! !
สำรวจประวัติศาสตร์คริสตจักร CH773 Church History Survey
! ! ! ! ! !
Martin Luther
Jonathan Edwards
Billy Graham
! !
พระคริสตธรรมกรุงเทพ Bangkok Bible Seminary
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
! สารบัญ Table of Contents
คำนำ คำอธิบายและกิจกรรมการศึกษา ตารางการศึกษาวิชา ประวัติศาสตร์คริสตจักรแบ่งตามยุค โครงวิชา หน่วยที่ 1 คริสตจักรยุคแรก หน่วยที่ 2 กำเนิดพระคำภีร์ใหม่และผู้นำกลุ่มต่างๆ หน่วยที่ 3 คริสตจักรของรัฐ (ยุคประนีประนอม) ค.ศ. 313-590 หน่วยที่ 4 คริสตจักรยุคมืด คศ. 590-1453 หน่วยที่ 5 อาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ หน่วยที่ 6 คริสตจักรยุคกลาง ค.ศ. 1073-1453 หน่วยที่ 7 การเปลียนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคกลาง หน่วยที่ 8 การเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนา หน่วยที่ 9 ยุคปฏิรูปศาสนา (1) หน่วยที่ 10 ยุคปฏิรูปศาสนา (2) หน่วยที่ 11 ยุคปฏิรูปศาสนา (3) หน่วยที่ 12 ยุคปฏิรูปศาสนา (4) หน่วยที่ 13 ยุคเหตุผลและการฟื้นฟู (ค.ศ. 1648-1789) หน่วยที่ 14 ยุคก้าวหน้าและยุคพันธกิจ (ค.ศ. 1795-1914) หน่วยที่ 15 ยุคมูลฐานนิยมและสหพันธภาพ (ค.ศ. 1914-ปัจจุบัน)
3 4 7 9 10 13 31 47 67 75 81 93 102 107 114 129 139 146 166 175
ภาคผนวก 1 ภาคผนวก 2 ภาคผนวก 3 ภาคผนวก 4 ภาคผนวก 5 ภาคผนวก 6
182 183 194 195 210 226
!
!
หลักข้อเชื่อของอครทูต (Apostles’ Creed) ดิดาเคห์ (The Didache) หลักข้อเชื่อไนซีน (Nicene Creed) คำประท้วง 95 ข้อของ มาร์ติน ลูเธอร์ คำเทศนา: คนบาปในพระหัตถ์ของพระเจ้าผู้ทรงพิโรธ คําสอนเทียมเท็จของ “ข่าวประเสริฐแห่งความเจริญรุ่งเรือง”
! !2
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
คำนำ !
คริสเตียนต้องมองประวัติศาสตร์เป็นเส้นตรง (linear) ทั้งนี้เพราะประวัติศาสตร์มีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุด พระเจ้าทรงเป็นผู้ควบคุมอยู่เหนือทุกเหตุการณ์ของประวัติศาสตร์เพื่อให้เป็นไปตามพระ ประสงค์อันเลิศของพระองค์ ที่ทรงกำหนดไว้แล้วตั้งแต่ก่อนทรงสร้างโลก มนุ ษ ย์ ม ั ก จะเดิ น เฉออกจากพระประสงค์ อ ั น เลิ ศ ของพระเจ้ า ที่ มี ต ่ อ เขาเสมอ ดั ง นั้ น ประวัติศาสตร์ในสายตาของมนุษย์จึงเป็นเหมือนวงกลมที่วกเวียนอยู่อย่างเดิมและไร้จุดหมาย มนุษย์ โดยทั่วไปมองประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของการย้ำซ้ำความผิดเดิมๆตลอดทุกยุคสมัย มนุษย์จึงมีคำ กล่าวที่ว่า “ระวังประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย” George Santayana นักประวัติศาสตร์นามอุโฆษได้กล่าวเป็นภาษิตไว้ว่า “คนที่ไม่พยายาม เรียนรู้จากประวัติศาสตร์มักจะทำผิดพลาดซ้ำรอยเดิม” คำกล่าวนี้เป็นความจริง ตลอดประวั ติ ศ าสตร์ ข องมนุ ษ ยชาติ พระเจ้ า ทรงเสาะแสวงหาผู ้ ที่ เ รี ย นรู ้ จ ากบทเรี ย น ประวัติศาสตร์ คือผู้ที่สามารถเห็นแผนการแห่งการช่วยให้รอดของพระองค์ผ่านประวัติศาสตร์ คนเช่น นี้จะมองเห็นการแทรกแซงของพระเจ้าตลอดประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเพื่อทรงนำประชากรที่ พระองค์ทรงรักให้กลับสู่แผนการอันเลิศของพระองค์ เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นกับคริสตจักรของพระองค์บนโลกในแต่ละยุคสมัยจึง เป็นเหมือนหน้าต่างเปิดคริสเตียนสู่การรู้จักพระเจ้า และรู้จักตนเองมากขึ้น เหตุการณ์หนึ่งใน ประวัติศาสตร์ย่อมมีผลกระทบต่ออีกเหตุการณ์หนึ่ง และทุกเหตุการณ์ล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ต่อ พระพักตร์ของพระเจ้าทั้งสิ้น ดังนั้น การเรียนประวัติศาสตร์คริสตจักร จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ คริสเตียน ประวัติศาสตร์คริสตจักรจะช่วยให้เราเข้าใจถึงแผนการช่วยให้รอดอันเลิศของพระเจ้า และ ความผิดบกพร่องของมนุษย์ มันช่วยให้เราเข้าใจหลักข้อเชื่อ และแนวปฏิบัติของบรรพชนในแต่ละยุค สมัยของคริสตจักร เพื่อจะสามารถเลือกเฟ้นเอาสิ่งที่ดีมาประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ ในขณะเดียวกัน ก็ จะสามารถมองเห็นและหลีกเลี่ยงสิ่งที่ผิด บกพร่อง และเสียหาย บทเรียนจากประวัติศาสตร์จะช่วย คริสเตียนให้สามารถปรับรุง แก้ไข ปัจจุบันของเราให้ดีขึ้น เพื่อนำมาซึ่งอนาคตที่ถวายเกียรติแด่ พระเจ้าได้ เนื้อหาเรียบเรียงตามแนวหนังสือ ประวัติศาสตร์คริสตจักรสากล ของ เยสเซ ไลแมน เฮอร์ ลบัท ดี.ดี. ขอขอบคุณ อาจารย์ทุกท่านที่สอนวิชาประวัติศาสตร์ในพระคริสตธรรมกรุงเทพ และ ข้าพเจ้าได้ปรับปรุงเนื้อหาเอกสารประกอบการสอนวิชานี้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้เรียนทุกคน
! ! ! ! !
ศจ.ดร.มาโนช แจ้งมุข ผู้อำนวยการ
!3
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
คำอธิบายและกิจกรรมการศึกษา วิชา สำรวจประวัติศาสตร์คริสตจักร ผู้สอน: ศจ. คาร์ล ดาห์ลแฝรด (Karl Dahlfred) อีเมล: karl@dahlfred.com ~ Facebook: www.facebook.com/karldahlfred ~ LINE: kdahlfred
!
1. คำอธิบายวิชา วิชานี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์คริสตจักรยุคแรกจนถึงยุค ปัจจุบัน นักศึกษาจะเห็นถึงการเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ และบทบาทของบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อ ความเป็นไปของคริสตจักร นอกจากนั้นยังศึกษาถึงพัฒนาการของความเชื่อ และคำสอนของคริสต จักรตั้งแต่ยุคอัครทูต จนถึงยุคปัจจุบัน
!
2. จุดประสงค์ของการศึกษา • เพื่อสร้างสำนึกในคุณค่าของการศึกษาประวัติศาสตร์คริสตจักร • เพื่อชี้แนะให้นักศึกษารู้จักตีความหมายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเข้าใจต่อสภาพ คริสตจักรในปัจจุบันยิ่งขึ้น • เพื่อศึกษาพัฒนาการของหลักคำสอนต่างๆ ตลอดจนข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นในคริสตจักร เพื่อนักศึกษา จะสามารถวิเคราะห์ถึงผลกระทบ อิทธิพลของหลักคำสอนและข้อขัดแย้งเหล่านี้ที่มีต่อคริสตจักรและ ต่อหลักศาสนศาสตร์ที่ยึดถือกันในปัจจุบัน • เพื่อให้นักศึกษารู้จักนำเอาบทเรียนที่ได้จากประวัติศาสตร์คริสตจักรมาประยุกต์ใช้ในชีวิต และ คริสตจักรในปัจจุบัน
!
3.วิธีการศึกษา (แบ่งเป็น 2 ภาคการเรียน) - การบรรยายในชั้นเรียน - การอภิปรายในชั้นเรียน - การอ่านหนังสือประกอบการเรียน - การทำรายงานตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย - การศึกษาจากวิทัศน์ และโสตทัศนอุปกรณ์
!
4. การให้คะแนน 1. 2. 3. 4. 5. 6.
สอบย่อย 2 ครั้ง แบ่งปันจากพระคัมภีร์โดยยกตัวอย่างจากประวัติศาสตร์คริสตจักร ทำรายงานตามหัวข้อที่กำหนด (เขียน หรือ เสนอหน้าห้อง) เสนอเรื่องราวจากประวัติศาสตร์อย่างสร้างสรร การอภิปรายในชั้นเรียน การอ่านหนังสือประกอบการเรียน
30 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน !4
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
5. การส่งงานทางอีเมล เมื่อนักศึกษาส่งงานทางอีเมล กรุณาส่งงานของท่านเป็นเอกสาร Microsoft Word หรือ Pages หรือ PDF ที่แนบไว้กับอีเมล โดยตั้งชื่อเอกสารตามรูปแบบนี่คือ “หมายเลขวิชา ชื่อ นามสุกล ชื่อรายงานที่ ส่ง” ถูกต้อง “CH773 สมชาย เจร็ญสุข รายงานประวัติศาสตร์คริสตจักรจีน”
! !
ไม่ถูกต้อง “รายงานสำหรับ อ.คราม”
ขอให้นักศึกษากรอก Subject ของอีเมลตามรูปแบบเดียวกันกับชื่อของเอกสารคือ “หมายเลขวิชา ชื่อ นามสุกล ชื่อรายงานที่ส่ง”
!
อีเมลถูกต้อง To: <Karl Dahlfred> karl@dahlfred.com From: <Somchai Charoensuk> your_email_address@domain.com Subject: CH773 สมชาย เจร็ญสุข รายงานประวัติศาสตร์คริสตจักรจีน
!
อีเมลไม่ถูกต้อง To: <Karl Dahlfred> karl@dahlfred.com From: <Happy123> your_email_address@domain.com Subject: ส่งงานครับ
!
!
6. การอ่านหนังสือ ให้นักศึกษาอ่านหนังสือที่ได้กำหนดไว้ในตารางการศึกษาวิชา แล้วรายงานว่าได้อ่านกี่หน้าจากจำนวน หน้าทั้งหมดที่กำหนดไว้ ในวันสุดท้ายของเทอมให้นักศึกษาส่งอีไมลถึ่งอาจารย์ผู้สอนที่มีเนื้อหา ตามต่อไปนี่ (กำหนดส่งวันที่ 11 ธ.ค. 2015) “ข้าพเจ้า ___ชื่อ_นามสกุล_____ รับรองว่า ข้าพเจ้าได้อ่านจำนวน ____ หน้าจาก 483 หน้าที่ถูกกำหนดไว้ในตารางการศึกษาวิชา”
1. หัวข้อรายงาน (สำหรับภาคแรก)
ให้นักศึกษาเลือกทำรายงานเชิงวิเคราะห์เพียงหัวข้อเดียว ในกรณีที่นักศึกษาต้องการทำหัวข้อ รายงานที่นอกเหนือจากนี้ ให้เสนอและรับอนุมัติจากอาจารย์ผู้สอนก่อน รายงานต้องมีความยาว 8-10 หน้า (ไม่ร่วมสารบัญและบรรณานุกรม) และมีเชิงอรรถตามวิธีการค้นคว้าและทำรายงาน 1. การก่อกำเนิด พัฒนาการความสำคัญของลัทธิอารามวาสี (ลัทธิอารามวาสี) และผลกระทบที่มีต่อ คริสตจักร 2. การก่อกำเนิด การบุกรุกขยายอำนาจ และผลกระทบที่อิสลามมีต่อคริสตจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเรืองอำนาจของอาณาจักรออตโตมันเติร์ก !5
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
3. จงวิเคราะห์ถึงความสำคัญของศาสนาและบทบาทของสันตปาปาต่อการเมืองของยุโรปตะวันตก 4. การก่อกำเนิด ความเป็นไป และผลกระทบของสงครามครูเสดที่มีต่อคริสตจักร และต่อการเมือง ของอาณาจักรยุโรปตะวันตก 5. พัฒนาการการขยายคริสตจักรในยุคต่างๆทั้ง 7 ยุค เปรียบเทียบวิธีการ ความแตกต่าง ผลลัพธ์ และผลกระทบต่อคริสตจักรโดยรวม 6. การข่มเหงคริสเตียนในยุคแรกเปรียบเทียบกับการข่มเหงในยุคปัจจุบัน รวมเหตุผลที่คริสเตียน ถูกข่มเหง ทาทีและการตอบสนองของคริสเตียนต่อการข่มเหง ผลดีและผลเสียที่เกิดจากการ ข่มเหง 7. วิเคราะห์เกี่ยวกับคณะ เพรสไบทีเรียน / แบบติสต์ / เพนเทคอส / อื่นๆ (เลือกหนึ่ง) ร่วมถึงความ เป็นมา การพัฒนา หลักข้อเชื่อ บุคคลสำคัญ 8. วิเคราะห์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์คริสตจักรในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ร่วมถึงผลลัพธ์ และผลกระทบต่อคริสตจักรโดยรวม 9. วิเคราะห์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์คริสตจักรออร์โธดอกส์ตั้งแต่การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโน เบิลใน คศ.1453 จนถึ่งปัจจุบัน ร่วมถึ่งคริสตจักรออร์โธดอกส์ในประเทศไทย 10. ประวัตและความเป็นมาของกระแสคำสอนเรื่องพระกิตติคุณแห่งความมั่นคั่ง (Prosperity Gospel) ร่วมถึ่งการริเร่มที่ต่างประเทศและการเคลื่อนไหวในประเทศไทยในปัจจุบัน กำหนดส่ง..................................................... (หมายเหตุ ภาคการเรียนที่ 2 จะมีการมอบหมายอีกครั้ง)
!
2. รายชื่อหนังสืออ้างอิงและหนังสืออ่านประกอบการเรียน 1. 2. 3. 4. 5. 6.
พอว์สัน, เดวิด. ขบวนการนิรันดร์. กรุงเทพ: กนกบรรณาสาร, 1988. กิบส์, เอ็ม อี. จากเยรูซาเล็มสู่นิวเดลฮี. กรุงเทพ: สุริยบรรณ, 1989. เฮอรัลบัท, เยสเซ ไลแมน. ประวัติศาสตร์คริสตจักรสากล. กรุงเทพ ฮอร์เดิร์น, วิลเลียม อี. คริสตศาสนศาสตร์. กรุงเทพ: สุริยบรรณ, 1977. แม้น พงษ์อุดม, ห้าศตวรรษของศาสนาคริสต์. กรุงเทพ: สุริยบรรณ, Cairns, Earle E.. Christianity Through the Centuries: A History of the Christian Church. Grand Rapids, Michigan: Zondervan, 1981. 7. * Latourette, Kenneth Scott. A History of Christianity, แปลเป็นภาษาไทยแล้ว ชื่อประว้ติ ศาสตร์ศาสนาคริสต์ เล่ม 1-4 โดย พระคริสธรรมกรุงเทพ 8. * Gonzalez, Justo L. The Story of Christianity. Rev. ed. Vol. 1, The Early Church to the Dawn of the Reformation. New York: HarperOne, 2010. 9. * Gonzalez, Justo L. The Story of Christianity. Rev. ed. Vol. 2, The Reformation to the Present Day. New York: HarperOne, 2010. 10. Kuiper, B. K.. The Church in History, Grand Rapids, Michigan: W. M. Eerdmans, 1988. 11. Hurlbert, Jesus Lyman. The History of the Christian Church. Grand Rapids, Michigan: Zondervan, 1977 !6
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ตารางการศึกษาวิชา
! วันที่
เนื้อหา
หมายเหตุ
18 ส.ค. แนะนำวิชาและหน่วยที่ 1 คริสตจักรยุคแรก 25 ส.ค. หน่วยที่ 2 กำเนิดพระคำภีร์ใหม และ ผู้นำ กลุ่มต่างๆ
ลาทัวเร็ท (เล่ม 1) บทที่ 1-3 (หน้า 25-55) เบื้องหลัง
1 ก.ย. หน่วยที่ 3 คริสตจักรของรัฐ: คอนสแตนติน และ ข้อถกเถียงเกี่ยวกับหลักข้อเชื่อ
ลาทัวเร็ท (เล่ม 1) บทที่ 5 (หน้า 94-150) การมีชัยอย่างท่วมท้นของ ศาสนาคริสต์ในโลกกรีก-โรม ภาค ผนวก 1 หลักข้อเชื่อของอครทูต ภาคผนวก 2 ดิดาเคห์ หรือหลักคำ สอนของสาวกสิบสอง ภาคผนวก 3 หลักข้อเชื่อไนซีน
8 ก.ย. หน่วยที่ 3 ลัทธิอารามวาส ผู้นำที่สำคัญของ ยุค ค.ศ. 310-590 การบุกรุกเข้ามาของชน เผ่าต่างๆ
ลาทัวเร็ท (เล่ม 1) บทที่ 8 (หน้า 289-306) การก่อกำเนิดของลัทธิ อารามวาสี
15 ก.ย. หน่วยที่ 4: การเจริญก้าวหน้าของอำนาจ สันตะปาปา และ การเริ่มต้นและก่อตั้งของ ศาสนาอิสลาม 22 ก.ย. หน่วยที่ 5 อาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ หน่วยที่ 6 การแตกแยกของคริสตจักรตะวัน ตก และคริสตจักรตะวันออก และอำนาจของ สันตะปาปา 29 ก.ย. หน่วยที่ 6: สงครามครูเซด (ค.ศ.1095-1290) ลาทัวเร็ท (เล่ม 2) บทที่ 17 (หน้า หน่วยที่ 7: การเปลียนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น 62-71) สงครามครูเสด ในยุคกลาง 6 ต.ค. หน่วยที่ 8: การเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนา 13 ต.ค. สอบกลางภาค
!7
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
วันที่
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร เนื้อหา
หมายเหตุ
20 ต.ค. หน่วยที่ 9 ยุคปฏิรูปศาสนา (1)
ลาทัวเร็ท (เล่ม 3) บทที่ 32 (หน้า 49-88) มาร์ติน ลูเธอร์ และ ภาค ผนวก 4 คำประท้วง 95 ข้อของ มาร์ ติน ลูเธอร์
27 ต.ค. หน่วยที่ 10 ยุคปฏิรูปศาสนา (2)
ลาทัวเร็ท (เล่ม 3) บทที่ 33 (หน้า 107-130) คริสตจักรรีฟอร์ม
3 พ.ย. หน่วยที่ 11 ยุคปฏิรูปศาสนา (3)
บทที่ 34 (หน้า 150-162) อนาแบ๊พติ สต์
10 พ.ย. หน่วยที่ 12 ยุคปฏิรูปศาสนา (4)
ลาทัวเร็ท (เล่ม 3) บทที่ 36 (หน้า 175-213) การปฏิรูปศาสนาใน อังกฤษ และ บทที่ 38 (หน้า 259-278) การปฏิรูปของคาธอลิค
17 พ.ย. หน่วยที่ 13 ยุคเหตุผลและการฟื้นฟู
ลาทัวเร็ท (เล่ม 3) บทที่ 41 (หน้า 387-405) ศาสนาคริสตใน 13 อาณานิคม และ ลาทัวเร็ท (เล่ม 3) บทที่ 44 (หน้า 469-518) การฟื้นฟู ในอังกฤษและอเมริกา
24 พ.ย. หน่วยที่ 14 ยุคก้าวหน้าและยุคพันธกิจ
ภาคผนวก 5 คำเทศนา: คนบาปใน พระหัตถ์ของพระเจ้าผู้ทรงพิโรธ และ ลาทัวเร็ท (เล่ม 4) บทที่ 50 (หน้า 194-243)
1 ธ.ค. หน่วยที่ 15 ยุคมูลฐานนิยมและสหพันธภาพ ลาทัวเร็ท (เล่ม 4) บทที่ 57 (หน้า กระแสอีแวนเจลิคัล และการเปลียนแปลงในค 316-366) ลาทัวเร็ท (เล่ม 4) บทที่ 62 ริสตจักรโลกในศตวรรษที่ 20 และ 21 (หน้า 433-465) 8 ธ.ค. นักศึกษาเสนอรายงานตามหัวข้อที่กำหนด 11 ธ.ค.
ส่งรายงานหรือเสนอรายงานหน้า ห้อง
ส่งใบรับรองการอ่านหนังสือภายในวันที่ 11 ธ.ค. 2015
! !8
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
! ประวัติศาสตร์คริสตจักรแบ่งตามยุค ! ในการเรียนเราแบ่งการศึกษาประวัติศาสตร์คริสตจักรออก เป็น 2 ภาคด้วยกัน ได้แก่ ภาคที่ 1 (CH773) ประวัติศาสตร์คริสตจักรสากลตั้งแต่ยุคต้นถึงยุคปัจจุบัน ภาคที่ 2 (CH774) ประวัติศาสตร์คริสตจักรคริสตจักรในประเทศไทย ตั้งแต่ คศ.1828-ปัจจุบัน ประวัติศาสตร์คริสตจักรในทวีปเอเซียตั้งแต่ยุคต้นถึงปัจจุบัน
!
----------------------------------------------------เรายังสามารถแบ่งประวัติศาสตร์คริสตจักร ออกได้เป็น 7 ยุคย่อย สำคัญดังนี้ (โดยกลุ่มนักวิชาการที่มองประวัติศาสตร์คริสตจักรกับคริสตจักรทั้งเจ็ด ในวิวรณ์) ยุคที่ 1 คริสตจักรยุคอัครทูต (ยุคก่อตั้ง) (ค.ศ. 30-100) ยุคที่ 2 คริสตจักรยุคข่มเหง (ค.ศ. 100-313) ยุคที่ 3 คริสตจักรยุคคริสตจักรของรัฐ(ค.ศ. 313-590) ยุคที่ 4 คริสตจักรยุคกลาง (ค.ศ. 590-1517) ยุคที่ 5 คริสตจักรยุคปฏิรูปศาสนา (ค.ศ. 1517-1648) ยุคที่ 6 คริสตจักรยุคฟื้นฟูและพันธกิจ (ค.ศ. 1648-1914) ยุคที่ 7 คริสตจักรยุคปัจจุบัน (ค.ศ. 1914-ปัจจุบัน)
! ! !
เทมไลน์ประวัติศาสตร์คริสตจักรประกอบภาพ ชมได้ที่ www.ประวัติศาสตร์คริสตจักร.com (ภาษาไทย) www.thaichurchhistory.com (ภาษาอังกฤษ)
!9
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
โครงวิชา
!
ยุคที่ 1 ! คริสตจักรยุคอัครทูต (ยุคก่อตั้ง) (ค.ศ. 30-100) หน่วยที่ 1 คริสตจักรยุคแรกหรือยุคอัครทูต 1.1 โลกของคริสตจักรยุคแรก 1.2 คริสตจักรยุคอัครทูต คศ.30-100
!
ยุคที่ 2!
คริสตจักรยุคข่มเหง (ค.ศ. 100-313)
1.3 คริสตจักรยุคข่มเหง คศ.100-313
!
หน่วยที่ 2 กำเนิดพระคำภีร์ใหม่และผู้นำกลุ่มต่างๆ 2.1 การจัดรูปเล่มของพระคัมภีร์ใหม่ที่ได้มาตราฐาน 2.2.1 การกำเนิดระบบสังฆาธิปไตย 2.2.2 ผู้ให้เหตุผลหลักข้อเชื่อ 2.2.3 พวกบิดาคาทอลิกในสมัยแรก 2.2.4 นิกายต่าง ๆ หรือลัทธินอกรีต 2.2.5 การขยายตัวของหลักธรรมข้อเชื่อ 2.2.6 วรรณกรรมยุคแรกที่นอกเหนือจากพระคัมภีร์ใหม
!
ยุคที่ 3! คริสตจักรยุคคริสตจักรของรัฐ (ค.ศ. 313-590)! หน่วยที่ 3 คริสตจักรของรัฐ (ยุคประนีประนอม) ค.ศ. 313-590 3.1 คอนสแตนติน – จักรพรรดิคริสเตียนองค์แรก 3.2 พัฒนาการในคริสตจักร 3.3 ข้อถกเถียงเกี่ยวกับหลักข้อเชื่อและการประชุมสภาคริสตจักร 3.4 ลักษณะและความเป็นมาของลัทธิอารามวาส 3.5 ผู้นำที่สำคัญของยุคนี้ 3.6 การบุกรุกเข้ามาของชนเผ่าต่างๆ
!
ยุคที่ 4 ! คริสตจักรยุคกลาง (ค.ศ. 590-1517) หน่วยที่ 4: คริสตจักรยุคมืด คศ. 590-1453 4.1 การเจริญก้าวหน้าของอำนาจสันตะปาปา (ค.ศ.570-1073) 4.2 การเริ่มต้นและก่อตั้งของศาสนาอิสลาม
!
หน่วยที่ 5 อาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ 5.1 การก่อตั้งอาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ของชาร์ลมาญ/ชาร์ลแมงค์ !10
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
5.2 การเปลี่ยนแปลงภายในคริสตจักรยุคมืดอันนำมาซึ่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก 5.3 พันธกิจที่เกาะบริทิช
!
หน่วยที่ 6 คริสตจักรยุคกลาง ค.ศ. 1073-1453 6.1 การแตกแยกของคริสตจักรตะวันตก และคริสตจักรตะวันออก 6.2 อำนาจของสันตะปาปาก้าวหน้าขั้นสูงสุด (ค.ศ.1073-1216) 6.3 อำนาจของสันตะปาปาระยะเสื่อมล (ค.ศ 1304-1414) 6.4 สงครามครูเซด (The Crusades) ค.ศ.1095-1290
!
หน่วยที่ 7: การเปลียนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคกลาง 7.1 การพัฒนาและเจริญก้าวหน้าของลัทธิอารามวาสี 7.2 การศึกษาเกี่ยวกับศิลปและวรรณกรรมของยุคกลาง 7.3 พวกนักปราชญ์และผู้นำของยุคกลาง
!
หน่วยที่ 8: การเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนา 8.1 ผู้เตรียมการก่อนการปฏิรูปคริสตจักร 8.2 การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเบิล (คศ.1453)
! !
ยุคที่ 5 ยุคปฏิรูปศาสนา ค.ศ. 1517 – 1648!
หน่วยที่ 9 ยุคปฏิรูปศาสนา (1) 9.1. เบื้องหลังและความเป็นไปของการปฏิรูปศาสนา (ค.ศ. 1517 – 1545) 9.2. กลุ่มปฏิรูปศาสนาที่สำคัญของโปรเตสแตนท์ 4 กลุ่ม
!
หน่วยที่ 10 ยุคปฏิรูปศาสนา (2) 10.1. การปฎิรูปในเยอรมันนี – การปฏิรูปของมาร์ติน ลูเธอร์ 10.2. การปฏิรูปในสวิสเซอร์แลนด์
!
หน่วยที่ 11 ยุคปฏิรูปศาสนา (3) 11.1 การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ 11.2 การปฏิรูปศาสนาในส่วนอื่นๆ ของยุโรป
!
หน่วยที่ 12 ยุคปฏิรูปศาสนา (4) 12.1 การปฏิรูปของคริสตจักรคาธอลิค 12.2 สงคราม 30 ปี (The Thirty Year War) ค.ศ.1618-1648 12.3 ผลของการปฏิรูปศาสนา !11
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
! !
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ยุคที่ 6 ยุคฟื้นฟูและพันธกิจ (ค.ศ. 1648-1914)!
หน่วยที่ 13 ยุคเหตุผลและการฟื้นฟู 13.1 คำนำ 13.2 ยุคแห่งเหตุผล (The Age of Reason) 13.3 การฟื้นฟูฝ่ายจิตวิญญาณ (Revivalism) 13.4 ความเชื่อคริสเตียนในสหรัฐอเมริกา (1648-1789) 13.5 การฟื้นฟูครั้งใหญ่ในอเมริกา ค.ศ.1730-1750
!
หน่วยที่ 14 ยุคก้าวหน้าและยุคพันธกิจ 14.1. คำนำ 14.2. การฟื้นฟูฝ่ายจิตวิญญาณครั้งที่สองในอเมริกา (ค.ศ.1795-1835) Second Great Awakening 14.3. การเคลื่อนไหวในงานด้านพันธกิจ (Missions) 14.4. ศัตรูของความเชื่อ 14.5. ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism)
! !
ยุคที่ 7 คริสตจักรยุคปัจจุบัน (ค.ศ. 1914-ปัจจุบัน)!
หน่วยที่ 15 ยุคมูลฐานนิยมและสหพันธภาพ 15.1 การเคลื่อนไหวของกลุ่มมูลฐานนิยม (Fundamentalist) 15.2 คริสตจักรและระบอบคอมมิวนิสต์ 15.3 การเคลื่อนไหวของสหพันธภาพของคริสตจักร (Ecumenicity)
! ! ! !
!12
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หน่วยที่ 1 คริสตจักรยุคแรกหรือยุคอัครทูต Apostolic Church คศ.30-313 !
1.1 โลกของคริสตจักรยุคแรก
!
คริสตจักรถือกำเนิดขึ้นในโลกที่มีวัฒนธรรมและความเป็นมาในประวัติศาสตร์เป็นเวลานานแล้ว 1. อาณาจักรใหญ่ ที่มีความเป็นมาหลายศตวรรษแล้วได้แก่ อาณาจักรอียิปต์, เมโสโปเต เมีย, ซูเมอร์, บาบิโลนเก่า, อัสซีเรีย, บาบิโลนใหม่, กรีกและโรม 2. อาณาจักรโรม เป็นอาณาจักรที่ครอบครองและเรืองอำนาจมากในยุคที่คริสตจักรก่อ กำเนิดขึ้นอาณาจักรโรมครอบครองโลกตะวันตกในช่วง 500 ปีแรกของประวัติศาสตร์ คริสตจักร อย่างไรก็ตามไม่ใช่อาณาจักรโรมเท่านั้นที่มีอิทธิพลต่อความเป็นไปของคริ สตจักรยุคแรก แต่ยิวและกรีกก็มีอิทธิพลต่อคำสอนของคริสเตียนด้วย
!
I. อาณาจักรโรม 1. การเติบโตของอาณาจักรโรม 1. เมื่อพระเยซูคริสต์ประสูติ โรมอายุได้ประมาณ 750 ปีแล้ว 2. ปี 265 กคศ. โรมครอบครองอิตาลี (หลังจากที่ชาวโรมตั้งหมู่บ้านเล็ก ๆ บนฝั่ง น้ำ Tiber River ทางตะวันตกของอิตาลีมาเป็นเวลา 500 ปี) 3. ตั้งแต่นั้น โรมขยายไปทางตะวันตกและตะวันออก จนถึงสมัยที่พระเยซูประสูติ โรมครอบครองโลกตะวันตกทั้งหมด 4. ในปี 63 กคศ. ปาเลสไตน์ตกอยู่ในการยึดครองของโรมและ ใน คศ.6 ปาเลสไตน์กลายเป็นมณฑล (Province)หนึ่งของอาณาจักรโรม
!
2.สันติสุขของโรม หรือ PAX ROMANA (Roman Peace) 2.1 การที่อาณาจักรโรมควบคุมตะวันตกไว้ได้ ทำให้เกิดช่วงเวลาแห่งสันติสุขของ โรมขึ้น ที่เรียกว่า PAX ROMANA 2.2 ผลประโยชน์จาก Pax Romana คือ….. - นำมาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในหมู่ชนชาติต่าง ๆในอาณาจักร เนื่องจากโรมได้สร้างระบบถนนหนทางเชื่อมต่อทั่วอาณาจักร ทำให้การเดินทาง สะดวกและปลอดภัย - นำมาซึ่งการพัฒนาด้านวัฒนธรรม เป็นเหตุให้เกิดวรรณกรรม และศิลป กรรมยิ่งใหญ่ขึ้น - ทำให้คนชนชั้นสูงหรือคนมั่งมีในโรม มีเวลาว่างนึกถึงเรื่องสนุกสนานฟุ้งเฟ้อ - ใช้ภาษากรีกเพียงภาษาเดียว เป็นภาษากลางภายในอาณาจักรโรม - ใช้กองทัพโรมเป็นตัวเผยแพร่วัฒนธรรมและวิถีการดำเนินชีวิตแบบโรมไป !13
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ทั่วอาณาจักร 2.3 ผลจาก PAX ROMANA เหล่านี้ช่วยในการประกาศพระกิตติคุณของคริสเตียน ดังนี้ - ระบบถนนหนทางของโรม ทำให้การเดินทางสะดวกสบาย - ภาษากรีกที่ใช้ทั่วราชอาณาจักร ทำให้การสื่อพระกิตติคุณเป็นไปง่ายดาย - ความรุ่งเรืองทำให้ชนชั้นสูงมีเวลาว่างมากพอที่จะอ่านเกี่ยวกับความเชื่อ ของคริสเตียน และคนใช้ ตลอดจนข้าทาสก็พลอยได้ยินไปด้วย - ทหารโรมันที่มาเป็นคริสเตียน ช่วยประกาศพระกิตติคุณทั่วอาณาจักรโรม
!
II. อิทธิพลของชนชาติยิวต่อคริสตจักรยุคแรก 1. ศาสนาใหญ่ของโลก 3 ศาสนาถือกำเนิดจากพันธสัญญาเดิม 1.1. ศาสนายิว (Judaism) 1.2. คริสเตียน (Christianity) 1.3. อิสลาม (Islam) 2. ศาสนายิวมีอิทธิพลต่อความเชื่อของคริสเตียนในการช่วยกำหนดรูปแบบของความเชื่อ
คริสเตียนอย่างน้อย 5 ด้านด้วยกัน 2.1. ศาสนายิว เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (Monotheism) ซึ่งต่างจากศาสนาอื่น ๆ ในสมัยนั้น ที่นับถือพระหลายองค์ 2.2. เชื่อเกี่ยวกับพระมาซีฮา (Messiah) ผู้ที่จะนำความชอบธรรมและความรอดมาสู่โลก 2.3. ชาวยิวได้รวบรวมพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม ตามการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ที่คริสเตียนใช้เช่นกัน 2.4. ธรรมศาลายิว นอกจากจะเป็นสถานที่ที่คริสเตียนรุ่นแรก ๆ มาพบกันหรือ ประกาศ พระกิตติคุณแล้วยังเป็นแบบอย่างแก่คริสเตียนยุคแรกในด้านการปกครอง และการ นมัสการ
!
III. อิทธิพลของกรีก 1. แม้ว่าโรมจะเป็นผู้ปกครองดินแดนทางการเมือง แต่กรีกเป็นผู้วางพื้นฐานทางวัฒนธรรมให้แก่
!
อาณาจักรโรม 2. ปรัชญากรีก เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อความเชื่อของคริสตจักรในยุคแรกมาก (แม้กระทั่งใน ปัจจุบัน) แต่ก็ได้เปิดทางด้านความคิดแก่โลกในสมัยนั้นให้สามารถยอมรับความเชื่อของ คริสเตียน 3. สิ่งที่ท้าทายต่อความเชื่อของคริสเตียนในปรัชญากรีก 3.1. วัฒนธรรมกรีก มีแนวโน้มที่จะเน้นในด้านวัตถุสิ่งของ และความฟุ้งเฟ้อ และโจมตีเรื่อง เกี่ยวกับฝ่ายวิญญาณ 3.2. กรีกเน้นเรื่องปรัชญามาก ทำให้คริสเตียนต้องหาข้อโต้แย้งทางปรัชญาเพื่อปกป้องความ เชื่อของคริสเตียน !14
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
4. ปรัชญากรีกช่วยส่งเสริมความเชื่อของคริสเตียน ดังนี้: 4.1. ปรัญชากรีกเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้เหตุผล จึงทำให้การมีพระหลายองค์เป็นสิ่งที่ฟังดู ไม่มีเหตุผล 4.2. คำสอนของเพลโต ที่ว่า โลกที่มองเห็นเป็นเงาของโลกที่มองไม่เห็น ช่วยให้คนในสมัย นนั้นยอมรับว่ามีสิ่งที่อยู่เบื้องหลังทุกสิ่งในโลกนี้ 4.3. ปรัชญากรีกมีจุดอ่อนตรงที่ว่า แม้จะกล่าวถึงการแสวงหาพระเจ้าแต่ไม่สามารถสำแดง ความเป็นบุคคลของพระเจ้าได้ 4.4. ปรัชญากรีกซึ่งเป็นที่นิยมชมชอบในสมัยนั้น เสื่อมถอยลงทำให้ประชาชนในอาณาจักร โรม พร้อมที่จะรับพระกิตติคุณ ปรัชญากรีกที่สำคัญ 2 แขนง ได้แก่ - เอพิคิวเรียนนิซึ่ม (Epicureanism) เป็นแขนงของปรัชญากรีกที่เน้นว่า ความสุขสำราญฝ่ายเนื้อหนังเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต - สโตอิคซิซึ่ม (Stoicism) เน้นการดำเนินชีวิตที่เคร่งครัดในวินัยและปฏิเสธเนื้อ หนัง และความต้องการของตนเอง แต่แสวงหาเหตุผล
!
IV. ศาสนาสำคัญในอาณาจักรโรม 1. ทรรศนะด้านปรัชญากรีก เป็นสิ่งที่นิยมชมชอบกันอยู่แต่เฉพาะในหมู่ชนชั้นสูงที่มีการ
! ! !
ศึกษา 2. แต่คนส่วนใหญ่ในอาณาจักรโรม ไม่มีการศึกษา ดังนั้น จึงนิยมชมชอบในศาสนาหรือ ลัทธิความเชื่อที่ประสบพบเห็นกันโดยทั่วไปในสมัยนั้น 3. ในอาณาจักรโรมสมัยนั้นมีศาสนาที่นิยมนับถืออยู่ 3 อย่าง 3.1. นับถือธรรมชาติ (Nature religion) 3.1.1. เชื่อว่าธรรมชาติมีอำนาจพิเศษ เช่น นับถือภูเขา, แม่น้ำ, ต้นไม้, พระอาทิตย์, พระจันทร์, ดาว, สัตว์ ฯลฯ 3.1.2. มีรูปแบบ 2 อย่าง คือ - Pantheism คือ เชื่อว่าทุกสิ่งเป็นพระเจ้า - Panentheism คือ เชื่อว่าพระเจ้าทรงอยู่ในทุกสิ่ง 3.1.3. จะเห็นว่าสิ่งนี้เป็นความเชื่อที่รับอิทธิพลจากศาสนาตะวันออก ซึ่งเชื่อเรื่อง ทูตผีหรือพระเจ้าในธรรมชาติ (Animistic Religions)
3.2. ศาสนาของรัฐ (State Region) 3.2.1. ชาวโรมเชื่อว่า จักรพรรดิหรือซีซาร์ของพวกเขาเป็นพระเจ้าผู้ที่จะปกครอง
และนำความรุ่งเรืองมาสู่อาณาจักร 3.2.2. รัฐบาลโรมไม่ได้บังคับให้พลเมือง เลิกนับถือพระหรือศาสนาของตน แต่ได้ ให้พลเมืองรวมเอาการนับถือซีซาร์เข้าไว้ในศาสนาของตนด้วย !15
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
3.2.3. เนื่องจากคริสเตียนปฏิเสธการนมัสการซีซาร์ เพราะความเชื่อที่ว่ามีพระเจ้า
เพียงอค์เดียวพวกเขาจึงถูกมองว่าเป็นพวกไม่มีพระเจ้า (Atheist) 3.2.4. อย่างไรก็ตาม ศาสนาของรัฐช่วยเตรียมประชาชนให้พร้อมในการรับความ เชื่อของคริสเตียน โดยไม่รู้ตัวเนื่องจากศาสนาของรัฐไม่สามารถตอบสนอง ความต้องการฝ่ายจิตใจของประชาชนได้ เพราะเป็นศาสนาที่….ไม่ได้สร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และไม่ได้ให้ความหวังในเรื่องความ รอด และไม่ได้ให้ความอบอุ่นด้านจิตใจ 3.3. ศาสนาลึกลับ 3.3.1. ลักษณะของศาสนาลึกลับประเภทนี้ - เน้นที่พระที่จะเป็นผู้ช่วยมนุษย์ให้รอด - เน้นการดำเนินชีวิตตามศีลธรรมจรรยา 3.3.2. ลักษณะเหล่านี้คล้ายคลึงกับของคริสเตียน ทำให้กลายเป็นคู่แข่งและศัตรูตัว สำคัญของคริสเตียนในสมัยนั้น 3.3.3. ศาสนาลึกลับที่เป็นที่นิยมของยุคนั้นมีอยู่ 3 ลัทธิ ได้แก่ - ลัทธิบูชาแม่พระธรณี (Sybele) มีการกล่าวถึงความตาย และการฟื้น คืนจากตายของเทพ Attis ซึ่งเป็นพระสวามีของแม่พระธรณี - ลัทธิบูชาเทพ Mithra ลัทธินี้มาจากเปอร์เซีย Mithra เป็นเหมือนพระ ผู้ช่วยให้รอดที่เกิดมาบนโลกอย่างอัศจรรย์ เพื่อมาทำลายอำนาจของของผู้ ชั่วร้ายที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับซาตานตามความเชื่อของคริสเตียน ลัทธินี้ เป็นที่นิยมนับถือกันมากในหมู่ทหารของโรมัน มีพิธีสำคัญในเดือน ธันวาคม 3.3.4. ลักษณะที่คล้ายคลึงของลัทธิในศาสนาลึกลับเหล่านี้ ทำให้นักวิชาการหลาย ท่านสรุปง่ายๆว่า เปาโลได้นำคำสอนของศาสนาลึกลึบมาเป็นแม่แบบในการ สร้างศาสนศาสตร์ของคริสเตียนขึ้น กล่าวได้อีกอย่างว่า เปาโลเป็นผู้สร้างคริ สตศาสนาขึ้นโดยอาศัยโครงร่างตามคำสอนของศาสนาลึกลับในสมัยนั้น แต่ คำคัดค้านความคิดนี้มีอยู่ว่า คริสเตียนในยุคต้น และแม้แต่ในสมัยของเปาโล เองได้ลุกขึ้นคัดค้านคำสอนของศาสนาลึกลับ (1 โครินธิ์ 8:5) นอกจากนั้น รัฐบาลโรมไม่ได้ข่มเหงผู้เชื่อลัทธิลึกลับเหล่านี้ แต่ได้ข่มเหงคริสเตียน ย่อม แสดงว่า ลัทธิเหล่านี้แตกต่างจากคริสเตียนโดยสิ้นเชิงทั้งในสายตาของ คริสเตียนเอง และของรัฐบาลโรม
!
1.2 คริสตจักรยุคอัครทูต คศ.30-100 เราสามารถแบ่งคริสตจักรยุคอัครทูตออกเป็น 4 ตอน ดังนี้
!
1. คริสตจักรกรุงเยรูซาเล็ม (ตั้งแต่พระเยซูเสด็จสู่สวรรค์ ค.ศ.30 ถึง สเทเฟนเทศนา ค.ศ. 35) รายละเอียดปรากฏในพระธรรมกิจการ บทที่ 1-8
!16
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
การเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซูคริสต์เป็นเหตุการณ์สรุปพันธกิจของพระองค์ในโลก นี้ พระเยซูเสด็จขึ้นไปรับพระเกียรติและประทับบนพระที่นั่งเบื้องขวาของพระบิดา (กจ. 2:33-36; 5:30-31;ฮร.1:3;8:1;12:2) ใ นขณะเดียวกันการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์นี้หมายความว่าพระ เยซูยังทรงทำพระราชกิจในโลกโดยกระทำผ่านทางสาวกของพระองค์ (กจ. 1:1-2, 8) การเริ่มต้นของคริสตจักร เริ่มต้นเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาในวันเทศกาลเพ็น เทคศเต เหตุการณ์นี้คือการเริ่มต้นของคริสตจักรในกรุงเยรูซาเล็ม คริสตจักรก่อตั้งขึ้นด้วยการ บัพติศมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์ (1 คร. 12:13) การบัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ครั้ง แรกเล็งให้เห็นถึงการก่อตั้งคริสตจักร พระธรรมกิจการ 2:1-4 ไ ม่ได้บันทึกว่า การบัพติศมา ด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์เกิดขึ้นในวันเพ็นเทคศเต แต่ในบทที่ 1:5 และ 11:15-16 เล็งให้เห็น ว่าเกิดขึ้นในวันนั้นจริง เราจึงสรุปว่าคริสตจักรเริ่มในวันนั้น การขยายตัวของคริสตจักรที่กรุงเยรูซาเล็ม (3:1-6:7) พระเจ้าทรงรักษาคนง่อย ที่ เฉลียงของซาโลมอนอย่างเหนือธรรมชาติผ่านทางเปโตรและยอห์น คนที่เห็นเหตุการณ์ระ หว่างที่เปโตรและยอห์น คือพวกปุโรหิต นายทหารรักษาพระวิหาร พวกสะดุสี ต่างก็เข้ามาขัด ขวางงานของเปโตรและยอห์น เปโตรและยอห์นถูกจำคุก สิ่งที่เราเห็นจากตอนนี้คือ ความ เจริญก้าวหน้าของพระวจนะของพระเจ้า แม้ว่าจะมีการต่อต้าน ข่าวประเสริฐก็มุ่งหน้าต่อไป อย่างไม่มีอะไรหยุดยั้งได้ อัครทูตสองคนถูกจับ แต่ไม่มีใครสามารถจำกัดพระวจนะของ พระเจ้าได้
2. คริสตจักรขยายตัว ค.ศ.35-50 (ตั้งแต่สเทเฟนเทศนา ถึง การประชุมที่กรุงเยรูซาเล็ม) รายละเอียดปรากฏในพระธรรมกิจการ บทที่ 8-15 การเป็นพยานทั่วแคว้นยูเดียและสะมาเรีย
! !
1. การพลีชีพเพื่อความเชื่อของสเทเฟน (กจ. 6:8-8:1) สเทเฟนเป็นคนยิวนิยมกรีก ชีวิตและคำพูดของเขาเล็งให้เห็นว่าพระกิตติคุณขยายไป นอกระบบของลัทธิยูดา คำกล่าวของสเทเฟนสะท้อนให้เราเห็น (1) แผนการของพระเจ้า ก้าวหน้าไปและมีการเปลี่ยนแปลง พระราชกิจของพระเจ้าต่ออิสราเอลตั้งแต่อับราฮัมมาถึง ซาโลมอนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (2) พระพรของพระเจ้าไม่ได้จำกัดอยู่แค่ดิน แดนของอิสราเอลและพระวิหารเท่านั้น ความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้ามีไปถึง เขตแดนนอกพระวิหารและดินแดนของอิสราเอล (3) ในอดีตอิสราเอลขัดขวางแผนการและคน ของพระองค์มาโดยตลอด นี่เป็นสิ่งที่สเทเฟนต้องการจะพูด สเทเฟนถูกคนเอาหินขว้างตาย และผู้ที่มีส่วนร่วมในครั้งนี้คือชายหนุ่มผู้มีชื่อว่า เซาโล นี่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าการข่มเหง คริสเตียนได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ผู้เชื่อก็ได้กระจัดกระจายออกไปทั่วแว่นแคว้นยูเดียและสะมาเรีย นี่ เป็นวิธีการของพระเจ้าที่จะทำให้พระบัญชาของพระองค์ใน กจ. 1:8 สำเร็จ เนื่องจากการข่มเหง ผู้เชื่อจึงกระจัดกระจายไป และพระคำของพระเจ้าก็ขยายตัว นี่ เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าทรงครอบครองสูงสุด แม้ว่าจะมีการต่อต้าน แต่พระ วจนะของพระเจ้าก็ขยายตัว
!
!17
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ข. พันธกิจของฟิลิป (กจ.8:1-40) ฟิลิปได้นำขันทีชาวเอธิโอเปียมารู้จักกับพระเจ้า ซึ่งทำให้พันธกิจของพระเจ้าขยายตัว ออกไปสู่คนต่างชาติ(อาฟริกา) ที่นมัสการพระเยโฮวาห์แต่ไม่ได้เข้าจารีตลัทธิยิว
!
ค. เรื่องของเปาโล (กจ. 9:1-31) บางคนเชื่อว่าการกลับใจของเซาโล เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในคริสตจักรตั้งแต่ เหตุการณ์ในวันเพนเทศเต การบันทึกเรื่องราวของเปาโลในตอนนี้ เป็นการเตรียมผู้อ่าน สำหรับการประกาศพระกิตติคุณสู่คนต่างชาติ เรื่องราวของอัครทูตผู้ประกาศแก่คนต่างชาติ คนนี้ จึงถูกบันทึกก่อนหน้าการประกาศของเปโตรต่อโครเนลิอัสและครอบครัวของเขา เซาโล ผู้ข่มเหงกำลังจะกลายเป็นอัครทูตของพระเยซูคริสต์ การเป็นพยานในที่สุดปลายแผ่นดินโลก (กจ. 9:32-14:28) การขยายตัวของคริสตจักรไปสู่อันทิโอก คริสตจักรออกไปประกาศกับคนกรีกที่ไม่ได้ เข้าสุหนัตซึ่งนับเป็นก้าวแรกเข้าสู่การประกาศกับคนต่างชาติ การพลีชีพเพื่อความเชื่อของ สเทเฟนทำให้พระกิตติคุณแพร่ขยายไปสู่ดินแดนของคนต่างชาติ (ฟีนีเซีย ไซปรัส และอันทิโอก) ก. การขยายตัวของคริสตจักรไปสู่อันทิโอก (กจ. 9:32-12:24) ในกจ. 9:32-43) แสดง ให้เราเห็นว่าพระเจ้าทรงให้เวลาเปโตรในการเตรียมตัวอย่างดี เพื่อจะประกาศกับโครเนลิอัส (1) การอัศจรรย์สองอย่างยืนยันพันธกิจของเขาว่า พระเจ้าทรงสถิตกับเขาอย่างเฉพาะเจาะจง (2) เขารับใช้ในดินแดนที่มีคนต่างชาติ (3) การที่เขาอาศัยอยู่ในบ้านของซีโมนคนฟอกหนัง เป็นเรื่องที่สำคัญ คนฟอกหนังถือว่า เป็นคนมีมลทินเพราะเขาต้องจับต้องหนังของสัตว์ที่ตาย แล้วตลอดเวลา (ลนต. 11:40) คริสตจักรขยายตัวออกไปสู่เอเซียไมเนอร์ ผู้นำคริสตจักรได้วางมือบนบารนาบัส และเซาโล และส่งพวกเขาออกไป การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของคริสตจักรต่างชาติภายใต้การนำของเปาโลและบา รนาบัส ได้นำไปสู่ปัญหาอย่างหนึ่งคือ เมื่อคนต่างชาติกลับใจเชื่อพระเยซูแล้ว พวกเขาควรจะ ปฏิบัติตามพระบัญญัติเหมือนอย่างคริสเตียนยิวหรือไม่ อย่างไร มีหลักหรือขอบเขตอย่างไร เพราะคริสเตียนยิวแม้ว่าได้เชื่อและติดตามพระเยซูแล้วก็ยังถือรักษาตามพระบัญญัติ (ของ โมเสส) เหมือนกับว่าเป็นส่วนหนึ่งของความรอด ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ถ้าไม่เข้าสุหนัต ตามจารีตของโมเสสจะไม่รอด ยากอบได้ชี้ให้เห็นความจริงจากพระวจนะของพระเจ้าว่า พระเจ้ามีพระประสงค์ที่จะให้คนต่างชาติได้รับความรอด และยังยืนยันอีกว่าคนต่างชาติไม่ จำเป็นต้องรักษาพระบัญญัติแต่ควรจะละเว้นการกระทำบางประการซึ่งจะเป็นเหตุขัดแย้งกับ พวกพี่น้องคริสเตียนยิว คือ งดเว้นเสียจากสิ่งที่เป็นมลทินเนื่องด้วยรูปเคารพ การล่วง ประเวณี การรับประทานเลือด และการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ถูกรัดคอตาย (กจ. 15:13-21)
!
3.คริสตจักรนานาชาติ (ค.ศ. 50-68) (ตั้งแต่การประชุมที่กรุงเยรูซาเล็ม ถึง การประหารชีวิตของเปาโล) รายละเอียดปรากฏในพระ ธรรมกิจการ บทที่ 16-28 !18
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
พระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าห้ามไม่ให้เปาโลกล่าวพระวจนะของพระเจ้าในแคว้น เอเซีย พระองค์ได้นำท่านข้ามไปแคว้นมาซิโดเนีย ที่เมืองโตรอัส และที่เมืองนี้ลูกาได้สมทบ กับเปาโลและสิลาส ที่เมืองฟิลิปปีนางลิเดียเป็นคนแรกที่กลับใจ และใช้บ้านของเธอเป็นคริสต จักร ส่วนที่เมืองเบโรอา มีคนยิวหลายคนมีใจเลื่อมใสและค้นดูพระคัมภีร์ทุกวัน และมีการ ข่มเหงเกิดขึ้นด้วย เราจะสังเกตได้ว่าทุกๆเมืองที่เปาโลไปประกาศก็มักจะตั้งคริสตจักรขึ้นที่ นั่น เมื่อคริสตจักรเติบโตพอที่จะดูแลตนเองได้แล้ว ท่านก็มอบหมายให้คนอื่นดูแลแทน แล้ว ท่านก็ออกไปประกาศที่ใหม่ เปาโลถูกจับกุมในพระวิหาร เนื่องจากชาวยิวที่มาจากแคว้น เอเซียเข้าใจผิดคิดว่าเปาโลพาคนต่างชาติเข้าไปในเขตหวงห้ามของพระวิหาร จึงร้องปรักปรำ ท่าน คนทั้งปวงก็ลุกฮือขึ้นและหาช่องทางที่จะฆ่าเปาโลเสีย เปาโลได้กล่าวแก้คดีของเขาต่อหน้าสภาแซนฮาดริน ต่อหน้าเฟลิกส์เจ้าเมือง ต่อหน้า เฟสทัสและขอถวายฎีกาต่อจักรพรรดิซีซาร์ กล่าวแก้คดีต่อหน้ากษัตริย์อากริปปา ทุกครั้งที่ เปาโลกล่าวแก้คดี ท่านจะฉวยโอกาสเป็นพยานเรื่องการกลับใจของท่าน และชักชวนคนเหล่า นั้นให้มารู้จักกับพระเจ้า เปาโลได้ลงเรือเพื่อเดินทางไปยังกรุงโรมแลในระหว่างการเดินทางนั้นมีพายุใหญ่เกิด ขึ้นจนทำให้เรือต้องอัปปางลง ผู้คนต่างก็หมดหวังที่จะมีชีวิตรอด แต่ท้ายที่สุดท่านและลูกเรือ เหล่านั้ก็รอดตาย จึงเดินทางต่อมาที่กรุงโรม เมื่อเปาโลมาถึงกรุงโรม เปาโลได้เชิญพวกผู้นำ ของพวกยิวมาประชุมกัน แล้วสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเหตุผลว่าทำไมท่านจึงอยู่ในกรุงโรม ในลักษณะคล้ายกับนักโทษเช่นนี้ เหตุผลที่เปาโลถวายฎีกาต่อจักพรรดิซีซาร์ไม่ใช่เพื่อจะฟ้อง คนยิวซึ่งเป็นชนร่วมชาติของท่าน แต่ต้องการพิสูจน์ว่าท่านไม่มีความผิดอะไร เปาโลได้ใช้ ที่พักอาศัยของท่านเป็นพยานเรื่องแผ่นดินของพระเจ้า และชักชวนคนเหล่านั้นให้เชื่อถือใน พระองค์ กจ. 28:30-31 เป็นข้อสรุปของพระธรรมกิจการที่ว่า พระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ได้ถูกประกาศและถูกสั่งสอนออกไปอย่างเปิดเผยและกว้างขวางได้เป็นเวลา 2 ปี ที่กรุงโรม เจ้าหน้าที่รู้ดีแต่ก็ไม่ได้ขัดขวางอะไร ดังนั้นจึงเป็นเรื่องราวแห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระ กิตติคุณแห่งพระเยซูคริสต์ที่เริ่มต้นที่กรุงเยรูซาเล็ม ไปตลอดแว่นแคว้นต่างๆที่อยู่รอบๆ จน ไปถึงกรุงโรมเมืองหลวงของอาณาจักรโรมัน และเป็นชัยชนะของการเริ่มต้นของยุคคริสตจักร แห่งพระเยซูคริสต์ในยุคสุดท้ายแห่งโลกนี้ รัฐข่มเหงคริสตจักรครั้งแรกโดยจักรพรรดิเนโร เหตุการณ์สำคัญของช่วงนี้ที่มีผลต่อคริสตจักรอย่างมากได้แก่การข่มเหงของจักรพรรดิเนโร ในตอนแรก มีเฉพาะพวกยิวเท่านั้นที่เป็นศัตรูต่อต้านคริสเตียน เพราะศาสนายิว (คนยิว) เป็น ศาสนาหนึ่งที่ถูกต้องตามกฏหมายในอาณาจักรโรมัน ซึ่งชาวโรมันคิดว่าพวกคริสเตียนก็นับถือศาสนา เดียวกับพวกยิว ฉะนั้นเมื่อพวกคริสเตียนถูกคนยิวอื่นรบกวนหรือข่มเหง รัฐบาลโรมันก็ป้องกัน (ดู กจ. 18.12-17) และเปาโลเองก็สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อจักรพรรดิที่กรุงโรม (กจ 25.6-12) เพื่อช่วย ทำให้หลุดพ้นจากการมุ่งทำลายของพวกยิว ซึ่งต่อมาเราเรียนรู้ว่า เปาโลหลังจากมาที่กรุงโรมได้แล้ว ท่านก็ได้รับอนุญาตให้อยู่คนเดียวต่างหาก โดยมีทหารคนหนึ่งคุมไว้ (กจ 27.16) และท่านได้ทำการ ประกาศเป็นพยานนำคนต่างชาติมากมายมาถึงพระเจ้า โ ดยเฉพาะในท่ามกลางหมู่พวกทหารกอง รักษาการไปรโตเรียน ท่านได้ใช้บ้านของท่านเป็นที่ประชุม จนครบ 2 ปีเต็ม พร้อมกับเขียนพระ ธรรมจดหมายฝาก 4 เล่มคือ เอเฟซัส, ฟิลิปปี, โ คโลสี, ฟิเลโมน. (กจ 28.30-31, อฟ 3.1, ฟป !19
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
1.21-26, คส 3.18 และ ฟม 9) และมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่า หลังจาก 2 ปีเปาโลได้รับการปลดปล่อยเป็น อิสระ แล้วก็ออกเดินทางไปประกาศเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งจากึกษาเราเชื่อกันว่าท่านไปเยี่ยมเมืองโคโลสี มิ เลทัส เอเฟซัส และเกราะครีตทื่ท่านได้ละทิตัสไว้ใหดูแลคริสตจักรที่นั่น และได้เดินทางต่อไปที่เมือง นิโคบุรี (ทะเลเอเดรียติคทิศเหนือของประเทศกรีก) ซึ่งตำนานกล่าวไว้ว่า ท่านได้ถูกจับที่นี่และถูกส่ง ไปกรุงโรมอีก และเสียชีวิตในที่สุด แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ก็ได้มีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นที่ ทำให้รัฐข่มเหงคริสเตียนเป็น ทางการครั้งแรก ตามบันทึกของนักประวัติศาสตร์ในเวลานั้นชื่อ ซุยโตเนียสได้เล่าว่า มีการขัดแย้ง ครั้งใหญ่เกิดขึ้นในธรรมศาลาของพวกยิว ราวปี คศ.50-53 ความวุ่นวายครั้งนี้ คงเป็นสาเหตุทำให้ พวกยิวที่อาศัยอยู่ในกรุงโรมถูกขับไล่ออกมจากกรุงโรมชั่วคราวโดยคำสั่งของจักรพรรดิคลาวดิอัส (ดู กจ 18.1-2) แต่ถึงกระนั้นก็ตาม พวกยิวก็ยังทำตัวเป็นศัตรูกับพวกคริสเตียนยิวและคริสเตียนต่าง ชาติมากยิ่งขึ้น ในเวลาเดียวกันจำนวนคริสเตียนกับเพิ่มทวีมากขึ้น แม้กระทั่งในหมู่ราชสำนักของ จักรพรรดิซีซาร์ ก็มีคนมารับเชื่อด้วย ( ฟป 1.13, 4.22) ฉะนั้น รัฐบาลโรมันจึงเริ่มเห็นว่า ลัทธิใหม่ (พวกคริสเตียน-พวกทางนั้น)นี้แท้จริงก็แตกต่างหรือเป็นคนละพวกกับลัทธิศาสนายิว ยิ่งกว่านั้นยังได้ เกิดมีเพลิงไหม้กรุงโรมครั้งใหญ่ขึ้นในปี คศ.64 ซึ่งความจริงเป็นคำสั่งของจักรพรรดิเนโร ที่ถูก ประนามว่าเป็นจักรพรรดิองค์ชั่วร้ายที่สุดในบรรดาจักรพรรดิของโรมัน) เนื่องจากมีตำนานกล่าวว่า ท่านเกิดบ้าคลั่งขึ้นมา เพราะอยากทอดพระเนตรดูว่า เมื่อมีเพลิงไหม้ในเมืองหลวงแล้ว ผลจะเป็น อย่างไร แต่เมื่อเพลิงไหม้เผาไปแล้วและเห็นว่าอาคารส่วนใหญ่ของกรุงโรมได้ถูกทำลายไปในมหา เพลิง จักรพรรดิเนโรจึงทรงปัดความผิดให้พ้นพระองค์ โดยกล่าวหาว่า พวกคริสเตียน (ที่นับถือลัทธิ ศาสนาใหม่) ที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่นิยมและพวกยิวต่อต้าน เป็นตัวการก่อมหาเพลิงนี้ แล้วท่านก็ เริ่มลงมือข่มเหงพวกคริสเตียนอย่างเป็นทางการ โดยสั่งให้จับและฆ่าอย่างทารุณนับเป็นจำนวนพัน ๆคน ในจำนวนนั้นรวมพวกอัครสาวกทั้งหลาย และเปโตรถูกตรึงตาย (เอาหัวลง) ด้วยในปี คศ.67 และต่อมาเปาโลถูกตัดศีรษะในปี คศ.68 ซึ่งมีหนังสือประวัติศาสตร์ชื่อ แอนทิควอที้ (Antiquity) เขียนโดยท่านโจซีฟัส (Josephus) เล่ม 16 บทที่ 45 ได้เขียนเล่าเหตุการณ์และวิธีการฆ่าพวก คริสเตียนอย่างทารุณว่า บางคนถูกตรึงตายที่กางเขน บ้างถูกเผาทั้งเป็น บ้างก็ถูกเอาหนังสัตว์คลุม ร่างกายแล้วปล่อยให้สุนัขกัดกินฉีกเนื้อออกเป็นชิ้น ๆ โดยเนโรใช้พระราชฐานของพระองค์และโรง ละครกลางแจ้ง เป็นที่แสดงกิจกรรมฆ่าและปลิดชีวิตคริสเตียนอย่างโหดเหี้ยมทารุณ
!
4.คริสตจักรยุคสลัว คศ.68-100 (ตั้งแต่เปาโลถูกประหาร ถึง มรณกรรมของยอห์น)
!
1. สาเหตุที่เรียกว่า “ยุคสลัว” เพราะ (ก) การข่มเหงเริ่มมีมาถึงคริสตจักรอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลโรม (ข) ในช่วงนี้คริสตจักรขาดผู้นำเพราะถูกประหารชีวิตไปเป็นจำนวนมากยกเว้นอัครทูตยอห์น (ค) เป็นยุคที่เรามีข้อมูลรายละเอียดน้อยที่สุด เพราะไม่มีหนังสือ (จดหมายฝาก) อะไรเขียน ขึ้นเลยหรือขาดนักประวัติศาสตร์ นักเขียนก็ว่าได้ จึงดูเหมือนว่าม่านได้รูดปิดบังคริสตจักรของพระเจ้า ไว้จนถึงราว คศ.120 ที่ม่านได้ถูกเปิดออกอีกครั้งหนึ่งคือ ได้ทราบรายละเอียดจากหนังสือของพวก บรรพบุรุษ/อัครทูตสมัยเริ่มแรก (The Catholic/Apostolic Fathers)
!
2. กรุงเยรูซาเล็มแตก คศ.70 !20
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ที่กรุงเยรูซาเล็ม ยากอบ (น้องชายพระเยซู ) ขณะนั้นเป็นผู้นำคริสต จักรอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็ม ได้ถูกประหารชีวิตโดยมหาปุโรหิตอันนาส ในปี คศ.62 ตามคำบันทึกของโจ ซีฟัส นักประวัติศาสตร์ยิว (สัญชาติโรม) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ (เล่ม 20 บทที่ 9) ส่วนประชาชนยิวทั้ง หลายก็ได้เกิดความไม่พอใจต่อการปกครองของโรมอย่างมากขึ้นเป็นลำดับจนได้ลุกลามขึ้นกลาย เป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ต่อต้านอำนาจโรมในปี คศ.66 กรุงโรมจึงได้ส่งแม่ทัพชื่อ ไทตัส โอรสของจักร พรรดิเวสเปเชียนมาล้อมกรุงเยรูซาเล็มไว้ ทำให้ชาวเมืองได้รับความทุกข์ยากลำบากมาก มีคนเสีย ชีวิตไปเป็นจำนวนมากและพระวิหารก็ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ (ตามคำพยากรณ์ของพระเยซู) แล้วกรุงเยรูซาเล็มก็ถูกยึดได้สำเร็จในปี คศ.70 เหตุการณ์ครั้งนี้ในแง่หนึ่ง ทำให้คริสเตียน (คริสต ศาสนา) ได้แยกตัวออกจากลัทธิศาสนายิว อันเป็นศาสนาแม่อย่างสิ้นเชิง และคริสตจักรของพระเจ้า ก็ได้ยืนเด่นอยู่ต่างหาก ซึ่งตอนนี้สมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติ ซึ่งก็ได้รอดปลอดภัยจาก สงครามกลางเมืองในครั้งนี้ เพราะพวกเขาได้รับคำเตือนจากพระดำรัสพยากรณ์ของพระคริสต์ จึงได้ หนีออกจากเมืองไปก่อนที่จะมีเหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้น โดยได้หลบภัยไปอยู่เมืองเพลลาในหว่างเขา จอร์แดน (ที่จัดไว้เป็นเมืองคนต่างชาติ) จนในปี คศ.84 พวกผู้นำคริสเตียนก็ได้นำตัวออกจากการ เป็นสมาชิกของหมู่คนยิว (The Fellowship of Jewish Community) ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในคริสต จักรของพระเจ้าซึ่งเคยมีรากฐานมาจากพระคัมภีร์เดิม มีพระเยซูเป็นคนยิว มีพวกอัครทูตเป็นคนยิว และมีพระคัมภีร์ที่ใช้เป็นหลักเขียน โดยคนยิวส่วนมากกลายเป็นกลุ่มชน กลุ่มสามัคคีธรรมของสังคม คนต่างชาติ (The Fellowship of Gentile Community)
! !
3. รัฐข่มเหงใหญ่เป็นครั้งที่สอง โดยจักรพรรดิโดมิเทียน คศ.90 ต่อมาในราวปี คศ.90 จักรพรรดิโดมิเทียนเป็นคนโหดร้ายมาก ได้ทำการข่มเหงคริสเตียน อย่างเป็นทางการครั้งใหญ่เป็นครั้งที่สอง ดังนั้นมีคริสเตียนเป็นจำนวนพันๆคนต้องถูกฆ่าตาย โดย เฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงโรมและอิตาลี การข่มเหงในครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งสมัยเนโรที่ทำการข่มเหงพัก เดียว และในที่แห่งเดียว ไม่ได้แพร่ไปทั่วอาณาจักรโรมัน แต่ในเวลานี้การข่มเหงได้แพร่ขยายออก ไปทั่ว อัครทูตยอห์นเป็นคนสุดท้ายที่มีชีวิต ได้พักอยู่ที่เอเฟซัส แล้วถูกเนรเทศไปอยู่ที่เกาะปัทมอส ในทะเลอีเจียน และได้รับการเปิดเผยแสดงนิมิตจากพระเจ้า ให้เขียนพระธรรมวิวรณ์ซึ่งเป็นพระ ธรรมฉบับสุดท้ายของพระคริสตธรรมใหม่
!
4. หนังสือที่จะเป็นพระคัมภีร์ใหม่ถูกเขียนขึ้นครบ ในช่วงคริสตจักรยุคสลัวนี้ แม้ทุกสิ่งดูเหมือนจะเลวร้ายจริง ๆ แต่พระเจ้าของเราก็ทรงยิ่ง ใหญ่ และควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปตามพระประสงค์สุดท้ายของพระองค์ ได้ทรงดลใจและเปิด เผยแสดงแก่ยอห์นให้เขียนพระกิตติคุณยอห์น และจดหมายฝาก 1-3 ยอห์น ที่เอเฟซัสในราวปี คศ. 90-95 และพระธรรมวิวรณ์ที่เกาะปัทมอสในปี คศ.96 ซึ่งถือว่าเป็นพระธรรมคัมภีร์ใหม่เล่มสุดท้ายที่ สำคัญมาก เพราะให้คำพยากรณ์เกี่ยวกับอนาคตศาสตร์
!
5. ช่วงขาดผู้นำคริสตจักรที่มีสิทธิอำนาจและตำแหน่งอัครทูต นับตั้งแต่อัครทูตยอห์นที่เป็นอัครทูตคนสุดท้ายถูกเนรเทศไปอยู่เกาะปัทโมในปี คศ.94-95 คริ สตจักรของพระเจ้า (ในความหมายที่เป็นภาพรวมทั้งหมด) ก็ดูเหมือนว่าจะขาดผู้นำคริสตจักรที่มี !21
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ตำแหน่งเป็นอัครทูต และยิ่งเมื่อท่านเสียชีวิตไป ณ ที่เกาะปัทมอส (แม้เราไม่ทราบแน่นอนว่าเมื่อไร แต่ก็ไม่น่าจะเกินปี คศ.100) เราก็แน่ใจได้ว่า คริสตจักรของพระเจ้า ( (ในภาพรวมทั้งหมด) ได้ขาด หรือหมดผู้นำคริสตจักรที่มีตำแหน่งเป็นอัครทูตตั้งแต่นั้นมา จนถึงปัจจุบัน (และจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป จนสิ้นโลกนี้) จะมีเหลือก็เพียงแต่ผู้นำคริสตจักรในตำแหน่งผู้ปกครอง/ผู้อาวุโส ผู้ประกาศเผยแพร่ มัคนายก และศิษยาภิบาลเท่านั้น เพราะว่า สิทธิอำนาจและตำแหน่งอัครทูตได้สิ้นสุด และไม่มีการ ตกทอดต่อไปอีกแล้ว
! !
บทสรุป - สภาพและลักษณะความเป็นไปของคริสตจักรยุคอัครทูต (คศ.30-100) ถึงแม้ว่า คริสตจักรยุคอัครทูตนี้จะสิ้นสุดด้วยยุคสลัวก็ตาม แต่สภาพและลักษณะของ คริสตจักรโดยภาพรวมนั้นไม่ได้สลัว เพราะเมื่อเปิดศักราชศตวรรษที่ 2 เราพบว่า มีคริสตจักรในทุก ประเทศแถบนั้นและเกือบทุกเมือง ตั้งแต่แม่น้ำไทเบอร์ถึงแม่น้ำยูเฟรติส และตั้งแต่ทะเลดำถึงอัฟ ริกาเหนือ บางคนคิดว่าไปไกลทางตะวันตกถึงสเปญและบริเทน ส่วนรายละเอียดอื่น ๆขอสรุปนำ เสนอที่สำคัญ ๆดังนี้
! !
1. สมาชิกแพร่และจำนวนเพิ่มขึ้น
ปรากฏว่า ในช่วงนี้มีสมาชิกคริสตจักรรวมกันเป็นจำนวนหลายล้าน เพราะในสาราหนังสือ ฉบับที่รู้จักกันดีมากเขียนขึ้นประมาณปี คศ.112 ของฟลินนีที่ส่งถึงจักรพรรดิทรายานุส เพื่อแจ้งให้ ทราบว่า ในมณฑลต่าง ๆของเอเซียน้อยตามชายฝั่งทะเลดำนั้น วัดวาอารามของประเทศต่าง ๆเกือบ จะร้างเปล้าไปเลย แต่กลับมีคริสเตียนเป็นจำนวนมากมายทุกหนทุกแห่ง สมาชิกคริสตจักรมีคนทุก ชนชั้น ตั้งแต่ขุนนางยศสูงที่สุดจนถึงพวกทาส ซึ่งตลอดทั่วราชอาณาจักรมีเป็นจำนวนมากกว่า พลเมืองที่เป็นอิสระเสียอีก ส่วนภายในคริสตจักรมีการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาคในการบริการ และในการเป็นเจ้าพนักงาน/เจ้าหน้าที่คริสตจักร แม้ทาสก็ได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาคกับคนชั้น ขุนนาง ทาสอาจเป็นผู้ปกครองดูแลก็ได้ทั้ง ๆที่นายของเขาเป็นเพียงสมาชิกสามัญ 2. การปกครอง อัครทูตเป็นผู้นำคริสตจักร แต่มิใช่เจ้าหน้าที่ของคริสตจักร มีอำนาจสูงสุดที่รับผิดชอบในการ เทศนาสั่งสอนพระคำพระเจ้า สำนักงานของอัครทูตตอนแรกดูเหมือนจะอยู่ที่กรุงเยรูซาเล็มเท่านั้น แต่ภายหลังอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง มีอัครทูตยอห์นเป็นคนสุดท้ายที่มีชีวิตอยู่และพำนักที่เอเฟซัส จน กระทั่งในราว คศ.100 เสียชีวิตที่เกาะปัทมอส แล้วก็ไม่มีการกล่าวถึงผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากท่าน เลย จนมาถึงราวปี คศ.120 ที่กล่าวว่ามี “พวกอัครทูต” (เรียกชื่อนี้) แต่ก็เป็นเพียงผู้ประกาศเผย แพร่ ที่ท่องเที่ยวอยู่ท่ามกลางคริสตจักรทั้งหลาย ไม่มีสิทธิอำนาจอะไรและไม่ปรากฏว่า ได้รับการ เคารพนับถือเหมือนอย่างพวกอัครทูตในกิจการเลย จากนั้นก็มีพวกผู้ปกครองหรือผู้อาวุโส, ผู้ ปกครองดูแล, ศิษยาภิบาล (Elder, Presbyter, Bishop and Pastor) ซึ่งจัดว่าเป็นพวกเดียวกันหรือ มีหน้าที่คล้ายกันในสมัยคริสตจักรยุคพระคัมภีร์ใหม่ มีหน้าที่ในการบริหารควบคุมดูแลเอาใจใส่ และ สั่งสอนสมาชิกในคริสตจักร (-Pastoral Duties, -Instructional Duties and -Administrative Duties) 3. การบริหารควบคุม !22
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ผู้ปกครอง คิดวางแผนบริหารควบคุมคริสตจักรและแนะนำพาไปในทางที่ดี และถูกต้องตาม ทางและแผนการณ์ของพระเจ้า (1 ทธ 5.1, 3.5, คส 5.12, ฮบ 13.7, 17, 24) 4. การดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือ เลี้ยงดูแกะ (สมาชิก)นำทางและป้องกันคุ้มครองรักษาไว้ให้ปลอดภัย คอยหนุนใจและว่ากล่าว ตักเตือน และเยี่ยมเยียน พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือ 5. การสั่งสอน เป็นครูเทศนาและสั่งสอน ความจริงและพระคำของพระเจ้าแก่สมาชิก แต่ในราวสิ้นศตวรรษ ที่หนึ่งมีความโน้มเอียงหนักไปในทางที่ยกคนหนึ่งขึ้นเป็น Bishop เหนือเพื่อนผู้อาวุโส (Elder or Presbyter) ด้วยกัน ทำให้เกิดระบบทางศาสนาต่อมาในภายหลัง
!
ข้อสังเกตุ (ก) ในพระคัมภีร์ใหม่จะมีคำว่า”ศิษยาภิบาล” อยู่แห่งเดียวใน (อฟ 4.11) แต่คำอื่นมีอยู่หลาย แห่ง แต่ต่อมาคริสตจักรในยุคปัจจุบันได้นิยมใช้แต่ชื่อศิษยาภิบาลเท่านั้น อาจเป็นเพราะคำอื่น ๆนั้น มีความหมายเกี่ยวข้อง และสัมพันธ์กับลัทธิศาสนายิว ส่วนคำว่า “ศิษยาภิบาล” ถูกใช้เรียกภายหลัง ซึ่งเป็นคำที่ดีมาก เพราะมีความหมายตรงกับคำสอนในพระคัมภีร์ใหม่ (ข) คริสตจักรหนึ่งอาจจะมีศิษยาภิบาลหลายคนได้ ดู กจ 15.2, 4, 6, 23, 14.23, 20.17 และ ยก 5.14 ทุกครั้งที่เอ่ยถึงชื่อนี้จะต้องเกี่ยวข้องกับคริสตจักรและจะต้องเป็นพหูพจน์ แต่เราไม่สามารถ จะทราบแน่นอนว่า ในคริสตจักรหนึ่งจะมีผู้ปกครอง (ศิษยาภิบาล) กี่คน มัคนายกในพระธรรม จดหมายฝากของเปาโล กล่าวว่าเป็นพนักงานของคริสตจักร แปลมาจากคำกรีกว่า “Diakonos” แปล ว่า คนรับใช้ (กจ 6, ฟป 1.1, 1 ทธ 3.8) มีหน้าที่คอยช่วยเหลือศิษยาภิบาลในเรื่องธุรกิจและการเงิน ของคริสตจักร ตำแหน่งหน้าที่นี้อาจเป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง เพราะในโรมเขียนประมาณ คศ.58 นางฟอยเบ ถูกเรียกเป็น “มัคนายิกา” หมายเหตุ ตำแหน่งหน้าที่ 2 อย่างหลังนี้ได้รับอิทธิพลมาจากแบบของธรรมศาลา (Synagogue) ที่มี ผู้อาวุโสเป็นผู้คอยควบคุมดูแลธรรมศาลาที่เรียกว่า “นายธรรมศาลา” และมีคนเฝ้าดูแล (Synagogue Attendant) เรียกว่า ชาซาน (Chazan)
!
6. การนมัสการของคริสตจักร ระเบียบการนมัสการของที่ประชุมคริสเตียนยุคอัครสาวก เลียนแบบมาจากในธรรมศาลาของยิว (ก) มีการอ่านพระคัมภีร์เดิมและส่วนของพระธรรมจดหมายฝากของพวกอัครสาวกฉบับต่าง ๆ และพระกิตติคุณด้วย (ข) บทเพลงสดุดีของพระคัมภีร์และเพลงนมัสการสรรเสริญ (ค) มีการอธิษฐาน (ง) เทศนาสั่งสอนและตักเตือน (กจ 13.15) บางทีก็ทบทวนหรืออ่านคำสอนขององค์พระเยซู คริสต์ แล้วเล่าถึงเรื่องราวการทนทุกข์ทรมาน และการคืนพระชนม์ของพระองค์เป็นครั้งคราวด้วย เช่นกัน ระเบียบนมัสการนี้จบลงด้วยการรับประทานอาหารร่วมกัน เป็นอาหารที่สมาชิกแต่ละคนนำ มาและมีพิธีมหาสนิท คือหักขนมปังและดื่มเหล้าองุ่นอย่างที่อัครทูตเคยรับประทานกับพระเยซูนี้เป็น ลักษณะทั่วไปที่เราพอสรุปได้ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า คริสตจักรที่เมืองโครินหรือบางที่เป็นที่อื่น ๆด้วย !23
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เกิดความวุ่นวายโกลาหล เมื่อมีการถือพิธีศีลมหาสนิทในระหว่างการกินเลี้ยงเพื่อสมานมิตร ดังนั้น หลังจากที่ท่านเปาโลเขียนจดหมายถึงชาวโครินฉบับแรกได้ไม่นานนัก ก็เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ แยกให้พิธีศีลมหาสนิทออกจากการกินเลี้ยง และได้จัดเป็นพิธีการนมัสการเหมือนอย่างที่เราทำกันอยู่ ทุกวันนี้ ต่อจากนั้นมาเขาจึงถือธรรมเนียมใหม่มาประชุมร่วมกันประกอบพิธีมหาสนิทเป็นสิ่งแรกใน ตอนเช้าทุก ๆอาทิตย์ ส่วนการเลี้ยงสมานมิตรนั้นคงกระทำต่างหากติดต่อกันมาหลายศตวรรษ เป็นการกินเลี้ยงซึ่งมีทั้งการอธิษฐานและการเทศนา หมายเหตุ สถานที่นมัสการมักใช้เป็นส่วนตัว และตั้งแต่แรกทีเดียว ประชุมกันในวันแรก ของสัปดาห์ เพื่อระลึกถึงการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์ คือ จากเย็นวันเสาร์ถึง อาทิตย์ตอนเย็น
!
1.3 คริสตจักรยุคข่มเหง คศ.100-313
!
(ตั้งแต่มรณกรรมของยอห์นถึงพระราชโองการของจักรพรรดิคอนสแตนติน)
แท้ที่จริงคริสตจักรถูกข่มเหงตั้งแต่ยุคอัครทูตแล้ว ในช่วงนั้นการข่มเหงส่วนมากมาจากชาวยิว ที่ไม่ได้เป็นคริสเตียน แต่พอมาถึงยุคที่สองนี้ การข่มเหงเกิดขึ้นจากรัฐบาลโรมโดยตรง จักรพรรดิโรม ได้อกกฎหมายอย่างเป็นทางการให้ข่มเหงคริสเตียนทั่วอาณาจักรโรม
!
I. พวกจักรพรรดิโรมันและความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรโรมัน พวกจักรพรรดิอยู่ในราชธรรมอันดีและอาณาจักรรุ่งเรือง : ในยุคนี้แม้ว่าจะไม่มีผลงานด้านการ เขียนของอัจฉริยบุคคลผู้ยอดเยี่ยม และไม่มีงานเด่นในด้านศิลปกรรมฝากไว้ แต่อาณาจักรโรมันก็ เจริญรุ่งเรือง และอยู่ใต้การปกครองอันมีระเบียบแบบแผนของจักรพรรดิ์ที่ทรงตั้งอยู่ในราชธรรมอันดี เพราะทรงเป็นทั้งจักรพรรดิและปรัชญาเมธี การสืบราชสมบัตินั้นได้วางนโยบาย โดยให้จักรพรรดิ แต่ละองค์ทรงเลือกตั้งบุคคลที่ทรงเห็นว่าเหมาะสมที่สุด เพื่อดำรงตำแหน่งรัชทายาทผู้สืบบัลลังก์ต่อ ไป ภายในราชอาณาจักรมีแต่ความสงบสุข สงครามกับต่างชาติก็มีเพียงประปรายตามชายแดนที่ ห่างไกลออกไปเท่านั้น ซึ่งได้แก่เทรจั่น (คศ.98-117), เฮเดรียน (คศ.117-138), อันโตนินัส ไพอัส (คศ.138-161) และมาร์กัส ออเรเลียส (คศ.161-180) แต่พวกคริสเตียนกลับถูกข่มเหง สิ่งที่เด่นชัดในประวัติศาสตร์คริสตจักรตลอดยุคที่ 2 นี้คือ การข่มเหงพวกคริสเตียนโดยจักรพรรดิโรมันหลายองค์ ที่แปลกก็คือว่า จักรพรรดิ์บางพระองค์ที่ ฉลาดและดีที่สุดเป็นผู้ขมักเขม้นที่สุดในการข่มเหงพวกคริสเตียน ส่วนกษัตริย์บางพระองค์ผู้ร้ายกาจ ที่สุดกลับไม่เอาเรื่องในการข่มเหง หรือไม่ก็ทำเป็นไม่สนใจเลย) สภาพที่ถูกข่มเหงแม้จะมิได้เป็นอยู่ ตลอดเวลาเรื่อยไป แต่ก็มีการข่มเหงกันบ่อยครั้ง ครั้งละหลาย ๆปี และในระหว่างเวลาที่สงบอยู่การ ข่มเหงอาจจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ในแบบที่น่าสพึงกลัวยิ่ง การข่มเหงยืดเยื้อมาจนถึงต้นศตวรรษที่ 4 คือจนถึง คศ.313 เมื่อจักรพรรดิ์คอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิ์องค์แรกที่เป็นคริสเตียนได้ยุติความ พยายามทั้งสิ้นที่จะทำลายคริสตจักรของพระคริสต์ และกลับสนับสนุนส่งเสริมอย่างเต็มที่ทำให้เจริญ ขึ้น
!
II. สาเหตุที่รัฐข่มเหง !24
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
1. ลักษณะของศาสนากรีกและโรมัน
ศาสนาเก่าแก่ของอาณาจักรโรมันมีลักษณะคล้าย ๆกับศาสนาฮินดู ยกเว้นเรื่องวรรณและการ เวียนว่ายตายเกิด ซึ่งไม่ใช่เป็นความเชื่อทั่ว ๆไป คือไม่เชื่อถือพระเจ้า และมีความยินดีที่จะรับสิ่ง นมัสการใหม่หรือแบบนมัสการอย่างใหม่เข้าร่วมเป็นองค์เดียวกับที่พวกเขากราบไหว้อยู่แล้ว หรือไม่ ก็นับเป็นพระเจ้าองค์ใหม่เพิ่มเข้าอีกองค์หนึ่ง ชาวกรีก ชาวโรมันจึงมีพระวิหารที่มีพระและมีการถวาย บูชามากมาย อาจมีพระเป็นพัน ๆองค์ พวกเขาเชื่อว่ามีวิญญาณหรือผีเกี่ยวข้องกับชีวิตทุกด้าน มี พิธีกรรมทางศาสนาเกี่ยวกับครอบครัวในทุกระยะและทุกโอกาส และมีเทศกาลต่าง ๆมากมาย หรือ เมื่อต้องการให้เมืองหรือมณฑลใดมีฐานะการค้าดีขึ้น วิธีการชักชวนให้คนเข้าเมืองนั้นมาก ๆ ก็โดย การสร้างวิหารและสร้างพระที่เขานมัสการในต่างบ้านต่างเมือง คนทั้งหลายที่นับถือพระนั้น ๆก็จะมา นมัสการ เช่น ในเมืองปอมเปอีมีวิหารของพระไอซิส เป็นพระหญิงของชาวอียิปต์ ตั้งขึ้นเพื่อ เพิ่มพูนการค้าของปอมเปอีกับอียิปต์ ทำให้พ่อค้าชาวอียิปต์เกิดความรู้สึกสะดวกเหมือนอยู่บ้านของ ตน ดังนั้น การกราบไหว้สักการะบูชาพระต่าง ๆของศาสนากรีกและโรมันประสานเข้ากับชีวิตในทุก ๆด้าน ในทุกบ้านเรือนก็มีการตั้งรูปเคารพไว้บูชาบวงสรวงในทุกพิธีเทศกาลทั้งหลาย แต่ตรงข้ามกับพวกคริสเตียนที่ไม่ยอมรับและขัดขวางการกราบไหว้นมัสการใด ๆทั้งสิ้นที่ นอกจากพระเจ้าของตนเอง พวกคริสเตียนจึงไม่ร่วมด้วยกับพวกกรีกและโรมัน ด้วยเหตุนี้พวกเขา ก็ถือว่า พวกคริสเตียนเป็นคนไม่สังคม ไม่น่าคบเป็นคนไม่นับถือพระ ไม่มีพระ จึงเป็นที่เกลียดชัง ของเพื่อนบ้านพลเมือง และเป็นเหตุอย่างหนึ่งที่ถูกข่มเหง (มีเรื่องเล่าว่า พระจักรพรรดิองค์หนึ่ง ประสงค์จะตั้งรูปพระคริสต์ไว้ในปราสาทแพนเทียนในกรุงโรม ซึ่งเดี๋ยวนี้ปราสาทนี้ก็ยังตั้งอยู่ อันเป็น ที่ที่มีพระองค์สำคัญ ๆประดิษฐานไว้นมัสการ แต่พวกคริสเตียนบอกปัดข้อเสนออย่างแข็งขัน พวก คริสเตียนไม่ยอมให้พระคริสต์ของเขาต้องถูกถือว่า มีศักดิ์แค่เท่าเทียมพระองค์หนึ่งในหลายองค์
!
2. เพราะลัทธิการนมัสการพระจักรพรรดิ ในเวลานั้นเอง รัฐบาลโรมันได้จัดให้มีการนมัสการรูปพระจักรพรรดิ์ใช้เป็นเครื่องพิสูจน์ความ จงรักภักดี โดยจะตั้งรูปปั้นของพระจักรพรรดิ์องค์ที่กำลังครองราชย์อยู่ไว้ในที่เด่น ๆของทุก ๆเมือง เพื่อให้ประชาชนบูชา โดยการเผาหรือโปรยเครื่องหอมถวายต่อรูปปั้น แต่พวกคริสเตียนปฏิเสธไม่ ยอมทำ ไม่ใช่ว่าทำยากหรือพวกคริสเตียนขาดความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิ พวกคริสเตียนพร้อมที่ จะอธิษฐานเพื่อจักรพรรดิ ประเทศชาติ และประชากรทั้งหลาย แต่เนื่องจากพวกคริสเตียนนับถือ พระเจ้าแต่องค์เดียว จึงไม่สามารถประกอบพิธีกรรมอะไร ๆที่แสดงว่า จักรพรรดิเป็นพระเจ้าได้ ผู้คนทั่วไปจึงพากันคิดว่า พวกคริสเตียนเป็นพวกไม่จงรักภักดีต่อกษัตริย์
!
3. การประชุมลับของคริสเตียน พวกคริสเตียนรวมกลุ่มกันอย่างมีระเบียบ มีการประชุมลับ พบปะกันเป็นประจำ จึงทำให้ดู ไปว่า คริสเตียนเป็นแหล่งซ่องสุมที่น่ากลัวว่าจะก่ออันตรายต่อประเทศ เช่น วางแผนกบฏ เพราะ พวกคริสเตียนมักจะประชุมกันในถ้ำหรือในอุโมงค์ใต้ดินเสมอ ๆในศตวรรษที่ 1 ใช้ในบ้าน และคน ภายนอกจะเกี่ยวข้องก็ไม่ได้ ยิ่งกว่านั้นยังถูกเข้าใจผิดว่า เป็นพวกที่กินเนื้อและเลือดคนในงานเลี้ยง เพราะบางคนได้ยินถึงการรับประทานขนมปังและน้ำองุ่น (เนื้อและโลหิตของพระเยซู) ในพิธีศีลมหา สนิท
!
!25
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
4. ความเสมอภาคในคริสตจักรของคริสเตียน ในคริสตจักร พวกคริสเตียนถือว่าทุกคนเสมอภาคกัน ไม่มีการถือชั้นวรรณะในการเป็น สมาชิกในการนมัสการทุกคนก็มีส่วน ทาสอาจได้รับเลือกเป็นผู้ปกครองในคริสตจักรก็ได้ และนายก็ เป็นแค่สมาชิกธรรมดา ทุกคนนั่งรวมกันเป็นพี่น้องกัน การทำเช่นนี้จึงเป็นที่ไม่ชอบต่อความคิดของ พวกขุนนาง นักปรัชญาและคนชั้นปกครอง พวกคริสเตียนจึงถูกถือว่าเป็น “ผู้ทำลายยศฐา บรรดาศักดิ์” ไม่อยู่ในระเบียบแบบแผนและผิดเพี้ยนไปจากสังคม ดังนั้น จึงเหมือนหนึ่งเป็นศัตรูของ รัฐ
!
5. ผลประโยชน์ทางการค้า ดูเหมือนว่า นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่รวมเป็นสาเหตุที่รัฐข่มเหง ดังเช่นในสมัย ของเปาโลที่เอเฟซัสต้องตกในอันตรายเกือบตาย เพราะเดเมตริอัสช่างเงิน (กจ 19.23-41) ยุแหย่ให้ เกิดการจลาจลขึ้น ดังนั้น จึงมีบ่อยครั้งที่พวกที่หวังผลประโยชน์ของตนในทางการเงินต้องถูกกระทบ กระเทือน (เพราะการประกาศเผยแพร่ของคริสเตียน) ใช้อิทธิพลบังคับหรือให้สินบนพวกเข้าพนักงาน ปกครองทำการข่มเหงคริสเตียน พวกเหล่านี้ได้แก่ นักพรต อุปถากในวิหาร รูปเคารพ ช่างหล่อ พระ ช่างแกะสลัก ช่างก่อสร้างโบสถ์วิหาร และคนอื่น ๆที่อาศัยการบูชารูปปั้นและวิหารเป็นเครื่อง เลี้ยงชีพ คริสตจักรต้องตกอยู่ใต้การข่มเหงแบบต่าง ๆไม่ได้รับการลดหย่อนเลย รัฐบาลเพียงใช้วิธี ต่าง ๆที่จะบดขยี้ความเชื่อที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆของคริสเตียนให้แหลกรานไป และกระทำการข่มเหงทั่ว ทุกแห่งในราชอาณาจักร
!
III. ระยะต่างๆของการข่มเหงในยุคที่สอง 1. ภายใต้จักรพรรดิ 4 องค์ในรัชกาลของเนร์วาร, ทราเจิน, ฮาเดรียน และอันโตนินุสปิอุส คศ. 96-161 (ก) เหตุการณ์ทั่วไป เนื่องจากจักรพรรดิทั้ง 4 องค์นี้จัดว่าเป็นจักรพรรดิที่ดี ฉะนั้นแม้ ศาสนาคริสเตียนจะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐบาล (เพราะได้แยกออกจากลัทธิศาสนายิว) การข่มเหง ในช่วงนี้จึงไม่ถึงขั้นสาหัสกล่าวคือ การจับคริสเตียนนั้นต้องมีข้อหาฟ้องร้องชัดแจ้งและมีหลักฐาน ประกอบการร้องทุกข์เท่านั้น ซึ่งเมื่อค้นพบว่า เป็นพวกคริสเตียนจริงก็นั้นก็จะบังคับให้ละทิ้งเสีย ถ้า ไม่ยอมเจ้าหน้าที่ก็จำเป็นต้องใช้กฏหมายบังคับคือ ประหารชีวิต (ข) คนสำคัญ ๆที่ต้องถูกประหารอย่างทารุณ เพราะความเชื่อมั่นในพระเจ้าในช่วงเวลานี้ คือ 1. ไซเมียน (ซีโมน ดู มก 6.3) เป็นผู้สืบตำแหน่งของท่านยากอบในฐานะประธาน/ผู้ ปกครองดูแลคริสตจักรที่กรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นน้องของพระเยซูเช่นท่านยากอบ และกล่าว กันว่าท่านมีอายุยืนยาวถึง 120 ปี โดยถูกตรึงด้วยคำสั่งของข้าหลวงโรมันแห่งปาเลสไตน์ในปี คศ. 107 ในระหว่างรัชกาลของจักรพรรดิทราเจิน
!
2. อิกเนเทียส เป็นผู้ปกครองดูแลคริสตจักรที่อันติโอกในซีเรีย ท่านมีความเต็มใจ รับการประหารชีวิตที่ทารุณ โดยระหว่างทางที่ไปกรุงโรม ท่านได้เขียนจดหมายถึงคริสตจักรต่าง ๆ !26
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
แสดงความหวังว่า จะไม่ยอมเสียโอกาสในการมีเกียรติที่จะตายเพื่อองค์พระผู้เป็นเจ้าของท่าน ซึ่ง ท่านได้ถูกโยนลงไปให้สัตว์ร้ายกินในโรงละครสัตว์โรมในราวปี คศ.108/110 3. โปลีขาร์ป เป็นผู้ปกครองคริสตจักรที่สเมอร์น่าในเอเซียน้อย เมื่อท่านถูกนำตัว มาต่อหน้าท่านข้าหลวงโรมันก็ได้รับคำสั่งให้ด่าพระนามของพระเยซูคริสต์ แต่ท่านได้กล่าวตอบว่า “เป็นเวลาถึง 86 ปีที่ข้าพเจ้าปรนนิบัติรับใช้พระคริสต์ของข้าพเจ้า พระองค์ไม่ทรงเคยทำผิด สิ่งใดต่อข้าพเจ้าเลย มีแต่สิ่งที่ดีทั้งสิ้น ข้าพเจ้าจะหมิ่นประมาทด่าพระองค์อย่างไรได้ พระองค์ทรงเป็นเจ้าชีวิตและพระผู้ช่วยให้รอดของข้าพเจ้า” ท่านจึงถูกเผาทั้งเป็นและเสียชีวิต ไปอย่างทารุณในปี คศ.155 เป็นต้น แท้จริงยังมีอีกหลายคนที่ยอมพลีชีพเพราะความเชื่ออย่างไร ก็ตาม การข่มเหงในช่วงรัชกาลเหล่านี้ยังสาหัสน้อยกว่าที่จะมีมาภายหลัง
!
2. จักรพรรดิมาร์คุส อาวเรเลียส : ครองราชย์ คศ.161-180 (Marcus Aurelius) เมื่อรวมกับจักรพรรดิองค์ข้างต้น จัดว่าเป็น “จักรพรรดิองค์ดีห้าองค์” เนื่องจากจักรพรรดิ มาร์คุสทรงเป็นนักปกครองที่เก่ง ยุติธรรม และได้พยายามฟื้นฟูชีวิตโรมันแบบโบราณ (ที่ไม่ พิถีพิถัน) ทั้งทางศาสนาโรมโบราณด้วย เพราะท่านเคร่งและอนุรักษ์นิยม และจึงได้ทำการต่อสู้ขัด ขวางทั้งข่มเหงคริสเตียนอย่างโหดร้าย (ข่มขืน) ท่านหาว่า พวกคริสเตียนเป็นพวกเปลี่ยนแบบจารีต ประเพณี และทำขัดกับสังคม ดังนั้น คริสเตียนผู้เชื่อหลายพันคนต้องถูกตัดศีรษะหรือโยนให้สัตว์ ร้ายกินในสนามโรงละคร บุคคลสำคัญที่ต้องเสียชีวิตในรัชกาลนี้คือ ท่านจัสติน มาร์เทอร์ (Justin Martyr) เป็นนักปรัชญา แต่ต่อมาได้กลับใจเชื่อพระเจ้า จึงได้ศึกษาศาสนศาสตร์และทำการสอนต่อ ไป ท่านเป็นคนมีความสามารถที่สุดคนหนึ่งในสมัยของท่าน และเป็นผู้ป้องกันความเชื่ออย่างออก หน้าที่สุด หนังสือของท่านก็ยังคงมีอยู่ มีค่ามากในการให้ความรู้เรื่องคริสตจักรในระยะกลางศตวรรษ ที่ 2 ท่านถูกประหารที่กรุงโรม คศ.166 หลังจากมาร์คุสสิ้นชีพใน คศ.180 พระราชบุตรคอมโมดัส (Commodus คศ.180-192) ขึ้น ครองราชย์ ท่านเป็นคนโหดร้าย มีใจชั่ว, เอาแต่ความสนุกสนาน ราชอาณาจักรก็อ่อนแอ ทำให้ต้อง เผชิญกับการจลาจลภายในหลายครั้ง แต่ก็เป็นผลดีต่อคริสเตียนคือ ไม่มีเวลาสนใจกับพวกคริสเตียน คริสตจักรกลับมีความสงบสุข ในช่วงนี้เอง พระกิตติคุณของพระคริสต์ได้เลื่องลือไปทั่วทุกหนแห่ง ในราชอาณาจักรจนกระทั่งถึงยามไกล ๆที่ห่างไกลความเจริญ และตลอดไปทั่วยุโรป ซึ่งทำให้แน่ใจ และเห็นชัดว่า พระเจ้าของเรานั้นทรงยิ่งใหญ่และควบคุมทุกสิ่งให้ดำเนินไปตามพระประสงค์สุดท้าย ของพระองค์จริง ๆ พระองค์ทรงอนุญาตให้การข่มเหงเกิดขึ้นจากการต่อสู้ของมาร แล้วพระองค์ก็ทรง สามารถยับยั้งให้สงบลงได้ ทรงใช้ทั้งสองสถานการณ์ให้เกิดผลเพื่อความรอดของมนุษย์ชาติ
!
3. จักรพรรดิเสปติมุส เซวีรัส (Septimus Servirus) คศ.193-211 เมื่อขึ้นครองราชย์ก็เริ่มปรับปรุงกิจการงานทั้งหลายของอาณาจักรโรมัน และรื้อฟื้นการขัด ขวางข่มเหงคริสเตียน ท่านมีลักษณะเป็นคนขรึมดี วินัยจัด (แต่เป็นคนขี้โรค) ได้พยายามรื้อฟื้น ศาสนาโรมันที่เก่าแก่ขึ้นใหม่แต่ก็ไม่สำเร็จ ได้ตั้งต้นข่มเหงอย่างโหดเหี้ยมในปี คศ.202 และยืดเยื้อ มาจนถึงมรณภาพของท่านเองในปี คศ.211 การข่มเหงนี้มีขึ้นทุกหนทุกแห่งทั่วราชอาณาจักร โรมัน ที่โหดร้ายที่สุดโดยเฉพาะในอียิปต์และแอฟริกาเหนือ เช่น ที่อเล็กซานเดรีย ท่านเลโอนิดาส (บิดาของนักศาสนศาสตร์ยิ่งใหญ่) ถูกตัดศีรษะฐานไม่ยอมปฏิเสธพระเยซูและท่านผู้หญิงเปร์เปตัว แห่งคาร์เทจในอัฟริกาเหนือ พร้อมกับทาสผู้ซื่อสัตย์เฟลิซิตาส์ถูกโยนให้สัตว์ร้ายกินเสียในปี คศ.203 !27
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
จักรพรรดิเปสติมุสนี้มีใจชั่วร้ายมาและนานจนนักเขียนคริสเตียนหลายท่านเรียกท่านว่าเป็น “ปรปักษ์ พระคริสต์” (Anti-Christ) ต่อมา ภายใต้จักรพรรดิหลายองค์ผู้สืบครองราชย์ต่อกันอย่างสั้น ๆ คริสตจักรได้รับการเพิก เฉยอยู่ราว 25 ปี จักรพรรดิคาราคัสสา คศ.211-217 ได้เปิดให้สิทธิสัญชาติโรมันแก่ทุก ๆคนที่มิได้ เป็นทาสทั่วราชอาณาจักร เลยเป็นประโยชน์แก่พวกคริสเตียน โดยที่ไม่ต้องถูกตรึงกางเขนไม่ต้องถูก โยนให้สัตว์ร้ายกัดฉีกอีกต่อไป เว้นไว้แต่คริสเตียนที่เป็นทาส แต่เมื่อถึงรัชกาลเดชิอุส (249-251) การข่มเหงดุเดือดก็เกิดขึ้นใหม่ แต่ทว่ารัชกาลของท่านผู้นี้สั้น การประหารคริสเตียนจึงยุติไปชั่วคราว หนึ่งพร้อมกับความตายของท่านอีกองค์หนึ่งที่น่ากล่าวถึงในช่วงนี้คือ จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์เซวีรัส (Alexander Severus 222-235) แม้จะขึ้นครองราชย์ตอนเป็นหนุ่มมีวัยเพียง 14 ปี แต่ก็มีความรอบรู้ และรอบคอบดี มีคุณงามความดีอยู่บ้าง เป็นจักรพรรดิองค์แรกที่มีไมตรีดีกับพวกคริสเตียน ได้เล่า ลือกันว่าคริสตจักรแห่งแรกได้ก่อตั้งขึ้นในการปกครองของท่าน แล้วภายหลังท่านและมารดาถูกปลง พระชนม์
!
4. จักรพรรดิเม็กซิมินัส ทราเชียน (Maximinus the Thracian คศ.235-238) เป็นจักรพรรดิที่มีความโหดเหี้ยมมาก และข่มเหงพวกคริสเตียนอย่างหนักด้วย อาจเป็น เพราะว่า จักรพรรดิก่อนชอบคริสเตียนก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลานี้โดยทั่ว ๆไปนโยบายของ คริสตจักรได้ปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้น และมีอิทธิพลในสังคมซึ่งเชื่อกันว่าขณะนั้นมี คริสเตียนอย่างน้อย 2 หมื่นคนที่กรุงโรม
!
5. จักรพรรดิเดซิอัส (Decius) คศ.249-251 เป็นจักรพรรดิองค์แรกที่กดขี่ข่มเหงคริสเตียน โดยมีแผนการที่แนบเนียนรัดกุมและจริงจัง โดยการจงใจใส่ร้ายกล่าวหาว่า คริสเตียนเป็นลัทธิความเชื่อเทียมเท็จ ใช้ไม่ได้และหลอกลวงคนทั้ง หลายให้หลงเชื่อตาม วิธีการเช่นนี้ดูเหมือนจะได้ผล คริสเตียนได้รับการกระทบกระเทือนมาก เพราะว่าการข่มเหงแบบนี้เกิดขึ้นไม่รู้ตัวและไม่มีการเตรียมตัว คริสเตียนถูกจับรวมกันเป็นกลุ่ม เพื่อ รับโทษพร้อม ๆกัน โดยถูกออกคำสั่งให้ถวายบูชารูปเคารพเอาเมล็ดข้าวโปรยลงในเพลิงไฟให้ไหม้ คริสเตียนที่ไม่ยอมทำตามก็วิ่งหนี แต่ส่วนมากหนีไม่พ้น และถูกจับกดสำลักน้ำตาย มีคริสเตียนบาง คนในตอนแรกเมื่อถูกจับได้ เอาเงินทองจำนวนหนึ่งเป็นสินบนซื้อใบรับรองว่า ได้ถวายเครื่องบูชา ตามพิธีการแล้ว ผู้ที่ถูกประหารหลายคนเป็นบิชอป และผู้นำคริสตจักร
!
6. จักรพรรดิวาเลเรียน (Valerian) คศ.253-260 ท่านได้ออกกฎหมายห้ามไม่ให้คริสเตียนจับกลุ่มประชุมกัน คริสเตียนชั้นผู้นำส่วนมากถูก ลงโทษถึงชีวิต ไชเปรียน (Ziprian) ผู้ปกครองเมืองคาร์เทจ ผู้มีชื่อเสียงเป็นนักเขียนยิ่งใหญ่คนหนึ่ง และผู้นำคริสตจักรคนสำคัญของยุคนี้ก็ถูกประหาร รวมทั้งผู้ปกครองเซกซ์ธัส (Sextus) ชาวโรมันด้วย และคริสเตียนผู้มีตำแหน่งต่าง ๆก็ถูกปลดตำแหน่งและริบทรัพย์สิน บางคนก็ถูกทรมานถึงตาย ส่วน พวกผู้หญิงก็ริบสิ่งของเครื่องใช้และเนรเทศให้ออกไปอยู่ต่างแดนที่ไอรี (Eaile) ในระยะนี้ก็มีจักรพรรดิ อีกองค์คือ กัลลีนัส (Galienus) คศ.260-268 เป็นจักรพรรดิที่รอบรู้คงแก่เรียน ใช้สติปัญญาและ ปรัชญาได้สั่งเปลี่ยนนโยบายอนุญาตให้พวกคริสเตียนมีเสรีภาพในการจัดประชุม (Freedom of !28
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
Worship) นั้นก็คือ ศาสนาคริสเตียนได้รับการรับรองตามกฎหมาย และคริสเตียนสามารถมีสิทธิ ครอบครองที่ดิน มีตำแหน่งรับราชการ และอยู่ในระดับบริหารได้ด้วย แต่ขณะเดียวกันก็มีพวกนัก ปรัชญาที่ไม่เชื่อพระเจ้าพูดคัดค้านต่อสู้ด้วยคำสอนและศาสนศาสตร์ นี้จึงเป็นการเริ่มต้นของสงคราม ความรู้ศาสนศาสตร์ (Intellectual War) ระหว่างผู้นำคริสเตียน และนักปรัชญาต่างชาติ (Pagan Philosophers) ซึ่งมีตลอดจนถึงศตวรรษที่ 4 อย่างไรก็ตามเราพูดได้ว่า ตั้งแต่ คศ.260-305 ว่า ไม่มีการข่มเหงคริสเตียนที่รุนแรง และใน ช่วงหลังศาสนากลายเป็นศาสนาที่นิยมมาก มีคนมากมายและคนร่ำรวยมาร่วมเชื่อถือด้วย เหตุผล เป็นเพราะเมื่อมีการต่อสู้ด้านศาสนศาสตร์กับพวกนักปรัชญาต่างชาติ พวกนักเขียนคริสเตียนชั้นนำ ก็ได้ศึกษาค้นคว้าเขียนหลักคำสอนศาสนศาสตร์ โดยใช้ภาษา ศัพท์ ปรัชญากรีกเป็นหลัก และได้ ขยายพัฒนาการโต้ตอบป้องกันให้เหตุผลความเชื่อของคริสเตียน โดยใช้พื้นฐานของปรัชญาทำให้คน ทั้งปวงอ่านศึกษาแล้วเข้าใจดี
!
7. จักรพรรดิออริเลียน (Aurelian) คศ.270-275 เป็นจักรพรรดิที่มีพระปรีชาสามารถ เป็นแม่ทัพที่เก่งกล้ามาก ท่านได้สู้รบยึดเอาดิน แดนเมืองขึ้นที่ถูกตีไปคืนมาได้ จนถึงขนาดได้รับการขนานนามว่า “ผู้ปรับปรุงก่อตั้งโลกให้ มั่นคง” (The Restorer of the World) ในปี คศ.275 หลังจากที่ท่านสามารถตีเอาดินแดนคืนมาได้ ทั้งหมด ก็ถูกปลงพระชนม์นายพลโปปัส (Probus คศ.276-282) ขึ้นครองราชย์แทน ดังนั้น การ ข่มเหงคริสเตียนในรัชกาลนี้จึงไม่ได้มีขึ้น นอกจากการรบกวนภายในคริสตจักร คือ การต่อสู้ด้าน ศาสนศาสตร์กับพวกนักปรัชญาต่างชาติที่เรียกว่า สงครามสติปัญญาความรู้ (Intellectual War)
!
8. จักรพรรดิโอเคิลเทียน (Deocletian) คศ.284-305 และกาเลเรียส (Galerius) คศ. 305-311 เป็นแม่ทัพที่มีความเก่งกล้าและปรีชาสามารถมาก เป็นรัฐบุรุษที่มีสติปัญญาดี เมื่อขึ้นครอง ราชย์ เห็นว่า ราชอาณาจักรกว้างใหญ่เกินไปที่จะปกครองคนเดียว จึงเลือกเพื่อนร่วมการปกครอง ช่วยเหลือโดยแบ่งออกเป็น 4 อาณาเขต อีก 3 คนคือ แม๊กซิมินัส กาลีเรียส และคอนสแตนตัส อาณาจักรได้รับความผาสุกอย่างดี จากรัฐบาล แต่ความยุ่งยากสับสนระหว่างการปกครองและผู้ บริหารก็มีบ่อยครั้ง ส่วนมากเกี่ยวกับการเก็บภาษีอากรเข้ารัฐเพิ่มมากขึ้น แล้วการอุตสาหกรรมเพาะ ปลูก และการพาณิชย์ของราชอาณาจักรก็เสื่อมโทรมลง ทางพวกคริสเตียนก็ได้มีคริสตจักรใหม่สร้าง ขึ้นอีกหลายแห่ง และมีผู้รับเชื่อกลับใจใหม่อยู่เรื่อย ๆ จนกระทั่งดิโอเคิลเทียนชราลง การีเรียสถูก ภรรยายุแหย่ จึงถือโอกาสข่มเหงคริสเตียน โดยปลดยศและให้คริสเตียนออกจากตำแหน่งต่าง ๆทั้ง ถูกริบทรัพย์สิน เงินทอง ที่ดิน อาคารที่อยู่อาศัยทั้งหลาย มีการเผาพระคัมภีร์และการทำลายล้าง อาคารคริสตจักรทั่วราชอาณาจักร แต่ดิโอเคิลเทียนไม่ยอมให้มีการฆ่าทำลายคริสเตียน และปลูกฝัง พวกเด็ก ๆให้ปฏิเสธหรือละทิ้งความเชื่อ และให้คิดว่าเป็นสิ่งไม่ดี สอนโดยครูที่ไม่เชื่อพระเจ้า การ กดขี่ข่มเหงมีมากตลอดจนถึง คศ.313 เมื่อออกกฎหมายใหม่ คริสเตียนมีสิทธิ์บ้างในการนมัสการ พระเจ้า เพราะท่านเป็นโรคหัวใจรักษาไม่ได้ ได้เรียกร้องให้คริสเตียนอธิษฐานเผื่อ สุดท้ายหัวใจวาย สิ้นชีพ
!
9. สมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) คศ.312-337 !29
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เมื่อดิโอเคิลเทียนสละราชบัลลังก์ในปี คศ.305 และคอนสแตนเทียสถูกฆ่าตายปี คศ.306 อาณาจักรโรมันก็เริ่มปั่นป่วน มีการจลาจลเกิดขึ้นบ่อย ๆนำไปถึงการสงครามระหว่างผู้นำทั้งหลาย เรียกร้องสิทธิจะครองโรม สงครามสิ้นสุดลงในปี คศ.312 เมื่อคอนสแตนติน บุตรของคอนสแตน เทียส) เป็นผู้ได้ชัยชนะครอบครองราชอาณาจักรโรม และขึ้นครองราชย์ ในปี 313 ได้ออกพระ ราชโองการรับรองคริสตจักร (เนื่องจากเป็นคริสเตียนมาก่อนแต่ไม่ได้เปิดเผยตัว) ว่า คริสเตียนได้รับ อนุมัติให้ปฏิบัติการนมัสการต่างๆทั้งหลายเป็นการถูกต้องตามกฎหมาย และอนุญาตให้ทุกคนมี เสรีภาพเสมอภาคในการถือศาสนา การข่มเหงคริสเตียนก็สิ้นสุดลงอย่างสิ้นเชิง
!30
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หน่วยที่ 2 กำเนิดพระคำภีร์ใหม่และผู้นำกลุ่มต่างๆ Origin of the New Testament and Various Groups !
2.1 การจัดรูปเล่มของพระคัมภีร์ใหม่ที่ได้มาตราฐาน (Canon of the New Testament)
!
1. ความหมายของคำว่า “แคนอน” (Canon) ของพระคัมภีร์ใหม่ “Canon” มาจากภาษากรีกว่า Canon ซึ่งหมายถึง หลัก หรือ มาตราฐานที่ใช้เป็นเครื่องวัด สิ่งต่าง ๆ เมื่อเอาคำนี้ใช้กับพระคัมภีร์แล้ว ความหมายทั้งสองอย่างของคำนี้ก็ใช้หมายความว่า คือหลักที่พระเจ้าทรงนำและประทานให้รู้ว่า หนังสือหรือจดหมายฝากเล่มใดได้มาตราฐาน การเขียนโดยการดลใจ และการทรงนำจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระองค์ที่จะถือได้ว่า หรือถูกจัด ได้ว่าเป็นพระคำของพระเจ้า (พระคัมภีร์) ซึ่งการจัดและการยอมรับว่าเป็นพระคัมภีร์นี้ไม่ใช่เพราะคน กลุ่มหนึ่งหรือสภาหนึ่งเห็นว่า หรือบอกว่าเล่มนี้หรือเล่มนั้นใช้ได้ หรือก็ใช้ไม่ได้ แต่แท้จริงเป็นเพราะ หนังสือหรือจดหมายที่จัดว่าเป็นพระคำของพระเจ้าจริง ๆนั้น ในตัวมันเองมีสิทธิอำนาจ (Authority) และมีเครื่องหมายว่าถูกเขียนขึ้นโดยการดลใจของพระเจ้า (Stamp of Divine Origin or Inspiration) ดังนั้น ด้วยความหมายที่กล่าวมานี้ คำว่า “Canon” จึงแปลความว่า คือการยอมรับว่า หนังสือเล่มหนึ่งเล่มใดเป็นพระคำของพระเจ้าที่มีอำนาจ และที่พระเจ้าทรงดลใจให้เขียนขึ้นจริง ๆ เมื่อเราพูดว่า “The Canon of the New Testament” ก็แปลว่า หนังสือพระคัมภีร์ใหม่ที่จัดได้ว่าเป็น พระคำของพระเจ้าที่มีอำนาจ และได้หลักมาตราฐานตามการดลใจของพระเจ้าให้เขียนขึ้น ซึ่งการจัด รูปเล่มพระคัมภีร์ใหม่ได้ใช้เวลาเป็นร้อย ๆปี ซึ่งเป็นผลของการใช้ความคิดสติปัญญาที่มาจากพระเจ้า ในการศึกษาค้นคว้าตีความหมายของคริสเตียนผู้นำมากมายหลายท่าน ด้วยการช่วยเหลือและดลใจ จากพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าที่ทำให้พระคัมภีร์ใหม่เป็นรูปเล่มขึ้นมาประกอบด้วย 27 เล่ม เพราะการเลือกและการจัดรูปเล่มของพระคัมภีร์ใหม่ก็แตกต่างและยากกว่าของพระคัมภีร์เดิม เนื่องจากเมื่อพระเยซูทรงดำเนินอยู่ในโลกนี้ พระองค์และเหล่าสาวกก็มีพระคัมภีร์ส่วนหนึ่งแล้ว คือ พระคัมภีร์เดิมซึ่งเป็นของคนยิว แต่ทุกคนก็ถือว่าเป็นพระคำของพระเจ้าที่บริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจ สูงสุด (Holy and Authoritative) แต่อย่างไรก็ตาม เรามีพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่พระเยซูทรงสัญญาไว้ ว่า พระองค์จะเป็นผู้นำเราทั้งหลายไปสู่ความจริงทั้งมวล (ยน 16.13) ดังนั้น พระคัมภีร์ข้อนี้สำเร็จ เรามี Canon ของพระคัมภีร์ใหม่
!
