ขนมไทย
หัตถกรรมความอร่อยที่แสดงออก
ถึงความอ่อนช้อยของความเป็นไทย
กุ มภาพั นธ์ ๒๕๕๖ ปี ที่ ๑ / ฉบั บที่ ๑ แจกฟรี
ขึ้นเขาคิชฌกูฏ นมัสการรอยพระพุทธบาทสูงที่สุดในไทย 2 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ - 11 เมษายน 2556 11 Februart - 11 April 2013
โบราณาจารย์ ได้เปรียบ แป้ง น้ำตาล มะพร้าว อันเป็นส่วนประกอบหลักของขนมไทยว่า ดุจดังพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ผู้ใดล่วงรู้ถึงคุณค่า ก็ย่อมจะอิ่มทั้งในทางโลกและทางธรรม
3 / ขนมไทย /กุมภาพันธ์ 2556
สารบัญ ก่อนจะมาเป็นขนม
6
วัตถุดิบในการปรุงขนมไทย
8
ขนมไทยแต่ละประเภท
10
ขนมไทย ๔ ภาค
14
ขนมมงคล ๙ อย่าง
18
ขนมไทยเป็นมิตรต่อสุขภาพ
20
ขนมไทยเสริมราศี
22
“ คิดบวก “ ไม่ ใ ช่ การหลอกตัว เราว่า ไม่มี ป ัญ หา แต่ ... สอนให้เรา “ มีสุ ข “ ได้ ภายใต้ป ัญ หาที ่มี อยู่ 4 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
EVERYTHING FOREVER NOW Designs For A Sustainable Future
ณ วันนี้ และตลอดไป พลิ กมุมใหม่ใ ส่ใ จสิ ่งแวดล้อม
5 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
ก่อนจะมาเป็ นขนม ขนมไทยหัตถกรรมความอร่อยที่แสดงออกถึงความอ่อนช้อยของความเป็นไทยตั้งแต่ครั้งอดีตกาลที่ก่อกำเนิดภูมิปัญญา ไทยหลากหลายอย่างให้สืบสานต่อทั้งวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม ที่สามารถนำวัสดุมีอยู่ ในท้องถิ่นมาปรุงแต่งเป็นของหวานไ ด้มากหลายรูปแบบ จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไร เพราะขนมแต่ละชนิดล้วน มีเสน่ห์ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจงในรูปลักษณ์ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ ใช้ วิธีการทำที่กลมกลืน ความพิถีพิถัน สีที่ ให้ ความสวยงาม มีกลิ่นหอม รสชาติของขนมที่ละเมียดละไมชวนให้รับประทาน แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝี มือเชิงศิลปะ คำว่า “ขนม” เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่มาผสมกัน คือ “ข้าวหนม” และ “ข้าวนม” เข้าใจว่าเป็นข้าวผสมน้ำอ้อย น้ำตาล โดยอนุโลมคำว่าหนม แปลว่า หวาน ข้าวหนม ก็แปลว่า ข้าวหวาน เรียกสั้นๆ เร็วๆ ก็กลาย เป็น ขนม ไป ส่วนที่ว่ามาจากข้าวนม (ข้าวเคล้านม) นั้นดูจะเป็น ตำนานแขกโบราณ อย่างข้าวมธุปายาส (ที่นางสุชาดาทำ ถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม) คำว่า ขนม มี ใช้มาหลายร้อยปียากจะสันนิฐานแ น่ น อนได้ เ ช่ น เดี ย วกั บ ไม่ มี ห ลั ก ฐานยื น ยั น แน่ น อนว่ า 6 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
“ขนมไทย” เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดเป็นครั้งแรกแต่ตามประวัติ ศาสตร์ ไทยมีหลักฐานตอนหนึ่งว่า มีการจารึกชื่อขนมในแท่งศิล าจารึกเป็นการจารึกแบบลายแทงสมัยโบราณ ขนมที่ปรากฏคือ “ไข่กบ นกปล่อย บัวลอย อ้ายตื้อ” ถามผู้ ใหญ่ดูถึงได้รู้ว่า ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว ขนมทั้งสี่ ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกันคือ “น้ำกะทิ” โดยใช้ถ้วยใส่ขนม ซึ่งเราเรียกการเลี้ยงขนม ๔ อย่างนี้ว่า “ประเพณี ๔ ถ้วย”
“มารี กี ม าร์ เด ปนา” หรื อ “ท้ า วทองกี บ ม้ า ” เชื่อกันว่าผู้ประดิษฐ์คิดขนมไทยออกมาเผยแพร่จนเป็นที่นิยม กันอย่างกว้างขวางสืบต่อมาจนทุกวันนี้มีชื่อว่า “ท้าวทองกีบม้า” ท้าวทองกีบม้ามีชื่อเต็มว่า “มารี กีมาร์ เด ปนา” มารี กีมาร์ แต่งงานกับ คอนสแตนติน ฟอลคอนชาวกรีกที่เข้า มารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจนเป็นที่ โปรดปรานได้รับแต่งตั้งเป็นถึงอัครมหาเสนาบดีฟอลคอนยกย่ องเธอในฐานะภรรยาเอกหลังการแต่งงานฟอลคอนก็ ได้เป็นผู้ ควบคุมการก่อสร้างป้อมแบบยุโรปในกรุงศรีอยุธยาและบางก อกต่อมาเมื่อออกญาโกษาธิบดี (เหล็ก) ถึงแก่กรรมออกญาพ ระเสด็จซึ่งขึ้นมาดำรงตำแหน่งออกญาโกษาธิบดีแทนก็เลื่อนต ำแหน่งให้เขาขึ้นมาทำหน้าที่ผู้ช่วยและยังได้รับพระราชทานบ รรดาศักดิ์เป็นออกญาพระฤทธิ์กำแหงตำแหน่งนี้ทำให้ฟอลคอ นร่ำรวยขึ้นมาอย่างรวดเร็วเพราะประกอบการค้าส่วนตัวควบ คู่ ไปกับราชการด้วยท้าวทองกีบม้าจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุข สบายหรูหราอย่างหาผู้ ใดในกรุงศรีอยุธยาเปรียบเทียบไม่ ได้ ปีที่ ๖ ของการเข้ารับราชการ ฟอลคอนได้รับตำแหน่งหน้าที่ เจริญรุ่งเรืองสูงสุดโดยได้เป็นสมุหนายกอัครมหาเสนาบดีแ ต่ด้วยความคิดมิชอบฟอลคอลที่ติดต่อกับฝรั่งเศสเป็นการลับ ให้ยึดสยามเป็นอาณานิคมจึงถูกกลุ่มของพระเพทราชาและ ออกหลวงสรศักดิ์จับในข้อหากบฏ เรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์ และถูกประหารชีวิต ท้าวทองกีบม้าถูกส่งตัวเข้าไปเป็นคนรับใช้ ในพระราชวังออก หลวงสรศักดิ์ที่มีความพึงพอใจเธออยู่เป็นทุนเดิมต้องการได้เธ อเป็นภรรยาน้อย แต่เธอไม่ยินยอม ทำให้ออกหลวงสรศักดิ์ ไม่พ อใจมากออกปากขู่ต่างๆ นานา จนท้าวทองกีบม้าไม่สามารถทน อยู่ต่อไปได้จึงตัดสินใจลอบเดินทางออกจากกรุงศรีอยุธยา โดยติดตามมากับนายทหารฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อร้อยโทเซนต์ มารีเพื่อมาอาศัยอยู่กับนายพลเตฟาซจ์ที่ป้อมบางกอกและ ขอร้องให้ช่วยส่งตัวเธอและลูก ๒ คน ไปยังประเทศฝรั่งเศส แต่นายพลเตฟาช์จไม่ตกลงด้วยเพราะเห็นว่าจะเป็นปัญหาภ ายหลังจึงส่งตัวท้าวทองกีบม้าให้แก่ออกญาโกษาธิบดี(ปาน) ซึ่งท่านก็รับไว้ด้วยความเมตตากระนั้นเธอก็ยังต้องถูกคุมขัง เป็นเวลานานถึง ๒ปี หลังการปลดปล่อยเธอได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหาร หวานประเภทต่างๆส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนดการทำ หน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวัง ทำให้ท้าวทองกีบ ม้าต้องประดิษฐ์คิดค้นขนมประเภทต่างๆขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา จากตำรับเดิมของชาติต่างๆโดยเฉพาะโปรตุเกสซึ่งเป็นชาติกำ
เนิดของเธอท้าวทองกีบม้าได้พัฒนาโดยนำเอาวัสดุดิบพื้นถิ่นที่ มี ในประเทศสยามเข้ามาผสมผสานจนทำให้เกิดขนมที่มีรสชา ติอร่อยถูกปากขึ้นมามากมาย เมื่อจัดส่งเข้าไปในพระราชวังก็ ได้รับความชื่นชมมากถึงขนาดถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพ ระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้นมีหน้าที่ดูแลเครื่องเ งินเครื่องทองของหลวงเป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้เสวย มีพนักงานอยู่ ใต้บังคับบัญชาถึง ๒,๐๐๐ คน ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ยกย่องชื่น ชมมีเงินคืนท้องพระคลังปีละมากๆ ด้วยนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีเมตตาทำให้ท้าวทองกีบม้าถ่ายทอดตำรับการปรุงขน มหวานแบบต่างๆ ให้แก่สตรีที่ทำงานใต้บังคับบัญชาของเธอ จนเกิดความชำนาญ และสตรีเหล่านี้เมื่อกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ญ าติพี่น้องยังบ้านเกิด ของตนก็ ได้นำตำรับขนมหวานไปเผย แพร่ต่ออีกทอดหนึ่งจึงทำให้ตำรับขนมหวานที่เคยอยู่ ในพระรา ชวังแผ่ขยายออกสู่ชน บทมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดก็กลายเป็นขน มพื้นบ้านของไทย ชีวิตบั้นปลายของท้าวทองกีบม้าจัดว่ามีความสุขสบายตามส มควรแม้ว่าท้าวทองกีบม้าจะมีกำเนิดเป็นคนต่างชาติ แต่เธอก็เ กิดเติบโตและมีชีวิตอยู่ ในประเทศสยามจวบสิ้นอายุขัยแถมยัง สร้างสิ่งประดิษฐ์อันล้ำค่าทั้งในด้านชีวิตความเป็นอยู่และวัฒน ธรรมประเพณีของไทยเอาไว้อย่างมากมายมหาศาล สมกับคำ ยกย่องกล่าวขานของคนรุ่นหลังที่มอบแด่เธอว่า ราชินีขนมไทย 7 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
วั ต ถุ ด ิ บในการปรุงขนมไทย ข้ า ว และ แป้ ง การนำข้าวมาทำขนมของคนไทย เริ่มตั้งแต่ข้าวไม่แก่จัดข้ าวอ่อนที่เป็นน้ำนมนำมาทำข้าวยาคู พอแก่ขึ้นอีกแต่เปลือก ยังเป็นสีเขียวนำมาทำข้าวเม่า ข้าวเม่าที่ ได้ยังนำไปทำขนม ได่อีกหลายชนิด เช่น ข้าวเม่าคลุก ข้าวเม่าบด ข้าวเม่าหมี่ กระยาสารท ข้าวเจ้าที่เหลือจากการรับประทาน นำไปทำ ขนมไข่มด ขนมไข่จิ้งหรีด ข้าวตูได้อีก ส่วนแป้งที่ ใช้ทำขน มไทยส่วนใหญ่ ได้มาจากข้าว คือแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าว เหนียว ในสมัยก่อนใช้แป้งสดคือ แป้งที่ ได้จากการนำ เม็ดข้าวแช่น้ำแล้วโม่ ให้ละเอียด ในปัจจุบันใช้แป้งแห้งที่ผลิตจากโรงงาน นอกจากนี้แป้งที่ ใช้ ได้แก่ แป้งถั่ว แป้งท้าวยายม่อม แป้งมันสำปะหลัง ส่วนแป้งสาลีมี ใช้น้อย มักใช้ ในขนมที่ ได้รับอิทธิพล จากต่างชาติ มะพร้าว และ กระทิ มะพร้าวนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของขนมไทยได้ตั้งแต่มะพ ร้าวอ่อนจนถึงมะพร้าวแก่ดังนี้ มะพร้าวอ่อน ใช้เนื้อผสมในขนม เช่น เปียกสาคู วุ้นมะพร้าว สังขยามะพร้าวอ่อน มะพร้าวทึนทึก ใช้ขูดฝอยทำเป็นไส้กระฉีก ใช้คลุกกับข้าว