อุทยานแห่งชาติ ตะวันตก กลาง ตะวันออก
สารบัญ
ตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี จั งหวั ด เพชรบุ รี จังหวัดราชบุรี
2 - 43 6 - 35 36 - 39 40 - 43
กลาง จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสระบุรี
44 - 57 46 - 49 50 - 57
ตะวันออก สระแก้ว จันทบุรี ระยอง ตราด
59 - 87 60 - 63 64 - 71 72 - 81 82 - 87
T A W A ตะ N วัน T O ตก K
จังหวัดกาญจนบุรี อุทยานเขาแหลม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำ�หนดโครงการ จัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ภาคละ 1 แห่ง รวม 5 แห่ง เพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้เสนอกำ�หนดพื้นที่บริเวณ ป่าเหนือเขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) จังหวัดกาญจนบุรี ต่อคณะกรรมการอุทยานแห่ง ชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2529 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2529 มีมติเห็นชอบให้ดำ�เนินการจัดตั้งพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็น อุทยานแห่งชาติเพื่อเฉลิมพระเกียรติต่อไป
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ : 100 บาท
การเดินทาง
รถยนต์ รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ถึงอำ�เภอเมือง จังหวัด กาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที เดินทางออกจากกรุงเทพฯ โดย ใช้เส้นทางถนนเพชรเกษมหรือถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ผ่าน จังหวัดนครปฐม - บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จนถึงอำ�เภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แล้วเริ่มเดินทางต่อสู่อำ�เภอทองผาภูมิ ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 จากอำ�เภอทองผาภูมิ แยกขวาขึ้นสู่ตัวอำ�เภอสังขละบุรี บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 39 40 จะเป็นที่ตั้งของที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติเขาแหลม รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดขบวนรถไฟ เดินทางจากสถานีรถไฟบางกอกน้อย วันละ 2 เที่ยว เที่ยว แรกเวลา 07.45 น. เที่ยวที่สองเวลา 13.45 น. แวะจอดที่ สถานีรถไฟจังหวัดกาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้ำ�แคว ท่ากิเลน สุดท้ายที่สถานีน้ำ�ตก (บริเวณน้ำ�ตกไทรโยคน้อย) อัตรา ค่าโดยสารคนละ 39 บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.02411-3102 จากนั้นเดินทางต่อโดยใช้รถประจำ�ทางสีส้ม รถโดยสารประจำ�ทาง เส้นทางกรุงเทพฯ กาญจนบุรี เดินทางโดยรถโดยสารประจำ�ทางปรับอากาศ ชั้น หนึ่ง (ปอ.1) ของบริษัทกาญจนบุรีทัวร์ รถออกจากสถานี ขนส่งสายใต้ ใหม่ทุกๆ 15 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-22.30 น. อัตราค่าโดยสารคนละ 79.- บาท หรือรถปรับอากาศชั้นสอง (ปอ.2) ออกทุกๆ 20 นาที ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำ�นักงานสายใต้ ใหม่ โทร . 0-2435-1199, 0-2884-6249 0-2884สำ�นักงานกาญจนบุรี โทร. 0-3451-1552
ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ จุดชมทิวทัศน์ป้อมปี่ เปิดบริการ ทุกวันเวลา 09.00 น. - 16.00 น. ช่วงเทศกาล เปิดบริการทุกวันเวลา 09.00 น. 20.00 น.
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
บริเวณที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ : AIS,TRUE
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศอยู่ในเขตโซนร้อนที่มีอิทธิพล ของลมตะวันออกเฉียงใต้ และลมจากทะเลอันดามัน แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ปริมาณฝน รายปีเฉลี่ยจะอยู่ในช่วงประมาณ 1,600-2,200 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในบริเวณด้านเหนือสุดของ พื้นที่อุทยานแห่งชาติ ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน -กุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิต่ำ�สุดเฉลี่ยประมาณ 14 องศา เซลเซียส ในเดือนธันวาคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม -กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 37-38 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนเมษายน
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเขาแหลม เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของ แนวเทือกเขาตะนาวศรีที่มีเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัว ตามแนวเหนือใต้ มีความสูงประมาณ 100-1,800 เมตรจาก ระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง ส่วนใหญ่จะเป็นหินปูน หินทราย และหินดินดาน ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ เขาเขียว-ใหญ่ (ยอด เขาสันหนอกวัว) มีความสูงประมาณ 1,767 เมตรจาก ระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง จากสภาพที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน ก่อให้เกิดลำ�น้ำ�ที่สำ�คัญหลายสายที่ไหลลงสู่แม่น้ำ�แควน้อย และอ่างเก็บน้ำ�เขื่อนเขาแหลม ได้แก่ แม่น้ำ�รันตี ห้วยป้อมปี่ ใน แม่น้ำ�บิคี่ใหญ่ ห้วยองค์พระ ห้วยเกรียงไกร ห้วยปิล๊อก ห้วยประจำ�ไม้ ห้วยลึก ห้วยน้ำ�ซับ ห้วยแก่งคะยือ ห้วยป่า ตอง ห้วยซองกะเลีย ห้วยติพิ ห้วยทิม่องทะ ห้วยวังขยาย ห้วยช่องแคบ ห้วยท่ามะเดื่อ ห้วยน้ำ�มุด ห้วยเกริงกะเวีย เป็นต้น ขนาดพื้นที่ 935583.69 ไร่
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพโดยทั่วไปของป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติเขา แหลม มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณ มีไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นอย่าง หนาแน่น มีเรือนยอดทึบ บางบริเวณพื้นที่มีความชื้นสูง เช่น บริเวณริมลำ�ห้วยหรือตามร่องห้วย จะมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นเป็น พิเศษ มีสภาพคล้ายป่าดงดิบ พื้นที่ป่าส่วนมากอยู่บริเวณทิศ ตะวันออกและทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ ชนิดไม้ที่พบ ได้แก่ แคยอดดำ� แดง สมอพิเภก สะทิบ กาสามปีก พืชพื้นล่าง ได้แก่ เต่าร้าง เข็มป่า ชะอม เหมือดโลด เป็นต้น นอกจากพื้นที่ ป่าเบญจพรรณแล้ว ยังมีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมซึ่งจะรวมถึงพื้นที่ ที่ถูกบุกรุกทำ�ลายเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ดังกล่าว อยู่รอบๆ อ่างเก็บน้ำ� ทางตะวันออกของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และบริเวณแนวเขตทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอุทยานแห่ง ชาติ พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเป็นพื้นที่ที่ถูกราษฎรบุกรุกแผ้วถาง ภายหลังปล่อยทิ้งไว้ ให้รกร้าง มีหญ้า ลูกไม้และไผ่ขึ้นทดแทน ชนิดไม้ที่พบ เช่น เปล้าใหญ่คอแลน เป็นต้น
จังหวัดกาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ มีพื้นที่ครอบคลุม อยู่ในท้องที่อำ�เภอไทรโยค อำ�เภอศรีสวัสดิ์ และอำ�เภอ ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ประกอบด้วยเอกลักษณ์ทาง ธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำ�ตก น้ำ�พุร้อน ถ้ำ� และเกาะแก่ง ต่างๆ ในอ่างเก็บน้ำ�เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ที่มีทิวทัศน์สวยงาม มีเขตติดต่อกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค อุทยานแห่ง ชาติเอราวัณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระมีเนื้อที่ประมาณ 957,500 ไร่ หรือ 1,532 ตารางกิโลเมตร ความเป็นมา : เนื่องจากป่าต้นน้ำ�ลำ�ธารของแม่น้ำ� แควใหญ่เหนือเขื่อนศรีนครินทร์ มีสภาพป่าสมบูรณ์เป็นภูเขา สลับซับซ้อน มีสัตว์ป่าชุกชุม และมีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติ ที่สำ�คัญหลายแห่ง เช่น น้ำ�ตกห้วยแม่ขมิ้น น้ำ�พุร้อน ถ้ำ� และ ทะเลสาบ ทั้งเพื่อเป็นการสนองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็นอุทยาน แห่งชาติ ในปี พ.ศ.2523 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ มีคำ�สั่งที่ 71/2523 ลงวันที่ 11 มกราคม 2523 ให้นายนิสัย ฟุ้งขจร นักวิชาการป่าไม้ 5 ทำ�หน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่ง ชาติเอราวัณทำ�การสำ�รวจพื้นที่ ประกอบกับในคราวประชุม คณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี ครั้ง ที่ 3/2522 เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2522 นายผ่อง เล่งอี้ ผู้ อำ�นวยการกองอุทยานแห่งชาติ ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า กรม ป่าไม้ มีโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติบริเวณน้ำ�ตกห้วยแม่ ขมิ้น อำ�เภอศรีสวัสดิ์ ดังนั้นจังหวัดกาญจนบุรี จึงได้แต่งตั้ง คณะสำ�รวจของจังหวัดทำ�การสำ�รวจด้วยเช่นกัน ซึ่งพบว่า พื้นที่ป่ามีสภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์สวยงาม มีลักษณะทาง ธรรมชาติที่เด่นหลายแห่งเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำ�เสนอคณะ กรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุม ครั้งที่ 2/2523 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2523 เห็นสมควรดำ�เนินการ กำ�หนดพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราช กฤษฎีกากำ�หนดบริเวณที่ดินป่าเขาพระฤาษีและป่าเขาบ่อแร่ ในท้องที่ตำ�บลชะแล ตำ�บลท่าขนุน ตำ�บลหินดาด ตำ�บลลิ่นถิ่น อำ�เภอทองผาภูมิ ตำ�บลเขาโจด ตำ�บลนาสวน ตำ�บลด่านแม่ แฉลบ ตำ�บลหนองเป็ด ตำ�บลท่ากระดาน อำ�เภอศรีสวัสดิ์ และ ตำ�บลไทรโยค อำ�เภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอุทยาน แห่งชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 98 ตอนที่ 210 ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำ�ดับที่ 38 ของประเทศ
การเดินทาง
รถยนต์ 1. เส้นทางจากเขื่อนศรีนครินทร์ การไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย ผ่านทางแยกเข้าน้ำ�ตกเอราวัณ ถ้ำ�พระ ธาตุ สภาพเส้นทางเป็นถนนลูกรัง 32 กม.ทางลาดยาง 10 กม. ในช่วงหน้าฝนถนนค่อนข้างขรุขระ เป็นถนนเลียบขอบ ทะเลสาบเขื่อนศรีนครินทร์ ไปจนถึงน้ำ�ตกห้วยแม่ขมิ้น ซึ่งเป็นที่ ตั้งที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ ระยะทาง 42 กิโลเมตร เส้นทางนี้ เหมาะสำ�หรับรถกระบะ 2. เส้นทางเอราวัณ-ศรีสวัสดิ์ ถึงท่าแพขนานยนต์ ห้วยแม่ละมุ่น ข้ามจากฝั่งแม่ละมุ่นโดยแพขนานยนต์มายังอ. ศรีสวัสดิ์ ใช้เวลา 15 นาที จากนั้นขับรถต่ออีกประมาณ 20 กิโลเมตร ถึงท่าแพขนานยนต์ที่ 2 ข้ามจากศรีสวัสดิ์ทางแพ ขนานยนต์มายังน้ำ�ตกห้วยแม่ขมิ้น ใช้เวลา 45 นาที ขับรถต่อ จากท่าแพอีกประมาณ 7 กิโลเมตร จะถึงน้ำ�ตกห้วยแม่ขมิ้น ซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ เส้นทางนี้เหมาะสำ�หรับ รถเก๋ง และรถตู้ เรือ เช่าเหมาเรือเอกชนจากท่าต่างๆ เช่น ท่าเรือหม่อง กระแทะ ท่าเรือท่ากระดาน และท่าเรือเขื่อนนครินทร์ของการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิต ใช้เวลาประมาณ 1-1.3 ชั่วโมง
ร้านค้าสวัสดิการ
(กาแฟ น้ำ�ดื่ม ขนม) เปิดบริการ วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 07.00 น - 17.00 น.
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ส่วนหนึ่งเกิด จากสร้างเขื่อนศรีนครินทร์กั้นขวางแม่น้ำ�แม่กลอง แควใหญ่ โดยมีแม่น้ำ� ลำ�ห้วย ลำ�ธารที่สำ�คัญหลายสายไหลลงสู่อ่างเก็บ น้ำ�แห่งนี้ เช่น ห้วยแม่ขมิ้น ห้วยขาแข้ง ห้วยแม่วง ห้วยเกรียง ไกร และห้วยแม่พลู เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีลำ�ห้วยลำ�ธารอีก หลายสายที่ไหลลงสู่แม่น้ำ�แควน้อยบริเวณเขตอำ�เภอไทรโยค เช่น ห้วยลิ่นถิ่น เป็นต้น สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนและ หินตะกอนเป็นส่วนใหญ่ ระดับความสูง สูงสุดประมาณ 1,100 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง โดยมีความสูงเฉลี่ยประมาณ 400 เมตร พื้นที่น้ำ�ในทะเลสาบเหนือเขื่อนศรีนครินทร์มีระดับ ความสูงสุดประมาณ 180 เมตร จากระดับ น้ำ�ทะเลปานกลาง
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ เป็นพื้นที่เงาฝน (rain shadow) ทำ�ให้มีฝนตกน้อย อากาศ ร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว โดยมีอุณหภูมิ สูงสุดประมาณ 44 - 45 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน อุณหภูมิต่ำ�สุดในเดือนธันวาคมประมาณ 8 - 9 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูฝนเริ่ม ตกจากกลางเดือนเมษายน และสิ้นสุดในช่วงกลางเดือนตุลาคม โดยมีปริมาณน้ำ�ฝนเฉลี่ยประมาณ 1,600 มิลลิเมตร
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าในเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็ง รัง และป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ พบขึ้นปกคลุมเป็นส่วนใหญ่ของพื้นที่ในบริเวณ ค่อนข้างราบถึงเนินเขา ในบางพื้นที่จะพบไม้ ไผ่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม หนาแน่นมาก มีไม้ยืนต้นอื่นขึ้นแทรกอยู่บ้างเพียงประปราย พบ มากในบริเวณตอนกลางติดกับชายฝั่งอ่างเก็บน้ำ� ประกอบด้วย พันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญ ได้แก่ แดง มะค่าโมง ประดู่ รกฟ้า มะกอกป่า กระโดน ตะแบก ไผ่บง ไผ่รวก และไผ่ซาง มีสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ใน สังคมป่าชนิดนี้ได้แก่ ลิงกัง พญากระรอกดำ� เม่นใหญ่แผงคอ สั้น หมาจิ้งจอก หมาไน กระทิง ช้างป่า เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ� ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา นกกะเต็นแดง นกโพระดกธรรมดา นก แอ่นฟ้าหงอน นกกระรางสร้อยคอใหญ่ นกจับแมลงคอสีฟ้า เต่าเหลือง ตะกวด จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ งูเหลือม งูหมอก งู ปี่แก้วลายหัวใจ และกบหนอง เป็นต้น