2. ช่วงระยะเวลาของประวัติการจัดสาระบบพระคัมภีร์ใหม่
แบ่งเป็น 5 ช่วงดังนี้ (1) ศตวรรษแรก “พระคัมภีร์ถูกเขียนขึ้น” ในศตวรรษแรก เป็นช่วงที่พระคัมภีร์ใหม่ถูกเขียนขึ้น โดยเชื่อกันว่า เล่มที่ถูกเขียน ขึ้นเป็นเล่มแรก คือ พระธรรมยากอบ (ใน คศ.45) ส่วนเล่มสุดท้ายคือ พระธรรมวิวรณ์ (ใน คศ.96) !31
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(2) ศตวรรษที่ 2 “พระคัมภีร์ถูกอ่านและสอนในคริสตจักรต่าง ๆ “ ในระยะนี้ มีชื่อหนึ่งที่เราควรรู้จักคือ Apostolic or Church Fathers เป็นชื่อเรียก พวกผู้นำคริสเตียนที่เขียนหนังสือขึ้น และมีความสัมพันธ์กับพวกอัครสาวกและบางคนก็เป็นลูกศิษย์ ของอัครสาวก ซึ่งมีคนสำคัญ ๆหลายท่านคือ บารนาบัส แคลเมนท์ (Clement) เฮรมาส อินาเทียส พาพัส โปลิขาร์ป เป็นต้น เราอาจแบ่งระยะนี้ออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 2 ที่พระคัมภีร์ (หนังสือและจดหมายฝากที่ถูกเขียนขึ้น ในศตวรรษที่ 1 ถูกใช้และอ่านกันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่ยอมรับของคริสเตียนทั้งหลายในคริสต จักร ผู้นำทั้งหลายเมื่อสั่งสอนก็อ้างและใช้พระคัมภีร์เหล่านี้เป็นหลัก พาพัสอ้างพระคัมภีร์นี้และเรียก ว่า เป็นพระคำ (ของพระเจ้า) ที่ถูกเขียนขึ้นมีอำนาจ และบาซีลีเดส (Basilides) เมื่ออ้างพระคัมภีร์ เหล่านี้ก็พูดว่า “It is Written ตามที่ได้เขียนไว้” เหมือนเมื่อพระเยซูพูดอ้างถึงพระคัมภีร์เดิม ช่วงหลังของศตวรรษที่ 2 เป็นช่วงที่มีการแปลพระคัมภีร์ การศึกษาอย่างมากและ เขียนเป็นตำราขึ้น (Commentary) มัทธิวถูกแปลเป็นภาษาฮีบรู และมีการแปลเล่มอื่น ๆเป็นภาษา ต่าง ๆ เช่น ภาษละตินเก่าสำหรับคนแอฟริกา ภาษาซีรีเอค (Syriac)สำหรับคนตะวันออก และ ภาษาอียิปต์ ส่วน Commentary มีผู้นำคริสเตียนยุคแรกหลายท่านเขียนขึ้น เช่น พาพัสเขียน Commentary เกี่ยวกับคำพยากรณ์ของพระเยซู เฮราเคิลออน เขียนเกี่ยวกับพระกิตติคุณ และคน อื่นๆ ที่กล่าวชื่อข้างบนก็เขียนด้วย (3) ศตวรรษที่ 3 “พระคัมภีร์ใหม่ถูกคัดเลือกและถูกแยกออก” ในระยะนี้ เราเห็นว่า มีความเจริญก้าวหน้าของการเรียนและศึกษาพระคัมภีร์อย่าง มาก ผู้นำคริสเตียนนอกจากศึกษาค้นคว้า ตีความหมายพระคัมภีร์มากขึ้นแล้ว ยังมีการคัดลอกพระ คัมภีร์ออกใหม่ทั้งพระคัมภีร์เดิมและใหม่ ยิ่งกว่านั้นต่อมามีการปรับปรุงพิจารณา พระคัมภีร์ใหม่ และสอนย้ำเรื่องความแท้จริงและการดลใจของพระเจ้าของพระคัมภีร์ใหม่ เขียนแบบคำเทศนา (Homiletic) ที่กรุงเยรูซาเล็ม ซีซารียา โรม อันทิโอก อเล็กซานเดรียเริ่มมีห้องสมุด เพื่อใช้เป็นที่ เก็บต้นฉบับของพระคัมภีร์ หนังสือ และผู้นำคริสเตียนชื่อ เทอร์ทิวเลียนเป็นคนแรกที่เรียกพระคัมภีร์ ที่เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 1 ว่า “พระคัมภีร์ใหม่” แล้วก็มีการเลือกและรวบรวมเข้าเป็นเล่ม เพื่อใช้เป็น อำนาจและหลักความเชื่อของคริสเตียนที่ถือว่า พระคำของพระเจ้าที่แตกต่างจากหนังสือคริสเตียน อื่นๆ ของผู้นำคริสเตียน ซึ่งมีบางคนเท่านั้นยอมรับว่า เป็นพระคัมภีร์ใหม่ได้ แต่ส่วนมากไม่ยอมรับ ที่ยอมรับกันว่า เป็นพระคัมภีร์ใหม่ก็คือ หนังสือหรือจดหมายฝากที่เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 1 (4) ศตวรรษที่ 4 “การเลือกและรวบรวมพระคัมภีร์ใหม่ให้เรียบร้อย” ในระยะนี้ คริสเตียนส่วนมากยอมรับว่า พระคัมภีร์ใหม่ (ที่เรามีอยู่เดี๋ยวนี้) เป็น Canon ของพระคัมภีร์ใหม่ แต่มีผู้นำคริสเตียน (เช่น Eusebuis ไม่เห็นด้วยกับบางเล่ม) ได้มีการประชุมสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในปี คศ.363 เพื่อศึกษาค้นคว้า และตกลงเรื่อง Canon ของพระ คัมภีร์ใหม่ เรียกว่า สภาของเลาดีเซีย แต่มีตัวแทนไม่ครบทุกคริสตจักร แต่ต่อมามีครั้งที่ 3 ที่เรียก ว่า สภาของคาร์เทจ (Carthage) ในปี คศ.394 ตกลงกันและประกาศ Canon ของพระคัมภีร์ใหม่มี 27 เล่มด้วยกัน ตามที่เรามีอยู่เดี๋ยวนี้ ตั้งแต่นั้นมาการถกเถียงเรื่อง Canon ของพระคัมภีร์ใหม่ก็ไม่มี อีกเลย ยิ่งกว่านั้นในปี คศ.412 มีสภาของฮิปโปศึกษาค้นคว้าอีกครั้ง และประกาศว่า Canon ของ !32
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
พระคัมภีร์ใหม่มี 27 เล่มเท่านั้นตามสภาของคาร์เทจ เราจึงเชื่อและรู้ว่าพระเจ้าของเราผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงสร้างโลกนี้ (มนุษย์)และจักรวาล ทรงควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปตามแผนการและน้ำ พระทัยของพระองค์ และของพระคัมภีร์ใหม่นี้ พระวิญญาณก็ทรงดลใจให้เขียนขึ้น เพื่อจะให้เป็น พระคัมภีร์ใหม่ที่ประกอบด้วย 27 เล่มตามที่เรามีอยู่ปัจจุบัน
!
3.หลักหรือมาตรการที่ใช้กำหนดว่า หนังสือเล่มใดควรจัดเข้าในสาระบบพระคัมภีร์ใหม่ คริสตจักรใช้มาตรการ7 ประการในการจัดสาระบบพระคัมภีร์ใหม่ ดังนี้ (1) โดยการดลใจ (Inspiration) มีหลักฐานในหนังสือว่า ได้รับการดลใจหรือไม่ นี่ เป็นหลักที่สำคัญที่สุด (2) หลักข้อเชื่อ (Doctrine) มีหลักคำสอนและหลักข้อเชื่อที่ถูกต้องและสอดคล้องกับ ของพระคริสต์และของพวกอัครสาวกหรือไม่ (3) ใช้ประโยชน์ได้ทั่วไป (Usefulness) ดูว่าหนังสือนี้เป็นประโยชน์แก่คริสตจักร ได้มากน้อยแค่ไหนหรือไม่ (4) มีการอ่านในคริสตจักร (Read in the Church) คริสตจักรทั่วไปยอมรับหรือไม่ และนิยมอ่านกันและใช้สั่งสอนในคริสตจักรหรือไม่ (5) คุณภาพของเนื้อหา (Quality of the Book) เนื้อหาในหนังสือ มีความหมาย ทางด้านจิตวิญญาณพอที่จะเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในพระคัมภีร์ที่จะใช้ในการสั่งสอน ตักเตือน แนะนำ หนุนใจ และท้าทายคริสเตียนหรือไม่ (6) เป็นที่ยอมรับของผู้นำคริสเตียน (Acceptedfully by the Church Leaders) (7) เขียนโดยอัครสาวกหรือไม่ (Written by the Apostles)
2.2 กำเนิดกลุ่มผู้นำต่างๆ และลัทธิความเชื่อต่างๆ
!
2.2.1 การกำเนิดระบบสังฆาธิปไตย (Episcopacy) 1. สาเหตุของการก่อกำเนิดระบบสังฆาธิปไตย ระบบสังฆาธิปไตย คือระบบการปกครองคริสตจักร โดยพวก Bishop เป็นใหญ่สูงสุด สาเหตุของการก่อกำเนิดระบบสังฆาธิปไตยมีดังนี้
!
(1) สิทธิอำนาจของอัครสาวก (Apostolic Circle - วงจรสาวก) หมดไป ตามที่เรารู้ว่า อัครสาวกยอห์นเป็นคนสุดท้ายที่สิ้นชีพในราวปี คศ.100 โดยมิได้มี การกำหนดบุคคลใดผู้มีความสามารถในตัวเป็นผู้สืบตำแหน่งต่อไป และในช่วงระยะนี้ (ราว 30-40 ปี) ประวัติศาสตร์คริสตจักรก็เงียบหายไป ไม่รู้งานของอัครสาวกใครเป็นผู้รับผิดชอบ แล้วต่อมา เราพบ ชื่อของผู้นำคริสเตียนใหม่ ๆปรากฏออกมาเป็น Bishop มีอำนาจปกครองคลุมไปหลาย ๆคริสตจักร ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำหน้าที่คล้ายอัครสาวกที่คอยควบคุมดูแลคริสตจักรทั้งหลาย เพราะเหมือนวงจร อัครสาวกหมดไปก็ย่อมทำให้เกิดความจำเป็นต้องเลือกผู้นำใหม่ขึ้นมาทดแทน
!
!33
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(2) ความเจริญเติบโตและการขยายตัวของคริสตจักรท้องถิ่น เป็นสาเหตุที่สองที่ทำให้เกิดระบบสังฆาธิปไตย เพราะเมื่อคริสตจักรยังมีน้อยแห่ง และอยู่ไม่ไกลเกินไป อัครสาวกยังพอไปเยี่ยมเยียนดูแลเป็นครั้งคราวได้ แต่เมื่อคริสตจักรเจริญ เติบโตขึ้นแพร่หลายออกไปกว้างขวางทั่วราชอาณาจักร คลุมไปหลายประเทศและหลายเชื้อชาติ จึง ทำให้มีความต้องการมีหัวหน้าหรือผู้รับผิดชอบดูแล ควบคุมและช่วยเหลือในแต่ละคริสตจักรเรื่องวินัย หลักคำสอน ข้อเชื่อ ฯลฯ
!
(3) การข่มเหงของรัฐ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของการมีระบบสังฆาธิปไตย กล่าวคือ เมื่อการข่มเหงมาถึงก็เป็น เครื่องดึงดูดให้คริสตจักรต่าง ๆ ต้องรวมตัวกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อรวมกำลังและหนุนใจยืน หยัด และยึดมั่นในความเชื่อต่อสู้กับการข่มเหง เพราะเหตุรวมนี้ ทำให้ต้องการมีจัด (ปรับปรุง) ระบบการปกครองตามเหตุการณ์ตามความจำเป็น โดยต้องมีผู้นำกลุ่ม ผู้นำคริสตจักร ผู้นำภาค และผู้นำในทุก ๆด้านที่จะเป็นหลักยึดตนเองไว้ จึงทำให้มีระบบสังฆาธิปไตยเกิดขึ้นในคริสตจักร เพื่อที่จะรวมตัวกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และคริสตจักรต้องเป็นอย่างน้อยในชั่วอายุคน ทำให้แบบ การปกครองสังฆาธิปไตยเป็นแบบถาวรขึ้น
!
(4) คณะนิกายและพวกลัทธินอกรีตแบบต่าง ๆเกิดขึ้น ในขณะที่คริสตจักรต้องเผชิญกับอันตรายจากภายนอก คือ การข่มเหงจากรัฐ คริสต จักรก็ต้องเผชิญกับภัยอันตรายจากภายใน คือ มีคณะนิกายและลัทธินอกรีตต่าง ๆ เกิดขึ้นในเวลา เดียวกัน ทำให้คริสเตียนจำต้องมีและใช้บรรทัดฐานของความเชื่อและอำนาจการปกครองบางประการ สำหรับควบคุม และบังคับพวกเชื่อผิดเหล่านั้น มิฉะนั้นแล้ว คริสตจักรก็จะถูกคุมคามทำให้ความมั่น คงของคริสตจักรอ่อนลงในด้านต่าง ๆ เช่น หลักความเชื่อ ชีวิตคริสเตียนที่ไม่ถูกต้องและบริสุทธิ์ ผิดจากพระคัมภีร์ เป็นต้น
!
(5) ระบบสังฆาธิปไตย : เลียนแบบการปกครองของรัฐ ระบบสังฆาธิปไตยก็คือ การปกครองที่บัญชา (มีอำนาจสูงสุด) มาจากตำแหน่งสูง โดยบิชอป (สังฆราชหรือเจ้าอธิการ) แทนที่จะปกครองกันแบบเสมอภาค ในศตวรรษแรก เราจะพบ ว่านี่เป็นการเลียนแบบการปกครองของรัฐบาลโรมัน
! !
2. ความแตกต่างของระบบสังฆาธิปไตยกับระบบการปกครองในคริสตจักรยุคอัคร สาวก (ศตวรรษที่ 1) 1. มีบิชอปทำหน้าที่รับผิดชอบนำและปกครอง คริสตจักรสูงสุดคนเดียว และมีคณะอาวุโส และมัคนายกเป็นผู้ช่วย 2. เน้นการมีและใช้อำนาจเป็นขั้นตอนลงมา
1. อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ นำและปกครองคริสตจักรอยู่ที่กลุ่ม คณะบิชอป(ผู้ปกครองดูแล) ผู้อาวุโส และมัคนายกร่วมกัน 2. เน้นความเสมอภาคในกลุ่มคณะผู้ !34
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เจ้าอธิการ (บิชอป)มีอำนาจสูงสุดใน คริสตจักร
ปกครองอาวุโสที่นำและรับผิดชอบ คริสตจักรร่วมกัน โดยคนหนึ่งทำ หน้าที่เป็นประธานเท่านั้น 3. เลือกตั้งโดยเลือกจากสมาชิกของคริสตจักร 3. เลือกจากสมาชิกของคริสตจักรที่มี ที่เป็นผู้อาวุโส ศิษยาภิบาลหรือผู้ปกครองของ แววและมีความเชื่อขั้นดี โดยกลุ่ม คริสตจักรแล้ว จะดำรงอยู่ในตำแหน่งตลอดชีวิต อัครสาวกเป็นผู้แต่งตั้งและเจิมทำ รับการเลือกตั้ง โดยบรรดาเจ้าอธิการที่อยู่ใกล้ พิธีวางมือบนศีรษะ เคียงทำวิธีวางมือบนศีรษะ
!
หมายเหตุ สิ่งที่ควรรู้และจดจำก็คือว่า ตลอดยุคที่ 2 นี้ (คริสตจักรสมัยเริ่มแรก) ที่บิชอปมีตำแหน่ง อำนาจและหน้าที่สูงสุดในคริสตจักรนั้น ไม่มีบิชอปคนใดอ้างสิทธิปกครองทั่วสากล กล่าวคือ บิชอปของแต่ละคริสตจักรไม่มีอำนาจเหนือบิชอปคนอื่น หรือเหนือกลุ่มบิชอป แต่ในเวลาต่อ มา บิชอปแห่งโรมได้อ้างตัวเองว่า เป็นบิชอปสูงสุดของคริสตจักรกรุงโรม และของคริสตจักร อื่น และบิชอปทั้งหลาย ที่เราเรียกว่า โป๊ป (Pope - สันตะปาปา) ในปัจจุบัน
!
2.2.2 ผู้ให้เหตุผลหลักข้อเชื่อ (The Apologists) เนื่องจากการที่คนไม่เชื่อพระเจ้าและคนโรมัน ต่อสู้ขัดขวางคริสเตียนและรัฐบาลโรมัน ก็มี ทัศนคติทางลบอย่างรุนแรงกับคริสเตียน ทำให้คริสเตียนจำนวนหนึ่งต้องเขียนหนังสือ (เหตุผลหลัก ข้อเชื่อ Literary Defenders) เพื่อป้องกันความเชื่อ เป้าหมายสำคัญในการเขียนของพวกเขา คือ ที่จะ อธิบายให้เห็นว่า ศาสนาคริสเตียนเป็นสิ่งดีถูกต้องที่สามารถช่วยชีวิตมนุษย์ สังคม และประเทศได้ มากกว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใด (ศาสนา) ในคำอธิบายของพวกเขาออกมาค่อนข้างดีมาก 1) คิวดราทัส (Quadratus) เป็นสาวกคนแรกประจำอยู่ที่กรุงเอเธนส์ในราวปี คศ.125 ท่าน ได้ยื่นหนังสืออธิบายเหตุผลหลักข้อเชื่อของคริสเตียน (Defense of Christianity) ต่อจักรพรรดิฮาเดย์ ซึ่งส่วนหนึ่งได้ถูกเก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน
!
2) อาริสไทดส์ (Aristides) เป็นนักปราชญ์คริสเตียนชาวเอเธนส์เหมือนกัน ได้เขียนแล้วยื่น หนังสืออธิบายเหตุผลหลักข้อเชื่อของคริสเตียนต่อจักรพรรดิแอนโทนินัส ปิอุส (Antoninus Pius) ใน ปี คศ.140
!
3) จัสติน มาร์เทอร์ (Justin Martyr) เกิดที่ชีเชม (Shechem) ในปี คศ.100 ที่กรุง สะมาเรียโบราณ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพวกคนต่างชาติ ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงโรมได้รับการ ศึกษาเล่าเรียนอย่างดี จนท่านกลายเป็นนักเรียนปรัชญาที่เก่งและมีความกระตือรือล้นมาก แต่ต่อมา ท่านได้กลับใจมายอมรับเชื่อว่า ศาสนาคริสเตียนเป็นปรัชญาสูงสุดและเก่าแก่ที่สุดที่มาจากพระเจ้า ฉะนั้นเมื่อมาเป็นคริสเตียนก็ยังคงเป็นนักปรัชญาอยู่ต่อไป ต่อมาในปี 153 ได้เขียนหนังสืออธิบาย เหตุผลหลักข้อเชื่อ (Apology) ขึ้นแล้วยื่นต่อจักรพรรดิแอนโทนินัส ปิอุส แล้วต่อมาก็ได้เขียนขึ้นอีก เล่มหนึ่งในระหว่างเดินทางไปเยี่ยมกรุงเอเฟซัส ด้วยจุดมุ่งหมายเขียนขึ้น เพื่ออธิบายเหตุผลหลักข้อ เชื่อปกป้องและต่อสู้คำคัดค้านของพวกยิวที่ค่อนข้างร้ายและโจมตีหลักความเชื่อของคริสเตียน ซึ่ง เรียกชื่อเอกสารนี้ว่า “ไดอาลอกกับไทรโฟ” (Dialogue with Trypho) หรือบทสนทนากับไทรโฟ ชีวิต !35
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ของจัสตินได้เป็นพระพร และหนุนใจพี่น้องคริสเตียนอย่างมากในเรื่องความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง พระเจ้า พระคัมภีร์และความเชื่อในพระเจ้าอย่างมั่นคงมาก จนในปี คศ.166 เพราะท่านเป็นพยาน ยืนยันหลักข้อเชื่อในพระเจ้าของท่านอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว จึงถูกประหารชีวิตที่กรุงโรม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกท่านว่า “มาร์เทอร์” (Martyr) ที่แปลว่า ผู้ถูกฆ่าตายเพราะการเป็นพยานยืนยันความเชื่อใน พระคริสต์
!
4) ทาเทียน (Tatian) เป็นนักปรัชญาได้เดินทางมาจากเมโซโปเตเมียไปที่กรุงโรม เมื่อมาพบ กับท่านจัสติน ก็ได้สมัครเป็นลูกศิษย์ เนื่องจากความบริสุทธิ์ศักดิ์สิทธิ์ของพระคัมภีร์ของคริสเตียนที่ ได้ดึงดูดความสนใจของท่าน ทำให้ท่านกลับใจเป็นคริสเตียน ท่านได้ศึกษาและและค้นคว้าพระคัมภีร์ อย่างมาก โดยเฉพาะหนังสือพระกิตติคุณทั้ง 4 เล่ม ซึ่งภายหลังท่านได้เขียนรวบรวมใหม่เป็นเล่ม เดียว โดยได้ทำการตัด ย่อ และเพิ่มเติมเหตุผลหลักข้อเชื่อ (Apology) ต่อจักรพรรดิเดียเทสสารอน (Diatessaron) แต่ต่อมาชีวิตในบั้นปลายของท่านไม่ค่อยดีคือ เมื่อท่านชราลง ก็ได้เยือกเย็นลงใน ความเชื่อในพระเจ้า ได้เกิดมีความสงสัยในพระเจ้าและพระวจนะของพระองค์ เพราะทาเทียนได้ “พองตัวขึ้น” (ตามคำสอนในพระธรรม 1 คร 8.1) กลายเป็นคนที่นับถือ/ยึดมั่นในลัทธิความรู้ (Gnosticism)ไป จากคำบอกเล่าในหนังสือของอิเรนีอัส (Irenaeus)
!
5) เมลิโต (Melito) เป็นบิชอปแห่งเมืองซาร์ดีส (Sardis) ก็ได้เขียนหนังสือ Apology ขึ้นใน ราวปี คศ.169 และเล่มที่ 2 ในปี คศ.180 ด้วย
!
6) เอเทนธ์นาการัส (Athenagarus) ถึงแม้จะเป็นผู้ที่ไม่มีใครรู้จัก แต่ท่านก็ได้เขียนหนังสือ Apology ขึ้นในราวปี คศ.177 ซึ่งหนังสือของท่านนี้ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างปลอดภัย 7) ทีโอฟีลัส (Theophilus) เป็นบิชอปแห่งอันติโอก ท่านได้เขียนเอกสาร Apology เพื่อส่ง ไปยังผู้ที่ยังไม่เชื่อพระเจ้าคนหนึ่งชื่อ โอโตไลคัส (Autolycus) ผู้ซึ่งท่านได้พยายามจะนำมาเชื่อพระเจ้า โดยการเขียนอธิบายเหตุผลและชี้ให้เห็นชัดเจนถึงความไม่จริงและไม่ดีของลัทธิศาสนาอื่น ๆที่ไม่เชื่อ ในพระเจ้า หมายเหตุ หนังสืออธิบายเหตุผลหลักข้อเชื่อ (Apology) ที่เขียนโดย Apologist เหล่านี้ได้มีส่วนช่วย ในการพัฒนาความรู้ และหลักคำสอนศาสนศาสตร์ในเวลาต่อมา ซึ่งงานของจัสตินถือว่าเป็นงานชิ้นที่ สำคัญที่สุด
!
2.2.3 พวกบิดาคาทอลิกในสมัยแรก (Early Catholic Fathers) ในขณะที่พวก Apologist เป็นผู้ให้เหตุผลปกป้องความเชื่อคริสตศาสนาจากการโจมตีของ พวกยิว และคนโรมันที่ข่มเหงคริสตจักร ส่วนพวก Catholic or Apostolic Fathers ทำหน้าที่อธิบาย ให้เหตุผลต่อสู้ป้องกันพวกที่เชื่อผิด/ลัทธิเทียมเท็จ (นอกรีต)ต่าง ๆที่แพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็วใน เวลานั้น ซึ่งอาจพูดได้ว่า เป็นศัตรูภายในของคริสตจักร ด้วยเหตุนี้บางท่านจึงเรียกพวกบิดาคาทอลิก เหล่านี้ว่า Polimicist คริสตจักรในเวลานี้อยู่ในสภาพอันตรายมากเพราะมีการข่มเหงจากรัฐ (ภายนอก) ส่วน ภายในก็อ่อนแอเพราะลัทธินอกรีต จึงเกิดมีพวกบิดาคาทอลิdขึ้น เพื่อช่วยป้องกันด้านความเชื่อของ !36
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
คริสตจักร แต่วิธีการแก้ไขของพวกเขาได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านศาสนศาสตร์ต่อมาภายหลังพอสมควร ทีเดียว ดังที่จะศึกษาต่อไป บิดาคาทอลิกหรือผู้ต่อสู้ลัทธิเทียมเท็จที่สำคัญมีดังนี้
!
1. อิเรนิอัส (Irenaenus) คศ.130-202 เกิดที่เอเซียน้อย และเติบโตขึ้นที่สเมอริน่า (Smyran) ที่ซึ่งท่านได้พบและเรียนจากโปลิ ขาร์ป(Polycarp) แล้วท่านได้ย้ายไปอยู่ที่คริสตจักรเมืองไลออนส์ (Lyons) ซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ ฝรั่งเศส ในปี คศ.177 มีการข่มเหงคริสเตียนครั้งใหญ่ เจ้าอธิการแห่งเมืองนี้ชื่อ โปทินัส (Pothinus) ผู้ซึ่งมีร่างกายอ่อนแอและมีอายุมากกว่า 90 ปีแล้ว ต้องถูกทนทุกข์ทรมานจนตาย ต่อมา อิเรนิอัส ก็ได้รับเกียรติถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าอธิการแทน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่อันตราย แต่ท่านก็รับด้วยใจกล้าหาญ และมีภาระเพื่อช่วยและนำคริสตจักรต่อไป การข่มเหงคริสเตียนได้เบาบางลง แต่ลัทธิการสอนผิดได้ มีเพิ่มมากขึ้น ทำให้ท่านมีความห่วงใยมาก ได้ทำการเขียนหนังสือและสั่งสอนคริสตจักรถึงความจริง ของพระเจ้า และรับใช้คริสตจักรจนถึงปี 202 ในรัชกาลของเชปทิมัส เซวิรัส ที่ท่านได้รับการทน ทุกข์ทรมานถึงแก่ชีวิต ท่านเป็นคนที่มีไหวพริบดี มีความรู้ สติปัญญาสูง ในตอนที่อยู่กรุงโรม ท่านได้สอนวิชาการ จับผิดคำสอนเท็จ (Discerning Heresies) ในปี คศ.185 ด้วยความเป็นห่วงคริสตจักรไม่ให้หลงผิด ท่านได้เขียนหนังสือชุดหนึ่งซึ่งมี 5 เล่มชื่อ “ต่อสู้ลัทธินอกรีต” (Against Heresies) ด้วยจุดหมาย สำคัญเพื่ออธิบายพิสูจน์ว่า ความเชื่อของพวกคริสเตียนโดยเฉพาะลัทธิเหตุผล (Gnosticism) ไม่ถูก ต้องแต่ด้วยความบังเอิญ ก็เป็นการแสดงออกถึงหลักศาสนศาสตร์ตามความคิดส่วนตัวของท่าน
!
เครื่องมือที่ท่านใช้ป้องกันต่อสู้กับพวกลัทธินอกรีต คือ 1. คำพยานของพระวจนะ คือ พระคัมภีร์ ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ของความจริง 2. คำพยานของคริสตจักร คือ วัฒนธรรมต่าง ๆและการดำเนินชีวิตเป็นพยานถึงความจริงนั้น โดยการเปรียบเทียบคำสอนของคริสเตียนกับหลักคำสอนของพวกลัทธิเหตุผลที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ท่านได้เร้าใจให้คริสเตียนทุกคนมีความเชื่อในคำสอน ซึ่งถือเอาพระคัมภีร์เป็นหลัก รวมทั้งการรักษา วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆที่ถือกันต่อ ๆมา และกล่าวว่า คริสตจักรทุกแห่งต้องสงวนรักษาวัฒนธรรม อัครสาวก และต้องยินยอมทำตามคริสตจักรที่กรุง โรม ท่านเป็นนักศาสนศาสตร์คนแรกที่ได้ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักคำสอนของการไถ่โทษบาป (Atonement) ซึ่งได้ต่อต้านกับหลักคำสอนของลัทธิโดเซติซึ่ม (Docetism) เป็นพวกที่ตัดความเชื่อ ความจริงของไม้กางเขนออกจากคำสอนของคริสเตียน แต่อิเรนีอัสสอนว่า โดยความมรณาที่ไม้ กางเขนของพระเยซูคริสต์ได้ไถ่โทษเราจากซาตาน ผู้ซึ่งมีอิทธิพลต่อมนุษย์ ท่านยังได้ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องตรีเอกานุภาพ (Trinity) แนะนำว่า พระเยซูและพระ วิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระหัตถ์สองข้างของพระเจ้า และได้ค้นคว้าเกี่ยวกับคำสอนของ “โล โกส” (Logos) ยิ่งกว่านั้น ท่านยังได้สนับสนุนความคิดในเรื่องเกี่ยวกับคริสตจักรและพิธีการต่าง ๆ เช่น พิธี รับบัพติสมา เพื่อรับการยกโทษความผิดบาป พิธีมหาสนิทเพื่อให้ความหวังกับการเป็นขึ้นมาอีกจาก ความตาย
!
!37
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
2. เทอทิวเลียนแห่งคาร์เทจ (Tertullian of Carthage) เกิดที่เมืองคาร์เทจในแอฟริกาเหนือ เป็นลูกของขุนนางชาวโรมัน ได้รับการศึกษาในภาษาโรมันและ ภาษากรีก และเรียนทางด้านกฎหมายเป็นทนาย และใช้ชีวิตอยู่อย่างสนุกสนานเพลิดเพลินกับกิเลส และความบาปของโลกนี้ แต่เมื่อตอนวัยกลางคน ท่านได้พบกับคริสเตียนคนหนึ่ง ผู้ซึ่งได้เป็นพยาน และพยายามนำท่านมาเป็นคริสเตียน และยอมถูกประหารชีวิตเพราะความเชื่อในพระคริสต์ ทำให้เท อทิวเลียนประทับใจมาก และได้กลับใจใหม่เป็นคริสเตียน แล้วชีวิตของท่านได้เปลี่ยนแปลงไปอย่าง อัศจรรย์จากหน้ามือเป็นหลังมือ ท่านเป็นคริสเตียนที่เคร่งครัดและร้อนรนในการงานของพระเจ้ามาก ยึดมั่นอยู่ในกฏแห่งความเชื่อ เห็นถึงความสำคัญและอิทธิพลอำนาจสูงสุดในการตีความหมายและ ขนบธรรมเนียมของอัครสาวก และความสามารถกับความมีอำนาจเด็ดขาดของบิชอปในการสอนพระ คัมภีร์ ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถที่ได้รับมาก่อนในการเขียนหนังสืออธิบายเหตุผลหลักข้อเชื่อ (Apology) ในปี คศ.197 สำหรับพวกเจ้านายชั้นสูงโรมันและได้สั่งสอนอธิบายพระคัมภีร์แก่คริสตชน มากมาย ท่านสอนว่า ถ้าสิ่งไหนไม่ใช่เป็นของคริสเตียนอย่างแจ่มชัดแล้ว ก็เป็นของมารซาตาน และกล่าวดูถูกการศึกษาเรียนรู้และวัฒนธรรมต่าง ๆที่เป็นปรัชญาชากรีกว่าเป็นเหล่าวงศ์ของผู้ที่มี ความเชื่อผิด และดำเนินชีวิตอยู่ในความโฉดเขลา ศาสนศาสตร์ของท่านได้เน้นความสนใจในด้านความบาป พระคุณและการบังเกิดเป็นมนุษย์ ของพระเยซูคริสต์เพื่อการไถ่บาป ท่านเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า ตรีเอกานุภาพและเป็นบิดาของศาสน ศาสตร์ละติน ผลงานการเขียนของท่านได้ช่วยคนอื่นได้พบถึงความจริง แต่ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า ในคำสอนของท่านมีหลายตอนที่พูดเกินเลยจากพระคัมภีร์ ซึ่งอาจเป็นเพราะการย้ำและเน้นมากเกิน ไป เช่น ท่านคิดว่าการรับบัพติสมาจำเป็นอย่างมากสำหรับการรอดไปสวรรค์ และแนะนำหลักของ การพอใจที่ว่า การรับสารภาพกลับใจใหม่ และการทำดีเป็นทางทำให้ความผิดบาปนั้นได้รับการยก โทษ ซึ่งเป็นการเปิดช่องให้ในเวลาภายหลังสำหรับคำสอนแบบคาทอลิคที่ว่า รอดโดยการกระทำดี (Salvation by Good Work) หรือสอนว่าการเป็นทหารรับใช้ประเทศชาติเป็นสิ่งที่ขัดกับการเป็น คริสเตียน และประนามอย่างรุนแรงเกี่ยวกับการไปดูหนัง ดูละคร สนุกสนาน จึงไม่แปลกใจที่ต่อมา ในบั้นปลายชีวิตของท่านได้เข้าร่วมกับพวกมอนทานิซึ่ม (Montanism)
!
3. ไซเปรียนแห่งคาร์เทจ (Cyprian of Carthage) ไซเปรียนมีหลายอย่างคล้ายกับเทอทิวเลียน เกิดที่คาร์เทจ ในปี คศ.200 ในครอบครัวชั้นสูงที่ร่ำรวย เมื่ออายุ 46 ปี ได้กลับใจมาเชื่อพระเจ้าโดยผู้อาวุโส (Presbyter) ที่ได้เป็นเพื่อนกัน และได้รับคำ แนะนำให้ท่านศึกษาค้นคว้าพระคัมภีร์ ท่านจึงได้ติดสินใจขายทรัพย์สมบัติและที่ดินทั้งหลายเป็นการ เชื่อฟังทำตามคำสั่งของพระเยซูคริสต์แล้วแจกจ่ายเงินให้แก่คนอนาถา เมื่อได้รับบัพติสมา 2 ปี ต่อ มาก็ได้รับเลือกเป็นผู้อาวุโส (Presbyter) แล้วอีกไม่นานก็ได้รับเลือกเป็นบิชอป ซึ่งความจริงตัวท่าน เองไม่อยากรับเพราะยังใหม่ในความเชื่อ แต่เมื่อพี่น้องสนับสนุน และความขยั้นขยอท่าน ทำให้ท่าน รู้สึกว่านี่เป็นน้ำพระทัยพระเจ้าหรือแผนการของพระเจ้า แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้ได้ก่อให้ เกิดความรู้สึกขมขื่นท่ามกลางผู้อาวุโสอื่น ๆ ผู้ซึ่งมีอายุและประสบการณ์มาก แต่ก็ไม่ได้ถูกรับเลือก และเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกกัน (Schism) ในปี คศ.250 ภายใต้จักรพรรดิดิซิอุส (Decius) การข่มเหงคริสเตียนได้เริ่มขึ้น ซึ่งได้เพิ่ม ความรุนแรงมากกว่าก่อน คริสเตียนเป็นจำนวนมากถูกฆ่าตาย ผลดีคือเป็นการฝัดรอน !38
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
คริสเตียนที่ไม่จริงใจ และที่เป็นคริสตตามซึ่งในเวลานั้นก็มีมากด้วยให้เหลือแต่คริสเตียนแท้ที่จริง จงรักภักดีมีความเชื่อมั่นคงอย่างแท้จริง ยึดมั่นเป็นพยานเพื่อพระคริสต์ ไซเปรียนได้เป็นตัวอย่างที่ดี แม้ว่าได้ถอนตัวจากกรุงคาร์เทจ แต่กลับมาในปี คศ.251 เหตุผลที่ทำให้ท่านมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์คริสตจักร มีดังนี้ (บทบาทของ ท่านก่อให้เกิดความเชื่อและศาสนศาสตร์แบบคริสตังในเวลาต่อมา)
! ! !
(ก) การสนับสนุนอย่างเต็มที่ให้มีตำแหน่งสูงในระบอบสังฆาธิปไตย ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดมีการแตกแยกขึ้น เพราะมีความคิดเห็นขัดแย้งกัน เกิดมีกลุ่ม Novatian ขึ้น ไซเปรียนเผชิญกับคู่ต่อสู้โดยการสอนย้ำเกี่ยวกับความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคริสตจักร และประกาศว่าการขัดคำสั่งไม่เชื่อฟังบิชอปถือเป็นความบาปยิ่งใหญ่ แล้วย้ำว่าบิชอปมีอำนาจเด็ด ขาดสูงสุดที่ได้รับจากพระเจ้า (Absolute Supremacy of the Bishop as a God-Appointed Ruler of the Church) แต่คำสอนนี้ในยุคต่อมาได้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และเป็นต้นเหตุให้ระบอบการ ปกครองของคริสตจักร (Church Government) หลายแห่งเป็นแบบเผด็จการอย่างสมบูรณ์ (Completely Autocratic)
!
(ข) คำสอนที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้รับใช้ (บิชอป)ว่าเป็นบาทหลวงที่คอยถวายเครื่อง บูชา (Sacrificing Priest) ท่านสอนว่า พิธีมหาสนิทเป็นการถวายเครื่องบูชาและเลือดจริง ๆของพระเยซูบนแท่นบูชา ซึ่งเป็นเหตุนำให้เกิดหลักคำสอนทรานสับสแตนทิเอชั่น (The Doctrine of Transubstantiation) ทำให้ความหมายของพิธีมหาสนิทถูกบิดเบือนเสียไป ซึ่งต่อมาพวกโรมันคาทอลิกเรียกว่า พิธีมิสสา (The Mass) แทนคำว่าพิธีมหาสนิท (Holy Communions) “Mass” มาจากภาษาละติน “Missio” แปลว่า การอนุญาตให้ออกไป ซึ่งหมายถึง การบอกอนุญาตให้ผู้เชื่อที่ยังไม่รับบัพติสมา (แต่กำลัง เรียนหรืออยู่ในชั้นเรียนเตรียมรับศีล-Cathachumen) ให้ออกไปจากที่ประชุมก่อนที่จะมีพิธีมหาสนิท หมายเหตุ พิธีมิสสานี้ประกอบคำสอนหรือมีความหมายรวม 2 อย่างคือ ก. ความหมายคำสอนของทรานสับสแตนทิเอชั่น ที่ว่าขนมปังและน้ำองุ่นจะกลายเป็นเนื้อ และเลือดของพระเยซูจริง ๆในพิธีมหาสนิท ข. การร่วมพิธีมหาสนิทนี้เปรียบเหมือนกับการถวายเครื่องบูชาถวายแด่พระเจ้า คำสอนเกี่ยว กับการถวายเครื่องบูชาของไซเปรียน เป็นคำสอนที่ผิดเพราะตั้งแต่สมัยของอัครสาวกจนถึงเวลาของ ไซเปรียน พวกต่างชาติ (ไม่เชื่อพระเจ้า)มักจะพูดว่า ในความเชื่อของคริสเตียนจะไม่เกี่ยวข้องกับการ ถวายเครื่องบูชาหรือแท่นบูชาเลย
!
(ค) ความเชื่ออย่างแข็งแรงของท่านเกี่ยวกับความเผด็จการ (มีอำนาจสูงสุดคนเดียว) ของบิชอปในคริสตจักรของตนแต่ละแห่งเท่านั้น ซึ่งแสดงออกโดยการที่ท่านได้ลุกขึ้นคัดค้าน ต่อสู้ในกำลังของท่านกับบิชอปสตีรวนของโรมผู้ ที่ต้องการให้คริสตจักรทั้งหลายเห็นด้วยกับความคิด และหลักคำสอนของท่าน แต่ไม่เป็นผลสำเร็จ !39
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
จึงได้ออกจดหมายสั่งให้คริสตจักรทั้งหลาย โดยเฉพาะคริสตจักรที่คาร์เทจในเอเซีย สยบและขึ้นตรง ต่อคริสตจักรที่กรุงโรม ต่อมาในปี คศ.258 ในสมัยการข่มเหงคริสเตียนภายใต้จักรพรรดิวาเลเรียน ท่านไซ เปรียนถูกตัดศีรษะฝูงชนมากมาย (ทั้งคริสเตียนและไม่เป็น) ที่มองดูต่างก็รู้สึกประทับใจในความเชื่อ มั่นคงและความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของท่าน สรุปภาพและเหตุการณ์ของคริสตจักรที่คาร์เทจ : เราไม่ทราบว่า พระกิตติคุณได้ ประกาศไปถึงคาร์เทจแอฟริกาเหนือเมื่อใด อย่างไร แต่ปรากฏขึ้นมาในประวัติศาสตร์คริสตจักรในปี คศ.180 ว่า เกิดมีคริสตจักรที่แข็งแรงและเข้มแข็งขึ้นที่มีสมาชิกหลายคนยอมถูกประหารชีวิตเพราะ ความเชื่อ ที่น่าสังเกตคือ ผู้นำคริสตจักรที่มีชื่อเสียงหลายคนมาจากคริสตจักรนี้ ได้แก่ เทอทิวเลียน ไซเปรียน และออกัสติน เนื่องจากเมืองคาร์เทจเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมละติน จากคริสตจักรนี้ จึงได้มีการพัฒนาหนังสือวรรณกรรมของคริสเตียนละติน (Latin Christian Literature) จากคาร์เทจในแอฟริกาเหนือ เราหันไปทางอเล็กซานเดรียที่ตั้งขึ้น โดยอเล็กซานเดอร์ผู้ยิ่ง ใหญ่ในปี กคศ.332 ที่มีวัฒนธรรมต่าง ๆเป็นของกรีก เป็นเมืองที่ใหญ่มากและรวบรวมคนเก่งและ สำคัญ ๆทั้งหลายไว้ รวมทั้งลัทธิศาสนานิกายต่าง ๆไว้ด้วย เช่น มีพวกยิวจำนวนมากมายที่เชื่อถือ พระเจ้าแต่องค์เดียว พวกนิยมลัทธิเพโตนิซึ่มทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ พวกลัทธิเหตุผลความรู้ ใน ศตวรรษที่ 2 และ 3 คริสตจักรในเมืองนี้ได้ผลิตผู้นำของคริสตจักรชั้นเยี่ยมหลายคน เช่น แพนทีนัส (Pantaenus) เคลเมนต์ (Clement) และออรีเจน (Origen) และมีโรงเรียนสอนพระคัมภีร์ตั้งขึ้น ชื่อ “Alexandrian School” โดยแพนทีนัสเป็นอธิการบดีคนแรก
!
(4) เคลเมนท์แห่งอเล็กซานเดรีย (Clement of Alexandia) เกิดในครอบครัวไม่เชื่อพระเจ้าที่เมืองเอเธนส์ ได้ศึกษาด้านอักษรศาสตร์คล้ายกับจัสตินที่ ไม่มีความพอใจในชีวิต จึงเที่ยวเสาะแสวงหาความจริงที่สมบูรณ์แบบที่สุด เดินทางไปทั่วทั้งทาง ตะวันออกและตะวันตก ต่อมาพบกับแพนทีนัสและกลับใจเป็นคริสเตียน แล้วได้เป็นผู้อาวุโสคนหนึ่ง ต่อมาใน ปี คศ.190 ท่านได้รับเลือกเป็นอธิการบดีของโรงเรียน ท่านมีความคิดที่ต่างกับเทอทิวเลียน ที่ว่า คริสตจักร (คริสเตียน)ไม่ควรจะเพิกเฉยละเลยหรือไม่สนใจเกี่ยวกับปรัชญาของคนต่างชาติ เพราะท่านเห็นว่า มันมีส่วนประกอบที่มีคุณค่าสำคัญด้วย แต่ขณะเดียวกันก็ย้ำว่า การเรียนรู้ที่แท้ จริง (การที่จะได้ความรู้ที่แท้จริง) นั้นต้องมาจากพระเจ้าที่นำไปถึงความรู้ในพระคัมภีร์ที่เป็นเรื่องราว เกี่ยวกับการสำแดงตัวของพระเจ้าเองแก่มนุษย์ และสอนว่าพระเยซูคริสต์เป็นครู และเป็นตัวอย่างที่ ดี ท่านได้ตั้งเป้าในการพยายามรวบรวมคลังแห่งสติปัญญาและความรู้จากแหล่งต่าง ๆแล้วใช้ความรู้ จากสิ่งเหล่านั้นเพื่อพระคริสต์ ในปี คศ.202 ท่านได้ถูกขับไล่ออกจากอเล็กซานเดรียภายใต้การ ปกครองและข่มเหงคริสตจักรในสมัยของเซปติเมียสเซวิรัส แล้วในปี 220 ท่านได้สิ้นชีวิตลง งาน วรรณกรรมที่ท่านเขียนไว้ ได้แก่ Hortatory Address to the Greeks, The Instructor ฯลฯ
!
(5) ออริเจน (Origen) คศ.185-254 เกิดในครอบครัวคริสเตียนในปี คศ.185 ได้รับบัพติสมาเมื่อเขายังเป็นเด็กทารกอยู่ที่เมืองอ เล็กซานเดรียบ้านเกิดของเขาเอง บิดาถูกประหารชีวิตเพราะเป็นคริสเตียน ส่วนตัวของท่านมารดา ได้ช่วยชีวิตไว้ โดยการซ่อนเสื้อผ้าท่านไว้ เพื่อจะได้ไม่ต้องออกไปนอกบ้านให้ถูกจับ ท่านเป็นคนที่ ขยันขันแข็งในการศึกษาเล่าเรียนอย่างมาก มีความรู้ทั่วไปดี และมีความรักพระคัมภีร์ ทุ่มเทชีวิต !40
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
อย่างมากในการศึกษาค้นคว้าอย่างลึกซึ้งจนมีความเข้าใจดีและสามารถอธิบายตีความหมายได้ดี เมื่อ อายุ 19 ปี จึงได้กลายเป็นอธิการบดีของโรงเรียนพระคัมภีร์ ทำให้ท่านยิ่งศึกษาค้นคว้ามากยิ่งขึ้น และได้เขียนหนังสือและจดหมายฝากขึ้นมากมาย ได้ถือศีลอดอาหารอยู่เสมอ และใช้เวลาในการ อธิษฐานเข้าเฝ้าพระเจ้ามาก บางครั้งโต้รุ่ง ทำให้มีเวลานอนหลับเพียงเล็กน้อย และนอนบนพื้นแทน ฟูก นักเรียน (ลูกศิษย์)ที่ท่านสอนรุ่นแรกได้ถูกประหารชีวิตหมด นอกจากนี้ เพื่อที่จะทำให้ท่านมีคุณวุฒิเพียงพอกับตำแหน่งหน้าที่ ท่านได้ศึกษาภาษากรีก และฮีบรู และได้เข้าฟังการสอนของนักปรัญชาเพลโต้รุ่นใหม่ที่เก่งกาจผู้หนึ่ง ทำให้ออริเจนเป็นนัก ปรัชญาที่เรืองนามคนหนึ่งในสมัยนั้น และท่านได้นำคนที่เคยต่อต้านคัดค้านพระเจ้าและพวกสอนผิด มาเชื่อพระเจ้า ท่านจึงกลายเป็นคริสเตียนผู้นำที่มีชื่อเสียงดีมากในคริสตจักรทางด้านตะวันออก เป็น อาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถดียอดเยี่ยมได้ปรนนิบัติรับใช้พระเจ้ามาก แต่อย่างไรก็ตาม จุดอ่อน (จุดเสีย)ของออริเจนก็มีหลายอย่างเกี่ยวกับหลักคำสอนที่ผิดไป เนื่องจากการเน้นหนักเกินไป เช่น เรื่องความเป็นพระเจ้าของพระเยซู หรือเรื่องตรีเอกานุภาพ เป็นต้น ทำให้ได้ชื่อว่าเป็น “ผู้สอนผิด” แต่ชื่อเสียงของท่านก็ได้ยั่งยืนอยู่นานเท่านานว่าเป็น “บิดา แห่งการศึกษาค้นคว้าความแท้จริงของคริสตศาสนา” (พระคัมภีร์) ในปี คศ.215 ออริเจนได้ถูกรับเชิญเป็น Bishop of Caesarea (ซีซารียา) และเยรูซาเล็ม Jerusalem แต่ด้วยความอิจฉาริษยาของ Bishop คีมีเทียสแห่งอเล็กซาเดรีย ทำให้ไม่พอใจในตัวของ ท่าน ได้กล่าวหาว่า ท่านเป็นขันที (ดู มธ 19:12) เมื่อเรียกมาถามสอบสวน แล้วก็ปฏิเสธไม่ยอมแต่ง ตั้งให้ออริเจนเป็นศาสนาจารย์ กลับประกาศขับไล่ (Excommunicated) ท่านออกจากคริสตจักร หลังจากได้อยู่ที่โรงเรียนมา 28 ปี จึงทำให้ท่านต้องเร่ร่อนไปอยู่กับศิษย์ของท่านที่ซีซารียาและได้ก่อ ตั้งศูนย์การศึกษาเล่าเรียนขึ้นเป็นเวลานานถึง 23 ปีจนถึงเวลาที่มีการกดขี่ข่มเหงคริสเตียนในสมัย ของดีซีอุส ท่านถูกจำคุกที่เมืองไทระและถูกทรมานให้ละทิ้งความเชื่อ แล้วก็สิ้นชีวิตไปหลังจากที่ได้ รับอิสระไม่นาน ในปี คศ.254
!
คำสอนของออริเจนที่ควรรู้ 1. ออริเจนได้เน้นถึงความเป็นบุคคลของ Logos โดยที่องค์ตรีเอกานุภาพได้มีการปกครอง โดยลำดับชั้นดังนี้ พระวิญญาณบริสุทธิ์รองลงมาจากพระบุตรและพระบุตรรองลงมาจากพระบิดา 2. ออริเจนได้สอนถึงการไถ่โทษของพระเยซูคริสต์ โดยที่พระคริสต์ได้ซื้อคนบาปกลับคืนมา เป็นของพระองค์ในราคาอันสูง และซาตานก็ได้รับราคาอันสูงนี้จากพระองค์ 3. ออริเจนเป็นคนแรกที่ได้สอนว่าเมื่อเดิมนั้น วิญญาณชั่วก็อยู่ก่อนแล้ว และเพียงผู้เดียว เท่านั้นที่บริสุทธิ์ คือ พระเยซูคริสต์ ออริเจนจึงเป็นบิดาของลัทธิสากลโลก 4. ออริเจนได้สอนเกี่ยวกับวิญญาณ (บุคคล) 3 ชนิด ก. บุคคลผู้ที่รู้จักพระเจ้าโดยธรรมชาติ ข. บุคคลที่รู้จักพระเจ้าโดยการแสดงปรากฏของพระเยซูคริสต์ให้เห็น ค. บุคคลที่รู้จักพระเจ้า ในวันที่พระเจ้าจะเสด็จกลับมาพิพากษาโลก วิธีการเป็นอุปมาหรืออุทาหรณ์ที่ Alexandrians ใช้ได้เป็นที่ยอมรับรองกันทั่วโลก แต่ว่าถ้าจะ ใช้ความรู้ทางสมองด้วย ก็รู้สึกจะมีผลเสียมาก เพราะอุปมาต่าง ๆที่ใช้ในพระคัมภีร์มีไว้ เพื่อที่จะได้ สอนและเตือนใจคนที่ติดตามพระเยซูคริสต์ เป็นความเข้าใจทางฝ่ายวิญญาณเท่านั้น
!
!41
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
2.2.4 นิกายต่าง ๆหรือลัทธินอกรีต (Heresies or Sects) เคียงข้างไปกับการขยายและพัฒนาหลักธรรมข้อเชื่อก็เกิดมีนิกายลัทธินอกรีตต่าง ๆ คริสเตียนในยุคที่ 2 นี้ ไม่เพียงแต่ต้องต่อสู้กับโลกภายนอก (รัฐข่มเหง) แต่ยังต้องต่อสู้กับหลักข้อเชื่อ ที่ผิดแปลกนอกรีตภายในคริสตจักรด้วย เราจะศึกษาเพียงไม่กี่ลัทธิที่สำคัญ ๆเท่านั้น คือ
!
1. พวกอีไบโอไนท์ (Ebionites)
เป็นภาษาฮีบรู แปลว่า “ยากจน” เป็นกลุ่มคริสเตียนยิวที่ยึดมั่นว่า ธรรมบัญญัติและ ประเพณีของยิวจะต้องรักษาไว้ด้วย แม้จะเป็นคริสเตียนแล้ว พวกเขาไม่ยอมรับคำสอนของเปาโล และยอมรับพระกิตติคุณเฉพาะมัทธิวเล่มเดียว แต่ถึงกระนั้น ก็ยังตัดหลายตอนออกที่เกี่ยวกับการ อัศจรรย์ของพระเยซู กลุ่มนี้เหมือนกับลัทธิเหตุผลความรู้ เชื่อว่า พระเยซูเป็นพระเจ้าเฉพาะตั้งแต่ ตอนที่รับบัพติสมาแล้ว พระวิญญาณสวมทับจนถึงตอนก่อนที่พระองค์จะสิ้นชีวิต พระวิญญาณก็ออก ไป ดังนั้น จึงเป็นเพียงแต่มนุษย์ธรรมดาเท่านั้นที่ตายบนไม้กางเขน (เพราะพวกเขาว่า พระเจ้าตาย ไม่ได้) แต่เมื่อมีคริสเตียนต่างชาติเพิ่มมากขึ้นในคริสตจักร พวกอีไบโอไนท์ก็ค่อย ๆหายไปในกลาง ศตวรรษที่ 2
!
หมายเหตุ แท้จริง กลุ่มนี้มีความคล้ายคลึงกับกลุ่มนาซาเรนส์ (Nazarenes) มากในสมัยของ อ.เปาโล เป็นกลุ่มคริสเตียนยิวที่นับถือลัทธิยูดาอย่างเคร่งครัด และสร้างปัญหาให้เปาโลมาก แม้ว่า กลุ่มนี้จะไม่มีอิทธิพลอะไรมาก แต่ก็มีมาตลอดจนถึงปลายศตวรรษที่ 4
!
2. ลัทธิเหตุผลความรู้ (Gnosticism)
ภาษากรีก “Gnosis” แปลว่า ความรู้ เป็นลัทธิที่อันตรายและน่าเกรงขามมาก เมื่อเริ่มต้น ศตวรรษที่ 3 ก็ปรากฏว่า กลุ่มนี้ได้แพร่ขยายไปทั่วที่ประชุมคริสเตียนเกือบทุกแห่งตลอดอาณาจักร โรมัน กลุ่มนี้มีมากในหลายรูปแบบจนยากที่จะบอกว่า พวกเขาเชื่อหรือยึดถืออะไรบ้าง เพราะในถิ่น ที่อยู่ต่าง ๆหลักข้อเชื่อของพวกเขาไม่ค่อยเหมือนกัน เริ่มเกิดขึ้นในเอเซียน้อย เพราะเป็นแหล่งที่ เต็มไปด้วยความคิดจินตนาการ ลัทธินี้เป็นกึ่งคริสเตียน คือมีความเชื่อแบบคริสเตียน แต่ตั้งอยู่บน ฐานของลัทธิต่างชาติที่ไม่เชื่อพระเจ้า กลุ่มนี้เชื่อว่า 1) พระเจ้าองค์ยิ่งใหญ่สูงสุดได้แยกตัวออกเป็นองค์เล็กองค์น้อยจำนวนมหาศาล พระ บางองค์ดี พระบางองค์ชั่ว แล้วพระทั้งดีและชั่วนี้ได้ร่วมกันสร้างโลกขึ้น โลกจึงมีทั้งความดีและความ ชั่วปะปนกันอยู่ 2) เชื่อว่า พระคริสต์เป็นพระองค์หนึ่งที่แยกออกมาเช่นกัน ธรรมชาติของพระเจ้าได้ เข้ามาประทับอยู่ในพระคริสต์ชั่วคราว หรือเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าชั่วคราวเท่านั้น ปฏิเสธคำสอน เกี่ยวกับการเสด็จมาครั้งที่ 2 ของพระเยซูเพื่อพิพากษาโลกนี้และมนุษย์ 3) อธิบายพระคัมภีร์ไปในทำนองเรื่องเปรียบเทียบ (นิทาน)เท่านั้น และแปลความ หมายของพระคัมภีร์ไปตามที่พวกเขาเห็นชอบ บางคนถึงกับแปลความหมายพระคัมภีร์จากหน้ามือ เป็นหลังมือ เช่น สอนว่า พระเจ้าในพระคัมภีร์เดิมเป็นสิ่งชั่วร้าย 4) เป็นลัทธิโบราณที่รวบรวมเอาเทพนิยายจากหลายแห่งเข้าด้วยกัน (จากกรีก, อียิปต์, เปอร์เซีย และอินเดีย) ที่เชื่อถือว่า วัตถุสสารนั้นเป็นสิ่งชั่วร้าย การหลุดพ้นนั้นต้องมาจาก !42
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ความรู้ (คือการเข้าถึงธรรม) ที่เป็นความลึกลับ ผู้ที่จะมีความรู้นี้คือ ผู้ที่เป็นมนุษย์ฝ่ายวิญญาณหรือ คนมีความเหนือกว่าคนอื่น ซึ่งจะมีไม่กี่คน คนส่วนมากจะเป็นพวกที่ต้องขึ้นและอยู่ภายใต้วัตถุสสาร (Hylic) ที่ไม่มีความหวังเลย ตกอยู่ในบ่วงแร้วของซาตานและตัณหาของตัวเอง ผู้นำ 2 คนของลัทธินี้ที่มีชื่อเสียงคือ วาเลนทินัส (Valentinus) และบาซิไลดส์ (Basilides) ทั้ง คู่มาจากอเล็กซานเดรียในศตวรรษที่ 2
3. มาร์เซียน (Marcian)
ครั้งหนึ่งเคยมีตำแหน่งผู้อาวุโสที่โรม เป็นผู้มีความกระตือรือร้นดี แต่ต่อมาถูกขับไล่ออกจาก คริสตจักร เพราะว่ามีความคิดขัดแย้งเป็นปฏิปักษ์กับคริสตจักร กล่าวคือ ท่านปฏิเสธพระคัมภีร์เดิม (ซึ่งหมายถึง ปฏิเสธพระวจนะของพระเจ้านั่นเอง) และสอนว่า พระเจ้าในพระคัมภีร์เดิมไม่ใช่พระบิดา ของพระเยซูคริสต์ ซึ่งคิดกันว่าเหตุที่ทำให้ท่านมีความเข้าใจผิดอย่างนี้ เพราะจากการอ่านและศึกษา จดหมายฝากของเปาโลที่เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างพระบัญญัติและพระกิตติคุณ ความเชื่อใน พระเยซูที่ว่า พระบัญญัติพูดถึง การปฏิบัติตามและลงโทษ ส่วนพระกิตติคุณพูดถึงความรักและการ ให้อภัยโทษ จึงทำให้ท่านสรุปว่า พระเจ้าในพระคัมภีร์เดิมไม่เหมือนกับพระเยซูในพระคัมภีร์ใหม่ แต่ในการยอมรับพระคัมภีร์ใหม่นั้น แท้จริงก็ยอมรับบางตอนคือ พระธรรมลูกาเท่านั้น ซึ่ง ก็ได้ดัดแปลงแก้ไขมากมาย และรับจดหมายฝากของเปาโลอีก 10 ฉบับ (ไม่นับ 1, 2 ทิโมธี และทิตัส) อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความเชื่อที่ผิดไปเช่นนี้ แต่เนื่องด้วยการที่ท่านมีชีวิตที่บริสุทธิ์และมี ความจริงใจ ทำให้มีสานุศิษย์ติดตามท่านมากมาย ดังนั้น แง่คิดของมาร์เซียนไม่เป็นปรัชญาเหมือน อย่างกลุ่มนอสติคส์ แต่ความคิดของท่านเอามาจากประสบการณ์ และการศึกษาและสังเกตเปรียบ เทียบพระคัมภีร์
! !
4. กลุ่มแมนีเคียนส์ (Manicheans)
มีกำเนิดจากชาวเปอร์เซีย ผู้ก่อตั้งคือ แมนิ (Mani) ถูกประหารชีวิตในปี คศ.276 โดย รัฐบาลเปอร์เซีย ท่านสอนว่า จักรวาลแบ่งออกเป็น 2 อาณาจักร คือ อาณาจักรแห่งความสว่างและ ความมืด ต่างก็พยายามที่จะครอบครองเป็นเจ้านายธรรมชาติและมนุษย์ กลุ่มนี้ปฏิเสธไม่รับพระ เยซูที่เป็นมนุษย์ แต่เชื่อใน “พระคริสต์แห่งสวรรค์” เป็นกลุ่มเคร่งครัดในลัทธิทรมานตน ออกัสติน นักศาสนศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดก็เป็นแมนิเคียนส์ก่อน แล้วภายหลังจึงกลับใจมาเป็นคริสเตียน
!
!
5. คณะมอนเทนิสต์ (Montanism)
เกิดขึ้นในราวกลางศตวรรษที่ 2 เนื่องมาจากสาเหตุที่ว่า ในเวลานั้นสภาพของคริสตจักร อ่อนแอ กลุ่มลัทธิเหตุผลความรู้ได้คุกคามอย่างหนัก อัครสาวกทั้งหลายก็เสียชีวิตหมด ของประทาน ฝ่ายพระวิญญาณต่าง ๆก็ดูเหมือนไม่มีและหมดไปด้วย มีผู้พยากรณ์เทียมเท็จเกิดขึ้น ชีวิตคริสเตียน ของสมาชิกทั้งหลายก็หย่อนลงไม่เหมือนยุคแรก ดังนั้น คณะมอนเทนิสต์จึงได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อสู้ เอาชนะปัญหาเหล่านี้ทั้งหมด โดยเฉพาะต่อต้านกับลัทธิเหตุผลความรู้ โดยท่านมอนเตนุส (Montanus) ชาวอาร์คาบา (Ardabau) อาศัยในแคว้นฟรีเกีย อ้างว่าตนได้รับของประทานใหม่ในการ !43
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เผยพระวจนะและได้เริ่มจัดให้มีการประชุม เทศนาฟื้นฟู ได้มีสตรีที่ร่ำรวย 2 ท่านได้ละทิ้งสามีและ เข้าร่วมกับท่าน คณะนี้เน้นเรื่องวินัยในคริสตจักรอย่างเคร่งครัดและแบ่งความบาปออกเป็น 2 ชนิดคือ อย่างที่ ยกโทษได้และไม่ได้ มีการกล่าวประนามคริสเตียนที่ใช้ไม่ได้อย่างรุนแรง เช่น ประนามการแต่งงาน ครั้งที่ 2 ห้ามคริสเตียนอพยพหลบหนีเมื่อมีการกดขี่ข่มเหง และมีข้อห้ามอีกมากมาย แต่ยึดถือหลัก ว่า การพยากรณ์เป็นของคริสเตียนทุกคน จึงมีผู้พยากรณ์ทั้งชายและหญิงหลายคน แล้วในราวปี คศ.206 เทอทิวเลียน ด้วยความเป็นผู้มีระเบียบเคร่งครัดมากในตัวเอง ได้เข้า ร่วมขบวนการกับคณะนี้ ซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นความมีชัยอันยิ่งใหญ่ เทอทิวเลียนเองสอนว่า การ แต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีฉูดฉาดเป็นสิ่งต้องห้าม บอกว่า ถ้าพระเจ้าสร้างแกะให้มีสีอื่น พระองค์ก็ย่อม ทำได้ แต่พระองค์ไม่ทำ ดังนั้น การย้อมขนแกะจึงเป็นการทำบาป และห้ามไม่ให้คริสเตียนเป็น ทหารในกองทัพโรมัน เพราะต้องเกี่ยวขัองกับพิธีทางศาสนาต่างชาติ ท่านได้รับเอาทัศนะของคณะ มอนเตนิสต์และได้เขียนบทความแก้ต่างให้ อย่างไรก็ตาม คณะนี้ก็ได้สูญหายไปจากแอฟริกา ในปี คศ.370 และจากที่อื่น ๆในต้นศตวรรษที่ 6
!
2.2.5 การขยายตัวของหลักธรรมข้อเชื่อ (การกำเนิดโรงเรียนพระคัมภีร์) (The Three Great School of Theology) โรงเรียนพระคัมภีร์ทั้ง 3 แห่งนี้มีหลักข้อเชื่อและคำสอนที่แตกต่างกัน และบุคคลที่นำหรือ เป็นอาจารย์ต่างก็มีลักษณะนิสัยที่ไม่เหมือนกันเลย ซึ่งเมื่อเราได้ศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์คริสต จักรโดยตลอด เราเรียนรู้ว่า หลักคำสอนและข้อเชื่อของโรงเรียน 3 แห่งนี้เป็นต้นตอ (แหล่งหรือ อิทธิพล)ของความเชื่อหรือคำสอนที่ผิด ๆของคริสเตียนยุคปัจจุบัน
!
1. โรงเรียนศาสนศาสตร์ในอเล็กซานเดรีย (The School of Alexandria or
Catechetical School) เป็นทฤษฏีที่ยึดเอาปรัญชาเป็นหลักและใช้วิธีเปรียบเทียบอธิบายพระคัมภีร์ โรงเรียนนี้ก่อตั้ง ขึ้นในปี คศ.180 โดยแพนทีนัสผู้ซึ่งเคยเป็นปรัชญาสโตอิค แต่ภายหลังกลับใจเป็นคริสเตียน เนื่องจากเมืองอเล็กซานเดรียเป็นเมืองหลวงที่มีความเจริญก้าวหน้ามากแห่งหนึ่งในโลกเวลานั้น มี อาณานิคมหลายแห่งของยิว เป็นศูนย์กลางของผู้ที่มีความรู้สูงของกรีก เป็นที่รู้จักกันว่า “เป็นที่ พร้อมครบถ้วนในด้านทางวิทยาศาสตร์และปรัชญาของโลก” ได้แก่ลัทธิ Neo-Platonism and Gnosticism โรงเรียนแห่งนี้ในช่วงเวลาไม่นาน ก็ได้กลายเป็นแหล่งสำคัญที่จะค้นหาได้แห่งความรู้และสติ ปัญญาเกี่ยวกับศาสนาศาสตร์ เพราะมีครูอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถเฉลียวฉลาดมาก เป็น โรงเรียนที่มีคนสนใจและนิยมมาก มีคนกลับใจหลายคนจากทุกชั้นวรรณะ จุดประสงค์ของโรงเรียนนี้ ก็เพื่อให้มีความสามารถที่จะวิเคราะห์ถึงเหตุผลความเชื่อของ คริสเตียน ความจริงของคริสเตียน กับความจริงของสาขาวิชาอื่น ๆ เพื่อที่จะเอาความรู้ที่ผิดออก และเอาความจริงเข้าไปแทน หัวใจของของคำสอนของโรงเรียนแห่งนี้คือ “พระคำ” (Logos) ว่าเป็นที่ รวมของเหตุผลทั้งหมด และความจริงทั้งสิ้น ศาสนศาสตร์ของโรงเรียนนี้ดูเหมือนลึกซึ้ง แต่ก็ได้ !44
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
คลุมเครือด้วยความคิดและปรัชญาของกรีก เพลโตที่มีความคิดว่า พระเจ้าอยู่ห่างไกลมากจนสุดที่ มนุษย์จะเข้าใจได้ และได้ยกย่องพระเยซูสูงมากจนว่า มีเนื้อหนังเหมือนอย่างมนุษย์ไม่ได้
!
2. โรงเรียนศาสนศาสตร์ในคาร์เทจ (The Carthaginian School)
มีทฤษฏีที่ฝังลึกในวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ อธิบายพระคัมภีร์อย่างตรง ๆ แต่ไม่มีอิทธิพล จากการนิยมปรัชญากรีก ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า ใครเป็นผู้ให้กำเนิดโรงเรียนแห่งนี้และใครเป็นผู้ ก่อตั้งคริสตจักรที่คาร์เทจก็ไม่มีใครทราบด้วย รู้แต่ว่าตั้งแต่เทอทิวเลียน คริสตจักรที่คาร์เทจกลาย เป็นศูนย์กลางคริสตศาสนาและมีโรงเรียนพระคัมภีร์ซึ่งเป็นตัวแทนของคริสตศาสนาด้านตะวันตก ได้มีการเขียนหนังสือและตำราขึ้นมากมายเป็นภาษาละติน เทอทิวเลียนเป็นคู่แข่งขันที่น่ากลัวของออ ริเจน ทั้งสองเป็นตัวแทนของฝ่ายตรงกันข้ามในความคิดและหลักคำสอนต่าง ๆของคริสเตียนซึ่งยังมี อยู่จนถึงทุกวันนี้ เทอทิวเลียน ออริเจน 1. เป็นผู้สนับสนุนคริสเตียนละติน เชื่อว่าคริสต 1. เป็นคริสเตียนปรัชญา (กรีก) เพราะ ศาสนา เป็นพระกิตติคุณที่เป็นความจริง มีความเกี่ยวพันอยู่ด้วย เชื่อว่า ที่ครบบริบูรณ์ คริสตศาสนาเป็นปรัชญาที่มีความจริง ! อยู่พร้อมทุกประการ 2. เน้นการนับถือทำตามหลักเกณฑ์ ประเพณี 2. เน้นการศึกษาค้นคว้าความรู้เป็นหลัก วัฒนธรรมต่าง ๆของคริสตจักรและปฏิบัติ ให้ทุกคนรู้มากก็จะดี มีเหตุผล ตามข้อพระคัมภีร์ทุกข้ออย่างเคร่งครัด ! (เน้นภาคปฏิบัติ) ! 3. มีความรู้ถึงความผิดบาปของมนุษย์ถึงความ 3. เน้นการใช้เหตุผล การอธิบายใช้คารม จำเป็นของมนุษย์ที่จะต้องกลับใจเสียใหม่ สำนวน 4. จะถามว่า “ข้าพเจ้าจะต้องทำอย่างไรจึงจะ 4. จะถามว่า “อะไรเป็นความจริง” รอด?” (What must I do to be saved?) (What is Truth?)
!
3. โรงเรียนศาสนศาสตร์ในอันทิโอก เอเซียไมเนอร์ (Antiochian School of Asia
Minor) เป็นโรงเรียนที่ไม่ถูกตั้งขึ้นในที่หนึ่งที่ใด เพียงประกอบด้วยกลุ่มอาจารย์ นักเขียน และนัก ศาสนศาสตร์ที่อยู่ในเอเซียน้อย ผู้แทนที่เด่นและสำคัญที่สุดของกลุ่มนี้คือ อิเรฟีอัส โรงเรียนแห่งนี้ต่อ มาภายหลังละทิ้งจากการใช้ปรัชญาและวิธีการเปรียบเทียบที่ไม่เหมาะสม และหันมาใช้การอธิบาย พระคัมภีร์อย่างตรงไปตรงมา จึงได้กลายเป็นคริสตธรรมที่ดีเด่นมาก และได้ใช้วิธีการเน้นการดำเนิน ชีวิตของคริสเตียน และการเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์แบบของพระเยซูคริสต์
!
2.2.6 วรรณกรรมยุคแรกที่นอกเหนือจากพระคัมภีร์ใหม่ (The Apostolic Fathers Patristic Liturature) (ตัวอย่าง เช่น) !45
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หนังสือของท่านเคลเมนท์แห่งกรุงโรม (Clement of Rome) คศ.96 เขียนขึ้นในราว คศ.96 ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือเล่มเดียวที่ถูกเขียนขึ้นในศตวรรษที่ 1 (คศ. 1-99) ที่นอกเหนือหรือไม่ได้ถูกนับว่าเป็นพระคัมภีร์ (ใหม่) ท่านเคลเมนท์เรียกว่า “จดหมายถึงเมืองโค รินธ์ฉบับต้น” จากเนื้อหาของจดหมายแสดงให้เห็นว่า พี่น้องคริสเตียนที่โครินท์ยังมีจำนวนไม่น้อยที่ มีจิตใจยังไม่พร้อมเต็มที่ และไม่มีความจริงใจกับพระเจ้า ซึ่งอาจารย์เปาโลก็รู้สึกเป็นห่วงอย่างยิ่งทั้ง ได้เตือนสติอยู่เสมอมาแล้ว (ดู 1 คร 1.10, 3.1, 4.14-16, 2 คร 2.1-4 ฯลฯ) นอกจากนี้ กลุ่มผู้อาวุโส (Presbyter) หลายคนที่ถูกแต่งตั้งขึ้น โดยอัครทูตยังมีชีวิตที่น่าเป็นห่วงด้วย ฉะนั้น จุดประสงค์ของ จดหมายฉบับนี้ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ เพื่อหนุนจิตชูใจและเตือนสติกลุ่มผู้อาวุโสเหล่านี้ที่อ่อนแอลง ให้เข้มแข็งขึ้นในพระเจ้า ทั้งให้มีความประพฤติ (ชีวิต)ที่ถูกต้องและไม่มีที่ติได้ ในตอนท้าย ท่านเคล เมนท์ยังได้สั่งสอนและเรียกร้องให้ผู้น้อยได้ถ่อมใจลง ยินยอมและให้เกียรติเชื่อฟังต่อผู้อาวุโสและผู้มี อำนาจสูง จดหมายฉบับนี้ยังได้กล่าวถึงเหตุผลและวิธีการกลับคืนมาสู่ความร้อนรนและความรัก พระเจ้าของกลุ่มอาวุโส และสมาชิกเก่าแก่ของคริสตจักรที่ได้เหินห่างพระเจ้าไป
!46
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หน่วยที่ 3 คริสตจักรของรัฐ (ยุคประนีประนอม) ค.ศ. 313-590 State Church (Age of Compromise)
ยุคที่สาม: คริสตจักรของรัฐ (ยุคประนีประนอม) ค.ศ.313-451 (ตั้งแต่พระราชโองการของคอนสแตนตินจนถึงกรุงโรมล่ม)
!
3.1 คอนสแตนติน – จักรพรรดิคริสเตียนองค์แรก เมื่อคอนสแตนตินออกสู้รบกับผู้ครองอาณาจักรโรม ท่านอื่น ๆที่กำลังแย่งชิงอำนาจกันอยู่ใน ขณะนั้น คอนสแตนตินอ้างว่า ได้เห็นสัญญลักษณ์กางเขน ปรากฏสุกใสบนท้องฟ้าพร้อมกับคำขวัญ ว่า “ชนะด้วยเครื่องหมายนี้” ท่านจึงใช้กางเขนเป็นเครื่องหมายประจำกองทัพและรบชนะในที่สุด คอนสแตนตินจึงครองกรุงโรม ในปี ค.ศ.313 ได้ออกพระราชกฤษฎีกาให้สิทธิเสรีภาพในการนับถือ ศาสนาเรียกว่า กฤษฎีกามิลาน (Edict of Milan) ทำให้คริสเตียนมีเสรีภาพในการนมัสการ แม้ว่า คอนสแตนตินจะนิยมชมชอบคริสเตียนมาก และให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและที่ดินสร้างคริสต จักร แต่ตัวพระองค์เองไม่ทรงยอมรับว่า เป็นคริสเตียนออกนอกหน้า จนกระทั่งถึงเวลาที่ใกล้จะ สิ้นพระชนม์ จึงขอรับบัพติสมาด้วยความเชื่อว่า การรับบัพติสมาสามารถล้างบาปทั้งหมดได้ อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหันในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลโรม และคริสเตียน ทำให้ความเชื่อของคริสเตียนแผ่ขยายกว้างขวางทั่วอาณาจักรโรม ซึ่งนำมาทั้งผลดีและผลเสียในเวลา ต่อมา
!
I. ผลดีของการที่รัฐบาลโรมรับรองคริสตจักร (ผลดีต่อคริสตจักร)
!
1. การข่มเหงคริสเตียนในอาณาจักรโรมสิ้นสุดลง กฤษฎีกามิลาน (Edict of Milan) ให้สิทธิเสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ทุกคนในราช อาณาจักรโรม (ประกาศใช้เมื่อ ค.ศ.313) แต่ทว่ามีผลบังคับใช้เพียงแค่ส่วนของอาณาจักรโรมทาง ตะวันตกที่ปกครองโดยคอนสแตนติน แต่ทางตะวันออกของอาณาจักรซึ่งมีจักรพรรดิคู่ร่วมปกครอง พระนามว่า ไลซีนัส (Licinus) ไม่ได้ใช้พระราชกฤษฎีกานี้ จึงยังมีการข่มเหงประปรายทางด้าน ตะวันออก จนกระทั่งในปี ค.ศ.323 เมื่อคอนสแตนตินขึ้นครองราชย์แต่ผู้เดียว การข่มเหงจึงสิ้นสุด ลงโดยสิ้นเชิง ต่อมาในสมัยของบรรดาพระราชโอรสของคอนสแตนตินได้ให้ความช่วยเหลือคริสตจักร อย่างออกหน้าออกตา และออกกฎหมายยกเลิกการนมัสการพระต่างชาติในโรมด้วย พอมาถึง ประมาณ ค.ศ.500 อาณาจักรโรมก็เปลี่ยนมาเป็นคริสเตียน
!
2. คริสตจักรฟื้นตัว และเปิดใหม่ทุกหนแห่ง ในยุคอัครสาวก การนมัสการของคริสเตียนทำตามบ้านสมาชิก ในช่วงศตวรรษที่ 3 จึงเริ่มมี อาคารคริสตจักรเป็นกิจลักษณะขึ้น ซึ่งได้ถูกทำลายไปมาในสมัยจักรพรรดิโอคลีเทียนและกาเลเรียส ในการข่มเหงครั้งสุดท้าย มาในสมัยของคอนสแตนติน ได้ทรงมอบคืนที่ดินและอาคารที่ยังเหลืออยู่ !47
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
แก่คริสตจักร พร้อมกับมีการสร้างอาคารคริสตจักรใหม่ ๆขึ้นมาก คอนสแตนตินเองก็ทรงสร้างคริสต จักรใหม่ ๆขึ้นในเยรูซาเล็ม และเมื่อทรงย้ายเมืองหลวงไปยังคอนสแตนติโนเปิลก็ทรงสร้างคริสตจักร ไว้มากมาย นอกจากการสร้างอาคารคริสตจักรแล้ว ยังมีการประกาศและทำพันธกิจทั่วอาณาจักรโรม และนอกอาณาจักรด้วย
!
3. การถวายบูชาพระอื่น ๆถูกยกเลิกไป ปรากฏว่า บรดาเจ้านาย ขุนนางและประชาชน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ไม่ยากนัก แสดงให้เห็นว่า ชาวโรมถือปฏิบัติตามความเชื่อดั้งเดิมของตนในลักษณะที่เป็นเพียงประเพณีรีตรอง จึงสามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่นี้ได้
!
4. วัดและวิหารพระต่างชาติกลายเป็นคริสตจักรของคริสเตียนไป เมื่อประชาชนโรมหันมานิยมนับถือความเชื่อของคริสเตียนมากขึ้น (โดยเฉพาะคนที่มีความรู้ และการศึกษา) ทำให้วิหารร้างไป ต่อมา วัดเหล่านี้จึงถูกเปลี่ยนไปเป็นคริสตจักร อย่างไรก็ตาม การบูชาพระต่าง ๆตามความเชื่อดั้งเดิมยังคงมีอยู่ตามชนบท และเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกหลายศตวรรษ
!
5. คริสตจักรได้รับการช่วยเหลือและสิทธิต่าง ๆ ทรัพย์สินเงินทางที่ได้จากท้องพระคลัง (Public Treasury) ซึ่งเคยใช้บำรุงวัดวิหารพระต่างชาติ ได้ นำมาใช้ช่วยเหลือคริสตจักร และผู้รับใช้พระเจ้าหรือนักบวชหรือบรรพชิต เงินช่วยเหลือเหล่านี้ทำให้ คริสตจักรเปลี่ยนโฉมหน้า มั่งคั่งร่ำรวยขึ้น นอกจากนี้ รัฐบาลโรมก็ได้เลี้ยงดูพวกผู้รับใช้ (บรรพชิต) ในคริสตจักรอย่างเป็นทางการด้วย
!
6. กลุ่มบรรพชิตได้รับสิทธิพิเศษหลายอย่าง
บางอย่างรัฐกำหนดให้ แต่บางอย่างได้รับโดยทางธรรมเนียม ซึ่งในเวลาต่อมาก็กลายเป็นกฏ หมาย เช่น หน้าที่ต่อสาธารณะที่ประชาชนต้องปฏิบัติ กลุ่มบรรพชิตรับการยกเว้นภาษีก็ไม่ต้องเสีย การฟ้องร้องกล่าวหากลุ่มบรรพชิตจะพิจารณากันในศาลของศาสนา (Ecclesiastical Court) และศิษยา ภิบาลหรือศาสนาจารย์ของ คริสตจักร ในไม่ช้าได้กลายเป็นคนชั้นพิเศษอยู่เหนือกฏหมายแผ่นดิน
!
7. ประกาศใช้วันอาทิตย์เป็นวันหยุดพักและวันนมัสการพระเจ้า
รัฐได้ออกประกาศให้วันต้นหรือวันแรกของสัปดาห์เป็นวันหยุดพักผ่อนและนมัสการพระเจ้า ในตอนแรกประกาศใช้เฉพาะในตัวเมือง แต่ต่อมาไม่นาน ก็ได้ปฏิบัติตามทั่วไปทั้งราชอาณาจักร โรมัน ใน คศ.321 คอนสแตนตินประกาศห้ามไม่ให้ศาลเปิดทำการชำระความในวันอาทิตย์ ยกเว้น เรื่องจะให้มีการปล่อยทาสและสั่งให้ทหารทุกหน่วยหยุดฝึกซ้อมในวันอาทิตย์ด้วย แต่การกีฬาสำหรับ ประชาชนยังคงมีต่อไปได้ในวันอาทิตย์ จึงค่อนข้างทำให้เป็นวันหยุดพักผ่อนมากกว่าเป็นวันบริสุทธิ์
!
II. ผลดีบางประการแก่อาณาจักรโรม จากการรับคริสตศาสนาเป็นศาสนาที่ทรงโปรดของจักรพรรดิก็มีผลดีบางประการแก่พลเมือง และอาณาจักรโรมันด้วย เนื่องจากอิทธิพลและวิญญาณของศาสนาใหม่เข้าคลุกเคล้ากับธรรมเนียม !48
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
และพิธีรีตองหลายอย่าง คอนสแตนตินจึงได้ให้มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมกฏหมายหลายอย่าง ทายาทต่อจากท่านองค์แรก ๆก็ทำด้วย
!
1. เลิกวิธีการตรึงกางเขนเสีย
วิธีนี้เป็นแบบประหารชีวิตนักโทษอาชญากร ที่ไม่ใช่สัญชาติโรมัน ใช้อย่างแพร่หลายใน อาณาจักรมานานแล้ว ส่วนคนสัญชาติโรมันมีสิทธิรับการประหารด้วยการตัดศีรษะ เหตุผลที่ให้ ยกเลิกก็คือ เนื่องจากพวกคริสเตียนในภายหลังได้ถือว่า กางเขนมีความหมายและศักดิ์สิทธิ์ต่อพวก เขามาก เพราะพระเยซูทรงยอมถูกตรึงตายเพื่อมนุษย์ ในไม่ช้า เมื่อคอนสแตนตินรู้เช่นนั้นจึงเอามา เป็นเครื่องหมายประจำกองทัพของพระองค์ และจึงประกาศห้ามไม่ให้ใช้เป็นเครื่องประหารชีวิต นักโทษอีกต่อไป
!
2. เลิกการทำแท้งและกำจัดทารก
ก็ถูกสั่งห้ามไม่ให้ทำต่อไป เนื่องจากตลอดประวัติศาสตร์ของโรมในกาลก่อนและทั้งในดินแดน ต่าง ๆที่ขึ้นอยู่กับโรม ได้มีการการกำจัดเด็กทารกที่บิดามารดาไม่ต้องการได้ เช่น โดยการอุดจมูก ไม่ให้เด็กหายใจจนตาย หรือเอาไปทิ้งไว้ให้ตาย จึงเกิดมีบางคนมีอาชีพใหม่ คือ เที่ยวเก็บเด็กทารก เหล่านี้มาเลี้ยงจนโตแล้วขายเป็นทาส แต่เมื่อคริสตศาสนาเข้ามาแทนที่ อิทธิพลของคำสอนของ คริสเตียนช่วยให้มนุษย์เห็นคุณค่าและมีความศักดิ์สิทธิ์เท่าเทียมกันต่อพระเจ้า โดยเฉพาะชีวิตเด็ก ทารกอ่อน ๆที่เกิดมามีความบริสุทธิ์ไร้เดียงสา ต้องการความรัก การทนุถนอมเอาใจใส่เลี้ยงดูและสั่ง สอนให้เจริญในทางของพระเจ้า ดังนั้น ความชั่วร้ายแห่งการฆ่าเด็กทารกที่เคยแพร่อยู่ทั่วราช อาณาจักรโรมก็ได้ถูกสั่งห้ามเป็นกฏหมายเด็ดขาด
!
3. ศีลธรรมและจริยธรรม (โดยเฉพาะทางเพศ)
ได้ถูกปรับปรุงให้สูงขึ้น เนื่องจากในเวลาที่ผ่านมาเรื่องเพศในอาณาจักรโรมันมีความเสื่อม มาก การมั่วสุมทางเพศเป็นของธรรมดา มีการหย่าร้างกันเป็นว่าเล่น และการรับเอาผู้หญิงชั้นต่ำมา เป็นนางบำเรอหรืออนุภรรยานั้นเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ และไม่ถือว่าผิดกฏหมาย แต่เนื่องด้วยอิทธิ พลของคริสตศาสนาการสมรสในตอนหลัง จึงเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์และเป็นการกระทำที่ถาวรต่อพระ พักตร์พระเจ้า แล้วจึงออกเป็นกฏหมายห้ามการมีอนุภรรยาเด็ดขาด
!
4. การปฏิบัติต่อทาสมีมนุษยธรรมดีขึ้น
ตลอดประวัติศาสตร์ของอาณาจักรโรมัน จนถึงเวลาที่คริสเตียนเป็นที่รับรองของรัฐ มี พลเมืองที่เป็นทาสกว่าครึ่งหนึ่งและไม่มีกฏหมายคุ้มครองเลย นายคนใดเกิดไม่ชอบทาสขึ้นมาจะฆ่า เสียเมื่อไรก็ได้ พวกคริสเตียนในช่วงยุคพระคัมภีร์ใหม่ที่มีหลายคนเป็นทาส แต่เป็นเพียงชนกลุ่มน้อย จึงไม่มีหวังจะเปลี่ยนธรรมเนียมการมีทาสได้ เพราะสังคมทั่วไปยอมรับแล้วว่า การมีทาสนั้นเป็นการ สมควร สิ่งที่พอทำได้ มีเพียงเน้นให้นายและทาสเป็นพี่น้องกันในพระคริสต์ (กท 3.28, คส 3.11, อฟ 6.5-9 เป็นต้น) แต่ในเวลานี้เมื่อคริสเตียนขึ้นครองจึงมีอิทธิพลทำให้การปฏิบัติต่อทาสมีมนุษยธรรมขึ้น ทันที ให้ทาสมีสิทธิตามกฏหมายอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น ทาสอาจนำความโหดร้ายของนายขึ้น ฟ้องร้องได้ และการปลดปล่อยทาสก็เริ่มมีขึ้น มีการชักชวนหนุนใจให้มีการปล่อยทาสด้วย ดังนั้น !49
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ทุกหนทุกแห่งสภาพของทาสก็ดีขึ้น ต่อมาในการเป็นทาสในอาณาจักรโรมันก็ค่อย ๆเลิกหายไป
! !
5. ระงับกีฬากลาเดียเตอร์ (Gladiator)
กลาเดียเตอร์คือ การกีฬาที่โหดร้ายซึ่งแสดงตามสนามกีฬา (Hippodrome) ที่ให้พวกนักสู้ออก สู้กันจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิต หรือการโยนนักโทษให้สัตว์ร้ายกิน เพื่อความสนุกสนานของคนดู ก็ได้ถูกสั่งห้ามไม่ให้ปฏิบัติต่อไป แต่กฏหมายฉบับนี้ ตอนแรกใช้บังคับในเมืองหลวงใหม่ของคอนส แตนตินก่อน ส่วนในที่อื่น ๆยังคงมีอยู่จนกระทั่ง คศ.404 จึงค่อยเลิกไป
!
III. ผลเสียบางประการที่เกิดจากการรับรองคริสตจักร ในการที่คริสตศาสนามีชัยชนะซึ่งนำผลดีมาก็มีมาก แต่ในทางตรงกันข้าม ผลร้ายก็มีมาด้วย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การยุติการข่มเหงคริสเตียนเป็นการดี แต่การตั้งคริสตศาสนาขึ้นเป็นศาสนา ของรัฐนั้นดูเหมือนเป็นความแช่งสาป
!
1. การตั้งคริสตศาสนาเป็นของรัฐ
การที่คริสตศาสนากลายเป็นศาสนาของรัฐบาลโรม เป็นผลร้ายและนำความเสียหายมายังคริ สตจักรอย่างมาก กล่าวคือ ทำให้คนทั่วไปเห็นว่าการเป็นคริสเตียนนั้นได้กำไร แทนที่จะเป็น อันตรายอย่างสมัยก่อนโน้น ดังนั้น การไม่เป็นคริสเตียนว่าเสียประโยชน์ จึงทำให้ทุกคนต่างก็หา ทางเข้าเป็นสมาชิกของคริสตจักร คริสตจักรก็ดีใจรับเกือบทุกคนไม่เลือกหน้า ทั้งคนที่กลับใจจริง แสวงหาพระเจ้าโดยสุจริต และทั้งคนที่แสวงหาผลประโยชน์ทางโลกเท่านั้น คนเหล่านี้เป็นพวกที่ ทะเยอทะยาน โลภ คนอธรรมที่แสวงหาตำแหน่งหน้าที่ในคริสตจักรเพื่อจะได้มีอิทธิพลทั้งในสังคม และทางการเมือง เช่น ตำแหน่งบิชอปเป็นตำแหน่งสูงในคริสตจักร ในสมัยแรกก็จริง แต่ก็มีอันตราย มาก หากเกิดการข่มเหง แต่ในเวลานี้ตำแหน่งนี้กลับนำความมั่งคั่ง เกียรติ และอิทธิพลฝ่ายโลกมา ให้ด้วย จึงสรุปได้ว่า ลักษณะแห่งธรรม มาตราฐานความเชื่อและชีวิตในพระเจ้าของคริสเตียนใน เวลานี้ที่มีอำนาจเต็มที่ในอาณาจักโรมันกลับมีมาตราฐานต่ำกว่าเมื่อคราวอยู่ใต้การข่มเหง 2. การนมัสการของคริสตจักรเป็นเพียงแต่พิธีกรรม มีพิธีรีตองมากขึ้น ทำให้ดูภายนอกแล้วมีความสง่างามดี แต่ภายในจิตใจและฝ่ายวิญญาณ ลดลงมากกว่าเมื่อก่อน ยิ่งกว่านั้นแบบแผนและพิธีรีตองของศาสนาพื้นเพเก่า (ลัทธิต่าง ชาติ)ค่อย ๆคลานเข้ามาในการนมัสการของคริสตจักร และยังรวมทั้งเทศกาลบางอย่างด้วย ก็ กลายเป็นเทศกาลของคริสตจักร โดยเพียงแต่การเปลี่ยนชื่อและระเบียบการนิดหน่อย ประมาณ คศ. 405 รูปปั้นของพวกสาวกและผู้ต้องถูกทรมานและประหารชีวิต เพื่อความเชื่อก็เริ่มปรากฏขึ้นในคริ สตจักร ครั้งแรกก็เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึง ต่อมาก็มีการเคารพคารวะทีละขั้น ๆ และในที่สุดก็ นมัสการ และเพราะในศาสนาพื้นเพเก่า มีการนมัสการพระนางวีนัส และไดนา คริสตจักรจึงคิดหา ทางทดแทนการนมัสการนี้ โดยจัดให้มีการนมัสการบูชารูปปั้นนางมาเรีย พรหมจารีย์ และพิธีมหา สนิทก็เปลี่ยนเป็นพิธีการถวายเครื่องบูชาต่อพระเจ้าแทนความหมายของการระลึกถึงการทรมาน และ การตายไถ่มนุษย์ของพระเยซู และพวกผู้ปกครองหรือศิษยาภิบาลได้เลื่อนจากการเป็นนักเทศน์ช่วย และนำคริสตจ้กรขึ้นเป็นนักบวชหรือปุโรหิต (Priest)ของคริสตจักร !50
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
! !
3. คริสตจักรมีใจไปในทางโลก เมื่อเป็นเช่นนี้ คริสตจักรจึงได้เปลี่ยนไปในทางของโลก เพราะแทนที่คริสตจักรจะเปลี่ยนโลก ไปตามอุดมคติของคริสเตียนตามพระคัมภีร์สอนให้ แต่กลับให้โลกได้เข้ามาครอบครองคริสตจักร ดัง นั้น ความเอาจริงเอาจังฝักใฝ่ในชีวิตฝ่ายวิญญาณและธรรมของสมัยแรกเริ่มและความถ่อมใจ พอใจ ยึดเอาฝ่ายวิญญาณเป็นหล้กใหญ่ ได้กลับกลายเป็นความทะเยอทะยาน ความคิดหัวสูง ยะโส จองหอง อยากเป็นใหญ่ในตำแหน่งและอำนาจองฝ่ายโลกนี้ แม้ว่ายังคงมีคริสเตียนหลายคนที่มีใจ สุจริตจริงใจ เช่น นางมอนนิคา (Monica) มารดาของออกัสตินและผู้รับใช้พระเจ้าที่สัตย์ซื่อ อย่างเจอ โรม (Jerome) และยอห์นไครโซล์โทม (John Chrysostom) แต่กระแสธารแห่งโลกีย์นี้ได้ท่วมท้นเข้ามา ในคริสตจักรอย่างบังคับไม่อยู่ และครอบคลุมคริสเตียนเป็นจำนวนมากที่เคยประกาศตัวว่าเป็น สานุศิษย์ขององค์พระเยซูคริสต์ผู้ถ่อมพระทัยลงของเขาทั้งหลาย
!
4. สรุปผลร้าย 2 ประการ ของการรวมรัฐและคริสตศาสนาเป็นอันเดียวกัน เราจึงเห็นว่า ถ้าได้ปล่อยให้คริสตศาสนาเจริญเติบโต พัฒนาเอาโดยปราศจากการควบคุม หรือการรวมกันกับรัฐ ก็จะมีผลดีกว่านี้ และทางรัฐเองก็จะดีกว่านี้ด้วย แต่เมื่อรวมทั้งสองนี้เป็นอัน เดียวกัน (คือรัฐเอาคริสตศาสนาเป็นศาสนาประจำอาณาจักร เป็นการรวมที่ผิดธรรมชาติ ผิดพระ คัมภีร์ จึงทำให้เกิดความชั่วร้าย และผลเสียอย่างร้ายแรง 2 อย่างคือ ก. ในภาคตะวันออก รัฐควบคุมคริสตจักร จนกระทั่งหมดฤทธิ์และหมดชีวิตฝ่าย วิญญาณ ข. ส่วนในภาคตะวันตก (ในทางตรงกันข้าม) ได้ค่อย ๆครอบงำอำนาจเหนือรัฐ ผลก็คือ การมีสภาพการเป็นคริสเตียนก็หมดไปและเสื่อมลงจนกลายเป็นการปกครองแบบเจ้าขุน มูลนายที่ปกครองบังคับบัญชาประเทศในภาคพื้นยุโรป เป็นการทำให้คริสตจักรกลายเป็นเครื่องมือ ทางการเมืองไป (A Political Machine)
!
ข้อสังเกต การแบ่งแยกอาณาจักรโรมันเป็นภาคตะวันออกและภาคตะวันตก นับแต่สมัยของดิโอเคลเทียน (Diocletian) คศ.285-305 มาแล้วมีความรู้สึกว่า อาณาจักร โรมันอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้ยากแก่การปกครอง จึงเกิดมีความโน้มเอียงที่จะแบ่งอาณาจักรออกเป็น 2 ภาคคือ ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก ซึ่งการสร้างเมืองหลวงของคอนสแตนตินก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ของการแบ่งแยกนี้ และภายหลังที่โอโดเชียสมหาราช (Theodosius the Great) คศ.378-395 สิ้นพระชนม์แล้ว อาณาจักรก็ถูกแบ่งแยกโดยเด็ดขาด และยกให้แก่โอรสทั้ง 2 คือ อาร์กาดิอัน และ โฮโนเรียส โดยยึดเอาภาษาที่ชาวเมืองใช้พูดกันแพร่หลายเป็นหลัก การแยกอาณาจักรนี้เป็น สัญญาณ (สาเหตุ)ของการที่คริสตจักรในภายหลังแบ่งแยกเป็น 2 ภาคด้วย
!
ภาคตะวันออก
ภาคตะวันตก !51
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
1. พูดภาษากรีก 2. กรุงโรมใหม่ (คอนสแตนนิโนเปิ้ล) เป็นเมืองหลวง 3. เขตแดนมีอียิปต์และครึ่งหนึ่งของ ประเทศลิเบีย
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
1. พูดภาษาละติน 2. กรุงโรมเก่าเป็นเมืองหลวง
!
3. เขตแดนมีแอลจีเรีย โมร๊อคโค และครึ่งหนึ่งของลิเบีย
V. การตั้งเมืองหลวงขึ้นใหม่ (ย้ายเมืองหลวง) ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในไม่ช้า หลังจากคริสตศาสนาได้เป็นที่ยอมรับว่าเป็นศาสนาของรัฐแล้ว ก็มีการเลือกตั้งเมือง หลวงใหม่ เพื่อสถาปนาเป็นที่ตั้งแห่งอำนาจการปกครองอันเป็นเหตุการณ์ที่นำผลสำคัญมาถึง คริสต จักรและถึงรัฐด้วย
!
1. ความต้องการเมืองหลวงใหม่ เนื่องจากคอนสแตนตินเห็นว่า (ก) กรุงโรมนั้นสัมพันธ์กันใกล้ชิดกับศาสนาต่างชาติเต็มไปด้วยโบสถ์ วิหาร รูป เคารพ และครอบงำด้วยตำนานพื้นเมืองอยู่มาก ที่ทำให้โน้มเอียงไปทางศาสนาเก่านี้อย่างรุนแรง (ข) ประกอบด้วยตัวเมืองเก่านี้ตั้งอยู่ใจกลางที่ราบกว้างใหญ่ ย่อมตกเป็นเป้าของการ โจมตีจากศัตรูได้อย่างง่ายดาย ซึ่งในครั้งโบราณก็ได้เคยถูกศัตรูต่างชาติมาล้อมกรุงและโจมตีหลาย ครั้ง และในเวลาต่อมา มีสงครามกลางเมืองแย่งชิงอำนาจกันจากมณฑลต่าง ๆ เมืองหลวงนี้ก็ถูกยึด ครอง แล้วก็มีทั้งการตั้งตัวเป็นจักรพรรดิและการถอดจักรพรรดิหลายครั้งหลายคราว (ค) ในเวลานี้ จักรพรรดิคอนสแตนตินมีอำนาจเหลือล้นแต่ผู้เดียว ไม่เหมือนในแบบ ปกครองที่ดิโอเคลเทียนวางระบอบไว้ที่จักรพรรดิไม่มีสิทธิ์อำนาจเหนือรัฐสภา จึงเสาะหาเมืองหลวง ใหม่ตามดุลยพินิจที่ชอบใจ
! !
2. ที่ตั้งของเมืองหลวงใหม่ ดังนั้น เมื่อคอนสแตนตินทรงเห็นว่ากรุงโรมเป็นเมืองหลวงที่ไม่ อำนวยความสะดวกและปลอดภัย ด้วยความมีสติปัญญา พระองค์จึงทรงเลือกสร้างกรุงโรมใหม่บนที่ ตั้งของเมืองกรีกโบราณ ไบแซนติอัม (Byzantium) ซึ่งถือกันว่าเป็นที่ตั้งอยู่ในบริเวณจุดยุทธศาสตร์ คือ อยู่ที่ช่องแคบบอสฟอรัส (Bosphours) ตรงปากทางเข้าทะเลดำ อยู่ทางใต้ของเมืองเธลเลสปอนต์ (ปัจจุบันคือดาร์ดาแนลเลส Dordanelles) ซึ่งเป็นที่บรรจบกันของทวีปยุโรปและเอเซีย รวมความยาว 60 ไมล์ด้วยกัน และกว้างไม่ถึง 1 ไมล์ ไม่มีส่วนไหนกว้างเกิน 4 ไมล์ ดังนั้น ที่ตั้งของตัวเมืองใหม่นี้ จึงเป็นป้อมปรากการอย่างแข็งแรงโดยธรรมชาติจนศัตรูเข้ายึดเอาได้ยากเย็นมากในตลอด ประวัติศาสตร์กว่า 25 ศตวรรษ เมืองหลวงใหม่นี้มีชื่อว่า “คอนสแตนติโนเปิล” (Constantinople) หมายถึง “เป็นเมืองของจักรพรรดิคอนสแตนติน” แต่เดี๋ยวนี้ทางการเรียกกันว่า “อิสตันบูล” (Istanbul) ในประเทศตุรกี
!
3. เมืองหลวงใหม่คอนสแตนติเนเปิลกับคริสตจักร ในนครหลวงใหม่นี้ คริสตจักรได้รับ การยกย่องชูเกียรติอย่างมาก ประธานบิชอฟซึ่งต่อมาเรียกว่า เพททริอาร์ค (Patriarch) ถูกยกให้อยู่ !52
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เคียงข้างจักรพรรดิ แต่ก็ยังอยู่ภายใต้อำนาจของจักรพรรดิ ดังนั้น คริสตจักรในเมืองหลวงใหม่นี้ซึ่ง จัดอยู่ในภาคตะวันออก จึงตกอยู่ในสภาพเป็นผู้รับใช้ของรัฐตลอดมา ถึงแม้ว่าในบางครั้งประธาน บิชอปอย่างเช่น ยอห์น ไครโซลโทม (John Chrysostom) จะได้ถือสิทธินำคริสตจักรอย่างเป็นอิสระ เอกเทศ แต่ก็เป็นเพียงชั่วครู่ แน่นอนในเมืองหลวงใหม่ ย่อมไม่มีวัดวาอารามหรือรูปเคารพ มีแต่คริสตจักรที่ในไม่ช้าได้ เกิดขึ้นมากมาย มีคริสตจักรหนึ่งใหญ่ที่สุดชื่อ ชังตาโซเฟีย (Sancta Sophia) หมายถึง “พระปัญญา ศักดิ์สิทธิ์” (Sacred Wisdom) คอนสแตนตินเป็นผู้สร้างขึ้นใหม่ แต่ต่อมาถูกไฟไหม้ทำลายเสีย จักร พรรดิจัสติเนียน (Justinian) ได้สร้างขึ้นใหม่ คศ.537 อย่างใหญ่โตมโหฬาร และโอ่อ่าว่าคริสตจักรอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน และได้ดำรงเป็นมหาวิหารชั้นนำของคริสตศาสนจักร (Cathedral of Christandom) นานถึง 11 ศตวรรษจนถึงปี คศ.1453 พวกเติร์ก (Turks) มายึดเอาเมืองได้ และได้ เปลี่ยนพระวิหารนี้เป็นสุเหร่าไปในวันเดียวกัน และต่อเนื่องมาจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 1
!
VI. วิธีนำคนให้กลับใจที่ต่างกันของคอนสแตนตินกับทายาทของท่าน
!
1. คอนสแตนตินให้อิสรเสรีภาพแก่ประชาชนในการเลือกนับถือเป็นคริสเตียน ตามที่เราทราบแล้วว่า คอนสแตนตินได้รับเอาคริสตศาสนาเป็นของรัฐ และได้สั่งห้ามมิให้ ทางราชการถวายบูชาแก่รูปเคารพ การนมัสการแบบเดิม และการบูชารูปปั้นของจักรพรรดิ แต่ยัง ทรงปล่อยให้ศาสนาทุกแบบดำเนินต่อไปได้ และทรงหาทางให้ประชาชนค่อย ๆกลับใจหันมานับถือค ริสตศาสนาโดยทางประกาศเผยแพร่สั่งสอน ไม่เอาทางบังคับ และพระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งของ ศาสนาต่างชาติเดิมในฐานะเป็นจักรพรรดิ คือ ปอนติเฟส แม๊กติมุส (Pontifex Maximus) หมายถึง “มหาสังฆราชหรือปุโรหิต (Chief Priest)” ซึ่งตำแหน่งนี้ต่อมาภายหลังคือสันตะปาปา (Pope) แท้จริง ตอนแรกเป็นเพียง หมายถึง บิชอปของคริสเตียน แต่ต่อมาหมายถึง ผู้นำสูงสุดของโรมันคาทอลิก ก็ ถือว่า พวกเขาได้รับตำแหน่งนี้ด้วย และคอนสแตนตินยังได้อุปถัมภ์พวกพรหมจารีย์บริสุทธิ์ (Vestal Virgins) ที่กรุงโรม
!
2. พวกทายาทของคอนสแตนตินใช้วิธีบังคับโดยทางกฏหมาย เมื่อพวกทายาทของท่านขึ้นครองราชย์ ตั้งแต่ คศ.337) แล้วก็ไม่ยอมปล่อยตามความสมัครใจ แต่ทำให้การเปลี่ยนใจจากศาสนาเดิมมาเป็นคริสเตียนเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยออกกกฏหมายกดขี่ ออกมาเรื่อย ๆซึ่งแทัที่จริงยังผลร้ายต่อคริสตจักรอย่างมากโดยได้ทำการต่อไปนี้ - สั่งยึดทรัพย์สมบัติของวัดวาอารามทุกอย่างรวมทั้งของพระสงฆ์ด้วย และในหลายที่หลาย แห่งได้โอนให้เป็นของคริสตจักร - ห้ามศาสนาเดิมปฏิบัติพิธีการถวายบูชา และการนมัสการรูปเคารพสักการะทั้งหลาย ผู้ใด ฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษถึงประหารชีวิตและริบเอาทรัพย์สมบัติ ซึ่งในช่วงหนึ่ง ศตวรรษแห่งการห้ามเด็ดขาดนี้ ก็มีพวกนับถือศาสนาเดิมที่ฝ่าฝืนและถูกประหารชีวิตหลายคน ซึ่ง เป็นเพียงจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับจำนวนคริสเตียนที่ต้องเสียชีวิตไปในช่วงการข่มเหงคริสเตียน (200 ปีแรก) !53
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
- รื้อทำลายวัดวาอารามเป็นอันมาก เมื่อวัดวิหารหลายแห่งที่ได้ใช้เป็น คริสตจักรไปแล้ว ภายหลังต่อมา 2-3 ปี ก็มีคำสั่งให้รื้อถอนที่ยังเหลืออยู่ลงให้หมด เว้นไว้แต่ที่คริสเตียนต้องการไว้ใช้ เป็นที่นมัสการ - ทำลายข้อเขียนที่เป็นของพวกปรปักษ์ต่อคริสตศาสนา แล้วก็มีคำสั่งไม่ให้ใครเขียนหนังสือ หรือพูดสิ่งที่เป็นปรปักษ์ต่อคริสเตียน และหนังสือทุกเล่มของพวกปรปักษ์ก็สั่งให้เผาหมด การบังคับ โดยใช้กฏหมายกดขี่เหล่านี้มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภาคต่าง ๆของอาณาจักรโรมัน ซึ่งยังผลให้ ศาสนาพื้นเพ (ต่างชาติ - Heathenism) ต้องสูญสิ้นไปในระยะเวลา 3-4 ชั่วอายุคน
!
3.2 พัฒนาการในคริสตจักร
1. เขตปกครองของบิชอป
การเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่อีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นต่อคริตจักรคือ การเริ่มต้นการจัดระบบการ ปกครองใน คริสตจักรเป็นขั้นตอน กล่าวคือ เกิดเขตปกครองของบิชอปขึ้น 5 เขตที่เด่น ๆเหนือเขต ปกครองอื่น ๆ คือ อันทิโอก อเล็กซานเดรีย เยรูซาเล็ม คอนสแตนติโนเบิล และโรม เพราะถือกัน ว่า เป็นเขตที่อัครทูตเป็นผู้ตั้งขึ้นและคริสตจักร ได้รักษาคำสอนที่ตกทอดมาไว้อย่างดี ดังนั้น จึงเป็น เขตที่ดีเด่นและสอนถูกต้องเชื่อถือได้ 4 เขตแรกอยู่ในภาคตะวันออก เขตที่ 5 โรมอยู่ในภาคตะวันตก บิชอปแห่งกรุงโรม (เก่า)นี้จึงได้ กลายเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งของโรมในภาคตะวันตก เพราะการย้ายเมืองหลวงจากกรุงโรมไป อยู่ที่คอนสแตนติโนเบิล
! ! !
2. คริสตจักรประจำตำบล (คริสตจักรท้องถิ่น) และศิษยาภิบาลประจำ พัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนี้คือ เนื่องจากจำนวนคริสตสมาชิกทวีมากขึ้น ในแต่ละเขตจึงเป็นการยากที่บิชอปคนเดียวจะเป็นประธานในพิธีมหาสนิท ต่อมางานนี้กลายเป็นงาน ประจำ และกลายเป็นตำแหน่งศิษยาภิบาลประจำคริสตจักรท้องถิ่น แล้วก็ทำกันอย่างนี้มากขึ้นอย่าง รวดเร็ว
!
3. พระคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรก ในศตวรรษที่ 4 นี้ พระคัมภีร์ฉบับสมบูรณ์ (ทั้งเก่าและใหม่) หรือเกือบสมบูรณ์ได้เกิดขึ้น 2 ฉบับแรก ซึ่งยังเก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน คือ ฉบับวาติกัน (Vatican) ซึ่งเก็บอยู่ ณ นครวาติกันใน กรุงโรมและฉบับซีนาย (Sinai) ซึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติชในประเทศอังกฤษ ในศตวรรษที่ 5 ได้เกิด ขึ้นอีก 1 ฉบับ คือ ฉบับอเล็กซานเดรีย ซึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติชอังกฤษ (British Museum) เหมือน กัน ทั้งสามฉบับนี้เขียนเป็นภาษากรีกทั้งพันธสัญญาเก่าและใหม่ และในต้นศตวรรษที่ 5 ศาสนาจารย์เจอโรมได้แปลพระคัมภีร์ทั้งเล่มจากภาษาเดิมมาเป็นภาษาละติน เรียกว่า ฉบับ “วัลเกต” (Vulgate) ซึ่งต่อมาคริสตจักรในภาคตะวันตกได้นำมาใช้แทนฉบับละตินเก่าที่เรียกกันว่า ฉบับเสปตัว ยินต์ (Septuagiant) (แปลพันธสัญญาเดิมเป็นภาษากรีก แต่ไม่ได้แปลจากฉบับฮีบรู) เพราะดีกว่า !54
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
และได้ใช้กันอย่างมากในสมัยกลางของยุโรป ฉบับวัลเกตนี้ยังคงเป็นที่ยอมรับนับถือและใช้อยู่ใน ศาสนจักรโรมันคาทอลิก
!
4. การนมัสการในศตวรรษที่ 4 และ 5 คริสตสมาชิกที่ไปร่วมประชุมที่โบสถ์ ผู้ชายทุกคนจะสวมเสื้อคลุมคล้ายพวกบาทหลวงในสมัย ปัจจุบัน เพราะนั่นเป็นแบบเสื้อธรรมดาที่ใช้กันในสมัยนั้น ส่วนพวกบิชอปและผู้อาวุโสในตอนแรกก็ สวมเสื้อผ้าเหมือนคนอื่น ๆ แต่ต่อมามีธรรมเนียมใช้แถบคล้องคอ เป็นการเลียนแบบเครื่องแต่งกาย ซึ่งข้าราชการและวงการอื่น ๆใช้ยิ่งกว่านั้น ก็มีธรรมเนียมที่บิชอปและพวกผู้อาวุโส (ผู้ปกครอง) จะ สวมเสื้อนอกที่ทำด้วยผ้าราคาแพง ๆปักเป็นลวดลายต่าง ๆสวยงามทับเสื้อคลุมธรรมดาอีกชั้นหนึ่ง เครื่องแต่งกายแบบนี้ใช้กันในพระราชวังด้วย และก็เป็นเครื่องแต่งกายที่ผู้มีตำแหน่งสูงใช้กับพิธี สำคัญ ๆ สังฆราชได้นำมาใช้ในโอกาสที่มีพิธีศีลมหาสนิท เพื่อถวายเกียรติแด่พระเยซูคริสต์ผู้เป็น จอมราชา มีแบบนมัสการหลายแบบตกทอดมาถึงเราจนสมัยนี้ ดังนั้น เราจึงทราบว่า ลักษณะการ นมัสการเป็นอย่างไรบ้าง การนมัสการสมัยนั้นมีพิธีรีตองมากกว่าสมัยก่อน ๆ แต่ก็ดำเนินไปตามหลัก เดิม ดังนี้คือ อ่านพระคัมภีร์ เทศนา มีการถวายขนมปังและเหล้าองุ่น อธิษฐานเพื่อคริสตจักรทั่วโลก ขอพระเจ้าอวยพรขนมปังและเหล้าองุ่น การหักขนมปังแล้วร่วมพิธีมหาสนิทในระหว่างผู้เลื่อมใส ศรัทธา
!
5. คริสตสมาชิก (ฆราวาส) มีส่วนในพิธีมหาสนิทน้อยลง เนื่องจากมีคนเข้ามาเป็นคริสเตียนจำนวนมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาตราฐานการ เป็นคริสเตียน คือ เกิดมีสมาชิกสำรอง หมายถึง พวกที่ยังไม่ยอมรับบัพติสมา (คอนสแตนตินก็จัดอยู่ ในพวกนี้ด้วย) ดังนั้น พวกเขาจึงต้องออกจากโบสถ์ เมื่อพิธีนมัสการตอนแรกเสร็จ คือ หลังจาก อ่านพระคัมภีร์และเทศนาแล้ว สมาชิกสำรองจึงไม่มีส่วนในพิธีมหาสนิทของ คริสตจักร ในศตวรรษที่ 5 และแม้แต่สมาชิกที่เป็นลูกหลานคริสเตียนที่ได้รับบัพติสมาเมื่อยังเป็นเด็กเล็ก ๆมาแล้ว แต่ก็ยัง ลังเลใจที่จะเข้าร่วมพิธีมหาสนิททุกวันอาทิตย์ จึงไม่เข้ากลุ่ม การเปลี่ยนแปลงในเรื่องการถือพิธีมหา สนิทนี้ บางแห่งก็เร็ว บางแห่งก็ช้า แต่ผลสุดท้ายก็เหมือนกันทั่วไป คือ แทนที่คริสตสมาชิกทุก คนใน คริสตจักรท้องถิ่นหนึ่ง ๆจะร่วมพิธีมหาสนิทพร้อมกัน โดยมีบิชอปและคณะผู้อาวุโสและ มัคนายกเป็นผู้นำ ก็กลายเป็นธรรมเนียมที่ศิษยาภิบาล (สังฆราชหรือพระสงฆ์) จะถือพิธีมหาสนิท ร่วมกับสมาชิกเพียงบางคน และในที่สุดก็ถือพิธีเพียงคนเดียว ส่วนสมาชิกอื่น ๆเป็นแต่ผู้ดูและมีส่วน ร่วมในพิธีน้อยที่สุด
!
6. การถือรักษาและเพิ่มเทศกาลและวันสำคัญทางศาสนา สำหรับเทศกาลอีสเตอร์ (วันคืนพระชนม์) ได้เป็นเทศกาลประจำปีของคริสตชนมาตั้งแต่แรก พอถึงเวลานี้ก็มีการกำหนดสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ขึ้น เพื่อฉลองวันต่างๆ ของคริสเตียน e ในยุโรปภาค เหนือมาเป็นคริสตชน (คริสตจักรภาคตะวันตก) เทศกาลคริสตสมภพนี้จึงยิ่งทวีความสำคัญและมีคน เฉลิมฉลองกลางฤดูหนาวที่เรียกว่า ยูล (Yaul) ทางฝ่ายคริสตจักรตะวันออกมีการฉลองวันที่พระเยซู คริสต์ทรงรับบัพติสมา ซึ่งถือกันว่ามีความสำคัญมากกว่าวันคริสตสมภพเท่าทุกวันนี้ เมื่อเทศกาลนี้ ได้แพร่เข้าไปทางตะวันตกก็เลยถูกนำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองวันคริสตสมภพเสียและเรียก !55
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ชื่อว่า “ราตรีสิบสอง” คือเป็นการระลึกถึงพวกโหราจารย์ที่เข้ามาเฝ้าถวายบรรณาการแด่พระกุมาร แทนที่จะให้เป็นการระลึกถึงวันที่พระเยซูทรงรับบัพติสมา
!
