ปรากฏการณ์ทางการเมืองในวรรณกรรมเรื่องมลายูรำกริช POLITICAL PHENOMENA APPEARING IN “MLAYU RAM KRICH” LITERATURE นทีกานต์ ภูผา1 และปรีดา เกื้อก่ออ่อน2 Nateekarn Phupa1 and Prida Kueako-on2
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมเรือ่ งมลายูรำกริช ผู้วิจัยปรับ กรอบแนวคิดงานวิจัยของ สันติ ทิพนา (2562) และบุณย์เสนอ ตรีวิเศษ (2550) ผลการวิจัยพบปรากฏการณ์ทางการเมืองใน วรรณกรรมเรื่องมลายูรำกริช ทั้งหมด 7 ประเด็น ตามลำดับดังนี้ 1) การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นการใช้อำนาจในทาง ดีและไม่ดี การใช้อำนาจดี คือ การใช้อำนาจในการปกป้องประเทศ แต่การใช้อำนาจที่ไม่ดี คือ การใช้อำนาจในการรักษา ผลประโยชน์ของตนเองซึ่งพบมากที่สุด รองลงมา 2) การสะท้อนนโยบายของรัฐ ซึ่งเป็นการสะท้อนแนวคิดหรือนโยบายของรัฐ ที่ทำให้เกิดผลต่อประชาชนในประเทศนั้น ๆ 3) ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง เป็นปัญหาความขัดแย้งที่เกิดระหว่างบุคคล กับบุคคล และบุคคลกับกลุ่มคน 4) การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ซึ่งผลประโยชน์นั้น คือ การสนับสนุนความคิดจน นำไปสู่การได้อำนาจมาเป็นผลประโยชน์ 5) เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องและกดดัน ทำให้ เกิดการเดินขบวนและการใช้ความรุนแรงที่สร้างความเสียหายให้กับคนและสถานที่ 6) ความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทาง การเมือง เป็นความแตกต่างทางด้านความคิดของบุคคล และความคิดในการปกครองประเทศ และ 7) นโยบายเศรษฐกิจ การเมือง ซึ่งเป็นนโยบายที่เกิดจากรัฐบาลของประเทศโดยตรง และผลจากการกระทำของรัฐที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ คำสำคัญ: ปรากฏการณ์ทางการเมือง, มลายูรำกริช, วรรณกรรม
Abstract This research aims to analyze the political phenomenon that occurred in the Mlayu ram krich literature. This research adopted Santi Thipphana (2562) and Bunsanoe Triwiset (2550) which are an approach to analyze the political phenomenonin the Mlayu ram krich literature. . The results showed that there are 7 political phenomenas in the Mlayu ram krich literature, in the order of which they were found: 1) the use of power by government officials; which is the use of power in a good and bad way. In term of good way is the use of power to protect the country, but the bad way is the use of power to protect one's own benefit, which is the most common 2) the reflection of state policy, It is the reflection of state ideas or policies that affect the people in that country 3) Political conflict, It is a conflict that arises between person and person or individuals and groups of people. 4) Political beneficial, which is to support the idea until it leads to gaining power as a benefit. 5) Political rallies, which are demanding and pressing violence 1 2
*
นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต Corresponding author, E-mail: s6110789115@pkru.ac.th
1023
that damages people and places. 6) Political ideological differences, which are differences in people's thoughts and ideas in governing a country and 7) Political economy policy, which is a policy directly caused by the government of the country and the consequences of government actions that affect the economy Keywords: Political Phenomena, Mlayu ram krich, Literature
1024
1. บทนำ วรรณกรรมการเมืองเป็นวรรณกรรมที่เขียนขึ้นมา โดยมีเนื้อหาหรือแนวคิดเกี่ยวโยงกับการเมืองโดยตรงอีกทั้งยัง สะท้อนเรื่องราวที่เป็นสถานการณ์ทางการเมืองของยุคสมัยตามบริบทนั้น ซึ่งเป็นผลกระทบทางการเมืองที่มีต่อสภาพสังคม นอกจากนี้วรรณกรรมการเมืองยังแสดงให้เห็นถึงความคิดเห็นหรือจุดยืนของกลุ่มคนในสังคมที่มีต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม หรือสถานการณ์ของประเทศชาติ รวมทั้งมีชนชั้นหรือกลุ่มคนบางกลุ่มใช้วรรณกรรมเป็นเครื่องมือโน้มน้าวจิตใจของคนใน สังคมให้คล้อยตามหรือยอมรับการกระทำหรือแนวคิดของผู้เขียน (Qin Hongbo, 2554 หน้า 1-2) ทั้งนี้วรรณกรรมการเมือง ที่ปรากฏในแวดวงวรรณกรรมไทยมีหลายเรื่องที่น่าสนใจ และผู้เขียนที่เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายท่านที่ออกมา เขียนวรรณกรรมการเมืองสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของการเมืองในยุคสมัยนั้น ๆ ได้อย่างน่าสนใจยิ่ง หนึ่งในนั้นก็คือ ม.ร.ว.คึก ฤทธิ์ ปราโมช ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ 13 ของประเทศไทย ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์เมื่อปี พ.