เพราะรักจึงตักเตือน 1 ver.ebook

Page 1

หมวดศาสนาและการพัฒนาตนเอง

ราคา 100 บาท




เพราะรักจึงตักเตือน เล่มที่ 1 ISBN : 978-616-374-747-1 แบ่งปันโดย : อับดุลฟัตตาหฺ ยิดนรดิน ตรวจทาน : นาอีม วงศ์เสงี่ยม พิสูจน์อักษร : อบูซัยฟิลลาฮฺและอบูนัซซอเราะฮฺ รูปเล่ม : อบูชัดด๊าด พิมพ์ครั้งแรก : พฤศจิกายน 2557 ราคา : 100 บาท ข้อมูลทางบรรณานุกรมของส�ำนักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data ปราชญ์ ยิดนรดิน เพราะรักจึงตักเตือน เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: นัตวิดาการพิมพ์, 2557. 120 หน้า 1. ศาสนา. I. อบูชัดด๊าด, ภาพประกอบ. II. ชื่อเรื่อง. ISBN 978-616-374-747-1

พิมพ์ที่ จัดพิมพ์โดย จัดจ�ำหน่ายโดย

: บริษัท นัตวิดาการพิมพ์ จ�ำกัด โทรศัพท์ 02-291-6530 : ปราชญ์ ยิดนรดิน : ร้านหนังสืออาลีพาณิชย์ โทรศัพท์ 074-266-277


‫�‪คำ�นำ‬‬

‫ِ�إ َّن ا ْل َح ْم َد لل ِه نَ ْح َم ُدهُ َونَ ْستَ ِع ْينُ ُه َونَ ْستَ ْغ ِف ُرهُ َونَ ُع ْو ُذ بِالل ِه ِم ْن ُش ُر ْو ِر أَ�نْف ُِسنَا‬ ‫َو ِم ْن َس ِّيئَا ِت أَ� ْع َما ِلنَا ‪َ ،‬م ْن ي َ ْه ِد ِه الل ُه فَلَا ُم ِض َّل َل ُه َو َم ْن ي ُ ْض ِل ْل فَلَا َها ِد َي َل ُه ‪،‬‬ ‫َو أَ� ْش َه ُد أَ� ْن لَا ِ�إ َل َه ِ�إلَّا الل ُه َو ْح َدهُ لَا َش ِريْ َك َل ُه َو أَ� ْش َه ُد أَ� َّن ُم َح َّم ًدا َع ْب ُدهُ َو َر ُس ْو ُل ُه‪.‬‬ ‫}يَا أَ�يُّ َها ا َّل ِذي َن �آ َمنُوا ا َّتقُوا ال َّل َه َح َّق تُقَا ِت ِه َولا تَ ُموتُ َّن ِ�إلَّا َو أَ�نْتُ ْم ُم ْس ِل ُمو َن{‬ ‫س َوا ِح َد ٍة َو َخلَ َق ِم ْن َها َز ْو َج َها‬ ‫اس ا َّتقُوا َربَّك ُ​ُم ا َّل ِذي َخلَ َقك ُْم ِم ْن نَ ْف ٍ‬ ‫}يَا أَ�يُّ َها ال َّن ُ‬ ‫َوب َ َّث ِم ْن ُه َما ِر َجالا ً كَ ِثيراً َو ِن َس ًاء َوا َّتقُوا ال َّل َه ا َّل ِذي تَ َس َاء ُلو َن ِب ِه َوالْ� أَ ْر َح َام ِ�إ َّن ال َّل َه‬ ‫كَا َن َعلَ ْيك ُْم َر ِقيباً{‬ ‫}يَا أَ�يُّ َها ا َّل ِذي َن �آ َمنُوا ا َّتقُوا ال َّل َه َوقُو ُلوا قَ ْولا ً َس ِديداً‪ ،‬ي ُ ْص ِل ْح َلك ُْم أَ� ْع َما َلك ُْم َوي َ ْغ ِف ْر‬ ‫َلك ُْم ُذنُوبَك ُْم َو َم ْن ي ُ ِط ِع ال َّل َه َو َر ُسو َل ُه فَق َْد فَا َز ف َْوزاً َع ِظيماً{‬ ‫اب الل ِه ‪َ ،‬و َخ ْي َر ا ْل َه ْد ِي َه ْد ُي نَ ِب ِّينَا َص َّلى الل ُه َعلَ ْي ِه‬ ‫أَ� َّما ب َ ْع ُد ‪ ،‬فَ ِ إ� َّن َخ ْي َر ا ْل َح ِديْ ِث ِكتَ ُ‬ ‫َو َس َّل َم ‪َ ،‬و َش َّر الْ� أُ ُم ْو ِر ُم ْح َدثَاتُ َها َوك َُّل ُم ْح َدث َ ٍة ب َ ْد َع ٍة َوك َُّل ب ِْد َع ٍة َضلَا َل ٍة َوك َُّل َضلَا َل ٍة‬ ‫ِفي ال َّنا ِر ‪ ،‬ث ُ َّم أَ� َّما ب َ ْع ُد‬ ‫‪นี่คือส�ำนวนการกล่าวเริ่มต้นคุฏบะฮฺเกือบทั้งหมดในชีวิตของผมซึ่ง‬‬ ‫”ฺ‪เป็นส�ำนวนที่รายงานจากท่านนบี หรือที่เรียกว่า “คุฏบะฮฺ อัล-หาญะฮ‬‬


เป็นคุฏบะฮฺที่ไม่ยาวนักซึ่งท่านนบีจะใช้อยู่เป็นเนืองนิจ อันบ่งถึงความ ส�ำคัญในเนื้อหาที่บรรจุเอาไว้โดยเฉพาะเรื่องของ “อัต-ตักวา” ความย�ำเกรง ต่ออัลลอฮฺ ที่เป็นเสบียงที่ดีที่สุดและสาเหตุแห่งการรอดพ้นจากหายนะ และได้รับความส�ำเร็จทั้งดุนยาและอาคิเราะฮฺ จนกลายเป็นเงื่อนไขของ อุละมาอ์จ�ำนวนมากที่ก�ำหนดให้การสั่งใช้ในเรื่องของความย�ำเกรงเป็น ส่วนหนึ่งในคุฏบะฮฺที่จะต้องมีทุกครั้ง อนึ่ง ผมมิใช่นักเรียนศาสนา มิใช่ผู้รู้ศาสนา แต่อัลลอฮฺทรงเมตตา ประทานโอกาสที่มาพร้อมกับอะมานะฮฺอันหนักอึ้งที่ผมต้องแบกรับมา ประมาณ 3-4 ปีแล้ว นั่นคือการคุฏบะฮฺซึ่งเริ่มขึ้นในมัสญิดแห่งหนึ่งทาง ภาคเหนื อ ช่ ว งที่ ช มรมมุ ส ลิ ม ของมหาวิ ท ยาลั ย ที่ ผ มศึ ก ษาอยู ่ ใ นช่ ว งนั้ น ไปท�ำค่ายอบรมจริยธรรมภาคฤดูร้อน เคาะฏีบประจ�ำมัสญิดได้มอบหมาย ให้ ผ มท� ำ การคุ ฏ บะฮฺ ใ นวั น ศุ ก ร์ นั้ น ซึ่ ง ถื อ เป็ น ครั้ ง แรกในชี วิ ต ของผม จากนั้นก็เป็นการคุฏบะฮฺและอบรมจริยธรรมอิสลามให้แก่ผู้ต้องขังมุสลิม ตามเรือนจ�ำต่างๆ ในเมื่อผมมิใช่ผู้รู้แล้วเหตุใดจึงรับอะมานะฮฺอันหนักอึ้งนี้ อะมานะฮฺ ทางวิชาการที่ต้องรับผิดชอบความถูกต้องหรือความผิดพลาดของผู้คนก็ ว่าได้ ค�ำตอบก็คือเมื่อได้รับมอบหมายแล้ว เราก็ควรจะท�ำให้ดีที่สุดตาม ขีดจ�ำกัดทางความสามารถของเรา ผมจึงท�ำตัวเหมือนเครื่องอัดเสียงที่คอย บรรทึกความรู้จากผู้รู้ท่านต่างๆ ทั้งไทยและเทศ จากนั้นก็น�ำไปถ่ายทอด สู่พี่น้องท่านอื่น มีน้อยมากจริงๆที่จะเป็นความคิดอ่านของผมเอง เพราะ เกรงว่าจะเป็นการเข้าใจตัวบทหลักฐานอย่างคลาดเคลื่อน ทุกครั้งที่ผมจะถ่ายทอดหะดีษหรืออัลกุรอานผมจะต้องศึกษาค�ำ อธิบายเพิ่มเติมที่มิใช่ความหมายภาษาไทยที่อธิบายตัวบทนั้นๆ เชิงส�ำนวน แต่ผมต้องลงลึกถึงรายละเอียดเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าสิ่งที่ผมก�ำลังจะน�ำเสนอ


นั้นไม่ได้ออกนอกแนวทางของอิสลาม เพราะหากมันออกนอกลู่นอกทาง ผมคงรับผิดชอบไม่ไหวเหมือนกันที่พาคนฟังเข้าใจผิดไปตามๆ กัน ผมเลือกที่จะน�ำเสนอเนื้อหาในคุฏบะฮฺของผมในรูปแบบหนังสือ และตั้งชื่อมันว่า “เพราะรักจึงตักเตือน” ส่วนหนึ่งเพราะผมไม่ค่อยมีไฟล์ เสี ย งของตั ว เอง และผมก็ ช อบความขลั ง และจิ ต วิ ญ ญาณของหนั ง สื อ มากกว่า 12 คุฏบะฮฺในเล่มนี้เป็นส่วนแรกที่ผมพอจะรวบรวมมาได้ ยังมี หลงเหลืออยู่บ้างแต่ต้องใช้เวลาค้นและปรับปรุงเนื้อหาอยู่พอสมควร ผม พยายามคัดเลือกบทต่างๆ ในเล่มนี้พร้อมทั้งร้อยเรียงส�ำนวนบางส�ำนวน ใหม่ให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเป็นภาษาเขียน ก็ต้องมานั่งจัดเรียงค�ำต่างๆ อยู่พักใหญ่ แต่ด้วยธรรมชาติของมนุษย์นั้นย่อมมีข้อผิดพลาดแม้จะระมัดระวัง สักเพียงใด ตัวผมก็น้อมรับจากหัวใจต่อข้อทักท้วงและแนะน�ำจากพี่น้อง ผู้บริสุทธิ์ใจทุกท่าน และพร้อมที่จะน�ำมาแก้ไขในการจัดพิมพ์ครั้งต่อไปหรือ ในงานชิ้นต่อไปของผม อินชาอัลลอฮฺ ขอต่ออัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ เจ้าแห่งบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ โปรดให้งาน ชิ้นนี้ของผมก่อประโยชน์แก่ตัวผมเอง ผู้อ่านและมวลมนุษย์ทั้งหลาย ขอให้ คุณงามความดีต่างๆที่เกิดขึ้นจากหนังสือเล่มนี้ได้ประสบแก่ครูบาอาจารย์ ผู้ประสาทความรู้ให้แก่ผมทุกท่าน แด่บุพการีทั้งสองของผมและผู้มีส่วน ร่วมในหนังสือเล่มนี้เช่นเดียวกัน ขออัลลอฮฺทรงอภัยโทษให้แก่ผม บุพการีของผมและพี่น้องมุสลิม โดยทั่วกัน ด้วยความห่วงใยและหัวใจที่เต็มไปด้วยความรัก ปราชญ์ (อับดุลฟัตตาหฺ) ยิดนรดิน 25 เชาวาล 1435


สารบัญ บางเรื่องราวของผู้ที่ปฏิเสธคำ�ตักเตือน.........................................7 เรามาทำ�ความรู้จักหนทางสู่การเตาบะฮฺที่จะถูกตอบรับกันเถอะ.....20 อย่ามองความสวยงามในดุนยามากไป.......................................34 การละหมาดให้อะไรกับผู้ศรัทธา................................................40 เราะมะฎอนของเรามีคุณภาพแค่ไหน..........................................46 ความกล้าหาญที่สะท้านหัวใจอุมัร..............................................57 อิคลาศ หนทางแห่งการรอดพ้น................................................68 ความเข้าใจที่น่าอัศจรรย์ของผู้รู้................................................79 แนวทางการใช้ชีวิตของเราหลังเราะมะฎอน.................................84 อย่าแคร์สายตามนุษย์มากกว่าสายพระเนตรของอัลลอฮฺ.............99 จนกว่าเราจะเปลี่ยน..............................................................104 การมองเห็นอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่งและทรงเกียรติ.......................111


บางเรื่องราว ของผู้ที่ปฏิเสธคำ�ตักเตือน

มีกรณีศึกษาจ�ำนวนไม่น้อยที่อัล-กุรอานได้น�ำเสนอเรื่องราวของ ผูท้ ปี่ ระสบความส�ำเร็จและผูท้ ปี่ ระสบความวิบตั ิ ความหายนะ ความขาดทุน ชนิดที่เรียกว่าล้มละลาย เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจแก่ผู้ที่ได้ศึกษาอัล-กุรอาน และใคร่ครวญในเนื้อหาที่ถูกประทานลงมาจากพระผู้เป็นเจ้าผู้สูงส่ง ซึ่งหาก เราพิจารณาถึงสาเหตุสำ� คัญต่างๆ ทีจ่ ะท�ำให้คนหนึง่ ประสบความส�ำเร็จหรือ ล้มเหลวนั้นเราก็จะพบว่ามีปัจจัยหนึ่งที่ส�ำคัญมากๆ นั่นคือ “การน้อมรับใน ค�ำตักเตือนจากผู้อื่น” ในสวนสวรรค์อันเต็มเปี่ยมไปด้วยความผาสุกอันหาสิ่งใดเปรียบ ไม่ได้ อัลลอฮฺทรงเล่าถึงสภาพของชาวสวรรค์กลุ่มหนึ่งว่า َ َ ُ ٓ َ ٰ َ َ ‫فَأ ۡ� َب َل َ� ۡع ُض ُه ۡم‬ ٥٠ ‫� َ� ۡع ٖض يَت َسا َءلون‬ ความว่า “แล้ว (ชาวสวรรค์เหล่านั้น) บางคนในหมู่บ้านพวกเขา จะเข้ามาหากัน ไต่ถาม (ทุกข์สุข) ซึ่งกันและกัน” (อัศ-ศอฟฟาต : 50) พวกเขาจะเยี่ยมเยียนกันและพูดคุยไต่ถามกันถึงเรื่องราวในดุนยา ที่ผ่านพ้น ว่าเหตุใดแต่ละคนจึงได้รับความส�ำเร็จอันยิ่งใหญ่เช่นนี้ รอดพ้น จากการลงโทษอันแสนสาหัสในนรกและได้รับแต่ความสุขสันติในสวรรค์


จะมีชายคนหนึ่งกล่าวว่า َ َّ َ ُ ُ َ َ�ِ�‫ك لَم َن ٱل ۡ ُم َص ّ ِد‬ ٞ ‫ل ّم ِۡن ُه ۡم إ ّ� َ� َن � قَر‬ٞ �ٓ‫قَ َال قَا‬ ‫ �قول أءِن‬٥١ ‫�ن‬ ِ ِ​ِ ِ ِ ِ َ ُ َ َ َّ َ ً ٰ َ َ ٗ َ ُ َّ ُ َ َ ۡ َ َ ٥٣ ‫ِينون‬ ‫ أءِذا مِتنا و�نا ترابا وعِ�ما أءِنا لمد‬٥٢ ความว่า “คนหนึ่งในหมู่บ้านพวกเขาก็กล่าวขึ้นว่า “แท้จริง ฉัน เคยมีเพื่อนคนหนึ่ง เขาเคยกล่าวว่า แท้จริงท่านเป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้เชื่อ มั่น (ในวันปรโลก) จริงหรือ? เมื่อเราตายไปแล้ว และเราได้กลายเป็น ดินผงและกระดูก เราจะถูกตอบแทนจริงหรือ?” (อัศ-ศอฟฟาต : 51-53) ชายคนนั้นได้เล่าโดยสังเขปถึงชีวิตในดุนยาว่าเคยมีเพื่อนคนหนึ่งที่ ไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ต่อการฟื้นคืนชีพเพื่อรับการสอบสวน ช�ำระโทษและ การตอบแทนในความดี แล้วเขาก็ถามเหล่าสหายของเขาที่นั่งสนทนากัน ในสวนสวรรค์ว่าพวกท่านอยากรู้ไหมว่าตอนนี้เพื่อนฉันคนนั้นเป็นอย่างไร? ۡ ٓ َ َ ُ َ َ َ َ َ َّ َ َ ُ َّ ُّ ُ َ ۡ َ َ َ َ � ‫حي ِم‬ ِ ‫قال هل أنتم مطل ِعون � فٱطلع فرءاه ِف سواءِ ٱل‬ ความว่า “เขา (ชาวสวรรค์) กล่าว (แก่เพือ่ นๆ ของเขา) ว่า “พวก ท่านอยากจะมองดูไหมเล่า? “ครัน้ เมือ่ เขามองลงไป ก็เห็น (เพือ่ นของเขา) อยู่ท่ามกลางไฟที่ลุกโชติช่วง” (อัศ-ศอฟฟาต : 54-55) เมื่อเขาและเหล่าสหายได้เห็นสภาพบั้นปลายของชายผู้ปฏิเสธคน นั้นว่าต้องทนทุกข์ทรมานเพียงใดท่ามกลางการลงโทษที่ห้อมล้อมเขา ไม่มี ทางหนี ไม่มีทางรอด ไม่มีเวลาพัก มีแต่ความเจ็บปวดที่ทบทวีคูณตลอด เวลา เจ็บปวดรวดร้าวเจียนตายแต่เขาก็ไม่สามารถตายอีกแล้วในนรกนั้น ชายผู้ศรัทธาที่อยู่ในสวรรค์จึงกล่าวค�ำพูดหนึ่งซึ่งเป็นการขอบคุณอัลลอฮฺ 8

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ในความโปรดปรานของพระองค์ ขณะเดียวกันก็เป็นการต�ำหนิเพื่อนของ เขาที่เป็นชาวนรกคนนั้น َّ َّ َ َ َ ۡ ُ َ‫ِدت ل‬ ُ ‫تدِين � َول َ ۡو َ� ن ِۡع َم ُة َر ّب لَ ُك‬ َ ‫نت م َِن ٱل ۡ ُم ۡح َض‬ � ‫ين‬ ‫ك‬ ‫ن‬ ‫إ‬ � ‫قال تٱ‬ ِ ِ ِ ِ ِ ความว่า “เขาจึงกล่าวขึ้นว่า ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮฺ เจ้าเกือบท�ำให้ฉันพังพินาศแล้วเชียว และหากมิใช่ความโปรดปรานแห่ง พระเจ้าของฉันแล้ว ฉันจะต้องอยู่ในหมู่ผู้ถูกน�ำมาลงโทษอย่างแน่นอน” (อัศ-ศอฟฟาต : 56-57) หากฉันเชื่อในสิ่งที่เจ้าพูดและต�ำหนิฉันในดุนยา แน่นอนว่าฉันจะ ต้องพินาศย่อยยับและถูกลงโทษร่วมกับเจ้าเป็นแน่แท้ َّ َ ُ ُ ۡ َ َ َ ٰ َ ُ ۡ َ َ َ ۡ َ َّ َۡ َ َ​َ َ َ ّ َ ُ ٥٩ �ِ�‫ إِ� موتتنا ٱ�و� وما �ن بِمعذ‬٥٨ �ِ‫أ�ما �ن بِميِت‬ ความว่า “ดังนั้นเราจะไม่ตายเว้นแต่การตายของเราครั้งแรกและ เราจะไม่ถูกลงโทษ กระนั้นหรือ?” (อัศ-ศอฟฟาต : 58-59) เป็นยังไงล่ะ? เจ้าเคยมั่นใจมิใช่หรือว่าเราจะไม่ตายเว้นแต่เพียงครั้ง เดียวในดุนยา แล้วจะไม่มีการฟื้นคืนชีพหลังจากนั้นและจะไม่มีการลงโทษ ใดๆ แต่วันนี้เจ้าเห็นแล้วใช่หรือไม่? นักวิชาการบางส่วนกล่าวว่าชายสองคนนี้ คือเจ้าของสวนสองคนที่ ถูกกล่าวถึงในสูเราะฮฺอลั -กะฮฺฟฺ โดยอ้างถึงรายละเอียดของเรือ่ งราวของพวก เขาจากการรายงานของอิสรออีลียาตหรือบรรดายิวและคริสต์ อนึ่ง ท่านนบีได้กล่าวว่า เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

9


(‫َو َح ِّدث ُ ْوا َع ِن ب َ ِن ْي ِ�إ ْس َرا ِئ ْي َل َولَا َح َر ٌج (رواه البخاري‬ ความว่า “และพวกเจ้าจงรายงานเรื่องราวต่างๆ จากบนีอิสรออีล โดยที่ไม่ถือเป็นความผิดใดๆ (เป็นที่ผ่อนปรน)” (บันทึกโดยอัล-บุคอรี) อิมามอัช-ชาฟิอี กล่าวว่า “เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่าท่านนบีห้าม การถ่ายทอดเรื่องที่โกหก ฉะนั้นหากไม่ทราบแน่ชัดว่าเรื่องนั้น (จาก อิสรออีลยี าต) มีสงิ่ ทีโ่ กหกปะปนอยูห่ รือไม่ ก็ถอื ว่าอนุญาตให้รายงานจาก พวกเขาได้เนื่องจากท่านนบีได้กล่าวว่า เมื่อชาวคัมภีร์ได้รายงานแก่พวก เจ้าในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ก็จงอย่าเชื่อโดยสิ้นเชิงและอย่าปฏิเสธสิ่งนั้นโดย สิ้นเชิงเช่นกัน” (จบค�ำกล่าว) กล่าวกันว่าชายทั้งสองนี้อยู่ในยุคก่อนท่านนบี เป็นที่รู้กันดี ว่าหนึ่งในสองคนนี้ (เจ้าของสวน) เป็นผู้ศรัทธา ขณะที่อีกคนหนึ่งนั้นเป็น ผู้ปฏิเสธศรัทธา ทั้งสองคนนี้ต่างก็เป็นเศรษฐีด้วยกันทั้งคู่โดยที่เขาทั้งสอง เป็นหุ้นส่วนกันในธุรกิจหนึ่งเกี่ยวกับการเกษตร จนกระทั่งถึงเวลาหนึ่งที่เขา ทัง้ สองประสงค์จะแยกย้ายกันไปสูเ่ ป้าหมายของตน ทัง้ สองจึงแบ่งทรัพย์สนิ กันอย่างเท่าเทียมกัน ชายผู ้ ศรัท ธาได้ท�ำการแบ่งเงินส่วนหนึ่ ง ไปซื้ อ ทาสแล้ วก็ ปล่ อ ย ให้เป็นไทด้วยหวังในพระพักตร์ของอัลลอฮฺ อีกส่วนหนึ่งไปซื้อเสื้อผ้าแล้ว จัดสรรปันส่วนให้แก่บรรดาผู้ยากจนขัดสน และส่วนสุดท้ายเขาใช้ส�ำหรับ ซื้อหาอาหารและใช้จ่ายในธุระต่างๆ ของเขา ซึ่งหมายรวมถึงการบริจาค อาหารแก่ผู้อดอยากและบริจาคทรัพย์สินส่วนสุดท้ายนี้แก่ผู้ที่ยากล�ำบาก ด้วย เช่นนั้นแล้วชายคนนี้จึงได้ใช้ทรัพย์สินและความมั่งคั่งของเขาทั้งหมด ไปในหนทางของอัลลอฮฺ 10

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


อีกรายงานหนึ่งได้เล่าว่า ชายคนนี้ได้ยินมาว่าอดีตหุ้นส่วนของเขา ได้ซื้อพันธุ์พืชต่างๆ เพื่อขยายกิจการของตน เขาจึงไปซื้อบ้างแต่เขากล่าวว่า “โอ้อลั ลอฮฺ แท้จริงเพือ่ นของฉันได้ซอื้ สิง่ ต่างๆ เหล่านี้ และฉันก็ซอื้ มันเช่นกัน ทว่าฉันซื้อมันเพื่อเพาะปลูก ณ พระองค์ท่าน ในสวนสวรรค์ของพระองค์” แล้วเขาก็แจกจ่ายเมล็ดพันธุ์หรือพืชพันธุ์ต่างๆ ให้แก่บรรดาผู้ยากจนขัดสน จนหมดสิ้น ชายผู้นี้หวังที่จะท�ำการค้ากับพระเจ้าของเขา เขาท�ำการลงทุน เพื่อรับผลก�ำไรในอาคิเราะฮฺ เนื่องจากการค้าขายและลงทุนกับอัลลอฮฺนั้น จะไม่มีวันขาดทุนโดยเด็ดขาด ฝ่ายหุ้นส่วนที่เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น เขาได้ใช้ทรัพย์สินที่มีในการ ลงทุนกับธุรกิจของเขาทั้งด้านพันธุ์พืชและการซื้อทาสมาเป็นแรงงาน ส่วน หนึ่งก็ใช้ในการแต่งงานกับสตรีที่ร�่ำรวยเช่นเดียวกับเขา ทุกครั้งที่ได้ผลผลิต เขาก็น�ำมันไปขายสร้างผลก�ำไรมากมาย แล้วเขาก็น�ำมันมาลงทุนอีก ขยาย กิจการและจ�ำนวนของข้าทาสบริวารจนไม่นานนักเขาก็มีทรัพย์สินมากมาย เหลือคณานับ ซึ่งอัลลอฮฺได้อ�ำนวยความสะดวกให้แก่เขา ประทานความ มั่งคั่งให้แก่เขาเพื่อเป็นการทดสอบเขา ใช่! เพื่อเป็นการทดสอบแก่เขา และ การทดสอบด้วยความสุขสบายนั้นหนักหน่วงกว่าการทดสอบด้วยความยาก ล�ำบาก ซึ่งทางรอดจากบททดสอบด้วยความสุขสบายนั้นก็คือการที่ท่าน ต้องส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของอัลลอฮฺ กตัญญูต่อพระองค์ ส่วนการ ทดสอบด้วยความยากล�ำบากนั้นท่านจ�ำเป็นจะต้องอาศัยการอดทน ชายผู้ศรัทธาได้ใช้จ่ายทรัพย์สินอันมากมายของเขาทั้งหมดไปใน หนทางของอัลลอฮฺจนกระทัง่ เขาได้ประสบความยากจนข้นแค้น เขาจึงกล่าว กับตัวเองว่า “หากฉันกลับไปหาอดีตหุน้ ส่วนของฉันเพือ่ สมัครเป็นคนงานท�ำ ไร่ท�ำสวนของเขา ฉันก็คงพอจะมีเงินไว้ใช้จ่ายบ้าง” เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

11


ด้วยความหวังว่าอดีตที่เคยมีร่วมกันจะเอื้ออ�ำนวยให้แก่เขา เขาไป ยังคฤหาสน์ของอดีตหุน้ ส่วนคนนัน้ ซึง่ กว่าจะผ่านเข้าไปถึงอดีตเพือ่ นผูม้ งั่ คัง่ ได้เขาต้องผ่านยามรักษาความปลอดภัยชั้นแล้วชั้นเล่า เมื่อเผชิญหน้ากัน ชายผู้ร�่ำรวยกลับจ�ำชายผู้ศรัทธาอดีตหุ้นส่วนคนนี้ไม่ได้อันเนื่องจากความ ยากจนข้นแค้นที่เขาได้ประสบอยู่ สภาพเสื้อผ้าและเนื้อตัวที่มอซอ อีกทั้ง ความหิวกระหายและอดอยากได้เปลี่ยนแปลงสภาพของร่างกายและผิว พรรณของเขา ชายผูศ้ รัทธาจึงกล่าวว่าฉันคือเพือ่ นเก่าและหุน้ ส่วนของท่านอย่างไร ล่ะ ท่านจ�ำได้ไหม? ชายผู้มั่งคั่งรู้สึกประหลาดใจอย่างมาก เขาถามกลับไปว่า “เจ้าคืนเพื่อนของฉันคนนั้นจริงๆ หรือ? แล้วทรัพย์สินที่เคยมี ความสง่างาม ความสะอาดสะอ้าน สิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่างๆ ของเจ้าไปไหนหมดแล้ว? เราได้แบ่งทรัพย์สินอย่างเท่าเทียมกันมิใช่หรือในวันนั้น?” ชายผู้ศรัทธาจึง กล่าวตอบว่าเขาได้ใช้ทั้งหมดซื้อขายกับอัลลอฮฺไปแล้ว ชายผูม้ งั่ คัง่ ผูป้ ฏิเสธศรัทธา จึงต�ำหนิเขาอย่างรุนแรงด้วยความโมโห “เจ้าบ้าไปแล้วหรือไง ดูสิว่าฉันใช้ทรัพย์สินอย่างไรและได้รับผลอย่างไร แล้ว เจ้ากลับใช้มนั ไปอย่างนัน้ ช่างโง่เขลาเบาปัญญาเสียนีก่ ระไร” ยิง่ ต�ำหนิกม็ แี ต่ จะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ชายผู้ศรัทธาจึงกล่าวตัดบทว่า “ฉันท�ำธุรกิจ กับอัลลอฮฺไปหมดแล้ว และฉันไม่ได้มาทีน่ เี่ พือ่ ขอทานหรือสิง่ อืน่ ใด นอกจาก สมัครเป็นหนึ่งในคนงานของเจ้าก็เท่านั้น” ทว่าชายผู้มั่งคั่งกลับไม่สามารถ ควบคุมอารมณ์โกรธของตนได้จนกระทั่งเขาสั่งให้น�ำตัวชายผู้ยากไร้คนนั้น ออกไปจากคฤหาสน์ของเขาโดยที่ไม่ยอมรับเขาเข้าท�ำงานอีกด้วย แต่แล้วเขาก็ออกมาหาชายผู้นั้นแล้วลากไปยังสถานที่เพาะปลูก หนึ่งในสองแห่งของเขาเพื่อยืนยันให้เห็นว่าสิ่งที่เขาท�ำนั้นถูกต้องและได้ผล 12

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


งดงามเพียงใด ส่วนการกระท�ำของอดีตหุ้นส่วนที่ตกระก�ำล�ำบากตอนนี้นั้น งี่เง่าขนาดไหน อัลลอฮฺได้เล่าเรื่องราวของเขาทั้งสองไว้ว่า َ ‫۞وٱ ۡض ۡب ل َ ُهم َّم َث ٗ� َّر ُج َل ۡي َج َع ۡل َنا لَ َحده َِما َج َّنتَ ۡي م ِۡن أَ ۡع‬ َ ٰ ‫ب‬ ‫ن‬ ِ ِ ِ ِ ِ ٖ ُ ُ ۡ َ َ ۡ َ َّ َ ۡ َ ۡ ٗ ‫َو َح َف ۡف َنٰ ُه َما ب َن ۡخل َو َج َع ۡل َنا بَ ۡي َن ُه َما َز ۡر‬ َ‫كلَها‬ ‫ت‬ ‫ن‬ ‫ل‬ ‫ٱ‬ ‫ا‬ ‫ت‬ � ‫ي ءاتت أ‬ ‫ع‬ ِ‫ك‬ ِ ٖ ِ َ َ​َ َ َ َ َ َ َ َ َ ٗۡ َ ُّۡ َۡ َ َ ٔ ‫َول ۡم تظل ِم مِنه ش‬ ‫ر فقال‬ٞ ‫يا ۚ َوف َّج ۡرنا خِلٰل ُه َما ن َه ٗرا � َوكن ُلۥ ث َم‬ َ َ ُّ َ َ َ ٗ َ َ ُ َ ۡ َ ۠ َ َ ٓ ُ ُ َ ُ َ ُ َ َ ٗ � ‫حبِهِۦ وهو ياوِرهۥ أنا أكث ِمنك ما� وأعز نفرا‬ ِ ٰ ‫ل ِص‬ ความว่า “และจงเปรียบเทียบอุทาหรณ์หนึ่งแก่พวกเขา คือชาย สองคน เราได้ให้สวนองุ่นสองแห่งแก่คนหนึ่งในสองคน และเราได้ล้อม สวนทั้งสองไว้ด้วยต้นอินทผลัม และเราได้ท�ำให้มีพืชพันธุ์ระหว่างสวน ทั้งสองด้วย แต่ละสวนทั้งสองแห่งนี้ได้ออกผลิตผลของมันอย่างสมบูรณ์ ไม่เคยลดน้อยแต่อย่างใดและเราได้ให้ล�ำน�้ำไหลท่ามกลางสวนทั้งสอง และเขาได้รับผลิตผล ดังนั้นเขาจึงกล่าวแก่เพื่อนของเขา ขณะที่ก�ำลัง โต้เถียงกันอยู่ว่า “ฉันมีทรัพย์สินมากกว่าท่าน และมีข้าบริพารมากกว่า” (อัล-กะฮฺฟฺ : 32-34) สวนทัง้ สองแห่งของเขามีองุน่ ต้นอินทผลัมและพืชพันธุอ์ นื่ ๆ จ�ำนวน มากมาย ทุกเมล็ดที่ถูกหว่านเพื่อเพาะปลูกจะงอกเงยอย่างสวยงามแก่เขา และทุกๆ ต้นจะผลิดอกออกผลผลิตของมัน ยิ่งไปกว่านั้นอัลลอฮฺยังให้มี ล�ำน�้ำไหลผ่านกลางสวนทั้งสองเป็นแหล่งน�้ำส่วนตัวที่ใช้เพิ่มผลผลิตแก่เขา โดยที่ไม่ต้องไปแสวงหาแหล่งน�้ำให้ล�ำบาก กระทั่งว่ามองไปทางใดก็ล้วนแต่ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

13


ท�ำให้เกิดความสุขใจได้ นี่คือบททดสอบที่หนักหน่วงยิ่งเพราะธุรกิจของเขา มีแต่ความสมบูรณ์แบบและผลก�ำไร ขณะที่โดยธรรมชาติแล้วไม่ใช่ทุกเมล็ด ที่ถูกหว่านจะงอกเงยและไม่ใช่ทุกต้นที่งอกเงยมาแล้วจะสามารถให้ผลผลิต ได้ แต่อัลลอฮฺทรงทดสอบเขาด้วยความพิเศษเหล่านี้ เขาจึงถูกความเพริศ แพร้วของมันลวงหลอก เกิดความล�ำพองตน ความยโสโอหัง คิดว่าทุกอย่าง ที่มีอยู่นั้นล้วนมาจากความสามารถของเขาทั้งสิ้น เขากล่าวกับเพื่อนผู้ยากไร้ ว่า “ฉันมีทรัพย์สินมากกว่าท่าน และมีข้าบริพารมากกว่า” ۡ ّ َ َ َ َ ُّ ُ َ ٓ َ َ َ َ ُ ٗ َ َ َّ َ َ َ ‫يد �ٰ ِذه ِ ۦٓ �بَدا‬ ِ ‫ِم ِ�َف‬ٞ ‫َودخل َجنت ُه ۥ َوه َو ظال‬ ِ ‫سهِ ۦ قال ما أظن أن تب‬ ُّ ُّ َ َ ٗ َ ٓ َ َ َ َّ ُّ ُ َ ٓ َ َ ٗ ۡ ‫ِدت إ َ ٰ� َر ّ� َ�َج َد َّن َخ‬ َ‫�� ّم ِۡنها‬ ‫ وما أظن ٱلساعة قا�ِمة ول�ِن رد‬٣٥ ِ ِ ِ َ َ ٣٦ ‫ُمنقل ٗبا‬ ความว่า “เขาได้เข้าไปในสวนของเขาโดยที่เขาเป็นผู้อธรรมแก่ ตัวเขาเอง เขากล่าวว่า “ฉันไม่คิดว่าสวนนี้จะพินาศไปได้เลย และฉันไม่ คิดว่าวันอวสานของโลกจะมีขนึ้ และหากว่าฉันจะถูกกลับไปยังพระผูเ้ ป็น เจ้าของฉัน แน่นอน ฉันจะพบที่กลับที่ดียิ่งขึ้นกว่านี้” (อัล-กะฮฺฟฺ : 35-36) เขาเข้าไปในสวนของเขาเองในลักษณะที่ทะนงตนและโอหังซึ่งไม่ เป็นที่โปรดปรานของอัลลอฮฺ เขากล่าวว่า “ฉันไม่คิดว่าสวนนี้จะพินาศไปได้ เลย” นั่นก็เพราะว่า ในสวนมีต้นไม้มากมายและถ้าหากสวนแห่งใดสูญหาย ถูกท�ำลายไป เขาคิดว่าเขาจะได้รับที่ดีกว่ามาทดแทน เพราะเขาคิดว่าเขามี ทุกสิ่งที่พร้อมอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็น น�้ำ ผลไม้และพืชต่างๆ “และฉันไม่คิดว่า วันอวสานของโลกจะมีขึ้น” ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อมั่นในความสุขที่ไร้สาระแห่ง ชีวิตในโลกนี้ และปฏิเสธการเกิดขึ้นของชีวิตหลังความตาย ดังนั้น เขาจึงได้ กล่าวว่า “และหากว่าฉันจะถูกกลับไปยังพระผู้เป็นเจ้าของฉัน แน่นอน ฉัน 14

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


จะพบที่กลับที่ดียิ่งขึ้นกว่านี้” กล่าวคือ ถ้าหากมีวันสุดท้ายและชีวิตหลัง ความตายจริงๆ ที่นั่นเขาจะพบสิ่งที่ดีกว่าที่เขาได้รับในชีวิตนี้ ทั้งนี้เพราะเขา ถูกสิ่งที่เขามีและครอบครองอยู่ล่อลวงและคิดว่าอัลลอฮฺได้ให้ความจ�ำเริญ มั่งคั่งเหล่านี้ทั้งหมดแก่เขา เนื่องจากที่พระองค์ทรงรักเขาและโปรดปราน เขามากกว่าคนอื่น เขาไม่รู้ตัวเลยแม้แต่น้อยว่านั่นคือการทดสอบอันแสน สาหัสของเขาดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า َ ُ َُ ُ ُّ ُ َ َّ َ َ ُ َ ۡ َ َ َّ َ َ ُ ۡ َ ‫أيسبون أنما ن ِمدهم بِهِۦ مِن ما ٖل وبنِي � نسارِع لهم ِف‬ ۡ َّ َ َ ۡ َۡ � ‫ت بَل � يَش ُع ُرون‬ ۚ ِ ٰ ‫ٱلير‬ ความว่า “พวกเขาคิดหรือว่า แท้จริงสิ่งที่เราได้ให้แก่พวกเขา เช่น ทรัพย์สมบัติ และลูกหลานนั้น เราได้รีบเร่งให้ความดีต่างๆ แก่พวก เขากระนั้นหรือ? เปล่าเลย (มันเป็นการทดสอบชีวิตในโลกนี้ เพื่อที่พวก เขาจะได้ไม่มีส่วนแบ่งใดๆ ในโลกหน้า) แต่ทว่าพวกเขาไม่รู้สึกตัว” (อัลมุอ์มินูน : 55-56) เมื่อคนโอหังผู้นี้ถูกหลอกลวงโดยสิ่งที่เขาได้รับในโลกนี้ เขาก็ปฏิเสธ โลกหน้าและอ้างว่า ถ้าหากเขาอยู่ที่นั่นเขาก็จะพบกับสิ่งที่ดีกว่าเขาได้รับใน ตอนแรกแน่นอน َّ َ ۡ َ َ َ ٓ ُ ُ َ ُ َ ُ َ ُ ُ َ ُ َ َ َ ُ َُ َ َ​َ َ ‫ر‬ ‫ت‬ ‫ِن‬ ‫م‬ ‫ك‬ ‫ق‬ ‫ل‬ ‫خ‬ ‫قال لۥ صاحِبهۥ وهو ياوِرهۥ أكفرت ب ِٱ‬ ‫اب ث َّم‬ ‫ي‬ ‫ل‬ ِ ٖ ُ َ ٰ َّ َ َّ ُ َ ۡ ُّ ُ َّ ‫ك َر ُج ٗ� � َّلٰك َِّنا ۠ ُه َو ٱ‬ ٓ ّ ‫� َر ّب َو َ�ٓ أ ۡش ُك ب ِ َر‬ ‫ب‬ �‫مِن نطفةٖ ثم سو‬ ِ ِ ِ ٗ َ � ‫أ َحدا‬ ความว่า “เพื่อนของเขากล่าวแก่เขาขณะที่ก�ำลังโต้เถียงกันอยู่ว่า เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

