ผ้าทอ ชาวยอง YONG TEXTILES ตำ�บลบวกค้าง อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ คุณากร มาตรา
ผ้าทอชาวยอง
ตำ�บลบวกค้าง อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ คุณากร มาตรา
“ยอง”
YONG TEXTILES I 2
ตัวตนของชาวยอง
ยองเป็นชื่อเรียกกลุ่มคนที่พูดภาษาตระกูลไทและ มีถิ่นฐานบ้านเกิดอยู่ที่เมืองยอง ซึ่งในปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่ง ของจังหวัดเชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ในภาค เหนือของไทยมีชุมชนชาวยองกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ หลายแห่ง เช่น เชียงใหม่ ลำ�พูน ลำ�ปาง และแพร่ โดยทั่วไป นักวิชาการจะตีความว่า ยองคือไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ที่ เมืองยอง ส่วนคำ�ว่าไท หรือไตนั้น มักจะใช้เป็นคำ�เรียกกลุ่ม คนที่พูดภาษาตระกูลไท แล้วเติมหน้าชื่อเฉพาะเพื่อกำ�หนด กลุ่มคนให้ชัดเจน เช่น ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ ไทดำ� ไทแดง เป็นต้น YONG TEXTILES I 3
“
“
ชาวยอง บวกค้ า ง สันกำ�แพง เชียงใหม่
YONG TEXTILES I 4
ภาพถ่ายชาวยองที่ตำ�บลบวกค้าง อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่
ชุ ม ชนชาวยองที่ ตำ � บลบวกค้ า ง อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ นับเป็น กลุ่ ม ชาวยองอี ก กลุ่ ม หนึ่ ง ที่ อ พยพเข้ า มา ในล้านนา สมัยรวบรวมผู้คนเชื้อสายยอง ที่มาจากเมืองยอง สาธารณรัฐแห่งสหภาพ เมียนมาร์ โดยถูกกวาดต้อนมาอยู่ที่เมือง เชียงใหม่และได้ตั้งหลักปักฐานเป็นชุมชน อยู่ในตำ�บลบวกค้าง ดังจะเห็นได้จากร่อง รอยของวัฒนธรรม วิถีชีวิต และภาษา พูดของชาวบ้านที่ยังคงอยู่ อีกทั้งยังมีการ รั ก ษาความเป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องชาวยอง ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามไว้อย่าง มั่นคง โดยเฉพาะการทอผ้าซึ่งสืบทอดกัน มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
YONG TEXTILES I 5
ผ้าทอชาวยอง ตำ�บลบวกค้าง ประเพณี ก ารทอผ้ า ของชาวยองบวกค้ า งได้ มี ม านานแล้ ว พร้ อ มกั บ การ ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในล้านนา ในสมัยก่อนหญิงสาวของทุกๆบ้านมักจะได้รับการ ถ่ายทอดเรื่องการทอผ้าจาก แม่หรือย่ายาย เพื่อให้เมื่อเติบโตขึ้นจะได้สามารถทอผ้า ได้เนื่องจากในชีวิตประจำ�วันต้องทำ�การทอผ้าเพื่อใส่เอง