การจัดการข้าวเปลือกเพื่อลดการสูญเสีย

Page 1

การจัดการข้าวเปลือกเพื่อลดการสูญเสีย* 1. การสูญเสียของข้าว กระบวนการการเก็บเกี่ยวและหลังการเก็บเกี่ยวมีความสาคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในแต่ละกิจกรรม ในกระบวนการ นอกจากจะมีผลต่อการสูญเสียข้าวจากการขาดความระมัดระวังทาให้ข้าวตกหล่นเสียหายแล้ว ยังมีผลต่อผลได้จากการขัดสี โดยทั่วไปการสูญเสีย จะเกิดขึ้นในสองลักษณะ คือ การสูญเสียในเชิงปริมาณและ ในเชิงคุณภาพ และการสูญเสียในเชิงปริมาณ การสูญเสียในเชิงปริมาณ หรือ น้าหนัก ได้แก่น้าหนักของข้าวลดลง หรือหายไปจากสาเหตุต่างๆ เช่นร่วงหล่นในนาขณะเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวไม่หมด นวดไม่หมด ถูกแมลงศัตรู นกและหนูทาลาย ทั้งในนาและใน โรงเก็บ เป็นต้น โดยพบว่ามี การสูญเสียรวมเฉลี่ย โดยวิธีการใช้แรงงานคนและเครื่องนวด 14.0% และโดย วิธีการใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าว 10.73% โดยรายละเอียดการสูญเสียจากขั้นตอนต่างๆ แสดงตามตารางที่ 1 และ 2 ตารางที่ 1 การสูญเสียข้าวรวมโดยวิธีการใช้แรงงานคนและเครื่องนวด ขั้นตอน ความสูญเสีย (%) การเกี่ยว 0.51 ตากแผ่ 0.52 มัดฟ่อน 0.91 ขนย้าย 0.49 การนวดโดยใช้เครื่องนวด 5.65 การขนใส่ภาชนะหรือยุ้งฉาง 0.92 การเก็บรักษา 5.00 รวม 14.00 ตารางที่ 2 การสูญเสียข้าวรวมโดยวิธีการใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าว ขั้นตอน การเกี่ยว การนวด การคัดแยกและทาความสะอาด การขนใส่ภาชนะหรือยุ้งฉาง การเก็บรักษา รวม

ความสูญเสีย (%) 3.43 0.0062 1.37 0.92 5.00 10.73

การสูญเสียในเชิงคุณภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นผลมาจากการเก็บเกี่ยวข้าวที่ไม่ถูกต้องตามระยะเวลาที่ เหมาะสม การเก็บเกี่ยวข้าวที่มีความชื้นสูงหรือเปียกฝนแล้วไม่รีบนาไปลดความชื้นก็จะทาให้เนื้อข้าวมีสีเหลือง มีกลิ่นเหม็น ขึ้นราหรือเกิดท้องไข่ และเมื่อนามาสีก็จะมีผลทาให้เมล็ดเกิดการแตกหักจะได้ข้าวเต็มเมล็ดหรือ ต้นข้าวน้อย อีกทั้งเครื่องสีข้าวที่ไม่ได้มาตรฐานก็จะทาให้ประสิทธิภาพการสีต่าไปด้วย รวมทั้ง หากผู้ใช้เครื่องสี ข้าวมีการปรับแต่งลูกกะเทาะหรือลูกสีไม่ถูกต้องแ ละเหมาะสมกับคุณลักษณะของพันธุ์ข้าวก็จะทาให้มีการ *

เรียบเรียงโดยนางสาวฐิติกานต์ กลัมพสุต

ผู้อานวยกลุ่มส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลเกษตรรายย่อย กองส่งเสริมโครงการพระราชดาริ การจัดการพื้นที่และวิศวกรรมเกษตร


2

แตกหัก ได้ข้าวเต็มเมล็ดหรือต้นข้าวน้อยลง หรือถ้าเป็นเมล็ดพันธุ์จะทาให้เมล็ดพันธุ์เสื่อมความงอกหรือมี เปอร์เซ็นต์ความงอกต่ากว่ามาตรฐาน (ตามมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ข้าวกาหนดว่าเมล็ดพันธุ์จะต้องมีเปอร์เซ็นต์ ความงอกไม่ต่ากว่า 80%) ตลอดจนมีวิธีการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้อง 2. องค์ประกอบที่มีผลต่อการขัดสี องค์ประกอบที่ทาให้ข้าวสารที่สีหักมากน้อยนอก ขึ้นอยู่กับสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไป นี้ ประสิทธิภาพเครื่องสี

