Classical Guitar

Page 1

March 2013

ประวัติความเป็นมาของ

กีตาร์คลาสสิค การวางท่าทางการบรรเลง และ

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง คำ�ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง


สารบัญ บทนำ� ประเภทของกีตาร์ ประวัติความเป็นมาของกีตาร์คลาสสิก ลักษณะของกีตาร์คลาสสิก การใส่สายกีตาร์คลาสสิก การวางท่าทางการบรรเลง อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง สัญลักษณ์ทางกีตาร์ การตั้งสายกีตาร์ คำ�ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

3 4 7 14 16 19 21 21 23 27


3

กี

ตาร์ เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องด้วยความที่พกพาง่าย ให้คุณภาพเสียง ที่ไพเราะ สามารถบรรเลงเพลงได้หลากหลายแนวเพลง ที่สำ�คัญกีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่เริ่มหัดได้โดยง่าย เพียงจับ คอร์ดได้ 3-4 คอร์ดก็สามารถบรรเลงเพลงประกอบการร้องได้ และถ้าหากฝึกฝนทักษะการบรรเลงกีตาร์จนชำ�นาญ ก็ถือได้ว่าผู้นั่นมีความสามารถทางดนตรีสูงเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงทำ�ให้กีตาร์ได้รับความนิยมอย่างมาก ดังจะพบเห็น นักกีตาร์หลายคนที่มีประสบการณ์การเล่นกีตาร์มาตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงผู้ที่คร่ำ�วอดอยู่กับกีตาร์มามากกว่า 20-30 ปี ในวงการนักกีตาร์ทั่วไป


4

ประเภทของกีตาร์

สำ�หรับกีตาร์ที่ได้รับความนิยมเล่นและพบเห็นได้ในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ กีตาร์โปร่ง และกีตาร์ไฟฟ้า 1. กีตาร์โปร่ง หรือ กีตาร์อะคูสติก (Acoustic Guitar) คือกีตาร์ที่มีลำ�ตัวโปร่งไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าใน การเล่น ให้เสียงที่เป็นธรรมชาติ ลักษณะสำ�คัญ คือ ภายในลำ�ตัวกีตาร์จะโปร่ง ทำ�หน้าที่เปรียบเสมือนกล่องเสียง กีตาร์โปร่งสามารถแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภท คือ 1.1 กีตาร์คลาสสิก (Classical Guitar) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ในยุคปัจจุบัน นั่นเอง ลักษณะโดยทั่วไป คือ มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ด ที่ใหญ่ และ ใช้สายเอ็นหรือใยไหมแล้วพันด้วยเส้นโลหะ เช่นเส้นทองแดงหรือบรอนซ์ ซึ่งทำ�ให้มีความนุ่มมือ ให้ คุณภาพเสียงที่ทุ้ม นุ่มนวล ซึ่งจะลงรายละเอียดในหัวข้อ ต่อๆไป 1.2 กีตาร์โฟล์ค (Folk Guitar) ถือว่าเป็นที่ นิยมและรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากหาซื้อง่ายราคาไม่แพง จนเกินไป สามารถฝึกหัดได้ง่ายไม่ต้องรู้ถึงทฤษฎีดนตรี มากนัก ใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเล่นเพลงง่ายๆ ฟังกัน ในหมู่เพื่อนลักษณะทั่วๆ ไปคือ คอหรือฟิงเกอร์บอร์ด เล็กกว่ากีตาร์คลาสสิกมีลักษณะโค้งเล็กน้อยรับกับนิ้วมือ แต่มีลำ�ตัวที่ใหญ่และแข็งแรงกว่ากีตาร์คลาสสิก ใช้สาย ที่ทำ�จากโลหะ เนื่องจากคอกีตาร์ที่เล็กและสายที่เป็นโลหะ กีตาร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับการเล่นด้วยปิค (Flat pick) ภาพที่ 1.1 กีตาร์คลาสสิก หรือการเกา (finger picking) ซึ่งเสียงที่ได้จะดังชัดเจน สดใส กว่ากีตาร์คลาสสิก จึงเหมาะกับ การเล่นกับดนตรีทั่วๆไป ภาพที่ 1.2 กีตาร์โฟล์ค


5 2. กีตาร์ไฟฟ้า (Electric Guitar) คือ กีตาร์ที่ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยในการขยายเสียงให้ดังขึ้น สามารถ จำ�แนกตามลักษณะของลำ�ตัวกีตาร์ได้ 3 แบบ คือ 2.1 แบบโซลิด บอดี้ (Solid Body) แบบโซลิด บอดี้ หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แบบลำ�ตัวตัน หมายถึง ลำ�ตัวของกีตาร์มีลักษณะ เป็นไม้ตัน ไม่มีการเจาะช่องในลำ�ตัวกีตาร์เหมือนอย่างอะคูสติกกีตาร์ แต่ บริเวณลำ�ตัวจะมีตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีตาร์ (Pick Up) ขณะที่ดีด เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง (Amplifier) ต่อไป โดยทั่วไป ตัวรับสัญญาณจะมี 2 ประเภท คือ ตัวรับสัญญาณแบบแถว เดี่ยวที่เรียกว่าซิงเกิลคอลย์ (Single Coil) และแบบแถวคู่ที่เรียกว่า ฮัม แบคเกอร์ ( Humbucker) กีตาร์ลักษณะนี้พบเห็นได้ทั่วไป

ภาพที่ 1.3 กีตาร์ไฟฟ้าแบบโซลิด บอดี้

2.2 แบบเซมิ ฮอลโลบอดี้ (Semi-Hallow Body) แบบเซมิ ฮอลโลบอดี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า แบบลำ�ตัวกึ่งโปร่ง เป็นกีตาร์ไฟฟ้าที่มีลักษณะ โครงสร้างส่วนกลางของลำ�ตัวในแนวเดียวกับคอกีตาร์ มีลักษณะตัน แต่มีการเจาะช่องเพื่อใส่ตัวรับสัญญาณ 1.4 กีตาร์ไฟฟ้าแบบเซมิ ฮอลโลบอดี้ แรงสั่นสะเทือนของสายกีตาร์ (Pick Up) เช่นเดียวกับ กีตาร์ตัวตัน บริเวณส่วนข้างของกีตาร์มีการเจาะช่อง (Sound Hole) เอาไว้เพื่อให้เกิดการสั่นสะเทือน ของเสียงมากกว่าตัวกีตาร์ตัวตัน ซึ่งจะให้เสียงที่เป็นอะคูสติกมากขึ้น นิยมใช้ในดนตรีแจ๊สหรือบลูส์