และในอดีตชาวยองในเขต เทศบาลตำ�บลบวกค้าง จะนิยมแต่งตัวลักษณะเช่นเดียวกับชาวไทยวนเนื่องจากรับ เอาอิทธิพลการทอผ้าซิ่นต๋าแบบไทยวนมานุ่ง แล้วเลิกการทอผ้าซิ่นต๋าแบบไทยอง หรือซิ่นต๋าลื้อไป ซิ่นต๋าแบบชาวไทยวนนี้จะมีลักษณะเป็นริ้วขวางตามลำ�ตัว มีหัวซิ่น และตีนซิ่นต่ออีกทีหนึ่ง ซึ่งพบซิ่นชนิดนี้ได้แทบทุกหลังคาเรือนและมีหลายลวดลายที่ แตกต่างกันออกไป
YONG TEXTILES I 6
การทอผ้าในอดีตของชาวยอง ตำ�บลบวกค้าง แต่เดิมในตำ�บลบวกค้างจะมีการ ทอผ้าหลากหลายประเภทซึ่งผ้าซิ่นเป็นที่ นิยมทอ มากที่สุด โดยจะมีทั้งซิ่นต๋าแบบ คนไทยวนซิ่นลายสันกำ�แพง และซิ่นที่ทอ ตามแบบดั้งเดิมของชาวยอง นอกจากนี้ยัง มีหลักฐานผ้าโบราณจำ�นวนหนึ่งซึ่งหาพบ ไม่มากแล้ว แต่ยังพอสันนิษฐานได้ว่าผ้าที่ ทอกันอยู่ในปัจจุบันมีต้นแบบมาจากของ โบราณที่พบในพื้นที่ ได้แก่ ซิ่นต๋าหมู่ พบที่พิพิธภัณฑ์จาวยอง วัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 41 นิ้ว x 50 นิ้ว
ซิ่นต๋าหมู่ ซิ่ น ต๋ า หมู่ เ ป็ น ซิ่ น ที่ ท อไว้ สำ � หรั บ การนุ่งในชีวิตประจำ�วัน มักมีการต่อหัวต่อ ตีนด้วยผ้าสีพื้นหรือจะนิยมทอรวดทั้งผืน ก็ได้ ที่เรียกว่า “ซิ่นต๋าหมู่” เนื่องจากมีการ ทอลายริ้วเป็น “หมู่” คือมีลายริ้วเล็กๆ ประกอบกันเป็นลายสลับกับช่วงสีพื้น ซึ่ง ลวดลายต๋าหมู่นั้นเกิดจากเส้นยืน
ซิ่นต๋าหมู่ พบที่บ้านแม่หลวงไฮ ปาลีตา บ้านบวกค้าง ิอำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 33 นิ้ว x 60 นิ้ว
YONG TEXTILES I 7
ซิ่นต๋าเหล้ม ซิ่นต๋าเหล้ม เป็นซิ่นที่ทอไว้ใช้้ สำ�หรับการนุ่งในชีวิตประจำ�วัน มักมีการ ต่อหัวต่อตีนด้วยผ้าสีพื้นหรือจะทอรวด ทั้งผืน ที่เรียกว่า “ซิ่นต๋าเหล้ม” เนื่องจาก มีก ารไล่สีข องลวดลายที่ พ าดขวางเป็ น ่น ซึ่งมี ช่วงลายสามแถวสมำ�เสมอตลอดผื ลักษณะคล้ายกันกับซิ่นต๋าสามแลวเพียง แต่มีการไล่สีอ่อนเพิ่มเข้าไป เรียกว่าการ “แอ้มสี”บางพื้นที่เรียกซิ่นชนิดนี้ว่า “ซิ่น สามเหล้ม”
ซิ่นต๋าเหล้ม พบที่พิพิธภัณฑ์จาวยอง วัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 41 นิ้ว x 50 นิ้ว
YONG TEXTILES I 8
ซิ่นต๋าสามแลว ซิ่นต๋าสามแลว เป็นซิ่นที่ทอไว้ สำ�หรับการนุ่งในชีวิตประจำ�วัน มีการต่อ หัวต่อตีนด้วยผ้าสีพ้ืนหรือจะนิยมทอรวด ทั้งผืนก็ได้ ที่เรียกว่า “ซิ่นต๋าสามแลว” เนื่ อ งจากมี ล วดลายพาดขวางเป็ น ช่ ว ง ลายสมำ� ่ เสมอสามแถวตลอดผืน ซึ่งลวด ลายต๋าสามแลวนั้นเกิดจากเส้นยืน
