พุทธวจน 1 ตามรอยธรรม

Page 1

พุทธวจน ธรรม

ตามรอย


ภิกษุทั้งหลาย !

ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นค�าของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา

เมื่อมีผู้น�าสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมส�าคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร มีความหมายกี่นัย ดังนี้. ด้วยการท�าดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ท�าให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้. -บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๙๑/๒๙๒.


พุทธวจน

ตามรอยธรรม สุภัททะ !

ในธรรมวินัยนี้แล มีอริยมรรคมีองค์ ๘...

ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบไซร้วาเสฏฐะ ! พวกเธอแล มีชาติโลกก็ ต่างกัจนะไม่ มีนวามต่ างกัน มีโคตรต่ น มีสกุลต่างกัน ่างจากพระอรหั นต์ทาั้งงกัหลาย. ออกบวชจากเรือนเป็นผู้ไม่หวังเกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว ่อถูกเขาถามว่ า “พวกท่ านเป็นงใคร ?” อานนท์ ! เมื ในกาลบั ดนี้ก็ดี ในกาลล่ วงไปแห่ เราก็ดี ดังนี้ พวกเธอก็ปฏิญาณว่า

ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ “เราทั้งหลาย เป็นสมณสากยปุตติยะ”ดังนี้. ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ.

อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา อนึ่ง ศรัทธาของผู ภิกษุ้ใพดแลตั วกนั้งมั้น่นในตถาคต จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล. ฝังลงรากแล้ว ดำ�รงอยู่ได้มั่นคง -บาลีเทวดา มหา. ที.มาร ๑๐/๑๗๕/๑๓๘. มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐. อันสมณะหรือพราหมณ์ พรหมหรื, -บาลี อใครๆ ในโลกก็ ตาม ไม่ชักนำ�ไปทางอื่นได้ ผู้นั้นควรที่จะกล่าวอย่างนี้ว่า

“เราเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากพระโอษฐ์ของพระผูม้ พี ระภาคเจ้า เกิดโดยธรรม เนรมิตโดยธรรม เป็นทายาทโดยธรรม”ดังนี้. -บาลี ปา. ที. ๑๑/๙๑/๕๕.


ภิกษุทงั้ หลาย ! พวกเธอเอ็นดูใคร​​ และใครถือว่าเธอเป็นผูท้ เี่ ขาควรเชือ่ ฟัง​ เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อ�ำมาตย์กต็ าม​ ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม;​​ ชนเหล่านัน้ อันเธอพึง ชักชวนให้เข้าไปตัง้ มัน่ ในความจริงอันประเสริฐสีป่ ระการ​ ด้วยปัญญาอันรูเ้ ฉพาะตามทีเ่ ป็นจริง.

ความจริงอันประเสริฐสีป่ ระการ อะไรเล่า ?​ ส​ ปี่ ระการคือ ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์,​ ​ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดขึน้ แห่งทุกข์, ​ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์​, ความจริงอันประเสริฐคือทางด�ำเนิน ให้ถงึ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๔/๑๗๐๖.


พุ ท ธ ว จ น ฉบับ ๑

ตามรอยธรรม

พุทธวจนสถาบัน

ร่วมกันมุง่ มัน่ ศึกษา ปฏิบตั ิ เผยแผ่ค�ำ ของตถาคต


พุทธวจน

ฉบับ ๑

ตามรอยธรรม

ข้อมูลธรรมะนี้ จัดทำ�เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาสู่สาธารณชน เป็นธรรมทาน ลิขสิทธิ์ในต้นฉบับนี้ได้รับการสงวนไว้ ไม่สงวนสิทธิ์ในการจัดทำ�จากต้นฉบับเพื่อเผยแผ่ในทุกกรณี ในการจัดทำ�หรือเผยแผ่ โปรดใช้ความละเอียดรอบคอบ เพื่อรักษาความถูกต้องของข้อมูล ขอคำ�ปรึกษาด้านข้อมูลในการจัดทำ�เพื่อความสะดวกและประหยัด ติดต่อได้ที่ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ โทรศัพท์ ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๙๔ พุทธวจนสมาคม โทรศัพท์ ๐๘ ๑๖๔๗ ๖๐๓๖ มูลนิธิพทุ ธวจน โทรศัพท์ ๐๘ ๑๔๕๗ ๒๓๕๒ คุณศรชา โทรศัพท์ ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑ คุณอารีวรรณ โทรศัพท์ ๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘ ปีที่พิมพ์ ๒๕๕๗ ศิลปกรรม ปริญญา ปฐวินทรานนท์, วิชชุ เสริมสวัสดิ์ศรี, ณรงค์เดช เจริญปาละ

จัดทำ�โดย มูลนิธิพุทธโฆษณ์ (เว็บไซต์ www.buddhakos.org) สำ�หรับผูต้ อ้ งการปฏิบตั ธิ รรรม ติดต่อได้ท่ี ศูนย์ปฏิบตั พิ ทุ ธวจน (Buddhawajana Training Center) ซอยคลองสีต่ ะวันออก ๗๓ หมู่ ๑๕ คลองสี่ อำ�เภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โทรศัพท์ ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๖๕๗, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๗๒๑, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๔๗๑


มูลนิธิพุทธโฆษณ์ เลขที่ ๒๙/๓ หมูท่ ่ี ๗ ตำ�บลบึงทองหลาง อำ�เภอลำ�ลูกกา จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๕๐ โทรศัพท์ /โทรสาร ๐ ๒๕๔๙ ๒๑๗๕ เว็บไซต์ : www.buddhakos.org



คำ�อนุโมทนา ขออนุโมทนา กับคณะผู้จัดทำ� หนังสือพุทธวจน ฉบับ “ตามรอยธรรม” ในเจตนาอันเป็นกุศล ที่มีความ ตั้งใจเผยแผ่คำ�สอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าที่ออกจาก พระโอษฐ์ของพระองค์เอง เพื่อให้ผู้สนใจได้ศึกษาและ นำ�มาปฏิบัติเพื่อให้ถึงความพ้นทุกข์ ด้วยการกระทำ� อันเป็นกุศลนี้ ขอให้เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ผู้มีส่วนร่วม ในการทำ�หนังสือเล่มนี้ และผู้ที่ได้อ่าน ได้ศึกษา พึงเกิด ปัญญา ได้ดวงตาเห็นธรรม พ้นทุกข์ในชาตินี้เทอญ ขออนุโมทนา ภิกขุคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล



คำ�นำ� หนังสือ “พุทธวจน ฉบับ ตามรอยธรรม” ได้จดั ทำ�ขึน้ ด้วยปรารภเหตุทว่ี า่ หลายคนยังเห็นคำ�สอนของ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าว่า เป็นสิง่ ทีย่ าก หรือเป็นสิง่ ทีไ่ กลตัว เกินไป ทำ�ให้มนี อ้ ยคนนักทีจ่ ะหันมาใส่ใจศึกษาคำ�สอนของ พระผูม้ พี ระภาคเจ้าอย่างจริงจัง ทั้งๆ ที่พระองค์ได้ตรัสไว้ แล้วว่า คำ�สอนที่พระองค์ตรัสสอนทั้งหมดนั้น บริสุทธิ์ บริบูรณ์แล้วสิ้นเชิง อีกทั้งคำ�สอนนั้น ยังเป็นสิ่งที่เรียกว่า “อกาลิโก” คือใช้ได้ไปตลอด ไม่มคี �ำ ว่าเก่าหรือล้าสมัย และ ใช้ได้กับบุคคลทุกคน อันจะเห็นได้จากในสมัยพุทธกาล ที่พุทธบริษัท ๔ ทั้งหลายนั้น มีคนจากหลายชาติและวรรณะ นอกจากนีพ้ ระองค์ยงั ได้ตรัสอีกว่า บุคคลทีท่ า่ นตรัสสอนนัน้ มีตง้ั แต่ พรหม เทวดา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไปจน ถึงปุถชุ นคนธรรมดาทัว่ ไป และทุกคนนัน้ เมือ่ นำ�คำ�สอนของ พระองค์ไปปฏิบตั แิ ล้ว ก็สามารถแก้ทกุ ข์หรือดับทุกข์ให้กบั ตนเองได้ทง้ั สิน้ คณะงานธัมมะ วัดนาป่าพง มิถุนายน ๒๕๕๔


อักษรย่อ เพือ่ ความสะดวกแก่ผทู้ ย่ี งั ไม่เข้าใจเรือ่ งอักษรย่อ ทีใ่ ช้หมายแทนชือ่ คัมภีร์ ซึง่ มีอยูโ่ ดยมาก มหาวิ. วิ. ภิกฺขุนี. วิ. มหา. วิ. จุลฺล. วิ. ปริวาร. วิ. สี. ที. มหา. ที. ปา. ที. มู. ม. ม. ม. อุปริ. ม. สคาถ. สํ. นิทาน. สํ. ขนฺธ. สํ. สฬา. สํ. มหาวาร. สํ. เอก. อํ. ทุก. อํ. ติก. อํ. จตุกฺก. อํ.

มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวรรค จุลวรรค ปริวารวรรค สีลขันธวรรค มหาวรรค ปาฏิกวรรค มูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ อุปริปัณณาสก์ สคาถวรรค นิทานวรรค ขันธวารวรรค สฬายตนวรรค มหาวารวรรค เอกนิบาต ทุกนิบาต ติกนิบาต จตุกกนิบาต

วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. วินัยปิฎก. ทีฆนิกาย. ทีฆนิกาย. ทีฆนิกาย. มัชฌิมนิกาย. มัชฌิมนิกาย. มัชฌิมนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. สังยุตตนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย.


ปญฺจก. อํ. ฉกฺก. อํ. สตฺตก. อํ. อฏฺก. อํ. นวก. อํ. ทสก. อํ. เอกาทสก. อํ. ขุ. ขุ. ธ. ขุ. อุ. ขุ. อิติวุ. ขุ. สุตฺต. ขุ. วิมาน. ขุ. เปต. ขุ. เถร. ขุ. เถรี. ขุ. ชา. ขุ. มหานิ. ขุ. จูฬนิ. ขุ. ปฏิสมฺ. ขุ. อปท. ขุ. พุทฺธว. ขุ. จริยา. ขุ.

ปัญจกนิบาต ฉักกนิบาต สัตตกนิบาต อัฏฐกนิบาต นวกนิบาต ทสกนิบาต เอกาทสกนิบาต ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก มหานิทเทส จูฬนิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค อปทาน พุทธวงส์ จริยาปิฎก

อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. อังคุตตรนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย. ขุททกนิกาย.

ตัวอย่าง : ๑๔/๑๗๑/๒๔๕ ให้อ่านว่า ไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เล่ม ๑๔ หน้า ๑๗๑ ข้อที่ ๒๔๕


สารบัญ ๑. เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน ๑ ๒. ผู้ชี้ขุมทรัพย์ ! ๓ ๓. ทรงแสดงเรือ่ งทีเ่ ป็นไปได้ยากเกีย่ วกับพระองค์เอง ๕ ๔. พระพุทธเจ้า ทั้งในอดีต, อนาคต และในปัจจุบัน ๗ ล้วนแต่ตรัสรู้อริยสัจสี่ ๕. พระพุทธองค์ ทรงพระนามว่า ๙ “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ” ก็เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจสี่ ๖. จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ ๑๑ ๗. อริยสัจสีโ่ ดยสังเขป (ทรงแสดงด้วยความยึดในขันธ์หา้ ) ๑๓ ๘. การรู้อริยสัจสี่ ท�ำให้มีตาสมบูรณ์ ๑๖ ๙. การสนทนากับพระอานนท์ เรื่องกัลยาณมิตร ๑๙ ๑๐. กัลยาณมิตรของพระองค์เอง ๒๑ ๑๑. ขยายความแห่งอริยมรรคมีองค์แปด ๒๓ ๑๒. โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ ๒๙ ๑๓. ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง ๓๐ สัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุผปู้ ัญญาวิมุตติ


๑๔. ไม่ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อให้เขานับถือ ๓๒ ๑๕. ทรงสอนเฉพาะแต่เรือ่ งทุกข์กบั ความดับสนิทของทุกข์ ๓๓ ๑๖. ค�ำของพระองค์ ตรงเป็นอันเดียวกันหมด ๓๕ ๑๗.หลักที่ทรงใช้ในการตรัส (๖ อย่าง) ๓๖ ๑๘. สิ่งที่ตรัสรู้แต่ไม่ทรงน�ำมาสอน ๓๙ มีมากกว่าที่ทรงน�ำมาสอนมากนัก ๑๙. ถ้ามัวรอให้รู้เรื่องที่ไม่จ�ำเป็นเสียก่อนก็ตายเปล่า ๔๑ ๒๐. ค�ำสอนที่ทรงสั่งสอนบ่อยมาก ๔๓ ๒๑. ล�ำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์ ๔๕ ๒๒. ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมหลุดพ้น ๔๗ ๒๓. มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยึดถือเอาที่พึ่งผิดๆ ๕๑ ๒๔. จงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง ๕๒ ๒๕. ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามล�ำดับ (อย่างย่อ) ๕๓ ๒๖. ทรงเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สาวกชั่วระยะจ�ำเป็น ๕๙ ๒๗ ทรงฆ่าผู้ที่ไม่รับการฝึก ๖๑ ๒๘. ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น ๖๕ ๒๙. ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล ๖๘ ๓๐. กระดองของบรรพชิต ๗๒


๓๑. ผู้มีหลักเสาเขื่อน ๓๒. วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้ ๓๓. วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากตลอดพรรษา และทรงสรรเสริญมาก ๓๔. ผู้ไม่ประมาทในความตายแท้จริง ๓๕. ทางรอดส�ำหรับภิกษุไข้ ๓๖. เมื่อ “เธอ” ไม่มี ! ๓๗. ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ ๓๘. อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ ๓๙. ผู้แบกของหนัก ๔๐. ดับตัณหา คือปลงภาระหนักลงได้ ๔๑. ต้องท่องเที่ยวมาแล้ว เพราะไม่รู้อริยสัจสี่ ๔๒. ที่สุดแห่งการท่องเที่ยวของพระองค์ ๔๓. “สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้ ๔๔. ทรงมีความชราทางกายภาพเหมือนคนทั่วไป ๔๕. ทรงประกาศธรรมเนื่องด้วยการปลงอายุสังขาร ๔๖. ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ๔๗. ถุงธรรม

๗๕ ๗๙ ๘๕ ๘๗ ๘๙ ๙๑ ๙๒ ๙๓ ๙๕ ๙๗ ๙๙ ๑๐๐ ๑๐๒ ๑๐๓ ๑๐๕ ๑๐๗ ๑๐๙


๔๘. การปรินิพพานในปัจจุบัน ๔๙. ตั้งหน้าท�ำก็แล้วกัน ๕๐. ทรงเป็นผู้เอ็นดูเกื้อกูล แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ๕๑. อานิสงส์แห่งการฟังธรรมเนืองๆ

๑๑๑ ๑๑๓ ๑๑๕ ๑๑๙



ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๑ เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน ภิกษุทง้ั หลาย ! พวกภิกษุบริษทั ในกรณีน,้ี สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำ�ร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำ�กล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำ�สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำ�คัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำ�ของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระว่าเฉพาะเรื่องสุญญตา,

เมื่อมีผู้นำ�สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงีย่ หูฟงั ย่อมตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ ว่ั ถึง และย่อมสำ�คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน.

​1


​2 พุ ท ธ ว จ น จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กนั และกันอยูว่ ่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ? มีความหมายกี่นัย ?” ดังนี้.

ด้วยการทำ�ดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้, ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็จะทำ�ให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.

ภิกษุทง้ั หลาย ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้ ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง, หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่าง ของบุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม่ (ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โน อุกฺกาจิตวินีตา); จัดเป็นบริษัทที่เลิศ แล. ทุก. อํ. ๒๐/๙๒/๒๙๒.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๒ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ ! อานนท์ ! เราไม่พยายามทำ�กะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม เหมือนพวกช่างหม้อ ทำ�แก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่ อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้. คนเรา ควรมองผูม้ ปี ญ ั ญาใดๆ ทีค่ อยชีโ้ ทษ คอยกล่าว คำ�ขนาบอยู่เสมอไป ว่าคนนั้นแหละ คือ ผู้ชี้ขุมทรัพย์ ควรคบบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น เมื่อคบหากับบัณฑิตชนิดนั้นอยู่ ย่อมมีแต่ดีท่าเดียว ไม่มีเลวเลย. อุปริ. ม. ๑๔/๒๔๕/๓๕๖. ธ. ขุ. ๒๕/๒๕/๑๖.

​3



ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๓ ทรงแสดงเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เกี่ยวกับพระองค์เอง ภิกษุทง้ั หลาย ! สมมติว่ามหาปฐพีอันใหญ่หลวงนี้ มีน�ำ้ ท่วมถึงเป็นอันเดียวกันทัง้ หมด; บุรษุ คนหนึง่ ทิง้ แอก (ไม้ไผ่ ?) ซึ่งมีรูเจาะได้เพียงรูเดียว ลงไปในน้ำ�นั้น; ลมตะวันออกพัดให้ลอยไปทางทิศตะวันตก, ลมตะวันตก พัดให้ลอยไปทางทิศตะวันออก, ลมทิศเหนือพัดให้ลอยไป ทางทิศใต้, ลมทิศใต้พดั ให้ลอยไปทางทิศเหนือ อยูด่ งั นี.้ ในน้�ำ นัน้ มีเต่าตัวหนึง่ ตาบอด ล่วงไปร้อยๆ ปี มันจะผุด ขึน้ มาครัง้ หนึง่ ๆ. ภิกษุทง้ั หลาย ! เธอทัง้ หลาย จะสำ�คัญ ความข้อนีว้ า่ อย่างไร : จะเป็นไปได้ไหมทีเ่ ต่าตาบอด ร้อยปี จึงจะผุดขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง จะพึงยื่นคอ เข้าไปในรู ซึ่งมี อยู่เพียงรูเดียวในแอกนั้น ? “ข้อนี้ยากที่จะเป็นไปได้ พระเจ้าข้า ! ที่เต่าตาบอดนั้น ร้อยปีผุดขึ้นเพียงครั้งเดียว จะพึงยื่นคอเข้าไปในรู ซึ่งมีอยู่เพียง รูเดียวในแอกนั้น”.

​5


​6 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ที่ใครๆ จะพึงได้ความเป็นมนุษย์; ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ทีต่ ถาคตผูอ้ รหันตสัมมาสัมพุทธะ จะเกิดขึน้ ในโลก; ยากที่จะเป็นไปได้ฉันเดียวกัน ทีธ่ รรมวินยั อันตถาคตประกาศแล้ว จะรุง่ เรืองไปทัว่ โลก. ภิกษุทั้งหลาย ! แต่วา่ บัดนีค้ วามเป็นมนุษย์กไ็ ด้แล้ว; ตถาคตผูอ้ รหันตสัมมาสัมพุทธะ ก็บงั เกิดขึน้ ในโลกแล้ว; และ ธรรมวินยั อันตถาคตประกาศแล้ว ก็รงุ่ เรืองไปทัว่ โลกแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงกระทำ�โยคกรรมเพื่อให้รู้ว่า “นี้ ทุกข์, นี้ เหตุให้เกิดทุกข์, นี้ ความดับแห่งทุกข์, นี้ หนทางให้ถงึ ความดับแห่งทุกข์” ดังนีเ้ ถิด. มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๖๘/๑๗๔๔.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๔ พระพุทธเจ้า ทัง้ ในอดีต, อนาคต และในปัจจุบนั ล้วนแต่ตรัสรูอ้ ริยสัจสี่

ภิกษุทง้ั หลาย ! พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดๆ ได้ตรัสรูต้ ามเป็นจริงไปแล้ว ในกาลยืดยาวนานฝ่ายอดีต, ท่านทั้งหลายเหล่านั้น ได้ตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่งความจริง อันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุทง้ั หลาย ! พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ใดๆ จักได้ตรัสรูต้ ามเป็นจริง ต่อในกาลยืดยาวนานฝ่ายอนาคต, ท่านทัง้ หลายเหล่านัน้ ก็จกั ได้ตรัสรูต้ ามเป็นจริง ซึง่ ความจริง อันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุทง้ั หลาย ! แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะ ผูต้ รัสรู้ ตามเป็นจริงอยู่ ในกาลเป็นปัจจุบันนี้ ก็ได้ตรัสรู้อยู่ซึ่ง ความจริงอันประเสริฐสีอ่ ย่าง.

​7


​8 พุ ท ธ ว จ น

ความจริงอันประเสริฐสี่อย่างนั้น เหล่าไหนเล่า ?

สี่อย่างคือ :ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือของทุกข์, และความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำ�เนินให้ถงึ ความดับ ไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำ�ความเพียร เพือ่ ให้รตู้ ามเป็นจริงว่า “ นี้ เป็นทุกข์, นี้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้ เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, นี้ เป็นทางดำ�เนินให้ถงึ ความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้เถิด.

มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๓/๑๗๐๔.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๕ พระพุทธองค์ ทรงพระนามว่า “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ” ก็เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจสี่ ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐสีอ่ ย่างเหล่านี้ สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ :ความจริงอันประเสริฐคือ ความทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, และความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำ�เนินให้ถงึ ความดับ ไม่เหลือของทุกข์ : นี้แล ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะได้ตรัสรู้ตามเป็นจริง ซึ่ง ความจริงอันประเสริฐสี่อย่างเหล่านี้ ตถาคต จึงมีนาม อันบัณฑิตกล่าวว่า “อรหันตสัมมาสัมพุทธะ”.

​9


​10 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำ�ความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, และนี้เป็นทางดำ�เนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้เถิด. มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๓/๑๗๐๓.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๖ จงสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยการให้รู้อริยสัจ ภิกษุทง้ั หลาย ! พวกเธอเอ็นดูใคร และใครถือว่าเธอ เป็นผูท้ เ่ี ขาควรเชือ่ ฟัง เขาจะเป็นมิตรก็ตาม อำ�มาตย์กต็ าม ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม;

ชนเหล่านั้น อันเธอพึงชักชวนให้เข้าไปตั้งมั่น ในความจริงอันประเสริฐสี่ประการ ด้วยปัญญาอันรู้เฉพาะตามที่เป็นจริง.

ความจริงอันประเสริฐสี่ประการอะไรเล่า ? สี่ประการคือ :ความจริงอันประเสริฐคือ ทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือ เหตุให้เกิดแห่งทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, และความจริงอันประเสริฐคือ ทางดำ�เนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์.

​11


​12 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำ�ให้รู้ว่า “ ทุกข์ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้, ทางดำ�เนินให้ถงึ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี”้ ดังนี้. มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๔/๑๗๐๖.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๗ อริยสัจสี่โดยสังเขป

(ทรงแสดงด้วยความยึดในขันธ์ห้า) ภิกษุทง้ั หลาย ! ความจริงอันประเสริฐ มีสอ่ี ย่างเหล่านี,้ สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์, ความจริ ง อั น ประเสริ ฐ คื อ ความดั บ ไม่ เ หลื อ ของทุ ก ข์ , และความจริงอันประเสริฐคือทางดำ�เนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุทง้ั หลาย ! ความจริ ง อั น ประเสริ ฐ คื อ ทุ ก ข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ : ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? คือ : รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. ภิกษุทง้ั หลาย ! อันนีเ้ รากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์.

​13


​14 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้ เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหาอันใดนี้ ทีเ่ ป็นเครือ่ งนำ�ให้มกี ารเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำ�หนัด เพราะอำ�นาจแห่งความเพลิน มักทำ�ให้เพลินอย่างยิง่ ในอารมณ์นน้ั ๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม (กามตัณหา), ตัณหาในความมีความเป็น (ภวตัณหา), ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น (วิภวตัณหา). ภิกษุทั้งหลาย ! อันนีเ้ รากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือความดับ ไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือความดับสนิท เพราะความจางคลายดับไปโดย ไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนีเ้ รากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

ภิกษุทง้ั หลาย ! ความจริ ง อั น ประเสริ ฐ คื อ ทาง ดำ�เนินให้ถงึ ความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปด นั่นเอง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ : ความเห็นชอบ, ความดำ�ริชอบ, การพูดจาชอบ, การงานชอบ, การเลี้ยงชีพชอบ, ความเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตัง้ ใจมัน่ ชอบ. ภิกษุทง้ั หลาย ! อันนีเ้ รากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำ�เนินให้ถงึ ความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุท้งั หลาย ! เหล่านีแ้ ล คือความจริงอันประเสริฐ สี่อย่าง. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอ พึงทำ�ความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, นีเ้ ป็นทางดำ�เนินให้ถงึ ความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนีเ้ ถิด. มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๔-๕/๑๖๗๘-๑๖๘๓.

​15


​16 พุ ท ธ ว จ น

๘ การรู้อริยสัจสี่ ทำ�ให้มีตาสมบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล ๓ จำ�พวกนี้มีอยู่ หาได้อยู่ ในโลก. สามจำ�พวกอย่างไรเล่า ? สามจำ�พวกคือ : คนตาบอด (อนฺโธ), คนมีตาข้างเดียว (เอกจกฺขุ), คนมีตาสองข้าง (ทฺวิจกฺขุ). ภิกษุทั้งหลาย ! คนตาบอดเป็นอย่างไรเล่า ? คือคนบางคนในโลกนี้ ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ�โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง; และไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล - ธรรมมีโทษและไม่มีโทษ - ธรรมเลวและธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำ�และธรรมฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คนตาบอด (ทั้งสองข้าง).


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! คนมีตาข้างเดียวเป็นอย่างไรเล่า ? คือคนบางคนในโลกนี้ มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ�โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง; แต่ไม่มีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล - ธรรมมีโทษและไม่มีโทษ - ธรรมเลวและธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำ�และธรรมฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คนมีตาข้างเดียว. ภิกษุทั้งหลาย ! คนมีตาสองข้างเป็นอย่างไรเล่า ? คือคนบางคนในโลกนี้ มีตาที่เป็นเหตุให้ได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือทำ�โภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น นี้อย่างหนึ่ง; และมีตาที่เป็นเหตุให้รู้ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล - ธรรมมีโทษและไม่มีโทษ - ธรรมเลวและธรรมประณีต - ธรรมฝ่ายดำ�และธรรมฝ่ายขาว นี้อีกอย่างหนึ่ง. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล คนมีตาสองข้าง.

​17


​18 พุ ท ธ ว จ น ...ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุมีตาสมบูรณ์ (จกฺขุมา) เป็น อย่างไรเล่า ? คือภิกษุในกรณีนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า “นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดแห่งทุกข์, นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์, นีท้ างดำ�เนินให้ถงึ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล ภิกษุมีตาสมบูรณ์. ติก. อํ. ๒๐/๑๖๒/๔๖๘. ติก. อํ. ๒๐/๑๔๗/๔๕๙.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๙ การสนทนากับพระอานนท์ เรื่องกัลยาณมิตร มหาราชะ ! ครั้งหนึ่ง ตถาคตพักอยู่ที่นิคมแห่ง พวกศากยะ ชื่อว่านครกะ ในแคว้นสักกะ. มหาราชะ ! ครัง้ นัน้ แล ภิกษุอานนท์ได้เข้าไปหาตถาคตถึงทีอ่ ยู่ อภิวาท แล้วนั่งลง ณ ที่ควร. มหาราชะ ! ภิกษุอานนท์ได้กล่าว คำ�นี้กะตถาคตว่า

“ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! ความมีมติ รดี ความมีสหายดี ความ มีเพือ่ นผูแ้ วดล้อมดี นีเ้ ป็นกึง่ หนึง่ ของพรหมจรรย์พระเจ้าข้า !” ดังนี้.

มหาราชะ ! เมื่อภิกษุอานนท์ได้กล่าวอย่างนี้แล้ว ตถาคตได้กล่าวกะเธออย่างนี้ว่า “อานนท์ ! เธออย่ากล่าวอย่างนั้นเลย, อานนท์ ! ข้อนีเ้ ป็นพรหมจรรย์ทง้ั หมดทัง้ สิน้ ทีเดียว คือความมีมติ รดี ความมีสหายดี ความมีเพือ่ นผูแ้ วดล้อมดี.

​19


​20 พุ ท ธ ว จ น อานนท์ ! พรหมจรรย์ทั้งสิ้นนั้น เป็นสิ่งที่ภิกษุ ผู้มีมิตรดีพึงหวังได้.

เมื่อเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนผู้แวดล้อมดี เธอนั้นจักทำ�อริยมรรคมีองค์แปดให้เจริญได้ จักกระทำ�ให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดได้ ดังนี้. สคา. สํ. ๑๕/๑๒๗/๓๘๒.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๑๐ กัลยาณมิตรของพระองค์เอง อานนท์ ! ภิกษุผู้ชื่อว่า มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญ ทำ�ให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์แปด โดยอาการอย่างไรเล่า ?

อานนท์ ! ภิกษุนี้ ย่อมเจริญ ทำ�ให้มากซึ่ง สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ, สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไป เพื่อการสลัดลง.

อานนท์ ! อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญ ทำ�ให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วย องค์แปด. อานนท์ ! ข้อนั้นเธอพึงทราบด้วยปริยายอันนี้เถิด ว่าพรหมจรรย์นท้ี ง้ั หมดนัน้ เทียว ได้แก่ ความเป็นผูม้ มี ติ รดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดังนี้.

​21


​22 พุ ท ธ ว จ น อานนท์ ! จริงทีเดียว, สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิด เป็นธรรมดา ได้อาศัยกัลยาณมิตรของเราแล้ว ย่อม หลุดพ้นจากการเกิด... ผู้มีความแก่ชรา, ความเจ็บป่วย, ความตาย, ความโศก, ความคร่ำ�ครวญ, ความทุกข์กาย, ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจเป็นธรรมดา... ครัน้ ได้ อาศัยกัลยาณมิตรของเราแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากความแก่ชรา, ความเจ็บป่วย, ความตาย, ความโศก, ความคร่ำ�ครวญ, ความทุกข์กาย, ความทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ. อานนท์ ! ข้อนั้นเธอพึงทราบด้วยปริยายอันนี้เถิด คือว่าพรหมจรรย์นี้ทั้งหมดนั้นเทียว ได้แก่ ความเป็นผู้มี มิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ดังนี้. สคา. สํ. ๑๕/๑๒๗/๓๘๓.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๑๑ ขยายความแห่งอริยมรรคมีองค์แปด

ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้ ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นี้เอง,

องค์แปดคือ :ความเห็นชอบ, ความดำ�ริชอบ, การพูดจาชอบ, การงานชอบ, การเลี้ยงชีพชอบ, ความเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตัง้ ใจมัน่ ชอบ.

ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบเป็นอย่างไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์, ความรู้ในเหตุให้ เกิดทุกข์, ความรูใ้ นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, ความรูใ้ น หนทางเป็นเครือ่ งให้ถงึ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

​23


​24 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำ�ริชอบเป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ค วามดำ � ริ ใ นการออกจากกาม, ความดำ�ริในการไม่พยาบาท, ความดำ�ริในการไม่เบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า สัมมาสังกัปปะ. ภิกษุทั้งหลาย ! การพูดจาชอบเป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ, การเว้น จากการพูดยุให้แตกกัน, การเว้นจากการพูดหยาบ, การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า สัมมาวาจา. ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบเป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์, การเว้น จากการถือเอาสิง่ ของทีเ่ จ้าของไม่ได้ให้, การเว้นจากการ ประพฤติผดิ ในกามทัง้ หลาย, นีเ้ ราเรียกว่า สัมมากัมมันตะ.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! การเลี้ยงชีพชอบเป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ ละมิจฉาชีพเสีย สำ�เร็จ ความเป็นอยูด่ ว้ ยสัมมาชีพ, นีเ้ ราเรียกว่า สัมมาอาชีวะ. ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบเป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อม พยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อม ตัง้ จิตไว้ เพือ่ ความไม่บงั เกิดขึน้ แห่งอกุศลธรรมทัง้ หลาย อันเป็นบาป ทีย่ งั ไม่ได้บงั เกิดขึน้ ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอัน เป็นบาป ที่บังเกิดขึ้นแล้ว; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อม พยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อม ตัง้ จิตไว้ เพือ่ การบังเกิดขึน้ แห่งกุศลธรรมทัง้ หลายทีย่ งั ไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อม ปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อ ความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น

​25


​26 พุ ท ธ ว จ น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรม ทัง้ หลายทีบ่ งั เกิดขึน้ แล้ว, นีเ้ ราเรียกว่า สัมมาวายามะ. ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบเป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็น กายในกายอยู,่ มีความเพียรเป็นเครือ่ งเผากิเลส มีความ รูส้ กึ ตัวทัว่ พร้อม มีสติ นำ�ความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาใน เวทนาทั้งหลายอยู่, มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำ�ความพอใจและความ ไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผูม้ ปี กติพจิ ารณาเห็นจิต ในจิตอยู,่ มีความเพียรเป็นเครือ่ งเผากิเลส มีความรูส้ กึ ตัวทัว่ พร้อม มีสติ นำ�ความพอใจและความไม่พอใจใน โลกออกเสียได้; เป็นผูม้ ปี กติพจิ ารณาเห็นธรรมในธรรม ทัง้ หลายอยู,่ มีความเพียรเป็นเครือ่ งเผากิเลส มีความ รูส้ กึ ตัวทัว่ พร้อม มีสติ นำ�ความพอใจและความไม่พอใจ ในโลกออกเสียได้, นีเ้ ราเรียกว่า สัมมาสติ.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบเป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดจากอกุศลธรรมทัง้ หลาย ย่อมเข้าถึงฌานทีห่ นึง่ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู;่ เพราะวิตกวิจารรำ�งับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็น เครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก ผุดขึน้ ไม่มวี ติ กไม่มวี จิ าร มีแต่ปตี แิ ละสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู;่ เพราะปีตจิ างหายไป, เธอเป็นผูเ้ พ่งเฉยอยูไ่ ด้ มีสติ มีความรูส้ กึ ตัวทัว่ พร้อมและได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานทีส่ าม อันเป็นฌานทีพ่ ระอริยเจ้าทัง้ หลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ มี การอยู่เป็นสุข” แล้วแลอยู่; เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดั บ หายไปแห่ ง โสมนั ส และโทมนั ส ในกาลก่อน, เธอย่อมเข้าถึงฌานทีส่ ่ี อันไม่ทกุ ข์และไม่สขุ มีแต่สติอนั บริสทุ ธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู,่ นีเ้ ราเรียกว่า สัมมาสมาธิ. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ หนทาง เป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. มหา. ที. ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.

​27



ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๑๒ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ สุภัททะ ! ในธรรมวินยั ใด ไม่มอี ริยมรรคมีองค์แปด สมณะที่หนึ่ง (พระโสดาบัน) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น; แม้สมณะทีส่ อง (พระสกทาคามี) ก็หาไม่ได้; แม้สมณะทีส่ าม (พระอนาคามี) ก็หาไม่ได้; แม้สมณะที่สี่ (พระอรหันต์) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินยั นัน้ . สุภัททะ ! ในธรรมวินัยนี้แล มีอริยมรรคมีองค์แปด สมณะที่หนึ่ง (พระโสดาบัน) ก็หาได้ในธรรมวินัยนี้; แม้สมณะทีส่ อง (พระสกทาคามี) ก็หาได้; แม้สมณะที่สาม (พระอนาคามี) ก็หาได้; แม้สมณะที่สี่ (พระอรหันต์) ก็หาได้ในธรรมวินัยนี้. สุภทั ทะ ! ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ จะพึงอยู่โดยชอบไซร้ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย แล. มหา. ที. ๑๐/๑๗๕/๑๓๘.

​29


​30 พุ ท ธ ว จ น

๑๓ ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง สัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุผปู้ ญ ั ญาวิมตุ ติ ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ หลุดพ้นแล้วจากรูป เพราะความเบือ่ หน่าย ความคลาย กำ�หนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า “สัมมาสัมพุทธะ”. ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ภกิ ษุผปู้ ญ ั ญาวิมตุ ติ ก็หลุดพ้น แล้วจากรูป เพราะความเบือ่ หน่าย ความคลายกำ�หนัด ความดับ และความไม่ยดึ มัน่ จึงได้นามว่า “ปัญญาวิมตุ ติ”. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ มีขอ้ ความแสดงหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปทีก่ ล่าวแล้ว).

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ อ เป็ น ผู้ ห ลุ ด พ้ น แล้ ว จากรู ป , เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ ด้วยกันทัง้ สองพวกแล้ว, อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน อะไรเป็นความมุง่ หมาย ทีแ่ ตกต่างกัน อะไรเป็นเครือ่ งกระทำ�ให้แตกต่างกัน ระหว่าง ตถาคตผูอ้ รหันตสัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุผปู้ ญ ั ญาวิมตุ ติ ?


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำ�มรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น, ได้ทำ�มรรคที่ยังไม่มี ใครรู้ ให้มีคนรู้, ได้ทำ�มรรคที่ยังไม่มีใครกล่าว ให้เป็น มรรคที่กล่าวกันแล้ว, ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค), เป็นมัคควิทู (รูแ้ จ้งมรรค), เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค); ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็น มัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง. ภิกษุทั้งหลาย ! นีแ้ ล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำ�ให้ แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผูอ้ รหันตสัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุผปู้ ญ ั ญาวิมตุ ติ. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๑/๑๒๕.

​31


​32 พุ ท ธ ว จ น

๑๔ ไม่ได้ทรงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อให้เขานับถือ ภิกษุทั้งหลาย ! พรหมจรรย์นเ้ี ราประพฤติ มิใช่เพือ่ หลอกลวงคนให้นับถือ มิใช่เพื่อเรียกคนมาเป็นบริวาร มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นลาภสักการะ และเสียงสรรเสริญ มิใช่เพือ่ อานิสงส์จะได้เป็นเจ้าลัทธิ หรือเพือ่ ค้านลัทธิอน่ื ใด ให้ล้มลงไป และมิใช่เพื่อให้มหาชนเข้าใจว่า เราได้เป็น ผู้วิเศษอย่างนั้นอย่างนี้ ก็หามิได้. ภิกษุทั้งหลาย ! ที่แท้ พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ เพื่อสำ�รวม เพื่อละ เพื่อคลายกำ�หนัด เพื่อดับสนิท ซึ่งทุกข์ แล. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๓/๒๕.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๑๕ ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับความดับสนิทของทุกข์ ภิกษุทง้ั หลาย ! ทัง้ ทีเ่ รามีถอ้ ยคำ�อย่างนี้ มีการกล่าว อย่างนี้ สมณะและพราหมณ์บางพวก ยังกล่าวตู่เราด้วย คำ�เท็จเปล่าๆ ปลี้ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริงว่า “พระสมณโคดมเป็นคนจูงคนให้เดินผิดทางไปสู่ ความฉิบหาย ย่อมบัญญัตลิ ทั ธิความสูญเปล่า ความวินาศ ความไม่มีของสัตว์ คน ตัวตน เราเขา ขึ้นสั่งสอน” ดังนี้. ภิกษุทง้ั หลาย ! สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านัน้ กล่าวตู่เราด้วยคำ�เท็จเปล่าๆ ปลี้ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริง โดยประการทีเ่ ราไม่ได้กล่าว หรือจะกล่าวอย่างนัน้ ก็หามิได้. ภิกษุทง้ั หลาย ! ในกาลก่อนก็ตาม ในกาลบัดนีก้ ต็ าม เราบัญญัติสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิท ไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น.

​33


​34 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทง้ั หลาย ! ในการกล่าวแต่เรือ่ งความทุกข์ และ ความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์เช่นนี้ แม้จะมีใคร มาด่าว่า ถากถาง กระทบกระเทียบ เสียดสี, ตถาคต ก็ไม่มคี วามขุน่ แค้น โกรธเคือง เดือดร้อนใจ เพราะเหตุนน้ั แต่ประการใด. ภิกษุทง้ั หลาย ! ในเรือ่ งเดียวกันนัน้ เอง แม้จะมีใคร มาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา, ตถาคตก็ไม่มี ความรู้สึกเพลิดเพลิน ชื่นชม หรือเคลิ้มใจไปตาม. ถ้ามีใครมาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา, ตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนีว้ า่ ก่อนหน้านีเ้ รามีความ รูส้ กึ ตัวทัว่ ถึงอย่างไร บัดนีเ้ ราก็ตอ้ งทำ�ความรูส้ กึ ตัวทัว่ ถึง อย่างนั้น ดังนี้. มู. ม. ๑๒/๒๗๖/๒๘๖.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๑๖ คำ�ของพระองค์ ตรงเป็นอันเดียวกันหมด ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรี ที่ตถาคต ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำ� สอน แสดงออกซึง่ ถ้อยคำ�ใด; ถ้อยคำ�เหล่านัน้ ทัง้ หมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็น ประการอื่นเลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! (อนึ่ง) ตถาคตกล่าวอย่างใด ทำ�อย่างนั้น, ทำ�อย่างใด กล่าวอย่างนั้น. อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.

​35


​36 พุ ท ธ ว จ น

๑๗ หลักที่ทรงใช้ในการตรัส (๖ อย่าง)

ราชกุมาร ! (๑) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นทีร่ กั ทีพ่ งึ ใจของผูอ้ น่ื ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น. (๒) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นทีร่ กั ทีพ่ งึ ใจของผูอ้ น่ื ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น. (๓) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ อัน ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเลือกให้เหมาะกาลเพื่อกล่าววาจานั้น. (๔) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แต่เป็นทีร่ กั ทีพ่ งึ ใจของผูอ้ น่ื ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

(๕) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ แม้เป็นทีร่ กั ทีพ่ งึ ใจของผูอ้ น่ื ตถาคตย่อมไม่กล่าววาจานั้น. (๖) ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ อันประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นทีร่ กั ทีพ่ งึ ใจของผูอ้ น่ื ตถาคตย่อมเป็นผูร้ จู้ กั กาละทีเ่ หมาะสมเพือ่ กล่าววาจานัน้ .

ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ?

ราชกุมาร ! เพราะตถาคตมีความเอ็นดูในสัตว์ทั้งหลาย. ม. ม. ๑๓/๙๑/๙๔.

​37


​38 พุ ท ธ ว จ น


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๑๘ สิ่งที่ตรัสรู้แต่ไม่ทรงนำ�มาสอน มีมากกว่าที่ทรงนำ�มาสอนมากนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำ�ใบไม้สีสปา ที่ร่วงอยู่ตามพื้นดิน ขึ้นมาหน่อยหนึ่ง แล้วตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า :

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทัง้ หลายเข้าใจว่าอย่างไร, ใบไม้ สีสปาทีเ่ รากำ�ขึน้ หน่อยหนึง่ นีม้ าก หรือว่าใบไม้สสี ปาทีย่ งั อยู่บนต้นเหล่านั้นมีมาก ? “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! ใบไม้ท่พี ระผู้มีพระภาคทรงกำ�ขึ้น หน่อยหนึง่ นัน้ เป็นของน้อย ส่วนใบไม้ทย่ี งั อยูบ่ นต้นสีสปาเหล่านัน้ ย่อมมีมาก”.

ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น ธรรมะส่วนที่เรารู้ยิ่ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง แล้วไม่กล่าวสอนนั้น มีมากกว่าส่วน ที่นำ�มาสอน. ภิกษุทั้งหลาย ! เหตุไรเล่า เราจึงไม่กล่าว สอนธรรมะส่วนนั้นๆ ? ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุวา่ ธรรมะส่วนนัน้ ๆ ไม่ ประกอบอยูด่ ว้ ยประโยชน์ ไม่เป็นเงือ่ นต้นแห่งพรหมจรรย์

​39


​40 พุ ท ธ ว จ น ไม่เป็นไปเพือ่ ความหน่าย ไม่เป็นไปเพือ่ ความคลายกำ�หนัด ไม่เป็นไปเพือ่ ความดับ ไม่เป็นไปเพือ่ ความสงบ ไม่เป็น ไปเพือ่ ความรูย้ ง่ิ ไม่เป็นเพือ่ ความรูพ้ ร้อม ไม่เป็นไปเพือ่ นิพพาน, ฉะนัน้ เราจึงไม่กล่าวสอน. ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะอะไรเล่า เป็นธรรมะที่เรา กล่าวสอน ? ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมะที่เรากล่าวสอน คือข้อทีว่ า่ ความทุกข์เป็นอย่างนีๆ ้ , เหตุเป็นทีเ่ กิดของ ความทุกข์เป็นอย่างนีๆ ้ , ความดับสนิทของความทุกข์ เป็นอย่างนีๆ ้ , ข้อปฏิบตั เิ พือ่ ถึงความดับสนิทของความ ทุกข์เป็นอย่างนีๆ ้ . ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุไรเล่า ธรรมะส่วนนี้เรา จึงนำ�มากล่าวสอน ? ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะว่าธรรมะส่วนนี้ ประกอบอยู่ ด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อ ความหน่าย เป็นไปเพื่อความคลายกำ�หนัด เป็นไปเพื่อ ความดับ เป็นไปเพื่อความสงบ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นไปเพื่อนิพพาน, เพราะ เหตุนั้นแล เราจึงนำ�มากล่าวสอน. มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๘/๑๗๑๒.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๑๙ ถ้ามัวรอให้รู้เรื่องที่ไม่จำ�เป็นเสียก่อน ก็ตายเปล่า มาลุงก๎ยบุตร ! เปรียบเหมือนบุรษุ ผูห้ นึง่ ถูกลูกศร อันกำ�ซาบด้วยยาพิษอย่างแรงกล้า, มิตร อำ�มาตย์ ญาติ สายโลหิต จัดการเรียกแพทย์ผา่ ตัดผูช้ �ำ นาญ. บุรษุ อย่างนัน้ กล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าเรายังไม่รู้จักตัวบุรุษผู้ยิงเรา ว่าเป็น กษัตริย์ พราหมณ์ เวสส์ ศูทร ชื่อไร โคตรไหน ฯลฯ, ธนูที่ใช้ยิงนั้นเป็นชนิดหน้าไม้หรือเกาทัณฑ์ ฯลฯ เสีย ก่อนแล้ว, เรายังไม่ต้องการจะถอนลูกศรอยู่เพียงนั้น. มาลุงก๎ยบุตร ! เขาไม่อาจรูข้ อ้ ความทีเ่ ขาอยากรูน้ น้ั ได้เลย ต้องตายเป็นแท้ ! อุปมานี้ฉันใด; อุปไมยก็ฉันนั้นเหมือนกัน, บุคคล ผูน้ น้ั กล่าวว่า เราจักยังไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำ�นัก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จนกว่าพระองค์จักแก้ปัญหา ทิฏฐิสบิ ประการแก่เราเสียก่อน, และตถาคตก็ไม่พยากรณ์ ปัญหานั้นแก่เขา เขาก็ตายเปล่า โดยแท้.

​41


​42 พุ ท ธ ว จ น มาลุงก๎ยบุตร ! ท่านจงรู้ซ่ึงสิ่งที่เราไม่พยากรณ์ไว้ โดยความเป็นสิง่ ทีเ่ ราไม่พยากรณ์, รูซ้ ง่ึ สิง่ ทีเ่ ราพยากรณ์ไว้ โดยความเป็นสิ่งที่เราพยากรณ์. อะไรเล่าที่เราไม่พยากรณ์ ? คือความเห็นสิบประการว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีทส่ี น้ิ สุด โลกไม่มที ส่ี น้ิ สุด ฯลฯ (เป็นต้น), เป็นสิง่ ทีเ่ รา ไม่พยากรณ์. มาลุงก๎ยบุตร ! อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ ? คือสัจจะว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นีเ้ ป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, และนีเ้ ป็นทางดำ�เนิน ให้ถงึ ความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้ : นีเ้ ป็นสิง่ ทีเ่ รา พยากรณ์. เหตุใดเราจึงพยากรณ์เล่า ? เพราะสิ่งๆ นี้ ย่อมประกอบอยู่ด้วยประโยชน์ เป็นเงื่อนต้นของพรหมจรรย์ เป็นไปพร้อมเพื่อความ หน่ายทุกข์ ความคลายกำ�หนัด ความดับ ความรำ�งับ ความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม และนิพพาน. ม. ม. ๑๓/๑๔๖-๑๕๑/๑๔๙-๑๕๐,๑๕๒.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๒๐ คำ�สอนที่ทรงสั่งสอนบ่อยมาก “พระโคดมผู้เจริญ ! ทรงนำ�สาวกทั้งหลายไปอย่างไร ? อนึง่ อนุสาสนีของพระโคดมผูเ้ จริญ ย่อมเป็นไปในสาวกทัง้ หลาย ส่วนมาก มีสว่ นแห่งการจำ�แนกอย่างไร ?”.

อัคคิเวสสนะ ! เราย่อมนำ�สาวกทัง้ หลายไปอย่างนี,้ อนึง่ อนุสาสนีของเรา ย่อมเป็นไปในสาวกทัง้ หลาย ส่วนมาก มีสว่ นแห่งการจำ�แนกอย่างนีว้ า่ :

“ภิกษุทั้งหลาย ! รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง.

ภิกษุทั้งหลาย ! รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน สัญญาไม่ใช่ตัวตน สังขารไม่ใช่ตัวตน วิญญาณไม่ใช่ตัวตน. สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง; ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน” ดังนี้.

​43


​44 พุ ท ธ ว จ น อัคคิเวสสนะ ! เราย่อมนำ�สาวกทัง้ หลายไปอย่างนี,้ อนึง่ อนุสาสนีของเรา ย่อมเป็นไปในสาวกทัง้ หลาย ส่วนมาก มีสว่ นแห่งการจำ�แนกอย่างนี,้ ดังนี.้ มู. ม. ๑๒/๔๒๓/๓๙๖.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๒๑ ลำ�ดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์

ภิกษุทั้งหลาย ! รูปเป็นสิง่ ทีไ่ ม่เทีย่ ง, สิง่ ใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์, สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา, สิง่ ใดเป็นอนัตตา สิง่ นัน้ นัน่ ไม่ใช่ของเรา (เนตํ มม) นัน่ ไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺม)ิ นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา (น เมโส อตฺตา) : เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญา โดยชอบ ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการดังนี้. (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่าง เดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).

ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตาม ที่เป็นจริงอย่างนี้, ปุพพันตานุทิฏฐิ1 ทั้งหลาย ย่อมไม่มี;

เมือ่ ปุพพันตานุทฏิ ฐิไม่ม,ี อปรันตานุทฏิ ฐิ2 ทัง้ หลาย ย่อมไม่มี; 1 ความเห็นทีป่ รารภขันธ์ในเบือ้ งต้น หรือความเห็นทีเ่ ป็นไปในส่วนของอดีต 2 ความเห็นทีป่ รารภขันธ์ในเบือ้ งปลาย หรือความเห็นทีเ่ ป็นไปในส่วนของอนาคต

​45


​46 พุ ท ธ ว จ น เมื่ออปรันตานุทิฏฐิไม่มี, ความยึดมั่นลูบคลำ�อย่าง แรงกล้าย่อมไม่มี; เมื่อความยึดมั่นลูบคลำ�อย่างแรงกล้าไม่มี, จิตย่อม จางคลายกำ�หนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ; ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทัง้ หลาย เพราะไม่มี ความยึดมั่นถือมั่น. เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำ�รงอยู;่ เพราะเป็นจิตทีด่ �ำ รงอยู่ จิตจึงยินดีรา่ เริงด้วยดี; เพราะเป็นจิตทีย่ นิ ดีรา่ เริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุง้ ; เมือ่ ไม่หวาดสะดุง้ ย่อมปรินพิ พานเฉพาะตน นัน่ เทียว. เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำ� ได้ทำ�สำ�เร็จแล้ว, กิจอื่นที่จะต้องทำ� เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๒๒ ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมหลุดพ้น ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น; ผู้ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น. ภิกษุทั้งหลาย ! วิ ญ ญาณซึ่ ง เข้ า ถื อ เอารู ป ตั้ ง อยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็น ทีต่ ง้ั อาศัย มีนนั ทิเป็นทีเ่ ข้าไปส้องเสพ ก็ถงึ ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้​้; ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาเวทนาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มีเวทนา เป็นทีต่ ง้ั อาศัย มีนนั ทิเป็นทีเ่ ข้าไปส้องเสพ ก็ถงึ ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้; ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสัญญาตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มีสัญญา

​47


​48 พุ ท ธ ว จ น เป็นทีต่ ง้ั อาศัย มีนนั ทิเป็นทีเ่ ข้าไปส้องเสพ ก็ถงึ ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้; ภิกษุทั้งหลาย ! วิญญาณซึ่งเข้าถือเอาสังขารตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มีสังขาร เป็นทีต่ ง้ั อาศัย มีนนั ทิเป็นทีเ่ ข้าไปส้องเสพ ก็ถงึ ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เราจัก บัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดยเว้น จากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นจาก สังขาร” ดังนี้นั้น, นี่ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็น สิ่งทีภ่ กิ ษุละได้แล้ว;


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

เพราะละราคะได้, อารมณ์สำ�หรับวิญญาณก็ขาดลง, ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี, วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม, หลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง, เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น, เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง, เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว, เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน. ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว, กิจที่ควรทำ� ได้ทำ�สำ�เร็จแล้ว, กิจอื่นที่จะต้องทำ� เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๖๖/๑๐๕.

​49


​50 พุ ท ธ ว จ น


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๒๓ มนุษย์เป็นอันมาก ได้ยดึ ถือเอาทีพ่ ง่ึ ผิดๆ มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกความกลัวคุกคาม เอาแล้ว ย่อมถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้ที่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง สวนศักดิ์สิทธิ์บ้าง รุกขเจดีย์บ้าง ว่าเป็นที่พึ่งของตนๆ : นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันทำ�ความเกษมให้ได้เลย, นัน่ ไม่ใช่ทพ่ี ง่ึ อันสูงสุด; ผูใ้ ดถือเอาสิง่ นัน้ ๆ เป็นทีพ่ ง่ึ แล้ว ย่อมไม่หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.

ส่วนผู้ใดที่ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว เห็นอริยสัจทั้งสี่ด้วยปัญญาอันถูกต้อง คือเห็นทุกข์, เห็นเหตุเป็นเครื่องให้เกิดขึ้นของทุกข์, เห็นความก้าวล่วงเสียได้ซึ่งทุกข์, และเห็นมรรคประกอบ ด้วยองค์แปดอันประเสริฐ ซึง่ เป็นเครือ่ งให้ถงึ ความเข้าไป สงบรำ�งับแห่งทุกข์ : นั่นแหละคือที่พึ่งอันเกษม, นั่นคือที่พึ่งอันสูงสุด, ผู้ใดถือเอาที่พึ่งนั้นแล้ว ย่อมหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง ได้แท้. ธ. ขุ. ๒๕/๓๙/๒๔.

​51


​52 พุ ท ธ ว จ น

๒๔ จงเจริญสมาธิ จักรู้อริยสัจตามเป็นจริง ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทัง้ หลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ได้ ตามเป็นจริง. รู้ได้ตามเป็นจริงซึ่งอะไรเล่า ? รู้ได้ตามเป็นจริง ซึ่ ง ความจริ ง อั น ประเสริ ฐ ว่ า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับ ไม่เหลือของทุกข์, และนี้เป็นทางดำ�เนินให้ถึงความดับ ไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทัง้ หลาย จงเจริญสมาธิเถิด. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้ ได้ตามเป็นจริง. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอ พึงทำ�ความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นีเ้ ป็นเหตุให้เกิดของทุกข์, นีเ้ ป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, นีเ้ ป็นทางดำ�เนินให้ถงึ ความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนีเ้ ถิด. มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๐/๑๖๕๔.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๒๕ ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึกตามลำ�ดับ (อย่างย่อ)

พราหมณ์ ! ในธรรมวินัยนี้ เราสามารถบัญญัติ กฎเกณฑ์แห่งการศึกษาตามลำ�ดับ การกระทำ�ตามลำ�ดับ และการปฏิบัติตามลำ�ดับได้เหมือนกัน. พราหมณ์ ! เปรี ย บเหมื อ นผู้ ชำ � นาญการฝึ ก ม้ า ได้มา้ ชนิดทีอ่ าจฝึกได้มาแล้ว ในขัน้ แรกย่อมฝึกให้รจู้ กั การ รับสวมบังเหียนก่อน แล้วจึงค่อยฝึกอย่างอืน่ ๆ ให้ยง่ิ ขึน้ ไป ฉันใด; พราหมณ์เอย ! ตถาคตครัน้ ได้บรุ ษุ ทีพ่ อฝึกได้มาแล้ว ในขั้นแรกย่อมแนะนำ�อย่างนี้ก่อนว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้มีศีล สำ�รวมด้วยดี ในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็น เป็นภัยแม้ในโทษทีเ่ ล็กน้อย จงสมาทานศึกษาในสิกขาบท ทั้งหลายเถิด” ดังนี้.

​53


​54 พุ ท ธ ว จ น

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้มีศีล (เช่นที่ กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำ�ให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่ า นจงเป็ น ผู้ สำ � รวมในอิ น ทรี ย์ ทั้งหลาย : ได้เห็นรูปด้วยตาแล้ว จักไม่ถือเอาโดยนิมิต (คือรวบถือทัง้ หมด ว่างามหรือไม่งามแล้วแต่กรณี) จักไม่ถอื เอา โดยอนุพยัญชนะ (คือแยกถือเอาแต่บางส่วน ว่าส่วนใดงามหรือ ไม่งามแล้วแต่กรณี), บาปอกุศล กล่าวคืออภิชฌาและโทมนัส มักไหลไปตามอารมณ์ เพราะการไม่สำ�รวมจักขุนทรีย์ใด เป็นเหตุ เราจักสำ�รวมอินทรีย์นั้นไว้ เป็นผู้รักษาสำ�รวม จักขุนทรีย์” ดังนี้.

(ในกรณี โสตินทรีย์คือหู ฆานินทรีย์คือจมูก ชิวหินทรีย์คือลิ้น กายินทรีย์คือกาย และมนินทรีย์คือใจ ก็มีข้อความนัยเดียวกัน).

พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนน้ั เป็นผูส้ �ำ รวมอินทรีย์ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำ�ให้ยิ่งขึ้นไป อีกว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ อยูเ่ สมอ จงพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉัน ไม่ฉนั เพือ่ เล่น


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

เพือ่ มัวเมา เพือ่ ประดับตกแต่ง, แต่ฉนั เพียงเพือ่ ให้กายนี้ ตั้งอยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อป้องกันความลำ�บาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์, โดยคิดว่า เราจักกำ�จัดเวทนาเก่า (คือหิว) เสีย แล้วไม่ท�ำ เวทนาใหม่ (คืออิม่ จนอึดอัด) ให้เกิดขึน้ , ความทีอ่ ายุด�ำ เนินไปได้ ความไม่มโี ทษเพราะอาหาร และ ความอยูผ่ าสุกสำ�ราญ จักมีแก่เรา” ดังนี.้ พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้รู้ประมาณ ในโภชนะ (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำ� ให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่ า นจงประกอบความเพี ย รใน ธรรมเป็นเครือ่ งตืน่ (ไม่หลับ ไม่งว่ ง ไม่มนึ ชา). จงชำ�ระจิต ให้หมดจดสิน้ เชิงจากอาวรณิยธรรมทัง้ หลาย ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดวันยันค่ำ� ไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี. ครั้นยามกลางแห่งราตรี สำ�เร็จการนอนอย่างราชสีห์ (คือตะแคงขวา เท้าเหลือ่ มเท้า) มีสติสมั ปชัญญะในการลุกขึน้ . ครัน้ ถึงยามท้ายแห่งราตรี ลุกขึน้ แล้ว ชำ�ระจิตให้หมดจด จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน การนัง่ อีกต่อไป” ดังนี.้

​55


​56 พุ ท ธ ว จ น พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบ ความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น (เช่นที่กล่าวนั้น) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำ�ให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย สติสัมปชัญญะ รู้ตัวรอบคอบในการก้าวไปข้างหน้า การถอยกลับไปข้างหลัง, การแลดู การเหลียวดู, การคู้ การเหยียด, การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร, การฉัน การดืม่ การเคี้ยว การลิ้ม, การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ, การไป การหยุด, การนั่ง การนอน, การหลับ การตื่น, การพูด การนิ่ง” ดังนี้. พราหมณ์ ! ในกาลใด ภิกษุนั้น เป็นผู้ประกอบด้วย สติสมั ปชัญญะ (เช่นทีก่ ล่าวนัน้ ) ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำ� ให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า “มาเถิดภิกษุ ! ท่านจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าละเมาะ โคนต้นไม้ ภูเขา ซอกห้วย ท้องถ้�ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ทีแ่ จ้ง ลอมฟาง (อย่างใดอย่างหนึง่ ). ในกาลเป็นปัจฉาภัตต์ กลับจากบิณฑบาตแล้ว นัง่ คูบ้ ลั ลังก์ ตัง้ กายตรง ดำ�รงสติ เฉพาะหน้า,


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

ละ อภิชฌาในโลก มีจติ ปราศจากอภิชฌา คอยชำ�ระจิต จากอภิชฌา; ละ พยาบาท มีจติ ปราศจากพยาบาท เป็นผูก้ รุณา มีจติ หวังความเกือ้ กูลในสัตว์ทง้ั หลาย คอยชำ�ระจิตจากพยาบาท; ละ ถีนมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจาก ถีนมิทธะ มีสติสัมปชัญญะ คอยชำ�ระจิตจากถีนมิทธะ; ละ อุทธัจจกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ภายใน คอยชำ�ระจิตจากอุทธัจจกุกกุจจะ; ละ วิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า ‘นี่อะไร นี่อย่างไร’ ในกุศลธรรมทั้งหลาย (เพราะความสงสัย) คอยชำ�ระจิตจากวิจิกิจฉา” ดังนี้. ภิกษุนั้น ครั้นละนิวรณ์ห้าประการ อันเป็นเครื่อง เศร้าหมองของจิต ทำ�ปัญญาให้ถอยจากกำ�ลังเหล่านี้ จึง บรรลุฌานที่หนึ่ง มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่; เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌาน ทีส่ อง เป็นเครือ่ งผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นทีเ่ กิดสมาธิ แห่งใจ ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่; เพราะความจางหายไปแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา

​57


​58 พุ ท ธ ว จ น มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้ “เป็นผู้อยู่ อุเบกขา มีสติ มีการอยู่เป็นสุข” แล้วแลอยูู่; และเพราะ ละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส และโทมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุฌานทีส่ ่ี อันไม่ทกุ ข์ ไม่สขุ มีแต่ความทีม่ สี ติเป็นธรรมชาติบริสทุ ธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. พราหมณ์เอย ! ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ (คือยังต้องทำ�ต่อไป) ยัง ไม่บรรลุอรหัตตผล ยังปรารถนานิพพานอันเป็นที่เกษม จากโยคะ ไม่มอี น่ื ยิง่ ไปกว่าอยู,่ คำ�สอนทีก่ ล่าวมานีแ้ หละ เป็นคำ�สอนสำ�หรับภิกษุทง้ั หลายเหล่านัน้ . ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว จบ พรหมจรรย์แล้ว ทำ�กิจทีต่ อ้ งทำ�สำ�เร็จแล้ว มีภาระอันปลงลง ได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันบรรลุถงึ แล้ว มีสญ ั โญชน์ในภพสิน้ ไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรูโ้ ดยชอบ, ธรรมทัง้ หลาย (ในคำ�สอน) เหล่านี้ เป็นไปเพือ่ ความอยูเ่ ป็นสุขในปัจจุบนั และเพือ่ สติสมั ปชัญญะ แก่ภกิ ษุทง้ั หลายเหล่านีด้ ว้ ย. อุปริ. ม. ๑๔/๘๒/๙๔.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๒๖ ทรงเป็นพี่เลี้ยงให้แก่สาวก ชั่วระยะจำ�เป็น ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนเด็กทีย่ งั อ่อน ยังได้แต่ นอนหงาย เมื่อพี่เลี้ยงเผลอ ได้คว้าชิ้นไม้หรือกระเบื้อง กลืนเข้าไป พี่เลี้ยงเห็นแล้ว ก็จะพยายามหาวิธีเอาออก โดยเร็ว. เมื่อเอาออกไม่ได้โดยง่าย ก็ประคองศีรษะเด็ก ด้วยมือซ้าย งอนิ้วมือขวาล้วงลงไปเกี่ยวขึ้นมา แม้จะถึง โลหิตออกก็ต้องทำ�. ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุวา่ แม้เด็กนัน้ จะได้รบั ความเจ็บปวดก็จริง แต่พเ่ี ลีย้ งทีห่ วังความปลอดภัยแก่เด็ก หวังจะช่วยเหลือเด็ก มีความเอ็นดูเด็ก ก็ตอ้ งทำ�เช่นนัน้ เพราะความเอ็นดูนน้ั เอง. ครั้นเด็กเติบโตขึ้น มีความรู้เดียงสาพอควรแล้ว พี่เลี้ยง ก็ปล่อยมือ ไม่จ้ำ�จี้จ้ำ�ไชในเด็กนั้นเกินไป ด้วยคิดว่า บัดนี้ เด็กคุ้มครองตัวเองได้แล้ว ไม่อาจจะไร้เดียงสา อีกแล้ว ดังนี้, ข้อนี้ฉันใด;

​59


​60 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็เช่นกัน : ตราบใดที่ภิกษุยังมิได้ทำ�กิจในกุศลธรรมทั้งหลาย อันตนจะต้องทำ�ด้วยศรัทธา ด้วยหิริ ด้วยโอตตัปปะ ด้วยวิริยะ และด้วยปัญญา, ตราบนั้นเรายังจะต้องตามคุ้มครองภิกษุนั้น. แต่เมื่อใดภิกษุน้ันได้ทำ�กิจในกุศลธรรมทั้งหลาย อันตนจะต้องทำ�ด้วยศรัทธา ด้วยหิริ ด้วยโอตตัปปะ ด้วยวิริยะ ด้วยปัญญา สำ�เร็จแล้ว, เราก็หมดห่วงในภิกษุนั้น ด้วยคิดว่าบัดนี้ ภิกษุนี้ คุ้มครองตนเองได้แล้ว ไม่อาจจะประพฤติหละหลวมอีก ต่อไปแล้ว ดังนี้. ปญฺจก. อํ. ๒๒/๖/๗.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๒๗ ทรงฆ่าผู้ที่ไม่รับการฝึก นี่แน่ เกสิ ! ท่ า นเป็ น คนเชี่ ย วชาญการฝึ ก ม้ า มี ชือ่ ดัง เราอยากทราบว่า ท่านฝึกม้าของท่านอย่างไรกัน ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้ า พระองค์ ย่ อ มฝึ ก ม้ า ชนิ ด ที่

พอฝึกได้ ด้วยวิธีละมุนละไมบ้าง, ด้วยวิธีรุนแรงบ้าง, ด้วยวิธี ทั้งละมุนละไมและรุนแรงรวมกันบ้าง (แล้วแต่ว่าม้านั้นเป็นม้า ที่มีนิสัยเช่นไร)”.

เกสิ ! ถ้าม้าของท่านไม่รบั การฝึก ทัง้ ด้วยวิธลี ะมุนละไม ทัง้ ด้วยวิธที ร่ี นุ แรง และทัง้ ด้วยวิธที ล่ี ะมุนละไมและรุนแรง รวมกันเล่า ท่านทำ�อย่างไรกับม้านัน้ ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้าพระองค์ย่อมฆ่าม้านั้นเสีย เพือ่ มิให้เสียชือ่ เสียงแก่สกุลแห่งอาจารย์ของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า ! ก็พระผูม้ พี ระภาคเจ้าเล่า ย่อมเป็นสารถี ฝึกบุรษุ ทีค่ วรฝึก ไม่มใี คร ยิง่ ไปกว่า, พระผูม้ พี ระภาคเจ้า ทรงฝึกบุรษุ ทีค่ วรฝึกด้วยวิธอี ย่างไร พระเจ้าข้า ?”.

​61


​62 พุ ท ธ ว จ น เกสิ ! เราย่อมฝึกบุรษุ ทีค่ วรฝึกด้วยวิธลี ะมุนละไมบ้าง ด้วยวิธรี นุ แรงบ้าง ด้วยวิธที ง้ั ละมุนละไมและรุนแรงรวมกัน บ้าง เหมือนกัน. เกสิ ! ในสามวิธีนั้น วิธีฝึกที่ละมุนละไม คือเราพร่ำ�สอนเขาว่า กายสุจริตเป็นอย่างนีๆ ้ ผลของกายสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, วจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ ผลของวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, มโนสุจริตเป็นอย่างนีๆ้ ผลของมโนสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, เทวดาเป็นอย่างนี้ๆ, มนุษย์เป็นอย่างนี้ๆ ดังนี้. วิธีฝึกที่รุนแรง คือเราพร่ำ�บอกเขาว่า กายทุจริตเป็นอย่างนีๆ ้ ผลของกายทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, วจีทจุ ริตเป็นอย่างนีๆ้ ผลของวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, มโนทุจริตเป็นอย่างนีๆ้ ผลของมโนทุจริตเป็นอย่างนีๆ้ , นรกเป็นอย่างนีๆ้ , กำ�เนิดเดรัจฉานเป็นอย่างนีๆ ้ , เปรตวิสยั เป็นอย่างนีๆ้ .


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

วิธีฝึกทั้งละมุนละไมและรุนแรงรวมกันนั้น คือเราพร่ำ�บอกพร่ำ�สอนเขาว่า กายสุจริต-ผลของกายสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, กายทุจริต-ผลของกายทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ; วจีสุจริต-ผลของวจีสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, วจีทุจริต-ผลของวจีทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ; มโนสุจริต-ผลของมโนสุจริตเป็นอย่างนี้ๆ, มโนทุจริต-ผลของมโนทุจริตเป็นอย่างนี้ๆ; เทวดาเป็นอย่างนี้ๆ, มนุษย์เป็นอย่างนี้ๆ, นรกเป็นอย่างนี้ๆ, กำ�เนิดเดรัจฉานเป็นอย่างนี้ๆ, เปรตวิสัยเป็นอย่างนี้ๆ. “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! ถ้าบุรษุ ทีค่ วรฝึกนัน้ ไม่รบั การฝึกทัง้ ด้วยวิธลี ะมุนละไม ทัง้ ด้วยวิธที ร่ี นุ แรง และทัง้ ด้วยวิธที ล่ี ะมุนละไม และรุนแรงรวมกันเล่า พระผูม้ พี ระภาคเจ้าจะทรงทำ�อย่างไร ?”.

​63


​64 พุ ท ธ ว จ น เกสิ ! ถ้าบุรุษที่ควรฝึก ไม่ยอมรับการฝึกด้วยวิธี ทั้งสามแล้ว เราก็ฆ่าเขาเสีย. “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! ก็ปาณาติบาต ย่อมไม่สมควรแก่ พระผูม้ พี ระภาคมิใช่หรือ ? แล้วพระผูม้ พี ระภาคก็ยงั ตรัสว่า เกสิ ! เราก็ฆ่าเขาเสีย ?”.

เกสิเอย ! ปาณาติบาตย่อมไม่สมควรแก่เราจริง แต่วา่ เมือ่ บุรษุ ทีค่ วรฝึก ไม่ยอมรับการฝึกด้วยวิธที ง้ั สามแล้ว ตถาคตก็ไม่ถอื ว่าคนคนนัน้ เป็นคนทีค่ วรว่ากล่าวสัง่ สอน อีกต่อไป; ถึงแม้เพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน ซึง่ เป็นผูร้ ู้ ก็จะไม่ถอื ว่าคนคนนัน้ เป็นคนทีค่ วรว่ากล่าว สัง่ สอนอีกต่อไปด้วย. เกสิ ! นี่แหละ คือวิธีฆ่าอย่างดีในวินัยของ พระอริยเจ้า, ได้แก่การที่ตถาคตและเพื่อนผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ร่วมกัน พากันถือว่า บุรุษนี้เป็นผู้ที่ไม่ควร ว่ากล่าวสั่งสอนอีกต่อไป ดังนี้. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๕๐/๑๑๑.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๒๘ ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น “ก็สาวกของพระโคดมผู้เจริญ เมื่อพระโคดมได้กล่าวสอน พร่ำ�สอนอยู่อย่างนี้ ทุกๆ องค์ได้บรรลุนิพพาน อันเป็นผลสำ�เร็จ ถึงที่สุดอย่างยิ่ง หรือว่าบางองค์ไม่ได้บรรลุ ?” พราหมณ์ คณกโมคคัลลานะ ทูลถาม.

พราหมณ์ ! สาวกของเรา แม้เรากล่าวสอน พร่�ำ สอน อยู่อย่างนี้ น้อยพวกที่ได้บรรลุนิพพาน อันเป็นผลสำ�เร็จ ถึงที่สุดอย่างยิ่ง, บางพวกไม่ได้บรรลุ. “พระโคดมผูเ้ จริญ ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย, ที่พระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่, หนทางเป็นที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพาน ก็ ยังตั้งอยู่, พระโคดมผู้ชักชวน (เพื่อการดำ�เนินไป) ก็ยังตั้งอยู่, ทำ�ไมน้อยพวกที่บรรลุ และบางพวกไม่บรรลุ ?”.

พราหมณ์ ! เราจักย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่านจง ตอบตามควร, ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในหนทางไปสู่เมือง ราชคฤห์ มิใช่หรือ, มีบรุ ษุ ผูจ้ ะไปเมืองราชคฤห์ เข้ามาหา และกล่าวกับท่านว่า

​65


​66 พุ ท ธ ว จ น “ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าปรารถนาจะไปเมืองราชคฤห์ ขอ ท่านจงบอกทางไปเมืองราชคฤห์ แก่ข้าพเจ้าเถิด”.

ท่านก็จะกล่าวกะบุรุษนั้นว่า

“มาซิท่าน, ทางนี้ไปเมืองราชคฤห์ ไปได้ครู่หนึ่งจักพบบ้าน ชื่อโน้น แล้วจักเห็นนิคมชื่อโน้น จักเห็นสวนและป่าอันน่ารื่นรมย์ จักเห็นภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์ของเมือง ราชคฤห์” ดังนี้.

บุรุษนั้น อันท่านพร่ำ�บอก พร่ำ�ชี้ให้อย่างนี้ ก็ยังถือ เอาทางผิด กลับหลังตรงข้ามไป, ส่วนบุรุษอีกคนหนึ่ง (อันท่านพร่ำ�บอกพร่ำ�ชี้อย่างเดียวกัน) ไปถึงเมืองราชคฤห์ได้ โดยสวัสดี. พราหมณ์ ! อะไรเล่าเป็นเหตุ อะไรเล่าเป็นปัจจัย, ที่เมืองราชคฤห์ ก็ยังตั้งอยู่, หนทางสำ�หรับไปเมือง ราชคฤห์ ก็ยงั ตัง้ อยู,่ ท่านผูช้ บ้ี อก ก็ยงั ตัง้ อยู,่ แต่ท�ำ ไม บุรษุ ผูห้ นึง่ กลับหลังไปผิดทาง, ส่วนบุรษุ ผูห้ นึง่ ไปถึงเมือง ราชคฤห์โดยสวัสดี ? “พระโคดมผูเ้ จริญ ! ในเรือ่ งนีข้ า้ พเจ้าจักทำ�อย่างไรได้เล่า, เพราะข้าพเจ้าเป็นเพียงผูบ้ อกทางเท่านัน้ ”.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

พราหมณ์ ! ฉันใดก็ฉันนั้น, ที่พระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่, ทางเป็นเครื่องถึงพระนิพพาน ก็ยังตั้งอยู่, เราผู้ชักชวน ก็ยังตั้งอยู่,

แต่สาวกของเรา แม้เรากล่าวสอน พร่�ำ สอนอยูอ่ ย่างนี้ น้อยพวกได้บรรลุนพิ พาน อันเป็นผลสำ�เร็จถึงทีส่ ดุ อย่างยิง่ , บางพวกไม่ได้บรรลุ. พราหมณ์ ! ในเรื่ อ งนี้ เ ราจั ก ทำ � อย่ า งไรได้ เ ล่ า , เพราะเราเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น. อุปริ. ม. ๑๔/๘๕/๑๐๑.

​67


​68 พุ ท ธ ว จ น

๒๙ ท่อนไม้ที่ลอยออกไปได้ถึงทะเล ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอได้ เ ห็ น ท่ อ นไม้ ใ หญ่ นั้ น ซึ่งลอยมาโดยกระแสแม่น้ำ�คงคา หรือไม่ ? “ได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า !” ภิกษุทั้งหลายกราบทูล.

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าท่อนไม้นั้น จะไม่เข้าไปติดเสีย ที่ฝั่งในหรือฝั่งนอก, ไม่จมเสียในท่ามกลางน้ำ�, ไม่ขึ้นไป ติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูกมนุษย์จับไว้, ไม่ถูกอมนุษย์จับ ไว้, ไม่ถูกเกลียวน้ำ�วนวนไว้, ไม่เน่าเสียเองในภายในไซร้, ท่อนไม้เช่นทีก่ ล่าวนี้ จักลอยไหลพุง่ ไปสูท่ ะเล เพราะเหตุ ว่า ลำ�แม่น�ำ้ คงคา โน้มน้อม ลุม่ ลาด เอียงเท ไปสูท่ ะเล. ข้อนี้ฉันใด; ภิกษุทั้งหลาย ! แม้พวกเธอทั้งหลายก็ฉันนั้น : ถ้า พวกเธอไม่เข้าไปติดเสียทีฝ่ ง่ั ใน, ไม่เข้าไปติดเสียทีฝ่ ง่ั นอก, ไม่จมเสียในท่ามกลาง, ไม่ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก, ไม่ถูก มนุษย์จบั ไว้, ไม่ถกู อมนุษย์จบั ไว้, ไม่ถกู เกลียวน้�ำ วนวนไว้,


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

ไม่เน่าเสียเองในภายในไซร้, พวกเธอก็จะเลือ่ นไหลไปสู่ นิพพาน เพราะเหตุวา่ สัมมาทิฏฐิ มีธรรมดาทีโ่ น้มน้อม ลุม่ ลาด เอียงเท ไปสูน่ พิ พาน. ครั้นสิ้นกระแสพระดำ�รัสแล้ว

ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

“ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! อะไรเล่าเป็นฝัง่ ในหรือฝัง่ นอก ?

อะไรชือ่ ว่าจมในท่ามกลาง ? อะไรชือ่ ว่าขึน้ ไปติดแห้งอยูบ่ นบก ? อะไรชือ่ ว่าถูกมนุษย์จบั ไว้ ? อะไรชือ่ ว่าถูกอมนุษย์จบั ไว้ ? อะไรชือ่ ว่าถูกเกลียวน้�ำ วนวนไว้ ? อะไรชือ่ ว่าเน่าเสียเองในภายใน ?”

ภิกษุทั้งหลาย !

คำ�ว่า “ฝั่งใน” เป็นชื่อของ อายตนะภายใน ๖.

คำ�ว่า “ฝั่งนอก” เป็นชื่อของ อายตนะภายนอก ๖.

คำ�ว่า “จมเสียในท่ามกลาง” เป็นชือ่ ของ นันทิราคะ

(ความกำ�หนัดด้วยความเพลิน).

คำ�ว่า “ขึน้ ไปติดแห้งอยูบ่ นบก” เป็นชือ่ ของ อัสม๎ มิ านะ

(ความสำ�คัญว่า เรามี เราเป็น).

​69


​70 พุ ท ธ ว จ น คำ�ว่า “ถูกมนุษย์จับไว้” ได้แก่ ภิกษุในกรณีนี้เป็น ผู้ระคนด้วยพวกคฤหัสถ์ เพลิดเพลินด้วยกัน, โศกเศร้า ด้วยกัน, มีสุข เมื่อคฤหัสถ์เหล่านั้นมีสุข, เป็นทุกข์ เมื่อ คฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นทุกข์, ประกอบการงานในกิจการที่ บังเกิดขึน้ แก่คฤหัสถ์เหล่านัน้ ด้วยตน : ภิกษุน้ี เราเรียกว่า ผู้ถูกมนุษย์จับไว้. คำ�ว่า “ถูกอมนุษย์จับไว้” ได้แก่ ภิกษุบางรูปใน กรณีนี้ ประพฤติพรหมจรรย์ โดยตั้งความปรารถนา เทพนิกายชั้นใดชั้นหนึ่ง ว่า “ด้วยศีลนี้ หรือด้วยวัตรนี้ หรือว่าด้วยตบะนี้ เราจักได้เป็นเทวดาผู้มีศักดาใหญ่ หรือเป็นเทวดาผู้มีศักดาน้อย อย่างใดอย่างหนึ่ง” ดังนี้ : ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้ถูกอมนุษย์จับไว้.

คำ�ว่า “ถูกเกลียวน้�ำ วนวนไว้” เป็นชือ่ ของ กามคุณ ๕.

“ภิกษุเป็นผูเ้ น่าเสียเองในภายใน” คืออย่างไรเล่า ? คือภิกษุบางรูปในกรณีน้ี เป็นคนทุศลี มีความเป็นอยูเ่ ลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติชนิดทีต่ นเองนึกแล้ว ก็กนิ แหนง ตัวเอง มีการกระทำ�ทีต่ อ้ งปกปิดซ่อนเร้น ไม่ใช่สมณะก็


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่คนประพฤติพรหมจรรย์ ก็ ปฏิญญาว่าเป็นคนประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน เปียกแฉะ มีสญ ั ชาติหมักหมม เหมือนบ่อทีเ่ ทขยะมูลฝอย. ภิกษุนี้ เราเรียกว่า ผู้เน่าเสียเองในภายใน แล. สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๓/๓๒๒.

​71


​72 พุ ท ธ ว จ น

๓๐ กระดองของบรรพชิต

ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องเคยมีมาก่อน : เต่าตัวหนึ่ง

เทีย่ วหากินตามริมลำ�ธารในตอนเย็น, สุนขั จิง้ จอกตัวหนึ่ง ก็ เ ที่ ย วหากิ น ตามริ ม ลำ � ธารในตอนเย็ น เช่ น เดี ย วกั น , เต่าตัวนั้นได้เห็นสุนัขจิ้งจอกซึ่งเที่ยวหากิน (เดินเข้ามา) แต่ไกล, ครั้นแล้วจึงหดอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ห้า เข้าในกระดองของตนเสีย เป็นผู้ขวนขวายน้อยนิ่งอยู่. แม้สุนัขจิ้งจอกก็ได้เห็นเต่า ตัวที่เที่ยวหากินนั้นแต่ไกล เหมือนกัน, ครัน้ แล้วจึงเดินตรงเข้าไปทีเ่ ต่า คอยช่องอยูว่ า่ “เมื่อไรหนอ เต่าจักโผล่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งออก ใน บรรดาอวัยวะทั้งหลาย มีศีรษะเป็นที่ห้า แล้วจักกัดอวัยวะ ส่วนนั้น คร่าเอาออกมากินเสีย” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! ตลอดเวลาทีเ่ ต่าไม่โผล่อวัยวะออกมา สุนขั จิง้ จอกก็ไม่ได้ โอกาส ต้องหลีกไปเอง; ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : มารผู้ใจบาปก็ คอยช่องต่อพวกเธอทัง้ หลาย ติดต่อไม่ขาดระยะอยูเ่ หมือน กันว่า “ถ้าอย่างไร เราคงได้ช่อง ไม่ทางตา ก็ทางหู หรือ


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

ทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย หรือทางใจ” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย จงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่เถิด; ได้ เห็นรูปด้วยตา, ได้ฟังเสียงด้วยหู, ได้ดมกลิ่นด้วยจมูก, ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น, ได้สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย, หรือได้ รูธ้ รรมารมณ์ดว้ ยใจแล้ว จงอย่าได้ถอื เอาโดยลักษณะทีเ่ ป็น การรวบถือทั้งหมด, อย่าได้ถือเอาโดยลักษณะที่เป็นการ แยกถือเป็นส่วนๆ เลย; สิง่ ทีเ่ ป็นอกุศลธรรมอันเป็นบาป คือ อภิชฌาและโทมนัส จะพึงไหลไปตามบุคคลผูไ้ ม่ส�ำ รวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะการไม่สำ�รวมอินทรีย์ใด เป็นเหตุ, พวกเธอทัง้ หลายจงปฏิบตั เิ พือ่ การปิดกัน้ อินทรีย์ นัน้ ไว้, พวกเธอทัง้ หลายจงรักษาและถึงความสำ�รวมตา หู จมูก ลิน้ กาย ใจ เถิด. ภิกษุทง้ั หลาย ! ในกาลใด พวกเธอทัง้ หลาย จักเป็น ผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอยู่; ในการนั้น มาร ผู้ใจบาป จักไม่ได้ช่องแม้จากพวกเธอทั้งหลาย และจัก ต้องหลีกไปเอง, เหมือนสุนัขจิ้งจอก ไม่ได้ช่องจากเต่า ก็หลีกไปเอง ฉะนั้น.

​73


​74 พุ ท ธ ว จ น “เต่าหดอวัยวะไว้ในกระดอง ฉันใด, ภิกษุพึงตั้งมโนวิตก (ความตริตรึกทางใจ) ไว้ในกระดอง (กล่าวคือ อารมณ์แห่งการภาวนา) ฉันนั้น. เป็นผู้ที่ตัณหาและทิฏฐิไม่อิงอาศัยได้, ไม่เบียดเบียนผู้อื่น, ไม่กล่าวร้ายต่อใครทั้งหมด, เป็นผู้ดับสนิทแล้ว” ดังนี้ แล. สฬา. สํ. ๑๘/๒๒๒/๓๒๐.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๓๑ ผู้มีหลักเสาเขื่อน ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผมู้ สี งั วรนัน้ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทง้ั หลาย ! ภิกษุในธรรมวินยั นี้ เมือ่ เห็นรูปด้วย ตา, ฟังเสียงด้วยหู, ดมกลิ่นด้วยจมูก, ลิ้มรสด้วยลิ้น, สัมผัสโผฏฐัพพะด้วยกาย, รูธ้ รรมารมณ์ดว้ ยใจ; ก็ไม่สยบ อยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก ไม่เคียดแค้นในอารมณ์อันไม่น่ารัก เป็นผู้ตั้งไว้ซึ่งกายคตาสติ มีจิตหาประมาณไม่ได้, ย่อมรู้ ตามที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับ แห่งบาปอกุศลที่เกิดแล้วแก่เขานั้นโดยสิ้นเชิง. ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนบุรุษจับสัตว์หกชนิด อันมีที่อยู่อาศัยต่างกัน มีที่เที่ยวหากินต่างกัน มาผูกรวม กันด้วยเชือกอันมั่นคง คือ เขาจับงูมาผูกด้วยเชือกเหนียว เส้นหนึ่ง, จับจระเข้, จับนก, จับสุนัขบ้าน, จับสุนัขจิ้งจอก และจับลิง มาผูกด้วยเชือกเหนียวเส้นหนึง่ ๆ ครัน้ แล้วนำ�ไป ผูกไว้กบั เสาเขือ่ นหรือเสาหลักอีกต่อหนึง่ . ภิกษุทง้ั หลาย ! ครัง้ นัน้ สัตว์ทง้ั หกชนิดเหล่านัน้ มีทอ่ี าศัยและทีเ่ ทีย่ วต่างกัน

​75


​76 พุ ท ธ ว จ น ก็ยอ้ื แย่งฉุดดึงกัน เพือ่ จะไปสูท่ อ่ี าศัยและทีเ่ ทีย่ วของตนๆ : งูจะเข้าจอมปลวก, จระเข้จะลงน้ำ�, นกจะบินขึ้นไปใน อากาศ, สุนัขจะเข้าบ้าน, สุนัขจิ้งจอกจะไปป่าช้า และลิง ก็จะไปป่า. ภิกษุทั้งหลาย ! ในกาลใดแล ความเป็นไป ภายในของสัตว์ทั้งหกชนิดเหล่านั้น มีแต่ความเมื่อยล้า แล้ว, ในกาลนัน้ มันทัง้ หลายก็จะพึงเข้าไปยืนเจ่า นัง่ เจ่า นอนเจ่า, อยูข่ า้ งเสาเขือ่ นหรือเสาหลักนัน้ เอง. ข้อนีฉ้ นั ใด; ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุรูปใด ได้อบรมกระทำ�ให้มาก ในกายคตาสติแล้ว ตา ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารูปที่น่าพอใจ, รูปที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; หู ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาเสียงที่น่าฟัง, เสียงที่ไม่น่าฟัง ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง; จมูก ก็จะไม่ฉดุ เอาภิกษุนน้ั ไปหากลิน่ ทีน่ า่ สูดดม, กลิน่ ทีไ่ ม่นา่ สูดดม ก็ไม่เป็นสิง่ ทีเ่ ธอรูส้ กึ อึดอัดขยะแขยง; ลิ้น ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหารสที่น่าชอบใจ, รสที่ไม่น่าชอบใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึกอึดอัดขยะแขยง;


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

กาย ก็ จ ะไม่ ฉุ ด เอาภิ ก ษุ นั้ น ไปหาสั ม ผั ส ที่ น่ า ยั่วยวนใจ, สัมผัสที่ไม่น่ายั่วยวนใจ ก็ไม่เป็นสิ่งที่เธอรู้สึก อึดอัดขยะแขยง; และใจ ก็จะไม่ฉุดเอาภิกษุนั้นไปหาธรรมารมณ์ที่ น่าถูกใจ, ธรรมารมณ์ทไ่ี ม่นา่ ถูกใจ ก็ไม่เป็นสิง่ ทีเ่ ธอรูส้ กึ อึดอัดขยะแขยง; ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุผู้มีสังวร เป็นอย่างนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! คำ�ว่า “เสาเขื่อนหรือเสาหลัก” นี้ เป็นคำ�เรียกแทนชื่อแห่ง “กายคตาสติ” ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอทั้ง หลาย พึงสำ�เหนียกใจไว้ว่า “กายคตาสติของเราทั้งหลาย จักเป็นสิ่งที่เราอบรมกระทำ�ให้มาก กระทำ�ให้เป็นยาน เครื่องนำ�ไป กระทำ�ให้เป็นของที่อาศัยได้ เพียรตั้งไว้ เนืองๆ เพียรเสริมสร้างโดยรอบคอบ เพียรปรารภ สม่ำ�เสมอด้วยดี” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายพึงสำ�เหนียกใจไว้ อย่างนี้ แล. สฬา. สํ. ๑๘/๒๔๗,๒๔๘/๓๔๙,๓๕๙.

​77


​78 พุ ท ธ ว จ น


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๓๒ วิหารธรรมทีท่ รงอยูม่ ากทีส่ ดุ ก่อนตรัสรู้ ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวัน่ ไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขน้ึ ไม่ได้ ด้วยอำ�นาจแห่งการเจริญ ทำ�ให้มากซึง่ สมาธิใด สมาธินน้ั ภิกษุยอ่ มจะได้โดยไม่หนักใจ ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ล�ำ บาก เลย. ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวัน่ ไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขน้ึ ไม่ได้ ด้วยอำ�นาจแห่งการเจริญ ทำ�ให้มากซึง่ สมาธิไหนกันเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความหวัน่ ไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวัน่ ไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขน้ึ ไม่ได้ ด้วยอำ�นาจแห่งการเจริญ ทำ�ให้มากซึง่ อานาปานสติสมาธิ. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเจริญ ทำ�ให้มากซึ่ง อานาปานสติสมาธิ อยูอ่ ย่างไรเล่า ความหวัน่ ไหวโยกโคลง ของกาย หรือความหวัน่ ไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อม มีขึ้นไม่ได้ ?

​79


​80 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือ เรือนว่างก็ตาม แล้วนัง่ คูข้ าเข้ามาโดยรอบ ตัง้ กายตรง ดำ�รงสติเฉพาะหน้า ภิกษุนน้ั มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว; เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น;

เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจออก”; เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผูท้ �ำ กายสังขาร ให้รำ�งับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ�กายสังขารให้ รำ�งับ หายใจออก”; เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปีติ หายใจออก”;


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งสุข หายใจออก”; เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึง่ จิตตสังขาร หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผูร้ พู้ ร้อม เฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออก”; เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผูท้ �ำ จิตตสังขาร ให้รำ�งับ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิตตสังขาร ให้รำ�งับ หายใจออก”; เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งจิต หายใจออก”; เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิตให้ ปราโมทย์ยิ่ง หายใจเข้า”, ว่า “เราจักเป็นผู้ทำ�จิตให้ ปราโมทย์ยิ่ง หายใจออก”;

​81


​82 พุ ท ธ ว จ น

เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิต ให้ตั้งมั่น หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิตให้ตั้งมั่น หายใจออก”; เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิตให้ ปล่อยอยู่ หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็นผู้ทำ�จิตให้ปล่อยอยู่ หายใจออก”; เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ� หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ� หายใจออก”; เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความจางคลายอยูเ่ ป็นประจำ� หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ� หายใจออก”; เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความดับไม่เหลืออยูเ่ ป็นประจำ� หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น ผูเ้ ห็นซึง่ ความดับไม่เหลืออยูเ่ ป็นประจำ� หายใจออก”;


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

เธอย่อมทำ�การฝึกหัดศึกษาว่า “เราเป็นผู้เห็นซึ่ง ความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ� หายใจเข้า”, ว่า “เราเป็น ผู้เห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ� หายใจออก”. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อบุคคลเจริญ ทำ�ให้มากซึ่ง อานาปานสติสมาธิอยู่อย่างนี้แล ความหวั่นไหวโยกโคลง ของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อม มีขึ้นไม่ได้. .....ฯลฯ.....