ต้มมัดเป็นข้าวต้มหัวหงอก และใช้เป็นมะพร้าวขูดโรยหน้าขนม หลายชนิด เช่น ขนมเปียกปูน ขนมขี้หนู ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของขนมไทย มะพร้าวแก่ นำมาคั้นเป็นกะทิก่อนใส่ ในขนม นำไปทำขนมได้หลายแบบ เช่น ต้มผสมกับส่วนผสม เช่นกล้วยบวชชี แกงบวด ต่างๆ หรือตักหัวกะทิราดบนขนม เช่น สาคูเปียก ซ่าหริ่ม บัวลอย ไข่ ไข่เริ่มเป็นส่วนผสมของขนมไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนา รายณ์มหาราชซึ่งได้รับอิทธิพลจากขนมของโปรตุเกสไข่ที่ ใ ช้ทำขนมนี้จะตี ให้ขึ้นฟูก่อนนำไปผสมขนมบางชนิดเช่นต้อง แยกไข่ขาวและไข่แดงออกจากกัน แล้วใช้แต่ ไข่แดงไปทำขนม
น้ำตาล แต่เดิมนั้นน้ำตาลที่นำมาใช้ทำขนม คือ น้ำตาลจากตาล หรือมะพร้าว ในบางท้องที่ ใช้น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทราย ถูกนำมาใช้ภายหลัง
8 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
ถั่ว และ งา ถั่วและงาจัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในขนมไทยการใช้ถั่วเขียว นึ่งละเอียดมาทำขนมพบไดตั้งแต่สมัยอยุธยาเช่นขนมภิมถั่วทำ ด้วยถั่วเหลืองหรือถั่วเขียวกวนมาอัดใส่พิมพ์ ถั่วและงาที่นิยมใ ช้ ในขนมไทยมีดังนี้ ถั่วเขียวเราะเปลือก มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ถั่วทอง ถั่วซีก ถั่วเขียวที่ ใช้ต้องล้งและแช่น้ำค้างคืนก่อนเอาไปนึ่ง ถั่วดำ ใช้ ใส่ ในขนมไทยไม่กี่ชนิด และใส่ทั้งเม็ด เช่น ข้าวต้ม หมัด ข้าวหลาม ถั่วดำต้มน้ำตาล ขนมถั่วดำ ถั่วลิสง ใช้น้อย ส่วนใหญ่ ใช้ โรยหน้าขนมผักกาดกวน ใส่ ในขนมจ่ามงกุฏ ใส่ ในรูปที่คั่วสุกแล้ว งาขาวและงาดำ ใส่เป็นส่วนผสมสำคัญในขนมบางชนิดเช่น ขนมเทียนสลัดงา ขนมแดกงา กล้วย กล้ ว ยมี ส่ ว นเกี่ ย วข้ อ งกั บ ขนมไทยหลายชนิ ด ไม่ ว่ า จะเป็ น ขนมกล้วย กล้วยกวน กล้วยเชื่อม กล้วยแขกทอด หรือใช้ กล้วยเป็นไส้ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวเหนียวปิ้งไส้กล้วย ข้าวเม่า กล้วยที่ ใช้ส่วนใหญ่เป็นกล้วยน้ำว้า กล้วยแต่ละชนิดเมื่อนำมา ทำขนมบางครั้งจะให้สีต่างกัน เช่น กล้วยน้ำว้าเมื่อนำไปเชื่อม ให้สีแดง กล้วยไข่ ให้สีเหลือง เป็นต้น สี สีที่ ได้จากธรรมชาติและใช้ ในขนมไทย มีดังนี้ สีเขียว ได้จากใบเตยโขลกละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ สีน้ำเงินได้จากดอกอัญชัน เด็ดกลีบดอกอัญชันแช่ ในน้ำเดือด ถ้าบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อยจะได้สีม่วง สีเหลืองได้จากขมิ้นหรือหญ้าฝรั่น สีแดงได้จากครั่ง สีดำได้จากกาบมะพร้าวเผาไฟ นำมาโขลกผสมน้ำแล้วกรอง กลิ่นหอม กลิ่นหอมที่ ใช้ ในขนมไทยได้แก่ กลิ่นน้ำลอยดอกมะลิ ใช้ดอกมะลิที่เก็บในตอนเช้า แช่ลง ในน้ำต้มสุกที่เย็นแล้วให้ก้านจุ่มอยู่ ในน้ำ ปิดฝาทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นจึงกรอง นำนำไปใช้ทำขนม กลิ่นดอกกระดังงา นิยมใช้อบขนมแห้ง โดยเด็ดกลีบกระดัง งามาลนเทียนอบให้หอม ใส่ขวดโหลที่ ใส่ขนมไว้ ปิดฝาให้สนิท กลิ่ น เที ย นอบจุ ด ไฟที่ ป ลายเที ย นอบทั้ ง สองข้ า งให้ ลุ ก สั ก ครู่หนึ่งแล้วดับไฟวางลงในถ้วยตะไลใส่ ในขวดโหลที่ ใส่ขนม ปิดผาให้สนิท กลิ่นใบเตยหั่นใบเตยที่ล้างสะอาดเป็นท่อนยาวใส่ลงไปใน ขนม 9 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
ขนมไทยแต่ ล ะประเภท ขนมหวานไทยจะมีความหวานนำหรือมีความหวานจนรู้สึกในลิ้นของผู้รับประทานการทำขนมหวานไทยเป็นเรื่องที่ต้องศึ กษาและฝึกฝน ต้องใช้ศิลปะ วิทยาศาสตร์ ความอดทน ความเป็นระเบียบ ความพิถีพิถันในการประกอบ ขนมไทยแท้ ๆ ต้องมีกลิ่นหอม หวาน มัน มีความประณีต ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การเตรียมส่วนผสม จนกระทั่งวิธีการทำ ขนมไทย สามารถจัดแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ตามลักษณะของเครื่องปรุง ลักษณะกรรมวิธี ในการทำ และลักษณะการ หุงต้ม 10 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
1. ขนมประเภทไข่ เป็นขนมที่ ได้รับความนิยมกันมากเพราะขนมมีรูปลักษณ์สวย งามใช้ฝีมือและความประณีตในการทำเป็นขนมที่ขาดไม่ ได้สำ หรับงานมงคลต่างๆ เทคนิคที่สำคัญคือการเลือกไข่ซึ่งเป็นวัต ถุดิบหลักในการทำควรเลือกไข่ที่ ใหม่เพราะขนมประเภทนี้ ใช้ค วามข้นของไข่ ในการคงรูปของขนมและยังคงความอ่อนนุ่ม ขน มไทยประเภทไข่ที่ ได้รับความนิยม ได้แก่ ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา ฯลฯ
