิ้งความกังวล ไม่ว่าจะงาน การเรียน หรือครอบครัว...เหมือน ตอนเด็กน้อยอาบน�้ำอย่างมีความสุขนั่นเอง

-12-


น้อย ก ู ล ง าขอ สร้าง ว ี ช ีชีวิต จในการ ม า แววต ันดาลใ ะ า บ หัวเร คือแรง ปทั่วโลก ง ย ี ิ้ม เส อาบน้ำ� ี่โด่งดังไ ย ย รอ ู่ในอ่าง ck ท ที่อย ber Du Rub ng rkidea a sp I

เมือ่ เป็ดเหลืองไปปรากฏในอ่างน�ำ้ สาธารณะในประเทศใดก็ตาม เหมือนมีมนต์เรียกให้ ผู้คนออกมาชื่นชม ยิ้ม หัวเราะไปกับมัน อย่างเมื่อคราวไปฮ่องกงเมื่อปีกลาย (2 พ.ค.9 มิ.ย.) เจ้าเป็ดลอยล่องอยู่บริเวณ Ocean Terminal Harbour City ในอ่าววิคตอเรีย ย่านจิมซาจุ่ย ผู้เขียนซึ่งแวะไปเที่ยวฮ่องกงช่วงนั้นพอดี จึงโชคดีได้รับแบ่งปันความสุข และรอยยิ้มจากเจ้าเป็ดยักษ์นี้ด้วย ทุกเย็นและวันเสาร์-อาทิตย์ อ่าววิคตอเรียคลาคล�่ำด้วยผู้คนที่มาเมียงมองเจ้าเป็ดน้อย (ยักษ์) ถ่ายรูประยะไกล ระยะใกล้ และยังเล่นเก้าอีด้ นตรีรอถ่ายรูปกับตุก๊ ตาเป็ดเหลือง ที่มาดิสเพลย์อยู่บนฝั่งภาคพื้นดินด้วย เรียกได้ว่ากว่าจะได้รูปคู่กับเจ้าเป็ดน้อยสักใบ ต้องยืนคอยคิว ใครเดินจากมาอีกคนวิ่งปรี่เข้าหาทันที ประมาณการว่า คนฮ่องกงและนักท่องเทีย่ วพากันไปดูเจ้าเป็ด 200,000 คนต่อวัน ลอง คูณด้วย 38 วัน มิใช่น้อยเลยทีเดียว ระหว่างนั้น มีอยู่ช่วงหนึ่งอยู่ๆ เจ้าตากลมปากส้ม เกิดแฟบ ลมฟีบ ลอยเคว้งไม่เป็นเป็ดอยู่กลางอ่าว ชาวฮ่องกงเสียดายและผิดหวังกัน เป็นทิวแถว จนศิลปินเจ้าของงานต้องออกมาแถลงไขว่า ถึงระยะเวลาที่ต้องซ่อมบ�ำรุง นัน่ แหละ คนฮ่องกงถึงเลิกโอดครวญและรอวันทีเ่ ป็ดเหลืองจะกลับมามีชวี ติ ชีวาอีกครัง้

ฟลอเรนติจน์ ฮอฟแมน (Florentijn Hofman)

ศิลปินชาวเนเธอร์แลนด์ ผูส้ ร้างสรรค์ Rubber Duck เจ้าเป็ดเหลืองที่สร้าง ความสุขให้คนทั้งโลก -13-