ป่าเต็งรัง ประกอบด้วยพันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญ ได้แก่ เต็ง รัง แดง ตะคร้อ ฯลฯ พืชพื้นล่างเป็นพวก เป้งดอย ปรงป่า และ ไผ่เพ็ก สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในบริเวณสังคมพืชป่าเต็งรัง ได้แก่ กระรอกปลายหางดำ� กระจงเล็ก กวางป่า นกกระรางหัวขวาน นกตีทอง นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง นกหัวขวานสามนิ้วหลัง ทอง นกแซงแซวหางปลา ตุ๊กแกบ้าน จิ้งจกหางหนาม จิ้งเหลน หลากหลาย งูกะปะ เป็นต้น ป่าดิบแล้ง พบขึ้นประปรายอยู่ทั่วเขตอุทยานแห่งชาติ เขื่อนศรีนครินทร์ มักจะพบในบริเวณที่อยู่ทางด้านรับลมที่พัด พาฝนมาปะทะภูเขา หรืออยู่ริมสองฝั่งของลำ�ธาร พันธุ์ ไม้ที่ สำ�คัญได้แก่ ตะเคียนหิน มะเกิ้ม ยมหิน กระเบากลัก ยมหอม สมพง งิ้วป่า พลอง ขะเจ๊าะ กระโดน และเปล้า เป็นต้น สัตว์ป่า ที่พบได้แก่ ลิงลม ค่างแว่นถิ่นเหนือ ชะนีมือขาว พญากระรอก บินหูแดง หมาไม้ อีเห็นธรรมดา เสือโคร่ง ไก่ฟ้าหลังเทา นกเขา เขียว นกตะขาบดง นกแก๊ก นกกก นกไต่ไม้หน้าผากกำ�มะหยี่ เต่าหก เหี้ย งูลายสาบคอแดง งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว งูหลาม และเขียดตะปาด เป็นต้น บริเวณอ่างเก็บน้ำ�และลำ�ห้วยต่างๆ สัตว์ป่าและสัตว์ น้ำ�ที่พบอาศัยอยู่ได้แก่ คางคกแคระ เขียดอ่อง กบทูด กบ ชะง่อนหินเมืองเหนือ ปาดลายหินเมืองเหนือ อึ่งแม่หนาว ปลาก ราย ปลากระสูบขีด ปลากดเหลือง ปลาชะโด ปลาเวียน ปลา ปลาเลียหิน ปลากระทิงดำ� เป็นต้น สำ�หรับในบริเวณพื้นที่ที่ถูก ราษฎรบุกรุกเข้าไปเพื่อปลูกพืชเกษตรภายหลังได้อพยพออก ไปแล้ว และบริเวณริมอ่างเก็บน้ำ�ที่ถูกตัดต้นไม้ออกหมด สัตว ป่าที่อาศัยอยู่ได้แก่ เก้ง กระต่ายป่า อ้น นกยางกรอกพันธุ์จีน นกยางโทนใหญ่ นกกระแตแต้แว้ด นกกระปูดใหญ่ นกอีวาบ ตั๊กแตน นกตะขาบทุ่ง นกปรอดสวน กิ้งก่าแก้ว กิ้งก่าหัวแดง แย้ อึ่งอ่างบ้าน และอึ่งขาดำ� เป็นต้น
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 300 บาท เด็ก 200 บาท
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
บริเวณที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE,
จังหวัดกาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์มีเนื้อที่ไม่มาก แต่ มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ มีจุดเด่นและธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำ�ตก หน้าผา และถ้ำ�ธารลอด ที่นับว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ เกิดจากการยุบตัวของหินปูน ประกอบกับการกัดเซาะของน้ำ� ทำ�ให้เขาหินปูนกลายเป็นสะพานธรรมชาติขนาดมหึมา และมี หลักฐานแสดงถึงด้านประวัติศาสตร์เป็นทางเดินทัพของพม่า และกองทัพญี่ปุ่น มีเนื้อที่ประมาณ 59 ตารางกิโลเมตร หรือ 36,875 ไร่ ในปี 2516 กรมป่าไม้ ได้มีหนังสือ ที่ กส 0708/ 8531 ลงวันที่ 4 มิถุนายน 2516 ถึงจังหวัดกาญจนบุรี ให้ ความเห็นชอบในการสำ�รวจป่าโครงการทำ�ไม้กระยาเลย หนองรี-ห้วยแม่พลูฝั่งซ้าย (กจ.6) เพื่อกำ�หนดพื้นที่บาง ส่วนเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2517 กรมป่าไม้ ได้จัด ตั้งวนอุทยานถ้ำ�ธารลอดขึ้น ต่อมากองอุทยานแห่งชาติได้มี หนังสือ ที่ กส 0808/656 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2519 ให้ นายช่อ พงษ์รุ่งทรัพย์ หัวหน้าวนอุทยานถ้ำ�ธารลอด ทำ�การ สำ�รวจป่าถ้ำ�ธารลอดเพื่อยกฐานะเป็นอุทยานแห่งชาติ ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวมีจุดเด่นและมีธรรมชาติที่สวยงาม หลายแห่ง โดยเฉพาะถ้ำ�ธารลอดมีลำ�ห้วยไหลผ่านทะลุภูเขา เกิดเป็นถ้ำ�ที่มีเพดานเป็นรูปโดมขนาดใหญ่สวยงาม เป็น ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เด่นเป็นพิเศษ มีสภาพป่าที่สมบูรณ์ เป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ตามหนังสือรายงานผล การสำ�รวจ ที่ กส 0808 (ถล)/14 ลงวันที่ 7 เมษายน 2519 ตลอดจนมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าเป็นทางเดินทัพของ พม่าและกองทัพญี่ปุ่น กรมป่าไม้จึงได้เสนอคณะกรรมการ อุทยานแห่งชาติ ซึ่งได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2519 เมื่อ วันที่ 17 สิงหาคม 2519 ให้กำ�หนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยาน แห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกากำ�หนดพื้นที่บริเวณที่ดิน ป่าหนองรีในท้องที่ตำ�บลเขาโจด อำ�เภอศรีสวัสดิ์ จังหวัด กาญจนบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ ในราชกิจจา นุเบกษาเล่ม 97 ตอนที่ 20 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2523 นับ เป็นอุทยานแห่งชาติลำ�ดับที่ 17 ของประเทศ โดยให้ชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติถ้ำ�ธารลอด”
ต่อมาคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้พิจารณา เห็นว่า ในวาระการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ และการที่ พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติแห่งนี้ในอดีตได้ ใช้เป็นเส้นทางใน การรบพุ่งกันระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพพม่า ซึ่งมีหลัก ฐานปรากฏ เช่น ซากอาวุธโบราณ โครงกระดูกและเครื่องราง ของขลังต่างๆ และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราชได้เคยประทับในสมัยที่มีการรบทัพจับศึกกับพม่าใน เขตจังหวัดกาญจนบุรีอยู่บ่อยครั้ง จึงได้มีมติเมื่อคราวประชุม ครั้งที่ 4/2524 วันที่ 22 ธันวาคม 2524 ว่า สมควรที่จะขอ พระราชทานพระนามาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นชื่ออุทยานแห่งชาติแห่งนี้ โดยใช้ชื่อว่า “อุทยานแห่งชาติพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช” เพื่อ เป็นการเทิดพระเกียรติแด่พระองค์ และเป็นสิริมงคลแก่อุทยาน แห่งชาติแห่งนี้สืบไป ซึ่งสำ�นักราชเลขาธิการได้มีหนังสือ ที่ รล 0002/6924 ลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2525 ว่า ได้นำ�ความ กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานแห่งชาติถ้ำ�ธาร ลอดใหม่ว่า “อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสิ นทร์” 78341512_102083581279566 170240_n.jpg
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศในพื้นที่แห่งนี้ ได้รับ อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งลมมรสุมตะวันตกเฉียง ใต้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ทำ�ให้ช่วงนี้มีความชื้นในอากาศสูง มีเมฆมาก ฝนตกหนัก มีปริมาณน้ำ�ฝนเฉลี่ย 1,700 มม./ปี ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ สภาพอากาศช่วง นี้หนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่ง มีอุณหภูมิต่ำ�สุดเฉลี่ย 16 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนธันวาคมและมกราคม ฤดูร้อนจะเป็นช่วงคาบเกี่ยวระหว่างลมมรสุมตะวัน ตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มี อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 37 องศาเซลเซียส ในช่วง เดือนมีนาคมและเมษายน
6_2318750043068
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์อยู่ในเขตเทือกเขา ภาคตะวันตก ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับ ซับซ้อน ส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปูน อยู่สูงจากระดับน้ำ�ทะเลปาน กลางระหว่าง 240-1,257 เมตร ประกอบด้วยเขากำ�แพง เขา ไม้หอม เขาพุช้างหมอบ จุดสูงสุดคือ ยอดเขากำ�แพงมีความ สูงประมาณ 1,260 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง เทือก เขาเหล่านี้เป็นแหล่งต้นน้ำ�ลำ�ธารของห้วยแม่พลู ห้วยตะกวด ห้วยแม่กระพร้อย และห้วยกระพร้อย อาณาเขตติดต่อด้านทิศเหนือ:ติดป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโรงงานกระดาษไทยแปลงที่6 ตำ�บลเขาโจด อาณาเขตติดต่อด้านทิศใต้:ป่าสงวนแห่งชาติป่าหนองรี ตำ�บลเขาโจด อำ�เภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี อาณาเขต ติดต่อด้านทิศตะวันออก:ติดต่อป่าสงวนแห่งชาติ ป่าหนองรี ตำ�บลเขาโจด อำ�เภอศรีสวัสดิ์ จังหวักาญจนบุรี อาณาเขตติดต่อด้านทิศตะวันตก:ติดต่อเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ป่าสลักพระ ตำ�บลเขาโจด อำ�เภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่ง ของผืนป่าตะวันตกที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ สามารถ จำ�แนกประเภทแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ป่าดิบเขา ป่าดิบ แล้ง ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ในบริเวณที่เป็นสังคมพืช ป่าดิบเขา พบบริเวณแนวเขาและยอดเขากำ�แพงที่ระดับความสูง ประมาณ 1,000-1,257 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง พันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญ เช่น ก่อเดือย ก่อแป้น ทะโล้ มะแฟน อบเชย กำ�ยาน พญาไม้ หว้าเขา มะไฟ ตอง ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หนามเค็ด เจ็ดช้างสาร เข็ม เร่ว กระวาน ผักกูด กูดห้อม หญ้าข้าวป่า และ หญ้าคมบางเขา เป็นต้น ไม้เถาได้แก่ กระจับเขา จิงจ้อน้อย เมื่อย ข้าวเย็นเหนือ หวาย เป็นต้น และพืชอิงอาศัยที่พบได้แก่ กะเร กะร่อน เอื้องเข็ม ช้าง เอื้องกุหลาบ เป็นต้น สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ ประจำ�ได้แก่ ลิงกัง หมีหมา หมาไม้ พญากระรอกดำ� เลียงผา นกแก๊ก นกกก และนกพญาไฟ ในบริเวณหุบเขาที่มีหน้าดินลึก มีความชื้นสูง เช่น หุบเขาริมห้วยแม่พลู ห้วยแม่กระพร้อย ห้วยกระพร้อย และรอบ ยอดเขากำ�แพง ถัดจากป่าดิบเขาลงมาตั้งแต่ระดับความสูง 200 –1,000 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง ถูกปกคลุมด้วยป่าดิบ แล้ง ซึ่งมีพันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญได้แก่ ยางนา ยางแดง พระเจ้าห้า พระองค์ ปออีเก้ง ตาเสือ ข่อยหนาม ชมพูป่า ตาว ตะเคียนทอง ยมหิน ฯลฯ พืชอิงอาศัยเป็นกล้วยไม้ ในสกุลหวาย สกุลช้าง กระแตไต่ไม้ นมเมีย ไข่มุก ข้าหลวงหลังลาย ชายผ้าสีดา และ จุก โหรินี เป็นต้น ไม้เถาได้แก่ กระไดลิง สะบ้าลิง หวายขม สะแก เครือ หนามขี้แรด และสะแกวัลย์ เป็นต้น และพืชพื้นล่างที่พบ ได้แก่ เข็มดอกใหญ่ หัสคุณ กะตังใบ กระดูกค่าง เปราะหอม เร่ว ผักหนาม กล้วยป่า โจด แขม และหญ้าเทียน เป็นต้น เนื่องจาก สภาพเรือนยอดของป่าประเภทนี้เรียงตัวต่อเนื่องชิดกัน ทำ�ให้ มีความชุ่มชื้น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น ชะนีมือขาว ลิงกัง พญากระรอกดำ� นกกก นกเขาใหญ่ นกเขียว ก้านตองปีกสีฟ้า บริเวณพื้นป่าซึ่งเป็นที่ลุ่มหรือใกล้ร่องกวางป่า
การเดินทาง
จากตัวเมืองออกไปทางถนนสายกาญจนบุรี-เขื่อน ศรีนครินทร์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3199) เป็นระยะ ทาง 16 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่ตลาดอำ�เภอลาดหญ้าไปทาง อำ�เภอบ่อพลอย ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3086 (ถนนสาย กาญจนบุรี-บ่อพลอย-ด่านช้าง) อีกประมาณ 68 กิโลเมตร ถึงหนองปรือ แล้วเลี้ยวซ้ายมุ่งสู่ถ้ำ�ธารลอดอีก 22 กิโลเมตร รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 234 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ ทำ�การอุทยานแห่งชาติ
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากกว่า 9 ล้อขึ้นไป : 200 บาท
ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านอาหารผู้ประกอบการ เปิดให้บริการ เสาร์ อาทิตย์ และช่วงเทศกาล เวลา 09.30 น.- 16.00 น. -
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
บริเวณที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE,
จังหวัดกาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ด้วยสำ�นักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่อง แผนการป้องกันอนุรักษ์และพัฒนาป่าอนุรักษ์ภาคตะวัน ตก ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ เสนอ ต่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ ให้กระทรวง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพัฒนา พิจารณาเสนอความ เห็นเพื่อประกอบการพิจารณา ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2534 คณะกรรมการการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ
เสนอความเห็นชอบ การคุ้มครองพื้นที่เขตแดนพม่า ให้เป็นป่าผืนใหญ่ผืนเดียวกัน เพื่ออนุรักษ์ ให้เป็นระบบนิเวศที่ มั่นคงและเป็นแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมพืชและสัตว์ที่อุดม สมบูรณ์ของประเทศตลอดไป ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ประชุม ปรึกษาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2534 ลงมติเห็นชอบตามมติ คณะกรรมการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ โดยกรมป่าไม้ ได้ ดำ�เนินการตามแผนการป้องกันอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้อนุรักษ์ ภาคตะวันตก ในรูปแบบอุทยานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าห้วยเขย่งและป่าเขาช้างเผือก ในเขตท้องที่อำ�เภอทองผาภูมิ และอำ�เภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ป่าที่อยู่ใน ระหว่างการดำ�เนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
มีเนื้อที่ประมาณ 700,000 ไร่ หรือ 1,120 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร ทิศใต้จดอุทยานแห่งชาติไทรโยค ทิศตะวันออก จดอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ทิศตะวันตกจดเขตแดนไทย-พม่า ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำ�เรื่องเข้าสู่การพิจารณา ของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำ�เนินการจัดตั้งเป็นอุทยาน แห่งชาติได้
การเดินทาง
1. โดยรถยนต์ส่วนตัวออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึง ตัวเมืองกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร จากตัว เมืองกาญจนบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 323 สายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ ถึงตลาดอำ�เภอทองผาภูมิระยะทางประมาณ 141 กิโลเมตร จากตัวอำ�เภอทองผาภูมิ ใช้เส้นทางหมายเลข 3272 สายทองผาภูมิ – บ้านไร่-ปิล๊อก ถึงสามแยกบ้านไร่เลี้ยว ซ้ายไปตาม เส้นทางคดเคี้ยวบนเขา ที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ ทองผาภูมิซึ่งจะตั้งอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 21 - 22 เป็นเส้น ทางลาดยางตลอดสาย 2. โดยรถยนต์โดยสารประจำ�ทาง ขึ้นรถจากสถานีขนส่งสายใต้ลงที่สถานีขนส่งจังหวัด กาญจนบุรีและต่อรถประจำ�ทางสายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ ลงที่ตลาดอำ�เภอทองผาภูมิ จากนั้นต่อรถประจำ�ทางสาย ทองผาภูมิ – บ้านอีต่อง ก็จะถึงที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากกว่า 9 ล้อขึ้นไป : 200 บาท
ร้านค้าสวัสดิการ เปิดบริการ
จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.00 - 18.00 น. เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 07.00 - 19.00 น.