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้เราเองก็เหมือนกัน ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ อานาปานสติสมาธิ นี้เป็นส่วนมาก. เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำ�บาก ตาก็ไม่ลำ�บาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน.

​83


​84 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุ หวังว่ากายของเราก็อย่าลำ�บาก ตาของเราก็อย่าลำ�บากและ จิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มอี ปุ าทานเถิด ดังนีแ้ ล้ว; ภิกษุนน้ั จงทำ�ในใจ ซึง่ อานาปานสติสมาธิน้ี ให้เป็นอย่างดี. มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๙,๔๐๑/๑๓๒๔,๑๓๒๙.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๓๓ วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากตลอดพรรษา

และทรงสรรเสริญมาก

ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่น จะพึงถามเธอทัง้ หลายอย่างนีว้ า่ “ท่านผูม้ อี ายุ ! พระสมณโคดม ทรงอยูจ่ �ำ พรรษาส่วนมาก ด้วยวิหารธรรมไหนเล่า ?” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อพวกเธอถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบแก่พวกปริพพาชกเดียรถีย์อื่นเหล่านั้น อย่างนี้ว่า “ท่านผูม้ อี ายุ ! พระผูม้ พี ระภาคทรงอยูจ่ �ำ พรรษาส่วนมาก ด้วยวิหารธรรม คือ อานาปานสติสมาธิ แล” ดังนี.้ ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้ เรานั้นเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า, เรานั้นเป็นผู้มีสติ หายใจออก; เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า “เราหายใจเข้ายาว”, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า “เราหายใจออกยาว”; ..... (แต่นี้ไปทรงแสดง อานาปานสติสมาธิไปจนจบ ดังมีใจความ ปรากฏใน “วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้” หน้าที่ ๗๙).

​85


​86 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทง้ั หลาย ! เมื่อใครจะกล่าววิหารธรรมใดโดย ชอบ ว่าเป็นอริยวิหารก็ดี พรหมวิหารก็ดี ตถาคตวิหารก็ดี, เขาพึงกล่าวโดยชอบ ซึ่งอานาปานสติสมาธินั้น ว่าเป็น อริยวิหาร พรหมวิหาร ตถาคตวิหาร. ภิกษุทง้ั หลาย ! ภิกษุทง้ั หลายเหล่าใด ยังเป็นเสขะ มีวัตถุประสงค์แห่งใจ อันยังไม่บรรลุแล้ว ปรารถนาอยู่ซึ่ง โยคักเขมธรรมอันไม่มธี รรมอืน่ ยิง่ กว่าอยู;่ อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านั้น เจริญทำ�ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. ภิกษุทง้ั หลาย ! ส่วนภิกษุทั้งหลายเหล่าใด เป็น อรหันต์ขีณาสพ มีพรหมจรรย์อนั อยูจ่ บแล้ว มีกจิ ควรทำ� อันกระทำ�แล้ว มีภาระหนักอันปลงลงแล้ว มีประโยชน์ตน อันตามบรรลุแล้ว มีสญ ั โญชน์ในภพ อันสิน้ แล้ว หลุดพ้น แล้ว เพราะรู้ด้วยปัญญาโดยชอบ; อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเหล่านัน้ เจริญทำ�ให้มากแล้ว ก็ยงั เป็นไปเพือ่ การอยูเ่ ป็นสุขในปัจจุบนั ด้วย เพือ่ สติสมั ปชัญญะด้วย. มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๑๒-๔๑๓/๑๓๖๔-๑๓๖๗.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๓๔ ผู้ไม่ประมาทในความตายแท้จริง ภิกษุทั้งหลาย ! มรณสติ (การระลึกถึงความตาย) อัน บุคคลเจริญ ทำ�ให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ หยั่งลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด. พวกเธอเจริญ มรณสติอยู่บ้างหรือ ?

ภิกษุทง้ั หลายกราบทูลตอบ และพระผูม้ พี ระภาคได้ตรัสต่อไปว่า;

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกทีเ่ จริญมรณสติอย่างนีว้ า่ “โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงวันหนึ่ง คืนหนึ่ง... ดังนีก้ ด็ ,ี เราอาจมีชวี ติ อยูไ่ ด้เพียงชัว่ เวลากลางวัน... ดังนี้ ก็ดี, เราอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตเสร็จ มื้อหนึ่ง... ดังนี้ก็ดี, เราอาจมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะ ที่ฉันอาหารเสร็จเพียง ๔-๕ คำ� เราพึงใส่ใจถึงคำ�สอน ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด การปฏิบัติตามคำ�สั่งสอน ควรทำ�ให้มากแล้วหนอ” ดังนี้ก็ดี, ภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่า ยังเป็นผู้ประมาทอยู่ ยังเจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะช้าไป.

​87


​88 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทง้ั หลาย ! ฝ่ า ยภิ ก ษุ พ วกที่ เ จริ ญ มรณสติ อย่างนี้ว่า “โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่ ฉันอาหารเสร็จเพียงคำ�เดียว” ดังนีก้ ด็ ,ี ว่า “โอหนอ เราอาจ มีชีวิตอยู่ได้เพียงชั่วขณะที่หายใจเข้า แล้วหายใจออก หรือชั่วขณะหายใจออกแล้วหายใจเข้า. เราพึงใส่ใจถึง คำ�สอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด, การปฏิบัติตาม คำ�สอนควรทำ�ให้มากแล้วหนอ” ดังนี้ก็ดี; ภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่า เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว, เป็นผู้เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริง.

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ พวกเธอ ทั้งหลายพึงสำ�เหนียกใจไว้ว่า “เราทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นอยู่, จักเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริง” ดังนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย พึงสำ�เหนียกใจไว้ อย่างนี้แล. อฏฺก. อํ. ๒๓/๓๒๗/๑๗๐.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๓๕ ทางรอดสำ�หรับภิกษุไข้ ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไข้ผู้มีกำ�ลังน้อยรูปใด ไม่ละ จากธรรม ๕ อย่าง, เธอพึงหวังผลอันนี้ได้ คือเธอจัก ทำ�ให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิน้ ไปแห่งอาสวะทัง้ หลาย ด้วยปัญญาอันยิง่ เอง ในปัจจุบัน เข้าถึงแล้วแลอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย. ธรรม ๕ อย่างอะไรบ้างเล่า ? ๕ อย่างคือ : (๑) เป็นผูพ้ จิ ารณา เห็นความไม่งามในกายอยูเ่ ป็น ประจำ�; (๒) เป็นผู้ที่มีการกำ�หนดหมาย ความเป็นปฏิกูล ในอาหารอยู่เป็นประจำ�; (๓) เป็นผู้ที่มีการกำ�หนดหมาย ความไม่น่ายินดี ในโลกทั้งปวงอยู่เป็นประจำ�; (๔) เป็นผู้ที่มีการกำ�หนดหมาย ความไม่เที่ยงใน สังขารทั้งปวงอยู่เป็นประจำ�; (๕) มีสติอันตนเข้าไปตั้งไว้ดีแล้วในกาย แล้วเห็น การเกิดดับ ในภายใน.

​89


​90 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุไข้ผู้มีกำ�ลังน้อยรูปใด ไม่ละ จากธรรม ๕ อย่างเหล่านี้, เธอพึงหวังผลอันนี้ได้ คือ เธอจักทำ�ให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญา อันยิง่ เองในปัจจุบนั เข้าถึงแล้วแลอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย. ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๖๐/๑๒๑.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๓๖ เมื่อ “เธอ” ไม่มี ! พาหิยะ ! เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น, ได้ฟังเสียงแล้ว ก็สักว่าฟัง, ได้ดมกลิ่นแล้ว ก็สักว่าดม, ได้ลิ้มรสแล้ว ก็สักว่าลิ้ม, ได้สัมผัสทางผิวกายแล้ว ก็สักว่าสัมผัส, ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว, เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี. เมื่อใด “เธอ” ไม่มี, เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้, ไม่ปรากฏในโลกอื่น, ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง, นั่นแหละคือ ที่สุดแห่งทุกข์. อุ. ขุ. ๒๕/๘๓/๔๙.

​91


​92 พุ ท ธ ว จ น

๓๗ ความดับทุกข์มี เพราะความดับแห่งนันทิ

ปุณณะ ! รูปทีเ่ ห็นด้วยตาก็ด,ี เสียงทีฟ่ งั ด้วยหูกด็ ,ี กลิ่นที่ดมด้วยจมูกก็ดี, รสที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี, โผฏฐัพพะที่ สัมผัสด้วยกายก็ดี, ธรรมารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี อันเป็น สิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าพอใจ เป็นที่ยวนตายวนใจ ให้รัก เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง แห่งความกำ�หนัดย้อมใจ มีอยู่; ภิกษุย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ�สรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น. เมื่อภิกษุไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ�สรรเสริญ ไม่เมาหมก ซึ่งอารมณ์ มีรูปเป็นต้นนั้นอยู่, นันทิ (ความเพลิน) ย่อมดับไป. ปุณณะ ! เรากล่าวว่า “ความดับไม่มเี หลือของทุกข์ มีได้ เพราะความดับไม่เหลือของความเพลิน” ดังนีแ้ ล. อุปริ. ม. ๑๔/๔๘๑/๗๕๖.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๓๘ อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ ภิกษุทง้ั หลาย ! ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อม ไม่ก�ำ หนัดยินดีในรูป อันมีลกั ษณะเป็นทีต่ ง้ั แห่งความรัก; ย่อมไม่ขัดเคืองในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความ เกลียดชัง; เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกาย อันตนเข้าไป ตัง้ ไว้แล้ว มีจติ หาประมาณมิได้ดว้ ย ย่อมรูช้ ดั ตามเป็นจริง ซึง่ เจโตวิมตุ ติ ปัญญาวิมตุ ติ อันเป็นธรรมทีด่ บั โดยไม่เหลือ แห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลายด้วย. ภิกษุนั้นเป็น ผู้ละเสียได้แล้ว ซึ่งความยินดีและความยินร้ายอย่างนี้ แล้ว, เสวยเวทนาใดๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นสุขก็ตาม, ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ� สรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้นๆ. เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำ�สรรเสริญ ไม่เมาหมกอยูใ่ นเวทนานัน้ ๆ, นันทิ (ความเพลิน) ในเวทนา ทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป. เพราะความดับแห่งนันทิ ของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน; เพราะมีความ

​93


​94 พุ ท ธ ว จ น ดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ; เพราะมีความ ดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ; เพราะมีความดับ แห่งชาติ ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้. (ในกรณีแห่งการได้ยนิ เสียงด้วยหู ดมกลิน่ ด้วยจมูก ลิม้ รส ด้วยลิน้ ถูกต้องสัมผัสทางผิวหนังด้วยผิวกาย และรูแ้ จ้งธรรมารมณ์ ด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้ท�ำ นองเดียวกัน).

ภิกษุทั้งหลาย ! เธอจงทรงธรรมะนี้ไว้ ในฐานะ ที่เป็นธรรมที่ทำ�ความหลุดพ้น เพราะความสิ้นไปแห่ง ตัณหา ซึ่งเรากล่าวไว้โดยสังเขป. มู. ม. ๑๒/๔๙๒/๔๕๘.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๓๙ ผู้แบกของหนัก ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดงของหนัก ผูแ้ บกของหนัก และการแบกของหนัก แก่พวกเธอ, เธอทั้งหลายจงฟัง ข้อความนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่าชื่อว่าของหนัก ? ภิกษุทั้งหลาย ! อุปาทานักขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ เรากล่าวว่าเป็นของหนัก. อุปาทานักขันธ์ทั้งห้า เหล่าไหนเล่า ? คือ :ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา, ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร, และขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ของหนัก.

​95


​96 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่าชื่อว่าผู้แบกของหนัก ? ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคล (ตามสมมติ) นัน้ แหละ เรา เรียกว่าผูแ้ บกของหนัก เขามีชื่ออย่างนี้ มีโคตรอย่างนั้น ตามที่รู้กันอยู่.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า ผู้แบกของหนัก.

ภิกษุทั้งหลาย ! อะไรเล่าชือ่ ว่าการแบกของหนัก ? ภิกษุทง้ั หลาย ! ตัณหาอันใดที่ทำ�ให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำ�หนัด เพราะอำ�นาจแห่งความเพลิน ซึ่งมีปกติทำ�ให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาใน ความไม่มีไม่เป็น.

ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า การแบกของหนัก. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๔๙-๕๑.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๔๐ ดับตัณหา คือปลงภาระหนักลงได้ ภิกษุทั้งหลาย ! การปลงภาระหนักลงเสียได้ เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความดับสนิทเพราะความจางคลายดับไป โดยไม่เหลือของตัณหานั้น นั่นเทียว, ความละไปของตัณหานั้น, ความสลัดกลับคืนของตัณหานั้น, ความหลุดออกไปของตัณหานั้น, และความไม่มีที่อาศัยอีกต่อไปของตัณหานั้น อันใด. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เราเรียกว่า การปลงภาระหนักลงเสียได้ ดังนี้.

​97


​98 พุ ท ธ ว จ น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพุทธวจนนี้ ซึ่งเป็นคำ�ร้อยกรองสืบต่อไป : “ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนัก ! บุคคลนั้นแหละ เป็นผู้แบกของหนักพาไป. การแบกถือของหนัก เป็นความทุกข์ในโลก. การปลงภาระหนักเสียได้ เป็นความสุข. พระอริยเจ้า ปลงภาระหนักลงเสียแล้ว. ทั้งไม่หยิบฉวยเอาของหนักอันอื่นขึ้นมาอีก. ก็เป็นผู้ถอนตัณหาขึ้นได้กระทั่งราก (อวิชชา); เป็นผูห้ มดสิง่ ปรารถนา ดับสนิทไม่มสี ว่ นเหลือ” ดังนี้. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๓๒/๕๒-๕๓.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๔๑ ต้องท่องเทีย่ วมาแล้ว เพราะไม่รอู้ ริยสัจสี่ ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจสี่อย่าง เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงท่องเที่ยว ไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนานถึงเพียงนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจสี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ :อริยสัจคือ ทุกข์, อริยสัจคือ เหตุให้เกิดทุกข์, อริยสัจคือ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, อริยสัจคือ ทางดำ�เนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะไม่รู้ถึง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งอริยสัจสี่ประการเหล่านี้แล, เราและพวกเธอทั้งหลาย จึงได้ท่องเที่ยวไปแล้วในสังสารวัฏ ตลอดกาลยืดยาวนาน ถึงเพียงนี้. มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๔๑/๑๖๙๘.

​99


​100 พุ ท ธ ว จ น

๔๒ ที่สุดแห่งการท่องเที่ยวของพระองค์ เมื่อเรายังค้นไม่พบแสงสว่าง, มัวเสาะหานายช่างปลูกเรือนอยู่, ได้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ กล่าวคือ ความเกิดแล้วเกิดอีกเป็นอเนกชาติ. ความเกิด เป็นทุกข์ร่ำ�ไปทุกชาติ. แน่ะนายช่างผู้ปลูกสร้างเรือน ! เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว, เจ้าจักสร้างเรือนให้เรา ต่อไปอีกไม่ได้, โครงเรือนของเจ้า เราหักเสียยับเยินหมดแล้ว. ยอดเรือน เราขยี้เสียแล้ว. จิตของเรา ถึงความเป็นธรรมชาติ ที่อารมณ์จะยุแหย่ ยั่วเย้า ไม่ได้เสียแล้ว มันได้ถึงแล้ว ซึ่งความหมดอยากทุกอย่าง. ธ. ขุ. ๒๕/๓๕/๒๑.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

​101


​102 พุ ท ธ ว จ น

๔๓ “สิ่งนั้น” หาพบในกายนี้ “แน่ะเธอ ! ที่สุดโลกแห่งใด อันสัตว์ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ตาย ไม่จุติ ไม่อุบัติ;

เราไม่กล่าวว่า ใครๆ อาจรู้ อาจเห็น อาจถึงที่สุดแห่งโลกนั้น ได้ด้วยการไป.

“แน่ะเธอ ! ในร่างกายที่ยาวประมาณวาหนึ่ง ที่ยังประกอบด้วยสัญญาและใจนี้เอง, เราได้บัญญัติโลก, เหตุให้เกิดโลก, ความดับสนิทไม่เหลือของโลก, และทางดำ�เนินให้ถึงความดับสนิทไม่เหลือ ของโลกไว้” ดังนี้แล. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๖๐/๔๕.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๔๔ ทรงมีความชราทางกายภาพ เหมือนคนทั่วไป (ลำ�ดับนั้น พระอานนท์ผู้มีอายุ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วลูบคลำ�ทั่วพระกายของผู้มีพระภาคอยู่ พลางกล่าวถ้อยคำ�นี้ว่า) “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! ข้อนีน้ า่ อัศจรรย์; ข้อนีไ้ ม่เคยมีมาก่อน.

ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! บัดนีฉ้ วีวรรณของพระผูม้ พี ระภาค ไม่บริสทุ ธิ์ ผุดผ่องเหมือนแต่กอ่ น และพระกายก็เหีย่ วย่นหย่อนยาน มีพระองค์ ค้อมไปข้างหน้า อินทรียท์ ง้ั หลายก็เปลีย่ นเป็นอย่างอืน่ ไปหมด ทัง้ พระ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ”.

อานนท์ ! นั่นต้องเป็นอย่างนั้น คือ ความชรามี (ซ่อน) อยู่ในความหนุ่ม, ความเจ็บไข้มี (ซ่อน) อยู่ในความไม่มีโรค, ความตายมี (ซ่อน) อยู่ในชีวิต; ฉวีวรรณจึงไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเสียแล้ว และกายก็เหี่ยวย่น หย่อนยาน ตัวค้อมไปข้างหน้า อินทรีย์ทั้งหลายก็เปลี่ยน เป็นอย่างอื่นไปหมด ทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังนี้.

​103


​104 พุ ท ธ ว จ น

พระผูม้ พี ระภาคครัน้ ตรัสคำ�นีแ้ ล้ว ได้ตรัสข้อความนี้ (เป็นคำ�กาพย์กลอน) อีกว่า : โธ่เอ๋ย ! ความแก่อันชั่วช้าเอ๋ย ! ความแก่อันทำ�ความน่าเกลียดเอ๋ย ! กายที่น่าพอใจ บัดนี้ก็ถูกความแก่ย่ำ�ยีหมดแล้ว แม้ใครจะมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี ทุกคนก็ยังมีความตาย เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ความตายไม่ยกเว้นให้แก่ใครๆ มันย่ำ�ยีหมดทุกคน. มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๘๗/๙๖๒-๙๖๕.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๔๕ ทรงประกาศธรรม เนื่องด้วยการปลงอายุสังขาร ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้ว ด้วย ปัญญาอันยิง่ ธรรมเหล่านัน้ พวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึง เสพให้ทั่ว พึงเจริญทำ�ให้มาก โดยอาการที่พรหมจรรย์ (คือศาสนานี้) จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน, ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุข แก่มหาชน, เพื่ออนุเคราะห์โลก, เพื่อประโยชน์ เพื่อ ความเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯลฯ, คือ :

สติปัฏฐานสี่ สัมมัปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปด.

​105


​106 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เราจักเตือนท่านทั้งหลายว่า : สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมเป็นธรรมดา พวกเธอจงให้ ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด, การปรินิพพานของ ตถาคต จักมีในกาลไม่นานเลย ตถาคตจักปรินิพพาน โดยกาลล่วงไปแห่งสามเดือนนี้. สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่มและคนแก่, ทั้งที่ เป็นคนพาล และบัณฑิต, ทั้งที่มั่งมีและยากจน ล้วนแต่ มีความตาย เป็นที่ไปถึงในเบื้องหน้า, เปรียบเหมือน ภาชนะดิน ที่ช่างหม้อปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่, ทั้งที่สุก แล้วและยังดิบ ล้วนแต่มกี ารแตกทำ�ลายเป็นทีส่ ดุ ฉันใด; ชีวติ แห่งสัตว์ทง้ั หลาย ก็มคี วามตายเป็นเบือ้ งหน้า ฉันนัน้ . วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราริบหรี่แล้ว เราจักละพวกเธอไป สรณะของตัวเองเราได้ท�ำ ไว้แล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศลี เป็นอย่างดี มีความดำ�ริอนั ตัง้ ไว้แล้วด้วยดี ตาม รักษาซึง่ จิตของตนเถิด. ในธรรมวินยั นี้ ภิกษุใดเป็นผู้ ไม่ประมาทแล้ว จักละชาติสงสาร ทำ�ทีส่ ดุ แห่งทุกข์ได้. มหา. ที. ๑๐/๑๔๐/๑๐๗-๑๐๘.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๔๖ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

“อย่าเลย วักกลิ ! ประโยชน์อะไรด้วยการเห็นกายเน่านี้. วักกลิ ! ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา, ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม. วักกลิ ! เพราะว่าเมือ่ เห็นธรรมอยู ่ ก็คือเห็นเรา, เมื่อเห็นเราอยู่ ก็คือเห็นธรรม”

ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิ เดินตาม รอยเท้าเราไปข้างหลังๆ. แต่ถ้าเธอนั้น มากไปด้วย อภิชฌา มีกามราคะกล้า มีจิตพยาบาท มีความดำ�ริ แห่งใจเป็นไปในทางประทุษร้าย มีสติหลงลืม ไม่มี สัมปชัญญะ มีจิตไม่เป็นสมาธิ แกว่งไปแกว่งมา ไม่ สำ�รวมอินทรีย์ แล้วไซร้; ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ไกลจากเรา แม้เราก็อยู่ไกลจากภิกษุนั้น โดยแท้.

​107


​108 พุ ท ธ ว จ น ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเหตุเพราะว่า ภิกษุนน้ั ไม่เห็นธรรม เมือ่ ไม่เห็นธรรม ก็ชอ่ื ว่าไม่เห็นเรา. ภิกษุทั้งหลาย ! แม้ภิกษุนั้นจะอยู่ห่าง (จากเรา) ตั้งร้อยโยชน์ แต่ถ้าเธอนั้น ไม่มากไปด้วยอภิชฌา ไม่มี กามราคะกล้า ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำ�ริแห่งใจ เป็นไปในทางประทุษร้าย มีสติตง้ั มัน่ มีสมั ปชัญญะ มีจติ เป็นสมาธิ ถึงความเป็นเอกัคคตา (จิตมีอารมณ์อันเดียว) สำ�รวมอินทรีย์ แล้วไซร้; ภิกษุนั้นชื่อว่าอยู่ใกล้กับเรา แม้เราก็อยู่ใกล้กับภิกษุนั้น โดยแท้. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนั้นเพราะเหตุว่า ภิกษุนั้นเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรม ก็ชื่อว่าเห็นเรา แล. ขนฺธ. สํ. ๑๗/๑๔๖/๒๑๖. อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๐๐/๒๗๒.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

​109

๔๗ ถุงธรรม ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียน ปริยัติธรรม (นานาชนิด) คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ, แต่เธอไม่ใช้วันทั้งวันให้เปลืองไปด้วยการเรียนธรรม นัน้ ๆ ไม่เริดร้างจากการหลีกเร้น, ตามประกอบซึง่ ธรรม เป็นเครื่องสงบใจในภายในเนืองๆ. ภิกษุอย่างนี้แล ชื่อว่า ธรรมวิหารี (ผู้อยู่ด้วยธรรม). ภิกษุทง้ั หลาย ! ภิกษุผมู้ ากด้วยปริยตั ิ เราก็แสดงแล้ว, ผู้มากด้วยการบัญญัติ เราก็แสดงแล้ว, ผู้มากด้วยการ สาธยาย เราก็แสดงแล้ว, ผูม้ ากด้วยการคิด เราก็แสดงแล้ว, และธรรมวิหารี (ผูอ้ ยูด่ ว้ ยธรรม) เราก็แสดงแล้ว ด้วยประการ ฉะนี้. ภิกษุทั้งหลาย ! กิจอันใดทีศ่ าสดาผูเ้ อ็นดู แสวงหา ประโยชน์เกือ้ กูล อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำ�แก่สาวก ทัง้ หลาย, กิจอันนัน้ เราได้ท�ำ แล้วแก่พวกเธอทัง้ หลาย.


​110 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทั้งหลาย ! นั่น โคนไม้ทั้งหลาย นั่น เรือนว่างทั้งหลาย, ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย จงเพียรเผากิเลส, อย่าได้เป็นผู้ประมาท, เธอทั้งหลาย อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลังเลย, นีแ่ ล เป็นวาจาเครือ่ งพร่�ำ สอนพวกเธอทัง้ หลายของเรา. ปญฺจก. อํ. ๒๒/๙๘/๗๓.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๔๘ การปรินิพพานในปัจจุบัน ภิกษุ ! ถ้าภิกษุแสดงธรรม เพื่อความเบื่อหน่าย เพือ่ ความคลายกำ�หนัด เพือ่ ความดับไม่เหลือแห่งชราและ มรณะ อยูไ่ ซร้; ก็เป็นการสมควร เพือ่ จะเรียกภิกษุนน้ั ว่า “ผู้กล่าวซึ่งธรรม (ธรรมถึก)” ดังนี้. ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อ ความคลายกำ�หนัด เพื่อความดับไม่เหลือแห่งชราและ มรณะ อยู่ไซร้; ก็เป็นการสมควร เพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า “ผู้ปฏิบัติแล้วซึ่งธรรมตามสมควรแก่ธรรม” ดังนี้. ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะความเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำ�หนัด เพราะความดับไม่เหลือแห่งชรา และมรณะ ด้วยความเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่น อยู่แล้วไซร้; ก็เป็นการสมควรเพื่อจะเรียกภิกษุนั้นว่า “ผู้บรรลุแล้ว ซึ่งนิพพานในปัจจุบัน” ดังนี้. (ในกรณีแห่ง ชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา ผัสสะ

สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร และอวิชชา ก็มีข้อความที่ กล่าวไว้อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งชราและมรณะ ทีก่ ล่าวไว้ขา้ งบนนี)้ . นิทาน. สํ. ๑๖/๒๒/๔๖.

​111


​112 พุ ท ธ ว จ น


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๔๙ ตั้งหน้าทำ�ก็แล้วกัน ภิกษุทั้งหลาย ! กิจของคหบดีชาวนา ที่เขาจะต้อง รีบทำ� มีสามอย่างเหล่านี้. สามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ คหบดีชาวนา รีบๆ ไถคราดพื้นที่นา ให้ดีเสียก่อน, ครั้นแล้ว ก็รีบๆ ปลูกพืช, ครั้นแล้วก็รีบๆ ไขน้ำ�เข้าบ้าง ไขน้ำ�ออกบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย ! กิจของคหบดีชาวนา ที่เขาจะต้อง รีบทำ� มีสามอย่างเหล่านี้แล; แต่วา่ คหบดีชาวนานัน้ ไม่มี ฤทธิห์ รืออานุภาพ ทีจ่ ะบันดาลว่า “ข้าวของเรา จงงอกใน วันนี,้ ตัง้ ท้องพรุง่ นี,้ สุกมะรืนนี”้ ดังนี้ได้เลย, ที่แท้ ย่อมมี เวลาที่ข้าวนั้น เปลี่ยนแปรสภาพไปตามฤดูกาล ย่อมจะ งอกบ้าง ตั้งท้องบ้าง สุกบ้าง; ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : กิจของภิกษุ ที่เธอ จะต้องรีบทำ� มีสามอย่างเหล่านี้.

​113


​114 พุ ท ธ ว จ น

สามอย่างอะไรบ้างเล่า ? สามอย่างคือ : การสมาทานการปฏิบัติในศีลอันยิ่ง, การสมาทานการปฏิบัติในจิตอันยิ่ง, และการสมาทานการปฏิบัติในปัญญาอันยิ่ง. ภิกษุทั้งหลาย ! กิจของภิกษุ ที่เธอจะต้องรีบทำ� มีสามอย่างเหล่านี้แล; แต่ว่าภิกษุนั้น ก็ไม่มีฤทธิ์หรืออานุภาพ ที่จะ บันดาลว่า “จิตของเรา จงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทานในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้” ดังนีไ้ ด้เลย, ทีแ่ ท้ ย่อมมีเวลาทีเ่ หมาะสม เมือ่ ภิกษุนน้ั ปฏิบัติไปแม้ในศีลอันยิ่ง, ปฏิบัติไปแม้ในจิตอันยิ่ง, และปฏิบัติไปแม้ในปัญญาอันยิ่ง จิตก็จะหลุดพ้นจาก อาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีอุปาทานได้เอง. ติก. อํ. ๒๐/๓๐๙/๕๓๒.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๕๐ ทรงเป็นผูเ้ อ็นดูเกือ้ กูล แก่สรรพสัตว์ทง้ั ปวง “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้เอ็นดู เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง อยู่มิใช่หรือ พระเจ้าข้า ?”.

คามณิ ! ถูกแล้ว, ตถาคตเป็นผู้เอ็นดูเกื้อกูลแก่ สัตว์ทั้งปวงอยู่. “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ถ้าอย่างนั้น ทำ�ไมพระองค์ จึง ทรงแสดงธรรมแก่คนบางพวก โดยเอื้อเฟื้อ, และแก่คนบางพวก โดยไม่เอื้อเฟื้อเล่า พระเจ้าข้า ?”

คามณิ ! ถ้าอย่างนั้น เราขอย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านจงตอบเราตามที่ควร. คามณิ ! ท่านจะสำ�คัญความ ข้อนี้เป็นไฉน : ในถิ่นแห่งเรานี้ ชาวนาผู้คหบดีคนหนึ่ง มีนาอยู่ ๓ แปลง แปลงหนึ่งเป็นนาชั้นเลิศ, แปลงหนึ่ง เป็นนาปานกลาง, แปลงหนึง่ เป็นนาเลว มีดนิ เป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลว. คามณิ ! ท่านจะสำ�คัญความข้อนี้ ว่าอย่างไร : ชาวนาผู้คหบดีนั้น เมื่อประสงค์จะหว่านพืช เขาจะหว่านในนาแปลงไหนก่อน คือว่าแปลงทีเ่ ป็นนาเลิศ,

​115


​116 พุ ท ธ ว จ น นาปานกลาง, หรือว่านาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลวเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผเู้ จริญ ! ชาวนาคหบดีผปู้ ระสงค์จะหว่านพืช คนนัน้ ย่อมหว่านในนาเลิศก่อน, แล้วจึงหว่านในนาปานกลาง, สำ�หรับนาเลว ซึง่ ดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พืน้ ทีเ่ ลวนัน้ เขาก็ หว่านบ้าง ไม่หว่านบ้าง เพราะเหตุวา่ อย่างมากทีส่ ดุ ก็หว่านไว้ ให้โคกิน พระเจ้าข้า !”