นอกจากมอบความสุขให้กบั คนทีไ่ ด้พบเห็นแล้ว ยังเกิดธุรกิจต่อเนือ่ งเพราะพ่อค้า หัวใสต่างพากันขายของที่ระลึกรูปเป็ดน้อยกันอย่างคึกคัก เรียกว่าเป็ดน้อยโผล่ ไปเล่นน�้ำที่ไหน รายได้จากการท่องเที่ยวก็ไหลมาเทมา ไม่เว้นแม้แต่ไทยแลนด์ ที่จู่ๆ มีตุ๊กตาเป็ดเหลืองไปเล่นน�้ำอยู่ที่หนองประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี คนก็ ตื่นเต้นกันใหญ่ แต่สืบสาวดูแล้วไม่เกี่ยวอะไรกับนายฮอฟแมน เพราะท่านผู้ว่า ราชการจังหวัดชี้แจงไปยืมจากเพื่อนมา เพื่อให้คนที่มาเที่ยวรู้สึกผ่อนคลายกับ บรรยากาศบ้านเมืองที่แสนตึงเครียด นอกจากเป็ดเหลืองแล้ว ฮอฟแมนยังสร้างสรรค์ผลงาน Installation Art ไว้อีก มากมาย และแต่ละชิ้นก็ยังแฝงไว้ด้วยแง่คิดและความสนุกสนาน เช่น The Dead Fly แมลงวันที่นอนตายหงายท้องขาชี้ฟ้า ซึ่งเป็นเหมือนมรณานุสติ Kobe Frog กบโกเบที่เป็นก�ำลังใจให้ผู้คนหลังประสบภัยสึนามิ Sunbathing Hare กระต่ายที่ ท�ำท่าเริงร่าอาบแดด เสียงหัวเราะของลูกในอ่างอาบน�้ำ เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์และส่งต่อ ความสุขของฮอฟแมน แล้วคุณล่ะ... เวลาเห็นเป็ดน้อย คุณคิดถึงอะไร

Did U Know ?

นับตัง้ แต่ปี 2550 ถึงปัจจุบนั (มีนาคม 2557) ฮอฟแมนพาเป็ดเหลือง พรีเซนเตอร์ ของวัยเยาว์และความสุข ไปจัดแสดงมาแล้ว 13 ประเทศทั่วโลก ก่อนมาปรากฏ ตัวที่ฮ่องกงก็ไปโชว์ตัวมาแล้วที่โอซาก้า ญี่ปุ่น ซิดนีย์ ออสเตรเลีย เซาธ์เปาโลใน บราซิล และเมือ่ ออกจากเกาะฮ่องกงก็สญ ั จรไปทีอ่ า่ วพิตส์เบอร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา และไม่นานนีก้ ไ็ ด้ไปแสดงทีป่ ระเทศจีนซึง่ สร้างความฉงนพร้อมเสียง หัวเราะได้มากที่สุดนับตั้งแต่จัดแสดงมา คือ เจ้าเป็ดที่แสดงอยู่ ณ พระราชวังฤดู ร้อน กรุงปักกิ่ง แลดูปากงุ้มเป็นไก่ แถมเวลาลอยอยู่ในน�้ำ ก็เอียงไปข้างเหมือน จุดศูนย์ถ่วงไม่สมดุล ท�ำไม้...ท�ำไมเป็ดไม่น่ารักเหมือนตอนอยู่ฮ่องกง เมือ่ ตรวจสอบแล้วพบว่า เกิดความผิดพลาดในการเย็บประกอบปากเป็ดซึง่ เป็นจุด ที่ยากจุดหนึ่ง แทนที่ปากจะหงายขึ้นและแบะออกนิดๆ แบบเป็ดยิ้ม ก็เลยกลาย เป็นไก่ปักกิ่งไปเสียนี่...

-14-


มวลมหาประชาชนกับเป็ดน้อย และรอยยิ้มที่เบ่งบาน ขอบคุณภาพประกอบจาก www.florentijnhofman.nl/dev/ เป็น Official Website ของ ฟลอเรนติจน์ ฮอฟแมน ศิลปิน ผู้สร้างสรรค์ Rubber Duck -15-


-16-


ี้ มื่นล อมห วิภาส ห : เรื่อง รัตน์ บุญ ว : เนา ภาพ

plus

เชื่อไหม...