6 2.3 แบบฮอลโลบอดี้ (Hallow Body) แบบฮอลโลบอดี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแบบลำ�ตัวโปร่ง เป็นกีตาร์ไฟฟ้าที่มีการเจาะช่องเอาไว้เพื่อให้เกิดเสียง (Sound Hole) เช่นเดียวกับกีตาร์โปร่งหรืออะคูสติก และกีตาร์ลำ�ตัว กึ่งโปร่ง ปกติช่องดังกล่าวมักจะอยู่ด้านข้างของลำ�ตัวกีตาร์ เนื่องจากบริเวณกลางลำ�ตัวจะมีการใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่น สะเทือนของสายกีตาร์ (Pick Up) เช่นเดียวกันกับกีตาร์ตัวตัน ซึ่งผลของการที่มีช่องเสียง ทำ�ให้ลักษณะของเนื้อเสียงที่ได้เป็น อะคูสติกมากกว่า กีตาร์แบบเซมิ ฮอลโลบอดี้ หากขยายเสียงให้ ดังมากจะก่อให้เกิดเสียงรบกวนที่เรียกว่า Feed Back กีตาร์ ประเภทนี้มักจะนิยมใช้กับ ดนตรีแจ๊สหรือบลูส์เป็นส่วนใหญ่

ภาพที่ 1.5 กีตาร์ไฟฟ้าแบบ ฮอลโลบอดี้

นอกจากกีตาร์ ทั้งสองประเภทที่ได้กล่าวแล้วยังมีกี ตารืประเภทอื่นๆ อีก เช่น กีตาร์รีโซเนเทอร์ (Resonator Guitar) เป็นกีตาร์ อีกประเภทที่เราไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก บางทีก็เรียกว่า โดโปร (Dobro) ลักษณะเด่น คือ อาศัยแผ่นโลหะที่เรียกว่า รีโซเน เทอร์ ซึ่งจะทำ�ให้เกิดเสียงกังวาน โครงสร้างโดยส่วนใหญ่จะ ทำ�ด้วยโลหะ สำ�หรับกีตาร์ประเภทนี้มักจะเล่นกับเพลงบลูส์ที่ ใช้สไลด์ เช่น พวกเดลต้าบลูสื หรือประเภทบลูแกสส (Bluegrass) โดยใช้สไลด์กีตาร์ หรือเล่นกับเพลงแบบฮาวาย ภาพที่ 1.6 กีตาร์รีโซเนเทอร์ และกีตาร์เพดดัล กีตาร์เพดดัล (Pedal Steel Guitar) เป็นกีตาร์ที่วาง ขนานกับพื้น กีตาร์แบบนี้จะเล่นในเพลงประเภทเพลงคันทรี่ (Country) และแบบ ฮาวาย เป็นส่วนมากเวลาเล่นจะเล่น ด้วยสไลด์


7

ประวัติความเป็นมาของกีตาร์คลาสสิก

การวิวัฒนาการของกีตาร์คลาสสิกนั้น เริ่มตั้งแต่การพัฒนาการทางด้านรูปร่าง โครงสร้างการตั้งสายและ การเพิ่มสายให้มากขึ้นเพื่อสอดรับกับบทเพลงหรือความต้องการของคีตกวีที่ประพันธ์เพลงในแต่ละยุคสมัย ในสมัย ฟื้นฟูวิทยาการ (Renaissance) วิเวล่า (Vihuela) เป็นเครื่องดนตรีที่แพร่หลายรู้จักกันดี และถือเป็นต้นกำ�เนิด ของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย สามารถแบ่งออกตามลักษณะของการเล่นได้ 3 แบบ คือ 1. วิเวล่า เดออาร์โค (VihuelaDe Arco) ลักษณะการเล่นโดยที่ผู้เล่นใช้คันสี (Bow) เหมือนกับไวโอลิน ในปัจจุบัน 2. วิเวล่า เดอเพนโญล่า (VihuelaDe Penola) ลักษณะการเล่นโดยที่ผู้เล่นใช้แผ่นไม้บางๆดีดหรือกรีด ลงไปบนสาย ซึ่งคล้ายกับปิ๊ก (Pick) ที่ใช้เล่นกับกีตาร์ในปัจจุบัน 3. วิเวล่า เดอ มาโน (Vihuela De Mano) ลักษณะการเล่นโดยที่ผู้เล่นสามารถใช้นิ้วมือของตัวเองดีด หรือเกี่ยวลงบนสายโดยตรง โดยไม่ผ่านเครื่องมือชนิดอื่นอีก ต่อมาในศตวรรษที่ 16 วิเวล่า เดอ มาโน ได้รับความนิยมมากในประเทศสเปน ด้วยรูปแบบการเล่นโดยการ ใช้นิ้วมือดีดหรือเกี่ยวลงบนสาย วิเวล่า เดอ มาโน นั้นจัดอยู่ในตระกูลไวโวล (Vivol) คือมีลำ�ตัวคล้ายกับกีตาร์ใน ปัจจุบัน มีเอวเว้าเข้าทั้งสองข้าง ส่วนหัวเป็นขนิดกล่องใส่ลูกบิดสำ�หรับขึ้นสาย ในยุคนี้ได้กำ�เนิดบทเพลงสำ�หรับวิเวล่า ขึ้น การตั้งสายและบทเพลงของวิเวล่านั้น ทำ�ให้วิเวล่าถูกขนานนามว่าเป็น “ลูทแห่งประเทศสเปน”