คามณิ ! นาเลิศนั้น เปรียบเหมือนภิกษุ ภิกษุณี ของเรา เราย่อมแสดงธรรม งดงามในเบื้องต้น งดงาม ในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์บริสทุ ธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่ภิกษุ ภิกษุณีเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? คามณิ ! เพราะเหตุว่า ภิกษุ ภิกษุณีทั้งหลายเหล่านั้น มีเราเป็นประทีป มีเราเป็นทีซ่ อ่ นเร้น มีเราเป็นทีต่ า้ นทาน มีเราเป็นทีพ่ งิ อาศัยอยู.่ คามณิ ! นาปานกลางนั้น เปรียบเหมือนอุบาสก อุบาสิกาของเรา เราย่อมแสดงธรรม งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้ง พยัญชนะ แก่อบุ าสก อุบาสิกาทัง้ หลายเหล่านัน้ . ข้อนัน้ เพราะเหตุไรเล่า ? คามณิ ! เพราะเหตุว่า ชนทั้งหลายเหล่านั้น มีเรา เป็นประทีป มีเราเป็นที่ซ่อนเร้น มีเราเป็นที่ต้านทาน มีเราเป็นที่พิงอาศัยอยู่. คามณิ ! นาเลว มีดินเป็นก้อนแข็ง มีรสเค็ม พื้นที่เลวนั้น เปรียบเหมือนสมณพราหมณ์ ปริพาชก ทั้งหลาย ผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่น เราก็ย่อมแสดงธรรม งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์บริสทุ ธิบ์ ริบรู ณ์สน้ิ เชิง พร้อมทัง้ อรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น. ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? เพราะเหตุวา่ ถึงแม้วา่ เขาจะเข้าใจธรรมทีเ่ ราแสดง สักบทเดียว นั่นก็ยังเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และ ความสุขแก่ชนทัง้ หลายเหล่านัน้ ตลอดกาลนาน. สฬา. สํ. ๑๘/๓๘๗/๖๐๓-๖๐๔.

​117



ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

๕๑ อานิสงส์แห่งการฟังธรรมเนืองๆ ภิกษุทั้งหลาย ! อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรม ทัง้ หลายทีบ่ คุ คลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึน้ ใจ แทงตลอด ด้วยดีดว้ ยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้

อานิสงส์ ๔ ประการ อย่างไรเล่า ?

(๑)  ภิกษุทงั้ หลาย !   ภิกษุในธรรมวินยั นี้ ย่อมเล่า เ รียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ ธรรมเหล่านั้น เป็นธรรมอันภิกษุนนั้ ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึน้ ใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระท�ำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมูใ่ ดหมูห่ นึง่ บทแห่งธรรมทัง้ หลาย ย่อมปรากฏแก่เธอผูม้ คี วามสุขในภพนัน้ สติบงั เกิดขึน้ ช้า แต่สตั ว์นนั้ ย่อมเป็นผูบ้ รรลุคณ ุ วิเศษเร็วพลัน. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เ ป็ น อานิ ส งส์ ป ระการที่   ๑ แ ห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้.

​119


​120 พุ ท ธ ว จ น (๒)  ภิกษุยอ่ มเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เ มื่อกระท�ำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทัง้ หลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผูม้ คี วามสุข อยูใ่ นภพนัน้ เลย แต่ภกิ ษุผมู้ ฤี ทธิ์ ถึงความช�ำนาญแห่งจิต แ สดงธรรมแก่เทพบริษทั เธอมีความปริวติ กอย่างนีว้ า่ ในกาลก่อน เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินยั ใด นีค้ อื ธรรมวินยั นัน้ สติบงั เกิดขึน้ ช้า แต่วา่ สัตว์นนั้ ย่อม เป็นผูบ้ รรลุคณ ุ วิเศษเร็วพลัน. ภิกษุทงั้ หลาย ! บุ รุ ษ ผู ้ ฉ ลาดต่ อ เสี ย งกลอง เขาเดินทางไกล พึงได้ยนิ เสียงกลอง เขาไม่พงึ มีความสงสัย ห รือเคลือบแคลงว่าเสียงกลองหรือไม่ใช่หนอ ทีแ่ ท้เขาพึงถึง ความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น เ หมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธ รรมเหล่านัน้ เป็นธรรมอันภิกษุนนั้ ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึน้ ใจ แทงตลอดด้วยดีดว้ ยความเห็น ... สติบงั เกิดขึน้ ช้า แต่วา่ สัตว์นนั้ ย่อมเป็นผูบ้ รรลุคณ ุ วิเศษ เร็วพลัน.


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

ภิกษุทงั้ หลาย ! นี้ เ ป็ น อานิ ส งส์ ป ระการที่   ๒ แ ห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีดว้ ยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้. (๓)  ภิกษุยอ่ มเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธ รรมเหล่านัน้ เป็นธรรมอันภิกษุนนั้ ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น เธอมีสติหลงลืม เ มื่อกระท�ำกาละ   ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทัง้ หลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผูม้ คี วามสุข อยูใ่ นภพนัน้ เลย ทัง้ ภิกษุผมู้ ฤี ทธิถ์ งึ ความช�ำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษทั แต่เทพบุตรย่อมแสดง ธ รรมในเทพบริษทั เธอมีความคิดอย่างนีว้ า่ ในกาลก่อน เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินยั ใด นีค้ อื ธรรมวินยั นัน้ เอง สติบงั เกิดขึน้ ช้า แต่วา่ สัตว์นนั้ ย่อมเป็นผูบ้ รรลุ คุณวิเศษเร็วพลัน. ภิกษุทงั้ หลาย ! บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงสังข์  เขา เ ดินทางไกลพึงได้ฟงั เสียงสังข์เข้า เขาไม่พงึ มีความสงสัย ห รือเคลือบแคลงว่าเสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ทีแ่ ท้เขาพึงถึง

​121


​122 พุ ท ธ ว จ น ความตกลงใจว่า เสียงสังข์ฉนั ใด ภิกษุกฉ็ นั นัน้ เหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านัน้ เป็นธรรมอันภิกษุนนั้ ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึน้ ใจ แทงตลอด ด้วยดีดว้ ยความเห็น ... สติบงั เกิดขึน้ ช้า แต่วา่ สัตว์นนั้ ย่อมเป็นผูบ้ รรลุคณ ุ วิเศษเร็วพลัน. ภิกษุทงั้ หลาย ! นี้ เ ป็ น อานิ ส งส์ ป ระการที่   ๓ แ ห่งธรรมทัง้ หลายทีภ่ กิ ษุฟงั เนืองๆ คล่องปาก ขึน้ ใจ แทงตลอดด้วยดีดว้ ยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้. (๔)  ภิกษุยอ่ มเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธ รรมเหล่านัน้ เป็นธรรมอันภิกษุนนั้ ฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ  แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น  เธอมีสติหลงลืม เ มื่อกระท�ำกาละ   ย่อมเข้าถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บ ทแห่งธรรมทัง้ หลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผูม้ คี วามสุข อ ยูใ่ นภพนัน้ เลย  แม้ภกิ ษุผมู้ ฤี ทธิถ์ งึ ความช�ำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท   แม้เทพบุตรก็ไม่ได้ แ สดงธรรมในเทพบริษทั   แต่เทพบุตรผูเ้ กิดก่อนเตือน เ ทพบุตรผูเ้ กิดทีหลังว่า  “ท่านผูน้ ริ ทุกข์ยอ่ มระลึกได้หรือ


ฉบับ ๑ ตามรอยธรรม

ว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในกาลก่อน” เธอกล่าวอย่าง นีว้ า่ “เราระลึกได้ทา่ นผูน้ ริ ทุกข์ เราระลึกได้ทา่ นผูน้ ริ ทุกข์” สติบงั เกิดขึน้ ช้า แต่วา่ สัตว์นนั้ ย่อมเป็นผูบ้ รรลุคณ ุ วิเศษ เร็วพลัน. ภิกษุทงั้ หลาย ! สหายสองคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครัง้ บางคราว ในทีบ่ างแห่ง สหายคนหนึง่ พึงกล่าวกะสหายคนนัน้ อย่างนีว้ า่ “สหาย ท่านระลึกกรรม แม้นไ้ี ด้หรือ” เขาพึงกล่าวอย่างนีว้ า่ “เราระลึกได้ เราระลึกได้” ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านัน้ เป็นธรรมอันภิกษุนนั้ ฟัง เนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น ... สติบงั เกิดขึน้ ช้า แต่วา่ สัตว์นนั้ ย่อมเป็นผูบ้ รรลุคณ ุ วิเศษ เร็วพลัน. ภิกษุทงั้ หลาย ! นี้ เ ป็ น อานิ ส งส์ ป ระการที่   ๔ แ ห่งธรรมทัง้ หลายทีภ่ กิ ษุฟงั เนืองๆ  คล่องปาก  ขึน้ ใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้.

​123


​124 พุ ท ธ ว จ น ภิกษุทงั้ หลาย ! นี้ แ ลอานิ ส งส์   ๔  ประการ แ ห่งธรรมทัง้ หลายทีภ่ กิ ษุฟงั แล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึน้ ใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น อันบุคคลพึงหวังได้. จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๕๑/๑๙๑.




ขอนอบน้อมแด่

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะ พระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

(สาวกตถาคต) คณะงานธัมมะ วัดนาปาพง (กลุ่มอาสาสมัครพุทธวจน-หมวดธรรม)


มูลนิธิพุทธโฆษณ์ มูลนิธิแห่งมหาชนชาวพุทธ ผู้ซึ่งชัดเจน และมั่นคงในพุทธวจน เริม่ จากชาวพุทธกลุม่ เล็กๆ กลุม่ หนึง่ ได้มโี อกาสมาฟังธรรมบรรยายจาก ท่านพระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล ทีเ่ น้นการน�าพุทธวจน (ธรรมวินยั จากพุทธโอษฐ์ ทีพ่ ระพุทธองค์ทรงยืนยันว่าทรงตรัสไว้ดแี ล้ว บริสทุ ธิบ์ ริบรู ณ์สนิ้ เชิง ทัง้ เนือ้ ความและ พยัญชนะ) มาใช้ในการถ่ายทอดบอกสอน ซึง่ เป็นรูปแบบการแสดงธรรมทีต่ รงตาม พุทธบัญญัติตามที่ ทรงรับสั่งแก่พระอรหันต์ ๖๐ รูปแรกที่ปาอิสิปตนมฤคทายวัน ในการประกาศพระสัท ธรรม และเป็นลักษณะเฉพาะทีภ่ กิ ษุในครัง้ พุทธกาลใช้เป็น มาตรฐานเดียว หลักพุทธวจนนี้ ได้เข้ามาตอบค�าถาม ต่อความลังเลสงสัย ได้เข้ามาสร้าง ความชัดเจน ต่อความพร่าเลือนสับสน ในข้อธรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคมชาวพุทธ ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นผลจากสาเหตุเดียวคือ การไม่ใช้ค�าของพระพุทธเจ้าเป็นตัวตั้งต้น ในการศึกษาเล่าเรียน ด้วยศรัทธาอย่างไม่หวัน่ ไหวต่อองค์สมั มาสัมพุทธะ ในฐานะพระศาสดา ท่านพระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า “อาตมาไม่มคี า� สอนของตัวเอง” และใช้เวลาที่มีอยู่ ไปกับการรับสนองพุทธประสงค์ ด้วยการโฆษณาพุทธวจน เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม และความประสานเป็นหนึ่งเดียวของชาวพุทธ เมือ่ กลับมาใช้หลักพุทธวจน เหมือนทีเ่ คยเป็นในครัง้ พุทธกาล สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ คือ ความชัดเจนสอดคล้องลงตัว ในความรู้ความเข้าใจ ไม่ว่าในแง่ของหลักธรรม ตลอดจนมรรควิธที ตี่ รง และสามารถน�าไปใช้ปฏิบตั ใิ ห้เกิดผล รูเ้ ห็นประจักษ์ได้จริง ด้วยตนเองทันที ด้วยเหตุน้ี ชาวพุทธทีเ่ ห็นคุณค่าในค�าของพระพุทธเจ้าจึงขยายตัว มากขึ้นเรื่อยๆ เกิดเป็น “กระแสพุทธวจน” ซึ่งเป็นพลังเงียบที่ก�าลังจะกลายเป็น คลืน่ ลูกใหม่ ในการกลับไปใช้ระบบการเรียนรูพ้ ระสัทธรรม เหมือนดังครัง้ พุทธกาล


ด้วยการขยายตัวของกระแสพุทธวจนนี้ สื่อธรรมที่เป็นพุทธวจน ไม่ว่า จะเป็นหนังสือ หรือซีดี ซึ่งแจกฟรีแก่ญาติโยมเริ่มมีไม่พอเพียงในการแจก ทั้งนี้ เพราะจ�านวนของผู้ที่สนใจเห็นความส�าคัญของพุทธวจน ได้ขยายตัวมากขึ้นอย่าง รวดเร็ว ประกอบกับว่าท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เคร่งครัดในข้อวัตร ปฏิบัติที่พระศาสดาบัญญัติไว้ อันเป็นธรรมวินัยที่ออกจากพระโอษฐ์ของตถาคต โดยตรง การเผยแผ่พุทธวจนที่ผ่านมา จึงเป็นไปในลักษณะสันโดษตามมีตามได้ เมื่อมีโยมมาปวารณาเป็นเจ้าภาพในการจัดพิมพ์ ได้มาจ�านวนเท่าไหร่ ก็ทยอยแจก ไปตามทีม่ เี ท่านัน้ เมือ่ มีมา ก็แจกไป เมือ่ หมด ก็คอื หมด เนือ่ งจากว่า หน้าทีใ่ นการด�ารงพระสัทธรรมให้ตงั้ มัน่ สืบไป ไม่ได้ผกู จ�ากัด อยู่แต่เพียงพุทธสาวกในฐานะของสงฆ์เท่านั้น ฆราวาสกลุ่มหนึ่งซึ่งเห็นความส�าคัญ ของพุทธวจน จึงรวมตัวกันเข้ามาช่วยขยายผลในสิง่ ทีท่ า่ นพระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล ท�าอยูแ่ ล้ว นัน่ คือ การน�าพุทธวจนมาเผยแพร่โฆษณา โดยพิจารณาตัดสินใจจดทะเบียน จัดตั้งเป็นมูลนิธิอย่างถูกต้องตามกฏหมาย เพื่อให้การด�าเนินการต่างๆ ทั้งหมด อยูใ่ นรูปแบบทีโ่ ปร่งใส เปิดเผย และเปิดกว้างต่อสาธารณชนชาวพุทธทัว่ ไป ส�าหรับผู้ที่เห็นความส�าคัญของพุทธวจน และมีความประสงค์ที่จะด�ารง พระสัทธรรมให้ตงั้ มัน่ ด้วยวิธขี องพระพุทธเจ้า สามารถสนับสนุนการด�าเนินการตรงนีไ้ ด้ ด้วยวิธีง่ายๆ นั่นคือ เข้ามาใส่ใจศึกษาพุทธวจน และน�าไปใช้ปฏิบัติด้วยตนเอง เมื่อรู้ประจักษ์ เห็นได้ด้วยตนแล้ว ว่ามรรควิธีที่ได้จากการท�าความเข้าใจ โดย ใช้ค�าของพระพุทธเจ้าเป็นตัวตั้งต้นนั้น น�าไปสู่ความเห็นที่ถูกต้อง ในหลักธรรม อันสอดคล้องเป็นเหตุเป็นผล และเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว กระทั่งได้ผลตามจริง ท�าให้เกิดมีจิตศรัทธา ในการช่วยเผยแพร่ขยายสื่อพุทธวจน เพียงเท่านี้ คุณก็คือ หนึง่ หน่วยในขบวน “พุทธโฆษณ์” แล้ว นี่คือเจตนารมณ์ของมูลนิธิพุทธโฆษณ์ นั่นคือเป็นมูลนิธิแห่งมหาชน ชาวพุทธ ซึง่ ชัดเจน และมัน่ คงในพุทธวจน


ผู้ที่สนใจรับสื่อธรรมที่เป็นพุทธวจน เพื่อไปใช้ศึกษาส่วนตัว หรือน�าไปแจกเป็นธรรมทาน แก่พ่อแม่พี่น้อง ญาติ หรือเพื่อน สามารถมารับได้ฟรี ที่วัดนาปาพง หรือตามที่พระอาจารย์คึกฤทธิ์ได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมนอกสถานที่ ส�าหรับรายละเอียดกิจธรรมต่างๆ ภายใต้เครือข่ายพุทธวจนโดยวัดนาปาพง ค้นหา ข้อมูลได้จาก www.buddhakos.org หรือ www.watnapp.com หากมีความจ�านงที่จะรับไปแจกเป็นธรรมทานในจ�านวนหลายสิบชุด ขอความกรุณาแจ้งความจ�านงได้ที่ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ ประสานงานและเผยแผ่ : เลขที่ ๒๙/๓ หมู่ที่ ๗ ถนนเลียบคลอง ๑๐ ฝั่งตะวันออก ต�าบลบึงทองหลาง อ�าเภอล�าลูกกา จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๕๐ โทรศัพท์ ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๙๔, ๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘, ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑ โทรสาร ๐ ๒๑๕๙ ๐๕๒๕-๖ เว็บไซต์ : www.buddhakos.org อีเมล์ : buddhakos@hotmail.com สนับสนุนการเผยแผ่พุทธวจนได้ที่ ชือ่ บัญชี “มูลนิธพิ ทุ ธโฆษณ์” ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา คลอง ๑๐ (ธัญบุร)ี ประเภท บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี ๓๑๘-๒-๔๗๔๖๑-๐


ขอกราบขอบพระคุณแด่

พระอาจารย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล และคณะสงฆ์วดั นาป่าพง ที่กรุณาให้ค�าปรึกษาในการจัดท�าหนังสือเล่มนี้

ติดตามการเผยแผ่พระธรรมค�าสอนตามหลักพุทธวจน โดย พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล ได้ที่

เว็บไซต์ • • • • • • • • • • •

http://www.watnapp.com : หนังสือ และสื่อธรรมะ บนอินเทอร์เน็ต http://media.watnapahpong.org : ศูนย์บริการมัลติมีเดียวัดนาปาพง http://www.buddha-net.com : เครือข่ายพุทธวจน http://etipitaka.com : โปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน http://www.watnapahpong.com : เว็บไซต์วัดนาปาพง http://www.buddhakos.org : มูลนิธิพุทธโฆษณ์ http://www.buddhawajanafund.org : มูลนิธิพุทธวจน http://www.ratana5.com : พุทธวจนสมาคม http://www.buddhawajana-training.com : ศูนย์ปฏิบัติพุทธวจน http://www.buddhawaj.org : ฐานข้อมูลพระสูตรออนไลน์, เสียงอ่านพุทธวจน http://www.buddhaoat.org : กลุ่มผู้สนับสนุนการเผยแผ่พุทธวจน

ดาวน์โหลดโปรแกรมตรวจหาและเทียบเคียงพุทธวจน (E-Tipitaka) ส�าหรับคอมพิวเตอร์

• ระบบปฏิบัติการ Windows, Macintosh, Linux http://etipitaka.com/download หรือ รับแผ่นโปรแกรมได้ที่วัดนาปาพง

ส�าหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต

• ระบบปฏิบัติการ Android ดาวน์โหลดได้ที่ Play Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ e-tipitaka • ระบบปฏิบัติการ iOS (ส�าหรับ iPad, iPhone, iPod) ดาวน์โหลดได้ที่ App Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ e-tipitaka

ดาวน์โหลดโปรแกรมพุทธวจน (Buddhawajana) เฉพาะส�าหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต

• ระบบปฏิบัติการ Android ดาวน์โหลดได้ที่ Google Play Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ buddhawajana • ระบบปฏิบัติการ iOS (ส�าหรับ iPad, iPhone, iPod) ดาวน์โหลดได้ที่ App Store โดยพิมพ์ค�าว่า พุทธวจน หรือ buddhawajana

วิทยุ

• คลื่น ส.ว.พ. FM ๙๑.๐ MHz ทุกวันพระ เวลา ๑๗.๔๐ น.


บรรณานุกรม พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ (บาลีสยามรัฐ) พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง (ไทยสยามรัฐ) หนังสือธรรมโฆษณ์ ชุดจากพระโอษฐ์

(ผลงานแปลพุทธวจน โดยท่านพุทธทาสภิกขุในนามกองต�าราคณะธรรมทาน)

ร่วมสนับสนุนการจัดท�าโดย คณะงานธัมมะ วัดนาปาพง (กลุม่ อาสาสมัครพุทธวจนหมวดธรรม), คณะศิษย์วดั นาปาพง, กลุ่มศิษย์ตถาคต, กลุ่มสมณะศากยะปุตติยะ, กลุ่มธรรมะสีขาว, กลุ่มพุทธบริษัทศากยบุตร, กลุ่มพุทธโอษฐ์, กลุ่มชวนม่วนธรรม, กลุ่มละนันทิ, กลุ่มพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัทการบินไทย, กลุ่มมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ส�านักงานการศึกษาต่อเนื่อง, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (องครักษ์) ชมรมวิศวกรความรู้เพื่อสังคม, ชมรมพุทธวจนอุดรธานี, ชมรมธรรมปรีดา, ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ส�านักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, บจก. สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น, บจก. ดาต้าโปรดักส์, บจก. 3M ประเทศไทย, บจก. บางไทรไฟเบอร์บอร์ด, บจก. เอ็นอีซี โทคิน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย), บจก. สยามรักษ์, บจก. เซเว่นสเต็ปส์, บจก. เมคเทค, บจก. ไดเวอร์ส เคมีคอลส์, บจก. ห้างพระจันทร์โอสถ, บจก.สมสุข สหภัทรสตีลล์, บจก.ทองแป้น, บจก. สมาย คอนเทนเนอร์ อุตสาหกรรม, บจก. อี.ซี.ที. ซิสเต็ม, บจก. อี.ซี.ที. เอ็นจิเนียริง่ , บจก. อี.ซี.ที. ซัพพลาย, บจก. อี.ซี.ที อินเตอร์เนชั่นแนล, บจก. อี.ซี.ที. โปรเฟสชั่นแนล, บจก. คอร์โดมา อินเตอร์เนชั่นแนล, บมจ. ณุศาศิริ, หจก. อินเตอร์ คิด, สถานกายภาพบ�าบัด คิดดีคลินิค, ร้านต้นมะขามช่างทอง, ร้านเสบียงบุญ, บ้านเมตตาเรสซิเด้นท์, บ้านพุทธวัจน์


ลงสะพานคลอง ๑๐ ไปยูเทิร์นแรกมา แล้วเลี้ยวซ้ายก่อนขึ้นสะพาน

ลงสะพานคลอง ๑๐ เลี้ยวซ้ายคอสะพาน

โทรศัพท์ ๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑, ๐๘ ๔๐๙๖ ๘๔๓๐, ๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐-๔, ๐๘ ๖๕๕๒ ๒๔๕๙

แนวทิวสน วัดนาป่าพง

แผนที่วัดนาป่าพง


๑๐

พระสูตรของความส�าคัญ ทีช่ าวพุทธต้องศึกษา แต่คา� สอนจากพระพุทธเจ้า เท่านัน้

ผ่านมา ๒,๕๐๐ กว่าปี ค�าสอนทางพระพุทธศาสนาเกิดความหลากหลายมากขึน้ มีสา� นักต่างๆ มากมาย ซึง่ แต่ละหมูค่ ณะก็มคี วามเห็นของตน หามาตรฐานไม่ได้ แม้จะกล่าวในเรือ่ งเดียวกัน ทัง้ นีไ้ ม่ใช่เพราะค�าสอนของพระพุทธเจ้าไม่สมบูรณ์ แล้วเราควรเชือ่ และปฏิบตั ติ ามใคร ? ลองพิจารณาหาค�าตอบง่ายๆ ได้จาก ๑๐ พระสูตร ซึง่ พระตถาคตทรงเตือนเอาไว้ แล้วตรัสบอกวิธปี อ้ งกันและแก้ไขเหตุเสือ่ มแห่งธรรมเหล่านี.้ ขอเชิญมาตอบตัวเองกันเถอะว่า ถึงเวลาแล้วหรือยัง ? ทีพ่ ทุ ธบริษทั จะมีมาตรฐานเพียงหนึง่ เดียว คือ “พุทธวจน” ธรรมวินยั จากองค์พระสังฆบิดาอันวิญญูชนพึงปฏิบตั แิ ละรูต้ ามได้เฉพาะตน ดังนี.้ ๑. พระองค์ทรงสามารถก�าหนดสมาธิ เมือ่ จะพูด ทุกถ้อยค�าจึงไม่ผดิ พลาด -บาลี มู. ม. ๑๒/๔๕๘/๔๓๐.

อัคคิเวสนะ ! เรานัน้ หรือ จ�าเดิมแต่เริม่ แสดง กระทัง่ ค�าสุดท้ายแห่ง การกล่าวเรือ่ งนัน้ ๆ ย่อมตัง้ ไว้ซงึ่ จิตในสมาธินมิ ติ อันเป็นภายในโดยแท้ ให้จติ ด�ารงอยู ่ ให้จติ ตัง้ มัน่ อยู ่ กระท�าให้มจี ติ เป็นเอก ดังเช่นทีค่ นทัง้ หลาย เคยได้ยนิ ว่าเรากระท�าอยูเ่ ป็นประจ�า ดังนี.้


๒. แต่ละค�าพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จา� กัดกาลเวลา -บาลี มู. ม. ๑๒/๔๘๕/๔๕๑.

ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทัง้ หลายเป็นผูท้ เี่ ราน�าไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรมทีบ่ คุ คลจะพึงเห็นได้ดว้ ยตนเอง (สนฺทฏิ ิโก) เป็นธรรมให้ ผลไม่จา� กัดกาล (อกาลิโก) เป็นธรรมทีค่ วรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสโิ ก) ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว (โอปนยิโก) อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺต� เวทิตพฺโพ วิญญ ฺ หู )ิ . ๓. คา� พูดทีพ่ ดู มาทัง้ หมดนับแต่วนั ตรัสรูน้ นั้ สอดรับไม่ขดั แย้งกัน -บาลี อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓.

ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนกระทั่งถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส นิพพานธาตุ ตลอดเวลาระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร�่าสอน แสดงออก ซึง่ ถ้อยค�าใด ถ้อยค�าเหล่านัน้ ทัง้ หมด ย่อมเข้ากันได้โดย ประการเดียวทัง้ สิน้ ไม่แย้งกันเป็นประการอืน่ เลย. วยกลองศึก อ๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของค�าสอนเปรี-บาลียบด้ นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓. ภิกษุทงั้ หลาย ! เรือ่ งนีเ้ คยมีมาแล้ว กลองศึกของกษัตริยพ์ วกทสารหะ เรียกว่า อานกะ มีอยู่ เมือ่ กลองอานกะนี้ มีแผลแตกหรือลิ พวกกษัตริย์ ทสารหะได้หาเนือ้ ไม้อนื่ ท�าเป็นลิม่ เสริมลงในรอยแตกของกลองนัน้ (ทุก คราวไป). ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถงึ สมัยหนึง่ ซึง่ เนือ้ ไม้เดิมของตัวกลองหมดสิน้ ไป เหลืออยูแ่ ต่ เนือ้ ไม้ทที่ า� เสริมเข้าใหม่เท่านัน้ . ภิกษุทงั้ หลาย ! ฉันใดก็ฉนั นัน้ ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภกิ ษุ ทัง้ หลาย สุตตันตะเหล่าใด ทีเ่ ป็นค�าของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึง้ เป็นชัน้ โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรือ่ งสุญญตา เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านัน้


มากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน ส่วนสุตตันตะเหล่าใดที่ นักกวีแต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอกั ษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟังด้วยดี จัก เงีย่ หูฟงั จักตัง้ จิต เพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และจักส�าคัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษา เล่าเรียนไป. ภิกษุทงั้ หลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านัน้ ทีเ่ ป็นค�าของ ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึง้ เป็นชัน้ โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย เรือ่ งสุญญตา จักมีได้ดว้ ยอาการอย่างนี้ แล. ๕. ทรงก�าชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากค�าของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น -บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๙๑-๙๒/๒๙๒.

ภิกษุทงั้ หลาย ! พวกภิกษุบริษทั ในกรณีนี้ สุตตันตะเหล่าใด ทีก่ วี แต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอกั ษรสละสลวย มี พยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านัน้ มากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟงั ด้วยดี ไม่เงีย่ หูฟงั ไม่ตงั้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และจักไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน. ภิกษุทงั้ หลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ทีเ่ ป็นค�าของตถาคต เป็น ข้อความลึก มีความหมายซึง้ เป็นชัน้ โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรือ่ งสุญญตา เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านัน้ มากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงีย่ หูฟงั ย่อมตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และย่อมส�าคัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กนั และกันอยูว่ า่ “ข้อนีเ้ ป็นอย่างไร มีความหมายกีน่ ยั ” ดังนี้ ด้วยการท�าดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมทีถ่ กู ปิดไว้ได้ ธรรมทีย่ งั ไม่ปรากฏ เธอก็ทา� ให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการ ทีน่ า่ สงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.