“ไหม” กินได้ หวานอมเปรี้ยว - - เย็นฉ�่ำ - - เนื้อเนียนนุ่ม - - ชื่นใจ คือ รสชาติของไอศกรีมรสมัลเบอรี่ ในถ้วยที่วางอยู่ข้างหน้า สีแดงสวย เย้ายวน ชวนให้ลิ้มรส แต่ช้าก่อน - - เรายังไม่ได้บอกคุณเลยว่า ไอศกรีมถ้วยนี้ ผสม “ผงไหม” เชื่อไหม “ไหม” กินได้ แถมอร่อยอีกต่างหาก และยังอุดมด้วยโปรตีนและ กรดอะมิโนกว่า 18 ชนิด ผูส้ ร้างสรรค์ไอศกรีมทีไ่ ม่เหมือนใคร คือสาวหน้าใส จอย - จิรภัสร เจียรรุง่ แสง เจ้าของร้าน Farm to Table

-17-


-18-


ละเลียดอาหารแห่งอนาคต Farm to Table ร้านอาหารขนาดกะทัดรัดบนถนนอัษฎางค์ ใกล้ สามใบเถาชอบทานไอศกรีมอยู่แล้วเป็นทุนเดิม ทั้งสามจึงบินไป คลองหลอด ตกแต่งในบรรยากาศอบอุ่น น่ารัก และนอกเหนือจาก เรียนการท�ำเจลาโตจากเชฟที่อิตาลี และกลับมาพัฒนาปรับปรุง สูตรของตนเอง ไอศกรีมยังมีเมนูอาหารเพื่อสุขภาพอีกหลายรายการ ส่วน “ไอศกรีมผสมผงไหม” ถือเป็นงานทดลองในโปรเจ็คพิเศษร่วม ผักชนิดแล้วชนิดเล่าถูกน�ำมาทดลองจนได้สูตรอร่อยลงตัว กระทั่ง กับมิวเซียมสยาม ตอนนีม้ ใี ห้ชมิ สองรสชาติ คือ รสมัลเบอรีห่ รือลูก ขณะนีต้ ไู้ อศกรีมละลานตาไปด้วยไอศกรีม 12 รส 12 สี ไม่ผสมแป้ง ไม่ผสมครีม นม หรือแต่งสีใดๆ เป็นไอศกรีมสุขภาพรสธรรมชาติที่ หม่อน (สีแดง) และรสใบหม่อน (สีขาว) อร่อย สีธรรมชาติ และปรับรสไปตามฤดูกาล “บางครั้งตรุษจีน ส้ม ร้านเล็กๆ นี้เป็นผลแห่งการร่วมแรงร่วมใจของพี่น้องสามใบเถาคือ ไหว้เจ้าเยอะมาก หมดตรุษจีน เราก็เอามาท�ำเป็นไอศกรีม” คุณจอย คุณเจีย๊ บ - พรรณสุนนั ท์ พินจิ พิชติ กุล คุณจอย - จิรภัสร เจียรรุง่ แสง เล่าด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และคุณจิ๊บ - จิราภา เจียรรุ่งแสง วันแรกทีเ่ ปิดร้าน สามสาวเตรียมโบรชัวร์ไว้เพียบ แต่ปรากฏว่าหลัง ความกิ๊บเก๋เริ่มตั้งแต่ป้ายร้านด้านหน้า โลโก้รูปกะหล�่ำปลีที่อยู่บน เลิกเรียนไม่กชี่ วั่ โมง นักเรียนในย่านนัน้ มุงร้านไอศกรีม และขายดิบ ถ้วยไอศกรีม สือ่ ถึงธุรกิจสองเจนเนอเรชัน่ คือ ธุรกิจส่งออกกะหล�ำ่ ขายดีเป็นเช่นนั้นมาทุกวัน ปลีที่คนรุ่นพ่อแม่ก่อร่างสร้างมา จนสามารถขยับขยายไปซื้อไร่ที่ ภูชี้ฟ้าเพื่อปลูกพืชผักนานาชนิด ซึ่งเป็นแหล่งอาหารออร์แกนิกส์ที่ แล้วไอศกรีมไหมเกิดขึ้นได้อย่างไร เธอน�ำมาใช้เป็นวัตถุดิบของร้าน จังหวะที่ มิวเซียม สยาม มีก�ำหนดจัดแสดงนิทรรศการ “มอง ส่วนถ้วยไอศกรีมก็คือการบุกเบิกของเจนเนอเรชั่นสองที่สามพี่น้อง ใหม่ด้ายไหม” ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มิถุนายน 2557 จึง ช่วยกันขบคิดว่า เมนูใดหนอจะสามารถน�ำเสนอพืชผักออร์แกนิกส์ ทาบทาม Farm to Table ให้มาร่วมส่งเสริมคุณค่าไหม สามใบเถา รับโจทย์มา และท�ำการบ้านอย่างจริงจังให้เป็นอาหารที่มีคอนเซ็ปต์ ให้เข้าไปอยู่ในใจของคนรุ่นใหม่ เชื่อมโยงกับไหม และต้องมีคุณค่าทางอาหาร และหน้าตารสชาติ ใช่แล้ว !! เมนูนั้นคือไอศกรีม ต้องอะมิโนโอเค 