15


‘ท่านเนรคุณต่อพระผู้สร้างท่านจากดิน แล้วจากเชื้ออสุจิ แล้วพระองค์ ทรงท�ำให้ท่านเป็นคนโดยสมบูรณ์ กระนั้นหรือ?’ แต่ฉันเชื่อว่าพระองค์ คืออัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้าของฉัน และฉันจะไม่ตั้งผู้ใดร่วมเป็นภาคีกับ ผู้เป็นเจ้าของฉันเลย” (อัล-กะฮฺฟฺ : 37-38) เมื่อชายผู้ศรัทธาได้ยินเพื่อนของเขาพูดเช่นนั้นเขาจึงเตือนสติเพื่อน ผู้มั่งคั่งที่ก�ำลังหลงผิด เจ้าปฏิเสธวันแห่งการฟื้นคืนชีพกระนั้นหรือ ทั้งๆ ที่ เจ้ารู้ดีว่าอัลลอฮฺคือผู้ทรงสร้างอาดัมผู้เป็นบรรพบุรุษของเจ้ามาจากดิน ซึ่ง ก่อนหน้านั้นมนุษย์ไม่ใช่สิ่งใดนอกจากความว่างเปล่า และจากนั้นลูกหลาน ของอาดัมก็ขยายเผ่าพันธุ์ผ่านเชื้ออสุจิ เจ้าเกิดมาจากน�้ำเชื้ออันต�่ำต้อย น่าเกลียด แล้วพระองค์ก็ทรงท�ำให้เจ้าเป็นรูปเป็นร่างทีละขั้นตอน ให้แม่มี ความรัก เอาใจใส่ดูแลเจ้าตั้งแต่ในท้องจนกระทั่งคลอดและยังดูแลเจ้าจน เติบใหญ่ เช่นเดียวกับพ่อของเจ้าที่ล�ำบากตรากตร�ำท�ำงานอย่างหนักเพื่อ หาปัจจัยยังชีพมาให้เจ้า อบรมสั่งสอนเจ้า จนกระทั่งเจ้าได้กลายเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาและทรัพย์สิน แล้ววันนึงเจ้าก็ต้องตาย กลายเป็นซากศพเน่าเหม็นถูกหนอนและดินกัดกินจนร่างกลายเป็นผุยผง เจ้าลืมสิ่งเหล่านี้แล้วถูกดุนยาลวงหลอกได้อย่างไร? อะไรหรือที่ท�ำให้เจ้า ตะกับบุร ยโสโอหัง? แต่ส�ำหรับฉันแล้ว ฉันเชื่อแตกต่างไปจากสิ่งที่เจ้าเชื่อ หรือแม้แต่สงิ่ ทีเ่ จ้าคิด เพราะฉันเชือ่ ว่า พระองค์คอื อัลลอฮฺ พระผูเ้ ป็นเจ้าของ ฉันผู้ทรงสร้างทุกสิ่งและบริหารจัดการมัน พระองค์จะท�ำให้คนตายฟื้น คืนชีพขึ้น และจะทรงรวบรวมกระดูกที่ผุกร่อนและกระจัดกระจายเข้าด้วย กัน ทัง้ หมดนีด้ ว้ ยพระอ�ำนาจและกรรมสิทธิข์ องพระองค์แต่เพียงผูเ้ ดียว เช่น นั้นฉันจะไม่ตั้งผู้ใดร่วมเป็นภาคีกับผู้เป็นเจ้าของฉันเด็ดขาด

16

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


َّ َ ُ َ ُ َّ َ ٓ َ َ َ ۡ ُ َ َ َّ َ َ ۡ َ َ ۡ ٓ َ ۡ َ َ َ َّ ‫� � ق َّوة إِ� ب ِٱ�ِۚ إِن ت َر ِن‬ ‫ولو� إِذ دخلت جنتك قلت ما شاء ٱ‬ َّ َ َ ۠ َ َ َّ ٰ َ َ​َ َ َ ٗ َ ‫ِنك َم ٗا� َو َو‬ ٗ ۡ ‫ب أَن يُ ۡؤت َِي َخ‬ ٓ ‫يا ّمِن َج َّنتِك‬ ‫ر‬ ‫س‬ ‫ع‬ ‫ف‬ � ‫ا‬ ‫ل‬ ‫م‬ ‫ل‬ ‫أنا أق‬ ِ ِ َ​َ َ َ ٓ َّ ًَ ٗ ٗ � ‫لس َماءِ ف ُت ۡصب ِ َح َصعِيدا َزلقا‬ ‫َو ُي ۡرسِل عل ۡي َها ُح ۡس َبانا ّم َِن ٱ‬ َ َ َ َۡ َ​َ ٗ ۡ َ َ ُٓ َ َ ۡ ُ َۡ َ � ‫يع ُلۥ َطل ٗبا‬ ‫أو يصبِح ماؤها غورا فلن تست ِط‬

ความว่า “และท�ำไมเล่าเมื่อท่านเข้าไปในสวนของท่าน ท่านจึงไม่ กล่าวว่า สิ่งที่อัลลอฮฺทรงประสงค์ (ย่อมเกิดขึ้น) ไม่มีพลังใดๆ (ที่จะช่วย เราได้) นอกจากทีอ่ ลั ลอฮฺ หากท่านเห็นว่าฉันด้อยกว่าท่านทางด้านทรัพย์ สมบัติและลูกหลาน ดังนั้น บางทีพระผู้เป็นเจ้าของฉันจะทรงประทานให้ ฉันดีกว่าสวนของท่าน และจะทรงส่งสายฟ้าฟาดลงที่สวนของท่าน แล้ว มันจะกลายเป็นที่ดินโล่งเตียน หรือน�้ำของมันกลายเป็นเหือดแห้งแล้ว ท่านไม่สามารถจะพบมันได้อีกเลย” (อัล-กะฮฺฟฺ : 39-41) เขายังเตือนสติเพือ่ นของเขาต่อไปว่าทุกสิง่ ทีท่ า่ นมีอยูน่ นั้ ล้วนมาจาก อัลลอฮฺ เมื่อท่านได้รับมันหรือจะแสดงมันแก่ผู้อื่น ท�ำไมท่านจึงไม่กล่าว ว่า “มาชาอัลลอฮฺ” นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นตามพระประสงค์ของพระองค์ หาก พระองค์ไม่ประสงค์ ไม่อนุมัติมันก็ย่อมไม่เกิดเช่นนี้อย่างแน่นอน การกล่าว สรรเสริญอัลลอฮฺเช่นนีย้ อ่ มเป็นการดีกว่าส�ำหรับใครก็ตามทีก่ ลายเป็นผูห้ ลง ชื่นชมในทรัพย์สิน ครอบครัว ลูกหลาน หรือฐานะของตนเอง และผู้ศรัทธาก็ได้กล่าวแก่เพื่อนผู้ปฏิเสธของเขาว่า หากเจ้าเห็นว่า ฉันด้อยกว่าเจ้าทางด้านทรัพย์สมบัติและลูกหลาน ดังนั้น บางทีพระผู้เป็น เจ้าของฉันจะทรงประทานให้ฉันในโลกหน้าซึ่งดีกว่าสวนของเจ้าและจะทรง ส่งภัยพิบัติจากฟากฟ้าลงมายังสวนของเจ้า ซึ่งอาจจะเป็นฝนที่ตกอย่างหนัก เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

17


หรือฟ้าผ่าที่จะถอนรากถอนโคนสวนของท่าน แล้วมันจะกลายเป็นที่ดินโล่ง เตียนไม่สามารถเพาะปลูกได้อกี ต่อไป หรือพระองค์จะท�ำให้แหล่งน�ำ้ ของมัน เหือดแห้งหายลงไปในพื้นดินแล้วเจ้าไม่สามารถจะน�ำมันกลับมาได้อีกเลย ٌ َ َ َ َ َ َ َ َ ٓ َ ٰ َ َ ۡ َّ َ ُ ّ َ ُ َ َ ۡ َ َ َ َ َُ َ ‫وأحِيط بِثم ِره ِۦ فأصبح �قل ِب كفيهِ � ما أنفق �ِيها و ِ� خاوِ�ة‬ ٗ َ َ ٓ ّ َ ۡ ۡ ُ ۡ َ َ ۡ َ َٰ ُ ُ َ َ َ ُ ُ َٰ َ ٤٢ ‫�ك بِر ِ� أحدا‬ ِ ‫� عروشِها و�قول �ليت ِ� لم أ‬ ความว่า “และผลิตผลของเขาถูกท�ำลายหมด แล้วเขาก็ประกบ ฝ่ามือทัง้ สองด้วยความเสียใจต่อสิง่ ทีเ่ ขาได้จบั จ่ายไป ซึง่ มันพังพาบลงมา และเขากล่าวว่า ‘โอ้ ! หากฉันไม่เอาผู้ใดมาตั้งภาคีกับพระผู้เป็นเจ้าของ ฉัน (ก็คงดี)’” (อัล-กะฮฺฟฺ : 42) ผลิตผลของเขาก็ถกู ท�ำลายจนหมดสิน้ สวนทัง้ สองของเขาถูกท�ำลาย เสียหายย่อยยับ ทุกๆ อย่างพังพาบลงมาเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของเขา แล้วเขาก็ปัดฝ่ามือทั้งสองไปมาด้วยความเสียใจต่อสิ่งที่เขาได้ลงทุนไป ซึ่งผิด ไปจากทีเ่ ขาได้พดู ไว้อย่างมัน่ ใจในก่อนหน้านีว้ า่ “ฉันไม่คดิ ว่าสวนนีจ้ ะพินาศ ไปได้เลย” ดังนั้นเขาจึงได้เสียใจต่อการกระท�ำและค�ำพูดของเขาก่อนหน้านี้ ที่ท�ำให้เขากลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาในอัลลอฮฺ เขาจึงกล่าวว่า “โอ้! ความ หวังลมๆ แล้งๆ ของฉัน หากฉันไม่เอาผู้ใดมาตั้งภาคีกับพระผู้เป็นเจ้าของ ฉันก็คงดี” ซึ่งไม่มีประโยชน์ใดๆ แล้วในการเสียใจของเขาหลังจากที่การ ลงโทษของอัลลอฮฺได้ถูกส่งมายังเขาแล้ว ُ َ َۡ​َ َ ‫ن�ونَ ُه ۥ مِن ُدون ٱ َّ�ِ َو َما َ� َن ُم‬ ً ِ ‫نت‬ ُ ُ َ‫ ي‬ٞ‫�ن َّ ُ� ۥ ف َِئة‬ ٤٣ ‫�ا‬ ‫ولم ت‬ ِ ۡ ُ ٌ ۡ َ َ ٗ َ َ ٞ ۡ َ َ ُ ّ َ ۡ َّ ُ َ ٰ َ َ ۡ َ َ ُ ‫ق هو خ� ثوابا وخ‬ ٤٤ ‫� �ق ٗبا‬ � ِ �‫هنال ِك ٱلو�ية ِ�ِ ٱ‬ 18

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ความว่า “และเขาไม่มีพรรคพวกจะช่วยเขาได้ นอกจากอัลลอฮฺ และเขาก็มไิ ด้เป็นผูช้ ว่ ยเหลือ ด้วยเหตุนนั้ การคุม้ ครองช่วยเหลือเป็นของ อัลลอฮฺผู้ทรงสัจจะ และพระองค์ทรงดียิ่งในการตอบแทน และทรงดียิ่ง ในบั้นปลาย” (อัล-กะฮฺฟฺ : 43-44) เมื่อพระบัญชาแห่งการลงโทษได้มาถึง ก็ไม่มีพลพรรคใดๆ จะ สามารถช่วยเหลือเขาได้ นอกจากอัลลอฮฺ และเขาก็มิได้เป็นผู้ช่วยเหลือ ตัวของเขาเองให้พ้นจากภัยพิบัติดังกล่าว ด้วยเหตุนี้การคุ้มครองและช่วย เหลือจึงเป็นของอัลลอฮฺผู้ทรงสัจจะ นั่นคือการตัดสินที่ไม่อาจปฏิเสธได้ และกฎที่ไม่อาจต่อต้านได้ในเรื่องนี้ และในทุกเงื่อนไขเป็นของอัลลอฮฺแต่ เพียงพระองค์เดียว และพระองค์ทรงดียิ่งในการตอบแทนและทรงดียิ่งใน บั้นปลายที่พระองค์ทรงน�ำเราไปสู่ นี่คือบั้นปลายชีวิตของผู้ที่หลงทางในดุนยา ปฏิเสธบุญคุณของ อัลลอฮฺโดยสิ้นเชิง ดูถูกเย้ยหยันเหยียดหยามผู้ศรัทธา ซ�้ำร้ายยังไม่รับค�ำ ตักเตือนจากผู้อื่น สุดท้ายสิ่งที่เคยมีในดุนยาก็สูญสิ้นเพียงชั่วข้ามคืนและเขา ยังต้องรับการทรมานในนรกตลอดการอีกด้วย ٍ ْ‫أَ�قُ ْو ُل قَ ْو ِلي َه َذا َو أَ� ْستَ ْغ ِف ُر الل َه ِلي َو َلك ُْم َو ِل َسا ِئ ِر ا ْل ُم ْس ِل ِم ْي َن ِم ْن ك ُِّل َذن‬ ُ‫ب فَا ْستَ ْغ ِف ُر ْوه‬ ‫الر ِح ْي ُم‬ َّ ‫ِ�إنَّ ُه ُه َو ا ْل َغف ُْو ُر‬ (อ้างอิงจากการบรรยายของชัยคฺเนาวาฟ มุฮัมมัด อัส-สาลิม ผู้รู้ท่านหนึ่งในคูเวต เดือนเราะมะฎอน 1431)

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

19


เรามาทำ�ความรู้จัก หนทางสู่การเตาบะฮฺ ที่จะถูกตอบรับกันเถอะ

(‫ )توبة نصوح‬คือเตาบะฮฺที่บริสุทธิ์จากข้อบกพร่องต่างๆ ค�ำว่า (‫ )نصوح‬นั้นหมายถึงการท�ำให้สิ่งๆ หนึ่งบริสุทธิ์จากสิ่งสกปรกทั้งหลาย ซึ่ง ส่วนหนึ่งของสิ่งสกปรกหรือมลทินของการเตาบะฮฺก็คือการเตาบะฮฺเพื่อสิ่ง อื่นจากอัลลอฮฺ เช่น เลิกท�ำชั่วเพราะกลัวชื่อเสียงจะเสียหาย กลัวจะสูญเสีย ต�ำแหน่ง กลัวสุขภาพจะย�่ำแย่ กลัวทรัพย์สินจะพร่องไป กลัวเกรงใครบาง คน หรือบางสิ่งบางอย่าง นี่คือการเตาบะฮฺเนื่องจากผลประโยชน์ในดุนยา ของตัวเอง ฉะนั้นทุกครั้งที่จะเตาบะฮฺเราต้องถามใจของเราเองเสียก่อน ว่า เราก�ำลังจะเตาบะฮฺเพื่ออะไร และเพราะอะไร? َ ُ ۡ ُ ۡ ُ َّ َ َ َ ُ ۡ ُ ۡ َ ُّ َ ً َ َّ َ ْ ٓ ُ ُ َ ٣١ ‫ وتو�وا إِ� ٱ�ِ �ِيعا �يه ٱلمؤمِنون لعل�م �فل ِحون‬... ความว่า “...และพวกเจ้าทั้งหลายจงกลับตัวสู่อัลลอฮฺเถิด โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ” (อัน-นูร : 31) َّ ٗ َ ۡ َ َّ َ ْ ٓ ُ ُ ْ ُ َ َ َ َّ َ ُّ َ ٰٓ َ ً ُ ٨ ... ‫���ها ٱ�ِين ءامنوا تو�وا إِ� ٱ�ِ تو�ة نصوحا‬


ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงกลับตัวสู่อัลลอฮฺด้วยการ กลับตัวอย่างจริงจังเถิด” (อัต-ตะหฺรีม : 8) เมื่อทบทวนสองอายะฮฺนี้แล้วเราย่อมได้รับค�ำตอบว่า อัลลอฮฺมิได้ สั่งใช้ให้เตาบะฮฺไปยังสิ่งใดนอกจากยังพระองค์เท่านั้น เมื่อตระหนักแล้ว ว่าเตาบะฮฺคือค�ำสั่งจากพระองค์และให้ท�ำเพื่อพระองค์เท่านั้นเราก็จะต้อง พยายามขจัดเจตนาอื่นๆ ให้หมดไป เพื่อให้การเตาบะฮฺของเราเป็นการ เตาบะฮฺที่อัลลอฮฺจะทรงตอบรับ เหตุที่เราต้องพูดคุยกันหลายต่อหลายครั้งในเรื่องนี้ ก็เพราะการ เตาบะฮฺนั้นเป็นองค์ประกอบหนึ่งของอายุขัยมนุษย์ อันเนื่องมาจากทุกเวลา นั้นมนุษย์กระท�ำผิดได้เสมอ ท่านนบีได้บอกว่า ‫ ( ِ�إ َّن ال َّل َه ي َ ْب ُس ُط‬: ‫ َع ِن ال َّنب ِِّي َص َّلى ال َّل ُه َعلَ ْي ِه َو َس َّل َم قَا َل‬، ‫َع ْن أَ�بِي ُمو َسى‬ ، ‫يء ال َّل ْي ِل‬ َ ُ‫ َوي َ ْب ُس ُط ي َ َدهُ بِال َّن َها ِر ِليَت‬، ‫يء ال َّن َها ِر‬ َ ُ‫ي َ َدهُ بِال َّل ْي ِل ِليَت‬ ُ ‫وب ُم ِس‬ ُ ‫وب ُم ِس‬ ‫الش ْم ُس ِم ْن َم ْغ ِر ِب َها ) رواه مسلم‬ َّ ‫َح َّتى تَ ْطلُ َع‬ ในการบันทึกของมุสลิม จากอบูมูซา อัล-อัชอะรี ท่านนบี กล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงแผ่พระหัตถ์ของพระองค์ในยามค�่ำคืนเพื่อ ตอบรับการเตาบะฮฺของบ่าวผู้กระท�ำผิดในตอนกลางวัน และทรงแผ่ พระหัตถ์ของพระองค์ในเวลากลางวันเพื่อตอบรับการเตาบะฮฺของบ่าว ผู้กระท�ำผิดในยามค�่ำคืน ซึ่งจะเป็นเช่นนี้จนกว่าดวงอาทิตย์จะขึ้นทาง ทิศตะวันตก” หะดีษนี้ระบุชัดเจนว่าทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นมีผู้กระท�ำความ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

21


ผิด กระท�ำบาป และอัลลอฮฺทรงรอตอบรับการเตาบะฮฺทงั้ กลางวันและกลาง คืนเช่นกัน และจะเป็นเช่นนี้จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก ประตู แห่งการเตาบะฮฺปิดลงและสัญญาณกิยามะฮฺใหญ่ๆ ที่เหลือจะตามมาติดๆ เราต้องยอมรับว่ามนุษย์ไม่สามารถรอดพ้นจากความผิดไปได้เลย ลิ้นกระท�ำความผิดด้วยการโกหก การนินทา การเสี้ยม การยุแหย่ การพลิกลิ้น การสร้างความเสียหายให้ผู้อื่นด้วยลิ้น พูดค�ำหยาบคาย พูดสิ่ง ทะลึ่ง ลามก ต�่ำทรามฯลฯ ดวงตาก็ท�ำบาปด้วยการมองสิ่งที่ศาสนาไม่อนุมัติ ด้วยการอิจฉา ด้วยการเคียดแค้น ความเกลียดชัง หูทั้งสองก็ท�ำบาปด้วย การฟังสิง่ ทีศ่ าสนาไม่อนุมตั ิ ฟังการโกหกทัง้ ทีร่ วู้ า่ เป็นการโกหกแต่เพือ่ ความ สนุกสนานของตนจึงยอม ฟังการนินทา ฟังการเสี้ยม การยุแหย่ ฟังเรื่อง เสียหายของผู้อื่นเพื่อความสะใจของตัวเอง ฟังค�ำหยาบคายแล้วมีความสุข ฟังเรือ่ งทะลึง่ ลามก ต�ำ่ ทรามฯลฯ และมือของเราท�ำบาป เท้าของเราท�ำบาป ท้องของเราท�ำบาป และเหนือสิ่งอื่นใดหัวใจของเราท�ำบาป บาปที่เกิดขึ้นจากหัวใจนั้นใหญ่ยิ่งกว่าการท�ำซินา การลักขโมย การ ดื่มสุราเสียอีก เพราะหัวใจที่มีความเคียดแค้น เกลียดชัง อิจฉา ริษยา การ เป็นศัตรู การหยิ่งผยอง การล�ำพองตน การหลงตัวเอง การหลอกตัวเอง การยกตนข่มท่าน การอยากอยู่สูงกว่าคนอื่น ชอบท�ำตัวเหนือกว่าคนอื่น ดูถูกดูแคลนผู้อื่น เหยียดหยาม หมิ่นประมาท ชอบให้คนอื่นชื่นชมในสิ่งที่ ตัวเองไม่ได้ท�ำหรือไม่มีคุณสมบัตินั้นๆ เกลียดที่ได้รับรู้ข้อผิดพลาดของตัว เอง โต้เถียงอัลลอฮฺในเดชานุภาพของพระองค์ในการเป็นองค์อภิบาล สงสัย ในพระองค์ ไม่พอใจค�ำสั่งของพระองค์ คัดค้านค�ำสั่งของพระองค์ และอื่น จากนี้เป็นร้อยเป็นพันส�ำหรับบาปในหัวใจ (ขออัลลอฮฺทรงช�ำระหัวใจของ พวกเราให้หมดจากมลทินเหล่านี้ด้วยเถิด) และที่อันตรายที่สุด น่ากลัวที่สุด นั่นก็คือการที่โรคร้ายต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วและยังไม่ได้กล่าวถึงได้บรรจุ 22

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


อยู่เต็มหัวใจของคนๆ หนึ่งโดยที่เขาไม่รู้สึกตัวเลยแม้แต่น้อย ซึ่งนั่นเป็นโรค ร้ายแรงเรื้อรังทีย่ ากแก่การรักษา (ขออัลลอฮฺปัดเป่าโรคร้ายนีใ้ ห้พน้ จากพวก เราด้วยเถิด) ปัญหาหนึ่งในยุคของเรา ยุคสุดท้าย คือการที่เวลาผ่านไปอย่าง รวดเร็ว ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นก็เป็นไปอย่างรวดเร็ว ชั่วครู่ ไม่จีรัง ซึ่งเป็นหนึ่งใน สัญญาณวันกิยามะฮฺ ‫السا َع ُة‬ ِ َ‫َع ْن أَ�ن‬ َّ ‫ُوم‬ ُ ‫س بْ ِن َما ِل ٍك قَا َل قَا َل َر ُسو ُل ال َّل ِه َص َّلى ال َّل ُه َعلَ ْي ِه َو َس َّل َم ( لَا تَق‬ ‫الش ْه ُر كَا ْل ُج ُم َع ِة َوتَكُو ُن ا ْل ُج ُم َع ُة‬ َّ ‫َالش ْه ِر َو‬ َّ ‫السنَ ُة ك‬ َّ ‫الز َما ُن فَتَكُو ُن‬ َّ ‫َح َّتى يَتَقَا َر َب‬ ‫َالض َر َم ِة بِال َّنا ِر ) رواه الترمذي‬ َّ ‫السا َع ُة ك‬ َّ ‫َالسا َع ِة َوتَكُو ُن‬ َّ ‫كَا ْليَ ْو ِم َويَكُو ُن ا ْليَ ْو ُم ك‬ ในการบั น ทึ ก ของอั ต -ติ ร มิ ซี จากอนั ส อิ บ นุ มาลิ ก ท่ า น รสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า “วันกิยามะฮฺจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าเวลาจะด�ำเนิน ไปอย่างรวดเร็วกระทั่งหนึ่งปีเหมือนหนึ่งเดือน หนึ่งเดือนเหมือนหนึ่ง สัปดาห์ หนึ่งสัปดาห์เหมือนกับหนึ่งวัน หนึ่งวันเหมือนช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งช่วงเวลานั้นจะผ่านไปเร็วเหมือนกับช่วงเวลาที่ก้านใบอินทผาลัมแห้ง ที่ลุกโชติช่วงในกองไฟ” นี่คือการสูญหายไปซึ่งบะเราะกะฮฺในเวลา และเนื่องด้วยการเวลาที่ หมุนไปอย่างรวดเร็วจึงท�ำให้มนุษย์ตอ้ งกลายเป็นคนรีบเร่งเพือ่ ให้ทนั กับกาล เวลา รีบเร่งและรวดเร็วกับทุกอย่าง กระทั่งเขาท�ำบาป เขาฝ่าฝืนพระองค์ แล้วเขาก็ลืมมัน แต่ในสภาวะที่มนุษย์ใช้ชีวิตอย่างรวดเร็วจนหลงลืมหลาย ต่อหลายอย่างกระทั่งความผิดของเขานั้น พระผู้เป็นเจ้าของเขาตรัสว่า

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

23


َّ َ َ ُۡ ۡ َ َ َّ َ َ ُ ُ ُۡ ُ َ َ َ َ َ ٰ ٰ �‫ب‬ ِ ‫قال �ما بال ٱلقر‬ � ٖ �ِ‫ قال عِلمها عِند ر ِ� ِ� ك‬٥١ �‫ون ٱ�و‬ َ َ‫يَض ُّل َر ّ� َو َ� ي‬ ٥٢ �‫ن‬ ِ ِ ความว่า “ฟิรเอานฺกล่าวว่า ‘แล้วสภาพของคนรุ่นก่อนๆ นั้นเป็น เช่นไร?’ มูซาตอบว่า ‘ความรู้ในเรื่องนั้น อยู่ที่พระเจ้าของฉัน ในบันทึก ของพระองค์ (เลาหุลมะหฺฟูซ) พระเจ้าของฉันจะไม่ทรงผิดพลาดใน การกระท�ำและการตัดสินของพระองค์ และไม่ทรงหลงลืมจากการกระท�ำ ทั้งหมดของกลุ่มชนก่อนหน้าเหล่านั้น’” (ฏอฮา : 51-52) ٗ ‫� َج‬ ُ َّ ‫� َون َ ُسوهُ َوٱ‬ ُ َّ ‫ِيعا َف ُينَ ّب ُئ ُهم ب َما َع ِملُ ۚ ٓوا ْ أَ ۡح َص� ٰ ُه ٱ‬ ُ َّ ‫يَ ۡو َم َي ۡب َع ُث ُه ُم ٱ‬ � ۚ ِ ِ ّ ُ َٰ َ ٌ ‫شءٖ َشه‬ ۡ َ ‫ك‬ � ‫يد‬ ِ ِ � ความว่า “อัลลอฮฺจะฟื้นชีพทุกชีวิตขึ้นมา (และรวบรวมไปสู่ พระองค์) ในวันกิยามะฮฺ และจะทรงแจ้งถึงการงานต่างๆ ที่พวกเขาได้ ขวนขวายเอาไว้ พระองค์ทรงรวบรวมมันทั้งหมดไว้ (ในเลาหุลมะหฺฟูซ ณ ที่พระองค์ และยังอยู่ในบันทึกการงานของทุกชีวิต) ทว่าพวกเขาได้ หลงลืมสิ่งที่พวกเขาได้ท�ำไว้ แต่อัลลอฮฺทรงเป็นพยานยืนยันในทุกๆ สิ่ง (ทั้งเร้นลับและเปิดเผย)” (อัล-มุญาดะละฮฺ : 6) ฉะนั้น ขั้นตอนแรกของการเตาบะฮฺหลังจากที่รู้แล้วว่าเป็นค�ำสั่ง ของพระองค์และจะต้องท�ำเพื่อพระองค์เท่านั้น ก็คือ “การพิจารณา ตรวจ สอบบัญชีการงานของตัวเอง” เราใช้เวลากับมนุษย์คนนั้นคนนี้วันละกี่นาที กี่ชั่วโมง? แล้วเราเคยอยู่กับตัวเองวันล่ะกี่นาที? อิบนุลก็อยยิม ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน กล่าวว่า “ขั้นแรกของการ 24

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


เตาบะฮฺคือการพิจารณาว่าเหตุใดท่านจึงท�ำบาปนั้น เหตุใดอัลลอฮฺถึงปล่อย ให้ท่านท�ำมัน เหตุใดพระองค์ไม่ทรงปกป้องท่านจากการกระท�ำมัน เพราะ หากพระองค์ทรงปกป้องคุ้มครองท่านแล้วไซร้ ไม่มีวันที่ความผิดหนึ่งๆ จะ ย่างกรายมาพบท่านเป็นอันขาด เมื่อพิจารณาแล้วท่านก็จะพบเดชานุภาพ ของพระองค์ในทุกการก�ำหนด และบุญคุณของพระองค์ที่ปกปิดบาปต่างๆ ให้ทา่ น ความสุขมุ ของพระองค์ทไี่ ม่เอาผิดท่านในทันทีทที่ ำ� ผิด แต่ทรงประวิง เวลาเพื่อรอให้ท่านกลับตัว ความใจบุญที่พระองค์ทรงตอบรับค�ำแก้ตัวหรือ เหตุผลที่ท่านพลั้งพลาดกระท�ำบาป และการอภัยอย่างง่ายดายเมื่อพระองค์ ทรงตอบรับการเตาบะฮฺของท่าน ُ ۡ َ َ َّ َ ‫ِي إ َ ٰ� ص َرٰط ُّم ۡس‬ ََۡ َ � ‫يم‬ ‫ق‬ ‫ت‬ ِ ٖ ِ ِ َ ‫ َومن يعت ِصم ب ِٱ� ِ فقد هد‬... ٖ ความว่า “...และใครที่ยึดมั่นต่ออัลลอฮฺเขาก็จะได้รับทางน�ำไปสู่ ทางที่เที่ยงตรง” (อาละอิมรอน : 101) นี่คือค�ำตอบว่าเหตุใดท่านถึงได้ท�ำบาปเหล่านั้น ตราบใดที่ท่านยัง คงยึดมั่นอยู่กับพระองค์ พระองค์ก็จะทรงน�ำทางท่าน ชี้ทางท่าน และเช่น เดียวกันเมื่อใดที่ท่านทอดทิ้งพระองค์ ไม่อยากอยู่กับพระองค์แล้ว พระองค์ ก็จะปล่อยท่านให้หลงทาง อัลลอฮฺตรัสว่า َ َ َ َّ ْ ُ َ ٦٧ ... ‫� فنس َِي ُه ۡم‬ ‫ �سوا ٱ‬... ความว่า “...พวกเขาหลงลืมอัลลอฮฺ พระองค์จงึ ลืมพวกเขาบ้าง...” (อัต-เตาะบะฮฺ : 67) ُ َ َ َ‫� فَأ‬ َ َّ ‫ � َ ُسوا ْ ٱ‬... ١٩ ... ‫�سٮ ٰ ُه ۡم أنف َس ُه ۡم‬ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

25


ความว่า “พวกเขาลืมอัลลอฮฺ พระองค์จงึ ท�ำให้พวกเขาลืมตัวเอง” (อัล-หัชฺรฺ : 19) อัลลอฮฺทรงท�ำให้พวกเขาลืมที่จะท�ำความดี ลืมที่จะออกห่างจาก สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ลืมการงานต่างๆ ที่จะท�ำให้เขาได้รอดพ้นจากการลงโทษ อันเจ็บแสบในวันกิยามะฮฺ ขั้นตอนที่สอง “การขอโทษอัลลอฮฺ” ขออภัยพระองค์จากความ ดื้อดึงของท่าน จากความร้ายกาจของท่าน จากความผิดพลาดต่างๆ ของ ท่าน ท่านต้องจริงใจต่อพระองค์ ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เพราะเมื่อท่านกล่าวแก่ พระองค์ว่า โอ้อัลลอฮฺผมลืมตัวจริงๆ พระองค์ทรงรู้ดียิ่งว่าท่านท�ำผิดโดยมี สติ เมื่อท่านกล่าวว่าผมไม่รู้จริงๆ พระองค์ทรงรู้ว่าท่านท�ำผิดโดยมีความรู้ สิ่งที่จะท�ำให้ท่านกล่าวขอโทษอย่างสุจริตได้นั่นก็คือ “ความเสียใจ” ท่าน นบีกล่าวว่า (‫“ )الندم توبة‬ความเสียใจคือการเตาบะฮฺ” ความเสียใจจึงเป็น เงื่อนไขส�ำคัญของการเตาบะฮฺที่ถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วย ‫ال إ�قلاع عن الذنب والندم وال َعزم على عدم العودة‬ “การละทิ้ ง จากบาปนั้ น ความเสี ย ใจต่ อ บาปและความตั้ ง ใจ แน่วแน่ที่จะไม่กลับไปท�ำอีก” เมื่อใดก็ตามที่ท่านสารภาพต่อพระองค์ด้วยความจริงใจ สนทนา กับพระองค์ อธิบายต่อพระองค์และขอโทษพระองค์ แม้ว่าเราจะศรัทธาว่า พระองค์ทรงรอบรู้ทุกอย่างอยู่แล้วก็ตาม การสารภาพของเรามันเป็นการ ยอมรับในความผิดพลาดของเราเอง ในความเขลาของเรา ในความร้ายกาจ ในความดื้อรั้นของเรา และเราจะได้ทบทวนตัวเองอีกด้วยว่าได้ท�ำอะไรลงไป บ้าง และนั่นเป็นสัญญาณที่ดีว่าท่านถูกจัดอยู่ในกลุ่มคนที่อัลลอฮฺได้รับรอง 26

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ไว้ ดังหะดีษกุดสีย์ที่บันทึกโดยมุสลิม จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า อัลลอฮฺตรัสว่า

ท่านนบี

‫ فَقَا َل تَبَا َر َك َوتَ َعا َلى أَ� ْذنَ َب َع ْب ِدي‬، ‫) أَ� ْذنَ َب َع ْب ٌد َذنْبًا فَقَا َل ال َّل ُه َّم ا ْغ ِف ْر ِلي َذنْبِي‬ َّ ‫َذنْبًا فَ َع ِل َم أَ� َّن َل ُه َربًّا ي َ ْغ ِف ُر‬ َّ ‫الذنْ َب َوي َ ْأ�خ ُ​ُذ ب‬ ِ ْ‫ِالذن‬ ‫ ثُ َّم َعا َد ف أَ​َ� ْذنَ َب فَقَا َل أَ� ْي َر ِّب‬، ‫ب‬ َّ ‫ فَقَا َل تَبَا َر َك َوتَ َعا َلى َع ْب ِدي أَ� ْذنَ َب َذنْبًا فَ َع ِل َم أَ� َّن َل ُه َربًّا ي َ ْغ ِف ُر‬، ‫ا ْغ ِف ْر ِلي َذنْبِي‬ ‫الذنْ َب‬ َّ ‫َوي َ ْأ�خ ُ​ُذ ب‬ ِ ْ‫ِالذن‬ ‫ فَقَا َل تَبَا َر َك َوتَ َعا َلى‬، ‫ ث ُ َّم َعا َد ف أَ​َ� ْذنَ َب فَقَا َل أَ� ْي َر ِّب ا ْغ ِف ْر ِلي َذنْبِي‬، ‫ب‬ َّ ‫أَ� ْذنَ َب َع ْب ِدي َذنْبًا فَ َع ِل َم أَ� َّن َل ُه َربًّا ي َ ْغ ِف ُر‬ َّ ‫الذنْ َب َوي َ ْأ�خ ُ​ُذ ب‬ ِ ْ‫ِالذن‬ ‫ب ا ْع َم ْل َما ِش ْئ َت فَق َْد‬ ‫َغف َْر ُت َل َك ) رواه مسلم‬ ความว่า “บ่าวคนหนึ่งได้ท�ำบาป แล้วเขาก็กล่าวว่า ‘โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ ท รงอภั ย แก่ ค วามผิ ด บาปของฉั น ด้ ว ยเถิ ด ’ แล้ ว อั ล ลอฮฺ ตะบาเราะกะ วะตะอาลา ก็ตรัสว่า ‘บ่าวของฉันท�ำบาป โดยที่เขารู้ว่า องค์อภิบาลของเขานั้นทรงอภัยในความผิดบาป และทรงลงโทษอันเนื่อง มาจากความผิดบาปได้เช่นกัน’ แล้วบ่าวคนนั้นก็กลับไปท�ำบาปอีกครั้ง จากนั้นเขาก็กล่าวว่า ‘โอ้องค์อภิบาลของฉัน โปรดอภัยในความผิดบาป ของฉันด้วยเถิด’ แล้วอัลลอฮฺ ตะบาเราะกะ วะตะอาลา ก็ตรัสว่า ‘บ่าว ของฉันท�ำบาป โดยที่เขารู้ว่าองค์อภิบาลของเขานั้นทรงอภัยในความผิด บาป และทรงลงโทษอันเนื่องจากความผิดบาปได้เช่นกัน’ แล้วบ่าวคน นั้นก็กลับไปท�ำบาปอีกครั้ง จากนั้นเขาก็กล่าวว่า ‘โอ้องค์อภิบาลของฉัน โปรดอภัยในความผิดบาปของฉันด้วยเถิด’ แล้วอัลลอฮฺ ตะบาเราะกะ วะตะอาลา ก็ตรัสว่า ‘บ่าวของฉันท�ำบาป โดยที่เขารู้ว่าองค์อภิบาล ของเขานั้นทรงอภัยในความผิดบาป และทรงลงโทษอันเนื่องจากความ ผิดบาปได้เช่นกัน เช่นนั้นเจ้าจงท�ำตามที่เจ้าประสงค์เถิด เพราะแท้จริง ข้าได้อภัยให้แก่เจ้าแล้ว’” เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

27


ภายใต้ความเข้าใจของท่านต่อพระเจ้าของท่านว่าพระองค์ทรง สามารถและพร้อมเสมอทีจ่ ะจัดการท่านทันทีทที่ า่ นท�ำบาป หรือประวิงเวลา ชั่วระยะหนึ่งแล้วจึงจัดการท่านเนื่องจากบาปนั้น และพระองค์เช่นเดียวกัน ทีม่ องข้ามความผิดเหล่านัน้ ได้อย่างง่ายดาย อภัยให้อย่างง่ายดายและปกปิด ความผิดต่างๆ เหล่านั้นของท่านให้พ้นจากสายตามนุษย์ เมื่อท่านเข้าใจเช่น นีแ้ ละกลับมาหาพระองค์ทกุ ครัง้ ทีท่ ำ� พลาด ท�ำผิด พระองค์จะทรงอภัยให้แก่ ท่านแม้ว่าจะเป็นครั้งที่ร้อย พัน หรือมากมายแค่ไหน หรือแม้แต่ท่านจะขอ เตาบะฮฺด้วยความจริงใจเพียงครั้งเดียวจากความผิดบาปทั้งหมดของท่านใน อดีต พระองค์ก็จะทรงตอบรับมัน ขั้นตอนที่สาม “ตั้งใจที่จะไม่กลับไปท�ำความผิดนั้นอีก” มนุษย์ จ�ำนวนมากที่ท�ำเป็นเล่นกับการเตาบะฮฺ เขาเตาบะฮฺโดยที่ขณะเดียวกันก็ ตั้งใจไว้แล้วว่าจะกลับไปท�ำมันอีก แต่อัลลอฮฺตรัสว่า َ َ ُ ْ ُ َ ٰ َ َ ْ ُّ ُ ۡ َ َ ١٣٥ ‫� َما � َعلوا َوه ۡم َ� ۡعل ُمون‬ ‫�وا‬ ِ ‫ ولم ي‬... ความว่า “...และพวกเขามิได้ดื้อรั้นปฏิบัติในสิ่งที่เขาเคยปฏิบัติ มาโดยที่พวกเขารู้กันอยู่” (อาละอิมรอน : 135) ในตัฟสีรอัล-มุยัสสัรกล่าวว่า “พวกเขารู้ว่าถ้ากลับตัวพระองค์จะ ทรงตอบรับและให้อภัย” รู้แล้วจะดื้อดึงอีกท�ำไม? หรือเพราะพระองค์ให้ อภัยง่ายเกินไปจึงท้าทายและท�ำเป็นเล่นกับพระองค์ พระองค์ยังตรัสอีกว่า َ ُ ُ َ َّ ُ َ ٰ َ َ َ ٓ ُّ َ ُ َ ۡ َ َ َّ َّ َ َ ُ َ ۡ َّ َ َّ ‫و�ون مِن‬ ‫إِ�ما ٱ�و�ة � ٱ�ِ ل ِ�ِين �عملون ٱلسوء ِ��لةٖ �م �ت‬ َ َ ُ َّ ُ ُ َ َ َ ْ ُ َ َ ٰٓ ‫�ب فأو‬ ١٧ ... ‫� عل ۡي ِه ۡم‬ ‫��ِك �توب ٱ‬ ٖ ‫ق ِر‬ 28

