Historyrambhaiang

Page 1

ประวัติความเป็นมาของ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี (Rambhai Barni Rajabhat University)

www.rbru.ac.th 41 ม.5 ต.ท่าช้าง อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000


สารบัญ เรื่อง

หน้า

1. ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี ......................................................1 2. ปรัชญา ........................................................................................................5 3. อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ ..............................................................................8


1

1. ประวัติมหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี เป็นสถาบันอุดมศึกษา สังกัดสานักงานคณะกรรมการการ อุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่เลขที่ 41 หมู่ที่ 5 ตาบลท่าช้าง อาเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี ประกาศจัดตั้งครั้งแรกเป็น “วิทยาลัยครูจันทบุรี ” เมื่อวันที่15 มิถุนายน 2515 ณ บริเวณวังสวนบ้านแก้ว อันเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ซึ่งพระราชทานให้กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งเป็นวิทยาลัยครูจันทบุรี และได้รับ พระราชทานตราศั ก ดิเดชน์ ซึ่งเป็นตราประจาพระองค์พ ระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว เป็นตราประจาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อ เดือนมีนาคม 2528 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยของ สมเด็จพระนางเจ้า ราไพพรรณี เป็นนามของวิทยาลัย ว่า “วิทยาลัย ราไพพรรณี ” เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2533 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกล มหาสังฆปรินายก ได้พระราชทาน คติธรรมประจาวิทยาลัยราไพพรรณีว่า “ปณฺฑิโต นิปุณ สวิเธติ” แปลว่า “บัณฑิตย่อมฉลาดจัดการ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2536 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้พระราชทานชื่อให้เป็น “สถาบัน ราชภัฏราไพพรรณี” เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547 ได้เปลี่ยนเป็น “มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี ” ตามประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ

คติธรรมประจามหาวิทยาลัย ปณฺฑิโต นิปุณ สวิเธติ แปลว่า “ บัณฑิตย่อมฉลาดจัดการ”

สีประจามหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี สีเขียว หมายถึง ความเจริญงอกงามและเป็นสีประจาวันพุธ ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 สีชมพู หมายถึง ความเมตตากรุณา สุภาพอ่อนโยน นับเป็นคุณธรรมสาคัญของผู้เป็นครู และเป็นสีประจาวันอังคาร ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพ ของสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรม ราชินีในรัชกาลที่ 7

พระราชลัญจกร ประเภทของพระราชลัญจกร พระราชลัญจกร คือ ตราประจาชาติ ซึ่งใช้ประทับในต้น เอกสารสาคัญของพระมหากษัตริย์ และราชการแผ่นดิน จัดเป็นหมวดหมู่ได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1. พระราชลัญจกรประจา พระองค์ 2. พระราชลัญจกรประจาแผ่นดิน


2 3. พระราชลัญจกรสาหรับแผ่นดิน

พระราชลัญจกรประจาพระองค์ หมายถึง พระตราที่ใช้ประทับกากับพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ในต้นเอกสารสาคัญ ส่วนพระองค์ซึ่งไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน เช่นในประกาศนียบัตรกากับเหรียญรัตนาภรณ์ เป็น ต้ น พระราชลั ญ จกรประจ าพระองค์ แ ต่ ล ะรั ช กาลมี รู ป สั ญ ลั ก ษณ์ ต่ า ง ๆ กั น ไป ในรั ช สมั ย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1-4 เท่าที่มี หลักฐานปรากฎพบว่าในเงินพดด้วงมีรูปจักร ดวงหนึ่ง และพระราชสัญลักษณ์ประจารัชกาลที่ 1 เป็นรูปปทุมอุณาโลม รัชกาลที่ 2 เป็นรูปครุฑยุด นาค รัชกาลที่ 3 เป็นรูปปราสาท รัชกาลที่ 4 เป็นรูปพระมหามงกุฎ โดยที่รูปจักรจะไม่เปลี่ยนไป ตามรัชกาลเนื่องจากเป็นพระราชสัญลักษณ์ สาหรับพระบรมราชวงศ์ซึ่งปกครองรัฐสีมามณฑลอยู่ นอกจากนั้นพบหลักฐานที่ปรากฎรูปพระราชสัญลักษณ์ ที่ใบปกคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับหลวง ซึ่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในแต่ละรัชสมัยดังที่กล่าวมาแล้ว ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงกระษาปณ์สิทธิการขึ้น เพื่อผลิตเงินเหรียญ บาทแทนเงินพดด้วง ตราที่ใช้ในเงินเหรียญนั้น ด้านหนึ่งของเหรียญยังคงเป็นรูปจักร โดยเติมรูป ช้างเผือกกลางรูปจักร อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระมหามงกุฎมีเครื่องสูงตั้ งขนาบทั้งสองข้าง ต่อมาได้ ทรงพระกรุณาให้ส ร้า งพระราชลัญจกรประจาพระองค์ เพื่ อ ประทับในต้นเอกสารส าคัญส่ว น พระองค์ ที่ไม่เกี่ยวด้วยราชการแผ่นดิน และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติตลอดมา เมื่อมีการผลัดเปลี่ยน แผ่นดิน ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชลัญจกรประจาพระองค์

พระราชลัญจกรประจาพระองค์รัชกาลที่ 9 พระราชลัญจกรประจาพระองค์ รัชกาลที่ 9 เป็นรูป พระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น อุหรือเลข 9 รอบวงจัก รมี รัศ มี เปล่ง ออกโดยรอบ เหนือจัก ร เป็ นรูป เศวตฉั ตรเจ็ดชั้ น ฉั ตรตั้งอยู่ บ นพระที่นั่งอัฐทิศ แปล ความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วัน บรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่ง อัฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวาย น้ าอภิ เ ษกจากทิ ศ ทั้ ง แปด นั บ เป็ น ครั้ ง แรกในประวั ติ ศ าสตร์ ที่ พ ระมหากษั ต ริ ย์ ใ นระบอบ ประชาธิปไตย ทรงรับน้าอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภาแทนที่จะทรงรับจากราชบัณฑิตดังในรัชกาล ก่อน ที่มา : จากหนังสือพระราชลัญจกร

สัญลักษณ์ประจามหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี


3 สัญลักษณ์ ประจามหาวิทยาลัย เป็นรูปพระราชลัญจกรประจาพระองค์ รัชกาลที่ 9 เป็นรูป พระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักรกลางวงจักรมีอักขระเป็น อุ หรือเลข ๙ รอบวงจักรมีรัศมีเปล่ง ออก ในรอบเหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตรเจ็ดชั้นตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ และรอบนอกด้านบนมี

ตัวอัก ษรภาษาไทยว่า “ มหาวิท ยาลัย ราชภัฏ ราไพพรรณี ” ด้านล่างมีอักษรภาษาอังกฤษว่า “RAMBHAI BARNI RAJABHAT UNIVERSITY” สีของสัญลักษณ์ประกอบด้วย 5 สี ดังนี้ สีน้าเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กาเนิดและพระราชทานนาม “ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ ” สี เ ขี ย ว แทนค่ า แหล่ ง ที่ ตั้ ง ของมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ 40 แห่ ง ในแหล่ ง ธรรมชาติ มี สภาพแวดล้อมที่สวยงาม สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา สีส้ม แทนค่า ความรุ่งเรืองของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นก้าวไกลใน 40 มหาวิทยาลัยราชภัฏ สีขาว แทนค่า ความคิดอัน บริสุทธิ์ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ที่มาของรูปแบบตัวอักษรราชภัฏสัญลักษณ์ แสดงถึงพระ ราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจน ใน ประเด็นการปรับแผนการศึกษา ของชาติที่เด่นชัด โดยพัฒนาจากระบบ บ้าน วัด วัง และโรงเรียน โดยเฉพาะเมื่ อ โปรดเกล้ า ฯ ให้ มี ก ารจั ด ตั้ ง โรงเรี ย นฝึ ก หั ด อาจารย์ ขึ้ น เป็ น ครั้ ง แรก ทรงใช้ กระบวนการทางปัญญาแก้ปัญหาระบบการพัฒนาประเทศ ตัวอักษรจึงเป็นประเด็นสาคัญในการจัด วางรูปแบบ ดังนั้ น ตัวอักษรไทยในราชภัฏสัญลักษณ์ จึงมีโครงสร้างในลักษณะใกล้เคียงระบบ สากล คือใช้อักษรโรมันแบบ Gothic หรือตัวอักษรอังกฤษแบบ Old English และอักษรขอม เป็น แนวทางในการพัฒนารูปแบบตัวอักษร ให้สามารถแทนค่าความรู้สึกในการสื่อสารร่วมสมัย และ แสดงความสูงส่งแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์