ภาพที่ 1.7 วิเวล่า เดอ มาโน


8 ลักษณะของกีตาร์ในยุคต้นมีรูปร่างและขนาดที่เล็กกว่า วิเวล่าที่มีสาย 6 ชุดและจุดเด่นของความแตกต่างที่เห็นได้ ชัดคือ ด้านหลังมีความโค้งอยู่เล็กน้อย ซึ่งคล้ายกับลูทแต่ ไม่โค้งมาก ส่วนกีตาร์สายชุด 4 ชุด ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดย จิโอวานนิ สมิท (Giovanni Smit) แห่งมิลาน ในปี ค.ศ. 1646 มีรูปร่างและขนาดเล็กมาก คือ มีความยาวเพียง 56.5 ซ.ม. เท่านั้น ส่วนกีตาร์สาย 5 ชุดซึ่งถูกสร้างขึ้น โดย เบลคิออร์ดิอาส (Belchior Dias) สร้างขึ้นที่กรุง ลิสบอน ใน ค.ศ.1581 นั้นมีรูปร่างด้านหลังกลมและนูน ยื่นออกมายาว 76.5 ซ.ม. ลำ�ตัวทำ�ด้วยไม้ที่มีลายเส้น ของไม้ละเอียดแบะบอบบางมาก ส่วนไม้แผ่นหน้าเป็นชนิด ที่มีคอสั้นๆ ยื่นออกมาต่อกับส่วนคออีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของชาวสเปนในการออกแบบทางโครงสร้าง การตั้งสายที่เป็นสายคู่ของลูทนั้นเริ่มต้นใช้ในกลางศตวรรษที่ 14 โดยเวลาเล่นทำ�ให้เสียงสั่นสะเทือนมากและ ทำ�ให้เสียงที่ออกมาลากยาว จนช่วงปลายศตวรรษที่ 15 การตั้งสายของลูทมีส่วนเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการตั้ง สายของกีตาร์ และในศตวรรษที่ 16 เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงจากลูท เข้าสู่เครื่องดนตรีใหม่และเครื่องดนตรีเหล่านั้นใช้การตั้งสายเป็นคู่เสียง ซึ่ง คู่เสียงที่ตั้งเหล่านั้นจะเกิดอยู่ระหว่างสาย มีด้วยกัน 4 สาย โดยการใช้คู่ที่ 4 คู่เมเจอร์ที่ 3 คู่ 4 ตั้งสายเทียบกัน การได้รับการดัดแปลงแก้ไขตลอด จนการเก็บเอาลักษณะเด่นมาจากลูทและวิเวล่า มีอิทธิพลอย่างมากต่อกีตาร์ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างและการตั้งสาย แต่ทั้งลูทและวิเวล่านั้นมีความเป็นมาอัน ยาวนาน ความยิ่งใหญ่ โอ่อ่าหรูหราทั้งบทเพลงและผู้เล่น ในปี ค.ศ. 1596 ฮวน คาร์ลอสอมาท (Juan Carlos Amart) ได้เขียนบทความกึ่งตำ�ราสำ�หรับกีตาร์สเปนสาย 5 ชุดในหัวข้อ กีตาร์เอส ปานโญล่า เดอซิงโก โอร์เดนนิส (Guitar Espanola De CincoOrdenes) เนื้อหาส่วนมากเป็นเรื่องของการตั้งสายกีตาร์ 5 ชุด โดยมีการตั้ง เป็นโน้ต A-a, d-d, g-g, b-b, e มีทั้งหมด 21 คอร์ดด้วยกัน โดยแบ่ง ออกเป็นพวกกลุ่มเมเจอร์ (Major) 12 คอร์ด ในการเล่นคอร์ด เทคนิคขอ งอมาท เป็นเพียงการเล่นประกอบทำ�นองการร้องเพลงและเต้นรำ�เท่านั้น ในช่วงศตวรรษที่ 17 ฟรานเซสโกคอร์เบทต้า (Francesco Corbetta) ชาวอิตาลี เกิดในราวปี ค.ศ.1615 เริ่มใช้ชีวิตด้วยการเป็นครูใน ประเทศอิตาลี และทำ�งานในราชสำ�นักมากมายทั้งในอังกฤษและฝรั่งเศสคอร์เบทต้าเป็นคีตกวี และนักกีตาร์ที่ได้รับการ วิจารณ์ว่าเป็นอัจฉริยะทางดนตรีและมีความสามารถทางกีตาร์ซึ่งเขาได้รับความสำ�เร็จอย่างมากในการแสดงคอนเสิร์ต กีตาร์ คอร์เบทต้าถึงแต่กรรมในปี


9 ค.ศ. 1681 ที่กรุงปารีส การเล่นกีตาร์ ของเขาในช่วงนั้นถูกสืบทอดโดยลูกศิษย์ชาว ฝรั่งเศสชื่อ โรแบร์ทเดอวิสเซ่ (Robert De Visee) ซึ่งโดยส่วนตัวเขาเป็นนักเล่นเทอร์ออ โบ (Theorbo – เป็นลูทประเภทหนึ่งมีคอก ว้างและยาวกว่าลูทปกติ มีสายชุดเสียงต่ำ�เพิ่ม ขึ้นจากที่มีอยู่เดิม พ้นออกมาจากฟิงเกอร์ บอร์ด) แต่ผลงานทางกีต้าร์ของวิเซ่ ที่ปรากฏ ออกมาดีพอๆกับผลงานทางเทอร์ออโบ และ ลูท ส่วนเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสมุดเพลงกีตาร์ ของ เดอวิสเซ่ นั้น ส่วนมากประกอบด้วยเพลงประเภทสวีท (Suite) ซึ่งมีความนิ่มนวลและละเอียดอ่อน รูปแบบของ การเล่นเป็นกลุ่มเสียงเหมือนกับการเล่นราสกวอเอโด (Rasqueadoหมายถึงเทคนิคการเล่นด้วยนิ้วมือขวาชนิดหนึ่ง โดยเริ่มกรีดนิ้วลงบนสายจากนิ้วก้อย นิ้วนาง นิ้วกลาง และนิ้วชี้ตามลำ�ดับ แต่การกรีดนิ้วขวานั้นรวดเร็วมาก จน เสียงที่ได้ออกมาคล้ายกับกลุ่มเสียง) สำ�หรับการตั้งสายและการเพิ่มสายของกีตาร์นั้น ทั้งคอร์เบทต้าและเดอวิสเซ่ ได้ เพิ่มสายที่เล็กกว่าโดยตั้งให้เสียงที่สูงขึ้นจากสายชุดที่ 4 ขึ้นไปเป็นคู่ที่ 8 ในศตวรรษที่ 18 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก กีตาร์สาย 5 ชุด มาเป็นกีตาร์ 6 สายเดี่ยว การ เปลี่ยนแปลงของจำ�นวนสายไม่ได้เกิดขึ้นเลยทีเดียว แต่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงมาเป็นสายกีตาร์ 5 ชุด ก่อน และสายคู่เหล่านั้นค่อยๆหมดไปเป็น 5 สายเดี่ยว โดย เริ่มจากการตั้งสายกีตาร์ของ โจเซฟฟริเอดริช เบอร์ นาร์ดท คาสปาร์ เมเยอร์ (Joseph Friedrich Bernhardt Caspar Majer) โดยการตั้งเป็นโน้ต DDAA-dd-ff-aa-ddการตั้งสายคู่ที่ 6 โดยเว้นคู่เสียง ระหว่างคู่ที่ 5 กับสายคู่ที่ 6 ซึ่งนับจากคู่ที่ 5 ไปหาคู่ที่ 6 ให้ต่ำ�ลงมาเป็นคู่ที่ 4 การเปลี่ยนแปลงของสายกีตาร์สาย 6 ชุดมาเป็นสายเดี่ยวนั้นเกิดจากการที่บทเพลงได้รับการดัดแปลงทั้ง โครงสร้างของบทเพลงและวิธีการเล่น มีการควบคุมเสียงที่ยาวกว่า ซึ่งเกิดจากสายคู่ที่ 5 และสายคู่ที่ 6 โดยที่แต่ละ คู่ตั้งสายเป็นคู่ที่ 8 และเมื่อเล่นสายเหล่านั้นแล้วจะทำ�ให้ได้ยินเสียง ซึ่งเกิดจากสายที่สูงกว่าเด่นขึ้น และได้ปรากฏหลัก ฐานจากส่วนหัวของกีตาร์ซึ่งใช้สำ�หรับใส่ลูกบิด 5 อันในกีตาร์ของชาวอิตาเลียนในศตวรรษที่ 18 เช่นกัน สำ�หรับ การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างนั้นมีการพัฒนาการของซี่ไม้ค้ำ�ระหว่างด้านข้างลำ�ตัวใกล้กับช่องเสียง ด้านในของ แผ่นหน้าปรากฏซี่ไม้วางพาดในแนวนอนขนานกันใกล้กับช่อง เสียงทั้งสองข้าง และส่วนบนเหนือช่องเสียงขึ้นไปมีซี่


