พจนานุกรมภาษาโคราช ดร เมตต์ เมตต์การุณ์จิต

Page 1

พจนานุกรม

ภาษาโคราช ดร. เมตต์ เมตต์การุณ์จิต

ชมรมอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช จิตอาสาราชประชาสมาสัย

จัดท�ำตามแนวทาง “การจัดท�ำพจนานุกรมภาษาไทยถิ ่ น ๓ ภาค ฉบั บ ราชบัณฑิตยสภา” 355


พจนานุกรม ภาษาโคราช ดร. เมตต์ เมตต์การุณ์จิต ชมรมอนุ รั ก ษ์ ภ าษาและ วั ฒ นธรรมพื้ น บ้ า นโคราช จิตอาสาราชประชาสมาสัย

จัดทำ�ตามแนวทาง “การจัดทำ�พจนานุกรม ภาษาไทยถิ่น ๓ ภาค ฉบับราชบัณฑิตยสภา”


พจนานุกรมภาษาโคราช ดร. เมตต์ เมตต์การุณ์จิต

พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๓๒ พิมพ์ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๗ พิมพ์ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๔๒ พิมพ์ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๖ พิมพ์ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๕๐ พิมพปรับปรุงแก้ไข์ครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๕๒ พิมพ์ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ดร. เมตต์ เมตต์การุณ์จิต : ผู้รวบรวมเรียบเรียง พจนานุกรมภาษาโคราช : ชื่อเรื่อง จำ�นวน ๔๐๐ หน้า ISBN ๙๗๑-๘๖๘๘๑-๗-๕ สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ที่ปรึกษา : พล.ท. วิชัย แชจอหอ แม่ทัพภาคที่ ๒ พล.ท. ชยันต์ หวยสูงเนิน อดีตที่ปรึกษา กองทัพบก นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ศ.(พิเศษ) ดร. นพ. สำ�เริง แหยงกระโทก ภาพวาด : นายวิชิต คงประกายวุฒิ นายศิริวัฒน์ สาระเขต นายทวียศ วิทโยปกรณ์ นายกรุง กุลชาต พิสูจน์อักษร : นายจรัล คะเชนทร์ชาติ นางสุพรรณ ธวัชชัยพันธุ์ นางจุระสันต์ ศรสุข นางชุษณา เมตต์การุณ์จิต นางวัฒนา ก้อนเชื้อรัตน์ นางจันทร์เพ็ญ กรวิทยาศิลป ประสานงบประมาณ : นางชุษณา เมตต์การุณจ์ ติ นางภาษิตา ทิพย์ประภา นายเทอด แน่นหนา นางสุพรรณ ธวัชชัยพันธุ์ นายเดชาธร กลิน่ จันทร์แดง นายกนก ทรัพย์แสนยากร นายจิรวัฒน์ วิวฒ ั นาพันธุ์ นายรุง่ โรจน์ วัฒนศักดิ์ นายสุทธิพงศ์ ศรีไชยรัตน์ นายสุพนั ธ์ ก้อนเชือ้ รัตน์ ติดต่อ : ชมรมอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช จิตอาสาราชประชาสมาสัย เลขที่ ๓๑๐/๑ ซอยมหาดไทย๑ ถนนมหาดไทย อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐ โทร.มือถือ ๐๘๘ ๓๔๙๔๒๒๓ พิมพ์ท ี่ บริษัท ยืนหยัดชัดเจน จำ�กัด ๕๐-๖๔ ซ.จิตประชา ถ.จอมสุรางค์ยาตร์ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ๓๐๐๐๐ e-mail : k_printing@hotmail.com ๐๔๔-๒๕๖๕๖๖, ๐๘๖-๔๖๑๖๗๘๙


“...เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้...” พระราชด�ำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕


คำ�นิยม เมื่อพูดถึงจังหวัดนครราชสีมาหรือเมืองโคราช ซึ่งเป็น จังหวัด ซึ่งมีพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และได้รับขนานนามว่า เป็น “ประตูสู่อีสาน” สิ่งแรกที่ทุกคนจะนึกถึงก็คือ อนุสาวรีย์ท่านท้าวสุรนารี หรือ “ย่าโม” วีรสตรี ผู้กล้าในประวัติศาสตร์ อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ เคารพสักการะคู่บ้านคู่เมืองของชาวโคราช “เมืองโคราช” มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ “คนโคราช” หรือที่ส่วนใหญ่ มักถูกเรียกว่า “คนไทยเบิ้ง” หรือ “ไทยเดิ้ง” มีการพูด“ภาษาโคราช” อันเป็นเอกลักษณ์ ที่โดดเด่น บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นตัวเอง ซึ่งเป็นภาษาผสมผสาน กึ่งภาษากลาง และภาษาอีสาน มีศัพท์ ส�ำนวน และส�ำเนียง ที่มีลักษณะเฉพาะตัวเป็นของตนเองแตกต่าง จากภาษาอื่น ๆ และด้วยการที่เป็นจังหวัดมีเนื้อที่มาก มีประชากรอาศัยอยู่มาก ท�ำให้เมืองโคราช ของเรามีศักยภาพในการเจริญเติบโตสูงมาก และต้องรับกระแสการหลั่งไหลเข้ามาของการ ลงทุนจ�ำนวนมาก ทั้งห้างสรรพสินค้าและเส้นทางคมนาคมขนาดใหญ่ต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งส่ง ผลให้การใช้ภาษาโคราชในปัจจุบันก�ำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น ส�ำเนียงการพูด ค�ำบางค�ำได้ สาบสูญจนเยาวชนคนโคราชรุน่ ใหม่จะไม่มใี ครรูจ้ กั เพราะความเจริญเติบโตทางด้านวัฒนธรรม และเทคโนโลยีตา่ ง ๆ คนโคราชรุน่ ใหม่นยิ มใช้ภาษากลางกันมากขึน้ ต่อไปอาจท�ำให้ภาษาโคราช รวมถึงภาษาถิน่ อืน่ ๆ อาจจะหายไปจากสังคมไทยก็เป็นได้ ผมขอขอบคุณ ชมรมอนุรกั ษ์ภาษาและวัฒนธรรมพืน้ บ้านโคราช จิตอาสาราชประชา สมาสัย ทีไ่ ด้ตระหนังถึงความส�ำคัญและร่วมกันหาทางช่วยกันอนุรกั ษ์ ฟืน้ ฟูภาษา ภูมปิ ญ ั ญา และวัฒนธรรมท้องถิน่ รวมทัง้ ได้จดั ท�ำพจนานุกรมภาษาโคราชในครัง้ นี้ ซึง่ นับเป็นโครงการทีจ่ ะมี ประโยชน์และมีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ภาษาโคราชให้คงไว้อยู่คู่กับสังคมและคนไทย โดยเฉพาะ คนโคราชได้น�ำไปศึกษาและสามารถน�ำถ้อยค�ำภาษาต่าง ๆ ไปใช้สื่อสารได้อย่างถูกต้อง เพื่อ สืบสาน รักษา และต่อยอดคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของคนโคราช ซึ่งเป็นมรดกอันล�้ำค่าของท้องถิ่น และบรรพชนให้ยั่งยืนสืบไป. (4)

พลโท ( วิชัย แชจอหอ ) แม่ทัพภาคที่ ๒ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐


คำ�นิยม ภาษาโคราชเป็นภาษาถิ่นที่แสดงถึงความรุ่งเรืองใน มรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่อ นุ ช น รุ่นหลังจะได้รับรู้ และเกิดความภาคภูมิใจที่บรรพบุรุษได้สร้างสม มรดกอันล�้ำค่าทางวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ พจนานุกรมภาษาโคราช (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) จะเป็นเอกสารที่มีคุณูปการต่อการอนุรกั ษ์ ภาษาโคราช และการเรียนรู้ การสืบค้น การใช้ภาษาโคราชตัง้ แต่อดีต สืบทอดมาจนถึง ปัจจุบนั ขอขอบคุณ คณะผู้จัดท�ำพจนานุกรมภาษาโคราช (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) และ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ได้ร่วมกันรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันล�้ำค่านี้ไว้เป็นสมบัติแก่ อนุชนรุ่นหลังตราบนานเท่านาน

( นายวิเชียร จันทรโณทัย ) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา

(5)


คำ�นิยม ภาษาโคราช เป็นภาษาท้องถิน่ ทีส่ ะท้อนถึงวิถชี วี ติ ความเจริญ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมปิ ญ ั ญาของท้องถิน่ ทีใ่ ช้เป็นเครื่องมือใน การสื่อสาร จึงทรงคุณค่าและควรให้ความส�ำคัญในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และเผยแพร่ “ภาษาโคราช” ให้อนุชนรุ่นใหม่ได้สืบทอด เมื่อครั้งที่กระผมด�ำรงต�ำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ได้เคย จัดพิมพ์พจนานุกรมภาษาโคราช (โดยได้รับอนุญาตจาก ดร.เมตต์ เมตต์การุณ์จิต) และ มีการรณรงค์ให้มีการพูดภาษาโคราช ให้มีการถ่ายทอดแนวทางไปยังเด็ก เยาวชน ให้รู้ ภาษาโคราชและหันมาพูดภาษาโคราชในชีวิตประจ�ำวัน รณรงค์ให้สถานศึกษามีการสอน และเผยแพร่ภาษาโคราชทุกระดับ รวมทั้งการแต่งกายชุดโคราช โดยเฉพาะผ้าหาง กระรอกที่เป็นผ้าทอพื้นบ้านของคนโคราชซึ่งคนต่างบ้านต่างเมืองรู้จักกันเป็นอย่างดี สิ่ง เหล่านี้ล้วนแต่ควรจะย้อนยุคถึงความรุ่งเรืองในอดีต เพื่อให้โคราชเป็นเมืองที่แสดงถึง เอกลักษณ์ให้ผู้ที่มาเยือนประทับใจและอยากกลับมาเยือนอีก ขอเป็นก�ำลังใจและสนับสนุนส่งเสริมการจัดพิมพ์พจนานุกรมภาษาโคราชใน ครั้งนี้ เพื่อให้ลูกหลานชาวโคราชได้ศึกษาและภาคภูมิภูมิใจในภาษาของตนเอง ศ.(พิเศษ) ดร. นพ. (ส�ำเริง แหยงกระโทก) ประธานชมรมจิตอาสาราชประชาสมาสัย จังหวัดนครราชสีมา

(6)


คำ�นำ�

ในการจัดพิมพ์ปรับปรุงแก้ไข ครั้งที่ ๗

ในการจัดพิมพ์ “พจนานุกรมภาษาโคราช” ครั้งนี้ ได้เดินตามรอยโครงการ “ท�ำความดีเพื่อพ่อ” เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ซึ่งเป็นการสังคายนาครั้งใหญ่ เพื่อให้การรวบรวมค�ำในภาษาโคราชมีความ สมบูรณ์ที่สุดและเป็นไปตามแนวทางการจัดท�ำพจนานุกรมภาษาไทยถิ่น ๓ ภาค ของ ส�ำนักงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งจะเป็นเอกสารหลักฐานเพื่อให้ผู้สนใจโดยเฉพาะคนรุ่น หลัง ได้ทราบว่าค�ำศัพท์ภาษาโคราชเขียนอย่างไรและออกเสียงอย่างไร เพื่อมิให้เป็นข้อ ถกเถียงกัน หนังสือพจนานุกรมภาษาโคราชเล่มนี้ ส�ำเร็จได้ด้วยความกรุณายิ่งจาก พล.ท.วิชัย แชจอหอ แม่ทัพภาคที่ ๒ พล.ท. ชยันต์ หวยสูงเนิน นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ที่ได้ประสานจัดหางบประมาณด้วยมีปณิธานที่อยาก จะให้การจัดพิมพ์ส�ำเร็จ เพื่อให้ลูกหลานได้สืบสานภาษาและความเป็นโคราช และมี วัตถุประสงค์เพือ่ มอบให้หอ้ งสมุดสถานศึกษา ห้องสมุดประชาชนอ�ำเภอ ส่วนราชการ วัด ที่ส�ำคัญ ๆ สื่อมวลชน สถานีวิทยุกระจายเสียง ทุกแห่ง และผู้สนใจภาษาโคราช ขอขอบพระคุณ สมาชิกชมรมอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมพื้นบ้าน จิตอาสา ราชประชาสมาสัย และท่านอื่น ๆ ซึ่งมิอาจกล่าวนามได้ทั้งหมด ที่มีส่วนในการด�ำเนินงาน ครั้งนี้ โดยเฉพาะ ศาสตราจารย์ ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม ที่กรุณาอนุญาตให้น�ำภาพ พรรณไม้จากหนังสือ “พจนานุกรมสมุนไพรไทย” มาแสดงประกอบค�ำศัพท์ นายศุภรัตน์ ภู่เจริญ ส�ำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่จัดหาเอกสาร อ้างอิง อาจารย์ปิยะพงษ์ โพธิ์เย็น นักวรรณศิลป์ช�ำนาญการ ส�ำนักงานราชบัณฑิตย สภา ที่ได้กรุณาแนะน�ำการจัดท�ำเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการจัดท�ำพจนานุกรมภาษา ไทยถิ่น ๓ ภาค ของราชบัณฑิตยสภา ในท้ายนี้ ขอน้อมรับข้อผิดพลาดหากจะมีเกิดขึน้ ไว้แก้ไขในครัง้ ต่อไป อนึง่ อยาก จะเรียนว่า “บรรพบุรุษของเราได้สร้างให้มีภาษาของตนเอง เราลูกหลานควรอย่างยิ่งที่ จะภาคภูมิใจ หวงแหน และรักษาให้อยู่คู่บ้านเมืองโคราชสืบไป” หวังว่าพจนานุกรมภาษา โคราชนี้ จะยังประโยชน์แก่ชาวโคราชและผู้สนใจภาษาโคราช. ดร. เมตต์ เมตต์การุณ์จิต

ประธานชมรมอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช จิตอาสาราชประชาสมาสัย (7)


คำ�นำ�

ในการจัดพิมพ์ ครั้งที่ ๑ ภาษาเป็นเครื่องมือสื่อความเข้าใจของมนุษย์ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาษา พูดหรือภาษาเขียนก็ตาม ภาษาโคราช เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของภาษาไทยที่ พู ด กั น เฉพาะที่ จั ง หวั ด นครราชสีมาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม บางท้องที่ที่ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา เช่น อำ�เภอลำ�ปลายมาศ อำ�เภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ อำ�เภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ก็ พูดภาษาโคราช ด้วยเหตุนี้เองภาษาโคราชจึงเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยซึ่งไม่เป็นที่ รูจ้ กั แพร่หลายเหมือนภาษาถิน่ อืน่ ๆ ทีพ่ ดู กันทัง้ ภาค และแม้วา่ นครราชสีมาจะตัง้ อยู่ ในเขตภาคอีสานก็ตาม แต่โดยเนื้อแท้แล้วคนโคราชก็มิได้พูดภาษาอีสาน (เว่าลาว) แต่อย่างใด หรือแม้แต่การแสดงพื้นบ้านก็ไม่ใช่เป็นการแสดงหมอลำ� หรือหมอลำ� เพลิน ทั้งนี้เพราะโคราชมีวัฒนธรรมการกิน ภาษา เพลงโคราช และวัฒนธรรมอีก หลายอย่างที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง แม้นภาษาโคราชจะเป็นภาษาของชนกลุม่ น้อยก็ตาม แต่กเ็ ป็นสิง่ ทีส่ ะท้อน ให้เห็นความเจริญทางวัฒนธรรมในอดีต ซึง่ บรรพบุรษุ ได้สร้างภาษาให้มคี วามไพเราะ สำ�นวนต่าง ๆ แฝงด้วยคติสอนใจ เช่น ผัวหาบเมียคอน (ช่วยกันทำ�มาหากิน), ได้ ใหม่ลืมเก่าได้เต่าลืมหมา (ได้ดีแล้วลืมคนที่มีบุญคุณ) คำ�บางคำ�บ่งบอกให้เห็นถึง อากัปกิริยาอย่างชัดเจน เช่น เดินหลำ�ละหลำ�หล่าย ยืนหลีเหลอ โหง่ย เป็นต้น สิ่ง เหล่านี้ล้วนแต่มีคุณค่าแก่การวิเคราะห์ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบนั ภาษาโคราชกำ�ลังจะเปลีย่ นแปลงไป เช่น การกลาย เสียง คำ�บางคำ�ได้สาบสูญจนคนโคราชรุ่นใหม่ไม่มีใครรู้จัก ทั้งนี้เพราะบ้านเมืองเรา เจริญขึน้ ทัง้ การคมนาคม การติดต่อสือ่ สาร และการเคลือ่ นย้ายของประชากรทีห่ ลัง่ ไหลมาจากจังหวัดอื่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองโคราชนั้นมิได้มาแต่ตัวเปล่า แต่ยังนำ� เอาภาษาและวัฒนธรรมของตนมาด้วย จนทำ�ให้เกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม (Cultural Assimilation) หรือแม้แต่การที่คนโคราชย้ายถิ่นไปอยู่ที่อื่นก็ดี คนรุ่นเก่า ได้ล้มหายตายจากไปก็ดี สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสาเหตุให้ผู้ที่จะสืบทอดทางภาษาลด (8)


ลงไป นอกจากนี้ความเจริญทางเทคโนโลยียังมีอิทธิพลต่อภาษาโคราช ทำ�ให้คนรุ่น ใหม่เปลี่ยนค่านิยมหันไปพูดภาษากรุงเทพฯ กันมากขึ้น อีกประการภาษาโคราชมี สำ�เนียงและคำ�บางคำ�แตกต่างไปจากภาษากรุงเทพ ฯ บางคนอายไม่กล้าพูดหรือ กลัวจะถูกล้อเลียนเป็นเรื่องขบขัน หรือว่าเป็นลาวโคราช ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่เป็น อุปสรรคต่อการอนุรักษ์ภาษา ภาษาโคราชเป็นสิ่งที่คู่กับคนโคราชที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมาโดย ตลอด แต่ถึงวันนี้ภาษาโคราชกำ�ลังจะเปลี่ยนไป จึงสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง ช่วยกันรักษาไว้ให้อนุชนรุ่นใหม่ได้ศึกษาและเกิดความภาคภูมิใจ อย่างไรก็ดี เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านอาจารย์ถาวร สุบงกช อดีตรอง อธิการบดีวิทยาลัยครูนครราชสีมา ได้ทำ�การวิเคราะห์เรื่องเสียงและความหมาย ภาษาถิ่นโคราช และได้จัดพิมพ์เป็นเอกสารเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ นับว่าเป็นผลงานที่ มีความสำ�คัญยิ่งที่ปูพื้นฐานของการศึกษาภาษาถิ่นโคราช เมื่อภาษาโคราชเป็นของดีอย่างหนึ่งของเมืองโคราช ข้าพเจ้าได้เกิดแนว ความคิดว่า น่าจะเผยแพร่ให้กว้างขวาง และให้เห็นถึงความสำ�คัญของวัฒนธรรมใน ท้องถิน่ ทีเ่ รามักจะมองข้าม ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ข้าพเจ้าได้ปรึกษาคุณสุนทร จันทร์รงั สี​ี บรรณาธิการ น.ส.พ.โคราชรายวัน จัดคอลัมน์ “ภาษาโคราชฉบับละคำ�” โดยนำ� ภาษาโคราชมาอธิบายถึงความหมาย และทีม่ าของคำ� พร้อมทัง้ ยกตัวอย่างประกอบ ให้ผอู้ า่ นได้เกิดความเข้าใจยิง่ ขึน้ ซึง่ ปรากฏว่าได้รบั ความสนใจจากผูอ้ า่ นพอสมควร ต่อมา คุณบัณฑิต ตั้งประเสริฐ ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา ผู้จัดรายการ “บ้านเรา” ทางสถานีวทิ ยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมา (สวท. นม.) ระหว่างเวลา ๐๖.๓๐-๐๗.๐๐ น. ทุกวันอาทิตย์ ได้ชักชวนให้ข้าพเจ้านำ�ภาษา โคราชออกเผยแพร่ในรายการนี้ จึงได้เกิดรายการ “ภาษาโคราชสัปดาห์ละคำ�” ขึ้นอีก ซึ่งรายการนี้ อาจารย์ณรงค์ เกียรติเกาะ อาจารย์ใหญ่ ร.ร.บ้านโคกสูง สปอ. เมืองนครราชสีมา เป็นผู้บรรยาย ปรากฏว่าได้รับความนิยมเป็นอันมาก มีจดหมายเขียนมาสนับสนุนรายการอยู่ไม่ขาด และจากจดหมาย และคำ�บอกเล่า จากผู้ฟัง ทำ�ให้ทราบว่าภาษาโคราชมิได้เป็นที่สนใจแต่คนโคราชเท่านั้น คนที่มาจาก ภาคอื่นก็ให้ความสนใจ อีกทั้งบางท่านยังนำ�ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำ�วันอีกด้วย จากกระแสแห่งข้อเสนอแนะของแฟนรายการ จึงเป็นแรงดลใจให้เกิด (9)


“พจนานุกรมภาษาโคราช” ฉบับนี้ อันเป็นโครงการหนึ่งของการเผยแพร่ภาษา โคราช ซึ่งข้าพเจ้าและสมาชิกในชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช ได้เพียร พยายามรวบรวมคำ�ในภาษาโคราชให้มากทีส่ ดุ อีกประการเพือ่ ให้คน้ หาง่ายจึงได้จดั ทำ�เป็นหมวดหมู่ แล้วเรียงตามอักษร – สระ และข้อที่สำ�คัญก็คือ การให้คำ�จำ�กัด ความ หรือความหมายนั้นพยายามที่จะให้ครบกระบวนความ กะทัดรัด ถูกต้องที่สุด อย่างไรก็ตาม ก็มิใช่เป็นเรื่องที่ง่ายนักในการดำ�เนินงานในครั้งนี้ เพราะ ภาษาโคราชในปัจจุบันได้พูดปะปนกับภาษาอีสานและภาษาอื่นจนดูประหนึ่งว่าเป็น ภาษาเดียวกัน ดังนั้นการให้คำ�จำ�กัดความก็ดี การแยกภาษาโคราชออกจากภาษาอื่น ก็ดี จะต้องใช้ความละเอียดอ่อนและความรู้ทางหลักภาษาตลอดจนผู้รู้เป็นอันมาก อาทิ คำ�ว่า “โต้น” ซึ่งแปลว่าใหญ่นั้น บางคนคิดว่าเป็นภาษาโคราช แต่แท้จริง แล้วเป็นภาษาอีสาน แต่คนโคราชส่วนใหญ่ก็พูดคำ�นี้ จึงเข้าใจไปว่าคำ�นี้เป็นภาษา โคราช คำ�ที่มีความหมายว่า “ใหญ่” คนโคราชแท้ ๆ จะพูดว่า “ใหญ่” หรือ “ไอ้ อย่างใหญ่” หรืออย่างเช่นคำ�ว่า “เขียม” ซึ่งแปลว่าประหยัดนั้นเป็นภาษาจีน แต่ คนโคราชก็พูดว่า “เขียม” เป็นต้น เบื้องหลังการดำ�เนินงานจนสำ�เร็จมาถึงขึ้นนี้นั้น ได้มีบุคคลหลายฝ่าย ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุน ให้ข้อสังเกตและความหมายของคำ�ที่มีคุณค่ายิ่ง จน สามารถนำ�มาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับภาษาอืน่ และรวบรวมภาษาโคราชถึง ๑,๗๘๘ คำ� โดยเฉพาะ อาจารย์ปรีชา อุยตระกูล ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อพัฒนา วิทยาลัยครู นครราชสีมา ได้อำ�นวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า ซึ่งต้องกราบขอบพระคุณ ไว้ ณ ที่นี้ อนึ่งในการตรวจแก้ความถูกต้องนั้นได้รับความอนุเคราะห์จาก อาจารย์ บุญสม เตียนพลกรัง โรงเรียนเมืองคง คุณเยี่ยม เหล็กสูงเนิน ผู้ช่วยศึกษาธิการ อำ�เภอสีควิ้ คุณทองม้วน สกุลภุชพงศ์ เจ้าหน้าทีป่ กครอง ๓ คุณกรรณิการ์ คำ�พูล เจ้าหน้าทีก่ ารปกครอง ๓ ฝ่ายทะเบียนและบัตร อำ�เภอสีควิ้ อาจารย์ประกาย ทองดี โรงเรียนจอหอ สปอ. เมืองนครราชสีมา อาจารย์จ�ำ เริญรัตน์ เจือจันทร์ อาจารย์อนุ่ เรือน ขิขุนทด มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล และเพื่อนนักศึกษา ป.ป.(ประกาศนียบัตร ประโยคครูประถมศึกษา) รุ่นปีการศึกษา ๒๕๑๓ จากวิทยาลัยครูนครราชสีมา ที่สำ�คัญที่สุดก็คือ ในการจัดพิมพ์ครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้รับความกรุณาจาก (10)


ท่านอาจารย์ปราณี วงษ์ชวลิตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ผูซ้ งึ่ ส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมของโคราชมาโดยตลอด และเห็นความสำ�คัญของงานชิน้ นีเ้ ป็นสมบัติ ชิน้ หนึง่ ของโคราชได้อนุมตั ใิ ห้ใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จัดพิมพ์ ข้าพเจ้าหวังว่า “พจนานุกรมภาษาโคราช” เล่มนีค้ งจะทำ�ให้ทา่ นได้ทราบ ถึงความหมายที่ถูกต้องและเกิดประโยชน์จากการใช้ และขอคุณความดีจงบังเกิด แด่ท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภาษาโคราช โดยเฉพาะท่านอาจารย์ถาวร สุบงกช ปรมาจารย์ทางศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต ชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช

(11)


(12)


สารบาญ คำ�นิยม แม่ทัพภาคที่ ๒ (๔) คำ�นิยม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา (๕) คำ�นิยม ประธานชมรมจิตอาสาราชประชาสมาสัยจังหวัดนครราชสีมา (๖) คำ�นำ� ในการจัดพิมพ์ปรับปรุงแก้ไข ครั้งที่ ๗ (๗) คำ�นำ� ในการจัดพิมพ์ครั้งที่ ๑ (๘) คำ�ชี้แจงการจัดทำ�พจนานุกรมภาษาโคราช (๑๕) คำ�ชี้แจงวิธีการใช้พจนานุกรมภาษาโคราช (๒๑) ก ๑ ข ๓๕ ค ๕๙ ฆ ๗๓ ง ๗๕ จ ๘๑ ฉ ๙๓ ช ๙๕ ซ ๑๐๓ ฐ ๑๐๙ ฒ ๑๑๑ ด ๑๑๓ ต ๑๒๑ ถ ๑๔๕ ท ๑๔๙ ธ ๑๕๗ น ๑๕๙ บ ๑๖๙

ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

๑๗๗ ๑๙๓ ๒๐๑ ๒๐๓ ๒๑๕ ๒๑๙ ๒๒๑ ๒๔๑ ๒๔๗ ๒๕๙ ๒๖๑ ๒๗๕ ๒๘๑ ๒๘๓ ๓๐๗ ๓๓๗ ๓๕๓


เอกสารอ้างอิง ภาคผนวก เพลงมาร์ชราชสีมา รายนามผู้สนับสนุนการจัดพิมพ์ ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียง

๓๕๕ ๓๕๙ ๓๖๑ ๓๖๒ ๓๖๕

(14)


คำ�ชี้แจงการจัดทำ�พจนานุกรมภาษาโคราช ในการใช้พจนานุกรมภาษาโคราช ใคร่แนะน�ำให้อ่านและท�ำความเข้าใจ เบื้องต้น ถึงความเป็นมาของการจัดท�ำ เป็นต้นว่า การเขียนค�ำหลักหรือค�ำตั้ง การให้ ความหมาย การเรียงล�ำดับ การค้นหาค�ำ การอ้างอิงซึ่งกันและกัน การยกตัวอย่าง ประกอบ โดยเฉพาะการบอกเสียงอ่านที่เป็นส�ำเนียงโคราชหรือภาษาโคราช ฯลฯ ดังนี้ ๑. ภูมิหลังของการจัดท�ำ กว่าจะมาเป็นพจนานุกรมภาษาโคราชเล่มนี้ ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลายครั้ง ๑) การวิเคราะห์ค�ำศัพท์ ใช้วิธีสอบทานและเปรียบเทียบค�ำในภาษาโคราช กับภาษาอีสาน ภาษาไทยกรุงเทพ ภาษาเขมร ฯลฯ ทั้งการสอบถามจากผู้รู้ รวมถึงการ ค้นคว้าจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับมติชน พจนานุกรมภาษา อีสาน เป็นต้น เพือ่ แก้ไขค�ำนิยามหรือความหมายของค�ำให้มคี วามถูกต้อง ชัดเจน กะทัดรัด ค�ำบางค�ำเห็นว่าไม่ใช่ภาษาโคราชโดยแท้ หรือเป็นค�ำในภาษาไทยกรุงเทพก็จะตัดออก ๒) มีการเพิม่ ค�ำภาษาโคราชอีกจ�ำนวนหลายค�ำจากฉบับเดิม ทีเ่ ก็บได้จากการ สนทนากับคนโคราชเก่า ๆ โดยเฉพาะคนในชนบท บทเพลงโคราช นอกจากนี้ยังได้ศึกษา จากวรรณกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องราวและนิทานพื้นบ้านโคราช เช่น นิทานค�ำกลอนเรื่อง พระปาจิต นิทานค�ำกาพย์เรื่องรูปทอง นิทานค�ำกาพย์เรื่องกุศราช นิทานเรื่องสุภมิต- เกสินี ท้าวสุรนารี เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าภาษาโคราชนั้นมีทั้งระดับคนทั่วไปใช้พูด ใช้สอื่ สาร กับภาษาโคราชทีใ่ ช้ในการประพันธ์หรือบทกวีซงึ่ เป็นศัพท์คอ่ นข้างเป็นทางการ ๓) การเขียนค�ำ ในฉบับก่อน ๆ การเขียนค�ำศัพท์นั้นมีเจตนาเพื่อจะให้อ่าน เข้าใจง่ายและเห็นถึงทีม่ าของค�ำศัพท์เดิม เช่น ค�ำว่า “เหล็กไฟ” ก็จะเขียนเป็น “เหล๊กไฟ” ตามส�ำเนียงโคราชและให้เห็นว่าค�ำศัพท์นมี้ าจากค�ำว่า “เหล็ก” หรือ “ซือ่ สัตย์” ก็จะเขียน เป็น “ซื่อสั๊ตย์” ซึ่งมาจากค�ำว่า “ซื่อสัตย์” แต่มีหลายท่านให้ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็น ในเชิงวิชาการว่า การที่จะมุ่งถึงความสะดวกในการสื่อความหมายแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่เหลียวพิจารณาถึงหลักภาษาด้วย จะท�ำให้เกิดความสับสนในการเขียนภาษาไทย เพราะค�ำ “เหล๊ก” หรือ “สั๊ตย์” แม้จะออกเสียงตามส�ำเนียงโคราชก็จริง แต่ตามหลัก ภาษาไม่มคี วามหมายและผันวรรณยุกต์ไม่ได้ เมื่อใคร่ครวญพิจารณาเห็นว่าภาษาโคราช เป็นส่วนหนึ่งของภาษาไทยแล้ว จึงตกลงใจที่จะยึดหลักการเขียนค�ำศัพท์ให้ถูกต้องตาม (15)


หลักภาษาไทย ดังนั้นในฉบับปรับปรุงแก้ไขฉบับนี้ จึงเขียนค�ำศัพท์ภาษาโคราชให้เป็นไปตาม หลักภาษาไทย เช่น ค�ำว่า “เหล๊กไฟ” ก็จะเขียนตามส�ำเนียงโคราชเป็น “เล็กไฟ” ค�ำว่า “ซื่อสัตย์” จะเขียนเป็น “ซื่อซัด” หรือค�ำว่า “ผัก” จะเขียนเป็น “พัก” เป็นต้น ๔) ค�ำในภาษาโคราชที่เป็นชื่อพืชพรรณไม้ซึ่งพูดกันเฉพาะในถิ่นโคราชนั้น ได้ น�ำภาพมาแสดงประกอบ เพื่อให้เห็นภาพของพรรณไม้และเกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ๕) การเรียงล�ำดับค�ำ ในฉบับก่อนการจัดเรียงล�ำดับค�ำมีบางค�ำทีไ่ ม่เป็นไปตาม แบบแผนการจัดท�ำพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสภา ดังนั้นในฉบับนี้ได้ปรับปรุงโดยจัด เรียงล�ำดับหรือจัดค�ำทีค่ ำ� แรกเขียนและออกเสียงเหมือนกันให้อยูใ่ นกลุม่ เดียวกันเสียใหม่ ๒. ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาโคราช ๑) ภาษาไทยถิ่นโคราช เป็นภาษาที่มีเสียงเหน่อ บางค�ำมีส�ำเนียงค่อน ไปทางภาษาไทยกรุงเทพ บางค�ำออกส�ำเนียงไปทางภาษาไทยถิ่นภาคอีสาน แม้จะไม่ ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าคนโคราชพูดภาษาตระกูลอะไร แต่มีความเชื่อว่ามาจากภาษา ตระกูลมอญ-เขมร, ไทย-ลาว อยูด่ ว้ ย ในโบราณกาลบรรพบุรษุ มีการเดินทางติดต่อกันใน ลุม่ แม่นำ�้ โขง, ลุม่ น�ำ้ เจ้าพระยา ฯลฯ และทีเ่ ด่นชัดคือโคราชเป็นเมืองปากประตูไปสูอ่ สี าน ซึง่ อยูร่ ะหว่างกรุงเทพฯ กับภาคอีสาน ภาษาพูดจึงออกส�ำเนียงเช่นนีก้ ไ็ ด้ เสียงเหน่อนีเ้ อง ท�ำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นคนปักษ์ใต้บ้าง อย่างไรก็ตามนับว่าเป็นเอกลักษณ์ที่โดด เด่นของภาษาไทยถิ่นโคราชโดยแท้ ๒) เพือ่ ให้เข้าใจง่าย ต่อไปค�ำว่า “ภาษาไทยถิน่ โคราช” จะใช้วา่ “ภาษาโคราช” ๓. ส�ำเนียงภาษาไทยถิ่นโคราช ส� ำ เนี ย งโคราชที่ อ อกเสี ย งไปทางภาษาไทยกรุ ง เทพ แต่ อ อกเสี ย งตาม วรรณยุกต์แตกต่างกัน เช่น ๑) อักษรต�่ำ ค�ำเป็นและค�ำตาย ในภาษาไทยกรุงเทพออกเสียงตรี แต่ภาษา โคราชออกเสียงโท เช่น ภาษาไทยกรุงเทพ ภาษาไทยถิ่นโคราช ฟ้า ฟ่า ม้า ม่า รู้ รู่ งิ้ว งิ่ว มิด มิ่ด (16)


ชก ช่ก ๒) อักษรกลาง ค�ำตายในภาษาไทยกรุงเทพจะออกเสียงเอก แต่ภาษาโคราช ออกเสียงตรี เช่น ภาษาไทยกรุงเทพ ภาษาไทยถิ่นโคราช ติด ติ๊ด จิต จิ๊ต แบะ แบ๊ะ ปึก ปึ๊ก แกะ แก๊ะ อึด อึ๊ด กะ ก๊ะ เจาะ เจ๊าะ อักษรกลาง ค�ำเป็นในภาษาไทยกรุงเทพจะออกเสียงสามัญ แต่ภาษาโคราช จะออกเป็นเสียงจัตวา เช่น ภาษาไทยกรุงเทพ ภาษาไทยถิ่นโคราช กิน กิ๋น เจอ เจ๋อ จน จ๋น เดน เด๋น เอา เอ๋า เอง เอ๋ง เดิม เดิ๋ม กัน กั๋น ตัง ตั๋ง ใจ ใจ๋ ๓) อักษรสูง ค�ำเป็นภาษาไทยกรุงเทพจะออกเสียงโท แต่ภาษาโคราชออก เสียงเอก เช่น ภาษาไทยกรุงเทพ ภาษาไทยถิ่นโคราช ขี้ ขี่ ข้าว เข่า เสื้อ เสื่อ (17)


ไส้ ห้วย ให้ ผ้า

ไส่ ห่วย ให่ ผ่า

๔. เสียงพยัญชนะควบกล�้ำ ร ล ภาษาโคราชไม่มเี สียงพยัญชนะควบกล�ำ ้ ร และ ล เหมือนภาษาไทยกรุงเทพ ซึ่ง ในภาษาโคราชจะมีการออกเสียงไปหลายแบบ ดังนี้ ไม่ออกเสียง ร และ ล แม้ว่าในการเขียนจะมีตัว ร และ ล ก็ตาม เช่น ค�ำว่า กล้า ออกเสียงว่า ก้า พระ ” พ่ะ เพลง ” เพง ครู ” คู ไกร ” ไก ใคร ” ไค ไตร ” ไต ไกล ” ไก ใกล้ ” ไก้ แกลบ ” แกบ ปลาย ” ปาย ปลูก ” ปูก พริก ” พิ่ก ๕. เสียงพยัญชนะควบกล�้ำ ว ภาษาโคราช ค�ำที่มีรูปพยัญชนะควบกล�้ำ ว จะออกเสียงเป็นดังนี้ ๑) ค�ำควบกล�ำ ้ ว ทีป่ ระสมกับสระอะ สระอา จะออกเสียงเป็นสระประสม อัว เช่น ค�ำว่า กว้าง ออกเสียงว่า ก้วง ไกว ” กวย ไขว่ ” ข่วย ขวัญ ” ข็วน ขวาน ” ขวน คว้า ” คั่ว (18)


ความ ” ควม ควาย ” ควย ๒) ค�ำควบกล�้ำ ว ที่ประสมกับสระอื่น จะตัดเสียงควบ ว ออก เช่น ค�ำว่า แกว่น ออกเสียงว่า แก่น แขวน ” แขน ๓) ค�ำควบกล�้ำ หฺว จะออกเสียงควบ เช่น ค�ำว่า หวั่นเหว ออกเสียงว่า หฺวั่นเหฺว โหวด ” โหฺวด โหวงเหวง ” โหฺวงเหฺวง

๖. ค�ำบางค�ำที่เปลี่ยนเสียง ค�ำบางค�ำเปลี่ยนเสียงพยัญชนะหรือกลายเสียงซึ่งก็มีหลายแบบ ดังนี้ ๑) ค�ำว่า สะ ออกเสียงว่า กะ เช่น สะพาย ออกเสียงว่า กะพาย ๒) ค�ำว่า คอก ออกเสียงว่า ขะ เช่น คอกรั้ว ออกเสียงว่า ขะรั่ว ๓) ค�ำว่า จน ออกเสียงว่า เก่น หรือ เจ่น เช่น เอาจนได้ [เอาเก่นได้ หรือ เอาเจ่นได้], ตายจนกระดูกล่อน [ตายเก่นกะดูกหฺล่อน] ๔) ค�ำสระอุ กลายเสียงเป็นสระโอะ เช่น กระพุ้งแก้ม เป็น กะโผ่งแก้ม กระทุงเหว ” กะทงเหว ตุ๊กแก ” ต๊กแก ๕) ค�ำว่า ปาน ออกเสียงว่า ปั่น เช่น ปานลูก ออกเสียงว่า ปั่นลูก ๖) ค�ำว่า วัว ออกเสียงว่า งัว ๗) ค�ำสระเอีย กลายเสียงเป็นสระอิ เช่น เสียดาย ออกเสียงว่า ซิดาย ๘) ค�ำสระโอะ กลายเสียงเป็นสระเออ เช่น หมด ออกเสียงว่า เบิด้ หรือ เมิด้ ๙) ค�ำสระอัว กลายเสียงเป็นสระโอะ เช่น หัวกระได ออกเสียงเป็น ฮกกะได ๑๐) ค�ำทีเ่ ป็นสระอะ กลายเสียงเป็นสะอี เช่น สะดือ เป็น สีดอื สะบ้า ” สีบา้ สวาบ ” สีหวาบ ๑๑) ค�ำทีเ่ ป็นสระอา กลายเสียงเป็นสระเออ เช่น บ้าง เป็น เบิง้ (19)


๗. การเรียงล�ำดับค�ำ การเรียงล�ำดับค�ำใช้ตามแบบแผนของส�ำนักราชบัณฑิตยสภา ดังนี้ ๑) ค�ำศัพท์จะเรียงตามล�ำดับตัวอักษร คือ ก ข ค ฯลฯ ไปจนถึง อ ฮ ไม่ได้เรียงล�ำดับตามเสียง เช่น จะค้นหาค�ำ ทราย ต้องไปหาในหมวดตัว ท เป็นต้น ๒) สระจะเรียงไปตามรูปสระ ะ ั า ิ ี ึ ื ุ ู เ แ โ ใ ไ รูปสระทีป่ ระสมกันหลายรูปก็จดั เรียงตามล�ำดับรูปสระทีอ่ ยูก่ อ่ นและหลังตาม ล�ำดับข้างบนนี้เหมือนกัน ดังเช่นล�ำดับไว้ให้ดูต่อไปนี้ ะ ุ เ ื (เสือ) ั (กัน) ู เ ื ะ (เกือะ) ั ะ (ผัวะ) เ แ า เ ะ (เกะ) แ ะ (แพะ) ำ เ า (เขา) โ ิ เ าะ (เจาะ) โ ะ (โป๊ะ) ี เ ิ (เกิน) ใ ึ เ ี (เสีย) ไ ื เ ี ะ (เดียะ) ค�ำที่มี ็ (ไม้ไต่คู้) จะล�ำดับอยู่ก่อนวรรณยุกต์ เช่น เก็ง เกง* เก่ง เก้ง เก๊ง* เก๋ง ( * เป็นค�ำที่มีเสียงในภาษาแต่ไม่มีความหมาย)

(20)


คำ�ชี้แจงวิธีการใช้พจนานุกรมภาษาโคราช ๑. การค้นหาค�ำศัพท์ เพื่อความสะดวกในการค้นหาค�ำ จะเก็บค�ำที่ค�ำ ๒ ค�ำเมื่อประสมกันแล้วโดย ค�ำแรกเป็นค�ำเดียวกับค�ำตั้งและมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับค�ำตั้งจะเก็บเป็นอนุพจน์ คือ เป็นลูกค�ำตั้งนั้น ๆ ไว้ในกลุ่มเดียวกัน เช่น กบกินเดือน กบดุด กบเบ้า โดยจะจัดเรียงขึ้น บรรทัดใหม่ ตัวอย่างเช่น กบ [ก๊บ] ชื่อสัตว์สะเทินน�้ำสะเทินบกหลายชนิด ล�ำตัวสั้น ป้อม ขาคู่ หลังใหญ่และยาวกว่าคู่หน้า ตีนแบน กระโดดได้ไกล. กบกินเดือน [ก๊บ-กิน-เดือน] น. จันทรุปราคา, จันทรคราส. กบดุด [ก๊บ-ดุ๊ด] น. กบจ�ำศีล มักจะอยู่ในรูลึก. กบเบ้า [ก๊บ-เบ้า] น. กบจ�ำศีล มักจะอยูใ่ นรูไม่ลกึ และจะท�ำดินคล้าย ฝาปิดปากรูไว้. กบปนปู [ก๊บ-ปน-ปู] น. กบที่อาศัยอยู่ร่วมกับปูในรูปู. ปร้า [ปฺร้า] น. ปลาร้า. ปร้าสะเออะ [ปฺร้า-สะ-เอ๊อะ] ดู ปลาร้าสะเอ๊อะ. ปร้าหลน [ปฺร้า-หฺลน] ดู หลน. ๒. ขอบเขตข้อมูลของพจนานุกรม ๒.๑ การเขียนค�ำตั้ง (ค�ำหลัก) ค�ำตั้ง คือ ค�ำที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมาย; ค�ำที่เป็นหลักให้ค�ำอื่นเติม เข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ๒.๑.๑ ค�ำศัพท์ในภาษาโคราชที่เป็นค�ำตั้ง (ค�ำหลัก) บางค�ำยากที่จะหา ข้อสรุป เพราะแต่ละท้องถิ่นหรือท้องที่ในโคราชจะออกเสียงแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น เสียงหนักเบา การออกเสียงตามวรรณยุกต์ เช่น ในเขตท้องที่อ�ำเภอพิมาย อ�ำเภอ โนนสูง ถ้าจะพูดว่า “อะไร” ก็จะพูดออกเสียงเป็น “ไอ๋” แต่ท้องที่บางแห่งออกเสียงว่า “อาย” หรือ “ไอ” เป็นต้น อย่างไรก็ตามได้พยายามเขียนค�ำศัพท์ให้มเี สียงตามวรรณยุกต์ ใกล้เคียงกับส�ำเนียงทีค่ นโคราชส่วนใหญ่พดู กันมากทีส่ ดุ ดังนัน้ จึงมีคำ� ทีม่ เี สียงหนักหรือ เบาต่างกันไปบ้างด้วยเหตุผลดังกล่าว (21)


๒.๑.๒ การให้ความหมายหรือการอธิบายค�ำศัพท์ที่เป็นค�ำตั้ง (ค�ำหลัก) ได้พยายามให้ความหมายสั้น ๆ กะทัดรัด อย่างชัดเจนและตรงกับความหมายของค�ำมาก ที่สุด โดยเทียบเคียงจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ภาษาไทยกรุงเทพ ภาษา ไทยถิ่นภาคอีสาน ภาษาเขมร ฯลฯ บางค�ำได้ขยายความบอกถึงที่มาและประวัติเอาไว้ ด้วย เพื่อให้ความหมายมีความครบถ้วนกระบวนความ แต่ก็ไม่ได้ลงในรายละเอียดมาก นัก เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นหนังสือสารานุกรมไป ๒.๒ การระบุส�ำเนียงหรือภาษาโคราช การทีจ่ ะระบุเสียงว่าค�ำใดเป็นภาษาโคราชหรือบอกว่าค�ำใดคนโคราชออก เสียงอย่างไรนั้น จะระบุเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้ ๒.๒.๑ ค�ำตัง้ (ค�ำหลัก) ทีเ่ ขียนตามรูปค�ำหรือส�ำเนียงของภาษาไทยกรุงเทพ จะเขียนค�ำอ่านตามอักษรที่ออกส�ำเนียงโคราชก�ำกับไว้ในวงเล็บเหลี่ยม [ ] ด้วยตัวอักษร สีฟา้ (สีนำ้� ทะเล) เพือ่ ให้ทราบว่าเป็นส�ำเนียงโคราชหรือเป็นภาษาโคราช ทัง้ นีเ้ นือ่ งจาก หากจะเขียนค�ำตัง้ (ค�ำหลัก) ตามอักษรทีอ่ อกเสียงหรือส�ำเนียงโคราช เช่น พักหวาน (ผัก หวาน) หรือ เล็กไฟ (เหล็กไฟ) อาจเป็นปัญหาส�ำหรับผู้ที่มาจากถิ่นอื่น โดยเฉพาะไทย กรุงเทพหรือภาคกลางที่ไม่ทราบถึงส�ำเนียงโคราช ก็จะค้นหาค�ำศัพท์ที่ต้องการทราบได้ ยากและเป็นการไม่สะดวก จึงเขียนค�ำอ่านตามส�ำเนียงโคราชก�ำกับไว้ในวงเล็บเหลี่ยม [ ] ด้วยตัวอักษรสีฟ้า ตัวอย่างเช่น ส�ำเนียงโคราช /ภาษาโคราช

ค�ำตั้งที่เป็นภาษาไทยกรุงเทพ ผักกะโตวา

[พัก-กะโต-วา]

น. ผักสันตะวา

๒.๒.๒ ค�ำตัง้ ทีเ่ ป็นภาษาโคราชและออกส�ำเนียงโคราช ทีภ่ าษาไทยกรุงเทพ ไม่มีพูดกัน ก็จะไม่บอกค�ำอ่านหรือส�ำเนียงโคราชไว้ในวงเล็บเหลี่ยม [ ] เหมือนข้อ ๒.๑ ซึ่งจะละไว้ในฐานความเข้าใจและเป็นที่ทราบกัน โดยค�ำตั้งจะพิมพ์ด้วยตัวอักษร สีฟ้า (สี น�้ำทะเล) เพื่อให้ทราบว่าเป็นภาษาโคราชหรือเป็นส�ำเนียงโคราช ตัวอย่างเช่น ส�ำเนียงโคราช /ภาษาโคราช จ�ำหืน ว. ฝืนใจท�ำ, เสแสร้ง. (22)


๒.๓ ค�ำที่ใช้เฉพาะแห่ง ๒.๓.๑ ส�ำนวน ถ้อยค�ำหรือข้อความทีม่ คี วามหมายไม่ตรงตามความหมาย ประจ�ำค�ำหรือมีความหมายอืน่ แฝงอยูจ่ ะใช้คำ� ย่อในวงเล็บไว้หน้าชนิดของค�ำและค�ำนิยาม หรือค�ำอธิบายความหมายของค�ำศัพท์ ว่า (ส�ำ) = ค�ำที่เป็นส�ำนวน ค�ำศัพท์ในภาษาโคราชที่เป็นส�ำนวนมีมาก แสดงถึงภูมิปัญญาของคนแต่ ก่อนที่พูดเป็นส�ำนวนโวหาร หรือ สุภาษิตเป็นคติสอนใจ ส�ำนวนบางส�ำนวนมองเห็นภาพ ได้อย่างชัดเจนฟังแล้วมีความไพเราะในภาษา จึงได้น�ำมารวบรวมไว้ในฉบับนี้ เช่น ส�ำนวน มีน�้ำไม่รู้จักกินมีหม้อดินไม่รู้จักใช้

[มี-น่าม-ไม่-ลู่-จั๊ก-กิน- (ส�ำ) ว. มีของดีมีค่า มี-หม่อ-ดิน-ไม่-ลู่-จั๊ก-ใช่] แต่ไม่รู้จักประโยชน์

๒.๓.๒ ระดับของภาษา หมายถึง ค�ำที่ใช้ระดับต่าง ๆ รวมทั้งที่ใช้ใน วรรณกรรม ได้แก่ (ปาก) ภาษาปาก (วรรณ) วรรณกรรม (ราชา) ราชาศัพท์ ค�ำที่เป็นระดับของภาษาจะเขียน ( ) ก�ำกับไว้หน้าชนิดของค�ำและค�ำนิยาม หรือค�ำอธิบายความหมายของค�ำศัพท์ ตัวอย่างเช่น โขก

(ปาก) ก. โก่งราคา, บอกราคาเกินสมควร. ระดับของภาษาประเภทภาษาปาก

๒.๔ ชนิดของค�ำ ชนิดของค�ำตามหลักภาษา เขียนเป็นอักษรย่อและค�ำย่อไว้หน้าค�ำนิยาม หรือค�ำอธิบายความหมายของค�ำศัพท์ เพื่อบอกชนิดของค�ำตามหลักไวยากรณ์ คือ ก. = กริยา น. = นาม บ. = บุรพบท ว. = วิเศษณ์ (คุณศัพท์หรือกริยาวิเศษณ์) ส. = สรรพนาม (23)


สัน. = สันธาน อ. = อุทาน ตัวอย่าง การบอกชนิดของค�ำ เช่น ค�ำวิเศษณ์

งึด

[งึ่ด]

ว. แปลกใจ, ประหลาด, ฉงนสนเท่ห์.

๒.๕ ที่มาของข้อความตัวอย่างที่มาจากวรรณกรรม จะบอกข้อมูลอ้างอิง ทีม่ าของข้อความตัวอย่างทีม่ าจากวรรณกรรมว่ามาจากเรือ่ งใด โดยเขียนค�ำย่อในวงเล็บ หลังตัวอย่าง เป็นการบอกลักษณะค�ำที่ใช้เฉพาะแห่ง ได้แก่ (ก้อม) = เพลงก้อม. (กล่อมเด็ก) = เพลงกล่อมเด็ก. (ช้าเจ้าหงส์ฯ) = เพลงช้าเจ้าหงส์ดงล�ำไย : ของ ขุนสุบงกช ศึกษากร. (ท้าว ฯ) = ท้าวสุระนารี : ของ พ.ต. หลวงศรีโยธาและคณะ. (นิ.กุศราช) = นิทานค�ำกาพย์ เรื่องกุศราช. (นิ.พระปาจิต) = นิทานค�ำกลอน เรื่องพระปาจิต : ของ หลวงบ�ำรุงสุวรรณ. (นิ.รูปทอง) = นิทานค�ำกาพย์ เรื่องรูปทอง. (นิ.เพลงเจ็ดคะนน) = นิทานเพลงพื้นบ้านโคราชเรื่องเจ็ดคะนน : บุญส่ง ครูศรี รวบรวม. (นิ.เพลงปาจิต ฯ) = นิทานเพลงพืน้ บ้านโคราชเรือ่ งปาจิต-อรพิม: บุญส่ง ครูศรี รวบรวม. (นิ.เพลงศุภมิตร ฯ) = นิทานเพลงพื้นบ้านโคราชเรื่องศุภมิตร- เกศนี : บุญส่ง ครูศรี รวบรวม. (นิ.เพลงเสือสางรางโกง) = นิทานเพลงพื้นบ้านโคราชเรื่องเสือสาง รางโกง : บุญส่ง ครูศรี รวบรวม. (นิ.เพลงเมืองขวางทะบุรี) = นิทานเพลงพื้นบ้านโคราช เรื่องเมืองขวาง ทะบุรี : บุญส่ง ครูศรี รวบรวม. (นิ.เพลงอินทปัตถา) = นิทานเพลงพื้นบ้านโคราชเรื่องอินทปัตถา : บุญส่ง ครูศรี รวบรวม. (24)


(นิ.สองดรุณ)ี (ปี่แก้ว) (เพลงโคราช) (เพลงเชิด) (เพลงนางกะโหลก) (เพลงเพียะ) (ลากไม้) (สุภมิต ฯ) อิสยม [อิ๊ด-สะ-หฺยม]

= = = = = = = =

นิทาน เรือ่ งสองดรุณ ี : ของ ขุนสุบงกช ศึกษากร. เพลงปี่แก้ว. เพลงโคราช. เพลงที่ใช้เชิดการเล่นต่าง ๆ เช่น การเล่น ผีนางด้ง, ผีนางกะโหลก ฯลฯ. เพลงเชิดการเล่นนางกะโหลก. เพลงเพียะ. เพลงลากไม้. สุภมิต–เกสินี : ธวัช ปุณโณทก.