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
1. บริเวณเนินกูดดอย - ช้างเผือก : AIS, DTAC 2. บริเวณน้ำ�ตกจ๊อกกระดิ่น : AIS
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน จึงได้รับอิทธิพลจากลม มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ฤดู หนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม พืชพรรณและสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของผืน ป่าตะวันตกที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ สามารถจำ�แนก ประเภทแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1) ป่าดิบชื้น มีพันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญ ได้แก่ ตะเคียน ยาง ขาว ยางยูง ไก่เขียว เคี่ยม กันเกรา จำ�ปาป่า มะหาด เนียง พืช พื้นล่างมีพวก หวาย เฟิน เตย และปาล์ม 2) ป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญ ได้แก่ ยางขาว ยาง แดง ตะเคียน ยมหอม จำ�ปีป่า กระบาก มะม่วงป่า มะแฟน แดง ดง มะไฟป่า สมพง พืชพื้นล่างมีพวก ปาล์ม ข่า และเฟิร์นต่างๆ ฯลฯ 3) ป่าดิบเขา มีพันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญ ได้แก่ ก่อชนิดต่างๆ กำ�ลังเสือโคร่ง มณฑาป่า พระเจ้าห้าพระองค์ กำ�ยาน อบเชย ทะโล้ พืชพื้นล่างได้แก่ มอส เฟิร์นต่างๆ 4) ป่าเบญจพรรณ พบมากที่สุด มีพันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญ ได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง อินทนิล ตุ้มเต๋น ตะคร้อ ตะคร่ำ� กระพี้เขาควาย ขะเจ๊าะ มะเกลือ กาสามปีก สมอ พิเภก กระบก มะกอก พืชพื้นล่างมีพวก ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ ข้าวหลาม ไผ่รวก และพืชพวกไม้หนาม เป็นต้น อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของ สัตว์ป่าเป็นจำ�นวนมาก เนื่องจากป่าเป็นผืนเดียวกันกับประเทศ พม่า จึงมีการย้ายถิ่นฐานไปมาอยู่เป็นประจำ� และเนื่องจาก ไม่มีราษฎรอยู่ในพื้นที่ป่ามากนักจึงทำ�ให้สัตว์ป่าไม่ถูกรบกวน ที่พบเห็นเป็นประจำ�ได้แก่ ช้างป่า เลียงผา กวาง เก้ง กระจง หมูป่า หมี ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เสือปลา เสือลายเมฆ เสือโคร่ง หมีคน หมีควาย กระรอกบิน กระแต หนูหริ่ง พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า แมวป่า หมาไน เม่น นกเงือก นกนางแอ่น เหยี่ยว นกกระสา นกอินทรีย์ นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกแสก นกกระปูด นกเอี้ยง นกกางเขน นกขมิ้น นกกระทาดง นกกวัก นกขุนทอง นกแซงแซว นกหัวขวาน นก ดุเหว่า อีกา ไก่ป่า ตะกวด ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน จิ้งเหลน แย้
จังหวัดกาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติไทรโยค
อุทยานแห่งชาติไทรโยค ประกาศเป็นอุทยานแห่ง ชาติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคมพ.ศ.2523 เนื้อที่ 598,750 ไร่หรือ 958 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นภูเขาและตั้ง อยู่ในระดับความสูงแตกต่างกัน ตั้งแต่ 100 เมตร ไปจนถึง 1,327 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง จุดสูงสุดของ อุทยานคือเทือกเขาแระ สูงประมาณ 1,125 เมตร จากระดับ น้ำ�ทะเล แหล่งท่องเที่ยวสำ�คัญในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ไทรโยค คือ น้ำ�ตกไทรโยคใหญ่ น้ำ�ตกไทรโยคเล็ก น้ำ�ตก ไทรโยคน้อย ถ้ำ�ละว้า ถ้าดาวดิงส์ เป็นพื้นที่แห่งเดียวใน ประเทศไทยที่มีค้างคาวที่เล็กที่สุดในโลก คือค้างคาวคุณกิตติ และปูราชินี ปูน้ำ�จืดชนิดใหม่ของโลกอาศัยอยู่ ภายในอุทยาน มีเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ บ้านพัก ค่ายพักแรม สถานที่ กางเต็นท์ แพพักและแพล่อง บริการนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
เรือ จากอำ�เภอเมืองกาญจนบุรี ลงเรือที่ท่าเรือ จะ มีเรือหางให้เช่าเหมาลำ� เดินทางไปตามลำ�น้ำ�แควน้อย จนถึง น้ำ�ตกไทรโยค หรือจากสถานีรถไฟสามารถต่อเรือที่ท่าเรือ ปากแซง บ้านท่าเสา อำ�เภอไทรโยค ต่อไปยังน้ำ�ตกไทรโยคได้ อีกทางหนึ่ง รถยนต์ ใช้ทางหลวงสายกรุงเทพ ฯ - กาญจนบุรี จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 323 สายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ ระยะทางประมาณ 96 กิโลเมตร ทางเข้าอุ ทยานฯอยู่ทางซ้าย หากเดินทางโดยรถโดยสารประจำ�ทาง จากกรุงเทพ ฯ ขึ้นรถที่สถานีขนส่งสายใต้ลงที่สถานีขนส่ง กาญจนบุรีต่อรถประจำ�ทางสายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ รถไฟ จากสถานีบางกอกน้อย ( ธนบุรี ) มาลงที่ สถานีน้ำ�ตกไทรโยคน้อย ระยะทางประมาณ 195 กิโลเมตร ( ใช้ระยะเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง ) ต่อรถประจำ�ทางกาญจนบุรี -ทองผาภูมิ อีกประมาณ 33 กิโลเมตร ติดต่อสถานีรถไฟ บางกอกน้อย โทร.02-4113102
พืชพรรณและสัตว์ป่า
เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยคส่วนใหญ่มีสภาพ เป็นภูเขา และตั้งอยู่ที่ระดับความสูงแตกต่าง 100 เมตร ไปจนถึง ประมาณ 1,125 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง พื้นที่ได้รับ อิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือส่งผลให้สังคมพืชแตกต่างกันตามระดับความสูง จากการแปรและตีความ ภาพถ่ายดาวเทียม ปี พ.ศ .2533 ประกอบการตรวจสอบภาคพื้นดิน สามารถจำ�แนกพื้นที่ ป่าในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยค ได้เป็น 7 ส่วน แต่ละส่วนมี ขนาดเนื้อที่เปอร์เซ็นต์ต่อพื้นที่ (ภาพที่ 10) ซึ่งจากภาพจะพบว่า ขนาดพื้นที่ ตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกามีพื้นที่ 958 ตาราง กิโลเมตรส่วนชนิดของสังคมพืช ผลการแปลและตีความภาพถ่าย ดาวเทียมลักษณะโครงสร้างสังคมพืช และชนิดพันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญ พบว่าสังคมพืชหลักของพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค คือ ป่า ผสมผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) ซึ่งมีเนื้อที่ 810.03 คิดเป็น 84.47 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่อุทยาน แห่งชาติไทรโยค โดยแยกย่อยออกได้เป็น ป่าผสมผลัดใบ ป่าผสม ผลัดใบผสมไผ่ และป่าไผ่ ส่วนที่เหลือจำ�แนกออกเป็นป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง ่งป่าทั้งสองชนิดนี้มีเนื้อที่ไม่มากนักส่วนพื้นที่ที่ถูก แผ้วถางทิ้งรกร้างไว้ และพื้นที่ที่ถูกบุกรุกยังคงใช้ประโยชน์เป็น พื้นที่เกษตรกรรมอยู่ ความหลากหลายของทรัพยากรสัตว์ป่า ชนิดสัตว์ป่า ที่ปรากฏในพื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยค จากการศึกษาสำ�รวจ แจงนับโดยตรง (Direct count method) เพื่อรวบรวมชนิดจาก การเก็บตัวอย่างบันทึกภาพ และดำ�เนินการแจงนับจำ�นวนสัตว์ป่า แต่ละชนิดซึ่งพบบนเส้นทางแนวการสำ�รวจและอาศัยการสำ�รวจ แจงนับโดยอ้อม (Indirect count method) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ จำ�แนกชนิดจากสภาพร่องรอยที่ปรากฏ เช่น รอยเท้า มูล รัง โพรง เศษซาก และร่องรอยอื่น ๆ ที่สัตว์ป่ากระทำ�ไว้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้อาศัยความรู้ที่รวบรวมได้จากเอกสารรายงาน ตามที่มีผู้ศึกษาไว้ก่อนหน้านี้ จำ�นวนชนิดของสัตว์ป่าที่ปรากฏ ในปัจจุบันมีไม่น้อย กว่า 294 ชนิด จาก 220 สกุล ใน 102 วงศ์ จำ�แนกเป็นสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนม 58 ชนิดนกป่า 115 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 36 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบก 15 ชนิด และปลาน้ำ�จืด 70 ชนิด
ลักษณะภูมิอากาศ
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติไทรโยค เป็นพื้นที่สูงและยังคงพื้นที่ป่าไม้ ทั้งยังมีแนวสันเขายาวกั้นแนว พรมแดน ทำ�ให้ลักษณะอากาศภายในพื้นที่มีความผันแปรค่อน ข้างมาก ประกอบกับได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียง เหนือ ซึ่งทำ�ให้อากาศเย็นและแห้งแล้ง และได้รับลมมรสุมตะวัน ตกเฉียงใต้ ในฤดูฝนทำ�ให้มีฝนตกและอากาศชุมชื้น จากข้อมูล ของสถานีตรวจวัดอากาศในลุ่มน้ำ�แม่กลองซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับ พื้นที่อุทยานแห่งชาติไทรโยคมากที่สุด สามารถสรุปลักษณะภูมิ อากาศได้ดังนี้ ฤดูกาล : สามารถแบ่งได้ 3 ฤดูกาล กล่าวคือ ฤดูฝนจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือน ตุลาคม โดยเดือนกันยายนจะเป็นเดือนที่ฝนตกชุกที่สุด ฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงกลาง เดือนกุมภาพันธ์โดยช่วงเดือนธันวาคมจะเป็นช่วงหนาวเย็นที่สุด ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนเมษายน จนถึงกลางเดือน พฤษภาคม ซึ่งในช่วงนี้เป็นระยะที่ลมฝ่ายใต้พัดปกคลุมพื้นที่ ทำ�ให้อากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป โดยช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะ เป็นช่วงอากาศร้อนอบอ้าวที่สุด อุณหภูมิ : เนื่องจากสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยาน แห่งชาติไทรโยคเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนจะมีอากาศร้อนอบอ้าว ในฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวเย็นในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอด ทั้งปีประมาณ 27.02 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำ�สุดเฉลี่ย 15.43 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.1 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ : สภาพความชื้นของพื้นที่จะมี ความชื้นสัมพัทธ์กับมวลอากาศ และอิทธิพลของมรสุมที่สำ�คัญ ในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นระยะที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัด ปกคลุม อากาศจะหนาวเย็นในตอนเช้าและความชื้นสัมพัทธ์สูง แต่จะลดต่ำ�ลงอย่างรวดเร็วในช่วงบ่ายถึงเย็น ช่วงฤดูร้อนอากาศ จะแห้งแล้งและอบอ้าวมาก ความชื้นสัมพัทธ์จะต่ำ�กว่าในฤดูหนาว และสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ความชื้นสัมพัทธ์ของพื้นที่ เฉลี่ยตลอดปี 76.5 % โดยมีความชื้นสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 89.92% และ
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติประกอบ ด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนส่วนใหญ่มีความสูงโดยเฉลี่ยอยู่ ในช่วง 300-600 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเลปานกลางเทือกเขา ส่วนใหญ่จะทอดยาวจากตอนเหนือของพื้นที่ด้านทิศตะวันตก ติดชายแดนพม่าจะมีความสูงชันมากกว่าด้านทิศตะวันออก จุดสูงสุดของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ คือ เทือกเขาเราะแระ ซึ่ง สูงประมาณ 1,132 เมตร ตั้งอยู่บริเวณแนวเขตด้านทิศตะวัน ออกเฉียงใต้ ถัดจากบริเวณเชิงเขาจะเป็นที่ราบถึงที่ราบลอน คลื่นในระหว่างหุบเขาและร่องน้ำ� ที่ราบลุ่มอันเกิดจากตะกอน ลำ�น้ำ�จะมีพื้นที่ไม่มากนัก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหุบเขา ดังที่กล่าวมาแล้ว
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 300 บาท เด็ก 200 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากกว่า 9 ล้อขึ้นไป : 200 บาท
ร้านค้าสวัสดิการ
(กาแฟ น้ำ�ดื่ม ขนม) เปิดให้บริการทุกวันเวลา 07.00 น -16.30 น.
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
บริเวณอุทยานแห่งชาติ : AIS, DTAC, TRUE
จังหวัดกาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติลำ�คลองงู
อุทยานแห่งชาติลำ�คลองงูตั้งอยู่ที่ อ.ทองผาภูมิ กาญจนบุรี กำ�เนิดมาจากลำ�ห้วยที่ไหลวกวนกัดเซาะเพิง เทือกเขาหินปูนบนพื้นที่สลับซับซ้อนกลางผืนป่า ทำ�ให้เกิด เป็นโพรงถ้ำ�ที่มีขนาดใหญ่อยู่หลายแห่ง รวมกับการสะสมของ ตะกอนหินปูนทีมีมาอย่างยาวนานเกิดเป็นหินงอกหินย้อยและ ประติมากรรมอันสวยงามจากธรรมชาติมากมาย ทำ�ให้ภายใน อุทยานแห่งชาติลำ�คลองงูแห่งนี้มีถ้ำ�น้อยใหญ่อยู่เต็มไปหมด
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากกว่า 6 ล้อขึ้นไป : 200 บาท
ร้านค้าสวัสดีการ
ไม่มีร้านค้าร้านอาหาร นักท่องเที่ยวควรจัดเตรียมไป
ลักษณะภูมิประเทศ สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
1. ที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ AIS, TRUE, DTAC 2. น้ำ�ตกนางครวญ DTAC, TRUE
การเดินทาง
รถยนต์ จากจังหวัดกาญจนบุรีเดินทางสู่อำ�เภอ ทองผาภูมิตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 แล้วเดินทาง ต่อจากอำ�เภอทองผาภูมิตามเส้นทางดังกล่าวไปประมาณ 16 กิโลเมตร ถึงบริเวณสามแยกพุทโธเลี้ยวขวาไปประมาณ 12 กิโลเมตร จะมีทางแยกเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำ�การ อุทยานแห่งชาติลำ�คลองงู
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนแนวเขาวางตัว ในทิศเหนือ–ใต้เป็นส่วนใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาว ศรี ความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำ�ทะเลประมาณ 100 – 1,000 เมตร ยอดเขาที่สำ�คัญได้แก่ ยอดเขาบ่องาม
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมเขตร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ ในฤดูร้อนและลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือใน ฤดูหนาว สภาพพื้นที่เป็นหุบเขาสลับซับซ้อนจึงทำ�ให้มีอากาศ ร้อนจัดในฤดูร้อน และหนาวจัดในฤดูหนาว แบ่งได้เป็น 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม ฤดู ฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม ฤดูหนาว เริ่ม ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ ลักษณะท้องฟ้า จะมีเมฆมากในราวเดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน และมีเมฆ น้อยในเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปของอุทยานแห่งชาติลำ�คลองงูยัง คงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่มาก ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ป่าเบญจพรรณแล้งสูงผสมไผ่ พบมากในพื้นที่ลุ่มน้ำ�ตอนบน และตอนปลายของห้วยลำ�คลองงู ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำ� ทะเลตั้งแต่ 300 เมตรขึ้นไป มีไผ่ 2-3 ชนิด ขึ้นปะปนอยู่ค่อนข้าง หนาแน่น ส่วนระดับความสูงกว่า 500 เมตร มีไม้ ไผ่ขึ้นปะปน ค่อนข้างเบาบาง พันธุ์ ไม้ที่พบได้แก่ ประดู่ มะค่าโมง จำ�ปีป่า จำ�ปาป่า ก่อ กระพี้เขาควาย ตะแบก มะเกลือ กาสามปีก ไผ่หก และไผ่รวก เป็นต้น ป่าเบญจพรรณแล้งต่ำ�ผสมไผ่ พบขึ้นปกคลุมพื้นที่ บริเวณที่มีความสูงน้อยกว่า 300 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเลลงมา มีไผ่ 2-3 ชนิด ขึ้นปะปนค่อนข้างหนาแน่น ป่าดิบแล้ง พบบริเวณลำ�ห้วยต่างๆ และตามหุบเขาที่มี ความชันมาก ในระดับความสูงจากระดับน้ำ�ทะเลตั้งแต่ 500700 เมตร พันธุ์ ไม้ที่พบได้แก่ ยาง กระบก กระบาก สมพง มะไฟป่า ชมพู่น้ำ� ฯลฯ พืชชั้นล่างได้แก่ เต่าร้าง หวาย และพืช ในวงศ์ขิงข่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติลำ�คลองงู เป็นป่าผืนเดียวกัน กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร จึงมีสัตว์ป่าอาศัย อยู่อย่างชุกชุม ปัจจุบันสัตว์ป่ามีจำ�นวนลดลงเนื่องจากถูก ราษฎรในพื้นที่แผ้วถางป่าอันเป็นแหล่งอาศัยและทำ�ลายอย่าง หนัก สัตว์ป่าบางส่วนจึงอพยพหนีเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แต่ก็ยังมีการอพยพย้ายถิ่นที่อยู่ และเข้ามาหากินในพื้นที่อยู่เสมอ เท่าที่สำ�รวจพบและสอบถาม จากราษฎรในพื้นที่ได้แก่ เลียงผา ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า หมีควาย เสือลายเมฆ เสือโคร่ง กระจง ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น กระรอก กระแต ชะมด หนู นกเงือก พบบริเวณเทือกเขาต่อกับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และเขตอุทยานแห่งชาติ เขาแหลม และยังพบนกนางแอ่นลมอาศัยกันอยู่เป็นจำ�นวนมาก บริเวณถ้ำ�คลองงูตอนกลาง นอกจากนี้ยังมีนกเขาเหยี่ยว นก ฮูก นกเค้าแมว นกกระปูด นกปรอด นกกางเขน นกขุนทอง นก แซงแซว นกตะขาบ นกหัวขวาน นกขมิ้น นกกวัก ไก่ป่า ไก่ฟ้า งู ตะกวด ลิ่น ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน กิ้งก่าแก้ว จิ้งเหลน ตะขาบ ตะพาบ น้ำ� กบ เขียด คางคก ปาด อึ่งอ่าง จงโคร่ง ปลาเวียน ปลากระทิง และปลาก้าง เป็นต้น
จังหวัดกาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติเอราวัณ น้ำ�ตกเอราวัณ เป็นน้ำ�ตกที่ใหญ่และสวยงาม บนฝั่ง แม่น้ำ�แควใหญ่ ตั้งอยู่ที่ อำ�เภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกเป็นชั้นๆ ได้ 7 ชั้น เป็นน้ำ�ตก ขนาดใหญ่เดิมมีชื่อว่า น้ำ�ตกสะด่องม่องลาย ตามชื่อลำ�ห้วยม่องล่ายซึ่งเป็นต้นน้ำ� ของน้ำ�ตกที่เกิดจากยอดเขา ตาม่องล่ายในเทือกเขาสลอบ สายน้ำ�จะไหล มาตามชั้นหินเป็นระยะทาง ประมาณ 1,500 เมตร แบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ๆได้ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีความสวยงาม ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ น้ำ�ตกมีน้ำ�ใสแจ๋วมองเห็นตัวปลาแหวกว่ายไปมาใต้ ผืนน้ำ�ที่สะท้อนแสงเป็นสีฟ้าอมเขียวมรกตคล้ายน้ำ�ใน สระ ว่ายน้ำ� ที่เป็นเช่นนั้น เนื่องมาจากลักษณะของ ภูเขาในอุทยา นฯเอราวัณ เป็นเป็นเทือกเขาหินปูนที่เกิดจาก การทับถมของ เปลือกหอย ปู หรือปะการัง ดังนั้นน้ำ�ตกเอราวัณ ที่ไหลมา จากเทือกเขาหินปูนจึง มีสารละลายของแคลเซียมคาร์บอเนต เจือปนอยู่ ซึ่งแคลเซียมคาร์บอเนต ตกตะกอนในบริเวณ ที่มีน้ำ�ไหลช้าหรือเป็นแอ่งน้ำ� ทำ�ให้ชั้นน้ำ�ตกมีคราบหินปูน ก่อตัว และหินปูนนี้สามารถละลายน้ำ�ได้ดี เมื่ออยู่ในรูปของ สารละลายก็สามารถตกตะกอนได้ น้ำ�ตกหินปูนจึงมีน้ำ�ใส ในตอนบน และมีการตกตะกอนขุ่น ในช่วงล่างของธารน้ำ� เมื่อแสงส่องลงมาจะทำ�ให้สะท้อนเป็นสีฟ้าหรือสีเขียวมรกต สวยงามมาก น้ำ�ตกชั้นแรกมีชื่อว่าไหลคืนรัง” ชั้นที่ 2 ชื่อ “วัง มัจฉา” ชั้นที่ 3 “ผาน้ำ�ตก” ชั้นที่ 4”อกผีเสื้อ” ชั้นที่ 5 “เบื่อ ไม่ลง” ชั้นที่ 6 “ ดงพฤกษา” และชั้นสุดท้ายชื่อว่า “ภูผา เอราวัณ”โดยน้ำ�ตกแต่ละชั้นไม่ใช่มีแค่ชื่อที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น แต่น้ำ�ตกแต่ละชั้นก็มีความ สวยงามที่ แตกต่างกันออกไป สำ�หรับท่านที่ต้องการเยี่ยมชมน้ำ�ตกทั้ง 7 ชั้นจาก ต้องใช้ เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการขึ้น - ลง
