Essay 13
ค ําถามที่ยังคงถาม (ต่อไป) . . . ปรัชญาคืออะไร? เกษม เพ็ญภินันท์
23
เ พราะรักจึงจุ้น: โสเครติสกับชีวิตทางปรัชญา และวิถีแห่งความรัก อรรถสิทธิ์ สิทธิดํารง
45
53
ค วามรักที่แท้จริงและการแสวงหา ความเป็นจริงในปรัชญาของไลบ์นิซ ยุทธศิลป์ อร่ามศรี
อ ภิปรัชญาแห่งความรัก (Metaphysics of Love) พิพัฒน์ สุยะ
69
รัก = {นี่ นั่น ฉัน เธอ และ คนอื่น} จากบทสัมภาษณ์แดร์ริดาใน “On Love and Being” (2007) ถึงบทสัมภาษณ์บาดิยู ใน “In Praise of Love” (2012) ศุภรดา เฟื่องฟู
81
ร้านหนังสือ: รักของคนสองคน คงกฤช ไตรยวงค์
87
ว ่าด้วย “ความรักในความรู้” ในมุมมองของกรัมชี่ วัชรพล พุทธรักษา
117
131
ด ้วยรักและ Fuck You: ว่าด้วยความรัก ในปัญญาและเสรีภาพในการแสดงออก ณัฐนันท์ วรินทรเวช
เ รื่องเล่า 8 เรื่อง กับ ความรักในปัญญา ของวงการปรัชญาไทย ปกรณ์ สิงห์สุริยา
185
Antony and Cleopatra: การเมืองเรื่องรัก ของขุนพล “มนุษย์” และเจ้าแม่นาคี มิ่ง ปัญหา
203
233
ก วีภิวัฒน์: ถ้อยคําของประชาธิปไตย (?) ในกวีนิพนธ์การเมือง อาทิตย์ ศรีจันทร์
อ นุสรณ์แห่งความ (เกลียดชัง) รัก (เพศเดียวกัน) ชานันท์ ยอดหงษ์
245
143
161
ฝ ากสาสน์แนวคิด: “เร่งสภาพการณ์นิยม” (Accelerationism) ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย
ว่าด้วยเรื่อง กาม ๆ คมกฤช อุ่ยเต็มเค่ง
169
“ อยากให้เขารู้ ฉันคงต้องแสดงออก”: ความรักและอาภรณ์สีต่าง ๆ แห่งอุปสงค์ ปรุงแต่งในมุมมองแนวคิด “เผด็จการ แห่งความพึงใจ” ของกึนเธอร์ อันเดอร์ส และกรณีป้ายบอกรักที่อาจไม่ตรงกับใจ ของวาซลาฟ ฮาเวล วริตตา ศรีรัตนา
“ ความรัก” ใน พรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย ธิกานต์ ศรีนารา
Poem 338
341
เ งิน ชีวิต ความรัก … ความรักคือทุกสิ่งทุกอย่าง … อนุชา วรรณาสุนทรไชย
บทกวี ภูมิทัศน์นรกมหานคร รอนฝัน ตะวันเศร้า
344
Le Poulpe par Guillaume Apollinaire – ปลาหมึกกีโยม อโปลลิแนร์ ถอดความโดย ภาคิน นิมมานนรวงศ์
346
ลึกเข้าไปในความตื้นเขินที่คุณไม่เข้าใจ นิพนธ์ อินทฤทธิ์
349
ไม่มีความรักบนกระดาษแผ่นนี้ มานิดา ปัญจกุล
Fiction 291
เพลงผิดหวัง วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
307
เมืองงาม (ขอที่ยืนให้คนดี) ภู กระดาษ
313
สัตว์ประหลาดในความรัก ชาคริต คําพิลานนท์
329
ชั้นบรรยากาศแรกเมื่อมองผ่านวิวไฟล์เดอร์ กวีวัธน์
351
บาดแผล พงศ์ นัทธี
Interview 97
ต ื่นบนเตียงปราบดา: บทสัมภาษณ์ ปราบดา หยุ่น นิ้วกลม
Criticism 223
ค วามรักและปีศาจตัวอื่น ๆ บทวิพากย์ แห่งความรัก ความตาย และความบาปจากรักนั้น อนุสรณ์ ติปยานนท์
275
บ ทวิจารณ์ การเดิน (ทาง) ของตัวละคร ใน สุดชีวิต ชาคริต แก้วทันคํา
285
ระยะคะนึงยุคใกล้ กับ ไม่ปรากฏ ภูมิชาย คชมิตร
ที่ปรึกษา
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ชาญณรงค์ บุญหนุน เกษม เพ็ญภินันท์ กิตติพล สรัคคานนท์ พิพัฒน์ พสุธารชาติ
บรรณาธิการ
รูปเล่ม
คงกฤช ไตรยวงค์
เด็ดเดี่ยว เหล่าสินชัย
กองบรรณาธิการ
ภาพประกอบ
คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง พิพัฒน์ สุยะ ภัทราพร มากทรัพย์ มานิดา ปัญจกุล
วาริ โชคลํ้าเลิศ ดารินทร์ เมฆบุตร นรชัย นันทกิจ พงศธร ลิมานนท์ ธนวัฒน์ นุ่มเจริญ
/ Editor’s Note /
ความรักในความรู้ & ปัญญาญาณแห่งความรัก I ความรักในความรู้ (Love of Wisdom)
เซ็นต์ออกัสตินได้กล่าวไว้ใน The City of God ว่า นักปรัชญาคนแรกที่เรียก ตนเองว่า “นักปรัชญา” (philosopher) คือปิธากอรัส เนื่องจากเขาเห็นว่าตน เป็นเพียง “ผูท้ รี่ กั ในความรู”้ จึงไม่ตอ้ งการเรียกตนเองว่า “นักปราชญ์” (sage) ซึ่งมีนัยของการเป็นผู้ครอบครองความรู้อยู่แล้ว หากพิจารณานัยของคำ�ว่า “philosophy” เราจะพบว่ามาจากคำ�ภาษากรีก 2 คำ� ได้แก่ “philos” ซึง่ แปล ว่า “ความรู้” และคำ�ว่า “sophia” ซึ่งแปลว่าความรัก ในแง่นี้ ปรัชญาก็คือ ความรักในความรู้ คำ�ถามที่ตามมาก็คือ ความรักกับความรู้สัมพันธ์กันอย่างไร คำ�พูดทีว่ า่ “ความรักทำ�ให้คนตาบอด” แสดงชัดว่าความรักกับความรูไ้ ม่นา่ จะจับมือไปด้วยกันได้ ทัศนะดังกล่าวเริ่มปรากฏในชนชั้นกระฎุมพียุคแสงสว่าง แห่งปัญญาเป็นต้นมา ในบทความ “Liebe und Erkentniss” (ความรักและ ความรู้) มักซ์ เชเลอร์ (Max Scheler) เห็นว่า หากมองย้อนไปในอดีต มนุษย์ ยุคเรอเนสซองอย่างเลโอนาโด ดาวินชี กลับเห็นว่า “ความรักทีย่ งิ่ ใหญ่ทงั้ หลาย ก่อกำ�เนิดจากความรูท้ ย่ี ง่ิ ใหญ่” นักปรัชญาอย่างแบลส ปาสกาลเห็นว่า “ความรัก และเหตุผลเป็นหนึง่ เดียวและเป็นสิง่ เดียวกัน” หมายความว่าความรักเปิดเผยให้ ประสาทสัมผัสเรารับรูแ้ ละเห็นสิง่ ต่างๆก่อนทีเ่ หตุผลจะทำ�หน้าทีต่ ดั สินความจริง กระทั่งสปิโนซาซึ่งปฏิเสธการอธิบายธรรมชาติโดยอาศัยแนวคิดมนุษยรูปนิยม อันหมายถึงความคิดทีว่ ่าธรรมชาติหรือพระเจ้ามีคุณลักษณะแบบมนุษย์ แต่เขา ก็พดู ถึงความรักทางปัญญาต่อพระเจ้า ซึง่ มีความหมายเท่ากับธรรมชาติ ดังทีเ่ ขา กล่าวว่า “amor Dei intellectualis” ซึ่งนับเป็นปัญญาระดับสูงสุด อันเป็น ความรู้ที่รอบด้านและชัดเจน เนื่องจากเป็นความรู้ในองค์รวมที่แยกไม่ออกจาก
8
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ความรักและใส่ใจในสิ่งที่กำ�ลังศึกษา ซึ่งก็คือพระเจ้าหรือธรรมชาตินั่นเอง เป็นที่ทราบกันดีว่าเพลโตคือนักปรัชญาคนสำ�คัญที่พูดถึงความรัก ใน ซิมโพเซียม อันเป็นสุนทรพจน์ยกย่องความรัก (Eros) คนรักในอุดมคติไต่ระดับ ไปหาวัตถุแห่งความรัก ได้แก่ หนึง่ รูปร่างทีส่ วยงาม สอง วัตถุทสี่ วยงามทัว่ ไป สาม ความงามของวิญญาณ สี่ ความงามของกฎหมาย ประเพณี และความคิด ห้า ผู้รักในปัญญา ซึ่งหมายถึงนักปรัชญาที่มุ่งมอง “แบบของความงาม” สิ่งที่ ความรักปรารถนาก็คอื ความเป็นอมตะ ดังนัน้ ความรักจึงต้องการมีทายาทเพือ่ สืบทอดความเป็นอมตะ อย่างไรก็ตาม รูปแบบสูงสุดของความรักคือสิ่งที่สูงส่ง ที่สุดและผลิตทายาทที่สูงส่ง นั่นคือการให้กำ�เนิด “คุณธรรมที่จริงแท้” เพราะ ได้สัมผัสแบบของความงาม มักซ์ เชเลอร์วจิ ารณ์วา่ ความรักแบบเพลโตซึง่ ส่งอิทธิพลต่อแนวคิดของพวก โรแมนติกอย่างลึกซึง้ นัน้ มุง่ เน้นการธำ�รงรักษามากกว่าการรังสรรค์ขนึ้ มาใหม่ ใน ตอนท้ายบทความ “Liebe und Erkentniss” เขาเห็นว่า ความรักในปรัชญา ของนักปรัชญาคริสต์อย่างออกัสติน เบิกทางไปสู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ เนื่องจาก ความรักแนบเนือ่ งมากกับ “ความสนใจ” ซึง่ จะเปิดโลกทัศน์ของเรา เพราะความ รักทำ�ให้สิ่งที่เรารักเผยตัวออกมาให้เป็นที่ประจักษ์ II ปัญญาญาณแห่งความรัก (wisdom of love)
จากทีก่ ล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่า “ปรัชญา” ในความหมายของ “ความรักใน ความรู้” ดูจะมุ่งเน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างตัวผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ หาใช่ความ สัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ในบทสัมภาษณ์ชอื่ “Towards a Wisdom of Love” อันเป็นบทสนทนาระหว่าง ลิวซ์ อิรกิ าเรย์ (Luce Irigaray) กับจูดธิ สติลล์ (Judith Still) อิรก ิ าร์เรย์เห็นว่าแรกเริม่ เดิมทีในกรีกโบราณ ตัวบทของนักปรัชญายุคก่อน โสเครติสอย่างพาร์เมนีดีสกับเอมเปโดเคลสนั้น เราจะเห็นได้ว่าเทพี/ธรรมชาติ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
9
ซึ่งเป็นเพศหญิงเป็นผู้เผยแสดงความจริงแก่นักปรัชญา แต่นักปรัชญายุคก่อน โสเครติสในช่วงเวลาต่อมากลับไม่พบวิธีการที่สื่อแสดงความจริงดังกล่าวนั้นให้ ปรากฏ ปัญญาญาณแห่งความรักจึงถูกแทนที่ด้วยความรักในความรู้ ดูเหมือน เธอจะเน้นยํา้ ว่าเพศหญิงให้ความสำ�คัญกับ “ปัญญาญาณแห่งความรัก” ขณะที่ วิธีคิดของผู้ชายยังยึดติดกับ “ความรักในความรู้” อันเป็นนิยามของปรัชญาที่ คุ้นเคยกันดี อิรกิ าเรย์ได้ทำ�วิจยั เรือ่ งเด็ก ๆ กับการใช้ภาษาในต่างถิน่ ต่างวัฒนธรรม เธอ ทดลองให้เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงผูกประโยคจากคำ�ว่า “ด้วยกัน” “รัก” และ “แบ่งปัน” ผลปรากฏว่าเด็กผูช้ ายจะโยงความสัมพันธ์กบั วัตถุ ส่วนเด็กผูห้ ญิงมัก จะโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ตัวอย่างเช่น เด็กผู้หญิงแต่งประโยคว่า “ฉันคุยกับมาร์โค” ส่วนเด็กผูช้ ายจะผูกประโยคว่า “ฉันตีลกู บอลด้วยไม้แร็กเก็ต” ซึง่ สุดท้ายเธอสรุปว่าเด็กผูห้ ญิงจะสนใจเรือ่ งภาษามากกว่า และมีความสามารถ เชิงวรรณกรรม ศิลปะและภาษามากกว่า ซึ่งจะส่งผลถึงพัฒนาการในด้านชีวิต ความสัมพันธ์ด้วย ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับข้อสรุปดังกล่าวนี้หรือไม่ แต่สิ่งที่น่า สนใจพิจารณาต่อไปก็คือ สำ�หรับอิริกาเรย์แล้ว ปัญญาญาณแห่งความรักก็คือ ความสัมพันธ์แนวระนาบระหว่างคนต่อคนทีม่ คี วามแตกต่างกัน โดยนัยก็คอื แม้ จะต่างกันโดยเฉพาะในเรื่องเพศสภาพระหว่างชายหญิงที่เธอเน้นยํ้า แต่ขณะ เดียวกันก็เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนเสมอกัน หาใช่ความสัมพันธ์ชนิดที่จัด ลำ�ดับสูงตํา่ อย่างทีเ่ ธอเห็นว่าเป็นระบบความคิดของเพศชาย และแน่นอนว่าไม่ใช่ ความรักชนิดที่สั่งการลงมาให้คนรักกัน III
เป็นผลผลิตของความรัก และมีเรื่องราวความเป็นมาของมันเอง จุดกำ�เนิดของ Vice Versa นับย้อนไปถึงสมัยที่อาจารย์พิพัฒน์ สุยะ ยังเป็น นักศึกษาทีภ่ าควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับแรก Vice Versa
10
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ที่ออกมาอยู่ในรูปของหนังสือทำ�มือ ซึ่งนิยมทำ�กับมากในขณะนั้น นับเป็นสื่อ ทางเลือกในยุคที่ยังไม่มีสื่อสังคมออนไลน์มากมายขนาดนี้ ฉบับแรกว่าด้วยการ รับน้อง ซึ่งโดยนัยก็คือการบังคับให้คนมารักกัน วันเวลาล่วงผ่านไปนานนับทศวรรษ Vice Versa ปรากฏตัวขึน้ มาใหม่ เพือ่ ให้เป็นพื้นที่สำ�หรับนักศึกษา อาจารย์ กวีและนักเขียนได้มีโอกาสตีพิมพ์ผลงาน เป็นเวทีแลกเปลี่ยนทางความรู้และความคิด เป็นการสนทนาข้ามสาขา (วรรณกรรมกับปรัชญา) ข้ามรุน่ (ในความหมายเชิงบวก) แต่การปรากฏตัวครัง้ นีไ้ ด้รบั แรงหนุนจากหลายคน โดยฉพาะคุณกิตติพล สรัคคานนท์ ผู้วางรูปแบบ Vice Versa เอาไว้ในฉบับแรก และยังใช้ต่อมาในฉบับนี้ Vice Versa ฉบับที่ 2 ว่าด้วย “ปรัชญากับความรัก” มีนัยของโอกาสอัน สำ�คัญประการหนึง่ นัน่ ก็คอื การครบรอบ 25 ปี ของภาควิชาปรัชญา คณะอักษร ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะย้อนทวนความสัมพันธ์ ระหว่าง “ความรัก” กับ “ความรู”้ กันอีกสักครัง้ รวมทัง้ การพิจารณาความรัก ผ่านมุมมองทางประวัตศิ าสตร์และวรรณกรรม และเนือ่ งจากแนวคิดพืน้ ฐานของ การทำ� Vice Versa ขึน้ ก็มาก็คอื การร่วมมือกันอย่างอิสระข้ามสถาบันการศึกษา ฉบับนีเ้ ราจึงได้รบั เกียรติจากอาจารย์พงศกร ลิมานนท์ และนักศึกษามหาวิทยาลัย แสตมฟอร์ดเป็นผู้ออกแบบปกและภาพประกอบให้ ที่สำ�คัญ ฉบับนี้ยังได้รับ เกียรติจาก “นิ้วกลม” สัมภาษณ์ ปราบดา หยุ่น ให้เราอีกด้วย ขอขอบพระคุณทุกท่านทีก่ รุณาเขียนบทความ ความเรียง เรือ่ งสัน้ และกวี นิพนธ์ร่วมตีพิมพ์ใน Vice Versa ฉบับนี้ ด้วยความรักในปัญญาความรู้ และ ต้องการถ่ายทอดไปสูส่ งั คม อันเป็นปัญญาญาณของความรักในลักษณะหนึง่ เช่นกัน คงกฤช ไตรยวงค์
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
11
/ Essay /
คําถามที่ยังคงถาม (ต่อไป) . . . ปรัชญาคืออะไร? เกษม เพ็ญภินันท์
ทุ
กครั้งที่กลับมาถามตนเองว่า “ปรัชญาคืออะไร?” ดูเหมือนว่า คําถามนี้น่าจะเป็นคําถามท้าย ๆ ในชีวิต ในยามที่ไม่มีอะไรจะ ถามอีกต่อไป ในขณะเดียวกัน คําถามนีก้ ย็ งั คงเป็นคําถามแรกๆ เมือ่ ต้องการจะเข้าใจปรัชญา ฉะนั้น “ปรัชญาคืออะไร?” คงจะไม่ใช่ คําถามทีเ่ ราจะได้คาํ ตอบว่าอะไรคือปรัชญา แต่กลับกลายเป็นปรัชญา คืออะไรบ้างที่ทําให้ได้คําตอบต่อคําถามดังกล่าว เพราะในคําถาม “ปรัชญาคืออะไร?” คือคําถามทีน่ าํ พาเรากลับเข้าหาการเคลือ่ นไหว ของความคิดที่ไหวเอนไปตามทิศทางของการคิด ในขณะที่เรากําลัง ครุ่นคิดต่อสิ่งต่าง ๆ เพื่อนําพาเราให้เข้าถึงความจริงของสิ่งนั้นที่ กระทบกับเกลียวคลื่นของความหมายในห้วงมหาสมุทรของถ้อยคํา ปรัชญาเปรียบเหมือนผู้กุมเข็มทิศชี้ทางของการคิดในคืนมืดที่ปราศจากแสงแห่งความกระจ่างแจ้ง ปรัชญาจึงคล้ายกับเงาแสงทีท่ อดผ่าน ตัวเราบนเรือนร่างทางความคิด บางที พั น ธกิ จ ทางปรั ช ญาก็ คื อ การแสวงหาวิ ถี ข องการคิ ด
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
เกษม เพ็ญภินันท์ อาจารย์ ประจำ�ภาควิชาปรัชญา คณะ อั ก ษรศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิ ท ยาลั ย ผู้ เ ชี่ ย วชาญ ปรัชญาภาคพื้นทวีปยุโรป
13
อันหลากหลายเพือ่ นําพาปัญญาของเราไปสูเ่ ป้าหมายทีป่ ลายทางคือ การสนทนาทางความคิดที่ไม่มีวันสิ้นสุด พันธกิจนี้จึงทําให้ปรัชญา เริม่ ต้นด้วยความสงสัย การตัง้ คําถามและการแสวงหาคําตอบ แม้วา่ ในท้ายทีส่ ดุ จะไม่พบคําตอบสุดท้ายก็ตาม แต่นนั่ ก็ไม่ได้ทาํ ให้พนั ธกิจ ทางปรัชญาสูญค่า เพราะคุณค่าของปรัชญาคือการให้คา่ แก่การค้นหา และเข้าหาความจริง ความดี ความงาม เพือ่ บ่งบอกว่าอะไรทีถ่ กู หรือ ผิด อะไรที่ควรทําหรือไม่ควรทํา และอะไรที่ดีงามตามระเบียบของ ธรรมชาติหรือจักรวาล คุณค่าดังกล่าวนีน้ อกจากจะทําให้พนั ธกิจของ ปรัชญายึดโยงอยู่กับปัญญาผ่านการคิดแล้ว คุณค่านี้ยังรวมถึงความ พยายามเข้าหาต่ออะไรทีย่ งั ไม่ได้คดิ อะไรทีย่ งั ไม่รแู้ ละอะไรทีย่ งั ไม่ได้ สงสัยอีกด้วย ปรัชญาเริ่มต้นที่กรีซ ก็เพราะว่า นักปรัชญากรีกไม่เพียงแค่เริ่ม สงสัยต่อสรรพสิ่งที่เป็นอยู่ ดํารงอยู่ในโลก ธรรมชาติและจักรวาล หากยังครุน่ คิดต่อถึงสารัตถะต่าง ๆ ทีป่ ระกอบหลอมรวมเป็นสิง่ นัน้ ๆ ทาลีส (Thales) ค้นพบว่า นํา้ คือสารัตถะของธรรมชาติและสรรพสิง่ ในขณะที่เฮราไคลตัส (Heraclitus) บอกว่าไฟคือสารัตถะต่างหาก อย่างไรก็ตาม ไม่วา่ ใครจะยืนยันว่าอะไรคือสารัตถะทีแ่ ท้จริงของสรรพสิง่ ก ไ็ ม่อาจจะสําคัญเท่ากับวิถที างที่นกั ปรัชญาเหล่านี้พยายามสงสัย ค้นหา และเข้าถึงความจริงของสิ่งนั้น ๆ ต่อมานักปรัชญากรีกอีกคนหนึ่งคือ พาร์เมนีดีส (Parmenides) ได้นําเสนอแนวทางในการเข้าใจต่อธรรมชาติและสรรพสิ่ง ด้วยการ
14
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ทําให้เห็นถึงการดํารงอยูข่ องสรรพสิง่ ด้วย ‘กฎเกณฑ์ของความขัดแย้ง’ (law of contradiction) ระหว่าง ‘การเป็นอยู่และการไม่เป็นอยู่’ (ta on, me ta on; to be, not to be) ผลทีต่ ามมาของการให้ความ สําคัญต่อสภาวะการดํารงอยู่ การไม่มีอยู่และการกลายเป็น คือการ นําพาปรัชญาเข้าสู่ระบบเหตุผล ด้วยเหตุผลของการดํารงอยู่ของ สิ่งที่เป็นนั้น ๆ ก็คือสิ่งนั้นที่เป็นอยู่และไม่เป็นสิ่งอื่นในเวลาเดียวกัน มรดกตกทอดของพาร์เมนีดสี นีน้ อกจากจะทําให้ปรัชญาวางรากฐาน การคิดอยู่ที่เหตุผลแล้ว เขายังทําให้ปัญหาเรื่องการเป็นอยู่และการ ดํารงอยู่เป็นปัญหาพื้นฐานของปรัชญาตะวันตกอีกด้วย จวบจนกระทั่งโสเครตีส (Socrates) ปรัชญากรีกได้หักเหจาก ความสงสัยที่มีต่อธรรมชาติสู่ความสนใจในตัวมนุษย์เอง โสเครตีส อาจเป็นนักปรัชญาคนแรกที่ทําให้กิจกรรมทางปรัชญาคือกิจกรรม ของมวลมนุษย์ นั่นคือ กิจกรรมเบิกปัญญาคือกระบวนการไต่สวน ทรรศนะหรือความเห็นเพือ่ ทําให้ความจริงเผยออกมา ดังนัน้ วิธกี าร ของโสเครตีส (the Socrates method) คือการสืบค้นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ให้เกิดความกระจ่างทางปัญญามากกว่าการได้รับคําตอบที่ถูกต้อง สมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้ วิภาษวิธขี องโสเครตีส (the Socratic dialectics) จึงไม่มีจุดจบหากเป็นความสืบเนื่องของการสานเสวนาระหว่างการ ถามและการตอบในแต่ละบทสนทนาที่ เ กิ ด ขึ้ น ในขณะเดี ย วกั น โสเครตีสยังทําให้เห็นถึงสาระของการใช้ชีวิตของเขาคือ ชีวิตทาง ปรัชญา ที่นักปรัชญาคนหนึ่งจะสามารถดํารงตนที่สอดประสานกัน
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
15
ระหว่างชีวติ ทีใ่ ช้กบั คุณค่าสูงสุดทางปรัชญานัน้ ดํารงอยูร่ ว่ มกันอย่าง เป็นอันหนึง่ อันเดียวกัน ในขณะทีก่ ารตายของเขาได้รบั การยกย่องว่า เป็นการยืนยันถึงความเป็นนิจนิรนั ดร์ของจิตวิญญาณทีค่ วามจริงและ ความดีย่อมเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ที่สุด กล่าวอย่างสัน้ ๆ ก็คอื งานเขียนทางประวัตศิ าสตร์ปรัชญาจํานวน มากชีใ้ ห้เห็นว่า โสเครตีสคือจุดเริม่ ต้นของปรัชญาตะวันตก เพราะนี่ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติที่นักปรัชญาทําให้ เราตระหนักถึงคุณค่าของปัญญาและเป้าหมายของชีวิต ในขณะที่ นักปรัชญาก่อนหน้าโสเครตีสมักจะถูกเรียกว่า “นักปรัชญาธรรมชาติ” (the natural philosophers) เนื่องจากพวกเขาเป็นเพียงผู้พยายาม อธิบายสรรพสิง่ ในธรรมชาติเป็นหลักเท่านัน้ โสเครตีสไม่ได้เขียนอะไร ไว้ให้เราได้อ่านเลย ทั้งหมดมาจากเพลโต (Plato) ทั้งบันทึกเนื้อหา ทางปรัชญาของโสเครตีส และถ่ายทอดความคิดของตนเองในถ้อยคํา ที่ออกจากปากของโสเครตีสอีกด้วย เรารับรู้เรื่องราวของโสเครตีส มากกว่านักปรัชญากรีกคนใดทั้งสิ้น ก็เพราะว่าฉากชีวิตของเขาได้ กลายเป็นเรือ่ งราวทีใ่ ห้ความหมายแก่ชวี ติ และทําให้ชวี ติ มีความหมาย ปรัชญาคืออะไร? คําถามนีย้ งั คงไม่ได้คาํ ตอบ แต่นยั ยะหนึง่ ทีพ่ บ ก็คอื ปรัชญาคือกิจกรรมทางปัญญาและพบเห็นได้ในกระบวนการคิด ถ่ายทอดออกมาเป็นความคิด แต่ความคิดไม่ใช่ปรัชญา และปรัชญาก็ เป็นมากกว่าความคิด เพราะปรัชญาวางตําแหน่งทีข่ องตัวเองในความ สัมพันธ์กับสิ่งที่คิด ราวกับว่าเป็นความสัมพันธ์ที่ปริแยกจากปัญญา
16
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
คําว่า “philosophy” ในภาษาอังกฤษนัน้ เป็นคําทีม่ าจากภาษา กรีกโบราณคือ “philosophos” ซึ่งประกอบไปด้วยคําว่า “philos” ซึง่ หมายถึง “เพือ่ น” “มิตร” หรือ “ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผ่าน สายสัมพันธ์ทางสังคมในลักษณะต่าง ๆ” และคําว่า “Sophos” หรือ “Sophia” อันหมายความว่า “ปัญญา” ดังนั้น “philosophy” ควร ต้องแปลว่า “เพื่อนของปัญญา” คําแปลดังกล่าวจึงแตกต่างไปจากความเข้าใจต่อความหมายของ ปรัชญาทีแ่ พร่หลายอยูท่ วั่ ไปทีม่ กั จะแปลว่า “ผูท้ รี่ กั ในปัญญา” (the lover of wisdom) เพราะส่วนใหญ่มก ั อ้างอิงตําราพืน้ ฐานทางปรัชญา ในโลกภาษาอังกฤษเป็นหลัก ที่มักจะแปลคํา ๆ นี้ออกมาเช่นนั้น คําแปลนีไ้ ม่ผดิ ถ้าคําว่า “รัก” ในทีน่ มี้ นี ยั ยะอันหมายถึงสายสัมพันธ์ ทีเ่ กิดขึน้ ด้วยความใกล้ชดิ หรือความผูกพันไม่วา่ จะเป็นโดยสายเลือด จารีต ขนบธรรมเนียม ระเบียบกฎเกณฑ์ทางสังคมวัฒนธรรม เพียง เท่านั้น ปรัชญาเป็นกิจกรรมที่ต้องการเพื่อนในบทสนทนาทางปัญญา เพื่อนคือบุคคลที่เสมือนว่าเป็น “ความเป็นอื่นของตัวเรา” แต่ความ เป็นอื่นนี้กลับทําให้เห็นถึงความคล้ายคลึงที่มีร่วมอยู่ในตัวเรา หรือ แม้แต่สะท้อนให้เห็นถึงตัวเราเอง ไม่วา่ จะเป็นการรับรู้ ประสบการณ์ ความเข้าใจ โลกทัศน์หรือแม้แต่เวลาร่วมในแต่ละฉากชีวติ ด้วยเหตุน้ี นักปรัชญาถึงได้ยกระดับความสําคัญของปัญญา โดยปรับแปลงปัญญา ให้เปรียบเสมือนเพื่อน เปรียบเสมือนคนอื่นที่รู้จักเราเป็นอย่างดี
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
17
ปัญญาคือเพือ่ นทีอ่ ยูใ่ นตัวเราและเหมือนดัง่ ว่าเป็นคนอืน่ ทีอ่ ยูร่ ว่ มใน เรือนร่างเดียวกับเรา หรือสิ่งที่จิลส์ เดอเลิซ (Gilles Deleuze) และ ฟีลิกซ์ กัตตารี (Félix Guattari) เรียกว่า “บุคคลเชิงมโนทัศน์” (personnages conceptuels; conceptual persona)1 กล่าวอีกนัยหนึง่ ก็คอื ปัญญาคือสภาวะของการคิดทีเ่ ป็นอยูร่ าวกับว่าเป็นบุคคลทีเ่ รา พบปะเสมอเมื่อสนทนากับตัวเอง บุคคลที่เป็นอยู่และอยู่ร่วมกับเรา ทุกครั้งเมื่อการคิดเริ่มต้นขึ้น ปัญญาคือคู่สนทนาที่จะช่วยให้การคิด การเข้าใจเกิดขึน้ และรวมทัง้ ความแตกต่างทางความคิดทีอ่ าจเกิดขึน้ ตามมาอีกด้วย ด้วยความที่มีปัญญาคือเพื่อนคู่คิด สิ่งนี้เองที่ทําให้นักปรัชญา ไม่เคยกล่าวอ้างว่าตนเองคือคนฉลาด นักปรัชญาไม่เคยวางตนเป็น ปราชญ์ผปู้ ราดเปรือ่ งหรือผูส้ อนสัง่ ผูอ้ นื่ ด้วยคําสอนต่าง ๆ นานา นัก ปรัชญาก็ไม่ใช่บุคคลที่รู้ตนเองว่าไม่รู้อะไรเลยหรือรู้จักตัวเองว่าไม่มี ทางเทียบเท่ากับอัจฉริยภาพของเทพองค์ใดแต่อย่างไร แต่นกั ปรัชญา เป็นเพียงผูแ้ สวงหา ผูส้ ร้างสรรค์ความคิดและมโนทัศน์ตา่ ง ๆ และเป็น นักผจญภัยทางปัญญาที่หลาย ๆ ครั้งก็ทําให้ตนเองตกอยู่ท่ามกลาง ความเสี่ยง ทั้งต่อชีวิตหรือการไร้ทางออกของสิ่งที่คิด แต่ด้วยความ กล้าหาญที่ยืนหยัดในสิ่งที่คิด สิ่งที่ยึดถือว่าเป็นความจริงและความ ถูกต้องดีงาม หรือแม้แต่การบุกเบิกและนําเสนอความคิดใหม่ ๆ 1
18
,
’ -
Gilles Deleuze et Félix Guattari Qu est ce que la philosophe
?, p. 8.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
แก่มนุษยชาติ ก็เพราะว่าสิง่ เหล่านีแ้ หละทีท่ าํ ให้นกั ปรัชญายังคงกล้า ยืนหยัด ยืนเด่นที่จะท้าทายจากอดีตถึงปัจจุบัน จากนครรัฐเอเธนส์ ถึงชุมชนทางปรัชญาต่าง ๆ ทัว่ โลก โดยเฉพาะในห้วงเวลาแห่งความมืด ความอับแสง ความสิ้นหวัง และความไร้คิด ปัญญาก็เป็นเช่นเดียวกับเพื่อน เราไม่สามารถครอบครองเป็น เจ้าของเพื่อนของเราไม่ได้ฉันใด เราก็ไม่สามารถครอบครองปัญญา ได้ฉันนั้น ทั้งเพื่อนและปัญญาล้วนมีชีวิตเป็นของตนเอง ทั้งสองมีวิถี แห่งตนทั้งสิ้น แม้ว่าปัญญาจะอยู่ในตัวเราก็ตาม แต่ปัญญาไม่ใช่ สิง่ ของให้เราได้ถอื ครองได้ สิง่ เดียวทีเ่ ราจะทําได้กค็ อื เข้าหาและเข้า ถึงผ่านการสนทนาทางความคิด ด้วยเหตุนี้เอง นักปรัชญาจึงทําให้ ความสัมพันธ์นี้เป็นความสัมพันธ์ที่ปราศจากความสัมพันธ์ โดยไม่ ผูกพันอันใดกับปัญญา แต่ก็เป็นนักปรัชญาอีกเช่นกันที่ทําให้ความสัมพันธ์ดังกล่าว กลายเป็นความสัมพันธ์กบั ความจริงทีว่ างอยูใ่ นมิตรภาพและปรัชญา ในระหว่างเรากับเพือ่ นและในระหว่างตัวเรากับปัญญา ความจริงของ มิตรภาพและความจริงทางปรัชญาจึงอยูใ่ นความเงียบ เพราะในความ เงียบนัน้ เราแลเห็นความจริงของมิตรภาพมากกว่าถ้อยคําทีส่ อื่ ความ ระหว่างกัน เราแลเห็นสิง่ ทีพ่ ดู ออกมาไม่ได้มากกว่าสิง่ ทีพ่ ดู ออกมาได้ เราแลเห็นสิ่งที่ต้องตักเตือนกันมากกว่าคําสรรเสริญ ในความเงียบนี้ เอง เราแลเห็นความจริงทางปรัชญามากกว่าภาษาที่ห่มร่างกายของ ความคิด เราแลเห็นความเข้าใจมากว่าคําอธิบาย เราแลเห็นความเป็น
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
19
บรรณานุกรม Deleuze
,
,
Gilles et
. ( ). ’ ophe?. Paris: Éditions de Minuit. Guattari Félix 1991
Qu est ce que la philos-
,
.( :
).
Derrida Jacques 2014
For Strasbourg Conversations of Friendship and Philosophy
-
. (ed.)
Pascale Anne Brault and Michael Naas
:
.
New York Fordham University Press Derrida
,
.
Jacques
Penser à Strasbourg
:
. .
Paris Éditions de Gal-
.
.
ilée 2004
Derrida, Jacques. (1994).
’
Politique de l amitié
:
.
Paris Éditions de Gal-
.
ilée
, ’ -
. (1995).
Hadot Pierre
Qu est ce que la philosophe antique
?.
Paris
: .
ภววิสัยของความจริงมากกว่าความจริงของตัวมันเอง ดังนั้น มิตรภาพกับปัญญาจึงเป็นสิ่งที่สัมพันธ์ต่อกันเพื่อความ เข้าใจต่อปรัชญาคืออะไร แต่การแปลคําว่า “philia” มาสู่ “friendship” ในภาษาอังกฤษ หรือ “amitié” ในภาษาฝรั่งเศส “Freundshaft” ในภาษาเยอรมัน หรือแม้แต่ “amicitia” ในภาษาละติน จึง ไม่สามารถบรรจุหรือระบุความเชือ่ มโยงระหว่างปรัชญากับมิตรภาพ ออกมาให้เห็นได้ แต่รอ่ งรอยทีพ่ บทําให้เห็นถึงความหมายของปรัชญา ที่ฝังแฝงความสําคัญของเพื่อนให้เป็นส่วนเสริมที่ขาดไม่ได้ในการ เข้าถึงปัญญา ด้วยเหตุนี้ นครรัฐเอเธนส์จงึ เป็นแหล่งสร้างชุมชนทาง ปัญญาที่ดีที่ทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน มวลมิตร คู่แข่งหรือ แม้แต่ฝา่ ยตรงข้าม ในการวิวาทะต่อประเด็นต่าง ๆ คือ ความเป็นจริง ทางปรัชญา สิง่ เหล่านีพ้ บเห็นเป็นหลักฐานอย่างชัดเจนในบทสนทนา ต่าง ๆ ของเพลโตนั่นเอง2 ถ้า “ปรัชญาคืออะไร” คือคําถาม ฉะนัน้ เป้าหมายของคําตอบ จําเป็นต้องกลับไปหาเนื้อใน (self-evident) ของปรัชญาหรือไม่ แน่นอนว่า ความสัมพันธ์ระหว่างปัญญากับมิตรภาพในการทําความ เข้าใจต่อความหมายของปรัชญาไม่เพียงแค่การย้อนรอยถอยหลังกลับ ไปยังโลกของกรีก หากยังทําให้เห็นถึงเนือ้ หาสาระของปรัชญาอีกด้วย แม้วา่ เนือ้ หาสาระนีไ้ ม่ใช่เนือ้ ในของปรัชญา และเราก็ไม่สามารถกลับ
Éditions de Gallimard
2
20
,
:
.
Plato Plato Complete Works
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ไปสู่ความเป็นเนื้อในในตัวมันเอง (thing-in-itself) ได้ แต่วิถีทาง เดียวที่เป็นไปได้ก็คือ การเริ่มต้นที่จะแสวงหา ค้นพบ หรือแม้แต่ ประดิษฐ์สร้างความเข้าใจทางปรัชญาและความเข้าใจต่อปรัชญาด้วย แนวทางทีต่ า่ งกัน เช่น มาร์ตนิ ไฮเด็กเกอร์ (Martin Heidegger) กลับ ไปค้นหา “การคิด” ผ่านคําถามเกีย่ วกับการเป็นอยูค่ อื (Seinsfrage; 3 the question of Being) ในขณะที่เดอเลิซและกัตตารีให้คําตอบ ต่อความหมายของปรัชญาว่าเป็นการประดิษฐ์สร้างมโนทัศน์4 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะพยายามตอบคําถาม “ปรัชญาคืออะไร” หรือนําเสนอนัยยะและความหมายของปรัชญาออกมาเช่นใดก็ตาม คําถามนีก้ ย็ งั คงเป็นคําถามเกีย่ วกับความเป็นจริงทางปรัชญาทีท่ ำ�ให้ เราเห็นว่ากิจกรรมทางปรัชญายังคงถามคําถาม ทีค่ าํ ถามนําไปสูก่ าร ค้นพบแนวทางในการตอบ ในขณะเดียวกันก็ค้นหาคําตอบที่แสดง ให้เห็นถึงความสมเหตุสมผลของความเข้าใจที่อธิบายออกมาเป็น ความคิด ทัง้ นีก้ เ็ พียงเพราะว่า พันธกิจของปรัชญานอกจากปิดกัน้ ตัว เราให้อยู่กับสิ่งที่คิดแล้ว พันธกิจนี้ยังเปิดกว้างสู่ความไม่จบของการ คิดบนรอยต่อระหว่าง “สิ่งที่สามารถคิดได้” กับ “สิ่งที่ยังไม่ได้คิด” ตรงเส้นขอบฟ้าของความรักในปัญญา
3 4
vice versa
. – die Philosophie? . Pfullingen : Günther Neske. Heidegger
(1956).
,
Martin
Was ist das
Plato : . (ed.) John M. Cooper. Indianapolis: Hackett. Plato
. ( 1997).
Complete Works
โปรดดู Martin Heidegger, Was ist das – die Philosophie?. โปรดดู Gilles Deleuze et Félix Guattari, Qu’est-ce que la philosophe?.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
21
/ Essay /
เพราะรักจึงจุ้น
โสเครติสกับชีวิตทางปรัชญาและ วิถีแห่งความรัก อรรถสิทธิ์ สิทธิดํารง
I
ใน
ฟรี ดิ ช นี ท เชอ ( Friedrich Nietzsche) ปราชญ์ผเู้ ทิดทูนการมาถึงของนักปรัชญาแห่ง อนาคต ได้กล่าวถึงโสเครติสว่าคือมนุษย์ในลําดับชัน้ ทีต่ า่ํ สุด โสเครติส คือ มนุษย์ผู้อัปลักษณ์ที่ใบหน้ามิเพียงแค่น่ารังเกียจ ผิดแผกไม่ต่าง ไปจากใบหน้าของสัตว์ประหลาด หากแต่ยงั เป็นมนุษย์ทดี่ เู หมือนจะ กระทําทุกอย่างภายใต้สญ ั ชาติญาณดิบของตน สัญชาติญาณทีก่ ลาย เป็นแรงขับ ผลักให้ตัวเขากลายเป็นคนสามหาว ไม่รู้กาลเทศะ ขาด ความยับยัง้ ชัง่ ใจ ไร้รสนิยมและพร้อมจะละเมิดมารยาททางสังคมใด ๆ ก็ตามหากว่าการกระทําดังกล่าวสามารถตอบสนองความปรารถนา ของตนเองได้1 แน่นอน ข้อวิจารณ์ตอ่ โสเครติสดังกล่าว ย่อมหลีกเลีย่ ง 1
Twilight of The Idols
,
vice versa
,
(
Friedrich Nietzsche Twilight of The Idols Duncan Large Translated
,
Oxford University Press 1998
), p. 12.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
อ ร ร ถ สิ ท ธิ์ สิ ท ธิ ดำ� ร ง อ า จ า ร ย์ ป ร ะ จำ � ห ลั ก สู ต ร รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัย ลักษณ์ เชี่ยวชาญด้านทฤษฎี การเมื อ ง ปรั ช ญาการเมื อ ง สมัยกรีก
) (Oxford:
23
ไม่ได้ถงึ อคติของนีทเชอซึง่ มองว่าจุดเริม่ ต้นต่อการล่มสลายของรสนิยม ในความงามอันสูงส่งแบบกรีกโบราณคือโสเครติส โสเครติส—ใน ทัศนะของนีทเชอ—มิเพียงแต่เป็นมนุษย์ที่อัปลักษณ์ หากแต่ยังเป็น ผู้นําเข้าความอัปลักษณ์สู่สังคมเอเธนส์ เพราะโสเครติสคือผู้ที่ทําให้ การถกเถียงแบบวิภาษวิธไี ด้รบั ความนิยมเป็นทีแ่ พร่หลาย วิภาษวิธที ่ี ทําลายระเบียบต่าง ๆ ซึง่ อยูเ่ บือ้ งหลังการดํารงอยูข่ องรสนิยมอันสูงส่ง ในกรีกโบราณ วิภาษวิธีที่ทําให้โสเครติสได้รับความสนใจกลายเป็น มนุษย์ผทู้ รงเสน่หท์ ง้ั ๆ ทีต่ วั เขาเองคือมนุษย์ทอ่ี ยูใ่ นลําดับชัน้ ทีต่ า่ํ ทีส่ ดุ 2 แต่อะไรคือวิภาษวิธี? วิภาษวิธีเกี่ยวข้องอย่างไรกับโสเครติส? กล่าวอย่างถึงที่สุด วิภาษวิธีคือกระบวนการสร้างบทสนทนาไม่รู้จบ เน้นการถามตอบไปมาเพื่อเปิดให้ทั้งสองฝ่ายใช้เหตุผลครุ่นคิดและ ตรวจสอบตัวเองครัง้ แล้วครัง้ เล่า วิภาษวิธจี งึ เป็นกระบวนการสนทนา ถามตอบที่ไม่เคยมีคําตอบอันสมบูรณ์ เป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อน ผ่านคําถามซํ้าไปซํ้ามาไม่จบไม่สิ้น โสเครติสเป็นยอดนักวิภาษวิธี โสเครติสจึงเป็นนักถาม เป็นนักถามที่มิเพียงเต็มไปด้วยความสงสัย ใคร่รู้หากแต่ยังตั้งมั่นไปกับจิตใจอันแน่วแน่ที่พร้อมจะสานต่อบท สนทนาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ปิแอร์ ฮาโดท์ (Pierre Hadot) ผู้ เชีย่ วชาญปรัชญากรีกโบราณชาวฝรัง่ เศสคนสําคัญถึงกับเคยกล่าวว่า คําสอนสําคัญของโสเครติส—หากสามารถถือได้วา่ โสเครติสเป็นครู— 2
24
.,
. – .
Ibid pp 12 13
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
หาใช่เนือ้ หาสารัตถะของสิง่ ต่าง ๆ แต่คอื ความมุง่ มัน่ ในการตัง้ คําถาม เพื่อสร้างบทสนทนาที่สานต่อการแลกเปลี่ยนและใช้เหตุผลครุ่นคิด ระหว่างคูส่ นทนาด้วยกัน ความมุง่ มัน่ อันเป็นก้าวแรกของการใช้ชวี ติ ในทางปรัชญา3 แต่ความมุ่งมั่นดังกล่าวก็อาจมีสถานะไม่ต่างไปจาก การยุง่ ก้าวก่ายหรือ “จุน้ ” หากว่าความกระตือรือร้นในการตัง้ คําถาม นั้นกลับเกิดขึ้นต่อบุคคลที่ไม่ปรารถนาจะสนทนาแลกเปลี่ยนด้วย ขอให้ลองพิจารณาคํากล่าวต่อไปนี้ของโสเครติสดู: …ท่านผู้ซึ่งเป็นประชาชนของเอเธนส์…ท่านไม่ละอายหรือ ทีท่ า่ นเอาใจใส่ตอ่ การแสวงหาทรัพย์ ชือ่ เสียงและเกียรติยศ และไม่เอาใจใส่หรือคํานึงถึงปัญญา ความจริงและการทํา จิตให้สมบูรณ์? และถ้าจะมีใครในหมู่พวกท่านคัดค้านและ กล่าวว่าเขาเอาใจใส่ในเรือ่ งนีด้ งั กล่าว ข้าพเจ้าก็จะไม่ปล่อย เขาไปในทันที ตัวข้าพเจ้าเองก็จะไม่ไป แต่ข้าพเจ้าจะตั้ง คําถามแก่เขา ตรวจสอบและซักถามเขา และถ้าข้าพเจ้าพบ ว่าเขาไม่มคี ณ ุ ธรรม แต่กล่าวว่าตนมี ข้าพเจ้าก็จะตําหนิเขา ที่เหยียดหยามสิ่งที่มีความสําคัญมากที่สุด และสนใจสิ่งซึ่ง มีคุณค่าน้อยกว่า ข้าพเจ้าจะกระทําอย่างนี้กับใครก็ตามที่ 3
,
?, Michael Chase (Translated) (Massa), pp. 24–29.
Pierre Hadot What is Ancient Philosophy
:
chusetts The Belknap Press of Harvard University Press
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
25
ข้าพเจ้าพบ ไม่วา่ จะเป็นคนหนุม่ หรือคนชรา เป็นชาวต่างชาติ หรือเป็นพลเมืองของเรา… โปรดทราบไว้ดว้ ยว่า เทพเจ้าเป็น ผู้บัญชาให้ข้าพเจ้ากระทําสิ่งนี้ และข้าพเจ้าเชื่อว่าไม่มีผลดี อะไรเกิดขึน้ กับนครนี้ ยิง่ ไปกว่าบริการของข้าพเจ้า ทีใ่ ห้แก่ เทพเจ้า เพราะข้าพเจ้าจะไม่ทําอะไรอย่างอื่นเลยนอกจาก รบเร้าท่าน ไม่วา่ จะหนุม่ หรือชรา ไม่ให้ความสนใจต่อเฉพาะ ร่างกายและทรัพย์สนิ ของท่านมากจนเกินไป หรือมากกว่า การทําจิตของท่านให้สมบูรณ์…”4 ไม่ผิดที่โสเครติสจะให้ความสําคัญกับวิถีชีวิตทางปรัชญาที่มุ่ง ตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ และคงไม่ใช่เรื่องที่ต้องตําหนิหากเขาจะ วิภาษวิธีกับคู่สนทนาที่พร้อมจะแลกเปลี่ยนด้วย แต่ดังที่ได้เห็นจาก คํากล่าวของโสเครติสข้างต้นว่าเขาพร้อมจะกระทํากิจกรรมดังกล่าว กับใครก็ตามที่ตัวเขาพบ ไม่ว่าบุคคลผู้นั้นจะเป็นใคร จะหนุ่มแน่น หรือชราภาพโดยไม่สนว่าบุคคลผู้นั้นยินดีที่จะสนทนาด้วยหรือเปล่า ในแง่นี้ โสเครติสจึงเป็นจอมจุ้น เป็นมนุษย์ที่พร้อมจะเข้าไปจุ้นกับ เรื่องของคนอื่นทุกเมื่อไม่ว่าบุคคลผู้นั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม วิถี ชีวติ ทางปรัชญา (แบบโสเครติส) จึงเป็นวิถชี วี ติ ของการจุน้ การจุน้ คือ เพลโต, “อโพโลจี,” ใน บทสนทนาของเพลโต: ยูไธโฟร อโพโลจี ไครโต, สมบัติ จันทรวงศ์ (แปล) (กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2549), 29e–30a—การเน้นข้อความเป็นของผูเ้ ขียน 4
26
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
สารัตถะในวิถีชีวิตทางปรัชญา ถ้าโสเครติสคือนักปรัชญา โสเครติส ก็คอื นักจุน้ เป็นนักจุน้ ตัวยงที— ่ ในนามของเทพเจ้าและชีวติ ทีด่ — ี ไม่มี ใครสามารถรอดพ้นจากการจุน้ ของเขาไปได้ โสเครติสคือโคตรนักจุน้ ! แต่ทาํ ไมวิถชี วี ติ ทางปรัชญาจึงกลายเป็นวิถชี วี ติ ของการจุน้ ? อะไรคือ แรงผลักของวิถีชีวิตทางปรัชญาที่ทําให้โสเครติสกลายเป็นนักจุ้น? II
วิถชี วี ติ ทางปรัชญาคือวิถชี วี ติ ของการจุน้ วิถชี วี ติ ทางปรัชญาคือวิถชี วี ติ ที่ให้ความสําคัญกับการสอดรู้สอดเห็นเพื่อเข้าไปตั้งคําถาม ถกเถียง และสร้างบทสนทนาไม่รจู้ บ ถ้าการตัง้ คําถามโดยปราศจากข้อจํากัด คือหัวใจสําคัญของวิถชี วี ติ ทางปรัชญา วิถชี วี ติ ทางปรัชญาก็คอื วิถชี วี ติ ของการจุ้นโดยไม่รู้จบเช่นกัน โสเครติสคือนักจุ้นตัวยง โสเครติสจึง เป็นนักปรัชญา แต่นกั ปรัชญาคืออะไร? นักปรัชญาคือมนุษย์ประเภท ไหน? คุณสมบัติแบบใดที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นคุณสมบัติของนัก ปรัชญา? จากมุมของบุคคลทัว่ ไป คนทีเ่ ป็นนักปรัชญาอาจมีลกั ษณะ ไม่ตา่ งไปจากพวกช่างคิด ช่างวิเคราะห์ ช่างวิจารณ์ เพราะทัง้ การคิด วิเคราะห์และวิจารณ์ตา่ งก็วางอยูบ่ นการใช้เหตุผลทัง้ สิน้ คนทีเ่ ป็นนัก ปรัชญา—ตามสายตาของบุคคลทั่วไป—จึงต้องเป็นมนุษย์ที่มีและ ใช้เหตุผล ทุกคนจึงสามารถเป็นนักปรัชญาหากว่ามี (และใช้) เหตุผล ไม่ว่าจะเป็นนักเขียน นักรบ นักการเมือง นักแสดง หรือนายช่าง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
27
รวมไปถึงมนุษย์ทกุ คน (ถ้าเชือ่ แบบอริสโตเติลว่าเหตุผลคือสิง่ ทีท่ าํ ให้ มนุษย์เป็นมนุษย์ไม่ใช่สัตว์) แต่นกั ปรัชญาดังกล่าวย่อมไม่ใช่นกั ปรัชญาในแบบทีโ่ สเครติสเป็น จริงอยูก่ ารมี (และใช้) เหตุผลอาจคือองค์ประกอบสําคัญของการเป็น นักปรัชญา แต่เหตุผล—สําหรับโสเครติส—ก็ยังมิใช่เงื่อนไขสําคัญ สูงสุดของการเป็นนักปรัชญา เพราะในสายตาของเขาองค์ประกอบ สําคัญทีส่ ดุ ของการเป็นนักปรัชญาคือความรัก ความรักคือสิง่ ทีส่ ร้าง นักปรัชญา ความรักคือแรงขับสําคัญของการใช้ชีวิตทางปรัชญา ในภาษากรีกโบราณคําว่านักปรัชญาหรือ Philosopher มีรากศัพท์ ด้านหนึง่ มาจากคําว่า Philia ซึง่ แปลว่าความรัก5 นักปรัชญาในแบบ ของโสเครติสจึงต้องเป็นนักรัก ความรักคือแรงขับสําคัญของการใช้ ชีวิตทางปรัชญา โสเครติสเป็นนักปรัชญา โสเครติสจึงเป็นนักรัก โสเครติสคือมนุษย์ทจี่ มอยูใ่ นห้วงแห่งความรัก ความรักคือสิง่ ทีข่ บั ดัน ให้โสเครติสกลายเป็นนักปรัชญา แต่อะไรคือความรัก? ความรักสําคัญ อันทีจ่ ริง คําแปลของ Philia นัน้ นอกจากจะแปลว่าความรักได้แล้ว ยังสามารถแปลเป็นคําว่า มิตรภาพได้เช่นกัน เพียงแต่มิตรภาพดังกล่าวนั้นอาจมีลักษณะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับอารมณ์ วาบหวามหรือ Eros ระหว่างคู่ความสัมพันธ์ในบางลักษณะด้วย ผู้สนใจสามารถดูประเด็นซึ่ง รายล้อมรายละเอียดทํานองนี้ได้ใน Allan Bloom, “The Ladder of Love,” in Plato’s “Symposium,” Seth Benardete (Translated) (Chicago: The University of Chicago Press , 2001 ), pp . 55 - 69 . และดู เ ปรี ย บเที ย บกั บ คํ า อธิ บ ายของโสเครติ ส ต่ อ ประเด็ น เรื่ อ ง มิตรภาพได้ใน เพลโต, “ไลซิส”, ใน คาร์มดิ สี เลคีส ไลซิส, วิกจิ สุขสําราญ (แปล) (กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2534), หน้า 85–127. 5
28
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
อย่างไรกับการผลักดันให้มนุษย์คนหนึ่งกลายเป็นนักปรัชญา? ใน Symposium โสเครติสถึงกับกล่าว—โดยอ้างทัศนะของไดโอติมา—ว่า ความรักคือการเคลื่อนที่อยู่ตรงกลาง ความรักคือการเคลื่อนที่ไปสู่ เป้าหมายที่ไม่สามารถไปถึงได้ คือสิ่งที่อยู่ระหว่างความสมบูรณ์กับ ความไม่สมบูรณ์ ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ระหว่างความมั่งคั่งกับ ความยากจน6 ความรักจึงไม่ใช่ทงั้ ความสมบูรณ์และความไม่สมบูรณ์ หากแต่เป็นความไม่สมบูรณ์ที่มุ่งหน้าสู่ความสมบูรณ์ทั้ง ๆ ที่ความ สมบูรณ์คือสิ่งที่เข้าถึงไม่ได้ ความรักจึงมิอาจเข้าถึง ครอบครองหรือ บรรลุได้ การเข้าถึงความรักย่อมเท่ากับการทําลายความรักเพราะ ถ้าความรักถูกเข้าถึง ครอบครองหรือบรรลุ ความรักก็คงมิอาจเป็น ความรักได้อกี ต่อไป บุคคลทีค่ รอบครองความรักจึงเป็นบุคคลทีท่ าํ ลาย ความรักไปด้วยเสมอ ด้วยเหตุนี้ ความรักของนักปรัชญาจึงต้องเป็น ความรักที่มิอาจสมหวังเพราะการสมหวังย่อมนํามาสู่การทําลาย ความรักของนักปรัชญาเสียเอง นักปรัชญาจึงต้องรักในสิ่งที่ตนไม่มี ทางเข้าถึงได้อย่างเด็ดขาด เพราะมีแต่ความเป็นไปไม่ได้ในการบรรลุ ถึงความรักของนักปรัชญาเท่านัน้ ทีจ่ ะทําให้ความรักของนักปรัชญา (หรือตัววิถชี วี ติ ทางปรัชญาเอง) เป็นไปได้ นัน่ จึงไม่แปลก ทีค่ วามรัก ของนักปรัชญาจะเป็นความรักทีม่ ใี ห้กบั Sophia หรือปัญญา เพราะ ปัญญาคือสิ่งที่มีแต่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่สามารถเข้าถึงได้ นักปรัชญา 6
vice versa
,”
Plato Symposium
,” in Plato’s “Symposium,” 202e–203d.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
29
คือมนุษย์หาใช่องค์พระผูเ้ ป็นเจ้า นักปรัชญาจึงมิอาจเข้าถึงปัญญาได้7 ความรักของนักปรัชญาคือความรักที่มีให้กับสิ่งที่ไม่มีทางเข้าถึงได้ อย่างปัญญา ความรักของนักปรัชญาจึงเป็นความรักที่ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่มีวันสมหวัง และเพราะนักปรัชญาคือมนุษย์ที่หลงรักปัญญา นัก ปรัชญาจึงเป็นมนุษย์ทอ่ี ยูร่ ะหว่างการมีและไม่มปี ญ ั ญา จึงเป็นมนุษย์ท่ี อยูต่ รงกลางระหว่างความฉลาดกับความเขลา เพราะการอยูต่ รงกลาง ระหว่างความฉลาดและความเขลาเท่านัน้ ทีค่ วามรักในปัญญาสามารถ เป็นไปได้8 ดังนั้น นักปรัชญาในแบบที่โสเครติสเป็นจึงมิใช่แค่มนุษย์ที่มี (และใช้) เหตุผล หากแต่ต้องเป็นนักรักที่พร้อมพลีกายถวายชีวิตให้ กับความรัก นักรักผู้มั่นคงต่อสิ่งที่ตนปรารถนาแม้ว่าความปรารถนา ดังกล่าวจะมิอาจได้รบั การตอบสนองก็ตาม ถ้าวิถชี วี ติ ทางปรัชญาคือ วิถชี วี ติ ของการจุน้ ทีผ่ ใู้ ช้จาํ เป็นต้องยุม่ ย่าม ก้าวก่ายเข้าไปในชีวติ ของ คนอืน่ เพือ่ สร้างบทสนทนาด้วยการตัง้ คําถาม ถกเถียงโดยไม่สนใจว่า อีกฝ่ายยินดีที่จะร่วมแลกเปลี่ยนหรือไม่ วิถีชีวิตดังกล่าวก็เป็นผลมา จากความรัก ความรักทําให้นักปรัชญากลายเป็นนักจุ้น นักปรัชญา เป็นนักจุ้นเพราะนักปรัชญาเป็นนักรัก โสเครติสเป็นนักจุ้นตัวยง โสเครติสจึงเป็นยอดนักรัก ถ้าเราสามารถแทนทีค่ วามรักด้วยบุคลิกของ
30
., .,
. .
7
Ibid 204a
8
Ibid 203d
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
มนุษย์ ความรักดังกล่าวก็คอื ตัวโสเครติส เพราะโสเครติสคือจ้าวแห่ง การจุน้ ผูแ้ สดงตนให้เห็นอย่างชัดเจนทีส่ ดุ ว่าอยูร่ ะหว่างการมีและไม่มี ปัญญา ดังที่ปิแอร์ ฮาโดท์ได้ชี้ให้เห็นว่านิยามความรักซึ่งโสเครติส กล่าวถึงใน Symposium นัน้ ถึงทีส่ ดุ แล้วก็คอื การกล่าวถึงบุคลิกของ ตัวเขาเองทีเ่ ต็มไปด้วยความอยากกระหาย ต้องการเข้าถึงปัญญาเพือ่ เติมเต็มความปรารถนาของตนทั้ง ๆ ที่การเข้าถึงปัญญาคือสิ่งที่มิอาจ เป็นไปได้9 ถึงตรงนี้ เราอาจระแวงสงสัยว่าเอาเข้าจริงแล้วแรงขับใน วิถีชีวิตเพื่อการจุ้นของนักปรัชญานั้นจะไม่ใช่อะไรเลยนอกจากการ แสดงออกซึง่ ความเห็นแก่ตวั เห็นแก่ความอยากกระหายส่วนตัวโดย ไม่สนใจว่าการจุน้ ของตนได้สร้างความรําคาญให้กบั คนอืน่ ขนาดไหน ถ้าความรักคือแรงขับในการใช้ชวี ติ เพือ่ การจุน้ ของนักปรัชญา ความรัก ดังกล่าวก็อาจเป็นเพียงการรักตนเอง รักในสิ่งที่ตนปรารถนาจน หลงลืมคนรอบข้าง มองไม่เห็นความวุน่ วาย ไร้ระเบียบอันเป็นผลมา จากการจุ้นของตน แต่เราสามารถแยกการใช้ชีวิตของมนุษย์คนหนึ่ง ออกจากสังคมการเมืองรอบข้างได้จริงหรือ? เราสามารถแบ่งแยก ตัวเราเองจากบริบทที่รายล้อมตัวเราได้จริง ๆ หรือ? เฉกเช่นเดียวกับที่ฮาโดท์เคยชี้ให้เห็นว่า แม้จุดเริ่มต้นตลอดไป จนถึงเป้าหมายในวิถีชีวิตทางปรัชญาของโสเครติสอาจเป็นไปเพื่อ ตัวของเขาเอง แต่เพราะมนุษย์คนหนึง่ ย่อมมิอาจแยกขาดตัวเองจาก 9
vice versa
,
Hadot What is Ancient Philosophy
?, pp. 39–51.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
31
ความสัมพันธ์ที่มีกับเพื่อนมนุษย์รอบข้าง การตอบสนองประโยชน์ ส่วนตัวของโสเครติส—หากว่าสิ่งนั้นเป็นประโยชน์อย่างแท้จริง— ย่อมประสานสอดคล้องกับประโยชน์ของเพือ่ นมนุษย์และสังคมการเมืองที่รายล้อมตัวเขาเองตามไปด้วย10 ในแง่นี้ แม้จะเริ่มต้นและมี เป้าหมายเพื่อตัวเอง แต่โสเครติสก็ไม่เคยมองว่าการจุ้นของเขาเป็น การกระทําที่มุ่งตอบสนองความต้องการของตนโดยไร้ซึ่งประโยชน์ ต่อเอเธนส์สมัยนั้น ตรงกันข้าม การจุ้นของเขากลับคือโอสถที่ช่วย กระตุน้ ให้ชาวเมืองเอเธนส์ได้กลับมาตรวจสอบ พิจารณาการกระทํา ต่าง ๆ อยู่เสมอ ดังที่ตัวเขาได้กล่าวเอาไว้ว่า: …และด้วยเหตุนี้เอง ชาวเอเธนส์ทั้งหลาย ข้าพเจ้าจึงกําลัง กล่าวแก้คดี มิใช่เพื่อตัวข้าพเจ้าเองอย่างที่คิดกัน แต่เพื่อ พวกท่านมากกว่า…เพราะถ้าท่านประหารข้าพเจ้า ท่านก็ ไม่อาจหาคนอื่นผู้ซึ่งหากจะเปรียบอย่างตลกเหลวไหลแล้ว จะเอาตนเองติดกับนคร เหมือนอย่างทีต่ วั ไรทํากับตัวม้า ซึง่ ถึงแม้วา่ จะตัวโตและได้รบั การเลีย้ งดูดี แต่กเ็ ฉือ่ ยชาอันเป็น ผลเนือ่ งมาจากขนาด จึงจําต้องเร่งเร้าโดยการต่อยของแมลง ข้าพเจ้าคิดว่าเทพเจ้าได้ผูกมัดตัวข้าพเจ้าให้ติดกับนครเพื่อ กระทําการเช่นนั้น และข้าพเจ้าก็เที่ยวไปปลุกปั่นรุกเร้า 10
32
.,
. – .
Ibid pp 36 38
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
พวกท่าน และตําหนิติเตียนพวกท่านแต่ละคนอยู่ทุกหน ทุกแห่งและตลอดเวลา ท่านสุภาพชน ท่านจะหาคนอย่างนี้ มาอีกไม่ได้ง่าย ๆ…11 เพราะฉะนั้น วิถีชีวิตทางปรัชญา—วิถีชีวิตที่ให้ความสําคัญกับ การจุ้นเรื่องของคนอื่นโดยไม่สนใจว่าการจุ้นดังกล่าวจะสร้างความ รําคาญแก่คนผู้นั้นมากมายขนาดไหน—จึงไม่เคยเป็นวิถีชีวิตอัน คับแคบที่จํากัดผลลัพธ์ไว้แค่ตัวนักปรัชญา โดยนักปรัชญา เพื่อนัก ปรัชญา หากแต่คือวิถีชีวิตที่จะสร้างประโยชน์แก่เพื่อนรอบข้างและ สังคมการเมืองที่รองรับการใช้ชีวิตทางปรัชญาของนักปรัชญาผู้นั้น (แม้วา่ เพือ่ นรอบข้างและสังคมการเมืองทีร่ องรับนักปรัชญาผูน้ นั้ อาจ ไม่ตระหนักถึงประโยชน์ดังกล่าวเลยก็ตาม) ถ้าความรักคือแรงขับ สําคัญทีท่ าํ ให้นกั ปรัชญาเป็นนักจุน้ ความรักดังกล่าวก็ยอ่ มเป็นความรัก ที่สามารถเผื่อแผ่ แพร่ขยายไปสู่ผู้คนรอบข้างได้อย่างไม่มีขีดจํากัด แต่ความรักก็มีด้านมืด ด้านมืดที่ทําให้การใช้ชีวิตภายใต้แรงขับของ ตัวมันกลับมีราคาทีต่ อ้ งจ่าย ราคาซึง่ จะกลับมายืนยันว่าการจุน้ เพราะ รักของนักปรัชญาช่างเป็นกิจกรรมที่เต็มไปด้วยรายจ่ายแสนแพง
11
vice versa
เพลโต, “อโพโลจี,” 30d–31a.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
33
III
อะไรคือรายจ่ายของนักปรัชญาในการเลือกใช้ชวี ติ เพือ่ การจุน้ ? เหตุใด วิถีชีวิตทางปรัชญาจึงนํามาซึ่งรายจ่ายอันมหาศาลสําหรับผู้ที่เลือก ใช้ชีวิตตามแนวทางดังกล่าว? วิถีชีวิตทางปรัชญาคือวิถีชีวิตของการ จุ้น คือวิถีชีวิตที่เปิดให้ความรักขับดันจนผู้ปฏิบัติจําเป็นต้องยุ่งย่าม ก้าวก่ายเข้าไปในกิจวัตรของคนอื่นเพื่อคอยสร้างบทสนทนาผ่าน การตั้งคําถามอย่างไม่รู้จบ ซํ้าแล้วซํ้าอีก วิถีชีวิตทางปรัชญา—หรือ วิถชี วี ติ แห่งการจุน้ —จึงเป็นวิถชี วี ติ ทีว่ างอยูบ่ นการตัง้ คําถามอย่างไม่ สิ้นสุด การถามที่จะกระตุ้นให้ผู้ถูกถามต้องคิด ไตร่ตรองใช้เหตุผล อย่างรอบคอบรัดกุมที่สุด แต่การถามในบางครั้งก็ไม่ต่างไปจากการ ทําลายล้าง เป็นการทําลายล้างความเชือ่ ทีส่ งั่ สมกันมาแต่โบราณ เป็น การทําลายล้างแบบแผนปฏิบัติต่าง ๆ ที่ผู้คนมีต่อกัน และเป็นการ ทําลายล้างระบบระเบียบ ค่านิยมอันเปรียบเสมือนลมหายใจของสังคม การเมือง นัน่ จึงไม่แปลกทีน่ ที เชอ ปราชญ์ผใู้ ห้ความสำ�คัญกับระเบียบ ทีท่ ำ�ให้มนุษย์สามารถเสพความงามอันสูงส่งดัง้ เดิมในยุคกรีกโบราณ จะกล่าวประณามโสเครติส และไม่แปลกเช่นกันทีท่ า้ ยสุดแล้ว นักจุน้ ตัวยงอย่างโสเครติสจะถูกฟ้องร้องในศาลแห่งนครเอเธนส์จนเป็น จุดเริ่มต้นของบทสุดท้ายในชีวิตของเจ้าแห่งการจุ้นผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ แน่นอน การทีโ่ สเครติสถูกฟ้องร้องในศาล ใช่วา่ จะเป็นสิง่ ทีเ่ กิน การคาดคํานวณแต่อย่างใด อริสโตฟาเนส (Aristophanes) กวีเรื่อง
34
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ชวนหัวคนดังในสมัยนั้นเคยแต่งบทละครสุขนาฏกรรมเรื่อง Clouds เพือ่ เตือนใจโสเครติสถึงสิง่ ทีอ่ าจเกิดขึน้ หากตัวเขายังคงดือ้ ดึงกับวิถี ชีวิตของการจุ้นโดยไม่ยี่หระต่อกระแสกดดันของคนรอบข้าง12 โดย บุคลิกของโสเครติสที่ปรากฏใน Clouds นั้นจะเต็มไปด้วยอาการ เงอะงะ ท่าทางตลกขบขันและทัศนคติอนั ไร้เดียงสามองไม่เห็นกระแส กดดันทางการเมืองต่าง ๆ ที่รายล้อมตน ซึ่งคงแทบไม่ต้องสงสัยว่า ภาพโสเครติสในบทละครเรือ่ งดังกล่าวคือ ภาพสะท้อนทีอ่ ริสโตฟาเนส จงใจสือ่ ไปถึงโสเครติส เพือ่ ให้ตวั เขาได้ตระหนักถึงสายตาของสังคม การเมืองเอเธนส์ทมี่ ตี อ่ ตนรวมทัง้ เป็นข้อเตือนใจถึงผลกระทบทีต่ วั เขา อาจได้รับหากยังคงประพฤติตนเป็นคนขวางโลก คอยจุ้นและสร้าง ความรําคาญให้กับชาวเมือง13 กระนั้น โสเครติสก็ยังเพิกเฉยต่อ
ทั้ ง นี้ บทละครเรื่ อ ง Clouds จะมี เ นื้ อ หาคร่ า ว ๆ กล่ า วถึ ง เสตร็ ป ไซดี ส ผู้ ป รารถนาจะ ปลดเปลื้องหนี้สินของตนโดยใช้เล่ห์เพทุบาย จึงส่งยูริปิดิส บุตรชายไปเรียนวิธีการเป็นคน “ไม่ยุติธรรม” กับโสเครติส อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากยูริปิดิสสําเร็จวิชาดังกล่าวและช่วยให้ เสตร็ปไซดิสปลดเปลื้องหนี้สิน เสตร็ปไซดิสกลับพบว่ายูริปิดิสไม่ได้เคารพตนเหมือนก่อน ถึง ขนาดคิดละเมิดข้อห้ามทีค่ อยจัดลําดับความสัมพันธ์ในครอบครัวของตน เสตร็ปไซดิสจึงถือโทษ เอากับโสเครติสด้วยว่าเป็นผูเ้ สีย้ มสอนให้ยรู ปิ ดิ สิ หลงเดินไปในทางทีผ่ ดิ และเผาสํานักศึกษาของ โสเครติสในตอนจบ ดูเพิ่มเติมได้ใน Aristophanes, “Clouds,” The Complete Plays of Aristophanes, Moses Hades (Translated and Edited), pp. 101–141. 13 ดูการตีความดังกล่าวได้ใน Leo Strauss, “The Origins of Political Science and the Problem of Socrates”: Six Lectures by Leo Strauss,” Interpretation, 23:2 (Winter 1996), pp. 140–141. 12
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
35
ข้อเตือนใจดังกล่าวจนถูกฟ้องร้องในศาลแห่งนครเอเธนส์ กระทัง่ ช่วง ทีต่ อ้ งกล่าวแก้ขอ้ หานี้ ตัวเขาเองก็ยงั คงดือ้ ดึงด้วยการเลือกแก้คาํ ฟ้อง ของเมเลตัสทีว่ า่ ตัวเขาเป็นผูท้ าํ ให้เด็กหนุม่ เสียคนและแนะนําเทพเจ้า องค์ใหม่สนู่ ครเอเธนส์โดยใช้วธิ เี บีย่ งประเด็นผ่านการยืนยันว่าตนเอง เคารพเทพเจ้าไม่ต่างไปจากชาวเอเธนส์คนอื่น ๆ ทั้งยังประกาศว่า พร้อมที่จะพลีชีพของตนเพื่อยืนยันถึงหนทางที่ตนเองเลือก (แทนที่ จะรอมชอมกับข้อหาดังกล่าวด้วยการพิสจู น์วา่ เทพเจ้าทีต่ นยึดถือไม่ได้ ขัดกับเทพเจ้าประจํานครเอเธนส์แม้แต่น้อย) ดังคํากล่าวที่ว่า: ในเมื่อเทพเจ้ากําหนดที่ให้ข้าพเจ้าอยู่ อย่างที่ข้าพเจ้าเชื่อ และเข้าใจว่าพร้อมด้วยคําสั่งให้ใช้ชีวิตในทางปรัชญา และ เพื่อตรวจสอบตนเองและผู้อื่นแล้ว มีหรือที่ข้าพเจ้าละทิ้ง ตําแหน่งของข้าพเจ้า เพราะกลัวความตายหรือกลัวอะไร ก็ตามที การกระทําอย่างนั้นย่อมเป็นสิ่งที่เลวร้าย…ท่าน สุภาพชน การกลัวความตายก็ไม่ใช่อื่นใด นอกจากการคิด ว่าตนฉลาด ในเมือ่ ตนไม่ฉลาด เพราะนีค่ อื การคิดว่าตนรูใ้ น สิ่งทีต่ นไม่รู้ ไม่มีใครทราบว่าความตายเป็นพรอันประเสริฐ สุดสําหรับมนุษย์หรือไม่ แต่พวกเขากลัวมันราวกับว่ามันเป็น สิ่งชั่วช้าที่ยิ่งใหญ่ที่สุด นี่ไม่ใช่ความเขลาที่น่าตําหนิติเตียน ทีส่ ดุ ดอกหรือ การทีค่ ดิ ว่าตนรูใ้ นสิง่ ทีต่ นไม่ร?ู้ ท่านสุภาพชน บางทีในเรือ่ งนี้ ข้าพเจ้าก็แตกต่างจากคนอืน่ ๆ ในลักษณะนี้
36
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
อีกด้วย กล่าวคือ ถ้าข้าพเจ้าจะกล่าวว่า ข้าพเจ้าฉลาดกว่า ใครในเรื่องใด ก็คงเป็นเรื่องนี้คือเมื่อไม่รู้อะไรมากเกี่ยวกับ ภพอืน่ ข้าพเจ้าก็ไม่ได้คดิ ว่าตนรู้ แต่ขา้ พเจ้ารูว้ า่ เป็นความชัว่ และน่าละอาย ที่จะกระทําในสิ่งที่ผิดและไม่เคารพเชื่อฟัง ผูท้ ด่ี กี ว่าข้าพเจ้า ไม่วา่ จะเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ เพราะฉะนัน้ ข้าพเจ้าจะไม่มีวันกลัวหรือหลบหลีกสิ่งซึ่งข้าพเจ้าไม่รู้ว่าดี หรือเลว แทนที่สิ่งที่ข้าพเจ้ารู้ว่าเลว14 นั่นจึงไม่แปลก ที่ภายหลังคําตัดสินของศาลแห่งนครเอเธนส์ว่า ตัวเขามีความผิดแล้ว โสเครติสจะจงใจกล่าววาจาในทํานองยั่วยุ— โดยเฉพาะการกล่าวถึงโทษที่ตัวเขาควรได้รับอย่างการเลี้ยงอาหารที่ ไพรเตเนียมทัง้ ๆ ทีไ่ พรเตเนียมคือสถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิซ์ งึ่ สงวนไว้สาํ หรับ นักกีฬาที่คว้าชัยชนะมาจากการแข่งกีฬาโอลิมปิกเท่านั้น—เพื่อให้ ศาลมีโทสะจนตัดสินโทษประหารแก่ตวั เขา เพราะถ้าตัวเขาไม่สามารถ ใช้ชีวิตทางปรัชญาตามที่ตนปรารถนา การตายก็อาจเป็นหนทางที่ดี และเหมาะสมในการปลดปล่อยตัวเขาที่สุด15 ดังนั้น ถ้าวิถีชีวิตทาง ปรัชญาคือวิถีชีวิตของการจุ้น วิถีชีวิตดังกล่าวก็คือวิถีชีวิตที่มุ่งไปสู่ เพลโต, “อโพโลจี,” 29a–29b. Leo Strauss, “On Plato’s Apology of Socrates and Crito,” Studies in Platonic Political Philosophy (Chicago: The University of Chicago Press, 1983), p. 49. 14
15
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
37
ความตาย วิถชี วี ติ ทางปรัชญาคือวิถชี วี ติ ทีค่ วามตายคือปลายทางของ ตัวมันเอง โสเครติสคือนักปรัชญาทีใ่ ช้ชวี ติ ไปตามครรลองของวิถชี วี ติ ทางปรัชญา โสเครติสจึงเป็นนักจุน้ ตัวยงทีจ่ าํ เป็นต้องตาย วิถชี วี ติ ของ โสเครติสคือวิถีชีวิตที่มุ่งหน้าไปสู่ความตาย ความตายคือปลายทาง เดียวทีร่ อรับการใช้ชวี ติ เพือ่ การจุน้ ของตัวโสเครติส แต่เนือ่ งจากความ ตายคือปลายทางเดียวทีร่ อรับการใช้ชวี ติ เพือ่ การจุน้ ความตายจึงอาจ เป็นบททดสอบอย่างแท้จริงต่อความรักที่นักปรัชญามีให้กับปัญญา เพราะแรงผลักให้นกั ปรัชญากลายเป็นนักจุน้ คือความรักในปัญญา คือ ความรักในสิ่งที่ไม่อาจเข้าถึง ครอบครองหรือบรรลุได้ การตายจาก การจุน้ จึงย่อมเป็นบททดสอบสุดท้ายถึงความรักทีน่ กั ปรัชญามีให้กบั ปัญญา (และวิถีชีวิตทางปรัชญา) ความตายคือการยืนยันถึงคุณค่า ของการจุน้ ในฐานะแนวทางตอบสนองต่อความรักในปัญญา ความตาย คือสิง่ ทีท่ าํ ให้โสเครติสกลายเป็นนักปรัชญาโดยสมบูรณ์แบบ (หากว่า เมื่อครั้งมีชีวิตตัวเขายังไม่ใช่นักปรัชญาที่สมบูรณ์แบบ) แต่ถ้าความ ตายคือผลลัพธ์โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ในวิถีชีวิตทางปรัชญาหรือการ จุ้น นั่นจะไม่เท่ากับการทําลายวิถีชีวิตของมันเองหรอกหรือ? ถ้า สุดท้ายแล้ววิถีชีวิตทางปรัชญาคือวิถีชีวิตที่มุ่งหน้าไปสู่ความตาย ความตายดังกล่าวจะมิใช่ปัจจัยที่นํามาสู่การจบสิ้นของวิถีชีวิตทาง ปรัชญาเองหรอกหรือ?
38
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
IV
นักปรัชญาต้องตาย ชีวติ ทางปรัชญาคือชีวติ ซึง่ นํามาสูค่ วามตาย ความ ตายอันเกิดมาจากการจุ้นของนักปรัชญา ความตายในฐานะเครื่อง พิสูจน์ความรักที่นักปรัชญามีให้กับปัญญา โสเครติสคือนักปรัชญาที่ รักในปัญญาอย่างแท้จริง โสเครติสจึงต้องตายเพื่อพิสูจน์ถึงความรัก ที่ตนเองมีต่อปัญญา โสเครติสคือผู้เลือกที่จะตายด้วยการล่อหลอก ให้ศาลแห่งเอเธนส์มโี ทสะจนสัง่ ประหารชีวติ ตน โสเครติสไม่ได้ถกู สัง่ ให้ตาย แต่เขายืมมือศาลแห่งเอเธนส์มาปลิดชีวิตตนเอง อีกครัง้ ใน Twilight of The Idols นีทเชอได้ชใี้ ห้เห็นว่าโสเครติส ปรารถนาความตายเพราะตัวเขาเบื่อหน่ายต่อการมีชีวิตอยู่ในโลก ที่ป่วยไข้ เต็มไปด้วยสิ่งจอมปลอม โสเครติสคือคนที่ปฏิเสธชีวิต และปรารถนาสัจธรรมในอุดมคติทไี่ ม่สามารถเกิดขึน้ บนโลกจริง ๆ ได้ โสเครติส—ในสายตานีทเชอ—จึงไม่ตา่ งไปจากผูป้ ว่ ยทีห่ ลงใหลได้ปลืม้ กับสัจธรรมที่จับต้องไม่ได้และปฏิเสธชีวิตของตนเสียเอง16 คงไม่ จําเป็นต้องกล่าวยํา้ ว่าข้อวิเคราะห์โสเครติสดังกล่าวย่อมสะท้อนอคติ ทีน่ ที เชอมีตอ่ โสเครติส แต่อย่างน้อยการกล่าวว่าโสเครติสเป็นผูป้ ว่ ยไข้ ก็อาจไม่ใช่สง่ิ ทีเ่ กินเลยนัก เพราะโสเครติสคือผูป้ ว่ ยไข้จริง ๆ โสเครติส ป่วยไข้จนปรารถนาให้ความตายเกิดขึน้ กับตัวเขา ความป่วยของโสเครติส 16
vice versa
,
, . .
Nietzsche Twilight of The Idols p 14
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
39
คือการชราภาพ โสเครติสกําลังเผชิญหน้ากับความป่วยเพราะตัวเขา แก่ชราลงไปทุกที ๆ ความป่วยจากการชราภาพคือสิ่งที่ทําให้ความ สามารถในการใช้เหตุผล ตั้งคําถาม ถกเถียงด้อยประสิทธิภาพลง ความป่วยจากการชราภาพจึงเป็นอุปสรรคของวิถีชีวิตทางปรัชญา เฮอร์โมจิเนส (Hermogenes) เคยรายงานให้เซโนฟอน (Xenophon) ฟังว่า โสเครติสปรารถนาความตายเพราะ “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ในตัวเขา เรียกร้องให้ตัวเขาตายเสียตั้งแต่ตอนนั้นก่อนที่จะต้องเจ็บป่วยด้วย โรคทีม่ าจากการชราภาพ17 สําหรับโสเครติส ความตายจึงเป็นพรอัน ประเสริฐ ความตายคือสิ่งที่ทําให้ตัวเขาหยุดแก่ตัวลงจนไม่สามารถ ปฏิบัติกิจวัตรในวิถีชีวิตของการจุ้น ที่สําคัญภายใต้ข้อจํากัดของ สังคมการเมืองในโลกมนุษย์ทปี่ ฏิเสธ ขัดขวาง เป็นปฏิปกั ษ์ตอ่ วิถชี วี ติ ทางปรัชญาและการจุ้น ความตายที่ให้ชีวิตแก่โสเครติสในยมโลก ย่อมเป็นหนทางสานต่อวิถีชีวิตทางปรัชญาและการจุ้นได้อย่างไม่มี ข้อจํากัด ดังที่ตัวโสเครติสได้กล่าวเอาไว้ว่า: แต่ในทางตรงกันข้าม หากว่าความตายเป็นอย่างที่ว่ากัน คือการเปลีย่ นทีอ่ ยูจ่ ากทีน่ ไี่ ปยังทีอ่ นื่ และถ้าหากว่าสิง่ ทีเ่ รา ได้รับฟังมาเป็นเรื่องจริง คือว่าคนที่ตายไปแล้วทั้งหมดอยู่ ที่นั่นแล้วล่ะก็ ท่านตุลาการ จะมีความสุขอะไรที่ยิ่งใหญ่ 17
40
อ้างใน I. F. Stone, The Trial of Socrates (New York: Anchor Books, 1989), p. 183.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ไปกว่านี?้ …..ข้าพเจ้ายินดีทจี่ ะตายหลายครัง้ ก็ได้ ถ้าหากว่า สิง่ เหล่านีเ้ ป็นความจริง เพราะข้าพเจ้าคงจะพบว่าชีวติ ทีน่ นั่ น่าพิสดารมาก เมื่อได้พบกับพาลามิดีส หรืออาแจ็กซ์บุตร ของเทลามอน หรือคนอืน่ ๆ ในสมัยก่อนทีเ่ สียชีวติ เนือ่ งจาก คําวินิจฉัยที่ไม่ยุติธรรม และได้เปรียบเทียบประสบการณ์ ของข้าพเจ้ากับของพวกเขา ข้าพเจ้าคิดว่านั่นคงจะไม่ใช่ สิ่งที่ไม่สนุก และที่สนุกที่สุดก็คงจะเป็นตอนที่ใช้เวลาของ ข้าพเจ้าไปกับการซักถามและตรวจสอบคนทีอ่ ยูท่ น่ี น่ั เหมือน อย่างทีข่ า้ พเจ้าทําทีน่ ี่ เพือ่ ดูวา่ ใครในหมูพ่ วกเขาทีฉ่ ลาดจริง และใครบ้างทีค่ ดิ ว่าตนฉลาด ในเมือ่ ตนไม่ฉลาด ท่านตุลาการ ท่านจะยอมเสียอะไรเพื่อว่าจะได้ตรวจสอบผู้ซึ่งนําทัพอัน เกรียงไกรเข้าตีกรุงทรอย หรือโอดิสสิอัสหรือซิลซิฟัส หรือ คนอืน่ ๆ อีกนับไม่ถว้ นทัง้ ชายและหญิงทีข่ า้ พเจ้าอาจเอ่ยได้? การที่จะได้สนทนาและสมาคมกับพวกเขา และตรวจสอบ พวกเขา คงเป็นความสุขที่หาอะไรเปรียบมิได้ นอกจากนี้ คนที่นั่นจะไม่ฆ่าคนที่กระทําอย่างนั้น เพราะถ้าสิ่งที่เราได้ รับฟังมาเป็นความจริง พวกเขามีความเป็นอมตะตลอดไป นอกเหนือไปจากที่มีความสุขกว่าคนที่อยู่ที่นี่ในด้านอื่น ๆ18 18
vice versa
เพลโต, “อโพโลจี,” 41a–c.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
41
จากตรงนี้ ความตายจึงเป็นเงื่อนไขที่นํามาสู่ความเป็นอมตะ ความตายคือเงื่อนไขที่ทําให้ชีวิตหลังความตายไม่ต้องเผชิญหน้ากับ ความตาย ความตายจึงเป็นสิ่งที่ทําให้ผู้ตายกลายเป็นผู้ที่ไม่ต้องตาย (อีกครัง้ ) ความตายคือสิง่ ทีท่ าํ ให้มนุษย์ไม่ตาย ความตายจึงเป็นประตู ที่ทําให้วิถีชีวิตทางปรัชญาและการจุ้นดํารงอยู่นิจนิรันดร ความตาย คือสิง่ ทีส่ ร้างเงือ่ นไขถึงทุก ๆ ความเป็นไปได้ในการจุน้ ของนักปรัชญา ความตายทําให้วถิ ชี วี ติ ของการจุน้ เป็นวิถชี วี ติ ทีด่ าํ รงอยูไ่ ด้ตลอดกาล โสเครติสเลือกทีจ่ ะตาย เพราะนัน่ ทําให้เขากลายเป็นนักปรัชญาอย่าง สมบูรณ์แบบที่สุด โสเครติสเลือกที่จะตายเพื่อจะได้ใช้ชีวิตของการ จุ้นได้อย่างไม่ต้องตายอีกครั้ง โสเครติสเลือกที่จะตายเพื่อทําให้วิถี ชีวติ ทางปรัชญาและการจุน้ เป็นวิถชี วี ติ ทีอ่ มตะโดยแท้จริง ถ้าวิถชี วี ติ ทางปรัชญาคือวิถีชีวิตของการจุ้นที่มาจากความรักอย่างไม่สิ้นสุด ความตายก็คือสิ่งที่จรรโลงให้ความรักและการจุ้นอยู่คู่กันตราบนาน เท่านาน อย่างไรก็ตาม แม้ความตายอาจคือพรอันประเสริฐที่ช่วยปลดปล่อยโสเครติสรวมทัง้ วิถชี วี ติ ทางปรัชญาตลอดจนการจุน้ ของเขาจาก ข้อจํากัดและแรงกดดันในสังคมการเมือง แต่เราก็ไม่ควรลืมถึงเงือ่ นไข พื้นฐานของโสเครติสเองที่แก่ชรามากเสียจนความตายหาใช่ตัวเลือก ที่ยากลําบากเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ชีวิตในสภาพที่แก่เฒ่า ด้วย เหตุน้ี ความตายจึงอาจเป็นพรสําหรับนักปรัชญาในวัยอย่างโสเครติส เท่านั้น แต่ถ้าความตายคือทางออกเฉพาะสําหรับนักปรัชญาในวัย
42
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ชราภาพ ความตายก็อาจไม่ใช่ทางออกอันประเสริฐสําหรับนักปรัชญา วัยหนุม่ ทีย่ งั เต็มเปีย่ มไปด้วยกําลังวังชาและไฟแห่งชีวติ ลีโอ สเตร๊าส์ (Leo Strauss) ผูเ้ ชีย่ วชาญปรัชญาการเมืองกรีกโบราณระดับอภิดารา เมื่ อ ศตวรรษก่ อ น ถึ ง กั บ เคยตั้ ง ข้ อ สั ง เกตว่ า หากโสเครติ ส ไม่ ไ ด้ ชราภาพตัวเขาอาจเลือกทีจ่ ะหนีจากนครเอเธนส์ตามคําเชิญชวนของ ไครโตก็เป็นได้19 ด้วยเหตุนี้ คําถามที่จําเป็นต้องขบคิดต่อไปก็คือ ภายใต้แรง กดดันและข้อจํากัดของสังคมการเมือง อะไรคือทางออกให้วิถีชีวิต ทางปรัชญาหรือวิถีชีวิตของการจุ้นเป็นไปได้? อะไรคือทางออก— นอกจากความตาย—สําหรับนักปรัชญาผูห้ นุม่ แน่นทีห่ ลงรักในปัญญา จนใช้ชวี ติ เพือ่ การจุน้ ? แต่นนั่ คงไม่ใช่ปญ ั หาทีเ่ ราต้องมาใคร่ครวญกัน ในที่นี้ และคงอยู่นอกเหนือทิศทางในเนื้อหาของความเรียงชิ้นนี้ เช่นกัน…
19
, “What is Political Philosophy?,” What is Political Philosophy? and ( : , ), p. 33.