10 ไม้ปรากฏไขว้กันคล้ายรูปดาว ลักษณะของโครงสร้าง นี้เกิดขึ้นที่แคว้นคาดิซ (Cadiz) ประเทศสเปนโดยฝีมือ ของโจเซฟเบเนดิกและโฮเซ่ ปาเก่ส์ ส่วนทางตอนเหนือ ของยุโรปได้ปรากฏกีตาร์ซึ่งแตกต่างจากที่มีอยู่ทั่วๆไป จากหลักฐานซึ่งติดอยู่ด้านในของไม้แผ่นหลังบอกให้ เราทราบได้ว่าเป็นกีตาร์ในศตวรรษที่ 19 โดยใช้ชื่อว่า “ไวส์สแบรกเกอร์” (Weissberger) โดยมีลำ�ตัวส่วน บนและส่วนล่างกว้างมาก ทำ�ให้ลักษณะของเอวทั้งสอง ข้างเว้าเข้ามากขึ้นตามไปด้วย จำ�นวนของเฟรทนับจาก ซี่ที่ 1 ถึงส่วนคอที่จรดกับไม้แผ่นหน้าพอดีมีจำ�นวน 12 ซี่ และบนฟิงเกอร์บอร์ดแต่ละช่องแตกต่างไปจาก กีตาร์อื่นๆคือ มีลักษณะเว้าลึกลงไปเล็กน้อย บริดจ์ก็ เป็นประเภทใช้สายหมุดยึดสายฐานคอส่วนล่างที่เอียดลาดลงไปจรดกับไม้แผ่นหลังส่วนหัวก็ใช้ลูกบิดเป็นโลหะเหมือน ในปัจจุบันนอกจากนั้นเฟรทยังเป็นชนิดที่ทำ�ด้วยทองเหลืองอีกด้วย ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เฟอร์นานโด ซอร์ (Fernando Sor) เกิดในปี ค.ศ. 1778 ประเทศสเปน และ มอโร จูเลียนนี่ (Mauro Biuliani) เกิดในปี ค.ศ. 1781 ประเทศอิตาลี ทั้งสองถูกยกย่องให้เป็นคีตกวีทางกีตาร์ ถึงแม้ว่าจะมีวิธีการประพันธ์เพลง รูปแบบของจังหวะที่แตกต่างกันทางโครงสร้างในทางทฤษฏี แต่ในลักษณะของ โครงสร้างโดยรวม รูปแบบและบรรยากาศของดนตรีนั้นมี ลักษณะคล้ายคลึงกัน และที่สำ�คัญโครงสร้างและรูปแบบ คล้ายกับรูปประพันธ์ของคีตกวีที่สำ�คัญของโลกอย่างไฮ เดิน (Haydn) และโมซาร์ท (Mozart) มาก ผลงานการ ประพันธ์ของทั้งสองคนนี้มักจะถูกเลือกจัดให้อยู่ในรายการ ของการแสดงคอนเสิร์ตในปัจจุบัน ซอร์มีผลงานการประพันธ์ซึ่งจัดอยู่ในระดับสูงที เดียว แนวคิดของเขาอยู่เหนือกว่ากีตาร์มาก เขารู้จัก กีตาร์เป็นอย่างดี รู้ว่าท่วงทำ�นองที่ประพันธ์ขึ้นนั้นควรใช้ แนวประสานเสียงหรือแนวประกอบเพลงอย่างไร ดังจะ เห็นได้จากบทเพลงโซนาต้า ผลงานชิ้นที่ 22 จังหวะซึ่ง ประกอบแนวทำ�นองนั้นเป็นแบบสมัยคลาสสิก (ประมาณ ปี ค.ศ. 1750-1825) คล้ายกับบทเพลงประเภทซิมโฟนี และมีท่อนที่ 3 กับท่อนที่ 4 ซึ่งเป็นบทเพลงประเภทมินู เอท (Minuet) และรอนโด (Rondo) ส่วนผลงานการประพันธ์ของมอโร จูเลียนนี่นั้นไม่ด้อยไปกว่าของซอร์เลย ผล งานชิ้นที่สำ�คัญของเขานั้นได้แก่ บทเพลงคอนแชร์โต (Concerto) ผลงานชิ้นที่ 30 36 และ 70 และในจำ�นวน