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ความว่า “แท้จริงการส�ำนึกผิดกลับเนือ้ กลับตัวทีอ่ ลั ลอฮฺจะทรงรับ นั้นคือส�ำหรับบรรดาผู้ที่กระท�ำความชั่วโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์เท่านั้นแล้ว พวกเขาส�ำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวในเวลาอันใกล้ ชนเหล่านี้แหละอัลลอฮฺ จะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขา...” (อัน-นิสาอ์ : 17) อายะฮฺนี้อัลลอฮฺให้สาเหตุของการท�ำบาปอันเนื่องมาจากความ เขลา ซึ่งทุกคนที่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺถูกนับรวมว่าเป็นผู้โฉดเขลา ณ เวลานั้นๆ ใช่ ครับ ! ทุกคนที่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺถือว่าเป็น “ญาฮิล” เป็นคนโง่เขลา กระทั่งมี ผู้รู้บางท่านเขียนหนังสือเล่มหนึ่งโดยตั้งชื่อว่า “‫( ”كل عاص جاهل‬ทุกคนที่ ฝ่าฝืนอัลลอฮฺนั้นโง่เขลา) แม้ว่าจะเป็นผู้ที่รู้ถึงข้อห้ามในสิ่งที่เขาท�ำอยู่และ เขาตั้งใจกระท�ำมัน หรือพลาดไปกระท�ำมันเขาก็เข้าอยู่ในข่ายนี้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้เนื่องจากเขารู้ว่าสิ่งนั้นผิด และทุกสิ่งที่ผิดพลาด ทุกการละเมิดย่อมน�ำ ความชั่วร้ายมาสู่ชีวิตของเขาไม่ช้าก็เร็ว ทว่ารู้ทั้งรู้เขาก็ยังท�ำสิ่งผิดบาปต่างๆ อันถือเป็นความสุม่ เสีย่ งอย่างยิง่ ทีจ่ ะน�ำตัวเองไปสูห่ ายนะในนรก สถานภาพ ของเขาจึงไม่ตา่ งอะไรกับคนโง่ เว้นเสียแต่ผทู้ ไี่ ม่มคี วามรูใ้ ดๆ ในเรือ่ งทีเ่ ขาท�ำ ผิดซึ่งศาสนามิได้เอาโทษกับเขาอยู่แล้ว แตกต่างกันอย่างแน่นอนคนที่เตาบะฮฺด้วยความตั้งใจจริง กับคน ที่วางแผนเอาไว้ว่าจะกลับไปท�ำความผิดต่างๆ อีก ชัยคฺ หุสัยนฺ ยะอฺกูบ ขออัลลอฮฺทรงรักษาท่าน กล่าวว่า “และใครก็ตามที่วางแผนต่ออัลลอฮฺ พระองค์ก็วางแผนเหนือเขา และใครก็ตามที่พระองค์ทรงวางแผนเหนือ เขา พระองค์ก็จะท�ำลายเขา” (จบค�ำกล่าว) คนที่ดื้อดึงในการท�ำบาปนั้นส่วนหนึ่งมาจากความคุ้นชินในการ ท�ำบาปหรือมีความทรงจ�ำที่ดีกับบาปนั้นๆ ซึ่งมันเป็นหนึ่งในข้อบกพร่อง ของการเตาบะฮฺ คือการทีท่ า่ นนึกถึงบาปต่างๆ ในอดีตและมันมิได้เพิม่ ความ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

29


ย�ำเกรงแก่ท่าน มิได้เพิ่มความเสียใจ ความส�ำนึก ความนอบน้อม ความถ่อม ตนให้แก่ท่าน แต่ท่านกลับมีความสุขเมื่อนึกถึงความหอมหวานในช่วงเวลา ที่ได้ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ สิ่งนี้ถือเป็นบาปและท่านต้องออกห่างจากการนึกถึงมัน คุบัยบฺ อิบนุ อะดียฺ เป็นหนึ่งในเศาะหาบะฮฺที่ถูกมุชริกมักกะฮฺ จับมาเป็นเหยื่อเพื่อเชือดไก่ให้ลิงดู ท่านขอละหมาดสองร็อกอะฮฺก่อนความ ตายของท่านและท่านท�ำมันอย่างสวยงาม เมื่อท่านละหมาดเสร็จท่านก็ กล่าวว่า “หากไม่กลัวว่าพวกเจ้าจะกล่าวหาว่าฉันละหมาดนานเนื่องจาก กลัวความตายแล้วล่ะก็ ฉันจะละหมาดให้นานยิ่งกว่านี้” แล้วมุชริกก็ขึงท่านแล้วเฉือนท่านออกทีละส่วน ขณะที่เลือดของ ท่านหลั่งไหลบรรดามุชริกก็ถามว่า “เจ้ารักที่จะให้มุฮัมมัดมาอยู่ตรงนี้แทน เจ้าเพื่อที่เจ้าจะรอดชีวิตกลับไปไหม?” ท่านตอบว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ว่าฉันไม่ปรารถนาทีจ่ ะได้รบั ความปลอดภัยและอยูก่ บั ลูกเมียอย่างมีความสุข ในขณะที่ท่านนบีต้องโดนแม้เพียงหนามต�ำจนได้รับบาดเจ็บ” พวกกุร็อยชฺ จึงพากันตะโกนว่า ฆ่ามัน ฆ่ามัน แล้วคุบัยบฺ ก็เหลือกตามองฟ้าพลางกล่าว ดุอาอ์ว่า ً‫اللهم أ� ْح ِصه ِْم َع َد ًدا َوا ْقتُ ْل ُه ْم ب َ َد ًدا َولا تُ َغا ِد ْر ِم ْن ُه ْم أَ� َحدا‬ “ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงคิดบัญชีพวกเขาอย่างครบถ้วนและ ขอทรงสังหารพวกเขาทีละคนๆ และอย่าให้หลงเหลืออยูเ่ ลยแม้แต่คนเดียว” แล้วการฆ่าอย่างทรมานก็จบลงโดยทีไ่ ม่สามารถจะนับบาดแผลจาก คมหอกและคมดาบบนร่างของคุบัยบฺได้เลย แล้วบรรดากุร็อยชฺก็กลับไปยัง บ้านของตนที่มักกะฮฺ 30

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ในวันนั้นมีเศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งที่อยู่ในเหตุการณ์ ในเวลาที่เขายัง คงเป็นมุชริก เขาคือผู้ที่เห็นเหตุการณ์ทุกอย่างด้วยตาทั้งสอง ได้ยินทุกอย่าง ด้วยหูทั้งสองของเขา กระทั่งเขารับอิสลามและได้รับการแต่งตั้งให้ไปดูแล ِ ในสมัยของท่านอุมัร อิบนุลค็อฏฏอบ ประชาชนได้ร้อง เมืองหิมศฺ (‫)ح ْم َص‬ เรียนท่านถึงข้อบกพร่องสี่ประการของข้าหลวงที่ชื่อ สะอีด อิบนุ อามิร หนึ่ง ในสี่ประการนั้นก็คือ เขามักจะเป็นลมอยู่เสมอโดยไม่มีใครรู้สาเหตุ เมื่ออุมัร เรียกเขามาไต่ถามจึงได้รับค�ำตอบที่เป็นค�ำพูดที่ยิ่งใหญ่ ควรค่าแก่การบรรจุ ลงไปในหัวใจของผู้ศรัทธาทั้งหลายเพื่อจะใช้มันเตือนใจอยู่เสมอ ท่านตอบแก่อุมัรว่า “ฉันอยู่ในวันที่คุบัยบฺ อิบนุ อะดียฺ ถูกสังหาร ในขณะที่ฉันยังเป็นมุชริก และฉันเห็นเขาถูกพวกกุร็อยชฺหั่นเขาทีละส่วน ที ละส่วน และพวกกุรอ็ ยชฺกถ็ ามเขาว่า “เจ้ารักทีจ่ ะให้มฮุ มั มัดมาอยูต่ รงนีแ้ ทน เจ้าเพื่อที่เจ้าจะรอดชีวิตกลับไปไหม?” เขาตอบว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่า ฉันไม่ปรารถนาที่จะได้รับความปลอดภัยและอยู่กับลูกเมียอย่างมีความสุข ในขณะที่ท่านนบีต้องโดนเพียงหนามต�ำจนได้รับบาดเจ็บ” สะอีดกล่าวว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ทุกครั้งที่ฉันคิดถึงสภาพเหล่านั้นและตัวฉันได้ละทิ้ง เขา ไม่ได้ช่วยเหลือเขาเลย ฉันก็กลัวว่าอัลลอฮฺจะไม่อภัยโทษให้แก่ฉัน และ ฉันกลัวว่าดุอาอ์ของคุบัยบฺในวันนั้นจะประสบแก่ฉันเหมือนที่ชาวกุร็อยชฺ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในวันนั้นได้ประสบกับมัน ฉันยังคงเห็นเรื่องนี้ในความ ฝันเมื่อฉันหลับไหล และเสียงที่เขาขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺยังคงกึกก้องในหูของ ฉัน และการละหมาดอย่างสวยงามของเขาในวันนั้นก็ยังคงตราตรึงในความ ทรงจ�ำของฉัน” ณ วันนั้นสะอีด อิบนุ อามิร ยังเป็นมุชริก เขาไม่ได้ช่วยเหลือชายที่ ก�ำลังถูกฆ่าอย่างทรมานต่อหน้าต่อตาเขา และเมื่อรับอิสลามแล้วเขาน่าจะ รูส้ กึ ปลอดภัยดังทีท่ า่ นนบีได้รบั ประกันว่าผูร้ บั อิสลามจะหลุดพ้นจากบาปทุก เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

31


ประการ แต่เขายังคงหวาดกลัวมัน หวัน่ เกรงว่าจะไม่ได้รบั การอภัย หวัน่ กลัว ว่าการลงโทษจากอัลลอฮฺจะประสบกับเขา และใช้มนั ทบทวนตัวเองอยูเ่ สมอ จนกระทัง่ เป็นลมหมดสติอยูห่ ลายต่อหลายครัง้ ทัง้ ทีเ่ รือ่ งมันผ่านไปนานแล้ว นีค่ อื เรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ จริงและเป็นบทเรียนทีน่ ำ� มาสู่ ขัน้ ตอนสุดท้าย ของการเตาบะฮฺที่จะถูกตอบรับ “กลัวอยู่เสมอว่าอัลลอฮฺจะไม่ตอบรับการ เตาบะฮฺ และพระองค์จะทรงลงโทษท่านเนื่องจากผลบาปนั้น”

ۡ ُۡ ١٢٣ ... ‫ َمن َ� ۡع َمل ُس ٓو ٗء� � َز بِهِۦ‬...

ความว่า “...ผูใ้ ดทีก่ ระท�ำชัว่ เขาก็ถกู ตอบแทนด้วยความชัว่ นัน้ ...” (อัน-นิสาอ์ : 123) หากท่านไม่ยอมเตาบะฮฺอย่างจริงใจ แน่นอนท่านจะต้องได้รับผล กรรมของบาปแม้ว่าพระองค์จะเลื่อนมันออกไปจนท่านลืมที่จะนึกถึงบาป นั้นๆ ไปแล้ว หรือพระองค์อาจจะเร่งลงโทษท่านด้วยภัยพิบัติต่างๆ และ ท่านจะต้องถูกลงโทษเนื่องจากบาปกรรมที่สั่งสม เว้นเสียการเตาบะฮฺของ ท่านนั้นถูกตอบรับและอัลลอฮฺทรงอภัยให้ท่านและเว้นการลงโทษท่าน ซึ่ง การลงโทษนั้นอาจจะเกิดขึ้นกับทรัพย์สิน สุขภาพ ครอบครัว หน้าที่การงาน หรือที่หนักที่สุดก็คือถูกทดสอบที่หัวใจ (ขออัลลอฮฺทรงตอบรับการเตาบะฮฺ ของพวกเรา และอย่าทรงลงโทษเราเนือ่ งจากความผิดต่างๆ ของเราด้วยเถิด) สลัฟบางท่านถูกถามว่า “ผมท�ำบาปผมต้องท�ำยังไงครับ?” ท่าน ตอบว่า “เตาบะฮฺสิ” แล้วเขาก็ถามอีกว่า “ถ้าหากผมท�ำบาปอีกล่ะครับ?” เขาตอบว่า “เตาบะฮฺอีกสิ” แล้วเขาก็ถามอีกว่า “ถ้าหากผมท�ำบาปอีกล่ะ ครับ?” เขาตอบว่า “เตาบะฮฺอีกสิ” ลูกศิษย์คนนั้นจึงถามว่า “แล้วผมต้อง 32

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


เตาบะฮฺถึงเมื่อไหร่ครับ?” สลัฟท่านนั้นจึงตอบว่า “จนกระทั่งท่านท�ำให้บร รดาชัยฏอนเสียใจ” กล่าวว่า

ท่ า นนบี ไ ด้ เรี ย กร้ อ งมนุ ษ ย์ ช าติ ทั้ ง หลายสู ่ ก ารเตาบะฮฺ โ ดยท่ า น

( ‫وب ِفي ا ْليَ ْو ِم ِ�إ َل ْي ِه ِمائَ َة َم َّر ٍة‬ ُ ‫) يَا أَ�يُّ َها ال َّن‬ ُ ُ‫اس تُوبُوا ِ�إ َلى ال َّل ِه َوا ْستَ ْغ ِف َروهُ فَ ِ إ�نِّي أَ�ت‬ ‫رواه مسلم‬ “โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย จงกลับตัวสู่อัลลอฮฺและขออภัยโทษจาก พระองค์เถิด แท้จริงฉันกลับตัวสู่อัลลอฮฺวันละหนึ่งร้อยครั้ง” (บันทึกโดย มุสลิม) ในหนังสือตัฟสีรสูเราะฮฺอัน-นัศรฺ ของอัล-หาฟิซ อิบนุเราะญับ อัลฮัมบะลียฺ ได้กล่าวว่า “คนศอลิหบางทางได้สั่งสอนคนใกล้ชิดของท่านให้ อิสติฆฟารสม�่ำเสมอเพราะในทุกๆ วันจะมีช่วงเวลาหนึ่งที่ดุอาอ์ต่างๆ ถูก ตอบรับและเมื่อเราอิสติฆฟารตรงกับช่วงเวลานั้น ดุอาอ์ของเราถูกตอบรับ เราก็จะได้รับการอภัยโทษ” อินชาอัลลอฮฺ

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

33


อย่ามองความสวยงามในดุนยา มากไป

พี่น้องที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ทุกท่านครับ แขกคนส�ำคัญได้เดิน ทางใกล้เข้ามาจนจะถึงประตูบ้านเราแล้ว เดือนแห่งความจ�ำเริญที่เราเฝ้า รอมาตลอด ๑ ปี ใกล้จะมาพบเราแล้ว เดือนที่หัวใจของผู้ศรัทธาต่างเฝ้า ถวิลหาและปรารถนาอย่างยิ่งที่จะได้มีชีวิตอยู่อีกหลายๆ ปี เพื่อจะได้ท�ำ อิบาดะฮฺในเดือนนี้อีกหลายๆ ครั้ง เพื่อรับโปรโมชั่นที่หาจากเดือนอื่นไม่ได้ เพื่อหวังว่ามันจะเป็นการงานที่เพียงพอให้อัลลอฮฺเมตตาให้เขาได้เข้าสวรรค์ ของพระองค์ เราะมะฎอน เดือนที่หัวใจทั้งหลายได้รับการช�ำระให้ใสสะอาด ปราศจากมลทิน เดือนทีค่ วามดีงามจะเป็นทีแ่ พร่หลาย เดือนทีค่ วามผิดบาป ต่างๆ ค่อยๆ มลาย เดือนที่ความกังวลต่างๆ จะเหือดหาย เดือนที่ร่างกาย จะได้พักผ่อน ‫ال َّل ُه َّم بَا ِر ْك َلنَا ِفي َش ْعبَا َن َوب َ ِّل ْغنَا َر َم َضا َن‬ “โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์โปรดประทานความจ�ำเริญแก่เราในเดือน ชะอฺบาน และโปรดทรง (เมตตา) ให้พวกเราได้บรรลุถึงเดือนเราะมะฎอน ด้วยเถิด”


พี่น้องครับ เราต่างทราบดีว่าหนึ่งในการงานที่ส�ำคัญยิ่งส�ำหรับ ผู้ศรัทธานั้น คือการละหมาด อันถือเป็นการงานชี้ขาดในวันกิยามะฮฺ เป็นสิ่ง ที่จะถูกสอบสวนเป็นสิ่งแรก หากมันดีทุกอย่างก็จะดี หากมันแย่ทุกอย่างก็ จะแย่ไปด้วย หลายคนที่ด�ำรงรักษาการละหมาดมาอย่างดี สามารถเช็คชื่อ ได้โดยไม่ขาด ไม่สาย วันละ 5 เวลา ก็ถือว่าเป็นความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่ แล้ว ทว่าผู้ที่ได้รับความโปรดปรานมากกว่านั้น คือผู้ที่นอกจากจะสามารถ ด�ำรงรักษาการละหมาดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง 5 เวลาได้แล้ว เขายังได้รับ บทเรียนต่างๆ และคุณประโยชน์นานับประการจากการละหมาดอีกด้วย ถึงขั้นที่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา ครอบครัว และสังคมได้ ความโปรดปรานลักษณะนี้ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ แต่ก็ไม่ยากจนไม่ สามารถแสวงหามาได้ ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่จะบรรลุถึงต�ำแหน่งนี้ก็คือ “การ ไม่มองความสวยหรู ความมั่งคั่งของผู้อื่น โดยเฉพาะบรรดากาฟิร” อัลลอฮฺ อัซซะวะญัล ตรัสว่า َ َ ۡ َ ۡ َ َّ َّ ُ َ َ َ َ‫ل َي ٰوة ِ ٱ ُّل ۡنيا‬ َ ۡ ‫ك إ ِ َ ٰ� َما َم َّت ۡع َنا بهِۦٓ أ ۡز َو ٰ ٗجا ّم ِۡن ُه ۡم َز ۡه َرةَ ٱ‬ ‫و� تمدن عيني‬ ِ ۡ َ َۡ​َ ٞ ۡ َ َ َّ ُ ۡ َ ٰ � ‫لِ َفت ِ َن ُه ۡم فِي ۚهِ ورِزق ربِك خي وأبق‬ ความว่า “และเจ้า (มุฮมั มัด) จงอย่าทอดสายตาของเจ้าไปยังสิง่ ที่ เราได้ให้ความเพลิดเพลินแก่บุคคลประเภทต่างๆ ของพวกเขา ซึ่งความ สุขส�ำราญในโลกดุนยา เพื่อเราจะได้ทดสอบพวกเขาในการนี้ และการ ตอบแทนของพระเจ้าของเจ้านั้น ดียิ่งกว่าและจีรังยิ่งกว่า” (ฏอฮา : 131) อัลลอฮฺทรงห้ามท่านนบี จากการทอดสายตามองด้วยความ ประทับใจ อีกทัง้ การมองซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ แล้วอย่างพึงพอใจในสภาพอันงดงามของ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

35


ดุนยาและสภาพของผู้ที่ได้รับปัจจัยต่างๆ ในดุนยาอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะ เป็นบรรดาอาหารและเครื่องดื่มอันโอชะ เครื่องแต่งกายที่หรูหา บ้านเรือนที่ โอ่อ่า บรรดาสตรีที่เลอโฉม เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงความเพลิดเพลินใน ชีวิตดุนยานี้เท่านั้น ซึ่งมันจะถูกท�ำให้เพริศแพร้วแก่ผู้ที่หลงกล สร้างความ ประทับใจแก่ดวงตาทัง้ หลายทีถ่ กู น�ำเสนอให้ได้ยล และเพลิดเพลินอยูเ่ ช่นนัน้ จนกระทั่งถูกตัดขาดจากการมองเห็นอาคิเราะฮฺ (ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองให้ รอดพ้นจากความหลงเช่นนี้) แต่ ธ รรมชาติ ข องดุ น ยานั้ น ทุ ก อย่ า งมิ ว ่ า จะสวยงามเพี ย งใด สุดท้ายแล้วปัจจัยเหล่านั้นมันก็สูญสลายไปอย่างรวดเร็ว หมดสิ้นทุกอย่าง ประหัตประหารผู้ที่ชมชอบและหลงรักมัน แล้วพวกเขาก็เศร้าเสียใจโดยที่ ความเสียใจนั้นไม่มีประโยชน์อันใดแก่พวกเขา และพวกเขาก็รู้แน่ว่าจะเกิด สิ่งใดกับพวกเขาเมื่อวันกิยามะฮฺมาถึง และแท้จริงความเพริศแพร้วเหล่านั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ทรงท�ำให้มันเป็นฟิตนะฮฺและการทดสอบ เพื่อที่พระองค์ จะได้รู้ว่าใครที่ระงับตัวเองจากการถล�ำลึกในมันได้ และใครที่ถูกลวงหลอก และใครที่มีการงานที่ดียิ่ง จากนั้นพระองค์ก็ตรัสว่า “และริซกีขององค์อภิบาลของเจ้านั้น” ทั้งที่ได้ในโลกนี้คือความรู้ อีมาน และข้อเท็จจริงของการงานที่ดีงาม และ ริ ซ กี ที่ จ ะได้ รั บ ในโลกหน้ า จากความสุ ข อั น นิ รั น ดร์ และการด� ำ รงชี พ ที่ ปลอดภัยภายใต้การดูแลขององค์อภิบาลผู้ทรงเมตตายิ่ง ย่อมดีกว่าสิ่งที่เรา ได้ให้แก่พวกเขา ทั้งในด้านภาพลักษณ์และคุณสมบัติ และมันจีรังกว่าเพราะ โลกแห่งอาคิเราะฮฺนั้นอาหารการกินทั้งหลายและร่มเงาจะไม่ถูกตัดขาด จากนั้นพระองค์ทรงสั่งใช้เกี่ยวกับการก�ำชับครอบครัวให้ด�ำรงการ ละหมาดและมีความอดทนส�ำหรับการนั้น 36

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


َ َ ۡ َ ۡ َُۡ َ ُ ُ ۡ َ ُ ۡ َّ ٗ ۡ َ ُ َ ۡ َ َ َ ۡ َ َ ۡ َ ۡ َ ِ ٰ َ َّ ۖ‫ا‬ ۖ‫ا‬ ۗ ‫وأمر أهلك ب ِٱلصلوة وٱصط ِب عليه � نسٔلك رِزق نن نرزقك‬ ٰ ‫َوٱ ۡل َع ٰ ِق َب ُة ل َِّلت ۡق َو‬ �‫ى‬

ความว่า “และเจ้าจงใช้ครอบครัวของเจ้า ให้ท�ำละหมาด และจง อดทนในการปฏิบัติ เรามิได้ขอเครื่องยังชีพจากเจ้า เราต่างหากเป็นผู้ให้ เครื่องยังชีพแก่เจ้า และบั้นปลายนั้นส�ำหรับผู้ที่มีความย�ำเกรง” (ฏอฮา : 132) ชัยคฺ อับดุรเราะหฺมาน อัส-สะอฺดี กล่าวว่า “ค�ำสั่งใช้นี้หมายรวมถึง องค์ประกอบทั้งหมดที่จะท�ำให้การละหมาดสมบูรณ์ เริ่มตั้งแต่การสอนให้ แก่ครอบครัวรับรู้ซึ่งวิธีการละหมาดว่าสิ่งใดที่ท�ำให้การละหมาดนั้นใช้ได้ สิ่งใดท�ำให้การละหมาดนั้นเสียหาย และสิ่งใดที่ท�ำให้การละหมาดนั้น สมบูรณ์ และจงอดทนต่อการด�ำรงการละหมาด ต่อการรักษาขอบเขตของมัน เงื่อนไขของมัน มารยาทของมันและความคุชูอฺในละหมาด เพราะแท้จริงมัน คือการงานที่สร้างความยากล�ำบากให้แก่จิตใจ ทว่าเป็นการสมควรยิ่งที่จะ ฝืนตัวเองและพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อด�ำรงการงานต่างๆ นั้นไว้ และต้องอดทนอยู่เสมออีกด้วย แท้จริงเมื่อบ่าวคนหนึ่งได้ด�ำรงการละหมาด ตามที่เขาถูกบัญชาใช้แล้วไซร้ การงานอื่นจากนั้นในเรื่องของศาสนาก็ย่อม สามารถรักษาได้ดีกว่าและเที่ยงตรงกว่า แต่เมื่อเขาได้ละเลยมันการงาน อื่นๆ ก็ย่อมถูกละเลยมากยิ่งกว่านั้น” จากนั้นอัลลอฮฺก็ทรงรับประกันเรื่องริซกีให้แก่รสูลของพระองค์ เพื่อที่ท่านจะได้ไม่ต้องทุ่มเทและสาละวนอยู่กับการแสวงหามันจนกระทั่ง มากกว่าการด�ำรงไว้ซึ่งศาสนาของท่าน พระองค์จึงตรัสว่า “เราต่างหาก เป็นผู้ให้เครื่องยังชีพแก่เจ้า” ริซกีของเจ้านั้นอยู่กับเราและเราได้ดูแลมัน ดังเช่นที่เราได้ดูแลริซกีของสิ่งถูกสร้างทั้งมวล และส�ำหรับผู้ที่ยืนหยัดในค�ำ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

37


บัญชาของเราและสาละวนอยู่กับการร�ำลึกถึงเราล่ะจะเป็นเช่นไร? (ย่อมได้ ดีกว่าและมากกว่าอย่างแน่นอน - ผู้เขียน) และอัลลอฮฺทรงประทานริซกีให้อย่างครอบคลุมทั้งแก่ผู้ที่มีความ ย� ำ เกรงต่ อ พระองค์ แ ละอื่ น จากนั้ น จึ ง เป็ น การสมควรยิ่ ง ที่ จ ะให้ ค วาม ส�ำคัญกับความย�ำเกรงซึ่งเป็นสิ่งที่จะน�ำมาซึ่งความผาสุกอันสถาพร เช่นนั้น พระองค์จึงตรัสว่า “และบั้นปลาย (ที่ดีงามทั้งดุนยาและอาคิเราะฮฺนั้น) ส�ำหรับความย�ำเกรง” อันหมายถึงการสนองพระบัญชาใช้และการละเว้น จากพระบัญชาห้าม ซึ่งใครที่ได้ด�ำรงตนบนการนี้แล้วไซร้บั้นปลายที่ดีย่อม เป็นของเขา ดังที่พระองค์ตรัสว่า َ ‫ َوٱ ۡل َ�ٰق َب ُة ل ِۡل ُم َّتق‬... ٨٣ � ِ ِ ความว่ า “...และบั้ น ปลายที่ ดี นั้ น ส� ำ หรั บ บรรดาผู ้ ที่ ย� ำ เกรง” (อัล-เกาะศ็อศ : 83) หากลองทบทวนและสรุปอีกครั้ง เราจะพบว่าใน 2 อายะฮฺข้างต้นนี้ อัลลอฮฺทรงสอนเราว่า 1. การมองสิง่ ทีห่ ะลาลโดยเฉพาะสิง่ สวยงามในโลกนีแ้ ละความมัง่ คัง่ แห่งทรัพย์สนิ หากเรามองมากไปบางครัง้ ก็สง่ ผลกระทบต่อหัวใจและอะมาล ต่างๆ ของเราโดยเฉพาะการละหมาด เพราะท�ำให้เราเกิดความอยากได้และ เฝ้าคิดหาทางที่จะได้มา ยิ่งปรารถนาจะได้มากเท่าไหร่ยิ่งเครียดมากกับการ หาหนทางที่จะได้มา อย่าว่าแต่ของที่ใหญ่โตหรือมีราคาค่างวดสูง บางครั้ง เพียงแค่ของราคาถูกๆ ก็พาให้เรานึกถึงไปไกลแสนไกลจนถึงตลาด เช่นใน ยุคของเราที่หลายๆ คนใช้โซเชียลเน็ทเวิรค์อัพเดทข่าวสารและข้อมูลต่างๆ รวมไปถึงอาหารจานเด็ด หลายครั้งที่มีการแจ้งเตือนจากโทรศัพท์ของเรา 38

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


เมื่อเปิดมาดูก็เป็นโพสท์ที่แนะน�ำอาหารและร้านอาหารจานเด็ด เราก็นั่งดู โพสท์และรายละเอียดเหล่านั้นและเกิดความรู้สึกอยากรับประทานขึ้นมา บ้าง จนกระทั่งในเวลาละหมาดเราสามารถบริหารเงิน วางแผนการเดินทาง ทีจ่ ะไปยังร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าเพือ่ ทีจ่ ะไปซือ้ ของเหล่านัน้ (ขออัลลอฮฺ เมตตาให้เราห่างไกลจากพฤติกรรมเหล่านี้ด้วยเถิด) 2. อัลลอฮฺผูกการละหมาดไว้กับริซกี อันบ่งถึงว่า อย่าไปกลัวว่าการ ละหมาดจะท�ำให้ริซกีต้องพร่องไป เพราะมันถูกก�ำหนดไว้ให้แก่เราอย่างพอ เพียงแล้ว จงมาท�ำหน้าที่ในการเป็นบ่าวเถิดและจงสั่งสอนครอบครัวเช่นนั้น ด้วย และจงอดทนต่อการด�ำรงไว้ซึ่งการงานนี้ 3. สี่ประการนี้ “การไม่มองสิ่งหะลาลบางอย่างมากจนเกินไปและ การด�ำรงละหมาดอีกทั้งสั่งใช้ครอบครัวให้ละหมาดและอดทนในการนั้น” นั้นคือหนึ่งในคุณสมบัติของผู้ที่มีความย�ำเกรง ซึ่งอัลลอฮฺทรงสัญญาว่าพวก เขาจะมีบั้นปลายที่ดีงาม ได้รับการตอบแทนที่คุ้มค่า เราะมะฎอนที่ก�ำลังจะมาถึงเป็นเดือนที่เราจะต้องควบคุมประสาท สัมผัสต่างๆ ให้มากขึ้นอยู่แล้ว เพื่อที่การถือศีลอดของเราจะได้สมบูรณ์ และเป็นที่ตอบรับ ณ อัลลอฮฺ จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะมองความมั่งมีต่างๆ โดยเฉพาะจากบรรดากาฟิรให้น้อยลง เพื่อที่ความหวังในดุนยาของเราจะ ได้น้อยลง เพื่อที่การละหมาดของเราจะได้มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อที่เราจะ สามารถเปลีย่ นแปลงตัวเอง ครอบครัวและสังคม ด้วยการละหมาดของเราได้ ขอให้เราะมะฎอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีส�ำหรับเรา

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

39


การละหมาดให้อะไรกับผู้ศรัทธา

หากจะพูดถึงต�ำแหน่งของการละหมาดในชีวิตผู้ศรัทธานั้น เวลา สั้นๆ เพียง 30 นาทีนี้คงไม่พอ ไหนจะภาคผลที่จะได้รับทั้งดุนยาและ อาคิเราะฮฺ หิกมะฮฺที่แอบซ่อนในอิบาดะฮฺที่ถูกสั่งใช้หลังจากชะฮาดะฮฺทั้ง สอง แต่ผมอยากจะหยิบยกบางประเด็นเพื่อพูดคุยกับพี่น้องในวันนี้ ซึ่งคง เป็นเพียงเสีย้ วหนึง่ จากคุณประโยชน์ของการละหมาดเท่าทีค่ วามรูแ้ ละความ เข้าใจของผมจะเข้าถึงด้วยกับการประทานเตาฟีกจากอัลลอฮฺ ประการแรก การละหมาดสอนให้เรารู้จักวางแผน โดยเฉพาะการ จัดการด้านเวลา คนทั่วไปที่ค่อนข้างมีระเบียบวินัยในตนเอง มักจะโตมา ด้วยตารางเวลาที่เข้มงวดในทุกๆ วัน ที่มักจะถูกก�ำหนดให้จากผู้ที่เลี้ยงดูเขา เช่น 16.00-17.00 ต้องว่ายน�้ำ 20.00-21.00 อ่านหนังสือ ฯลฯ ซึ่งตาราง ชีวิตของคนกลุ่มนี้บางทีอาจจะเข้มยิ่งกว่าตารางชีวิตในค่ายทหารเสียอีก ซึง่ ตารางชีวติ ของเขาก็จะปรับเปลีย่ นได้ตามวาระต่างๆ ของชีวติ ของเขา เช่น ในวัยเรียน วัยท�ำงาน ก็จะบริหารจ�ำนวนชั่วโมงนั้นให้แตกต่างกัน แต่มักจะ เป็นตารางชีวิตที่ใช้ได้ชั่วระยะเวลาที่นานพอสมควร ทว่าผู้ศรัทธาถูกฝึกให้เหนือกว่าคนกลุ่มนี้เนื่องจากเขาถูกบังคับ ให้ชีวิตต้องผูกพันอยู่กับเวลาละหมาด ซึ่งการจัดสรรปันส่วนเวลาชีวิตใน แต่ละวันให้สอดคล้องกับเวลาละหมาด 5 เวลาย่อมเป็นแบบฝึกหัดที่สร้าง นักบริหารจัดการเวลาตัวยง แต่ที่เหนือกว่านั้นก็คือเวลาละหมาดที่ผู้ศรัทธา


ต้องพบเจอไม่อยู่นิ่งเหมือนเวลาเข้า-ออกงาน หรือเข้า-ออก โรงเรียน แต่จะ เปลี่ยนผันตามสถานที่และฤดูกาล ท�ำให้ตารางชีวิตจ�ำต้องปรับเปลี่ยนบ่อย กว่าคนทั่วไปอย่างแน่นอน เขาจะไม่สามารถก�ำหนดเวลาตามเข็มนาฬิกา เป๊ะๆ ได้ ทุกกิจธุระในแต่ละวันจะถูกก�ำหนดภายใต้เงื่อนไขที่ว่า หากท�ำสิ่ง นี้จะใช้เวลาเท่าไหร่ แล้วกระทบกับเวลาละหมาดอย่างไร จะท�ำให้ละหมาด ล่าไปเพียงใด หรือเลยเวลาละหมาดแน่ๆ หรือสามารถละหมาดต้นเวลาได้ และยิ่งกับผู้ที่ชีวิตยึดมั่นกับการละหมาดเป็นญะมาอะฮฺที่มัสญิดแล้วด้วย ยิ่งจ�ำต้องวางแผนเก่งกว่าคนอื่นอย่างแน่นอน ประการถัดมา การละหมาดสอนให้เราเตรียมพร้อม เตรียมตัวอย่างดี เมื่อเราอยากได้อะไรดีๆ เราจะเพ้อฝันไปวันๆ ไม่ได้เพราะการเตรียมตัว ที่ดีนั้นหากอัลลอฮฺไม่ทรงประสงค์ให้ส�ำเร็จก็ยังล้มพังไม่เป็นท่า แล้วคนที่ไม่ ตระเตรียมอะไรเลยล่ะ อัลลอฮฺจะให้เขาได้รับความส�ำเร็จกระนั้นหรือ? หลักฐานมากมายยืนยันว่าทุกๆ อย่างมีสาเหตุของมัน ฉะนั้นถ้าอยากได้ คุณภาพการละหมาดที่ดี ก็ต้องเตรียมตัวให้ดีเช่นกัน ผมขอแบ่งเป็นกลุ่มคนที่มาช้า กับกลุ่มคนที่มาเร็วนะครับ หลาย ต่อหลายครั้งเราจะพบว่า ผู้ละหมาดหลายต่อหลายคนมาช้าจนถึงช้ามาก ส่วนมากมาจากการไม่วางแผน ไม่เตรียมพร้อม บางส่วนเท่านั้นที่มีเหตุ สุดวิสัยจริงๆ เช่น ปวดท้อง รถเสีย ฯลฯ เมื่อมาถึงช้าหลายคนจึงอาบน�้ำ ละหมาดอย่างรีบเร่ง การอาบน�้ำละหมาดของเขาก็ไม่สมบูรณ์ การเดินเข้า สู่แถวละหมาดก็ไม่สงบเสงี่ยมเพราะเต็มไปด้วยความกังวล กลัวว่าจะไม่ทัน ร็อกอะฮฺ ส่วนกลุม่ ทีม่ าถึงเร็วหน่อยก็จะมีอกี สองกลุม่ คือกลุม่ แรกทีแ่ บกดุนยา เข้ามัสญิดมาด้วย เข้ามาถึงมัสญิดก็นั่งคิดแต่เรื่องงาน ยิ่งถ้ามากับเพื่อนร่วม เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

41


งานก็ยิ่งมีเพื่อนคุยเพื่อนคิด หรือไม่ก็คนรู้จักกันนั่นล่ะคุยกันได้สารพัดเรื่อง ยกเว้นเรือ่ งการเตรียมตัวเข้าสูล่ ะหมาด หรือท�ำอย่างไรให้การละหมาดครัง้ นี้ ดีกว่าครั้งก่อนๆ ตัวเองแย่ไม่พอยังดึงคนอื่นดิ่งเหวไปด้วย นี่ยังไม่รวมถึง การพูดคุยเสียงดังรบกวนคนอื่นที่ก�ำลังอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺนะครับ กลุ่มนี้ ดูเหมือนว่ามาเร็วแต่ไม่ได้ผลบุญอะไรนอกจากได้ละหมาดแถวหน้าและทัน ตักบีเราะตุลอิหรฺ อมพร้อมอิมามและจบพร้อมอิมามเท่านัน้ เอง แน่แท้วา่ เรือ่ ง ที่เขาได้พูดคุยก่อนละหมาดนั้นย่อมติดตามเข้าไปให้เขาคิดต่อในละหมาด ของเขาอย่างแน่นอน จนกระทัง่ บางคนในกลุม่ นีอ้ าจไม่รสู้ กึ อะไรในละหมาด ของเขาเลยนอกจากการเคลื่อนไหวทางร่างกายตามอิมามเท่านั้น และได้สติ กลับมาตอนที่ให้สลามทั้งสองเรียบร้อยแล้ว ส่วนอีกกลุ่มคือกลุ่มที่มาถึงเร็วแบบสมบูรณ์ กล่าวคือเมื่อจัดการ เวลาอย่างดีแล้วเขาจะสามารถไปสู่มัสญิดก่อนเวลา หรืออย่างน้อยก็ช่วง ต้นเวลาละหมาดนั้นๆ เมื่อมีเวลามากการเดินทางไปยังมัสญิดก็จะมีโอกาส สงบเสงี่ยมมากกว่าเพราะไม่ต้องรีบร้อนรีบเร่ง หากที่ๆ เขาออกไปสู่มัสญิด นั้นมีน�้ำให้อาบน�้ำละหมาดเขาก็จะท�ำมันอย่างดีมีคุชูอฺ หรือหากไม่มีน�้ำ ณ ที่ๆ เขาเดินทางออกมาเขาก็ยังมีเวลาเหลือเฟือที่จะอาบน�้ำละหมาดอย่าง ดีที่มัสญิด จากนั้นก็เข้ามัสญิดเพื่อละหมาดสุนนะฮฺ ซิกรุลลอฮฺ อ่านอัลกุรอาน ขอดุอาอ์โดยเฉพาะระหว่างสองอะซานซึ่งดุอาอ์เป็นที่ตอบรับ เป็นการให้เวลาสักช่วงเพื่อตัดขาดดุนยาทั้งหมด ก่อนเข้าพบพระเจ้าของ เขาอย่างบริสทุ ธิท์ สี่ ดุ อิบาดะฮฺดงั กล่าวข้างต้นนัน้ จะขัดเกลาหัวใจและความ นึกคิดของเขา ก�ำจัดดุนยาออกไป น�ำเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่มาแทนที่และเขา เตรียมพร้อมจะมุ่งสู่มันและท�ำมันอย่างดี ประการถั ด มา การละหมาดสอนให้ เรารู ้ จั ก ล� ำ ดั บ ความส� ำ คั ญ สิ่งต่างๆ ในชีวิตตามสถานการณ์ หรือสภาพการณ์ที่แตกต่างกันไป เช่น ใน 42

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ละหมาดศุบหฺมีสุนนะฮฺให้อ่านยาวเนื่องจากท่านนบีมักจะกระท�ำเช่นนั้น ซึ่งเป็นการสนองด�ำรัสของอัลลอฮฺในอัล-กุรอาน และจริงๆแล้วท่านนบีก็รัก ที่จะละหมาดอย่างยาวนานเพราะท่านได้พักผ่อนในการละหมาดนั้น รวมไป ถึงเหล่าอัครสาวกของท่าน ดังที่ท่านได้แจ้งแก่บิลาลว่า ( ‫ أَ� ِر ْحنَا ِب َها ( رواه أ�بو داود‬، ‫الصلَاةَ يَا ِبلَا ُل‬ َّ ‫أَ� ِق ِم‬ ความว่า “อิกอมะฮฺเถิดบิลาลเอ๋ย จงให้พวกเราได้พักผ่อนด้วย การละหมาดเถิด” (บันทึกโดยอบูดาวูด) หมายถึงให้บิลาลท�ำการอิกอมะฮฺ เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าสู่ละหมาด และครั้งหนึ่งท่านเคยแจ้งว่าท่านประสงค์จะละหมาดนานๆ แต่ท่านได้ยิน เสียงเด็กร้องไห้และท่านเข้าใจดีถึงหัวใจคนเป็นพ่อแม่ ท่านจึงท�ำละหมาด นั้นให้กระชับ เป็นการท�ำในสิ่งที่ไม่ได้ชอบที่สุด แต่ถือว่าการละหมาดสั้น ในครั้งนั้นคือความเหมาะสมและถือเป็นสิ่งที่แต่เดิมแล้วไม่ดีที่สุด แต่ในบาง สภาพการณ์รปู แบบการละหมาดนัน้ จะดีทสี่ ดุ ได้ นอกจากจะแสดงให้เห็นถึง บทเรียนที่อัลลอฮฺสอนให้ผู้ศรัทธาได้เลือกวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมแล้ว ยังแสดงถึงความยืดหยุ่นแห่งบทบัญญัติจากฟากฟ้านี้อีกด้วย ประการถัดมา การละหมาดส�ำหรับบ่าวที่นอบน้อมนั้นถือเป็นช่วง เวลาในการประเมินตนเองอย่างแท้จริง หากมีองค์กรหรือบริษัทใดที่ก�ำหนด ให้พนักงานต้องรายงานตัววันละห้าเวลาเพื่อสรุปสิ่งที่ได้ท�ำไปในช่วงเวลา ก่อนนั้น องค์กรนั้นๆ คงประสบความส�ำเร็จอย่างดี เช่นนั้นล่ะที่ผู้ศรัทธาถูก ก�ำหนดให้ต้องประเมินตนเองอย่างน้อยห้าครั้งในละหมาด ว่าระหว่างสอง เวลาละหมาดนี้เขาได้กระท�ำสิ่งใดไปบ้าง เป็นสิ่งที่พระองค์พอพระทัยหรือ โกรธกริ้ว นี่คือพื้นฐานของคนที่ไม่เข้าใจความหมายใดๆ ตลอดการละหมาด เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

43


ของเขา แต่เขาส�ำนึกเสมอว่าก�ำลังเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดกับพระเจ้าของเขา และเขารู้ว่าพระองค์ทรงรอบรู้ในความดีและความผิดของเขา และพระองค์ สั่งใช้หลายต่อหลายครั้งให้ประเมินตัวเองก่อนที่จะถึงวันที่ถูกประเมิน และ ช่วงเวลาอื่นๆ นั้นดุนยาท�ำให้เขายุ่งจนลืมที่จะกระท�ำสิ่งนี้ เวลาละหมาด จึงเป็นเวลาที่ดีที่สุดส�ำหรับเขาที่จะกระท�ำมัน (ตรวจสอบและประเมินตน) นี่คือหลักการพื้นฐาน ส่วนใครก็ตามทีเ่ ข้าใจและเข้าถึงถ้อยค�ำต่างๆ ทีถ่ กู กล่าวในละหมาด รวมไปถึงโองการต่างๆ ที่ถูกอ่านแล้วไซร้ ยิ่งจะมีโอกาสมากขึ้นที่จะได้ตรวจ สอบหรือประเมินตนเองในบางจุดเป็นพิเศษ ตามแต่บทดุอาอ์หรือโองการ ต่างๆ นั้นว่าก�ำลังกล่าวถึงเรื่องอะไร เมื่อมีการตรวจสอบแล้วแน่นอนย่อม มีการวางแผนหรือหาทางแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ที่พบ และวางแผนหรือ หาทางด�ำรงไว้ซึ่งความดีต่างๆ ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่ท�ำได้เลยทันทีนั่นก็คือ การดุอาอ์นั่นเอง ประการสุ ด ท้ า ย การละหมาดสอนให้ ผู ้ ศ รั ท ธาเป็ น คนประณี ต ท่านนบี ของเราได้สั่งสอนเราว่า ( ‫ِ�إذَا قُ ْم َت ِفي َصلَا ِت َك ف َ​َص ِّل َصلَاةَ ُم َو ِّد ٍع (رواه أ�حمد وابن ماجه‬ “เมื่อท่านลุกขึ้นสู่การละหมาดของท่าน ก็ให้ท่านจงละหมาด เฉกเช่นการละหมาดของผูอ้ ำ� ลาเถิด” (บันทึกโดยอะหฺมดั และอิบนุ มาญะฮฺ) เป็นที่รู้กันดีว่า คนที่จะอ�ำลาจากไป เขาย่อมตรวจสอบทุกสิ่ง ไม่ว่า จะในค�ำพูด หรือการกระท�ำ ซึ่งต่างจากบุคคลอื่น และเป็นที่รู้กันดีถึงคน ที่เดินทางจากเมืองหนึ่งสู่อีกเมืองหนึ่ง ส�ำหรับคนที่คิดว่าจะกลับมาอีกนั้น 44

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


แน่นอนย่อมแตกต่างจากคนที่เดินทางไปโดยไม่คิดที่จะกลับมาอีก ดังนั้น คนที่คิดว่าตัวเองจะอ�ำลาจากไปแล้วนั้นย่อมมีการตรวจสอบมากกว่าคน อื่นๆ และเมื่อเขาละหมาดและคิดว่าการละหมาดของเขานั้นคือละหมาด ครั้งสุดท้าย แน่นอนว่าการละหมาดของเขานั้นจะเป็นการละหมาดที่มีความ พยายามในการที่จะน�ำมาซึ่งความประณีตในหลักการ ประณีตในการรุกูอฺ และสุญูด และน�ำมาซึ่งเงื่อนไข สิ่งจ�ำเป็นและสุนนะฮฺต่างๆ ในการละหมาด อย่างดีเยี่ยม และด้วยเหตุนี้แหละจึงจ�ำเป็นต่อผู้ศรัทธานั้นต้องน�ำค�ำสั่งเสียนี้มา เป็นข้อคิดในทุกๆ เวลาละหมาด เมื่อเขาจะละหมาดก็ให้เขาคิดทุกครั้งว่า มันคือละหมาดครั้งสุดท้ายของเขา ให้รู้สึกว่ามันคือครั้งสุดท้ายจริงๆ หลัง จากนี้เขาจะไม่มีโอกาสได้ละหมาดอีก หากเขาคิดได้ในสิ่งดังกล่าว ความ คิดดังกล่าวก็จะเรียกร้องเขาไปสู่การปฏิบัติที่ดีเยี่ยมและสร้างความประณีต ที่สมบูรณ์แบบ และใครที่ปฏิบัติสิ่งที่ดีที่สุดในการละหมาดของเขา การละหมาดก็ จะน�ำพาเขาไปสู่ความดีงามทั้งหมดและความประเสริฐทั้งหลาย และห้าม ปรามเขาออกจากความชั่วและความตกต�่ำ และเติมเต็มหัวใจของเขาด้วย กับอีมาน และให้เขาได้ลิ้มรสความหอมหวานของอีมาน และการละหมาด จะเป็นดั่งแก้วตาดวงใจของเขา และเป็นการพักผ่อนหย่อนใจและความ สุขใจให้แก่เขา

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

45


เราะมะฎอนของเรา มีคุณภาพแค่ไหน?

