Woodwork motifs ornament sanctuary of pasang

Page 1



เครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารป่าซาง Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร อำ�เภอป่าซาง

ป่าซางนั้นเป็นเมืองที่มีชุมชนที่เก่าแก่มีมา ตั้งแต่สมัยล้านนาเพราะอยู่บนเส้นทางคมนาคมแต่ โบราณพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีเนินเขาเตี้ยๆไม่สูง มากนักกระจายอยู่ทางทิศใต้ของอำ�เภอในเขตตำ�บล นครเจดีย์และตำ�บลมะกอกผู้คนในอำ�เภอป่าซางนั้น ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยองหรือชาวยองได้อพยพมา จากสิบสองปันนาในอำ�เภอป่าซางจังหวัดลำ�พูนนั้น ถือว่าอุดมไปด้วยมรดกศิลปะและวัฒนธรรมที่มีความ เจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะในด้านขององค์ประกอบของ ศิลปกรรมเครื่องไม้ของวิหารที่มีความหลากหลาย และควรค่าแก่การอนุรักษ์ ซึ่งวัดที่มีลักษณะโดดเด่น เกี่ยวกับเครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารนั้นได้แก่วัด วัด ป่าแดดวัดดอนหลวง วัดหนองเงือกวัดหนองสร้อย

รูปวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ที่มา : http://allknowledges.tripod.com/ hariphunchai.html


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

องค์ประกอบหลักของเครื่องไม้ประดับวิหาร รูปตัวอย่างองค์ประกอบของลวดลายประดับ วิหาร ที่มา http://www.novabizz.com/CDC/Process14. htm

รูปตัวอย่างโครงสร้างวิหารโบราณ ที่มา http://www.novabizz.com/CDC/Process14.htm

เครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารนั้นเป็นการแกะสลักสวดลายต่างๆ ยกตัวอย่าง องค์ ประกอบของงานศิลปกรรมเครื่องไม้ของวิหาร ซึ่งวิหารมีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่างๆ ที่ช่วยทำ�ให้รูปทรงของอาคารมีความสมบูรณ์ขึ้น ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ สร้างขึ้นโดยมีจุด ประสงค์ทั้งในแง่ของการตกแต่ง และเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้าง โดยมีความเชื่อต่างๆ ที่แฝง อยู่งานแกะสลักไม้นั้นมักจะเป็นการแกะสลักสวดลายที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งองค์ ประกอบของลวดลายประดับวิหารนั้นมีองค์ประกอบอาทิ ขื่อ แป อกไก่ ดั้ง เต้า คันทวย ดาว เพดาน ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ บราลี บัวหัวเสา ดาวเพดาน ช่อฟ้า ฯลฯ โครงสร้างวิหารนั้น ส่วนของหลังคานิยมสร้างด้วยไม้ใช้ระบบเสาและคานในการรับน้ำ�หนัก โครงสร้างที่ถ่ายทอด น้ำ�นักนี้เรียกว่า ระบบขื่อม้าต่างไหม ส่วนใหญ่นั้นองค์ประกอบเครื่องไม้ในป่าซางนั้น นิยมการ แกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ และนิยมที่มากที่พบคือ ลายพันธุ์พฤกษา ลายเครือเถา ลายดอกไม้ เป็นต้น