11 คอนแชร์โต้ทั้งหมดเหล่านั้น ผลงานชิ้นที่ 30 นับได้ว่ามีรูปแบบการประพันธ์และขอบเขตของเสียงค่อนข้างจะเกิน เลยยุคสมัยอยู่บ้างในเวลานั้น ความซับซ้อนในการประพันธ์รวมทั้งความดังของเสียงอันเกิดจากโครงสร้างของการ ประพันธ์ ทำ�ให้ดูเหมือนว่ามีเครื่องดนตรีมากกว่า 1 ชิ้นร่วมเล่นด้วย ความชำ�นาญในการเล่นสำ�นวนด้วยเสียงดนตรี ของเขาแสดงให้เห็นถึงความเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว งานประพันธ์ของพวกเขาทั้งสองได้มีส่วนช่วยให้กีตาร์ ได้รับการพัฒนาสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนอกจากนี้ยัง ได้ประพันธ์แบบฝึกหัดซึ่งในปัจจุบันนี้ได้ยึดถือเอาเป็น มาตรฐานในการศึกษาและฝึกหัดกีตาร์ทั้งทางปฏิบัติ และทางทฤษฏี สำ�หรับวิธีการเล่นกีตาร์ในศตวรรษที่ 19 นี้มีอยู่ หลายวิธีทั้งการใช้นิ้วมือซ้ายและขวา ท่านั่งในการถือ กีตาร์ต่างๆ การวางกีตาร์ไว้ขาข้างไหนนั้นขึ้นอยู่กับ ความถนัด สำ�หรับการถือกีตาร์ในท่านั่งนั้น ในประเทศ อิตาลีมีความแตกต่างไปจากประเทศสเปน ซึ่งจะเห็นได้ จากการที่ซอร์วางกีตาร์ของเขาไว้บนขาข้างขวาและเท้า ขวาก็วางอยู่บนที่สำ�หรับรองเท้า (Footstool) แต่สำ�หรับอกัวโด (Aguado) ซึ่งเป็นเพื่อนของซอร์และเป็นคนชาติ เดียวกันกับมีความคิดแตกต่าง เขาได้ประดิษฐ์ขาตั้งขึ้นมาโดยที่ส่วนบนของขาตั้งนั้นมีแขนยื่นออกมายึดตัวกีตาร์ไว้ อย่างมั่นคง เพียงแต่เขานั่งลงบนเก้าอี้ใกล้ๆ กับขาตั้งนั้นแล้วยื่นมือและแขนทั้งสองข้างออกมาเล่นกีตาร์เท่านั้น โดย ไม่ต้องคอยรับน้ำ�หนักหรือยึดตัวกีตาร์ เขาสามารถเล่นได้อิสระหมดกังวลที่จะคอยยึดกีตาร์เอาไว้ อกัวโดเรียกขา ตั้งของตัวเองว่า ไตรโพเดียน (Tripodion) แต่ขาตั้ง ไตรโพเดียม มิได้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และเมื่อเขา ถึงแก่กรรมลงขาตั้งนั้นก็สาบสูญไปด้วย ส่วนการใช้นิ้ว มือขวาของอกัวโดนั้นเขามักใช้นิ้วกลางมากกว่านิ้วนาง ซึ่งการเล่นของเขามักจะใช้เพียง 3 นิ้วเท่านั้น คือนิ้ว หัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง สำ�หรับนิ้วนางและนิ้วก้อย นั้นจะเล่นในบางโอกาสหรือถ้าจำ�เป็นต้องเล่นจริงๆ เขา ให้เหตุผลว่า นิ้วนางเล็กและมีกำ�หลังอ่อนกว่านิ้วกลาง ทำ�ให้ไม่สามารถเล่นแนวทำ�นองเพลงออกมาได้ชัดเจน กว่านิ้วกลาง สำ�หรับอกัวโดแล้วเล็บมีความสำ�คัญมาก เขาเล่นบทเพลงของเขาด้วยเล็บและทั้งปลายนิ้วกับเล็บ พร้อมกันด้วย ซึ่งช่วยสร้างสีสันและเสียงของบทเพลง เขาชอบความหวาน ความชัดเจน และบางครั้งความยิ่งใหญ่และความสง่างามของเพลง ซึ่งเกิดจากการใช้เล็บเล่นบน สายกีตาร์นอกจากนั้นเขายังรู้จักใช้มุมทางซีกซ้ายของปลายนิ้วสัมผัสกับสายอีกด้วย ซึ่งนักกีต้าร์ในปัจจุบันก็นิยมใช้


12 เล่นกันเป็นส่วนมาก ฟรานซิสโก้ เดอ อาซีอา ทาร์เรก้า (Francisco de Asia Tarrega) เกิดในแคว้น วาเลนเซีย ในปี ค.ศ. 1852 เป็นอีกผู้หนึ่งที่มี บทบาทและอิทธิพลอย่าง มากต่อวงการกีตาร์ใน ปัจจุบัน ซึ่งการถือกีตาร์ ในท่านั่งแบบนี้มีผลต่อมา คือ ทำ�ให้กีตาร์มีรูปร่าง ใหญ่โตขึ้นจากเมื่อก่อน ผู้ เล่นสามารถยึดตัวกีตาร์ ได้มั่นคงกว่า นอกจาก นั้นทาร์เรก้ายังมีอิทธิพล อย่างมากต่อการเกี่ยว สายแบบอโปยานโด ซึ่ง ทำ�ให้ระบบการใช้นิ้วก้อย มือขวาที่วางลงบนผิวหน้า ของกีตาร์ถูกยกเลิกไป โดยที่การเกี่ยวสายทั้งแบบอโปยานโดและโรนานโด ด้วยนิ้วไหนก็สามารถทำ�ให้ผลลัพท์ของเสียงมีปริมาณและคุณภาพ ที่ดีกว่าด้วยการทรงตัวของนิ้วมือขวาไว้เหนือสายกีตาร์ทำ�ให้นิ้วมือมีอิสระและสามารถเคลื่อนตัว อย่างไรก็ได้ตาม ต้องการ ซึ่งทาร์เรก้ามีส่วนช่วยในเรื่องนี้อย่างมาก กล่าวคือ ฟิงเกอร์บอร์ดของกีต้าร์ในศตวรรษที่ 19 โดยทั่วไป จะยาวมาจรดกับแผ่นไม้ของลำ�ตัวส่วนบนพอดีและมีบ้างที่ฟิงเกอร์บอร์ดยาวยื่นออกมาใกล้กับช่องเสียง ฟิงเกอร์ บอร์ดเหล่านั้นมีความหนาเพียง 2 มม. โดยประมาณ แต่สำ�หรับฟิงเกอร์บอร์ดของกีตาร์ในปัจจุบันซึ่งมีรากฐานการ ออกแบบมาจากทาร์เรก้ามีความหนาประมาณ 6-7 มม. และมีบริดจ์ที่สูงขึ้นอีกด้วย ซึ่งเป็นผลทำ�ให้แนวระนาบของ สายกีตาร์ทั้งหมดสูงขึ้นห่างออกจากไม้แผ่นหน้าของกีตาร์มากขึ้นด้วย ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำ�ให้ระบบการเล่นแบบ เก่าต้องล้มเลิกไป กีตาร์ซึ่งประกอบด้วยฟิงเกอร์บอร์ดแบบใหม่ของทาร์เรก้าซึ่งเขาสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1859 ขณะนี้ ถูกเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์เครื่องดนตรี ในกรุงบาเซลโลน่า ทาร์เรก้า เป็นผู้หนึ่งที่ทำ�ให้กีตาร์ได้รับความนิยม และสนใจมากขึ้น โดยที่ทาร์เรก้าได้นำ�เอาบทเพลงของคีต กวีเอก เช่น โชแปงเบโธเฟ่น และคนอื่นๆ มาดัดแปลงให้ใช้บรรเลงด้วยกีตาร์ ทาร์เรก้าได้แสดงถึงทักษะการบรรเลง กีตาร์ การใช้เทคนิคต่างๆของกีตาร์ อย่างไม่ด้อยไปกว่าเครื่องดนตรีชนิดใดเลย


13

ภาพที่ 1.8 ฟรานซิสโก้ เดอ อาซีอา ทาร์เรก้า

กีตาร์คลาสสิก เป็นเครื่องดนตรีที่มีรูปแบบการบรรเลงที่มีลักษณะเฉพาะ เริ่มตั้งแต่ตัวผู้บรรเลงที่ต้องมี การวางมือซ้ายให้ได้ระดับกับสาย มือขวาที่ต้องดีดสายเพื่อให้ได้คุณภาพของเสียงตามที่ต้องการ รวมทั้งท่านั่งที่ ได้สัดส่วน ทุกอย่างล้วนต้องผ่านการฝึกฝนเรียนรู้ทั้งสิ้น บทเพลงที่ใช้ในการบรรเลงกีตาร์คลาสสิกก็เช่นกัน จัดได้ ว่าเป็นบทเพลงที่ต้องใช้ทักษะการบรรเลงอย่างมากเพื่อให้บทเพลงนั้นๆ ออกมาอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ที่จะบรรเลง กีตาร์คลาสสิกได้ดีนั้น จะต้องมีการฝึกฝนทักษะที่เกี่ยวข้องกับกีตาร์คลาสสิกเป็นอย่างดี จิตใจต้องมีความมุ่งมั่นไม่ ย่อท้อ