ภิกษุทงั้ หลาย ! บริษทั ชือ่ อุกกาจิตวินตี า ปริสา โน ปฏิปจุ ฉาวินตี า เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทงั้ หลาย ! ในกรณีนคี้ อื ภิกษุทงั้ หลายในบริษทั ใด เมือ่ สุตตันตะ ทัง้ หลาย อันเป็นตถาคตภาษิต (ตถาคตภาสิตา) อันลึกซึง้ (คมฺภรี า) มี อรรถอันลึกซึ้ง (คมฺภีรตฺถา) เป็นโลกุตตระ (โลกุตฺตรา) ประกอบด้วย เรือ่ งสุญญตา (สุญญ ฺ ตปฏิสย� ตุ ตฺ า) อันบุคคลน�ามากล่าวอยู่ ก็ไม่ฟงั ด้วยดี ไม่เงีย่ หูฟงั ไม่เข้าไปตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควร ศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ทีก่ วีแต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภท กาพย์กลอน มีอกั ษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านีม้ ากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี เงีย่ หูฟงั ตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และส�าคัญไป ว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่ นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ท�าให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนีพ้ ยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถเป็นอย่างไร ดังนี้ เธอเหล่านัน้ เปิดเผย สิง่ ทีย่ งั ไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของทีค่ ว�า่ อยูใ่ ห้หงายขึน้ ได้ ไม่บรรเทา ความสงสัยในธรรมทัง้ หลายอันเป็นทีต่ งั้ แห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทงั้ หลาย ! นีเ้ ราเรียกว่า อุกกาจิตวินตี า ปริสา โน ปฏิปจุ ฉาวินตี า. ภิกษุทงั้ หลาย ! บริษทั ชือ่ ปฏิปจุ ฉาวินตี า ปริสา โน อุกกาจิตวินตี า เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทงั้ หลาย ! ในกรณีนคี้ อื ภิกษุทงั้ หลายในบริษทั ใด เมือ่ สุตตันตะ ทัง้ หลาย ทีก่ วีแต่งขึน้ ใหม่ เป็นค�าร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอกั ษร สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจติ ร เป็นเรือ่ งนอกแนว เป็นค�ากล่าวของสาวก อันบุคคลน�ามากล่าวอยู่ ก็ไม่ฟงั ด้วยดี ไม่เงีย่ หูฟงั ไม่เข้าไปตัง้ จิตเพือ่ จะ รูท้ วั่ ถึง และไม่สา� คัญว่าเป็นสิง่ ทีต่ นควรศึกษาเล่าเรียน ส่วน สุตตันตะ เหล่าใด อันเป็นตถาคตภาษิต อันลึกซึง้ มีอรรถอันลึกซึง้ เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยเรือ่ งสุญญตา เมือ่ มีผนู้ า� สุตตันตะเหล่านี ้ มากล่าวอยู ่ พวก


เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงีย่ หูฟงั ย่อมเข้าไปตัง้ จิตเพือ่ จะรูท้ วั่ ถึง และ ย่อมส�าคัญว่าเป็นสิง่ ทีค่ วรศึกษาเล่าเรียน พวกเธอเล่าเรียนธรรมทีเ่ ป็น ตถาคตภาษิตนัน้ แล้ว ก็สอบถามซึง่ กันและกัน ท�าให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออก มาว่า ข้อนีพ้ ยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้ เธอเหล่านัน้ เปิดเผยสิง่ ทีย่ งั ไม่เปิดเผยได้ หงายของทีค่ ว�า่ อยูใ่ ห้หงายขึน้ ได้ บรรเทา ความสงสัยในธรรมทัง้ หลายอันเป็นทีต่ งั้ แห่งความสงสัยมีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทงั้ หลาย ! นีเ้ ราเรียกว่า ปฏิปจุ ฉาวินตี า ปริสา โน อุกกาจิตวินตี า. ภิกษุทงั้ หลาย ! เหล่านีแ้ ลบริษทั ๒ จ�าพวกนัน้ . ภิกษุทงั้ หลาย ! บริษทั ทีเ่ ลิศในบรรดาบริษทั ทัง้ สองพวกนัน้ คือ บริษทั ปฏิปจุ ฉาวินตี า ปริสา โน อุกกาจิตวินตี า (บริษทั ทีอ่ าศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเอง เป็นเครือ่ งน�าไป ไม่อาศัยความเชือ่ จากบุคคลภายนอกเป็นเครือ่ งน�าไป) แล. ๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้ -บาลี มหา. ที. ๑๐/๙๐/๗๐.

ภิกษุทงั้ หลาย ! ภิกษุทงั้ หลาย จักไม่บญ ั ญัตสิ งิ่ ทีไ่ ม่เคยบัญญัต ิ จัก ไม่เพิกถอนสิง่ ทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้แล้ว จักสมาทานศึกษาในสิกขาบททีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ แล้วอย่างเคร่งครัด อยูเ่ พียงใด ความเจริญก็เป็นสิง่ ทีภ่ กิ ษุทงั้ หลายหวังได้ ไม่มคี วามเสือ่ มเลย อยูเ่ พียงนัน้ . ๗. ส�านึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้น ถึงแม้จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม -บาลี ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๒/๑๒๖.

ภิกษุทงั้ หลาย ! ตถาคตผูอ้ รหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทา� มรรคทีย่ งั ไม่เกิดให้เกิดขึน้ ได้ทา� มรรคทีย่ งั ไม่มใี ครรูใ้ ห้มคี นรู้ ได้ทา� มรรคทีย่ งั ไม่มี ใครกล่าวให้เป็นมรรคทีก่ ล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นผูร้ มู้ รรค (มคฺคญฺญ)ู เป็น ผูร้ แู้ จ้งมรรค (มคฺควิท)ู เป็นผูฉ้ ลาดในมรรค (มคฺคโกวิโท). ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสาวกทัง้ หลายในกาลนี ้ เป็นผูเ้ ดินตามมรรค (มคฺคานุคา) เป็นผูต้ ามมา ในภายหลัง.


ภิกษุทงั้ หลาย ! นีแ้ ล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุง่ หมาย ทีแ่ ตกต่างกัน เป็นเครือ่ งกระท�าให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผูอ้ รหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ. ๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจ�าบทพยัญชนะและค�าอธิบายอย่างถูกต้อง พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป -บาลี จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.

ภิกษุทงั้ หลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินยั นี ้ เล่าเรียนสูตรอันถือกัน มาถูก ด้วยบทพยัญชนะทีใ่ ช้กนั ถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะทีใ่ ช้กนั ก็ถกู ย่อมมีนยั อันถูกต้องเช่นนัน้ . ภิกษุทงั้ หลาย ! นีเ่ ป็น มูลกรณีทหี่ นึง่ ซึง่ ท�าให้พระสัทธรรมตัง้ อยูไ่ ด้ไม่เลอะเลือนจนเสือ่ มสูญไป... ภิกษุทงั้ หลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสตู คล่องแคล่ว ในหลัก พระพุทธวจน ทรงธรรม ทรงวินยั ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านัน้ เอาใจใส่ บอกสอน เนือ้ ความแห่งสูตรทัง้ หลายแก่คนอืน่ ๆ เมือ่ ท่านเหล่านัน้ ล่วงลับไป สูตรทัง้ หลาย ก็ไม่ขาดผูเ้ ป็นมูลราก (อาจารย์) มีทอี่ าศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็น มูลกรณีที่สาม ซึ่งท�าให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสือ่ มสูญไป... *** ในที่นี้ยกมา ๒ นัยยะ จาก ๔ นัยยะ ของมูลเหตุสี่ประการ ที่ท�าให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้ ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป

๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในค�าสอน -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๔๔/๑๑๓-๖.

๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ผูม้ อี ายุ ! ข้าพเจ้า ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผูม้ พี ระภาคว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”... ๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ในอาวาสชือ่ โน้นมี สงฆ์อยูพ่ ร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะ หน้าสงฆ์นนั้ ว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”...


๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ในอาวาสชือ่ โน้นมี ภิกษุผเู้ ป็นเถระอยูจ่ า� นวนมาก เป็นพหุสตู เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินยั ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านัน้ ว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”... ๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินยั นีก้ ล่าวอย่างนีว้ า่ ในอาวาสชือ่ โน้นมี ภิกษุผเู้ ป็นเถระอยูร่ ปู หนึง่ เป็นพหุสตู เรียนคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินยั ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนัน้ ว่า “นีเ้ ป็นธรรม นีเ้ ป็นวินยั นีเ้ ป็นค�าสอนของพระศาสดา”... เธอทัง้ หลายยังไม่พงึ ชืน่ ชม ยังไม่พงึ คัดค้านค�ากล่าวของผูน้ นั้ พึงเรียน บทและพยัญชนะเหล่านัน้ ให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียง ดูในวินยั ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าใน วินัยก็ไม่ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระด�ารัสของพระผู้มีพระภาค พระองค์นนั้ แน่นอน และภิกษุนรี้ บั มาผิด” เธอทัง้ หลาย พึงทิง้ ค�านัน้ เสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านัน้ สอบลงในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินยั ก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นีเ้ ป็นพระด�ารัส ของพระผูม้ พี ระภาคพระองค์นนั้ แน่นอน และภิกษุนนั้ รับมาด้วยดี” เธอทัง้ หลาย พึงจ�ามหาปเทส... นีไ้ ว้. ๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๗๘/๑๔๑. -บาลี ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓. -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.

อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า ‘ธรรมวินัยของ พวกเรามีพระศาสดาล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา’ ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธออย่าคิดอย่างนั้น. อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เรา แสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็น ศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา.


อานนท์ ! ในกาลบัดนีก้ ด็ ี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จัก ต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิง่ อืน่ เป็นสรณะ มีธรรมเป็น ประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นอยู่. อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะ อันเลิศที่สุดแล. อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า เป็นบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย... เราขอกล่าวย�้ากะ เธอว่า... เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย.

เธอทั้งหลายอย่าเป็น บุรุษคนสุดท้าย ของเราเลย -บาลี ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.



¨n° µ ¹È  À ¨° oª¥ ¸ oª¥ ªµ¤¿®Æ

9Sþ*BTDb;`GRBTD;O$ MT- O*GCCVc6 CWI*$EO<OS;L;V9 CW<T;=ER7[ `GRM; T7 T*OS;= 6L;V96W b;_EĐO;DO6;Sþ; CW<SGGS*$ OS;GT66 ID> Ta$_-TI %;DTI GT66 ID_'EĐĕO*GT69lT6 ID%;`$RLW%TI GT66 ID%;_+WDC_= ;`> ;9X< CW_'EĐOĕ *GT6OD T*6W9Tl 6 IDM;S*-RC6 CW_@6T;$Sþ;b;_<YhO*<; CWMCO;`6*IT* 5 % T*9Sþ*LO*

¿ °¤¸­ ·®¨ ¨º¤ ¿¤ºÇ° ¦³ ̵ µ¨³ ¥n°¤¿ oµ ¹ ¿ ¡ · µ¥®¤¼n ®¤¼n® ¹Ç

­µ ¥µ¥ ¦¦¤ ­µ ¥µ¥ ¦¦¤

ïìĒĀŠÜíøøöìĆĚÜĀúć÷ ÷ŠĂöðøćÖäĒÖŠđíĂ ñĎšöĊÙüćöÿč×ĔîõóîĆĚî

ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂîLERa<$%E5W CW;Tlh OS;_Df; bLLROT6 CW9T OS;6W ; TEĐ;ĕ ECD

`GRb;9WgcC c$GLERa<$%E5W;Sþ; CW`;I= TOS;9X<

­ · ´ ¿ · ¹È oµ À n­´ ªr ´È ¥n°¤¿ } ¼o ¦¦¨» » ª·¿«¬¿¦Æª¡¨´

úĞćéĆïîĆĚî ïčøčþñĎšöĊêĆüĂĆîÙüćöøšĂîĒñéđñć đĀîĘéđĀîČęĂ÷ Āĉü øąĀć÷ öčŠÜöćÿĎŠìĊęîĆĚîė ēé÷öøøÙćÿć÷đéĊ÷ü ïčøčþñĎšöĊÝĆÖþčđĀĘîđ×ćĒúšü óċÜÖúŠćüĂ÷ŠćÜîĊĚüŠć ĶïčøčþñĎšđÝøĉâîĊĚ ðäĉïĆêĉĂ÷ŠćÜîĆĚî éĞćđîĉîĂ÷ŠćÜîĆĚî Ēúą×ċĚîÿĎŠĀîìćÜîĆĚî ÝĆÖöćëċÜìĊęîĆĚîė ìĊđéĊ÷üķ

čæò÷ĀíæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

ùûā ùĘ Ĝģ ĞĢĢ ĠģĤ éāôĄ éāôĄ ùûā ùĘ Ĝģ ĞĢĢ ĠģĤ

­µ ¥µ¥ ¦¦¤ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

ØéĀé ĜĞ

&@ / !

&@ / !

XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH ÓôĆēè ù ö í '. .)[ æćÐöĀèíòÿ ċöôā è

æāè

éāôĄ èöÐ üĘ ĝĞ ğĞĤ ĝěĤ éāôĄ Ñć Ñć ĝĠ ĞěĠ ĝĢģ

äăãäāðÐāòċëñČëŚíòÿçòòðÓĘāùüèäāðúôĀÐíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞÓÐą óæçă ė čùäĉåëă čô ďãśæ ēĄ

13 13

14 14

15 15

16 16

ĄúĄ

ċãòĀ×ØāèöăÙā ċãòĀ×ØāèöăÙā

éāôĄ ×äćÐĉÐ üĘ ĝĜ ĝĠĜ ĜĤĜ

ðĈôèăāçùüèäāðúôĀ ăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ äăãäāðÐāòċëñČëŚíòÿçòòðÓĘ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăė čùäĉåăëčô ďãś æĄē Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈÐèöĀñŞèêíòÿ ċöôā è ÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS

ùāçñāñçòòð

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăå ė ăëčùäĉ åëă æčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓÐąė čùäĉ čô ďãś Ąē æ ēĄ XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ēè ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ÓôĆ ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

ïíïĈðă

ùāçñāñçòòð ùāçñāñçòòð

éāôĄ ðĈ ð Ĝĝ ĜğĢ ĜĠĞ ĜĢě ĜĢġ

üðĈôçòòðÿèĄ āċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ùăæèçăĎØéĀ ė èäśéèèĄØéĀ ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞæāÖÐāò÷ąÐøāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢèçòòðæāè ôăÑùăæçăĎė èäśèØéĀéèĄďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùăæçăĎė èÐāò×ĀãæĘā×āÐ ÑśüðĈôÑśçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘā Ĕ ×ĀċíĆãüē æĘêòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈÐùŚ øāùĈ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăÑĎė èäś ďĔ ãśéòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚù Ööèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ØéĀüē éċëñČëŚ ċíĆüē ċëñČëŚ èæćÐ Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈôā ÑüÓĘ êòąÐāøāãś äśèØéĀäśéèċíĆ ĎèæćÐĎÐò⥠ĎèÐāò×Ā ãæĘāúòĆãæĘüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈô ÑüÓĘ êòąÐāøāãś èÑśüāðĈèÑś ô üðĈôäśèØéĀéċíĆüē ċëñČëŚĎèæćÐÐò⥠ĎèÐāò×ĀãæĘāúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙśÓöāðôÿċüĄñãòüéÓüéċíĆüē òĀÐøāÓöāðåĈÐäśüÖÑüÖÑśüðĈô ÑüÓĘāêòąÐøāãśāèÑśüðĈô ĎèÐāò×Ā ã äăæãçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ äŚüďãśæĄē ôèăēçüíă ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀã äăãäŚüďãśæ ēĄ ðĈôèăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íćæçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚüãďãśæĘæā ēĄ ðĈċíĆ ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăí Ĕ ×Āćæãçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄèöØéĀ òòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞæāÖÐāò÷ąÐøāùĈâùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôăÑùăæçăâĎė èäś éèĄďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùăæçăĎė èÐāò×ĀãæĘā×āÐ Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ äśèØéĀéċíĆùĘüē āċëñČëŚ ÐÐò⥠ñãòüéÓüéċíĆüē òĀÐøāÓöāðåĈÐäśüÖÑüÖÑśüðĈô ÑüÓĘāêòąÐøāãśāèÑśüðĈô ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS úòĀéëĈäś Ďüś èæć ÖÐāòêÞă éäĀ ĎèÐāò×Ā çă òòòð äăããæĘäŚāüúòĆďãśüæċëñČëŚ ēĄ ÷ĈèñŞ čêòãĎÙś êÞăéäĀ íă Óæć öāðôÿċüĄ çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò÷Ā íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ ĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀã äăãäŚüďãśæĄē čæò÷ĀíæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

&@&@ // !!

¦¦¤¿®¨n µ ´OS;È M;T CW ¿ } _*TM;T9X ¦¦¤°´< £· ¬» ´È ¢{ ¿ º° Å CWb<O O;`GRb<`$

ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂî=ETLT9 b;=ETLT9;Sþ;CW_EĐO;DO6 .Xą*,T<9T`G I

ØéĀé Ĝĝ ØéĀé Ĝĝ

éāôĄ ×äćÐĉÐ üĘ ĝĜ ĝĠĜ ĜĤĜ

ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂî7 ;cC _$V6b;@Y;h 9WO g ;S _LCO

&@& / / ! !

­ · ´ ¿ · ¹È oµ ´ ¿ · » ¹ª·È ¿«¬¿¦Æ oµ ª¡¨´ À n­´ ªr ´È ¥n°¤¿ }­ · ¼o ¦¦¨»

_7fCc=6 ID8 T;_@GV* =ETJ+T$_=GI =ETJ+T$'IS;

õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b õĉÖþčĔîíøøöüĉîĆ÷îĊĚ ÷ŠĂöđúŠćđøĊ÷îíøøö ÙČĂ ÿčêêą đÙ÷÷ą đü÷÷ćÖøèą Ùćëć Ăčìćî ĂĉêĉüčêêÖą ßćéÖ ĂĆ êíøøö đüìĆ úúą CWb<O O;`GRb<`$ OS;_<T<T* CW_*TOSó;õĎa=E *

ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂîMGZC'[8 GX$DVý*$I T-SýI<ZEZK _7fCc=6 ID'[8 ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂî7 ;cC _$V6b;@Y;h 9WO g ;S cC _LCO

&& // !!

ïìĒĀŠÜíøøöìĆĚÜĀúć÷ ÷ŠĂöðøćÖäĒÖŠđíĂ ñĎšöĊÙüćöÿč×ĔîõóîĆĚî

ØéĀé Ĝě

¿ °¤¸ ¨ ¨º ¤ ¿¤º Ç° ¦³ Ì ¿ °¤¸­­ · ·®®¨ ¨º ¤ ¿¤º Ç° ¦³ Ì µ µ¨³µ µ¨³ ¤¿ oµµ ¹ ¹ ¿ ¡ · µ¥®¤¼ n ®¤¼nÂn® ®¤¼ ¹Ç n® ¹Ç ¥n¥n°°¤¿ o ¿ ¡ · µ¥®¤¼

ïăÐøćæĀĔÖúôāñ b çòòðæāè ċôă÷ÐöŚāæāèæĀĔÖúôāñ

ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀã äăãäŚüďãśæĄē ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ

Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò÷ĀíæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

óć Ô üċ êĄĘ Ú þ ø ą õ b Ā ą ì ą î ą ì ý èć ý ô ą ëć ìĈĘ Đ ø ĀĄìíċ××øďÛöćàĐøşú êĜąĒþşôąÔĐøşú õŞĀôďîŦìÕĀÚöĜąÚĄí ďóć ÔîŦ üċìêĄĘ ÚÕþ øĀ ą Úõ î ö ăb æĈ è Ā ąďì îŦą îìą ìÕý èćĀý Úô ąďëć õĖìĈĘ Đìø í ďĀĄîŦìíċì××øďÛöć ýċ Õ úć àþĐøşąúö Đ êĜø ąăĒþşõŞôąÔĐøş Ā ô õĄú Ú ĀõŞÔċĀôďîŦ û øìÕĀÚöĜ ë ö öąÚĄô Õ Ā Ú î ĀĄöìďÔć ă çæĈÕĉĘìèĐøşú ď îŦ ì ÕĐøăďÔć Ā ÚçÕĉďĘìõĖĐøşúì ĀĄď ìîŦďîŦììíąî ď îŦĀĄ ìì èöëąìēî ýċ Õ úć þ ą ö ĐĒþĘø öăĜ ą ÚĄõŞ íĀēî ô õĄ Ú đçõ×úöĐÔė Ā Ôċ û ø ë ãöąìă ö ô ĒþĘ ú óćĀĄìÔďîŦüċìêĄíąî Ę Ú þ ø ą õ ĀĄìďÔćçÕĉb Ęì Đøşú ď î öĈ õĐøăďÔć í ď þçÕĉôĊĘìĀĐøşì ðċĒþĘ ř ìĀëċĄ ìøĈèöëąìēî òċŚ Ú ÕĉĘ ì Đ þŞ ÚĒþĘ ď çĊöĜ Āą ÚĄìíýċēî ç êş ą đçõ×úöĐÔė õ Õ Ā Ú ÷ çČ ãöşąìă Āì ď î öĈìĄõ í ď þ ôĊ Ā Ôì ðóć Ô üċ êĄĘ Ú þ ìø ą õ þb êĈðċė ř ì ëċïćøĈ òċŚ Úç ÕĉĘ ì ÷Đ þŞ ÚçČď çĊ Āèì ýċ çÔ êş ą øõ Õ ĀÚÚ ÷ çČô öş Ā ąì Ô õŞð Ā ô êĜ ą ðċ ř ìì ëċ øĈ ď þ øŞ ą þìĄ Ę ì Ē þş ĀĄ ì ìĄè ö ë ą ì ē î ą ĒêĈþşė öĜ ïćą ÚĄ íçē î ÷ē çş đ çČ ç õè × Ôú ö øĐ Ôė Úã ąô ì ă ÕĘõŞ Ā ô êĜ Āą ðċ ř ì ëċ ìĈøĈĘ ď þ øŞ ąÜĄ ìĄ Ę ì Ē þşìĀĄ ì è öĒë ą ì ē çî ÚĄ í ē b î ēĀąìąîąìýèć çş đ ç õ ý×ôąëć ú ö ĀĄìĐíċ×Ôė×øďÛöć ã ąàìĐøşúă óćĒ ÔþşüċêöĜĄĘÚąþøąõ êĜÕĘ ą Ē þĘ ô ąĀÔ Đ øĘ ú ÔĖ ďìĈîĖĘ ì Õ Ā Ú ÜĄö ă ÚĄ í ìď îĖ ì Õ Ā ÚĒ î ö ă æĈ èç óćÔìüċÕĀÚďõĖ êĄĘÚþøąõ ýôąëć ĀĄìíċ××øďÛöć Đøşú ďîŦ ì ďîŦìýċb ÕúćĀąìąîąìýèć þąö ĐøăõŞĀôõĄ ÚĀÔċ ûøëööôĀĄ ìďîŦìàíąî êĜ ą Ē þĘ ô ą Ô Đ øĘ ú ÔĖ ď îĖ ì Õ Ā Ú ö ă ÚĄ í ď îĖ ì Õ Ā Ú î ö ă æĈ è êĈė ď Ôć ç ÕĉĘ ì Đ øş ú Đ ø ă ď Ôć ç ÕĉĘ ì Đ øş ú ĒďîŦìÕĀÚďõĖ þş ìĀĄ ďîŦìýċìÕúćþąö è ĐøăõŞ ö ĀôõĄëÚĀÔċûąøëööôĀĄ ì ìďîŦē ìíąî î ĒêĈþĘė öĜď ą ÔćÚĄ íçē îÕĉēĘ çĘì Đ øşđ çúõ ×Đú öøĐ Ôėă ã ďą ìÔćă ēççĘ ÕĉĘ ì ÜĄĐì ìĄøşĘ ì ú ĀĄ ì è b ö ë ÔĖ Ā ąìąîąìýèć ą ì ēý ôąëćî óćĒ Ô üċ êþşĄĘ Ú þøąõ ĀĄĒ þĘìöĜ íċą ÚĄ×í ×ē îøē çĘď Û öć àđ çĐõ ×øş úúö Đ ÔėêĜã ąąìĒă ēþşçĘ ô ą ÔÜĄĐì ìĄøş Ę ìú b Āóć Ô üċ êõŞĄĘ Ú þøąõ ą Ú ē ö ÔĖďĀ ąìąîąìýèć øŞ ą ý ôąëć ĀĄ ì íċ × × ø ď Û öć à Đ øş ú êĈė ď îŦ ì Õ Ā Ú öĜ ą ÚĄ í ď îŦ ìêĜ Õą ĀĒ þşÚ ôî ąö Ôă ĐæĈøş èú ďĀ îŦ ìõŞ Õ Āą Ú Úď õĖ ēì ď öîŦ ì ď ýċ ÕøŞ úć þą ą ö êĈė ď ĀîŦôõĄìÚĀÔċ Õ ûĀøëööôĀĄ Ú öĜ ąìďîŦÚĄ ìííąîêĈ ď îŦėďÔćìçÕĉÕĘìĐøşĀú ĐøăďÔć Ú î ö çăÕĉĘìæĈĐøşúè ĐøăõŞ ö Ēď îŦ þĘì ÕĀĄ Ā ìÚ ď èõĖ ì ö ď îŦë ì ąýċ Õ ì úć þē ą î ìďîŦìíąîêĈđėďÔćççõÕĉĘì×Đøş ĒĐøăõŞ þĘ öĜ ąĀôõĄ ÚĄ íÚēĀÔċîûēøëööôĀĄ çĘ ú öú ĐøăďÔć Đ Ôė ã ą çìÕĉăĘìēĐøşçĘ ú ĀĄ ìb óćèÔ üċ Ē ìÔöæĈ ö ëì Ĉ Ę ąēîĐøĘìú ýČŞîė ąēÔĖ è ąôî óćĒ Ô üċ êþĘĄ Ę Ú þøąõ ēĒîþĘĐöĜøĘąúÚĄýČíė đē×îìē ēçĘôĘ ÔĖ è ą ô ē î Đ đøĘçúõýČ×ė ď öĊú Āö ìĐ Ôėúė ãą Úą ÔĖì èă ēą çĘô ìĄóćė ÔÚüċ ê×ČĄ Ę ÚĘ þøąõ Õ ą ď b ÕĘ ąóć Ôôüċ ĒąìÔöæĈ đ çì Ĉ Ę õ öēîĐøĘ Ā úíýČŞîĐė ą ÔĖøĘè ąô ú ô èĄē Ę î ÚĐ øĘÔú ýČąė đ ×õì ēèôĘ ÔĖöè ąÚ ô ē î çĜĐ øĘ ąú ýČöė ď öĊ ÚĀ ìýúė ąèćÚ ÔĖôĄèė ąì óćìĄėÔ Úüċ ìĄ×ČĘ ìĘ Õ ôĈą ý ďèć þÕĘ ą ąõ ĒôÛ ď ąÕĘ ąđ çôĈ ýõèć öþ ąĀõ ĒíÛ ĀĐĀ ÔøĘ ú èĄ Ę í Ú ą ÔøĈ ą ôõ þè ąö Úúć Ġ çĜ Ġą Ģö ĠÚ ý Ġ èćĦ ôĄħė ì óć Ô üċ ìĄ Ę ì ôĈ ý èć þ ą õ Ē Û ď ÕĘ ą ôĈ ý èć þ ą õ Ē Û Ā Ā Ô í ą øĈ ô þ ą úć Ġ Ġ Ģ Ġ Ġ Ħ ħ

Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăå ė ăëčùäĉ åëă æčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓÐąė čùäĉ čô ďãś Ąē æē Ą XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ēè ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ÓôĆ ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

ØéĀé ĜĜ

ĂĉêĉüčêêÖą ßćéÖ ĂĆóõĎêíøøö đüìĆúúą

¦¦¤¿®¨nµ ´È ¿ } ¦¦¤°´ £· ¬» ´È ¢{ ¿ º° Å ¦¦¤¿®¨nµ ´È ¿ } ¦¦¤°´ £· ¬» ´È ¢{ ¿ º° Å ¨n ¨n°° µ ¹ È Â À ¨° oª¥ ¸ oª¥ ªµ¤¿®Æ µ ¹È  À ¨° oª¥ ¸ oª¥ ªµ¤¿®Æ

ïìĒĀŠÜíøøöìĆĚÜĀúć÷ ÷ŠĂöðøćÖäĒÖŠđíĂ ñĎšöĊÙüćöÿč×ĔîõóîĆĚî

ØéĀé Ĝě ØéĀé Ĝě

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

êßðçòòð êßðçòòð

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ

ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò÷Ā íæŞí æŞěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Ā ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

ÿćøĊïčêø b đðøĊ÷ïđĀöČĂîMGZC8 T;_@GV* GX$DVý*$I T-SýI<ZEZK

õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b õĉÖþčĔîíøøöüĉîĆ÷îĊĚ ÷ŠĂöđúŠćđøĊ÷îíøøö ÙČ Ă ÿčêêą đÙ÷÷ą đü÷÷ćÖøèą Ùćëć Ăč ìćî õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b õĉÖþčĔîíøøöüĉîĆ÷îĊĚ ĂĉêĉüčêêÖą ßćéÖ ĂĆ óõĎêíøøö đüìĆúúąì ćî ÷ŠĂöđúŠćđøĊ÷îíøøö ÙČ Ă ÿčêêą đÙ÷÷ą đü÷÷ćÖøèą Ùćëć Ăč

À n­´ ªr ´È ¥n° éāôĄ¤¿ } ¼o ¦¦¨» » ª·¿«¬¿¦Æª¡¨´ ×äćÐĉÐ üĘ ĝĜ ĝĠĜ ĜĤĜ

Ů :) A :)H#ů Ů :) A ŧ H)ĉŧ H)ĉ :)H#ů

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě

ÓôĆēè ù ö í '. .)[ æćÐöĀèíòÿ ċöôā è

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞæāÖÐāò÷ąÐøāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢèçòòðæāè ôăÑùăæçăĎė èäśèØéĀéèĄďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùăæçăĎė èÐāò×ĀãæĘā×āÐ äśèØéĀéċíĆüē ċëñČëŚĎèæćÐÐò⥠ĎèÐāò×ĀãæĘāúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙśÓöāðôÿċüĄñãòüéÓüéċíĆüē òĀÐøāÓöāðåĈÐäśüÖÑüÖÑśüðĈô ÑüÓĘāêòąÐøāãśāèÑśüðĈô

Ćċòċôċòăîč č Ćċòċôċòăî

éāôĄ üćêòă ð Ĝğ ĜĤĠ ĝģĤ éāôĄ ċüÐ üĘ ĝě ĠĤ ĝĞĠ ĝĞĤ éāôĄ üćêòă ð Ĝğ ĜĤĠ ĝģĤ éāôĄ ċüÐ üĘ ĝě ĠĤ ĝĞĠ ĝĞĤ

üðĈôçòòðÿèĄ āċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ùăæèçăĎØéĀ ė èäśéèèĄØéĀ ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôÑśçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘā Ĕ ×ĀċíĆãüē æĘêòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈÐùŚ øāùĈ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăÑĎė èäś ďĔ ãśéòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚù Ööèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ØéĀüē éċëñČëŚ ċíĆüē ċëñČëŚ èæćÐ Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈôā ÑüÓĘ êòąÐāøāãś äśèØéĀäśéèċíĆ ĎèæćÐĎÐò⥠ĎèÐāò×Ā ãæĘāúòĆãæĘüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈô ÑüÓĘ êòąÐāøāãś èÑśüāðĈèÑś ô üðĈô ĎèÐāò×Ā ã äăãæçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ äŚüďãśæĄē ôèăçēüíă ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚüãďãśæĘæ ēāĄ ðĈċíĆ

üāèāêāèùäă üāèāêāèùäă

ČÐśÐòòð ČÐśÐòòð

ðòòÓöăçĄæĄēÖŚāñ

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

čæò÷ĀíæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçă åëă æčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė Ðą čùäĉ åăë ė čùäĉ čô ďãś Ąē æ ēĄ XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ēè ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ÓôĆ ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH

ÐāòüèćċÓòāÿúŞãśöñçòòð ċêŢèċôă÷ ïăÐøćæĀĔÖúôāñ b æāè ĝ üñŚāÖċúôŚāèĄĔðĄüñĈŚ ÓĆü Ě üāðăùæāè Ě çòòðæāè ïăÐøćæĀĔÖúôāñ b éòòãāæāè ĝ üñŚāÖċúôŚāèĄĔ çòòðæāè ċêŢèċôă÷

&@&@ // !!