3.3 ข้อถกเถียงเกี่ยวกับหลักข้อเชื่อและการประชุมสภาคริสตจักร เมื่อการต่อสู้ระหว่างพวกคริสเตียนและศาสนาต่างชาติได้สิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของคริสเตียน การต่อสู้อย่างใหม่ก็เกิดขึ้น เป็นสงครามความคิด คำพูด และเหตุผล คือเกิดมีข้อขัดแย้งเกี่ยวกับ หลักข้อเชื่อ เมื่อคริสเตียนต้องต่อสู้กับการข่มเหง คริสตจักรก็รวมเป็นอันเดียวกัน แม้จะมีความคิด แตกแยกในหลักข้อเชื่อบ้าง แต่เมื่อ คริสตจักรไม่เพียงแต่ปลอดภัย แต่ได้เป็นของรัฐด้วย การถก เถียงเกี่ยวกับหลักข้อเชื่อก็เกิดขึ้นอย่างรุนแรง เรื่องใหญ่ ๆมี 3 หัวข้อ ทั้งนี้ไม่นับเรื่องเล็กเรื่องน้อยที่ มีอีกมาก ในการยุติปัญหา ทำโดยการเรียก คริสตจักรทั้งหมดมาประชุมสมัชชา ซึ่งแต่ละครั้ง เหล่า บิชอปเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงชี้ขาด กลุ่มบรรพชิตชั้นรองและกลุ่มฆราวาสจะต้องรับไปปฏิบัติ ตามข้อตกลงของกลุ่มบิชอป
!
1. ข้อถกเถียงอาเรียน (The Arian Controversy): ตรีเอกานุภาพ (Trinity) โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของพระบิดาและพระบุตร เริ่มต้นจากความคิดของอาเรียส (Arius) ผู้อาวุโสแห่งอเล็กซานเดรีย ประมาณ คศ.318 ได้แพร่คำสอนว่า พระคริสต์แม้จะทรงเป็นอยู่ก่อนทุก สิ่งและทรงมีส่วนเนรมิตสร้างทุกสิ่งก็จริง แต่พระองค์ก็ยังเป็นผู้ถูกสร้างขึ้น จึงมิได้ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร์ แต่มีเวลาเริ่มต้น ดังนั้น พระคริสต์พระบุตรจึงไม่เป็นพระเจ้าแท้ (ด้อยกว่าพระเจ้า) และไม่เป็นมนุษย์ แท้ (สูงกว่ามนุษย์) แต่มัคนายกอาทานาเซียสชาวอเล็กซานเดรียได้ค้านคำสอนนี้ และยืนยันความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวของพระบุตรกับพระบิดาว่า พระบุตรทรงเป็นพระเจ้าจริง ๆและทรงดำรงอยู่ชั่วนิ รันดร์เสมอกับพระบิดาแล้ว ท่านได้บัญญัติศัพท์ขึ้นมา สองคำ เพื่ออธิบายข้อความของท่านดังนี้ “โฮโมอูซิออส” แปลว่า มีสาระเดียวกัน ซึ่งต่างกับคำว่า “โฮมอยอูซีออส” (Homoousios) แปลว่า มีสาระคล้ายกัน แม้ว่าสองคำนี้จะคล้ายคลึงกันแต่ความจริง แห่งศาสนศาสตร์เพ่งเล็งถึงข้อแตกต่างที่มีอยู่ในสองคำนี้ ข้อโต้แย้งแพร่ไปทั่ว คริสตจักรหลังจากที่คอนสแตนตินได้อุตส่าห์พยายามระงับการโต้แย้งนี้ แต่ไม่สำเร็จจึงได้เรียกประชุมสภาบิชอปขึ้นที่เมืองไนเซีย (ปัจจุบันเมืองอิสนิคในตุรกี) ในปี คศ.325 อาทานาเซียส เพราะเป็นแค่มัคนายกได้รับอนุญาตให้อภิปรายได้ แต่ออกเสียงไม่ได้ แต่ท่านก็ สามารถทำการโดยการนำคนส่วนใหญ่ของที่ประชุมให้ประนามคำสอนของอาเรียสได้ การตัดสินของ สภาจึงถือว่าอาทานาเซียสเป็นฝ่ายถูกจึงบรรจุคำว่า “โฮโมอูซีออส” ลงในหลักข้อเชื่อที่เรียกว่า “หลัก ข้อเชื่อไนเซีย” (เป็นคำสรุปความเชื่อสำคัญ ๆของคริสตศาสนาอันเป็นที่ยอมรับของคริสเตียนทั่วไป) ต่อมาได้แต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งเมืองอาทานาเซียสเป็นฝ่ายถูกจึงบรรจุคำว่า “โฮโมอูซิออส” ลงใน หลักข้อเชื่อที่เรียกว่า “หลักข้อเชื่อไนเซีย” (เป็นคำสรุปความเชื่อสำคัญ ๆของคริสตศาสนาอันเป็นที่ ยอมรับของคริสเตียนทั่วไป) ต่อมาได้แต่งตั้งให้เป็นบิชอปแห่งเมืองอเล็กซานเดรียในปี คศ.328 แต่ อาเรียสมีอิทธิพลทางการเมืองเพราะมีคริสเตียนชนชั้นสูงหลายคนร่วมทั้งโอรสและทายาทของคอนส แตนตินด้วยได้ถือตามคำสอนของเขา ดังนั้น ในรัชสมัยของพระราชโอรสและทายาทของคอนสแตน ติน ท่านอาทานาเซียสต้องได้รับความลำบากมากถึงกับถูกเนรเทศ (ขับไล่ออกจากตำแหน่ง) ถึง 5 ครั้ง และก็ถูกเรียกกลับหลายครั้ง จนมีคำพูดว่า “อาทานาเซียสทั่วโลกพากันเป็นปรปักษ์กับท่าน !56
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
แล้ว” เบื้องปลายชีวิต 7 ปีสุดท้ายของท่านได้อยู่อย่างสงบที่เมืองอเล็กซานเดรียและสิ้นชีพที่นั่นใน คศ.373 ในที่สุด คำสอน ทัศนะของท่านเป็นความยอดเยี่ยมทั่ว คริสตจักร ทั้งภาคตะวันออกและ ตะวันตก
!
2. ข้อถกเถียงอพอลลินาเรียน (The Apollinarian Controversy): ลักษณะของพระ คริสต์ (Nature of Christ) ท่านอพอลลินาริสเป็นบิชอปแห่งเลาดีเซีย (Laodicea) ใน คศ.360 สอนยืนยันว่า ลักษณะ สภาพของพระคริสต์ว่า พระเยซูเมื่ออยู่ในโลกมิใช่มนุษย์ แต่เป็นพระเจ้าแท้อย่างเดียวในรูปร่าง มนุษย์ (God alone in Human form) เพราะธรรมชาติของพระเจ้าได้มากำเนิดเป็นธรรมชาติของ มนุษย์ในพระเยซูคริสต์ และบิชอป และนักศาสนศาสตร์ส่วนใหญ่ถือว่า บุคคลิกภาพของพระเยซู คริสต์ เป็นการรวมพระเจ้าและมนุษย์เป็นอันเดียวกัน (Unity of God and man) และในธรรมชาติ เดียว (Deity and Humanity -one nature) ดังนั้น คำสอนผิดของอพอลลินาริสจึงถูกประนามโดย สมัชชาแห่งคอนสแตนติโนเบิล ใน คศ.381 ผลก็คือ ท่านถอนตัวออกจากคริสตจักร
!
3. ข้อถกเถียงเนสทอเรียน (Nestorious Controversy): ความเป็นมนุษย์ของพระ
คริสต์ เนสทอเรียสไม่สามารถยอมรับคำกล่าวที่ว่า นางมารีย์เป็นมารดาขององค์พระผู้เป็นเจ้า (mother of god) หรือคำกรีกใช้ว่า Theotokos เขาจึงสอนว่า มารีย์ให้กำเนิดแต่ส่วนที่เป็นมนุษย์ของ พระคริสต์เท่านั้น และแม้ว่าพระคริสต์ทรงเป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์ แต่ทั้งสองพระลักษณะไม่ เกี่ยวข้องกัน พระคริสต์ทรงเป็นมนุย์ที่สมบูรณ์ และทรงเกี่ยวข้องกับพระเจ้าในด้านศีลธรรม ในปี ค.ศ. 430 คำสอนนี้ถูกประนามที่สมัชชาแห่งเมืองเอเฟซัส
!
4. ข้อถกเถียงพิเลเจียน (Pelagian Controversy): ความบาปและความรอด เป็นข้อถกเถียงข้อเดียวของยุคนี้ที่เกิดขึ้นใน คริสตจักรภาคตะวันตก เริ่มขึ้นด้วยท่านพิเล เจียนเป็นนักพรต (พระ) มาจากบริเตนอยู่ที่โรม ประมาณปี คศ.410 ท่านสอนว่า มนุษย์มิได้รับเอา สภาพบาป (ความโน้มเอียงในทางบาป) จากอาดัม แต่ว่าแต่ละคนได้เลือกเอาเองว่า จะเอาบาปหรือ ความชอบธรรม ความตั้งใจของทุกคนเป็นอิสระ และทุกคนจะต้องรับผิดชอบในการตัดสินใจของตน ผู้ที่คัดค้านคำสอนนี้คือ ท่านออกัสตินผู้สามารถ (นักศาสนศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่รองจากเปาโล) โดยยืนยัน ว่า อาดัมเป็นตัวแทนของมนุษย์ทั้งสิ้น ความบาปของอาดัมทำให้มนุษย์เป็นคนบาป และมนุษย์ทั้ง สิ้นต้องถือว่ามีโทษ และมนุษย์ไม่สามารถรอดพ้นบาปไปสวรรค์ได้ โดยทางของตัวเอง แต่ได้โดยน้ำ พระทัยและแผนการของพระเจ้า ผู้ซึ่งทรงเลือกใครผู้ที่พระองค์จะช่วยให้รอด ดังนั้น คำสอนของพิเล เจียนจึงถูกประนามโดยสมัชชาแห่งคาร์เทจ คศ.418 และหลักศาสนศาสตร์ของออกัสตินก็ได้กลาย เป็นหลักมาตรฐานแห่งจารีตโบราณในคริสตจักร (The Standard of Orthodoxy) อยู่จนกระทั่งถึงยุค ปัจจุบันในสมัยของท่านอาร์มิเนียสในออแลนต์ (ประมาณ คศ.1600) และท่านยอห์น เวสเลย์ใน ศตวรรษที่ 18 จึงค่อยได้มีการแตกแยกออกจากหลักศาสนศาสตร์แบบออกัสตินอย่างจริงจัง
!
!57
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หมายเหตุ แม้ข้อถกเถียงเหล่านี้จะจบลงด้วยคำวินิจฉัยจากที่ประชุมสภาคริสตจักรแต่ละครั้ง แต่ในปี ค.ศ. 451 คริสตจักรได้เปิดประชุมสภาแห่งชาลเซดอน (Chalcedon) เพื่อนำข้อถกเถียงเกี่ยวกับพระ ลักษณะของพระคริสต์ทั้งสิ้นมาพิจารณาและประกาศเป็นหลักข้อเชื่อสากลของคริสตจักร หลักข้อเชื่อที่ประกาศจากการประชุมสภาชาลเซดอนนี้ เน้นย้ำว่า พระคริสต์ทรงเป็นพระเจ้า สมบูรณ์ และเป็นมนุษย์สมบูรณ์ ทั้งสองพระลักษณะนี้ไม่ได้แยกจากกัน แต่ก็ไม่ได้คลุกเคล้าประสม ประสานกันในพระองค์ พระคริสต์ทรงเป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์อย่างสมบูรณ์และไม่เปลี่ยนแปลง
!
3.4 ลักษณะและความเป็นมาของลัทธิอารามวาสี (Monasticism) ในขณะที่การถกเถียงเกี่ยวกับหลักข้อเชื่อกำลังดำเนินไปอย่างดุเดือด ความเคลื่อนไหวอีก อย่างหนึ่งก็เริ่มก่อขึ้น และไปเติบโตขยายใหญ่ในยุคที่ 4 คือลัทธิอารามวาสี ตามที่เราทราบอย่าง แน่ชัดว่า ในคริสตจักรยุคแรกไม่มีนักพรต (พระ) หรือนางชี คริสเตียนอยู่ในครอบครัวและแม้จะตีตัว ออกห่างจากสังคมไหว้รูปเคารพ พวกเขาก็ยังคงเป็นคนอยู่ในสังคมโดยทั่วไป ดังนั้น จึงมีความ สำคัญมากที่เราจะต้องศึกษาว่าลัทธินี้เริ่มขึ้นอย่างไร
!
1. สาเหตุที่นำมาซึ่งการก่อกำเนิดของลัทธิอารามวาสี (อารามวาสี)
เมื่อคริสตศาสนาได้ครอบครองอาณาจักรโรมันแล้ว ฝ่ายโลกก็เข้ามาในคริสตจักรและแพร่ หลายไปทั่ว คริสเตียนที่เอาจริงต้องการแสวงหาชีวิตฝ่ายวิญญาณที่สูงก็เกิดไม่พอใจกับ สภาพแวดล้อมใน คริสตจักรจึงปลีกตัวออกจากสังคมไปอยู่โดดเดี่ยวบ้าง อยู่กันเป็นกลุ่มบ้าง เพื่อที่ จะเพาะชีวิตฝ่ายวิญญาณโดยการอธิษฐาน ภาวนาไตร่ตรอง และฝึกนิสัยบำเพ็ญตน (ทรมานกาย) เรากล่าวได้ว่าลัทธิอารามวาสีก่อกำเนิดขึ้นจากสาเหตุหรืออิทธิพล 5 ประการ
!
(1) สาเหตุด้านปรัชญา ปรัชญากรีก โดยเฉพาะลัทธินอสติค และนีโอ-พลาโตนิส สอนว่า
วิญญาณเป็นสิ่งดี แต่ร่างกายเป็นสิ่งชั่วร้าย ดังนั้นมนุษย์ควรปฏิเสธความต้องการของ ร่างกาย และออกจากสังคมเพื่อช่วยให้สามารถดับความต้องการของเนื้อหนังได้ (2) สาเหตุด้านพระวจนะ อัครสาวกเปาโลเน้นเรื่องการอยู่เป็นโสด (1คธ. 7) และพระคัมภีร์ โดยรวมก็สอนเรื่องการแยกตัวออกจากโลก (3) สาเหตุด้านจิตวิทยา ในช่วงที่ชีวิตเผชิญปัญหาหรือวิกฤตกาล ผู้คนมักจะหนีความเป็น จริงของโลกรอบตัวไปใช้ชีวิตสันโดษในอารามเพื่อให้ลืมความทุกข์และวิกฤตชีวิต นอกจากนั้นในสมัยนั้น คริสเตียนจำนวนมากไม่พอใจสภาพความเป็นไปของคริสตจักร เมื่อคริสตศาสนากลายเป็นศาสนาของรัฐ ระบบของโลกได้คืบคลานเข้ามาในคริสตจักร มากขึ้นเรื่อยๆ คริสเตียนที่เอาจริงเอาจังกับพระเจ้าจึงต้องการแสวงหาชีวิตฝ่ายวิญญาณ ที่ลึกซึ้งขึ้น จึงต้องการปลีกวิเวกจากสังคม ยิ่งกว่านั้นเมื่อการข่มเหงหมดไป ผู้ที่ถือว่าการ พลีชีพเพื่อพระคริสต์ (martyrdom) เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้า ต้องหันมา ยึดการอยู่อารามทดแทน (4) สาเหตุด้านประวัติศาสตร์ เมื่อมีคนต่างชาติในอาณาจักรโรมหันมาเป็นคริสเตียนมาก ขึ้น พิธีกรรมและศาสนศาสตร์ของลัทธิต่างชาติก็เข้ามาปนเปื้อนในการนมัสการมากขึ้น คริสเตียนที่เอาจริงเอาจังกับพระเจ้าจึงหันมาอยู่อารามแทน !58
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(5) สาเหตุด้านภูมิศาสตร์ ลัทธิอารามวาสีก่อกำเนิดเป็นครั้งแรกที่ประเทศอียิปต์
เนื่องจากที่นั่นมีอากาศอบอุ่น และสภาพธรรมชาติเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีพ แม่น้ำไนล์ ที่ไหลผ่านตามที่ราบและบริเวณหุบเขา ทำให้สามารถปลูกพืชผลได้ และธรรมชาติที่สงบ ก็เหมาะกับการอธิษฐาน และศึกษาพระวจนะ 2. ประเภทของลัทธิอารามวาสี ตลอดประวัติศาสตร์คริสตจักร เราสามารถแบ่งลัทธิอารามวาสีได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ (1) แอนคอไรต์ (Anchorite) มีความหมายว่า “ปลีกตัว” หรือ “ปลีกวิเวก” คือ ผู้ที่แยกสันโดษ ไปอยู่ตามลำพังคนเดียว เพื่อใช้เวลาในการอธิษฐาน ศึกษาและภาวนาในพระวจนะ ผู้ที่ อยู่อารามประเภทนี้มักจะเน้นการทรมานร่างกายด้วย บางท่านจึงเรียกผู้ที่อยู่อารามแบบ ปลีกวิเวกนี้ว่า “ฤษีคริสเตียน” (2) ซีโนไบต์ (Cenobite) คือ พวกที่อยู่อารามรวมกันเป็น “นิคม” มีกฎระเบียบเคร่งครัด เน้น การฝึกฝนตนในทางธรรม การอธิษฐาน แต่ไม่เน้นการทรมานร่างกาย 3. กลุ่มผู้อยู่อารามที่น่าสนใจ การอยู่อารามเป็นที่นิยมตลอดประวัติศาสตร์คริสตจักรยุคกลาง บุคคล หรือกลุ่มที่น่าสนใจใน ยุคนี้ ได้แก่
!
(1). แอนโทนี (ผู้ก่อตั้งลัทธิอารามวาสี) แท้จริงตัวอย่างของการมีชีวิตที่โดดเดี่ยวพอเห็นได้ในประวัติศาสตร์ตอนต้น ๆ แต่เรารับว่า แอนโทนีเป็นผู้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ คศ.320 เพราะชีวิตของท่านเป็นที่ดึงดูดความสนใจในเรื่องการอยู่อาราม นี้ ซึ่งได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรก และทำให้มีศิษย์เป็นจำนวนมากมาย โดยที่ ท่านอาศัยอยู่ในถ้ำอย่างสันโดษนับเป็นปี ๆในอียิปต์ จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป และได้รับยกย่องว่าเป็น ผู้มีชีวิตที่บริสุทธิ์ และอยู่อย่างง่าย ๆ ดังนั้น คนจำนวนมากจึงพากันทำตามแบบอย่างของท่าน บรรดาถ้ำในอียิปต์จึงหนาแน่นไปด้วยศิษย์ของท่าน ตั้งแต่นั้น ลัทธิอารามวาสีได้แพร่จากอียิปต์ขยาย แผ่ไปทั่วคริสตจักรในภาคตะวันออก คนจำนวนมากไม่ว่าชายและหญิงได้รับเอาลัทธินี้มาปฏิบัติ
!
(2) ซีโมน สไตไลท์ หรือ สาวกเสา (Simeon Stylites - Pillar-Saints) ลักษณะการบำเพ็ญตน (ทรมานกาย) อีกแบบหนึ่งที่แตกต่างออกไปจากที่เคยเกิดขึ้น คือการ อาศัยอยู่บนเสา แทนที่จะอยู่ในถ้ำ เริ่มปฏิบัติโดยนักบวช (พระ)คนแรกชื่อ ซีโมน ชาวซีเรียน ท่าน ได้ออกจากอาราม (Monastery) ปี คศ.423 แล้วได้ก่อเสาขึ้นหลายต้นที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ต้นสุดท้ายสูง ถึง 60 ฟุต กว้าง 4 ฟุต ท่านได้อาศัยอยู่บนเสาเหล่านี้ผลัดเปลี่ยนกันรวมเวลา 37 ปี จึงเรียกว่า พวกมีชีวิตแห่งเสา (Stylites of the Pillar) แล้วคนเป็นจำนวนมากก็พยายามแข่งขันกันที่จะเอาความ เด่นกับชีวิตของท่านซีโมน ดังนั้น ในซีเรียน จึงมีสาวกเสาเป็นจำนวนมากระหว่างศตวรรษที่ 5 ถึง 12 แต่ชีวิตแบบนี้ไม่ได้ปฏิบัติกันในยุโรป
!
(3) พาโคมีอัส (Pachomius)
พาโคมีอัส เกิดเมื่อปี ค.ศ. 292 ในครอบครัวที่ไม่เชื่อพระเจ้าในอียิปต์ ครอบครัวของท่านมี ฐานะยากจน ดังนั้นท่านจึงถูกเกณฑ์เป็นทหารในกองทัพ และได้หันมารับเชื่อเป็นคริสเตียน แต่ท่าน !59
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ไม่ชอบชีวิตทหาร ท่านจึงทูลขอพระเจ้าว่า หากพระองค์ทรงช่วยให้พ้นจากการเป็นทหารได้ ท่านจะ ถวายตัวและบวชเป็นบาทหลวงทันที ปรากฏว่าท่านสามารถออกจากราชการทหารได้อย่างอัศจรรย์ ท่านจึงออกบวชแบบแอนคอไรท์ ใช้ชีวิตแบบปลีกวิเวกอยู่พักหนึ่ง แต่พบว่าชีวิตสันโดษเช่นนี้ไม่ สามารถช่วยเหลือผู้คนในสังคมได้ ในที่สุดพาโคมีอัสได้ตัดสินใจก่อตั้งนิคมคริสเตียนขึ้น มีลูกศิษย์ที่ ศรัทธาท่านเข้าบวชเป็นบาทหลวงอยู่รวมกันในนิคมนี้ กฎของนิคมนี้เน้น การรับใช้กันและกัน โดยคน ที่เป็นผู้ใหญ่กว่าต้องเป็นแบบอย่างในการรับใช้ผู้น้อย ในทางประวัติศาสตร์คริสตจักรเราถือว่า พาโคมีอัส เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิอารามวาสีแบบนิคมเป็น คนแรก หลังจากนั้น การอยู่อารามแบบนิคมได้แพร่หลายจากอียิปต์ไปทั่วยุโรป จนกลายเป็นที่นิยมใน ยุโรปมาก ทั้งนี้เพราะอากาศในยุโรปหนาวเย็น เหมาะกับการอยู่เป็นนิคมมากกว่าอยู่อย่างสันโดษ เมื่อ มาถึง ค.ศ. 500 มีอารามในยุโรปทั้งของชายและหญิงประมาณ 300 แห่ง และการอยู่อารามแบบนิคม กลายเนที่นิตมตลอดยุคกลางของประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
(4) คณะเบเนดิค (Benedictines) บรรดาอารามทั่วไปในภาคตะวันตก (ยุโรปยุคกลาง) ได้จัดระบอบและปฏิบัติตามกฏของคณะ เบเนดิค ดังนั้นทางประวัติศาสตร์ถือว่า เบเนดิคเป็นผู้นำของลัทธิการอยู่อารามภาคตะวันตกที่ยิ่งใหญ่ ที่สุด ท่านจึงได้รับฉายาว่า “บิดาแห่งการอยู่อารามภาคตะวันตก” ท่านเกิดที่ Fubsia ในอัมเบรีย (Umbria) ท่านได้ก่อตั้งการอยู่อารามที่ Monte Cassino และรวบรวมกฏเกณฑ์และหลักต่าง ๆของ การอยู่อารามที่เป็นแบบแผน และประกาศใช้ในปี คศ.529 กฎเกณฑ์ของคณะเบเนดิค เน้น ความยากจน ความบริสุทธิ์ และความเชื่อฟัง (Poverty, Chastity & Obedience) บาทหลวง หรือแม่ชี ไม่ได้รับอนุญาตให้มีทรัพย์สินส่วนตัว ทุกคนต้องรักษา พรหมจรรย์ ทำงานหนัก เช่น ถางป่า ไถนา ทานอาหารวันละ 2 มื้อเท่านั้น และใช้เวลาส่วนใหญ่กับ การอ่านตำรา มีการนมัสการพระเจ้าวันละ 7 ครั้ง อย่างไรก็ตามคณะเบเนดิคไม่เน้นการทรมานกาย
!
X. การขยายอำนาจของคริสตจักรโรม (เก่า) สาเหตุจากที่คอนสแตนติโนเบิลถูกสร้างให้เป็นเมืองหลวงที่ยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโรมัน จน กลายเป็นเมืองหลวงของโลก ส่วนคริสตจักรกรุงโรมได้รับอำนาจขึ้นเรื่อย ๆ และมีชื่อเสียงยิ่งขึ้น และบิชอปของโรมได้แต่งตั้งตำแหน่งขึ้นเป็นโป๊ปสมอ้าง โดยยึดอำนาจเหนือคริสเตียนทั้งสิ้น และถือ เป็นประมุขของ คริสตจักรทั้งหมดในยุโรปภาคตะวันตกแถบทะเลเอเดรียติก (Adriatic) ทั้งฉวยโอกาส ที่จะตั้งเป็นเมืองหลวงของคริสตจักร จึงเป็นเหตุให้มีการโน้มเอียง เพื่อเรียกร้องอำนาจให้อยู่เหนือ รัฐบาล ดังที่ปรากฏในยุคสมัยกลาง สาเหตุมีดังนี้
!
1 ระบอบคริสตจักรมีลักษณะคล้ายกับการปกครองของรัฐ การให้อำนาจสูงสุดมาจากบุคคลผู้เดียว (ประมุข) ที่เรียก Autocracy (อัตตาธิปไตยหรือ เผด็จการ) คือ จักรพรรดิผู้เดียวที่มีอำนาจสิทธิขาด การปกครองของรัฐบาลโรมันแบบนี้เป็นเหตุให้ ค ริสตจักรการปกครองโดยประมุขผู้เดียว เพราะในเมื่อทุกแห่งมีบิชอปปกครองคริสตจักรทั้งหลาย แต่ มีปัญหาเกิดขึ้นเสมอ ๆว่า ใครจะปกครองบรรดาบิชอปทั้งหลาย? และบิชอปคนไหนสมควรดำรง ตำแหน่งเป็นประมุขเหนือ คริสตจักรทั้งหมด? เนื่องจากบิชอปที่ทำหน้าที่เป็นประธานในบางหัวเมือง ไม่ช้าก็ถูกเรียกว่า “Metropolitans” และระยะหลังเป็น “Patriarchs” ดังนั้น จึงมี Patriarchs ที่ !60
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เยรูซาเล็ม อันทิโอก อเล็กซานเดรีย คอนสแตนติโนเบิล และโรม แต่บิชอปโรมได้ถือตำแหน่งเป็น “ปา ปา บิดา” ภายหลังเปลี่ยนเป็นโป๊ป (Papa Father-Pope) เพราะในระหว่าง Patriarchs ทั้งห้านี้ ได้ชิงดีชิงเด่นกันบ่อย ๆที่จะเป็นใหญ่ และยึดอำนาจสูงสุด ในที่สุด ก็เหลือให้เลือกระหว่าง Patriarchs แห่งคอนสแตนนิโนเบิลกับโรมเท่านั้น แต่ก็มีการเลือกว่า ใครควรจะเป็นประมุขสูงสุด ของ คริสตจักร ซึ่งแนวโน้มไปทางโรมมากกว่า
!
2. คริสตจักรโรม สมอ้างอำนาจมาจากอัครสาวก คริสตจักรโรมอ้างว่า โรมเป็น คริสตจักรเดียวเท่านั้นที่ก่อตั้งขึ้นโดยอัครสาวกผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดทั้ง คู่ คือ เปโตรและเปาโล เปาโลเป็นผู้เริ่มต้น ส่วนเปโตรนั้นมีตำนานว่า ท่านได้เป็นบิชอปคนแรกของ โรม (จริงหรือเท็จนั้นไม่ทราบแน่ชัด) ซึ่งก็คือ โป๊ปของโรมที่หมายถึง ผู้ปกครอง (บังคับบัญชา)เหนือ กลุ่มศาสนาจารย์และ คริสตจักร และอ้างว่า เปโตรอยู่ในฐานะที่เป็นผู้นำของอัครสาวกด้วย จึงพูดว่า ท่านเปโตรคงต้องมีอำนาจเหนือคริสตจักรทั้งสิ้นและพวกเขาก็อ้างข้อพระคัมภีร์ และข้อสนับสนุนคำ พูดนี้จากมัทธิวและยอห์น แล้วสรุปว่า ถ้าเปโตรเป็นประมุขของ คริสตจักร คนแรก ดังนั้น ผู้สืบ ตำแหน่งต่อจากท่านคือ เหล่าโป๊ป (บิชอป) ของ คริสตจักรโรมที่ต้องดำรงอำนาจอย่างนี้ต่อไป 3. คุณลักษณะของคริสตจักรโรมและบิชอปโรมหลายคนสนับสนุนความคิดนี้ เนื่องจาก คริสตจักรโรมันจะยึดอยู่ในคำสอนตามจารีตประเพณีตั้งแต่แรก ทำให้ลัทธิเทียมเท็จ ที่เกิดขึ้นมีอิทธิพลต่อ คริสตจักรน้อยมาก คริสตจักรเหมือนเสาค้ำคำสอนตามจารีตประเพณีโบราณ (Pillar for the Orthodox teaching) โดยเฉพาะกลุ่มบิชอปในกรุงคอนสแตนติโนเบิล จากลักษณะ อย่างนี้ จึงทำให้เกิดความยำเกรง คริสตจักรและเคยชินต่อการมีผู้นำสูงสุดของจักรพรรดิ และทำให้ อาณาจักรโรมันเป็นเจ้าโลกซึ่งอยู่ในธรรมชาติของโรม โดยกลุ่มบิชอปโรม ส่วนมากพวกเขาเป็นคน เข้มแข็งกว่า เฉลียวฉลาดและเอาจริงเอาจัง มีน้ำหนัก (forceful)กว่ากลุ่มบิชอปในกรุงคอนสแตนติโน เบิล สิ่งที่สามคือ ด้านการช่วยเหลือและรับใช้คริสตจักรโรม ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการเอาใจ ใส่ต่อคนยากจนทั้งสมาชิกและคนภายนอก เมื่อเกิดการกันดารอาหาร หรือมีโรคระบาด และยังใจ กว้างส่งความช่วยเหลือไปยังคริสตจักรต่าง ๆที่ถูกข่มเหงในมณฑลอื่น ๆ ดังนั้น คุณลักษณะเหล่านี้ ได้สนับสนุนให้เกิดอิทธิพลของคริสตจักรโรมอย่างมาก 4. การย้ายเมืองหลวงจากกรุงโรมไปยังกรุงคอนสแตนติโนเบิล การย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงคอนสแตนติโนเปิลแทนที่จะลดอิทธิพลของบิชอปโรม (โป๊ป) กลับทำให้ทวีมากขึ้น กล่าวคือ ที่กรุงคอนสแตนติโนเบิล รัฐควบคุม คริสตจักร แต่ที่กรุงโรม บิชอป เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการควบคุมบริเวณ (ของภาคตะวันตก) แถบนั้น อาณาประเทศในยุโรปต่าง เคยมองและยอมรับโรมด้วยความนับถือที่เป็นเมืองหลวงใหม่และจักรพรรดิก็อยู่ไกลออกไป ความ จงรักภักดีต่อโป๊ปโรม (ภายหลังเรียกว่า มหาสังฆราชโรมัน (Roman Pontiff) เริ่มเข้ามาแทนตำแหน่ง จักรพรรดิโรม
!
3.5 ผู้นำที่สำคัญของยุคนี้
!
ยุคนี้มีผู้นำคริสตจักรสำคัญดังนี้ !61
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
1. อาทานาเซียส (Athanasius) คศ.293-373 เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในการต่อสู้หลักข้อเชื่อเรื่องตรีเอกานุภาพกับกลุ่มอาเรียน ท่านเป็นตัวเอกใน การอภิปรายในการประชุมเอเซีย คศ.325 หลังจากที่ได้รับเป็นบิชอปเมื่ออายุ 33 ปีแห่งอเล็กซานเดรียแล้ว ต่อมาต้องถูกเนรเทศ 5 ครั้ง และได้ต่อสู้เพื่อหลักข้อเชื่อที่ถูกต้อง ในที่สุดก็จบชีวิตลงด้วย ความสงบและมีเกียรติ
!
2. แอมโบรสแห่งมิลาน (Ambrose of Milan) คศ.340-397 เป็นคนแรกสุดในพวกบิดาแห่งละติน ตอนแรก ท่านเป็นข้าราชการที่มีตำแหน่งสูง เป็น สมาชิกสำรองของ คริสตจักรในเมืองมิลาน หลังจากถูกการรบเร้าจากประชาชนให้เป็นบิชอป ท่าน ยอมรับตำแหน่งนี้ในปี คศ.374 (โดยยังไม่ได้รับบัพติสมา เพียงแต่รับคำแนะนำในการเป็นสมาชิก) แล้วได้กลายเป็นผู้มีอิทธิพลใน คริสตจักร เพราะเป็นนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงและกล้าหาญมั่นคงในการที่ จะรักษาแก่นแท้ของคริสตศาสนาให้พ้นจากลัทธิอาเรียส เน้นหนักด้านศีลธรรมของคริสเตียน แม้ใน กรณีที่มีพวกชั้นสูงฝ่าฝืนกฏหมาย ท่านกล้าพอที่จะประท้วงจักรพรรดิธีโดเซียสที่พระองค์ได้ทำการ เหี้ยมโหดทารุณฆ่าคนมากมายที่เมืองเธซะโลนิกา และบังคับให้พระองค์สารภาพและรับทัณฑกรรม ต่อมา ได้รับการยกย่องและนับถืออย่างสูงสุดจากจักรพรรดิและได้รับเลือกให้เป็นผู้เทศนาในพิธีพระ ศพของพระองค์ ท่านเขียนหนังสือหลายเล่มและแต่งเพลงไว้หลายเพลง และที่สำคัญคือ มีอิทธิพล นำออกัสตินเข้าใน คริสตจักร
!
3. ยอห์น ไครโซสโทม (John Chrysostom) คศ.345-407 เกิดที่อันทิโอก แล้วได้รับตำแหน่งบิชอปหรือแพทริอาร์คแห่งอันทิโอก ต่อมาเป็นบิชอปแห่ง คอนสแตนติโนเบิล คศ.398 และเป็นนักเทศน์ที่ดีเด่นแห่งยุค จึงได้รับฉายาว่า “ลิ้นทอง” (The Golden Mouth) เพราะไม่มีใครสามารถใช้สำนวนโวหารได้เทียบท่าน นอกจากนี้ ท่านเป็นคนที่มี ใจร้อนรนในการปฏิรูปและเน้นเทศนาเรื่องการกลับใจใหม่ ทำให้ราชินียูโดเซีย (Eudoxia) ไม่พอ พระทัย จึงถูกเนรเทศและเสียชีวิตลงใน คศ.403 ต่อมาภายหลัง จึงเป็นที่ยอมรับ และศพของท่าน จึงถูกนำกลับมากรุงคอนสแตนติโนเบิล และฝังไว้อย่างมีเกียรติ นอกจากนี้ ท่านยังเป็นนักอธิบาย พระคัมภีร์ที่มีความสามารถคนหนึ่ง 4. ชาวคัปปาโดเซีย 3 ท่าน (The Three Cappadocians) ได้แก่ ท่านบาซิลผู้ยิ่งใหญ่ (Basil the Great) ผู้เป็นบิชอปแห่งซีซารียาในคัปปาโดเซีย (คศ. 329-379) กับน้องชายชื่อ เกรกอรีแห่งไนส์ซา (Grogory of Nyssa คศ.332-394) กับเพื่อนทั้งสองคือ เจอรี่แห่งนาเซียนรัส (Gregory of Mazianrus คศ.330-390) ทั้ง 3 ท่านมีบุคคลิกสูง มีความรักและ พร้อมที่จะสละชีวิตเพื่อพระคริสต์ ได้ลุกขึ้นอย่างกล้าหาญเพื่อต่อสู้พวกอาเรียนที่สอนผิด ซึ่งท่านอา ทานาเซียสได้ต่อสู้มาก่อนในตอนแรก ในคริสตจักรภาคตะวันออก
!
5. ออกัสตินผู้ยิ่งใหญ่ (Aurelius Angustine) คศ.354-430 เกิดในแอฟริกาเหนือ เมื่อยังหนุ่ม เป็นนักปราชญ์ที่เลื่องชื่อ แต่เป็นคนนิยมโลก ทะเยอทะยาน รักความบันเทิง เมื่ออายุ 33 ปีได้กลับใจเป็นคริสเตียน โดยอิทธิพลของมารดาคือนาง มอนิกา (บิดาไม่เป็นคริสเตียน), อิทธิพลคำเทศนาของแอมโบรสแห่งมิลานและการศึกษาจดหมายฝาก !62
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ของเปาโล ต่อมาในปี คศ.395 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นบิชอปแห่งฮิปโป (Hippo) ในแอฟริกาเหนือ ขณะนั้นเป็นเวลาที่พวกชาวป่าเริ่มบุกรุกด้วยสติปัญญา ความรู้ความเข้าใจ ด้านศาสนศาสตร์ ท่านจึง ได้เขียนหนังสือมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นคำสอนเกี่ยวกับความบาปและพระคุณของพระเจ้า โดย เฉพาะที่เขียนขึ้นเพื่ออธิบายและต่อสู้ข้อถกเถียงฟิเลเจียน ในคศ.412 มีหน้งสือที่เป็นตำราเหตุผล หลักข้อเชื่อที่มีชื่อเสียงมากชื่อ “นครของพระเจ้า” (The City of God) ท่านได้เสียชีวิตใน คศ.430 ใน ขณะที่พวกชาวป่ากำลังบุกยึดเมืองฮิปโป นอกจากนี้ ท่านได้รับการยกย่องอย่างมากว่า เป็นผู้ อธิบายพระคัมภีร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดถัดจากเปาโล หลักศาสนศาสตร์ของท่านได้มีอิทธิพลอย่างมากต่อ ท่านมาติน ลูเธอร์ และท่านคาลวินในยุคปฏิรูป
!
6. ลีออนผู้ยิ่งใหญ่ (Leo the Great) คศ.390-461 เป็นบิชอปของโรมที่อาจพูดได้ว่า เป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าบิชอปอื่น ๆของโรม ท่านได้ใช้กำลังความ พยายามทุกอย่างที่จะให้ได้รับการยอมรับว่า บิชอปของโรมนั้นเป็นบิชอปสากล (Universal Bishop) โดยอ้างมัทธิว 16.18 เกี่ยวกับเปโตร แล้วตีความหมายข้อนี้ใหม่ตามแนวความคิดของท่าน ซึ่งได้รับ การยอมรับในภาคตะวันตก (ยกเว้น คจงแห่งเดียวที่ชีลติค และได้รับการสนับสนุนโดยพระ ราชโองการของจักรพรรดิวาเลนเทียนที่ 3 แต่ คริสตจักรในภาคตะวันออกได้ปฏิเสธเด็ดขาด แต่คำ สอนของท่านเกี่ยวกับเรื่องความเป็นใหญ่สูงสุดของบิชอปหรือโป๊ป ได้มีอิทธิพลในยุคต่อมา
!
XII. การเสื่อมและล่มสลายของอาณาจักรโรมเดิม เราถือว่าอาณาจักรโรมเดิมอันเกรียงไกรต้องถึงคราวล่มสลายลงในปี ค.ศ. 476 และตั้งแต่นั้น เป็นต้นมาอาณาจักรโรมอันกว้างใหญ่ถูกแบ่งออกอย่างชัดเจนเป็นสองอาณาจักร คือ โรมตะวันตก (ภาคพื้นยุโรป) และโรมตะวันออก การล่มสลายนี้เองนำปูทางมาสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการเมือง การปกครองของอาณาจักร และคริสตจักร จนในที่สุดก่อให้เกิดอาณาจักรใหม่ทางภาคตะวันตกของ อาณาจักรโรมเดิม เรียกว่า อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ส่วนอาณาจักรทางตะวันออกกลายมาเป็น อาณาจักรไบแซนไทน์
!
1. สาเหตุของการเสื่อมและล่มสลาย ตลอดยุคที่สาม คือ เป็นยุคคริสตจักรของรัฐ เกิดมีความเคลื่อนไหวอีกอย่างหนึ่งที่เริ่มดำเนิน ขึ้นตอนกลางยุค และคืบคลานมาในยุคที่สี่นี้ อันเป็นความวิบัติอันยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์โลกอย่าง หนึ่ง คือ มหาอาณาจักรโรมันภาคตะวันตกเสื่อมและล้มลงใน ปี คศ.476 แล้วช่วงเวลาหลังจากนี้ถึง คศ.1000 (รวมประมาณ 500 ปี) ประวัติศาสตร์คริสตจักรในยุโรปเรียกว่า ยุคมืด เพราะถ้าดูจาก ภายนอกราชอาณาจักร ก็ดูเหมือนมีการป้องกันอย่างเข้มแข็ง แต่สภาพความเป็นจริงเหมือนรวงผึ้งที่ พรุนไปด้วยความเสื่อมทางด้านศีลธรรมและทางการเมือง และพร้อมที่จะยุบลงถ้ามีการบุกรุกรอบ ด้าน เพราะภายใน 25 ปี หลังจากคอนสแตนตินเสียชีวิตลงใน คศ. 337 แนวป้องกันชายแดนตะวัน ตกของอาณาจักรโรมก็พินาศลง โดยพวกชาวป่าเถื่อน (นามที่พวกโรมันใช้เรียกคนอื่น ๆที่ไม่ใช่คน โรมัน คนกรีก คนยิว) ได้บุกเข้ามาทุกแห่ง ยึดดินแดนและปกครองแผ่นดินอย่างอิสระ ซึ่งสาเหตุ ของการเสื่อมและล้มลง มีดังนี้
!
!63
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(1) ความมั่งคั่งของโรมตะวันตกเป็นเป้าแห่งความโลภของชนเผ่าใกล้เคียง
เนื่องจากมีด้านหนึ่งของอาณาจักรตะวันตกที่มีเมืองมั่งคั่ง มีความอยู่สุขสบาย มีท้องทุ่ง กว้างใหญ่ในการเก็บเกี่ยว ประชาชนก็มีของทุกอย่าง จึงเป็นเป้าแห่งความโลภของชนเผ่าต่าง ๆที่อยู่ ใกล้เคียงมาตลอด แต่ในศตวรรษก่อน ๆ จักรพรรดิทุกพระองค์ได้ทรงถือว่า การป้องกันและ คุ้มครองชายแดนนี้มีความสำคัญ และมีการเอาใจใส่อย่างดี เพื่อให้รอดพ้นจากการโจมตีของพวก ศัตรูที่จะคุกคามได้ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้โรมันมีระบบการปกครองโดยจักรพรรดิร่วม เพื่อจะสามารถปกครองอยู่ใกล้กับชายแดนนี้ และมีอำนาจจะจัดการได้ทันทีเมี่อมีการบุกรุก โดยไม่ ต้องรอคำสั่งจากเมืองหลวงที่อยู่ไกล ดังนั้น การปกครองอาณาจักร จึงเหลือจักรพรรดิเดียว ดังนั้น การย้ายเมืองหลวงไปที่คอนสแตนติโนเบิลของคอนสแตนตินจึงมีส่วนผิดพลาดมาก เพราะทำให้การ ควบคุม ดูแล ช่วยเหลือ และป้องกันภาคตะวันตกนี้ลดน้อยลง
!
(2) คนโรมันขาดความชำนาญในการสงคราม เนื่องจากหลายศตวรรษแห่งยามสงบที่ผ่านมา ทำให้ความชำนาญการรบลดน้อยลง (เพราะ ในสมัยนี้ ยังใช้ดาบและหอก) แม้ว่าเรื่องกองทหารจะมีวินัยที่ดีจนมีชื่อเสียงไปทั่ว แต่ก็ได้หย่อนลง ไปอย่างมากในช่วงจักรพรรดิองค์หลัง ๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับพวกชนป่าเถื่อนตัวต่อตัว ก็เสีย เปรียบมากเพราะพวกเขามีกำลังร่างกายแข็งแรงกว่า กล้าหาญกว่า แคล่วคล่องในการรบกว่า และ ที่เป็นจุดเสียที่สุดของโรมันคือ มีการจ้างคนต่างชาติมาเป็นทหารโรมัน ส่วนคนโรมันไม่สนใจรับ ราชการเป็นทหาร จึงมีทหารโรมันมากมาย (ตั้งแต่ขั้นนายทหารถึงนายพล) ซึ่งแท้จริงเป็นชาวต่าง ชาตินั่นเอง (พวกชนป่าเถื่อนทั้งหลาย) ดังนั้น เมื่อเกิดการบุกรุกหรือสงคราม การรักษาเอกราชของ ชาติจึงล้มเหลว เพราะการจ้างคนต่างชาติมารบแทนเมื่อคราวจำเป็นต้องรบเท่านั้น
!
(3) อาณาจักรไม่มั่นคงเพราะมีสงครามกลางเมือง อาณาจักรไม่เพียงแต่ขาดทหารที่เข้มแข็ง แต่ยังไม่มั่นคงเพราะมีสงครามกลางเมืองที่ดำเนิน อยู่ตลอดหลายชั่วอายุคน เพื่อแย่งชิงราชบัลลังก์ เพราะตำแหน่งจักรพรรดิไม่ได้รับเลือกขึ้นมาจาก รัฐสภาอีกแล้วเหมือนสมัยแรก ๆ แต่เมื่อจักรพรรดิอยู่ถูกประหาร (ดังทีเกิดขึ้นมากที่สุด) กองทัพ ประจำแต่ละมณฑลก็จะตั้งผู้เข้าชิงบัลลังก์ด้วยการรบต่อสู้กัน ใน 90 ปี มีผู้นำ 80 คนที่ได้รับโห่ร้อง ตั้งขึ้นเป็นจักรพรรดิเข้าชิงบัลลังก์ นครทั้งหลายก็ถูกทำลาย ค่าใช้จ่ายสำหรับกองทัพก็มากมาย แล้วทั้งอาณาจักรจำต้องยากจนลง เพราะความโลภทะเยอทะยานของคนกระหายอำนาจ โดยมิได้ คิดถึงความอยู่รอดของประเทศ เป็นผลให้ต้องเรียกกองทหารมาเสียจากชายแดน จึงทำให้เขต ชายแดนเปิดโล่ง ไม่มีทางต่อสู้พวกชนป่าเถือนที่บุกรุกเข้ามา (ซึ่งจะศึกษาใน 4.2)
!
(4) การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของเผ่าชนเอเซีย สาเหตุอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมีการบุกรุกเข้ามายังอาณาจักรโรมัน กล่าวคือ พวกชนป่า เถื่อนอ้างว่า ถูกขับไล่ออกจากถิ่นฐานของพวกเขาเอง โดยมีกองทัพของพวกชนเผ่าเอเซีย (ที่โดย ทั่วไปเรียกว่า พวกฮั่น) พร้อมครอบครัวได้เคลื่อนย้ายบุกรุกเข้ามาจากเอเซียกลาง เหตุผลที่พวกเผ่า ชนเอเซียที่เคลื่อนย้ายแหล่งที่อยู่นั้นไม่รู้อย่างแน่นอน แต่เชื่อกันว่า อาจเป็นเพราะดินฟ้าอากาศ เปลี่ยนแปลง จึงแห้งแล้งขาดฝน ทำให้เนื้อที่ที่เคยอุดมสมบูรณ์กลายเป็นที่ร้างว่างเปล่า ผลก็คือ พวกชนป่าเถื่อนจึงถอยบุกรุกเข้ามาในอาณาจักรโรมัน และภายหลังพวกเผ่าชนเเอเซียนี้ก็ได้บุกเข้า !64
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
มาในอาณาจักรโรมันด้วย โดยการนำของกษัตริย์ผู้ดุร้ายชื่อ อัตติลา
3.6 การบุกรุกเข้ามาของชนเผ่าต่าง ๆ โดยที่เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์คริสตจักร ไม่ใช่ประวัติศาสตร์โรมัน จึงจะศึกษาเรื่องราว เผ่าชนต่าง ๆที่บุกรุกเข้ามาตามลำดับเพียงย่อ ๆ
!
(1) พวกวิสีโกส (Visigoths) คศ.376 คือ พวกโกสตะวันตกที่อยู่ระหว่างแม่น้ำดานูบ (Danube) กับทะเลบอลติค มีผู้นำชื่อ อลาริค (Alaric) ได้นำกองทัพบุกกวาดล้างเข้ามาทางประเทศกรีกและอิตาลี เข้ายึดทำลายกรุงโรม แล้วตั้ง การปกครองแผ่นดินขึ้น (อยู่ทางทิศใต้ของฝรั่งเศส)
!
(2) พวกแวนแดล (Vandals) คศ.406 พวกแวนแดล ภายใต้การนำของ เซนเซอร์ริค (Censeric) ได้ยกพวกของตนเคลื่อนย้ายข้าม ฝรั่งเศสเข้าสู่สเปญ แล้วบุกต่อเข้าไปปราบปรามเอาชนเมืองต่าง ๆในแอฟริกาเหนือ
!
(3) พวกเบอร์กันเดียน (Burgundians) คศ.414 ได้แม่น้ำไรน์ (Rhine) เข้ามาแล้วตั้งการปกครองแผ่นดินขึ้น โดยมีเมืองสต๊าสเบอร์กเป็น ศูนย์กลาง (4) พวกแฟรงค์ส (Franks) คศ.420 เป็นชนเผ่าเยอรมันบุกเข้ายึดทั้งภาคเหนือของประเทศกอล (Gaul) แล้วให้ชื่อดินแดนนั้นว่า ฟรันเซีย (Francia) กษัตริย์องค์ต่อมาหลัง ๆ ชื่อ โคลวิส ได้กลับใจเป็นคริสเตียนปี คศ.481 พวก พลเมืองก็เลยกลายเป็นคริสเตียนด้วย ซึ่งเป็นเหตุส่วนหนึ่งทำให้ภาคเหนือของยุโรปเปลี่ยนใจมาเป็น คริสเตียน แต่อย่างไรก็ตามพบว่าส่วนใหญ่ก็เป็นไปโดยการบีบบังคับ
!
(5) พวกแซคซอนและแองเกิล (Saxons and Angles) คศ.440 พวกแซกซอนและแองเกิลนี้มาจากเดนมาร์คและดินแดนทางเหนือ ได้บุกเข้ามาทางบริเตน เพราะกองทหารโรมันทิ้งไว้แล้วไปครอบครองตัวเป็นอาณาจักรของตนอยู่หลายชั่วอายุคน จนเกือบจะ ถอนรากศาสนาคริสเตียนที่มีอยู่ให้หมดแล้ว แต่ภายหลังได้มีโอกาสรับคำสอนโดยพวก มิชชั่น นารีที่ส่งมาจากโรม จึงได้กลับใจเป็นคริสเตียน
!
(6) พวกฮันส์ (Huns) คศ.476 ที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ พวกฮันส์ดุร้าย โดยการนำของกษัตริย์อัตติลา ผู้ไม่มีความเมตตา บุกรุกเข้าอิตาลี คุกคาม ทำลาย แต่ต้องการตั้งราชอาณาจักรของตนขึ้นในอาณาจักรโรมด้วย พวก ชนป่าเถื่อนที่เข้ามาก่อนทั้งพวกโกส แวนแดล และแฟรงค์สได้รวมกำลังกัน ภายใต้การนำของโรม ขัดขวางต่อสู้พวกฮันส์ เกิดสงครามใหญ่ปะทะกันที่คาโลนส์ อยู่ในภาคเหนือของฝรั่งเศส ในปี คศ. 476 แล้วพวกฮันส์ก็พ่ายแพ้อย่างยับเยิน เมื่ออัตติลาตายแล้วไม่ช้าอำนาจพวกฮันส์ก็สิ้นสุดลงด้วย !65
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ซึ่งสงครามที่คาโลนส์นี้ชี้ขาดว่า ยุโรปจะไม่ถูกยึดทำลาย และถูกปกครองโดยชนเผ่าเอเซีย แต่จะ สามารถเจริญพัฒนาขึ้นเป็นอารยะธรรมของยุโรปเอง
!
การบุกรุกเข้ามาเป็นระลอกๆของชนป่าเถื่อนเหล่านี้ ทำให้มหาอาณาจักรโรมันซึ่งครั้งหนึ่ง เคยกว้างใหญ่ไพศาล ต้องลดลงเหลือเพียงอาณาเขตเล็ก ๆยิ่งกว่านั้นใน คศ.476 มีเผ่าชนเยอรมัน เผ่าเล็ก ๆชื่อเผ่าเฮรูลี (Heruli) ภายใต้การนำของกษัตริย์โอโดเอเซอร์บุกเข้ามายึดเมืองหลวง และ ถอดจักรพรรดิที่เป็นเด็กในตอนนั้นที่มีชื่อว่า โรมสัส ออกัสตัส แล้วท่านโอโดเอเซอร์ก็ตั้งตัวขึ้นใน ตำแหน่ง “กษัตริย์แห่งอิตาลี” แล้วตั้งแต่ปี คศ.476 อาณาจักรโรมันภาคตะวันตกก็สิ้นสุดลงโดย ปริยาย ซึ่งถ้านับตั้งแต่การก่อตั้งเมืองและรัฐโรมัน (กล่าวกันว่าปี กคศ.753) จนถึงอาณาจักรล้มก็นับ ได้ 1200 ปี ส่วนอาณาจักรภาคตะวันออกมีคอนสแตนติโนเบิลเป็นเมืองหลวงที่ยังคงอยู่ต่อได้จนถึง คศ.1453
!
3. คริสตจักรและชนเผ่าป่าเถื่อน พวกชนเผ่าป่าเถื่อนที่บุกรุกเข้ามานี้ เกือบทั้งหมดเป็นพวกไม่เชื่อพระเจ้า นอกจากพวกโกส ที่ได้เปลี่ยนใจนับถือคริสตศาสนานิกายเอเรียน และได้มีพระคัมภีร์ในภาษาของตนเองอีกด้วย ซึ่งจัด เป็นภาษาโบราณเก่าแก่ที่สุดของพวกทิวตัน (Teutonic literature) คือชื่อที่เรียกรวม ๆ พวกเผ่าชน ต่างชาติป่าเถื่อน ที่ปัจจุบันจัดภาษานี้ที่พวกนี้ใช้พูดเป็นสาขาหนึ่งของภาษาอินโดยุโรเปียน ซึ่ง ภาษาอังกฤษและเยอรมันก็จัดรวมอยู่ในสาขานี้ด้วย จากนั้นพวกชนเผ่าต่าง ๆเหล่านี้ก็ได้กลับใจเป็น คริสเตียนด้วย โดยอิทธิพลของพวกฏสบ้าง และโดยมากทางประชาชน คริสเตียนที่อาศัยปะปนกัน และโดยเฉพาะทางพวกนิกายเอเรียนที่เป็นคริสเตียนตามจารีตโบราณ (Orthodox Christians) ดังนั้น อาจพูดว่า คริสตศาสนาในเวลาเสื่อมโทรมนี้ก็ยังมีคงมีกำลังอำนาจความสำคัญและเจริญก้าวหน้า ได้ นำให้ชนต่างชาติที่บุกรุกเข้ามานี้รับเชื่อ ผลก็คือ ขณะที่พวกเขากลับเป็นคริสเตียนรวมกับพวกโรมัน เลือดแห่งความเข้มแข็งของพวกเขาก็มีส่วนให้เกิดชนเชื่อชาติใหม่ของยุโรปขึ้น เราจึงเห็นว่า แม้ว่า อาณาจักรโรมันจะทรุดโทรมและล้มลง แต่กลับทวีอิทธิพลของคริสตจักรโรมขึ้นทั่วยุโรป ท่ามกลาง ประเทศต่าง ๆที่ได้กลับเป็นคริสเตียนก็ทำให้บรรดาสันตะปาปามีอิทธิพลมากขึ้นด้วย จึงว่าแม้มหา อาณาจักรโรมล้มลง แต่คริสตจักรยังมั่นคงแสดงความเป็นเจ้าใหญ่ (Imperial) อยู่ต่อไป
! ! ! ! ! ! ! ! ! ! !
!66
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
! หน่วยที่ 4: คริสตจักรยุคมืด คศ. 590-1453 Medieval Church
เราเรียกประวัติศาสตร์คริสตจักรตอนที่ 2 โดยรวมว่า คริสตจักรยุคกลาง (Medieval Church History) คือเป็นช่วงของประวัติศาสตร์คริสตจักรที่อยู่ระหว่างยุคแรก และยุคปัจจุบัน เนื่องจากประวัติ ศาสตร์คริสตจักรช่วงนี้เกี่ยวข้องกับภูมิภาคยุโรปโดยตรง ดังนั้นในแง่ของประวัติศาสตร์ของภูมิภาค ยุโรป นักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกช่วงนี้ว่า “ประวัติศาสตร์ยุโรปยุคกลาง” และได้แบ่ง ประวัติศาสตร์ยุโรปยุคกลาง (ค.ศ. 590-1473) ออกเป็นอีก 3 ช่วงย่อยๆ คือ ยุคกลางตอนต้น ยุคกลาง ตอนกลาง และยุคกลางตอนปลาย โดยแบ่งตามความก้าวหน้าของอำนาจสันตะปาปา สำหรับวิชาประวัติศาสตร์คริสตจักรสาล เรากล่าวได้ว่า การขยายอำนาจของสันตะปาปาเป็น เรื่องเด่นของยุคกลาง โดยที่บิชอปแห่งโรมสมอ้างยึดตำแหน่ง “สันตะปาปา ครองทั่ว สากล” (Universal Pope) และเป็นประมุขของ คริสตจักร (Head of the Churches) แยิ่งกว่านั้น เรา จะเรียนรู้ถึงการที่สันตะปาปาอ้างเป็นผู้ครอบครองเหนือประเทศชาติ (Ruler over the Nations) เหนือกษัตริย์และจักรพรรดิทั้งหลาย ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถแบ่งความก้าวหน้าของอำนาจสันตะปาปาได้เป็น 3 ระยะ คือ (1) ระยะเจริญเติบโตก้าวหน้าขึ้น ปี คศ.590-1073 (ยุคกลางตอนต้น) (2) ระยะอำนาจสูงสุดปี คศ.1073-1216 (ประมาณ 150 ปี) ซึ่งไม่เพียงแต่เหนือคริสตจักร แต่เหนือประชาชาติทั้งหลายในยุโรป (ยุคกลางตอนกลาง) (3) ระยะเสื่อมต่ำลง ปี คศ.1216-1414 (ยุคกลางตอนปลาย) โดยสรุป เรากล่าวได้ว่า ยุคกลางของคริสตจักรเป็นช่วงเวลาที่สันตะปาปามีอิทธิพลมากทั้ง ด้านการเมืองและศาสนา จนนักประวัติศาสตร์บางท่านได้เรียกช่วงเวลานี้โดยรวมว่า “ยุคมืด” เพราะค ริสตจักรละตินได้เข้าครอบงำชีวิตและความคิดทั้งหมดของประชาชนในยุโรป
4.1 การเจริญก้าวหน้าของอำนาจสันตะปาปา คศ.570-1073 (ยุคกลางตอน ต้น)
!
ในช่วงนี้มีเหตุการณ์สำคัญอย่างน้อย 6 ประการ ได้แก่
1. สันตะปาปาเกรกอรี ที่ 1 ก้าวสู่อำนาจ ในระยะแรกแห่งการเจริญเติบโตก้าวหน้าของอำนาจสันตะปาปา ได้เริ่มต้นด้วยการที่ท่านเก รกอรีที่ 1 “ผู้ยิ่งใหญ่” ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งสันตะปาปาและมหาสังฆราช (คศ.590-604) แล้วจากนั้น องค์ ต่อมาก็ใช้ชื่อของท่านเป็นหลักอำนาจขึ้นสูงสุดถึงเกรกอรีที่ 7 (คศ.1073-1085) ซึ่งเป็นที่รู้จักกัน มากกว่าในนามฮิลเดแบรนด์ (Hildebrand) ท่านเกรกอรีที่ 1 เป็นผู้นำเอกในการตั้งและสร้างระบบสันตะปาปา (The Chief Architeets of the Papal System) ซึ่งได้มีอิทธิพลอย่างมากต่อประวัติศาสตร์โลก ท่านเกิดปี คศ.540 ในครอบครัว !67
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ร่ำรวยที่เป็นสมาชิกวุฒิสภาในกรุงโรม) ชีวิตช่วงแรกรับใช้ราชการด้วยความสามารถมากจนได้มี ตำแหน่งสูง เป็นที่เคารพนับถือยกย่องทั้งทางราชการและประชาชน แต่เมื่อได้รับการทรงเรียกจากพระเจ้า ท่านได้ถวายชีวิตจิตใจจดจ่อกับศาสนา ได้ขายทรัพย์ สมบัติทั้งหลายแจกจ่ายแก่คนจน และเพื่อการสร้างอารามการบำเพ็ญตน 6 แห่งใน ซิซิลี คศ.574 แล้วได้บวชเป็นพระตามกฏระเบียบของเบนเนดิค ในปี คศ.590 ท่านได้รับเลือกเป็นโป๊ปด้วย ประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจในราชการมาก่อน ทำให้ท่านได้กลายเป็นผู้มีกำลังอำนาจมากใน การจัดระบบบริหารทุกอย่างในโรม และตามเมืองต่าง ๆแล้ววางรากฐานระบบของสันตะปาปา ที่มี อำนาจสูงสุดเหนือคริสตจักรทั้งหลาย (ซึ่งลีออนที่ 1 ได้สมอ้างอำนาจนี้เป็นคนแรก) ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในภาคตะวันตก ส่วนทางตะวันออก ท่านได้ต่อต้านการสมอ้างเป็นบิชอปครองทั่วสากลของเพทตริ อาร์กได้สำเร็จ คริสตจักรจึงยอมรับว่า ท่านควรเป็นผู้ได้เกียรติคนแรก แม้ว่าไม่อยู่ในแง่ของอำนาจ แม้ว่าท่านจะนับถือพระคัมภีร์อย่างมากและมีความหวังรอคอยให้พระเยซูเสด็จมาครั้งที่ 2 เร็ว ๆเพื่อพิจารณาคนอธรรม และยังเป็นนักเทศน์ที่เก่งกับเป็นนักเขียนศาสนศาสตร์ที่สามารถ ท่านก็ ยังหนุนให้มีรูปภาพและรูปปั้นใน คริสตจักรตอนแรกเป็นเพียงเครื่องเตือนใจ แต่ตอนหลังก็นมัสการ และเริ่มสอนเกี่ยวกับเพอกาทรี (Purgatory) คือการที่วิญญาณของคน (คริสเตียนที่ยังดีไม่ถึงขนาด) ที่ ตายแล้วจะไปอยู่ในที่แห่งหนึ่งที่อยู่ระหว่างนรกและสวรรค์ เพื่อรับการชำระทำให้ดีขึ้น แล้วจึงค่อยไป สวรรค์ แล้วยังเน้นขยายคำสอนเกี่ยวกับทรานซับสแตนที่เอเซีย (Transubstantiation) ทั้งยัง สนับสนุนอย่างมากมายในเรื่องชีวิตการอยู่อาราม เพราะท่านเองก็เคยเป็นนักบวช (พระ) มาก่อน คริ สตจักรโรมันจึงให้ฉายาว่า “ผู้ยิ่งใหญ่” (The Great)
! !
สาเหตุที่ทำให้สันตะปาปาเรืองอำนาจมากขึ้น จะขอกล่าวถึงสาเหตุบางประการที่ทำให้อำนาจของสันตะปาปาเพิ่มพูนขึ้นอย่างมาก
(1) การเน้นอำนาจของสันตะปาปาเพื่อความชอบธรรม เนื่องจากในตอนแรก ๆของยุคนี้ อิทธิพลของสันตะปาปาเน้นอำนาจไปทางแห่งความชอบ ธรรม (อำนาจจากพระเจ้า) ทำให้คริสตจักรเป็นที่พึ่ง (ตัวกลาง) ระหว่างประชาชนกับพวกเจ้าใหญ่ นายโต และทำหน้าที่ยับยั้งไม่ให้มีการทารุณ หรือความอยุติธรรม ทั้งปกป้องคุ้มครองผู้อ่อนแอและ เรียกร้องสิทธิให้แก่ประชาชน ส่วนในพระราชวังต่าง ๆเจ้าครองนครบางคนต้องถูกบังคับให้เลิกทำสิ่ง ที่ไม่ดี และทำแต่สิ่งที่ชอบ ถ้าการปกครองไม่ถูกต้อง สันตะปาปาจะคัดค้าน ถ้าดีก็สนับสนุน
!
(2) ความไม่มั่นคงของการปกครองฝ่ายโลก ในขณะที่ระบบการปกครองฝ่ายคริสตจักร โดยสันตะปาปามีความมั่นคง แต่การปกครอง ของรัฐบาลกลับไม่แน่นอน เพราะในระหว่างสมัยนี้ ยุโรปอยู่ในสภาพแย่มาก เจ้าผู้ครองเปลี่ยนอยู่ ตลอดเวลา การแย่งชิงอำนาจต่อสู้กันเองเกิดขึ้นเสมอ ยิ่งเมื่ออาณาจักรโรมันตะวันตกล้มลงใน คศ. 476 แล้ว ยุโรปก็ตกอยู่ในความปั่นป่วน ก็เหลือแต่อาณาจักรคริสตจักรที่มีระบบแบบแผนการ ปกครอง แม้จนกระทั่งศตวรรษที่ 9 เมื่ออาณาจักรของคาร์มาคได้ตั้งขึ้น คริสตจักรก็ยิ่งมีอำนาจมาก ขึ้น สนับสนุนโดยรัฐบาลใหม่นี้
!
(3) การปกครองของคริสตจักรกลับมั่นคงแน่นอนกว่า !68
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
พวกชนต่างชาติที่บุกรุกเข้ามาในอาณาจักรโรมัน มีหลายเผ่าที่กลับใจเป็นคริสเตียนก็ให้ ความนับถือยกย่องอำนาจคริสตจักรอย่างมาก คริสตจักรจึงมีพันธมิตรแข็งแรงอยู่ทุกหนทุกแห่งร่วม กับลัทธิอารามวาสีในยุคมืดนี้ก็ได้เจริญเติบโตใหญ่ยิ่งขึ้น (ดังจะศึกษาต่อไป) ตั้งแต่นักบวช บรรพชิต บิชอปทั้งหลายต่างก็สนับสนุนอำนาจการปกครองของคริสตจักรโรม ดังนั้น ความมั่นคงของ อาณาจักรก็รับการเสริมขึ้นและก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ
!
(4) เพราะมีสิ่งเทียมเท็จส่งเสริมศาสนาเกิดขึ้นในยุคมืดนี้ องค์ประกอบใหญ่อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้อำนาจของคริสตจักรเจริญขึ้นก็คือ ได้เกิดมี “สิ่งเทียม เท็จส่งเสริมศาสนา” (Pious Frauds) จำนวนหนึ่งแพร่ออกมาสนับสนุนอำนาจของโรม ได้แพร่หลาย ไปอย่างกว้างขวาง ทุกหนทุกแห่งก็เชื่อและยอมรับโดยไม่มีการสำรวจตรวจค้นความจริงก่อน ไม่มี ใครสงสัยเลยว่า เอกสารเหล่านั้นเทียมเท็จ (ซึ่งถ้าเป็นสมัยแห่งสติปัญญาความรู้นี้ ก็คงได้ถูกสำรวจ ได้ถูกปัดทิ้งและไม่มีใครเชื่อถือ) ข้อสมอ้างอำนาจของโรมก็ได้มีการสนับสนุนอย่างแข็งแรงหลาย ศตวรรษล่วงไปกว่าจะได้มีการตรวจพบว่า เอกสารเหล่านั้นเทียมเท็จไม่เป็นความจริง
!
!
(ก) เอกสารปลอมเรื่อง “คอนสแตนตินยอมมอบถวายอำนาจให้แก่คริสตจักร” ที่กล่าวว่า จักรพรรดิคริสเตียนองค์แรก คอนสแตนตินได้ถวายอำนาจสูงสุดเหนือ มณฑลต่าง ๆทั้งหมดในยุโรปที่เป็นของอาณาจักรโรมันให้แก่บิชอปแห่งโรม คือ ท่าน ซิลเวสเตอร์ที่ 1 (คศ.314-335) และประกาศว่าบิชอปแห่งโรมเป็นผู้ครอบครองเหนือ เหล่าผู้ปกครองและจักรพรรดิอีกด้วย เอกสารฉบับนี้จึงเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า เพราะเหตุนี้คอนสแตนตินจึงได้ย้ายเมืองหลวงจากกรุงโรมไปที่คอนสแตนติโนเบิล เพื่อไม่ให้มีการทรงอำนาจค้างอยู่ในกรุง โรมเป็นการแข่งขันกับสันตะปาปา (ข) เอกสารปลอมเรื่อง “การส่งต่ออำนาจลงมาจากพวกอัครสาวก” (False Decretals of Isidore) ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมาก ถูกพิมพ์แพร่หลายออกมาประมาณ คศ.830 ที่กล่าวว่า การตัดสินใจในการส่งอำนาจต่าง ๆให้พวกบิชอปของโรมมาจาก พวกอัครสาวก ที่แต่งตั้งให้สันตะปาปา (บิชอป)ของโรมมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเหนือ คริสตจักรทั่วสากล และตั้งคริสตจักรให้เป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐ ไม่ให้มีการล่วงเกิน บรรพชิตทุกตำแหน่งไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ๆของรัฐ และศาลของรัฐจะพิพากษาคดีใด ๆที่เกี่ยวกับบรรพชิตและคริสตจักรไม่ได้เลย เอกสารนี้เป็นที่ยอมรับโดยไม่มีใคร สงสัยเลยเป็นเวลาหลายร้อยปี จนถึงศตวรรษที่ 12 แม้จะค้นพบว่า เป็นเอกสาร ปลอมแต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะในเวลานั้น อำนาจของคริสตจักรลงรากแน่นเสียแล้ว จนกระทั่งรุ่งอรุณแห่งการปฏิรูป (ยุคกลาง-ปฏิรูป) ในศตวรรษที่ 16 เอกสารของโรม นี้จึงได้ถูสอบสวน ศึกษาตรวจค้นอย่างละเอียด ก็พบว่าเป็นเอกสารปลอม หมายเหตุ หลักฐานต่าง ๆที่ค้นพบว่า เป็นเอกสารปลอม (1) ภาษาในเอกสารไม่ใช่ภาษาละตินแรกเริ่ม ในศตวรรษที่ 1,2 แต่เป็นภาษาละติน แบบในศตวรรษที่ 8,9 ที่ผิดเพี้ยนและปะปนกับภาษาอื่นบ้างแล้ว !69
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(2) สภาพและจุดตำแหน่งต่าง ๆ ที่กล่าวถึงในประวัติสาสตร์ในเอกสารไม่เป็นเหมือน ในสมัยแรกเริ่ม แต่กลับเหมือนในสมัยยุคมืด (3) ข้อพระคัมภีร์ทั้งหลายที่อ้างถึงนั้น แท้จริงได้คัดลอกมาจากพระคัมภีร์วัลเกต (ละติน) ซึ่งเพิ่งจะแปลกันในราว คศ.400 (4) ความคลาดเคลื่อนไม่ถูกต้องในเรื่องเวลาและเรื่องผู้เขียนและผู้รับ กล่าวคือ เอกสารที่เขียนนั้นมีจุดประสงค์ที่แสดงว่า เขียนโดยบิชอปแห่งโรมที่ชื่อ วิคเตอร์ ใน ปี คศ.200 เขียนถึงบิชอปแห่งอเล็กซานเดรีย ท่านเธโอฟิลัสผู้มีชีวิตอยู่ในปี คศ.400
!
4.2 การเริ่มต้นและก่อตั้งของศาสนาอิสลาม ความเคลื่อนไหวถัดมาที่สำคัญต่อประวัติศาสตร์โลกในยุคมืดนี้ก็คือ การตั้งศาสนาลแะอาณาจักรมหะ หมัดในเริ่มศตวรรษที่ 7 แล้วแย่งชิงเอาอาณาจักรคอนสแตนติโนเบิลไปทั้งหมด และนำเอา คริสต จักรภาคตะวันออกซึ่งยอมอ่อนน้อมจนเกือบจะเป็นทาสแล้วยังคุกคามทีจะครองยุโรปอีกด้วย หลัง จากศตวรรษที่ 13 ศาสนามหะหมัดก็ได้กระจายออกไปครอบครองเหนือพลเมืองกว่า 200 ล้านคน
!
ผู้ก่อตั้ง : โมหะหมัด (คศ.570-632) ท่านเกิดที่เมืองเม็กกะ (Mecca) ในอาราเบีย พ่อแม่ได้เสียชีวิตเมื่อท่านยังเยาว์วัย เมื่อโต เป็นผู้ใหญ่ก็ได้ใช้เวลาในการอธิษฐานอย่างมากคนเดียวในทะเลสาบจนถึงอาการแน่นิ่งอย่างคนเข้า ญาณ แล้วบอกว่า ท่านได้ยืนพูดมากมาย ท่านได้มีโอกาสพบคนยิวและคริสเตียนพวกเชื่อผิดที่บอก ท่านถึงคำสอนว่า มีพระเจ้าองค์เดียว แต่เพราะชีวิตที่ไม่สอดคล้องของคริสเตียน ท่านจึงไม่ยอมเป็น คริสเตียน แม้ว่าจะยอมเชื่อว่ามีพระเจ้าองค์เดียว ท่านก็เอาความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวมาใส่แทน พระต่าง ๆของอาราเบีย แล้วเรียกว่า ศาสนาพระอัลลาง ซึ่งท่านอ้างว่าเป็นผู้พยากรณ์ จึงได้เริ่ม ปฏิรูปใน ปี คศ.610 เมื่ออายุได้ 40 ปี ครั้งแรกได้ผู้ติดตามลูกศิษย์มาช้า ๆ และมีผู้ต่อสู้ขัดขวางคำ สอนของท่าน ท่านจึงหนีจากเมืองเม็กกะใน ปี คศ.622 กับลูกศิษย์ 200 คนไปที่เมืองเมดินา (Medina) ซึ่งต่อมาเรียกการต่อสู้ของท่านกับผู้ขัดขวางว่า เฮกิรา (Hegira) แล้ววันที่โมหะหมัดหนี กลายเป็นจุดเริ่มต้นศาสนาโมหะหมัด 9 ปี หลังจากมารวบรวมชาวอาหรับเผ่าต่าง ๆที่กระจัดกระจาย อยู่นั้น ได้มาเชื่อในศาสนาและอยู่ใต้อำนาจของท่านได้สำเร็จ แล้วตั้งเป็นกองทัพกลับเข้าชิงเอาเมือง เม็กกะได้ หลังจากมีชัยชนะตลอดทั่วอาราเบีย ท่านสิ้นชีพในปี คศ.632 แล้วได้รับการยกย่องถือว่า เป็นผู้พยากรณ์และผู้นำศาสนาโมหะหมัด
!
ลักษณะศาสนาโมหะหมัด ศาสนาของท่านโมหะหมัด เรียกว่า อิสลาม (Islam) ที่แปลว่า “ยอมอ่อนน้อม” (Submission คือยอมเชื่อฟังต่อน้ำพระทัยของพระเจ้า เหล่าสานุศิษย์ได้ชื่อว่า มุสลิม (Moslem) ซึ่งพวกเขาจะไม่ ใช้นามว่า โมหะหมัด หลักข้อเชื่อที่เขียนไว้ในคัมภีร์โกหร่าน (Koran) ที่โมหะหมัดเขียนขึ้นตอนอายุ 40 ปี ที่ถวายเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมว่าดังนี้ (ก) มีพระเจ้าองค์เดียว ที่พวกเขาเรียกว่าอัลเลาะห์(allah) เป็นคําที่กําเนิดคล้ายๆกับภาษา ฮีบรู”เอลโลฮิม” พระเจ้าผู้กําหนดให้เหตุการณ์ทุกอย่างเเก่มนุษย์ ไม่ว่าเหตุการณ์ นั้นๆจะดีหริอร้าย ดังนั้นกิจการทุกอย่างที่พวกมุสลิมกระทําจึงเป็นไปตามพระประสงค์ของ !70
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
พระเจ้าทั้งสิ้น (ข) มีเหล่าฑูตสวรรค์ทั้งดีและชั่วเป็นจํานวนมากมาย ไม่มีใครเห็นตัวฑูตสวรรค์นั้นๆได้ แต่คงดําเนินอยู่กับมนุษย์ตลอดเวลา (ค) พระเจ้าได้ประทานพระธรรมโอวาทไว้ในพระคัมภีร์โกหร่าน ฑูตสวรรค์กับลีเอลเป็น ผู้มาติดต่อกับท่านโมหะหมัดนําพระโอวาทมาให้เป็นคราวๆจากพระคัมภีร์โอวาทนี้ในตอนแรกยังมิได้ รวบรวมขึ้น จนกระทั่งหลังจากท่านโมหะหมัดสิ้นชีวิตลง (ง) พระเจ้าได้ประทานผู้พยากรณ์ ที่ได้รับการทรงดลใจ ส่งมาหามนุษย์ ในจําพวกผู้ พยากรณ์นั้นๆ มีผู้ยิ่งใหญ่อยู่ 4 ท่าน คือ อาดัม โมเสส พระเยซู และโมหะหมัด ส่วนผู้พยากรณ์ อื่นในพระคัมภีร์ รวมทั้งพวกอัครสาวกทั้งหมดก็ถือว่าเป็นผู้พยากรณ์ของชาวมุสลิมด้วย แต่โมหะ หมัดเป็นผู้ใหญ่ที่สุด (จ) เชื่อว่าต่อไปภายหน้าจะมีการเป็นขึ้นมาจากความตายเป็นครั้งสุดท้าย จะมีการ พิพากษา จะมีสวรรค์และนรกสำหรับทุกคน
!
ความก้าวหน้าของศาสนาอิสลาม ตอนแรกโมหะหมัดสั่งสอนเผยแพร่ด้วยอิทธิพลของความมีมนุษยธรรม แต่ต่อมาไม่ช้าเปลี่ยน วิธีเป็นนักรบ รวบรวมกองทัพอาหรับผู้เหี้ยมโหด ดุร้าย แล้วนำออกปราบปรามผู้ยังไม่เชื่อ เมื่อยึด ดินแดนได้ก็เปลี่ยนเป็นศาสนาอิสลามแล้วเรียกเก็บภาษี ใครขัดขืนต้องถึงตาย แม้โมหะหมัดจะเสีย ชีวิตก็มีพวกคาลิบ (Caliphs) รับตำแหน่งแทนเป็นรุ่น ๆทำการสร้างอาณาจักรอิสลามให้ใหญ่ไพศาล ด้วยดาบ ในไม่ช้า (ก) ประเทศปาเลสไตน์ ซีเรียถูกยึดเอาไป คริสตจักรทั้งหลายของคริสเตียนจำนวนเป็น 10,000 แห่ง บ้างก็ถูกทำลาย บ้างก็ถูกยึด และกลายเป็นสุเหร่า (Mosques) (ข) และดินแดนในเอเซียน้อยของคริสเตียน ได้ตกอยู่ใต้ปกครองของมุสลิมทั้งหมด ที่ไหนที่คริสเตียนยอมอ่อนน้อมก็ยอมอนุญาตให้มีการนมัสการได้ภายใต้ข้อกำหนดอันเข้มงวด (ค) ขยายออกไปไกลเลยเปอร์เซียเข้าไปในอินเดีย แล้วตั้งเมืองหลวงของอิสลามที่กรุง แบกแดดบนฝั่งแม่น้ำไทกรีซ (Tigris) (ง) ได้ปราบปรามอียิปต์ ภาคพื้นแอฟริกาเหนือทั้งหมด และส่วนใหญ่ของประเทศ สเปญ ส่วนทางด้านยุโรป การก้าวหน้าต้องถูกหยุดยั้งที่ฝรั่งเศสโดยท่านชาร์ล มาร์เตล ผู้ได้ รวบรวมชนเผ่าต่าง ๆที่กระจัดกระจายอยู่ โดยการนำของชนชาติฟรังก์ให้ออกรบต่อสู้กับมุสลิมได้ ชัยชนะเด็ดขาดที่ตำบลทัวร์ส (Tours) ใน คศ.732 มิฉะนั้นก็คิดว่า ทั้งทวีปยุโรปก็จะกลายเป็นมุสลิม ทั้งหมดแล้ว
!
องค์ประกอบแห่งอำนาจของศาสนามุสลิม
!
(ก) ความเชื่อศรัทธาของชนเผ่าอาหรับ : พวกแรกที่เชื่อในโมหะหมัดเป็นคนอาหรับที่ ดุร้าย ชอบการรบราฆ่าฟัน และไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของคนอื่น ได้ติดตามโมหะหมัดด้วยสุจริตใจร้อน รน มีความเชื่อ และความกล้าในการเอาชัยชนะ ซึ่งพวกเขาถือว่าเป็นการทำตามพระประสงค์ของ พระเจ้าให้สำเร็จ ทุกคนที่รบกันคนไม่เชื่อแล้วตายในสนามรบจะได้เข้าสวรรค์ทันที มีความเบิกบาน ในกามราคะ (Sexual Delight) !71
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
(ข) ลักษณะการยอมอ่อนน้อมของคนกรีกในภาคพื้นเอเซีย : ซึ่งตรงกันข้ามกับพวกชาติ กรีกในเอเซียที่มีนิสัยมุ่งแต่ด้านปรัชญา การศึกษา วรรณกรรม อ่อนแอ ขี้แพ้ อยากยอมแพ้ มากกว่าจะชักดาบ อยากส่งส่วยมากกว่าจะป้องกันเอกราช ยิ่งกว่านั้นมีจำนวนอันไพศาลของ พลเมืองในอาณาจักรกรีก (ภาคตะวันออก) เป็นพวกบรรพชิตและนักบวช ที่พร้อมจะสวดวิงวอน มากกว่าพร้อมจะสู้
!
(ค) ศาสนาอิสลามดีเหนือกว่าศาสนาไหว้รูปเคารพมาก : (ดังนี้ที่จะเรียนในหัวข้อถัดไป) คือ ศาสนาดั้งเดิมในอาราเบียและในแถบนั้น และความเชื่อ ความเอาจริงเอาจังของมุสลิมยังแข็งแรง กว่าของศาสนาคริสเตียนที่ถูกยึด เพราะคริสตจักรภาคตะวันออก (ไม่เหมือนในภาคตะวันตก) ได้เลิก ความอุตสาหะประกาศเผยแพร่ความเชื่อไปนานแล้ว หมดฤทธิ์แห่งความร้อนรน คริสเตียนเป็นแต่ รูปภายนอกมากกว่า แต่ภายในเหี่ยวแห้ง ไม่มีชีวิต ความกระตือรือร้น
!
ด้านดีที่ส่งเสริมลัทธิศาสนาอิสลาม (ก) หลักธรรมคำสอนเข้าใจง่าย คือว่า เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว ทุกคนมีหน้าที่ต้อง อ่อนน้อมต่อพระองค์โดยปริยาย ไม่มีความลึกลับซับซ้อนแห่งหลักศาสนศาสตร์ อันก่อให้เกิดความ คิดโต้เถียงกันมากมายไม่รู้จักจบ ไม่จำเป็นต้องเป็นปราชญ์ก็เข้าใจหลักข้อเชื่อของศาสนามุสลิมได้ (ข) เป็นปฏิปัก์ต่อการเคารพบูชารูปสักการะ กล่าวคือ ตามที่เราได้เรียนรู้แล้วว่า หลัง จากยุคอัครสาวกผ่านไป ไม่นานก็เริ่มมีรูปปั้นของนักบวช นักบุญ และนางมาเรียไว้กราบไหว้ นมัสการในทุกคริสตจักร แต่พวกมุสลิมเผาทิ้งทำลาย และประณามการนมัสการรูปสักการะทุกชนิด ไม่ว่าจะแกะสลัก ปั้น หรือเขียน
!
(ค) ไม่ยึดเอานักบวชเป็นคนกลางเพื่อจะติดต่อกับพระเจ้า เพราะโลกแห่งคริสตจักร เวลานั้นถือว่า ความรอดมีได้โดยความเชื่อในพระคริสต์และเชื่อฟังพระองค์ในฐานะเป็นเจ้านายกับ ด้วยการมีส่วนร่วมในพิธีการสวดของสงฆ์ และได้รับการอธิษฐานวิงวอนเผื่อจากพวกนักบุญที่จากไป แล้ว แต่พวกมุสลิมปฏิเสธสิ่งเหล่านี้หมดแล้วสอนว่า วิญญาณแต่ละดวงจะสามารถเข้าเฝ้า (เข้าถึง) พระเจ้าได้เองโดยตรง
!
(ง) เว้นการดื่มของมึนเมา มุสลิมในทุกหนทุกแห่งมีบทบัญญัติให้ดื่มน้ำเมา ซึ่งอาจรับ อิทธิพลคำสอนนี้มาจากพวกนาซาไรท์ส ในพวกอิสราเอล ที่ได้ตั้ง “สมาคมเว้นของเมา” (Temprance society) แรกที่สุดในโลกแห่งประวัติศาสตร์ เพราะมีสมาชิกหลายคนได้กลายเป็นมุสลิมและสืบ ตำแหน่งส่วนใหญ่ในศาสนามุสลิม จึงออกบทบัญญัติห้ามดื่มเหล้า หรือของมึนเมา และยังคงถือเป็น หลักคำสอนอยู่ทุกวันนี้ แต่ไม่ได้ประพฤติ ปฏิบัติกันทั่วสากล เพราะที่ไหนที่มุสลิมอยู่ร่วมกัน พวก ยุโรปที่นี้ก็ไม่มีการเชื่อฟังละเว้นของมึนเมา
!
(จ) ส่งเสริมอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์รุ่นแรก ในระยะแรก ๆของศาสนามุสลิม พวก กาลิบส่งเสริมด้านอักษรศาสตรืและวิทยาศาสตร์ ยิ่งกว่านั้นพวกอาหรับได้ให้เลขอักษร 1, 2, 3 และ อื่น ๆแก่โลกซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากว่าเลขโรมัน และในทางดาราศาสตร์พวกอาหรับได้ทำแบบ !72
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ตัวอย่างของดวงดาวแรกที่สุด สำนักพระราชวังในกรุงแบกแดดเป็นศูนย์กลางด้านอักษรศาสตร์ด้วย และพวกมุสลิมในสเปนก็มีวัฒนธรรมและอารยธรรม (Civilization) สูงกว่าพวกคริสเตียนในแถบนั้นใน เวลานั้น แต่ความก้าวหน้าทางด้านความรู้สติปัญญาของศาสนามุสลิมนี้ได้หยุดลง เมื่อพวกเติร์กได้ มาสืบตำแหน่งผู้นำโลกมุสลิมแทนพวกซาราเซ็นส์ (Saracens) ที่เป็นปราชญ์และผู้รู้ทางวิชาการ
!
ด้านลบของลัทธิศาสนาโมหะหมัด
!
(ก) วิธีเผยแพร่ศาสนาด้วยอาวุธ (การรับเพื่อยึดเอาชัยชนะ) ซึ่งเป็นการส่งเสริมมนุษย์ ให้มีความเกลียดแทนที่จะมีความรักต่อกัน เมืองไหนต่อต้านก็จะถูกฆ่าตาย ผู้หญิงต้องถูกนำมาเป็น นางบำเรอในฮาเล็มของผู้ชนะ ส่วนพวกเด็ก ๆจะจับมาอบรมเลี้ยงดูให้มีความเชื่อของอิสลามเต็มตัว พวกเติร์กได้ปฏิบัติเรื่อยมาหลายศตวรรษ โดยเฉพาะจับเด็ก ๆลูกหลานคริสเตียนจำนวนพัน ๆ แยก ไปจากพ่อแม่ เอาไปเลี้ยงดูในดินแดนห่างไกลให้กลายเป็นคนบ้าคลั่งศาสนาอิสลาม
!
(ข) เอาศาสนามาใช้เพื่อประโยชน์ฝ่ายโลก เพราะความคิดของอิสลามเริ่มแรกเชื่อว่า รัฐ กับสุเหร่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างเด็ดขาด ดังนั้น รัฐก็จะตั้งเป้าให้อำนาจอย่างเต็มที่ในการส่ง เสริมความมั่นคงของประเทศ ส่งเสริมศาสนาอิสลามและกำจัดศาสนาเทียมเท็จ ดังเช่น สุลต่าน (กษัตริย์)แห่งตุรกีที่ถือว่าเป็น “ผู้สืบตำแหน่งผู้นำศาสนาอิสลามจากโมหะหมัด” (Caliph-คาลิบ) แต่ หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อตุรกีกลายเป็นสาธารณะตุรกี ตำแหน่งสุลต่านก็ถูกปลดออก (จึงทำให้ ตำแหน่งคาลิบก็ยกเลิกด้วย) แต่ก็ยังถือว่าอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ แล้กว็มีการเปลี่ยนแปลง หลายอย่างตามมา เรื่อสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ การแปลพระคัมภีร์โกหร่านเป็นภาษาพื้นเมือง
!
(ค) ทัศนะคำสอนเกี่ยวกับพระเจ้ายึดเอาพระคัมภีร์เดิมเท่านั้น กล่าวคือพระเจ้าของ อิสลามเป็นพระเจ้าที่แข็งกร้าวแบบกษัตริย์ของชาวตะวันออก และเป็นพระเจ้าที่ไม่มีความรัก ความ เมตตาต่อมนุษย์ที่ไม่เป็นศิษย์ของโมหะหมัด
!
(ง) ปฏิเสธทัศนะคำสอนเกี่ยวกับพระคริสต์ เพราะตามทัศนะของพวกศิษย์โมหะหมัด พระคริสต์ไม่ได้เป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าแห่งแผ่นดินสวรรค์ ไม่ใช่บุตรของพระเจ้า ไม่ได้เป็นพระผู้ช่วย ให้รอดของมนุษย์ แต่ได้ถูกลดศักดิ์ลงมาเป็นเพียงผู้พยากรณ์ของชาวยิวคนหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ใน ทุกด้านก็ด้อยกว่าโมหะหมัดมาก
!
(จ) ความคิดและคำสอนเกี่ยวกับเรื่องสวรรค์ สวรรค์เป็นที่อยู่ของผู้มีบุญในชีวิตหน้า (หลังความตาย) ที่จะมีชีวิตที่อิ่มเอมฝ่ายเนื้อหนัง พูดง่าย ๆไม่ได้คิดถึงชีวิตฝ่ายวิญญาณ
!
(ฉ) กดฐานะสตรี เป็นหลักคำสอนต่ำที่สุดอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม คือ เห็นสตรีเป็นเพียง ทาส หรือของเล่นของผู้ชายจนในปี คศ.1930 ประเทศตุรกีเมื่อได้รับการเปลี่ยนแปลงใหม่ได้แก้ไขให้ คำสอนนี้หายไป แล้วให้สิทธิแก่ผู้หญิงทำการเลือกตั้งและรับการเลือกตั้งเทศบาล แต่ประเทศมุสลิม อื่น ๆแล้ว สตรีก็ยังได้รับเกียรติน้อยในโลกของอิสลาม
!
!73
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(ช) ขาดความเป็นรัฐบุรุษ เมื่อมองในแง่ของประวัติศาสตร์และการปกครอง สิ่งที่เป็นจุด อ่อนมากของอิสลาม คือ การไม่รู้จักจัดการบริหารปกครองประเทศให้เจริญ (National Administration) พวกเขามีแต่ทำการสู้รบ เปรียบเหมือนกระแสน้ำไหลเชี่ยวที่ไม่มีอะไรจะหยุดยั้งได้ กวาดล้างข้ามทวีป ตั้งแต่ประเทศจีนถึงสเปน แต่ไม่ได้แสดงอำนาจในการจัดบริหารการปกครองอาณาจักรที่ตนได้ตั้งขึ้น ดังนั้น เมื่อเปรียบกับของโรมันโบราณ เราจะพบว่า พวกโรมันไม่เพียงแต่ตีชนะ และขยาย อาณาจักรได้กว้างใหญ่เท่านั้น แต่ยังสามารถทำการบริหารปกครองได้อย่างฉลาด ทำให้เกิดความ เจริญรุ่งเรืองแก่ทุกเมืองขึ้นของโรมัน
!
ความสำคัญของการบุกรุกของอิสลามต่อคริสตจักร การบุกรุกของอิสลามมีผลกระทบหลายประการต่อคริสตจักรทั้งในสมัยนั้น และสืบเนื่องต่อมา จนถึงปัจจุบัน เช่น (1) ดินแดนที่เคยเป็นของคริสเตียนตกอยู่ในอำนาจของมุสลิมหมด ดินแดนเหล่านี้ถือว่าเป็น แหล่งกำเนิดของคริสตจักรเริ่มแรก เช่นเยรูซาเล็ม อันติโอก ดามัสกัส อเล็กซานเดรีย และคาร์เทจ เป็นต้น แม้ว่าอิสลามจะยินยอมให้คริสเตียนได้ดินแดนเหล่านี้นมัสการพระเจ้าได้ แต่ได้วางระเบียบที่ เคร่งครัดจนทำให้คริสตจักรไม่สามารถเติบโตได้เลย ผลที่เห็นได้ชัดก็คือ ดินแดนรอบๆเมืองคาร์เทจไม่ หลงเหลือความเชื่อของคริสเตียนไว้ให้เห็นเลย ด้วยเหตุนี้ในศตวรรษที่ 12 ผู้นำคริสเตียนจึงต้องทำ สงครามครูเสดเพื่อแย่งชิงดินแดนเดิมของตนกลับคืนมาจากอิสลาม (2) อาณาจักรโรมตะวันออก หรือไบแซนไทน์ ซึ่งเคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ครอบคลุมบริเวณ ตะวันออกใกล้ และชายฝั่งอัฟริกาเหนือ ขนาดเล็กลงจนเหลือแค่บริเวณที่เป็นประเทศตุรกีในปัจจุบัน และบางส่วนของยุโรป (3) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของอาณาจักรคริสเตียน และศูนย์กลางของคริสตจักรเปลี่ยนไปาก เดิมมีศุนย์กลางอยู่บริเวณปาเลสไตน์ หรือบริเวณรอบๆทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เปลี่ยนมาเป็นบริเวณ จากเหนือไปใต้ของทวีปยุโรป (4) ทำให้คริสตจักรทางตะวันตกมองดูสันตะปาปาเป็นผู้นำฝ่ายการเมือง และฝ่ายจิตวิญญาณ มากขึ้นทุกที (5) คริสตจักรทางตะวันออก (หรือ กรีกออโธดอกซ์) ยิ่งห่างเหินจากคริสต จักรที่อยู่ทางตะวันตก (หรือคริสตจักรคาทอลิก) มากขึ้นทุกที่
!74
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
! หนวยที่ 5 อาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ Holy Roman Empire
5.1 การก่อตั้งอาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ของชาร์ลมาญ/ชาร์ลแมงค์ (The Holy Roman Empire) ตามที่เราทราบแล้วว่า ในปี คศ.476 อาณาจักรโรมันตะวันตกได้ล้มลง แล้วยุโรปทางทะเลเอเดรียติค ก็อยู่ในสภาพโกลาหล ชนเผ่าต่าง ๆที่อยู่ระแวกนั้นที่ชอบการรบราฆ่าฟันกันก็บุกรุกเข้ามาต่อสู้ เพื่อ แย่งชิงดินแดนและอำนาจการปกครอง แต่ถึงแม้ตลอดเวลาของสภาพโกลาหลเช่นนี้ ความคิดทวี โรมันโบราณแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวและเป็นระเบียบเรียบร้อยก็ยังคงมีอยู่ ความใฝ่ฝันที่จะให้มี การรวมเป็นอาณาจักรเดียวก็ยังคงเป็นหลักที่ยึดถือกัน (แม้อาณาจักรนั้นจะล้มไปแล้ว) จนเริ่มต้น ศตวรรษที่ 9 ได้เกิดอาณาจักรโรมันบริสุทธิ์ขึ้นที่คนทั่วไปเรียกกันว่า อาณาจักรแฟรงคิช (Frankish or Franer) เพราะผู้สถาปนา คือ ชาร์ลมาญ หรือ ชาร์ลแมงค์ เขาเป็นคนเผ่าเยอรมันโดยกำเนิด
!
ผู้สถาปนา : ชาร์ลมาญ (Charlemagne) คศ.742-814 ในปลายศตวรรษที่ 8 ได้เกิดผู้นำยิ่งใหญ่ขึ้นชื่อ ชาร์ลมหาราช (Charles the Great) คน เยอรมันเรียกว่า คาร์ลผู้ยิ่งใหญ่ (Karl the Great) และคนฝรั่งเศสเรียกว่า ชาร์ลมาญ ท่านเป็นหลาน ของชาร์ลมาร์เตล ผู้พิชิตที่ตำบลทัวส์ (คศ.732) และเป็นกษัตริย์ของชนเผ่าฟรังก์ (แต่ตัวเองเป็นเผ่า เยอรมัน) ควบคุมส่วนใหญ่ของประเทศฝรั่งเศส ท่านได้ตั้งตัวขึ้นเป็นเจ้านายใหญ่ในดินแดนเกือบ ทั้งหมดในยุโรปตะวันตก สเปนภาคเหนือ ฝรั่งเศส เยอรมัน เนเธอร์แลนต์ ออสเตรียและอิตาลี รวมเป็นมหาอาณาจักรเดียว วันคริสตมาส ปี คศ.800 ชาร์ลมหาราชได้มาเยือนกรุงโรม สันตะปาปาธีโอที่ 3 ได้เข้าสวมม งกุฏให้ แต่งตั้งให้เป็นชาร์ล ออกัสตัส จักรพรรดโรมัน (Charles Ausgustus) และถือว่าเป็นผู้สืบ ตำแหน่งของออกัสตัส คอนสแตนตินและจักรพรรดิทั้งหลาย ท่านได้ปกครองเหนือมหาอาณาจักรอัน กว้างใหญ่นี้ด้วยอำนาจและสติปัญญา เป็นผู้พิชิต ผู้ปฏิรูป ผู้ออกกฏหมาย และผู้อุปการะคริสตจักรและการศึกษา
!
ลักษณะของอาณาจักร ดูตามภายนอกอาณาจักรโรมันบริสุทธิ์นี้ยั่งยืนอยู่เกือบพันปี แต่ในสภาพความเป็นจริงอำนาจ ที่ครอบครองเหนือยุโรป ส่วนใหญ่เป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆเท่านั้นในตอนที่ท่านชาร์ลมาญทรง พระชนม์อยู่ ต่อมาเพราะ (ก) ความอ่อนแอและไร้สมรรภาพของผู้สืบตำแหน่ง (ข) การเจริญก้าวหน้าของแต่ละรัฐที่อยู่ในอาณาจักร (ค) การใช้ภาษาพูดต่างกันในอาณาจักร (ง) การมีกรณีพิพาทเรื่องผลประโยชน์ของตน (จ) เกิดการทำสงครามกลางเมืองรบพุ่งกันและกัน !75
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เหตุเหล่านี้ทำให้อาณาจักรโรมันบริสุทธิ์ต้องถูกจำกัดอำนาจอยู่แต่เฉพาะภาคตะวันตก แค่ถึง แม่น้ำไรน์ ดังนั้น จักรพรรดิองค์ต่อ ๆมา ส่วนมากเป็นจักรพรรดิปกครองทั่วอาณาจักรแต่ในนาม เท่านั้น และถือว่าเป็นประมุขของคริสตจักรโดยตำแหน่ง ยกตัวอย่างเช่น ในฝรั่งเศส อังกฤษ และ หมู่ประเทศของแหลมสแกนดิเนเวีย จักรพรรดิได้รับการยกย่องนับถือ แต่ไม่ได้รับการเชื่อฟัง (ไม่ขึ้น ต่อจักรพรรดิ) ดังนั้น อำนาจปกครองจริง ๆของจักรพรรดิได้แพร่ไปภายในเยอรมันและอิตาลี ประปรายเท่านั้น ต่อมาจึงเรียกอาณาจักรโรมันบริสุทธิ์ทั่วไปว่า “มหาอาณาจักรเยอรมัน”
!
จักรพรรดิที่สืบตำแหน่งต่อมา ทายาทที่สืบตำแหน่งจักรพรรดิต่อจากท่านชาร์ลมาญมีหลายองค์ (เช่น หลุยส์-Louis the Pious, โลทแอร์ Lothair ฯลฯ) แต่ส่วนมากใช้ไม่ได้จึงทำให้เสียพระที่นั่งจักรพรรดิและผู้นำของ อาณาจักร แล้วต่อมาตำแหน่งจักรพรรดิถูกเลือกขึ้นมาโดยขุนนาง 7 ท่านที่มีหน้าที่เป็นผู้เลือกคนที่ เหมาะสมที่สุดดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ ซึ่งตลอดสมัยอาณาจักรโรมันบริสุทธิ์ที่ตั้งยั่งยืนจนถึงปี คศ. 1806 ได้มีการเลือกจักรพรรดิถึง 54 องค์ขึ้นครอง จะขอกล่าวถึงเพียง 6 ท่านที่สำคัญเท่านั้น
!
(1) จักรพรรดิเฮนรี่ที่ 1 (Henry I) หรือเรียกกันว่า จักรพรรดิพรานนก (The Fowler) คศ. 919-936 ได้เริ่มฟื้นฟูมหาอาณาจักร ซึ่งได้เสื่อมลงในช่วงระยะการปกครองโดยพวกทายาทที่อ่อนแอ ของท่านชาร์ลมาญ
!
(2) อ๊อตโตมหาราชที่ 1 (Otto I the Great) เป็นราชบุตรของท่านเฮนรี่ที่ 1 มีความสามารถ มาก ได้นำและปกครองอาณาจักรต่อจากบิดาโดยที่ยังมิได้สวมมงกุฏเป็นจักรพรรดิจนกระทั่ง คศ.951 และครองราชย์อยู่จนกระทั่ง คศ.973 เป็นที่ยอมรับกันว่าท่านเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรโรมันบริสุทธิ์ให้ มั่นคงและให้เป็นที่แตกต่าง (ไม่เกี่ยวข้อง) กับอาณาจักรโรมในศตวรรษแรก ๆ (3) จักรพรรดเฟรดเรอริค บาร์บารโรสซา (Frederick Barbarossa) หรือที่เรียกว่า “หนวด แดง” (Red Beard) คศ.1152-1190 เป็นผู้หนึ่งที่มีอำนาจมากที่สุดในวงค์จักรพรรดิ ท่านได้ร่วมเข้า สงครามครูเสดครั้งที่ 3 แต่ได้จมน้ำตายในเอเซียน้อยเสียก่อน จึงทำให้ครูเสดครั้งนั้นต้องเลิกล้มไป กลางคัน
!
(4) เฟรดเดอริคที่ 2 (Frederick II) คศ.1196-1250 เป็นหลานของท่านเฟรดเดอริคบาร์บาร โรสซาได้รับสมญานามที่ยาวว่า “ผู้เป็นมหัศจรรย์และปริศนาของประวัติศาสตร์ เป็นผู้รอบรู้และ ก้าวหน้า และเป็นผู้มีหูตา ความคิดอ่านและใจกว้างขวางที่สุดในสมัยของท่าน” (The Noral and Emigma of History, Enlightened and progressive, the most Liberal Man of His Age) ในเรื่อง การปกครองและด้านศาสนา อย่างไรก็ตามสันตะปาปาในยุคของท่านได้ตัดสัมพันธ์กับท่านถึง 2 ครั้ง แต่ในสงครามครูเสดครั้งที่ 5 ท่านได้ตั้งตนเองเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็ม
!
(5) รูด๊อฟแห่งแฮพส์เบิร์ก (Rudolph of Hapsburgh) คศ.1273-1291 เป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ ออสเตรีย ได้รับมงกุฏเป็นจักรพรรดิในปี คศ.1273 เมื่อเวลานั้นเป็นตำแหน่งที่ไม่มีความหมายอะไร แต่ก็ได้บังคับให้พวกเจ้าทั้งหลายและขุนนางผู้ใหญ่ในอาณาจักรในเวลานั้น ให้ยอมอยู่ใต้อำนาจของ ท่านได้สำเร็จ ตั้งแต่นั้นมารัฐออสเตรียกลายเป็นรัฐที่มีอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุดในสหพันธ์เยอรมัน !76
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(German Confederation) และอัครเสนาบดีกับจักรพรรดิองค์ต่อมาเกือบทุกองค์สืบตระกูลมาจาก ท่าน (6) ชาร์ลที่ 5 (Charles V) คศ.1519-1556 เป็นผู้สืบตำแหน่ง (ทายาท)การปกครองของ ออสเตรีย สเปนและเนเธอร์แลนด์ ท่านได้พยายามอย่างสุดความสามารถที่จะช่วยหรือรั้งประเทศทั้ง หลายในอาณาจักรของท่านให้ยังคงอยู่ในศาสนาเก่า แต่ไม่สำเร็จ ดังนั้น ในปี คศ.1556 ก็ได้สมัครใจ สละราชบัลลังก์ใช้เวลาช่วงสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านในการพักผ่อน
!
จักรพรรดิกับสันตะปาปา เป็นเวลาหลายศตวรรษในตอนแรก ๆของมหาอาณาจักรโรมันบริสุทธิ์นี้ที่มีการช่วงชิงอำนาจ กันอย่างรุนแรงระหว่างจักรพรรดิกับสันตะปาปา บางครั้งถึงกับเปิดฉากทำสงครามกันขึ้น เนื่องจาก ต่างฝ่ายต่างต้องการมีอำนาจปกครองทั้งหมด (ทั้งคริสตจักรและอาณาจักร) แต่แนวโน้มของอำนาจ ในยุคมืดนี้ได้เอียงไปทางสันตะปาปามากกว่า และเจริญก้าวหน้าจนมีอำนาจสูงสุดในสมัยของเกรกอรี่ ที่ 7 (Gregory VII) คศ.1073-1085 กล่าวคือท่านสันตะปาปาสามารถบังคับให้จักรพรรดิยอมอยู่ใต้ อำนาจของท่านเป็นระยะเวลาหนึ่ง และในสมัยสันตะปาปาอันโนเซนต์ที่ 3 (Innocent III) คศ. 1198-1216 เป็นผู้ที่มีความรู้ สติปัญญา และความสามารถมาก ได้เป็นผู้ตั้งและถอนจักรพรรดิกับ กษัตริย์ประจำรัฐ เมื่อหลังจากอาณาจักรเสื่อมลงในสมัยของจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 (ซึ่งเป็นกษัตริย์ เยอรมันและจักรพรรดิของอาณาจักรโรมันบริสุทธิ์ คศ.1050-1106) แต่ต่อมาอำนาจของสันตะปาปา ก็ค่อย ๆแยกตัวออกจากกัน
!
อาณาจักรเสื่อมอำนาจและล้มลง ตามที่เราทราบแล้วว่ารัฐออสเตรียได้กลายเป็นรัฐที่มีความสำคัญมากขึ้นทุกที โดยที่เหล่า จักรพรรดิที่ขึ้นครองตำแหน่งต่อกันมาเกือบทุกแห่ง กษัตริย์รัฐออสเตรียได้เป็นจักรพรรดิของมหา อาณาจักรโรมันบริสุทธิ์ปกครองทั่วมหาอาณาจักร แต่ก็เป็นเพียงโดยตำแหน่งเท่านั้น เพราะในความ เป็นจริง รัฐทั้งหลายในมหาอาณาจักรต่างเป็นอิสระต่อกัน ไม่ขึ้นต่อกันหรือขึ้นต่อศูนย์กลาง เป็น อย่างนี้จนกระทั่งตำแหน่งจักรพรรดิเกือบจะไม่มีความหมายเลย แล้วการสืบตำแหน่งจักรพรรดิก็สิ้น สุดลงในปี คศ.1806 เมื่อเวลาที่นโปเลียน (Napolean) ขึ้นสู่อำนาจสูงสุดโดยได้บังคับให้จักรพรรดิฟ รานซิสที่ 2 (Francis II) สละตำแหน่งจักรพรรดิแห่งมหาอาณาจักรโรมันบริสุทธิ์ และรับตำแหน่งแค่ เป็น “จักรพรรดิแห่งออสเตรีย” เท่านั้น
!
5.2 การเปลี่ยนแปลงภายในคริสตจักรยุคมืดอันนำมาซึ่งคริสตจักร โรมันคาทอลิก เป็นการยากที่จะบอกได้แน่นอนว่า นิกายหรือศาสนศาสตร์โรมันคาทอลิคเริ่มเมื่อไร แต่เราอาจสรุป ได้ว่าท่านสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 1 “ผู้ยิ่งใหญ่” (คศ.590-604) เป็นผู้ก่อตั้งและทำให้คริสตศาสนา (ความเชื่อในพระเยซู) กลายเป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิก เนื่องจากท่านได้ตั้งและสร้างระบบ สันตะปาปาให้มีอำนาจสูงสุด แล้วได้มีการพัฒนาขึ้นตลอดยุคมืด จนเป็นรูปแบบที่มั่นคงถาวรมาถึง ปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
!
!77
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(1) การสมอ้างเป็นโป๊ปมีอำนาจสูงสุดเหนือคริสตจักรและบิชอปทั้งหลาย (Papal Claims) ในยุคมืดนี้ สิ่งแรกที่เราพบเห็นคือ การที่สันตะปาปา (โป๊ป) ได้สมอ้างและตั้งตนเองเป็น ใหญ่สูงสุดเหนือคริสตจักรทั้งหมดเหนือเหล่าบิชอปทั้งหลาย และเท่าเทียมหรือบางครั้งเหนือกษัตริย์ ปกครองประเทศ ซึ่งตรงกันข้ามกับในสมัยของคริสตจักรยุคอัครสาวกที่ผู้รับใช้ (ผู้ปกครอง ศิษยาภิบาล) เป็นผู้ถ่อมสุภาพ คอยช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่สมาชิก
!
(2) พิธีมหาสนิท (The Lord’ s Supper) แม้ว่าพิธีมหาสนิทนี้ยังมีอยู่และถือว่า เป็นการระลึกถึงความตายของพระเยซู แต่มีความคิด หรือคำสอนเพิ่มเติมว่า พิธีนี้เปรียบเหมือนกับเป็นเครื่องบูชาที่ว่า น้ำองุ่นและขนมปังจะกลายเป็น เลือดและเนื้อหนังของพระเยซูจริง ๆในเวลาประกอบพิธีมหาสนิทนี้ที่เรียกว่า Transubstantiation ซึ่งในปี คศ.831 ได้มีการอธิบายคำสอนนี้โดย พี ราดเบอร์ทัส (P.Radbertus) ได้พิมพ์เป็นหนังสือ ออกมา แล้วต่อมาในปี คศ.1215 คริสตจักรโรมันคาทอลิคได้ตกลงรับเป็นหลักข้อเชื่อหนึ่ง โดย สมัชชา ลาเทอร์เรอน (Lateran Council)
!
(3) คำสอนว่าด้วยเพอกาทอรี่ (Purgatory) คำสอนนี้มีที่มาจากศาสนาต่างชาติ เพอกาทอรี่เป็นสถานที่ที่อยู่ระหว่างนรกกับสวรรค์ที่ซึ่ง วิญญาณคนตายไปพักอาศัยอยู่รับการลงโทษชำระ ขัดเกลาและทนทุกข์ทรมานชั่วระยะเวลาหนึ่ง แล้วก็ไปสวรรค์ได้ แท้จริงคำสอนนี้ได้เริ่มเข้ามาในวงการคริสเตียนตั้งแต่สมัยของออกัสติน ต่อมาได้ รับการชื่นชอบสนับสนุนโดยโป๊ปเกรกอรี่ที่ 1 แล้วจึงเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือกันในวงโรมันคาทอลิค ได้กลายเป็นหลักข้อเชื่อเป็นทางการในปี คศ.1439 โดยสมัชชาฟรอเร้นส์ (Florence Council)
!
(4) คำอธิษฐานสำหรับผู้ตายและการอธิษฐานต่อนักบวช (Prayer for the dead and to the Saints) สิ่งนี้เกิดขึ้นตามพร้อมกับกับหลักคำสอนว่าด้วยเพอกาทรี่ คือการกระทำและความ เชื่อที่ว่ายังสามารถอธิษฐานหรือจัดประชุมแมส (Mass) ขึ้นสำหรับผู้ตาย เพื่อช่วยให้ผู้ตายที่อยู่ในเพ อกาทอรี่หลังจากรับการลงโทษชั่วคราวแล้ว จะสามารถไปสวรรค์ได้ หรือบางครั้งก็เป็นอธิษฐานต่อ นักบวช นักบุญ (Saints) ทั้งหลายที่ตายไปแล้วเป็นการยกย่องเคารพนับถือเมื่อเทศกาลฉลองวันของ นักบุญแต่ละคนเวียนมาถึง ซึ่งคำอธิษฐานแบบนี้ได้ทำกันอย่างเป็นทางการในคริสตจักรคาทอลิคโดย สมัชชาไนเซียครั้งที่ 2 ในปี คศ.787
!
(5) การกราบไหว้บูชาพระนางมาเรีย (Adoration and Worship of Mary) เริ่มขึ้นในปี คศ.431 เนื่องจากสมัชชาเอเฟซัสได้ประกาศว่า นางมาเรียเป็น “มารดาของ พระเจ้า” (Theotokos-Mother of God) จากนั้นลัทธิบูชานางมาเรีย (The Cult of Mary) ก็เริ่มก่อตัว ขึ้นเป็นต้นมา ตอนแรกเริ่มด้วยการมีเทศกาลฉลองระลึกถึงนางมาเรียในวันที่ 25 มีนาคมของทุกปีที่ เรียกว่า อันนันซิเอชั่น (Annunciation) แต่ต่อมาจากการระลึกถึงและให้เกียรติยกย่องกลายเป็นการ บูชาและนมัสการบูชาพระแม่เจ้ามาเรีย แล้วในปลายศตวรรษที่ 6 ได้กระทำกันทั่วไปหมดและรวมทั้ง อธิษฐานขอต่อนางด้วย
!
(6) การสารภาพบาปต่อพระเจ้าโดยทางนักบวช-พระสงฆ์ (Auricular Confession) !78
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
แท้ที่จริงในยุคแรก ๆคริสเตียนที่หลงไปจากพระเจ้าและต้องการกลับมาหาพระเจ้าเข้าในคริสต จักร ต้องทำการสารภาพบาปของตนต่อที่ประชุม แต่เนื่องจากมีปัญหาการซุบซิบนินทาเกิดขึ้นตาม มา ต่อมาในสมัยของลีออนที่ 1 (คศ.440-461) ได้กลายเป็นการสารภาพบาปส่วนตัวต่อหน้านักบวชพระสงฆ์คนเดียว อย่างไรก็ตามการสารภาพนี้ไม่เป็นการบังคับใครทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ แต่ต่อมาในปี คศ.763 บิชอปแห่งเมทส์ (Metz)ได้ออกคำสั่งเป็นครั้งแรกออกมาว่า จำเป็นต้องทำการสารภาพต่อ พระเจ้าโดยทางนักบวช ถ้าได้ทำผิดมา
!
(7) มีรูปปั้นในสถานที่นมัสการ ตอนแรกเริ่มโดยการตบแต่งประดับประดาด้วยสิ่งของต่าง ๆ และรูปปั้นทั้งหลายให้สถานที่ นมัสการสวยงามน่าดูมีค่าราคาแพง เช่น คริสตจักรโซเฟียในกรุงคอนสแตนติโนเบิลและคริสตจักรทั้ง 7 ของโรมในสมัยท่านเกรกอรี่ที่ 1 ซึ่งเจอโรมและไครโซสโทม (ในศตวรรษ 4-5) ได้ตักเตือนถึง อันตรายที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากการคิดถึงแต่การประดับประดาแต่วัตถุภายนอก เพราะที่ประชุมที่ดีถูก ต้องหรือคริสตจักรแท้ที่สำคัญและพระเจ้าพอพระทัย คือ การที่สมาชิกที่มาร่วมประชุมมีชีวิตที่สัตย์ซื่อ และบริสุทธิ์ แล้วต่อมาในปี คศ.814 ก็มีการกราบไหว้รูปปั้นทั้งหลายที่มีอยู่ในคริสตจักร ซึ่งเป็น สาเหตุหนึ่งที่พวกมุสลิมโจมตีพวกคริสตังว่าเป็นพวกไหว้รูปเคารพ
!
(8) มีพิธีรีตองใหม่เกิดขึ้นมากมายในคริสตจักร เริ่มมีแท่นบูชาและเพิ่มความสำคัญมากขึ้นถึงขนาดทำให้ลักษณะโครงสร้างภายในตัวโบสถ์ เปลี่ยนแปลงไป คำสอนที่ว่าสมาชิกผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต (ผู้รับใช้)ของพระเจ้าได้ถูกละทิ้งไป บิชอป (นักบวช-นักเทศน์)ถือว่า มีบทบาทเฉพาะที่แตกต่างจากฆราวาสและมีอำนาจจากพระเจ้าโดย การสถาปนา (Ordination) แล้วกลายเป็นว่าเป็นบุคคลที่สำคัญ (บุคคลกลาง) ที่ช่วยให้สมาชิกผู้เชื่อ เข้าถึงพระเจ้าได้ งานรับใช้ของบิชอปถือว่าเป็นประเภทเวทมนตร์คาทา (Spicies of Magic) และ เป็นผู้รู้ความลึกลับของพระเจ้า (Divine Mysteries) คล้ายกับพวกพระของศาสนาต่างชาติ ดังนั้นจึง มีลักษณะว่า พระสงฆ์-บิชอปเป็นบุคคลสำคัญศักดิ์สิทธิ์ในการประชุมในเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ที่แท่น บูชา และข้างหน้าที่ประชุมจึงกลายเป็นบริเวณศักดิ์สิทธิ์ไป ลักษณะเหล่านี้เริ่มมีขึ้นตั้งแต่สมัยของ จักรพรรดิคอนสแตนติน และเมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 4 พวกเหล่าบิชอปก็มีการสวมเสื้อคลุมสีต่าง ๆ เฉพาะเมื่อประกอบกิจทางศาสนา ถ้ามีพิธีใหญ่หรือสำคัญมากก็จะสวมเสื้อคลุมพิเศษโดยเฉพาะ ซึ่ง ในยุคแรก ๆของคริสเตียนพวกบิชอปสวมเสื้อผ้าเหมือนกับสมาชิกคนอื่น ๆ
!