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

องค์ประกอบหลักของเครื่องไม้ประดับวิหาร

ลวดลายที่ปรากฏนั้น เป็นลวดลายพันธุ์พฤกษาซึ่งการที่มีของลวดลายนี้เป็นองค์ ประกอบหลักๆที่ปรากฏอยู่นั้นก็เนื่องมาจากแนวคิดคติเรื่องจักรวาลและลวดลายพันธุ์พฤกษา ที่ปรากฏซึ่งสื่อถึงแนวความคิดเรื่องจักรวาลและลวดลายลวดลายพันธุ์พฤกษาเป็นคติที่ หมายความถึงป่าหิมพานต์ โดยการตกแต่งบริเวณด้านหน้าของวิหารนั้นถือได้ว่าเป็นการตกแต่ง ที่มีความสำ�คัญโดยเป็นการจำ�ลองป่าหิมพานต์โดยใช้ลวดลายลวดลายพันธุ์พฤกษาเป็นองค์ ประกอบหลักในการใช้ตกแต่ง และลายที่ได้รับความนิยมที่รองมาจากลวดลายพันธุ์พฤกษานั้น ก็คือลวดลายของสัตว์แต่ยังคงใช้ลวดลายพันธุ์พฤกษาเป็นองค์ประกอบหลักโดยมีลวดลายของ สัตว์ป่าหิมพานต์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์นั้นๆมาเสริมซึ่งเมื่อได้ผ่านป่าหิมพานต์ที่อยู่ในส่วน ต่างๆของเขาพระสุเมรุก็จะได้พบกับองค์ประธานซึ่งเป็นตัวแทนพระพุทธองค์ซึ่งผู้รู้ตรัสรู้


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

การจำ�แนกประเภทลวดลายประดับวิหาร ลวดลายแบบล้านนา

ลวดลายแกะสลักไม้ที่นิยมกันมากในล้านนามีที่มาเช่นเดียวกับภาคกลาง คือ ส่วน ใหญ่นั้นมากจากธรรมชาติ และจากพุทธศาสนา ลวดลายที่ลอกเลียนหรือประดิษฐ์จาก ธรรมชาติก็มีทั้งที่มีในภาคกลาง เช่นลายนก และลายเครือเถาชนิดต่างๆ และไม่มีในภาค กลางแต่ไม่มีในภาคเหนือ เช่น ลายครุฑ

ลายกนก

ตัวอย่างภาพลายกระหนกของล้านนา

กนกภาคกลางโดยเฉพาะรุ่นหลังๆ มัก เป็นกนกเปลว ละเอียดแน่น แต่กนกล้านนามัก ขด กลมแปลกตา เช่น กนกเชิงหาง นกผักกูดก้านฝัก ขดมะขาม กนกหงอนไก่ กนกคาบทั้งชนิดขมวดหนึ่ง หัวและขมวดสองหัว กนกล้านนามีหางตวัดอย่างเสรี มาก อาจตวัดโค้งงอนมาทางหัวที่ขมวดหรือตวัดไป ในทางทิศทางตรงกันข้ามก็ได้ แล้วแต่ความกลมกลืน ของตัวลาย ลายกระหนกล้านนามีลักษณะพิเศษไม่ เหมือนกับของภาคกลางเสียทีเดียว แม้ว่าบางรูปแบบ จะคล้ายกันก็ตาม จึงเห็นสมควรกล่าวถึงกระหนกล้าน นาที่ต่างจากของภาคกลางไว้ ดังนี้


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

- กระหนกหงอนไก่ ตัวกระหนกที่ต่อกับก้านมี ลักษณะเชิด หัวโตและหางโค้งงอนเหมือนหงอนไก่ - กระหนกเหงาสามตัวหางรวน มีรูปแบบเป็น กระหนกเหงาสามตัวของภาคกลาง แต่หัวม้วนขอด หางโค้ง งอน - กระหนกชิงหาง เป็นกระหนกที่เรียบง่าย ตัว ผอมจับคู่สลับหัว-หางกัน - กระหนกผักกูด ก้านขดฝักมะขามเทศโดยมีหัว ขดเป็นหยักๆ สลับกับกระหนกหัวขอด หางตวัดโค้งงอนมาก - กระหนกชนิดที่มีหัวขอดกลมโตเป็นก้นหอย ส่วน ปลายโค้งงอนมาก - กระหนกคาบซึ่งเป็นกระหนกจับตัวก้านมีลักษณะ หัวขอดปลายหางตวัดโค้งมี2ชนิดคือหัวหนึ่งขมวดและสอง ขมวดกระหนกชนิดหัวหนึ่งขมวดนี้มีลักษณะคล้ายที่พบ บนบานเฟี้ยมแกะสลักที่พิพิธภัณฑ์สงขลาซึ่งเป็นจวนเจ้าเมือง ตัวอย่างภาพลายกระหนกของล้านนา เก่า อาคารแบบจีนอาจกล่าวได้ว่ากระหนกในข้อนี้อาจได้รับ อิทธิพลมาจากจีนไม่มากก็น้อยสำ�หรับกระหนกหัวสองขมวด มีลักษณะคล้ายกระหนกเมฆไหลจึงอาจจัดเป็นกระหนกเมฆ ก็ได้