ซิ่นต๋าสามแลว พบที่พิพิธภัณฑ์จาวยอง วัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 39 นิ้ว x 55 นิ้ว
ซิ่นต๋าสามแลว พบที่พิพิธภัณฑ์จาวยอง วัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 37 นิ้ว x 52 นิ้ว
ซิ่นต๋าสามแลว พบที่พิพิธภัณฑ์จาวยอง วัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 41นิ้ว x 50 นิ้ว
YONG TEXTILES I 9
ซิ่นก่านคอควาย ซิ่ น ก่ า นคอควายเป็ น ซิ่ น ที่ ท อ ไว้ สำ � หรั บ การนุ่ ง ในชี วิ ต ประจำ � วั น มี ลักษณะเด่นการใช้สีแดงและสีดำ� โดย จะมีแถบแดงใหญ่คาดอยู่ด้านบนและเชิง ผ้าซิ่น ตัวซิ่นจะทอเป็นลายพื้นสีดำ� ซึ่ง ลวดลายก่านคอควายนั้นเกิดจากการใช้ เส้นยืนสองสีคือสีแดงและสีดำ� ส่วนเส้น พุ่งจะใช้สีดำ� บางพื้นที่เรียกว่า “ซิ่นแหล้”
ซิ่นก่านคอควาย พบที่บ้านแม่หลวงไฮ ปาลีตา บ้านบวกค้าง ิอำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 36 นิ้ว x 64 นิ้ว
YONG TEXTILES I 10
นอกจากนี้จากคำ�บอกเล่าของผู้อาวุโสในชุมชนอีกทั้งการค้นพบผ้าทอโบราณ ในชุมชนทำ�ให้ทราบว่านอกจากผ้าซิ่นแล้ว แต่เดิมชาวยองบวกค้างยังมีการทอผ้า ประเภทต่างๆ เพื่อใช้สอยภายในครัวเรือนอีกด้วย ซึ่งผ้าทอประเภทนี้ปัจจุบันไม่พบ การทอในพื้นที่แล้ว และในกลุ่มผ้าทอที่เกี่ยวข้องพิธีกรรม ชาวไทยองบวกค้างยัง นิยมทอตุงถวายวัดเมื่อมีงานพิธีสำ�คัญ ซึ่งจะไม่นิยมทอเก็บไว้จะทอเมื่อมีงานเท่านั้น ลวดลายที่พบจะเป็นเทคนิคการขิดเป็น ลายช้าง ลายม้า เป็นต้น ผ้าหลบ ผ้ า หลบใช้ เ ป็ น ผ้ า ที่ ปู ทั บ ลงบนฟู ก ในสมั ย ก่ อ นยั ง พบเจอการทอยกลาย ประเภทนี้ในพื้นที่ปัจจุบันสูญหายไปเนื่องจากขาดการสืบทอด ลักษณะของผ้าจะ ่�สองตะกอมีการเย็บต่อกันสองผืนเนื่องจากใช้ฟืมหน้า ทอทั้งลายขัดธรรมดาและยำ แคบในการทอ นิยมทอด้วยฝ้าย มีการทอลวดลายตรงส่วนตีนผ้าสลับกันเป็นแถว ส่วนบนจะเว้นเป็นพื้นสีขาวเรียกว่า “ป้าน” ส่วนตีนผ้าจะยกลายโดยใช้เทคนิคการ เก็บเขาหรือการขิดคือมีการเพิ่มเส้นพุ่งพิเศษเพื่อให้เกิดลวดลายลวดลายที่พบจะเป็น ลวดลายเรขาคณิตและนิยมการรวบเอาเส้นยืนถักเป็นชายครุยเพื่อตกแต่งอีกด้วย
ผ้าหลบ พบที่พิพิธภัณฑ์จาวยอง วัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 34 นิ้ว x 80 นิ้ว
ผ้าหลบ พบที่พิพิธภัณฑ์จาวยอง วัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 35 นิ้ว x 74 นิ้ว
YONG TEXTILES I 11