น. อิสริยยศ, ยศที่แสดงถึงความเป็นเจ้า เช่น ปางเจ้าจอมพระปาจิตอิสยม (นิ.พระปาจิต). ที่มาของตัวอย่างจากวรรณกรรม นิทานค�ำกลอน เรื่องพระปาจิต

๒.๖ ที่มาของค�ำ ๒.๖.๑ ค�ำย่อในวงเล็บหน้าค�ำนิยาม ค�ำย่อในวงเล็บหน้าค�ำนิยามบอก ที่มาของค�ำที่ใช้เฉพาะแห่ง ได้แก่ (ปริศ) = ค�ำที่เป็นปริศนาค�ำทาย ข้อความที่เป็นปริศนา เพื่อให้แก้ให้ทาย (ส�ำ) = ค�ำที่เป็นส�ำนวน (ปาก) = ค�ำที่เป็นภาษาปาก คือภาษาพูดที่แสดงความ คุ้นเคยไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง ๒.๖.๒ ค�ำย่อในวงเล็บหลังค�ำนิยาม ค�ำย่อในวงเล็บหลังค�ำนิยามบอก ที่มาของค�ำ ได้แก่ (จ.) = ภาษาจีน (อ.) = ภาษาอังกฤษ (ข.) = ภาษาเขมร (ถิ่น) = ค�ำที่เป็นภาษาใช้เฉพาะถิ่น เช่น ถิ่นอีสาน (25)


(ค�ำที่เป็นภาษาถิ่นภาคอีสาน), ถิ่นโชคชัย (ค�ำ ที่เป็นภาษาถิ่นเขตอ�ำเภอโชคชัย โคราช)

๒.๗ การอ้างอิงค�ำตั้ง (ค�ำหลัก) ที่เกี่ยวข้อง มี ๒ ลักษณะ ๒.๗.๑ การระบุข้อความให้ไปดูข้อมูลเพิ่มเติมในค�ำตั้งอื่นที่เกี่ยวข้อง ใช้ ในกรณีเป็นค�ำที่มีค�ำอธิบายความหมาย แล้วมีค�ำว่า ดู ตามด้วยค�ำที่จะต้องดูกับ โดยมี ค�ำว่า ประกอบ ก็จะระบุ (ดู.....ประกอบ) หมายความว่า ให้ดูค�ำนั้นประกอบ เพื่อให้เกิด ความเข้าใจยิ่งขึ้น เช่น

ค�ำที่ให้ดูประกอบเพิ่มเติม

ไปดอก

[ไป-ด๊อก]

(ดู ดอก ประกอบ).

๒.๗.๒ กรณีที่เป็นค�ำศัพท์ซึ่งไม่มีค�ำอธิบายความหมาย มีแต่เขียนค�ำว่า ดู......... กล่าวคือเขียนว่า ดู ตามด้วยค�ำที่จะต้องดูแสดงด้วยตัวเอน หมายความ ว่าให้ดคู ำ� ทีอ่ า้ งถึงนัน้ ซึง่ มีรายละเอียดจากค�ำดังกล่าวเพิม่ เติมเพือ่ ทราบถึงทีม่ าของค�ำ และความหมายที่แท้จริง เพราะถ้าจะอธิบายอีกก็จะเป็นการซ�้ำซ้อนกัน เช่น ผ้ากะเตี่ยว

[ผ่า-กะ-เตี่ยว]

ดู ผ้าขี่ม้า.

ค�ำหรือข้อความที่ให้ดูเพิ่มเติม

๒.๘ ไวพจน์ (ค�ำพ้องความ) คือค�ำทีเ่ ขียนต่างกันแต่มคี วามหมายเหมือน กันหรือใกล้เคียงกันมาก ๒.๘.๑ ไวพจน์ที่ใช้เฉพาะถิ่น จะระบุถิ่นให้ทราบ เช่น ถิ่นอีสาน, ถิ่นใต้ ใช้ว่า......หรือ เรียกว่า...... หรือเรียก...... ตัวอย่างเช่น ค�ำที่ใช้เฉพาะถิ่นอีสาน จักแล้ว [จั๊ก-แหล่ว] ว. ไม่รู้, ไม่ทราบ, ถิ่นอีสานใช้ว่า จักแล้ว. (26)


๒.๘.๒ ไวพจน์ทใี่ ช้ทวั่ ไป รูปเขียนไวพจน์ทใี่ ช้กนั ทัว่ ไปในถิน่ หรือท้องที่ จะ เขียนบอก , ......ก็ว่า ตัวอย่างเช่น แอบแปะ

[แอบ-แป๊ะ]

ว. พึ่งพาอาศัยคนอื่น, ได้ดีเพราะมี คนอื่นช่วย, แอ่มแปะ ก็ว่า. ค�ำที่ใช้กันทั่วไปในถิ่นโคราช

๒.๙ ค�ำศัพท์ที่กล่าวถึงชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific names) ของพืช ค�ำศัพท์ทกี่ ล่าวถึงชือ่ วิทยาศาสตร์เพือ่ ให้ทราบทีม่ าของค�ำและผูต้ งั้ ชือ่ เพือ่ ให้ผู้สนใจไปสืบค้นเพิ่มเติมจากหนังสือที่อ้างอิงต่อไป เช่น ค�ำศัพท์ชื่อวิทยาศาสตร์ เปราะหิน

[เป๊าะ-หิน]

น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Caulokaempferia saxicola K. Larsen ในวงศ์ Zingiberaceae คล้ายต้นเปราะ, เปราะหอม ใช้เป็นอาหาร และท�ำยา.

๒.๑๐ ปริศนาค�ำทาย ปริศนาค�ำทายเป็นค�ำทายทีค่ นแต่กอ่ นผูกขึน้ เป็นเงือ่ นง�ำ เพือ่ ให้แก้ให้ทาย ทั้งคนทายและคนแก้จะต้องใช้ความคิดหรือภูมิปัญญา ซึ่งนอกจากจะเป็นวิถีชีวิตอย่าง หนึ่งที่ท�ำให้เกิดความสนุกสนานบันเทิงแล้ว ยังท�ำให้เกิดปัญญา ปฏิภาณไหวพริบ อีกด้วย จึงได้น�ำมารวบรวมไว้เช่นเดียวกัน โดยเขียนเป็นค�ำย่อว่า (ปริศ) ไว้หน้าชนิด ของค�ำ เช่น ตกตุ๊บใส่หมวกแต้

[ต๊ก-ตุ๊บ-ใส่-หฺมวก-แต้] (ปริศ) น. ลูกตาล.

ค�ำที่เป็นปริศนาค�ำทาย (27)


๒.๑๑ อืน่ ๆ นอกจากนีย้ งั ได้นำ� การเล่นของคนโคราชทีเ่ ด่น ๆ และแตกต่างไป จากการเล่นของภาคอื่นมารวบรวมไว้ เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาโคราชที่ควรจะ ได้กล่าวถึง ๓. การใช้เครื่องหมายในบทนิยาม ๓.๑ เครื่องหมายจุลภาค ( , ) ๓.๑.๑ ใช้คั่นระหว่างค�ำตั้งที่มีมากกว่า ๑ ค�ำ เช่น บ่แพ่ ว. มาก, มากมาย, หลาย, ถมเถ, ถมไป, บ่แพะ, บ่แพ่บ่พัด ก็ว่า. ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างค�ำตั้งที่มี มากกว่า ๑ ค�ำ เช่น บ่แพะ, บ่แพ่บ่พัด

๓.๑.๒ ใช้คั่นระหว่างค�ำศัพท์หรือระหว่างความหมายที่เป็นไปในท�ำนอง เดียวกัน ที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น บ่นอืด ก. บ่นออด, บ่นซ�้ำ ๆ ซาก ๆ, บ่นไม่หยุด, บ่นอยู่ร�่ำไป.

ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างค�ำศัพท์หรือ ระหว่างความหมายที่เป็นไปในท�ำนองเดียวกัน

๓.๑.๓ ใช้คั่นระหว่างตัวอย่าง ค�ำศัพท์บางค�ำเมือ่ อธิบายความหมายแล้ว เห็นว่าควรจะยกตัวอย่าง ประกอบเพือ่ ให้เกิดความเข้าใจและการใช้คำ� ได้อย่างถูกต้อง เพราะภาษาโคราชบางค�ำมีความ หมายลึกซึง้ ไปกว่าภาษาไทยกรุงเทพ หรือค�ำในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน จึงได้ ยกตัวอย่างประกอบ อนึ่งตัวอย่างก็จะเขียนค�ำเป็นภาษาโคราชหรือส�ำเนียงโคราช โดย ใช้ตัวเอน เช่น หยุดปั้ด [ยุด-ปั่ด] ก. หยุดทันที เช่น เลือดที่ไหลยุดปั้ด, พอครูมาพวกส่งเสียงดังพากันยุดปั้ด. เครื่องหมายจุลภาคใช้คั่นระหว่างตัวอย่าง (28)


๓.๒ เครื่องหมายวงเล็บ ( ) ๓.๒.๑ ใช้กำ� กับอักษรย่อของค�ำทีใ่ ช้เฉพาะแห่ง เช่น (ส�ำ), (เพลงโคราช) ใช้เครื่องหมายวงเล็บ ( ) ก�ำกับอักษรย่อ ของค�ำที่ใช้เฉพาะแห่ง เช่น ส�ำนวน (ส�ำ) ภูเขาสูงย่อมมีหญ้าขึ้น [พู-เขา-สูง-ย่อม-มี-หย่า-ขึ่น]

(ส�ำ) น. ผู้สูงศักดิ์ย่อม มีบริวารเสริมบารมี

๓.๒.๒ ใช้ก�ำกับอักษรย่อบอกภาษาที่มาและรูปศัพท์เดิม เช่น น�้ำมะเน็ด

[น่าม-มะ-เน่ด]

น. เครื่องดื่มรสมะนาว (อ. Lemonade : เลมอนเนด).

ใช้เครื่องหมายวงเล็บก�ำกับอักษรย่อบอก ภาษาที่มา คือ ภาษาอังกฤษ และรูปศัพท์เดิม

๓.๒.๓ ใช้ก�ำกับการอ้างอิงค�ำตั้ง (ค�ำหลัก) ที่เกี่ยวข้อง เช่น นิอ่อง น. กล้วยน�้ำว้า (ดู มะลิอ่อง ประกอบ). ใช้เครื่องหมายวงเล็บก�ำกับ การอ้างอิงค�ำตั้งที่เกี่ยวข้อง

๓.๓ เครื่องหมายจุดหรือมหัพภาค ( . ) ๓.๓.๑ ใช้หลังอักษรย่อชนิดของค�ำ เช่น น. (นาม), ก. (กริยา) ๓.๓.๒ ใช้หลังอักษรย่อบอกภาษาที่มา เช่น อ. (อังกฤษ), จ. (จีน) ๓.๓.๓ ใช้เมื่อจบการอธิบายค�ำศัพท์

(29)


ใช้มหัพภาคหลังอักษรย่อชนิด ของค�ำ ในที่นี้ คือ ค�ำนาม (น.) น�้ำมะเน็ด [น่าม-มะ-เน่ด]

น. เครื่องดื่มรสมะนาว (อ. Lemonade : เลมอนเนด).

ใช้เครื่องหมายมหัพภาคหลังอักษรย่อ บอกภาษาที่มา คือ ภาษาอังกฤษ

ใช้เครื่องหมายมหัพภาค เมื่อจบการอธิบายค�ำศัพท์

๓.๔ เครื่องหมายอัฒภาค ( ; ) ใช้คนั่ ระหว่างความหมายหรือค�ำศัพท์กบั ค�ำขยายความเพิม่ เติม เช่น เครื่องหมายอัฒภาคใช้คั่นระหว่างความหมาย หรือค�ำศัพท์กับค�ำขยายความเพิ่มเติม ควาญเมือง [ควน-เมือง]

น. ผู้รักษาเมือง ; เปรียบกับควาญช้าง ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงและบังคับช้าง.

๓.๕ เครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] ใช้ก�ำกับค�ำตั้ง (ค�ำหลัก) ที่เป็นรูปเขียนอักษรไทยตามเสียงถิ่น เพือ่ บอก ค�ำภาษาถิน่ หรือส�ำเนียงภาษาถิน่ เช่น แน่นตึบ [แหฺน่น-ตึ๊บ] ก. แน่นหนา, แน่นสนิท, แน่นเอี้ยด. เครื่องหมาย [ ] ใช้ก�ำกับบอกภาษาถิ่นโคราช หรือ การออกเสียง/ ส�ำเนียงโคราช

๓.๖ เครื่องหมายยัติภังค์ ( - ) ใช้เขียนระหว่างแต่ละพยางค์ของค�ำตัง้ (ค�ำหลัก) ทีเ่ ป็นรูปเขียนอักษรไทย (30)


ตามเสียงถิ่น เช่น กระหัสถ์

[กะ - ฮัด]

น. คฤหัสถ์, ฆราวาส, ผู้ครองเรือน.

เครื่องหมายยัติภังค์ใช้เขียน ระหว่างแต่ละพยางค์ของค�ำตั้ง

ค�ำบางค�ำอาจมีปัญหาหรือมีข้อสงสัยในการอ่าน ก็จะบอกเสียงอ่านก�ำกับ ไว้โดยใช้เครือ่ งหมาย (-) และบอกเสียงอ่านเรียงพยางค์คนั่ ด้วยยัตภิ งั ค์ดงั กล่าว เพือ่ มิให้ สับสนหรืออ่านผิด เช่น กะเต้ดแพ็ด ๆ [กะ-เต้ด-แพ็ด-แพ็ด] ก. สะบัดถี่ ๆ , สลัดถี่ ๆ บอกค�ำอ่านเพื่อมิให้สับสนหรืออ่านผิด

๓.๗ เครื่องหมายเท่ากับ ( = ) หมายถึงมีค่าเสมอกัน และหมายถึงค�ำนี้มี ความหมายเท่ากับ เช่น ผักตวาดหมา [พัก-ตะ-หวาด-หมา] (ปริศ) น. ผักกระเฉด (เฉด = เสียงตวาดหรือไล่หมา), ใช้เครื่องหมายเท่ากับ หมายถึง เฉด คือเสียงตวาดหมา

๓.๘ เครื่องหมายพินทุ ( . ) ค�ำที่อ่านตามกฎและหลักภาษาอยู่แล้วและ ไม่มีความซับซ้อนทางเสียงจะไม่บอกเสียงอ่านก�ำกับไว้ เช่น ขนาย, สนน ส่วนค�ำที่อ่าน ยกเว้นจากกฎหรือหลักภาษาหรือค�ำอื่น ถ้าไม่อธิบายบอกอาจอ่านเป็นอย่างอื่นได้ เช่น ขยูด ก็จะบอกเสียงอ่านว่า ขะ-หฺยดู ค�ำอ่านทีม่ เี ครือ่ งหมายพินทุจดุ ไว้ขา้ งใต้ตวั อักษรหรือ ใต้พยัญชนะต้นดังกล่าว มีความหมายว่าตัวอักษรนั้นเป็นอักษรน�ำไม่ออกเสียง ได้แก่ตัว (31)


ห เพื่อมิให้ออกเสียงเป็นอย่างอื่นซึ่งมีความหมายต่างกัน ตัวอย่างเช่น โขกโหลกเขกเหลก [โขก-โหฺลก-เขก-เหฺลก] ว. ไม่เป็นระเบียบ, สูงชะลูด. ค� ำ อ่ า นที่ มี เ ครื่ อ งหมายพิ น ทุ จุ ด ไว้ ข ้ า งใต้ ตั ว อั ก ษร หมายความว่าตัวอักษรนั้นเป็นอักษรน�ำไม่ออกเสียง

ส�ำหรับตัวอักษรควบกล�้ำ จะใช้พินทุจุดใต้พยัญชนะตัวหน้าเพื่อให้อ่าน พยัญชนะตัวหน้าควบกล�้ำกับตัวที่ตามมา เช่น เขลาใจ เขฺลา-ใจ] ว. ไม่ดลใจ, มีเหตุอันไม่ให้คิดไม่ให้ท�ำ. ค� ำ อ่ า นที่ มี เ ครื่ อ งหมายพิ น ทุ จุ ด ไว้ ข ้ า งใต้ ตั ว อั ก ษร หมายความว่าตัวอักษรนั้นเป็นอักษรน�ำไม่ออกเสียง

๓.๙ ตัวเลข ใช้แยกค�ำตั้ง (ค�ำหลัก) ที่มีรูปเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกัน จะแยก ค�ำตั้งโดยใส่ตัวเลข ๑, ๒, ๓ ..........ก�ำกับไว้ เช่น พอกวอก [พ่อก-ว่อก] ๑. ว. มอมแมม, เปื้อน. ๒. ว. ขาวเหมือนพอกหรือ โปะแป้ง (ใช้แก่หน้า). ค�ำตั้ง (ค�ำหลัก) ที่มีรูปเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกัน จะแยก ค�ำตั้งโดยใส่ตัวเลขก�ำกับ

(32)


"

ภาษาโคราช เป็นเอกลักษณ์ ของโคราช อันน่าภาคภูมิใจ “เราลูกหลาน” ต้องช่วยกันสืบสาน ความเป็นโคราช

"

(33)


(34)


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ก็ ด าย ว. ใช้ ป ระกอบค�ำอื่นมีค วาม หมายท�ำนองว่า ก็นอ้ , ก็เนาะ, เหลือเกิน, เกินไป เช่น เห็นว่า ก็ดาย (เห็นว่าก็เนาะ), แกก็ดาย ปล่อยให่หลาน มอมแมม (แก ก็นอ้ หรือแกก็เหลือเกินปล่อยให้ หลานมอมแมม), กะดาย ก็วา่ . ก็นั่นเอ๋ง ว . ก็นั่นซิ, ก็ใช่ซิ, ก็ ใช่แล้ว. กก [ก๊ก] น. ชื่อไม้ล้มลุกล�ำต้นใช้ทอ หรือสานเสื่อ. กกกลม [ก๊ก-กม] น. กกจันทบูร. กกคมบาง [ก๊ก-คม-บาง] ดู กกน�้ำพอง. กกน�ำ้ พอง [ก๊ก-น่าม-พอง] น. ปรือ; ล�ำต้นเป็นสามเหลีย่ ม เนือ้ ในฟ่าม สูงประมาณ ๒ เมตร เมือ่ แห้งผิวเปลือกสีเหลืองคล้าย ฟางข้าว, กกคม บาง ก็วา่ . กกล�ำพัน [ก๊ก-ล�ำ-พัน] น. กก ชนิดหนึ่งสูงประมาณ ๓ เมตร โคนต้นอวบขาว ใบแบนคล้าย หญ้าคา มีช่อดอกคล้ายธูป, หญ้าธูป ก็ว่า. กกไม้ [ก๊ก-ม่าย] น. ต้นไม้. กกเท่าเข็มใบเต็มน�ำ้ [ก๊ก-เท่า-เข็ม-ใบ-

เต็ม-น่าม] (ปริศ) น. ผักแว่น. กกอยู่ฟ้าปลายอยู่ดิน [ก๊ก-อยู่-ฟ่าปาย-อยู่-ดิน] (ปริศ) น.ไต้, เชื้อเพลิงจุดให้สว่าง. กงก�ำกงเกวียน [กง-ก�ำ-กง-เกียน] (ส�ำ) กงเกวียนก�ำเกวียน,กรรม สนองกรรม, เวรสนองเวร. กงเกง น. กางเกง เช่น ให้สอดใส่เสื้อ ด�ำกงเกงแดง (นิ.พระปาจิต), กุงเกง ก็ว่า. กงโก๊ะ ก. กงโก้, โก่ง ๆ โค้ง ๆ, ก้ม ๆ เงย ๆ, กงโก๊ะกงโก้ง, กงโก๊ะกง โก้ย, โกงโก๊ะโกงโก้ง, โกงโก๊ะ โกงโก้ย ก็ว่า. กงโก๊ะกงโก้ง ดู กงโก๊ะ. กงโก๊ะกงโก้ย ดู กงโก๊ะ. โกงโก๊ะโกงโก้ง ดู กงโก๊ะ. โกงโก๊ะโกงโก้ย ดู กงโก๊ะ. ก่งตะเกียง ดู กะโลงตะเกียง. กดปูด [ก๊ด-ปูด] น. นกกะปูด, กั่นปูด, กัดปูด ก็ว่า. กถา น. คาถา, ค�ำเสกเป่าที่ถือว่า ศักดิ์สิทธิ์. ก้นคุก [ก้น-คุ่ก] ว. ขี้คุก, เลวเหมือน คนติดคุก (ค�ำด่า), คนคุก ก็วา่ . ก้นแงน น. ก้นงอน, ลักษณะก้นช้อย 1

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก้นจ�้ำ - กระจ้อน

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ขึ้นหรือโง้งขึ้น เช่น ขยับย่าง ก้นแงนงะเงกเง (นิ.พระปาจิต). ก้นจ�้ำ น. ชื่อพืชล้มลุกชนิด Bidens biternata (Lo ur.) Merr. & Sherff ex Sherff ในวงศ์ ก้นจ�ำ้ Compositae ล�ำต้นเป็นเหลี่ยม ใบออกเป็น ช่ อ ยอดเดี ย วดอกสี เ หลื อ ง น�้ำใบคั้นใช้ล้างตา แก้โรคตา มัว ตาฟาง พอกแผลสด แผล ไฟไหม้ น�้ำร้อนลวก. ก้นจ�้ำน้อย ๑. น. ชื่อไม้ล้มลุกอายุปี เดี ย วชนิ ด Siegesbeckia orientalis Linn. ในวงศ์ Compositae ใบเดี่ยวรูปไข่ ปลายแหลม ดอกช่ อ เป็ น กระจุกสีเหลืองสด ใบใช้พอก แผลไฟไหม้ คั้นทาแก้พิษแมลง สั ต ว์ กั ด ต่ อ ย ล� ำ ต้ น ใช้ แ ก้ อั ก เสบ มุตกิด บ�ำรุง หัว ใจ โรคผิวหนัง นักพฤกษศาสตร์ เรียก สะพ้านก้น. ๒. ชื่อไม้พุ่มเลื้อยชนิด Sida qutinosa Cav. ในวงศ์ Malvaceae. ก้นเต่า น. ท้ายทอย, ก�ำด้น, ส่วนสุด ของกะโหลกศีรษะด้านหลัง. 2

ก้นรากงอก ดู ก้นออกราก. ก้นออกราก ว. ก้นหนัก, นั่งคุยได้ นาน ๆ ไม่ยอมลุกง่าย ๆ จนคน รอต้องเร่งหรือรบเร้าให้ลุก, ก้นรากงอก ก็ว่า. กบ [ก๊บ] น. ชื่อสัตว์สะเทินน�้ำสะเทิน บกหลายชนิด ล�ำตัวสั้นป้อม ขาคู ่ ห ลั ง ใหญ่ แ ละยาวกว่ า คู ่ หน้า ตีนแบน กระ โดดได้ไกล. กบกินเดือน [ก๊บ-กิน-เดือน] น. จันทรุปราคา,จันทรคราส. กบดุด [ก๊บ-ดุ๊ด] น. กบจ�ำศีล มักจะอยู่ในรูลึก. กบเบ้า [ก๊บ-เบ้า] น. กบจ�ำศีล มักจะอยู่ในรูไม่ลึกและจะท�ำดิน คล้ายฝาปิดปากรูไว้. กบปนปู [ก๊บ-ปน-ปู] น. กบที่ อาศัยอยู่ร่วมกับปู. กมลสันดาน [กะ-มน-สัน-ดาน] น. สันดาน, นิสัยที่มีมาแต่ก�ำเนิด. ก้มหน้าตาดูดิน [ก้ม-หน่า-ตา-ดู-ดิน] (ส�ำ) ก. จ�ำทน เช่น ก็พยายาม ตัดใจมิให้อาลัยถึงก้มหน้าตาดู ดิน (ท้าว ฯ). กรง [กง] ว. ตรง, กร๋ง ก็ว่า. กรงเป๊ะ [กง-เป๊ะ] ว. ตรงเผง, ยืนตรงนิ่ง, กรงเพละ, กรง แหน่ว ก็ว่า. กรงเพละ [กง-เพะ] ดู กงเป๊ะ.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

กรงแหน่ว [กง-แหฺน่ว] ดู กง เป๊ะ. กรนฝูฝู [กน-ฟู่-ฟู่] ก. เสียงกรนดัง ฝู ๆ เช่น เสียงกรนอยู่ฝูฝู พระ โฉมตรูแล้วนิ่งไป (นิ.รูปทอง). กรรมแตก ดู มุตโต. กรลบ [กะ-ลบ] ก. กระลบ, ตรลบ, ตลบ; ว. ฟุ้ง เช่น หอมฟุ้งกร ลบทั่วทั้งพารา (นิ.กุศราช). กรวจ [กวด] ก. ตรวจ. กรวจกรา [กวด-กา] ก. ตรวจ ตรา, ส�ำรวจหาความผิดปกติ อย่างรอบคอบ เช่น เมื่อนั้นหมู่ เสนา ไปกรวจกรารอบบุรี (นิ. กุศราช). กรวน [กวน] น. ตรวน, เครื่องจองจ�ำ ที่ใช้สวมขานักโทษ.