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

ตัวอย่างลายเครือเถา


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

ลายเครือเถา

ตัวอย่างลายเครือเถา

คือลวดลายที่มีแนวความคิดมาจาดเครือเถาวัลย์ที่เลื้อยคดเคี้ยวไปมาเกิดเป็นรูป ร่างต่างๆขึ้น ลายเครือเถาวัลย์จึงมีลักษณะเกี่ยวกันไปมา ส่วนมากใช้ตกแต่งพื้นที่ว่างให้เต็ม รวมลายก้นขด ลายกาบหมาก และลายผักผูกไว้ด้วยกัน ลายชนิดนี้อาจมีดอกหรือไม่มีดอก เลย เน้นที่ก้านและใบ อาทิ ก้านลายมีกาบหลายชั้นและมีก้านรัด ลายผักกูด กาบซ้อนกัน หลายชั้นเป็น ลักษณะล้านนาแท้ก้านลายซึ่งกาบซ้อนกันหลายชั้น ลายก้านขดผักกูดลายกาบ หมาก เป็นต้น- กระหนกผักกูด ก้านขดฝักมะขามเทศโดยมีหัวขดเป็นหยักๆ สลับกับกระหนก หัวขอด หางตวัดโค้งงอนมาก


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

ลายดอกไม้ใบไม้ มักเป็นดอกที่มีก้านและใบ ประกอบกันมีลักษณะเป็นธรรมชาติ มัก ไม่มีลักษณะกนกปน มีทั้งที่คล้ายแบบภาค กลางและลักษณะเฉพาะของล้านนา ลาย ดอกไม้ที่คล้ายภาคกลางคือ ลายพุ่มข้าว บิณฑ์ ดอกพุดตาน ดอกประจำ�ยาม และ ดอกจันทร์ ส่วนลายที่มีเอกลักษณ์เป็นของ ล้านนา คือดอกทานตะวัน ดอกเรณู ดอก สับปะรด(ดอกตาขนัด) ซึ่งเป็นรูปทั้งลูกแล้ว มีใบ ใบไม้ชนิดต่างๆ เป็นการสลักลายที่ ประกอบด้วยดอกไม้เป็นส่วนใหญ่ มีก้านของ ดอกและใบเป็นตัว ตัวอย่างภาพลวดลายไม้ใบไม้

ตัวอย่างภาพลวดลายไม้ใบไม้

ประกอบด้วย รูปแบบของลายที่ จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ก้านและดอกมีลักษณะใกล้ เคียงธรรมชาติ ไม่มีลักษณะของกระหนกอยู่ ด้วย ส่วนประกอบที่เป็นดอกนั้น มีหลายรูป แบบและมีหลายๆดอกที่พบได้บ่อย คือ พุ่ม ข้าวบิณฑ์ ดอกพุดตาน ดอกประจำ�ยาม ดอก ใบเทศ (มีชนิดคล้ายภาคกลางและชนิดที่เป็น เอกลักษณ์ล้านนา) ดอกทานตะวัน ดอกเรณู ดอกจันทน์ ดอกสับปะรด มีลักษณะคล้าย ลูกสับปะรด เป็นต้น ลายดอกนั้นเป็นดอก บานส่วนใหญ่ดอกตูมมีน้อย เพื่อความเข้าใจ ถึงลายดอกชนิดต่างๆ จึงขออธิบายลักษณะ ดอกที่พบบ่อยในลายไทย ลายรับก้านลาย อาจพบเกี่ยวพันสลับซับซ้อนได้เหมือนกัน เช่นเดียวกับลายชนิดอื่นๆ