-19-


ลูกหม่อนออร์แกนิกส์สดๆ กลายเป็นไอศกรีมมัลเบอร์รี่ สีแดงอม ม่วงให้พลังและรสอมเปรี้ยวชื่นใจ มีการผสม “ผงไหม” ลงไปใน ขั้นตอนการท�ำ ซึ่งคุณจอยสังเกตเห็นว่า ผงไหมท�ำให้ไอศกรีมเนื้อ เนียนขึ้น “อีกรสล่ะ อะไรดี เราก็ไปถามภูมปิ ญ ั ญาพืน้ บ้าน คนเหนือ คนอีสาน ว่าใบหม่อนกินได้มั้ย เขาบอกกินได้ เอามาต้ม รสชาติจะนัวๆ แต่ ถ้ากินมากจะมึน ..น่าสนใจเราก็ทดลอง จนได้รสชาติพอดีๆ ออก มาเป็นรสใบหม่อนนี้” ใบหม่อนสดมียาง ร้าน Farm to Table จึงพิถีพิถัน เก็บมาตาก คั่วแห้ง แล้วค่อยมาปั่นบดเพื่อให้ได้รสใบหม่อนแท้ๆ ให้ความมัน อ่อนๆ ไม่ล�้ำหน้าความหวานเย็นของไอศกรีม อร่อย ชื่นใจทั้งสองรส ชนิดชิมถ้วยเดียวไม่พอ ถ้าจะชิมรสมันหวาน ฟักทอง ใบข้าวอ่อน เสาวรส งาด�ำ กาแฟ ข้าวโพด ฯลฯ - - เชิญที่ร้าน Farm to Table เสิร์ชดูหาที่ตั้งก่อน ไปได้ที่ fb แต่ถ้าจะชิมรสมัลเบอร์รี และใบหม่อนที่ผสม “ผงไหม” - - ต้อง ไปที่ชิมที่มิวเซียมสยามเท่านั้นค่ะ