2. ขนมประเภทนึ ่ ง เป็นการให้ความร้อนขึ้นกับ อาหารที่ต้องการทำให้สุกโดยการ ใช้ภาชนะ 2 ชั้น ชั้นล่างสำหรับใส่น้ำต้มให้เดือด ชั้นบนมีช่อง หรือตะแกรงสำหรับวางอาหารหรือมีภาชนะที่มีแผ่นตะแกรง เพื่อวางอาหารเหนือน้ำ และไอน้ำเดือดจากด้านล่างสามารถ ลอยตัวขึ้นเบื้องบนผ่านตะแกรงทำให้อาหารสุกได้ เช่น ขนมชั้น ขนมสาลี่ ขนมน้ำดอกไม้ ขนมทราย ฯลฯ
3. ขนมประเภทต้ ม การทำอาหารให้ สุ ก โดยวิ ธี ก ารต้ ม จะใช้ น้ ำ หรื อ ของเหลว ปริ ม าณมากเป็ น ตั ว กลางนำความร้ อ นโดยใส่ อ าหารที่ จ ะ ทำให้สุกลงในของเหลวนั้น ได้แก่ น้ำกะทิ นม เป็นต้น ห ลั ก สำคั ญ ของการต้ ม คื อ เมื่ อ ทำให้ ข องเหลวเดื อ ดแล้ ว ลด ความร้อนลงเพื่อให้เดือดเบาๆ อาหารที่ต้มอาจใส่ลงไปขณะที่ น้ำเย็นหรือต้มให้น้ำเดือดก่อนแล้วใส่อาหารลงไปแล้วต้มให้เดือ ดต่อแล้วจึงลดไฟลงให้เดือดต่อ แล้วจึงลดไฟลงให้เดือดเบาๆ เช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มันต้มน้ำตาล ฯลฯ
11 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
4. ขนมประเภทกวน เป็นการนำอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งโดยมากเป็นของเหลว ผสมให้รวมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันจนข้นและเหนียวโดยใช้เครื่อง มือชนิดใดชนิดหนึ่งคนอาหารไปจนทั่วด้วยความแรงและเร็วไ ปในทิศทางเดียวกันจนอาหารนั้นเหนียวเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ขนมเปียกปูน ซ่าหริ่ม ขนมตะโก้ ฯลฯ
5. ขนมประเภทอบและผิ ง ขนมที่ ใช้ผิงมีหลายชนิด จะใช้ผิงด้วยไฟบนและไฟล่าง ไฟจะ ต้องมีลักษณะอ่อนเสมอกัน ปัจจุบันใช้เตาอบแทนการผิง เช่น ขนมดอกลำดวน ขนมบ้าบิ่น ขนมหน้านวล ฯลฯ
6. ขนมประเภททอด เป็นการใส่ส่วนผสมลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ จนสุก เช่น กล้วยทอด ข้าวเม่าทอด ขนมกง ขนมค้างคาว ขนมฝักบัว ขนมนางเล็ด การทอดเพื่อให้สุกจะทำให้ขนมมีลักษณะและก ลิ่นเปลี่ยนไป เช่น การพองตัว มีความกรอบ และมีกลิ่นหอม เช่น ขนมกง ขนมฝักบัว ขนมสามเกลอ ฯลฯ
7. ขนมประเภทปิ ้ ง ขนมจาก การทำอาหารให้สุก โดยวางของสิ่งนั้นไว้เหนือไฟ ไม่สู้แรงนัก การปิ้งต้องปิ้งให้ผิวสุกเกรียมหรือกรอบ เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง ขนมจาก ฯลฯ
12 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
8. ขนมประเภทเชื ่ อ ม การเชื่อมส่วนใหญ่จะทำกับผลไม้ โดยการนำผลไม้ต้มในน้ำ เชื่อมจนกระทั่งผลไม้มีลักษณะนุ่มและขึ้นเงาโดยระหว่างเชื่อ มช่วงแรกน้ำเชื่อมจะใสแล้วจึงต้มต่อไปจนน้ำเชื่อมข้นแต่ต้อง ไม่เชื่อมให้น้ำเชื่อมข้นเกินไปจะมีผลทำให้น้ำในเซลผลไม้ ไหลอ อกมาโดยขบวนการออสโมซิสทำให้ผลไม้เหี่ยวลงและแข็งแต่ ถ้าเป็นผล ไม้ชนิดเนื้อแข็งแน่นและบางชนิดมียางในการเชื่อม จะต้องมี เทคนิคช่วยเสริมคือต้มในน้ำก่อน หรือแช่ ในน้ำปูนใส ก่อนต้มและเชื่อม เช่น กล้วยเชื่อม สาเกเชื่อม ฯลฯ 9. ขนมประเภทฉาบ เช่น เผือกฉาบ กล้วยฉาบ มันฉาบ ฯลฯ
11. ขนมประเภทน้ ำเชื่อม เช่น ผลไม้ลอยแก้ว วุ้นน้ำเชื่อม ฯลฯ
10. ขนมประเภทน้ ำกะทิ เช่น เผือกน้ำกะทิ ลอดช่องน้ำกะทิ ฯลฯ
12. ขนมประเภทบวด เช่น กล้วยบวดชี แกงบวดเผือก ฯลฯ
13 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
ขนมไทย ๔ ภาค
ขนมไทยภาคเหนื อ ส่วนใหญ่จะทำจากข้าวเหนียว และส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้ม เช่นขนมเทียน ขนมวง ข้าวต้มหัวหงอก มักทำกันในเทศ กาลสำคัญ เช่นเข้าพรรษา สงกรานต์ ขนมที่นิยมทำในงาน บุญเกือบทุกเทศกาลคือขนมใส่ ไส้หรือขนมจ๊อกขนมที่หาซื้อไ ด้ทั่วไปคือขนมปาดซึ่งคล้ายขนมศิลาอ่อนข้าวอีตหรือข้าวเหนี ยวแดงข้าวแตนหรือข้าวแต๋นขนมเกลือขนมที่มีรับประทานเฉ พาะฤดูหนาวได้แก่ข้าวหนุกงาซึ่งเป็นงาคั่วตำกับข้าวเหนียวถ้ าใส่น้ำอ้อยด้วยเรียกงาตำอ้อย ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบว่าว
14 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
ลูกก่อ ถั่วแปะยี ถั่วแระ ลูกลานต้ม ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขนม พื้นบ้านได้แก่ ขนมอาละหว่า ซึ่งคล้ายขนมหม้อแกง ขนมเปงม้ง ซึ่งคล้ายขนมอาละหว่า แต่มีการหมักแป้งให้ฟูก่อ นขนมส่วยทะมินทำจากข้าวเหนียวนึ่ง น้ำตาลอ้อยและกะทิ ใ นช่วงที่มีน้ำตาลอ้อยมากจะนิยมทำขนมอีก 2 ชนิดคือ งาโบ๋ ทำจากน้ำตาลอ้อยเคี่ยวให้เหนียวคล้ายตังเมแล้วคลุกงากับแ ปโหย่ ทำจากน้ำตาลอ้อยและถั่วแปยี มีลักษณะคล้ายถั่วตัด