ศ. 2538 อีกทั้งยังเป็นบุคคลสำคัญของโลก ในปี พ.ศ. 2552 องค์การยูเนสโก ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ให้เป็นบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ 4 สาขา ได้แก่ สาขาด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน นอกจากนี้ ท่านยังเป็นทั้งนักเขียนและนักการเมือง ที่ได้รับ ขนานนามว่าเป็น “เป็นนายภาษา” ซึ่ง ทองแถม นาถจำนง และ ศิริวรรณ สุวิเศษ (2538, หน้า 102) ได้นิยามคำว่า เป็นนาย ภาษา หมายถึง เป็นผู้สามารถใช้ภาษาได้ดั่งใจนึกด้วยเหตุผลทั้งหมดที่ประมวลกันเข้านี้ จึงทำให้งานเขียนของท่านเป็นที่นิยม และติดตามของผู้อ่าน ซึ่งในสมัยที่ท่านยังคงดำเนินชีวิตท่านได้จัดรายการวิทยุ “เพื่อนนอน” ซึ่งถูกประมวลมาเป็นหนังสือ หลายเล่มด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น สงครามผิว เจ้าโลก สงครามปาก และมลายูรำกริช มลายูรำกริชเป็นวรรณกรรมที่นำเสนอเรื่องราวอันเกิดจากการประมวลหรือรวบรวมเรื่องเล่าในรายการวิทยุ “เพื่อน นอน” ในเรื่องนี้ได้พูดถึงกลุ่มชนชาวมลายูและกลุ่มชนอื่น ๆ ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียที่ได้สร้างปัญหา ระหว่างกลุ่มชนที่แสดงออกถึงความขัดแย้ง ส่งผลให้การเมืองในประเทศได้รับผลกระทบจนนำไปสู่ความสั่นคลอนระหว่าง ประเทศมาเลเซี ย สิ ง คโปร์ อิ น โดนี เ ซี ย นอกจากนี ้ ว รรณกรรมเล่ ม นี ้ แ สดงให้ เ ห็ น ถึ ง แนวคิ ด ทางการเมื อ งของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่มีต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศมาเลเซีย ซึ่ง พิชญาดา เมฆหิรัญศิริ (2558, หน้า 42 ) ได้กล่าวถึง มลายูรำกริชไว้ว่า สารคดีเรื่อง มลายูรํากริช มีทั้งหมด 35 ตอน มีเนื้อหาหลักกล่าวถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ระหว่างชาวจีน และชาวมลายูในมาเลเซียและสิงคโปร์ การแยกตัวออกจากประเทศมาเลเซียมาตั้งเป็นประ เทศใหม่ของสิงคโปร์ เรื่องของ ประธานาธิบดีซูการ์โนของอินโดนีเซียและพรรคคอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซีย รวมถึงความขัดแย้งของมาเลเซียกับอินโดนีเซีย ซึ่ง ผู้เขียนไม่ได้เดินทางไปประเทศมาเลเซียเพื่อเขียนสารคดีเรื่องนี้ ดังนั้นในสารคดีเรื่องนี้จึงไม่ปรากฏภาพสถานที่ท่องเที่ ยวหรือ เมืองสำคัญต่าง ๆ ในประเทศมาเลเซีย การที่ผู้เขียนเป็นนักหนังสือพิมพ์ และนักการเมืองประกอบกับสถานการณ์ของประเทศ มาเลเซียในขณะนั้นกําลังเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวมลายูและชาวจีนเนื่องจากมีความเหลื่อมล้ำทางสังคมและ เศรษฐกิจ ระหว่างกลุ่มชนทั้งสอง ผู้เขียนจึงเขียนสารคดี และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเทศมาเลเซียในด้านการเมืองการ ปกครอง และปัญหาความขัดแย้งจากการเป็นเมืองพหุสังคม และการพยายามรวมประเทศกันระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซีย จากข้อความข้างต้น แสดงให้เห็นว่ามลายูรำกริช เป็นเรื่องราวทางการเมืองที่เกิดขึ้ นในสามประเทศ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งสามประเทศ ถูกกล่าวมากที่สุดในวรรณกรรมเล่มนี้ ผู้เขียนเองได้เขียนและแสดงความคิดเห็นลงไว้ด ้วย เรื่องราวที่ปรากฏในวรรณกรรมเรือ่ งนี้เป็นเรื่องราวของสามประเทศ ในช่วง พ.ศ. 2506 - 2508 ตรงกับช่วงเริ่มต้นของประเทศ มาเลเซีย ซึ่งขณะนั้นเองสิงคโปร์ก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซีย แต่ความคิดที่แตกต่างระหว่างผู้นำสิงคโปร์กับผู้นำมาเลเซีย และเหตุการณ์ชุมนุมต่าง ๆ นำไปสู่การตัดสินใจของประเทศสิงคโปร์ที่ออกมาเป็นรัฐอิสระ ขณะเดียวกัน การออกมาของ 1025
สิงคโปร์เป็นผลดีให้กับประเทศอินโดนีเซียเป็นอย่างมากในทางเศรษฐกิจ แต่ในทางการเมืองนั้นอินโดนีเซียยังคงพบปัญหาอยู่ มากแม้ว่าจะเป็นประเทศที่ตั้งมาก่อนแล้ว ทั้งการใช้อำนาจในการปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง และการวางนโยบายในการ บริหารประเทศภายใต้ภาวะความขัดแย้งของคนในประเทศ จากที่กล่าวมาข้างต้น แสดงให้เห็นว่า วรรณกรรมเรื่องมลายูรำกริชมีเรื่องราวที่เป็นปรากฏการณ์ทางการเมือง มากมาย ทั้งความขัดแย้งระหว่างประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย เหตุการณ์การชุมนุมที่นำไปสู่การแยกตัวออกไปของ ประเทศสิงคโปร์ และความแตกต่างทางความคิดของผู้นำประเทศสิงคโปร์กับผู้น ำประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มี ความสำคัญและน่าสนใจ แม้เหตุการณ์ทั้งหมดนี้จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในวรรณกรรม เรื่องมลายูรำกริช ก็ตาม แต่ผู้ ศึกษาก็มีความสนใจที่จะศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมเรื่องมลายูรำกริช