ผ้าตุ๊ม ผ้ า ตุ๊ ม ใช้ เ ป็ น ผ้ า ที่ ห่ ม ในสมั ย ก่อนยังพบเจอการทอผ้าประเภทนี้ใน พื้นที่ ปัจจุบันสูญหายไปเนื่องจากขาด การสืบทอด ลักษณะของผ้าทอจะทอ ด้วยฝ้ายเนื้อหนา ทอลายขัดธรรมดา มี ล ายริ้ ว พาดเป็ น เส้ น สลั บ กั น ตลอด ผืน มีการเย็บประกบกันสองผืนและยัด ภายในด้วยนุ่น
ผ้าตุ๊ม พบที่พิพิธภัณฑ์จาวยอง วัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 41 นิ้ว x 76 นิ้ว
ผ้าตุ๊ม พบที่พิพิธภัณฑ์จาวยอง วัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 41 นิ้ว x 76 นิ้ว
YONG TEXTILES I 12
ผ้าตำ�ทอชาวยอง บลบวกค้างในปัจจุบัน การทอผ้าในเขตตำ�บลบวกค้างในปัจจุบันเป็นไปในรูปแบบของงาน อุตสาหกรรมมากขึ้น กล่าวคือไม่มีการทอใช้เองในชีวิตประจำ�วันแล้วจะทอ ผ้าเป็นม้วนเพื่อนส่งขายอย่างเดียวซึ่งจะมีการรับจ้างจากพ่อค้าคนกลางหรือ จากกลุ่มทอผ้าแล้วนำ�มาทอเองที่บ้านเมื่อเสร็จแล้วก็รับลายใหม่มาทอเป็นเช่น นี้เรื่อยๆไป และจะนิยมทอเพียงเทคนิคธรรมดาไม่ซับซ้อน เนื่องจากมีการใช้ กี่กระตุก แทนการใช้กี่แบบพื้นเมือง อีกทั้งมีการพัฒนามาใช้หน้าฟืมที่กว้าง ทำ�ให้ทอซิ่นได้ทั้งผืนไม่ต้องนำ�มาต่อหัวต่อตีนแบบเดิม ซึ่งทำ�ให้สะดวกและ รวดเร็วในการทอมากขึ้น ทั้งนี้การทอผ้าในปัจจุบันมีรูปแบบที่หลากหลายแตก ต่างกันออกไป แต่ก็ยังมีการทอซิ่นต๋าซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับผ้าทอดั้งเดิม อยู่บ้าง และมีการทอถุงย่ามเพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้สอยด้วย ดังนี้
YONG TEXTILES I 13
ซิ่นต๋าหมู่ ซิ่ น ต๋ า ห มู่ ที่ ท อ ขึ้ น ใ ห ม่ นี้ มี รู ป แบบไกล้ เ คี ย งกั บ ผ้ า โบราณที่ พ บ ในพื้ น ที่ คื อ มี ก ารทอลายริ้ ว เล็ ก ๆเป็ น “หมู่”ประกอบกันเป็นลายสลับกับช่วง สีพื้น และมักมีการต่อหัวต่อตีนด้วยผ้าสี พื้นหรือทอรวดตลอดทั้งผืนอีกด้วย
ซิ่นต๋าหมู่ กลุ่มทอผ้าวัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 40 นิ้ว x 68 นิ้ว
ซิ่นต๋าสามแลว ซิ่นต๋าสามแลวที่ทอขึ้นใหม่นี้ มี รูปแบบที่ไกล้เคียงกับผ้าโบราณที่พบใน พื้นที่คือมีการทอลวดลายพาดขวางเป็น ่�เสมอสามแถวตลอดผืน และ ช่วงลายสมำ มักมีการต่อหัวต่อตีนด้วยผ้าสีพื้นหรือทอ รวดทั้งผืนอีกด้วย
ซิ่นต๋าสามแลว กลุ่มทอผ้าวัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 40 นิ้ว x 65 นิ้ว
YONG TEXTILES I 14