Leo Strauss
Other Studies Illinois The Free Press of Glencoe 1959
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
43
/ Essay /
ความรักที่แท้จริง
และการแสวงหาความเป็นจริง ในปรัชญาของไลบ์นิซ ยุทธศิลป์ อร่ามศรี
ค
วามรักกับการแสวงหาความเป็นจริงเป็นประเด็นที่มีความ ใกล้ชิดกันมายาวนานตั้งแต่สมัยกรีกโบราณซึ่งจะเห็นได้จาก นักปรัชญาตามความคิดของเพลโตจะต้องเป็นทัง้ ผูแ้ สวงหาความจริง/ ความเป็นจริงและผู้รักในปัญญา (love of wisdom) ด้วย เมื่อถึง สมัยใหม่ตอนต้นความใกล้ชดิ ระหว่างความรักและการแสวงหาความ เป็นจริงไม่ได้หายไป ดังปรากฏให้เห็นในปรัชญาของไลบ์นซิ ไลบ์นซิ (Gottfried Wilhelm Leibniz: 1646–1716) เป็นนักปรัชญาชาว เยอรมัน มีชีวิตอยู่สมัยเดียวกับนิวตันและเดส์การ์ต แนวคิดที่สําคัญ ของเขา ได้แก่ โมนาด เหตุผลนิยม เป็นต้น บทความนี้จะวิเคราะห์ ว่าในปรัชญาของไลบ์นซิ ความรักท มี่ นี ยั ต่อการแสวงหาความเป็นจริง เป็นอย่างไร และความรักกับการแสวงหาความเป็นจริงสัมพันธ์กัน อย่างไร
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
ยุทธศิลป์ อร่ามศรี นิสต ิ ระดับ ปริญญาโท สาขาปรัชญาและ ศาสนา คณะมนุ ษ ยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
45
ความสมบูรณ์แบบ ความดี และความสุข
ความสมบูรณ์แบบ (perfection) เป็นคุณสมบัตทิ พี่ บได้ทงั้ ในพระเจ้า มนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ อีกทั้งความสมบูรณ์ยังเป็นมโนทัศน์ที่อยู่ทั้งใน อภิปรัชญาและจริยศาสตร์กล่าวคือ ในแง่ของอภิปรัชญา พระเจ้ามี ความสมบูรณ์แบบเพราะพระองค์เป็นสิง่ ทีไ่ ม่จาํ กัด พระเจ้าสร้างโลก และจักรวาลไว้อย่างสมบูรณ์แบบและมีความประสานกลมกลืนกัน โดยสร้างสิง่ ต่าง ๆ ขึน้ ตามพระฉายาของพระองค์ จึงทําให้มนุษย์และ สิ่งอื่น ๆ มีความสมบูรณ์แบบด้วย แต่ความสมบูรณ์แบบของมนุษย์ และสิ่งอื่น ๆ มีลักษณะลดหลั่นกันไปในแต่ละสิ่งเพราะความเป็นสิ่ง จํากัดของสิ่งเหล่านี้ ในแง่ของจริยศาสตร์ ความสมบูรณ์แบบเป็นความดีหรือทีเ่ รียกว่า ความดีเชิงอภิปรัชญา (metaphysical good) ซึง่ เป็นหนึง่ ในสามของ ประเภทของความดี ส่วนอีกสองประเภทคือ ความดีเชิงจริยะ (moral good) คือคุณธรรมอันหมายถึงการดําเนินชีวต ิ ทีแ่ สวงหาและเพิม่ พูน ความสมบูรณ์แบบของตนเอง และความดีเชิงกายภาพ (physical good) ซึ่งก็คือความพึงพอใจ (pleasure) อันหมายถึงความรู้สึกที่มี ต่อความสมบูรณ์แบบไม่วา่ จะเป็นความสมบูรณ์แบบทีม่ อี ยูใ่ นตนเอง หรือของผู้อื่น ความพึงพอใจบางครั้งเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวและหายไป แต่ถ้า ความพึงพอใจนั้นเกิดขึ้นและไม่หายไปหรือมีลักษณะที่คงทนถาวร
46
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
จะเรียกความพึงพอใจนี้ว่า ความสุข (happiness) โดยลักษณะที่ คงทนถาวรจะเกิดขึน้ ได้ตอ่ เมือ่ ประกอบด้วยเงือ่ นไข 2 ประการได้แก่ ประการแรกคือความรู้ที่ถูกต้องซึ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับความเป็นจริง เกีย่ วกับพระเจ้าและความสมบูรณ์แบบ หากปราศจากความรูท้ ถ่ี กู ต้อง จะทําให้ไม่สามารถแยกความสมบูรณ์แบบออกจากความไม่สมบูรณ์ แบบได้ ทําให้ความพึงพอใจมีแนวโน้มไปพึงพอใจในประสาทสัมผัส เช่น ความพึงพอใจในรสชาติอาหารที่อร่อย เป็นต้น และมีโอกาส ที่วัตถุแห่งความพึงพอใจ (object of pleasure) จะเป็นความไม่ สมบูรณ์แบบ ส่วนเงื่อนไขประการที่สองคือการมีคุณธรรม (virtue) เหตุผลเพราะคุณธรรมจะเป็นสิง่ ทีท่ าํ ให้ตนเองมีความโน้มเอียงในการ เลือกกระทําดีซึ่งคือการกระทําที่เพิ่มพูนความสมบูรณ์แบบของตน และการกระทําที่ทําให้พบกับความสมบูรณ์แบบของสิ่งต่าง ๆ ความรัก
เบื้องต้นไลบ์นิซแยกความรักออกเป็นสองประเภทคือความรักแบบ ทหารรับจ้าง (mercenary love) และความรักทีแ่ ท้จริง (true love) ทัง้ สองแบบเหมือนกันทีเ่ ป็นความพึงพอใจทีเ่ กิดขึน้ กับตนเอง แต่ตา่ ง กันทีค่ วามรักแบบทหารรับจ้างเกีย่ วข้องกับความพึงพอใจของตนเอง เท่านั้น คําว่า “ทหารรับจ้าง” เป็นคําเปรียบเทียบหมายถึง การรบ ของทหารรับจ้างเป็นไปเพือ่ ค่าตอบแทนของตนเอง การชนะศัตรูไม่ใช่
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
47
เป้าหมายแต่เป็นเพียงทางผ่านของการได้ค่าตอบแทนเท่านั้น ส่วน ความรักทีแ่ ท้จริงต้องมีการกระตุน้ มาจากความสุขของผูอ้ นื่ หรือกล่าว อีกแบบหนึ่งคือเงื่อนไขของการเกิดความรักที่แท้จริงคือความสุข ของผู้อื่น โดยคําว่า “ผู้อื่น ” ตรงนี้หมายถึ ง มนุ ษ ย์ ค นอื่ น ๆ หรื อ พระเจ้าก็ได้ เนื่องจากเงื่อนไขของความรัก จะต้อ งเป็ น ความสุ ข ของผู้ อื่ น จึงทําให้นกั วิชาการด้านไลบ์นซิ ตีความกันว่า ไลบ์นซิ พยายามประนีประนอมอัตนิยม (egoism) กับปรัตถนิยม (altruism) โดยแง่ที่เป็น อัตนิยมเพราะความรักทีแ่ ท้มเี ป้าหมายอยูท่ คี่ วามพึงพอใจของตนเอง ส่วนแง่ที่เป็นปรัตถนิยมคือวัตถุของความรัก (object of love) เป็น ความสุขของผู้อื่นและความสุขนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความพึงพอใจ ในตนเอง การตีความว่าเป็นการประนีประนอมสอดคล้องกับส่วนอืน่ ๆ ของปรัชญาของไลบ์นิซคือในสมัยที่ไลบ์นิซเรียนหนังสือก็ได้เขียน จดหมายถึงโธมาสเซียสเพื่อประนีประนอมอริสโตเติลกับปรัชญา สมัยใหม่เช่นกัน ต่อมา นอกจากเงือ่ นไขของความสุขของผูอ้ น่ื แล้ว การเกิดความ รักทีแ่ ท้จริงยังต้องประกอบด้วยอีกเงือ่ นไขคือ ความรูส้ กึ ทีป่ ราศจาก ความหวัง ความกลัว และประโยชน์สว่ นตน เช่น ในการรักเพือ่ นมนุษย์ จะต้องไม่รักเพื่อหวังประโยชน์ส่วนตน ไม่ใช่หวังเพื่อให้เกิดความ พึงพอใจกับตนเอง ส่วนในการรักพระเจ้าจะต้องปราศจากความหวัง ว่าจะมีวันพิพากษาและได้คําพิพากษาที่ดี ปราศจากความเกรงกลัว
48
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ต่อพลังอํานาจของพระเจ้า ปราศจากผลประโยชน์ส่วนตนเช่น เพื่อ ความสบายใจ เป็นเครือ่ งมือทางการเมือง เป็นต้น ด้วยเหตุนจ้ี งึ ทําให้ ความรักทีแ่ ท้จริงบางครัง้ ถูกเรียกว่า รักไร้ประโยชน์สว่ นตน (disinterested love) การแสวงหาความเป็นจริง
การแสวงหาความเป็นจริงตามความคิดของไลบ์นิซทําได้ 2 ทาง ทางแรกคือศึกษาวิทยาศาสตร์ของจักรวาล ความเป็นระเบียบและ ความงามของสิง่ สร้างของพระเจ้าสร้างคือโลกและจักรวาล เมือ่ ศึกษา แล้วจะทําให้ค้นพบความประสานกลืมและความสมบูรณ์แบบที่ พระเจ้าสร้างไว้ ส่วนทางทีส่ องคือศึกษาความสมบูรณ์แบบในตัวของ มนุษย์เองโดยศึกษาตัวเองได้ผา่ นการมีคณ ุ ธรรม เพราะการมีคณ ุ ธรรม เป็นการดําเนินชีวติ เพือ่ แสวงหาและเพิม่ พูนความสมบูรณ์แบบ ในการ แสวงหาจึงสามารถพบกับความสมบูรณ์แบบได้ และศึกษาผ่านคนอืน่ โดยทําความเข้าใจว่าความสุขของผู้อื่นที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความ รักทีแ่ ท้จริงเพราะความสุขเป็นความพึงพอใจในความสมบูรณ์แบบที่ คงทนถาวร ในการทําความเข้าใจความสุขจึงสามารถพบกับความ สมบูรณ์แบบได้ ในการแสวงหาความจริง ไลบ์นิซชี้ว่า ใครก็ตามที่ต้องการรู้จัก พระเจ้า แม้เขาจะศึกษาวิทยาศาสตร์ของจักรวาลหรือศึกษาความ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
49
บรรณานุกรม ยุทธศิลป์ อร่ามศรี. (2559) “จดหมายถึงโทมาเซียส: ไลบ์ นิ ซ กั บ การประนี ประนอมอาริสโตเติลกับ ปรัชญาสมัยใหม่” เอกสาร งานประชุมวิชาการ อาริส โตเติ ล กั บ สั ง คมไทย, 130–140. , .(
).
Brown G 1995 Lei-
’
bniz s moral philoso-
.
, . ( .).
phy In Jolley N ed
สมบูรณ์แบบในตัวมนุษย์ เขาจะไม่ประสบความสําเร็จถ้าไม่รกั คนอืน่ แบบ แท้จริงด้วย เหตุผลเพราะในการรูจ้ กั พระเจ้าต้องอาศัยการเลียนแบบ พระองค์ เนือ่ งจากพระองค์รกั มนุษย์ทกุ คน มนุษย์จงึ ต้องเลียนแบบ โดยรักคนอืน่ ๆ ด้วย ถึงจะทําให้รจู้ กั พระองค์ได้ การรักคนอืน่ นีส้ ามารถ ทําได้โดยเริม่ จากรักพระเจ้าแล้วความรักในพระเจ้าจะชักนําไปสูค่ วามรัก คนอื่น ความสัมพันธ์ระหว่างความรัก กับการแสวงหาความเป็นจริง
The Cambridge Companion to Leibniz
–
411 441
).
. (p. :
Cambridge
Cambridge University
.
press
, ., and Fox, . . (2006). Historical Dictionary of Leibniz’s Philosophy. Maryland: Scarecrow press. Brown S N J
, . (2005). Lei: ledge. Jolley N
.
bniz London Rout-
50
ความรักที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเงื่อนไขความสุขของผู้อื่น และคนอืน่ จะมีความสุขได้จะต้องอาศัยเงือ่ นไขความรูท้ ถี่ กู ต้อง และ เนือ่ งจากก่อนทีจ่ ะมีความรูท้ ถี่ กู ต้องจะต้องมีการแสวงหาความรูก้ อ่ น หรือกล่าวอีกแบบหนึง่ คือ ก่อนทีจ่ ะมีความรูท้ ถี่ กู ต้องจะต้องแสวงหา ความเป็นจริงก่อน ดังนัน้ จึงอนุมานได้วา่ การแสวงหาความเป็นจริง เป็นเงื่อนไขของการมีความรักที่แท้จริง ส่วนการแสวงหาความเป็น จริงจะเกิดขึ้นได้ต้องมีเงื่อนไขการรักผู้อื่นก่อนซึ่งเกิดขึ้นได้จากการ รักพระเจ้า หรือกล่าวอีกแบบหนึง่ คือ การรักผูอ้ นื่ เป็นเงือ่ นไขของการ แสวงหาความเป็นจริง ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ในปรัชญาของไลบ์นิซความรักที่แท้จริงกับ การแสวงหาความเป็นจริงเป็นเงื่อนไขของกันและกัน อย่างไรก็ดี มี
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ข้อสังเกตว่าความสัมพันธ์นี้มีลักษณะวนเป็นวงกลม กล่าวคือ จะรัก ต้องแสวงหาความเป็นจริงก่อน และการแสวงหาความเป็นจริงได้จะ ต้องรักก่อน
, . ., , . . ( .). (1969).
Leibniz G W Loemker L E ed
Philosophical papers
.
: .
and letters Dordrecht Reidel Publishing Co Look
, B . C . ( 2013 ).
Gottfried Wilhelm Lei-
. ://plato.stanford. edu/entries/leibniz/.
bniz Retrieved from http
, . (2003).
Matthews B
Philosophy as the Love
. ://philosophyproject . org / wp - content/uploads/2013/ 02/Matthews-Philoso phical - Framework - 2013.pdf. of Wisdom Retrieved from http
, . (2011). Lei. f r o m h t t p :// p l a t o . stanford.edu/entries/ leibniz-ethics/. Youpa A
’
bniz s Ethics Retrieved
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
51
/ Essay /
อภิปรัชญาแห่งความรัก (Metaphysics of Love) พิพัฒน์ สุยะ
เมื่
อเอ่ยถึงความรัก คงไม่ตอ้ งอธิบายอะไรกันมากนัก ทุกคนคง ตระหนักรู้เข้าใจได้อย่างทันที (intuitive) ว่าเรากําลังพูด ถึงเรื่องอะไร ขั้นต่อไป หากให้อธิบายว่าความรักเป็นเช่นใด หรือมี ลักษณะอย่างไร เราก็คงตอบได้อย่างมากมาย ไม่วา่ จะเป็น ความคิด เกีย่ วกับความรักตัง้ แต่สมัยกรีกทีแ่ บ่งความรักออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้แก่ agape, philia และ eros แต่ในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ความรักที่เป็นแบบ eros หรือความรักแบบโรแมนติก (Romantic Love) เท่านัน ้ และแม้วา่ ความรักแบบโรแมนติกได้มกี ารแบ่งออกเป็น ประเภทต่าง ๆ1 อย่างละเอียดลออขนาดไหนก็ตาม สิ่งเหล่านั้นเพียง แต่ให้ข้อมูลว่า “ความรัก” มีลักษณะอย่างไรบ้าง แต่ไม่ได้ตอบ คําถามว่า จริง ๆ แล้ว “ความรัก” คืออะไรกันแน่
พิพฒ ั น์ สุยะ อาจารย์ภาควิชา ปรั ช ญา คณะอั ก ษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เชี่ยว ช า ญ ด้ า น อ ภิ ป รั ช ญ า แ ล ะ ญาณวิทยา
กรุณาดู ความรักโรแมนติกประเภทต่าง ๆ ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภัควดี อมาตยกุล ได้บรรยายไว้แล้วอย่างครบถ้วน ใน https://goo.gl/5ZIbrp และ https://goo.gl/tsfU8r 1
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
53
อภิปรัชญา (Metaphysics) เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญาที่สนใจ ในเรื่องของธรรมชาติหรือเนื้อแท้ของความเป็นจริง (Reality) ว่าคือ สิง่ ใด คําถามของอภิปรัชญาส่วนใหญ่จงึ ออกมาในทํานองทีว่ า่ ธรรมชาติของสรรพสิง่ คืออะไร สิง่ ต่าง ๆ เหล่านัน้ มีอยู่ (exist) จริงหรือไม่ ถ้ามีอยู่แล้ว มีอยู่ในลักษณะใดกันแน่ เช่น เมื่อนักอภิปรัชญาสนใจ เกี่ยวกับเรื่องเวลา ก็มักจะเริ่มต้นด้วยคําถามว่า เวลาคืออะไร เวลา มีอยู่จริงหรือไม่ แล้วถ้ามีอยู่ เวลามีอยู่อย่างไร ต่างกับการมีอยู่ของ สิ่งอื่นอย่างไร ฯลฯ อภิปรัชญาแห่งความรักก็ทํานองเดียวกัน คือสนใจว่า “ความรัก” นัน้ มีอยูห่ รือไม่ ถ้ามี มีอยูอ่ ย่างไร กล่าวอีกอย่างได้วา่ ธรรมชาติ ของความรักคืออะไร หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการถามหานิยามของ ความรักก็ว่าได้ โดยปกติการนิยามในทางปรัชญา ก็จะเป็นการถาม หาเงื่อนไขจําเป็น (necessary conditions) และเงื่อนไขเพียงพอ2 (sufficient conditions) เช่น คําถามสําคัญคําถามหนึง่ ในญาณวิทยา ก็คอื คําถามทีว่ า่ ความรูค้ อื อะไร นักญาณวิทยาทีต่ อ้ งการตอบปัญหานี้ ตัวอย่างของเงื่อนไขจําเป็นและเพียงพอที่เข้าใจได้ง่ายที่สุดก็คือ เงื่อนไขของการที่ทําให้ไฟ ลุกไหม้ได้ จะต้องประกอบด้วยออกซิเจน เชื้อเพลิง และความร้อน ทั้งออกซิเจน เชื้อเพลิง หรือ ความร้อน ต่างก็เป็นเงือ่ นไขจําเป็น ทีท่ าํ ให้ไฟลุกไหม้ได้ แต่ลาํ พังองค์ประกอบแต่ละอย่าง เช่น มีเพียงออกซิเจนอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะทําให้ไฟลุกไหม้ได้ ในทํานองเดียวกัน มีเชือ้ เพลิงอย่างเดียว หรือมีความร้อนแต่เพียงอย่างเดียวก็ไม่สามารถก่อให้เกิดไฟไหม้ได้ จะต้อง มีครบทัง้ สามองค์ประกอบจึงจะมีเงือ่ นไขครบถ้วนทีจ่ ะทําให้ไฟติดได้ กล่าวคือ ออกซิเจน เชือ้ เพลิง และความร้อนนั้นเป็นเงื่อนไขเพียงพอสําหรับทําให้ไฟลุกไหม้นั่นเอง 2
54
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ก็มักจะใช้วิธีการสําคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือการหาเงื่อนไขจําเป็นและ เพียงพออะไรบ้าง เราถึงจะเรียกว่าความรู้ ในทํานองเดียวกัน มีอะไร เป็นองค์ประกอบบ้าง เราถึงจะเรียกได้วา่ เป็น “ความรัก” ซึง่ ก็คงยาก ที่จะมีข้อยุติว่าเงื่อนไขที่จําเป็นและเพียงพอที่จะเรียกว่าความรักนั้น คืออะไร มาถึงจุดนี้ หลายคนคงจะนึกถึงทางออกทีเ่ ป็นแก้วสารพัดนึก เวลามีปัญหาในการนิยามเรื่องใดก็ตาม ความคิดนี้มักจะได้รับการ หยิบยกมาเป็นทางออกเสมอ นั่นก็คือข้อเสนอของวิตต์เกนสไตน์ (Ludwig Wittgenstein) ทีใ่ ช้ความคิดเรือ่ ง “ความละม้ายคล้ายกัน ของสายตระกูล”3 (family resemblance) ในการทําความเข้าใจ ความหมายของสิ่งต่าง ๆ แต่สําหรับความรัก แก้วสารพัดนึกของ วิตต์เกนสไตน์คงช่วยอะไรไม่ได้กระมัง เพราะความรักของแต่ละคน ช่างแตกต่างกันสุดขัว้ จากปลายหนึง่ ไปยังอีกปลายหนึง่ หาได้ละม้าย วิตต์เกนสไตน์เสนอความคิดเรื่อง “ความละม้ายคล้ายคลึงกันในสายตระกูล” เพื่อใช้อธิบาย ว่า เราไม่สามารถเข้าใจความหมายของคําได้โดยการนิยามแบบใดแบบหนึ่ง เช่น คําว่า “เกม” (game) นั้นหมายถึงอะไร เพราะเราจัดตั้งแต่ หมากกระดาน ไพ่ ฟุตบอล จนถึงกีฬาต่าง ๆ ว่า เป็น “เกม” ลักษณะร่วมจริง ๆ ของสิ่งที่กล่าวมาคืออะไร อันที่จริงแล้ว เราเข้าใจคําว่าเกมด้วย “ความละม้ายคล้ายคลึงกันในสายตระกูล” ที่มาจากความคิดที่ว่า คนในตระกูลเดียวกันจะมี ลักษณะคล้ายคลึงกันทัง้ แบบรับช่วง ข้ามช่วง และร่วมชัน้ เชือ้ สาย ในด้านรูปร่าง หน้าตา ท่าทาง อากัปกิริยา ฯลฯ ความเป็น “ตระกูล” จึงไม่ได้มีเนื้อหาสาระแบบเดียวถึงจะสามารถบ่งบอก ลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดได้ว่าคน ๆ นี้เป็นคนในตระกูลเดียวกันเพราะมีลักษณะแบบนี้ ใน ความเป็นจริง เรารู้ได้ก็เพราะความละม้ายคล้ายคลึงบางอย่างที่มีกับบางคนในตระกูล กรุณาดู Ludwig Wittgenstein. Philosophical Investigation. (translated G.E.M. Anscombe and Rush Rhees). Oxford: Basil Blackwell, 1953. pp. 66–67. 3
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
55
Entities or Beings
Properties
Universals
Particulars
Relations
Events Objects
Abstract objects
แผนภาพที่ 1
Concrete objects
คล้ายคลึงกันเป็นทอด ๆ อย่างกับเรื่องราวอื่น ๆ บางคนเห็นว่ารักคือ ความปรารถนาอันแรงกล้า บางครารักคือความรูส้ กึ อันเข้มข้น อีกคน คือความโปร่งโล่งสบาย อีกหลายคนเห็นว่ารักคือห้วงเหวมืดดําดิง่ ลึก ลงไปไม่รจู้ บ ฯลฯ ฉะนัน้ การทีจ่ ะตอบคําถามว่า ความรักคืออะไรนัน้ คงต้องเข้าไปพิจารณาถึงการมีอยู่ของความรักด้วย เนือ้ หาทีว่ า่ ด้วยการมีอยู่ (existence) ในอภิปรัชญาจะอยูใ่ นขอบ เขตของภววิทยา (Ontology) ซึ่งการมีอยู่ก็คือผลรวมทั้งหมดของ ความเป็นจริง (the sum total of reality) และใช้เป็นตัวแยกแยะ ความแตกต่างระหว่างสิง่ ทีเ่ ป็นจริง (real things) ออกจาก สิง่ ทีแ่ ต่ง เติมขึ้น (fictional things) และโดยปกติการจัดประเภทต่าง ๆ ทาง ภววิทยา4 (ดูแผนภาพที่หนึ่ง) 4
56
( .) Philosophy. UK: Duncan Baird, 2009. p. 12.
David Papineau ed
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
จากแผนภาพที่หนึ่งเมื่อเรากล่าวถึง การมีอยู่ของสิ่งใด ๆ หรือ ภาวะใด ๆ (entities or beings) ก็ตาม จะแบ่งได้เป็นสิง่ สากล (universals) กับสิง ่ เฉพาะ (particulars) สิง่ สากลก็คอื ลักษณะทัว่ ไปหรือ ลักษณะทีเ่ ป็นสากลของสิง่ ต่าง ๆ ทีม่ รี ว่ มกัน อาจเข้าใจได้จากคําจําพวก ประเภท กลุ่ม ชั้น ฯลฯ เช่น ความเป็นมนุษย์ ความแดง ความดี ความยุติธรรม ฯลฯ ส่วนสิ่งเฉพาะก็คือสิ่งที่เป็นแต่ละสิ่งหรือเป็น เฉพาะตัวของสิ่งนั้น ๆ เช่น โต๊ะตัวหนึ่ง บ้านหลังนั้น มหาวิทยาลัย ศิลปากร เพลโต ฯลฯ ซึ่งสิ่งเฉพาะเหล่านี้ยังแยกย่อยออกเป็นวัตถุ (objects) กับ เหตุการณ์ (event) วัตถุก็เช่น โทรศัพท์มือถือของเรา รองเท้าคูน่ นั้ ของเขา ฯลฯ ส่วนเหตุการณ์ ก็เช่น สงครามโลกครัง้ ที่ 1 การเสียกรุงศรีอยุธยาครัง้ ที่ 2 วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ฯลฯ นอกจากนี้ วัตถุจะแบ่งเป็น วัตถุนามธรรม (abstract objects) กับ วัตถุรปู ธรรม ( concrete objects) วั ต ถุ น ามธรรมก็ คื อ สิ่ ง ซึ่ ง ไม่ ไ ด้ มี อ ยู่ ใ นพื้ น ที่ (space) และ เวลา (time) เช่น จํานวนสาม ฯลฯ ส่วนวัตถุรูปธรรม ก็คือ สิ่งซึ่งมีอยู่ในพื้นที่และเวลา เช่น บ้านของเธอคนนั้น ฯลฯ สําหรับสิง่ สากล (universals) นัน้ แบ่งเป็น คุณสมบัติ (properties) และ ความสัมพันธ์ (relations) คุณสมบัตก ิ ค็ อื คุณลักษณะต่าง ๆ ทีป่ ระกอบขึน้ เป็นสิง่ ๆ นัน้ เช่น การมีนา้ํ หนัก 95 กก. การทีม่ ผี มสีดาํ ฯลฯ ส่วนความสัมพันธ์คือภาวะที่เกิดขึ้นระหว่างของสองสิ่งขึ้นไป5 5
vice versa
มีข้อยกเว้นตรงนี้อยู่ คือ ปัญหาทางปรัชญาเรื่องความสัมพันธ์ของการเอกลักษณ์ (relation
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
57
แน่นอนว่าสําหรับ “ความรัก” นัน้ เป็นสิง่ สากล เพราะเราไม่ได้พดู ถึง เหตุการณ์เฉพาะทีว่ า่ “นาย ก รัก นางสาว ข” หรือ “การทีน่ าย ค รักใครบางคน” แต่เราพูดถึงสภาพโดยรวม กล่าวถึงประเภทของ สภาวะบางอย่างที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ฉะนั้น “ความรัก” จึงเป็นสิ่ง สากล แต่คราวนี้คําถามต่อมาก็คือ “ความรัก” เป็นคุณสมบัติหรือ ความสัมพันธ์กันแน่ ความรักในฐานะที่เป็นคุณสมบัติ ถ้ามีอยู่นั้นมีอยู่อย่างไร ก็คง ต้องกลับมาทีม่ โนทัศน์พน้ื ฐานทางอภิปรัชญาเรือ่ ง “การมีอยู”่ นัน่ เอง โดยปกติแล้ว ในทางอภิปรัชญา “การมีอยู่” จริง ๆ แล้วนั้นคืออะไร ก็ยงั เป็นทีถ่ กเถียงกันอยู่ เพราะว่าบ่อยครัง้ ทีม่ นี กั ปรัชญาบางคนถือว่า “การมีอยู่” ไม่ใช่ภาคแสดงระดับแรก (the first-level predicate) นัน่ จึงเท่ากับว่า “การมีอยู”่ ไม่ได้แสดงถึงคุณสมบัตขิ องวัตถุอย่างที่ คําจําพวก ส่องแสง ตกหล่น ฯลฯ ได้แสดงถึงวัตถุเหล่านัน้ นักปรัชญา ที่เชื่อเช่นนี้ก็เช่น เฟรเก (Frege) และ รัสเซล (Russell) ซึ่งเห็นว่า “การมีอยู”่ เป็นภาคแสดงระดับสอง (the second-level predicate) ) คือวัตถุหนึ่งสามารถเอกลักษณ์ (ในเชิงจํานวน) กันกับตัวมันเอง ดูรายละเอียด ได้ใน ทิม เครน (เขียน), พิพัฒน์ สุยะ (แปล) “สิ่งสากลกับสิงเฉพาะ,” ใน พิพัฒน์ สุยะ (บก.) สุวิชญาจารย์: หนังสือรวมบทความทางวิชาการเพื่อเป็นเกียรติแด่ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอมอร นิรญ ั ราชและอาจารย์เชษฐา พวงหัตถ์ เนือ่ งในวาระอายุครบ 60 ปี. นครปฐม: ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม: ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555, หน้า 210. of identity
58
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
กล่าวคือ แสดงถึงคุณสมบัติของคุณสมบัติอีกที ดังนั้นเมื่อเราพูดว่า “ความรักมีอยู่” (Love exists) นั้น จะไม่มีรูปแบบทางตรรกะเช่น เดียวกันกับการพูดว่า “ดาวซิริอุสส่องแสง” (Sirius shines) คือ เป็นการแสดงถึงคุณสมบัติของวัตถุเฉพาะวัตถุใดวัตถุหนึ่ง กล่าว อีกอย่างคือ ความรักต้องมีคุณสมบัติอ่ืน ๆ รวมกันเป็นความรักก่อน ถึงจะมีอยู่ได้ ยิ่งกว่านั้นเวลาพูดว่า “ความรักมีอยู่” นั้น จะเท่ากับ พูดว่า “Lovehood is instantiated” (การเป็นความรักได้รับการ แสดงผ่านตัวอย่างหนึง่ ) ซึ่งจะยืนยันว่าคุณสมบัตขิ องความรักที่มีอยู่ นั้น อย่างน้อยที่สุดก็จะมีตัวอย่างหนึ่งหรือยืนยันว่าอย่างน้อยที่สุดมี สิ่งหนึ่งที่เป็นเจ้าของคุณสมบัติที่ว่านั้น ซึ่งการเข้าใจความรักมีอยู่ใน ฐานะทีเ่ ป็นคุณสมบัตจิ งึ ดูเหมือนว่าจะไม่ชว่ ยให้เราเข้าใจอะไรได้มาก ขึ้นนัก ส่วนความรักในฐานะที่เป็นความสัมพันธ์ มีนักปรัชญาบางคน เห็นว่าควรจะเข้าใจความรักในลักษณะแบบนี้ เช่น แองเจลิกา เครบส์ (Angelika Krebs)6 เห็นว่า การวิเคราะห์ความรักแบบโรแมนติกนัน้ ควรเริม่ ต้นด้วยประโยค “คนสองคนนัน้ รักซึง่ กันและกัน” ไม่ใช่เริม่ ต้น ด้วยประโยค “ก รัก ข” เพราะประโยคแรกนัน้ เน้นถึงการมีชวี ติ ร่วมกัน , “Between I and Thou – On the Dialogical Nature of Love,” in , ( .). Love and Its Objects: What Can we Care For?. NY: Palgrave Macmillan, 2014. p. 22. 6
Angelika Krebs
Christian Maurer Tony Milligan and Kamila Pacovska eds
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
59
(sharing of life) ประโยคเช่น “ผมรักคุณ” เราจะสามารถเข้าใจได้ ว่าผู้พูดอยู่ในบริบทของการมีบางอย่างร่วมกันในฐานะที่เป็นถ้อยคํา ทีแ่ สดงถึงการกระทํา (performative) และเป็นคําเชือ้ เชิญทีจ่ ะมีชวี ติ ร่วมกัน ส่วนประโยค “ก รัก ข” นัน้ ให้ความสําคัญไปทีอ่ ารมณ์ของ เฉพาะตัวบุคคลเท่านัน้ ความรักทีแ่ ท้จริงจึงเป็นความรูส้ กึ ร่วมกับอีก คนหนึ่งและเป็นเรื่องเล่าเรื่องเดียวกัน เป็นการตัดสินคุณค่าด้วยกัน และเป็นพฤติกรรมของคนสองคน ความรักจึงไม่ใช่การทีค่ นรักแต่ละ คนมีอกี คนเป็นสิง่ ของของตน (his or her object) แต่ความรักเกิดขึน้ ระหว่างคนสองคน รักนัน้ ก็คอื ความสัมพันธ์ เป็นการมีชวี ติ ร่วมกันทัง้ ทางอารมณ์ความรู้สึกและการกระทํา รักจึงไม่สามารถลดทอนไปสู่ อารมณ์หรือการกระทําของแต่ละบุคคลเท่านั้น แต่รักยังถักทอชีวิต ทัง้ สองเข้าไว้ดว้ ยกัน สถานะทางอภิปรัชญาแห่งความรักในลักษณะนี้ ก็อาจจะแสดงให้เห็นภาพทีช่ ดั เจนขึน้ บ้าง เมือ่ เราพูดถึง “ความรัก” อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจที่ว่าความรักคือความสัมพันธ์นั้น ดูเหมือนว่าจะบรรยายถึงธรรมชาติของความรักได้ชัดเจนขึ้น แต่ ไม่ได้หมายความว่าความรักจะเป็นความสัมพันธ์ที่สวยสดงดงามแต่ เพียงอย่างเดียว และคงไม่ได้เป็นความสัมพันธ์แบบที่เครบส์เข้าใจ เท่านัน้ เพราะความสัมพันธ์ยอ่ มมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ได้จาํ กัดแค่ การมีชีวิตร่วมกัน หรือแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตบางอย่างแก่กัน เท่านั้น หากแต่ยังมีความเข้าใจความสัมพันธ์ในด้านลบเลยด้วยซํ้า หนึง่ ในทัศนะทีม่ องความสัมพันธ์ในทํานองนีก้ ค็ อื ฌอง ปอล ซาร์ตร์
60
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
(Jean-Paul Sartre) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่มองว่า ความรักคือ ความสัมพันธ์ก็จริง แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ยากจะเป็นไปได้ ซาร์ตร์มองว่า มนุษย์นนั้ เมือ่ สํานึกรูว้ า่ ตนเองมีอยู่ ก็พบว่าตัวเขา เองอยู่บนโลกใบนี้แล้ว คือมี “ภาวะที่อยู่ในโลก” (being-in-theworld) เป็นลักษณะสําคัญอันหนึ่งของมนุษย์ แต่เมื่อมนุษย์มีการ สํานึกรู้ การสํานึกรู้นั้นแสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีสมรรถนะในการคิด และการคิดย่อมหมายถึงการมีเจตจํานง ซึ่งการแสดงเจตจํานงก็คือ การเลือกหรือตัดสินใจอันจะหมายถึงเสรีภาพนัน่ เอง ในแง่นเี้ สรีภาพ จึงถือเป็นพื้นฐานอันสําคัญของความคิดและการกระทําของมนุษย์ เสรีภาพคือโครงสร้างการรับรูข้ องมนุษย์ ซาร์ตร์กล่าวว่า “มนุษย์ถกู สาปให้มีเสรีภาพ” มนุษย์จึงไม่สามารถหลีกหนีไปจากเสรีภาพของ ตนได้ ซึง่ เสรีภาพจะเป็นผลก็ตอ่ เมือ่ มีความรับผิดชอบต่อเสรีภาพนัน้ มนุษย์จึงต้องรับผิดชอบการกระทําทั้งหมดของเขาเอง ซาร์ตร์ได้รบั อิทธิพลความคิดบางส่วนจากปรัชญาปรากฏการณ์ วิทยา (Phenomenology) เขาจึงใช้วธิ กี ารของปรากฏการณ์วทิ ยาซึง่ พบในหนังสือเล่มสําคัญของเขาทีช่ อื่ ว่า Being and Nothingness: An 7 Essay in Phenomenological Ontology มาเป็นรากฐานความคิดทาง Jean-Paul Sartre. Being and Nothingness: An Essay in Phenomenological Ontology. (Trans. and with an Intro. by Hazel E. Barnes). NY: Washington Square Press, 1984. 7
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
61
ภววิทยา กล่าวคือ ซาร์ตร์อธิบายว่า เมื่อคนเราคิดจินตนาการหรือ ว่ารู้สึกถึงสิ่งต่าง ๆ แล้ว เรามักจะคิดว่าสิ่งเหล่านี้ปรากฏอยู่ในมโน สํานึก (consciousness) ของเรา แต่เปล่าเลย ซาร์ตร์คิดว่า ไม่มี สิ่งเหล่านี้หรือแม้กระทั่งมโนภาพ (images) อยู่ในมโนสํานึกของเรา ทั้งสิ้น เพราะว่ามโนสํานึกไม่ใช่วัตถุหรืออะไรบางอย่างที่จะมีอะไร มาอยู่ข้างในได้ แต่สิ่งเหล่านี้รวมทั้งวัตถุต่าง ๆ เป็นความสัมพันธ์ที่ “ปรากฏต่อ” มโนสํานึกเท่านั้น กล่าวคือ จะมีแต่ปรากฏการณ์ที่ เชื่ อ มโ ยงและสั ม พั น ธ์ กั บ มโนสํ า นึ ก เท่ า นั้ น หรื อ อี ก นั ย หนึ่ ง ก็ คื อ ปรากฏการณ์กับมโนสํานึกจะเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอ ถ้าไม่มีสิ่งใด สิ่งหนึ่ง อีกสิ่งนั้นก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีอะไรที่ปรากฏ ได้หากไม่มีสิ่งใดที่มันไปปรากฏต่อหรือสิ่งที่รับรู้มัน และไม่มีอะไรที่ ปรากฏการณ์ไปปรากฏต่อได้นอกเสียจากมโนสํานึก เมือ่ เรากล่าวถึง “บางสิ่งที่ไปปรากฏต่อบางสิ่ง” สิ่งที่ไปปรากฏต่อก็คือ “ปรากฏการณ์” (phenomenon) ส่วนสิ่งที่มีบางสิ่งมาปรากฏต่อ ก็คือมโน สํานึก สําหรับซาร์ตร์ ปรากฏการณ์นี้ก็เรียกได้ว่าเป็น “ภาวะใน ตัวเอง” (being-in-itself) ส่วนมโนสํานึกก็คือสิ่งที่ซาร์ตร์เรียกว่า “ภาวะเพื่อตัวเอง” (being-for-itself) ซาร์ตร์ได้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างภาวะในตัวเองกับภาวะ เพือ่ ตัวเองว่า ภาวะในตัวเองนัน้ มีอตั ถิภาวะหรือการมีอยูแ่ ต่ไม่มมี โน สํานึกที่จะสามารถตระหนักรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ เป็นสิ่งบังเอิญ เฉื่อย ไม่มี ปฏิกิริยาตอบสนอง มีลักษณะตายตัว แน่นทึบ ไม่มีเหตุผลในการ
62
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
มีอยู่ สิ่งที่มีภาวะเช่นนี้ได้แก่ จําพวกวัตถุสสาร หรือสิ่งต่าง ๆ ที่มิใช่ มนุษย์ เป็นสิ่งสมบูรณ์ในความหมายที่ว่ามันเป็นอย่างที่มันเป็น ไม่ สามารถเป็นอย่างอื่นได้ พฤติกรรมหรือการเคลื่อนไหวของมันมีกฎ ครอบคลุมแน่นอนตายตัวและสามารถคาดการณ์ได้ ส่วนภาวะเพื่อ ตัวเองนั้นมีทั้งอัตถิภาวะหรือการมีอยู่และมโนสํานึกซึ่งก็คือมนุษย์ และมนุษย์มิได้มีลักษณะตายตัวแบบภาวะในตัวเอง สําหรับซาร์ตร์นั้น มนุษย์สามารถที่จะเลือกได้ว่าจะมีมโนสํานึก แบบไหน และมนุษย์นน้ั เป็นอะไรมากกว่ามโนสํานึกของตัวเอง ดังนัน้ ชีวิตมนุษย์สามารถเลือกประพฤติหรือกระทําสิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยการที่ เราจะเลือกมโนสํานึกแบบไหน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องเผชิญ ก็คือ “ตัวเราในฐานะที่เป็นวัตถุสําหรับคนอื่น” กล่าวคือ มนุษย์เรา มีอยูใ่ นฐานะทีเ่ ป็น “ภาวะเพือ่ ตัวเอง” สรรพสิง่ ทีเ่ ราไปติดต่อสัมพันธ์ ด้วยทัง้ หมดจึงเป็นปรากฏการณ์ตอ่ มโนสํานึกของเรา (สิง่ อืน่ ๆ เหล่านี้ ก็คือภาวะในตัวเอง) และเมื่อเป็นเช่นนี้ แน่นอนว่ามนุษย์คนอื่น ๆ ก็ ย่อมเป็นสิ่งอื่น ๆ สําหรับเรา นั่นก็คือปรากฏการณ์สําหรับเรานั่นเอง และจะไม่สามารถมีสงิ่ ใดหรือใครอืน่ ทีเ่ ป็นภาวะในตัวเองจะมาจํากัด เสรีภาพของเราได้ แต่เมื่อเราอยู่กับคนอื่น เราก็สามารถถูกลดทอน ลงไปเป็นวัตถุได้เช่นกัน ในทํานองกลับกันเสรีภาพของคนอืน่ ก็จะถูก จํากัดด้วยและเขาก็กลายเป็นวัตถุสําหรับเรา จากที่กล่าวมาจะเห็น ได้ว่ามโนสํานึกของคนสองคนจะไม่มีทางสื่อสารสัมพันธ์กันได้อย่าง สมบูรณ์ เพราะฉะนัน้ การมีอยูร่ ว่ มกัน (co-existence) แบบสอดคล้อง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
63
กลมกลืนกันจึงเกิดขึน้ ไม่ได้ ดังทีซ่ าร์ตร์เห็นว่า รูปแบบดัง้ เดิมของการ มีอยู่กับคนอื่นคือความขัดแย้ง ซาร์ตร์เห็นว่าความรักนัน้ เป็นท่าทีของมโนสํานึกของคนสองคน ที่มีต่อกัน และแก่นแกนของความสัมพันธ์ระหว่างมโนสํานึกก็คือ ความขัดแย้ง ในฐานะที่เป็นสิ่งพื้นฐานอย่างหนึ่ง ความรักจึงมีความ ขัดแย้งอยู่ตลอดเวลา คนที่มีความรักจะพยายามหลอมรวมตัวกันใน ระดับมโนสํานึก กล่าวคือ ต่างฝ่ายต่างต้องการรวมตัวกันในฐานะที่ เป็นองค์ประธาน (subject) ในลักษณะที่ต่างฝ่ายก็ต่างมีเสรีภาพ และมีพนื้ ฐานเท่าเทียมกัน แต่สงิ่ ทีก่ ล่าวมานีเ้ กิดขึน้ จริงไม่ได้ สําหรับ ซาร์ตร์แล้ว ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจริงคือความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นใน ลักษณะความเป็นเจ้าของ หรือที่ซาร์ตร์เรียกว่า “ความรักนั้นเป็น โครงการของการสร้างตัวเราให้เป็นที่รัก (หรือถูกรัก)” คือมีลักษณะ เป็นวัตถุของมโนสํานึก (object of consciousness) หรือสิ่งที่ถูก มโนสํานึกรับรู้นั่นเอง และก็จะมีแต่เพียงวัตถุเท่านั้นที่สามารถมี เจ้าของได้ กล่าวอีกอย่างคือ องค์ประธานไม่สามารถมีเจ้าของหรือ ถูกเป็นเจ้าของได้ ผลทีเ่ กิดตามมาก็คอื ความหายนะของทัง้ สองฝ่าย และหากมีฝา่ ยใดฝ่ายหนึง่ ยอมถูกเป็นเจ้าของ ฝ่ายทีย่ อมนัน้ ก็จะเป็น มาโซคิสม์ (Masochism) ฝ่ายตรงข้ามก็จะเป็นซาดิสม์ (Sadism) “ถ้าฉันยอมเป็นมาโซคิสม์ ฉันก็ละทิง้ มโนสํานึก และฉันก็ไม่สามารถ เป็นมโนสํานึกที่สมบูรณ์ได้” เมื่อเป็นเช่นนี้ ความรักจึงไม่มีทางออก ซาร์ตร์เห็นว่า ความรักเป็นความพยายามทีม่ คี วามขัดแย้งกันอยูภ่ ายใน
64
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ดังนัน้ ความรักจึงไม่อาจขึน้ ไปสูจ่ ดุ สูงสุดได้ ด้วยเหตุนคี้ วามรักจึงเป็น ความสัมพันธ์ที่เป็นไปไม่ได้ หากจะสรุปคําอธิบายเชิงภววิทยาลงมาเป็นเรือ่ งของความสัมพันธ์ ทัว่ ไปของมนุษย์ได้วา่ เราและผูอ้ นื่ ไม่อาจมีความสัมพันธ์แบบราบรืน่ หรือหวานชื่นได้ ทั้งนี้เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ทั้งเราและผู้อื่นต่าง ฝ่ายต่างก็มีแนวโน้มที่จะจํากัดเสรีภาพซึ่งกันและกัน เราต่างคนต่าง เป็นวัตถุของกันและกัน ซึ่งแต่ละฝ่ายก็สามารถวิพากษ์วิจารณ์กัน ไปมาได้อย่างอิสระ เสรีภาพของเราก็จะถูกกระทบกระเทือนอย่างยิง่ จากเสรีภาพของผู้อื่น เมื่อเราไม่สามารถบังคับหรือกําหนดให้คนอื่น คิดและรูส้ กึ กับเราอย่างทีเ่ ราปรารถนาและในทางกลับกันด้วย ดังนัน้ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์จงึ อยูใ่ นสภาวะของความขัดแย้งอยูต่ ลอด เวลา มีการต่อสู้เพื่อความเป็นใหญ่ แก่นแกนความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์จึงไม่ใช่เรื่องความรักหรือความผูกพัน หากแต่เป็นความพุ่ง ประสงค์ทจี่ ะลิดรอนเสรีภาพของอีกฝ่ายให้มลายหายสิน้ ไป เหตุทเี่ ป็น เช่นนี้ ไม่ใช่มนุษย์มคี วามชัว่ ร้าย แต่เป็นเพราะมนุษย์รกั และหวงแหน เสรีภาพที่ติดตัวมาแต่กําเนิดอย่างมาก จนทําให้หวาดวิตกว่าคนอื่น จะมาแย่งชิงไป เพราะถ้าปราศจากเสรีภาพแล้ว มนุษย์กไ็ ม่ตา่ งไปจาก วัตถุอื่น ๆ ในโลก นั่นก็หมายความว่า การเกิดมาของมนุษย์ไม่ได้มี คุณค่าใด ความรักและความหวาดกลัวนี้ทําให้มนุษย์ต้องเป็นคน ก้าวร้าว มุง่ ทําลายกันและกัน ผลทีต่ ามมาก็คอื ความสุขจากการอยูใ่ น สังคมร่วมกับเพื่อนมนุษย์ก็จะลดน้อยถอยลง แต่นี่คือความเป็นจริง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
65
ที่มนุษย์จะต้องยอมรับ ถ้ามนุษย์ยังยืนยันถึงเสรีภาพของตนอยู่ เมื่อมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจไม่สบายใจที่จะมองความรักใน ฐานะของความสัมพันธ์ทเี่ ป็นไปไม่ได้ แต่อย่าลืมว่า ในโลกทีเ่ ป็นจริง ของความรักนัน้ ความรูส้ กึ ของการยอมเป็น “วัตถุ” (object) สําหรับ คนที่เรารักนั้น อาจเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์เลยด้วยซํ้า หาก หัวใจเต็มไปด้วยความรักเสียอย่างการยอมเป็นวัตถุนั้น ถึงแม้ซาร์ตร์ จะมองว่าเป็นการปฏิเสธเสรีภาพของตัวเราเอง แต่คนที่มีความรัก ย่อมมองว่าการมอบเสรีภาพของเราให้กับคนที่เรารักเพื่อใช้เสรีภาพ แทนเรานั้นเป็นภาวะที่เกิดขึ้นทั้งสองฝ่าย และเป็นความสมดุลผสม กลมกลืนของความสัมพันธ์ และในทํานองกลับกันด้วย คนรักของเรา ก็สลับปรับเปลีย่ นเสรีภาพของตัวเขามาให้เราใช้บา้ ง เพือ่ ทีเ่ ราทัง้ คูจ่ ะ ได้เป็น “สิ่งที่ถูกรัก” (object of love) ของกันและกันตราบเท่าที่ “ความสัมพันธ์” นี้จะยั่งยืนดํารงอยู่ต่อไปได้
66
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
/ Essay /
รัก = {นี่ นั่น ฉัน เธอ และ คนอื่น}
จากบทสัมภาษณ์แดร์ริดาใน “On Love and Being” (2007) ถึงบทสัมภาษณ์บาดิยูใน “In Praise of Love” (2012) ศุภรดา เฟื่องฟู
J
( ) เป็นคลิปวิดีโอ ยูทูปขนาดสั้น ๆ เพียงแค่ 4:50 นาทีที่บรรจุบทสัมภาษณ์ของ จาร์คส์ แดร์รดิ า (Jacques Derrida 1930–2004) ว่าด้วยเรือ่ ง ความรัก ที่ดิฉันตื่นตาตื่นใจในแง่มุมการวิเคราะห์ความรักในแบบของเขา กระทัง่ เก็บมาเป็นหมุดหมายปริศนาไว้ในใจสักพัก เพือ่ รอคอยความ คิ ด อื่ น ๆ ที่ จ ะเข้ า มาต่ อ ยอดและแต่ ง เติ ม ซึ่ ง นั ก ปรั ช ญาฝรั่ ง เศส ร่วมสมัยอีกคนที่เข้ามาเปิดพื้นที่ความคิดว่าด้วยความรักให้กว้างขึ้น ผู้นั้นคือ อแล็ง บาดิยู (Alain Badiou 1937–) จากหนังสือเรื่อง In Praise of Love (2012) โดยบทความชิ้นนี้ดิฉันอยากจะเล่าเรื่องราว ของการร้อยเรียงนิยามอันละเอียดลออของความรัก ซึ่งเริ่มต้นด้วย เรื่องภววิทยา (ontology) ของความรักในมุมมองแดร์ริดา ต่อด้วย ข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่ดิฉันมีต่อมุมมองดังกล่าว ก่อนนําเสนอนิยาม ความรักของบาดิยูในฐานะที่เป็นเหตุการณ์หนึ่งของกระบวนการ เข้าถึงความจริงซึง่ เต็มไปด้วยความเสีย่ งทีต่ อ่ ยอดมาจากความคิดเรือ่ ง
vice versa
acques Derrida On Love and Being 2007
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
ศุ ภ รดา เฟื่ อ งฟ ู นั ก ศึ ก ษา ปริ ญ ญาตรี ชั้ น ปี ที่ 4 คณะ มนุ ษ ยศาสตร์ สาขาภาษา อังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กําลังสนุกกับติดตามอ่านตํารา และบทความวิชาการโดยเฉพาะ ในแวดวงไทย สนใจทฤษฎีมาร์ก ซิ ส ม์ ทฤษฎี สั ง คมวิ ท ยาเชิ ง วิพากษ์ ปรัชญาการเมือง ดูแล เพจรีวิวหนังสือชื่อ “Read to be Read” และกํ า ลั ง หาทุ น เรียนต่อปริญญาโท
69
เหตุการณ์ (Event) ในหนังสือ Being and Event1 ในตอนต้นของคลิปวิดโี อ Jacques Derrida On Love and Being นัน้ แดร์รดิ า บ่ายเบีย่ งทีจ่ ะให้สมั ภาษณ์เรือ่ ง รักใคร่โดยทัว่ ไป (love in general) เขาออกตัวชัดเจนว่าไม่สามารถจะพูดถึงมันได้โดยปราศจากการตั้งคําถามอย่างเฉพาะเจาะจงจากผู้สัมภาษณ์ที่เพียงแค่ ต้องการให้เขาผลิตซํา้ cliché อะไรบางอย่างหน้ากล้องอีก ผูส้ มั ภาษณ์ จึงเปลี่ยนคําถามเป็น “เหตุใดนักปรัชญาถึงสนใจความรักกันนัก?” แดร์รดิ า เองก็ยงั คงยืนกรานว่าเขาไม่มอี ะไรจะพูดถึงประเด็นนีเ้ ช่นกัน จนกระทัง่ ผูส้ มั ภาษณ์ทายท้าออกมาว่า “เพลโตยังพูดถึงเรือ่ งนีบ้ อ่ ย ๆ คุณน่าจะพูดอะไรเกี่ยวกับมันได้บ้างนะคะ” เท่านั้นเองเขาก็เปิด ประเด็นทีว่ า่ หากพอจะตัง้ คําถามแรกทีเ่ กีย่ วกับเรือ่ งความรักได้บา้ ง ก็คงเป็นเรื่องภววิทยาของมันก่อน ว่ามันคืออะไรกันแน่ ระหว่าง “การรักสักคน” หรือ “การรักสักสิง่ ” (the love of someone or the love of some thing) ซึ่งหากสัตตะ (being) ของความรัก คือ การ รักสักคน (to love someone) ก็หมายความว่า เรากําลังรักในความ เฉพาะเจาะจงที่สมบูรณ์แบบ (absolute singularity) ของคน ๆ นั้น เรารักเขาเพราะเขาเป็นเขา เราไม่ได้รกั คนอืน่ ๆ เพราะคนอืน่ ๆเหล่านัน้ Fabian Van Onzen . ( 2012 ). Reviewed by Fabian Van Onzen. สื บ ค้ น เมื่ อ วั น ที่ 12 ตุลาคม, 2559, จาก marxandphilosophy: http://marxandphilosophy.org.uk/revie wofbooks/reviews/2012/605
1
70
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
มิใช่เขาที่เรารัก แต่ในทางกลับกัน หากสัตตะของความรัก คือ การ รักสักสิ่ง (to love some thing) นั่นหมายความว่า เรารักคุณสมบัติ บางอย่างในตัวเขา เราอาจจะรักความเฉลียวฉลาด ความกล้าหาญ ความรํ่ารวย ความสวยงาม ที่เขาครอบครองอยู่ ซึ่งแดร์ริดาได้ตั้ง ข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจว่า ในวันที่หัวใจเราเต้นแรงเมื่อได้พบใคร สักคนที่น่าดึงดูด สัตตะของความรักมักจะเป็น การรักสักคน เป็น ความหลงใหลในตัวตนที่เขาเป็น (the who) แต่ทว่าในวันที่ความ สัมพันธ์ยุติลง วันที่ความตายมาเยี่ยมเยือนความรู้สึกรัก สัตตะของ ความรักกลับเป็น การรักสักสิ่ง กล่าวคือ เราคิดว่า “เขา” ไม่คู่ควร กับรักของเราแล้ว เพราะเขาครอบครองคุณสมบัตหิ รือให้ภาพลักษณ์ (image) ที่เป็นแบบอื่นไปเสีย เป็นแบบที่เราไม่พงึ ประสงค์ เช่น เขา หมดสิ้นซึ่งความเก่ง ความรํ่ารวย ความสวยสง่า เป็นบางสิ่ง (the what) ทีเ่ ราไม่รส ู้ กึ รักอีกต่อไป ซึง่ คนรักของดิฉนั (ทีย่ งั ไม่แน่ใจว่าเขา เป็นสักคนหรือสักสิ่งกันแน่) ได้เพิ่มเติมประเด็นไว้ว่าสัตตะแบบการ รักสักคนนั้น ดํารงสถานะในปัจจุบันขณะ เป็นความรักในทั้งหมด ทั้งมวลของบุคคลนั้น ๆ ที่ไม่อาจมีอยู่ในกาลอื่นได้ ส่วนภววิทยาของ ความรักแบบการรักสักสิ่งนั้น เป็นสัตตะที่ตรึงอยู่ในเวลาของอดีต และ/หรือ อนาคต เป็นสิ่งที่ไม่มีวันหวนย้อนกลับ ไม่มีวันมาถึง เป็น เพียงรักที่เราได้แต่ถวิลหา ปรารถนาเท่านั้น เขาได้ขยายความต่อไป ว่า อุปมาดังคนทีม่ กั จะวางลักษณะของคูค่ รองทีใ่ ฝ่ฝนั ไว้ เพือ่ ทีจ่ ะหา ใครแบบนัน้ มาทําให้ฝนั เป็นจริง ซึง่ มีโอกาสจะลงเอยด้วยความผิดหวัง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
71
หรือการอุทธรณ์ต่อคู่รักฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งด้วยจิตประหวัดถึงอดีตที่ว่า “เมือ่ ก่อนเธอไม่เห็นจะเป็นแบบนีเ้ ลย ทําไมตอนนีเ้ ธอถึงเป็นแบบนี”้ โดยทีส่ ดุ แล้วก็มกั จะนําไปสูค่ วามผิดหวังชอกชํา้ ได้ไม่แก่ฝา่ ยใดก็ฝา่ ย หนึง่ หรือทัง้ สองฝ่าย ซึง่ ความเห็นเช่นนีด้ ฉิ นั คิดว่าเป็นการให้คา่ ของ สัตตะของความรักแบบการรักสักคนมากกว่าการรักสักสิ่ง ซึ่งยังมี จุดอ่อนที่จะถูกวิพากษ์ในลําดับต่อไป ย้อนกลับมายังตอนท้ายของคลิปวิดโี อ แดร์รดิ า ได้ให้ความเห็น ว่า ตลอดระยะเวลาประวัตศิ าสตร์ทผี่ า่ นมา หัวใจของความรักถูกแบ่ง ออกเป็นสองอย่างเช่นนี้เสมอ โดยไม่ว่าเรากําลังตกหลุมรัก มีความ รัก หรือ หยุดที่จะรัก ก็ล้วนติดกับอยู่ระหว่างภววิทยาของความรัก ทีแ่ บ่งออกเป็นสองนี้ คือ ในขณะทีเ่ ราอยากจะเป็นตัวของตัวเองเพียง หนึ่งเดียวที่แท้จริงให้ได้ (singularity) เป็นคนที่ไม่มีใครสามารถ แทนทีไ่ ด้ (irreplaceably) เราเองก็กลับรับรูถ้ งึ คนอืน่ และตัดสินใจว่า จะรักอยูห่ รือไม่ บนฐานคิดทีว่ า่ เขายังมีคณ ุ สมบัติ ทรัพย์สมบัติ หรือ ภาพลักษณ์ใดอยู่อีกหรือไม่ ซึ่งความแตกต่างระหว่างสองสัตตะของ ความรักนี้กําลังคุกคาม ความซื่อสัตย์ในความสัมพันธ์ (fidelity) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้วา่ ดิฉนั จะประทับใจในข้อเสนอของทัง้ แดร์ ริดาและข้อเสนอเพิ่มเติมที่คนรักได้หยิบยกมาอธิบาย แต่ก็มองเห็น ปัญหาของแนวคิดข้างต้นที่ไม่สามารถอธิบายบางปรากฏการณ์ของ ความสัมพันธ์ และความรักได้ครอบคลุมนัก กล่าวคือ การจําแนก ภววิทยาของความรักออกเป็นสองแบบนั้นเป็นการให้คําอธิบายแก่
72
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ความรักทีห่ ยุดนิง่ และตายตัวเกินไป เพราะในความเป็นจริงแล้ว บาง ปรากฏการณ์ทเี่ กีย่ วข้องความสัมพันธ์นนั้ แสดงให้เห็นถึงภววิทยาของ ความรักที่มีลักษณะซึ่งสามารถแปรเปลี่ยนได้ (becoming) อย่างไม่ จํากัดตราบเท่าที่คนทั้งสองยังคงมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เช่น เมื่อเรา หลงใหลใครสักคนในแรกพบ เราไม่อาจบอกได้ว่าเรากําลังถูกดึงดูด จากตัวตนของอีกฝ่ายในฐานะทีเ่ ขาเป็นความเฉพาะเจาะจงทีส่ มบูรณ์ แบบ หรือว่าเรากําลังเคลิบเคลิ้มไปในคุณสมบัติหลาย ๆ ประการที่ ประกอบรวมอยูใ่ นตัวเขากันแน่ เป็นความหลงใหลทีม่ ตี อ่ ตัวตนทีเ่ ป็น หรือบางสิง่ ? หรือหากเมือ่ ลงเอยเกิดมีความสัมพันธ์อย่างคูร่ กั กับใคร สักคน ซึ่งต่อมาเขาได้เผยแสดงคุณสมบัติใหม่ ๆ ออกมา หรือร่วง กร่อนคุณสมบัติ ภาพลักษณ์ใดใดออกไปแล้ว คนรักก็ยังคงรับได้กับ การเปลี่ยนแปลงนั้นและยังคงไม่เสื่อมคลายความรักละก็ ความรัก เช่นนีก้ จ็ ะไม่สามารถอธิบายได้บนการแบ่งภววิทยาของความรักออก เป็นสองแบบดังข้างต้น ฐานคิดเรื่องภววิทยาของความรักของสัตตะนั้นเมื่อถูกขยาย ความด้วยคนรักของดิฉนั ว่า “การรักสักคน” เป็นภววิทยาทีด่ าํ รงอยู่ ในปัจจุบันขณะ ส่วน “การรักสักสิ่ง” ดํารงอยู่ในเวลาของอดีตหรือ อนาคต ไม่สามารถอธิบายการเกิดขึ้นของความรักที่พ้นไปจากการ จัดเรียงในลักษณะของเวลาเป็นเส้นตรงได้ เพราะบางครั้งสิ่งที่ยึด เหนี่ยวให้ความสัมพันธ์ปัจจุบันขณะดํารงอยู่ได้ อาจจะเป็นคํามั่น สัญญาต่ออนาคตที่วาดหวังไว้ร่วมกัน เป็นความทรงจําอ้อยอิ่งอัน
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
73
หวานฉํ่าหล่อเลี้ยงหัวใจให้สั่นไหวในตอนนี้ การแช่แข็งการปะทะ ประสานกันระหว่างคนสองคนให้เป็นเพียงจุด ๆ หนึ่ง ได้ละเลยการ พิจารณาว่าในทางปฏิบัติแล้ว ความสัมพันธ์ คือ เส้นสายที่เชื่อมโยง ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยมิอาจขานเรียกได้ว่า มันคือเส้นสายการรักสัก คนหรือการรักสักสิง่ และมันดํารงอยูใ่ นกาลเวลาและสถานทีใ่ ด ฉะนัน้ แล้วการมองความรักในท่าทีเ่ ช่นนี้ อาจทําให้เราสามารถพิจารณาบาง ปรากฏการณ์ของความสัมพันธ์ได้อย่างถี่ถ้วน หรือกระทั่งเห็นโครง สร้างการทํางานของความรักทัง้ สองประเภท ทีส่ ง่ ผลต่อการตัดสินใจ หรือการกระทําอื่นใดก็จริง แต่ทว่ามันก็นําไปสู่ความคิดที่ว่า “ไม่ว่า เรากําลังตกหลุมรัก มีความรักหรือหยุดที่จะรัก ก็ล้วนติดกับอยู่ ระหว่างภววิทยาของความรักที่แบ่งออกเป็นสองนี้” ดังที่แดร์ริดาได้ สรุปไว้ในตอนท้ายของคลิปวิดีโอ ในทางกลับกัน จากหนังสือเล่มเล็ก ๆ ชือ่ In Praise of Love หนา 104 หน้าที่บรรจุบทสัมภาษณ์ของนิโคลัส ทรุง (Nicolas Truong) นักข่าวจากนิตยสาร Le Monde ต่ออแล็ง บาดิยู ในเรื่อง “Theatre of Idea” ณ เทศกาล The Arvignon Festival ในเดือนกรกฎาคม 2008 ซึ่งภายในหนังสือได้เปิดเผยแนวคิดเรื่องความรักของบาดิยู ในฐานะที่เป็นโครงการทางอัตถิภาวนิยม (Existentialist project) ที่มองว่าความรัก คือ กระบวนการสืบเสาะการเผยแสดงความจริง ที่ดําเนินไปอย่างต่อเนื่อง (a constantly unfolding quest for
74
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
)2 เพราะสําหรับบาดิยนู นั้ การเริม่ ต้นของความรัก เกิดขึน้ จาก ความบังเอิญ (contingent) ของโอกาส (chance) อันเป็นเหตุการณ์ ทีเ่ กิดขึน้ อย่างไม่คาดฝัน (encounter) ระหว่างคนสองคน ทีจ่ ะเกิดขึน้ เมือ่ ฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ บังเอิญพบกับความเป็นอืน่ (the otherness) ซึง่ ไม่สามารถสมาทานปทัสถานใดใดก็ตามทีถ่ กู วางไว้สาํ หรับสถานการณ์ นั้นเข้ามาสวมใส่ได้ สิ่งไม่คาดฝันเหล่านั้นต่างเป็นเรื่องที่บังเกิดขึ้น อย่างฉับพลันทันด่วนและตัง้ อยูบ่ นโอกาสทัง้ สิน้ ฉะนัน้ จึงไม่สามารถ วางแผนล่วงหน้า หรือจินตนาการถึงความเป็นไปได้ในอนาคตได้3 โดยปรากฏการณ์ทบี่ าดิยหู ยิบยกขึน้ มาเป็นเป้าแห่งการโจมตีนนั้ คือ การแพร่หลายของธุรกิจหาคูผ่ า่ นเครือข่ายออนไลน์ (online dating) ในฝรั่งเศส ที่ต่างประโคมแนวคิดหลักเรื่องความปลอดภัย (safety) และการปราศจากความเสี่ยง (risk-free) ในความรัก เช่น “การมี รักที่สมบูรณ์แบบโดยไม่ต้องเจ็บปวด!” ไปจนกระทั่งการฝึกสอน การเตรียมตัวก่อนเผชิญหน้าคู่เดท โดยบาดิยูมองว่า ความรักที่ไม่มี ความเสี่ยงนั้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่ต่างกันกับกองทัพอเมริกาที่ โฆษณาชวนเชื่อว่า “ทิ้งระเบิดฉลาด ปราศจากคนตาย” (smart bombs, zero dead) truth
ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://thenewpress.com/books/praise-of-love , (with Nicolas Truong); transl. by Peter Bush. (2012). In Praise of Love. London: Serpent’s Tail. p. 31 2 3
vice versa
Alian Badiou
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
75
ในตลาดเสรีนั้น ธุรกิจหาคู่กําลังทําให้ความรักกลายเป็นสินค้า (a love-commodity) ที่ไม่ต่างจากการคลุมถุงชนของคนสมัยก่อน เพียงแต่กระทําในนามของความปลอดภัยของปัจเจกผ่านการทํา สัญญาล่วงหน้า เพือ่ กําจัดข้อก่อกวนใจอันไม่คาดฝัน หรือความเสีย่ ง ต่าง ๆ จากการประมวลผลประวัติส่วนตัว รูปถ่ายของแต่ละคนผ่าน คําถามนับร้อยของระบบเพือ่ ให้ทงั้ สองเผชิญหน้ากันได้ลงตัวมากทีส่ ดุ โดยบาดิยูมองว่า สิ่งที่ธุรกิจเหล่านี้กําลังขายอยู่นั้น ไม่ใช่รักแท้แต่ เป็นเพียงความสัมพันธ์ของกระฎุมพีที่ราบรื่น (a stable bourgeois relationship) ทีเ่ บียดขับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้เกิดขึน ้ นอกจากนี้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวยังสะท้อนให้เห็นถึงความลุ่มหลงในตนเอง (self-interest) ของคนในโลกสมัยใหม่ที่หวาดกลัวการออกจากเขต ปลอดภัย (comfort-zone) ของตนเองโดยหลีกเลีย่ งการเผชิญหน้ากับ เรือ่ งท้าทายทีเ่ กิดอย่างฉับพลันทันด่วน และการซึมซับประสบการณ์ ที่แท้จริงอย่างลึกซึ้งจากความเป็นอื่น อันเป็นสิ่งที่ความรักใช้ถักทอ ตัวมันเอง โดยทําให้ความรักเป็นของเล่นของนักสุขนิยม (hedonism) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่นักปรัชญาต้องรื้อสร้าง (reinvent) ความ หมายใหม่แก่ความรัก และเขาเองก็ปกป้องนิยามความรักด้วยการ มองว่ามันจะเป็นยาถอนพิษจากอาการลุ่มหลงในตนเองของคนใน ยุคสมัยนี้ เพราะว่าความรักคือความเสี่ยงและการผจญภัย ในกระบวนการของความรักซึง่ เป็นสิง่ ทีเ่ ขาให้ความสนใจมากกว่า จุดเริ่มต้นของความรักนั้น บาดิยูมองว่าความรักประกอบสร้างจาก
76
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ความไม่เชือ่ มโยง (disjuncture) ความแยกขาด (separation) อันมา จากความแตกต่างที่ไม่สิ้นสุดระหว่างอัตวิสัย (subject) ของคนสอง คน ที่เมื่อดํารงอยู่ในสภาวะเดียวกันแล้ว “ชีวิตของคนหนึ่งคนจะไม่ ถูกสร้างขึน้ จากมุมมองต่อโลกเพียงมุมเดียวอีกต่อไป หากแต่เกิดจาก สองมุมมอง หรือทีบ่ าดิยเู รียกว่า “Two scenes”4 ขึน้ ซึง่ ย่อมต้องมี ความขัดแย้งเกิดขึน้ อย่างไม่หยุดหย่อนบนเส้นทาง “การผจญภัยของ ทิฐ”ิ (a tenacious adventure) หากว่าเรายอมจํานนต่อการทะเลาะ เบาะแว้ง หรือเรือ่ งไม่ลงรอยโดยง่ายแล้ว นัน่ ก็จะเป็นแค่การพยายาม บิดเบือนความหมายของความรักเท่านั้น เพราะท้ายที่สุด รักแท้จะ ตกเป็นของผูท้ ม่ี ชี ยั ชนะต่ออุปสรรคได้อย่างไม่สน้ิ สุด นอกจากนีบ้ าดิยู ยังเห็นว่าการบอกรักอีกฝ่าย (the declaration of love) คือหมุดหมาย สําคัญทีร่ ะงับโอกาสหรือความบังเอิญทัง้ หมดเอาไว้ (the chance is curbed) เป็นการเปลีย ่ นผ่านจากโอกาสสูช่ ะตาและการเผชิญหน้ากับ ความเสี่ยงอย่างถึงที่สุด เพราะเมื่อคํารักอันแสดงถึงนัยยะของการ ผูกมัดถูกเปล่งออกมาแล้ว ย่อมมีความเป็นไปได้ทอี่ กี ฝ่ายจะเตลิดหนี ไป ปฏิเสธ หรือเมินเฉย ฉะนัน้ แล้วการบอกรักจึงเป็นสิง่ สําคัญในการ เคลือ่ นย้ายจุดแห่งการปะทะกับความไม่คาดฝันไปสูก่ ารเดินทางเพือ่ ประกอบสร้างความจริง (truth) โดยความจริงในทัศนะของบาดิยนู นั้ 4
Alian Badiou
.
:
, (with Nicolas Truong); trans. by Peter Bush. (2012). In Praise of ’ , . .
Love London Serpent s Tail p 29
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
77
จะถูกผลิตสร้างขึน้ บนความแตกต่างของคูร่ กั ซึง่ บาดิยอู ธิบายในท่าที ของผู้นิยมเพลโต (Platonian) ว่า มันมีความเป็นสากลของความรัก ดํารงอยู่ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ภาพยนตร์รักหรือนิยายรักพยายาม บอกเล่าไม่รู้จบว่า มันมีการรับรู้ความจริงในวิธีใหม่ ๆ ที่มาจากมุม สองมุม มิใช่เพียงมุมใดมุมเดียวหรือจากจิตสํานึกเดียว (a solitary consciousness) เท่านั้น ซึ่งความรักจะมอบประสบการณ์ “Two Scenes” แก่เรา ทําให้เรารักทีจ ่ ะมีรกั เพราะบาดิยเู ชือ่ ว่าเราต่างก็รกั ที่จะเข้าถึงความจริง แม้ว่าเราอาจจะไม่รู้ตัวก็ตาม นอกจากนี้บาดิยู ได้เสนอคําศัพท์ที่เรียกว่า “the point” ในความหมายของจุดความ เฉพาะเจาะจงหนึ่ง ๆ ที่จะมอบลมหายใจให้แก่เหตุการณ์ (event) ได้สถาปนาตัวเองขึ้นและดําเนินต่อไป เช่น การมีลูก การเลี้ยงสัตว์ ร่วมกัน เป็นต้น5 จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ฉันคู่รักโรแมนติกของบาดิยูเป็นความ พยายามที่จะโอบรับความเป็นอื่น หรือความแตกต่างใดใดให้เข้ามา เดินทางในกระบวนการเข้าถึงความจริงบนมุมมองการมองโลกของ สองคน มิใช่เพียงมุมเดียวหรือการหลอมเข้าเป็นมุมเดียว โดยปฏิเสธ ที่จะให้เราแสวงหาเพียงแต่ความเหมือน ความเข้ากัน ความราบรื่น Fabian Van Onzen . ( 2012 ). Reviewed by Fabian Van Onzen. สื บ ค้ น เมื่ อ วั น ที่ 12 ตุลาคม, 2559, จาก marxandphilosophy: http://marxandphilosophy.org.uk/revie wofbooks/reviews/2012/605
5
78
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
จากอีกฝ่ายที่เป็นมายาคติแห่งยุคสมัยของการลุ่มหลงในตนเอง ซึ่ง กระนัน้ แล้วโครงการความคิดเรือ่ งความรักของบาดิยกู ส็ อ่ งสะท้อนให้ เห็นถึงความพยายามทีจ่ ะแก้ปญ ั หาเรือ่ งผูอ้ พยพในยุโรปอย่างแยบยล ในขณะที่การแบ่งภววิทยาออกเป็นสองของแดร์ริดากลับเป็นความ พยายามทีจ่ ะชําแหละท่าทีของคูร่ กั โรแมนติกซึง่ อาจนําไปสูก่ ารลงเอย ด้วยการผลักไสตัวตน หรือ คุณสมบัติอันไม่พึงประสงค์ของอีกฝ่าย ออกไปสูห่ ว้ งแห่งสองภววิทยาทีไ่ ม่สามารถหลุดพ้นได้ แต่กระนัน้ การ มองอย่างลึกซึง้ ไปถึงแก่นความหมายแห่งการดํารงอยูข่ อง “ความรัก” อย่างแดร์ริดาก็ช่างสร้างพลัง ชวนให้เราขบคิดคําเกลื่อนเกร่อนี้ว่า ที่พรํ่าเพ้อกันอยู่ดาษดื่นนั้น มันมีความหมายอย่างไรต่อเรากันแน่
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
79
/ Essay /
ร้านหนังสือ
รักของคนสองคน คงกฤช ไตรยวงค์
คุ
ณอยูใ่ นร้านหนังสือ ในมุมโปรดของคุณ ข้างนอกฝนตกไม่มที ที า่ ว่าจะหยุด หยิบหนังสือเล่มหมาดใหม่ของนักเขียนคนโปรด พลิกผ่าน ดมกลิ่น หอมกลิ่นกระดาษแปมหมึก สิ่งต่าง ๆ รอบตัวหด แคบลง ครรลองสายตาทอดน่องระหว่างบรรทัด อยู ่ ๆคุณเงยหน้าขึน้ มองเห็นหญิงสาวผมสัน้ หยิบหนังสือในมุม เดียวกับคุณ หัวใจคนสั่นไหวเหมือนสายไวโอลิน สรรพเสียงหายไป อึงอลก็แต่เสียงหัวใจเต้นแรง เมือ่ เธอช้อนสายตาขึน้ มาบรรจบสายตาคุณ หลายคนคงเคยเจอเหตุการณ์เช่นนี้ อาจจะเป็นที่อื่น เวลาอื่น คาดเดาไม่ได้วา่ จะเกิดอะไรขึน้ หลังจากนัน้ หากคุณเข้าไปทักทาย พูด คุย ทําความรูจ้ กั จนนําไปสูก่ ารบอกว่า “ฉันรักเธอ” หรืออาจจะไม่ อแล็ง บาดิยู (Alain Badiou) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสพูดถึง ความรักไว้นา่ สนใจ ความน่าสนใจไม่ใช่เพียงแค่อยูท่ ต่ี วั บาดิยซู ง่ึ สลาวอย ชีเชค (Slavoj Žižek) มิตรสหายทางปรัชญาของเขากล่าวสรรเสริญ เขาเสียเลิศลอยว่าเป็นเพลโตทีเ่ ดินเหินให้เราพบเห็นในปัจจุบนั ความ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
คงกฤช ไตรยวงค์ อาจารย์ ประจำ�ภาควิชาปรัชญา คณะ อักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร สนใจปรากฏการณ์ วิทยา จริยศาสตร์และสุนทรีย ศาสตร์
81
น่าสนใจอยู่ที่บาดิยูบอกว่า ความรักคือครรลองของความจริง และ เป็นความจริงสากลทีเ่ กิดขึน้ ได้กบั ทุกคน ไม่วา่ จะอยูต่ าํ แหน่งแห่งหนใด ในเปลือกโลกใบนี้ บาดิยูเรียกการพบกันของคนรักว่า “เหตุการณ์” (event) เหตุการณ์ของความรักเป็นครรลองของความจริง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดตามมา หลังจากบอกรัก หลังจากที่พูดว่า “ฉันรักเธอ” โลกถูกจัดเป็นฉาก สําหรับคนสองคน เวลาสําหรับคนสองคน สําหรับการดูหนังฟังเพลง กินดื่ม การจูบไล้สัมผัส สิ่งต่าง ๆ ที่สองคนสร้างขึ้นมาเพื่อนำ�ไปสู่ ความสขุ ความรักจึงสร้างสรรค์ แม้ไม่ใช่เรือ่ งง่ายดายนักก็ตาม หลาย ต่อหลายครั้งความรักจบลงด้วยเลือดและความรุนแรง ก็เพราะสิ่ง สร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องที่จะได้มาง่าย ๆ ทําไมความรักจึงเป็นเรื่องของคนสองคน เรื่องนี้เชื่อมโยงกับ “ความซือ่ ตรง” (fidelity) ไม่ได้มคี วามหมายแค่วา่ จะต้องไม่นอนกับ คนอื่น บาดิยูใช้คํานี้ในความหมายเชิงปรัชญา ในเรื่องความรัก เขา หมายถึงการซือ่ ตรงต่อประสบการณ์รว่ มกันของคนสองคน คนรักต้อง ไม่ยึดตัวเองเป็นตัวตั้ง หากแต่มุ่งรักษาความสัมพันธ์ของสองคน ความรักเปลี่ยนแปลงชีวิต ความรักมุ่งสู่ความสุข แต่ก็มีอุปสรรค มากมายเช่นกัน ทั้งหนี้สิน ปัญหาครอบครัว การห่างเหินจากเพื่อน คูร่ กั จะพยายามไม่แยกจากกัน บาดิยเู ห็นว่าสิง่ ทีอ่ าจจะนิยามความรัก คือการพยายามทัดทานไม่แยกจากกัน เพราะการแยกจากกันย่อม หมายถึงหายนะ ไม่ว่าจะด้วยลักษณะใดก็ตาม
82
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
สําหรับบาดิยู ความรักเป็นหนึง่ ในครรลองของความจริง 4 อย่าง ได้แก่ การเมือง ความรัก ศิลปะ และวิทยาศาสตร์ ในการเมือง เขา ยกตัวอย่างการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งเป็น “เหตุการณ์” ที่นําไปสู่ความ จริงต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ตามมา ไม่วา่ จะเป็นความคิดเรือ่ งสิทธิหรือเสรีภาพ รวมทั้งการเป็นแม่แบบของการปฏิวัติต่าง ๆ ในวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่เริ่มจากกาลิเลโอ นัก วิทยาศาสตร์ทส่ี มาทานแนวทางนี้ หรือมีความซือ่ ตรงต่อ “เหตุการณ์” นี้ นําไปสู่ครรลองของความจริงที่เรียกว่า “วิทยาศาสตร์สมัยใหม่” และในทางศิลปะ ฟรันซ์ โยเซฟ ไฮเดิน ได้ชื่อว่าจุดประกายให้เกิด “เหตุการณ์” ที่เรียกว่า ดนตรีคลาสสิกยุคคลาสสิก “เหตุการณ์” เหล่านี้เกิดขึ้นมาท่ามกลาง “สถานการณ์ทั่วไป” และเป็นสิง่ ทีเ่ ราไม่อาจจะใช้ความรูท้ ม่ี อี ยูม่ าตัดสินได้ ดังนัน้ จุดตัง้ ต้น ของครรลองแห่งความจริงจึงเป็นเรือ่ งทีส่ มุ่ เสีย่ ง ต้องอาศัยความกล้า ทีจ่ ะกระโดดเข้าไปมีสว่ นร่วมในการสร้างสรรค์ความจริงนัน้ ขึน้ มา ความ รักก็เช่นกัน ความรักมีความเสี่ยง และเรียกร้องให้เราร่วมหัวจมท้าย แล้วความรักต่างจากมิตรภาพหรือไม่ บาดิยเู ห็นว่าความรักอาจ จะรวมคุณลักษณะหลายอย่างของมิตรภาพหรือความเป็นเพื่อน แต่ ความเป็นเพือ่ นไม่ได้มหี ลายองค์ประกอบทีค่ วามรักมี เราอาจจะเล่า เรื่องความรักให้เพื่อนฟังได้ชนิดหมดเปลือก ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า เราไม่ได้สมั พันธ์กบั เพือ่ นแบบคนรัก เพราะเราจะไม่เล่าเรือ่ งความรัก ของเรากับอีกคนให้คนรักของเราฟัง!