3. แนวคิด ทฤษฎี กรอบแนวคิด ผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดงานวิจัยของ สันติ ทิพนา (2562) เรื่อง “ปรากฏการณ์ทางการเมือง และสังคมที่ปรากฏใน วรรณกรรมเรื่องสั้นรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2561” และ บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ (2550) ศึกษาเรื่อง “การวิเคราะห์ วรรณกรรมการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2545-2548 : กรณีศึกษา วรรณกรรมเรื่องสั้นรางวัลพานแว่นฟ้า ประจําปี พ.ศ. 2545 2548” โดยนำมาปรับกรอบการวิจัย ได้ดังนี้ 1. เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง 2. ความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมือง 3. การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ 4. การสะท้อนนโยบายของรัฐ 5. ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง 6. การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ 7. นโยบายเศรษฐกิจการเมือง
4. วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองในวรรณกรรมเรื่องมลายูรำกริช จากแหล่งข้อมูล คือ วรรณกรรมเรื่อง มลายูรำ กริช แต่งโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2000 พ.ศ. 2554 จำนวน 248 หน้า เท่านั้นนำมา วิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดที่กำหนดไว้
5. สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง หมายถึง การรวมตัวกันของกลุ่มคนเพื่อแสดงออกทางความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ด้วยการเรียกร้อง ต่อรอง หรือกดดดัน ต่อการกำหนดนโยบายหรือการบริหารงานตามนโยบายของรัฐ ดังนั้น ลักษณะ เหตุการณ์ ความรุนแรง และผลของการชุมนุมอาจแตกต่างกันไปในแต่ละครั้ง พบจำนวน 18 ข้อความ โดยพบว่า เหตุการณ์ 1026
การชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมมลายูรำกริช เป็นการรวมตัวกันชุมนุม เพื่อเรียกร้องและกดดัน ซึ่งลักษณะของ การเรียกร้องและกดดันนั้น ทำให้เกิดการเดินขบวนและการใช้ความรุนแรงที่นำไปสู่การสร้างความเสียหายทั้ งคนและสถานที่ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ “พอมาเลเซียตั้งขึ้นมาก็ได้รับการคัดค้านจากสองประเทศซึ่งเป็นเพื่อนบ้านมีพรมแดนติดต่อกัน ได้แก่ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ ซึ่งปัญหานี้กำลังทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น มีการเผาสถานทูต มีการเดินขบวบต่อต้านและอื่น ๆ อยู่ในอินโดนีเซียและทางฝ่าย มาเลเซียก็ได้มีการตอบแทนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์เช่นเดียวกันสัมพันธไมตรีก็ย่อมจะต้องแตกร้าวมีความบาดหมางเพิ่มขึ้นทุกวัน” (แดนปัญหาทางศาสนาและเชื้อสาย, หน้า 7) ตัวอย่างข้างต้นเป็นเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ซึ่งเกิดจากความไม่พอใจของอิน โดนีเซียในการจัดตั้งประเทศ มาเลเซีย จึงมีการแสดงความรุนแรงด้วยการเผาสถานทูต การเดินขบวนต่อต้านในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อแสดงถึงความไม่ เห็นด้วยในการจัดตั้งประเทศมาเลเซีย อีกทั้งมาเลเซียได้ตอบโต้กับการแสดงความรุนแรงดังกล่าว ซึ่งส่งผลถึงความสัมพันธ์ ความแตกแยกของทั้งสองประเทศ จากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง “กองบัญชาการทหารที่สุมาตรา ก็ได้ประกาศออกมาเหมือนกันว่าจะต้องมีการแก้แค้นนั้นก็เริ่มแสดงรูปออกมาแล้ว โดยที่ได้มีประชาชนนักศึกษาเริ่มเดินขบวนกันเป็นพัน ๆ คนในกรุงจาการ์ตาถ้าจะว่าไปแล้วคนที่มาเดินขบวนนี้ก็เป็ นพลเรือน ส่วนมากก็มาจากองค์การศาสนาต่าง ๆ คือศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามในจาร์กาตาแล้วเป็นคนจำนวนมากครับ ประเทศ 5-6 พันคนที่มาเดินขบวน แต่ว่าจุดประสงค์ของการเดินขบวนนั้นก็เพื่อเรียกร้องให้ท่านประธานาธิบดีซูการ์โนยุบเลิกพรรค คอมมิวนิสต์ของอินโดนีเซีย ตลอดจนองค์การต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันหรือขึ้นกับพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซียนั้นด้วย” (ซูการ์โนยังอยู่, หน้า 144) ตัวอย่างข้างต้น เป็นเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองในประเทศอินโดนีเซีย โดยการชุมนุมดังกล่าวเกิดขึ้นจากกลุ่ม คนที่ไม่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ส่วนใหญ่เป็นนั กศึกษา องค์การศาสนาต่าง ๆ โดยมาชุมนุมรวมตัวกันที่จาการ์ตาเมืองหลวงของ ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อกดดันและเรียกร้องให้ประธานาธิบดีซูการ์โนผู้นำประเทศในขณะนั้นยุบพรรคคอมมิวนิสต์ และองค์กร ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคอมมิวนิสต์ เพราะคอมมิวนิสต์ในประเทศอินโดนีเซียในขณะนั้นเริ่มขยายอิทธิพลมากขึ้น อีกทั้งใช้อำนาจใน การตัดสินในทางที่ผิด ดังนั้น กลุ่มคนที่ไม่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ออกชุมนุมและเรียกร้องการยุบพรรคคอมมิวนิสต์ 2. ความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมือง หมายถึง ระบบความเชื่อหรือระบบความคิดของแต่ละบุคคลในสังคม ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อเสนอและข้อเรียกร้องที่แตกต่างกัน เพื่อให้สังคมการเมืองเป็นไปตามความต้องการของตัวเอง พบจำนวน 11 ข้อความ โดยพบว่าความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมมลายูรำกริช เป็นความแตกต่าง ทางด้านความคิด ทั้งความคิดในการปกครองประเทศ ความคิดในการให้สิทธิกับตัวเองมากกว่าผู้อื่น ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่าง บุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับกลุ่มคน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ “นายลีกวนยิวนั้นมีความเห็นว่า ตนกู อับดุล เราะห์มาน พยายามจะกดคนจีนไม่ให้มีสิทธิ์เสมอกับชาวมลายู ส่วนท่านตนกู อับดุล เราะห์มานก็โต้ว่า ถ้าไม่ให้สิทธิ์บางประการแก่คนมลายูเป็นพิเศษแล้ว คนมลายูก็ไม่สามารถ รักษาตนเองไว้ได้ อาจจะถูกกลืนหายไปในที่สุด และจะมีฐานะตกต่ำลงไปเป็นอย่างยิ่ง” (จีนมลายู, หน้า 31) 1027
ตัวอย่างข้างต้นเป็นความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมืองของนายลีกวนยิวกับท่านตนกู อับดุล เราะห์มาน นาย ลีกวนยิวมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีความคิดว่าไม่ควรให้สิทธิ์พิเศษกับชาวมลายูเพียงฝ่ายเดียว เพราะบนแผ่นดินของ ประเทศมาเลเซียมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ หากให้สิทธิ์แก่คนมลายูเพียงฝ่ายเดียวก็จะเป็นความไม่เสมอภาคของรัฐบาลใน ประเทศ แต่ท่านตนกู อับดุล เราะห์มานมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่จะเรียกร้องสิทธิ์ให้คนมลายูเพราะไม่อย่างนั้นแล้วคน มลายูเองก็จะรู้สึกไม่มีตัวตน อีกทั้งฐานะของคนมลายูยังตกต่ำกว่าคนจีนจึงควรที่จะได้รับสิทธิ์พิเศษแก่คนมลายู “ความจริงในอินโดนีเซียถึงจะมีพรรคคอมมิวนิสต์ใหญ่โต มีสมาชิกถึง 3 ล้านคน ฟังดูแต่แค่นี้ก็น่าตระหนกตกใจแต่ ว่า 3 ล้านคนในจำนวน 100 ล้านคนนะครับ เราจะต้องไม่ลืมว่าอีก 97 ล้านคนในอินโดนีเซียนั้น เขาไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ และหลังจากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น แล้ว เขาก็อาจปรากฏตัวว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อคอมมิวนิสต์เปิดเผยยิ่งขึ้นก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทางฝ่ายทหารกำลังกุมอำนาจ การปกครองอยู่เช่นนี้ ใครที่เป็นปฏิปักษ์ต่อคอมมิวนิสต์ ก็อาจจะปรากฏออกมาได้อย่างสะดวกรวดเร็วและโจ่งแจ้งจริง ๆ ” (ซูการ์โนยังอยู่, หน้า 147) ข้อความข้างต้นเป็นความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมืองของคนในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเทียบตามจำนวน ประชากรที่อาศัยอยู่ในอินโดนีเซีย ประชากรในอินโดนีเซียประมาณ 100 ล้านคน เป็นคอมมิวนิสต์ประมาณ 3 ล้านคน และ เหลืออีก 97 ล้านคนที่ไม่เป็นคอมมิวนิสต์ โดยก่อนหน้านี้กระแสของคอมมิวนิสต์นั้นแรงมาก ทำให้ผู้ที่ไม่เป็นคอมมิวนิสต์นั้นไม่ กล้าที่จะแสดงตัว แต่หลังจากการรวมตัวกันเพื่อยุบพรรคคอมมิวนิสต์นั้นเอง ก็มีผู้ที่ไม่เป็นคอมมิวนิสต์ออกมาแสดงตัวมากขึ้น นั้นก็แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของประชากรอินโดนีเซียที่มีความแตกต่างในอุดมการณ์คอมมิวนิสต์และไม่เป็นคอมมิวนิสต์ 3. การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ หมายถึง บุคคลที่สามารถบังคับให้ผู้ที่มีอำนาจน้อยกว่าหันเหความคิดเห็นหรือกระทำ การตามที่ต้องการได้ พบจำนวน 38 ข้อความ โดยพบว่าการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกิดขึ้นในวรรณกรรมมลายูรำกริช เป็นการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐทั้งทางที่ดีและทางที่ไม่ดี โดยทางที่ดีคือการใช้อำนาจในการปกป้องประเทศจากเหตุการณ์ ร้ายต่าง ๆ ในทางกลับกันทางที่ไม่ดีคือ การใช้อำนาจในการรักษาผลประโยชน์ของตน ดังตัวอย่างต่อไปนี้ “ตำบลเกลังนั้นเป็นถิ่นที่ชนจีนอาศัยอยู่โดยตลอดสองข้างถนนเป็นร้านรวงของคนจีนทั้งนั้น แล้วก็ปรากฏว่าร้านรวง ในถนนเกลังนั้นก็ถูกคนมลายูทำลายเสียหายมาก นอกจากนั้นก็มีการทำลายรถยนต์และอื่น ๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเข้ารักษา ความสงบอย่างเข้มแข็ง รัฐบาลสิงคโปร์ได้ประกาศกำหนดเวลาคนออกนอกบ้าน โดยกำหนดไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ใดออกจาก บ้านเรือนตั้งแต่เวลา 21.30 ตามเวลาสิงคโปร์ไปจนถึง 6 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้น หมายความว่าเวลาค่ำคืนห้ามคนออกจากบ้าน โดยเด็ดขาด” (เลี้ยะพะ 1 , หน้า 16) ตัวอย่างข้างต้น แสดงให้เห็นถึงการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในการเข้ามารักษาความสงบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างคนจีนกับคนมลายู ผลจากการปะทะกันทำให้เกิดความเสียหายมากแก่ร้านค้าในบริเวณ นัน้ จึงทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใช้อำนาจในการจัดการเพื่อเข้ามาดูแลความสงบ โดยมีการประกาศข้อกำหนดไม่ให้ผู้คนออก จากบ้านในเวลา 21.30 – 6.00 น. ซึ่งสามารถใช้แก้ปัญหาและสามารถรักษาความสงบได้ในระยะเวลานั้น ทำให้บ้านเมืองเข้า สู่ภาวะความสงบเรียบร้อยได้อย่างรวดเร็ว