-20-


8 เรื่องน่ารู้ของ “ไหม” 1. กว่า 4 พันปีก่อน นางสนมของจักรพรรดิหวงตี้ของจีนสังเกตเห็นการ เปลี่ยนแปลงของไหมที่บังเอิญหล่นลงไปในถ้วยชาร้อน จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการ ค้นคว้าการผลิตผ้าไหม และกลายเป็นอาภรณ์ที่ค�้ำชูเศรษฐกิจจีนมาช้านาน 2. เส้นทางขนส่งผ้าไหมจากจีนไปสูน่ านาประเทศ เป็นทีม่ าของ “เส้นทางสายไหม” กว่า 7,000 ไมล์ ที่เชื่อมโยงทั้งเศรษฐกิจและอารยธรรมโลกไว้ด้วยกัน 3. ในอดีต “ผ้าไหม” ถือเป็นของล�้ำค่า ที่ชนชั้นผู้น�ำจากซีกโลกต่างๆ ถวิลหา ด้วยคุณลักษณะเงางาม ให้ความเย็นเมื่อใส่ฤดูร้อน และให้ความอบอุ่นเมื่อใส่ใน ฤดูหนาว 4. นักวิทยาศาสตร์ยุคหลังพบว่า ไหมมีฤทธิ์ยับยั้งจุลชีพ ดังนั้นอย่าแปลกใจ ถ้า เราจะเห็นสบู่ก้อนไหม สบู่เหลวไหม เป็นสินค้าขายดี 5. ยิ่งค้นคว้า นักวิทยาศาสตร์ก็ยิ่งค้นพบ “ความอัศจรรย์เกี่ยวกับไหม” ทุกวันนี้ ไหมไม่ใช่แค่ผา้ ไหมทีเ่ ราคุน้ เคย แต่ยงั เป็นแหล่งอาหารและเวชส�ำอางชัน้ เลิศ และ เป็น “เส้นใยแห่งอนาคต” (Fiber of the Future) 6. ไหมไทยสีเหลืองทอง ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นบ้านของไทย พบว่าประกอบด้วยโปรตีน และกรดอะมิโนมากถึง 18 ชนิด 7. งานวิจัยพบว่าไหมไทยสีเหลืองทองมีอะมิโนโปรตีนที่เป็นอาหารเสริมสมอง สายตา และผิวพรรณ และลักษณะโปรตีนนั้นก็คล้ายโปรตีนในร่างกายมนุษย์ จึงได้มีผู้ประกอบการหัวใส ทดลองน�ำผงไหมไปผสมในอาหารต่างๆ เช่น หมูยอ หมี่กรอบ ไอศกรีม ฯลฯ 8. ปัจจุบันในกระบวนการผลิตผ้าไหมของประเทศเรา มีเศษไหมเหลือทิ้งถึง 200,000 กิโลกรัม /ปี (ก.ก หนึ่งประมาณ 20 บาท) แต่ถ้าน�ำเศษไหมเหลือทิ้ง เหล่านั้นมาสกัดเป็น “โปรตีนไหม” จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 300 เท่า คุณค่าของไหมยังมีอีกมากมาย บางที่ข้อถัดไป อาจเป็น “คุณ” ที่ค้นพบ -21-


เซีย

พูฟิว

ชม อื่ ง :

เร

แหล่งรวมแรงบันดาลใจ อาหารของความคิด ที่เราคัดสรรมาไว้ที่นี่

d

r a w r fo

จำ�

คำ�น่า

Every child is an artist. The problem is how to remain an artist once he grows up. - Pablo Picasso “เด็กทุกคนเป็นศิลปิน ปัญหาคือการรักษาความเป็นศิลปิน นั้นไว้เมื่อคุณโตขึ้น” ปาโบล ปิกัสโซ่

-22-


ie่าดู v o M นังน ห

The Lunch Box

นั บ เป็ น กระแสมาพั ก ใหญ่ ส� ำ หรั บ ใครๆ ที่ มั ก จะแชร์ ตั ว อย่ า ง ภาพยนตร์เรื่องนี้บนหน้าวอลล์เฟซบุ๊คของคุณเอง เพราะแค่ปล่อย ตัวอย่างออกมา The Lunch Box แทบเรียกได้ว่าขึ้นแท่นหนังฟีลกู้ ดแบบบอลลีวู้ด เหมือนที่ Always จากญี่ปุ่นเคยครองใจคนดูบ้าน เรามาแล้ว The Luchbox เพิ่งคว้ารางวัล Grand Rail d’Or จาก Cannes Film Festival (รางวัลขวัญใจนักวิจารณ์) มาหยกๆ เล่าเรื่องของเฟอร์ นานเดส พ่อม่ายที่ต้องพบกับความโศกเศร้าหลังจากภรรยาของเขา เสียชีวิต วันหนึ่งเขาก็ต้องพบกับความประหลาดใจเมื่อได้รับปิ่นโตที่ บรรจุอาหารกลางวัน ซึ่งเจ้าของปิ่นโตนั้นคือคือ อิลา หญิงสาวผู้ถูก สามีหมางเมิน และเธอคิดว่ามนต์เสน่หจ์ ากอาหารในปิน่ โตนีแ่ หละ จะ เรียกร้องให้สามีกลับมาสนใจเธออีกครั้ง แต่ทว่าโชคชะตาจากความ ผิดพลาดในการส่งปิ่นโตท�ำให้เฟอร์นานเดสและอิลาเริ่มต้นความ สัมพันธ์ที่ติดต่อกันผ่านกระดาษโน้ตเล็กๆ ที่บรรจุลงไปในปิ่นโตนั้น เอง ผูก้ ำ� กับ ริเดช บาตรา หยิบแรงบันดาลใจจากอาชีพส่งข้าวกล่องใน อินเดียอันเป็นวัฒนธรรมที่แข็งแกร่งมาตีแผ่ใส่มุมละเอียดอ่อนเล็กๆ ก�ำหนดฉาย : 28 มีนาคม 2014