ขนมไทยภาคกลาง ส่วนใหญ่ทำมาจากข้าวเจ้า เช่น ข้าวตัง นางเยี่ยวเล็ด ข้าวเหนียวมูน และมีขนมที่หลุดลอดมาจากรั้ววัง จนแพร่
หลายสู่สามัญชนทั่วไป เช่น ลูกชุบ หม้อข้าวหม้อแกง ฝอยทอง ทองหยิบ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมเผือก เป็นต้น
ขนมไทยภาคอี ส าน เป็นขนมที่ทำกันง่ายๆไม่พิถีพิถันมากเหมือนขนมภาคอื่นขนม พื้นบ้านอีสานได้แก่ข้าวจี่บายมะขามหรือมะขามบ่ายข้าวข้าว โป่งนอกจากนั้นมักเป็นขนมในงานบุญพิธีที่เรียกว่าข้าวประดั บดินโดยชาวบ้านนำข้าวที่ห่อใบตองมัดด้วยตอกแบบข้าวต้ม มัด กระยาสารท ข้าวทิพย์ ข้าวยาคู ขนมพื้นบ้านของจังหวัดเล ยมักเป็นขนมง่ายๆ เช่น ข้าวเหนียวนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง ข้าวบ่ายเกลือ คือข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนจิ้มเกลือให้พอมีรสเค็ม ถ้ามีมะขาม
จะเอามาใส่เป็นไส้เรียกมะขามบ่ายข้าว น้ำอ้อยกะทิ ทำด้วย น้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียวใส่ถั่วลิสงคั่วและมะพร้าวซอย ข้าวพ องทำมาจากข้าวตากคั่วใส่มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ และถั่วลิสงคั่ว กวนกับน้ำอ้อยจนเหนียวเทใส่ถาด ในงานบุญต่างๆจะนิยม ทำขนมปาด(คล้ายขนมเปียกปูนของภาคกลาง)ลอดช่องแล ะขนมหมก(แป้งข้าวเหนียวโม่ ปั้นเป็นก้อนกลมใส่ ไส้กระฉีก ห่อเป็นสามเหลี่ยมคล้ายขนมเทียน นำไปนึ่ง)
15 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
ขนมไทยภาคใต้ ชาวใต้มีความเชื่อในเทศกาลวันสารทเดือนสิบ จะทำบุญด้วยขนมที่มีเฉพาะในท้องถิ่นภาคใต้เท่านั้น เช่น ขนมลา ขนมพอง ข้าวต้มห่อด้วยใบกะพ้อ ขนมบ้าหรือขนมลูกสะบ้า ขนมดีซำหรือเมซำ ขนมเจาะหูหรือเจาะรู ขนมไข่ปลา ขนมแดง เป็นต้น ตัวอย่างของขนมพื้นบ้านภาคใต้ ได้แก่ - ขนมหน้าไข่ ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำตาล นำไปนึ่ง หน้าขนมทำด้วยกะทิผสมไข่น้ำตาลเกลือตะไคร้และหัวหอม ราดบนตัวขนม แล้วนำไปนึ่งอีกครั้ง - ขนมฆีมันไม้ เป็นขนมของชาวไทยมุสลิมทำจากมันสำปะ หลังนำไปต้มให้สุกโรยด้วยแป้งข้าวหมาก เก็บไว้ 1 คืน 1 วันจึงนำมารับประทาน - ขนมจู้จุน ทำจากแป้งข้าวเจ้านวดกับน้ำเชื่อมแล้วเอาไปท อดมีลักษณะเหนียวและอมน้ำมัน - ขนมคอเป็ด ทำจากแป้งข้าเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว นวดรวมกับไข่ ไก่ รีดเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้นๆ เอาไปทอด สุกแ ล้วเอาไปเคล้ากับน้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนเหนียวข้น - ขนมคนที ทำจากใบคนที ผสมกับแป้งและน้ำตาลนึ่งให้สุ กคลุกกับมะพร้าวขูดจิ้มกับน้ำตาลทราย - ขนมกอแหละ ทำจากแป้งข้าวเจ้ากวนกับกะทิและเกลือ เทใส่ถาดโรยต้นหอมตัดเป็นชิ้นๆโรยหน้าด้วยมะพร้าวขูด คั่ว กุ้งแห้งป่น และน้ำตาลทราย - ขนมก้านบัว ทำจากข้าวเหนียวนึ่งสุก นำไปโขลกด้วยคร กไม้จนเป็นแป้งรีดให้แบนตากแดดจนแห้งตัดเป็นรูปสี่เหลี่ย
16 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
มผืนผ้า ทอดให้สุก ฉาบด้วยน้ำเชื่อม - ข้าวเหนียวเชงา เป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกตำผสมกับงาและ น้ำตาลทราย - ข้าวเหนียวเสือเกลือก คล้ายข้าวโพดคลุกของภาคกลาง แต่เปลี่ยนข้าวโพดเป็นข้าวเหนียวนึ่งสุกและใส่กะทิด้วย - ขี้หมาพองเช มีลักษณะเป็นก้อนๆ ทำจากข้าวเหนียว คั่วสุกจนเป็นสีน้ำตาล ตำให้ละเอียดเคล้ากับมะพร้าวขูด น้ำตาลโตนดที่เคี่ยวจนข้น เคล้าให้เข้ากันดีแล้วปั้นเป็นก้อน - ขนมดาดา เป็นขนมของชาวไทยมุสลิมใช้ ในโอกาสเดีย วกับฆานมประกอบด้วยข้าวเจ้าข้าวเหนียวผสมน้ำบดให้ละ เอียด นำไปละเลงในกระทะที่มีน้ำมันร้อนๆ พับให้เป็นแผ่น กินกับน้ำตาลเหลว - ขนมกรุบ นิยมทำกันในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้แป้งข้าวเ หนียวนวดกับน้ำอุ่น นำไปรีดให้แผ่บางบนใบตอง นำไปนึ่งแ ล้วตากแดดให้แห้งแล้วทอดให้กรอบคลุกกับน้ำตาลที่เคี่ยวเ ป็นยางมะตูม - ขนมก้องถึ่ง ทำจากถั่วลิสงคั่ว คลุกกับน้ำตาลร้อนๆ แล้ว ใช้ ไม้ทุบให้ละเอียดจนเป็นแผ่น ตัดเป็นชิ้น
THERE’S ALWAYS ROOM FOR DESSERT. มีที่ว่างเสมอสำหรับของหวาน 17 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
ขนม
มงคล ๙ อย่ า ง