1028
“ในขณะนี้ทางบกคือถนนข้ามช่องแคบติดต่อระหว่างมลายูกับสิงคโปร์นั้นได้ถูกห้ามมิให้ยวดยานทั้งหลายผ่าน ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้คนจากมลายู หรือมลายาข้ามไปช่วยพวกพ้องของตนในสิงคโปร์เพื่อก่อการร้าย หรือเพื่อทำให้การจลาจลนี้ ขยายตัวออกไป” (เลี้ยะพะ 2 , หน้า 24) ตัวอย่างข้างต้น เป็นการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐในการปกป้องความปลอดภัยบนแผ่นดินของตนเอง โดยการออก นโยบายป้องกันการขยายตัวของการปะทะระหว่างคนจีนกับคนมลายูที่ขณะนั้นกำลังปะทุอยู่ในเมืองสิงคโปร์ไม่ให้ขยายออกไป อีก ทั้งเพื่อให้เหตุการณ์การปะทะกันนั้นเบาบางลง จึงมีแนวทางในการห้ามพาหนะข้ามผ่านระหว่างดินแดนมลายูกับสิงคโปร์ เพื่อป้องกันการเข้ามาช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกที่จะมาสนับสนุนการปะทะกัน 4. การสะท้อนนโยบายของรัฐ การสะท้อนนโยบายของรัฐ หมายถึง แนวทางหรือกิจกรรมต่างๆ ที่รัฐบาลหรือหน่วยงานตัดสินใจ ภายใต้อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ โดยมีแบบแผนระบบและกระบวนการอย่างชัดเจน ซึ่งเน้นแนวทางหรือกิจกรรมที่ส่งผลต่อคนในสังคม พบจำนวน 30 ข้อความ โดยในวรรณกรรมมลายูรำกริช พบการสะท้อนนโยบายของรัฐ ทั้งการสะท้อนแนวคิดหรือนโยบาย ของรัฐ และการสะท้อนผลที่เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ “ชนพื้นเมืองจึงได้เรียกร้องสิทธิ์ต่าง ๆ เป็นการคุ้มครองตนให้มีสิทธิ์มากมายหลายอย่างซึ่งก็อยู่ในข้อตกลงในการ จัดตั้งประเทศมาเลเซีย แปลว่าสิทธิ์นั้นก็ยังคงมีอยู่ได้ ได้ให้ไปเป็นพิเศษสิทธิ์เหล่านี้เป็นสิทธิ์ที่คุ้มครองคนพื้นเมืองเพื่อไม่ให้ตก อยู่ในอำนาจของคนชาวจีนที่ไปตั้งทำมาหากินอยู่ที่นั่นแล้วก็เกิดลูกเกิดหลานกันต่อมาทั้งสิ้น” (แดนปัญหาทางศาสนาและเชื้อสาย, หน้า 10) ตัวอย่างข้างต้น เป็นการสะท้อนนโยบายรัฐที่มีความประสงค์จะให้สิทธิ์กับคนมลายู ซึ่งเป็นความต้องการของชาว มลายู อีกทั้งสิทธิ์นั้นเป็นการปกป้องการอยู่ภายใต้อำนาจของคนมลายูไม่ให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของคนจีน ซึ่งส่งผลให้เกิด ความไม่พอใจของกลุ่มชนอื่นที่มีต่อชาวมลายูจึงก่อเกิดเป็นความขัดแย้งในประเทศ “นายลีกวนยิวได้บอกผู้ฟังของเขาว่า ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป สิงคโปร์จะต้องพยายามทำทุกอย่าง เพื่อที่จะยกตัวเองให้อยู่ ในระดับที่สูงขึ้น และทำรัฐสิงคโปร์ซึ่งเป็นรัฐเอกราชนั้นให้แข็งแรงยิ่งขึ้นไปทุกที ขอให้คนงานทั้งปวงลืมผลประโยชน์ของ ตนเองเสีย และขอให้ถือว่าวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของสิงคโปร์นั้น ก็คือความคงอยู่ต่อไปของสิงคโปร์ ในฐานะเป็นรัฐเอก ราช” (สงครามปาก, หน้า 84) ตัวอย่างข้างต้น เป็นการสะท้อนนโยบายของสิงคโปร์ที่ต้องการให้ประชาชนทำงานเพื่อส่วนรวม เพื่อพัฒนาประเทศ ให้แข็งแรงที่สุด และคงอยู่ต่อไปได้ โดยไม่ให้ใครมาเหยียบย่ำ ทั้งนี้ก็เพราะนายลีกวนยิวมองว่าการที่มาเลเซียให้สิงคโปร์นั้น ออกจากประเทศมาเลเซีย ก็เพราะมั่นใจว่าอย่างไรแล้วสิงคโปร์ก็ต้องกลับไปพึ่งมาเลเซียอย่างแน่นอน ดังนั้นนายลีกวนยิวจึง วางนโยบายนี้เพื่อประชาชนทุกคนทำงานให้ทุ่ มเททำงานเพื่อส่วนร่วมและมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาประเทศชาติ ซึ่งนโยบาย ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการของสิงคโปร์ที่ต้องการจะยิ่งใหญ่กว่ามาเลเซียและไม่หันกลับไปพึ่งมาเลเซียอย่าง แน่นอน
1029
5. ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งทางการเมือง หมายถึง การต่อสู้ ขัดขวาง ต่อต้าน หรือใช้ความรุนแรง ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มี ความคิดเห็น ความเชื่อ หรือเป้าหมายที่แตกต่างกัน เพื่อป้องกันหรือรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง พบจำนวน 23 ข้อความ โดยในวรรณกรรมเรื่องมลายูรำกริช พบปัญหาความขัดแย้งที่เกิดระหว่างบุคคลกับบุคคล และบุคคลกับกลุ่มคน ซึ่งปัญหา ดังกล่าวนำไปสู่ความขัดแย้ง ส่งผลไปถึงการใช้ความรุนแรง ดังตัวอย่างต่อไปนี้ “ท่านตนกู อับดุล เราะห์มาน ท่านก็พูดๆ ว่าทั้งนี้ ก็เพราะความมักใหญ่ใฝ่สูงของนักการเมืองสิงคโปร์ กล่าวคือ ต้องการที่จะเป็นใหญ่ เป็นโตกัน อยากจะมีหน้ามีตา มีชื่อเสียงมีเกียรติยศ ท่านบอกว่า นายลีกวนยิวนั้นตั้งแต่สิงคโปร์เข้ามา