โอ้บรรดาบ่าวผู้ตอบรับค�ำสั่งใช้จากพระผู้เป็นเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ เมื่อ พระองค์ทรงสั่งให้ท่านหยุดกิน หยุดดื่ม หยุดแสวงหาความสุขจากการมีเพศ สัมพันธ์กับคู่ครองของท่าน แล้วท่านก็ตอบรับมันด้วยความศรัทธาและหวัง ในภาคผลของมัน ท่านท�ำมันอย่างไม่ย่อท้อ มีความสุขที่ได้เชื่อฟังพระองค์ แม้ว่าต้องทนทรมานบ้างจากความหิวกระหาย ไม่ปริปากบ่นหรือแม้แต่คิด เบื่อหน่ายในใจของท่าน จงรับฟังข่าวดีเถิด เพราะพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงใจบุญ สัญญากับทุกท่านไว้ว่า َ ُ ٰ َّ َّ َ ُ َ َّ َ ‫ون أَ ۡج َر ُهم ب َغ ۡ� ح‬ ١٠ ‫اب‬ ‫ِس‬ �ِ �‫ إِ�ما يو� ٱل‬... ِ ِ ٖ ความว่า “...แท้จริงบรรดาผู้อดทนนั้นจะได้รับการตอบแทน รางวัลของพวกเขาอย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องค�ำนวณ” (อัซ-ซุมัร : 10) นักตัฟสีรหลายท่านกล่าวว่า “บรรดาผู้อดทน” ในอายะฮฺนี้หมายถึง “บรรดาผู้ถือศีลอด” เนื่องจากการถือศีลอดได้รวมการอดทนไว้ทุกประเภท คือ “การอดทนในการเชื่อฟังค�ำสั่งของอัลลอฮฺ การอดทนที่จะไม่ท�ำความ


ผิดต่างๆ เช่นการละศีลอดโดยไร้ข้อผ่อนผัน การท�ำบาป ท�ำชั่ว ท�ำเรื่อง ต�่ำทรามต่างๆ และการอดทนต่อการก�ำหนดของอัลลอฮฺที่ทรงให้ท่านต้อง พบกับความหิวผิดปกติในบางวัน อากาศที่ร้อนจัด งานที่หนักกว่าปกติ หรือ ความเครียดที่รายล้อม ทั้งสามประเภทนี้คือทุกมิติของบทบัญญัติที่เรียกว่า ความอดทน” ในหะดีษที่บันทึกโดยอิบนุ มาญะฮฺ และอัต-ติรมิซี ซึ่งท่านกล่าวเป็น หะดีษหะสัน ท่านนบี กล่าวว่า ( ‫الص ْب ِر ( رواه ابن ماجه والترمذي وقال حديث حسن‬ َّ ‫الص ْو َم ِن ْص ُف‬ َّ ‫ِ�إ َّن‬ ความว่า “แท้จริงแล้วการถือศีลอดนั้นถือเป็นครึ่งหนึ่งของความ อดทนทั้งหมด” พี่น้องผู้เชื่อฟังในค�ำสั่งใช้ของอัลลอฮฺทุกท่าน จงรับฟังข่าวดีเถิดกับ สัญญาของอัลลอฮฺที่ว่า َۡ َۡ َ ٓ ٓ َ ْ َ ۡ َ ْ ُ​ُ َ ۡ ‫ام ٱ‬ ِ َّ‫ِ�ۢ� ب ِ َما أ ۡسلف ُت ۡم ِ� ٱ�ي‬ ٢٤ ِ‫ا�َة‬ ٔ َ ‫� ُ�وا هن‬ ‫�وا وٱ‬ ِ � ความว่า “พวกเจ้าจงกิน จงดื่ม อย่างเกษมส�ำราญ เพราะสิ่งที่ พวกเจ้าได้ปฏิบัติไว้ในวันเวลาที่ได้ผ่านมา” (อัล-หากเกาะฮฺ : 24) ในหนังสือ “ละฏออิฟ อัล-มะอาริฟ” ท่านมุญาฮิดและท่านอื่นๆ กล่าวว่าอายะฮฺนี้ถูกประทานลงมาเพื่อแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้ถือศีลอด พวก เขาจะได้รับอาหาร เครื่องดื่มและความสุขส�ำราญต่างๆ ตามแต่อัลลอฮฺ จะทรงประสงค์ ซึ่งเป็นการตอบแทนที่คู่ควร ใครก็ตามที่ถือศีลอดอย่างดี ควบคุมตัวเองจากตัณหาต่างๆ ได้ หลังจากที่เขาเสียชีวิต เขาจะได้ละศีลอด เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

47


ในวันพรุ่งนี้ (วันกิยามะฮฺ) ส่วนใครที่รีบร้อนไม่อดทนจากระยะเวลาอันสั้น ที่อัลลอฮฺได้ทรงห้ามเขาจากความเอร็ดอร่อยของตัณหาต่างๆ แล้วเขาได้ ละเมิดมัน หลังจากเขาเสียชีวิต เขาก็จะได้รับโทษด้วยการพลาดส่วนแบ่งนี้ ไปเมื่อเขาเข้าสวรรค์แล้ว” และจงรับฟังข่าวดีเถิดโอ้บรรดาผู้หวงห้ามตัวเองจากการนอน เว้น แต่จะนอนแค่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แล้วเขายืนขึ้นในยามค�่ำคืนเพื่อเข้าเฝ้า องค์อภิบาลแห่งสากลโลก ผู้ทรงเฝ้ามองในทุกการเคลื่อนไหวของเขา ผู้ทรง รับฟังการวอนขอของเขาซึ่งสิ่งดีงามต่างๆ จากพระองค์ หรือการขอความ คุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ การขอความช่วยเหลือจาก พระองค์ให้เขาสามารถด�ำรงตนอยู่บนทางน�ำได้อย่างดีตลอดชีวิตของเขา ขออภัยโทษจากความผิดและความบกพร่องต่างๆ ในชีวิตของเขา และขอ สิ่งดีต่างๆ เหล่านี้ให้แก่พ่อแม่ของเขา พี่น้องแท้ๆ ของเขา และพี่น้องร่วม สายเชือกทั่วทุกหัวระแหง อิมามอัซ-ซะฮะบี ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่านได้บรรจุค�ำพูดของ ปราชญ์สลัฟผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งคือ อัล-เอาซาอี ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน ไว้ในหนังสือ “สิยัร อะอฺลาม อัน-นุบะลาอ์” ของท่านว่า ‫ سير أ�علام النبلاء‬.”‫ هون الله عليه وقوف يوم القيامة‬،‫” من أ�طال قيام الليل‬ (119/ 7) ความว่า “ใครก็ตามที่ท�ำให้ละหมาดกลางคืนของเขายาวนาน อัลลอฮฺจะท�ำให้การวุกูฟ (การยืน) ในวันกิยามะฮฺของเขาสั้นลง” ค�ำกล่าวของอับดุรเราะหฺมาน อัล-เอาซาอี ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน 48

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


แม้จะไม่ใช่ส�ำนวนหะดีษจากท่านนบี แต่ผู้รู้บางท่านก็ให้ค�ำอธิบายว่า อัล-เอาซาอีน่าจะกล่าวค�ำนี้จากการใคร่ครวญอัลกุรอานสองอายะฮฺนี้ ٗ ۡ َ ُ ۡ ّ َ َ ُ َ ۡ ُ ۡ َ ۡ َّ َ َ ً َ ُ ٓ َ ُ ٰٓ َ َّ ‫هؤ�ءِ ي ُِّبون‬ ‫ل� َطوِي� � إِن‬ ‫ومِن ٱل ِل فٱسجد لۥ وسبِحه‬ ٗ َ ُ ٓ َ َ َ​َ َۡ � ��ِ‫جلة َو َيذ ُرون َو َرا َءه ۡم يَ ۡو ٗما ثق‬ ِ ‫ٱلعا‬ ความว่า “และจากส่วนหนึ่งของกลางคืนก็จงสุญดต่อพระองค์ และจงแซ่ซอ้ งสดุดพี ระองค์ ในยามกลางคืนอันยาวนาน แท้จริงชนเหล่านี้ (พวกปฏิเสธศรัทธา) รักชีวิตชั่วคราว และปล่อยทิ้งวันอันหนักหน่วงไว้ เบื้องหลังพวกเขา” (อัล-อินสาน : 26-27) บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย ไม่เชื่อมั่นในวันกิยามะฮฺและไม่ได้ ตระเตรียมสิ่งใดเอาไว้เพื่อช่วยเหลือพวกเขาในวันอันหนักอึ้งนั้นเลย ทว่า ผู้ศรัทธาที่เชื่อมั่นในวันกิยามะฮฺ และหวั่นเกรงต่อภาระอันหนักหน่วงใน วันนั้น เขาจะท�ำการสุญูด (ละหมาด) ต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาในยามค�่ำคืน อันยาวนาน โดยหวังว่าการละหมาดนัน้ จะช่วยเหลือเขาให้รอดพ้นจากความ ยากล�ำบากในวันกิยามะฮฺได้ พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย อะไรหรือคือสิ่งที่เราหวังจะได้จากเดือนนี้? การลบล้างจากบาปทั้งหมดที่ผ่านมามิใช่หรือ? การตอบแทนอย่างไม่มีที่ สิ้นสุดมิใช่หรือ? การเป็นหนึ่งในผู้ถูกปลดปล่อยจากนรกในทุกค�่ ำคืนมิใช่ หรือ? แล้วเราก�ำลังเป็นผู้ที่จริงจังกับการแสวงหา หรือเป็นเพียงผู้ที่เพ้อฝัน ไปวันๆ จนถึงวันนี้ ส�ำหรับคนที่เคยวางแผนการกระท�ำความดีและละทิ้งความชั่วต่างๆ โดยใช้เราะมะฎอนเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลง มันส�ำเร็จไปแล้วมาก เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

49


น้อยเพียงใดและเพราะเหตุใด? และผู้ที่ยังไม่มีแผนใดๆ คุณจะปล่อยตัวเอง ล่องลอยเช่นนี้จนถึงเมื่อไหร่? หรือการงานในแต่ละวันได้ตรวจสอบมันอย่าง จริงจังบ้างหรือไม่? เหตุใดจึงยังพบข้อบกพร่องมากมายในสมุดบันทึกความ ดีของเรา? เพราะเรามักง่ายกับอิบาดะฮฺกระนั้นหรือ? หรือเรายังอ่อนแอใน การห้ามปรามและควบคุมจิตใจใฝ่ต�่ำของเราเอง? พีน่ อ้ งผูศ้ รัทธาต่ออัลลอฮฺทกุ ท่านครับ อะไรหรือทีท่ ำ� ให้เราตืน่ แต่เช้า มืดเพือ่ มากินอาหารสะหูร เพราะความเชือ่ ฟังในค�ำสัง่ ของท่านนบีใช่หรือไม่? ‫ قال النبي صلى الله عليه وسلم‬: ‫عن أ�نس بن مالك رضي الله عنه قال‬ ‫الس ُح ْو ِر ب َ َركَ ًة ) متفق عليه‬ َّ ‫) تَ َس َّح ُر ْوا فُ ِ إ� َّن ِفي‬ ในการบันทึกของอัล-บุคอรีและมุสลิม จากท่านอนัส อิบนุ มาลิก ท่านนบี กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายพึงรับประทานอาหารสะหูรเถิด เพราะแท้จริงในอาหารสะหูรนั้นมีบะเราะกะฮฺ (ความจ�ำเริญ)” เพราะหวังในภาคผลที่ท่านนบีได้บอกเอาไว้ใช่หรือไม่เราจึงร่นระยะ เวลานอนของเราให้สั้นลงและต่อสู้กับความง่วงเพื่อตื่นขึ้นมารับประทาน อาหารมื้อส�ำคัญมื้อนี้ บะเราะกะฮฺที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามสุนนะฮฺนี้ ก็คือ บะเราะกะฮฺจากสะหูรท�ำให้เราได้ละหมาดศุบหฺพร้อมกับญะมาอะฮฺ ซึ่ ง นอกเดื อ นเราะมะฎอนน้ อ ยคนนั ก ที่ จ ะได้ ม ายื น ละหมาดในเวลาที่ อัล-กุรอานจะเป็นพยานให้นี้และเป็นเวลาที่หนักหน่วงส�ำหรับมุนาฟิกทั้ง หลาย บะเราะกะฮฺจากสะหูรส่งผลต่อการอิบาดะฮฺของเราตลอดช่วงเวลา กลางวันด้วย ทั้งการละหมาด อ่านอัล-กุรอาน ซิกรุลลอฮฺ เพราะคนที่หิวโหย จะรู้สึกเกียจคร้านจากการกระท�ำดังกล่าว ฯลฯ

50

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


แต่หากเรานอนหลับต่อหลังการทานอาหารสะหูรจนกระทั่งพลาด ละหมาดศุบหฺ อย่าว่าแต่ญะมาอะฮฺที่มัสญิด แม้เพียงละหมาดคนเดียวใน บ้านของตัวเองให้ตรงเวลาก็ยังท�ำไม่ได้ อีกทั้งตอนกลางวันก็ยังปล่อยเวลา อันมีค่าให้ผ่านเลยไป นั่งหายใจทิ้งโดยที่มิได้ร�ำลึกถึงอัลลอฮฺ ลิ้นกับฟันและ อวัยวะต่างๆ มิได้ถกู ขยับเพือ่ อ่านด�ำรัสของพระผูเ้ ป็นเจ้า จิตใจมิได้ตดิ ต่อกับ พระองค์ดว้ ยดุอาอ์ และสติปญ ั ญามิได้ถกู ปรับปรุงด้วยการศึกษาความหมาย อัล-กุรอาน เช่นนัน้ ก็จงตรวจสอบสะหูรของท่านเถิด ว่าเนียตเพือ่ ตามสุนนะฮฺ จริงหรือไม่? หรือเป็นเพียงมื้อเช้าที่กินเร็วกว่าปกติเท่านั้น และเรากินมัน อย่างล้นกระเพาะหรือไม่จึงท�ำให้กลางวันของเรามีแต่นอนหรือไม่ก็ง่วงซึม ตลอดทัง้ วัน ทัง้ งานดุนยาและอิบาดะฮฺไม่มอี ะไรดีเลย ถามตัวเอง ตอบตัวเอง แล้วแก้ไขนะครับ พี่น้องที่รักของผม อะไรหรือที่ท�ำให้เราเร่งรีบไปสู่การละศีลอด เพราะแบบอย่างของมนุษย์ที่ประเสริฐที่สุดบนหน้าแผ่นดินนี้ใช่หรือไม่? แล้วเราละศีลอดกันอย่างไร? กว่า 14 ชั่วโมงที่พบเห็นอาหารและเครื่องดื่ม มากมายตลอดทั้งวันเหตุใดเราสามารถอดทนได้ แต่เมื่อได้ยินเสียงอะซาน แล้วเหตุใดเราจึงอดทนต่ออีกเพียง 20 นาทีไม่ได้ ระยะเวลาเพียงประมาณ 3% ของเวลาทีเ่ ราอดทนมาอย่างดีตลอดทัง้ วัน อะไรหรือทีท่ ำ� ให้เราพลาดไป? อะไรหรือที่ท�ำให้เราไม่สามารถละศีลอดด้วยดุอาอ์ อินทผลัมและ น�้ำเปล่าแล้วเร่งรีบสู่การละหมาดมัฆริบได้ ไม่สามารถพ�ำนักชั่วครู่ในมัสญิด เพื่อซิกรุลลอฮฺหลังละหมาดและละหมาดสุนนะฮฺหลังจากนั้น แล้วจึงค่อย รับประทานอาหารมื้อหนักอย่างพอเหมาะเพื่อให้มีเรี่ยวแรงในการอิบาดะฮฺ ยามค�่ำคืนต่อไป โดยเฉพาะการละหมาดอิชาอ์ที่ก�ำลังจะมาถึงและกิยามุ เราะมะฎอน (ตะรอวีหฺ) หลังจากนั้น ท�ำไมเราถึงอดทนอีกหน่อยเพื่อผลบุญ ที่สมบูรณ์แบบมิได้ครับ? เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

51


ท่านนบีบอกว่าผูถ้ อื ศีลอดจะได้รบั ความดีใจสองครัง้ ครัง้ แรกเมือ่ เขา ละศีลอด มันมิได้หมายถึงแค่การกินและการดื่มเพียงเท่านั้น ชัยคฺ มุฮัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน กล่าวว่า “มันคือความดี ใจที่อัลลอฮฺได้ฮิดายะฮฺเขาให้กลับมาสู่ความเป็นมนุษย์ผู้ศรัทธาอีกครั้ง และมันคือความดีใจในความโปรดปรานจากอัลลอฮฺที่ได้ท�ำให้ศีลอดของ เขาครบถ้วนตามเงื่อนไขและเวลา และดีใจที่เขาได้ละศีลอดด้วยอาหารที่ หะลาลและเร่งรีบมันตามสุนนะฮฺ และดีใจที่เขาได้ขอดุอาอ์มุสตะญาบใน ช่วงเวลาก่อนนั้น” แต่หากว่าการเร่งรีบละศีลอดของเรานั้นน�ำไปสู่การหลงอยู่ในวังวน ของอาหารมากมายที่จัดวางอยู่เบื้องหน้า กระทั่งเราต้องเสียเวลามากมาย ไปกับมันแล้วพลาดการละหมาดมัฆริบเป็นญะมาอะฮฺที่มัสญิด ซ�้ำร้ายยัง มีการกินอย่างล้นกระเพาะจนรู้สึกล�ำบากและเกียจคร้านในการละหมาด อิชาอ์เป็นญะมาอะฮฺรวมไปถึงกิยามุเราะมะฎอน ซึ่งน�ำไปสู่การพลาดความ ดีงามต่างๆ มากมาย หากทั้งกลางวันและกลางคืนเราได้เพียงแต่กินและนอน นี่คือสิ่งที่ เราสามารถนึกออกได้ว่าเราท�ำมันได้ดีที่สุดแล้วในเดือนนี้ ส่วนอิบาดะฮฺอื่นๆ เราแทบนึกไม่ออก มันเลือนลางทัง้ เชิงปริมาณและคุณภาพ เช่นนัน้ ก็จงตรวจ สอบตัวของท่านเถิด ว่าระหว่างถือศีลอดท่านฝ่าฝืนอัลลอฮฺด้วยกับอะไรบ้าง ท่านหนีห่างจากอัลลอฮฺใช่ไหมพระองค์จงึ ปล่อยท่านให้หลงและพลาดความ ดีงามอันสุดคณานับในเราะมะฎอนนี้ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เรายัง ฝ่าฝืนพระองค์ทั้งยามกลางวันและกลางคืนใช่หรือไม่ อิบาดะฮฺของเราจึง บกพร่องทั้งกลางวันและกลางคืน แบบนี้หรือที่เราบอกว่าเราท�ำสิ่งต่างๆ ด้วยความศรัทธาและหวังในการตอบแทนของพระองค์

52

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


อิบนุลเญาซียฺ ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน ได้รายงานว่าหะสัน อัล-บัศรี ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน เคยเดินผ่านคนกลุ่มหนึ่งที่นั่งหัวเราะกันอย่าง สนุกสนานในเดือนเราะมะฎอน ท่านจึงหยุดอยู่ที่พวกเขาและกล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงท�ำให้เดือนเราะมะฎอนนี้เป็นสนามแข่งขันของบ่าว ทั้งหลาย เพื่อที่พวกเขาจะได้แข่งขันกันในการเชื่อฟังค�ำสั่งต่างๆ ของ พระองค์ แล้วพวกที่น�ำหน้าในสนามแข่งนี้ก็จะได้รับชัยชนะ ส่วนพวกที่ อยู่รั้งท้ายก็จะได้รับความขาดทุนย่อยยับ” โอ้พนี่ อ้ งผูศ้ รัทธาทีร่ กั ทุกท่านครับ เราจะตอบกับอัลลอฮฺอย่างไรเมือ่ ถูกถาม ว่าเหตุใดบันทึกการงานของเราจึงว่างเปล่า ในขณะที่พี่น้องของเรา อ่านอัล-กุรอาน ศึกษาความหมาย ใคร่ครวญ ซาบซึ้ง หวั่นเกรงและร�่ำไห้? เราจะตอบอย่างไรเมือ่ พระองค์ทรงได้ยนิ การซิกรุลลอฮฺของปวงบ่าวทัง้ หลาย ขณะที่บันทึกการงานของเรายังว่างเปล่า? เราจะตอบกับอัลลอฮฺอย่างไร เมื่อพระองค์ทรงตอบรับดุอาอ์และประทานตามสิ่งที่ถูกขอให้ปวงบ่าวทั้ง หลาย แต่บันทึกการงานของเรายังไม่มีแม้เพียงบรรทัดเดียวที่ถูกจดว่าเรา ได้วิงวอนขอต่อพระองค์? เราจะตอบกับอัลลอฮฺอย่างไรเมื่อพระองค์มองลง มาในยามค�ำ่ คืนเห็นปวงบ่าวยืนละหมาดจ�ำนวนมากมาย แต่พระองค์กลับไม่ พบเราอยู่ในแถวละหมาด? ยิ่งไปกว่านั้นบรรดาสิ่งมีชีวิตในชั้นฟ้า แผ่นดิน ท้องน�้ำต่างก็อิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลาในฐานะบ่าวผู้ภักดี แต่เราที่ เป็นมนุษย์ เป็นสิ่งถูกสร้างที่อัลลอฮฺทรงเทิดเกียรติเหนือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ กลับ นอนหลับอย่างเกียจคร้านอยู่บนเตียงอันแสนนุ่ม เราจะตอบกับอัลลอฮฺอย่างไรเมื่อคนอื่นๆ ได้รับการอภัยโทษหมด แล้ว สมุดบันทึกความดีของพวกเขาเต็มไปด้วยการงานที่ได้รับการเพิ่มพูน ในผลบุญอย่างมากมายและสมุดบันทึกความผิดของเขานั้นขาวสะอาด ใน ขณะที่สมุดบันทึกความดีของเรายังว่างเปล่าและสมุดบันทึกความชั่วยัง เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

53


เต็มไปด้วยบาป? เราจะรอถึงเมื่อไหร่หรือครับถึงจะจริงใจกับเราะมะฎอนนี้ เสียที เหลือเวลาไม่กี่วันแล้ว โอกาสสุดท้ายแล้ว ยังไม่สายนะครับ ยังไม่สาย พีน่ อ้ งผูศ้ รัทธาครับ ผูศ้ รัทธานัน้ จ�ำเป็นทีจ่ ะต้องโบยบินไปสูอ่ าคิเราะฮฺ ด้วยกับปีกที่ครบถ้วนทั้งสองข้างอยู่เสมอ คือปีกแห่งความหวังและปีกแห่ง ความกลัว เราหวังความดีงามต่างๆ มากมายในเดือนนี้ แล้วเราเต็มที่กับมัน แล้วหรือยัง ถามตัวเองอย่างสุจริตอีกครั้ง ตัวเราในตอนนี้เหมาะสมที่จะเป็น ผู้ที่ถูกปลดปล่อยจากนรกแล้วหรือไม่ ลองพิจารณาหะดีษต่อไปนี้ดูครับ ‫أ‬ ‫ قال رسول الله صلى الله عليه وسلم ( َ�إذَا كَا َن أَ� َّو ُل َل ْيلَ ٍة‬:‫قال‬ ‫�بي هريرة‬ ‫عن‬ ‫ فَلَ ْم‬، ‫اب ال َّنا ِر‬ ُ ‫ َو ُغ ِّلق َْت أَ�بْ َو‬، ‫ِم ْن َش ْه ِر َر َم َضا َن ُصف َِّد ْت ا ْل َّشيَا ِط ْي ُن َو َم َر َدةُ الجِ ِّن‬ ‫ يَا‬: ‫ َويُنَا ِدى ُمنَا ٍد‬، ‫اب‬ ٌ َ ‫اب ال َج َّن ِة فَلَ ْم ي ُ ْغلَ ْق ِم ْن َها ب‬ ٌ َ ‫ي ُ ْفتَ ْح ِم ْن َها ب‬ ُ ‫ َوفُ ِت َح ْت أَ�بْ َو‬، ‫اب‬ ( ‫ َو َذ ِل َك ك ُُّل َل ْيلَ ٍة‬،‫الش ِر أَ� ْق ِص ْر َولل ِه ُعتَق َُاء ِم َن ال َّنا ِر‬ َّ ‫ َويَا بَا ِغ َي‬، ‫بَا ِغ َي ا ْل َخ ْي ِر أَ� ْقب ِْل‬ .‫ال�ألباني‬ ‫رواه الترمذي وصححه الشيخ‬ ในการบันทึกของอัต-ติรมิซี ซึ่งชัยคฺ อัล-อัลบานี กล่าวว่าหะดีษนี้ เศาะฮีหฺ จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ ท่านรสูลุลลอฮฺ กล่าวว่า “เมื่อค�่ำคืน แรกของเดื อ นรอมฏอนได้ ม าถึ ง บรรดาชั ย ฏอนมารร้ า ยและบรรดา ญินที่เนรคุณก็จะถูกล่ามโซ่ตรวนเอาไว้ บรรดาประตูนรกก็จะถูกปิด โดยจะไม่เหลือแม้แต่บานเดียวที่เปิดไว้ บรรดาประตูสวรรค์ก็จะถูกเปิด โดยจะไม่เหลือแม้แต่บานเดียวที่ปิดไว้ และผู้ประกาศ (มลาอิกะฮฺ) ก็ จะป่าวประกาศโดยกล่าวว่า “โอ้ผู้ใฝ่หาความดีจงท�ำต่อไปเถิด และโอ้ ผู้ใฝ่หาความชั่วจงหยุดเถิด และเป็นสิทธิของอัลลอฮฺที่จะปลดปล่อยคน จ�ำนวนหนึง่ จากจ�ำนวนทีม่ ากมายจากไฟนรก”และเหตุการณ์นจี้ ะเกิดขึน้ ในทุกค�่ำคืน (ของเดือนรอมฏอน)” (ขออัลลอฮฺเมตตาให้เราทุกคนได้อยู่ใน ปวงบ่าวที่ถูกปลดปล่อยจากไฟนรกในทุกค�่ำคืนของเราะมะฎอนด้วยเถิด) 54

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


พี่น้องที่รักหากเรายังไม่เป็นผู้ที่ขะมักเขม้นในการกระท�ำความดี และหยุดยั้งจากความชั่วโดยหวังว่าจะเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการปลดปล่อย จากนรกในทุกค�่ำคืนตลอดเดือนเราะมะฎอนนี้แล้วไซร้ ก็พึงไตร่ตรองหะดีษ บทนี้เถิด ‫وعن أ�بي هريرة – رضي الله عنه – أ�ن النبي صلى الله عليه وسلم َص ِع َد ا ْل ِم ْنبَ َر‬ ‫ ِ�إنَّ َك َص ِع ْد َت ا ْل ِم ْنبَ َر فَ ُق ْل َت‬: ‫ يَا َر ُسول الله‬: ‫ �آ ِم ْي َن ) ِق ْي َل‬، ‫ � آ ِم ْي َن‬، ‫ ( � آ ِم ْي َن‬: ‫فَقَا َل‬ ‫ َم ْن‬: ‫لام أَ�تَا ِن ْي فَقَا َل‬ َّ ‫ ( ِ�إ َّن ِج ْب َرا ِئ ْي َل َعلَ ْي ِه‬: ‫ �آ ِم ْي َن ؟ فَقَا َل‬، ‫ � آ ِم ْي َن‬، ‫ � آ ِم ْي َن‬: ُ ‫الس‬ : ‫ فَ ُق ْل ُت‬، ‫ � آ ِم ْي َن‬: ‫ قُ ْل‬. ‫أَ� ْد َر َك َش ْه َر َر َم َضا َن فَلَ ْم ي ُ ْغف َْر َل ُه ف َ​َد َخ َل ال َّنا َر ف أَ​َ�بْ َع َدهُ الل ُه‬ .‫� آ ِم ْي َن ) رواه اب ُن ُخ َزيْ َمة أَو� ْح َم ُد والبَ ْي َه ِق ُّي وسنده صحيح‬ ในบันทึกของอิบนุ คุซัยมะฮฺ อะหฺมัดและอัล-บัยฮะกี จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ ความว่า “แท้จริงเมื่อท่านนบี ได้ก้าวขึ้นมิมบัร ท่าน ได้กล่าวว่า “อามีน อามีน อามีน” มีผู้ถามว่า “โอ้ท่านรสูลุลลอฮฺ เหตุใดท่านจึงกล่าวอามีน อามีน อามีน ตอนที่ก้าวขึ้นมิมบัรล่ะครับ?” ท่านรสูลตอบว่า “แท้จริงญิบรีล ได้มาหาฉัน (ขณะนั้น) แล้ว กล่าวว่า ‘ผูใ้ ดก็ตามทีเ่ ข้าสูเ่ ดือนเราะมะฎอนแล้วเขาไม่ได้รบั การอภัยโทษ แล้วเขาต้องเข้าสู่ไฟนรก ขอให้เขาห่างไกลจากความเมตตาของพระองค์ (โอ้มุฮัมมัด) ท่านจงกล่าวอามีนเถิด’ แล้วฉันก็กล่าวว่า ‘อามีน’” พี่น้องที่รักทุกท่าน ผมขอสั่งเสียตัวของผมเองและพี่น้องทุกท่านว่า พึงระวังดุอาอ์ของมลักผู้ทรงเกียรติที่สุดเหนือมลาอิกะฮฺทั้งหลาย และการ กล่าวอามีน (ขออัลลอฮฺตอบรับดุอาอ์นี้ด้วยเถิด) จากมนุษย์ที่มีเกียรติที่สุด เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

55


ผู้ซึ่งอัลลอฮฺทรงตอบรับดุอาอ์ของท่าน เพราะใครก็ตามที่เราะมะฎอนมา พบเขา อยู่กับเขา แต่เขากลับไม่ใส่ใจ เพิกเฉย ละเลย เพ้อฝัน เกียจคร้าน ท� ำ ความดี แ บบชุ ่ ย ๆ เบื่ อ หน่ า ย ฯลฯ เขาก็ จ งระวั ง ที่ จ ะไม่ ไ ด้ รั บ การ อภัยโทษ ต้องเข้านรกและห่างไกลจากความเมตตาของพระผู้ทรงเมตตายิ่ง (ขออัลลอฮฺทรงท�ำให้พวกเราห่างไกลจากคนเหล่านี้ด้วยเถิด)

56

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ความกล้าหาญที่สะท้านหัวใจอุมัร

โอ้พี่น้องที่รักของผม พึงย�ำเกรงอัลลอฮฺเถิด หวังว่าผมและท่านทั้ง หลายจะรอดพ้นจากความหายนะในนรกที่เต็มไปด้วยเครื่องดื่มจากน�้ำที่ เดือดพล่าน จากน�้ำเหลืองและน�้ำหนองของชาวนรก หนามจากต้นซักกูม อีกทั้งการทรมานและลงโทษอย่างเจ็บแสบนานับประการในสภาพที่เราจะ เจ็บเจียนตายแต่ก็ไม่สามารถจะตายได้อีกแล้ว และจงย�ำเกรงอัลลอฮฺเถิด หวังว่าผมและท่านทั้งหลายจะได้เข้าไป พบกันอีกครั้งในสวนสวรรค์ของพระเจ้าของผมและท่าน ในแดนดินถิ่นที่มี แต่ความร่มเย็น เขียวขจี ผลหมากรากไม้ ธารน�้ำหลายสายที่ไหลผ่าน ตาน�้ำ หลากตาที่พวยพุ่ง คนรับใช้ที่เวียนให้บริการไม่ขาดสาย คู่ครองที่สวยขึ้น ทุกวินาที นอนเอกเขนกบนโซฟาชั้นเลิศ หันหน้าเข้าหากันพูดคุยกันอย่าง สนุกสนาน สถานที่ๆ หัวใจเราจะถูกถอดถอนออกไปซึ่งความเคียดแค้น ความบาดหมางระหว่างกัน สถานที่ๆ ไม่มีค�ำหยาบคาย มีแต่การอวยพรให้ แก่กัน และการสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงบริสุทธิ์ และเหนืออื่นใด หวังว่า เราทุกคนจะได้รับความเมตตาจากพระองค์ให้ได้มองไปยังพระพักตร์ของ พระองค์ผู้ทรงงดงามและสมบูรณ์ยิ่ง ‫ال َّل ُه َّم ِ�إنَّا نَ ْس أَ� ُل َك ا ْل َج َّن َة َو َما قَ َّر َب ِ�إ َل ْي َها ِم ْن قَ ْو ٍل أَ� ْو َع َم ٍل َونَ ُع ْو ُذ ب َِك ِم ْن ال َّنا ِر َو َما‬ ‫قَ َّر َب ِ�إ َل ْي َها ِم ْن قَ ْو ٍل أَ� ْو َع َم ٍل‬


‫الش ْو َق ِ�إ َلى ِلق َِاء َك ِفي َغ ْي ِر َض َّر َاء ُم ِض َّر ٍة‬ َّ ‫ال َّل ُه َّم ِ�إنَّا نَ ْس أَ� ُل َك َل َّذةَ ال َّن َظ ِر ِ�إ َلى َو ْجه َِك َو‬ ‫َولَا ِف ْتنَ ٍة ُم ِض َّل ٍة‬ “โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงพวกเราวอนขอต่อพระองค์ซึ่งสวรรค์และสิ่งจะ ท�ำให้เราได้เข้าใกล้มนั จากค�ำพูดและการงานต่างๆ และเราขอความคุม้ ครอง จากพระองค์ให้พ้นจากนรกและสิ่งที่จะท�ำให้เราเข้าใกล้มัน จากค�ำพูดและ การงานต่างๆ โอ้อัลลอฮฺ ขอให้ข้าพระองค์ได้มีความปีติยินดีกับการมองเห็นพระ พักตร์ของพระองค์ และรอคอยการกลับไปหาพระองค์อย่างใจจดใจจ่อ โดย ปราศจากความทุกข์ร้อนล�ำเค็ญ หรือฟิตนะฮฺความวุ่นวายที่ท�ำให้หลงผิด” พี่น้องที่รักทุกท่าน ความกล้าหาญเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่อยู่คู่กับ มนุษยชาติมาช้านาน เป็นคุณสมบัติที่ควรมีอย่างยิ่งโดยเฉพาะในบุรุษเพศ และในสตรีเพศก็จ�ำเป็นต้องมีความกล้าหาญเช่นเดียวกัน ความกล้าหาญนั้นสามารถใช้ได้ทั้งสองสภาพ กล่าวคือสภาพแรก เป็นความกล้าหาญในการกระท�ำความชั่ว จะว่าไปแล้วหากจะให้เรียกมัน ว่าความกล้าหาญก็ไม่น่าจะเรียกได้อย่างเต็มปากเนื่องจากน้อยคนนักที่จะ อาจหาญกระท�ำความผิดในที่แจ้งต่อหน้าต่อตาสาธารณชน หรือกระท�ำแล้ว ไม่หลบหนีความผิด ซึ่งโดยปกติวิสัยแล้วมนุษย์มักจะกระท�ำความผิดแบบ ลับๆ ยิ่งลับตาคนเท่าไหร่ยิ่งกล้ากระท�ำสิ่งเหล่านั้นอย่างง่ายดายมากขึ้น ดูๆ ไปแล้วดูเหมือนว่าผู้ที่แอบกระท�ำความผิดเหล่านั้นช่างขี้ขลาดตาขาว เสียนี่กระไรที่ต้องหลบหนีจากสายตาผู้คน ทว่าในความจริงแล้วเขาคือคน ที่อาจหาญพอสมควรทีเดียว ทั้งนี้เนื่องจากเขารู้อยู่แก่ใจว่ามีพระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงมองเห็น ได้ยิน รอบรู้ในสิ่งเร้นลับและเปิดเผย แต่เขาก็ยังกล้าพอที่ จะกระท�ำความผิดเหล่านั้น 58

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


สภาพที่สองคือความกล้าหาญในการกระท�ำความดี ทุกวันนี้หาก จะหาใครสักคนหนึ่งที่กล้าช่วยเหลือผู้อ่อนแอที่ถูกข่มเหงอยู่ซึ่งผมว่าก็หา ยากแล้ว จะให้ออกญิฮาดยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เพราะเพียงความกล้าหาญที่จะ ประกาศตนเป็นมุสลิมอย่างเต็มปากและภาคภูมใิ จยังหายากเลยในสังคมของ เรา ครับ! เพียงความกล้าที่จะพูดหรือแสดงออกอย่างชัดเจนต่อสังคมว่าเรา เป็นมุสลิม ผู้ศรัทธาและนอบน้อมต่ออัลลอฮฺในพระบัญชาใช้และพระบัญชา ห้ามของพระองค์ อันท�ำให้เราต้องประพฤติตัวสวนกระแสสังคมไปบ้างใน หลายๆ ประการ เพียงเท่านี้ผมก็พบว่าหาได้ยากยิ่งจริงๆ มุสลิมในบ้านเมือง เราที่จะกล้าหาญชาญชัยเช่นนั้น อุมัร อิบนุลค็อฏฏอบ ถือเป็นผู้ที่มีความกล้าหาญมาแต่เดิมแล้ว สมัยที่เป็นนักเลงหัวไม้ในยุคญาฮิลียะฮฺ ต่อมาเมื่ออิสลามได้เข้าไปตั้งรกราก ในจิตใจของเขาแล้ว อุมัรก็กลายเป็นคนที่มีความอ่อนโยนอย่างยิ่งในบาง วาระ และเมื่อต้องใช้ความกล้าหาญในการเผชิญกับปัญหาอุมัรก็เป็นคนที่ ใช้มันได้อย่างเหมาะสม เฉกเช่น ความกล้าหาญในการแสวงหาความรู้ ในครัง้ หนึง่ สมัยทีก่ าร ถือศีลอดเพิ่งถูกบัญญัติ หลังจากละหมาดอิชาอ์หรือหลังจากนอนหลับไป แล้ว (ทั้งสองรายงานมาจากอิบนุ อับบาส ) ผู้ศรัทธามิได้รับการอนุญาต ให้ดื่มกินและร่วมหลับนอนกับคู่ครองของตน ทว่าเศาะหาบะฮฺหลายต่อ หลายคนก็พลาดพลั้งกระท�ำสิ่งนั้นแต่ไม่มีใครกล้าที่จะสอบถามท่านนบีถึง การแก้ไข จะมีก็แต่อุมัรนี่ล่ะที่ปรับทุกข์ต่อท่านนบีโดยตรงเพื่อหาทางแก้ไข ความผิดพลาดดังกล่าว และด้วยความกล้าในการแสวงหาความรู้ของอุมัร นี่เอง อัล-กุรอานจึงถูกประทานลงมาอีกอายะฮฺหนึ่งเพื่อเป็นการอนุมัติสิ่ง ดังกล่าวว่า เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

59


ُ َّ ٞ َ َّ ُ ۡ ُ ٓ َ ٰ َ ُ َ َّ ِ َ ّ َ َ ۡ َ ۡ ُ َ َّ ُ ُ َ‫ك ۡم َوأ‬ ‫نت ۡم‬ ‫لصيام ٱلرفث إِ� ن ِسائِك ۚم هن لِ اس ل‬ ِ ‫أحِل لكم للة ٱ‬ ُ َ ُ َ َ ُ َ ۡ َ ۡ ُ ُ ۡ ُ َّ َ ُ َّ َ َ َّ ُ َّ ٞ َ ِ‫ل‬ َ ‫ك ۡم َف َت‬ ‫اب‬ ‫اس لهنۗ عل ِم ٱ� أنكم كنتم تتانون أنفس‬ ُ ُ َٰ َ ۡ َ ۡ ُ َ َ َ َ ۡ ُ َۡ َ َ ‫وه َّن َوٱ ۡب َت ُغوا ْ َما َك َت‬ ُ َّ ‫ب ٱ‬ � ‫عليكم وعفا عنكمۖ فٱل�ن ب ِش‬ ۡ َ ُ َ ۡ َ ۡ ُ ۡ َ ۡ ُ ُ َ َ َّ َ َ َ ٰ َّ َ ْ ُ َ ۡ َ ْ ُ ُ َ ۡ ُ َ َ ۡ ‫لك ۚم وكوا وٱشبوا حت يتبي لكم ٱليط ٱلبيض مِن ٱلي ِط‬ َۡ َ َ َۡۡ ۡ � ... ۖ‫ٱلسودِ مِن ٱلفج ِر‬

ความว่า “ได้เป็นที่อนุมัติแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งการสมสู่กับบรรดา ภรรยาของพวกเจ้าในค�่ำคืนของการถือศีลอด นางทั้งหลายนั้นคือเครื่อง นุ่งห่มของพวกเจ้า และพวกเจ้าก็คือเครื่องนุ่งห่มของพวกนาง อัลลอฮฺ ทรงรู้ว่า พวกเจ้านั้นเคยทุจริตต่อตัวเอง แล้วพระองค์ก็ทรงยกโทษให้ แก่พวกเจ้า และอภัยให้แก่พวกเจ้าแล้ว บัดนี้พวกเจ้าสมสู่กับพวกนางได้ และแสวงหาสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงก�ำหนดให้แก่พวกเจ้าเถิด และจงกินและ ดื่ม จนกระทั่งเส้นขาว จะประจักษ์แก่พวกเจ้า จากเส้นด�ำ เนื่องจากแสง รุ่งอรุณ...” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 187) อีกเหตุการณ์หนึ่งที่บ่งถึงความกล้าหาญในการแสดงความคิดเห็น ของอุมัร คือบางส่วนของบทสนทนาระหว่างอบูบักรฺกับอุมัร ขณะที่ท่าน อบูบักรป่วยหนัก (ก่อนเสียชีวิต โดยท่านเรียกอุมัรมาเพื่อสั่งเสียให้เป็น เคาะลีฟะฮ์หลังจากท่าน) ท่านได้กล่าวว่า ท่านมิได้ร้องเรียนต่อท่านรสูล ให้ยึดเอามะกอมอิบรอฮีมเป็นที่ละหมาด แล้วอัลลอฮฺก็ประทานอายะฮฺนี้ ลงมาดอกหรือ?