“ขนมไทย” เอกลักษณ์ของความเป็นไทย นอกจากจะมีความงดงามวิจิตร ละเอียดอ่อน พิถีพิถันในทุกขั้นตอนการทำแล้วยังมี รสชาติที่อร่อย หอมกลิ่นพืชพรรณจากธรรมชาติและกลิ่นอบร่ำควันเทียน อีกทั้งขนมแต่ละชนิดยังมีชื่อเรียกที่บ่งบอกถึงคุณค่า และแฝงไปด้วยความหมายอันเป็นสิริมงคล คำว่า “มงคล” หมายถึง สิ่งที่นำมาซึ่งความดีงามและความเจริญรุ่งเรือง ส่วน “ขนมมงคล”หมายถึง ขนมไทยที่นำไปใช้ประ กอบเครื่องคาวหวาน ถวายพระ เลี้ยงแขก ในงานพิธีมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานบวช หรืองานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น โดยจะต้องเลือกใช้เฉพาะขนมไทยที่มีชื่อไพเราะและเป็นสิริมงคล ดังเช่น “ขนมมงคล 9 อย่าง” 1. ทองหยิ บ เป็นขนมมงคลชนิดหนึ่ง มีลักษณะงดงามคล้ายดอกไม้สีทอง ต้องใช้ ความสามารถและความพิถีพิถันเป็นอย่างมากในการประดิษฐ์ประดอย จับกลีบให้มีความงดงามเหมือนกลีบดอกไม้ ชื่อขนมทองหยิบเป็นชื่อสิริ มงคลเชื่อว่าหากนำไปใช้ประกอบพิธีมงคลต่างๆหรือให้เป็นของขวัญแก่ ใครแล้วจะทำให้เกิดความมั่งคั่งร่ำรวยหยิบจับการงานสิ่งใดก็จะร่ำรวย มีเงินมีทองสมดังชื่อ “ทองหยิบ”
2. ทองหยอด ใช้ประกอบในพิธีมงคลทั้งหลาย หรือมอบเป็นของขวัญในโอกาสสำคัญๆ แก่ผู้ ใหญ่ที่เคารพรัก หรือญาติสนิทมิตรสหายแทนคำอวยพรให้ร่ำรวยมี เงินมีทอง ใช้จ่ายอย่างไม่รู้หมดสิ้นประดุจให้ทองคำแก่กัน
3. ฝอยทอง เป็นขนมในตระกูลทองที่มีลักษณะเป็นเส้น นิยมใช้กันในงานมงคลสมรส ถือเคล็ดกันว่าห้ามตัดขนมให้สั้น ต้องปล่อยให้เป็นเส้นยาวๆ เพื่อที่คู่บ่าวส าวจะได้ครองชีวิตคู่ และ รักกันได้อย่างยืนยาวตลอดไป
4. ขนมชั ้ น เป็นขนมไทยที่ถือเป็นขนมมงคล และจะต้องหยอดขนมชั้นให้ ได้ 9 ชั้น เพราะคนไทยมีความเชื่อว่าเลข 9 เป็นเลขสิริมงคล หมายถึงความเจริญ ก้าวหน้าและขนมชั้นก็หมายถึง การได้เลื่อนชั้นเลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์ ให้ สูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไป 18 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
5. ขนมทองเอก เป็นขนมในตระกูลทองอีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้ความพิถีพิถันเป็นอย่างยิ่งใน ทุกขั้นตอนการทำมีลักษณะที่สง่างามโดดเด่นกว่าขนมตระกูลทองชนิดอื่น ๆตรงที่มีทองคำเปลวติดไว้ที่ด้านบนของขนม คำว่า “เอก” หมายความถึง การเป็นที่หนึ่ง การใช้ขนมทองเอกประกอบพิธีมงคลสำคัญต่างๆ หรือใช้ มอบเป็นของขวัญในงานฉลองการเลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งจึงเปรียบเสมือน คำอวยพรให้เป็นที่หนึ่งด้วย 6. ขนมเม็ ด ขนุ น เป็นหนึ่งในขนมตระกูลทองเช่นกัน มีสีเหลืองทองรูปร่างลักษณะคล้าย กับเม็ดขนุน ข้างในมี ไส้ทำด้วยถั่วเขียวบด มีความเชื่อกันว่าชื่อของขนม เม็ดขนุนจะเป็นสิริมงคลช่วยให้มีคนสนับสนุนหนุนเนื่องในการดำเนินชีวิต และในหน้าที่การงานหรือ กิจการต่างๆ ที่ ได้กระทำอยู่
7. ขนมจ่ า มงกุ ฎ เป็นขนมที่ทำยาก มีขั้นตอนในการทำสลับซับซ้อน นิยมทำกันเพื่อใช้ประ กอบพิธีการที่สำคัญจริงๆ คำว่า “จ่ามงกุฎ” หมายถึงการเป็นหัวหน้าสูง สุดแสดงถึงความมีเกียรติยศสูงส่ง นิยมใช้เป็นของขวัญในงานเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง ถือเป็นการแสดงความยินดีและอวยพรให้มีความก้าวหน้า ในหน้าที่การงานยิ่งๆ ขึ้นไป
8. ขนมถ้ ว ยฟู ให้ความหมายอันเป็นสิริมงคล หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟูนิยม ใช้ประกอบในพิธีมงคลต่างๆ ทุกงาน เคล็ดลับของการทำขนมถ้วยฟูให้มี กลิ่นหอมน่ารับประทานนั้นคือการใช้น้ำดอกไม้สดเป็นส่วนผสมและการอบ ร่ำด้วยดอกมะลิสดในขั้นตอนสุดท้ายของการทำ
9. ขนมเสน่ ห ์ จั นทน์ “จันทน์” เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง มีผลสุกสีเหลืองเปล่งปลั่งทั้งสวยงามและมี กลิ่นหอมชวนให้หลงใหลคนโบราณจึงนำความมีเสน่ห์ของผลจันทน์มาปร ะยุกต์ทำเป็นขนมและได้นำ“ผลจันทน์ป่น”มาเป็นส่วนผสมทำให้มีกลิ่นหอม เหมือนผลจันทน์ ให้ชื่อว่า “ขนมเสน่ห์จันทน์” โดยเชื่อว่าคำว่า เสน่ห์จันทน์ เป็นคำที่มีสิริมงคลจะทำให้มีเสน่ห์ คนรักคนหลงดังเสน่ห์ของผลจันทน์ ขนมเสน่ห์จันทน์จึงถูกนำมาใช้ประกอบในงานพิธีมงคลสมรส
19 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