ซิ่นต๋าเหล้ม ซิ่นต๋าเหล้มที่ทอขึ้นใหม่นี้มีรูป แบบไกล้เคียงกับผ้าโบราณที่พบในพื้นที่ คือ มีการไล่สีของลวดลายที่พาดขวาง เป็นช่วงลายสามแถวสม่ำ�เสมอตลอดผืน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันกับซิ่นต๋าสามแลว เพียงแต่มีการไล่สีอ่อนเพิ่มเข้าไป และ มักมีการต่อหัวต่อตีนด้วยผ้าสีพื้นหรือทอ รวดทั้งผืนอีกด้วย ซิ่นต๋าเหล้ม กลุ่มทอผ้าวัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 23 นิิ้ว x 68 นิ้ว
ซิ่นต๋าเหล้ม กลุ่มทอผ้าวัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 23 นิ้ว x 68 นิ้ว
YONG TEXTILES I 15
ถุงย่าม ถุงย่าม คือถุงผ้าที่ใช้ประโยชน์ ได้หลายอย่างมักใช้ใส่สิ่งของสำ�หรับพก ติดตัว แต่เดิมเรียกย่ามว่า “ถุงปา” มี การทออยู่สองลายคือลายเกล็ดเต่าและ รายริ้วขนาดเล็ก
นอกจากการทอผ้าซิ่นลายแบบ ดั้งเดิมแล้ว ยังมีลวดลายที่นิยมทอกันคือ ซิ่นสันกำ�แพง ซึ่ ง มี เ อกลั ก ษณ์ คื อ มี ล วดลาย เป็นริ้วขนาดใหญ่ขวางลำ�ตัว ใช้สีฉูดฉาด สวยงาม และมีการสลับไล่สีอ่อนแก่ ต่อ มาซิ่นลายสันกำ�แพงนี้ ได้รับการพัฒนา ให้เป็น “สัญลักษณ์ทางพื้นที่” ในรูป แบบของของที่ระลึก จึงทำ�ให้ส่งอิทธิพล มาถึงการทอผ้าที่ตำ�บลบวกค้างอีกด้วย
ย่ามลายริ้ว กลุ่มทอผ้าวัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 13 นิ้ว x 28 นิ้ว
ย่ามลายเกล็ดเต๋า กลุ่มทอผ้าวัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 13 นิ้ว x 28 นิ้ว
ซิ่นสันกำ�แพง กลุ่มทอผ้าบ้านย่าปาย อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 41”x 68”
YONG TEXTILES I 16
การพัฒนาและออกแบบลวดลาย กลุ่ ม ทอผ้ า ที่ มี ก ารพั ฒ นาและออกแบบลวดลายผ้ า ทอ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ให้คนในพื้นที่และฟื้นฟูวัฒนธรรมของชาวยอง ที่โดดเด่นที่สุด คือกลุ่มทอผ้าวัดป่าตาล ซึ่งนำ�โดย พระอาจารย์ มงคล ฐิตมงฺคโล ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าตาลและเป็นผู้ริเริ่มการ ตั้งกลุ่มทอผ้าวัดป่าตาลขึ้นมา โดยมีการนำ�ต้นแบบลวดลายผ้าซิ่น จากเมืองยอง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งเป็นถิ่นฐาน เดิมของชาวยองก่อนมีการอพยพไปในที่ต่างๆ มาใช้เป็นต้นแบบใน การทอขึ้นใหม่ เพื่อเป็นการสร้างเอกลักษณ์และความภาคภูมิใจใน ชาติพันธุ์ ให้กับคนในพื้นที่ และที่นี่ยังเป็นแหล่งทอผ้าที่ยังคงรักษา ภูมิปัญญาการทอผ้าแบบยกสี่ตะกออยู่ โดยมีการพัฒนารูปขึ้นใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดอีกด้วย