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
83
ขณะทีเ่ พือ่ นเราอาจจะไม่ได้พบกันนานก็ได้ นัดดืม่ เบียร์ สรวลเส เฮฮากันบ้างเป็นบางหน แต่ความรักไม่เป็นแบบนี้ ความรักคือฉาก สําหรับคนสองคน ความรักมีเรือ่ งของความปรารถนาซึง่ จะต้องทําให้ ปรากฏ การสัมผัสร่างกาย การเปิดเปลือย ความใกล้ชิด การมีเวลา สําหรับคนสอง ใช่ว่าจะมีคนเคลิ้มคล้อยกับความคิดของบาดิยูไปทั้งหมด เทอรี อีเกิลตัน (Terry Eagleton) นักทฤษฎีวรรณกรรมสายมาร์กซิสต์ วิจารณ์วา่ ทีบ่ าดิยอู า้ งว่าความรักแบบเขาพูดมาทัง้ หมดเป็นความจริง สากลนั้น เอาเข้าจริง ๆ แล้วก็เป็นแค่ความรักของ “ปารีเซียง” หรือ คนปารีสเท่านัน้ แม้กระทัง่ ชีเชคทีค่ นุ้ เคยกันดี ก็ยงั วิจารณ์วา่ ความคิด เรือ่ งความจริงบาดิยมู สี ว่ นคล้ายศาสนา เพราะเรียกร้อง “ความซือ่ ตรง” ต่อ “เหตุการณ์” ที่จะนําไปสู่การเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ วิธีที่เขาอธิบายเรื่องเซ็นต์ปอลที่มีจุดเริ่มต้นของความจริงที่เรียกว่า ศาสนาคริสต์ ฝนข้างนอกซาแล้ว หญิงสาวคนนั้นหายไปแล้ว คุณนึกขึ้นได้ว่า นัดดื่มกับเพื่อนในคํ่าคืนนี้ คุณเดินไปจ่ายเงินค่าหนังสือ อาจจะเป็น นวนิยายของนักเขียนที่คุณชื่นชอบ หรือรวมบทกวีของกวีคนโปรด ของคุณ คุณเดินผลักประตูกระจก ออกจากร้านหนังสือ กวาดสายตา หารถแท็กซี สุ่มเรียกมาคันหนึ่ง แทรกตัวนั่งเบาะหลัง ทุกอย่างเข้าสู่สถานการณ์ปกติ
84
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
/ Essay /
ว่าด้วย “ความรักในความรู้” ในมุมมองของกรัมชี่ วัชรพล พุทธรักษา
“
ความรักในความรู้” (Love of Wisdom) ได้ถูกกําหนดให้เป็น ประเด็นการนําเสนอหลัก (theme) ของวารสาร Vice Versa ฉบับ นี้ ซึง่ กล่าวได้วา่ เป็นประเด็นการนําเสนอทีน่ า่ สนใจอย่างยิง่ เนือ่ งจาก โจทย์ว่าด้วยความรักในความรู้นั้นมีความท้าทาย และสามารถนํามา ตั้งคําถามต่อสังคมไทย (และสังคมโลกด้วยเช่นกัน) ได้ ว่าในสภาพ การณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในแบบปัจจุบนั ทีผ่ คู้ นใช้ชวี ติ อยูก่ บั กระแสไหลบ่าของข้อมูล ข่าวสาร รวมถึงข้อคิดเห็น ซึง่ มีความ รวดเร็วและทรงพลังผ่านช่องทางทีห่ ลากหลายและใกล้ตวั ผ่านสือ่ ทาง สังคมรูปแบบใหม่ชนิดต่าง ๆ การให้ความสําคัญกับ “ความรู้” หรือ “การแสวงหาความรู”้ เพือ่ สร้างคําอธิบายต่อโลกทางสังคมการเมือง ของแต่ละคน จะยังเป็นเรื่องจําเป็นอยู่หรือไม่ โลกสมัยใหม่ที่การ ผูกขาดการสร้างความรู้โดยชนชั้นนําเฉพาะกลุ่มอย่างผูกขาดได้ถูก ทําลายลง โลกสมัยปัจจุบนั ได้ทาํ ให้ความรูน้ น้ั ถูกลดทอนลงเหลือเพียง การค้นคว้าจากปลายนิ้วผ่านเครื่องมือสืบค้นในโลกออนไลน์ภายใน
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
วั ช รพล พุ ท ธรั ก ษา ผู้ ช่ ว ย ศาสตราจารย์ สํ า นั ก ทฤษฎี แ ล ะ ป ฏิ บั ติ ก า ร ท า ง สั ง ค ม หน่วยนวัตกรรมสังคม คณะ สั ง คมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย นเรศวร เชีย ่ วชาญด้านกรัมชี ศึกษา
87
เวลาอันรวดเร็ว ด้วยสภาพการณ์เช่นนีม้ นุษย์จะยังให้ความสําคัญกับ ความรักในความรู้ของผู้คนอยู่อีกหรือไม่ ผูเ้ ขียนพยายามขบคิดต่อโจทย์ทา้ ทายทีบ่ รรณาธิการ Vice Versa ได้มอบให้วา่ จะสามารถอธิบายมุมมองสัน้ ๆ เกีย่ วกับความรักในความรู้ ในมุ ม มองของนัก คิด คนสําคัญ อย่างอัน โตนิ โ อ กรั มชี่ (Antonio Gramsci) ได้หรือไม่ และกรัมชี่นั้นมอง “ความรักในความรู้” ใน ลักษณะเช่นไรบ้าง ก่อนอื่นผู้เขียนคิดว่าคงจะได้เริ่มต้นโดยไม่ผิด แปลกไปจากผูเ้ ขียนคนอืน่ ๆ ในฉบับนีม้ ากนัก นัน่ ก็คอื การตัง้ คําถาม ก่อนว่าถ้อยความที่เรียกว่า “ความรักในความรู้” หรือ “love of wisdom” นั้นคืออะไร ซึ่งหากว่ากันตามรากศัพท์ภาษากรีกที่เรา สามารถสืบค้นได้ด้วยปลายนิ้วผ่านเครื่องมือสืบค้นออนไลน์อย่าง รวดเร็ว เราก็จะได้คาํ ตอบว่า love of wisdom นัน้ คือ “philosophia” กล่าวคือ sophia หมายความถึงปัญญา ความรู้ ขณะที่ Philos คือ รัก หรือลุ่มหลงในสิ่งใด ดังนั้น philosophia หรือ Philosophy ใน ภาษาอังกฤษ ก็หมายความถึงคําว่า “ปรัชญา” นั่นเอง ผูเ้ ขียนเสนอว่าสําหรับกรัมชีน่ นั้ “ปรัชญา” หรือการมุง่ แสวงหา ความรู้นั้นมีลักษณะสําคัญอยู่ 3 ประการด้วยกันคือ 1. ปรัชญาหรือ ความรักในความรู้นั้นเป็นกิจกรรมของมวลชน 2. ปรัชญานั้นแยก ไม่ออกจากความเป็นการเมืองและเศรษฐกิจ และ 3. ปรัชญาสําหรับ กรัมชี่นั้นโดยเนื้อแท้แล้วเป็น “ปรัชญาปฏิบัติ” (philosophy of praxis) ที่มุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม
88
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
. สําหรับกรัมชี่นั้น “ความรักในความรู้” หรือ “ปรัชญา” ใน มุมมองของเขา มองว่าปรัชญาไม่ได้เป็นกิจกรรมทางปัญญาทีม่ ไี ว้เพือ่ มุง่ หาความรูโ้ ดยสงวนไว้สาํ หรับชนชัน้ นํา ชนชัน้ ปัญญาชน หรือตกอยู่ ในกลุม่ ของนักปรัชญามืออาชีพเท่านัน้ แต่ขอ้ เสนอสําคัญประการหนึง่ ของกรัมชี่ก็คือว่าคนทุกคนนั้นเป็นนักปรัชญา และคนทุกคนนั้นเป็น ปัญญาชน (Intellectual) ได้ หากแต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีหน้าที่ทาง สังคม (social function) ในการเป็นปัญญาชน กล่าวคือหากเรามอง ว่าปรัชญาคือการให้ความสนใจและรักที่จะเรียนรู้ มวลชนเองก็ย่อม มีสิทธิอย่างเต็มที่ในการหาความรู้เพื่ออธิบายโลกของพวกเขาเช่น เดียวกันกับชนชั้นปกครอง อย่างไรก็ดี กรัมชี่มองว่าแม้มวลชนจะ สามารถมีความรักในการหาความรูใ้ นการทําความเข้าใจโลกได้แต่สาํ หรับ มวลชนนั้น “ปรัชญา” ของพวกเขาคือ “ปรัชญาโดยสัญชาตญาณ” (spontaneous philosophy) กล่าวคือเป็นการเข้าใจโลกหรือมีคํา อธิบายต่อโลกในมิตติ า่ ง ๆ โดยไม่ตอ้ งตัง้ คําถามว่าเราเข้าใจได้อย่างไร แต่เป็นการเข้าใจในลักษณะที่ทุกคนเข้าใจกันเอง ซึ่งการทําความ เข้าใจปรัชญาโดยสัญชาตญาณนี้จําเป็นต้องทําความเข้าใจแนวคิด เรือ่ ง “การมองโลก/โลกทัศน์” (conception of the world) ควบคู่ กันไปด้วย สําหรับกรัมชีน่ นั้ มนุษย์และกลุม่ พลังทางสังคมนัน้ มีความ รับรู้และเข้าใจต่อโลกของตนผ่านประวัติศาสตร์การต่อสู้ระหว่าง ชนชั้นเรื่อยมา กล่าวคือมนุษย์น้ันไม่ได้สามารถเข้าใจโลกได้เองโดย อัตโนมัตแิ ละปราศจากกระบวนการเรียนรู้ แต่การมองโลกของมนุษย์ 1
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
89
นั้นเกิดการเรียนรู้ผ่านทางกลไกต่าง ๆ ทั้งกลไกที่เป็นการใช้อํานาจ บีบบังคับ และกลไกอุดมการณ์ที่กล่อมเกลาให้เกิดการยอมรับใน รูปแบบต่าง ๆ ปรัชญาโดยสัญชาตญาณ หรือทีบ่ างครัง้ กรัมชีก่ เ็ รียกว่า “ปรัชญา ของมวลชน” (popular philosophy) นัน้ กล่าวอย่างถึงทีส่ ดุ แล้ว มัน จึงเป็นความรักในความรูท้ ตี่ งั้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของ “สามัญสํานึก” หรือ ความรู้ในแบบทั่วไปที่คนโดยทั่วไปในสังคมต่างรับรู้และเข้าใจใน กิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ได้โดยไม่จําเป็นต้องค้นคว้าหาคําตอบว่า เหตุใดกิจกรรมทางสังคมเหล่านั้นจึงเกิดขึ้น กิจกรรมเหล่านั้นมีขึ้น เพื่อรองรับประโยชน์อะไร หรือเป็นประโยชน์ของชนชั้นใด หรือ แม้แต่ว่าเราสามารถจะกระทํา/ไม่กระทํากิจกรรมทางสังคมของเรา ในแบบอืน่ ได้หรือไม่ และอย่างไรบ้าง กรัมชีเ่ รียกความรู/้ ความเข้าใจ ที่ผู้คนมีต่อโลกแบบนี้ว่า “common Sense” ซึ่งสามัญสํานึกเช่นนี้ ไม่ได้มีอยู่เองมากับธรรมชาติ แต่มันเกิดขึ้นโดยมีเหตุผลเพื่อรองรับ ผลประโยชน์ของชนชั้นปกครองที่ต้องการกําหนดสร้าง “การมอง โลก/ความรับรูท้ มี่ ตี อ่ โลก” ของผูค้ นให้เป็นไปตามมาตรฐานทีช่ นชัน้ ปกครองต้องการ ประเด็นที่ผู้เขียนคิดว่าน่าสนใจก็คือว่าปรัชญาของมวลชน หรือ ปรัชญาโดยสัญชาตญาณที่มีลักษณะการมองโลกด้วยสามัญสํานึกนี้ ถูกสร้างขึน้ มาได้อย่างไร สําหรับกรัมชีเ่ ขาได้ขบคิดในเรือ่ งนีแ้ ละมองว่า การมองโลกของผูค้ นนัน้ ถูกสร้างผ่านกระบวนการทางสังคม วัฒนธรรม
90
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
การเมือง เศรษฐกิจทีซ่ บั ซ้อน ผ่านทัง้ กระบวนการทีเ่ ป็นทางการเช่น การขัดเกลาผ่านสถาบันการศึกษา หลักสูตร และการจัดการศึกษา ในรูปแบบและระดับต่าง ๆ รวมถึงกระบวนการทีไ่ ม่เป็นทางการ เช่น การผลิตสร้างคติความเชือ่ (Folklore) ในเรือ่ งต่าง ๆ ผ่านกลไกอํานาจ ทีไ่ ม่ได้มอี าํ นาจบังคับแบบเห็นได้เด่นชัด เช่น การใช้ภาษา งานเขียน วรรณกรรม สื่อสารมวลชน ความเชื่อทางศาสนา ฯลฯ ประเด็นที่ น่าสนใจก็คอื ปรัชญามวลชน หรือการเข้าใจโลกบนพืน้ ฐานของสามัญสํานึกน น้ั อาจไม่ได้เป็นปัญหาอะไรสําหรับบางสังคมในช่วงสถานการณ์ หนึ่ง ๆ แต่สิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งสําหรับสังคมที่ไม่สามารถคิดได้ ไม่ สามารถมองเห็นได้ว่ามนุษย์นั้นสามารถเข้าใจโลก หรือมีมุมมองต่อ โลกในแบบอื่น ๆ ได้ด้วยนั้นจะเป็นอันตรายมากภายใต้โมงยามของ การเปลี่ยนผ่าน หากสังคมใดก็ตามใช้สามัญสํานึกในการขับเคลื่อน ความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ถึงที่สุดแล้วสังคมนั้นย่อมเดินไปสู่ ความรุนแรงอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ 2. ปรัชญาสําหรับกรัมชี่นั้นไม่ใช่กิจกรรมที่เป็นอิสระจากปัจจัย ทางสังคมแบบอื่น กรัมชี่มองปรัชญาในฐานะที่เป็น “การมองโลก/ การเข้าใจโลก” ด้วยเหตุนเี้ ขาจึงไม่แยกปรัชญาออกจากความเป็นการ เมือง และแน่นอนว่าความเป็นการเมืองนั้นย่อมไม่สามารถแยกขาด จากประเด็นเชิงวัฒนธรรม/อุดมการณ์ รวมถึงเศรษฐกิจการเมืองด้วย เช่นเดียวกัน แนวความคิดสําคัญเรือ่ งหนึง่ ทีอ่ ธิบายประเด็นนีไ้ ด้กค็ อื แนวคิดเรือ่ ง “กลุม่ ประวัตศิ าสตร์” (historical bloc) ซึง่ กรัมชีใ่ ช้เพือ่
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
91
อธิบายความเป็นองค์รวม (Totality) ระหว่างพืน้ ทีข่ องการผลิตและ ความสัมพันธ์ทางการผลิต (โครงสร้างส่วนล่าง) กับพื้นที่ของความรู้ ความเชื่อ อุดมการณ์ ฯลฯ (โครงสร้างส่วนบน) กลุ่มประวัติศาสตร์ นั้นเป็นแนวคิดที่ใช้เพื่ออธิบาย “ห้วงขณะ” (Moment) หนึ่ง ๆ ของ สังคมว่าประกอบด้วยชุดของความสัมพันธ์ทางสังคมในแบบใดบ้างที่ ประกอบสร้างความเป็นสังคมนั้น ๆ เอาไว้ ดังนั้นปรัชญาของมวลชน หรือการมองโลกของมวลชนในห้วงขณะหนึง่ ๆ จึงไม่อาจปฏิเสธความ สัมพันธ์เชื่อมโยงของกลุ่มประวัติศาสตร์นั้น ๆ ไปได้ กล่าวคือการ เข้าใจโลกของมวลชนในเรื่องของเศรษฐกิจและการผลิต ย่อมได้รับ อิทธิพลในทางใดทางหนึ่งจากอุดมการณ์ ความคิด ความเชื่อของ สังคมด้วย และแน่นอนว่าอํานาจในทางการเมืองของรัฐหนึง่ ๆ ก็ยอ่ ม สัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับโฉมหน้าของความเชือ่ และรูปแบบทางการ ผลิตด้วยเช่นเดียวกัน 3. ประเด็นสุดท้ายสําหรับมุมมองของกรัมชี่ที่มีต่อความรักใน ความรูห้ รือปรัชญา ก็คอื ว่าสําหรับกรัมชีน่ นั้ ปรัชญาไม่ได้เป็นกิจกรรม ส่วนตัวของปัจเจกชน แต่การแสวงหาความรู้เพื่อทําความเข้าใจโลก นัน้ เป็นประเด็นสําหรับส่วนรวม (collective issue) และปรัชญานัน้ สําหรับกรัมชี่ควรเป็นกิจกรรมของมวลชนที่มีขึ้นเพื่อร่วมกันเปลี่ยน รูป “สามัญสํานึก” ต่อการเข้าใจโลกในแบบต่าง ๆ ให้นําไปสู่ “การ มองโลกแบบวิพากษ์” ทีเ่ ข้าใจความเป็นมาและเป็นไปของโลกในมิติ ต่าง ๆ ได้ ซึ่งกรัมชี่เรียกลักษณะการมองโลกเช่นนี้ว่า “สํานึกที่ดี”
92
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
(good sense) การมุ่งเปลี่ยนวิธีการมองโลกที่ยืนพื้นบนสามัญสํานึก ของมวลชนทีไ่ ม่จาํ เป็นต้องคิดหาเหตุผลต่อการเข้าใจโลกในมุมต่าง ๆ มาสู่การมองโลกบนวิธีคิดเชิงวิพากษ์นั้น ทําให้ประเด็นความรักใน ความรู้สําหรับกรัมชี่แล้ว จึงเป็นการแสวงหาความรู้เพื่อนําไปสู่การ เปลี่ยนแปลงด้วย หรือที่กรัมชี่มักเรียกในสมุดบันทึกจากคุกของเขา ว่า “ปรัชญาปฏิบัติ” (philosophy of praxis) นั่นเอง กล่าวโดยสรุปก็คอื ปรัชญา หรือความรักในความรูใ้ นแบบฉบับ ของกรัมชีน่ นั้ ไม่ใช่เพียงกิจกรรมทางปัญญาของปัจเจกชนเฉพาะกลุม่ ทีม่ ขี นึ้ เพือ่ ตอบสนองความสุขสมทางปัญญา ในการมุง่ แสวงหาความ หมายของโลกทางสังคมในแบบต่าง ๆ แต่ความรักในความรู้ในแบบ ของกรัมชี่นั้นเป็นกิจกรรมของทุกคน เนื่องจากความรักในความรู้/ ปรัชญาสําหรับกรัมชี่คือ “การมองโลก/การเข้าใจโลก” อย่างไรก็ดี ปรัชญาของมวลชนนัน้ ยืนพืน้ อยูบ่ นฐานของการมองโลกสองแบบ ใน แบบแรกนัน้ เป็นปรัชญาโดยสัญชาตญาณ กล่าวคือมนุษย์นน้ั สามารถ เข้าใจ หรือมีคาํ อธิบายต่อโลกทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมของตน ได้โดยยืนพื้นบนสามัญสํานึกที่ไม่จําเป็นต้องคิด หรือแสวงหาคํา อธิบายอื่นนอกเหนือจากสิ่งที่คนอื่น ๆ ได้อธิบายไว้แล้วและยอมรับ ร่วมกันมาผ่านการต่อสู้ ต่อรองมาตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ปรัชญาสําหรับกรัมชี่นั้นเป็นปรัชญาปฏิบัติ ที่นอกเหนือ จากจะมุ่งทําความเข้าใจโลกแล้ว ยังต้องมุ่งหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย ดังนั้นการมองโลกในแบบที่สองจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่าสําหรับ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
93
กรัมชี่ เพราะปรัชญาในรูปแบบนี้เป็นการแสวงหาความรู้ที่วิพากษ์ ตัง้ คําถามกับการมองโลกทีม่ อี ยูเ่ ดิม และพยายามก้าวพ้นจากสิง่ ทีเ่ ห็น และเข้าใจในชีวติ ประจําวันไปสูก่ ารทําความเข้าใจโลกทีม่ องเห็นได้ถงึ แก่นแท้ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังของฉากหน้ารูปแบบต่าง ๆ ผู้เขียนนําเสนอบทความสั้นชิ้นนี้เพื่อต้องการชี้ชวนให้ผู้อ่าน ได้เห็นว่าความเข้าใจโลกที่ทุกคนมีนั้นล้วนถูกผลิตสร้างเพื่อเหตุผล บางอย่างเสมอ สิง่ ทีส่ าํ คัญไม่ได้อยูท่ วี่ า่ การมองโลกทีเ่ รามี หรือทีค่ น อืน่ มีนนั้ แท้จริงแล้วของใครเป็นการมองโลกทีด่ กี ว่ากัน แต่สงิ่ ทีส่ าํ คัญ ก็คอื ว่าเราได้ใช้เหตุผลอย่างเต็มทีต่ อ่ กระบวนการมองโลก/เข้าใจโลก ของเราอย่างถ่องแท้หรือไม่ หรือเราเลือกที่จะมองโลก/เข้าใจโลก เพียงเพราะให้สอดคล้องกับคนอื่น ๆ เท่านั้น
94
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ตื่นบนเตียงปราบดา บทสัมภาษณ์ ปราบดา หยุ่น โดย นิ้วกลม
/ Interview /
ปราบดา หยุ่น กระเด้งตัวตื่นจากเตียงนอนอันคุ้นเคยออกเดินทาง ไปตามหา ‘ตาดวงใหม่’ บนเกาะห่างไกลในฟิลปิ ปินส์ เขาพกคําถาม และสมมติฐานใส่เป้สะพายหลังติดตัวไปด้วย แต่แล้วก็ต้องเทสิ่ง เหล่านัน้ ไว้บนเกาะ และพกพา ‘ดวงตาใหม่’ กลับมาแทน เราเริม่ พูด คุยกันด้วยบทสนทนาเกีย่ วกับหนังสือ ‘ตืน่ บนเตียงอืน่ ’ ก่อนทีค่ าํ ถาม และคําตอบจะพาออกไปนอกเตียง ปราบดาปฏิเสธที่จะคุยเรื่อง ‘ความรู้ในความรัก’ แต่ยินดีคุยเกี่ยวกับ ‘ความรักในความรู้’ นี่คือ บทสนทนาบนเตียงเกี่ยวกับ ‘ปรัชญา’ ที่อยากชวนคุณมานอนฟัง บนเตียงเดียวกัน ไม่แน่ คุณอาจลืมตาแล้วตื่นขึ้นมาบนเตียงอื่น! : ปกหลัง ตืน่ บนเตียงอืน่ เขียนว่าหลังจากทีไ่ ปทริปนีแ้ ล้ว เหมือน ตื่นขึ้นมาบนเตียงอื่น หลังจากนอนหลับบนเตียงหนึ่งมานาน อยาก ให้อธิบายสองเตียงนีใ้ ห้ฟงั สักนิดว่านอนหลับอยูบ่ นความคิดแบบไหน แล้วตื่นขึ้นมาในความคิดแบบไหน Q
: ถ้าจะอธิบายแบบง่าย ๆ ก็คือ เราก็เคยเป็นคนที่โรแมนติก พอสมควรในทัศนคติแล้วก็ในการมองโลก โดยเฉพาะเรือ่ งตัวตน เรือ่ งธรรมชาติ แม้แต่ปรัชญาเองก็มแี นวโน้มทีจ่ ะสนใจปรัชญา แนวโรแมนติกพอสมควรในวัยหนึ่ง เช่น การปลีกวิเวกไปใช้ ชีวิตในธรรมชาติ ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่คิดเยอะเหมือนกัน แต่มาถึง วันหนึ่ง ความคิดนี้มันก็เปลี่ยนไป เราหมดความสนใจที่จะ A
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
97
แสวงหาในแบบนั้น ในแบบการปลีกวิเวกไปฝึกฝนตนหรือว่า อยู่กับธรรมชาติ ใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ สร้างบ้านดินเอง คือเมื่อก่อนรู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นมันท้าทาย เหมือนมีเป้าหมาย บางอย่าง แต่พอไม่มีความคิดแบบนั้นแล้ว เราก็กลายเป็นคน ทีค่ ดิ ในเชิงวัตถุนยิ ม สสารนิยมมากขึน้ ในลักษณะทีว่ า่ ทุกอย่าง มันก็เป็นไปตามความเปลีย่ นแปลงของธรรมชาติ มันไม่ได้ตอ้ ง มาเปลีย่ นว่าสิง่ นีด้ กี ว่าสิง่ นัน้ ไม่จาํ เป็นต้องคิดว่าการอยูบ่ า้ นดิน ดีกว่าอยู่คอนโดฯ หรือว่าการอยู่ในเมืองใหญ่เลวร้ายมากกว่า การอยูใ่ นชนบท คือเราไม่แยกแล้ว เมือ่ ก่อนเราก็ยงั มีความรูส้ กึ ว่าการอยู่ในธรรมชาติมันดีนะ หลาย ๆ อย่าง ทั้งดีต่อสุขภาพ เหมือนกับมันมีความเชือ่ ว่าการใกล้ชดิ กับธรรมชาติมนั จริงกว่า ซึ่งทุกวันนี้เราไม่คิดแบบนั้น เราคิดว่าทุกอย่างมันก็จริงหมด อยู่ในเมืองก็จริง ชีวิตที่เราต้องดําเนินไปแบบนี้ มันก็มีสาเหตุ ทีม่ นั ต้องดําเนินไป ไม่ตอ้ งไปฝืนเพือ่ ทีจ่ ะแสวงหาบางอย่างหรือ ไปถึงจุดหมายบางอย่างด้วยการปลีกตัวเองออกจากโลก ไม่ตอ้ ง มาจัดอันดับแยกว่าอะไรดีกว่ากัน บางครั้งเราจําเป็นที่จะต้อง ใช้หรือต้องพึ่งพาสิ่งที่เรารู้สึกว่ามันไม่ดีก็เป็นไปได้ อย่างเช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม ช่วงแรก ๆ ที่มีการพูดถึงภาวะโลกร้อน เราก็ สนใจ พวกขบวนการอนุรกั ษ์ธรรมชาติ เราก็ศกึ ษาเยอะเหมือน กัน แต่ว่าพอคิดไปเรื่อย ๆ หรือว่าได้อ่านอะไรมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้เห็นทัศนคติของคนหลาย ๆ แบบ แม้แต่คนที่สนใจเรื่อง
98
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ธรรมชาติเอง บางคนก็เถียง คือมันก็มีการถกเถียงกัน แม้ กระทัง่ เรือ่ งพลังงานนิวเคลียร์ แม้แต่คนทีอ่ นุรกั ษ์ธรรมชาติเอง บางคนก็เสนอว่ามันเป็นทางออกที่ดีกว่าพลังงานลม ซึ่งเรา คิดว่ามันน่าสนใจมากกว่าทีจ่ ะเชือ่ ไปในทางใดทางหนึง่ ทัง้ หมด พอความสนใจเรามันหันมาในทางวิทยาศาสตร์มากขึน้ คือการ ทดลอง การไม่ยึดติดกับความเชื่ออะไรแต่อย่างเดียว มันก็ ค่อย ๆ หมดความโรแมนติกที่เคยมี : คุณเขียนไว้ว่า การออกเดินทางคือการหาตาดวงใหม่ ตอนนั้น กําหนดโจทย์เพื่อให้ได้มาซึ่งตาดวงใหม่ยังไง Q
: การเดินทางครัง้ นี้ ความตัง้ ใจเดิมเลยมาจากความสนใจใน เรือ่ งธรรมชาติ ซึง่ มันก็ยงั ผูกติดอยูก่ บั ความสนใจเชิงโรแมนติก อยู่ แล้วก็สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม คือมันก็มีช่วงที่เราอ่านอะไร เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนเยอะ ๆ ก็เลยหันกลับไปสนใจเรื่องการ ใช้ชีวิตกับธรรมชาติ แต่ว่าเราก็อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ด้วย เพราะฉะนัน้ โปรเจ็กต์นก้ี ค็ อื การไปศึกษาการใช้ชวี ติ ของชนเผ่า ซึ่งชีวิตเขาผูกพันอยู่กับธรรมชาติและความเชื่อเกี่ยวกับผีสาง นางไม้ สําหรับเราในตอนนั้นรู้สึกว่าความเชื่อแบบนั้นมันช่วย อนุรกั ษ์ธรรมชาติไว้ การทีเ่ ขาเชือ่ ว่าต้นไม้เป็นสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิ์ มัน ก็ทาํ ให้เขาไม่โค่นต้นไม้ อันนีค้ อื ดวงตาทีเ่ รามี เดินทางไปพร้อม A
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
99
กับมุมมองแบบนี้ แต่พอไปจริง ๆ และได้ศึกษาอะไรมากขึ้น มันก็เหมือน ภาพเหล่านี้ก็ถูกล้างไปเรื่อย ๆ แล้วก็เริ่มที่จะคิดว่าความคิด แบบที่เราเคยมี ในแง่หนึ่ง มันก็เป็นความคิดที่ฝืนธรรมชาติ เหมือนกัน แล้วก็เป็นความคิดของชนชัน้ หนึง่ ทีส่ ามารถคิดแบบ นี้ได้ ก็คือชนชั้นกลางหรือว่าคนมีฐานะดีหน่อยที่ไม่ต้องเป็น ห่วงเรื่องปากท้องเท่าไรแล้ว ก็มานั่งคิดได้ว่าคนเราควรจะลด การใช้ไฟฟ้าลง ในขณะทีค่ นทีเ่ ขาไม่มกี นิ คนทีเ่ ขายังลําบากอยู่ เขาไม่มีความฟุ่มเฟือยพอที่จะคิดว่าจะเปลี่ยนชีวิตยังไงให้เป็น การช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน เขาก็ยังต้องทํางานหาเงิน ยังต้อง ใช้นา้ํ มันคุณภาพห่วย ๆ ในการทําอาหารอยู่ ซึง่ การเดินทางครัง้ นี้ มันทําให้เราคิดในเชิงสังคมมากขึน้ สนใจการเมืองมากขึน้ สนใจ เศรษฐศาสตร์มากขึน้ สนใจวิทยาศาสตร์มากขึน้ เพราะพอยิง่ ศึกษาไป เรายิ่งรู้สึกว่ามันไม่ make sense ที่จะกลับไปสู่ยุค ชนเผ่า มันค่อนข้างจะเป็นความเพ้อเจ้อแบบโรแมนติกเกินไป เหมือนเป็นความคิดเชิงยูโทเปียเกินไปทีอ่ ยากให้โลกย้อนกลับ ไปสู่ยุคโบราณเพื่อจะรักษาโลกไว้ เราเริม่ คิดว่าสิง่ ทีค่ วรจะคํานึงถึงจริง ๆ มันคือชีวติ คนก่อน เพราะว่าเราคือคน มันมีคนอีกมากมายในโลกนีท้ ยี่ งั ลําบาก ที่ ยังต้องเผชิญกับความไม่ยตุ ธิ รรมในสังคม ความไม่เท่าเทียมกัน ในสังคม ถูกคนด้วยกันเองกดขีเ่ อาไว้ และสําหรับเรา สิง่ เหล่านี้
100
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เป็นปัญหาทีส่ าํ คัญกว่าการอนุรกั ษ์ธรรมชาติ คือมันโหดร้ายกว่า หมายถึงว่าพอเราคิดถึงสิง่ ทีม่ นุษย์ทาํ ต่อกัน มันส่งผลทีเ่ ลวร้าย กว่าสิ่งที่มนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหาธรรมชาติเยอะ สําหรับเรา คนตายในพายุมนั ยัง make sense มากกว่าคนทีต่ อ้ งตายด้วย การถูกคนด้วยกันเองฆ่า หรือว่าถูกความไม่ยตุ ธิ รรมในสังคมกดขี่ : ตอนอ่ า นจบมี ค วามเข้ า ใจว่ า ผู้ เขี ย นต้ อ งการสื่ อ สารว่ า สิ่ ง ที่ แวดล้อมรอบตัวเราอยู่ในเมือง มันก็เป็นธรรมชาติแบบหนึ่ง Q
: ใช่ คือจริง ๆ แล้ว สุดท้ายเราคิดแบบนัน้ เราคิดว่าตัง้ แต่ที่ เราสนใจเซน เราก็มีแนวโน้มที่จะคิดแบบนั้นอยู่ หมายถึงว่า ทุกอย่างมันเป็นธรรมชาติ ทัง้ ดีและไม่ดี รวมทัง้ ภาวะโลกร้อน ก็เป็นธรรมชาติที่มันจะต้องเกิดขึ้น คือสุดท้ายเราก็ไม่คิดว่า ใบไม้หนึ่งใบกับไอโฟนมันจะมีความไม่เป็นธรรมชาติที่ต่างกัน เราคิดว่าทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นธรรมชาติเหมือนกัน A
Q
: มีนักปรัชญาที่ชอบเป็นพิเศษไหม : ก็สปิโนซา เพราะว่าแนวคิดของเขาค่อนข้างจะครอบคลุม หลาย ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับทั้งชีวิตและก็ธรรมชาติ สําหรับในยุค สมัยเขา มันก็เป็นแนวคิดที่ค่อนข้างจะ radical ถึงแม้ว่าคน A
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
101
ยุคนี้ ปรัชญาจะก้าวไปไกลกว่าสปิโนซาแล้ว ในแง่การถกเถียง แต่สิ่งที่เขาคิดมันก็ยังเป็นทฤษฎีที่สามารถคิดต่อได้ไปเรื่อย ๆ แล้วก็มนั ท้าทาย มันท้าทายเพราะมัน abstract แบบทีเ่ ราคิดว่า ยากทีจ่ ะเข้าใจได้จริง ๆ แต่ในขณะเดียวกันก็สนุกทีจ่ ะคิดกับมัน Q
: ช่วยอธิบายให้ฟังคร่าว ๆ หน่อยครับ : คือการพูดว่าทุกอย่าง สรรพสิ่งในโลกและจักรวาล คือ พระเจ้าเนี่ย มันเป็นทฤษฎีที่พูดแล้วมันเหมือนง่าย แต่ว่าพอ คิดดูจริง ๆ แล้วมันท้าทายความคิดมาก เพราะว่ามันแทบจะ เป็นสิ่งที่เรานึกภาพไม่ออกเลยว่ามันคือยังไง เหมือนที่เราพูด เมื่อกี้ว่าใบไม้หนึ่งใบกับไอโฟน จริง ๆ แล้วมันคือสิ่งเดียวกัน มันอาจจะพูดง่าย แต่ว่าพอเรานึกภาพดูจริง ๆ มันก็ยากที่จะ นึกว่ามันเป็นสิง่ เดียวกันยังไง การทีเ่ ราบอกว่าถ้าเราเรียกทุกอย่าง ว่าพระเจ้า ทุกอย่างเลยนะ คําว่าทุกอย่างก็เป็นคําที่ยากที่จะ เข้าใจเหมือนกัน ถ้าเราบอกว่าเราเรียกทุกอย่างว่าพระเจ้า และ ทุกอย่างก็เป็นส่วนหนึ่งของพระเจ้า เราก็เป็นส่วนหนึ่งของ พระเจ้า ขี้เล็บเราก็เป็นส่วนหนึ่งของพระเจ้า ขี้หมาก็เป็นส่วน หนึ่งของพระเจ้า มันเป็นคอนเส็ปต์ที่ใหญ่มาก แล้วก็ยากมาก ที่จะไตร่ตรองมันด้วยสมองของเรา ในความเป็นมนุษย์ เราคิดแบบระบบ เราคิดว่าคนเราเกิด A
102
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ในท้อง เราคลอดออกมา เราโตแล้วเราก็ตาย มันเป็นวัฏจักร แบบพุทธ เกิดแก่เจ็บตาย แต่ว่าถ้าในความคิดแบบสปิโนซาที่ ว่าพระเจ้าคือสิ่งที่สร้างตัวเองขึ้นมา เรานึกไม่ออก เรานึกไม่ ออกว่าอยูด่ ี ๆ สิง่ หนึง่ ออกมาจากอะไร มันต้องมีอะไรบางอย่าง ก่อนหน้านั้นเสมอในความคิดแบบมนุษย์ เพราะฉะนั้น เราก็ เลยคิดว่ามันท้าทายจินตนาการของเราว่าการเกิดขึน้ ของอะไร บางอย่าง โดยที่ไม่ต้องเกิดขึ้น มันคืออะไรวะ Q
: ความรู้สึกนี้มันส่งผลกับการมองตัวเองหรือนิยามตัวเองไหม : สําหรับเรา มันแค่ส่งผลในระดับที่ทําให้เรารู้ตัวว่าเราไม่ สามารถเข้าใจทุกอย่างได้ คือความคิด ความเข้าใจ การเรียนรู้ แบบมนุษย์ ก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งไม่ได้หมายความว่า มันไม่ใช่ความจริง อันนีก้ เ็ ป็นสิง่ ทีเ่ ราคิดว่ามันยากทีจ่ ะอธิบาย เหมือนกัน ในแง่ทวี่ า่ สมมติวา่ เราพูดแบบพุทธว่าทุกอย่างเป็น ภาพลวงตา มันอาจจะเป็นภาพลวงตาก็ได้ ในความหมายทีว่ า่ มันไม่ใช่ความจริงจริง ๆ แต่มันเป็นความจริงที่มนุษย์รู้สึก ความจริงของปลาอาจจะเป็นอีกแบบหนึ่ง ความจริงของมด อาจจะเป็นอีกแบบหนึง่ สิง่ มีชวี ติ ต่าง ๆ ไม่ได้เห็นโลกแบบทีเ่ รา เห็น อันนีก้ อ็ าจจะเป็นความจริง แต่วา่ ในขณะเดียวกัน ในเมือ่ เราต้องอยูใ่ นความจริงนี้ มันก็เป็นความจริง เพราะเราไม่สามารถ A
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
103
ไปใช้ชวี ติ แบบมดได้ ไปใช้ชวี ติ แบบปลาได้ เราก็จาํ เป็นทีจ่ ะต้อง ยึดถือความจริงตามที่เราเห็นในแบบของมนุษย์ เพราะฉะนั้น มันก็ทง้ั จริงและไม่จริง คือเราอาจจะคิดจินตนาการได้วา่ ทุกอย่าง มันเป็นแค่ภาพลวงตา หรือความจริงทีส่ มั บูรณ์เป็นอีกแบบหนึง่ แต่ในขณะเดียวกัน ในเมื่อเราไม่สามารถหลุดพ้นออกไปจาก ความจริงแบบมนุษย์ได้ เราก็ตอ้ งใช้ชวี ติ บนพืน้ ฐานของความ จริงของเราอยู่ดี : คุณเคยบอกว่า ตอนเด็ก ๆ อ่านหนังสือเกี่ยวกับเต๋าเยอะ แล้ว พอฟังเรื่องสปิโนซาก็ชวนให้คิดว่ามันคล้ายกับที่เต๋าก็บอกว่าเต๋าคือ ทุกอย่าง Q
: ก็ใช่ สุดท้ายแล้วเราคิดว่าความสนใจเรามันใกล้เคียงกัน มันก็ยังวนเวียนอยู่กับการตั้งคําถามว่าอะไรจริง อะไรไม่จริง หรือว่าหัวใจสําคัญของการมีอยูม่ นั คืออะไร แต่เราต้องอย่าลืม ว่าปรัชญาหลาย ๆ อย่างมันไม่ได้เกิดขึ้นโดยตัวมันเอง หมาย ถึงว่า เต๋าเนีย่ ก็เป็นปรัชญาทีอ่ งิ การเมืองเยอะมาก มันเกิดขึน้ ในยุคสมัยหนึ่งที่มีคนที่มีความคิดแบบนี้ เพราะมันเสียดทาน อยู่กับระบบการปกครองแบบหนึ่ง แล้วก็แม้แต่สปิโนซาเองก็ เหมือนกัน มันเป็นความคิดทีเ่ กิดขึน้ จากการอยูภ่ ายใต้ศาสนา หนึ่งหรือระเบียบในสังคมแบบหนึ่งที่ผลักดันให้เขาคิดแบบนี้ A
104
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ขึ้นมา เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราเริ่มสนใจในยุคหลัง ๆ มันถึงได้ เชือ่ มโยงไปกับการเมืองและเศรษฐศาสตร์ เพราะว่าเรารูส้ กึ ว่า สุดท้ายแล้วปรัชญาแยกออกจากสิง่ เหล่านีไ้ ม่ได้ เพราะมันเป็น ผลของยุคสมัยที่ทําให้มีความคิดแบบนี้เกิดขึ้นด้วยเหมือนกัน คือเมือ่ ก่อน เราก็รสู้ กึ ว่าปรัชญาเป็นสิง่ ทีล่ อย ๆ อยู่ เหมือนเป็น ความจริง (truth) ในอากาศ ที่อยู ่ ๆ คนก็สอยมาได้ แต่จริง ๆ มันไม่ใช่ มันเกิดจากภาวะสังคม มันเกิดจากการเมือง มันเกิด จากศาสนา อะไรหลาย ๆ อย่างทีเ่ ป็นปัจจัยให้มคี นอย่างสปิโนซา เกิดขึ้น ให้มีคนอย่างนีทเชอเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น มันถึงได้ กลายเป็นว่าเราก็เลยสนใจการเมืองไปด้วย สนใจสังคมไปด้วย : ถ้าอย่างนั้น ด้วยการเมืองหรือสภาพสังคมแบบไหนที่ทําให้คุณ สนใจสปิโนซาในตอนนี้ Q
: คือความจริงมันก็เป็นความสนใจที่ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น มันก็ เป็นเรื่องที่เราคิดมาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยเฉพาะเรื่องกฎกําหนดใน สังคมของมนุษย์ที่เป็นเรื่องสมมติ ตอนเป็นเด็ก เราก็จะคิดว่า ทําไมครูถึงมีสถานะเป็นครู หรือการแบ่งแยกระดับชั้นต่าง ๆ ทําไมห้องนี้ถึงเรียกว่าเป็นห้องคิง หรือทําไมเราต้องตัดผม ทรงนี้วะ มันก็เป็นนิสัยของเด็กที่ชอบตั้งคําถามเกี่ยวกับเรื่อง พวกนี้ แล้วได้บทสรุปว่ามันก็คอื เรือ่ งสมมติทง้ั หมด เพราะฉะนัน้ A
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
105
พอมันเป็นเรือ่ งสมมติ โอเค มันอาจจะมีประโยชน์ในบางอย่าง ของการอยู่ ร่ ว มกั น แต่ สุ ด ท้ า ยแล้ ว มั น ไม่ ใช่ ก ฎเหล็ ก ที่ คุ ณ เปลี่ยนแปลงไม่ได้หรือที่คุณตั้งคําถามไม่ได้ หรือว่าบางอย่าง ถ้ามันผิด ถ้ามันข้ามเส้น ถ้ามันไร้เหตุผล มันก็ควรจะถูกรือ้ ถอน ใหม่ได้ เราก็สนใจเรื่องพวกนี้มาตั้งแต่เด็ก แล้วก็เจอปัญหา แบบนี้มาตั้งแต่เด็ก หมายถึงความท้าทายต่อระบบ สมัยเรียน มัธยมก็เขียนหนังสือล้อ ผอ.โรงเรียน จนถูกเขาเรียก คือเรามัก จะตั้งคําถามกับอํานาจที่ครอบงําสังคมอยู่ว่ามันสมเหตุสมผล แค่ไหน หรือว่ามันจําเป็นต้องเป็นแบบนีห้ รือเปล่า เพราะด้วย สํานึกที่ว่ามันคือเรื่องสมมติ แล้วก็พอปรัชญาแบบสปิโนซาทีบ่ อกว่าทุกอย่างคือธรรมชาติ ทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยกลไกของมันโดยธรรมชาติ มันยิ่ง เชือ่ มโยงกับความย้อนแย้งของการถูกสมมติขน้ึ ของอะไรหลาย ๆ อย่างในสังคม เพราะหลาย ๆ อย่างมันไม่ใช่สงิ่ ทีจ่ าํ เป็นต้องเป็น แบบนัน้ หรือว่ามันไม่ได้เป็นแบบนัน้ โดยธรรมชาติจริง ๆ แต่มนั ถูกยกขึ้นมา ถูกสร้างขึ้นมา ถูกชวนเชื่อให้เป็นอย่างนั้น และ สังคมทุกสังคม ไม่ใช่เฉพาะสังคมไทย มันมีเรือ่ งแบบนีเ้ ยอะมาก หลาย ๆ อย่างเราก็เข้าใจได้ เพราะมันสืบทอดมาจากอดีต หรือ มันเป็นสิง่ ทีส่ ร้างความเป็นปึกแผ่นให้กบั ชุมชน คือสมมติอย่าง ความรักชาติ ถ้าดูความจริงในแง่ของกายภาพหรือในแง่ของ ธรรมชาติ ถามว่าจริง ๆ แล้วโลกนีม้ นั มีประเทศเหรอ มันก็ไม่มี
106
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
คุณพิสจู น์ได้เหรอว่ามันมี มันก็ไม่มี แต่วา่ ในเมือ่ มันถูกแบ่งเป็น ชาติ แตกแบ่งเป็นชุมชน แล้วแต่ละชุมชนต้องอยูก่ นั อย่างเข้มแข็ง อย่างสามัคคี โอเค เราก็เข้าใจได้วา่ มันถึงได้มกี ารปลุกความรัก ชาติให้มนั เกิดขึน้ มันก็เหมือนกับรักครอบครัว รักกลุม่ มันไม่ได้ ต่างกันมากหรอก แต่คณ ุ จะทําไปถึงจุดไหน คุณจะหลอกตัวเอง ว่านีเ่ ป็นความจริง หรือคุณจะยอมรับว่ามันเป็นเรือ่ งสมมติ เพือ่ เหตุผลบางอย่าง แล้วเมือ่ มันมีปญ ั หา คุณสามารถยืดหยุน่ ได้ไหม ต้องรักชาติกันจนรังเกียจคนอื่นเลยเหรอ : เวลาศึกษาปรัชญา คนจํานวนหนึง่ คงใช้วธิ อี า่ นหนังสือและขบคิด แต่สิ่งที่คุณทําใน ตื่นบนเตียงอื่น มันเหมือนเอาตัวเองไปทดลอง บางอย่างด้วย คือมันไม่เชิงเป็นนักปรัชญา แต่เป็นนักมานุษยวิทยา ด้วย การทําความเข้าใจผ่านการอ่านกับการนําตัวเองลงพืน้ ทีใ่ ห้ผลลัพธ์ ที่ต่างกันยังไง Q
: มันเป็นวิธขี องเรามากกว่า เราไม่ชอบเขียนหนังสือลักษณะ ด่าคนอื่นหรือว่าวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นโดยที่เราไม่เข้าใจบริบท ของเขา เพราะฉะนัน้ อะไรทีเ่ ราเขียนแล้วมันเป็นการวิเคราะห์ สังคมหรือสะท้อนอะไรบางอย่างในสังคม เราพยายามทีจ่ ะเอา ตัวเราเป็นที่ตั้งก่อน เพราะว่าเราคิดว่ามันไม่แฟร์ที่จะวิจารณ์ คนที่เราไม่เข้าใจ หรือว่ากลุ่มคนที่เราไม่เข้าใจ แล้วเราก็รู้ดีว่า A
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
107
เรามีสถานะบางอย่างในสังคมแบบหนึง่ ไม่วา่ จะเป็นชนชัน้ กลาง ฐานะดี มีชื่อเสียง ก็ต้องเรียกว่ามีอภิสิทธิ์หลาย ๆ อย่างด้วย เหมือนกันในสังคมนี้ การทีจ่ ะวิพากษ์วจิ ารณ์สงั คมได้ เราคิดว่ามันต้องยอมรับ สิ่งที่ตัวเองเป็นก่อน แล้วดูว่าเราวิพากษ์วิจารณ์เรื่องอะไร ถ้า เราวิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่เราเองก็มีส่วนได้ส่วนเสียอยู่ หรือว่า ผิดบาปอยูใ่ นนัน้ เองด้วย มันก็ควรจะเริม่ จากการวิพากษ์วจิ ารณ์ ตัวเอง สมมติว่าจะพูดถึงเรื่องภาวะโลกร้อน เราไม่อยากที่จะ เขียนหรือว่าพูดถึงมันในลักษณะที่ดูถูกคนอื่นว่าเขาเป็นส่วน หนึง่ ของปัญหา หรือว่าถ้าจะแก้ปญ ั หา คนอืน่ ต้องทําอะไร เรา จะเริ่มจากตัวเราก่อนว่าเราทําอะไรบ้างที่ส่งผลให้เกิดภาวะ โลกร้อนหรือเปล่า หรือเราไม่ทําอะไรบ้าง เพราะว่านี่คือสิ่งที่ เราเข้าใจจริง ๆ แล้วเรารู้จริง ๆ ว่าวิถีชีวิตเราเป็นยังไง แล้ว อะไรทําให้เราคิดแบบนี้ หรือว่าอะไรทําให้เราใช้ชีวิตแบบนี้ได้ ก็เหมือนกัน ไอ้เรื่องทัศนคติทีมีต่อการเมืองหรือสังคม เราก็ พยายามทีจ่ ะไม่พดู ถึงมันในลักษณะทีก่ ว้าง ๆ เกินไป หรือว่าใช้ หลักสากลในการวิเคราะห์หรือในการตัดสินมัน แต่วา่ วิเคราะห์ จากสถานะในสังคมที่เราอยู่ : การทีเ่ ราวิพากษ์ตวั เองด้วย มันต่างจากการแค่เราทําความเข้าใจ สิ่งที่คนอื่นคิดหรือเขียนยังไง Q
108
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
: สําหรับเรามันก็แค่ไม่ซอื่ สัตย์กบั ตัวเองแค่นนั้ เอง เพราะว่า มันเหมือนเราก็เอาความคิดคนอื่นมาใช้ คือจริง ๆ เราก็ไม่ได้ ซีเรียสว่าคนเขียนจะต้องทําได้ในสิง่ ทีต่ วั เองเทศนา เพราะว่าเรา เชือ่ ว่าความคิดมันก็คอื ความคิด ความคิดมันเป็นสิง่ ที่ generate ได้ในสังคม โดยที่คุณไม่ต้องยึดติดกับตัวคนเขียน บางคนอ่าน หนังสือแล้วได้ความคิดนี้ไปแล้วมันดีกับชีวิตเขา เขาก็เอาไป ใช้ได้ มันไม่ตอ้ งมาพูดว่านีเ่ ป็นความคิดของปราบดาหรือนีเ่ ป็น ความคิดของนิ้วกลม แต่ว่ามันแค่เป็นความคิดหนึ่งในสังคมที่ คนเอาไปใช้ได้ เราว่ามันก็โอเค แต่ว่าสําหรับตัวเราเอง ในเชิง ส่วนตัวเรา เราจะรูส้ กึ guilty ถ้าเราไม่ได้เข้าใจอะไรจริง ๆ ก่อน ทีเ่ ราจะเขียน หรือเราไม่ได้สนใจมันจริง ๆ เพียงแต่วา่ สักแต่วา่ เขียนไปเพราะว่ามันเป็นกระแสที่คนเขียนกันในช่วงนี้ หรือว่า นี่เป็นทัศนคติที่เขียนออกมาแล้วจะดูดีสําหรับคนอ่าน หรือว่า จะทํ า ให้ ภ าพลั ก ษณ์ เราดู ดี เราจะรู้ สึ ก ผิ ด ที่ จ ะทํ า แบบนั้ น เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นอะไรที่เราไม่สนใจจริง ๆ เราจะหลีกเลี่ยง ทีจ่ ะพูดถึงหรือทีจ่ ะเขียน แม้วา่ มันจะอยูใ่ นความสนใจของคน ในสังคมช่วงนั้นมาก ๆ ก็ตาม เราก็จะไม่มีความเห็น แต่ว่าถ้า มันเป็นสิ่งที่เรารู้สึกกับมันจากใจเราจริง ๆ เราก็จะพยายาม ศึกษาก่อน แล้วก็ทบทวนตัวเองก่อนว่าเราจัดอยูใ่ นคนกลุม่ ไหน ในปัญหานี้หรือในบริบทนี้ A
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
109
Q
: ทําไมคุณถึงเลือกแปลหนังสือ ปรัชญาฉบับกะทัดรัด ออกมา : เราคิดว่ามันอ่านง่าย แล้วเราเชือ่ ว่าปรัชญาเป็นสิง่ ทีท่ กุ คน ควรจะมีพื้นฐานความรู้มากกว่าที่เป็นอยู่ หมายถึงว่ามันควร จะได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ตั้งแต่เด็กในระบบการศึกษา เราคิดว่า เด็ก ๆ ควรจะรู้ว่าความคิดแบบเพลโตเป็นยังไง ความคิดแบบ อริสโตเติลเป็นยังไง นีทเชอคิดอะไร เพราะว่าจริง ๆ แล้วความ คิดทุกอย่างของนักปรัชญาทุกคน มันคือสิ่งที่มันอยู่ในสังคม หมดเลย เพราะเราไม่มคี วามรู้ เราไม่สามารถแยกได้วา่ คิดแบบนี้ แปลว่าเป็นแนวคิดแบบเดส์คาร์ต หรือว่าคิดแบบนีเ้ ป็นแนวคิด แบบสปิโนซา เราแยกแยะไม่ได้ เพราะเราไม่มคี วามรู้ แต่จริง ๆ มันแยกได้หมด และเราคิดว่าถ้าเราสามารถคุยกันแบบนั้นได้ การสื่อสารมันจะง่ายขึ้น และมันก็จะรวบรัดขึ้น และมันก็จะ ไม่ตอ้ งไหลตีความเพ้อเจ้อไปเรือ่ ย ๆ มันมีระบบของการถกเถียง ของมัน A
: คิดว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่ใช้เหตุผลแล้วหรือยัง เรามีเหตุและ ผลในการพูดคุยกันไหม Q
: เราคิดว่าสังคมไทยมีเหตุและผลแบบอัศจรรย์ คือมี เพราะ เราเห็นเวลาเขาพูดคุยกัน มันก็มีเหตุและผล แต่มันเป็นเหตุ A
110
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
และผลที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตรรกะสากล ซึ่งเราคิดว่ามันเป็นผล มาจากการถูกครอบงําด้วยอุดมการณ์ดงั้ เดิมของผูม้ อี าํ นาจเก่า ในเมืองไทยและศาสนาผสม ๆ กัน คือความเชื่อของพุทธที่เรา คิดว่าอันตรายมาก ๆ อันหนึ่งที่ดูเหมือนว่าคนไทยก็จะรับมา ก็คือความคิดที่ว่าเนื่องจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทุกอย่างที่ พระพุทธเจ้าสอนคือสิ่งที่ถูกต้อง หรือพระพุทธเจ้ารู้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ซึ่งมันอันนี้มันไม่ได้อยู่บนตรรกะ อยู่แล้วไง มันไม่มีเหตุและผลที่จะเชื่อแบบนั้นเลย มันไม่มี เหตุผลที่จะเชื่อว่าคนที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 2,000 กว่าปีแล้ว ไม่ว่า จะฉลาดหลักแหลมขนาดไหน หรือว่าเข้าใจชีวิตมากแค่ไหน จะรูเ้ รือ่ งบางเรือ่ งในศตวรรษที่ 21 มันไม่ make sense แต่วา่ เมื่อเราเชื่อมันในลักษณะที่เราเชื่อศาสนา เราก็จะเชื่อไปหมด แบบนัน้ ซึง่ เราคิดว่าอันนีม้ นั ก็เป็นปัญหาหนึง่ ทีท่ าํ ให้บทสนทนา หรือข้อถกเถียงในบ้านเรามันวนเวียนอยู่กับความเชื่อมากเกิน ไป ในขณะทีอ่ าจจะเรียกโดยรวม ๆ ว่าตะวันตก มันมีทมี่ าจาก การถกเถียงและหักล้างกันด้วยเหตุผล คือไม่ใช่จะบอกว่าตะวัน ตกไม่มีความเชื่อบ้า ๆ บอ ๆ หรือความเชื่องมงายนะ มันมีอยู่ เหมือนกัน แล้วก็ยังเห็นได้ชัดอยู่ เพียงแต่ว่าข้อแตกต่างก็คือ ในสังคมตะวันตก ตรรกะหรือความคิดที่มันไม่สมเหตุสมผล มันจะถูกวิพากษ์วจิ ารณ์อย่างหนัก และมันไม่ใช่สง่ิ ทีค่ นจะใช้กนั ด้วยความภาคภูมิใจ มันจะมีความน่าอายที่จะงมงายแบบนั้น
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
111
อยู่ และมันก็จะถูกวิพากษ์วจิ ารณ์โดยสือ่ กระแสหลักอย่างหนัก ไปด้วย ในขณะที่ในบ้านเรา สื่อกระแสหลักก็ยังมีส่วนที่เป็น อนุรกั ษนิยมมาก ๆ แล้วก็เชือ่ ในสิง่ ทีไ่ ม่มเี หตุมผี ลมาก ๆ อยูด่ ว้ ย ความเชือ่ แปลก ๆ หรือว่าความเชือ่ ทีม่ นั ล้าหลังในโลกตะวันตก มันจะกลายเป็นออกไปในแนวลัทธิ หรือว่าความเชือ่ เฉพาะกลุม่ ความเชื่อที่คนทั่วไปมองว่าผิดเพี้ยน แบบนี้มากกว่า : พูดเรื่องปรัชญากันมาเยอะ ถึงตอนนี้คุณพอจะตอบได้ไหมว่า ความหมายของชีวิตคืออะไร Q
: ตอบได้วา่ มันไม่ตอ้ งมี ไม่ตอ้ งมีความหมาย เราชอบดูพวก สารคดีสตั ว์ทเี่ ขาตามดูชวี ติ ของสัตว์ แล้วสัตว์สว่ นใหญ่เวลามัน เกิดมา เวลาเราดูแล้วเราจะรู้สึกแปลกอย่างหนึ่ง คือว่าสัตว์ ส่วนใหญ่เวลามันเกิดมา ทุกอย่างมันดูเป็นอัตโนมัติ ม้าเนี่ย คลอดมาปุบ๊ มันเดินได้เลย เป็นม้าเลย แต่คนเนีย่ มีความแปลก ตรงที่ว่ามันต้องผ่านการเรียนรู้ ทารกเกิดมาทําอะไรเองไม่ได้ แล้วถ้าไม่มีคนดูแลก็ตาย แต่สัตว์มันดูแบบ independent แต่ละอย่างมันเกิดมาแล้วมันเหมือนเป็นเครือ่ งจักรทีม่ แี บบแผน ของมัน เกิดมาแล้วต้องเป็นอย่างนี้ นกเกิดมาแล้ววัยหนึง่ ก็บนิ ได้ แต่เราคิดว่าคนก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน ในความเป็นจริง มันก็มคี วามเป็นเครือ่ งจักรอยู่ เพราะว่าคนก็เป็นสัตว์ เพียงแต่ A
112
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ว่านีเ่ ป็นวิถขี องคนแค่นนั้ เอง วิถขี องคนมันต้องผ่านการเรียนรู้ ผ่านการลอกเลียนแบบ ผ่านการศึกษาจากสิ่งแวดล้อม แล้ว มันไม่ได้จําเป็นต้องมีความหมายว่าเกิดมาทําไม มันคือเกิดมา ก็เพราะว่ามันเกิด มันไม่ได้จําเป็นต้องมีความหมายว่าคุณเกิด มาเพื่อทําอะไรที่มันยิ่งใหญ่ไปกว่าแค่การมีชีวิต เมื่อเกิดมามี ชีวิตแล้ว ความหมายของชีวิตคุณก็คือคุณก็ต้องมีชีวิตไปจน ถึงวันที่ตาย Q
: ถ้าไม่มีความหมาย แล้วเราจะมีเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปหรือ A
Q
: เราก็เห็นเขาก็ยังอยู่กัน
: แต่ก็มีคนฆ่าตัวตายเยอะแยะ : การฆ่าตัวตายก็เป็นคุณสมบัติหนึ่งของมนุษย์ที่เราว่าน่า สนใจดี มันอาจจะมีที่มาจากความคิดนี่แหละ เราก็สนใจเรื่อง พวกนีเ้ หมือนกันนะว่าการทีม่ นุษย์มคี วามคิด มีภาษา มันส่งผล ให้มีเรื่องหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นในความเป็นมนุษย์ รวมถึงการ ฆ่าตัวตายด้วย เพราะถ้ามนุษย์เป็นแค่สิ่งมีชีวิตที่เกิดมาโดย อัตโนมัติ หากินไป สืบพันธุ์ผสมพันธุ์ไปแค่นั้น มันก็คงไม่ต้อง มานัง่ คิดว่ากูเบือ่ โลกแล้ว อยากจะตาย ความทีม่ นุษย์คดิ แบบ A
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
113
นีไ้ ด้ แล้วฆ่าตัวตายได้ มันก็นา่ สนใจสําหรับเรา แต่วา่ เราก็ไม่ได้ มีคาํ ตอบ นีก่ เ็ ป็นเรือ่ งหนึง่ ทีเ่ ราก็ยงั ชอบคิดไปเรือ่ ย ๆ คือถ้าถาม ว่าความหมายของชีวิตคืออะไร เราก็คิดว่ามันไม่จําเป็นต้องมี
114
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
/ Essay /
ด้วยรักและ Fuck You
ว่าด้วยความรักในปัญญาและเสรีภาพ ในการแสดงออก ณัฐนันท์ วรินทรเวช
นั
บเป็นเรือ่ งทีป่ ฏิเสธไม่ได้วา่ เสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression) คื อ หั ว ใจหลั ก ของแวดวงวิ ช าการนั บ ตั้ ง แต่ จุดเริม่ แรก คําถามสําคัญหลายประเด็นถกตัง้ ขึน้ เพือ่ ถกเถียง คัดค้าน โต้แย้ง และหาคําตอบอันซึ่งจะนําไปสู่ข้อตกลงร่วม (consensus) ของทั้งสองฝ่าย เราถกเถียงเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการปะทะกันในพื้นที่ อืน่ หรือถ้าเปรียบเทียบอย่างคร่าว ๆ แล้ว มหาวิทยาลัยอาจเทียบได้ กับสนามรบทางปัญญา ซึง่ มาแทนทีค่ วามรุนแรงเชิงกายภาพด้วยการ ปะทะกันของแนวคิด เสรีภาพทางปัญญาและการแสดงออกจึงทําให้ มนุษย์ในปัจจุบันวางมีด ดาบ ปืน และหันมาจับปากกาเชือดเฉือน คมความคิดในโลกวิชาการแทนการหํา้ หัน่ ด้วยอาวุธด้วยความมืดบอด ดังเช่นในอดีต ทว่าข้อถกเถียงเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกและฟรีสปีชก็ ยังคงมีอยู่—เช่นเดียวกับอีกหลายเรื่องที่สังคมยังคงหาข้อตกลงร่วม ไม่ได้—คําหยาบถือเป็นฟรีสปีชหรือไม่? เรามีสิทธิ์พูด “ฟัคยู” บน
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
ณัฐนันท์ วรินทรเวช นักเรียน ที่เพิ่งจบ ม.ปลายมาหมาด ๆ สนใจปรัชญา การเมือง ศิลปะ วรรณกรรม (แม้ ว่ า สาขาที่ เรียนอยู่จะไม่ได้เกี่ยวข้องเลย ก็ตาม) ตกหลุมรักฟูโกต์ตง ั้ แต่ แรกพบ อ่านซาร์ตซ้ำ�ไปซ้ำ�มา เป็นงานอดิเรก และมีเดอบัวร์ เป็นไอดอล
117
หน้าไทม์ไลน์เฟซบุ๊กของเราไหม? ความถูกต้องทางการเมืองและ อุดมการณ์ฝา่ ยซ้ายกําลังทําลายฟรีสปีชหรือเปล่า? คําถามเหล่านีแ้ ละ ประเด็นสืบเนื่องอีกมากมายถูกจุดขึ้นหลังจากประเด็นดราม่าของ อาจารย์ปรัชญาชือ่ ดังแห่งมหาวิทยาลัยเยล เจสัน สแตนลีย์ ซึง่ เขียน สบถคําหยาบในโพสต์เกี่ยวกับข้อเสนอในที่ประชุมวิชาการ The Society of Christian Philosophers’ Regional Conference ของริชาร์ด สวินเบิร์น ซึ่งนําเสนอมุมมองว่า การที่คนรักเพศเดียวกันมีลูกไม่ได้ ถือเป็นความพิการรูปแบบหนึง่ (ในทีน่ จ้ี ะละประเด็นข้อถกเถียงเกีย่ วกับ ข้อเสนอของ อ.สวินเบิร์นไว้ และกล่าวถึงประเด็นของ อ.สแตนลีย์ เป็นหลัก) ไม่นานหลังจากสแตนลีย์โพสต์ลงบนไทม์ไลน์ของเพื่อน ข้อเขียนนัน้ ถูกนําไปเผยแพร่ในวงกว้างและเรียกเสียงวิพากษ์วจิ ารณ์ ถึง “การด่วนตัดสินอย่างไร้สติ” “ภาษาอันหยาบกระด้าง” และ “ความไม่สมประกอบ” ที่ถูกถ่ายทอดผ่านถ้อยคําของสแตนลีย1์ ดราม่าของอาจารย์สแตนลียย์ งั คงดําเนินต่อไป ดูเผิน ๆ แล้วการ ตามอ่านข้อพิพาท การโต้แย้ง หรือแม้แต่การออกแถลงการณ์ใน ประเด็นนี้ ก็ดเู หมือนกับว่าจะเป็นเพียงการตามข่าวซุบซิบคนดังเพือ่ ฆ่าเวลายามว่างเท่านัน้ ทว่าข้อสังเกตหลายอย่างจากการดีเบตก็ควร …Rod Dreher, who wrote in a Sept. 28 article in The American Conservative “reckless judgment, vulgar language and unhinged nature” of Stanley’s remarks.
1
that he was outraged at the
118
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ค่าแก่การนํามาขบคิดต่อ และอาจทําให้เราได้ค้นพบบางอย่างในอีก ฟากฝัง่ ทีข่ า้ มพ้นเส้นเขตแดนของดราม่าอันไม่จบไม่สน้ิ ในสังคมมนุษย์ ยุคไซเบอร์ อย่างแรกสุด มีคําถามหนึ่งวาบขึ้นมาแทบจะทันทีที่เห็นข่าว ฉันนึกสงสัยตามประสาคนที่เติบโตมากับอินเทอร์เน็ต ชาวเกรียน และการสบถหยาบคายว่า “ทําไมอาจารย์ปรัชญาจะพูดฟัคยูลงเฟซ ตัวเองไม่ได้ (วะ)?” หากจะลองหยิบยกจุดประสงค์มาพิเคราะห์ดู ก็จะเห็นว่า คําหยาบไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อดูถูกดูแคลนเพียงอย่างเดียว คําว่า “เหี้ย” อาจถูกหยิบยกมาใช้เพื่อสื่อถึงอารมณ์ที่ผู้พูดรู้สึกต่อ สิง่ ใดสิง่ หนึง่ อย่างเข้มข้น และเพือ่ ดึงดูดความสนใจของผูฟ้ งั มากกว่า จะเป็นการด่าก็ได้ (นึกง่าย ๆ ว่า เราไม่ได้กล่าวประโยค “เรือ่ งนีแ้ ม่ง น่าสนใจเหี้ย ๆ” เพื่อที่จะบอกว่าเรื่องนี้ “เหี้ย” ถูกไหม?) ดังนั้น คําหยาบอาจมีนยั ยะอยูน่ อกเหนือความหมายตามตัวอักษรซึง่ เป็นไป ในเชิงลบของคํานั้นก็ได้2 หรือแม้จะเป็นการผรุสวาททีม่ คี วามหมายทางตรง ความอันตราย ของคําหยาบก็ไม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั การเลือกสรรคําเพียงอย่างเดียว แต่ขนึ้ 2
Swear words are also useful and effective ways of conveying that you feel
very strongly about something or of inciting strong feelings in someone else
( ,
;
even when used outside of their traditional definitions Jay 2009a Pinker
)
, ,
2007
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
119
อยู่กับบริบทที่มันถูกหยิบยกขึ้นมาใช้ด้วย3 (นึกภาพว่า ต่อให้เพื่อน สนิทพ่นสัตว์โลกน่ารักออกมาทัง้ ฝูงคุณก็คงไม่โกรธ ถูกไหม) “ดังนัน้ วลี ข องสแตนลี ย์ ที่ เ ป็ น เพี ย งการคุ ย เล่ น กั บ เพื่ อ นฝู ง จึ ง ไม่ ไ ด้ ทํ า อันตราย ข่มขู่ให้ร้าย หรือบังคับให้เสียงของใครต้องเงียบลงเลย ในบริบทนี้ และอาจถือได้ว่าเป็นการใช้คําหยาบโดยไม่ขัดต่อหลัก ฟรีสปีชแต่อย่างใด ทว่าก็มีบางประเด็นที่น่าจะนํามาคิดต่อ นั่นคือ จริยศาสตร์ของการนินทาและหลักการของฟรีสปีช ซึง่ ฉันจะขอเกริน่ เรื่องต่ออีกสักนิด จะได้ถกหลักการแบบมีรสชาติ และไม่น่าเบื่อเกิน ไปนัก (ใคร ๆ ก็ชอบเสพดราม่าทั้งนั้นแหละ!) กลุม่ ทีไ่ ม่เห็นด้วยกับสแตนลียก์ เ็ สนอว่า การสบถหยาบคายของ เขาแสดงถึงความไม่อดทนต่อความเห็นที่หลากหลาย ถือเป็นการ คุกคามเสรีภาพในการแสดงออกของผู้อื่น และเป็นตัวอย่างของการ อ้างความเหนือกว่าทางคุณธรรมทีอ่ าจารย์มหา’ลัยฝ่ายซ้ายพยายาม ใช้เพื่อขับไล่คนคิดต่างให้เป็นชายขอบ ซึ่งเป็นการกระทําที่ขัดต่อ หลักการของความอดทนอดกลัน้ (tolerance) ทีน่ กั วิชาการฝ่ายซ้าย 3
Psychological studies have shown that context is essential in terms of harm-
.
,
ful speech On one hand a study of child victims of obscene telephone calls showed that the children suffered severe psychological consequences from these
(
calls Larsen et al 2000
).
Verbal harassment and aggression has also been
(
.,
). On the ( ,
shown to have clear negative psychological effects Vissing et al 1991
,
other hand the evidence against swearing alone is much less compelling Jay
)
2009b
120
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เช่นสแตนลีย์อ้างว่าพยายามผลักดันมาโดยตลอด แต่หากมองจากมุมของสแตนลีย์ที่เขียนความคิดเห็นในพื้นที่ (เสมือน) ส่วนตัว ซึ่งตั้งค่าให้เฉพาะ “เพื่อน” ในเฟรนด์ลิสต์เห็น เท่านัน้ จะเห็นได้วา่ ผูส้ ง่ สารไม่ได้มเี จตนาในการคุกคามผูแ้ สดงความ คิดเห็น เนือ่ งจาก “สาร” นัน้ ไม่มที างทีจ่ ะไปถึงสวินเบิรน์ เลย (ถ้าไม่ ได้ถกู แคปหน้าจอไปประจานเสียก่อน) ดังนัน้ ประเด็นเรือ่ งการทําให้ คนคิดต่างเป็นชายขอบ (marginalize) จึงควรถูกปัดตกไป และเมือ่ ไม่มกี ารทําให้เป็นชายขอบตัง้ แต่แรก ประเด็นของความ (ไม่) อดทน อดกลั้นก็ดูจะอ้างไม่ขึ้นนัก และหากฟังความเพิ่มเติมจากแถลงการณ์ของสแตนลีย์4 จะ ทราบว่าประโยคนั้นถูกกล่าวขึ้นเพื่อให้กําลังใจเพื่อนร่วมงานที่เป็น เกย์และถูกกลั่นแกล้ง คําสบถในบริบทนี้จึงมีความหมายไปในเชิง “ช่างแม่งเถอะ” มากกว่าจะเป็นการสาปแช่งและปิดกัน้ เสรีภาพทาง ความคิดของสวินเบิรน์ มันจึงเป็น “Fuck those assholes” ทีไ่ ม่ได้ “Fuck” ตัวบุคคล แต่เป็นไปเพื่อให้กําลังใจ และแสดงความรู้ร้อน รูห้ นาว (solidarity) ต่อความไม่เป็นธรรมทีก่ ลุม่ เกย์ในแวดวงวิชาการ กําลังได้รับ ความโกรธขึ้งที่ถูกถ่ายทอดด้วยคําหยาบเพื่อแสดงความ เห็นอกเห็นใจ จึงควรถูกพิจารณาอย่างถีถ่ ว้ นมากกว่าทีจ่ ะด่วนตัดสิน 4
https
-
://feministphilosophers.wordpress.com/2016/10/07/a-statement-from-ja/
son stanley
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
121
จากความหยาบโดยผิวเผินของตัวมันเอง เนื่องจากคําหยาบอาจถูก นํามาใช้ทําลายข้อห้ามของสังคม เพื่อสร้างความเป็นกันเองและ สัญญะของความเป็นกลุม่ ก้อน (ในทีน่ คี้ อื ความเป็นกลุม่ ก้อนระหว่าง สแตนลีย์และเพื่อนเกย์) ได้ด้วย5 มาถึงจุดนีก้ ไ็ ด้เวลาหยิบยกประเด็น “จริยศาสตร์ของการนินทา” ที่ได้ทดไว้ในช่วงต้นของบทความมาถกกันต่ออีกทอดหนึ่ง เพราะ แน่นอนว่าหากมองจากมุมหนึ่ง การกระทําของสแตนลีย์ก็จะไม่ต่าง อะไรกั บ การนิ น ทาอย่ า งดาด ๆ เลย ซึ่ ง ถ้ า มองจาก “คติ ” หรื อ พาราไดม์ (Paradigm) ของคนทั่วไป การนินทาก็ไม่ใช่เรื่องที่ดูดี สักเท่าไหร่ และแน่นอนว่าคงเป็นสิ่งที่ไม่คู่ควรกับตําแหน่งอันสูงส่ง อย่าง “นักปรัชญา” เลย หากมองจากมุมของนักวิชาการฝ่ายขวา (ที่แม้แต่คําสบถสั้น ๆ ก็ยังรับไม่ได้) เขียนไปเขียนมาก็เริ่มรู้สึกว่าตัวเองก็กําลังนินทาชาวบ้านเขา อยูเ่ หมือนกัน ดังนัน้ เลยถือโอกาสนีม้ าดีเฟนด์การนินทาชาวบ้านของ ตัวเองสักหน่อย แต่จะพูดแก้เกีย้ วเองก็ดเู หมือนจะเป็นการหาข้ออ้าง อย่างเก้อ ๆ ไปสักนิด โชคดีที่มีนักวิชาการคนดังจาก University of 5
…swearing itself can also be a cultural phenomenon. The willingness to break
a cultural taboo in front of others creates an atmosphere of informality and
.
,
sense of community If taboos are defined by the greater society an environ-
,
ment where subverting those taboos is acceptable creates a smaller more
(
,
)
intimate society inside of the greater society Pinker 2007
122
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ได้เขียนเปเปอร์เรื่องนี้ไว้อย่างพอดิบพอดี ลอว์เรนซ์ เอ็ม ฮินแมน (Lawrence M. Hinman) ได้กล่าวไว้ อย่างน่าสนใจ6ว่า อันทีจ่ ริงแล้วการนินทานัน้ สามารถเป็นทีย่ อมรับได้ ในทางศีลธรรม (และอาจเป็นเรื่องดีด้วยซํ้าในบางกรณี) การนินทา ไม่จาํ เป็นต้องมุง่ ไปทีบ่ คุ คลทีถ่ กู พาดพิงเป็นหลัก และในทางกลับกัน การนินทาเป็นการสื่อสารและยืนยันทรรศนะของผู้พูดเสียมากกว่า แน่นอนว่าการนินทาไม่ได้ปราศจากมลทิน และการระแวดระวังเกีย่ วกับ บริบทของการนินทาเป็นสิง่ จําเป็น ทว่าในกรณีของสแตนลียน์ นั้ หาก ยกประเด็นของความรู้ร้อนรู้หนาว (solidarity) ที่ได้อธิบายไว้ก่อน หน้านีม้ าประกอบกันก็จะเห็นได้วา่ จุดประสงค์ของ “การนินทา” ใน ครั้งนี้เป็นไปเพื่อการยืนยันทรรศนะและสร้างความเป็นกลุ่มก้อน มากกว่าที่จะมุ่งคุกคามตัวบุคคลที่ถูกกล่าวถึง อย่างไรก็ตาม หากจะไล่ตอ้ นสแตนลียใ์ ห้จนมุม เราอาจตัง้ คําถาม ต่อพฤติกรรมของสแตนลีย์ได้อีกว่า แม้คําสบถนั้นจะมีเป้าประสงค์ ในการแสดงความเห็นอกเห็นใจผูอ้ นื่ หรือไม่ได้เป็นพิษเป็นภัยต่อใคร ในบริบทนัน้ แต่การแสดงความโกรธขึง้ ออกมาผ่านทางคําหยาบคาย เป็นสิ่งที่ควรทําหรือไม่? ประเด็นหลังถูกยกมาโดยกลุ่มนักวิชาการ ฝ่ายขวารวมถึงสวินเบิรน์ ซึง่ ตัง้ คําถามกับการใช้คาํ หยาบสแตนลียว์ า่ “ผมจะให้ผอู้ า่ นเป็นคนตัดสินใจว่า นีเ่ ป็นการตอบโต้ทเี่ หมาะสมจาก San Diego
6
vice versa
.
Lawrence M Hinman
, “Gossip: Some ethical reflections”
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
123
นักปรัชญาหรือไม่” อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรือ่ งความเหมาะสมนัน้ เป็น นามธรรม และขึน้ อยูก่ บั การตัดสินของปัจเจก ดังนัน้ หากย้อนแนวคิด กลับไป คําถามอาจกลายเป็น “การนําเรื่องวิธีการใช้ภาษาโจมตีตัว บุคคล (โดยไม่คํานึงถึงบริบท) เป็นเรื่องเหมาะสมหรือไม่?” แทน ประเด็นต่อมาที่น่าตั้งคําถามคือ การเสียบประจานคนที่สบถ คําหยาบในพืน้ ทีส่ ว่ นตัวบนโลกออนไลน์ ถือเป็นการละเมิด เสรีภาพ ในการแสดงออกหรือไม่? การนําข้อความที่ถูกเจาะจงให้ผู้รับสาร เพียงกลุ่มเดียวไปเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อเสียบประจาน อาจไม่ ต่างอะไรกับการทําตัวเป็นตํารวจความคิดทีค่ อยควบคุมไม่ให้ประชาชน แสดงออกอย่างนอกลู่นอกทาง และนี่เป็นเรื่องที่ร้ายแรงกว่าการทํา ให้คนคิดต่างกลายเป็นชายขอบทีฝ่ า่ ยขวาพยายามกล่าวหาสแตนลีย์ เสียอีก—กล่าวคือ สิง่ ทีฝ่ า่ ยขวาทําไม่ใช่เพียงการทําให้คน “คิดต่าง” กลายเป็นชายขอบเท่านั้น แต่ยังเป็นการทําให้คนที่ “พูดต่าง” ไม่มี ที่ยืนในสังคมด้วยบรรทัดฐานอันคับแคบของคําว่าความเหมาะสม หลักการที่เป็นหัวใจหลักและทําให้ฟรีสปีชยังคงอยู่ได้คือ “การ ทําลายล้างตัวเอง” นัน่ หมายความว่า หากมีความคิดเห็นหรือทรรศนะ ที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นจากเสรีภาพในการแสดงออกของคนบางกลุ่ม ก็จะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งใช้เสรีภาพในการแสดงออกของตนเพื่อหักล้าง ทรรศนะเหล่านั้น ไม่เช่นนั้นแล้วระบบฟรีสปีชก็อาจล้มครืนไปก็ได้ (ลองนึกภาพถึงคนที่ใช้เสรีภาพของตัวเองเพื่อรณรงค์การเซ็นเซอร์ หรืออะไรทํานองนั้น) ในท้ายที่สุดแล้ว ระบบก็จะสามารถจัดการ
124
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ตัวเองด้วยการสร้างสรรค์และหักล้างกันอย่างต่อเนื่องของวาทกรรม ต่าง ๆ ดังนัน้ การโต้ตอบทีด่ ขี องฝ่ายขวาจึงไม่ใช่การวิจารณ์เรือ่ งส่วน ตัว (เช่นการเม้าท์กบั กลุม่ เพือ่ นของสแตนลีย)์ แต่ควรมุง่ ไปทีข่ อ้ เสนอ หลักของสแตนลีย์ และรวมถึงฝ่ายซ้ายคนอืน่ ๆ ด้วย เมือ่ กล่าวถึงจุดนี้ เราก็สามารถเชือ่ มโยงไปถึงคอนเซ็ปท์ “การปะทะกันทางวัฒนธรรม” (cultural war) ที่สแตนลีย์ใช้มองดราม่าของตนเองได้ด้วย แม้ว่าฟรีสปีชจะยังคงอยู่รอดปลอดภัยและทํางานได้โดยปกติ แต่คํานี้มักจะถูกหยิบยกมาโจมตีและทิ่มแทงฝ่ายซ้ายอยู่เสมอ (ดูไป ก็เหมือนตลกร้าย เพราะกลุ่มที่ออกมาเรียกร้องฟรีสปีชก็คือพวก หัวก้าวหน้าฝ่ายซ้ายนี่แหละ!) หากเราจะลองค้น แงะ แกะ เกา ปัญหามายาคติเรือ้ รังเกีย่ วกับเรือ่ งนีเ้ พือ่ ไปให้ไกลกว่าประเด็นดราม่า ก็ดูจะไม่เป็นการเสียเวลาจนเกินไปนัก การอ้างเรื่องฟรีสปีชเพื่อโจมตีฝ่ายซ้ายและความถูกต้องทาง การเมือง (political correctness) ไม่ใช่เรื่องใหม่ สแตนลีย์เคย วิพากษ์ประเด็นนีอ้ ย่างน่าสนใจในบทความ “ตรรกวิบตั ขิ องฟรีสปีช” (The Free-Speech Fallacy) โดยได้ตงั้ คําถามอย่างชวนคิดไว้วา่ หาก เขาพยายามเสนอว่าสังคมไม่ควรแสดงความเห็นเหยียดผิว นั่นแปล ว่าเขากําลังละเมิดสิทธิ์ในการแสดงออกของผู้อื่นหรือเปล่า? และถ้า เขาแนะนํานักเรียนและชีใ้ ห้เห็นข้อผิดพลาด ห้องเลคเชอร์ของเขาจะ กลายเป็นแหล่งบ่มเพาะ “ความไม่เป็นเสรีนิยม” หรือเปล่า? การที่เรากล่าวว่าการแสดงออกถึงทรรศนะบางจําพวกเป็นสิ่งที่
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
125
ไม่ถกู ต้อง (เช่นทรรศนะเหยียดเพศ เหยียดสีผวิ เหยียดคนชายขอบ) ไม่ได้เป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น หรือปิดปาก คนเห็นต่าง ในทางตรงข้าม การตั้งคําถามถึงทรรศนะเหยียดเพศ เหยียดผิว และการผลักดันคอนเซ็ปต์ของความถูกต้องทางการเมือง เป็นการเปิดพืน้ ทีส่ าํ หรับการถกเถียงว่าด้วยการสร้างสังคมทีป่ ลอดภัย สําหรับทุกคน เพือ่ ให้เราสามารถแสดงออกถึงความคิดเห็นของตนเอง ได้ ไม่วา่ เราจะเป็นคนดํา คนขาว ผูช้ าย ผูห้ ญิง เกย์ กะเทย ทอม ดี้ โดยทีไ่ ม่ถกู ความรุนแรงทางวาจาผลักออกไปจากเวทีเสียก่อน ดังนัน้ ความถูกต้องทางการเมืองจึงเป็นตัวละครหลักที่ช่วยคํ้าจุนฟรีสปีช ให้เติบโตและครอบคลุมถึงทุก ๆ คนในสังคม และไม่ใช่การกดทับ เสรีภาพอย่างที่ถูกกล่าวอ้าง หากพิจารณาจากบริบท และผลกระทบเป็นปัจจัยหลัก การ โจมตีเรื่องอัตลักษณ์ (เช่นการล้อเลียนคนดําและเกย์) เป็นอันตราย มากกว่าการทีอ่ าจารย์ปรัชญาธรรมดา ๆ คนหนึง่ สบถ “ฟัคยู” บนหน้า เฟซบุก๊ ของตัวเองอย่างเทียบไม่ตดิ การทีฝ่ า่ ยขวามักอ้างฟรีสปีชเพือ่ ใช้อภิสิทธิ์ของตนเองโจมตีอัตลักษณ์ ลดทอนคุณค่า ลดความชอบ ธรรม และกลบล้างเสียงของตัวละครอืน่ ๆ ในเวทีการเมือง (เช่นการ กล่าวว่าเกย์คอื ความพิการประเภทหนึง่ ) แต่กลับตีโพยตีพายเมือ่ เห็น คําว่า “ฟัคยู” บนหน้าเฟซบุก๊ ของอีกฝัง่ จึงไม่ได้แสดงให้เห็นอะไรเลย นอกจากความไม่อยูก่ บั ร่องกับรอย ความไร้มาตรฐาน และการใช้ฟรี สปีชเป็นข้ออ้างในการทําให้เสียงของตนเองดังกว่าเสียงของคนอืน่ ๆ
126
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
มองไปทีก่ รณีของอเมริกา เราจะเห็นว่ากลุม่ คนทีช่ อบอ้างฟรีสปีช แต่กลับต่อต้าน political correctness จะถูกครอบงําไปด้วยกลุ่ม “ชายแท้ผิวขาว” (white cisgender male) ซึ่งเป็นชนชั้นที่อยู่ใน ตําแหน่งทีส่ ามารถจะไม่รสู้ กึ รูส้ ากับการเมืองเรือ่ งอัตลักษณ์ (identity politics) ได้ เพราะคนกลุม ่ นีม้ กั จะได้ประโยชน์จากความเป็น “ชาย แท้ผิวขาว” ของตนเองโดยเคยชินจนมองข้ามการกดทับที่คนกลุ่ม อืน่ ๆ ต้องเผชิญอยูท่ กุ เมือ่ เชือ่ วัน หากเราลองย้อนกลับมามองทีเ่ มือง ไทยอันเป็นทีร่ กั ของเราบ้าง คุณอาจไม่เชือ่ ถ้ามีคนบอกว่า “ประเทศ เราก็มี ชายแท้ผิวขาวว่ะ” แต่ฉันกําลังจะบอกคุณเช่นนั้น—ใช่ค่ะ ประเทศเราก็มี white cisgender male (นะเว้ย) คุณตบเข่าดังฉาดและร้องอุทาน “อ้าว! ก็ประเทศเรามีแต่คน ไทย ฝรั่งคนขาวมันก็มีแค่นักท่องเที่ยวกับเอกซ์แพต (expatriate) ไม่กคี่ น แล้วมันจะมาเกีย่ วอะไรกับดราม่าพีซี วินโดว์ แมค ของเมือง ไทยได้ยงั ไง?”—นัน่ ล่ะ คุณมาถูกทางแล้วค่ะ ชาวแอนตีพ้ ซี เี มืองไทย นี่แหละที่เป็น “อภิสิทธิ์ชนชายแท้ผิวขาว” ของแท้—แน่นอนว่าฉัน คงไม่ไปเถียงคุณเรือ่ งพันธุศาสตร์ เพราะชาวแอนตีพ้ ซี ี ซึง่ เป็นลิเบอรัล แบบไทย ๆ ซ้ายแบบไทย ๆ ก็คงไม่ไปมีเชือ้ สายคอเคซอยด์ตานํา้ ข้าว อะไรกับเขา แต่หากมองไปในเชิงพฤติกรรมและความสัมพันธ์เชิง อํานาจ เราจะเห็นความคล้ายคลึงหลายอย่างเนือ่ งจากชาวแอนตีพ้ ซี ี ของไทยก็เต็มไปด้วยผูช้ ายชนชัน้ กลางทีม่ กี ารศึกษาในกรุงเทพฯ หรือ หัวเมืองใหญ่ มนุษย์กลุ่มนี้มักจะไม่เข้าใจเวลาที่มีคนไปเตือนว่า การ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
127
Further Reads:
:// harvardscien . / / / 23/the-science-ofswearing/ https
cereview com 2014 01
://yaledailynews. / / / / / philosophy-professor- under-fire-for-onlinepost /? utm _ content = buffer9144a & utm _ medium=social&utm_ source=facebook. com&utm_campaign=buffer http
com blog 2016 10 05
ล้อคนดํา หรือการพูดคําว่า “นาย” นําหน้าชือ่ ของหญิงข้ามเพศซํา้ ๆ เป็นสิง่ ทีไ่ ม่ควรทํา (เช่นในกรณีของคุณอัม้ เนโกะ) แต่ในขณะเดียวกัน ก็เอาแต่ทอ่ งหลักการ “เสมอภาค เสรีภาพ ภราดรภาพ” อย่างนกแก้ว นกขุนทอง ฉันก็ไม่ค่อยเข้าใจนักว่า สรุปแล้วที่เขาบอกว่า “คนเท่า กัน” น่ะ มันคนไหน กลุ่มไหน แล้วเขานับเกย์ กะเทย คนดํา และ ผู้หญิงชาวพีซีอย่างฉันด้วยหรือเปล่า? ดราม่าสแตนลีย์และพีซีก็ยังคงดําเนินอยู่ต่อไป ฟรีสปีชก็ยังถูก ถกเถียงและท้าทายต่อไปตามธรรมชาติของมัน แต่สุดท้ายแล้ว การ รักในปัญญาและการถกเถียงจึงควรเป็นการเปิดพื้นที่ที่ “ปลอดภัย” สําหรับทุกคน ไม่ใช่การปล่อยให้อภิสทิ ธิช์ นเพียงบางกลุม่ อ้างฟรีสปีช กล่าวโจมตีคนอื่น ๆ ที่เหลือในสังคม โดยไม่ได้สนใจเอาเสียเลยว่า คําพูดของตนเองไปปิดปากและกีดกันชาวบ้านชาวช่องออกจากการ ถกเถียงไปเท่าไหร่แล้ว ด้วยรัก และ Fuck You, ณัฐนันท์.