60

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ْ ُ َّ َ ّٗ َ ُ َ َ ۡ َ َّ ٰ ِ ١٢٥ ... � �‫ وٱ�ِذوا مِن مقام إِب� ِ�ۧم مص‬... ความว่า “จงยึดเอามะกอม(ที่ยืน)ของอิบรอฮีมเป็นที่ละหมาด” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 125) อุมัรฺ : เรื่องเป็นเช่นนั้นจริงๆ อัลฮัมดุลิลลาฮฺ อบูบักรฺ : อุมัรฺ ท่านมิได้พูดดอกหรือว่า “ข้าแต่อัลลอฮฺ ขอพระองค์ ทรงแจ้งให้พวกเราทราบเกี่ยวกับเรื่องสุราด้วยเถิด แท้จริงสุรานารีนั้นท�ำให้ เสียทรัพย์ อับปัญญา” และแล้วอายะฮฺเกีย่ วกับการห้ามดืม่ สุราก็ถกู ประทาน ลงมามิใช่หรือ? َ َ َ ۡ ‫ِين َء َام ُن ٓوا ْ إ َّن َما ٱ‬ َ َ‫س َوٱ ۡل‬ ٞ‫اب َوٱ ۡلَ ۡز َل ٰ ُم ر ۡجس‬ ُ ‫نص‬ َ ‫يأ ُّي َها ٱ َّل‬ ُ ِ ‫ل ۡم ُر َوٱل ۡ َم ۡي‬ ٰٓ ِ ِ َ ۡ ُ ُ َّ َ َّ َ َ � ‫ّم ِۡن ع َم ِل ٱلش ۡي َطٰ ِن فٱ ۡج َتن ِ ُبوهُ ل َعلك ۡم تفل ُِحون‬ ความว่า “ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหิน ส�ำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้ว นั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจาก การกระท�ำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวก เจ้าจะได้รับความส�ำเร็จ” (อัล-มาอิดะฮฺ : 90) อุมัรฺ : ฉันได้พูดเช่นนั้น อัลฮัมดุลิลลาฮฺ อบูบักรฺ : ท่านมิใช่หรือที่คัดค้านท่านนบี มิให้ละหมาดญะนาซะฮฺให้ แก่ศพของอับดุลเลาะฮฺ อิบนุ อุบัยฺ อิบนิ สะลูล ผู้เป็นมุนาฟิกแล้วหลังจาก นั้นเพียงเล็กน้อย อัลลอฮฺ ก็ประทานอายะฮฺต่อไปนี้ลงมา

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

61


َ ٰ َ َ ۡ ُ َ َ َ ٗ َ َ َ َّ ُ ۡ ّ َ َ ٰٓ َ َ ّ َ ُ َ َ ۡ ٓ ٨٤ ... ‫�هِۖۦ‬ ِ � � ‫و� تص ِل � أح ٖد مِنهم مات �بدا و� �قم‬ ความว่า “และเจ้า(มุฮัมหมัด) จงอย่าละหมาดให้แก่คนใดในหมู่ พวกเขา (มุนาฟิกีน) ที่ตายไปเป็นอันขาด และจงอย่ายืนที่หลุมศพของ เขาด้วย...” (อัต-เตาบะฮฺ : 84) อุมัร : ใช่แล้วฉันได้ท�ำเช่นนั้น อัลฮัมดุลิลลาฮฺ อีกเหตุการณ์หนึ่งที่บ่งถึงความกล้าในการเผชิญหน้ากับศัตรูของ อัลลอฮฺ ท่านอะลี อิบนุ อบีฏอลิบ ได้ฉายภาพความกล้าหาญของ ท่ า นอุ มั รฺ ใ นเหตุ ก ารณ์ นี้ ว ่ า “ทุ ก คนที่ อ พยพไปยั ง มะดี น ะฮฺ เท่ า ที่ ฉั น ทราบแล้ว ล้วนอพยพอย่างเงียบๆ กันทุกคน เว้นแต่อุมัร อิบนุลค็อฏฏอบ เพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งเมื่อท่านต้องการจะอพยพ ท่านถือดาบ ควบม้า และกุมลูกธนูจ�ำนวนหนึ่งไว้ในอุ้งมือ แล้วตรงมายังกะอฺบะฮฺซึ่งมีหัวหน้า พวกกุร็อยชฺอยู่บริเวณลานรอบๆ แล้วท่านก็เฏาะวาฟเจ็ดรอบ เสร็จแล้ว มาละหมาดหลังมะกอมอิบรอฮีมสองร็อกอะฮฺ จากนั้นท่านก็ได้มาที่วงล้อม ของพวกเขา ทีละกลุ่มทีละกลุ่ม ท่านกล่าวว่า “เสียหน้ากันแล้วล่ะทีนี้ ผู้ใด ต้องการพลัดพรากจากแม่ ต้องการจะให้ลูกเป็นเด็กก�ำพร้า และให้ภรรยา เป็นหญิงหม้ายก็ขอเชิญเจอกับฉันบริเวณหลังที่ลุ่มนี้ได้เลย” ซึ่งปรากฏว่า ไม่มีใครตามท่านไปเลย” (al-Nawawiy,n.d.: 1/492) นี่คือบางแง่มุมของความกล้าหาญที่เกิดขึ้นในหน้าประวัติศาสตร์ แต่เรื่องสุดท้ายนี้เป็นเรื่องของความกล้าหาญที่สะเทือนใจคนอย่างผมเป็น อย่างมาก และคิดว่าพี่น้องทุกท่านคงจะคิดหรือมีความรู้สึกไม่ต่างกันไป สักเท่าไหร่นั่นคือเรื่องของสตรีนางหนึ่งในยุคของท่านนบี ผู้เป็นครูแห่ง โลกใบนี้ และเรื่องราวของสตรีนางนี้ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านนบีก็สอนโลกทั้ง 62

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ใบหลังจากนางเช่นเดียวกัน ใช่! นางคือหนึ่งในเศาะหาบียะฮฺผู้ยิ่งใหญ่ สตรี ที่เต็มไปด้วยศรัทธา ความรักและความจริงใจต่ออัลลอฮฺ รสูล และศาสนา ของนาง ผู้ที่ท�ำให้บุรุษที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญในการแสดงความ คิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาเช่นท่านอุมัรต้องสะอึก เล่าจากบุร็อยดะฮฺ ว่า “แท้จริงมาอิซ อิบนุ มาลิก อัล-อัสละมี ได้มาหาท่านรสูลุลลอฮฺ แล้วกล่าวว่า “ท่านรสูลครับ แท้จริงผมได้ อธรรมต่อตัวเอง ผมท�ำซินา (การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานตามหลัก การศาสนา-ผู้เขียน) และแท้จริงผมต้องการให้ท่านช�ำระผมให้สะอาดจาก บาป” แต่ท่านนบีปฏิเสธเขา แล้วในวันรุ่งขึ้นเขาก็มาหาท่านรสูลอีกครั้ง แล้วกล่าวว่า “ท่านรสูลุลลอฮฺครับ แท้จริงผมได้ท�ำซินา” แต่ท่านนบีก็ ปฏิเสธเขาเป็นครั้งที่สอง แล้วท่านรสูลุลลอฮฺก็ส่งเศาะหาบะฮฺคนหนึ่งไป ยังกลุ่มชนของมาอิซเพื่อถามเกี่ยวกับเขาว่า “พวกท่านรู้หรือไม่ว่าสติ ปัญญาของเขาบกพร่อง? หรือมีบางสิ่งจากเขาที่พวกท่านไม่ยอมรับมัน หรือเปล่า?” กลุ่มชนของมาอิซก็กล่าวว่า “ในความเห็นของพวกเรานั้น เขาถือว่าเป็นหนึ่งในผู้มีสติปัญญาดีเยี่ยมในหมู่พวกเราเลยล่ะ” แล้วมาอิซก็มาหาท่านนบีเป็นครัง้ ทีส่ ามซึง่ ท่านรสูลก็สง่ เศาะหาบะฮฺ ไปยังกลุม่ ชนของเขาอีกครัง้ แล้วถามถึงรายละเอียดเดิม กลุม่ ชนของมาอิซ ก็แจ้งว่าเขานั้นไม่มีสิ่งใดผิดปกติเลยทั้งสติปัญญาและเรื่องอื่นๆ เช่นนั้น เมื่อเขากลับมาหาท่านนบีในครั้งที่สี่ท่านจึงสั่งใช้ให้ผู้คนลงโทษเขาตาม บทบัญญัติ แล้วผู้คนก็ท�ำการปาหินใส่เขาจนถึงแก่ชีวิต แล้วบุร็อยดะฮฺก็เล่าต่อว่า จากนั้นก็มีสตรีนางหนึ่งจากเผ่าอัลฆอมิดียะฮฺมาหาท่านนบีแล้วกล่าวว่า “ท่านรสูลุลลอฮฺคะ แท้จริงดิฉัน ได้ท�ำซินา ขอท่านช่วยช�ำระดิฉันให้สะอาดด้วยเถอะค่ะ” และท่านนบี เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

63


ก็ปฏิเสธนาง แล้วเมื่อถึงวันรุ่งขึ้นนางก็มายังท่านนบีอีกครั้งแล้วกล่าว ว่า “ท่านรสูลุลลอฮฺคะ เหตุใดท่านจึงปฏิเสธดิฉันหรือคะ? หรือว่าท่าน ต้องการจะปฏิเสธดิฉันเหมือนที่ท่านได้ปฏิเสธมาอิซมาแล้ว? ขอสาบาน ต่ออัลลอฮฺเลยว่าแท้จริงดิฉันตั้งท้องแล้ว (เพื่อยืนยันว่านางได้ท�ำซินาจริง จนกระทั่งตั้งท้อง-ผู้เขียน) ท่านรสูลจึงกล่าวว่า “มิใช่เช่นนั้นหรอก เธอ จงกลับไปก่อนเถอะ แล้วเมื่อเธอคลอดเธอค่อยกลับมาหาฉันก็แล้วกัน” บุร็อยดะฮฺเล่าต่อไปว่า เมื่อนางคลอดแล้ว นางจึงมาหาท่านนบี พร้อมด้วยทารกตัวน้อยๆ ที่ถูกห่อในผ้าขี้ริ้ว แล้วนางก็กล่าวว่า “ดิฉัน คลอดแล้วค่ะ นี่คือเด็กที่เป็นลูกของดิฉัน” ท่านนบีจึงกล่าวว่า “เธอจง กลับไปก่อนเถอะ กลับไปให้นมเขาจนกว่าเขาจะหย่านมแล้วค่อยมาหา ฉันก็แล้วกัน” เมื่อเด็กน้อยหย่านม นางก็มาหาท่านนบีพร้อมกับเด็กน้อย ที่มีขนมปังชิ้นเล็กๆ อยู่ในมือ (เป็นหลักฐานว่าเด็กหย่านมและเริ่มกิน อาหารอื่นๆ จากนมแม่ อันเป็นข้อตัดสินว่าเด็กหย่านมแล้ว-ผู้เขียน) แล้ว นางก็กล่าวว่า “ลูกของดิฉันหย่านมแล้วค่ะท่านรสูลุลลอฮฺ และเขาก็กิน อาหารอื่นๆ ได้แล้ว” แล้วท่านนบีก็ฝากเด็กน้อยคนนั้นให้เศาะหาบะฮฺท่านหนึ่งรับไป เลี้ยงดู จากนั้นท่านก็สั่งให้ผู้คนลงโทษนางด้วยวิธีการขว้างหิน ผู้คนก็ท�ำ ตามค�ำสั่งของท่านนบี แล้วคอลิด บุตรของ อัลวะลีด ก็หยิบหินก้อนหนึ่ง ขว้างไปยังศรีษะของนางจนเลือดสาดกระเซ็นไปเปรอะหน้าของคอลิด เขาจึงด่าทอนาง แล้วท่านนบีของอัลลอฮฺ ก็ได้ยินค�ำด่าของคอลิด ที่มีต่อนาง ท่านนบีจึงกล่าวว่า “หยุดเถอะคอลิด ฉันขอสาบานต่อผู้ซึ่ง ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่าแท้จริงนางได้เตาบะฮฺแล้ว ซึ่งหากผู้ที่เรียกเก็บภาษีจากชาวบ้านโดยไร้สิทธิอันชอบธรรม (เชคอับดุล มุหสฺ นิ อัลอับบาด หะฟิเซาะฮุลลอฮฺ ได้อธิบายว่าการกระท�ำเช่นนีถ้ อื เป็นบาป 64

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ที่อันตรายมากและการลงโทษของมันก็ร้ายแรงมากเนื่องจากคนที่ท� ำเรียก เก็บภาษีจากผู้อื่นโดยอธรรมนั้นเขาจะมีคู่กรณีจ�ำนวนมากในวันกิยามะฮฺ ซึ่งเขาจะต้องชดใช้การอธรรมของเขาด้วยความดีที่เขาสั่งสมไว้ หรือที่หนัก กว่ า นั้ น เขาก็ ต ้ อ งแบกรั บ บาปของบรรดาผู ้ ที่ ถู ก เขาอธรรมดั ง ที่ มี ห ะดี ษ รายงานเอาไว้ถึงผู้ที่ล้มละลายในวันกิยามะฮฺ กระนั้นก็ตามแม้ว่าการกระท�ำ ดังกล่าวจะเลวร้ายเพียงใด หากแต่ผู้กระท�ำได้เตาบะฮฺดังที่สตรีจากเผ่าอัลฆอมิดยี ะฮฺได้เตาบะฮฺแล้วไซร้ เขาก็ยอ่ มได้รบั การอภัยโทษ-ผูเ้ ขียน) ได้เตาบะฮฺ เช่นนางนี้เขาก็จะได้รับการอภัยโทษ” แล้วท่านนบีก็สั่งให้ผู้คนละหมาด แก่นางโดยท่านเป็นอิมาม จากนั้นนางก็ถูกน�ำไปฝัง” (บันทึกโดยมุสลิม) อีกรายงานหนึ่งจากสุนันอัดดาริมีย์ และอัล-มุอฺญัม อัล-กะบีร ของ อัฏ-เฏาะบะรอนี มีส�ำนวนเพิ่มเติมว่า “ท่านนบีจึงสั่งให้ใช้เชือกผูกนางเอา ไว้และลงโทษนางด้วยการปาก้อนหินจนกระทั่งนางเสียชีวิต จากนั้นท่าน จึงได้ละหมาดให้แก่ศพของนาง อุมัร อิบนุลค็อฏฏอบ จึงกล่าวแก่ท่านนบีว่า “โอ้ท่านรสูลุลลอฮฺ ท่านจะละหมาดให้นางทัง้ ๆ ทีน่ างเป็นหญิงทีเ่ คยกระท�ำซินากระนัน้ หรือ?” ท่านรสูลจึงตอบอุมัรว่า “นางได้ส�ำนึกผิดแล้ว และการส�ำนึกผิด ของนางนั้นมากพอที่จะลบล้างความผิดให้แก่ชาวมะดีนะฮฺได้ถึง 70 คน ท่านจะพบใครอีกเล่าที่ดีไปกว่าสตรีซึ่งยอมเสียสละชีวิตของนางเองเพื่อ อัลลอฮฺ?” ความกล้าในการยอมรับผิดหลังจากกระท�ำความผิด อีกทั้งส�ำนึก ผิดและหาทางแก้ไขตามวิธีการที่ถูกต้อง สิ่งนี้คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้กับ คนที่ไร้ศรัทธา หรือศรัทธาอ่อนปวกเปียกดั่งดินน�้ำมันที่ตากแดดเป็นเวลา นานอย่างแน่นอน เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

65


แม้ว่านางจะเคยผิดพลาดกระท�ำสิ่งที่เป็นบาปใหญ่ร้ายแรงและส่ง ผลร้ายต่อทัง้ ตัวนางและสังคม แต่นนั่ คือช่วงเวลาทีม่ นุษย์มโี อกาสจะอ่อนแอ มิใช่หรือ? หรือพวกเราไม่เคยที่จะอ่อนแอและคล้อยตามความชั่วเลยสักครั้ง หนึ่ง? มันส�ำคัญตรงที่หลังจากกล้าที่จะท�ำความผิด นางมีความกล้าหาญ ในการแก้ไขความผิดนั้นต่างหากเล่า (ขออัลลอฮฺทรงพอพระทัยในตัวนาง) ลองตรองดูเถิดโอ้ผศู้ รัทธาทัง้ หลาย กว่าทีน่ างจะรูว้ า่ นางท้องก็นา่ จะ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือนไปแล้ว เมื่อนางมาหาท่านนบีเพื่อขอรับการช�ำระ โทษ เพราะนางไม่ปรารถนาที่จะกลับไปพบอัลลอฮฺในสภาพที่แปดเปื้อน มลทิน ท่านนบีสั่งให้นางกลับไปจนกว่าจะคลอดเด็กในท้องเสียก่อนซึ่งการ ตั้งท้องโดยทั่วไปใช้เวลา 9 เดือน แสดงว่านางมีเวลา 6 เดือนหลังจากที่กลับ มายังบ้านของนางตามค�ำสั่งของท่านนบี 6 เดือนที่น่าจะเพียงพอให้นางเกิด ความกลัวในการลงโทษอันหมายถึงชีวิตของนาง เป็นระยะเวลาครึ่งปีที่นาง สามารถจะหลบหนีไปยังเมืองอื่นหรือแคว้นใดก็ได้ที่อยู่แสนไกลในโลกใบ นี้ แต่ด้วยความส�ำนึกผิดอย่างแท้จริงและละอายต่ออัลลอฮฺ และด้วยความ รักของนางที่จะกลับไปพบพระองค์ในสภาพที่ใสสะอาด นางจึงยังคงมีความ กล้าหาญที่จะสละชีวิตเพื่ออัลลอฮฺ และศาสนาของนาง นางกลับมาหาท่าน นบีอีกครั้งและต้องกลับไปยังบ้านของนางอีกครั้งเพื่อให้นมแก่ลูกของนาง เป็นระยะเวลา 2 ปีเต็ม นางก็มิได้เกรงกลัวในความตายอันเป็นโทษที่นาง สมควรจะได้รบั ระยะเวลาอันเนิน่ นานไม่ได้ทำ� ให้ความเสียใจของนางเปลีย่ น ไปแม้แต่น้อย นางกลับมาหาท่านนบีเพื่อรับโทษ และนางก็ได้รับการช�ำระ จากท่านนบีตามที่นางประสงค์ โอ้พี่น้องที่รัก ความกล้าหาญนี้เองที่อัลลอฮฺสรรเสริญนางผ่าน ท่านนบีดังค�ำที่ท่านนบีได้ตอบแก่คอลิดและอุมัร และท่านนบียังเป็นผู้น�ำ ละหมาดให้แก่นาง ขอดุอาอ์ให้อัลลอฮฺทรงอภัยโทษแก่นาง เมตตานาง 66

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ให้ความปลอดภัยแก่นาง ยกโทษแก่นาง ช�ำระนางให้สะอาดด้วยน�้ำจาก ลูกเห็บและหิมะ ขจัดมลทินจากบาปและข้อผิดพลาดที่แปดเปื้อนนาง เหมือนกับการที่ผ้าขาวถูกซักให้สะอาดจากคราบสกปรก ป้องกันนางจาก การลงโทษในหลุมฝังศพและในนรก และให้นางได้ที่พ�ำนักอันงดงามใน สวรรค์ ฯลฯ เหมือนดุอาอ์ที่ท่านสอนแก่พวกเราให้ขอแก่ญาติพี่น้องของ เราที่เสียชีวิตนั่นล่ะ พี่น้องที่รักในอัลลอฮฺครับ หากวันนี้เราเป็นหนึ่งในคนที่กล้าหาญ อาจหาญในการฝ่าฝืนอัลลอฮฺ ถึงเวลาหรือยังที่เราจะเป็นผู้กล้าหาญดั่ง วีรสตรีผู้นี้บ้าง ถึงเวลาหรือยังที่เราจะกล้ายอมรับผิดในสิ่งที่ตนเองกระท�ำ ถึงเวลาหรือยังที่จะแสดงความรับผิดชอบและหาทางแก้ไขความเสียหายที่ เกิดขึ้น เราคงไม่มีวันไปถึงระดับความศรัทธาของสตรีนางนี้ได้ หากเพียง ความผิดเล็กๆ น้อยๆ เรายังไม่กล้าแสดงความรับผิดชอบ การอธรรมเล็กๆ น้อยๆ ต่อพี่น้องเรายังไม่กล้าขออภัย… ช่างขี้ขลาดเสียนี่กระไร โอ้ผู้ที่แสร้ง ท�ำเป็นกล้าหาญทั้งหลาย

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

67


อิคลาศ หนทางแห่งการรอดพ้น

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ องค์อภิบาลแห่งโลก ทั้งผอง ผมขอสรรเสริญต่อพระองค์ผู้ซึ่งที่ความบริสุทธิ์ยิ่งเป็นของพระองค์ เท่านัน้ และผมขออภัยโทษต่อพระองค์ และผมขอการประสาทพรและศานติ จงประสบแด่มุฮัมมัดผู้เป็นบ่าวของอัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ ตลอดจน วงศ์วานของท่านและสหายร่วมศรัทธาของท่านทั้งมวล โอ้พนี่ อ้ งผูม้ คี วามประเสริฐทัง้ หลาย ผมขอต่ออัลลอฮฺ อัซซะ วะญัลละ ผู้ซึ่งทรงเปิดหัวอกของพวกท่านทั้งหลายให้มีความศรัทธา ขอพระองค์ทรง ให้พวกท่านทั้งหลายได้ดื่มน�้ำจากบ่อน�้ำของนบีของพวกท่านซึ่งเป็นการดื่ม อย่างโอชะและพวกท่านจะไม่กระหายอีกต่อไปหลังจากการดื่มนั้น โอ้พี่น้องที่รักผู้ทรงเกียรติทั้งหลาย แท้จริงแล้วอัลลอฮฺเท่านั้นคือ ผู้ทรงประทานฮิดายะฮฺให้แก่พวกท่านเพื่อที่พวกท่านจะได้ถือศีลอดและ ละหมาดกิยามุลลัยลฺ และอัลลอฮฺ ญัลละวะอะลา จะไม่ทรงประทานฮิดายะฮฺ ให้แก่ใครอื่นนอกจากผู้ที่พระองค์ทรงรักใคร่เพื่อที่พวกเขาจะได้อิบาดะฮฺต่อ พระองค์และเชือ่ ฟังค�ำสัง่ ต่างๆ ของพระองค์ โอ้อลั ลอฮฺขอพระองค์ทรงท�ำให้ พวกเราได้เป็นหนึ่งในหมู่ผู้ที่พระองค์ทรงรักใคร่ด้วยเถิด โอ้พี่น้องผู้ทรงเกียรติของผม สิ่งที่ผมจะน�ำเสนอต่อพวกท่านในเวลา สั้นๆ นี้ ผมจะน�ำเสนอประเด็นหนึ่งซึ่งมีความส�ำคัญอย่างมากต่อมุสลิมและ


มุสลิมะฮฺทุกๆ คน และที่มันมีความส�ำคัญเช่นนั้นก็อันเนื่องมาจากว่ามัน เป็นพื้นฐานของทุกการงาน และเป็นรากฐานที่การงานนั้นๆ จะถูกตอบรับ อีกด้วย พึงทราบเถิดว่าสิ่งนั้นคือ “อัล-อิคลาศ” การละหมาดที่ไม่มีความอิคลาศก็จะไม่มีผลตอบแทนใดๆ หัจญ์ที่ ไม่มีความอิคลาศก็จะไม่มีรางวัลใดๆ และการบริจาคที่ไม่มีความอิคลาศก็ ถือว่าไร้ค่า “อัล-อิคลาศ” ผมจะน�ำเสนอมันอย่างง่ายๆ ในสามหัวข้อ นั่น คือ อะไรคือความอิคลาศ? ความประเสริฐของความอิคลาศ และอิทธิพล ของความอิคลาศต่อบรรดามุคลิศ

ความประเสริฐของการมีความอิคลาศ ประการแรก อั ล -อิ ค ลาศจะท� ำ ให้ ท ่ า นรอดพ้ น จากการกระซิ บ กระซาบและการล่อลวงของชัยฏอน ซึ่งหลักฐานก็คือการสารภาพของ ชัยฏอนในสภาพของตัวมันเองดังที่องค์อภิบาลผู้ทรงอ�ำนาจได้ทรงเล่า เอาไว้ว่า َ َ َ َ َ َّ َ ۡ َ َّ ۡ ُ َ َ َ ‫اد َك م ِۡن ُه ُم ٱل ۡ ُم ۡخلَص‬ َ ‫�ع‬ ٨٣ � ‫ إِ� عِب‬٨٢ � ِ ‫قال فبِعِ َّزت ِك �غوِ َ�ن ُه ۡم أ‬ ِ ความว่า “อิบลีสกล่าวว่า ดังนั้นด้วยพระอ�ำนาจของพระองค์ ท่าน แน่นอนข้าพระองค์ก็จะท�ำให้พวกเขาทั้งหมดหลงผิด เว้นแต่ปวง บ่าวของพระองค์ในหมู่พวกเขาที่พระองค์ทรงท�ำให้พวกเขามีใจบริสุทธิ์ เท่านั้น” (ศ็อด : 82-83) ซึ่งการอ่านอายะฮฺในรายงานอื่นๆ จะมีรายงาน ที่อ่านว่า “อัล-มุคลิศีน” แทนการอ่านว่า “อัล-มุคละศีน” ซึ่งจะแปลว่า “เว้นแต่ปวงบ่าวของพระองค์ในหมู่พวกเขาที่มีใจบริสุทธิ์เท่านั้น”

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

69


ประการที่สอง อัล-อิคลาศจะท�ำให้ท่านได้รับความสุขในสวรรค์ ซึ่งหลักฐานในเรื่องนี้ก็คือด�ำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า َ ُ َ ۡ َ ۡ ُ ُ َ َّ َ ۡ َ ۡ ُ َ َ َ َ َّ َ ‫اد ٱ َّ�ِ ٱل ۡ ُم ۡخلَص‬ ‫ون‬ ‫وما �زون إِ� ما كنتم �عمل‬ ٤٠ � ‫ِب‬ ‫ع‬ � ‫إ‬ ٣٩ ِ ِ ُ ۡ َّ ٞ ۡ ۡ ُ َ َ َ ْ ُ َ ُ َ ۡ ُّ ُ َ ُ ٰ َ َ َّ َ ٞ ٰ ‫ت‬ ِ �‫ ِ� ج‬٤٢ ‫ ف�كِه وهم مكرمون‬٤١ ‫أو ٰٓ��ِك لهم رِزق معلوم‬ ٤٣ ‫ٱ�َّعِي ِم‬ ความว่า “และพวกเจ้าจะไม่ได้รับการตอบแทนอื่นใด นอกจาก สิ่งที่พวกเจ้าได้กระท�ำเอาไว้ เว้นแต่ปวงบ่าวของอัลลอฮฺผู้ที่พระองค์ทรง ท�ำให้เขาบริสุทธิ์เท่านั้น ชนเหล่านั้น ส�ำหรับพวกเขาจะได้รับปัจจัยยังชีพ ที่แน่นอน ผลไม้หลากชนิด และพวกเขาก็ได้รับเกียรติ ในสวนสวรรค์ หลากหลายอันรื่นรมย์” (อัศ-ศ็อฟฟาต : 39-43) (โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงให้พวกเราเป็นหนึ่งในพวกเขาด้วยเถิด โอ้องค์อภิบาลของเรา) ประการที่สาม อัล-อิคลาศจะท�ำให้หัวใจของคุณรอดพ้นจากความ เคียดแค้น ความเกลียดชัง ความอิจฉาริษยาและโรคร้ายต่างๆ ในจิตใจ ซึ่ง หลักฐานในเรื่องนี้ก็คือหะดีษที่รายงานโดยอะหฺมัดในหนังสือมุสนัดของท่าน ด้วยสายรายงานเศาะฮีหฺ แท้จริงท่านนบี ได้กล่าวว่า ‫اص َح ُة ُولَا ِة الْ� أَ ْم ِر‬ ُ َ‫) ثَلَاثٌ لَا ي َ ِغ ُّل َعلَ ْي ِه َّن قَ ْل ُب ُم ْس ِل ٍم �إ ْخل‬ َ َ‫ َو ُمن‬، ‫اص ا ْل َع َم ِل ِل َّل ِه‬ ( ‫وم َج َما َع ِة ا ْل ُم ْس ِل ِمي َن‬ ُ ‫َو ُل ُز‬ ความว่า “มีสามประการที่หัวใจของมุสลิมคนหนึ่งๆ จะไม่มีความ 70

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


เคียดแค้นหากด�ำรงอยู่ในมัน นั่นคือ ความอิคลาศในการงานต่างๆ เพื่อ อัลลอฮฺ และการนะศีหะฮฺแก่ผู้ดูแลกิจการงานของปวงมุสลิม (ผู้น�ำ) และ การยึดมั่นในญะมาอะฮฺ” ประการที่สี่ อัล-อิคลาศคือสาเหตุที่จะท�ำให้ประชาชาตินี้จะได้รับ ความช่วยเหลือเหนือศัตรูของพวกเขา ซึ่งหลักฐานในเรื่องนี้ก็คือหะดีษที่ รายงานโดยอัน-นะสาอีดว้ ยสายรายงานเศาะฮีหฺ แท้จริงท่านนบี กล่าวว่า ِ ‫) ِ�إنَّ َما ي َ ْن ُص ُر ال َّل ُه َه ِذ ِه ال� أُ َّم َة ب َِض ِعي ِف َها ب َِد ْع َو ِته ِْم َو َصلا ِته ِْم َو ِ�إخ‬ ( ‫ْلاصه ِْم‬ ความว่า “แท้ทจี่ ริงแล้วอัลลอฮฺจะทรงช่วยเหลือประชาชาตินอี้ นั มี สาเหตุมาจากผู้ที่อ่อนแอในหมู่พวกเขาเท่านั้น ด้วยกับดุอาอ์ของพวกเขา การละหมาดของพวกเขา และความอิคลาศของพวกเขา” โอ้พนี่ อ้ งผูม้ เี กียรติทงั้ หลาย บางทีอลั ลอฮฺทรงช่วยเหลือประชาชาตินี้ ด้วยกับดุอาอ์ของชายผู้เป็นอัมพาตที่วอนขออย่างลับๆ ต่ออัลลอฮฺอยู่ในที่ ละหมาดเฉพาะของเขา และบางครั้งอัลลอฮฺก็ทรงเทิดเกียรติประชาชาติ นี้เนื่องจากดุอาอ์ที่หญิงชราคนหนึ่งได้วอนขอในสุญูดของนาง เช่นนั้นแล้ว ความอิคลาศและดุอาอ์โดยเฉพาะที่มาจากบรรดาผู้อ่อนแอนั้นคืออาวุธที่ ทรงพลานุภาพ

อัล-อิคลาศคืออะไร? อุละมาอ์บางส่วนได้กล่าวว่า (‫)ال إ�خلاص �إفراد الحق بالقصد‬ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

71


ความว่า “อัล-อิคลาศคือการท�ำให้อลั ลอฮฺเป็นเป้าหมายเดียวของ การท�ำอิบาดะฮฺ” และอุละมาอ์บางส่วนได้กล่าวว่า (‫)ال إ�خلاص استواء أ�عمال العبد في الظاهر والباطن‬ ความว่า “อัล-อิคลาศคือการที่บ่าวมีการงานที่เหมือนกันทั้งภาพ ลักษณ์ภายนอกและสิ่งที่อยู่ภายใน” และอุละมาอ์บางส่วนก็กล่าวว่า ‫)ال إ�خلاص أ�ن تعمل عملا لا تريد به منزلة في قلوب الخلق ولا دنيا ولا جاها‬ (‫ �إنما تريد به وجه الله‬، ‫ولا مالا‬ ความว่า “อัล-อิคลาศคือการที่ท่านกระท�ำการงานหนึ่งๆ โดยที่ ท่านไม่ต้องการมีต�ำแหน่งในหัวใจของคนอื่น หรือผลประโยชน์ใดใน ดุนยา หรือเกียรติยศ หรือทรัพย์สนิ แท้จริงสิง่ ทีท่ า่ นต้องการคือพระพักตร์ ของอัลลอฮฺเท่านั้น” ผมได้หยุดอยู่ที่ค�ำนิยามที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับค�ำว่าอิคลาศ ผู้รู้ ซึ่งจะให้ค�ำนิยามแบบนี้ได้นั้นต้องเป็นผู้ที่ได้พยายามในการปรับปรุงหัวใจ ให้มีความอิคลาศจนกระทั่งได้ลิ้มรสชาติของมันมาแล้วอย่างแน่นอน ลอง พิจารณาค�ำนิยามนี้ดูครับ (‫)ال إ�خلاص نسيان رؤية الخلق بدوام النظر �إلى الخالق سبحانه‬

72

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ความว่า “อัล-อิคลาศคือการลืมสายตาของสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย โดยการพิจารณาไปยังผู้สร้างเท่านั้น” ครับ มันคือการลืมสายตาของสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย แล้วมุ่งความ สนใจของเราไปยังอัลลอฮฺผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่งเพียงผู้เดียวเท่านั้น (โอ้อัลลอฮฺ ของพระองค์ทรงให้เราได้เป็นหนึ่งในหมู่พวกเขาด้วยเถิด โอ้องค์อภิบาล แห่งสากลโลก) เช่นนั้นแล้ว ใครกันเล่าคือผู้ที่มีความอิคลาศ (มุคลิศ)? อุละมาอ์บาง ส่วนได้กล่าวว่า (‫)المخلص الذي يعمل العمل ولا يريد أ�ن يحمده الناس‬ ความว่า “มุคลิศ (ผู้มีอิคลาศ) นั้นคือผู้ที่เมื่อเขาได้กระท�ำการงาน ใดๆ เขาจะไม่ต้องการค�ำสรรเสริญจากมนุษย์” แล้วพวกเขาต้องการจากใคร? ใช่ พวกเขาต้องการการสรรเสริญ การชื่นชมจากอัลลอฮฺเท่านั้น และอุละมาอ์บางส่วนได้กล่าวว่า (‫)المخلص من يخفي حسناته وطاعاته كما يخفي سيئاته‬ ความว่า “มุคลิศนั้นคือผู้ที่ปกปิดความดีและการภักดีต่างๆ ของ เขา เช่นเดียวกับที่เขาปกปิดความผิดต่างๆ ของเขาให้พ้นจากการล่วงรู้ ของมนุษย์”