คุณภาพข้าวเปลือก

ความชานาญของผู้ควบคุม

ระดับการสี สภาพอากาศแวดล้อม สาหรับคุณภาพข้าวเปลือก ขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศแวดล้อมระหว่างปลูก สภาพดิน วิธีปฏิบัติในการ ผลิตพืช การเก็บเกี่ยว และวิธีปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การลดความชื้น การเก็บรักษา และระยะเวลาเก็บรักษา โดยมีรายละเอียดที่ต้องให้ความสาคัญ คือ 1. พันธุ์ข้าว ข้าวบางพันธุ์แสดงผลสีที่ดีมาก แต่บางพันธุ์ก็แสดงผลสีไม่ดี กล่าวคือ ข้าวบางพันธุ์ อาจมีเนื้อข้าวสารแกร่งและมีท้องไข่น้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งทาให้ผลการสีผิดกันไป นอกจากนั้นข้าวบางพันธุ์ก็มี ขนาดความหนาและความยาวของเมล็ดผิดกันไป และยังมีบางพันธุ์ที่เมล็ ดบิดไม่ได้รูป แหล่งหรือพื้นที่จะเป็น อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อผลได้จากการขัดสีเนื่องจากเหตุผล ได้แก่ พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมต่อการปลูกในแต่ละพื้นที่ จะแตกต่างกันและให้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่างกัน สภาพทางธรรมชาติ เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปริมาณ น้า และอุณหภูมิ ของแ ต่ละแหล่งปลูกต่างกัน นอกจากจะทาให้ปริมาณผลผลิตของข้าวแตกต่างกันแล้ว ยังทา ให้คุณภาพของเมล็ด ความอุดมสมบูรณ์ รอยร้าว การแตกหัก แตกต่างกันด้วย 2. พันธุ์ปน หรือ ข้าวผสม ข้าวเปลือกพันธุ์ปน ขนาดเมล็ดต่างกัน เมื่อนามาสี ทาให้การควบคุม หรือปรับแต่งเครื่องสีเกิดความยุ่งยาก ความสามารถในการสีลดลง ปริมาณข้าวหักมากขึ้น ปริมาณข้าวสารและ ต้นข้าวลดลง 3. เมล็ดร้าว การปล่อยทิ้งข้าวเปลือกไว้ภายใต้สภาวะผันผวนของอุณหภูมิและความชื้น นามาซึ่ง พัฒนาการแตกร้าวภายในเมล็ดข้าวเปลือก เมื่อผ่านกระบวนการสี จะได้ปริมาณข้าวสารและต้นข้าวลดลง ซึง่ อาจเกิดจากสาเหตุ การเก็บเกี่ยวที่ กระทาไม่ได้ตามเวลาที่เหมาะสม เช่น มีแรงงานหรือเครื่องเกี่ยวนวดข้าวไม่ เพียงพอที่จะเก็บเกี่ยวได้ทันตามกาหนด และ การลดความชื้นที่ไม่เหมา ะสม ด้วยอัตราที่สูงเกินไป หรือใช้ อุณหภูมิสูง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบและวิธีการลดความชื้น 4. ข้าวเมล็ดอ่อน มีขนาดเมล็ดผอมบาง และมีลักษณะท้องไข่มาก เมื่อผ่านกระบวนการสี จะหัก ง่าย ทาให้ได้ราและข้าวหักมีปริมาณสูง เป็นผลให้ได้ปริมาณข้าวสารและต้นข้าวต่า อาจเกิดจากสาเหตุที่ต้องรีบ เก็บเกี่ยวด้วยความจาเป็นบางประการ 5. สิ่งเจือปน ได้แก่ เศษฟาง หิน ดิน ทราย เมล็ดวัชพืช เป็นต้น ส่วนใหญ่ปะปนมากับข้าวเปลือก ในขั้นตอนเก็บเกี่ยวและลดความชื้นบนลานตาก