น้ำ�ตกชั้นแรกเป็นน้ำ�ตกที่มีปลาอาศัยอยู่เยอะก็เป็นได้ ซึ่งปลาเหล่านี้คือ “ปลาพลวง” เป็นปลาน้ำ�จืดใน ตระกูลปลา ตะเพียน ลำ�ตัว สีน้ำ�ตาลเขียว เกล็ดโต มีหนวดยาว 2 คู่ ตรงจง อยปาก และ มุมปาก ชอบอาศัยบริเวณธารน้ำ�ตก ลำ�ห้วย หรือ ธารน้ำ�ที่ใสสะอาด มีพื้นเป็นกรวดหรือทราย ชั้นนี้มีสีของน้ำ�มี 2 สีอย่างเห็นได้ชัด คือน้ำ�สีฟ้าเขียวและน้ำ�ใสๆตามปกติ ซึ่งปลา พลวงชอบอาศัยอยู่ใน น้ำ�ใสมากกว่า นอกจากนี้ที่น้ำ�ตกชั้น 2 ยังมีความสวยงามของม่านน้ำ�ตก ที่เบื้องหลังสายน้ำ�ตกที่ตกลง มากระเซ็นเป็นฝอยนั้นมี ผาลึกเข้าไปเล็กน้อยโดยนักท่องเที่ยว สามารถเข้าไปหลังม่านน้ำ�ตกนี้ได้ น้ำ�ตกชั้นที่ 3 มีน้ำ�ตกตกลงมาจากผาชันดังชื่อของ น้ำ�ตกชั้นนี้ว่า”ผาน้ำ�ตก” จากนั้นก็เดินข้ามสะพานไม้ถัดขึ้น ไป เป็นน้ำ�ตกชั้นที่ 4 “อกผีเสื้อ” ที่มีชื่อเช่นนี้ก็คงเพราะรูปร่างของ หินที่อยู่ในน้ำ�ตกชั้นนี้ มองดูคล้ายอกของผู้หญิง หรือถ้าเป็นอก ผีเสื้อก็คงเป็น อกผีเสื้อสมุทร ที่มีน้ำ�ตกไหลครอบคลุมหินกลม มน ก้อนใหญ่ 2 ก้อนดูแล้วนิ่มนวลสวยงามมาก นอกจากนี้ทางอุทยานฯได้จัดทำ�เส้นทางศึกษา ธรรมชาติที่ทางอุทยานฯ ได้จัดเส้นทางไว้สำ�หรับนักท่องเที่ยว ที่ต้องการ ศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง ใช้เวลาประมาณ 30 นาที คือ เส้นทางสายป่าดิบแล้งม่องไล่ - ระยะทาง 1,010 เมตร ลักษณะเป็นทางเดินเลียบลำ�ห้วยม่องไล่ เริ่มจากสะพานค่ายพัก ไป บรรจบกับเส้นทาง ใน น้ำ�ตกเอราวัณชั้นที่ 3 เส้นทางเขาหิน ล้านปี - ระยะทาง 1,940 เมตร เริ่มจากลานจอดรถไปบรรจบกับ เส้นทางสู่น้ำ�ตกบริเวณ สะพานของ น้ำ�ตกเอราวัณชั้นที่ 4
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 300 บาท เด็ก 200 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ : 100 บาท
การเดินทาง
รถยนต์ ไปตามถนนเพชรเกษมหรือไปตามถนน บรมราชชนนี ผ่านนครชัยศรี บ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง ถึง จังหวัดกาญจนบุรี รวมระยะทาง 129 กิโลเมตร ใช้เวลาเดิน ทางประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง สำ�หรับการเดินทางจากตัวเมือง กาญจนบุรีไปยังอุทยานแห่งชาติเอราวัณสามารถใช้ ได้ 2 เส้นทาง คือ สายที่ 1 เริ่มต้นจากจังหวัดกาญจนบุรีไปตาม ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3199 ถึงเขตของการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทยเขื่อนศรีนครินทร์ ข้ามสะพานไปยังตลาด เขื่อนศรีนครินทร์ แล้วจึงเลยเข้าไปยังที่ทำ�การอุทยานแห่ง ชาติเอราวัณ ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 70 กิโลเมตร สายที่ 2 เดินทางจากอุทยานแห่งชาติไทรโยค จะมีเส้นทางบริเวณบ้าน วังใหญ่อยู่ห่างจากน้ำ�ตกไทรโยคน้อยประมาณ 6 กิโลเมตร ลัดออกไปบ้านโป่งปัดบริเวณเขื่อนท่าทุ่งนาระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามถนนหมายเลข 3199 อีก ประมาณ 25 กิโลเมตรถึงที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติเอราวัณ รถไฟ ออกจากสถานีรถไฟบางกอกน้อยวันละ 2 เที่ยว ได้แก่ เวลา 07.50 น. และ 13.45 น. โดยแวะจอดที่ สถานีกาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้ำ�แคว ท่ากิเลน สถานีน้ำ�ตก ในวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการ มีรถไฟเที่ยวพิเศษ นำ� เที่ยวไปกลับภายในวันเดียว ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ สถานี รถไฟกาญจนบุรี โทร. 0-3451-1285 รถโดยสารประจำ�ทาง รถโดยสารธรรมดา/รถ โดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 04.00-20.30 น. ถึงจังหวัดกาญจนบุรี ใช้เวลา เดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที หลังจากนั้นเดินทางโดย รถโดยสารประจำ�ทางจากสถานีขนส่งกาญจนบุรี หมายเลข 8170 กาญจนบุรี-เอราวัณ ทุก 1 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 08.0017.20 น. เพื่อเดินทางเข้าสู่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ใช้เวลา เดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที รวมระยะทางประมาณ 70 กิโลเมตร หรือออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ชั้น 1 ช่อง 21 สายกรุงเทพฯ-ด่านเจดีย์สามองค์ ตั้งแต่เวลา 05.0019.00 น. โดยแวะจอดที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรี ใช้ เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที หลังจากนั้นเดินทางโดยรถ โดยสารประจำ�ทางสายกาญจนบุรี-เอราวัณ เพื่อเดินทางเข้า สู่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขา สูงชันอยู่สูงจากระดับน้ำ�ทะเล ตั้งแต่ 165-996 เมตร สลับกับ พื้นที่ราบ โดยภูเขาส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาหินปูน ในแถบตะวัน ออกและตะวันตกของพื้นที่จะยกตัวสูงขึ้นเป็นแนวโดยเฉพาะ บริเวณใกล้น้ำ�ตกเอราวัณจะมีลักษณะเป็นหน้าผา ส่วนบริเวณ ตอนกลางจะเป็นแนวเขาทอดยาวในแนวทิศตะวันตกเฉียง เหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเทือกเขาที่สำ�คัญคือ เขา หนองพุก เขาปลายดินสอ เขาหมอเฒ่า เขาช่องปูน เขาพุราง ริน และเขาเกราะแกระซึ่งเป็นยอดเขาสูงสุดประมาณ 996 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำ�เนิดของ ลำ�ห้วยที่สำ�คัญหลายสาย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ใน พื้นที่ด้านตะวันออกนี้จะมีลำ�ห้วยที่สำ�คัญคือ ห้วยม่องไล่ และ ห้วยอมตะลา ซึ่งไหลมาบรรจบกันกลายมาเป็นน้ำ�ตกเอราวัณ ทางตอนเหนือของพื้นที่มีห้วยสะแดะและห้วยหนองกบ โดย ห้วยสะแดะจะระบายน้ำ�ลงสู่เขื่อนศรีนครินทร์ ส่วนห้วยหนอง กบไหลไปรวมกับห้วยไทรโยคก่อให้เกิดน้ำ�ตกไทรโยค ส่วนใน พื้นที่ด้านตะวันตก และด้านใต้ ได้แก่ ห้วยทับศิลา ห้วยเขาพัง ซึ่งเป็นต้นกำ�เนิดน้ำ�ตกที่สวยงามที่เรียกว่า “น้ำ�ตกเขาพัง” หรือน้ำ�ตกไทรโยคน้อย
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติเอราวัณแบ่ง ออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม และฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุทยานแห่งชาติเอราวัณ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออก เฉียงเหนือช่วยพัดพาให้เกิดฝน แต่เนื่องจากพื้นที่อยู่ในเขตเงา ฝน ทำ�ให้มีปริมาณฝนตกไม่มากนัก และอากาศค่อนข้างร้อน ลักษณะอากาศดังกล่าวจึงไม่เป็นปัญหาต่อการเที่ยวชม ทำ�ให้ สามารถไปเที่ยวได้ทุกฤดู
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าของอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ประกอบด้วย 1. ป่าเบญจพรรณ มีร้อยละ 81.05 ของพื้นที่ อุทยานแห่งชาติ ขึ้นปกคลุมตั้งแต่ระดับความสูง 100 - 800 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเล พันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญได้แก่ มะค่าโมง ตะเคียนหนู รกฟ้า ผ่าเสี้ยน ประดู่ ส้มเสี้ยว แต้ว มะกอก ตะแบก ขานาง มะเกลือ หว้า ฯลฯ มีไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นกระจาย อยู่ทั่วไปหรือบางแห่งขึ้นเป็นกลุ่ม ได้แก่ ไผ่ป่า ไผ่รวก ไผ่ซาง นวล และไผ่หอบ นอกจากนี้ยังมีพวกไม้เลื้อยและพืชพื้นล่าง ได้แก่ เสี้ยวเครือ นมแมว เล็บเหยี่ยว หนามคนทา ช้องแมว มะ เม่าไข่ปลา ย่านลิเภา เปล้าหลวง กระทือ สังกรณี และเอื้อง หมายนา เป็นต้น 2. ป่าเต็งรัง มีร้อยละ 1.68 กระจายอยู่ในระดับ ความสูง 100 - 800 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง บริเวณทุ่งยายหอม หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อว.8 ( ลำ�ต้น) และบริเวณใกล้เขื่อนทุ่งนา พันธุ์ ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง แดง ก่อแพะ มะขามป้อม อ้อยช้าง ยอป่า กรวยป่า โมกหลวง ก้างขี้มอด ส้าน เหมือดคน ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หญ้าขน หญ้าหางเสือ เล็บแมว เถาว์กระทงลาย เป้ง ลูกใต้ ใบ ผัก หวาน ผักเป็ด พลับพลา และปอ เป็นต้น 3. ป่าดิบแล้ง มีร้อยละ 14.35 อยู่บนสันเขาทอดเป็น แนวยาวตรงใจกลางของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และอยู่ต่ำ�ถัด ลงมาในระดับความสูงระหว่าง 600-800 เมตรจากระดับน้ำ� ทะเลปานกลาง และอยู่ในบริเวณที่ชุ่มชื้นตามที่ราบริมห้วย พันธุ์ ไม้ที่พบได้แก่ ยางโอน มะพลับดง ยมหิน ตะเคียนทอง สำ�โรง ตะคร้ำ� สัตบรรณ เฉียงพร้านางแอ มะดูก พลอง ใบเล็ก ข่อยหนาม ชมพู่น้ำ� ฯลฯ พืชพื้นล่างได้แก่ หวายขม เถากระไดลิง เข็มขาว มะลิไส้ ไก่ ว่านเศรษฐี ตำ�แยกวาง เถา อบเชย ไผ่หนาม และเนียมฤาษี
จากการสำ�รวจแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าในเขต พื้นที่อุทยานแห่งชาติแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ สัตว์ ป่าเลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบก นก และสัตว์น้ำ�อื่นๆ รวมทั้งปลานานาชนิด ที่สำ�คัญและมักจะ พบเห็น ได้แก่ ช้างป่า หมีควาย เลียงผา อีเก้ง กวางป่า หมูป่า ชะนีธรรมดา ค่างแว่นถิ่นเหนือ ลิงกัง ลิงลม แมวดาว อีเห็น ธรรมดา กระแต เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ� ไก่ฟ้าหลังเทา ไก่ป่า นก กวัก นกเด้าดิน นกเขาใหญ่ นกกระปูดใหญ่ นกตะขาบทุ่ง นก หัวขวานด่างแคระ นกปรอดสวน นกจาบดินอกลาย งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูหลาม งูเห่าตะลาน กิ้งก่าหัวสีฟ้า จิ้งเหลนบ้าน ตะพาบน้ำ� คางคกบ้าน เขียดจะนา อึ่งกราย กบป่าไผ่ใหญ่ ปาด บิน ปลากั้ง ปลาเวียน ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาตะเพียนขาว ปลากระสูบจุด ปูน้ำ�ตก ปูตะนาวศรี ปูกาญจนบุรี เป็นต้น
จัง หวัดเพชรบุรี
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปร พระราชฐานที่พระราชวังไกลกังวล อำ�เภอหัวหิน จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ และเสด็จที่เขื่อนแก่งกระจาน ได้รับสั่งให้ นายถนอม เปรมรัศมี อธิบดีกรมป่าไม้ เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2522 ได้มีกระแสพระราชดำ�รัสว่า “เรื่องป่าต้นน้ำ� ลำ�ธารของแม่น้ำ�เพชรบุรี ขอให้เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาอย่าให้มี การลักลอบตัดไม้ ถางป่า ทำ�ไร่ในป่าต้นน้ำ�ของแม่น้ำ�เพชรบุรี เพราะจะทำ�ให้เกิดความแห้งแล้ง แม้จะได้มีการให้สัมปทาน ป่าแปลงนี้ไปบ้างแล้ว ก็ขอให้ เจ้าหน้าที่ตรวจดูแลการทำ�ไม้ อย่าให้เป็นการทำ�ลายป่าเกิดขึ้น” จากพระราชดำ�รัสดังกล่าว ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวัน ที่ 9 มกราคม 2522 ที่ให้รักษาป่าไว้โดยการประกาศให้เป็น เขตอุทยานแห่งชาติ
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สังคมพืชหลักในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้แก่ ระบบนิเวศของป่าไม้ ซึ่งปกคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติถึงร้อย ละ 85.64 ประกอบด้วยชนิดป่าที่สำ�คัญ 4 ชนิด ได้แก่ ป่าดงดิบชื้น พบขึ้นอยู่เป็นบริเวณกว้างในระดับ ความสูงประมาณ 400 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลางขึ้น ไป พันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญได้แก่ กระลอขน ตะแบก เสลา เขม่าสาย ยางโอน เสม็ดฟอง พญารากดำ� มะกอกแบน นกน้อย ผม หอม ตาเสือ เสม็ดเขา หนามขี้แรด ชมพูป่า ฯลฯ ส่วนพืชพื้น ล่างโดยทั่วไปเป็นลูกไม้ กล้าไม้ ของไม้ชั้นบน รวมทั้งไม้เถา เช่น เถากระไดลิง เป็นต้น ป่าดงดิบแล้ง พบขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ โดยเฉพาะ ตามที่ลุ่มริมฝั่งน้ำ�ในหุบเขา ไหล่เขา และที่ราบต่ำ�ระหว่างภูเขา ที่ระดับความสูงประมาณ 400-500 เมตรเหนือระดับน้ำ�ทะเล ปานกลาง พันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญ ได้แก่ ดำ�ดง สมอจัน ข่อยหนาม กระเบากลัก หมากเล็กหมากน้อย ถอบแถบ ดีหมี กระชิด หงอนไก่ดง ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่างโดยทั่วไปเป็นลูกไม้ กล้า ไม้ ของไม้ชั้นบน รวมทั้งไม้เถา เช่น กำ�ลังหนุมาน สะแกวัลย์ หวายลิง เป็นต้น
ขนาดพื้นที่
1821687.84 ไร่
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าดิบชื้น จึงทำ�ให้มีความชื้น สูง ส่วนใหญ่จะมีฝนตกชุก จึงมีอากาศเย็นสบายตลอดปี ไม่ ร้อนอบอ้าว ปริมาณน้ำ�ฝนรวมรายปีระหว่าง 986-1,140 มิลลิเมตร ซึ่งในช่วงฤดูฝน การท่องเที่ยวและพักแรมในแหล่ง ท่องเที่ยวต่างๆ ไม่สะดวกในการเดินทางไปท่องเที่ยว ก่อให้ เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติสูง และอาจก่อให้เกิด อันตรายแก่นักท่องเที่ยว จึงมีกำ�หนดปิดการท่องเที่ยวและพัก แรม เฉพาะบริเวณบ้านกร่างและเขาพะเนินทุ่ง ในระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม ของทุกปี เพื่อความปลอดภัยแก่นัก ท่องเที่ยว และเปิดโอกาสให้ธรรมชาติได้มีโอกาสฟื้นตัว รวมทั้ง ให้สัตว์ป่าได้อยู่อาศัยปราศจากการรบกวนจากนักท่องเที่ยว
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ เดินทางไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 4 ถนนเพชรเกษม ผ่านจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี เข้าสู่ เขตจังหวัดเพชรบุรี หรือจะเดินทางไปตามถนนพระราม 2 ถนน ธนบุรี - ปากท่อ ถึงสามแยกวังมะนาวให้เลี้ยวซ้าย ก็จะเข้าสู่เขตจังหวัดเพชรบุรี เช่นกัน จากนั้นมีหลายเส้นทางที่ไปที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน ดังนี้ 1. เข้าทางอำ�เภอหนองหญ้าปล้อง ไปตามทางหลวง หมายเลข 3349 ถึงบ้านท่าตะคร้อ เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวง หมายเลข 3510 เมื่อถึงเส้นทางระหว่างอำ�เภอท่ายาง - อำ�เภอ แก่งกระจาน ให้เลี้ยวขวา เดินทางต่อไปจนผ่านที่ทำ�การอำ�เภอ แก่งกระจาน เข้าสู่บริเวณเขตเขื่อนแก่งกระจานเลียบตามถนน ลาดยางขอบอ่าง จากตัวเขื่อนอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ ทำ�การอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เส้นทางนี้ถนนบางช่วงยังเป็นถนนลูกรัง ยังอยู่ระหว่างการทำ� ถนน 2. เข้าทางสี่แยกเขาตะเครา ก่อนเข้าตัวเมืองเพชรบุรี ไปตามทางหลวงหมายเลข 3204 ถึงเส้นทางระหว่างอำ�เภอ ท่ายาง - อำ�เภอแก่งกระจาน ให้เลี้ยวขวา เดินทางต่อไปจนผ่าน ที่ทำ�การอำ�เภอแก่งกระจาน เข้าสู่บริเวณเขตเขื่อนแก่งกระจาน เลียบตามถนนลาดยางขอบอ่าง จากตัวเขื่อนอีก ประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน
ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (ร้านอาหาร) เปิดบริการ อาทิตย์ - ศุกร์ เวลา 08.00 น. - 18.00 น. เสาร์ เวลา 08.00 น. - 19.00 น. สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่ 1.บริเวณที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE 2.บริเวณโซนบริการนักท่องเที่ยว : AIS, TRUE 3.บริเวณบ้านพัก : AIS, TRUE
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 100 บาท เด็ก 40 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 300 บาท เด็ก 200 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากว่า 6 ล้อ : 200 บาท
จังหวัดราชบุรี
อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ไทยประจัน อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน อยู่ใน เขตการปกครองของตำ�บลยางหัก ตำ�บลทุ่งหลวง ตำ�บลอ่าง หิน อำ�เภอปากท่อ และตำ�บลบ้านบึง ตำ�บลหนองพันจันทร์ ตำ�บลบ้านคา อำ�เภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี โดยได้กำ�หนด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าฝั่งซ้ายแม่น้ำ�ภาชี เป็นพื้นที่อุทยานฯ และเป็นพื้นที่ในโครงการอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ที่ จัดตั้งขึ้นเนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ จะทรงมีพระชนมพรรษา 5 รอบ ในปี พ.ศ. 2535 เพื่อสนองพระราชปณิธานที่จะทรงอนุรักษ์ป่าไม้ โดยให้ราษฎร ช่วยกันรักษาป่าอันเป็นประโยชน์ต่อการดำ�รงชีวิตของราษฎร ซึ่งได้ทรงมีพระราชดำ�ริไว้เมื่อสิบกว่าปีก่อนที่จะให้มีป่าไม้ หลาย ๆแห่งที่อุดมสมบูรณ์ตามสภาพและประเภทของป่าไม้ ที่เคยเห็นอีกทั้งเป็นแบบอย่างของการพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่า และอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย ในอดีตพื้นที่ แห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำ�คัญ เคยอยู่ใต้อิทธิพลของพรรค คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย มีการต่อสู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ของ รัฐกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง เกิดความเสีย หายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมาย จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ ของรัฐสามารถเข้ามาควบคุมพื้นที่ได้จึงเกิดความสงบสุขขึ้น จากนั้นได้ดำ�เนินการวางแผนเร่งรัดพัฒนาฟื้นฟูทรัพยากร ป่าไม้และสัตว์ป่าในส่วนที่ถูกทำ�ลายให้สอดคล้อง กับพระราช ปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และส่ง เสริมพัฒนาอาชีพแก่ราษฎรในพื้นที่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์60ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากว่า6ล้อ : 200 บาท