&@&@ // !!

&@&@ // !!

ØéĀé Ĥ &@ / ØéĀ!é Ĥ &@&@ // !! êßðçòòð

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăå ė ăëčùäĉ åëă æčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓÐąė čùäĉ čô ďãś Ąē æ ēĄ XXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ēè ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ÓôĆ ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

üăèæòĄñùĀÖöò üăèæòĄñùĀÖöò

ÕòāöāùÙèċôă÷ ÕòāöāùÙèċôă÷

üćêòă ð Ĝğ ĝğğ ĞĠġ Ģ éāôĄ éāôĄ üćêòă ð Ĝğ ĝğğ ĞĠġ Ģ

Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ

ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò÷Ā íæŞí æŞěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Ā ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

5<5<!! += +=**2929 /+/+

Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ

ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS

äăãäāðÐāòċëñČëŚíòÿçòòðÓĘāùüèäāðúôĀÐíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞÓÐą óæçă ė čùäĉåëă čô ďãśæē Ą

ïăÐøćæĀĔÖúôāñ b ÐāòüèćċÓòāÿúŞ ĝ üñŚāÖċúôŚāèĄĔðĄüñĈŚ ÓĆü Ě ÐāòüèćċÓòāÿúŞãśöñüāðăù Ě ÐāòüèćċÓòāÿúŞãśöñçòòð ïăÐøćæĀĔÖúôāñ b éòòãāÐāòüèćċÓòāÿúŞ ĝ üñŚāÖċúôŚāèĄĔ

ØéĀé ġ ØéĀé ġ

ØéĀé Ġ ØéĀé Ġ

ØéĀé ğ ØéĀé ğ

ùûā ùĘ Ĝģ ĜĢĤ ĝğĠ éāôĄ ðúā æĄ Ĝě ĜĢĠ ĜĞģ éāôĄ ð ð ĜĞ ğĝĢ ğġĞ éāôĄ éāôĄ ùûā ùĘ Ĝģ ĜĢĤ ĝğĠ éāôĄ ðúā æĄ Ĝě ĜĢĠ ĜĞģ éāôĄ ð ð ĜĞ ğĝĢ ğġĞ

ĎèÐāò×Ā ã äăæçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ãäŚüďãśæĄē Ąē ðĈôēüèăçÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãüæĘ ďãśāæċíĆ ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ

ČÐśõĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b Öć÷ÙêćÿêĉĂĆîßîđĀúŠćĔéĕöŠÿšĂÜđÿóĒúšü õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b Öć÷Ùêćÿêĉ ĂĆîßîđĀúŠ ćĔéĕöŠ ÿšĂÜđÿóĒúš ĂöêąßČ ęĂüŠć ĂĆîßîđĀúŠ ćîĆĚîĕöŠ ÿšĂÜđÿóĒúš ü ü ęĂüŠć ĂĆ îÖć÷Ùêćÿêĉ ßîđĀúŠćîĆĚîĂĕöŠĆîßîđĀúŠ ÿšĂÜđÿóĒúš õĉÖĂöêąßČ þčìĆĚÜĀúć÷ b ćĔéÿšüĂ ÜđÿóĒúšü õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b Öć÷Ùêćÿêĉ ĂĆîßîđĀúŠ ĂÜđÿóĒúš ĂöêąßČ ęĂüŠć ĂĆîßîđĀúŠ ćîĆĚîÿšćĔéÿš ĂÜđÿóĒúš ü ü ĂöêąßČ üŠć ĂĆîßîđĀúŠ ÿšĂÜđÿóĒúšü õĉÖþčìĆĚÜęĂĀúć÷ b ßîđĀúŠćîĆćĚîĔéðøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b ßîđĀúŠ ßîđĀúŠ ćîĆĚîßČćęĂĔéðøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ üŠć ðøąöćìĂöêą ćîĆĚî ßČßîđĀúŠ ęĂüŠć ðøąöćìĂöêą õĉÖþčßîđĀúŠ ìĆĚÜĀúć÷ b ćĔéĕöŠðøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b ßîđĀúŠ ćßîđĀúŠ îĆĚîßČęĂćüŠĔéĕöŠ ć ĕöŠððøąöćìÖć÷Ùêćÿêĉ øąöćìĂöêą ßîđĀúŠćîĆĚîßČęĂüŠć ĕöŠðøąöćìĂöêą

Úüüú Úüüú

ùÓā ùĘ ĜĠ ĜĞğ ĞĤĝ éāôĄ éāôĄ ùÓā ùĘ ĜĠ ĜĞğ ĞĤĝ

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ ×Āãüē æĘêòÿčñÙèŞ āċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ùăæèçăØéĀ Ďė èäśéèèĄØéĀ ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘā Ĕ ċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė Ñèäś ďĔ ãśòééĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ċíĆüē ċëñČëŚ èæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈôā ÑüÓĘ āêòąÐāèÑś øāãśüðĈāèÑś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀüē éċëñČëŚ ĎèæćÐĎÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈô ÑüÓĘ êòąÐøāãś ô üðĈô

õĉÖþčîĆĚî÷ŠĂößČęĂüŠć đðŨîñĎšêćöđĀĘîÖć÷ĔîÖć÷Ă÷ĎŠđðŨîðøąÝĞć õĉÖþčîĆĚî÷ŠĂößČęĂüŠć đðŨîñĎšêćöđĀĘîÖć÷ĔîÖć÷Ă÷ĎŠđðŨîðøąÝĞć õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b ßîđĀúŠćĔéĕöŠïøĉēõÙÖć÷Ùêćÿêĉ õĉÖþčìĆĚÜĀúć÷ b ßîđĀúŠćĔéĕöŠïøĉēõÙÖć÷Ùêćÿêĉ ßîđĀúŠćîĆĚîßČęĂüŠć ÷ŠĂöĕöŠïøĉēõÙĂöêą ßîđĀúŠćîĆĚîßČęĂüŠć ÷ŠĂöĕöŠïøĉēõÙĂöêą

óćÔüċêĄĘÚþøąõ b ÝìďþøŞąĒçíöćđó×Ôąõ×èąýèć óćÔüċêĄĘÚþøąõ b ÝìďþøŞ đó×Ôąõ×èąýèć ÝìďþøŞ ąìĄĘìÝĊėĀúŞąąĒçíöć õŞĀôíöć đó×Āôèă ÝìďþøŞąìĄĘìÝĊėĀúŞąõŞĀôíöćđó×Āôèă ČÐś

Ĥ

!9M! 9 D#đ!H# D&? L5#+8F* !č M5 AL5- /:)2@ D&?L5 /:)2@

Ċ5!9 ĊM!5 9 D#đ! H# D&? L5#+8F* !č D ?M5 A-D ? D&?

5 9M 3-:*D5 -5 :-!:!Ŵ E ĉ&E ĉ / D&/ D 5 9M 3-:*D5 -5 :-!:!Ŵ

üðĈôçòòðÿèĄ āċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ùăæèçăĎØéĀ ė èäśéèèĄØéĀ ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôÑśçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘā Ĕ ×ĀċíĆãüē æĘêòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈÐùŚ øāùĈ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăÑĎė èäś ďĔ ãśéòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚù Ööèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ØéĀüē éċëñČëŚ ċíĆüē ċëñČëŚ èæćÐ Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈôā ÑüÓĘ êòąÐāøāãś äśèØéĀäśéèċíĆ ĎèæćÐĎÐò⥠ĎèÐāò×Ā ãæĘāúòĆãæĘüċëñČëŚ čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś üðĈô ÑüÓĘ êòąÐāøāãś èÑśüāðĈèÑś ô üðĈô ĎèÐāò×Ā ã äăæãçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ äŚüďãśæĄē ôèăēçüíă ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚüãďãśæĘæā ēĄ ðĈċíĆ

ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ

åĕöôčŸÃŸŸćĎĂęĂßõĀĀþŸ áĄďþßĖñęÞĂď

ØéĀé

5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*D+= +Ċ5 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ 5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*D+= * +Ċ5* 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ !)< + !)< + D+=*5 +Ċ L5 /:)D#đ D#đ:! H+D-ĉ 5*ĉ:: H+D-ĉ H)ĉD+=H)ĉ * +Ċ D&?5L5 D&?

/:)D#đ !09 +A! 09D#đ !+A5*ĉ ħ : ħ 5:!! č ŧ G! + = !=M 0:2 :$A ! A E2/ 3:#+8F* !č 5:!! č ŧ G! + = !=M 0:2 :$A ĊD5K! AĊD 5KE2/ 3:#+8F* !č D ?M5 A-D ?M5 A- * /:)D5K E-Ċ /E2 > E2 M 3-:*/ĉ 5:095:09 * /:)D5K ! AE!-Ċ A/ > ++)E ĉ++)E ĉ 2:/ 92:/ 9 M 3-:*/ĉ : : #đ!H#D&? L5#+8F* !č M5 A&-/ D E ĉ&5 9 / DM 3-:* 5 9M 3-:* ß2<L ß2< !=MD#đL !=!MDH#D&? L5#+8F* !č D ?M5 AD- ?E ĉ E-82< #đ!H#D&? L5 /:)2@ E ĉ&5 9 / DM 3-:*à 9 5 9M 3-:*à 9 E-82< L !=M L KD!=#đM !KDH#D&? L5 /:)2@

E ĉ& / D !=MD#đ! Ċ!=!MD #đ! Ċ!

5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*5*ĉ !=ME- 5:!! č ŧ 2:/ 9 M 3-:*5*ĉ : !=ME:- +=*5 +Ċ 3:0:2 :D&? 5 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ !)< D+ H)ĉ * +ĊL55 /:)D#đ D&?L5 /:)D#đ ?L5 ?/ĉL5:$A/ĉ:ĊD+=$A*ĊD +Ċ L5 /:)D#đ !)< + H)ĉ +=* +ĊD5+= D&? !09 +A !09 +A

Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ

ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéëĈäś üś ÖÐāòêÞăéäĀ çă òòòð äăãäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò÷ĀíæŞ čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

đöČęĂñĎšĂČęîđðŨîñĎšđïĊ÷éđïĊ÷î đöČęĂñĎšĂČęîđðŨîñĎšêøąĀîĊę Ÿ ęĀďåĎÞęøŇöùĖŀĝþĿę÷Ēÿñę÷ĒÿöŸ ęĀďåĎÞęøŇöùĖŀĝþĿòĀčĈöĒġ đöČęĂñĎšĂČęîÖøąìĞćðćèćêĉïćê đöČęĂñšĎĂČęîđðŨîñĎšēĂšĂüé Ÿ ęĀďåĎÞęĄŀößďñåďÞøďðďòđ÷ďòŸ Ÿ ęĀďåĎÞęøŇöùĖŀĝþĿěĊŀĊĄñŸ đöČęĂñĎšĂČęîÖøąìĞćĂìĉîîćìćî đöČęĂñĎšĂČęîđðŨîñĎšöĊöćø÷ć Ÿ ęĀďåĎÞęĄŀößďñåďÞĊôđööďôďö Ÿ ęĀďåĎÞęøŇöùĖŀĝþĿþĒþďĀÿďŸ đöČęĂñĎšĂČęîóĎéđìĘÝ óĎéÿŠĂđÿĊ÷é đöČęĂñĎšĂČęîđðŨîñĎšÖøąéšćÜ åĕöôčŸÃŸŸćĎ ĂęĂßõĀĀþŸ áĄďþßĖ ęÞĂď ĂęĂßõĀĀþŸ áĄďþßĖ óĎéÙĞćĀ÷ćï óĎéđóšĂđÝšåĕĂöôčŸÃŸŸćĎ Ÿ ęĀďåĎÞęøŇöñùĖŀĝęÞĂď þĿÞñĀčñŀ ďäŸ ćđġäåôĒŸŸġęĢäõĊôĎ ĢäĈĂďÿûē Ÿ ęĀďåĎÞęĄŀößďñåďÞÞďĀûĖ ęôĠ đöČ ęĂñĎďšĂĜöõĀĀþôĎ ČęîđðŨîĢäñĎĈĂďÿęĈĂĿ šéĎĀĢäöĉĈĂďÿęĈĂĿ ęîìŠćďî öĒĢ ďöĒĢ ęøŇöćđęøŇ ġäôĒñöġęõĊôĎ ĈĂďÿûē äÞĀčôĦäÞĀčôĦ ďĜöõĀĀþôĎ Ÿ ûĖñćĿĊęćĒÿñŸŸûĖñáĦďĈÿď÷ŸûĖñęûŀĊęåŀĊŸ Ÿ ęĀďåĎÞęøŇöùĖŀĝþĿñĖĈþđġöôĿďö đöČęęĂĂñĎñĎđöČ öćÖéš đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đðŨñĎšĂîîČęîñĎñĎđðŨ ñĎšĂîČęîñĎđðŨ î÷ñĎéđïĊ šđïĊß÷áć éđïĊ î÷ćÖ ñĎšêøąĀîĊ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ šđüïĊ÷Ăõĉ î ÷î đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ ššêüŠćøąĀîĊ ę ę Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝĝþĿþĿöþę÷ĒùĖďÞñŀ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ Ÿ ÞÞęĀďåĎ ę÷ĒĄÿĊýđ ÿñę÷Ē öŸ ÞÞęĀďåĎ ŀĝÿŸþĿòĀčĈöĒ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ ÿŀĝþĿñę÷Ē öŸ çÿéďŸ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝĄþĿĿďöòäĿùĖďĀčĈöĒ ġ ġ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂöĊÖøąìĞ đöČęęĂĂñšñĎđöČ đðŨñšĎĂîîČęîñĎñĎđðŨ øßĆ ñĎÝšĂĉêČęîó÷ćïćì ÖøąìĞ ćðćèćêĉ šēĂšęüĂ üé đöČęęĂĂñĎñĎđöČ ćðćèćêĉ ïćê ïćê đöČ ĎšĂĂČČęęîîęĂđðŨ ššēöĂšĊöîĂĉêñĎüé Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ùĖęĄŀŀĝþĿöþßďñåďÞøďðďòđ Ēåđòûÿď÷ďôŸ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ ŸěĊŀĊĄñŸ Ÿ ÞÞęĀďåĎ Ÿ ÞÞęĀďåĎ ŀĝĊþĿĄñŸ ęĀďåĎ ęĄŀööÞßďñåďÞøďðďòđ ÷ďòŸ÷ďòŸ ŸŸ ęĀďåĎ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝþþĿĒþöěđòùĖĊŀĀñĒ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ šôćĂìĉ čŜÜàŠćîćî đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ ššðöĊøąöćì ñĎšĂîČęîñĎÖøąìĞ Ăìĉîîćìćî ñĎšöĊöćø÷ć đöČęęĂĂñĎñĎđöČ ÖøąìĞ îćìćî đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đðŨñĎšĂîîČęîñĎñĎđðŨ öîćø÷ć Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ùĖęĄŀŀĝþĿöüßďñåďÞĊôđ ĕĻäèĿďöŸööďôďö Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝĝþĿþĿöøþùĖĒþĀčþďô Ÿ ÞÞęĀďåĎ ööďôďö Ÿ ÞÞęĀďåĎ ŀĝďĀÿďŸ þĿþĒþďĀÿďŸ ęĀďåĎ ęĄŀööÞßďñåďÞĊôđ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ ēÖøí ñĎ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ ššĕÖöŠøąéš ČęîñĎóĎšöÝéĆÖ óĎ đìĘéÝÿŠ óĎ ĂđÿĊ÷é îöñĎĊĀšÖćĉøøąéš ćÜ ððą đöČęęĂĂñĎñĎđöČ óĎñĎéšĂîđìĘ ĂđÿĊéÖÿŠ÷ēÖøí é đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đðŨñĎšĂîîČęîñĎñĎđðŨ Ü ĉ ĒúąēĂêêĆ öùĖéŀĝđóšþĿĂþéđÝšĎÞđóšěÞĀõŸŸùĖ ęøŇ ŀŀþĝþĿĒĈöÞđĀùĖĀčñŀ đŸŀĝŸĚĂčěĊòòĎ óĎĀ÷ćï óĎ éÙĞÞćęøŇ Ā÷ćï óĎ Ÿ ÞÞęĀďåĎ þĿÞďĀčñŀ óĎ éÙĞćęĀďåĎ Ă Ăđݚà ÞěÞĀõŸ Ÿ ęĀďåĎ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ äŸ ďäŸøøčŸ îęĄŀñĎöšúÞßďñåďÞÞďĀûĖ ïĀúĎ čè ñęôĠåñŸŸęôĠ域 đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đðŨñĎšĂîîČęîñĎñĎđðŨ ŸšĂČęîđðŨÞęĀďåĎ ęĄŀöŠÙßďñåďÞÞďĀûĖ ŸđöČęĂñĎęĀďåĎ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ ššéöĎĊĀÿîčêöĉñĎąîš ęîšéìŠĎĀĂćöĉ÷ î ęîìŠćî Ÿ ęĀďåĎ ŀĝŸûĖþĿÿĂññŸ÷ĈĂĖ Ÿ ñęûŀĊñęåŀęûŀĊĊŸ ęåŀĊŸ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀþĝþĿĒćöñĕòùĖĖĈčþďÞŸ ñćĿöÿĊùĖñŸęćĒ ñĿááĦĕðďĈÿď÷ŸûĖ Ÿ ÞÞęĀďåĎ ŀĝþđþĿġöñôĿĖĈďþđöġöôĿďö ûĖŸ ñćĿÞĊûĖęøŇ ęćĒ áĦŸďûĖĈÿď÷ŸûĖ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ šĒü׊÷Ăõĉ ÜéĊ ü ß÷Ăõĉ đöČ ššĂĂČČęęîîęĂđðŨ šš×üŠćĊĚđîÖĊ÷ćÖ ñĎšĂîČęîñĎöćÖéš ñĎ÷Ý šüŠć÷ćÖ đöČęęĂĂñĎñĎđöČ öćÖéš áć ßáć đöČęęĂĂñĎñĎđöČ đðŨñĎšĂîîČęîñĎñĎđðŨ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀĝĝþĿþĿöĚþùĖßĿďÞñŀ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇ ŀŀøĄĿďĀďĀýáĄďþęûĒ ÞÞęĀďåĎ ŀĝäþĿñĒþĄďÞñŀ Ÿ ÞÞęĀďåĎ öäĿùĖďŀĄÿŸĿďäĿďÿŸ ÿĀŸ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ ÿĊýđĄçÿĊýđ éďŸçéďŸ ęĀďåĎ ęøŇööÞùĖùĖęøŇ đöČęęĂĂñĎñĎđöČ öĊšøĉÝþĉê÷ć ó÷ćïćì šöĊöęüĉê øßĆęü đöČ ššĂĂČČęęîîęĂöĊđðŨñĎÝšĂîĉêČęîñĎó÷ćïćì đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šöĊöîĉêñĎøßĆ éāôĄ ðĈ ð Ĝĝ Ģģ Ĝěġ Ÿ ęĀďåĎ ęĀďåĎ Þ ęøŇ ö ùĖ ŀ ĝ þĿ Ā đ Ć ÿďŸ ÞęĀďåĎ þĒåđòûÿď÷ďôŸ Ÿ ÞęĀďåĎ ŀþĒþŸđòĀñĒŸ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöþùĖĒåŀĝđòþĿûÿď÷ďôŸ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀþĒþöđòùĖĀñĒ îñĎšðøąöćì đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šôčŜÜîàŠñĎćšôî čŜÜàŠćî đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šðøąöćì ęĀďåĎ èäśèØéĀÞęĀďåĎ ŀĝþĿøĀčþďô ęĀďåĎ ęøŇ öÞùĖęøŇ ŀĝþĿöüæùĖāÖÐāò÷ą ĕĻäŀĝèĿþĿďüöŸĕĻäÐèĿøāùĈďöŸ þĿöøùĖĀčþďô ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāÞċíĆ üē êòÿčñÙèŞ ùŚ āçāòâÙèċêŢèçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė ęĀďåĎ éęøŇèĄďĔöãśÞùĖòęøŇ éĀ ŀĝÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùăæçăĎė èÐāò×ĀãæĘā×āÐ äśèØéĀđöČ éċíĆęĂüēñĎċëñČëŚ æĘāúòĆ ċëñČëŚ čêòãĎÙśÓöāðôÿċüĄđöČ ñãòüéÓüéċíĆ ÐšĕöŠøāÓöāðåĈ ÐĊĀäśĉøüĉ ÖÑüÖÑś üððĈðą ô ÑüÓĘðāðą êòąÐøāãśāèÑśüðĈô đöČ ČęîñĎđðŨ îēÖøí ñĎ ñĎšö ĎèÐāò×Ā ĆÖēÖøí ñĎ ÖüēÖøí îöñĎĊĀšĕĉøöŠĉ ö ĒúąēĂêêĆ ĒúąēĂêêĆ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîĎèæć šöÐĆÖÐò⥠ÖãēÖøí ęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîüē ČęîñĎòĀđðŨ æĒĈçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆ üē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ãäŚüďãśæ ēĄ ðĈÞôěÞĀõŸ þĿþãĎÞ äăěÞĀõŸŸùĖ ÞęĀďåĎ đĀđŸŸĚĂčěĊòòĎ ęĀďåĎ ÞęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöþùĖĎÞŀĝěÞĀõŸŸùĖ ÞěÞĀõŸèăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀþĒĈöđĀùĖđŸŀþŸĚĂčěĊòòĎ øøčŸøøčŸ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óćâ÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ ÓćâüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ îñĎšúŠÙïĀúĎ šöĊÿĂčê÷ ąîšĂ÷ đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šúïĀúĎ čè ŠÙčè đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šöĊÿîčêñĎąîš āúòĀéëĈÞäś ęøŇ äĀ çă òòòð äă ùĘÞęĀďåĎ öĂùĖ÷ĈĂĖ ŀĝþĿĂéĿá÷ĈĂĖ ÞęĀďåĎ ŀþĒćĕòčþďÞŸ ęĀďåĎ ęøŇöùĖŀĝüś þĿÖÐāòêÞă ĕðŸ ĿáĕðãŸäŚüďãśæ ēĄ ÷ĈèñŞêÞăéäĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀþĒćöĕòùĖčþďÞŸ čæò÷ĀíæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ š×ĊĚđÖĊ÷Ý đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šĒ׊îÜñĎéĊšĒ ׊ÜéĊ đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ š×ĊĚđîÖĊñĎ÷Ý ÓąÐöóæçă åăëčô ďãśæĄē ÿĀŸ ÞęĀďåĎ ÞùĖęøŇ ñĒ āùüèäāðúôĀÐíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÞęĀďåĎ ùĖŀøė čùäĉ ĀďĀýáĄďþęûĒ ęĀďåĎ ęøŇäăãöäāðÐāòċëñČëŚ ŀĝþĿöĚùĖßĿŀĝäþĿñĒĚßĿíäòÿçòòðÓĘ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀøĀďĀýáĄďþęûĒ ÿĀŸ XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ñĎšøĉþ÷ć ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æćÐöĀèíòÿ ċöôā è đöČęĂñĎđöČ šĂČęîęĂđðŨñĎšĂîČęîñĎđðŨ šøĉþî÷ć ðĈ ð Ĝĝ Ģģ Ĝěġ Ÿ ÞęĀďåĎ þĿĀđĆÿďŸ éāôĄ éāôĄ ðĈ ð Ĝĝ Ģģ Ĝěġ Ÿ ęĀďåĎ ęøŇöÞùĖęøŇ ŀĝþĿöĀùĖđĆŀĝÿďŸ

&@&@ // !!

&@&@ // !!

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

+=*5 +Ċ 3:0:2 :D&? 5 3:0:2 :D&? L5 /:)D#đ $AĊD+=$A*ĊD +Ċ L5 /:)D#đ !)<! )<+ +

2:/ D3-ĉ !9M! 5 0:2 : *ĉ Ċ/ * = *ĉ5)D = 2:/ D3-ĉ :!9M!: 5 0:2 : *ĉ 5)'ď5)'ď Ċ/ * = *ĉ5 )D = L*3A'L*3Aď 'ď *ĉ5M ) 9 < L5D&? 8+A L5 8+A *ĉ5) 9 < M D&? Ċ 9L/ >Ċ 9L/ > E-8H)ĉ Q:$G3Ċ< : Q $< : Q 29L 25! 5 0:2 : E-8H)ĉ E -ĊE -Ċ Q: G3Ċ :29L :25! 5 0:2 :

ðĈôèăçăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ ðĈôèăçăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăå ė ăëčùäĉ åëă æčô ďãś íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ čô ďãś Ąē æē Ą ęøŇäăãöäāðÐāòċëñČëŚ ćđäăXXX XBUOBQQ DPN ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX CVEEIBLPT PSH ġäôĒġęõĊôĎĢäĈĂďÿûē äÞĀčôĦ ďĜöõĀĀþôĎ ĢäĈĂďÿęĈĂĿďöĒĢ ÓąÐóæçăÓÐė ą čùäĉ XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ēè ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ÓôĆ ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

5:!! č ŧ D&+:8 8!9 M! G!D+? M &/ D M 3-:* 5:!! č ŧ D&+:8 8!9 M! G!D+? L5 !=L5M != &/ D 5 9M 5 9 3-:* 5 3: : D&? L5 /:)D#đ )< +D < D+= D+= * +Ċ*5 +Ċ 3: : D&? L5 /:)D#đ !)< !+D < D+=*5 +Ċ D&?5 D&? L5 /:)D#đ 5*ĉ:5*ĉ D+=*: +Ċ L5 /:)D#đ !09 !+A09D -*+AD-*

æùÐ üĘ ĝğ Ĝģģ ĤĜ éāôĄ éāôĄ æùÐ üĘ ĝğ Ĝģģ ĤĜ

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

üðĈôçòòðÿèĄ ×Āãüē æĘêòÿčñÙèŞ āċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą ùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ùăæèçăØéĀ Ďė èäśéèèĄØéĀ ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôÑśçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘā Ĕ ċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈÐùŚ øāùĈ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăÑĎė èäś ďĔ ãśéòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ØéĀüē éċëñČëŚ ċíĆüē ċëñČëŚ èæćÐ Ðò⥠ĎèÐāò×ĀãæĘāúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙśÓöāðôÿċüĄñãòüéÓüéċíĆüē òĀÐøāÓöāðåĈÐäśüÖÑüÖÑśüðĈô ÑüÓĘāêòąÐøāãśāèÑśüðĈô ĎèÐāò×ĀãæĘāúòĆüċëñČëŚ čêòãĎÙśÓöāðôÿċüĄñãòüéÓüéċíĆüē òĀÐøāÓöāðåĈÐäśüÖÑüÖÑśüðĈô ÑüÓĘāêòąÐøāãśāèÑśüðĈô äśèØéĀäśéèċíĆ ĎèæćÐĎÐò⥠ĎèÐāò×Ā ã äăæãçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ äŚüďãśæĄē Ąē ðĈôēüèăÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ çăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć ĎèÐāò×ĀãæĘāċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãüæĘ ďãśāæċíĆ

Đĕüĕþĕüčøė Đĕüĕþĕüčøė âĕąåøĕčøė Ôąõ×èąýèć

êĄĘÚþøąõ b ďöąõŞ ĀôÔøŞ ąúøôþąõĒÛďÕş ąĐøăøôþąõĒÛĀĀÔ óćÔüċóćêÔüċĄĘÚþøąõ b ďöąõŞ ĀôÔøŞ ąúøôþąõĒÛďÕş ąĐøăøôþąõĒÛĀĀÔ úŞąďîŦìÔąõĀĄìþìĉėÚĕ ĒìíööçąÔąõêĄĘÚþøąõ úŞąďîŦìÔąõĀĄìþìĉėÚĕ ĒìíööçąÔąõêĄĘÚþøąõ

&@ / ! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ / !! &&@ @ // !! çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

ØéĀé ģ ØéĀé ģ

ØéĀé Ģ ØéĀé Ģ

ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ ÝĞćóüÖîĊ îÖćöēõÙĊ đúĉĚîýðøąđÿøĉ ßĆĚîðøąđÿøĉ ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ ÝĞćóüÖîĊ Ě đðŨîĚ đðŨ ÖćöēõÙĊ ßĆĚîđúĉßýĆĚî ßĆ å å ĀĆüćĀîš ßĆĚîïüø ÖüŠ ćÖćöēõÙĊ ìĆĚÜĀúć÷ đðøĊ ÷ïđÿöČ ßĆĚîĀĆßĆüĚîĀîš ßĆĚîćÿĎ ßĆÜĚîÿčÿĎéÜ ßĆÿčĚîéïüø ÖüŠ ćÖćöēõÙĊ ìĆĚÜĀúć÷ đðøĊ ÷ïđÿöČ Ăî Ăî îöÿéđÖĉ éÝćÖĒöŠ ēÙ îöÿš đÖĉéÝćÖîöÿé đî÷ך đÖĉéÝćÖîöÿš îöÿéđÖĉ éÝćÖĒöŠ ēÙ îöÿš öđÖĉéöÝćÖîöÿé đî÷ך îđÖĉéîÝćÖîöÿš ö ö đî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷ך ĀĆüđî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷Ĕÿ đî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷ך î ĀĆîüđî÷ĔÿđÖĉ éÝćÖđî÷Ĕÿ ĀĆüđî÷ĔÿðøćÖäüŠ đúĉýćÖüŠ ćïøøéćøÿĂĆ đÖĉéÝćÖēÙìĆ ĚÜĀúć÷đĀúŠ îĆĚîî ÞĆ ĀĆüđî÷ĔÿðøćÖäüŠ ćđúĉýćÖüŠ ïøøéćøÿĂĆ îđÖĉéîÝćÖēÙìĆ ĚÜĀúć÷đĀúŠ ćîĆĚîć ÞĆ îĆĚîî îĆĚî

ÛļċĀĕôþĐ ĆÚ ðüĊ òðĆà ĄüĐ ÛļċĀÛĆà ... Ûļċ...ĀĕôþĐ ĆÚ ðüĊ ÷ûĿ ÷ ĕàčûĿò ĕàč ðĆà ĄüĐ ĆÛļċĆĀÛĆà ðĎĝĄĀàĖĄòĆûĻ ċàĘíĆûĻ ċàĄòď ðĎĝĄĀàĖĄòĆûĻ ċàĘíĆûĻ ċàĄòď ĝàúĎĆĝàûĒúĎĻ ĆûĒĻ ðċă ÚüüúÚü ÝòĘãļ ĖþĉõĒ ûÛĆàĕÛċ ðċă ÚüüúÚü ÝòĘãļ ĖþĉõĒ ļĆċāĊļĆûċāĊ ÛĆàĕÛċ ÷ďà÷ċĕĆċęôęúĻ ðĊĞàĄúí áĉîļ äďĝàÚċüþĉðč ðĊĞàĄúí ÷ďà÷ċĕĆċęôęúĻ ęíļðęĊĞàíļĄúí áĉîļ ĆàïďĆààïď äďĝààÚċüþĉðč ĞàęĀļĞàðęĀļ ĊĞàĄúí óđÝÝþðĢ ċÚüüúĘí íļ ĀûÚċû íļ ĀûĀċáċ ĄüĐ íļĀûĘá ÚĜóđÝÚĜÝþðĢ ċÚüüúĘí íļ ĀûÚċû íļ ĀûĀċáċ ĄüĐ ĆíļĀĆûĘá