3

6. ความชื้นในเมล็ดข้าวขณะทาการสี ถ้าหากข้าวมีความชื้นสูงก็อาจทาให้เกิดการหักป่นได้ง่ าย ความชื้นในเมล็ดข้าวเปลือกในขณะทาการสีควรอยู่ระหว่าง 12-13% จึงจะสีให้ได้ผลดี ถ้าข้าวถูกความร้อนมาก ในระหว่างการสีหรือการเก็บรักษาก็ดี อาจทาให้เนื้อในของข้าวสารเกิดร้าวเป็นเปราะ และเมื่ อสีเอาเปลือกออก แล้ว เปราะเหล่านั้นก็จะหลุดจากกันโดยง่ายทาให้กลายเป็นข้าวหักไปหมด 7. การเก็บรักษา หมายถึง การเก็บรักษาในยุ้งฉางก็ดี หรือการเก็บในระหว่างขนส่งก็ดี อาจทาให้ คุณภาพในการสีเสียไปได้หากการเก็บไม่ปลอดภัย เช่น ฝน ความชื้นของเมล็ดข้าวก่อนเก็บเข้ายุ้งฉาง ข้าวที่จะ เก็บได้ทนนานควรมีความชื้นไม่เกิน 13% 8. แมลง หนู และนก รวมทั้งโรคราต่าง ๆ ก็เป็นภัยที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง เพราะนอกจากจะกัดเมล็ด ข้าวให้กร่อนให้หักง่ายแล้ว ยังถ่ายสิ่งสกปรกออกมาทาให้เนื้อข้าวสารเปื่อยและบูดเสีย เมื่อนาไปสีก็จะหักง่าย นอกจากนั้นยังทาให้ข้าวสารมีสีสันไม่น่าดู ราคาตก 3. การเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยว มีปัจจัยที่ที่ต้องคานึงถึงที่อาจส่งผลต่อผลได้จากการขัดสีเมื่อแปรสภาพข้าวเปลือกเป็น ข้าวสาร ได้แก่ การปฏิบัติก่อนการเก็บเกี่ยว ความชื้นของเมล็ด ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว และวิธีการการเก็บ เกี่ยว หากการเก็บเกี่ยวเหมาะสม เมื่อคานึงถึงปัจจัยดังกล่าว จะทาให้ผลได้จากการขัดสี (Milling Yield) ของ การแปรสภาพข้าวเปลือกเป็นข้าวสารมากขึ้น การที่ข้าวจะมีผลผลิตสูงและเมล็ดมีคุณภาพดีขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวและความชื้นในการ เก็บเกี่ยวอย่างมาก โดยข้าวเปลือกเมื่อเริ่มเป็นเมล็ดจะมีความชื้นสูงขึ้น ความชื้นนี้จ ะค่อยๆ ลดลง พร้อมๆ กับ การเพิ่มน้าหนักของเมล็ด การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง จนกระทั่งเมล็ดข้าวแก่จัด และหยุดสะสมอาหาร การเปลี่ยนแปลงในเมล็ดข้าวภายหลังถึงจุดแก่จัดแล้วนี้ จะขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมเป็น ของเมล็ดเป็นหลัก ในการประเมินจุดแก่จัดของเมล็ดข้าว เราจะใช้ความชื้นเป็นตัวบ่งชี้ การเก็บเกี่ยวควรดาเนินการเมื่อเมล็ดข้าวถึงระยะเวลาสุกพอดี เพื่อหลีกเลี่ยงความสูญเสียเนื่องจาก ข้าวร่วงและรวงหักตกหล่น ระยะเวลาสุกแก่พอดีในที่นี้หม ายถึง เวลาที่เมล็ดข้าวประมาณ 80% ของเมล็ด ใน รวงแก่เต็มทีห่ รือเรียกว่าข้าวในระยะพลับพลึงนั่นเอง ซึ่งจะอยู่ในช่วงระหว่าง 25 ถึง 35 วัน หลังข้าวออกดอก ซึ่งเมล็ดจะมีความชื้นประมาณ 18-25% หากเก็บเกี่ยวเร็วเกินไป เป็นการเก็บเกี่ยวในขณะที่เมล็ดยังไม่แก่ เต็มที่ เมล็ดยังเขียวอยู่ น้าหนักเมล็ด เบา การสร้างแป้งยังไม่แน่นเต็ มเมล็ด ความชื้นของเมล็ดสูง เมื่อตากแห้ง แล้วนาไปสี ข้าวเมล็ดเขียวหรือยังอ่อนเหล่านี้จะหักปนไปรวมอยู่กับส่วนรา แกลบและข้าวหัก ทาให้ได้เนื้อของ ข้าวสารและข้าวเต็มเมล็ดน้อย ในขณะเดียวกันหากเก็บเกี่ยวช้าเกินไป คือ หลังจากเมล็ดแก่และแห้ งได้ที่แล้ว ไม่เก็บเกี่ยว จะทาให้ ข้าวร่วงหล่นเสียหายมากขณะเก็บเกี่ยว เนื่องจากข้าวแห้งกรอบ เปิดโอกาสให้ให้นก หนู และแมลง เข้าทาลายมาก และต้นข้าวล้ม เก็บเกี่ยวยาก ทาให้สิ้นเปลืองเวลาและแรงงาน นอกจากนี้การ ปล่อย ให้เมล็ดข้าวตากแดด ตากน้าค้างหรือฝนต่อไปเรื่อยๆ ในสภาพเช่นนี้นานๆ จะเกิดรอยร้าวขึ้นในเมล็ด เมื่อนาไป สี ข้าวจะหักมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ด ต้นข้าวน้อย ข้าวที่เก็ บเกี่ยวขณะมีความชื้นสูงกว่า 25% จะมีข้าวลีบปนมากกว่า 30% ในขณะที่เก็บเกี่ยวข้าว ความชื้นต่าปริมาณข้าวลีบจะลดลง ถ้าเก็บเกี่ยวที่ความชื้นระหว่าง 30-40% จะได้รับข้าวต้น 50-53% ถ้าเก็ บ เกี่ยวที่ความชื้นระหว่าง 25-26% จะได้รับข้าวต้น 58-60% ถ้าเก็บเกี่ยวที่ความชื้นระหว่าง 19-21% จะได้รับ ข้าวต้น 45-47 % ถ้าเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคนที่ความชื้นระหว่าง 18-20 เปอร์เซ็นต์ จะได้รับข้าวต้น 50-53 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ใน ปี 2540 พบว่า การเร่งเก็บเกี่ยวก่อนระยะเวลาที่ เหมาะสมข้าวยังสุกแก่ไม่เต็มที่ทาให้ผลผลิตมีคุณภาพต่า แต่หากเก็บเกี่ยวล่าช้า ข้าวสุกแก่มากเกินไป จะมี


4

ปริมาณข้าวร่วงหล่นในแปลงสูง ข้าวถูกตากแดดมากเกินไป เมื่อนาไปสีแล้วจะได้ข้ าวคุณภาพต่าเช่นกัน โดย พบว่าเกิดความสูญเสียรวมเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณวันละ 0.36% และเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวลดลงวันละ 0.38% และ 0.47% หากเก็บเกี่ยวก่อนและหลังระยะเวลาที่เหมาะสม การใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวที่มีคุณภาพการผลิตและการใช้งานในการเก็บเกี่ยวทดแทนหรือเพิ่ มเติม การใช้แรงงานคน นอกจากจะมีข้อได้เปรียบในความรวดเร็วและประหยัดแรงงานแล้ว ยังสามารถลดความ สูญเสียไ ด้ถึง 2.84% หรือครึ่งหนึ่งของความสูญเสียจากการใช้แรงงานคน ช่วยทาให้ได้เปอร์เซ็ นต์ต้นข้าว เพิ่มขึ้นอีกเกือบ 9%รายละเอียด แสดงดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 ความสามารถและคุณภาพข้าวจากการเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคนและเครื่องเกี่ยวนวดข้าว ความสามารถ ความสูญเสียรวม ต้นข้าว วิธีการ (ไร่ต่อชั่วโมง) (%) (%) แรงงานคน* 0.044 5.65 48.94 เครื่องเกี่ยวนวดข้าว 4.81 4.81 57.80 *ตั้งแต่ขั้นตอนเกี่ยว ตากแผ่ มัดฟ่อนขนย้าย และนวดด้วยเครื่องนวด