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
บริเวณที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE
ร้านค้าสวัสดิการ
ไม่มีร้านค้า ร้านอาหาร นักท่องเที่ยวควรจัดเตรียม
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพมหานครฯ เดินทางไปจังหวัดราชบุรี ได้โดยทางรถยนต์ตามถนนเพชรเกษม หรือทางถนนธนบุรี -ปากท่อ และทางรถไฟจากสถานีหัวลำ�โพงถึงสถานีรถไฟ ราชบุรี ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร จากจังหวัดราชบุรี เดินทางโดยรถยนต์ ไปตามถนนเพชรเกษม ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3206 ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าบ้าน ไทยประจัน ระยะทาง 5 กิโลเมตร จะถึงที่ทำ�การอุทยานแห่ง ชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทาง ลาดยางตลอดเส้นทาง
ลักษณะภูมิประเทศ
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็นตลอดปี โดยได้ รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดู ฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่ง ออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง เดือน ตุลาคมและฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือน กุมภาพันธ์
บริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาตินี้ยังคงสภาพที่อุดม สมบูรณ์อยู่มาก และเนื่องจากป่าเป็นผืนเดียวกันกับอุทยานแห่ง ชาติแก่งกระจาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำ�ภาชี และประเทศ สหภาพพม่า จึงมีการย้ายถิ่นฐานของสัตว์ป่าไปมาอยู่เป็น ประจำ� ที่พบเห็นได้แก่ กวางป่า กระทิง เก้ง กระจง หมี หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เสือไฟ หมูหริ่ง บ่าง หมาไน เม่น ลิ่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า และหนูป่า นกที่พบเห็น ได้แก่ นก เงือกสีน้ำ�ตาล นกกาฮัง นกเงือกกรามช้างปากเรียบ นกเงือก ดำ� เหยี่ยว นกเค้า นกปรอด นกกระปูด นกกางเขนน้ำ� นกขมิ้น นกกระทาดง นกตะขาบ นกแซวสวรรค์ ไก่ป่า นกยางเขียว และ นกบั้งรอกใหญ่ สัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบกที่พบเห็นได้แก่ เขียดหิ คางคก ปาด และอึ่งอ่าง สัตว์เลื้อยคลานที่พบเห็น ได้แก่ ตะพาบ เต่า งู ตะกวด ตุ๊กแก กิ้งก่า จิ้งเหลน และแย้ ปลาที่พบเห็น ได้แก่ ปลาค้อ ปลาตะเพียนทราย ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาซิวหางแดง ปลาก้าง ปลาไส้ต้นตาแดง
เป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนวางตัวในแนวเหนือ ใต้อยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดราชบุรี จนไปจดประเทศ สภาพพม่า ครอบคลุมพื้นที่ 349.59 ตารางกิโลเมตร ใน ท้องที่อำ�เภอปากท่อ อำ�เภอสวนผึ้ง และกิ่งอำ�เภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ยอดเขาสูงสุดชื่อ เขายืดหรือเขาพระรอบ มีความสูงประมาณ 834 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง ลักษณะธรณีของพื้นที่เป็นหินตะกอน ประกอบด้วยหินกรวด มน หินชั้น หินปูน หินดินดาน และหินทราย ส ดินเป็นดินร่วน ปนทราย มีการดูดซึมน้ำ�ได้อย่างดี เทือกเขาป่าแม่ประจันเป็น แหล่งต้นน้ำ�ของลำ�ห้วยหลายสาย ซึ่งเป็นต้นกำ�เนิดของห้วย พุไทร ห้วยท่าเคย ห้วยพุน้ำ�ร้อน ลุ่มน้ำ�แม่ประจัน ไหลลงแม่น้ำ� เพชรบุรีและลุ่มแม่น้ำ�ภาชี ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำ�กลอง ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะทั่วไปของสังคมพืชในอุทยานแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติไทยประจันประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ อุทยานแห่งชาติ ชนิดพันธุ์ ไม้มีสำ�คัญของ ได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง ตะค้อ ตะคร้ำ� สมอพิเภก เลี่ยน กะบก มะกอก ฯลฯ พืชพื้นล่าง ได้แก่ ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง และไผ่ ข้าวหลาม เป็นต้น ป่าดิบแล้ง ครอบคลุมพื้นที่ทางด้านตะวันตก และทางด้านเหนือ ชนิดพันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำ�ปาป่า รัก จำ�ปีป่า กระบาก มะม่วงป่า
ภาคกลาง CENTRAL
จังหวัดสุพรรณบุรี อุทยานแห่งชาติพุเตย เนื่องด้วยกรมป่าไม้ ได้พิจารณาเห็นว่าพื้นที่ป่า ไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำ� ป่า เขาห้วยพลู ท้องที่อำ�เภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่ง เดิมเป็นวนอุทยานพุเตย วนอุทยานพุกระทิง วนอุทยาน เตรียมการตะเพินคลี่ และป่าไม้ข้างเคียงมีสภาพป่าที่อุดม สมบูรณ์ สมควรที่จะอนุรักษ์ ไว้ ดังนั้นกรมป่าไม้จึงมีคำ�สั่ง ที่ 1224/2537 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2537 ให้นายพัน เทพ อันตระกูล นักวิชาการป่าไม้ 6 ไปดำ�เนินการสำ�รวจ ข้อมูลเพิ่มเติม และจัดตั้งวนอุทยานพุเตย วนอุทยานพุ กระทิง ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าองค์พระ ป่าเขาพุระกำ� จังหวัดสุพรรณบุรี และจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามพระ ราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยทำ�หน้าที่เป็น หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ จากผลการสำ�รวจพบว่า ประกอบไป ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำ�คัญและมีค่า เช่น พันธุ์ ไม้ ของ ป่า สัตว์ป่านานาชนิด ตลอดจนทิวทัศน์ ป่า ภูเขา เกาะ และ น้ำ�ตก ที่สวยงามยิ่ง สมควรกำ�หนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่อสงวนไว้ ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิมมิให้ถูกทำ�ลาย หรือเปลี่ยนแปลงไป
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็นตลอดปี โดยได้ รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงฤดู ฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่ง ออกเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม ถึง เดือนมิถุนายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึง เดือน ตุลาคมและฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือน กุมภาพันธ์
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพมหานครฯ เดินทางไปจังหวัดราชบุรี ได้โดยทางรถยนต์ตามถนนเพชรเกษม หรือทางถนนธนบุรี -ปากท่อ และทางรถไฟจากสถานีหัวลำ�โพงถึงสถานีรถไฟ ราชบุรี ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร จากจังหวัดราชบุรี เดินทางโดยรถยนต์ ไปตามถนนเพชรเกษม ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3206 ระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าบ้าน ไทยประจัน ระยะทาง 5 กิโลเมตร จะถึงที่ทำ�การอุทยานแห่ง ชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน เส้นทางดังกล่าวเป็นเส้นทาง ลาดยางตลอดเส้นทาง รถโดยสารประจำ�ทาง รถตู้ประจำ�ทางออกจากสถานีขนส่งสายใต้เก่าสาย 69 ทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-19.00 น.ถึงขนส่งอำ�เภอ ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที (โทรจองที่นั่งได้ที่ 088 543 7201) หลังจากนั้นเดิน ทางโดยรถโดยสารประจำ�ทางจากสถานีขนส่งด่านช้าง จังหวัด สุพรรณบุรี หมายเลข 709 ด่านช้าง-บ้านกล้วย รถวิ่งแค่เวลา เดียว คือ เวลา 11.00 น. เพื่อเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติพุ เตย ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที รวมระยะทาง ประมาณ 78 กิโลเมตร
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์60ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากว่า6ล้อ : 200 บาท สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่ บริเวณที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE ร้านค้าสวัสดิการ ไม่มีร้านค้า ร้านอาหาร นักท่องเที่ยวควรจัดเตรียม
พืชพรรณและสัตว์ป่า
ลักษณะทั่วไปของสังคมพืชในอุทยานแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติไทยประจันประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ อุทยานแห่งชาติ ชนิดพันธุ์ ไม้มีสำ�คัญของ ได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง ตะค้อ ตะคร้ำ� สมอพิเภก เลี่ยน กะบก มะกอก ฯลฯ พืชพื้นล่าง ได้แก่ ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง และไผ่ข้าวหลาม เป็นต้น ป่าดิบแล้ง ครอบคลุมพื้นที่ทางด้าน ตะวันตกและทางด้านเหนือ ชนิดพันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญได้แก่ ยาง ขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำ�ปาป่า รัก จำ�ปีป่า กระบาก มะม่วงป่า ตะแบก มะหาด มะไฟป่า สะเดาป่า ฯลฯ พืชพื้น ล่าง ได้แก่ ไผ่บง ไผ่เฮียะ ต๋าว หวาย ปาล์ม เฟิน เป็นต้น บริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาตินี้ยังคงสภาพที่อุดม สมบูรณ์อยู่มาก และเนื่องจากป่าเป็นผืนเดียวกันกับอุทยาน แห่งชาติแก่งกระจาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำ�ภาชี และ ประเทศสหภาพพม่า จึงมีการย้ายถิ่นฐานของสัตว์ป่าไปมา อยู่เป็นประจำ� ที่พบเห็นได้แก่ กวางป่า กระทิง เก้ง กระจง หมี หมูป่า ลิง ค่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เสือไฟ หมูหริ่ง บ่าง หมาไน เม่น ลิ่น พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า กระรอก กระแต และ หนูป่า นกที่พบเห็น ได้แก่ นกเงือกสีน้ำ�ตาล นกกาฮัง นกแก๊ก นกเงือกกรามช้างปากเรียบ นกเงือกดำ� เหยี่ยว นกเค้า นก ปรอด นกกระปูด นกกางเขนน้ำ� นกขมิ้น นกกระทาดง นก ขุนทอง นกแซงแซว นกตะขาบ นกหัวขวาน นกเขียวก้านตอง นกแซวสวรรค์ ไก่ป่า นกยางเขียว และนกบั้งรอกใหญ่ สัตว์ สะเทินน้ำ�สะเทินบกที่พบเห็นได้แก่ เขียดหิน กบภูเขา คางคก ปาด และอึ่งอ่าง สัตว์เลื้อยคลานที่พบเห็น ได้แก่ ตะพาบ เต่า งู ตะกวด ตุ๊กแก กิ้งก่า จิ้งเหลน และแย้ ปลาที่พบเห็น ได้แก่ ปลาค้อ ปลาตะเพียนทราย ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาซิว หางแดง ปลาก้าง ปลาไส้ต้นตาแดง ปลาแป้นแก้ว ปลาซิวใบ ไผ่ ปลาพลวง ปลาตะเพียนน้ำ�ตก ปลาซิวควายแถบดำ� ปลา หนามหลัง และปลาอีด เป็นต้น
จังหวัดสระบุรี
อุทยามแห่งชาติน้ำ�ตกสามหลั่น แต่เดิมอุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกสามหลั่น ได้รับการ จัดตั้งเป็นวนอุทยานน้ำ�ตกสามหลั่น อยู่ในเขตป่าสงวนแห่ง ชาติพระฉายทั้งหมด มีเนื้อที่ 24 ตารางกิโลเมตร ในความรับ ผิดชอบของป่าไม้เขตสระบุรี ต่อมาเมื่อกรมป่าไม้จัดตั้งกอง อุทยานแห่งชาติขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2517 จึงได้โอนวนอุทยาน น้ำ�ตกสามหลั่นมาขึ้นกับกองอุทยานแห่งชาติ ซึ่งในอดีต ป่าแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ ใช้พื้นที่นี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ ทำ�หลุมหลบภัย มี การตัดไม้ ทำ�ฟืน ทำ�ถ่านหุงหาอาหาร และทำ�ถนน ทำ�ให้ป่า ธรรมชาติบางส่วนถูกทำ�ลายลง ในปี พ.ศ. 2503 จึงได้เริ่ม ทำ�การปลูกป่าทดแทนให้สภาพป่าฟื้นตัวขึ้นมา และเมื่อได้ ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติทำ�ให้สภาพป่าฟื้นตัวมากยิ่งขึ้น
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากว่า 6 ล้อ : 200 บาท
การเดินทาง
ลักษณะภูมิประเทศ
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางจากกรุงเทพฯ ทั้ง ไปและกลับได้ภายในวันเดียวกัน โดยเดินทางตามเส้นทาง ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) ก่อนถึง หลักกิโลเมตรที่ 102 แล้ว U-TURN กลับ จากนั้นให้ขับ รถเข้าทางเบี่ยงซ้ายมือ และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนลาดยาง หมายเลข 3042 (แยกพระพุทธฉาย) ขับตรงไปเรื่อยๆ ประมาณ 4 กิโลเมตร จะพบสัญญาณไฟจราจร รอ สัญญาณไฟ แล้วขับรถตรงไปเรื่อยๆ จากนั้นเลี้ยวขวา เข้าถนนลาดยาง หมายเลข 3046 ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงอุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกสามหลั่นหรือ อีก 1 เส้นทาง คือโดยเดินทางตามเส้นทางถนนพหลโยธิน (ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 1) จากนั้นเข้าทางเลี่ยงเมืองสระบุรี ไปนครราชสีมา เลี้ยวขวาตรง สี่แยกไฟแดง ขับรถตรง มาเรื่อยๆ จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าถนนลาดยาง หมายเลข 3046 ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงอุทยานแห่งชาติน้ำ�ตก สามหลั่น
ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (กาแฟ น้ำ�ดื่ม ขนม) เปิด บริการทุกวันเวลา 08.00 น. - 17.30 น. สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่ DTAC
บริเวณที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE,
อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกสามหลั่น ตั้งอยู่ระหว่างค่า พิกัด U.T.M. ที่ 705000 E. ถึง 717000 E. และ 1592000 N. ถึง 1599000 N. ภูมิประเทศประกอบด้วยพื้นที่เทือกเขาสูง และพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา 1. พื้นที่เทือกเขาสูง เป็นพื้นที่ที่มีภูเขาสลับซับซ้อน เป็นเทือกเขาที่วางตัวตามแนวตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออก เฉียงใต้ครอบคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 2. ที่ราบแคบๆ ระหว่างหุบเขา เป็นพื้นที่อยู่ทางตอน เหนือของอุทยานฯ สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาน้อย ใหญ่ มีที่ราบในหุบเขา ยอดเขาสูงที่สุดคือ ยอดเขาครก มี ความสูงประมาณ 329 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเล สามารถมอง เห็นตัวเมืองสระบุรีและอำ�เภอใกล้เคียงได้อย่างชัดเจน ป่าแห่ง นี้ เป็นป่าต้นกำ�เนิดน้ำ�ตกหลายแห่ง เป็นต้นน้ำ�ลำ�ธาร ที่ไหลไป หล่อเลี้ยงไร่นาของราษฎรที่อยู่อาศัยในบริเวณรอบเขตพื้นที่ อุทยานแห่งชาติบริเวณพื้นที่อุทยานฯ เป็นส่วนหนึ่งทางด้าน ตะวันตกของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และมีหินประเภทเดียวกัน กับหินภูเขาไฟเขาใหญ่ซึ่งคาดคะเนว่าเป็นหินยุคเพอร์เมียน ไทรแอสซิกอายุประมาณ 230 ถึง 260 ล้านปี
ขนาดพื้นที่ 27856.25 ไร่
ลักษณะภูมิอากาศ
ประกอบด้วย 3 ฤดูกาล คือ 1. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือน เมษายน มีอากาศร้อนชื้น ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือน เมษายน จะมีฝนตกบ้างเล็กน้อย เนื่องจากได้รับอิทธิพลจาก ลมฝ่ายใต้พัดพาความร้อนและความชื้นเข้าสู่แผ่นดิน 2. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือน กันยายน มีฝนตกชุก ประกอบกับมีร่องความกดอากาศต่ำ� พัดผ่านในช่วงเดือนพฤษภาคม และเดือนกันยายน ทำ�ให้ช่วง นี้มีฝนตกมากกว่าช่วงอื่น ๆ 3. ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือน มกราคม โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีอากาศเย็น ความชื้นต่ำ� ค่อนข้างแห้งแล้ง มีอุณหภูมิ เฉลี่ยรายปี 28 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำ�ฝนเฉลี่ย 1,200 มิลลิเมตรต่อปี
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ แล้ง และทุ่งหญ้า โดยพื้นที่ป่าประมาณ 65% เป็นป่า เบญจพรรณ 33% เป็นป่าดิบแล้ง และ 2% เป็นทุ่งหญ้า พันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญ ได้แก่ ประดู่ แดง สักเต็ง รัง มะค่าโมง ตะเคียนทอง ตะแบก ยาง และพันธุ์ ไม้อื่นๆ ที่ทำ�การสำ�รวจ ไว้ ในเบื้องต้นกว่า 800 ชนิด สำ�หรับไม้พื้นล่าง ได้แก่ ไม้ ไผ่ ชนิดต่างๆ หวาย กล้วยไม้ เป็นต้น
สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น เก้ง หมูป่า ตุ่น ไก่ป่า กระจง กระต่ายกระรอก กระแต นางอาย ชะมด พังพอน งู รวมทั้งนก และผีเสื้อชนิดต่างๆ เป็นต้น
จังหวัดสระบุรี
อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกเจ็ดสาวน้อย อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกเจ็ดสาวน้อย เดิมเป็น วนอุทยานน้ำ�ตกเจ็ดสาวน้อย ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ . ๒๕๒๓ โดยกองบำ�รุง กรมป่าไม้ มีเนื้อที่ทั้งหมด ๕๔๐ ไร่ โดยมีพื้นที่อยู่ในเขตอำ�เภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี จำ�นวน ๑๘๙ ไร่ และอยู่ในเขตอำ�เภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำ�นวน ๓๕๑ ไร่ ต่อมาได้โอน ย้ายไปขึ้นกับสำ�นักงานป่าไม้ เขตนครราชสีมา จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงโอนย้ายกลับมา ขึ้นกับสำ�นักงานป่าไม้เขตสระบุรี ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ มีการ สำ�รวจพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อผนวกเข้ากับพื้นที่วนอุทยานน้ำ�ตก เจ็ดสาวน้อยเดิม เพื่อเตรียมการประกาศเป็นอุทยานแห่ง ชาติน้ำ�ตกเจ็ดสาวน้อยซึ่งได้ดำ�เนินการมาโดยลำ�ดับ
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์60ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากว่า6ล้อ : 200 บาท
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
บริเวณที่ทำ�การอุทานแห่งชาติ : AIS, TRUE, DTAC
ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (กาแฟ น้ำ�ดื่ม ขนม) เปิด บริการทุกวันเวลา 08.00 น. - 17.30 น.