รู้จักวัฒนธรรมผูกปิ่นโตสักนิด หลายๆ คนอาจเคยได้ยนิ ว่าคนอินเดียมีวฒ ั นธรรมการ กินที่เรียกว่า “dabba” (ดั๊บบา) หมายถึงปิ่นโต นั่น คือการน�ำปิน่ โตอาหารกลางวันไปรับประทานทีท่ ำ� งาน เป็นเรื่องปกติตั้งแต่ระดับนักเรียน คนงาน พนักงาน บริษัท ไปถึงระดับ นายกรัฐมนตรี มุมไบมีธุรกิจที่ เรียกว่า “dabbawala” (ดั๊บบาวาลา) หมายถึงนักขน ปิ่นโต เป็นธุรกิจที่ท�ำเงินมหาศาล โดยแต่ละวันจะมี การขนส่งปิ่นโตถึงสองแสนหน่วย และมีการเติบโต -23-

ของธุรกิจถึงร้อยละ 15 ต่อปี ทุกเช้าจะมีพนักงาน ของดั๊บบาวาลาไปรวบรวมอาหารปิ่นโตจากแม่บ้าน ของสมาชิกทุกบ้าน แล้วขนขึ้นซาเล้ง ถีบไปที่สถานี รถไฟ ส่งต่อให้พนักงานที่รอรับอยู่บนรถไฟ ก่อนเดิน ทางไปส่งให้กบั สมาชิกถึงโต๊ะท�ำงานก่อนเทีย่ งของทุก วัน ที่น่ามหัศจรรย์มากที่สุดคือ ในสถิติโลจิสติกของ ปิ่นโตเถาเล็กแบบอินตะระเดียนี้ พบว่าไม่เคยมีการ ส่งผิดที่เลยแม้แต่ครั้งเดียว !


Cat School Vol.1

โรงเรียนแมว 1ตอน “ความลับของถ้ำ�คริสตัล

ส�ำนักพิมพ์โพสต์บุ๊ค เรื่อง : คิมจิน-คยอง แปล : เพียงออ เลาหะวิไลย ราคา : 145 บาท “โรงเรียนแมว” วรรณกรรมเยาวชนแนว “แฟนตาซี” เล่มแรกของเกาหลี ทีค่ ว้ารางวัล Le Prix des Incorruptiblesสาขาวรรณกรรมเยาวชน จากประเทศฝรั่งเศส ครอง ใจเด็กๆ นับแสนในยุโรปด้วยเรื่องราวของ “มินจุน” เจ้าของแมวแสนซนที่วันหนึ่ง ก็พบว่ามีจดหมายฉบับหนึ่งส่งมาถึงบ้าน จ่าหน้าซองถึง “โมริ” แมวตัวแสบประจ�ำ บ้าน จดหมายฉบับนี้มาจาก”บอเดอริ” แมวอีกตัวของเขาที่หายออกจากบ้านไป ใน จดหมายที่บอเดอริเขียน มันช่างแสนมหัศจรรย์พันลึกเอามากๆ เล่าถึง “โรงเรียน แมว” ทีแ่ มวทุกตัวใฝ่ฝนั อยากจะไปอยู่ โรงเรียนทีส่ อนวิชาหลายอย่างทีค่ าดไม่ถงึ ทัง้ เวทมนตร์ และการต่อสู้ (ใครๆ ต่างนิยามโรงเรียนแมวนีว้ า่ เป็นน้องๆ ฮอกวอตส์ของ แมวเลยล่ะ) ทั้งเรื่องราวประวัติศาสตร์อันน่าพิศวงของ “ถ�้ำแก้วคริสตัล” ที่มีความ ลับซ่อนมานานหลายพันปี กับเวทมนตร์คาถาเพื่อจะเอาชนะ “เทพแห่งรัตติกาล” ถ�้ำแก้วคริสตัลจะไม่ปรากฏขึ้นในสายตาของมนุษย์ มีแต่สายตาของแมวเท่านั้น ค�ำ ชื่นชมต่อนิยามเล่มนี้ หลายๆ เสียงต่างกล่าวว่า นี่คือวรรณกรรมที่จะท�ำให้เด็กกล้า เดินออกจากกรอบความเชื่อเดิมๆ