เครื่องเกี่ยวนวดข้าวที่ใช้ในปัจจุบันสามารถทางานได้ดีในพื้นที่ที่มีขนาดแปลงตั้งแต่ 3 ไร่ ขึ้นไป สาหรับความ สูญเสียขณะทาการเกี่ยวนวดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความชื้นของข้าวในขณะเก็บ เกี่ยว ชนิดของพันธุ์ข้าว ความหนาแน่น ของต้นข้าว ลักษณะของแปลงปลูกและช่วงเวลาที่ทาการเก็บเกี่ยว สภาพของเครื่องเกี่ยวนวดข้าว ความเร็วในการเคลื่อนที่ของเครื่องเกี่ยวนวดข้าว และความพิถีพิถันของ ผู้ใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าว โดยปัจจัยที่มีผลให้เกิดการสูญเสียที่รุนแรงมาก คือ การเกี่ยวและนวดในระยะเวลาที่ ไม่เหมาะสม สาหรับการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องเกี่ยวนวด สามารถสังเกตเพื่อการระมัดระวังและ ควบคุมได้ ดังนี้ ความสูญเสียจากการเกี่ยว เนื่องจาก  การร่วงหล่นเมื่อรวงกระทบชิ้นส่วนของการตัด  หลังจากการตัดแล้วยังมีรวงส่วนหนึ่งติดค้างอยู่กับต้น  หลังจากการตัดแล้วยังมีต้นที่ถูกตัดตกค้างอยู่ในแปลง  เมื่อทาการเกี่ยวล่าช้าต้นข้าวจะล้มเอนราบกับพื้นทาให้บางส่วนของต้นไม่ถูกตัด ความสูญเสียจากการนวด จาก  ท่อพ่นฟางเนื่องจากเมล็ดที่ถูกนวดแล้วไหลปะปนไปกับฟาง  ตะแกรงเนื่องจากเมล็ดที่ถูกนวดแล้วถูกเป่าออกไปจากตะแกรงเพราะลมแรงเกินไป  เมล็ดแตกหัก  การนวดไม่หมด มีเมล็ดส่วนหนึ่งยังคงติดค้างอยู่บนฟางข้าว และถูกพ่นออกไปพร้อมกับเศษ ฟาง 4. การลดความชื้น การลดความชื้น ก็คือ การดึงเอาน้าในเมล็ดที่จานวนมากเกินไปออกมาจนถึงระดับที่ต้องการ โ ดยมี วัตถุประสงค์เพื่อลดระดับความชื้นของข้าวภายหลังการเก็บเกี่ยวซึ่งอยู่ในระดับที่สูงลงมาอยู่ในระดับที่ต้องการ ในระยะเวลาที่รวดเร็วเพื่อความปลอดภัยและเหมาะสม สาหรับการนาไปแปรสภาพหรือเก็บรักษา


5

4.1 หลักการลดความชื้น คือ ให้ความร้อนแก่เมล็ดโดยมีอากาศเป็นตัวพาความร้อนไปสู่เมล็ด ความร้อนจะทาให้น้าในเมล็ดระเหยออกมา และอากาศเป็นตัวพาน้านั้นออกจากเมล็ด การลดความชื้นเป็น กระบวนการที่แบ่งออกได้ 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่หนึ่ง เป็นการระเหยของความชื้นที่ผิวเมล็ดสู่ อากาศรอบเมล็ด การนาน้าออกจากผิว เมล็ดนี้เป็นการดึงน้าที่เป็นชั้ นบาง ๆ ที่ผิวของเมล็ดออก จะทาไ ด้ในเมล็ดพืชที่ความชื้นสูง ๆ (มากกว่า 19%) เท่านั้น ในเมล็ดพืชที่มีความชื้นต่าๆ ระยะนี้อาจสั้นมากจนสังเกตไม่เห็น การดึงน้าที่เคลือบอยู่บน ผิวเมล็ด ออกเป็นการระเหยน้าออกสู่อากาศตามปกติเหมือนกับการระเหยของน้าจากผิวน้าทั่วๆ ไป ขั้นที่สอง เป็นการเคลื่อนย้ายของความชื้นที่อยู่ในเมล็ดออกมาที่ผิวแทนเมล็ดแทนที่ความชื้น ที่ระเหยไป การนาน้าออกจากภายในเมล็ดจะเกิดขึ้นภายหลังจากระยะแรกสิ้นสุดลงแล้ว น้าจากภ ายในเมล็ด จะเดินทางออกมาที่ผิวของเมล็ดก่อนจะระเหยออกสู่อากาศ การซึมของน้าจากภายในเมล็ดออกสู่ผิวนี้จะช้า มากและช้าลงเรื่อยๆ จนในที่สุดเกือบไม่มีการระเหยน้าเลย การลดความชื้นของเมล็ดพืชที่มีความชื้น ต่ากว่า 19% จึงทาได้ช้ามาก กินเวลานาน 4.2 การเปลี่ยนแปลงของน้​้าหนักข้าวตามความชื้น ปัจจัยที่สาคัญอีกประการหนึ่งในการในการลดความชื้นคือ น้าหนักหาย เนื่องจากการลด ความชื้นไม่ว่าโดยวิธีตากแดด หรือใช้เครื่องลดความชื้น จาทาให้น้าในข้าวเปลือกระเหยออกไป ทาให้น้าหนัก ลดลง โดยสามารถดูได้ดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 น้าหนักข้าวที่เหลือ (กิโลกรัม) เมื่อความชื้นลดลง จากน้าหนักข้าวเริ่มต้น 1,000 กิโลกรัม ความชื้น ความชื้นสุดท้าย (%) เริ่มต้น (%) 30 19 18 17 16 15 14 13 29 864 854 843 833 824 814 805 28 875 866 855 845 835 826 816 27 889 878 867 857 847 837 828 26 901 890 880 869 859 849 839 28 914 902 892 881 871 860 851 25 926 915 904 893 882 872 862 24 938 927 916 905 894 884 874 23 951 939 928 917 906 895 885 22 963 951 940 929 918 907 897 21 975 963 952 940 929 919 908 20 988 976 964 952 941 930 920 19 1,000 988 976 964 953 942 931 18 1,000 988 976 965 953 943 17 1,000 988 976 965 954 16 1,000 988 977 965 15 1,000 988 977