128
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
/ Essay /
เรื่องเล่า 8 เรื่อง
กับ ความรักในปัญญาของ วงการปรัชญาไทย ปกรณ์ สิงห์สุริยา
เนื่
องในวาระที่ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรก่อตัง้ มาครบรอบ 25 ปี และมีดาํ ริจดั ทํา วารสารฉบับพิเศษสําหรับวาระดังกล่าว ในฐานะทีผ่ เู้ ขียนได้รบั เกียรติ ให้มีส่วนร่วมในการเขียนบทความสําหรับวารสารฉบับนี้ จึงถือเป็น โอกาสทีจ่ ะบันทึกเรือ่ งเล่าเกีย่ วกับวงการปรัชญาในบ้านเรา เรือ่ งเล่า ที่มีทั้งมิติทางวิชาการและมิติทางสังคมการเมือง (socio-political) เหล่านีเ้ ป็นเรือ่ งจริงและมีความน่าสนใจในแง่ทวี่ า่ น่าจะสะท้อนให้เห็น ความเป็นไปในวงการได้ไม่มากก็น้อย ขณะที่อ่านแต่ละเรื่องเล่า ผู้เขียนขอให้ผู้อ่านลองตั้งคําถามไปด้วยว่าเหตุการณ์ทํานองเดียวกัน เกิดในสาขาอื่นมากน้อยเพียงใด
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
ปกรณ์ สิงห์สุริยา ภาควิชา มนุ ษ ยศาสตร์ คณะสั ง คม ศ า ส ต ร์ แ ล ะ ม นุ ษ ย ศ า ส ต ร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
131
เรื่องเล่า 8 เรื่อง
เรื่องเล่าที่ 1 ผู้เขียนเคยไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งซึ่งเปิด สอนหลักสูตรปรัชญาในระดับปริญญาเอก และอาจารย์ในหลักสูตร ผูห้ นึง่ อธิบายว่า “ปรัชญา” มาจาก “ปฺร” กับ “ชฺญา” รวมได้ความ ว่า “ความรูอ้ นั ประเสริฐ” จากนัน้ อาจารย์ผนู้ ก้ี ล่าวต่อไปว่า “ความรู้ อันประเสริฐ” คือ “อริยสัจ 4” ดังนัน้ การเรียน “ปรัชญา” จึงต้อง เรียน “อริยสัจ 4” เมือ่ ได้ยนิ เช่นนัน้ ผูเ้ ขียนจึงถามกลับไปว่า “เพลโต สอนอะไร” หลักสูตรนั้นไม่เคยให้ผู้เขียนไปยุ่งเกี่ยวด้วยอีกเลย เรื่องเล่าที่ 2 เคยมีอาจารย์ในหลักสูตรปรัชญาระดับปริญญาเอก ผู้หนึ่งมาปรึกษาผู้เขียน อาจารย์ผู้น้ีมีดําริจะทําวิจัยทางปรัชญาเรื่อง ผีปอบ ผูเ้ ขียนถามกลับไปว่าทําไมจึงคิดว่าประเด็นนีเ้ กีย่ วกับปรัชญา คําตอบทีไ่ ด้คอื ปรัชญาศึกษาแนวคิด (concept) และ “ผีปอบ” เป็น แนวคิด เมื่อผู้เขียนท้วงติง อาจารย์ผู้นี้ก็ไม่มองหน้าผู้เขียนอีกเลย เรื่องเล่าที่ 3 สมัยก่อนที่จะมีการบังคับให้ผู้สอบเข้าต้องสอบภาษา อังกฤษกันถ้วนหน้าทุกสาขาวิชาอย่างทุกวันนี้ มีเพือ่ นผูเ้ ขียนเคยต่อว่า ภาควิชาปรัชญาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึง่ ว่ากีดกันพระไม่ให้เข้าเรียน เนื่องจากในการสอบเข้า มีข้อกําหนดให้สอบการอ่านตัวบทปรัชญา ภาษาอังกฤษด้วย แต่พระซึง่ เป็นกลุม่ หนึง่ ทีต่ อ้ งการเรียนปรัชญานัน้
132
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ไม่ถนัดภาษาอังกฤษ ที่น่าแปลกก็คือขณะที่คุยกัน เรานั่งอ่านตัวบท ปรัชญาภาษาอังกฤษกันอยู่ แม้จนบัดนีผ้ เู้ ขียนยังได้ยนิ ถ้อยประท้วงว่า ทําไมเรียนปรัชญาตะวันตกแล้วจะต้องอ่านภาษาตะวันตกได้สกั ภาษา เรือ่ งเล่าที่ 4 มีอาจารย์คนหนึง่ จบปริญญาเอก สาขาวิชาปรัชญาจาก มหาวิทยาลัยในประเทศทีจ่ ดั การเรียนการสอนด้วยภาษาต่างประเทศ มีคนส่งโครงร่างการวิจยั ของอาจารย์ผนู้ มี้ าสอบถามความเห็นผูเ้ ขียน โครงร่างการวิจยั นีต้ อ้ งการศึกษาความคิดเรือ่ งหนึง่ ของนักปรัชญาโดย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย ผู้เขียนชี้แจงไปว่าวิธีการนี้ใช้ ไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้คําตอบใดกลับมาอีกเลย จึงแคลงใจว่าเขาคงไม่เชื่อ หากเขาได้ลงมือทําวิจยั จริง ก็จะนํามาตีพมิ พ์ในวารสารทีร่ บั รองโดย ศูนย์ดชั นีวารสารไทย (TCI) ได้แน่ ต่อไปเราคงมีอาจารย์ปรัชญาทีท่ าํ วิจัยทางปรัชญาด้วยการเก็บแบบสอบถามและมีวารสารรองรับการ ตีพิมพ์ให้เห็น1 การที่มีโอกาสจะได้รับตีพิมพ์ในวารสารที่รับรองโดยศูนย์ดัชนีวารสารไทยไม่ใช่เรื่องน่า ประหลาดใจ ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นบรรณาธิการและร่วมการประชุมของศูนย์ดัชนีวารสารไทย ผู้เขียนพบว่าแม้แต่ศูนย์ดัชนีวารสารไทยเองก็ยอมรับว่าตนเองไม่ได้รับรองคุณภาพทางวิชาการ รับรองเพียงแต่คุณภาพการบริหารจัดการเท่านั้น (เช่น ออกวารสารตรงเวลา) อย่างไรก็ตาม คนยังเข้าใจผิดในประเด็นนีก้ นั อยู่ ผูเ้ ขียนพบด้วยตนเองว่ามีบรรณาธิการของวารสารทีต่ ดิ กลุม่ 1 กล่าวว่าการรับรองของศูนย์ดัชนีวารสารไทยเป็นการรับรองคุณภาพทางวิชาการ ทั้ง ๆ ที่เขา ได้เข้าประชุมของศูนย์ดัชนีวารสารไทยอยู่ด้วย เมื่อคนส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจก็เปิดโอกาสให้ คนที่ขาดความซื่อตรงต่อหลักการ (integrity) สามารถบิดเบือนได้เช่นนี้ ศูนย์ดัชนีวารสารไทย 1
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
133
เรื่องเล่าที่ 5 ผู้เขียนไปประชุมงานวิชาการระดับชาติที่หนึ่ง ข้าง ๆ ตรงที่ผู้เขียนนั่ง มีเด็กกลุ่มหนึ่งซึ่งภายหลังผู้เขียนทราบว่าเป็นนิสิต ระดับปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นิสติ กลุ่มนี้เปิดหนังสือรวมบทความที่เพิ่งซื้อมาและถกเถียงกันเกี่ยวกับ บทความเรือ่ งหนึง่ ฝ่ายหนึง่ เห็นว่าจุดต่าง ๆ ทีเ่ ป็นประเด็นนัน้ ผิด แต่ อีกฝ่ายแย้งว่าไม่น่าจะผิด มิฉะนั้นคงไม่ได้รับการตีพิมพ์ในเล่ม ผู้เขียนเหลือบไปเห็นว่าเป็นบทความอะไร ทําให้ตกใจเนื่องจาก ผู้เขียนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิตรวจบทความนั้น ประเด็นที่นิสิตระดับ ปริญญาตรีเถียงกันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาทางปรัชญา แต่เป็นเรื่อง ของภาษาต่างประเทศ คนไม่รู้ปรัชญาแต่รู้ภาษาต่างประเทศจึงมี โอกาสที่จะตรวจสอบได้ ประเด็นดังกล่าวนี้ผู้เขียนได้ท้วงติงไปแล้ว แต่เจ้าของบทความก็มิได้แก้ไข อันที่จริงเจ้าของบทความมิได้แก้ไข ตามข้อเสนอแนะใด ๆ เลย และบรรณาธิการก็ปล่อยผ่านออกมา นิสติ กลุ่มนี้เถียงกันสักพักก็หยุดเพื่อฟังการนําเสนอ นิสิตกลุ่มนี้มาก็เพื่อ ฟังผู้นําเสนอซึ่งเป็นคนเดียวกับที่เป็นเจ้าของบทความเจ้าปัญหานี้ เองยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนที่จะแก้ไขความเข้าใจผิดนี้ แต่การรับรองโดยศูนย์ดัชนีวารสารไทย มีผลกระทบเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องคุณภาพวิชาการอย่างกว้างขวางไปเสียแล้ว ถ้าสํานักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษาไม่เข้าใจงานของของศูนย์ดัชนีวารสารไทย และศูนย์ดัชนีวารสาร ไทยไม่มีวิธีการดูแลคุณภาพด้านวิชาการของบทความในวารสารได้ ก็ควรที่จะเป็นหน้าที่ของ นักวิชาการเองทีจ่ ะต้องเคลือ่ นไหวในนามวิชาการสาขานัน้ เพือ่ ประเมินคุณภาพทางวิชาการของ บทความในวารสารเหล่านี้ สิ่งนี้ถือเป็นข้อเรียกร้องเชิงจริยธรรมวิชาชีพ
134
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เรือ่ งเล่าที่ 6 เรือ่ งนีไ้ ม่เกีย่ วกับปรัชญาโดยตรง แต่ทาํ ให้ผเู้ ขียนนึกถึง วงการปรัชญา ผู้เขียนมีลูกศิษย์ระดับปริญญาโทคนหนึ่ง เขาออก กลางคันเนือ่ งจากเห็นว่าทีเ่ รียนอยูไ่ ม่ใช่แนวทางของตน ภายหลังเขา เข้าเรียนและจบปริญญาโทจากสถาบันแห่งหนึ่งซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความ เป็นเอกภาพ เนือ่ งจากฝักใฝ่การเมืองสีหนึง่ ตัง้ แต่พนักงานรักษาความ ปลอดภัยกระทั่งผู้อํานวยการ ผู้เขียนบังเอิญมาพบลูกศิษย์คนนี้ มีอยู่ตอนหนึ่งเขาเล่าถึงความ ประทับใจใน “นักวิชาการหัวก้าวหน้า” คณะหนึ่ง เนื่องจากบาง รายวิชาที่เขาเรียน ผู้สอนให้อ่านแต่งานวิชาการของคณะบุคคลนี้ เท่านั้น ผู้เขียนท้วงให้ระมัดระวังเรื่องความเที่ยงตรงทางวิชาการ แต่ก็ได้คําตอบที่น่าประหลาดใจจากนักศึกษา เขาบอกว่าเขาไม่สน ในเรื่องความเที่ยงตรง เขาประทับใจที่คณะบุคคลนี้ “มีความคิด สร้างสรรค์” เมือ่ คุยต่อไป ผูเ้ ขียนรูส้ กึ เหมือนได้ประสบการณ์การบรรลุซาโตริ จากการเล่าของลูกศิษย์นี้ พบว่าแม้อาจารย์ที่นําผลงานของคณะ บุคคลนีม้ าสอนนักศึกษาจะมีความชืน่ ชมคณะบุคคลนีเ้ ป็นอย่างมาก แต่ขณะสอนอาจารย์เหล่านี้มิอาจเก็บงําความรู้ของตนได้ การสอน จึงทําให้นกั ศึกษาเห็นว่างานวิชาการของคณะบุคคลนีไ้ ม่ใช่งานวิชาการ ทีเ่ ทีย่ งตรง หากแต่เป็น “งานสร้างสรรค์” ทีค่ ณะบุคคลเลือกบางแง่ บางประเด็นทางวิชาการมาตกแต่งเพื่องานทางการเมือง เท่าที่ประสบมา ผู้เขียนยังไม่เคยพบเช่นนี้ในวงการปรัชญา ไม่
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
135
ทราบว่าเป็นเพราะมีความรู้ไม่พอหรือมีความรู้มากพอที่จะเก็บงําได้ ถ้าดูในบริบทของการถกเถียงทางการเมือง เพียงแค่คนรู้ปรัชญานํา แนวคิดทีเ่ กีย่ วข้องมาแผ่ให้เห็น ก็จะทําอย่างทีอ่ าจารย์ในสถาบันข้าง ต้นทําได้แล้ว แต่ยังไม่เห็นว่ามีใครทํา (อ่านเรื่องเล่าที่ 8 ต่อ) เรือ่ งเล่าที่ 7 เรือ่ งนีก้ ไ็ ม่เกีย่ วกับปรัชญา แต่ทาํ ให้ผเู้ ขียนนึกถึงวงการ ปรัชญาเช่นกัน ในมหาวิทยาลัยอันดับหนึง่ แห่งหนึง่ มีความเคลือ่ นไหว บางอย่างทีค่ นนอกไม่แม้แต่จะจินตนาการถึงเนือ่ งจากขัดกับภาพลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยเป็นอย่างมาก กล่าวคือ มีอาจารย์กลุ่มหนึ่งที่มีข้อ ท้วงติงการให้ความสําคัญยิง่ ยวดกับการตีพมิ พ์ผลงานในวารสารทีอ่ ยู่ ในฐานข้อมูลสากล เหตุผลสําคัญทีก่ ล่าวได้อย่างย่นย่อคือทัศนะเช่นนี้ เป็นส่วนหนึง่ ของการต่อต้านจักรวรรดินยิ มตะวันตก อาจารย์เหล่านี้ มาจากสาขาหลากหลายทัง้ วิทยาศาสตร์การแพทย์ สิง่ แวดล้อม ศึกษาศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ เป็นต้น เมื่อย้อนมองวงการปรัชญาที่มักกล่าวว่าตนเองมีความคิดเชิง วิพากษ์ มีความเป็นขบถ แต่ผู้เขียนไม่เคยเห็นทัศนะเช่นที่ว่าข้างต้น เลย ที่พบคือคนในวงการมักจะชื่นชมตะวันตก ในส่วนหนึ่งไม่น่า ผิดแปลกอะไรเพราะว่าเรียนปรัชญาตะวันตก ผู้เขียนเคยมีเพื่อนที่ เรียนภาษาเขมร เขาเป็นเพื่อนที่ถูกเพื่อนทุกคนทอดทิ้ง เพราะเวลา ไปรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน เขาจะคอยแวะคุยกับคนงาน ที่เป็นชาวกัมพูชาทุกครั้งที่มีโอกาส เขากล่าวว่าภาษาเขมรของชาว
136
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
กัมพูชานั้นไพเราะยิ่งนัก แต่ ใ นอี ก ส่ ว นหนึ่ ง ความชื่ น ชมนั้ น เป็ น ไปตามอิ ท ธิ พ ลของ จักรวรรดินิยม ในสมัยหนึ่งเมื่อผู้เขียนร่วมการประชุมวิชาการของ สมาคมทีเ่ กีย่ วกับปรัชญาครัง้ ใด จะได้ยนิ ผูร้ ว่ มประชุมร่วมกันคาดเดา ว่า “ฝรัง่ ” เป็นอย่างไร และเมือ่ ไหร่ เราจึงจะเป็นอย่าง “ฝรัง่ ” บ้าง น่าประหลาดใจยิง่ ไปอีกทีค่ นเหล่านีส้ ว่ นหนึง่ กล่าวว่าตนอ่านงานของ นักปรัชญาสายโพสต์โมเดิรน์ (postmodern) หรือ นักปรัชญาปรัชญา สายภาคพืน้ ทวีปยุโรป (continental) เช่น แดร์รดิ า (Derrida) ฟูโกต์ (Foucault) ฯลฯ เรือ่ งเล่าที่ 8 เรือ่ งนีก้ ไ็ ม่เกีย่ วกับปรัชญาเช่นกัน แต่ทาํ ให้นกึ ถึงวงการ ปรัชญา มีอาจารย์ผใู้ หญ่ทา่ นหนึง่ เล่าให้ฟงั ว่าตอนเด็ก ๆ เคยป่วยเป็น โรค ๆ หนึ่ง เมื่อไปโรงพยาบาล หมอวินิจฉัยแล้วแจ้งว่ารักษาไม่ได้ เหตุผลไม่ใช่เพราะเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ แต่เป็นเพราะ “ฝรั่งไม่เป็น โรคนีก้ นั ” จึงไม่มใี ครพัฒนายามารักษาทัง้ ทีส่ ามารถวินจิ ฉัยสาเหตุได้ ชัดเจน ปัจจุบนั เรามีวทิ ยาศาสตร์การแพทย์ เช่น เวชศาสตร์เขตร้อน ซึ่งคอยค้นคว้าวิจัยเพื่อรักษาโรคที่เราเป็นแต่ฝรั่งไม่เป็น วิชาการ หลายสาขาก็ทําให้บ้านตัวเองเช่นนี้ เช่น วิศวกรรม เราก็สร้างตึก สร้างถนนให้ตนเองใช้ ไม่ต้องรอให้ “ฝรั่ง” มาสร้างให้ อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผ่านมา ผู้เขียนยังไม่เคยพบเช่นนี้ในวงการ ปรัชญา ทีพ่ บเป็นกิจกรรมหลักทีอ่ าจารย์ผใู้ หญ่บางท่านเรียกว่า “ต่อ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
137
ท่อ” นัน่ คือ นําปรัชญาตะวันตกมาถ่ายทอดให้คนไทย ยกประเด็นนัน้ ยกประเด็นนี้มาอธิบายว่าเขาพูดกันอย่างไร แต่ยังไม่เคยเห็นการนํา วิธีการทางปรัชญามาใช้กับประเด็นปัญหาในบ้านเรา2 ผู้เขียนเชื่อว่าการนําวิธีการทางปรัชญามาใช้กับประเด็นในบ้าน เราเป็นเรื่องมีอุปสรรค ถ้าไม่พูดถึงเหตุผลที่ว่ามีคนที่ไม่สามารถทํา ปรัชญาเองได้ อุปสรรคสําคัญคือหากทําไปแล้ว เราจะได้คาํ ตอบของ เราเอง จึงเป็นความเสีย่ งทีจ่ ะไม่เหมือน “ฝรัง่ ” (แบบทีเ่ ข้าใจเอาเอง)3 สถานการณ์ทางการเมืองทีผ่ า่ นมาของบ้านเรามีประเด็นทีเ่ ฉพาะ ของเราเอง แต่ไม่มีใครนําวิธีการทางปรัชญาไปใช้โดยตรง วิธีการ ทํางานของคนในวงการหลายคนคือคาดเดาว่า “ฝรั่ง” เป็นอย่างไร และเราต้องทําอย่างไรจึงจะเป็นอย่าง “ฝรัง่ ” ในวงการจึงพบข้อเชือ่ (dogma) ที่ไม่มีวันผิด (unfalsifiable) เช่น ที่เกี่ยวกับ “เผด็จการ” หรือ “ประชาธิปไตย” เป็นข้อเชื่อที่เชื่อกันไปเองว่า “ฝรั่ง” (แบบที่ เข้าใจเอาเอง) ยึดถืออยู4่ อนึง่ ไม่ได้กล่าวว่าไม่มนี กั ปรัชญาไทยทีท่ าํ งานเกินไปกว่าการ “ต่อท่อ” นักวิชาการไทยทีต่ พี มิ พ์ ผลงานในวารสารทางปรัชญาในต่างประเทศก็มี ซึ่งถือเป็นการสร้างคุณูปการต่อประเด็นต่าง ๆ ในวงการปรัชญาตะวันตก แต่ในทีน่ ก้ี าํ ลังพูดถึงวิธกี ารทํางานกับประเด็นของไทยเอง นอกจากนี้ การ “ต่อท่อ” ก็เป็นมากกว่าการถ่ายทอดได้ แต่กิจกรรมหลักที่ผู้เขียนเห็นคือการถ่ายทอดใน รูปของการนํามาบอกเล่าว่าเขาคิดกันอย่างไร 3 แน่นอนว่าเราอยากจะมีความแตกต่างเพราะนั่นเป็นเครื่องหมายหนึ่งของการสร้างคุณูปการ แก่วงวิชาการ แต่ความแตกต่างทีว่ า่ มีขอบเขตว่าต้องเป็นความแตกต่างทีเ่ ชือ่ ว่า “ฝรัง่ ” ยอมรับ 4 หากถามก็อาจจะได้คําตอบว่าเป็นเรื่องของอุดมการณ์ ซึ่งฟังดูดีแต่เป็นเรื่องร้ายแรง ปรัชญา 2
138
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ทั้งนี้ ที่กล่าวมานี้ยังไม่ครบถ้วน เพราะว่าแม้จะเฝ้ามอง “ฝรั่ง” อยู่ก็จริง แต่แนวคิดสําคัญที่ยึดมั่นก็ยัง “ต่อท่อ” มาไม่หมด (ดูเรื่อง เล่าที่ 6) และนอกจากจะ “ต่อท่อ” มาไม่หมดแล้ว เวลา “ต่อท่อ” มายั ง มี ก ารเลื อ กเฉพาะประเด็ น ที่ จ ะมาช่ ว ยสนั บ สนุ น ข้ อ เชื่ อ อี ก ประเด็นที่มีอยู่ที่ขัดแย้งกับข้อเชื่อก็จะมองข้ามไป สรุป
เรือ่ งเล่าข้างต้นสะท้อนกรณีสดุ โต่งสองทาง ในทางหนึง่ เราพบว่ามีคน ที่เป็นถึงระดับครูบาอาจารย์ในหลักสูตรปรัชญาระดับปริญญาเอกที่ สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง แต่ไม่มีความรู้อะไร เกี่ยวกับปรัชญาเลย พยายามสร้างปรัชญาในแบบของตนขึ้นมาเพื่อ ให้ตนสอนได้สะดวก (เช่น เปลีย่ นปรัชญาเป็นพุทธศาสนา) และมอง ไม่เห็นเลยว่าปรัชญาทีเ่ ราศึกษากันอยูน่ เ้ี ป็นปรัชญาตะวันตก มีระเบียบ มีหน้าที่ตรวจสอบอุดมการณ์ ถ้าผู้ตรวจสอบเข้าไปเกี่ยวข้องเสียเอง ก็จะเป็นประโยชน์ทับซ้อน ทําให้ทํางานทางปรัชญาได้ไม่เที่ยงตรง แน่นอนว่ามีข้อถกเถียงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะแยก ตัวออกจากอุดมการณ์ อย่างไรก็ตาม ในที่นี้สามารถมองง่าย ๆ ได้ว่าอุดมการณ์ของปรัชญาใน ฐานะวิชาการสามารถแยกออกจากอุดมการณ์ทางการเมืองทีห่ ลายคนในแวดวงปรัชญาบ้านเรา กําลังให้การสนับสนุนได้ และแม้จะมีจุดยืนทางการเมือง แต่วิธีการทํางานทางปรัชญาอย่าง เที่ยงตรงและการตรวจสอบกันในชุมชนวิชาการอย่างซื่อตรงต่อหลักการจะช่วยควบคุมไม่ให้ จุดยืนมาบิดเบือนการทํางานได้
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
139
วิธีการการทํางานของตนเองและต้องอาศัยความรู้ทางภาษาในการ อ่านตัวบททางปรัชญา เมื่อมีคนทักท้วง ก็ยกประเด็นเรื่องชนชั้นขึ้น มาโจมตี5 หรือไม่ก็ยกประเด็นที่ว่า “ทําไมต้องตามก้นฝรั่ง” ขณะที่ คนยกประเด็นนีม้ าโต้แย้งจะทนไม่ได้ถา้ คนไม่เรียกตนว่า “ดอกเตอร์” ในอีกทางหนึง่ เราพบคนทีต่ ระหนักว่าปรัชญาทีเ่ ราศึกษากันอยูน่ ี้ เป็นปรัชญาตะวันตกและจําเป็นต้องอาศัยความรู้ทางภาษาในการ อ่านตัวบททางปรัชญา แต่กย็ งั พบเรือ่ งแปลกประหลาด เช่น ทํางาน ปรัชญาด้วยการเก็บแบบสอบถาม และที่สําคัญมีมากที่ไปไกลถึงขั้น ที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นตัวแทนจักรวรรดินิยมตะวันตก คนที่ใช้วิธีการ ทางปรัชญากับประเด็นในประเทศไม่เพียงแต่ไม่มี แต่ผู้เขียนเชื่อว่า ถ้าจะมี ก็ยงั จะมีได้ยาก เนือ่ งจากความวิตกกังวลว่าคําตอบจะต่างไป จากตะวันตก รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์จากบรรดาคนในวงการที่ ศรัทธาในข้อเชื่อต่าง ๆ ที่เชื่อว่า “ฝรั่ง” (แบบที่เข้าใจเอาเอง) ยึดถือ ที่ผ่านมาผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึงความรักในปัญญาเลย ความตั้งใจ ของผู้เขียนคือจะมากล่าวถึงในย่อหน้าปิดท้ายนี้ในรูปคําถามว่าจาก เรื่องเล่าเหล่านี้ เรากล่าวได้ไหมว่าวงการปรัชญาไทยรักในปัญญา แม้แต่ผู้ที่ไม่ได้ร่วมทําสิ่งที่ปรากฏในเรื่องเล่าเหล่านี้ แต่ยอมให้เกิด โดยไม่ทักท้วง กล่าวได้ไหมว่าคนเหล่านี้รักในปัญญา วงการปรัชญา 5
140
ทั้งนี้ การยกประเด็นเรื่องชนชั้นมีความซับซ้อนดังที่สะท้อนในเรื่องเล่าที่ 3
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
บ้านเราปล่อยให้สงิ่ ต่าง ๆ เหล่านีเ้ กิดขึน้ มา หลายสิง่ ดูเกินกําลังคน ๆ เดียว ต้องอาศัยการทํางานร่วมกัน แต่หลายสิ่งก็อยู่ในขอบเขตของ ปัจเจกบุคคล ถ้าเรารักในปัญญาจริง ก็ควรทีจ่ ะร่วมกันแก้ปญ ั หาเพือ่ ก้าวต่อไป
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
141
/ Essay /
ฝากสาสน์แนวคิด
“เร่งสภาพการณ์นิยม” (Accelerationism) ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย
สวัสดีครับมิตรสหายในประเทศไทย
ผมมีประเด็นทางวิชาการประเด็นเรื่องหนึ่ง ที่ผมพยายามศึกษา ร่วมกับการทําดุษฎีนพิ นธ์ทนี่ ี่ คงต้องเรียนมิตรสหายในไทยว่า ผมยัง ไม่มีเวลาเขียนเป็นบทความฉบับเต็มหรือเป็นหนังสือได้ในขณะนี้ กระนั้น ผมอยากเขียนถึงประเด็น ๆ หนึ่งให้กับชุมชนวิชาการใน ประเทศไทย ทีแ่ น่นอนว่าย่อมมีผสู้ นใจแนวคิดทางสังคมและการเมือง ร่วมสมัยของตะวันตก ประเด็นนี้ มันคือแนวคิดทีช่ อื่ ว่า “Accelerationism” โดยผมขอแปลโดยสังเขป (แบบไม่เป็นทางการ) ในภาษา ไทยว่า “เร่งสภาพการณ์นิยม” ก่อนที่จะฝากแนวคิดนี้ให้ทุกท่าน ผมอยากเริ่มต้นด้วยการเล่า ทีม่ าทีไ่ ป ว่าเหตุใดผมถึงรูส้ กึ สนใจแนวคิดนี้ อย่างทีห่ ลาย ๆ ท่านอาจ ทราบ ว่าผมเป็นแฟนหนังสืออย่างต่อเนือ่ งของสลาวอย ชีเชค (Slavoj Žižek) ซึง่ เป็นหนึง่ ในนักคิดกลุม ่ ซ้ายใหม่ ผมชอบความคิดของซ้ายใหม่
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
ช ญ า น์ ทั ต ศุ ภ ช ล า ศั ย นั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาเอก คณะการเมืองระหว่างประเทศ (Aberystwyth University, UK) ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนว ความคิ ด จิ ต วิ เ คราะห์ ข อง ลาก็ อ งที่ สั ม พั น ธ์ กั บ ความ ทรงจาํ และแผลใจทางการเมือง รวมถึ ง ปรั ช ญาสั จ นิ ย มใหม่ (New Realism/Speculative Realism)
143
ด้วยเหตุผลง่าย ๆ นัน่ คือ ผมเห็นว่าแนวคิดของมันมีพลังการวิพากษ์ แนวคิดเสรีประชาธิปไตย เช่น คนหลายคนทุกวันนี้ ทีพ่ ยายามทําตัว เป็นคนเปิดใจกว้าง ทําตัวเสรี แต่จริงแล้วไม่ได้เสรีจริง ๆ เลย หรือ อย่างเช่น ฝรัง่ ผิวขาวหลายคนทีร่ บี ออกตัว ว่าพวกเขาไม่ใช่คนเหยียด เชื้อชาติ แต่ใจลึก ๆ ไม่ได้เป็นอย่างนั้น พวกเขายังเหยียดคนเอเชีย และเหยียดคนผิวสีมากเลยทีเดียว เหตุเพราะทุกวันนี้ คนผิวขาวคนใด ก็ตามทีเ่ หยียดเชือ้ ชาติอย่างเปิดเผยคือคนทีส่ งั คมประณามได้วา่ เป็น คนไร้มารยาท การเหยียดเชื้อชาติจึงต้องซ่อนไว้ภายใต้โฉมหน้าของ ความเสแสร้ง ว่าไม่ได้เหยียดเชื้อชาติ ยังมีประเด็นเรื่องคุณค่าของ ความเป็นปัจเจกนิยมและความหวงแหนในพืน้ ทีส่ ว่ นตัว ทีข่ ดั แย้งกับ จริยศาสตร์ของการเสียสละและอุทิศตนเพื่อสังคม แนวคิดของซ้าย ใหม่ยงั กล่าวถึงความจําเป็นในการใช้ความรุนแรงโดยกลุม่ คนผูพ้ ร้อม อุทิศตัวเป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมบนความสมเหตุ สมผล (ซึ่งในบริบทนี้ หมายถึง “เผด็จการชนชั้นกรรมาชีพ” ซึ่งผม เดาว่า ถ้าใครได้อา่ นงานเล่มใหม่ทพี่ ดู ถึงหนังสือ On Violence [2008] ของ ชีเชคของอาจารย์สรวิศ ชัยนาม น่าจะบรรลุถึงคําตอบนี้แล้ว) รวมถึงวิพากษ์พหุนยิ มวัฒนธรรมว่าเป็นความเป็นไปไม่ได้เลย โดยรวม ผมคิดว่างานของชีเชคพยายามเสียดสีถึงความขาดกลวงและความ เป็นไปไม่ได้ของค่านิยมของสังคมสมัยใหม่ที่คนหลายคนชื่นชอบกัน ทุกวันนี้ ผมก็ยังเป็นแฟนของชีเชค เพียงแต่ผมยอมรับ ว่ามีอยู่ เรือ่ งหนึง่ ทีช่ เี ชค รวมถึงคนอืน่ ๆ อย่าง อแล็ง บาดิยู (Alain Badiou)
144
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เอร์เนสโก ลาเคลา ( Ernesto Laclau) จาคส์ ร็องสิแยร์ (Jacques Rancière) จิออร์จิโอ อากัมเบน (Giorgio Agamben) ฯลฯ ขาดไป อย่างเห็นได้ชดั เลย ก็คอื แนวคิดของพวกเขาไม่มคี าํ อธิบายต่อเศรษฐกิจ ยุคดิจิตอลเลย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องเทคโนโลยีรวมถึงประเด็น ทางด้านไซเบอร์เนติกส์ (cybernetics) อาทิ แนวคิดของชีเชคไม่มคี าํ อธิบายเลยต่อคนทีเ่ ขาอัพโหลดของเทียมทัง้ หลายตามเว็บเถือ่ นต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ผมเป็นแฟนหนังซีรยี ส์เกาหลีและฝรัง่ ซึง่ ถ้ายังเป็นแบบ สมัยก่อนที่เป็นแบบยุคอนาล็อก ถ้าผมอยากรับชม ผมก็คงต้องจ่าย เงินซือ้ วิดโี อหรือไม่กด็ วี ดี ขี องจริงไปแล้ว หรือไม่เช่นนัน้ ก็ตอ้ งรอช่อง ทีวีไทยซื้อลิขสิทธิ์จากเจ้าของทีวี เช่นจาก SBS, KBS มาฉาย แต่ใน โลกดิจิตอล ผมไม่ต้องซื้อแผ่นดีวีดีของจริง ผมไม่ต้องจ่ายเงินแพง ผมยอมรอคนทีผ่ มไม่เคยเห็นหน้า อัพโหลดหนังให้ผมดูตามเว็บเถือ่ น ผมยอมรับตัวเองว่าไม่ได้จบเศรษฐศาสตร์ แต่ถ้าพูดตามเหตุผลทาง เศรษฐกิจ ก็คือเราที่เป็นแฟนานุแฟนของ มาร์กซ์ก็น่าจะทราบดี ว่า ตัว exchange value ของสินค้า มันคิดกําไรของเจ้าของทุนไว้อยูแ่ ล้ว และบางทีมนั แพงกว่าทีค่ วรจะเป็น นัน่ คือ จะเห็นว่า use value ของ เราบางทีมันล้นกว่า exchange value หรือไม่ก็ในบางครั้ง เราก็ใช้ ประโยชน์จากสินค้าไม่ถงึ ระดับ exchange value ของมันเลยด้วยซํา้ (ลองคิดถึงคนทีซ่ อ้ื ไอโฟนราคาตัง้ แพง แต่ไม่เคยใช้ function ถ่ายรูป เลย หรือไม่เคยใช้ฟังชั่นทั้งหมดของไอโฟนให้เป็นประโยชน์เลย ซึ่ง ถ้าเป็นแบบนี้ ก็แสดงว่า use value ในไอโฟนของคนพวกนัน้ ตํา่ กว่า
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
145
) ทีนี้ผมแก้ปัญหาเลี่ยงของจริงราคาแพงอย่างไร ผมก็ไม่ต่างกับคนอื่น ๆ เท่าไรนัก ผมเองก็ยังพึ่งพาพวกเว็บไซต์เถื่อน ที่ทําให้ผมเข้าถึงการบริโภคได้โดยไม่ต้องซื้อของจริง ซึ่งจากตรงนี้ ที่มันน่าคิดต่อว่า ใครเป็นคนอัพโหลดของพวกนั้นให้เรา เราจะเรียก แรงงานประเภทไม่แสวงหากําไร แต่พวกเขา…เรียกได้ว่า “ทําบุญ” ให้กับเราทุกคน ด้วยการอัพโหลดของเถื่อนให้เราทุกคนได้บริโภค ให้เราได้เข้าถึง ว่าอย่างไร มันมีดีเบตตามมามากมายว่า เราจะเรียก คนพวกนั้นที่เขา… “ทําบุญ” ให้เรา ว่าเป็น “immaterial labour” ได้ไหม หรือเราจะเรียกว่าเป็น “affective labour” หรือเราจะเรียกว่า จริง ๆ แล้วคนพวกนีไ้ ม่ได้เป็น subjectivity อะไรเลย เป็นก็แต่เพียง “pure drive” หรือจะเป็นว่าคนพวกนี้เป็น “cyber-proletariat” หรือจะเรียกว่าเป็น “new subjectivity” อันนี้ก็สุดแล้วแต่จะเรียก และขบคิดกัน เพราะเป็นเรื่องที่ดีเบตกันไม่จบสิ้นอยู่แล้ว การที่ผมสนใจแนวคิด “Accelerationism” หรือ “เร่งสภาพ การณ์นิยม” ที่ผมแปลให้ทุกท่าน มันเกิดจากความพยายามในการ แสวงหาคําอธิบายถึงปรากฏการณ์ของทุนนิยมโลกดิจติ อล ทีข่ บั เคลือ่ น ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน อันเป็นบริบทที่ซ้ายใหม่ยังไปไม่ถึง และ แน่นอน เป็นบริบทที่ตัวผมเองไปไม่ถึงมาก่อน ผมคิดว่าการที่ใช้คํา ว่า “accelerate” หรือที่แปลเป็นไทยว่า “เร่ง” มันก็มาจากเรื่อง เทคโนโลยีนนั่ เอง เทคโนโลยีเป็นตัวเร่งการให้ขอ้ มูลผูบ้ ริโภค เป็นตัว ขับเร่งการผลิตสินค้าอย่างเป็นระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกัน เป็น exchange value
146
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ตัวขับเร่งการซื้อสินค้าออนไลน์ และเป็นตัวขับเร่งการย้ายเงิน มัน เลยเรียกรวม ๆ ว่าเป็นการ “เร่ง” สภาพการณ์ ซึง่ สภาพการณ์ในทีน่ ้ี ก็หมายถึงสภาพการณ์ของทุนนิยม ความจริงแล้ว ทุนนิยมดิจิตอล ทํางานคู่กับรหัสคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่งที่เรียกว่า “algorithm” ซึ่ง algorithm เป็ น คํ า เฉพาะทางของสาย computer science รหั ส คอมพิวเตอร์ตัวนี้ มันมีที่มาจากแวดวงการศึกษาสาย software study โดย algorithm ถูกผนวกเป็นหนึ่งในเทคนิคของ Web 2.0 โดยทํางานคู่กับ Big Data ถ้าถามว่ามันทํางานอย่างไร คําตอบคือมันอยู่รอบ ๆตัวเรา มัน อยูก่ บั เราในชีวติ ประจําวัน มันเป็นตัวเก็บรวบรวมข้อมูลของเรา เมือ่ ใดก็ตามที่เราเข้าเว็บต่าง ๆ ตัว algorithm จะเก็บข้อมูลความสนใจ ของเราไว้ จากนั้นมันจะทําหน้าที่ประมวลผลข้อมูลของเรา และ ปล่อยโฆษณาสินค้าต่าง ๆ ให้เรา ว่าความสนใจของคนอย่างเรา ควร จะได้รับข้อมูลการบริโภคแบบไหน ตัวอย่างง่าย ๆ คือ ยามที่เราซื้อ หนังสือผ่าน Amazon สังเกตได้วา่ ไม่นาน มันจะมีขอ้ มูลหนังสือเล่ม อื่น ๆ ที่ใช้หัวข้อ ว่า “recommending for you” เด้งเข้ามาที่อีเมล ส่วนตัวของเรา ประมาณว่าโฆษณาให้เราอย่างต่อเนื่องพร้อมเพรียง กันไปเลยทีเดียว ทีเ่ ป็นอย่างนัน้ ก็เพราะทาง Amazon เขามี algorithm เฉพาะของเขาทีใ่ ช้ประมวลความสนใจของเรา และจัดการการ โฆษณา เพือ่ กระตุน้ การบริโภคให้กบั เรา เป็นการเร่งสภาพการณ์การ บริโภคของเราและของอีกหลาย ๆ คน ซึง่ ถ้าเราใจไม่แข็ง เราก็จะจ่าย
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
147
เงินให้มันต่อกันไป การที่ผมยกตัวอย่างเรื่อง algorithm ก็เพื่อให้ จินตนการถึงเทคโนโลยีของทุนนิยมดิจิตอลที่ใช้เร่งการบริโภคและ ยัว่ ยวนใจผูบ้ ริโภคครับ นีเ่ ป็นตัวอย่างง่าย ๆ ของปรากฏการณ์ “เร่ง สภาพการณ์นิยม” นักปรัชญาผู้เชื่อว่าทุนนิยมมาคู่กับเทคโนโลยีโลกดิจิตอลและ ความเร็ว คือ นิค แลนด์ (Nick Land) เป็นนักปรัชญาอังกฤษ คนนี้ มีผลงานหนังสือทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั ในหมูน่ กั อ่านปรัชญา ชือ่ Fanged Noumena (2011) ทุกท่านลองหา youtube ฟังคลิปความคิดของแลนด์ ดูได้ แลนด์ยังค่อนข้างหนุ่ม อายุน้อยกว่า ชีเชค บาดิยู ลาเคลา ประมาณ 10 ปี และจากการทีแ่ ลนด์เชือ่ แบบนีเ้ อง ทีท่ าํ ให้เขาเป็นที่ รูจ้ กั ในแวดวง ว่าเป็น “Right Accelerationist” (นักเร่งสภาพการณ์ แบบขวา) เมือ่ มีคนเลีย้ วขวา ย่อมมีคนเลีย้ วซ้าย แน่นอน ผมกําลังจะ บอกว่าในขณะนีม้ พี วกทีส่ ถาปนาตัวเองเป็น “Left Accelerationist” (นักเร่งสภาพการณ์แบบซ้าย) ถ้าถามว่า เช่นใครบ้าง ก็เช่น Alex Williams & Nick Srnicek สองคนนี้ถึงกับเขียน “Manifesto for an Accelerationist Politics” (MAP) หรือที่แปลเป็นไทยได้ ว่า “แถลงการณ์การเมืองของนักเร่งสภาพการณ์” ซึ่งแถลงการณ์นี้ ทุกท่านสามารถหาอ่านออนไลน์ได้ และโปรดดูคอมเม้นท์ต่อจาก แถลงการณ์โดย อันโตนิโย เนกรี (Antonio Negri) ด้วย จะเป็น ประโยชน์มากเลยทีเดียว คือเราจะเข้าใจเนื้อหาของแถงการณ์มาก ขึ้น นอกจากนี้ยังมีคนอย่างโรบิน แม็คเคย์ (Robin Mackay) และ
148
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
อาร์เมน อาวาเนสเซียน (Armen Avanessian) (คนนี้เป็นลูกศิษย์ ของ จาคส์ ร็องสิแยร์) ที่สมาทานตัวเองเป็นนักเร่งฯแบบซ้าย แถม ยังมีศลิ ปินชาวแคนาดาชือ่ พาติเซีย รีด ( Patricia Reed) ทีก่ ส็ มาทาน ตัวเองเป็นนักเร่งฯ แบบซ้ายอย่างชัดเจน พวกนักเร่งฯ แบบซ้ายเชื่อในอะไรบ้าง จากความเข้าใจของผม ผมคิดว่ามีประเด็นหลัก ๆ อยู่ ห้าประเด็น หนึ่ง คนพวกนี้เชื่อว่า ทุนนิยมและเทคโนโลยีของมันไม่จําเป็นต้องถูกทําลาย เพราะพวก นักเร่งฯ แบบซ้าย สามารถเรียนรูแ้ ละใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีโลก ดิจิตอล เพื่อกระจายประโยชน์ให้แก่คนที่ด้อยโอกาสและไม่มีกําลัง ทรัพย์ซื้อสินค้าแพง ๆ ได้ สอง คนพวกนี้เชื่อว่าชนชั้นกลางไม่ต้อง ถูกทําลาย แต่ต้องยอมให้ชนชั้นกลางผู้มีความรู้ เช่น พวกที่เรียน business เรียน MBA เรียน computer sciences สร้างอะไรลํ้า ๆ ออกมา จากนัน้ ก็คอ่ ยหาช่องทางใช้ประโยชน์จากสิง่ ลํา้ ๆ ทีค่ นพวกนี้ สร้างขึน้ มา เพือ่ กระจายออกไป หรือแจกจ่ายออกไปให้กบั คนทีด่ อ้ ย โอกาสกว่า คือถ้าพูดง่าย ๆ มันคือการทําตัวเป็น “digital socialist” มากกว่าจะเป็น “digital capitalist” สาม คนพวกนีเ้ ชือ่ ว่าทุนนิยม ไม่จําเป็นต้องโค่นล้ม แต่ต้องพยายามทําให้ทุนนิยมแปลงสภาพจาก ตัวมันเองออกไป รวมถึงแตกต่างออกไปจากเดิม ด้วยการเปลี่ยน ทิศทางลมของเทคโนโลยีดิจิตอล จากที่เทคโนโลยีดิจิตอลรับใช้ทุนนิยมแต่เดิม มารับใช้คนด้อยโอกาสและเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม มากขึ้น ตรงนี้ ผมจะยกตัวอย่างให้ฟัง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
149
ผมอยากเล่าให้ฟัง ว่ามีผู้หญิงอยู่คนหนึ่ง ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็น เพื่อนกับอันโตนิโย เนกรี เธอชื่อว่า ทิเซียนา เตร์ราโนวา (Tiziana Terranova) ครับ เธอยกตัวอย่างถึง crowfund เธอมองว่าทุกวันนี้ crowfund ดู จ ะเป็ น การทํ า เพื่ อ คนที่ ต้ อ งการ raise fund (คื อ ผู้ พยายามหาทุนสนับสนุนโปรเจคตัวเอง) ซึ่งโปรเจคโดยมากจะถูก นําเสนอในเว็บและสามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน app ในมือถือ ทีนี้ เตร์ราโนวา เธอก็เสนอต่อไป ว่าเหตุใดถึงไม่ลองใช้ crowfund ที่จะ เป็นประโยชน์ตอ่ สังคมโดยภาพรวมบ้างในด้านอืน่ ๆ บ้าง แทนทีจ่ ะใช้ crowfund เพื่อหาเงินสนับสนุนแต่การสร้างโปรเจคของตัวเองและ เพื่อชื่อเสียงของเจ้าของโปรเจค คือจริงแล้วเตร์ราโนวาคงหมายถึง การใช้ crowfund เพื่อความรู้ เพื่อความคิดทางวิชาการแบบสังคมนิยม เป็นการทําเพื่อคนส่วนใหญ่ มากกว่าจะหาทุนเพื่อตัวเองอย่าง เดียวและได้ผลกําไรในระยะยาว (ถ้าโปรเจคได้ funding ถึงตามวงเงิน ทีเ่ จ้าของโปรเจคต้องการ) ผมคิดว่า crowfund ที่ Terranova จินตนาการคือ crowfund แบบทีแ่ รงงานยอมอุทศิ ตัวเพือ่ อัพโหลดความรู้ เช่น หนังสือราคาแพง ๆ ซึ่งเป็นการแชร์ข้อมูลให้คนหมู่มาก ชนิด ไม่หวังผลตอบแทนอะไรเลยนั่นเอง สี่ พวกนักเร่งฯแบบซ้าย ออกจะคล้าย ๆ อนาคิสต์ คือมีความคิด ความเชื่อแบบชีววิทยาอย่างเดียวกันกับที่นักคิดสายอนาคิสต์อย่าง ปีเตอร์ โคปร็อตคิน (Peter Koprotkin) เสนอ ว่ามนุษย์ไม่จําเป็น ต้ อ งพึ่ ง พารั ฐ เพราะมนุ ษ ย์ ส ามารถพั ฒ นาคุ ณ ค่ า ทางสมองและ
150
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ภูมิปัญญาด้วยการพัฒนาความคิดซึ่งกันและกันได้ ถ้าถามว่าเพราะ อะไร คําตอบคือพวกอนาคิสต์กับนักเร่งฯ ฝ่ายซ้ายเชื่อคล้ายกัน ว่า รัฐมีแต่ความชั่วร้าย ใช้กําลังกับประชาชน ส่วนมนุษย์โดยธรรมชาติ ต่างหาก ทีส่ ามารถบรรลุความสมบูรณ์แบบในตัวเอง ด้วยการพึง่ พา กันทางความรูแ้ ละความคิดโดยไม่ตอ้ งพึง่ พิงและพึง่ พารัฐ ยกตัวอย่าง เช่น ในชีวติ แบบโลกออนไลน์อย่างทีเ่ ป็นบริบทของเรา มนุษย์ไม่จาํ เป็น ต้องรูจ้ กั กัน แต่จะเห็นว่าเรากับเพือ่ น ๆ ทีเ่ ราไม่เคยเจอตัวจริงในโลก ออนไลน์ ก็สามารถพัฒนาคุณภาพทางความคิดและความรู้ให้แก่ กันและกันได้ จริงอยู่ที่รัฐอาจมีบทบาทในการให้การศึกษาในวัยเด็ก แก่เราเป็นพื้นฐาน แต่กับโลกออนไลน์ เราเจริญเติบโตทางความคิด ได้ดว้ ยเราไม่ได้พงึ่ พารัฐเป็นหลักเลย เราพึง่ พามนุษย์ดว้ ยกันเอง เรา พัฒนาขึน้ บางครัง้ ก็เพราะเพือ่ นในโลกออนไลน์ ความรูแ้ ละความเข้าใจ ต่อโลกของเรายกระดับขึน้ เพราะการแชร์และการให้ขอ้ มูลทางความรู้ ของเพื่อน ๆ ในโลกออนไลน์ ความรู้ต่อโลกของเราไม่ได้เติบโตขึ้น เพราะพึ่งพารัฐเท่าใดนัก ห้า แน่นอน บูรณการของความเป็นทั้ง อนาคิสต์แบบอ่อน ๆ บวกกับการเป็นสังคมนิยมดิจิตอล ทําให้พวก นักเร่งแบบซ้าย ๆ ประกาศออกมา ว่าพวกเขาจะพาโลกของเราเข้าสู่ “หลังทุนนิยม” (post-capitalism) ผมลองสืบค้นประวัติของพวกนักเร่งฯ แบบซ้าย เลยพบว่าพวก นักเร่งฯ แบบซ้าย คือกลุ่มคนที่อายุอานามยังไม่มากนัก คนพวกนี้ ผ่านการศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย ด้วยผ่านงานเขียนสายที่เรียกว่า
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
151
“post-structuralism” ทัง้ หลายมาก่อน ผมไม่มเี วลาลงรายละเอียด แต่อยากฝากสัน้ ๆ เผือ่ ทุกท่านจะสนใจ ว่าฐานความคิดของคนพวกนี้ เกิดจากการอ่านงานหลักเป็นอย่างน้อยสามชิน้ ดังนี้ (1) “Fragment on Machines” (1858) ของมาร์กซ์ (2) “The Civilized Capitalist Machine” ของ เดอเลิซ ซึ่งในงานนี้จะมีคําหลักสองคําคือ คําว่า “flux” และคําว่า “accelerate” และ (3) “Energumen Capitalism” ของ ลีโอตาร์ จากทีก ่ ล่าวถึงงานเขียนทัง้ สามชิน้ เราอาจตัง้ ข้อ สังเกตได้ว่า จริงแล้วการเติบโตของนักเร่งฯ แบบซ้ายมีที่มาที่ไป คือ (1) การกลับไปให้ความสนใจกับงานเขียนสาย “post-structuralism” รวมถึงงานของมาร์กซ์เสียใหม่ โดยตีความออกมาใหม่ เพื่อดีเบตกับ ซ้ายใหม่ (2) อิทธิพลของเดอเลิซมีต่อพวกนักเร่งฯ แบบซ้ายอย่าง ปฏิเสธได้ยากเลยทีเดียว เพราะคนพวกนีถ้ งึ กับตัง้ ชือ่ นิตยสารออนไลน์ ของตนเอง ว่า “e-flux journal” โดยนิตยสารนีเ้ ป็นการรวมตัวของ นักเร่งฯ แบบซ้ายอยู่หลายคนในเล่มนั้น และ (3) ความพยายาม ในการตีความงานสามชิ้นเสียใหม่ จึงนํามาสู่การประดิษฐ์แนวคิด “accelerationism” ซึ่งเป็นที่น่าสังเกต ว่านักคิดฝรั่งบางกลุ่ม เช่น พวกนักเร่งฯ แบบซ้าย มักจะเป็นพวกชอบคิดค้นคําศัพท์และแสวงหา มโนทัศน์ใหม่ ๆ ทางปรัชญาขึ้น เอาเข้าจริง ผมก็แอบคิดเหมือนกัน ว่านี่อาจจะเป็นอิทธิพลของเดอเลิซในอีกรูปแบบหนึ่งก็ได้ เพราะถ้า ใครอ่าน What is Philosophy? (1994) ของเดอเลิซหน้าแรก ๆ ก็จะ เห็นเดอเลิซ พูดแต่แรกเลย ว่าหน้าทีข่ องปรัชญาคือการสถาปนาและ
152
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
หล่อหลอมมโนทัศน์ ผมเองก็ไม่อยากจะ “โปร” หรือเข้าข้างนักเร่งฯ แบบซ้ายมาก เกินไป ผมคิดว่าพวกเขามีทั้งจุดแข็งจุดอ่อนสลับกันไป ในส่วนของ จุดแข็ง ผมประเมินว่ามันเป็นเรือ่ งดี ทีเ่ ราจะมีแนวคิดใหม่ ๆ และศัพท์ แสงใหม่ ๆใช้ในวงการการศึกษาสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฎีสายมาร์กซิสต์ ผมชืน่ ชมทีเ่ ขาพยายามจะถกเถียงกับพวกซ้าย ใหม่ ผมคิดว่าจุดแข็งคือการ ‘เบรก’ กับซ้ายใหม่ ตลอดจนแสวงหา อัตลักษณ์ ( identity) ที่ชัดเจนให้กับตัวเอง ผมคิดว่าจุดแข็งคือฝรั่ง กลุ่มนี้เขาเป็นนักคิดจริง ๆ คือ เขาไม่ได้คิดแบบ “ตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด” แต่เขาเลือกที่จะเป็น “ก้าวหน้าแบบผู้ใหญ่ แม้จะโดน หมากัด” ที่ทําให้เขาก้าวหน้าทางความคิดและเป็นตัวของตัวเองแต่ ยังหนุ่ม ฝรั่งและนักคิดในโลกตะวันตก ทั้งฟูโกต์ และชีเชค พวกนี้ เขาเติบโตขึ้นมาด้วยวิธีคิดแบบยอมโดนฟาด โดนคนด่า โดนคนอัด ที่ทําให้เขากลายเป็นนักคิด นักคิดที่ถูกถกเถียงได้ ถูกด่าได้โดยไม่ เคืองแค้นกัน นักคิด/นักปรัชญาฝรั่งจึงไม่ใช่ถูกผลิตหรือออกแบบมา เป็นพระพุทธเจ้า แบบฝัง่ เอเชียทีน่ กั คิด/นักปรัชญาคือเจ้าสํานักทีเ่ รา แทบจะเถียงกลับไม่ได้เลย ถ้าเป็นคนไทย ใครเถียงพระพุทธเจ้า กลายเป็นพวกไม่รักศาสนา เป็นพวกนอกรีต และอาจจะถึงกับไม่มี ความเป็นคนไทยเลยทีเดียว ผมอาจจะคิดผิดก็ได้ แต่ผมคิดว่าใน ฝั่งเอเชียเรา เมื่อใดก็ตามที่เราคิดถึงปรัชญา เราจะปะปนมันเข้ากับ มายาคติเรือ่ งความเป็นผูใ้ หญ่ พระพุทธเจ้า สํานักเส้าหลิน และขงจือ๊
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
153
อยู่มาก จนส่งผลให้เราไม่กล้าที่จะเดินเองและเป็นตัวของตัวเอง เท่าไรนัก ผมลองนึกถึงสมัยผมเรียนหนังสือที่เมืองไทย สมัย ป.ตรี ผม เติบโตขึ้นมาจากการเรียนปรัชญาแบบต้องอ่านตัวบทแบบแข็งทื่อ เช่น ผมต้องอ่านค้านท์แบบไม่สามารถ modify Kant ได้เลย ถ้าใน ภาษาดนตรี คงต้องพูดว่า ผมไม่สามารถ “ด้น” ( improvise) โน้ต เพลงเองได้เลย ค้านท์เป็นครู ฉะนั้นค้านท์ว่าอย่างไร ผมต้องว่าตาม แต่พอผมมาที่นี่ ผมสังเกตว่าฝรั่งไม่ได้เป็นแบบนั้น เขาจับค้านท์เป็น เชิงอรรถของเขา มีทงั้ เถียงค้านท์มที งั้ อ่านตีความให้คา้ นท์สร้างสรรค์ ออกไปจากที่ค้านท์เป็น ฉะนั้นค้านท์ที่ผมเรียนมันจึงเป็นการทําให้ ค้านท์เหมือนเป็นขงจือ๊ ยังไงยังงัน้ จากตรงนี้ ก็คงนํามาสูค่ วามขัดแย้ง ทางวัฒนธรรมวิชาการระหว่างคนบ้านเรากับฝรั่งนั่นล่ะ ท่านทราบ กันไหมว่าสมัยก่อนมีคนไทยกลุ่มหนึ่งกล่าวหาชีเชคว่าอ่านค้านท์ผิด ส่วนพวกเขาอ่านค้านท์ถูก ผมอยากเรียนและอาจจําเป็นต้องโต้แย้ง ด้วยความเคารพว่าเวลาชีเชคอ่านค้านท์เขาไม่ได้อา่ นค้านท์แบบมอง ค้านท์เป็นพระพุทธเจ้า เขาอ่านค้านท์เพือ่ เป็นฐานคิดบางอย่างให้ตวั เอง ส่วนคนไทยเรายังอ่านค้านท์แบบท่องตําราขงจือ๊ และเหมือนกับ ฝึกวิทยายุทธจากอาจารย์ในสํานักบู๊ตึ๊ง/เส้าหลิน ที่วิชาจะแก่กล้าได้ ก็ดว้ ยการฝึกฝนตามอาจารย์ทวี่ รยุทธ์สงู ส่งกว่า เราไม่ได้คาํ นึงถึงหรือ ไม่กค็ าํ นึงน้อยมากถึง modification และ improvisation ความคิด ของค้านท์ ฉะนั้น พวกนักเร่งฯแบบซ้ายจึงมีจุดแข็งที่น่าชื่นชมตรงที่
154
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เขาเป็นตัวของตัวเอง พยายามเถียงกับคนรุน่ ก่อน และพยายามสร้าง อัตลักษณ์ให้กับตัวเอง ส่วนจุดอ่อน ผมคิดว่ามีอยู่พอสมควร นั่นคือ พวกเขาดูจะมอง โลกแบบด้านเดียวและออกจะหัวชนฝามากเกินไป ผมยอมรับว่ามัน มีบางจุดที่ผมไม่ค่อยสบายใจนัก งานเขียนของนักคิดสายนี้อ้างว่า จะนําพาโลกเข้าสูโ่ ลกยุคหลังทุนนิยม แต่แล้วกลับไม่ได้อธิบายว่าโลก หลังทุนนิยมคืออะไร เพราะแม้แต่ Paul Mason นักเขียนทีเ่ ขียนเรือ่ ง Postcapitalism ( 2015 ) เอง ผมก็ คิ ด ว่ า Mason ก็ ค งมิ ไ ด้ ม องว่ า ตนเองเป็นพวกเดียวกันกับนักเร่งสภาพการณ์ฝ่ายซ้าย ผมฉงนใจว่า พวกนักเร่งฯ ฝ่ายซ้ายที่มองตัวเองเป็น post-capitalist เหตุใดถึงไม่ อภิปรายถึงแนวคิดของตัวเองให้ชดั เจน แถมไม่เข้าใจจริง ๆ ว่าเหตุใด ถึงไม่ให้เครดิต Mason เลย คงต้องฝากเป็นการบ้านกันให้กับพวก เรากัน ว่า post-capitalism ที่ Mason มองกับพวกนักเร่งฯ ฝ่ายซ้าย มองเป็นอย่างเดียวกันหรือไม่ หรือเป็นคนละอย่าง เพราะนักเร่งฯ ฝ่ายซ้ายไม่มคี วามชัดเจนในเรือ่ งนีเ้ ลย และทีต่ ลกไปกว่านัน้ คือคําว่า “accelerationism” อันทีจ่ ริงแล้วเป็นคําทีค่ ดิ ค้นขึน้ โดย Benjamin Noys ในหนังสือชือ ่ Malign Velocities (2014) แต่ทสี่ าํ คัญกว่านัน้ คือ Noys กลับไม่ได้ชัดเจนว่าเขาเป็นฝั่งซ้ายหรือฝั่งขวา มิหนําซํ้าพวก นักเร่งฯ ฝ่ายซ้ายกลับไม่พูดถึง Noys เลย จนดูเหมือนจะเป็นการ กีดกัน้ คนทีท่ าํ ตัวไม่ชดั เจนออกไป เป็นการตัดลบ Noys ไม่ให้เข้าเป็น พวก ทัง้ ๆ ที่ Noys เป็นเจ้าของคอนเซ็ปต์แต่ตน้ ยังมีประเด็นทีส่ าํ คัญ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
155
อีก นั่นคือ มีนักวิชาการสายวัฒนธรรมศึกษาท่านหนึ่งชื่อว่า Mark Fisher เขาถึงขนาดกล่าวว่า “คนทุกคนคือนักเร่งสภาพการณ์นย ิ ม” ผมคิดว่าการพูดแบบนี้ เขาสรุปรวบยอดมากเกินไป เราจะมัน่ ใจ ได้อย่างไร ว่าคนทุกคนเป็นแบบนั้นจริง ๆ เราจะวัดการมีส่วนร่วม ของคนทีม่ บี ทบาทในการเร่งสภาพการณ์ทนุ นิยมแบบทัง้ ฝ่ายขวาและ ฝ่ายซ้ายได้อย่างไร อะไรเป็นตัวชีว้ ดั และจําเป็นหรือว่าการมีสว่ นร่วม ในโลกดิจิตอลจะต้องกลายเป็นฝ่ายขวาไม่ก็ฝ่ายซ้ายเท่านั้น จุดอ่อน ในเรือ่ งนี้ คือผมคิดว่า Fisher ใช้อารมณ์กบั เรือ่ งนีเ้ กินไป เขาพูดโดย ไม่มีเหตุผลที่หนักแน่นมาสนับสนุนเลย ตรงนี้เลยทําให้ผมไม่ค่อย สบายใจนัก นอกจากนี้ ผมคิดว่านักเร่งสภาพการณ์ฝ่ายซ้าย อย่าง Patricia Reed เธอเองก็ แรงกระทิ ง แดงเกิ น ไป เธอถึ ง กั บ บอกว่ า ทุกวันนี้คําว่า ‘demos’ มันถูกเปลี่ยนความหมายใหม่เป็นการมี ส่วนร่วมในโลกเสมือนจริงเท่านั้น เลยดูเหมือนกับว่าเธอไม่คํานึงถึง วรรณกรรมทางด้านประชาธิปไตยศึกษาเลยที่กล่าวถึงระดับการมี ส่วนร่วมของคนผูเ้ รียกร้องประชาธิปไตยในระดับทีแ่ ตกต่างกันออกไป ผมหวังว่าในประเทศไทยแนวคิดเรื่อง accelerationism หรือ “เร่งสภาพการณ์นิยม” ที่ผมคิดคําแปล น่าจะได้รับการอภิปราย อย่ างสร้างสรรค์จากมิต รสหายผู้สนใจความคิ ด ของมาร์ ก ซ์ เช่ น อาจารย์เก่งกิจ กิติเรียงลาภ แถมน่าจะได้รับการอภิปรายจากนัก วิชาการลูกครึ่งไทยในต่างแดน อย่าง อาจารย์ใจ อึ๊งภากรณ์ ผู้เคย เขียนในงานชิน้ หนึง่ เกีย่ วกับการปราบปรามสังคมนิยมในประเทศไทย
156
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ในช่วง 6 ตุลา 2519 โดยอาจารย์ประณามอย่างเหน็บแนมว่าใคร ก็ตามทีท่ งิ้ หน่วยวิเคราะห์เรือ่ งชนชัน้ ย่อมไม่ใช่ Marxist ซึง่ ผมเข้าใจ ว่าอาจารย์ใจหมายถึงพวก postmodern ผมเชื่อว่าพวกเร่งสภาพ การณ์นิยมทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา อาจจะมีประเด็นดีเบตนี้กับ อาจารย์ใจและอาจารย์เก่งกิจ และผมเองก็อยากเห็นอาจารย์ใจและ อาจารย์เก่งกิจดีเบตคนกลุ่มนี้กลับเช่นกัน นอกจากนี้ ผมคิดว่าประเด็นความไม่ชดั เจนเรือ่ ง post-capitalism ทีพ่ วกนิยมเร่งสภาพการณ์ฝา่ ยซ้ายค้างคาไม่ยอมทําการนิยาม น่าจะ ได้รบั คําตอบจากนักวิชาการไทยอีกสามท่านเป็นอย่างน้อย คือ อาจารย์ แบ๊งค์ งามอรุณโชติ อาจารย์ “บอล” ภคิไนย์ และ อธิป จิตตฤกษ์ ทีน่ า่ จะมีคาํ ตอบในเรือ่ งนีไ้ ด้ชดั เจนขึน้ สุดท้าย แต่ไม่ทา้ ยสุด ผมเชือ่ อย่างยิ่งครับ ว่ายังมีนักวิชาการในประเทศไทยผู้สนใจและติดตาม ความคิดทางสังคมร่วมสมัย และเป็นผู้สามารถเข้ามาร่วมสังฆกรรม การอภิปรายทางวิชาการอย่างตืน่ เต้นและสร้างสรรค์ได้อกี อย่างแน่นอน เช่น อาจารย์อรรถสิทธิ์ สิทธิดํารง อาจารย์สุรัช คมพจน์ ปิยศิลป์ บุลสถาพร (บรรณาธิการสํานักพิมพ์ Text และ Victory) อาจารย์ วัชรพล พุทธรักษา อาจารย์ปรีดโี ดม พิพฒ ั น์ชเู กียรติ อาจารย์จติ ติภทั ร พูนขํา อาจารย์ธเนศ วงศ์ยานนาวา และอาจารย์ สรวิศ ชัยนาม ฯลฯ ผมหวังว่าบทความชิ้นสั้น ๆ ไม่กี่หน้า และไม่เป็นทางการชิ้นนี้ จะส่งผลให้มิตรสหายในประเทศไทย เริ่มสนใจแนวคิด “accelerationism” พร้อมทัง้ สร้างการอภิปรายทางวิชาการทีส ่ นุกและสร้างสรรค์
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
157
สืบต่อไป ผมคงไม่ขอรับค่าแรงจากบทความชิ้นนี้ ในรูปของตัวเงิน หรือสินทรัพย์ใด ๆครับ ผมทําหน้าทีเ่ ป็นเพียง cyber-proletariat แก่ พวกท่าน เท่านั้นครับ ด้วยความเคารพและด้วยมิตรภาพจากต่างแดน ชญาน์ทัต ศุภชลาศัย Aberystwyth, February 2016
158
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
/ Essay /
ว่าด้วยเรื่อง กาม ๆ คมกฤช อุ่ยเต็มเค่ง
เมื่
อได้ยินคําว่า “กาม” คนส่วนใหญ่มักจะรู้สึกไม่ค่อยดีสัก เท่าไหร่ เพราะในบ้านเรา “กาม” ส่อไปถึงเรือ่ งเพศ หรือมี นัยทางเพศมากกว่านัยอื่น เช่นประโยค “อีตารองนายกฯ บ้ากาม” หรือคําคุ้นเคยอย่าง “กามารมณ์” (ผมตรวจข้อสอบมาหลายปี บางครั้งนักศึกษาก็เขียน “กามอารมณ์ ” แยกสนธิ ใ ห้ เ สร็ จ สรรพ แต่ ไ ม่ มี ป ระโยชน์ อ ะไร นอกจากแสดงให้เห็นว่าไม่ค่อยได้ใช้คํานี้) แต่สําหรับชาวฮินดูนั้นต่างออกไป “กาม” นั้นมีความหมาย ตามตัวอักษรว่า “ ความปรารถนา”(desire) และมีความหมายในเชิง บวกด้วย แต่นอกจากความหมายว่าความปรารถนาแล้ว ที่จริงกามยัง หมายถึง ความรัก และความสุขทางผัสสะต่าง ๆ ดังเช่น ได้เห็นของ สวย ๆ กินของอร่อย ฟังอะไรไพเราะ จับอะไรนุ่ม ๆ อุ่น ๆ รวมทั้งความสุขทางเพศรสในทุกกิริยาอาการ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
คมกฤช อุ่ยเต็มเค่ง อาจารย์ ประจําภาควิชาปรัชญา คณะ อั ก ษรศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ป า ก ร เ ชี่ ย ว ช า ญ ด้ า น ปรั ช ญาอิ น เดี ย โดยเฉพาะ เวทานตะ นอกจากนี้ ยังเป็น ศิษย์พราห์มอินเดีย และ “เชฟ หมี” แห่ง “ครัวกาก ๆ”
161
ที่ว่าเป็นความหมายในเชิงบวก ก็เพราะสําหรับชาวฮินดู กาม มิใช่เรื่องเลวร้ายไปทั้งหมด เพราะเพศรสนั้นและความสุขทางผัสสะ เป็นสิ่งที่มาตามธรรมชาติ เป็นความสุขสมรื่นรมย์ตามปกติของชีวิต ในมนูธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์หลักปฏิบัติทางจริยศาสตร์และ กฎหมายอินเดียท่านว่า น มําส ภกฺษเน โทโษ นมทฺเย น จ ไมถุเน, ปฺรวฤติเรษา ภูตานํา น วฺฤตฺติสฺตุ มหาผลา การกินเนื้อ ดื่มสุราเมรัย และเสพเมถุนไม่เป็นโทษเพราะ เป็นปกติของสัตว์ทงั้ หลาย (ทีจ่ ะทําเช่นนัน้ ) แต่หากละเสีย ได้ก็เป็นผลบุญใหญ่ ในสมัยพระเวทยุคต้น เป้าหมายของชีวิตนั้นไม่ได้เน้นความ หลุดพ้น แต่เน้นความสุขในโลกนี้ คือมี ธัญญาหาร ปศุสตั ว์ ลูกหลาน พงศ์พันธุ์ “เป้าหมายของชีวิต” คนฮินดูเรียก “จตุรปุรุษารถ” คําว่า ปุรษุ ารถ มาจากคํา “ปุรษุ ะ”—บุรษุ หรือหมายถึงบุคคลก็ได้—ส่วน อีกคํา “อรฺถ”—อรรถ แปลว่าประโยชน์หรือความหมาย เป้าหมายชีวิต หรือ ปุรุษารถะของคนฮินดูประกอบด้วย 1. อรรถ—ทรัพย์ทั้งหลาย ทั้งเงินทองข้าวของ รวมทั้งทรัพย์
162
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
นามธรรม เช่นความรู้และมิตรภาพ 2. กาม—ความสุขทางผัสสะทั้งปวง 3. ธรรม—การประพฤติตามหน้าที่หรือหลักคําสอน 4. โมกษะ หมายถึงความหลุดพ้น ปราชญ์วา ่ เขาเพิม่ ข้อนีข้ นึ้ มา ภายหลัง หลังจากมีพุทธศาสนาและอุปนิษทาจารย์แล้ว คือเริ่มเกิด แนวคิดเรือ่ งสละโลก และข้อนีก้ ลายมาเป็นเป้าหมายสูงสุดในทัง้ หมด 4 ข้อ เป้าหมายทัง้ 4 ข้อไม่ได้ขดั แย้งกันเอง เพราะหลักการนีใ้ ช้รว่ มกับ หลักอาศรม 4 คือการแบ่ง ช่วงอายุคนเป็นสีช่ ว่ ง แต่ละเป้าหมายชีวติ ก็เน้นต่างกันไปในแต่ละช่วงชีวิต จําเพาะเรือ่ งกามนัน้ ตัง้ ไว้ให้เป็นเป้าหมายในช่วงวัย “คฤหัสถ์” หรือวัยครองเรือนเท่านัน้ จะก่อนหน้านัน้ เมือ่ เป็นนักเรียน (พรหมจารี) หรือหลังจากนั้น เมื่อเป็นวานปรัสถ์และสันยาสี จะให้กามเป็นเป้า หมายชีวิตไม่ได้ ง่าย ๆ ก็เพราะในวัยนักเรียนจะพาลเสียคน ส่วนใน วัยแก่กว่านั้น ก็จะทําให้ไม่ไปถึงจุดหมายสุดท้ายคือโมกษะ วัยครองเรือน ซึ่งร่างกายเติบโตบริบูรณ์ รับผิดชอบตัวเองและ คนอื่นได้แล้ว จึงเสพรสต่าง ๆ ได้เต็มที่ ไม่เป็นเรื่องผิด ทัศนะนี้ต่าง จากศาสนากลุ่มอับราฮัม คือยูดาย คริสต์และอิสลาม ที่มองว่าการ ร่วมเพศนั้นมีไว้ใช้เพื่อผลิตลูกหลานเท่านั้น แต่ฮินดูมองว่าความสุข ทางเพศรสก็เป็นสิ่งสําคัญพอ ๆ กัน
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
163
วาสยายันจึงแต่ง “กามสูตร” เรียกว่า คูม่ อื สําหรับกามในฐานะ เป้าหมายหนึ่งของชีวิต ที่จริงมี “กามศาสตร์” ด้วยซึ่งต้องมีขนาด ใหญ่กว่า แต่ฉบับหายไป หลงเหลือมาแต่กามสูตรซึ่งเป็นของย่อ ๆ ชาวอินเดียโบราณอยากให้การปฏิบัติมีแบบแผน ทําให้ทุกเป้า หมายล้วนมี “คู่มือ” ทั้งนั้น เช่นอรรถศาสตร์เป็นคู่มือค้าขายเจรจา ธรรมศาสตร์ของมนู และโมกษศาสตร์หรือพรหมสูตรของพาทรายณะ เพื่อเข้าถึงโมกษะ กามสูตรนัน้ แรกฝรัง่ เห็นก็รสู้ กึ ว่าวิจติ รพิสดาร ทุกวันนีค้ ราใดไป สนามบินในอินเดีย ของฝากอย่างหนึ่งที่ฝรั่งชอบกันนักคือหนังสือ กามสูตรสารพัดแบบ ส่วนตัวครัง้ ใดทีต่ อ้ งสอนเรือ่ งกามสูตร นักเรียน ก็มักชอบใจหัวร่อต่อกระซิกกันทุกครั้ง ที่จริงเนื้อความในกามสูตร ส่วนทีส่ ยิว ๆ เช่นท่าทางร่วมเพศ การข่วน การกัด การส่งเสียง (เพือ่ เพิม่ เพศรส) มีไม่มาก แต่เป็นเรือ่ งความสัมพันธ์และชีวติ ความเป็นอยู่ เสียมากกว่า พระเป็ น เจ้ า ของฮิ น ดู เช่ น พระศิ ว ะ บางครั้ ง ก็ มี พ ระนามว่ า “กาเมศวร” หรือพระเป็นเจ้าแห่งความปรารถนา บางครัง้ พระแม่เจ้า ก็พระนามว่าศิวะกามี คือความปรารถนาของพระศิวะ หรือกาเมศวรี ก็มี พระกฤษณะก็มอี กี พระนามว่า โมหัน (ดังทีแ่ ขกเขาออกเสียงว่า โมฮัน เพราะ ห ออก เสียง ฮ เหมือนอย่างชื่ออดีตนายกอินเดีย ฯพณฯ มัน โมฮัน ซิงค์) คือคําเดียวกับคําว่า โมหะ ทีเ่ ราคุน้ เคย โมหะ ของเขานั้น แปลว่าความรักจนใหลหลง เหมือนอย่างนางนารายณ์
164
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
แปลง “โมหิณ”ี (โมหะในคํานามเพศหญิง) คือ สวยจนคนหลง ไม่ได้ มีความหมายแต่ทางลบถ่ายเดียวอย่างของเรา พระเจ้าของเขานัน้ จะ รักแบบลุ่มหลงไปก็ไม่ผิดอะไร เพราะรักเช่นนั้น คือ ความรักแบบ หนุ่มสาวแรกพบ มันเต็มเปี่ยมไปด้วยพลังและชีวิตชีวา และปรัชญา ของฝ่ายภักติคือ สิ่งที่ดีที่สุดของชีวิตมนุษย์จะพึงมีได้คือดื่มดํ่าอยู่ใน ความรักของพระเจ้า และคือโมกษะในฝ่ายนั้น ความรักหรือ กาม ถูกบุคคลาธิษฐานให้กลายเป็น “พระกามเทพ” เธอมีอาวุธเป็น ปุษปศร หรือธนูดอกไม้ แน่ละ่ เพราะดอกไม้นน้ั ชุบชูใจ ของคนมีความรัก มีคันศรทําด้วยท่อนอ้อย เพราะความหวานคือรส ของความรัก มีมวลหมูผ่ งึ้ ภมรเป็นสายธนู เพราะผึง้ ย่อมอยูท่ า่ มกลาง บุปผาและนํานํ้าผึ้งหอมหวานมาให้ เธอมีพาหนะคือนกแก้วซึ่งงาม น่ารักและเป็นเพื่อนที่ดีของหญิงสาว เธอมีเพื่อนรักคือฤดูวสันต์หรือ ฤดูใบไม้ผลิอนั งาม มีคนรักคือนางรตี อันหมายถึงความรักดืม่ ดํา่ พิศวาส พระกามเทพนั้นมีอีกนามว่า “อนงค์” แปลว่าไม่มีตัวตน เทว ตํานานว่าเธอถูกพระศิวะเผาด้วยไฟกรด เพราะเธอรบกวนการบําเพ็ญ ตบะ แต่อีกนัยหนึ่ง พระกามเทพไม่มีตัวตน เพราะความรักจะหา ตัวตนจากทีไ่ หน มาอย่างเงียบเชียบ ลึกลับ ความรักเริม่ ต้นตอนไหน ใครจะรู้ เมื่อปุษปศรเข้าจู่โจม กว่าจะรู้ตัวศรนั้นก็ปักลึกแน่นลงใน หัวใจเสียแล้ว ในพระเวท “กาม” ยังมีความสําคัญอีกประการหนึ่ง คือเป็น รากฐานของการสรรค์สร้างจักรวาลหรือการดํารงอยู่ (existence)
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
165
คัมภีรฤ์ คเวทในบท “นาสาทียสูกตะ” มนตร์ที่ 4 (จากประวัตวิ รรณคดีสันสกฤต ของท่าน อ. มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์) กล่าวว่า “เริม่ แรกทีเดียวมีกามะเกิดขึน้ กามะนัน้ เป็นเมล็ดพันธุแ์ รก ของจิต กวีใช้วิชชาค้นหาในหัวใจ จึงพบ พันธุ (เมล็ดพันธุ์ หรือความร้อน) ของสิ่งที่มีอยู่ในสิ่งที่ไม่มีอยู่” หมายความว่า กามนัน้ เป็น “พืช” ของจิต ในปรัชญาฮินดูววิ ฒ ั นาการของจักรวาลจะเริม่ จากละเอียดไปหยาบ เมือ่ เกิดกามในฐานะ ทีเ่ ป็น “ความปรารถนา” หรือแรงผลักดันแล้ว จิต (จักรวาล) จึงทํา งาน และการสรรค์สร้างจึงเกิดขึ้น แต่เรื่องนี้เร้นลับอย่างยิ่ง เร้นลับ เสียจน “กวี” ต้องใช้ “วิชชา” ค้นหาเข้าไปใน “หัวใจ” ของเขา จึง จะพบ “สิ่งที่มีอยู่ในสิ่งที่ไม่มีอยู่” บทสวดมนตร์ในพิธีแต่งงานของฮินดูช่วง “ปาณิครหนมฺ” หรือ ตอนบ่าวสาวจับมือกัน ท่านพูดถึง “กาม” อย่างไพเราะไว้ว่า “โอมฺ โก’ทาตฺกสฺมา’อทาตฺกาโม’ทาตฺกามายาทาตฺ กาโม ทาตา กามะ ปฺติคฺรหีตา กาไม ตตฺเต” “โอม ใครคือผู้ให้สิ่งใดใดแก่ใครหนอ รัก (กาม) นั้นก็คือ ผู้ให้และผู้รับ รักสถิตในสาครอันเกิดดับ เราขอรับกันและ
166
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
กันด้วยรักนี้ เราขอรับทั้งหมดนี้ก็เพื่อรัก” มีบางท่านเคยบอกผมว่า ทีจ่ ริง แม้แต่คาํ ว่า “รัก” ในภาษาไทย ก็เป็นคํายืมจากของแขก คือ คําว่า “ราคะ” (ออกเสียง รา-กะ, ra-ga) ซึ่งออกเสียงใกล้เคียงกัน คํานี้ก็เหมือนกับกาม คือทางแขกไม่ถึงกับเห็นว่าราคะเลวร้าย เท่ากับทีช่ าวพุทธคิด ดนตรีคลาสสิคอินเดียนัน้ สเกลหรือทํานองการ บรรเลงเรียกว่า ราคะ มีมากมายเป็นร้อย ใช้บรรเลงในช่วงเวลาต่างกัน ท่านว่า ที่เรียกราคะ ก็เพราะดนตรีทําให้เข้าถึง “ภาวะ” ที่ซาบซึ้ง ดื่มดํ่าอันเป็นทิพย์ดุจความรักนั่นแล ที่จริงหลังจากศาสนาฮินดูเริ่มปรับตัวในช่วงก่อนพุทธกาลเล็ก น้ อย คือเริ่ม มีแ นวคิด แบบพรตนิยม หมายความว่ า ส่ ง เสริ มการ ออกบวชละโลก กามก็เริ่มมีนัยทางลบมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่ม นักบวช ครั้นถึงสมัยท่านศังกราจารย์ ถึงกับมีทฤษฎีว่า “อวิทยา – กาม – กรรม” คือความไม่รู้ (อวิทยาหรืออวิชชาในภาษาบาลี) นําไป สู่ความปรารถนา (กาม) ความปรารถนานั้น ย่อมนําไปสู่การกระทํา (กรรม) แล้วทําให้คนเราติดข้องในสังสารวัฏไม่จบสิน้ แนวคิดนีค้ ล้าย ปฏิจจสมุปบาทในพุทธศาสนา ขจัดอวิทยาได้ กามและกรรมก็ไม่เกิด เรื่องกาม ๆ จึงซับซ้อนเช่นนี้แล
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
167
/ Essay /
“อยากให้เขารู้ ฉันคงต้องแสดงออก” ความรักและอาภรณ์สีต่าง ๆ แห่งอุปสงค์ปรุงแต่ง ในมุมมองแนวคิด “เผด็จการแห่งความพึงใจ” ของกึนเธอร์ อันเดอร์ส และกรณีป้ายบอกรัก ที่อาจไม่ตรงกับใจของวาซลาฟ ฮาเวล วริตตา ศรีรัตนา
บทนํา: “อยากให้เขารู้ ฉันคงต้องแสดงออก”
ความรักนัน้ งดงามเสมอ เราอาจเคยได้ยนิ ข้อความนีซ้ งึ่ บ้างคิดว่าเป็น ความจริงสัมบูรณ์ บ้างมองว่าเป็นสํานวนซํา้ ๆ ซาก ๆ (cliché) สะท้อน ในบทกวีและเนือ้ เพลง หรือเห็นถ้อยคําดังกล่าวแปร แปลงและจําแลง อยู่ในงานศิลปะต่าง ๆ หากความรักงดงามจริง การแสดงความรักก็คงจะงดงามเช่นกัน จริงหรือไม่? หลายครั้งจะเห็นว่าไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป โดยเฉพาะเมื่อจารีต ประเพณีและพิธีกรรมอันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมประดิษฐ์นั้น ครอบงําและบัญชาวิธีและวิถีการแสดงความรักในที่สาธารณะ และ โดยเฉพาะเมื่อถึงคราวสูญเสียบุคคลหรือสถาบันอันเป็นที่รัก การ แสดงออกถึงความโศกเศร้าอาลัยนั้นยิ่งถูกครอบงําและบัญชาด้วย
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
วริ ต ตา ศรี รั ต นา ภาควิ ช า ภาษาอั ง กฤษ คณะอั ก ษร ศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หา วิ ท ยาลั ย verita.s@chula. ac.th
169
จารีตและวัตรปฏิบัติที่ห่างไกล ซึ่งล้วนไม่มีความเกี่ยวข้องกับความ รู้สึกรัก คิดถึงและห่วงหาอาลัยอันเป็นความรู้สึกเบื้องลึกส่วนตน เมือ่ วาทกรรมทางการเมืองและการปลูกฝังลัทธิความเชือ่ บางอย่าง (Indoctrination) มาพัวพันกับรักที่เรามีในใจ รักจะยังงดงามได้อยู่ หรือไม่ ฤารักนีจ้ ะต้องตัง้ บนฐานของความเกลียดชังและการแบ่งแยก (discrimination)? เมื่อการแสดงออกบางรูปแบบไม่เป็นที่ยอมรับ โดยธรรมเนียมกระแสหลัก การล่าแม่มด (witch hunt) จึงบังเกิด และเมื่อเป็นเช่นนั้นไป ความงดงามแห่งรักที่ว่านั้นสูญสิ้นหรือไม่ บทความนี้มุ่งวิเคราะห์และวิพากษ์ความรักในมิติและทัศนะ ปรัชญา “เผด็จการแห่งความพึงใจ” ของกึนเธอร์ อันเดอร์สและ มุมมองเกีย่ วกับการแสดงความรักในบรรยากาศอึดอัดอบอวลแห่งรัก เทียมในสังคมระบอบเบ็ดเสร็จนิยมของวาซลาฟ ฮาเวล ความรักและอุปสงค์ปรุงแต่งในมุมมอง แนวคิด “เผด็จการแห่งความพึงใจ” ของ กึนเธอร์ อันเดอร์ส (1902–1992)
แนวคิดและงานเขียนของกึนเธอร์ อันเดอร์สนั้นยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่ หลายในวงการศึกษาวรรณกรรมและปรัชญาในประเทศไทยมากนัก ผู้เขียนจึงขอนําเสนอปริทรรศน์ชีวิตและงานเขียนของนักคิดผู้นี้ ดังต่อไปนี้
170
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
กึนเธอร์ อันเดอร์ส ชื่อเดิม กึนเธอร์ ชแตร์น เกิดในครอบครัว ชาวเยอรมันยิวเมือ่ ค.ศ. 1902 ณ เมืองเบรสเลา หรือเมืองวรอตสวัฟ ในสาธารณรัฐโปแลนด์ปัจจุบัน เป็นศิษย์ของเอ็ดมุนด์ ฮุซเซิร์ลและ มาร์ตนิ ไฮเดกเกอร์ทไ่ี ฟรบูรก์ ฮุซเซิรล์ เป็นอาจารย์ทป่ี รึกษาวิทยานพิ นธ์ ซึง่ เขียนเสร็จสมบูรณ์เมือ่ ค.ศ. 1923 ครัน้ จะศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัย แฟรงก์เฟิรต์ อันเดอร์สกลับถูกเธโอดอร์ อดอร์โนปฏิเสธไม่ให้เรียนต่อ เขาจึงตัดสินใจทํางานเป็นนักวิจารณ์และนักหนังสือพิมพ์ นามสกุล อันเดอร์สมีเรือ่ งราวทีม่ าอันน่าสนใจ บรรณาธิการหนึง่ ในกรุงเบอร์ลนิ นั้นมีนักเขียนในความดูแลหลายคนที่นามสกุลเหมือนกันคือชแตร์น เขาจึงขอให้กนึ เธอร์ ชแตร์นเปลีย่ นชือ่ เป็นนามสกุล “อืน่ ” ทีแ่ ตกต่าง จากเดิมและเพือ่ นร่วมงานนามสกุลเดียวกัน กึนเธอร์จงึ ตัง้ ใจเลือกใช้ นามสกุล อันเดอร์ส อันมีความหมายตรงตัวว่า “เป็นอื่น” ในภาษา เยอรมัน ตั้งแต่นั้นมาเขาใช้นามสกุลนี้เป็นนามปากกาเวลาเขียนงาน กึนเธอร์ อันเดอร์สมักเป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะผูก้ อ่ ตัง้ กระบวนการเคลือ่ นไหวต่อต้านขีปนาวุธนิวเคลียร์ ชีวติ ส่วนใหญ่อาศัยอยูต่ า่ งประเทศใน ฐานะคนพลัดถิน่ นอกจากนี้ อันเดอร์สมักเป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะอดีตสามี ของฮันนาห์ อาเรนท์ ทัง้ คูพ่ บกันในชัว่ โมงสัมมนาของไฮเดกเกอร์ชว่ ง ทศวรรษ 1920 และแต่งงานกันเมื่อปี 1929 ก่อนอพยพไปอาศัยที่ ปารีสเมื่อปี 1933 และสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1950 สุดท้าย อันเดอร์ส ได้เดินทางกลับมายังยุโรปเมื่อปี 1950 เท่านั้น แนวคิ ด ของกึ น เธอร์ อั น เดอร์ ส ที่ ผู้ เขี ย นคิ ด ว่ า น่ า สนใจคื อ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
171
“เผด็จการแห่งความพึงใจ” (Totalitarianism of Enjoyment) ซึง่ เป็น เผด็จการนิยมทีต่ า่ งจากระบอบทางการเมืองทีเ่ รารูจ้ กั กันดี อันเดอร์ส เชื่ อ ว่ า ชายและหญิ ง สมั ย ใหม่ นั้ น มิ เ พี ย งถู ก กดขี่ แ ละบงการโดย เผด็จการนิยม หากยังยินยอมมอบตัวและหัวใจ มอบอํานาจอธิปไตย และสิทธิเสรีภาพให้เผด็จการเพื่อแลกกับความสุขหรือความพึงใจ ด้ ว ยเหตุ นี้ ค วามพึ ง ใจส่ ว นตนหรื อ ความรั ก ในความสุ ข นี้ นั บ เป็ น เผด็จการระบอบใหม่อนั ปกครองโลกแห่งสินค้า ข้าวของเครือ่ งใช้ สือ่ โฆษณาชวนเชื่อและการบริโภค อันเดอร์สเขียนนิยายต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์เล่มหนึ่งที่ชื่อ สุสาน ใต้ดินแห่งโมลุสเซีย [สํานวนแปลเป็นของผู้เขียน] (The Molussian Catacomb) ระหว่างปี 1932–1936 โดยใช้บทสนทนาระหว่างพลเมือง ชาวโมลุสเซียสองคนเป็นรูปแบบการเล่าเรื่อง ประเทศโมลุสเซียเป็น ประเทศฟาสซิสต์ในจินตกรรมของอันเดอร์สที่มีส่วนละม้ายคล้าย เยอรมนีในสมัยของเขา ความรักในประเทศนีจ้ ะงดงามหรือไม่อย่างไร ผูอ้ า่ นคงจะสามารถหาคําตอบได้จากข้อความตอนหนึง่ จากงานเขียน ที่ชื่อ ความพ้นสมัยของมนุษย์ (The Obsolescence of Man) ที่ว่าใน โมลุสเซีย บทสวดข้าแต่พระบิดาซึง่ ตามปกติประกอบไปด้วยข้อความ สําคัญที่ว่า “โปรดประทานอาหารประจําวัน [ขนมปัง] แก่ข้าพเจ้า ทั้งหลายในวันนี้” (“Give us this day our daily bread”) นั้นถูก เปลี่ยนเป็น “โปรดประทานความหิวประจําวัน แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ในวันนี”้ (“Give us this day our daily hunger”) และกลายเป็น
172
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
สโลแกนแห่งเผด็จการแห่งความพึงใจเพราะมนุษย์ได้มาถึงจุดที่ก้าว ผ่านการผลิตและการบริโภคที่ตั้งอยู่บนหลักการอุปสงค์และอุปทาน นั้นแล้ว เป้าประสงค์ของการผลิตมิใช่เพื่อสนองหรือแก้ปัญหาอัน เกีย่ วกับความต้องการพืน้ ฐานทีแ่ ท้จริง เช่น ความหิวโหย ความเจ็บ ป่วย หากเพื่อสร้างและเพิ่มพูนความรู้สึกหิวโหยและเจ็บป่วยเพื่อ ผู้บริโภคจะได้มีอุปสงค์ชนิดที่มิอาจสนองความต้องการและมิอาจ ทําให้ “อิ่ม” หรือ “หายขาด” อยู่เป็นนิจ: คติพจน์ดงั กล่าวของโมลุสเซียนัน้ สมเหตุสมผลเมือ่ เราพูดถึง สัดส่วน 99 เปอร์เซ็นต์ของสินค้าทัง้ หมดทีผ่ ลิตขึน้ มา เพราะ สินค้าส่วนใหญ่นน้ั —แม้กระทัง่ สินค้าทีเ่ ราแทบจะเรียกไม่ได้ ว่าเป็นสินค้าประดิษฐ์ปรุงแต่ง เช่น ก้อนเนยทีก่ องกันสูงเป็น ภูเขาเลากาและรับรองว่าย่อยสลายในท้องอย่างง่ายดาย— ยังมีความหิวโหยเป็นสินค้าทีร่ อให้เราบริโภค เนือ่ งจากสินค้า เหล่านีส้ ามารถและจําต้องขึน้ อยูก่ บั ความหิวโหยของมนุษย์ ที่พ้องต้องกันกับกระบวนการผลิต เพื่อให้บัญชีที่ว่านั้น สมดุล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเพื่อให้การผลิตสามารถ ดําเนินไปได้ไม่ติดขัด เราจําต้องผลิตและนําเสนอสิ่งที่อยู่ ระหว่างผลผลิตและมนุษย์อย่างเรา นั่นคือ สินค้าอันเป็น เงื่อนไขบังคับย้อนหลังที่เรียกว่า อุปสงค์ นั่นเอง [สํานวน แปลเป็นของผู้เขียน] (Anders: 6)
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
173
เนื่องจากอุปสงค์ของผู้บริโภคอันเป็นอุปสงค์ปรุงแต่งเพื่อเป็น นํ้ามันหล่อลื่นให้การผลิตเป็นไปโดยไม่ติดขัดนั้นพ้องกับเป้าประสงค์ ของระบอบเผด็จการทีต่ อ้ งการให้ประชาชนรูส้ กึ ไขว้เขว (distracted) และมองข้ามประเด็นทางการเมืองที่ควรจะสําคัญจริง ๆ เช่นความ ไม่ชอบธรรมของอํานาจระบอบเผด็จการหรือความอยุติธรรมของ กฎหมาย เพือ่ กลบเกลือ่ นความจริง ระบอบจึงจําเป็นต้องผลิตอุปสงค์ ปรุงแต่งขึ้นมา อนึ่ง กระบวนการผลิตความหิวโหยหรืออุปสงค์อัน ไม่มีวันหมดสิ้นและป้อนอุปทานเท่าไหร่ก็ไม่มีวัน “อิ่ม” ได้นั้นต้อง พึ่งพาอาศัยเครือข่ายโยงใยของสื่อและโฆษณาชวนเชื่อ สื่อและ โฆษณาชวนเชือ่ จะสร้างโลกเสมือนขึน้ มา การอ้างอิงความจริงปรุงแต่ง ที่สื่อและโฆษณาชวนเชื่อผลิตและนําเสนอซํ้า ๆ หลายครั้งนั้นทําให้ เกิ ด ภาพมายาว่าข้อเท็จจริงที่นําเสนอผ่ า นจอโทรทั ศ น์ ภาพบน โปสเตอร์หรือโพสต์บนเฟซบุก๊ และสือ่ สังคมออนไลน์อนื่ ๆ นัน้ ถูกต้อง และสมเหตุสมผล เป็นความจริงสัมบูรณ์ ในการนี้ สื่อและโฆษณา ชวนเชื่อสร้างและประโคมความหิวโหยและอุปสงค์ประหนึ่งว่าเป็น ความหิวโหยและอุปสงค์ร่วมของมวลชน อีกทั้งใช้ลูกเล่นต่าง ๆ ใน การย้อมสีปรุงแต่งความต้องการปลอม ๆ ด้วยภาพลวงแห่งเสรีภาพ ความเป็นปัจเจกและแม้กระทัง่ ความจงรักภักดีตอ่ บุคคล สถาบันและ ระบอบ อนึง่ เมือ่ กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงนัน้ อยูใ่ นเครือข่าย แคบ ๆ ของข้อมูลสังเคราะห์ จารีตประเพณีและค่านิยมสังคมกระแส หลักนั้นคงหนีไม่พ้นภาวะปรุงแต่ง ปัญหาที่หนักหนาที่สุดนั้นเกิดขึ้น
174
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เมื่อปัจเจกชนหรือกลุ่มคนในสังคมนําจารีตและอุปสงค์ร่วมอันเป็น สิ่งปรุงแต่งมาใช้ตัดสินแบ่งแยกผู้อื่นหรือแม้กระทั่งใช้เป็นข้ออ้างใน การกระทํารุนแรง กึนเธอร์ อันเดอร์สมองว่าสังคมที่ปิดตาย อ้างอิง ตัวเองเพือ่ ผลประโยชน์ของตนเท่านัน้ (self-referential) หรือสังคม ที่มีระบบความคิดความเชื่อในขวดโหลแคบ ๆ แห่งกระบวนการผลิต อุปสงค์ปรุงแต่งนัน้ เป็นสังคมทีเ่ อือ้ ให้เกิดภาวะความไม่ยห่ี ระใส่ใจหรือ เย็นชาไม่รสู้ กึ รูส้ มเรือ่ งการเมือง (political indifference) ทัง้ หมดนี้ เป็นสภาพการณ์ที่เอื้ออํานวยให้ระบอบเบ็ดเสร็จนิยมแพร่กระจาย และครอบงําประชาชนได้ง่ายและราบรื่นไร้แรงเสียดทานต่อต้าน กึนเธอร์ อันเดอร์สเชือ่ ในพลังของการอ่าน ตีความและวิเคราะห์ งานวรรณกรรม เขาชื่อว่าวรรณกรรมวิจารณ์จะทําให้เรามีภูมิคุ้มกัน ที่ดี อันยังให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เผด็จการแห่งความพึงใจ อีกทั้ง การรับมือและรูท้ นั อุปสงค์ปรุงแต่ง เขาหวนกลับไปอ่านงานเขียนของ ฟรานซ์ คาฟคา โดยเฉพาะเรือ่ งสัน้ ทีช่ อื่ ว่า “ความกังวลของเจ้าบ้าน [สํานวนแปลเป็นของผูเ้ ขียน]” (“Die Sorge des Hausvaters”) ซึง่ เขียนระหว่างปี 1914–1917 ในเรือ่ งนีเ้ ราเห็นสิง่ ประดิษฐ์หรือผลผลิต ที่ดูเหมือนมีชีวิตเป็นปริศนาตัวหนึ่งที่ชื่อ โอดราเด็ก (Odradek) อันกลายเป็นคําที่หมายถึงวัตถุสิ่งของที่ผลิตมาโดยไม่มีเหตุผลใด นอกเหนือจากสนองอุปสงค์ปรุงแต่ง รูปร่างของโอดราเด็กในเรือ่ งเป็น เครือ่ งทีด่ เู หมือนเป็นแกนม้วนหลอดด้ายรูปดาวขนาดใหญ่ ตัวเครือ่ ง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
175
หรือสิง่ ประดิษฐ์นชี้ อบม้วนตัวไถลลงมาจากบันได บางครัง้ ก็ยนื อยูบ่ น สองขาคล้ายมนุษย์ เจ้าบ้านหรือหัวหน้าครอบครัวในเรื่องเพ่งพินิจ โอดราเด็กและรูส้ กึ เจ็บปวดเป็นทุกข์ยามจินตนาการว่าสักวันหนึง่ โอด ราเด็ก ซึ่งครอบครัวของตนมีไว้ในครอบครองเพื่อทําอะไรก็ไม่ทราบ นัน้ จะมีชวี ติ ยืนยาวกว่าตนและลูกของตนและหลานของตน (Kafka “The Cares”) โอดราเด็กมีมากมายในสังคมไทย ไม่วา่ จะเป็นเหรียญ จตุคามรามเทพ ตุก๊ ตาลูกเทพ เฟอร์บ้ี นกหวีดสายธงชาติไทย นกหวีด สีทอง limited edition สายข้อมือสีตา่ ง ๆ เสือ้ ยืดสีตา่ ง ๆ ทีม่ กี ารให้ คุณค่าความหมายหรือสกรีนข้อความแสดงความจงรักภักดีตอ่ บุคคล และสถาบัน และแม้กระทัง่ ชุดดําไว้ทกุ ข์ทหี่ ากใครไม่สวมใส่ ณ ขณะ ทีผ่ เู้ ขียนเขียนบทความนี้ [16 ตุลาคม 2559] จะถูกเพ่งเล็ง ประณาม หรือประจาน ทั้งหมดล้วนเป็นตัวอย่างของโอดราเด็กที่มิได้ผลิตมา เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เช่นปัจจัย 4 แต่อย่างใด โอดราเด็กเหล่านี้มิได้เป็นผลผลิตหรือสินค้าที่รอให้เราบริโภค หาก เป็นตัวการทีท่ าํ ให้ผบู้ ริโภคอย่างเรากลายเป็นสินค้าไปเสียเอง สําหรับ อันเดอร์สผู้บริโภคที่คิดอยู่แต่เพียงว่าต้องมีสินค้านี้ไว้ในครอบครอง โดยมิได้พินิจพิเคราะห์เหตุผลอันแท้จริงของการผลิต จัดจําหน่าย หรือรณรงค์ให้ใช้ ซึง่ เป็นเหตุผลเบือ้ งหลังอุปสงค์อนั แท้จริงและไม่ใช่ อุปสงค์ปรุงแต่งนัน้ ต่างกลายสภาพเป็น homo materia แทน homo creator (Anders: 10) ผูเ้ ขียนบทความเชือ ่ ว่าการแก้ปญ ั หาความขัดแย้ง อันเนื่องมาจากโอดราเด็กนั้นไม่สามารถกระทําได้ภายในโครงสร้าง
176
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
แหล่งภาพ: http://www. kafka.org/index.php? aid=284
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
177
เครือข่ายจินตกรรมและอุปสงค์อปุ ทานปรุงแต่ง เช่น เมือ่ คนกลุม่ หนึง่ ในสังคมไม่สวมชุดไว้ทุกข์และเสียงส่วนใหญ่ในสังคมพร้อมที่จะให้ เหตุผลว่าคนกลุม่ นีไ้ ม่สวมชุดไว้ทกุ ข์เพราะฐานะขัดสนเป็นความจริง สัมบูรณ์ ปัญหาการล่าแม่มด เหยียดประณามและแบ่งแยกผูท้ มี่ คี วาม เชื่อ มีศรัทธา มีความเห็นทางการเมืองหรือปฏิบัติตนแตกต่างจาก จารีตกระแสหลักจะไม่มวี นั หมดไป ปัญหาไม่มวี นั แก้ได้แม้นหากทางรัฐ หรือกลุม่ หรือปัจเจกชนพร้อมใจกันยึดข้อสรุปทีต่ งั้ บนฐานของอุปสงค์ ปรุงแต่งและวัฒนธรรมประดิษฐ์ ร่วมกันบริจาคหรือหามาตรการและ หนทางแสดงออกถึงความรักและความทุกข์จากการสูญเสียบุคคล หรือสถาบันสําคัญของสังคม ด้วยการแก้ปญ ั หาดังกล่าวเป็นการพาย เรือในอ่าง เมือ่ เราพึงใจให้วาทกรรมแห่งการแสดงออกซึง่ ความจงรัก ภักดีดงั กล่าวครอบงํา เราจะไม่สามารถรือ้ ถอนกระบวนการกดขีข่ อง ระบอบเผด็จการซึ่งดําเนินไปในนามของความรักที่ควรจะงดงาม อดทนอดกลัน้ ปล่อยวางและพร้อมทีจ่ ะสวมกอดเคารพความแตกต่าง ได้เลย บทสรุป: กรณีป้ายบอกรักที่อาจ ไม่ตรงกับใจของวาซลาฟ ฮาเวล
อาจกล่าวได้ว่า วาซลาฟ ฮาเวล (1936-2011) ได้พยายามรณรงค์ให้ ผู้คนหันมาท้าทายเผด็จการแห่งความพึงใจในวิถีของตัวเอง นั่นคือ
178
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ให้เลิกหลอกตัวเองและให้มองลึกลงไปในก้นบึง้ ของใจยามมองสินค้า หรือผลผลิตโอดราเด็กว่าเหตุใดเราจะต้องยึดติดกับมัน เหตุใดเราจะ ต้องเกลียดชังและขัดแย้งกันเพราะอุปสงค์จอมปลอม ไม่เอือ้ ประโยชน์ อันแท้จริงต่อประชาชนธรรมดาส่วนใหญ่ เพราะคุณค่าทางสังคมนี้ เป็นสิ่งที่ระบอบเบ็ดเสร็จนิยมเป็นผู้บัญชาบังคับใช้เพื่อผลประโยชน์ ของอํานาจนํากลุ่มน้อย ในงานเขียนเรื่อง “อํานาจแห่งผู้ไร้อํานาจ” [สํานวนแปลเป็นของผูเ้ ขียน] ตีพมิ พ์เมือ่ ค.ศ. 1978 เราอาจวิเคราะห์ ได้ว่าโอดราเด็กที่ฮาเวลสนใจนํามาถกเถียงคือแผ่นหรือผ้าป้ายอันมี ข้อความแสดงความจงรักภักดีต่อระบอบเบ็ดเสร็จนิยมโซเวียตที่ ปกครองเชโกสโลวะเกียในสมัยของเขา กรณีศึกษาที่ฮาเวลวิพากษ์ วิจารณ์คือเมื่อจารีตสังคมกระแสหลักบัญชาให้ผู้ประกอบการหรือ คนขายผักผลไม้ในร้านขายของชําทุกคนควรแสดงป้ายที่เขียนว่า “แรงงานของโลก จงรวมพลังกันเป็นหนึ่ง!” (“ Workers of the world, unite!”) (Havel: 132) ไว้หน้าร้าน ฮาเวลตัง ้ คําถามว่าป้ายที่ วางไว้หน้าร้านให้โลกเห็นนัน้ เป็นป้ายทีต่ รงกับใจคนวางจริง ๆ หรือไม่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้คนเหล่านี้รักและเชื่อมั่นระบอบผู้อยู่เบื้องหลัง ข้อความดังกล่าวมากน้อยเพียงใด และหากไม่ได้เชื่อ ไม่ได้รักจริง แล้วเหตุใดจึงต้องวางป้ายนี้ตาม ๆ กัน คําตอบที่สําคัญคือความกลัว หากไม่วางป้ายหน้าร้านแล้วทางการจะล่าแม่มดและอาจทําให้ชีวิต ของเจ้าของร้านและครอบครัวนัน้ ลําบาก หากมีผรู้ ายงานให้ทางการ สงสัย ตนอาจถูกจับกุมสอบสวน ลูกหลานอาจจะไม่ได้เรียนมหา-
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
179
วิทยาลัย อนาคตดับ กิจการอาจต้องปิดไป ส่วนอีกคําตอบหนึ่งที่ สําคัญไม่แพ้กนั คือพวกเขารูส้ กึ พึงใจทีจ่ ะวางป้ายแสดงความรักไว้หน้า ร้านเพราะไม่เห็นว่าทําเช่นนี้จะเสียหายอะไร กิจการจะได้ดําเนินไป ด้วยดี ไม่ถกู ใครเพ่งเล็ง ลูกหลานมีอนาคตสดใส แม้จะไม่ได้รกั ระบบ สุดจิตสุดใจ แม้ป้ายและข้อความจะไม่ตรงกับใจเสียทีเดียวก็ไม่เห็น เป็นอะไร การวางป้ายเป็นเรื่องเล็กน้อยหากมันสามารถแลกกับ สันติสุขและการรักษาผลประโยชน์ ในการนี้ฮาเวลพบว่าปัญหาที่ สําคัญของสังคมจะเกิดเมือ่ การทําอะไรทีไ่ ม่ตรงกับใจจนติดนิสยั นีบ้ ม่ เพาะความรู้สึกไม่ยี่หระใส่ใจหรือรู้สึกรู้สมเรื่องการเมือง หากใจนั้น เต็มไปด้วยรักเทียม การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการท้าทาย ตั้งคําถามระบอบเบ็ดเสร็จนิยมซึ่งตั้งอยู่บนฐานของอุปถัมภ์นิยมนั้น จะไม่มีวันเกิดขึ้นได้เลย: คนขายผักผลไม้ประกาศความจงรักภักดี (และเขาไม่มีทาง เลือกอื่นใดหากต้องการให้การประกาศครั้งนี้เป็นที่ยอมรับ ในสังคม) ในวิถที างเดียวทีร่ ะบอบพร้อมยอมฟัง นัน่ คือโดย การยอมรับพิธกี รรมทีร่ ะบอบรังสรรค์และก่อตัง้ ขึน้ มา ยอม หลอกตัวเองให้หลงเชือ่ ว่าเปลือกนอกเป็นความจริงแท้ น้อม รับกฎเกณฑ์เป็นกฎแห่งเกมชีวติ ทีต่ อ้ งดําเนินต่อไป เมือ่ ทํา เช่นนี้ คนขายผักผลไม้ได้กลายมาเป็นผู้เล่นในเกมระบอบ การเมือง เป็นตัวขับเคลือ่ นให้เกมแห่งระบอบดําเนินต่อไป
180
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ไม่มกี ารหยุดตัง้ คําถามว่าเหตุใดระบอบเผด็จการนัน้ จึงเกิด ขึ้นตั้งแต่แรก [สํานวนแปลเป็นของผู้เขียน] (Havel: 136) การบริโภคโอดราเด็กเพื่อสนองอุปสงค์ปรุงแต่งโดยการสวมใส่ หรือจัดแสดงสินค้าเหล่านีเ้ พือ่ รักษาผลประโยชน์ เพือ่ เป็นใบเบิกทาง ความก้าวหน้าในสังคม หรือเพื่อเป็นหลักฐานคํ้าประกันว่าตนบํารุง รักษาหรือตนได้จาํ นนต่อระบอบการเมืองและวัฒนธรรมประดิษฐ์ของ สังคมนั้น นับเป็นรูปแบบการกระทําที่สะท้อนการหลอกตัวเองและ ยิ น ยอมมอบอธิ ป ไตยให้ ค วามพึ ง ใจขึ้ น ครองสติ ปั ญ ญาในฐานะ เผด็จการของหัวใจ ฮาเวลเชื่อว่าหนทางเดียวที่จะแก้ปัญหาดังกล่าว คือการ “ใช้ชวี ติ ในความจริง” (living in truth) รักตัวเองมากพอที่ จะซื่อตรงซื่อสัตย์กับความคิดความเชื่อของตนเอง ไม่ให้ความกลัว หรือความพึงใจกลวง ๆ ระยะสัน้ มาบดบังความคิดวิเคราะห์ นีเ้ องเป็น วิถีที่ผู้ที่ไร้อํานาจในสังคมจะสามารถสร้างอํานาจของตัวเองขึ้นมา ท้าทายความไม่เป็นธรรมได้ หากการใช้ชวี ติ ในความจริงนัน้ เป็นจุดเริม่ ต้นพืน้ ฐานแห่งทุก ความพยายามของประชาชนทีจ่ ะต่อสูก้ บั ความกดดันอันยัง ให้รู้สึกแปลกแยกของระบบ หากการใช้ชีวิตในความจริง เป็นรากฐานหนึ่งเดียวที่เปี่ยมด้วยคุณค่าความหมายอันยัง ให้เกิดการกระทําอันมีนยั สําคัญทางการเมืองของปัจเจกชน
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
181
บรรณานุกรม ,
.