kน o o b ือน่าอ่า หนังส

t e dg

Ga่น + น่าสนุก เล

มีสมาร์ทโฟน 1 เครื่อง เจอภาพวาดน่ารักๆ นิวส์ฟีดเจ๋งๆ หรืออ่าน เจออะไรแล้วอยากอยากปรินท์ออกมาทันใจ เตือนเป็นโน้ตข้อความ สั้นๆ ให้ตัวเอง หรือส่งต่อให้เพื่อน แต่…จะท�ำยังไงดี เราไปเจอของ เล่นสนุกๆ อย่างเจ้า “ลิตเติ้ลปรินท์เตอร์” มาล่ะ เห็นแล้วก็อยาก อวด เพราะได้รับการเสนอชื่อให้เป็น Design of the year 2013 จาก Design Museum in London เปรียบเสมือนเครื่องปรินท์พกพา แถมหน้าเป็น (นึกถึงเครื่องปรินท์บิลราคาสินค้าตามร้านสะดวกซื้อ) สนนราคา 200 เหรียญ ลองคลิก http://littleprinter.com/

-24-


นิทรรศการ A Piece of Cake โดย ทรงวิทย์ สี่กิติกุล, อาร์ตกอริลล่าส์ อาร์ตแกลเลอรี่

7 มีนาคม - 25 เมษายน 2557 เวลา 18.00-21.00 น. งานแสดงผลงานเดี่ยวของอดีตสถาปนิกที่ผันตัวเองมาเป็นนักเขียนการ์ตูนผู้มีลายเส้นเป็น เอกลักษณ์ ทรงวิทย์ สีก่ ติ กิ ลุ นักเขียนการ์ตนู ที่ นิทรรศการครัง้ นีม้ งุ่ สะท้อนความทุม่ เท ตลอด เวลากว่า มากว่า 14 ปีปลดปล่อยจินตนาการของเขาให้ออกมาโลดแล่นบนหน้ากระดาษ แม้ ไม่รู้ว่าเขาต้องขย�ำกระดาษทิ้งไปแล้วกี่แผ่น แต่วันนี้เขาได้กลายเป็นนักเขียนการ์ตูนและนัก วาดภาพประกอบที่ได้รับการยอมรับจากแฟนๆ เหนียวแน่น ผลงานของเขามีจุดเด่นในสไตล์ มังงะ เช่น หนังสือโลกของเรา (World&Earth), ที่นี่มีชีวิต (Find Joy), โปรดติดตามตอนต่อ ไป (To be continued) และเล่มล่าสุด สามัญรัญจวน (Super Ordinary Stories) ในงานเต็ม ไปด้วยผลงาน ภาพวาดต้นฉบับ ภาพร่าง ภาพเขียน และงานการ์ตูนสั้นจบในตอนที่ไม่เคยตี พิมพ์ที่ไหนมาก่อน http://sengsongwit.tumblr.com/

t n e ev ่าไป งานน

PAPERRUNWAY www.paperrunway.com

e r e h ตาม k c i l C เพจนี้น่าติด -25-

ชื่อก็บอกแล้วว่าพื้นที่ต่อจากนี้คือรันเวย์ของกระดาษ ด้วยคอนเซ็ปต์ความตั้งใจของเจ้าของเพจ นิกกี้ บั๊ก แลนด์ ที่จะให้เพจนี้เป็นจุดรวมระหว่างความหลงใหล ในกระดาษ ในไอจีของเขาจึงเต็มไปด้วยงานสร้างสรรค์ ที่ พั ก หยิ บ จั บ กระดาษรู ป ทรง ลวดลายต่ า งๆ มา ออกแบบเป็นงานศิลปะสุดน่ารัก เห็นแล้วก็อดอมยิ้ม และอยากหยิบกระดาษมาจับคู่สีน่ารักๆ ตามไปด้วย