12 795 807 818 830 841 852 864 875 886 898 909 920 932 943 955 966


6

4.3 วิธีการลดความชื้นข้าว 1) วิธีทางธรรมชาติ ได้แก่การใช้การตากแดด หรือใช้แสงอาทิตย์เป็นแหล่งของความ ร้อน โดยมีการเคลื่อนที่ของอากาศเป็นสิ่งช่วยพาความชื้นออกจากเมล็ด ทาให้ความชื้นของเมล็ดลดลง เป็น วิธีการทีเ่ กษตรกรใช้มากที่สุด เนื่องจากประหยัด ไม่ยุ่งยาก และได้ผลดี แต่ก็มีข้อเสียคือ บางสภาวะ เช่นฤดูฝน ไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้ ต้องใช้แรงงานและพื้นที่ตากมาก ทั้งไม่สามารถควบคุมคุณภาพของข้าวที่ต้องการลด ความชื้นได้ การลดความชื้นข้าวเปลือกโดยการตากแดด บนลานคอนกรีตจะได้ผลดีที่สุด โดย ควร มีวัสดุที่สะอาดและแห้งรองรับ เมื่อข้าวเปลือกมีความชื้นสูง 25-30% ควรตากให้เหลือความชื้นมากกว่า 20% และไม่ควรตากแดดทั้งวัน ควรเก็บข้าวเปลือกในช่วงเวลา 13.00-14.00 น. เพราะในช่วงระยะเวลาดังกล่าว แดดจะร้อนจัดมาก โ ดยอาจมีการสุ่มวัดอุณหภูมิข้าวเปลือก โดยระวังอย่าให้ข้าวเปลือกร้อนเกิน 45-50oC แต่ หากเป็นเมล็ดพันธุ์อุณหภูมิข้าวเปลือกต้องไม่เกิน 43 oC และ ควรตากข้าวเปลือกให้มีความหนา 5-10 เซนติเมตร และความมีการเกลี่ยกลับข้าว 2-3 ครั้งต่อวัน หากใช้รถเกลี่ยไม่ควรจะวิ่งเร็วเกินไป เพราะจะทาให้ ข้าวเกิดการกะเทาะระหว่างตากและเกิดการร้าว หากชั้นข้าวเปลือกที่ตากหนาและไม่มีการกลับเกลี่ยข้าว เมล็ด ข้าวที่อยู่ด้านนอกจะมีความชื้นต่า ในขณะที่ภายในชั้นความชื้นสูง และเมื่อตากแดดนานเกินไป เมล็ดจะกรอบ แตกร้าว และมีผลต่อการขัดสีต่า นอกจากนี้หากชั้นที่ตากหนาเกินไป ก็จะทาให้การระบายอากาศในกองข้าวไม่ ดี ข้าวแห้งช้า และการตากบางเกินไปอาจทาให้อุณ หภูมิข้าวที่ตากสูงเกินไป ถ้าถึง 55-70oC จะมีผลต่อการสี เพราะเกิดการแตกร้าวภายในเมล็ดและมีโอกาสที่จะเกิดเมล็ดสีเหลือง จากการศึกษา การตากข้าวบางเกินไป คือ 2 เซนติเมตร คุณภาพการสีข้าวจะต่าที่สุดเนื่องจากอุณหภูมิของข้าวที่ตากสูงเกินไป เกิดการแตกร้าวภายใน เมล็ด ในขณะที่ตากข้าวในระยะ 5-10 เซนติ เมตร คุณภาพการสีจะดีกว่า แต่ไม่มี ความแตกต่างกันระหว่าง ความหนาทั้ง 2 ค่า และจานวนครั้งในการพลิกกลับข้าวไม่ มีผลต่อคุณภาพการขั ดสีแต่อย่างไร พบว่า แต่ถ้า ข้าวเปลือกมีความชื้นต่ากว่า 20% การตากแดดจะต้องทาด้วยความระมัดระวังเพราะจะทาให้ข้าวแตกหัก ได้ ง่าย ตารางที่ 5 คุณภาพการขัดสีของข้าว ที่ระดับความหนาของชั้นข้าวที่ตากเพื่อลดความชื้นเมล็ดข้าว คุณภาพการสี (เปอร์เซ็นต์ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว) ความหนาของเมล็ดที่ตาก การพลิกกลับข้าว (ครั้งต่อวัน) (เซนติเมตร) 2 4 2 64 64 5 67 67 10 67 67 2) การใช้เครื่องลดความชื้น วิธีนี้มีข้อดี คือสามารถปฏิบัติได้ทุกสภาวะอากาศไม่ว่าฝน จะตกหรือมีแสงแดดน้อย ไม่ต้องสิ้นเปลืองพื้นที่ลานตาก สามารถควบคุมการลดความชื้นให้อยู่ในระดับที่ ต้องการได้อย่างถูกต้อง ใช้ระยะเวลาลดความชื้นไม่มากและควบคุมป้องกันการเสียหายต่อคุณภ าพข้าว (คุณภาพการสี) ได้ดีกว่าวิธีธรรมชาติ ลดจานวนแรงงาน แต่ยังมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการลงทุน และ มีข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากกว่า ต้องการความรู้ความเข้าใจในกระบวนการ การลดความชื้น อย่างแท้จริงมิฉะนั้น แล้วจะ ทาให้เกิดความเสียหายอย่างมากกับคุณภาพข้าวเปลือกได้ โดยหลักการโดยทั่วไปแล้ว เครื่องลดความชื้นจะประกอบด้วยโครงสร้างที่ทาหน้าที่ บรรจุเมล็ด ซึ่งมักจะมีด้านใดด้านหนึ่งโปร่งให้ลมผ่านได้ จากด้านนี้ ก็จะมีลมช่วยเป่าผ่านชั้นของเมล็ดข้าว ลมที่ เป่าผ่านนี้จะถูกปรับสภาพให้มีความชื้นสัมพัทธ์ต่า เพื่อให้เกิดการะเหยของน้า เข้าสู่กระแสลมและถูกนาออก