Anders Günther The Obsolescence of Man
:
,
Volume II On the Destruction of Life in the Epoch of the Third Industrial Revolution
.
.
.
libcom org 6 January
.
://libcom. ofManVol % 20IIGun ther% 20Anders. pdf 2015 https
/
/
org files Obsolescence
,
Havel Václav
. “ The
Power of the Power-
: – 1990. Ed. Paul Wilson. New York : Vintage Books, 1991: 125– 214. less
”.
Open Letters
Selected Writing 1965
182
และหากท้ายที่สุดแล้วการใช้ชีวิตในความจริงนี้เป็นแก่น และแหล่งกําหนดพลังอันมีค่าในตัวเองที่จะคอยสร้างเสริม ทัศนคติ “ประท้วงคัดค้านทางการเมือง” แล้วละก็ คงยาก ทีเ่ ราจะจินตนาการว่าการแสดงออก “ประท้วงคัดค้านทาง การเมือง” ใด ๆ จะสามารถมีรากฐานความหมายอื่นได้ นอกจากเพื่อธํารงไว้ซึ่งความจริง ชีวิตแห่งความสัตย์จริง และความพยายามที่ จ ะเปิ ด พื้ น ที่ ใ ห้ กั บ จุ ด ประสงค์ อั น แท้จริงแห่งชีวิต (Havel: 179) ผู้เขียนบทความนี้ไม่มีเจตนาลบหลู่ความรักของผู้ใด หากหวัง เพียงให้เราร่วมกันตั้งคําถามว่าถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะเลิกหลอก ตัวเอง บอกลารักเทียม สลัดอาภรณ์สีต่าง ๆ แห่งอุปสงค์อุปทาน ปรุงแต่งให้ไกลตัว และหันมามองกันด้วยสายตาอันเปลือยเปล่า เมือ่ ใช้ชวี ติ ในความจริงและรูท้ นั โอดราเด็กแล้ว เราถึงจะมาร่วมกันสูเ้ พือ่ นําพามาซึ่งความพินาศของเผด็จการ… แห่งความพึงใจ
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
/ Essay /
Antony and Cleopatra:
การเมืองเรื่องรักของขุนพล “มนุษย์” และเจ้าแม่นาคี มิ่ง ปัญหา
ผู้
เขียนไม่คอ่ ยได้ตามดูละครโทรทัศน์มากนัก ไม่ใช่วา่ ไม่ชอบหรือ เห็นว่าเป็นสิง่ เลวทรามอะไร (ถึงแม้วา่ บางเรือ่ งจะไม่ถกู ใจผูเ้ ขียน อย่างมากเลยก็ตาม) แต่ไม่มีเวลาได้ดูจริง ๆ จัง ๆ พอเห็นคุณพ่อ คุณแม่หรือคุณป้าของผู้เขียนเปิดโทรทัศน์ก็จะไปนั่งดูอยู่สักพักหนึ่ง (พักหนึง่ อาจจะนานถึงครึง่ ชัว่ โมงหรือมากกว่านัน้ ) เมือ่ ได้เข้ามาอ่าน สถานะต่าง ๆ ในเฟซบุกตั้งแต่เดือนที่แล้ว ผู้เขียนก็ได้ทราบว่าละคร เรื่องนาคีกลายเป็นละครยอดนิยม แต้ว ณัฐพรทําให้ทุกคนฝึกพูด ภาษาอีสานกันมากมาย ภาษาอีสานกลายเป็นแฟชัน่ มีคนอยากเป็น “คําแก้ว” กันมากมาย กระแสนีส้ ง่ ผลให้เพจวิชาการในเฟซบุกอย่าง ศิลปวัฒนธรรม ได้ให้ความรูเ้ กีย่ วกับตํานานพระทองนางนาค อันเป็น ตํานานสร้างชาติของกัมพูชาและพระราชพิธีเบาะพกในสมัยอยุธยา (ผู้เขียนเข้าใจว่าหาอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือนาคในอุษาคเนย์ ของอาจารย์สจุ ติ ต์ วงษ์เทศ) ผูเ้ ขียนเองก็ประทับใจฝีมอื การแสดงของ แต้วเช่นกันและสนใจตํานานหญิงร้าย (monstrous feminine) ที่
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
มิ่ง ปัญหา อาจารย์สาขาวิชา ภาษาและวรรณคดี อั ง กฤษ ภาควิชาประวัตศ ิ าสตร์ ปรัชญา และวรรณคดี อั ง กฤษ (ภาค วิ ช าที่ ชื่ อ ยาวที่ สุ ด ในประเทศ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรรมศาตร์ รั ก เชคสเปี ย ร์ สนใจวรรณกรรมและประวัติ ศาสตร์ยุควิกตอเรียน สนใจ สั ต ว์ ป ระหลาดสารพั ด อย่ า ง (ติ ด โปเกมอนโก) สิ่ ง ที่ ส นใจ มากที่ สุ ด คื อ การกิ น และการ เมาท์
185
ช่วยสร้างบ้านแปงเมืองด้วย ซึ่งได้อิทธิพลอย่างมากจากการเรียน นวนิยายเรื่อง แม่เบี้ย ของวาณิช จรุงกิจอนันต์ ในวิชาวรรณคดีกับ สตรี โดย ผศ.ดร.ชุติมา ประกาศวุฒิสาร เป็นผู้สอน อย่างไรเสีย ถึงแม้วา่ ละครเรือ่ งนาคีจะเป็นกระแสให้คนสนใจตํานานเกีย่ วกับนาค ในอดีตกาลมากมาย แต่ผู้เขียนเองก็ยอมรับว่ารู้สึกเบื่อหน่ายบ้าง เหมือนกัน สาเหตุที่เบื่อหน่ายเพราะโครงเรื่องแนวนี้มีอยู่ไม่รู้จบสิ้น และหลาย ๆ เรื่องมักจะจบเหมือนเดิม (ผู้ชายบวช ศาสนาหลัก เอาชนะได้ในทีส่ ดุ ผูช้ ายเป็นฝ่ายชนะหญิงร้ายทีม่ ลี กั ษณะคล้ายสัตว์ หรือผสมกับสัตว์ หรือสัตว์ถกู ทําลาย ) เช่น แม่เบีย้ หรือ กาษานาคา เป็นต้น อาจจะกล่าวได้วา่ ตัง้ แต่จดุ เริม่ ต้นของอารยธรรมต่าง ๆ การสร้าง เรื่องราวเกี่ยวกับการต่อสู้กับสัตว์ร้ายที่เป็นตัวเมียหรือเพศหญิงมีอยู่ ทัว่ โลก เช่น ตํานานเพอร์ซสู (Perseus) สังหารเมดูซา (Medusa) ซึง่ เป็นกอร์กอน ผมเป็นงู ผิวเป็นเกล็ด หรือตํานานเทพีเซคเม็ต เทพีใน ร่างสิงห์ของอียิปต์โบราณที่สุริยเทพราใช้กําจัดคนที่ไม่เชื่อฟัง แต่ใน ที่สุดกลับบ้าเลือดจนเทพราต้องกําราบ และทําให้กลายร่างเป็นเทพี ฮาธอร์ เทพีแห่งความรัก แต่ตาํ นานการปราบเหล่านี้ หลายครัง้ มาคู่ กับการครองรัก เช่นตํานานยุคกลางที่ว่าด้วยกษัตริย์กับผู้หญิงครึ่งงู นางเมลูซนี (ซึง่ เป็นโลโก้ของร้านกาแฟสัญชาติอเมริกนั ชือ่ ดังและเพิง่ เปิดสาขาทีม่ หาวิทยาลัยทีผ่ เู้ ขียนทํางานอยู)่ ตํานานพระทองนางนาค ทีผ่ เู้ ขียนกล่าวถึงไปแล้ว หรือแม้กระทัง่ นิทานนางเงือกน้อย การครอง
186
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
รักนั้นมักไม่ประสบความสําเร็จ หรือถ้าประสบความสําเร็จ ผู้หญิง มักจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง ต้องไม่เป็นสัตว์ สําหรับการอ่านความรักของขุนพลแอนโทนีและเจ้าแม่นาคีอย่าง คลีโอพัตราของผู้เขียนนั้น ผู้เขียนมองว่าตัวเรื่องนั้น นอกจากจะพูด ถึงการเมืองระหว่างสองโลกอย่างโลกโรมันและโลกอียปิ ต์แล้ว ตัวเรือ่ ง พูดถึงความไม่มั่นคงและสภาวะที่แปรเปลี่ยนไปมาของมนุษย์ทุกคน ตัวเรือ่ งไม่เพียงนําเสนอความเปลีย่ นแปรในจิตใจคนทัง้ นัน้ แต่สภาพ ร่างกายของตัวละคร หรือแม้แต่ “ความเป็นมนุษย์” ทีด่ จู ะเป็นลักษณะ ทางชีวภาพ ติดตัวมาแต่เกิด ยังเปลี่ยนแปรไปได้อีกด้วย ความ ไม่แน่นอนของทั้งร่างกายและจิตใจนี้เองท้าทายทั้งอํานาจที่เข้ามา อ่านตีความและควบคุมเรือนร่าง รวมไปถึงตัง้ คําถามกับความคิดเรือ่ ง รักแท้หรือความมัน่ คงในรัก นอกจากนีต้ วั เรือ่ งยังเน้นยํา้ ว่าตัวเองเป็น ละคร การตอบโต้พูดคุยของคนรักอย่างแอนโทนีและคลีโอพัตรามี ลักษณะเหมือนเป็นละครฉากหนึง่ ตัวละครต่างต้อง “เล่นบท” ต่าง ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการเมืองและรักษาความสัมพันธ์ของ ตนเอง การเล่นบทต่าง ๆ หรือการมอบบทต่าง ๆ ให้คนอืน่ นีเ้ องกลับ กลายเป็นเครื่องท้าทายชีวิตรักและความสัมพันธ์ ที่จะต้องข้ามผ่าน ฉลากเหล่านั้นได้ จุดจบของเรื่องจึงอาจเป็นโศกนาฏกรรมที่วิพากษ์ วิจารณ์โลกที่ให้บทต่าง ๆ แก่เราจนมากเกินไปก็เป็นได้ เรื่องราวของแอนโทนีและคลีโอพัตราเริ่มขึ้นเมื่อแอนโทนี หนึ่ง ในสามทริอมุ วีรแ์ ห่งโรม (ทริอมุ วีรห์ รือ Triumvir คือตําแหน่งประมุข
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
187
สามคนในระบอบการปกครองแบบโรมันโบราณ ในเรือ่ งนีป้ ระกอบด้วย แอนโทนี ออกเทเวียส ซีซาร์ และเลพิดสั ) ถูกหมายเรียกกลับไปยัง กรุงโรม เพราะหลงพระนางคลีโอพัตราและไม่ยอมเดินทางกลับโรม ทั้ง ๆ ที่เซ็กซตัส พอมเพย์อัสกําลังนําพลเรือและโจรสลัดปิดล้อม คาบสมุทร นอกจากนี้ ฟุลเวีย ภรรยาของแอนโทนีซึ่งอยู่โรม ให้ น้องชายก่อความวุ่นวายเพื่อให้แอนโทนีกลับมา แต่เมื่อแอนโทนีไม่ กลับ ฟุลเวียจึงตรอมใจตาย เมือ่ การณ์เป็นดัง่ นี้ แอนโทนีจงึ ตัดสินใจ กลับโรมเพือ่ บริหารประเทศและรํา่ ลาคลีโอพัตรา ผูแ้ สดงอาการเสียใจ ที่แอนโทนีต้องจากไปด้วยอาการโกรธกระฟัดกระเฟียดและพูดจา ว่าร้ายแอนโทนี เมื่อต้องจากกันจริง ทั้งสองสัญญาว่าจะยังรักกัน แต่แล้วเมื่อแอนโทนีเดินทางกลับไป สภาโรมเสนอให้แอนโทนีสมาน รอยร้าวทีต่ นสร้างไว้กบั ออกเทเวียส ซีซาร์ (เพราะไม่เชือ่ ฟังซีซาร์และ ยอมกลับมาอยูโ่ รม) โดยการแต่งงานกับออกเทเวีย น้องสาวของซีซาร์ แอนโทนีจาํ ยอมตามนัน้ (แน่นอนว่าคลีโอพัตราไม่พอใจเป็นอย่างมาก ถึงกับทําร้ายผูส้ ง่ สารทีไ่ ปรายงานเธอ) หลังจากนัน้ ทริอมุ วีรท์ ง้ั สามได้ ทําสัญญาและเจรจากับพอมเพย์อสั จนสําเร็จ เหล่าทหารจึงเฉลิมฉลอง บนเรือของพอมเพย์อัส เอโนบาร์บัส ทหารคนสนิทของแอนโทนีนั้น ได้เล่าเรือ่ งราวเกีย่ วกับอียปิ ต์และความงามของคลีโอพัตราให้เพือ่ น ๆ ฟัง จนเป็นทีฮ่ อื ฮา (บทชมโฉมคลีโอพัตราทีเ่ อโนบาร์บสั พูดนัน้ กลาย เป็นบททีค่ นจดจํากันได้มากบทหนึง่ ) ทุกอย่างดูจะราบรืน่ ดีในโรม แต่ แล้วซีซาร์กด็ าํ เนินแผนยึดอํานาจ ใส่ความเลพิดสั ว่าเข้าข้างกบฏอย่าง
188
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
พอมเพย์อสั ทําให้เลพิดสั ถูกลงโทษ แอนโทนีรดู้ วี า่ อีกไม่นาน ซีซาร์ ต้องเล่นงานตัวเองแน่นอน แอนโทนีจึงขอลี้ภัยไปเอเธนส์ แต่ซีซาร์ ไม่ยอม แอนโทนีจึงไปอียิปต์และยอมประกาศสงครามกับซีซาร์โดย มีกองทัพคลีโอพัตราช่วยเหลือ แต่ในการรบครั้งแรก กองเรือของ คลีโอพัตราหนีแอนโทนีไป จนแอนโทนีตอ้ งกลับไปตาม ทําให้พา่ ยแพ้ แก่ซีซาร์ แอนโทนีนั้นโกรธคลีโอพัตรามาก และคิดว่าคลีโอพัตรา กําลังหว่านเสน่หใ์ ห้กบั ทูตของซีซาร์ทเี่ สนอให้หย่าศึก แต่แล้ว แอน โทนีกค็ นื ดีกบั คลีโอพัตรา และจะขอรบเพือ่ เธออีกครัง้ ส่วนเอโนบาร์บสั ทหารคนสนิทของแอนโทนีเองกลับแปรพักตร์ไปอยู่ฝั่งซีซาร์เพราะ เห็นว่าทหารอียิปต์นั้นไร้ประสิทธิภาพ เมื่อแอนโทนีทราบข่าวว่า เอโนบาร์บัสแปรพักตร์ก็สั่งให้ทหารนําสมบัติทั้งหมดที่เอโนบาร์บัส ทิ้งไว้กับกองทัพไปคืนให้ ไม่ริบทรัพย์ตามธรรมเนียม เอโนบาร์บัส เห็นดังนัน้ ก็ซาบซึง้ และตรอมใจตาย เมือ่ แอนโทนีรบอีกครัง้ กองทัพ ของคลีโอพัตราก็แตกพ่ายกันไปอีก จนแอนโทนีพา่ ยแพ้ คลีโอพัตรา ดูท่าแล้วเห็นว่าแอนโทนีจะโกรธแน่ จึงต้องการรักษาความสัมพันธ์ ของตนกับแอนโทนีไว้ เธอจึงหลอกแอนโทนีวา่ เธอฆ่าตัวตายเสียแล้ว ทัง้ ๆ ทีค่ วามจริงซ่อนตัวอยูท่ ว่ี หิ ารแห่งหนึง่ เมือ่ แอนโทนีทราบ แทนที่ จะสะเทือนใจและไม่โกรธคลีโอพัตราตามทีว่ างแผนไว้ แอนโทนีกลับ ฆ่าตัวตาย ก่อนแอนโทนีจะสิ้นลมหายใจ พลทหารได้พาแอนโทนี ไปหา “พระศพ” ของคลีโอพัตรา จนพบว่าคลีโอพัตรายังไม่ตาย แอนโทนีให้อภัยคลีโอพัตราทุกอย่าง ก่อนจะจากไป หลังจากนั้น
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
189
ซีซาร์ ซึ่งบัดนี้เป็นจักรพรรดิออกเทเวียส ซีซาร์ มาพบคลีโอพัตรา และสัญญากับเธอว่าจะดูแลให้สมเกียรติ คลีโอพัตราได้ขอร้องให้ ซีซาร์ไม่เอาตนล่ามโซ่เข้าขบวนแห่ ซีซาร์ตกลง แต่ทูตของซีซาร์ซึ่ง แอบหลงรักคลีโอพัตรามาบอกความจริงกับเธอว่า ซีซาร์จะไม่ทาํ ตาม สัญญา คลีโอพัตราไม่อยากให้ใครหลู่เกียรติ จึงใช้งูพิษฉกที่อกให้ ถึงแก่ความตาย เมื่อซีซาร์ทราบเหตุการณ์ทั้งหมด ก็ขอให้ฝังศพ คลีโอพัตราและแอนโทนีไว้คู่กัน และให้คนจดจําตํานานนี้ไว้ ก่อนอืน่ ถ้าจะมองเรือ่ งรักแท้ในเรือ่ งนี้ จะเห็นว่าต้องผ่านปราการ หลายด่าน ถ้ายังไม่พูดเรื่องชาติพันธุ์หรือการเมือง ความรักของ แอนโทนีและคลีโอพัตราก็ไม่ “ถูกต้อง” ตามครรลองของการมี ผัวเดียวเมียเดียว แอนโทนีนนั้ มีภรรยาอยูแ่ ล้ว ทีส่ าํ คัญ แอนโทนีเอง ก็มีภารกิจการเมืองการปกครองที่ต้องกลับไปจัดการ คลีโอพัตราคือ สิ่งที่แอนโทนีควรปฏิเสธ เพราะเธอไม่ใช่ภรรยาแบบชอบธรรม และ เธอคอยขวางหน้าทีก่ ารงานของแอนโทนีดว้ ยการสมโภชรืน่ เริง และ ทําให้แอนโทนีหลงมัวเมาอยู่ที่อียิปต์ หากมองในประเด็นขัว้ อํานาจ พืน้ ทีท่ ะเลเมดิเตอเรเนียนนัน้ เป็น ที่แย่งชิงของอาณาจักรต่าง ๆ โดยรอบ ในที่นี้ ตัวเรื่องเลือกนําเสนอ อียปิ ต์และอาณาจักรโรมัน ถึงแม้วา่ ในตอนนัน้ อาณาจักรโรมันมีอาํ นาจ ค่อนข้างแผ่ไพศาลและยึดครองอียิปต์ได้แล้ว แต่การหลงมัวเมาของ แอนโทนีทําให้อาณาจักรโรมันเหมือนกับถูกอียิปต์ท้าทาย คําพลอด รักในองก์หนึ่งฉากหนึ่งของเรื่องนี้สะท้อนนัยการเมืองที่เน้นยํ้าว่า
190
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
พืน้ ทีส่ ว่ นตัวนัน้ ถูกหลอมรวมไปกับพืน้ ทีก่ ารเมือง เรือนร่างและความ ปรารถนาของตัวละครต่าง ๆ มีเส้นแบ่งกํากับและมีผลทางการเมือง CLEOPATRA
’
.
I ll set a bourn how far to be beloved
ANTONY
,
Then must thou needs find out new heaven
.
new earth
คลีโอพัตรา: ช้าจักหาขอบเขตว่าความรักของท่านแผ่ไกล ไปเพียงใด แอนโทนี: ถ้าเช่นนัน้ พระองค์ตอ้ งเสด็จไปทรงหาสวรรค์ ใหม่ โลกใหม่ ข้อความทีต่ ดั มานัน้ ชีใ้ ห้เห็นว่าตัวตนของแอนโทนีและคลีโอพัตรา แยกไม่ออกจากพืน้ ทีก่ ารเมือง ความหลงใหลคลัง่ ไคล้ของทัง้ สองนัน้ ไม่เป็นเพียงเรือ่ งส่วนตัว แต่แบกเอาอาณาจักรของทัง้ สองมาด้วยกัน เมื่ออาณาจักรทั้งสองไม่อาจเชื่อมสัมพันธ์กันโดยเท่าเทียมเพราะ อาณาจักรโรมันมองอียปิ ต์เป็นเมืองขึน้ ความสัมพันธ์ในเชิงรักใคร่หรือ ไมตรีจติ จึงไม่อาจเป็นไปได้บนโลกนี้ ต้องหา “สวรรค์ใหม่ โลกใหม่”
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
191
นอกจากนี้ เมือ่ คลีโอพัตราแกล้งแหย่วา่ ซีซาร์คงต้องให้แอนโทนีกลับ ไปเพราะมีการใหญ่ต้องจัดการ แอนโทนีถึงกับแสดงความต้องการ จะให้กรุงโรมนั้นสูญสลายละลายลงเป็นเศษซาก และโลกเข้าสู่ยุค โลกาวินาศ จะเห็นได้ว่า ความรักของแอนโทนีที่มีต่อคลีโอพัตราจึง เป็นความรักทีส่ ะท้านสะเทือนการเมืองและท้าทายการรักษาเผ่าพันธุ์ ของคนขาวให้บริสุทธิ์ ความสัมพันธ์ของทั้งคู่จึงอาจเป็นไปได้ใน “สวรรค์ใหม่ โลกใหม่” เท่านั้น กฎเกณฑ์และเกมการเมืองบีบบังคับให้ทั้งคู่ต้องแยกจากกัน โดยมีเบื้องหลังคือการขีดเส้นแบ่งระหว่างตะวันออกและตะวันตก1 ตัวเรื่องสร้างความแตกต่างให้กับคลีโอพัตราอย่างครบถ้วน เน้นยํ้า ความแตกต่างที่ด้อยกว่าอยู่เสมอ ในยุคสมัยที่เชคสเปียร์เขียนบท ละครเรือ่ งนี้ อังกฤษเริม่ ล่าอาณานิคมและออกสํารวจโลกแล้ว การนํา เสนอคนต่างชาติพนั ธุใ์ นลักษณะภาพเหมารวมเกิดขึน้ เพือ่ สร้างความ ชอบธรรมในการยึดครองดินแดนอื่น ชาติใต้อาณานิคมนั้นมักจะถูก นําเสนอให้ด้อยกว่าตามค่านิยมในประเทศเจ้าอาณานิคม เช่นเป็น ผู้หญิง ไร้เหตุผล ไม่รู้จักความพอดี หมกมุ่นกับเรื่องเพศ แปลก หากพิจารณาคํานิยามของตะวันออกหรือบูรพาจากหนังสือบูรพนิยม (Orientalism) ของ เอ็ดเวิร์ด ซาอิด (Edward Said) แล้ว ดินแดนบูรพาสําหรับตะวันตกกินความถึงบริเวณตอน เหนือของทวีปอัฟริกาด้วย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอียิปต์ถูกยึดครองโดยราชวงศ์โมกุลหลังจาก จักรวรรดิโรมันเสื่อมอํานาจ 1
192
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ประหลาด ผิวคลํา้ 2 เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวถือว่าตรงกับการนําเสนอ คลีโอพัตราและบรรดาบริวารของเธอในเรื่อง นอกจากนี้ อียิปต์ใน สายตาคนโรมันในเรื่องนั้นเป็นดินแดนที่เหมือนฉากละครหรืองาน ศิลปะ เหมือนภาพฝัน คําบรรยายที่เป็นที่จดจําของเอโนบาร์บัสนั้น ให้ภาพนาวาทองคําของคลีโอพัตราแล่นในแม่นํ้าพร้อมบริวารชาย หญิงนัน้ งดงามเกินกว่าภาพของวีนสั และคิวปิด นอกจากนี้ เมือ่ ซีซาร์ กล่าวถึงบรรดาทหารต่างชาติ ซึง่ ดูจะไม่ใช่ชาวตะวันตก ทีม่ ารวมตัว กันเพื่อช่วยเหลือคลีโอพัตรานั้น ดูไม่ต่างจากรายชื่อขบวนแห่จาก นครต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ความงามเกินพอดีนี้เองที่ทําให้ตะวันตก หลงใหล เพราะในแง่หนึง่ การสร้างภาพเหมารวมของตะวันออกเกิด จากการปฏิเสธสิง่ ทีต่ ะวันตกไม่พงึ ปรารถนาหรือสิง่ ทีต่ ะวันตกมองว่า ไม่ใช่และไม่ควรเป็นตัวเอง ความหลงใหลในตะวันออกจึงเป็นการโหย หาสิง่ ทีเ่ คยเป็นส่วนหนึง่ ของตัวเองหรือสิง่ ทีข่ าดหายไป เพราะฉะนัน้ ความน่าหลงใหลของคลีโอพัตรานั้น ส่วนหนึ่งมาจากการสร้างมายา ภาพของตะวันตกเอง อย่างไรก็ตาม ตัวตนของคลีโอพัตรานัน้ ท้าทายมายาคติเกีย่ วเพศ สถานะและชาติพนั ธุท์ ต่ี ะวันตกมีอยูเ่ สมอ โดยชีใ้ ห้เห็นว่าตัวตนเหล่านี้ เป็นสิง่ เปลีย่ นแปรได้ เธอไม่ใช่ผหู้ ญิงในขนบ เธอกับแอนโทนีเคยสลับ ถึงแม้วา่ ความจริงแล้ว คลีโอพัตราตัวจริงในประวัตศิ าสตร์ ทีม่ คี วามสัมพันธ์กบั ทัง้ จูเลียส ซีซาร์ และแอนโทนีนั้นสืบเชื้อสายมาจากชาวกรีก ตั้งแต่สมัยกรีซยึดครองอียิปต์ 2
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
193
เครื่องแต่งตัวกันและทําให้คนเรียกเธอผิดว่าเป็นแอนโทนีมาแล้ว นอกจากนี้ ความเกีย่ วพันกับสัญลักษณ์งใู นเรือ่ ง (นีค่ อื สาเหตุวา่ ทําไม ผู้เขียนเรียกเธอว่าเจ้าแม่นาคี) ยิ่งเน้นยํ้าว่าเธอมีลักษณะของลึงค์อยู่ กับตัว มีลกั ษณะเป็นผูห้ ญิงมีลงึ ก์ ซึง่ เป็นภาพของกึง่ ปีศาจกึง่ เทพใน โลกวรรณกรรมตะวันตก (เมดูซา เมลูซนี หรือนางงูลาเมีย) ซึง่ ท้าทาย ระบบปิตาธิปไตยด้วยความกํากวมทางเพศ สําหรับด้านชาติพันธุ์ คลีโอพัตราได้บรรยายออกเทเวียน้องสาวซีซาร์ให้คล้ายสัตว์เพือ่ ความ สบายใจของตัวเอง การบรรยายชาติตะวันตกให้เป็นเหมือนสัตว์ เหมือนเป็นการ “เอาคืน” ชาติตะวันตกทีน่ ยิ ามเธอในรูปแบบต่าง ๆ นานา แม้แต่คาํ บรรยายของเอโนบาร์บสั ยังต้องบอกว่า Age cannot wither her , nor custom stale / Her infinite variety . หรื อ อายุขัยหาได้ทําให้เธอเหี่ยวแห้งลง ขนบธรรมเนียมหรือก็หาได้ลด ทอนความเปลีย่ นผันอันเป็นอนันต์ของเธอไม่ สุดท้าย ไม่วา่ เธอจะถูก บรรยายอย่างไร เธอก็จะถูกบรรยายว่าเป็นผู้หญิงที่เปลี่ยนผันไปมา คําบรรยายตัวเธอบางครั้งก็กลับแสดงขอบเขตของการบรรยายเสีย เองด้วย (เช่น เธอนัน้ “สวยกว่าวีนสั ” บ้าง เรือของเธอเองนัน้ งดงาม เสียจนไม่อาจบรรยายได้ว่าอยู่ในกาลปัจจุบัน เอโนบาร์บัสกล่าวว่า เรือของเธอนั้นแทบจะสร้างมิติเวลาใหม่ให้กับบริเวณนั้นทั้งหมด) นอกจากคลีโอพัตราจะไม่เป็นผู้หญิงตามขนบและท้าทายความคิด เกี่ยวกับชาติพันธุ์ ร่างกายของเธอยังไม่เป็นมนุษย์อีกด้วยในตอนจบ เพราะเมือ่ เธอจะตาย เธอได้จบู อําลาข้าช่วงใช้คนหนึง่ แล้วข้าช่วงใช้
194
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ผูน้ นั้ ก็ลม้ ลง ในตอนนัน้ ไม่มคี าํ อธิบายอืน่ ทีเ่ รือ่ งจะให้เรานอกจากคํา พูดของเธอทีส่ งสัยว่าเธอจะกลายเป็นงูพษิ ไปเสียแล้ว (อาจจะเป็นได้ เหมือนกันว่าเธอใช้สผี งึ้ ทาปากทีม่ พี ษิ ตรงนีส้ ดุ แท้แต่การตีความของ ผูก้ าํ กับละคร แต่ฉากนีเ้ ป็นฉากทีเ่ หมือนจงใจให้คลีโอพัตราหลุดจาก การเป็นมนุษย์แล้ว) การหลุดพ้นจากการเป็นมนุษย์และกลายเป็น “เจ้าแม่นาคี” ทีแ่ ท้จริงของเธอสะท้อนความเปลีย่ นแปลงทีเ่ ป็นไปได้ ถึงระดับกายภาพ ท้าทายความเป็นมนุษย์ทเ่ี หมือนเป็นตัวตนสําเร็จรูป ในศตวรรษที่สิบหกและสิบเจ็ดนั้น ทฤษฎีวิวัฒนาการและทฤษฎีว่า ด้วยการกําเนิดชีวิตนั้นยังไม่เกิดขึ้น คนในสมัยนั้นเชื่อเรื่องการถือ กําเนิดโดยมีปฏิกริ ยิ าต่อเนือ่ ง หรือ spontaneous generation กล่าว คือสิง่ ของนัน้ จะให้กาํ เนิดสิง่ มีชวี ติ ได้ เช่นเนือ้ เน่าจะกลายเป็นหนอน หรือต้นไม้บางประเภทถ้าล้มลงในนํ้าจะกลายเป็นเป็ด เป็นต้น ใน เรื่องนี้ตัวเรื่องได้พูดถึงดินแม่นํ้าไนล์ว่าจะกลายเป็นงูและจระเข้อยู่ บ่อยครัง้ การเน้นยํา้ การเปลีย่ นแปลงทางกายภาพทีเ่ กิดขึน้ ได้เป็นการ ท้าทายการแปะป้ายที่ชัดเจนด้วยการเน้นยํ้าความไม่คงที่ของตัวตน ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต นอกจากนี้ วิธีการสร้างตัวละคร โครงเรื่อง และเนื้อเรื่องของ เชคสเปียร์ทาํ ให้การนําเสนอภาพตะวันออกเป็นไปอย่างมีพลวัตและ ชวนให้ตั้งคําถาม สําหรับผู้เขียนนั้น ถึงแม้ว่าการนําเสนอตะวันออก ของชาวตะวันตกในเรื่องจะเป็นไปตามภาพเหมารวม แต่ผู้เขียนขอ เสนอว่า เชคสเปียร์ได้พยายามเน้นยํา้ ว่าภาพเหล่านีเ้ ป็นภาพทีต่ ะวันตก
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
195
สร้างขึ้น ถึงแม้ว่าตะวันออกในเรื่องจะไม่ถูกนําเสนอให้แตกต่างเพื่อ ขัดแย้งกับคําพูดของตัวละครจากตะวันตก แต่ตวั เรือ่ งยํา้ อยูห่ ลายครัง้ ว่าสิ่งที่ตะวันตกอธิบายเป็นเพียงศิลปะ เป็นเพียงละครหรือเรื่องเล่า เท่านัน้ ความงามของคลีโอพัตรานัน้ อยูใ่ นเรือ่ งเล่าทีต่ วั ละครเล่าขานกัน แม้แต่คํากล่าวหาเกี่ยวกับเธอก็เป็นเพียงการเล่าในสายตาตะวันตก ฉากแรกของเรือ่ งนัน้ ไม่ได้เริม่ ต้นโดยการพูดคุยพลอดรักของแอนโทนี และคลีโอพัตรา แต่เป็นการว่าขานของเหล่าทหารว่าด้วยเรือ่ งแอนโทนี หลงราชินีผิวสีอย่างคลีโอพัตรา นอกจากนี้ ตัวเรื่องยังเอื้อให้ผู้เขียน ตีความว่า ออกเทเวียส ซีซาร์และคลีโอพัตราเป็นเหมือนคนละด้าน ของเหรียญเดียวกัน แม้ซีซาร์จะกล่าวหาคลีโอพัตราว่าเป็นหญิงชั่ว สักปานใด การบังคับให้น้องสาวของตนซึ่งมีชื่อคล้ายกันกับตนเอง แต่งงานกับแอนโทนีเพือ่ สมานรอยร้าวในความสัมพันธ์ของทัง้ แอนโทนี และซีซาร์กลับเปิดเผยให้เห็นความกํากวมทางเพศของซีซาร์ดว้ ยเช่น กัน เมื่อออกเทเวียจําใจหนีกลับมาหาพี่ชายเพราะไม่อาจจะทนแรง เสียดทานระหว่างพีช่ ายกับสามีได้ ซีซาร์ผเู้ ป็นพีช่ ายกลับต่อว่าต่อขาน แอนโทนีวา่ ไม่ยอมให้นอ้ งสาวมีขบวนเดินทางให้สมเกียรติ คําบรรยาย ขบวนนั้นชวนให้นึกถึงกองเรือของคลีโอพัตราด้วย หากออกเทเวีย (ผู้แทบจะไร้ตัวตนในเรื่องนี้) นั้นเป็นตัวแทนของออกเทเวียส ซีซาร์ ก็อาจกล่าวได้วา่ ลึก ๆ นัน้ ซีซาร์ตอ้ งการยิง่ ใหญ่แบบคลีโอพัตรา (ซึง่ ภายหลังก็ได้เถลิงอํานาจขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ ได้ “แกรนด์” สมใจ อยาก) สาเหตุทซ่ี ซี าร์ทาํ ให้คลีโอพัตราเป็นหญิงชัว่ ก็เพียงเพือ่ จะปฏิเสธ
196
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ตัวตนซ่อนเร้นของตัวเอง ยิง่ ไปกว่านัน้ เรือ่ งนีเ้ ต็มไปด้วยคนเดินสาร และการบอกเล่าเรือ่ งราวผ่านตัวกลาง แอนโทนีรเู้ รือ่ งฟุลเวียตายผ่าน คนเดินสาร ความงามของคลีโอพัตราที่ลํ้ายิ่งไปกว่าภาพวาดนั้นก็มา จากคําบอกเล่าของเอโนบาร์บัส ไม่ใช่คลีโอพัตราปรากฏตัวในเรื่อง จริง ๆ ในตอนจบ ก่อนคลีโอพัตราจะฆ่าตัวตาย เธอบอกกับชาร์เมียน สาวรับใช้ของเธอว่า เธอไม่อยากให้เด็กผูช้ ายเสียงแหลมทีไ่ หนมาเล่น ละครชีวติ ของเธอ คําพูดนีก้ ลายเป็นคําพูดทีก่ ลับมาอ้างอิงตัวเองอย่าง เห็นได้ชดั เพราะในการละครสมัยอลิซาบีธนั และจาโคเบียนนัน้ ใช้ผชู้ าย เล่นทั้งหมด และใช้เด็กผู้ชายเล่นเป็นผู้หญิง3 ประเด็นเรื่องการละครได้เน้นยํ้าความไม่แน่นอนและความไม่ สมจริงของการแสดงความรัก และหากเส้นแบ่งของความจริงและการ แสดงถูกทําลาย ความรักที่เกิดขึ้นโดยไม่แสดงออกผ่านกลวิธีที่ดู เหมือนเสแสร้งจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ ตัวเรื่องชี้ให้เห็นว่า การแปะ ฉลากและมอบบทบาทสารพัดให้ตนเองและคนอืน่ ได้สร้างความสัมพันธ์ ในโครงข่ายหนึ่งและทําลายความสัมพันธ์ในอีกโครงข่าย สําหรับ อาจารย์ชาวต่างชาติทภี่ าควิชาทีผ่ เู้ ขียนทํางานอยูไ่ ด้แสดงความเห็นเกีย่ วกับการคัดนักแสดงมา รับบทคลีโอพัตราไว้อย่างน่าสนใจว่า นักแสดงชายทีเ่ ลือกมาเล่นละครในสมัยนัน้ ส่วนใหญ่จะเป็น เด็กหนุ่มเสียงยังไม่แตก เพราะเสียงจะหวานคล้ายผู้หญิง แต่บทคลีโอพัตราซึ่งเป็นหญิงที่มีอายุ พอสมควร (แต่ไม่ได้แก่) นั้นน่าจะใช้เด็กหนุ่มที่มีอายุมากกว่านั้นและน่าจะอยู่กับคณะละคร มานานพอจะเข้าใจบทที่ซับซ้อนขนาดนี้ได้ ผู้เขียนเห็นด้วย และจากการพิจารณาบริบททาง ประวัตศิ าสตร์ขอ้ นี้ เราอาจมองได้ดว้ ยว่า การแสดงเป็นคลีโอพัตราจึงไม่ใช่การแสดงเป็น “หญิง” ให้สมบูรณ์ แต่มีลักษณะกึ่งหญิงกึ่งชาย 3
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
197
ความรักและการเมืองนัน้ คลีโอพัตรานัน้ กล่าวตัดพ้อว่าแอนโทนีเล่น ละครกลั่นแกล้งเธออยู่บ่อยครั้ง ทั้ง ๆ ที่แอนโทนีมีเหตุบ้านการเมือง ต้องไปจัดการ ส่วนแอนโทนีก็ไม่อาจแยกออกว่าเธอกําลังต้อนรับ ขับสู้ทูตของซีซาร์หรือกําลังนอกใจหว่านเสน่ห์ให้ทูตกันแน่ การถอย ทัพหนีเพื่อเอาตัวรอดของคลีโอพัตราย่อมทําไปเพื่อการเอาชีวิตและ อาณาจักรของเธอให้รอด การกระทําดังกล่าวนัน้ แปลว่าเธอรักแอน โทนีหรือไม่รกั แอนโทนีกนั แน่ การแต่งงานของแอนโทนีกบั ออกเทเวีย ก็เช่นกัน (แม้ตวั เรือ่ งจะทําให้แอนโทนีดมู คี ณ ุ ธรรมมากกว่าคลีโอพัตรา ก็ตาม) นอกจากนี้ การย้ายข้างของเอโนบาร์บสั และการวางแผนของ ซีซาร์เพื่อจัดการกองโจรและยึดอํานาจไว้ที่ตนเองเป็นเครื่องยืนยัน ภาษิตทีเ่ ราได้ยนิ บ่อยครัง้ ว่า “ไม่มมี ติ รแท้และศัตรูถาวรในการเมือง” คําถามคือ แล้วความรักของแอนโทนีและคลีโอพัตราอยู่ตรงไหนใน ภาษิตนี้กันแน่ ความรักของทั้งคู่จะก้าวผ่านการเป็น “ผู้เล่น” ทาง การเมืองได้หรือไม่ หรือไม่ว่าทั้งคู่จะแสดงความรักอย่างไร ก็ไม่อาจ หนีความหมายทางการเมืองของความรักได้ ตัวเรื่องได้วิพากษ์การแปะป้ายโดยการชี้ให้เห็นว่าตัวตนนั้น ผันแปรอยูเ่ สมอ และตัง้ คําถามกับแนวคิดทีว่ า่ ความรักจะเอาชนะการ แปะป้าย ในเมือ่ เราไม่อาจแยกแยะได้วา่ ความรักทีแ่ สดงออกนัน้ เป็น รักจริงหรือรักลวง เราจะตอบได้อย่างไรว่าชั่วขณะไหนที่ความรักจะ เอาชนะการแปะป้ายได้ ชั่วขณะไหนจะพ่ายแพ้ การฆ่าตัวตายเพื่อ ความรักในเรื่องจึงเป็นวิธีเดียวที่จะแสดงอํานาจเหนือเรือนร่างของ
198
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ตนเอง แต่ในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นการพ่ายแพ้ฉลากทีม่ าตีกรอบ และควบคุมความรัก การฆ่าตัวตายของแอนโทนีนั้นไม่ใช่การฆ่า ตัวตายทีต่ ายทันทีแบบเอโนบาร์บสั ทีล่ ม้ ลงไปตายหลังจากรําพึงรําพัน เกีย่ วกับบุญคุณของแอนโทนี แต่แอนโทนีนน้ั แทงตัวตายแล้วก็ยงั พูดได้ อดทนกัดฟันให้เราเห็นก่อนจะไปสิ้นใจในอ้อมกอดของคลีโอพัตรา ที่ตนรัก ความเจ็บปวดของแอนโทนีซึ่งกินเวลานั้นสะท้อนให้เห็นทั้ง ความพยายามจะเอาชนะการแปะป้ายของรัฐ ในขณะเดียวกันก็ เปิดโปงให้เห็นความเจ็บปวดทีเ่ กิดขึน้ จากความรักสิง่ ทีอ่ ยูน่ อกกรอบ แม้คลีโอพัตราจะเป็น “หญิงต่างชาติผู้ชั่วร้าย” แต่แอนโทนีก็ยังรัก (คําพูดทีว่ า่ รักเพราะเห็นตัวตนอันแท้จริงของคนทีเ่ รารักสําหรับเรือ่ งนี้ ใช้ไม่ได้ เพราะคลีโอพัตราไม่มีตัวตนที่แท้จริง เดาไม่ได้ ภายหลัง แอนโทนีกม็ ลี กั ษณะเช่นนัน้ ด้วย) การได้อยูก่ บั คนทีร่ กั ในวินาทีสดุ ท้าย ของชีวติ จึงเหมือนเป็นชัยชนะเพียงแวบหนึง่ ทีท่ าํ ให้เกิดความสัมพันธ์ อันดีระหว่างแอนโทนีและคลีโอพัตราได้ ส่วนคลีโอพัตรานัน้ ก็ทา้ ทาย การอ่านและการตีความเกีย่ วกับอัตลักษณ์ของเธอจนถึงวินาทีสดุ ท้าย เพราะเมือ่ ซีซาร์และทูตมาพบศพ ไม่มใี ครคาดเดาได้ถกู เลยว่าเธอตาย ด้วยเหตุอะไร เหมือนเธอจากไปทัง้ ๆ ทีน่ งั่ บัลลังก์อยูเ่ ฉย ๆ ความตาย ของเธอก็เหมือนเป็นทางเลือกทีม่ าจากทัง้ ความรักแอนโทนี (เธอบอก กับบ่าวไพร่ว่าจะขอกลับไปวันแรกที่เจอกับแอนโทนีอีกครั้ง) และ ความรักตัวเอง (เธอไม่ยอมถูกหลู่เกียรติ) การจบลงโดยการพูดของ ซีซาร์วา่ คูร่ กั นีจ้ ะเป็นตํานานนัน้ ฟังดูชวนให้สบั สน เพราะท้ายทีส่ ดุ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
199
แล้ว คู่รักคู่นี้เป็นตํานานได้ด้วยเหตุใด เขารักกันอย่างราบรื่นหรือ คลีโอพัตราซือ่ สัตย์หรือ รักแท้อาจไม่ได้กนิ เวลายาวนาน แต่เป็นเพียง แค่ชวั่ ขณะจิต ทีเ่ ป็นเช่นนัน้ ไม่ได้เป็นเพราะแอนโทนีหรือคลีโอพัตรา เป็นคนชั่วร้าย แต่เป็นเพราะทั้งสองไม่อาจหนีออกจากการแปะป้าย ตัวเองได้ (แม้ว่าคลีโอพัตราจะหนีเก่งแค่ไหนก็ตาม) ความรักทีจ่ ะชนะการแปะป้ายนัน้ กลับแยกไม่ออกจากการเสแสร้ง แกล้งทํา และดูเหมือนว่าตัวตนที่ไม่มั่นคงก็ไม่อาจบันดาลให้รักแท้ เกิดขึน้ ได้ ณ ชัว่ ขณะหนึง่ ทีค่ วามรัก (ซึง่ แท้หรือแท้กไ็ ม่ร)ู้ จะเอาชนะ กรอบกฎเกณฑ์ทุกอย่างได้ ชั่วขณะนั้นอาจต้องแลกมาด้วยชีวิต ผูเ้ ขียนนึกถึงเพลงเพลงหนึง่ ทีเ่ คยฟังตัง้ แต่สมัยเรียนระดับมัธยม ศึกษา เพลงนัน้ ชือ่ เพลง “ละครรักแท้” ของวงแคลช เนือ้ หาของเพลง บอกว่า ความรักในชีวิตจริงนั้นต่างจากในละคร ซึ่งจบลงด้วยการ คลี่คลาย แต่ชีวิตของตัวเอกและคนรักนั้นมีแต่ความแปรปรวน ไม่มี บทตายตัวสําหรับตัวเอง แต่ขอให้นึกถึงเวลาดี ๆ ที่เคยมีกันเอาไว้ เนือ้ เพลงบอกว่า“บางอารมณ์ฉนั ก็เป็นตัวโกง จนเธอต้องชํา้ ปวดร้าว แล้วเลิกกัน แต่วันดี ๆ ที่สองเรากอดกันนั้นอย่าลืม” ชีวิตรักไม่เคย เป็นสิง่ ราบรืน่ ทัง้ จิตใจและวัตถุสารพันบนโลกนีเ้ ปลีย่ นแปรอยูเ่ สมอ ช่วงเวลาที่ความรักจะเอาชนะฉลากที่เราแปะตัวเองและฉลากที่คน อืน่ จะแปะให้เราได้กม็ นี อ้ ยนิด ถ้าเราต้องทําทัง้ เพือ่ ตัวเองและคนอืน่ เราจะทําเพื่อตัวเองตอนไหน เพื่อคนอื่นตอนไหน และเราจะรู้ได้ อย่างไรว่าคนคนนัน้ เขารักเราจริง ๆ ไม่ใช่เพราะผลประโยชน์ของเขาเอง
200
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ผลประโยชน์ของเขาเองนั้นบางครั้งก็ไม่ได้มาจากความต้องการของ ตัวเขาแต่เพียงอย่างเดียว แต่มาจากการกดดันของสังคมเช่นกัน ความรักจึงไม่เคยราบรื่น และไม่อาจชนะทุกสิ่ง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
201
/ Essay /
กวีภิวัฒน์
ถ้อยคําของประชาธิปไตย (?) ในกวีนิพนธ์การเมือง อาทิตย์ ศรีจันทร์
ความซํ้าซากของการเขียน
บทความชิ้นนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ผู้เขียนได้นําเสนอบทความวิชาการ “‘กวีภิวัฒน์’: ความทรงจําและการเมืองของความทรงจําเรื่องการเมืองไทย พุทธศักราช 2557 ในกวีนิพนธ์”1 ในงานประชุมวิชาการ ระดับชาติ เครือข่ายประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ภาคใต้ครั้งที่ 2 “ศาสตร์แห่งการจําและศิลป์แห่งการลืม” ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี วันที่ 25–27 สิงหาคม
อาทิตย์ ศรีจันทร์ นักเขียนนั ก วิ จ ารณ์ ว รรณกรรมไทย อาจารย์ประจําภาควิชาภาษา ไทย คณะมนุ ษ ยศาสตร์ แ ละ สั ง คมศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ราชภัฏพระนคร
2559
เหตุเกิดจากในวันก่อนทีผ่ เู้ ขียนจะขึน้ เวทีนาํ เสนอนัน้ มีโอกาสได้ฟงั ปาฐกถาเปิดงานโดย ศ.ดร.สุวรรณา สถาอานันท์ และ ศ.ดร.อรรถจักร ผูส้ นใจโปรดดาวน์โหลดไฟล์บทความและบทคัดย่อได้ที่ https://www.facebook.com/เครือ ข่ายประวัติศาสตร์-มานุษยวิทยาและสังคมวิทยาภาคใต้-1423811581261273/?fref=ts 1
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
203
สัตยานุรกั ษ์ จากนัน้ ก็เข้าร่วมฟังการนําเสนอของนักวิชาการ นักศึกษา จากห้องสัมมนาอีกหลาย ๆ ห้อง อีกทัง้ การสนทนาพบปะกับมิตรสหาย นักวิชาการหลายท่าน ผูเ้ ขียนตระหนักได้วา่ ประเด็นทีต่ วั เองได้เขียน และเตรียมมานําเสนอในครัง้ นี้ น่าจะมีสว่ นทีข่ ยายและส่วนทีต่ ดั ออก ไปได้ (ในส่วนทีต่ ดั ออกไปได้นนั้ ผูเ้ ขียนค้นพบภายหลังว่ามันไม่จาํ เป็น เอาเสียเลย อย่างไรก็ตาม มันก็ได้ถกู เขียนและตีพมิ พ์ไปแล้ว) และยังมี ประเด็นทีค่ วรจะเหลาให้แหลมคมมากขึน้ ได้เพือ่ ให้งานน่าสนใจมากขึน้ ผู้เขียนกลับมาพิจารณางานของตัวเองและพบว่ามีหลายจุดที่ บกพร่องในแง่ที่ว่าตัวงานมันควรจะขยายประเด็นให้ชัดเจนและ แหลมคมกว่านี้ได้อีก นอกจากนี้หลายจุดที่ไม่จําเป็นต้องให้นํ้าหนัก มากก็กลับให้เสียจนล้นเกิน ผูเ้ ขียนจึงได้ครุน่ คิดอย่างหนักในคืนก่อน ทีจ่ ะขึน้ เวทีนาํ เสนอและได้นาํ ข้อวิจารณ์ของผูท้ รงคุณวุฒมิ าพิจารณา ประกอบอีกครัง้ จนกระทัง่ ผูเ้ ขียนก็คดิ ว่าประเด็นเรือ่ งของการใช้ถอ้ ยคํา ในรวมบทกวีนพิ นธ์ “กวีภวิ ฒ ั น์” นัน้ มีความน่าสนใจทีจ่ ะขยายประเด็น อย่างยิง่ แต่ดว้ ยข้อจํากัดของเวลาในการคิดทบทวน จึงทําให้ในวันที่ นําเสนอผลงานนั้นมีความตะกุกตะกักอยู่พอสมควร ต่อมาในวันที่ นําเสนอก็ได้มีนักวิชาการและผู้สนใจได้กรุณาให้ความคิดเห็นและ ถามคําถามทีเ่ ป็นประโยชน์ตอ่ ชิน้ งานอย่างมาก เมือ่ จบงานผูเ้ ขียนได้ ครุ่นคิดอยู่ตลอดเวลาว่าควรทําอย่างไรต่อไป หลังจากนั้นผู้เขียนก็คิดว่าควรจะเขียนบทความสักชิ้นเพื่อเป็น ข้ อ สั ง เกตในเบื้ อ งต้ น ของรวมบทกวี นิ พ นธ์ ก ารเมื อ งชิ้ น นี้ อี ก ครั้ ง
204
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
นอกจากนี้เพื่อเป็นการขยายประเด็นของบทความที่ผู้เขียนนําเสนอ ให้กว้างออกไปอีกด้วย การเขียนบทความชิ้นนี้จึงเป็นความซํ้าซากของการเขียนของ ข้อเขียนทีไ่ ม่สมบูรณ์ บทความชิน้ นีโ้ ดยตัวมันเองได้บง่ ชีว้ า่ ผลงานของ ผู้เขียนก่อนหน้านี้มีความบกพร่องอยู่จํานวนมาก ทั้ง ๆ ที่บทความ ชิ้นนั้นควรจะสื่อสารได้อย่างสมบูรณ์ในตัวเอง แต่ผู้เขียนกลับต้อง เขียนบทความอีกหนึ่งชิ้นเพื่อขยายความบทความหนึ่งชิ้นซึ่งควรจะ เสร็จสิน้ ไปแล้ว ความซํา้ ซากในทีน่ จ้ี งึ เป็นสิง่ ทีเ่ กิดจากความไม่เอาไหน ทางวิชาการของผู้เขียนเองจึงต้องทํางานถึงสองครั้ง กวีนิพนธ์การเมืองและการชุมนุมทางการเมือง
หากจะพูดถึงการชุมนุมทางการเมืองนั้น นอกจากข้อเสนอและข้อ เรียกร้องของผูช้ มุ นุมซึง่ มารวมตัวกันด้วยเหตุผลคล้าย ๆ กัน หรือใกล้ เคียงกันนัน้ ย่อมมีองค์ประกอบอืน่ ๆ เพิม่ เติมของการชุมนุมเพือ่ ทําให้ ประเด็นและข้อเสนอของกลุม่ ถูกผลักดันและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน องค์ประกอบเหล่านั้นมีหลากหลายในเรื่องของวิธีการ แต่ทั้งหมด ทัง้ มวลก็เป็นสิง่ ทีส่ ะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมของการชุมนุมนัน้ คืออะไร ต้องการอะไร ผลผลิตทางวัฒนธรรมถือเป็นองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่งที่ช่วย ทําให้การชุมนุมทางการเมืองมีความชัดเจนในประเด็นของตัวเองมาก
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
205
ขึ้น เพราะมันเป็นได้ทั้งการส่งเสริมและถ่ายสะท้อนอุดมการณ์ทาง การเมืองของกลุม่ การชุมนุมนัน้ ๆ ผลผลิตทางวัฒนธรรมแสดงตัวออก มาหลากหลายรูปแบบ เช่น บทเพลง งานศิลปะ และงานวรรณกรรม กวีนิพนธ์เป็นรูปแบบวรรณกรรมชนิดหนึ่งที่มักใช้ในการชุมนุม ทางการเมืองอยู่เสมอ เนื่องจากมีขนาดสั้นและสื่ออารมณ์ความรู้สึก ได้ดีกว่าเรื่องสั้นและนวนิยาย กวีนิพนธ์เป็นรูปแบบของการสื่อสาร ที่สามารถบอกจุดประสงค์และข้อคิดเห็นในเรื่องการเมืองได้รวดเร็ว ในการชุมนุมทางการเมือง อีกทั้งโดยตัวมันเองแล้ว นอกจากสารที่ พยายามจะสื่อออกไป กวีนิพนธ์ยังเป็นสิ่งที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก ได้อย่างดีซึ่งเป็นสิ่งที่เหมาะกับการชุมนุมทางการเมืองที่ต้องการเร้า อารมณ์ความรู้สึกของผู้คนที่เข้าร่วมให้มีนํ้าหนึ่งใจอันเดียวกันซึ่งจะ ส่งผลให้การผลักดันข้อเสนอของกลุม่ ผูช้ มุ นุมให้ชดั เจนมากยิง่ ขึน้ ด้วย หากพูดถึงกวีนิพนธ์ในฐานะที่เป็นงานศิลปะ เราปฏิเสธไม่ได้ว่า กวีนพิ นธ์โดยตัวมันเองมีวธิ กี ารในการสือ่ สารทีแ่ ปลกแยกและแตกต่าง ไปจากภาษาชนิดอืน่ ๆ ทีม่ อี ยู่ กวีนพิ นธ์อาศัยภาษาทีส่ ละสลวย งดงาม มีท่วงทํานองที่ดึงดูดให้คนฟังและคนอ่านติดตามไปจนตลอดรอดฝั่ง ความหมายอันลึกซึ้งที่ปรากฏในกวีนิพนธ์จึงถูกส่งผ่านช่องทางของ งานศิลปะเช่นนี้นี่เอง ความลุ่มลึกของถ้อยคําจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นที่สุด ในกวีนิพนธ์ เพราะมันทําให้สิ่งที่ต้องการจะสื่อสารแตกต่างไปจาก ข้อเขียนและ/หรือภาษาขนิดอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ การพิจารณากวีนพิ นธ์การเมือง จึงเป็นสิง่ ทีท่ าํ ให้เรา
206
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ได้เห็นอุดมการณ์ ชุดความคิดทางการเมืองของกลุม่ ก้อนทางการเมือง ทีม่ ารวมตัวกันในทีต่ า่ ง ๆ ข้อเสนอและข้อคิดเห็นทางการเมืองถูกส่ง ผ่านออกมายังทีส่ าธารณะพร้อมกับอารมณ์ความรูส้ กึ ทําให้กวีนพิ นธ์ การเมืองมีความพิเศษไปจากงานเขียนทางการเมืองชนิดอื่น ๆ อย่าง เห็นได้ชัด กวีนิพนธ์ของมวลมหาประชาชน
ผู้เขียนเคยได้อภิปรายถึงที่มาของชื่อรวมบทกวีนิพนธ์ “กวีภิวัฒน์” มาแล้วในบทความที่นําเสนอที่ปัตตานี ในที่นี้จึงขอตัดข้อความบาง ส่วนมาอธิบายเพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ต่อไปข้างหน้าดังนี้ ชื่อหนังสือรวมบทกวีนิพนธ์ทางการเมือง “กวีภิวัฒน์” นั้น คํา ว่า “กวีภิวัฒน์” นั้นมาจากศัพท์ 2 คํา ผูกเข้าด้วยกัน คือ “กวี” และ “อภิวัฒน์” ซึ่งนํามาสมาสสนธิ กัน กลายเป็ น “กวี ภิ วัฒ น์ ” นัน่ เอง สิง่ ทีน่ า่ สนใจก็คอื การใช้คาํ ว่า “อภิวฒ ั น์” ทีน่ าํ มาสมาสสนธิ กับคําว่า “กวี” นั้น เป็นคําศัพท์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองไทย สมัย พ.ศ. 2475 คําว่า “อภิวัฒน์” นั้นเป็นศัพท์ที่คิดขึ้นโดยนายปรีดี พนมยงค์ ผู้ นํ า คณะราษฎรสายพลเรื อ น ที่ ม าของคํ า ว่ า “อภิ วั ฒ น์ ” นั้ น นายปรีดีได้อธิบายไว้ว่า ได้นําเอาคํา “อภิ” ที่แปลว่า “ยิ่ง, วิเศษ” นํามารวมกับคําว่า “วัฒน์” ที่แปลว่า “ความเจริญ ความงอกงาม”
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
207
เมื่อนํามารวมกันก็จะได้ความว่า “ความงอกงามอย่างยิ่ง หรืออย่าง วิเศษ” ซึง่ คําว่า “อภิวฒ ั น์” นัน้ เป็นสิง่ ทีต่ รงกันข้ามกับคําว่า “ปฏิวตั ”ิ ทีแ่ ปลว่า “การหมุนกลับ การผันแปร เปลีย่ นหลักมูล” นายปรีดี ยัง อธิบายต่อไปว่า คําว่า “ปฏิวัติ” นั้นไม่ตรงกับเหตุการณ์ในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ไม่ใช่การถอยกลับแต่เป็นการทํา ให้ก้าวไปข้างหน้า (ปรีดี พนมยงค์: 2553) เห็นได้ว่า การนําเอาคําว่า “อภิวัฒน์” มาใช้นั้น ย่อมแสดงให้ เห็นถึงความคิดประชาธิปไตยของรวมบทกวีนิพนธ์การเมืองชิ้นนี้ แต่ปัญหาใหญ่ ๆ ของกวีนิพนธ์ฉบับนี้คือหน้าตาของแนวคิดประชาธิปไตยแบบไหนกันที่สะท้อนออกมาผ่านกวีนิพนธ์เหล่านั้น แน่นอนว่าการชุมนุมทางการเมืองในกรอบแนวคิดของประชาธิปไตยนั้น ย่อมต้องการเรียกร้องสิทธิของประชาชนอันเป็นพื้นฐาน ที่สุดของหลักการประชาธิปไตย และสําหรับบริบทประเทศไทยนั้น ดูเหมือนว่าการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยนั้นดูจะไม่มีอะไรที่ไปไกลกว่า การโกง การคอร์รปั ชัน่ ซึง่ เป็นสิง่ ทีพ่ ดู ขึน้ มาเมือ่ ไรก็ลว้ นแล้วแต่เป็น ถ้อยคําทีป่ ลุกเร้าอารมณ์ของคนไทยได้มากทีเดียว ทัง้ ๆ ทีเ่ ป็นคําพูด ที่พื้นฐานที่สุด เบื้องต้นที่สุด คล้าย ๆ กับเราพูดกันว่า “พระอาทิตย์ ย่อมขึ้นทางทิศตะวันออก” คําถามต่อมาก็คือ “แล้วยังไงต่อ” อย่างไรก็ตาม บทความชิน้ นีไ้ ม่ได้มงุ่ ไปทีก่ ารพิจารณาถ้อยคําใน กวีนพิ นธ์ทมี่ คี วามสัมพันธ์กบั ท่าทีของกวีในประเด็นเรือ่ งการต่อสูเ้ พือ่ ประชาธิปไตย แต่ตอ้ งการดูถอ้ ยคําทีป่ รากฏในรวมบทกวีนพิ นธ์ชน้ิ นี้
208
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ซึง่ มีการตอกยํา้ ด้วยชุดคําซํา้ ๆ กัน และถ้อยคําเหล่านัน้ ได้มงุ่ ชีใ้ ห้เห็น หรือสะท้อนอุดมการณ์ทางการเมืองของกลุม่ การเมืองกลุม่ นีอ้ ย่างไร กวีของกวีนิพนธ์ “กวีภิวัฒน์”
บรรดากลุ่มนักเขียนและกวีที่สนับสนุน กปปส. นั้นล้วนแล้วแต่เป็น นักเขียนและกวีที่มีชื่อเสียงอยู่ในระดับแถวหน้าของเมืองไทยทั้งสิ้น มี ร างวั ล การั น ตี ม ากมาย ตั้ ง แต่ ศิ ล ปิ น แห่ ง ชาติ ซี ไรต์ ศิ ล ปาธร นอกจากนี้ยังมีบรรณาธิการ นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ในขณะนั้นซึ่งเป็นผู้เขียนบทนําของรวมบทกวี “กวีภิวัฒน์” อีกด้วย รวมบทกวีนพิ นธ์การเมือง “กวีภวิ ฒ ั น์” เล่มนีน้ นั้ ส่วนใหญ่เคย ชุมนุมร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาแล้วทั้งสิ้น โดยเฉพาะ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ดังนัน้ จึงเป็นเรือ่ งทีค่ าดได้ไม่ยาก ว่าบรรดากวีเหล่านี้ล้วนมีอดคติทางการเมืองต่อ “ระบอบทักษิณ” ทัง้ สิน้ นอกจากนี้ ในรายชือ่ กวีทงั้ หมดนัน้ ก็แทบจะเรียกได้วา่ เป็นการ ขนเอานักเขียนและกวีทั้งในอดีตปัจจุบันกว่าครึ่งของวงการวรรณกรรมไทยมาอยูใ่ นทีเ่ ดียวกันทัง้ หมดหรืออาจเรียกได้วา่ เป็นชนชัน้ นํา ของวงการวรรณกรรมนั่นเอง ในเบื้องต้นย่อมแสดงให้เห็นถึงการ “เห็นพ้องร่วมกัน” ของอุดมการณ์ทางการเมืองที่พวกเขามีร่วมกัน ในขณะนั้น หากเปิดดูหน้าสารบัญของหนังสือเล่มนี้และสํารวจดูรายชื่อ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
209
บรรดากวีทม่ี ผี ลงานอยูใ่ นเล่ม เราจะเห็นว่าพืน้ เพของกวีเหล่านีเ้ ป็นก วี ทีม่ ผี ลงานในระดับชาติและนานาชาติ เป็นนักเขียน สือ่ มวลชน ทีไ่ ด้รบั การยอมรับในตัวผลงานอย่างกว้างขวาง เช่น เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีซีไรต์ และศิลปินแห่งชาติของประเทศไทย สุรชัย จันทิมาธร พนม นันทพฤกษ์ ชมัยภร แสงกระจ่าง กวีและนักเขียนศิลปินแห่งชาติ เช่นเดียวกัน วิมล ไทรนิ่มนวล ศิลา โคมฉาย ไพวรินทร์ ขาวงาม โชคชัย บัณฑิต’ เรวัตร์ พันธุพ์ พิ ฒ ั น์ มนตรี ศรียงค์ อังคาร จันทา ทิพย์ ซึ่งล้วนแต่เป็นกวีซีไรต์ทั้งสิ้น ความน่าสนใจก็คือ ในรวมบท กวีนพิ นธ์การเมือง “กวีภวิ ฒ ั น์” นัน้ ได้รวมเอากวีและนักเขียนซีไรต์ ไว้มากที่สุดในเล่ม นอกจากนี้ยังมีนักเขียนและกวีรางวัลอื่น ๆ เช่น รางวัลศิลปาธร อย่าง ศิรวิ ร แก้วกาญจน์ สือ่ มวลชนซึง่ ในอดีตเคยมี ผลงานกวีอยูบ่ า้ ง เช่น สําราญ รอดเพชร สุมติ รา จันทร์เงา และกวี ทีม่ ผี ลงานต่อเนือ่ งมาตัง้ แต่อดีต เช่น พรชัย แสนยะมูล “เจริญขวัญ” โกสินทร์ ขาวงาม พยัต ภูวชิ ยั รูญ ระโนด บรรณาธิการระดับอาวุโส ของวงการวรรณกรรมไทยก็ปรากฏชื่ออยู่ในรวมบทกวีนิพนธ์การเมืองชิ้นนี้ด้วย คือ เจน สงสมพันธุ์ และ เรืองเดช จันทรคีรี ถ้อยคําแห่งอุดมการณ์….