YONG TEXTILES I 17
ซิ่นยอง ซิ่นยอง เป็นซิ่นที่ทอโดยการนำ� เอารูปแบบผ้าโบราณที่พบในเมืองยอง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ มา เป็นต้นแบบในการทอ จึงนิยมเรียกซิ่น ชนิดนี้เรียกว่า ‘‘ซิ่นยอง’’ เนื่องจาก มี ก ารเรี ย กชื่ อ ตามแหล่ ง ที่ ม าของผ้ า ลักษณะของผ้าซิ่นนั้นจะทอเป็นลายริ้ว ขวางไม่ส ่มำ�เสมอ มีการสลับสีสดใส นิยม ใช้สีแดงเป็นหลัก มักมีการต่อหัวต่อตีน ด้ ว ยผ้ า สี พื้ น หรื อ จะนิ ย มทอรวดทั้ ง ผื น ก็ได้
ซิ่นยองโบราณที่ใช้เป็นแบบในการทอขึ้นใหม่ ขนาด 41 นิ้ว x 54 นิ้ว
YONG TEXTILES I 18
ซิ่นยองสี่ตะกอ ซิ่นยองสี่ตะกอ เป็นซิ่นที่มีการ ประยุกต์ลวดลายขึ้นมาใหม่แต่ก็ยังเรียก “ซิ่ น ยอง”ตามชาติ พั น ธุ์ เ ดิ ม ของตน ลักษณะของผ้าซิ่นจะทอรวดทั้งผืน ทอ เป็นลายริ้วยกดอกขนาดเล็กหลากสีสัน ด้วยเทคนิคการยกสี่ตะกอ โดยการทอ จะแบ่งเป็นสามส่วนคือ หัวซิ่นและตีน ซิ่นจะทอสีพื้น ส่วนตัวซิ่นจะทอเป็นลาย ขวางขนาดเล็กเป็นลวดลายริ้วเกิดที่จาก การใช้เส้นยืนหลากสี และใช้เส้นพุ่งเพียง สีเดียว
ซิ่นยองสี่ตะกอ กลุ่มทอผ้าวัดป่าตาล อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 43 นิ้ว x 68 นิ้ว
YONG TEXTILES I 19
นอกจากนี้ ที่ ห มู่ บ้ า นย่ า ปายได้ มี ก าร จัดตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางในการ จัดจำ�หน่ายสินค้าของคนในชุมชน นำ�โดย คุณ นงเยาว์ ทองดอกแดง ซึ่งแต่เดิมมีการทอผ้า หลากหลายเทคนิค ทั้งผ้ายก และผ้าซิ่นแบบ ต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด ต่อมาได้มีการคิดค้นทำ�ผ้าทอยกลายขึ้น ซึ่ง ลวดลายเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของช่าง ทอ เนื่องจากมีลวดลายที่แปลก มีความหลาก หลาย ทำ�ให้ผ้าที่ผลิตออกมาเป็นที่นิยมกัน มากเพราะสามารถนำ�มาแปรรูปได้หลายอย่าง ทำ�ให้เกิดรายได้กับคนในชุมชน
YONG TEXTILES I 20
ผ้าทอยกลาย ผ้าทอยกลาย มีลวดลายเกิดจาก ความคิดสร้างสรรค์ของช่างทอ ลักษณะ ของผ้ า จะเป็ น การทอลายขั ด ธรรมดา สลั บ กั บ การใช้ เ ส้ น พุ่ ง ขนาดใหญ่ เ ป็ น ช่วงๆ ทำ�ให้ผ้าที่ผลิตออกมามีลวดลายที่ แตกต่างกันออกไป เช่น
ลายตัวหนอน
ลายมะยมคู่
ลายดอกดึง
ลายสลับ
ลายปุ่มสายรุ้ง
ลายข้ามใหญ่
ลายเกล็ดเต่า
YONG TEXTILES I 21
วัสดุและอุปกรณ์ ในการทอผ้า
YAWNG YONG TEXTILES TEXTILE I 22 24