รวมกับมาเลเซียแล้วก็ทำท่าเหมือนกับว่าเป็นนายกรัฐมนตรีอีกคนของมาเลเซีย” (ตนกูตัดสินใจ, หน้า 51 - 52) ตัวอย่างข้างต้น เป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของท่านตนกู ที่มีต่อนายลีกวนยิว ซึ่งเป็นความขัดแย้งทาง ความคิด ที่คิดว่านายลีกวนยิวจะเข้ามาเป็นใหญ่ในมาเลเซีย และคิดจะเป็นนายกรัฐมนตรีของมาเลเซียควบคู่กับท่านตนกู ต่างจากความคิดของนายลีกวนยิวที่ได้แสดงไว้ว่าต้องการเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาความแตกต่างของกลุ่มชนในมาเลเซียเท่านั้น “การปลดปล่อยให้พ้นจากอิทธิพลของชนชั้นกลางและนักชาตินิยมซึ่งก็หมายถึงองค์การศาสนาและกองทัพบกของ อินโดนีเซียนี้เอง นายไอดิตได้เรียกร้องให้พรรคคอมมิวนิสต์ช่วยกันปลดปล่อยชาติอินโดนีเซียให้พ้นจากอิทธิพลของคนเหล่านี้ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า พรรคคอมมิวนิสต์ต้องการจะเข้าเป็นรัฐบาลเสียเอง โดยที่จะตัดอิทธิพลของทหารและศาสนา ออกไปให้หมดโดยสิ้นเชิง” (นาซาคอม, หน้า 120) ข้อความข้างต้น เป็นปัญหาความขัดแย้งทางการเมือ ง โดยเป็นปัญหาความขัดแย้ งของพรรคคอมมิว นิส ต์ ใ น อิ น โดนี เ ซี ย ซึ ่ ง ก่ อ นหน้ า นี ้ ค อมมิ ว นิ ส ต์ ใ นอิ น โดนี เ ซี ย ได้ ล ่ ม สลายไปแล้ ว แต่ ห ลั ง จากการได้ ร ั บ ความช่ ว ยเหลื อ จาก ประธานาธิบดีซูการ์โน คอมมิวนิสต์ก็ฟื้นตัวจนสามารถเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งทางการเมือง ซึ่งเสียงส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกรรมาชีพ โดยพรรคคอมมิวนิสต์มีนโยบายในการปลดปล่อยชาติอิ นโดนีเซียและปลดปล่อยตัวเองให้เป็นเอกราช โดยเขาบอกให้ชนชั้น กรรมาชีพนั้นปลดปล่อยชาติอินโดนีเซียเสียก่อน ซึ่งการปลดปล่อยชาตินั้น หมายถึง การปลดปล่อยอิทธิพลขององค์การศาสนา และนักชาตินิยม ซึ่งทั้งสองนี้เป็นสองส่วนในรัฐบาล เพราะรัฐบาลของประธานาธิบดีซูการ์โนนั้นมี อยู่ 3 องค์ประกอบหลัก ด้วยกัน ได้แก่ องค์การศาสนา นักชาตินิยม และคอมมิวนิสต์ ซึ่งจากข้อความข้างต้นแสดงเจตนาของคอมมิวนิสตฺในการเข้า เป็นรัฐบาลของอินโดนีเซียโดยไม่มี องค์การศาสนา และนักชาตินิยม เป็นการประกาศศึกกับองค์การศาสนา และนักชาตินิยม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระหว่างคอมมิวนิสต์กับองค์การศาสนา และนักชาตินิยม 6. การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ หมายถึง เป็นเรื่องของการจัดสรรผลประโยชน์ของประเทศตนให้ได้รบั ผลสำเร็จให้ มากที่สุด ประกอบไปด้วย ความมั่นคงทางการทหาร อำนาจ เศรษฐกิจ อุดมการณ์ และศีลธรรมและหลักกฎหมาย พบจำนวน 23 ข้อความ โดยในวรรณกรรมมลายูรำกริชพบ การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ในลักษณะของรูปแบบการสนับสนุน ความคิด จนนำไปสู่การได้อำนาจมาเป็นผลประโยชน์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1030
“ถึงแม้ว่าจะตั้งเป็นประเทศเอกราชขึ้นแล้ว ทางอังกฤษก็ยังรับรองความปลอดภัยในการทางทหารของมาเลเซียต่อไป กล่าวคือภาระในการป้องกันประเทศนั้นก็ตกเป็นของอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้ว่ามาเลเซียจะมีทหารของตนเอง อังกฤษก็คง ไม่ทอดทิ้งอย่างน้อยก็ระยะหนึ่ง แล้วก็ยังมีสิทธิ์ที่จะตั้งกองทหารอยู่ในมาเลเซียเพื่อรักษาความปลอดภัย” (แดนปัญหาทางศาสนาและเชื้อสาย, หน้า 13) ตัวอย่างข้างต้น เป็นการกล่าวถึงลักษณะของการเมืองว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ของประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับ การคุ้มครองจากทางการทหารประเทศอังกฤษ แต่ก่อนที่มาเลเซียจะตั้งเป็นประเทศเอกราช อังกฤษได้เข้ามายึดครอง สหพันธมลายาซึ่งก็คือประเทศมาเลเซีย แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปมาเลเซียมีความพร้อมเป็นประเทศ อังกฤษจึงได้คืนอิสรภาพ ให้แก่มาเลเซีย และจัดตั้งเป็นประเทศมาเลเซีย แต่อังกฤษก็ยังคงให้ความช่วยเหลือมาเลเซียในทางการทหาร เพื่อรักษาความ ปลอดภัย ซึ่งนับเป็นผลประโยชน์ของชาติมาเลเซีย “การที่ทหารได้รักษาความปลอดภัยให้แก่ประธานาธิบดีซูการ์โน ตลอดจนกระทั่งได้ปราบพวกปฏิวัติแล้วก็ยังคง ประกาศว่าคงจงรักภักดีในตัวท่าน ยอมให้ท่านเป็นประธานาธิบดีต่อไปนั้น ก็เรียกได้ว่าเป็นความดีความชอบของฝ่ายทหาร แต่ ว่ามีผู้สันทัดกรณีเขาบอกว่า การที่ทหารมีความดีความชอบดังนี้ก็เป็นธรรมดาที่ทหารจะต้องเรียกเอาบำเหน็จความชอบ และ บำเหน็จความชอบที่ทหารกำลังเรียกร้องเอากับประธานาธิบดีซูการ์โนในขณะนี้ก็คือ เขาเรียกร้องให้ท่านประธานาธิบดีซกู าร์ โนยุบเลิกพรรคคอมมิวนิสต์” (ซูการ์โนยังอยู่, หน้า 146) ตัวอย่างข้างต้น การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ โดยผลประโยชน์เป็นสิ่งที่ฝ่ายตรงข้ามอย่างทหารต้องการนั้นก็ คือการยุบพรรคคอมมิวนิสต์ และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์ โดยทหารที่ไม่เป็นคอมมิวนิสต์นั้นคอยให้การคุ้มครอง