7

ทิ้งสู่บรรยากาศต่อไป ในกรณีนี้อากาศค่อนข้างชื้น การลดความชื้นสัมพัทธ์ของลมที่เป่าผ่านจึงเป็นสิ่งจาเป็น วิธี ที่นิยมทากันมากและมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง คือ การเพิ่มอุณหภูมิของอากาศ แต่ระดับของอุณหภูมิที่ใช้ จะต้องไม่สูงจนเป้ฯอันตรายต่อเมล็ดข้าว หรือมีผลต่อคุณภาพของเมล็ด ดังนั้นองค์ประกอบที่สาคัญของเครื่อง ลดความชื้นจึงมีเพียงแค่ 3 ส่วน คือ โครงสร้างที่เป็นภาชนะบรรจุเมล็ด เครื่องเป่าลม ร้อน และต้นกาเนิดความ ร้อน 4.4 ความชื้นข้าวกับความปลอดภัยในการเก็บรักษาและคุณภาพการสี เนื่องจากข้าวควรจะมีการเก็บเกี่ยวที่ดีที่สุดในระยะทีมีความชื้นในเมล็ดค่อนข้างสูงอยู่ และเพื่อแก้ปัญหาข้าวเปียกชื้นในช่วงที่ดินฟ้าอากาศไม่อานวย การลดความชื้นเมล็ดข้าวอย่างถูกต้องจึงควรจะ ได้รับการเอาใจใส่และศึกษาองค์ประกอบต่างๆ ที่ควบคุมอย่างละเอียด ทั้งนี้เ พื่อป้องกันมิให้เกิดการสูญเสีย ด้านคุณภาพของเมล็ดข้าวไม่ว่าจะเป็นด้านความงอก หรือคุณภาพเมล็ดข้าวสาร นอกจากนั้นข้าวเปลือกก่อนที่ จะนาไปสีเป็นข้าวสารหรือนาเก็บเข้ารักษาในยุ้งฉาง จะต้องมีความชื้นที่พอเหมาะเพื่อให้ได้ข้าวสารคุณภาพที่มี คุณภาพที่ดี และเก็บรักษาอยู่ได้นาน ตารางที่ 6 ระยะเวลาที่ปลอดภัยในการเก็บรักษาเมล็ดข้าวเปลือกในช่วงอุณหภูมิของอากาศภายนอกและ ความชื้นเมล็ดข้าวที่เก็บรักษา จ้านวนวันที่ปลอดภัยในการเก็บรักษาที่ความชื้นต่างๆ อุณหภูมิ o ( ซ) 14% 15.5% 17% 18.5% 20% 21.5% 38 8 4 2 1 0 32 16 8 4 2 1 0 27 32 16 8 4 2 1 21 64 32 16 8 4 2 ความชื้นข้าวเปลือก นอกจากจะมีผลต่อการเก็บรักษาแล้ว ยังมีผลต่อคุณภาพการสีอีกอีก ด้วย ความชื้นข้าวเปลือกที่เหมาะสมในการสีที่ให้ต้นข้าวสูง ลดการแตกหัก จะมีความชื้นอยู่ในช่วงระหว่าง 1314% แสดงดังตาราง ที่ ซึ่งจะเห็นได้ได้ว่าข้าวเปลือกที่มีความชื้นสูงกว่า 14% และต่ากว่า 12% เมื่อนาไปสี แล้วจะมีข้าวหักมาก ตารางที่ 7 ผลของความชื้นข้าวเปลือกต่อคุณภาพการสีข้าว ความชื้นข้าวเปลือก (%) % ข้าวสาร 19.0 56.62 18.0 57.92 15.5 59.12 14.0 61.67 13.0 61.40 12.0 61.10 10.0 60.27

% ข้าวหัก 12.25 12.05 9.75 6.08 6.25 6.42 7.72

5. การเก็บรักษา เป้าหมายหลักของการเก็บรักษาข้าว คือ ต้องมีการสูญเสียข้าวในขณะเก็บรักษาน้อยที่สุด ซึ่งมี หลักการเก็บรักษาโดยทั่วไปคือ ต้องเก็บรักษาในสภาพหรือโรงเก็บที่มีความชื้นสัมพัทธ์ และอุณหภูมิของอากาศ ต่า หรือสภาพแห้งและเย็น นั่นเอง