Fabaceae ใบเป็นใบประกอบ เนื้อไม้สีส้ม เปลือกสีเทาปน เขียว ดอกรสขม เปลือกรส ฝาด ขับฟอกและบ�ำรุงหัวใจ แก่นรสฝาดร้อนขื่น แก้กษัย เลือดลม นักพฤกษศาสตร์ เรียก แดง. กร้อ [ก้อ] ลักษณะนามของหลอดด้าย เช่น ด้าย ๑ กร้อ (ด้าย ๑ หลอด). กรอง [กอง] ก. ตรอง, คิดทบทวน. กรอบแกรบ [ก๊อบ-แก๊บ] ว. เสียงดัง อย่ า งเหยี ย บหรื อ เคี้ ย วของ กรอบหรือแห้ง. กรอม ก. ตรอม, ระทมเจ็บช�้ำอยู่ในใจ เช่น กรอมใจ (ตรอมใจ). กรอมกรม ก. ตรอมตรม, ระทมใจ เช่ น ยิ่ ง เศร้ า ใจกรอมกรม อารมณ์ โ รย (นิ . พระปาจิ ต ). กระการ [ก๊ ะ -กาน] ว. ตระการ, งาม เช่น บังเหียนเคียนด้วย ไม้ เบาะอานใส่ดูกระการ (นิ. รูปทอง). กระเกรียม [ก๊ะ-เกียม] ก. ตระเตรียม. กระจอก ว. ไม่มีท่า, ไม่เก่ง, ไม่มีความ สามารถ, ยากจน, ต�่ำต้อย, กระจอกงอกง่อย ก็ว่า. กระจอกงอกง่อย ดู กระจอก. กระจ้อน ๑. น. สัตว์ชนิดหนึ่งคล้าย

กร้วม

กร้วม [ก้วม] น. ชื่อไม้ยืนต้นขนาด ใหญ่ชนิด Xylia xylocarpa Taub. var. kerrii (Craib & Hutch.) Nielsen. ในวงศ์ 3

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กระจี้ - กระทงเกวี ย น

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

กระแตแต่เล็กกว่า ไม่มลี ายขน. ๒. ว. แคระ, แกร็ น (ใช้ แ ก่ สั ต ว์ ) เช่ น ม่ า กระจ้ อ น (ม้ า แคระ). กระจี ้ น. เมล็ดของต้นแสลงใจ. กระจุกกระจิก [กะ-จุ๊ก-กะ-จิ๊ก] ก. กระจุบ กระจิบ, อาการที่กิน พร�่ำเพรื่อ, ทีละเล็กทีละน้อย, สิง่ ละอันพันละน้อย, จุกจิก ก็วา่ . กระเจียวขาว น. กระเจี ย ว, ชื่ อ ไม้ ล้ ม ลุ ก ชนิ ด Curcumapa viflofa Wall. ในวงศ์ Zingiberaceae ลั ก ษณะ คล้ า ยต้ น กระชาย ช่ อ ดอก เป็ น ช่ อ ตั้ ง รู ป คล้ า ยทรง กระบอก ดอกสี ข าว ใช้ ประกอบอาหารได้, ถิ่นเหนื อ เรี ย ก กระเจี ย วโคก, ถิ่ น อี ส านเรี ย ก กระชายดง. กระเจ้าะ ก. กระแซะ, เบียดเข้าไป, ขยับเข้าไป. กระแจนแวน น. นกกระแวนหรือกาแวน, ถิ่นอีสานเรียก แจนแวน. กระชิง น. ปลากระทิง. กระเชอเร็ว น. กระเชอไม่มีหู ใช้ตัก หรือตวงข้าวได้รวดเร็วแต่ใช้ หาบไม่ได้, กระเชอเลว ก็ว่า. กระเชอเลว ดู กระเชอเร็ว. กระเชอหู น. กระเชอมีหูส�ำหรับร้อย 4

เชือกหาบสิ่งของ, (ดู กระเพ่าะ ประกอบ). กระซึบ [กะ-ซึ่บ] ก. กระซิบ, กระซึบ กระซาบ ก็ว่า. กระซึบกระซาบ [กะ-ซึ่บ-กะซาบ] ดู กระซึบ. กระดกกระดิงด่าง [กะ-ด๊ก-กะ-ดิงด่าง] ดู กระดกกระเดื่อง. กระดกกระเดื่อง [กะ-ด๊ก-กะ-เดื่อง] น. กระดานหก (เครื่องเล่นของ เด็ก) ใช้กระดานเรียบพาดบน คานแล้วนั่งที่ปลายทั้งสอง ใช้ เท้ า ยั น พื้ น ถี บ ให้ ก ระดกที ล ะ ข้าง, กระดกกระดิงด่าง, กระดก กระโด่, กระดกดิงด่าง, เงาะเหงิบ, อีเหงิบอีงบั ก็วา่ , ถิน่ อีสานใช้วา่ ดุบเดือ่ งด้อง. กระดกกระโด่ [กะ-ด๊ก-กะ-โด่] ๑. ดู กระดกกระเดื่อง. ๒. ก. พูดติด ๆ ขัด ๆ, พูด ตกหล่น, พูดไม่ชัดถ้อยชัดค�ำ.

กระดกกระโด่

กระดกดิงด่าง [กะ-ด๊ก-ดิง-ด่าง] ดู กระดกกระเดื่อง. กระด้งม่อน น. กระด้งมอญ, กระด้ง


พจนานุกรม ภาษาโคราช กระดูกอึ่งใหญ่ น. กระดูกอึ่ง, กระดูก เขียด, แกลบหนู, แกลบหูหนู, แปรงหูหนู, อึ่งใหญ่; ไม้พุ่ม ใน วงศ์ Leguminosae ชนิด Denmo dium lanceolatum (Dunn) Schindl. สูงประมาณ ๑-๒ เมตร ใบรูปไข่ โคนใบ สอบ ช่อดอกสั้นออกตามง่าม. กระเด็นกระดอน ก. เคลื่อนจากที่เดิม หรื อ แตกออกจากที่ เ ดิ ม แล้ ว สะท้ อ นขึ้ น โดยเร็ ว เพราะ กระทบสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างแรง. กระต้องกระแต้ง ว. กระตุ้งกระติ้ง เช่น ท�ำกระต้องกระแต้ง อยู่ เหมือนแตงคอกระติ๊ก (เพลง ก้อม). กระเต้น ก. กระโดด, เต้น มักใช้กับ กระโดด เป็น กระโดดกระเต้น, กะเต้น ก็เขียน, เช่น ลูกไม่ เหล่นกะเต้นขึ่นหลังคา (ลูกไม้ เล่นเต้นขึน้ หลังคา) (เพลงกล่อม ลูก). กระถด [กะ-ทด] ก. กระเถิบ, เขยิบ เช่น กระถดเข้าใกล้ ปราศรัย ด้วยดี ยายจงปรานี ข้านี้บ้าง รา (นิ.รูปทอง). กะโถก ดู กระโทก ๒. กระทงเกวียน [กะ-ทง-เกียน] น. กระทงเพชร; ไม้ติดขวางรอง

ขนาดใหญ่. กระดอลิง น. นกหรือเครือ่ งสับแก๊ปปืน (มีลกั ษณะคล้ายอวัยวะเพศของ ลิงตัวผู)้ . กระดานปีบ น. ฝาปีบน�ำมาท�ำเป็นที่ ใช้ เ ขี ย นหนั ง สื อ แทนกระดาน ชนวน. กระดาษหนังหมู น. กระดาษที่ผิว กระดาษขรุขระเหมือนหนังหมู ใช้ส�ำหรับวาดภาพ. กระด่าว ก. กระแด่ว, ระด่าว, ดิ้นสั่น รัว, ดิ้นอยู่กับที่. กระดี่เคียงขอน ก. อาการที่ชายร�ำ กางแขนกว้าง หญิงร�ำกาง แขนแคบอยู่ในวงแขนชาย ใน ลักษณะเคลียคลอ, (ดู ช้าง เทียมแม่ ประกอบ). กระดืด ก. กระดืบ, อาการที่ค่อย ๆ คืบไปอย่างหนอน. กระดูก (ปาก) ว. คิดราคาแพง. กระดูกกระเดี้ยว น. กระดูก.

กระดูกอึ่งใหญ่

5

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กระทงเหว - กระเบาใหญ่

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

แคร่เกวียน เพื่อยึดติดไม่ให้ แคร่แยกออกไป (แคร่เกวียน), ทวก ก็ว่า. กระทงเหว น. ปลากระทุงเหว. กระท่อมนา ดู เขียงนา. กระท่อมห่อมสะหน�ำ น. กระท่อม, บ้าน, ที่อยู่อาศัย, ถิ่นใต้ใช้ว่า หน�ำ หมายถึง เพิงส�ำหรับพัก ในสวนยาง. กระทะด�ำงวมดิน [กะ-ท่ะ-ด�ำ-งวมดิน] (ปริศ) น. ขี้ควาย. กระทา น. คราดที่ท�ำด้ว ยไม้แ ผ่น สี่ เ หลี่ ย มมี ด ้ามส�ำหรับถือ ใช้ เกลี่ยสิ่งของ เช่น ข้าว, ระทา ก็ว่า. กระทาเกลือ น. ขี้ทา, ขี้กระทาเกลือ; คราบเกลือที่ผุดแห้งเกรอะขาว ตามผิวดิน, ขี้กะทา ก็ว่า. กระทายหิน ดู เลนเต. กระทิก [กะ-ทิก่ ] ก. กระทก, อาการที่ ยกกระด้งขึ้นลงและกระตุกถี่ ๆ เบา ๆ เพือ่ แยกสิง่ ทีไ่ ม่ตอ้ งการ ออกจากข้าวสารหรือแป้งทีต่ ำ� . กระทิ ก กระไท [กะ-ทิ่ก -กะ-ไท] ก. อาการที่ ย ้ า ยกระด้ ง ไปซ้ า ยที ขวาทีท�ำเหมือนกับการร่อนคือ ยักไปย้ายมาสลับกับการยกขึ้น ยกลงหรื อ กระตุ ก อย่ า งถี่ ๆ เบา ๆ เพื่อแยกกากหรือสิ่งที่ 6

ไม่ต้อง การออก เช่น แยก ปลายข้าวหรือข้าวเปลือกออก จากข้าวสาร, (ดู กระทิก และ กระไท ประกอบ). กระทิยอบ [กระทิ่ยอบ] น. ไมยราบ, กระทืบยอด, กระทืบยอบ; ไม้ ล้มลุก ๓ ชนิด คือ Biophy tumadiantoides Wight ex Edgew. et Hook. f., B. petersianum Klotzsch และ B. sensitivum (L.) DC. ใน วงศ์ Oxalidaceae ต้นเล็ก ๆ ใบคล้ายใบผักกระเฉด ดอกสี เหลือง เมื่อถูกกระเทือนจะหุบ ได้, นกเขาเง้า ก็เรียก, ดู ก้าน ของ ประกอบ. กระทุ่มโคก น. กระทุ่ม, กระทุ่มนา; ไม้ ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ ชนิด Mitragynahirsuta Hav หรือ Anthocephalus chin ensis (La m.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบเป็นคู่ตามกิ่ง ดอกสีเหลือง อ่อนเป็นช่อ กลิ่นหอม ใช้ท�ำ เสากระดาน และเยื่อกระดาษ. กระทู้ [กะ-ทู่] น. หลัก, เสาที่ปักเป็น แนวรั้วเพื่อแสดงเขต เช่น กระ ทู่รั่ว (เสารั้ว). กระทู้เจ็ดแบก [กะ-ทู่-เจ๊ด-แบก] ดู


พจนานุกรม ภาษาโคราช กระเบือ. กระทู้เพลง [กะ-ทู่-เพลง] น. ท่อน หรื อ ตอนเพลงโคราชที่ เ ดิ น กลอน. กระเทิน ดู กะเทิน. กระแทกกล้า ก. กระแทกต้นกล้าข้าว ให้โคนต้น (ตีนกล้า) เสมอกัน เพื่อมัดเป็นฟ่อน. กระแทกอัก [กะ-แทก-อัก่ ] ก. กระทบ โดยแรงจนมีอาการจุก. กระโทก ๑. น. ชื่อเดิมของอ�ำเภอ โชคชัย ปัจจุบันเป็นอ�ำเภอหนึ่ง ในจังหวัดนครราชสีมา. ๒. น. ผ้าที่ผูกเป็นห่อหรือถุงใส่ สิ่งของ แล้วคล้องไว้ที่คอ, กะ โถก ก็ว่า. ๓. น.ต้นไม้ชนิดหนึ่งใบคล้าย ผักหวานแต่เป็นพิษหรือเมา. กระไท [กะ-ไท] ก. กระทาย, ร่อน พลางกระตุกพลาง, อาการที่ ย้ า ยกระด้ ง ไปซ้ า ยที ข วาที ท� ำ คล้ า ยกั บ การร่อน คือยักไป ย้ายมาอย่างถี่ ๆ เบา ๆ บาง ครั้งสลับกับฝัดเบา ๆ หรือ กระตุ ก ถี่ ๆ เพื่อแยกสิ่ง ไม่ ต้องการที่ปนมา เช่น แยกข้าว เปลือกออกจากข้าวสาร โดย ข้าวเปลือกจะรวมกันอยู่ด้าน บน ส่วนข้าวสารจะรวมกันอยู่

ด้านล่างของกระด้ง. กระบกหิน [กะ-บ๊ก-หิน] น. ชื่อไม้ต้น ชนิด Elaeocarpus lancea efolius Roxb. ในวงศ์ Elaeo carpaceae นักพฤกษศาสตร์ เรียก พีพ่าย, ถิ่นเหนือเรียก ยาขบงู. กระบะ [กะ-บ๊ะ] น. ชามท�ำด้วยโลหะ เคลือบส�ำหรับใส่อาหาร ถ้า ขนาดใหญ่เท่ากะละมัง เรียก ว่า กะบ๊ะใหญ่. กระบะใหญ่ [กะ-บ๊ะ-ไหย่] ดู กระบะ. กระบาน น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ คล้ายกระด้ง หรือเข่งปลาทู โตกว่ า จานใช้ ใ ส่ ข ้ า วกิ น แทน จาน เช่น เห็นกระบานที่พระ สานไว้กินข้าว (นิ.พระปาจิต), พริ ก เกลื อ ปลาร้ า เก็ บ ใส่ ก ระ บาน เมื่อจนลงนั้น จะได้หุงกิน (นิ.รูปทอง), ถิ่นอีสานใช้ว่า กะ เบียน. กระบัดใจ [กะ-บั๊ด-ไจ] ว. บัดใจ, ประเดีย๋ ว, ทันใด เช่น กระบัดใจ ก็ถึ ง ฝั ่ ง นที ที่ ต ะงอย (นิ . พระ ปาจิ ต ). กระเบาใหญ่ น. กระเบา, กระเบาน�้ำ; ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่งในกลุ่มต้นไม้ กระเบาชนิด Hydnocar pu santhelminticus Pierre ใน 7

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กระเบือ - กระเหม่น

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

วงศ์ Bixaceae ดอกสีขาว นวล ผลกลมมีขนสีน�้ำตาลกิน ได้ เ มล็ ด มี น�้ ำ มั น ใช้ แ ก้ โ รค ผิวหนัง. กระเบื อ น. กระบื อ เจ็ ด ตั ว , ลิ้ น กระบือ; ไม้พุ่มขนาดย่อมชนิด Excoecaria cch in chinen sis Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๑-๒ เมตร ใบคล้าย ใบพิ กุ ล ด้านบนสีเขียวด้าน ล่ า งหรื อ ท้ อ งใบสี แ ดงเลื อ ด หมู ดอกสี เ หลื อ ง ผลเล็ ก ประมาณ ๓ พู ใช้ท�ำยา ขับน�้ำ คาวปลา แก้สันนิบาตเลือด, ใบท้องแดง หรือ กระทู้เจ็ด แบก ก็ว่า.

กระเบือ

กระป๋องน้อยห้อยตาไม่มีคนตักมันก็ เต็ม [กะ-ป๋อง-น่อย-ห่อย-ตาไม่ - มี - คน-ตั๊ ก -มั น -ก็ - เต็ ม ] (ปริศ) น. มะพร้าว. กระเป๋าฉีก (ปาก) ว. จ่ายมากจนเงิน หมดกระเป๋า. 8

กระเป๋าแห้ง [กะ-เป๋า-แห่ง] (ปาก) ว. ในกระเป๋าไม่มีเงิน. กระแป้ น. ภาชนะคอยาวคล้ายคนโท ใช้ใส่เหล้าหรือน�้ำ. กระโปก น. กระดอ, อวัยวะเพศชาย หรือสัตว์เพศผู้. กระโปกอุ ้ ง น. ไส้ เ ลื่ อ น, ชื่ อ โรคล� ำ ไส้ เ ลื่ อ นลงในช่ อ ง อั ณ ฑะ. กระพวม ดู ก�ำพวม. กระเพาะ [กะ-เพ่าะ] น. กระเชอมี ๔ หู ส�ำหรับร้อยเชือกหาบสิ่งของ, กระเชอหู ก็ว่า. กระรอกกระแต น. การเล่นอย่างหนึ่ง แบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย เท่า ๆ กัน ยืนเป็นแถวหันหน้า เข้าหากันห่างพอสมควร ให้ แถวแรกเป็นกระรอก อีกแถว เป็นกระแต มีคนหนึ่งยืนตรง กลาง ห่างจากแถวทั้งสอง ๑ ก้าวเพื่อคอยสั่งว่า กระรอก หรือกระแต ถ้าสัง่ ว่า “กระรอก” ฝ่ายที่เป็นกระรอกจะวิ่งไปแตะ กระแตฝ่ า ยกระแตจะวิ่ ง หนี ถ้าสั่งว่า “กระแต” ฝ่ายกระแต จะวิ่ ง ไล่ แ ตะกระรอกฝ่ า ย กระรอกจะวิ่งหนีสลับกันไปเช่น นี้ ฝ่ายใดแตะได้มากที่สุดเป็น ฝ่ายชนะ.


พจนานุกรม ภาษาโคราช กระวายวน ก. กระวายกระวน, กระวน กระวาย, เร่าร้อน เช่น กระวาย วนจั บ กระเหม่ า ออกเมามั ว (สุภมิต ฯ). กระเวน ก. ตระเวน. กระสัง [กะ-สัง] น. ต้นมะสัง มีหนาม ใบคล้ า ยใบมะขวิด เช่น มัน จั บ เจ่ าค่ าบนต้นกระสัง (สุภ มิ ต ฯ). กระโสบ ๑. น. ภาชนะห่อน�้ำตาลปึก ท�ำด้วยกาบกล้วยแห้ง ๒ เส้น วางทั บ กั น เป็ น กากบาทแล้ ว ห่อ. ๒. ก. ขยอกกินอย่างหมู. กระหกกระเหิน [กะ-ฮก-กะ-เหิน] ว. ระหกระเหิน, ซัดเซไป เช่น ต้อง ขี่ควายอุ่นอก กระหกกระเหิน (นิ.พระปาจิต). กระหง่าน ว. ตระหง่าน. กระหนกตกประหม่า [กะ-นก-ต๊กปะ-หม่า] ก. ประหม่า, พรัน่ ใจ เช่ น กระหนก ตกประหม่ า เพราะว่าความกลัว (นิ.รูปทอง). กระหนหาย ก. กระหนกระหาย, กระวน กระวาย, ทุรนทุราย เพราะความหิวกระหาย เช่น น้องร้อนในพระกาย กระหน หายเป็นนักหนา (นิ.รูปทอง). กระหนัก [กะ-นัก] ก. ตระหนัก, รู้ ประจั ก ษ์ ชั ด, รู้ชัด แจ้ง เช่น

พระยารามฟั ง ความกระหนั ก แน่ (นิ.พระปาจิต). กระหม่อมยังไม่เต็ม (ส�ำ) ยังไร้เดียง สา, เด็กเมื่อวานซืน, เด็กที่มี ความรู้และประสบการณ์น้อย เปรียบได้กับทารกที่กระหม่อม ยังไม่เต็ม. กระหม่า ก. ประหม่า เช่น ทางยายบัว ตัวสัน่ ตกกระหม่า (นิ.พระปาจิต), ลางคนเห็นยักษา ตกกระหม่า หน้าคือผี (นิ.รูปทอง), กระหม่า ตัดมา ฉัยยาขัดสี (นิ.กุศราช), กระหม่า บ้าบิ่น ก็ว่า. กระหม่าบ้าบิ่น ดู กระหม่า. กระหมุดปลาไหล [กะ-มุด-ปา-ไหล] น. ชื่ อ ไม้ เ ถาชนิ ด Genian thus crassifolius Hook. f. ใน วงศ์ Asclepia daceae. กระหวาดกระเสียว ก. หวาดเสียว, กลัว วาบในใจ เช่น ให้ประหารชีวิต โดยไม่ต้องกระหวาดกระเสียว (นิ.เพลงศุภมิตร ฯ). กระหั ส ถ์ [กะ-ฮั ด ] น. คฤหั ส ถ์ , ฆราวาส, ผู้ครองเรือน เช่น ที่ ญ าติ โ ยมเป็ น กระหั ส ถ์ ไ ด้ อุปถัมภ์ (นิ.พระปาจิต). กระเหม่น ๑. ก. เขม่น, อาการที่กล้าม เนื้อตากระตุก หรือสั่นเบา ๆ เชื่อกันว่าจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นใน 9

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กระอบ - กลองทึ่ม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เวลาข้างหน้า. ๒. ก. ขะมักเขม้น, ตั้งใจท�ำให้ เสร็จ, (ดู ขะเม่น ประกอบ). ๓. ว. รู้สึกไม่ชอบหน้าหรือไม่ พอใจ. กระอบ [กะ-อ๊บ] น. ผอบ [ผะ-อบ] ขนาดจะใหญ่กว่ากระอับ. (ดู กระอับ ประกอบ). กระอวย น. กระถางส�ำหรับรองใส่ ของเหลว เช่น น�ำ้ ข้าว, น�ำ้ อ้อย. กระออม น. ภาชนะใส่น�้ำสานด้วย ไม้ไผ่ทาด้วยชัน. กระอับ [กะ-อั๊บ] น. ตลับ, กล่องมี ลักษณะแบน ๆ ขนาดจะเล็ก กว่ากระอบ ใช้ใส่สิ่งของ เช่น ขีผ้ งึ้ , กระแอบ ก็วา่ , (ดู กระอบ ประกอบ). กระแอบ ดู กระอับ. กร่าง (ปาก) ก. วางโต, วางก้าม. กราน ๑. ก. กลัว, ขยาด. ๒. ก. บาก, ฟันต้นไม้ให้เป็น แผลหรือเป็นรอยรอบต้นเพื่อ ให้ต้นไม้ตาย. กราบเท่า ว. ตราบเท่า. กราย ก. เดินผ่าน, ผ่านมา, ชาย, เฉียด, ฉาก ก็ว่า. กร�่ำ ว. อาการหน้าแดง, ตึง ๆ เพราะ ดื่มเหล้า. กรึก [กึ๊ก] ก. ตรึก เช่น กรึกกรึกใน 10

พระทัยเทวี (นิ.รูปทอง). กรึกกรอง [กึ๊ก-กอง] ก. ตรึก ตรอง, ค่อย ๆ คิดอย่างสุขุม, กรุกกรอง, กรุกตรอง ก็ว่า. กรึงกรา [กึง-กา] ก. ตรึงตรา, ประทับ ใจจากการได้เ ห็น เช่น มิได้ คลาดคลา รัดรึงกรึงกรา ไม่ได้ วางเลย (นิ.รูปทอง). กรึ๊บ [กึ๊บ] น. ลักษณะนามเรียกการ ดื่มเหล้าแต่น้อย ๆ อึกหนึ่ง ๆ อย่างรวดเร็ว; ก. ดื่ม (มักใช้ แก่เหล้า). กรุ [กุ๊] ก. บุ, เอาของบาง ๆ รองข้าง ในปิดกั้นช่องโหว่หรือช่องว่าง. กรุกกรอง [กุ๊ก-กอง] ดู กรึกกรอง. กรุกตรอง [กุ๊ก-ตอง] ดู กรึกกรอง. กรุ่ม ก. เฉย, นิ่งเฉย, อาการที่ท�ำ สิ่ ง ใดก็ ท� ำ เรื่ อ ยไปแต่ สิ่ ง นั้ น , กุ่ย ก็ว่า. กรุษสารท [กุ๊ด-สาด] โดยปริยาย หมายถึงวันตรุษหรือวันสารท เช่น กรุ๊ษสง-กรานต์, ถึงกรุษ สารทตายายไม่ท�ำขึง (นิ.พระ ปาจิต). กรวน [กวน] น. ตรวน เช่น ใส่ขื่อคา โซ่กรวนผูกพ่วงคอ (สุภมิต ฯ). กลั้นกลืน ก. กล�้ำกลืน, ฝืนใจ, อด กลั้นไว้ไม่แสดงให้เห็น เช่น แต่ กลั้ น กลื น ขื น หั ก อารมณ์ เ สี ย


พจนานุกรม ภาษาโคราช (นิ.พระปาขิต). กลั้นดอก น. ผลิดอก, ดอกของพืชที่ ก�ำลังออกตูม ๆ. กลบ [ก๊บ] ก. ตรลบ, ฟุ้งไป, ปลิว กระจาย เช่น ฝุ่นก๊บ. กลบธาตุ [ก๊บ-ทาด] ดู กลับธาตุ. กลับธาตุ [กั๊บ-ทาด] น. การท�ำพิธี เก็บ อัฐิใส่โกศ โดยน�ำกระดูก คนตายหลัง จากเผามาเรียง เป็นรูปคน หันศีรษะไปทางทิศ ตะวั น ตกแล้ ว นิ ม นต์ พ ระมา บังสุกุล, กลบธาตุ ก็ว่า เช่น ได้ ส ามวั น ถ้ ว นค� ำ รบจึ ง กลบ ธาตุ (นิ.พระปา จิต). กลับบ้านเก่า [กับ๊ -บ้าน-เก่า] ก. ตาย. กล้วยขม น. กล้วยพันธุ์หนึ่งมีลักษณะ คล้ายกล้วยไข่. กล้วยครูด ดู ข้าวครูด กล้วยงาช้าง [ก้วย-งา-ช่าง] น. ชื่อ กล้ ว ยพั น ธุ ์ ห นึ่ ง ผลยาวงอน เหมือนงาช้าง. กล้วยจักนวล [ก้วย-จั๊ก-นวน] น. กล้ ว ยที่ ใ กล้ จ ะแก่ ห รื อ ระยะที่ เหลี่ยมกล้วยหาย ผิวจะนวล หรือขึน้ นวล เช่นกล้วยทัง้ หลาย กลายหน่วยกล้วยจักนวล (นิ. พระปาจิต), กล้วยจับนวล, จัก นวล, จับนวล ก็ว่า. กล้วยจับนวล [ก้วย-จั๊บ-นวน] ดู

กล้วยจักนวล. กล้วยโทน น. กล้วยชนิด Musaglauca Roxb. ในวงศ์ Musaceae นัก พฤกษศาสตร์เรียก กล้วยหัวโต, ถิน่ เหนือเรียก กล้วยนวล. กล้วยมะลิอ่อง น. กล้วยน�ำ้ ว้า, กล้วยนิ อ่อง ก็เรียก.