ประธานาธิบดีซูการ์โน ปกป้องจากพวกคอมมิวนิสต์ที่ต้องการปฏิวัติ และยังคงเคารพประธานาธิบดีซูการ์โนอยู่นั้น ก็เพื่อ บำเหน็จความชอบ โดยที่บำเหน็จความชอบนั ้นเป็น การที่ ยุบเลิก พรรคคอมมิ วนิสต์และองค์กรต่า ง ๆ ที่เกี่ยวข้ อ งกั บ คอมมิวนิสต์ตามความต้องการของตน ดังนั้นการที่ทหารคอยคุ้มครองอยู่นั้น ก็เพื่อผลประโยชน์ที่ตนต้องการในการยุบพรรค คอมมิวนิสต์ และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับคอมมิวนิสต์นั่นเอง 7. นโยบายเศรษฐกิจการเมือง นโยบายเศรษฐกิจการเมือง หมายถึง แนวทางหรือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจซึ่งรัฐบาลหรือหน่วยงานต้อง ตัดสินใจ ภายใต้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ โดยมีแบบแผน ส่งผลให้เกิดผลต่อคนในสังคม พบจำนวน 8 ข้อความ โดย วรรณกรรมมลายูรำกริชนั้น พบนโยบายเศรษฐกิจการเมือง ในลักษณะที่เป็นนโยบายเศรษฐกิจที่รัฐออกมาโดยตรง และผลจาก การกระทำของรัฐที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ “ในอินโดนีเซียเวลานี้ก็ปรากฏว่า เงินอินโดนีเซียซึ่งเขาเรียกว่า รูเปีย หน่วยเงินนั้นเขาเรียกว่า หนึ่งรูเปีย เวลานี้ เท่าที่รัฐบาลอนุญาตให้แลกกันได้สำหรับนักท่องเที่ยวเป็นทางการนั้นตกเข้าไปหนึ่งดอลล่าร์อเมริกาต่อ 5,000 รูเปียเข้าไปแล้ว และเมื่อเดือนมิถุนายนที่แล้วมานี่เองในตลาดมืดแลกเงินกันอยู่หนึ่งดอลลาร์ต่อ 1,800 รูเปีย” (เนโฟของซูการ์โน, หน้า 139) ตัวอย่างข้างต้น เป็นนโยบายเศรษฐกิจการเมืองของประธานาธิบดีซูการ์โนแห่งประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้สร้าง นโยบายอัตราการแลกเปลี่ยนเงินอยู่ที่ 5,000 รูเปีย ต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าค่าเงินที่แลกกันในตลาดมืด เมื่อเทียบกันแล้ว 1031
มากกว่าถึง 3,200 รูเปีย ซึ่งนี่เป็นนโยบายเพื่อเชิญชวนนักลงทุนชาวต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นไปตามคาดการณ์ของประธานาธิบดีซูการ์โน จากนโยบายนี้ได้มีการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติมากขึ้น “สำหรับสิงคโปร์เวลานี้ร้านรวงก็ปิดหมด ร้านคนจีนก็ปิด ซึ่งก็หมายความว่าร้านส่วนใหญ่ในสิงคโปร์แหละครับ เพราะร้านมลายูก็มีน้อยเต็มที ถึงจะมี ผมก็ไม่เคยเห็น นอกจากเป็นร้านเล็กๆ น้อยๆ การค้าต่าง ๆ ในสิงคโปร์ ระหว่างนี้ หยุดชะงักลงโดยสิ้นเชิง ท่าเรือสิงคโปร์เวลานี้เต็มไปด้วยเรือสมุทร ทั้งเรือสินค้าและเรือโดยสาร ซึ่งต้องเสียเวลาล่าช้าไม่ สามารถจะออกไปได้ ทั้งนี้เพราะเหตุว่าไม่มีการทำงานในสิงคโปร์” (เลี้ยะพะ 2 , หน้า 27-28) ตัวอย่างข้างต้น เป็นนโยบายเศรษฐกิจการเมือง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์วุ่นวาย รัฐบาลจึงได้มีการประกาศห้ามคน ออกจากบ้าน จึงเป็นผลให้ร้านค้าต่าง ๆ ต้องหยุดตามนโยบายดังกล่าว อีกทั้งนโยบายด้านการส่งออก ก็ต้องหยุดชะงักลงจาก การที่รัฐมีนโยบายในการป้องกันการข้ามเขตแดน จึงเป็นสาเหตุทำให้ทุก อย่างต้องหยุดลง อีกประการหนึ่งก็คือ เนื่องมาจาก รัฐบาลต้องหันมาแก้ปัญหาการปะทะกันของชาวจีนและชาวมลายู จึงเป็นผลให้ทางด้านเศรษฐกิจต้องหยุดลงไปด้วย
6. อภิปรายผลการวิจัย จากการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยสามารถอภิปรายผล ได้ดังนี้ ผลการศึกษา “ปรากฏการณ์ทางการเมืองในวรรณกรรมเรื่องมลายูรำกริช” มีประเด็นทั้งหมด 7 ประเด็น ซึ่งผลการวิจัยเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับงานวิจัยของ สันติ ทิพนา (2562) ที่ศึกษาเรื่อง “ปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคมที่ ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องสั้นรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2561” พบว่า ผลการศึกษาที่ค้นพบบางส่วนมีความคล้ายคลึงกัน และบางส่วนมีความแตกต่างกัน ผลการศึกษาที่มีประเด็นคล้ายคลึงกัน ได้แก่ เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง ความ แตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมือง การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐ การสะท้อนนโยบายของรัฐ และปัญหาความขัดแย้งทาง การเมือง ส่วนผลการศึกษาประเด็นที่แตกต่างกัน ได้แก่ การรําลึกเหตุการณ์ทางการเมือง การใช้อ eนาจของนักการเมือง ท้องถิ่น และการแข่งขันรับสมัครเลือกตั้งการเมืองท้องถิ่น นอกจากนี้ เมื่อนำผลการศึกษาเรื่อง “ปรากฏการณ์ทางการเมืองในวรรณกรรมเรื่องมลายูรำกริ ช” มาเปรียบเทียบ กับงานวิจัยของ บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ (2550) ที่ศึกษาเรื่อง “การวิเคราะห์วรรณกรรมการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2548: กรณีศึกษา วรรณกรรมเรื่องสั้นรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี พ.