8

5.1 วิธีการเก็บรักษาข้าวในโรงเก็บ มีลักษณะการเก็บเป็น 2 แบบ ใหญ่ ๆ คือ 1) การเก็บแบบเป็นกองรวมกัน วิธีนี้จะสะดวก ประหยัดเวลา แรงงาน และพื้นที่ที่ใช้เก็บ มี การลงทุนต่า แต่มีโอกาสเกิดความเสียหายได้ง่าย โดยเฉพาะข้าวที่มีความชื้นสูง เนื่องจากการระบายถ่ายเท ความร้อนแลความชื้นภายในกองไม่ดี จึงเหมาะที่จะเก็บข้าวระยะสั้น แต่ถ้าต้องเก็บเป็นระยะเวลานานๆ ต้องมี การเคลื่อนย้ายหรือกลับกองข้าวเป็นระยะ เพื่อเปิดโอกาสให้ความชื้นและความร้อนที่สะสมภายในกองเมล็ดมี การถ่ายเท ออกไปในระหว่างการเคลื่อนย้าย หรือพลิกกลับ หรือต้องลดความชื้นของข้าวให้ต่าที่สุด ก่อนเก็บ แบบเป็นกองรวมกัน เพื่อป้องกันให้เกิดความร้อนและความชื้นน้อยที่สุด 2) การเก็บในภาชนะบรรจุ วิธีนี้จะเก็บข้าวในภาชนะบรรจุ ชนิดและขนาดต่างกัน เช่น กระสอบป่าน ถุงผ้า ถุงปุ๋ย เป็นต้น ซึ่งมีข้อดีคือ สามารถเก็บข้าวได้เป็นระยะเวลานาน แม้ความชื้นข้าวจะ ค่อนข้างสูง เพราะการเก็บในภาชนะบรรจุ ความร้อนและความชื้นภายในข้าว สามารถระบายถ่ายเทให้กับ บรรยากาศ โดยรอบภาชนะบรรจุได้ แต่มีข้อเสียคือ ต้องสิ้นเปลืองเวลา แรงงาน สถานที่ ภาชนะบรรจุ และ ค่าใช้จ่ายสูงกว่า 5.2 ความเสียหายในระหว่างการเก็บรักษา แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ คือ 1) ความเสียหายด้านปริมาณ เป็นการสูญเสียด้านน้าหนักหรือปริมาณ เช่น น้าหนักลดลง หรือหายไป เนื่องจากถูกแมลง นก หนู กัดกิน ทาลาย เป็นความเสียหายที่สามารถวัดหรือตรวจสอบได้แน่นอน ชัดเจน 2) ความเสียหายด้านคุณภาพ เป็นความเสียหายที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ หรือเคมีของข้าว เช่น คุณภาพการสี คุณค่าทางอาหารลดลง กลิ่นหอม รสชาติที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเกิด สารพิษ เช่น อะฟลาท๊อกซิน ซึ่งเป็นการสูญเสียที่วัดและตรวจสอบยาก แม้การสูญเสียในการเก็ บรักษาที่สาคัญ จะเป็นการสูญเสียด้านปริมาณ จากที่นก หนู และ แมลงในโรงเก็บทาลาย รวมถึงการสูญเสียด้านคุณภาพ เช่น เมล็ดเหลือง การเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ การเกิด สารพิษจากเชื้อรา การปนเปื้อนจากแมลง และชิ้นส่วน และความปลอดภัยและความสะอาดของข้าว เป็นต้น แต่การเปลี่ยนแปลงคุณภาพภายในเมล็ดระหว่างการเก็บรักษาจะมีผลกระทบต่อคุณภาพการสีและผลจากการ ขัดสีของข้าว เช่นกัน 5.3 การลดการสูญเสียในขณะเก็บรักษาข้าว 1) ตรวจวัดความชื้นข้าวเปลือกก่อนนาเข้าเก็บรักษา เพื่อจะได้ทาการลดความชื้นในกรณีที่ มีความชื้นสูงเกินกว่า 14% 2) เมล็ดพันธุ์ควรคลุกยาฆ่าหรือกันเชื้อราและแมลงก่อนการเก็บ 3) ทั้งเมล็ดพันธุ์และข้าวเปลือกที่จะเก็บไว้ขายถ้าหากสามารถรมยาฆ่าแมลงได้ก่อนเก็บก็จะ ลดความสูญเสียอันเนื่องมาจากการทาลายของแมลงไปได้มาก 4) ทาความสะอาดยุ้งฉาง ควรดาเนินการทั้งก่อนและหลังการเก็บข้าวเปลือก มีการใช้ สารเคมีเพื่อจากัดแมลงที่อยู่อาศัยตามซอกต่างๆ ภายในยุ้งให้หมด ถ้าหากมีการใช้กระสอบในการบรรจุ ข้าวเปลือกจะต้องทาการฆ่าเชื้อรา และแมลงที่อาจจะแอบแฝงมากับกระสอบโยการผึ่งกับแสงแดดจัดๆ แล้วมี การกลับด้านกระสอบเพื่ อให้กระสอบถูกแดดทั้งสองด้าน หรือใช้ น้าที่เดือดลาดกระสอบเพื่อให้แมลงและไข่ที่ อาศัยอยู่ในกระสอบถูกฆ่าทาลายหมด 5) ทาความสะอาดรอบๆ บริเวณยุ้งฉาง ทั้งก่อนและหลังเก็บข้าวเปลือก เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่ อาศัยของศัตรูทุกชนิด เช่น หนูและแมลงต่าง ๆ ไม่ควรมีต้นไม้ใหญ่ หรือสิ่งของเก็บไว้ใต้ยุ้งพอที่จะเป็นทางผ่าน ของหนูได้