กล้วยมะลิอ่อง

กล้วยส้ม [ก้วย-ส่ม] น. กล้วยพันธุ์ หนึ่งคล้ายกล้วยไข่แต่มีรสอม เปรี้ยว. กล้วยส้มจัน [ก้วย-ส่ม-จัน] น. กล้วย พั น ธุ ์ ห นึ่ ง มี ร สออกเปรี้ ย วอม หวาน ผลเป็ น เหลี่ ย ม เช่ น กล้วยตีบและกล้วยต้น กล้วย ส้มจันและกล้วยไข่ (นิ.รูปทอง). กล่องดวงใจ น. ส่วนส�ำคัญของสิ่งใด สิ่ ง หนึ่ ง เช่ น ข่ า วนี้ เ ท่ า กั บ กล่องดวงใจของเจ้าอนุซึ่งฝัง ไว้ ณ ค่ายชั้นนอก ได้ถูกข้าศึก บีบแตกเสียแล้ว (ท้าว ฯ). กลองต๊อก ดู กลองทึ่ม. กลองทึ่ม น. กลองสองหน้าขนาด กลาง ๆ เวลาตีเสียงดังทึ่ม ๆ 11

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กล่อน - ก่อนไก่โห่

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ใช้ตีบรรเลงในวงกลองต๊อก, กลองต๊อก ก็ว่า, (ดู วงกลอง ต๊อก ประกอบ). กล่อน [ก่อน] น. นิ่ว, โรคนิ่ว. กล่อม [ก่อม] น. ขั้นตอนการตีหม้อ ให้เรียบหรือแต่งผิวให้เรียบ. กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดู [ก่อม-เกี้ยงเลี่ยง-ดู] ก. อบรมเลี้ยงดู ให้มี นิสัยดี. กล่อมมดลูก ก. การท�ำให้มดลูกเข้าอู่ ด้วยการใช้มือกดดันหัวเหน่า แล้วคลึงไปมา. กลอยหัวเหนียว น. กลอยชนิด Dios coreahispida Denn st. ใน วงศ์ Dioscoreaceae มีหัว กลมขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน ใบ เป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ หัวดิบมีพิษเบื่อเมา แต่ถ้าท�ำ ถู ก วิ ธีก ารและน� ำ มาท� ำ ให้ สุ ก สามารถกินได้. กลั้นกลืน [กั้น-กืน] ก. กล�ำ้ กลืน, ฝืนใจ เช่น แต่กลัน้ กลืนขืนหักอารมณ์ เสีย (นิ.พระปาจิต). กลั้วคอ [กั้ว-คอ] ก. ดื่มน�้ำแต่น้อยลง ไปเพียงล�ำคอ ท�ำเสียงครอก ๆ แล้วบ้วนออก. กลางวันยืน กลางคืนนอน (ปริศ) น. บันได; สมัยก่อนก่อนจะนอน จะ ลากบันไดขึน้ เรือนวางนอนไว้. 12

กลาด [กาด] ว. ขลาด, ไม่กล้า, กลัว. กล�่ำผี [ก�่ ำ -ผี ] น. ไม้ พุ ่ ม ชนิ ด Sauropusorbicularis Craib ในวงศ์ Euphorbiaceae, ถิน่ เลย เรียก ค�ำผีน้อย. กลิ้งโค่โล่ [กิ้ง-โข่-โหล่] ก. ล้มกลิ้ง ไม่เป็นท่า. กลืนน�ำ้ ลายเอือ้ ก [กืน-น่าม-ลาย-เอือ้ ก] ก. กลืนน�้ำ ลายอึกเนื่องจาก อยากกินมากหรือโกรธแค้น. กลุกกลั้ว [กุ๊ก-กั๊ว] ก. เกลือกกลั้ว, คลุ ก คลี ท� ำ ให้ มี ม ลทิ น เช่ น ไปพู ด จากลุ ก กลั้ ว อยู ่ มั ว เมา (สุภมิต ฯ). ก้วก ว. เสียงเกา เช่น เกาขาก้วก, ก้วก ๆ ก็ว่า. ก่วง ว. กระจ่าง (สว่าง), แจ่มใส, สดใส เช่น แม่คิ่วก่งก่งร่ะวง หน่าก่วงก่วง ลงท่งก้วงก้วง งามเอาเสี ย เกิ น เกิ น (เพลง โคราช), เดือนหงายก่วง (เดือน หงายกระจ่างสว่างสดใส). กวด ก. ตรวจ. ก๊วด ก. ขว้าง, ปา, เหวี่ยง. กวดก๋วย ก. ปัดให้พ้นไป. กวดก๋ ว ยสวยเสี ย ก. ตายอย่ า ง กะทันหัน. กวดทหาร ก. คัดเลือกทหารเกณฑ์, เกณฑ์ทหาร.


พจนานุกรม ภาษาโคราช กวดหมี่ น. การละเลงแป้งโดยเอาก้น ขันละเลงให้กวาด ในลักษณะวน เป็นวงกลมให้เป็นแผ่น เมือ่ สุก จึงน�ำไปผึ่งแดดก่อนน�ำไปหั่น หรือซอยเป็นเส้น, ถูหมี่ ก็วา่ . ก้วยเตีย๋ ว น. ก๋วยเตีย๋ ว, กะเตีย๋ ว ก็วา่ . กวักน�้ำ [ก๊วก-น่าม] ก. คว�่ำอุ้งมือวิด หรือวักน�้ำเข้าหาตัว. กวักไหม [ก๊วก-ไหม] ก. ปั่นไหม, ท�ำให้เป็นเส้นไหม. กว่าจิเลี้ยงใหญ่ต้องกินขี้เท่ากะโหลก [กัว่ -จิ-เลีย่ ง-ไหย่-ต้อง-กิน-ขี-่ เท่า-กะ-โหฺลก] (ส�ำ) ก. กว่าจะ เลี้ยงจนเติบใหญ่ต้องล�ำบาก ยากเย็น เพราะต้องเช็ดขี้เยี่ยว ; เปรียบเมื่อเปิบข้าวด้วยมือก็ กิ น ขี้ ที่ ติ ด มากว่ า จะโตก็ ม าก เท่ากับกะลา. กว่า.....ปีกลาย [กั่ว.....ปี-กาย] ว. ใช้ ประกอบจ�ำนวนปีมีความหมาย ว่า.....ปีกว่า ๆ, ....ปีต้น ๆ เช่น ถ้ า จะคิ ด เวลาที่ ร ่ ว มประเพณี วิวาห์กับเจ้าคุณสามีก็กว่า ๑๐ ปีกลาย (ท้าว ฯ). ก็อกล็อกแก็กแล็ก ว. ท�ำอะไรจุกจิก เล็ก ๆ น้อย ๆ, ท�ำอะไรไม่เป็น ชิ้นเป็นอัน. กอง น. ก�ำไล เช่น ก�ำไลข้อเท้า, ก�ำไล ข้อมือ, ออกเสียงเป็น ก๋อง ก็ม.ี

ก๋อง ดู กอง. ก้องแขน น. ก�ำไลมือ. กองเป็นภูเขาเหล่ากา ว. สุมกองเป็น ภูเขาเลากา, สุมกันมากมาย เป็นกองสูง. กองพอน น. กองฟอน, กองขี้เถ้าศพที่ เผาแล้ว, ถิ่นอีสานใช้ว่า กอง ฟอน. กองพะเนินเทินทึก [กอง-พะ-เนินเทิน-ทึ่ก] ว. สุมกันเป็นกอง มากมาย, กองเป็นภูเขาเหล่า กา ก็ว่า. ก้องโพละ ดู ตุ้มบก. กองแล น. หน่วยที่คอยตรวจตรา ดูแลภยันตราย เช่น จึงตั้งกอง แล ผันแปรออกมา คอยส่อง มองหา ดูภัยอันตราย (นิ.รูป ทอง). กองเอ้เล่ น. กองอยู่ทนโท่. กอดกันกลมดิก [กอด-กัน-กม-ดิก๊ ] ก. กอดกันจนแทบเป็นคนเดียวกัน. กอดกุ่ง ก. ขี่หลังแล้วกอดให้แน่น, (ดู กุ่ง ประกอบ). กอดจอด ๑. ก. นั่งกอดเข่า. ๒. ว. จด, จรด. ก็อดล็อด ว. สั้น, สั้นจู๋, ก็อดล็อดแก็ด แล็ด ก็ว่า. ก็อดล็อดแก็ดแล็ด ดู ก็อดล็อด. ก่อนไก่โห่ (ส�ำ) ว. ก่อนเวลา. 13

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก้อนล่อน - กะตร้า

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ก้อนล่อน ว. สั้น (มักใช้แก่หางสัตว์). ก๊อฟฟี่ ดู กะฟี่. ก้อม ว. สั้น, ป้อม, กลม ๆ เช่น นิทาน ก้อม (นิทานสั้น ๆ), เพลงก้อม (เพลงพื้นบ้านสั้น ๆ). ก้อมก้อลอดขอน น. ชือ่ ไม้ลม้ ลุก เลือ้ ยชนิด Tylophorarotundif olia Hm. ex Wight. ในวงศ์ Asclepiadaceae. ก้อมกีก้ อ้ มแก้ม ก. พูดโกหก, พูดเล่น ๆ, โกหกพกลม. ก้อมแก้ม ว. ลักษณะเชือ่ งช้า, เล็ก ๆ น้อย ๆ, พูดอ้อม ๆ แอ้ม ๆ เพือ่ ให้ผา่ นไปหรือท�ำเพือ่ ให้พน้ ตัว. ก้อยขโมย (ปาก) น. อาหารจ�ำพวก พล่า ท�ำจากเนื้อสดชิ้นโต ๆ. กอยศพ [กอย-ซบ] ก. ตราสังศพ, มัดศพเป็ น เปลาะ ๆ ตามจุ ด ที่ ก�ำหนด. กะ [ก๊ะ] ๑. บ. กับ, ที่ เช่น มาก๊ะใคร (มากับใคร), ก๊ะบ้าน (ที่บ้าน), ก๊ะไหน (ที่ไหน), ต๊ะ ก็ว่า. ๒. ว. คละกัน ทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ ทั้งดีและไม่ดี. กะจ๊อกกะแจ๊ก [กะ-จ้อก-กะ-แจ้ก] ว. กระจุกกระจิก, เล็ก ๆ น้อย, กะจ๊อกม็อกแม็ก ก็ว่า. กะจ๊อกม็อกแม็ก [กะ-จ้อก-ม่อก-แม่ก] ดู กะจ๊อกกะแจ๊ก. 14

กะจ่องก่อง ว. ผอมโซ. กะจ่องหง่อง ๑. ว. สั้นผิดปกติ. ๒. ก. นั่งชันเข่าถึงหู. กะจ่อบ ก. เข้าใกล้, กระเถิบเข้าใกล้. กะจอยงอย ว. ซึมเศร้า; ก. นั่งชันเข่า ถึงหู, นั่งยอง ๆ อย่างซึมเซา. กะจอยฮอย ก็ว่า. กะจอยฮอย ดู กะจอยงอย. กะจา ว. ครึง่ ๆ กลาง ๆ, ครึง่ สุกครึง่ ดิบ, ห่าม, ก�ำลังพอเหมาะพอดี เช่น เข่าเหม่าก�ำลังกะจา (ข้าวเม่า ไม่แก่ไม่ออ่ นก�ำลังพอดี). กะจี้ น. ต้นแสลงใจ. กะเจอกะจา ๑. ก. เอะอะ, โวยวาย, พูดให้คนอื่นได้ยิน. ๒. น. เด็กอยู่ในวัยก�ำลังหัด พูด. กะเจ้อะ ดู กะเจิ้บ. กะเจ้าะเม่าะแม่ะ ว. ท�ำอะไรไม่เป็นชิ้น เป็นอัน. กะเจิ้บ ก. ย�่ำ ของเหลวอย่างถี่ ๆ, กะเจ้อะ ก็ว่า. กะเจี้ยว น. อวัยวะเพศของเด็กชาย. กะแจ้ะ ก. นัง่ กับพืน้ , นัง่ ก้นติดพืน้ , นัง่ แอบ หรือแนบชิดกัน, นัง่ กระแซะกัน. กะชอก ก. เขย่า, จับสั่นหรือคลอน. กะฉวย ก. ฉวย, คว้า. กะฉุ่ย ๑. น. ใช้เท้าทอยสิ่งของให้เรียด หรือเรี่ยพื้น.


พจนานุกรม ภาษาโคราช กะด่อนกะแด่น ว. กะด�ำกะด่าง, ด�ำ ๆ ด่าง ๆ, สีไม่เสมอกัน. กะดังกะดิ้ว น. ชื่อไม้เถาในกลุ่มต้น “กะตังกะติ้ว” ชนิด Paraba rium micranthumPierre ใน วงศ์ Apocynaeae เป็นพืชมี น�้ำยาง, ถิ่นเหนือเรียก ยางยืด. กะดาย ดู ก็ดาย. กะดินหุน ดู ดินหุน. กะดึก [กะ-ดึ๊ก] ก. อาการส�ำลักน�้ำ, ดึ๊ก ก็ว่า เช่น ตั่วสั่นรึกกลัวจะ ดึกพระคงคา (นิ.พระปาจิต). กะดึง น. สะดึง. กะดึบ [กะ-ดึ๊บ] น. ผลิ, แตกออก, ลัด (ใช้แก่พชื ) เช่น สะเดาก�ำลังกะดึบ๊ ยอด (สะเดาก�ำลังแตกยอด). กะเด้ก ว. เป๊ก, แข็งมาก ใช้ประกอบค�ำ “แข็ง” ว่า แข็งกะเด้ก (แข็งเป๊ก). กะเด๊าะ ว. ริอ่าน, ริ, เริ่มคิดอ่าน, ท�ำ แปลกกว่าธรรมดา, เด๊าะ ก่า. กะแด้ง น. แคระ, แกร็น. กะแดนหุน ดู ดินหุน. กะโดกกะเดก ก. เก้งก้าง, มีบุคลิก ท่าทางเกะกะ. กะโดน ก. โดน, กระทบ, ชน. กะตร้อ น. ตะกร้อ. กะตร้อ กะตร้า น. ตะกร้า, ภาชนะสานส�ำหรับใส่สิ่งของมี

๒. ก. ท่ าหนึ่ง ของการเล่น สะบ้า, กะสุ่ย ก็ว่า, (ดู สีบ้าสี รอย ประกอบ). กะชาด ดู โม่. กะชุ่น น. ทุ่น, สิ่งที่ลอยน�้ำส�ำหรับให้ สิ่งอื่นเกาะหรือพยุงเพื่อให้ลอย น�้ำ เช่น กระชุ่นเบ๊ด (ทุ่นเบ็ด). กะซวย ๑. น. กรวย. ๒. น. กระสวย, เครื่องบรรจุ ด้ายส�ำหรับทอผ้าหรือเย็บผ้า. กะซอก น. ซอก, ช่องแคบ ๆ. กะซุดกะซาด [กะ-ซุ่ด-กะ-ซ่าด] ว. ซูดซาด, เสียงอย่างเมื่อเวลา กินของเผ็ด. กะเซะ [กะ-เซ่ะ] ก. อาการที่น�้ำตาไหล พราก, กะเซะ ๆ, เซะ, ระเซะ ก็ว่า. กะเซะ ๆ [กะ-เซ่ะ-กะ-เซ่ะ] ดู กะเซะ. กะโซ่ น. โชงโลง, เครือ่ งวิดน�ำ้ รูปร่าง คล้ายเรือครึ่งท่อนมีด้ามถือผูก แขวนไว้กบั ขาหยัง่ ๓ ขา แล้วจับ ด้ามวิดน�้ำตามต้องการ, ปุงโซ่, โจงโลง, ช่างโลง, อุง้ พุง่ ก็วา่ . กะฏิ [กะ-ติ๊] น. กุฏิ. กะด้อกะแด้ ว. กระท่อนกระแท่น, ไม่ ต่อเนื่อง เช่น พอแต่ขึ่นบันได หันใจกะด้อกะแด้ มัวมองลูก ของแม่ แ ทบจะต๊ ก ฮกกระได (เพลงโคราช). 15

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กะตร้างวง - กะถุ่ง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

รูปต่าง ๆ บางชนิดไม่มหี ู ชนิด มีหเู รียก กะตร้างวง. กะตร้างวง ดู กะตร้า. กะตร้าเหลว น. ตะกร้าขนาด ใหญ่, ตะเหลว ก็ว่า. กะต้ อ งกะแต้ ง ก. กระตุ้ง กระติ้ง , กิริยาท่าทางกระชดกระช้อย. กะต้อด ก. กระเถิบ, เขยิบก้นไปจากที่, เขยิบไปที่ละน้อย. กะต้อน น. ท่อน, อัน, ส่วนที่ตัดหรือ ทอนออกเป็นตอนล�ำเล็ก ๆ เช่น อ้อย ๓ กะต้อน (อ้อย ๓ ท่อน). กะต้อนม่อนแม่น ว. ชิ้นเล็ก ชิ้นน้อย. กะตอย น. ติ่ ง , เนื้องอกเล็ก ๆ, กะต๋อย ก็ว่า. กะต๋อย ดู กะตอย. กะตะกะเติ้ง [กะ-ต๊ะ-กะ-เติ้ง] ว. ยัง ไม่คล่อง, ยังไม่จัดเจน, ยังไม่ ช�ำนาญ เช่น พูดโคราชกะต๊ะ กะเติ้ง. กะตัก [กะ-ตั๊ก] น. ปฏัก. กะตั้ก ว. มากมาย เช่น เงินเป็นกะตั้ก. กะต�่ำ [ก๊ะ-ต�่ำ] ว. ใต้ถุน, ข้างล่าง, อยู่ที่พื้น. กะติ๊ก ว. คอด, กิ่ว. กะติ๊กกะเตียว ว. คล่องแคล่ว, ปราด เปรียว, กระฉับกระเฉง. 16

กะติ๊บกะต้วด ดู กะตี้กะต้วด. กะตี้กะต้วด ว. เข้มงวดกวดขัน, จ�้ำจี้ จ�้ำไช, กะติบกะต้วด ก็ว่า. กะตุด [กะ-ตุ๊ด] น. ตะกรุด, เครื่องราง ท� ำ ด้ ว ยโลหะลงคาถาอาคม แล้วม้วน. กะตุ้มหุ้มห่อ [กะ-ตุ้ม-หุ่ม-ห่อ] ก. รัก ใคร่, ปรองดอง, ช่วยเหลือ, เกื้อกูล. กะเตง ก.อาการที่อุ้มเด็กเข้าสะเอวใน ลักษณะครึ่งอุ้มครึ่งหิ้ว, อุ้มไม่ ถนัด. กะเต้ด ก. สะบัด, สลัด, สะดุ้งโหยง. กะเต้ดแพ็ด ๆ [กะ-เต้ดแพ็ด-แพ็ด] ก. สะบัดถี่ ๆ, สลัดถี่ ๆ เช่น การเดินส่าย สะบัดสะโพกของผู้หญิง. กะเต้ดฮาด ก. สะดุ้งโหยง, อาการที่ ก ระโดดโดยฉั บ ไว, กะเต้ดแฮด ก็ว่า. กะเต้ดแฮด ดู กะเต็ดฮาด. กะเต้น ดู กระเต้น. กะเต้อะ ว. แหลก, ละเอียด, แหลก ไม่มีชิ้นดี. กะเติ่ง ๑. ก. เขย่งเท้าไปข้างเดียว เช่น กะเติ่งร่ถจั๊กรยาน, กะเติ่ง กะต้อย ก็ว่า. ๒. น. ท่าหนึง่ ของการเล่นสะบ้า, (ดู สีบา้ สีรอย ประกอบ).


พจนานุกรม ภาษาโคราช

กะเติ่งกะต้อย ๑. ดู กะเติ่ง ๑. กะเติ่งกะต้อย ๒. น. การเล่น อย่างหนึ่ง เล่นได้ ๒ วิธี คือ ๑) ทุกคนยืนขาเดียวจับมือกันเป็น วงกลมเรียกว่า “คอก” กระโดด พร้อมกันเวียนไปเป็นวงกลม พร้อมกับร้องว่า “กะเติง่ กะต้อย พวกเด๊กน่อยเห็นงัวกินอ้อยอยู่ ทางนีเ่ บิง้ มัย้ ” คนทีป่ ล่อยให้เท้า ที่ยกไว้ตกลงถึงดินหรือล้มลง ก่ อ นต้ อ งไปยื น เป็ น วั ว อยู ่ ใ น วงกลม ท�ำไปจนเหลือผูช้ นะ. ๒) ยืนจับมือกันเป็นวงกลม ให้ผู้ เล่น ๓-๔ คน เป็นวัวอยู่ใน วงกลม และให้คนหนึ่งเป็นเสือ อยู่ข้างนอก กระโดดขาเดียว ไล่จับวัวพร้อมกับร้องเช่นเดียว กับ ข้อ ๑) พอถึงตรงที่มือจับ เรี ย กว่ า ประตูก็จ ะถามว่า “ประตูอะไร ?” (เหล็กหรือ ทองหรือไม้ผุ) ถ้าคนจับมือ มั่นใจว่าเสือไม่สามารถดึงออก ได้ ก็จะตอบว่าประตูเหล็กหรื อ ทอง ส่วนประตูที่เห็นว่าสู้ไม่ได้ ก็จะตอบว่าประตูไม้ผุ เสือจะ ดึงมือออกแล้วเข้าไปไล่จับวัว ถ้ า จั บ ได้ เ สื อ เปลี่ ย นเป็ น วั ว หรือสลับกันเล่น. กะเติด ก. กะต๊าก, เสียงไก่ตัวเมียร้อง

เมื่อตกใจหรือร้องหารังไข่. กะเตี่ยว ๑. น. เตี่ยว, ใบตองหรือ ใบมะพร้ า วส� ำ หรั บ คาดกลั ด ห่อขนม. ๒. ก. หยักรั้ง, รวบผ้าถุงหรือ โสร่งข้างสะโพกมาเหน็บไว้ที่ เอวทั้ง ๒ ข้าง; การเหน็บ กะเตี่ยวก็เพื่อความคล่องตัว, เหน็บกะเตี่ยว ก็ว่า. กะเตีย๋ ว น. ก๋วยเตีย๋ ว, ก้วยเตีย๋ ว ก็วา่ . กะแตง น. ตะแกรง เช่น กะแตงร่อน เข่า กระด้งน่อยฝั้ดเข่าอ่อน (เพลงกล่อมเด็ก). กะแตชั่น น. สถานี (อ. Station). กะแตเวียน ก. อาการไก่ชักกระตุก คอเอียง แล้วเดินวนอยู่กับที่, ตะแกเวียน ก็ว่า. กะแต๊ะ ๑. ก. บด, ท�ำให้แหลก. ๒. น. ไม้สำ� หรับหนีบปลาปิง้ ไฟ. ๓. น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่คล้าย กระจาด. กะโตกกะตาก ก. เอะอะ, โวยวาย, ส่งเสียงให้คนอื่นรู้. กะโตวา น. สันตะวา, พืชชนิดหนึ่งต้น เล็ก ๆ อยู่ใต้น�้ำ. กะไตร น. ตะไกร, กรรไกร. กะถัด [กะ-ทัด] ก. อาการที่ใช้ก้น กระเถิบ. กะถุ่ง น. กระพุ้ง, ส่วนในที่ป่องหรือนูน 17

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กะถุน - กะพอก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ออก เช่น กระถุ่งแก้ม (กระพุ้ง แก้ม), กะโผ่ง ก็ว่า. กะถุน ว. ใต้ถุน. กะเถ็วเว็ว ว. ไม่เต็มบาท, วิกลจริต. กะโถก ก. รวบชายผ้ามัดเป็นถุงใส่ สิ่งของหรือพันไว้รอบเอว. กะโถ่ง ว. ไม่เรียบร้อย. กะทก [กะ-ท่ก] ก. กระตุก, กระชาก, ฉุด ในการทอผ้า. กะทอ น. กระสอบทีท่ อด้วยป่านหรือ ปอ, ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่อย่าง ชะลอม รูปร่างทรงกระบอกใช้ ใส่เกลือ, กะทัก่ ก็วา่ . กะทะระราย [กะ-ท่ะ-ล่ะ-ลาย] ว. สุรุ่ยสุร่าย, ใจกว้าง, เอื้อเฟื้อ เผื่ อ แผ่ ใ นลั ก ษณะที่ เ ห็ น ใคร ทุกข์ร้อนก็ช่วยเหลือ. กะทั่ก ดู กะทอ. กะทั่กกะเทิน ดู กะเทิน. กะทือดง น. ชื่อไม้ล้มลุกประเภทกะทือ ชนิด Zingiberzerumbet (L.) Smith ในวงศ์ Zingibera ceae ดอกสีเหลือง ผลกลม สีแดง เหง้าสีเหลืองอ่อน กลิ่น หอม ช่ออ่อนใช้รับประทานได้. กะทุก [กะ-ทุ่ก] ก. บรรทุก. กะเทิน ก. สะเทิน, ครึ่ง ๆ กลาง ๆ, ก�้ำ กึง่ , ลักษณะทีก่ ระท�ำอย่างครึง่ ๆ กลาง ๆ, ถล�ำไปในการท�ำอย่าง 18

ใดอย่างหนึ่ง เช่น กะเทินท�ำก็ ท�ำให่ตลอด (ไหน ๆ ท�ำแล้วก็ ท�ำให้ตลอด), กะทักกะเทิน, สะเทิน ก็วา่ , กระเทิน ก็เขียน เช่น อย่า ให้กระเทินเอ็นดูพร่ี า, เลือกเอา พอสะเทิน จะด�ำเนินน่าเชยชม (นิ.รูปทอง). กะเทินน�้ำกระเทินบก [กะ-เทิน-น่ามกะ-เทิน-บ๊ก] ว. ซึ่งอยู่ได้หรือ ใช้ ง านได้ ทั้ ง ในน�้ ำ และบนบก เช่น ร่ถกะเทินน�่ำกะเทินบ๊ก. กะแทะ [กะ-แท่ะ] ก. แทะ, เอาฟัน หน้ากัดให้หลุดออกทีละน้อย. กะบ่อง น. แอ่งน�้ำเล็ก ๆ บนพื้น เช่น ถนน พื้นดิน. กะบุก [กะ-บุ๊ก] ๑. น. บุก; ไม้ล้มลุก ประเภทหัวอยู่ใต้ดินกินได้. ๒. น. บุกประเภทต้น มีล�ำต้น กลมเล็กกินได้มีหลายชนิด เช่น กะบุกคันหอก, กะบุกนกแก้ว, กะบุกลายต๊กแก, กะบุกหางงัว. กะบุกคันหอก [กะ-บุ๊ก-คันหอก] น. บุกชนิดหนึ่งล�ำต้น กลมเล็กกินได้ ออกดอกโผล่ จากดิ น แล้ ว ใบลั ด ขึ้ น ที ห ลั ง ล�ำต้นสูงยาว ปลายยอดมีดอก ตูม ๆ คล้ายหัวหอก, (ดู กะบุก ประกอบ). กะบุกนกแก้ว [กะ-บุ๊ก-น่ก-