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

73


และอุละมาอ์บางส่วนได้กล่าวว่า (‫)ال إ�خلاص أ�ن يستوي عنده مادحه وذا ّمه‬ ความว่า “อัล-อิคลาศคือผู้ที่รู้สึกว่าผู้ที่ชมเชยเขาและผู้ที่ต�ำหนิ เขานั้นมีสถานะเท่าเทียมกัน” และนี่คือระดับที่สูงส่งยิ่ง และยังมีระดับที่สูงส่งยิ่งกว่านั้นซึ่งเหมาะสมอย่างยิ่งที่เราจะเรียนรู้ และพยายามเพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเราให้ไปถึงระดับนั้น จิตใจของมนุษย์นั้น มีธรรมชาติอย่างหนึ่งโอ้ผู้เป็นที่รักทั้งหลาย แท้จริงจิตใจนั้นจะรักค�ำชมเชย และรังเกียจค�ำต�ำหนิ ทว่าการที่จะปรับจิตใจให้ยอมรับผู้ที่ต�ำหนิว่ามีสถานะ เท่าเทียมกันกับผู้ที่ชมเชยนั้นมันเป็นสิ่งที่ยากล�ำบากนัก ทว่าเราก็ยังมีความ จ�ำเป็นที่จะต้องต่อสู้อย่างจริงจังเพื่อไปสู่ระดับที่สูงส่งกว่านั้นนั่นคือระดับที่ อุละมาอ์บางส่วนได้กล่าวว่า (‫ويمدحه‬ َ ‫)المخلص من يميل �إلى من ُيذ ّمه وينقُده وينفُر عن من يحمده‬ ความว่า “มุคลิศนั้นคือผู้ที่เอนเอียงไปยังผู้ที่ต�ำหนิเขา และจะ ต�ำหนิพร้อมทั้งหลีกห่างจากผู้ที่สรรเสริญและชมเชยเขา” อุละมาอ์บางส่วนได้กล่าวว่า “เนือ่ งจากผูท้ ตี่ ำ� หนิและตักเตือนท่าน ในข้อบกพร่องต่างๆ ของท่านนัน้ แท้จริงจะเป็นสาเหตุให้ทา่ นได้พยายาม ปรับปรุงมันก่อนที่ความตายจะมาถึง ส่วนผู้ที่สรรเสริญท่านนั้นบางครั้งก็ เป็นสาเหตุให้ความฉ้อฉลเกิดขึ้นในใจของท่านและบางครั้งก็ท�ำให้อีมาน ของท่านอ่อนแอลงหรือถ้าไม่เช่นนั้น ท่านก็ต้องใช้ความพยายามอย่าง หนักที่จะต่อสู้กับจิตใจของท่านเพื่อที่อีมานจะได้ไม่อ่อนแอ นั่น (การ 74

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


สรรเสริญจากผู้คน) ก็นับว่าสร้างอันตรายแก่ตัวท่านอย่างแท้จริงแล้ว” และก็มาถึงประเด็นสุดท้ายนั่นคือชีวิตของบรรดามุคลิศ ผมขอเริ่ม ต้นด้วยชีวิตของบ่าวผู้สมถะคนหนึ่งที่ชื่อซัยนุลอาบิดีน “เขาคือหนึ่ง ในผูท้ มี่ ฐี านะมัง่ คัง่ ในเมืองมะดีนะฮฺและผูค้ นก็คดิ ว่าเขานีล่ ะ่ คือผูท้ ตี่ ระหนี่ ถี่เหนียวอย่างมากเนื่องจากไม่เคยมีใครพบเห็นเขาบริจากเลยสักครั้ง ครั้นเมื่อเขาเสียชีวิตลงบรรดาผู้ที่อาบศพน�้ำให้แก่เขาก็เห็นรอยด�ำบนบ่า ของเขาซึ่งท�ำให้พวกเขาแปลกใจอย่างมากเนื่องจากร่องรอยลักษณะนี้ เกิดขึ้นได้จากสาเหตุเพียงอย่างเดียว คือจากการแบกหามอย่างหนักเป็น ระยะเวลานาน ซึ่งไม่ควรจะเกิดขึ้นกับชายที่ใช้ชีวิตอย่างหรูหราแถมยังมี คนรับใช้และทาสที่คอยปรนนิบัติแบบเขาและเราไม่เคยเห็นเขาแบกหาม อะไรด้วยตัวเองเลยสักครั้ง แล้วคนหนึ่งในครอบครัวของเขาก็กล่าวว่า “ผมจะเปิดเผยความ ลับให้พวกท่านรู้ แท้จริงแล้วซัยนุลอาบิดีนจะรอให้ครอบครัวของเขา หลับกันหมดเสียก่อน จากนั้นเขาก็จะแบกถุงแป้งหลายถุงขึ้นบนบ่าแล้ว มุ่งสู่บ้านหลายหลังของบรรดาผู้ที่ยากจนขัดสนท่ามกลางความมืดมิดใน ยามค�่ำคืนแล้วเขาก็ไปถึงประตูบ้านเหล่านั้นในสภาพที่ปกปิดใบหน้าของ เขาแล้วเขาก็วางถุงแป้งลงที่หน้าประตูบ้านแล้วเขาก็กลับไป นอกจากนี้ เขายังน�ำเสื้อผ้าและอาหารไปให้คนยากจนทั้งหลายด้วยวิธีเดียวกันนี้ เมื่อยามเช้ามาถึงบรรดาผู้ยากจนขัดสนก็ต่างพูดคุยกันว่าเราเคย ได้รบั อาหารส�ำหรับเราและลูกๆ ของเราและเสือ้ ผ้าของลูกๆ ของพวกเรา จากชายนิรนามคนหนึ่งซึ่งเหมือนกับว่าเขารู้จักเด็กๆ เป็นอย่างดี และคน ยากจนขัดสนคนอื่นๆ ก็พูดในท�ำนองเดียวกันนี้

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

75


แล้วพวกเขาก็กล่าวว่าเมื่อซัยนุลอาบิดีนได้เสียชีวิตลงสิ่งที่พวก เขาได้รับในยามค�่ำคืนมาตลอดก็หยุดลง พวกเขาจึงมั่นใจแน่นอนว่าชาย ผู้ที่ปิดบังใบหน้าแม้กระทั่งในยามค�่ำคืนที่มืดมิดเพื่อน�ำอาหารและเสื้อผ้า มาให้พวกเขาและลูกๆของพวกเขานั้นคือชายที่ชื่อซัยนุลอาบิดีน พวกเขาจึงนับบ้านต่างๆ ของผู้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือซึ่งปรากฏว่า มีทั้งหมดหนึ่งร้อยหลังจากครอบครัวของคนยากจนขัดสนที่ชายคนนี้ได้ ช่วยเหลือพวกเขาอย่างลับๆ มาก่อน” ซัยนุลอาบิดีน เรื่องที่สองที่ผมขอใช้เป็นการปิดการพูดคุยในวันนี้ก็คือ เรื่องราวขอ งดาวูด อิบนุ อบีฮินดฺ บ่าวผู้สมถะ อุละมาอ์ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับเขาให้เราได้ รับรู้ซึ่งหากว่ามันไม่มีสายรายงานที่เศาะฮีหฺ มารับรองแล้วเราก็จะไม่เชื่อ อย่างเด็ดขาด พวกเขากล่าวว่า “ดาวูดถือศีลอดสุนนะฮฺถึงสี่สิบปีโดยที่ ไม่มีใครรู้แม้แต่ครอบครัวของเขาเอง” ผมกล่าวว่า “สุบหานัลลอฮฺ แม้แต่ ครอบครัวของเขาก็ไม่รกู้ ระนัน้ หรือ? แล้วใครกันทีเ่ ตรียมอาหารสะหูรและ อาหารละศีลอดให้แก่เขา?” อัซ-ซะฮะบี ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน ได้กล่าวว่า “ดาวูดอิบนุ อบีฮินดฺนั้นท�ำงานเป็นพนักงานขายเสื้อผ้าซึ่งร้านของเขาอยู่ในตลาด เขาจะน�ำอาหารเช้าจากบ้านออกไปในทุกเช้าตรู่และเขาจะมอบอาหาร นั้นให้ผู้อื่นที่อยู่ระหว่างทางและเขาจะอยู่ในตลาดจนถึงเวลามัฆริบแล้ว จึงกลับมาทานอาหารเย็นที่บ้านร่วมกับครอบครัวของเขา นี่เองที่ท�ำให้ ครอบครัวของเขาคิดว่าเขาได้น�ำอาหารจากบ้านไปในตอนเช้าแล้วรับ ประทานที่ตลาด ส่วนผู้คนในตลาดก็คิดว่าเขาได้ทานอาหารมาแล้วจาก บ้านของเขา ซึ่งเป็นเช่นนี้อยู่สี่สิบปีจนกระทั่งความลับถูกเปิดเผย” ดาวูด อิบนุ อบี ฮินดฺ

76

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


และค�ำถามที่ควรถามกับตัวเองในตอนนี้ก็คือ ท่านจะเป็นบ่าวที่มี ความอิคลาศได้อย่างไร? ค�ำตอบก็คือด้วยประการต่อไปนี้ท่านจะเป็นบ่าว ที่มุคลิศ ประการแรก ท่านต้องทราบว่าค�ำชมเชยของมนุษย์นนั้ ไม่มปี ระโยชน์ ใดๆแก่ท่านเลยหากว่า ณ อัลลอฮฺแล้วท่านเป็นผู้ที่ถูกต�ำหนิ และค�ำต�ำหนิ ของมนุษย์ก็ไม่ก่ออันตรายใดๆ แก่ท่านได้ หาก ณ อัลลอฮฺแล้วท่านเป็น ผู้ที่ได้รับการชมเชย ประการที่สอง ท่านต้องศึกษาเรื่องราวของบรรดามุคลิศให้มากขึ้น ถอดบทเรี ย นอั น น่ า ทึ่ ง ของพวกเขาแล้ ว น� ำ มาปรั บ ใช้ ใ นชี วิ ต ของท่ า น ครอบครัวของท่าน ประการทีส่ าม ท่านต้องพยายามปกปิดการท�ำดีตา่ งๆของท่านเท่าที่ เป็นไปได้เว้นเสียแต่ว่าในบางครั้งการเปิดเผยในการท�ำดีจะมีประโยชน์ใน ทางศาสนามากกว่า (เช่นการบริจาคอย่างเปิดเผยเพื่อให้ลูกหลานของท่าน ได้ปฏิบัติตาม) ประการที่สี่ ท่านต้องดุอาอ์ต่อองค์อภิบาลของพวกท่าน ญัลละ วะอะลา ให้ประทานความอิคลาศเป็นหนึ่งในปัจจัยยังชีพแก่ท่าน เนื่องจาก หั ว ใจทุ ก ดวงของปวงบ่าวนั้นอยู่ร ะหว่างสองนิ้ วของอั ร -เราะหฺ ม าน ซึ่ ง พระองค์จะทรงพลิกผลันอย่างไรก็ได้ตามพระประสงค์ โอ้อัลลอฮฺโปรดทรง ประทานความอิคลาศให้เป็นหนึ่งในปัจจัยยังชีพของเราด้วยเถิด ประการที่ห้า ท่านต้องรู้ว่าริยาอ์-การโอ้อวดนั้นจะท�ำลายการงาน ของท่าน ฉะนั้นท่านจงระวังการโอ้อวดให้ดี เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

77


ประการทีห่ ก ท่านต้องรูว้ า่ ความอิคลาศนัน้ เป็นรัศมีทอี่ ลั ลอฮฺให้เกิด ขึ้นในหัวใจของปวงบ่าวแม้ว่าเขาจะพยายามปกปิดมัน แต่อัลลอฮฺก็จะให้มัน ปรากฏบนใบหน้าของเขาแก่ผู้ที่ได้พบเห็น - อ้างอิงเนื้อหาจากนะศีหะฮฺ เราะมะฎอน โดย ชัยคฺ วะฮีด อับดิส สลาม บาลี อุละมาอ์ท่านหนึ่งในอียิปต์ ขออัลลอฮฺทรงคุ้มครองท่าน -

78

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ความเข้าใจที่น่าอัศจรรย์ ของบรรดาผู้รู้

พี่น้องที่รักทุกท่านครับ ท่านสบายดีหรือเปล่า? แล้วสถานะความ ผูกพันระหว่างท่านกับอัลลอฮฺเป็นเช่นไรบ้าง? เป็นค�ำถามทีผ่ มอยากจะถามพี่ น้องทุกครั้งที่มีการรวมตัวกันเช่นในวันศุกร์นี้ เป็นค�ำถามที่เมื่อผมถามพี่น้อง แล้ว ผมก็ได้ทบทวนสถานะของผมกับอัลลอฮฺไปพร้อมๆ กันด้วย ครั้งหนึ่งในขณะที่เตรียมเนื้อหาที่จะใช้พูดคุยกับพี่น้องในเรือนจ�ำ ผมอ่านหะดีษบทหนึง่ ซึง่ เป็นหะดีษทีเ่ ราหลายๆ คนน่าจะคุน้ หู และได้ปฏิบตั ิ ตามหะดีษนี้อยู่เป็นเนืองนิจ ทว่าผมไม่เคยเข้าใจเลยถึงสาเหตุและหิกมะฮฺที่ แอบแฝงอยู่ในหะดีษบทนี้ นั่นคือ ‫َع ْن َعا ِئ َش َة َر ِض َي ال َّل ُه َع ْن َها أَ� َّن ال َّنب َِّي َص َّلى ال َّل ُه َعلَ ْي ِه َو َس َّل َم كَا َن ِ�إذَا َخ َر َج ِم ْن‬ ِ ‫ا ْل َغا ِئ‬ ‫ط قَا َل ُغ ْف َرانَ َك‬ ในการบันทึกของอบูดาวูด จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ “เมื่อท่าน รสูล ออกจากสถานที่ขับถ่ายแล้ว ท่านจะกล่าวดุอาอ์ว่า “ َ‫” ُغ ْف َرانَك‬ (โอ้อัลลอฮฺ ฉันขออภัยโทษต่อพระองค์)” ช่างน่าฉงนสนเท่ห์เป็นอย่างยิ่งส�ำหรับผม เหตุผลกลใดหรือที่ท่าน


นบีต้องสอนให้พวกเราขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ เมื่อเสร็จจากกิจปลด ทุกข์ เราท�ำอะไรผิดกระนั้นหรือ? เหนือไปกว่านั้นท่านนบีเองซึ่งเป็นผู้สอน เราซึ่งดุอาอ์บทนี้ก็เป็นผู้ที่ปฏิบัติมันมาก่อนหน้าเราแล้ว และท่านก็เป็น ผู้ที่สอนมารยาทและสุขลักษณะในการขับถ่ายอย่างดีที่สุดให้แก่ประชาชาติ ของท่าน แล้วยังจะมีความผิดใดเกิดกับท่านอีกหรือ ท่านจึงต้องแสวงหาการ อภัยโทษจากอัลลอฮฺทนั ทีทเี่ สร็จกิจ เฉกเช่นเดียวกับทีท่ า่ นได้กระท�ำมันหลัง จากการละหมาด? ด้วยการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ ผมค้นคว้าหาค�ำตอบจนพบเจอค�ำ ตอบแรกที่ท�ำให้ผมรู้สึกต�่ำต้อยเป็นอย่างมาก บรรดาผู้รู้ได้อธิบายหิกมะฮฺ ที่ซ่อนเร้นในดุอาอ์บทนี้เอาไว้ในทัศนะหนึ่งว่า “อันเนื่องมาจากบรรดา ผู้ศรัทธาที่แท้จริงนั้น เมื่อเขาได้พลาดจากการร�ำลึกถึงอัลลอฮฺ (ด้วยลิ้น) ไป เพียงชั่วขณะ (ที่ขับถ่าย เพราะถูกห้ามจากการร�ำลึกถึงอัลลอฮฺ อ่านกุรอาน แม้กระทัง่ การรับสลามทีเ่ ป็นวาญิบ) นัน่ เป็นสาเหตุทเี่ ขาต้องขออภัยโทษจาก อัลลอฮฺแล้วในความบกพร่องนั้น” สุบหานัลลอฮฺ! ความผูกพัน ความรักในอัลลอฮฺ และจิตส�ำนึกขนาด ไหนกัน ที่ท�ำให้พวกเขาสามารถอธิบายดุอาอ์บทนี้ได้ “เพียงชั่วเวลาอึดใจ เดียวที่คุณปลดทุกข์ หากเป็นทุกข์เบาก็น่าจะใช้เวลาราวๆ 2 นาที หากเป็น ทุกข์หนักก็อาจจะใช้เวลาถึง 15 นาที” ใช่! เพียง 2 นาทีที่พวกเขาถูกสั่งห้าม ไม่ให้ร�ำลึกถึงอัลลอฮฺ พวกเขาถือว่าเป็นข้อบกพร่อง ข้อต�ำหนิอันเป็นเหตุผล ที่เพียงพอแล้วที่จะต้องแสวงหาการอภัยโทษจากอัลลอฮฺ ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ! พี่น้องที่รักครับ นี่คือหัวใจของผู้ศรัทธาที่ เที่ยงแท้ ร�ำลึกถึงอัลลอฮฺทุกลมหายใจเข้าออก แล้วตัวเราล่ะครับ อย่าว่าแต่ ร�ำลึกถึงอัลลอฮฺตลอดเวลาเช่นผู้รู้กลุ่มนี้ได้อธิบายไว้เลย เอาเป็นว่าในวันๆ 80

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


หนึ่ง เราร�ำลึกถึงอัลลอฮฺสักแค่ไหน? เรามีการซิกรุลลอฮฺตามวาระโอกาส ที่ท่านนบีได้ท�ำเป็นตัวอย่างเอาไว้หรือไม่? เรามีช่วงเวลาพิเศษที่เราจะอยู่ ล�ำพังกับพระเจ้าของเราหรือเปล่า? ลาเฮาละวะลากูวะตะอิลลาบิลลาฮฺ! เพียงบางช่วงบางตอนในหนึง่ วันทีถ่ กู ก�ำหนดให้รำ� ลึกถึงอัลลอฮฺเราก็บกพร่อง แล้ว นับประสาอะไรถ้าจะให้เราร�ำลึกถึงพระองค์ได้อย่างสม�่ำเสมอ เช่นนี้ แล้วยังไม่เหมาะสมอีกหรือที่เราจะจดจ�ำดุอาอ์สั้นๆ บทนี้ให้ขึ้นใจแล้วน�ำ ไปใช้ทุกครั้งหลักจากการขับถ่าย เพื่อแสวงหาการอภัยโทษจากพระผู้ทรง อภัยยิ่ง ผู้ทรงเมตตายิ่ง พี่น้องที่รักครับ ผมอ่านค�ำอธิบายต่างๆ ต่อไปก็พานพบกับอีกหนึ่ง ทัศนะซึ่งมีน�้ำหนักมากกว่าตามการยืนยันของชัยคฺ อิบนุ บาซ ซึ่งทัศนะ นี้ได้อธิบายและแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างเอาไว้ซึ่งสามารถขยายความได้ ว่า “การทีค่ นๆ หนึง่ ได้หยุดร�ำลึกถึงอัลลอฮฺระหว่างทีป่ ลดทุกข์นนั้ ไม่ถอื เป็น ข้อบกพร่องแต่ประการใด ที่ส�ำคัญได้ผลบุญในการปฏิบัติค�ำสั่งของท่านนบี ทีไ่ ด้หา้ มการพูดคุยใดๆ ในระหว่างขับถ่ายอีกด้วย เช่นนัน้ แล้วเหตุผลทีท่ ำ� ให้ เราต้องขออภัยโทษจากอัลลอฮฺนั้นอันเนื่องมาจากความบกพร่องของเราใน การขอบคุณพระองค์ต่างหาก พี่น้องที่รักลองใคร่ครวญดูเถิด เมื่อแรกเกิดใครกันที่สอนให้ท่านดื่ม นมของมารดาได้โดยอัตโนมัติกอปรกับป้องกันท่านไม่ให้ส�ำลักนม ใครกัน หากไม่ใช่อัลลอฮฺ? เมื่อท่านเยาว์วัยใครกันที่สอนให้ท่านตักอาหารใส่พาชนะ แล้วหยิบหรือตักอาหารใส่ปาก และท�ำให้กล้ามเนื้อของท่านมีแรงพอที่จะ ประคองอาหารค�ำนั้นให้อยู่ในมือหรือในช้อน จนกระทั่งมันได้เข้าไปในปาก ของท่าน เป็นไปได้อย่างไรที่เราสามารถกินหรือดื่มได้แม้ในความมืดมองไม่ เห็นสิ่งใด แต่มือของเราสามารถน�ำอาหารเข้าสู่ปากได้อย่างไม่ยากเย็นเลย หากไม่ใช่การช่วยเหลือและการอนุมตั จิ ากอัลลอฮฺแล้วไซร้ อาหารค�ำนัน้ ย่อม เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

81


ตกลงสูพ่ นื้ ดินหรือต้องแคล้วคลาดจากท่านไปด้วยวิธใี ดวิธหี นึง่ อย่างแน่นอน เมื่อท่านเติบใหญ่ใครกันที่ท�ำให้ท่านมีความรู้ มีวิชาสามารถท�ำมา หาเลี้ยงชีพ มีเงินทองที่สามารถซื้อหาอาหารที่หะลาลมาให้ตัวท่านและ ครอบครัวของท่านได้ เมื่ออาหารเข้าสู่ช่องปากแล้ว ใครกันที่ช่วยให้ท่านสามารถบด เคี้ยวอาหารค�ำนั้นได้ด้วยฟันและลิ้น ใครกันที่ช่วยล�ำเลี้ยงอาหารลงสู่ล�ำคอ ซึ่งเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นของทางเดินอาหารภายในร่างกาย ใครกันที่อนุมัติ ว่าอาหารค�ำนี้ หรือแม้แต่ข้าวเม็ดนี้จะติดคอหรือท�ำให้ท่านส�ำลัก ก้างปลา จะติดคอจนท�ำให้ท่านต้องไปหาหมอ หรืออนุมัติให้ท่านกินอาหารในมื้อนั้น ได้อย่างปลอดภัย ใครกันถ้าไม่ใช่อัลลอฮฺ? เมือ่ อาหารลงสูก่ ระเพาะอาหารแล้ว ใครกันทีช่ ว่ ยเหลือให้ระบบย่อย อาหารได้ทำ� งานอย่างปกติ หลัง่ น�ำ้ ย่อยออกมาไม่มากเกินไปจนท่านปวดท้อง ไม่น้อยเกินไปจนท้องอืด ใครกันที่ให้ระบบดูดซึมสารอาหารและการกักเก็บ พลังงานในรูปแบบต่างๆได้ด�ำเนินไปตามวิถีของมันโดยปกติ จนถึงวาระที่บรรดากากอาหารถูกส่งผ่านล�ำไส้ ใครกันที่ช่วยเหลือ ให้ท่านสามารถขับถ่ายได้อย่างสบายในแต่ละวัน ไม่ท�ำให้ท่านท้องผูกหรือ ท้องเสีย หรือหากเป็นสิง่ ทีเ่ ก็บอยูใ่ นกระเพาะปัสสาวะก็สามารถขับถ่ายออก มาได้อย่างไม่ติดขัด ใครกัน ถ้าไม่ใช่อัลลอฮฺ? ด้วยพระมหากรุณาธิคณ ุ อันล้นพ้นของอัลลอฮฺ เทียบกับการขอบคุณ พระองค์ที่เรามีให้ มันช่างเหลื่อมล�้ำและแตกต่างกันราวฟ้ากับหุบเหว จึงสมควรแล้วที่เราจะต้องขออภัยโทษต่อพระองค์ในทุกๆ ครั้งที่ออกจาก สถานที่ปลดทุกข์ ด้วยส�ำนึกจากก้นบึงของดวงจิตว่าเรายังบกพร่องในการ 82

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ขอบคุณพระองค์อีกมากมาย เพื่อตักเตือนให้ตัวเราท�ำความดีเพื่อแสดงการ กตัญญูรู้คุณมากขึ้น และออกห่างจากการฝ่าฝืนอันเป็นการแสดงออกอย่าง ชัดแจ้งซึ่งการเนรคุณต่อพระองค์

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

83


แนวทางการใช้ชีวิตของเรา หลังเราะมะฎอน

ผู้คนจ�ำนวนไม่น้อยที่หลงไปตามกระแสการล่อลวงของชัยฏอนศัตรู ตัวฉกาจซึ่งหมายหมั้นปั้นมือจะขัดขวางลูกหลานอาดัมทุกวิถีทางไม่ให้ได้ พบสัจธรรม หรือหากพบแล้วก็จะดึงให้ออกห่างอย่างมากที่สุด ด้วยทุก รูปแบบที่มันจะสามารถท�ำได้เพื่อที่บั้นปลายจะได้ไปอยู่เป็นเพื่อนกันใน ขุมนรก ซึง่ มันได้รบั โอกาสอย่างกว้างขวางในการล่อลวงโดยทีร่ ะยะเวลาหนึง่ ปีนั้นพวกมันจะถูกพันธนาการเพียงหนึ่งเดือนเท่านั้น และหากมันสามารถ ล่อลวงใครสักคนหนึ่งในเราะมะฎอนได้แม้ว่าพวกมันจะถูกจองจ�ำ แสดง ว่านโยบายของมันได้ฝังรากลึกในมนุษย์บางกลุ่มไปแล้ว ซึ่งคนเหล่านี้ก็ยัง คงหลงอย่างต่อเนื่องแม้กระทั่งในเดือนเราะมะฎอนก็ตาม แต่จะมีคนอีกกลุม่ หนึง่ ทีพ่ ยายามต่อสูก้ บั แผนการต่างๆ ของพวกมัน มาตลอด ชนะบ้าง แพ้บา้ ง ล้มลุกคลุกคลานไปตามแต่สภาพหรือระดับความ ศรัทธาในช่วงนั้น แต่เมื่อเราะมะฎอนมาถึงพวกเขาต่างปีติยินดีอย่างมากที่ ศัตรูจากภายนอกอย่างชัยฏอนได้หมดโอกาสทีจ่ ะมาข้องแวะกับพวกเขาแล้ว เหลือแต่เพียงจิตใจใฝ่ต�่ำของเขาเพียงล�ำพังเท่านั้นที่จะต้องควบคุมและต่อสู้ ในเดือนที่เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งความดี และแทบจะไม่เห็นบรรยากาศ แห่งความชั่วช้าในสังคมผู้ศรัทธาเลยตลอดเดือนนี้


แล้ ว ก็ มี ผู ้ ค นที่ ป ระสบความส� ำ เร็ จ ในเราะมะฎอน ซึ่ ง ส่ ว นหนึ่ ง พยายามรักษาความเข้มแข็งที่ได้รับในเราะมะฎอนเอาไว้ และอีกส่วนหนึ่ง ก็คิดว่าเพียงพอแล้วกับการล�ำบากตรากตร�ำตลอดเราะมะฎอนด้วยการงาน ต่างๆ ที่ศาสนารับรองว่าถ้าท�ำตามนั้นแล้วจะได้รับการอภัยโทษจากทุกๆ ความผิดบาปที่ผ่านมา ท�ำให้คนกลุ่มนี้นิ่งนอนใจ และค่อยๆ กลับไปเป็น เหมือนเดิมทีละน้อยทีละนิด จนสุดท้ายก็เหมือนกับว่าโรงเรียนเราะมะฏอน มิได้ให้อะไรกับเขาเลย โรงเรียนเราะมะฎอนท�ำให้เขาเป็นเด็กดีได้เฉพาะใน รั้วโรงเรียนเท่านั้น แต่เมื่อก้าวพ้นรั้วออกมาแล้วพวกเขาก็กลับไปมีสภาพ ดังเดิม หรือยิ่งกว่านั้นคือเลวร้ายกว่าเดิม จึงมีความจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องท�ำความเข้าใจถึงความส�ำคัญ ในการยื น หยั ด ด� ำ รงตนเป็ น เด็ ก ดี ข องอั ล ลอฮฺ ไม่ ว ่ า จะอยู ่ ใ นโรงเรี ย น เราะมะฎอนหรือนอกโรงเรียนก็ตามแต่ ซึง่ เราจะน�ำเสนอเหตุผลทีต่ อ้ งยืนหยัด และหนทางสู่การยืนหยัดให้แก่ผู้อ่านทุกท่านในสารเล็กๆ ฉบับนี้

ท�ำไมเรายังคงต้องยืนหยัดหลังจากเราะมะฎอน? 1.พระเจ้าของเราในเราะมะฎอนคือพระเจ้าของเราในทุกเดือน ชาวสลัฟบางท่านกล่าวว่า “ผู้ที่ชั่วช้าที่สุดในหมู่มนุษย์ก็คือผู้ที่ไม่ รู้จักอัลลอฮฺนอกจากในเดือนเราะมะฎอนเท่านั้น” ในภาษาอาหรับเรียก คนเหล่านี้ว่า “‫ ”رمضانيون‬ทว่าพระเจ้าของเรามิได้สอนให้เราเป็นบ่าวที่ดี เพียงเดือนเดียว รูจ้ กั พระองค์เพียงเดือนเดียว เพราะไม่วา่ อะไรจะเปลีย่ นผัน วันเวลาจะเปลีย่ นไป ผูค้ นล้มตาย สรรพสิง่ สูญสลาย แต่พระองค์คอื ‫ الحي‬พระ ผู้ทรงชีวิน พระองค์ยังคงอยู่เสมอ ตลอดมาและตลอดไป เราจึงมีสถานะบ่าว ทีต่ อ้ งรูจ้ กั พระองค์และท�ำการเคารพภักดีพระองค์ตลอดเวลาและทุกสถานที่ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

85


2. ผู ้ ที่ มี ค วามศรั ท ธาที่ ส มบู ร ณ์ นั้ น จะรู ้ สึ ก กระหายความดี ตลอดเวลา ‫قال النبي صلى الله عليه وسلم (لا ي َ ْشبَ ُع ا ْل ُم ْؤ ِم ُن ِم ْن َخ ْي ٍر ي َ ْف َعلُ ُه َح َّتى ي َ ْدخ َُل‬ (‫ا ْل َج َّن َة) (حسنه ال�ألباني‬ ความว่า “คนมุอ์มินนั้นจะไม่อิ่มเอิบจากการท�ำความดีของเขา จนกว่าเขาจะได้เข้าสวนสวรรค์” (ชัยคฺอัล-อัลบานีกล่าวว่าเป็นหะดีษที่ หะสัน)

3. เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดต่อพระองค์เพิ่มขึ้นจนกระทั่งได้ เป็นที่รักของพระองค์ ‫قال الله تعالى في حديث القدسي ( َو َما تَق ََّر َب ِ�إ َل َّي َع ْب ِدي ب َِش ْي ٍء أَ� َح َّب ِ�إ َل َّي ِم َّما‬ (‫ َو َما ي َ َزا ُل َع ْب ِدي يَتَق ََّر ُب ِ�إ َل َّي بِال َّن َوا ِف ِل َح َّتى أُ� ِح َّب ُه) (رواه البخاري‬. ‫ا ْفتَ َر ْضتُ ُه َعلَ ْي ِه‬ อัลลอฮฺ ตรัสในหะดีษกุดสีย์บทหนึ่งความว่า “และไม่มีสิ่งใดที่ บ่าวของเราได้ปฏิบตั เิ พือ่ แสวงหาความใกล้ชดิ กับเราทีเ่ ราจะรักยิง่ ไปกว่า สิง่ ทีเ่ ราก�ำหนดเป็นฟัรฎูแก่เขา และบ่าวของเราจะยังคงพยายามท�ำตัวให้ ใกล้ชิดกับเราด้วยการงานที่เป็นสุนนะฮฺจนกระทั่งเรานั้นรักเขา” (บันทึก โดยอัล-บุคอรี) หะดีษบทนีช้ ชี้ ดั ว่าหากอยากให้อลั ลอฮฺทรงรักต้องเริม่ จากการรักษา สิง่ ทีเ่ ป็นฟัรฎูเสียก่อน ถัดจากนัน้ จึงเพิม่ เติมสิง่ ทีเ่ ป็นสุนนะฮฺเรือ่ ยๆ จนกระทัง่ อัลลอฮฺนั้นรักเรา เราคงไม่อยากให้อัลลอฮฺรักเราเพียงเดือนเดียวแล้วหลัง จากนั้นเราก็ใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ความโกรธกริ้วของพระองค์หรอกใช่ไหม? ใครที่กลับมารักษาสิทธิหน้าที่ต่างๆ ที่พึงมีต่ออัลลอฮฺและเพื่อนมนุษย์ได้ 86

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


แล้วในเราะมะฎอนก็ขอจงรักษามันต่อไปเถิด หวังว่าท่านจะได้เป็นที่รักของ อัลลอฮฺ ผู้ที่พระองค์ยืนยันแล้วว่า ‫ َوي َ َدهُ ا َّل ِتي‬، ‫ َوب َ َص َرهُ ا َّل ِذي ي ُ ْب ِص ُر ِب ِه‬، ‫)فَ ِ إ�ذَا أَ� ْحبَ ْبتُ ُه كُ ْن ُت َس ْم َع ُه ا َّل ِذي ي َ ْس َم ُع ِب ِه‬ ‫ َو َل ِئ ْن ا ْستَ َعا َذ ِني‬، ‫ َو ِ�إ ْن َس أَ� َل ِني لَ� أُ ْع ِطيَ َّن ُه‬، ‫ َو ِر ْجلَ ُه ا َّل ِتي ي َ ْم ِشي ِب َها‬، ‫ي َ ْب ِط ُش ِب َها‬ (‫لَ� أُ ِع ْي َذنَّ ُه ) (رواه البخاري‬ ความว่า “เมื่อเราได้รักเขาแล้ว เราก็จะเป็นหูที่เขาใช้ฟัง เป็นตา ที่เขาใช้มองดู เป็นมือที่เขาใช้หยิบฉวย เป็นเท้าที่เขาใช้ก้าวเดิน หากว่า เขาร้องขอสิ่งใดจากเรา แน่นอนเราก็จะให้สิ่งนั้นแก่เขา และหากว่าเขา ขอความคุ้มครองจากเรา แน่นอนว่าเราจะคุ้มครองเขา” (บันทึกโดย อัล-บุคอรี)

4. เราไม่รู้ว่าการงานที่ท�ำไปแล้วถูกตอบรับหรือไม่? ‫شد اهتماماً من‬ َّ �‫ كونوا لقبول العمل أ‬: ‫قال علي ابن أ�بي طالب رضي الله عنه‬ ﴾٢٧﴿ ‫ ِ�إنَّ َما يَتَ َق َّب ُل ال َّلـ ُه ِم َن ا ْل ُم َّت ِقي َن‬: ‫ أ�لم تسمعوا قول الله عز وجل‬، ‫العمل‬ มีรายงานจากท่านอะลี อิบนุ อะบีฏอลิบ กล่าวว่า “จงเป็นผู้ที่ มีความเอาใจใส่ตอ่ ผลของการตอบรับในการงาน ให้มากยิง่ กว่าการเอาใจ ใส่ในการกระท�ำงานนั้น ท่านมิได้ยินด�ำรัสของอัลลอฮฺ ดอกหรือที่ว่า ‘แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับผลงานจากบรรดาผู้ที่มีความย�ำเกรงเท่านั้น’” (อัล-มาอิดะฮฺ : 27) ‫أ‬ ‫أ‬ ‫أ‬ ‫أ‬ ‫لي‬ ّ ‫ ل إ�ن �ستيقن �ن الله تقبل مني صلاة ً واحدة ً �حب �إ‬: ‫وعن �بي الدرداء قال‬ ﴾٢٧﴿ ‫ ِ�إنَّ َما يَتَ َق َّب ُل ال َّلـ ُه ِم َن ا ْل ُم َّت ِقي َن‬:‫من الدنيا وما فيها �إن الله يقول‬ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

87


และมีรายงานจากอบุดดัรดาอ์ กล่าวว่า “หากฉันได้มั่นใจว่า อัลลอฮฺทรงตอบรับละหมาดของฉันแม้สักครั้งเดียว มันก็เป็นที่รักของฉัน มากกว่าดุนยานี้และสิ่งที่มีอยู่ในมันเสียอีก เพราะแท้จริงอัลลอฮฺตรัสว่า ‘แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับผลงานจากบรรดาผู้ที่มีความย�ำเกรงเท่านั้น’” (อัล-มาอิดะฮฺ : 27) ،( ‫ ( والذين يؤتون ما � آتوا وقلوبهم وجلة‬، ‫ يا رسول الله‬: ‫وعن عائشة; أ�نها قالت‬ ‫ وهو يخاف الله عز وجل؟ قال‬، ‫ هو الذي يسرق ويزني ويشرب الخمر‬: ، ‫ ولكنه الذي يصلي ويصوم ويتصدق‬، ‫ يا بنت الصديق‬، ‫” لا يا بنت أ�بي بكر‬ ‫ رواه ال إ�مام أ�حمد‬. ” ‫وهو يخاف الله عز وجل‬ ، ‫ لا يا بنت الصديق‬: ‫ وقال‬. ‫ به بنحوه‬، ‫وهكذا رواه الترمذي وابن أ�بي حاتم‬ ‫ وهم يخافون أ�لا يقبل منهم‬، ‫ولكنهم الذين يصلون ويصومون ويتصدقون‬ และในรายงานของอะหฺมัดและอัต-ติรมิซี ท่านหญิงอาอิชะฮฺได้ถาม ท่านนบีถึงอายะฮฺที่ว่า “และบรรดาผู้ที่บริจาคสิ่งที่พวกเขาได้มา โดยที่ จิตใจของเขาเปี่ยมได้ด้วยความหวั่นเกรงว่าแท้จริงพวกเขาต้องกลับไป หาพระเจ้าของพวกเขา” (อัล-มุอ์มินูน : 60) “พวกเขาคือคนลักขโมย ท�ำซินาและดืม่ สุรา แล้วจึงเกรงกลัวอัลลอฮฺ หรือคะ? “ท่านนบีตอบว่า “เปล่าเลย โอ้บุตรสาวของอบูบักร, เปล่าเลย โอ้บุตรสาวของอัศ-ศิดดีก, ทว่าเขาคือคนที่ละหมาด ถือศีลอด บริจาค โดยที่ พวกเขาหวั่นเกรงอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลฺ” (บันทึกโดยอะหฺมัด) ในอีกรายงานหนึ่งที่บันทึกโดยอัต-ติรมิซีและอิบนุ อบีหาติม โดย ระบุส�ำนวนนี้ “เปล่าเลย โอ้บุตรสาวของอัศ-ศิดดีก, ทว่าพวกเขาคือกลุ่มชน 88

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ที่ละหมาด ถือศีลอด บริจาค โดยที่พวกเขาก็หวั่นเกรงว่าการงานทั้งหลาย นั้นจะไม่ถูกตอบรับ”

5. หากแม้นว่าการงานเหล่านั้นถูกตอบรับแล้ว เราก็ยังไม่รู้ว่ามัน จะท�ำให้เรารอดพ้นจากการลงโทษในนรกหรือไม่ ‫ يعملون ما‬: ‫ { َوا َّل ِذي َن ي ُ ْؤتُو َن َما �آتَوا َّوقُلُوب ُ ُه ْم َو ِجلَ ٌة} قال‬: ‫وعن الحسن قال‬ .‫ وهم يخافون أ�لا ينجيهم ذلك من عذاب ر بهم‬،‫عملوا من أ�عمال البر‬ อัล-หะสัน อัล-บัศรี ได้อธิบายอายะฮฺ “และบรรดาผู้ที่บริจาค สิ่งที่พวกเขาได้มา โดยที่จิตใจของเขาเปี่ยมได้ด้วยความหวั่นเกรง” (อัล-มุอ์มินูน : 60) โดยท่านกล่าวว่า “พวกเขายังคงปฏิบัติสิ่งที่เป็นคุณงาม ความดีต่างๆ เช่นที่เขาเคยปฏิบัติมาแล้ว ขณะเดียวกันพวกเขาก็หวั่นเกรง ว่าการงานทั้งหมดที่ได้กระท�ำไปแล้วและยังคงรักษาอยู่นั้นจะไม่ช่วยเหลือ เขาให้รอดพ้นจากการลงโทษของอัลลอฮฺ”

6. เพื่อเป็นบ่าวที่กตัญญูรู้คุณ เนื่องด้วยความเมตตาและโปรดปรานอย่างยิ่งที่พระองค์ทรงให้เรา ได้ท�ำการงานที่พระองค์ทรงรักตลอดเราะมะฎอนจนครบถ้วนด้วยความ ง่ายดาย ซึ่งส่งผลให้เรากลายเป็นบ่าวที่พระองค์ทรงรัก หากว่าการงานเหล่า นั้นถูกตอบรับ เราก็ได้รับการอภัยโทษจากทุกความผิดที่ผ่านมาแล้ว เราได้ รับการปลดปล่อยจากไฟนรกแล้ว เราเตรียมที่จะไปรับผลบุญอันมิอาจคิด ค�ำนวณหรือคาดคะเนของการถือศีลอดจากพระองค์ในวันกิยามะฮฺ และ ความดีงามอื่นๆ ที่เรามิอาจสาธยายได้หมด จึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่เราจักต้อง ขอบคุณพระองค์ดังที่พระองค์ตรัสว่า เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