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

ตัวอย่างภาพลวดลายไม้ใบไม้

๑๐


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

ลายเมฆหรือลายเมฆไหล ดังได้กล่าวแล้ว ลายเมฆและลายเมฆ ไหลเป็นลายเอกลักษณ์ของศิลปะล้านนาโดย เฉพาะที่เป็นลายแกะ สลักไม้ เท่าที่พบนั้นปรากฏ มีลายเมฆไหล ซึ่งเป็นปูนปั้นน้อยมากหรืออาจ เรียกว่าแทบไม่มีเลย โดยขดและหยักดูเหมือน เชื่อมโยงไหลไปมา และตวัดกลับอย่างเฉียบพลัน ทำ�ให้ดูทรงไว้ซึ่งพลัง ตรงบริเวณที่ตวัดกลับจะเป็น หัวขมวด สังเกตว่าเมฆไหล มีการผูกลายหลาย แบบมาก แต่ละแบบก็งามแตกต่างกันไป และ มีลีลาการผูกลายแยบยลดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ทั้งนี้กระหนกลายเมฆและลายเมฆไหลคงมีอีกมาก รูปแบบซึ่งยังพบไม่หมด ลายเมฆไหลอาจแบ่งได้ ๒ ชนิด คือลายเมฆไหลที่มีกระหนก หรือลายดอก ปนกับลายเมฆไหลล้วนๆ ไม่มีกระหนกปน

ตัวอย่างลายเมฆหรือลายเมฆไหล

ลายเมฆไหลที่ใช้กระหนกปน

ตัวอย่างลายเมฆไหลที่ใช้กระหนกปน

ส่วนมากพบว่ามีกระหนกเป็นตัวจับ ก้านลายเมฆ ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับใบจับก้าน กระหนก ตัวจับก้านของลายเมฆไหลมีลักษณะตัว กระหนกสามเหลี่ยม (เหงา) ซึ่งมีลักษณะเป็นกระ หนกหัวขอดม้วนพ้นก้าน ส่วนหางแหลมโค้งงอ สะบัด และมีลายดอกเช่นเดียวกับที่อยู่ตรงกลาง แซมอยู่ที่ส่วนอื่นของลายด้วยก็พบได้ ลายเมฆที่ ใช้กระหนกลายเมฆชนิดต่างๆ ประกอบลวดลาย มีลักษณะเฉพาะของล้านนาและงดงาม เท่าที่ ศึกษาพอที่จะจำ�แนกได้ คือ กระหนกทักขิณาวัฎ กระหนกลายเมฆก้านขด กระหนกเมฆบังรุ้ง

๑๑


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

ลายพญานาค

เป็นลายที่แกะสลักให้เหมือนตัว พญานาคหรืองู ขดเกี่ยวพันกันและมีเศียรและ หาง เท่าที่พบเศียรพญานาคไม่สลักให้เหมือน พญานาคอย่างที่นิยมสลักหรือเป็นรูป ปั้นที่อยู่ ตามวัด แต่มีเค้าโครงคล้ายกัน เศียรพญานาค ออกแบบให้เป็นกระหนกเหงาสามตัวแทน สำ�หรับ หางของนาคมีลักษณะเป็นกระหนกเหงาสาม ตัวเช่นกัน แต่ไม่เน้นเท่าเศียร รูปแบบนี้มีความ สวยงาม ทรงพลังและดูไม่เบื่อ เพราะมีการ ออกแบบที่แยบยล เห็นตัวพญานาคขดพันซ้อนกัน และยังดูทรงพลัง นาคยังอาจหมายถึงน้ำ�ที่อุดม ตัวอย่าง ลายพญานาค สมบูรณ์อีกด้วย

๑๒


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

ลวดลายของสัตว์

มีลักษณะเป็นตัวสัตว์โดยมากแล้ว เป็นสัตว์หิมพานต์ซึ่งเป็นสัตว์ที่ไม่มีอยู่จริง มีแต่ วรรณคดี และได้ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาจาก คติความเชื่อต่างๆ ที่มาประดับในพุทธศาสน สถานซึ่งรายละเอียดต่างๆสามารถแบ่งเป็น ประเภทได้ดังนี้ นาค มอม กิเลน สิงห์ เงือก ค่างมีปีก กินนรนกยูง ลายหน้ากาล ลาย ลิง ลายครุฑ ลายช้าง เหมราช คชสิงห์ เป้น ต้น