ในคืนก่อนการขึ้นนําเสนอที่ปัตตานี ผู้เขียนได้ใช้เวลาทั้งคืนเพื่อ “นับ” จํานวนคําทีป่ รากฏในรวมบทกวีนพิ นธ์ชนิ้ นีว้ า่ มีคาํ ใดบ้างและ
210
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ความถีใ่ นการปรากฏตัวมีมากเพียงไร ในเบือ้ งต้น ควรอภิปรายก่อน ว่า การใช้ถอ้ ยคําเป็นชุดทีซ่ าํ้ กัน ในทางเทคนิคของวรรณกรรมนัน้ คือ การทําให้ภาพที่ต้องการจะสื่อมีความชัดเจนมากขึ้น มันคือเทคนิค ทีช่ ว่ ยทําให้สงิ่ ทีต่ อ้ งการนําเสนอทีแ่ ม้จะดูเป็นนามธรรมให้กลายเป็น รูปธรรมขึน้ มาได้ ในแง่ของความงามการซํา้ คํายังเป็นกลวิธอี กี ย่างหนึง่ ที่ช่วยทําให้กวีนิพนธ์มีความไพเราะมากขึ้นด้วย การนับจํานวนถ้อยคําต่าง ๆ ในบทความชิน้ นีเ้ ป็นการนับความถี่ ของคําที่ใช้ในรวมกวีนิพนธ์ “กวีภิวัฒน์” คํา ๆ เดียวกันอาจปรากฏ ในบทเดียวกันหลายครัง้ ผูเ้ ขียนก็นบั ทัง้ หมด เพือ่ ตอบสมมุตฐิ านทีว่ า่ การใช้คาํ ซํา้ ๆ กันคือการช่วยสร้างความคิดทีต่ อ้ งการสือ่ สารซึง่ อาจมี ลักษณะเป็นนามธรรมให้มคี วามเป็นรูปธรรมทีช่ ดั เจนมากขึน้ ผลของ การนับมีสิ่งที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ คําที่เจอความถี่มากที่สุดคือคําว่า “ประชาธิปไตย” ปรากฏอยู่ ทั้งหมด 25 แห่ง รองลงมาคือคําว่า “มวลมหาประชาชน” 22 แห่ง คําว่า “ไทย” 16 แห่ง คําว่า “นกหวีด” 14 แห่ง และคําทีเ่ กีย่ วข้อง กับอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร (เช่นคําว่า ระบอบทักษิณ/ แม้ว/ทักษิณ ชินวัตร) ปรากฏรวมกันทั้งหมด 14 แห่ง นอกจากนี้ มีคาํ ทีเ่ กีย่ วข้องกับแนวคิด/และวิธกี ารในระบอบประชาธิปไตยอยูบ่ า้ ง เช่น “การเลือกตั้ง” ปรากฏอยู่ 7 แห่ง คําว่า “ประชาชน” 11 แห่ง ถ้อยคําทีป่ รากฏอยูใ่ นรวมบทกวีนพิ นธ์ “กวีภวิ ฒ ั น์” เมือ่ นําเอา คําสําคัญที่ปรากฏอยู่ซํ้า ๆ กันนั้นเป็นการแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
211
รวมบทกวีชิ้นนี้มีความต้องการจะแสดงตนภายใต้อุดมการณ์และชุด ความคิดทีค่ อ่ นข้างน่าสนใจ เพราะแม้คาํ ว่าประชาธิปไตยทีม่ คี วามถี่ มากที่สุดในบทกวีชิ้นนี้ แต่คําสําคัญที่รองลงมาคือคําว่า “มวลมหา ประชาชน” ซึ่งถือเป็นถ้อยคําทางการเมืองที่น่าสนใจที่สุดในรอบ 10 ปีนี้ ดังนัน ้ คําถามสําคัญก็คอื คําว่า “ประชาธิปไตย” และ “มวล มหาประชาชน” มีความสัมพันธ์กันอย่างไร คํ า ว่ า “มวลมหาประชาชน” เป็ น คํ า ที่ ใช้ เรี ย กกลุ่ ม ผู้ ชุ ม นุ ม ทางการเมืองทีม่ ชี อื่ ว่า คณะกรรมการประชาชนเพือ่ การเปลีย่ นแปลง ประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยทีส่ มบูรณ์อนั มีพระมหากษัตริยท์ รง เป็นประมุข (ภาษาอังกฤษใช้ชอื่ ว่า People’s Democratic Reform Committee , แปลตามตั ว อั ก ษร คณะกรรมการประชาชนปฏิ รู ป ประชาธิปไตย, ย่อ: PDRC) ก่อตัง้ ขึน้ โดยมี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นเลขาธิการ เมือ่ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 เป็นกลุม่ การเมืองที่ มีเป้าหมายในการต่อสู้กับกลุ่มการเมืองของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยที่ถูกรัฐประหารในปี 2549 ในระยะแรกนั้น กลุ่ม กปปส. รวมตัวขึ้นจากการชุมนุมประท้วง การออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมของรัฐบาลในยุคที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อคณะรัฐบาลได้ถอน พ.ร.บ. ดังกล่าวออกจากวาระในการพิจารณา ตลอดจนยุบสภาไปแล้ว การ ชุมนุมก็ยังคงดําเนินต่อไป ด้วยแนวคิดที่ว่าต้องกําจัดอิทธิพลของ กลุม่ การเมืองของทักษิณ ชินวัตร ออกไปจากประเทศไทยให้หมดสิน้
212
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
และต้องมีการปฏิรูปก่อนเลือกตั้งเพื่อนําประเทศไปสู่การปราศจาก คอร์รัปชั่น เราอาจกล่าวได้วา่ กลุม่ กปปส. และผูส้ นับสนุนนัน้ มีแนวคิดทาง การเมืองคือไม่ยอมรับการเลือกตั้งโดยไม่มีการปฏิรูปทางการเมือง ก่อน การปฏิเสธการเลือกตัง้ ย่อมหมายถึงการปฏิเสธหลักการทีส่ าํ คัญ ที่สุดอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ที่มอบให้ประชาชนมีสิทธิ มีเสียงเท่ากันผ่านวิธีการเลือกตั้งนั้นแนวทางการต่อสู้ทางการเมือง ของกลุ่ม กปปส. มีความขัดแย้งกันในตัวเอง สิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็ คือ การชุมนุมของ กปปส. นั้นในท้ายที่สุดเป็นการเปิดโอกาสให้ กองทัพเข้ามาควบคุมสถานการณ์และทํารัฐประหาร คําทีน่ า่ สนใจอีกคําหนึง่ คือคําว่า “นกหวีด” ซึง่ ปรากฏอยูถ่ งึ 14 แห่ง ซึ่งหากพิจารณารวมบทกวีนิพนธ์ “กวีภิวัฒน์” กับการชุมนุม ของกลุ่ม กปปส. แล้ว ก็จะเห็นได้ว่า การชุมนุมของ กปปส. ไม่ได้ใช้ สีเสื้อเป็นสัญลักษณ์เฉกเช่นเดียวกับกลุ่มการเมืองอื่น ๆ ที่เคยมีมา แต่ใช้นกหวีดแทน การเป่านกหวีดจึงเป็นสัญลักษณ์ทสี่ าํ คัญของกลุม่ กปปส. นอกจากนี้ ยุทธวิธีในการต่อสู้ทางการเมืองของกลุ่ม กปปส. นัน้ ก็ประจักษ์ชดั ว่าเป็นไปด้วยความรุนแรง ทัง้ การยึดสถานทีร่ าชการ ต่าง ๆ ปิดถนน รวมถึงการทําร้ายประชาชนที่สัญจรไปมาในบริเวณ ที่ชุมนุม การใช้อาวุธปืนจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต2 2
vice versa
รายละเอียดโปรดดู “วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557” ซึ่งไล่เรียงเหตุการณ์การ
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
213
สิง่ ทีน่ า่ สนใจก็คอื คําว่า “มวลมหาประชาชน” กับ “ประชาชน” ทีป่ รากฏอยูห่ ลายแห่งในรวมบทกวีนพิ นธ์เล่มนีน้ นั้ ความแตกต่างคือ อะไร? ประชาชนถูกนับรวมอยู่ในมวลมหาประชาชนหรือไม่? นี่อาจ เป็นความกํากวมในการแบ่งแยกผูค้ นของกลุม่ อุดมการณ์แบบ กปปส. บางที ผูเ้ ขียนคิดว่า อาจต้องนิยาม “มวลมหาประชาชน” โดยเทียบ เคียงกับคําว่า “พลเมืองกัมมันตะ” ที่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโสของประเทศไทยเคยอธิบายเอาไว้ ในบทกวี “นกหวีดปฏิวัติ” โดยเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปิน แห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ของประเทศไทยนัน้ ได้ยนื ยันอย่างหนักแน่น ว่า ชมนุมของกลุ่ม กปปส. ได้อย่างละเอียด ใน https://th.wikipedia.org/wiki/วิกฤตการณ์ การเมืองไทย_พ.ศ._2556–2557 และดูการตีความเหตุการณ์เดียวกันจากเว็บไซต์ “ฐานข้อมูล การเมืองการปกครอง” ของสถาบันพระปกเกล้าใน http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title =Shutdown_กรุงเทพฯ สิง่ ทีน่ า่ สนใจก็คอื ใน “ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง” ของสถาบัน พระปกเล้านัน้ พยายามทีจ่ ะหลีกเลีย่ งการบันทึกความรุนแรงทีเ่ กิดขึน้ จากการชุมนุมของ กปปส. อย่างชัดเจน และยังให้น้ําหนักกับการชุมนุมของ กปปส. ในฐานะ “ผู้ถูกกระทํา” และ “ผู้สูญ เสีย” แม้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากฝ่ายผู้ชุมนุม กปปส. เองจะเป็นข่าวในสื่อมากมายก็ตาม เช่น กรณีการ์ด กปปส. ทําร้ายนายทหารชัน้ พันเอกเพียงเพราะยกกรวยบนถนนออก โปรดดู http:// www.thairath.co.th/content/418913 กรณีการ์ด กปปส. ทําร้ายร่างกายเจ้าหน้าทีร ่ กั ษาความ ปลอดภัยแล้วจับไปโยนทิง้ แม่นาํ้ บางปะกง http://prachatai.com/journal/2014/03/52079 การขั ด ขวางและล้ ม เลิ ก การเลื อ กตั้ ง ในปี 2557 โปรดดู http :// freedom . ilaw . or . th / the2014reportonfreedomofexpressionblockingofelection การใช้อาวุธในการชุมนุมจน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตที่หลักสี่ โปรดดู http://www.isranews.org/isranews-scoop/ item/26978-cc_26978.html
214
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
นกหวีดเป็นอาวุธ นกหวีดฉุดกระชากมาร นกหวีดกรีดวิญญาณ คือนกหวีดประชาชน (2557: 20) และ นกหวีดปฏิวัติ จะตัดสินความเป็นไทย หวีดเสียงประกาศชัย แห่งมวลมหาประชาชน (2557: 21) จากตัวอย่างดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า “นกหวีด” นัน้ เป็นเสมือน อาวุธทีใ่ ช้ในการต่อสูก้ บั ความชัว่ ร้าย จะสามารถฉุดกระชากวิญญาณ ของความเลวร้ายบรรดามีได้อย่างราบคาบ อีกทัง้ “นกหวีด” ยังเป็น เกณฑ์และมาตรฐานที่ชัดเจนถึงความเป็นไทยที่จะดํารงอยู่ต่อไปได้ โดยปราศจากความชัว่ ทัง้ ปวง ซึง่ การกําหนดกรอบของคําว่า “นกหวีด” เช่นนี้ทําให้เห็นได้อย่างหนึ่งว่า “ความคับแคบ” ของความคิดทาง การเมืองที่ปรากฏอยู่ในบทกวีชิ้นนี้นั้นมีมากเสียจนไม่สามารถหาที่ อยู่ที่ยืนให้กับความคิดทางการเมืองแบบอื่น ๆ ได้เลย อีกทั้งเพดาน ความคิดทางการเมืองก็ตํ่าเสียจนไม่รู้ว่าจะเงยหน้ามามองเห็นความ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
215
คิดแบบอืน่ ๆ ได้อย่างไร ยังมิพกั ต้องพูดว่า ลีลาและสํานวนกลอนของ บทกวีชนิ้ นีน้ นั้ ขาดความงดงามทางศิลปะอย่างไม่นา่ เชือ่ และสิง่ ทีน่ า่ ตกใจยิง่ กว่านัน้ คือ นีเ่ ป็นผลงานของศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ของประเทศไทย… การใช้ถ้อยคําใหญ่ ๆ โต ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความคิดทางการเมือง เช่นคําว่า “ประชาธิปไตย” “เลือกตั้ง” ยังปรากฏ “เพดานที่ตํ่า” เฉกเช่นเดียวกับลักษณะในข้างต้นอีกเช่นกัน ทีส่ าํ คัญ เป็นผลงานของ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ของประเทศไทยอีกคนหนึ่งด้วย นั่นคือ สุรชัย จันทิมาธร ประชาธิปไตยเพียงใบหนึ่ง ที่พวกมึงช่วยกันลงขัน เหลือฟ่อนใหญ่ได้แบ่งกัน เพื่อโกงกินประเทศไทย นี่คือ…กติกา ที่อ้างว่ามันโปร่งใส เศษเงินที่หว่านไป หวังก้อนใหญ่กลับคืนมา (2557: 22) ผูเ้ ขียนมีขอ้ สังเกตในเบือ้ งต้นก็คอื ในรวมบทกวีนพิ นธ์ชนิ้ นี้ เต็ม ไปด้วยคําใหญ่ ๆ โต ๆ มากมายที่แสดงภูมิรู้ภูมิหลังทางการเมืองของ
216
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
กวีหลายคน ในแง่หนึ่ง คือมันไม่สัมพันธ์กับความคิดที่ถ่ายทอดออก มาผ่านบทกวีเลยสักชิ้นเดียว รวมบทกวีนิพนธ์ชิ้นนี้จึงอยู่สภาวะ “ค้างเติ่ง” กับความคิดของตนเอง รวมถึงยังแลดู “งก ๆ เงิ่น ๆ” “มะงุมมะงาหรา” กับสิ่งที่กําลังเสนออีกด้วย คําใหญ่คําโต: อุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ หรือโอ้อวดและกลวงเปล่า
การหล่นถ้อยคําอันลึกซึง้ และดูเป็นถ้อยคําทีแ่ สดงให้เห็นความเท่าทัน ความเข้าใจโลกในงานวรรณกรรมนั้น สําหรับผู้เขียนมันมีความพอดี และจังหวะที่ดีในการแสดงออก การใช้ถ้อยคําที่เรียบง่าย ไม่ต้อง ลึกซึง้ ในเชิงปรัชญาทีต่ อ้ งปีนบันไดอ่านก็สามารถนําเสนอความลุม่ ลึก ได้ไม่แพ้กัน สําหรับรวมบทกวี “กวีภิวัฒน์” นั้นถ้อยคําอันลุ่มลึกต่าง ๆ นั้น นอกจากไม่ได้แสดงให้เห็นอุดมการณ์ใด ๆ ดังทีร่ วมบทกวีชนิ้ นีค้ วรจะ เป็นได้มากกว่านั้นแล้ว ยังแสดงให้เห็นความกลวงเปล่าของการใช้ ถ้อยคําเพื่อการเขียนกวีนิพนธ์การเมืองอีกด้วย ควรกล่าวว่า ชุดคําที่มักใช้ในกวีนิพนธ์ทางการเมืองนั้น เป็นชุด ถ้อยคําที่ซํ้า ๆ กัน และถูกใช้ในการต่อสู้เรียกร้องทางการเมืองใน ระบอบประชาธิปไตยแทบทั้งสิ้น ในห้องประชุมที่ผู้เขียนได้นําเสนอ ในวันนัน้ มีผสู้ นใจถามว่าทําไมจึงต้องใช้ถอ้ ยคําชุดนี้ มีขอ้ สังเกตหรือ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
217
ไม่อย่างไร ผูเ้ ขียนได้ตอบไปว่า อาจจะเป็นเพราะอิทธิพลจากงานวรรณกรรมของ “ฝ่ายซ้าย” ในอดีตซึ่งมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อวรรณกรรม การเมืองและสังคมของไทย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในวรรณกรรมยุคตุลา ทั้งหลาย อย่างไรก็ตามข้อสังเกตของผู้เขียนในประเด็นนี้ดูจะยังไม่ ตอบคําถามของผูท้ สี่ นใจฟังในวันนัน้ อีกทัง้ เวลาอันจํากัดก็ไม่อาํ นวย ให้การอภิปรายดําเนินต่อไปได้มากนัก เมือ่ ออกจากห้องประชุม ผูเ้ ขียน จึงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกันเพิ่มเติม สิง่ ทีผ่ เู้ ขียนได้สนทนากับนักวิชาการและผูส้ นใจในบทความชิน้ นัน้ ก็คือ ทําไมผู้เขียนจึงให้ความสนใจกับ “ฝ่ายซ้าย” และอิทธิพลของ เหตุการณ์เดือนตุลามากนัก ทัง้ ทีจ่ ริงแล้ว อิทธิพลของเหตุการณ์เดือน ตุลา โดยเฉพาะอย่างยิง่ กรณี 14 ตุลา 16 อาจไม่ได้มอี ทิ ธิพลใด ๆ ต่อ สังคมไทยเลยก็เป็นได้ (ในประเด็นนี้ผู้เขียนคิดว่าเป็นประเด็นที่น่า สนใจและควรถกเถียงให้เป็นเรือ่ งเป็นราวและดูเป็นเรือ่ งใหญ่มาก ซึง่ ไม่จําเป็นต่อการวิเคราะห์ใด ๆ ในบทความชิ้นนี้) ข้อสรุปที่ผู้เขียนที่ได้แลกเปลี่ยนกับนักวิชาการหลายท่านหลัง จบการประชุมวันนัน้ ก็คอื อิทธิพลของ “ฝ่ายซ้าย” และ “เหตุการณ์ เดื อ นตุ ล า” อาจไม่ ไ ด้ มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ สั ง คมไทยมากมายขนาดนั้ น โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในงานวรรณกรรม แต่ถอ้ ยคําเหล่านัน้ ล้วนแล้วแต่ เป็นถ้อยคําที่ใคร ๆ ใช้ได้ พูดได้ และเมื่อได้ใช้ถ้อยคําเหล่านั้นแล้วก็ จะเป็นการเพิ่มพลังและคุณค่าให้กับงานวรรณกรรมของตนเอง ทํา ให้ดูเป็นงานที่ลุ่มลึกและมีพลังในการสื่อสารที่รุนแรง
218
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
กล่าวให้ง่ายที่สุด คําใหญ่คําโตทั้งหลายที่พยายามแสดงให้เห็น ความลุ่มลึกของสิ่งที่ถูกเขียนออกมานั้น ในแง่หนึ่งมันอาจกลายเป็น อาภรณ์ที่ใช้ในการสวมใส่ร่างกาย ทําให้เรือนร่างดูดี เปล่งปลั่งและ สมฐานะในฐานะทีเ่ ป็นนักคิด นักเขียน กวี เป็นผูน้ าํ ทางความคิด (ใน สังคมไทยมักให้ค่าบุคคลเหล่านี้เช่นนั้นเสมอ ราวกับว่าคนไทยคิด อะไรเองไม่ค่อยเป็น) ความกลวงเปล่าของความหมายในถ้อยคําใหญ่ ๆ โต ๆ ที่อยู่ใน รวมบทกวีนิพนธ์การเมือง “กวีภิวัฒน์” นั้น น่าเสียดายว่าเป็นคําที่ ใคร ๆ ก็พูดได้ อ่านหนังสือออกเขียนหนังสือได้ก็พูดและเขียนได้ ไม่ต้องเสียเวลาคิดประดิษฐ์พลความให้เหนื่อยเมื่อยล้าใด ๆ ไม่ต้อง ใช้เวลาบ่มเพาะประสบการณ์ทางวรรณกรรมยาวนานนับสิบปีกเ็ ขียน ได้แบบนั้น และที่สําคัญคือมันเป็นถ้อยคําที่หล่นจากคนที่ได้รับการ ยอมรับจากแวดวงวรรณกรรมเป็นจํานวนมาก ๆ ผู้เขียนจึงอ่านรวม บทกวีนิพนธ์เล่มนี้ด้วยความเศร้าโศกด้วยหลายเหตุผล มันไร้ความ หมายเสียเหลือเกิน… ส่งท้าย
ข้อสังเกตเล็ก ๆ ของบทความชิ้นนี้ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่ามันเป็นได้ แค่สว่ นขยายจากบทความเดิมทีผ่ เู้ ขียนเคยได้เขียนเพือ่ นําเสนอในการ ประชุมวิชาการ ที่สําคัญที่สุดมันสะท้อนให้เห็นความล้มเหลวของ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
บรรณานุกรม เจริ ญ ขวั ญ แพรกทอง บลาฮาสสกี้ (บรรณาธิ การ). (2557). กวีภวิ ฒ ั น์. น น ท บุ รี : ก ร ะ ท่ อ ม ปณิธาน. ปรีดี พนมยงค์. (2553). คณะราษฎรกั บ การอภิ วั ฒ น์ ป ระชาธิ ป ไตย 24 มิถุนายน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แม่คําผาง. ศาสตริ น ทร์ ตั น สุ น . (2558). “บทสํารวจการ เคลื่อนไหวเพื่อทําความ เข้ า ใจผู้ ชุ ม นุ ม ในนาม กปปส. ในฐานะภาค ประชาสั ง คม”บทความ นํ า เสนอในการประชุ ม วิชาการของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53 สาขาศึกษาศาสตร์, สาขา เศรษฐศาสตร์และบริหาร ธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์ และสั ง คมศาสตร์ วั น ที่ 3–6
219
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ณ มหาวิ ท ยาลั ย เกษตร ศาสตร์ บางเขน, หน้ า 720–728.
220
ผูเ้ ขียนในการเขียนงานทีต่ อ้ งเขียนงานอีกชิน้ เพือ่ อธิบายเพิม่ เติมและ ขยายประเด็นให้มากขึน้ อย่างไรก็ตาม ผูเ้ ขียนได้แต่หวังเพียงว่าจะมี การถกเถียงในประเด็นดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นไปอีก เผื่อว่าในอนาคต ข้างหน้าสังคมไทยจะได้มีกวีนิพนธ์ทางการเมืองดี ๆ สักชิ้นที่ไม่ต้อง หล่นถ้อยคําใหญ่ ๆ โต ๆ ออกมาโดยปราศจากความหมายใด ๆ อีก
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
/ Criticism /
ความรักและปีศาจตัวอื่น ๆ บทวิพากย์ แห่งความรัก ความตาย และความบาปจากรักนั้น อนุสรณ์ ติปยานนท์
ก่ Gabriel García Márquez
ที่มา: https://www. google.co.th/search?as_ st=y&tbm=isch&hl=th &as_q=of+love+and+ other+demon&as_epq= &as_oq=&as_eq=&cr= &as_sitesearch=&safe= images&tbs=isz:m#im grc=sF9ZQzDj_9QnKM:
vice versa
อนการเสี ย ชี วิ ต ของเขาลงในปี 2014 การ์ เ บรี ย ล การเซี ย มาร์เกซ—Garbriel Garcia Marquez นักเขียนรางวัลโนเบล ชาวโคลอมเบีย (ซึ่งจะเรียกแทนตัวเขาว่ามาร์เกซในที่ต่อไป) ได้ให้ สัมภาษณ์กับนิตยสารนิวยอร์คเก้อร์—New Yorker ฉบับวันที่ 27 กันยายน ปี 1999 ถึงแรงบันดาลใจในการเขียนนวนิยายเรือ่ งหนึง่ ของ เขา ว่าไปแล้วนีอ่ าจเป็นนวนิยายชิน้ เดียวของ มาร์เกซ ทีใ่ กล้เคียงกับ บทวิพากย์ตอ่ ความเชือ่ และความศรัทธาแห่งศาสนาคริสต์ทแี่ พร่หลาย มายังดินแดนลาตินอเมริกานับตัง้ แต่ศตวรรษทีส่ บิ ห้า ในทางการเมือง นั้น มาร์เกซได้วิพากย์ถึงการต่อสู้ของผู้คนในแผ่นดินนี้กับผู้บุกรุก ไว้ในนวนิยายเรื่องเยี่ยมของเขาคือ หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว— The Hundred Years of Solitude เป็ น ที่ เรี ย บร้ อ ยแล้ ว แต่ ใ นทาง ศาสนา นวนิยายเรือ่ งความรักและปีศาจตัวอืน่ ๆ เพิง่ ได้ทาํ หน้าทีข่ อง มัน มาร์เกซเริม่ ต้นเล่านวนิยายเรือ่ งนีใ้ นบทแรก ผ่านสายตาของผูไ้ ด้ พบเห็นประจักษ์พยานสําคัญทางความเชือ่ ของผูค้ นในดินแดนแถบนี้
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
อนุสรณ์ ติปยานนท์ อาจารย์ และนักเขียน ผู้มีผลงานแปล เ กี่ ย ว กั บ ส ถ า ปั ต ย ก ร ร ม บทความ รวมเรื่ อ งสั้ น และ นวนิยายออกมาหลายเล่ม
223
ว่า บ่ายวันหนึง่ ท่ามกลางการรือ้ อารามซานตา คราร่า ในคาร์ตาเยน่า ร่างของเด็กสาวทีม่ ผี มสีทองยืดยาวหลายสิบเมตรได้ปรากฏขึน้ การพบ ร่างทีพ่ สิ ดารเช่นนีแ้ ม้จะนําความแปลกใจมาให้กบั ผูค้ นอืน่ แต่สาํ หรับ มาร์เกซแล้วมันเป็นเรื่องราวธรรมดาสามัญยิ่ง ช่วงเวลาที่เขายังเป็น เด็กเล็กอยู่นั้น ยายของเขาได้เล่าเรื่องของเด็กสาววัยสิบสองปีผู้นี้ ซํ้าแล้วซํ้าเล่า เด็กสาวผู้เป็นลูกของท่านมาร์ควิสผู้หนึ่ง เด็กสาวผู้ที่ ติดโรคพิษสุนขั บ้าโดยบังเอิญหลังถูกสุนขั จรจัดกัด เด็กสาวผูท้ เี่ ธอจะ ได้กลายเป็นผูป้ ว่ ยแต่กลับต้องเป็นผูว้ เิ ศษทีแ่ สดงอิทธิฤทธิน์ านาแทน เด็กสาวผู้นี้เองคือที่มาของนวนิยายเรื่องนี้ สิง่ ทีน่ า่ สนใจสําหรับอารัมภบทเช่นนีค้ อื ไม่เคยมีตาํ นานดังว่า ไม่ เคยมีเรื่องราวของสาวน้อยผมยาว ไม่เคยมีใครติดพิษสุนัขบ้า สอง ร้อยปีก่อนหน้าไม่เคยมีเรื่องราวเช่นนี้เกิดขึ้นที่คาร์ตาเยน่า มาร์เกซ สร้างทุกอย่างขึ้นจากจินตนาการของเขาเอง จินตนาการของ มาร์เกซ สร้าง เซียว่า มาเรีย—Sierva Maria บุตรีสาวของ มาร์ควิส เด คาซาลดูเอโร่—Marquis de Casalduero ให้เป็นเด็กสาวแสนงาม ในบทบรรยายของเขา มาร์เกซพรรณาถึง เซียว่า มาเรีย ดังนี้ “เด็กสาววัยสิบสองปี ผูไ้ ม่เคยตัดผมมาตลอดชีวติ เมื่อแรกเกิดเธอมีสายรกพันอยู่รอบคอและได้รับการคาดหวังว่าจะ เป็นนักบุญในอนาคต ร่างกายของเธอสมส่วนและแลดูดังดอกไม้ แรกผลิ ฟันของเธอเป็นระเบียบ ดวงตาใสกระจ่าง นิ้วกลมกลึง ทุกอย่างแสดงถึงผู้ที่มีสุขภาพอันสมบูรณ์”
224
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
และด้วยความงามที่ว่านี้เอง บาทหลวงคาเยตาโน่ เดลาอูด้า ผู้ ประกาศตนจะจงรักภักดีต่อพระเจ้าได้เกิดความรักขึ้น อาการคุม้ คลัง่ จากพิษสุนขั บ้าของ เซียว่า มาเรีย ถูกมองว่าเป็น ดังการถูกปีศาจสิงสู่ บิชอป เดอ คาชาเรส ส่งบาทหลวงคาเยตาโน่ เดลาอูดา้ บาทหลวงหนุม่ นิกายฟรานซิสกัน ทีเ่ พิง่ สําเร็จศาสนวิทยา มาใหม่หมาด ให้เดินทางไปต่อสูก้ บั ปีศาจร้าย หากแต่เขากลับพ่ายแพ้ ต่อมัน เขาพ่ายแพ้ต่อมันโดยสิ้นเชิง ภายใต้นวนิยายเรือ่ งนี้ มาร์เกซ เปรียบความรักเป็นดังโรคระบาด ทีแ่ พร่หลายสูก่ นั หากไม่ระมัดระวัง และในทางเดียวกันมาร์เกซเปรียบ ความรักเป็นดังปีศาจทีร่ อวันฉกฉวยเข้าครอบงําบุคคลทัง้ หลายทีเ่ ผลอ ตัวเผลอใจ ในนวนิยายเรื่องนี้อีกเช่นกัน มาร์เกซได้แสดงให้เห็นถึง การต่อสูก้ บั การติดเชือ้ ความรักด้วยการแพทย์สมัยใหม่ผา่ นทางรักษา ของนายแพทย์ อเบรนันชิโอ้—Abrenuncio และการต่อสู้ความรัก ในฐานะปีศาจผ่านทางอํานาจของบาทหลวงฟรานซิสกัน คาเยตาโน่ —Cayetano ผูเ้ ป็นตัวแทนแห่งศาสนจักร เขาได้แสดงให้เห็นถึงวิธกี าร ทั้งสองแบบในการเผชิญความเชื่อ และวิธีการทั้งสองล้วนล้มเหลว ความสัมพันธ์ระหว่าง เซียว่า มาเรีย และบาทหลวงคาเยตาโน่ ในความรักและปีศาจตัวอืน่ ๆ กินเวลายืดยาวต่อเนือ่ งไปจนถึงปี 2011 เมือ่ คริสต์จกั รออร์โธดอกซ์ในรัสเซีย ได้ประกาศแบนหนังสือสองเล่ม คือ โลลิต้า ของ วลาดิเมียร์ นาโบคอฟ และ ความรักและปีศาจตัว อืน่ ๆ ของ มาร์เกซ ด้วยเหตุผลทีว่ า่ นวนิยายทัง้ สองเรือ่ งนัน้ ก่อให้เกิด
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
225
ความฝักใฝ่ในเพศสัมพันธ์ตอ่ เด็กและก่อให้เกิดความกระอักกระอ่วน แก่ผู้อ่านทั่วไป คําว่า "romanticize perverted passions that make people unhappy” ถูกใช้อย่างชัดเจน อะไรหรือคือความกระอักกระอ่วนในนวนิยายเรื่องนี้ แน่นอน สภาวะการลุ่มหลงเด็กสาวหรือ Pedophilia อาจเป็น สภาวะทีไ่ ม่ถกู ทํานองคลองธรรมนัก แต่เด็กสาววัยสิบสองปีในดินแดน โลกใหม่หาใช่เด็กน้อยอีกต่อไป หากเราคิดคํานวนความจริงว่าสภาพ แวดล้อม ณ ขณะนั้น พวกอินเดียนมีครอบครัวตั้งแต่ผู้หญิงมีระดู ดังนัน้ ความกระอักกระอ่วนทีว่ า่ น่าจะมาจากสาเหตุอน่ื เราจะพิจารณา งานเขียนชิ้นนี้ของมาร์เกซให้ชัดแจ้งขึ้นทั้งในระดับที่ปรากฏให้เห็น อย่างสามัญและในระดับทีซ่ อ่ นเร้น ในระดับสามัญนัน้ ชือ่ ของนวนิยาย ได้ประกาศตัวของมันอย่างชัดแจ้ง มีปศี าจเกินกว่าหนึง่ ตัวในนวนิยาย เรื่องนี้และความรักคือปีศาจหนึ่งในนั้น ทําไมความรักถึงมีสภาพแห่งปีศาจ? คําถามนี้ย้อนกลับไปได้ถึง พระคัมภีรพ์ นั ธสัญญาเก่า การอ่าน Genesis ทีเ่ ล่าถึงการล่อลวงของ ปีศาจทีท่ าํ ให้มนุษย์ผเู้ ปลือยเปล่าเกิดความละอายและถูกขับออกจาก สรวงสวรรค์มีนัยของความรักและความผูกพันตามมา ทว่าหลักฐาน ของปีศาจในนามของความรักนัน้ ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในหนังสือ ชือ่ ว่า พระคัมภีรแ์ ห่งซาตาน หรือ Satan Bible ของ อันตัน้ ซานเดอร์ ลาวี่ย์—Anton Szandor LaVey นักซาตานศาสตร์สมัยใหม่ ผู้ได้ให้ สมญานามของเอกอัครสาวกปีศาจที่มีซาตานเป็นประมุขดังนี้
226
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
—อัสโมเดอุส ปีศาจแห่งห้วงอารมณ์ ASTAROTH—อัสทาโรธ ปีศาจแห่งตัณหาราคะ AZAZEL—อาซาเบล ปีศาจที่ทําให้บุรุษหลงรักอาวุธและสตรี หลงรักเครื่องประทินโฉม BALAAM—บาแลม ปีศาจแห่งความโลภ BEHEMOTH—ปีศาจที่อาศัยรูปลักษณ์ของสัตว์โดยเฉพาะช้าง BEEZLEBUB—ปีศาจอันน่าขยะแขยงที่ปรากฏกายในรูปของ แมลงวัน BILE—ไบล์ ปีศาจที่เฝ้าดูแลนรก CIMERIES—ซิเมรี่ ปีศาจที่มีพาหนะเป็นม้าดําและครอบครอง แอฟริกา COYOTE—ไคโยตี้ ปีศาจของพวกอินเดียนแดง DAMBALLA—ดัมบัลลา ปีศาจของพวกวูดู DAGON—ดาก้อน ปีศาจที่เฝ้าดูแลมหาสมุทร MORMO—มอร์โม่ ปีศาจแห่งเวทย์มนต์ MICTIAN—มิคทิอัน ปีศาจแห่งความตาย ASMODEUS
ปีศาจทั้งสิบสามตนนี้มีที่มาทั้งจากลัทธิวูดู อินเดียนแดง อัน แสดงให้เห็นว่าอันตัน้ ซานเดอร์ ลาวีย่ ์ ผูไ้ ด้รบั สมญานามว่าสันตะปาปา มืดรวบรวมมันจากตําราใดสักเล่มที่เขียนขึ้นภายหลังยุโรปตะวันตก ได้ค้นพบดินแดนโลกใหม่แล้ว
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
227
ศาสตร์แห่งปีศาจหรือปีศาจวิทยา—Demonology ของคริสเตียน นัน้ พัฒนามาจากปีศาจวิทยาของพวกยิวหรือ Jewish Demonology พวกยิวเชือ่ ว่าปีศาจนัน้ เกิดได้สองสถาน สถานแรกเกิดจากการทีป่ ศี าจ ตกจากสรวงสวรรค์ อีกสถานนั้นเกิดจากการที่มนุษย์ถูกหลอกลวง ให้ขบั จากพระเจ้า ในสมัยใกล้เคียงกับการค้นพบโลกใหม่ บาทหลวง ฟรานซิสกันชาวสเปนคนหนึ่งมีนามว่า อัลฟอนโซ่ เดอ สปิน่า— Alphonso de Spina ได้เขียนตําราปีศาจวิทยาขึน ้ ในปี 1458 ภายใต้ ชื่อ Fortalitium Fidei ตําราเล่มนี้มีทั้งหมดเจ็ดเล่มด้วยกัน และ อัลฟอนโซ่ใช้เวลาเขียนมันอยูถ่ งึ 27 ปี เล่มแรกนัน้ ว่าด้วยโทษของการ ปฏิเสธฤทธานุภาพแห่งพระเจ้า เล่มที่สองนั้นเขียนถึงโทษของการ ฝักใฝ่ในลัทธินอกศาสนา เล่มทีส่ ามนัน้ เขียนถึงโทษในการฝักใฝ่ศาสนา จูดายของชาวยิว เล่มทีส่ น่ี น้ั เขียนถึงโทษของการฝักใฝ่ในศาสนาอิสลาม เล่มทีห่ า้ นัน้ กล่าวถึงการต่อสูก้ บั พวกผีรา้ ย เล่มทีห่ กนัน้ กล่าวถึงชนิด ของปีศาจ ส่วนเล่มสุดท้ายนัน้ กล่าวถึงสภาพทีม่ นุษย์ถกู ครอบงําโดย ปีศาจและวิธีการต่อสู้กับมัน ไม่ตอ้ งสงสัยเลยว่าคูม่ อื ที่ บิชอบ คาชาเรส ใช้ตอ่ สูก้ บั ปีศาจร้าย ในตัวของ เซียว่า มาเรีย และเป็นคู่มือที่ท่านส่งต่อให้บาทหลวง คาตาเยน่า ด้วย การที่มาร์เกซจงใจให้คาตาเยน่า เป็นพระในนิกาย ฟรานซิสกันอันเป็นนิกายเดียวกับบาทหลวง อัลฟอนโซ่ เดอ สปิน่า ผู้รจนาหนังสือเล่มนี้นั้นเป็นไปเพื่อแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลความเชื่อ ต่อการต่อกรกับปีศาจของบาทหลวงในนิกายนี้
228
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
หากแต่บาทหลวง คาตาเยน่า เดลาอูรา่ แตกต่างจากบาทหลวง อัลฟอนโซ่ เดอ สปินา่ เขาพ่ายแพ้ตอ่ ปีศาจแห่งความรักอันเป็นปีศาจ ที่แสนทรมานสําหรับผู้เป็นนักบวช ปีศาจที่ครอบงํา เซียว่า มาเรีย ตามการอธิบายของบาทหลวง อัลฟอนโซ่ นั้นน่าจะประกอบขึ้นด้วยปีศาจสองตัว ตัวหนึ่งนั้นคือ ดรูด—Drude ที่มักอาศัยร่างของหญิงสาวบริสุทธิ์เป็นพาหะในการ กระทําความชั่วร้าย ส่วนปีศาจอีกตนนั้นคือ ซุคคิวบัส—Succubus อันเป็นปีศาจเพศหญิงทีค่ อยล่อลวงบุรษุ ให้ลมุ่ หลงงมงายในราคะ เมือ่ บิชอปคาชาเรสเริม่ ต้นสูก้ บั ปีศาจในตัวของเซียว่า มาเรีย เขาคงคิดว่า นี่คือสิ่งที่เขาต้องเผชิญ ทว่าภายหลังการได้พบกับเซียว่า มาเรีย ที่ อารามซานตา คราร่า ความคิดของเขาก็เปลี่ยนไป ปีศาจในตัวของ เซียว่า มาเรีย ทีน่ า่ สะพรึงกลัวกลับเป็นปีศาจนอกศาสนา เป็นปีศาจ ที่เผยให้เห็นความแตกต่างทางความเชื่อที่บรรดาผู้กําลังก่อสร้างโลก ใหม่ในดินแดนที่พวกเขาเพิ่งค้นพบต้องเอาชนะให้จงได้ ก่อนการค้นพบโลกใหม่ไม่นานนัก สเปนได้จัดตั้งการไต่สวน ศาสนาขึ้นเพื่อค้นหาบุคคลนอกรีตไม่ว่าจะเป็นยิวหรือมุสลิม บุคคล ที่ไม่ผ่านการไต่สวนศาสนาที่ว่านั้นจะถูกขับออกนอกดินแดน จําคุก หรือถูกเผาทั้งเป็น คําว่า Auto Da Fe หรือ Act of Faith คือคําที่ ได้ยินอย่างแพร่หลายเมื่อต้องพิสูจน์ความเชื่อทางศาสนา และการ ไต่สวนศาสนานั้นได้แพร่หลายมาถึงโลกใหม่ มันถูกใช้เป็นเครื่องมือ อันทรงพลังในการกําจัดบุคคลที่ไม่ต้องการอย่างลับ ๆ เริ่มด้วยการ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
229
แพร่ข่าวที่ไม่พึงประสงค์ต่อบุคคลนั้น จัดตั้งคณะลูกขุน จับกุม และ ใช้บคุ คลทีม่ อี ทิ ธิพลทางศาสนาตัดสินชีข้ าด ก่อนจะลงโทษบุคคลนัน้ ตามความต้องการซึ่งมักจบลงด้วยการเผาทั้งเป็นเพื่อไม่ให้บุคคลใด เอาเป็นเยี่ยงอย่าง เซียว่า มาเรีย นัน้ มีพเ่ี ลีย้ งเป็นทาสหญิงชาวแอฟริกนั นาม โดมิงก้า เดอ อัดวิเอนโต้ เธอเป็นชาวโยรูบา—Yoruba ชาวโยรูบานัน้ มีความเชือ่ ว่ามนุษย์ทกุ คนครอบครองวิญญาณส่วนตนทีม่ ชี อ่ื อยานโม่—Ayanmo ในอยานโม่นั้นจะบรรจุชะตากรรมของแต่ละบุคคลไว้ และหน้าที่ใน การเกิดมาของบุคคลคือการผลักดันให้อยานโม่เข้าร่วมเป็นหนึง่ เดียว กับพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดที่มีชื่อว่า โอโลลุน—Ololun การ ท่องมนตร์หรือพิธีกรรมเฉพาะคือการผลักดันให้อยานโม่ได้ตื่นตัว และเข้าใกล้โอโลลุนมากขึ้น เซียว่า มาเรีย รํ่าเรียนภาษาโยรูบันของ ชาวโยรูบาจากพี่เลี้ยงของเธอและเมื่อเธอถูกส่งไปกักตัวยังอาราม ซานตา คลาร่า เธอได้เอ่ยภาษาเหล่านี้ออกมาอย่างไม่ตั้งใจและมัน ทําให้กลายเป็นหลักฐานมัดตัวเธอว่าเธอคือบุคคลนอกศาสนาและถึง เวลาทีจ่ ะต้องลงโทษเธอในฐานะปีศาจเพือ่ ไม่ให้เธอก่อความเสียหาย แก่บุคคลอื่นได้ ฉากสุดท้ายของนวนิยายเรื่องนี้จบลงด้วยการนอนหลับไปของ เซียว่า มาเรีย ภายหลังจากทีเ่ ธอได้ตอ่ สูก้ บั ทุกสิง่ อย่างหมดแรง ไม่มี ใครพ้นอํานาจจากการตัดสินของศาสนจักรไปได้ ไม่มใี ครรอดการเป็น ปีศาจหลังการถูกลงความเห็นจากศาสนจักร ปีศาจนั้นไม่มีที่ว่างให้
230
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ได้อาศัยอีกต่อไป สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ กับ เซียว่า มาเรีย นัน้ ไม่ตา่ งจากการที่ องค์พระคริสต์ได้รบั จากทหารโรมันในช่วงสุดท้ายของชีวติ พระองค์ได้ มีแต่การฟืน้ คืนชีพใหม่เท่านัน้ ทีจ่ ะประกาศความบริสทุ ธิข์ องเธอ และ มาร์เกซได้กระทําเช่นนั้นในเรื่องเล่าของเขา เมื่อเส้นผมของเซียว่า มาเรียโผล่พ้นออกจากสุสานในอาราม ซานตา คลาร่า มาประจักษ์ ต่อสายตาของบุคคลในปัจจุบนั เธอก็ได้ฟนื้ คืนชีพอีกครัง้ แล้วในฐานะ ผูบ้ ริสทุ ธิป์ ลอดจากปีศาจแห่งการตัดสินทัง้ มวลในอดีตทีแ่ ยกเธอจาก คู่รักและพรากเธอจากชีวิตของเธอเมื่อหลายร้อยปีก่อน เราคงสรุป นวนิยายเรื่องนี้ด้วย บทขึ้นต้นของนวนิยายที่มาร์เกซนํา ถ้อยความ ของ นักบุญ โทมัส อไควนัส—Thomas Aquinas นักเทววิทยา คนสําคัญ ที่ว่า "For the hair, it seems, is less concerned in the resurrection than other parts of the body” “สําหรับเส้นผมนัน้ ราวกับไม่ขนึ้ อยูก่ บั การเป็นขึน้ ใหม่มาก เท่าส่วนอื่นของร่างกาย" —สํานวนแปลของ ชัยณรงค์ สมิงชัยโรจน์
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
231
/ Essay /
อนุสรณ์แห่งความ (เกลียดชัง) รัก (เพศเดียวกัน) ชานันท์ ยอดหงษ์
B
ลายสีรุ้งตั้งตระหง่านข้างสี่แยกใหญ่ แวดล้อมไป ด้วยสถานบริการ บันเทิง ธุรกิจท่องเทีย่ วสําหรับวิถชี วี ติ คนรัก เพศเดียวกัน และไม่หา่ งจากบรรดาร้านรวง คลับ บาร์ café restaurant หลายแห่งทั่วแบร์ลิน ที่ประดับธงหรือสติกเกอร์สีรุ้ง 6 สี อัน กลายเป็นวัฒนธรรมมวลชนรับรู้กันทั่วไปตั้งแต่ ค.ศ. 2008 ว่าเป็น สัญลักษณ์แสดงทัศนคติยอมรับเป็นมิตรกับความหลากหลายทางเพศ แต่การมีโรงแรม ร้านกาแฟ ผับบาร์ โรงภาพยนตร์ ร้านค้าเพื่อ LGBTIQ ไม่ได้เพื่อจะเลือกปฏิบัติบริการเฉพาะเพศสภาพเพศวิถีใด เท่านั้น หรือโดดเดี่ยวคนรักเพศเดียวกันออกจากสังคมชุมชนอื่น บริโภคผลผลิตกันเอง ทําเอง ใช้เอง เจริญกันเองในกลุ่ม แม้จะเป็น ที่น่าสังเกตว่า ในบรรดาเพื่อ LGBTIQ ทั้งหลาย ชายรักชายดูจะ เป็นกลุ่มที่มีพื้นที่มากอย่างเปิดเผยชัดเจนกว่าเพศสภาพเพศวิถีอื่น เช่นเดียวกับ signifier “เกย์” ที่ signified เป็นชายรักเพศเดียวกัน มากกว่าหญิงรักเพศเดียวกัน คนรักต่างเพศก็สามารถเข้าเกย์บาร์ได้
vice versa
uddy Bear
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
ชานันท์ ยอดหงษ์ นักศึกษา ปริ ญ ญาเอก สาขาประวั ติ ศาสตร์ คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
233
พิพิธภัณฑ์ LGBTIQ ก็เช่นกัน ที่ไม่ได้หวงความรู้ไว้เฉพาะ LGBTIQ Schwules Museum * พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ห อสมุ ด และจดหมายเหตุ ตั้งแต่ ค.ศ. 1985 ที่เปรียบเสมือนยานแม่รวบรวมหนังสือ งานวิจัย นิตยสาร ใบปลิว บทสัมภาษณ์ CD VDO ตลับเทป ภาพยนตร์ งาน ศิลปะ ประวัติศาสตร์การขับเคลื่อนต่อสู้เพื่อตัวตนของเพศสภาพ เพศวิถีต่าง ๆ นิทรรศการเหตุการณ์และตัวแม่ที่เกี่ยวข้องกับคนรัก เพศเดียวกันและคนข้ามเพศ เช่น กวี นักวรรณกรรม คนเขียนบท ละคร Oscar Wilde (1854–1900), ดาราหญิงรักหญิงที่เป็น gay icon และต่อต้านนาซีเช่น Marlene Dietrich (1901–1992), ผูก ้ าํ กับ ภาพยนตร์ ศิลปิน และนักเคลือ่ นไหวเพือ่ สิทธิชายรักชาย Rosa von Praunheim (1942–ปัจจุบัน) นอกเหนือจากสัญลักษณ์ * หลังชือ่ นัน้ ก็เพือ่ ประกาศจุดยืนเพือ่ ความหลากหลายทางเพศสภาพและเพศวิถี คําว่า“schwul” หรือ homosexuell ถูกแปลอย่างกว้าง ๆ ว่า gay ในความหมายสากล มีรากมาจาก schwul ของชาว Low Saxon ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 หมายถึงร้อนชืน้ อบอ้าว ต่อมาถูกนํามาใช้เป็นภาษาเยอรมันมาตรฐาน schwül ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ขณะทีบ ่ างภาษาเยอรมันท้องถิน่ ยัง ไม่ใช่เครือ่ งหมาย ̈ ) และต่อมาความหมายนีไ้ ด้นาํ ไปใช้ในสแลงทีส่ อื่ ถึงชายรักชายว่า “warmer bruder” (warm brothers) นับตั้งแต่ 1850’s ซึ่งเป็นยุคสมัยที่สําคัญต่อการก่ออัตลักษณ์คนรักเพศเดียว สมัยใหม่กันในยุโรปตะวันตก
234
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ก่อนจะเกิด stonewall riots ในนิวยอร์ค ค.ศ. 1969 ที่คนรัก เพศเดียวกันไม่ทนอีกต่อไปกับการถูกเจ้าหน้าทีร่ ฐั คุกคาม ปราบปราม รังแกและมักบุกตรวจค้นขณะที่พวกเขาและเธอกําลังเต้นรํากันอยู่ เพราะนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาคนรักเพศเดียวกัน ถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐและมีจิตผิดปรกติ เกย์บาร์ กลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายถูกสั่งปิด นักท่องเที่ยวถูกจับและประจาน บนหนังสือพิมพ์ นําไปสู่ลุกขึ้นต่อต้านตํารวจ คราวไปบุกค้นสั่งปิด เกย์บาร์ Stonewall New York เกิดจลาจลปะทะกันระหว่างเกย์ กับตํารวจจํานวนมหาศาลซึ่งเข้ามาสมทบปราบปราม และนับตั้งแต่ ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา เหตุการณ์ Stonewall Riots ถูกรําลึกในฐานะ หมุดหมายของการเคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองยุคใหม่ เสรีภาพ อิสรภาพ อัตลักษณ์และความภาคภูมใิ จในความรักเพศเดียวกันอย่าง เป็นสากล แบร์ลินเคยเป็นดินแดนที่รุ่มรวยไปด้วยวัฒนธรรมย่อยของเพศ ที่หลากหลายตั้งแต่ทศวรรษ 1850 ซึ่งประกอบสร้างอัตลักษณ์และ การเคลือ่ นไหวเกย์สมัยใหม่ แม้วา่ ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 175 จะบัญญัติให้รักเพศเดียวกันเป็นอาชญากรรมตั้งแต่ ค.ศ. 1871 ใน อาณาจักรเยอรมัน (German Reich) หากแต่สว่ นใหญ่กไ็ ม่ได้ดาํ เนินคดี ทว่าใช้เป็นเพียงเครือ่ งมือข่มขูก่ รรโชก ทัง้ เจ้าหน้ารัฐข่มขูผ่ คู้ า้ บริการ ทางเพศหรือผูค้ า้ บริการทางเพศข่มขูล่ กู ค้า นิตยสารและวารสารเกย์ ก็ยังคงขายบนแผงตามท้องถนนกระทั่งสิ้นยุคสาธารณะรัฐไวมาร์
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
235
ค.ศ. 1933 และการท่องเที่ยวเพศประเทศไวมาร์และชายขายบริการ ทางเพศก็ทําให้แบร์ลินมีสีสัน เจ้าหน้าที่ตํารวจเองก็สนับสนุนการ จัดแบ่งเขตสําหรับเกย์เพื่อความสะดวกในการรักษาความปลอดภัย และภูมิทัศน์ ทั้งบรรดานักวิชาการ นักเคลื่อนไหว นักเขียน แพทย์ นับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ก็ต่างเพียรศึกษาและเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้เพื่ออธิบายอัตลักษณ์ใหม่ที่เพิ่งปรากฏขึ้น ไปจนถึงนิยามจัด หมวดหมู่แยกประเภท เช่น นักเขียนและนักเคลื่อนไหวชาวเยอรมัน Karl Heinrich Ulrichs (1825–1895) ทีต ่ อ่ มาถูกยกให้เป็นนักทฤษฎี และผู้บุกเบิกแห่งการเคลื่อนไหวสิทธิเกย์สมัยใหม่ ก็ทําให้คําว่า “Uranian” (จากคําเยอรมัน Urning) เป็นที่รู้จักและถูกใช้อย่าง กว้างขวางในฐานะ “เพศที่ 3” หรือ “จิตวิญญาณหญิงในร่างชาย” ใน ค.ศ. 1862 ก่อนจะมีคาํ ว่า “homosexual” และ “heterosexual” โดย Karl-Maria Kertbeny (1824–1882), การแปลงเพศครั้งแรก ของมนุษยชาติ จากชายเป็นหญิงของ Lili Elbe (1882–1931) ใน ค.ศ. 1930, ไปจนถึง Dr. Magnus Hirschfeld (1868–1935) ผูเ้ สนอ ทฤษฎีว่าความปรารถนารักเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และถูกกําหนดโดยชีวภาพ เขาก่อตั้งสถาบันเพศพิทยา (the Institute of Sexual Science) เพื่ อ รวบรวมเผยแพร่ ง านวิ ช าการและ นวั ต กรรมเพื่ อ สุ ข ภาวะทางเพศและปฏิ วั ติ ท างเพศให้ เ กิ ด ความ เท่าเทียม ทัง้ ทางด้านเภสัช จิตวิทยาและบําบัดวินจิ ฉัย เช่นวิทยาการ ตู้อบทารกเพื่อผู้แปลงเพศ ทว่าทั้งหมดถูกเผาทําลายเมื่อ ค.ศ. 1933
236
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
โดยพรรคนาซี1 ในยุ ค ไรช์ ส าม ( Third Reich) ค.ศ. 1933– 1945 ภายใต้ รั ฐ เผด็จการของ Adolf Hitler เช่นเดียวกับระบอบเผด็จการในที่อื่น ๆ ร่างกายมนุษย์เป็นพื้นที่สาธารณะที่รัฐมีอํานาจควบคุมกํากับใช้สอย รัฐนาซีเองก็ตอ้ งการเพิม่ อัตราการเกิดประชากรเยอรมันเลือดบริสทุ ธิ์ อนามัยเจริญพันธุก์ ลายเป็นสิง่ สําคัญ ความรักต่างเพศจึงเป็นสิง่ จําเป็น ขณะเดียวกันรักเพศเดียวกันก็กลายเป็นตัวบัน่ ทอนความเจริญของชาติ และถูกกล่าวโทษว่าเกิดจากชาวยิวผู้ซึ่งแสวงหาทางทําลายเชื้อชาติ อารยันด้วยชีวติ ทางเพศทีเ่ บีย่ งเบน และยุคไวมาร์คอื ความเสือ่ มโทรม ทางศีลธรรมและความฟอนเฟะของสังคมเยอรมัน2 ไม่เพียงบาร์ ร้าน อาหาร และสือ่ สิง่ พิมพ์ทถี่ กู สังสัยว่าเป็นมิตรกับความหลากหลายทาง เพศถูกสั่งปิด มาตรา 175 ก็ยังเป็นกฎหมายโหดที่สามารถตีความ ได้อย่างอําเภอใจและใช้เป็นอาวุธในการกําจัดปราบปรามคนรักเพศ เดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิง่ เกย์ ทีก่ ลายเป็นกลุม่ เป้าหมายทีพ่ รรคนาซี สังหารหมู่ เพราะถูกมองว่าเป็นภัยต่ออํานาจพรรคมากกว่าเลสเบีย้ น (ยกเว้นหญิงรักหญิงในออสเตรียและที่แสดงท่าทีขัดแย้งกับพรรค) 1
,
.
:
.
:
.
Beachy Robert Gay Berlin Birthplace of a Modern Identity New York Alfred A
,
.
Knopf c2014 2 Nicole Loroff
. (
. “Gender and Sexuality in Nazi Germany”. Constellations, Vol. 3, ), pp. 49–61.
No 1 2011
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
237
แม้แต่สมาชิกพรรคที่พบว่ารักเดียวกันก็ถูกกําจัดทิ้ง มีผู้ถูกจับกุมใน ข้อหารักเพศเดียวกันประมาณ 100,000 คน และ 50,000 คนถูก พิพากษาลงโทษ ส่วนมากถูกขังคุก ประมาณ 5,000–15,000 คน ถูก ส่งไปอยูค่ า่ ยกักกันและค่ายกําจัด คนรักเพศเดียวกันตายเป็นจํานวน มหาศาล ด้วยความทรมานจากความหิวโหย ความเจ็บป่วย หรือ ความรุนแรงโหดเหีย้ มของผูค้ มุ ขัง แต่ในยุคนาซีทที่ งั้ ชายและหญิงต่าง ต้องอาศัยร่วมกับความหวาดกลัว หลบซ่อนเพศวิถขี องตนเองภายใต้ แรงกดดัน ก็มคี วามพยายามต่อต้านท้าทายอํานาจด้วยการเคลือ่ นไหว แสวงหาเครือข่ายคนรักเพศเดียวกัน มีการเปิด Literary Salon ตัง้ แต่ ประมาณ ค.ศ. 1937 ในบ้านของ Richard Schultz นักขับเคลื่อน สิทธิคนรักเพศเดียวกันในไวมาร์ ใช้เป็นทีป่ รึกษาหารือพยายามปกป้อง คนรักเพศเดียวกัน แต่เคราะห์ซา้ํ กรรมซัด หลังนาซีลม่ สลายไปพร้อมกับการพ่ายแพ้ ในสงครามโลกครัง้ ที่ 2 กองกําลังฝ่ายสัมพันธมิตรไม่เพียงปฏิเสธการ ปล่อยคนรักเพศเดียวกันออกจากค่ายกักกันเหมือนเหยื่อรายอื่น ๆ แต่ยังบังคับใช้มาตรา 175 เต็มอัตราโทษ และเมื่อแบร์ลินถูกผ่าออก เป็นเยอรมนีตะวันตกกับเยอรมนีตะวันออก ใน ค.ศ. 1949 ทัง้ 2 ฝัง่ ก็ยังสมาทานกฎหมายนี้ ในคราวปฏิรูปศีลธรรมของฝั่งตะวันออก ยังได้อธิบายว่าการรักเพศเดียวกันขัดต่อศีลธรรมอันดีและสุขภาพ ประชาชน เป็นกิจกรรมทางเพศของกากเดนเศษซากของพวกกระฎุมภี และความอ่อนแอทางศีลธรรมที่จะสั่นคลอนความมั่นคงของรัฐและ
238
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
สังคม3 มีคนรักเพศเดียวกันจํานวนมากถูกลงโทษ ในระดับเบากว่า สมัยนาซี กฎหมายนีต้ อ่ มาถูกยกเลิกไปใน ค.ศ. 1968 แต่ไม่ถกู บังคับ ใช้แล้วตัง้ แต่ ค.ศ. 1957 ถือว่าก้าวหน้ากว่าฝัง่ ตะวันตกทีม่ าตรายังคง บัญญัตอิ ยูจ่ นถึง ค.ศ. 1969 หลังจากได้รบั อิทธิพลสตรีนยิ มคลืน่ ลูกที่ 2 การเคลือ ่ นไหวเพือ่ สิทธิพลเมือง ต่อต้านสงครามในทศวรรษ 1960 ด้วยเหตุนี้จึงมี Memorial to Homosexuals Persecuted Under Nazism ตั้งแต่ ค.ศ. 008 หลังถูกมองข้ามในพิธีสาธารณะ รําลึกการสังหารหมู่ในยุคนาซีมาตลอด หลังเริ่มก่อสร้าง Memorial to the Murdered Jews of Europe ใน ค.ศ. 2003 แม้ว่าจะเป็น ประเด็นที่ถูกขับเคลื่อนมาล่าช้าเนิ่นนานประมาณ ค.ศ. 1992–1993 และแม้วา่ ความทรงจําร่วมถึงการลงโทษสังหารคนรักเพศเดียวกันจะ ปรากฏขึน้ แล้วในบริบทของการทําให้เป็นการเมืองขบวนการเคลือ่ นไหวเพื่อสิทธิคนรักเพศเดียวกันตั้งแต่ ค.ศ. 1970 ที่เยอรมันตะวันตก และสหรัฐอเมริกาเริ่มรวบรวมสะสมเอกสาร จดหมายเหตุ งานวิจัย และประวัติศาสตร์มุขปาฐะของคนรักเพศเดียวกัน4
3
.
.
:
, .
,
Jennifer V Evans The moral state Men mining and masculinity in the early
,
,
(
) ,
–
GDR German History 23 2005 3 355 370 4 Erik N Jensen The Pink Triangle and Political Consciousness Gays Lesbians
.
.“
,
:
,
,
, . ,
and the Memory of Nazi Persecution Journal of the History of Sexuality Vol 11
. / ,
/
,
. –
Nos 1 2 January April 2002 pp 319 349
vice versa
.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
239
อนุสรณ์เป็นแท่งคอนกรีตเรียบ คล้ายลูกบาศก์ขนาดใหญ่ ริม สวน Tiergarten อยูฝ่ งั่ ตรงข้ามถนน Ebertstraße กับอนุสรณ์สถาน ฆ่าล้างเผ่าพันธุย์ วิ ทีส่ ร้างเสร็จ ค.ศ. 2004 ที่ ตามความจงใจของศิลปิน คู่ผู้ออกแบบ Michael Elmgreen และ Ingar Dragset ซึ่งภายใน ลูกบาศก์มีช่องให้ส่องดูภาพยนตร์สั้นภายใต้คอนเซ็ปท์ “endless kiss” ไม่วา ่ จะเป็นชายหรือหญิงรักเพศเดียวกัน ทีเ่ ปลีย่ นทุก ๆ 2 ปี และเข้าชมได้ตลอด 24 ชัว่ โมง มันจึงไม่ใช่แค่วตั ถุคงทีห่ รือสุนทรพจน์ สวยหรู แต่ยงั เป็นความทรงจําทีม่ ชี วี ติ มีพลวัต และทรงพลัง เพือ่ ให้ เห็นว่าคนรักเพศเดียวกันต่างก็เป็นมนุษยชาติ มีประวัติศาสตร์และ ต้องเผชิญกับความทุกข์ระทมและเจ็บปวดเช่นกับเพศสภาพเพศวิถี อืน่ แต่ในความเหมือนกันนัน้ ก็ยอ่ มมีความแตกต่างหลากหลาย และ จะเป็นสัญลักษณ์ทอี่ ยูต่ รงกันข้ามกับความเกลียดชัง ไม่ยอมรับ และ การกีดกัน ตามจุดประสงค์ของมัน แต่นนั่ ก็หลังจากข้อถกเถียงว่าจะ มีเฉพาะภาพยนตร์สน้ั ชายรักชายในฐานะตัวแทนความรักเพศเดียวกัน เท่านั้นหรือไม่ เพราะในเพศวิถีนี้ก็มีหญิงรักหญิงเช่นกัน การมีของพิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์รําลึก LGBTIQ จึงไม่ใช่เพราะ พวกเขาและเธอสูญพันธุไ์ ปในยุคนาซี จึงต้องจัดเก็บรักษาบางส่วนไว้ ให้ดู หากแต่เพราะการให้คุณค่าเรื่องราว วิถีชีวิต ตัวตนของมนุษย์ ไม่วา่ จะเป็นใครก็ตาม ปรากฏผ่านพิพธิ ภัณฑ์อนุสรณ์สถาน และเพือ่ บันทึกความทรงจําร่วมและยํ้าเตือนว่า ครั้งหนึ่งรัฐเคยการกระทํา ความรุนแรงต่อประชาชนเพียงเพราะความแตกต่างหลากหลาย ขณะ
240
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เดียวกันก็เตือนใจประชาชนไม่ให้ยอมจํานนต่อการกดทับ กีดกัน เลือกปฏิบตั แิ ละใช้ความรุนแรงไม่วา่ จะโดยรัฐหรือทํากันเองเพียงเพราะ คล้อยตามไปกับลัทธิเชิดชูวรี บุรษุ ตัวบุคคล เพือ่ ไม่ให้กอ่ ประวัตศิ าสตร์ ซํา้ รอย เพราะทีผ่ า่ นมาคนรักเพศเดียวกันต่างก็ตอ้ งเผชิญความเกลียด ชังไม่ว่าจะอยู่ในระบอบการปกครองใดก็ตาม ไม่เพียงมีมายาคติอัน เลวร้ายว่าความรักเพศเดียวกันเป็นกระดูกสันหลังของพรรคนาซี แม้แต่ในตอนต้นทศวรรษ 1930 กลุ่มสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ก็ พยายามเชื่อมโยงคนรักเพศเดียวกันกับระบอบฟาสซิสต์5 ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับพิพิธภัณฑ์ นิทรรศการหลายแห่งใน ไทยซึง่ ไม่ตา่ งอะไรไปจากห้องเก็บข้าวของเครือ่ งใช้คนตายจากวัฒนธรรมศักดินา หรือห้องจัดแสดงเพื่อประกาศบารมี ความมั่งคั่งและ การเข้าถึงทรัพยากรของชนชั้นปกครองของระบอบเก่า พิพิธภัณฑ์ สถานไทยจึงเป็นได้แต่เพียงพื้นที่ให้ประชาชนเรียนรู้ชีวประวัติหรือ วีรกรรมของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะในฐานะประวัติศาสตร์ ความทรงจําของชาติ เสพประวัตศิ าสตร์เพือ่ ลืมความเป็นมนุษย์ของ ตนเอง แล้วหันไปจินตนาการถึงอดีตรุ่งโรจน์เรืองรองของพวกเขา เมือ่ ยังเป็นไพร่ทาส หรือชนชัน้ ภายใต้การปกครอง ขณะทีอ่ นุสาวรีย์ หรืออนุสรณ์สถานก็เป็นตัวแทนของรัฐที่กําลังจับจ้องคุ้มครองทาง จิตวิญญาณ มีไว้ให้ประชาชนกราบไหว้พึ่งพิงเสมือนศาลพระภูมิ 5
vice versa
.
.
,
. –
Erik N Jensen 2002 pp 319 349
.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
241
สร้างสํานึกเกรงกลัวสยบยอมแก่ประชาชน แทบจะไม่เชื่อมโยงกับ ประชาชนในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ หรือรําลึกผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากความ รุนแรงของรัฐเลย ทั้ง ๆ ที่ผ่านมา มีประชาชนมากมายถูกรัฐทําร้าย ทรมาน สังหารและพยายามฆ่าตาย
242
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
/ Essay /
“ความรัก”
ใน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ธิกานต์ ศรีนารา
บ
ทความชิ้นนี้ เป็นบททดลองนําเสนอว่าด้วย ประวัติศาสตร์ “ความคิด” เกีย่ วกับ “ความรัก” ของ พรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย (พคท.)1 แบบคร่าว ๆ โดยเริม่ ตัง้ แต่การนําเสนอความคิด ว่าด้วย “ความรัก” ของผูป้ ฏิบตั งิ านของ พคท. ในช่วงแรก ๆ ไปจนถึง การนําเสนอความคิดเดียวกันนีใ้ นช่วงหลังกรณี 14 ตุลาคม 2516 ใน ความเป็นจริง ความคิดว่าด้วย “ความรัก” ในขบวนการปฏิวตั ภิ ายใต้ การนําของ พคท. ในช่วงที่นักศึกษาและปัญญาชนหลั่งไหลเข้าสู่เขต ป่าเขาหลังกรณี 6 ตุลาคม 2519 มีประเด็นทีน่ า่ สนใจและสมควรแก่ การกล่าวถึงอีกมาก แต่คงไม่มีพื้นที่เพียงพอให้อภิปรายในที่นี้ได้ จึง จะขอนําไปอภิปรายในวาระอื่นต่อไป อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนหวังว่า ประเด็นทีจ่ ะนําเสนอต่อไปข้างหน้านี้ น่าจะทําให้ผอู้ า่ นเข้าใจประวัต-ิ ศาสตร์ “ความคิด” ว่าด้วย “ความรัก” ของ พคท. ในยุคเริ่มแรก 1
vice versa
ธิ ก านต์ ศรี น ารา ภ าควิ ช า ประวั ติ ศ าสตร์ คณะมนุ ษ ย ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ู้เขียนขอขอบคุณ ปรารถนา ผ เณรแย้ม สําหรับความสนใจ และคําชี้แนะที่เป็นประโยชน์ยิ่ง อย่างไรก็ตาม ความผิดพลาด อ่อนด้อยที่จะมีอยู่ในบทความ ชิ้ น นี้ ย่ อ มเป็ น ความรั บ ผิ ด ชอบของผู้ เ ขี ย นแต่ เ พี ย งผู้ เดียว
ต่อไปนี้จะใช้ พคท. แทน พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ตลอดบทความ
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
245
246
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
รวมทัง้ ทําให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างความคิดว่าด้วย “ความรัก” ของ พคท. ในยุคเริ่มแรกกับความคิดว่าด้วย “ความรัก” ของ พคท. ในยุคหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงไม่กี่ปีหลังกรณี 14 ตุลาคม 2516 ได้ไม่มากก็น้อย หลักฐานทีย่ นื ยันว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) พูดถึงความคิดเรือ่ ง “ความรัก” เป็นครัง้ แรก คือ หนังสือเล่มสําคัญ ชื่อ ชีวทัศน์ ที่ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร สมาชิกระดับสูงของ พคท. เขียนขึน้ ในปี 2492 ใน ชีวทัศน์, โดยการประยุกต์ใช้ “ปรัชญาวัตถุนิยม” (Dialectical Materialism), ประเสริฐ อธิบายว่า “ชีวทัศน์” หมายถึง “ความเข้าใจซึ่งมีต่อปัญหาชีวิตทุกแง่ทุกมุมในลักษณาการ ที่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันและวิวัฒนาการก้าวหน้าไป” และ “ชีวทัศน์ เช่นนี้คือปรัชญาวัตถุนิยม” ประเสริฐขยายความว่า “เรื่องของชีวิต มิใช่จะจํากัดอยู่ในวงแคบฉะเพาะในแง่ของความรักครอบครัว งาน อาชีพ งานอดิเรก การทําใจให้เป็นสุขหรืออะไรทํานองนีเ้ ท่านัน้ หาก แต่เป็นเรือ่ งกว้างขวางเกีย่ วข้องพัวพันไปรอบด้านทุกแง่ทกุ มุม เรายัง มีชวี ติ ในแง่การเมือง (Political life) ชีวติ ในแง่เศรษฐกิจ (Economic life) ชีวิตในแง่สังคม (Social life) ชีวิตในแง่วัฒนธรรม (Cultural life) และอืน ่ ๆ ชีวติ ในแง่เหล่านีเ้ กีย่ วข้องอยูก่ บั ตัวเราทัง้ สิน้ มิใช่แง่น้ี เป็นเรื่องของเรา แง่นั้นไม่ใช่เรื่องของเรา เมื่อเราเกิดมาเป็นคนแล้ว เราไม่อาจปฏิเสธชีวิตในแง่หนึ่งแง่ใดได้เลย เราจําต้องเผชิญหน้ากับ ปัญหาทั้งหมดอันมีอยู่ในมนุษย์ ปัญหาส่วนตัวของเราย่อมเกี่ยวข้อง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
247
ไปถึงปัญหาส่วนรวม” ประเสริฐยกตัวอย่างว่า “ถ้าท่านมีความรัก ความรักของท่านเกีย่ วโยงไปถึงระบอบการเมือง ระบอบเศรษฐกิจ ฯลฯ หากการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศไม่ดแี ล้ว ความรักของท่านก็ จะถูกกระทบกระเทือน ท่านจะแยกตัวเองออกจากปัญหาอืน่ ๆ อาทิ เช่น การเมืองเศรษฐกิจได้อย่างไร” แต่กระนัน้ แล้ว ประเสริฐก็เตือน ว่า “นอกจากจะมองปัญหาทุก ๆ ปัญหาและแลเห็นความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกันแล้ว ยังจะต้องเห็นทางออกแห่งปัญหาเหล่านั้นด้วย” ซึง่ สําหรับประเสริฐแล้ว นีไ่ ม่เวลาทีเ่ พียงแต่เรามานัง่ บรรยายถึงความ ทุกข์ความชั่วร้ายของโลก หากแต่ “เป็นเวลาที่เราจะต้องเปลี่ยนแปลงสังคมที่เลวให้เป็นสังคมที่ดี”2 ใน ชีวทัศน์ ประเสริฐได้อภิปรายเกี่ยวกับ “ชีวทัศน์” ในด้าน ของ “ความรัก” ผ่านข้อเขียน 3 ชิน้ ได้แก่ “กามารมณ์กบั ความรัก”, “ความรักแท้ ไม่ราบรื่น” และ “เมียรักอยู่ร่วมห้อง อย่าไว้วางใจ” ในงานเขียนชิน้ แรก ประเสริฐเสนอว่า “กามารมณ์ (Sex) เป็นธรรมชาติอย่างหนึง่ ของมนุษย์ ขึน้ ชือ่ ว่าธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ไม่มสี ง่ิ ใด ทีจ่ ะเป็นของเลวสกปรกน่ารังเกียจหรือไม่บริสทุ ธิ”์ แต่การ “ถือหลัก หาความสุขทางเซกซ์เป็นข้อใหญ่ ก็เป็นกามารมณ์ที่น่าเกลียด เป็น กามารมณ์แบบกฎุมพี” ประเสริฐไม่เห็นด้วยกับคนใน “สังคมเก่า” ทีม่ กั ถือว่า “กามารมณ์เป็นสิง่ ทีเ่ ลว” และการถือว่า “การทําความดี 2
248
ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร. ชีวทัศน์. พระนคร: ไม่ระบุชื่อสํานักพิมพ์, 2492. หน้า ก–ค.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ทีส่ ดุ ก็คอื การสละกามารมณ์ เป็นพรหมจารี” เพราะเขาเห็นว่า “สังคม ทีม่ กี ามารมณ์แต่ไม่มกี ารขูดรีดจะให้ความสุขแก่มนุษย์มากกว่าสังคม ทีไ่ ม่มกี ามารมณ์แต่เต็มไปด้วยการขูดรีด” ประเสริฐ เสนอว่า “ความ เลอะเทอะของกามารมณ์” ทีม่ อี ยูเ่ ต็มประเทศไทยจะหมดไปเอง “ถ้า เรากําจัดการขูดรีดเสีย ดังมีตัวอย่างในประเทศสังคมใหม่ทั้งหลาย” และเอาเข้าจริงแล้ว “ความคิดที่ว่ากามารมณ์เป็นของเลว เกิดจาก เหตุที่สังคมเก่ากดผู้หญิงให้ตกตํ่าเป็นวัตถุเครื่องเล่น อันเป็นเหตุให้ กามารมณ์ในสังคมเก่าเป็นกามารมณ์ทผ่ี ดิ ธรรมชาติมนุษย์” ประเสริฐ อธิบายว่า “กามารมณ์ของมนุษย์ยอ่ มแสวงความรัก ผิดกับกามารมณ์ ของสัตว์ซึ่งไม่จําเป็นต้องเกี่ยวกับความรัก กามารมณ์ในมนุษย์ถ้าไม่ ประกอบพร้อมมูลไปด้วยความรักแล้ว ก็ไม่เป็นกามารมณ์ทสี่ มบูรณ์” ดังนั้น “การที่มนุษย์ประกอบกามารมณ์โดยไม่มีความรักจึงเป็นการ ผิด ไม่ใช่มนุษยธรรม แต่เป็นเดียรฉานธรรม” สําหรับ ประเสริฐ แล้ว “ความรัก (อันบริสทุ ธิ)์ เป็นสัจจธรรม” เป็น “อัจฉริยลักษณ์ระหว่าง หญิงชาย” และเป็น “คุณชาติแห่งความดีที่ประกอบด้วยกามารมณ์ อันเกิดขึ้นระหว่างหญิงชายได้ฉะเพาะเป็นคู่ ๆ”3 ประเสริฐ อธิบายต่อไปว่า “ความรัก (ระหว่างคู่รัก) นั้น ต้อง เจือปนด้วยความรู้สึกทางกามารมณ์ด้วยเสมอ” และความรักแบบนี้ แหละคือ “ความรักทีบ่ ริสทุ ธิต์ อ่ คูร่ กั ของเรา” เนือ่ งเพราะ “ความรัก 3
vice versa
ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร. ชีวทัศน์. หน้า 112–117.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
249
ระหว่างคู่รักคือความรักใคร่ หญิงชายรักกันแล้วไม่ใคร่หามีไม่” ประเสริฐเชื่อมั่นว่า “เมื่อความใคร่ (กามารมณ์) มารวมอยู่ด้วยกับ ความรัก (คุณชาติแห่งความดี) ก็เป็นเครือ่ งรับประกันได้วา่ ความใคร่ จะต้องอยู่ในขอบเขตต์แห่งความดี กามารมณ์จะสะอาดหมดจดเป็น ของบริสทุ ธิแ์ ละสูงส่ง” ด้วยเหตุนี้ “ผูม้ คี วามรักอันแท้จริงย่อมไม่อาจ ไปเกีย่ วข้องทางกามารมณ์กบั คนอืน่ ได้อกี ” ดังนัน้ “ผูท้ มี่ คี วามรักจะ ต้องอยู่กันเป็นผัวเดียวเมียเดียว วิสัยมนุษย์จะต้องเป็นเช่นนี้ และนี่ ก็คอื หลักของชนชัน้ กรรมาชีพ” การมีหลายผัวหลายเมียหรือสําส่อน ในกามารมณ์ไม่ใช่วสิ ยั ของมนุษย์ “แต่เป็นวิสยั ของกฎุมพี—เป็นเรือ่ ง ของสังคมเก่า”4 พูดโดยสรุปก็คือ การที่เห็นว่ากามารมณ์เป็นของตํ่า เห็นว่าความรักเป็น ความทุกข์ จนกระทัง่ สลัดทิง้ กามารมณ์และความรักเสียนัน้ เป็นชีวทัศน์ของสังคมเก่า ไม่ใช่ทัศนะที่ถูก กามารมณ์และ ความรักแบบกฎุมพีเท่านั้นเป็นของตํ่าและก่อให้เกิดทุกข์ ส่วนกามารมณ์ที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์เป็นของบริสุทธิ์ และสูงส่ง ซึ่งจะอํานวยความสุขอย่างแท้จริงทั้งทางกาย และทางใจ ไม่เป็นความทุกข์แต่อย่างใด แต่กามารมณ์และ ความรักจะให้ผลสมบูรณ์เช่นนี้ได้ ก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้เข้าสู่ 4
250
ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร. ชีวทัศน์. หน้า 117–119.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
สังคมใหม่ (สังคมซึ่งสร้างโดยชนกรรมาชีพและประชาชน คนงาน)5 สําหรับข้อเขียนที่ชื่อ “ความรักแท้ ไม่ราบรื่น” นั้น โดยการ ประยุ ก ต์ ใช้ “ปรั ช ญาวั ต ถุ นิ ย ม” ประเสริ ฐ พยายามชี้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า “สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจเป็นสาเหตุสําคัญ” ที่ “ทําให้คนใน สังคมเก่ามีจิตต์ใจไม่แจ่มใส ยิ่งชนชั้นกฎุมพีด้วยแล้วยิ่งมีจิตต์ใจ ผิดมนุษย์ไปอย่างมากทีเดียว” และการที่ผู้หญิงมีฐานะตํ่ากว่าผู้ชาย ก็ยิ่ง “ทําให้ความรู้สึกระหว่างเพศเป็นไปในทางตํ่าทราม” ดังนั้น “ความรักแท้ (Real Love) จึงเกิดขึ้นได้ยากในสังคมเก่า” เพราะว่า “ความรักเป็นคุณชาติแห่งความดี ต้องอาศัยสภาพทางวัตถุที่ดี จึง เจริญงอกงามขึน้ ได้” ประเสริฐ ยืนยันว่า “วัตถุตอ้ งดีกอ่ น จิตต์ใจจึง จะดีได้ !” สําหรับเขาแล้ว “ที่เราเรียกว่า ความรักหรือความรักอัน บริสุทธิ์ ในสังคมเก่านั้น หากจะเกิดขึ้นแก่ใครบ้าง ก็เพียงแต่เผย โฉมหน้าบางส่วนของมันเท่านัน้ เอง ความรักแท้จะเผยโฉมหน้าอย่าง เต็มดวงได้ก็ฉะเพาะในสังคมใหม่ ซึ่งเราเรียกว่า ความรักในแง่วัตถุนิยม” และ ถ้าหากว่า “ผู้อยู่ในสังคมเก่าคนใดมีความรักในแง่วัตถุนิยมได้” คนผูน้ นั้ ก็ “มีลกั ษณะพิเศษอย่างมาก ๆ ทีเดียว” เพราะเหตุ ที่ว่า “ความรักแท้อันเกิดแก่คนในสังคมเก่านี้ โดยทั่วไปแล้วอย่างดี 5
vice versa
ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร. ชีวทัศน์. หน้า 119.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
251
ก็มขี อบเขตต์จาํ กัดอยูฉ่ ะเพาะคนทีต่ วั รัก” เท่านัน้ ซึง่ ก็ “นับว่าดีอยู่ ไม่น้อยแล้วสําหรับคนในสังคมเก่า” และ “แม้เพียงเท่านี้ก็ยังหาได้ ยาก” เพราะในสังคมเก่ามีแต่คนทีบ่ อกว่า “ฉันรักเธอคนเดียว” กับ คนนั้นคนนี้ไปเรื่อย “ความรักในสังคมเก่าเฟ้อยิ่งกว่าเงินอันเป็น ธรรมเนียมที่จะต้องเฟ้อในระบบเศรษฐกิจแบบเก่า”6 ในข้อเขียนชิ้นเดียวกัน ประเสริฐได้นําเสนอความคิดว่าด้วย “ความรัก” ของ พคท. ต่อผู้อ่านผ่านการอภิปรายสุภาษิตไทยที่ว่า “ความรักแท้ ไม่ราบรื่น” และความคิดที่มีความหมายตรงข้ามว่า “ความรักทีร่ าบรืน่ คือความรักจอมปลอม !” ในประเด็นแรก เขาเสนอ ว่า “ความรักเป็นสิทธิข์ องมนุษย์อย่างหนึง่ โดยธรรมชาติ มนุษย์ตอ้ ง มีสิทธิ์ที่จะรักและเก็บดอกผลแห่งความรักโดยไม่มีสิ่งใดมาขัดขวาง กีดกัน” ด้วยเหตุน้ี “ในสังคมใหม่ เช่น โซเวียต และจีนแดง ซึ่งเขา รับรองสิทธิของมนุษย์อย่างกว้างขวาง จึงพยายามทําลายอุปสรรค ของความรักทุกวิถที างเท่าทีจ่ ะทําได้ในขอบเขตต์ทไี่ ม่ขดั กับศีลธรรม ของประชาชนและสุขภาพอนามัย เพื่อปลดปล่อยความรักให้เป็น อิสระ” ซึ่งตรงข้ามกันกับ “ในสังคมเก่า” ที่ “ความรักไม่มีอิสระ ไม่มีทางออก ขวากหนามแห่งความรักวางกั้นอยู่รอบทิศหนาทึบไป เสียหมด ขวากหนามเหล่านี้ที่สําคัญที่สุดคือเศรษฐกิจ” เช่น รักกัน 6
252
ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร. ชีวทัศน์. หน้า 121–122.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
แล้วต่างคนต่างไม่มเี งินก็ยากทีจ่ ะได้แต่งงานกัน หรือ ผูห้ ญิงจนผูช้ าย รวย ผูห้ ญิงรวยผูช้ ายจน “อันนีก้ เ็ ป็นอุปสรรคทีส่ าํ คัญยิง่ ” จนทําให้ ความรักมักจะลงเอยด้วยโศกนาฏกรรมแบบต่าง ๆ ส่วนประเด็นทีส่ อง ประเสริฐ เสนอว่า มูลเหตุที่ทําให้ “ความรักที่ราบรื่นคือความรัก จอมปลอม !” นั้นก็เพราะว่าในสังคมเก่านั้น “ชนชั้นสูงหรือพวก นิสสัยนายทุน ไม่ถือความรักเป็นสําคัญ แต่ถือเงินถือเกียรติสําคัญ กว่า” ดังนั้น “การแต่งงานในสังคมเก่าที่เห็นอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่ง จะมีเกียรติใหญ่โตหรูหราถึงขนาดไหนก็ตาม ส่วนมาก (ไม่ใช่ทงั้ หมด) เป็นการแต่งงานทีไ่ ม่เกีย่ วกับความรักอันแท้จริง และควรเรียกว่าวิธซี อ้ื ผู้หญิงมากกว่าการแต่งงาน ซื้อโดยสมยอมหรือบังคับซื้อ จะออกตั๋ว รูปพันธ์หรือไม่ออก ก็มผี ลคล้ายกัน คาร์ลมารกซ์บอกว่า การแต่งงาน ในสังคมเก่าคือ โสเภณีทถ่ี กู กฎหมาย (Legal Prostitution) ความรัก จอมปลอมจึงราบรื่นดังนี้”7 มาถึงตรงนี้ เราคงเข้าใจกันแล้วว่า โดยการประยุกต์ “ปรัชญา วัตถุนิยม” (Dialectical Materialism) มาอธิบาย “ความรัก” ประเสริฐ แยกสังคมออกเป็น 2 สังคม คือ “สังคมเก่า” ซึง่ หมายถึง “สังคมศักดินา” และ “สังคมทุนนิยม” กับ “สังคมใหม่” ซึ่งหมาย ถึง “สังคมคอมมิวนิสต์” ทีม่ ี “โซเวียตและจีนแดง” เป็นต้นแบบ ถ้า 7
vice versa
ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร. ชีวทัศน์. หน้า 123–127.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
253
พูดแบบง่าย ๆ ก็ต้องบอกว่า ใน “สังคมเก่า” ไม่มี “ความรักแท้” ขณะที่ใน “สังคมใหม่” มีแต่ความรักที่ดี ดังที่ประเสริฐได้กล่าวสรุป เอาไว้ในตอนท้ายของบทความว่า เนือ่ งจากความรักแท้ในสังคมเก่า ไม่ราบรืน่ อยูเ่ สมอ นัน่ เอง เราจึงเข้าใจกันเสียว่า ธรรมดาของความรักแท้แล้วต้องไม่ ราบรื่น จนถึงกับมีสุภาษิตบอกไว้ แต่เราก็เห็นแล้วว่า การ ทีค่ วามรักแท้ไม่ราบรืน่ นัน้ มิใช่ของธรรมดา หากเป็นเพราะ ระบอบสั ง คมเป็ น อุ ป สรรคขั ด ขวางอยู่ โดยฉะเพาะคื อ เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ฉะนั้น ถ้าเราทําลายระบบสังคม เก่าอันเป็นอุปสรรคเสีย ความรักแท้จะต้องราบรื่น และ ความรักจอมปลอมก็จะไปไม่รอด กล่าวคือ เมือ่ ได้สถาปนา สังคมใหม่ให้หญิงและชายมีฐานะเศรษฐกิจมั่นคงอุดม สมบูรณ์และเป็นอิสระแก่ตัวทั่วกันแล้ว ถ้าเขารักกันเขาก็ จะแต่งงานกันได้โดยไม่ยาก การแต่งงานไม่ตอ้ งเอาเงินหรือ เกียรติมาขึ้นหน้า เพราะทุกคนมีเงินมีเกียรติอยู่แล้ว ไม่มี ใครจะเอาเงินไปฟาดหัวใครได้ หญิงจะยอมแต่งงานกับชาย ที่รักตนและตนรัก ไม่มีอํานาจใด ๆ ที่จะมาบังคับให้หญิง แต่งงานหรือไม่แต่งงาน การแต่งงานจะเกิดขึ้นด้วยความ สมัครใจจากความรักอันแท้จริง ชีวิตสมรสจะตั้งอยู่บน รากฐานแห่งความรักอันบริสทุ ธิ์ สภาพเช่นนีเ้ ขาทําไปได้ไกล
254
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
แล้วในประเทศสังคมใหม่ เช่น โซเวียต และจีนแดง8 ใน The Communist Movement in Thailand วิทยานิพนธ์ ปริญญาเอกของเขา สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เสนอว่า ชีวิทัศน์ ของ ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ถือเป็นครั้งแรก ที่นักลัทธิมาร์กซ์ไทยอธิบาย วิธคี ดิ ในเชิงปรัชญาของตนเองด้วยการยกตัวอย่างต่าง ๆ ทีม่ อี ยูใ่ นไทย นอกจากนี้ วิธีการที่ ประเสริฐ ตั้งคําถามและตีความสุภาษิตและ คํากล่าวซึง่ คนไทยส่วนมากรูจ้ กั กันดีแบบใหม่ รวมทัง้ สไตล์การเขียน ของเขาที่มีกลิ่นอายของการเทศนาของพระสงฆ์ ก็น่าจะมีส่วนอย่าง มากในการกระตุน้ ความสนใจของผูอ้ า่ นชาวไทย อย่างไรก็ตาม สมศักดิ์ ให้ข้อมูลว่า ชีวทัศน์ มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ อุดม สีสุวรรณ ผู้ซ่ึงมี ความคิดทีจ่ ะเขียนงานเกีย่ วกับความเชือ่ แบบไทย ๆ แล้วนําความคิด ดังกล่าวมาพูดคุยแลกเปลีย่ นกับเขา หลังจากทีป่ ระเสริฐให้คาํ แนะนำ� แก่อดุ มไปสองสามข้อ อุดมก็เสนอว่า ประเสริฐน่าจะลองเขียนมันขึน้ มาเองจะดีกว่า จากนั้นประเสริฐก็เขียน ชีวทัศน์ ขึ้น แม้ว่ามันจะมี อิทธิพลมาก แต่งานเขียนชิ้นนี้ก็แสดงให้เห็นว่า ประเสริฐ ไม่ได้มี ความเชีย่ วชาญมากพอในความคิด orthodoxies ของพรรค ตัวอย่าง เช่น เขารวมเอา “เจ้าทีด่ นิ ” และ “นายทุน” ทุกชนิดมารวมไว้ดว้ ยกัน ภายใต้หมวดหมู่ของ “ชนชั้นนายทุน” ซึ่งเขาอธิบายมันในฐานะ 8
vice versa
ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร. ชีวทัศน์. หน้า 128–129.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
255
“ชนชัน้ ปกครอง” และเขาระบุลกั ษณะสังคมไทยในเวลานัน้ (ปี 2492) ว่าเป็น “สังคมทุนนิยม” (เพราะที่ควรเป็นก็คือ เขาต้องเน้นยํ้าว่า ประเทศไทยยั ง คงเป็ น ประเทศ “กึ่ ง เมื อ งขึ้ น กึ่ ง ศั ก ดิ น า” และ “ชนชัน้ ปกครอง” ของสังคมแบบนี้ ประกอบด้วย “จักรพรรดิน ยิ ม” และ “เจ้าทีด่ นิ ”) ในความเป็นจริง มีขา่ วลือในหมูฝ่ า่ ยซ้ายว่า ต้นฉบับ หนังสือของประเสริฐ ถูกลงความเห็นโดยกองบรรณาธิการสาํ นักพิมพ์ มหาชนว่ามีเนื้อหาที่ผิดพลาดบางส่วน และพวกเขาได้ช่วยแก้ไขให้ ถูกต้องขึ้นก่อนที่จะทําการจัดพิมพ์เป็นหนังสือ9 ดูเหมือนว่าประเสริฐจะไม่ใช่สมาชิกพรรคเพียงคนเดียวที่ให้ ความสําคัญกับการเคลื่อนไหวทางความคิดเรื่อง “ชีวทัศน์” ในด้าน “ความรัก” ของ “มวลชน” เพราะ “นายผี” หรือ อัสนี พลจันทร สมาชิกพรรคอีกคน ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ให้ความสําคัญกับเรื่องนี้ ดังจะ เห็นว่า ในช่วงปลายปี 2492 “นายผี” ได้เขียนบทกวีทชี่ อื่ “อันความ รักแท้แน่ฉะนี้อยู่ที่ไหน” ลงเผยแพร่ใน อักษรสาส์น ฉบับเดือน พฤศจิกายน 2492 ในบทกวีชนิ้ นัน้ “นายผี” เสนอว่า “ความรักแท้” ไม่ใช่การนึกถึงแต่ความสุขของตัวเองโดยไม่สนใจผูอ้ นื่ ทีก่ าํ ลังตกทุกข์ ได้ยาก “ความรักแท้” ต้องมีคณ ุ ประโยชน์ตอ่ คนทัว่ ไป ไม่ใช่แต่เพียง ต่อตัวเราหรือคนทีเ่ รารัก และก็ไม่ใช่ความ “รักชาติศาสนา” ทีม่ กั จะ 9
, “The Communist Movement in Thailand.” Ph.D.Dis, ., . – .