14 ในบทนี้จะกล่าวถึงเรื่องทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับกีตาร์คลาสสิก เช่น ท่าทางการนั่ง การวางมือการไว้เล็บ อุปกรณ์ ที่ต้องใช้ประกอบการบรรเลง ชื่อส่วนต่างๆ ของกีตาร์คลาสสิก สัญลักษณ์ที่ใช้แทนชื่อในโน้ตเพลง การตั้งสายในรูป แบบต่างๆ และคำ�ศัพท์ที่เกี่ยวข้องทั่วไป กายวิภาคหลักของกีตาร์คลาสสิก มีส่วนหลักสำ�คัญๆ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนหัว ส่วนคอ กีตาร์ และส่วนตัวกีตาร์ หัวกีตาร์ ส่วนหัวกีตาร์ เป็นส่วนสำ�คัญส่วนหนึ่ง ประกอบด้วย ลูกบิด และนัทในส่วนลูกบิดนั้นเป็นส่วนที่ช่วยมัดสายให้มี ความหนาแน่นเมื่อถูกขึงตรึง ดังนั้นหากกีตาร์ที่ใช้วัสดุใน การทำ�ลูกบิดไม่มีคุณภาพจะเกิดปัญหาสายคลายตัวทำ�ให้ กีตาร์เสียงเพี้ยนบ่อยครั้ง นัท เปรียบเสมือนสะพานรอง สายเพื่อให้เกิดองศาที่ขนานกับส่วนคอกีตาร์ นัทมีความ สำ�คัญเกีค่ยวกับการปรับระยะห่างระหว่างสายกับฟิง เกอร์บอร์ด หากกีตาร์ตัวใดใช้นัทที่มีขนาดสูงๆ จะทำ�ให้ ผู้บรรเลงเกิดการเจ็บนิ้ว หรือหากใช้นัทที่มีขนาดต่ำ�ๆ ก็ จะทำ�ให้เสียงแตก (Buzzing) ได้เมื่อกดน้ำ�หนักการ บรรเลงกระแทกเสียงโน้ตที่มากขึ้น ขนาดความสูงของ นัทที่พอดี คือ 2-3 มิลลิเมตร คอกีตาร์ ส่วนคอกีตาร์ ถือเป็นส่วนที่นักกีตาร์ให้ความสำ�คัญ มากส่วนหนึ่ง เนื่องจากเป็นส่วนสัมผัสทั้งมือที่สัมผัส ผ่านคอกีตาร์ และนิ้วมือที่สัมผัสลงบนฟิงเกอร์บอร์ด ผ่านสายกีตาร์และเฟร็ต กล่าวได้ว่าส่วนคอกีตาร์นี้เป็นส่วนละเอียดอ่อนทางความรู้สึก กีตาร์คลาสสิกหลายยี่ห้อด้ ออกแบบความโค้งของคอกีตาร์ให้มีลักษณะที่เหมาะสมกับผู้บรรเลง ทั้งรูปแบบคางหมู และโค้งปกติ เฟร็ตเป็นเส้น เหล็กที่วางขั้นช่องเสียงของโน้ตบนฟิงเกอร์บอร์ด โดยมีความแคบของช่องห่างต่อเฟร็ตลดหลั่นลงไปตามความเข้ม ของเสียง ในการเลือกซื้อกีตาร์ผู้บรรเลงควรสัมผัสคอกีตาร์ และตรวจเช็คการเก็บงานของขอบเฟร็ตกีตาร์อีกด้วย เนื่องจากหากเก็บขอบเฟร็ตไม่ประณีต อาจเกิดการเกี่ยวผิวหนัง หรือ เกิดความรำ�คาญขณะบรรเลงได้ ระยะความยาวของคอกีตาร์ นับตั้งแต่นัทจนถึงลำ�ตัวกีตาร์มีทั้งสิ้น 12 เฟร็ต เท่าค่าโน้ตได้ 12 เซมิโทน (Semitone)กล่าวคือ ในแต่ละสายจะเคลื่อนที่ที่ละเฟร็ตก็เท่ากับเคลื่อนที่ที่เซมิโทน นับจากสายเปิดถึงเฟร็ตที่ 12 ก็ เท่ากับ 12 เซมิโทน หรือระยะห่างตั้งแต่สายเปิดถึงโน้ตเฟร็ตที่ 12 มีระยะห่างเท่ากับ 1 คู่แปด หรือ 1 ออกเตฟ (Octave)


15 ตัวกีตาร์ (Body) ส่วนตัวกีตาร์ ถือเป็นส่วนที่มีความสำ�คัญมาก เนื่องจากตัวกีตาร์เปรียบเสมือนลำ�โพง และเครื่องผลิตเสียง เพื่อส่งออกไปยังผู้ฟัง กล่าวคือ เมื่อบรรเลงเสียงจะผ่านเข้าไปภายในตัวกีตาร์ทางโพรงเสียง และไม้หน้า จากนั้นจะ เกิดการสั่นสะเทือนไปทั่วตัวกีตาร์ทั้งไม้หลังและไม้ข้างเกิดการสะท้อนของเสียงออกมา ดังนั้นหากใช้ไม้ที่มีคุณภาพสูง มาทำ�ตัวกีตาร์จะได้กีตาร์ที่มีเสียงที่คมชัดเจน เสียงดัง สะอาด

ตัวอย่างโน้ตบนเฟร็ทในสายที่ 1 สายเปิดคือโน้ต E


16

การใส่สายกีตาร์คลาสสิก

สายกีตาร์คลาสสิก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ได้แก่สายที่ 1 สายที่ 2 และสายที่ 3 เป็นสายที่ทำ� มาจากไนลอน (Nylon) ส่วนสายที่ 4 สายที่ 5 สายที่ 6 นั้น เป็นสายใยลวดพันสายใยไนลอนเส้นเล็กๆ อีกชั้นหนึ่ง ดังนั้นสายจึงมีความยืดหยุ่นสูง และสามารถงอได้มากกว่าสายกีตาร์โปร่ง หรือกีตาร์ไฟฟ้าทั่วไป ดังนั้นเมื่อคลี่สาย กีตาร์ออกมากแล้ว จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ก่อนที่จะใส่สายกีตาร์คลาสสิกนั้น ควรทำ�ความสะอาดกีตาร์ให้เรียบร้อย เช็ดฝุ่นและคราบสกปรกทั้งหลายที่ เกาะอยู่กับกีตาร์ออกให้สะอาด จากนั้นจึงทำ�การใส่สายกีตาร์คลาสสิกได้ โดยมีขั้นตอนการใส่สายโดยเริ่มจากสายที่ 1 ถึงสายที่ 6 ดังต่อไปนี้ 1) สอดปลายสายกีตาร์เข้าไป ที่บริดจ์ให้เหลือสายพ้นออกมาประมาณ 2 นิ้ว

