คู่มือการใช้กล้อง

Page 1

นางสาวไกลกังวล ทวีวงษ์โอฬาร รหัสนิสิต 55060009 สาขา นิเทศศิลป์(ออกแบบกราฟิกและโฆษณา) นายนราทร พรวุฒิกร รหัสนิสิต 55060259 สาขา นิเทศศิลป์(ออกแบบกราฟิกและโฆษณา)


ตัวกล้องด้านหน้า


1. แป้นหมุนเลือกโหมดช่วยถ่ายภาพ P, S, A, M และ ระบบโปรแกรมช่วยถ่ายภาพอัตโนมัติแบบ ดิจิตอล Guide 2. เครื่องหมายแสดงแนวระนาบโฟกัส 3. ปุ่ม Info สำ�หรับเรียกแสดงข้อมูล - ถ่ายภาพ ให้แสดงบนจอ LCD 4. ปุ่มกด +/- ชดเชยแสงถ่ายภาพ, ปุ่มตั้งค่ารูรับแสงถ่ายภาพ,ปุ่มตั้งชดเชยค่าแสงแฟลช 5. ปุ่มกด ลั่นชัตเตอร์ 6. สวิทช์ ปิด-เปิด 7. ไฟส่องช่วยระบบหาโฟกัส และช่วยลดตาแดงจากแสงแฟลช และแสดงการนับเวลาถอยหลัง 8. หน้าต่างรับสัญญาณรีโมทอินฟราเรด 9. ฝาปิดตัวกล้อง 10. ขั้วไฟฟ้าต่อเชื่อมกับ CPU ของเลนส์ 11. แฟลชภายในกล้อง (แฟลชหัวกล้อง) 12. ปุ่มกดสำ�หรับปล่อยแฟลชหัวกล้อง และ +/- ชดเชยค่าแสงแฟลช 13. หูร้อยสายสะพายกล้อง 14. ฝาปิดช่องปลั้กเสียบสายต่อกล้องกับอุปกรณ์ภายนอก 15. ปุ่มกดตั้งนับเวลาถอยหลัง, ปุ่มฟังค์ชั่น Fn - Function 16. จุดแสดงตำ�แหน่งใส่เลนส์ 17. ปุ่มกดคลายล็อคปลดเลนส์ 18. กระจกสะท้อนภาพ 19. แหวนเมานท์ สำ�หรับใส่เลนส์ถ่ายภาพ 20. แผ่นฝา (BS-1) ปิดขั้วแฟลช 21. ขั้วไฟฟ้า สำ�หรับต่อแฟลชภายนอก 22. ช่องปลั้กเสียบต่อสายวีดีโอ 23. สวิทช์รีเซ็ท Reset การทำ�งาน 24. ช่องปลั้กเสียบส่งสัญญาณยูเอสบี USB


ตัวกล้องด้านหลัง


1. ช่องมองภาพ 2. กรอบยางช่องมองภาพ (DK-20) 3. จอ LCD แสดงภาพ และ คำ�สั่งการทำ�งานกล้อง 4. ปุ่มกดเรียกดูภาพถ่ายที่บันทึกไว้ 5. ปุ่มกดเรียกดูเมนูเลือกรายการคำ�สั่ง 6. ปุ่มเรียกดูภาพย่อที่บันทึกไว้ในการ์ด, ปุ่ม Help แสดงคำ�อธิบายคำ�สั่ง 7. ปุ่มซูมขยายดูภาพที่กำ�ลังแสดงใน LCD, ปุ่มตั้งค่าคำ�สั่งรายการให้กล้อง 8. รูเกลียวใส่ขาตั้งกล้อง 9. แป้น ปรับเลนส์ช่องมองภาพให้เข้ากับสายตา 10. ปุ่มกด ล้อคค่าแสง AE-L หรือ ล็อคจุดโฟกัส AF-L หรือล้อคป้องกันการลบภาพที่บันทึกไว้ 11. แหวน หมุนเลือกค่า หรือ คำ�สั่งการทำ�งาน 12. ฝาปิดช่องใส่การ์ดความจำ� SD 13. แป้นกดสี่ทิศทางเลือกตำ�แหน่งกรอบวางจุดโฟกัส หรือ ใช้เลือกคำ�สั่งรายการต่างๆ 14. ปุ่ม OK ยืนยันค่าคำ�สั่งการทำ�งานที่สั่ง 15. ไฟแสดงสถานะของการ์ดความจำ� 16. ปุ่มกด คำ�สั่งลบไฟล์ภาพทิ้ง 17. ฝาปิดช่องสายไฟ จากหม้อแปลงไฟ (อแดปเตอร์) 18. ปุ่มกลอนล็อคฝาปิดช่องใส่ถ่านแบตเตอรี่ 19. ฝาปิดช่องใส่ถ่านแบตเตอรี่


การใช้แป้นควบคุมโหมดการถ่ายภาพ (Modes Dial)