พจนานุกรม ภาษาโคราช แก้ว] น. บุกชนิดหนึ่งล�ำต้น กลมเล็ ก ดอกเหมื อ นปาก นกแก้วกินได้. กะบุกลายตุ๊กแก [กะ-บุ๊กลาย-ต๊ก-แก] น. บุกชนิดหนึ่ง ล�ำต้นกลมเล็กใบลายกินได้. กะบุกหางวัว [กะ-บุ๊ก-หางงัว] น. บุกชนิดหนึ่งล�ำต้นกลม เล็กมีแต่ใบไม่มีดอก. กะเบ่ ง ว. พอง, ขยายตั ว , เบ่ ง ; พยายามขั บ ดั น ส่ ง เช่ น อุจจาระ, ปัสสาวะ เป็นต้น ให้ ออกมา, ตะเบ่ง ก็ว่า. กะเบนเหน็บ [กะ-เบน-เน็บ] น. เอว, เขมรเหน็บ ก็ว่า. กะเบะกะบะ [กะ-เบ้ะ-กะ-บ้ะ] ก. เบ้ ปากร้องไห้, ระเบะระบะ ก็วา่ . กะเบ้า น. เบ้า เช่น กะเบ้าตา, หลุม ส�ำหรับหลอมโลหะหรือสิ่งอื่น. กะป้กล่ก ก. ลืมตาโต. กะป๊อกกะแป๊ก ว. กระจุกกระจิก, เล็ก ๆ น้อย ๆ. กะปอง น. ภาชนะเก็บข้าวเปลือก สานด้วยไม้ไผ่ขนาดใหญ่กว่า กะป้อย, (ดู กะป้อย ประกอบ). กะปอม น. กิง้ ก่า, กะป๋อม, ปอมก่า ก็วา่ . กะป๋อม ดู กะปอม. กะป้อย น. ภาชนะตวงข้าว สานด้วย ไม้ไผ่ ปากกับก้นจะแคบตรงกลาง

ป่องออก. กะปิ [กะ-ปิ๊] น. ซีก, (ดู โบก ประกอบ). กะปุ้ม น. สมุก, ภาชนะใส่ยาเส้นสาน ด้วยไม้ไผ่โตกว่ากะป้อย, (ดู กะป้อย ประกอบ). กะแป๋ว น. ภาชนะตวงข้าวสารขนาด เล็กกว่ากะป้อย, (ดู กะป้อย ประกอบ). กะแปะ [กะ-แป๊ะ] ก. แปะ, ติด, ทาบ เข้าไป เช่น นั่งกะแป๊ะพื่น (นั่ง ให้ก้นแนบติดกับพื้น). กะโป ก. คว้า, ยื่นมือไปจับหรือฉวย โดยเร็ว, ตะโป ก็ว่า. กะโปกทอก น. อวัยวะเพศชายที่มี อัณฑะลูกเดียว. กะโปเล น. กระทงท�ำด้วยกาบมะพร้าว, กาบหมาก, กาบไม้ไผ่. กะโผ่ง ดู กะถุ่ง. กะโผ่งแก้ม น. กระพุ้งแก้ม. กะพวม ดู ก�ำพวม. กะพอก น. ภาชนะตักหรือตวงของ เหลว เช่น น�้ำปลาจาก ไห, น�ำ้ มันก๊าด จากปี๊บ ท�ำ ด้วยกระบอก ไม้ ไ ผ่ หรื อ กะพอก สั ง กะสี มี ด้ามยาวส�ำหรับจับ. 19

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กะพั้น - กะห� ำ แพะ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

กะพั้น [กะ-พั่น] น. ตะพั้น, โรคชนิด หนึ่ ง มั ก เกิ ด แก่ เ ด็ ก อ่ อ นหรื อ เด็กเล็กตามต�ำราแพทย์แผน โบราณว่า มีอาการชักมือเท้า ก� ำ , ตั ว เขี ย ว เชื่ อ ว่ า เป็ น บาดทะยักมีหลายชนิด ได้แก่ กะพั้นกล่อมรังนอน, กะพั้นไฟ, กะพัน้ ลูกนก, กะพัน้ หิน, กะพ่าน ก็วา่ . กะพั้นกล่อมรังนอน [กะ-พั่นก่อม-ลัง-นอน] น. โรคตะพั้น ชนิดหนึ่ง เด็กที่เป็นจะไม่ร้อง งอแง เอาแต่นอนและไม่กิน อาหาร. กะพั้นไฟ [กะ-พั่น-ไฟ] น. โรค ตะพั้นชนิดหนึ่ง เด็กจะตัวแดง ชัก แข้งขาเหยียด. กะพั้นลูกนก [กะ-พัน่ -ลูก-น่ก] น. โรคตะพั้นชนิดหนึ่ง เด็กจะ ตัวสั่นริก ๆ สั่นไปทั้งตัว. กะพั้นหิน [กะ-พัน่ -หิน] น. โรค ตะพั้นชนิดหนึ่ง เด็กจะตัวด�ำ ชักตัวแข็ง. กะพ่าน ดู กะพั้น. กะพาย ก. สะพาย, แขวนสิง่ ของบนบ่า. กะพี้หยวก [กะ-พี่-หยวก] น. ชื่อไม้ ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ชนิด Dalbergialakhonensis Gagnep. ver. apendiculata 20

Craib ในวงศ์ Leguminosae ใช้ท�ำเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ; กลุ่ม ไม้ประเภทนี้ เช่น กระพี้เขา ควาย, กระพี้นางนวล. กะพืด ก. ฟาดฟัน, ต่อสู้, น็อค. กะพุ่ง ก. พุ่ง. กะฟี่ น. ทอฟฟี่, ก๊อฟฟี่ ก็ว่า. กะใภ้ [กะ-ไพ่] น. สะใภ้, ตะใภ้ ก็ว่า. กะมะ [ก่ะ-ม่ะ] ว. ประจวบกัน, เจอะ กัน, คะมะ, จะมะ, ชะมะ ก็ว่า. กะย็อกกะแย็ก ว. กระย่องกระแย่ง, ไม่ถนัด. กะร็อกกะหร็อย [กะ-ล็อก-กะ-หล็อย] ว. เป็นหย่อม ๆ, นิดหน่อย. กะระกะราย [กะ-ล่ะ-กะ-ลาย] ว. แยกเป็นราย ๆ, เป็นส่วนเรียง ราย, เป็นหย่อม ๆ, เล็กน้อย บางตา, ไม่สม�่ำเสมอ. กะลอ น. เกราะ, เครื่องสัญญาณท�ำ ด้วยไม้ไผ่ใช้ตีหรือสั่นให้ดัง. กะลอน น. แกลลอน (อ. gallon). กะลัง ๑. น. ลัง, กล่องสี่เหลี่ยม. ๒. ว. ก�ำลัง เช่น กะลังกิน (ก�ำลังกิน), พบฝูงควายกะลัง กินอยู่ตีนโคก (นิ.พระปาจิต). กะล�ำพัก [กะ-ล�ำ-พั่ก] น. สลัดไดป่า ; ชื่อไม้พุ่มยืนต้นในกลุ่มต้น “สลัดได” ชนิด Euphorbigan


พจนานุกรม ภาษาโคราช tiguorum Linn ในวงศ์ Euphorbiaceae ใช้ท�ำยาได้. กะลิกกะเหลิม [กะ-ลิก-กะ-เหฺลิม] ว. กะลิ้มกะเหลี่ย, แสดงอาการให้ รู้ว่าอยากได้. กะลึน ดู ก�ำลึน. กะลึนกะลอก ว. ลักษณะของวัตถุทผี่ วิ ลอกหลุดออกเป็นแผ่น ๆ หรือขุย. กะโล่ น. ภาชนะกลมคล้ายกระด้งแต่ เล็กกว่า สานด้วยไม้ไผ่ด้วย ลาย ๓ ข่ม ๓ ใช้ส�ำหรับใส่ สิ่งของไม่นิยมใช้ฝัดข้าวเพราะ ไม่สามารถฝัดแยกสิ่งที่ปนมา ออกจากข้าวสารได้. กะโลง น. โลง, ลั ง , กล่องสี่เหลี่ยม, กะโหล่ง ก็ว่า. กะโลงตะเกียง น. ตะเกี ย งที่ มี แ ผ่ น สั ง กะสี หรือวัสดุอื่น ๆ งอเป็นรูปโค้ง กะโลงตะเกียง ครอบบั ง ลม ด้านบนมีหหู วิ้ , ก่งตะเกียง, โก่ง ตะเกียง, โพรงตะเกียง ก็วา่ . กะว่า [ก๊ะ-ว่า] ก. คิดว่า. กะเว้ากะแหว่ง [กะ-เว่า-กะ-แหฺว่ง] ว. เว้า ๆ แหว่ง ๆ. กะสิว น. สิว. กะสุ่ย ๑. ก. ใช้เท้าทอยสิ่งของให้เรียด

หรือเรี่ยพื้น. ๒. น. การเล่นของเด็กอย่าง หนึ่งคล้ายตากระโดด, ๓. น. ท่าหนึ่งของการเล่น สะบ้า, กะฉุ่ย ก็ว่า. กะสูด ก. สูด, หายใจเข้าโดยแรง. กะเสด น. ผักกระเฉด. กะโสบ ก. ขยอกกินอย่างเร็ว, กระเดือก เข้าไปอย่างเร็ว (มักใช้แก่การ กินของหมู), ขะโหยบ ก็วา่ . กะหมวด ก. ขมวด, บิดม้วนแล้วขอด ให้เป็นปม. กะหมับ [กะ-มับ] น. ขมับ. กะหย�ำกะแยะ ว. เฉอะฉะ. กะหยูด ว. ย่น, หด, ร่นเข้า, ขยูด ก็ว่า. กะหร่ อ ง ว. ผอมมาก, ผอมโซ, กะหร่องก่อง ก็ว่า. กะหร่องก่อง ดู กะหร่อง. กะหร็อมกะแหร็ม ว. หร็อมแหร็ม, เป็น หย่อม, มีเล็กน้อย, มีหา่ ง ๆ, ไม่ เป็นพวกเป็นหมู.่ กะหล่อม น. ยุ้งข้าวสานด้วยไม้ไผ่ ยาด้วยมูลควาย. กะหลึน [กะ-หฺลึน] ดู ก�ำลึน. กะหวด น. ขวด. กะหวาด ก. ตวาด. กะห� ำ แพะ น. มะเขื อ พั น ธุ ์ ห นึ่ ง ผลสีม่วง คล้ายอัณฑะแพะ. 21

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กะเหม่น - การรบเป็นงานผู้ชายการเรือนเป็นงานผู้หญิง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

กะเหม่น ๑. ก. เขม่น, อาการกล้าม เนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ เชื่อกัน ว่าจะเกิดเรื่องไม่ดีขึ้นในเวลา ข้างหน้า; ๒. ว. รู้สึกไม่ชอบหน้าหรือไม่ พอใจ. กะเหม่า [กะ-เหฺม่า] น. เขม่า, ละออง ด�ำ ๆ ทีเ่ กิดจากควันไฟ, ดินปืน. กะเหวา [กะ-เหฺวา] ๑. ก. ข่วนด้วย เล็บ, ขูดด้วยเล็บ, ขะเหวา ก็วา่ . ๒. น. นกดุเหว่า. กะเหลือม [กะ-เหฺลือม] ก. จั๊กจี้, จั๊กเดียม, จักกะเหลียม, จัก กะเหลือม, จักกะหลี ก็ว่า. กะเหลาะกะแหละ [กะ-เลาะ-กะ-และ] ก. ตกปรอย ๆ (ใช้แก่ฝน). กะแหบ ก. แขม่ว, กระแหม่ว; ท�ำให้ ท้องยุบโดยการผ่อนลมหายใจ, เช่น กะแหบท่อง (กระแหม่ว ท้อง). กะแหยง [กะ-แหฺยง] น. ปลาแขยง. กะโหลกกะลา น. การเล่นหม้อข้าว หม้อแกงของเด็กโดยใช้กะลา มะพร้าวเป็นอุปกรณ์. กะโหล่ง ดู กะโลง. กะไหล่ น. ไม้สำ� หรับเขีย่ ข้าวเม่าในขณะ ต�ำ เพือ่ คนให้ทวั่ , จัก๊ กะไหล่ ก็วา่ . กะฮุก น. หลุมเล็ก ๆ, ตะฮุก, ตะหลุก ก็ว่า. 22

กะฮูก น. นกฮูก, กู่ฮูก ก็ว่า, ถิ่นอีสาน เรียก กู้หูก. กั ก ระบั ง [กั๊ก-ล่ะ-บัง] น. กะบั ง ; เครื่องมือจับสัตว์น�้ำชนิดหนึ่ง, ระบัง ก็ว่า. กัดกันยังกะหมา [กั๊ด-กัน-ยัง-ก๊ะหมา] (ส�ำ ) ก. ทะเลาะกัน, ทะเลาะเบาะแว้ง. กัดกร้วม [กัด๊ -ก้วม] ก. กัดกินสิ่งของ เช่น ผลไม้ด้วยความเร็วไว. กัดฟันขยุ้มตูด [กั๊ด-ฟัน-ขะ-ยุ่ม-ตูด] ก. เกร็ง; (ส�ำ) ออกแรงสุด ก�ำลัง, บากบั่นหมั่นเพียร. กัดปูด [กั๊ด-ปูด] ดู กดปูด. กัน ๑. สรรพนามบุรุษที่ ๑ แทนชื่อ ผู้พูด เช่น ผม, ฉัน ใช้แก่ผู้ เสมอกันหรือผู้น้อย. ๒. น. พรรค์, ชนิด เช่น อย่าง กันนั่น (อย่างพรรค์นั้น). ๓. ว. แค่, เพียง, เท่า เช่น อยู่ กันนี่ (อยู่แค่นี้). กั่นปูด ดู กดปูด. กัลปา [กัน-ละ-ปา] น. กัลปาวสาน, ที่ สุ ด แห่ ง ระยะเวลากั ล ป์ ห นึ่ ง คือ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์ เช่น ตายเพื่อปกป้องบ้านเมือง ญาติพี่น้อง เช่นนี้ ชื่อเสียงก็จะ อยู่ทั่วโลกกัลปา (ท้าว ฯ). กา น. ตรา, ยี่ห้อ.


พจนานุกรม ภาษาโคราช กากน�้ ำ [กาก-น่ าม] น. ปลาที่หลง เหลื อ หลั ง จากที่ เ จ้ า ของจั บ แล้ ว หลั ง จากนั้นคนอื่น ๆ ก็ ลงจั บ . กากหมู น. หนังหมูมมี นั ติดทอดให้กรอบ. กางเกงสายรูด น. กางเกงขาสั้นมี เชื อ กรอบเอวเพื่ อ รู ด มั ด ให้ กระชั บ แทนขอหรื อ กระดุ ม , กางเกงหูรูด ก็ว่า. กางเกงหูรูด ดู กางเกงสายรูด. กางเกงเอว น. กางเกงขาก๊วย ขายาว เลยหัวเข่านิด ๆ. กาด ก. ฝาน, หั่น, ท�ำเป็นชิ้นบาง ๆ. ก้านของ น. ไมยราบ, หญ้าปันยอด; ไม้ลม้ ลุกชนิด Mimosapudica L. วงศ์ Leguminosae หรือ Mimoseae ใบคล้ายใบกระเฉด หรือกระถิน เมือ่ ถูกหรือกระเทือน ก็หบุ ราบไป, กะทิยอบ ก็วา่ , (ดู กะทิยอบ ประกอบ).

ผ่า-ขาว-คาด-พุง] (ปริศ) น. ผักกระเฉด. กาฝากไม้โพธิ์ไทร [กา-ฝาก-ม่ายโพ-ไซ] น. ชื่อพืชกาฝากชนิด หนึ่ง เป็นไม้พุ่มชนิด Taxillus chinensis Dans ในวงศ์ Lor anthaceae. กาใฝ่เป็นหงส์ (ส�ำ) คนชั้นต�่ำอยาก หรือหวังเป็นคนชั้นสูง ; เป็น ค�ำพูดที่ดูแคลนหรือเชิงเหยียด หยาม เช่น คนไพร่สารเลว อยากเป็นมุลนาย แม้กาซึ่งมี ขนด� ำ ก็ มี ค วามหยิ่ ง ยะโสที่ อยากจะเป็นหงส์ (ท้าว ฯ). กาฟักไข่ [กา-ฟัก่ -ไข่] น. การเล่นอย่าง หนึ่งโดยให้คนหนึ่งหมอบเป็น กากกไข่ ซึง่ ท�ำด้วยผ้ามัดกลม ๆ หรือลูกบอลคนที่เหลือจะคอย แย่งไข่ ถ้าแย่งได้กาก็จะถูกท�ำโทษ ตามแต่จะตกลง เช่น ตีกน้ เป็นต้น ถ้าคนแย่งถูกกาเอามือปัดถูกหรือ ถูกขาป่ายหรือถูกขาเหวีย่ งพาด คน ๆ นัน้ จะต้องมาเป็นกาแทน. การรบเป็นงานผู้ชายการเรือนเป็น งานผู้หญิง น. บ่งบอกถึง หน้าที่ เช่น แต่เ มื่อคิดถึง ว่ า การรบเป็ น งานของผู ้ ช าย เหมือนการเรือนเป็นงานของ ผู้หญิง (ท้าว ฯ).

ก้านของ

ก้านเขียว ๆ ยาว ๆ ผ้าขาวคาดพุง [ก้าน-เขียว-เขียว-ยาว-ยาว23

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กาลงส�ำนัก - กินข้าววัดนอนศาลา

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

กาลงส�ำนัก [กา-ลง-ส�ำ-นั่ก] (ส�ำ) กลับที่พักที่อาศัย. กาละเปา น. ซาลาเปา, ขนมชนิดหนึ่ง ของจีนท�ำด้วยแป้งมีไส้ต่าง ๆ เช่น หวาน เค็ม เผือก. กาละมัง น. กะละมัง, ชามอ่างท�ำด้วย โลหะเคลือบ. กาละแม น. กะละแม, ขนมเหนียวสีดำ� . กาลังกาสาตัวผู้ [กา-ลัง-กา-สา-ตัวผู]่ น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Ardisia egiandulosa Fletch ในวงศ์ Mursinaceae. ก้าม ว. หมาด, เกือบแห้ง เช่น ดิน ก้าม (ดินหมาด ๆ). กาว น. ขั้นตอนหนึ่งของการย้อมเส้น ไหม โดยเอาเส้นไหมที่ต้มด้วย ผงขาว (โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์) ไปลงแป้ง. กาหล ว. โกลาหล, ความชุลมุนวุน่ วาย, เสียงอือ้ อึง, กาหลอลหม่าน ก็วา่ เช่น ข่าวศึกเรื่องเจ้าอนุเข้ามา กวาดต้ อ นผู ้ ค นนครราชสิ ม า กลับไปสูน่ ครเวียงจันทน์นนั้ ย่อม น�ำมาซึง่ ความกาหลอลหม่านให้ แก่ทวยนาครชาวเมืองหลวงยิง่ นัก (ท้าว ฯ). กาหลอลหม่าน [กา-หน-อน-ละ-หม่าน] ดู กาหล. ก�ำ น. ข้อห้าม, สิ่งต้องห้าม, ของ 24

แสลงถ้าไม่ปฏิบัติตามจะมีผล เสี ย มาสู ่ ผู ้ นั้ น เช่ น ผู ้ ที่ มี เครื่องรางของขลังเชื่อถือว่าจะ ลอดราวตากผ้าไม่ได้ เรียกผู้ นั้นว่า “ก�ำของ” หรือผู้ที่กิน เห็ดแล้วแสลงผู้นั้นก็จะไม่กิน เรียกว่าก�ำเห็ด, ถิ่นอีสานใช้ว่า กะล�ำ, คะล�ำ. ก�้ำกลาง ว. กึ่งกลาง, ก�้ำกึ่ง, ครึ่ง ๆ กลาง ๆ, ก�้ำก่า ก็ว่า. ก�ำกับ [ก�ำ-กับ๊ ] น. ปลากระตรับ, ปลา หมอช้างเหยียบ. ก�้ำก่า ดู ก�้ำกลาง. ก�ำขี้ไม่ทันควาย [ก�ำ-ขี่-ไม่-ทัน-ควย] (ส�ำ) ก. จับไม่ได้ในทันทีทันใด, จับไม่ได้ทันควัน. ก�ำจอด ก. ก�ำก�ำปั้นแน่น, ก�ำมือแน่น. ก�ำด้นก้นเต่า น. ท้ายทอย. ก�ำดึง ว. คิดถึง, อาลัย เช่น ตาก็เห็น ทั้งดวงจิตมาคิดถึง เสียดายที่ พระกุฏคิ ดิ ก�ำดึง (นิ.พระปาจิต), เป็ น ไฉนไม่ ก� ำ ดึ ง ซึ่ ง ภารา, ให้ ก� ำ ดึ ง เพื่ อ นยากเสน่ ห า (สุภมิต ฯ). ก�ำทวด น. มะขามป้อม; ไม้ยนื ต้นขนาด กลางชนิ ด Phyllan thus emblica L. ในวงศ์ Phyl lanthaceae ใบย่อยเรียงกัน เป็น ๒ แถว คล้ายใบกระถิน


พจนานุกรม ภาษาโคราช ผลกลมเกลี้ยงเขียวอมเหลือง มีรสเปรีย้ วฝาด ผลกินแก้กระหาย น�้ำแก้ไอละลายเสมหะ. ก�ำปื้ด น. ก�ำพืด, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, พื้นเพ, ขี้ก�ำปื้ด ก็ว่า. ก�ำเปือก น. ฟองน�ำ้ ลายแตกติดข้าง ปาก, ฟองน�ำ้ ทีผ่ ดุ ขึน้ , ฟองทีเ่ กิด จากน�ำ้ เดือด เช่น ฟองน�ำ้ แกง. ก�ำพวม ว. ก�ำลัง (ท�ำอยู่ในขณะนั้น), ก�ำลังจะ, กะพวม ก็ว่า เช่น กะพวมรักใคร่ มาพรากผัวเมีย (นิ.รูปทอง), เขียนเป็น กระพวม ก็มี เช่น แต่ลำ� พังจะกระพวม ไม่หวงหึง (นิ.พระปาจิต), พวม ก็ว่า เช่น เลือกหาที่เคร่งครัด พวมก�ำดัดเต่งตัง้ เต้า (นิ.รูปทอง). ก�ำพัก [ก�ำ-พั่ก] ดู ตุ้มบก. ก�ำพัน น. ไม้ที่อยู่ในหูกทอผ้า ส�ำหรับ บิดผ้าที่ทอแล้วม้วน. ก�ำมพฤกษ์ [ก�ำ-มะ-พึก่ ] น. กัลปพฤกษ์ เช่น ว่าต้นงามก�ำมพฤกษ์เรา หักคว�่ำ (นิ.พระปาจิต). ก�ำรอ ๑. ก. ประคับประคอง, ทะนุถนอม, คอยระวังรักษา เช่น ก�ำรอเลีย่ ง ลูกอย่างดี (ทะนุถนอมเลีย้ งลูก เป็นอย่างดี). ๒. ก. ออม, ประหยัด. ก�ำเริบเอิบโส ก. ก�ำเริบเสิบสาน, เหิมใจ, ได้ใจ เช่น ครัน้ มาจับ

เนื้ อ ถ้ อ ยกระทงความติ ด ต่ อ กันแล้ว ก็รไู้ ด้วา่ เจ้าอนุกอ่ การ ก� ำ เริ บ เอิ บ โสเป็ น เที่ ย งแท้ (ท้าว ฯ). ก�ำลังหมูเถื่อน น. ชื่อไม้เถาชนิด Argyreia brachypoda Oo ststr. ในวงศ์ Convolvulaceae. ก�ำลึง ก. เกร็งจนเนื้อตัวสั่น. ก�ำลึน ว. สยิว, รู้สึกเสียวซ่าน, กะลึน, กะหลึน ก็ว่า. ก�ำสับก�ำส่าย [ก�ำ-ซับ-ก�ำ-ส่าย] ก. กระสับกระส่าย. ก�ำหนดเมน [ก�ำ-นด-เมน] น. การ ตกลงก�ำหนดเส้นหรือจุดก่อน เล่นสะบ้า ซึ่งจะมีอยู่ ๓ เมน คือ เมนตั้ง เมนกั้น และเมน เล่น, (ดู เมนตั้ง, เมนกั้น, เมน เล่น ประกอบ). กิงกั้บ ดู กุ้บกั้บ. กิ้น ว. สั้น เช่น เสื่อแขนกิ้น (เสื้อแขน สั้น). กินแก้กลุ้ม (ส�ำ) กินแก้เซ็ง, กินแก้ เบื่อ, กินแก้ความร�ำคาญ เช่น เอาขนมจี น มากิ น แก้ ก ลุ ้ ม ซั ก ถ่วยที (เอาขนมจีนมากินแก้ เซ็งซักถ้วยทีเถอะ). กินข้าววัดนอนศาลา [กิน-เข่า-วั่ดนอน-สา-ลา] (ส�ำ) ก. พเนจร, เร่ร่อน, กินข้าววัดนอนศาลา 25

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กินข้าววัดนอนศาลาห่มผ้าผี - กู้

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ห่มผ้าผี ก็ว่า. กินข้าววัดนอนศาลาห่มผ้าผี [กินเข่า-วัด่ -นอน-สา-ลา-ห่ม-ผ่าผี] ดู กินข้าววัดนอนศาลา. กินจ่งกินหยอม (ส�ำ) ก. กินอย่าง ประหยัด, (ดู หยอม ประกอบ). กินดีหมี (ส�ำ) ว. กินอะไรมาถึงได้ อารมณ์เสีย, กินดีหมีมาถึงได้ อารมณ์เสีย เช่น สง-สัยไปกิน ดีหมีมาถึงได้โวยวาย. กิ น ทางท้ อ งขี้ ท างหลัง [กิน-ทางท่อง-ขี่-ทาง-หลัง] (ปริศ) ก. กบไสไม้. กินทางนีไ้ ปขีฟ้ ากโน้น [กิน-ทาง-นี-่ ไป -ขี-่ ฟาก-โน่น] (ปริศ) น. อุง้ พุง่ วิดน�้ำ, (ดู อุ้งพุ่ง ประกอบ). กินน�้ำร้อนนอนไฟ [กิน-น่าม-ร่อนนอน-ไฟ] (ส�ำ) ก. อยู่ไฟ ; นอนใกล้ไฟหลังคลอดเชื่อว่า ความร้อนจะท�ำให้มดลูกเข้าสู่ ภาวะปกติเร็ว. กินผัว ว. มีผัวแล้วผัวตายทุกคน. กินเมีย ว. มีเมียแล้วเมียตายทุกคน. กินไม่รู้บกจกไม่รู้หมด [กิน-ไม่-ลู่บ๊ก-จ๊ก-ไม่-ลู่-เมิ้ด] (ส�ำ) น. มี ทรัพย์สมบัติมากจนใช้ไม่หมด. กินยังกะแมวเล็ม [กิน-ยัง-ก๊ะ-แมวเล็ม] (ส�ำ) ก. กินทีละน้อย ด้วยความประหยัด. 26