2) ม้วนปลายสายลอดกลับมาจากซ้ายไปขวา จากนั้นให้พ้นม้วนสาย 2 รอบ

3) ดึงปลายอีกด้านหนึ่ง


17 4) ปลายด้านส่วนหัวกีตาร์สอดสายผ่านรู ที่ส่วนหัวกีตาร์ ม้วนสายกลับมาเพื่อ สอดรูเข้าไปอีกครั้ง

5) ให้เหลือปลายสายประมาณ 1 นิ้ว แล้วพันสายที่เหลือทับปลายสาย


18 6) ลักษณะการวางสายนั้นที่ส่วนหัวกีตาร์นั้น สายที่ 4 และสายที่ 6 ควรให้ชิดขอบด้านใกล้กับลูกบิด 7) สายที่ 2 และสายที่ 5 อยู่ระหว่างกึ่งกลาง 8) สายที่ 3 และสายที่ 4 ให้อยู่ชิดด้านใน

9) เมื่อพันต้นสายแต่ละเส้น ให้พันทับต้นสายก่อนหน้า เพื่อเป็นการเก็บสายให้สวยงาม


19

การวางท่าทางการบรรเลง

เอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่ชัดเจน และเป็นรูปแบบเฉพาะตัวของการบรรเลงกีตาร์คลาสสิก คือท่านั่งขณะบรรเลง ซึ่งถือเป็นรูปแบบที่ผู้เรียนต้องฝึกฝนท่านั่งไว้ อันจะส่งผลต่อการบรรเลงที่ดีขึ้นได้ ซึ่งมีขั้นตอนการวางท่าทางดังนี้ 1. ให้นั่งที่ปลายเก้าอี้ ทั้งนี้เก้าอี้ที่ใช้จะต้องไม่มีที่วางแขนทั้งสองข้าง 2. วางที่รองเท้า (Footstool) ให้ตั้งตรง ห่างจากปลายขาเก้าอี้ ประมาณ 1 ฟุต 3. แยกขาขวาออก เพื่อนำ�กีตาร์วางที่หน้าขาด้านซ้าย ให้หน้าอกสัมผัสกับหลังของกีตาร์ 4. หากเป็นผู้หญิงควรใส่กระโปรงยาว และให้เลื่อนขาขวาลง 5. ให้สังเกตระดับไหล่ของผู้บรรเลงจะขนานกับนัทของกีตาร์ 6. วางท่อนแขนขวาลงที่ขอบกีตาร์ ระวังอย่าให้ไหล่ตก

ภาพที่ 2.1, 2.2 ท่านั่งบรรเลงกีตาร์สำ�หรับผู้ชายและผู้หญิง


20

ภาพที่ 2.3, 2.4 การวางมือขวาและมือซ้าย

ภาพที่ 2.5 เล็บ


21

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบรรเลงกีตาร์ นอกจากเก้าอี้ที่ไม่มีที่รองแขนแล้ว อุปกรณ์สำ�คัญอีกอย่างหนึ่งที่ นักกีตาร์คลาสสิกควรมีไว้ประจำ�ตัว คือ ที่รองเท้า หรือฟุตสตูล (Footstool)

ภาพที่ 2.6 ฟุตสตูล

สัญลักษณ์ทางกีตาร์

นอกจากตัวโน้ตเพลงที่เป็นสัญลักษณ์ในการบอกถึงระดับเสียงแล้ว ในโน้ตเพลงกีตาร์คลาสสิกจะมี สัญลักษณ์ที่บอกนิ้วมือซ้าย นิ้วมือขวาที่จะใช้บรรเลง สายที่บรรเลง และตำ�แหน่งบาร์ที่โน้ตนั้นปรากฎในคอกีตาร์ โดยมีสัญลักษณ์ ดังนี้ 1) สัญลักษณ์แทนชื่อนิ้วมือ นิ้วมือซ้าย นิ้วมือขวา 0 แทน สายเปิด p แทน นิ้วโป้ง (thump) 1 แทน นิ้วชี้ I แทน นิ้วชี้ (index) 2 แทน นิ้วกลาง m แทน นิ้วกลาง (middle) 3 แทน นิ้วนาง a แทน นิ้วนาง (ring or anular) 4 แทน นิ้วก้อย ch แทน นิ้วก้อย (little or chico)


22 2) สัญลักษณ์แทนชื่อสาย

สัญลักษณ์บอกเพื่อแทนชื่อสายของกีตาร์นั้น ใช้สัญลักษณ์ตัวเลขบอกลำ�ดับสายที่ แล้วมีวงกลมล้อม ดังนี้

แทนตำ� แหน่งสายที่ 6 6 5 แทนตำ� แหน่งสายที่ 5 4 แทนตำ� แหน่งสายที่ 4 3 แทนตำ� แหน่งสายที่ 3 2 แทนตำ� แหน่งสายที่ 2 1 แทนตำ� แหน่งสายที่ 1

นอกจากนี้ สัญลักษณ์แทนชื่อสาย อาจใช้ชื่อโน้ตสายเปิด แทนชื่อสายได้ กรณีนี้มักพบกับบทเพลงประเภท เพลงสเปน หรือเพลงแถบอเมริกาใต้ เช่น แทนตำ� แหน่งสายที่ 6 E แทนตำ� แหน่งสายที่ 5 A แทนตำ� แหน่งสายที่ 4 D แทนตำ� แหน่งสายที่ 3 g แทนตำ� แหน่งสายที่ 2 b e แทนตำ� แหน่งสายที่ 1

กรณีที่เพลง ต้องการตั้งเสียงที่เปลี่ยนไป รูปแบบสัญลักษณ์แทนชื่อสายโดยใช้ตัวเลข จะใช้บอกประกอบกับ การตั้งเสียงได้ เช่น

6

= D หมายถึง

สายที่ 6 ให้เทียบเสียงเท่ากับโน้ต เร


23

3) สัญลักษณ์แทนตำ�แหน่งเฟร็ท ใช้สัญลักษณ์เลขโรมัน เพื่อบอกตำ�แหน่ง เฟร็ทที่ ดังนี้

การตั้งสาย การตั้งสายกีตาร์ มี 2 รูปแบบใหญ่ ด้วยกัน คือ การตั้งสายแบบสายเปิด (Open Tuning) โดยการตั้ง สายแบบมาตรฐาน ได้เสนอรูปแบบการตั้งแบบธรรมดาและแบบฮาร์โมนิกส์ ดังจะนำ�เสนอต่อไปนี้ โน้ตสายเปิดของกีตาร์เมื่อเทียบระดับกับโน้ตสากล จะได้โน้ตแต่ละสาย ดังนี้