ศ. 2545 – 2548” พบว่า บางส่วนมีความคล้ายคลึงกันและ บางส่วนมีความแตกต่างกั น ประเด็นที่คล้ายคลึงกัน ได้แก่ ประเด็นการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ และด้านนโยบาย เศรษฐกิจการเมือง ส่วนประเด็นที่แตกต่างกัน ได้แก่ ประเด็นการส่งเสริมสนับสนุนประชาธิปไตยสู่การเมืองในอุดมคติ การ วิพากษ์หลักการของประชาธิปไตย การวิพากษ์นโยบายทางการเมือง ประวัติศาสตร์การต่อสู้เพื่อเรียนรู้การเมือง การเมืองเป็น เรื่องของทุกคน ประชาธิปไตยการต่อสู้ที่ยังไม่สิ้นสุด หัวใจที่โหยหาอุดมการณ์ประชาธิปไตย การวิพากษ์ทุนนิยม ความอ่อนแอ ทางการเมืองภาค ประชาชน การเมืองครอบงำชะตากรรมมนุษย์ และความขัดแย้งทางการเมืองเกี่ยวกับสถานการณ์ภาคใต้ แต่ทั้งนี้ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเป็นผู้แต่งในวรรณกรรมเล่มนี้ มีความเห็นด้วยกับนโยบายการเมืองประเทศใด เป็น พิเศษ เนื่องจากผลประโยชน์ทางการเมืองหรือทางเศรษฐกิจในประเทศนั้นส่งผลถึงประเทศไทยในช่วงเวลาดังกล่าว อีกทั้งผู้ แต่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ และยึดมั่นในหลักประชาธิปไตยจนได้รับการขนานนามว่า เสาหลัก ประชาธิปไตย ของประเทศไทย ทำให้ผู้แต่งเองก็ไม่ได้วางตัวเป็นกลาง ดังนั้นเนื้อหาที่ถูกนำเสนออกมาจึงเป็นเพียงประเด็นที่ผู้ แต่งให้ความสนใจเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวทั้งหมด 1032
อย่างไรก็ตาม การศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองในวรรณกรรมเรื่องมลายูรำกริช เป็นการศึกษา ปรากฏการณ์ทาง การเมืองที่เกิดขึ้นในอดีตของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด อุดมการณ์ทางการเมือง และทัศนคติบางประการจากผู้เขียนสู่ผู้อ่าน ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ทำให้สามารถเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ ต่าง ๆ ทางการเมืองมากยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่แนวทางในการทำความเข้าใจที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางการเมืองในสังคม ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
7. ข้อเสนอแนะและการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 7.1 ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการวิจัยไปใช้ สามารถนำความรู้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมือง เพื่อทำให้เกิดความรู้ ความ เข้าใจ และแนวคิดของผู้นำประเทศที่เกี่ยวกับการปกครองบ้านเมือง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในสังคม ปัจจุบันได้ชัดเจนขึ้น 7.2 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 7.2.1 ศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองในวรรณกรรมเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น เรื่องปีศาจ ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ ใบไม้ที่หายไป ของ จิระนันท์ พิตรปรีชา เป็นต้น 7.2.2 ศึกษาปรากฏการณ์และแนวคิดทางการเมืองในประเด็นอื่น ๆ เช่น ปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ปัญหาข้อ ขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ปัญหาครอบครัวในสังคมไทย เป็นต้น
8. เอกสารอ้างอิง คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2554). มลายูรำกริช. นนทบุรี: ดอกหญ้า 2000. ทองแถม นาถจำนง และศิริวรรณ สุขวิเศษ. (2538). มหาคุรุฤทธิ์. กรุงเทพฯ: ใบบัว. บุณย์เสนอ ตรีวิเศษ. (2550). “การวิเคราะห์วรรณกรรมการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2545-2548 : กรณีศึกษาวรรณกรรมเรื่อง สั้นรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี พ.ศ. 2545 – 2548”. มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 4(3), 43 – 64. จาก http://utcc2.utcc.ac.th/utccjournal/361/161_177.pdf พิชญาดา เมฆหิรัญศิริ. (2558). ภาพ “มาเลเซีย” ในวรรณกรรมร้อยแก้วไทย. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาภาษาไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ . สันติ ทิพนา. (2562). “ปรากฏการณ์ทางการเมืองและสังคมในวรรณกรรมเรื่องสั้นรางวัลพานแว่นฟ้า ประจําปี 2561”. ศรีวนาลัย. 9(1), 35 – 51. จาก https://journalrdi.ubru.ac.th/article_files/1562214883.pdf Qin Hongbo. (2555). วิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคมไทยจากเรื่ องสั้น ที ่ได้รับรางวัลพานแว่ นฟ้า พ.ศ. 2550 - 2553. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาตรมหาบัณฑิต ). สาขาวิชาการสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิม พระเกียรติ, กรุงเทพฯ. MGR Online. (2552). ยูเนสโก ยกย่อง “ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ –ครูเอื้อ” เป็นบุคคลสำคัญของโลกแล้ว. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9520000126667.
1033