สามแพร่ง by 4lah PaCiLL

Page 1

ชุมชน “สามแพร่ง”


บรรณาธิการ ปัจจุบันสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพของสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา ส่งผลให้คนรุ่นใหม่มีค่านิยมและวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากอดีต จนบางครั้งเผลอ มองข้ามวิถีชีวิตแบบดั่งเดิมที่แสนอบอุ่น มีความเรียบง่าย แต่สะท้อนถึงบรรยากาศ เก่าๆที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่มักมองว่าการเรียน รู้ประวัติศาสตร์ หรือวัฒนธรรมสามารถเรียนรู้ได้ที่สถานที่ ที่มีความสำ�คัญและยิ่ง ใหญ่ จนนึกไม่ถึงว่าบางทีเรื่องที่ใกล้ตัว เรื่องที่ดูธรรมดานั้นก็สามารถสอนถึงต่างๆ ให้เราได้ อย่างเช่น ชุมชนสามแพร่งในกรุงเทพฯ ที่มีความเก่าแก่ และทรงคุณค่ามา อย่างยาวนาน แต่มักจะถูกละเลยความสำ�คัญไป ทั้งที่เป็นแหล่งเรียนรู้วิถีชีวิตและ วัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี เมื่อได้มีโอกาสไปเที่ยวชุมชนสามแพร่ง ซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่ที่เคยเป็นย่านการค้าที่ มีความเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยอดีตแม้จะผ่านเวลามายาวนานแต่ชุมชนสามแพร่ง ก็ยังคงเป็นชุมชนที่มีชีวิตชีวา มีความน่าสนใจทั้งในเรื่องของวิถีชีวิตและวัฒนธรรม ต่างๆ โดยในย่านนี้จะมีวัดที่มีความสำ�คัญมากหลายแห่งอีกทั้งยังขึ้นชื่อเรื่องอาหาร อร่อยด้วยสูตรต้นตำ�รับที่เป็นเอกลักษณ์สืบต่อกันมารุ่นต่อรุ่น สามารถคงรสชาติ อาหารไว้ได้เป็นอย่างดี หาทานได้ยาก ถือว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของชุมชน ดังนั้น กลุ่มของเรา 4Lah PaChiLL จึงได้รวบรวมเรื่องราวต่างๆที่น่าสนใจในย่าน ชุมชนสามแพร่งมาถ่ายทอดเป็นบทความให้ผู้อ่านที่สนใจได้เรียนรู้ และเห็นคุณค่า ของความเป็นไทยของเรา 4Lah PaChiLL


INDEX History 3

การเดินทาง 15

Explore 47

People 63 Culture 69

วัดสำ�คัญ..ย่านสามแพร่ง 73 สามแพร่งชวนชิม 79 Insight my trip 83


History



Bangkok


บางกอก



กว่าจะมาเป็น...กทมฯ เมื่ อ ครั้ ง กอบกู้ อิ ส รภาพจากพม่ า หลั ง เสี ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยาพ.ศ.2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานี แห่งใหม่ คือ กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2313 แต่ด้วยกรุงธนบุรีมี สภาพเป็นเมืองอกแตกตรงกลางมีแม่น้ำ�เจ้าพระยาไหลผ่าน เมื่อสมเด็จเจ้าพระยา มหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) ขึ้นเสวยราชสมบัติ เฉลิมพระนาม พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระราชดำ�ริว่า ฟากตะวันออกของแม่น้ำ�เจ้าพระยา มีชัยภูมิดีกว่าเพราะมีลำ�น้ำ�เป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชาน พระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่า


พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ขึ้นทางฝั่งตะวันออกนั้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสื บ ทอดศิ ล ปกรรมและสถาปั ต ยกรรม จากพระราชวั ง หลวงของกรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา


และทรงพระราชทานนามของกรุงเทพมหานคร ไว้ว่า

“กรุงเทพ มหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินท รายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

มีความหมาย “เมือง ของเทวดา มหานครอัน เป็นอมตะ สง่างามด้วยแก้ว 9 ประการ และเป็นที่ ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน เมืองที่มีพระราชวัง หลายแห่ง ดุจเป็นวิมานของเทวดา ซึ่งพระวิษณุ กรรมสร้างขึ้นตามบัญชาของพระอินทร์”


จากอดีต.... สู่ ปัจจุบัน





การเดินทาง



จุดหม


มายการเดินทาง



จุดหมาย - วังสราญรมณ์ -วัดราชประดิษฐ์ -สุสานหลวง วัดราชบพิตรฯ -แพร่งภูธร -แพร่งนรา -แพร่งสรรพศาสตร์ -วัดมหรรณภาราม -เทวสถาณ -วัดสุทัศน์



“นัดรวมพล” สถานที่ : หน้าวังสราญรมณ์ บริเวณ อนุสาวรีย์รัชกาลที่ 4 วัน : จันทร์ ที่ 24 มีนาคม 2557 เวลา : 07.30 น.