(9) มีการเผาธูปเทียนบูชา (Incense) การเผาธูปเทียนครั้งแรกกระทำเพื่อการชำระล้างตึกหรืออาคารของคริสเตียนที่ไม่เกี่ยวกับการ นมัสการบูชา จนกระทั่งในศตวรรษที่ 6 เริ่มมีขึ้นในเวลานมัสการซึ่งเชื่อว่าเป็นการเลียนแบบของ โรมัน ต่อมาในศตวรรษที่ 9 ได้กระทำกันไปทั่วทั้งในคริสตจักรตะวันตกและออก ปัจจุบันคริสตจักร ตะวันตกมีการเผาธูปเทียนบูชาในการนมัสการพิเศษบางครั้งเท่านั้น ส่วนคริสตจักรตะวันออกจะมี บ่อยครั้งมากกว่า
!
5.3 พันธกิจที่เกาะบริทิช (Missions in the British Islands) !79
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
แท้จริงเรื่องของพระเจ้าได้มีโอกาสไปถึงหมู่เกาะบริทิชบ้างแล้วในปลายยุคคริสตจักรสม้ยแรก โดยเฉพาะทางตอนใต้ของประเทศไอร์แลนด์ ต่อมาท่านแพททริค (Patrick) ได้รับสถาปนาเป็นมิชชัน นารีให้ไปประกาศที่ไอร์แลนด์ โดยบิชอปเจอร์มานัสแห่งออเซอร์รี (Bishop Germanus of Auxerre) เป็นผู้แต่งตั้งในปี คศ.432 ท่านแพททริคเกิดในราว คศ.389 ทางตอนใต้ของเวลส์ (Wales) เป็นบุตร ของมัคนายกและหลานชายของนักบวช (Priest) ท่านเริ่มประกาศทางตะวันออกเฉียงเหนือของ ไอร์แลนด์ ทำอย่างเอาจริงเอาจังเต็มที่ แล้วงานก็ค่อย ๆแพร่ไปทั่วทั้งประเทศ ท่านได้ตั้งคริสตจักร และสถาบันคริสเตียนหลายอย่างขึ้น จนได้รับสมญานามว่า “อัครทูตแห่งไอร์แลนด์” (Apostle of Ireland) ท่านได้ตั้งระบบการปกครองของบิชอปขึ้น (The Diocesan Episcopate) แต่ต่อมาได้ เปลี่ยนแปลงกลายเป็นระบบการปกครองบิชอปยึดเผ่าและคณะนิกายอยู่อารามเป็นหลัก (Monastic and Tribal Bishop) ลัทธิอารามวาสีได้ก่อตั้งขึ้นเนื่องจากท่านนิยมชื่นชอบแล้วได้รับการพัฒนาให้ เจริญก้าวหน้าโดยท่านฟีเนียนแห่งโคลนาร์ด (คศ.470-548)
!80
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หน่วยที่ 6 คริสตจักรยุคกลาง ค.ศ. 1073-1453 Medieval Church !
6.1 การแตกแยกของคริสตจักรตะวันตก และคริสตจักรตะวันออก แท้ที่จริงมีรอยร้าวมานานแล้วระหว่างคริสตจักรภาคตะวันออกของอาณาจักรโรมันเดิม (ซึ่ง พัฒนามาเป็นคริสตจักรกรีกออโธดอกซ์ และอยู่ในอาณาจักรไบแซนไทน์) และคริสตจักรภาคตะวันตก (ซึ่งพัฒนามาเป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิก และอยู่ในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อย่างไรก็ตาม แม้ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นเนิ่นนาน แต่คริสตจักรทั้งสองภาคก็ไม่ได้แยกจากกัน เป็นทางการจนกระทั่งปี ค.ศ. 1054
!
สาเหตุของการแตกแยกของคริสตจักรตะวันตกและตะวันออก มีสาเหตุจากหลายด้านด้วยกัน ได้แก่ (ก) สาเหตุทางการเมือง ตั้งแต่จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงคอนส แตนติโนเปิลในปี ค.ศ. 330 คริสตจักรทางตะวันออกได้อยู่ในการควบคุมของจักรพรรดิโรม แต่คริสต จักรตะวันตกอยู่ไกลเกินกว่าที่จักรพรรดิจะควบคุมได้ และเมื่อบรรดาอนารยชนโจมตีโรม ประชาชน เริ่มหันมามองบิชอปแห่งโรมเป็นผู้นำของพวกเขาแทนองค์จักรพรรดิที่อยู่ห่างไกล ยิ่งเมื่อสันตะปาปา สามารถเจรจายับยั้งการโจมตีของอนารยชนหลายเผ่าไว้ได้ ยิ่งทำให้อำนาจทั้งทางการเมืองและคริสต จักรตกอยู่ในมือของสันตะปาปาแห่งกรุงโรม ด้วยเหตุนี้คริสตจักรทั้งสองภาคจึงมีทรรศนะด้านการปกครองต่างกัน คริสตจักรตะวันออกมี องค์จักรพรรดิเป็นผู้ควบคุมทั้งการเมืองและคริสตจักร แต่คริสตจักรตะวันตก สันตะปาปาเป็นผู้ควบ คุมทั้งคริสตจักรและการเมือง (ข) สาเหตุทางความรู้และสติปัญญา ตั้งแต่ศตวรษที่ 2 ผู้นำของคริสตจักรตะวันออกและ ตะวันตกก็มีทรรศนะที่แตกต่างกัน ผู้นำของคริสตจักรตะวันออกชอบศึกษา คิด และถกพระวจนะโดย อาศัยแนวทางของปรัชญา ในขณะที่ผู้นำของคริสตจักรตะวันออกเน้นภาคปฏิบัติ ประเพณี และพิธีกร รมของคริสตจักร ดังนั้นในการประชุมสภาคริสตจักรตั้งแต่สภาที่เมืองไนเซีย ปีค.ศ. 325 จนถึง 787 ค ริสตจักรตะวันออกมักประนามทางตะวันตกเสมอ เมื่อบิชอบแห่งโรมมีอิทธิพลทั้งทางคริสตจักรและ อาณาจักรในภาคตะวันตกมากขึ้นทุกที ช่องว่างระหว่างคริสตจักรทั้งสองภาคยิ่งกว้างขึ้นเป็นเงาตาม ตัว (ค) สาเหตุด้านขนบธรรมเนียม เช่น คริสตจักรตะวันออกฉลองอีสเตอร์ในวันแรกของพิธี ปัศคา ในขณะที่คริสตจักรตะวันตกฉลองอีสเตอร์วันอาทิตย์หลังเทศกาลปัศคา เมื่อบิชอปวิคเตอร์แห่ง กรุงโรมประกาศให้ทั่วอาณาจักร คือทั้งภาคตะวันตกและตะวันออกฉลองอีสเตอร์วันเดียวกัน จึงเกิด ความไม่พอใจและกลายเป็นข้อโต้เถียงกันหลายศตวรรษ นอกจากนั้นบาทหลวงของคริสตจักรตะวันออกสามารถสมรสมีครอบครัวได้ ในขณะที่บาทหล วงของคริสตจักรตะวันตกห้ามสมรส ต้องครองชีวิตโสด บาทหลวงของคริสตจักรตะวันออกต้องไว้ หนวดเสมอ แต่บาทหลวงของคริสตจักรตะวันตกไม่จำเป็นต้องไว้หนวดแต่อย่างใด !81
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(ง) สาเหตุด้านศาสนศาสตร์ คริสตจักรทั้งสองภาคมีความเข้าใจด้านศาสนศาสตร์แตกต่าง กันหลายประการ เช่น คริสตจักรตะวันตกเชื่อว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงมาจากพระบิดาเท่านั้น แต่ค ริสตจักรตะวันออกเชื่อว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงมาจากพระบิดาและพระบุตร (filioque) ทั้งนี้เพราะ หากพระวิญญาณทรงมาจากพระบิดาเท่านั้น จะทำให้พระบุตรทรงมีสภาพต่ำกว่าพระบิดา นอกจากนั้นคริสตจักรตะวันออกยังคัดค้านการมีรูปปั้นในคริสตจักร แต่คริสตจักรตะวันตก สนับสนุนให้นำรูปปั้นเข้ามาไว้ในคริสตจักรได้
!
ชนวนของการแบ่งแยกระหว่างคริสตจักรตะวันตกและตะวันออก เหตุการณ์ที่เป็นเหมือนชนวนนำมาสู่การแบ่งแยกระหว่างคริสตจักรตะวันตกและตะวันออกคือ เรื่องของขนมปังไร้เชื้อ ในขณะที่คริสตจักรตะวันออกใช้ขนมปังไร้เชื้อในพิธีมหาสนิท คริสตจักรตะวัน ตกใช้ขนมปังมีเชื้อ ดังนั้นในปี ค.ศ. 1053 ท่าน Patriarch Michael Cerularius ผู้นำของคริสต จักรตะวันออก ได้ประณามสันตะปาปาเลโอที่ 9 แห่งคริสตจักรตะวันตกที่ได้ใช้ขนมปังมีเชื้อในพิธีมหา สนิท สันตะปาปาเลโอที่ 9 ได้ส่งพระคาร์ดินัล ฮัมเบิร์ท มาเจรจาที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล แต่ไม่ สามารถตกลงกันได้ ดังนั้นในวันที่ 16 กรกฏาคม ค.ศ. 1054 คริสตจักรตะวันตกและตะวันออกได้ ประกาศแยกออกจากกันอย่างเป็นทางการ
!
ผลของการแตกแยก คริสตจักรตะวันออกถูกปิดกั้นจากอิทธิพลต่างๆที่ทำให้คริสตจักรตะวันตกแข็งแกร่งขึ้นในสมัย ต่อมา เช่น อิทธิพลจากการปฏิรูปวัฒนธรรม และการปฏิรูปศาสนา นอกจากนั้น การร่วมมือและ ประสานกันของคริสตจักรทั้งสองภาคไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการเติบโตของคริสตจักรตะวันออกเป็นไปอย่าง ล่าช้า ยิ่งเมื่ออิสลามเข้ายึดครองดินแดนปาเลสไตน์และอาณาจักรไบแซนไทน์ไว้ได้ คริสตจักรตะวัน ออกถึงกับชะงักงัน
!
!
6.2 อำนาจของสันตะปาปาก้าวหน้าขั้นสูงสุด (คศ.1073-1216) นี่เป็นระยะเวลาที่สันตะปาปาอำนาจสูงสุดเด็ดขาดไม่เพียงแต่เหนือคริสตจักรและบิชอปทั้ง หลายแต่เหนือรัฐบาล และเหนือกษัตริย์ของดินแดนต่างๆในยุโรปด้วย ในช่วงนี้น่ากล่าวถึงสันตะปาปา 2 องค์ที่สามารถนำอำนาจของคริสตจักรมาสู่จุดสูงสุดในยุโรป ได้แก่ สันตะปาปาเกรกอรี ที่ 7 และอินโนเซนต์ที่ 3
!
1. สันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 7 (Gregory VII) คศ.1073-1085 สันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 เป็นผู้ที่ผลักดันให้อำนาจของคริสตจักรก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดได้ ช่วง ค.ศ. 1053-1073 คือช่วงก่อนที่ตัวท่านเองจะเป็นสันตะปาปา ท่านเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังคอยผลักดันให้ สันตะปาปา 5 องค์ขึ้นมามีอำนาจทั้งในอาณาจักรและคริสตจักร คนส่วนมากเรียกท่านว่า “โป๊ปฮิลเดอแบรนด์” (Hilderbrand) ท่านเกิดในปี คศ.1023 ที่ ซาโอนา (Saona) ในทัสคานี (Tuscany) รับการศึกษาที่ รร.ลาเทอร์เรอน์ (Lateran) ในกรุงโรมได้รับ !82
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เลือกตั้งเป็นโป๊ปใน ปีคศ.1073 แล้วดำรงตำแหน่งพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าสูงสุดจนกระทั่งสิ้นชีวิตใน ปีคศ.1085 พอจะกล่าวถึงกิจการใหญ่ ๆบางประการที่ท่านได้กระทำไปด้งนี้
!
(ก) จัดระเบียบการบรรพชิตเสียใหม่ (Clergy Reformed) เนื่องจากได้ถูกปล่อยปละละเลยมานานกล้วจนพวกบรรพชิตมีมาตราฐานต่ำมาก ท่านจึงรื้อ ฟื้นกฏระเบียบและมาตราการต่าง ๆทีเกี่ยวข้องกับบรรพชิตเสียใหม่ และให้ปฏิบัติทั่วกันหมด ท่าน บังคับให้ดำรงความเป็นโสดในเพศบรรพชิต ที่ได้มีการคิดและรบเค้ากันมานานแล้ว แต่ไม่สามารถ บังคับใช้ได้ จนกระทั่งถึงสมัยของท่าน และยังระงับการที่เรียกว่า ซิโมนี (Simony) คือ การซื้อขาย ตำแหน่งหน้าที่ในคริสตจักร แต่ก็สำเร็จได้เพียงชั่วคราว
! !
(ข) ปลดคริสตจักรเป็นอิสระจากรัฐ (Free the Church from the State) ท่านทำได้สำเร็จโดยการไม่ให้กษัตริย์หรือจักรพรรดิมีสิทธิเสนอนามเลือกตั้งสันตะปาปาหรือ บิชอป และโดยเรียกร้องไม่ให้มีการฟ้องร้องเกี่ยวกับบรรพชิตหรือจำกัดให้เรื่องราวกรณีของคริสตจักร ทำการสอบสวนในศาลของศาสนา เคยมีธรรมเนียมมาก่อนว่า ในพิธีแต่งตั้งบิชอป (เรียกกันว่า “เลย์ อินเวสติเชอร์ - Lay Investiture) คือให้บิชอปมารับไม้เท้าและแหวนจากผู้เป็นกษัตริย์ทรงอำนาจ อธิปไตย และให้บิชอปเป็นผู้ที่รับการเลือกและแต่งตั้งจากกษัตริย์ โป๊ปฮิลเดอแบรนด์จึงได้ประกาศ ยกเลิกธรรมเนียมนี้เสียใน ปี คศ.1075
!
(ค) ทำให้คริสตจักรมีอำนาจสูงสุดแม้กระทั่งเหนือจักรพรรดิ (The Church Supreme) หลังจากประกาศยกเลิกแล้ว ท่านได้เรียกจักรพรรดิเฮนรี่ที่ 4 แห่งเยอรมันมาพูดคุยเรื่องนี้ แต่จักรพรรดิไม่ยอมให้ยกเลิกจึงเรียกประชุมสภาเหล่าบิชอปเยอรมัน ชักชวนแกมบังคับให้ออกเสียง ถอดสันตะปาปาฮิลเดอแบรนด์ออกจากตำแหน่ง สันตะปาปาก็โต้ตอบโดยตัดสัมพันธ์ภาพกับ จักรพรรดิเสียได้เป็นผลสำเร็จ (ไม่มีผู้ใดเกี่ยวข้องกับจักรพรรดิเลย) เมื่อเห็นว่า ตนเป็นฝ่ายแพ้ แล้ว จักรพรรดิเฮนรี่ในเดือนมกราคม ปี คศ.1077 ได้ถอดเครื่องทรงกษัตริย์หลวงออก สวมแต่เสื้อขนแกะ และเท้าเปล่า (เป็นลักษณะผู้เสียใจ - สำนึกในความผิดของตน) เดินทางไปหาโป๊ปที่ปราสาทของท่าน ณ.เมืองแคนนอสซา (Cannossa) ทางภาคเหนือของอิตาลี พร้อมทั้งภรรยาและบุตรเพื่อขอโทษและ คืนดี ท่านต้องยืนอยู่ที่ประตูปราสาทท่ามกลางความหนาวเย็นของฤดูหนาวถึง 3 วันติดกัน ในวันที่ 4 เมื่อได้รับอนุญาตให้เข้าเฝ้าโป๊ปได้ เฮนรี่ก็อ้อนวอนขอขมาโทษ สารภาพความผิดและยอม อ่อนน้อมต่อโป๊ป สันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ได้ออกสารชื่อ “อำนาจเบ็ดเสร็จของสันตะปาปา” (Dictatus Papae) สารนี้เน้นการมีอำนาจและสิทธิขาดของคริสตจักรเหนืออำนาจฝ่ายบ้านเมือง และให้ความสำคัญกับ การครองชีวิตโสดของบาทหลวง ตลอดจนยืนยันว่า คริสตจักรโรมันคาทอลิกไม่มีความบกพร่อง และ สันตะปาปาเท่านั้นมีอำนาจสากล
!
2. สันตะปาปาอินโนเซนท์ที่ 3 (ค.ศ. 1198-1216)
!83
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
อินโนเซนท์ที่ 3 เกิดในครอบครัวชนชั้นสูงของโรมเมื่อปี ค.ศ. 1161 ท่านศึกษาศาสนศาสตร์ที่ ปารีส และศึกษาด้านกฎหมายที่ Bologna ท่านได้รับเลือกเป็นสันตะปาปาเมื่อค.ศ. 1198 เมื่ออายุได้ เพียง 37 ปี ท่านเชื่อว่า สันตะปาปาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งมาจากอัครสาวกเปโตร ซึ่งเป็นผู้นำของบรรดา อัครสาวกทั้งหลาย ดังนั้นสันตะปาปาจึงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดบนโลก แม้จะมีอำนาจต่ำกว่าพระเจ้า แต่ ก็อยู่เหนือมนุษย์ทั้งปวง ท่านสอนว่า สันตะปาปาเป็นผู้พิพากษามนุษย์ แต่ไม่มีผู้ใดสามารถพิพากษาสันตะปาปา ดัง นั้นสันตะปาปาจึงไม่เพียงแต่มีอำนาจสูงสุดในคริสตจักรเท่านั้น แต่มีสิทธิเลือกหรือ ถอดถอน จักรพรรดิ กษัตริย์ ผู้นำทางการเมืองบนโลกได้ อำนาจของรัฐเป็นเหมือนดวงจันทร์ที่สะท้อนแสงจากคริสตจักร ซึ่งเปรียบเหมือนดวงอาทิตย์ เท่านั้น สมัยของสันตะปาปาอินโนเซนท์ ที่ 3 ท่านสามารถแสดงอำนาจเหนือกษัตริย์ยุโรปได้ด้วยการ สยบกษัตริย์ฝรั่งเศส ฟิลิป ออกัสตัส คือท่านได้บังคับให้ฟิลิป ออกัสตัส รับเจ้าหญิง อิงเกอร์บอร์ก แห่ง เดนมาร์กที่พระองค์ได้หย่าร้างไปแล้ว กลับมาเป็นมเหสีอีก นอกจากนั้น สันตะปาปาอินโนเซนท์ที่ 3 ยังสามารถปลดอาร์คบิชอปแห่งแคนเทอเบอรี่ที่ได้รับ การเลือกโดยกษัตริย์อังกฤษ และแต่งตั้งอาร์คบิชอปคนใหม่ตามที่ท่านต้องการ เมื่ออินโนเซนต์ที่ 3 สั่ง ยับยั้งกิจกรรมทางศาสนาของอังกฤษ กษัตริย์อังกฤษต้องยอมสยบโดยการถอดมงกุฏให้แก่ผู้แทนของ สันตะปาปา แล้วรับคืนเพื่อแสดงความจงรักภักดี ทั้งยอมจ่ายเงินให้แก่สันตะปาปาปีละ 1,000 มาร์ค จนกระทั่งอังกฤษปฏิรูปศาสนาแยกออกจากคริสตจักรโรมันในสมัยของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ในปี ค.ศ. 1202 สันตะปาปาอินโนเซนท์ ที่ 3 ได้สั่งปลดกษัตริย์เฮนรี่ที่ 6 ของอาณาจักรโรมัน อันศักดิ์สิทธิ์ และแต่งตั้งเฟเดอริคที่ 2 พระโอรสของเฮนรี่ที่ 6 ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน
!
6.3 อำนาจของสันตะปาปาระยะเสื่อมลง (The Stage of Decline) คศ. 1304-1414 ในเวลาต่อมา ยุโรปด้านการเมืองก็เริ่มพัฒนาเจริญเข้มแข้งขึ้น ความภักดีและความคิดถึง ชาติก็เริ่มเกิดขึ้นแทนความภักดีทางศาสนา ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างจักรพรรดิ (ทางการเมือง) กับสันตะปาปา (ทางศาสนา) ที่ผ่านมาอยู่ในลักษณะอยู่เหนือรัฐ ก็เริ่มมีแนวโน้มเอียงไปอีกข้างหนึ่ง กล่าวคือ อำนาจของสันตะปาปาเมื่อก้าวถึงขึ้นสูงสุดแล้ว ก็จะเริ่มตก (เสื่อม) ลง พอสรุปได้สั้น ๆดังนี้
!
1. สันตะปาปาบอนนิเฟสที่ 8 (Pope Boniface VIII) คศ.1294-1303 เมื่อท่านได้รับเลือกเป้นโป๊ปต่อจากโป๊ปเซลเลสไตน์ที่ 5 (Celestine V) คศ.1215-1296 (เป็น โป๊ปได้แค่ 5 เดือนก็ลาออก ท่านเป็นฤษีและได้ก่อตั้งลัทธิ-สมาคมเซลเลสไตน์ แต่แล้วก็ถูกจับขังคุก โดยคำสั่งของบอนนิเฟสเพราะมีความกลัวว่า อาจจะกบฏ ท่านอยู่ในคุกจนเสียชีวิต) อย่างไรก็ตามท่านได้ออกพระราชโองการประกาศห้ามกษัตริย์อังกฤษเอ็ดเวิร์ดที่ เก็บภาษี ทรัพย์สมบัติของคริสตจักรและรายได้ของสงฆ์ (Church Property and Priestly Revenues) แต่ เนื่องจากอำนาจของสันตะปาปาเสื่อมลง กษัตริย์จึงไม่ยอมกลับทรงยืนหยัดเจตนาเก็บภาษีกับคริสต จักรด้วย (มีทรัพย์สมบัติทั้งที่ดินมากมาย) เพื่อช่วยในการพัฒนาประเทศ สุดท้ายจึงได้ตกลงกันในรู !84
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ปอลุ้มอล่วยว่าสงฆ์และบิชอปจะต้องแบ่งรายได้บำรงอาณาจักรตามที่อาณาจักรเกิดมีความจำเป็น ต้องการขึ้น
! ! !
2. สันตะปาปาตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ฝรั่งเศสฟิลิป (Philip IV) ต่อมา ก็มีเรื่องพิพาทหลายครั้งกับกษัตริย์ฟิลิปที่ 4 ของฝรั่งเศส (คศ.1285-1314) ตอ นท้ายฟิลิปประกาศสงครามกับสันตะปาปา ได้ส่งกองทัพโดยการนำของวิลเลี่ยม โนกาเร็ท (William Nogarat) ไปอิตาลีจับสันตะปาปาในข้อหาว่า เป็นฆาตกร, ผู้สอนเทียมเท็จ, ผู้ทำให้เกิดแตกแยก, ผู้ ล่วงประเวณี เป็นต้น แล้วขังไว้ในคุก แต่ภายหลังก็ปล่อยออกมา อย่างไรก็ตาม ในไม่ช้าบอนนิเฟส ก็ตายไปในความเสียใจ ดังนั้น ตั้งแต่ปี คศ.1303 สันตะปาปาคนต่อๆมาถูกเลือกตั้งขึ้นมาโดยคำสั่ง ของกษัตริย์ฝรั่งเศสและต้องอยู่ในบังคับบัญชาของกษัตริย์ ซึ่งเป็นเช่นนี้ประมาณ 73 ปีคือ ตั้งแต่ คศ. 1305-1378 ที่เรียกว่า “เชลยบาบิโลน” (The Babylonish Captivity) กล่าวคือ กษัตริย์ฝรั่งเศสออกคำ สั่งให้ย้ายสำนักของสันตะปาปาจากกรุงโรมมาอยู่ที่อวินยอง (Avignon) ภาคใต้ของฝรั่งเศส สภาพ และฐานะของสันตะปาปาก็กลายเป็นตัวหุ่น (Figure-Heads) ปกครองของฝรั่งเศส ส่วนที่อิตาลีก็เกิด มีผู้ทะเยอทะยานจะได้ตำแหน่งสันตะปาปา และเกิดมีผู้สนับสนุนและคัดค้านสันตะปาปา (AntiPopes) ดังนั้น ที่อวินยองตำแหน่งหรืออำนาจของสันตะปาปาก็กลายเป็นไม่มีความหมายมีแต่ชื่อ คำสั่งทั้งหลายที่ออกมาก็ไม่ค่อยมีใครเชื่อฟังทำตาม กลับพากันฝ่าฝืนกันตามสบาย หรือเมื่อ สันตะปาปาบอกว่า ตัดสัมพันธ์ (Excommunication) ก็ไม่มีใครสนใจหรือกลัวอีกแล้ว จะส่งฑูตของ โป๊ปไปที่ไหนก็ไม่มีความหมายอะไรกลับถูกไล่ออกจากประเทศ ดังเช่นกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 3 ของ อังกฤษได้ทำ โป๊ปคนแรกแห่งอวิกโนนคือ โป๊ปคลาเม็นท์ที่ 5 (Clement V) คศ.1305-1313
!
3. ผลการประชุมสภาคอนสแตนส์ (Council of Constance) คศ.1414 โป๊ปคนสุดท้ายที่มีสำนักอยูที่อวินยอง คือ เกรกอรี่ที่ 11 (Gregory XI) คศ.1329-1378 เกิดที่ ฝรั่งเศสรับการศึกษาทางกฏหมายที่เพอรูเกีย (Perugia) ท่านได้ถูกเลือกตั้งเป็นคารดิเนล (Cardinal คนหนึ่งใน 70 คนที่ทำหน้าที่เป็นสภาผู้ปกครองของสันตะปาปาที่ประกอบด้วยบิชอป 6 ท่าน, พระ สงฆ์ 50 ท่าน และมัคนายก 14 ท่าน และทั้ง 70 ท่านเป็นผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสันตะปาปาได้โดย ปริยาย) ในปี คศ.1362-1370 โป๊ปคนที่ 6 แห่งอวินยองเสียชีวิต ท่านเกรกอรี่ที่ 11 ได้รับเลือกเป็น โป๊ปคนต่อไป ท่านก็มีแผนการและความคิดที่ต้องการย้ายสำนักสันตะปาปากลับไปอยู่ที่กรุงโรม ซึ่ง ด้วยความช่วยเหลือและความพยายามของคนโรมันกับบุคคลผู้มีอิทธิพลและตำแหน่งสูง โป๊ปเกรกอรี่ ที่ 11 สามารถย้ายสำนักกลับไปที่โรมได้สำเร็จในเดือนมกราคม คศ.1377 แต่ต้องพบกับปัญหาการ แตกแยกเป็นคณะเนื่องจากต้องการแก่งแย่งตำแหน่งสันตะปาปา ซึ่งท่านไม่สามารถจะปราบปรามให้ สงบลงได้ จึงคิดจะย้ายสำนักกลับไปที่อวิกโนนอีกครั้งหนึ่ง แต่ท่านเกิดเสียชีวิตลงก่อนในปี คศ.1378 ผลตามมาก็คือ การแตกแยกแก่งแย่งตำแหน่งสันตะปาปาก็มีมากขึ้น (Great Schism) ต่อมา แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งสันตะปาปาขึ้นอีกหลายคน การต่อสู้แก่งแย่งตำแหน่งก็รุนแรง ขึ้นเรื่อย ๆ จนในสมัยของโป๊ปเกรกอรี่ที่ 2 (Gregory XII คศ.1406-1414) ที่กรณีพิพาทแก่งแย่ง ตำแหน่งโป๊ปเพิ่มความรุนแรงมากจนในที่สุดมีผู้นำคริสตจักรและนักศาสนศาสตร์ 2 ท่าน คือ จีน เกอร์ สันและเพียร เดอ เอลลี (Jean Gerson and Pierre d’ Ailly) เสนอให้เรียกประชุมผู้แทนจากทุกคริสต !85
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
จักรทั้งหมดมาร่วมกันตัดสินปัญหากันที่คอนสเตอน์ส ต่อมาเรียกว่า สภาคอนสแตนส์ (Council of Constance) ผลการประชุมก็ได้ชี้ขาดให้ถอดผู้สมอ้างตนเป็นโป๊ปทั้ง 3 คนออกหมด แล้วเลือกคน ใหม่ขึ้นแทนชื่อ มาร์ตินที่ 5 (Martin V)
!
สรุป : ตั้งแต่ คศ.1378 สำนักของสันตะปาปาได้ย้ายกลับมาที่กรุงโรมต่อไป และโป๊ปที่ได้รับ เลือกประจำตำแหน่งต่างก็พยายามจะสมอ้างอำนาจของสันตะปาปาว่า เหนือประชาชนและประเทศทั้ง หลายในยุโรป เหมือนเมื่อก่อนในสมัยของฮิลเดอแบรนด์ แต่ก็ไม่สามารถบังคับให้เป็นไปตามได้
!
6.4 สงครามครูเซด (The Crusades) คศ.1095-1290 มีเหตุการณ์ที่เป็นการเคลื่อนไหวใหญ่อีกอย่างหนึ่งในยุคกลางนี้ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อ ภาพพจน์ของคริสตจักรของพระเจ้าอย่างมาก และมีผลต่อประวัติศาสตร์โลกด้วย คือ สงครามครูเสด ที่เกิดขึ้นและดำเนินไปตามความคิดและคำสั่งของคริสตจักร-สันตะปาปา (โรมันคาทอลิก) ซึ่งเริ่มขึ้น ในปลายศตวรรษที่ 11 และดำเนินการเรื่อยมากว่า 200 ปี
!
1. กำเนิดหรือสาเหตุของสงครามครูเสด สาเหตุทางศาสนา เนื่องจากตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 เป็นต้นมามีผู้คนเป็นจำนวนมากทำการจาริกบุญกันทุก ๆปีไป ยังเมืองบริสุทธิ์ (Holy Land) จนถึงในปี คศ.1000 ปรากฏว่า มีจำนวนผู้จาริกบุญทวีขึ้นมหาศาล เพราะในช่วงเวลานั้นมีความเข้าใจและความคิดที่เชื่อหรือคาดหวังกันเกือบทั่วทุกแห่งว่า เป็นระยะ เวลากำลังจะสิ้นโลก พระเยซูคริสต์กำลังจะเสด็จกลับมาครั้งที่ 2 (ซึ่งเป็นเหตุให้ยังมีการจาริกบุญกัน อยู่เรื่องมาจนทุกวันนี้ต้องเดินทางไปยังเมืองบริสุทธิ์ - อิสราเอลทุกปี เพื่อเมื่อพระเยซูเสด็จมาะจะได้ รับพวกเขาไปอยู่ด้วย) ในตอนแรก ๆแม้ว่าแผ่นดินปาเลสไตน์จะตกอยู่ในครอบครองของพวกมุสลิม พวกเขาก็ยินดีให้พวกจาริกบุญมาที่เมืองบริสุทธิ์ได้ แต่เมื่อมีจำนวนทวีมากขึ้นเป็นจำนวนมหาศาลา พวกมุสลิมก็มีท่าทีที่เปลี่ยนไป อาจเกรงว่า จะเกิดการแย่งดินแดน จึงเริ่มลงมือกดขี่ข่มเหง ทำการ ทารุณพวกจาริกบุญ (ส่วนใหญ่จะเป็นคนมีอายุมาก) บางคนก็ถูกขโมยหรือโจรภัย บางทีก็ถึงกับเสีย ชีวิต ทำให้พวกบิชอปและสมาชิกคริสตจักรทั้งหลายเกิดความไม่พอใจและโกรธแค้นอย่างมากและคิด ที่จะต่อสู้ป้องกันบางอย่าง
!
สาเหตุทางการเมือง ในเวลาเดียวกัน อาณาจักรคอนสแตนติโนเบิล (ภาคตะวันออก) ที่อ่อนแอก็ถูกคุกคามโดย พวกมุสลิมด้วย จักรพรรดิอเล็กซิส (Alexies) เจ้าผู้ครองจึงได้ส่งสารอ้อนวอนกษัตริย์ยุโรปทั้งหลาย และโป๊ปเอร์เบิน์ที่ 2 ให้นำกองทหารของยุโรปมาช่วย ด้วยเหตุ 2 ประการนี้วิญญาณแห่งการต่อสู้ ป้องกันด้วยกำลังและอาวุธก็พุ่งขึ้นทั้งภาคพื้นยุโรปที่จะช่วยกู้เมืองบริสุทธิ์ให้เป็นอิสระจากการ ปกครองของพวกมุสลิม ผลลัพธ์จึงเกิดเป็นสงครามครูเสดขึ้น
!
สาเหตุทางเศรษฐกิจ !86
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ก่อนสงครามครูเสด ยุโรปตกอยู่ในสภาพกันดารอาหาร กษัตริย์ของดินแดนต่างๆในยุโรปจึง ต้องการเปิดเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกใกล้ ซึ่งยากที่จะกระทำได้ถ้ามุสลิมยังยึดครองดินแดนนี้อยู่ แต่ถ้ายุโรปช่วงชิงดินแดนนี้กลับคืนมาได้ ยุโรปก็จะสามารถควบคุมเส้นทางการค้าที่จะช่วยนำผล ประโยชน์มาสู่แดนของตนได้มากมาย
!
สาเหตุส่วนตัว ตั้งแต่อาณาจักรโรมรับเอาคริสตศาสนาเป็นศาสนาประจำรัฐ การพลีชีพเพื่อพระคริสต์จึงไม่ ปรากฏอีก ดังนั้นสงครามครูเสดจึงสามารถรองรับความต้องการของผู้ที่อยากเป็นวีรบุรุษผู้อารักขา ศาสนา เมื่อคริสตจักรโรมเร่งเร้าให้เห็นว่าสงครามกับมุสลิมเป็นสงครามเพื่อพิทักษ์คริสต์ศาสนา บรรดาขุนนางและอัศวินจำนวนมากจึงพร้อมใจกันเข้าสู้รบกับมุสลิม นอกจากนั้นบางคนยังอาสาทำ สงครามเพราะต้องการหนีความเบื่อหน่ายของชีวิต หรือไม่ก็ต้องการหนีการลงโทษของกฎหมาย
!
2. ครูเสดครั้งสำคัญทั้ง 7 ครั้ง สงครามครูเสดครั้งสำคัญ ๆมี 7 ครั้งด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีอีกหลายครั้งไม่ใคร่สำคัญแต่ก็ยัง เรียกว่า สงครามครูเสดด้วย (ปัจจุบันจึงมีความหมายว่า การระดมผลคริสเตียนเข้าด้วยกัน)
! ! !
ครูเสดครั้งที่ 1 - คศ.1095-1099 ก๊อดฟรีแห่งบูลลอน (Godfrey of Bouillon) ปี คศ.1095 โป๊ปเอร์เบินที่ 2 ณ การประชุมสมัชชาแห่งเคลอร์มอนท์ (Council of Clermont) ได้ประกาศทำสงครามครูเสดครั้งที่ 1 โดยเหล่าอัศวิน (นายทหารชั้นผู้ใหญ่) ได้ใช้เครื่องหมายกางเขน เป็นธงประจำกองทัพ แล้วมีการจดทะเบียนเป็นกองทัพต่อสู้พวกซาราเซ็นส์ - มุสลิม (Saracens ชื่อที่ใช้เรียกพวกมุสลิมในระยะยุคกลางนี้) แต่ก่อนที่กองทัพจะยกไปอย่างเป็นระเบียบ มีเรื่องเล่าว่า เกิดมีนักบวชผู้หนึ่งชื่อ ปีเตอร์เฮอร์มิตที่ได้รวมพลผู้คนที่มิได้เคยฝึกหัดการทหารมาเลยขึ้นเป็นกอง ทัพเป็นจำนวนหนึ่งด้วยการเทศนาเร้าใจ (เนื่องจากทุกคนต่างมีความกระตือรือร้น อยากมีส่วนใน สงครามครูเสดขึ้น) แล้วก็ยกนำขบวนเดินทางไปทางตะวันออกก่อนด้วยความคิดและความหวังว่า พระเจ้าจะช่วยเหลือด้วยการอัศจรรย์ แต่กองกำลังที่ไม่มีการฝึกและวินัยหรือการเตรียมพร้อมด้าน ต่าง ๆ (เช่น อาวุธและเสบียง) ก็พ่ายแพ้ยับเยิน คนเป็นจำนวนมากถูกฆ่าตายตายที่เหลือถูกจับเป็น ทาส แล้วกองทัพทหารโดยการนำของก๊อดฟรีแห่งบุลลอนประกอบด้วยทหารชั้นยอดจากทุก ประเทศในยุโรปก็ค่อยยกสงคราม ในตอนแรกมีปัญหารวนเรบ้าง เพราะบกพร่องทางวินัย (ไม่ได้ฝึก ด้วยกันมา) และมีความคิดเห็นแตกต่างกันในพวกผู้นำ แต่ภายหลังที่ได้เตรียมพร้อมอยู่หลายเดือน มีการฝึกรบหนักร่วมกัน แล้วจึงได้สู้รบกับพวกมุสลิมอยู่นานพอดู สุดท้ายสามารถยึดกรุงเยรูซาเล็ม ได้สำเร็จ และได้เกือบทั้งปาเลสไตน์ในปี 1099 จึงได้ก่อตั้งราชอาณาจักรขึ้นในหลักเกณฑ์ระบอบ มูลนาย (เป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรยุโรป) แต่ท่านก๊อดฟรีไม่ยอมรับตำแหน่งกษัตริย์ จึงได้แต่งตั้ง ขึ้นเป็น “เจ้าคุณและผู้พิทักษ์อุโมงค์บริสุทธิ์” (Baron and Defender of the Holy Sepulcher) ต่อมา เมื่อท่านก๊อดฟรีเสียชีวิต บอลด์วิน (Baldwin) น้องชายก็ขึ้นครองราชย์และแต่งตั้งเป็นกษัตริย์ ปกครองอาณาจักรเยรูซาเล็ม ซึ่งก็ได้ตั้งอยู่จนถึง ปี คศ.1187 แต่ก็อยู่ในสภาพง่อนแง่นตลอดมา !87
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(ตามที่จะเรียนต่อไป) เพราะล้อมรอบไปด้วยมหาอาณาจักรของมุสลิมซาราเซ็นส์ทุกด้าน ยกเว้นด้าน ทะเล กับยังอยู่ห่างไกลจากหมู่พันธมิตรในยุโรปอย่างมาก
!
ครูเสดครั้งที่ 2 คศ.1147-1149 หลุยส์ที่ 7 และคอนราดที่ 3 (Louis VII, Conrad III) ได้เกิดขึ้นเพราะมีข่าวว่า พวกมุสลิมกำลังแย่งเอาเหล่ามณฑลรอบนอกของราชอาณาจักร เยรูซาเล็มไป และพยายามจะคุกคามตัวเมืองเยรูซาเล็มด้วย นักบุญเบอร์นาดแห่งเครว๊อกซ์ (Bernard of Clairvaux) คศ.1090-1153 นักศาสนศาสตร์ผู้ปฏิรูปลัทธิอารามวาสี) ได้เทศนาเร้าใจ ทำให้กษัตริย์หลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสและคอนราดที่ 3 แห่งเยอรมันยกกองทัพใหญ่ไปช่วยที่ดินแดน บริสุทธิ์ แม้กองทัพได้พบกับความพ่ายแพ้หลายครั้ง แต่ในที่สุด ก็เข้าถึงตัวเมืองและช่วยป้องกัน รักษาตัวเมืองไว้ได้ ซึ่งยั่งยืนอยู่ต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง (40 ปี) ส่วนมณฑลรอบนอกที่ถูกพวกมุสลิม แย่งไปนั้นไม่สามารถยึดคืนมาได้
!
ครูเสดครั้งที่ 3 คศ.1189-1191 เฟรดเดอรืค, ฟิลิป, ริชาร์ด ต่อมาในปี 1187 พวกมุสลิมโดยการนำของพวกซาลาดิน (Saladin) ได้บุกเข้าโจมตีและยึด กรุงเยรูซาเล็มคืนได้ ราชอาณาจักรนี้ก็สิ้นสุดลง จึงเป็นเหตุให้ฝ่ายพันธมิตรในยุโรปประกาศสงคราม ครูเสดครั้งที่ 3 นำโดยกษัตริย์เด่น 3 องค์คือ เฟรดเดอริค บาร์บาร์โรซซาแห่งเยอรมัน ฟิลิป ออกั สตัสแห่งฝรั่งเศสและริชาร์ดที่ 1 (ที่เรียกกันว่า กษัตริย์ใจสิงห์) แห่งอังกฤษ แต่เฟรดเดอริคผู้เป็น แม่ทัพเกิดจมน้ำตายก่อน (ดูย้อนหน้า 43 (3) ข้อ 3) กษัตริย์ 2 องค์ที่เหลือก็เกิดทะเลาะกัน ฟิลิปก็ ยกทัพกลับ ส่วนริชาร์ดแม้มีกำลังใจสักเท่าใดก็ไม่สามารถนำกองทัพถึงกรุงเยรูซาเล็มได้ แต่สามารถ ทำความตกลงกันกับซาลาดินได้ในเงื่อนไขว่า พวกคริสเตียนจาริกบุญคงได้สิทธิ์ที่จะมาใช้อุโมง บริสุทธิ์ได้โดยมิถูกรบกวนกลั่นแกล้ง
!
ครูเสดครั้งที่ 4 คศ.1201-1204 ทหารครูเสดกลับทำสงครามกับกรุงคอนสแตนนิโนเบิล ทำให้สงครามครูเสดจำเป็นต้องมีต่อไป โป๊ปอินโนเซนต์ที่ 3 จึงได้ประกาศให้มีครั้งที่ 4 ซึ่งก็ได้มี อัศวินหลายท่านเสนอตัวนำทัพไปรบ แต่มีปัญหาว่า ต้องชำระเงินค่าทางผ่านให้แก่ชาวเวนิส ซึ่ง กองทัพไม่สามารถชำระได้ ขณะที่ต่อรองราคากันอยู่ พวกทหารครูเสดไม่พอใจมากจึงเปลี่ยนใจจาก จุดมุ่งหมายที่จะยึดเมืองบริสุทธิ์กลับทำสงครามกับกรุงคอนสแตนติโนเบิล เข้ายึดปล้นและปกครอง มหาอาณาจักรเสียเอง ครองอยู่ประมาณ 50 ปีแล้วก็ปล่อยให้อาณาจักรตกเป็นแนวต้านทานกับ อำนาจของพวกเติร์ก (Seljuk Turks) ที่กำลังใหญ่ขึ้นมาทุกที ซึ่งเป็นพวกชอบสงคราม ดุร้าย และ เป็นพวกผู้นำและครอบครองอำนาจศาสนาโมหะหมัดสืบต่อจากพวกซาราเซนส์หลังจากปี คศ.1280 ซึ่งครูเสดครั้งนี้ถือว่า ก่ออันตรายและผลเสียอย่างใหญ่หลวงให้แก่คริสตจักรในตอนหลัง
!
ครูเสดครั้งที่ 5 คศ.1228-1229 เฟรดเดอริคที่ 2 (Frederick II) เฟรดเดอริคที่ 2 จะถูกตัดสัมพันธ์กับสันตะปาปาแล้ว ในปี 1228 ท่านได้นำกำลังกองทัพ บุกเข้าไปในปาเลสไตน์และสามารถทำข้อตกลงไว้ได้ว่า เยรูซาเล็ม ยัฟฟา เบธเลเฮ็ม และนาซาเร็ธ ยกให้เป็นของคริสเตียน แล้วท่านก็แต่งตั้งเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็มเอง (เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ทาง ศาสนาจากโรมที่จะสวมมงกุฏให้ - เนื่องจากเวลานี้โป๊ปยังมีอำนาจสูงสุด) เพราะเหตุนี้เอง ต่อมา จักรพรรดิเยอรมันทุกองค์ก็ถือตำแหน่งของ “กษัตริย์แห่งเยรูซาเล็ม” ด้วย (ในประวัติศาสตร์ภายหลัง !88
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ก็มีว่า จักรพรรดิออสเตรียก็อ้างว่า ถือตำแหน่งนี้ด้วย จึงเกิดมีกรณีพิพาทกับโป๊ปเรื่องนี้ ตอนหลังจึง ยกเลิกตำแหน่งนี้เสีย แต่ต่อมาในปี 1244 พวกมุสลิมสามารถบุกเข้ายึดเยรูซาเล็มกลับไปได้อีกทั้งหมด แล้วก็ตก อยู่ใต้การปกครองของมุสลิมตั้งแต่บัดนั้น (จนย่างเข้ายุคปัจจุบันถึงปี 1917 วันที่ 11 ธันวาคม ประเทศอังกฤษ สามารถบุกเข้ายึดกรุงเยรูซาเล็มได้เป็นทางการในนามของอังกฤษและในอำนาจของ พันธมิตร)
!
ครูเสดครั้งที่ 6 คศ.1248-1254 หลุยส์ที่ 9 (Louis IX) ได้จัดขึ้นมาโดยพระราชาหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส (เรียกกันว่า นักบุญหลุยส์) ได้บุกเข้าทาง ด้านอียิปต์ แม้ตอนแรกทำได้สำเร็จ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้และถูกจับเป็นเชลยโดยพวกมุสลิม ซึ่งต่อมาได้ เรียกค่าไถ่ตัวเป็นมูลค่ามหาศาล หลังจากได้เป็นอิสระแล้ว ก็เดินทางไปปาเลสไตน์และพำนักอยู่ที่นั้น จนถึงปี 1252 พระมารดาในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทรงสิ้นพระชมน์ในฝรั่งเศส ทำให้ นักบุญหลุยส์จึงจำใจต้องเดินทางกลับประเทศฝรั่งเศส
!
ครูเสดครั้งที่ 7 คศ.1270-1272 หลุยส์ที่ 9 ครั้งนี้ก็โดยการนำของนักบุญหลุยส์อีกเหมือนกันโดยร่วมมือกับเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด แพลนเท เยเนท์แห่งอังกฤษ (Prince Edward Plantagenet of England) ได้เลือกออกเดินทางนำขบวนทัพไป ทางอียิปต์ (แอฟริกา) อีกครั้งหนึ่ง แต่นักบุญหลุยส์ได้เสียชีวิตเสียก่อนที่ทูนิส (Tunis) ราชบุตรของ ท่านจึงยกเลิกสงครามครั้งนี้และทำสัญญาสันติภาพ ส่วนเอ็ดเวิร์ดเมื่อกลับถึงอังกฤษก็พอดีเข้ารับ ตำแหน่งกษัตริย์แห่งอังกฤษใช้ชื่อ เอ็ดเวิร์ดที่ 1 (Edward I, King) สงครามครูเสดครั้งนี้โดยทั่วไปจึง ถือว่า เป็นครั้งสุดท้ายและไม่ได้เกิดผลอะไรเลย หมายเหตุ ยังมีครูเสดย่อย ๆซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงแท้ที่จริง ตั้งแต่ คศ.1270 เรื่อยมา เมื่อมีการรบพุ่งอะไรก็ตามก็จะอ้างเรียกว่าเป็น สงครามครูเสด ที่เสียที่สุดคือ แม้แต่การต่อสู้กับพวก สอนเทียมเท็จ (มิจฉาลัทธิ) ในสังคมคริสเตียนกันเองก็ยังเรียกว่า ครูเสด ส่วนในกรณีอื่นก็หลอกใช้ชื่อ คริสตจักรมาอ้างแต่ในนามแล้วก็เรียกว่า ครูเสด
! !
3. สาเหตุของการพ่ายแพ้ของฝ่ายคริสตศาสนา (โรมันคาทอลิค) เราอาจสรุปสั้น ๆได้ว่า พวกกองทัพครูเสดส่วนมากพ่ายแพ้คือ ไม่สามารถปลดและรักษา เมืองบริสุทธิ์จากการครอบครองของพวกมุสลิมได้ เมื่อหันกลับมาดูและศึกษาก็จะเห็นสาเหตุของการ แพ้ ดังนี้
!
ก. พวกผู้นำทะเลาะวิวาทและระแวงกัน กล่าวคือ เราได้พบหลายครั้งว่า เหล่ากษัตริย์และพวกเจ้าผู้นำขบวนกองทัพชอบเกิดการ ทะเลาะวิวาทกันไม่รู้จักหยุด ผู้เป็นหัวหน้าแต่ละคนต่างถือเอาผลประโยชน์และความสะดวกให้แก่ฝ่าย ของตนเป็นที่ตั้ง แทนที่จะยึดเอาประโยชน์ส่วนรวม ต่างฝ่ายต่างอิจฉากัน และกลัวว่าเมื่อรบชนะ แล้วอาจจะเกิดการชิงดีชิงเด่นกันเองที่จะได้รับชื่อเสียงและอิทธิพลอำนาจมากกว่ากัน จึงทำให้ ประสิทธิภาพของกองทัพครูเสดไม่มั่นคง เพราะมัวแต่ระแวงกันหรือตั้งใจนำการรบเพียงครึ่ง ๆกลาง !89
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ๆ ซึ่งตรงกันข้ามกับฝ่ายมุสลิมที่ประกอบด้วยทหารที่รวมตัวกันเป็นอันเดียวกัน ไม่กลัวตาย เป็นคน เผ่าที่กล้าหาญในการรบเสมอ และมีผู้บังคับบัญชา (แม่ทัพ)ที่เด็ดขาดเพียงคนเดียว (ไม่ว่าจะเป็นพวก กาหลิบหรือสุลต่าน)
! ! !
ข. พวกผู้นำไม่มองการณ์ไกล (มีความคิดเห็นแคบ) แต่เหตุของความล้มเหลวที่ลึกลงไปอีกนั้นคือ พวกผู้นำไม่มีหัวทางการเมืองเกือบทุกคน ไม่มีสายตาความคิดที่มองการณ์ไกล คอยคิดแต่ผลประโยชน์ใกล้ ๆ กล่าวคือ พวกครูเสดคิดแต่ว่าจะ ต้องตีเอง ดินแดนปาเลสไตน์มาเป็นของตน (เป็นเมืองขึ้น) ในตอนแรกเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องจาริกบุญ จะทำได้สะดวกปลอดภัยขึ้น แต่ซึ่งก็เท่ากับว่าจะได้อีกประเทศหนึ่งเป็นเมืองขึ้นที่อยู่ในการดูแลครอบ ครองด้วย แต่โดยที่ไม่ได้คิดให้รอบคอบว่า ปาเลสไตน์นั้นอยู่ห่างไกลจากบ้านเมืองของตน 1660 กม. การป้องกันรักษาไว้ (ถ้าตีได้)จะต้องมีการติดต่อสื่อสารอย่างไม่ขาดระยะกับยุโรปภาคตะวันตก อัน เป็นฐานช่วยเหลือและส่งเสริมกำลังอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การตีชนะได้เมืองเยรูซาเล็ม การรุกราน มากกว่าการช่วยเหลือปลดปล่อย เพราะชาวเมืองทั้งหลายต้องถูกลดฐานะลงเป็นทาสรับใช้ของพวก ครูเสดโดยปริยาย กล่าวคือ ต้องจัดสรรหาเสบียงอาหารให้ ต้องสร้างปราสาทที่พักให้อยู่ สร้างป้อม ปราการและสถานที่ทำการต่าง ๆให้แก่พวกเจ้านายครูเสด ดังนั้น ชาวเมืองจึงรู้สึกว่า แอกของพวก ครูเสด (พวกกษัตริย์คริสเตียนและทหารจากยุโรป)หนักมาก และยังหนักกว่าแอกของนายเก่ามุสลิม อีก พวกชาวเมืองจึงใคร่อยากจะต้อนรับนายเก่ากลับมาปกครองพวกเขาดีกว่า
!
4. ผลบางประการที่ได้จากสงครามครูเสด แม้ว่าเมื่อดูอย่างกว้าง ๆ (คราว ๆ) สงครามครูเสดเป้นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องตามพระคัมภีร์และ เป็นสิ่งที่ผิดอย่างมาก แต่ก็มีผลดีบางอย่างที่ให้แก่ยุโรปภาคตะวันตกในเวลานั้น
!
(ก) พวกจาริกได้รับการพิทักษ์รักษาคุ้มครอง ภายหลังสงครามครูเสดพวกจาริกบุญได้รับการคุ้มครองจากรัฐบาลตุรกี (Turkish Governent) และการข่มเหงก็หยุดลง อีกอย่างหนึ่งตามความจริง ดินแดนปาเลสไตน์ก็ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น โดยเฉ พาะเมืองเบธเลเฮ็ม นาซาเร็ธและเยรูซาเล็มมีพลเมืองเพิ่มขึ้น มั่งคั่งและร่ำรวยขึ้น เพราะเนื่องจาก พวกจาริกบุญได้หลั่งไหลกันมาทั่วปาเลสไตน์มากยิ่งขึ้น
!
(ข) การรุกรานยุโรปของพวกมุสลิมต้องหยุดชงักลง ก่อนหน้าที่จะเกิดสงครามครูเสดนั้น พวกมุสลิมได้เริ่มรุกรานแพร่ขยายอำนาจไปทางยุโรปปะ ปลายบ้างแล้ว สงครามครูเสดได้ทำให้ประเทศต่าง ๆในภาคพื้นยุโรปตื่นตัวเห็นอันตรายของมุสลิม ต่างคิดวางแผนป้องกันประเทศของตน ส่วนพวกที่กลัวก็เกิดมีกำลังใจต่อสู้กับพวกมุสลิม ดังเช่นใน สเปญ เนื่องจากพวกมัวส์มุสลิมได้ยึดเอาเนื้อที่ไว้ตั้งครึ่งแหลม แต่มาในปี คศ.1492 โดยการนำของ เฟอร์ดินานด์และอิซซาเบลลา (Ferdinand and Isabella) ชาวสเปญได้รวบรวมกำลังกดอาณาจักร ของพวกมัวส์ลงได้และขับไล่พวกมุสลิมออกจากประเทศ ส่วนทางด้านชายแดนทิศตะวันออกของ ยุโรป คือ โปแลนด์และออสเตรียได้เตรียมตัวพร้อมต่อสู้กับพวมมุสลิมถ้าจะรุกรานเข้ามา และในปี !90
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
คศ.1683 เมื่อมุสลิมตุรกีสามารถบุกที่จะป้องกันต่อสู้ตีกองทัพของตุรกีให้แตกได้ใกล้กรุงเวียนนา ซึ่ง ชัยชนะครั้งนี้ ของออสเตรีย - ยุโรปเป็นเครื่องชี้บอกให้รู้ว่า อำนาจแห่งมหาอาณาจักรตุรกีก็เริ่มเสื่อม ลง
! ! !
(ค) อำนาจของคริสตจักรถูกระทบกระเทือนในภายหลัง ในตอนแรก (ก่อนและระหว่างสงครามครูเสด) อำนาจของคริสตจักรได้ทวีขึ้นอย่างมากอัน เนื่องจากสงครามครูเสด กล่าวคือ เมื่อคริสตจักร (สันตะปาปา) เรียกร้องให้ทำสงครามทุกคนก็มา ทันที และทำตาม จึงแสดงว่า คริสตจักรมีอำนาจเหนือพวกกษัตริย์ เจ้านายและประชาชนทั้งหลาย จริง ๆ และคริสตจักรได้ซื้อที่ดินทั้งหลายได้จากผู้ที่ร้อนเงิน (พวกเจ้านาย) หรือให้ยืมเงิน เพื่อจะให้ พวกนายทหารเป็นหลักประกันความมั่นคง (Security) ที่ไปสงครามครูเสด ดังนั้น คริสตจักรจึงได้มี ทรัพย์สมบัติมากมายกว้างใหญ่ไพศาลทั่วทั้งยุโรป ยิ่งกว่านั้นเมื่อพวกเจ้านายผู้ปกครองบ้านเมืองไม่ อยู่ไปสงคราม ก็ทำให้พวกบิชอปและสันตะปาปากลับมีอำนาจปกครองบังคับบัญชาเพิ่มขึ้น แต่ในผล สุดท้าย ความร่ำรวยมหาศาล ความทะเยอทะยานมากเกินไปและการใช้อำนาจฟุ่มเฟือยไม่ถูกต้อง ของพวกสงฆ์ทั้งหลาย ทำให้เกิดความไม่พอใจท่ามกลางประชาชนอย่างมาก เป็นการช่วยปูทางให้ เกิดการปฏิวัติต่อคริสตจักรโรมันคาทอลิคในยุคปฏิรูปศาสนาที่จะตามมา
!
(ง) เกิดการประกาศพระกิตติคุณกับชาวมุสลิม หลังสงครามครูเสด คริสตจักรหันมาเป็นพยานด้วยวิธีชักจูงใจชาวมุสลิมแทนที่จะใช้สงคราม ในปี ค.ศ. 1276 เรย์มอน ลัล (Raymond Lull) ได้ตั้งวิทยาลัยขึ้นทางตะวันออกเฉียงใต้ของสเปญเพื่อ สอนมิชชันนารีให้ประกาศกับชาวมุสลิม
!
(จ) เกิดความรู้สึกชาตินิยมในยุโรป สงครามครูเสดเป็นเหตุให้ระบอบศักดินาในยุโรปเสื่อมลง เนื่องจากขุนนางและอัศวินซึ่งเป็น ฐานของระบอบนี้ได้อาสาไปออกรบกันมาก คนเหล่านี้ล้มตายในสนามรบมาก ยิ่งกว่านั้น ชนชั้นกลาง และพวกพ่อค้าเริ่มมีบทบาทในสังคมยุโรปมากขึ้น เพราะบรรดาเจ้าขุนมูลนายเหล่านี้ถูกปลุกปั่นให้ ขายที่ดินให้แก่พวกเขา เพื่อยกทรัพย์สินเงินทองที่มีอย่างมหาศาลนำมาช่วยทำสงครามครูเสด ชนชั้น กลางเหล่านี้สนใจประโยชน์ทางการค้ามากกว่าสิ่งอื่นใด ดังนั้นจึงไม่ต้องการรับแอกหนักเรื่องภาษีที่ ต้องส่งแก่จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสันตะปาปา คนเหล่านี้เห็นว่ากษัตริย์ที่ปกครองดินแดนของ ตนสามารถปกป้องพวกเขาได้ดีกว่าจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ประกอบกับกษัตริย์ในยุโรปเองก็ไม่ ต้องการตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือสันตะปาปา ด้วยเหตุนี้ ความรู้สึกชาตินิยมจึงก่อตัวขึ้นในดินแดนต่างๆของยุโรปอันนำมาซึ่งการก่อตั้งประเทศต่างๆขึ้นใน ยุโรปในเวลาต่อมา พวกกษัตริย์หรือผู้ปกครองดินแดน ทั้งนายทหารยศต่าง ๆ แม้กระทั่งพลทหารของดินแดน ต่าง ๆในยุโรปเริ่มหันเข้าหากันเพื่อประโยชน์ร่วมกัน ในที่สุดได้ก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรขึ้นในยุโรป ซึ่ง ภายหลังมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การสร้างชาติของประเทศต่างๆในยุโรปมาก อีกทั้งส่งผลมาถึง ส่วนต่างๆของโลกจนถึงปัจจุบัน !91
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
(ฉ) เกิดความไม่พอใจขึ้นระหว่างอาณาจักรตะวันตกและตะวันออก ผู้นำและประชาชนของอาณาจักรไบแซนไทน์ไม่พอใจที่ผู้นำของอาณาจักรยุโรปบุกยึดกรุง คอนสแตนติโนเปิล แทนที่จะปลดแอกอาณาจักรนี้จากมุสลิม กษัตริย์ยุโรปกลับยึดกรุงคอนสแตนติโน เปิลไว้ครองเสียเอง ผลที่ตามมาในภายหลังคือ อาณาจักรตะวันออกอ่อนแอลงมากจนมีอันต้องล่ม สลายไปในปี ค.ศ. 1453 ความไม่พอใจที่เกิดขึ้นนี้ยังนำมาซึ่งความขมขื่นใจระหว่างคริสตจักรตะวันตก และตะวันออกด้วย เนื่องด้วยสันตะปาปาของคริสตจักรลาติน (ตะวันตก) เป็นผู้อยู่เบื้องหลังสงคราม ครูเสดโดยตรง
!
(ช) เกิดการกระตุ้นให้มีการติดต่อทางการค้าพาณิชย์ กล่าวคือ ได้เกิดมีความต้องการอุปกรณ์ทุกชนิด - ตั้งแต่อาวุธ เสบียงอาหาร เรือกำปั่น ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการค้าพาณิชย์ พวกทหารครูเสดกลับบ้านเล่าเรื่อง ความมั่งคั่งของภาคตะวันออกว่ามี พรม ไหม เพชร ก็ทำให้อยากได้กันทุกคน จึงเกิดการพาณิชย์ ในสรรพสินค้าประเภทเหล่านี้เกิดขึ้นทั่วภาคตะวันตกของยุโรป พวกพ่อค้าร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็ว จึง เกิดมีคนชั้นกลางขึ้นในระหว่างพวกเจ้ากับไพร่ โดยเฉพาะเมืองที่มีการค้ามากก็จะเจริญมีอำนาจมาก ขึ้น แต่พระราชวัง (กษัตริย์-ทางราชการ)กลับมีอำนาจเสื่อมลงในการปกครองบังคับบัญชาเมืองต่าง ๆ เพราะความสำคัญกลับไปอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆที่มีการค้าเจริญรุ่งเรือง ยิ่งในศตวรรษต่อมาได้ กลายเป็นศูนย์กลางของการปฏิรูปเปลี่ยนแปลงต่าง ๆตามอำเภอใจ - มีอิสระเต็มที่ และถึงขนาดแยก ตัวออกมาจากการปกครองของพวกษัตริย์และพวกสังฆราช
!
!92
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
! หน่วยที่ 7: การเปลียนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในยุคกลาง Changes in the Medieval Church
7.1 การพัฒนาและเจริญก้าวหน้าของลัทธิอารามวาสี (Development of Monasticism) ตามที่เราได้เรียนรู้มาบ้างแล้วเกี่ยวกับลักษณะและความเป็นมาของลัทธิอารามวาสีระหว่าง ศตวรรษที่ 4-5 ในภาคที่ 1 (ดูชีทหน้า 29 ข้อ 3.9) ที่เริ่มต้นในอียิปต์ตอนบน (Upper Egypt) ส่วน ในยุโรปนั้นลัทธินี้ค่อยเป็นค่อยไป แล้วมาเจริญขยายใหญ่ขึ้นในยุคกลางนี้ที่คริสตชนทั้งชายและหญิง ต่างมีจิตใจนิยมชมชอบลัทธิอารามวาสีนี้ จำนวนนักบวชและนางชีก็ทวีมากขึ้น พร้อมกับผลดีและผล เสีย ดังจะศึกษาต่อไปนี้
!
1. คณะ (ระบบ) ต่าง ๆของลัทธิอารามวาสี (The Monastic Orders) ในภาคตะวันออกตอนแรก ๆ พวกนักบวช (ทรมานกาย) ต่างคนต่างออกไปอาศัยอยู่กันในถ้ำ ในกระท่อมหรือบางคนอยู่บนเสา ไม่รวมกันเป็นคณะ แต่ในภาคตะวันตก - ยุโรป พวกเขาจัดกันขึ้น ตั้งเป็นนิคม (Communities) อยู่ร่วมกัน แล้วเมื่อมีนิคมขนาดโตขึ้นเพราะมีคนจำนวนมากขึ้นก็เกิด ความจำเป็นต้องมีการก่อตั้งคณะหรือองค์การ (Form of Organization) และระเบียบการปกครอง (Government) ขึ้น เมื่อเวลาล่วงไปก็ได้เกิดคณะหรือลัทธิอารามวาสีใหญ่ ๆขึ้น 4 คณะดังนี้
!
(ก) คณะเบเนดิคทีนส์ (Benedictines) คศ.529 ตั้งขึ้นโดยนักบุญเบนิดิคในปลายศตวรรษที่ 5 ที่มอนเต แคสซิโน (Monte Cassino) ในเอ เพนไนส์ (Apennines) - ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน แล้วได้พัฒนาเจริญก้าวหน้าขึ้นจนกว่าว่าเป็นคณะ ลัทธิอารามวาสีใหญ่ที่สุดในยุโรป - เมื่อเริ่มศตวรรษที่ 9 เพราะได้กลายเป็นคณะที่เป็นที่ยอมรับนับถือ และใช้ปฏิบัติกันเป็นคณะสากล กล่าวคือ ต่อมาระเบียบกฏเกณฑ์ข้อบังคับของคณะนี้ได้กลายเป็น รากฐานของคณะลัทธิอารามวาสี (อารามวสี) คณะอื่นๆ ในระยะแรกๆคณะนี้ส่งเสริมการเผยแพร่ ศาสนาคริสต์ (Christianization) และอารยะธรรม (Civilization) มีกฏเกณฑ์ดังนี้ ให้เชื่อฟังและอยู่ใต้ บังคับบัญชาเจ้าอาวาสของวัด (อาราม), นักบวชและนางชีไม่อนุญาตให้มีทรัพย์ส่วนตัว ทุกคนต้อง ทำสัตย์ปฏิญาณว่า จะถือโภควิรัติ (สละทรัพย์สมบัติ) และเมถุนวิรัติ (การรักษาเพศพรหมจรรย์) คือ เน้นให้แต่ละคนรักษาความบริสุทธิ์ และเน้นให้ทุกคนขยันขันแข็งในการทำงาน (Active in Industrial Works) เช่น ถางป่าตัดต้นไม้ ทำที่ระบายน้ำออกจากห้วยหนองคลองบึง ไถคลาดพื้นที่นา และ สอนประชาชนให้รู้จักวิธีการต่าง ๆที่ใช้เป็นประโยชน์มากในการดำเนินชีวิต พวกอารามวาสีเหล่านี้ ฉันท์อาหารวันละ 2 มื้อ (เพลและเย็น) ขณะฉันท์ไปก็จะมีคนอ่านหนังสือเกี่ยวกับศาสนาไปพร้อม ๆ กัน และมีกำหนดวันอดอาหารด้วย มีกฏห้ามฉันท์เนื้อ “สัตว์สี่เท้า” แต่พระที่อ่อนวัย ชราภาพและ อาพาธอาจจะฉันท์ได้, ทุกคนได้รับอนุญาตให้ดื่มเหล้าองุ่นได้วันละครึ่งลิตร และมีการนมัสการวันละ 7 ครั้ง ซึ่งโดยมากก็ใช้เพลงสดุดีนั่นเอง และนักบวชจะท่องเพลงสดุดีตลอดเล่มให้จบภายใน 1 สัปดาห์ทุกสัปดาห์ไปแล้ว ยังมีเพลงจากพระคัมภีร์กับพระธรรมโอวาทสั้น ๆจากพระคัมภีร์และมีการ !93
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
อธิษฐาน สิ่งที่ก่อสร้างที่สำคัญคือ สร้างโบสถ์เป็นรูปกางเขน ข้าง ๆโบสถ์ด้านหนึ่งทำเป็นระเบียง โล่ง ๆ (ศาลา) ไว้รอบ ๆสนามหญ้า เพื่อใช้เป็นที่บำเพ็ญกิจต่าง ๆหลายอย่างของอาราม และถัดไป จะเป็นตึก (อาคาร)สำคัญต่าง ๆ เช่น อาคารที่เป็นกุฏิของพวกอารามวาสีแต่ละรูปจะมีเตียงของ ตนเองเป็นเตียงแคบ ๆเป็นพื้นแข็ง จากกุฏิมีทางทะลุไปถึงตัวโบสถ์ เพือสะดวกในการที่จะต้องไป ทำวัตรเที่ยงคืนซึ่งทำกันตั้งแต่ตี 2 และมีห้องอาหารที่ฉันท์ร่วมกันอย่างสงบ มีห้องประชุมที่ที่พวก เขาจะมาอภิปรายกันเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆของอาราม ห้องครัว ห้องทำขนมปัง โรงหมักเหล้า ห้อง สมุด ห้องคัดลอกเอกสารต่าง ๆ และยังมีอาการที่เป็นโรงเรียนสำหรับสามเณร โรงพยาบาล อาคาร รับแขก กุฏิของเจ้าอาวาสในอารามบางแห่งที่กว้างขวางมากพอก็จะมีโรงงานต่าง ๆ เพื่อช่วยคณะ อยู่อารามให้เป็นชุมชนที่เลี้ยงตัวเองได้ ดังนั้น แท้ที่จริง อารามมีความเป็นอยู่ดีกินดี และมีเศรษฐี บริจาคเงินจำนวนมากให้ด้วย
!
สรุป พวกอารามวาสีต้องทำงานด้วยใช้กำลังทุกวัน (เบนเนดิคส์เคยกล่าวไว้อย่างน่าคิดว่า “การทำงานคือการอธิษฐาน”) มีชีวิตในอารามอย่างเคร่งครัดและมีระเบียบมาก แต่การบำเพ็ญตบะ อย่างเคร่งครัดเกินไปนั้น เขาเห็นว่าไม่ควร ส่วนนางชีก็มีระเบียบปฏิบัติคล้ายอย่างนักบวช แต่งาน เบากว่า
!
(ข) คณะซิสเตอร์เซียนส์ (Cistercians) คศ.1098 ตั้งขึ้นโดยนักบุญโรเบิร์ต (St.Robert) ในปี 1098 (พศ.1641) ที่เมืองชีโทซ์ (Citeaux-ที่มาของ ชื่อคณะ) ในแคว้นเบอร์กันดี ประเทศฝรั่งเศส ด้วยจุดมุ่งหมายสนับสนุนส่งเสริมระเบียบวินัยของ คณะเบนเนดิคส์ไทนส์ซึ่งกำลังดูเหมือนจะหย่อนยานลง แต่คณะนี้ได้มีชื่อเสียงขึ้นก็เนื่องจากนักบุญ เบอร์นาร์ด (St.Bernard) ผู้เป็นขุนนางชาวฝรั่งเศสในปี 112 และเพื่อน ๆญาติพี่น้องกว่า 30 คนพา กันมาร่วมอยู่ในอารามที่ชีโทซ์ ท่านได้เสริมสร้างความเข้มแข็งและจัดระเบียบให้ดียิ่งขึ้น แล้วในปี 1115 เจ้าอธิการวัดได้ส่งท่านไปตั้งอารามแห่งใหม่แคลร์วอกซ์ (Clairvaux) ที่ซึ่งท่านเบิร์กนาร์ดได้ ดำรงตำแหน่งเจ้าอธิการวัดตลอดชีวิตของท่าน ท่านมีชื่อเสียงดีและมีอิทธิพลมากคนหนึ่งในสมัยท่าน เพราะท่านได้ดำเนินชีวิตอันบริสุทธิ์โดยบำเพ็ญตบะ มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระเจ้าจริง ๆ และมี บุคลิกลักษณะอันเต็มไปด้วยอำนาจ ท่านชอบศาสนศาสตร์แบบเก่าที่เคร่งครัด การยกไปทำสงคราม ครูเสดครั้งที่ 2 ส่วนมากเป็นผลของการเทศนาของท่าน (แต่รู้สึกผิดหวังมากเพราะพ่ายแพ้) คณะอารามซิสเตอร์เซียนมักตั้งอารามให้อยู่ไกลจากหมู่บ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงโลกียวิสัยให้มากที่ สุก มีโบสถ์แบบธรรมดาที่สุดไม่หรูหรา และมีการนมัสการอย่างธรรมดาที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ข้อน่า สังเกตที่แปลกอยู่สักหน่อย คือ ในประเทศอังกฤษคณะนี้กลับมั่งคั่ง เพราะมีภราดาฆราวาสในคณะนี้ เลี้ยงแกะจนเป็นล่ำเป็นสันสามารถนำขนแกะ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรอันสำคัญของอังกฤษในสมัย กลางออกไปขายส่งเป็นสินค้าขาออก) คณะนี้ให้ความสนใจในสิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษ คือ ด้านศิลปะ ส ถาปัตยากรรม และวรรณกรรมศาสตร์ (มีการคัดลอกหนังสือโบราณและเขียนขึ้นใหม่อีกมาก)
!
(ค) คณะฟรานซิสกันส์ (Franciscans) คศ.1209 ตั้งขึ้นโดยนักบุญฟรานซิสแห่งแอสซีซี (Assisi) เป็นผู้ทรงศีลเคร่งที่สุด อุทิศตัวอย่างมาก ที่สุดและมีคนรักมากที่สุด ท่านเป็นบุตรเศรษฐีพ่อค้าคนหนึ่งในแอสซีซี (ในอิตาลีภาคกลาง) ท่านจึง มีชีวิตในวัยหนุ่มอย่างสะดวกสบายมาก ครั้งหนึ่งล้มป่วยลงจึงคิดอยากไปจาริกบุญนมัสการที่กรุงโรม !94
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เมื่อไปเห็นคนขอทานที่หน้าพระมหาวิหารนักบุญเปโตร ท่านรู้สึกสงสารอย่างยิ่งถึงกับเปลี่ยนเสื้อให้ กับคนขอท่านและตัวเองก็นั่งลงขอทานตลอดวัน หลังจากนั้น มีนิมิตว่าพระเจ้าบอกให้ท่านบูรณะ โบสถ์เซนต์ดาเมียน (St.Damian) ที่อยู่ใกล้เมืองแอสซีซี ท่านจึงขายม้าและเสื้อผ้าราคาแพงบางส่วน ของบิดาแล้ว ให้เงินนั้นแก่พระสงฆ์ประจำคริสตจักรเพื่อบูรณะ การกระทำเช่นนั้นทำให้บิดาตัดขาด จากท่านฟรานซิส จึงตัดสินใจละทิ้งสมบัติโลกนี้ และได้ขอทานเพื่อเลี้ยงชีพกับเพื่อเอาเงินไปช่วย บูรณะโบสถ์อื่น ๆด้วย ทำการเทศนาสั่งสอนและช่วยรักษาพยาบาลปฏิบัติคนโรคเรื้อน แม้ว่าจะรู้สึก ว่า น่ารังเกลียด (ในเวลานั้น ยุโรปตะวันตกมีคนเป็นมาก ทำให้เกิดมี รพ.โรคเรื้อนขึ้นโดยเฉพาะให้ อยู่นอกกำแพง และมีโบสถ์เก่า ๆหลายแห่งต้องมีช่องว่างสำหรับคนโรคเรื้อนส่องดูเวลาที่มีพิธีมิสซา เพื่อว่าจะมองเห็นได้โดยไม่ต้องเข้าไปในโบสถ์) ดังนั้น ได้ใช้ชีวิตตามแบบพระเยซูผู้ได้ “เสด็จไป ทำคุณประโยชน์” (กจ 10.38) และ “ไม่มีที่ที่จะวางศีรษะ” (ลก 9.58) ต่อมาก็มีเพื่อนและคนทั้งปวง ทำตามอย่างท่าน แล้วรวมกันเป็นพวก สันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ก็ทรงสนับสนุนและรับรองคณะ ของท่านที่ตั้งขึ้นในปี 1209 โดยใช้ชื่อว่า “ภราดร (กลุ่มพี่น้อง) ผู้น้อย” (Friars Minor) แล้วจำนวนผู้ เข้ารวมก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆจนต้องจัดระเบียบวินัยปฏิบัติขึ้นอีกในปี 1221 และอีกครั้งในปี 1223 ดังนั้นคณะนี้จึงได้แพร่ออกจากอิตาลีอย่างรวดเร็วไปทั่วยุโรป และเป็นที่นิยมกันมากที่สุดในบรรดา คณะอื่นๆ ทุกคนในคณะนี้ต้องทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเองหรือไม่ก็ขอทาน (อาหาร) แต่จะไม่รับเงิน เด็ดขาด เพราะเน้นเรื่องโภควิรัติ - ไม่มีสมบัติส่วนตัวและไม่มีทรัพย์สินเป็นของคณะ พวกเขาไม่อยู่ ในอารามแต่ต้องออกไปในที่ต่างเพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น ๆ เช่น การประกาศเผยแพร่ การเทศนา เป็นภาษาพื้นเมืองให้ชาวบ้านฟัง (โดยเฉพาะคนยากจน) และทำการบริการช่วยเหลือคนป่วยและ คนจน ยิ่งกว่านั้น ในศตวรรษที่ 14 มีการโต้เถียงกันท่ามกลางคนในระหว่างพวกที่พยายามรักษา ความเคร่งครัดในเรื่องการไม่ถือกรรมสิทธิ์ในสิ่งของและพวกที่อยากผ่อนผันบ้าง แล้วต่อมานักบวช คณะนี้ก็มีชื่อเสียงไม่ค่อยดีนัก เรื่องความเกียจคร้าน อยู่ดีกินดีโดยไม่ทำการงานอะไร (หมายเหตุ เนื่องจากคณะนี้นุ่งห่มผ้าสีเทาเป็นนิสัยเลยได้รับสมญาว่า “กลุ่มนักบวชสีเทา” (The Grey Friars)
!
(ง) คณะโดมินิกันส์ (Dominicans) คศ.1215 ตั้งขึ้นโดยนักบุญโดมินิกต์ผู้มีชื่อเสียงในสมัยเดียวกับฟรานซิส แต่ท่านเป็นชาวสเปญโดย กำเนิด เป็นนักปราชญ์ได้เริ่มต้นทำการเทศนาสั่งสอนเพื่อต่อสู้กับพวกออลบิเยนซิส (Albigenses) ผลที่ได้คือ ท่านได้รับอนุมัติจากสันตะปาปาให้จัดตั้งคณะนักเทศน์ (The Order of Preachers) ขึ้นในปี 1215 แล้วได้แพร่ไปทั่วประเทศต่าง ๆในยุโรป คณะนี้มีลักษณะหลายอย่างคล้ายกับคณะฟรานซิ สเคินส์ จนทั้งสองได้อีกชื่อว่า “พวกโยคีเมนดิเคินส์” (Mendicant Friars) เพราะต้องเลี้ยงชีพด้วย ทานของชาวบ้าน ซึ่งพวกเขาจะเที่ยวไปขอตามประตูบ้าน กับมีระเบียบสำหรับนางชีคล้ายกัน และ นักเทศน์จะท่องเที่ยวไปทั่วทุกแห่งทำการเสริมกำลังความศรัทธาของผู้เชื่อ (คริสตัง) และขัดขวางกลุ่ม ผู้เชื่อที่ถูกถือว่า นอกจารีต (Heresy) คณะนี้จึงเป็นประโยชน์อย่างมาก (เป็นเครื่องมือ) ของ สันตะปาปา สำหรับให้เทศนาเร้าใจคริสตังให้ร่วมในสงครามครูเสด หรือส่งพวกเขาไปเป็นมิชชันเผย แพร่ในต่างแดนเพื่อขยายอำนาจทางการเมือง หมายเหตุ 1. คณะนี้ให้ความเจริญแก่คริสตจักรคาทอลิคในด้านวิทยาการด้านวรรณกรรมและ ภาษาศาสตร์ !95
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
2. ในประเทศอังกฤษคณะนี้นุ่งห่มชุดดำหมดเลยได้สมญาว่า พวกโยคีดำ (Black Friars)
2. ประโยชน์บางประการจากลัทธิอารามวาสี (Benefits of Monasticism) ระบบของการดำรงชีวิตตรากตรำแบบ (คณะ) ต่าง ๆทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ล้วนเริ่มขึ้นด้วยจุด มุ่งหมายอันสูงส่ง และได้ตั้งขึ้นมาโดยบุคคลที่ยอมสละตัวเองทั้งชายและหญิง แต่ก็ด้วยอิทธิพล เบื้องหลังที่ดีบ้างไม่ค่อยดีบ้าง แต่ในช่วงตอนแรก ๆที่เพิ่มเริ่มต้นระบบลัทธิอารามวาสีของแต่ละคณะ นั้นเป็นประโยชน์ - ผลดีแก่สังคมหลายอย่างทีเดียว (แต่ภายหลังเป็นผลร้ายก็มีมากมาย) ดังต่อไปนี้
!
(ก) เป็นศูนย์กลางของความสงบ (Centers of Peace) ตลอดสมัยต่าง ๆที่ผ่านมาในยุโรปมีแต่การสงคราม การรบพุ่งฆ่าฟัน (บ้านเมืองยังไม่ค่อยมี กฏหมายคุ้มครองประเทศและประชาชนอย่างแน่นอน) แต่ท่ามกลางความวุ่นวายไม่ปลอดภัยนี้ได้เกิด มีศูนย์แห่งความสงบสันติอยู่ตามอารามเมื่อคณะลัทธิอารามวาสีได้เกิดขึ้น คนทั้งหลายที่มีความ ลำบากและความทุกข์ก็ได้พบที่หลบภัย เพื่อหาความสงบในทางจิตใจและคิดถึงในทางธรรม
!
(ข) เป็นสถานที่ต้อนรับทุกคนเพื่อให้ความบรรเทาทุกข์ (Hospitality) อารามยังเป็นที่พักผ่อนและที่อาศัยของผู้เดินทางของคนเจ็บป่วย และคนขัดสนยากจน ซึ่ง ต่อมาทั้งโรงแรมและโรงพยาบาลในปัจจุบันก็เลียนแบบมาจากลัทธิอารามวาสีนี้เอง (ค) เป็นที่พักหลบภัยของคนเดือดร้อนและไม่มีที่พึ่ง (Refuge of Helpless) ที่สำคัญอารามมักใช้เป็นที่พำนักหลบภัยของคนเข้าตาจน-เดือดร้อนอยู่เสมอ ๆ โดยเฉพาะ คนทีหมดที่พึ่งพิงอาศัย เช่น สตรี และเด็ก คนชรา
!
(ง) ทางเกษตรกรรม (Agriculture) คณะอยู่อารามในอังกฤษและในยุโรปหลายแห่งที่ส่งเสริมการเกษตรกรรม โดยพวกนักบวช ทำเป็นตัวอย่างและสอนชาวบ้านประชาชนให้รู้จักการเพาะที่ดิน การปลูกพืชพันธ์ที่ดีและเหมาะสม กับดินฟ้าอากาศ การระบายน้ำ การทดน้ำและการสร้างถนนหนทางเพื่อสะดวกในการขนส่ง
!
(จ) ทางวรรณกรรม (Literature) ตามอารามต่าง ๆจะมีห้องสมุดเก็บรักษาและแสดงวรรณกรรม - หนังสือโบราณต่าง ๆไว้เป็น อันมาก ทั้งที่เป็นวรรณกรรมชั้นสูงและของคริสเตียน และพวกนักบวชจะทำการคัดลอกหนังสือ เขียนประวัติชีวิตของบุคคลสำคัญ ๆไว้ หรือบันทึกลำดับเหตุการณ์ในสมัยของตนและประวัติศาสตร์ที่ ล่วงมาแล้ว โดยเฉพาะผลงานการเขียนทางศาสนาคริสต์ที่มีค่ามากก็ได้มีการจดไว้เป็นอันมาก เช่น บทเพลงของนักบุญเบอร์นาร์ด และหนังสือชื่อ “การเลียนแบบพระคริสต์ เขียนโดยเคมพิส (The Imitation of Christ - by Kempis) ดังนั้น ถ้าพวกนักบวชไม่เขียนประวัติศาสตร์ขึ้น พวกเราก็คงจะ ไม่มีโอกาสรู้เรื่องราวของสมัยยุคกลางนี้ได้เลย
!
(ฉ) ทางการศึกษา (Education)
!96
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
พวกนักบวชได้ช่วยในการศึกษาของพวกเยาวชนอย่างมาก โดยเป็นอาจารย์หลักหรือครูที่ สำคัญมากเพราะเกือบจะไม่มีครูอื่นที่สอนได้ อาจจะพูดได้ว่า พวกนักบวชเท่านั้นที่เป็นครู ดังนั้น มหาวิทยาลัยและโรงเรียนเกือบทั้งหมดที่ตั้งขึ้นในสมัยกลางนี้อยู่อารามหรือวัดนั้นเอง
!
(ช) ทางการประกาศเผยแพร่ (Missions) ในการประกาศเผยแพร่พระกิตติคุณนั้น พวกนักบวชได้เป็นมิชชันนารีแรกเริ่ม ได้เข้าหา ประกาศกับพวกบาร์แบเรียนส์ (พวกป่าเถื่อน - Barbarians) และนำพวกนี้กลับใจเป็นคริสเตียน ใน จำพวกผู้เผยแพร่ เช่น นักบุญออกัสติน (คนละคนกับท่านออกัสตินผู้ยิ่งใหญ่) เป็นมิชชันนารีออก จากโรมไปประกาศที่อังกฤษในปี คศ.597 และนักบุญแพททริคผู้เริ่มทำการเผยแพร่ในไอร์แลนต์ ประมาณปี คศ.432 ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักสอนศาสนา (มิชชันนารี)ของนักบวชลัทธิอารามวาสี
!
3. ผลเสียบางประการจากลัทธิอารามวาสี (Some Evil Results of Monasticism) แม้ว่าลัทธิอารามวาสีจะมีผลดีอยู่ก็ตาม แต่ผลเสียก็มีด้วยเหมือนกันซึ่งปรากฏชัดเมื่อสถาบัน ลัทธิอารามวาสีได้ถูกตั้งขึ้นอย่างมั่นคงแล้ว และปรากฏมากยิ่งขึ้นในตอนหลังที่ล้ทธิอยู่เริ่มเสื่อมลง ทุกที ๆ เนื่อบจากความศรัทธาความร้อนร้นอย่างเมื่อแรก ๆได้เหือดหายไป และพร้อมทั้งเป้าหมาย สูงส่งและวินัยอันเคร่งครัดได้เบาบางหายไปด้วย ในจำพวกผลเสียเหล่านี้มีดังต่อไปนี้
!
ก. ยกย่องชีวิตโสดมากเกินไป (Exaltation of Celibacy) กล่าวคือ พวกลัทธิอารามวาสีเน้นและยกอย่องชีวิตโสดมากเกินไปว่า เป็นชีวิตที่สูงวิเศษกว่า ชีวิตที่สมรส ซึ่งการถือเช่นนี้ผิดพระคัมภีรืและผิดธรรมชาติมนุษย์ที่พระเจ้าสร้างมา คำสอนแบบนี้ได้ ถูกสอนและมีอิทธิอย่างมากทำให้พวกชนชั้นสูงจำนวนมากมายเป็นพัน ๆในสมัยนั้นดำเนินชีวิตแบบ อยู่อาราม - เป็นโสด ส่วนคนทั้งหลายอื่น ๆที่มีครอบครัวที่บ้านเรือนอยู่อาศัย และเลี้ยงลูกหลานก็ ถือว่า เป็นพวกคนที่มีคติชีวิตต่ำต้อยมาก
!
ข. ผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติ (Effects on Social & National Life) ผลตามมา (จากข้อ ก) ก็คือ ชีวิตอยู่อารามได้กีดกันคนเป็นอันมากให้ออกจากครอบครัวออก จากสังคม ออกจากชีวิตเป็นพลเมืองของประเทศชาติ ดังนั้น ทั้งในยามสงบและยามสงคราม รัฐก็ ขาดกำลังคนที่ดีมีกำลังทั้งทางแรงกำลังและสติปัญญามากมาย แต่กลับไปหลบอยู่แต่ในวัดอาราม ไม่ ยอมมีส่วนช่วยสังคมและชาติ (มีกันกล่าวกันว่ากรุงคอนสแตนติโนเบิลแห่งมหาอาณาจักรตะวันออก คงจะป้องกันไว้ได้จากพวกเติร์ก ถ้าหากพวกนักบวชและพวกถือศีลภาวนาจะสึกออกมา และหยิบ อาวุธขึ้นมารบต่อสู้ป้องกันประเทศชาติบ้านเมืองของตนไว้)
!
ค. ความสะดวกสบายของชีวิตอยู่อารามนำไปสู่ความฟุ่มเฟือย เกียจคร้านและผิดศีล
ธรรม เนื่องจากพวกชนชั้นสูงเมื่อเข้ามีชีวิตอยู่ในอารามก็นำสมบัติของตนมาให้แก่อาราม และยังมี เศรษฐีบางคนถวายเงินให้แก่อารามอีกด้วย ก็ทำให้ทรัพย์สมบัติของอารามเพิ่มทวีขึ้นอย่างมาก แล้ว ก็เป็นเหตุนำให้เกิดการหย่อนด้านวินัยได้ลดความเคร่งครัดลง เกิดการฟุ่มเพือยขึ้น เพราะสามารถ จัดหาวัตถุสิ่งของและอุปกรณ์ต่างที่อำนวยความสะดวกสบายได้ ความเกียจคร้านก็ตาม รวมทั้งเกิด !97
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
การทุจริตขึ้นในอารามต่าง ๆ และสุดท้ายก็เป็นเปิดช่องให้แก่การทำผิดทางศีลธรรม ซึ่งแม้ว่าภาย หลังจะเกิดมีลัทธิอารามวาสีคณะใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อจะพยายามทำการปฏิรูป แต่ก็รู้สึกว่าไม่สามรถ ช่วยให้ดีขึ้นได้ เพราะคนในอารามก็ยิ่งจมลงในความประพฤติที่ไม่ดี ง. เกิดการรีดนาทาเร้นประชาชน กล่าวคือ แต่เดิมในตอนแรก ๆอารามต่าง ๆจะเลี้ยงตัวเองด้วนแรงงาน และการทำงานของ ทุกคนที่อยู่ในอาราม (เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น) แต่ในเวลาต่อมา เกือบจะเลิกไม่ต้องทำงานเลย พวกนักบวช, นางชีและทุกคนในอารามกลับเลี้ยงชีพด้วยรายได้ของทรัพย์สมบัติของอารามที่ทวีขึ้น เรื่อย ๆจากการถวายด้วยการเต็มใจก็มี แต่โดยเฉพาะจากการรีดนาทาเร้นประชาชน (ทั้งครอบครัวที่ มีและยากจน) ให้มีการถวายเป็นประจำแก่อาราม และยิ่งกว่านั้นเนื่องจากสังหาริมทรัพย์ที่เป็นของ อารามทั้งสิ้นได้รับการยกเว้นภาษีอากร จึงทำให้รัฐต้องเก็บจากประชาชนทั่วไปมากกว่าปกติ ดังนั้น ภาระที่ต้องตกอยู่แก่ประชาชน (สังคมนอกอาราม) ก็หนักขึ้นทุกที จนที่สุดเหลือที่จะรับต่อไปได้ ดัง นั้น เมื่อเปิดฉากการปฏิรูปศาสนาในศตวรรษที่ 16 อารามทุกแห่งในยุโรปภาคเหนือจึงตกต่ำลงอย่าง มาก เพราะประชาชนทั้งหลายได้ทอดทิ้งไม่ค่อยให้ความสนใจแล้ว และสุดท้ายคนที่อยู่ในความจำ ต้องทำงานเลี้ยงตัวเองอีกครั้งหนึ่ง เพราะประชาชนไม่ให้ความช่วยเหลือเลย
!
7.2 การศึกษาเกี่ยวกับศิลปและวรรณกรรมของยุคกลาง เมื่อเรามองอีกแง่หนึ่งของคริสตจักรสมัยยุคกลาง เราพบว่า ยุคนี้ได้ให้ผลงานชิ้นใหญ่ที่เป็น เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงอันสำคัญที่เป็นประโยชน์แก่โลกอย่างมาก ซึ่งทั้งนี้ก็โดยอิทธิพลของค ริสตจักรชักนำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น มีดังต่อไปนี้
!
1. มหาวิทยาลัย (University) ในสมัยยุคกลางนี้เองที่มหาวิทยาลัยใหญ่สำคัญ ๆ ส่วนมากสถาปนาขึ้นโดยพวกนักบวช (Churchmen) ซึ่งขยายเติบโตขึ้นมาจากโรงเรียนที่มีขึ้นก่อนที่ใช้คริสตจักรและอารามเป็นศูนย์กลาง ของการศึกษา การเปลี่ยนแปลงจากโรงเรียนไปเป็นแบบมหาวิทยาลัยเริ่มขึ้นโดยที่ได้เกิดมีกลุ่มนัก ปราชญ์และครูอาจารย์มากขึ้น ก็รวบรวมกันก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นครั้งแรกที่กรุงปารีส (University of Paris) ในศตวรรษที่ 11 ได้มีคณาจารย์อยู่ประจำมหาวิทยาลัย ภายใต้การอำนวยการของท่าน (Peter Abelard) มีนักศึกษาเป็นหลายหมื่นคน ต่อมาในศตวรรษที่ 12 (ราว คศ.1168) ก็ได้มีการก่อ ตั้งมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดขึ้น (University of Oxford) แล้วตอนหลัง ๆที่แคมบริจ (Cambridge) ใน อังกฤษทั้งสองแห่ง แล้วมหาวิทยาลัยโบโลจนา (Bologna) บนอิตาลี เป็นต้น ล้วนแต่มีชื่อเสียงโด่ง ดังมาก ซึ่งมีนักศึกษามาจากทั่วทั้งทวีปยุโรปมาเล่าเรียนกัน นักศึกษาส่วนมากเข้าเรียนเมื่ออายุ 13-15 ปี การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ขั้น ขั้นต้นเรียน 3 ปี วิชาที่เรียนแบ่งออกเป็น 3 อย่างจึงเรียกว่า ตรีวิยูม (Trivium) แปลว่า “สามทาง” ได้แก่ ก.ไวยากรณ์ ข. ศิลป และ ค. ตรรกวิทยา เรียนจบแล้วได้ประกาศนียบัตรที่เรียกว่า ปริญญาตรีทางอักษรศาสตร์ (Bachelor of Arts) ขั้นที่สอง ขึ้นไปอีกก็เรียกว่า กวาดรีวิยูม (Quadrivium)แปลว่า “สี่ทาง” ประกอบ ด้วย 4 วิชา คือ เรขาคณิต เลขคณิต ดนตรี และดาราศาสตร์ ใช้เวลาเรียน 4 ปีจบแล้วได้ปริญญา โททางอักษรศาสตร์ (Master of Arts) ซึ่งสองขั้นแรกนี้ถือกันว่า เป็นขั้นเตรียม (Preparatory) จัด !98
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เป็นคณะอักษรศาสตร์ - คณะฝ่ายศิลป (Facculty of Arts) เมื่อเรียนจบแล้วก็สามารถเรียนต่อขั้นที่ สามปริญญาเอกได้ (Doctoral Degree) ซึ่งแบ่งให้เลือกออกเป็น 3 คณะดังนี้ 1) ศาสนศาสตร์ (Theology) 2) กฏหมาย (Canon Law) 3) แพทย์ศาสตร์ (Medicine) แต่วิชาศาสนศาสตร์นับว่า เป็นเจ้าแห่งวิทยากรความรู้ทั้งปวง และทุกคนที่มีนิสัยเป็นปราชญ์แท้ย่อมจะเลือกเรียนวิชานี้เสมอ ใช้ภาษาละตินในการสอนอย่างเดียว (เพราะเป็นภาษากลางในยุโรป) การสอนใช้วิธีบรรยาย (Lecture) นักศึกษาเข้าชั้นเรียนและวิธีโต้วาที (Debate) กล่าวคือ เมื่อนักศึกษาพร้อมที่จะขอรับ ปริญญาก็จะแจ้งหัวข้อโต้วาที ซึ่งเขาได้เตรียมไว้แล้วให้มหาวิทยาลัยทราบ การโต้วาทีนี้มีนักศึกษา คนนั้นเป็นฝ่ายเสนอ และมีฝ่ายค้านประกอบด้วยทุกคนที่ต้องการด้านไม่ว่าจะเป็นใคร คณาจารย์จะ ฟังการโต้วาทีนี้ถ้าปรากฏผลเป็นที่พอใจแล้ว นักศึกษาผู้นั้นก็สามารถรับปริญญาบัตรได้
!
2. มหาวิหาร (Cathedrals) มหาวิหารทั้งหมดในยุโรปสร้างด้วยฝีมือของชาวโกทิค เป็นมหาวิหารที่มีการประดับประดา อย่างสวยงาม หลังคำทด้วยก้อนหินจึงเป็นเหตุให้ฝาผนังแข็งแรงมากและหนักมากด้วย เนื่องจาก หลังคาเป็นก้อนหินจึงทำให้ตัวอาคารไม่มีหน้าต่าง ในตัวมหาวิหารจึงมืดทึบ แต่แม้ว่าจะมืดเพียงใด ก็ตาม ภายในก็เต็มไปด้วยความสวยงาม ด้วยมีภาพสวยงามและหน้าต่างมีสีต่าง ๆ มีรูปปั้นทาด้วยสี ทองสวยงามเป็นศิลปแกะสลักก้อนหินแบบตั้งยืน ต่อมาได้มีการสร้างใหม่แบบละเอียดอ่อนและมี ความสว่างภายในด้วย มีความแข็งแรงของหลังคาและฝา แต่ต้องอาศัยการสร้างเฉลียงยื่นออกมา เพื่อค้ำตัวอาคารเอาไว้ทำให้สร้างได้สำเร็จ จึงเป็นมหาวิหารที่มีความสว่าง ทำให้คนที่เข้าไปอยาก เจริญขึ้นฝ่ายจิตวิญญาณ ตัวมหาวิหารจะมีความสูงมากตามที่คนสร้างปรารถนาที่จะให้คนอื่นเห็นว่า เขาสร้างได้สูงกว่าคนอื่น (มีสูงถึง 114 ฟุต) ซึ่งโลกสมัยใหม่ยังต้องดูแบบอย่างและไม่อาจหวังจะทำให้ ดีกว่าหรือแม้แต่เทียบเท่าได้ คาทีโดรล์ (Cathedrals) เป็นภาษากรีก แปลว่า เก้าอี้ ที่ตั้งอยู่ในโบสถ์ถือว่าเป็นที่นั่ง บัลลังก์ของบิชอปประจำเขต - เมือง (The Bishop of the Diocese) ต่อมาจึงถือว่าเป็นโบสถ์ที่บิชอป ประจำอยู่ที่มีบัลลังก์พิเศษนั่งเทศนาและประกอบพิธีทางศาสนาเป็นโบสถ์แม่ของเมือง (The MotherChurch) หรือโบสถ์ใหญ่ที่สุดที่ใช้เรียกชื่อว่า คาทีโดรล์ (Cathedral)
!
3. วรรณกรรมตื่นตัว (Awakening of Literature) การตื่นตัวทางวรรษกรรมได้เริ่มขึ้นที่ฟลอเรนส์ในอิตาลี มีผลงานของกวีเอกชื่อ ดานเต (Dante) แต่งหนังสือชื่อ “เรื่องตลกเทวศาสตร์” (Divine Comedy) ในปี 1303 เป็นเรื่องจินตนาการ บรรยายถึงการท่องเที่ยวไปในนรกแดนชำระและแดนสุขาวดี ต่อมาก็มีวรรณกรรมเล่มอื่น ๆเขียนขึ้น โดยปีทราร์ค (Petrarch) ในปี 1340 และโบคาคซิโอ (Boccaccio) ในปี 1360 4. ศิลปะตื่นตัว (Awakening of Art) ในเวลาเดียวกันในอิตาลีก็เริ่มมีการตื่นตัวทางศิลป โดยนักวาดกิอ๊อท (Giotto) ในปี 1298 แล้วก็มีนักวาดระบายสีชั้นเยี่ยมเกิดขึ้นอีกมากมาย รวมทั้งช่างแกะ ช่างสลัก ช่างก่อสร้าง ซึ่งก็เป็น ที่ราบกันดีว่า ศิลปการวาดภาพในยุคนี้ (ครั้งแรก) เป็นการใช้ศิลปเพื่องานคริสตจักรและอารามต่าง ๆ ส่วนในอังกฤษและฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 12-13 ได้มีลักษณะสถาปัตยกรรมอย่างใหม่พัฒนา ขึ้นที่แสดงออกถึงลักษณะคริสตศาสนาในเวลานั้น คือ โบสถ์จะมีเสาเรียว ๆมีซุ้มโค้งที่พุ่งขึ้นไปเบื้อง สูง และเพดานเป็นรูปโค้งเช่นกัน หอคอยก็ทำเป็นรูปแหลมเพรียวแทนที่จะเทอะทะอย่างแต่ก่อน !99
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ทุกสิ่งดูจะมีลักษณะพวยพุ่งสู่ท้องฟ้าไปทั้งนั้น หน้าต่างก็มีกระจกสีต่าง ๆตามฝาผนังและที่ต่าง ๆมี ลวดลายแกะสลักทั้งด้านนอกด้านในทั้งไม้และหินทำเป็นรูปนักบุญ บุคคลในพระคริสตธรรมคัมภีร์ กษัตริย์ รูปต้นไม้ ดอกไม้และรูปสัตว์ตามธรรมชาติและสัตว์ที่จิตกรประดิษฐ์ขึ้นเอง
!
7.3 พวกนักปราชญ์และผู้นำของยุคกลาง (Scholars and Leaders)
!
1. แอนเซลม์แห่งแคนทาเบอร์รี่ (Anselm of Canterbury) คศ.1033-1109 เกิดที่อิตาลี เป็นนักศึกษาที่ท่องเที่ยวไปตามเมืองต่าง ๆจนได้มาเป็นนักบวชที่อารามเบค (Monastery of Bec) ในนอร์มันดี (Normandy) และเป็นสมภารของอารามในปี 1078 ต่อมาในปี 1093 ได้รับแต่งตั้งเป็นอาชบิชอป - หัวหน้าบิชอปแห่งแคนทาเบอร์รี่ (Archbishop of Canterbury) และสุดท้ายได้เป็นเจ้าอธิการแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ (Primate of the Church of England) ต่อมา ท่านได้พยายามรณรงค์ต่อสู้เกี่ยวกับความเป็นอิสระและสิทธิอำนาจของคริสตจักรต่อรัฐ เพราะได้รับ อิทธิพลจากโป๊ปฮิลเดอแบรนด์ แต่ได้ถูกขัดขวางและถูกเนรเทศไปทนทุกข์อยู่คราวหนึ่ง ภายหลังได้ กลับมาในปี 1107 ก็พยายามสนับสนุนเรื่องอำนาจของคริสตจักรในอังกฤษ จนสิ้นชีพในปี 1109 ท่านได้สมญาเป็น “ออกัสตินที่ 2” (A Second Augustine) เพราะได้เขียนหนังสือวิชาการทาง ศาสนศาสตร์และปรัชญาเป็นอันมาก ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 พวกคือ ก.พวกตำราศาสนศาสตร์ (Systemtic Works) ข.พวกเป็นคำอธิษฐานและหนังสือเฝ้าเดี่ยว ค.พวกเป็นจดหมาย
!
2. ปีเตอร์ อเบลลาร์ด (Peter Abelard) คศ.1079-1142 เป็นนักราชญ์และนักศาสนศาสตร์จึงเป็นนักคิดที่องอาจที่สุดในยุคกลางนี้ อาจนับว่าท่านเป็น ผู้สถาปนามหาวิทยาลัยแห่งปารีส ซึ่งถือกันว่าเป็นมหาวิทยาลัยแม่ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆในยุโรป ท่านจึงมีชื่อเสียงในทางเป็นอาจารย์สอน มีลูกศิษย์เป็นหมื่น ๆมาจากทุกภาคของยุโรป และเป็นมหา บุรุษที่คนในชั่วอายุต่อมาได้รับอิทธิพลทางความคิดอย่างมากจากท่าน สิ่งที่โด่งดังยิ่งกว่าเรื่องการ สอนและข้อเขียนทั้งหลายของท่านคือ เรื่องรักประโลมใจของท่านกับสาวงามชื่อ เฮลอยส์ (Heloise) ที่ทำให้ท่านถึงขนาดต้องยอมละปฏิญาณชีวิตโสดแบบอยู่อารามของท่าน และได้แต่งงานกัน แต่ต่อ มาอีกไม่นานก็ถูกบังคับให้แยกกันอยู่ ต่างฝ่ายต่างจึงได้กลับเข้าอารามอีกจนทั้งสองได้อยู่ในตำแหน่ง สมภารวัดและสมภารินีของอาราม และสิ้นชีพในอาราม
!
3. เบอร์นาร์ดแห่งแคลร์วอกซ์ (Bernard of Clairvaux) คศ.1091-1153 เกิดในตระกูลของขุนนางฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาในทางกฏหมาย แต่ได้ละทิ้งเสีย แล้วหัน ไปเอาทางวัดอาราม (The Convent) ในปี 1115 ท่านได้ตั้งวัดอารามขึ้นที่แคลวอกซ์โดยเป็นสมภาร คนแรก เป็นอารามในคณะซีสเตอร์เซียนแบบปฏิรูปแล้ว (Reformed Cistercian Order) ต่อมาสาขา ในคณะเครือของท่านได้ฝังลึกลงในหลายประเทศ ชาวอารามของคณะนี้ได้สมญาว่า เบอร์นาร์ดีนซ์ (Bernardines) !100
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในทางเป็นนักคิดลึกลับซับซ้อน และนักคิดทางปฏิบัติ (The Mystic and the Practical Thinker) ท่านได้เทศนาและส่งเสริมสงครามครูเสดครั้งที่ 2 ในปี 1147 เนื่องจากท่าน เป็นคนมีความคิดกว้างและใจสุภาพจึงได้ต่อสู้คัดค้านและเขียนหนังสือขัดขวางการข่มเหงพวกชนชาติ ยิว ท่านได้แต่งเพลงชีวิตคริสเตียนที่ไพเราะและมีความหมายไว้หลาย เพลง หลังจากที่สิ้นชีพเพียง 20 ปีเท่านั้นก็ได้รับสถาปนาเป็นนักบุญเบอร์นาร์ด ท่านมาร์ติน ลูเธอร์ กล่าวถึงท่านว่า “ถ้าจะมีนักบวชทรงศีลและเกรงกลัวพระเจ้าอยู่ในโลก ผู้นั้นคือนักบุญเบอร์ดนาร์ด แห่งแคลวอกซ์”
! !
4. โธมัส อควินัส (Thomas Aquinas) คศ.1225-1274 เกิดที่อควิโน (Aquino) ในอาณาจักรเนเบิลส์ (Naples) เมื่อตอนเป็นเด็กนักเรียนอยู่เป็นคน เงียบมากจนได้สมญาว่า “วัวใบ้” แต่อาจารย์ของท่านพูดว่า “สักวันหนึ่งวัวตัวนี้จะทำให้โลกกึกก้องไป ด้วยเสียงของมัน” ท่านได้ทำให้ครอบครัวของท่านที่เป็นเคาน์แห่งอควิโนเสียใจและผิดหวังในตัวท่าน มาก โดยได้เป็นนักบวชในคณะโดนมินีเคิน ท่านได้เป็นปรัชญาเมธีและนักศาสนศาสตร์ที่มีชื่อเสียง และมีสิทธิอำนาจสูงกว่าใครหมดในสมัยกลาง ข้อเขียนหนังสือของท่านยังคงใช้เป็นหลักอ้างอิงกันอยู่ บ่อย ๆในปัจจุบัน โดยเฉพาะพวกนักศาสนศาสตร์ฝ่ายโรมันคาทอลิคได้คัดเอาใช้เป็นมาตราฐาน ท่านได้เป็นเจ้าปัญญาใหญ่ยิ่งที่สุดแห่งยุคกลางนี้ได้สมญาว่า “ศาสตราจารย์สากล” (Universal Doctor) “ศาสตราจารย์แห่งเทพ” (Angelical Doctor) เจ้าชายแห่งนักปราชญ์ทั้งหลาย (Prince of Scholastics) สิ้นชีพในปี คศ.1274 และได้รับสถาปนาเป็นนักบุญในปี คศ.1323
!101
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
! ! !
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หน่วยที่ 8: การเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนา The Beginning of Religious Reform
การเริ่มต้นของการปฏิรูปศาสนา (The Beginning of Religious Reform) เนื่องจากข้อบกพร่องต่าง ๆที่เกิดขึ้นจากการปกครองและบริหารของพวกพระสงฆ์และ สันตะปาปา และสงครามครูเสดที่ไม่ถูกต้องตามหลักพระคัมภีร์ จึงเป็นเหตุให้ในระหว่างยุคและโดย เฉพาะตอนปลายยุคกลางที่เกิดการปฏิรูปทางศาสนาขึ้น ซึ่งเป็นเหมือนกับการเริ่มทอแสงและสัญญ ลักษณ์ส่อว่า จะต้องมีการปฏิรูปยิ่งใหญ่ตามมา เพื่อสะดวกในการศึกษาการเริ่มต้นของการปฏิรูป ศาสนานี้ให้เข้าใจง่าย เราอาจแบ่งออกเป็นการเคลื่อนไหว 5 ขบวนการ (ซึ่งในเวลานั้น เราอาจพูดว่า โลกยังไม่พร้อมที่รับได้ จึงต้องถูกปราบลงด้วยการข่มเหงและประหารชีวิตเสีย) ดังนี้
!
8.1 ผู้เตรียมการก่อนการปฏิรูปคริสตจักร
!
1. พวกออลบิเยนซีส (Albigenses) คศ.1170 มีอีกชื่อหนึ่งว่า คาทารี (Cathari) เป็นภาษากรีกแปลว่า กลุ่มบริสุทธิ์ (Pure ones) เป็นก ลุ่มที่เจริญเติบโตขึ้นมาในฝรั่งเศสภาคใต้ประมาณปี 1170 ก) เป็นพวกที่ไม่ยอมถือว่า ตำนานโบราณหรือคำสอนตามธรรมเนียม (Tradition) จะใช้เป็น หลักได้ ข) แต่นำเอาพระคัมภีร์ใหม่มาใช้เป็นหลัก แต่ก็มีจุดอ่อนที่ว่าไม่รับพระคัมภีร์เดิม ค) ต่อสู้คัดค้านหลักคำสอนของพวกโรมันคาธอลิคเกี่ยวกับเรื่องแดนชำระ (Purgatory), เรื่อง การกราบไหว้นมัสการรูปปั้น และข้อสมอ้างทั้งหลายของพวกพระสงฆ์กับสันตะปาปา (โดยเฉพาะที่ เกี่ยวกับการเป็นตัวกลางระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์) ในเวลานั้น อินโนเซนท์ที่ 3 เป็นโป๊ปอยู่ก็ไม่ พอใจมาก จึงหาทางกำจัดพวกนี้โดยในปี 1208 ได้เรียกการชุมนุมเพื่อปราบปรามพวกคาทารี โดย เรียกว่าเป็นครูเสดด้วย (ที่ถือว่าเป็นการปราบปรามศัตรูของคริสตชน - พระเจ้า) ได้ทำการฆ่าหมู่ทั้ง หมู่บ้าน ทั้งตำบลที่พวกนี้อาศัยอยู่ ดังนั้น จึงมีพวกคาทอลิคเสียชีวิตร่วมอยู่ด้วย จึงถือว่าเป็น โศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่
!
2. พวกวอลเดนเซียนส์ (Waldensians) คศ. 1170 ในประมาณเวลาไล่เลียงกัน ก็มีพวกวอลเดนเซียนส์เกิดขึ้น โดยการนำของปีเตอร์ วอลโด (Peter Waldo) ผู้เป็นพ่อค้าแห่งเมืองไลออนส์ (Lyons) ท่านชอบอ่านและศึกษาพระคัมภีร์ และได้ เที่ยวอธิบายสั่งสอนเทศนาและแพร่พระคัมภีร์ออกไปทั่ว ใช้ข้อพระคัมภีร์เป็นเครื่องมือเรียกร้องให้สู้ กับธรรมเนียมและหลักคำสอนของโรมันคาทอลิค และหนุนใจประชาชนให้อ่านพระคัมภีร์ แล้วก็มีคน ติดตามท่านมากขึ้น ท่านก็ได้สถาปนาคณะนักสอนศาสนา - ผู้ประกาศ (The Poor Men of Lyons) ซึ่งได้ออกทำการสั่งสอนเผยแพร่ไปทั่วฝรั่งเศส เริ่มต้นจากภาคกลางแล้วไปโดยตลอดถึงภาคใต้ ได้มี !102
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ผูติดตามเชื่อถือมากขึ้นเรื่อย ๆ จนต่อมาพวกเขาถูกข่มเหงอย่างรุนแรงโดยคำสั่งของสันตะปาปา สุดท้ายพวกเขาต้องถูกขับไล่ออกจากฝรั่งเศส (เป็นการหนีออกมา) แล้วได้ไปพบที่หลบภัยในหว่าง เขาทางภาคเหนือของอิตาลี และคงทนยั่งยืนอยู่ได้ตลอดมาหลายศตวรรษแห่งการข่มเหง จึงนับว่า เป็นคนคณะเล็ก ๆหนึ่งที่ก่อให้เกิดนิกายโปรแตสแตนท์ในอิตาลีภายหลังในเวลาต่อมา
!
3. จอห์น วิคคลิฟ (John Wycliff) คศ.1329-1384
ท่านได้เริ่มก่อการปฏิรูปขึ้นในอังกฤษด้วยจุดมุ่งหมาย เพื่อความเป็นอิสระจากอำนาจของคริ สตจักรโรมันและเพื่อการปฏิรูปศาสนาในคริสตจักรในอังกฤษ ท่านเป็นนักปราชญ์ได้รับการศึกษา สำเร็จขั้นปริญญาเอกทางศาสนศาสตร์ (Doctor of Theology) จากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (Oxford University) ที่มีชื่อเสียงในอังกฤษ และได้เป็นผู้นำในสภามหาวิทยาลัยด้วย ท่านเริ่มการปฏิรูปโดย การโจมตีต่อว่า ก) ความมั่งคั่งร่ำรวยของพวกบรรพชิตและคริสตจักรว่า ไม่ควรจะเกี่ยวข้องกับเรื่องทรัพย์ สมบัติของโลกนี้ แต่ควรเน้นทางฝ่ายวิญญาณจิต ข) ระบบลัทธิการอยู่อารามว่า เป็นพวกที่แสวงหาแต่ความสุขใส่ตน เห็นแก่ตัวจนแก้มแดง อ้วนพีลงพุง ค) โจมตีการรับตำแหน่งศิษยาภิบาล (ผู้นำคริสตจักร) มากกว่าหนึ่งตำแหน่ง และการรับเงิน จากทุกตำแหน่ง รวมทั้งต่อว่าการที่ศิษยาภิบาลไม่อาศัยอยู่ในเขตอภิบาลของตน ง) โจมตีเรื่องการกราบไหว้นมัสการพวกนักบุญทั้งหลาย จ) คัดค้านการเที่ยวเดินทางจาริกบุญไปนมัสการและข้อบกพร่องอื่น ๆ ฉ) ที่สำคัญท่านไม่ยอมรับและคัดค้านสิทธิอำนาจของสันตะปาปาที่แผ่คลุมอยู่ในอังกฤษ ช) ท่านยังได้เขียนเอกสารคัดค้านคำสอนเรื่องทรานซับสแตนชิเอชั่น (Doctrine of Transubstantiation) ที่ว่าในการถือศีลแมส์ (Mass) ขนมปังและน้ำองุ่นได้เปลี่ยนสภาพเป็นเนื้อและ เลือดของพระเยซูจริง ๆ แต่ท่านวิคลิฟสอนว่า ขนมปังและน้ำองุ่นในพิธีมหาสนิทนั้นเป็นแต่เพียง เครื่องหมาย - สัญญลักษณ์ (Symbols) เท่านั้นที่เป็นการระลึกถึง (Rememberance) การวาย พระชนม์ของพระเยซู !103
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ฌ) แล้วท่านสอนยืนยันว่าระเบียบการนมัสการในคริสตจักรควรจะทำให้เป็นแบบธรรมดาแบบ อย่างของพระคัมภีร์ใหม่ ญ) งานใหญ่สำคัญที่สุดคือ เนื่องจากท่านได้ยึดถือเอาพระคัมภีร์อย่างเดียวเป็นมาตรฐาน สำหรับการกระทำทุกอย่างของคริสตชนทุกคน และสอนว่าให้อ่านศึกษาพระคัมภีร์กันทุกคน จึงได้ เริ่มแปลพระคัมภีร์ใหม่จากภาษาละติน (ฉบับวัลเกต) เป็นภาษาอังกฤษสำเร็จในปี 1380 แล้วก็ค่อย แปลพระคัมภีร์เดิม แต่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากมิตรสหายที่เป็นศิษย์ของท่านช่วยกันจนสำเร็จ ในปี 1384 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ท่านสิ้นชีพ ถ้าเป็นในประเทศอื่น วิคลิฟอาจตอ้งถูกประหารชีวิตอย่างทารุณไปแล้ว แต่นี้เป็นอังกฤษที่ ท่านได้รับการคุมครองจากผู้มีอำนาจที่สุดท่านหนึ่ง ในพวกขุนนางที่ยอมรับและเห็นด้วยกับคำสอน ของท่าน อย่างไรก็ตามคำสอนบางข้อของท่านก็ถูกทางมหาวิทยาลัยประนาม แต่ก็ได้รับอนุญาตให้ ปลีกตัวใช้ชีวิตบั้นปลายของท่านอยู่อย่างสงบในตำบลของท่านที่ลุทเทอร์เวอร์ท (Lutterworth) ใน สภาพของนักบวชปลดเกษียณ แต่ก็เป็นโอกาสให้ท่านได้ทำการแปลพระคัมภีร์ เนื่องจากท่านได้ส่งศิษย์ของท่านท่องเที่ยวไปตามที่ต่าง ๆเพื่อเผยแพร่สั่งสอน พวกศิษย์จึง ได้รับสมญานามว่า โลล์ลาร์ด (Lollards - ตอนแรกคงเป็นชื่อล้อมากกว่า เพราะมีความหมายคล้าย กับการพูดเหลวไหลหรือบ่นพึมพำ) ในช่วงแรก ๆมีศิษย์ติดตามพวกท่านเป็นจำนวนมาก แต่ต่อมา ภายใต้รัชกาลกษัตริย์เฮนรี่ที่ 4 และที่ 5 ได้ถูกข่มเหงอย่างมาก บ้างถูกทรมานอย่างทารุณ บ้างถูก ฆ่าตาย บ้างหนีไปได้ สุดท้ายก็สูญหายไปในกลางศตวรรษที่ 15 อย่างไรก็ตามคำเทศนาสั่งสอนและ การแปลพระคัมภีร์ได้เป็นการเริ่มต้นและเป็นการปูทางสำหรับการปฏิรูปครั้งใหญ่ที่จะตามมา
!