ตัวอย่างลวดลายของสัตว์

๑๓


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

ลายอื่นๆ ลายที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้เป็นลายที่มีรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากที่กล่าวแล้ว ซึ่งอาจ รวบรวมและจำ�แนกได้ ดังนี้ - ลายเครือเถาแบบยุโรป โดยได้รับอิทธิพลจากต่างชาติทำ�ให้ศิลปะไทยต้อง แปรปรวนไป มีข้อสังเกตว่าลวดลายชนิดปัจจุบันพบมากในงานแกะสลักเครื่องเรือน ทำ�ให้บางคนหลง ผิดว่าเป็นไทย - ลายประแจจีนเป็นลายของจีน และอาจมีการสริมลายอื่นเข้าปะกอบ เช่น มีดอก แซม - ลายพม่า-ไทใหญ่ เป็นลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากแหล่งของศิลปะใกล้เคียง มีการ ประดิษฐ์ที่ผสมผสานกับลายไทยดูสวยงามแปลกอีกแบบหนึ่งเช่นกัน มักออกแบบเป็นลาย ก้านขด - มีรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น รูปสัตว์ตามปีนักษัตร สัตว์ในวรรณคดีโหราศาสตร์ เช่นราหู (กาละ) และสัตว์ป่า เช่น นก ช้าง เป็นต้น - ลายโบราณอื่น ๆ ซึ่งยากที่จะเรียกได้ถูกต้อง - ลายเบ็ดเตล็ด ซึ่งไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้ และบางครั้งออกแบบเองโดยไม่ยึดถือ ประเพณีนิยมบางครั้งก็ดูสวยงาม บางครั้งก็ดูแปลก บางครั้งก็ดูหยาบเกินกว่าที่จะจัดเป็น งาน ศิลปะได้

๑๔


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

ลักษณะงานแกะสลักขององค์ประกอบ

ลวดลายของชาวล้านนานั้น แสดงให้เห็นเจตนาอันบริสุทธิ์ ความคิดริเริ่มที่มีแบบ อย่างเป็นของตนเอง ลวดลายทั้งหลายจะแสดงคุณค่าความรู้สึกในเชื้อชาติและ เอกลักษณ์ อย่างชัดแจ้ง ลวดลายมีเส้นสลับซับซ้อน ตัวลาย ทรง ลาย ช่อลาย หรือถ้ามีเถาลายจะมีความ คดโค้ง อ่อนช้อยสัมพันธ์กัน สร้างอารมณ์อ่อนไหวละมุนละไม การสร้างลวดลายกนกทุกเส้น ทุกตัว ทุกทรง และทุกช่อ ประสานสัมพันธ์กันทั้งในส่วนละเอียด ส่วนย่อย และส่วนใหญ่ ไม่มี การหักงอ หรือแข็งกระด้าง ไม่ว่าส่วนไหนก็ตาม ลวดลายส่วนใหญ่ของล้านนาได้รับความ บันดาลใจจากสิ่งแวดล้อม จากธรรมชาติ ทั้งพืช สัตว์ และสิ่งอื่นๆ ซึ้งล้านนาเป็นอาณาจักรที่เริ่ม ก่อตัวขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่คาบเกี่ยวระหว่างศิลปะอยู่สมัยอู่ทอง อโยธยา และลพบุรี กับศิลปะตอนต้องของอยุธยาตอนต้น โดยทางศิลปกรรมของล้านนาก็มีการพัฒนา การเรื่อยๆ เช่นเดียวกับงานศิลปกรรมโดยทั่วไป ซึ่งงานศิลปกรรมได้รับอิทธิพลจากดินแดนที่ ใกล้เคียงต่างๆ ซึ่งสามารถแบ่งรูปตามลวดลายได้ ทำ�ให้เกิดสิ่งที่หน้าสนใจเกี่ยวกับเรื่องราว ของเครื่องไม้ลวดลายประดับวิหารซึ้งเป็นการแกะสลักลวดลายที่มีความสวยงาม ละเอียดวิจิตร บรรจง ความอ่อนช้อย ในการแกะสลัก ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งทำ�ให้ตระหนักถึงคุณค่าความ งามของศิลปะในการแกะสลักไม้ ในแบบพื้นบ้านของท้องถิ่นนั้นๆได้เป็นอย่างดี