การเดินทาง
รถยนต์ จังหวัดสระบุรีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ตามถนนพหลโยธิน ระยะทาง 108 กิโลเมตร และตามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะทาง 113 กิโลเมตร จากตัวเมืองสระบุรีโดยใช้เส้นทางสายหลัก คือ ถนนมิตรภาพ ผ่านอำ�เภอแก่งคอยไปมวกเหล็ก ระยะทางจากตัว เมืองสระบุรี ถึงทางแยกเข้าสู่ทางหลวงสายมวกเหล็ก-หนองย่างเสือ ระยะทาง 41 กิโลเมตร จากทางแยกเข้าสู่อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกเจ็ด สาวน้อยระยะทาง 12 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ด้านขวาตรงข้ามวัดน้ำ�ตกเจ็ด สาวน้อย รถไฟ การเดินทางโดยรถไฟ ต้องนั่งรถไฟสายตะวันออกเฉียง เหนือ รถจะจอดรับ-ส่งผู้โดยสารที่สถานีสระบุรี สถานีแก่งคอย และสถานีมวกเหล็ก จากนั้นต่อรถโดยสารประจำ�ทางสายสระบุรี - แก่งคอย - มวกเหล็ก ไปลงหน้าอุทยานแห่งชาติ รถโดยสารประจำ�ทาง การเดินทางโดยรถโดยสารประจำ�ทางเส้นทางกรุงเทพสระบุรี หรือกรุงเทพฯ – ลพบุรี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง รถจะไปจอดส่งผู้โดยสารที่สถานีขนส่งสระบุรี จากนั้นนั่งรถโดยสาร สระบุรี-แก่งคอย – มวกเหล็ก ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที รถ จะไปจอดส่งผู้โดยสารที่หน้าอุทยานแห่งชาติ
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกเจ็ดสาวน้อยมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ภูเขาสลับซับซ้อนสลับกับที่ราบ ลักษณะพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง มีหน้าดินตื้น มีความสูงจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลางอยู่ในช่วง 180-402 เมตร จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่บริเวณโชคชัยพัฒนา มี ความสูงจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง 402 เมตร รองลงมาคือ เทือกเขาที่อยู่ตอนกลางของพื้นที่ และเทือกเขาบริเวณบ้านดงน้ำ� ฉ่า มีความสูงจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง 386 และ 359 เมตร ตามลำ�ดับ บริเวณเชิงเขาด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือของ พื้นที่ติดคลองมวกเหล็กซึ่งมีน้ำ�ไหลผ่านตลอดปี และไหลลงสู่ แม่น้ำ�ป่าสักที่อำ�เภอวังม่วง ส่วนบริเวณตอนกลางของพื้นที่มี ลำ�ห้วยเล็กๆ ไหลผ่าน ได้แก่ ห้วยแล้ง ซึ่งเป็นลำ�ห้วยที่มีน้ำ�ไหล เฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติได้รวบรวมข้อมูล จากการเก็บข้อมูลปริมาณน้ำ�ฝนของสถานีตรวจวัดอากาศ มวกเหล็ก ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่ประมาณ 10 กิโลเมตร และจาก สถานีตรวจอากาศเกษตรปากช่อง ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่ประมาณ 26 กิโลเมตร ปรากฏว่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่บริเวณ ภาคกลางของประเทศไทย อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม ซึ่ง มีระบบการพัดเวียนประจำ�เป็นฤดูกาล ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคมได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัด พาเอาความชื้นจากทะเลและมหาสมุทรเข้ามา ทำ�ให้เกิดฤดูฝน ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ได้รับอิทธิพลของ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาเอาความหนาวเย็นมาจาก ตอนเหนือของทวีปเอเชีย ทำ�ให้เกิดฤดูหนาว ส่วนฤดูร้อนจะอยู่ใน ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ปริมาณน้ำ�ฝนเฉลี่ย ตลอดปี ได้ 1,191 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 26 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าปลูก เนื่องจากแต่เดิมเป็น พื้นที่ที่ถูกบุกรุกทำ�ลายมาก่อน ต่อมาจึงได้รับการปลูกป่าเพื่อ ฟื้นฟู บางพื้นที่เป็นป่าที่กำ�ลังฟื้นตัวตามธรรมชาติ พื้นที่โดย รอบทั้งหมดเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย มีถนนล้อมรอบ และไม่มีผืนป่าธรรมชาติแห่งอื่นต่อเนื่องหรืออยู่ใกล้เคียง ความ หลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ป่าจึงมีจำ�กัด
ป่าดงดิบ - พบได้เฉพาะบริเวณที่อยู่ติดลำ�ห้วยมวกเหล็ก และขึ้นกระจายเป็นหย่อม ๆ ตามแนวลำ�น้ำ� พันธุ์ ไม้ที่พบได้แก่ โสกน้ำ� ไคร้ย้อย มะแฟน ยางนา ตะเคียนทอง ยมหอม กระทิง สัตตบรรณ อบเชย มะเดื่อ สาธร เฉียงพร้านางแอ มะหาด เป็นต้น พันธุ์พืชที่ขึ้นในน้ำ�และที่ชื้นได้แก่ ไคร้น้ำ� สันตะวา ดีปลีน้ำ� บัวสาย เฟินก้านดำ� กูดเขากวาง กกรังกา ตีนตุ๊กแก เป็นต้น ไม้เถาได้แก่ นมตำ�เลีย สะบ้า กระเช้าผีมด แสลงพัน เครือออน บันไดลิง และ หวายชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบพืชอิงอาศัย เช่น ข้าหลวงหลัง ลาย กระแตไต่ไม้ เอื้องกระเรกระร่อน เป็นต้น
ป่าเบญจพรรณ - พบอยู่ในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าที่กำ�ลังฟื้นตัวตามธรรมชาติ เรือนยอด แบ่งได้ 2 ชั้น ไม้ชั้นบนที่สำ�คัญ คือ ประดู่ป่า สำ�โรง กะพี้ งิ้วป่า ตะคร้ำ� หว้า แสมสาร มะเดื่อ ไม้ชั้นรองได้แก่ โมกหลวง ตีนนก แค หางค่าง ปีบ หนามคนทา หนามมะเค็ด ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบไผ่ป่า ไผ่คาย ขึ้นทั่วไปในพื้นที่ ส่วนพืชพื้นล่างและพืชคลุมดินประกอบ ด้วยกล้าไม้ของไม้ชั้นรองและไม้พุ่มเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังพบ หญ้าคาขึ้นเป็นกลุ่มในบางพื้นที่ ป่าปลูก - จัดเป็นสังคมพืชหลักของอุทยานฯ เนื่องจาก พื้นที่ดั้งเดิมได้ถูกทำ�ลายดังที่กล่าวมาแล้ว สังคมชนิดนี้มีกระถิน ยักษ์เป็นไม้เด่น แต่บางพื้นที่อุทยานฯได้มีการปลูกพันธุ์ ไม้ดั้งเดิม เพื่อเสริมสภาพป่า พันธุ์ ไม้บริเวณนั้นจะมีความหลากหลายคล้าย สังคมป่าเบญจพรรณ อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกเจ็ดสาวน้อยมีความหลากหลายของชนิด พันธุ์สัตว์ป่าในเกณฑ์ปานกลาง โดยสำ�รวจพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นม 21 ชนิด(อยู่ระหว่างการสำ�รวจเพิ่มเติม) จัดเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ชนิดคือ เลียงผา จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง 11 ชนิดเช่น ลิ่นชวา, หมาจิ้งจอก, พญากระรอกบินหูแดง และเม่นใหญ่ เป็นต้น ในการสำ�รวจเบื้องต้นพบนก 78 ชนิด จัดเป็นสัตว์ป่า คุ้มครอง 74 ชนิด เช่น เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ�, นกเค้าหูยาวเล็ก, นก พญาไฟสีกุหลาบ และนกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ เป็นต้น นอกจาก นี้ยังพบสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบกรวม 40 ชนิด ผีเสื้อกลางวัน 48 ชนิด และแมลงปอ 13 ชนิด(อยู่ระหว่างการ สำ�รวจเพิ่มเติม)
ตะวั น ออก
EASTERN REGION
จังหวัดสระแก้ว อุทยานแห่งชาติปางสีดา เดิมบริเวณน้ำ�ตกปางสีดา เป็นหน่วยงานหนึ่งใน โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็น โครงการในพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใน การที่จะจัดบริเวณน้ำ�ตกปางสีดา ให้เป็นสถานที่สำ�หรับพัก ผ่อนของประชาชน อีกทั้งยังเป็นการรักษาพื้นที่ต้นน้ำ�ลำ�ธาร และสภาพป่าธรรมชาติ ดังนั้น กรมป่าไม้จึงได้จัดตั้งให้เป็น วนอุทยานแห่งชาติ ชื่อว่า วนอุทยานปางสีดา เมื่อปี พ.ศ. 2521 ต่อมา กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้ทำ�รายงาน สำ�รวจเบื้องต้น กำ�หนดให้ป่าน้ำ�ตกปางสีดาและพื้นที่ใกล้ เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำ�หนด บริเวณที่ดิน ป่าแก่งดินสอ ป่าแก่งใหญ่ ป่าเขาสะโตน และป่า ท่ากระบาก ในท้องที่ ต.แก่งดินสอ อ.นาดี ต.บ้านแก้ง ต.ท่า แยก ต.โคกปี่ฆ้อง อ.สระแก้ว ต.หนองน้ำ�ใส ต.ช่องกุ่ม ต.แซร์ ออ อ.วัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรีให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ปางสีดา ซึ่งประกาศไว้ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 24 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2525 เป็นอุทยาน ฯ แห่งที่ 41 ของประเทศไทย
ขนาดพื้นที่
527500.00 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศอุทยานแห่งชาติปางสีดาตั้งอยู่ ทางทิศใต้ของเทือกเขาพนมดงรัก สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น น้ำ�ของลำ�ห้วยหลายสายที่ไหลรวมเป็นแม่น้ำ�บางปะกง โดย ลักษณะของพื้นที่จะมีความลาดชันจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ เมื่อฝนตกหนักปริมาณน้ำ�ฝนจากเทือกเขาไหลลงสู่ด้านล่าง อย่างรวดเร็ว เนื่องจากความลาดชันค่อนข้างสูง
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติ ปางสีดาเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Savanna Climate) ซึ่งในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีอากาศชุ่มชื้นและฝนตก ตลอดฤดูแต่ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ หรือฤดูหนาวนั้น จะมีอากาศแห้งแล้ง ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ ถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศจะร้อนอบอ้าวทั่วไปโดย เฉพาะในเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมาก ในรอบปี ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ถึงกลาง เดือนตุลาคม ซึ่งระยะที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้า สู่ประเทศไทย อากาศจะเริ่มชุ่มชื้นและมีฝนตกตั้งแต่เดือน พฤษภาคมเป็นต้นไป ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงของลมมรสุมตะวัน ออกเฉียงเหนือ อากาศโดยทั่วไปจะหนาวเย็นและแห้งแล้ง แต่ เนื่องจากได้รับกระแสลมจากทะเลทำ�ให้ ไม่หนาวจัดมาก
พืชพรรณและสัตว์ป่า
พันธุ์พืช และทรัพยากรป่าไม้ป่าไม้ ในเขตอุทยานแห่ง ชาติปางสีดาครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 500,320.22 ไร่ หรือ ประมาณร้อยละ 94.79 ของพื้นที่อุทยานฯสามารถจำ�แนก สังคมพืชออกได้ประเภทต่าง ๆได้แก่ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่า เบญจพรรณ ป่ารุ่นสอง/ไร่ร้าง และป่าไผ่ โดยสามารถสรุปผล ได้ดังนี้ ป่าดิบชื้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ อยู่ในระดับความ สูงตั้งแต่ 400 -1,000 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดของอุทยานฯ คือ 302,123.88 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 57.24 ของพื้นที่ป่าไม้ พรรณไม้ คล้ายคลึงกับป่าดิบแล้ง แต่มีพืชวงศ์ยาง ชนิดต่างๆ ขึ้น มากกว่า คือ ยางกล่อง ยางขน ยางเสียน และกระบาก ตาม หุบห้วยมี ไม้ตุ้มแต๋น หรือลำ�พูป่า และกระทุ่ม ขึ้นอยู่ทั่วไป บริเวณลำ�ธารมักจะมีไผ่ลำ�มะลอกในพื้นที่ค่อนข้างสูงนั้น ยาง กล่องยางขน กระบาก ป่าดิบแล้ง ป่าดิบแล้งกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ค่อนข้าง ราบในบริเวณทิศตะวันออกของอุทยาน ฯ ที่สูงระดับความสูง ตั้งแต่ 100-400 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง ครอบคลุม พื้นที่มากเป็นอันดับสองของอุทยานฯคือ 154,452.80 ไร่ หรือร้อยละ 29.26 ของพื้นที่ทั้งหมด ป่าเบญจพรรณกระจายอยู่ในพื้นที่บริเวณทางทิศใต้ ของอุทยานฯครอบคลุมพื้นที่มากเป็นอันดับสามของอุทยานฯ คือ 32,146.89 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 6.09 ของพื้นที่ป่าไม้ พรรณไม้ที่สำ�คัญพบทั่วไป คือ มะค่าโมง ประดู่ ตะแบกใหญ่ ปออี้เก้ง ซ้อ กว้าว และตะเคียนหนู ส่วนพืชชั้นล่าง ประกอบ ด้วย ไผ่ป่า และหญ้าชนิดต่างๆ
ป่าไผ่ ป่าไผ่กระจายอยู่บริเวณตอนกลางด้าน ลางของอุทยานฯมีพื้นที่ครอบคลุม4,419.55 ไร่ หรือ ประมาณ0.84 ของพื้นที่ป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไผ่ป่า ป่าไม้รุ่นสอง/ไร่ร้าง ทุ้งหญ้า ไม้พุ่มและไม้ละเมาะ เกิดจากการทดแทนของสังคมพืชของพื้นที่ๆถูกบุกรุก แผ้วถางแล้วละทิ้งพื้นที่ไป ที่บริเวณด้านใต้ของพื้นที่อุทยา นฯเป็นแนวขนานกับแนวเขตอุทยานฯ รวมพื้นที่ประมาณ 7,177.11 ไร่ และ 5,745.93 ไร่ ตามลำ�ดับลักษณะการเกิด ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นสองนี้มีสาเหตุเช่นเดียวกับที่อุทยานแห่ง ชาติเขาใหญ่ คือเกิดเนื่องจากการทำ�ไร้เลื่อนลอยในอดีต ก่อนที่จะมีการจัดตั้งอุทยานฯเมื่อมีการอพยพราษฎรลง ไปสู่ที่ราบ บริเวณดังกล่าวถูกปล่อยทิ้ง ต่อมามี สภาพเป็นทุ่งหญ้าคา เสียส่วนใหญ่ ทุ่งหญ้าเหล่านี้มักถูก ไฟไหม้เป็นประจำ� ส่วนทุ่งหญ้าบางที่เมื่อมีการป้องกันไฟมิ ให้ลามเข้ามาไหม้ สภาพทุ่งหญ้าก็จะเปลี่ยนสภาพมาเป็นป่า ละเมาะหรือป่ารุ่นที่สอง ซึ่งมักพบพรรณไม้เบิกนำ� หลายๆ ชนิด จำ�นวนชั้นเรือนยอดของป่ารุ่นที่สองสามารถจำ�แนก ได้สองชั้นเรือนยอด คือ เรือนยอดชั้นบน สูงประมาณ 8-15 เมตร พรรณไม้สำ�คัญที่พบคือ ตะแบกกราย ติ้วเกลี้ยง พลับพลา เขลง โมกมัน และแคหางค่าง โดยมีค่าดัชนีความ สำ�คัญเท่ากับ 77.23, 43.10, 41.95, 35.38,14.28 และ 5.42 ตามลำ�ดับ ส่วนเรือนยอดชั้นไม้พุ่ม มีความสูงไม่เกิน 8 เมตร พรรณไม้ที่สำ�คัญได้แก่ กล้วยน้อย อีแปะ คำ�รอก เปล้าหลวง
การเดินทาง
รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ถึงอำ�เภอเมือง จังหวัดสระแก้ว ระยะ ทาง 256 กิโลเมตร จากอำ�เภอเมือง โดยสารรถประจำ�ทางไป ตามทางหลวงหมายเลข 3462 สายสระแก้ว - บ้านคลองน้ำ� เขียว ระยะทางประมาณ 27 กิโลเมตร ถึงที่ทำ�การอุทยานแห่ง ชาติปางสีดา เดินทางโดยรถไฟ สายตะวันออก กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ เที่ยวแรก ออกเวลา 06.00 น. เที่ยวสองออก 13.00 น. ถึงสถานีรถไฟ สระแก้ว แล้วนั่งรถโดยสารจากอำ�เภอสระแก้วถึงที่ทำ�การ อุทยานฯ ดังข้างบน
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากว่า 6 ล้อ : 200 บาท
ร้านค้าสวัสดิการ
ไม่มีร้านค้า ร้านอาหาร นักท่องเที่ยวควรจัดเตรียมไป
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
1. บริเวณที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE 2. บริเวณโซนบริการนักท่องเที่ยว : AIS, TRUE 3. บริเวณบ้านพัก : AIS, TRUE, DTAC