กินระกินโรม [กิน-ล่ะ-กิน-โลม] ก. กิน พร�่ำเพรื่อ, กินจุบจิบ. กินหมากจืด (ส�ำ) ว. ชั่วเคี้ยวหมาก จืด, เวลาประมาณ ๒๐-๓๐ นาที; มาจากระยะเวลาในการ เคี้ยวหมาก ๑ ค�ำ ตั้งแต่เริ่ม เคี้ยวจนหมากจืดหมดค�ำ จึง คายชานหมากทิง้ เช่น ประมาณ ว่ากินหมากจืดสักสองค�ำ (นิ. พระปาจิต). กินหอยข้าวยัง กินหนังข้าวหมด [กิน-หอย-เข่า-ยัง- กิน-หนังเข่า-เมิ้ด] (ส�ำ) ว. ได้อย่าง หนึ่งแต่ต้องสูญเสียอีกอย่าง หนึ่ง; เปรียบกับแกะหอยกิน เพลินจนลืมกินข้าวกับข้าวจึง หมดก่อนข้าว แต่กินข้าวกับ เนื้อหรือหนังซึ่งเหนียวข้าว มักจะหมดก่อนกับ. กิ้ว ๆ ว. กิ๋ว ๆ, กุ๋ย ๆ, เสียงร้อง เยาะเย้ยพร้อมกับกระดิกนิ้วชี้ ไปยังหน้าของผู้ที่ถูกเยาะเย้ย. กีข่ า้ ว [กี-่ เข่า] น. กล่องข้าวอลูมเิ นียม. กี ด หู กี ด ตา ว. ขวางหู ข วางตา, เห็ น แล้ ว ท� ำ ให้ เ กิ ด ความรู ้ สึ ก ร�ำคาญ, ถิ่นอีสานใช้ว่า กีดตา, ขีนตา. กีบ น. จีบ, รอยจีบผ้า. กึ้ก ก. ชะงัก, หยุดทันที เช่น วิ่งมา


พจนานุกรม ภาษาโคราช กุ้งแห้ง [กุ้ง-แห่ง] ว. ผอมแห้ง, ผอม มาก, ผอมเหมือนกุ้งแห้ง ก็ว่า. กุฏิ [กุ๊ด] น. กุฏิ. กุฏิฤาษี [กุ๊ด-ติ๊-ลือ-สี] ดู อโรคยา ศาล. กุด [กุ๊ด] ๑. ก. ตัด เช่น เอานักโทษไป กุ๊ดหัว. ๒. ก. ด้วน, ขาด, สั้นเข้า; ว. เรียกสิ่งที่มีรูปยาว ๆ ที่ ปลายขาดหายไป เช่น มือกุ๊ด (มือด้วน), แขนกุด๊ (แขนขาด), ยอดตาลกุด๊ (ยอดตาลด้วน). ๓. น. ล�ำน�ำ้ หรือล�ำห้วยทีป่ ลาย ขาด, ตะกุด ก็วา่ . กุ๊ดจี่ ดู จุ๊ดจี่. กุดสามง่าม [กุ๊ด-สาม-ง่าม] น. ชื่อไม้ ใบจ�ำพวกเฟิร์นชนิดหนึ่งในวงศ์ Pteridaceae, กูดสามง่าม ก็วา่ . กุ้น ก. ด้วน, สั้น. กุ้บกั้บ ก. การเล่นอย่างหนึ่ง โดยใช้ หั ว แม่ โ ป้ ง กั บ นิ้ ว ชี้ เ ท้ า หนี บ เชือกที่ร้อยกับกะลา ๒ อัน แล้วเดิน, กิงกั้บ ก็ว่า, ภาษา ไทยกรุงเทพใช้ว่า เดินกะลา. กุมเหง ก. ข่มเหง, รังแก. กุ่ย ดู กรุ่ม. กุหลาบเหลืองโคราช ดู เอื้องกุหลาบ โคราช. กู้ ก. เก็บเกี่ยวพืชผลจากที่ได้ว่านหรือ

ยุดกึ้ก (วิ่งมาแล้วหยุดทันที). กึ้บ ว. ฉับ, เสียงดังเช่นนั้น เช่น ปิ๊ด ประตูกึ้บ. กึ๊บ ๑. ก. อาการร่อแร่จนขากรรไกร แข็งพูดไม่ได้ อ้าปากไม่ได้. ๒. ก. ขริบ, เล็มตัดด้วยตะไกร เช่น กึ๊บผม. กืก น. ใบ้. กุ๊กวน [กุ๊-กวน] ก. รบกวน, ก่อกวน, ก่ อ ความร� ำคาญ เช่น มากุ๊ มากวน, กุ๊กกวน ก็ว่า. กุ๊กกวน [กุ๊ก-กวน] ดู กุ๊กวน. กุกกุฎภัณฑ์ [กุ๊ก-กุ๊ด-พัน] น. กกุธ ภัณฑ์, สัญลักษณ์ส�ำคัญแห่ง ความเป็นพระมหากษัตริย์ มี ๕ สิ่ง คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขันธ์ชัยศรี ๓. ธาร พระกรชัยพฤกษ์ ๔. วาลวีชนี (พัดกับแส้) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธ ภัณฑ์ เช่น ทั้งเครื่องกุกกุฎ ภัณฑ์ พระทรงธรรม์งามเรือง รอง (นิ.กุศราช), ถิ่นอีสานใช้ ว่า กุกกุธ์ห้า. กุ่ง ก. ขี่หลัง, ขี่กุ่ง, ขึ้นกุ่ง, กอดกุ่ง ก็ว่า. กุงเกง น. กางเกง. กุงเกงหรั่ง น. กางเกงขายาว ทรงฝรั่งหรือทรงสมัยใหม่. 27

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


กู๊กกี๊ก - เกือกทองรองพระบาท

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ลงไว้ เช่น กู้มัน, กู้พริ่ก. กู๊กกี๊ก ก. ส่งเสียงสัญญาณเริ่มต้นใน การเล่นซ่อนหา. กูด ว. หงิก เช่น ยอดกูด (ยอดหงิก), เข่ารวงกูด (ข้าวรวงหงิก). กูดสามง่าม ดู กุดสามง่าม. กูแหละมึงแหละ [กู-และ-มึง-และ] ว. เกี่ยง, อาการที่ต่างฝ่าย ต่างไม่ยอม เพราะกลัวจะเสีย เปรียบกัน. กู่ฮูก ดู กะฮูก. เกกมะเหรกเกเร [เกก-มะ-เหฺลก-เกเล] ก. เกเร. เกทับ [เก-ทั่บ] ว. ท้าพนันด้วยการ เสนอเงินเดิมพันสูงกว่า จน ไม่มีใครกล้าเสนอแข่ง, แสดง อาการข่ ม ทั บ เพื่ อ ให้ เ ห็ น ว่ า เหนือกว่า. เก่น ดู เจ่น. เก็บตะกอ [เก๊บ-ตะ-กอ] น. ด้าย จ� ำนวน ๔ ตับ ใช้ส�ำหรับ เหยี ย บให้ เ ส้ น ไหมสลั บ กั น ใน ขณะทอเพื่ อ ให้ ก ระสวยผ่ า น สะดวก. เกร็ดเกร่ [เก๊ด-เก่] ก. เตร็ดเตร่. เกร็ดเกร่เซซัง [เก๊ด-เก่-เซ-ซัง] ก. ระหกระเหิน, เร่ร่อน. เกรอะ [เกร๊อะ] น. การกรองน�้ำเกลือ (ขั้นตอนหนึ่งของการท�ำเกลือ 28

สินเธาว์). เกรียบ ว. มีเม็ดทรายปะปน. เกรียม ก. เตรียม เช่น ทุกคนเกรียม จอบเสียมส�ำหรับมือ (นิ.พระ ปาจิต). เกรียว [เกรีย้ ว] ว. เกรียวกราว, เสียง เอ็ดอึงพร้อม ๆ กันหลายเสียง. เกล็ดลิ้นใหญ่ [เก๊ด-ลิ่น-ไหย่] น. เกล็ดปลาช่อน, ลิ้นต้น; ชื่อไม้ พุ่มขนาดเล็ก ชนิด Phyllo dium pulchellum (L.) Desv ในวงศ์ Legumino sae ขึ้น ตามป่าเบญจพรรณ ดอกเล็ก ช่อยาว, ถิ่นเหนือและใต้เรียก หญ้าเกล็ดลิ้น. เกลี้ยงหน่อง ว. หมดเกลี้ยงไม่เหลือ หลอ, เกลี้ยงจนเนียน, เกลี้ยง ออดหลอด ก็ว่า. เกลี้ยงออดหลอด ดู เกลี้ยงหน่อง. เกลือผุด [เกือ-พุด] น. คราบเกลือผุด แห้งเกรอะตามผิวดิน. เกวียนหักกะไหน หญ้าแหลกกะนั่น [เกี ย น-ฮั ก -ก๊ ะ -ไหน-หย่ า แหฺลก-ก๊ะ-นั่น] (ส�ำ) น. มีงาน หรื อ กิ จ กรรมที่ ไ หนเจ้ า ของ สถานที่ ห รื อ เจ้ า ภาพต้ อ งรั บ ภาระหนัก. เกาเกว ว. กวน, รบกวนท�ำให้เกิด ความร�ำคาญ เช่น จะเกาเกว


พจนานุกรม ภาษาโคราช กอดกุ่งอยู่รุงรัง (สุภมิต ฯ). เก้าอี้หัวโล้น [เก้า-อี้-หัว-โล่น] น. เก้าอี้ไม่มีพนักพิง. เกาะ [เก๊าะ] ก. จับ, จับกุม, คุมตัว เช่น ไปเก๊าะตัวมา. เก้าะ ว. ค�ำเรียกคนที่น่าสงสาร, น่า เอ็ น ดู เช่ น สงสารเก้ า ะ (สงสารเขา), ตะ เก้าะ, ตะเง่าะ ก็ว่า. เกาะไก่ [เก๊าะ-ไก่] น. ตะครอง, ไม้ต้น ขนาดเล็กมีหนาม ผลกลม รส ฝาด. เกาะฉาย [เก๊าะ-ฉาย] น. ไม้ส�ำหรับ เกลี่ยหรือสงฟางในเวลานวด ข้าว, ขอฉาย ก็ว่า. เกิ ด ได้ ใ หญ่ ม า (ส� ำ ) ก. เกิ ด มา, เติบโตมา. เกิดสูรย์ ก. เกิดสุรยิ ปุ ราคา, จันทรุปราคา.

หลัง, เกิดทีหลัง เช่น ที่เกิด ใหม่ใหญ่หลังก็เรียกตาม (นิ. พระปาจิต), ถิ่นอีสานใช้ว่า เกิดใหม่ใหญ่ลุน. เกิน ว. ใช้ต่อท้ายค�ำมีความหมาย ท�ำนองว่า มาก, หลาย, จริง ๆ เช่น ด�ำเกิน (ด�ำมาก), เมือง อะไรมันใหญ่เกิน (นิ.เพลงอิน ทปัตถา). เกินว่า ว. เหลือเกิน, เกินควร, เต็มที. เกิบ น. เกือก, รองเท้า. เกี้ยไก่ น. งัวชัง ; ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparisthorelii Gagnep ในวงศ์ Capparaceae ล�ำต้น มีหนาม ดอกสีชมพู. เกี่ยวคอไก่ น. พุงแก ; ชื่อไม้พุ่มชนิด Capparis siamensis Kurz ในวงศ์ Capparaceae กิ่ง อ่อน สีเทาหรือน�้ำตาล ใบกลม ปลายแหลม ดอกสีขาวอม เขี ย วเป็ น ช่ อ ออกตามง่ า มใบ ผลคล้ายกุม่ บก กินได้และใช้ทำ� ยาแก้ตระคริว แก้ไข้สันนิบาต แก้เจ็บคอ ร้อนใน, น�ำ้ นอง, พุงขี,้ หนามพุงแก ก็วา่ . เกือกทองรองพระบาท (ส�ำ) ก. รับ ใช้, เป็นข้ารับใช้, ยอมตนเป็น ผู้รับใช้ เช่น จะขอเป็นเกือก ทอง มารองบาทา ไปกั่วชีวา

เกิดสูรย์

เกิดใหม่ใหญ่หลัง (ส�ำ) น. เด็กรุ่น 29

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แก - แก้วน�้ำ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

จะม้วยวอดวาย จะขอเป็นข้า ไปกั่วชีวา จะดับสูญหาย (นิ. รูปทอง). แก น. ชือ่ ไม้ตน้ ในกลุม่ ต้น “สะแก” ชนิด Combretumprocursum Craib ในวงศ์ Combretaceae นัก พฤกษศาสตร์เรียก สะแกนา. แก่ ๑. สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนผู้ที่ เราพูดด้วย (มักใช้กับผู้อาวุโส เท่ากันหรือสูงกว่า) เช่น แก, เอ็ง, คุณ เช่น แก่กินหรือยัง (แกหรือเอ็งกินหรือยัง). ๒. สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้แทน ผู ้ ที่ เ ราพู ด ถึ ง (มั ก ใช้ กั บ ผู ้ อาวุโสเท่ากันหรือสูงกว่า) เช่น ทิดทุยแก่กินแล่ว (ทิดทุยแก กินแล้ว). แกก ๆ [แก๊ก-แก๊ก] ว. เสียงอย่างเสียง เกาหัว เช่น เกาหัวแก๊ก ๆ. แกง น. แจง ; ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Maerua siamensis (Kurz) Pax ในวงศ์ Cap paraceae ล� ำ ต้ น เกลี้ ย งเปลือกสีเทาด�ำ ยอดเป็นพุ่มทึบ ผลกลมรีเมื่อ สุกจะสีแดง. แก้งก้น ก. เช็ดก้นด้วยไม้. แกงไข่น�้ำ [แกง-ไข่-น่าม] น. แกงจืด ที่ปรุงใส่ไข่เจียว. แกงปลาปั ้ น น. แกงอย่ า งหนึ่ ง 30

ประกอบด้วยปลาดุกสับแล้ว ปั้นเป็นชิ้นหรือเป็นลูกกลม ๆ ใส่ ข ้ า วคั่ ว และหน่ อ ไม้ ด อง เป็นต้น. แกงเปอะ [แกง-เป๊อะ] น. ต้มเปอะ, แกงอย่างหนึ่งใช้หัวตาลหรือ หน่อไม้ เป็นต้น ใส่ใบย่านาง คั้น ใส่ข้าวคั่วกับปลาร้าผสม แต่ไม่ใส่กะทิ. แกงมังสัง น. แกงประเภทเนื้อ เช่น พ่อตาข้าชมเชย ท้าวเสวยแกง มังสัง (นิ.กุศราช). แก้งสนามนาง น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งใน จังหวัดนครราชสีมา ค�ำ ว่า “แก้ง” คือ แก่งหินในล�ำน�้ำชี “แก่ง” คนท้องถิ่นออกเสียง เป็น แก้ง, ถิ่นอีสานใช้ว่า แก่ง หมายถึง ลาน สนาม ท้องน�้ำ. แกงหัวตาล น. แกงพืน้ บ้านโคราช อย่างหนึง่ ใช้สว่ นหัวตาลอ่อน แกน ๆ ว. จ�ำใจท�ำไปอย่างนั้นแหละ เช่น กินพอแกน ๆ (จ�ำใจกินไป อย่างนั้นแหละ). แก่นแก้ ว. มาก, จริง ๆ เช่น บ้านลุง ทองอยู่ไกลแก่นแก้ (บ้านลุง ทองอยู่ไกลมาก, ไกลจริง ๆ). แก่นเข น. แกแล, แกแลเข; ชื่อไม้เถา ทรงพุ่มเลื้อยพันต้นไม้อื่นชนิด Macluracochinensis (Lour.)


พจนานุกรม ภาษาโคราช Corner ในวงศ์ Mora ceae ขึ้นในป่าดิบ ต้นมีหนาม แก่นสี เหลือง ใช้ยอ้ มผ้าแก้มตุ กิดระดู ขาว ขับปัสสาวะ บ�ำรุงน�้ำ เหลืองให้เป็นปกติ. แก่นหล่อน น. แก่นไม้ที่อยู่ถัดกระพี้, ไม้ที่เหลือแต่แก่นตายยืนต้น, ถิ่นอีสานใช้ว่า แก่นหล้อน. แก่ม ก. เบียดเบียน, เกาะคนอื่นกิน, แก่มบาง ก็ว่า เช่น มาแก่ม มาบาง. แก่มบาง ดู แก่ม. แกร น. แตร.

สูงเลยไม่รู้ว่าจะออกอย่างไร มี เด็กคนหนึ่งเห็นจึงบอกให้คว�่ำ แกร๊ะลงคนแก่จึงออกได้ เป็น ที่มาของค�ำว่า “คนเฒ่าสาน แกร๊ ะ เด๊ ก น่ อ ยไม่ แ น่ ะ ติ๊ ด แกร๊ะเริมเกริม”, (ดู เริมเกิม ประกอบ).

แกระ

แกระกรุ [แก๊ะ-กุ]๊ น. แกร๊ะขนาดใหญ่ เช่น ครั้นได้หลายแล้วก็ใส่ใน แกระกรุ (นิ.พระปาจิต), (ดู แกระ ประกอบ). แก่ว ๑. ก. ท้าทาย, ยั่ว, ยวนยี. ๒. น. บริเวณ, ถิ่น, เขตแดน ของคนหรือสัตว์; ถ้าเป็นสัตว์ เช่น นก, หมา เมื่อมีตัวอื่นล่วง ล�้ำเข้ามาก็จะแสดงความเป็น เจ้าของด้วยการขับไล่. แก้วน�้ำ [แก้ว-น่าม] น. ชื่อไม้ล้มลุก ชนิด Hydroceratriflora (L.) W. & A. ในวงศ์ Balsa minaceae คล้ายต้ น เที ย น, เที ย นบ้ า น นั ก พฤกษศาสตร์

แกระ

แกระ [แก๊ะ] น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ทรงกลมคล้ายเสวียนส�ำหรับ เก็บสิ่งของ เช่น ใบยา ถ้าจะ เก็บข้าวเปลือกจะต้องหาอะไร กรุกันรั่วไหลเสียก่อน มีเรื่อง เล่าสืบกันมาว่า มีคนแก่สาน แกร๊ะแต่ตัวอยู่ข้างใน สานจน 31

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แกแฮ - ไกลหัวใจ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เรียก เทียนนา. แกแฮ ก. ท�ำไปโดยเข้าใจผิด เช่น จะ เขียนว่าอ�ำเภอขามสะแกแสงแต่ แกแฮเขียนเป็นขามสะแกสอ. โกงเกง น. กางเกง เช่น นุ่งโกงเกง ลายวิ ล าศแล้ ว คลาดเครื่ อ ง (นิ.พระปาจิต), กุงเกง ก็ว่า. โกงโก๊ะโกงโก้ง ดู กงโก๊ะ. โกงโก๊ะโกงโก้ย ดู กงโก๊ะ. โก่งตะเกียง ดู กะโลงตะเกียง. โกด น. สัตว์ที่ยังไม่ได้ตอน, สัตว์ที่ตัว โตผิดปกติ เช่น วัวโกด. โก้มเก้ม ก. ลักษณะการเดินโยกเยก อย่างเชื่องช้า เช่น การเดิน ของปู. โกยแน็บ [โกย-แน่บ] ก. วิ่งแจ้น, วิ่ง หนีโดยเร็ว. โกรกกราก [โกก-กาก] ก. เร็ว, รวดเร็ว, ทันทีทันใด, ปุบปับ, ว่องไว. โกรกเกริน [โกก-เกิน] ดู ตะโกรก. โกรกลากไม้ [โกก-ลาก-ม่ า ย] ดู เพลงช้ า โกรก. โกรธกรึง ก. โกรธขึ้ง, โกรธมาก เช่น หัวล้านไอ้คนหนึ่ง ความโกรธ กรึงมิใช่ชั่ว (นิ.รูปทอง). โกโรโกโส ดู หนามเกาะไก่. โกเอี๊ยะ น. กอเอี๊ยะ, ขี้ผึ้งปิดแผลชนิด หนึ่งของจีน. 32

โก๊ะ น. หลังค่อม, เด็กที่โกนศีรษะแล้ว ไว้ผมจุกหลังศีรษะ. โก๊ะขึ้นไม้ [โก๊ะ-ขึ่น-ม่าย] น. การเล่น อย่างหนึ่ง ไม่จ�ำกัดผู้เล่น เริ่ม เล่ น โดยให้ ทุ ก คนจั บ ไม้ สั้ น ไม้ยาว โดยปลายไม้ด้านบนให้ เสมอกัน ใครจับไม้สั้นได้ให้ เป็น “โก๊ะ” ทันทีที่รู้ว่าใครเป็น โก๊ะ คนที่ได้ไม้ยาวจะรีบไปขึ้น ไม้หรือกระดานแถวนั้น โก๊ะก็ จะไม่สามารถท�ำอะไรได้ ถ้าโก๊ะ เผลอก็ ใ ห้ วิ่ ง มาแตะวงกลมที่ ขีดไว้ให้ได้ ถ้าไม่มีใครออกมา แตะโก๊ ะ ก็ จ ะแช่ ง ให้ ท ้ อ งผู ก ท้องร่วง หรือให้โดนหมาบ้ากัด ฯลฯ ถ้าใครพ้นจากกระดาน หรือไม้ และถูกโก๊ะแตะได้คน ๆ นั้นก็จะมาเป็นโก๊ะแทน. ไก่ (ปาก) น. หญิงที่อ่อนหัด หรือมี ประสบการณ์ น ้ อ ยยั ง ไม่ รู ้ ทั น เล่ ห ์ เ หลี่ ย มของคนมั ก ถู ก ล่อลวงได้โดยง่าย. ไก่หลง (ปาก) น. หญิงที่หลง ทางมา หรือมาจากต่างถิ่นไม่รู้ ทันเล่ห์เหลี่ยมของคน มักถูก ล่อลวงได้ง่าย, ไก่ ก็ว่า. ไก่กระทง น. ไก่อายุประมาณ ๒-๓ เดือน, ไก่รุ่นหนุ่ม. ไก่ขาวกระโดดเข้าเล้ากันลุ ๆ [ไก่-


พจนานุกรม ภาษาโคราช ขาว-กะ-โดด-เข่า-เล่า-กันลุ่-ลุ่] (ปริศ) น. ข้าวตอก, ข้ า วโพดที่ ก� ำ ลั ง คั่ ว แล้ ว แตก เป็นดอกบาน ไก่ขาวหมอบอยูห่ ลังตีน (ปริศ) น. เล็บ. ไก่ชวย ก. ลักษณะของไก่ทช่ี นแล้วท�ำที วิ่งหนีแล้ววิ่งกลับมาชนใหม่. ไก่ชี น. ไก่ที่มีขนสีขาวทั้งตัว, ไก่ที่ ใช้ ใ นการ “เข่ากรรม” ของ หมอเพลงโคราช, (ดู เข้ากรรม ประกอบ). ไก่ด�ำตกน�้ำไม่เปียก [ไก่-ด�ำ-ต๊ก-น่าม -ไม่-เปียก] (ปริศ) น. บึ้ง; แมงมุมขนาดใหญ่ตัวสีด�ำ. ไก่ดีด ก. ไก่ชนที่ตีกันแล้วเมื่อเห็นว่า สู้ไม่ได้ก็หนีทันที. ไก่ตะเหลว น. ไก่ชนที่ไม่มีฝีมือเพราะ ซื้อมาจากที่ขายตามเข่ง, (ดู ตะเหลว ประกอบ). ไก่ตาโม่ ว. อาการที่ไก่ตาบวมเพราะ

เป็นโรคชนิดหนึ่ง. ไก่ล่วย ก. อาการที่ไก่ชนก้มหัวออก ข้างท�ำทีจะหนีแล้วหันมาตีใหม่. ไก่หย็อง ก. อาการไก่ที่ขนหย็อง, ขน หัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็น อาการรู้สึกกลัวคู่ต่อสู้. ไก่โอก ๑. น. ไก่โต้ง, ไก่พ่อเล้า, ไก่ที่ โตที่สุดในฝูง. ๒. น. เศษแป้งขนมจีน หรือ แป้งขนมจีนที่เหลือไม่พอจะบีบ เป็นเส้นได้ ปั้นเป็นก้อนลงใน น�้ำเดือด น�ำมาผสมกับน�้ำยา แทนเส้นขนมจีน นัยว่าอร่อยดี. ไกร น. ไตร ค�ำย่อจากไตรจีวร เช่น ไกรจีวร. ไกรกาสา น. ผ้าไตรจีวรและผ้า กาวพัสตร์ เช่น นอนแต่กอ่ นไก่ ทรงไกรกาสา (นิ.กุศราช). ไกลหัวใจ (ส�ำ) ว.ไม่ถงึ กับตาย, เล็กน้อย ไม่ถึงกับตาย.