3

1 2

4

8

9

-26-


: /ภาพ ร เรื่อง รณาธิกา บร กอง

n i k c che 5

นิทรรศการ

“มองใหม่ด้ายไหม” ทะลุกรอบทุกความคุ้นเคย...เมื่อ “ไหม” เป็นได้มากกว่าผ้า ร่วมไขความลับของ “ไหม” วัสดุธรรมชาติจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กลายเป็น “อภิมหาวัสดุ” ต่อยอด ความคิดจนเกิดเป็นนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ สร้างประโยชน์ได้อย่างไม่คาดคิด ครั้งแรกของมิวเซียมสยามชวนคุณพลิกโฉม “นิทรรศการ” ในรูปแบบ Lifestyle Shop ภายใต้แบรนด์ “Cocoon & Co” ที่เล่าเรื่องราวตั้งแต่การค้นพบคุณสมบัติ พิเศษของ ‘ไหม’ ท�ำให้เกิดแรงบันดาลใจในการน�ำ ‘ไหม’ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในแง่มุมต่างๆ มากว่า 4,000 ปีแล้ว พร้อมกระตุ้นต่อมความคิดของคนรุ่นใหม่ ให้คิดค้นนวัตกรรมจากเส้นไหมและรังไหมต่อไป

6

‘ไหม’ มีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความมันวาวสะท้อนแสง เหนียว ทนทานกว่าสเตนเลส เก็บความร้อนและระบายความชื้นได้ดี อีกทั้งมีโปรตีนและ กรดอะมิโนหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ไหมจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น เส้นใยแห่งอนาคต (Fiber of the Future) 7

6-7 ชม แฟชั่นกิ๊บเก๋จากไหม 5 ชิม ไอศกรีมผสมผงไหม - ที่นี่ - - ทีเดียว - - มิวเซียมสยาม 4 ช้อป โปรตีนไหมมีฤทธิต์ า้ นจุลชีพ และเป็น มอยส์เจอไรเซอร์ชนั้ เลิศ น�ำมาสูก่ ารพัฒนา เป็นผลิตภัณฑ์ถนอมผิวพรรณนานาชนิด

นิทรรศการฯ ในครัง้ นี้ จะเป็นการเปลีย่ นมุมมองของประชาชนทัว่ ไปทีเ่ ห็นว่า ‘ไหม’ มีประโยชน์เพียงการเป็นเครื่องแต่งกายของคนสูงวัย มีราคาแพงและไม่ทันสมัย ให้หันมาเข้าใจว่าไหมเป็นวัสดุธรรมชาติที่มีความน่าอัศจรรย์เกินจะคาดเดา ลอง ดูซิว่า “คนรุ่นใหม่” เขามองใหม่ได้แค่ไหน...แล้วคุณล่ะจะมองใหม่ได้มั้ย? นิทรรศการ “มองใหม่ดา้ ยไหม” จะเปิดให้เข้าชมทุกวันอังคารถึงวันพฤหัสบดี เวลา 10.00-18.00 น. และวันศุกร์ถึงวันอาทิตย์ เวลา 10.00-20.00 น. ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ไปจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน 2557 (ปิดวันจันทร์) ณ มิวเซียมสยาม (ใกล้วัดโพธิ์) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย Cocoon & Co Exclusively @Museum Siam สอบถาม โทร. 02-225-2777 ต่อ 416 | Cocoon Hotline 081-927-4808 หรือ www.museumsiam.org | www.facebook.com/museumsiamfan -27-


-28-


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.