ขนมไทยเป็นมิตรต่อสุภาพ ขนมไทยมีรากเหง้ามาจากสังคมเกษตรผูกพันกับธรรมชา ติวัตถุดิบที่นำมาทำเป็นขนมก็ล้วนมาจากธรรมชาติดังนั้นคุ ณสมบัติหลายประการของผลผลิตตามธรรมชาติก็จะยังคง มีอยู่มากจากการสำรวจคุณค่าทางโภชนาการขนมไทยของ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุขพบว่าขนมไทยส่วนใหญ่น อกจากจะมีคุณค่าในสารอาหารหลักๆ อย่างคาร์ โบไฮเดรต โปรตีนไขมันแล้วยังมีแร่ธาตุและวิตามินที่สำคัญต่อร่างกาย รวมอีกด้วย อาทิเช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ เรตินอล แคโรทีน เป็นต้น ซึ่งคุณค่าอาหารรวม หมู่แบบนี้ จะหาไม่ ได้ ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะเป็นการ สกัดสาร อย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุในแคปซูลเพื่อขายในราคาแพงๆ เท่านั้นและในขนมถุงสารอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้ก็ยังหา ทำยาได้อยากเช่นกัน นอกจากนี้ ด้วยความที่ขนมไทยยังไม่ ได้ถูกครอบงำจาก
ระบบอุตสาหกรรมข้ามชาติ ทำให้ขนมไทยมีความปลอดภัย ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือความปลอดภัยจากการใช้วัต ถุดิบทางการเกษตรที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม หน้าแ รกขนมไทยเป็นมิตรต่อสุขภาพประโยชน์จากขนมไทยกา รเลือกรับประทานขนมไทยการกินแบบไทยๆขนมไทยในเ ทศกาลงานบุญขนมไทยในงานมงคลขนมไทยแด่ผู้ยากไร้ ขนมไทยที่ ใช้เป็นของขวัญ หรือ จีเอ็มโอ เพราะจากการต รวจสอบของกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกรีนพีช พบว่า มีขนม กรุบกรอบหรือขนมถุงที่จำหน่ายในท้องตลาดบางยี่ห้อมีกา รใช้วัตถุดิบที่ปนเปื้อนจีเอ็มโอ แม้จะยังเป็นข้อถกเถียงที่ยัง ไม่มีบทสรุปมาจนถึงทุกวันนี้ว่า คนที่กินอาหารจีเอ็มโอหรือ มีส่วนผสมของอาหารจีเอ็มโอเข้าไปจะมีผลกระทบต่อสุขภา พร่างกายหรือไม่อย่างไร แต่เพื่อความปลอดภัยผู้บริโภคก็ ไม่ควรที่จะเสี่ยง
ประโยชน์ ข องขนมไทย ใยอาหาร” หรือ “Fiber” เป็นอาหารอีกหมู่หนึ่งที่ร่างกายมีความต้องการไม่น้อยไปกว่าอาหารหลักหมู่อื่นใยอาหารนี้แท้ที่ จริงแล้วคือ คาร์ โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ ไม่ ใช่แป้ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบของ พืช ผัก และผลไม้ที่รับประทานได้ แต่ ไม่ถูกย่อย โดยน้ำย่อยในระบบย่อยอาหารเมื่อผ่านลำไส้ ใหญ่บางส่วนจะถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ ทำให้กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไฮโดรเจน น้ำ และกรดไขมันสายสั้นๆ ซึ่งจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ด้วยเหตุนี้ ใยอาหารจึงมีผลช่วยกระตุ้นการทำ งานของลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งที่อาจปะปนมากับอาหาร ซึ่งร่างกายสามารถขับถ่ายมาพ ร้อมกับอุจจาระ ช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเรสเตอรอลในเส้นเลือดได้และเพื่อสุขภาพที่ดีเราควรบริโภคอาหารที่มีเส้นใ ยอาหารในปริมาณ 25-30 กรัมต่อวัน ซึ่งในขนมไทยต่างมี ใยอาหารประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น
20 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
กากใยอาหารในผักและผลไม้ที่นำมาใช้ทำขนม อย่างเช่นกล้วยบวดชี บวดเผือก บวดฟักทอง ยังคงสภาพอยู่กากใยเหล่า นี้เป็นประโยชน์ต่อการขับถ่ายของร่างกายทีเดียว ในขณะที่ขนมพันธุ์ ใหม่ที่ ในยุคนี้จะเป็นขนมที่ต้องผ่านกระบวนการย่อยสล ายหลายขั้นตอนมากแป้งที่ ใช้ทำขนมก็จะถูกฟอกขาวมีสารเคมีสังเคราะห์มากมายเข้าไปเป็นส่วนผสมทั้งในแป้งและน้ำตาล ซึ่งจะย่อยสลายทันที ในปาก เกิดกรดทำให้ฟันผุได้ทันทีและความที่อาหารมีกากใยน้อยลงโรคที่ตามมาอีก คืออาการท้องผูก ปัจจุบันกลายเป็นปัญหาของเด็กอย่างยิ่ง บางบ้านถึงกับทะเลาะกันระหว่างแม่กับพ่อเรื่องการถ่ายของลูก - เบต้าแคโรทีน (beta-Carotene) เป็นองค์ประกอบของสารสีส้มแดง สีเหลืองในพืชผักผลไม้ เป็นแหล่งของวิตามินเอเพราะร่างกายสามารถเปลี่ยนเบต้า แคโรทีนไปเป็นวิตามินเอได้ซึ่งวิตามินเอนี้เป็นวิตามินชนิดไม่ ละลายน้ำมีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นการเจริญเติบโตเป็น สารต้านอนุมูลอิสระของไขมันบนผนังเซลล์ทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้ดี
- แคลเซียม เป็นธาตุอาหาร ที่เป็นโครงสร้างของกระดูก และฟันช่วย การหดตัวของกล้ามเนื้อและการเต้นของหัวใจช่วยกระตุ้น การทำงานของเอ็นไซม์
21 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