4. จอห์น ฮัสส์ (John Huss) คศ.1369-1415
ท่านอยู่ที่โบแฮมเมีย (เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเชคโกสโลวาเกีย) ซึ่งในเวลานั้นเป็นส่วนหนึ่ง ของดินแดนอาณาจักรโรมันศักดิ์ ท่านเป็นบุคคลสำคัญที่ได้ศึกาาและเห็นด้วยกับหลักคำสอนของท่า นวิคลิฟ จึงได้เทศนาสั่งสอนส่งเสริมคำสอนนั้นอย่างเปิดเผย โดยเฉพาะเน้นเรื่องการเป็นอิสระจาก อำนาจของสันตะปาปา ท่านเป็นปราชญ์ผู้คงแก่เรียน ณ. มหาวิทยาลัยปร๊าก (Prague) ที่ตั้งขึ้นในปี 1348 โดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 (Charles IV) กษัตริย์แห่งโบเฮมเมียและจักรพรรดิแห่งอาณาจักรโรมัน ศักดิ์สิทธิ์เวลานั้น) ต่อมา ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีของมหาวิทยาลัย เนื่องจากขณะนั้นใน !104
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เยอรมันยังไม่มีมหาวิทยาลัยสักแห่งเดียว บรรดานักปราชญ์ชาวเยอรมันจึงหลั่งไหลไปที่มหาวิทยาลัย ปร๊ากนี้ จึงทำให้มีอิทธิพลแผ่ไปทั่วโบแฮมเมียและประเทศรอบ ๆ เมื่อโป๊ปไหวตัวก็ประกาศตัด สัมพันธ์ยอห์น ฮัสส์ และสั่งว่ากรุงปร๊ากเป็นเมืองต้องห้ามคราวเท่าที่ยอห์น ฮัสส์ยังคงอยู่ที่นั่น ต่อ มา ท่านฮัสส์ต้องปลีกตัวไปหลบซ่อนอยู่ในที่ปลอดภัยแห่งหนึ่ง และเขียนเอกสารส่งออกมาเผยแพร่ ส่งเสริมคำสอนของท่าน ทำให้มีคนมากมายเห็นด้วยและติดตามท่าน สุดท้ายท่านถูกเชิญ (เรียกตัว) ให้ไปปรากฏตัวในสภาของคริสตจักรโรมันคาทอลิคที่เมืองคอนสเตอนท์ (Constance) ในเบเดน ชายแดนประเทศสวิสเซอร์แลนต์ ซึ่งท่านได้ตกลงใจที่จะไปว่าความกันที่นั่น โดยได้รับคำประกันจาก จักรพรรดิซิกิสมันด์ (Sigismund) จะให้การคุ้มครองความปลอดภัยของท่าน แต่กระนั้นก็ตาม ก็ไม่ วายถูกจับในข้อหาว่า เป็นพวกมิจฉาลัทธิ เนื่องจากจักรพรรดิไม่สามารถรักษาคำสัญญาไว้ได้เพราะ ถูกอ้างหลักที่ว่า “ฝ่ายความเชื่อไม่ต้องรักษาสัญญาอะไรกับคนนอกรีต” ท่านฮัสส์จึงถูกลงโทษเผาทั้ง เป็นในวันที่ 6 กค.1415 อย่างไรก็ตามคำสอนการปฏิรูปของท่านหาตายไม่ และรวมกับเหตุการณ์ถูก เผาทั้งเป็นนี้กลับเป็นเหตุทำให้สมัครพรรคพวกของท่านฮัสส์ยิ่งทำการเผยแพร่สั่งสอนออกไปไกล และเร่งเร้าการปฏิรูปให้เกิดขึ้นในประเทศของท่าน แม้ว่าจะมีการพยายามกำจัดพวกฮัสส์หลายครั้ง โดยใช้สงครามครูเสด แต่พวกท่านก็ยิ่งเข้มแข็งมั่นคงอยู่หลายศตวรรษ และต่อมาได้รวมเข้ากับพวก ที่ก่อการปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมาภายหลัง 5. เจอร์โรม ซาวานาโรลา (Jerrome Savonarola) คศ.1452-1498 ท่านมีชื่อแรกอีกชื่อหนึ่งว่า ไกโรลาโม (Girolamo) เกิดที่เฟอร์รารา (Ferrara) ประเทศอิตาลี ตอนแรกตั้งใจจะเรียนเป็นหมอ แต่ต่อมาได้เป็นนักบวชอยู่ในคณะโดมินิกันส์ที่เมืองโฟลเรนซ์ (Florence) และได้เป็นสมภารแห่งอารามเซนต์มาร์ค (Prior of the Monastery of St.Mark) ในปี 1490 ท่านได้เทศนาเหมือนกับผู้พยากรณ์ในพระคัมภีร์เดิมกล่าวคือ เทศน์คัดค้านความชั่วที่กระทำ กันอยู่ทั่วไปในสมัยของท่านที่มีในสังคม, ในการศาสนาและในการเมือง เรียกร้องให้ผู้นำประเทศละทิ้ง ความชั่วและกลับใจเสียใหม่ ให้เลิกการกดขี่ข่มเหงและการรีดนาทาเร้นพวกคนจน ทำให้มีคน มากมายหลั่งไหลกันมาฟังเต็มมหาวิหาร และทุกคนต่างก็พร้อมที่จะทำตามคำสั่งสอนของท่านด้วย ดังนั้นเป็นเวลาช่วงระยะหนึ่งที่ท่านได้กลายเป็นผู้นำประชาชน (ผู้บ่งการ) เมืองโฟลเรนท์โดยพฤตินัย (Practical Dictator of Florence) ซึ่งเกือบเป็นผลให้เกิดการปฏิรูปศาสนาครั้งใหญ่เป็นทางการเกิด ขึ้น พอดีสันตะปาปาไหวตัวก่อนจึงประกาศตัดสัมพันธ์ และสั่งจับท่านขังคุก ในที่สุด ก็ถูกพิพากษา ลงโทษแขวนคอตายแล้วเอาศพเผาไฟที่จตุรัสใหญ่ (สนามหลวง)ของเมืองในปี 1498 แต่การประหาร อย่างทารุณนี้ได้เป็นการปูทางสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เตรียมให้เกิดการปฏิรูปศาสนาครั้งใหญ่โดยมาติน ลูเทอร์ในเวลาอีกไม่ถึง 20 ปีต่อมา
! !
8.2 การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเบิล (The Fall of Constantinople) คศ.1453 เป็นเหตุการณ์ที่นักประวัติศาสตร์ทั่วไปกำหนดเป็นจุดแบ่งแยกระหว่างคริสตจักร สมัยกลางกับคริสตจักรสมัยปฏิรูป ซึ่งจะขออธิบายเพียงย่อ ๆดังนี้ หลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเบิล เสีย แต่พวกครูเสดในปี 1204 (ครูเสดครั้งที่ 4 ดูหน้า 6 ข้อ ง) อาณาจักรภาคตะวันออกก็ไม่สามารถ !105
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ฟื้นตัวขึ้นได้อีก แต่เนื่องด้วยอาศัยการป้องกันที่เข้มแข็งของสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าช่วย ทำให้ป้องกันเมืองอยู่นานได้เป็นเวลาราว 200 ปีให้พ้นจากพวกเติร์กผู้หิวกระหายสงคราม ตามที่เราทราบแล้วว่า พวกเติร์ก (ผู้สืบอำนาจต่อจากพวกอาหรับ) เมื่อกลายเป็นผู้นำทาง อำนาจของศาสนาโมหะหมัดก็ได้ทำการบุกเข้ายึดครองที่ละมณฑลที่ละเมืองและที่ละประเทศจน กระทั่งเหลือแต่กรุงคอนสแตนติโนเบิล ในที่สุดปี 1453 ผู้นำเติร์กชื่อ โมหะหมัดที่ 2 ได้บุกเข้าชิงเอา ไปได้สำเร็จ แล้วคริสตจักรเซนต์โซเฟีย (St.Sophia) ที่สวยงามและมีราคาแพงมาก็ถูกเปลี่ยนเป็น สุเหร่าไปภายในวันเดียว ส่วนกรุงคอนสแตนติโนเบิลก็กลายเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรตุรกี (Turkish Empire) ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปี คศ.1920 แล้วในปี คศ.1923 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เมือง หลวงของตุรกีได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองแองการา (Ankara) อย่างไรก็ตาม แม้อาณาจักรกรีกจะล้มลง แต่คริสตจักรกรีก (ตะวันออก) กับเพททิอาร์คก็ยัง คงสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ภายใต้การปกครองของพวกมุสลิม (แต่ก็มีคริสตจักรตะวันออกในบางเมือง ที่เปลี่ยนใจเป็นมุสลิม) ที่สำคัญที่สุด คือ พวกตุรกีเนื่องจากมีความยินดีและความคิดมอบงานด้านกา รบริหารใหักับคนในประเทศนั้นที่ตนยึดได้ และด้วยเห็นว่า วิธีการบริหารของพวกคริสตชนนั้นดีกับ สะดวกเหมาะสมที่สุด จึงได้แต่งตั้งพวกบรรพชิตให้เป็นผู้นำประเทศทั้งด้านการเมืองและทางคริสต ศาสนา ซึ่งในที่สุดได้สามารถช่วยรื้อฟื้นให้หลายชนชาติในแถบนั้นกลับเป็นประเทศขึ้นมาอีก เช่น เซอร์เบียน (Serbian) กรีก (Greek) รูเมเนีย (Rumania) และบูลกาเรียน (Balgarian) สภาพเหตุการณ์เช่นนี้เอง ที่ทำให้คริสตจักรตะวันออก (หรือคริสตจักรกรีก) ต้องเกี่ยว พันทางการเมืองมาตลอดจนถึงปัจจุบันนี้ (เช่น อัครสังฆราชมากาเรียสแห่งเกาะไซปรัส) ในเวลานี้ พวกเขาเรียกว่า “คริสตจักรกรีกออโธดอกซ์” (Greek Orthodox Church) ที่มีความหมายว่า “เชื่อ อย่างถูกต้อง” (Right Believing) เพราะพวกเขาอ้างว่าเป็นคริสตจักรที่เชื่อถูกต้องของพระคริสต์ เนื่องจากก่อตั้งโดยพระเยซูและพวกอัครสาวกมาตั้งแต่เริ่มแรก และได้รักษาขนมธรรมเนียมต่าง ๆ ทุกอย่างมาตลอด (จึงกลายเป็นว่าคริสตชนแบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ในปัจจุบันนี้ คือ พวกโรมันคาทอ ลิค (ในประเทศไทย) พวกกรีกออโธดอกซ์ และพวกโปรแตสแตนท์) เหตุผลสำคัญเป็นที่ทำให้เกิดคริ สตจักรกรีกออโธดอกซ์ที่แยกต่างหากออกจากพวกคาทอลิคและคริสเตียนก็เนื่องจาก ก) การแยกเมืองหลวงจากโรมมาตั้งอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเบิล ทำให้ต้องก่อตั้งคริสตจักร ขึ้นใหม่ที่ภายหลังไม่เกี่ยวข้องกับกรุงโรมแลย ข) เมื่อคริสตจักรกรีกออโธดอกซ์อยู่ภายใต้อำนาจของพวกมุสลิมก็ทำให้ถูกตัดขาดจากความ เจริญก้าวหน้าในด้านวิทยาการต่าง ๆของคริสตจักรตะวันออก (และภาคตะวันตก - ยุโรป) โดยเฉพาะ ด้านความรู้ศาสนศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ดังนั้น จึงทำให้ความเชื่อของพวกกรีกออโธดอกซ์นี้จึงมี หลายอย่างที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลง
!106
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
! !
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ยุคที่ 5 ยุคปฏิรูปศาสนา ค.ศ. 1517 – 1648!
หน่วยที่ 9 ยุคปฏิรูปศาสนา (1)
9.1 เบื้องหลังและความเป็นไปของการปฏิรูปศาสนา (ค.ศ. 1517 – 1545)
!!
I. II.
ความหมายของการปฏิรูปศาสนา ในที่นี้ใช้คำว่า “การปฏิรูปศาสนา” 2 ลักษณะด้วยกัน A. การปฏิรูปศาสนาของกลุ่มโปรเตสแตนท์ 1. มองจากทัศนะของพวกโรมันคาธอลิค การปฏิรูปศาสนาของโปรเตสแตนท์ หมายถึง การกบฏต่อต้านคริสตจักร สากลของพระเจ้า หรือคริสตจักรโรมันคาธอลิค โดยมาร์ติน ลูเธอร์ 2. มองจากทัศนะของนักประวัติศาสตร์โปรเตสแตนท์ การปฏิรูปของโปรเตสแตนท์ หมายถึง การคัดค้านคำสอนของคริสตจักรคาธ อลิคที่ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงต่อพระคัมภีร์ และคัดค้านระบบการปกครองของ สันตะปาปา ตลอดจนความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมของบาทหลวง เป็นการ ปฏิรูปเพื่อนำคริสตจักรกลับไปสู่คำสอนที่ใกล้เคียงคริสตจักรสมัยกิจการที่สุด B. การปฏิรูปศาสนาของโรมันคาธอลิค (The Catholic Reformation ค.ศ. 1548-1563) หมายถึง การปฎิรูปแบบการปกครอง และการบริหารภายในคริสตจักรโรมันคาธ อลิคโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อคัดค้านการปฏิรูปและการแพร่ขยายของโปรเตสแตนท์ และเพื่อเผยแพร่ความเชื่อของคาธอลิคไปยังดินแดนใหม่ สิ่งที่น่าสังเกต การปฏิรูปศาสนาของโปรเตสแตนท์เกิดขึ้นในดินแดนยุโรปตะวันตก คริสตจักร ทางตะวันออก และคริสตจักรในอาณาจักรโรมันดั้งเดิมไม่ได้ยอมรับการปฏิรูป ศาสนาของโปรเตสแตนท์ การปฎิรูปศาสนาของคาธอลิคชี้ให้เห็นถึง ความ เสื่อมโทรมของระบบการปกครอง และศีลธรรมของบาทหลวงในนิกายคาธอลิค C. สาเหตุของการปฏิรูปศาสนาของกลุ่มโปรเตสแตนท์ แท้ที่จริงได้มีนักปฏิรูปศาสนาเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 15 แล้ว อย่างเช่น จอห์น วิ คคลิฟ และ จอห์น ฮัทส์ แม้ว่าความพยายามของพวกเขาจะไม่สำเร็จ แต่ก็ได้ แสดงให้เห็นว่าคริสตจักรตกอยู่ในสภาพที่ต้องการการปฏิรูปอย่างมากมายและแท้ ที่จริงคำเทศนาและคำเร่งเร้าของนักปฏิรูป ศาสนาในศตวรรษที่ 16 เช่น ลูเธอร์ และคาลวินก็มิได้แตกต่างจากนักปฏิรูปศาสนาที่มาก่อนพวกเขาเลย แต่การ ปฏิรูปมาสำเร็จลงในศตวรรษที่ 16 ได้ เพราะสถานการณ์และเวลาในศตวรรษที่ 16 สุกงอมเต็มที่จนกระทั่งสังคมและประชาชนส่วนใหญ่พร้อมที่จะรับสิ่งที่นัก !107
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ปฏิรูปศตวรรษที่ 16 เทศนาสั่งสอน พูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า พระเจ้าทรงมี “เวลา” ที่ เหมาะสมสำหรับทุกสิ่ง และในศตวรรษที่ 16 ก็เป็น “เวลา” ที่พร้อมต่อการปฏิรูป ศาสนานั่นเอง (ปัญญาจารย์ 3:1) มีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ “เวลา” พร้อมต่อ การปฏิรูปศาสนา สาเหตุเหล่านี้ได้แก่
!
1. สาเหตุทางการเมือง (Political Factors) a) ความรู้สึกชาตินิยม (1) ในยุคกลางหรือยุคมืด เมืองต่าง ๆ ในยุโรป แม้จะมีเจ้าผู้ครองหรือ กษัตริย์ปกครองเมืองและเขตแดนของตน แต่เมืองต่าง ๆ เหล่านี้ ยังถือว่าขึ้นอยู่กับอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (2) ต่อมาในศตวรรษที่ 13-15 เมืองต่าง ๆ ในแถบตะวันตก และทางเหนือ ของยุโรป เช่น อังกฤษ, ฝรั่งเศส และสเปน เกิดความเคลื่อนไหว ที่จะแยกตัวออกจากอำนาจของจักรพรรดิอาณาจักรโรมันอัน ศักดิ์สิทธิแ์ ละคัดค้านอำนาจการปกครองของสันตะปาปา และคริสต จักรสากล (Universal Church) ที่มีอยู่เหนือประเทศ และเจ้าผู้ ปกครอง (กษัตริย์) ของตน (3) เจ้าผู้ปกครอง และกษัตริย์ของดินแดนเหล่านี้ไม่พอใจที่สันตะปาปา มี อำนาจทั้งทางการปกครองและทางศาสนา เหนือดินแดนของตน และคริสตจักรโรมยังเป็นเจ้าของดินแดนทั่วยุโรปอีกด้วย b) การแต่งตั้งบรรพชิตเข้าดำรงตำแหน่งในคริสตจักร (1) กษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองดินแดนทางยุโรปตะวันตกไม่พอใจที่ตำแหน่ง สำคัญ ๆ ของบรรพชิตในคริสตจักรในประเทศยุโรปแต่งตั้งโดย สันตะปาปา (2) และบรรพชิตเหล่านี้หากกระทำผิดก็ไม่ต้องขึ้นศาลของเมืองหรือประเทศ นั้น ๆ แต่จะตัดสินโทษกันในศาลศาสนาและยังสามารถอุทธรณ์ไป ยังสันตะปาปาได้อีกด้วย
!
2. สาเหตุทางเศรษฐกิจ (Economical Factors) การที่คริสตจักรโรมเป็นเจ้าของที่ดินมากมายในยุโรปทำให้กษัตริย์มองดู สันตะปาปาว่าเป็นศักดินา ยิ่งไปกว่านั้นกษัตริย์ยุโรปยังไม่พอใจที่ต้องแบก ภาระภาษีที่ต้องส่งไปให้แก่โรมด้วย บรรพชิตของคริสตจักรคาธอลิค ก็ได้รับ การยกเว้นภาษี
!
3. สาเหตุทางสังคม และสติปัญญา (Social and Intellectual Factors) a) ชนชั้นกลาง หรือชนชั้นพ่อค้า สงครามครูเสด ทำให้ชนชั้นศักดินาล้มตายลงมาก ดังนั้น ระบบศักดินา ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจในยุคกลางจึงเสื่อมลง เปิดโอกาสให้พ่อค้า, ชนชั้น กลางมีบทบาทในสังคมมากขึ้น ๆ ชนชั้นกลางเหล่านี้ต้องการรักษาผล !108
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ประโยชน์ของตน และไม่ต้องการอยู่ใต้อำนาจของสันตะปาปา และคิดว่า กษัตริย์ยุโรปสามารถให้ความคุ้มครองตนได้ดีกว่า b) การปฏิวัติวัฒนธรรม (Renaissance) ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1350 – 1650 เป็นช่วงที่เกิดการปฏิรูปวัฒนธรรม ในยุโรป (เริ่มที่อิตาลี) Renaissance (เรอนาสซองค์) หมายถึง การ ปฏิวัติวัฒนธรรม ในช่วงนี้ ได้มีการนำเอาวรรณกรรม, สถาปัตยกรรม, วัฒนธรรมของกรีก-โรมันดั้งเดิมกลับมาฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่ง ในแง่ของ ประวัติศาสตร์นับว่า เป็นการเปลี่ยนแปลงจากวัฒนธรรมยุคกลางสู่ยุค ใหม่ ผลของการปฏิรูปวัฒนธรรม (Renaissance) ก็คือ ทำให้ผู้คนหันมา สนใจตนเองมากกว่าศาสนา หันมาแสวงหาวิชาการใหม่ ๆ ทำให้เกิดนัก วิชาการคริสเตียนประเภทหนึ่งขึ้นเรียกว่าฮิวแมนนิสท์ (Humanist) c) การค้นพบโลกใหม่ ในปี ค.ศ.1492 โคลัมบัสค้นพบโลกใหม่ ในขณะที่พยายามจะเดินทางไป อินเดีย หลังจากโคลัมบัสมีนักสำรวจทางทะเลออกเดินทางและค้นพบดิน แดนใหม่อีกมากมาย ผลก็คือ………. (1) ทำให้เกิดเส้นทางการค้าใหม่ ซึ่งเป็นผลให้เกิดระบบการค้าแบบใหม่ และมีการสำรวจทางทะเล ซึ่งส่งเสริมให้อำนาจของชนชั้นกลางมี มากขึ้น และร่ำรวยขึ้น (2) เปลี่ยนและสร้างความคิดใหม่แก่ผู้คน คนยุคกลางเชื่อว่าโลกแบน แต่ การสำรวจทางทะเลพิสูจน์ว่า โลกกลมซึ่งต่างจากคำสอนของคริสต จักร
!
4. สาเหตุทางศีลธรรม (Moral Factors) a) คอรัปชั่นในคริสตจักรโรม มีการคอรัปชั่นจากระดับสูงจนถึงบรรพชิตในระดับล่างของคริสตจักรโรม ซึ่งทำให้ประชาชนเอือมระอา และเสื่อมความศรัทธาในคริสตจักรโรม คอรัปชั่นดังกล่าวทำกัน 5 รูปแบบ คือ…… (1) การซื้อขายตำแหน่ง (Simony) (2) ละเลยหน้าที่ (Absenteeism) (3) โลภเขตปกครอง (Pluralism) (4) ผิดศีลธรรม (Immorality) กฏของคริสตจักรโรมห้ามบรรพชิตแต่งงาน แต่ปรากฏว่ามี บาทหลวงมากมาย แอบมีภรรยาลับ และบางคนก็นำภรรยาลับมา อยู่กินอย่างเปิดเผย บรรพชิตบางคนพยายามให้ลูกนอกกฏหมายที่ เกิดจากภรรยาลับรับตำแหน่งในคริสตจักร อาราม กลายเป็น สถานที่หาความสุข และความฟุ้งเฟ้อแทนที่จะเป็นศูนย์- กลาง ฝ่ายจิตวิญญาณ !109
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
(5)
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ไม่มีชีวิตฝ่ายวิญญาณ (Irreligion) บาทหลวงที่รับใช้ในคริสตจักรไม่มีความรู้ความเข้าใจในพระ วจนะอย่างแท้จริง ความไม่พอใจของชาวนาต่อคริสตจักร ใน ศตวรรษที่ 15 และ 16 ชาวนามีสภาพแร้นแค้นขัดสนมาก ชาวนาเคยมองดูบาทหลวงในอารามเป็นผู้ปกป้องตน แต่ เนื่องจากความเสื่อมและคอรัปชั่นของคริสตจักรชาวนากลับ มองดูบาทหลวงเป็นพวกกดขี่คนจน และอยู่ข้างเดียวกับพวก เจ้าของที่ดินและคนรวย ความไม่พอใจของชาวนาและชนชั้น ต่ำที่ยากจนเหล่านี้ นำมาซึ่ง (a) การปฏิวัติชาวนา (การจลาจล) (b) นิมิตเกี่ยวกับอนาคต (Apocalyptic Vision) (c) เรียกร้องให้มีการปฏิรูปศาสนา
!
5. สาเหตุจากคำสอนและหลักข้อเชื่อของคริสตจักรโรม a) การเข้ามาของนักศาสนศาสตร์จากตะวันออก เมื่อกรุงคอนสแตนติโนเปิลล่มสลายในปี ค.ศ. 1453 ทำให้นักศาสน ศาสตร์ จากคริสตจักรกรีกออโธดอกหลั่งไหลเข้ามายังยุโรปตะวันตก คน เหล่านี้ได้นำทัศนะและคำสอนที่แตกต่างจากของคริสตจักรโรมันเข้ามา นอกจากนั้นยังนำเอาพระคัมภีร์ต้นฉบับภาษาเดิม เข้ามาในยุโรปตะวัน ตกทำให้สามารถเรียนรู้ และเปรียบเทียบพระคัมภีร์ฉบับภาษากรีกเดิมกับ ภาษาละตินผลก็คือมีหลายคนคิดว่าถ้าได้หันมาศึกษาจาก ภาษาเดิม จะ ทำให้เข้าใจสัจธรรมและหลักคำสอนที่ถูกต้องขึ้น และเมื่อได้ศึกษาอย่าง แท้จริง ก็เห็นว่าคำสอนของคริสตจักรโรม แตกต่างจากคำสอนของคริ สตจักรยุคอัครฑูต มากมาย b) การขายบัตรไถ่บาป สาเหตุโดยตรงที่นำมาสู่การปฏิรูปศาสนาคือ คำสอนเกี่ยวกับการทำ ทัณฑกรรม (การไถ่บาป) ที่คริสตจักรโรมใช้อย่างผิด ๆ ในต้นศตวรรษที่ 16 สันตะปาปาเลโอที่ 10 ต้องการได้เงินจำนวนมากที่ จะสร้างวิหารเซ็นต์ปีเตอร์ ในกรุงโรม จึงออกกฏหมายอนุญาตให้อาร์คบิชอปอัลเบิร์ต (Archbishop Albert) ขาย บัตรไถ่บาป ในแคว้นแซกโซนี่ ประเทศเยอรมันนีได้ ตัวแทนของอัลเบิร์ต ในการขายบัตรไถ่บาปคือ เท็ทเซิล (โยฮัน เท็ทเซิล) (Johann Tetzel) ซึ่งสามารถขายบัตรไถ่บาปให้แก่สันตะปาปาได้ถึง $500,000 (200 ล้าน บาท) การขายบัตรไถ่บาปนี้เกี่ยวข้องกับการทำทัณฑกรรม (การล้างบาป = The sacrament of Penance) คริสตจักรโรมัน สอนว่า การสารภาพบาปและกลับใจใหม่ นำมาซึ่งการ อภัยบาปชั่วนิรันดร์ แต่ทุกคนยังจะต้องกระทำบางสิ่งบางอย่าง เพื่อ !110
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เป็นการทำให้ พระเจ้าพอพระทัย ซึ่งจะทำได้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่หรือ ขณะที่อยู่ที่แดนชำระ สิ่งที่จะต้องกระทำเพื่อชดใช้ความบาปผิดที่ตนกระทำ อาจจะเป็นการ ถวาย เงินให้คริสตจักร การธุดงค์หรือแสวงบุญไปยังที่สำคัญทางศาสนา ฯลฯ บัตรไถ่บาปเป็น เอกสารที่สามารถซื้อด้วยเงิน เพื่อเป็นการชดใช้บาปที่ ทำไป คริสตจักรคาธอลิคสอนว่าพระเยซูและนักบุญทั้งหลาย ขณะที่อยู่บนโลก ได้กระทำความดีไว้มากมายจนส่ำสมไว้ไม่อั้นบนพระคลังของสวรรค์ และ สันตะปาปามีสิทธิอำนาจที่จะดึงเอาความดีเหล่านี้มาชดใช้บาปของผู้เชื่อ บนโลกได้ ความคิดนี้เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 โดยชายชื่อ อเล็กซานเดอร์ แห่งเมือง เฮลส์ (Alexander of Hales) ในปี ค.ศ. 1343 สันตะปาปาคลีเมนท์ที่ 6 (Clement VI) ประกาศเป็น หลักข้อเชื่อ (Sixtus IV) ได้ออกกฏเพิ่มเติมว่า ญาติพี่น้องสามารถซื้อ บัตรไถ่บาปให้แก่ผู้ที่ตายไปแล้วได้ ดังนั้นในหลักข้อเชื่อ 95 ข้อของมาร์ติน ลูเธอร์ ที่เขียนขึ้นคัดค้านคาธอลิค จึงต่อต้านการขายบัตรไถ่บาปนี้ด้วย
! ********************************* ! 9.2 กลุ่มปฏิรูปศาสนาที่สำคัญของโปรเตสแตนท์ 4 กลุ่ม !
I. การปฎิรูปของกลุ่มลูเธอร์แรน (The Lutheran Reformation) ผู้นำกลุ่ม มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ฟิลิป มีลานซ์ธอน (Philip Melanchthon) บริเวณที่ได้รับอิทธิพล เยอรมันนี สแกนดิเนเวีย ไอซ์แลนด์ (Iceland) ผลงานหลัก การปฏิรูปของกลุ่มนี้ไม่เพียงแต่มีอิทธิพลในยุคสมัยของตนแต่มีอิทธิพลยาวนานถึงสมัยต่อๆ มา พระคัมภีร์ภาษาเยอรมันที่ลูเธอร์เป็นผู้แปลช่วยเป็นมาตรฐานในการวางหลักเกณฑ์ของภาษา เยอรมัน ลูเธอร์ได้วางระบบการศึกษาระดับประถมในเยอรมัน ซึ่งกลายเป็นระบบการศึกษาสากลทำให้ ประชาชนมีการศึกษาอ่านออกเขียนได้จึงสามารถอ่านพระคัมภีร์ได้ นำการเทศนากลับเข้ามาใช้ในคริสตจักรอย่างถูกต้อง !111
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ทำให้พระคัมภีร์เป็นสิทธิอำนาจสูงสุดของคริสเตียนแทน ทำให้คริสเตียนเข้าใจว่า ความรอดได้มาโดยพระคุณ และโดยการกระทำของพระ-เยซูคริสต์ มิใช่โดยการกระทำของมนุษย์ ลูเธอร์ แต่งเพลงนมัสการซึ่งเป็นที่รู้จักในปัจจุบันหลายบท เช่น A Mighty Fortress Is Our God, Away in a Manger เป็นต้น
!
II. กลุ่มเคลวิน (The Calvinistic Reformation) ผู้นำสำคัญ จอห์น เคลวิน (John Calvin) วิลเลี่ยม ฟาเร็ล (William Farel) ธีโอดอร์ บีซา (Theodore Beza)
!
บริเวณที่ได้รับอิทธิพล สวิสเซอร์แลนด์ (โดยเฉพาะส่วนของสวิสเซอร์แลนด์ที่พูดภาษาฝรั่งเศส คือ บริเวณรอบๆ เมืองเจนีวา) ฝรั่งเศส เยอรมันตะวันตก เนเธอร์แลนด์ สก๊อตแลนด์
!
ผลงานสำคัญ ผลงานที่สำคัญที่สุดของเคลวิน คือ งานเขียนชื่อ Institutes of the Christian Religion (หรือ ธรรมนูญของศาสนาคริสต์) ซึ่งยังคงเป็นหลักศาสนศาสตร์ที่ยึดถือกันจนถึง ปัจจุบันในคณะรีฟอร์ม (Reformed Theology) เคลวินเน้นความสำคัญของการศึกษา อันนำมาซึ่งการจัดตั้งมหาวิทยาลัยในเมืองเจนีวา และมีอิทธิพลต่อกลุ่มเพียวริตัน (Puritans) ในเรื่องการศึกษาด้วย เคลวินได้เขียนหนังสืออรรถาธิบายพระธรรมในหนังสือต่าง ๆ ในพระคัมภีร์ ซึ่งยังคงใช้อยู่ ในปัจจุบัน เจนีวา กลายเป็นเมืองหลบภัยของบรรดาคริสเตียนโปรเตสแตนท์ที่ถูกข่มเหงรังแกเพราะ ความเชื่อของพวกเขา เคลวินสนับสนุนให้คริสตจักร และรัฐ มีการปกครองโดยการเลือกผู้แทน เขาเน้นคำสอนในเรื่องความรอดที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้า (Predestination)
!
III. กลุ่มสวิงลี่ (The Zwinglian Reformation) 1. ผู้นำสำคัญ อัลริช สวิงลี่ (Ulrich Zwingli) ไฮน์ริช บูลลิงเจอร์ (Heinrich Bullinger) 2. บริเวณที่ได้รับอิทธิพล !112
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
สวิสเซอร์แลนด์ (บริเวณที่พูดภาษาเยอรมัน รอบ ๆ เมืองซูลิค (Zurich) เยอรมันตะวันตก 3. ผลงานหลัก สานุศิษย์ของสวิงลี่และเคลวินได้ร่วมกันตั้งคริสตจักรโปรเตสแตนท์นิกายรีฟอร์ม (Reformed) ในสวิสเซอร์แลนด์ สวิงลี่ เน้นคำสอนเรื่องพิธีมหาสนิทว่า เป็นพิธีระลึกถึงการวายพระชนม์ของพระคริสต์เท่านั้น ไ ม่ใช่การถวายบูชา หรือพิธีศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งทัศนะนี้คณะแบ๊บติสต์ได้ ยึดถือตามในเวลาต่อมา เป็นต้นกำเนิดของพวกอนาแบ๊บติส (Anabaptist Movement) ซึ่งเป็นต้นสายของ ค ริสตจักรแบ๊บติสในปัจจุบัน สวิงลี่ เน้นการแยกคริสตจักรออกจากรัฐ
!
IV. กลุ่มแองกลีกัน (The Anglican Reformation) 1. ผู้นำสำคัญ - กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 (King Henry VIII) - โธมัส เครนเมอร์ (Thomas Cranmer) - ฮิวจ์ ลาติเมอร์ (Hugh Latimer) - นิโคลัส ริดเลย์ (Nicholas Ridley) 2. บริเวณที่ได้รับอิทธิพล - ประเทศอังกฤษ 3. ผลงานหลัก (a) ทำให้อังกฤษกลายมาเป็นโปรเตสแตนท์ (b) นำมาซึ่งการเคลื่อนไหวของกลุ่มเพียวริตัน (Puritan) ในอังกฤษ ซึ่งเป็นกลุ่มคริสเตียนที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อของประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาประเทศสหรัฐอเมริกา (c) คริสตจักรแองกลิกัน ผลิตพระคัมภีร์ฉบับคิง เจมส์ (King James) ขึ้น ทำให้เกิดคริสตจักรแองกลิกัน ในอังกฤษและคริสตจักรของคณะอีพิสโคเพิล (Episcopal Church) ในสหรัฐ มีอิทธิพลต่อจอห์น เวสลีย์ (John Wesley) และการเคลื่อนไหวของกลุ่มเมโธดิส (The Methodist) ในอังกฤษ
!113
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หน่วยที่ 10 ยุคปฏิรูปศาสนา (2)
!
10.1 การปฎิรูปในเยอรมันนี – การปฏิรูปของมาร์ติน ลูเธอร์ I. คำนำ กลุ่มโปรเตสแตนท์ได้พยายามหาคำตอบให้กับคำถามสำคัญ 4 คำถามด้วยกัน ได้แก่ 1. มนุษย์รอดได้อย่างไร – โดยพระคุณ หรือโดยพระคุณ + การกระทำ ? 2. สิทธิอำนาจทางศาสนามาจากไหน ? - จากพระคัมภีร์หรือจากบุคคล 3. คริสตจักรคืออะไร ? - ผู้เชื่อทุกคนหรือบาทหลวง (บรรพชิต) 4.คริสเตียนมีชีวิตอยู่เพื่ออะไร ? นักปฏิรูปทั้งหลายในยุโรป ในศตวรรษที่ 16 ต่างมาถึงคำตอบที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตาม มาร์ติน ลูเธอร์เป็นผู้แรกที่ประกาศความเชื่อและคำตอบของ เขาต่อหน้าสาธารณชน จึงมีปัญหาขัดแย้งกับคริสตจักรโรมอย่างรุนแรง มาร์ติน ลูเธอร์ จึงได้ชื่อว่า เป็นนักปฏิรูปศาสนาโปรเตสแตนท์คนแรก
!
II. ประวัติความเป็นมา และการดิ้นรนเพื่อแสวงหาสันติสุขภายในใจ A. ชีวิตในวัยเด็ก มาร์ติน ลูเธอร์เกิดในปี ค.ศ. 1483 ในหมู่บ้านเล็ก ๆแห่งหนึ่งของเยอรมันนีชื่อ ไอสเลเบน (Eislaben) เดิมบิดาเป็นชาวนา แต่ต่อมาได้ทำงานในเหมืองทองแดงและร่ำรวยขึ้น เป็นชนชั้นกลาง ของสมัยนั้น และเป็นเจ้าของเหมืองและโรงถลุงแร่หลายแห่ง ชีวิตในวัยเด็กของมาร์ติน ลูเธอร์ ไม่ค่อยมีความสุขนัก เพราะพ่อแม่เป็นคนเข้มงวดมาก หากจับได้ว่าลูกทำผิดแม้เพียงเรื่องเล็กน้อย ก็จะทำโทษลูกอย่างรุนแรง ดังนั้น ตลอดชีวิต ของมาร์ติน ลูเธอร์ เขาแบกเอาความรู้สึกหดหู่และวิตกกังวลไว้ตลอดเวลา
!
B. การบวชเป็นบรรพชิต ความตั้งใจของบิดาต้องการให้มาร์ติน ลูเธอร์เป็นนักกฏหมาย แต่มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น ในปี ค.ศ. 1505 ทำให้เขาเปลี่ยนแผนชีวิต เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในขณะที่เขาเดินไปยังหมู่บ้านสต๊อตเตอร์ไฮม์ (Stotterheim) แล้วเกิด พายุฝนขึ้น ลูเธอร์ถูกสายฟ้าผ่าล้มลง ในขณะนั้นเองเขาได้ร้องด้วยความตกใจ ขอให้นักบุญแอนน์ช่วย เขาให้ปลอดภัย แล้วเขาสัญญาที่จะบวชเป็นบรรชิตหากรอดชีวิตไปได้ สองอาทิตย์ต่อมา เขาจึงเข้าบวชในอารามของคณะออกัสตินที่เมืองเออร์เฟิร์ท (Erfurt) อย่างไรก็ตาม เหตุผลที่ผลักดันให้เขาบวชเข้าอารามมีมากว่าคำสัญญานี้ เพราะต่อมา ลูเธอร์ยอมรับว่าสิ่งที่ผลักดันให้เขาออกบวช คือ ต้องการหนีจากความเจ็บปวดในวัยเด็ก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ผลักดันให้ลูเธอร์ออกบวช คือ ความต้องการแน่ใจว่าเขาได้รับความรอด !114
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ดังนั้นในปี ค.ศ. 1507 เขาจึงได้รับสถาปนาเป็นบาทหลวง
!
C. การดิ้นรนฝ่ายจิตวิญญาณ ช่วง 10 ปีแรกหลังจากเป็นบรรพชิต ลูเธอร์ต้องต่อสู้ดิ้นรนภายในจิตวิญญาณอย่างมาก ภายในจิตใจของลูเธอร์ว้าวุ่น แม้ว่าเขาจะกระทำการชดใช้บาปตามความเชื่อของคาธอลิคไป ครั้งแล้วครั้งเล่าก็ตาม แต่ก็ยังรู้สึกว่า ความบาปผิดไม่สามารถหลุดไปจากชีวิต และ จิตใจของเขาได้เลย ต่อมาในปี ค.ศ. 1510-11 มาร์ติน ลูเธอร์เดินทางไปทำศาสนกิจในกรุงโรม และเห็นความ เหลวแหลก ฟุ่มเฟือย และการฉ้อฉล คอรัปชั่นของคริสตจักรโรมันยิ่ง ทำให้เขารู้สึก สับสน ว้าวุ่นยิ่งขึ้น บาทหลวงซึ่งเป็นผู้ฟังคำสารภาพบาปของลูเธอร์ เชื่อว่า ลูเธอร์จะสามารถหาคำตอบให้กับ ปัญหาในจิตวิญญาณของเขาได้ โดยการออกไปรับใช้พระเจ้า ดังนั้นในปี ค.ศ. 1512 ลูเธอร์จึงถูกส่งไปสอนพระคัมภีร์ที่มหาวิทยาลัยในเมืองวิทเทนเบิร์ก (Wittenberg) ในช่วง 4 ปีแรกที่วิทเทนเบิร์ก ลูเธอร์สอนพระธรรมสดุดี และโรม (ต่อมาสอนกาลาเทีย และฮีบรู) ขณะที่เตรียมบทเรียนที่จะใช้สอนนั้นเอง เขาได้พบสันติสุขซึ่งไม่สามารถจะได้จากการกระ ทำการชดใช้บาป (Penance) ตามคำสอนของคริสตจักรคาธอลิค โรม 1:17 ทำให้ลูเธอร์แน่ใจว่า มนุษย์รอดด้วยพระคุณเท่านั้น ไม่ใช่ด้วยการกระทำ นอกจากนั้น เขายังพบหลักเกณฑ์สำคัญอีก 2 ข้อ ซึ่งกลายเป็นแกนหลักของนิกายโปรเตส แตนท์นั่นก็คือ พระคัมภีร์เท่านั้น เป็นสิทธิอำนาจสูงสุดในชีวิตของคริสตชน ผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิตของพระเจ้า สามารถเข้าเฝ้าได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องผ่านบาทหลวง
!
III. ความขัดแย้งกับคริสตจักรในกรุงโรม A. ความขัดแย้งเรื่องการซื้อบัตรไถ่บาป (The Indulgence Controversy) สันตะปาปาเลโอที่ 10 (Pope Leo X) ต้องการเงินจำนวนมหาศาล เพื่อมาสร้างวิหาร เซนต์ ปีเตอร์ (St. Peter’s Basilica) จึงได้ส่งพระคาร์ดินัล โยฮัน เท็ทเซิล (John Tetzel) ไปหาทุนที่เยอรมันนี โดยวิธี การขายบัตรไถ่ บาป สำหรับลูเธอร์ คำสอนของเท็ทเซิล เรื่องบัตรไถ่บาปเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักศาสนศาสตร์ ในพระคัมภีร์ ดังนั้น เขาจึงร่าง หลักการ 95 ข้อ (95 Theses) เพื่อใช้ในการถกเกี่ยวกับหลักศาสศาสตร์ และในวันที่ 31 ตุลาคม มาร์ติน ลูเธอร์ได้นำข้อเสนอนี้ไปปิดไว้ที่ประตูวิหารของเมืองวิทเท นเบิร์ก (The Church Castle in Wittenburg) ลูเธอร์ คัดค้านว่า (a) บัตรไถ่บาปไม่สามารถลบล้างบาปได้ (b) บัตรไถ่บาปไม่สามารถช่วยคนให้พ้นจากแดนชำระได้ !115
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(c) บัตรไถ่บาปอันตรายต่อชีวิตฝ่ายวิญญาณเพราะทำให้ผู้คนแสวงหาความมั่นคงฝ่าย วิญญาณในทางที่ผิด นอกจากนั้น ลูเธอร์ยังค้านอีกว่า ถ้าสันตะปาปามีสิทธิอำนาจที่จะปลดปล่อยประชาชนออก จากแดนชำระอย่างแท้จริง สันตะปาปาก็ควรจะกระทำด้วยความรักไม่ใช่เพื่อผล ประโยชน์ และที่จริง สันตะปาปาควรจะแจกเงินให้คนจนแทนที่จะรีดนาทาเร้น เอาจากคนจนเพื่อไป สร้างวิหารที่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย ไม่นานนัก ผู้นำคริสตจักรก็ประกาศว่า ลูเธอร์เทศนาคำสอนที่อันตราย (a preacher of dangerous doctrine) มาร์ติน ลูเธอร์โต้ตอบข้อกล่าวหานี้ โดยยินยอมที่จะยกเลิกคำสอนของเขาหากคริสตจักร โรมสามารถพิสูจน์ได้ว่า คำสอนของลูเธอร์ผิดจากพระคัมภีร์ ดังนั้นคำท้าทายนี้จึงนำมาซึ่งการเปิดอภิปราย ถกปัญหากันขึ้นระหว่าง ลูเธอร์และผู้นำคริสตจักร เราสามารถกล่าวได้ว่า การขายบัตรไถ่บาป เป็นชนวนที่นำมาสู่การปฏิรูปศาสนาใน เยอรมันนีนั่นเอง B. การอภิปรายถกเถียงปัญหา (The Debates) ค.ศ. 1518 ที่เมืองไฮเดลเบิร์ก (Heidelberg) ลูเธอร์ถกปัญหากับผู้นำจากคณะออกัสติน และจบลงด้วยการที่ผู้นำเหล่านี้กลับเห็นชอบและสนับสนุนคำสอนของลูเธอร์ ค.ศ. 1519 ที่เมืองลีพซิค (Leipzig) ลูเธอร์ถกปัญหากับนักศาสนศาสตร์ชื่อ จอห์น เอ็ค (John Eek) จอห์น เอ็ค บังคับให้ลูเธอร์ยอมรับว่า : 1) สภาคริสตจักรอาจจะมีการผิดพลาดได้บ้าง 2) ทุกคนจะต้องเต็มใจยอมรับการตัดสินใจของสันตะปาปา โดยห้ามมีข้อโต้เถียงหรือสงสัย เลย เมื่อลูเธอร์ปฏิเสธข้อสรุปดังกล่าว จอห์น เอ็ค จึงให้คริสตจักรโรมประกาศว่า มาร์ติน ลูเธอ ร์เป็นผู้สอนเทียมเท็จ ลูเธอร์โต้ตอบคำประกาศนี้ โดยพิมพ์ใบปลิว 3 ฉบับขึ้น เพื่อให้สาธารณชนเป็นผู้ตัดสิน เรื่องของเขา (a) ฉบับที่ 1 ชื่อ “เรียน ผู้มีบรรดาศักดิ์แห่งชาติเยอรมัน” (To the German Nobility) ในใบปลิวฉบับนี้ ลูเธอร์ เขียนถึงบรรดาเจ้าชายเยอรมัน เรียกร้องให้แก้ไขความบาป ผิดในคริสตจักร โดยยึดทรัพย์สิน และยึดอำนาจฝ่ายโลกจากมือของบรรดาบิชอป และเจ้าอาวาสอารามในเยอรมัน และให้เร่งสร้างคริสตจักรแห่งชาติขึ้น (ที่ไม่ขึ้นกับ สันตะปาปา) (b) “เชลยบาบิโลนของคริสตจักร” (The Babylonian Captivity of the Church) ในใบปลิวฉบับนี้ ลูเธอร์กล่าวหาว่า ระบบพิธีศีลมากมายของคริสตจักรโรม ทำให้คริสต ชนตกเป็นเสมือน “เชลย” และลูเธอร์ได้เน้นถึงพิธีศีลที่สำคัญ และถูกต้องตามพระ !116
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
คัมภีร์ 2 พิธีคือ ศีลมหาสนิทและศีลบัพติศมา (c) “อิสรภาพของคริสตชน” (The Freedom of the Christian) ในใบปลิวฉบับนี้ ลูเธอร์กล่าวถึง ความเป็นปุโรหิตของผู้เชื่อทุกคน
C. การอเปหิจากคริสตจักร ในปี ค.ศ. 1520 สันตะปาปาเลโอที่ 10 (Leo X) อเปหิ มาร์ติน ลูเธอร์จาก คริสตจักรโรม หลังจากประกาศกฤษฎีกาอเปหิ มาร์ติน ลูเธอร์ได้ไม่นาน จักรพรรดิองค์ใหม่ ชาร์ลที่ 5 (Charles V) ได้เรียกตัวลูเธอร์มาแก้ความที่เมือง เวิร์ม (Worms) ลูเธอร์ปฏิเสธที่จะยอมรับผิด นอกจากจะสามารถพิสูจน์ได้จากพระคัมภีร์เท่านั้นว่า เขาผิด จริง จักรพรรดิชาร์ลที่ 5 จึงประกาศว่า มาร์ติน ลูเธอร์เป็นผู้สอนเท็จ และคนนอกกฏหมาย D. วีรบุรุษแห่งการปฏิรูปศาสนา หลังจากการปรากฏตัวของลูเธอร์ ที่กรุงเวอร์ม เมืองต่าง ๆใ นยุโรปได้ปฏิวัติต่อต้านกรุง โรม มาร์ติน ลูเธอร์ถูกมองว่า เป็นแรงบันดาลใจในการปฏิรูปครั้งนี้ ปี ค.ศ. 1522 ลูเธอร์ได้เดินทางกลับไปยังเมืองวิทเทนเบิร์ก และได้เริ่มโปรแกรมการปฏิรูป ศาสนา ซึ่งใช้กันในเยอรมันนี คือ ยกเลิกตำแหน่งบิชอป เพราะไม่พบหลักฐานเรื่องนี้ในพระคัมภีร์ ส่งเสริมการแต่งงานของบาทหลวง (ตัวลูเธอร์ก็แต่งกับ Katherine Von Bora อดีตแม่ชี) เรียบเรียงบทสวดภาษาละตินใหม่และแปลบทสวดเหล่านั้นเป็นภาษาท้องถิ่น อนุญาตให้ฆราวาสรับขนมปังและเหล้าองุ่นในพิธีมหาสนิทได้ เน้นการเทศนา และสอนพระวจนะแทนการทำมิซา
!
E. ความขัดแย้งในกลุ่มนักปฏิรูป เมื่อการปฏิรูปเกิดขึ้นและแพร่ขยายไปในเมืองต่าง ๆในยุโรปได้ไม่นาน ลูเธอร์ก็เกิดความขัดแย้งกับบางกลุ่ม (a) ผู้พยากรณ์กลุ่มสวิคเกา (Zwickau Prophets) ผู้นำ คือ นิโคลัส สตอร์คและมาร์ค สตูปเนอร์ (Nicholas Storch and Mark Stubner) ซึ่ง สอนความเชื่อของพวกอนาแบ๊บติส (Anabaptist) ลูเธอร์สามารถเทศนาขับไล่พวกนี้ไป ได้ภายใน 8 วัน (b) กลุ่มชาวนา (ค.ศ. 1525) กลุ่มชาวนาขัดแย้งและเลิกสนับสนุนลูเธอร์ เมื่อเขาคัดค้าน การก่อจลาจลของชาวนา และเมื่อเขาแต่งงานกับ แคธารีน ฟอน โบรา ในปี ค.ศ. 1525 ทำให้ชาวนาหมดความศรัทธา (c) อัดดริช สวิงลี่ (Uldrich Zwingli) ซึ่งเป็นนักปฏิรูปศาสนาคนสำคัญของสวิสเซอร์แลน ต์แตกแยกกับลูเธอร์ในความคิดเห็นที่ต่างกันเรื่องพิธีศีลมหาสนิท
!117
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ค.ศ. 1530 ในการประชุมสภาแห่งเมืองอ๊อกซ์เบิร์ก (Diet of Augsburg) มาร์ติน ลูเธอร์ได้ ร่างคำสารภาพแห่งอ๊อกส์เบิร์ก (The Augsburg Confession) เพื่อใช้เป็นหลักข้อ เชื่อ และธรรมนูญแห่งคริสตจักรลูเธอร์แลนในเยอรมันนี ค.ศ. 1546 มาร์ติน ลูเธอร์ถึงแก่กรรม และฟิลิป เมลันทอน (Philip Melanchton) รับ หน้าที่ต่อไป ค.ศ. 1546 หลังจากลูเธอร์ถึงแก่กรรมไม่นานนัก สงครามระหว่างโปรเตสแตนท์ และคาธ อลิคในเยอรมันก็อุบัติขึ้น เรียกว่า สงครามชมาลคาลดิค (Schmalkaldic Wars) สงครามจบลงในปี ค.ศ. 1555 ด้วยสนธิสัญญาสงบศึกอ๊อกซ์เบิร์ก (Peace of Augsburg) สัญญาฉบับนี้มีผลดังนี้ • นิกายลูเธอร์แลนท์ (โปรเตสแตนท์) มีสถานะเท่าเทียมกับคาธอลิคในเยอรมันนี • เจ้าผู้ครอง แต่ละคนในเยอรมันนีมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกนับถือความเชื่อใดก็ได้ให้เป็น ความเชื่อประจำรัฐของตน • บาทหลวงโปรเตสแตนท์ที่อยู่ในดินแดนคาธอลิคจะต้องออกจากแดนนั้น ๆ เข้าไปอยู่ใน แดนโปรเตสแตนท์
!
IV. อิทธิพลของมาร์ติน ลูเธอร์ แม้ว่าจะเกิดการแตกแยกกับบางกลุ่ม แต่อิทธิพลของมาร์ตินต่อการปฏิรูปศาสนา ยังคงมีอยู่ และยืนยาวมาจนปัจจุบัน นับได้ว่า เขาเป็นศูนย์กลางและผู้นำการปฏิรูปศาสนาของโปรเตส แตนท์คนแรก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปในเยอรมันนี) A. มาร์ติน ลูเธอร์เป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ และผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหว ของชาตินิยมในเยอรมันนี B. พระคั ม ภี ร ์ ฉ บั บ ภาษาเยอรมั น ที่ เ ขาแปลมี ผ ลต่ อ การวางมาตรฐานแก่ ภ าษา เยอรมัน C. แต่งเพลงนมัสการหลายบท เช่น “กุมารน้อยในรางหญ้า” (Away in a Manger ) พระเจ้าทรงเป็นป้อมปราการแข็งแรง (A Mighty Fortress is Our God) D. เป็นผู้สร้างแบบแผนการศึกษาระดับประถมในเยอรมันนี E. อิทธิพลที่สำคัญที่สุดของมาร์ติน ลูเธอร์คือ อิทธิพลที่มีต่อหลักศาสนศาสตร์ของ โปรเตสแตนท์ ลูเธอร์ได้ให้คำตอบแก่คำถามสำคัญ 4 ประการของพวกโปรเตสแตน ท์ ได้แก่ 1. เราจะรอดได้อย่างไร – ไม่ใช่ด้วยการกระทำแต่โดยพระคุณ 2. สิทธิอำนาจมาจากไหน – ไม่ใช่จากคริสตจักร แต่จากพระวจนะของพระเจ้าในพระ คัมภีร์ 3. คริสตจักรคืออะไร – ผู้เชื่อทุกคน ไม่ใช่แค่บรรพชิตเท่านั้น 4. สาระในการดำเนินชีวิตคริสเตียนคืออะไร – มีชีวิตอยู่เพื่อรับใช้พระเจ้าตามการทรง เรียก ไม่ว่าจะได้รับการทรงเรียกเป็นผู้รับใช้ (บรรพชิต) หรือฆราวาส
!118
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
10.2 การปฏิรูปในสวิสเซอร์แลนด์ I. คำนำ การปฎิรูปศาสนาในสวิสเซอร์แลนด์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ กลุ่มอัลดริช สวิงลี่ (Uldrich Zwingli) กลุ่มอนาแบ๊พติส (Anabaptists) กลุ่มจอห์น เคลวิน (John Calvin)
!
II. อัลดริช สวิงลี่ (Uldrich Zwingli) การปฏิรูปของกลุ่มนี้มีอิทธิพลอยู่ในบริเวณสวิสเซอร์แลนด์ (ที่มีพรมแดนติดกับเยอรมัน) ซึ่ง เป็นบริเวณที่ใช้ภาษาเยอรมัน A. ประวัติและการเดินทางแสวงบุญของสวิงลี่ สวิงลี่เกิดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1484 (อายุน้อยกว่ามาร์ติน ลูเธอร์เพียง 2 เดือน) ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัย 2 แห่งในสวิสเซอร์แลนด์ และจากมหาวิทยาลัยกรุง เวียนนา (ประเทศออสเตรียปัจจุบัน) ค.ศ. 1506 เข้าบวชเป็นบาทหลวงในหมู่บ้านกลารัส (Glarus) ค.ศ. 1512 และ 1515 ได้ออกเดินทางไปกับทหารรับจ้างชาวสวิสเพื่อทำสงครามศาสนา การเดินทางทั้งสองครั้งนี้ ทำให้สวิงลี่เห็นถึงความโหดร้ายทารุณของสงครามทั้งต่อผู้แพ้ ผู้ ชนะ และเห็นว่า ระบบทหารรับจ้างในสวิสเซอร์แลนด์ เป็นสิ่งที่ทำลายศีลธรรมของ สังคมอย่างมาก ค.ศ. 1516 เขาเดินทางไปยังเมืองอายซีเดล์น (Einsiedeln) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการเดิน ทางแสวงบุญตามความเชื่อของคาธอลิค สวิงลี่จึงเริ่มออกเดินทางแสวงบุญไปในที่ต่าง ๆ และพบว่า การแสวงบุญไม่สามารถทำให้ถึง ความรอดบาปได้ และในพระคัมภีร์ก็มิได้สอนหรือมีหลักฐานสนับสนุนความเชื่อเช่นนี้ นอกจากนี้ สวิงลี่เริ่มคัดค้านระบบการซื้อบัตรไถ่บาป ค.ศ. 1518 ขณะที่อยู่ที่เมืองซูริค (Zurich) สวิงลี่ได้ศึกษาพระคัมภีร์อย่างจริงจังและพบ ความจริงที่คล้ายคลึงกับที่มาร์ติน ลูเธอร์ได้พบ นอกจากนั้นสวิงลี่เริ่มเสื่อมศรัทธาในตัวสันตะปาปา และการใช้อำนาจของสันตะปาปาใน ทางที่ผิด เมื่อสันตะปาปาได้ขอให้เมืองซูริคส่งทหารรับจ้างไปช่วยกษัตริย์ฟรานซิสที่ 1 ทำสงครามกับชาร์ลที่ 5 ของสเปญ
!
B. การแตกแยกจากโรม สวิงลี่ได้นำพลเมืองซูริค (Zurich) ให้คัดค้านพิธีกรรมหลายอย่างของโรมันคาธอลิค ซึ่งไม่ ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ ดังนั้น จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้นระหว่างผู้นำคาธอลิค และสวิงลี่ เพื่อตัดสินว่าเมืองซูริคจะ ยอมรับความเชื่อแบบใด (คาธอลิคหรือโปรเตสแตนท์) ผลปรากฏว่า สวิงลี่ชนะ ทำให้โปรเตสแตนท์เป็นความเชื่อประจำของมณฑลซูริคในปี ค.ศ. 1525 !119
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
แต่การปฏิรูปในด้านพิธีกรรมของสวิงลี่แตกต่างจากของลูเธอร์ ตรงที่ลูเธอร์ยอมให้มี พิธีกรรมที่ไม่ขัดกับหลักพระคัมภีร์ได้ แม้จะไม่มีในพระคัมภีร์ แต่สวิงลี่ไม่ยอมรับการ ถือปฏิบัติใด ๆที่ไม่มีในพระคัมภีร์ เช่น การใช้ออร์แกน
!
สวิงลี่ Regulative Principle ไม่รับพิธีหรือการถือปฏิบัติที่ไม่มีในพระ คัมภีร์
ลูเธอร์ Normative Principle ยอมรับพิธีและการปฏิบัติที่ไม่ขัดแย้ง กับหลักพระคัมภีร์
! !
C. การตายของสวิงลี่ ในขณะที่การปฏิรูปแผ่ขยายไปทั่วสวิสเซอร์แลนด์ ยังมีมณฑลบางมณฑลที่ไม่ยอมรับความ เชื่อแบบโปรเตสแตนท์ ทำให้เกิดสงครามกลางเมือง ในสวิสเซอร์แลนด์อย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้ เมื่อมณฑลที่เป็นคาธอลิคหันไปทำสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์ชาร์ลที่ 5 ของสเปญ เป็นเหตุ ให้สวิงลี่แนะนำให้ มณฑลโปรเตสแตนท์ยกทัพไปปราบปรามก่อนที่จะสายเกินไป แต่ ผู้ปกครองมณฑลโปรเตสแตนท์ทั้งหลาย ไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามนี้ และหันไป บีบบังคับมณฑลคาธอลิคทางด้านเศรษฐกิจแทน เดือนตุลาคม ค.ศ. 1531 มณฑลคาธอลิค 5 มณฑล รวมกำลังเข้าโจมตีมณฑลซูริค แบบ ไม่ให้ตั้งตัวได้ เป็นเหตุให้สวิงลี่ต้องนำกองทหารเท่าที่มีอยู่ออกไปต่อสู้กับข้าศึกก่อน จนกว่ามณฑลต่างๆ ของโปรเตสแตนท์จะสามารถจัดทัพมาช่วยได้ ผลปรากฏว่า กองทัพคาธอลิคชนะโปรแตนแตนท์ที่เมืองแคพเพ็ล (Kappel) และสวิงลี่ก็ถูก ฆ่าตายในสงครามครั้งนี้ ในปี ค.ศ. 1531
!
D. การเซ็นสนธิสัญญาสงบศึก หนึ่งเดือนต่อมา มีการเซ็นสนธิสัญญาที่เรียกว่า สนธิสัญญาแคพเพ็ล (The Peace of Kappel) ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่แบ่งเขตแดนในสวิสเซอร์แลนด์ตามความเชื่อทางศาสนา สนธิสัญญานี้ ฝ่ายโปรเตสแตนท์ต้องเป็นผู้จ่ายค่าเสียหาย และค่าใช้จ่ายจากสงคราม ทั้งหมดพวกคาธอลิค ยินยอมที่จะให้มณฑลต่าง ๆ มีอิสระในการเลือกนับถือตามความ เชื่อที่ต้องการ
!
E. หลักศาสนศาสตร์ของสวิงลี่ - การกำหนดความรอดไว้ล่วงหน้า (predestination) สวิงลี่เชื่อว่า พระเจ้าทรงกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว ผู้ใดจะมาถึงความรอด เพราะพระองค์ ทรงสัพพัญญู และทรงฤทธานุภาพ - พิธีศีลมหาสนิท (The Lord’s Supper) สวิงลี่เชื่อว่า พิธีศีลมหาสนิท เป็นเพียงพิธีที่ทำเป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงความ !120
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
รักของพระเยซู และขนมปัง และน้ำองุ่นเป็นเพียงเครื่องหมาย เพื่อระลึกถึงพระ กายและพระโลหิตของพระคริสต์ ดังนั้นสำหรับสวิงลี่ ความเชื่อเป็นสิ่งสำคัญที่สุดใน พิธีศีล แต่มาร์ติน ลูเธอร์ เชื่อว่า ในขณะที่ประกอบพิธีมหาสนิท แม้น้ำองุ่น และขนมปังจะไม่ได้เ ปลี่ยนเป็นพระโลหิต และพระกายของพระเยซูจริง ๆ แต่ในขณะที่ประกอบพิธีพระ วิญญาณบริสุทธิ์ทรงสถิตอยู่ในน้ำองุ่น และขนมปัง หรือสถิตอยู่รอบ ๆ แต่ทั้งสองสิ่งไม่ได้ เปลี่ยนเป็นเลือดและเนื้อของพระเยซูจริง ๆ ความคิดนี้ สวิงลี่รับไม่ได้ เพราะเป็นการจำกัดพระวิญญาณมากเกินไป ความคิดเห็นในเรื่องพิธีมหาสนิทที่แตกต่างกันของลูเธอร์ และสวิงลี่ ทำให้ทั้งสองแยกทาง กันในปี ค.ศ. 1529 ที่เมืองมาร์เบิร์ก คอลโลไคย (Marburg Colloquy)
!
!
- หลักคำสอนหลักข้ออื่นๆ ของสวิงลี่ ได้แก่ เขาเน้นสิทธิอำนาจสูงสุดของพระคัมภีร์ บาปดั้งเดิมหรือบาปกำหนดเป็น เชื้อโรคทางศีลธรรม ดังนั้น เด็กที่มิได้รับบัพติศมาก็ สามารถรอดได้ ความรอดได้มาโดยความเชื่อ โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากคริสตจักร บรรพชิตแต่งงานได้ (เขาเองแต่งกับ Anna Reinhard อย่างลับ ๆ) ประมุขของคริสตจักร คือ พระคริสต์ ไม่ใช่ สันตะปาปา
III. กลุ่มอนาแบ๊บติส (The Anabaptist Movement) A. ความเชื่อพื้นฐานและความเป็นมา กลุ่มอนาแบ๊บติสเป็นเสมือนตัวแทนของพวกหัวรุนแรง ในการปฏิรูปศาสนา (Radical Reformers) ซึ่งต้องการเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปอย่างฉับพลันในทุกด้าน แต่กลุ่มนี้ขาดการประสานกัน จึงไม่มีหลักคำสอนหรือการรวมตัวขององค์กรอย่างแจ่มชัด แต่อย่างใด ชื่อของกลุ่ม “อนาแบ๊บติส” ก็ถูกตั้งขึ้นโดยผู้ที่คัดค้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้ Ana = Re (อีกครั้งหนึ่ง) Anabaptist หมายถึง รับบัพติศมาอีกครั้ง (Rebaptizer) ซึ่งผู้ตั้งชื่อให้มีจุดมุ่งหมายจะ พาดพิงความเชื่อของกลุ่มนี้กับพวกลัทธิเทียมเท็จในคริสตจักรยุคแรก กลุ่มนี้เชื่อเรื่องการให้บัพติศมาแก่ผู้ที่เข้าใจและยอมรับความเชื่อคริสเตียนอย่างแท้จริง เท่านั้น ดังนั้น จึงคัดค้านการให้บัพติศมาของเด็กทารก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กลุ่มนี้เน้นและเรียกร้องมาก ไม่ใช่เรื่องการบัพติศมา แต่เป็นเรื่อง ลักษณะของคริสตจักร และความสัมพันธ์ที่คริสตจักรมีต่อรัฐ พวกนี้เชื่อว่า คริสตจักร ควรจะแยกตัวเป็นอิสระจากรัฐ ผู้เชื่อ คือ กลุ่มสาวกที่ติดตามพระคริสต์ (คริสตจักรไม่ควรอยู่ใต้อำนาจควบคุมของรัฐ) เป้าหมายของกลุ่มคือ การรื้อฟื้นคริสตจักรยุคอัครฑูตขึ้นมาใหม่ พวกนี้ไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นคริสเตียนเข้ามาปะปนกับคริสเตียนในคริสตจักร เพราะ เชื่อว่าคริสตจักรที่แท้จริงประกอบด้วยสาวกแท้เท่านั้น !121
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ความเชื่อของอนาแบ๊บติส เป็นที่ยอมรับในกลุ่มสามัญชน (ชาวนา กรรมกร) ซึ่งถูกละเลย จากนักปฏิรูปศาสนาอื่น ๆ B. ผู้นำสำคัญ และกลุ่มอนาแบ๊บติส 3 กลุ่ม ในศตวรรษที่ 16 มีกลุ่มอนาแบ๊บติสสำคัญ 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มพี่น้องสวิส (Swiss Brethren) กลุ่มพี่น้องฮัตเตอไรท์ (The Hutterite Brethren) กลุ่มเมนโนไนส์ (The Mennonites)
!
1. กลุ่มพี่น้องสวิส (The Swiss Brethren) ผู้นำคอนราด กรีเบล (Conrad Grebel) และฟีลิกซ์ แมนซ์ (Felix Manz) แรกทีเดียว ทั้งกรีเบลและแมนซ์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนแก่อัลดริช สวิงลี่ ต่อมาพวกเขาแตกแยกกับสวิงลี่ เรื่องการให้บัพติศมา ทั้งกรีเบลและแมนซ์ได้รับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยจากกรุงเวียนนา และปารีส ค.ศ. 1524 กรีเบลปฏิเสธที่จะให้ลูกเล็กของเขารับบัพติศมา ดังนั้นในวันที่ 17 มกราคม 1525 สภาประจำเมืองซูริคจึงต้องเปิดให้มีการอภิปรายโต้ เถียงกันในเรื่องนี้ และผลการประชุมปรากฏว่า สภาเห็นด้วยกับสวิงลี่จึงออกคำสั่ง ให้พ่อแม่ทุกคนนำลูกมารับบัพติศมา มิฉะนั้นจะมีโทษ กรีเบลโต้ตอบมติสภา โดยการให้บัพติศมาแก่อดีตบาทหลวงคาธอลิค ชื่อจอร์จ บา วร๊อค (George Blaurock) และตัวกรีเบลเองรับบัพติศมาจาก บลาวร๊อค ด้วยการกระทำดังนี้เอง ถือว่าเป็นก่อกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติส หลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มของกรีเบลก็เดินทางออกจากซูริคไปตั้งคริสตจักรอิสระขึ้นที่ หมู่บ้านซอลลิคอน (Zollikon) รัฐถือว่า พวกที่ซอลลิคอนเป็นกบฏจึงได้ใช้มาตรการเด็ดขาดในการปราบปราม ในวันที่ 7 มีนาคม 1526 ได้ประกาศเป็นทางการว่า ใครก็ตามที่ให้บัพติศมาใหม่หรือ บัพติศมาซ้ำสอง จะได้รับโทษ คือ ต้องถูกโยนถ่วงน้ำตาย วันที่ 5 มกราคม 1527 ฟีลิกซ์ แมนซ์ กลายเป็นผู้กล้าของอนาแบ๊บติสที่ถูกข่มเหง และตายในความเชื่อเป็นคนแรก กลุ่มนี้ได้หนีการข่มเหงเข้าไปอยู่ในเยอรมันนีและออสเตรีย ปี ค.ศ. 1529 ในการประชุมสภาแห่งสปีเออร์ (Diet of Speyer) ได้ประกาศว่า อนา แบ๊บติสเป็นลัทธิเทียมเท็จ และผู้ที่นับถือจะมีโทษถึงตาย ดังนั้น ในช่วงของการปฏิรูปศาสนา พวกอนาแบ๊บติสถูกข่มเหงทั้งจากโปรเตสแตนท์ และคาธอลิคด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น จับถ่วงน้ำ, เผาทั้งเป็น, แขวนคอ, ผลักตกเหว ที่มีคมหอกรอรับอยู่ ฯลฯ อนาแบ๊บติสตายจากปี ค.ศ. 1529-1535 ประมาณ 4,000 – 5,000 คน
!
2. กลุ่มพี่น้องฮัตเตอไรท์ (The Hutterite Brethren) ผู้นำกลุ่มคือเจคอป ฮัตเตอร์ (Jacob Hutter) !122
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ได้นำกลุ่มของตนหนีการข่มเหงเข้าไปอยู่ในโมราเวีย และเป็นกลุ่มแรกที่จัดตั้งนิคม คริสเตียนชื่อ บรูเอร์ฮอฟ (Bruderhof) ในลักษณะเดียวกับคริสตจักรยุคอัครทูต ในกิจการ
!
3. กลุ่มเมนโนไนท์ (The Mennonites) ผู้นำ คือ เมนโน ไซมอนส์ (Menno Simons) ซึ่งเคยเป็นบาทหลวงคาธอลิคมาก่อน เขาเป็นชาวดัช ดังนั้นกลุ่มนี้จึงเผยแพร่อยู่ใน เนเธอร์แลนด์ เขาเน้นคำสอนเรื่องการสู้อย่างสันติวิธี (pacifism) และต่อต้านการกระทำที่รุนแรง เขาได้เดินทางไปเทศนาหนุนใจพวกอนาแบ๊บติสกลุ่มต่าง ๆที่กระจัดกระจายอยู่ในยุโรป กลุ่มของเขามีชื่อว่า “กลุ่มพี่น้อง” (The Brethren) แต่ต่อมาเป็นที่รู้จักกันและถูก เรียกตามชื่อขงผู้นำว่า “เมนโนไนท์”
!
C. การก่อกบฏที่เมืองมุนสเตอร์ (The Munster Rebellion) นอกจากกลุ่มอนาแบ๊บติสที่กล่าวไว้ข้างต้น 3 กลุ่มแล้ว ยังมีกลุ่มอื่น ๆ อีกมากมาย บางกลุ่มเน้นการตีความหมายพระคัมภีร์ตามตัวอักษร และบ้างก็เน้นเรื่องของนิมิต, การ พยากรณ์ จึงทำให้มีการแสดงออกอย่างเร่าร้อนและรุนแรง ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้อนาแบ๊บติสถูกข่มเหงทั้งจากคาธอลิคและโปรเตสแตนท์ ตัวอย่างเหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดคือ การก่อกบฏที่เมืองมุนสเตอร์ ในปี ค.ศ. 1534 เหตุการณ์เริ่มต้น เมื่อช่างฟอกหนังชื่อ ออฟแมน (Melchoir Hoffman) พยากรณ์ว่า พระ คริสต์จะเสด็จกลับมาที่เมืองสตราส์บอร์ก (Strasbourg) และที่นั่นจะเป็นเมือง เยรูซาเล็มใหม่ หลังจากออฟแมนถูกจับและประหารชีวิต ก็มีพวกอนาแบ๊บติสบางคน พยากรณ์ใหม่ว่า กรุงเยรูซาเล็มใหม่ไม่ใช้ที่สตราส์บอร์ก แต่เป็นมุนสเตอร์ ภายใต้การนำของช่างทำขนมปังชาวดัช ชื่อ จอห์น แมทธายส์ (John Matthys) และอดีต เจ้าของโรงเตี่ยม ชื่อ จอห์น แห่งเลย์เดน (John Leyden) กลุ่มอนาแบ๊บติส ได้ก่อ กบฏเข้ายึดเมืองมุนสเตอร์ เมื่อจอห์น แมทธายส์ตายไป จอห์นแห่งเลย์เดนเข้ายึดอำนาจการปกครองและตั้งตัวเป็น เจ้าเมืองในปี ค.ศ. 1534 เขาสนับสนุนการมีภรรยาหลายคน (polygamy) ตามอย่างในพระคัมภีร์พันธสัญญาเดิม และแต่งตั้งตัวเองเป็น “กษัตริย์ดาวิด” เลย์เดน แต่งงานกับภรรยาหม้ายของแมทธายส์ ซึ่งเป็นอดีตแม่ชีคาธอลิคชื่อ ไดวารา (Divara) และมีภรรยาอีก 15 คน วันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1535 กองทัพทหารคาธอลิคบุกเข้าจับเขา และทหารเอกของเขา อีก 2 คนใส่กรงสัตว์แห่ไปรอบเมืองก่อนที่จะนำไปทรมานและประหาร แม้เวลาจะผ่านไปหลายศตวรรษ ชาวยุโรปยังคงมองพวกอนาแบ๊บติสเป็นพวกเดียวกับ กบฏที่เมืองมุนสเตอร์ เป็นพวกที่หัวรุนแรงบ้าคลั่งและเพี้ยน !123
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
แท้ที่จริงอนาแบ๊บติสเป็นคริสเตียนที่รักพระเจ้า และต้องการแสวงหาความจริงของพระ คัมภีร์ แต่บางคนถูกชักนำไปโดยผู้นำที่หวังผลประโยชน์ของตนเอง ความคิดในการก่อตั้งคริสตจักรอิสระไม่ขึ้นกับรัฐ มีอิทธิพลต่อคณะแบ๊บติสต์, พวกเพียวริ ตัน และเควกเกอร์ในเวลาต่อมา
!
D. หลักคำสอนของอนาแบ๊บติส เนื่องจากกลุ่มอนาแบ๊บติส ถูกมองว่าเป็น “พวกนอกกฏหมาย” จากรัฐบาลโปรเตสแตนท์ และคาธอลิค จึงทำให้ต้องกระจัดกระจายไปในดินแดนต่าง ๆ เช่น สวิสเซอร์แลนด์, โมราเวีย และฮอลแลนด์ ดังนั้นจึงทำให้รวมตัวกันยากและไม่สามารถที่จะกำหนดหลักคำสอน หรือหลักข้อเชื่อของ กลุ่ม อย่างไรก็ตาม อนาแบ๊บติสได้พยายามรวมตัวกันได้ครั้งหนึ่ง ในการประชุมที่เมืองชไลท์ ฮาม (Schleitheim) ในปี ค.ศ. 1527 และได้ร่วมกันร่างหลักข้อเชื่อของกลุ่ม โดยให้ชื่อว่า “สหพันธ์พี่น้อง” (The Brotherly Union) ซึ่งเป็นที่รู้จักในปัจจุบันว่า คำสารภาพชไลเธม (Schleitheim Confession) หลักสำคัญ ๆ ได้แก่…… (a) การเป็นสาวก (Discipleship) คริสเตียนต้องมีความสัมพันธ์กับพระเจ้ามากกว่าการสารภาพบาปกลับใจ แต่เขาต้อง ดำเนินชีวิตตามแบบอย่างของพระคริสต์ทุกวัน ดังนั้น อนาแบ๊บติสเน้นให้ใช้คำเทศนา บนภูเขา (The Sermon on the Mount) เป็นมาตรฐานด้านจริยธรรมของสาวกแท้ของ พระคริสต์ (b) ความรัก (Love) เน้นการใช้ชีวิตอย่างสุขสงบ และต่อต้านความรุนแรง (c) การเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ (Congregation) สมาชิกทุกคนของคริสตจักร จะต้องเป็นผู้เชื่อที่รับบัพติศมาด้วยความเต็มใจ และได้รับ เชื่อพระคริสต์เป็นการส่วนตัว (d) การแยกกันระหว่างคริสตจักรและรัฐ (Separation of Church and State) เน้นว่า ความเชื่อเป็นของประทานของพระเจ้า รัฐจึงไม่ควรเข้ามาเป็นผู้กำหนดหรือ ควบคุมด้วยการใช้อำนาจ
IV. จอห์น เคลวิน (John Calvin) 1509-1564 การปฏิรูปศาสนาซึ่งนำโดยจอห์น เคลวิน เกิดขึ้นในบริเวณตอนใต้ของสวิสเซอร์แลนด์ A. ประวัติ (แบ่งได้เป็น 2 ช่วง) 1. ช่วงที่ 1 เป็นนักศึกษาพเนจร (ค.ศ. 1509-1536) เคลวินเกิดในเมืองโนยอง (Noyon) ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 10 กรกฏาคม 1509 !124
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
พ่อของเขาเป็นชนชั้นกลาง ที่เริ่มมีบทบาทและอิทธิพลเพิ่มมากขึ้นทุกทีในยุคนั้น และ ท่านรับใช้บิชอป และเป็นผู้ดูแลและผลประโยชน์ของวิหารในเมืองโนยองในฐานะ เลขา ทำให้จอห์น เคลวิน มีโอกาสได้รับการศึกษาเล่าเรียนอย่างดีที่สุดของยุคนั้น จอห์น เคลวิน เริ่มเรียนศาสนศาสตร์ก่อนและได้เปลี่ยนมาเรียนวิชากฏหมายในภาย หลัง เคลวินได้รับอิทธิพลและความคิดของการปฏิรูปศาสนาในระหว่างปี ค.ศ. 1532-1533 ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. 1533 เขาได้ร่วมมือกับเพื่อนชื่อ นิโคลัส ค็อป (Nicholas Cop) เพื่อเรียกร้องและเสนอแนวทางการปฏิรูปศาสนาในลักษณะเดียวกับมาร์ติน ลูเธอร์ ด้วยเหตุนี้เอง เคลวิน จึงถูกบังคับให้ออกจากปารีส เขาได้ลี้ภัยเข้าไปอยู่ในเมืองเบเซล (Basel) ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ณ ที่นั่น เดือนมีนาคม 1536 เคลวินได้เขียนหนังสือเล่มแรกของเขาชื่อหลักการของค ริสตศาสนา (Institues of the Christian Religion)
!
2. ช่วงที่ 2 เป็นผู้นำทางศาสนาคนสำคัญในเจนีวา ค.ศ. 1536-1564 ค.ศ. 1536 เคลวินตั้งใจแวะพักที่เจนีวา 1 คืน ก่อนที่จะเดินทางต่อไปเมืองสตราสบ อร์ก (Strasburg) เพื่อใช้เวลาเงียบ ๆตามลำพังในการศึกษาค้นคว้าตำรา แต่นักปฏิรูปศาสนาแห่งเจนีวา ชื่อวิลเลียม ฟาเรล (William Farel) ผู้ซึ่งได้เริ่มงาน เทศนาและปฏิรูปในเจนีวามา 4 ปีแล้ว ได้มาหาเคลวิน ที่โรงแรมเพื่อเกลี้ยกล่อม ให้เคลวินอยู่ช่วยงาน เมื่อเคลวินปฏิเสธ ฟาเรลได้ลุกขึ้นพูดว่า “ท่านทำตามใจปรารถนาของตน ถ้าท่านไม่ ช่วยเราทำการของพระเจ้า พระองค์จะลงโทษท่าน” เคลวิน ซึ่งเป็นคนอ่อนไหว จึงเกิดความกลัวเกรงขึ้นมา และตัดสินใจอยู่ช่วยที่เจนีวา และได้ใช้ชีวิตของท่านที่นี่จนวันสุดท้าย (ยกเว้นช่วงสั้น ๆ 2 ช่วงที่ถูกเนรเทศออก จากเจนีวา) เคลวินได้เริ่มงานในเจนีวา โดยช่วยเตรียมหลักข้อเชื่อ และคำสารภาพความเชื่อ (Confession of Faith) สำหรับทุกคนที่ปรารถนาจะเข้าเป็นพลเมืองเจนีวาและยัง ได้วางแผนการศึกษาให้ประชาชนที่เจนีวาด้วย ช่วง ค.ศ. 1538-1541 เคลวินถูกเนรเทศจากเจนีวาไปอยูที่สตราสบอร์ก ด้วยสาเหตุ ความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับเรื่องบทสวดในพิธีงานเลี้ยงของพระผู้เป็นเจ้า (The Lord’s Supper) ขณะที่อยู่สตราสบอร์ก เขาได้แต่งงานกับแม่หม้ายของศิษยาภิบาล อนาแบ๊บติสชื่อ อา ดีเล็ต เดอ บัวร์ (Idelette de Bure) ลูกคนเดียวของทั้งสองตายในขณะที่ยังเป็น ทารก และต่อมาในปี ค.ศ. 1549 ภรรยาของเคลวินก็เสียชีวิต เมื่อเคลวินกลับมาเจนีวาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1541 เขาได้เริ่มโปรแกรมการปฏิรูปศาสนา ขึ้น
!
3. วางระดับชั้นของผู้รับใช้ในคริสตจักร 4ชั้น ได้แก่ (Ecclesiastical Ordinances) !125
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ศิษยาภิบาล ควบคุมด้าน การบริหาร อาจารย์ เป็นผู้ สอนหลักคำสอน มัคนายก เป็นผู้ ดูแลงานด้านการกุศล ธรรมกิจ (Consistory) ประกอบด้วยผู้รับใช้ 6 ท่าน และผู้ปกครอง 12 ท่าน ทำหน้าที่ ให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องศาสนศาสตร์และจริยธรรมของชุมชน และลงโทษผู้ที่ ฝ่าฝืน
!
4. เคลวินลงโทษผู้กระทำผิด และลัทธิเทียมเท็จต่างๆ อย่างรุนแรงโดยใช้ตัวบท กฏหมายของรัฐ ค.ศ. 1553 ไมเคิล เซอร์เวตัส (Michael Servatus) ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้สอนเทียม เท็จ เพราะได้ปฏิเสธหลักคำสอนเรื่องตรีเอกานุภาพ ถูกเผาทั้งเป็นที่เจนีวา การประหาร เซอร์เวตัส ต่อมากลายเป็นเสมือนจุดด่างในการรับใช้องเคลวิน เพราะ ผู้คนในสมัยหลังจำเคลวินได้ในนามของ “ชายผู้เผาเซอร์เวตัสทั้งเป็น”
!
5. เคลวินทำให้เมืองเจนีวากลายเป็น • ที่ลี้ภัยของโปรเตสแตนท์ที่ถูกข่มเหง • เมืองตัวอย่างของชุมชนคริสเตียนที่มีระเบียบ • ศูนย์กลางการอบรมผู้รับใช้พระเจ้า ดังนั้น จึงมีนักศึกษามาจากทั่วยุโรป และนักศึกษาที่สำคัญที่สุดคือ จอห์น น๊อกซ์ (John Knox) ซึ่งต่อมาเป็นผู้นำในการปฏิรูปศาสนาที่ สก๊อตแลนด์ ในปี ค.ศ. 1564 เคลวินถึงแก่กรรม และธีโอดอร์ บีซา (Theodore Beza) เป็นผู้รับ ช่วงงานในเจนีวาต่อไป
!
B. หลักศาสนศาสตร์ของจอห์น เคลวิน (5 Points of Calvinism) 1. Total Depravity หรือการตกต่ำของมวลมนุษย์ มนุษย์ทุกคนล้วนมีบาปกำหนด จากอาดัม จึงไม่สามารถช่วยตัวเองให้ได้รับความรอดได้ 2. Unconditional Election หรือการทรงเลือกโดยไม่มีเงื่อนไข พระเจ้าทรงเลือกผู้ที่ จะได้รับความรอด โดยพระคุณของพระองค์ ไม่ใช่ด้วยการทำดีของมนุษย์ 3. Limited Atonement หรือความจำกัดของการลบล้างบาป การชำระบาปผิดที่ สำเร็จบนกางเขนของพระคริสต์มีผลต่อผู้ที่ได้รับการทรงเลือกเท่านั้น 4. Irresistable Grace หรือพระคุณที่ไม่อาจปฏิเสธได้ ผู้ที่ถูกเลือกไม่สามารถปฏิเสธ การทรงเลือกของพระวิญญาณได้ 5. Perseverance of the Saints หรือการดำรงอยู่ของผู้ที่ถูกเลือก ผู้ที่ถูกเลือกจะ ไม่มีวันหลงหายไป
!
C. ผลงานของเคลวิน
!126
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หลักคำสอนของคริสตศาสนา (Institutes of the Christian Religion) เป็นหนังสือและ ผลงานที่สำคัญที่สุดของเคลวิน เพราะได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยว กับศาสนศาสตร์ของ การปฏิรูปไว้ จดหมายการปฏิรูป (Corpus Reformatonum) เป็นจดหมายโต้ตอบและให้คำแนะนำ แก่คริสเตียนที่เขียนถึงเขาจากประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและได้รวบ รวมเอาคำเทศนา ของเคลวินไว้ และพิมพ์เป็นหนังสือชุดมีทั้งหมด 57 เล่ม การเน้นและให้ความสำคัญกับการศึกษา นำมาซึ่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเจนีวาใน ปัจจุบันและมีอิทธิพลต่อเนื่องถึงกลุ่มเพียวริตันที่อพยพเข้าไปในอเมริกาในเวลาต่อ มาด้วย หนังสืออรรถาธิบายพระคัมภีร์ (Commentaries on the books of the Bible) เคลวิน ได้เขียนหนังสืออรรถาธิบายพระธรรมต่าง ๆ ในพระคัมภีร์ไว้หลายเล่ม สนับสนุนระบอบประชาธิปไตย เคลวินยอมรับและสนับสนุนระบบการเลือกผู้แทนใน การปกครองทั้งของคริสตจักรและของรัฐ สนับสนุนระบบนายทุน (Capitalism) เคลวินเน้นคำสอนเกี่ยวกับการทรงเรียกของ พระเจ้าในการประกอบอาชีพของบุคคล และเน้นด้านการอุตสา- หกรรมและ ผลผลิต ซึ่งนำมาซึ่งระบบทุนนิยมในเวลาต่อมา
!
D. โซลา 5 ประการ - เอกลักษณ์ของโปรเตสแตนต์ 1. Sola Scriptura พระคัมภีร์อเท่านั้น 2. Sola Christus - พระคริสต์เท่านั้น 3. Sola Gratia - พระคุณเท่านั้น 4. Sola Fide - ความเชื่อเท่านั้น 5. Soli Deo Gloria - พระสิริจงมีแด่พระเจ้าผู้เดียว
!127
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
! เปรียบเทียบระหว่างมาร์ติน ลูเธอร์ และจอห์น เคลวิน ลูเธอร์
เคลวิน
ชีวิตและบุคลิกลักษณะ 1. เกิดในครอบครัวชาวนา 2. ศึกษาด้านปรัชญาและศาสนศาสตร์ 3. ได้ชื่อว่าเป็น “ผู้พยากรณ์”ของโปรเต สแตนท์ 4. รักครอบครัว 5. แสดงออกอย่างเปิดเผย 6. สุขภาพร่างกายแข็งแรง 7. อาศัยอยู่ในเยอรมันนีและรับการ สนับสนุนจากเจ้านายผู้ปกครอง ประเทศ
ชีวิตและบุคลิกลักษณะ 1.เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางและพ่อ รับราชการ 2. ศึกษาจริยศาสตร์และกฏหมาย 3. ได้ชื่อว่าเป็นนักจัระบบ” (Organizer) ของโปรเตสแตนท์ 4. เป็นนักวิชาการและพ่อหม้าย 5. ชอบสันโดษ เก็บตัว และลึกซึ้ง 6. อ่อนแอ ขี้โรค 7. อาศัยอยู่ในสาธารณรัสวิสเซอร์แลนด์ และเน้นระบบผู้แทนในระบอบการ ปกครองของคริสตจักร
ศาสนศาสตร์ 1. เน้นการศึกษา 2. ยกให้พระคัมภีร์เป็นสิทธิอำนาสูงสุด ในคริสตจักร 3. เน้นความชอบธรรมโดยความเชื่อ 4. เน้นความเชื่อเรื่องการทรงเลือกและ กำหนดผู้รับความรอดล่วงหน้า (predestination) 5. เน้น “Consubstantiation” ในพิธีมหา สนิทคือพระวิญญาณของพระเจ้า สถิตอยู่ในและ รอบ ๆ น้ำองุ่นและ ขนมปัง แม้จะไม่ได้เปลี่ยนเป็นพระ กายและพระโลหิตจริง ๆ 6. ปฎิเสธสิ่งที่ขัดแย้งกับพระคัมภีร์
ศาสนศาสตร์ 1. เน้นการวางระบบศาสนศาสตร์อย่าง เป็นทางการ 2. พระคัมภีร์เป็นสิทธิอำนาจสูงสุดในคริ สตจักร 3. เน้นสิทธิอำนาจ และการครอบครอง สูงสุดของพระเจ้า 4. เน้นพระเจ้าทรงเลือกทั้งผู้ที่จะรอด และผู้ที่จะพินาศไป (Double predestination) 5. ยอมรับการสถิตอยู่ของพระวิญญาณ ในพิธีศีลมหาสนิท
!
6. ปฏิเสธทุกสิ่งที่ไม่มีอยู่ในพระคัมภีร์
!128
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หน่วยที่ 11 ยุคปฏิรูปศาสนา (3)!
11.1 การปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ I. สาเหตุของการปฏิรูปและแยกตัวจากคริสตจักรโรม A. กลุ่มลอล์ลาร์ด (Lollards) กลุ่มลอล์ลาร์ดเป็นสานุศิษย์ผู้ศรัทธาในคำสอนของจอห์น วิคคลิฟฟ์ (John Wycliff) ซึ่ง เน้นสิทธิอำนาจสูงสุดของพระคัมภีร์ และการมีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับพระคริสต์ คำสอนนี้ได้เผยแพร่ทั่วเกาะอังกฤษ B. ราชวงศ์ทิวดอร์ส ราชวงศ์ทิวดอร์ส (Tudors) ซึ่งปกครองอังกฤษ ตั้งแต่ ค.ศ.1485-1603 ได้สร้างความ มั่นคงให้กับประเทศ และสนับสนุนให้เกิดชนชั้นกลาง (พ่อค้า) ขึ้นในประเทศ อังกฤษ ซึ่งไม่พอใจในระบบศักดินา และการครอบครองดินแดนต่างๆ ในอังกฤษ ของบรรดาเจ้าขุนมูลนายและของคริสตจักรโรม นอกจากนั้นชาวอังกฤษเองยังต้องการเป็นอิสระจากโรม และไม่ต้องการรับภาระด้าน ภาษีที่ต้องส่งไปยังคริสตจักรโรมอีกด้วย ดังนั้น ชนชั้นกลางเหล่านี้ จึงสนับสนุนกษัตริย์ราชวงศ์ทิวดอร์สให้แยกตัวจากโรม C. อิทธิพลของปัญญาชน ในต้นศตวรรษที่ 16 นั้น มีนักปฏิรูปศาสนาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด หลายท่านหัน มาศึกษาพระคัมภีร์จากภาษาดั้งเดิม (กรีก-ฮีบรู) และพบคำสอนของคริสตจักรโรม แตกต่างจากพระคัมภีร์มาก จึงเริ่มเผยแพร่คำสอนในพระคัมภีร์แก่ชาวอังกฤษ ผู้นำที่สำคัญได้แก่ จอห์น โคเร็ท (John Colet) และ เซอร์โธมัส มัวร์ (Sir Thomas Moore) นอกจากนั้นยังมีผู้แปลพระคัมภีร์จากภาษาเดิมมาเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อช่วยให้ชาว อังกฤษได้อ่านและเข้าใจพระวจนะอย่างแท้จริง เช่น วิลเลี่ยม ทินเดล (William Tyndale ค.ศ. 1494-1536) และไมล์ส โคเวอร์เดล (Miles Coverdale) คำสอนของมาร์ติน ลูเธอร์ และงานเขียนของเขาได้เผยแพร่แนวความคิดของการ ปฏิรูปศาสนาไปทั่วอังกฤษ D. กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 เรากล่าวได้ว่าสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาในอังกฤษ เพื่อแยกจากคริ สตจักรคาธอลิคคือ สาเหตุทางการเมือง (ไม่ใช่สาเหตุด้านศาสนา) ในปี ค.ศ. 1509 กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 (Henry VIII) ขึ้นครองอังกฤษ และเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธ์ไมตรีกับกษัตริย์สเปนจึงได้ อภิเษกสมรสกับ แคธรีน แห่งรากอน (Catherine of Aragon) ซึ่งเป็นพระธิดาของ กษัตริย์เฟอร์ดินานด์ และพระนางอิสซาเบลแห่งสเปน แต่แคธรีนไม่สามารถจะให้กำเนิดพระโอรสที่จะสืบบัลลังก์อังกฤษต่อจากเฮนรี่ที่ 8 ได้ พระนางให้กำเนิดก็แต่พระธิดาองค์เดียว คือ แมรี่ (Mary) !129
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เฮนรี่ที่ 8 จึงต้องการให้สันตะปาปาคลีเมนท์ที่ 7 (Clement VII) ยกเลิกการอภิเษก สมรสครั้งนี้เสีย เพื่อจะสามารถอภิเษกได้ใหม่ แต่สันตะปาปาคลีเมนท์ที่ 7 ปฏิเสธเพราะขณะนั้นสันตะปาปาอยู่ในการควบคุมของ กษัตริย์ชาร์ลที่ 5 แห่งสเปน (Charles V) เดือนมกราคม ค.ศ. 1533 กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 จึงเข้าพิธีอภิเษกอย่างลับ ๆกับ แอนน์ โบลีน (Anne Boleyn) อย่างไรก็ตาม แอนน์ก็ไม่สามารถให้กำเนิดพระโอรสได้ แต่ได้มีพระราชธิดาและให้ชื่อ ว่า อลิซาเบธ (Elizabeth) สันตะปาปาโต้ตอบการกระทำของเฮนรี่ที่ 8 โดยการอเปหิพระองค์จากคริสตจักร เฮนรี่ที่ 8 จึงได้ให้รัฐสภาอังกฤษออกกฏหมายประกาศแยกตัวจากการควบคุมและ อำนาจของสันตะปาปาในกรุงโรมมาเป็นคริสตจักรแองกลิกัน (The Anglican Church) กฏหมายประกาศอำนาจสูงสุด (The Act of Supremacy) ค.ศ. 1534 ประกาศ ให้ กษัตริย์อังกฤษ ทรงเป็นอำนาจสูงสุดทางศาสนาและการเมืองของอังกฤษ กฏหมายสืบราชบัลลังก์ (The Act of Sucession) ค.ศ. 1534 ประกาศให้ลูก ของเฮนรี่ที่ 8 และแอนน์ โบลีนเป็นทายาทสืบบัลลังก์อังกฤษ กฏหมายบรรพชิต ค.ศ. 1534 ประกาศให้บรรพชิตคาธอลิคในอังกฤษทุกคนอยู่ ใต้การปกครองของกษัตริย์อังกฤษและห้ามบรรพชิตชาวอังกฤษไปอยู่อาศัยใน ต่างแดนและบรรพชิตจะต้องขึ้นกับคริสตศาสนจักรในอังกฤษเท่านั้น พระราชบัญญัติที่ 6 (The Sixth Articles) ค.ศ. 1539 ในที่นี้แสดงให้เห็นว่า อังกฤษตัดขาดจากคริสตจักรโรมในด้านการปกครอง เท่านั้น แต่ในด้านคริสต จักรอังกฤษยังคงยึดตามหลักของคาธอลิค ดังนั้นเราอาจจะสรุปได้ว่า คริสตจักรแห่งชาติของอังกฤษ แยกจากคริสตจักรโรม ด้วย เรื่องส่วนตัว การแยกเป็นในรูปของการปกครองคริสตจักร (Ecclesiastical Break)เท่านั้น ผู้นำในการปฏิรูปศาสนาของอังกฤษคือกษัตริย์ ไม่ใช่บรรพชิตเหมือนในประเทศอื่น ๆ ในขณะเดียวกัน เฮนรี่ที่ 8 ก็ยังคงไม่สมพระทัยเพราะยังไม่สามารถมีราชโอรสสืบ บัลลังก์ ค.ศ. 1536 เฮนรี่ที่ 8 กล่าวหาว่า แอนน์ โบลีน ล่วงประเวณีและได้สั่งตัดศีรษะ นางในที่สุด หลังจากนั้น ได้อภิเษกกับเจน ซีมัว (Jane Seymour) ผู้ที่ให้กำเนิดพระโอรสแก่เฮนรี่ ก่อนที่นางจะสิ้นใจ โอรสมีพระนามว่า เอ็ดเวิร์ด (Edward) หลังจากนั้น เฮนรี่ที่ 8 ได้อภิเษกกับหญิงอีก 3 คนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1547
! ! !
! !130
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
II. การปฏิรูปศาสนาในสมัยกษัตริย์เอ็ดเวิร์ด การปฏิรูปศาสนาที่แท้จริงในอังกฤษ มาเริ่มต้นขึ้นในสมัยของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ด พระโอรสของเฮ นรี่ที่ 8 เมื่อเอ็ดเวิร์ดครองราชย์ทรงมีพระชนม์เพียง 9 พรรษาและทรงเจ็บป่วยอยู่เสมอ ดังนั้น จึงตั้งให้ดยุคแห่งโซเมอร์เซ็ท (Duke of Somerset) เป็นผู้สำเร็จราชการ ท่านเป็นผู้ที่ ให้การสนับสนุนแก่โปรเตสแตนท์ จึงเริ่มการปฏิรูปในเรื่องของหลักข้อเชื่อขึ้นในอังกฤษ ตามแนวทางของโปรเตสแตนท์ การปฏิรูปศาสนาในสมัยกษัตริย์เอ็ดเวิร์ด สรุปได้ดังนี้ (a) ค.ศ. 1547 รัฐสภาออกกฏหมายอนุญาตให้ฆราวาส รับน้ำองุ่นในพิธีศีลมหาสนิทได้ (b) บรรพชิตสามารถแต่งงานได้ (c) เปลี่ยนการนมัสการที่ใช้ ภาษาละติน มาใช้บทอธิษฐานภาวนาภาษา- อังกฤษ ที่เขียน รวบรวม โดยโทมัส แคลนเมอร์ ซึ่งเน้นการอ่านพระคัมภีร์และการให้ที่ประชุมมีส่วนใน การนมัสการ (d) ประกาศใช้ กฎ 42 ข้อ (The 42 Articles) ในปี ค.ศ. 1553 ซึ่งใช้เป็นหลักข้อเชื่อของค ริสตจักรอังกฤษตามแนวทางของโปรเตสแตนท์ - อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปในแนวทางโปรเตสแตนท์ ต้องจบสิ้นลงอย่างกระทัน หันในปี ค.ศ. 1553 เมื่อกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดสิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุเพียง 15 พรรษา
!
III. รัชสมัยแมรี่ ทิวดอร์ส ค.ศ. 1553-1558 แมรี่ ทิวดอร์ส เป็นพระธิดาของแคธลีนแห่งอารากอน และกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ดังนั้น จึงทรง สัตย์ซื่อกับคริสตจักรโรมันคาธอลิค เช่นเดียวกับพระราชมารดา แมรี่ จึงเปิดฉากการครองราชย์ของพระองค์ด้วยการข่มเหงโปรเตสแตนท์ เหตุนี้เอง พระนาง จึงถูกขนานนามว่า แมรี่ผู้กระหายเลือด (Bloody Mary) ในสมัยนี้เอง พวกโปรเตสแตนท์ในอังกฤษถูกฆ่าตายกว่า 300 คน รวมทั้งผู้นำคนสำคัญเช่น โทมัส เคลนเมอร์, ลาติเมอร์และริคลีย์ (Thomas Cranmer, Latimer, Ridley) แมรี่เข้าพิธีอภิเษกกับฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน ซึ่งทำให้ชาวอังกฤษไม่พอใจมาก นอกจากนั้น การ เข่นฆ่าโปรเตสแตนท์ในอังกฤษ ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ของอังกฤษนิยมชมชอบคำ สอนของโปรเตสแตนท์ ทำให้พระนางไม่เป็นที่นิยมของชาวอังกฤษ ในที่สุด ทรง สิ้นพระชนม์ด้วยความผิดหวังและชอกช้ำใจ
!
IV. รัชสมัยของพระนางอลิซาเบ็ธ (ค.ศ. 1558-1630) ในรัชสมัยของพระนางอลิซาเบ็ธ คริสตจักรแองกลีกัน มีลักษณะผสมผสานระหว่างโปรเตส แตนท์และคาธอลิค เพื่อเอาใจชาวอังกฤษทุกฝ่าย ค.ศ.1559 อลิซาเบ็ธได้ให้รัฐสภาออกพระราชบัญญัติกำหนดให้กษัตริย์อังกฤษมีอำนาจสูงสุด ทั้งด้านศาสนาและการเมือง ได้นำบทสวดภาวนาของโธมัส เคลนเมอร์ กลับมาใช้ในการนมัสการอีกครั้ง
!131
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ค.ศ. 1503 ได้ประกาศใช้หลักข้อเชื่อ 39 ข้อ ซึ่งแก้ไขมาจากหลักข้อเชื่อ 42 ข้อในสมัยกษัตริย์ เอ็ดเวิร์ด มาใช้ในอังกฤษและกลายเป็นหลักข้อเชื่อ (Creed) ของคริสตจักรแองกลีกัน จนถึงทุกวันนี้ สันตะปาปาไพอัสที่ 5 (Pius V) ตอบโต้โดยการอเปหิพระนางอลิซาเบ็ธ นอกจากนั้น สันตะปาปายังได้สนับสนุนให้บาทหลวงนิกายเยซูอิท (Jesuits) ตั้งโรงเรียนใน ฝรั่งเศสเพื่อรับใช้ชาวอังกฤษที่เป็นคาธอลิคในประเทศอังกฤษอย่างลับ ๆ สันตะปาปายังได้สนับสนุนกษัตริย์ฟิลิปแห่งสเปนส่งกองเรือขนาดใหญ่มารบอังกฤษใน ค.ศ. 1558 ชื่อว่า กองเรืออมาดาแห่งสเปน (Spanish Armada) ชัยชนะของพระนางอลิซาเบ็ธเหนือกองเรือสเปนครั้งนี้ทำให้อังกฤษกลายเป็นแชมเปี้ยนของ โปรเตสแตนท์ และมีผลให้สันตะปาปาหยุดการคุกคามอังกฤษ
!
V. พวกเพียวริตัน (The Puritans)
!
A. ประวัติความเป็นมา พวกเพียวริตัน คือ โปรเตสแตนท์ชาวอังกฤษ ที่ถูกเนรเทศออกนอกประเทศไปในสมัยของ พระนางแมรี่ ทิวดอร์ส (Mary Tudors) เมื่อพวกนี้กลับเข้าอังกฤษอีกครั้งในสมัยของพระนางอลิซาเบ็ธ ก็พบว่าพระนางอลิซาเบ็ธ ประนีประนอมกับหลักคำสอนและข้อปฏิบัติของคาธอลิคที่ขัดแย้งกับพระคัมภีร์ ดังนั้น พวกนี้จึงต้องการจะปฏิรูปศาสนา และคริสตจักรอังกฤษให้บริสุทธิ์ตามหลักพระ คัมภีร์ ด้วยเหตุนี้ กลุ่มนี้จึงได้รับขนามนามว่า เพียวริตัน ซึ่งแปลว่า บริสุทธิ์ กลุ่มเพียวริตัน มีการเคลื่อนไหวในการปฏิรูปเฉพาะในอังกฤษ และดินแดนใหม่คือ สหรัฐอเมริกาเท่านั้น และได้ชื่อว่าเป็นผู้นำ หรือหัวหอกของการปฏิรูปศาสนาใน ศตวรรษที่ 17 B. ความเชื่อพื้นฐาน และกลุ่มต่าง ๆ ของเพียวริตัน (a) เน้นการบังเกิดใหม่ ดังนั้น พวกเพียวริตันจึงคัดค้านการนับถือศาสนาแต่เปลือก นอก หรือขนบธรรมเนียมของศาสนา (b) เน้นพระคัมภีร์ (People of the book) พระคัมภีร์ที่เป็นที่นิยมที่สุดในหมู่เพียวริ ตัน คือ (Geneva Bible) ซึ่งเป็นผลงานการแปลของคริสเตียนอังกฤษที่ถูกเนรเทศ อพยพไปอยู่ในเจนีวา ในสมัยของ “พระนางแมรี่” ผู้กระหายเลือด (c)เชื่อว่าพวกเพียวริตันเป็นอิสราเอลใหม่ของพระเจ้า (God’s new Israel)ผู้ซึ่ง พระเจ้าทรงกำหนดไว้ให้มีส่วนในแผนการช่วยให้รอดของโลก ความคิดเช่นนี้แพร่ขยาย ไป โดยงานเขียนของนักเขียนเพียวริตันสำคัญอย่างน้อย 3 ท่าน ได้แก่ จอห์น มิลตัน (John Milton) ค.ศ. 1608-1674 ผู้ซึ่งเขียนตำนามเป็นคำโคลงชื่อ Paradise Lost (แปลว่า สวรรค์ที่สูญหายไป) จอห์น บันยอน (John Bunyan) ค.ศ. 1628-1688 เขียนเรื่องราวการผจญภัยของชีวิตคริสเตียนชื่อ The Pilgrim’s Progress หรือปริศนาธรรม !132
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
จอห์น ฟอกซ์ (John Fox) เขียนเรื่อง The Book of Martyrs (แปลว่า หนังสือของผู้พลีชีพในความเชื่อ)
!
C. กลุ่มต่าง ๆ ของเพียวริตัน แบ่งกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเพียวริตัน (The Puritans) ไม่ต้องการแยกตัวจากคริสตจักรอังกฤษ แต่เรียกร้องให้คริสตจักรมีคณะผู้ปกครองและ ศิษยาภิบาลที่เลือกโดยสมาชิกคริสตจักร และคริสตจักรควรเป็น ผู้กำหนดนโยบายการ ปกครองของตนเอง (Congregational state church) ผู้นำสำคัญของกลุ่มนี้คือ โธมัส คาร์ทไรท์ (Thomas Cartwright) ค.ศ. 1535-1603 และเฮนรี่ เจคอป (Henry Jacob ค.ศ. 1563-1624)
!
กลุ่มเซพาราติส (The Separatists) หรือกลุ่มแยกตัว กลุ่มนี้ต้องการแยกตัวอย่างสิ้นเชิงออกจากคริสตจักรอังกฤษ ผู้นำสำคัญคือ โรเบิร์ท บราวน์ (Robert Browne) ค.ศ. 1550-1633 กลุ่มต่าง ๆ ของเซพพาราติส ได้อพยพเข้าไปในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในฮอลแลนด์ และอเมริกา
!
!
D. การเคลื่อนไหวของพวกเพียวริตัน เราสามารถแบ่งการเคลื่อนไหวของเพียวริตันได้เป็น 3 ระยะด้วยกันคือ 1. ระยะที่ 1 รัชสมัยของพระนางอลิซาเบ็ธ (ค.ศ. 1558-1603) เป็นช่วงที่พวกเพียวริตันต้องการชำระคริสตจักรอังกฤษให้บริสุทธิ์ตามแนวทางของโปร เตสแตนท์ โดยยึดหลักคำสอนของจอห์น เคลวิน พวกนี้ได้รับการสนับสนุนจากทนาย นักกฏหมาย พ่อค้า และประชาชนทั่วไปของ อังกฤษ ทำให้มีอิทธิพลในด้านความคิดต่อประชาชนมากขึ้น ๆ พระนางเจ้าอลิซาเบ็ธตอบโต้ โดยการออกพระราชบัญญัติต่อต้านพวกเพียวริตันในปี ค.ศ. 1513 ให้จำคุกเพียวริตันที่ไม่ยอมเข้าร่วมกับคริสตจักรแองกลีกัน 2. ระยะที่ 2 รัชสมัยเจมส์ที่ 1 และชาร์ลที่ 1 (ค.ศ. 1603-1642) แห่งราชวงศ์สจ๊วต เมื่อพระนางอลิซาเบ็ธสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1603 เจมส์ที่ 1 พระโอรสของพระราชินี แมรี่ สจ๊วต (Mary Stuart) แห่งสก๊อตแลนด์ขึ้นครองบัลลังก์อังกฤษ พวกเพียวริตัน หวังใจว่า เจมส์ที่ 1 จะปฏิรูปคริสตจักรอังกฤษตามแนวทางของโปรเต สแตนท์ในสก๊อตแลนด์ได้รวมกันเซ็นชื่อในฏีกาถวายต่อเจมส์ที่ 1 ให้มีการปฏิรูปคริ สตจักรอังกฤษทั้งด้านการปกครองและพิธีกรรม เจมส์ที่ 1 เรียกประชุมแฮมป์ตัน คอร์ท (The Hampton Court) ในปี ค.ศ. 1604 แต่ ปฏิเสธข้อเสนอทั้งหมดของพวกเพียวริตัน สิ่งเดียวที่ทรงรับสั่งให้กระทำอันเป็นผลจากการประชุมครั้งนี้คือ ได้ให้แปล พระคัมภีร์ขึ้นเรียกว่า พระคัมภีร์ฉบับคิงส์เจมส์ (The Authorized King James Version) !133
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ด้วยเหตุนี้ทำให้เพียวริตันจำนวนหนึ่ง เอือมระอาต่อการปฏิรูปในคริสตจักรอังกฤษและ ได้แยกตัวออกไปนมัสการเอง อันเป็นต้นกำเนิดของเพียวริตันกลุ่มเซพพาราติส หรือกลุ่มแยกตัว นั่นเอง กลุ่มเซพพาราติส ที่อยู่ในหมู่บ้านสครูบี (Scrooby) ทางเหนือของอังกฤษได้อพยพ ไปแสวงหาเสรีภาพในการนับถือศาสนาในฮอคแลนด์และ 10 ปี ต่อมาเมื่อกลับ มายังอังกฤษอีกครั้งได้รวบรวมสมาชิกกลุ่มลงเรือเมย์ฟลาวเวอร์ (Mayflower) ไปยังอเมริกา ภายใต้การนำของจอห์น โรบินสัน ในปี ค.ศ. 1620
!
!
กษัตริย์ชาร์ลที่ 1 ค.ศ. 1625-1649 เพื่อเป็นการกำจัดพวกเพียวริตัน ชาร์ลที่ 1 ได้แต่งตั้งวิลเลี่ยม เลาด์ (William Laud) ผู้ซึ่งคัดค้านความเชื่อของเพียวริตันให้เป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอเบอรี่ วิลเลี่ยม เลาด์ ได้นำเอาพิธีกรรมต่าง ๆ ทางศาสนากลับเข้ามาในคริสตจักรอังกฤษ ด้วยเหตุนี้ในสมัยชาร์ลที่ 1 จึงมีกลุ่มเพียวริตัน เซพพาราติส (Separatists) อพยพไป หาเสรีภาพในการนับถือศาสนาในแดนใหม่อย่างอเมริกา 3. ระยะที่ 3 สมัยสงครามกลางเมือง และยุคที่ปกครองโดยพวกเพียวริตัน (ค.ศ. 1642-1660) ผู้นำของพวกเพียวริตันในสงครามกลางเมืองครั้งนี้คือโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) ค.ศ. 1599-1658 โอลิเวอร์ ครอมเวลล์เป็นอัจฉริยะทางการทหารได้จัดตั้งกองทัพที่มีวินัยสูง และมีสำนึก ในพันธกิจของคริสเตียน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของไอออนไซด์ หรือบุรุษเหล็ก (Ironside) ดังนั้น ค.ศ. 1646 กองทัพของครอมเวลส์จึงสามารถชนะกองทัพของชาร์ลที่ 1 ได้และ ในปี ค.ศ. 1649 ชาร์ลที่ 1 ถูกตัดสินตัดศรีษะ อย่างไรก็ตาม กองทัพของครอมเวลล์ได้ยุบสภาผู้แทน และวุฒิสภา (House of Common and House of the Lords) และตั้งให้อังกฤษเป็นสหพันธรัฐ (Commonwealth) ค.ศ. 1653 ครอมเวลล์ยกเลิกสหพันธรัฐ และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ โดยที่ตนเองขึ้น ปกครองและดำรงตำแหน่งผู้คุ้มครอง หรือ Lord Protector ครอมเวลล์ ประกาศอิสรภาพในการนับถือศาสนาและการนมัสการ อย่างไรก็ตามชาว อังกฤษเบื่อหน่ายต่อระเบียบวินัยและการดำเนินชีวิตที่เคร่งครัดของพวกเพียวริตัน ดังนั้น ในค.ศ. 1660 หลังจากที่ครอมเวลล์ถึงแก่กรรมเพียง 2 ปี อังกฤษได้นำระบบ กษัตริย์กลับเข้ามาใหม่ กษัตริย์ริชาร์ด ขึ้นครองราชย์ และใช้มาตราการเด็ดขาดปราบปรามกับพวก เพียวริตัน และได้นำเอาความเชื่อแบบแองกลีกัน (Anglican) กลับเข้ามาอีกครั้ง
!
11.2 การปฏิรูปศาสนาในส่วนอื่น ๆ ของยุโรป การปฏิรูปในส่วนต่าง ๆ นี้ ส่วนมากจะเป็นไปตามแนวคำสอนของเคลวิน
I. การปฎิรูปศาสนาในฝรั่งเศส !134
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ความคิดในการปฏิรูปศาสนาในฝรั่งเศส เริ่มต้นจากงานเขียนของกลุ่ม Humanist และของมาร์ ติน Luther แต่ในปี ค.ศ. 1535 กลุ่มวอลเดนเซียนส์ (Waldenses) ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสได้รับคำสอน ของเคลวิน และทำให้การปฏิรูปแนวทางของเคลวินเกิดขึ้นในฝรั่งเศส ค.ศ. 1538 กลุ่มโปรแตสแนท์หลากหลายเหล่านี้ (หลากหลายตามความคิดเห็นทางศาสน ศาสตร์) ได้รวมกำลังกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอย่างเป็นระเบียบภายใต้การช่วยเหลือของพวก เคลวินในเจนีวา ในที่สุด นายพลโคลิจนี (Coligny) กลายมาเป็นโปรเตสแตนท์ และใน ค.ศ. 1559 ได้จัดให้มี การประชุมสมัชชาคริสตจักรของโปรเตสแตนท์ขึ้นในปารีสตามแนวคำสอนของเคลวิน (Reformed) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1560 เป็นต้นไป กลุ่มโปรเตสแตนท์ในฝรั่งเศสเป็นที่รู้จักกันในนามของพวกฮูโก รนอทส์ (Huguenots) และมีอิทธิพลมากขึ้น จนเรียกได้ว่าสามารถจัดตั้งอาณาจักรขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลฝรั่งเศสซึ่งเป็นคาธอลิคจึงใช้วิธีปราบปรามอย่างรุนแรง ดังนั้น ระหว่าง ค.ศ. 1562-1598 จึงเกิดสงคราม และการสังหารหมู่ (Massacres) ขึ้น 8 ครั้ง ค.ศ. 1572 นายพลโคลิจนี ถูกฆ่าตายอย่างทารุณ พร้อมทั้งโปรแตสแตทน์อีกประมาณ 20,000 คน โดยคำสั่งของชาร์ลที่ 11 กษัตริย์คาธอลิค ค.ศ. 1593 ผู้นำของพวกฮูโกนอทส์ กลายมาเป็นคาธอลิค และขึ้นครองฝรั่งเศสในนามของเฮ นรี่ที่ 4 เฮนรี่ที่ 4 ได้ออกกฤษฎีกานังน์เตส์ (Edict of Nantes) ค.ศ. 1598 ให้เสรีภาพในการนับถือ ศาสนาแก่พวกฮูโกนอทส์ ค.ศ. 1685 กษัตริย์หลุยส์ที่ 14 (Louis XIV) ยกเลิกกฤษฎีกานี้ ดังนั้น พวกฮูโกนอทส์ 4 แสน คน จึงถูกบังคับให้ออกนอกประเทศ อพยพไปยังอังกฤษฮอลแลนด์, อัฟริกาใต้ และ อเมริกาเหนือ, ปรัสเซีย พวกฮูโกนอทส์ เหล่านี้เป็นช่างฝีมือ หรือชนชั้นกลาง การอพยพไปจึงมีผลต่อเศรษฐกิจของ ฝรั่งเศสอย่างมากจนทำให้ฝรั่งเศสแพ้สงครามแย่งชิงอาณานิคมกับอังกฤษในศตวรรษที่ 18 ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามการอพยพไปของฮูโกนอทส์ ทำให้โปรเตสแตนท์ เหลืออิทธิพลน้อยมากใน ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสจึงยังคงเป็นคาธอลิคตราบจนทุกวันนี้
!
II. การปฏิรูปศาสนาในฮังการี จากปี ค.ศ. 1550 นักศึกษาชาวฮังการีที่เล่าเรียนมาจากเจนีวา และวิทเทนเบิร์ก ได้นำคำสอน โปรเตสแตนท์เข้าไปเผยแพร่ในฮังการี แต่เนื่องจากชาวฮังการี หรือเรียกกันว่า พวกแมคยาร์ (Magyar) ไม่ชอบชาวเยอรมัน เพราะ มักจะถูกดูหมิ่นดูแคลนจากคนเยอรมันเสมอ จึงทำให้พวกแมคยาห์ต้อนรับความเชื่อตาม แนวของเคลวินมากกว่าของลูเธอร์ ค.ศ. 1570 กลุ่มโปรเตสแตนท์ในฮังการีได้ออกหลักข้อเชื่อใช้อย่างแพร่หลายทำให้บาทหลวง เยซูอิท (Jesuits) ไม่พอใจมาก ดังนั้น จากปี 1572 พวกโปรเตสแตนท์จึงถูกข่มเหง !135
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
อย่างไรก็ตาม พวกแมคยาห์ก็ยังมั่นคงในความเชื่อจนกระทั่งในปี ค.ศ. 1780 การข่มเหงสิ้นสุด ลง และได้รับเสรีภาพในการนับถือศาสนาใน ค.ศ. 1848
!