การชาร์ทถ่าน แบตเตอร์รี่ EN-EL9a




การใส่เลนส์ถ่ายภาพ กับกล้อง D3000



ข้อแนะนำ�: เมื่อเปิดสวิทช์ On ที่เลนส์ที่มีระบบป้องกันการไหวสะเทือน VR-Vibration Reduction เลนส์จะปรับตัวเองเพื่อลดความไหวเบลอในภาพจากการใช้ความเร็วชัตเตอร์ตํ่าๆ หากมีการแพนหมุนกล้อง เลนส์จะช่วยลดความไหวสะเทือนในแกนแนวตั้ง vertical เท่านั้น ในระหว่างการเปิดใช้งานระบบ VR ภาพที่ปรากฏในช่องมองภาพอาจจะเบลอเล็กน้อย จากการ ขยับปรับตัวของเลนส์ ซึ่งเป็นอาการปกติ ผู้ใช้ควรปิด off ในกรณีที่ตั้งยึดกล้องบนขาตั้ง แต่หากใช้กล้องกับขาเดี่ยวโมโนพอด หรือ ไม่ได้ยึดกล้องติดแน่น ผู้ใช้ก็ยังสามารถเปิดใช้ระบบ VR ช่วยได้ตามปกติ ผู้ใช้ไม่ควรถอดเปลี่ยนเลนส์ในขณะที่เปิดใช้ระบบ VR เพราะอาจจะทำ�ให้เลนส์ภายใน เคลื่อนได้ ในกรณีแบบนี้ ให้ใส่เลนส์กลับเข้าไปที่กล้อง แล้วเปิด On และ ปิด Off อีกครั้ง


การใส่และถอดเปลี่ยนการ์ดความจำ�



การปรับโฟกัสช่องมองภาพ


การถ่ายภาพเบื้องต้น Basic Photography

บทต่อไปนี้จะเป็นการอธิบายวิธีการใช้กล้องอย่างง่ายๆ ด้วยโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติ โดยจะเป็นแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ การเตรียมกล้อง, การจัดภาพ, การหาโฟกัสและลั่นชัตเตอร์ถ่าย ภาพ,การเรียกแสดงภาพถ่ายที่ถ่ายบันทึกไว้แล้ว รวมทั้งการใช้โหมดช่วยถ่ายแบบโปรแกรมดิจิตอล (Digital Vari-programms) เพื่อปูพื้นฐานการถ่ายภาพ ก่อนที่เข้าไปสู่ขั้นตอนที่ก้าวหน้าต่อไป


โหมดถ่ายภาพแบบอัตโนมัติ สำ�หรับการใช้งานง่ายๆเพื่อความสะดวกสบาย เพียงแต่ยกกล้องขึ้นเล็งแล้วกดปุ่มลั่นชัตเตอร์ถ่ายภาพได้ทันที โดยกล้องจะจัดการให้หมด ทุกอย่าง ตามความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น ขั้นที่1 การเตรียมกล้อง 1. เปิดสวิทช์กล้องไปที่ On ถอดฝาครอบเลนส์ เมื่อเปิดสวิทช์ กล้องจะทำ�ความสะอาดจอรับภาพ และ จอ LCD จะแสดงค่าการถ่าย ภาพ โดยอัตโนมัติ เมื่อยกกล้องขึ้นเล็ง กล้องจะปิดจอ LCD และแสดงข้อมูลที่ในช่องมองภาพแทน


2. หมุนแป้นเลือกโหมดไปที่

3. ตรวจดูระดับกำ�ลังไฟฟ้าในถ่านแบตเตอรี่


4. ตรวจดูจำ�นวนภาพที่จะยังสามารถบันทึกในการ์ดความจำ�ได้ (ตัวเลขที่แสดงนี้ เป็นเพียงการ ประมาณการเท่านั้น)

หากการ์ดความจำ�เต็ม หรือ มีความจุไม่พอเพียงต่อการบันทึกไฟล์ภาพ กล้องจะแสดง Card is full บนจอ LCD และ กระพริบ FuL เตือน และแสดงเลขศูนย์ ในช่องมองภาพ


การใช้โหมดช่วยถ่ายภาพดิจิตอลสำ�หรับสถานการณ์ต่างๆ นอกจากโหมดช่วยถ่ายภาพแบบอัตโนมัติทั้งหมดแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถเลือกใช้ โหมด Scene ช่วยถ่ายภาพในสถานการณ์ต่างๆ ตามที่ได้ถูกโปรแกรมมาจากโรงงาน เพื่อช่วยให้ถ่ายภาพในแต่ละโอกาสสถานการณ์เหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย ผู้ใช้สามารถหมุนเลือกโหมดช่วยการถ่ายภาพตามสถานการณ์ที่ต้องการได้ดังนี้