89


َ ُ َ َ ُ ۡ َ ُ َّ َ ُ َ َ َّ ‫�وا ْ ٱ‬ ُّ‫ك‬ َٰ َ � ١٨٥ ‫� َما ه َدٮٰ� ۡم َول َعل� ۡم �شك ُرون‬ ِ ِ�‫ و‬... ความว่า “...และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ความเกรียงไกรแด่อัลลอฮฺ ในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะน�ำแก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 185) ใครกันที่ท�ำให้เรากลับมาละหมาดอย่างระมัดระวังในรายละเอียด ต่างๆ รักษาเวลา อยู่ร่วมกับญะมาอะฮฺมากเท่าที่จะมากได้ทั้งฟัรฎูและ สุนนะฮฺ? ใครกันที่ท�ำให้เราถือศีลอดได้ตลอดทั้งเดือนโดยไม่พบกับความ ยากล�ำบาก? ใครกันที่ท�ำให้เรามีความสุขในการซิกรุลลอฮฺ ในการขอดุอาอ์ ในการอ่านอัล-กุรอาน? ใครกันที่น�ำบ่าวผู้เกเรและเนรคุณอย่างเรากลับมา เป็นบ่าวที่เชื่อฟังและนอบน้อมได้อีกครั้ง? ใครกันถ้าไม่ใช่อัลลอฮฺ? แล้วเรา ขอบคุณพระองค์แล้วหรือยัง? อย่างน้อยที่สุดและง่ายดายที่สุดคือการกล่าว “‫ ”الحمد لله‬การสรรเสริญทั้งมวลเป็นกรรมสิทธิ์แด่อัลลอฮฺ มิใช่หรือ? และเนื่องด้วยความโปรดปรานอันกว้างขวางและล้นพ้นที่พระองค์ ทรงให้กับเรานี้การขอบคุณจึงต้องมากกว่าเพียงลมปาก ดังที่พระองค์ตรัส แก่กลุ่มชนตัวอย่าง ชนกลุ่มน้อยที่พระองค์ทรงสรรเสริญ นั่นคือกลุ่มชน ของนบีดาวูด ُ َّ َ َ ۡ ّ ٞ َ َ ٗ ۡ ُ َ ُ َ َ َ ْ ٓ ُ َ ۡ ُ ‫ك‬ ١٣ ‫ور‬ ‫ ٱ�ملوا ءال داوۥد شكر ۚ� وقل ِيل مِن عِبادِي ٱلش‬... ความว่า “โอ้วงศ์วานของดาวูดเอ๋ย! พวกเจ้าจงท�ำงานเถิดเพื่อ เป็นการขอบคุณ และส่วนน้อยเท่านัน้ ในปวงบ่าวของเราทีเ่ ป็นผูข้ อบคุณ” (สะบะอ์ : 13) และเมื่อเราส�ำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์แล้ว และ 90

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ขอบคุณพระองค์ด้วยการกระท�ำความดีต่างๆ มากขึ้น พระองค์ก็จะเพิ่ม ความโปรดปรานและความเมตตาต่างๆ เพิ่มขึ้นให้แก่เราเช่นกัน َ َ ۡ ُ َّ َ َ َ ۡ ُ ۡ َ َ َ ۡ ُ ُّ َ َ َّ َ َ ۡ َ َ َّ ۡ ُ ۡ َ َ ‫�ذ تأذن ربكم لئِن شكرتم لزِيدنكمۖ ولئِن كفرتم إِن عذ ِاب‬ ٞ َ​َ � ‫لشدِيد‬ ความว่า “และจงร�ำลึกขณะที่พระเจ้าของพวกเจ้าได้ประกาศว่า หากพวกเจ้าขอบคุณ ข้าก็จะเพิ่มพูนให้แก่พวกเจ้า และหากพวกเจ้า เนรคุณ แท้จริงการลงโทษของข้านั้นสาหัสยิ่ง” (อิบรอฮีม : 7) พระองค์ให้เราอย่างมากมายในเราะมะฎอน เราจึงขอบคุณพระองค์ แล้วพระองค์ก็ทรงเพิ่มพูนให้เรามากขึ้นอีก เราก็จึงต้องท�ำการขอบคุณ พระองค์ดว้ ยการท�ำความดีงามต่างๆ เพิม่ ขึน้ ไปอีก แล้วพระองค์กจ็ ะทรงเพิม่ ความโปรดปรานต่างๆ แก่เราอีก เราก็ยิ่งต้องส�ำนึกในบุญคุณของพระองค์ มากขึ้นไปอีก วนเวียนอยู่เช่นนี้เรื่อยไป ตราบใดที่เรายังส�ำนึกว่าพระองค์คือ พระผูท้ รงมีบญ ุ คุณเหนือเราอย่างล้นพ้น เราก็ยงิ่ ต้องขอบคุณพระองค์ไปเช่นนี้ จนกว่าจะถึงวาระสุดท้ายในชีวิตของเรา

วิธีการสู่การยืนหยัด 1. เข้าใจสภาพที่แท้จริงของตัวเราว่าไร้ความสามารถ เราจึงต้อง แสวงหาความสามารถจากพระผู้ทรงเดชานุภาพ ทุกการเคลื่อนไหวของนิ้วในการนับจ�ำนวนครั้งที่ซิกรุลลอฮฺ การ เดินไปยังสถานที่ละหมาดเพื่อละหมาดญะมาอะฮฺ ความรู้ความเข้าใจที่ถูก ต้องในการละหมาด การอ่านอัล-กุรอานอย่างถูกต้องและสวยงาม การขอ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

91


ดุอาอ์อย่างมากมาย การถือศีลอด การตื่นมากินอาหารสะหูรของเรา การ ที่มือของเราสามารถเคลื่อนไหวไปหยิบอาหารเพื่อป้อนเข้าสู่ช่องปาก ฟัน กรามและลิ้นเริ่มบดเคี้ยว ส่งผ่านล�ำคอลงไปย่อยในกระเพาะอาหาร ทุกๆ อิริยาบทในชีวิตของเรา ไม่ว่าจะการงานที่ดีใดๆ หรือการที่เราสามารถยับยั้ง จากความชัว่ ใดๆ ล้วนมาจากการอนุมตั แิ ละการช่วยเหลือของพระองค์ทงั้ สิน้ เมื่อเรามีความเข้าใจถึงสภาพที่แท้จริงว่าเราอ่อนแอเช่นนี้แล้วเราจะถ่อมตัว และร้องขอความช่วยเหลือจากพระผู้ทรงเข้มแข็ง ซึ่งดุอาอ์นับบทไม่ถ้วนที่ มีเนื้อหาชัดเจนในประเด็นนี้ แต่เราจะขอหยิบยกเพียงสองสามบทที่ครอบ คลุมอิบาดะฮฺและทุกๆ อย่างในชีวิตของเรา อัลลอฮฺทรงชมเชยบรรดาคนดีและมีความรู้ที่ถูกต้องมั่นคงในยุค ก่อน และสอนเราถึงดุอาอ์ที่พวกเขาใช้วิงวอนขอต่อพระองค์ทั้งๆ ที่พวกเขา เป็นผู้มีความมั่นคง กว้างขวางในความรู้แล้วก็ตาม พวกเขากล่าวว่า َ ۡ َ َ َ َ ۡ َ َ ۡ َ ۡ َ َ َ ُ ُ ۡ ُ َ َ َّ َ َ َّ ً َ ۡ َ َ ُ َّ ‫ب لَا مِن لنك ر‬ ‫ربنا � تزِغ قلوبنا بعد إِذ هديتنا وه‬ ‫حة ۚ إِنك‬ َ َ‫أ‬ ُ ‫نت ٱل ۡ َو َّه‬ � ‫اب‬ ความว่า “โอ้พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา! โปรดอย่าให้หัวใจของ พวกเราเอนเอียงออกจากความจริงเลย หลังจากที่พระองค์ได้ทรงแนะน�ำ แก่พวกเราแล้ว และโปรดได้ประทานความเอ็นดูเมตตา จากที่พระองค์ ให้แก่พวกเราด้วยเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ทรงประทานให้อย่าง มากมาย” (อาละอิมรอน : 8) หลังจากดุอาอ์ข้างต้นที่เป็นการขอให้เราไม่หลง ไม่เฉไฉออกจาก แนวทางแห่งการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺตราบจนชีวิตจะหาไม่ ท่านนบีก็ได้ สอนดุอาอ์อีกบทหนึ่งเพื่อให้เราสามารถยืนหยัดบทความถูกต้องได้ 92

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


‫) َع ْن ُم َعا ِذ بْ ِن َجبَ ٍل رضي الله عنه أَ� َّن َر ُسو َل ال َّل ِه َص َّلى‬1522( ‫وروى أ�بو داود‬ ‫ َوال َّل ِه ِ�إنِّي‬، ‫ َوال َّل ِه ِ�إنِّي لَ� أُ ِح ُّب َك‬، ‫ (يَا ُم َعا ُذ‬: ‫ َوقَا َل‬، ‫ال َّل ُه َعلَ ْي ِه َو َس َّل َم أَ� َخ َذ ِبيَ ِد ِه‬ ِ �ُ‫ أ‬: ‫ فَقَا َل‬، ‫لَ� أُ ِح ُّب َك‬ َ ‫وص‬ ‫ ال َّل ُه َّم أَ� ِع ِّني‬: ‫يك يَا ُم َعا ُذ لَا تَ َد َع َّن ِفي ُدب ُ ِر ك ُِّل َصلَا ٍة تَقُو ُل‬ .‫َعلَى ِذكْ ِر َك َو ُشكْ ِر َك َو ُح ْس ِن ِعبَا َد ِت َك) وصححه ال�ألباني في صحيح أ�بي داود‬ ในการบันทึกของอบูดาวูด ชัยคฺอัล-อัลบานี กล่าวว่าเป็นหะดีษที่ เศาะฮีหฺ เล่าจากท่านมุอาซ อิบนุ ญะบัล ว่าครั้งหนึ่งท่านนบีจับมือของ ฉันแล้วกล่าวว่า “โอ้มอุ าซเอ๋ย ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺวา่ แท้จริงฉันรักเจ้า ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าแท้จริงฉันนั้นรักเจ้า และฉันขอสั่งเสียแก่เจ้า โอ้มุอาซเอ๋ย ‘เจ้าอย่าได้ละทิ้งเป็นอันขาดที่จะกล่าวดุอาอ์นี้ในทุกๆ ช่วง ท้ายของการละหมาดก่อนที่เจ้าให้สลาม’ โดยเจ้ากล่าวว่า ‘โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์โปรดช่วยเหลือฉันให้สามารถร�ำลึกถึงพระองค์ ขอบคุณ พระองค์และท�ำอิบาดะฮฺอย่างดีงามเพื่อพระองค์ด้วยเถิด’” ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน กล่าวว่า ทัศนะที่มีน�้ำหนักมากกว่าคือให้กล่าวในละหมาดก่อนให้สลาม เนื่องจากมี อีกสายรายงานหนึ่งดังส�ำนวนนี้ ‫ ( فَلَا تَ َد ْع أَ� ْن تَقُو َل ِفي ك ُِّل َصلَا ٍة َر ِّب أَ� ِع ِّني‬: ‫) بلفظ‬1303( ‫ورواه النسائي‬ .‫َعلَى ِذكْ ِر َك َو ُشكْ ِر َك َو ُح ْس ِن ِعبَا َد ِت َك ) وصححه ال�ألباني في صحيح النسائي‬ ในการบันทึกของอัน-นะสาอี ชัยคฺอัล-อัลบานี กล่าวว่าเป็นหะดีษ เศาะฮีหฺ ท่านนบีกล่าวว่า “เจ้าจงอย่าละทิ้งการขอดอาอ์นี้ในทุกๆ การ ละหมาด โดยเจ้ากล่าวว่า ‘โอ้องค์อภิบาลของฉัน ขอพระองค์โปรดช่วย เหลือฉันให้สามารถร�ำลึกถึงพระองค์ ขอบคุณพระองค์และท�ำอิบาดะฮฺ อย่างดีงามเพือ่ พระองค์ดว้ ยเถิด’” (จบค�ำกล่าว) ส่วนการอ่านหลังให้สลาม เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

93


เป็นแล้วนั้นก็เป็นอีกทัศนะหนึ่งที่สามารถปฏิบัติได้เช่นเดียวกัน ดุ อ าอ์ บ ทนี้ ไ ด้ ร วบรวมหนทางสู ่ ค วามส� ำ เร็ จ เอาไว้ อ ย่ า งงดงาม ประการแรกมีการขอให้อลั ลอฮฺเปิดหัวใจของเราให้ได้รำ� ลึกถึงพระองค์ตลอด เวลา ได้พิจารณาในความโปรดปรานต่างๆ ของพระองค์ และได้ขอบคุณ พระองค์ด้วยการงานที่ดีต่างๆ ซึ่งการขอบคุณอย่างสวยงามด้วยการปฏิบัติ การงานต่างๆ อย่างเหมาะสมนั้นเราก็ขอมันจากพระองค์อีกเช่นเดียวกัน และดุอาอ์บทนี้ถูกสั่งใช้ให้ขอก่อนที่จะออกจากละหมาด อิบาดะฮฺที่ส�ำคัญ ที่สุดในชีวิตผู้ศรัทธา ประหนึ่งว่าหากไม่มีการขอดุอาอ์เช่นนี้แล้ว เราอาจ จะถูกดุนยาท�ำให้เรายุ่งเหยิงจนไม่สามารถกลับมาละหมาดด้วยความคุชูอฺ ได้ หรือกว่าจะได้ละหมาดก็ล่าช้าเวลาไปมาก ประหนึ่งว่าเป็นการขอให้เรา สามารถกลับมาละหมาดอีกครั้งในเวลาถัดไปได้ ซึ่งหากพิจารณาเนื้อหา ของดุอาอ์บทนี้ก็มีอยู่ในอัลฟาติหะฮฺที่ถูกสั่งใช้ให้อ่านในตอนต้นของการ ละหมาดเพื่อแสวงหาความช่วยเหลือในการประกอบอิบาดะฮฺให้สมบูรณ์ ที่สุด อัลลอฮฺทรงให้การละหมาดเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนส�ำหรับเรื่องอื่นๆ ใน ชีวิตผู้ศรัทธา เพราะเราเริ่มการละหมาดด้วยการขอความช่วยเหลือให้การ ละหมาดครั้งนั้นสมบูรณ์ และจบการละหมาดด้วยการขอให้เราสามารถยืน หยัดในการละหมาดได้อีกและท�ำให้มันสมบูรณ์ได้ยิ่งขึ้นไปอีก ทว่าดุอาอ์ทั้ง จากอัลฟาติหะฮฺและในบทที่ได้กล่าวไปข้างต้นยังมีความหมายครอบคลุมถึง การงานที่ดีทั้งหมด การละทิ้งจากการงานที่ชั่วช้าทั้งหมดและการอดทนต่อ บททดสอบต่างๆ อีกด้วย เมื่อเราเฝ้าวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺด้วยความจริงใจด้วยดุอาอ์สามบท ข้างต้นนี้แล้ว (หากจะขอมากกว่านี้ก็ย่อมได้) พระองค์ย่อมช่วยเหลือให้เรา สามารถด�ำรงตนเป็นบ่าวที่ดีและรักษาการงานต่างๆ เฉกเช่นที่เราได้ปฏิบัติ มันในเดือนเราะมะฎอน อินชาอัลลอฮฺ 94

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


2. ท�ำน้อยแต่มั่นคง แล้วค่อยๆ เพิ่มโดยเริ่มจากสิ่งที่เราถนัด หรือชอบก่อน ‫ قال رسول الله صلى الله عليه وسلم‬،‫عن عائشة رضي الله عنها قالت‬ ‫قل) أ‬ ‫أ‬ ّ ‫ أ�دومها و�إن‬: ‫)�حب ال�أعمال �إلى الله تعالى‬ (‫(�خرجه مسلم‬ ในการบันทึกของมุสลิม ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ขออัลลอฮฺทรงเมตตา ท่าน เล่าว่าท่านนบี กล่าวว่า “การงานที่อัลลอฮฺทรงรักยิ่งนั้น คือการ งานที่มั่นคง สม�่ำเสมอ แม้ว่ามันจะน้อยนิดก็ตาม” ทั้งนี้เนื่องจากมนุษย์นั้น หากหักโหมในเรื่องๆ หนึ่งมากไป ก็จะเกิด การเหนื่อยล้า คล้ายๆ กับอาการกล้ามเนื้อฉีกของนักกีฬาที่ซ้อมหนักเกินไป วันแรกๆ อาจจะได้ปริมาณที่เยอะ แต่นานวันไปมันจะลดน้อยถอยลงเรื่อยๆ จนอาจไม่เหลืออะไรเลย เช่น คนหนึ่งเริ่มต้นด้วยการอ่านอัล-กุรอานวันละ 5 ยุซ เขาจะไม่สามารถท�ำเช่นนั้นอย่างสม�่ำเสมอได้เลยหากมันไม่ได้เกิดจาก การพัฒนามาเรื่อยๆ เขาอาจจะอ่านเช่นนั้นได้เพียงสองวันแล้วจ�ำนวนการ อ่านก็จะลดลง จนสุดท้ายเขาอาจจะละทิ้งการอ่านอัล-กุรอานไปเลยด้วย ความเหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่าย หนทางที่ดีกว่าก็คือการเริ่มทีละน้อยด้วยกับการงานที่เราถนัดหรือ ชอบ มีความสุขในการท�ำมัน เช่น อ่านอัล-กุรอานวันละ 1 หน้าก็พอ แต่ ท�ำเช่นนั้นให้สม�่ำเสมอและต่อเนื่องได้สัก 1 เดือน แล้วจึงเพิ่มเป็น 2 หน้า ค่อยๆ พัฒนาเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เราก็จะสามารถยืนหยัดได้ ด้วยการช่วยเหลือ จากอัลลอฮฺ

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

95


3. ท�ำหลายอย่างในทุกวันด้วยการบริหารจัดการอย่างชาญฉลาด อัลลอฮฺทรงสร้างประตูสวรรค์ให้มี 8 บาน อันหมายถึงหนทางในการ เข้าสวรรค์นั้นมีหลากหลาย ใครถนัดทางไหนก็สามารถไปสวรรค์ได้ สวรรค์ ไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อยอดมนุษย์ที่ท�ำได้ทุกอย่างเท่านั้น หรือบังคับว่าต้อง ท�ำอย่างนี้เท่านั้นจึงจะเข้าสวรรค์ได้ ในทุกๆ วันเราจึงควรมีการงานที่หลาก หลายเพื่อที่ว่าหากเราพลาดการงานหนึ่งไปเราก็ยังคงเหลือการงานอื่นๆ อยู่ บ้าง แต่หากเราไม่เคยบริหารชีวติ ให้มกี ารงานทีห่ ลากหลาย เมือ่ เราพลาดไป อย่างหนึ่งก็อาจท�ำให้ในวันนั้นเราไม่มีการงานพิเศษใดๆ ที่เพิ่มความใกล้ชิด ระหว่างเรากับพระเจ้าของเราเลย : ‫ قَا َل َر ُسو ُل ال َّل ِه صلى الله عليه وسلم‬:‫َع ْن أَ�بِي ُه َريْ َرةَ رضي الله عنه قَا َل‬ ‫فَ َم ْن‬:‫ قَا َل‬.‫�نَا‬:َ‫) َم ْن أَ� ْصبَ َح ِم ْنك ُْم ا ْليَ ْو َم َصا ِئ ًما؟ قَا َل أَ�بُو بَكْ ٍر رضي الله عنه أ‬ ‫ فَ َم ْن أَ� ْط َع َم ِم ْنك ُْم‬:‫ قَا َل‬.‫�نَا‬:َ‫تَ ِب َع ِم ْنك ُْم ا ْليَ ْو َم َجنَا َزةً؟ قَا َل أَ�بُو بَكْ ٍر رضي الله عنه أ‬ ‫فَ َم ْن َعا َد ِم ْنك ُْم ا ْليَ ْو َم‬:‫ قَا َل‬.‫�نَا‬:َ‫ا ْليَ ْو َم ِم ْس ِكينًا؟ قَا َل أَ�بُو بَكْ ٍر رضي الله عنه أ‬ : ‫ فَقَا َل َر ُسو ُل ال َّل ِه صلى الله عليه وسلم‬.‫�نَا‬:َ‫يضا؟ قَا َل أَ�بُو بَكْ ٍر رضي الله عنه أ‬ ً ‫َم ِر‬ .‫َما ا ْجتَ َم ْع َن ِفي ا ْم ِر ٍئ ِ�إلَّا َد َخ َل ا ْل َج َّن َة ) أ�خرجه مسلم‬ ในการบันทึกของมุสลิม อบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ กล่าวถามบรรดาเศาะหาบะฮฺว่า “วันนี้ใครตื่นมาในสภาพที่ถือศีลอด บ้าง?” อบูบักรฺ กล่าวว่า “ผมครับ” ท่านนบีถามอีกว่า “แล้วใคร ติดตามญะนาซะฮฺมาบ้าง?” อบูบักรฺ กล่าวว่า “ผมครับ” ท่านนบีจึงถาม อีกว่า “แล้วใครให้อาหารแก่ผู้ยากไร้หรือขัดสนมาบ้าง?” อบูบักรฺ กล่าว ว่า “ผมครับ” ท่านนบีเอ่ยถามอีกว่า “แล้วใครไปเยี่ยมคนป่วยมาบ้าง?” อบูบักรฺกล่าวว่า “ผมครับ” ท่านรสูลจึงกล่าวว่า “ไม่มีใครที่ท�ำครบทุก ประการข้างต้นนี้ได้ เว้นแต่เขาจะได้เข้าสวรรค์” 96

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


‫ ( ف َ​َض ِح َك َر ُسو ُل ال َّل ِه صلى الله عليه وسلم َح َّتى‬: ‫وعند الطبراني في الكبير‬ ‫ َما َج َم َع ُه َّن ِفي ي َ ْو ٍم َوا ِح ٍد ِ�إلا‬،‫ َوا َّل ِذي نَف ِْسي ِبيَ ِد ِه‬:‫ ث ُ َّم قَا َل‬،‫الض ِح ُك‬ َّ ‫ا ْستَ ْعلَى ِب ِه‬ ( ‫ َو ِ�إلا َد َخ َل ِب ِه َّن ا ْل َج َّن َة‬،‫ُم ْؤ ِم ٌن‬ และในการบันทึกของอัฏ-เฏาะบะรอนี ในหนังสือ มุอฺญัม อัล-กะบีร ในส�ำนวนที่ว่า “แล้วท่านรสูลก็หัวเราะอย่างมากมาย แล้วท่านก็กล่าวว่า ‘ขอสาบานต่อพระผูซ้ งึ่ ทีช่ วี ติ ของฉันอยูใ่ นพระหัตถ์ของพระองค์ ไม่มใี คร ทีท่ ำ� การงานทัง้ หมดนีใ้ นวันหนึง่ ๆ ได้นอกจากมุอม์ นิ เท่านัน้ และเขาจะได้ เข้าสวรรค์ด้วยกับการงานเหล่านี้’”

4. มีเป้าหมายภายใต้ความยืดหยุ่น เนื่องจากความเหน็ดเหนื่อยจากการท�ำอิบาดะฮฺมากมายหลาย ประการ รวมไปถึงภาระหน้าที่ต่างๆ ในดุนยาที่ท�ำให้เรามีโอกาสที่จะพลาด จากการงานต่างๆ ทีเ่ ราได้ทำ� เป็นประจ�ำ เราจึงควรมีการผ่อนปรนบ้าง แต่ไม่ ควรละทิ้ง เช่น เราละหมาดตะฮัจญุดทุกคืน 11 ร็อกอะฮฺ วันใดที่เราเมื่อยล้า แต่ยังละหมาดไหว เราก็เปลี่ยนมาใช้วิธีการนั่งละหมาดแทนได้ หรือไม่ไหว จริงๆ ก็ลดจ�ำนวนร็อกอะฮฺลงมาแต่อย่าทิ้ง หรือหากเวลาจ�ำกัดก็ให้บริหาร ด้วยการละหมาดเพียง 1 ร็อกอะฮฺ

5. รู้สึกกลัวเสมอว่าการงานที่กระท�ำไปจะไม่ถูกตอบรับและหากว่า ถูกตอบรับแล้วก็ไม่รู้ว่าจะรอดหรือไม่ {‫ { َوا َّل ِذي َن ي ُ ْؤتُو َن َما �آتَوا َّوقُلُوب ُ ُه ْم َو ِجلَ ٌة‬: ‫وحكى ابن جرير قول سعيد بن جبير‬ .‫يفعلون ما يفعلون وهم يعلمون أ�نهم صائرون �إلى الموت وهي من المبشرات‬ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

97


อิบนุ ญะรีรฺ อัฏ-เฏาะบะรี เล่าถึงค�ำกล่าวของสะอีด อิบนุ ญุบัยรฺ ซึ่งอธิบายอายะฮฺ “และบรรดาผู้ที่บริจาคสิ่งที่พวกเขาได้มา โดยที่จิตใจ ของเขาเปี่ยมได้ด้วยความหวั่นเกรง” (อัล-มุอ์มินูน : 60) โดยท่านกล่าว ว่า “อายะฮฺนี้หมายถึงผู้ที่ปฏิบัติ (ในความดีต่างๆ) โดยที่พวกเขามั่นใจว่า พวกเขาจะต้องตายอย่างแน่นอน ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในข่าวดี” อุละมาอ์อธิบายค�ำพูดนี้ว่า “ความรู้สึกดังกล่าวเป็นสัญญาณหนึ่งที่ บ่งชี้ว่าการงานที่ดีงามต่างๆ นั้นถูกตอบรับ เพราะความกลัวและความหวั่น วิตกว่าการงานจะถูกปฏิเสธ ไม่เป็นที่ยอมรับ ณ อัลลอฮฺนั้นเป็นหลักฐาน หนึ่งของการมีความศรัทธาที่แท้จริงของบ่าวคนหนึ่งต่อสัญญาที่อัลลอฮฺได้ ให้ไว้แก่พวกเขาว่า หากพวกเขาท�ำดีก็จะได้รับการตอบแทนด้วยดียิ่งกว่า ที่พวกเขาได้กระท�ำมา แต่หากพวกเขาท�ำชั่วพวกเขาก็จะไม่ได้รับการตอบ แทนใดๆ เว้นแต่สิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวายเอาไว้เท่านั้น ซึ่งความรู้สึกดัง กล่าวนี้หากว่ามันเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาแล้วไซร้ มันก็จะน�ำมาซึ่งความดีงาม ต่างๆ ติดตามมาเรื่อยๆ หลังจากที่ท�ำความดีหนึ่งๆ ความดีอื่นๆ ก็จะตามมา อีก เป็นเช่นนี้ตลอดไป ซึ่งการที่มีความรู้สึกกลัวและหวาดหวั่นจนกระทั่ง ท�ำความดีต่อเนื่องได้นั้น นี่ก็ถือว่าเป็นสัญญานที่สองที่บ่งชี้ว่าการงานที่ดี นั้นถูกตอบรับแล้ว” วัลลอฮุอะอฺลัม – และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง

98

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


อย่าแคร์สายตามนุษย์ มากกว่าสายพระเนตรของอัลลอฮฺ

โอ้พนี่ อ้ งทีศ่ รัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺทกุ ท่าน พึงย�ำเกรงต่อ อัลลอฮฺเถิด พึงย�ำเกรงต่ออัลลอฮฺเถิด และพึงย�ำเกรงต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง เถิด ทั้งในสภาพที่เปิดเผยและปกปิด เพราะแท้จริงแล้วมีบางส่วนจากหมู่ มนุษย์ที่แสดงออกซึ่งความย�ำเกรงต่ออัลลอฮฺขณะที่เขาอยู่ในหมู่มนุษย์แต่ ลับหลังเขากลับไม่เป็นเช่นนั้น โอ้พี่น้องที่รักของผม มีหะดีษบทหนึ่งซึ่งเขย่าหัวใจของผมอย่างมาก เป็นหะดีษที่ผมเพิ่งเคยได้ยินได้ฟัง เป็นความรู้ใหม่ที่ผมไม่สามารถจะปล่อย ผ่านไปได้นอกจากจะทบทวนมันอีกหลายต่อหลายครั้ง แสวงหาค�ำอธิบาย เพิ่มเติม จนเมื่อได้รับข้อมูลต่างๆอย่างเพียงพอในระดับหนึ่งแล้วผมจึงเรียบ เรียงเป็นเนื้อหาคุฏบะฮฺที่จะใช้เตือนตัวเองและพี่น้องทุกท่านในวันนี้ ‫جاء َع ِن ال َّنب ِّ​ِى صلى الله عليه وسلم أَ�نَّ ُه قَا َل ( لَ� أَ ْعلَ َم َّن أَ� ْق َوا ًما ِم ْن أُ� َّم ِتى ي َ ْأ�تُو َن‬ ٍ ‫ي َ ْو َم ا ْل ِقيَا َم ِة ِب َح َسنَا‬ ‫ت أَ� ْمثَا ِل ِجبَا ِل ِت َها َمة ب َ ْي َضاء فَيَ ْج َعلُ َها ال َّل ُه َع َّز َو َج َّل َهبَ ًاء‬ ‫ يَا َر ُسو َل ال َّل ِه ِص ْف ُه ْم َلنَا َج ِّله ِْم َلنَا أَ� ْن لا َ نَكُو َن ِم ْن ُه ْم َونَ ْح ُن‬: ‫َم ْنثُو ًرا َقا َل ث َ ْوبَا ُن‬ ‫ أَ� َما ِ�إنَّ ُه ْم ِ�إخ َْوانُك ُْم َو ِم ْن ِج ْل َد ِتك ُْم َوي َ ْأ�خ ُ​ُذو َن ِم َن ال َّل ْي ِل كَ َما تَ ْأ�خ ُ​ُذو َن‬: ‫ قَا َل‬. ‫لا َ نَ ْعلَ ُم‬ ‫َو َل ِك َّن ُه ْم أَ� ْق َو ٌام ِ�إذَا َخلَ ْوا ِب َم َحا ِر ِم ال َّل ِه انْتَ َهكُو َها ) رواه ابن ماجه و صححه ال�ألبانى‬


ในการบันทึกของอิบนุ มาญะฮฺ ซึง่ ชัยคฺ อัล-อัลบานี กล่าวว่าเป็นหะดีษ ที่เศาะฮีหฺ รายงานจากท่านเษาบาน คนรับใช้ท่านหนึ่งของท่านรสูล ซึ่ง ท่านรสูลกล่าวว่า “แน่แท้ ฉันรู้ว่าในวันกิยามะฮฺ จะมีคนหลายกลุ่มจาก ประชาชาติของฉัน ที่น�ำพาความดีงามมากมายเปรียบเสมือนเทือกเขา ติฮามะฮ์ที่ขาวสะอาด แต่แล้วอัลลอฮฺก็ทรงท�ำให้ความดีงามอันมากมาย เหล่านั้นกลายเป็นเศษฝุ่นที่ปลิวว่อนเท่านั้น (ไม่มีคุณค่าใดๆ ทั้งสิ้น) เษาบาน จึงถามว่า โอ้ ท่านรสูลุลลอฮฺ ได้โปรดบอกคุณลักษณะ ของพวกเขาให้เราทราบด้วยเถิด และโปรดอธิบายให้พวกเราทราบอย่าง ชัดแจ้ง เพื่อที่เราจะได้ไม่กลายเป็นหนึ่งในชนกลุ่มนั้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ท่านนบีมุฮัมมัด จึงตอบว่า “แท้จริงพวกเขาคือพี่น้องของ ท่าน มีสีผิวเช่นเดียวกับพวกท่าน พวกเขาด�ำรงตนในเวลากลางคืนด้วย การละหมาดกลางคืนเช่นเดียวกับพวกท่าน แต่ยามใดที่พวกเขาอยู่ในที่ ลับตาผู้คนแล้ว พวกเขาจะละเมิดและฝ่าฝืนค�ำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ” พี่ น ้ อ งที่ รั ก ทุ ก ท่ า นครั บ ติ ฮ ามะฮฺ เ ป็ น เทื อ กเขาที่ ย าวที่ สุ ด ใน คาบสมุทรอาหรับ อยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศซาอุดีอาระเบีย ทอดยาว ตามแนวทะเลแดงประมาณ 1,100 กม. ขนาดกว้างที่สุดตามทิศใต้ประมาณ 60 กม. ยอดสูงที่สุดประมาณ 2 กม. เทือกเขาติฮามะฮฺเป็นการเปรียบเปรย การกระท�ำการงานดีๆ ที่มากมาย ส่วนสีขาวในหะดีษแสดงถึงความบริสุทธิ์ ใจ ทว่ามันกลับไร้คา่ ณ อัลลอฮฺผทู้ รงสูงส่ง หากเขามีพฤติกรรมดังหะดีษบทนี้ ลาเฮาละวะลากูวะตะอิลลาบิลลาฮฺ! พี่น้องที่รักทุกท่าน เราก�ำลัง เป็นเช่นคนกลุ่มนี้หรือไม่? เราคือหนึ่งในบ่าวผู้กอบโกยความดีงามต่างๆ ไว้ อย่างมากมายและละทิ้งจากความชั่วมากมายนับไม่ถ้วนต่อหน้ามนุษย์หรือ 100

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


เปล่า? ผมไล่อ่านบทความที่อธิบายหะดีษบทนี้ในภาษาอาหรับจะใช้ค�ำว่า “‫ ”ال تجعل الله أهون الناظرين‬อันมีความหมายว่า “พวกท่านจงอย่า ท�ำให้การเฝ้าดูของอัลลอฮฺนั้นมีความส�ำคัญต่อตัวท่านน้อยกว่าการเฝ้าดู ของมนุษย์” ทั้งนี้เพราะเราใส่ใจต่อการมองดูของผู้คนจนเราไม่กล้าจะท�ำบาป สักอย่างเดียว เพราะกลัวการต�ำหนิ กลัวการเสื่อมเสียชื่อเสียงหรืออาจจะ เสียต�ำแหน่งการงาน ทว่าเมื่อเราอยู่ล�ำพังกับสิ่งต้องห้ามต่างๆ ก็ประหนึ่ง สบโอกาสเหมาะที่เราจะได้ท�ำบาปเสียที เช่นเวลาที่เราอยู่ในห้องนอนของ เรา เมื่อประตูห้องถูกล็อค หน้าต่างถูกใส่กลอน ผ้าม่านถูกรูดมาบดบัง ไม่ เหลือใครในห้องอีกแล้วนอกจากท่าน ท่านก็ฉวยโอกาสดูสิ่งต้องห้ามจาก โทรทัศน์หรืออินเตอร์เน็ต เพราะท่านไม่ต้องหลบสายตาใครอีกต่อไปแล้ว ชัยฏอนได้ล่อลวงท่านจนท่านลืมอะไรบางอย่างไป ใช่! ท่านลืมตัวไปแล้วว่า อัลลอฮฺทรงเฝ้าดูท่านอยู่เสมอ พี่น้องที่รักของผม ผมเชื่อว่าในหมู่พวกท่านคงไม่มีใครที่เชื่อว่า ณ เวลาเช่นนั้นท่านอยู่เพียงล�ำพังจริงๆ ปราศจากการรับรู้และการได้ยินของ อัลลอฮฺ เพราะถ้าท่านเชื่อมั่นเช่นนั้นท่านก็ได้ปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว เพราะแท้จริงไม่มีสิ่งใดหลบพ้นจากการมองเห็น การได้ยินและการเป็น พยานของพระองค์ แต่หากท่านเชื่อว่าท่านมิอาจรอดพ้นจากการเฝ้าดูของ พระองค์ได้ แต่ท่านยังกล้ากระท�ำบาปทั้งที่ไม่กล้ากระท�ำมันต่อหน้ามนุษย์ นั่นก็แสดงว่าความละอายที่ท่านมีต่ออัลลอฮฺนั้นช่างน้อยนิดเสียนี่กระไร โอ้พี่น้องผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺทุกท่าน รู้หรือไม่ว่าการกระท�ำเช่นนี้ “บาปเงียบ” นั้นมิได้สร้างความหายนะและความเศร้าโศกเสียใจแก่ท่าน ในวันกิยามะฮฺเท่านั้น ทว่ามันจะส่งผลเสียต่อท่านตั้งแต่ชีวิตในดุนยานี้เลย เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

101


ดังที่อิบนุลก็อยยิม ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน กล่าวว่า “บรรดาผู้รู้ทั้งหลาย ได้เห็นพ้องต้องกันว่า บาปเงียบ คือต้นเหตุของความพินาศล่มจม และ การท�ำอิบาดะฮฺขณะลับตาผู้คน คือปัจจัยส�ำคัญที่จะน�ำไปสู่การยืนหยัด ในศาสนา” นอกจากนี้ ยั ง น� ำ ไปสู ่ ก ารแจ้ ง ข่ า วร้ า ยแก่ ค รอบครั ว ของท่ า นใน บั้นปลายชีวิตของท่านอีกด้วย ซึ่งข่าวร้ายนั้นก็คือการจบชีวิตในสภาพที่ ชั่วร้าย อิบนุเราะญับ ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน กล่าวว่า “ผู้ที่จบชีวิต ด้วยความชัว่ ร้าย (‫ )سوء الخامتة‬ในบางครัง้ เกิดจากบาปเงียบทีเ่ ขากระท�ำ โดยที่ไม่มีผู้ใดรู้เห็นเลย” ชัยคฺ มุฮัมมัด หุสัยนฺ ยะอฺกูบ ขออัลลอฮฺทรงปกป้องท่าน กล่าวว่า “บาปเงียบนั้น จะเป็นสื่อน�ำไปสู่การจบในชีวิตในสภาพที่ชั่วร้าย” ท้ายนี้ผมขอสั่งเสียตัวของผมเองและพี่น้องที่รักทุกท่าน ด้วยค�ำ กล่าวของท่านซะหฺนูน ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน ความว่า “เจ้าจงอย่าริ ประกาศตัวเป็นศัตรูคู่อริกับชัยฏอนในที่เปิดเผย แต่กลับเป็นสหายรัก กับมันยามลับตาผู้คน” อย่าเลยครับ อย่าเป็นเช่นนั้นเลย เพื่อที่ความดี งามมากมายที่เราสะสมไว้จะได้ไม่กลายเป็นฝุ่นผงที่ปลิวว่อนในวันกิยามะฮฺ ขออัลลอฮฺผู้ทรงใจบุญซึ่งความเกรงกลัวต่อพระองค์ทั้งในที่ลับและ ที่แจ้ง ขอการเตาฟีกจากพระองค์ให้เราได้กระท�ำการงานที่ดีทั้งในสภาพที่ ซ่อนเร้นและปกปิด ขอพระองค์คุ้มครองเราทุกคนให้พ้นจากบาปเงียบอัน น�ำเราไปสู่หายนะในชีวิตนี้ การจบชีวิตในสภาพที่ชั่วช้า และความหายนะ ในวันกิยามะฮฺ และขอพระองค์โปรดประทานการใช้ชีวิตที่ดี การจบชีวิต 102

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ที่ดีและการฟื้นคืนชีพในสภาพที่ดีให้แก่พวกเราทั้งหลายด้วยเถิด อามีน ขอพระองค์ผู้ทรงได้ยินทรงตอบรับการวอนขอนี้ด้วยเถิด

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

103


จนกว่าเราจะเปลี่ยน

บางคนเคยแข็งแรง บัดนี้อ่อนแอไร้ก�ำลัง บางคนเคยมีความรู้ บัดนี้ประหนึ่งคนที่ไม่เคยรับรู้สิ่งใด บางคนเคยอยู่บนทางที่เที่ยงตรง แต่บัดนี้กลับหลงไปไกลสุดกู่... พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย มัคลูกหรือสิ่งถูกสร้างทั้งปวงนั้น ล้วนถูก ก�ำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ เอาไว้ส�ำหรับทุกๆ ชีวิต ซึ่งเรียกว่า “สุนนะตุลลอฮฺ” หรือ “แนวทางของอัลลอฮฺ” ซึ่งมันเป็นสิ่งที่มั่นคง แน่นอนและไม่เคยถูก เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ซึ่งหนึ่งในแนวทางอันบริสุทธิ์ของอัลลอฮฺที่ทรงก�ำหนดไว้แก่บรรดา ปวงบ่าวของพระองค์นั้นก็คือ “พระองค์จะไม่ทรงเปลี่ยนแปลงสิ่งใด จนกว่าบ่าวของพระองค์จะเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้น” อิบนุลก็อยยิม ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน ได้กล่าวว่า “แท้จริงแล้ว ส่วนหนึ่งจากผลกระทบของบาปต่างๆ นั้น ก็คือการที่ความโปรดปราน ทั้งหลายได้สูญหายไป และการลงโทษได้ถูกแทนที่ แน่นอนที่สุด ความ โปรดปรานจะยังคงมีอยู่ในตัวของบ่าวคนหนึ่ง เว้นแต่ด้วยสาเหตุของ บาปที่ได้กระท�ำ และจะไม่เกิดการลงโทษใดๆ แก่เขานอกจากบาปที่เขา ได้กระท�ำเช่นกัน”


ٍ ْ‫ما نُ ِز َل بَلا ٌء �إلا ب ِ​ِذن‬ ‫ب َولا ُر ِف َع بَلا ٌء �إلا ِبتَ ْوب َ ٍة‬ ดังที่ท่านอะลี อิบนุ อบีฏอลิบ ได้กล่าวว่า “บะลาอ์ (ภัยพิบัติ) จะไม่ถูกส่งลงมาเว้นแต่ด้วยกับบาปที่ถูกก่อ! และมันจะไม่ถูกยกกลับขึ้น ไปเว้นแต่ด้วยการเตาบะฮฺเท่านั้น!” َ َ ْ َُۡ​َ ۡ ُ ُ َٰ َ َ ٓ َ َ ۡ‫ت َ�ي‬ ۡ ‫يبة فَب َما َك َس َب‬ َ ‫�م ّمِن ُّم ِص‬ ‫ث‬ ‫ك‬ ‫ن‬ ‫ع‬ ‫وا‬ ‫ف‬ ‫ع‬ � ‫و‬ ‫م‬ �‫ِي‬ ‫د‬ ٣٠ � ‫وما أ�ب‬ ِ ِ ٖ ٖ อัลลอฮฺตรัสว่า “และเคราะห์กรรมอันใดที่ประสบแก่พวกเจ้า ก็เนื่องด้วยน�้ำมือของพวกเจ้าได้ขวนขวายได้ และพระองค์ทรงอภัย (ความผิดให้) มากต่อมากแล้ว” (อัช-ชูรอ : 30) กล่าวคือ พระองค์ทรงอภัยให้อย่างมากมายจากการละเมิดของพวก เจ้าโดยที่ไม่เอาโทษใดๆ จากพวกเจ้าเลย และพระองค์เพียงแค่ให้พวกเจ้าได้ รับบางส่วนจากสิ่งที่พวกเจ้าขวนขวายในสิ่งชั่วเอาไว้แต่เท่านั้น ซึ่งเป็นการ ลงโทษเพียงเล็กน้อย เบาบางและชั่วคราว เพื่อที่พวกเจ้าจะได้ส�ำนึก รู้สึกตัว ว่าอัลลอฮฺได้ทรงส่งสัญญาณเตือนมาแล้ว จงหยุดการประกอบการชั่วเสีย เถิด ก่อนที่จะได้พบกับการลงโทษอันยิ่งใหญ่ หนักหน่วง เจ็บแสบและถาวร ในวันกิยามะฮฺ “เราท�ำตัวเองล้วนๆ” และอัลลอฮฺยงั ทรงชีใ้ ห้เห็นถึงความเมตตาอันล้นพ้นของพระองค์วา่ ไม่ใช่ทุกความผิดที่เราท�ำแล้วพระองค์จะทรงถือโทษ แต่พระองค์กลับทรง อภัยให้อย่างง่ายดายต่างหาก เพราะพระองค์คือพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตา ยิ่ง (‫ )الرحمن‬และทรงเมตตากรุณายิ่งแด่ผู้ศรัทธา (‫ )الرحيم‬ซึ่งทรงสัญญา ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ว่า

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

105


َ َ ۡ َّ ۡ َ ٰ َ َ ۡ ُ ُّ َ َ َ َ ‫سهِ ٱلر‬ ‫ كتب ر��م‬... ٥٤ ... ‫�ة‬ ِ ‫� �ف‬ ความว่ า “...พระผู ้ อ ภิ บ าลของพวกเจ้ า ได้ ก� ำ หนดแล้ ว เหนื อ พระองค์เองซึ่งความเมตตา...” (อัล-อันอาม : 54) และพระองค์ยังทรงให้มนุษย์ผู้ประเสริฐที่สุดบนหน้าแผ่นดินนี้มา แจ้งแก่พวกเราอีกว่า พระองค์ทรงก�ำหนดแล้วเหนือพระองค์เช่นเดียวกัน จากความอยุติธรรม ดังที่ท่านนบีมุฮัมมัด ได้กล่าวรายงานถ้อยด�ำรัสของ อัลลอฮฺที่ว่า ( ‫يَا ِعبَا ِد ْي ِ�إنِّ ْي َح َّر ْم ُت ال ُّظ ْل َم َعلَى نَف ِْس ْي ( رواه مسلم‬ ความว่า “โอ้ปวงบ่าวของข้า แท้จริงข้าได้ก�ำหนดให้เป็นที่ต้อง ห้ามแก่ข้าเองแล้วซึ่งการอยุติธรรม” (บันทึกโดยมุสลิม) และยิ่งไปกว่านั้น การลงโทษในดุนยาจากความผิดประการหนึ่งนั้น ก็เพื่อที่เราจะได้รอดพ้นจากการลงโทษในอาคิเราะฮฺเนื่องจากความผิดนั้นๆ อัลลอฮฺผู้ทรงเมตตายิ่งทรงกรุณาอภัยให้เราตั้งมากมาย โดยมิเอาโทษใดๆ และยังเปลี่ยนการลงโทษอันแสนสาหัสให้เป็นการลงโทษที่เบาบางให้แก่ เรา และหากเป็นการทดสอบหรือเคราะห์กรรมแบบกลุ่มใหญ่ซึ่งมีทั้งคนที่ เป็นผู้กระท�ำความผิดอันเป็นสาเหตุแห่งการลงโทษนั้นๆ แล้ว ยังมีผู้ที่ไม่ใช่ ผู้กระท�ำความผิดรวมอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งการที่เขาได้พบการทดสอบดังกล่าว ก็เพื่อเพิ่มขั้นแห่งความศรัทธาและการตอบแทนให้แก่เขาทั้งในดุนยาและ อาคิเราะฮฺนั่นเอง เช่นนี้แล้วเรายังจะไม่ส�ำนึก ไม่รักและไม่ขอบคุณต่อ พระเจ้าของเราอีกกระนั้นหรือ?