กี่ทอผ้า การทอผ้าในชุมชนบวกค้างนั้น ส่ ว นมากนิ ย มการทอผ้ า โดยใช้ กี่ ท อผ้ า เรียกว่า ‘‘กี่กระตุก’’ โดยเป็นกี่ทอผ้าที่ พัฒนาขึ้นจากกี่พื้นเมืองแบบดั้งเดิม เพื่อ ความสะดวกรวดเร็วในการทอ อีกทั้งมี การพัฒนามาใช้หน้าฟืมที่กว้างทำ�ให้ทอ ผ้าได้ทั้งผืนโดยไม่ต้องนำ�มาต่อหัวต่อตีน แบบเดิม ซึ่งมีอุปกรณ์ที่จำ�เป็นดังนี้
ฟืม หรือฟันหวี มีฟันเป็นซี่ๆคล้ายหวี ใช้สำ�หรับ สอดเส้นยืนเพื่อจัดเส้นยืนให้อยู่ห่างกัน และใช้กระทบเส้นพุ่ง ที่สานขัดกับเส้น ยื น ให้ อั ด แน่ น เป็ น เนื้ อ ผ้ า ในแต่ ล ะช่ ว ง ของฟันหวีจะใช้สอดเส้นยืน 2 เส้น
กระสวย เครื่ อ งมื อ สำ � หรั บ บรรจุ ห ลอด เส้นพุ่ง สำ�หรับพุ่งสอดไประหว่างช่อง ของเส้นยืน ทำ�ให้เส้นสานขัดกันจนเป็น เนื้อผ้าสำ�หรับวัสดุที่ใช้ทอผ้าในปัจจุบัน ชาวยองในชุมชนบวกค้างจะนิยมใช้เส้น ด้ายสังเคราะห์จากโรงงานแทนเส้นฝ้าย ตะกอหรือเขาหูก เป็ น เครื่ อ งมื อ สำ � หรั บ แบ่ ง ด้ า ย จากธรรมชาติ เนื่องจากสะดวกในการ เส้นยืนออกให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ได้ ทอซึ่งทำ�ให้กระสวยไหลลื่น ได้เส้นใยที่ ลายขัดที่ต้องการ เครื่องทอแบบง่ายที่สุด เหนียว เงางาม สีไม่ตกและสีของผ้าทอที่ ได้จะเป็นสีที่สด สม่ำ�เสมอ มี 2 ตะกอ
YONG TEXTILES I 23
เทคนิคและลวดลาย แต่ เ ดิ ม ในชุ ม ชนชาวยองบวก ค้ า งมี ก ารทอผ้ า ไว้ ใช้ เ องในชี วิ ต ประจำ � วัน และมีเทคนิคที่หลากหลาย ต่อมาใน ปัจจุบัน ผ้าทอในรูปแบบอุตสาหกรรม เข้ามามีบทบาทในชุมชนมากขึ้น ทำ�ให้ เทคนิคการทอผ้าที่ซับซ้อนถูกลดบทบาท ลงไปเหลื อ เพี ย งการทอที่ ใ ช้ เ ทคนิ ค แบบธรรมดาซึ่งสะดวกและรวดเร็วกว่า เทคนิคการทอที่พบในชุมชนมีดังนี้
ลายขัดธรรมดา การทอโดยใช้ด้ายยืน 1 ชุด ด้ายพุ่ง 1 ชุด สอดขัดแบบขึ้นหนึ่งลงหนึ่ง ใช้ตะกอเพียง 2 ตะกอสืบด้ายยืนตะกอ ละเส้นสลับกัน
YONG TEXTILES I 24
ปั่นไก คื อ การปั่ น หรื อ ตี เ กลี ย วเส้ น ด้าย 2 สีที่ต่างกันเข้าด้วยกัน ทำ�ให้เกิด สี เ หลื อ บเหมื อ ้ นตะไคร่ นำ � ที่ ช าวไทลื้ อ เรียกว่า “ไก” เทคนิคนี้พบในชาวไท ลื้อทุกกลุ่ม ชาวไทลาวเรียกเทคนิคนี้ว่า “เข็น” ส่วนชาวไทยทั่วไป เรียกเทคนิคนี้ ว่า “หางกระรอก”
ขิด เป็นเทคนิคการทำ�ลวดลายบน ผืนผ้าด้วยวิธีการเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษ เข้าไปเช่นเดียวกับการจก โดยจะพุ่งเส้น ด้ า ยจากริ ม ผ้ า ด้ า นหนึ่ ง สู่ ริ ม ผ้ า อี ก ด้ า น หนึ่ง ทำ�ให้เกิดลวดลายตลอดความกว้าง ของผืนผ้า นิยมเรียก เก็บดอก หรือเก็บ มุก