ÚüüúòĊ ĞòĖĄþĉ ĕôŃ òÛĆàě ĕÛċ ĖþĉĕÛċûĻ Ćú÷ċĕĆċÚüüúòĊ ÚüüúòĊ ĞòĖĄþĉ ĕôŃ òÛĆàě ĕÛċ ĖþĉĕÛċûĻ Ćú÷ċĕĆċÚüüúòĊ ĞòęôĞòęô ĝà ÚüüúòĊ íîċúĕÛċęô ĕĄúĐ Ćòĕàċîč íîċúîòâĉòĊ ĆòďĝàĆòď ÚüüúòĊ Ğò ûĻĞòĆ ûĻ úîčĆíúîč îċúĕÛċęô ĕĄúĐ Ćòĕàċîč íîċúîòâĉòĊ Ğò Ğò ĕ÷üċĉâĉòĊ ÝÝþÝĀüðĢ ċÚüüúíĎ ăĊĝàăúęĀļ ăĢċóĄüĊ óù÷Ąòļ ĕ÷üċĉâĉòĊ Ğò óđĞòÝ óđ ÝþÝĀüðĢ ċÚüüúíĎ ăĊĝà ăúęĀļ ăĢċĄüĊ ù÷Ąòļ ċ ċ ðĊĞàĄþċû ûĻ ĝ÷ďĝàÛĆàăĊ ðĊĞàĄþċû ĘòėþÚĄòļ óđæðĊóđĞàæĄþċû ûĻ ĆúĕôŃĆòúĕôŃ ðĎĝ÷òďĝàðĎÛĆàăĊ îĀĿðîĊĞàĀĿĄþċû ĘòėþÚĄòļ ċ ċ

Ê ®¨µ¥°¥n µÁ Ȧ » ¦»¬¡ª ­» oµ¥ ° Á¦µÁ¨¥ Á ° ´Á ° ´ Ê ®¨µ¥°¥n µÁ È » »¬¡ª ­» oµ ¥ ° Á¦µÁ¨¥

éāôĄ ðúā æĄ Ĝě ĜĢģ ĜğĜ éāôĄ üć Ñć ĝĠ ģĞ ğĤ

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

ฆราวาสชั ้นศเลิศ ฆราวาสชั ้นเลิ

Úüüú Úüüú

đøć×ĂÖúŠ ü÷ĞĚćÖąđíĂüŠ ª x w h ·³ ćwݪ h ć

éāôĄ ðúā æĄ Ĝě ĜĢģ ĜğĜ éāôĄ üć Ñć ĝĠ ģĞ ğĤ

ÐśāöñŚāÖüñŚāÖíćæçÿ ÐśāöñŚāÖüñŚāÖíćæçÿ

ðúāöāò ùĘ ðúāöāò ùĘ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ éāôĄ éāôĄ éāôĄ ðúāöāò ùĘ éāôĄ ðúāöāò ùĘ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ ĜĤ ĠĠĠ ĜĢĝğ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô èăçíă æć çčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆüē ÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç ēĄ íă ðĈæć ôçčÕø⪠čæò ěģ ĝĝĝĝ ĠĢĤě - Ĥğ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãüē æĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ ēĄ ðĈüďãś

äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ óæçăåăëė čùäĉ åăëæčô ďãś äăãäāðÐāòċëñČëŚ íòÿçòòðÓĘ āùüèäāðúôĀ Ðíćæçö×è čãñíòÿüā×āòñŞ ÓąÐóæçăÓė ąÐčùäĉ čô ďãś Ąē æĄē XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH XXX CVEEIBLPT PSH ] NFEJB XBUOBQBIQPOH PSH ] XXX XBUOBQQ DPN ] XXX CVEEIBXBKBOBGVOE PSH ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è ÓôĆèē ù ö í '. .)[ æć ÐöĀèíòÿ ċöôā è

¤¦¦ Ù ´ ¨¥µ ª´ ¤¦¦ Ù ´ ¨¥µ ª´ ¦ ¦

üćìąđÙøČ ęĂÜÿĂî×ĂÜóüÖĂČ ęîüŠćÜÝćÖÿöèą×ĂÜóüÖĂČ Ýªz Þ ² | Ùx |Ü w Þ ²Ù h |} w ØÝx |Ü w Þ ²Ù ęî

³Ê í§² ¹¯ ·Ê¬º ím º q§²

ÓĈŚðĆüčùãāéĀè ÓĈŚðĆüčùãāéĀè

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě čæò ěģ ĤĢĤĜ ěĝĤĤ ěģ ĢĠĜĜ ģěĜě

äāðòüñçòòð äāðòüñçòòð

ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀüēãêòÿčñÙèŞ æĘāċíĆüē êòÿčñÙèŞ æāÖÐāò÷ą øāùĈùŚ āçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæèØéĀ çăĎė èäś ďĔ ãśòéĀ ÐāòùÖöèďöś ďðŚùæÖöèùă æçăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ ÑśüðĈôçòòðÿèĄ Ĕ ×ĀãæĘāċíĆ æāÖÐāò÷ą ÐøāùĈùŚ ÐāçāòâÙèċêŢ èçòòðæāè ôă ÑùăæçăĎė èäś éèĄèďĔ ØéĀ ãśòéĀ èĄÐāòùÖöèďöś ďðŚùÖöèùă çăĎė èÐāò×Ā ãæĘā×āÐ éċíĆüē ċëñČëŚ ĎèæćÐ ĎèÐāò×Ā Ðò⥠ĎèÐāò×Ā āúòĆüċëñČëŚ ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüüÖÑüÖÑś üðĈāôêòą ÑüÓĘ āêòąāÐèÑś øāãś äśèØéĀäśéèċíĆØéĀ üē ċëñČëŚ ĎèæćÐÐò⥠ãæĘāúòĆãüæĘċëñČëŚ čêòãĎÙś čêòãĎÙś ÓöāðôÿċüĄ ñãòüéÓüéċíĆ üē òĀÐøāÓöāðåĈ ÐäśüÖÑüÖÑś ðĈô ÑüÓĘ Ðøāãś üðĈāôèÑśüðĈô çăíćæçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ āċíĆēüÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ôèăæç Ąē ăíðĈćæôèăçčÕø⪠čæò ěģ ģğĤğ ģěģĞ íć æçö×èùðāÓð čæò ěģ ĜġğĢ ġěĞġ ĎèÐāò×ĀĎèÐāò×Ā ãæĘāċíĆãēüæĘÓöāðùÿãöÐČôÿêòÿúñĀ ã äăãäŚãü äă ďãśãæäŚ Ąē üðĈďãś

ĉÖď×÷ćǰøćÙÖď ÙÙ¦îîď ¡w¦xì zw¦ x¬ ×ē÷ Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n ¤¸ ªµ¤­· Ê Å Â®n ¦µ ³ Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n ´ · ´ ¹ · ¤¸ ¹ ªµ¤­· Ê Å Â®n ¦µ ³ zw¦ x ÙÙ¦ ¡w¦x¬ ìĉÖď×ē÷ øćÙÖď ×÷ćǰîîď Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n ¦µ ³ ¹ ¤¸ ªµ¤­· Ê Å Â®n ´ · ´ · Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n ¦µ ³ ¹ ¤¸ ªµ¤­· Ê Å Â®n ÙÙ¦îîď ¡ zw¦ x }¡ ¦ · ¤ê ďê¡ Ğǰ¤ ÿč¦ üÙ¦ĉö čê¡ ¤ďê}îď¦}ê ¡ĉǰüčÝďÝêĉ ìĉøćÙÖď ×÷ćǰÝĉ Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n ´ · ´Â ¨³¦µ ³ ¨n µªÅ oµªÅ o ªnµ ªnµ Á¡¦µ³ ªµ¤­· Ê Å Â®n · ¨³¦µ ³ ¨n ¡o ªÂ¨o oªw¥ ¸ v · v · ®¨» ®¨» ¡o ¨o oªª¥ ¸ çĄÚw çĄ ìĈĘ ÚìĈĘ

£ ´ ³ °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ r Ù ®µÅ o Ä ¦¦¤ª· ­»£ ­» ´ ³ °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ ° r° Ù ®µÅ o Ä ¦¦¤ª· ¥´ ¸ Ê ¥´ ¸Ê É Ò ­¤ ³ ¸ É Ó ­¤ ³ ¸ É Ô ­¤ ³ ¸ ­¤ ³ ¸ Ä ¦¦¤ª· É Ò ­¤ ³ ¸ É Ó ­¤ ³ ¸ É Ô ­¤ ³ ¸ É Õ ÈÉ Õ È ­¤ ³ ¸ ®µÅ o®ÄµÅ o ¦¦¤ª· ¥´ ¸ Ê ¥´ ¸Ê °µ r ¨¥µ ª´ Ê Á È °¥n µ Ŧ " ¸ Ê º ° °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ r Ù °µ r ´ ´ ¨¥µ ª´ ¦ ¸ Ê Á Ȧ ¸ °¥n µ Ŧ " ¸ Ê º ° °¦· ¥¤¦¦ ¤¸ ° r° Ù ªµ¤ µ ­¼ ´¨¥µ ª´ ¦ ¸ÄÊ ¤¸ ªµ¤ µ ­¼ ®n ®n ´¨ ¥µ ª´ ¦ ¸ Ê ¤¸ ¥»Ä ¥» ®n ®n »¦»¬ »Ä ¦»¬Ä ¦»¬ ­» oµ¥Â®n ´ Ê ®¨µ¥ »¦»¬ » ´¦ Ê »¬ º ´É ° Ê ªn ºµÉ »°ªn¦µ»¬ » ­» oµ ¥Â®n »¦»¬ » ´¦ Ê »¬®¨µ¥

ÓĈŚðĆü ÓĈŚðĆü

ĥĴĔĭŁăħġĮĞ ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĖĭŁĖĻĖĄğĐı ĜİĄĥĴĜİĔĄĭŁăħġĮĞ ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĖĭŁĖĻĖĄğĐı ĖıŁ ĖıŁ ĚģĄĸĕĩĚIJ ăĔŅĮĀģĮĝĸĚı ğĵşĒĮĝĸŶŦ ĚģĄĸĕĩĚIJ ăĔŅĮĀģĮĝĸĚı ĞğĸĚijĞŀĩğĸĚij ĻħşğŀĩĵşĒĻħş ĮĝĸŶŦ ĖąğİăĖģŞąğİ Į ăģŞĮ ŁĸŶŦĖĻĸħĒĴ đþIJŁĖăĔĴĹħŞ ŁĸŶŦĖĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĖıŁĸŶŦ Ėı ĖĔĴŁĸŶŦĄĖþŢ ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĸħĒĴ ħşĸĄİĻđħşþIJĸŁĖĄİĹħŞ ĄþŢă ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij ĹħŞăĩĔĴĹħŞ ĄþŢă ĔĴĄþŢ ŁĸŶŦĖĔĮăđŅ ĸĖİēĖIJăĻħş ēIJăĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĖıŁĸŶŦĖĖıĔĮăđŅ ĮĸĖİĖĮĻħş ĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij ĹħŞăĩĔĴĹħŞ ĄþŢă ĔĴ đĭĄþŢăĖı đĭ ŁĸēİăđĖı!Łĸēİđ!

ðúā öă ğ ĞĤ Ğĝ éāôĄ éāôĄ ðúā öă ğ ĞĤ Ğĝ

èÍã´“à¸Í” “à¸Í” àÁ×àÁ× èÍã´ äÁ‹ÁäÁ‹ Õ ÁÕ àÁ× äÁ‹»äÁ‹ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡¹Õ é àÁ×èÍè͹ѹÑé¹é¹à¸Í¡ç à¸Í¡ç »ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡¹Õ é äÁ‹äÁ‹»» ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡Í× è¹ è¹ ÃÒ¡¯ã¹âÅ¡Í× äÁ‹ Ò§âÅ¡·Ñ é§Êͧé§Êͧ äÁ‹»»ÃÒ¡¯ã¹ÃÐËÇ‹ ÃÒ¡¯ã¹ÃÐËÇ‹ Ò§âÅ¡·Ñ ³Ê í§² ¹¯ ·Ê¬º ím º q§²

&@&@ // !!

¢¢ ¢¢

¨³ ´¨³ ´ · ·

àÁ×èÍ “à¸Í” äÁ‹ÁÕ !

àÁ×èÍîøĎ“à¸Í” óćĀĉ÷ą b đöČęĂĔé đíĂđĀĘ ðĒúšü ÿĆÖäÁ‹ üŠćÁđĀĘÕ !î ĕéšôŦÜđÿĊ÷ÜĒúšü ÿĆÖüŠćôŦÜ óćĀĉĕéš ÷ą b ÖúĉđöČęîęĂ úĉ Ĕé đíĂđĀĘ ü ÿĆÖüŠüćÖć÷ ÖĘ đĀĘî ĕéšôÿŦÜĆÖđÿĊüŠ÷ćÜĒúš ü ÿĆÖĚöüŠ ÿĆ ćôŦöÜñĆÿ Ěöøÿ ÿĆîöøĎðñĆĒúš ÿìćÜñĉ éö úĉ ĕéšÖúĉęî úĉ ñĆÿìćÜñĉüÖć÷ ÖĘ öñĆÿü ĕéšĚöøøÿ ÿĆ ĎšĒÝšÜöíøøöćøöèŤ ÖĘÿÿĆÖĆÖüŠüŠćć éö úĉ ĕéšøĎšĒĚöÝš ÿĆÜĒúš ĕéšøĎšĒÝšÜíøøöćøöèŤ ÖĘÿĆÖüŠćĕéšøĎšĒÝšÜĒúšü Ěî ĶđíĂķ ÝĆ đöČđöČ ęĂîĆęĂĚîîĆ ĶđíĂķ ÝĆ ÖĕöŠöÖĊ ĕöŠöĊ

ØéĀé Ğ ØéĀé Ğ

¸ ¥¥£ ³ Á m ¬³ ¬³©q »n¥©q»n ³È©»n¥ ¸»n ³È© ¥¥£ ³ £· À |£· À |Á m

çăíćæçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć üāòĄöòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ ðĈôèăçăíðĈćæôèăçö×è čæò ěģ ĜğĠĢ ĝĞĠĝ Óć â÷òÙā čæò ěģ ĜĠĜĞ ĜġĜĜ Óć âüāòĄöâòòâ čæò ěģ ĠěĠģ ġģģģ éëĈäś üś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă äĀ íă æć çö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS ùĘāúòĀéùĘëĈāäś úòĀüś ÖÐāòêÞă éäĀ çă òòòð äă ãäŚüďãśãæäŚ ēĄ ü ÷ĈďãśèæñŞê ēĄ ÷ĈÞăéèäĀñŞêíă Þăæć éçö×è #VEEIBXBKBOB 5SBJOJOH $FOUFS íæŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ čæò÷Āíčæò÷Ā æŞ ěĤ ĝĤĜĝ ĞġĠĢ ěĤ ĝĤĜĝ ĞĢĝĜ ěĤ ĝĤĜĝ ĞğĢĜ

ĥĴĔĭŁăħġĮĞ Ĝİ ĥĴğĵŶşĩĻđ ğĵ ĞĵŞĒĮĝĸŶŦ ĜİĄĥĴĜİĔĄĭŁăħġĮĞ Ĝİ ĄĥĴğĵŶĄĻđ ğĵ ĞĵŞĒşĩĮĝĸŶŦ ĖąğİăĖģŞąğİ Į ăģŞĮ ŁĸŶŦĖĻĸħĒĴ ŁĸŶŦĖĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĩþĩăĔĴ ĖıŁĸŶŦ Ėı ĖĔĴŁĸŶŦĄĖþŢ ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĸħĒĴ ħşĸĄİĻđħşĔĴĸĄİĄđþŢ ĔĴĖıĄŁĸŶŦþŢĖ ĖıĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij þĩăĔĴ ĄþŢ ĄþŢ ŁĸŶŦĖĔĮăđŅ ĸĖİēĖIJăĻħş ēIJăĀģĮĝđĭ ļĝŞĩĸħġij ĩþĩăĔĴ ĹġĬĖıĹġĬĖı ŁĸŶŦĖĔĮăđŅ ĮĸĖİĖĮĻħş ĀģĮĝđĭ ėļĝŞĸėħġij þĩăĔĴ ĄþŢ đĭĄþŢăĖı đĭ ŁĖĭŁĖăĖı ŁĖĭŁĖ ģŞĮăąĬĚIJ ėĴĀĀġĔı ŀĸŶŦĖĦĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ şĒşĩăĄĮğąĬĺĒş ĹĝşģŞĮĹĝş ąĬĚIJ ĝıėĴĀăĝıĀġĔı ŀĸŶŦĖĦĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ ĈIJŀăĸŶŦ ĈIJĖŀăĘĵĸŶŦşĒĖşĩĘĵăĄĮğąĬĺĒş ģĮĔĬ ģĮĔĬ ĸĔıŀĞģĹĦģăĀĵ ŞĺĒşģĮĔĬ ĝĮąĮĄĔİ ĖĩĩĄ ħğij ĔİĤĖĒĬģĭ ĖĒĄ ħğij ĔİĤĩĸħĖij ĄĿĒĮĝ ĸĔıŀĞģĹĦģăĀĵ ŞĺĒşģĮĔĬ ĝĮąĮĄĔİ ĤĒĬģĭĤĖĒĬģĭ ĩĩĄ ħğij ĩĔİĤĩĒĬģĭ ĒĄ ħğij ĩĔİĤĩĸħĖij ħğijĩ ħğij ĔİĤĩĻĒşĔİĄĤĿĒĻĒşĮĝ ĺđĞŶğĬĄĮĤģŞ Į ĸğĮąĭ ĄĞĄģĮĔĬþĩăĜİ ĸĦıĞăĖı đĭ ĺđĞŶğĬĄĮĤģŞ Į ĸğĮąĭ ĄĞĄģĮĔĬþĩăĜİ ĄĥĴğĵŶĄĖĭĥĴŁĖğĵŶĸĦıĖĭĞŁĖ đĭ Ł ăĖıŁ ĔıŀĦĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ ħģĭŀĖļħģĦĭ ŀĖĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĦĭŀĖģğĬğĭ þşĩĔıŀĦþşĩĝĐĬħğij ĩĚğĮħĝĐŢ ĖĭŁĖ ąĭĖĄĭŁĖĔŅ ąĭĮĜİĄĄĔŅĥĴĮĜİĖĄĭŁĖĥĴĻħşĖħĭŁĖģĭĻħşŀĖļħģĦĭ ŀĖĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĩĦĭŀĖĩğĬğĭ ļŶ ģļŶ ĄĕğğĝĖĭ ĸŶŦĖčĮĖĬĔı ĖļŶļđş ŁĸŶŦĖĸĚğĮĬĸħĒĴ ĺđĞēĵĺđĞēĵ ĄĕğğĝĖĭ ŁĖ ļĝŞŁĖĸŶŦ ļĝŞ ĖčĮĖĬĔı ŀąĬĸŶŦŀąĖĬĸŶŦ ļŶļđş ĸġĞ þşĸġĞ þş ĩĖıŁĸŶŦĩĖĖıĸĚğĮĬĸħĒĴ ļğĸġŞĮļğĸġŞ Į ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĸŶŦĖĕğğĝĔı ĸħĿģĖđşĹġşģĞđı ģđş!ģĞđı! ĸĚğĮĬĸħĒĴ ĔıŀĩğİĞĔĦĭıŀĩąğİĦıĞŀĖĦĭĭŁĖąĦı ĸŶŦŀĖĖĭŁ ĕğğĝĔı ŀĜİĄĥĴŀĜĖİĄĭŁĖĥĴ ĸħĿĖĖĭŁ Ĺġş

êćöøĂ÷ êćöøĂ÷

ìĆĚÜĀúć÷ìĊ ðŨîóüÖöĊ íčúĊĔîéüÜêćĒêŠ îšĂö÷ÖĘ ÿĆêüŤÿĆìêĆĚÜüŤĀúć÷ìĊ ęđðŨîęđóüÖöĊ íčúĊĔîéüÜêćĒêŠ đúĘÖîšđúĘĂÖ÷ÖĘ ĊĂ÷ĎöŠ ĊĂ÷ĎŠ üŤóüÖîĊ Ě ÷ŠĂęĂöđÿČ ęĂöÝćÖÙč ìĊęÙüøĕéš đóøćąĕöŠ ôŦÜíøøö ÿĆêüŤÿĆóêüÖîĊ Ě ÷ŠĂöđÿČ öÝćÖÙč èìĊęÙèüøĕéš đóøćąĕöŠ ĕéšôĕŦÜéšíøøö

ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ Ûøćüćÿ

ÙĀïéĊ b ÖćöēõÙĊ Ûøćüćÿ

ñĎšĔé ñĎšĔé Ģ ĒÿüÜĀćēõÙìøĆ ÷Ťēé÷íøøö ēé÷ĕöŠ đÖĉîĕð Ýîìøöćîêî

Ģ ĒÿüÜĀćēõÙìøĆ ó÷Ťēóé÷íøøö ēé÷ĕöŠ đÙøĊ÷đÙøĊ éÙøĆ÷éÙøĆ é đÖĉéî ĕð Ýîìøöćîêî

ģ ìĞ ćêîĔĀš ÿč×Ă ĔĀš ĂĉęöćĀîĞ ģ ìĞ ćêîĔĀš đðŨîđÿčðŨ×î ĔĀš ĉęöĀîĞ ć Ĥ ĒïŠ ðŦîēõÙìøĆ ĞćđóĘ Ĥ ĒïŠ ÜðŦîÜēõÙìøĆ ó÷ŤïóĞć÷ŤđóĘïâ ïčâ ïčâ ĥ ĕöŠ ÖĞćéĀîĆ öĆüđöć ĕöŠ účŠöĀúÜ ĥ ĕöŠ ÖĞćĀîĆ ĕöŠéö ĕöŠ Ćüđöć ĕöŠ účŠöĀúÜ öĊðđĀĘÖêĉîēìþ öĊ đĀĘîēìþ öĊ ðŦââćđðŨ éĂĂÖ öĊðÖêĉ ðŦââćđðŨ îđÙøČîęĂđÙøČ ÜÿúĆęĂÜÿúĆ éĂĂÖ ïøĉēõÙēõÙìøĆ ó÷ŤćđĀúŠ îĆĚîŠ Ă÷ĎŠ ïøĉēõÙēõÙìøĆ ó÷ŤđĀúŠ îĆĚîćĂ÷Ď

&&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !! &&@ @ // !!

ĔăĭŁ ħġĮĞ ĜİĄĥĴĜİĔĄăĭŁ ĥĴħġĮĞ Ğėĸħĝij ĩĖĸĦĮħİ ĖĞĮģ ʼnŎ ĤĩĄ ęŤ Ė Ő ĤĩĄ ĺĘġŞ đİĖ Ő ĤĩĄ ĸŶğıĸŶğı Ğėĸħĝij ĩĖĸĦĮħİ ĖĞĮģ ʼnŎ ĤĩĄ ęŤ ăĩĞĵăĻŞ ĩĞĵ ĖđİĻŞ ĖĖđİ Ő ĤĩĄ ĺĘġŞ þĖIJŁ ĚşþĖIJŁ đİĚşĖ Ő ĤĩĄ ġĝĚĮĞĴ ęĖĩĞŞ ĮăĹğăĄġş ĹĝşąĹĝş ĬĝıąġĬĝı ĝĚĮĞĴ ęĖĩĞŞ ĮăĹğăĄġş Į Į ĝĮąĮĄĔİ ĤĒĬģĭ ĖĩĩĄ ħğij ĔİĤĒĬģĭ ĖĒĄ ħğij ĔİĤĸħĖij ĔİĤ ĄĿĻĒşĒ Įĝ ĄĿĒĮĝ ĝĮąĮĄĔİ ĤĒĬģĭ ĖĩĩĄ ħğij ĩĔİĤĩĒĬģĭ ĖĒĄ ħğij ĩĔİĤĩĸħĖij ĩ ħğijĩĩ ħğij ĔİĤĩĻĒş ĔŅĮĸĦĮħİ ĖĭĖŁ ħĻħş ģĭĖŀ ļħģ Ħĭ Ėŀ ĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĦĭĖŀ ğĬğĭ ģļŶļđş ļĝŞĚļĝŞ ăIJ ĔŅĚĮăIJ ĸĦĮħİ ĖĖĭĖŁ Ļħş ģĭĖŀ ħļħģ Ħĭ Ėŀ ĦĬĸĔij ĩĖ ħğij ĩĦĭĖŀ ĩğĬğĭ ģļŶļđş ĸġĞ ĸġĞ ŶŦĖĸĚğĮĬĸħĒĴ þşĩĖıþşĸŁ ĩŶŦĖıĖĸŁ ĸĚğĮĬĸħĒĴ ļğĸġŞļĮğĸġŞ Į ĸĚğĮĬĦŞ ġIJĄĹġĬęŤ ĆĭĖĻđĄĿ ĸĚğĮĬĦŞ ģĖĔıģęŀ ĖĔı ㍠Ėĭęŀ ĖŁ ㍠ġIJĖĭĄĖŁ ĹġĬęŤ ăĸŶŦĖăĸŶŦ ĩĞŞĖĮĩĞŞ ăđıĮ ĆĭăđıĖ ĻđĄĿ ĆĖĭ ĖĭĆĖŁ ĭ !ĖĭĖŁ !

&@&@ // !!

&@&@ // !!

Á¬ ¥¥£Ã­n ´£Ã À ¹ Á¬ ¥¥£Ã­n ´£Ã À ¹ ɯ nɯ n

ØéĀé ĝ ØéĀé ĝ

ØéĀé Ĝ ØéĀé Ĝ

© À ¯ ³ É ­§´¤ À · Ȥ© ´¥¶ © À ¯ ³ É ­§´¤ À · Ȥ© ´¥¶ Ä Ä È¯ ¥²Â¤ q ¬º £Á m £­´ À ¹È¯À ¹ ¥²Â¤ q ¬º Á m ­´ ęĂÙüćöđĂĘ ĒÖŠēúÖ đóČ ęĂðøąē÷ßîŤ ęĂÙüćöđÖČ đóČęĂđóČ ÙüćöđĂĘ îéĎĒîÖŠéĎēúÖ đóČ ęĂðøąē÷ßîŤ đóČęĂ đóČ ÙüćöđÖČ ĚĂÖĎúĚĂÖĎú ęĂÙüćöÿč ìĆĚÜđìüéć Ēúąöîč ĒÖŠđìüéć Ēúąöîč ìĆĚÜĀúć÷ đóČęĂđóČ Ùüćöÿč × ìĆĚÜ×ĒÖŠ þ÷ŤìþĆĚÜ÷ŤĀúć÷

´£Ã m ´£ §´ ´£Ã À ¹ ɯ §´¤ ´£Ã m ´£ §´ ´£Ã À ¹ ɯ §´¤ Ä ¥n ¯£ ³ É ¯¥¥ ² ¥n ¯£ ³ ² ín ín À | À |Ä ¥n ¯£ ³ É ¯¥¥ ² ¥n ¯£ ³ É ¤³É ¤³ ² »¥¬ q¶É ¬À ¶¶É À ¶ ín ín¥¶¬ º ¥¶¬ ¶º Ì ¥¶ ¶ Ì »¥¥¶ q


ภิกษุทั้งหลาย !

ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นค�าของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา

เมื่อมีผู้น�าสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมส�าคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า ข้อนี้เป็นอย่างไร มีความหมายกี่นัย ดังนี้. ด้วยการท�าดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ท�าให้ปรากฏได้ ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้. -บาลี ทุก. อํ. ๒๐/๙๑/๒๙๒.


สุภัททะ !

ในธรรมวินัยนี้แล มีอริยมรรคมีองค์ ๘... ถ้าภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบไซร้ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย.

อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี

ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ

มีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ.

อานนท์ ! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ในสิกขา ภิกษุพวกนั้น จักเป็นผู้อยู่ในสถานะอันเลิศที่สุดแล. -บาลี มหา. ที. ๑๐/๑๗๕/๑๓๘. , -บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๒๑๗/๗๔๐.


...พวกเธอทั้งหลาย จงเที่ยวจาริกไป เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน เพื่อความเอ็นดูแก่โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข ทั้งแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

...จงแสดงธรรมให้งดงามในเบื้องต้น งดงามในท่ามกลาง งดงามในเบื้องปลาย ...ให้เป็นไปพร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายที่เป็นพวกมีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยก็มีอยู่ สัตว์พวกนี้ ย่อมเสื่อมจากคุณที่ควรได้ เพราะไม่ได้ฟังธรรม

สัตว์ผู้รู้ทั่วถึงธรรม จักมีเป็นแน ... . -บาลี มหา. วิ. ๔/๓๙/๓๒.

ข้อมูลธรรมะนี้ จัดทำ�เพือ่ ประโยชน์ท�งก�รศึกษ�สูส่ �ธ�รณชนเป็นธรรมท�น ลิขสิทธิใ์ นต้นฉบับนีไ้ ด้รบั ก�รสงวนไว้ ไม่สงวนสิทธิใ์ นก�รจัดทำ�จ�ก ต้นฉบับเพือ่ เผยแผ่ในทุกกรณี ในก�รจัดทำ�หรือเผยแผ่ โปรดใช้คว�มละเอียดรอบคอบเพือ่ รักษ�คว�มถูกต้องของข้อมูล ขอคำ�ปรึกษ�ด้�นข้อมูล

ในการจัดทำาเพื่อความสะดวกและประหยัด ติดต่อได้ที่ มูลนิธิพุทธโฆษณ์ โทร.๐๘ ๒๒๒๒ ๕๗๙๐ - ๙๔

คุณศรช� โทร.๐๘ ๑๕๑๓ ๑๖๑๑ คุณอ�รีวรรณ โทร.๐๘ ๕๐๕๘ ๖๘๘๘ สำ�หรับผูต้ อ้ งก�รปฏิบตั ธิ รรรม ติดต่อได้ท่ี ศูนย์ปฏิบตั พิ ทุ ธวจน (Buddhawajana Training Center) โทรศัพท์ ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๖๕๗, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๗๒๑, ๐๙ ๒๙๑๒ ๓๔๗๑ ติดต�มก�รเผยแผ่พระธรรมคำ�สอนต�มหลักพุทธวจน โดยพระอ�จ�รย์คกึ ฤทธิ์ โสตฺถผิ โล ได้ท่ี

www.watnapp.com | media.watnapahpong.org | www.buddhakos.org คลื่น ส.ว.พ. FM 91.0 MHz ทุกวันพระ เวล� 17.40 น.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.