106

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ْ ُ ّ َ ُ َّ َ ۡ َ ٰ َ َ َ َ َ ۡ َ ً َ ۡ ّ ٗ ّ َ ُ ُ َ ۡ َ َ َّ َّ َ َ ٰ َ ٰ ‫�ل ِك بِأن ٱ� لم يك مغ ِ�� �ِعمة ��عمها � قو ٍ� ح‬ ‫�وا َما‬ ِ ‫� �غ‬ ُ َ َ َّ ‫سه ۡم َوأَ َّن ٱ‬ ٞ ‫يع َعل‬ ٌ ‫� َس ِم‬ ٥٣ ‫ِيم‬ ‫نف‬ ِ ِ ‫بِأ‬ ความว่า “นัน่ ก็เพราะว่า อัลลอฮฺมไิ ด้ทรงเป็นผูเ้ ปลีย่ นแปลงความ กรุณาใดๆ ที่พระองค์ทรงประทานมันแก่กลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใด จนกว่า พวกเขาจะได้เปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ในตัวของพวกเขาเอง และแท้จริง อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยินผู้ทรงรอบรู้” (อัล-อันฟาล : 53) อัลลอฮฺทรงแจ้งว่าพระองค์จะไม่ทรงเปลีย่ นแปลงนิอมฺ ะฮฺหรือความ โปรดปรานที่พระองค์ได้ให้แก่ใครคนใดคนหนึ่งไปแล้ว จนกว่าเขาจะเปลี่ยน มันด้วยกับตัวของเขาเอง นั่นคือการที่เขาได้เปลี่ยนจากการเชื่อฟังอัลลอฮฺสู่ การฝ่าฝืนต่อพระองค์ และเปลี่ยนการรู้คุณต่ออัลลอฮฺสู่การเนรคุณพระองค์ และเปลี่ยนสิ่งต่างๆ อันเป็นสาเหตุแห่งความพอพระทัยของพระองค์ สู่สิ่ง ต่างๆ อันเป็นสาเหตุแห่งความกริ้วโกรธของพระองค์ เมื่อใดก็ตามที่เขาได้เปลี่ยนแปลงสิ่งหนึ่ง มันก็จะส่งผลร้ายแก่ตัว ของเขาเอง พระองค์จะทรงให้พวกเขาได้ประสบกับความยากล�ำบาก ความ อดอยาก ความหิว ความกระหาย ความแห้งแล้ง การแตกแยก ความตกต�่ำ และการลงโทษประเภทต่างๆ ซึ่งเป็นการตอบแทนที่สาสมกับสิ่งที่พวกเขา ได้ขวนขวายเอาไว้ และองค์อภิบาลของพวกเจ้านั้นไม่ทรงเป็นผู้อยุติธรรม แม้เพียงเศษธุลีต่อบ่าวของพระองค์ ในทางกลับกัน เมื่อใดที่เขาได้เปลี่ยนจากการฝ่าฝืนสู่การเชื่อฟัง อัลลอฮฺก็จะทรงเปลี่ยนการความยากล�ำบากให้เป็นความสุขสบาย เปลี่ยน ความอดอยากให้เป็นความมั่งมี เปลี่ยนความหิวให้เป็นความอิ่ม เปลี่ยน เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

107


ความกระหายให้เป็นความชุ่มชื่น เปลี่ยนความแห้งแล้งให้เป็นความอุดม สมบูรณ์ เปลี่ยนการแตกแยกไปสู่การรวมตัว เปลี่ยนความตกต�่ำไปสู่ความ มีเกียรติ และเปลี่ยนการลงโทษด้วยกับการให้ความปลอดภัย ซึ่งเป็นการ ตอบแทนที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน ُ َ َ ْ ُ ّ َ ُ ٰ َّ َ ۡ َ َ ُ ّ َ ُ َ َ َّ َّ ١١ ... ۗ‫س ِه ۡم‬ ‫نف‬ ِ ‫ إِن ٱ� � �غ ِ� ما بِقو ٍ� ح� �غ ِ�وا ما بِأ‬... ความว่ า “...แท้ จ ริ ง อั ล ลอฮฺ จ ะมิ ท รงเปลี่ ย นแปลงสภาพของ ชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง...” (อัร-เราะอฺดฺ : 11) หากเราใช้ความเข้าใจข้างต้นที่ได้จากสูเราะฮฺอัล-อันฟาลในอายะฮฺ ที่ผ่านมาแล้ว เราจะเข้าใจอายะฮฺนี้โดยปริยายทั้งมิติแห่งการเปลี่ยนแปลง ไปสู่สิ่งดีและมิติแห่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ชั่ว แต่ทว่าในช่วงท้ายของ อายะฮฺนี้มีสารที่ใช้เตือนส�ำทับรวมอยู่ด้วย โดยที่อัลลอฮฺตรัสในช่วงท้ายของ อายะฮฺเดียวกันว่า َ َّ َ َ َ َ ٗ ٓ ُ ۡ َ ُ َّ َ َ َ ٓ َ ُ ١١ ...‫ �ذا أراد ٱ� بِقو ٖ� سوء� ف� مرد �ۚۥ‬... ความว่า “...และเมื่ออัลลอฮฺทรงปรารถนาความทุกข์แก่ชนกลุ่ม ใดก็จะไม่มีผู้ตอบโต้พระองค์...” (อัร-เราะอฺดฺ : 11) กล่าวคือ เมื่ออัลลอฮฺทรงประสงค์ให้เกิดความทุกข์ยากอันเนื่อง มาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มนั้นจากการรู้คุณไปสู่การเนรคุณ จากการเชื่อฟังไปสู่การฝ่าฝืน จากการรักษาสัญญาไปสู่การละเมิดสัญญาที่ มีต่อพระองค์หรือที่พระองค์มีต่อพวกเขาแล้วไซร้ ก็จะไม่มีใครหรือหนทาง ใดที่จะปัดความทุกข์ยากนั้นให้พ้นไปจากพวกเขาได้เลย และพระองค์ยัง 108

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ทรงส�ำทับให้ตระหนักและมั่นใจยิ่งขึ้นอีกในเรื่องนี้จากพระด�ำรัสช่วงสุดท้าย ของอายะฮฺเดียวกันว่า َ ‫ َو َما ل َ ُهم ّمِن ُدونِهِۦ مِن‬... ١١ ‫ال‬ ‫و‬ ٍ ความว่ า “...และส� ำ หรั บ พวกเขาไม่ มี ผู ้ ช ่ ว ยเหลื อ นอกจาก พระองค์” (อัร-เราะอฺดฺ : 11) กล่าวคือ นอกจากจะไม่มีใครหรือหนทางใดที่จะสามารถปัดความ ทุกข์ยากนั้นให้พ้นไปได้แล้ว ก็ยังไม่มีใครช่วยเหลือหรือคุ้มครองพวกเขาได้ อีกนอกจากพระองค์ พี่น้องที่รักทุกท่านครับ มนุษย์เรามักจะหลอกตัวเองเสมอว่าเรายัง มีเวลาเหลืออีกมากมายที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือเตาบะฮฺจากความผิด ต่างๆ เรามักหลอกตัวเองเพื่อที่เราจะได้คงอยู่ในการกระท�ำความผิดอย่าง สบายใจ แต่ ณ เวลาที่เราก�ำลังคิดว่าจะด�ำรงตนอยู่บนความชั่วนั้น หรือ ณ เวลาที่เราจะเริ่มท�ำความชั่วหนึ่งๆ นั้น ณ ช่วงเวลาเดียวกันนั้น หากเป็น ช่วงเวลาทีอ่ ลั ลอฮฺทรงประสงค์เปลีย่ นแปลงสิง่ ดีๆ เป็นความทุกข์ยากเพือ่ ส่ง มายังเราพอดี ใครเลยจะช่วยเราได้? และเราจะรอดพ้นจากมันได้อย่างไร? แล้วเราจะยังมีโอกาสหลอกตัวเองต่อไปหรือไม่? หากว่าการเปลี่ยนแปลง ที่อัลลอฮฺทรงส่งมายังเราตอนนั้น คือความตายบนสภาพแห่งการฝ่าฝืน พระองค์ หรือสภาวะหนึ่งๆ ที่จะเปิดเผยความผิดของเราให้ผู้อื่นได้รับรู้ เราจะตอบโต้ หรือต่อต้านพระองค์ได้อย่างไร? กฎสภาวะนี้ของอัลลอฮฺจะท�ำให้ผู้ศรัทธาที่เรียนรู้และเข้าใจมัน ระมัดระวังตัวอย่างมากในการใช้ชีวิตของเขา เพราะในทุกๆ การกระท�ำ คือการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะทางดีหรือตรงกันข้ามก็ตามแต่ และเมื่อมีการ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

109


เปลี่ยนแปลงหนึ่งๆ อัลลอฮฺก็จะทรงให้การเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ได้ส่งผลกับ เขาตามหนทางแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เขาได้ขวนขวายด้วยตัวเอง และยิ่ง ไปกว่านั้น ในความสัมพันธ์ของมุสลิมที่ประดุจเรือนร่างเดียวกัน ความผิด หนึ่งๆ ที่เรากระท�ำ อาจะเป็นเหตุแห่งความทุกข์ยากแก่คนอื่นรอบตัวของ เราด้วย โดยที่เราอาจไม่รู้สึกตัวเลย ขออัลลอฮฺทรงให้เราทุกคนได้อยู่บนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดี เสมอ เพื่อที่พระองค์จะทรงประทานสิ่งที่ดีมายังเรา และขอให้เรารอดพ้น จากการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ชั่ว เพื่อพระองค์จะไม่ทรงส่งความทุกข์ยาก มายังเรา ขอให้เราทุกคนได้อยู่ร่วมกันในสวรรค์ของพระองค์ ทั้งครอบครัว ของเรา พี่น้องที่เรารัก และใกล้ชิดกับท่านนบี และได้มองไปยังพระผู้เป็นเจ้า ที่เรารักในทุกๆ วัน และพระองค์คือผู้ทรงอยู่ใกล้ชิดและตอบรับการวอนขอ

110

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


การมองเห็นอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่งและทรงเกียรติ

พี่น้องที่ผมรักในหนทางของอัลลอฮฺทุกท่าน ชีวิตของเรานั้นมิใช่อื่น ใดเลยนอกจากสนามแห่งการทดสอบ เพื่อจะดูว่าใครกันที่สัจจริงและใคร กันที่บิดพลิ้ว ใครกันที่ศรัทธามั่นและใครกันที่หัวใจของเขายังเต็มไปด้วย ความเคลือบแคลงสงสัย ใครกันที่จะเป็นผู้กตัญญูรู้คุณและใครกันที่เป็น ผู้เนรคุณฝ่าฝืน หลายครัง้ เราถูกทดสอบด้วยความสุขสบาย หลายครัง้ เราถูกทดสอบ ด้วยความยากล�ำบาก หลายครัง้ ถูกทดสอบด้วยการได้รบั และหลายครัง้ ก็ถกู ทดสอบด้วยการสูญเสีย บางบททดสอบก็เบาบางและง่ายดายในการผ่าน พ้น บางบททดสอบก็หนักหน่วงจนหัวใจอดที่จะคิดไม่ได้ว่าเราจะผ่านมันไป ได้อย่างไร หลายครั้งที่เราผิดพลาดและล้มลง บ้างก็ยืนขึ้นใหม่ในไม่ช้า บ้าง ก็ถูกกาลเวลากลืนกินจนเกือบสายเกินไปที่จะลุกมาแก้ไขอะไร ชีวิตเราต้อง ฝ่าฟันกับบททดสอบต่างๆ เหล่านี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงลมหายใจสุดท้าย َ َ َ َ َ َ َ َّ ٰ َ ۡ َ ُّ َ ٰٓ َ ٦ ِ‫�� ُن إِنك �د ٌِح إ ِ ٰ� َر ّ�ِك ك ۡد ٗحا � ُم�ٰقِيه‬ �ِ ‫���ها ٱ‬ ความว่า “โอ้มนุษย์เอ๋ย แท้จริงเจ้าต้องพากเพียรไปสู่พระเจ้า ของเจ้าอย่างทรหดอดทนแล้วเจ้าจึงจะพบพระองค์” (อัล-อินชิก็อก : 6)


แน่แท้ว่าการพากเพียรของเราย่อมไม่สูญเปล่า บรรดาผู้ที่กระท�ำ ความดี ย ่ อ มได้ รั บ การตอบแทนจากพระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ของเขาซึ่ ง เป็ น การ ตอบแทนที่ดีงามยิ่งกว่าสิ่งที่เขาได้กระท�ำเอาไว้เสียอีก ٗ َ ّ َ ٗ ٰ َ َ ُ َّ َ ۡ ُ َ َ ٞ ۡ ُ َ ُ َ ٰ َ ُ ۡ َ َ َ ّ ٗ ٰ َ َ َ ۡ َ ۖ ‫من ع ِمل صل ِحا مِن ذك ٍر أو أنث وهو مؤمِن فلنحيِينهۥ حيوة طيِبة‬ َ ُ َ ۡ َ ْ ُ َ َ َ ۡ َ ُ َ ۡ َ ۡ ُ َّ َ ۡ َ َ َ � ‫ولج ِزينهم أجرهم بِأحس ِن ما كنوا يعملون‬ ความว่า “ผู้ใดปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ก็ตาม โดยทีเ่ ขาเป็นผูศ้ รัทธา ดังนัน้ เราจะให้เขาด�ำรงชีวติ ทีด่ ี และแน่นอน เราจะตอบแทนพวกเขาซึง่ รางวัลของพวกเขา ทีด่ ยี งิ่ กว่าทีพ่ วกเขาได้เคย กระท�ำไว้” (อัน-นะหฺลฺ : 97) เมื่อวันกิยามะฮฺมาถึงทั้งญินและมนุษย์ที่เนรคุณและดื้อดึง ผู้ที่คอย ขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นได้กระท�ำสิ่งที่ดี ผู้ที่ฝ่าฝืน ผู้ที่สงสัย ผู้ที่ท�ำให้มีพระเจ้า จอมปลอมอื่นๆ ควบคู่กับอัลลอฮฺผู้ทรงบริสุทธิ์ พวกเหล่านี้จะถูกจับโยนลง ไปในนรกในสภาพที่ต�่ำต้อยและได้รับความทรมานสาสมกับสิ่งที่พวกเขา ได้ขวนขวายเอาไว้ตลอดชีวิตในดุนยานี้จนกระทั่งนรกนั้นอัดแน่นไปด้วย ชาวนรก ۡ ُّ َ ُ َ ُ َ َ َٰ َ َُۡ َ ‫ل َّن ُة ل ِۡل ُم َّتق‬ َِ ‫ي ب‬ َ ۡ ‫ي َغ‬ َّ َ‫ِك أ‬ َ ‫و‬ ‫ل‬ ‫ون‬ ‫د‬ ‫وع‬ ‫ت‬ ‫ا‬ ‫م‬ ‫ه‬ ‫يد‬ ‫ع‬ ‫ٱ‬ ‫ت‬ ‫ِف‬ ‫ا‬ ‫ذ‬ � ‫اب‬ ِ ‫وأزل‬ ِ ٍ ٍ ِ ُّ ‫ش ٱ َّلر ۡح َم ٰ َن بٱ ۡل َغ ۡيب َو َجا ٓ َء ب َق ۡلب‬ َ َ ِ ‫يظ � َّم ۡن َخ‬ � ‫ِيب‬ ‫ن‬ ‫م‬ ٖ ِ‫حف‬ ِ ِ ٍ ٖ ِ َ َ َ ُ ٓ َ َ َّ ُ َ ُ ُۡ ُ ۡ َ َ َٰ َٰ َ َ ُ ُ ۡ ‫للودِ � لهم ما يشاءون ف‬ ‫ٱدخلوها بِسلمٖۖ ذل ِك يوم ٱ‬ ‫ِيها َو َل ۡي َنا‬ ٞ � ‫َم ِزيد‬ 112

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ความว่า “และสวนสวรรค์ก็ถูกน�ำให้มาใกล้แก่บรรดาผู้ย�ำเกรง ซึ่งมันมิได้อยู่ไกลเลย นี่คือสิ่งที่พวกเจ้าได้ถูกสัญญาไว้ส�ำหรับทุกคนที่ ส�ำนึกผิด (หันหน้าเข้าหาอัลลอฮฺ) ผู้รักษาบัญญัติ (ของอัลลอฮฺ) ผู้ที่เกรง กลัวพระผู้ทรงกรุณาปรานีโดยทางลับ และมาหา (พระองค์) ด้วยจิตใจ ที่ส�ำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัว พวกเจ้าจงเข้าไปในสวนสวรรค์ด้วยความ ศานติ นั่นคือวันแห่งการพ�ำนักอยู่ตลอดกาล ส�ำหรับพวกเขาจะได้รับสิ่ง ที่พวกเขาพึงประสงค์ในสวนสวรรค์ และ ณ ที่เรานั้นยังมีอีกมากมาย” (ก็อฟ : 31-35) ในสวนสวรรค์ที่เราทุกคนจะได้พ�ำนักหลังจากการเหน็ดเหนื่อยใน โลกนี้นั้น จะมีทุกอย่างที่เราปรารถนาและเราจะอยู่ในนั้นตลอดกาล ชาว สวรรค์ในวันนั้นคือบ่าวผู้ที่อัลลอฮฺทรงพอพระทัยแล้ว และพระองค์จะไม่ ทรงกริ้วโกรธพวกเขาอีกต่อไป นอกจากนั้นพวกเขาก็จะมีความสุขอยู่กับ การสรรเสริญพระองค์ พูดคุยกับพระองค์อย่างใกล้ชิด และเหนือสิ่งอื่นใด พวกเขาจะได้รับในสิ่งที่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไม่มีวันที่จะได้รับ นั่นคือการ มองเห็นอัลลอฮฺผู้ทรงบริสุทธิ์และสมบูรณ์ยิ่ง َ ٞ َ َ ِ َّ‫ يَ ۡو َم� ٖذ ن‬ٞ ‫ُو ُجوه‬ ٢٣ ‫ إ ِ ٰ� َر ّ� ِ َها ناظ َِرة‬٢٢ ٌ‫ا�ة‬ ِ ความว่า “ในวันนั้น หลายๆใบหน้าจะเบิกบาน จ้องมองไปยัง พระเจ้าของมัน” (อัล-กิยามะฮฺ: 22-23) หะดีษที่รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้นั้นมีจ�ำนวนมากและรายงานโดย เศาะหาบะฮฺหลายท่านด้วยส�ำนวนที่แตกต่างกันไปแต่ใกล้เคียงกัน เช่น รายงานจากท่านศุฮัยบฺ ท่านนบีกล่าวว่า

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

113


‫ تُ ِر ُيدو َن َش ْيئًا‬:‫ يَقُو ُل ال َّل ُه تَبَا َر َك َوتَ َعا َلى‬- ‫ قَا َل‬- ‫) ِ�إذَا َد َخ َل أَ� ْه ُل ا ْل َج َّن ِة ا ْل َج َّن َة‬ ، ‫ َوتُنَ ِّجنَا ِم َن ال َّنا ِر‬،‫ أَ� َل ْم تُ ْد ِخ ْلنَا ا ْل َج َّن َة‬،‫ أَ� َل ْم تُبَ ِّي ْض ُو ُجو َهنَا‬:‫ فَيَقُو ُلو َن‬،‫أَ� ِز ُيدك ُْم‬ ‫ فَ َما أُ� ْع ُطوا َش ْيئًا أَ� َح َّب ِ�إ َل ْيه ِْم ِم َن ال َّن َظ ِر ِ�إ َلى َربِّه ِْم َع َّز‬،‫اب‬ َ ‫ فَيَك ِْش ُف ا ْل ِح َج‬- ‫ قَا َل‬‫َو َج َّل ) رواه مسلم‬ ความว่า “เมื่อชาวสวรรค์ได้เข้าสู่สวรรค์แล้ว อัลลอฮฺ จะ ตรัสถามว่า: ‘พวกเจ้าต้องการสิ่งใดเพิ่มเติมจากข้าอีกไหม?’ พวกเขา ก็จะตอบว่า: ‘พระองค์ทรงท�ำให้ใบหน้าของพวกเราใสบริสุทธิ์แล้วมิใช่ หรือ? พระองค์ทรงให้พวกเราได้เข้าสวรรค์ และรอดพ้นจากไฟนรกแล้ว มิใช่หรือ?’ (แล้วพวกเราจะต้องการสิ่งใดอีก?–ผู้เขียน) พระองค์จึงทรงปลด ฉากทีก่ นั้ อยูอ่ อก ซึง่ ไม่มคี วามโปรดปรานใดๆ ทีพ่ วกเขาได้รบั จะเป็นทีส่ งิ่ ที่พวกเขาปรารถนามากยิ่งไปกว่าการได้มองไปยังพระเจ้าของพวกเขา” (บันทึกโดยมุสลิม หะดีษเลขที่ 181) แล้วท่านศุฮัยบฺก็อ่านอายะฮฺนี้

َ َ َّ ّ َٞ ُ ۡ ‫ِين أ ۡح َس ُنوا ْ ٱ‬ ٰ َ ‫� ۡس‬ ٢٦ ... ۖ ‫� َوزِ َ�ادة‬ �ِ ‫۞ل‬

ความว่า “ส�ำหรับบรรดาผู้กระท�ำความดี จะได้รับความดี และได้ เพิ่มขึ้นอีก (ซึ่งหมายถึงการมองเห็นอัลลอฮฺ) ...” (ยูนุส : 26) สิ่งนี้คือสิ่งที่บรรดาเศาะหาบะฮฺก็คาดหวังว่าจะได้รับ ผู้ศรัทธาทุก คนต่างมีความปรารถนาที่จะได้เห็นพระเจ้าของพวกเขา ผู้ที่พวกเขาศรัทธา ต่อพระองค์ รักและเชื่อฟังพระองค์ทั้งที่ไม่เคยได้เห็นพระองค์เลยตลอดชีวิต ในดุนยา สภาพเช่นนี้ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เล่าว่า มีบางคนถามท่านรสูล ว่า: ในวันกิยามะฮฺพวกเราจะได้เห็นพระเจ้าของพวกเราไหมครับ? ท่าน 114

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


กล่าวตอบว่า : ‫ قَا َل‬،‫ لَا يَا َر ُسو َل ال َّل ِه‬:‫ قَا ُلوا‬،‫اب؟‬ َّ ‫) َه ْل تُ َضا ُّرو َن ِفي‬ ِ ‫الش ْم‬ ٌ ‫س َل ْي َس ُدونَ َها َس َح‬ ، ‫ لَا يَا َر ُسو َل ال َّل ِه‬:‫ قَا ُلوا‬،‫اب؟‬ ٌ ‫َه ْل تُ َضا ُّرو َن ِفي ا ْل َق َم ِر َل ْيلَ َة ا ْلبَ ْد ِر َل ْي َس ُدونَ ُه َس َح‬ ‫ فَ ِ إ�نَّك ُْم تَ َر ْونَ ُه ي َ ْو َم ا ْل ِقيَا َم ِة ك َ​َذ ِل َك ) رواه البخاري ومسلم‬:‫قَا َل‬ ความว่า “พวกท่านประสบปัญหาในการมองเห็นดวงอาทิตย์ใน วันที่ไม่มีเมฆบดบังไหม?” พวกเขากล่าวว่า “ไม่เลยครับท่านรสูลุลลอฮฺ” ท่านกล่าวถามอีกว่า “แล้วพวกท่านประสบปัญหาในการมองเห็นดวง จันทร์ ในคืนจันทร์เต็มดวงที่ไม่มีเมฆบดบังไหม” พวกเขากล่าวว่า “ไม่ เลยครับท่านรสูลุลลอฮฺ” ท่านกล่าวว่า “ในวันกิยามะฮฺพวกท่านก็จะได้ เห็นอัลลอฮฺอย่างชัดเจนเช่นนั้น” (บันทึกโดยอัล-บุคอรี หะดีษเลขที่ 6573 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 299) การตอบแทนที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ย่อมได้แก่ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺเพียง พระองค์เดียวและท�ำทุกอย่างด้วยดีที่สุดเพราะตระหนักเสมอว่าพระองค์ ทรงมองเขาอยู่แม้ว่าเขาจะไม่เห็นพระองค์ก็ตาม ดังที่พระองค์ตรัสว่า َ َ َّ ّ َٞ ُ ۡ ‫ِين أ ۡح َس ُنوا ْ ٱ‬ ٰ َ ‫� ۡس‬ ٢٦ ... ۖ ‫� َوزِ َ�ادة‬ �ِ ‫۞ل‬ ความว่า “ส�ำหรับบรรดาผู้กระท�ำความดี จะได้รับความดี และได้ เพิ่มขึ้นอีก...” (ยูนุส : 26) ท่านญะรีรฺ อิบนุ อับดิลลาฮฺ เล่าว่า ขณะที่เรานั่งอยู่กับท่านรสูล ในคืนจันทร์เต็มดวง ท่านก็มองไปยังดวงจันทร์ แล้วกล่าวว่า

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

115


‫ فَ ِ إ� ِن ا ْستَ َط ْعتُ ْم أَ� ْن‬،‫ لا َ تُ َضا ُّمو َن ِفى ُر ْؤي َ ِت ِه‬،‫) أَ� َما ِ�إنَّك ُْم َستَ َر ْو َن َربَّك ُْم كَ َما تَ َر ْو َن َه َذا‬ ‫س َوقَ ْب َل غ ُ​ُرو ِب َها فَا ْف َعلُوا ي َ ْع ِنى ا ْل َع ْص َر‬ َّ ‫وع‬ ِ ‫الش ْم‬ ِ ُ‫لا َ تُ ْغلَبُوا َعلَى َصلاَ ٍة قَ ْب َل ُطل‬ ‫َوا ْل َف ْج َر ) رواه البخاري ومسلم‬ ความว่า “แน่นอนว่าพวกท่านจะได้เห็นพระผู้เป็นเจ้าของพวก ท่าน เฉกเช่นที่พวกท่านมองเห็นดวงจันทร์นี้ โดยที่พวกท่านจะไม่ประสบ ปัญหาหรือความยากล�ำบากใดๆ ในการมองเห็นพระองค์ ดังนั้น หากว่า พวกท่านสามารถทีจ่ ะไม่พลาดการละหมาดก่อนตะวันขึน้ และก่อนตะวัน ตกดินได้ก็จงอย่าพลาดเถิด” (หมายถึงละหมาดฟัจญ์รฺและละหมาดอัศรฺ) แล้วท่านญะรีรฺก็อ่านอายะฮฺที่ว่า

ُ َ َ َّ ِ ُ ُ َ ۡ َ َ ّ َ ۡ َ ۡ ّ َ َ ١٣٠ ... ۖ‫وع ٱلش ۡم ِس َو� ۡبل غ ُرو� ِ َها‬ ‫ وسبِح ِ�م ِد ر�ِك �بل طل‬...

ความว่า “...และจงแซ่ซอ้ งสดุดดี ว้ ยการสรรเสริญพระเจ้าของเจ้า ก่อนตะวันขึ้นและก่อนตะวันลับลงไป...” (ฏอฮา : 130) (บันทึกโดยอัล-บุคอรี หะดีษเลขที่ 573 และมุสลิม หะดีษเลขที่ 633) อัล-ค็อฏฏอบี กล่าวว่า “ผู้ศรัทธาทุกคนจะได้เห็นอัลลอฮฺในสภาพ ทีเ่ ท่าเทียมกัน โดยทีค่ นหนึง่ จะไม่บดบังทัศนวิสยั ของอีกคนหนึง่ ซึง่ หะดีษ บทนี้เป็นหลักฐานยืนยันว่าการจะได้มาซึ่งการตอบแทนนี้ ส่วนหนึ่งก็คือ การรักษาละหมาดทั้งสองเวลานี้” อิบนุหะญัร กล่าวว่า “หะดีษนี้บ่งชี้ให้เราเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เพื่อการละหมาดในเวลาอันยิ่งใหญ่ทั้งสองนี้ และตัดปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย ออกไปให้หมด ไม่ว่าจะเป็นการนอนอย่างไม่รู้เวลาหรือการง่วนอยู่กับ 116

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


ภารกิจต่างๆ ในดุนยา” นี่ คื อ สิ่ ง ที่ ผ มวิ ต กกั ง วลและเป็ น ห่ ว งอย่ า งมากต่ อ ตั ว ผมเอง ต่ อ ครอบครัวของผมและพี่น้องทุกท่าน กี่ครั้งที่เราพลาดจากการละหมาดทั้ง สองเวลานีอ้ ย่างตรงเวลา อย่างสมบูรณ์? กีค่ รัง้ ทีเ่ ราปล่อยให้สงิ่ อืน่ ซึง่ อาจจะ เป็นอะมานะฮฺต่างๆ ที่เราต้องรักษาไว้ หรือแย่ไปกว่านั้นคือสิ่งไร้สาระหรือ สิง่ ต้องห้าม กีค่ รัง้ ทีเ่ ราปล่อยให้มนั พรากเราจากการละหมาด จากการเข้าเฝ้า พระเจ้าของเรา จากการกระท�ำที่จะน�ำเรากลับไปหาพระองค์ในสภาพที่ พระองค์พอพระทัย และตอบแทนเราด้วยการให้เราได้มองไปยังพระองค์ ผูท้ รงสมบูรณ์และงดงามยิง่ การทีเ่ ราเลือกทีจ่ ะนอนต่อโดยละทิง้ การละหมาด ทัง้ สองนีโ้ ดยเฉพาะละหมาดฟัจญ์รมฺ นั บ่งชีว้ า่ เราไม่คดิ ถึงพระองค์หรือเปล่า? หรือเราไม่อยากเป็นผู้หนึ่งที่จะได้รับความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่นี้ สิ่งส�ำคัญอีกประการที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ ผู้ทรงแจ้งแก่ปวงบ่าวทั้งหลายว่า َ َ ِ َّ َ َ ۡ َ ُ ُ ٌ َ ّ َ ّ َ َ َ​َ َ َ َ َ �‫جيب دعوة ٱ�اع إِذا د� ِن‬ ِ ‫�ذا س�لك عِبادِي � ِ� فإ ِ ِ� ق ِر�بۖ أ‬ ْ ُ َ ۡ ََۡ َّ َ ْ ۡ ۡ َ ُ ١٨٦ ‫يبوا ِ� َو�ُؤم ُِنوا ِ� ل َعل ُه ۡم يَ ۡرش ُدون‬ ‫ج‬ ِ ‫فليست‬ ความว่า “และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วก็จงตอบเถิดว่า แท้จริงนัน้ ข้าอยูใ่ กล้ ข้าจะตอบรับค�ำวิงวอนของผูท้ วี่ งิ วอนเมือ่ เขาวิงวอน ต่อข้า ดังนั้น พวกเขาจงตอบรับข้าและศรัทธาต่อข้าเถิด เพื่อว่าพวกเขา จะได้อยู่ในทางที่ถูกต้อง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 186) ท่านอัมมารฺ อิบนุ ยาสิรฺ บทต่อไปนี้ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

กล่าวว่า ท่านนบี

เคยกล่าวดุอาอ์

117


، ‫َّاء ُم ِض َّر ٍة‬ َّ ‫ َو‬،‫) َو أَ� ْس أَ� ُل َك َل َّذةَ ال َّن َظ ِر ِ�إ َلى َو ْجه َِك‬ َ ‫ ِفي َغ ْي ِر َضر‬،‫الش ْو َق ِ�إ َلى ِلقَا ِئ َك‬ ‫ ) رواه النسائي وصححه ال�ألباني‬،‫َولَا ِف ْتنَ ٍة ُم ِض َّل ٍة‬ ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอให้ข้าพระองค์ได้มีความปีติยินดีกับ การมองเห็นพระพักตร์ของพระองค์ และรอคอยการกลับไปหาพระองค์ อย่างใจจดใจจ่อ โดยปราศจากความทุกข์ร้อนล�ำเค็ญ หรือฟิตนะฮฺความ วุน่ วายที่ท�ำให้หลงผิด” (บันทึกโดยอัน-นะสาอี หะดีษเลขที่ 1305 โดยชัยคฺ อัล-อัลบานีมีทัศนะว่าเป็นหะดีษเศาะฮีหฺ) ทว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้นจะถูกหวงห้ามจากความโปรดปราน อันยิ่งใหญ่นี้ ดังที่อัลลอฮฺตรัสว่า َ ُ ُ ۡ َ َّ َ ۡ َ ۡ ّ َّ َ ۡ ُ َّ ٓ َّ َ ١٥ ‫و�ون‬ ‫� إِ�هم عن ر� ِ ِهم يوم� ِ ٖذ لمحج‬ ความว่า “มิใช่เช่นนั้น แท้จริงพวกเขาในวันนั้นจะถูกกั้นจาก พระเจ้าของพวกเขา” (อัล-มุฏ็อฟฟิฟีน : 15) ชัยคฺ อับดุรเราะหฺมาน อัส-สะอฺดียฺ ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน กล่าว ว่า “ความเจ็บปวดทรมานจากการถูกปิดกั้นมิให้มองเห็นพระผู้เป็นเจ้า แห่งสากลโลก อันเนื่องจากความกริ้วโกรธและความไม่พอพระทัยที่ พระองค์มีต่อพวกเขานั้น เป็นความทุกข์ทรมานอันแสนสาหัสยิ่งกว่าการ ถูกลงโทษแผดเผาด้วยไฟนรกเสียอีก” ขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ เจ้าแห่งบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ โปรด ทรงท�ำให้เรามั่นคงในศาสนาของพระองค์ตลอดชีวิตของเรานี้ และจบชีวิต ลงในสภาพของผู้ที่ศรัทธาและนอบน้อมต่อพระองค์ โปรดอย่าให้เราใช้ชีวิต และจบชีวิตในสภาพของผู้ปฏิเสธศรัทธาที่จะถูกหวงห้ามจากการมองเห็น 118

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น


พระองค์ในวันกิยามะฮฺ โอ้พระเจ้าผู้ทรงได้ยิน แท้จริงพระองค์ทรงรู้สิ่งที่เรา เปิดเผยและปกปิด และพระองค์ทรงรู้สิ่งที่อยู่ในดวงจิตและความนึกคิดของ เรา ขอพระองค์ทรงให้ความหวังที่เราจะได้เห็นพระองค์เป็นความจริงด้วย เถิด โอ้อัลลอฮฺ ขอให้เหล่าข้าพระองค์ได้มีความปีติยินดีกับการมองเห็น พระพักตร์ของพระองค์ และรอคอยการกลับไปหาพระองค์อย่างใจจดใจจ่อ โดยปราศจากความทุกข์รอ้ นล�ำเค็ญ หรือฟิตนะฮฺความวุน่ วายทีท่ ำ� ให้หลงผิด ขอวิงวอนต่ออัลลอฮฺด้วยกับพระนามของพระองค์อันวิจิตรและ คุณลักษณะของพระองค์อันสูงส่ง ให้เราทุกคนอยู่ในทางน�ำที่ถูกต้อง และ ท�ำให้สิ่งที่เราได้สอนนั้นเป็นสิ่งที่เอื้อประโยชน์แก่เราและไม่ท�ำให้เราต้องถูก ลงโทษ และขอพระองค์ให้เรามีความจ�ำเริญทั้งในค�ำพูดของเรา การกระท�ำ ของเรา เวลาของเรา รวมถึงภรรยาของเรา ลูกหลานของเรา และทรัพย์สิน เงินทองของเรา และได้โปรดให้เรามีความจ�ำเริญในทุกแง่มุมของชีวิต และ ขอพระองค์ทรงปรับปรุงกิจการต่างๆ ของเราให้ดี ขอพระองค์ทรงปรับปรุง แก้ไขศาสนาของเราซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวของเรา ขอพระองค์ทรงปรับปรุงโลก ดุนยาของเราซึ่งเป็นสถานที่แห่งการมีชีวิตของเรา ขอพระองค์ทรงปรับปรุง โลกอาคิเราะฮฺของเราซึ่งเป็นที่คืนกลับของเรา ขอพระองค์ทรงประทานให้ ชีวติ ของเราเป็นการเพิม่ พูนความดีทกุ ประการแก่เรา และขอทรงประทานให้ ความตายนัน้ เป็นการพักผ่อนแก่เราจากสิง่ ทีช่ วั่ ร้ายทัง้ หลาย และขอพระองค์ โปรดประทานความส�ำเร็จแก่เราในทุกความดีงามที่พระองค์ทรงรักและ พึงพอพระทัยต่อมัน แท้จริงพระองค์ทรงได้ยินการวิงวอนและการร้องขอ และพระองค์เป็นที่พอเพียงแล้วส�ำหรับเราและเป็นที่มอบหมายที่ดียิ่ง และค�ำวิงวอนสุดท้ายของเราก็คือ การสรรเสริญทั้งหลายเป็นสิทธิ ของอัลลอฮฺ ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอพรอันประเสริฐ ความศานติ ความจ�ำเริญ และความโปรดปรานจงมีแด่บ่าวและศาสนทูตของพระองค์ เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น

119


ผู้ที่ได้รับการคัดสรร “มุฮัมมัด อิบนุ อับดิลลาฮฺ” และแด่วงศ์วานของท่าน ตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านและผู้ปฏิบัติตามแนวทางของท่าน เหล่านั้นทั้งปวง

120

เ พ ร า ะ รั ก จึ ง ตั ก เ ตื อ น



หมวดศาสนาและการพัฒนาตนเอง

ราคา 100 บาท


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.