9

6) ปรับปรุงยุ้งฉางที่มีอยู่เดิม ควรจะเพิ่มส่วนที่สามารถป้องกันการทาลายโดยหนู นก และ แมลง ได้ ดังนี้ (1) กรณีการสูญเสียเนื่องจากหนู โ ดยใช้สังกะสีทรงกรวยคว่าอ้อมรอบเสายุ้ง รวมทั้ง ออกแบบพื้นยุ้งให้สูงกว่าพื้นดินอย่างน้อย 80 เซนติเมตร ซึ่งเป็นความสูงที่หนูโตเต็มที่กระโดดไม่ถึง หลังคายุ้ง ต้องอยู่ห่างจากต้นไม้อย่าน้อย 1 เมตร และต้องไม่มีการเลี้ยงสัตว์ไว้ใต้พื้นยุ้งเด็ดขาด (2) กรณีการสูญเสียเนื่ องจากนก ทาการป้ องกันโดยการใช้ตาข่ายเหล็กหรือไน ล่อน ขนาดช่อง ½ นิ้ว ถึง ¾ มาปิดทับช่องระบายอากาศ และช่องว่างระหว่างหลังคาและโครงหลังคา (3) กรณีการสูญเสียเนื่องจากแมลง ทาได้โดย  ขนย้ายข้าวเก่าค้างปีออกจากยุ้งให้หมดก่อนนาข้าวใหม่เข้าเก็บ  ทาความสะอาดยุ้งโดยการกวาดหรือล้างทาความสะอาด มูลสัตว์ที่ใช้อัดร่อง พื้นให้สนิทนั้นเป็นแหล่งพักตัวของแมลงศัตรู แก้ไขโดยเปลี่ยนใช้วัสดุ เช่นไม้ สังกะสี ตีปิดทับร่องพื้นยุ้งให้สนิท แทน 7) การลดการสูญเสียเนื่องจากความร้อนและความชื้นที่สะสมในกองข้าวเปลือก ซึ่งเป็ น สาเหตุของการเกิดเชื้อรา และแมลง การป้องกันและลดการสูญเสียทาได้โดยการ วางท่อระบายอากาศเพื่อ ให้มี การไหลถ่ายเทของอากาศ เพื่อให้พาเอาความร้อนและความชื้นออกจากกองข้าวเปลือก รวมทั้งกรณีของ ความชื้นที่เกิดจากภูมิอากาศ (โดยเฉพาะในฤดูฝน จะมีเปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง ) ก็อาจจะทาให้ มีการไหลถ่ายเทของอากาศร้อน จากเครื่องลดความชื้นเพื่อให้พาความชื้นออกนอกกองเมล็ด ส่วนการเก็บ รักษาข้าวในภาชนะบรรจุ เช่น กระสอบ ควรมีการวางบนแคร่ยกพื้นเพื่อเพิ่มการระบายอากาศ 6. การจัดการข้าวเปลือกชื้น เนื่องจากระบบการเก็บเกี่ยวในปัจจุบันมีการใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวอย่างแพร่หลาย ทาให้มี ข้าวเปลือกความชื้นสูงจานวนมากในระยะเวลาอันสั้นในช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว ลานตากข้าวในแต่ละพื้นที่มีไม่ เพียงพอกับจานวนข้าวที่จะต้องตาก ทาให้ข้าวเปลือกที่มีความชื้นสูงมากองรวมกั นจานวนมากเสื่อมคุณภาพ อย่างรวดเร็ว เป็นปัญหาที่มีความสาคัญต่อคุณภาพข้าวในภาพรวมของประเทศ ระบบการจัดการข้าวเปลือก ความชื้นสูงหลายระบบ จึงได้ถูทาการศึกษาและออกแบบเพื่อเป็นทางเลือกให้กับกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ การเกษตร และผู้ประกอบการโรงสี พิจารณาเลือกและปรับใช้ตามศักยภาพ และความเหมาะสม


10


11


12

การชะลอการเสื่อมสภาพข้าวเปลือกความชื้นสูงโดยการระบายอากาศในระดับเกษตรกร ในขณะที่ ไม่ สามารถลดความชื้นโดยการตากเนื่องจากพื้นที่ตากไม่พียงพอ หรือในขณะอบลดความชื้นได้ หา กข้าวเปลือกมี ความชื้นเริ่มต้นไม่เกิน 24% สามารถรวมกองไว้ในที่โล่งแจ้งโดยไม่มีฝนตก ได้ประมาณ 7 วัน ทั้งนี้ข้าวเปลือก แต่ละกองต้องไม่ควรไม่ควรมีปริมาณมากกว่า 1 ตัน และควรมีวัสดุคลุมเพื่อป้องกันความชื้นจากน้าค้างในตอน กลางคืน ส่วนข้าวเปลือกที่มีความชื้นเกิน 26% ควรมีการระบายความร้อนออกจากกองข้าวเพื่อป้องกันการ เสื่อมคุณภาพของข้าวเปลือก ซึ่งอาจทาได้โดยการพลิกกลับกองข้าววันละ 1 ถึง 2 ครั้ง หรือกองไว้บนแท่น โปร่งยกพื้นทาให้กลางกองกลวง เพื่อให้อากาศถ่ายเทและระบายความร้อนออกจากกองข้าวได้สะดวก หรือทา การเป่าลมให้ผ่านจากภา ยในกองข้าวเปลือกในอัตราที่ไม่ต่ากว่า 2 ลูกบาศก์เมตร ต่อนาที แต่ต้องระวังไม่ให้ กองข้าวสูงกว่า 2 เมตร


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.