ยกดอก เป็ น เทคนิ ค การทำ � ลวดลายซึ่ ง เกิดจากวิธีการยกเขาแยกเส้นยืนขึ้นลง แต่ไม่เพิ่มเส้นด้ายพิเศษเข้าไปในบางครั้ง จะมีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งจำ�นวนสองเส้น หรือมากกว่านั้น โดยใช้เขา 4 เขา ใช้ เส้นฝ้ายทอสลับกันทำ�ให้เกิดลายตาราง สี่เหลี่ยม
ด้ายลอย เป็นเทคนิคการทำ�ลวดลายโดย เป็นการยกเส้นด้ายข้ามเส้นยืนหรือเส้น พุ่ง ก็ได้ จะทำ�ให้เกิดลวดลายที่สลับกัน เช่นลายเกล็ดเต่าเป็นต้น
YONG TEXTILES I 25
ลวดลายที่พบในผ้าทอชายยอง ลายขอเหลียว ในเขตตำ�บลบวกค้างนั้นส่วนใหญ่จะเป็น ลายริ้วที่เกิดจากการทอซิ่นต๋าย่ามแบบ ต่างๆหรือลายเกล็ดเต่า ซึ่งเกิดจากการ สลั บ สี เ ส้ น ยื น และเส้ น พุ่ ง สองสี แ ละจะ พบเป็นลวดลายเรขาคณิตบางส่วนจาก ผ้ า ทอโบราณซึ่ ง ในปั จ จุ บั น ไม่ มี ก ารทอ เทคนิคนี้แล้ว ได้แก่ ลวดลายบนผ้าหลบ ลายเขี้ยวหมา โบราณที่พบในพิพิธภัณฑ์วัดป่าตาล โดย จะมีลักษณะการขิดลวดลายเพียงสามสี่ แถวบริเวณเชิงผ้า ซึ่งมีลวดลายดังนี้ ลายกาบตั้ง
ลายขอขะแจ๋
YONG TEXTILES I 26
เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เป็นของที่ หาซื้อได้ง่าย รวมไปถึงแฟชั่นการแต่งตัวต่างๆ ทำ�ให้การใส่เครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิม ถูกมองเป็นเรื่องที่ดูล้าสมัยทำ�ให้องค์ความรู้เรื่องการทอผ้าและความสามารถในการ ทอผ้าของคนในชุมชนบวกค้างเริ่มเลือนหายไป เหลือเพียงผู้เฒ่าผู้แก่เพียงจำ�นวนไม่ มากเท่านั้นที่สามารถทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชาวไทยองได้ และเมื่อไม่มีผู้ สืบทอด ต่อไปความรู้ในเรื่องการทอผ้าก็จะเลือนหายไป จึงจำ�เป็นอย่างยิ่งที่องค์ความ รู้ต่างๆ ต้องถูกสืบสานโดยเยาวชนรุ่นใหม่ อีกทั้งหากมีการคิดค้นต่อยอดผ้าทอของ ชุมชนและมีการกระจายรายได้สู่ตัวผู้ทอผ้ามากขึ้น อาจทำ�ให้เทคนิคและรูปแบบผ้า ทอของชาวยองในชุมชนบวกค้างนี้ยังคงอยู่สืบไป
YONG TEXTILES I 27
ผ้าทอชาวยอง ตำ�บลบวกค้าง อำ�เภอสันกำ�แพง จังหวัดเชียงใหม่ คุณากร มาตรา ภาพและเนื้อเรื่อง 2016 (พ.ศ. 2559) โดย คุณากร มาตรา สงวนลิขสิทธ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย คุณากร มาตรา ออกแบบโดยใช้ฟอนต์ TH Sarabun New 16pt. หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการ จัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริมและต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่