ขนมไทยเสริมราศี นับว่าขนม 12 ราศีนี้เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่เชื่อเรื่องดวงเรื่องราศีอีกทางหนึ่ง เพราะนอกจากจะได้ความอร่อยจากรสชาติ ของขนมแล้ว ยังได้ความสบายใจกลับไปเต็มอิ่มกันอีกด้วย ราศีมังกร เกิ ด ระหว่ า ง 15 ม.ค.-14 ก.พ. ขนมสวยหลากสีสร้างสรรค์ ให้ชีวิตแปลกใหม่ เป็นคนธาตุดินต้องเสริมความตื่น เต้นแปลกใหม่กับชีวิตด้วยขนมชั้นสีสวยๆ เยลลี่ลายหวานๆ หรือลูกชุปช่วยเสริม สง่าราศี ให้ โดนเด่นดีที่สุด เครื่องดื่มที่เหมาะคือ น้ำหวานสีต่างๆ
ราศีก ุมภ์ เกิ ด ระหว่ าง 15 ก.พ.-14 มี.ค. โดดเด่นเป็นที่สนใจด้วยขนมหายาก เป็นคนธาตุลม ชอบขนมเบเกอรี่ ขนมเค้ก แต่มีขนมไทยหลายประเภทที่ช่วยเสริมดวงชะตา อาทิ สัมปันนี ฝอยทอง เครื่องดื่มที่เหมาะ คือ น้ำส้ม น้ำเสาวรส น้ำแอปเปิ้ล ราศีมีน เกิ ด ระหว่ า ง 15 มี .ค.-14 เม.ย. โชคดีทุกการเดินทางด้วยขนมพื้นบ้านหลากแบบ เป็นคนธาตุไฟที่ ไม่ค่อยใจร้อน เท่าไหร่ ขนมพื้นบ้านจะช่วยเสริมให้เจ้าตัวโชคดีเรื่องการเดินทาง อาทิ ข้าวเม่า ข้าวตอก ข้าวตัง เล็บมือนาง เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นประเภทน้ำผักผลไม้
ราศีเ มษ เกิ ด ระหว่ าง 15 เม.ย.-14 พ.ค. ลดอารมณ์ร้อนๆด้วยขนมเย็น เป็นคนธาตุไฟมีนิสัยใจร้อนหงุดหงิดง่ายควรแก้ เคล็ดด้วยขนมประเภทเย็นๆอาทิ ขนมลอดช่อง กระท้อนลอยแก้ว จะช่วยให้อาร มณ์เย็นมีชีวิตชีวาสิ่งที่ติดขัดหรือมีปัญหาจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดี เครื่องดื่มที่เหมาะ เป็นน้ำผลไม้ปั่น อาทิ น้ำสับปะรด น้ำกระเจี้ยบ ราศีพฤษภ เกิ ด ระหว่ า ง 15 พ.ค.-14 มิ .ย. เสริมความก้าวหน้าด้วยขนมเนื้อแน่น เป็นคนธาตุดิน หนักแน่น มั่นคงมีความรัก ชอบในศิลปะแบบโบราณ ขนมที่ช่วยเสริมราศี อาทิ ตะโก้ ขนมชั้น ขนมเปียกปูน ขนมหม้อแกง ขนมถ้วย เครื่องดื่มที่เหมาะควรเป็นน้ำมะตูม น้ำตะไคร้ เก็กฮวย
ราศีเ มถุ น เกิ ด ระหว่าง 15 มิ.ย.-14 ก.ค. ขนมหายากสร้างเสน่ห์ ให้เป็นที่รัก เป็นคนธาตุลม จิตใจแปรปรวน ขนมที่เสริม ดวงชะตาให้เป็นที่รักของผู้อื่นอาทิ ขนมหน้านวล เครื่องดื่มเป็นน้ำผลไม้เช่นไวน์ พันซ์
22 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
ราศีกรกฎ เกิ ด ระหว่ า ง 15 ก.ค.-14 ส.ค. ชีวิตมีสีสันด้วยขนมรสชาติหวานมัน เป็นคนธาตุน้ำใจเย็นเพราะใจดีมีความนุ่มนว ล ขนมทีเ่ สริมดวงชะตาสง่าราศี อาทิขา้ วเหนียวสังขยา สังขยาฟักทอง ขนมประเภท แกงบวช เครื่องดื่มที่เหมาะคือประเภทน้ำหวาน ชา หรือกาแฟทั้งร้อนและเย็น
ราศีส ิง ห์ เกิ ด ระหว่าง 15 ส.ค.-14 ก.ย. เสริมความหรูหราด้วยขนมชื่อสิริมงคล เป็นคนธาตุไฟที่ค่อนข้างเอาแต่ ใจขนม ที่มีสีแดงส้มทอง อาทิทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง จ่ามงกุฏ ข้าวเหนียวแดง จะช่วยเสริมความสง่างามและเสน่ห์ ให้ตนเอง เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นน้ำสมุนไพร พวกน้ำจับเลี้ยง ชา ดอกคำฝอย ราศีกัน ย์ เกิ ด ระหว่ า ง 15 ก.ย.-14 ต.ค. คนรอบข้างรักใคร่เมตตาด้วยขนมสีขาว เป็นคนธาตุดินที่ค่อนข้างใจเย็นขนมที่คู่บ ารมีกับชาวกันย์ต้องมีสีขาวหรือสีนวลเมตตา ขนมผิง ขนมหน้านวล หรือวุ้นกระทิ จะช่วยให้คนรอบข้างรักใคร่ เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นพวกน้ำสมุนไพรรังนกหรือโสม
ราศีตุล ย์ เกิ ด ระหว่าง 15 ต.ค.-14 พ.ย. ขนมหลากสีสัน ผลักดันให้งานก้าวหน้า เป็นคนธาตุลม ที่ ไม่ค่อยยินดียินร้ายกับ อะไรทั้งสิ้น ขนมที่เสริมบารมีกับหน้าที่การงานต้องมีสีสันสดใส เช่น ขนมสัมปันนี ช่อม่วง วุ้นกรอบ ข้าวเม่า เครื่องดื่มที่เหมาะควรเป็นน้ำผลไม้และนม ราศีพิจิก เกิ ด ระหว่ า ง 15 พ.ย.-14 ธ.ค. ขนมผสมกระทิเนรมิตความร่ำรวย เป็นคนธาตุน้ำ มีความเป็นตัวของตัวเองสู้งาน หนักสุขุม เหมาะกับขนมหวานประเภทแกงบวช ครองแครง ปลากริมไข่เต่า บัวลอย จะช่วยเสริมความร่ำรวย เครื่องดื่มที่เหมาะต้องมีรสเปรี้ยว เช่น น้ำมะนาว
ราศีธนู เกิ ด ระหว่ า ง 15 ธ.ค.-14 ม.ค. ขนมมงคลพิธี ช่วยให้มีแต่คนเมตตา เป็นคนธาตุไฟ เหมาะที่สุดกับขนมที่มีชื่อ เป็นมงคลจะเสริมให้เจริญก้าวหน้า เป็นที่รักใคร่ของคนรอบข้างเช่นขนมทองเอก โพรงแสม รังนก เครื่องดื่มที่เหมาะเป็นน้ำมะพร้าว น้ำตาลสด ชา กาแฟ
23 / ขนมไทย / กุมภาพันธ์ 2556
“ ขนมไทยตำหรั บชาววั ง “ มรดกทางปัญาและวัฒนธรรมที่ ท ร ง คุ ณ ค่ า ค ว า ม อ ร่ อ ย ที่ ค น รุ่ น ก่ อ น ไ ด้ ลิ้ ม ร ส ไ ด้ ต ก ท อ ด สู ่ ค นรุ ่ น เรา ความอร่ อ ยที ่ เ ราได้ร ับยัง คงมนต์ข ลัง อยู่ ไม่รู ้ คลาย