III. การปฏิรูปศาสนาในสก๊อตแลนด์ ในอังกฤษ กษัตริย์เป็นผู้ทำการปฏิรูปศาสนา เพื่อเหตุผลทางการเมือง แต่ใน สก๊อตแลนด์ ศาสนาเป็นสิ่งนำการเมือง ดังนั้นการปฏิรูปศาสนาเกิดจากชนชั้นกลาง สาเหตุของการปฎิรูปศาสนาในสก๊อตแลนด์ พอสรุปได้ดังนี้ สภาพความเสื่อมของคริสตจักรคาธอลิคที่บาทหลวงผิดศีลธรรม, ซื้อตำแหน่ง, โลภทรัพย์ ฯลฯ การเผยแพร่งานเขียนของแพทริค แฮมิลตัน (Partrick Hamilton) ซึ่งเป็นโปรเตสแตนท์นิกายลูเธอร์แลนท์ และพระคัมภีร์ของทินเดล ที่พ่อค้าชาวสก๊อต นำมาเผยแพร่จากอังกฤษ สาเหตุด้านการเมือง เกิดขึ้นเมื่อพระนางแมรี่แห่งสจ๊วต อภิเษกกับ รัชทายาทของกษัตริย์ฝรั่งเศส ทำให้ชาวสก๊อตไม่พอใจ เกรงว่าโดยการอภิเษกนี้ จะทำให้สก๊อตแลนด์ตกไปเป็นของฝรั่งเศสซึ่งเป็นคาธอลิค ผู้นำการปฏิรูปศาสนา ในสก๊อตแลนด์คือ จอห์น นอกซ์ (John Knox) ผู้ซึ่งนำรัฐสภาสก๊อตให้ประกาศหลักข้อเชื่อของสก๊อตแลนด์ตามหลักคำสอนของเคลวิน ใน ค.ศ. 1560 นอกจากนั้น ในปีเดียวกัน จอห์น นอกซ์ยังขอความช่วยเหลือจากพระนาง เอลิซาเบ็ธแห่งอังกฤษ สามารถรบชนะพระนางแมรี่และฝรั่งเศส ในที่สุด มีการเซ็นสัญญา ที่เมืองเอดินเบอร์ก (Treaty of Edinburgh) ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุด อำนาจการควบคุมของฝรั่งเศสในสก๊อตแลนด์ ทำให้น๊อกซ์สามารถปฏิรูปศาสนาในแนวโปร เตสแตนท์ได้ ค.ศ. 1572 จอห์น น๊อกซ์ ถึงแก่กรรม ค.ศ. 1592 สก๊อตแลนด์ยอมรับความเชื่อโปรเตสแตนท์นิกายเพรสไบทีเรียนเป็นศาสนาประจำ รัฐ
!
IV. การปฏิรูปศาสนาในฮอลแลนด์ การปฏิรูปศาสนาในฮอลแลนด์เกิดเนื่องจากต้องการสกัดกั้นการครอบครองของสเปนใน ฮอลแลนด์ ฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน ซึ่งเป็นคาธอลิคที่เคร่งครัดต้องการยึดครองฮอลแลนด์ให้กับสันตะปาปา จึงใช้มาตรการรุนแรง ข่มเหงและฆ่าโปรเตสแตนท์ในช่วง ค.ศ. 1567-1573 ตายไปกว่า 2,000 คนและกว่า 40,000 คน ต้องอพยพไปตั้งถิ่นฐานในประเทศอื่น ค.ศ. 1568 โปรเตสแตนท์จึงโต้ตอบด้วยการก่อจลาจลขึ้น โดยการนำของวิลเลียมแห่งออเรนจ์ (William of Orange) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของ (The Silent) ค.ศ. 1579 มณฑล 7 มณฑลทางตอนเหนือได้ร่วมเซ็นสัญญา “สมาพันธ์แห่งยูเทรชท์” (The Union of Utrecht) และใน ค.ศ. 1581 ประกาศยกเลิกการครอบครองของสเปนในดินแดน ของตน และก่อตั้งประเทศฮอลแลนด์เป็นอิสระจากสเปน !136
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
อย่างไรก็ตาม ในการสงครามครั้งนี้ วิลเลี่ยมแห่งออเรนจ์เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1584 ค.ศ. 1574 ในการประชุมสมัชชาแห่งเมืองดอร์ท (Synod of Dort) ฮอลแลนด์ประกาศให้โปรเต สแตนท์ตามแนวทางของเคลวินเป็นศาสนาประจำรัฐ
!
V. กลุ่มอาร์มีเนียนนิซึ่ม (Arminianism) กลุ่มเคลวินนิซึ่ม (เชื่อตามคำสอนของเคลวิน) ซึ่งต่อมาเรียกนิกายของตนว่า “รี ฟอร์ม” (Reformed) แม้จะสามารถเผยแพร่เข้าไปในส่วนต่าง ๆ ของยุโรป โดยเฉพาะทาง แถบแม่น้ำไรน์ (Rhine) และตอนกลางของยุโรปได้ แต่ก็ต้องเผชิญการต่อต้านจากกลุ่ม อาร์มีเนียนนิซึ่มในฮอลแลนด์ ผู้นำของกลุ่มนี้คือ เจมส์ (จาโคบัส) อาร์มินิอัส (James of Jacobus Arminius) เจมส์ อาร์มินิอัสเป็นศิษยาภิบาล และอาจารย์ที่สอนตามหลักข้อเชื่อของเคลวิน และเป็นนัก เทศน์มีชื่อในเมืองอาร์มสเตอร์ดัม (Amsterdam) ต่อมา เขาได้รับมอบหมายให้ไปศึกษาความคิดด้านศาสนศาสตร์ของเดิร์ค เคิร์นเฮอร์ท (Dirck Koornhert) นักศาสนศาสตร์ที่สอนขัดแย้งกับของ เคลวิน ปรากฏว่า อาร์มินิอัสกลับเห็นด้วยกับเคิร์นเฮอร์ท และตั้งแต่นั้นเริ่มสอนสอนสิ่งที่เขาได้รับ คำสอนของกลุ่มอาร์มินิอัสขัดแย้งกับศาสนศาสตร์ของกลุ่มเคลวินนิสติค • อาร์มินิอัส เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1609 แต่ผู้ที่ศรัทธาคำสอนของเขาได้สืบทอดเจตนารมณ์ ต่อไป • กลุ่มอาร์มิเนียนได้ออกเอกสารแสดงหลักข้อเชื่อของตนตามที่กล่าวไว้ 5 ข้อข้างต้นโดยให้ ชื่อว่า เรมอนสแตรนท์ (Remonstrants) ใน ค.ศ. 1610 • พ่อค้าและชนชั้นกลางของฮอลแลนด์ สนับสนุนอาร์มินิอัส ในขณะที่ชนชั้นต่ำ สนับสนุนโกมานัส (Gomanus) ผู้นำกลุ่มเคลวินนิสติค • เมื่อเจ้าชายมอริสแห่งนัสเซา (The Prince Maurice of Nassau) บุตรชายของวิลเลียม แห่งออเรนจ์ขึ้นเป็นผู้นำฮอลแลนด์ และสนับสนุนกลุ่มเคลวินนิสติค จึงทำให้ สถานการณ์เปลี่ยนไป • ค.ศ. 1618 มีการประชุมสมัชชาที่เมืองดอร์ท (The Synod of Dort) เพื่อตัดสินปัญหานี้ ผู้เข้าร่วมส่วนมากเป็นนักศาสนศาสตร์ของกลุ่มเคลวินนิสติค ดังนั้น ที่ประชุมจึงมี มติให้ปฏิเสธความเชื่อของกลุ่มอาร์มีเนียน • ผู้รับใช้อาร์มิเนียนเกือบร้อยถูกบังคับให้ออกนอกประเทศ และผู้ที่ยังขืนสอนหลักคำสอน ของกลุ่มอาร์มิเนียนจะถูกจำคุกตลอดชีวิต • ในที่สุด ค.ศ. 1631 อาร์มิเนียนจึงได้รับเสรีภาพ และจัดตั้งคริสตจักรนิกายของตนได้ จนถึงปัจจุบัน • อิทธิพลของกลุ่มอาร์มิเนียนนิซึ่ม จะเห็นได้ชัดในคณะเมโธดิสท์ (Methodist) ซึ่งยึดถือ ตามหลักคำสอนของอาร์มิเนียน
!137
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
อาร์มินิอัส
เคลวิน
! 1. แม้มนุษย์จะตกต่ำไป แต่ก็มี อิสระที่จะเลือกว่า ตนจะเชื่อ พระเจ้าหรือไม่
1. มนุษย์ผิดบาป และไม่สามารถช่วยตัวเอง ให้มาถึงความรอดได้ ดังนั้นจึงไม่มีอิสระใน การเลือกว่า จะรับความรอดหรือไม่
2.พระเจ้าผู้ทรงสัพพัญญูทรงล่วงรู้ ก่อนว่า ผู้ใดจะเชื่อพระองค์ และ โดยความเชื่อ ซึ่งมนุษย์มีอิสระจะ เลื อ กเชื่ อ พระเจ้ า หรื อไม่ นี้ เ อง เป็นเหตุทำให้มนุษย์รอด
2.พระเจ้าทรงเลือกผู้ที่จะได้รับความรอดผู้ที่ เชื่อ คือ ผู้ที่ถูกเลือกไว้ก่อนแล้ว ดังนั้น มนุษย์รอดได้โดยการทรงเลือก ไ ม่ใช่โดย ความเชื่อของมนุษย์
3.พระคริสต์วายพระชนม์เพื่อลบ บาปของ มนุษย์ทุกคน แต่ผู้ที่เชื่อ เท่านั้นจึงได้รับการอภัยบาป
3. พระคริสต์วายพระชนม์เพื่อชำระบาปแก่ผู้ ที่พระเจ้าทรงเลือกไว้เท่านั้น
4.มนุ ษ ย์ ส ามารถรั บ หรื อ ปฏิ เ สธ การทรงเรียก หรืองานของพระ วิ ญ ญาณบริ สุ ท ธิ ์ ที่ ท รงกระทำบน ตัวเขาได้
4. ผู้ที่ถูกเลือกไม่สามารถปฏิเสธการทรง เรียกของพระวิญญาณได้
5.ผู ้ ที่ เ ชื่ อ อาจจะหลงหายไปจาก ทางของพระเจ้าได้
5. ผู้ที่ถูกเลือกจะไม่มีวันหลงหายไปจาทาง ของพระเจ้า
!
!138
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หน่วยที่ 12 ยุคปฏิรูปศาสนา (4)!
!
12.1การปฏิรูปของคริสตจักรคาธอลิค I. คำนำ ในขณะที่การปฏิรูปศาสนาของโปรเตสแตนท์แพร่ขยายไปในยุโรป มีผลให้คาธอลิคต้องสูญเสีย ดินแดนต่าง ในยุโรปให้แก่โปรเตสแตนท์ และทำให้เกิดคริสตจักรประจำรัฐต่าง ๆ ซึ่งแยกตัว เป็นอิสระจากคริสตจักรโรม (State-Church) สันตะปาปาและบาทหลวงระดับสูงของคาธอลิค จึงจำเป็นต้องทำการปฏิรูปท่ามกลางคาธอลิคเอง การปฏิรูปของคาธอลิค นำมาซึ่งเหตุการณ์ สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1. การปฏิรูปศาสนาภายในของคริสตจักรคาธอลิค 2. การต่อต้านพวกโปรเตสแตนท์จากคริสตจักรคาธอลิค (การปฏิรูปภายนอก)
!
II. การปฏิรูปภายในของคริสตจักรคาธอลิค A. กลุ่มโวหารแห่งความรักของพระคริสต์ หรือ Oratory of divine love (ค.ศ. 1517-1527) - กลุ่มนี้ประกอบด้วยบาทหลวงระดับสูงของคาธอลิคประมาณ 50 ท่าน ที่ร้อนรนและ ต้องการปฏิรูปภายในคริสตจักรคาธอลิค - ผู้นำสำคัญของกลุ่มนี้มี 3 คนได้แก่ (a) จาโคโป ซาโดเลโต (Jacopo Sadoleto) ซึ่งถกปัญหาศาสนศาสตร์อย่างเผ็ดร้อนกับ เคลวิน (b) เรจินาล์ด โพล (Reginald Pole) ผู้ซึ่งพยายามนำอังกฤษกลับมาเป็นคาธอลิคในรัช สมัยของพระนางแมรี่ ทิวดอร์ส (c) คาราฟฟา (Gian Pietro Caraffa) ซึ่งต่อมากลายเป็นสันตะปาปาพอลที่ 4 ผู้ซึ่งทำ การปฎิรูปคริสตจักรคาธอลิคอย่างจริงจัง - กลุ่มนี้ยึดมั่นในหลักคำสอนของคริสตจักรโรมจึงได้จัดให้มีการปฏิรูประบบอาราม และ วางแผนปฏิรูปภายใน พวกเขาได้จัดการกับคอรัปชั่นในคริสตจักรคาธอลิคในเวลาต่อมา
!
B. สันตะปาปานักปฏิรูปศาสนา (ค.ศ. 1534-1590) - สันตะปาปาที่ถือว่าเป็นผู้ที่เริ่มการปฏิรูปของคาธอลิคอย่างจริงจังในสมัยนี้คือ พอลที่ 3 (Paul III) - สันตะปาปาพอลที่ 3 เริ่มการปฏิรูปโดย (a) ค.ศ. 1537 แต่งตั้งบาทหลวงนักปฏิรูปสำคัญ ๆ อย่างคาราฟฟา, โพล, โซโดเลโต เข้า ในกลุ่มพระคาร์ดินัล (College of Cardinals) กลุ่มนี้มีสิทธิสอนและรายงานความ เหลวแหลกหรือคอรัปชั่นของคริสตจักร (b) เปิดศาลศาสนา (Inquisition) เพื่อใช้ข่มเหงคริสเตียนโปรเตสแตนท์ (c) พิมพ์รายชื่อหนังสือต้องห้าม เรียกว่า Index books ซึ่งเป็นรายชื่อหนังสือที่ไม่ให้ คาธอลิคอ่านหนังสือในรายชื่อนี้เขียนโดยนักศาสนศาสตร์โปรเตสแตนท์ (d) ค.ศ. 1545 เรียกประชุมสภาคริสตจักรแห่งเมืองเทร็น (Council of Trent) !139
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(e) ก่อตั้งคณะสงฆ์ใหม่ ๆ เพื่อใช้เป็นมิชชั่นนารีในการประกาศฯขยายคริสตจักร นอกจากสันตะปาปาพอลที่ 3 แล้วยังมีสันตะปาปาพอลที่ 4 (ค.ศ. 1555-59) ไพอัสที่ 4 (Pius IV ค.ศ. 1559-65) และซิคตัสที่ 5 (Sixtus V) ค.ศ. 1585-90 ซึ่งพยายามกำจัด คอรัปชั่นต่าง ๆ ในคริสตจักรและปฏิรูปด้านการเงินในคริสตจักรด้วย
!
II. การต่อต้านพวกโปรเตสแตนท์ (การปฎิรูปภายนอก) A. คณะเยซูอิท (The Jesuit Order) - เป็นคณะสงฆ์ที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1534 ซึ่งสันตะปาปาใช้เป็นอาวุธในการต่อต้านโปรเตส แตนท์ได้อย่างดี - ผู้ก่อตั้งคณะเยซูอิท คืออิคเนเทียส โลโยลา (Ignatius Loyola) ค.ศ. 1491-1556 (a) โลโยลา เกิดในตระกูลเจ้านายสูงศักดิ์ของสเปน (b) ค.ศ. 1521 เขาได้สมัครเป็นทหาร ออกรบในสงครามระหว่างสเปนและฝรั่งเศส จนกระทั่งขาของเขาถูกสะเก็ดลูกปืนใหญ่ทำให้พิการ (c) ขณะที่เขารักษาตัวจากบาดแผลอยู่นั่นเอง ได้อ่านหนังสือเกี่ยวกับชีวิตของนักบุญ และของพระคริสต์ (d) ในที่สุด โลโยลากลับใจและเขาร่วมกับบาทหลวงในอารามคณะเบเนดิค (e) ขณะที่อยู่เมืองแมนรีสา (Manresa) ค.ศ. 1522 ณ ริมแม่น้ำคาร์โดเนอร์ (Cardoner) เขาอ้างว่าได้รับประสบการณ์พิเศษจากพระเจ้า ทำให้เกิดความเข้าใจ และจิตวิญญาณสว่างขึ้น จนกลายเป็น “คนใหม่” (f) โลโยลาจึงจัดตั้งคณะเยซูอิทขึ้นใน ค.ศ. 1534 ร่วมกับเพื่อนอีก 6 คน - กิจกรรมหรือสิ่งที่คณะเยซูอิทกระทำ คือ (a) การศึกษา คณะเยซูอิทจะเน้นการเทศนา โดยบาทหลวงที่มีการศึกษาอย่างดีเพื่อ นำผู้คนกลับใจเปลี่ยนจากโปรเตสแตนท์มาเป็นคาธอลิค (b) ต่อต้านลัทธิเทียมเท็จ - โดยใช้การอภิปรายโต้กันกับนิกายเหล่านี้ (c) ทำพันธกิจต่างแดน - เพื่อนำผู้คนในแดนนั้นกลับมาเป็นคาธอลิค - เราสามารถกล่าวได้ว่า คณะเยซูอิทเป็นผู้นำในงานพันธกิจของคาธอลิค ในศตวรรษที่ 17 - มิชชั่นนารีเยซูอิทสามารถนำดินแดนบางส่วนของยุโรปกลับมาเป็นของคาธอลิคอีกครั้ง เช่น โปแลนด์, เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม เป็นต้น - นอกจากนั้นเยซูอิทยังเข้าไปประกาศในแดนใหม่ โดยการช่วยเหลือของกษัตริย์สเปน, โปรตุเกส และฝรั่งเศส เยซูอิทเหล่านี้เข้าไปพร้อมกับการขยายอาณานิคม
!
- มิชชั่นนารีเยซูอิทที่สำคัญ ได้แก่ (a) แมททีโอ ริชชี (Matteo Ricci) ค.ศ. 1552-1610 เข้าไปในจีนเมื่อปี ค.ศ.1601 มี ชาวจีนกว่า 6,000 คนมาเป็นคาธอลิค (b) ฟรานซิส ซาเวียร์ (Francis Xavier) ค.ศ. 1506-1552 เป็นมิชชั่นนารีคาธอลิคที่ ประกาศฯในเอเซียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น ในปี ค.ศ.1549 (c) โรเบิร์ท เดอ โนบิลิ (Robert de Nobili) ค.ศ. 1577-1656 เข้าไปในอินเดีย !140
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
บาทหลวงเหล่านี้ได้นำความเชื่อแบบคาธอลิคเข้าไปยังลาตินอเมริกา, แคนาดา และ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
!
B. ศาลศาสนา และรายชื่อหนังสือต้องห้าม (Inquisition and Index books) ศาลศาสนา เริ่มใช้ครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส เพื่อปราบปรามลัทธิอัลบิเจนเชนส์ (Albegense) ต่อมากษัตริย์เฟอร์ดินานและพระนางอิซาเบลลาแห่งสเปน ได้นำมาใช้ปราบปรามลัทธิเทียม เท็จในสเปน ในปี ค.ศ. 1480 ค.ศ. 1542 คาร์ดินัล คารฟฟา ได้เสนอต่อสันตะปาปาพอลที่ 3 (Paul III) ให้ใช้ศาลศาสนา ปราบปรามพวกโปรเตสแตนท์ และลัทธิเทียมเท็จทั่วยุโรป จนถูกยกเลิกไปใน ค.ศ. 1854 ผู้ที่ถูกกล่าวหาอาจจะถูกทรมานให้รับสารภาพผิดหรือให้การปรักปรำตัวเอง ผู้ที่ถูกตัดสินว่า มีความผิดจะได้รับโทษ ตั้งแต่ยึดทรัพย์สิน, จำคุก จนถึงเผาทั้งเป็นคาเสา นอกเสียจากผู้นั้นจะยอมสารภาพ และปฏิเสธความเชื่อเดิมของตน ค.ศ.1559 หนังสือต้องห้าม ถูกจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยสันตะปาปาพอลที่ 4 เพื่อบันทึกราย ชื่อของหนังสือที่ชาวคาธอลิคไม่ควรอ่าน ซึ่งรวมเอางานเขียนของมาร์ติน ลูเธอร์ และ โปรเตสแตนท์คนอื่น ๆ ไว้ด้วย
!
C. สภาคริสตจักรแห่งเมืองเทร็น (Council of Trent) ค.ศ. 1545-63 ค.ศ. 1545 สันตะปาปาพอลที่ 3 เรียกประชุมสภาคริสตจักรที่เมืองเทร็น ใช้เวลาประชุม กันยาวนานต่อเนื่องถึง 18 ปี เราสามารถแบ่งการประชุมที่เทร็นได้เป็น 3 ช่วง
!
(a) ช่วงที่ 1 จาก ค.ศ. 1545-1547 ในช่วงนี้ ที่ประชุมประกาศใช้หลักคำสอน ดังนี้ พระคัมภีร์ และหนังสือนอกสารบบพระคัมภีร์ มีสิทธิอำนาจเท่ากันและถือว่าเป็นสิทธิ อำนาจสูงสุดของคริสตจักร ความชอบธรรมได้มาโดย ความเชื่อและการกระทำ ประกาศใช้พิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 อย่างของคริสตจักรคาธอลิค
!
(b) ช่วงที่ 2 จาก ค.ศ. 1551-1552 พิจารณาเรื่องการปฏิรูปศาสนาและประกาศยืนยันคำสอนเรื่องทรานซับ สแตนติเอชั่น (Transubstantiation) หรือการเปลี่ยนแปลงของสสาร จากน้ำองุ่นกลาย เป็นพระโลหิต และจากขนมปังกลายเป็นพระกายของพระคริสต์
!
(c) ช่วงที่ 3 ราว ค.ศ. 1562-1563 พิจารณากฏระเบียบเรื่องการสมรส, แดนชำระ และเรื่องการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ผลของการประชุมสภาคริสตจักรแห่งเมืองเทร็นนำมาซึ่งสิ่งต่อไปนี้ !141
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(1) ทำให้หลักศาสนศาสตร์ของยุคกลาง กลายมาเป็นหลักคำสอนที่มีสิทธิอำนาจ สูงสุดสำหรับชาวคาธอลิค (2) การคืนดีระหว่างโปรเตสแตนท์และคาธอลิคเป็นไปไม่ได้ เพราะโปรเตสแตนท์ ไม่ยอมรับว่า พระคัมภีร์และหนังสือนอกสารบบหรือประเพณีคริสตจักรเสมอภาค กัน (3) ทำให้เกิดการปฏิรูปด้าน ศีลธรรมและจริยธรรม ของบาทหลวงอย่างจริงจัง (4) ทำให้พระคัมภีร์ฉบับวอลเกต ซึ่งเขียนขึ้นโดยเจโรม (Jerome) กลายเป็นพระ คัมภีร์มาตรฐานของคาธอลิค (5) เน้นการศึกษาพระคริสตธรรมแก่บาทหลวงคาธอลิค (6) ค.ศ. 1566 จัดทำคู่มือคำสอนสำหรับผู้เชื่อคาธอลิค (Roman Catholicism)
!
12.2 สงคราม 30 ปี (The Thirty Year War) ค.ศ. 1618-1648 I. ความเป็นมา สนธิสัญญาสงบศึกอ๊อกซ์เบิร์กที่ทำขึ้นระหว่างโปรเตสแตนท์ และคาธอลิคในเยอรมันนี เมื่อ ค.ศ. 1555 ถูกละเมิดโดยทั้ง 2 ฝ่าย ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 บาทหลวงลูเธอร์แรนที่อยู่ในดินแดนคาธอลิคไม่ยอมคืนดินแดนให้กับค ริสตจักรคาธอลิค และไม่ยอมอพยพย้ายเข้ามาในแดนของลูเธอร์แรน (โปรเตสแตนท์) พวกโปรเตสแตนท์ที่ติดตามคำสอนของจอห์น เคลวิน เริ่มขยายอิทธิพลมากขึ้นและต้องการ สถานะทางกฏหมายเช่นกัน ในขณะเดียวกัน พวกบาทหลวงเยซูอิทพยายามใช้ทุกวิธีทาง รวมทั้งทางทหารเพื่อชิงดินแดน คืนมาให้คาธอลิค ด้วยเหตุทั้งปวงเหล่านี้ ทำให้เกิดความตึงเครียดและทั้งสองฝ่ายก็พยายามหาทางปกป้อง ตนเองจากกันและกัน ทางฝ่ายโปรเตสแตนท์ได้จัดสหพันธ์อีแวนแจอริเคิล (Evangelical Union) ใน ค.ศ. 1608 ฝ่ายคาธอลิคตอบโต้ โดยก่อตั้งกลุ่มร่วมคาธอลิค (Catholic League) ใน ค.ศ. 1609
!
II. ชนวนสงคราม ค.ศ. 1617 กษัตริย์เฟอร์ดินานด์ที่ 2 (Ferdinand II) ซึ่งสนับสนุนคาธอลิคได้ขึ้นเป็นผู้ ปกครองแคว้นโบฮีเมีย เฟอร์ดินานด์ที่ 2 จึงพยายามขับไล่พวกโปรเตสแตนท์ออกจากโบฮีเมีย บรรดาเจ้านายและขุนนางชาวโบฮีเมีย ซึ่งส่วนมากเป็นโปรเตสแตนท์จึงลุกฮือกันก่อจลาจล และขอให้กษัตริย์ซึ่งเป็นโปรเตสแตนท์และเชื่อตามคำสอนของเคลวินขึ้นเป็นผู้ปกครองโบฮี เมียแทน ค.ศ. 1618 ในเมืองปราค (Prague) พวกโปรเตสแตนท์ได้โยนผู้แทนของเฟอร์ดินานด์ออกนอก หน้าต่างของปราสาทลงไปยังคูโคลน ด้วยเหตุนี้สงคราม 30 ปีจึงเริ่มต้นขึ้น
!
III. ขั้นตอนของสงคราม สามารถแบ่งสงคราม 30 ปี ได้เป็น 4 ช่วง ดังนี้ !142
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
A. สงครามโบฮีเมีย ค.ศ. 1618-23 เป็นสงครามระหว่างเฟอร์ดินานด์ที่ 2 และแมกซิมิเลียน ซึ่งเป็นฝ่าย คาธอลิคต่อสู้กับเฟรดเดอริค และชาวโบฮีเมีย ค.ศ. 1620 ในสงครามไวท์ฮิล (White Hill) ใกล้เมืองปราค พวกโปรเตสแตนท์แพ้สงคราม ชั่วคราว
!
B. สงครามแดนิช (เดนมาร์ก) ค.ศ. 1625-29 นายพลทิลลี่ (Tilly) แห่งกองทัพของเฟอร์ดินานด์ที่ 2 ชนะกองทัพของคริสเตียนที่ 4 (Christian IV) แห่งเดนมาร์ก ค.ศ. 1629 มีการออกกฤษฎีกาให้โปรเตสแตนท์คืนดินแดนที่ยึดไป ตั้งแต่ ค.ศ. 1552 คืน ให้คาธอลิค (Edict of Restitution) และคาธอลิคยอมรับเฉพาะพวกลูเธอร์แลนท์เท่านั้น
!
C. สงครามสวีเดน ค.ศ. 1630-34 โปรเตสแตนท์สามารถยึดเอาดินแดนต่างๆคืนจากคาธอลิคได้เกือบหมด โดยการนำของกุส ตาวัส อดอลฟัส (Gustavus Adolphus) อย่างไรก็ตาม โปรเตสแตนท์ไม่สามารถยึดภาคใต้ของเยอรมันคืนได้
! !
D. สงครามช่วงสุดท้าย ค.ศ. 1635-48 คาธอลิค ฝรั่งเศส ร่วมมือกับโปรเตสแตนท์ เพื่อทำลายอำนาจของราชวงศ์ฮับสเบริ์ก (Hapsburg) ในสเปนและในอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
IV. สนธิสัญญาสงบศึกเวสฟาเลีย (Peace of Westphalia) สงคราม 30 ปีสงบลงด้วยสนธิสัญญาเวสฟาเลีย (Westphalia) ใน ค.ศ. 1648 ผลของสงคราม ครั้งนี้ คือ เนเธอร์แลนด์และสวิสเซอร์แลนด์ ถูกยอมรับว่าเป็นรัฐโปรเตสแตนท์อิสระ ฝรั่งเศส กลายเป็นประเทศที่มีอำนาจของโลก คณะลูเธอร์แรน และคณะเคลวิน กลายเป็นความเชื่อที่เป็นที่ยอมรับ และพวกโปรเตสแตน ท์สามารถรับราชการในรัฐต่าง ๆ ได้ ดินแดนที่ตกเป็นของโปรเตสแตนท์ใน ปี ค.ศ. 1624 คงเป็นของโปรเตสแตนท์ต่อไป เจ้าผู้ปกครองรัฐต่าง ๆ ในยุโรป มีสิทธิยอมรับความเชื่อแบบโปรเตสแตนท์หรือคาธอลิค หรือ ทั้งสองนิกายเข้ามาในดินแดนของตน สันตะปาปาไม่มีสิทธิเข้าไปก้าวก่ายกิจกรรมทางศาสนาใด ๆในเยอรมันนี
!
12.3 ผลของการปฏิรูปศาสนา I. ด้านการปกครอง การปฎิรูปศาสนาในยุโรป ทำให้การปกครองและการควบคุมของคริสตจักรสากล (Universal Church) จบสิ้นลงและเกิดคริสตจักรแห่งชาติ (National Church) ขึ้นในดินแดนที่โปรเตสแตน ท์ (Protestants) ยึดครองไว้ได้ ซึ่งเป็นคริสตจักรที่แยกตัวจากคริสตจักรโรม !143
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
(a) พวกลูเธอร์แลนท์ (The Lutherans) ปกครองและนำความเชื่อแบบโปรเตสแตนท์ เข้าไปในดินแดนเยอรมันนี และสเแกนดิเนเวีย (b) พวกเคลวินนิส (Calvinism) มีอำนาจในสวิสเซอร์แลนด์, สก๊อตแลนด์, ฮอลแลนด์, ฝรั่งเศส และฮังการี (c) อังกฤษได้จัดตั้งคริสตจักรแองกลีกันเป็นคริสตจักรแห่งชาติ (The Anglican statechurch) (d) แม้อนาแบ๊บติสท์ (Anabaptists) จะไม่ได้ตั้งคริสตจักรแห่งชาติขึ้น แต่ได้เข้าไปมี อิทธิพลในฮอลแลนด์, ภาคเหนือของเยอรมัน และสวิสเซอร์แลนด์ และพวกนี้สอนเน้น เรื่องการแยกคริสตจักรออกจากรัฐ
!
II. ด้านความเชื่อและหลักศาสนศาสตร์ การปฏิรูปศาสนา ทำให้เกิดนิกายโปรเตสแตนท์ขึ้น และทำให้โปรเตสแตนท์เป็นความเชื่อที่ เป็นที่ยอมรับเสมอว่าภาคกับคาธอลิค ทำให้เกิดพัฒนาการของหลักศาสนศาสตร์ของนิกายโปรเตสแตนท์ขึ้น (a) รอดด้วยความเชื่อเท่านั้น (Faith Alone) (b) พระคัมภีร์เป็นอำนาจสูงสุดของคริสตจักร (Sola Scriptura) (c) พระคริสต์ทรงเป็นประมุขของคริสตจักร (Sola Christus) (d) คริสเตียนทุกคนเป็นปุโรหิตของพระเจ้า (Priesthood of All Believers) ทำให้เกิดคณะนิกายที่แตกต่างกันไปตามหลักคำสอนในหมู่พวกโปรเตสแตนท์เอง เช่น (a) อนาแบ๊บติสท์ เน้นคำสอนเรื่องบัพติศมาโดยการจุ่มลงในน้ำ (b) เคลวิน เน้นคำสอนเรื่อง Predestination หรือการทรงกำหนดผู้ที่จะรับความรอดไว้ล่วง หน้า ทำให้เกิดการกำหนดหลักข้อเชื่อที่ใช้เป็นธรรมนูญของคริสตจักรขึ้น ระหว่างปี 1530 – 1648 นอกจากนั้น การปฏิรูปศาสนายังทำให้เกิดการฟื้นฟูในด้านการเทศนา ทำให้การศึกษาพระ วจนะมีความสำคัญมากในคริสตจักร
!
III. ด้านการศึกษา การปฏิรูปช่วยให้เกิดการตื่นตัวในการจัดระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้นในรัฐต่างๆ เพื่อ ประชาชนจะมีความรู้เพียงพอที่จะอ่าน และศึกษาพระคัมภีร์ได้ นักปฏิรูปศาสนาในดินแดนต่างๆ เร่งเร้าให้มีการสร้างโรงเรียนใน 3 ระดับคือ ประถมศึกษา, มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
!
IV. ด้านการเมือง คำสอนของนักปฏิรูป ซึ่งเน้นความเสมอภาคด้านความเชื่อ ทำให้เกิดการตื่นตัวในความเสมอ ภาคด้านการเมืองด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสอนของเคลวิน ทำให้เกิดความสำนึกใน ระบอบประชาธิปไตย ทั้งในคริสตจักรและในรัฐ ทั้งนี้เนื่องจากฆราวาส ได้รับสิทธิในการปกครองของคริสตจักรมากขึ้นด้วย
! !
!144
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
V. ด้านเศรษฐกิจ การปฎิรูปศาสนา มีส่วนสนับสนุนระบบทุนนิยม (Capitalism) เนื่องจากระบบศักดินาเริ่มหมด ไป และนักปฏิรูปส่วนมากจะคัดค้านระบบเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งเป็นผู้ครอบครองดินแดนใน ลักษณะของเจ้า (Lords) และทาสที่ดิน (Fief) ตามระบบศักดินา นอจากนั้น ชนชั้นพ่อค้าเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น และพวกนี้มักจะสนับสนุนนักปฏิรูปศาสนา
!
VI. อิทธิพลต่อคริสตจักรโรมันคาธอลิค การปฏิรูปศาสนาของโปรเตสแตนท์ ทำให้คริสตจักรโรมันคาธอลิคต้องหันมาพิจารณาระบบ และระบอบภายในของตนเอง ทำให้เกิดการปฏิรูปภายใน คริสตจักรโรมันคาธอลิคเอง โดยเฉพาะในด้านศีลธรรมและจริยธรรม นอกจากนั้น ยังนำมาซึ่งการกำหนดหลักคำสอนที่แจ่มชัดของคาธอลิค ในการประชุมสมัชชา แห่งเมืองเทร็นอีกด้วย
!
######################
ประชุมสมัชชาแห่งเมืองเทร็น ! ! !145
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
ยุคที่ 6 ยุคฟื้นฟูและพันธกิจ (ค.ศ. 1648-1789)!
! !
หน่วยที่ 13 ยุคเหตุผลและการฟื้นฟู!
!
13.1 คำนำ ในทางประวัติศาสตร์ เราถือว่า สนธิสัญญาสันติภาพเวสฟาเลีย (ค.ศ. 1648) เป็สิ่งที่นำ ประวัติศาสตร์เข้ามาสู่โฉมหน้าใหม่ หรือเข้าสู่ยุคเหตุผลนั่นเอง (The Age of Reason, The Enlightenment) ในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นยุคปฏิรูปศาสนา ได้นำมาซึ่งนิกายโปรเตสแตนท์ และพัฒนาการของ หลักคำสอนและศาสนศาสตร์ของโปรเตสแตนท์ อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษต่อมา (ศตวรรษที่ 17) โปรเตสแตนท์ได้ทำเช่นเดียวกับคาธอลิค คือ เน้นแต่หลักคำสอน และทฤษฎีมากกว่าการนำหลักคำสอนเหล่านี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดการข่มเหงผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับหลักคำสอนนั้น ๆ หรือตีความหมายพระวจนะของ พระเจ้าแตกต่างจากหลักคำสอนเหล่านี้ ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีผู้คนถูกฆ่าตายเพราะความเชื่อเป็นจำนวนหลายพันคน ดังนั้นในกลางศตวรรษที่ 17 ผู้คนจึงลุกขึ้นคัดค้านคำสอนที่เย็นชาของโปรเตสแตนท์ และคาธ อลิค ในปลายศตวรรษที่ 17 จนถึงศตวรรษที่ 18 นี้เอง จึงเกิดปฏิกิริยาคัดค้านขึ้นใน 2 รูปแบบ คือ การใช้เหตุผล และวิทยาศาสตร์อธิบายความเชื่อ การฟื้นฟูความเชื่อ
!
13.2 ยุคแห่งเหตุผล (The Age of Reason) I. ลักษณะของยุคเหตุผล เป็นยุคของการปฏิวัติในด้านความคิดและสติปัญญา(intellectual revolution) ในยุคนี้ ผู้คนต่างพากันมองดูพระเจ้า, โลก และตัวเอง ด้วยทัศนะใหม่ที่ต่างจากเดิมคือใช้ เหตุผล และวิทยาศาสตร์ แทนการใช้ความเชื่อ
!
II. สาเหตุที่ทำให้เกิดยุคเหตุผล A. การฟื้นฟูวัฒนธรรมสมัยเรนาสซองค์ (Renaissance) ในช่วงปี ค.ศ. 1350-1650 ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปมีการฟื้นฟูวัฒนธรรม โดยการนำเอา วรรณกรรม, ศิลปกรรม, สถาปัตยกรรม ในสมัยกรีกกลับมาใช้อีกครั้ง เป็นเหตุให้ผู้คนเริ่มสนใจเรื่องของตนเองมากกว่าเรื่องความเชื่อ เรื่องพระเจ้าและคริสตจักร ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของยุคกลางที่ความรู้และวัฒนธรรมถูกปิดกั้นจากประชาชนทั่วไป
!
B. ความขัดแย้งทางความเชื่อ ในช่วง ค.ศ. 1550-1650 เกิดปัญหาความขัดแย้งเรื่องความเชื่อในยุโรปอย่างมาก !146
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ในประเทศอังกฤษเกิดสงครามกลางเมืองโปรเตสแตนท์และคาธอลิคทำสงครามยืดเยื้อนาน ถึง 30 ปี (1618-1648) ด้วยเหตุนี้ ผู้คนจึงรู้สึกเอือมระอาในเรื่องศาสนาและความเชื่อ
!
C. การค้นพบด้านวิทยาศาสตร์ การค้นพบใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้คนหันไปสนใจในเรื่องของกฏเกณฑ์ และ ระเบียบเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังสิ่งต่าง ๆ โคเปอร์นิคัส (Copernicus) ยืนยันว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ไม่ใช่ โลก เคปเลอร์ (Kepler) สรุปว่า ดวงอาทิตย์ส่งพลังสนามแม่เหล็กออกมาเพื่อทำให้ดาว เคราะห์ต่าง ๆหมุนไปตามวงโคจรของมัน กาลิเลโอ (Galileo) นำเอาข้อสันนิษฐานของโคเปอร์นิคัส และเคปเลอร์ไปค้นคว้าและ ศึกษาให้กว้างขวางขึ้น ไอแซค นิวตัน (Issac Newton) ค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก (The low of gravity) ค.ศ.1687 การค้นพบทางวิทยาศาสตร์เหล่านี้ ทำให้ผู้คนมองดูเหตุผล และวิทยาศาสตร์ เป็นพื้นฐานในการอธิบายปรากฏการณ์และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน จักรวาล มนุษย์มองดูว่า จักรวาลเป็นกลไกหรือระบบที่เกิดขึ้นและดำเนินไปด้วยกฏ ธรรมชาติ
!
D. อิทธิพลจากศาสนาอื่น ชาวยุโรปเริ่มคุ้นเคยกับลัทธิและศาสนาอื่น ตลอดจนวัฒนธรรมอื่น ๆ เนื่องจากพ่อค้า นัก บุกเบิกทั้งหลายได้เดินทางไปยังดินแดนใหม่ ความเชื่อของศาสนาเหล่านี้ จึงถูกนำกลับมายังยุโรป ทำให้นักวิชาการยุโรป เริ่มเปรียบ เทียบความเชื่อเหล่านี้กับความเชื่อของคริสเตียน และพบว่ามีหลักการหลายอย่างที่ คล้ายคลึงกัน ด้วยเหตุนี้เอง พวกเขาจึงเริ่มคิดว่า อาจจะมีความเชื่ออื่น ซึ่งสามารถอธิบายถึงสิ่งต่าง ๆ ได้นอกเหนือจากพระคัมภีร์ ดังนั้นในช่วงศตวรรษที่ 17 นี้เอง จึงเกิดความเชื่อแบบใหม่ขึ้นเรียกว่า ดีอีสซึ่ม (Deism) ซึ่งใช้วิทยาศาสตร์และเหตุผล อธิบายถึงความเชื่อ
!
III. ผลต่อคริสเตียน A. เหตุผลและวิทยาศาสตร์ทดแทนความเชื่อ เพราะฉะนั้นคริสเตียน ไขว่เขว การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ผู้คนพากันให้ความสนใจกับการทดลอง และหลักของ เหตุผล ดังนั้นวิทยาศาสตร์และเหตุผล จึงเข้ามาทดแทน ความเชื่อทางศาสนา
!
B. ทัศนะการมองดูชีวิตของปัญญาชนชาวยุโรปเปลี่ยนไป ชาวยุโรปมองดูสิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในชีวิต และในจักรวาลตามคำสอนและความคิดของคริ สตจักรคาธอลิค มาเป็นเวลา 1200 ปี !147
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ตามความคิดของอริสโตเติล มนุษย์เป็นทาสของความบาป และต้องการพระคุณการช่วย ให้รอดของพระเจ้า ซึ่งอยู่เหนือธรรมชาติ แต่ในยุคของเหตุผลได้อธิบายแนวความคิดใหม่ว่า มนุษย์ไม่ใช่คนบาปที่หลงหาย แต่มนุษย์ สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขได้ หากเขาค้นพบความรู้และหลักกฎเกณฑ์แห่ง ธรรมชาติ ดังนั้น แนวความคิดหรือโลกทัศน์ของคนยุโรปในยุคนี้ เน้นเรื่องเหตุผล มากกว่าความเชื่อ ตัวอย่างของคริสเตียน นักคิดในยุคเหตุผลคือ ฟรานซิส เบคอน (Francis Bacon) ค.ศ. 1561-1626 ได้พิมพ์หนังสือชื่อ Novum Organum ในปี ค.ศ. 1620 เบคอน เน้นการใช้หลักวิทยาศาสตร์ ในการอธิบายความจริงที่ปรากฏ นั่นก็คือ เราจะ สรุปผลและวางกฏเกณฑ์ข้อเท็จจริงต่าง ๆจะถูกกำหนดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อทำการทดลองซ้ำ แล้วซ้ำอีกเท่านั้น จอห์น ล็อค (John Locks) ค.ศ. 1632-1704 แต่งหนังสือชื่อ Essay Concerning Human Understanding ใน ค.ศ. 1690 ล็อค ยอมรับว่า ความเชื่อเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตมนุษย์ และเมื่อศึกษาด้วยเหตุผลก็จะพบว่า พระเจ้าทรงมีจริง แต่หลักคำสอนที่สำคัญของคริสเตียน เมื่อดูตามหลักเหตุผลมีอยู่เพียงอันเดียวคือ พระเยซู ทรงเป็นพระมาซีฮา สิ่งที่ล็อคเน้นอย่างมากคือ จริยธรรม คำสอนทั้งหมดของพระเยซูมีจุดประสงค์เพื่อให้ มนุษย์มีการประพฤติที่ถูกต้องทางศีลธรรม ดังนั้น การสำแดงหรือการเปิดเผยของพระเจ้าเกิดขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นว่า ความเชื่อของ คริสเตียนเป็นสิ่งที่มีเหตุผล แต่เมื่อพิจารณาดูหลักการของล็อคอย่างถี่ถ้วน จะพบว่า พระเจ้าในความคิดของล็อคต่าง จากพระคัมภีร์มาก พระเจ้าของล็อคไม่มีความเร้นลับและอารมณ์ มีแต่เหตุผล (หรือพระเจ้าเป็นผลผลิต ของเหตุผลเท่านั้น)
!
C. เกิดลัทธิใหม่ที่เน้นเหตุผลและเป็นที่มาของลัทธิเสรีนิยม ในศตวรรษที่ 18 เกิดลัทธิความเชื่อใหม่ ซึ่งเน้นในเรื่องของเหตุผลและวิทยาศาสตร์ และ กลายเป็นศาสนาหลักของยุคเหตุผลคือ ดีอีสซึ่มหรือเดอิซึ่ม (Deism) ลัทธิดีอีสซึ่ม เผยแพร่ไปจากกลุ่มนักคิดชาวฝรั่งเศส ซึ่งถูกขนามนามว่า กลุ่มนักปราชญ์ (The Philosophers) ซึ่งเน้นหลักการของพวกเขาไปในแง่การปฏิรูปสังคมที่เหลวแหลก ชั่วร้ายให้ดีขึ้น กลุ่มนี้เชื่อว่า มีพระเจ้า แต่พระเจ้าทรงปกครองโลกตามกฏธรรมชาติ และพระองค์จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับโลก แต่ปล่อยให้เป็นตามกฏธรรมชาติ
!
IV. ลัทธิเดอิซึ่ม (Deism) A. ความเชื่อของลัทธิดีอีสซึ่ม พระเจ้าของพวกดีอีส (Deists) เปรียบได้กับช่างทำนาฬิกา (Watchmaker) !148
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
พระเจ้าทรงสร้างโลกเหมือนช่างผลิตนาฬิกา พอสร้างเสร็จก็ไขลาน แล้วปล่อยให้มันเดิน ไปด้วยตัวเอง ดังนั้น ดีอีสซึ่มจึงเชื่อว่า โลกดำเนินไปตามกฏธรรมชาติ (Natural law) โดยที่พระเจ้าจะ ไม่เข้ามาก้าวก่ายอีก ไม่ว่าจะโดยการใช้การอัศจรรย์, การสำแดงเป็นพิเศษหรือทาง พระคัมภีร์ ทั้งนี้เพราะพระเจ้าทรงสมบูรณ์ในพระองค์เอง เพราะฉะนั้น การทรงสร้าง ครั้งเดียวก็สมบูรณ์ในตัว ดังนั้น เดอีสซึ่มจะไม่เชื่อในเรื่องการอัศจรรย์ และการทรงสำแดงของพระเจ้า มนุษย์สามารถค้นพบกฏแห่งธรรมชาติเหล่านี้ได้โดยอาศัยความรู้ พวกดีอีสสอนว่า พระคริสต์ไม่ได้เป็นบุตรของพระเจ้า แต่ทรงเป็นเพียงมนุษย์ที่ดี (ศาสดา)ที่สอนหลักศีลธรรม – จริยธรรมแก่มนุษย์ การนมัสการที่พอพระทัยพระเจ้าคือ การรักษาคุณธรรมและความดี พระคัมภีร์เป็นหลักศีลธรรม ให้มนุษย์ปฏิบัติตามหลักเหตุผล เพื่อมนุษย์จะไม่ถูกลงโทษ แต่จะได้รับรางวัลนิรันดร์ ความเชื่อของคริสเตียนจึงไม่ใช่สิ่งลึกลับ แต่พิสูจน์ได้ด้วยเหตุผล
!
B. การเผยแพร่ของลัทธิดีอีสซึ่ม ลัทธิดีอีสซึ่ม เริ่มต้นในประเทศอังกฤษในหมู่ชนชั้นสูง คนเหล่านี้เดินทางไปฝรั่งเศส และนำเอาความเชื่อนี้เข้าไปเผยแพร่ในฝรั่งเศสด้วย จากฝรั่งเศส ดีอีสซึ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปในเยอรมันนี และส่วนต่างๆ ของยุโรป โดยงานเขียนสำคัญ ๆ ของดีอีส 3 คน
!
(1) วอลแตร์ (Volthaire) ค.ศ. 1649-1778 เขาทำให้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ของไอแซค นิวตัน เป็นที่นิยมทั่วยุโรป งานเขียนของเขาโจมตีคำสอนและระบบของคริสตจักรที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เขาเชื่อว่า มนุษย์เป็นผู้เพิ่มเติมหลักคำสอนที่ยุ่งยากเข้าไปในหลักความเชื่อ ดังนั้น มนุษย์ต้องกลับไปนับถือความเชื่อดั้งเดิมแบบง่าย ๆ (noble savage) เขาเชื่อว่า มีพระเจ้าอยู่จริง ซึ่งมนุษย์จะเข้าใจพระองค์ได้ด้วยเหตุผล
!
(2) รุซโซ (Rouseau) เขียนหนังสือเผยแพร่ความเชื่อของดีอีสซึ่ม ชื่อ อีมิล (Emile)
!
(3) เดนิส ไดเดรอท (Denis Diderot) ค.ศ. 1713-1784 เขียน Encyclopedia เป็นหนังสือชุดทั้งหมด 17 เล่ม ซึ่งให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไว้ มากมาย ในขณะเดียวกัน ปฏิเสธเรื่องเหนือธรรมชาติ
!
นายทหาร แม่ทัพนายกองคนสำคัญ ๆ ผู้ริเริ่มก่อตั้งอเมริกา อย่างเช่น เบนจามิน แฟรงค์คลิน (Benjamin Franklin), โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson), อีแธน อัลเลน (Ethan Allen) และ โธมัส เพน (Thomas Paine) เป็นต้น ก็เป็นพวกดีอิส !149
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
C. การคัดค้านลัทธิดีอีสซึ่ม ในประเทศอังกฤษ มีนักวิชาการคริสเตียนเขียนหนังสือคัดค้านความเชื่อของลัทธิดีอีซึ่มได้ อย่างมีประสิทธิผลหลายท่าน เช่น
!
(a) โจเซฟ บัทเลอร์ (Joseph Butler) เขียน The Analogy of Religion บัทเลอร์มิได้ปฏิเสธเหตุผล แต่ยอมรับว่าเหตุผลเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์เกิดความเข้าใจได้ แต่เหตุผลไม่สามารถนำมาซึ่งความรู้ที่สมบูรณ์แบบได้ เพราะแม้แต่ในธรรมชาติ ก็ยัง มีสิ่งที่อยู่เหนือกฏธรรมชาติ ซึ่งเป็นความลึกล้ำที่ไม่อาจจะอธิบายได้
!
(b) วิลเลี่ยม ลอร์ (William Law) ค.ศ. 1686-1761 เขียนหนังสือเกี่ยวกับชีวิตที่มอบถวายของคริสเตียนชื่อ A Serious Call to a Devout and Holy life ในปีค.ศ. 1728 และเขียนเรื่อง Case of Reason (หรือกรณีแห่ง เหตุผล) ใน ค.ศ. 1732 ลอว์ อธิบายว่า มนุษย์ไม่สามารถจะเข้าใจความเชื่อในศาสนาได้ทั้งหมด โดยอาศัย เหตุผลเพราะพระเจ้าทรงอยู่เหนือเหตุผล
!
(c) วิลเลี่ยม พาลีย์ (William Paley) ค.ศ. 1743-1805 เขียนหนังสือเพื่อพิสูจน์ว่า พระเจ้าทรงมีอยู่จริง และทรงสำแดงพระองค์ทางพระ คริสต์, พระคัมภีร์ และการอัศจรรย์ หนังสือเหล่านี้ช่วยให้ลัทธิดีอีสซึ่มอ่อนกำลังลงทั้งนี้ เพราะดีอีสซึ่มไม่สามารถให้เหตุผล เกี่ยวกับสิ่งชั่วร้ายที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ เดอีซึ่มไม่สามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดคนที่มีเหตุผลจึงเป็นคนทุศีล อย่างไรก็ตาม การคัดค้านลัทธิดีอีสซึ่มนี้ ก็ไม่สามารถทำให้ความเชื่อของ คริสเตียนกลับมาเป็นหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมยุโรปได้อีก ในศตวรรษที่ 19 ดีอีสซึ่ม ทำให้เกิดลัทธิเสรีนิยม (Theological liberalism) นอกจากนั้นระบบของสังคม, การศึกษา, ศิลปะ, ตลอดจนการเมืองการปกครองใน ปัจจุบันก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากยุคแห่งเหตุผล ซึ่งจะเห็นว่า อิทธิพลความเชื่อของ คริสเตียนมีผลน้อยมากในสังคมยุคสมัยใหม่นี้
!
13.3 การฟื้นฟูฝ่ายจิตวิญญาณ (Pietism and Revival) I. คำนำ หลังจากยุคปฏิรูปศาสนาในศตวรรษที่ 16 ความเชื่อของโปรเตสแตนท์ได้รับการพัฒนาขึ้น จน กลายเป็นหลักคำสอนและเน้นในรูปของวิชาการอย่างตกขอบในศตวรรษที่ 17 ด้วยเหตุนี้ ชีวิตคริสเตียนจึงเย็นชาลง แทนที่จะเน้นความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้เชื่อและพระเจ้ากลับกลายเป็นเน้นหลักข้อเชื่อที่ต้องยึดถือ เพื่อจะสามารถเป็นพลเมืองของรัฐ โปรเตสแตนท์ ดังนั้น ในปลายศตวรรษที่ 17 และต้นศตวรรษที่ 18 จึงมีการเคลื่อนไหวที่จะฟื้นฟูชีวิตฝ่ายจิต วิญญาณขึ้น !150
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
การเคลื่อนไหวดังกล่าว แบ่งได้เป็น 2 ทาง • ประสบการณ์ความเร้นลับฝ่ายจิตวิญญาณ (Spiritualist Option) • การฟื้นฟูฝ่ายจิตวิญญาณ (Revivalism) ซึ่งเน้นความสำคัญของพระวจนะและชีวิตที่เคร่งครัด ในความเชื่อ
!
II. การเคลื่อนไหวของกลุ่มความเร้นลับฝ่ายจิตวิญญาณ หรือลัทธิญาณทิพย์ (The Spiritualist Option) A. ลักษณะของกลุ่มความเร้นลับฝ่ายจิตวิญญาณ กลุ่มนี้เน้น การหยั่งรู้จากภายในหรือการดลใจอย่างฉับพลัง (immediate intuition) ใน การเข้าใกล้สัมพันธ์กับพระเจ้า หรือที่เรียกว่า แสงสว่างจากภายใน (inner light) กลุ่มนี้เชื่อว่า พระวิญญาณ ทรงสามารถทำให้มนุษย์ (ผู้เชื่อ) เกิดความเข้าใจและความ กระจ่างแจ้งในเรื่องของพระเจ้าได้ นอกเหนือจากการอ่านพระคัมภีร์
!
B. ผู้นำสำคัญ สามารถแบ่งผู้นำสำคัญ ๆ ได้เป็น 3 พวก ได้แก่ กลุ่มโบมินิส กลุ่มเควกเกอร์ และ กลุ่ม สวีเดนบอร์ก (1) กลุ่มโบมีนิส (Bohmenist) (a) ประวัติความเป็นมา ผู้นำกลุ่มคือ เจคอป โบมี (Jakob Bohme) ค.ศ. 1575-1624 เขาเกิดในครอบครัวที่นับถือนิกายลูเธอร์แลนท์ในเยอรมันนี เมื่ออายุได้ 14 ปี เขาฝึกงานเป็นช่างปะรองเท้าหลังจากนั้นไม่นาน เขาอ้างว่า ได้ รับนิมิตจากพระเจ้า เขาจึงเริ่มพเนจรไปโดยยึดอาชีพปะรองเท้า ในช่วงนี้เอง เขาเริ่มสอนว่า ผู้นำในคริสตจักรเป็น “หอบาเบล” ซึ่งเอาแต่โต้เถียงค้านคำสอน เมื่ออายุ 25 ปี เขาหยุดชีวิตการเร่ร่อนพเนจร และเปิดร้านปะรองเท้าของตนเอง ในเมืองเกอร์ลิซ (Goerlitz) ที่เมืองนี้เอง เขาอ้างว่า พระเจ้าให้เขาเห็นนิมิตและทรงบัญชาให้เขียนนิมิตเหล่านี้ ลงเป็นหนังสือชื่อ Brilliant Dawn หรือรุ่งอรุณอันสดใส งานเขียนนี้เอง ทำให้เขาถูกขับไล่ออกจากเมืองด้วยข้อหาเป็นพวกสอนเทียมเท็จ เขาจึงยื่นอุทรณ์ต่อศาลเมืองแซกโซนี่ (Saxony) แต่เมื่อนักศาสนศาสตร์อ่านตรวจ สอบหนังสือของเขาก็ไม่สามารถเข้าใจความหมายที่แจ่มชัดได้ แต่ยังไม่ทันที่เขาจะได้อธิบายความหมายเหล่านี้ เขาก็ป่วยหนัก และกลับไปจบ ชีวิตท่ามกลางมิตรสหายและสานุศิษย์ เมื่ออายุได้ 50 ปี
!
(b) คำสอนของโบมี ถือว่า พิธีบัพติศมา และมหาสนิทเป็นบทบัญญัติไม่ใช่พิธีศีล คำสอนพื้นฐานของเขา เป็นการต่อต้าน ความเย็นชาของหลักคำสอนต่าง ๆ ของ นักศาสนศาสตร์ และต่อต้านพิธีรีตรองในคริสตจักร !151
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
นอกจากนั้น ยังเน้นเรื่องการสำแดงโดยตรงจากพระเจ้า และเสรีภาพในฝ่าย วิญญาณ สิทธิอำนาจสูงสุดของคริสเตียน คือ พระวิญญาณของพระคริสต์ที่อยู่ภายในชีวิต ของผู้เชื่อ
!
(2) กลุ่มเควกเกอร์ (Quakers) กลุ่มนี้ มีผู้นำสำคัญอยู่ 2 คน ได้แก่ 1) จอร์จ ฟอกซ์ (George Fox) 2) วิลเลียม เพนน์ (William Penn) 3) อิมมานูเอล สวีเดนบอร์ก (Immanuel Swedenberg)
!
1) จอร์จ ฟอกซ์ (George Fox) (a) ประวัติ เกิดในครอบครัวสามัญชนในประเทศอังกฤษ ปี ค.ศ. 1624 ฟอกซ์ ยึดอาชีวิตช่างปะรองเท้าเช่นกัน แต่เมื่ออายุ 19 ปี พระวิญญาณทรงเร่งเร้าให้ สละอาชีพและออกพเนจร แสวงหาความจริง ดังนั้น เขาจึงเข้าร่วมการประชุมของคณะนิกายต่าง ๆ เพื่อหวังจะได้รับการเปิด เผย จากพระเจ้า นอกจากนั้น ฟอกซ์ยังทุ่มเทกับการศึกษาพระวจนะจนสามารถท่องจำพระคัมภีร์ได้ ขึ้นใจ ในที่สุด เขาสรุปว่ามนุษย์จะสามารถพบพระเจ้าได้ก็โดยญาณทิพย์ หรือแสงสว่าง ภายในจิตวิญญาณเท่านั้น ตั้งแต่นั้น เขาจึงเที่ยวประกาศตามสถานที่ประชุมของคณะนิกายต่าง ๆ ถึงนิมิตฝ่าย จิตวิญญาณที่เขาได้รับจากพระเจ้า ค.ศ. 1669 เขาสมรสกับมากาเร็ท เฟลล์ (Magaret Fell) ซึ่งได้ยกบ้านของเธอให้เป็น ศูนย์กลางของคณะเควกเกอร์ ฟอกซ์ ถูกซ้อม และถูกจำคุก 6 ปีเนื่องจากเขาสอนคัดค้านการถือยศถือศักดิ์ ซึ่ง ทำให้ชนชั้นสูงในอังกฤษไม่พอใจมาก เมื่อเขาเสียชีวิตใน ปี ค.ศ. 1691 ปรากฏว่า มีสานุศิษย์ทั่วอังกฤษและต่างแดนหลาย หมื่นคน
!
(b) คำสอนของเควกเกอร์ มนุษย์จะพบพระเจ้าได้ โดยการอาศัยแสงสว่างจากภายใน (Inner light) ซึ่งมีอยู่ใน ทุกคน ทั้งคริสเตียนและผู้ที่ยังไม่เชื่อ ดังนั้น คำสอนนี้จึงขัดแย้งกับความเชื่อของเคลวิน ซึ่งสอนว่า มนุษย์ทุกคนเป็นคน บาปและช่วยตัวเองให้รอดไม่ได้ เพลงนมัสการ, บัญญัติต่าง ๆ พิธีศีล, หลักข้อเชื่อ และระเบียบแบบแผนในการ นมัสการของคริสตจักรเป็นสิ่งที่ขัดขวางเสรีภาพของพระวิญญาณ !152
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ดังนั้น การนมัสการของกลุ่มเควกเกอร์ จะไม่มีการร้องเพลง แต่ทุกคนจะเงียบเพื่อรอ การเปิดเผยของพระวิญญาณ ผู้ที่ได้รับการดลใจไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กเพศหญิงหรือชายจะลุกขึ้นพูดหรือ อธิษฐาน แต่เพื่อควบคุมมิให้ใช้อิสรภาพส่วนบุคคลมากเกินไปในการนมัสการ จนวุ่นวาย ฟอกซ์จึงเน้นความสำคัญของการเป็นชุมชน, ความรักและสันติ พิธีบัพติศมาและมหาสนิทเป็นเรื่องของจิตใจภายใน จึงไม่มีการทำพิธีทั้งสองในการ นมัสการ นี่จึงเป็นจุดสำคัญที่ทำให้กลุ่มเควกเกอร์ต่างจาก กลุ่มโบมี ซึ่งถือว่าการบัพติศมาและการรับขนมปัง และน้ำองุ่นเป็นบทบัญญัติ เควกเกอร์เน้นการทำพันธกิจ ซึ่งจะทำควบคู่กับการบริการสังคมและให้การ ศึกษา (มีการส่งมิชชันนารีของกลุ่มออกไปต่างแดนด้วย)
!
(c) ผลงาน จอร์จ ฟอกซ์ ได้ตั้งกลุ่มขึ้นใน ปีค.ศ. 1652 และเรียกชื่อกลุ่มว่าลูกแห่งความสว่าง (Children of Light) แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น กลุ่มเพื่อน (Friends) อย่างไรก็ตามกลุ่มนี้เป็นที่รู้จักในนามของเควกเกอร์ (Quakers) เพราะความกระตือ รือล้นเอาจริงเอาจังของพวกเขา ทำให้เกิดความเกรงกลัวจนตัวสั่น ในปี ค.ศ. 1689 กษัตริย์ชาร์ลที่ 2 ออกพระราชบัญญัติยอมรับความเชื่อของ เควก เกอร์ แต่ปรากฏว่าสานุศิษย์ของกลุ่มถูกจำคุกและตายในคุกหลายร้อยคนแล้ว
!
2. วิลเลี่ยม เพนน์ William Penn (ค.ศ. 1644-1718) (a) ประวัติ วิลเลี่ยม เพนน์เป็นสานุศิษย์ของจอร์จ ฟอกซ์ เขาเป็นบุตรชายนายทหารใหญ่ของอังกฤษจึงได้รับการศึกษาสูง ค.ศ. 1667 เขาถูกไล่ออกจากบ้าน เพราะไปเชื่อตามพวกเควกเกอร์ ต่อมาเขาถูกจำคุก 7 เดือนเพราะเป็นพวกเควกเกอร์ แต่โดยการช่วยเหลือจากครอบรัว และมิตรสหาย ในที่สุด เขาออกจากคุกและเดินทางไปทั่วยุโรป เขียนหนังสือ ปกป้องความเชื่อของกลุ่มเควกเกอร์ ค.ศ. 1682 เขากลายเป็นผู้ว่าการอาณานิคม ส่วนหนึ่งในอเมริกา ซึ่งเรียกชื่อตามชื่อ ของเขาว่า เพนซิเวเนีย เขาตายใน ปี ค.ศ. 1718
!
(b) ผลงาน วิลเลี่ยม เพนน์เป็นผู้ก่อตั้งรัฐเพนซิลวาเนีย (Pennsylvania) ทางเหนือของอเมริกา ในปี ค.ศ. 1682 กษัตริย์ชาร์ลที่ 2 ได้ยกดินแดนผืนใหญ่ในอาณานิคมทางเหนือของ อเมริกา เป็นการใช้หนี้แก่บิดาของวิลเลี่ยม เพนน์ และทรงอนุมัติให้ยกเลิกการ ข่มเหงพวกเควกเกอร์ในอาณานิคมนี้ วิลเลี่ยม เพนน์จึงตั้งอาณานิคมนี้ให้มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา !153
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เมืองหลวงของอาณานิคมได้ชื่อว่า ฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia) ซึ่งแปลว่า เมือง แห่งความรักฉันท์พี่น้อง (City of Brotherly Love)
!
(3) อิมมานูเอล สวีเดนบอร์ก Emanuel Swedenborg (ค.ศ. 1688-1772) (a) ประวัติ สวีเดนบอร์กเกิดในตระกูลขุนนาง จึงได้รับการศึกษาสูงและสนใจเรื่องวิทยา- ศาสตร์ เป็นพิเศษ ขณะที่เขาแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์นี้เอง เขาได้รับนิมิตในเรื่องโลกฝ่ายวิญญาณ และเข้าถึงสัจธรรมนิรันดร์ ตั้งแต่นั้น จึงเริ่มเขียนหนังสือมากมายอธิบายถึงความหมายและความจริงใน พระวจนะ เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1772
!
คำสอน “ความจริงนิรันดร์” หมายถึง โลกฝ่ายจิตวิญญาณ ซึ่งตามองไม่เห็นเป็นสิ่งที่อยู่ เบื้องหลังโลกวัตถุที่ตามองเห็นได้ การติดต่อระหว่างสองโลกนี้ จะทำได้โดยผ่านพระวิญญาณ “ความหมายที่แท้จริงของพระคัมภีร์” คือ สิ่งที่พระเจ้าทรงสำแดงแก่สวีเดนบอร์ก และนั่นก็คือ ความหมายของการเสด็จมาครั้งที่สองของพระเยซูคริสต์
!
!
(b) ผลงาน คริสตจักรเยรูซาเล็มใหม่ (The Church of New Jerusalem) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย สานุศิษย์ในปี ค.ศ. 1784 หลังจากที่สวีเดนบอร์กเสียชีวิตไปแล้ว 12 ปี ซึ่งยัง คงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน สมาคมสวีเดนบอร์ก (Swedenborg Society) ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 19 เพื่อเผย แพร่งานเขียนของสวีเดนบอร์ก
C. อิทธิพลของกลุ่มความเร้นลับฝ่ายวิญญาณ (กลุ่มญาณทิพย์) นอกจากกลุ่มเควกเกอร์ แล้วกลุ่มที่เน้นเรื่องความเร้นลับฝ่ายวิญญาณ มีอิทธิพลต่อคริสตจักรและสังคมโดยส่วนรวมน้อยมาก ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มเหล่านี้ เน้นคำสอนที่เกี่ยวกับโลกหน้า และเน้นแต่กลุ่มของตนเอง การที่กลุ่มเควกเกอร์ สามารถมีอิทธิพลและดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน เนื่องจาก คำสอน ของกลุ่มเน้นให้สมาชิกอยู่เป็นชุมชน และเน้นการหาวิธีแก้ไขปัญหา สังคม และการ บริการสังคม
!
!
!154
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
III. ความเคลื่อนไหวของกลุ่มฟื้นฟู A. คำนำ ความเย็นชาของหลักคำสอนโปรเตสแตนท์ในศตวรรษที่ 17 ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ของ คริสเตียนบางกลุ่ม เพื่อนำการฟื้นฟูฝ่ายจิตวิญญาณกลับมาสู่คริสตจักร คำสอนหลักของกลุ่มเหล่านี้ เน้นและให้ความสำคัญแก่ความเชื่อส่วนบุคคล และการ สามัคคีธรรมของผู้เชื่อ (ศูนย์กลางชีวิตคริสเตียน ไม่ใช่การเป็นสมาชิกคริสต จักรของรัฐ แต่คือ การสามัคคีธรรมกลุ่มผู้เชื่อ) นั่นก็คือ คริสเตียน คือผู้ที่มีความสัมพันธ์ และติดสนิทส่วนตัวกับพระเจ้า ไม่ใช่การยึดถือ ตามหลักข้อเชื่อของศาสนาประจำรัฐ การเคลื่อนไหวที่นำมาสู่การฟื้นฟูฝ่ายจิตวิญญาณนี้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่ กลุ่มไพอาติส (Pietist) ในเยอรมันนี กลุ่มเมโธดิส (Methodist) ในอังกฤษ
!
B. กลุ่มไพอาติส (Pietists) ผู้นำสำคัญของกลุ่มนี้ คือ (a) ฟิลิป เจคอป สปีเนอร์ (Philip Jacob Spener) (b) ออกัส เฮอร์แมน ฟรองเก (August Hermann Francke) (c) นิโคลัส ฟอน ซินเซอดอร์ฟ (Nicholas von Zinzendorf)
!
(a) ฟิลิป เจคอป สปีเนอร์ Philip Jacob Spener (ค.ศ. 1635-1705) - ฟิลิป เจคอป สปีเนอร์ เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิไพอาติสขึ้น ค.ศ. 1666 เขาได้เป็นศิษยาภิบาลคริสตจักรลูเธอร์แลนท์ในเมืองแฟรงค์ฟอร์ท ประเทศ เยอรมันนี สปีเนอร์รู้สึกตกใจกับสภาพฝ่ายจิตวิญญาณที่ตกต่ำของคริสเตียนในเมือง แฟรงค์เฟิร์ทมาก เขาจึงเริ่มเทศนาอย่างจริงจังจากพระคัมภีร์ และในปี ค.ศ. 1669 การฟื้นฟูเกิดขึ้นในคริสต จักรเมื่อเขาเทศน์จาก “คำเทศนาบนภูเขา” ของพระเยซู ค.ศ. 1670 สปีเนอร์เปิดบ้านสำหรับศึกษาพระคัมภีร์อย่างจริงจัง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง กลุ่ม ของเขาจึงถูกขนามนามว่า “การประชุมของพวกเคร่งศาสนา” (Gathering of the Piest) กลุ่มไพอาติสเป็นที่นิยมในเยอรมันนี, ฮอลแลนด์ (เพราะฉะนั้นพวกลูเธอร์แลนท์ และ ประเทศในสแกนดิเนเวีย) คำสอนหลักคือ เน้นการศึกษาพระคัมภีร์เป็นกลุ่ม และนำพระวจนะมาใช้ในชีวิตประจำวัน เน้นการมีความเชื่อส่วนตัวกับพระเจ้า การสร้างผู้รับใช้ที่มีชีวิตเป็นแบบอย่าง และการให้โอกาสฆราวาสรับใช้ การเทศนาที่เรียบง่าย แต่มีชีวิตฝ่ายวิญญาณ (ไม่ใช่ศาสนศาสตร์จัด) และเน้นการดูแลหรือ อภิบาลศิษย์ !155
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
คำสอนทั้งหมดอยู่ในบทนำของคู่มือประจำกลุ่มไพอาติส ซึ่งสปีเนอร์ตั้งชื่อว่า “ความ ปรารถนาของผู้ศรัทธา” (Pious Desires หรือ Pia Desideria)
!
(b) ออกัส ฟรองเก August Hermann Francke (ค.ศ. 1663-1727) ค.ศ. 1692 ฟรองเก รับตำแหน่งอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย (Halle) โดยการฝากฝังจากสปีเนอร์ หลังจากสปีเนอร์เสียชีวิต ฟรองเกจึงรับหน้าที่ผู้นำกลุ่มไพอาติสแทน และต่อมา เมืองฮาลล์ก็กลายเป็นศูนย์กลางของกลุ่มไพอาติส ผลงานสำคัญของเขาคือ ก่อตั้งโรงเรียนสำหรับเด็กยากจน ก่อตั้งสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า โรงพยาบาลและบ้านอุปถัมภ์หญิงม่าย งานที่สำคัญอีกอย่างคือ ในปี ค.ศ. 1705 ได้ตั้งองค์การพันธกิจเก่าแก่ ที่สุดแห่งหนึ่งของโปรเตสแตนท์และส่งมิชชั่นนารี 2 ท่านไปทำงาน พันธกิจ จนในที่สุด มีมิชชั่นนารีจากกลุ่มนี้ออกไปบุกเบิกงานประกาศในอัฟริกา, อเมริกา, เอเชีย และหมู่เกาะแปซิฟิก
!
(c) นิโคลัส ฟอน ซินเซนดอร์ฟ Nicolas Von Zinzendorf (ค.ศ. 1700-1760) เขาเกิดในตระกูลสูงศักดิ์ในออสเตรเลีย ต่อมาครอบครัวได้อพยพเพื่อแสวงหา เสรีภาพใน การนับถือศาสนาในโบฮีเมีย ชีวิตตั้งแต่เด็กได้รับการเลี้ยงดูอบรมจากคุณย่าซึ่งนิยมชมชอบกลุ่มไพอาติส ค.ศ. 1722 ซินเซนดอร์ฟยกบ้านของเขาให้เป็นศูนย์กลางของกลุ่มพี่น้อง โบฮีเมีย (The Bohemian Brother) ศูนย์กลางของกลุ่มพี่น้องโบฮีเมียแห่งนี้ ถูกตั้งเป็นนิคมเรียกว่า เฮอร์นฮัท (Herrnhut) ค.ศ. 1727 เขาได้รับการสถาปนาให้เป็นผู้นำของกลุ่ม ผลงานสำคัญของซินเซนดอร์ฟ คือ การทำพันธกิจ โดยได้ส่งมิชชันนารี โปรเตสแตนท์รุ่นแรกออกไปยังอินเดีย, อัฟริกา, กรีนแลนด์ และส่วนอื่น ๆ
!
อิทธิพลของกลุ่มไพอาติส ทำให้เกิดการฟื้นฟู ในคริสตจักรลูเธอร์แลนท์ในเยอรมันในศตวรรษที่ 18 ขณะที่คริสตจักร กำลังเย็นชาและเกิดความขัดแย้งมากมาย ทำให้การเทศนา และ การอภิบาลศิษย์ กลายเป็นศูนย์กลางหรือแบบอย่างการรับใช้ ของโปรเตสแตนท์ ให้ความสำคัญแก่การดูแลฝ่ายจิตวิญญาณ ถือว่าเป็นการฟื้นฟูที่แท้จริงของคริสตจักร ทำให้ความเป็นคริสเตียนเปลี่ยนจากการเป็นสมาชิกของคริสตจักรประจำชาติ (Traditonal state churches) มาเป็นการสามัคคีธรรมอย่างลึกซึ้งแน่นแฟ้นของผู้ เชื่อ
!
!
!156
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
C. กลุ่มเมโธดิสท์ (The Methodists) การเคลื่อนไหวของกลุ่มเมโธดิสท์ ทำให้เกิดการฟื้นฟูอย่างกว้างขวางของ คริสเตียนโปรเตสแตนท์ในอังกฤษ, ยุโรป และอเมริกา และนับว่าเป็นการตื่นตัวด้านความเชื่อของสังคม ครั้งที่ 3 ของอังกฤษ ครั้งที่ 1 คือ การปฏิรูปศาสนาในศตวรรษที่ 16 ครั้งที่ 2 คือ การปฎิรูปของกลุ่มเพียวริตัน ครั้งที่ 3 คือ การฟื้นฟูโดยกลุ่มเมโธดิสท์ เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์ว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่มเมโธดิสท์ ซึ่งทำให้เกิดการฟื้นฟูทั่วคริสตจักรอย่างกว้างขวาง นับเป็นเหตุการณ์สำคัญทาง ประวัติศาสตร์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการปฏิวัติในฝรั่งเศส(French Revolution) และการปฎิ วัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
!
IV. จอห์น เวสลีย์ (John Wesley) ค.ศ. 1703-1791 ผู้นำคนสำคัญของกลุ่มเมโธดิสท์คือ จอห์น เวสลีย์ (John Wesley) A. ประวัติ จอห์น เวสลีย์ เป็นบุตรคนที่ 15 ในทั้งหมด 19 คนของศาสนาจารย์ ซามูเอล และ นางซูซานนา เวสลีย์ พ่อของเขาเป็นศาสนาจารย์ของนิกายแองกลีกัน ส่วนแม่เป็นบุตรสาวของผู้รับใช้กลุ่มหัว รุนแรง ดังนั้น จอห์นจึงเติบโตมาในบรรยากาศครอบครัวที่เคร่งครัดในความเชื่อ เขาได้รับการศึกษาที่อ๊อกซ์ฟอร์ด (Oxford) และใน ค.ศ. 1728 เขาได้รับการสถาปนาเป็น ผู้รับใช้ในนิกายแองกลีกัน จอห์น และน้องชายคนหนึ่งของเขาคือ ชาร์ล เวสลีย์ ได้ก่อตั้งกลุ่มชื่อ โฮลี่ คลับ (Holy Club) แปลว่า สมาคมบริสุทธิ์ กลุ่มนี้ได้รับการขนานนามจากนักศึกษาพระคริสตธรรมว่า เมโธดิสท์ (Methodists) เพราะคลับนี้เน้นการศึกษาพระคัมภีร์อย่างเป็นระบบ (Methodical Bible Study) และ เน้นการอธิษฐานสม่ำเสมอตลอดจนการช่วยเหลือสังคมและชุมชน ตลอดชีวิตของจอห์น เวสลีย์ เขาแสวงหาแต่ความบริสุทธิ์ (Holiness)
!
B. การแสวงหาความบริสุทธิ์ การแสวงหาความบริสุทธิ์ของจอห์น เวสลีย์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ช่วง ช่วงก่อนประสบการณ์ที่อัลเดอร์เกท (Aldergate) หรือก่อนปี ค.ศ. 1738 ช่วงหลังประสบการณ์อัลเดอร์เกท ก่อนประสบการณ์ที่อัลเดอร์เกท จอห์น เวสลีย์ไม่ได้สนใจเรื่องศาสนามากนัก จนกระทั่งใน ปี ค.ศ. 1725 เขาสารภาพกลับใจ และเริ่มแสวงหาความบริสุทธิ์ โดยวิธีต่าง ๆ เช่น การทรมานร่างกาย (Ascetism) ,ญาณทิพย์, การทำคุณความดี แต่วิธีเหล่านี้ก็ไม่ สามารถทำให้เขาแน่ใจได้ว่าเขาได้รับความรอด !157
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ค.ศ. 1735 เขาจึงเดินทางไปเป็นมิชชั่นนารีในรัฐจอร์เจีย ประเทศอเมริกาและได้คลุกคลีกับ Moravian Christian ที่อพยพมาจากเยอรมันนี จอห์น เวสลีย์รู้สึกประทับใจในความเชื่อและความกล้าเผชิญ แม้กระทั่งความตายของ คริสเตียนโมราเวียน แต่เขาก็ยังไม่มั่นใจในความรอดของตน เมื่อกลับมายังเยอรมันนี เขาจึงไปร่วมงานนมัสการกับกลุ่มพี่น้องโมราเวียนที่ถนน อัลเด อร์เกท วันที่ 24 พฤษภาคม 1738 ในขณะที่เวสลีย์ฟังพี่น้องโมราเวียนอ่านบทนำของคู่มือ อรรถาธิบายพระธรรมโรมของมาร์ติน ลูเธอร์ในการประชุมนมัสการ ที่ถนนอัลเดอร์ เกท เขารู้สึกว่า ภายในจิตใจเกิดความอบอุ่นขึ้นอย่างประหลาด เขาจึงเกิดความแน่ใจ ในความรอดว่า พระคริสต์เท่านั้นเป็นผู้ประทานให้ หลังเหตุการณ์ที่อัลเดอร์เกท จอห์น เวสลีย์เริ่มมองเห็นแล้วว่า ความบริสุทธิ์เป็นของ ประทาน ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาด้วยการทำดี ค.ศ. 1777 เวสลีย์จึงเขียนคำสอนเกี่ยวกับการชำระให้บริสุทธิ์ (Sanctification) ขึ้นให้ชื่อว่า Plain Account of Churches Perfection (หรือวิธีง่ายดายสู่ชีวิตคริสเตียนที่สมบูรณ์)
!
C. การเคลื่อนไหวของกลุ่มเมโธดิสท์ หลักคำสอนเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของเวสลีย์ กลายเป็นพื้นฐานคำสอนและการเคลื่อนไหว ของกลุ่มเมโธดิสท์ ค.ศ. 1739 จอห์น เวสลีย์ เริ่มเทศนาคำสอนนี้กลางแจ้งใกล้ ๆ เมืองบริสโทล (Bristol) และมีชาวเหมืองมากมายกลับใจ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูโดยกลุ่มเมโธดิสท์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จอห์น เวสลีย์ ได้เดินทางไปทั่วอังกฤษ เพื่อเทศนาแก่ประชาชนคน ยาก โดยใช้การเทศนากลางแจ้ง ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1791 จอห์นเดินทางเทศนาโดยขี่ม้าไปเรื่อย ๆ ทั้งหมด เป็นระยะทางกว่า 250,000 ไมล์ทั่วอังกฤษ, สก๊อตแลนด์ และไอร์แลนด์ ไม่ว่าเวสลีย์จะไปเทศนาที่ใด เขาได้จัดตั้งสมาคมเมโธดิสท์ (Methodist societies) แต่ละสมาคมแบ่งเป็น “ชั้น” ชั้นหนึ่งประกอบด้วยสมาชิก 12 คน ซึ่งจะมาร่วมประชุม นมัสการ, เป็นพยาน, อธิษฐานและหนุนจิตชูใจกัน เรียกว่า “ชั้นพบปะของเว สลีย์” (Wesley Class Meeting) ผู้นำของแต่ละ “ชั้น” เป็น ฆราวาส ที่เติบโตในฝ่ายจิตวิญญาณ เวสลีย์ได้ใช้ฆราวาสเหล่านี้ในการประกาศพระกิตติคุณ นอกจากนั้น เวสลีย์ยังเน้นการช่วยเหลือสังคม เพื่อแสดงให้เห็นว่า พระกิตติคุณมีอิทธิพลต่อชุมชนและสังคมเช่นกัน ค.ศ. 1746 เขาได้สร้างสถานตรวจโรคฟรี นอกจากนั้นเวสลีย์ยังเน้นงานด้านพันธกิจ โดยส่งมิชชันนารี 2 คน ไปอเมริกา ใน ค.ศ. 1768 (หนึ่งในนั้นคือ ฟรานซิส แอสเบอรี่) อย่างไรก็ตาม เวสลีย์ไม่เคยมีความคิดจะแยกตัวเป็นอิสระจากคริสตจักรแองกลี-กัน แต่ เมื่องานพันธกิจในอเมริกาเติบโตมากขึ้น เวสลีย์ได้ขอให้คริสตจักรแอง กลีกันช่วยส่ง ผู้รับใช้ไป เมื่อถูกปฏิเสธเวสลีย์จึงจำเป็นต้องประกาศเป็นคริสตจักรอิสระจากแองกลีกัน !158
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
การแยกตัวของกลุ่มเมโธดิสท์อย่างเป็นทางการเกิดขึ้นหลังจากจอห์น เวสลีย์ตายไปแล้ว อย่างไรก็ตาม อิทธิพลของคริสตจักรแองกลีกันก็ยังสามารถเห็นได้ในด้านการปกครองของ คริสตจักรนิกายเมโธดิสท์ และในพิธีศีลมหาสนิท ซึ่งมีการคุกเข่าหน้าแท่นบูชา เมื่อเวสลีย์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1791 คริสตจักรเมโธดิสท์ที่สมาชิกในอังกฤษถึง 79,000 คน และในอเมริกา 40,000 คน และแยกตัวจากคริสตจักรแองกลีกัน
!
!
D. อิทธิพลของกลุ่มเมโธดิสท์ ทำให้เกิดฟื้นฟู อย่างกว้างขวางในอังกฤษ, สก๊อตแลนด์, ไอร์แลนด์ และอเมริกา ทำให้อังกฤษรอดพ้นจากการปฏิวัติ เพื่อโค่นล้มราชวงศ์ดังที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศส ทำให้ชนชั้นสูง ในอังกฤษได้รับการฟื้นฟูและตื่นตัวจนทำให้อังกฤษเป็นประเทศผู้นำหรือ มหาอำนาจในศตวรรษที่ 19 ชาร์ล เวสลีย์ (Charles Wesley) น้องชายของจอห์น แต่งเพลงนมัสการ กว่า 6,000 เพลง หลายเพลงยังใช้จนปัจจุบัน
13.4 ความเชื่อคริสเตียนในสหรัฐอเมริกา (1648-1789) I. คำนำ ความเชื่อและหลักปรัชญา 2 ประการ มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของอเมริกา ตั้งแต่เริ่มต้นสมัย อาณานิคม ได้แก่ เพียวริตัน (Puritanism) ปรัชญาว่าด้วยเหตุผล (The Philosophy of Reason) ในช่วง 100 ปีแรก หลังจากชาวยุโรปเข้าไปตั้งรกรากในอเมริกา คือจากประมาณปี ค.ศ. 1620-1750 อเมริกาได้รับการหล่อหลอมจากอิทธิพลของเพียวริตัน จาก ค.ศ. 1750 ปรากฏว่า ความคิดจากอิทธิพลของยุคแห่งเหตุผลเข้า ครอบงำอเมริกา ดังนั้น ในช่วงนี้เอง บรรดาบิดาผู้ก่อตั้งประเทศอเมริกา (กลางศตวรรษที่ 18) จึงได้รับอิทธิพล จากยุคเหตุผลมากกว่าจากความเชื่อแบบเพียวริตัน ตัวอย่างเช่น จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) เบนจามิน แฟรงค์กลิน (Benjamin Franklin), โทมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson), ล้วนเป็น ผู้ที่นับถือดีอีซึ่ม (Deism)
!
II. การตั้งอาณาจักรในอเมริกาเหนือ สาเหตุที่ชักนำให้ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเข้ามาแสวงหา และตั้งอาณานิคมในอเมริกาเหนือแตก ต่างกันไป ดังนี้ A. สาเหตุทางเศรษฐกิจ ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปต้องการค้นหาเส้นทางเดินเรือ ไปทางตะวันตก เพื่อนำเอา วัตถุดิบและเปิดการค้ากับเอเซีย
! ! !
!159
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
B. สาเหตุทางการเมืองและสังคม เพื่อสร้างอาณานิคม ของคนขึ้นในโลกใหม่ และใช้อาณานิคมนี้ต้านอำนาจของกองทัพ ของสเปน และโปรตุเกสทางอเมริกาใต้ นอกจากนั้นยังเป็นที่รองรับและระบาย ประชากร ของเมืองแม่ด้วย
!
C. สาเหตุทางศาสนา นับว่าเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดในการตั้งอาณานิคม ผู้ปกครองประเทศต่าง ๆในยุโรปแสดง จุดประสงค์แม่นมั่นที่จะนำประชาชน ในอาณานิคมในโลกใหม่เข้ามาอยู่ในอาณาจักร ของพระคริสต์ด้วย นอกจากนั้น พวกเพียวริตัน ที่อพยพไปในโลกใหม่ สร้าง อาณานิคมของตนขึ้น เพราะต้องการเสรีภาพในการนมัสการ
!
III. กลุ่มเพียวริตันในอเมริกา A. กลุ่มสครูบี (The Scrooby Congregation) นับว่ากลุ่มนี้เป็นเพียวริตันที่บุกเบิกเข้ามาตั้งอาณานิคมของตนในอเมริกา บางครั้งจึงเป็น ที่รู้จักกันในนามของบรรพชนของเพียวริตัน (the Pilgrim Fathers) กลุ่มนี้ ถือว่าเป็นกลุ่มผิดกฏหมายในอังกฤษและถูกข่มเหงจากรัฐบาลอังกฤษ ทั้งนี้เพราะ กลุ่มนี้นโยบายที่ต้องการแยกคริสตจักรเป็นอิสระจากคริสตจักรแองกลีกัน และจากการ ควบคุมของรัฐบาลอังกฤษ ผู้นำคนสำคัญของกลุ่มคือจอห์น โรบินสัน, วิลเลี่ยม บรูสเตอร์, วิลเลี่ยม แบรดฟอร์ด (John Robinson, William Brewster, William Bradford) เมื่อถูกข่มเหงมากเข้าจนไม่สามารถจะทนได้ กลุ่มนี้จึงอพยพไปอยู่ในฮอลแลนด์ ตั้งคริสต จักรขึ้นที่เมืองเลย์เดน (Leiden) ต่อมา ผู้นำกลุ่มรู้สึกว่า เด็ก ๆ ลูกหลานของสมาชิกกำลังจะถูกกลืนเข้าไปในสังคมชาว ฮอลแลนด์ (ดัช) จึงตัดสินใจกลับมายังอังกฤษ เพื่อเตรียมตัวอพยพไปตั้งนิคมใหม่ใน อเมริกา ในที่สุด พวกเขาก็สามารถหาบริษัทที่จะสปอนเซอร์การเดินทางครั้งนี้ โดยพวกเขาจะต้อง ไปบุกเบิกและตั้งอุตสาหกรรมประมงให้กับบริษัทเวอจีเนียในดินแดนใหม่เป็นการ ตอบแทน ดังนั้น เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1620 พวกเขาจึงลงเรือชื่อ เมย์ฟลาวเวอร์ (May Flower) ใช้ เวลา 66 วันบนท้องทะเลที่บ้าคลั่ง จนในที่สุด สามารถขึ้นฝั่งและตั้งอาณานิคมในเมือง ที่พวกเขาให้ชื่อว่า พลีมัธ (Plymouth) ความยากลำบากยิ่งกว่าการเดินทาง เริ่มต้นหลังจากพวกเขามาถึงอเมริกา สมาชิกในกลุ่ม เริ่มเสียชีวิตไปทีละคนสองคน เพราะความหนาวเย็นของฤดูกาลทำให้ผืนดินไม่เกิดพืช ผล ในที่สุด ต้องเสียสมาชิกไป 47 คนจนกระทั่งชาวอินเดียนแดงใจดีมาช่วยสอนวิธี และเคล็บลับในการดำรงชีพให้
! !
!160
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
B. กลุ่มซาเล็ม (The Salem Group) กลุ่มนี้ไม่มีนโยบายแยกคริสตจักรจากรัฐ แต่ต้องการสร้างสหพันธรัฐที่บริสุทธิ์ของคริสเตียน หรืออิสราเอลใหม่ (The New Israel) ขึ้นในอาณานิคมแห่งโลกใหม่ ดังนั้น ใน ค.ศ. 1628 เพียวริตันกลุ่มนี้จึงเดินทางมาตั้งอาณานิคมในอเมริกาที่เมือง บอสตัน (Boston) ซึ่งห่างจากเมืองพลีมัธเพียงไม่กี่ไมล์ ผู้นำสำคัญของกลุ่มนี้คือ จอห์น วินโทรป (John Winthrop) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ ว่าการอาณานิคม และจัดระบบปกครองอาณานิคมตามหลักการของคณะเคลวินนิสติค (Calvinistic) จาก ปี ค.ศ. 1628-1640 พวกเพียวริตันกว่า 20,000 คนได้เข้ามาร่วมกับกลุ่มนี้ อย่างไรก็ตาม กลุ่มเพียวริตันได้ใช้นโยบายเคร่งครัดมาก และไม่ยืดหยุ่นใหักับผู้ที่มีความ คิดต่างออกไป จึงทำให้เกิดปัญหาและการแตกแยกขึ้น หลายกลุ่มได้แยกออกไปตั้งอาณานิคมของตนเอง
!
IV. สาเหตุที่ทำให้เพียวริตันเสื่อมลง A. ไม่เข้ากับยุคสมัย เน้นนโยบายที่เคร่งครัด และวางกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่แคบเกินไป ไม่เปิดกว้างให้ผู้ที่มีความ คิดเห็นต่างออกไป ทำให้ขัดแย้งกับความรู้สึกของผู้ที่อพยพมาจากยุโรป เพื่อแสวงหา อิสรภาพในการนับถือศาสนาหลายกลุ่มจึงแยกตัวออกไป B. ขาดภาระใจ และความร้อนรนแบบคนรุ่นแรก เพียวริตันรุ่นหลัง ไม่ได้มีจิตใจร้อนรนและขาดจุดมุ่งหมายในการแสวงหาเสรีภาพ ในการ นับถือศาสนาเหมือนพวกเพียวริตันรุ่นแรก ๆ C. ขัดแย้งกับความคิดของคนรุ่นนั้น ในขณะที่ยุคเหตุผลเน้นความสำคัญของตัวบุคคล และเสรีภาพในด้านความคิดและการ แสดงออกของแต่ละบุคคล พวกเพียวริตันเน้นความเป็นระบบแบบแผนเดียวกัน ทำให้ เป็นการจำกัดความคิดของบุคคลไป D. ไม่สามารถกคุมนิคมได้ เนื่องจากมีอาณานิคมที่ไม่ใช่กลุ่มเพียวริตันเกิดขึ้นในอเมริกาด้วย ทำให้เพียวริตันสร้าง อิทธิพลได้ไม่เด็ดขาดพอที่จะควบคุมอาณานิคมในอเมริกาที่จะสร้างให้เป็นอาณานิคม ของอิสราเอลใหม่ตามความตั้งใจ ด้วยสาเหตุเหล่านี้ทำให้เพียวริตันเสื่อมอิทธิพลลง ภายในช่วงเวลาเพียงหนึ่งชั่วอายุคน พวกเขาไม่สามารถสร้างอเมริกาให้เป็น “อิสราเอลใหม่” หรือเป็นรัฐของเพียวริตันตามที่ตั้งใจไว้ได้ ดังนั้นเมื่ออเมริกาชนะอังกฤษ และประกาศอิสรภาพ ตั้งประเทศและวาง รัฐธรรมนูญของประเทศ อิทธิพลของเพียวริตันเสื่อมหายไปหมดแล้ว กลายมาเป็นแนวความคิดแบบยุคเหตุผล
! ! !
!
!161
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
V. กลุ่มอื่น ๆ ในอเมริกา A. กลุ่มแบ๊บติสท์ (Baptist) ผู้ก่อตั้งคริสตจักรแบ๊บติสท์ในอเมริกาคือ โรเจอร์ วิลเลียม (Roger Williams) ค.ศ. 1603-1683 เขาแยกตัวออกมาจากกลุ่มเพียวริตัน เนื่องจากความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับนโยบาย คริสตจักร เพียวริตัน เขาเน้นการแยกคริสตจักรออกจากรัฐ และเสรีภาพที่จะนมัสการตามมโนธรรมของแต่ละคน นอกจากนั้น ยังสนับสนุนการครอบครองดินแดนของชาวอินเดียนแดง ซึ่งทำให้พวกเพียว ริตันที่ต้องการสร้างรัฐอิสราเอลใหม่ไม่พอใจ ค.ศ. 1636 เขาซื้อที่ดินจากชาวอินเดียนและสถาปนานิคมใหม่ ชื่อว่า โพร์วิเด้นซ์ (Providence) หรือ “การทรงจัดเตรียมของพระเจ้า” เพื่อรำลึกถึงการจัดเตรียมของพระเจ้าขณะที่เขาตกทุกข์ ค.ศ. 1639 คริสตจักรแบ๊บติสท์แห่งแรกในอเมริกาก่อตั้งขึ้น วิลเลี่ยมและสมาชิกเข้ารับบัพ ติศมาใหม่หมด ตั้งแต่นั้นคริสตจักรแบ๊บติสท์จึงเกิดขึ้นมากมายในอเมริกา และสืบทอด กิจกรรมมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ในปีถัดมา แอนน์ ฮัทชินสัน (Anne Hutchinson) และพรรคพวกก็ได้ตั้ง อาณานิคมใหม่ขึ้นที่ พอร์ทสมัธ (Portsmouth) เธอเน้นคำสอนเรื่องการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์มาก คือ คริสเตียนจะต้องให้ความ สำคัญต่อการทรงนำของพระวิญญาณบริสุทธิ์มากกว่าคำสอนของพระ-วจนะในพระ คัมภีร์
!
B. กลุ่มคริสตจักรแองกลีกัน (Anglican) ค.ศ. 1607 บริษัทเวอร์จิเนียได้จัดส่งช่างฝีมือ และคนงานไปตั้งถิ่นฐานในอเมริกาและตั้งคริ สตจักรแองกลีกันขึ้นในเมืองเจมส์ทาวน์ (Jamestown) มลรัฐเวอร์จิเนีย ค.ศ. 1612 จอห์น โรลฟ์ (John Rolfe) เริ่มทำไร่ยาสูบซึ่งต่อมากลายเป็นพืชเศรษฐกิจของ อาณานิคม และทำให้เกิดการค้าทาสผิวดำ เพื่อนำมาใช้เป็นแรงงานในไร่ยาสูบ ค.ศ. 1624 บริษัทเวอร์จิเนียสลายตัวไป และมลรัฐเวอร์จิเนียจึงตกเป็นอาณาจักรของ กษัตริย์อังกฤษ และมีผู้ว่าราชการเมืองปกครองแทน
!
C. กลุ่มเควกเกอร์ (Quakers) ค.ศ. 1056 มีพวกเควกเกอร์เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบอสตัน ค.ศ. 1081 วิลเลี่ยม เพนน์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินผืนใหญ่จากกษัตริย์ชาร์ลที่ 2 ของอังกฤษ เป็นการชดใช้หนี้สินของตระกูลคืน เขาจึงตั้งอาณานิคมเควกเกอร์ขึ้นและให้ชื่อว่า เพน ซิลเวเนีย
!
D. กลุ่มเพรสไบทีเรียน (Presbyterians) ค.ศ. 1710 ชาวสก๊อต-ไอริช อพยพเข้ามาในอเมริกา เพราะแรงบีบคั้นทางเศรษฐกิจจาก อังกฤษ !162
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ค.ศ. 1750 มีชาวสก๊อต-ไอริช เข้ามาในอเมริกากว่า 200,000 คน ค.ศ. 1706 แฟรนซิส เมกมี่ (Francis Makemie) ได้จัดตั้งคริสตจักร และอาณานิคม ของเพรสไบทีเรียนในฟิลาเดลเฟีย และเมกมี่เองก็ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งเพรสไบที เรียนอเมริกา”
!
!
E. กลุ่มเมโธดิสท์ (Methodists) ค.ศ. 1768 จอห์น เวสลีย์ ส่งมิชชั่นนารีสองคนไปในอเมริกา คือ ริชาร์ด บอร์ดแมน (Richard Boardman), โจเซฟ ฟิลมัวร์ (Joseph Pilmoor) ค.ศ. 1771 ฟรานซิส แอสเบอร์รี่ (Francis Asbury) ได้จัดตั้งคริสตจักรเมโธดิสท์ขึ้น และ กลายเป็นบิชอปคนแรก
13.5 การฟื้นฟูครั้งใหญ่ในอเมริกา The Great Awakening (ค.ศ. 1730-1750) I. คำนำ นักประวัติศาสตร์ส่วนมากแบ่งการฟื้นฟูครั้งใหญ่ในอเมริกาออกได้เป็น 2 ช่วงคือ ครั้งที่หนึ่ง จาก ค.ศ. 1730-1750 ครั้งที่สอง จาก ค.ศ. 1795-1835 ในการฟื้นฟูแต่ละครั้ง จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันบางประการ เช่น จะเกิดการขัดแย้งระหว่างคริสเตียนสองกลุ่มคือกลุ่มอนุรักษ์ (Conservative/Traditionalists) และกลุ่มเสรีหรือกลุ่มก้าวหน้า (liberals, progressive) กลุ่มอนุรักษ์จะถูกขนานนามว่า ฝ่ายเดิมหรือแสงเดิม (Old Side, Old Lights) กลุ่มเสรีถูกขนานนามว่า “ฝ่ายใหม่” หรือ แสงใหม่ (New Side, New Lights) การฟื้นฟูแต่ละครั้ง จะมีผู้นำสำคัญ ๆ เกิดขึ้น การฟื้นฟูแต่ละครั้งจะหยุดไป เมื่อมีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นในโลก เช่น สงครามหรือ เศรษฐกิจตกต่ำ ฯลฯ
!
II. ผู้นำการฟื้นฟูคนสำคัญ A. ธีโอดอร์ ฟรีลิ่งโฮเช่น (Theodore Frelinghuysen) เป็นศิษยาภิบาลชาวดัช รับใช้ในคริสตจักรรีฟอร์ม (เคลวินนิส) ที่นิวเจอร์ซี่ (New Jersey) เขาเป็นคนแรกที่นำการฟื้นฟูครั้งใหญ่นี้มายังอเมริกา
!
B. กิลเบิร์ท เทนเน็นท์ (Gilbert Tennent) เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน เพื่อฝึกฝนผู้นำฆราวาสคริสเตียนในการรับใช้ ให้ชื่อโรงเรียนว่า “ลอค คอลเลจ” (Log College) ซึ่งต่อมากลายเป็นมหาวิทยาลัยปรินสตัน (Princeton University) ในปัจจุบัน
!
C. เดเวอร์โร จารราทท์ (Devereaux Jarratt) เป็นผู้นำการฟื้นฟูทางอาณานิคมตอนใต้ของอเมริกา โดยเฉพาะในหมู่ คริสตจักรแองกลีกัน และเมโธดิสท์ !163
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
D. โจนาธาน เอ็ดเวิร์ด (Jonathan Edwards) เป็นผู้นำฟื้นฟูของอาณานิคมทางเหนือตามแนวทางของเคลวินนิสติค เอ็ดเวิร์ดส์เทศนา เรื่อง “คนบาปในพระหัตถ์ของพระเจ้าผู้ทรงพิโรธ" ซึ่งเป็นคำเทศนาที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ของอเมริกา เอ็ดเวิร์ดเทศนาเรื่องนี้ว่ามีเพียงแค่พระคุณของพระเจ้า เท่านั้นที่ป้องกันพวกเขาไม่ให้ลื่นตกลงไปในนรกทันที เพราะว่าพระพิโรธของพระเจ้า กำลังตัดสินความบาปของพวกเขา ค.ศ. 1750-1758 เขาเป็นมิชชันนารีไปยังอินเดียนแดง
!
!
E. จอร์จ วิทฟิลด์ (George Whitefield) จอร์จ วิทฟิลด์ นับว่าเป็นนักเทศน์ฟื้นฟูที่มีอิทธิพล และสำคัญที่สุดในสมัยนี้ของอเมริกา เขาเป็นผู้รวบรวมการฟื้นฟูที่กระจัดกระจายตามส่วนต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ระหว่างปี ค.ศ. 1736-1770 วิทฟิลด์เดินทางไปเทศนาทั่วอาณานิคมในอเมริกา เชื่อกันว่า เขาเทศนาอาทิตย์ละ 10 ครั้งหรือประมาณ 18,000 บทในช่วง 25 ปี เป็นผู้แรกที่ริเริ่มการ ประกาศกลางแจ้ง
III. ผลของการฟื้นฟูครั้งใหญ่ A. คริสตจักรเติบโตและขยายตัว ในมลรัฐ New England มีคริสตจักรเพิ่ม 150 แห่ง สมาชิกเพิ่มกว่า 40,000 คน B. มีพระคริสตธรรม และมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในอเมริกา เพื่อฝึกฝนและเตรียมผู้รับ ใช้พระเจ้า C. ยกระดับศีลธรรมให้สูงขึ้นในสังคม D. เกิดการประกาศฯ และการทำพันธกิจในต่างแดน เช่น เดวิด เบรนเนิร์ด (David Brainerd) เป็นมิชชันนารี ท่ามกลางชาวอินเดียน นอกจากนั้น จอร์จ วิทฟิลด์ยังตั้งสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า และโรงพยาบาล E. เกิดความขัดแย้งภายใน ซึ่งนำมาสู่การแตกแยก กลุ่มอนุรักษ์หรือแสงเดิม ขัดแย้งกับกลุ่มเสรีหรือแสงใหม่ ในเรื่องของวิธีที่ใช้ในการประกาศฯ วิธีที่ฝ่ายใหม่ หรือกลุ่มเสรีใช้ในการประกาศฯ ได้แก่ 1) การประกาศแบบสัญจร หรือเดินทางประกาศไปตามแผนการเดินทางที่กำหนดไว้ 2) เทศนากลางแจ้ง 3) เทศนาเร้าอารมณ์ 4) การใช้ดนตรีเพื่อดึงดูดผู้คนในการประกาศฯ 5) การประชุมนมัสการคืนวันอาทิตย์, ประชุมอธิษฐานระหว่างสัปดาห์, เทศนาแบบเป็น พยาน 6) การใช้ฆราวาสในการเทศนา อย่างไรก็ตาม แม้จะใช้วิธีใหม่ ๆเหล่านี้ แต่แนวการฟื้นฟู และเทศนาก็ยังเป็นไปในรูป แบบของเคลวินนิสติค ซึ่งเน้นการครอบครองสูงสุดของพระเจ้า !164
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
การฟื้นฟูครั้งนี้ดำเนินไปจนกระทั่งเกิดสงครามระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ขึ้น เรียกว่า สงครามฝรั่งเศสและอินเดียน (French and Indian War) ใน ค.ศ. 1755 อังกฤษและกลุ่มอาณานิคมทำสงครามกับฝรั่งเศส และชาวอินเดียนแดง ผลก็คือ ผู้คนในอาณานิคมถูกดึงความสนใจไปยังเหตุการณ์ทางการเมือง เป็นเหตุให้ จำนวนผู้เข้าร่วมนมัสการในคริสตจักรตกลงไปกว่าสมัยก่อนการฟื้นฟู
!165
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หน่วยที่ 14 ยุคก้าวหน้าและยุคพันธกิจ (ค.ศ. 1795-1914)!
!
14.1 คำนำ
ภาพโดยทั่วไปของยุคนี้ คริสตจักรรุดหน้าไปทั้งในยุโรป และอเมริกา มีการฟื้นฟูฝ่ายจิต วิญญาณเกิดขึ้น และมีการส่งมิชชั่นนารี ประกาศความเชื่อของคริสเตียนไปยังส่วนต่าง ๆ ทั่วโลก เป็นยุคที่อาจจะเรียกได้ตามความคิดเห็นของนักประวัติศาสตร์คริสเตียนท่านหนึ่ง ชื่อ Kenneth Latourrette ว่า “ศตวรรษยิ่งใหญ่แห่งพันธกิจ” (The Great Century of Mission) อย่างไรก็ตามยุคนี้ คริสตจักรต้องเผชิญศัตรูของความเชื่อหลายประการ อันเป็น ผลสืบเนื่องมาจากพัฒนาการทางความคิด และปรัชญาของยุคเหตุผล เช่น ความเชื่อแบบ เสรีนิยม, ทฤษฏีวิวัฒนาการของดาร์วิน, ความคิดด้านวัตถุนิยม ซึ่งเกิดจากการปฏิวัติ อุตสาหกรรม เป็นต้น
!
14.2 การฟื้นฟูฝ่ายจิตวิญญาณครั้งที่สองในอเมริกา (ค.ศ. 1795-1835) Second Great Awakening นับว่าเป็นการฟื้นฟูฝ่ายจิตวิญญาณครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ คริสตจักรของประเทศสหรัฐอเมริกา (a) ผลของการฟื้นฟู ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดทางศาสนศาสตร์ของคริสตจักร โปรเต สแตนท์ ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน คือ ทำให้หลัก ศาสนศาสตร์ของเคลวินไม่เป็นที่นิ ยมในคริสตจักรอเมริกาเหมือนที่เกิดขึ้นในการฟื้นฟูครั้งแรก (b) ผู้นำการฟื้นฟูใช้วิธีและเทคนิคใหม่ ๆ ในการประกาศฯ (c) การฟื้นฟูเกิดขึ้นตามแนวคำสอนของอาร์มิเนียม ซึ่งเน้นสิทธิในการ ตัดสินใจและในการเลือกของมนุษย์ นั่นก็คือ มนุษย์มีสิทธิจะเลือกที่จะเชื่อและรับความ รอดจากพระเจ้าได้ (d) การฟื้นฟูทำให้ศีลธรรมและวิถีชีวิตของคนทางซีกตะวันตกที่หยาบ กระด้างของอเมริกาได้รับการยกระดับให้ดีขึ้น
! !
- การฟื้นฟูครั้งนี้เกิดขึ้น 3 ครั้งด้วยกัน
I. การประชุมในแคมป์ซีกตะวันตก (The Frontier Camp Meeting Stage) ค.ศ. 1795-1810 - ผู้นำสำคัญของการฟื้นฟูทางซีกตะวันตกของอเมริกา คือ เจมส์ แมคกรีดี้ (James McGready) ศิษยาภิบาลคณะเพรสไบทีเรียนในเมืองเคนตักกี้ - เขาจัดให้มีการประชุมติดต่อกันหลาย ๆ วันในแคมป์ - การประชุมประกาศฯของแมคกรีดี้ มีลักษณะแปลกประหลาดหลายอย่าง เช่น การล้ม, หัวเราะบริสุทธิ์, ร้องไห้บริสุทธิ์ ฯลฯ มีการเรียกให้ออกมารับเชื่อ, ประชุมอธิษฐานทั้งหญิง !166
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ชายมาร่วมกันได้ ซึ่งเมื่อก่อนไม่อนุญาต, มีสัมนาหลายวัน ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน หลายคน รับไม่ได้ในวิธีแบบแนวนี้) วิธีประกาศฯเหล่านี้ ทำให้ผู้คนทางซีกตะวันออกซึ่งมีระเบียบ และศิวิไลท์กว่าคัดค้าน
!
II. การฟื้นฟูในวิทยาลัย (College Revivals) ค.ศ. 1810-1825 เป็นการฟื้นฟูที่เกิดทางซีกตะวันออกของอเมริกา ผู้นำคือ ทิโมธี ดไวท์ (Timothy Dwight) ซึ่งเป็นหลานตาของโจนาธาน เอ็ดเวิร์ด และเป็น ประธานมหาวิทยาลัยเยล (Yale) เขานำการฟื้นฟูท่ามกลางนักศึกษาในวิทยาลัยต่าง ๆ โดยใช้หลักเหตุผล นำนักศึกษามาถึง ความเชื่อของคริสเตียน การฟื้นฟูครั้งนี้จึงไม่ได้เน้นด้านหลักคำสอนหรือภาคทฤษฎี แต่เน้นด้านปฏิบัติ ผลที่ตามมาไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่ในสมัยต่อมา ทำให้เกิดขึ้นลัทธิเสรีนิยมขึ้นในคริสตจักร
!
III. การประชุมฟื้นฟู (The Revival Meeting Stage) ค.ศ. 1825-1852 - ช่วงนี้ถือว่า เป็นการฟื้นฟูที่เด่นชัดที่สุด ผู้นำสำคัญคือ ชาร์ลส์ จี ฟินนีย์ (Charles G. Finney) ซึ่งเป็นฆราวาส และทนายความ - ชาร์ล ฟินนีย์ ได้ชื่อว่าเป็นนักฟื้นฟูยุคใหม่ คนแรก เพราะเขาใช้วิธีและเทคนิคใหม่ที่ไม่ เคยใช้มาก่อนในคริสตจักรในการประกาศพระกิตติคุณ - วิธีเหล่านี้ถูกเรียกว่ามาตราใหม่ (New Measures) ได้แก่ A. การเทศนาอย่างมีพลัง โดยใช้การยกตัวอย่าง และคำพูดที่หนักหน่วง B. ใช้การอธิษฐานหลายรูปแบบ เช่น อธิษฐานด้วยความเชื่อ, อธิษฐานส่วนตัว, เอ่ยชื่อ บางคนเฉพาะเจาะจงแบบใช้อารมณ์ในการอธิษฐาน C. การสัมนาหรือประชุมหลาย ๆ วัน D. อนุญาตให้ผู้หญิงอธิษฐานได้เมื่ออยู่ในห้องประชุมรวมกับผู้ชาย E. การเรียกคนกลับใจให้ออกมาหน้าธรรมาสน์ - วิธีสมัยใหม่เหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ฟินนีย์เน้นศาสนศาสตร์ยุคใหม่ที่สอนในมหาวิทยาลัยเยล เรียกว่า ศาสนศาสตร์สวรรค์ใหม่ หรือ New Haven Theology ซึ่งให้ความสำคัญแก่ มนุษย์อย่างมาก - คำสอนนี้เชื่อว่า มนุษย์ มีบทบาทสำคัญในการนำจิตวิญญาณมาถึงความรอดและการฟื้นฟู จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อใช้วิธีที่ถูกต้อง การฟื้นฟูครั้งที่สอง จบสิ้นลงเมื่อผู้คนหันเหความสนใจไปยังเหตุการณ์และสถานการณ์ขัดแย้ง ทางสังคมเรื่องการเลิกทาส ซึ่งต่อมากลายเป็นสงครามเลิกทาสในอเมริกา สมัย ประธานาธิบดีลินคอนส์
!
IV. การฟื้นฟูอื่น ๆ ในอเมริกา นอกจากการฟื้นฟูใหญ่ ๆ 2 ครั้งในปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 แล้ว ยังมีฟื้นฟู ย่อย ๆเกิดขึ้นอีกหลายครั้งที่สำคัญ ๆ คือ
!
!167
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
A. การอธิษฐานฟื้นฟู ค.ศ. 1858 เป็นการฟื้นฟูที่มิได้เกิดจากนักฟื้นฟู และไม่มีผู้นำเด่นชัด แต่เป็นการอธิษฐานฟื้นฟูที่เกิด ขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ และมีผลเป็นลูกโซ่ โดยเริ่มจากเมืองนิวยอร์ค (New York City) แล้วแพร่ไปทั่วประเทศ ผู้ที่เริ่มต้นเป็นกลุ่มนักธุรกิจคริสเตียนที่ใช้ช่วงพักอาหารกลางวัน เพื่ออธิษฐาน การอธิษฐานฟื้นฟูครั้งนี้สลายตัวลงเมื่อเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในอเมริกา ใน ค.ศ. 1861 ผลของการอธิษฐานฟื้นฟูครั้งนี้ ทำให้เกิดผู้นำคริสเตียนสำคัญของช่วงปลายศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ดไวท์ แอล มูดี้ (Dwight L.Moody) ดไวท์ แอล มูดี้เป็นผู้ประกาศฯที่พระเจ้าทรงใช้อย่างมากมายในช่วง ค.ศ. 1870 จนถึงวัน สุดท้ายของชีวิตท่าน ใน ค.ศ. 1899 มูดี้เป็นเซลขายรองเท้าในชิคาโก ได้กลายเป็นผู้ประกาศฯที่ยิ่งใหญ่ เขาได้ชื่อว่า เป็นผู้ประกาศยุคสมัยใหม่ เพราะได้นำเอาหลักธุรกิจมาใช้กับการประกาศฯ นอกจากนั้น เขายังจัดประชุมในห้องโถงใหญ่หรือเต็นท์ยักษ์ (Tabernacle) แทนการจัดในค ริสตจักร เพื่อจะสามารถจุคนได้มาก ๆ
!
B. การฟื้นฟู ค.ศ. 1906 เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นจากการฟื้นฟูครั้งนี้ คือ ในเดือนเมษายน 1906 ผู้รับใช้ผิวดำ ชื่อ วิลเลียม ซีมัวร์ (William Seymour) ได้จัดการ ประชุมฟื้นฟูขึ้นหลายวันติดต่อกันในโบสถ์สร้างบนถนนอะซูซ่าในลอส- แองเจลลิส ในการประชุมครั้งนั้น ผู้คนได้รับประสบการณ์ใหม่ เขาได้รับฤทธิ์เดชของพระเจ้าเต็มเปี่ยม บนตัวเขา และเริ่มพูดภาษาแปลก ๆ จากการประชุมครั้งนี้ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มเพนเตคอส ในอเมริกา และแพร่หลายไปทั่วโลก ผู้ประกาศ ๆ อีกท่านหนึ่งคือ บิลลี่ ซันเดย์ (Billy Sunday) เป็นผู้ริเริ่มนำเอาการแสดง บนเวทีมาใช้ในการประกาศฯ
!
C. การฟื้นฟูกลางศตวรรษที่ 20 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวอเมริกาตื่นตัวหันมาสนใจเรื่องฝ่าย จิตวิญญาณอีกครั้งหนึ่ง ระหว่าง ค.ศ. 1940-1958 จำนวนผู้เข้าร่วมนมัสการพุ่งสูงขึ้นจาก 64.5 ล้านไปเป็น 109 ล้านคน ผู้นำสำคัญในการฟื้นฟูครั้งนี้คือ บิลลี่ เกรแฮม (Billy Graham) บิลลี่ เกรแฮมได้นำเอาเทคนิคต่าง ๆของนักฟื้นฟูรุ่นก่อน ๆ มาดัดแปลงใช้ให้เข้ากับสมัย เขาใช้ สนามกีฬา เป็นสถานที่ประกาศฯแทนการใช้เต็นท์ เขาใช้ระบบสื่อสารสมัยใหม่ในการประกาศฯ เช่น โทรทัศน์, วิทยุ, วีดีทัศน์, เทป ฯลฯ เขาไม่รับเงินถวายสำหรับตัวเอง แต่ได้ตั้งระบบเงินเดือนขึ้นสำหรับตัวเอง และผู้รับใช้ อย่างเป็นกิจลักษณะ !168
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
14.3 การเคลื่อนไหวในงานด้านพันธกิจ คริสตจักรโปรเตสแตนท์ไม่ได้สนใจกับงานด้านพันธกิจในช่วงของยุคปฏิรูป เพราะเป็นช่วงที่คริ สตจักรทุ่มเทเวลา และกำลังทั้งหมดไปกับการก่อตั้ง คริสตจักรโปรเตสแตนท์และการขัดแย้งกับคาธอลิค งานพันธกิจส่วนมากในสมัยปฏิรูปทำโดยคาธอลิค เพื่อเป็นการแย่งดินแดนที่เสียไปคืนมากจาก โปรเตสแตนท์ พอมาถึงศตวรรษที่ 18 เป็นยุคที่คริสตจักรฟื้นฟูและตื่นตัวฝ่ายจิตวิญญาณ การฟื้นฟูในศตวรรษที่ 18 นี้เอง มีผลทำให้คริสเตียนหันมาสนใจเรื่อง จิตวิญญาณมากขึ้น จึงต้องการนำพระกิตติคุณไปยังผู้อื่นด้วย ด้วยเหตุนี้ศตวรรษที่ 19 จึงได้ชื่อว่า เป็นศตวรรษที่ยิ่งใหญ่แห่งพันธกิจ (The Great Century) เพราะไม่เพียงแต่ผู้นำคริสตจักรหรือประเทศที่ตื่นตัวกับงานพันธกิจ แต่ ฆราวาสให้การสนับสนุนงานพันธกิจอย่างมาก งานพันธกิจในศตวรรษที่ 19 ส่วนมากจะเกิดจากคริสเตียนในอังกฤษและมีผล สืบเนื่องต่อมา จนถึงศตวรรษที่ 20 ซึ่งอเมริกากลายเป็นประเทศที่ส่งมิชชันนารีออกไปทำพันธกิจมาก ที่สุด เราสามารถแบ่งลักษณะของการทำงานพันธกิจได้ 3 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ ยุคดินแดนริมฝั่ง ทะเล ยุคดินแดนตอนใน และยุคพันธกิจกลุ่มชนที่พระกิตติคุณยังไปไม่ถึง
!