24 1) การตั้งสายแบบมาตรฐาน รูปแบบธรรมดา การตั้งสายโดยทั่วไป ผู้เรียนควรตั้งสายที่ 1 หรือสายที่ 6 สายใดสายหนึ่งให้ตรงโดยเทียบกับเปียโน หรือ หลอดเทียบเสียงก่อน ในกรณีที่ต้องตั้งสายที่ 1 ให้ตรงก่อนจะใช้วิธีการตั้งแบบธรรมดา กล่าวคือ เมื่อสายที่ 1 มีระดับเสียงที่ตรงแล้ว การตั้งสายที่ 2 นั้น ให้เทียบโน้ต E สายที่ 2 ในบาร์ที่ 5 ให้เท่ากับ สายเปิดสายที่ 1 การตั้งสายที่ 3 ให้สายที่ 3 ให้กดบาร์ที่ 4 ซึ่งตรงกับโน้ต B ตั้งเสียงให้เท่ากับสายเปิดสายที่ 2 ดังปรากฏตามรูปภาพ


25 2) การตั้งแบบมาตรฐาน รูปแบบฮาร์โมนิกส์ (Harmonics Tuning) การตั้งเสียงรูปแบบฮาร์โมนิกส์ เป็นการตั้งเสียงที่ให้ความละเอียดของเสียงที่มีมิติลึกลงไปอีก ทั้งนี้ให้ตั้งสาย เสียงต่ำ�สุดให้ตรงก่อน ได้แก่ สายที่ 6 เสียง E จากนั้นมีหลักการเทียบเสียง ทั้งนี้ให้ปฏิบัติโดยใช้เสียงฮาร์โทนิค ดังนี้ 1. ฮาร์โมนิกส์ สายที่ 6 บาร์ที่ 12 เท่ากับ ฮาร์โมนิกส์ สายที่ 5 บาร์ที่ 7 2.ฮาร์โมนิกส์ สายที่ 5 บาร์ที่ 12 เท่ากับ ฮาร์โมนิกส์ สายที่ 4 บาร์ที่ 7 3.ฮาร์โมนิกส์ สายที่ 4 บาร์ที่ 12 เท่ากับ ฮาร์โมนิกส์ สายที่ 3 บาร์ที่ 7 4.ฮาร์โมนิกส์ สายที่ 6 บาร์ที่ 7 เท่ากับ ฮาร์โมนิกส์ สายที่ 2 บาร์ที่ 12 หรือสายเปิดที่ 2 5.ฮาร์โมนิกส์ สายที่ 5 บาร์ที่ 7 เท่ากับ ฮาร์โมนิกส์ สายที่ 1 บาร์ที่ 12 หรือสายเปิดที่ 1

ภาพที่ 2.8 การแสดงการตั้งสายแบบมาตรฐาน รูปแบบฮาร์โมนิกส์

ทั้งนี้ผู้บรรเลงควรตั้งสายทั้งสองแบบควบคู่กันไปเพื่อให้เสียงมีความกลมกล่อมยิ่งขึ้น ส่วนจะเลือกรูปแบบวิธี ไหนนั้น ตามความถนัดของแต่ละบุคคล


26 3) การตั้งสายเปิด นอกจากการตั้งสายแบบมาตรฐานที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีการตั้งสายลักษณะอื่น เพื่อให้เสียงที่ได้ และ เทคนิคการบรรเลงเป็นไปอย่างสอดคล้องกันรูปแบบของบทเพลง การตั้งสายลักษณะนี้เรียกว่า การตั้งสายเปิด (Open Tuning) โดยมีลักษณะที่พบเห็นในปัจจุบัน ดังนี้


27

คำ�ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากบทเพลงที่ใช้บรรเลงในกีตาร์คลาสสิก เป็นการบันทึกโดยใช้ระบบโน้ตสากล และกีตาร์คลาสสิก เป็นเครื่องที่สามารถถ่ายทอดเทคนิคการเกิดเสียงได้อย่างหลากหลาย ซึ่งในบางครั้งการบันทึกในระบบโน้ตสากลไม่ สามารถกระทำ�ให้ จึงต้องมีการระบุบัญญัติคำ�ศัพท์ที่ให้ความหมายเกี่ยวกับการบรรเลงในช่วงนั้นๆ ให้ได้ตรงตาม วัตถุประสงค์ของคีตกวีไว้มากที่สุด ทั้งนี้ผู้เขียนได้จำ�แนกหมวดหมู่ศัพท์ต่างๆ ไว้ตามประเภทของการใช้งาน โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ดังนี้ 1) คำ�ศัพท์ที่อธิบายถึงลักษณะของเสียง เป็นศัพท์ที่อธิบายถึงการถ่ายทอดเสียงที่ออกมาจากผู้บรรเลง เพื่อสะท้อนต่ออารมณ์ความรู้สึก ถึงความ งดงาม ของเสียงดนตรี ศัพท์ที่อธิบายถึงลักษณะของเสียงที่พบเห็นโดยมากได้แก่


28


29 2) คำ�ศัพท์ที่อธิบายถึงความเร็วของจังหวะ บทเพลงหนึ่งๆ ต่างมีความเร็ว-ช้าของจังหวะต่างๆตามแต่ผู้ประพันธ์ หรือนักแสดงดนตรีเป็นผู้กำ�หนด ใน ดนตรีตะวันตกความเร็วของจังหวะ เรียกว่า เทมโพ (Tempo) เป็นภาษาอิตาเลี่ยนหมายถึงอัตราความเร็วของ จังหวะ การกำ�หนดอัตราความเร็วในดนตรีนั้น จะใช้เครื่องบ่งชี้อัตราความเร็ว (Metronome) เป็นตัวกำ�หนดโดย บอกว่าใน 1 นาที จะมีจังหวะตบ (Beat) กี่ครั้ง และในแต่ละช่วงความเร็วแต่ละระดับนั้นมีชื่อเรียกความเร็วของ จังหวะ เป็นภาษาอิตาเลี่ยน เช่น

นอกจากความเร็วที่กำ�หนดไว้อย่างแน่นอนดังคำ�ศัพท์ข้างต้นแล้ว ในทางปฎิบัติจริง บทเพลงบางบทที่ ต้องการเน้นเรื่องอารมณ์ความรู้สึก การถ่ายทอดตัวโน้ตในลักษณะยืดหยุ่นหรืออื่นๆ ผู้ประพันธ์มักนิยมให้มีคำ�ศัพท์ ที่อธิบายถึงการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกของการบรรเลง


30 3) คำ�ศัพท์ที่อธิบายถึงเทคนิคการบรรเลง


31



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.