Somsak Jeamteerasakul
sertation Monash University 1993 p 269 270
256
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เอามาเป็นข้ออ้างในการกล่าวหาว่าคนอืน่ ไม่รกั ชาติศาสนาด้วย สําหรับ “นายผี” แล้ว “ความรักแท้” คือ ความรักใน “ผองคนไพศาลสรรพ์ ชั้นเราเอง” รักอะไรไม่แน่แท้คือใคร่ รักเร้าให้เห็นตนก่อนคนหลาย คนอื่นอื่นดื่นดาดอาจจะตาย ตัวเราหายทุกข์เป็นสุขพอ ความรักแท้คือที่มีคุณทั่ว ใช่แต่ตัวตนเราฤาเขาหนอ ใช่รักชาติศาสนาทําบ้าบอ คือใช่ข้อเขี่ยบ้าล่าลี้ไป ความรักแท้แน่ฉะนี้มีอยู่หนึ่ง ที่จะทึ้งทุกระทมที่ถมใส่ คือความรักอันรึงสึงแน่ใน ผองคนไพศาลสรรพ์ชั้นเราเอง10
นายผี (อัสนี พลจันทร), “อันความรักแท้แน่ฉะนี้อยู่ที่ไหน” ใน ประสาน (อุดม สีสุวรรณ). สารแด่นิด. กรุงเทพฯ: กลุ่ม “ดรุณีเหล็ก”, 2517, หน้า 24–26. 10
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
257
ในปี 2495 หลังจากหนังสือ ไทยกึ่งเมืองขึ้น ที่เสนอว่า สังคม ไทยเป็นสังคม “กึง่ เมืองขึน้ กึง่ ศักดินา” ปรากฏขึน้ เป็นครัง้ แรกในปี 11 2493 นั้น อุดม สีสุวรรณ สมาชิกระดับสูงของ พคท. ในขณะนั้น ก็ เขี ย น ชี วิ ต กั บ ความใฝ่ ฝั น ออกมาอี ก เล่ ม โดยใช้ น ามปากกา “บรรจง บรรเจอดศิลป์” ใน ชีวิตกับความใฝ่ฝัน ซึ่งเขียนขึ้นเพื่อให้ คําแนะนําเกีย่ วกับการมองโลกและชีวติ แก่ “เยาว์” ซึง่ เป็นสัญลักษณ์ ของ “เยาวชน” (ที่เป็นผู้หญิง) นั้น อุดมได้นําเสนอความคิดเรื่อง “ความรัก” ไว้เล็กน้อยว่า ถ้าเยาวชนอยากสร้างความใฝ่ฝนั ทีย่ งิ่ ใหญ่ ก็จะต้องมองโลกให้กว้างขึ้น เขาอธิบายว่า ถ้าหากพิจารณาในแง่ สังคมแล้ว เราไม่ได้อยูใ่ นโลกโดยลําพัง คําว่า “อยูใ่ นโลกโดยลําพัง” นัน้ จะพบเห็นได้แต่ในนวนิยายรัก ๆ โศก ๆ ของ “บุรษุ ผูอ้ อ่ นแอ” ที่ การสูญเสียคนรักของเขาไปเท่ากับการสูญเสียโลกไปทัง้ โลก โลกของ เขาก็คอื “คูร่ กั ” หรือ “แก้วตา” ทีเ่ ขาจะ “เก็บ” ไว้กอด ไว้จบู และ อุดม สีสวุ รรณ อธิบายว่า นับตัง้ แต่การทําสนธิสญ ั ญาบาวริง่ กับอังกฤษใน พ.ศ. 2398 เป็นต้นมา สังคมไทยก็กลายเป็นสังคม “กึง่ เมืองขึน้ กึง่ ศักดินา” ทีด่ า้ นหนึง่ การรุกรานของจักรพรรดินยิ ม เฉือนเอาแผ่นดินไทยไปเป็นเมืองขึ้นของตน คุกคามทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ทําให้ประเทศไทยต้องตกอยูใ่ นฐานะ “กึง่ เมืองขึน้ ของจักรพรรดินยิ ม” ขณะทีอ่ กี ด้านหนึง่ การ รุกรานของจักรพรรดินิยมได้ทําให้รากฐานทางเศรษฐกิจของระบอบศักดินาไทยต้องสลายตัวลง สร้างเงื่อนไขและโอกาสให้แก่การผลิตแบบทุนนิยมในสังคมไทย ผลักดันให้สังคมไทยก้าวออก จากระบอบศักดินามาเป็น “กึง่ ศักดินา” ดูรายละเอียดใน อรัญญ์ พรหมชมพู. ไทยกึง่ เมืองขึน้ . กรุงเทพฯ: มหาชน, 2493. หรือ อรัญญ์ พรหมชมพู. เส้นทางสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ อักษร, 2522. 11
258
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เป็น “เครื่องจักรที่มีจิตใจ” สําหรับคลอดลูกไว้กับตระกูล ตลอดจน รับใช้เขาเยี่ยงทาสที่จงรักภักดีคนหนึ่งเท่านั้น อุดมแนะ “เยาว์” ต่อ ไปว่า “คนเราเป็นสัตว์สงั คม เราไม่อาจดํารงชีวติ อยูโ่ ดยปราศจากคน อื่น ๆ คือสังคมได้ ฉะนั้นเธอจะต้องมองโลกคือมองสังคมมนุษย์ให้ กว้างขวาง เพราะตัวของมันเองเป็นสิง่ ทีก่ ว้างขวางอยูแ่ ล้ว” การมอง โลกกว้างหรือแคบเป็นสิ่งที่คนเราได้มาจาก “ประสบการณ์”12 อุดม ยังได้แนะนํา “เยาว์” ของเขาด้วยว่า เมื่อเยาว์เติบโตขึ้น ด้วยบทเรียนจากชีวิตของเยาว์เอง และได้ความรู้จากหนังสือทั้งปวง เยาว์กจ็ ะรูว้ า่ คําว่า “คน” นัน้ เป็นเพียงนามธรรม คําว่าคนทีเ่ ป็นรูป ธรรมนัน้ ย่อมแบ่งออกไปหลายอย่าง เช่น คนมีและคนจน คนทีก่ ดขี่ และคนทีถ่ กู กดขี่ คนทีข่ ดู รีดกับคนทีถ่ กู ขูรดี เยาว์ “จะรูจ้ กั ความรัก และความชังที่มีความหมายกว้างออกไป” จะรู้จักคําว่า “มิตรและ ศัตรู” รูจ้ กั คําว่า “ประชาชน ชนชัน้ ” ซึง่ จะทําให้ เยาว์ มองเห็นภาพ ของสังคมมนุษย์ที่กว้างและละเอียดมากขึ้น อุดมแนะว่า “การมอง โลกและสังคมด้วยสายตาอันกว้างขวาง ย่อมทําให้จติ ใจของเรากว้าง ขวาง” และ “จิตใจอันกว้างใหญ่ที่เกิดจากการมองโลกด้วยสายตา อันกว้างขวางนั้น ย่อมทําให้เธอระลึกถึงคนอื่น ในขณะที่เธอนึกถึง ตัวเธอเอง เธอจะมองเห็นว่า ชะตากรรมของเธอกับของคนอืน่ มีสว่ น สัมพันธ์กัน” และในที่สุด 12
vice versa
บรรจง บรรเจอดศิลป์. ชีวิตกับความใฝ่ฝัน. กรุงเทพฯ: มติชน, 2536. หน้า 47–48.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
259
เยาว์ ด้วยจิตใจอันกว้างขวางเยี่ยงมหาสมุทรเช่นนี้ ถ้าเธอ มีความรัก ความรักของเธอย่อมจะแผ่กว้างออกไปสูผ่ ทู้ ไี่ ม่ได้ รับความเป็นธรรมจากสังคม และถ้าเธอมีความชัง ความชัง ของเธอมิได้เริม่ และคิดจากผลประโยชน์ของเธอแต่ผเู้ ดียว13 ในปี 2498 อุดม ใช้นามปากกาว่า “ประสาน” เขียนคอลัมน์ “ไขปัญหา” ในนิตยสาร ปิตภุ มู ิ คอยตอบคําถามทีผ่ อู้ า่ นทางบ้านถาม มาตัง้ แต่เรือ่ งยากในระดับทฤษฎีทางการเมืองไปจนถึงเรือ่ งรัก ๆ ใคร่ ๆ ของคนหนุ่มสาว14 และเขียนความเรียงเรื่อง “สารแด่นิด” ที่ต่อมา จะถูกพิมพ์เป็นหนังสือครั้งแรกในปี 2500 โดยสํานักพิมพ์ปิตุภูมิ เนื่องในโอกาส “วันสตรีสากล 8 มีนาคม 2500”15 ใน สารแด่นดิ “ประสาน” หรือ อุดม เริม่ ต้นด้วยการอธิบายว่า “ความรักเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึง่ ของธรรมชาติ” ความรักระหว่าง คน “ตรงกัน” กับความรักระหว่างสัตว์อยู่อย่างหนึ่ง “เมื่อพิจารณา ในแง่ธรรมชาติแห่งการสืบพันธุ์ ธรรมชาติได้กาํ หนดให้แก่มนุษย์ ซึง่ ก็เช่นเดียวกันกับที่ได้กําหนดให้กับสัตว์ ในการแสวงหาความรักโดย มีจดุ มุง่ หมายสืบเชือ้ ชาติออกไปเพือ่ มิให้ดบั สูญ” แต่ความรักระหว่าง บรรจง บรรเจอดศิลป์. ชีวิตกับความใฝ่ฝัน. หน้า 48–49. บรรจง บรรเจิดศิลป์. ไปเขมร บันทึกถึงชาวกัมพูชาที่ลุกขึ้นสู้เพื่อมาตุภูมิ. หน้า 100–101. 15 ประสาน. สารแด่นิด. กรุงเทพฯ: กลุ่ม “ดรุณีเหล็ก”, 2517. 13 14
260
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
คนก็ต่างจากความรักระหว่างสัตว์ตรงที่ “มนุษย์รู้จัก การทํางาน (Labour)” สัตว์ประพฤติรักด้วยแรงแห่งความใคร่ แต่ถ้าคนเรา ประพฤติรกั ด้วยแรงแห่งความใคร่ โดยปราศจากความยัง้ คิดและความ ละอายแล้ว “ก็เท่ากับลดตัวเองลงเป็นสัตว์” แต่ถ้าหากว่าความรัก ของมนุษย์เป็นการแสดงออกอย่างหนึง่ ของความใคร่ หรือมีสว่ นหนึง่ ของความใคร่คลุกเคล้าอยู่ “ความใคร่นี้ก็ต้องและพึงต้องสูงส่งกว่า ความใคร่ของสัตว์” อุดม เสนอว่า “การทํางานทําให้คนต่างกว่าสัตว์ สูงส่งกว่าสัตว์ ประเสริฐกว่าสัตว์ ดํารงชีวติ อย่างปราณีตและมีความ หมายยิง่ กว่าสัตว์ โดยรวมกันอยูใ่ นชมรมทีเ่ ราเรียกว่า สังคม”16 ตาม คําอธิบายของ อุดม สังคม คือผลิตผลแห่งการทํางานของมนุษย์แห่งแรงงานของ มนุษย์ สังคมเป็นสัญลักษณ์ที่สําคัญที่สุดที่แสดงถึงความ แตกต่างในการดํารงชีวิตระหว่างคนกับสัตว์ แรงงานของมนุษย์ ได้สร้างสังคมมนุษย์ขึ้นมา และ ความรักอันเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึง่ ของสังคมมนุษย์นนั้ โดยธาตุแท้ของมันแล้วก็ยอ่ มจะกําหนดด้วยสังคมมนุษย์ซงึ่ ดํารงอยู่ และจะคลีค่ ลายต่อไปด้วยแรงงานของมนุษย์เอง17 16 17
vice versa
ประสาน. สารแด่นิด. หน้า 10–14. ประสาน. สารแด่นิด. หน้า 14.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
261
เพราะเหตุที่ความรักถูกกําหนดโดยสังคมมนุษย์ อุดมจึงให้คํา อธิบายที่ซับซ้อนขึ้นไปอีกว่า ความรัก เป็นผลสะท้อนอย่างหนึ่งของสังคม สังคมมีอดีต ปัจจุบนั และอนาคตอย่างไร ความรักก็มอี ดีต ปัจจุบนั และ อนาคตอย่างนัน้ ” เขาเสนอว่า “คนเราไม่อาจดํารงชีวติ อยู่ อย่างโดดเดี่ยว คนเราต้องเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม สังคมซึง่ มีเศรษฐกิจเป็นพืน้ ฐาน สังคมซึง่ มีทมี่ า ทีเ่ ป็นอยู่ และทีเ่ ป็นไปของมัน สังคมซึง่ บางส่วนกําลังเสือ่ มสลาย และ บางส่วนกําลังเจริญเติบโต” และด้วยเหตุทค่ี นเราอยูใ่ นสังคม “ความรู้สึกนึกคิดของคนเราก็ย่อมจะกําหนดด้วยสภาพ ความเป็นจริงของสังคม พร้อมกันนั้น ก็สะท้อนภาพความ เป็นจริงของสังคมด้วย” ตัวอย่างเช่น คําว่า “เป็นของ” ใน ประโยคที่ว่า “โปรดเป็นของผมเถิด ยอดรัก” ก็มีอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของมันเช่นกัน ดังจะเห็นว่า “มนุษย์ เราในสมัยบุพกาล ไม่รู้จักเอาสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเป็นของตน โดยเฉพาะ ถ้าหากจะมีสิ่งใดแล้วสิ่งนั้นเป็นของส่วนรวม เป็นของชมรม มนุษย์เราขณะนัน้ ถ้าแยกกันเป็นเอกเทศอยู่ กันโดยลําพัง เขาจะไร้กําลังที่จะต้านทานการคุกคามของ ธรรมชาติ และจะต้องอดทนโดยขาดแคลนอาหาร ธรรมชาติบังคับให้มนุษย์เราแต่แรกเริม่ รวมกันเป็นก๊กเป็นเหล่า
262
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เป็นหมูเ่ ป็นชมรม” ในสังคมแบบนี้ “การต่อสูเ้ พือ่ ทีจ่ ะดํารง ชีพต่อไป เป็นปัญหาสําคัญที่สุด ส่วนความรัก เป็นเพียง ส่วนประกอบของชีวติ และปฏิบตั ไิ ปตามความต้องการของ ธรรมชาติ18 มาถึงตรงนี้ อุดมอธิบายว่า ในสังคมบุพกาล ขณะนั้น ชายและหญิงมีความเสมอภาคกัน แน่นอนเป็น ความเสมอภาคแบบบุพกาล อันกําหนดโดยเงื่อนไขทาง เศรษฐกิจและสังคมขณะนั้น แต่ครั้นสังคมได้คลี่คลายขยายตัวออกไป จากสังคมที่ ปราศจากชนชัน้ เป็นสังคมแห่งชนชัน้ จากสังคมทีป่ ราศจาก การกดขี่ขูดรีด เป็นสังคมแห่งการกดขี่ขูดรีด จากสังคมที่ ปราศจากการถือสิทธิใ์ นปัจจัยแห่งการผลิตเป็นของส่วนตัว ไปเป็นสังคมแห่งการถือกรรมสิทธิส์ ว่ นตัว จากนีเ้ อง, ความ เหลื่อมลํ้าตํ่าสูงระหว่างมนุษย์ก็ได้เกิดขึ้น ครั้ น แล้ ว ความรั ก อั น เป็ น ผลิ ต ผลของสั ง คมนั้ น ก็ พลอยแปรเปลี่ยนไปด้วย ! 18
vice versa
ประสาน. สารแด่นิด. หน้า 17–19. เน้นดําโดยผู้เขียน
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
263
ถ้าหากว่า วัตถุปัจจัยการผลิต (Means of Production) ต้องตกเป็นของชนชัน ้ หนึง่ โดยอีกชนชัน้ หนึง่ ต้องถูก กดขีข่ ดู รีด เป็นการขีดคัน่ การคลีค่ ลายขยายตัวแห่งประวัติศาสตร์สงั คมมนุษย์ออกเป็นยุค ๆ แล้ว สภาพทีห่ ญิงต้องตก เป็นสมบัตอิ ยูใ่ นครอบครองของชาย ก็ได้เป็นการขีดคัน่ การ คลี่คลายขยายตัวแห่งประวัติศาสตร์ความรักระหว่างเพศ ออกเป็นยุค ๆ เช่นกัน ขณะนั้น และจนกระทั่งบัดนี้ ชายและหญิงไม่มีความ เสมอภาคกัน ทั้งนี้ กําหนดโดยเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและ การเมืองของสังคม … ความไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิงพื้นฐานของมัน ไม่ได้อยูท่ ค่ี วามรัก หากอยูท่ ค่ี วามไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ, การเมืองและวัฒนธรรม ความไม่เสมอภาคทางความรักเป็น เพียงผลของความไม่เสมอภาคดังกล่าว โดยทัว่ ไปแล้ว ในสังคมแห่งความเหลือ่ มลํา้ ตํา่ สูง หญิง กลายเป็นของสําหรับการบําเรอ ของสําหรับการชมเชย ก็ เมื่อฝ่ายหนึ่งต้องไปบําเรออีกฝ่ายหนึ่งแต่ด้านเดียวเช่นนี้ เราจะหาความยุติธรรมได้อย่างไร ?19 19
264
ประสาน. สารแด่นิด. หน้า 19–21. เน้นดําโดยผู้เขียน
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
นอกจากนี้ อุดม ยังได้อธิบายด้วยว่า “การครอบครองก็คอื การ ถือกรรมสิทธิ์ อันเป็นการครอบหรือถือกรรมสิทธิ์ ทีฝ่ า่ ยหนึง่ กระทําต่อ อีกฝ่ายหนึง่ แต่ดา้ นเดียว” เขายํา้ ว่า “ในสังคมแห่งความเหลือ่ มลํา้ ตํา่ สูง ความคิดครอบครองไม่ใช่ของแปลก ความคิดทีจ่ ะให้สตรีบาํ เรอก็ไม่ใช่ เป็นเรื่องน่าทึ่ง มันเป็นผลสะท้อนจากระบบสังคม เพราะในระบบ สังคมนั้น ๆ คนเอาเปรียบคน คนกดขี่ขูดรีดคน และปัจจัยแห่งการ ผลิตตกอยู่ในกํามือของชนชั้นเดียว” สําหรับอุดมแล้ว “ในประวัติศาสตร์อนั ยาวนานของความรักระหว่างเพศนัน้ ชายเป็นฝ่ายขอ หญิง เป็นฝ่ายให้ ชายเป็นฝ่ายทีจ่ ะเข้าเป็นเจ้าของ หญิงเป็นฝ่ายทีจ่ ะถูกเป็น เจ้าของ หญิงเป็นฝ่ายสละกรรมสิทธิ์ ชายเป็นฝ่ายเข้าถือกรรมสิทธิ”์ 20 อุดม ยังเสนอด้วยว่า ประวัติศาสตร์อันยาวนานของสังคมมนุษย์ได้ “แยกความรักให้เราเห็นความแตกต่างกันอยูส่ องชนิด หนึง่ คือรักด้วย ตัณหา หนึง่ คือรักด้วยเสน่หา” และแยกความรักทัง้ สองแบบออกจาก กันอย่างเด่นชัดด้วย มาถึงตรงนี้ อุดมได้เปิดฉากวิพากษ์วิจารณ์ “ความรัก” ทั้งใน “สังคมศักดินา” และ “สังคมทุนนิยม” อย่าง รุนแรงว่า ในสังคมศักดินา เราจะเห็นฮาเร็มหรือวังสนม เป็นแหล่ง แห่งการเสพสุขโดยถือหญิงเป็นของบําเรอ ในนัน้ เต็มไปด้วย 20
vice versa
ประสาน. สารแด่นิด. หน้า 22–23.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
265
สิ่งสกปรกลามก เราจะเห็นเจ้าขุนมูลนาย ถือหญิงเป็นสมบัตทิ ตี่ นครอบ ครองอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับความเด็ดขาดของพวกเขา ในการครอบครองเรือกสวนไร่นา เราจะเห็นความรักที่ไร้เสรีภาพ หนุ่มสาวอยู่ในภาวะ ที่เสมือนหนึ่งถูก “ข่มเขาโคขืนให้กลืนหญ้า” ในสังคมนายทุน เราจะเห็นนายทุนผูโ้ ฆษณา “เสรีภาพ” ได้สร้างหญิงโสเภณีขน้ึ ทัว่ บ้านทัว่ เมือง ถือหญิงเป็น ของกลาง เราจะเห็นเขาถือหญิงเป็นเสมือนหนึ่งสินค้า ทางหนึ่ง ถ้ามีเงินแล้วย่อมจะซื้อหามาได้ ทางหนึ่งเพื่อเงินตัวเดียว ทําให้ถือคติกันว่า “ใส่ตะกร้าล้างนํ้าแล้วขายอีก” เราจะเห็นความรักทีข่ น้ึ กับเงินตรา “เงินมากรักก็หนัก ถ้าเงินขัดรักก็หาย” เงินกลายเป็นอุปสรรคของความรัก ที่แท้จริง21 เป็นไปได้อย่างมากทีว่ า่ การวิพากษ์ทงั้ “สังคมศักดินา” และ “สังคม ทุนนิยม” ไปพร้อม ๆ กันนี้ มาจากความคิด “กึง่ เมืองขึน้ กึง่ ศักดินา” ที่ เ สนอไว้ในหนังสือ ไทยกึ่งเมืองขึ้น ของเขานั่ น เอง นอกจากนี้ อุดม ยังเสนอด้วยว่า ถ้าหาก “ประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์ คือ 21
266
ประสาน. สารแด่นิด. หน้า 27–28. เน้นดําโดยผู้เขียน
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ประวัติศาสตร์แห่งความขัดแย้งภายในสังคมมนุษย์เองแล้ว ประวัติศาสตร์ความรักระหว่างเพศ ก็เป็นประวัตศิ าสตร์แห่งการต่อสู้ ระหว่าง ทรรศนะสองอย่างที่ขัดแย้งกัน” นั่นคือ การต่อสู้ระหว่างรักด้วย เสน่หา หรือ “รักในทางสร้างสรรค์” (หมายถึง “รักที่ต่างฝ่ายต่าง เป็นเจ้าของ ต่างฝ่ายต่างครอบครอง ต่างฝ่ายต่างเป็นทั้งผู้ขอและ ผูใ้ ห้ ต่างฝ่ายต่างเป็นผูเ้ สียสละ”) กับ รักด้วยตัณหา หรือ “รักในทาง ทําลาย” (หมายถึง รักที่ “เป็นการเอารัดเอาเปรียบ มันเป็นการมุ่ง เสพสุข มันเป็นการมุง่ ทําลาย”) การต่อสูร้ ะหว่างความรักสองแบบนี้ “มิได้ดําเนินไปอย่างโดดเดี่ยว มันเป็นส่วนหนึ่งแห่งการต่อสู้ภายใน สังคมนั้น ๆ” เพราะ “ถ้าหากเราเรียกร้องเสรีภาพทางความรัก การ เรียกร้องเช่นนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเรียกร้องเสรีภาพทาง เศรษฐกิจและการเมือง” ดังจะเห็นตัวอย่างได้จากการที่ “เราคัดค้าน รักด้วยตัณหา แบบนานทุนอเมริกันอันเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม นายทุนอเมริกัน ที่หลั่งไหลเข้ามาเกือบท้วมท้นแผ่นดินไทยเรา” ใน ปัจจุบนั นี้ อุดม วิพากษ์อย่างรุนแรงว่า “วัฒนธรรมอันเลวทรามของ จักรพรรดินยิ มอเมริกนั แสดงออกในการเร่งตัณหา” วัฒนธรรมแบบนี้ “มอมเมาคนทัง้ หลายให้ลมื คุณค่าของชีวติ ลืมความใฝ่ฝนั อันสูงส่งที่ มีต่อสังคม และลืมความรักที่พึงมีต่อประเทศชาติและมนุษยชาติ”22 22
vice versa
ประสาน. สารแด่นิด. หน้า 29–31. ทําตัวเอียงตามต้นฉบับ
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
267
แล้ว “ความรักระหว่างเพศ” ทีค่ วรจะเป็นนัน้ เป็นเช่นไร ? อุดม เสนอว่า แม้แต่ความรักระหว่างเพศ คนเราก็ต้องมีอุดมการณ์ ในแง่ ทีห่ มายถึง “ความใฝ่ฝนั ในสังคมเช่นทุกวันนีท้ าํ ให้เราต้องใฝ่ฝนั ทีจ่ ะ เห็นความรักหนุ่มสาวเป็นความรักที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นความรักที่ ดําเนินไปตามประเพณีและศีลธรรมดีงาม เป็นความรักที่จะมีส่วน เกือ้ กูลความรักทีย่ งิ่ ใหญ่กว่านี้ คือ ความรักประชาชน และความ รั ก มนุ ษ ยชาติ ให้ เจิ ด จ้ า แจ่ ม จรั ส ยิ่ ง ขึ้ น ” อุ ด มการณ์ แ บบนี้ ไม่ สามารถหาได้จากความรักระหว่างหนุม่ สาว แต่ตอ้ งค้นหาจากสังคม เนือ่ งจาก “สังคมกําหนดความรูส้ กึ นึกคิดของคนเรา ถ้าเราจะมีอดุ ม การอะไรต่อความรักแล้ว อุดมการนีก้ ไ็ ม่ควรแยกออกจากอุดมการที่ เรามีตอ่ สังคม” และ “มีแต่ชวี ติ ของสังคมทีส่ ดสวยงดงามแล้วเท่านัน้ ชีวติ รักของคนเราจึงจะสดสวยงดงามไปด้วย”23 ในท้ายทีส่ ดุ อุดมได้ จบข้อเขียนของเขาลงว่า คุณนิด ที่สําคัญที่สุด เราต้องมองเห็นว่า ความรักระหว่าง เพศเป็นเพียงส่วนประกอบของชีวติ ไม่ใช่จดุ หมายของชีวติ และความสวยงามของชีวติ ก็มใิ ช่จะต้องประดับด้วยดอกรัก เสมอไป 23
268
ประสาน. สารแด่นิด. หน้า 32–34.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ชีวติ เป็นสิง่ ทีม่ คี า่ เราต้องถนอมชีวติ เพือ่ ก่อคุณประโยชน์ แก่สงั คมและประเทศชาติ เราจะสละชีวติ ของเราเพือ่ สังคม และประเทศชาติได้ เพราะเราถือว่าเป็นการเสียสละเพื่อ มวลชน แต่การสละชีวิตเพื่อความรักนั้น มันจะเป็นอื่นไป ไม่ได้ นอกจากเป็นการเห็นแก่ตัวอย่างหนึ่ง24 หลายปีต่อมา หนังสือ สารแด่นิด ของ อุดม สีสุวรรณ ที่ พคท. จัดพิมพ์ขึ้นในปี 2500 เล่มนี้ จะมีอิทธิพลอย่างมากในหมู่นักศึกษา และปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทยในช่วงหลังกรณี 14 ตุลาคม 2516 ดังจะ เห็นว่า ในปี 2517 ได้มีการจัดพิมพ์ สารแด่นิด อีกเป็นครั้งที่ 2 โดย กลุม่ “ดรุณเี หล็ก” เนือ่ งในวัน “เยาวชน-ประชาชนปฏิวตั ิ 14 ตุลาคม 25 2517” จากนัน ้ ในปี 2519 หนังสือ สารแด่นดิ ก็ถกู นํามาพิมพ์ซาํ้ อีก เป็นครัง้ ที่ 3 โดยกลุม่ “ดรุณสี ยาม” เนือ่ งในวันสตรีสากล 8 มีนาคม 26 2519 และตี พิ ม พ์ เ ป็ น ครั้ ง ที่ 4 ในปี 2521 โดย “ชมรมหนั ง สื อ นํ้าแข็ง”27 อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าความคิดว่าด้วย “ความรัก” ของนักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายซ้ายผู้จัดพิมพ์ สารแด่นิด ในช่วงปี 2517 และปี 2519 นี้ จะมี ลั ก ษณะที่ “ซ้ า ย” ยิ่ ง กว่ า ที่ ประเสริ ฐ ประสาน. สารแด่นิด. หน้า 34–35. ประสาน. สารแด่นิด. หน้ารองจากปก 26 ประสาน. สารแด่นิด. กรุงเทพฯ: ดรุณีสยาม, 2519. 27 ประสาน. สารแด่นิด. กรุงเทพฯ: ชมรมหนังสือนํ้าแข็ง, 2521. 24 25
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
269
ทรัพย์สุนทร และ อุดม สีสุวรรณ ได้เคยเสนอไว้ ดังจะเห็นได้ใน ข้อเขียนที่ชื่อ “รักอย่างไรจึงเป็นรักที่ถูกต้อง” ของ “ดรุณี เหล็ก เพชร” ใน สารแด่นิด ที่จัดพิมพ์ในปี 2517 ที่ว่า เพื่อนหนุ่มสาวที่รัก…มีแต่มองปัญหาความรักทางเพศให้ สอดคล้องกับปัญหาความรักทางสังคมด้วยโลกทรรศน์และ ชีวทรรศน์ของมวลมหาประชาชนผูใ้ ช้แรงงานเท่านัน้ จึงจะ สามารถมองได้อย่างแจ่มชัดและถูกต้อง ! มีแต่การนําความ รักทั้งมวลไปมอบให้ประชาชน นําความเคียดแค้นชิงชัง ทั้งมวลไปฟาดฟันศัตรูของประชาชนเท่านั้น จึงจะมีชีวิตที่ รุ่งโรจน์ มีอนาคตที่แจ่มจรัส เพราะประชาชนเป็นผู้สร้าง ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นผู้ยึดกุมสัจธรรม ประชาชนสามารถ เอาชนะธรรมชาติและดัดแปลงธรรมชาติได้ด้วยสองมืออัน ทรงพลัง และระบบสังคมกึง่ เมืองขึน้ กึง่ ศักดินาทีก่ นิ คนและ เน่าเฟะในปัจจุบนั จักต้องถูกโค่นล้มและบดขยีใ้ ห้แหลกยับ ไปด้วยสองมือที่ทรงพลังของมวลมหาประชาชนเช่นกัน ! เยาวชน, สตรี และประชาชนผู้ใช้แรงงานจักเป็นผู้ชี้ขาด และกําชัยชนะไว้ได้ในที่สุด !28 28
270
ประสาน. สารแด่นิด. กรุงเทพฯ: กลุ่ม “ดรุณีเหล็ก”, 2517. หน้า 22–23.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เป็นความจริงที่ว่า ในช่วงไม่กี่ปีภายหลังกรณี 14 ตุลาคม 2516 ทฤษฎี “กึ่งเมืองขึ้น กึ่งศักดินา” ของ พคท. ได้เข้าไปมีอิทธิพลอย่าง มากต่อนักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายซ้ายในเวลานั้น บางตอนของ ข้อความข้างต้นทีว่ า่ “ระบบสังคมกึง่ เมืองขึน้ กึง่ ศักดินาทีก่ นิ คนและ เน่าเฟะในปัจจุบนั จักต้องถูกโค่นล้มและบดขยีใ้ ห้แหลกยับไป” เป็น เครือ่ งยืนยันทีช่ ดั เจนทีส่ ดุ ในเดือนมีนาคม 2519 คือในช่วงเวลาไม่กี่ เดือนก่อนที่จะเกิดกรณี 6 ตุลาคม 2519 ขึ้น การนําเสนอความคิด ว่าด้วย “ความรัก” ของนักศึกษาและปัญญาชนฝ่ายซ้ายในเวลานั้น จะยิ่งมีลักษณะที่ “ซ้าย” แบบเข้มข้นมากกว่าในปี 2517 ดังจะเห็น ได้ใน “ปัญหาความรัก (ทางเพศ)” ของ “ดารา ส่องแสงจันทร์” ซึง่ เป็น “คํานํา” ของหนังสือ สารแด่นิด ฉบับปี 2519 ที่ว่า ความรักเป็นความรูส้ กึ ผูกพันใกล้ชดิ อย่างตราตรึงฝังลึกและ คุโชน ในสังคมที่มีชนชั้น ความรักย่อมถูกตีไว้ด้วยตราแห่ง ชนชั้น หรือมีลักษณะทางชนชั้น เช่นความรักแบบศักดินา ถือหลักคลุมถุงชน ความรักแบบชนชัน้ นายทุนถือหลักเลือก หาคูค่ รองตามผลประโยชน์สว่ นตัว และความรักของชนชัน้ กรรมาชีพ ถือหลักเลือกคูค่ รองบนพืน้ ฐานของผลประโยชน์ ประชาชนส่วนข้างมากที่สุด ความรักจึงเป็นเรื่องทั้งของ ส่วนตัวและของชนชั้น ปัญหาความรักที่เกิดขึ้นที่สําคัญคือ แก้ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องส่วนตัวและเรื่องทาง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
271
ชนชั้นของความรักไม่ตก29 … ผู้ที่มีปัญหาความรักหนักหน่วงจนแก้ไม่ตก สรุปก็คือ เป็นผู้ที่ยกเอาความรักส่วนตัวอยู่เหนือผลประโยชน์ทาง ชนชั้น นั่นคือผลประโยชน์ของประชาชนอันกว้างไพศาล คือผู้ที่กําลังดําเนินชีวิตอย่างมืดบอด และกําลังตกตํ่าลง ฉะนั้นควรรีบแก้ปัญหาความรักนี้เสีย มีความรักอย่างเป็น วิทยาศาสตร์ คือมีความรักทางชนชัน้ มีความรักต่อประชาชน อย่างแนบแน่น30 อันทีจ่ ริงแล้ว ในช่วงระหว่างปี 2516–2519 ในหมูน่ กั ศึกษาและ ปัญญาชนทีไ่ ด้รบั อิทธิพลทางความคิดจาก พคท. หรือในหมูผ่ ปู้ ฏิบตั ิ งานของ พคท. เอง จะมีการจัดพิมพ์หนังสือประเภท “ชีวทัศน์เยาวชน” ออกมาเป็นจํานวนมาก อาทิ เสริมทฤษฎี, คิดอย่างเยาวชนใหม่, เยาวชนใหม่, เคียงข้างกันสร้างสรรค์โลก, ปัญหาโลกทัศน์และชีวทัศน์ ทีถ่ กู ต้องของเยาวชน, ปัญหาและแนวทางการต่อสูข้ องผูห้ ญิง, ปัญหา ความรักของหนุม่ สาว, ชีวทัศน์เยาวชน และ แด่เยาวชน เป็นต้น โดย หนึง่ ใน “ชีวทัศน์” ทีห่ นังสือเหล่านัน้ นําเสนอก็คอื เรือ่ งของ “ความรัก” 29 30
272
ประสาน. สารแด่นิด. กรุงเทพฯ: ดรุณีสยาม, 2519. หน้า 1. ประสาน. สารแด่นิด. กรุงเทพฯ: ดรุณีสยาม, 2519. หน้า 9.
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ซึง่ ก็มกั จะมีเนือ้ หาสาระทีไ่ ม่คอ่ ยแตกต่างกันมากนักกับความคิดของ “ดรุณี เหล็กเพชร” (2517) และ “ดารา ส่องแสงจันทร์” (2519) นัน่ คือ มีลักษณะที่ “ซ้าย” เข้มข้นแบบ “สู้รบ” มากกว่าที่ ประเสริฐ และอุดมเคยเสนอไว้ อย่างไรก็ตาม คงต้องจบบทความชิ้นนี้ลงด้วย การกล่าวทิง้ ท้ายไว้อย่างคร่าว ๆ ว่า ความคิดว่าด้วย “ความรัก” ของ พคท. จะยิ่งมีลักษณะ “สู้รบ” หรือ “ปฏิวัติ” มากขึ้นกว่านี้อีกเมื่อ นักศึกษาและปัญญาชนจํานวนมากหลั่งไหลเข้าไปร่วมการปฏิวัติกับ พคท. ในเขตป่าเขาภายหลังกรณี 6 ตุลาคม 2519 ทว่าความคิดและ การจัดการ “ความรัก” ภายในขบวนการปฏิวตั หิ ลังกรณี 6 ตุลาคม 2519 ทีม ่ ลี กั ษณะ “สูร้ บ” หรือ “ปฏิวตั ”ิ มากยิง่ ขึน้ นี้ จะก่อให้เกิด ปัญหาขึน้ ไม่นอ้ ย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ปัญหาทีว่ า่ จะจัดการกับความ รักของคนหนุ่มสาวในขบวนการปฏิวัติอย่างไร จึงจะเหมาะสม และ สอดคล้องกับอุดมการณ์ปฏิวัติของ พคท. ให้มากที่สุด โดยไม่ให้เกิด ผลกระทบมากทีส่ ดุ แต่กระนัน้ ก็ตาม ไม่ใช่เรือ่ งง่าย ทีจ่ ะแปรทฤษฎี ว่าด้วย “ความรัก” ไปสูก่ ารปฏิบตั ทิ เี่ ป็นจริงภายในขบวนการปฏิวตั ิ และเป็นความจริงทีว่ า่ การ “จัดการ” กับปัญหาความรักทีบ่ กพร่อง และผิดพลาดของ พคท. จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ปญ ั หาหนึง่ ทีน่ าํ ไปสู่ ความขัดแย้งในขบวนการปฏิวัติภายใต้การนําของ พคท.
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
273
/ Essay /
บทวิจารณ์ การเดิน (ทาง) ของตัวละคร ใน สุดชีวิต ชาคริต แก้วทันคํา
ร Alice Munro
ที่มา: https://www. google.co.th/search? as_st=y&tbm=isch&hl= th&as_q=of+love+and+ other+demon&as_epq= &as_oq=&as_eq=&cr=& as_sitesearch=&safe= images&tbs=isz:m#as_ st=y&hl=th&tbs=isz:m &tbm=isch&q=Alice+ Monro&imgrc=e99EfQ sbbJNZKM:
vice versa
วมเรื่องสั้น สุดชีวิต (Dear Life) ผลงานเล่มสุดท้ายของแอลิซ มันโร (Alice Munro) นักเขียนหญิงชาวแคนาดา ผูไ้ ด้รบั รางวัล โนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 2013 (เป็นนักเขียนคนแรกของแคนาดา และนักเขียนสตรีคนทีส่ บิ สามทีไ่ ด้รบั รางวัลนี้) ประกอบด้วยเรือ่ งสัน้ จํานวน 14 เรือ่ ง โดย 4 เรือ่ งสุดท้ายภายในเล่มเป็นงานเขียนอัตชีว ประวัติเชิงอารมณ์ที่พูดเกี่ยวกับชีวิตของตัวเอง บทความชิ้นนี้จะกล่าวถึงการเดินและเดินทางของตัวละครผ่าน ทางความคิด บทกวีและหรือจดหมาย ความมืดและความทรงจํา ใน เรือ่ งสัน้ จํานวน 3 เรือ่ ง ได้แก่ ไปถึงญีป่ นุ่ คํา่ คืนและทิวทัศน์ทะเลสาบ
ช า ค ริ ต แ ก้ ว ทั น คํ า ก วี นักเขียน นักอ่านอิสระ
การเดินทางทางความคิด บทกวีและหรือจดหมาย
เกรตาและแคธีขึ้นรถไฟจะไปโตรอนโต เธอเบื่อหน่ายสามีและเขียน จดหมายหรือบทกวีใส่ขวดโหลส่งไปญี่ปุ่น ที่ต้นทางกับปลายทางคั่น
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
275
กลางด้วยมหาสมุทรแปซิฟกิ อาจดูเป็นเรือ่ งเพ้อฝันตามแบบนักกวีที่ ต้องตีความบนความเป็นไปไม่ได้ แต่มนั กลับเชือ่ มโยงการเดินทางของ เธอและลูกที่ต้องมีความกล้าบ้าบิ่นแลกกับความสัมพันธ์ครั้งใหม่กับ ผู้ชายมีครอบครัวที่เธอเฝ้าหมกมุ่น ครุ่นคิด รอคอย โหยหา อาวรณ์ ขณะทีโ่ ดยสารอยูใ่ นรถไฟเธอพบผูค้ น พูดคุยและมีความสัมพันธ์ ขั้นลึกซึ้งกับเกร็ก เกรตาอารมณ์หลงเพริดไปขณะเดินทาง ซึ่งผู้อ่าน อาจมองว่าเป็นความเก็บกดอดกลัน้ ทีต่ อ้ งการปลดปล่อย แม้สงิ่ ทีท่ าํ จะผิดศีลธรรมก็ตาม ในเมือ่ อารมณ์ของมนุษย์ผนั แปรไม่แน่นอนและ ยากแก่การควบคุมคาดเดาเสมอ เธอจึงไม่ห่วงลูก ปล่อยให้หลับอยู่ ที่ตู้นอน ก่อนจะพบว่าแคธีหายตัวไป แล้วความกลัวก็เข้าครอบงําความคิด เธอเรียกมันว่าบาปอย่าง หนึ่ง จึงพยายามอยู่ใกล้ชิดลูกเพื่อลบล้างสํานึกผิดของความเป็นแม่ แล้วเกร็กก็โบกมือลา ความสัมพันธ์ระหว่างคนทัง้ สองเป็นแค่การพบ เพียงเพื่อผ่าน ไม่ได้พบเพื่อผูกพันเหมือนแฮร์ริส เมื่อข้อความใน จดหมายหรือบทกวีทไี่ ม่ระบุชอื่ เดินทางไปถึงมือผูร้ บั ได้อย่างไม่นา่ เชือ่ เขารอรับเธอและลูกอยูท่ ป่ี ลายทาง ให้เกรตาต้องทําผิดศีลธรรมซํา้ สอง เกรตาอาจเป็นคนไม่ดใี นสายตาลูกและหรือผูอ้ า่ น แต่อย่าลืมว่าคนเรา อาจสับสนในตัวเองและชีวิตได้ทุกเมื่อ ในเรือ่ งสัน้ “ไปถึงญีป่ นุ่ ” เป็นเรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ และถูกนําเสนอ ระหว่างการเดินทาง เพราะชีวิตคือการเดินทางอย่างมีจุดหมาย จะ โดยทางตรงหรือทางอ้อมพร้อมกับประสบการณ์แปลกใหม่ให้เรียนรู้
276
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
บนความเปลี่ยนแปลงที่อาจคาดไม่ถึง ผู้เขียนใช้นํ้าเสียงราบเรียบใน การเล่าเรือ่ งได้อย่างนิง่ ลึก เน้นรายละเอียดของอารมณ์และทิง้ ภาวะ ความคิดหรือสํานึกบางอย่างทีท่ ง้ั สับสน ดิน้ รน สงสัย สัน่ คลอน ขัดแย้ง บกพร่องในแต่ละตัวละคร ให้ผอู้ า่ นได้ตงั้ คําถาม ติดตามคลีค่ ลายโดย มีเรื่องราวของสภาวะจิตกับความแปลกแยกเข้ามาเกี่ยวข้อง ให้ ตระหนักรูถ้ งึ ความไม่ปกติในความปกติของชีวติ คน โดยทีผ่ อู้ า่ นไม่อาจ คาดเดาคําตอบหรือตอนจบของเรื่องราว พฤติกรรม ความสัมพันธ์ หรือความซับซ้อนในชีวติ และจิตใจของตัวละครใด ๆ ทีผ่ เู้ ขียนสร้างขึน้ มาได้เลย และสุดท้ายการไปญี่ปุ่นของจดหมายหรือบทกวีก็เดินทางไปถึง ฝั่งและฝันได้ ด้วยการเสี่ยงอย่างมีเป้าหมายและการเคลื่อนที่ไปข้าง หน้า เพือ่ ตอบสนองความต้องการทะยานอยากอันแท้จริงในชีวติ ของ ตัวละครนั่นเอง การเดินทาง (กลาง) ความมืด
ความป่วยไข้ในวัยสิบสี่ทําให้ฉันต้องหยุดเรียน อยู่บ้าน ใช้ชีวิตใน แต่ละวันด้วยความรู้สึกไร้ประโยชน์และแปลกแยกในสายตาของตน และคนอื่น มันทําให้ฉันคิด เครียด นอนไม่หลับและอยากลุกขึ้นมา บีบคอน้องสาวของตัวเอง จนสุดท้ายต้องออกมาเดินนอกบ้านในยาม คํ่าคืนดื่นดึก
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
277
แอลิซ มันโรคล้ายจะให้ตวั ละครสํารวจความคิดของตัวเองท่ามกลางความเงียบงัน กับภาระหนักหนาในฐานะลูกสาวคนโตทีร่ บั รูแ้ ละ ไม่อาจเพิกเฉย แต่สิ่งใดจะมาปลดเปลื้องและปลดล็อคเรื่องราวใน ชีวติ และความคิดของเธอให้ดาํ เนินไปในทางทีถ่ กู ต้องเหมาะสม โดย ไม่ต้องทําร้ายตัวตนและคนรักได้เล่า จนเมื่อฉันเดินมาพบพ่อ ความทุกข์ทนหม่นเศร้าที่เฝ้าเก็บกด อดกลั้นก็ถูกระบายคลายเคลื่อนเหมือนเขื่อนทํานบใกล้แตก ทุก ปัญหาถูกรับฟังจากคนทีฉ่ นั รักและเชือ่ ใจ แล้วคําตอบก็คอื “บางครัง้ คนเราก็มีความคิดแบบนี้กันได้” (น. 286) ตกลงทุกคนในครอบครัว ไม่อนาทรร้อนใจกับปัญหาที่ถาโถมรุมเร้า แต่การรับฟังของพ่อก็ คลี่คลายปมเงื่อนในใจให้ฉันหันมามองชีวิตให้เป็นเพียงเรื่องธรรมดา อย่าให้ความกลัวทีค่ อยหลอกหลอนบ่อนเซาะชีวติ ให้ตดิ อยูก่ บั ฝันร้าย เพราะทุกชีวิตล้วนต้องเผชิญและเดินหน้าต่อสู้กับมันให้ได้ มันคล้าย บททดสอบจากพระเจ้าทีก่ าํ ลังเฝ้าดูเราว่าจะเอาตัวรอดปลอดภัยจาก สถานการณ์ในแต่ละช่วงวัยชีวิตได้ด้วยตัวเองหรือต้องมีใครให้ความ ช่วยเหลือ ในเรือ่ งสัน้ “คํา่ คืน” เป็น 1 ใน 4 เรือ่ งราวอัตชีวประวัตเิ ชิงอารมณ์ ทีผ่ อู้ า่ นอาจมองว่าฉันนัน้ หมายถึงผูเ้ ขียน ทีบ่ นั ทึกส่วนเสีย้ วความคิด จากชีวติ วัยรุน่ อันบ่งบอกถึงวัยเปลีย่ นผ่านของชีวติ คนคนหนึง่ ทีอ่ าจ พลิกผันไปในทางดีหรือร้ายได้ และคนในครอบครัวเป็นตัวสําคัญที่ ต้องใส่ใจดูแล แนะนํา ไม่ปล่อยปละละเลยหรือเฉยชา
278
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
การเดินทางบนถนนสายความทรงจํา
ในเรื่องสั้น “ทิวทัศน์ทะเลสาบ” เล่าถึงหญิงคนหนึ่งกําลังจะไปหา หมอเพือ่ ขอให้ออกใบสัง่ ยา เธอจึงเตรียมตัวขับรถไปยังปลายทางก่อน วันนัดหมาย ผู้อ่านจะเห็นถึงความสับสนทางความคิดของตัวละคร อาการของเธอลุกลี้ลุกลน เป็นห่วงกังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึงเกินไป ระหว่างเดินทาง เธอพูดคุยและตั้งคําถามกับตัวเอง เก็บราย ละเอียดทีพ่ บเห็นรายทางระหว่างความเป็นเมืองและชนบทมาวิพากษ์ ผูอ้ า่ นอาจเห็นว่าความเปลีย่ นแปลงตามกาลเวลานัน้ เปรียบเทียบกับ วันวัยในชีวิตของผู้คนและตัวเธอด้วยนั่นเอง การขับรถเพียงลําพังเพือ่ ไปให้ถงึ สถานทีต่ ามทีถ่ กู นัดไว้ลว่ งหน้า กลายเป็นอุปสรรค เมื่อเธอจดจําชื่อหมอไม่ได้ แอลิซ มันโรทิง้ ร่องรอยให้ผอู้ า่ นติดตามตัวละครไปค้นหาสถานที่ แห่งหนึง่ ในขณะเดียวกันผูอ้ า่ นอาจปะติดปะต่อเรือ่ งราวอันคลุมเครือ บางอย่างได้จากบทสนทนากับผู้คนที่พบเจอ เธอกําลังไปยังสถาน พักฟื้นเลควิว ความทรงจําของตัวละครบางครั้งชัดเจนเห็นภาพ บางครั้งก็ เลือนรางห่างหาย บางครั้งก็หลุดลอยไม่อยู่กับเนื้อกับตัว มันคงเป็น ผลกระทบจากอาการป่วยไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้เกิดและ กลายเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิตต่อมาของเธอ การเดินหรือเดินทางของตัวละครในเรื่องสั้นของแอลิซ มันโร มี
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
279
จุดเชือ่ มโยงบางประการทีค่ วรกล่าวถึง อย่างในเรือ่ งสัน้ “ไปถึงญีป่ นุ่ ” ซึ่งชื่อเรื่องก็บ่งบอกว่าตัวละครไปถึงปลายทาง และเกรตาก็โดยสาร รถไฟไปโตรอนโต (มิใช่ญี่ปุ่น) แต่มีจุดหมายที่แท้จริงคือการเดินทาง ทางความคิดที่เกิดขึ้นคู่ขนานกันไปเช่นเดียวกับรางรถไฟ คือการไป ถึงฝั่งและฝันของจดหมายหรือบทกวี ที่สุดท้ายผู้รับก็ได้รับและมา รับเธอกับลูกสาวถึงสถานีปลายทาง เช่นเดียวกับ ฉัน ในเรื่องสั้น “คํา่ คืน” ทีเ่ ดินดุม่ เดียวดายอย่างไร้จดุ หมายกลางความมืดยามคํา่ คืน ดืน่ ดึกจากปัญหาอาการนอนไม่หลับ พร้อมกับแบกรับความรูส้ กึ กลัว ไม่ตา่ งจากความมืดทีค่ ลอบคลุมทัง้ สภาพบรรยากาศรอบตัวและจาก ความรูส้ กึ นึกคิดและความป่วยไข้ทงั้ ในชีวติ ของตัวเองและครอบครัว แต่สดุ ท้ายปลายทางของเรือ่ งเล่าก็สามารถเดินไปถึงจุดหมายได้ เมือ่ ยิ่งมืดก็ยิ่งดึกและยิ่งดึกก็ยิ่งสว่าง แสงแห่งวันใหม่จึงส่องให้พบกับ ความจริงบางสิ่งที่คลี่คลายความครุ่นเครียดวิตกกังวลออกไปจากใจ การเดินท่ามกลางความมืดยามคํ่าคืนดื่นดึกเป็นการปลีกตัวจ่อมจม อยู่กับโลกแห่งความโดดเดี่ยวเดียวดาย อันเป็นภาพเปรียบของการ ต่อสูเ้ พียงลําพังด้วยตัวเอง เพือ่ พบและผ่านอุปสรรคหนักหนาในชีวติ ให้รอดพ้นจุดวิกฤตไปให้ได้ คําตอบของเรือ่ งจึงคล้ายเมฆหมอกมืดดํา หรือฝันร้ายที่เลือนหายไปพร้อมกับการมาถึงของแสงแห่งวันใหม่ใน ชีวิตนั่นเอง ผูอ้ า่ นจะเห็นได้วา่ ตัวละครในเรือ่ งสัน้ “ไปถึงญีป่ นุ่ ” และ “คํา่ คืน” มีคําตอบอยู่ที่ปลายทางทั้งทางเลือกให้ต้องเดินหรือเดินทาง โดย
280
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
อาศัยความคิดและการตัดสินใจอย่างเด็ดขาดเพียงลําพัง ไร้คาํ ปรึกษา หารือกับใคร และมันอาจเป็นทางเลี่ยงผลกระทบอันอาจจะเกิดขึ้น ตามมา ทัง้ ปัญหาการนอกใจสามีของเกรตาและการลงมือบีบคอน้อง สาวของฉัน จึงเท่ากับตัวละครทั้งสองในเรื่องสั้นดังกล่าว กําลังเสี่ยง กับเรือ่ งราวทีไ่ ม่อาจคาดคะเนหรือควบคุมตัวเองได้ รวมถึงวิกฤตชีวติ ทีเ่ กิดขึน้ กับตัวตนและคนในครอบครัวขณะนัน้ มันเป็นการแก้ปญ ั หา ที่มีทางออก ซึ่งน่าจะเป็นทางรอดให้กับชีวิต ต่างจากเรื่องสั้น “ทิวทัศน์ทะเลสาบ” ที่ตัวละครกําลังตามหา สถานที่แห่งหนึ่งและเธอก็เดินทางไปถึงสถานที่แห่งนั้นจริง และมี จุดหมายเพือ่ พบผูเ้ ชีย่ วชาญ ในเรือ่ งสัน้ เรือ่ งนีจ้ งึ มีมติ ขิ องเวลาทับซ้อน กันระหว่างอดีตอันแจ่มชัดกับการบรรยายผ่านสายตาของภาพทิวทัศน์ และอาคารสถานที่ ซึ่งปัจจุบันความจดจํารําลึกในเรื่องราวเหล่านั้น นับวันเริ่มจะเสื่อมถอยน้อยลงทุกที ทุกนาที ทุกวินาที มันเป็นการ เดินทางในความทรงจําทีบ่ างครัง้ อยากลืมกลับจํา อยากจํากลับเลอะ เลือน หลงลืม ประหนึง่ ลิน้ ชักทีอ่ าจเปิดเมือ่ ใดก็ได้หรือจะปิดล็อคมัน ไว้จนถึงวันสุดท้าย แต่เธอก็มีทางเลือกที่ไม่อาจเลี่ยงได้เพราะปัญหา ความจําเสื่อม จึงต้องมาอยู่ยังสถานที่แห่งนี้ และมันคงเป็นทางออก ในชีวติ ทีเ่ ธอไม่มวี นั ได้ออกไปไหน แม้วา่ ความทรงจํารําลึกนัน้ จะติดตรึง อยู่ในความคิดและจิตใจของเธอให้อยากออกจากที่นี่และกลับบ้าน ก็ตาม นอกจากความเชื่อมโยงในประเด็นการเดินและเดินทางของ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
281
ตัวละครผ่านกระแสความคิดที่มีรายละเอียดอันแตกต่างแล้ว ยังมี เรื่องราวของความฝันอันเป็นแรงขับเคลื่อนความคิดเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่ควรมองข้าม โดยในเรื่องสั้น “ไปถึงญี่ปุ่น” เป็นความเพ้อฝัน ของเกรตาที่มีต่อแฮร์ริส ซึ่งท้ายที่สุดความเพ้อฝันสามารถผลักดัน เรือ่ งราวให้กลายเป็นความจริงขึน้ มาได้ ต่างจากความคิดฝันในเรือ่ งสัน้ “คํ่าคืน” แม้ฉันจะนอนไม่หลับและไม่อาจปิดเปลือกตา เพราะไม่ อยากอยู่ในห้องนอนเดียวกับน้องสาวและบีบคอเธอ แต่ความคิดฝัน ก็ไม่ได้กลายเป็นจริง เพราะความจริงไม่ใช่ความฝัน มันคือความกดดัน จากความกลัวใจตัวเองมากกว่า เช่นเดียวกับความนึกฝันของเธอใน เรื่องสั้น “ทิวทัศน์ทะเลสาบ” นัยหนึ่งเธออาจใฝ่ฝันที่จะไปให้ถึง สถานที่แห่งนั้นเพื่อมองดูทิวทัศน์ชีวิตที่เหลือในช่วงบั้นปลาย หรือ อีกนัยหนึ่งมันอาจเป็นฝันร้ายที่ตามหลอกหลอนย้อนแย้งระหว่าง ทิวทัศน์ภายนอกกับมโนทัศน์ภายในใจ เธอมาทีน่ แี่ ละอยากออกจาก ที่ นี่ ที่ที่ตัว เธออยู่ในปัจจุบัน แต่ความคิ ด และจิ ต ใจเลื่ อ ยลอยไป และคงเลือนหายในท้ายที่สุด เป็นความนึกฝันที่ต้องตื่น-รู้และอยู่กับ ความจริง แอลิซ มันโร พาผู้อ่านเข้าไปสํารวจตรวจสอบความคิด อารมณ์ ของตัวละครเพือ่ สะท้อนปัญหาชีวติ และความจริงอันสลับซับซ้อนใน จิตใจของมนุษย์ ผ่านเรื่องสั้นทั้งสามเรื่อง ที่ตัวละครต้องประสบพบ กับปัญหาอุปสรรคในช่วงวัยต่าง ๆ กัน ไม่วา่ จะเป็นช่วงวัยรุน่ ในเรือ่ งสัน้ “คํา่ คืน” วัยผูใ้ หญ่ มีลกู และครอบครัวในเรือ่ งสัน้ “ไปถึงญีป่ นุ่ ” และ
282
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
วัยชราในเรือ่ งสัน้ “ทิวทัศน์ทะเลสาบ” ได้อย่างแนบเนียน แฝงความ หมายเชิงเปรียบเทียบให้ฉุกคิด ชวนตีความอย่างรู้ตัวและเท่าทัน เพราะว่า “ทุกชีวิตมีความหมาย” (น. 222) นั่นเอง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
บรรณานุกรม แอลิ ซ มั น โร. ( 2559). สุดชีวิต แปลจาก Dear Life โดยอรจิรา โกลากุล และ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์ วงศา. กรุงเทพฯ: บทจร.
283
/ Criticism /
ระยะคะนึงยุคใกล้ กับ ไม่ปรากฏ ภูมิชาย คชมิตร
ดู่
ดูเหมือนว่า รูปแบบงานเขียนงานวรรณกรรมที่มีกลิ่นไอแบบ แปลกถิน่ ตัง้ แต่ไหนแต่ไรมาทัง้ ในรูปแบบอืน่ ไม่วา่ จะเป็นบทกวี เรื่องสั้น นวนิยาย ตลอดจนบทเพลง เรื่องเล่ามุขปาฐะ ล้วนแล้วมี งานจํานวนไม่นอ้ ยทีม่ กั จะกล่าวถึงการพลัดบ้านชานเรือน (หรือเฮือน ก็วา่ ) บ้านเคยอยู่ อูเ่ คยนอน ยิง่ การพลัดบ้านไม่วา่ จะเป็นรูปแบบใด ทัง้ ถูกบีบคัน้ ทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและปัจจัยอืน่ ๆ ด้วยแรงขับ ของสิง่ ต่าง ๆ ทัง้ หลายทัง้ ปวงดังนัน้ เมือ่ เกิดผลลัพธ์งานเขียนทีอ่ อกมา ต่างก็ทาํ ให้ตวั ละครเหล่านัน้ น่าสนใจ พริบพรายในความรูส้ กึ ว่าพวก เขามีชีวิตอยู่อย่างไรในยุคใกล้ ที่เหมือนอยู่ไกลแต่ไม่ไกล จะว่าใกล้ ก็ ย ากจะแตะต้ อ งถึ ง ไม่ ป รากฏ เป็ น กวี นิ พ นธ์ ไร้ ฉั น ทลั ก ษณ์ ที่ ภู กระดาษ ไม่เรียกว่าบทกวีแต่เรียกว่า “อะไรในรูปแบบนี้”
ภู มิ ช าย คชมิ ต ร นั ก เขี ย น อิสระ ทำ�งานเขียนเรือ ่ งสัน ้ บท กวี และทำ�งานอ่านสังเคราะห์ งานวิจัยเชิงชาติพันธุ์
“ก่อนหน้านัน้ ข้าพเจ้าเขียนอะไรในรูปแบบนีแ้ ต่เพียงสนุก และทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ไป เขียนเอาสนุกสนานตามที่เคยได้ยิน
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
285
ได้ฟังได้อ่านผญาและกลอนลําจากคนใคไทหมู่บ้าน ปรารถนาจะเป็นแบบนั้นบ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นชิ้นเป็นอันอะไร นอกจากไม่เป็นชิน้ เป็นอันอะไรแล้ว ข้าพเจ้าก็ยงั ไม่มคี วาม สามารถมากพอที่จะเลียนแบบการแต่งตามแบบฉบับผญา หรือกลอนลําได้แม้แต่น้อยแต่ก็ยังงม ๆ ซาว ๆ เขียนไป ตามความอ้อยอิ่นของรู้สึกนึกคิดไปเลอะเลยอยู่เช่นนั้น” (น. 118) ดูด่ เู หมือนว่า ทีผ่ า่ นมางานเขียนของภู กระดาษ จะชัดเจนทีง่ าน เขียนเรื่องสั้นขนาดยาว เขียนแบบพูดภาษาไทบ้าน รูปแบบเหลือลํ้า ทันสมัย เจือกลิน่ สถานการณ์บา้ นเมืองจดจารไว้ได้อย่างน่าสนใจ แต่ ด้วยความที่ต้องไปทํางานต่างถิ่น ส่วนหนึ่งจึงมีความเพ้อพกถึงงาน ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ ที่ไม่อาจเห็นได้ครบทุกเดือนเหมือนเช่นอ้าย เอื้อย พ่อลุง แม่ป้า พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ ฯลฯ เพราะอยู่ต่างถิ่น ดังนั้น ปฏิ ทิ น ที่ ม องเห็ น จึ ง ดู จ ะไร้ ค่ า และพวกเขาต่ า งก็ ถ วิ ล หาสิ่ ง ที่ เ คย สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยพ่อใหญ่ แม่ใหญ่ นานมากาเล …ระบือเลื่องลือเฮืองฮุ่งไกล มีแต่เฉลิมฉลอง เริ่มต้นใน พวงพั้วดอกมันปาบานระย้า เมษายน–พฤษภาคม–บุญบั้งไฟ (ไม่มี)–บุญชําระ (ไม่มี)– สิงหาคม–
286
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
บุญข้าวประดับดิน (ไม่มี)–ตุลาคม– บุญออกพรรษา (ไม่มี)–ธันวาคม– บุญเข้ากรรม (ไม่ม)ี –บุญคูนลาน (ไม่ม)ี –บุญข้าวจี่ (ไม่ม)ี … (ปฏิทนิ วันเดือนปีทเี่ คยมีกาํ ลังจะหมดความหมายและกลาย เป็นอดีต) (น. 101) ดู่ดูเหมือนว่า งานเขียนสถานการณ์พื้นถิ่นที่ต้องใช้ความถนัด จัดเจนและประสบการณ์ ภาษา และวัฒนธรรม ภู กระดาษ มีความ คิดฝันและเลียนสไตล์การเล่าเรื่องคล้ายนักผญารุ่นเก่าเหล่านั้น แต่ ถึงที่สุดเขาก็มักจะออกตัวว่าคงไปไม่ถึงขนาดนั้นหรอก ดังนั้นงาน เขียนที่เห็นจึงเป็นในท่วงทํานองนี้ “จนกระทั่งวันหนึ่งหลังก่อนหน้านั้น หลายปีล่วงมาแล้ว เมื่อเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศรุนแรง มากขึ้น…ข้าพเจ้าจึงได้เขียนอะไรในรูปแบบนี้ออกมาอย่าง ต่อเนือ่ ง ไม่ได้เขียนเอาสนุก แต่เขียนเพือ่ จะถ่ายเทอารมณ์ ความรู้สึกประดามีอันอ้อยอิ่นอุกอั่งเอ้ออยู่ในมโนนึกนั้น กระนั้นข้าพเจ้าก็เขียนแบบทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ ไม่คิดจะทําอะไร กะพวกมันให้เป็นชิน้ เป็นอันแต่อย่างใดและขาด ๆ วิน่ ๆ ใน ความสามารถเช่นเดิมและยังห่างไกลจากผญาหรือกลอนลํา อยู่เช่นเดิม…” (น. 118–119)
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
287
ดู่ดูเหมือนว่า เรื่องของคนที่พลัด-ซัดเซ จากบ้านเรือนถิ่นเกิด ไปนาน และการถวิลหาก็ปรากฏมาให้เห็น เป็นช่วง ๆ อาทิเช่น ….ทางเคยเทียว เลี้ยวลดหมดมืด หอมยาจืด ก็ซืดก็หมอง นองหน้าเศร้า บ้านเฮาเหลียวบ่เห็น เสียแล้ว (น. 116) ดูด่ เู หมือนว่า งานเขียนอะไรในรูปแบบนี้ (ทีเ่ ขาเรียก และ/หรือ ที่เข้าใจ) จึงมีความน่าสนใจ เนื้อหาไม่เพียงแต่ครอบคลุมพื้นถิ่น ทีร่ าบสูงของประเทศนี้ และยังเอือ้ นเอ่ยไพล่ไปถึงประเทศโน้นอีกด้วย บวกกับการบอกเล่าสถานการณ์บ้านเมืองแบบฉับพลันทันท่วงที งานเขียนที่คนตัวเล็กตัวน้อยบันทึกด้วยการดํารงชีวิตและลมหายใจ และภู กระดาษ บอกเล่าผ่านวิถีการทํางานและการใช้ชีวิต ฉะนั้น ไม่ปรากฏ จึงทําให้ฉกุ คิดว่า “ไม่ปรากฏ” งานเขียนทีไ่ ม่ตงั้ ชือ่ แต่ละ ชิ้นงานล้วนถูกกํากับด้วยหมายเลขนั้นเป็นอะไรกันแน่ (?) แต่บอก ตามตรงที่แจ่มชัดตลอดมาคือความหมดจดงดงามแบบพื้นถิ่นผนวก กับบันทึกสถานการณ์ยุคใกล้ของประเทศนี้-นั้นต่างก็น่านํามาฉุกคิด และชวนอ่านเป็นอย่างยิ่ง
288
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ภู กระดาษ (28 มีนาคม 1977–)
ดู่ดูเหมือนว่า ภู กระดาษ เกิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของราช อาณาจักรไทย เป็นไทบ้านทีพ่ อรูห้ นังสือคนหนึง่ มีงานเขียนประเภท เรือ่ งสัน้ ทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ตามหน้านิตยสารสักสองหรือสามปีตอ่ หนึง่ เรื่อง และเคยมีเรื่องสั้นอย่างเรื่องยึด: เรื่องราวย่นย่อของเรื่องราว ยืดยาวเรื่องหนึ่งได้รับรางวัลสุภาว์ เทวกุลฯ, เรื่องสั้น “หลง” ได้รับ รางวัลรองชนะเลิศนายอินทร์อะวอร์ด, เรือ่ งสัน้ “ปล้น” เข้ารอบสิบ เรื่องสุดท้ายชิงรางวัลกองทุนกนกพงศ์ฯ ปัจจุบันทํามาหากินด้วย อาชีพสุจริตอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของราชอาณาจักรไทย
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
289
เ พ ล ง ผิ ดห วั ง วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
/ Fiction /
ต
อนทีเ่ ธอทัง้ คูไ่ ด้ฟงั เพลงนัน้ เป็นครัง้ แรกขณะขับรถไปทะเลด้วยกัน เพลงเศร้าเพลงนั้นไม่ได้ทําให้พวกเธอคิดถึงความรักที่ลอยลับ ไปในอดีต หากเพลงเตือนให้พวกเธอคิดถึงอนาคต ราวกับการเห็น นิมิต หรือการได้รับคําทํานายจากหมอดูลึกลับ เตือนพวกเธอให้รู้ว่า ความรักของพวกเธอจะจบลงอย่างไร แสงแดดของบ่ายวันเสาร์ เพลง ที่พูดถึงสายฝน ความง่วงงุนหลังพวงมาลัย เธอลอบมองรอยสักที่ ข้อมือของเธอที่กําลังหมุนพวงมาลัย เส้นผมเรื่อแสงแดด ราวกับมัน เรืองแสงได้ เธออยากจูบเธอทั้งที่เพิ่งรู้จักกันได้ไม่ถึงสองสัปดาห์ รถ มุ่งหน้าสู่ทะเล การตีความเพลงพ๊อพผิด ๆ คําสัญญาเลื่อนลอยอวล อยู่ในอากาศ ถ้ารู้อยู่แล้วว่ามันจะจบอย่างเศร้าสร้อย สิ่งที่เราทําได้ ควรทํา และต้องทํา คือการไขว่คว้ากระจิรดิ ของโมงยามอบอุน่ นี้ และ กอดมันเอาไว้ให้นานที่สุด ทุกอย่างเหือดไปหมดหลังจากเขาลาออกจากบริษัทพร้อมกับ ความรักข้างเดียวของเธอ การชุมนุมสิน้ สุดลง ความรักทีย่ งั ไม่เกิดขึน้ ของเธอสิน้ สุดลง เพือ่ นร่วมงานของเธอกลับคืนสูโ่ ลกใบเดิมของพวก เขาราวกับละครปิดฉากจบซีซนั่ ไม่มกี ารอ่านหนังสือพิมพ์หรือติดตาม เว็บไซต์ข่าว ไม่มีความตื่นตัวของพลเมือง ไม่มีอะไรเหมือนว่าไม่เคย มีอะไรนอกจากความฮึกเหิมปากกล้าเล็ก ๆ เมื่อได้ยินข่าวจากอดีต รัฐบาลที่ถูกล้มไปออกมาแก้ตัว ทุกอย่างกลับคืนสู่ภาวะผิดปกติเช่น เคยมา เธอกลับคืนสูต่ วั เธออีกครัง้ กลับคืนสูเ่ ด็กสาวซีดเซียวไร้เพือ่ น ทีเ่ ศร้าสร้อย เพียงแต่บางอย่างในตัวเธอทีพ่ ลัดหล่น บางอย่างหายไป
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา กวี นักเขียน นักแปล นักฉายหนัง แห่ง Filmvirus
291
ในช่วงเวลาที่เธอไม่เป็นตัวเองที่สุด แต่เข้าใกล้กับคนอื่น ๆ มากที่สุด ความเดียวดายทีแ่ ท้คอื เมือ่ เพือ่ นคนเดียวของเธอซึง่ ตายไปหลาย ปีแล้วตัดสินใจจะไปจากเธอจริง ๆ แมวจรทีเ่ คยแวะเวียนมาก็ไปจาก เธอจริง ๆ พีช่ ายทีม่ าอาศัยอยูก่ บั เธอพักหนึง่ ก็ไปจากเธอจริง ๆ พีช่ าย ที่เป็นเหมือนอีกด้านของกระจก ด้านที่กล้าหาญและแข็งแกร่ง ด้าน ที่เธอได้แต่ยืนมองจากอีกฟาก ยื่นมือลูบไล้ชิ้นส่วนเย็นแข็งที่เป็น ภาพเหมือนตัวเธอแต่ไม่อาจสัมผสต้องได้ ทุกคนไปจากเธอเมื่อเธอ ไปหาคนอื่น และไม่มีใครให้เธอไปหา เธอจึงเหลือตัวคนเดียวยิ่งกว่า ตัวคนเดียวในอดีต ไม่มใี ครลืมเธอ แต่เธอทําบางสิง่ หายไป ค่าใช้จา่ ย ของการต้องการเป็นส่วนหนึ่งของโลกที่เธอไม่ได้เป็น เธอชอบเธอเพราะรอยสัก ตลอดชีวิตเรียบเศร้าที่ผ่านมา เธอไม่เคย เข้าใกล้บรรดาผูค้ นทีม่ รี อยสัก เพือ่ นของเธอไม่มใี ครสัก ผูช้ ายทีเ่ ธอ ชอบก็ไม่มีรอยสัก รอยสักบนข้อมือนั้นเป็นเส้นซึ่งแตกแขนงออกไป รอยสักรูปกิง่ ก้านซึง่ ไร้ใบไม้ รูปซึง่ หนแรกเธอคิดว่ามันเป็นรอยเปือ้ น รอยสักซึ่งอวลอยู่ในเสียงเพลงที่เธอไม่รู้จักในคอนเสิร์ตวงอินดี้ที่เธอ บังเอิญพลัดหลงเข้าไป ข้อมือเล็ก ๆ นั้นชูขึ้นตรงหน้าเธอ สะท้อนไฟ สีแดงจากเวที ฉาบเคลือบฤดูใบไม้รว่ งลงบนข้อมือซึง่ เรียวเล็กเหมือน ข้อมือของเด็กขาดอาหารในเอธิโอเปีย เธอไว้ผมบ๊อบสัน้ แค่คอเหมือน นักเรียนมัธยมปลาย ข้อมือคิมหันต์กวัดไกวในเพลงเศร้าทีเ่ ธอไม่รจู้ กั หลังจากการชุมนุมจบลง บางครัง้ เธอเสพติดฝูงชน การได้เป็นพหูพจน์
292
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
และเคลื่อนไหวไปด้วยอะไรสักอย่างหนึ่งมอบความมั่นคงให้กับเธอ การไม่เป็นทีร่ จู้ กั เฉพาะเจาะจงแต่เป็นหนึง่ เดียวกัน เธอพยายามเรียก คืนตัวตนก่อนหน้าผ่านทางการพยายามทําสิ่งที่ไม่เคยทํามาก่อน กล่าวตามสัตย์มนั คือการพยายามก้าวไปข้างหน้าด้วยตัวลําพังครัง้ แรก ในวงรอบชีวติ ของเธอ นัน่ จนกระทัง่ ข้อมือนัน้ แยกตัวเธอออกมาจาก โลกอีกครัง้ เธอจดจําทํานองของการจ้องมองมันได้ แต่ไม่อาจร้องตาม ไม่รู้ชื่อเพลงหรือศิลปินซึ่งเป็นผู้หญิงผมสีทองคนหนึ่ง ผมสีทองปาก สีแดงสดและเรือนร่างที่คล้ายเพศชาย หลายสัปดาห์ต่อมาเธอควาน หาเพลงนัน้ ทัง้ วันจากอินเทอร์เน็ต พยายามฮัมมันออกมาแล้วค้นหา ในแอพพลิเคชั่น แต่ไม่เคยพบ เด็กสาวนั้นผอมและมีรอยยิ้มลึกลับ ไม่แพ้ขอ้ มือ เธอสวมเสือ้ กล้ามและกางเกงขาสัน้ ตลอดเวลาทีเ่ หลือ เธอเอาจ้องมองแต่ข้อมือน้อยนั้น ปล่อยให้กิ่งไม้ไร้ใบประทับลงบน ตัวเอง เธอมากับชายหนุ่มวัยไล่เลี่ยกัน พวกเขาจับมือกัน เธอซบ ไหล่เขา เพลงนั้นหวานและเศร้า หากเธอเอาแต่คิดถึงใบไม้สีแดงซึ่ง ร่วงหล่นลงจากข้อมือ เรือนร่างซึง่ ถูกผูกโยงกับบางกิง่ ก้านและฝูงชน ที่ยิ้มหัวให้แก่การกวัดไกว หนึ่งในวิธีตายที่เธอเคยคิดถึงเมื่อจินตนาการถึงความตายของเพื่อนรัก เด็กสาวขอไลน์ของเธอในห้องนํา้ รูปโพรไฟล์ของเธอเป็นรูปรอย สักจากข้อมือของเธอเอง รูปโพรไฟล์ของเธอเป็นรูปแมวจรทีส่ ญ ู หาย ไปหลังการรัฐประหาร คืนนัน้ แมวจรแวะมากินปลากระป๋อง หลับอยู่ แทบเท้า เธอยังได้ยนิ เสียงมันร้องตอนตืน่ แต่หาตัวไม่เจอ หากเสียง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
293
ของมันยังคงค้างอยู่อย่างนั้น เธอยังได้ยินเป็นบ้างครั้งราวกับว่ามัน กลับมาแต่มันไม่เคยกลับมา ราวกับว่าเสียงของมันถูกขังอยู่ในห้อง แม้มันจะจากไปแล้ว ปลากระป๋องแห้งกรังในกระทะที่เธอได้มาจาก การจับฉลาก หลังเพือ่ นสาว และพีช่ าย แมวเป็นสิง่ สุดท้ายทีไ่ ปจาก เธอ เช่นเดียวกับท้องถนน ดนตรี คําปราศรัย หรือความรู้สึกของ การกอบกูโ้ ลก การเมืองถอยไปอยูใ่ นทีท่ มี่ นั ควรอยู่ ไกลจากเธอ จาก ทุกคน โลกกลับเป็นปกติ เด็กสาวไลน์หาเธอกลางดึกคืนนั้น แต่เธอ หลับไปแล้ว เด็กสาวบอกเธอว่าฝันดี เธอเห็นมันในเช้าวันถัดมา ตอบ กลับว่า ขอบคุณค่ะ มูนอายุนอ้ ยกว่าเธอหกปี กําลังเรียนภาพยนตร์ปสี ดุ ท้าย ห่างไกล ราวกับมาจากคนละจักรวาล พวกเธอนัดพบกันครัง้ แรกในร้านกาแฟ มูนรู้วิธีที่จะดื่มกาแฟ เอธิโอเปียนั้นชื่นเหมือนดอกไม้ ชื่อประเทศที่ ทําให้นึกถึงแขนเล็ก ๆ ของเธอ เด็กสาวรู้ในสิ่งที่เธอไม่รู้ พูดในสิ่งที่ เธอไม่เคยได้ยนิ เธอชอบการฟังมูนเล่านัน่ นี่ มันทําให้เธอนึกถึงเพือ่ น รักเป็นครั้งคราว บางทีเธอรู้สึกเหมือนตัวเธอคือพื้นที่ว่างโล่งที่สุรีย์ เพือ่ นเก่าและเด็กสาวเดินเข้ามาขอใช้ เธอชือ่ มูน เธอชอบกระทัง่ ชือ่ ของเธอ ชื่อที่ตรงกันข้าม บ่ายของกาแฟเอธิโอเปีย และพระจันทร์ ตอนกลางวัน เธอรู้สึกถึงชีวิตเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี เธอเป็นคนชวนมูนไปเที่ยวบ้าน แรกทีเดียวเธอคิดแค่การนั่งรถ บัสข้ามคืน หรือจองตั๋วเครื่องบินในวันหยุด แต่มูนกลับขับรถของ คนรักมารับเธอในเช้ามืดวันเสาร์ ตีสามหรืออะไรทํานองนัน้ ไปพี่ เธอ
294
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ยังคงไม่ตนื่ เต็มตา ห้องว่างโล่งมีเสียงแมวจรอยูต่ รงนัน้ ตรงนี้ มูนโทร หาเธอจากข้างล่าง ไปทะเลกันพี่ แล้วเธอก็ไป พามูนไปเทีย่ วบ้านโดย ไม่ได้บอกแม่ เธอบอกกับมูนว่าเธอจะไม่เข้าบ้าน เธอรู้จักหาดบาง แห่ง เราไปหาบังกะโลนอนกันข้างหน้าก็ได้ค่ะ เรื่องนี้มูนถนัด เธอ กระโดดขึ้นรถ เปิดกระจกออกทันทีที่รถแล่นออกจากเมือง ลมร้อน ตีผมของเธอทัง้ คู ่ มูนเปิดเพลงทีค่ า้ งอยูใ่ นเครือ่ ง รวมเพลงจากไอผอด ของคนรัก คนรักของเธอเป็นนักเศร้า ทั้งคู่อยู่ไกลกัน เขาจะมาหา เธอเป็นครั้งคราวในวันหยุด ไม่เธอก็ไปหาเขา เขาเป็นรุ่นพี่มูนสอง สามปี ชายหนุ่มคนที่เธอเห็นมูนซบไหล่ในคอนเสิร์ต ร่างท้วมผมสั้น สามัญดาษดื่นจนเมื่อยืนเรียงเคียงกัน เขาดูเหมือนวัตถุมากกว่าคู่รัก คุณสมบัตชิ นิดเดียวกับทีเ่ ธอมี ไม่ใช่เพราะเขาเรียบง่าย แต่เพราะมูน นัน้ โดดเด่นเกินไป คนบางประเภทสุกสว่างเหมือนแสงจันทร์ และคน ทีเ่ หลือก็ทาํ ได้เพียงจ้องมองมัน หลงใหลในแสงนวลซึง่ ไม่อาจเอือ้ มคว้า ถนนทอดยาวออกไป แสงแดดยามสายของฤดูร้อน เด็กสาว สองคนและเพลงเศร้า เธอเคยสัญจรผ่านถนนเส้นนีเ้ ป็นร้อยเทีย่ ว แต่ จดจําเส้นทางอะไรไม่ได้ ถนนทอดสู่บ้านที่นานแล้วไม่ได้กลับไปและ ครัง้ นีก้ จ็ ะไม่กลับไป เธอไม่ได้บอกแม่วา่ จะกลับบ้าน เธอไม่อยากพา มูนไปทีบ่ า้ น เธอคิดว่ามันควรจะเป็นครัง้ แรกของเธอจริง ๆ ทีไ่ ด้ออก เดินทาง การไปชายหาดกับใครบางคนและใช้ชีวิตโดยไม่ถูกจับตา สั่งสอน เฝ้าระวัง แนะนํา ดูแล ตามติดชิดใกล้ มันออกจะพิลึกอยู่ หน่อยทีก่ ารเดินทางไกลโดยลําพัง—หรือกับคูร่ กั หรือกับใครคนอืน่
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
295
เป็นการเดินทางกลับบ้าน จนมาถึงครึ่งทางแล้วกระมังที่ความกังวลค่อย ๆ คลี่ขยาย พวก เธอแวะปัม๊ นํา้ มันยืดเส้นยืดสาย มูนสัง่ กาแฟให้เธอ เธอแวะเข้าห้องนํา้ จากตรงนั้น มองเห็นรถคันคุ้นตาจอดอยู่หน้าร้านกาแฟ รถที่เหมือน กับรถของญาติห่าง ๆ ซึ่งเธอจําทะเบียนไม่ได้ รถนิสสันตกรุ่นสีขาว ฟิล์มกรองแสงกระจกหลังปูดบวมตะปุ่มตะปํ่าและตุ๊กตาสิงโตเก่าซีด เธอเคยนั่งรถคันนี้เพื่อไปชายหาดในตอนเด็ก ๆ ไปเช็งเม้งตอนเดือน เมษา ไปงานศพของญาติทตี่ า่ งจังหวัด เจ้าของรถเป็นชายโสดตาเศร้า เขาอาศัยอยู่กับแม่จนแม่ตาย คอยดูแลป้อนข้าวนํ้าตอนที่ยายนอน แซ่วอยู่บนเตียง น้าชายของเธอเป็นคนเศร้าที่เธอไม่เคยเข้าถึง เขา ไม่นิยมสนทนากับผู้คน บ้านของเขามีแต่ม้วนวิดีโอเก่า ๆ วางเรียง ไร้ระเบียบโดยไม่เคยปัดฝุ่น เธอไม่ได้พบเขาบ่อยนักหลังยายเสีย น้าชายเข้ากันไม่ได้กับแม่และกับคนอื่นๆในครอบครัว เธอมักคิดถึง กลิ่นของเบาะหนังในรถ และเพลงประหลาด ๆ ที่มักจะเศร้า เธอไม่ เห็นเขา ไม่รู้ว่ารถคันนี้เป็นของเขาหรือเปล่า และไม่ได้อยากพบเขา ไม่อยากให้ใครเห็น ตอนนัน้ เองทีเ่ ธอเพิง่ คิดขึน้ ได้วา่ การกลับบ้านเป็น ความคิดโง่ ๆ เธออาจจะถูกพบเห็นได้ตลอดเวลา และภายในไม่ถงึ วัน แม้จะรู้ว่าเธออยู่ที่นี่ การรู้สึกว่าถูกมองเห็นทั้งที่ไม่มีใครมองอยู่คือ สิ่งซึ่งควบคุมเธอมาทั้งชีวิต ทําให้เธอเป็นเด็กดี ทําให้เธอไม่เลือกผิด ทําให้เธอเป็นเธอ ถูกจ้องมองทั้งที่ไม่มีใครมองชั่วนิรันดร์ ถูกมอง ตอนที่สุรีย์ตาย ตอนที่เธอเข้าไปเรียนในกรุงเทพฯ ตอนที่เธอแอบ
296
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ชอบเพือ่ นชาย ตอนทีเ่ ธอไปม็อบ ตอนทีเ่ ธออยูค่ นเดียว แม่นงั่ อยูใ่ น ห้องปิดลับ จอภาพชีวติ ของเธอฉายส่อง ยีส่ บิ สีช่ วั่ โมงต่อวัน เจ็ดวัน ต่อสัปดาห์ ห้าสิบสองสัปดาห์ต่อปี ยี่สิบแปดปี ต่อเนื่องกัน นั่นคือ ความรักของแม่ เธอรอมูนอยู่ที่รถกลางแดดร้อน โดยไม่ยอมบอก อะไรมากไปกว่านั้น การเดินทางไกลเฉาลงเหมือนดอกไม้ตัดก้าน เฉาแดดบ่าย ความกังวลคลี่คลุมความคิด ความรู้สึกเหมือนเด็กที่รู้ อยู่ลึก ๆ ว่าจะต้องถูกจับได้ที่หนีโรงเรียน เธอยังคงยิ้มหัวกับเด็กสาว แต่ลกึ ลงไป สรรพสิง่ เป็นนํา้ ขุน่ ข้นของการกวนตะกอนสํานึกบาปด้วย ความเป็นสุขชั่วแล่น เด็กสาวถอดเสือ้ กล้ามของเธอออกก่อน เธอจึงถอดตาม จากนัน้ ก็กางเกงขาสั้น ทะเลนั้นอยู่ใกล้แต่ไกลลิบหลังเปลือกตาหนาหนัก ม่านพะเยิบไหวอ่อน ๆ แสงแดดโอบกอดทุกสรรพสิง่ อากาศร้อนจน อ่อนล้า การขับรถข้ามคืน ความเหนือ่ ยล้าของการแวะพักนอนอย่าง หวาดระแวงในโรงแรมริมทางเล็กๆและรีบออกมาแต่เช้าตรู ่ เด็กสาว สองคนขดตัวอยูบ่ นเตียงในชุดชัน้ ในตลอดบ่าย เหงือ่ ของเธอซึมเปือ้ น ฟองนํา้ เสริมอก ชืน้ แผ่นหลัง และใบหน้า เธอไม่ได้ยนิ เสียงคลืน่ หรือ เสียงผูค้ นบนชายหาด มีแต่เสียงเครือ่ งปรับอากาศทีไ่ ม่ได้เรือ่ ง เสียง ลมหายใจสมํ่าเสมอของเด็กสาว สะโพกโค้งเปื้อนแดดในชุดชั้นใน สีขาว และเพลงเศร้าที่เธอจินตนาการทํานองขึ้นมาใหม่จากการฟัง เพียงครัง้ เดียว เธอหลับลงไปอย่างนัน้ หลับใกล้ ๆ กับทะเลทีไ่ ปเท่าไร ก็ไม่ถงึ หันหน้าเข้าหาเด็กสาวผมสี สงบราวกับเพือ่ นรักกลับมาเยีย่ ม
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
297
เยือนและใช้จ่ายยามบ่ายไปด้วยกัน เธอตื่นแล้วแต่ยังไม่อยากลุกหรือลืมตา เธอตื่นแล้วตอนที่เด็ก สาวจูบเปลือกตาของเธอ ท่อนแขนเล็ก ๆ วางทาบอยูบ่ นอก อากาศ นิ่งงันหนืดข้น เธอตื่นแล้วตอนที่ปล่อยให้เด็กสาวกอดเธอไว้ จูบ เปลือกตาของเธอ เธอตืน่ แล้วตอนทีท่ าํ เป็นหลับ นึกกังวลถึงเสียงเต้น ของใจตน ตื่นแล้วตอนที่รู้สึกถึงจูบที่อุ่นเหมือนแดดชายทะเล และ ต้นไม้ไร้กง่ิ ก้านกวัดไกวไปในความชืน้ ชุม่ ของเรือนร่างยามบ่าย ห้านาที ที่โลกหยุดนิ่ง คลื่นหยุดกระทบฝั่ง มหาสมุทรหยุดการเคลื่อนไหว มีแต่เธอที่ตื่นอยู่ หลังโมฮิโต้แก้วที่สองโลกก็พร่าพราย เธอไม่ใช่นักดื่ม เรียกว่าในชีวิต แทบไม่เคยแตะเหล้า หากคืนนีจ้ นั ทร์ดกู ระจ่างเกินไปทัง้ ในทะเลและ ที่นั่งฝั่งตรงข้าม กิ่งไม้ที่จะไม่มีใบงอกขึ้นมาใหม่เคลื่อนไหวอย่าง กระฉับกระเฉง ในการยกขวดสีเขียวกระจ่างขึ้นจรดริมฝีปาก กําไล วงเล็ก ๆ สองสามวงกระทบกันเหมือนเสียงกังวานของเพลงนางเงือก ดวงหน้านวลอยู่หลังเบียร์ขวดที่สาม โลกชื่นขึ้นในกลิ่นของมะนาว และสะระแหน่ เธออยากจูบเด็กสาวตรงหน้า ชิมดืม่ รสของพระจันทร์ เต็มดวงกลางมหาสมุทรซึ่งครวญแผ่วราวการหายใจในขณะหลับ พราวไปด้วยแสงสะท้อนสีเงินของความปรารถนา ความเมาไม่กคี่ รัง้ ในชีวติ และความเมามายในรสชาติใหม่ ๆ ทีเ่ ธอเพิง่ เคยได้ลมิ้ เป็นครัง้ แรก ปีกบอบบางของเธอกระพือไม่หยุดหย่อนอยู่ในอก ขณะที่มูน
298
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เริ่มปาฐกถา เกี่ยวกับความเป็นหนุ่มสาวที่เธอเบื่อหน่าย มูนพูดอะไรก็เป็นสิง่ ใหม่สาํ หรับเธอ บิดาของมูนเป็นนักวิชาการ มีชื่อเสียง เขาสอนหนังสือในมหาวิทยาลัย และเขียนคอลัมน์ใน หนังสือพิมพ์ คนที่เธอเคยได้ยินเป็นครั้งคราว เธอจําได้คลับคล้าย คลับคลาว่าเคยอ่านบทความบางชิ้นที่พ่อของมูนเขียน ปิดปากสนิท เมือ่ เพือ่ นร่วมขบวนการบ่นว่าว่ามันเป็นบทความเลวร้ายของพวกขีข้ า้ ทุนนิยม เธอไม่ได้บอกว่าเธอชอบบทความนั้น ไม่ได้บอกมูนด้วย คนรักของมูนเป็นหนึง่ ในพวกนักศึกษาทีอ่ อกไปประท้วงรัฐบาลทหาร พวกแบบทีแ่ ม่มองว่าก่อแต่เรือ่ งไม่จบไม่สนิ้ มูนรับเอาบางสิง่ ของคน เหล่านั้นมา แต่ก็ผลักไสบางส่วนออกไป สําหรับเธอเมื่อคิดถึงพลัง หนุม่ สาว มันทําให้เธอขนหัวลุก เพราะสิง่ ทีห่ ลงเหลือจริงแท้ คือการ ประณามพ่อแม่ตัวเองของพวกเรดการ์ด หรือการร่วมมือกันส่งเชลย ชาวยิวเข้าห้องรมแก๊ส ทุง่ สังหารในกัมพูชา หรือปัญจศีลไล่ฆา่ คนจีน ในอินโดนีเซีย และบรรดาเยาวชนนักชุมนุมทีต่ อนนีถ้ กู ต้อนกลับสูโ่ ลก ของตนพร้อมด้วยใบหน้าเปีย่ มสุขในการสําเร็จความใคร่ทางศีลธรรม ซึ่งอยู่เหนือกฎหมาย การเมือง ความถูกต้องใด ๆ สําหรับเธอพลัง หนุม่ สาวมุง่ มาดปรารถนาไปสูค่ วามไร้ระเบียบและความรุนแรง หาก สิ่งที่หลงเหลือให้จดจําคือความโรแมนติกของการกอบกู้โลก มีหนุ่ม สาวหลายสิบรุ่นแล้วแต่โลกยังคงเลวร้ายลงไปกว่าเดิม หนุ่มสาวเป็น ส่วนหนึง่ ของปัญหา เหมือนทีท่ กุ สิง่ ทุกอย่างเป็นส่วนหนึง่ ของปัญหา มูนเล่าว่าเธอเคยติดตามคนรักไปชุมนุมหน้าสถานีตาํ รวจเพือ่ ช่วยเหลือ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
299
เพือ่ นทีโ่ ดนหมายเรียก เคยสูญเสียเพือ่ นวัยมัธยมทัง้ หมดไปจากความ เห็นต่างทางการเมือง ไม่มอี ะไรเปลีย่ นแปลง เช่นเดียวกันกับหนุม่ สาว ไม่ยอมรับความไร้ความสามารถของตัวเอง พวกเขาจะกลายร่างไปสู่ คนทีเ่ กลียดชัง ส่งผ่านความโรแมนติกอันเศร้าสร้อยนีไ้ ปสูคนรุน่ ต่อไป เธอเกลียดฝูงชน เกลียดการชุมนุม สําหรับเธอคนที่เธอเคารพไม่ใช่ พ่อของเธอ แต่คอื คนทีย่ งั เป็นคอมมิวนิสต์อยูแ่ ม้จะอายุหกสิบ มีชวี ติ ทุกข์ระทม และใช้ตัวเองเป็นเครื่องมือแสดงจุดยืน หนุ่มสาวนั้นหรือ เธอแค่นเสียงเศร้า เศร้าเพราะเธอก็เป็นส่วนหนึง่ ของหนุม่ สาวเหล่านัน้ ต้องการเป็นส่วนหนึง่ แต่ไม่อาจเป็นส่วนหนึง่ กลัวเกินไป ผิดหวังเกินไป เศร้าเกินไป เราทุกคนเป็นเพียงฝูงสัตว์ที่ถูกอุดมการณ์นามธรรม ล่องลอยกวาดต้อนและลากจูงไป เธอรู้ดีว่าความคิดเห็นนี่ไร้ความ หมายและไม่มีทางออก เป็นเพียงข้ออ้างของคนเกียจคร้านไร้สํานึก ทางการเมือง แต่สําหรับเธอการขุดหลุมลึกเพื่อพิสูจน์ตัวเองสําคัญ กว่าการออกไปเป็นพหูพจน์บนท้องถนน บังเกิดบาดแผลลึกลงไป เธอนึกสงสัยว่ามันคือแผลทีเ่ ป็นบทเรียน ที่สอนให้เติบโต หรือการเจ็บปวดของปีศาจในองคาพยพยื่นยาว ไร้ประโยชน์ เป็นปีกของนางฟ้าซึ่งไม่ได้มีไว้บิน แต่ไว้รับรองว่าเธอ เป็นนางฟ้า แม้มันจะเป็นเพียงแค่การผิดรูปของกระดูก เธอรู้สึก เหมือนโดนตบหน้า ความโกรธนัน้ เป็นสิง่ ลึกลับ มันเกิดขึน้ เงียบเชียบ ข้างในเรา เธอรู้ว่ามูนไม่ได้พูดถึงเธอ หรือหมายถึงใครโดยเฉพาะ เจาะจงทั้งนั้น แต่เธอไม่อาจห้ามความโกรธของตัวเองได้ ราวกับว่า
300
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เธอโดนจับได้วา่ ได้กระทําความผิดอันไร้สาระลงไป มันอาจจะแค่การ ตดในลิฟท์ หรือขโมยกินลูกชิ้นของเพื่อน แต่ความผิดคือความผิด การเปิดปากแผลที่พยายามปิดไว้มอบความอับอายมากกว่าความ เจ็บปวดและความอับอายชนิดนีเ้ องทีค่ อ่ ย ๆ กลายเป็นความโกรธ เธอ เงียบลง จ้องมองแสงจันทร์ข้างนอก จ้องมองลมทะเล ให้ลมชื่นล้าง สิ่งที่ไม่ควรอยู่ตรงนี้ออก เราไม่ค่อยชอบพูดเรื่องการเมืองอะ เธอ อาจจะพูดเบา ๆ ให้เหมือนพูดกับตัวเอง มูนอาจจะรูว้ า่ ตัวเองพูดมาก ไปแล้ว เธอจึงร้องสั่งเบียร์อีกขวด และสั่งโมฮิโต้อีกแก้วให้กับเธอ บทสนทนาเลื่อนไหลออกไปสู่สิ่งอื่น ๆ สู่แสงจันทร์ หนังที่ทั้งคู่เพิ่งดู ความรักและความโดดเดี่ยว กลางคืนเยือกเย็น แสงจันทร์สาดส่อง และเธอทั้งคู่ต่างมีความเศร้าเป็นของตัวเอง กลับถึงห้องด้วยความมึนงง โลกเจือแสงจันทร์เหวีย่ งเธอไปรอบ ๆ เสียงของทะเลทําให้เธอมวนท้อง เธอล้มเผละลงบนเตียง โดยมีเด็ก สาวนอนลงเคียงข้าง เสียงดนตรีสดจากบีชบาร์แว่วมาโดยไม่อาจจับ เนื้อความใด ๆ เพลงรักเชย ๆ อีกเพลงหนึ่ง มูนเอื้อมมือมากอด วาง ฝ่ามือลงบนถันของเธอ หน้าแดงซ่านในความมึนเมา สัมผัสถึงนํ้า หนักที่กดลงแต่ความอบอุ่นจะไม่ผ่านฟองนํ้าดันทรงลงมา เธอผ่าว จากภายใน ชุม่ ด้วยแอลกอฮอล์และความปรารถนา หากขืนต้านโดย ไม่ร ตู้ วั ลุกขึน้ มานัง่ ควานหารีโมททีวกี ดเปิด ผูช้ ายจ้ออยูใ่ นโทรทัศน์ เธอรู้สึกถึงดวงตาเด็กสาวจ้องมองแผ่นหลังของเธอ เธอคิดว่าบางที มันง่ายกว่าทีจ่ ะปล่อยให้ทกุ อย่างหลุดมือไปและทําใจยอมรับว่าไม่วา่
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
301
ใครจะมีอาํ นาจชีวิ ติ ของเธอก็จะไม่เปลีย่ นจากนี้ การเมืองไร้ประโยชน์ สําหรับเธอ ชีวิตก็ด้วย ไม่ว่าใครก็เหมือนกัน มูนร้องขอให้เธอปิด แต่เธออยากเปิดมันไว้ เพือ่ เตือนตัวเองไม่ให้ ปล่อยเนือ้ ปล่อยตัวไปกับแสงจันทร์ การสัมผัสหน้าอก ปากสีแดงของ เด็กสาว เธอซึ่งยังคงพรหมจรรย์ควรจะละอายต่อแม่ซึ่งจ้องมาจาก ตรงนัน้ ตรงนี ้ เธอบอกมูนว่า เปิดไว้ได้หรือเปล่า แล้วล้มตัวลงนอน รับรู้รสชาติของการเบีียดเนื้อนิ่มเข้าหากัน มูนปล่อยให้แขนของเธอ แนบอยู่กับเนื้อเนินอก พลันไฟฟ้าดับวูบ จอทีวมี ดื ดับ โลกเงียบลงจนได้ยนิ เสียงจันทร์จบู มหาสมุทร ห้องจมในความมืด เสียงคลืน่ อือ้ อึงอยูข่ า้ งนอก หน้าต่าง ทีเ่ ปิดทิง้ ไว้ปล่อยลมพะเยิบม่านสีขาว เสียงโมบายปะการังตายกรุง๋ กริง๋ อยูต่ รงไหนสักแห่ง มูนจูบเธอ จูบในความมืดซึง่ ชืน้ อุน่ และเศร้า เธอ ปล่อยทุกอย่างลงเหมือนปล่อยตัวเองออกจากการเมือง จูบอุ่นของ มูนต่างจากจูบแรกของเธอกับสุรยี ์ หรือจูบอืน่ ๆ เธอกอดเธอ สอดมือ เร่าร้อนเข้าไปในเสื้อ ปลดตะขอยกทรง หอบหายใจหนักหน่วง แล้ว ไฟก็สว่างขึน้ ทีวกี ลับคืนมาแผดดัง ทัง้ คูส่ ะดุง้ ผละออกจากกัน หัวเราะ เก้อเขิน เธออยากจะคว้าร่างนั้นมากอดไว้ แต่เธอไม่ได้ทํา เธอนอนอยู่ นิ่ง ๆ นอนตะแคงในยกทรงที่ปลดตะขอแต่ยังไม่ถูกถอดออก มูน ตะแคงจ้องมองเธอ รู้สึกหงุดหงิดอย่างไม่มีเหตุผลที่ถูกรบกวน เธอ รูส้ กึ ถูกคุกคาม ถูกสอดส่อง ถูกท้าทาย เราควรจะปิดโทรทัศน์ในคืน
302
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
วันศุกร์เพือ่ เฝ้าฟังเสียงทะเลและร่วมรัก ปรารถนาใด ๆ ทีม่ คี ลานกลับ เข้าไปในบ่อลึกทีม่ นั ปีนขึน้ มา เธอนึกรําคาญหญิงสาวขึน้ มาดือ้ ๆ ถึง เวลาต้องยอมรับตัวเองว่าเธอวิ่งหนีคนรักเดินทางมาไกลกับสาวรุ่นพี่ หวังลึก ๆ จะได้มอบประสบการณ์ทางเพศให้กับสาวลูกจีนหน้าจืดที่ คงจะไปชุมนุมกับเขามาด้วย ความโกรธในจิตใจพุง่ พล่านจนยากระงับ คนพวกนี้เองที่ทําให้ทุกอย่างเป็นแบบนั้น หญิงสาวเอื้อมมือมาแตะ ไหล่ มูนสะบัดมือเธอออกโดยไม่รู้ตัว แล้วเดินเข้าห้องนํ้า คํ่าคืนดําเนินไปอย่างนั้น ดําเนินไปกับแสงจันทร์ที่ส่องสะท้อน อยูน่ อกห้องน้อย ดําเนินไปกับเสียงคลืน่ เศร้าสร้อยสีดาํ ดําเนินไปกับ ตะขอชั้นในที่ไม่ถูกใส่คืนและไม่ถูกถอดออก เด็กสาวสองคนนอน หันหลังให้แก่กนั บาร์รมิ หาดปิดตอนเทีย่ งคืน เพลงสุดท้ายทีพ่ วกเขา เล่นเป็นเพลงรักหวานที่เธอจําทํานองได้แต่นึกชื่อเพลงไม่ออก เธอ นอนฟังมันเงียบ ๆ คิดหาหลายร้อยเหตุผลที่คืนนี้จบลงอย่างงดงาม ด้ วยความสัม พัน ธ์เพลโตของพี่สาวน้ อ งสาว นํ้ า ลงตอนกลางคื น ชายหาดเหือดแห้ง แม่จอ้ งมองมาจากปากประตูของห้องนํา้ จากทีวี ที่ถูกปิด คุณธรรมความดีโบยตีเธอซํ้าแล้วซํ้าเล่า โทษฐานของการ ออกนอกลู่นอกทาง บางสิ่งอยู่ใกล้แต่ถึงที่สุดก็ไกลออกไป และเรา ปลอบใจตัวเองว่าถูกแล้วที่ไม่เผลอไผล แต่ยิ่งปลอบตัวเองก็ยิ่งรู้สึก เจ็บปวด ความโกรธเมื่อหัวคํ่ากลับมาเอ่อท้น การยอมรับว่าเธอเป็น อย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็นการสาวไส้ทุกอย่างออกมา การเปิดเผย ความผิดพลาดเล็ก ๆ จะนําไปสูก่ ารค้นพบว่าตัวเธอเป็นเพียงเรือนร่าง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
303
พองลมซึ่งเธอจะยอมให้มันเกิดขึ้นไม่ได้ เธอถามเด็กสาวว่าขับกลับคนเดียวได้หรือเปล่า มูนพยักหน้า ความมั่นใจแบบเดิม ๆ คืนกลับมาหาเธอ กลับไปหาคนรัก เป็นอีก เรื่องดี ๆ ในชีวิต เธอบอกว่าจะโทรรายงานเธอเป็นระยะ ความโกรธ สงบลงพร้อมความปรารถนา หรือความติดตาต้องใจใด ๆ ทุกอย่าง จางหายเหมือนควัน เธอมองเห็นความจริงว่าเธอแค่อยากเดินทางไกล และเธอได้ทําแล้ว เธอไม่ได้แม้แต่สัมผัสเธอ ข้อมือของเธอยังคง กระฉับกระเฉงขณะหยิบแว่นกันแดดขึ้นสวมและหักเลี้ยวพวงมาลัย คืนสู่ถนน ลึก ๆ บางส่วนสูญหายไป เธอจะรู้สึกถึงมันในอีกหลายปี ต่อมา ในความมั่นใจแบบผิด ๆ ว่าเธอกําลังทําสิ่งที่ถูกต้อง เธอจะ คิดถึงหญิงสาวซีดเศร้าที่เคยชิดใกล้ในคืนหนึ่ง มอบความผิดหวัง โดยไม่ให้เหตุผล และจากมาราวกับว่าตัวเองเป็นวีรสตรี ไม่ใช่คน ชั่วช้าปลิ้นปล้อน ความรู้สึกที่เธอจะไม่รู้ที่มาที่ไปแต่ทําให้เธอเศร้า เธอตัดสินใจจะอยูบ่ า้ นต่ออีกสองวัน นึกกังวลว่าจะอธิบายกับแม่ ยังไงเรื่องผิวที่คลํ้าขึ้นหรือการที่กลับบ้านโดยไม่บอกกล่าว บางที อีกหลายปีเธออาจจะหวนคิดถึงเรื่องนี้ ตอนที่เธอมีลูกเล็ก หรือเป็น สาวโสด ครัง้ หนึง่ เธอเคยมีชวี ติ สุดเหวีย่ ง เดินทางไกลไปกับหญิงสาว คนหนึง่ ซึง่ เธอจะปกปิดใบหน้าเอาไว้ หรือทําให้มนั ค่อยจางไปจนเหลือ แต่ขอ้ มือกับรอยสักและความผิดหวัง ไปกันกับเพือ่ นอีกคนหนึง่ เรา ไปทะเลกัน มันเป็นชีวติ ทีด่ ี หลังจากโลกเข้ารูปเข้ารอย การนึกถึงการ นึกถึงเรื่องเหล่านี้ในอนาคตทําให้เธอร้องไห้ ทําให้ความโกรธเอ่อท้น
304
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
อีกครัง้ และท่วมทับจนเธอหายใจไม่ออก ขณะรถคันนัน้ แล่นออกไป ข้ามสะพานไป ขับออกไปจากชีวิตของเธอ ชื่อเรื่องจากบางส่วนของเนื้อเพลง ‘เป็นเพราะฝน’ โดย POLYCAT Dedicated to ALICE MUNRO
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
305
เ มื อ ง ง า ม ( ขอ ที่ ยื น ใ ห้ ค น ดี ) ภู กระดาษ
/ Fiction /
ยื
นกอดลูกอยูก่ ลางห้อง สัน่ ทดทัวทัง้ ร่าง แววตาของเธอตระหนก ตืน่ ในอ้อมกอดคุกายผะผ่าวของลูกสาวแผ่เต็มร่างของเธอ เหือ่ ไหลปุดออกมาเฉกเช่นเหือ่ ยางตายไคลค้าว คลุง้ กลิน่ ความตายราวกับ เพลิงที่ลุกไหม้จากการระเบิดของระเบิดนิวเคลียร์ เขายืนเกร็งกําด้ามมีดปลายแหลมจนไม่รู้สึกว่ากําเกร็ง กร้าน แดดลมใบหน้าตึงเขม็ง ร่องระหว่างคิ้วรอนสันสองสามรอนสูงเด่น เสียงอึกทึกและหวีดร้องใกล้เข้ามาจนรูส้ กึ วูบวาบตามร่างกาย หน่วย ปฏิบัติการกําลังมุ่งมั่นขึงพรืดเพื่อนบ้านของเขา จับถอดเสื้อผ้า ตรึง ราบลงกับพืน้ แล้วบรรจงทุบองคชาตและอัณฑะจนป่นปี้ รวดเร็วและ เฉียบขาด แต่เสียงหวีดร้องนัน้ โหยหวนยาวนาน เขาพยายามปลอบใจ ตัวเองว่า แม้วา่ เขาและครอบครัวจะเห็นด้วยกับอีกหลายสิบครอบครัว อาจจะเกินครึ่งของหมู่บ้าน แต่ก็ไม่ได้แสดงอาการประเจิดประเจ้อ และไม่ได้เป็นกลุม่ แกนนําตัวตัง้ ตัวตีแต่อย่างใด กระนัน้ ก็มอิ าจวางใจ อะไรได้เลย เขาจึงเตรียมพร้อมและพร้อมทีจ่ ะแลก อีกไม่เกินชัว่ อึดใจ คงจะถึงคิวของเขา ประตูบา้ นงับปิดแน่นหนา ถนนทุกสายหนาแน่น ไปด้วยกองกําลังติดอาวุธ ดวงตระเว็นยังเผยกลิ่นอันสดชื่นแต่ก็เย็น เยียบถึงขั้วหัวใจ “พร้อมไหม” เขาถามภรรยาและลูก เมื่อเสียงหวีดร้องดังใกล้ เข้ามาเรื่อย ๆ “พร้อม” เสียงของภรรยาตอบ “หากมีชาติหน้าอยู่จริง ขอให้เราได้เกิดมาอยู่ร่วมกันอีก”
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
ภู กระดาษ นักเขียนชาวอีสาน เ จ้ า ข อ ง ผ ล ง า น ก วี นิ พ น ธ์ ไม่ปรากฏ นวนิยาย เนรเทศ รวมเรื่ อ งสั้ น ดั่ ง เรื อ นร่ า งไร้ องคาพยพ และ ชัว่ โมงก่อนพิธี สวนสนาม
307
“ขอให้เป็นเช่นนั้น” “แม่ หนูกลัว” ความรูส้ กึ ในครัง้ นัน้ ประเดประดังจะบ่อนชอนและปรากฏภาพเช่นนี้ ทุกครัง้ ในระหว่างทีเ่ ขากรํางานในไร่นา ในจังหวะทีล่ บั สายตาของเหล่า ผู้ติดอาวุธยืนคุมทํางาน ในจังหวะนั้นแหละที่ภาพต่าง ๆ ในคืนนั้น มักจะปรากฏขึน้ มาในความรูส้ กึ ของเขาอย่างชัดเจน เขามักจะอ้อยอิน่ รับเอาความรู้สึกจากในคืนนั้นมาหล่อเลี้ยงตนเองอยู่เสมอ ๆ เช่นนี้ เมื่อมีจังหวะเหมาะ ๆ ลูกสาวและภรรยาของเขาหรือของใคร ๆ ส่วนใหญ่ เป็นเวลา นับเดือนมาแล้วทีถ่ กู กวาดต้อนไปรวมตัวกันอยูต่ ามวัด โรงเรียน และ โรงพยาบาล ไปรวมกันอยู่ที่นั่นเพื่อผสมพันธุ์ด้วยการผสมจริงจาก เหล่าผู้ปฏิบัติการที่ถูกคัดเลือก-คัดสรรมาแล้วเป็นอย่างดีแล้ว และ เพื่อคลอดบุตร-ธิดาออกมา เขารอดพ้นจากการปฏิบัติการตอนในครั้งนั้นมาได้โดยที่จํานวน เพื่อนบ้านของเขามีไม่ถึงยี่สิบคนที่ถูกทุบองคชาตและอัณฑะ มัน เป็นการปราบปรามครัง้ รุนแรงทีส่ ดุ นับตัง้ แต่เขาได้ประสบพบเจอมา ในหมู่บ้านของเขาและในชีวิตของเขา ทว่าปฏิบัติครั้งนั้นก็ต้องยุติลง เพราะพวกเขายิ่งปราบก็ยิ่งทําให้ขาดแคลนแรงงานในการผลิตลง การทุบองคาชาตและอัณฑะมีผลเสียร้ายแรงต่อพวกเขา คนที่โดน ทุบจนแหลกละเอียดหากไม่ลม้ ตายไปด้วยแผลอักเสบและการติดเชือ้
308
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
อยูร่ อดปลอดภัยมาได้ คนพวกนัน้ ก็เหมือนซากศพทีเ่ ดินได้เท่านัน้ ใช้ ประโยชน์อะไรก็ไม่ได้ ซํา้ ยังสิน้ เปลืองทรัพยากรเลีย้ งดูอกี มาตรการ ปราบปรามแบบนัน้ จึงถูกยกเลิกไป หลังประกาศใช้ได้เพียงไม่กเี่ ดือน แต่กระนั้น-คนที่รอดมาได้จากการปราบปรามในครั้งนั้น จะถูก จับตาและอยู่ภายใต้กฎอันเคร่งครัด ทุกคนถูกจับไปใส่กระจับครอบ เครื่องเพศที่ทําขึ้นมาในทรงเดียวกับกางเกงชั้นในและล็อคแน่นหนา ด้วยระบบเดียวกับระบบล็อคของตูเ้ ชฟนิรภัย จะขีจ้ ะเยีย่ วก็เยีย่ วก็ขี้ หมักหมมอยู่ในนั้น แต่ทว่ามันก็ไม่สามารถควบคุมได้เบ็ดเสร็จอย่าง ที่ ตั้ ง ใจมุ่ ง มั่ น ไว้ เมื่ อ เขาและเพื่ อ นบ้ า นของเขาหาวิ ธี ก ารจั ด การ กับกระจับครอบนั้นได้สําเร็จโดยการช่วยเหลือจากบางคนในหน่วย ปฏิบตั กิ าร ก่อนทีใ่ ครคนนัน้ จะถูกจับกุมตัวได้และถูกลงโทษโดยการ ฝังทั้งเป็น ปฏิบัติการแพร่ขยายพันธุ์จึงถูกนํามาทดแทน และกําลัง ปฏิบัติการมาได้หนึ่งเดือนแล้ว เจ็ดร้อยหลังคาเรือนไม่มากไปกว่านีบ้ นพืน้ ทีร่ าบลุม่ และเนินดอน ของทีต่ งั้ หมูบ่ า้ นของเขา มีโรงเรียนขนาดใหญ่ มีวดั ขนาดใหญ่ มีโบสถ์ คริสต์ขนาดใหญ่ มีมัสยิดขนาดใหญ่ มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มี หน่วยงานด้านความมั่นคงที่เข้มแข็ง มีหอกระจายข่าวเสียงตามสาย ที่ออกอากาศตลอดทั้งวันทั้งคืน มีสถานีโทรทัศน์ของหมู่บ้านที่ออก อากาศทั้งวันทั้งคืน และเกือบทุกคนต้องฟังต้องดูเฉพาะช่องสถานี เหล่านี้เท่านั้น มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ทั้งร่วมทุนกับต่าง หมู่บ้านและผูกขาดเพียงไม่กี่เจ้า ไทบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
309
กสิกรรมประสานปศุสตั ว์บนผืนดินของตนเอง ครอบครัวละห้าไร่-สิบ ไร่ มีส่วนน้อยประกอบอาชีพพนักงานประจําโรงงานอุตสาหกรรม และส่วนน้อยมาก ๆ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรม ค้าขายพร้อมอาชีพ กสิกรรมประสานปศุสัตว์ไปด้วย คนกลุ่มนี้จะมีที่ดินเป็นของตนเอง ครอบครัวละพันไร่ถึงหมื่นไร่ มีการศึกษาในขั้นสูงสุด ครอบครอง เงินทุนจํานวนมหาศาล และเป็นผู้ปกครองบริหารจัดการหมู่บ้าน ก่อนหน้านี้หลายสิบปีคืนหลัง ความสงบสุขปกคลุมหมู่บ้าน ของเขาราวกับรสซ่านลิ้นของไวน์ราคาแพงหมักบ่มยาวนานชั้นหนึ่ง รอยยิม้ ดาษดืน่ ดุจเสียงลมพัดในฤดูพายุ ทุกอย่างเคลือ่ นไหลไปอย่าง สายนํ้าจากเทือกภูลงสู่ทะเล ในความเป็นไปเหล่านั้นถูกควบคุมด้วย ความรูส้ กึ เป็นหนึง่ เดียว จนกระทัง่ วันหนึง่ ทีไ่ ทบ้านส่วนน้อยเริม่ รูส้ กึ ว่าไทบ้านส่วนใหญ่จะขยายตัวเพิ่มจํานวนขึ้นมากในทุกชั่วโมง และ ยากต่อการควบคุมมากขึ้นเรื่อย ๆ ความเสื่อมทรามต่อหมู่บ้านจึง ปรากฏขึน้ ในรูปแบบของการตัง้ คําถาม แค่เพียงไม่กคี่ าํ ถามก็มากพอ ที่จะถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของหมู่บ้านและความมั่นคง ของพวกเขาแล้ว และนัน่ เองจึงมีมาตรการควบคุมและปราบปรามให้ อยู่ในความสงบเรียบร้อยตามมา หลายวิธีกระทําการมาแล้วในรอบหลายปีที่ผ่านมานี้ แต่ไม่ สัมฤทธิผ์ ลได้อย่างเป็นทีน่ า่ พึงพอใจ จนกระทัง่ ใช้วธิ กี ารในปัจจุบนั ที่ กําลังดําเนินการอยูน่ ้ี มีวธิ กี ารนีว้ ธิ กี ารเดียวเท่านัน้ จึงจะรักษาความดี ความงาม ความจริงอันบริสุทธิ์ของหมู่บ้านเอาไว้ได้ และจะดํารงอยู่
310
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ด้วยความวัฒนาสถาพรสืบไป เขาเงยหน้ามองแสงจ้าที่ระยิบระยับ เหื่อไหลปานอาบนํ้า ก่อนจะ ก้มหน้าก้มตาทํางานต่อไป เขาไม่มเี วลามาอ้อยอิน่ อะไรอีกต่อไปแล้ว เมื่อผู้คุมเดินขึงขังเข้ามาใกล้มากขึ้น.