จังหวัดจันทบุรี
อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฎ
ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (กาแฟ น้ำ�ดื่ม ขนม) เปิดบริการทุก วันเวลา 08.00 น. - 17.30 น
อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อยู่ในบริเวณพื้นที่ป่าเขา คิชฌกูฏหรือเขาพระบาท ท้องที่อำ�เภอมะขาม และกิ่งอำ�เภอเขา คิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วยภูเขา ทิวทัศน์ที่งดงาม มียอดเขาสูงสุดอยู่ในระดับความสูง 1,000 เมตร มีสภาพ ธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำ�ตกกระทิง และปรากฏการณ์ทาง ธรณีวิทยาที่เกี่ยวเนื่องกับตำ�นานทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะใน ด้านความเชื่อถือทางศาสนาเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทบนยอด เขาคิชฌกูฏ มีเนื้อที่ประมาณ 36,444.05 ไร่
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
การเดินทาง
ลักษณะภูมิอากาศ
จากกรุงเทพฯ เดินทางโดยรถยนต์ ไปตามทางถนนสาย บางนา-ตราด เมื่อถึงสี่แยกเขาไร่ยา ตรงหลักกิโลเมตร 324 แล้ว เลี้ยวซ้าย เข้าถนนบำ�ราศนราดูร เป็นระยะทาง 21 กิโลเมตร จะ มีป้ายบอกทางเข้าอุทยานแห่งชาติ ซึ่งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ให้เลี้ยวขวาไป อีก 1.5 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำ�การอุทยานฯ ตำ�บลพลวง อำ�เภอ เขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
อัตราค่าเข้ายานพหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากกว่า 6 ล้อขึ้นไป : 200 บาท
บริเวณที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE, DTAC
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นภูเขาสูงชัน เนื่องจาก การดันตัวของเปลือกโลก หินฐานเป็นหินอัคนีพวกหินแกรนิต ยุค จูแรสสิค มีอายุประมาณ 135-180 ล้านปี ทางด้านทิศตะวันออก จะมีความลาดชันมาก
ลักษณะภูมิอากาศบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌ กูฏอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยช่วงตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลาง เดือนกุมภาพันธ์อากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าโปร่ง ในช่วงกลาง เดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมจะมีความชื้นในอากาศ สูง เกิดเมฆและฝนตกหนัก ปริมาณน้ำ�ฝนเฉลี่ยปีละ 2,900 มิลลิเมตร ช่วงฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เดือนเมษายน เป็นช่วงเวลาที่เปลี่ยนอิทธิพลจากลมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลม มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
ระบบนิเวศในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏสามารถ แบ่งออกได้หลักๆ 2 ประเภท คือ ป่าดิบชื้น ครอบคลุมพื้นที่ส่วน ใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ พันธุ์ ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ยางแดง กระบาก หย่อง มะก่อ บุนนาค ลูกดิ่ง สารภี เนียนดำ� มะไฟ จิกดง มะซาง ดีหมี เลือดควาย สำ�รอง กระบกกรัง ฯลฯ ในส่วนของสัตว์ป่า เนื่องจากสภาพป่าอยู่ในเขตเทือกเขาสูงชัน และประกอบกับราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับอุทยาน แห่งชาติไม่ลักลอบล่าสัตว์ เพราะมีอาชีพที่เป็นหลักแหล่งและทำ� รายได้ดีอยู่แล้ว คือ การทำ�สวนผลไม้ สัตว์ป่าจึงยังมีชุกชุม ได้แก่ ช้าง กระทิง เสือปลา หมีควาย กวางป่า เก้ง เลียงผา หมูป่า ชะนี มงกุฎ เม่นใหญ่ อีเห็นข้างลาย พังพอนเล็ก เป็นต้น
จังหวัดจันทบุรี อุทยานแห่งชาตเขาสิบห้าชั้น ให้เจ้าหน้าที่ไปดำ�เนินการสำ�รวจพื้นที่ป่าสงวนแห่ง ชาติป่าขุนซ่อง ตำ�บลขุนซ่อง อำ�เภอแก่งหางแมว จังหวัด จันทบุรี ว่ามีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ หรือไม่ ซึงเจ้าหน้าที่บริหารป่าไม้ 6 และนายศุภโชค เต็มสอาด เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 และเจ้าหน้าที่ป่าไม้จังหวัดจันทบุรี ได้ รายงานว่า ป่าสงวนแห่งชาติป่าขุนซ่องตั้งอยู่ในท้องที่ตำ�บล ขุนซ่อง อำ�เภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 75,000 ไร่ หรือ 120 ตารางกิโลเมตร มีลักษณะเด่น คือ ป่าดิบชื้นในพื้นที่ราบหรือป่าลุ่มต่ำ� มีน้ำ�ตก มีวิวทิวทัศน์ สวยงาม มีความหลากหลายทางชีวภาพ เหมาะแก่การท่อง เที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ หรือศึกษาวิจัยทางวิชาการ และมี ขนาดพื้นที่พอเหมาะ มีศักยภาพเพียงพอต่อการกำ�หนดเป็น อุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงแต่งตั้งให้ นายวินัย โสมณวัตร์ นักวิชาการป่าไม้ 7 ว ไปดำ�เนินการสำ�รวจพื้นที่ป่าสงวนแห่ง ชาติป่าขุนซ่อง เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น”
การเดินทาง
การเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น สามารถ เดินทางจากกรุงเทพฯ โดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (สายบางนา-ตราด) แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 344 (สายชลบุรี-บ้านบึง) ไปยังอำ�เภอแก่งหางแมว ประมาณ 240 กิโลเมตร จากอำ�เภอแก่งหางแมวไปถึงตำ�บล ขุนซ่อง ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งหมด ประมาณ 250 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางหลวงหลวงแผ่นดิน หมายเลข 3 แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 แล้วแยก เข้าสายวังจันทร์-หนองเจ๊กสร้อย มุ่งหน้าสู่อำ�เภอแก่งหางแมว ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร และจากอำ�เภอแก่งหางแมว ถึงตำ�บลขุนซ่อง ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร รวมระยะ ทางทั้งหมดประมาณ 210 กิโลเมตร
อัตราค่าเข้ายานพหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์4ล้อ : 30 บาท รถยนต์6ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากกว่า 6 ล้อขึ้นไป : 200 บาท
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (อาหารและเครื่องดื่ม) เปิดเวลา 09.00-16.30 น. เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
AIS (ไม่เสถียร)
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของป่าขุนซ่องนี้ ส่วนใหญ่จะเป็น ที่ราบลูกคลื่นลอนลาด ซึ่งจัดเป็นที่ราบต่ำ�ที่กว้างใหญ่ มีพื้นที่ เป็นภูเขาสูงติดต่อกันเป็นเทือกยาวลงมาจากเหนือจดใต้ ทาง ด้านตะวันออกเป็นแนวขนานขยายถึงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขา สอยดาว มียอดเขาสูงสุด คือ ยอดเขาสิบห้าชั้น มีความสูง 802 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปได้รับอิทธิพลจากลม มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัด ปกคลุมประเทศไทย จึงทำ�ให้มีลักษณะของฤดูกาลที่เด่นชัดทั้ง สามฤดู คือ ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงเดือน กุมภาพันธ์ เป็นฤดูกาลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มี อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้ง เดือนที่มีอากาศหนาวเย็นมาก ที่สุดคือเดือนมกราคม ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึง กลางเดือนพฤษภาคม และเดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศ ร้อนอบอ้าวที่สุดในรอบปี และฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือน พฤษภาคมถึงกลางเดือนกลางเดือนตุลาคม เป็นระยะที่มีมร สุดตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทย อากาศจะชุ่มชื้นและมี ฝนตกชุกตลอดฤดูฝน พืชพรรณและสัตว์ป่า สภาพป่าของป่าสงวนแห่งชาติขุนซ่อง เป็นป่าที่เคย ผ่านการสัมปทานทำ�ไม้มาแล้ว ซึ่งจากการสำ�รวจพบชนิดป่า ทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ 1) ป่าดิบชื้น พบบริเวณที่ลุ่มหุบเขาและเชิงเขา เป็นป่า ที่มีความสำ�คัญทางด้านเศรษฐกิจและนิเวศวิทยา เนื่องจากมี พรรณไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลายชนิด พืชพื้นล่างได้แก่ ระกำ� หวายสกุลต่างๆ และเร่ว 2) ป่าดิบแล้ง ในพื้นที่จะมีป่าดิบแล้งปริมาณน้อยกว่า ป่าดิบชื้น พบบริเวณเชิงเขา โครงสร้างของสังคมพืช แบ่งได้ เป็น 4 ชั้นคือ ไม้ชั้นบน ไม้ชั้นกลาง ไม้ชั้นล่าง และไม้พื้นล่าง
3) ป่าเต็งรัง เป็นสังคมพืชที่พบน้อยมาก พันธุ์ ไม้เด่น ได้แก่ กราด กระโดน ส้าน เต็ง พะยอม รัง และแสลงใจ เป็นต้น พืชพื้นล่าง ได้แก่ หญ้าคา กระเจียว หญ้าคมบาง และหญ้า ขจรจบ สัตว์ป่าที่สำ�คัญในบริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นจำ�พวกสัตว์ เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ ช้างป่า กวางป่า เก้ง วัวแดง กระทิง เสือ หมี และสัตว์จำ�พวกนก ได้แก่ นกเงือก นกขุนทอง นกกระสา คอขาว ไก่ฟ้าพญาลอ และไก่ฟ้าหลังขาว เป็นต้น
จังหวัดจันทบุรี
อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกพลิ้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 ให้ กำ�หนดป่าเขาสระบาป จังหวัดจันทบุรี และป่าอื่นๆ ในท้อง ที่จังหวัดต่างๆ รวม 14 ป่า เป็นอุทยานแห่งชาติ ในขั้นแรก กรมป่าไม้ ได้กำ�หนดพื้นที่ที่ดินป่าน้ำ�ตกพลิ้ว-เขาสระบาป ให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2505 ออกตามพระราช บัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช 2481 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2504 และในปี พ.ศ. 2515 ได้ดำ�เนินการพัฒนา และปรับปรุงบริเวณน้ำ�ตกพลิ้ว จัดตั้งเป็นวนอุทยานน้ำ�ตก พลิ้ว อยู่ในความควบคุมดูแลของสำ�นักงานป่าไม้จังหวัด จันทบุรี
ขนาดพื้นที่ 84062.50 ไร่
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
1. บริเวณที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE, DTAC 2. บริเวณโซนบริการนักท่องเที่ยว : AIS, TRUE, DTAC 3. บริเวณบ้านพัก : AIS, TRUE, DTAC
การเดินทาง
สามารถใช้เส้นทางสายกรุงเทพ-ตราด เลี้ยวซ้ายที่ทาง แยกตรงหลักกิโลเมตรที่ 347 ไปยังที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ น้ำ�ตกพลิ้วประมาณ 2 กิโลเมตร อุทยานแห่งชาติฯ อยู่ห่างจาก ตัวเมืองจันทบุรี 14 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวเมืองตราด 55 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกพลิ้ว มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็น ภูเขา และเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนมีความสูงจากระดับน้ำ�ทะเล ปานกลาง ลักษณะทางธรณีวิทยาส่วนที่เป็นหิน ส่วนใหญ่ เป็นหินอัคนีประเภทหินแกรนิต ในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน ที่ประกอบ ไปด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ทำ�ให้บริเวณนี้กลายเป็นแหล่งต้นน้ำ� ลำ�ธารที่มีลำ�ห้วยเล็ก ๆ หลายสาขา ที่มีน้ำ�ไหลตลอดปี
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอุตุนิยมวิทยาโดยทั่วไปอุทยานแห่งชาติ น้ำ�ตกพลิ้วตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ซึ่งอยู่ทางภาคตะวัน ออกของประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุม ซึ่งมีระบบ การพัดเวียนประจำ�เป็นฤดูกาล โดยพัดจากทิศตะวันออกเฉียง เหนือ เรียกว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นลมที่พัดมา จากประเทศจีน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมพาพันธ์ ทำ�ให้เกิดฤดูหนาวซึ่งไม่ถึงกับหนาวจัด อุณหภูมิเฉลี่ยตลอด ปี 26.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.6 องศา เซลเซียส ส่วนอุณหภูมิต่ำ�สุดเฉลี่ย 23.2 องศาเซลเซียส
พืชพรรณและสัตว์ป่า
เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ ป่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกพลิ้วมีสภาพป่าดงดิบชื้นที่ สมบูรณ์มาก แต่เนื่องจากสภาพพื้นที่โดยรอบเป็นที่ราบมี ถนนแอสฟัลส์ทางหลวงท้องถิ่นล้อมรอบพื้นที่ ผืนป่าแห่งนี้ไม่ ติดต่อกับป่าอนุรักษ์แห่งอื่น จึงทำ�ให้เกิดระบบนิเวศของสัตว์ ที่จำ�กัดเขตอยู่ในพื้นที่ มีนกประจำ�ถิ่นเป็นจำ�นวนมากที่สำ�คัญ เช่น ไก่ฟ้าหลังเงินจันทบูรณ์ ตลอดจนสัตว์ที่เป็นเอกลักษณ์ ของป่าดงดิบชื้นหลายชนิด เช่น ชะนีมงกุฎ เป็นต้น
จังหวัดระยอง
อุทยานแห่งชาติ เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด
อุทยานแห่งชาติเขาเเหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด ตั้ง อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยในท้องที่อำ�เภอแกลง และ อำ�เภอเมือง จังหวดระยอง ครอบคลุมพื้นที่บนฝั่งและในท้อง ทะเล ตลอดจนเกาะต่างๆ ประกอบด้วยเกาะเสม็ด เกาะจันทร์ เกาะทะลุ เกาะกุฎี เกาะมะขาม และเกาะปลายตีน เขาแหลม หญ้าและชายทะเลด้านทิศตะวันตกของเขาแหลมหญ้า สถานที่ ที่เด่นที่สุดเป็นที่รู้จักกันดี คือ เกาะเสม็ดหรือเกาะแก้วพิศดาร ซึ่งกล่าวไว้ ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ความงดงาม ตามธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติแห่งนี้เป็นที่ยอมรับของนัก ท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศว่า มีทิวทัศน์สวยงาม เหมาะสำ�หรับการพักผ่อน
การเดินทาง
สามารถเดินทางจากกรุงเทพฯไปยังจังหวัดระยองได้ โดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางหลวงแผ่น ดินหมายเลข 36 ซึ่งแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ตรงหลักกิโลเมตรที่ 136 ซึ่งจะทำ�ให้ระยะทางสั้นลง ประมาณ 35 กิโลเมตร เมื่อถึงตัวเมืองระยองแล้วเดินทางต่อไปอีก 12 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาตรงหลักกิโลเมตรที่ 231 เข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร ไปยังบ้านเพ เพื่อลงเรือไปเกาะเสม็ด
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์4ล้อ : 30 บาท รถยนต์6ล้อ : 100 บาท
ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (กาแฟ น้ำ�ดื่ม ขนม) เปิดบริการทุก วันเวลา 08.00 น.-17.00 น.
ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จัดเป็น อุทยานแห่งชาติประเภทชายฝั่งผสมหมู่เกาะในทะเล ตั้งอยู่ริมฝั่ง ทะเลของอ่าวไทยฝั่งตะวันออก
ลักษณะภูมิอากาศ
บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด มีฝนตกโดยเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1,500 มิลลิเมตร ช่วงมรสุมอยู่ ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน จะมีคลื่นลมแรง มาก ออกทะเลไปเที่ยวเกาะต่างๆ ไม่ได้เป็นบางครั้ง เฉลี่ยแล้วใน รอบ 1 เดือน จะมีคลื่นลมแรงประมาณ 15 วัน และระหว่างเดือน ธันวาคมถึงเดือนมีนาคม ในบางวันอาจจะมีลมมรสุมและฝน ตกหนักออกทะเลไม่ได้เช่นกัน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 29 องศาเซลเซียส อากาศร้อนที่สุดอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคมถึง เดือนมิถุนายน และระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม เป็นช่วงที่มีอากาศเย็นที่สุด
พืชพรรณและสัตว์ป่า
ลักษณะการกระจายของพันธุ์พืชบริเวณอุทยานแห่ง ชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด จะแปรผันไปตามลักษณะ ภูมิประเทศ ซึ่งสามารถจำ�แนกสังคมพืชออกได้เป็น ป่าดงดิบแล้ง เป็นสังคมพืชที่พบเป็นส่วนใหญ่ในเขต อุทยานแห่งชาติทั้งบนฝั่งและบนเกาะ บนฝั่งจะพบมากบริเวณ เขาแหลมหญ้า เขาเปล็ด และเขาเทียน บนเกาะพบกระจายอยู่ ทั่วไป สภาพป่าค่อนข้างโปร่ง ไม่พบไม้ขนาดใหญ่เนื่องจากได้มี การเข้าทำ�ลายและตัดฟันไม้ออกเป็นจำ�นวนมาก พันธุ์พืชที่พบ ได้แก่ มะนาวป่า นกนอน พลองใบใหญ่ เขล็ง โมกมัน ประดู่เลือด มะเดื่อ มะกล่ำ�ต้น ตะแบกเปลือกบาง ลาย กาสามปีก แสนคำ� มะรุม มะเม่า มะหาด หว้า ก่อนก เข็มป่า เต่าร้าง ไผ่ และเอื้อง ม้าลาย เป็นต้น ป่าชายหาด เป็นป่าที่ปกคลุมอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ที่ดินเป็นทรายจัดน้ำ�ทะเลท่วมไม่ถึงหรือบริเวณที่เป็นหินชิดฝั่ง ทะเล ดินค่อนข้างเค็ม ได้รับไอเค็มจากทะเล ต้นไม้ที่พบโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นพุ่ม ลำ�ต้นคดงอและแตกกิ่งก้านมาก กิ่งสั้นใบหนา แข็ง พันธุ์พืชที่พบได้แก่ โพทะเล ข่อย ตะบัน หูกวาง สนทะเล เตย ทะเล และผักบุ้งทะเล เป็นต้น
จังหวัดระยอง
อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา - เขาวง ในคราวประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้ง ที่ 5/2517 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2517 ที่ประชุมได้มอบให้ กรมป่าไม้ ไปดำ�เนินการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ของป่าเขาชะ เมา-เขาวง ท้องที่จังหวัดจันทบุรี เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่ง ชาติ และนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล เลขาธิการนิยมไพรสมาคม ได้มีหนังสือลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2517 กับชมรมอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ ปทุมวัน ได้มีหนังสือ ที่ ชอธ. 020/2517 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2517 ขอให้พิจารณาจัดตั้งบริเวณพื้นที่ป่าเขาชะเมา ซึ่งเป็นต้นน้ำ� ลำ�ธารของจังหวัดระยอง ประกอบด้วยพรรณไม้และสัตว์ ป่านานาชนิด ให้เป็นอุทยานแห่งชาติเช่นกัน ในขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 20 สิงหาคม 2517 ได้ตีพิมพ์ บทความ “ เสียงเรียกจากป่าเขาชะเมา ” เขียนโดย นายไพบูลย์ สุขสุเมฆ เรียกร้องให้พิจารณากำ�หนดป่าเขาชะเมา-เขาวง ให้ เป็นวนอุทยานหรืออุทยานแห่งชาติเพื่อรักษาไว้ก่อนที่จะถูก บุกรุกทำ�ลาย
การเดินทาง
การเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง ออก จากกรุงเทพฯ ผ่านเส้นทางสายมอเตอร์เวย์ แยกซ้ายไปตาม ทางหลวงหมายเลข 344 (บ้านบึง-แกลง) เมื่อถึง อ. แกลง เดิน ทางไปตามทางหลวงหมายเลข 3 (สุขุมวิท) ประมาณ 7 กม. จะ ถึงบ้านเขาดินแล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 3377 อีก 17 กม. ถึงหมู่บ้านน้ำ�ใส จากนั้นเลี้ยวขวาไปอีก 1 กม. ถึงที่ ทำ�การอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์4ล้อ : 30 บาท รถยนต์6ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากกว่า 6 ล้อขึ้นไป : 200 บาท
ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (กาแฟ น้ำ�ดื่ม ขนม) เปิดบริการทุก วันเวลา 08.00 น.- 16.00 น.
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
บริเวณที่ทำ�การอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE, DTAC
ลักษณะภูมิประเทศ
บริเวณเขาชะเมาส่วนใหญ่ประกอบด้วยเทือกเขาสูง ชัน เป็นสันเขา (Ridgetops) มีความลาดเทปานกลาง และ พื้นที่ ไหล่เขาค่อนข้างชัน มียอดเขาสูงสุด คือ ยอดเขาแผนที่ สูงจากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง 1,024 เมตร และจุดต่ำ�สุดสูง จากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง 51 เมตร ส่วนลักษณะภูมิประเทศ บริเวณเขาวงเป็นแบบ Karst Topography เป็นลักษณะเขา ลูกโดดหรือมียอดเขาหลายยอด เกิดจากการละลายตัวของ หินปูน มีลักษณะแอ่งหินปูน หลุมยุบ และถ้ำ� มียอดเขาสูงสุด อยู่สูงจากระดับน้ำ�ทะเล 162 เมตร และจุดต่ำ�สุด สูงจากระดับ น้ำ�ทะเล 96 เมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
อากาศในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง ในตอนเช้ามีหมอกลงบ้างเป็นบางส่วนในพื้นที่ อากาศในตอน เช้าค่อนข้างหนาวและคาดว่าน่าจะหนาวขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงตอน กลางวันมีลมพัดเย็นตลอดทั้งวัน
พืชพรรณและสัตว์ป่า
1. สภาพป่า พื้นที่บริเวณเขตเขาชะเมาส่วนใหญ่ เป็นสังคมของป่าดิบชื้นมีพื้นที่ 54.47 ตารางกิโลเมตร สังคม ป่าดิบเขามีพื้นที่ 7 ตารางกิโลเมตร สังคมป่าดิบแล้งมีพื้นที่ 5.61 ตารางกิโลเมตร ส่วนบริเวณพื้นที่ป่าเขาวง ส่วนใหญ่ เป็นสังคมของพื้นที่ป่าดิบชื้นโดยมีพื้นที่ 2.62 ตารางกิโลเมตร รองลงมาคือสังคมป่าเขาหินปูน มีพื้นที่ 1.42 ตารางกิโลเมตร และพบป่าดิบแล้ง เป็นพื้นที่ 0.36 ตารางกิโลเมตร
2. สัตว์ป่า จากการศึกษาและสำ�รวจข้อมูลด้าน สัตว์ป่าในพื้นที่พบว่ามีจำ�นวนของสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 137 ชนิด จาก 113 สกุล ใน 70 วงศ์ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 2.1 สัตว์ป่าสะเทินน้ำ�สะเทินบก มีไม่น้อยกว่า 10 ชนิด จาก 5 สกุล ใน 4 วงศ์ 2.2 สัตว์เลื้อยคลานมีไม่น้อยกว่า 24 ชนิด จาก 20 สกุล ใน 12 วงศ์ 2.3 นก มี ไม่น้อยกว่า 68 ชนิด จาก 58 สกุล ใน 32 วงศ์ 2.4 สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีมากกว่า 35 ชนิด โดยมี สัตว์ ใกล้สูญพันธุ์รวมอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ ช้าง วัวแดง และเสือ โคร่ง
จังหวัดตราด
อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกคลองแก้ว กรมป่าไม้ ได้รับหนังสือจากสำ�นักงานป่าไม้จังหวัด ตราด แจ้งว่า ในที่ประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบ ปรามการลักลอบทำ�ลายทรัพยากรป่าไม้ ประจำ�อำ�เภอ เขาสมิง ครั้งที่ 1/2538 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2538 มีมติเห็น สมควรกำ�หนดพื้นที่ป่าบริเวณป่าเขาชะอม เขาคลองปุก และ เขามะปริง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาสมิง (ป่าคลองใหญ่เขาไฟไหม้) อันเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ อยู่ในท้องที่อำ�เภอเขาสมิง และอำ�เภอบ่อไร่ จังหวัดตราด เป็นวนอุทยานหรืออุทยาน แห่งชาติ เนื่องจากสภาพป่ายังคงความอุดมสมบูรณ์และมี สัตว์ป่าอยู่ชุกชุม กรมป่าไม้จึงมีคำ�สั่งที่ 55/2540 ลงวันที่ 10 มกราคม 2540 ให้นายประยูร พงศ์พันธ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 ส่วนอุทยานแห่งชาติ ไปดำ�เนินการสำ�รวจพื้นที่ดังกล่าวและ พื้นที่ใกล้เคียง จากการสำ�รวจข้อมูลเบื้องต้นมีความเห็นว่า พื้นที่บริเวณป่าเขาชะอม เขาคลองปุก เขามะปริง เขาแก้ว เขา ตาบาด เขาตาโชติ และเขากำ�แพง สมควรจัดตั้งเป็นอุทยาน แห่งชาติ โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกคลองแก้ว
การเดินทาง
การเดินทางเข้าสู่พื้นที่อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ จาก จังหวัดตราดตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 ไปทางอำ�เภอ ขลุง ประมาณ 17 กิโลเมตร ถึงอำ�เภอเขาสมิง เลี้ยวขวาตาม ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3159 ประมาณ27 กิโลเมตร เลี้ยว ซ้ายตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3157 ถึงกองร้อย ตชด. ที่ 116 และเลี้ยวขวาตามเส้นทางอีก ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึง อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกคลองแก้ว
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยาน : ไม่เสียค่าบริการ รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์ 4 ล้อ : 30 บาท รถยนต์ 6 ล้อ : 100 บาท
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกคลองแก้วส่วนใหญ่เป็น เทือกเขาสลับซับซ้อนไม่มากนักของเทือกเขาบรรทัด ประกอบ ด้วย เขาแก้ว เขาตาบาด เขาตาโชติ และเขากำ�แพง ส่วนยอด เขาเป็นแนวแบ่งเขตประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา มีความสูง จากระดับน้ำ�ทะเลตั้งแต่ 100-836 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาบาด ซึ่งมีความสูงถึง 836 เมตรจากระดับน้ำ�ทะเล สภาพภูมิประเทศเช่นนี้ก่อให้เกิดสายน้ำ�หลายสาย เช่น คลอง ลึก คลองแอ่งปุก คลองแก้ว คลองตาบาด คลองหินเพลิง คลองลือ คลองกะใจ คลองมะละกอ ฯลฯ สายน้ำ�แต่ละสายจะ ไหลลงสู่คลองสะตอแล้วออกสู่ทะเล
ลักษณะภูมิอากาศ
พื้นที่บริเวณแถบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากลมมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นแบบ มรสุมเขตร้อน ประกอบกับพื้นที่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ จึง ทำ�ให้ฝนตกชุกตลอดทั้งปี โดยแบ่งเป็นฤดูกาลได้ดังนี้ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม–ตุลาคม ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – มกราคม
พืชพรรณและสัตว์ป่า
สภาพสังคมพืชโดยทั่วไปของพื้นที่ เป็นสังคมพืช ประเภทป่าดงดิบชื้นที่มีความชุ่มชื้นสูง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำ�ลำ�ธาร สภาพป่าจึงมีลักษณะเป็นป่าที่รกทึบ ประกอบไปด้วยพันธุ์ ไม้ นานาชนิด ตั้งแต่ไม้พื้นล่างที่มีขนาดเล็กจนถึงไม้ที่มีขนาดใหญ่ ที่มีความสูงตั้งแต่ 25-60 เมตร พันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญได้แก่ ยาง พนอง กระบาก ตะเคียน สำ�รอง ชุมแพรก ตาเสือ ตะแบก ฯลฯ ส่วนไม้พุ่มและพืชพื้นล่างที่พบเห็นมาก เช่น พืชตระกูลขิงข่า หวาย ระกำ� หมากชนิดต่างๆ ไผ่ เต่าร้าง ชก ฯลฯ นอกจาก นี้ยังพบ “เหลืองจันท์ ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่มีสวยงาม ค่อนข้างหา ยาก สามารถพบเห็นได้ทั่วไปบริเวณอุทยานแห่งชาติ
จังหวัดตราด
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง หมู่เกาะช้างเป็นอุทยานแห่งชาติที่ประกอบด้วยเกาะ ใหญ่น้อยมากกว่า 43 เกาะ ทั้งยังมีเกาะที่เป็นโขดหินกลาง ทะเลอีกจำ�นวนมาก โดยมีเกาะช้างเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ ที่สุดและมีชื่อเสียงของจังหวัดตราด ตั้งอยู่ในท้องที่กิ่งอำ�เภอ เกาะช้างและกิ่งอำ�เภอเกาะกูด จังหวัดตราด เกาะหลายแห่ง มีทิวทัศน์สวยงาม หาดทรายขาว และน้ำ�ทะเลใสสะอาด เช่น เกาะง่าม บางแห่งมีปะการังใต้น้ำ�ที่คงความสมบูรณ์ตาม ธรรมชาติ เช่น เกาะหวาย และหมู่เกาะรัง
การเดินทาง
ใช้เส้นทางถนนสายบางนา-ตราด (ทางหลวง หมายเลข 3) ระยะทางประมาณ 312 กิโลเมตร ถึงตัวเมือง จังหวัดตราด แล้วเดินทางต่อไปที่ท่าเรือแหลมงอบ ระยะทาง ประมาณ 17 กิโลเมตร เพื่อเดินทางต่อโดยเรือที่ท่าเรือเฟอร์รี่ ซึ่งมีให้บริการอยู่หลายท่าด้วยกัน เช่น ท่าเรือเซ็นเตอร์พ้อ ยต์และท่าเรือเฟอร์รี่อ่าวธรรมชาติ ไปขึ้นที่ท่าเรือธารมะยม ท่าเรือด่านเก่าหรือท่าเรืออ่าวสับปะรด
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
ชาวไทย : ผู้ ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ : ผู้ ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
อัตราค่าบริการสำ�หรับยานพาหนะ
รถจักรยานยนต์ : 20 บาท รถยนต์4ล้อ : 30 บาท รถยนต์6ล้อ : 100 บาท รถยนต์มากกว่า 6 ล้อขึ้นไป : 200 บาท
ร้านค้าสวัสดิการ
ร้านค้าสวัสดิการ (กาแฟ น้ำ�ดื่ม ขนม) เปิดบริการ ทุกวันเวลา 08.00 น - 16.30 น.
สัญญาณโทรศัพท์ ในพื้นที่
1. บริเวณน้ำ�ตกธารมะยม : AIS, TRUE, DTAC 2. บริเวณน้ำ�ตกคลองพลู : AIS, TRUE, DTAC 3. บริเวณจุดชมวิวไก่แบ้ : AIS, TRUE, DTAC 4. บริเวณหมู่เกาะรัง : AIS, TRUE, DTAC
ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสามประเทศไทยรองจากเกาะ ภูเก็ตและเกาะสมุย แต่พื้นที่อุทยานแห่งชาติไม่ได้ครอบคลุม เกาะช้างทั้งหมด มีบางส่วนที่เป็นส่วนของกิ่งอำ�เภอเกาะช้าง มี ราษฎรอาศัยอยู่ ส่วนในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ส่วนที่เป็นพื้นดินส่วนใหญ่ของเกาะช้างมีลักษณะภูมิประเทศ เป็น ภูเขาเกือบตลอดทั้งเกาะ เช่น เขาล้าน เขาจอมปราสาท เขา คลองมะยม เขาสลักเพชร ยอดเขาใหญ่เป็นยอดเขาที่สูง ที่สุดมี ความสูง 743 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเลปานกลาง
ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ของทุกปี เป็นช่วงเวลาที่ได้รับอิทธิพลจาก มรสุมตะวันตกเฉียง ใต้ ปริมาณน้ำ�ฝนเฉลี่ยรายปีประมาณ 4,700 มิลลิเมตร ฤดู หนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ในระยะนี้มี มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมพื้นที่ ทำ�ให้อุณหภูมิลด ลงอากาศหนาวเย็น ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน มีนาคมถึงเดือน เมษายน
พืชพรรณและสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีความหลากหลาย ของพืชพรรณมาก ส่วนใหญ่เป็น ป่าดงดิบชื้น เป็นป่าที่ค่อน ข้างห่างจากชายฝั่ง พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นไม้สกุล พลอง สารภีป่า และไม้ ในสกุลหว้า ขึ้นปนอยู่ประปราย พันธุ์ ไม้ที่สำ�คัญได้แก่ ยางนา กระบาก ตะเคียนทอง ทะโล้ พญาไม้ เปล้า หลาวชะโอน เต่าร้าง หวาย เตยย่าน กล้วยไม้ ไผ่ เร่ว กระวาน ฯลฯ หมู่เกาะช้าง ไม่มีการทับถมของตะกอนโคลนเลนจาก แม่น้ำ� จึงทำ�ให้หมู่เกาะเหล่านี้มีหาดทรายที่ ขาวสะอาด น้ำ� ทะเลใสสวย และอุดมสมบูรณ์ด้วยสรรพชีวิตใต้ท้องทะเล โดย เฉพาะสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง เช่น ปะการังก้อน ปะการังเขา กวาง ปะการังพุ่ม ปะการังแผ่น หอยมือเสือ ดอกไม้ทะเล ปลา สวยงามในแนวปะการัง กัลปังหา สาหร่าย พบได้ ในบริเวณ เกาะช้างน้อย เป็นต้น
ภาพโดย Khunkay จาก commons.wikimedia.org