I. ยุคแห่งดินแดนริมฝั่งทะเล (ค.ศ. 1872-1910) งานพันธกิจส่วนมากทำบริเวณริมฝั่งทะเลของประเทศต่าง ๆโดยเฉพาะ ในเอเซีย, อัฟริกา มิชชันนารีสำคัญ ๆ ได้แก่
!
A. วิลเลี่ยม แครีย์ (William Carey) วิลเลี่ยม แครีย์เป็นชาวอังกฤษ และได้สมญานามว่า บิดาแห่งพันธกิจ ยุคใหม่ (Father of Modern Day Mission) เขาเป็นคนแรกที่ก่อตั้งองค์การพันธกิจ ที่ส่งมิชชั่นนารีไปต่างประเทศ ซึ่งเป็นแบบอย่างขององค์การพันธกิจในเวลาต่อมา แครีย์ มีนิมิตจะทำพันธกิจในต่างแดน ใน ค.ศ.1792 ก่อตั้งองค์การ แบ๊บติสท์มิชชันนารี (The Baptist Missionary Society) ขึ้น ค.ศ. 1793 ลงเรือไปอินเดีย พร้อมภรรยาและบุตร 4 คน และผู้ร่วมงาน 2 คนใช้ชีวิตรับใช้ในอินเดียถึง 40 ปี ผลงานสำคัญของเขาคือ การก่อตั้งองค์การพันธกิจ ที่ต่อมาเป็นแบบอย่างแก่องค์การพันธกิจอื่น ๆทั้งยุโรปและ อเมริกา การแปลพระคัมภีร์ ขณะที่เขาอยู่อินเดีย 40 ปี ได้แปลพระคัมภีร์เป็นภาษาอินเดีย และ ภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 35 ภาษา !169
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ด้านสังคม แครีย์มีอิทธิพลอยู่เบื้องหลังการล้มเลิกพิธีป่าเถื่อนหลายอย่างในอินเดีย เช่น พิธีเผาแม่หม้ายทั้งเป็น
!
B. ซามูเอล มิลล์ส (Samuel Mills) ค.ศ. 1810 ได้เกิดการเคลื่อนไหวด้านพันธกิจในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน ซามูเอล มิลล์สได้รวบรวมเพื่อน ๆตั้งกลุ่มสมาคมพี่น้อง (Society of Brethren ขึ้นใน วิทยาลัยเพื่ออธิษฐานเผื่องานพันธกิจ ต่อมากลุ่มนี้ได้ชื่อว่า กลุ่มกองฟาง หรือ The Haystack Group จากกลุ่มนี้มีมิชชันนารี เกิดขึ้นอีกหลายคน มิลล์ส ได้ชื่อว่าเป็น ชาวอเมริกันคนแรกที่กระตุ้นเรื่องงานพันธกิจ
!
C. อโดนิรัม จัดสัน (Adoniram Judson) ได้สมญานามว่า บิดาแห่งพันธกิจอเมริกา เขาได้ก่อตั้งกลุ่มชื่อ Society of Inquiry on the Subject of Missions ค.ศ. 1812 จัดสัน และเพื่อน ๆ อีก 7 คน เดินทางไปเป็นมิชชันนารีในประเทศพม่า ผลงานสำคัญของเขา นอกจากจะนำชาวพม่ามากมายมารู้จักพระเจ้า ยังได้แปลพระคัมภีร์ เป็นภาษาพม่า,ทำพจนานุกรมพม่า-อังกฤษ เขารับใช้ในพม่า 37 ปี และก่อนที่จะเสียชีวิต คริสตจักรพม่ามีสมาชิก 7,000 คน มี 63 คริ สตจักร
!
!
D. มิชชั่นนารีอื่น ๆ ได้แก่ โรเบิร์ต มอริสัน (Robert Morrison) ทำงานในบริเวณริมฝั่งทะเลประเทศจีน คาร์ล กุสสลาฟ (Carl Gutzlaff) เป็นมิชชันนารีคนแรกที่ทำพันธกิจในประเทศไทย และ เกาหลี เดวิด ลิฟวิ่งสโตน (David Livingstone) รับใช้ในอัฟริกา อเล็กซานเดอร์ แมคเคย์ (Alexander Mackay) รับใช้ในอัฟริกา
II. ยุคดินแดนตอนใน (Inland) ค.ศ. 1895-1980 เป็นยุคที่งานพันธกิจบุกเบิกเข้าไปดินแดนตอนในของประเทศต่าง ๆ มิชชันนารีคนสำคัญคือ ฮัดสัน เทเลอร์ (Hudson Taylor) ในช่วงนี้ มิชชันนารีส่วนใหญ่มาจากอเมริกา เขาได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งพันธกิจในประเทศจีน เขาได้ก่อตั้งองค์การพันธกิจชื่อ China Inland Mission (C.I.M) ขึ้นและ ต่อมาเปลี่ยนเป็น Oversea Misssionary Fellowship หรือเป็นที่รู้จักในนามของ O.M.F ซึ่ง เป็นองค์การที่ส่งมิชชันนารีไปทั่วโลกมากที่สุด
!
III. ยุคพันธกิจกลุ่มชนที่พระกิตติคุณไปไม่ถึง (Unreached Peoples) ค.ศ. 1953-ปัจจุบัน เป็นการเน้นทำพันธกิจกับชนกลุ่มย่อยของสังคม ในที่ ๆ พระกิตติคุณไปไม่ถึง !170
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
มิชชันนารีสำคัญ คือ (a) คาเมรอน ทาวน์เซ่น (Cameron Townsend) เน้นการทำพันธกิจกับชนกลุ่มน้อยหรือ ชาวเขา (b) โดแนล แมคกาว์แรน (Donald McGavran) เน้นพันธกิจกับชนกลุ่มย่อยในสังคม เช่น กลุ่มโสเภณี คนตาบอด กลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นต้น
!
14.4 ศัตรูของความเชื่อ ในขณะที่คริสตจักรกำลังฟื้นฟู และงานพันธกิจกำลังแพร่หลาย ในศตวรรษที่ 19 ก็มีการ เคลื่อนไหวของค่านิยมที่เป็นศัตรูต่อความเชื่อและการขยายตัวของคริสตจักรเช่นกัน ค่านิ ยิมเหล่านั้นได้แก่
!
I. วัตถุนิยม (Materialism) A. ความหมายและความเป็นมา วัตถุนิยม หมายถึง การถือปฏิบัติของสังคมยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับวัตถุสิ่งของมากกว่า จิตใจและวิญญาณ วัตถุนิยมจะใช้วัตถุสิ่งของเป็นตัววัดมาตรฐานการดำเนินชีวิต ด้วยเหตุที่วัตถุนิยมให้ความสำคัญแก่วัตถุนั่นเอง ผู้คนจึงหันมาสนใจแต่เรื่องของโลกนี้และ ของชีวิตบนโลก แทนที่จะสนใจเรื่องฝ่ายจิตวิญญาณ สาเหตุที่ทำให้เกิดความคิดด้านวัตถุนิยมเริ่มจากการปฎิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ซึ่งเกิดขึ้นจากการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่ช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าของ สังคมจาก สังคมเกษตรกรรม กลายมาเป็น สังคม อุตสาหกรรม นอกจากนั้น วัตถุดิบที่ได้มาจากดินแดนต่าง ๆ ทั่วโลก อันเป็นผลมาจาก ยุคอาณานิคมและการสำรวจทางทะเล ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ทำให้การ อุตสาหกรรมเบ่งบานขึ้น การปฏิรูปอุตสาหกรรม เริ่มต้นที่อังกฤษใน ค.ศ. 1760 -1830 และแพร่ขยายไปทั่วยุโรป และอเมริกา
!
B. ผลของวัตถุนิยมต่อคริสตจักร สมาชิกคริสตจักรลดน้อยลง การปฎิรูปอุตสาหกรรม ทำให้เกิดเมืองใหญ่ (Urbanization) ผู้คนจากชนบทต่างพากันหลั่งไหลเข้ามาทำงานในโรงงานตามเมือง อุตสาหกรรมต่าง ๆ ดังนั้น สมาชิกคริสตจักรตามชนบทจึงย้ายเข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ ชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณไม่เติบโต คนหนุ่มสาวที่อพยพมาทำงานในเมือง ให้ความสำคัญกับวัตถุสิ่งของมากกว่าชีวิตฝ่ายจิต วิญญาณ เกิดพระกิตติคุณสังคม (Social Gospel) การปฏิรูปอุตสาหกรรม ทำให้เกิดนายทุน (The Capitalist) ขึ้น !171
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
และแนวความคิดด้านวัตถุนิยม ทำให้บรรดานายทุนให้ความสำคัญกับเรื่องการผลิต มากกว่าการกินดีอยู่ดีของคนงาน นอกจากนั้น ผู้คนจากชนบทที่หลั่งไหลกันเข้ามาในเมือง ยังต้องแย่งงานกัน และมีสภาพ ความเป็นอยู่ที่ไม่ดี ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้คริสตจักรเน้นในด้านสังคมสงเคราะห์และมนุษยธรรม (Social and Humanitarian) วอลเตอร์ เราเช่นบุช (Walter Rauschenbusch) ค.ศ. 1861-1918 เป็นผู้รับใช้ชาวเยอรมัน คณะแบ๊บติสท์ในเมืองโรเชสเตอร์ สหรัฐอเมริกา เขาได้ชื่อว่าเป็นผู้เผยแพร่พระกิตติคุณสังคม หรือ Social Gospel เขาเขียนหนังสือชื่อ Christianizing the Social Order หรือการจัดระบบสังคมแบบ คริสเตียน และ A Theology for the Social Gospel หรือศาสน ศาสตร์แห่งกิตติคุณ เพื่อสังคม (เป็นหนังสือที่เน้นความจำเป็นในการสร้างเศรษฐกิจและการเมืองแบบ ประชาธิปไตย) ทฤษฎีหรือหลักคำสอนของเขา เน้นสิทธิความเสมอภาคและประชาธิปไตย ทั้งในด้าน การเมืองและเศรษฐกิจ เขาเน้นว่า คริสตจักรจะต้องให้ความสำคัญแก่ สังคมบนโลก มากกว่าอาณาจักรสวรรค์ที่ ยังมาไม่ถึง ดังนั้น พระกิตติคุณในแง่ของเขาคือ การสร้างสังคมในปัจจุบันให้ดี ซึ่งเชื่อว่า เป็นการ สร้างอาณาจักรของพระเจ้าบนโลกเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่อาณา- จักรของพระองค์ในยุค พันปี ไม่จำเป็นต้องประกาศฯเรื่องความรอดส่วนตัว ดังนั้น คริสตจักรควรจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวและสนับสนุนหรือเรียกร้องให้รัฐบาล เข้าจัดการให้ เกิดความยุติธรรมในสังคม (Rauschenbusch ยังสนับสนุนสังคมนิยมกลาย ๆ ด้วย และสนับสนุนสมาคมแรงงาน แต่คัดค้านการค้าเสรีที่ให้ความสำคัญกับการแข่งขัน เหนือการร่วมมือกันของชุมชน)
!
II. ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution) A. ผู้คิดค้นและแนวความคิด ชาร์ลส์ อาร์ ดาร์วิน (Charles R. Darwin) ค.ศ.1809-1892 เป็นผู้คิดค้นทฤษฎี วิวัฒนาการ เขาเชื่อว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก มีวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง เพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธ์ (Species) ดังนั้น สิ่งมีชีวิตจึงต้องปรับตัว และเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อม และวิวัฒนาการ ใหม่ ๆ เหล่านี้สืบทอดตลอดต่อไปยังรุ่นลูกหลานด้วยการสืบพันธุ์ สิ่งที่เขาใช้ยืนยันทฤษฎีของเขาคือ โครงสร้างของมนุษย์และสัตว์มีลักษณะคล้ายกัน จึงน่า จะเกิดมาจากการวิวัฒนาการมาเป็นขั้น ๆ ดาร์วินเชื่อว่า มนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์ นอกจากนั้น สิ่งมีชีวิตที่สามารถวิวัฒนาการเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ก็จะอยู่รอด
!
!172
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
B. สิ่งที่ขัดแย้งกับพระคัมภีร์ 1. ทฤษฏีวิวัฒนาการไม่เชื่อเรื่องของการทรงสร้าง 2. พระเจ้า กลายเป็นผลผลิตทางมโนธรรมของมนุษย์ 3. ความบาปกลายเป็นวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอด ดังนั้นจึงไม่มีบาป 4. เมื่อไม่มีความบาปมนุษย์จึงไม่ต้องพึ่งการช่วยให้รอดบนกางเขนของพระเยซู 5. มนุษย์ขาดสำนึกในด้านศีลธรรมและจริยธรรม เพราะทฤษฎีวิวัฒนาการสอนว่า สิ่งมี ชีวิตจะทำทุกวิถีทาง เพื่อเผ่าพันธ์ของตนจะอยู่รอดได้
14.5 ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) I. เบื้องหลังและที่มา เราสามารถมองย้อนไปยังที่มาของลัทธิเสรีนิยมได้ในศตวรรษที่ 18 ตามแนว ความคิดของ บุคคล 4 คน คือ
!
A. อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) ค.ศ. 1724-1804 มนุษย์จะเข้าใจถึงโลกธรรมชาติ และโลกที่ปรากฏแก่สายตาได้โดยใช้เหตุผล แต่โลกของจิตวิญญาณเข้าใจได้ โดยใช้ความเชื่อเท่านั้น มนุษย์มีจิตสำนึกด้านศีลธรรม และมโนธรรม ดังนั้น จะต้องมีพระเจ้า ผู้ทรงใส่จิตสำนึกขึ้นให้แก่มนุษย์ และจิตสำนึกด้านศีลธรรมและมโนธรรมของมนุษย์นี้เอง เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดศาสนา และความรู้สึกของมนุษย์ที่ว่าในตัวพวกเขามีประกายของพระเจ้าอยู่ เนื่องจากมนุษย์ไม่สามารถเข้าใจเรื่องฝ่ายจิตวิญญาณได้ ดังนั้นการทรงสำแดงของ พระเจ้า ในประวัติศาสตร์ตามที่บันทึกไว้ในพระคัมภีร์จึงเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น
!
B. ฟรีดริช ชไลเออร์มาเกอร์ (Friedrich Schliermacher) ค.ศ. 1768-1834 ฟรีดริช ชไลเออร์มาเกอร์ ได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งศาสนศาสตร์ยุคใหม่ (Father of Modern Theology) เขาได้ศึกษาตามแนวความคิดของคานท์ และสรุปว่า ประสบการณ์หรือความเชื่อด้าน ศาสนา เกิดขึ้นจากความรู้สึกของมนุษย์ที่ต้องการพึ่งพิงพระเจ้า เขาเชื่อว่า มนุษย์เป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยในจักรวาลที่จะต้องพึ่งพระเจ้าอยู่เสมอ
!
C. จอร์จ เฮเกล (George Hegel) ค.ศ. 1770-1831 เขาเชื่อว่าศาสนาเกิดจากความขัดแย้งระหว่างมนุษย์แต่ละคนและโลกที่มนุษย์อยู่ และศาสนาเป็นวิวัฒนาการของปรัชญาหรือความคิดของมนุษย์ที่วิวัฒนาการจากศาสนา ธรรมชาติ ไปเป็นความเชื่อในเรื่องศีลธรรมจรรยา และในที่สุดวิวัฒนาการมาเป็นความ เชื่อในเรื่องของวิญญาณจิต อย่างไรก็ตาม เฮเกลเชื่อว่า ความเชื่อของคริสเตียนเป็นความเชื่อที่สูงสุด และมีเหตุผล ที่สุด
!
!173
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
D. อัลเบรชท์ ฟิทชส์ (Albrecht Fitsch) ค.ศ. 1822-1889 เขาเชื่อว่า ศาสนาเป็นเรื่องของสำนึกทางสังคม และเน้นว่าความรักของพระเจ้า ช่วยให้ เข้าใจปัญหาในสังคมได้ พระคัมภีร์เป็นเพียงบันทึกเกี่ยวกับสำนึกของชุมชน ดังนั้น จึงควรตรวจสอบในแง่ประวัติศาสตร์ได้เหมือนหนังสืออื่นๆ
!
II. ผลกระทบต่อคริสตจักร ผลกระทบที่เห็นชัดที่สุดต่อคริสตจักรคือ คำสอนเกี่ยวกับมนุษย์ (ศาสนศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์) ทั้งนี้เพราะลัทธิเสรีนิยม เน้นคำสอน เหล่านี้: 1. มนุษย์มีความดีอยู่แล้วโดยพื้นฐาน และสามารถพบสัจจธรรมได้ด้วยอำนาจของ เหตุผล 2. เน้นในการสร้างชีวิตบนโลก ให้ดีขึ้น โดยการสร้างสังคมของมนุษย์ให้ดีขึ้น นั่นก็คือ เป็นการนำแผ่นดินของพระเจ้าลงมาบนโลก ศาสนศาสตร์ของเสรีนิยม ขัดแย้งกับศาสนศาสตร์ของคริสเตียนโดยทั่วไป ดังนี้ 1. ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อเรื่องการอัศจรรย์ และ การเปิดเผย (ทรงสำแดง)ของพระเจ้า แต่เน้นความสำคัญไปที่เรื่องจิตสำนึก ของมนุษย์ 2. ไม่เน้นเรื่อง ความบาปและความตกต่ำ ของมนุษย์ แต่เน้นเรื่องความดี โดย ธรรมชาติของมนุษย์ 3. พระเยซูทรงถูกมองในลักษณะของความเป็นมนุษย์เท่านั้น ไม่ได้เน้นลักษณะความเป็น พระเจ้าของพระองค์ 4. เหตุผลและความคิด ของมนุษย์ กลายเป็นมาตรฐานในการดำเนินชีวิตแทนที่จะเป็น พระคัมภีร์ เสรีนิยมเน้นเรื่อง มนุษย์ พระคัมภีร์เป็นเพียงหนังสือที่บันทึกเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับพระเจ้า (การเปิดเผยของพระเจ้า ถูกมองว่าเป็นความรู้อย่างหนึ่ง) “¾พÃรÐะ¤คÑัÁมÀภÕีÃร ·ท∙Øุ¡กµตÍอ¹นäไ´ด ŒÃรÑัºบ¡กÒาÃร´ดÅลãใ¨จ¨จÒา¡ก¾พÃรÐะàเ¨จ ŒÒา” 2 ·ท∙¸ธ 3:16
!
!174
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ยุคที่ 7 คริสตจักรยุคปัจจุบัน (ค.ศ. 1914-ปัจจุบัน)!
!
หน่วยที่ 15 ยุคมูลฐานนิยมและสหพันธภาพ!
!
15.1 การเคลื่อนไหวของกลุ่มมูลฐานนิยม (Fundamentalist) I. ความเป็นมา ในช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ขณะที่ลัทธิเสรีนิยมแพร่หลายไปยังคณะนิกายต่าง ๆผู้รับใช้พระเจ้ามากมายได้เทศนาเผยแพร่ความคิดแบบเสรีนิยมบนธรรมาสน์ทั่วยุโรป และอเมริกา ช่วงเดียวกันนี้เอง ก็เกิดการเคลื่อนไหวของคริสเตียนอีกกลุ่มหนึ่งที่จะนำหลัก คำสอนที่ถูกต้องกลับมายังคริสตจักร คริสเตียนกลุ่มนี้ถูกเรียกว่ากลุ่มหัวเก่าหรืออนุรักษ์นิยม (Fundamentalist) หรือ Evangelical ในขณะที่พวกเสรีนิยมถูกเรียกว่า กลุ่มหัวสมัยใหม่ (Modernists) ดังนั้นในช่วง 30 ปีแรกของศตวรรษที่ 20 จึงเป็นช่วงแห่งความขัดแย้งโต้เถียงของสองกลุ่มนี้ จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1940 กลุ่มมูลฐานนิยมจึงสามารถนำคริสตจักรกลับเข้าสู่หลักคำสอนเดิม ของพระคัมภีร์ได้จนถึงปัจจุบัน สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ลัทธิเสรีนิยมเสื่อมลงคือ สงครามโลกทั้งสองครั้ง พิสูจน์ให้ เห็นว่า ศาสนศาสตร์ของเสรีนิยมใช้การไม่ได้ (ถ้ามนุษย์ดีอยู่แล้ว ทำไมจึงเกิดสงคราม ล้างผลาญกัน)
!
II. ความเชื่อของกลุ่มมูลฐานนิยม แม้กลุ่มมูลฐานนิยมจะมีหลายกลุ่ม แต่ทุกกลุ่มมีความเชื่อ และยึดถือหลักคำสอนสามัญที่ คล้ายคลึงกันคือ A. พระคัมภีร์ เป็นกฏแห่งความเชื่อ และเป็นมาตราฐานในการปฏิบัติของคริสตชน B. มนุษย์ เป็นคนบาป และตกต่ำเนื่องจากอาดัม C. พระเยซู ทรงกำเนิดจาก หญิงพรหมจารีย์ และทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า D. พระเยซูทรงไถ่มนุษย์จากความบาปผิด และทรงฟื้นคืนพระชนม์ และจะเสด็จ กลับมาอีกครั้ง E. คริสเตียนได้รับความรอด และชีวิตนิรันดร์ โดยความเชื่อ F. การประกาศข่าวประเสริฐและสร้างสาวก เป็นพระมหาบัญชาที่คริสตชน จะต้องกระทำตามอย่างเคร่งครัด ขณะเดียวกัน คริสตจักรจะต้องให้ความสนใจในเรื่อง สังคมสงเคราะห์ ด้วย
!
III. กลุ่มต่าง ๆ ของพวกมูลฐานนิยม กลุ่มมูลฐานนิยมสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ความแตกต่างของแต่ละกลุ่มอยู่ที่ (a) ท่าทีของกลุ่มนั้นต่อพวกเสรีนิยม (b) ท่าทีต่อเรื่องการทำการด้านสังคมสงเคราะห์
!
! !175
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
A. กลุ่มแยกตัว (Separatist Fundamentalism - Militant) (1) ลักษณะสำคัญ - เน้นความไม่ผิดพลาดของพระคัมภีร์ - เน้นการประกาศพระกิตติคุณ - ไม่ยุ่งเกี่ยวและไม่ยอมรับกลุ่มเสรีนิยม - สนับสนุนเรื่องการเมือง
!
(b) ตัวแทนสำคัญของกลุ่ม - Carl MacIntire และกลุ่ม Twentieth Century Reformation Movement - John R.Rice และนิตยสาร The Sword of the Lord - Bob Jones University, Greenville SC. - Jerry Falwell
!
B. กลุ่มเปิดหรือกลุ่มเคร่ง (Open Fundamentalist) (1) ลักษณะสำคัญ กลุ่มนี้ยึดถือหลักคำสอน และการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดเหมือนกลุ่มแยกตัว แต่แตกต่าง กันในเรื่องความคิดเห็นด้านการเมือง ไม่สนับสนุนเรื่องการเมือง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับพวกเสรีนิยม
!
(2) ตัวแทนสำคัญ Hal Lindsay ผู้เขียนหนังสือ “The Late Great Planet Earth” ผู้นำทางวิชาการของกลุ่มคือ พระคริสตธรรมต่าง ๆ เช่น Dallas Seminary – John Walvoord Talbot Seminary – Robert Saucy Western Conservative Baptist – Earl Radmacher
!
C. กลุ่มเหตุผล (Establishment Evangelism – Rationalist) (1) ลักษณะสำคัญ กลุ่มนี้นับว่าเป็นกลุ่มที่เปิดกว้างที่สุด ทั้งด้านศาสนศาสตร์ และทัศนะด้านสังคม ยอมรับพวกเสรีนิยม เชื่อว่า พระคัมภีร์เป็นสิทธิอำนาจสูงสุดเหนือความเชื่อ และในการถือปฏิบัติของคริสตชน แต่ยอมรับการวิจารณ์พระคัมภีร์ด้วยหลักเหตุผลและวิทยาศาสตร์ อลุ้มอล่วยกับพวกที่เชื่อทฤษฎีวิวัฒนาการโดยพยายามหาจุดยอมรับและประนีประนอมกัน กับกลุ่มที่เชื่อเรื่องการทรงสร้าง ให้ความสำคัญกับงานด้านสังคมสงเคราะห์ และบริการสังคม
!
(2) ตัวแทนสำคัญ Billy Graham และนิตยสาร Christianity Today !176
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
คณะนิกายต่าง ๆที่เป็นสมาชิกของ The National Association of Evangelicals (NAE) เช่น Baptist General Conference, CMA, Evangelical Free Church, Free Methodist และนิกายอื่น ๆ เช่น Nazarene, Conservative Baptist, Covenant Church etc. Trinity Divinity School, Fuller Seminary, Asbury Seminary etc. องค์การประกาศต่าง ๆ เช่น Campus Crusade, Young Life, Y.F.C. etc.
15.2 คริสตจักรและระบอบคอมมิวนิสต์ I. หลักการและที่มา ผู้ที่เป็นเสมือนผู้ก่อตั้งและวางแนวทางให้แก่ระบอบคอมมิวนิสต์คือ คาร์ล มาร์ซ (Carl Marx) ค.ศ. 1818 -1883 คาร์ล มาร์ซ ได้ศึกษาและนำหลักการหรือแนวทางของนักคิดหลาย ๆท่านมารวมกัน เช่น ขอ งอาดัม สมิทธ์ (Adam Smith) ในเรื่องแรงงาน, ของจอร์จ เฮเกล ในเรื่องวิวัฒนาการของ สังคม เป็นต้น ค.ศ. 1848 มาร์ซ ได้เผยแพร่หลักการของเขาในหนังสือชื่อ The Communist Manifesto อาจจะกล่าวได้ว่า ระบอบคอมมิวนิสต์ตามหลักการของมาร์ซ ให้ความสำคัญกับชาวนา และ กรรมกร อย่างมาก มาร์ซ สนับสนุนการจัดตั้งระบบ สังคมนิยม ซึ่งเป็นสังคมที่คืนอำนาจให้แก่ประชาชน และ ชนชั้นแรงงาน เลนิน เป็นผู้นำประเทศรัสเซีย และสามารถนำระบอบคอมมิวนิสต์ มาสร้างเป็นระบบทางการ เมือง จนเกิดพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้น สตาลิน เป็นผู้นำรัสเซีย ที่สามารถนำเอาระบบที่เลนินสร้างไว้มาใช้กับประเทศรัสเซียสำเร็จ
!
II. ผลต่อคริสตจักร A. ช่วง ค.ศ. 1900-1990 เนื่องจากระบอบคอมมิวนิสต์ให้ความสำคัญกับวัตถุนิยมอย่างมาก ดังนั้น จึงมองว่าศาสนาเป็น เครื่องมอมเมา ประชาชน ดังนั้น คอมมิวนิสต์ไม่เชื่อเรื่อง พระเจ้า และศาสนา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1945) ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แทรกซึม และเข้ายึดครองหลาย ประเทศในเอเซีย, ยุโรปตะวันออก, อัฟริกา และลาตินอเมริกา หลายประเทศในโลกตกอยู่ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ มีผลให้ คริสเตียนถูกข่มเหง และตายในความเชื่อ เช่น ในรัสเซีย, จีน และเกาหลี เป็นต้น
!
B. ช่วง ค.ศ. 1990 - ปัจจุบัน ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เข้าสู่หัวเลี้ยวหัวต่อของศตวรรษที่ 21 ลัทธิคอมมิวนิสต์เริ่มเสื่อม อำนาจลง !177
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ไม่ว่าจะเป็นระบบการปกครองหรือระบบเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์ เวลาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้ล้มเหลว ทำให้ประเทศต่าง ๆ ในค่ายคอมมิวนิสต์หันมาเรียกร้อง ประชาธิปไตย อย่างเช่น ประเทศในยุโรปตะวันออก หรือไม่ก็ดำเนินนโยบายอลุ่ม อล่วยทางการเมือง และเศรษฐกิจต่อโลกเสรียิ่งขึ้น อย่างเช่น จีน, เวียดนาม เป็นต้น ในเดือนตุลาคม 1990 เยอรมันตะวันตก และเยอรมันตะวันออก รวมตัวกันอีกครั้ง ซึ่ง เป็นสัญญลักษณ์ว่า ความเป็นศัตรูของค่ายเสรี และค่ายคอมมิวนิสต์ถูกรื้อทิ้งไปแล้ว ในประเทศโรมาเนีย มีการเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งคริสเตียนเป็นแรงสำคัญอยู่เบื้องหลัง เพื่อเรียกอำนาจคืนจากเผด็จการคอมมิวนิสต์ของผู้นำโรมาเนีย คือ เชาเชสกู (Chaucesgu) ประเทศคอมมิวนิสต์ในเอเซีย เช่น เขมร มีการเจรจาสันติภาพ และก่อตั้งรัฐบาลร่วมของ เขมร 4 ฝ่ายที่พัทยา ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1991 และต่อมา สหประชาชาติเข้าไป ช่วยให้มีการเลือกตั้งครั้งแรก จนได้นายก 2 คนคือ เจ้ารณฤทธิ์และสมเด็จฮุนเซน ในประเทศจีน ก็มีการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของนักศึกษา เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย แม้ว่า จะไม่สำเร็จและจบลงด้วยการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมของรัฐบาล ที่จตุรัสเทียนนา เมิน (Tienamen Square) ใน ค.ศ. 1989 อย่างไรก็ตาม สิ่งที่แสดงว่า พิษสงของระบอบคอมมิวนิสต์ได้หมดไปแล้ว เกิดขึ้นเมื่อ มหาอำนาจรัสเซียเกิดการปฎิวัติเปลี่ยนการปกครองใหม่ กลายเป็นสหพันธ์รัฐรัสเซีย (The Russian Federation) ภายใต้การนำของประธานาธิบดี เยลซิน (Yelsin) ความล้มเหลวของระบบคอมมิวนิสต์ ทำให้คริสตจักรในประเทศเหล่านี้สามารถลุกขึ้นมาได้ อีก และประตูแห่งพระกิตติคุณเปิดกว้างออก ผู้คนที่ถูกกดขี่บีบบังคับมานานต่างพา กันสนใจที่จะรู้เรื่องของพระเจ้า และไม่มีผู้ใดรู้ว่า ประตูนี้จะเปิดนานแค่ไหน คริสตจักร และคริสเตียนทั้งหลายจึงควรจะฉวยโอกาสนำพระกิตติคุณไปยังดินแดนและผู้คนที่หิว กระหายเหล่านี้
!
15.3 การเคลื่อนไหวของสหพันธภาพของคริสตจักร (Ecumenicity) I. คำนำ ในยุคปฏิรูปศาสนา (ศตวรรษที่ 16) ได้นำมาซึ่งการแยกตัวของนิกายโปรเตสแตนท์ จากโรมัน คาธอลิคและเป็นการเริ่มต้นของพัฒนาการของนิกายโปรเตสแตนท์ ซึ่งต่อมาแยกเป็นคณะ ต่าง ๆ ใน ค.ศ. 1800 หรือในศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาได้มีการพยายามของคณะนิกายเหล่านี้ที่จะรวม ตัวกันเป็นกลุ่มใหม่ ในศตวรรษที่ 20 การเคลื่อนไหวของคณะนิกายต่าง ๆ ที่จะรวมตัวกัน หรือที่เรียกว่า สห สัมพันธภาพ จึงกลายเป็นแนวโน้มใหม่ของคริสตจักรในปัจจุบัน คำว่า “สหสัมพันธภาพ” (Ecumenical) เริ่มใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1936 ในการประชุม Faith – and – Order ซึ่งต้องการกลุ่มเสรีนิยมและกลุ่มอนุรักษ์นิยม หรือมูลฐานนิยมเข้า ร่วมด้วย เพื่อนำมาซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์กรคริสศาสนา
!
!
!178
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
II. ประเภทและลักษณะของสหสัมพันธภาพ การรวมตัวของคณะนิกายและองค์การต่าง ๆของคริสตจักรมีอยู่ 3 ขั้นตอนหรือ 3 ลักษณะด้วย กัน A. ความร่วมมือระหว่างคณะนิกายและองค์การที่ไม่สังกัดคณะนิกายใด (Interdenominational and Non-denominational Cooperation) องค์การในลักษณะนี้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 18 (1) องค์การระหว่างคณะนิกาย (Interdenomination) เป็นองค์การที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของคณะนิกายต่างกัน เพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์ ร่วมกัน ตัวอย่างเช่น ค.ศ. 1801-1852 คณะเพรสไบทีเรียน และคองกรีเกชั่น เนลลิสได้ร่วม มือกัน ตั้งองค์การเพื่อจัดหาศิษยาภิบาลให้แก่คริสตจักร (2) องค์การไม่สังกัดคณะนิกาย (Nondenominational) จัดตั้งขึ้นโดยไม่สังกัดคณะนิกายใด แต่ได้รับความช่วยเหลือจากคริสเตียนคณะนิกาย ต่าง ๆ เพื่อรับใช้ในงานเฉพาะกิจ เช่น สมาคมพระ-คริสตธรรมอเมริกา องค์การ เยาวชนเพื่อพระคริสต์ (Youth for Church) องค์การกีเดียน (Gideons) เป็นต้น
!
!
B. Organic Reunion การรวมตัวกันในลักษณะนี้ เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 เป็นการรวมตัวของคณะนิกายต่าง ๆ ที่ได้แยกตัวออกจากคณะนิกายเดิมของตนมาร่วมกัน ก่อตั้งคณะนิกายใหม่ขึ้น การรวมตัวลักษณะนี้ จะเกิดขึ้นง่ายกว่าในกรณีที่กลุ่มที่มารวมกัน มีภูมิหลังด้านศาสน ศาสตร์ นโยบายและหลักการด้านพิธีกรรมที่คล้ายคลึงกัน ตัวอย่าง เช่น ค.ศ. 1958 คณะ The United Presbyterian Church และ The Presbyterian Church of America รวมเป็น The United Presbyterian Church, U.S.A. ค.ศ. 1927 Church of Christ ในประเทศจีน รวมตัวกับ Presbyterians, Baptists และ Methodists C. สมาพันธ์ในประเทศ และระหว่างประเทศ (National and International Ecclesiastical Confederations) การร่วมมือของคริสตจักร หรือคณะนิกายต่าง ๆ ในลักษณะของสมาพันธ์เช่นนี้ เริ่มขึ้นใน ศตวรรษที่ 20 และเป็นแนวโน้มของสหสัมพันธภาพในยุคปัจจุบัน การร่วมมือในลักษณะสมาพันธ์เช่นนี้ คณะนิกายต่าง ๆ ที่เข้าร่วมยังคงมีสิทธิในการตัดสิน ใจ และคงอำนาจสูงสุดในคณะของตน แต่มาร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมบาง ประการ การจัดตั้งสมาพันธ์เช่นนี้ อาจทำในระหว่างคณะนิกายต่าง ๆ กัน ทั้งภายในและระหว่าง ประเทศ เช่น The Federal Council of Churches of Christ in America เป็นสมา พันธ์ที่คริสตจักรคณะนิกายต่าง ๆ ในอเมริกา มาร่วมกันตั้งขึ้น เพื่อร่วมมือรับใช้ใน !179
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
!
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
การบริการสังคม ใน ค.ศ.1908 เช่น เพื่อร่วมกันคัดค้านการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็น ธรรม เป็นต้น นอกจากนั้น คณะนิกายเดียวกันที่อยู่ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ยังอาจจะตั้งสมาพันธ์ ระหว่างประเทศ เพื่อทำงานของคณะนิกายตนร่วมกันในส่วนต่างๆทั่วโลก ตัวอย่างเช่น การประชุมสมาพันธ์แบ๊บติสท์โลก หรือ The Baptist World Alliance ใน ค.ศ. 1905 เป็นต้น
III. สภาคริสตจักรโลก (World Council of Churches) และปัญหาของสห สัมพันธภาพในคริสตจักร สภาคริสตจักรโลก เป็นองค์การในลักษณะของสหสัมพันธ์ ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพ ของคริสตจักรคณะนิกายต่าง ๆทั่วโลก ค.ศ. 1938 ผู้นำคริสตจักรคณะนิกายต่าง ๆ 80 ท่าน ได้ประชุมกันที่ยูเทรฟท์ (Utrecht) เพื่อ ร่างธรรมนูญโครงสร้างขององค์การตลอดจนกำหนดคณะกรรมการดำเนินการ เพื่อให้เกิด สภาคริสตจักรโลก ระหว่างวันที่ 22 ส.ค.- 4 ก.ย. 1948 ผู้แทน 350 ท่าน จาก 44 ประเทศ เป็นตัวแทนจาก 150 คริสตจักรมาร่วมประชุมที่อาร์สเตอร์ดัม (Amsterdam) ผลของการประชุมครั้งนี้ ทำให้เกิดสภาคริสตจักรโลกขึ้น ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่ประชุมได้กำหนดให้มีการเปิดประชุมสภาคริสตจักรโลก และทุก 7 ปีมีการเลือกกรรมการ กลาง ซึ่งจะประชุมทุกปี มีเลขาธิการตลอดจนกรรมการกลุ่มต่าง ๆ ที่จะดำเนินงาน และ แก้ไขปัญหาขององค์การ อย่างไรก็ตาม จากการประชุมครั้งที่ 4 ที่อัพสาลา (Uppsala) ประเทศสวีเดน ในปี ค.ศ. 1968 เป็นต้นมา สภาคริสตจักรโลกได้หันความสนใจไปยังเรื่องสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองมากกว่าเรื่องจิตวิญญาณ ทำให้การช่วยให้รอดเป็นเรื่องเกี่ยวกับโลกนี้ มากกว่าเรื่องฝ่ายวิญญาณ ค.ศ. 1973 การประชุมสภาคริสตจักรโลกที่กรุงเทพฯ ในหัวข้อ “ความรอดวันนี้” (Salvation Today) เน้นงานด้านสังคมและสิทธิมนุษยธรรม มากกว่าเรื่องจิตวิญญาณ โดยเน้นการ สร้างสังคมใหม่ และปลดปล่อยมนุษย์จากการกดขี่ข่มเหงในสังคม ดังนั้น การดำเนินการของสภาคริสตจักรโลก ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของการรวมตัว เพื่อสร้าง เอกภาพในคริสตจักรสากล หรือเป็นการเคลื่อนไหวในลักษณะของสหสัมพันธภาพของคริ สตจักรทั่วโลก จึงเป็นเพียงความเป็นเอกภาพในลักษณะขององค์กรเท่านั้น ถ้าคริสตจักรสากลต้องการสร้างเอกภาพ หรือสหสัมพันธภาพขึ้นอย่างแท้จริงและถาวรจะต้อง เป็นสัมพันธภาพที่สร้างบนความเป็นเอกภาพในฝ่ายจิตวิญญาณ โดยมีพระคัมภีร์เป็น รากฐานแห่งความเชื่อ และพระคริสต์เป็นศีรษะ และพระผู้ช่วยให้รอดของคริสตจักร
!
! !180
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
! !
สรุปคริสตจักร 7 ยุค
! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! ! !
!
ยุคที่ 1 ก่อตั้ง
- ค.ศ. 30
ยุคอัครทูต
ยุคที่ 2 ข่มเหง
- ค.ศ. 100
ยุคข่มเหง
ยุคที่ 3 คุ้มครอง
- ค.ศ. 300
ยุคประนีประนอม
ยุคที่ 4 งมงาย
- ค.ศ. 500
ยุคกลาง (ยุคมืด)
ยุคที่ 5 เจิดจ้า
- ค.ศ. 1500
ยุคปฏิรูป
ยุคที่ 6 เฉิดฉาย
- ค.ศ. 1700
ยุคพันธกิจ
ยุคที่ 7 แช่มชื่น
- ค.ศ. 1900
ยุคปัจจุบัน
! ! !181
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
! !
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ภาคผนวก 1! หลักข้อเชื่อของอครทูต (Apostles’ Creed)!
ข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระเจ้า พระบิดาผู้ทรงฤทธิ์ที่สุด ผู้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และ โลก
!
ข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ พระบุตรองค์เดียวของพระบิดา ทรงปฏิสนธิ์โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ทรงกำเนิดจากมารีย์สาวพรหมจารี ทรงทนทุกข์ทรมานในสมัยที่ปอนทิอัสปิลาตปกครอง ทรงถูกตรึงที่กางเขนแล้ว มรณา ทรงถูกบรรจุไว้ในอุโมงค์ เสด็จลงสู่แดนมรณา ในวันที่สามทรงเป็นขึ้น มาจากความตาย พระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ประทับ ณ เบื้องขวาของพระเจ้าผู้ทรง ฤทธิ์ที่สุด จากที่นั่นพระองค์จะเสด็จมาพิพากษาคนเป็นและคนตาย
!
ข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระวิญญาณบริสุทธิ์ และเชื่อมั่นในสากลคริสตจักรบริสุทธิ์ ในการร่วมสมานฉันท์ระหว่างธรรมิกชน การอภัยโทษบาป การที่กายคืนชีพ และสมบูรณ์ชีพนิรันดร์ อาเมน
!182
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ภาคผนวก 2!
!
ดิดาเคห์ (The Didache) หรือ! หลักคำสอนของอัครทูตทั้ง 12 คน!
! !
บทที่ 1 มีหนทางอยู่
2 ทาง: หนทางที่นำไปสู่ชีวิต และ หนทางที่นำไปสู่ความ
ตาย และความแตกต่างของหนทางทั้งสองนั้นใหญ่ยิ่งนัก หนทางแห่งชีวิตประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้ อันดับแรก ท่านควรจะรัก พระเจ้า ผู้ทรงสร้างท่าน อันดับที่สอง จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง และ อะไรก็ตามที่ท่านไม่ปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นกระทำต่อท่าน ท่านก็จงอย่าทำ สิ่งนั้นต่อผู้อื่น คำสอนนี้คือ : จงอวยพรผู้ที่แช่งสาปท่านและจงอธิษฐานเผื่อศัตรู ของท่าน และจงอดอาหารอธิษฐานเผื่อผู้ที่ข่มเหงท่าน มันจะมีความหมาย อะไรถ้าท่านรักแต่คนที่รักท่าน พวกคนนอกศาสนาก็ทำอย่างนั้นเช่นกัน จงรักคนที่เกลียดท่าน แล้วท่านจะไม่มีศัตรูเลย จงรักษาตัวของท่านให้ห่างจากความปรารถนาของร่างกายและเนื้อ หนัง ถ้ามีคนตบแก้มขวาของท่าน จงหันแก้มอีกข้างให้เขาด้วย แล้วท่าน ถึงจะตอบสนองอย่างคนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว ถ้ามีใครบังคับให้ท่านเดินไป 1 ไมล์ จงเดินไปให้เขา 2 ไมล์ ถ้ามีใครมาเอาเสื้อคลุมของท่านไป จงให้เสื้อ ของท่านกับเขาด้วย ถ้ามีใครจะมาเอาสิ่งของของท่านไป จงอย่าเรียกร้อง ให้เขานำกลับมาคืน เพราะท่านไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ จงให้แก่ทุกคนที่มาขอจากท่าน จงอย่าปฏิเสธ เพราะพระบิดา ปรารถนาที่จะให้แก่ทุกคนจากคลังสมบัติของพระองค์ คนที่ให้ดังที่พระ บัญญัติด้านบนได้กล่าวไว้นั้น จะได้รับพระพร เพราะเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่ คนที่รับโดยที่ไม่มีความจำเป็นนั้น จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของเขา เอง ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่มีแต่ไม่ยอมให้ จะต้องได้รับการสอบสวนสิ่งที่เขาได้ ทำ และเขาจะไม่ได้รับการปล่อยตัวออกมาจนกว่าจะได้ให้เงินที่เขาค้าง เอาไว้ !183
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
จงคำนึงถึงคำกล่าวนี้ว่า “จงให้เงินอยู่ในมือของท่านจนเหงื่อท่วม จนกระทั่งท่านแน่ใจว่าควรที่จะให้แก่ใคร”
! ! บทที่ 2 พระบัญญัติที่ 2 ของคำสอนนี้คือ: จงอย่าฆ่าคน ท่านจงอย่าล่วง ประเวณี ท่านจงอย่านำบุตรของท่านไปในทางชั่วร้าย และห้ามมี พฤติกรรมเบี่ยงเบนเรื่องเพศ ท่านจงอย่าขโมย หรืออย่าแสวงหาคำ แนะนำจากบรรดาพ่อมดหมอผี หรือใช้เวทมนตร์คาถา และท่านจงอย่ามี ส่วนในการทำแท้ง และห้ามฆ่าเด็กทารก ท่านไม่ควรโลภสิ่งของของเพื่อน บ้าน ท่านจงอย่าเป็นพยานเท็จ หรือกล่าวร้ายผู้อื่นให้มีความผิด ท่านไม่ ควรพูดสิ่งที่ชั่วร้าย และไม่ควรเก็บความขุ่นเคืองอยู่ในใจ ท่านไม่ควรมีใจ สองฝักสองฝ่ายหรือมีลิ้นสองแฉก เพราะว่าลิ้นสองแฉกนั้นเต็มไปด้วยพิษ ร้ายถึงตาย ท่านไม่ควรที่จะให้คำพูดเต็มไปด้วยคำหลอกลวงหรือไร้สาระ แต่จงทำตามสิ่งที่ท่านพูดเถิด ท่านจงอย่าโลภหรือไม่รู้จักพอ อย่าเป็นคนหน้าซื่อใจคด หรือผูก พยาบาท หรือหยิ่งยโส จงอย่าวางแผนชั่วต่อเพื่อนบ้านของท่าน ท่านไม่ ควรที่จะเกลียดใครเลย แต่ท่านควรตักเตือนผู้อื่นบ้าง และท่านควรที่จะ อธิษฐานเผื่อคนเหล่านั้น และท่านควรที่จะรักพวกเขาให้มากกว่าชีวิตของ ตัวท่านเอง
! บทที่ 3 ลูกของข้าพเจ้าเอ๋ย จงหลีกหนีเสียจากความชั่วทั้งปวง อย่าถูก ครอบงำโดยความปรารถนาของตนเอง เพราะมันจะนำไปสู่การฆาตกรรม จงอย่าอิจฉา อย่าชวนทะเลาะ อย่าโกรธง่าย เพราะเหล่าบรรดาฆาตกร ก็ ถือกำเนิดมาจากสิ่งเหล่านั้น อย่าให้กิเลสตัณหางอกเงยขึ้นในใจของท่าน
!184
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เพราะว่ามันจะนำไปสู่การผิดศีลธรรมทางเพศ อย่าพูดจาหยาบคาย และ อย่ามองเพื่อให้เกิดใจกำหนัดเลย เพราะว่ามันจะนำไปสู่การล่วงประเวณี ลูกเอ๋ย ท่านจงอย่าเชื่อเรื่องโชคลางเลย เพราะมันจะนำไปสู่การมี รูปเคารพ อย่าเป็นพ่อมดหมอผี และอย่ามีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องดวงดาว หรือเวทมนตร์ต่างๆ จงอย่าปรารถนาที่จะเห็นสิ่งต่างๆเหล่านั้น เพราะนั่น เป็นหนทางที่จะนำท่านไปสู่รูปเคารพ ลูกของข้าพเจ้า อย่าพูดโกหกเลย เพราะการโกหกจะนำไปสู่การขโมย อย่ารักเงินทองและอย่าพยายาม สร้างภาพลักษณ์ของตน เพราะว่าสิ่งนั้นก็จะนำไปสู่การขโมยด้วยเช่นกัน ลูกของข้าพเจ้าเอ๋ย จงอย่าเป็นนักพนัน เพราะมันจะนำไปสู่การสบ ประมาทพระเจ้า อย่าปรารถนาที่จะทำตามใจตน หรือให้ตนเอง เพลิดเพลินไปกับความคิดที่ชั่วร้าย เพราะว่านั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการสบ ประมาทพระเจ้าเช่นกัน จงสุภาพอ่อนน้อม เพราะว่าคนที่สุภาพอ่อนน้อมเท่านั้นที่จะได้รับ มรดกในโลกนี้ จงมีความอดทนและไม่ท้อถอยต่อความทุกข์ยาก จงหลีก หนีเสียจากสิ่งชั่วร้าย จงสุภาพอ่อนโยนและดีพร้อม และจงตัวสั่นต่อ ถ้อยคำเหล่านี้อยู่เสมอ จงอย่ายกตัวและอย่าหยิ่งทะนงตน อย่าเข้าไปข้อง แวะกับคนหยิ่งจองหอง แต่ให้ดำเนินชีวิตไปกับคนชอบธรรมและคนที่ใจ ถ่อม จงยอมรับว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับท่านล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดี เพราะว่าไม่มี สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นได้นอกจากพระเจ้าทรงอนุญาตให้เกิดขึ้น
! บทที่ 4 ลูกของข้าพเจ้า ท่านจงระลึกถึงผู้ที่กล่าวพระวจนะของพระเจ้าแก่ ท่านทั้งกลางวันและกลางคืน และจงให้เกียรติแก่เขาดังที่ท่านจะถวาย เกียรติแด่พระเจ้า เพราะที่ใดที่มีการกล่าวด้วยสิทธิอำนาจที่มาจากพระเจ้า พระเจ้าทรงสถิตอยู่ที่นั่นด้วย และท่านเองควรที่จะแสวงหาการสามัคคีธรรมกับผู้เชื่อ เพื่อท่านเอง จะได้รับการหนุนใจจากคำกล่าวของพวกเขา ท่านไม่ควรปรารถนาการ แบ่งแยก แต่ควรที่จะสร้างสันติท่ามกลางคนเหล่านั้นที่ทะเลาะวิวาทกัน จง พิพากษาอย่างถูกต้อง อย่าเข้าข้างผู้ใดในการที่จะตักเตือนเกี่ยวกับเรื่อง
!185
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ความผิดบาป อย่าสองจิตสองใจว่าสิ่งต่างๆ ควรหรือไม่ควรที่จะเป็น อย่างไร จงอย่าเป็นคนที่จะยื่นมืออกไปรับฝ่ายเดียวแต่ไม่ยอมที่จะเป็นผู้ให้ จงยอมจ่ายค่าไถ่บาปของตนเองเสีย ถ้าท่านสามารถที่จะจ่ายได้ จง อย่าลังเลในการให้ หรืออย่าให้ด้วยการบ่น เพราะว่าท่านรู้อยู่แล้วว่าใคร คือเจ้านายที่ดีที่จะให้รางวัลแก่ทุกคน ท่านจงอย่าหันหลังให้แก่คนที่ต้องการความช่วยเหลือ แต่จงแบ่ง ปันสิ่งของของท่านแก่พี่น้องของท่าน อย่าพูดว่าสิ่งต่างๆเป็นของท่านเอง เพราะถ้าเรากำลังแบ่งปันสิ่งที่เป็นนิจนิรันดรอยู่ เราเองยิ่งควรที่จะแบ่งปัน สิ่งของที่อยู่ในโลกนี้ด้วย อย่าสงวนมือของท่านจากบุตรชายหรือบุตรสาว ของท่าน แต่จงสั่งสอนพวกเขาให้ยำเกรงพระเจ้าตั้งแต่เยาว์วัย ขณะที่ท่านมีใจขมขื่น จงอย่าออกคำสั่งแก่ทาสหรือคนรับใช้ที่มี ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวกับท่าน เกรงว่าเขาจะเลิกยำเกรงพระเจ้า องค์เดียวกันกับท่าน เพราะว่าพระองค์ไม่ได้ทรงเรียกพวกเขาตาม สถานภาพทางสังคมแต่ทรงเลือกตามที่พระวิญญาณได้ทรงจัดเตรียมไว้ แล้ว ส่วนพวกท่านที่เป็นทาส จงยอมเชื่อฟังเจ้านายของท่านด้วยความ ยำเกรงและความเคารพนับถือเสมือนดังพวกเขามีสิทธิอำนาจจากพระเจ้า ในการปกครองพวกท่าน ท่านควรเกลียดการหน้าไหว้หลังหลอกทุกประเภทและเกลียดทุก สิ่งที่พระเจ้าไม่ทรงพอพระทัย จงอย่าละทิ้งพระบัญชาของพระเจ้า และจง รักษาคำสอนต่างๆที่ท่านได้รับมา จงอย่าเพิ่มเติมอะไรเข้าไปและจงอย่า ตัดสิ่งไหนออก เมื่ออยู่ในคริสตจักร ท่านจงสารภาพความผิดของท่านเสีย และจงอย่าเข้าสู่การอธิษฐานด้วยจิตใจที่หมกมุ่นอยู่กับความคิดชั่วร้าย นี่ คือหนทางที่นำไปสู่ชีวิต
! บทที่ 5 ส่วนหนทางที่นำไปสู่ความตายนั้น ประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้ สิ่ง แรกคือความชั่วร้ายและคำแช่งสาป, กิเลสตัณหา, การฆาตกรรม, การลัก ขโมย, รูปเคารพ, เวทมนตร์คาถา, พ่อมดหมอผี, การปล้น,การเป็นพยาน !186
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เท็จ, การสองฝักสองฝ่าย, การทำความผิด, การหยิ่งจองหอง, การโอ้อวด ตน, ความอิจฉา, การพูดเล่นไร้สาระ, ความหยิ่ง, การข่มเหงผู้ทำความดี, การเกลียดความจริง, การรักคำโกหก, การไม่คิดถึงรางวัลแห่งความชอบ ธรรม, การไม่ยึดมั่นในสิ่งที่ดีหรือการพิพากษาที่ชอบธรรม, การอดหลับ อดนอนที่ไม่ใช่เพื่อสิ่งที่ดีแต่เพื่อความชั่วร้าย, การอยู่ห่างจากความสุภาพ อ่อนโยนและความอดทน, การรักสิ่งที่ไร้สาระ, การรักผลตอบแทน, การไร้ ความเมตตาต่อคนจน, การไม่ช่วยเหลือผู้ที่ทำงานหนัก, การไม่ระลึกถึงผู้ ที่ทรงสร้างพวกเขา,ฆาตกรฆ่าเด็ก, การเป็นผู้ทำลายสิ่งที่พระเจ้าทรง สร้าง, การหันหลังให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ, การข่มเหงผู้ที่ ลำบาก, ช่วยเหลือคนรวยในการทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง, การพิพากษาคนจน อย่างไม่ยุติธรรม, ทุกอย่างล้วนแต่เป็นความบาปทั้งนั้น ลูกเอ๋ยขอให้ท่าน ทั้งหลายรอดพ้นจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้เถิด
! บทที่ 6 อย่าให้ใครมาชักจูงท่านให้ออกไปจากทางแห่งคำสอนนี้ เพราะมัน คือการต่อต้านพระเจ้า ถ้าท่านสามารถแบกแอกของพระเจ้าได้ทั้งหมด ท่านก็เป็นผู้ใหญ่แล้ว แต่ถ้าท่านไม่สามารถทำทั้งหมดได้ จงทำเท่าที่ท่าน ทำได้เถิด เกี่ยวกับเรื่องเนื้อสัตว์ จงทำสิ่งที่ท่านทำได้ แต่อย่ากินสิ่งที่ได้ผ่าน การถวายต่อรูปเคารพเลย เพราะว่ามันคือการนมัสการพระเจ้าที่ไม่มีชีวิต
! บทที่ 7 ในเรื่องการรับบัพติศมา จงบัพติศมาในพระนามแห่งพระบิดา, พระ บุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในธารน้ำไหล ถ้าท่านหาธารน้ำไหลไม่ได้ สามารถใช้น้ำอื่นในการรับบัพติศมาได้ ถ้าท่านไม่มีน้ำเย็น สามารถใช้น้ำอุ่นได้ และถ้าไม่มีน้ำอะไรเลย ให้ ประพรมน้ำบนศีรษะ 3 ครั้ง ในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตร และพระ วิญญาณบริสุทธิ์ และก่อนที่จะมีพิธีบัพติศมา ทั้งผู้ที่จะให้บัพติศมาและผู้ที่ จะรับบัพติศมา ควรอดอาหารอธิษฐาน และถ้ามีคนอื่นที่สามารถอด !187
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
อาหารอธิษฐานได้ ก็ให้เขาทำด้วย ท่านควรจะแนะนำให้ผู้ที่จะรับบัพติศ มาอดอาหาร 1 หรือ 2 วันก่อนที่จะรับบัพติศมา
บทที่ 8 จงอย่าอดอาหารร่วมกับผู้ที่หน้าซื่อใจคด เพราะว่าพวกเขาอด อาหารทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี แต่ท่านอดอาหารทุกวันพุธและวัน ศุกร์ จงอย่าอธิษฐานอย่างที่พวกหน้าซื่อใจคดทำกัน แต่ตามที่องค์พระผู้ เป็นเจ้าได้บัญชาไว้ในข่าวประเสริฐของพระองค์ ท่านจงอธิษฐานตาม อย่างนี้ : ข้าแต่พระบิดาผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็น ที่เคารพสักการะ ขอให้แผ่นดินของพระองค์มาตั้งอยู่ ขอให้เป็นไปตาม พระทัยของพระองค์ ในสวรรค์เป็นอย่างไรก็ให้เป็นไปอย่างนั้นในแผ่นดิน โลก ขอทรงโปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายในวันนี้ และขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์เหมือนข้าพระองค์ยกโทษผู้ที่ ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น ขออย่านำข้าพระองค์เข้าไปในการทดลอง แต่ขอ ให้พ้นจากสิ่งซึ่งชั่วร้าย เพราะว่าฤทธิ์เดชและพระสิริเป็นของพระองค์ สืบไปเป็นนิตย์ ท่านจงอธิษฐานตามอย่างนี้วันละ 3 ครั้ง
บทที่ 9 ในเรื่องพิธีมหาสนิท จงขอบคุณพระเจ้าตามนี้: อันดับแรก ขอบคุณพระเจ้าสำหรับพระโลหิตของพระเยซู: เราขอบคุณพระเจ้า พระบิดาของเรา สำหรับเถาองุ่นบริสุทธิ์แห่ง พงศ์พันธุ์กษัตริย์ดาวิด, ผู้รับใช้ของพระองค์ ผู้ซึ่งพระองค์ทรง ในเรื่องการหักขนมปัง: พวกเราขอบคุณพระองค์ พระบิดาของเรา สำหรับชีวิตและความรู้ที่ พระองค์ทรงให้พวกข้าพระองค์ได้รู้จักผ่านทางพระเยซูคริสต์ผู้รับใช้ของ พระองค์ พระสิริจงมีแด่พระองค์สืบไปเป็นนิตย์ ดังเช่นที่พระกายของ พระองค์ได้แตกออกเป็นชิ้นๆยนเนินเขานั้น และได้ถูกนำมารวมกันให้เป็น !188
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
หนึ่งเดียว ขอที่พระองค์จะรวมรวมคริสตจักรของพระองค์จากสุดปลาย แผ่นดินโลกเข้ามาสู่แผ่นดินของพระองค์ เพราะฤทธิ์อำนาจและพระสิริ เป็นของพระองผ่านทางพระเยซูคริสต์ตลอดไปเป็นนิตย์ ท่านจงอย่าให้ผู้ใดกินและดื่มในพิธีมหาสนิทโดยที่ยังไม่ได้รับบัพ ติศมา เพราะว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าได้ตรัสไว้ในเรื่องนี้ว่า “จงอย่าให้สิ่งที่ บริสุทธิ์แก่พวกสุนัข”
บทที่ 10 หลังจากที่ได้กินขนมปังและดื่มน้ำองุ่นแล้ว จงขอบคุณพระเจ้าดังนี้: เราขอบคุณพระองค์ พระบิดาผู้บริสุทธิ์ ที่พระองค์ทรงกระทำให้ พระนามบริสุทธิ์ของพระองค์ดำรงอยู่ในใจของเรา และที่พระองค์ทรง ทำให้เรารู้จักความรู้, ความเชื่อและชีวิตนิรันดร์ผ่านทางพระเยซู ผู้รับใช้ ของพระองค์ ขอพระสิริจงมีแด่พระองค์สืบไปเป็นนิตย์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด ผู้ทรงสร้างสิ่ง สารพัดขึ้นเพื่อสำแดงพระนามของพระองค์ พระองค์ทรงประทานอาหาร และน้ำดื่มให้แก่มนุษย์เพื่อให้เขาเพลิดเพลินใจ และพระองค์ทรงประทาน ชีวิตนิรันดร์ผ่านทางผู้รับใช้ของพระองค์ เหนือสิ่งอื่นใด เราขอบคุณ พระองค์เพราะพระองค์ทรงฤทธานุภาพ ขอพระสิริเป็นของพระองค์สืบไป เป็นนิตย์ องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอทรงจดจำคริสตจักรของพระองค์ ขอทรง ช่วยคริสตจักรของพระองค์ให้รอดพ้นจากความชั่วร้ายและช่วยให้คริสต จักรเติบโตขึ้นในความรักของพระองค์ ขอทรงรวบรวมคริสตจักรของ พระองค์มาจากทั่วทุกมุมโลกและแยกคริสตจักรของพระองค์ออกจากโลก นี้เพื่อเตรียมตัวเข้าในแผ่นดินของพระองค์ที่ได้ทรงจัดเตรียมไว้ให้แล้ว เพราะฤทธิ์อำนาจและพระสิริเป็นของพระองค์สืบไปเป็นนิตย์ ขอพระคุณของพระเจ้าเข้ามาและให้โลกนี้มลายไป โฮซันนาแด่ บุตรของกษัตริย์ดาวิด!! ถ้าผู้ใดบริสุทธิ์ ให้เขาเข้ามาเถิด ส่วนผู้ที่ไม่ บริสุทธิ์ ให้เขากลับใจใหม่ มารานาธา (องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงเสด็จมา) อาเมน อนุญาตให้บรรดาผู้เผยพระวจนะได้ขอบคุณพระเจ้าตามที่พวกเขา ต้องการ !189
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
! บทที่ 11 ผู้ใดก็ตามที่เข้ามาและสอนท่านตามหลักคำสอนเหล่านี้ พวกท่าน จงต้อนรับเขาไว้ แต่ถ้าผู้ใดเปลี่ยนแปลงคำสอนเหล่านี้โดยมีเจตนาที่จะ ทำลายหลักคำสอนนี้ ท่านจงอย่าฟังเขาเลย อย่างไรก็ตาม ถ้าแรงจูงใจ ของเขาคือการเพิ่มความชอบธรรมและความรู้เรื่องของพระเจ้าเข้าไป ท่านจงต้อนรับเขาอย่างที่ท่านจะต้อนรับองค์พระผู้เป็นเจ้า ในเรื่องอัครทูตและผู้เผยพระวจนะ จงปฏิบัติต่อพวกเขาตามที่ข่าว ประเสริฐของพระเจ้าบอกให้ท่านทำ ท่านจงต้อนรับอัครทูตทุกคนที่มาหา ท่านอย่างที่ท่านจะต้อนรับองค์พระผู้เป็นเจ้า พวกเขาไม่ควรจะพักอยู่กับท่านมากกว่าหนึ่งวัน แต่ถ้าเขามีความ จำเป็นเขาสามารถอยู่ต่อได้ ถ้าเขาพักอยู่กับท่าน 3 วัน เขาก็เป็นผู้เผยพระ วจนะเท็จ และเมื่ออัครทูตออกไป เขาไม่ควรเอาอะไรติดตัวไปนอกจาก ขนมปังหนึ่งแถว จนกว่าเขาจะถึงที่พักของเขาในยามค่ำคืน ถ้าเขาขอเงิน จากท่าน เขาก็เป็นผู้เผยพระวจนะเท็จ และท่านไม่ควรทดสอบหรือตัดสินผู้ เผยวจนะที่พูดโดยพระวิญญาณ เพราะบาปทุกบาปจะสามารถได้รับการ อภัยได้ ยกเว้นความบาปนี้ที่ไม่สามารถอภัยให้ได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่พูดโดยพระวิญญาณจะเป็นผู้เผยพระวจนะ แต่จะ ต้องเป็นผู้ที่ดำเนินชีวิตตามอย่างพระลักษณะของพระเจ้า ดังนั้นท่านจึงจะรู้ ว่าใครเป็นผู้เผยพระวจนะแท้และใครเป็นผู้เผยพระวจนะเท็จได้จากการ ดำเนินชีวิตของเขา และถ้าผู้เผยพระวจนะคนใดสั่งอาหารโดยพระ วิญญาณ เขาไม่ควรทานอาหารที่เขาสั่งไว้ หากเขากินอาหารที่สั่งไว้นั้น เขาจึงเป็นผู้เผยพระวจนะเท็จ และผู้เผยพระวจนะที่สอนความจริงแต่ไม่ได้ประพฤติตามสิ่งที่ตัว เองสอนนั้น เป็นผู้เผยพระวจนะเท็จ แต่ผู้เผยพระวจนะที่ผ่านการทดสอบก็ เป็นผู้เผยพระวจนะแท้ ถึงแม้ว่าเขาจะสอนที่คริสตจักรโดยใช้คำอุปมา ที่มาจากจินตนาการของเขาเอง ตราบเท่าที่เขาไม่ได้สอนคนอื่นให้ทำสิ่ง เดียวกัน ท่านจงอย่าตัดสินเขาเลย การพิพากษานั้นมาจากพระเจ้า ดังเช่น ผู้เผยพระวจนะท่านอื่นๆในอดีต
!190
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
แต่ถ้าผู้ใดกล่าวโดยพระวิญญาณว่า “จงนำเงินหรือสิ่งของมาให้ ข้าพเจ้า” จงอย่าฟังเขาเลย แต่ถ้าเขากล่าวสิ่งนั้นเพราะต้องการช่วยเหลือ ผู้อื่น จงอย่าให้ผู้ใดตัดสินเขาเลย
บทที่ 12 จงต้อนรับทุกคนในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า หลังจากนั้น เมื่อ ท่านได้ทดสอบเขาท่านจะได้พบว่าเขาเองเบี่ยงเบนออกจากมาตรฐานใน ด้านใดบ้าง ถ้ามีผู้ใดเดินทางผ่านมา ท่านจงช่วยเหลือเขาให้มากที่สุดเท่า ที่จะช่วยได้ และถ้าจำเป็นจริงๆ เขาพักอยู่กับท่านได้แต่ห้ามนานเกิน 3 วัน แต่ถ้าเขาปรารถนาที่จะอาศัยอยู่ท่ามกลางพวกท่าน และต้องการมี อะไรแลกเปลี่ยน จงให้เขาทำงานเพื่อแลกกับอาหารของเขา แต่ถ้าเขา ไม่มีอะไรที่จะแลกเปลี่ยน พวกท่านควรที่จะจัดหาให้เขาแล้วแต่ตาม ดุลยพินิจของท่าน อย่าให้ผู้ใดที่เรียกตัวเองว่าเป็นคริสเตียนอาศัยอยู่ ท่ามกลางพวกท่านโดยที่ไม่ทำงาน แต่ถ้าเขาไม่ปรารถนาที่จะทำงาน เขา ก็กำลังหาผลประโยชน์จากพระเยซูคริสต์ คนแบบนี้จงระวังให้ดี
บทที่ 13 แต่ถ้ามีผู้เผยพระวจะแท้ที่ปรารถนาจะอาศัยอยู่ท่ามกลางพวกท่านก็ จงจัดเตรียมอาหารให้แก่เขาเถิด เช่นเดียวกับผู้สอนที่สอนสิ่งที่ดีงามและ คนที่ทำงาน เขาสมควรที่จะได้รับอาหารของตน ดังนั้นผลแรกของท่านไม่ ว่าจะเป็นเหล้าองุ่น, ข้าว,วัว หรือแกะ จงนำไปมอบแก่ผู้เผยพระวจนะ เพราะพวกเขาเป็นเหมือนปุโรหิตสูงสุดของท่าน แต่ถ้าท่านไม่มีผู้เผยพระวจนะ จงให้ผลแรกของท่านแก่คนยากจน ถ้าท่านจะทำขนมปัง จงเอาไปให้แก่พวกเขาด้วยตามคำบัญชาของ พระเจ้า เช่นกันถ้าท่านเพิ่งเปิดเหล้าองุ่นหรือน้ำมันไหใหม่ จงนำส่วนแรก ไปให้แก่ผู้เผยพระวจนะ รวมถึงส่วนแรกของเงิน,เสื้อผ้าและสิ่งของของ ท่าน จงดูว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด จงนำไปให้ตามที่พระเจ้าทรงบัญชาไว้
บทที่ 14 และเมื่อมาถึงวันสะบาโต จงอธิษฐานสารภาพบาปของท่านก่อน แล้วจึงหักขนมปังและอธิษฐานขอบคุณพระเจ้า ด้วยการกระทำเช่นนั้น !191
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เครื่องถวายบูชาของท่านจึงจะบริสุทธิ์ ท่านจงอย่าให้ผู้ที่มีเรื่องทะเลาะกับ พี่น้องมาร่วมหักขนมปังกับท่าน จนกว่าเขาจะไปกลับคืนดีกันก่อน เพื่อที่ เครื่องถวายบูชาของท่านจะไม่เป็นมลทิน เพราะพระเจ้าได้ตรัสไว้ว่า “เจ้า จงนำเครื่องบูชาที่บริสุทธิ์มาให้แก่เรา ในทุกที่และทุกเวลา เพราะว่าเรา เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ และนามของเราเป็นนามประเสริฐท่ามกลาง ประชาชาติ”
บทที่ 15 ในการแต่งตั้งคนเข้ามาเป็นผู้ดูแลคริสตจักรและมัคนายกนั้นพวก เขาจะต้องมีลักษณะดังนี้ : เป็นคนสุภาพ, ไม่เป็นคนที่รักเงินทอง, เป็นคนที่ จริงจัง และ ได้รับการยอมรับ เพราะพันธกิจที่พวกเขาจะทำแก่ท่านคือการ เป็นผู้เผยพระวจนะและผู้สอน ท่านจงอย่าตักเตือนผู้ใดด้วยความโกรธ แต่จงตักเตือนด้วยสันติ ดังเช่นที่เราได้เห็นแล้วในข่าวประเสริฐ และอย่าให้ผู้ใดพูดคุยกับคนที่ ปฏิเสธที่จะรักเพื่อนบ้านของตนเอง ท่านจงอย่าพูดกับเขาเลยจนกว่าพวก เขาจะกลับใจ ท่านจงอธิษฐานและจงให้และจงดำเนินชีวิตสิ่งที่ท่านได้พบในข่าว ประเสริฐแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา
บทที่ 16 จงดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ตะเกียงของท่านดับ หรือจงอย่าให้ร่างกายของท่านเปลือยอยู่เลย แต่ท่านจงเตรียมพร้อมอยู่ เสมอ เพราะท่านไม่รู้ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมาเมื่อไหร่ พวกท่านจงนัดพบกันอย่างสม่ำเสมอเพื่อแสวงหาสิ่งที่เป็น ประโยชน์ต่อจิตวิญญาณของท่าน เพราะความเชื่อของท่านจะไม่เป็น ประโยชน์แก่ท่าน เว้นแต่ว่าท่านจะสามารถอดทนจนถึงวันสุดท้าย เพราะ ในยุคสุดท้าย พวกผู้เผยพระวจนะเท็จและพวกหลอกลวงจะเพิ่มมากขึ้น และจะทำให้แกะกลายเป็นหมาป่า และความรักกลายเป็นความเกลียดชัง พวกที่อยู่นอกธรรมบัญญัติจะเพิ่มขึ้นและพวกเขาจะข่มเหง, เกลียด ชัง และทรยศกันเอง และเจ้าแห่งการหลอกลวงของโลกนี้จะปรากฏตัว !192
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ออกมาราวกับเป็นพระบุตรของพระเจ้า และเขาจะทำหมายสำคัญและการ อัศจรรย์ต่างๆ และโลกนี้จะตกไปอยู่ในมือของเขา และเขาจะทำสิ่งผิดศีล ธรรมอย่างที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย จากนั้นเหล่าบรรดาประชาชาติจะต้องเข้ามาสู่การพิสูจน์ด้วยไฟ และมนุษย์มากมายจะต้องล้มลงและถูกลงโทษ แต่ผู้ใดที่สามารถยืนหยัด ในความเชื่อของเขาได้ จะได้รอดจากการแช่งสาปนั้น หลังจากนั้นหมายสำคัญแห่งความจริงจะปรากฏขึ้น หมายสำคัญ แรกจะปรากฏขึ้นที่สวรรค์ หมายสำคัญถัดมาคือเสียงแตร และหมาย สำคัญที่สามคือคนที่ตายไปแล้วจะฟื้นขึ้นมา แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะฟื้นขึ้นมา จากความตาย ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าจะเสด็จมาและบรรดา ผู้บริสุทธิ์จะได้อยู่กับพระองค์” “จากนั้นโลกนี้จะได้เห็นองค์พระผู้เป็นเจ้า เสด็จมาในเมฆแห่งฟ้าสวรรค์” คำแปลข้างบนนี้ถูกแปลจากคำแปลภาษาอังกฤษของ ทิม ซอเดอร์ ซึ่งมีเงื่อนไขในการใช้คำ แปลของเขาตามด้านล่างนี่คือ
!
หมายเหตุ : ท่านสามารถนำบทความ Didache นี้ไปทำซ้ำหรือเผยแพร่ได้โดยที่จะต้องไม่ แสวงหาผลกำไร โดยที่ท่านจะต้องพิมพ์ลิขสิทธิ์ของหน่วยงานลงไปด้วย รวมถึงที่อยู่ของเว๊บ ไซต์ด้านล่าง: www.scrollpublishing.com
!193
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
! !
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ภาคผนวก 3! หลักข้อเชื่อไนซีน (Nicene Creed)!
ข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระเจ้ ข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระเจ้าองค์เดียว พระบิดาผู้ทรงฤทธิ์สูงสุด ผู้ทรงสร้างฟ้าสวรรค์และโลก และทุกสิ่งที่ประจักษ์ และไม่ประจักษ์แก่ตา ข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าพระองค์เดียว ผู้ทรงเป็น พระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า ทรงกำเนิดจากพระบิดาก่อนทรงสร้างกัลปจักรวาลทั้งมวล ทรงเป็นพระเจ้ากำเนิดมาจากพระเจ้า แสงสว่างจากแสงสว่าง พระเจ้าแท้จากพระเจ้าแท้ ทรงกำเนิดไม่ใช่ถูกสร้างขึ้น ทรงเป็นสาระเดียวกันกับพระบิดา พระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่ง พระองค์ทรงเสด็จลงมาแต่สวรรค์ เพื่อมนุษย์ และเพื่อช่วยเราให้รอดพ้น ทรงกำเนิดเป็นมนุษย์โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ทางมารีย์สาวพรหมจารี ทรงสภาพมนุษย์ แล้วในสมัยปอนทีอัสปีลาตปกครองนั้นเอง พระองค์ ถูกตรึงที่ไม้กางเขนเพื่อ เราทั้งหลาย พระองค์ทรงทุกข์ทรมานจนสิ้นพระชนม์ ทรงถูกบรรจุไว้ในอุโมงค์ และในวันที่สามทรงคืนพระชนม์ ตามที่พระคัมภีร์ทำนายไว้ พระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ประทับ ณ เบื้องขวาของพระบิดา พระองค์จะเสด็จมาอีกด้วยพระสิริ เพื่อพิพากษาทั้งคนเป็นและคนตาย พระราชอาณาจักรของพระองค์ ไม่รู้สิ้นสุด ข้าพเจ้าเชื่อวางใจในพระวิญญาณบริสุทธิ์ องค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ประทานชีวิต ผู้ทรงเป็นมาจากพระบิดาและพระบุตร ผู้ทรงรับนมัสการ และการสรรเสริญพร้อมพระบิดา และพระบุตร พระองค์ได้ตรัสทางพวกผู้เผยพระวจนะ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นในสากลคริสตจักรที่สืบจากอัครธรรมทูตคริสตจักรเดียว ข้าพเจ้ารับว่ามีพิธีบัพติศมาเพื่อการยกบาปแต่พิธีเดียว ข้าพเจ้าเชื่อมั่นในการคืนชีพของผู้ที่ตายแล้ว และในชีวิตโลกหน้า อาเมน !194
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
! !
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ภาคผนวก 4! คำประท้วง 95 ข้อทีของ มาร์ติน ลูเธอร์!
(Published in: Works of Martin Luther: Adolph Spaeth, L.D. Reed, Henry Eyster Jacobs, et Al., Trans. & Eds. (Philadelphia: A. J. Holman Company, 1915), Vol.1, pp. 29-38) แปลโดย ดร.ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์ (http://sinchaichao.blogspot.com/2013/04/95theses.html)
!
Disputation of Doctor Martin Luther on the Power and Efficacy of Indulgences by Dr. Martin Luther (1517) การโต้แย้งของดร.มาร์ติน ลูเธอร์ ในประเด็นเรื่อง สิทธิของใบไถ่บาป เขียนโดย มาร์ติน ลูเธอร์ ติดหน้าโบสถ์วิทเทนเบิร์ก ณ วันที่ 31 ตุลาคม 1517
!
Out of love for the truth and the desire to bring it to light, the following propositions will be discussed at Wittenberg, under the presidency of the Reverend Father Martin Luther, Master of Arts and of Sacred Theology, and Lecturer in Ordinary on the same at that place. Wherefore he requests that those who are unable to be present and debate orally with us, may do so by letter. ด้วยความรักในความจริง และความปรารถนาที่จะนำสู่ความสว่าง หัวข้อต่อไปนี้เป็นประเด็น อภิปราย ณ วิทเทนเบิร์ก ภายใต้การรับผิดชอบของคุณพ่อมาร์ติน ลูเธอร์ ในฐานะศิลปศาสตร์ และเทววิทยามหาบัณฑิต และอาจารย์ประจำ เพื่อให้ผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมในการอภิปราย สามารถเข้าใจโดยลายลักษณ์อักษร
!
In the Name our Lord Jesus Christ. Amen. เดชะพระนามพระเยซูคริสตเจ้า พระเจ้าของเรา อาเมน
!
1. Our Lord and Master Jesus Christ, when He said Poenitentiam agite, willed that the whole life of believers should be repentance. 1. เมื่อพระเยซูคริสตเจ้าตรัสว่า “จงกลับใจเถิด” (มธ 4:17) นั้น พระองค์หมายถึง การที่ผู้เชื่อใน พระองค์ สำนึกผิด “หมดทั้งชีวิต”
!
2. This word cannot be understood to mean sacramental penance, i.e., confession and satisfaction, which is administered by the priests. 2. คำตรัสนี้ มิอาจถูกตีความได้ว่า หมายถึง ศีลอภัยบาป (คือ การสารภาพบาป และ กิจใช้โทษ บาป ) ซึ่ง ดำเนินการโดยบาทหลวง
!
!195
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
3. Yet it means not inward repentance only; nay, there is no inward repentance which does not outwardly work divers mortifications of the flesh. 3. อย่างไรก็ตามคำตรัสนี้ มิได้หมายถึงเพียงการกลับใจภายในเท่านั้น เพราะไม่มีการกลับใจ ภายในใดที่ปราศจาก การบังคับตนเองให้ตายจากธรรมชาติเนื้อหนัง (คือการกลับใจภายนอก)
!
4. The penalty [of sin], therefore, continues so long as hatred of self continues; for this is the true inward repentance, and continues until our entrance into the kingdom of heaven. 4. ดังนั้นการชดใช้โทษบาป ก็จะควบคู่ไปกับการเกลียดชังตนเอง (การกลับใจภายใน) ซึ่งจะเป็น เช่นนี้ไปจนกว่า เราจะได้ข้าสู่พระอาณาจักรสวรรค์
!
5. The pope does not intend to remit, and cannot remit any penalties other than those which he has imposed either by his own authority or by that of the Canons. 5. พระสันตะปาปาไม่มีอำนาจที่ อภัยบาป หรือปรับลดโทษบาป เกินกว่าที่กำหนดไว้ในเรื่องพระ ราชอำนาจ ในกฎหมายพระศาสนจักร(Canons)
!
6. The pope cannot remit any guilt, except by declaring that it has been remitted by God and by assenting to God's remission; though, to be sure, he may grant remission in cases reserved to his judgment. If his right to grant remission in such cases were despised, the guilt would remain entirely unforgiven. 6. พระสันตะปาปาไม่มีอำนาจอภัยบาปใด นอกเสียจากว่าได้ประกาศว่าเป็นการอภัยบาปโดย พระเจ้า ซึ่งพระเจ้าทรงยินยอม อย่าง ไรก็ตาม หากพระสันตะปาปายืนยันว่าการอภัยบาปใดเป็นการพิพากษาของพระองค์เอง แต่ผู้ เดียว การอภัยบาปนั้นก็จะเป็นที่ครหา และแน่นอนบาปทั้งสิ้นนั้นจะไม่ได้รับการอภัย แม้แต่นิดเดียว
!
7. God remits guilt to no one whom He does not, at the same time, humble in all things and bring into subjection to His vicar, the priest. 7. พระเจ้าไม่อาจให้อภัยโทษแก่ผู้ที่ไม่นอบน้อมต่อสรรพสิ่ง รวมถึงผู้แทนของพระองค์คือ บาทหลวง
!
8. The penitential canons are imposed only on the living, and, according to them, nothing should be imposed on the dying. 8. กฎหมายพระศาสนจักรว่าด้วยการสำนึกบาปนั้น กล่าวครอบคลุมเฉพาะผู้ที่ยังมีชีวิต และ ตามบทบัญญัตินั้นจะต้องไม่ครอบคลุมถึงผู้ล่วงลับ
!
9. Therefore the Holy Spirit in the pope is kind to us, because in his decrees he always makes exception of the article of death and of necessity. !196
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
9. ดังนั้นพระจิตเจ้าที่สถิตในองค์พระสันตะปาปาทรงเมตตาต่อเรา เพราะในพระกฤษฎีกาของ พระสันตะปาปา พระองค์จะยกเว้นโทษตาย อย่างแน่นอน
!
10. Ignorant and wicked are the doings of those priests who, in the case of the dying, reserve canonical penances for purgatory. 10. มีการละเลยและเจตนาร้าย เกิดขึ้นในการดำเนินการโดยบาทหลวงแก่ผู้ล่วงลับ โดยตั้ง กฎหมายพระศาสนจักรว่าด้วย การอภัยบาปผู้ที่อยู่ในไฟชำระ
!
11. This changing of the canonical penalty to the penalty of purgatory is quite evidently one of the tares that were sown while the bishops slept. 11. การดัดแปลง กฎหมายพระศาสนจักรว่าด้วยการอภัยบาปผู้เป็น มาสู่ การอภัยบาปผู้ที่อยู่ใน ไฟชำระนี้ เป็นข้าวละมานซึ่งศัตรูนำมาหว่าน ขณะที่ผู้รับใช้นั้นหลับ (มธ13:25)
!
12. In former times the canonical penalties were imposed not after, but before absolution, as tests of true contrition. 12. โดยปกติแล้ว การใช้โทษบาปตามกฎหมายพระศาสนจักรต้องกำหนดก่อนการอภัยบาปมิใช่ ภายหลัง เพื่อการสำนึกผิดอย่างแท้จริง
!
13. The dying are freed by death from all penalties; they are already dead to canonical rules, and have a right to be released from them. 13. ผู้ล่วงลับเป็นอิสระจากการใช้โทษบาปทั้งสิ้น เพราะเขาได้ตายจากกฎหมายพระศาสนจักร ซึ่งเท่ากับว่าเป็นอิสระจากกฎเหล่านั้นด้วย
!
14. The imperfect health [of soul], that is to say, the imperfect love, of the dying brings with it, of necessity, great fear; and the smaller the love, the greater is the fear. 14. สภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือความรักที่ไม่สมบูรณ์ของผู้ล่วงลับนำมาสู่ความกลัว ซึ่ง ความรักจะถดถอยเมื่อความกลัวเพิ่มขึ้น
!
15. This fear and horror is sufficient of itself alone (to say nothing of other things) to constitute the penalty of purgatory, since it is very near to the horror of despair. 15. ความกลัวและความหดหู่ ก็เพียงพอแล้วที่จะเป็นโทษในดินแดนไฟชำระ เพราะมันใกล้เคียง กับ ความสิ้นหวัง
!
16. Hell, purgatory, and heaven seem to differ as do despair, almost-despair, and the assurance of safety. 16. นรก ดินแดนไฟชำระ และสวรรค์ สามารถถูกแยกแยะโดยมองเป็น ความสิ้นหวัง ความจวน จะสิ้นหวัง และความมั่นใจในความรอด ตามลำดับ
!
!197
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
17. With souls in purgatory it seems necessary that horror should grow less and love increase. 17.วิญญาณในไฟชำระ จำเป็นที่จะต้องลดความกลัว และเพิ่มพูนความรัก
!
18. It seems unproved, either by reason or Scripture, that they are outside the state of merit, that is to say, of increasing love. 18. ไม่มีการรับรองทั้งในแง่ของเหตุผล หรือพระคัมภีร์ที่จะกล่าวว่า เขาอยู่นอกอำนาจของ พระคุณการุณย์ หรือกล่าวคือ การเพิ่มพูนความรัก
!
19. Again, it seems unproved that they, or at least that all of them, are certain or assured of their own blessedness, though we may be quite certain of it. 19. ทั้งไม่มีการรับรองว่า เขาหรืออย่างน้อยที่สุดพวกเขาทั้งหมดจะมั่นใจได้ว่าตนจะได้รับการให้ เป็นผู้ ศักดิ์สิทธิ์ แม้ว่าเราทั้งหลายจะเชื่อเช่นนั้นก็ตามที
!
20. Therefore by "full remission of all penalties" the pope means not actually "of all," but only of those imposed by himself. 20. ดังนั้น “การอภัยโทษบาปทั้งปวง” โดยพระสันตะปาปา มิได้หมายถึง “ทั้งปวง” อย่างแท้จริง แต่เพียง “ทั้งปวง” เฉพาะที่พระองค์ทรงกำหนดเท่านั้น
!
21. Therefore those preachers of indulgences are in error, who say that by the pope's indulgences a man is freed from every penalty, and saved; 21. ดังนั้น นักเทศน์ที่เทศน์เรื่องใบไถ่บาปว่า มนุษย์จะเป็นอิสระจากโทษบาปโดยใบไถ่บาปของ พระสันตะปาปา ก็คือความผิดพลาด
!
22. Whereas he remits to souls in purgatory no penalty which, according to the canons, they would have had to pay in this life. 22. นั่นก็หมายความว่าพระองค์ได้อภัยโทษแก่บรรดาวิญญาณในไฟชำระ จากโทษที่พวกเขาจะ ต้องชดใช้ ตามกฎหมายพระศาสนจักร
!
23. If it is at all possible to grant to any one the remission of all penalties whatsoever, it is certain that this remission can be granted only to the most perfect, that is, to the very fewest. 23. หากจะให้มีการยอมรับ การอภัยบาปทุกประการแก่คนทุกเหล่า (ทั้งผู้เป็นและผู้ตาย) เช่นนี้ ผู้ที่ให้การอภัยบาปก็ต้องเป็นที่ยอมรับว่าเป็น วิสุทธิชนส่วนน้อย
!
24. It must needs be, therefore, that the greater part of the people are deceived by that indiscriminate and highsounding promise of release from penalty. !198
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
24. ที่สำคัญ ประชาชนส่วนใหญ่กำลังถูกหลอกลวงจากการขาดวิจารณญาณและจากเงื่อนไข ความรอดที่ มาจากประชามติของบรรดาผู้มีอำนาจ
!
25. The power which the pope has, in a general way, over purgatory, is just like the power which any bishop or curate has, in a special way, within his own diocese or parish. 25. อำนาจของพระสันตะปาปาที่มีเหนือไฟชำระนั้น ก็เป็นอำนาจแบบเดียวกับที่ พระสังฆราช และคุณพ่อผู้ช่วย(curate) มีในสังฆมณฑล/เขตวัดของตน
!
26. The pope does well when he grants remission to souls [in purgatory], not by the power of the keys (which he does not possess), but by way of intercession. 26. พระสันตะปาปากระทำการอภัยบาปวิญญาณทั้งหลาย(ในไฟชำระ)ได้เป็นอย่างดี แต่มิใช่ อำนาจกุญแจสวรรค์ (ซึ่งพระองค์ไม่ได้ครอบครอง) แต่โดยการวิงวอนภาวนาอุทิศให้
!
27. They preach man who say that so soon as the penny jingles into the money-box, the soul flies out [of purgatory]. 27. มีการเทศน์สอนว่า เสียงเหรียญเงินกระทบก้นตู้ถวายทานดังเท่าใด วิญญาณก็จะหลุดพ้น จากไฟชำระเร็วเท่านั้น
!
28. It is certain that when the penny jingles into the money-box, gain and avarice can be increased, but the result of the intercession of the Church is in the power of God alone. 28. แท้จริงเมื่อเสียงเหรียญกระทบ ความโลภและการแสวงหาผลประโยชน์ต่างหากที่เพิ่มพูน อย่างไรก็ตาม การภาวนาวิงวอนของพระศาสนจักรก็ยังคงมีอำนาจของพระเจ้าสถิตอยู่
!
29. Who knows whether all the souls in purgatory wish to be bought out of it, as in the legend of Sts. Severinus and Paschal. 29. ไม่มีผู้ใดทราบหรอกว่า วิญญาณในไฟชำระปรารถนาจะถูกนำออกจากไฟชำระหรือไม่ เช่น ดั่งตำนานนักบุญ Severinus และ Paschal (นักบุญทั้ง2 เป็นพระสันตะปาปาซึ่งเลือกที่อยู่ในไฟ ชำระ เพื่อชำระตนให้คู่ควรกับพระสิริรุ่งโรจน์สูงสุด)
!
30. No one is sure that his own contrition is sincere; much less that he has attained full remission. 30. ไม่มีผู้ใดมั่นใจในการกลับใจของตน น้อยคนที่จะบรรลุถึงการอภัยบาปบริบูรณ์
!
31. Rare as is the man that is truly penitent, so rare is also the man who truly buys indulgences, i.e., such men are most rare. 31. น้อยคนนักที่สำนักผิดอย่างแท้จริง และซื้อใบไถ่บาปอย่างบริสุทธิ์ใจ !199
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
32. They will be condemned eternally, together with their teachers, who believe themselves sure of their salvation because they have letters of pardon. 32. ผู้ที่เชื่อว่าตนจะได้รับความรอดโดยใบไถ่บาป รวมถึงผู้สอนเช่นนี้ จะต้องรับโทษนิรันดร
!
33. Men must be on their guard against those who say that the pope's pardons are that inestimable gift of God by which man is reconciled to Him; 33. จงระวังในผู้ที่กล่าวว่า ใบไถ่บาปของพระสันตะปาปา เป็นของขวัญล้ำค่าที่พระเจ้าใช้กลับ คืนดีกับมนุษย์
!
34. For these "graces of pardon" concern only the penalties of sacramental satisfaction, and these are appointed by man. 34. เพราะ “พระคุณ” ของใบไถ่บาป ก็มีผลเฉพาะทางพิธีกรรม ที่กำหนดขึ้นเองโดยมนุษย์
!
35. They preach no Christian doctrine who teach that contrition is not necessary in those who intend to buy souls out of purgatory or to buy confessionalia. 35. มีการเทศน์สอนซึ่งขัดแย้งกับหลักความเชื่อคริสตชนว่า การสำนึกบาปไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะใบไถ่บาปสามารถซื้อวิญญาณในไฟชำระ รวมทั้งสิทธิการสารภาพบาปด้วย 36. Every truly repentant Christian has a right to full remission of penalty and guilt, even without letters of pardon. 36. แท้จริง คริสตชนที่สำนึกผิดจริงก็ได้รับการอภัยบาปบริบูรณ์โดยไม่ต้องอาศัยใบไถ่บาป
!
37. Every true Christian, whether living or dead, has part in all the blessings of Christ and the Church; and this is granted him by God, even without letters of pardon. 37. ผู้เป็นคริสตชนโดยแท้ทั้งที่ล่วงลับไปแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ ก็อุดมอยู่ในพระพรของพระคริสต เจ้าและพระศาสนจักรโดยการยินยอมของพระเจ้าอยู่ แล้ว ไม่ต้องอาศัยใบไถ่บาป
!
38. Nevertheless, the remission and participation [in the blessings of the Church] which are granted by the pope are in no way to be despised, for they are, as I have said, the declaration of divine remission. 38. อย่างไรก็ตามเราก็ไม่อาจปฎิเสธอำนาจการอภัยบาปและการมีส่วนร่วมในพระพรของ พระ ศาสนจักรซึ่งพระสันตะปาปาได้ยินยอมเพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นอำนาจจาก สวรรค์ตามที่ข้าพเจ้า ได้กล่าวไปแล้ว(ในข้อ6)
!
39. It is most difficult, even for the very keenest theologians, at one and the same time to commend to the people the abundance of pardons and [the need of] true contrition. 39. เป็นเรื่องยากแม้แต่กับนักเทววิทยาที่ฉลาดที่สุดที่จะเทศน์อธิบายเรื่องใบ ไถ่บาปควบคู่ กับ(ความจำเป็นของ)การสำนึกบาปอย่างแท้จริง !200
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
40. True contrition seeks and loves penalties, but liberal pardons only relax penalties and cause them to be hated, or at least, furnish an occasion [for hating them]. 40. การสำนึกบาปอย่างแท้จริงนำไปสู่ความยินดีในการใช้โทษบาป(บังคับตนเอง) แต่การ จำหน่ายใบไถ่บาปได้ลดความสำคัญการใช้โทษบาปและเป็นสาเหตุ(หรืออย่าง น้อยที่สุดเป็นข้อ อ้าง)ในการที่จะไม่ยินยอมใช้โทษบาป
! !
41. Apostolic pardons are to be preached with caution, lest the people may falsely think them preferable to other good works of love. 41. ใบไถ่บาปที่อ้างอำนาจสืบจากอัครสาวก(ของพระสันตะปาปา)นั้นถูกเทศน์สอนพร้อม คำ เตือนอย่างผิดๆว่าใบไถ่บาปนั้นประเสริฐกว่า “กิจการความรัก”ใดๆ
!
42. Christians are to be taught that the pope does not intend the buying of pardons to be compared in any way to works of mercy. คริสตชนควรได้รับการสอนว่า พระสันตะปาปาไม่ประสงค์ให้ตีค่าการซื้อใบไถ่บาปเสมอกับกิจ เมตตาใดๆ
!
43. Christians are to be taught that he who gives to the poor or lends to the needy does a better work than buying pardons; 43. คริสตชนควรได้รับการสอนว่าการบริจาคแก่ผู้ยากจนและให้ยืมสิ่งจำเป็นแก่ผู้ อื่นนั้น ประเสริฐกว่าการซื้อใบไถ่บาป
!
44. Because love grows by works of love, and man becomes better; but by pardons man does not grow better, only more free from penalty. 44. เพราะความรักจะเจริญได้ก็ด้วย“กิจการความรัก”ซึ่งทำให้มนุษย์เจริญขึ้นด้วย แต่ใบไถ่บาป ไม่ได้ทำให้มนุษย์เจริญขึ้นเพียงแต่ทำให้เป็นอิสระจากการใช้โทษ บาป
!
45. Christians are to be taught that he who sees a man in need, and passes him by, and gives [his money] for pardons, purchases not the indulgences of the pope, but the indignation of God. 45. คริสตชนควรได้รับการสอนว่าหากเขาไปซื้อใบไถ่บาปโดยละเลยผู้ที่ต้องการความ ช่วยเหลือ ที่อยู่ต่อหน้า เขาไม่ได้กำลังซื้อใบไถ่บาปของพระสันตะปาปาแต่เป็นพระพิโรธของพระเจ้า
!
46. Christians are to be taught that unless they have more than they need, they are bound to keep back what is necessary for their own families, and by no means to squander it on pardons. !201
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
46. คริสตชนควรได้รับการสอนว่าหากเขาได้รับสิ่งใดเกินความจำเป็นควรเก็บไว้ สำหรับ ครอบครัว มิใช่นำมาฟุ่มเฟือยกับใบไถ่บาป
!
47. Christians are to be taught that the buying of pardons is a matter of free will, and not of commandment. 47. คริสตชนควรได้รับการสอนว่าใบไถ่บาปคือหนึ่งในกิจศรัทธาที่กระทำตามความสมัคร ใจ มิใช่บทบัญญัติบังคับ
!
48. Christians are to be taught that the pope, in granting pardons, needs, and therefore desires, their devout prayer for him more than the money they bring. 48. คริสตชนควรได้รับการสอนว่าพระสันตะปาปาผู้อนุมัติใบไถ่บาปทรงประสงค์คำภาวนา ที่ จริงใจมากกว่าเงินถวาย
!
49. Christians are to be taught that the pope's pardons are useful, if they do not put their trust in them; but altogether harmful, if through them they lose their fear of God. 49. คริสตชนควรได้รับการสอนว่า ใบไถ่บาปจะมีอำนาจก็ต่อเมื่อเราไม่ไว้ใจในตัวใบไถ่บาปซึ่ง จะส่งผลร้ายหากใบ ไถ่บาปทำให้เราสูญเสีย ความยำเกรงพระเจ้า
!
50. Christians are to be taught that if the pope knew the exactions of the pardonpreachers, he would rather that St. Peter's church should go to ashes, than that it should be built up with the skin, flesh and bones of his sheep. 50. คริสตชนควรได้รับการสอนว่าหากพระสันตะปาปาทราบถึงการละโมบของผู้เทศน์สอน เรื่อง ใบไถ่บาป พระองค์จะทรงยินยอมให้มหาวิหารนักบุญเปโตรเป็นผุยผงมากกว่าที่จะปล่อยให้ มหา วิหารนั้นถูกสร้างบนเนื้อหนังและกระดูกของฝูงแกะของพระองค์
!
51. Christians are to be taught that it would be the pope's wish, as it is his duty, to give of his own money to very many of those from whom certain hawkers of pardons cajole money, even though the church of St. Peter might have to be sold. 51.คริสตชนควร ได้รับการสอนว่า โดยตำแหน่ง พระสันตะปาปาควรมีพระประสงค์คืนเงินแก่ผู้ ถูกโน้มน้าวให้ซื้อใบไถ่บาปซึ่งมี จำนวน “มากมาย” แม้ว่านั่นจะหมายถึง การขายมหาวิหารนัก บุญเปโตรก็ตาม
!
52. The assurance of salvation by letters of pardon is vain, even though the commissary, nay, even though the pope himself, were to stake his soul upon it. 52. คำในใบไถ่บาปนั้นไม่อาจให้ความเชื่อมั่นในความรอดได้เลย อย่างไรก็ตามคณะสงฆ์แม้แต่ พระสันตะปาปาเองก็นำวิญญาณของตนมายึดติดกับมัน
!
!202
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
53. They are enemies of Christ and of the pope, who bid the Word of God be altogether silent in some Churches, in order that pardons may be preached in others. 53. เขาเหล่านี้ถือว่าตั้งตนเป็นศัตรูกับพระคริสตเจ้าโดยการบิดเบือนพระวจนะของ พระเจ้าซึ่ง รวมไปถึงแม้แต่ผู้ที่เงียบเฉยในในเขตวัดของตนปล่อยให้ผู้อื่นมา เทศน์สอนเรื่องใบไถ่บาป
!
54. Injury is done the Word of God when, in the same sermon, an equal or a longer time is spent on pardons than on this Word. 54. พระวจนะของพระเจ้าถูกสบประมาทโดยการเทศน์เรื่องใบไถ่บาปใช้เวลาเท่ากับหรือ มากกว่าการเทศน์สอนพระวจนะ
!
55. It must be the intention of the pope that if pardons, which are a very small thing, are celebrated with one bell, with single processions and ceremonies, then the Gospel, which is the very greatest thing, should be preached with a hundred bells, a hundred processions, a hundred ceremonies. 55. หากใบไถ่บาปซึ่งเป็นสิ่งที่แทบจะไม่มีค่าเลยได้รับการฉลองโดยการตีระฆัง หนึ่งครั้งพร้อม ขบวนแห่และถวายพิธีโมทนาขอบพระคุณ พระสันตะปาปาก็ต้องประสงค์ที่จะให้ตีระฆังร้อย ครั้งแห่ร้อยรอบและถวายพิธี โมทนาขอบพระคุณร้อยครั้งในช่วงบทอ่านพระวรสาร
!
56. The "treasures of the Church," out of which the pope. grants indulgences, are not sufficiently named or known among the people of Christ. 56. “สมบัติของพระศาสนจักร”ไม่รวมถึงเงินจากใบไถ่บาปที่พระสันตะปาปาทรงยินยอม เพราะ มันได้มาจากกลุ่มคนที่ไม่อาจถูกเรียกได้ว่าเป็น“ประชากรของพระคริสต เจ้า”
!
57. That they are not temporal treasures is certainly evident, for many of the vendors do not pour out such treasures so easily, but only gather them. 57. จริงอยู่ว่าใบไถ่บาปไม่ใช่สมบัติชั่วคราวเพราะผู้ขายหลายคนก็เก็บเงินไว้กับ ตัวมิได้นำไป บริจาคให้ใคร
!
58. Nor are they the merits of Christ and the Saints, for even without the pope, these always work grace for the inner man, and the cross, death, and hell for the outward man. 58. ใบไถ่บาปไม่ได้มีพระคุณของพระคริสต์และนักบุญหรือแม้แต่ของพระสันตะปา ใบไถ่บาป ให้ความรอดเฉพาะกับคนวงในและมอบกางเขน ความตาย และนรกให้กับคนวงนอก
!
59. St. Lawrence said that the treasures of the Church were the Church's poor, but he spoke according to the usage of the word in his own time. 59. นักบุญลอเรนซ์กล่าวว่า“สมบัติของพระศาสนจักรคือการถือความยากจน”ซึ่งก็ถือ เป็นคำ นิยมพูดของคนสมัยนั้น !203
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
60. Without rashness we say that the keys of the Church, given by Christ's merit, are that treasure; 60. เราสามารถตอบอย่างไม่ลังเลได้เลยว่า นี่แหละคือกุญแจแห่งความรอดของพระศาสนจักรที่ พระคริสตเจ้ามอบให้
!
61. For it is clear that for the remission of penalties and of reserved cases, the power of the pope is of itself sufficient. 61. เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเพียงพระอำนาจขององค์พระสันตะปาปาเองก็สามารถแก้ไข ผลจาก การขายใบไถ่บาปได้อยู่
!
62. The true treasure of the Church is the Most Holy Gospel of the glory and the grace of God. 62. สมบัติที่แท้จริงของพระศาสนจักรก็คือพระวรสารแห่งพระสิริรุ่งโรจน์และพระคุณ ของ พระเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์สูงสุด
!
63. But this treasure is naturally most odious, for it makes the first to be last. 63. แต่สมบัติชิ้นนี้(คือใบไถ่บาป)เป็นที่น่ารังเกียจที่สุดเพราะได้กระทำให้คน กลุ่มแรกกลับ กลายเป็นคนกลุ่มสุดท้าย(มธ20:16)
!
64. On the other hand, the treasure of indulgences is naturally most acceptable, for it makes the last to be first. 64. ตรงกันข้าม ใบไถ่บาปนี้ก็น่าเชื่อถือที่สุดเพราะได้กระทำให้คนกลุ่มสุดท้ายกลับกลายเป็น คนกลุ่มแรก
!
65. Therefore the treasures of the Gospel are nets with which they formerly were wont to fish for men of riches. 65. ดังนั้นก็พอจะเปรียบเทียบได้ว่าพระวรสารเป็นแหสำหรับชาวประมงผู้เคยแสวงหา ความ ร่ำรวย
!
66. The treasures of the indulgences are nets with which they now fish for the riches of men. 66. ใบไถ่บาปเป็นแหสำหรับผู้แสวงหาความร่ำรวย
!
67. The indulgences which the preachers cry as the "greatest graces" are known to be truly such, in so far as they promote gain. 67. การที่นักเทศน์พร่ำประกาศว่าใบไถ่บาปเป็น“พระคุณสูงสุด”แท้จริงก็คือการ โฆษณารักษา ผลกำไร !204
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
68. Yet they are in truth the very smallest graces compared with the grace of God and the piety of the Cross. 68. ใบไถ่บาปนั้นถือว่าด้อยค่าเมื่อเทียบกับพระคุณของพระเจ้าและความศรัทธาในไม้ กางเขน
!
69. Bishops and curates are bound to admit the commissaries of apostolic pardons, with all reverence. 69. พระสังฆราชและนายจารีตต้องจำยอมต่อคณะสงฆ์ที่ขายใบไถ่บาปด้วยความเคารพต่อ อำนาจสืบจากอัครสาวกของพระสันตะปาปา
!
70. But still more are they bound to strain all their eyes and attend with all their ears, lest these men preach their own dreams instead of the commission of the pope. 70. แต่ท่านก็ต้องคอยจับตามองและเงี่ยหูฟังอย่างใกล้ชิดเพื่อมิให้มีสงฆ์คนใดนำ ความต้องการ ส่วนตัวมาแทนที่พระประสงค์ของพระสันตะปาปา
!
71. He who speaks against the truth of apostolic pardons, let him be anathema and accursed! 71. ผู้ที่ปกปิดความจริงเกี่ยวกับใบไถ่บาปสมควรถูกสาปแช่ง
!
72. But he who guards against the lust and license of the pardon-preachers, let him be blessed! 72. แต่ผู้ต่อต้านความโลภและอำนาจของของผู้เทศน์สอนเรื่องใบไถ่บาปก็สมควรได้รับ พร
!
73. The pope justly thunders against those who, by any art, contrive the injury of the traffic in pardons. 73. พระสันตะปาปาทรงลงโทษผู้ฉ้อโกงใบไถ่บาปอย่างยุติธรรม
!
74. But much more does he intend to thunder against those who use the pretext of pardons to contrive the injury of holy love and truth. 74. แต่พระองค์ทรงสมควรที่จะลงโทษผู้นำใบไถ่บาปมาเป็นข้ออ้างบิดเบือนความรักและ ความ จริงของพระเจ้ายิ่งกว่า]
!
75. To think the papal pardons so great that they could absolve a man even if he had committed an impossible sin and violated the Mother of God -- this is madness. 75. เป็นความบ้าคลั่งที่จะคิดว่าใบไถ่บาปของพระสันตะปาปาสามารถไถ่ได้แม้แต่บาป ที่ให้ อภัยไมได้ เช่นการล่วงเกินมารดาพระเจ้า
!
!205
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
76. We say, on the contrary, that the papal pardons are not able to remove the very least of venial sins, so far as its guilt is concerned. 76. อันที่จริงแล้วตรงกันข้าม ใบไถ่บาปไม่สามารถไถ่ได้แม้แต่บาปเบาหากว่าผลของบาปนั้น ดำรงอยู่
!
77. It is said that even St. Peter, if he were now Pope, could not bestow greater graces; this is blasphemy against St. Peter and against the pope. 77. การกล่าวว่าหากนักบุญเปโตรเป็นพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันก็ไม่อาจประทานพระ คุณ มากกว่านี้ได้ ถือเป็นการทุราจารย์นักบุญเปโตรและพระสันตะปาปา
!
78. We say, on the contrary, that even the present pope, and any pope at all, has greater graces at his disposal; to wit, the Gospel, powers, gifts of healing, etc., as it is written in I. Corinthians xii. 78. ไม่ว่าพระสันตะปาปาองค์ปัจจุบันหรือองค์ใดก็ตามก็มีพระคุณที่ยิ่งใหญ่กว่า โดยหน้าที่ ได้แก่ ความรอบรู้ การประกาศพระวรสาร พระอำนาจ พระพรการรักษาฯลฯตามที่มีเขียนไว้ ใน1โครินธ์บทที่12
!
79. To say that the cross, emblazoned with the papal arms, which is set up [by the preachers of indulgences], is of equal worth with the Cross of Christ, is blasphemy. 79. การกล่าวว่ากางเขนที่ประดับไหล่พระสันตะปาปามีค่าเสมอกับกางเขนของพระ คริสต์(ซึ่ง กล่าวโดยบรรดาผู้เทศน์สอนเรื่องใบไถ่บาป)ก็ถือเป็นการทุราจารย์
!
80. The bishops, curates and theologians who allow such talk to be spread among the people, will have an account to render. 80. บรรดาพระสังฆราช นายจารีต และนักเทววิทยาที่ปล่อยให้มีการกล่าวในหมู่ประชาชนเช่นนี้ จะต้องมีคำอธิบาย สำหรับเหตุการณ์นี้
!
81. This unbridled preaching of pardons makes it no easy matter, even for learned men, to rescue the reverence due to the pope from slander, or even from the shrewd questionings of the laity. 81. การเทศน์สอบเรื่องใบไถ่บาปที่ไร้ขอบเขตเช่นนี้ทำให้เป็นการยากแม้แต่กับผู้ มีการศึกษาที่ จะช่วยกู้พระสันตะปาปาพ้นจากคำใส่ร้ายหรือแม้แต่ข้อสงสัยที่มี เหตุผลจากฆารวาส
!
82. To wit: -- "Why does not the pope empty purgatory, for the sake of holy love and of the dire need of the souls that are there, if he redeems an infinite number of souls for the sake of miserable money with which to build a Church? The former reasons would be most just; the latter is most trivial." !206
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
82. เช่น “เหตุใดพระสันตะปาจึงไม่ปลดปล่อยวิญญาณจนไม่มีเหลือในไฟชำระโดยเห็นแก่ ความ รักของพระเจ้าและวิญญาณที่น่าสงสารเหล่านั้น ในขณะที่สามารถปลดปล่อยวิญญาณ นับไม่ถ้วนโดยเห็นแก่เงินที่ผู้คนหามาอย่างยาก ลำบากซึ่งนำไปใช้ในการสร้างวิหาร? ทั้งๆ เหตุผลแรกนั้นดูสมควรขณะที่อีกเหตุผลนั้นก็ไร้ซึ่งเหตุผล”
!
83. Again: -- "Why are mortuary and anniversary masses for the dead continued, and why does he not return or permit the withdrawal of the endowments founded on their behalf, since it is wrong to pray for the redeemed?" 83. หรือ “ทำไมจึงยังมีการถวายมิซซาปลงศพและมิซซาครบรอบให้ผู้ล่วงลับ และทำไมพระองค์ จึงไม่คืนเงินหรือระงับการถวายเงินให้ผู้ล่วงลับ มันไม่ถูกต้องที่จะภาวนาเผื่อผู้ที่ได้รับไถ่แล้ว”
!
84. Again: -- "What is this new piety of God and the pope, that for money they allow a man who is impious and their enemy to buy out of purgatory the pious soul of a friend of God, and do not rather, because of that pious and beloved soul's own need, free it for pure love's sake?" 84. หรือ “นี่เป็นบัญญัติใหม่ของพระเจ้าและพระสันตะปาปาหรือ ที่อนุญาตให้แม้แต่ผู้ไร้ศรัทธา สามารถซื้อการไถ่จากไฟชำระให้ผู้เปี่ยม ศรัทธาได้ อันที่จริงวิญญาณที่น่ารักเหล่านี้จะเป็นอิสระ ได้ก็ด้วยความรักบริสุทธิ์มิ ใช่หรือ?”
!
85. Again: -- "Why are the penitential canons long since in actual fact and through disuse abrogated and dead, now satisfied by the granting of indulgences, as though they were still alive and in force?" 85. หรือ “ทำไมกฎหมายพระศาสนจักรว่าด้วยการอภัยบาปซึ่งมีผลเฉพาะกับผู้มีชีวิต และจะ ต้องตายจากผู้ล่วงลับ จึงถูกปลุกโดยใบไถ่บาป ราวกับว่าเขาเหลานั้นยังมีลมหายใจ และอยู่ใต้ อำนาจกฎหมายพระศาสนจักร?”
!
86. Again: -- "Why does not the pope, whose wealth is to-day greater than the riches of the richest, build just this one church of St. Peter with his own money, rather than with the money of poor believers?" 86. หรือ “เหตุใดพระสันตะปาปา ผู้ที่ทุกวันนี้ร่ำรวยเสียยิ่งกว่าเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุด ไม่ทรงสร้าง วิหารนักบุญเปโตรด้วยทรัพย์สินส่วนพระองค์ กลับมาใช้เงินของผู้ยากจนใจศรัทธาเล่า
!
87. Again: -- "What is it that the pope remits, and what participation does he grant to those who, by perfect contrition, have a right to full remission and participation?" 87. หรือ“พระสันตะปาปาจะให้อภัยบาปหรือการมีส่วนร่วมใดอีก แก่ผู้ซึ่งได้รับการอภัยบาป บริบูรณ์โดยการสำนึกบาปอย่างแท้จริงแล้ว”
!
!207
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
88. Again: -- "What greater blessing could come to the Church than if the pope were to do a hundred times a day what he now does once, and bestow on every believer these remissions and participations?" 88. หรือ“จะไม่ดีกว่าหรือ หากพระองค์จะทรงอวยพรคนทั้งหมู่คณะที่ได้มาพระวิหาร ดั่งที่เคย เป็นมา มิใช่เป็นรายบุคคลเดียวต่อวันเช่นทุกวันนี้”
!
89. "Since the pope, by his pardons, seeks the salvation of souls rather than money, why does he suspend the indulgences and pardons granted heretofore, since these have equal efficacy?" 89. หรือ“หากพระสันตะปาปาทรงแสวงหาความรอดของวิญญาณทั้งหลายมากกว่าเงินแล้ว ไฉนก่อนหน้านี้จึงทรงเก็บงำเรื่องการใช้ใบไถ่บาปไว้ ในเมื่อมันให้ผลที่ไม่ต่างกัน?”
!
90. To repress these arguments and scruples of the laity by force alone, and not to resolve them by giving reasons, is to expose the Church and the pope to the ridicule of their enemies, and to make Christians unhappy. 90. การที่พระศาสนจักรตอบโต้ข้อสงสัยในเรื่องศีลธรรมของฆารวาสโดยการใช้กำลัง เพียงอย่าง เดียวโดยใม่อธิบายเหตุผล ก็เป็นการประจานพระศาสนจักรและพระสันตะปาปาให้เป็นที่เยาะ เย้ยของศัตรูซึ่ง จะนำความทุกข์มาสู่บรรดาคริสตชน
!
91. If, therefore, pardons were preached according to the spirit and mind of the pope, all these doubts would be readily resolved; nay, they would not exist. 91. หากใบไถ่บาปที่กำลังเทศน์สอนอยู่นี้มาจากวิญญาณและพระดำริของพระสันตะปาปา จริง ข้อสงสัยเหล่านี้จะได้รับการไขกระจ่างจนไม่เหลือข้อสงสัยใดๆอีก
!
92. Away, then, with all those prophets who say to the people of Christ, "Peace, peace," and there is no peace! 92. จงอยู่ห่างไกลจากผู้ที่กล่าวแก่ประชากรของพระคริสต์ว่า “สันติสุข สันติสุข” ทั้งๆที่ไม่ สันติสุข
!
93. Blessed be all those prophets who say to the people of Christ, "Cross, cross," and there is no cross! 93. จงอวยพรแก่ผู้ที่กล่าวแก่ประชากรของพระคริสต์ว่า “กางเขน กางเขน” แม้จะไม่มีกางเขน ก็ตาม
!
94. Christians are to be exhorted that they be diligent in following Christ, their Head, through penalties, deaths, and hell; 94. คริสตชนจะต้องตระหนักว่าเขาจะต้องพากเพียรในการติดตามพระคริสตเจ้าผู้เป็น ผู้นำของ พวกเขา แม้ว่าจะต้องเผชิญหน้าบทลงโทษ ความตาย และขุมไฟนรก !208
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
!
95. And thus be confident of entering into heaven rather through many tribulations, than through the assurance of peace 95.ดังนั้นจงมั่นใจที่จะเข้าอาณาจักรสวรรค์ด้วยการผ่านความทุกข์ยาก มากมายมิใช่ด้วยใบ ไถ่บาป
!209
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
! !
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ภาคผนวก 5! คำเทศนา: คนบาปในพระหัตถ์ของพระเจ้าผู้ทรงพิโรธ ! (Sinners in the Hands of an Angry God)!