การเลือกใช้งานโหมดช่วยถ่ายภาพแบบโปรแกรม

ที่มา: http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=freedom


สำ�หรับการถ่ายภาพเด็กเล็กที่ต้องการ ความสะดวก และรวดเร็ว กล้องจะปรับเน้นสีสรรสดใส และให้สี ผิวที่ดูนุ่มเนียนเป็นธรรมชาติ กล้องจะหาระยะโฟกัสที่วัถตุที่อยู่ใกล้ ที่สุดก่อนเสมอ

ที่มา: http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=642026


สำ�หรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ หรืออาคารบ้านเรือน ที่ต้องการเน้นสีสรร ความสดใส คมชัดเจน กล้องจะหาระยะโฟกัสที่วัถตุที่อยู่ใกล้ที่สุดก่อนเสมอ ระบบไฟช่วยส่องหาโฟกัสและ ระบบแฟลชจะไม่ทำ�งาน แม้ว่าจะมีแสงตามธรรมชาติในขณะนั้นมีน้อยก็ตาม เพื่อให้ได้ผลดีมากที่สุด ควรใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อให้มุมมอง ภาพที่กว้างไกล


ที่มา: blogs.independent.co.uk สำ�หรับการถ่ายภาพ กีฬา (ภาพที่ตัวแบบมีเคลื่อนไหว ขณะทำ�การถ่ายภาพ) กล้องจะเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วที่สุด เพื่อเน้นจับภาพของการเคลื่อนไหวของตัวแบบ กล้องจะปรับจุดโฟกัสตลอดเวลาที่กดปุ๋มลั่นชัตเตอร์ ลงไปครึ่งทาง เพื่อไล่จับตามการ เคลื่อนไหวในภาพ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้กรอบโฟกัสอันใดอันหนึ่งในการเริ่มต้นหาโฟกัสก็ได้ ระบบไฟส่องหาโฟกัสและแฟลชจะไม่ทำ�งาน แม้ว่าจะมีแสงน้อยก็ตาม


สำ�หรับการถ่ายภาพที่ต้องการขยายให้เห็นภาพ เช่นดอกไม้, แมลง หรือสิ่งของขนาดเล็ก กล้องจะโฟกัส ที่ตรงกลางกรอบภาพเป็นหลัก (แต่ผู้ใช้จะเลือกเปลี่ยนก็ได้) แนะนำ�ให้ใช้ขาตั้ง, การตั้งนับถอยหลัง หรือ รีโมทลั่นชัตเตอร์ เพื่อช่วยลดอาการภาพเบลอ เลนส์ที่ใช้ควรเป็นเลนส์สำ�หรับถ่ายภาพ ระยะใกล้ หากใช้เลนส์ธรรมดาใช้ปรับไปที่ระยะถ่าย ภาพใกล้สุดของเลนส์ หากใช้เลนส์ซูม แนะนำ�ให้ซูมให้สุดทางยาวโฟกัสของเลนส์นั้น เพื่อให้ได้ขนาดขยายใหญ่มาก ที่สุด ระบบแฟลชจะสัมพันธ์กับม่านชุดแรก (แต่z^h.=hสามารถเปลี่ยนได้)


สำ�หรับเมื่อต้องการถ่ายภาพวิวเวลากลาง คืน กล้องจะทำ�การลบจุดสีรบกวน noise ในภาพ เลือกรูหน้ากล้อง และความเร็ว ชัตเตอร์ที่พอเหมาะกับสีแสงไฟฟ้าต่างๆ เพื่อให้ได้ที่มีภาพที่มีความสว่าง สีสรร สดใส และคมชัด แนะนำ�ให้ใช้ขาตั้ง, การตั้งนับถอยหลัง หรือ รีโมทลั่นชัตเตอร์ เพื่อช่วยลดอาการ ภาพเบลอ

ที่มา: http://www.flickr.com/photos/sausage_rocket/6011751329/


ที่มา: http://iloveportrait.com/webboard/showmsg.php?pID=11753 สำ�หรับเมื่อต้องการภาพถ่ายด้วยความสะดวก รวดเร็ว กล้องจะเลือกรูหน้ากล้อง และความเร็วชัตเตอร์ที่พอเหมาะกับตัวแบบ และแสงสีของฉากหลัง เพื่อให้ได้ที่มีภาพที่มีความสว่าง สีสรรสดใส และคมชัด แนะนำ�ให้ใช้ขาตั้ง, การตั้งนับถอยหลัง หรือ รีโมทลั่นชัตเตอร์ เพื่อช่วยลดอาการภาพเบลอ


นางสาวไกลกังวล ทวีวงษ์โอฬาร รหัสนิสิต 55060009 สาขา นิเทศศิลป์(ออกแบบกราฟิกและโฆษณา) นายนราทร พรวุฒิกร รหัสนิสิต 55060259 สาขา นิเทศศิลป์ (ออกแบบกราฟิกและโฆษณา)


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.