วิทยากร ผู้ให้ความรู้ตลอดการเดินทาง


จุดหมายที่ 1






จุดหมายที่ 2


“สุสานหลวง”



จุดหมายที่ 3 “วัดราชบพิตร”





จุดหมายที่ 4



จุดหมายที่ 5 “ถนนแพร่งนรา”



จุดหมายที่ 6



จุดหมายที่ 7


จุดหมายที่ 8


จุดหมายที่ 9




Explore


ชุมชนสา


ามแพร่ง



แพร่งภูธร

“แพร่ ง ภู ธ ร”เป็ น ย่ า นการค้ า ที่ อ ยู่ ร ะหว่ า ง ถนนตะนาว และถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด เชิงสะพานช้างโรงสี เดิมคือ วังสะพานช้างโรง สี วังเหนือ อยู่ทางทิศใต้ของแพร่งนรา ซึ่งเป็น ที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ไพฑูรย์ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ ต้นราชสกุลไพฑูรย์ เมื่อกรมหมื่นสนิทนเรนทร์สิ้นพระชนม์ จึงเป็น ที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ชุมแสง กรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา พระอนุชาร่วม เจ้าจอมมารดา ต้นราชสกุลชุมแสง เมื่อกรมหลวง สรรพศิลป์ปรีชาสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานวังนี้เป็นที่ ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวี ถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำ�รงศักดิ์ ต่อมาเมื่อเมื่อ กรมหมื่นภูธเรศธำ�รงศักดิ์สิ้นพระชนม์ พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้แบ่ง พื้นที่ทำ�เป็นตึกแถว พระราชทานชื่อถนนย่านนั้น ว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำ�รงศักดิ์




แพร่งนรา “แพร่งนรา” เป็นย่านการค้าที่ตั้งอยู่ระหว่างวัดสุทัศน์ เทพวรารามกับวัดมหรรณพารามซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นถิ่น ละครร้อง เพราะเป็นที่ตั้งของวังวรวรรณที่ประทับของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรวรรณากรกรมพระยา นราธิปประพันธ์พงศ์ พระองค์ทรงเป็นทั้งนักกวีและ นักประพันธ์ ทรงมีความสนใจทางด้านการละครและ ได้นำ�ละครร้องแบบโอเปร่ามาผสมผสานกับละครร้อง แบบไทย ทำ�ให้เปิดโรงละครปรีดาลัย โรงละครร้องแห่ง แรกของไทยต่อมากลายเป็น โรงเรียนตะละภัฏศึกษา ปัจจุบันเหลือเพียงร่องรอยที่ยังอยู่ให้ชื่นชม นอกจากนี้ ยังรวมขนมคาวหวาน และบ้านเรือนที่มีบรรยากาศน่า มอง สามารถเดินเล่นชมสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าได้อย่าง เต็มอิ่ม ถือเป็นชุมชนที่มีคุณค่าอีกชุมชนหนึ่ง





แพร่งสรรพศาสตร์




“แพร่งสรรพศาสตร์” หรือ แพร่งสรรพ สาตรเป็นย่านการค้าที่อยู่ระหว่างถนนตะนาว กับถนนอัษฎางค์ อยู่ทางทิศเหนือของแพร่ง นรา บริเวณนี้เดิมเป็น วังสรรพสาตรศุภกิจ เป็น วังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์ เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาต รศุภกิจ ต้นราชสกุลทองแถม ซึ่งก่อสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2444 อย่างวิจิตรบรรจง มีซุ้มประตู สวยงาม เนื่องจากกรมหลวงสรรพสาตรศุภ กิจ ทรงเป็นผู้บังคับบัญชากรมช่างในพระบรม มหาราชวัง ต่อมาใน พ.ศ. 2510 วังนี้เกิดเพลิง ไหม้เสียหายจนหมด คงเหลือแต่ซุ้มประตูวัง และมี ก ารสร้ า งตึ ก แถวสมั ย ใหม่ ขึ้ น มาแทน เรียกย่านนี้ว่า แพร่งสรรพสาตร ตามพระนาม



PEOPLE



ประชากรส่วนใหญ่ของชุมชนสามแพร่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนที่อพยพ เข้ามาตั้งแต่ยุคเสื่อผืนหมอนใบ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายเป็น หลัก ร้านอาหารส่วนมากเป็นร้านที่เคยรุ่งเรืองในสมัยรัชการที่ 5 มีการสืบทอดกิจการมารุ่นต่อรุ่น ซึ่งเป็นจุดเด่นของย่านนี้ เพราะ สามารถคงรสชาติต้นตำ�หรับดั้งเดิมที่มีมาแต่ช้านานได้มากที่สุด รสชาติอาหารเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนรสชาติอาหารในสมัยใหม่​่



เมื่อมองจากด้านนอกเข้ามาภายในชุมชนจะเห็นเป็นเหมือนตรอก เล็กๆ แต่เมื่อได้ลองเดินเข้าไปภายในชุมชน 3 แพร่งนี้แล้ว จะได้ พบกับบรรยากาศสบายๆ ทำ�ให้รู้สึกผ่อนคลาย เป็นบรรยากาศที่ ค่อนข้างหาได้ยากในเมืองกรุง ผู้คนภายในชุมชนมีความเป็นกันเอง มี มนุษย์สัมพันธ์และอัธยาศัยที่ดี มีการดูแลซึ่งกันและกัน ให้ความรู้สึก เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน ซึ่งเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้พบเจอ เป็นอย่างมาก


CULTURE






วัดสำ�คัญ

สามแพร่ง

ย่าน






สามแพร่งชวนชิม









Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.