เทษนาโดย ศจ. Jonathan Edwards ที่เมือง Enfield รัฐ Connecticut ที่อเมริกา ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 1741
! “รอเวลาเมื่อเท้าของเขาจะลื่นพลาด” เฉลยธรรมบัญญัติ 32:35 ในข้อพระคัมภีร์ข้อนี้พระเจ้าได้ขู่ที่จะแก้แค้นชาวอิสราเอลที่ชั่วร้ายและไม่เชื่อฟังพระองค์ ชาวอิสราเอล เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกไว้เพื่อจะให้เป็นแบบอย่างให้แก่โลกนี้ได้เห็นว่าคนของพระเจ้าควรจะเป็นเช่นไร พวกเขาเพลิดเพลินใจกับพระกรุณาพิเศษที่พระเจ้าทรงมอบให้ แต่ไม่ว่าพระเจ้าจะทรงมีพระกรุณากับ พวกเขามากขนาดไหน พวกเขาก็ยังคงโง่เขลาอยู่เช่นเดิม เหมือนที่ในพระธรรมเฉลยธรรมบัญญัติ 32:28 “เพราะเขาทั้งหลายเป็นประชาชาติที่ขาดคำปรึกษา ใ นพวกเขาไม่มีความเข้าใจ” ทั้งๆที่พวกเขาได้รับผล ดีเลิศ จากการที่พระเจ้าทรงประทับอยู่กับพวกเขา ให้คำแนะนำเขาและชี้ทางเขา แต่เขาก็ยังประพฤติตัว เป็นเหมือนกับบุตรแห่งความชั่วร้ายมากกว่าเป็นเหมือนบุตรของพระเจ้า เหมือนที่เฉลยธรรมบัญญัติ 32:32-33 ได้บอกไว้ว่า “เพราะว่าเถาองุ่นของเขาคือเถาองุ่นเมืองโสโดม และมาจากไร่เมืองโกโมราห์ ผล องุ่นของเขาเป็นองุ่นขม ทั้งพวงองุ่นก็ขมด้วย เหล้าองุ่นของเขาเป็นพิษงู เป็นพิษร้ายแรงของงูเห่า” ข้อพระคำที่ข้าพเจ้าได้สำหรับเนื้อหาในตอนนี้ “รอเวลาเมื่อเท้าของเขาจะลื่นพลาด” ดูเหมือนจะเป็นข้อที่ มีความหมาย 4 ประเด็นด้านล่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการลงโทษและความพินาศที่พวกชาวอิสราเอลที่ ชั่วร้ายได้ยินยอมให้มันเกิดขึ้นกับพวกเขา 1. ประการแรก พวกเขาเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในความพินาศ เช่นเดียวกับคนที่กำลังยืนหรือเดินอยู่ บนทางที่ลื่นย่อมมีโอกาสที่จะล้มลง เหมือนกับแค่รอคอยว่ามันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ โดยที่ไม่มีทาง ที่จะหลีกเลี่ยงมันได้ เนื้อหาในพระธรรมตอนนี้ได้กล่าวให้เห็นว่า การทำลายจะมาถึงเขา: เท้า ของเขาจะลื่นพลาด ความคิดในทางเดียวกันนี้สามารถพบได้อีกที่ในพระธรรมสดุดี 73:18 “แน่ ทีเดียว พระองค์ทรงวางเขาทั้งหลายไว้ในที่ลื่น พระองค์ทรงทำให้พวกเขาล้มถึงความพินาศ” 2. ประการที่สอง ข้อนี้กำลังบอกว่า พวกเขาเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในความพินาศที่จะเกิดขึ้นอย่าง รวดเร็วและไม่คาดฝัน เช่นเดียวกับคนที่กำลังเดินอยู่บนทางที่ลื่นย่อมมีความเสี่ยงที่จะลื่นล้ม !210
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
อยู่ตลอดเวลา พวกเขาไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่าก้าวไหนของเขาที่จะพลาดล้มลง และเมื่อเขา ล้มลง เขาจะล้มลงโดยปราศจากคำเตือน ความคิดในทางเดียวกันนี้อยู่ในพระธรรมสดุดี 73:18-19 “แน่ทีเดียว พระองค์ทรงวางเขาทั้งหลายไว้ในที่ลื่น พระองค์ทรงทำให้พวกเขาล้มถึง ความพินาศ แหม เขาทั้งหลายถูกทำลายเสียในครู่เดียว ถูกเหตุการณ์สยดสยองกวาดไปอย่าง สิ้นเชิง” 3. ประการที่สาม อีกสิ่งหนึ่งที่ข้อนี้กำลังบอกคือ พวกเขาตกอยู่ในความเสี่ยงเนื่องจากการกระทำ ของพวกเขาเอง ไม่มีใครทำให้เขาล้มลงได้ คนที่กำลังยืนหรือเดินอยู่บนทางที่ลื่นพร้อมที่จะลื่น ล้มตลอดเวลาเนื่องจากน้ำหนักตัวของตัวเอง 4. ประการที่สี่ เหตุผลที่พวกเขายังไม่ได้ล้มลงหรือยังไม่กำลังล้มลงเป็นเพราะว่า เวลาที่พระเจ้า กำหนดไว้ยังไม่มาถึง เพราะพระคำตอนนี้กล่าวไว้ว่า เมื่อเวลามาถึง เท้าของเขาจะลื่นพลาด และเมื่อนั้นเขาจะล้มลงเพราะว่าน้ำหนักตัวของเขาเอง พระเจ้าจะไม่ประคองเขาให้สามารถเดิน ในทางที่ลื่นได้อีกต่อไป แต่ว่าจะปล่อยมือจากเขา และเมื่อนั้นเองพวกเขาจะตกลงไปสู่ความ พินาศ เช่นเดียวกันกับคนที่ยืนอยู่บนทางลื่นชันบริเวณขอบหน้าผา คนนั้นจะไม่สามารถยืนอยู่ ได้ด้วยตัวเอง และเมื่อเขาถูกปล่อยมือ เขาจะต้องตกลงทันทีทันใดและจะหายสาบสูญไป ข้าพเจ้าอยากจะขอเตือนพวกเราให้เรียนรู้บทเรียนสำคัญบทนี้จากถ้อยคำที่ได้กล่าวว่า : “ไม่มีอะไรสามารถช่วยมนุษย์แม้แต่เพียงคนเดียวให้รอดพ้นจากนรกได้แม้แต่วินาทีเดียว มีแค่ เพียงพระกรุณาและความอดทนของพระเจ้าเท่านั้นที่ช่วยเราได้ และพระกรุณาที่พระองค์มอบให้เรานั้น เราไม่สมควรที่จะได้รับเลยแม้แต่น้อย” โดย”พระกรุณาและความอดทน” ของพระเจ้า ข้าพเจ้าหมายถึงพระกรุณาของพระเจ้าเท่านั้น เป็นพระ ประสงค์ของพระองค์ที่ไม่ขึ้นอยู่กับอิทธิพลจากใครหรือว่าสิ่งไหนทั้งนั้น พระองค์ไม่ได้ทรงถูกบังคับจาก หน้าที่หรือข้อผูกมัดต่าง ๆ ไม่มีอุปสรรคอะไรมายับยั้งพระองค์ได้ จากบทเรียนที่สำคัญบทนี้ เราจะได้เห็นความจริงจากความคิดเห็น 10 ประการด้านล่าง 1.พระเจ้าทรงมีฤทธิ์อำนาจในการที่จะโยนคนบาปลงไปในนรกได้ทุกเวลา มือของมนุษย์ไม่มีทางที่จะ แข็งแรงพอที่จะสามารถปกป้องตัวเองได้ถ้าพระเจ้าทรงลุกขึ้นต่อสู้กับเรา ต่อให้ผู้ที่แข็งแรงที่สุดของเราก็ ไม่มีพลังที่จะต้านทานพระองค์ได้ ไม่มีสิ่งใดและไม่มีผู้ใดสามารถช่วยเราให้พ้นจากพระหัตถ์ของพระเจ้า ได้ พระองค์ไม่ใช่แค่สามารถโยนคนบาปลงไปในนรกได้เท่านั้น แต่พระองค์ยังสามารถที่จะทำได้อย่าง ง่ายดายด้วย บางครั้งกษัตริย์ของโลกนี้หรือประธานาธิบดีอาจจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ต้อง พยายามปราบปรามกลุ่มกบฏที่มีอาวุธและมีกำลังเข้มแข็งเนื่องจากเขามีผู้ติดตามเป็นกองทัพ แต่กับ พระเจ้าแล้วสถานการณ์เช่นนั้นจะไม่มีวันเกิดขึ้นกับพระองค์ได้เลย ไม่มีป้อมปราการไหนๆ ที่จะ !211
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ต้านทานกำลังของพระองค์ได้ ต่อให้เรารวบรวมคนที่ต่อต้านพระเจ้าและศัตรูของพระเจ้าจำนวน มากมายมหาศาลเข้าด้วยกันเพื่อที่จะสร้างกองทัพอันทรงพลัง พระองค์ก็ยังคงสามารถทำลายกองทัพ นั้นให้แตกเป็นเสี่ยงๆ ได้อย่างง่ายดาย กำลังที่พวกนั้นมีเปรียบเสมือนกับเศษฝุ่นเล็ก ๆ ที่เข้ามาขวางทาง พายุเฮอร์ริเคน หรือกองใบไม้แห้งที่อยู่ในทางที่ไฟป่ากำลังมา เรารู้ว่าเราสามารถเหยียบและบดขยี้หนอน ตัวหนึ่งที่กำลังคลานบนพื้นได้อย่างง่ายดาย และเป็นเรื่องง่ายดายที่เราจะตัดด้ายเส้นบาง ๆ ที่มีของบาง อย่างแขวนอยู่บนนั้น ในทำนองเดียวกัน สำหรับพระเจ้าแล้วมันง่ายดายเหลือเกิน ที่พระองค์จะปล่อยให้ ศัตรูของพระองค์ลื่นตกลงไปในนรกเมื่อไหร่ก็ตามที่พระองค์พอพระทัย เราคิดว่าเราเป็นใครที่จะ สามารถยืนอยู่ต่อหน้าพระองค์ได้อย่างมั่นคง เมื่อพระองค์ทรงตีสอนแผ่นดินโลกก็สะเทือน และต่อพระ พักตร์พระองค์แม้แต่ภูเขาก็ถูกโยนทิ้งไปได้ 2. สมควรแล้วที่พวกเขาจะถูกโยนลงไปในนรก ความยุติธรรมของพระเจ้าจะไม่มายืนขวางทางไม่ให้คน ถูกโยนเข้าไปในนรก และความยุติธรรมของพระเจ้าจะไม่คัดค้านพระองค์ไม่ให้ใช้ฤทธิ์อำนาจในการ ทำลายล้างคนเหล่านั้นในนรก ในทางตรงกันข้าม ความยุติธรรมกำลังร้องเรียกให้พวกเขาต้องได้รับ การลงโทษที่ไม่มีวันสิ้นสุดเนื่องจากความบาปของพวกเขา ความยุติธรรมของพระองค์กล่าวว่า “ถ้าเจ้า ออกผลเลวเหมือนดังเมืองโสโดมที่ชั่วร้าย ดังนั้นจง “โค่นมันทิ้งไป จะให้ดินจืดไปเปล่าๆ ทำ” (ลูกา 13:7) ดาบแห่งความยุติธรรมของพระเจ้าได้ยกขึ้นที่คอของพวกเขาอยู่ตลอดเวลา และไม่มีอะไรที่จะยับยั้งมัน ได้ นอกจากพระหัตถ์แห่งพระกรุณาที่เปี่ยมด้วยความอดทนและพระประสงค์ของพระเจ้าเท่านั้น
! 3. พวกเขาถูกพิพากษาตัดสินให้ตกนรกแล้ว พวกเขาไม่เพียงแต่สมควรที่จะต้องถูกส่งลงไปในนรก เท่านั้น คำพิพากษาที่มาจากกฎหมายของพระองค์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ดำรงอยู่นิตย์นิรันดร์และเป็นกฎ แห่งความชอบธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลงที่พระเจ้าได้ตั้งไว้ระหว่างพระองค์เองกับมนุษย์ ได้มีคำพิพากษา สุดท้ายให้พวกเขาแล้ว ดังนั้นพวกเขาได้ถูกตัดสินให้ตกนรกอยู่แล้ว จากยอห์น 3:18 เราได้อ่านว่า “คนที่ วางใจในพระบุตรจะไม่ถูกพิพากษา ส่วนคนที่ไม่ได้วางใจก็ถูกพิพากษาอยู่แล้ว เพราะเขาไม่ได้วางใจใน พระนามพระบุตรองค์เดียวของพระเจ้า” ดังนั้นนรกก็เป็นเจ้าของคนที่ไม่ได้กลับใจใหม่ทุกคน ที่นั่นเป็นที่ ของพวกเขา และพวกเขามาจากนรก ยอห์น 8:23 “ พวกท่านเป็นของเบื้องล่าง” และพวกเขากำลังเดิน ทางไปยังที่เบื้องล่างนั้น นรกเป็นที่ซึ่งความยุติธรรมของพระเจ้าและพระคำของพระองค์และคำพิพากษา ของกฎที่ไม่มีวันเปลี่ยนของพระเจ้าได้กำหนดไว้ให้กับพวกเขา 4. พวกเขาได้ตกเป็นเป้าของความโกรธอันรุนแรงของพระเจ้า เป็นพระพิโรธแบบเดียวกันกับที่เราได้จาก เห็นความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นในนรก และที่พวกเขายังไม่ได้ลงนรกไปไม่ใช่เพราะว่าพระเจ้า (ที่มีอำนาจ เหนือพวกเขาอยู่) โกรธพวกเขาน้อยกว่าพวกน่าเวทนามากมายที่อยู่ในนรก และกำลังทนทุกข์ทรมานอยู่ อย่างแสนสาหัส ซึ่งคนเหล่านั้นกำลังแบกรับพระพิโรธอันร้อนแรงของพระเจ้าอยู่ที่ในนรกเรียบร้อยแล้ว ในความเป็นจริง พระองค์ทรงพิโรธคนที่กำลังอยู่บนโลกนี้มากกว่า ที่จริงแล้วพระองค์ทรงพิโรธคน !212
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
มากมายที่นั่งอยู่ในห้องนี้ที่เฉย ๆกับชีวิตของตนเอง ทรงพิโรธพวกเขากกว่าคนเหล่านั้นที่อยู่ในเปลว เพลิงแห่งนรกแล้วตอนนี้ ดังนั้น ไม่ใช่เพราะว่าพระเจ้าไม่รู้ถึงความชั่วร้ายของพวกเขา และไม่ได้โกรธพวกเขา พระองค์จึงไม่ปล่อย มือของพระองค์และตัดพวกเขาทิ้งเสียจากพระกรุณาที่อดทนของพระองค์ พระเจ้าไม่ได้ทรงเป็นเหมือน พวกเรา ถึงแม้ว่าเรามักจะจินตนาการให้พระองค์เป็นแบบเรา พระพิโรธของพระเจ้ากำลังเผาไหม้พวก เขาอยู่ คำสาปแช่งไม่ได้หลับไหล ขุมนรกได้ถูกเตรียมไว้แล้ว ไฟพร้อมที่จะเผาผลาญ เตาหลอมก็ร้อน แล้ว และรอคอยที่จะรองรับพวกเขา เปลวเพลิงโหมกระหน่ำและส่องแสงรออยู่ ดาบอันแหลมคมส่อง ประกายและง้างรออยู่เหนือพวกเขา และขุมนรกได้เปิดปากของมันอยู่ใต้พวกเขาแต่ละคน 5. มารซาตานพร้อมเสมอที่จะคว้าและจับพวกเขาไปเป็นของมัน เมื่อพระเจ้าปล่อยมือจากพวกเขา พวก เขาจะตกเป็นของพวกมาร พวกมันได้จิตวิญญาณของพวกเขาไปครอบครองและพวกเขาอยู่ภายใต้การ ควบคุมของมันแล้ว พระคัมภีร์ได้เปรียบว่าพวกเขาเป็นของพวกมันในยอห์น 8:44 “พวกท่านมาจากพ่อ ของท่านคือมาร” มารซาตานจับตาเฝ้าดูพวกเขาอยู่ พวกมันอยู่ใกล้ๆพวกเขา ราวกับว่ามันอยู่ที่มือขวา ของพวกเขา มันยืนเฝ้าพวกเขาอยู่ราวกับสิงโตผู้หิวโหยที่จ้องจะตะครุบเหยื่อของมัน แค่ยังรอเวลาอยู่ ถ้า เพียงแต่พระเจ้าปล่อยมือจากพวกเขา พวกวิญญาณชั่วจะกระโจนเข้าไปหาจิตวิญญาณที่น่าสงสารของ พวกเขาในทันใด เจ้างูร้าย, ซาตาน, อ้าปากรอพวกเขาอยู่และนรกเปิดปากกว้างรอรับพวกเขาอยู่ ถ้า เพียงแต่พระเจ้าอนุญาต พวกเขาจะถูกกลืนลงและหายสาบสูญไปในพริบตาเดียว 6.กฎของความบาปควบคุมธรรมชาติของมนุษย์อยู่ ถ้าพระเจ้าไม่ได้ทรงควบคุมผลของกฎแห่งความ บาปเหล่านั้น พวกเขาจะถูกไฟนรกเผาผลาญในทันทีทันใด พื้นฐานของความทุกข์ทรมานในนรกนั้นก็อยู่ ในธรรมชาติความบาปของมนุษย์แล้ว กฎแห่งธรรมชาติความบาปได้ควบคุมพวกเขาอยู่ และเป็น เจ้าของพวกเขาอย่างสมบูรณ์แบบ และกฎเหล่านั้นเป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์ของไฟนรก กฎแห่งนรกนี้มัน ทรงพลังและกำลังทำงานอยู่ตลอดเวลา และธรรมชาติของมันรุนแรงอย่างร้ายกาจ และถ้าไม่ใช่เพราะ พระหัตถ์ของพระเจ้ายับยั้งเอาไว้ พวกเขาจะถูกไฟนรกเผาผลาญจนมอดไหม้ พวกเขาจะเป็นเหมือนกับ ตกนรกทั้งเป็น ความชั่วร้ายและความปรารถนาชั่วในใจของเขาจะทรมานหัวใจของเขาเอง คนที่ยังมีชีวิต ก็จะต้องตกอยู่ในความทรมานเช่นเดียวกันกับพวกที่ตายไปแล้ว พระคัมภีร์เปรียบเทียบดวงวิญญาณ ของคนบาปว่าเป็นเหมือนกับ ทะเลที่ไม่สงบ “แต่คนอธรรมนั้นเหมือนทะเลที่กำเริบซึ่งนิ่งสงบอยู่ไม่ได้ และน้ำของมันก็กวนตมและเลนขึ้นมา” ในเวลานี้ พระเจ้าทรงยับยั้งความชั่วร้ายของพวกเขาด้วยฤทธิ์ อำนาจของพระองค์ เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงยับยั้งคลื่นลมที่พัดกระหน่ำยามที่ทะเลมีพายุ ที่กล่าวว่า “เจ้าไปได้ไกลแค่นี้แหละ อย่าไปอีกเลย และคลื่นคะนองของเจ้าหยุดเพียงแค่นี้แหละ” (โยบ 38:11) แต่ ถ้าพระเจ้าไม่ได้ใช้อำนาจของพระองค์ที่จะยับยั้งไว้ ธรรมชาติบาปของเขาจะทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ ขวางทางมันอยู่ ความบาปคือโศกนาฎกรรมและมันคือการทำลายจิตวิญญาณ ธรรมชาติของมันคือการ ทำลายล้าง และถ้าพระเจ้าไม่ได้ทรงยับยั้งการงานของมัน ดวงวิญญาณของมนุษย์จะต้องอยู่อย่างน่า !213
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
เวทนา ความเสื่อมทรามของหัวใจมนุษย์นั้นไม่มีขีดจำกัดและไม่มีอะไรมายับยั้งได้ และในขณะที่คน บาปทั้งหลายดำเนินชีวิตอยู่บนโลกนี้ เปรียบเสมือนกับไฟที่กำลังลุกโหมแต่ว่าพระเจ้ากำลังควบคุมมัน อยู่ และถ้ามันถูกปลดปล่อยออกมาเมื่อไหร่ มันจะเผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างให้มอดไหม้ และเพราะว่า หัวใจของมนุษย์นั้นเป็นเหมือนโกดังที่เก็บสะสมความบาปเอาไว้ เมื่อไหร่ที่ความบาปไม่ได้ถูกยับยั้งเอา ไว้ ในพริบตาเดียวมันจะเปลี่ยนดวงวิญญาณให้เป็นเสมือนกับเตาไฟที่ลุกโชน หรือเตาหลอมไฟและ กำมะถัน 7.ไม่มีแม้แต่วินาทีเดียวที่คนบาปควรจะรู้สึกสบายใจที่เห็นว่าความตายไม่ได้อยู่ใกล้ๆเขา ไม่มีหลักประ กันใดๆให้กับคนที่สุขภาพดีหรือคนที่ไม่คิดว่าเป็นไปได้ที่เขาจะต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือจะมีอะไรที่ จะทำให้เขาตายได้ในสถานการณ์ที่เขาอยู่ตอนนี้ จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยได้ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า คนที่ดูเหมือนว่าอยู่อย่างปลอดภัยไม่ได้หมายความว่าชีวิตของเขาไม่ได้กำลังจะ เผชิญกับชีวิตหลังความตาย และเขาไม่อาจจะรู้ได้ว่าก้าวต่อไปของเขาอาจจะนำเขาไปอีกโลกหนึ่งแล้ว วิธีที่คนจะตายอย่างกระทันหันโดยที่ไม่รู้ตัวหรือคาดคิดมาก่อนนั้นมีอยู่อย่างนับไม่ถ้วนและเกินกว่าที่จะ เข้าใจได้ คนที่ไม่ได้กลับใจใหม่เดินผ่านหลุมนรกบนสะพานเก่าๆที่ผุพัง และสะพานนั้นมีบริเวณที่ไม่แข็ง แรงพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของเขาได้อยู่นับไม่ถ้วน และเขามองไม่เห็นบริเวณเหล่านั้น ลูกศรแห่ง ความตายลอยไปมาอยู่แม้ในเวลากลางวันโดยที่ไม่มีใครมองเห็น แม้แต่ดวงตาคู่ที่เฉียบคมมากที่สุดก็ไม่ สามารถมองเห็นมัน พระเจ้าทรงมีวิธีมากมายเกินกว่าที่เราจะคิดค้นได้ในการที่จะพรากดวงวิญญาณ ของมนุษย์ออกไปจากโลกและส่งมันลงไปยังขุมนรก ซึ่งพระองค์เองไม่จำเป็นที่จะต้องทำการอัศจรรย์ หรือออกไปเพื่อทำลายคนบาปเหล่านั้นอีกต่อไป ทุกวิถีทางที่ทำให้คนบาปเหล่านั้นต้องออกจากโลกใบนี้ ไปล้วนแล้วอยู่ภายใต้พระหัตถ์ของพระเจ้า มันอยู่ภายใต้ฤทธิ์อำนาจและวิจารณญาณของพระองค์ อย่างสิ้นเชิงและเป็นอย่างนี้ทั่วทั้งจักรวาล ทุกอย่างล้วนแต่ขึ้นอยู่กับพระประสงค์ของพระเจ้าเท่านั้นไม่ ว่าจะเป็นเรื่องที่คนบาปจะต้องตกนรกเมื่อไหร่, วิธีที่พระองค์จะใช้อาจจะเป็นวิธีที่ไม่เคยใช้มาก่อน หรือ เป็นไปไม่ได้ในกรณีนั้น ๆ 8. ความพยายามที่จะปกป้องชีวิตของพวกเขาเอง หรือที่มีคนอื่นพยายามปกป้องชีวิตของพวกเขา ไม่ได้ ทำให้พวกเขาปลอดภัยขึ้นเลยแม้แต่วินาทีเดียว จากการที่ได้เห็นสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงทำและ ประสบการณ์ที่เรามีได้ยืนยันความจริงนี้ มีหลักฐานมากมายที่ทำให้เห็นว่าสติปัญญาของมนุษย์และ ความพยายามต่าง ๆ ไม่สามารถปกป้องพวกเขาจากความตายได้ ถ้าไม่อย่างนั้นเราคงจะได้เห็นความ แตกต่างระหว่างบรรดานักปราชญ์หรือคนที่มีสติปัญญาหลักแหลมของโลกนี้กับคนอื่นทั่วไป แต่พวกเขา ไม่ต่างกันเลยเพราะทุกคนล้วนแต่ต้องประสบกับความตายแบบที่ไม่คาดคิดหรือเกิดขึ้นเร็วเกินกว่าที่คิด ไว้ ความเป็นจริงมันเป็นอย่างไรน่ะหรือ ดังเช่นที่พระธรรมปัญญาจารย์ 2:16 บอกไว้ “คนมีสติปัญญาก็ ตายเหมือนคนเขลา”
!214
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
9. ความพยายามและแผนการต่าง ๆ ที่คนบาปพยายามจะทำเพื่อหนีจากการตกนรกนั้น (ในเวลา เดียวกันพวกเขาปฏิเสธพระเยซูคริสต์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้เขายังคงเป็นคนบาปอยู่นั่นเอง) ไม่ได้ช่วย ปกป้องเขาจากนรกได้เลย เกือบทุกคนที่ได้ยินเรื่องนรกจะปลอบใจตัวเองว่าพวกเขาควรจะต้องหลีกหนี มัน พวกเขาใช้ตัวเองเป็นความมั่นคงในชีวิตของพวกเขา พวกเขายกยอตัวเองในสิ่งที่พวกเขาเคยทำ, สิ่ง ที่พวกเขากำลังทำอยู่ในปัจจุบัน, หรือในสิ่งที่พวกเขาตั้งใจที่จะทำ ทุกคนวางแผนการอยู่ในใจของตนเอง ว่าจะทำอย่างไรเพื่อจะหลีกเลี่ยงคำแช่งสาปนี้ได้ และพวกเขายกย่องตัวเองว่าพวกเขาทำได้ดีแล้ว และ แผนการของเขาจะไม่ล้มเหลว พวกเขาได้ยินว่า แท้จริงแล้วจะมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ได้รับความรอด ดัง ที่ มัทธิว 7:14 “เพราะประตูที่แคบและทางที่ลำบากนั้นนำไปสู่ชีวิต และพวกที่หาพบก็มีน้อย” พวกเขา ได้ยินว่าคนส่วนมากที่ตายไปแล้วตอนนี้อยู่ในนรก แต่พวกเขาก็จินตนาการเอาเองว่าสิ่งที่เขาพยายาม ทำเพื่อหลีกหนีจากนรกนั้นดีกว่าสิ่งที่พวกคนเหล่านั้นได้ทำ พวกเขาตั้งใจว่าจะไม่ยอมไปที่แห่งความ ทุกข์ทรมานแห่งนั้น พวกเขาพูดกับตัวเองว่าพวกเขาจะตั้งใจที่จะดูแลจิตวิญญาณของพวกเขาอย่างดี และจะบังคับตนเองอย่างดีเพื่อที่พวกเขาจะไม่ล้มเหลว มนุษย์ที่โง่เขลาหลอกตัวเองในเรื่องแผนการของตัวเอง,ในเรื่องความมั่นใจ, ในเรื่องสติปัญญาและกำลัง ของตัวเองอย่างน่าเวทนา พวกเขาเปรียบเหมือนกับกำลังไว้ใจในเงาอยู่เท่านั้น แน่นอนที่คนส่วนใหญ่ที่ ตายไปแล้ว (ซึ่งครั้งหนึ่งเขาเคยมีชีวิตอยู่ภายใต้พระกรุณาของพระเจ้าแบบเดียวกันกับที่พวกเราได้รับ นั้น) คนเหล่านั้นล้วนแต่อยู่ที่นรก ไม่ใช่เพราะว่าพวกเขาไม่ได้ฉลาดเท่ากับคนที่มีชีวิตอยู่ในตอนนี้ ไม่ใช่ เพราะว่าพวกเขาไม่ได้วางแผนที่จะหลบหนีจากนรก ถ้าเราได้พูดคุยกับพวกเขาและได้สอบถามพวกเขา แต่ละคนเป็นการส่วนตัว ว่าตอนที่พวกเขาได้ยินเรื่องของนรกพวกเขาคาดคิดหรือไม่ว่าพวกเขาจะต้อง มาทนทุกข์ทรมานแบบนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าคำตอบที่เราจะได้รับคือ “ไม่เลย ฉันไม่เคยตั้งใจที่จะมาที่ นี่เลย แผนที่ฉันวางไว้ไม่ใช่แบบนี้ ฉันคิดว่าฉันวางแผนไว้สำหรับตัวเองดีแล้ว ฉันคิดว่าฉันมีแผนที่ดี ฉัน ตั้งใจที่จะดูแลจิตวิญญาณของตัวเองอย่างดี แต่ทุกอย่างมันเกิดขึ้นกับฉันอย่างรวดเร็วมาก ฉันไม่ได้ คิดถึงความตายมาพักใหญ่ ๆ แต่แล้วจู่ๆ ความตายก็เข้ามาหาฉันเหมือนกับขโมยที่มาในเวลากลางคืน ความตายมันฉลาดมากกว่าฉัน ความโกรธของพระเจ้านั้นมาเร็วเกินกว่าที่ฉันจะตั้งตัว โอ ฉันนั้นช่างโง่ เขลาอะไรเช่นนี้ ฉันยกยอปอปั้นตัวเอง ทำให้ตัวเองพอใจกับความฝันที่ไร้ประโยชน์โดยคิดถึงสิ่งที่ฉันจะ ทำในชีวิตหลังความตาย; และขณะนั้นเองที่ฉันกำลังพูดว่า ‘สงบสุขและปลอดภัย’ ความพินาศก็มาถึง ฉันอย่างทันทีทันใด” 10. พระเจ้าไม่ได้ทรงอยู่ใต้ข้อผูกมัดในสัญญาใด ๆ ที่จะช่วยให้คนใดคนหนึ่งไม่ต้องตกนรก พระเจ้าไม่ ได้ทรงสัญญาที่จะให้ชีวิตนิรันดร์กับผู้คน หรือที่จะช่วยกู้/ช่วยปกป้องพวกเขาจากความตายนิรันดร์ มีแต่ เพียงสัญญาที่อยู่ภายในพันธสัญญาแห่งพระกรุณาคุณของพระเจ้าในพระเยซูคริสต์พระบุตรของ พระองค์ ผู้ซึ่งในพระองค์นั้น สัญญาทุก ๆ อย่างล้วนแต่แน่นอนและเป็นความจริง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า บรรดาผู้ที่ไม่ใช่บุตรแห่งพระสัญญาแห่งพระกรุณาคุณของพระเจ้าจะไม่สนใจในพระสัญญาของพระเจ้า !215
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
และพวกเขาไม่เชื่อในพระสัญญาของพระองค์ และพวกเขาไม่แยแสผู้ที่เป็นคนกลางของพระสัญญานั้น คือพระเยซูคริสต์องค์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา ถึงแม้ว่าคนบางคนจะจินตนาการหรือสมมติเอาเองว่า เขาสามารถเอาพระสัญญาของพระเจ้ามาใช้กับ ความพยายามเสาะแสวงหาและการปฏิบัติตามหน้าที่ทางศาสนา มันเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ไม่ว่าพวก เขาจะพยายามทำตามศาสนามากแค่ไหน ไม่ว่าเขาจะสวดมนต์ภาวนามากแค่ไหน พระเจ้าไม่ทรงอยู่ ภายใต้ข้อตกลงใด ๆ เลยที่จะช่วยเขาให้ไม่ต้องไปในความตายนิรันดร์ได้ จนกว่าเขามาเชื่อในพระเยซู คริสต์เท่านั้น ดังนั้นคนบาปอยู่ในอุ้งมือของพระเจ้าที่อยู่เหนือขุมนรก พวกเขาสมควรที่จะตกลงไปในหลุมแห่งเพลิงไฟ และพวกเขาได้รับการ พิพาษาให้ไปที่นั่นแล้ว พระเจ้ากำลังโกรธอย่างเดือดดาล ความโกรธของพระองค์ ที่มีต่อพวกเขานั้นมากพอ ๆ กับที่พระองค์มีต่อคนเหล่านั้นที่ได้รับโทษจากความโกรธอันดุเดือดของ พระเจ้า และกำลังทนทุกข์ทรมานอยู่ในนรก และพวกเขาไม่ได้กำลังทำอะไรที่จะระงับความโกรธของ พระองค์หรือทำให้ความโกรธของพระองค์ลดน้อยลงเลย และพระเจ้าไม่ได้สัญญาอะไรเลยที่จะช่วยอุ้ม เขาไว้ไม่ให้ตกลงไป ความชั่วร้ายรอคอยพวกเขาอยู่ นรกอ้าปากรอพวกเขาอยู่ เปลวเพลิงรวมตัวกันและ ฉายแสงไปที่พวกเขา พร้อมที่จะฉกฉวยและกลืนพวกเขาลงไป ไฟนรกที่ถูกกักเก็บไว้ในใจของพวกเขา ต่อสู้เพื่อที่จะระเบิดออกมา และพวกเขาไม่สนใจในพระผู้ช่วยให้รอดคนไหนทั้งนั้น ไม่มีความสนใจใน พระเยซูคริสต์ว่าพระองค์สามารถเป็นคนกลางให้เขา ไม่มีที่ไหนที่เขาจะเอื้อมไปคว้าเพื่อช่วยให้เขา ปลอดภัยได้ กล่าวอย่างสั้น ๆ คือ เขาไม่มีที่หลบภัย ไม่มีอะไรที่จะยึดเกาะเอาไว้ และในทุก ๆวินาทีสิ่งที่ ปกป้องเขาไว้ไม่ให้ตกนรกคือพระกรุณาที่เขาไม่สมควรได้รับและความอดทนของพระเจ้าผู้ที่กำลังโกรธ พวกเขาอยู่ และพระองค์ไม่ได้อยู่ภายใต้ข้อผูกมัดใดๆ ที่จะช่วยพวกเขาและไม่ได้ทรงสัญญาว่าจะช่วย ปกป้องพวกเขาให้พ้นจากการตกลงไปสู่ความตายที่ลุกไหม้อยู่ การประยุกต์ใช้ ข้าพเจ้าใช้หัวข้อที่น่าหวาดกลัวเพื่อที่จะทำให้คนที่ยังไม่ได้กลับใจใหม่ตื่นตัวในเรื่องนี้ สิ่งที่พวกคุณเพิ่ง จะได้ยินนั้นเป็นความจริงสำหรับคนที่ไม่มีพระเยซูคริสต์ โลกแห่งความทุกข์ทรมาน ทะเลกำมะถันที่ กำลังลุกไหม้นั้น กำลังแผ่ขยายออกไปภายใต้คุณ สิ่งที่อยู่เบื้องล่างของคุณนั้นคือหลุมเพลิงแห่ง พระพิโรธของพระเจ้าที่น่าสะพรึงกลัว ปากของนรกกำลังเปิดกว้างออก และคุณไม่มีที่ที่จะยืน ไม่มีอะไร ที่จะยึดเกาะเอาไว้ ไม่มีอะไรอยู่ระหว่างคุณกับนรกนอกจากอากาศ มีแต่เพียงฤทธิ์อำนาจและพระกรุณา และความอดทนของพระเจ้าเท่านั้นที่พยุงคุณเอาไว้ คุณอาจจะไม่ได้ตระหนักในเรื่องนี้ คุณรู้ว่าปัจจุบันนี้คุณยังไม่ได้ตกนรก แต่คุณไม่ได้ว่าเห็นพระหัตถ์ของ พระเจ้าช่วยอยู่ แต่คุณกลับไปมองที่สิ่งอื่นแทน เช่น การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์, การ ขะมักเขม้นดูแลชีวิตของตนเองเป็นอย่างดี และความเอาใจใส่ในการที่จะพยายามรักษาชีวิตเอาไว้ แต่ !216
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ในความเป็นจริงแล้วสิ่งต่างๆ เหล่านั้นไร้ประโยชน์ ถ้าเพียงแต่พระเจ้าทรงปล่อยพระหัตถ์ของพระองค์ จะไม่มีอะไรที่ช่วยคุณไว้ไม่ให้คุณร่วงลงไป เหลือก็แต่เพียงอากาศที่ลอยไปมาอยู่เท่านั้น ความชั่วร้ายของคุณทำให้คุณหนักอึ้งราวกับตะกั่ว และพร้อมที่จะร่วงลงไปสู่นรกเนื่องจากน้ำหนักอัน มหาศาลและแรงโน้มถ่วง และถ้าเพียงแต่พระเจ้าปล่อยมือคุณ คุณจะจมลงไปในพริบตาและร่วงลงไป อย่างรวดเร็วในหลุมที่ลึกราวกับไม่มีก้นบึ้ง และร่างกายที่แข็งแรงของคุณ,การดูแลเอาใจใส่ของคุณ,และ ความรอบคอบ, แผนการอันยอดเยี่ยมและความชอบธรรมของคุณทั้งหมดจะไม่มีอิทธิพลใด ๆ ในการที่ จะช่วยพยุงคุณไว้และช่วยไม่ให้คุณต้องตกนรก สิ่งเหล่านั้นมันจะเป็นเหมือนกับใยแมงมุมที่จะต้อง รองรับก้อนหินที่กำลังตกลงมา ถ้าไม่ใช่เพราะว่า พระเจ้าทรงเลือกที่จะให้คุณอยู่ โลกนี้จะไม่ได้ให้คุณยืน อยู่ได้แม้แต่วินาทีเดียวเพราะว่าคุณเป็นเหมือนกับภาระของมัน สิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างต้องร้องไห้ คร่ำครวญก็เพราะว่าคุณ สิ่งมีชีวิตต้องเสื่อมสลายลงถึงแม้ว่าไม่เต็มใจ ดวงอาทิตย์ไม่ได้ตั้งใจที่จะให้ แสงสว่างกับคุณเพื่อที่คุณจะทำบาปและรับใช้ซาตานได้ โลกนี้ไม่ได้ให้อาหารแก่คุณเพื่อที่คุณจะ สามารถตอบสนองตัณหาราคะของตนเอง และโลกนี้ก็ไม่ใช่เวทีให้คุณแสดงความชั่วร้ายของคุณออกมา อากาศไม่ได้ตั้งใจที่จะให้คุณสูดเข้าไปเพื่อที่จะมีชีวิตอยู่เพื่อปรนนิบัติรับใช้ศัตรูของพระเจ้า สิ่งมีชีวิตที่ พระเจ้าทรงสร้างนั้นล้วนแต่เป็นสิ่งที่ดีและมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้พระเจ้าและมันไม่ต้องการที่จะเอน เอียงไปสู่เป้าหมายอื่น มันส่งเสียงคร่ำครวญเมื่อต้องถูกใช้อย่างผิดเพี้ยนไปจากเป้าหมายแท้จริงและ จากธรรมชาติของมัน และโลกนี้จะขย้อนคุณออกไป ถ้าไม่ใช่เพราะพระหัตถ์ของพระเจ้าผู้ทรงเป็นเจ้า นายของสรรพสิ่งทั้งปวงสามารถปลดปล่อยมันจากความเสื่อมลงได้ มีกลุ่มเมฆดำทมิฬแห่งพระพิโรธ ของพระเจ้าลอยอยู่เหนือหัวของพวกคุณ กลุ่มเมฆเหล่านั้นเต็มไปด้วยพายุที่น่าสะพรึงกลัวและสายฟ้า ขนาดใหญ่ และถ้าไม่ใช่เพราะพระหัตถ์ของพระเจ้าที่ยับยั้งไว้ พายุที่รุนแรงเหล่านั้นจะพัดทำลายคุณใน ทันทีทันใด เป็นพระประสงค์ของพระเจ้าเท่านั้นที่ยังกักพายุเหล่านั้นไว้ ไม่เช่นนั้นแล้วมันจะเข้ามาด้วย ความโกรธและความพินาศของคุณจะมาอย่างพายุหมุน และคุณเองจะเป็นเหมือนดังเปลือกข้าวที่ถูกทิ้ง ไว้ในลานนวดข้าว เป็นดังเช่นขี้ฝุ่นในลมพายุ พระพิโรธของพระเจ้านั้นเป็นเหมือนกับน้ำในทะเลสาบที่ถูกกักเก็บไว้ ปริมาณน้ำนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และ สูงขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่ามันจะเจอทางระบายน้ำ ยิ่งน้ำถูกกักไว้นานเท่าไหร่ เมื่อปล่อยน้ำออกมามันก็จะยิ่ง ไหลเร็วและแรงมากยิ่งขึ้นเท่านั้น มันเป็นความจริงที่การพิพากษาลงโทษความชั่วร้ายของคุณยังไม่ได้มา จัดการกับคุณตอนนี้ กระแสน้ำแห่งการแก้แค้นด้วยความโกรธของพระเจ้านั้นยังถูกยับยั้งไว้อยู่ แต่ใน เวลาเดียวกันความผิดของคุณก็มีมากขึ้นทุกๆเวลาด้วย และทุกๆวัน คุณกำลังเพิ่มความโกรธของพระเจ้า ที่มีต่อคุณมากขึ้นเรื่อย ๆ ปริมาณน้ำนั้นกำลังสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีกำลังแรงมากขึ้นทุกๆเวลาและไม่มี อะไรมาหยุดยั้งมันได้นอกจากพระกรุณาอันอดทนของพระเจ้าที่ยับยั้งน้ำเหล่านั้นไว้ และกระแสน้ำเหล่า นั้นไม่ได้ต้องการที่จะถูกยับยั้ง มันผลักดันอยู่ตลอดเวลาที่จะถูกปลดปล่อยออกไป ถ้าพระเจ้าปล่อย พระหัตถ์ของพระองค์จากประตูที่กั้นน้ำเอาไว้ ประตูนั้นจะพังทันทีและกระแสน้ำเชี่ยวแห่งความรุนแรง และความโกรธของพระเจ้าจะไหลทะลักออกมาด้วยความเดือดดาลที่ไม่มีใครเข้าใจได้ และจะมาหาคุณ !217
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ด้วยพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ และต่อให้คุณแข็งแรงมากกว่านี้หนึ่งหมื่นเท่า หรือแข็งแรงกว่าวิญญาณชั่วที่ แข็งแรงมากที่สุดในขุมนรกหนึ่งหมื่นเท่า ความแข็งแรงของคุณก็เปรียบเทียบไม่ได้แม้แต่นิดเดียวกับ ความแข็งแกร่งของกระแสน้ำแห่งความโกรธของพระเจ้า คันธนูแห่งพระพิโรธของพระเจ้านั้นถูกง้างออกแล้วและลูกธนูก็พร้อมอยู่บนสายธนูแล้ว ความยุติธรรมได้ เล็งลูกธนูมาที่หัวใจของคุณและง้างคันธนูออก และไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดนอกจากพระประสงค์ของพระเจ้า เท่านั้น (พระเจ้าที่ทรงพิโรธอยู่ ผู้ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้สัญญาหรือข้อผูกมัดใดใด ๆ ที่จะมีความกรุณาให้กับ คุณ) ที่กำลังห้ามลูกธนูนั้นไม่ให้มาดื่มเลือดของคุณ ดังนั้นพวกคุณทั้งหลายที่อยู่ที่นี่ที่ไม่เคยได้รับการ เปลี่ยนแปลงหัวใจครั้งยิ่งใหญ่โดยฤทธิ์อำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในจิตวิญญาณของพวกคุณ พวก คุณที่ไม่เคยบังเกิดใหม่และได้รับการถูกสร้างใหม่และได้เป็นขึ้นมาจากความตายจากความบาปที่นำไป สู่แสงสว่างและชีวิตใหม่ (แสงสว่างและชีวิตที่คุณยังไม่เคยได้พบ) พวกคุณกำลังอยู่ในพระหัตถ์ของ พระเจ้าที่กำลังพิโรธ ไม่ว่าคุณจะพยายามปรับปรุงชีวิตของคุณในหลาย ๆทางแค่ไหน และไม่ว่าคุณจะ รู้สึกว่าตัวเองมีศาสนามากแค่ไหน และแม้ว่าคุณอาจจะพยายามปฎิบัติตามศาสนาในครอบครัวของคุณ หรือในพระวิหารของพระเจ้า มันมีแค่เพียงพระประสงค์ของพระเจ้า(ที่ไม่มีข้อผูกมัดใดๆกับคุณ)ที่จะช่วย คุณไม่ให้ถูกกลืนลงไปในความตายนิรันดร์เสียในเวลานี้ ไม่ว่าคุณจะไม่เชื่อมากแค่ไหนก็ตามในความ จริงที่คุณได้ยินในขณะนี้ วันหนึ่งคุณจะเชื่อมันอย่างแท้จริง คนเหล่านั้นที่ตายไปแล้วที่ครั้งหนึ่งเคยมี ความคิดเช่นเดียวกันกับคุณ เขารู้แล้วว่าความคิดของเขาเหมือนกับที่คุณคิดตอนนี้ แต่ความตายมาหา พวกเขาอย่างรวดเร็ว ตอนที่เขาคาดคิดน้อยที่สุด และตอนที่เขากำลังบอกว่า ‘สงบสุขและปลอดภัย’ ตอนนี้เขาได้เห็นแล้วว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นที่เขาได้พึ่งพาเพื่อได้รับความสงบสุขและความปลอดภัยนั้นมัน ไม่ได้มีอะไรเลยนอกจากจะเป็นเหมือนอากาศที่บางเบาและเงาที่ว่างเปล่าเท่านั้น พระเจ้าผู้ซึ่งอุ้มชูพวกคุณอยู่เหนือหลุมนรกนั้น (ซึ่งเปรียบได้กับคนที่กำลังถือแมงมุมหรือแมลงน่าเกลียด ตัวหนึ่งอยู่เหนือกองไฟ) เกลียดชังคุณมากและกำลังพิโรธอย่างน่าสะพรึงกลัว ความโกรธของพระองค์ที่ มีต่อคุณนั้นเผาผลาญดังเช่นกองไฟ พระองค์ทรงมองมาที่คุณแล้วเห็นว่าสิ่งเดียวที่สมควรกับคุณคือการ ถูกจับโยนเข้าไปในกองไฟ สายพระเนตรของพระองค์ก็บริสุทธิ์เกินกว่าที่จะมองที่คุณได้ ในสายตาของ พระเจ้าคุณเองน่ารังเกียจมากกว่าที่เราเกลียดงูพิษเป็นหมื่นเท่า คุณได้กระทำผิดต่อพระเจ้าอย่างนับไม่ ถ้วน มากยิ่งกว่าที่พวกกบฎหัวดื้อทำผิดต่อกษัตริย์หรือประธานาธิบดี แต่นั่นเอง ก็ยังเป็นแค่พระหัตถ์ ของพระเจ้าที่อุ้มชูคุณในทุก ๆวินาทีเพื่อไม่ให้คุณต้องตกลงไปในไฟนรก มันไม่ใช่เพราะเหตุผลอื่นเลยที่ ทำไมคุณยังไม่ต้องตกลงไปในนรกเมื่อคืนนี้ แต่คุณได้รับอนุญาตให้ตื่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่คุณ หลับตาลงนอนไปเมื่อคืน และมันไม่มีเหตุผลอื่นเลยที่ทำไมคุณไม่ได้ถูกจับโยนลงไปในนรกทันทีหลังจาก ที่คุณตื่นนอนเมื่อเช้านี้ นอกเสียจากเหตุผลเดียวคือ พระหัตถ์ของพระเจ้ายังคงจับคุณเอาไว้อยู่ ไม่มี เหตุผลอื่นใดที่จะอธิบายได้ว่าทำไมคุณยังไม่ได้ไปที่นรก ตั้งแต่วินาทีที่คุณเข้ามานั่งในพระวิหารของ พระเจ้าที่นี่ คุณได้ทำให้พระเจ้าพิโรธเพราะสายพระเนตรที่บริสุทธิ์ของพระองค์ต้องมาเห็นกิริยาอันเต็ม !218
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ไปด้วยความบาปชั่วของคุณเมื่อคุณเข้ามาในสถานที่นมัสการของพระองค์ ไม่มีเหตุผลอื่นๆ ที่จะ สามารถอธิบายได้จริง ๆ ว่าทำไมในเวลานี้คุณถึงยังไม่ถูกโยนลงไปในนรก โอ คนบาปทั้งหลาย! จงพิจารณาดูเถิดว่ากำลังตกอยู่ในอันตรายที่น่ากลัวมากแค่ไหน คุณกำลังถูกอุ้ม อยู่เหนือเตาหลอมแห่งความโกรธ เหนือหลุมที่เต็มไปด้วยไฟแห่งความโกรธซึ่งกว้างและลึกราวกับไม่มี ก้นหลุม และเป็นพระหัตถ์ของพระเจ้าที่จับคุณไว้อยู่และพระพิโรธอันเดือดดาลของพระองค์มุ่งมาที่คุณ มากพอ ๆ กับที่พระองค์ทรงพิโรธพวกคนเหล่านั้นที่ได้รับการแช่งสาปและตอนนี้อยู่ในนรกเรียบร้อยแล้ว คุณถูกแขวนอยู่บนเส้นด้ายเส้นเล็ก ๆ เหนือนรก ที่เปลวเพลิงแห่งความโกรธของพระองค์ส่องแสงวาบ ออกมา มันพร้อมที่จะเผาผลาญทุกสิ่งทุกอย่างให้ราบคาบในทุกวินาที และคุณไม่เคยแยแสในคนกลาง ไม่เคยสนใจในพระผู้ช่วยให้รอดคนไหน ๆทั้งนั้น และไม่มีอะไรที่จะมาช่วยคุณได้ และไม่มีอะไรที่จะหยุด ยั้งเปลวเพลิงแห่งพระพิโรธได้ ไม่มีอะไรภายในคุณ,ไม่มีอะไรที่คุณเคยทำและไม่มีอะไรที่คุณสามารถจะ ทำเพื่อโน้มน้าวพระเจ้าให้ไว้ชีวิตของคุณได้เลยแม้แต่วินาทีเดียว ตอนนี้ขอให้คุณพิจารณาสิ่งต่างๆ เหล่านี้โดยละเอียด: 1. ใครเป็นเจ้าของพระพิโรธนี้: พระพิโรธนี้เป็นของพระเจ้าผู้ทรงดำรงอยู่ตั้งแต่นิรันดร์กาล ถ้าเป็นเพียงแค่ความโกรธของมนุษย์ ต่อให้ เป็นผู้ครอบครองที่ทรงพลังมากที่สุดในโลกนี้ ก็ยังเป็นแค่เล็กน้อยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน ความโกรธข องผู้ครอบครองในโลกนี้จะเป็นที่น่าเกรงกลัวเฉพาะบางเวลาเท่านั้น โดยเฉพาะกับพวกผู้นำที่เป็น เผด็จการที่ต้องการให้ชีวิตและสรรพสิ่งต่าง ๆ ตกอยู่ภายใต้อำนาจของเขาอย่างสิ้นเชิง และความโกรธข องพวกผู้ครอบครองในโลกนี้สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ตามอำเภอใจของพวกเขา สุภาษิต 20:2 “ความกริ้วอันน่ากลัวของพระราชาก็เหมือนเสียงคำรามของสิงห์หนุ่ม ใครยั่วพระองค์ให้กริ้วก็เสี่ยงชีวิต ตนเอง” พลเมืองที่ทำให้ผู้นำเผด็จการโกรธก็มีแนวโน้มที่จะต้องเจอกับความทรมานแสนสาหัสอย่างมาก หรือเท่าที่กำลังของมนุษย์จะทำได้ แต่ถึงแม้ผู้ครอบครองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีกำลังและอำนาจสูง ที่สุด แต่งองค์ทรงเครื่องด้วยความน่าสะพรึงกลัวมากที่สุด ก็เป็นได้เพียงแค่หนอนที่น่าขยะแขยงไร้ เรี่ยวแรงเมื่อเปรียบเทียบกับพระผู้สร้างที่ทรงฤทธานุภาพและกษัตริย์แห่งฟ้าสวรรค์และแผ่นดินโลก สิ่งที่ พวกคนเหล่านั้นทำยามที่พวกเขาถูกยั่วยุให้โกรธนั้นเป็นสิ่งเล็กน้อยเท่านั้นแม้แต่ในยามที่พวกเขา เดือดดาลอย่างที่สุด ต่อหน้าพระพักตร์ของพระเจ้า กษัตริย์ของโลกนี้เป็นเพียงแค่ตั๊กแตนเท่านั้น พวก เขาไม่ได้มีค่าอะไรเลย ยิ่งกว่าไร้ค่าเสียอีก ไม่ว่าจะเป็นความรักหรือความเกลียดชังที่พวกเขามีก็ถูกนับ ว่าเปล่าประโยชน์ ความโกรธอันเดือดดาลของผู้ซึ่งเป็นกษัตริย์เหนือกษัตริย์นั้นโหดร้ายมากกว่าความ โกรธของพวกคนเหล่านั้น เพราะว่ากำลังและฤทธานุภาพของพระองค์นั้นยิ่งใหญ่กว่ากำลังและฤทธานุ ภาพของคนเหล่านั้น ลูกา 12:4-5 “มิตรสหายของเราเอ๋ย เราบอกพวกท่านว่า อย่ากลัวผู้ที่ฆ่าได้แต่กาย เสร็จแล้วไม่มีอะไรที่จะทำได้อีก แต่เราจะเตือนให้ท่านรู้ก่อนว่าควรจะกลัวใคร จงกลัวพระองค์ผู้ที่เมื่อ ทรงฆ่าแล้วก็ยังมีสิทธิอำนาจที่จะทิ้งลงในนรกได้ แท้จริง เราบอกพวกท่านว่าจงกลัวพระองค์นั้นแหละ” !219
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
2. เรากำลังประสบกับความรุนแรงของพระพิโรธของพระเจ้า เราได้อ่านในพระคัมภีร์อยู่บ่อย ๆ เกี่ยวกับพระพิโรธอันรุนแรงของพระเจ้า เช่นใน อิสยาห์ 66:15 “เพราะ ดูสิ พระยาห์เวห์จะเสด็จมาด้วยไฟและรถรบของพระองค์เหมือนลมพายุ เพื่อสำแดงพระพิโรธของ พระองค์อย่างเกรี้ยวกราด และสำแดงการกำราบของพระองค์ด้วยไฟ” และในอีกหลายแห่งเช่น ในวิวรณ์ 19:15 ที่บอกว่า “พระองค์จะทรงย่ำบ่อย่ำองุ่นแห่งพระพิโรธรุนแรงของพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด” คำต่างๆ ในข้อนี้ช่างน่าหวาดสะพรึงกลัวเหลือเกิน ถ้าเพียงแค่บอกว่า “พระพิโรธของพระเจ้า” ความ หมายในที่นี้คือความน่าสะพรึงกลัวอย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่ว่ามันคือ “พระพิโรธรุนแรงของพระเจ้าผู้ทรง ฤทธานุภาพสูงสุด” พระพิโรธรุนแรงของพระเจ้า! ความเดือดดาลของพระยาห์เวห์! โอมันจะช่างน่าสะ พรึงกลัวมากแค่ไหน! ใครจะสามารถเล่าหรือเข้าใจได้อย่างแท้จริงว่าสิ่งนี้หมายถึงอะไร! แต่มากยิ่งกว่า นั้น “พระพิโรธรุนแรงของพระเจ้าผู้ทรงฤทธานุภาพสูงสุด” ราวกับจะอธิบายให้เห็นภาพความยิ่งใหญ่ แห่งฤทธานุภาพของพระองค์ในพระพิโรธรุนแรงของพระองค์ที่พระองค์จะกระทำ ราวกับว่าความเป็น พระเจ้าที่มีฤทธิ์อำนาจสูงสุดถูกทำให้โกรธ โอ ถ้าอย่างนั้นผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร! เจ้าหนอนที่น่าสงสารจะ เป็นอย่างไรเมื่อต้องทนทุกข์ทรมาน! มือของผู้ใดที่จะสามารถทนทานอยู่ได้ และหัวใจของใครจะสามารถ ทนต่อความโกรธเช่นนั้นได้ และสัตว์โลกที่น่าสงสารจะต้องจมดิ่งลงส่งความทุกข์ทรมานที่น่าสะพรึงกลัว เกินคำบรรยายและไม่สามารถจินตนาการได้ แล้วพวกเขาจะต้องทนอยู่อย่างนั้น! จงพิจารณาดูเถิด พวกคุณที่อยู่ที่นี่ ที่ยังไม่ได้กลับใจและยังไม่ได้บังเกิดใหม่ ความจริงที่ว่าพระเจ้าจะ จัดการด้วยพระพิโรธอันเดือดดาลของพระองค์นั้นมีหมายถึง พระองค์จะทรงเทพระพิโรธของพระองค์ลง มาโดยไร้ซึ่งความสงสาร เมื่อพระเจ้าทรงเห็นความยากลำบากที่เกินคำบรรยายในสถานการณ์ของคุณ และเห็นว่าความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นกับคุณนั้นมากเกินกว่าที่คุณจะรับได้ หรือเห็นว่าจิตวิญญาณที่น่า สงสารของคุณกำลังจะถูกบดขยี้และจมลงไปสู่ความมืดมิดไร้ที่สิ้นสุด พระองค์จะไม่มีความเมตตา สงสารให้กับคุณเลยและพระองค์จะไม่ทรงละเว้นที่จะจัดการตามพระพิโรธของพระองค์ และจะไม่ทรง เบาพระหัตถ์ของพระองค์ลงในเรื่องนี้ จะไม่มีการโอนอ่อนผ่อนเบาหรือความเมตตา และพระเจ้าจะไม่มี ขีดจำกัดให้กับพายุที่รุนแรงของพระองค์ พระองค์จะไม่สนใจใยดีในความสุขของคุณเลย จะสนใจแค่ว่า คุณจะต้องทนทุกข์ตามที่ความยุติธรรมได้กำหนดไว้ พระองค์จะไม่อะลุ่มอะล่วยให้คุณเพราะเห็นว่ามัน เกินที่จะคุณจะแบกรับได้แล้ว ในเอเสเคียล 8:18 เราได้อ่านว่า “ดังนั้นเราเองจะทำด้วยความโกรธ นัยน์ตาของเราจะไม่ปรานี เราจะไม่สำแดงความกรุณา และแม้ว่าพวกเขาจะร้องด้วยเสียงอันดังใส่หู ของเรา เราก็จะไม่ฟังพวกเขา” ขณะนี้พระเจ้าทรงพร้อมที่จะเมตตาคุณแล้ว วันนี้เป็นวันแห่งพระเมตตา ในตอนนี้คุณสามารถร้องขอ ด้วยความหวังเพื่อจะได้รับพระเมตตา แต่เมื่อวันแห่งพระเมตตาผ่านพ้นไป ต่อให้คุณร้องไห้คร่ำครวญ ด้วยความเจ็บปวดหรือว่ากรีดร้องมากแค่ไหนก็จะไม่มีประโยชน์ คุณจะถูกโยนทิ้งและสูญหายไป พระองค์จะไม่สนใจใยดีในสารทุกข์สุกดิบของคุณ ชีวิตคุณไม่มีประโยชน์อีกต่อไปนอกจากที่จะมีไว้เพื่อ !220
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ทนทุกข์โศกเศร้า ชีวิตของคุณจะมีอยู่เพียงแค่เป็นเป้าของพระพิโรธของพระเจ้าที่มีไว้เพื่อถูกทำลาย เท่านั้น คุณจะไม่มีประโยชน์ใดๆ อีกต่อไป นอกจากเป็นที่ซึ่งบรรจุพระพิโรธของพระเจ้าไว้อย่างเต็มเปี่ยม พระเจ้าจะไม่มีความเมตตาให้คุณเลยเมื่อคุณร้องไห้ต่อพระองค์ เหมือนที่เขียนไว้ว่าพระองค์จะ “หัวเราะ เยาะและเยาะเย้ย” ในสุภาษิต 1:25-26 “พวกเจ้าเพิกเฉยคำแนะนำทุกอย่างของข้า และไม่ยอมรับคำตัก เตือนของข้าเลย ข้าเองจะหัวเราะเยาะความหายนะของพวกเจ้า ข้าจะเยาะเย้ยเมื่อความกลัวมาถึงพวก เจ้า” ถ้อยคำจาก อิสยาห์ 63:3 ช่างน่าหวาดกลัวอะไรเช่นนี้ ถ้อยคำเหล่านั้นมาจากพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ “เราย่ำ มันด้วยความโกรธของเรา เราเหยียบมันด้วยความพิโรธของเรา โลหิตของเขาเปื้อนอยู่บนเสื้อผ้าของเรา และเราทำให้เครื่องแต่งกายของเราเลอะไปหมด” ไม่มีอะไรที่จะสามารถอธิบายข้อพระคัมภีร์ด้านบนนี้ ได้ดีมากไปกว่าสามคำนี้ ; น่ารังเกียจ, ความเกลียด และความโกรธอย่างเดือดดาล ถ้าคุณร้องให้พระเจ้า ทรงเมตตาคุณ พระองค์ทรงอยู่ห่างไกลจากความคิดที่จะประทานความเมตตาให้กับคุณถึงแม้คุณอยู่ใน สถานการณ์ที่โหดร้าย และพระองค์จะไม่ให้พระกรุณาหรือความโปรดปรานกับคุณเลยแม้แต่น้อย และ แทนที่พระองค์จะเมตตาคุณ พระองค์จะเหยียบคุณลงใต้ฝ่าเท้าของพระองค์แม้ว่าพระองค์ทรงรู้ว่าคุณ เองไม่อาจที่จะทนรับน้ำหนักทอันทรงพลานุภาพที่กำลังเหยียบอยู่บนคุณได้ พระองค์จะไม่ได้สนใจใยดี เลย แต่พระองค์จะใช้พระบาทของพระองค์บดขยี้คุณอย่างไร้พระเมตตา พระองค์จะบดขยี้คุณจนกว่า เลือดของคุณจะกระเด็นออกมา ให้มันกระเด็นใส่เสื้อผ้าของพระองค์ ให้มีรอยเปื้อนเลอะอยู่บนเสื้อผ้า ของพระองค์ พระองค์ไม่ใช่เพียงแค่เกลียดคุณเท่านั้น แต่พระองค์จะทำให้คุณน่ารังเกียจอย่างที่สุดด้วย ไม่มีที่ไหนที่เหมาะกับคุณ นอกจากที่ใต้พระบาทของพระองค์เพื่อที่จะถูกเหยียบย่ำเช่นเดียวกับเศษดิน บนถนนเท่านั้น 3. ความทุกข์ทรมานที่คุณกำลังได้ยิน นั้นเป็นความทุกข์ทรมานที่พระเจ้าจะทำกับคุณ เพื่อที่จะ แสดงให้เห็นว่าพระพิโรธของพระยาห์เวห์นั้นเป็นเช่นไร พระเจ้ามีความตั้งใจที่จะแสดงให้ทูตสวรรค์และ มนุษย์ทั้งหลายให้ได้เห็นทั้ง ความรักของพระเจ้าว่ามันช่างวิเศษมากแค่ไหน และได้เห็นพระพิโรธของ พระองค์ว่ามันโหดร้ายแค่ไหน บางครั้งผู้ครอบครองในโลกนี้ตั้งใจที่จะแสดงความโหดร้ายของความ โกรธของพวกเขาโดยการที่จะลงโทษคนที่ทำให้เขาโกรธอย่างสาสม กษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ กษัตริย์ผู้ทรง ฤทธิ์อำนาจและหยิ่งผยอง ทรงเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรคาลเดียน พระองค์ต้องการที่จะแสดง พระพิโรธของพระองค์เมื่อชัดรัค เมชาค และอาเบดเนโกได้ทำให้พระองค์ทรงกริ้ว ตามที่พระองค์ได้ออก คำสั่งให้ทำเตาไฟให้ร้อนกว่าปกติอีกเจ็ดเท่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่าความร้อนที่เพิ่มขึ้นมานั้นเกินกว่าที่ มนุษย์จะรับได้ แต่พระเจ้าที่ยิ่งใหญ่ก็ทรงปรารถนาที่จะแสดงพระพิโรธที่ดุเดือดของพระองค์และสำแดง ฤทธานุภาพและฤทธิ์อำนาจของพระองค์เพื่อให้ศัตรูของพระองค์ต้องทุกข์ทรมานอย่างที่สุดด้วย โรม 9:22 “เป็นไปได้ไหมที่พระเจ้าทรงประสงค์จะแสดงพระพิโรธและให้ฤทธิ์เดชของพระองค์ปรากฎ แต่ พระองค์ทรงอดทนมากต่อคนเหล่านั้นที่เป็นภาชนะแห่งพระพิโรธ ซึ่งเตรียมไว้สำหรับความพินาศ?” และ เมื่อได้เห็นว่า นี่เป็นความตั้งใจของพระองค์ เป็นสิ่งที่พระองค์ได้วางแผนเอาไว้ ที่พระองค์ประสงค์จะ !221
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
แสดงพระพิโรธอันน่าสะพรึงกลัวที่ไม่มีอะไรมายับยั้งไว้ ให้เห็นว่าความเดือดดาลและความโหดร้ายของ พระยาห์เวห์เป็นเช่นไร รับรองได้เลยว่าพระองค์จะทำสิ่งเหล่านั้นอย่างเต็มกำลัง และสิ่งที่พระองค์กระทำ จะต้องสำเร็จและน่าขยาดจนไม่มีใครอยากจะเห็นมัน เมื่อพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ผู้ซึ่งกำลังพิโรธได้ลุกขึ้นเพื่อ จะชำระความแค้นกับพวกคนบาปที่น่าสงสาร พวกคนชั่วช้าเหล่านั้จะต้องทนทุกข์กับพลังความโกรธของ พระเจ้าที่หนักอึ้งอยู่บนเขาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด และพระองค์จะทรงเรียกให้จักรวาลทั้งสิ้นมาดูฤทธานุ ภาพที่น่าสะพรึงกลัวของพระองค์และพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่จะปรากฎอยู่ในนั้น อิส ยาห์ 33:12 “และประชาชนทั้งหลายก็จะเหมือนถูกเผาจนเป็นปูน เหมือนกอหนามที่ถูกตัดแล้วเผาในไฟ พวกเจ้าผู้อยู่ไกล ฟังซิว่าเราได้ทำอะไร เจ้าผู้อยู่ใกล้ จงรับรู้กำลังของเรา พวกคนบาปในศิโยนก็หวาด กลัว ความสะทกสะท้านเข้าครอบงำคนไร้พระเจ้า มีใครในพวกเราอยู่กับไฟที่เผาผลาญได้? มีใครในพวก เราอยู่กับการเผาไหม้เป็นนิตย์ได้?” พวกคุณที่ยังไม่ได้กลับใจใหม่จะต้องได้รับสิ่งเหล่านี้ พวกคุณทั้งหลายที่ยังไม่ได้รับการบังเกิดใหม่ถ้าคุณ ยังดำเนินชีวิตในทางนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ฤทธานุภาพที่ไม่มีขีดจำกัดและสง่าราศีของพระองค์และความน่า สะพรึงกลัวของพระเจ้าผู้ทรงมีฤทธิ์อำนาจในการทำสิ่งสารพัดจะปรากฎอยู่ในความทุกข์ทรมานเกินคำ บรรยายที่คุณจะได้รับ คุณจะต้องทนทุกข์ทรมานต่อหน้าบรรดาทูตสวรรค์และพระเมษโปดก และขณะที่ คุณกำลังทนทุกข์อยู่ บรรดาประชากรแห่งเมืองสวรรค์ก็จะมาดูภาพที่น่าสยดสยองนั้น เพื่อที่เขาจะได้ เห็นพระพิโรธและความโกรธขององค์พระผู้เป็นเจ้าว่าเป็นเช่นไร และเมื่อเขาได้เห็นแล้ว พวกเขาจะ คุกเข่าลงและนมัสการพระองค์ผู้ทรงสำแดงฤทธานุภาพยิ่งใหญ่และเปี่ยมด้วยพระเกียรติสิริ อิสยาห์ 66:23-24 “จากวันขึ้นค่ำถึงอีกวันขึ้นค่ำ และจากวันสะบาโตถึงอีกวันสะบาโต มนุษย์ทั้งหมดจะมา นมัสการต่อหน้าเรา พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้แหละ และพวกเขาจะออกไปมองดูซากศพของพวกคนที่กบฎ ต่อเรา เพราะว่าหนอนที่กัดคนเหล่านี้จะไม่ตายไป ไฟที่เผาพวกเขาจะไม่ดับ และเขาทั้งหลายจะเป็นที่น่า สะอิดสะเอียนของมนุษย์ทั้งหมด” 4. พระพิโรธนี้อยู่ชั่วกัลปาวสาน แค่เพียงแต่ที่จะต้องทนทุกข์จากความพระพิโรธอันเดือดดาลขององค์พระผู้เป็นเจ้าสูงสุดเพียงชั่วขณะ หนึ่งมันก็น่าสะพรึวกลัวพออยู่แล้ว แต่ว่าคุณจะต้องทนทุกข์ทรมานนั้นตลอดนิตย์นิรันดร์ จะไม่มีจุดจบ ของความทุกข์ทรมานแสนสาหัสนี้ เมื่อคุณมองไปข้างหน้า คุณจะเห็นอนาคตที่ไกลและไร้จุดจบอยู่ต่อ หน้าคุณ มันจะดูดกลืนความคิดของคุณและมันจะทำให้จิตวิญญาณของคุณพิศวง คุณจะสิ้นหวังที่จะ หาว่ามีทางไหนที่จะออกมาจากที่นั่นได้, จะมีจุดจบของความทุกข์ทรมานนี้หรือไม่, ความทุกข์ทรมานนี้ จะบรรเทาลงบ้างหรือไม่ หรือมีที่ให้คุณได้หยุดพักบ้างหรือไม่ คุณจะรู้ว่าคุณจะต้องทนทุกข์ทรมานแบบ นี้ไปอีกนานแสนนาน เป็นล้านยุคสมัย ในการต่อสู้และทำสงครามกับการล้างแค้นที่ไร้เมตตาขององค์ผู้ ยิ่งใหญ่ และเมื่อคุณได้ทนทุกข์ทรมานผ่านไปชั่วขณะหนึ่งแล้ว คุณจะได้รู้ว่าเวลาหลายยุคสมัยที่คุณได้ ทนทุกข์มานั้นเป็นเหมือนจุดเล็ก ๆ บนเส้นของเวลาที่ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นการลงโทษที่คุณได้รับก็ไม่มีที่สิ้น !222
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
สุดด้วย โอ ใครเล่าจะสามารถบรรยายถึงสภาพของจิตวิญญาณที่ตกอยู่ในสภาพเช่นนั้นได้! สิ่งที่เรา บรรยายออกมาได้จะเป็นแค่เสี้ยวเล็กๆ ของมันเท่านั้น มันไม่สามารถอธิบายได้และไม่มีทางที่เราจะ เข้าใจได้ เพราะว่า “ใครเล่าจะรู้จักพลังแห่งพระพิโรธของพระเจ้า?” มันช่างน่าสะพรึงกลัวเหลือเกินสำหรับพวกคนเหล่านั้นที่ทุกๆวันเวลาพวกเขาตกอยู่ในอันตรายจาก พระพิโรธอันใหญ่หลวงและความทุกข์ทรมานที่มีที่สิ้นสุด แต่เรื่องที่น่าหดหู่นี้ก็เป็นความจริงสำหรับจิต วิญญาณทุกดวงของคนที่อยู่ในประชุมนี้ที่ยังไม่ได้บังเกิดใหม่อีกครั้ง ไม่ว่าพวกเขาจะเคร่งครัด, มีศีล ธรรม, เอาจริงเอาจังและยึดมั่นในศาสนามากแค่ไหน คนทั้งหลายเอ๋ยจงใคร่ครวญในเรื่องนี้อย่างเอา จริงเอาจังเถิด ไม่ว่าจะเป็นคนอายุมากหรืออายุน้อย มันจำเป็นเหลือเกินที่จะตระหนักว่ามีหลายคนที่อยู่ ในที่ประชุมแห่งนี้กำลังตกเป็นเป้าของความทุกข์ทรมานแบบชั่วกัลป์ชั่วกัลป์ เราไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใคร หรือว่านั่งอยู่ที่ไหน หรือว่าพวกเขากำลังคิดอะไรอยู่ตอนนี้ พวกเขาอาจจะรู้สึกเฉย ๆ ถึงแม้ว่าได้ยินสิ่ง ต่างๆ เหล่านี้แล้วก็ไม่ทำให้พวกเขาวิตกกังวลมาก และพวกเขาก็กำลังปลอบใจตัวเองว่าเขาไม่ได้กำลัง ตกอยู่ในอันตราย และเขาให้สัญญากับตัวเองว่าเขาจะหนีจากความทุกข์แบบนั้นได้ ถ้ามีแค่เพียงคน เดียวในที่ประชุมนี้ที่กำลังตกเป็นเป้าของความทุกข์ทรมานแบบนั้น มันช่างโหดร้ายเกินกว่าที่จะคิดได้ และถ้าเรารู้ว่าตนนั้นเป็นใคร เราจะรู้สึกแย่แค่ไหนที่จะต้องได้เห็นคนๆนั้น ที่ประชุมทั้งหมดควรจะ ร้องไห้ด้วยความโศกเศร้าและขมขื่นใจแทนเขา! แต่อนิจจา! แทนที่จะมีเพียงแค่คนเดียว ข้าพเจ้าสงสัย ว่ามีกี่คนในพวกคุณที่จะต้องตกนรก และเมื่อไปถึงที่นั่นแล้วคุณถึงจำคำเทศนาเรื่องนี้ได้ มันไม่ใช่เรื่อง น่าประหลาดใจเลยถ้าพวกคุณที่อยู่ในห้องนี้จะต้องไปอยู่ในนรกในเวลาอีกไม่นาน บางทีอาจจะก่อนสิ้น ปีนี้ด้วย และข้าพเจ้าก็ไม่ประหลาดใจอีกเช่นกัน ถ้ามีบางคนที่นั่งอยู่ที่นี่ ในตึกแห่งนี้ที่มีสุขภาพดี, มีชีวิต อยู่อย่างสงบและปลอดภัยแต่จะต้องไปอยู่ที่นรกก่อนเวลาเช้าวันพรุ่งนี้ พวกคุณที่ตอนนี้ยังมีชีวิตอยู่และ ยังไม่ได้ลงไปที่นรกก็จะต้องไปที่นั่นอีกไม่นาน! คำแช่งสาปของคุณไม่ได้หลับใหลอยู่ มันจะมาหาคุณ อย่างรวดเร็ว และมันอาจจะมาหาพวกคุณหลายคนในที่นี้อย่างรวดเร็ว คุณอาจจะสงสัยว่าทำไมคุณยัง ไม่ไปอยู่ที่นรก มันเป็นเรื่องจริงที่มีหลายคนที่คุณรู้จักหรือเคยเจอพวกเขาที่ดูเหมือนว่าทั้งคุณและพวก เขาไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่คือต้องตกนรกเหมือนกัน คนเหล่านั้นก่อนที่เขาจะตายไป เขามีชีวิตเหมือนกับที่ คุณมีชีวิตอยู่ในขณะนี้ แต่ตอนนี้สถานการณ์ของพวกเขานั้นเกินที่จะหวังได้แล้ว พวกเขาต้องร้องไห้ คร่ำครวญในความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและหมดสิ้นความหวัง แต่พวกคุณยังอยู่ในโลกนี้ อยู่ในพระ วิหารของพระเจ้าและคุณมีโอกาสที่จะได้รับความรอด ดวงวิญญาณเหล่านั้นที่ทนทุกข์อย่างไร้ความหวัง จะยอมแลกทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้ได้รับโอกาสอย่างที่พวกคุณได้รับในตอนนี้แค่เพียงครั้งเดียว ตอนนี้คุณได้รับโอกาสพิเศษ คุณอยู่ในเวลาที่พระเยซูทรงให้ประตูแห่งพระเมตตาเปิดกว้างอยู่ และทรง ยืนร้องเรียกด้วยเสียงอันดังต่อหน้าบรรดาคนบาปที่น่าเวทนา นี่เป็นเวลาที่คนมากมายกำลังรวมตัว เข้าหาพระองค์และรีบเร่งเข้าไปอาณาจักรของพระเจ้า ทุกๆวันมีคนมากมายจากทั้งตะวันออก, ตะวันตก, เหนือและใต้ คนมากมายที่เคยอยู่ในสภาพที่น่าเวทนาเหมือนที่คุณเป็นอยู่ในตอนนี้ แต่ว่าขณะนี้พวกเขา อยู่อย่างมีความสุขแล้ว เขามีหัวใจที่เต็มไปด้วยความรักต่อพระเจ้าผู้ทรงรักพวกเขา และทรงชำระล้าง !223
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ความบาปของเขาด้วยพระโลหิตของพระองค์ และตอนนี้เขาชื่นชมยินดีในความหวังแห่งพระสิริของ พระเจ้า มันจะแย่มากแค่ไหนที่จะต้องถูกทิ้งไว้ตามลำพังเมื่อวันนั้นมาถึง ที่จะต้องเห็นคนอื่นกำลังกิน เลี้ยงอยู่อย่างสนุกสนานในขณะที่คุณกำลังโศกเศร้าและทนทุกข์ทรมาน! มันจะเลวร้ายแค่ไหนที่จะต้อง เห็นคนอื่นๆ กำลังร้องเพลงด้วยความชื่นชมยินดีจากหัวใจของเขา ในขณะที่คุณกำลังร้องไห้คร่ำครวญ เพราะหัวใจที่ทุกข์ระทมของคุณ คุณได้แต่ร้องโหยหวนจากจิตวิญญาณที่เจ็บปวด! คุณสามารถพักผ่อน หย่อนใจได้อย่างไรทั้งๆที่คุณกำลังตกอยู่ในสภาพนี้ ดวงวิญญาณของคุณนั้นมีค่ามากพอๆกับดวง วิญญาณของคนเหล่านั้นที่เมือง Suffield ที่ซึ่งคนมากมายกำลังมาหาพระเยซูทุกๆ วัน มีคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้กลับใจใหม่หรือไม่ ถ้ามีพวกเขาก็ยังเป็นคนแปลก หน้าท่ามกลางชนชาติอิสราเอล และตลอดทั้งชีวิตของเขา พวกเขาไม่ได้ทำอะไรเลยนอกจากสะสม พระพิโรธของพระเจ้าที่มีต่อพวกเขา โอคนทั้งหลาย คุณอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายอย่างหาที่เปรียบไม่ ได้ ความผิดของคุณก็มหันต์และหัวใจของคุณก็แข็งกระด้างอย่างที่สุด คุณไม่เห็นหรือว่าผู้คนมากมาย ในช่วงชีวิตของคุณได้ตายจากไปในช่วงเวลาแห่งพระเมตตาของพระเจ้านี้ คุณควรที่จะพิจารณา สถานการณ์ของคุณอย่างถี่ถ้วน และตื่นขึ้นมาจากการหลับใหลได้แล้ว คุณไม่มีทางที่จะทนต่อความโหด ร้ายและพระพิโรธของพระเจ้าผู้ดำรงอยู่ชั่วนิตย์นิรันดร์ได้ สำหรับพวกคุณ คนหนุ่มสาวทั้งหลาย คุณจะเพิกเฉยต่อโอกาสที่มีคุณค่าเช่นนี้หรือ ในขณะที่คนที่อายุ เท่าคุณหลายต่อหลายคนกำลังละทิ้งความสนุกสนานในวัยหนุ่มที่ไร้ประโยชน์และกำลังเข้าไปหาพระ เยซู พวกคุณที่กำลังได้รับโอกาสที่พิเศษ ถ้าคุณปฎิเสธมัน คุณก็จะเป็นเหมือนพวกคนอาวุโสเหล่านั้นที่ ใช้ช่วงชีวิตวัยรุ่นที่มีค่าไปกับการสำเริงสำราญในความบาป และตอนนี้พวกเขากลายเป็นคนที่จิตใจและ แข็งกระด้างอย่างเลวร้าย สำหรับพวกคุณที่ยังเป็นเด็ก และยังไม่ได้กลับใจใหม่ คุณไม่รู้หรือว่าคุณจะต้องตกนรก จะต้องทนทุกข์ ทรมานกับพระพิโรธที่รุนแรงของพระเจ้า ผู้ซึ่งมีความโกรธต่อคุณทุกวันทุกคืน คุณพอใจที่ตกเป็นบุตร ของมารซาตานหรือ ในขณะที่มีเด็กมากมายกลับใจใหม่แล้วและพวกเขาได้กลายเป็นบุตรแห่งกษัตริย์ เหนือกษัตริย์และได้รับทั้งความสุขและความบริสุทธิ์ ขอให้พวกคุณทุกคนที่ยังไม่มีพระเยซูคริสต์ในชีวิต และกำลังถูกแขวนอยู่เหนือหลุมนรก ไม่ว่าคุณจะเป็น ชายหรือหญิงอาวุโส ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยกลางคน หรือว่าเป็นคนหนุ่มสาว หรือแม้แต่เด็กเล็ก จงฟังเสียง เรียกของพระคำและการจัดเตรียมของพระองค์ ปีแห่งความโปรดปรานจากพระเจ้าคือเวลานี้แล้ว และ วันที่พระเจ้าทรงมีความโปรดปรานให้แก่บางคนจะเป็นวันแห่งการล้างแค้นสำหรับบางคนอย่างไม่ต้อง สงสัย จิตใจของมนุษย์จะแข็งกระด้างและความผิดบาปของเขาจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถ้าพวกเขายังเพิก เฉยต่ดวงวิญญาณของพวกเขาเองเช่นนี้ ้ และเมื่อคนถูกปล่อยให้ไปมีใจที่กระด้างและจิตใจที่มืดบอด เขาก็กำลังอยู่ในอันตรายอย่างใหญ่หลวง ดูเหมือนว่าตอนนี้พระเจ้ากำลังทรงรวบรวมบรรดาคนที่ พระองค์ได้ทรงเลือกไว้จากทั่วสารทิศ บางทีอาจจะมีคนจำนวนมากกำลังจะได้รับความรอดในเวลาอีก !224
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ไม่นาน และบางทีมันอาจจะเป็นเหมือนกับเหตุการณ์ที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เทลงมาบนชาวยิวเหมือนใน สมัยของพวกอัครทูต พวกที่พระเจ้าทรงเลือกไว้จะได้รับพระเมตตา ส่วนคนที่เหลือจะตาบอด ถ้าคุณอยู่ ในพวกที่ไม่ได้รับพระเมตตา คุณจะแช่งสาปวันที่คุณอยู่วันนี้ คุณจะแช่งสาปวันที่คุณเกิดมาลืมตาดูโลก ที่คุณจะต้องได้เห็นพระเจ้าทรงเทพระวิญญาณของพระองค์ลงมา และคุณจะขอที่จะตายและไปนรก ก่อน เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเห็นสิ่งที่คุณไม่มีทางได้รับนั้น ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเวลานี้เป็นเหมือนในสมัย ของยอห์น ผู้ให้บัพติศมา ที่ขวานก็ถูกวางไว้ที่รากของต้นไม้แล้ว และต้นไม้ต้นไหนที่ไม่เกิดผลก็จะถูก โค่นลงและถูกเอาไปเผาไฟ ดังนั้นพวกคุณทุกคนที่ไม่มีพระเยซูคริสต์ ขอจงตื่นขึ้นเถิดและรีบหนีจากพระพิโรธของพระเจ้าที่กำลังจะ มา พระพิโรธขององค์พระผู้เป็นเจ้าสูงสุดลอยอยู่เหนือกลุ่มคนที่อยู่ในที่ประชุมนี้อย่างไม่ต้องสงสัย ขอให้ พวกคุณทุกคนรีบเร่งออกจากเมืองโสโดม “หนีเอาชีวิตรอดเถิด อย่าเหลียวหลังและอย่าหยุดที่ไหนในที่ ลุ่มทั้งหมด หนีไปที่เนินเขา มิฉะนั้นท่านจะถูกทำลาย!”
!225
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ภาคผนวก 6 !
!
คำสอนเทียมเท็จของ “ข่าวประเสริฐแห่งความเจริญ รุ่งเรือง” (Prosperity Gospel) ! เขียนโดย คณะกรรมการศาสนศาสตร์ของ กปท.!
!
สารบัญ คำนำ บทความคำสอนเทียมเท็จ แนวทางการพิจารณาเรื่องการสอนผิด-เทียมเท็จในคริสตจักร
!
คำนำ
!
คำสอนเทียมเท็จหรือคำสอนผิดมีอยู่ตั้งแต่สมัยของพระเยซูและคริสตจักรในยุคแรก ครั้งหนึ่งพระเยซูเองได้กล่าวเตือนสาวกของพระองค์ไว้ดังนี้ว่า
!
!
“และในเวลานั้น ถ้าผู้ใดจะบอกพวกท่านว่า ‘แน่ะ พระคริสต์อยู่ที่นี่’ หรือ ‘แน่ะ อยู่ที่โน่น’ อย่าได้ เชื่อเลย ด้วยว่าจะมีพระคริสต์เทียมเท็จและผู้ทำนายเทียมเท็จหลายคนเกิดขึ้น ทำหมายสำคัญ และการมหัศจรรย์ เพื่อล่อลวงผู้ที่พระเจ้าทรงเลือกสรรแล้วให้หลง ถ้าเป็นได้ แต่ท่านทั้งหลายจง ระวังให้ดี ดูเถิด เราได้บอกท่านทั้งหลายไว้ก่อนแล้ว” (มาระโก 13:21-23)
และอัครสาวกเปโตรได้เตือนคริสตจักรในเวลานั้นไว้เช่นกันว่า
!
“แต่ว่าได้มีคนที่ปลอมตัวเป็นผู้เผยพระวจนะเกิดขึ้นในชนชาตินั้น เช่นเดียวกับที่จะมีผู้สอนผิดเกิด ขึ้นในพวกท่านทั้งหลาย ซึ่งจะลอบเอามิจฉาลัทธิอันจะให้ถึงความพินาศเข้ามาเสี้ยมสอน จนถึงกับ ปฏิเสธองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ได้ทรงไถ่เขาไว้ ซึ่งจะทำให้เขาพินาศโดยเร็วพลัน จะมีคนหลายคน ประพฤติชั่วตามอย่างเขาและเพราะคนเหล่านั้นเป็นเหตุ ทางของสัจจะจะถูกกล่าวร้าย และด้วยใจ โลภเขาจะกล่าวตลบแตลงค้ากำไรจากท่านทั้งหลาย การลงโทษคนเหล่านั้นที่ได้ถูกพิพากษานาน มาแล้วจะไม่เนิ่นช้า และความวิบัติที่จะเกิดกับเขาก็หาสลายไปไม่” (2 เปโตร 2.1-3)
!
ดังนั้นคริสตจักรและผู้นำในปัจจุบันควรตระหนักและตื่นตัวในเรื่องนี้ให้มากยิ่งขึ้น เพราะ ปัจจุบันมีคำสอนที่ผิดแปลกไปจากคำสอนที่คริสตจักรยุคแรกได้เชื่อและสั่งสอนสืบทอดกันมามากขึ้น เรื่อย ๆ ปัจจุบันคำสอนที่ขัดแย้ง หรือปราศจากข้อสนับสนุนจากพระคัมภีร์เป็นสิ่งที่อันตรายและ ทำลายพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ คำสอนเหล่านี้บางครั้งปรากฏเพียงครั้งเดียวและไม่สามารถ ยืนยันจากที่อื่น ๆ ได้ หรือยิ่งไปกว่านั้นคำสอนผิดเหล่านี้ยังขัดแย้งกับคำสอนในเรื่องเดียวกัน ในตอน อื่น ๆ ของพระคริสตธรรมคัมภีร์ !226
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
บทความจากคณะกรรมการศาสนศาสตร์ของกปท.ข้างล่าง จึงเป็นการจุดประกายที่สำคัญอัน เนื่องจากการที่คริสตจักรของพระเจ้าตระหนักถึงความสำคัญในการเผชิญหน้ากับคำสอนผิด และผู้ที่ นำคำสอนผิดมาเผยแพร่ ทั้งนี้มุ่งให้คริสตจักรยืนหยัดในความเชื่อที่ถูกต้องตามพระวจนะของพระเจ้า อันเป็นสิทธิอำนาจที่สูงสุดของคริสตจักร
คำสอนเทียมเท็จ
!
1. ข่าวประเสริฐแห่งความเจริญรุ่งเรือง – Prosperity Gospel บทสรุปการศึกษาโดยคณะทำงานศาสนศาสตร์โลซานสรุปคำสอนของ “ข่าวประเสริฐแห่ง ความเจริญรุ่งเรือง” (Prosperity Gospel) ดังนี้ ว่า “ผู้เชื่อมีสิทธิ์ที่จะได้รับพระพรด้านสุขภาพและ ความมั่งคั่งทางการเงิน และพวกเขาสามารถได้รับพระพรเหล่านี้โดยการประกาศยืนยันความเชื่อและ การ‘หว่านเมล็ดพันธุ์’ ผ่านการถวายทรัพย์สินเงินทองอย่างสัตย์ซื่อ” ในคำสอนเท็จนี้ คริสเตียนทุกคน สามารถได้รับความเจริญรุ่งเรือง ที่เน้นเรื่องการกินดีอยู่ดี สุขภาพร่างกายที่ดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ทั้งปวง เพียงให้เขามีความเชื่อในพระเจ้า โดยถวายทรัพย์สินเงินทองอย่างสัตย์ซื่อ คณะกรรมการศาสนศาสตร์ของกปท. เห็นด้วยกับคริสเตียนส่วนใหญ่ว่า “ข่าวประเสริฐแห่ง ความเจริญรุ่งเรือง” เป็นคำสอนเทียมเท็จ และเราสนับสนุนแนวทางของคณะทำงานโลซาน ในการต่อ ต้านคำสอนที่ผิดเพี้ยนนี้ดังต่อไปนี้ 1. เราเห็นด้วยว่า คำสอนเท็จแห่งความเจริญรุ่งเรืองเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เจาะจงคณะนิกายความ เชื่อ เราสามารถพบคำสอนนี้ได้ในคริสตจักรในสังกัดสภาคริสตจักรในประเทศไทย (CCT) สห กิจ คริสเตียนแห่งประเทศไทย (EFT) และสหคริสตจักรแบ๊บติสต์ในประเทศไทย ดังนั้น บท สรุปนี้ตั้งเป้าไปที่คำสอนแห่งความเจริญรุ่งเรือง และไม่ได้มีเจตนาวิจารณ์คณะนิกายหนึ่งนิกาย ใด
2.
!
!
เราเห็นด้วยว่า บางมิติของคำสอนนี้มีต้นกำเนิดจากพระคัมภีร์ แต่ในภาพรวมแล้วเราเห็นว่า คำ สอนนี้เป็นเท็จและบิดเบือนพระคัมภีร์อย่างร้ายแรง และพฤติกรรมที่คำสอนนี้สนับสนุนทำให้ เกิดการอภิบาลที่ทำร้ายศิษย์ และชีวิตฝ่ายจิตวิญญาณที่ไม่เติบโต คำสอนเช่นนี้ไม่ให้ความหวัง ที่แท้จริงยั่งยืน และหันเหความสนใจของผู้ที่ได้รับฟัง ออกจากพระกิตติคุณและวิถีทางแห่ง ความรอดนิรันดร์
ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการชุดนี้จึงได้ทำบทสรุปฉบับนี้ เพื่อปฏิเสธพฤติกรรมที่เกินขอบเขตของ คำสอนเท็จแห่งความเจริญรุ่งเรือง ที่ขัดกับพระคัมภีร์ และความเชื่อของคริสเตียนอย่างชัดเจน
! !
คำสอนเท็จแห่งความเจริญรุ่งเรืองแบ่งออกเป็น 2 คำสอนใหญ่ ๆ คือ คำสอนที่เน้น 1) ความมั่งคั่งทางทรัพย์สินเงินทอง (Wealth): พระเจ้าปรารถนาให้ผู้เชื่อทุกคนร่ำรวย 2) สุขภาพทีด่ ี (Health): พระเจ้าปรารถนาให้คริสเตียนทุกคนมีสขุ ภาพทีแ่ ข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้ เจ็บ การวางมือรักษาโรคเป็นส่วนสำคัญของคำสอนนี้ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของฤทธิ์เดชของ พระเจ้าผ่านผู้ที่มีของประทานในการรักษาโรค และบนความเชื่อของผู้ที่รับการรักษา !227
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
โดยคำสอนเท็จทั้งสองนี้ ตั้งบนพื้นฐานของความเชื่อ 4 ประการ • พระเจ้าสัญญาว่าจะอวยพรอับราฮามให้มคี วามเจริญรุง่ เรือง และคริสเตียนซึง่ เป็นลูกหลานอับรา ฮามฝ่ายวิญญาณ ก็จะได้รับพระพรแห่งความเจริญรุ่งเรืองเช่นกัน • การสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนขององค์พระเยซูคริสต์นั้น ไ ม่เพียงเป็นการไถ่บาปของเรา แต่ ยังเป็นการไถ่ถอนความเจ็บไข้ได้ป่วย ความยากจน และสิ่งชั่วร้ายทุกสิ่งในชีวิตคริสเตียนออก ไปจนหมดสิ้นด้วย เราไม่เป็นหนี้อะไรอีกต่อไปแล้ว ผู้เชื่อเพียงเรียกร้องสิทธิแห่งความเจริญ รุ่งเรืองของเรา แล้วเราก็จะได้รับแต่พระพรเท่านั้น • ความเชื่อเป็นพลังที่ทำให้ความปรารถนากลายเป็นจริง ถ้าคริสเตียนเชื่อว่าพระเจ้าจะทำให้ เขาเจริญรุ่งเรือง พระเจ้าจะอวยพรให้เขาร่ำรวย และมีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัยไข้ เจ็บ ฉะนั้นความเชื่อเป็นกุญแจที่นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ผู้ที่ไม่ร่ำรวย หรือไม่หายจากโรค ภัยไข้เจ็บเพราะว่าเขาขาดความเชื่อ หรือมีบาปบางอย่างที่ซ่อนอยู่ • การถวายทรัพย์เป็นการแสดงออกถึงความเชื่อภายใน หรือเป็น “เมล็ดแห่งความเชื่อ” ที่จะนำ มาซึ่งการทวีคูณของความเจริญรุ่งเรือง ถ้าต้องการรับพระพรมาก ๆ ก็ต้องถวายมาก ๆ
!
ข้อตอบโต้ 1. เรายืนยันอำนาจมหัศจรรย์และฤทธานุภาพของพระเจ้าที่อยู่เหนือธรรมชาติ เราเชื่อในฤทธิ์ เดชของพระวิญญาณบริสุทธิ์ แต่ เราปฏิเสธความคิดที่สวนทางกับพระคัมภีร์ที่ว่า อำนาจ มหัศจรรย์ของ พระเจ้าสามารถได้มาแบบอัตโนมัติ หรือสามารถควบคุมจัดการได้โดย เทคนิคต่างๆ ของมนุษย์ หรือ เปลี่ยนแปลงได้โดยการใช้คำ การกระทำ หรือพิธีกรรมต่างๆ อำนาจมหัศจรรย์ของพระเจ้าที่มากับการอธิษฐานเพื่อคนป่วยเป็นอำนาจอธิปไตยของพระเจ้า ที่มาถึงเราได้โดยพระคุณของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว อำนาจของการรักษาไม่ได้ขึ้นอยู่กับการ ใช้คำ การกระทำ หรือพิธีกรรมต่างๆ ของผู้ที่อ้างว่ามีของประทานในการรักษาโรค หรือแม้แต่ บนความเชื่อที่แรงกล้าของผู้ที่ได้รับการรักษา อำนาจอธิปไตยของพระเจ้านี้รวมไปถึงความ เป็นจริงที่ว่า พระเจ้ายังอนุญาตให้มีโรคภัยไข้เจ็บเพื่อพระประสงค์ของพระองค์เอง ไ ม่ว่าจะ เพื่อตีสอนคนของพระเจ้า ฝึกความอดทน ใ ช้ชีวิตเพื่อถวายเกียรติ หรือให้คนของพระองค์ ถ่อมใจลง1 ในทำนองเดียวกัน ความมั่งคั่งทางทรัพย์สินเงินทองก็ไม่ได้มาแบบอัตโนมัติ หรือ สามารถควบคุมจัดการได้โดยการถวาย บ่อยครั้งข้อพระคัมภีร์ที่คำสอนเท็จแห่งความเจริญ รุ่งเรืองนำมาอ้างอิงเกี่ยวกับการถวาย (เช่น มก.10:30; ลก.6:38) ไ ม่เกี่ยวกับการถวายเลย จริงอยู่ การถวายเป็นหน้าที่ของคริสเตียนทุกคน แต่ไม่มีพระคัมภีร์ข้อใดที่สอนว่าถ้า “คุณ ถวาย 10 และจะได้รับ 1000 ถวาย 1,000 ก็จะได้รับ 100,000 Femi Adeleye ได้ให้ข้อคิดกับ เราในที่ประชุมที่ Lausanne Cape Town 2010 ว่า "ถ้าไม่มีพระพรเรายังจะถวายหรือไม่ อะไรคือแรงจูงใจในการถวาย ถ้าการถวายคือการนมัสการอย่างหนึ่ง เรายังจะถวายให้กับ พระเจ้าหรือไม่ถ้าพระองค์ไม่ให้อะไรเราเลยเป็นการตอบสนอง" ตามคำสอนของพระคัมภีร์คน ยากจนก็สามารถนมัสการด้วยการถวายได้ เมื่อพระเยซูทอดพระเนตรเห็นหญิงม่ายคนหนึ่ง 1 อย่างเปาโลใน 2 คร. 2:7 “และเพื่อไม่ให้ข้าพเจ้ายกตัวเองจนเกินไป เนื่องจากที่ได้เห็นสำแดงมากมายนั้น ก็ทรงให้มีหนาม
ใหญ่ในเนื้อของข้าพเจ้า หนามนั้นเป็นทูตของของซาตานคอยทุบตีข้าพเจ้าเพื่อไม่ให้ข้าพเจ้ายกตัวเกินไป”
!228
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
2.
3.
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ซึ่งเป็นคนขัดสน นำเหรียญทองแดงสองอันมาใส่ด้วย พระองค์ตรัสว่า “เราบอกท่านทั้งหลาย จริงๆ ว่า หญิงม่ายยากจนคนนี้เป็นคนที่ใส่ไว้มากกว่าเพื่อน เพราะว่าทุกคนเอาเงินเหลือใช้มา ใส่เพื่อถวาย แต่ผู้หญิงคนนี้ขาดแคลนที่สุด ยังเอาเงินที่มีอยู่สำหรับเลี้ยงชีวิตมาใส่จน หมด” (ลูกา 21:2-4) เราตระหนักดีว่าพระคัมภีร์ได้มีการสอนเรื่องความรุ่งเรืองของมนุษย์ และพระคัมภีร์ ไ ด้รวม เอา พระพรต่าง ๆ (รวมทั้งสุขภาพที่ดีและความมั่งคั่ง) ของพระเจ้าไว้ในคำสอนพระคัมภีร์ ด้วย ซึ่งจะต้องทำการเรียนรู้ และสอนกันในบริบทของพระคัมภีร์ทั้งพระคัมภีร์เดิมและพระ คัมภีร์ใหม่ทั้งเล่ม เราจึงไม่ควรที่จะทำการแยกวัตถุสิ่งของออก จากมิติฝ่ายวิญญาณใน ลักษณะ dualism ที่ไม่ใช่เป็นคำสอนของพระคัมภีร์ แต่เราปฏิเสธความคิดที่สวนทางกับพระ คัมภีร์ที่ว่า สวัสดิภาพทาง จิตวิญญาณสามารถวัดได้โดยสวัสดิภาพทางวัตถุกายภาพ หรือความคิดที่ว่า ความรุ่งเรืองเป็นเครื่องหมายแห่งการอวยพรจากพระเจ้าเสมอ หรือความ คิดที่ว่า ความยากจน หรือความเจ็บป่วย เป็นเครื่องหมายของการขาดความเชื่อ หรือของการ ทำบาป พระคัมภีร์ปฏิเสธความเชื่อมโยงประเภทนี้อย่างชัดเจน เช่น - ความมั่งคั่งที่ได้มาโดยการกดขี่ หลอกลวง หรือการทุจริตไม่ใช่พระพรของพระเจ้า - ความลำบากของโยบเกิดขึ้นเพราะความสัตย์ซื่อและความชอบธรรมของเขา - นอกจากนี้ในพระธรรมยอห์น 9:1-3 ไ ด้แสดงให้เราเห็นความทุกข์ยากบางครั้งก็เกิดขึ้น เพื่อ พระราชกิจของพระเจ้าจะปรากฏในตัวผู้ที่ได้รับความทุกข์ ยื่งไปกว่านั้น 2 คร. 8:9 สอนเรื่องการเสียสละโดยการถวายเงินเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น โดยเปรียบเทียบกับการเสียสละของพระเยซู (ในแนวของฟป. 2:6-7) ที่พระองค์ผู้ซึ่งมีสถานะ เป็น พระเจ้า (“มั่งคั่ง”) แต่เสียสละที่จะลดพระองค์เองลงมาเป็นมนุษย์ และสิ้นพระชนน์บน ไม้กางเขน (“ยากไร้”) เพื่อเราจะได้รับความรอด (“มั่งคั่ง”) ผ่านการเสียสละของพระองค์ พระ ธรรมตอนนี้ไม่ได้สอนว่าคริสเตียนทุกคนจะมั่งคั่งทางทรัพย์สินเงินทอง ในด้านกลับกัน พระเจ้าไม่ได้รับเกียรติสูงสุดจากชีวิตที่ขอแล้วได้พระพรมากมายจาก พระองค์ แต่จากชีวิตที่พึ่งและพบความเพียงพอในพระเจ้า ท่ามกลางความสูญเสียและยาก ลำบากของเขา John Piper เสนอว่า “พระเจ้าได้รับเกียรติสูงสุด เมื่อเราพบว่าพระองค์ เท่านั้นที่พอเพียงในชีวิตที่อยู่ท่ามกลางความสูญเสียและทุกข์ยากของเรา” อีกนัยหนึ่งก็คือ พระเจ้าได้รับเกียรติสูงสุดในชีวิตที่ขาดมากกว่าในชีวิตที่เกิน เพราะชีวิตที่ขาดเท่านั้นที่เรา สามารถสัมผัสได้ว่า พระเจ้าเพียงพออย่างเป็นรูปธรรมจริงๆ Rick Warren ไ ด้พูดคล้ายๆกันว่า “คุณจะไม่รู้อย่างแท้จริงว่าพระเจ้าคือทุกสิ่งที่คุณ ต้องการจนกว่า พระองค์จะเป็นทุกสิ่งที่คุณเหลืออยู่” John Oswalt กล่าวว่า “คำสาปที่เลวร้าย ที่สุดของความอยู่ดีกินดีคือการที่สภาพเช่นนี้หลอกให้เราเชื่อว่าเราไม่จำเป็นต้องพึ่งผู้อื่น” เขา เสนอต่อไปว่า “เราจะเรียนรู้บทเรียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของชีวิต ... เมื่อเราเข้าใจว่าพระเจ้า เท่านั้นที่สามารถดับกระหายชีวิตของเราได้ เราจะไม่พยายามแสวงหาน้ำดื่มเพื่อดับกระหาย ชีวิตของเราด้วยการดื่มน้ำทะเลซึ่งจะทำให้เรายิ่งกระหายมากกว่าเดิมอีก” เราปฏิเสธคำสอนแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่สนองกิเลสความโลภ ซึ่งเป็นการกราบไหว้รูป เคารพ (พระเจ้าแห่งทรัพย์สินเงินทอง) อย่างหนึ่ง โ ดยการเน้นความเจริญรุ่งเรืองและความ สำเร็จส่วนบุคคล คำสอนเท็จแห่งความเจริญรุ่งเรืองนี้เน้นเรื่องราวเกี่ยวกับการเงินอย่างต่อ เนื่อง ราวกับว่าการมีทรัพย์สินเงินทองคือจุดสูงสุดของความดีงามทั้งปวง และมองข้าม !229
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
4.
5.
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
อันตรายของความเจริญรุ่งเรืองและบาปแห่งความโลภที่ พระคัมภีร์นำเสนออย่างชัดเจน2 คำ สอนนี้ไม่นำเสนอพระวจนะของ พระเจ้าให้ครบถ้วน แต่เลือกที่จะพูดสิ่งที่ผู้คนต้องการที่จะ ได้ยิน แทนที่จะมุ่งเน้นการอธิบายให้คนเข้าใจเกี่ยวกับความบาป การกลับใจใหม่ ความเชือ่ วางใจ และความหวังนิรนั ดร์ John Piper สรุปว่า “สาระสำคัญของพระกิตติคณ ุ แห่งความเจริญ รุ่งเรืองทุกรูปแบบคือ [คำสอนนี้] ปล่อยให้ผู้คนตกอยู่ในกิเลสตัณหาเดิมๆของพวกเขา และให้ พระเยซูสนองความต้องการเหล่านั้น....[พระเยซู] ไ ม่ได้เสด็จมาเพื่อสนองและรับใช้ความ ต้องการแห่งเนื้อหนังของคุณ พระองค์เสด็จมาเพื่อให้ความต้องการใหม่กับคุณ นี่คือความ หมายของการบังเกิดใหม่.... และ[นักเทศน์]จำนวนมากปล่อยให้ผู้คนตกอยู่ในกิเลสตัณหา เดิมๆของเขา และเพียงเพิ่มอำนาจวิเศษของพระเยซูเข้าไปเท่านั้น [ความเชื่อแบบนั้น] ไม่ใช่พระกิตติคุณ” เราเห็นปัญหาความยากจนในสังคมไทยที่เป็นผลจากความบาปของมนุษย์ แต่เราเชื่อว่าคำ สอนแห่งความเจริญรุ่งเรืองไม่ได้เป็นการตอบสนองที่มาจากพระคัมภีร์ หรือเป็นประโยชน์ต่อ การแก้ปัญหาความยากจนของสังคม - คำสอนแห่งความเจริญรุ่งเรืองนี้อาจจะทำให้บางคนมีฐานะดีขึ้น โ ดยเฉพาะทำให้ผู้ที่ เทศนาสั่งสอนนั้นร่ำรวย แต่คนส่วนใหญ่ไม่มีสภาพชีวิตที่ดีขึ้นเลย และกลับต้องแบกรับ ภาระแห่งความผิดหวังเพิ่มขึ้นด้วย - คำสอนแห่งความเจริญรุ่งเรืองเน้นสาเหตุทางจิตวิญญาณว่าเป็นต้นกำเนิดของความ ยากจน แต่ไม่ให้ความสนใจกับสาเหตุทางเศรษฐกิจและการเมือง และไม่ให้ความสนใจ เกี่ยวกับความ อยุติธรรม การแสวงหาผลประโยชน์ ฯลฯ - ฉะนั้น คำสอนแห่งความเจริญรุ่งเรืองจึงมีแนวโน้มที่จะทำให้คนยากจนกลายเป็นเหยื่อ โดยทำให้พวกเขารู้สึกว่าความยากจนคือความผิดของตัวเขาเอง แต่ไม่พยายามแก้ไข ปัญหาและประณามผู้ที่ใช้ความโลภของตัวเองทำให้ผู้อื่นพบกับความยากจน พระคัมภีร์ที่ใช้ในการอธิบายและการสนับสนุนคำสอนเท็จแห่งความเจริญรุ่งเรือง มักจะถูก บิดเบือนความหมายอย่างร้ายแรง เพื่อให้พระคัมภีร์สนับสนุนคำสอนของเขาเอง และนำมาใช้ ในทางที่ขัดแย้งกับคำสอนพื้นฐานของพระคัมภีร์ทั้งเล่ม ยกตัวอย่างเช่น คำสอนเท็จแห่งความ เจริญรุ่งเรืองอ้างอิง ปฐก 1:26 และนำเสนอว่าเมื่อคริสเตียนเป็นผู้ครอบครองสรรพสิ่งของ พระเจ้าแล้ว เราก็ย่อมเป็นผู้ที่เจริญรุ่งเรืองทุกคน คำสอนแห่งความเจริญรุ่งเรืองเน้นคำว่า “ครอบครอง” ในพระคัมภีร์ข้อนี้ และนำเสนอว่า พระเจ้าได้มอบสิทธิในการครอบครองแผ่น ดินโลกนี้ให้กับผู้ที่เชื่อในองค์พระเยซูคริสต์เจ้าทุกคน3 แต่หากเราพิจารณาพระธรรมข้อนี้ภาย ใต้บริบทของพระคัมภีร์ทั้งเล่ม เราจะเห็นว่ามนุษย์เป็นเพียง ผู้อารักขาดูแล และไม่ได้รับสิทธิ เป็นเจ้าของโลกนี้แต่อย่างไร องค์พระผู้เป็นเจ้ายังคงไว้ซึ่งความเป็นเจ้าของที่แท้จริงอย่าง สมบูรณ์
2 1ทธ. 6:6-10 เตือนให้เราระวังเรื่องความอยากร่ำรวย และความไม่เพียงพอ พระคัมภีร์ตอนนี้ได้เตือนให้คริสเตียนระวัง
ความอยากรวย
וְיְִרּדּוซึ่งในบริบทของพระธรรมตอนนี้ให้ความหมายของการเป็นผู้สำเร็จราชการของพระเจ้า (vice-Regent) และเป็นบทบาทที่พระเจ้า มอบให้กับมนุษย์ทุกคน (และไม่ใช่เฉพาะกับคริสเตียนเท่านั้น) ซึ่งถูกสร้างขึ้นในพระฉายาของพระองค์ 3 คำ ๆ นี้มาจากคำในภาษาฮิบรู
!230
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
6. 7. 8.
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
อสย. 53:4-5: ความจริงแล้ว ข้อพระคัมภีร์ข้อนี้เป็นคำพยากรณ์การสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน ซึ่งชาวยิวห้ามอ่านกัน โ ดยคำว่า “หายดี” นั้นมีความหมายว่า “ยกบาป” ตามบริบท และคำ สอนใน 1 ปต. 2 :24 “พระองค์ได้ทรงรับแบกบาปของเราไว้ในพระกายของพระองค์ที่ ต้นไม้นั้น เพื่อว่าเราทั้งหลายจะได้ตายจากบาปได้และดำเนินชีวิตตามคลองธรรม ด้วย บาดแผลของพระองค์ ท่านทั้งหลายได้รับการรักษาให้หาย” ซึ่งก็ชัดเจนจากการเขียนใน ลักษณะไวยกรณ์ชาวยิวที่รู้จักกันในรูปแบบการสัมผัสแบบคู่ขนาน (Parallel synonymous) ว่าบาดแผลก็คือบาป และการหายก็คือการยกบาป ไม่ใช่เป็นการหายโรคแต่ประการใด เราเห็นการเจริญเติบโตของจำนวนผู้ที่ประกาศตัวเองว่าเป็นคริสเตียนในคริสตจักรเลือกนำคำ สอนแห่งความเจริญรุ่งเรืองมาใช้ แต่การเพิ่มขึ้นของจำนวนคนไม่ได้หมายความว่าความเชื่อ นี้ถูกต้อง ความนิยมชมชอบไม่ใช่หลักฐานของความจริงความถูกต้องและผู้คนจำนวนมากก็ยัง สามารถถูกหลอกได้ เราสังเกตว่าคนจำนวนมากถูกหลอกโดยคำสอนดังกล่าว ใ ห้เชื่อในความเชื่อที่ผิดเพี้ยน และ ให้มีความคาดหวังที่เกินจริง และเมื่อความคาดหวังเหล่านี้ไม่ได้รับการตอบสนอง หลายคนก็ เลิกเชื่อในพระเจ้า และออกจากคริสตจักรไปเลย คำสอนแห่ ง ความเจริ ญ รุ ่ ง เรื อ งได้ ละทิ้ ง หลั ก คำสอนที่ เ ป็ น พื้ น ฐานของความเชื่ อในสาย Protestant เช่นความมีสิทธิอำนาจสูงสุดศักดิ์สิทธิ์ของพระคัมภีร์ในฐานะเป็นพระวจนะของ พระเจ้า และความเชื่อที่มีกางเขนของพระคริสต์เป็นศูนย์กลาง
!
หมายเหตุ : ปัจจุบันคำสอนเท็จแห่งความเจริญรุ่งเรืองได้พัฒนาออกมาในรูปแบบใหม่ๆ โ ดยใช้คำ ศัพท์ที่เราอาจจะคุ้นเคยที่มาจากความเชื่อพื้นฐานของคริสเตียนในสาย Protestant เช่นการใช้คำว่า พระคุณ (grace) พระพร (blessings) หรือแม้แต่ พระกิตติคุณที่สมบูรณ์ (holistic gospel)
!
! ! !
!231
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
แนวทางการพิจารณาเรื่องการสอนผิด-เทียมเท็จในคริสตจักร
!
แนวทางในการพิจารณาว่าบุคคลหนึ่งบุคคลใด หรือ กลุ่มใด สอนผิดหรือมีการสอนเทียมเท็จ นั้นดู ได้จากแนวทางการปฏิบัติหรือความเชื่อของบุคคลหรือกลุ่มนั้นที่แสดงออก ซึ่งเป็นที่สังเกตได้ดังนี้
!
1.
2.
คำสอนหรือความเชื่อเกี่ยวกับพระเยซูคริสต์ a. เขาเหล่านั้นมีความเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าและองค์พระผู้เป็นเจ้า และพระองค์เป็น แหล่งความรอดเดียวหรือไม่? b. การสอนเทียมเท็จจะมีการเพิ่มเติมสิ่งอื่นที่เท่าเทียมเข้ามาควบคู่กับสิทธิอำนาจของ พระเยซู c. มีรูปแบบพิธีกรรม หรือ ลักษณะการแสดงออกในที่ประชุม ที่แตกต่างจากแนวปฏิบัติ หรือการนมัสการทั่วไปของคริสตจักร และให้ความสำคัญกับพิธีกรรมเหล่านั้นเท่า เทียมกับ พระคริสต์ d. บางครั้งอำนาจหรือความสำคัญ ที่เท่าเทียมพระคริสต์เหล่านี้ออกมาในรูปแบบของกฎ ข้อบังคับ หลักข้อเชื่อที่ตั้งขึ้น หรือมีผู้นำที่มีสิทธิอำนาจเท่าเทียมกับพระคริสต์ e. หรืออีกนัยหนึ่งเขาจะบอกว่าเชื่อพระคริสต์ในฐานะพระผู้ช่วยให้รอด แต่จะมีการเพิ่ม เติมว่า ผู้เชื่อต้องการ หรือ ต้องมีสิ่งอื่นๆ อีกความรอดที่มีอยู่ถึงจะสมบูรณ์ และจะ ทำให้มีความมั่นใจในการไปสวรรค์ f. คำสอนเทียมเท็จจะสอนว่าความรอดมาทางพระเยซูคริสต์ แต่จะต้องเพิ่มบางสิ่งบาง อย่างที่เฉพาะเขาหรือกลุ่มของเขาเท่านั้นที่สามารถหยิบยื่นหรือจัดหาให้ได้ g. บางกลุ่มจะไม่ให้ความสำคัญกับพระเยซูคริสต์เลย มีแต่เพียงการยกย่องผู้นำเทียม เท็จเท่านั้น ถ้ามีการกล่าวถึงพระคริสต์ก็เพียงเพื่อสนับสนุนคำสอนหรือสิทธิอำนาจ ของตนเอง h. เขายกย่องให้ผู้ฟัง หรือสาวก ติดตามพระเยซู หรือตัวของเขาหรือคณะของเขา มากกว่า?
!
ผู้สอนเทียมเท็จมักสร้างกระแสความหวาดกลัวให้กับ ผู้ที่ติดตามหรือสาวก พวกเขาจะได้รับ การสอนว่าความรอดหรือพระพรต่างๆ จะต้องมาจากกลุ่มของผู้นำเทียมเท็จเท่านั้น a. ถ้าแยกจากกลุ่มเรา หรือไม่ทำตามสิ่งที่เราบอกผู้ติดตามจะสูญเสียความรอด และ พระพร b. จะมีการเน้นเรื่องสิทธิอำนาจและยกย่องตัวผู้นำเทียมเท็จเป็นอย่างมาก ผู้นำเทียม เท็จ (ทั้งหญิงและชาย) เหล่านี้มักจะเป็นผู้ที่ แสวงหาเกียรติ ชื่อเสียง เงินทอง หรือความสามารถที่จะควบคุมและมีอำนาจเหนือผู้คนเพื่อยืนยันถึงคุณค่าของตนเอง จากการได้รับการยอมรับจากคนหมู่มาก c. ผู้นำฝ่ายวิญญาณที่แท้จริงมีเป้าหมายเดียวในชีวิตของเขา คือ การยกย่องและสำแดง สง่าราศีของพระคริสต์ !232
พระคริสตธรรมกรุ งเทพ
d.
e.
3.
4.
CH773 สํารวจประวัติศาสตร์คริสตจักร
ผู้นำเทียมเท็จมักจะอ้างว่าได้รับการสำแดงพิเศษ หรือนิมิต เป็นส่วนตัวและเฉพาะ เจาะจงจากพระเจ้า และบังคับให้สาวกเชื่อฟัง การกระทำเช่นนี้ทำให้ผู้สอนเท็จมีสิทธิ อำนาจของพระเจ้า หรือคำพูดของเขาเท่าเทียมกับคำพูดของพระเจ้า (ซึ่งมีแต่พระ เยซูเท่านั้นที่สามารถอ้างสิทธิอำนาจนี้ได้) อนึ่งคำทำนาย หรือพยากรณ์ของคนเหล่านี้ บางที่เป็นเพียงแค่คำพูดกว้างๆ ซึ่งยากแก่การที่จะพิสูจน์ได้ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่พยากรณ์ หรือกล่าวอย่าง เฉพาะเจาะจง สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้นจริง มักจะมีคำมั่นสัญญาในเรื่องเกี่ยวกับพระพร หรือ การอวยพร ที่มาถึงสาวก ถ้าปฏิบัติ หรือทำตามสิ่งที่ผู้นำเทียมเท็จบอกให้ทำ แต่สิ่งหนึ่งที่ค่อนข้างชัดเจนคือภายหลังการ ประชุม หรือผลของการประชุมจะมีการเรียกร้องให้บรรดาสาวกถวายทรัพย์ หรือ ถวายสิ่งที่มีอยู่เพื่อแสดงถึงความเชื่อและเป็นจุดเริ่มต้นของการอวยพรที่จะมาถึงใน ภายหลัง โดยมีการอ้างพระคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น มาลาคี 3:10
!
ประการสุดท้ายของผู้นำฝ่ายวิญญาณเทียมเท็จ คือไม่ปรารถนาให้สมาชิกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ฝ่ายวิญญาณ สมาชิกไม่สามารถศึกษาพระคัมภีร์เป็นส่วนตัวได้ จะต้องคอยพึ่งพาคำสอนจาก ผู้นำฝ่ายเดียว ไ ม่สามารถแยกเป็นอิสระจากผู้นำได้ สาวกสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง และความสามารถในการแยกแยะ หรือความเป็นเหตุเป็นผล จะต้องเชื่อฟังผู้นำเพียงคนเดียว เท่านั้น
!
ยังมีสิ่งต่างๆ อีกมากมาย แต่สิ่งที่ได้กล่าวไว้จะเป็นหัวข้อที่สำคัญ ๆ ที่มักจะเห็นในผู้นำ หรือ คำสอนที่เทียมเท็จ
!233