สถานที่ตั้ง


4 มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรรณี ตั้งอยู่เลขที่ 41 หมู่ 5 ตาบลท่าช้าง อาเภอเมือง จัง หวัด จันทบุรี ติดกับถนนจันทบุรี-สามแยกเขาไร่ยา (ถนนรักศักดิ์ชมูล) ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร อีกด้านหนึ่งติดถนนสุขุมวิท กิโลเมตรที่ 326 มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี มีเนื้อที่ รวม 720 ไร่ 3 งาน ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี และมีเนื้อที่สถานี ทดลองการเกษตร แก่งหางแมว กิ่งอาเภอแก่งหางแมว อีกประมาณ 370 ไร่

ดอกไม้ประจามหาวิทยาลัย

ดอกไม้ประจามหาวิทยาลัยคือ ดอก ชัยพฤกษ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cassia javanica L. ชื่อสามัญ : Javanese Cassia , Rainbow Shower


5

2. ปรัชญามหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี "เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อ การพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยม(Shared Values) “ผลงานสัมฤทธิ์ มีจิตสาธารณะ” “ผลงานสัมฤทธิ์ มีจิตสาธารณะ” ความหมายตามภาษาอังกฤษ “APM” (Achievement, Public Mind) A : Achievement งานมีผลสัมฤทธิ์ PM : Public Mind จิตสาธารณะ เสียสละ ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม

วิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนาแห่งการเรียนรู้ พัฒนาภูมิปัญญา ท้องถิ่นภาคตะวันออกสู่สากล

พันธกิจ 1. ผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะสูง มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ 2. เสริมสร้างบุ คลากรให้มีค วามเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชี พ ชั้นสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่ ง วิชาชีพครู 3. วิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นในภูมิภาค ตะวันออกสู่สากล 4. ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและสืบสานแนวพระราชดาริเพื่อสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 5. ทานุบารุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมทั้งบูรณาการสู่สากล

ยุทธศาสตร์ 1. การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีความเข้มแข็ง ยั่งยืนและสามารถประกอบอาชีพได้ อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ 2. การเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรทางวิชาการและวิชาชีพขั้นสูงโดยเฉพาะวิชาชีพครู 3. การวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น 4. บริการวิชาการแก่สังคมและสืบสานแนวพระราชดาริเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 5. ทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมทั้งบูรณาการสู่สากล


6 6. พัฒนาระบบการบริหารมหาวิทยาลัยตามหลักการบริหารที่ดี ยุทธศาสตร์ 1 การพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่มีความเข้ มแข็ง ยั่งยืนและสามารถประกอบ อาชีพได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ ยุทธศาสตร์ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรทางวิชาการและวิชาชีพขั้นสูงโดยเฉพาะวิชาชีพครู กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและคุณธรรม 2. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพ 3. พัฒนาหลักสูตรให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน TQF 4. พัฒนาการผลิตบัณฑิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน 5. พัฒนานักศึกษาให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ของบัณฑิต ยุทธศาสตร์ 3 การวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น กลยุทธ์ 1. ส่งเสริมให้ผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้จริง 2. สนับสนุนให้งานวิจัย งานสร้างสรรค์ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติ นานาชาติ 3. พัฒนาระบบกลไกการบริหารจัดการงานวิจัย 4. สนับสนุนแหล่งเงินทุนวิจัย ยุทธศาสตร์ที่ 4 ให้บริการวิชาการแก่สังคมและสืบสานแนวพระราชดาริเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กลยุทธ์ 1. พัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการให้บริการวิชาการ 2. พัฒนาระบบและกลไกการให้บริการวิชาการ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ทานุบารุงศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมทั้งบูรณาการสู่สากล กลยุทธ์ 1. พัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทานุบารุงศิลปะ 2. พัฒนาระบบและกลไกการทานุบารุงศิลปะและวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารมหาวิทยาลัยตามหลักการบริหารที่ดี กลยุทธ์


7 1. 2. 3. 4. 5.

พัฒนาการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล เพิ่มประสิทธิภาพภายในการบริหารงบประมาณ ส่งเสริมการหารายได้และทุนสนับสนุน ส่งเสริมและสนับสนุนอาจารย์และบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติ พัฒนาระบบกลไกการประเมินคุณภาพการศึกษา


8

3. อัตลักษณ์ และเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ (Identity) “บัณฑิตย่อมฉลาดจัดการ” ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Graduates Manage Wisely” หมายความว่า ผู้เป็นบัณฑิตซึ่งเป็นผลผลิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณีนั้นเป็นผู้ที่ได้รับ การศึกษาอบรมบ่มเพาะทางด้านวิชาการและวิชาชีพในระดับสูง จึงเป็นผู้ที่มีระดับสติปัญญาในการ บริหารจัดการทุกสิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่มา มหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี เป็นมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ที่สาคัญของท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีและภาคตะวันออก มาเป็นระยะเวลาที่ ยาวนาน บัณฑิตและผู้สาเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี จึงได้รับการศึกษาอบรม ฝึกฝนเคี่ยวกราอย่างหนัก ได้รับการหล่อหลอมให้คิดเป็น ทาเป็น แก้ปัญหาทุกอย่างได้อย่างดีจนตก ผลึ ก น าไปสู่ ค วามมี ศั ก ยภาพในการบริ ห ารจั ด การตนเองและผู้ อื่ น ได้ อ ย่ า งดี ยิ่ ง จนประสบ ความก้าวหน้าในวิชาชีพอันเป็นประจักษ์ชัดโดยทั่วไป ในขณะเดียวกันก็นับได้ว่าสอดคล้องถึงการ ที่สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก(เจริญ สุวฑฒโน) ปัจจุบันอายุ ๙๙ ปี พรรษา ๗๘ ปี เป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดารง ตาแหน่งเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ประทาน คติธรรมประจามหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณี เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นภาษาบาลี ว่า “ปณฺฑิโต นิปุณ สวิเธติ” ซึ่งแปลว่า “บัณฑิตย่อมฉลาดจัดการ”

เอกลักษณ์ (Uniqueness) “ภูมิปัญญาแห่งภาคตะวันออก” ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Wisdom of the East” หมายความว่า มหาวิท ยาลัยราชภัฏราไพพรรณี เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในภาค ตะวันออก ที่ มีชื่ อเสีย งเกริกไกร มี หลักสูตรและสาขาวิชาการต่าง ๆ อันหลากหลายและลุ่มลึก สามารถผลิตบัณฑิตเพื่อนาความรู้ดังกล่าวได้รับใช้ท้องถิ่ น ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่าง อเนกอนันต์ จนเป็นที่ยอมรับจากบุคคลทั่วไปในภาคตะวันออกอย่างกว้างขวาง ที่มา มหาวิทยาลัย ราชภัฏราไพพรรณี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินีใน รัชกาลที่ 7 พระราชทานวังสวนบ้านแก้ว อันเป็นวังที่ประทับและที่ทรงงานส่วนพระองค์ จานวน ๗๒๐ ไร่ ๓ งาน อันเปรีย บประดุจปฐมบทของการสร้างองค์ ความรู้อันทรงคุณค่ามหาศาลทั้ ง ทางด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม วัฒนธรรม สังคม การบริหารจัดการ ฯลฯ โดยพระองค์ทรงเปรียบประดุจองค์บรมครู ผู้ชี้นาการนาศาสตร์ต่าง ๆ เหล่ านี้มาสร้างประโยชน์ และคุณค่าให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรี และภาคตะวันออกจนกระทั่งวังสวนบ้านแก้วได้แผ่ กิ่งก้านสาขาอันโอฬารนาไปสู่ความเป็นวิทยาลัยครูจันทบุรี วิทยาลัยราไพพรรณี สถาบันราชภัฏ


9 ราไพพรรณี และมหาวิทยาลัยราชภัฏราไพพรรณีในปัจจุบันซึ่งได้มีการฝึกสอนในหลักสูตร และ สาขาวิชาการต่าง ๆ อันเป็นความต้องการของเยาวชนและประชาชนในท้องถิ่น สรรสร้างบัณฑิตที่มี คุณภาพ มีความรู้ และมีภูมิธรรมออกไปรับใช้ประชาชนทั้งในระดับท้องถิ่นและในระดับชาติอยู่ อย่างไม่จบไม่สิ้น ในห้วงระยะเวลา ๔๐ ปี จนได้รับการกล่าวขวัญจากประชาชนว่า มหาวิทยาลัย ราชภัฏราไพพรรณี เป็นศักดิ์ศรีทางวิชาการแห่งบูรพาทิศอย่างแท้จริง


10


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.