๑๕


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

ประเภทการแกะสลักไม้

1.การแกะสลักภาพลายเส้น เป็นการเซาะร่องตามลวดลายของเส้น ให้มีความหนักเบาเท่ากันตลอดทั้ง แผ่น 2.การแกะสลักภาพนูนตํ่า เป็นการแกะสลักภาพให้นูนขึ้นสูงจาก พื้นแผ่นของไม้เพียงเล็กน้อยไม่แบน ราบเหมือนภาพลายเส้น 3.การแกะสลักภาพนูนสูง เป็นการแกะสลักภาพให้ลอยสูงขึ้นมา เกือบสมบูรณ์เต็มตัว ความละเอียด ของภาพมีมากกว่าภาพนูนตํ่า 4.การแกะสลักภาพลอยตัว เป็นการแกะสลักไม้ให้มีลักษณะเป็น 3 มิติ มองเห็นได้รอบด้าน

๑๖


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

ขั้นตอนและวิธีการแกะสลักไม้

ตัวอย่างการแกะสลักไม้ ที่มา : http://www.pict4all.com/vboard/ showthread.php

1. กำ�หนดรูปแบบและลวดลาย ออกแบบหรือกำ�หนดรูปแบบและลวดลายนับเป็นขั้น ตอนแรกที่สำ�คัญในการออกแบบ สำ�หรับงานแกะสลักต้องรู้จักหลักในการออกแบบ และต้อง รู้จักลักษณะของไม้ที่จะนำ�มาใช้แกะสลัก เช่น ทางไม้หรือเสี้ยนไม้ที่สวนกลับไปกลับมา สิ่งเหล่า นี้ช่างแกะสลักจะต้องศึกษาหาความรู้และแบบงานแกะสลักต้องเป็นแบบ ที่เท่าจริง 2. การถ่ายแบบลวดลายลงบนพื้นไม้ นำ�แบบที่ออกแบบไว้มาผนึกลงบนไม้ หรือนำ� มาตอกสลักกระดาษแข็งต้นแบบให้โปร่ง เอาลวดลายไว้และนำ�มาวางทาบบนพื้นหน้าไม้ที่ทา ด้วยน้ำ�กาว หรือน้ำ�แป้งเปียกไว้แล้วทำ�การตบด้วยลูกประคบดินสอพองหรือฝุ่นขาวให้ทั่ว แล้ว นำ�กระดาษต้นแบบออก จะปรากฏลวดลายที่พื้นผิวหน้าไม้ 3. การโกลนหุ่นขึ้นรูป คือการตัดทอนเนื้อไม้ด้วยเครื่องมือช่างไม้บ้างเครื่องมือช่าง แกะสลักบ้าง แล้วแกะเนื้อไม้เอาส่วนที่ไม่ต้องการออกให้ไม้นั้นมีลักษณะรูปร่างที่ใกล้ เคียงกับ แบบเพื่อให้เกิดรูปทรงตามต้องการ มีความชัดเจนตามลำ�ดับเพื่อจะนำ�ไปแกะสลักลวดลายใน ขั้นต่อไป การโกลนภาพ เช่นการแกะภาพลอยตัว เช่น หัวนาคมงกุฎ หรือแกะครุฑและภาพสัตว์ ต่าง ๆ ช่างจะต้องโกลนหุ่นให้ใกล้เคียงกับตัวภาพ 4. การแกะสลักลวดลาย คือการใช้สิ่วที่มีความคม มีขนาดและหน้าของสิ่วต่าง ๆ เช่น สิ่วหน้าตรง หน้าโค้ง และฆ้อนไม้ เป็นเครื่องมือในการแกะสลัก เพื่อทำ�ให้เกิดลวดลายซึ่งต้อง ใช้ฆ้อนไม้ในการตอกและใช้สิ่วทำ�การขุด การปาดและการแกะลวดลายทำ�ให้เกิดความงามตาม รูปแบบที่ต้องการ

๑๗


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

วัดดอนหลวง

๑๘


เครื่องไม้ประดับลวดลายวิหาร l Woodwork Motifs Ornament Sanctuary of Pasang

วัดหนองเงือก

๑๙





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.