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
311
สั ต ว์ ป ร ะห ล า ดใ น ค วาม รั ก ชาคริต คําพิลานนท์
/ Fiction /
วั
นหนึง่ ผมบอกรักคุณ คุณ—คนทีเ่ ป็นคุณ และผม—คนทีย่ งั เป็น ผม วันนั้นต่อมาได้กลายเป็นอีกวันหนึ่ง เป็นภาพเลือนลางของ วัน–วันหนึ่ง เป็นอดีต เป็นวันวาน เป็นความทรงจํา อย่างเดียวกับ ความรักในวันนัน้ ทีต่ อ่ มาก็กลายไปเป็นอีกหลายสิง่ ในบางครัง้ เมือ่ ยัง นึกถึงวันนั้น ผมพบว่าตัวเองอาจแค่จําลองมันขึ้นมา แค่เรื่องสมมุติ และหากวันเก่าวันนัน้ ไร้รอ่ งรอยว่าเคยมี ผมก็คอื ส่วนจําลองอันชํารุด ของการสมมุติ การสมมุตถิ งึ คนสองคน สมมุตถิ งึ คําบอกรัก สมมุตถิ งึ ความรัก แม้วา่ พรุง่ นีเ้ ราจะถูกพูดถึงเป็นอย่างอืน่ ไปแล้วก็ตาม เพราะ หลังจากความตาย เรามักจะถูกทําให้กลายเป็นสิง่ อืน่ แต่ถงึ อย่างนัน้ ในตอนนีค้ วามปราถนาของผมก็ยงั ปล่อยให้ใครคนหนึง่ ในวันนัน้ คือคุณ และอีกคนคือผม เป็นกันและกันอย่างคลุมเครือ เล่ากันว่า อดีตรัก นั้นยิ่งเราพยายามไล่เรียงลงไปมากเท่าไหร่ ตะกอนของความผูกพัน กับละอองของความลวงหลอกยิ่งแน่นแฟ้นต่อกันเหมือนคู่รักคู่หนึ่ง ในม่านหมอก ทั้งสองอาศัยอยู่ด้วยกันที่นั่น ต่อมาเริ่มทําตัวแทนที่ กันและกัน ปกคลุมบางสิ่งและซ่อนเร้นบางสิ่งเอาไว้ สุดท้ายแล้ว เรื่องราวต่าง ๆ ทั้งหมดนั้นไม่ใช่แค่ความรัก และความรักก็ไม่ใช่แค่ ความรัก แต่เป็นสิ่งซึ่งคอยกลืนกินกันและกัน เหมือนคนที่ลงมือฆ่า เราและให้กําเนิดเรา เพียงเพื่อยืดยาวไปสู่ความไม่สิ้นสุด เหมือน ระลอกคลื่นในความไม่รู้ของเราเกี่ยวกับจักรวาล เกี่ยวกับดาวดวงนี้ และอีกหลายอย่างที่ยังไม่ยุติ เคยมีชนเผ่าในอดีตตัดข้อนิว้ มือของตัวเองเพือ่ เป็นการเตือนใจถึง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
ชาคริ ต คํ า พิ ล านนท์ นั ก เขียนอิสระ เกิดและใช้ชีวิตส่วน ใหญ่อยู่ที่กระบี่
313
คนทีเ่ พิง่ ตายจากไป บางนิว้ แทนพ่อ บางนิว้ แทนคนรัก พวกเขาไม่ได้ เศร้าใจ ไม่ได้เจ็บปวด มันยืนอยู่บนฐานอันงดงามของการเสียสละ ทว่าอีกด้านหนึ่ง มันเป็นการเย้ยหยันความตาย เหมือนท้าทายด้วย การคืนชิ้นส่วนของร่างกายนั้น ร่างกายที่เราไม่เคยเป็นเจ้าของ ผม เรียนรู้แล้วว่าไม่จําเป็นต้องผลักชีวิตทั้งชีวิตให้ตายตามใครอีก หรือ หากจะฆ่าตัวตาย มันก็ควรเป็นทางเลือก ไม่ใช่ทางสุดท้ายในหัว นัน่ เพราะความยโสหนึ่งเดียวของดาวดวงนี้ที่กดเราไว้ได้คือความตาย เป็นแส้เส้นเดียวที่ใช้หวดหลังของเราให้เคลื่อนไปข้างหน้าด้วยความ กลัว …ไม่รจู้ ะเริม่ ต้นจากตรงไหน เพราะห้วงเวลาหนึง่ ๆ ของผมมอด ไหม้ไปหมดแล้ว แม้ขณะนี้ เถ้าถ่านของความจริงและความรู้สึกใน ความจริงต่างปลิดปลิวกร่อนกลายไปในอากาศ ผมเหมือนคนเสียสติ ในขณะที่วันเวลาเหมือนคนป่วยไข้ หรือเป็นเราทั้งคู่ที่เรื้อรังด้วยโรค อันรักษาไม่หาย หลังคุณตาย ผมรู้สึกเหมือนตัวเองสาบสูญ เกาะที่ ไม่เหลืออยู่ในแผนที่ หลายครั้งที่ผมพบว่าตัวเองหลงอยู่ในวันที่เคย บอกว่ารักคุณ เคยมีคณ ุ อยูเ่ คียงข้าง ผมรูด้ ี เวลาบนดาวดวงนีไ้ ม่เคย เดินถอยหลัง แต่ละครั้งมันผันตัวมันเองเป็นวินาที เป็นนาที เป็น ชัว่ โมง เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี เป็นศตวรรษ แต่ทกุ ครัง้ หรืออาจจะ แค่บางครัง้ มันทําเหมือนกับว่ากําลังทวนเข็มของนาฬิกาบนข้อมือของ ผม และห่างออกไปจากผม เหมือนการบอกทางของคนโกหก ที่จริง แล้ววันเวลาเคลือ่ นไหวแบบไหน ผมจนใจจะค้นหาคําตอบ มีนกั ปรัชญา มากมายพยายามหาวิธอี ธิบายความวิกลจริตของประวัตศิ าสตร์กาล
314
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
เวลา แต่เชื่อเถอะ ไม่มีวันที่ใครจะรู้กลไกของเรื่องนี้ ผมขบคิดจน พบแล้วว่าทางเลือกมีแค่สองอย่าง คือหนึ่ง ผมควรเชื่ออย่างโง่งมว่า พระผู้เป็นเจ้าสร้างกาลเวลา และสอง ผมควรเชื่ออย่างโง่งมว่ากาล เวลาเป็นสิง่ ทีไ่ ม่มคี าํ ตอบ การเลือกแบบไหนก็เหมือนกัน และผมยินดี ที่จะเลือกเป็นคนโง่ที่ไม่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าก่อนเป็นลําดับแรก ใน ตอนนี้ ถ้าผมแค่เหม่อมองผ่านบานหน้าต่าง ไม่ไกลออกไป ผมรูด้ ี ผม จะได้เห็นภาพของคุณอีก คนที่ผมเคยบอกรัก แต่มันเป็นเพียงภาพ หลอกหลอนเกีย่ วกับคุณ ใต้การกํากับของห้วงเวลาอีกแห่งหนึง่ หรือ ในความทรงจําของวัน-วันหนึง่ เท่านัน้ ในความตาย—ทีต่ ายไปซํา้ แล้ว ซํา้ เล่าของคุณ ในลําคออันแห้งผาก ชีวติ ของผมต่อมาทีแ่ ห้งแล้งสิน้ ดี เหมือนเช้านี้ ผมค่อย ๆ รับรูก้ ารตืน่ ด้วยซากของแมงเม่าบนหน้ากระจก คู่ปีกเล็ก ๆ เหล่านั้นคลํ้าฝน เมื่อคืนฝนตกหนัก ผมไม่มีรายละเอียด เกี่ยวกับเมื่อคืน ที่บอกว่าเมื่อคืนฝนตกอาจเป็นแค่ส่วนจําลองที่เผื่อ ไว้ให้ผมสมมุติ แต่ฝนคงตกหนักจนร่างกับปีกของมันต้องฉีกขาดออก จากกัน ผมพยายามไม่นกึ ถึงคุณ บนหน้ากระโปรงรถคันสีนาํ้ ตาล ใต้ ที่ปัดกระจก แต่เมื่อปีกเหล่านั้นบางปีกเริ่มปลิดปลิวกันไปเหมือนมี ชีวิตอีกครั้งหลังความตาย ผมกลับยิ่งคิดถึงคุณ ผมรู้ถึงการเต้นของ ใจที่อ่อนแอ มันกําลังจะเป็นร่างแรกของทั้งหมดที่ผมจะเล่า ฟังสิ หัวใจที่ผมไม่เคยรัก ผมรับรู้ถึงมันก็ตอนนี้ บนพวงมาลัยของรถ ผม ซุกหน้าลงบนแขน เผือ่ ทุกอย่างจะกลับไปตรงจุดเดิม ทีเ่ ช้าใดเช้าหนึง่ ของชีวิต มือประหลาดของผมกลางอกทิ้งตัวลงบนขาข้างหนึ่ง ผม
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
315
หลับตา และผมเริม่ ได้ยนิ … เสียงเท้าทัง้ สองของคุณ เสียงทีก่ าํ ลังเดิน ใกล้เข้ามา เปิดประตูอีกข้างหนึ่ง บอกกับผมด้วยประโยคเดิมเพียง ประโยคเดียว เวลาทีผ่ มกําลังขับรถ ผ่านไปตามถนน ตรงออกไปชานเมือง จะ มีเมืองเล็กเมืองหนึ่ง มีชายฝั่ง มีทะเลสาบ มีป่าชื้นฝน มีเนินเขา ลูกเตี้ย ๆ อยู่ไกล ๆ สิ่งเหล่านั้นเหมือนถูกประกอบเข้าด้วยกัน เป็น จํานวนทีล่ งตัวและค่อนข้างสมบูรณ์ราวกับกระดานหมากรุก ระหว่าง ทางมี ส ะพานข้ า มหนึ่ ง แห่ ง สะพานแขวนเก่ า หลั ง สงคราม และ ระหว่างนัน้ คือตึกต่างยุคทีห่ น้าตาคล้ายคลึงกัน ผมเป็นเจ้าของรถเก่า คันหนึ่ง สีนํ้าตาลของมันเจือด้วยสนิมเขละขละ เปราะและท่าทาง งีเ่ ง่า รถคันนีเ้ ป็นของทีพ่ อ่ ทิง้ ไว้ให้ สิง่ เดียวทีพ่ อ่ ใช้ชวี ติ จนเหลืออยูใ่ ห้ นึกถึง ผมตืน่ ขึน้ มาพร้อมกับมัน กระจกทีห่ มุนไม่ได้ขา้ งนัน้ หม่นหมอง มองเข้ามาจึงไม่เห็น ภายนอกเราเลยดูคล้าย เหมือนพี่กับน้อง และ ภายในของเราคละคลุ้งด้วยกลิ่นอับ กลิ่นของการทับถม มีแต่กอง สมุดบันทึกอยูต่ รงทีน่ ง่ั ข้าง ๆ กับแผ่นเพลง ซองบุหรี่ ไม่มใี ครนัง่ ตรงนัน้ มานานแล้ว ผมเก็บอัลบัม้ รูปถ่ายเก่า ๆ เอาไว้ในลิน้ ชัก ถ้าเปิดออกมา ก็คงหล่นเรี่ยพื้น รูปถ่ายหลายรูปหายไปแล้ว เหมือนจะหายไปเสีย เฉย ๆ เว้นเพียงที่ว่างเอาไว้ในอัลบั้ม ผมใจหายทุกครั้งเพราะไม่รู้ว่า ในรูปนัน้ ใครกันแน่ทห่ี ายไป แต่รปู ถ่ายหลายรูปผมเป็นคนถ่าย บางรูป พ่อถ่าย บางรูปแม่ถา่ ย คุณไม่เคยถ่ายรูปเลย แต่รปู ส่วนใหญ่กลับเป็น รูปของคุณ รูปเกี่ยวกับคุณ บางรูปบันทึกคุณกับเมือง บันทึกคุณกับ
316
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
รถของผม กับทีน่ ง่ั ตรงนี้ ตรงเบาะหลัง ตรงกระโปรงข้างหน้า แผ่นหลัง ของคุณกับแดดสุดท้ายในวันทีผ่ ตี ากผ้าอ้อม และคุณกับผม มีรปู แมว ทีเ่ ราช่วยกันเลีย้ ง แต่วนั หนึง่ ถูกงูกดั ตายระหว่างทีม่ นั ออกไปนอกรถ แมวตัวสีเทา หางชี้เรียว คุณร้องไห้เมื่อเราเปิดประตูออกไป คุณยัง เรียกชื่อของมัน เรียกหามันในความฝัน หลังจากกล่อมคุณจนหลับ ผมร้องไห้ไม่ได้น้อยกว่าคุณ วันนั้นผมนั่งลงและร้องขอให้มันกลับมา เกิดเป็นเพื่อนของเราอีก วิงวอนทั้ง ๆที่ผมไม่เคยเชื่อเรื่องทํานองนั้น ดูเหมือนครัง้ หนึง่ พ่อจะชอบเลีย้ งหมาเอาไว้เฝ้าบ้าน ผมอาจจําคลาด เคลือ่ น แต่หมาเป็นเพือ่ นทีต่ ามใจเราทุกอย่าง ส่วนแม่ไม่เคยได้เลีย้ ง อะไรเลยในชีวิต สะพานแขวนที่ผมพูดถึง ห่างออกมาจากตัวเมืองเพียงเล็กน้อย ผมเคยเดินมาทีน่ แี่ ทนการขับรถ มันทอดตัวยาวผ่านสายนํา้ ทีไ่ หลเข้า มาเป็นทะเลสาบของเมือง ระหว่างทางมีคนเดินไปเดินมาเสมอ ครั้ง ละสองหรือสามคน ไม่มใี ครคนไหนน่ารูจ้ กั เท่ากับคุณ เพราะพวกเขา ทําอะไร ๆ ต่อกันเหมือนเป็นตัวละครทีถ่ กู ใช้เพือ่ ประกอบ ไม่พดู ไม่คดิ ไม่เอ่ยขออะไรมากกว่าที่ผมเคยได้ยิน จนวันหนึ่งพวกเขาพากันมุงดู บางอย่าง ผมเดินเข้าไปใกล้ ๆ เพราะอยากรู้สิ่งที่พวกเขากําลังเห็น แล้วผมก็เห็นคุณ ร่างของคุณ ศพของคุณ หลังจากสองวันก่อนหน้า นั้นผมออกตามหาคุณจนทั่ว แต่เหมือนเมืองแห่งนี้คือโรงละคร และ สะพานที่เห็นก็เป็นเพียงฉากเล็ก ๆฉากหนึ่งที่ผมชม ทุกคนรู้ตัวดีว่า กําลังอยูท่ ไี่ หน และรอบทสนทนาแบบไหน ผมมักจะขับผ่านไป ก่อน
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
317
จะชิดเข้าใกล้กบั ไหล่ทาง บนไหล่ทาง ผมจะค่อย ๆ เดินลัดเลาะลงมา มีทางดินเล็ก ๆลึกเร้นลงไปจนถึงริมทะเลสาบเบื้องล่าง แนวกั้นของ ป่าข้างทางปกปิดสายตา หลายครั้งผมนึกไปถึงอวัยวะเพศของคุณ นึกถึงอย่างผ่าน ๆ แต่มบี างส่วนทีน่ นั่ ลึกชันจนเรียกได้วา่ เหว ผมต้อง ระมัดระวัง พืน้ ดินแฉะ ๆมีรอยเท้าของคนหาปลา และเสียงของสัตว์ ครึ่งบกครึ่งนํ้า ผมชอบยืนบนโขดหิน มองดูสิ่งต่าง ๆ แสงแดดรําไร กลิน่ ของใบไม้แห้ง ทีน่ น่ั เหมือนสุสานชืน้ ๆ และผมมักจะเจอเด็กผูช้ าย สองหรือสามคนที่เนื้อตัวกร้านแดด พวกเขามาหาจับอะไรสักอย่าง แถวนี้เสมอ จะมีคนหนึ่งมองท้ายบุหรี่ในมือผม ยิ้มและเม้มริมฝีปาก ผมเคยเล่าเรื่องของเจสซี่ มาร์ติน เด็กหนุ่มที่แล่นเรือรอบดาวดวงนี้ ในวัยสิบเจ็ด ใช้ชวี ติ 329 วันกลางมหาสมุทรให้ฟงั แต่เด็กผูช้ ายพวก นัน้ แค่นหัวเราะ และบอกว่าคนทีท่ าํ แบบนัน้ ได้เป็นพวกคนรวย มีกนิ และไม่ต้องกระเสือกกระสนอะไรจริง ๆ เมื่อผมถูกผลักออกจากห้วงเวลาเดียวกับเด็กผู้ชายพวกนั้น ผม พบว่ากําลังนัง่ ฟังเสียงต่าง ๆ อยูบ่ นชายหาด เพียงลําพัง สูบบุหรี่ และ นึกถึงบทกวีของแจ๊ก เคโรแอ็ก Drunk as a hoot owl, - writing letters - by thunderstorm. บนสะพานแขวนจะมองเห็นร่องรอย ของสัตว์ เมือ่ นํา้ ลง นกบางตัวโผบินจากตรงนี้ ผมหลับตา ในเสียงปีก ของพวกมัน ผมยังซ่อนคุณไม่เคยมิด ภาพคุณกําลังร่วงหล่นลงมาจาก สะพานแขวน เป็นการดิ่งตัวลงสู่ความตาย ผมสมมุติถึงความตาย ของคุณ แม้วา่ ผมไม่เคยอยากรู้ และคงทนเห็นมันจริง ๆ ไม่ได้ Birds
318
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
- In the dark - Rainy dawn คุณทําให้ผู้คนต้องตื่น ตระหนก ทําให้ชวี ติ ของพวกเขาระสํา่ ระสาย และผมก็รบั ความรวด ร้าวนั้นมา เมื่อลืมตาอีกครั้ง ป่าใต้สะพานดูไม่เคยเปลี่ยนไป เหมือน แถวของกองทัพที่ยืนรอการสวนสนาม แต่มีอะไรอีกหลายอย่างที่ เปลี่ยนไปอย่างไม่เคยเปลี่ยน คุณเคยบอกผมแบบนั้น บอกว่ามัน สําคัญมากด้วย ผมมานึก ๆ ดู บางครั้งผมรู้สึกหนาวทั้ง ๆ ที่คุณกําลัง กอดผม คงเป็นเพราะความหนาวในคํา่ คืนอืน่ ๆ ทีผ่ มเคยเผชิญมาเพียง ลําพัง เพราะก่อนเจอคุณ ผมอาศัยอยูเ่ พียงคนเดียว นอนในรถ ส่วน คุณเป็นคนจากเมืองอื่น มาที่นี่เพราะอยากมารับรู้ว่าคุณจะเป็นใคร ได้ทนี่ ี่ ผมตืน่ เต้นทุกครัง้ ทีค่ ณ ุ ตัง้ ใจจะบอกว่าดาวดวงนีเ้ ป็นแบบไหน ในสายตาของคุณ ผมเชือ่ บ้าง–ไม่เชือ่ บ้าง แต่คณ ุ รูว้ ธิ กี อดผม รูด้ ี และ รูม้ ากจนผมรูส้ กึ อาย ความอ่อนแอทีเ่ ผลอไปในบางครัง้ ทําให้ผมต้อง ผละออก ทัง้ ทีค่ ณ ุ บอกแล้วว่าไม่จาํ เป็น ไม่จาํ เป็นต้องเข้มแข็งจนชีวติ ยากจะอ่อนไหว คุณบอกผมอย่างแน่วแน่ ต่อมาผมเลยอ่อนแอต่อ คุณมาก มากเกินไป มากจนแทบจะกลายเป็นร่างเหลว ๆ เมื่อคุณไม่ อยูแ่ บบนี้ เพราะนอกจากคุณแล้ว ผมไม่มเี พือ่ นเลย หลายคนย้ายไป อยู่เมืองอื่น บางคนก็อยู่ไกลออกไปอีกทวีป อีกหลายคนก็หมดซึ่ง ความเป็นเพื่อน ผมไม่อยากโกหกตัวเอง แต่ผมอยากไม่รู้ข่าวคราว ของใคร ไม่อยากรู้เสียเลย ผมคงยินดีกับใครได้ไม่จริงใจ หากมีเรื่อง ให้ต้องน่ายินดี และคงรวดร้าวกับความตายของคนรู้จักน้อยเกินไป การแสดงออกว่ากําลังเศร้าไม่ใช่สิ่งที่ผมอยากเผชิญหน้า ผมทําใจได้ singing
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
319
แล้วทีจ่ ะอยูอ่ ย่างโดดเดีย่ วทีน่ ี่ วันต่อวัน คืนต่อคืน เพราะภายในเมือง ผมเป็นได้เพียงตัวประหลาด งานของผมอยูใ่ นโรงละคร เป็นเพียงการอยูอ่ ย่างลําพัง ในห้อง ๆ หนึง่ ไม่ใช่การถูกคุมขัง หรือพันธะสัญญา และไม่ใช่การอยูอ่ ย่างสัตว์ ในกรงแบบมินกิ วอลเลซ เด็กชายของพิพธิ ภัณฑ์ประวัตศิ าสตร์ธรรมชาติ ผมจัดแสดงตัวเองอย่างศิลปินคนหนึ่ง เพราะความประหลาด ของผมเรียกร้องอารมณ์ ความสงสาร ความกระอักกระอ่วน กระทัง่ ความน่าสมเพช อารมณ์อะไรก็ช่างที่ใคร่จะรู้สึกเมื่อได้เห็น ผมคือ งานศิลปะที่มีอวัยวะของคน เป็นงานเซอร์เรียลลิสม์ของจริงที่มีทั้ง ชีวติ และเลือดเนือ้ หลังจากคุณไม่อยู่ ผมมีแขนอีกข้างงอกออกมาตรง กลางอก ข้างใต้หวั ใจ มันใช้งานได้ดเี หมือนแขนอีกสองข้าง และออก จะน่าใช้กว่าด้วยซํ้า ที่ผ่านมาคุณเป็นคนเดียวที่ไม่เคยรังเกียจความ ประหลาดของผม เพราะตั้งแต่เกิด—ผมก็มีหางงอกออกมาเหมือน หางของวัว มีผิวขาวเผือก ตัดกับม่านตาสีฟ้า หลังจากนั้นไม่เท่าไหร่ นิว้ มือก็เพิม่ ขึน้ อีกข้างละนิว้ แต่ผมจะไม่เอ่ยถึงร่างกายของผมมากไป กว่านี้ ยังมีคนอีกเยอะที่อยากรู้ว่าตัวประหลาดเป็นแบบไหน ผมแค่ ใช้เวลาทั้งวันหลังฉากกระจก นั่ง ๆ นอน ๆ ทําสิ่งต่าง ๆ ไปตามความ รูส้ กึ ไม่อยากทําอะไรก็ไม่ทาํ บางวันผมก็นอนเฉย ไม่แยแส คนทีเ่ ข้า มาจะจดจ้องโดยที่ผมมองเห็น ในขณะที่พวกเขาคิดว่าผมนั้นมอง ไม่เห็น บางครั้งผมก็ฝืนใจทําสิ่งที่พวกเขาอยากเห็น และบางครั้งก็ เอาแต่กวนประสาท สําหรับพวกเขา ผมเป็นแค่ตัวประหลาด—เมื่อ
320
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ผมบอกว่าผมเป็นคน และเมื่อผมยอมรับว่าผมเป็นตัวประหลาด— พวกเขาจะบอกว่าผมน่ะคือสัตว์ แต่ทงั้ หมดดูไม่ได้ตา่ งกันมากเท่าไหร่ คนเหล่านั้นชอบทําท่าทางซึมเศร้าและครุ่นคิด ผมไม่รู้ว่าทําไม มัน คงเป็นเรือ่ งของบางอย่าง ภาวะบางอย่าง เหมือนทีเ่ รามองดูตวั เราเอง ในกระจก และเผลอไปเห็นอะไรมากกว่าทีเ่ คยมองเห็น แต่ผมก็ไม่ได้ พูดกับใครอีกเลย กลายเป็นใบ้นบั ตัง้ แต่คณ ุ ไม่อยู่ บางครัง้ ก็อยากพูด อยากเล่าช่วงชีวิตแห้งแล้งนี้ แต่สุดท้ายมันก็จะจบด้วยการที่ผมถูก ผลักออกไป หลงอยู่ในวันก่อน ๆ วันที่ผมยังมีคุณ ใช้ชีวิตอยู่กับคุณ คุณผู้ซึ่งไม่เคยเป็นหนึ่งในคนเหล่านั้น คุณผู้ซึ่งไม่เคยมาดูผมในโรง ละคร และคุณผู้ซึ่งรู้จักผมก่อนที่ผมจะไม่รู้จักตัวเองแบบนี้ ความ โดดเดี่ยวที่เกิดจากการผลักไสของวันเวลาอย่างต่อเนื่อง ทําให้ใน ดวงตาของผมเหมือนมีแต่หมอกควัน ผมเริ่มมองไม่ออกว่าอะไรคือ อะไร การเจอคุณซํ้า ๆ กลายเป็นเพียงความทรมาน เพราะผมเริ่ม เชือ่ ว่าความทรงจําระหว่างเราถูกตบแต่งจนกลายเป็นเพียงภาพหลอก หลอน และเพราะคุณอาจไม่เคยมีอยู่จริง ๆ ผมถูกสั่นคลอนกระทั่ง ความรักนั้นเหลือเพียงบางเบา ผมจับต้องคุณไม่ได้ ใกล้คุณก็ไม่ได้ แม้แต่จะร้องไห้ ผมก็ไม่รู้ว่าเพื่ออะไร …ผมพยายามแล้ว ทั้ง ๆ ที่ผม เกลียดความอ่อนแอ แต่ผมก็อยากรู้ว่าในห้วงเวลาแบบนี้ผมคือตัว อะไร ไม่ใช่แค่ทเี่ ห็นในกระจก แต่ลกึ ลงไป เปลือกของผมทีห่ อ่ หุม้ เป็น แบบไหน จิตใจของผมล่ะคืออะไร ทําด้วยอะไร เพราะยิง่ นานวัน ผม ยิ่งไกลจากความรู้จัก จากความคุ้นเคย ข้อแม้ต่าง ๆ ใช้ไม่ได้มากขึ้น
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
321
ทุกที ผมคิดสิง่ ต่าง ๆ ไปอย่างนัน้ เอง อย่างตอนนี้ ผมก็แค่คดิ ไปอย่าง เลือ่ นลอย ผมไม่เหลือหลักคิด ไม่มผี ลของการคิด อย่างทีเ่ คยคิดว่ามี เหมือนสิง่ มีชวี ติ ทีส่ น้ิ สภาพ กลายเป็นตัวประหลาดโดยสมบูรณ์ ตอนนี้ ผมเกือบจะลืมใบหน้าของตัวเอง หากมันเปลีย่ นไปอีกแม้แต่นดิ เดียว ผมคงต้องตบแก้มข้างหนึ่งซํ้า ๆ แรง ๆ เพื่อให้ไม่ลืมว่านั่นคือใคร ใน กระจกหลังอันนัน้ คือผม ทว่าสิง่ ทีผ่ มลืมไปจนหมด ลืมจนแม้แต่ตอนนี้ ก็ยังนึกไม่ออก คือใบหน้าในกระจกนั้นเคยต้องการอะไร และหวัง อะไรในเมืองแห่งนี้ คุณมักจะเปิดประตูรถ และนัง่ ลงบอกกับผมว่าดาวดวงนีเ้ อาคุณ ไปซ่อนไว้ และผมจะต้องเป็นคนตามหา ผมพยายามนึกถึงเรื่องราว มากมายทีเ่ ราเคยมี เท่าทีย่ งั มี ระหว่างทีภ่ าพของคุณยังไม่หายไป เรา ช่างเหมือนกันเหลือเกิน รู้จักความเจ็บปวดในความเป็นคนตั้งแต่ยัง เด็ก เราไม่ยอมร้องไห้กบั ใครง่าย ๆ เราต่างหยามเหยียดมัน ก่นด่ามัน ไอ้ดาวเฮงซวยดวงนี้ เราเอาแต่มองมันในแง่รา้ ย และมีแต่คณ ุ นีแ่ หละ ทีก่ ระซิบกับผม บอกสิง่ ทีค่ ณ ุ เรียกว่าความฝัน ความฝันเดียวของคุณ คืออิสรภาพ คุณบอกว่าคุณไปได้ทุกที่ ทําทุกอย่างที่อยากทํา อย่าง นกตัวหนึง่ คุณเกิดมาแบบนัน้ และยํา้ ว่าผมเองก็เกิดมาแบบนัน้ คุณ บอกว่าผมควรจะไปจากเมืองนี้ อย่าปลูกตัวเองเอาไว้ที่นี่ เราไม่ใช่ ต้นไม้ สิง่ ทีค่ ณ ุ บอกทําเอาผมเผลอคิดตามไป ให้ตายเถอะ ผมก็เพิง่ รู้ ว่าดาวดวงนีม้ นั ยังใจดีอยูบ่ า้ ง อย่างน้อยก็เคยสร้างคนแบบคุณขึน้ มา คุณทําให้ดาวดวงนี้ไม่หม่นหมองเกินไปสําหรับอยู่ เป็นสถานที่ที่ผม
322
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ยังพอทนไหว และต่อมาผมก็ได้ใช้รถคันนี้อยู่กับคุณ นอนคุยกับคุณ ดูดาวดวงอืน่ ๆ บนท้องฟ้า ร่วมรัก รวมทัง้ อ่านสมุดบันทึกให้คณ ุ ได้ฟงั สิ่งที่ผมเขียนลงไปทั้งหมดคือจิตใจของคุณ ความอ่อนไหว ความ อ่อนแอ อารมณ์ขนั ความเศร้า ความสุข กระทัง่ คราบนํา้ ตา ทุกอย่าง เกี่ยวกับคุณกลายเป็นภาษาไปหมดแล้ว และผมยังคงคิดถึงคุณอยู่ เสมอ เพราะนอกจากความรักทีเ่ ราเคยสัมผัส ผมยังลึกซึง้ ถึงความใคร่ เกีย่ วกับคุณ เกีย่ วกับร่างกายของคุณ เสมือนบทสวดอีกบทหนึง่ และ เราทัง้ คูม่ กั เริม่ มันด้วยการลูบไล้ กอดรัด แนบชิดต่อกันกลางทุง่ หญ้า ทีค่ นชานเมืองใช้เลีย้ งฝูงแกะ เราอยูท่ น่ี น่ั เหมือนยาวนาน ผมประคอง คุณลงมาจากรถ ค่อย ๆ เปลือยเปล่า คุณอ่อนช้อยเหมือนกับนางรํา เรากระหายต่อกันจนแม้แต่ดวงอาทิตย์ยังอุ่นอ่อน ผมดอมดมกลิ่น กายคุณจนทั่ว กลิ่นของทุ่งหญ้าแห้งแล้งในฤดูใบไม้ผลิ เวลาที่คุณ ครวญคราง เราเหมือนกับสัตว์คหู่ นึง่ ทีก่ าํ ลังส่งเสียง โหยหวนเหมือน กับหมาป่า ครัง้ แล้วครัง้ เล่า—ผมรุกเร้าบนเนือ้ ตัวของคุณ คุณละเลง ตอบมันไม่หยุดด้วยปลายลิน้ ชืน้ สาก ด้วยปลายเล็บของคุณ เราลิม้ รส ความเป็นสัตว์ของเรา เราดูดดืม่ สืบสัมพันธ์ในท่วงท่าของเรา และเรา ต่างพอใจในความอยาก ความสันดาปนั้น เหมือนยิ่งใกล้เข้าไปใน ตัวตนของกันและกัน ถึงแม้สิ่งที่คุณทําในเวลาต่อมาจะย้อนกลับมา ทําร้ายผม แต่ในความคิดถึงตอนนี้-ผมก็ยังพยายามว่ายไปให้ถึงคุณ สัมผัสคุณอีกครั้ง ผมค้นหาคุณอยู่ในความเจ็บปวดของตัวเอง ผม ทรมานมากเหลือเกิน หลายคืนก่อนผมเรียบเรียงสิ่งที่จะพูดกับคุณ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
323
อีกครัง้ ทัง้ หมดทีก่ ดั กินใจอยูท่ กุ ขณะ แต่ผมลืมไป เราไม่มที างเข้าใจ ตรงกัน เหมือนสายเกิน ทั้งที่เวลาไม่ใช่เงื่อนไขของเราอีกแล้ว ผมเดินขึน้ มาจากไหล่ทาง รถของพ่อยังจอดอยูท่ เ่ี ดิม เวลาเหมือน ผ่านไปแล้วหลายสิบปี ผมเห็นเมฆลอยช้า ๆ และกลายเป็นรูปร่างของ เกาะสีเทา เมือ่ ขับรถออกไปสูถ่ นนสายเดิม เวลายิง่ เดินช้าลงมาเรือ่ ย ๆ ผมหายใจอึดอัด เพราะเผลอมองเห็นคุณในกระจกหลัง ตรงเบาะนั่ง ยาวนัน้ คุณยิม้ เศร้า ๆ อยูค่ นเดียว หลังเสียงเพลงในวิทยุ คุณเคยบอก ว่ารักผม ผมเป็นสิ่งสุดท้าย ใจของคุณอยู่ที่ผม นํ้าตาอยู่ ๆ ก็ไหล ออกมา ผมจอดรถ และจําได้ทคี่ ณ ุ บอกว่าเราจะผ่านวันคืนทัง้ หมดไป ด้วยกัน คุณยังยํ้า แม้ตอนนี้คุณอาจลืมไป แต่ผมรู้และยังจํา ผม ปล่อยสายคาดเข็มขัดที่ตึง มือของผมช่างน่าสะอิดสะเอียน จนถึง ตอนนี้ มันมีแต่บาดแผล รอยขีดข่วน และผ่ายผอมเหมือนเรือนร่าง ในวัยเด็ก คุณไม่อยูท่ เี่ บาะหลังอีกแล้ว หายไปเหมือนครัง้ ก่อน ๆ ส่วน ผมแก่ตวั ลงทุกวัน ต่างจากคุณ ผมใกล้กบั ความตายมากขึน้ ทุกที ส่วน คุณอยูไ่ กลจากความตายมากขึน้ เสมอ คุณอยูท่ ไ่ี หนกัน ตอนผมว่ายนํา้ ออกไปรั้งตัวคุณ พาร่างของคุณขึ้นมาบนฝั่ง รู้บ้างไหมว่าผมเหนื่อย แทบขาดใจ นํา้ ตาทีไ่ หลนองหน้า เมือ่ ร่างนัน้ ต่อมากลายเป็นเพียงศพ คุณทิ้งผม ปล่อยผมไว้ลงคอ ลืมแม้แต่คํารํ่าลา ผมต้องมาทนนึกถึง คุณอย่างผีสาง ก็เพราะระยะห่างของคุณ ผมถึงอยากจะลืม ลืมคุณ ไป แม้ว่าความทรงจําจะไม่ใช่สิทธิ์ของผมอีกแล้ว เพราะสุดท้ายเรา ต่างไม่ได้กลายเป็นความทรงจํา เราไม่เคยเป็น เราทั้งคู่ไม่เคยบันทึก
324
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
อะไรได้จริง เรือ่ งราวเกีย่ วกับเราต่างลวงตา และพอเถอะ ผมไม่อยาก เล่าต่อไปอีกแล้ว หากแค่ชั่วขณะหนึ่ง ทั้งหมดเป็นแค่ฝุ่น เป็นเพียง การหายใจทิง้ ๆ ขว้าง ๆ ในบางครัง้ ผมถึงอยากรู้ ผมอยูท่ นี่ จี่ ริง ๆ หรือ เพียงแค่ฝนั กลางวัน บนดาวทีว่ างอยูท่ า่ มกลางดาวทีต่ ายไปหมดแล้ว มันคือสุสานของอะไร ทําไมผมไม่เห็นเข้าใจมันเลย คุณเคยเชือ่ ว่าทัง้ หมดมีคําตอบ บอกกับผมบ้างสิ ถ้าคุณได้รู้มันแล้ว บอกว่าที่นี่ขังผม ไว้ หรือทีน่ คี่ อื ทีเ่ ดียวทีเ่ ราจะว่ายวนกลับมา มันต้องถูกของมันสักข้อ อย่างตอนนีค้ วามเงียบกําลังให้กาํ เนิดอะไรอยู่ ข้างนอกรถ ในขณะที่ ผมกําลังเล่าเรือ่ งของคุณ เรือ่ งของผม เรือ่ งต่าง ๆ ทีไ่ ม่รวู้ า่ จริงแท้แค่ไหน ความลับของมัน จุดจบของมัน รอเราทั้งคู่อยู่ตรงไหน บนผนังของ ความเป็นไปได้ แบบไหนกันแน่ทมี่ นั ทํากับเรา ทําอยูต่ อนนี้ ทําไมมัน ต้องปล่อยเราไว้ราวกับแกะ ในทุง่ หญ้าทีไ่ ร้ขอบเขต เราอ้างว้างนะโว้ย เราต้องขยายตัวเองอีกเท่าไหร่กัน เพื่อหาคําตอบ คําตอบที่ไม่เคยมี ไม่… ไม่มใี ครสนใจด้วยซํา้ เพือ่ ทบทวน หรือเพือ่ แสร้งว่าเข้าใจประวัติศาสตร์ของเรา การดํารงอยู่ เหตุผลทีเ่ รายังอยู่ ทัง้ ๆ ทีพ่ ระผูเ้ ป็นเจ้า ตายแล้ว ถูกเผาและฝังไปนานเนแล้ว แต่เราก็ยังอยู่ ความจริงเดียว คืออะไร ผมจะเลิกตั้งคําถามและซํ้าร่างกายทุเรศนี้ให้เป็นเลือดเป็น เนือ้ เป็นตัวเป็นตน ปัน้ ภาษา ปัน้ มายา ลวงหลอกร่างกายอีกร่างกาย แต่ทําไปทําไม ในเมื่อผมไม่ได้เหลือคุณอีกแล้ว คนแบบคุณ บนดาว ประหลาดดวงนี้ ผมไม่รวู้ า่ ทําไม ต่อมาคุณถึงเป็นฝ่ายเลือกทีจ่ ะไปต่อ เพียงลําพัง แต่ขอให้รเู้ อาไว้อย่าง สําหรับผม คุณจะยังนัง่ อยูต่ รงเบาะ
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
325
หลังก็เพราะเป็นคุณเท่านั้น ที่รัก และผมยังอยู่กับคุณไม่ว่าจะในที่ แห่งไหน ในครั้งต่อไป ผมจะรักคุณ รักคุณให้มากพอที่จะเอ่ยเสียง ออกมาเป็นภาษา ภาษาที่เราสองคนต่างเข้าใจ และให้ความหมาย อย่างที่ดาวดวงหนึ่งเป็น ผมคงจะรักคุณได้ตลอดกาล หากทุกอย่าง คงเส้นคงวาแบบนัน้ แต่กไ็ ม่… แค่อกี ไม่นาน เราอีกคนก็จะไม่ใช่วตั ถุ จะไม่ใช่สงิ่ มีชวี ติ ไม่เหลือค่าคงเดิม แม้แต่เศษเสีย้ วเดิม …หากวันหนึง่ ผมรักคุณมากกว่าวันอื่น ๆ วันนั้นก็จะกลายเป็นความจําเสมือนว่า สําคัญของเราไป แต่อกี นับหมืน่ นับแสนล้านวันทีผ่ มจะลืมคุณ ลืมไป เหมือนกับไม่เคยเกิดขึน้ ไม่เคยรูจ้ กั ไม่เคยรัก และไม่มากพอทีจ่ ะรัก ต่าง ๆ เหล่านี้ สุดท้ายมันคงเป็นเรือ่ งราวอันยืดยาว ไม่จบด้วยภาพนิง่ แบบใดแบบหนึง่ แม้วา่ ผมได้หายไป และมันจะไม่จบทีค่ าํ พูดของใคร ไม่จบที่ห้วงคิดอันทอดยาวไปสู่สิ่งใด หลังจากนี้ สิ่งเดียวที่แน่นอน คือวันเวลาจะเดินของมันต่อ และเมื่อวันหนึ่งผมบอกรักคุณอีกครั้ง คุณ—คนที่เป็นคุณ และผม—คนที่ยังเป็นผม วันนั้นต่อมาจะกลาย เป็นอีกวันหนึ่ง เป็นภาพเลือนลางของวัน–วันหนึ่ง เป็นอดีต เป็น วันวาน เป็นความทรงจํา อย่างเดียวกับความรักในวันนัน้ ทีต่ อ่ มาก็จะ กลายไปเป็นอีกหลายสิ่ง ในบางครั้งเมื่อยังนึกถึงวันนั้น ผมจะพบว่า ตัวเองอาจจําลองมันขึ้นมา แค่เรื่องสมมุติ…
326
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ชั้ น บ ร ร ย า ก าศแรก เ มื่ อ ม อ ง ผ่ า น วิ วไ ฟ ล์ เ ดอร์ กวีวัธน์
/ Fiction /
ผ
มเลื่อนเมาส์ไปมาแล้วพบกับข่าว ๆ หนึ่งที่เพื่อนในเฟซบุ๊กแชร์ มา มันเป็นข่าวที่เกี่ยวกับการปิดตัวของโปรแกรมเอ็มเอสเอ็น โปรแกรมสนทนาตอบโต้ทกี่ นิ ระยะเวลายาวนาน 15 ปี ท่ามกลางข่าว ลือมากมายในช่วงก่อนทีโ่ ปรแกรมนีจ้ ะหมดความนิยม และการเข้ามา ตีตลาดของโซเชียลมีเดียอื่น ๆ วันสิ้นสุดวันสุดท้ายของโปรแกรมคือ วันที่ 31 ตุลาคม 2014 ผมยังจําได้ดถี งึ การพยายามปรับเปลีย่ นข้อความบ่งบอกอารมณ์ ความรู้สึกของตนเอง ผมยังจําได้ดถี งึ การส่งอีโมติคอ่ นบางอย่างให้กบั คนในคอนแทค ลิสต์ ผมยังจําได้ดถี งึ การส่งฟีเจอร์เขย่าจอจนคนทีเ่ รากําลังคุยด้วยต้อง รําคาญ ผมยังจําได้ดีถึงการพยายามหาช่องโหว่ของการอําพรางว่าเรา ออฟไลน์ไปแล้วทั้ง ๆ ที่จริง ๆ เรายังคงออนไลน์อยู่ ฯลฯ บทบันทึกความทรงจําส่วนตัวเกีย่ วกับโปรแกรมนีเ้ กือบจะสูญหาย ไปถ้าผมไม่พยายามเข้าไปออนไลน์มนั อีกครัง้ และทําให้ผมตระหนัก ถึงจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์บางอย่างที่พาดผ่านกับคนบางคน
กวี วั ธ น์ นั ก เขี ย นอิ ส ระ จบ ปริ ญ ญาโทจากคณะวิ จิ ต ร ศิ ล ป์ มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ เคยทำ�งานศิลปะบ้างประปราย ปั จ จุ บั น ทำ � งานด้ า น Digital Marketing
************************************************************
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
329
ชีวิตคืออะไรกัน… ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ฉันมองเห็นความน่าอัศจรรย์หนึ่ง จักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ปรากฏลักษณาการอยู่ในเซลล์ของจุลินทรีย์ ในพลันนั้นเอง ฉันได้ตระหนัก ชีวิตอันโดดเดี่ยวเปลี่ยวว่าง ไม่ใช่ความโดดเดี่ยวอันแท้จริงเลย ชีวิตคืออะไรกัน… ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ฉันมองเห็นความน่าอัศจรรย์หนึ่ง จักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ปรากฏลักษณาการอยู่ในเซลล์ของจุลินทรีย์ ไม่ว่ามองไกลออกไปถึงภายนอกดาราจักร หรือมองเข้าไปในสิ่งที่เล็กที่สุด ทุกอย่างคือสิ่งเดียวกัน ในพลันนั้นเอง ฉันได้ตระหนัก ชีวิตอันโดดเดี่ยวเปลี่ยวว่าง ไม่ใช่ความโดดเดี่ยวอันแท้จริง
330
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ในความสันโดษ ณ ที่อันไกลโพ้น ฉันสัมผัสถึงบางสิ่งที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอณูของฉัน บทกวี บทกวีทผี่ มได้รบั มาเมือ่ 5 ปีกอ่ น มันเป็นวันเกิดตอนอายุ ครบ 21 ปี ชายคนหนึง่ ได้มอบกล้องให้เป็นของขวัญวันเกิดพร้อมกับ แนบบทกวีบทนีม้ าด้วย มันไม่ใช่กล้องจุลทรรศน์ทเี่ ขาคนนัน้ เชีย่ วชาญ หากแต่เป็นกล้องถ่ายรูปโบราณเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน เขาบอกว่ามัน ยังใช้งานได้ดีอยู่ และมันเหมาะกับผม เด็กหนุ่มนักจับภาพของเขา กล้อง Olympus trip 35 เป็นกล้องทีผ่ ลิตขึน้ เมือ่ ปี ค.ศ. 1967 ก่อน ที่จะเลิกผลิตในปี ค.ศ. 1984 ช่วงเวลา 3 ปีก่อนที่ตัวผมเองจะเกิด กล้องรุ่นนี้ได้รับการยอมรับเมื่อมันถูกใช้ผ่านมือตากล้องชื่อดังในยุค 1970 อย่าง David Bailey จากวันที่ได้รับกล้อง ผ่านมา 5 ปี ผมยังคงใช้กล้องตัวนี้อยู่เรื่อย ๆ ตามแต่โอกาสจะเอื้ออํานวยให้ ตัวผมเองได้เดินทางไปตามที่ต่าง ๆ หากแต่อยู่ดี ๆ เพียงชั่วขณะหนึ่ง ในความน่าอัศจรรย์ของจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ชัว่ วูบเดียวของ ความคิด ตลอดระยะเวลาทีผ่ า่ นมา กล้องตัวนีไ้ ม่เคยทําหน้าทีบ่ นั ทึก ภาพของเขา คนที่ให้กล้องตัวนี้ นก นก คือชื่อของเขา
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
331
เรารูจ้ กั กันผ่านเรือ่ งราวจาก Blog ส่วนตัวของกันและกัน ผมถูกชักจูง ให้สร้างมันขึ้นมาจากเพื่อนคนหนึ่ง วันใดที่ไม่มีคาบเรียน เราต่าง มุ่งตรงไปยังหอสมุด ชั้นที่มีคอมพิวเตอร์มากมายเรียงรายให้บริการ นักศึกษา ตอนแรกผมสมัคร Blog แต่ก็ทิ้งร้างเอาไว้ เพราะรู้สึก ไปเองว่ามันยังไม่มีอะไรที่เราอยากจะสื่อสารให้ใครได้เห็นหรือได้ฟัง ผมกดติดตามเพือ่ นผมแค่คนเดียว ผมเสพติดการเล่นโปรแกรมอย่าง เอ็มเอสเอ็นมากกว่า วันเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ วันหนึ่งผมบอกกับเพื่อนว่า “เฮ้ย มึง กูเพิง่ อ่านหนังสือเล่มหนึง่ จบไป กูอยากเขียนโน้ตสัน้ ๆ ถึงมันเอาไว้” “เอ้า ก็ Blog มึงไง สมัครไว้แล้วไม่ใช่เหรอ กูไม่เห็นมึงจะทํา อะไรกับมันเลย” “เออว่ะ กูแม่งลืมไปแหละ ถ้ากูเขียนเสร็จ มึงมาอ่านด้วยนะ” “เออ อ่านอยู่แล้ว เพราะกูกดฟอลโล่วมึงไว้เหมือนกัน” “แต่มึง กูอยากให้คนอื่นเขาได้อ่านของกูด้วย ต้องทํายังไงวะ” ผมฟอลโล่วคนอื่นตามที่เพื่อนของผมฟอลโล่ว ไล่อ่านเรื่องราว ต่าง ๆ ของคนอืน่ ใน Blog ของพวกเขาเหล่านัน้ ถ้าประทับใจเรือ่ งราว ของคนไหนก็คอมเมนท์หรือไม่กส็ มุ่ เลือกกดดูโปรไฟล์สว่ นตัวและแอด อีเมลของพวกเขาไปในคอนแทคลิสต์ของโปรแกรมเอ็มเอสเอ็น และ ทุกขั้นตอนดังกล่าวทําให้ผมได้พบกับพี่นก สัญลักษณ์ของเอ็มเอสเอ็นตรงหน้าอีเมลของพี่นกเปลี่ยนจาก
332
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
สีแดงเป็นสีเขียว นัน่ เท่ากับว่าตอนนี้ โลกของเราสองคนในจุดเริม่ ต้น ได้เชื่อมต่อถึงกันแล้ว “สวัสดีครับ ผมชื่ออาร์ต เอาอีเมลพี่มาจาก Blog ของพี่ครับ” “อ่อครับ พี่ชื่อนก” “รบกวนหรือเปล่าครับ” “ไม่ครับ ว่าแต่ Blog ของน้องคืออันไหน พีจ่ ะได้ไปกดฟอลโล่ว บ้าง” หอสมุดจะปิดทําการในเวลาสามทุ่ม ก่อนเวลาปิดครึ่งชั่วโมงจะ มีขอ้ ความเสียงอัตโนมัตแิ จ้งเตือนดังออกมาจากลําโพงตามชัน้ ต่าง ๆ เพื่อประกาศให้นักศึกษาได้ตรวจตราในสิ่งที่ตัวเองกําลังทํา จัดการ กับสิ่งที่ตัวเองกําลังจดจ่ออยู่ กําชับถึงข้าวของส่วนตัวที่ต้องนํากลับ ไป นับ ๆ ดูแล้วก็เป็นเวลาหลายชัว่ โมงหลังจากทีผ่ มกับพีน่ กออนไลน์ คุยกัน “ผมต้องไปแล้วครับ ต้องกลับหอ” ฉับพลันก็เกิดความเงียบมากมายบรรจุอยูใ่ นระหว่างบรรทัด เหลืออีก สิบห้านาที เจ้าหน้าที่ห้องคอมฯเริ่มไล่ดูหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ร้างไร้ ผู้คนและทยอยปิด สัญลักษณ์เอ็มเอสเอ็นของพี่นกยังเป็นสีเขียว 1 นาทีผ่านไป 2 นาทีผ่านไป 3 นาทีผ่านไป
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
333
นาทีผ่านไป 5 นาทีผ่านไป “ขอเบอร์อาร์ตหน่อยสิ” ข้อความของพีน่ กปรากฏขึน้ ตอนทีเ่ วลาในห้องคอมฯเหลือเพียง อีกสิบนาที ผมจําไม่ได้แล้วว่าความสัมพันธ์ระหว่างเราสองคนมันจบลงตอน ไหน หรือถ้าจะพูดให้ลกึ มากไปกว่านัน้ จุดเริม่ ต้นของมันก็คลุมเครือ เหมือนหมอกเช้าในฤดูฝน และทําให้ผมได้ตระหนักว่า ไม่ว่าจะเป็น ตอนทีค่ วามรักกําลังเปล่งประกาย หรือ ค่อยๆอ่อนแสงลง จนถึงอาจ ไม่เหลือสิง่ ใด ภาพของเขาทีผ่ มระลึกถึงได้ ก็เป็นเพียงภาพจากความ ทรงจําซึ่งมันไม่เคยถูกบันทึกจากกล้องตัวนั้นเลย หากเป็นความ กระวนกระวายของช่วงเวลานับถอยหลังออฟไลน์จากโปรแกรม เอ็มเอสเอ็นในวันแรกที่เราได้รู้จักกัน 4
************************************************************ ชั้นบรรยากาศแรก ลมทีพ่ ดั ผ่านโตรกเขานัน้ หนาวเย็น พระอาทิตย์ลบั ไปทางฟากภู ขณะที่พระจันทร์สีเงินนั้นเผยตัวของมันอยู่บนท้องฟ้า วันนั้นนับเป็นวันแรกที่ฟ้าเปิด ความโดดเดี่ยวบนสถานีตรวจ
334
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
อากาศทําให้ผมนํ้าตาซึมเมื่อผมมองเห็นดาวพระศุกร์เป็นครั้งแรกใน รอบสองสัปดาห์ วันนั้นเองผมพบกับเขา คนที่ต่อมาผมเรียกเขาว่า เด็กหนุ่มนักจับภาพ ผมกําลังบันทึก ตําแหน่งการขยายตัวรังสีบางชนิดในอวกาศลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นการงานทีเ่ ปลีย่ วเหงาทีเดียวแม้จะรูว้ า่ มีคนอืน่ ๆ ทุกมุมโลกกําลัง ทําเช่นเดียวกัน ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ของงานวิจัยร่วมนานาชาติ กาแฟข้างคีย์บอร์ดนั้นเย็นชืดไปนานแล้ว ด้วยความเบื่อหน่าย ผมเปิดเอ็มเอสเอ็นขึ้นมา ไม่มีใครในคอนแทคลิสต์ของผมออนไลน์ ตอนนั้นเอง อาร์ตก็ปรากฏตัวเป็นครั้งแรก ผมรูว้ า่ จักรวาลนัน้ ขยายตัวออกเรือ่ ย ๆ มันคือสิง่ ทีม่ นุษย์พยายาม ทําความเข้าใจ จักรวาลเป็นสิ่งยิ่งใหญ่ที่กอปรไปด้วยอนุภาคเล็ก ๆ เต็มไปด้วย ความซับซ้อนยุ่งเหยิง แต่ก็มีแบบแผนและระบบอันน่า อัศจรรย์ เมื่อผมพบอาร์ต เหมือนประจุที่โดดเดี่ยวของจักรวาลเดินทาง มาพบคูต่ รงข้าม ภายหลังการพิมพ์ขอ้ ความโต้ตอบกันเป็นเวลาหลาย ชั่วโมง หลังจากนั้น ผมกดโทรศัพท์ไปทีเ่ ลขหมายของอาร์ต โดยไม่อาจคาดเดาได้วา่ สิง่ ใดจะเกิดขึน้ ภายหลังจากวินาทีนนั้ ไปแม้แต่นอ้ ย เป็นการโทรศัพท์ อันยาวนานที่สุดในรอบหลายปีของชีวิต เราสองคนคุยกันเหมือน
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
335
เพือ่ นเก่าทีม่ าพบกันอีกครัง้ โดยไม่คาดฝัน ถ้อยคําของอาร์ตทําให้ผม คิดถึงตัวผมเองขณะมีอายุในวัยเดียวกับเขา—ดื้อรั้น และยโส เป็น ตัวของตัวเอง เราชอบหนังสือเล่มเดียวกัน บางเล่มนั้นไม่น่าเชื่อว่า เด็กอายุรุ่นราวคราวเดียวกับเขาจะอ่าน แต่เขากลับชื่นชมมัน เขามี นิสยั คล้ายผมมากจนไม่นา่ เชือ่ ผมเชือ่ ว่าสิง่ นีเ้ องทีด่ งึ ดูดเราเข้าหากัน ในความเป็นจริง อาร์ตอยู่ห่างจากผมเจ็ดร้อยกิโลเมตร แต่คืน นัน้ อาร์ตสอนให้ผมรูจ้ กั วิธกี อดเขาอยูข่ า้ ง ๆ และในทีส่ ดุ ก่อนวางสาย เราร่วมรักกันในจินตนาการ รุ่งเช้า ในเมลบอกซ์ของผมปรากฏบทกวีของอาร์ต ผมเฝ้าอ่าน ซํ้าแล้วซํ้าเล่า และเฝ้ารอว่า เมื่อไรเด็กหนุ่มนักจับภาพของผมจะ ออนไลน์ ************************************************************ ดวงตาของผม เป็นเช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง มันจับจ้องและโฟกัสวัตถุ เพียงสิง่ เดียว และพร่าเลือนกับสิง่ อืน่ รอบข้าง ชั่วกาลนาน คุณเป็นทั้งหมดที่ผมเห็น ชั่วกาลนาน
336
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
คุณกําลังเฝ้ามอง ชั่วกาลนาน ผมคิดว่าผมเป็นของคุณมากเกินไป แต่เพียงตอนนี้ ผมรู้ว่ามันอาจเป็นเพียงจินตนาการของผมเท่านั้น แต่มันยังคงอยู่ เมื่อผมพยายามเจือจางคุณและมุ่งเน้นไปยังความจริงอื่นๆบน โลกใบนี้ มันยังคงขับเน้น ตัวตนโปร่งใสแม้ขณะที่ส่วนที่เหลือของขอบภาพกําลังเบลอ ผ่านเลนส์กล้องถ่ายรูปที่แตกสลาย
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
337
/ Poem /
เงิน ชีวิต ความรัก … / อนุชา วรรณาสุนทรไชย / เงิน ! ผมรู้จักเงินซะที่ไหน ผมได้แค่มองผักปลาหญ้าเขียว ผมยังไม่สร่างด้วยซํ้า อีกไม่นานคงพัดปลิวหายไปไม่เห็นซาก ผมยํ่าแย่ผมมันมนุษย์โง่ ๆ (ไม่ใช่แมวฉลาด ๆ) อีกไม่นานคงกลืนกินตัวเอง ผมรู้จักเงินซะที่ไหนเล่า ชีวิตปัจจุบันอยู่ตรงไหน คนธรรมดาสมองทึบ ๆ อย่างผมคิดไม่ออกแน่ จะเป็นอะไรจะเอาอย่างไรกับตัวเองผมยังไม่รู้ด้วยซํ้า เขียนไปเขียนมาก็พาลจะอารมณ์เสีย ที่ยังเหลืออยู่เพียงเสียงหัวเราะอย่างวิกลจริต ชีวิต ! ผมรู้จักชีวิตซะที่ไหน ผมถูกหอกแห่งการผลิตปาทะลุทรวงด่าวดิ้น ผมรู้จักชีวิตซะที่ไหนเล่า
338
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ความรักนั่นอีก ผมรู้จักความรักซะที่ไหน เป็นได้แค่จินตนาการที่นอนอุ่นอยู่ในแดดยามเช้า เร่งวันเร่งคืนเพื่อทีจะตายเร็วขึ้นโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ผมรับใช้คุณตามแต่จะสามารถ ผมประนีประนอมกับทุกสิ่งหมดแล้ว ด้วยดวงตาขรึมซึมหยาดนํ้า ความรักเหรอ ? ผมรู้จักความรักซะที่ไหนเล่า … ความรักคือทุกสิ่งทุกอย่าง … ลึกลงไป เป็นหัวใจ ที่มีบาดแผลลํ้าลึก อย่างดอกไม้บานสะพรั่ง ไหลร่วง อย่างสายฝนบ้าระหํ่า ความรัก คือทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสิ่งทุกอย่าง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
339
กลายกลับ เป็นความเศร้า เมื่อหัวใจ กระโจนลงไป ในความรัก ความเศร้า หลอมรวม เป็นคุณ …
340
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
/ Poem /
บทกวี ภูมิทัศน์นรกมหานคร / รอนฝัน ตะวันเศร้า / . ผีรุ่นพี่ลุกจากหลุมขึ้นมารับผีรุ่นน้อง “มา ๆซิ มาเป็นน้องพี่เถอะมาเข้ามา” ส่งผีรุ่นน้องขึ้นรถเมล์เล็กสู่ปรโลก จ่ายเป็นเหรียญทองคําแท้หนึ่งเหรียญ 1
. ความเงียบอยู่ที่ไหนนะ มองหาไม่เจอ ผมพบแต่ภิกษุนั่งคอตกอยู่ริมทาง ไม่รู้ว่ามีลมหายใจหรือไม่ ที่นี่คือถนนสู่ประตูนรก ภิกษุนิ่งเหมือนตายท่ามกลางดงพลับพลึงตีนเป็ด ผมมองไม่เห็นโสดาบัน ท่านยังหลับอยู่ มิอาจรู้ นี่คือการหลับแห่งชีวิตหรือตื่นเพื่อรู้ว่าตาย 2
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
341
. คงไม่มีความเงียบจนกว่าจะก้าวข้าม ผมพบวิญญาณคนบ้าผู้หนึ่ง เด็กสเก็ตบอร์ดที่มีผมหงอกแซมผมดํา ผู้กําลังสารภาพบางสิ่งปนเสียงหัวเราะ “ไอ้เหี้ยเอ้ย สัส ไอ้เหี้ยเอ้ย เย็ดแม่ง อะไรวะสัส แม่งเอ้ย ไอ้เหี้ย ฮ่า ฮ่า ฮ่า มึงขําไหม สัสเอ้ย” ผมเดาว่าเป็นคําสารภาพบาปที่ชวนหัวที่สุด เขาไม่ใช่คนวิกลจริต เขาแค่อยู่ในโลกของคนเป็นใบนี้นานเกินไป ส่วนคนบ้าที่แท้จริงนั้นยังมีชีวิตอยู่ สักพัก เขากลับกระโดดลงกลางทาง เดินหายไปพร้อมกับสเก็ตบอร์ดที่เขาควรไถลไม่ใช่ถือ จางหายไปไหนความมืดที่อยู่คั้นกลางระหว่างสวรรค์และนรก ผมทําได้แค่เขียนกวีลงบนผิวเนื้อของตัวเอง แทะนิ้วให้เลือดชุ่มพอจะใช้เขียนแทนปากกา ผมไม่มีทางเลือก แม้จะหวังให้บทกวีติดตัวไปถึงชาติหน้า ก็ดูท่าว่าจะเป็นไปไม่ได้ 3
342
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
. ปลายทางอยู่ข้างหน้า ทิ้งสัมภเวสีให้นอนข้างทางพร้อมความยึดติดอันพะรุงพะรัง การรับน้องอันหนักหน่วงของสถาบันผีห่าซาตานกําลังเริ่มขึ้น ในที่สุด ผมก้าวข้ามประตูแห่งนรกมหานคร ผมพบสองสิ่ง หนึ่ง คือความเงียบ อีกหนึ่ง คือการพบว่าผมไม่เคยก้าวข้ามห่าอะไรเลย 4
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
343
/ Poem /
ปลาหมึกกีโยม โดย อโปลลิแนร์ / ถอดความโดย ภาคิน นิมมานนรวงศ์ / สาดหมึกเขาขึ้นฟ้า, ดื่มกินเลือดแก้วตาของเขา. แล้วพบว่าเลิศรสโอชา, ปีศาจชั่วช้า, คือตัวเรา.
344
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
Le Poulpe par Guillaume Apollinaire ,
Jetant son encre vers les cieux
’ . Et le trouvant délicieux, Ce monstre inhumain, c’est moi-même. Suçant le sang de ce qu il aime
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
345
/ Poem /
ลึกเข้าไปในความตื้นเขินที่คุณไม่เข้าใจ / นิพนธ์ อินทฤทธิ์ /` คุณวาดใจกลางมหาสมุทร ด้วยจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งที่เป็นคุณ สร้างเส้นประที่มีแรงต่อเนื่องขนาดมหึมา คุณเขียนส่วนที่ใกล้ชิดกันที่สุด ของฟ้ากับท้องทะเล มหาสมุทร และใจกลาง แก่นกลางของมันและความแปรปรวน สาดซัดที่ไม่อาจยับยั้งชั่งใจ คุณว่ายข้ามไป ว่ายไปตลอดเวลา
346
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
ข้างหน้าที่ไม่เคยเห็นฝั่ง คุณพยายามฝ่าข้ามไป ความมืดปรากฏร่องรอยของมัน ความกลัวปรากฏร่องรอยของมัน ความสว่างปรากฏร่องรอยของมัน ความกล้าและทิศทางปรากฏร่องรอยของมัน แต่คุณไม่เคยไปถึงไหนเลย ไม่เคยไปถึงไหนเลย เช้าที่คุณรู้ว่ามันไม่จริง และคํ่าคืนที่คุณรู้ว่ายังไม่ถึงเช้า มีแต่คุณ คุณที่รู้ว่ามันจริง มีแต่คุณ คุณที่รู้ว่ามันไม่จริง ทุกหน ทุกแห่ง อันตรายแห่งปะการัง ลึกสุดหยั่งที่เย้ายวน
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
347
คุณวาดใจกลางมหาสมุทร ด้วยจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งที่เป็นคุณ สร้างเส้นประที่มีแรงต่อเนื่องขนาดมหึมา คุณว่ายไปข้างหน้าพร้อมด้วยส่วนเกินจากการมีอยู่ของคุณอีกคน ชิ้นส่วนแห่งความชํารุดที่ไม่เคยต้องการ ลึกเข้าไป ลึกเข้าไป ลึกเข้าไป ลึกเข้าไป ลึกเข้าไป ลึกเข้าไปในความตื้นเขินที่คุณไม่อาจเข้าใจตัวเอง ลึกเข้าไปในตัวเองที่ความตื้นเขินไม่อาจเข้าใจคุณ ความตื้นเขินที่คุณไม่อาจเข้าใจตัวเอง ตัวคุณเองที่ความตื้นเขินไม่อาจเข้าใจ เส้นขอบฟ้ายังคงตั้งอยู่ที่เดิม ระยะทางยังคงห่างไกลเท่าเดิม มีแต่คุณที่รู้ว่ามันไม่จริง มีแต่คุณที่รู้ว่าทําไม
348
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
/ Poem /
ไม่มีความรักบนกระดาษแผ่นนี้ / มานิดา ปัญจกุล / ข้าพเจ้าไม่เชื่อที่ใครต่อใครนิยามว่ารักคืออะไร ความรักสร้างคน หรือคนสร้างความรัก หากต้นไม้เติบโตได้ ด้วยแสงดี นํ้าดีฉันใด ความรักก็สร้างจิตใจที่ดีให้มนุษย์ได้ฉันนั้น อโฟรไดท์แห่งสรวงสวรรค์ อโฟรไดท์สามัญ ความรักสูงส่งกับความรักแสนธรรมดา ความรักแบบไหนควรค่าแก่การสรรเสริญ มนุษย์ที่รู้สึกรักได้ ไม่ว่าจะสูงส่งหรือธรรมดาย่อมควรค่าแก่การชื่นชม
มานิ ด า ปั ญ จกุ ล นั ก ศึ ก ษา วิ ช าเอกปรั ช ญา ชั้ น ปี ที่ 2 ค ณ ะ อั ก ษ ร ศ า ส ต ร์ ม ห า วิทยาลัยศิลปากร ทกวี นี้ ไ ด้ รั บ รางวั ล ชนะเลิ ศ บ รางวัลบทกวีทางปรัชญา ใน หั ว ข้ อ “ความรั ก ” จากการ ประกวดเรื่ อ งสั้ น บทกวี แ ละ บทความทางปรัชญา ซึ่งจัด โดยสาขาวิ ช าปรั ช ญา คณะ ศิ ล ปศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ประกาศผล ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2559
บางครั้งความรักแสนเจ็บปวด ผิดหวัง โกรธแค้น ขื่นขม สุรามิอาจสร้างรสขมให้เราได้เพียงเพราะเรารินมันใส่แก้ว หากแต่เป็นเพราะเราเต็มใจจะกลืนมันลงคอเสียเอง
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
349
หลายคนเชื่อในคำ�ว่ารักของนักปรัชญา ช่างมีเหตุผล ช่างมีที่มา ช่างน่าเชื่อถือ ข้าพเจ้าคิดว่านักปรัชญามิได้เชี่ยวชาญ ความรักไปมากกว่าข้าพเจ้า ท่าน เขา หรือหล่อน นักปรัชญามิได้รู้ในความรักมากมายกว่าคนอื่น เพียงแต่พวกเขารักในความรู้มากกว่าคนทั่วไปเท่านั้นเอง ข้าพเจ้าไม่ได้บอกว่ารักคืออะไร ไม่มีหรอกความรักในกระดาษแผ่นนี้ ความรักมิอาจเขียนให้อ่านเข้าใจ มิอาจเล่าให้ซาบซึ้ง มิอาจแสดงให้เห็นกับตา ความรักที่แท้จริงจะปรากฏชัดเจนในความรู้สึกที่สุด
350
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
/ Poem /
บาดแผล / พงศ์ นัทธี / บาดแผลบนหัวเข่า ของเขาหายไป บาดแผลในหัวใจ มิเลือนลบไป…มิว่ากาลนานแค่ไหน…ยังตรึงตรา เขาเห็นผู้บริสุทธิ์ เพื่อนมนุษย์ถูกฉุดคร่า เขาเห็นด้วยสองตา แต่ทว่า…บันทึกในหัวใจ บทเรียนของลูกหลาน ไม่ว่าวันวาน วันไหนไหน เด็กมิเคยรับรู้บาดแผลใดใด ในบทหลักชั้นใดใดของโรงเรียน บาดแผลบนหัวเข่า
vice versa
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
351
ของเขาหายสนิท บาดแผลแห่งชีวิต เขามิได้ลิขิต…แต่ผู้ลิดรอนสิทธิ์…มักชี้ชะตา
352
The Journal of Philosophy and Literature vol. II, 2017
vice versa
Love and reason are one and the same. —Blaise Pascal