กุหลาบเหลืองโคราช

33

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินไทรงาม อ�ำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

34


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ขน น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคน และสัตว์. ขนแปรง น. ขนค่อนข้างแข็ง ขึ้นบริเวณหลังเด็กทารก. ขนหยอง ก. อาการกลัวจน ขนลุกชันตัวลีบ. ขนหมาน น. ขนที่งอกออกจาก ไฝเส้นยาวกว่าปกติเชื่อว่าเป็น ขนน�ำโชคเพราะน้อยคนที่จะมี ผู้ที่มีมักจะปล่อยไว้ไม่ถอนทิ้ง. ขนอุย น. ขนอ่อน, ขนเพิ่งแรก ขึ้น. ขนมขี้ก่วง [ขะ-หฺนม-ขี่-ก่วง] น. ขนม บัวลอย, ขนมขี้ก๋วง ก็ว่า. ขนมขี้ก๋วง ดู ขนมขี้ก่วง. ขนมขี้แมว [ขะ-หฺนม-ขี-่ แมว] น. ขนม อย่างหนึ่งท�ำด้วยมะขามคลุก เกลือและน�้ำตาลปั้นเป็นแท่ง คล้ายขี้แมว. ขนมจีนกะน�้ำยา [ขะ-หฺนม-จีน-ก๊ะน่าม-ยา] (ส�ำ) ว. เข้ากันได้ดี. ขนมจีนเหมือด น. ขนมจีนทีป่ ระกอบ ด้วยเส้นขนมจีน ปลาป่น หอม แดง (ซอย หรือหัน่ ) หัวตะไคร้ (ซอยหรือหัน่ ) ใบมะกรูด (ซอย หรือหัน่ ) พริกป่น น�ำ้ ปลา มีผัก

ข้างเคียง ส่วนประกอบอาจ แตกต่างกันไปตามท้องที.่ ขนมใจ น. ขนมชนิดหนึ่งสอดไส้ด้วย ถั่ ว เขี ย วและมะพร้ า วแล้ ว ห่ อ เช่นเดียวกับขนมใส่ไส้. ขนมต้มลอย น. ขนมบัวลอย. ขนมนมสาว น. ขนมเทียน เพราะห่อ เป็ น รู ป สามเหลี่ ย มคล้ า ยนม ผู้หญิง. ขนมเปีย น. ขนมเปี๊ยะ. ขนมแป้ง น. ขนมโก๋. ขนมยอดกล้า [ขะ-หนม-ยอด-ก้า] น. ข้าวปาดหรือขนมเปียกปูนมีสว่ น ผสมน�ำ้ ยอดใบกล้า (ถิน่ ปักธงชัย), (ดู ข้าวปาด ประกอบ). ขนมเส้น [ขะ-หฺนม-เส่น] น. ขนมจีน. ขนมห่อ น. ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้. ขนาด [ขะ-หฺนาด] ว. ใช้ประกอบค�ำ โดยปริยายหมายถึงมาก, มาก จริง ๆ เช่น ไกลขนาด (ไกล มาก), แพงขนาดเลย (แพงมาก เลย). ขนาบ [ขะ-หฺนาบ] ก. ตี, ฟาด, นาบ, ปราบ, กิน. ขมกเขม่า [ขะ-มก-ขะ-เม่า] ดู ขมุก เขม่า. 35

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ขมวน - ขวานมุ่ย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ขมวน [ขะ-หฺมวน] น. แมลงที่เกิดใน เนื้อสัตว์ที่แห้ง เช่น เนื้อแห้ง, ปลาแห้ง. ขมั่น [ขะ-มั่น] ก. ขม�้ำ, เอาปากงับ (ใช้แก่สุนัขเป็นต้น) เช่น ระวัง หมาขมั่นเด้อ. ขมันหมี ว. ขมีขมัน, กุลีกุจอ, รีบเร่งใน ทันทีทันใด เช่น พราหมณ์เฒ่า แจ้งคดี ขมันหมีกระการ (นิ.รูป ทอง). ขมาย [ขะ-มาย] ก. ขโมยหรือลักเอา สิ่งของจากที่มีผู้ขโมยมาอีกต่อ หนึ่ง; ผู้ลักทรัพย์ที่ลักทรัพย์อีก ต่อหนึ่ง. ขมุกเขม่า [ขะ-มุก-ขะ-เม่า] น. การ เล่นอย่างหนึ่ง เล่นได้หลายวิธี ตามแต่ละท้องถิ่น ได้แก่ ๑. ทุกคนนั่งเป็นวงกลมเอามือ ทั้งสองยื่นไปข้างหน้าวางแนบ กับพืน้ ให้คนหนึง่ เป็นผูแ้ บ่งคน นั่งออกเป็น ๒ พวกเท่า ๆ กัน ด้ ว ยการนั บ คนนั่ ง โดยพู ด ว่ า “ขมุกเขม่า มะเขือหางเน่า ใส่ ขิงใส่ข่า มะย่า มะยม ขนมกิน เพาะ กระเท่าะหน่าแว่น ควย หลังแอ่น กระโดนต้นกุม่ สาว ๆ หนุ่ม ๆ อาบน�่ำท่าไหน อาบน�่ำ ท่าวั่ด ได้แป้งไหนพัด ได้กระ จ๊ ก ไหนส่ อ ง ดูหน่าขาวผ่อง 36

สายทองพี่เอย มือใครลื่นจิได้ ไปหา มือใครซาจิได้ไปซุ่ก” ขณะที่ ร ้ อ งต่ า งก็ เ อามื อ ถู พื้ น เพื่ อ แสดงความอยากไปเป็ น คนซุกพอสิ้นค�ำว่า “มือใครซา จิได้ไปซุ่ก” ตรงกับคนใดคนนั้น จะเป็นคนไปซ่อนหรือซุก นับไป จนได้ ๒ พวกเท่า ๆ กัน เริ่ม เล่นโดยพวกซ่อนหรือซุกจะไป ซ่อนหรือซุกอย่างมิดชิด ฝ่ายที่ หาจะแบ่งกันออกไปหา อีก ส่วนหนึ่งอยู่เฝ้าวงกลมที่ขีดไว้ เรียกว่า “อยู่โยง” เมื่อคนซ่อน ถูกจับได้จะถูกขย�ำหู เรียกว่า “หย�ำหู” แล้วเปลี่ยนเป็นคน หา ถ้าฝ่ายซ่อนสามารถเข้า โยงได้โดยไม่ถูกจับจะเป็นผู้ชนะ แล้วเริ่มเล่นใหม่, ขมกเขม่า ก็ว่า. ๒. ผู้เล่นทั้งหมดนั่งเป็นวงกลม ทุกคนก�ำก�ำปั้นออกมาวางข้าง หน้า ผู้เล่นคนหนึ่งน�ำร้องเพลง พร้อมกับใช้มืออีกข้างหนึ่งแตะ มือที่ก�ำของตัวเอง และแตะคน ข้าง ๆ ทั้งซ้ายขวาสลับกันไป เพลงที่นิยมใช้ร้อง เช่น “ขมก เขม่าช่างเข่ากอไผ่ งาใย้ใหญ่ ช่ า งมิ่ ด ช่ า งหมี่ เดื อ นสิ บ สี่ ออกลูกในนา กระต่ายท�ำงาน


พจนานุกรม ภาษาโคราช ขยูด [ขะ-หฺยูด] ก. ย่น, หด, ร่นเข้า, กะหยูด ก็ว่า. ข่วน น. ขั้วผลไม้, ส่วนที่ต่อของก้าน ผลไม้, ก้านดอกไม้, ก้านใบไม้. ข้วน น. เสวียน, ทีร่ องเครือ่ งพิณพาทย์, ที่รองหม้อ, มีลักษณะขดเป็น วงกลมมักท�ำด้วยหญ้า, ฟาง, หวาย.

อี ลั้ ก อี ห ลู ด หมาเอยมากิ น หญ่าปล้อง หมูเจ๊บท่องร่องไห่ ปวดฟั น ขนมทอดมันเส่นผี อีนิน เมื่อเพลงจบมือที่แตะที่ ก�ำปั้นคนไหนเจ้าของก�ำปั้นจะ เอามือไปซ่อนไว้ข้างหลัง ร้อง เพลงไปเรื่อย ๆ จนมือน�ำไปไว้ ข้างหลังหมดกันทุกคน แล้วจึง เริ่มต้นเล่นใหม่. ขย่มธรณี [ขะ-หฺย่ม-ทอ-ละ-นี] ก. อาการที่เดินห่มตัวหรือเดินทิ้ง น�้ำหนักตัว ลง-ขึ้น สลับกัน ถือ กันว่าเป็นลักษณะของคนที่ไม่ น่าคบ. ขยอน [ขะ-หฺยอน] ๑. ว. แปลกใจ, ฉงน, ดัน (ท�ำในสิ่งที่ไม่น่าจะ ท�ำได้), ส�ำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น ขนาดไม่ได้ดูหนังสือยัง ขยอนสอบได้ (ขนาดไม่ได้ดู หนังสือยังดันสอบได้, แปลกใจ ที่สอบได้). ๒. น. อุทาหรณ์ เช่น เรื่อง นิยายนี้น่าจ�ำเป็นต�ำรา ไปภาย หน้าช่วยขยอนไว้สอนใจ (นิ. พระปาจิต). ขยาบ [ขะ-ยาบ] ก. ขย�้ำ, เอาปากงับ กัด. ขยุม [ขะ-หฺยุม] ก. ขยุ้ม, เอาปลายนิ้ว มือทั้งห้าหยิบรวมขึ้นมา.

ข้วน

ข่วย ดู ไขว้. ขวัญเดือน [ข็วน-เดือน] น. การโกน ผมไฟหลั ง จากเด็ ก คลอด ประมาณ ๑ เดือน. ขวัญเอยมากู๊ [ข็วน-เอย-มา-กู๊] ก. ค�ำเรียกขวัญให้กลับคืนมาอยู่ กับตัว. ขวานโก้งโค้ง [ขวน-โก้ง-โค่ง] ดู ขวานหัวงก. ขวานตะเบิง [ขวน-ตะ-เบิง] น. ขวาน ขนาดใหญ่ใช้ผ่าฟืน. ขวานโปง [ขวน-โปง] ดู ขวานโยน. ขวานมุ่ย [ขวน-มุ่ย] น. ขวานขนาด 37

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ขวานโยน - ขะน่องยาน เล็กใช้ส�ำหรับถาก. ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ขวานโยน

ขวานหงอน

ขวานหัวงก

ขวานโยน [ขวน-โยน] น. ขวานชนิด ด้ามยาวใช้ส�ำหรับยืนถากหรือ ขุด, ขวนโปง ก็ว่า. ขวานหงอน [ขวน-หฺงอน] น. ขวานที่มี 38

รู ป ร่ า งเหมื อ นไม้ ค ้ อ น หรื อ ตะลุมพุก ที่ท�ำจากเหง้าไม้ไผ่ ใช้งานเช่นเดียวกับขวานมุ่ย ขวานหัวงก [ขวน-หัว-ง่ก] น. ขวาน ชนิดหนึ่งใช้ส�ำหรับถาก, ขุด. ขอแกว น. ไม้หรือเหล็กตรงปลายงอ ใช้ส�ำหรับชักกบในรู. ของ ๑. น. ของขลัง, เครื่องราง; โดย ปริยายหมายถึงอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น ของขึ่น (ของขึ้น หมายถึง องคชาติแข็งตัว). ๒. น. สิ่งของ, สิ่งต่าง ๆ เช่น เลี่ยงของไม่ดูของ ปล่อยให้ ของกิ น ของ ท� ำ ให้ เ สี ย ของ เจ้าของไปไหน (เลี้ยงวัวหรือ ควายไม่ดูวัวหรือควาย ปล่อย ให้ วั ว หรื อ ควายกิ น ข้ า วของ ท�ำให้ข้าวของเสียหาย เจ้าของ ไปอยู่ไหน). ของชั่วอย่าให้เห็น ของเหม็น อย่าให้พบ [ของ-ชัว่ -อย่า-ไห่เห็น-ของ-เหม็น-อย่า-ไห่-พ่บ] (ส�ำ) น. ขอให้พบแต่สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นมงคล. ของเชิงบาตร ๑. น. สิ่งของที่ น� ำ ช่ ว ยเจ้ า ภาพใช้ ป ระกอบ อาหารในงานศพ เช่น ข้าว พริก ผัก ฟัก แฟง แตง ฯลฯ. ๒. น. สิ่งของเครื่องใช้ เช่น


พจนานุกรม ภาษาโคราช ที่นอน หมอน มุ้ง ฯลฯ เพื่อ ประกอบพิธีฌาปนกิจศพ. ของเหนียว น. ของขลัง, ของ ขลังที่ท�ำให้หนังเหนียว. ของเอ็ง [ของ-เอ๋ง] น. ของเรา. ขอฉาย น. ไม้ ส� ำ หรั บ เกลี่ ย หรื อ สง ฟางในเวลานวดข้ า ว. เกาะ ฉาย ก็ ว ่ า . ขอดหลอด ว. สั้นจู๋ (ใช้แก่หางสัตว์). ขอน ๑. น. ข้างหนึ่งของเครื่องใช้เป็น คู่ เช่น รองเท้า. ๒. น. ชื่อไม้ต้นในกลุ่ม “ตะโก” ชนิด Diospyros castaneae Fletcher ในวงศ์ Ebenaceae ผลคล้ายมะพลับ. ขอนดอก น. ขอนไม้ที่ผุมีราขึ้นเป็น จุดขาว ๆ. ขอบด้ง น. ขอบกระด้ง; ชื่อเรียก กระเพาะอาหารกระเพาะแรก ของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย มี ขนาดใหญ่ที่สุด ใน จ�ำนวน ๔ กระเพาะ เยื่อบุ ภายในมีสันคล้ายขอบกระด้ง เช่น ตั้งแท้เค้ากินขอบด้ ง จน หมดวงขอบตี (กล่ อ มเด็ ก ), คะนา ก็ว่า. ข่อยหล่อย ๑. ใช้ประกอบค�ำว่าล้ม, กลิ้ง มีความหมายท�ำนองว่า ล้ ม กลิ้ ง อย่ า งไม่ เ ป็ น ท่ า , (ดู

ข่อหล่อ ๒ ประกอบ). ๒. ว. หลุดลุ่ย, หลุดกระจาย. ขอสมางัวควาย [ขอ-สะ-มา-งัวควย] ก. การขอขมาหรือขอ อโหสิกรรมวัวควายที่เจ้าของ ส� ำ นึ ก ในสิ่ ง ที่ ก ระท� ำ ลงไป กล่าวคือเวลาใช้งานถ้าไม่ได้ ดั่งใจก็มักจะทุบตีด่าทอต่าง ๆ จนสาแก่ใจ เมื่อคิดเห็นว่ามัน ท� ำ คุ ณ ประโยชน์ ใ ห้ จึ ง ท� ำ พิ ธี ดังกล่าว อนึ่งก็เพื่อเรียกขวัญ วั ว ควายให้ ก ลั บ คื น มาสู ่ เ นื้ อ สู่ตัวอีกด้วย. ขอสัมบัดสัมมา [ขอ-สัม-บัด๊ -สัม-มา] ก. ขอขมา. ขอสาว ก. สู่ขอหญิงเพื่อการสมรส. ข่ อ หล่ อ ๑. ว. หมดเกลี้ ย ง, ไม่ เหลือหลอ. ๒. ก. ล้มกลิ้งอย่างไม่เป็นท่า, ข่อยหล่อย ก็ว่า. ข่อหล่อแข่แหล่ ๑. ว. ไร้สาระ, ไม่เป็น แก่นสาร, ท�ำเล่น ๆ. ๒. ว. ลักษณะเล็ก ๆ ป้อม ๆ, ไม่ได้ขนาด. ขะน่อง น. น่อง. ขะน่องยาน ก. ทอดน่อง, นวยนาด, อาการที่เดินช้า ๆ อย่างสบาย, เดินอย่างอืดอาด ยืดยาด. 39

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ขะม่ม - ขันหมากเอก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ขะม่ม ก. ขม�้ำ, อ้าปากงับกินเร็ว, กิน ค� ำโต ๆ อย่างเร็ว , ขะโม่ม, โม่ม ก็ว่า. ขะเม่น ก. ขะมักเขม้น เช่น ขะเม่นมุ่ง ตามทุง่ ไม่วางใจ (นิ.พระปาจิต), กะเหม่น, ขะเหม่น, เขม่น ก็วา่ . ขะโม่ม ดู ขะม่ม. ขะยึก [ขะ-ยึก่ ] ก. เร่ง, รีบเร่ง, ขยับ ตัว, ไหวตัว. ขะยึกขะยือ [ขะ-ยึก่ -ขะ-ยือ] ก. ท�ำยึก ยัก, เป็นอาการที่ท�ำในลักษณะ ครึ่งๆ กลาง ๆ, ท�ำอะไรไม่ ตลอดรอดฝั่ง. ขะยือ ก. เขย่งตัวหรือปลายเท้าให้สูง ขึ้น, โขย่งหรือพยุงตัวให้สูงขึ้น. ขะยุบ [ขะ-ยุ่บ] ก. ขมุบ, เม้ม, ขมิบ, ขยุ้ม. ขะรั้ว [ขะ-ลั่ว] น. รั้ว, เข่ารั้ว ก็ว่า, (ดู คอกรั้ว ประกอบ). ขะหงินฟัน ดู หงินฟัน. ขะหนีบ ก. หนีบ, คีบหรือบีบให้แรงให้ แน่นด้วยของที่เป็นง่าม เช่น กรรไกร เป็นต้น. ขะหม่า ก. ประหม่า. ขะเหนิก [ขะ-เหฺนกิ ] น. คันนาค่อนข้าง โต, แนวดินที่พูนขึ้นเพื่อแสดง แนวเขตที่นา, ผะเหนิก ก็ว่า. ขะเหม่น ดู ขะเม่น. ขะเหยิม่ [ขะ-เหฺยมิ่ ] ก. ขย่ม, เหยิม่ ก็วา่ . 40

ขะเหวา [ขะ-เหฺวา] ก. ข่วนด้วยเล็บ, ขูดด้วยเล็บ, กระเหวา ก็ว่า. ขะเหยาะ [ขะ-เยาะ] ก. เหยาะ, เขย่า เบา ๆ เพื่อให้หยดเติมแต่น้อย ให้พอต้อง การ, การกระท�ำ เบา ๆ เช่น ต�ำขะเยาะ ๆ (ต�ำ เบา ๆ). ขะโหยบ [ขะ-โหฺยบ] ก. ขยอกกินอย่าง เร็ว, (ดู กระโสบ ประกอบ). ขัดตะหมาด [คัด-ตะ-หมาด] ก. ขัด สมาธิ (ขัดสะหมาด). ขัดตะห่าง [คัด-ตะ-ห่าง] น. เครื่องยิง สัตว์ มีเชือกขึงไว้เมื่อสัตว์เดิน สะดุดลูกดอกจะลั่นยิง. ขัดตาโลก [คัด-ตา-โลก] ว. ขัดแย้ง กั บ ความคิ ด เห็ น ของคนหมู ่ มาก, ขัดขวาง, ผิดท�ำนอง คลองธรรม. ขัดศรีเนื้อตัว [คัด-สี-เนื่อ-ตัว] ก. ถูเนื้อตัว ตรงกับส�ำนวนที่ว่า “ขัดศรีฉวีวรรณ” เช่น ขัดศรี เนื้อตัวทั่วทั้งกายา (นิ.รูปทอง), สีเนื้อสีตน ก็ว่า เช่น อาบน�้ำ เวียนวนสีเนือ้ สีตน (นิ.รูปทอง). ขัดห้าง [คัด-ห่าง] น. ห้าง, ที่พักท�ำ ไว้ บ นต้ น ไม้ ส� ำ หรั บ เฝ้ า ดู เหตุการณ์ห รือล่าสัตว์ เช่น พรานดี ใ จตั ด ไม้ จ ะขั ด ห้ า ง, เที่ยวขัดห้างยิงกวางกินลูกไม้


พจนานุกรม ภาษาโคราช (นิ.พระปาจิต) . ขัดหูขดั ตา [คัด-หู-คัด-ตา] ว. ขัดตา, เห็นแล้วไม่ถกู ใจ, ขวางหูขวางตา. ขันคู ก. ขันเมื่อประจัญกันด้วยเสียง จู้ กรู ๆ ๆ (ใช้แก่นกเขา). ขันตสา [ขัน-ตะ-สา] ก. ขันอาสา, เสนอตั ว เข้ า รั บ ท� ำ ด้ ว ยความ เต็มใจ เช่น บัดนั้น รูปทอง ฉัน ไปปรองดอง ว่าจะขันตสา (นิ. รูปทอง). ขันธรรม ดู ขันห้าขันแปด. ขันบุ [ขัน-บุ๊] น. ขันน�้ำขนาดใหญ่. ขันโยน ก. เสียงขันตามธรรมชาติของ นกเขา ด้วยเสียง กุ๊ก…กรู… กรู. ขันเรียก ก. นกเขาตัวผู้ขันเมื่อเห็น ตัวเมีย หรือขันเรียกตัวผู้ให้มา ต่อสู้กันเป็นเหมือนการแสดง อ� ำ นาจ เป็ น ช่ ว งที่ เ รี ย กว่ า “คารม” (ใช้แก่นกเขา), (ดู นกเขาคารม ประกอบ). ขันลงหิน น. ขันน�้ำขนาดใหญ่หล่อ ด้วยเงิน. ขั น หมากกรี [ขั น -หมาก-กี ] น. ขันหมากตรี คือ ขันหรือพาน เงินใส่หมากพลูและเครื่องไหว้ อืน่ ๆ ในพิธหี มัน้ หรือแต่งงาน ญาติผใู้ หญ่ทอี่ าวุโสรองจากขัน หมากโทเป็นผูถ้ อื เช่น ขันหมาก

กรีนนั้ เล่า แล้วให้ยกเอาพาน เงินมา (นิ.รู ป ทอง), (ดู ขั น หมากโท ประกอบ). ขันหมากจัตวา [ขัน-หมาก-จั๊ด-ตะวา] น. ขันหรือพานใส่หมาก พลูและเครื่องไหว้อื่น ๆ ในพิธี หมั้นหรือแต่งงาน ญาติผู้ใหญ่ ที่อาวุโสรองจากขัน หมากกรี เป็นผู้ถือ เช่น สั่งเข้ามิได้ช้า ขันจัตวาถัดลงไป (นิ.รูปทอง), (ดู ขันหมากกรี ประกอบ). ขันหมากโท น. ขันหรือพานทองใส่ หมากพลูและเครื่องไหว้อื่น ๆ ใ น พิ ธี ห มั้ น ห รื อ แ ต ่ ง ง า น ญาติ ผู ้ ใ หญ่ ที่ อ าวุ โ สรองจาก ขัน หมากเอกเป็นผู้ถือ เช่น ขันหมากโทเล่า ใส่พานทอง อั น รจนา (นิ . รู ป ทอง), (ดู ขันหมากเอก ประกอบ). ขันหมากร้อยห้าสิบ [ขัน-หมาก-ล่อยห้า-ซิบ] น. ขันหรือพานใส่ อาหารหวานคาวต่าง ๆ ในพิธี หมัน้ หรือแต่งงาน ญาติ ๆ เป็นผู้ ถือ เช่น ขันหมากร้อยห้าสิบ แต่ เครือ่ งทิพย์นา่ เสวย (นิ.รูปทอง). ขันหมากเอก น. ขันหรือพานแก้วใส่ หมากพลูและเครื่องไหว้อื่น ๆ ในพิธีหมั้นหรือแต่งงาน ญาติ ผู้ใหญ่ที่อาวุโสสูงสุดเป็นผู้ถือ 41

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ขันห้าขันแปด - ข้าวต้มผัด

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เช่ น ขั น หมากเอกครั้นเสร็จ แล้ว ใส่พานแก้วอันสุกใส (นิ. รูปทอง). ขันห้าขันแปด น. ขันที่ใส่ดอกไม้ธูป เทียน ๕ ชุด กับ ๘ ชุด ใช้ใน การท�ำพิธีกรรมอย่างใดอย่าง หนึง่ , ขันธรรม ก็วา่ , (ดู ร�ำผีฟา้ ประกอบ). ขันโอ น. ขันน�้ำขนาดใหญ่. ขาเค น. ขาเป๋, ขาเก. ขาง ก. อัง, ปิ้ง, น�ำไปใกล้ ๆ ไฟเพื่อ ให้ร้อน. ข้างนอกขรุขระ ข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง [ข่าง-นอก-คุ-คะ-ข่าง-ไน-ต๊ะติง๊ -โหฺนง่ ] (ปริศ) น. น้อยหน่า, น้อยโหน่ง. ข้างนอกประตูไม้ ข้างในประตูเหล็ก ผ้าผืนเล็กตากไม่แห้ง [ข่างนอก-ปะ-ตู-ม่าย-ข่าง-ไน-ปะตู-เล็ก-ผ่า-ผืน-เล่ก-ตาก-ไม่แห่ง] (ปริศ) ริมฝีปาก ฟัน เหงือก. ข้ า งนอกสดใสข้ า งในต๊ ะ ติ๊ ง โหน่ ง [ข่าง-นอก-ซด-ไส-ข่าง-ไนต๊ะ-ติ๊ง-โหฺน่ง] (ส�ำ) น. หน้าตา สดใสแต่ในใจขื่นขม, หน้าชื่น อกตรม. ข้างนอกสดใส ข้างในเป็นโพรง [ข่างนอก-ซด-ไส-ข่ า ง-ไน-เป็ น 42

โพง] (ปริศ) น. มะเดือ่ . ขาโชงโลง น. ขาหยั่งส�ำหรับแขวน เครื่องวิดน�้ำ เช่น กะโซ่, อุ้งพุ่ง, (ดู กระโซ่, อุ้งพุ่ง ประกอบ). ขาดปัด [ขาด-ปั้ด] ก. ขาดเสียง ดัง ปั้ด, ขาดสะบั้น, ขาดปุด ก็ว่า. ขาดปุด [ขาด-ปุ้ด] ดู ขาดปัด. ขาดพ่อถ่อหัก ขาดแม่แพแตก ขาดพ่ อ -ถ่ อ -ฮั ก -ขาด-แม่ - แพแตก] (ส�ำ) ก. แพแตก, ครอบครัวที่ขาดผู้น�ำ, ลักษณะ ที่ครอบครัว เป็นต้น แตก กระจัดกระจาย แยกย้ายกันไป เพราะหัวหน้าครอบครัวหรือผู้ ที่เป็นหลักประสบวิบัติหรือเสีย ชีวิต. ขาโถกเถก ดู โถกเถก. ข้าพระ [ข่า-พะ] น. เลกวัด, ผู้ที่สร้าง วั ด หรื อ อุ โ บสถแล้ ว ถวายตั ว เป็นข้าดูแลรักษาและรับใช้วัด. ขามทะเลสอ น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งใน จังหวัดนครราชสีมา เดิมเป็นที่ ตั้งของบ้าน ขามเพราะมี ต้นมะขามมาก ติดกับบึงทะเล สอซึ่งเป็นบึงขนาดใหญ่รอบ ๆ บึงมีดินขาว (คล้ายหินสบู่) ชาวบ้ า นน� ำ มาท� ำ เป็ น ดิ น สอ เขี ย นกระดานต่ อ มาเรี ย ก หมู่บ้านนี้ว่าบ้านขามทะเลสอ


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ขายปาก ก. เรียกค่าปรับหรือ ค่ า ท� ำ ขวั ญ ที่ พู ด ล่ ว งเกิ น หรื อ หมิน่ ประมาท, (ดู ขาย ประกอบ). ขายหน้าวันละห้าเบี้ย [ขายหน่า-วัน-ละ-ห้า-เบี้ย] ก. ขาย หน้า เช่น ก็มีแต่อับอายขาย หน้ า วั น ละห้ า เบี้ ย เป็ น แน่ แ ท้ (ท้าว ฯ). ขาลาก ว. อาการที่เดินเหนื่อยล้าจน ต้องลากขาเดิน. ขาวกรุ [ขาว-กุ๊] ว. ขาวโพลน. ข้าวขี้หมา [เข่า-ขี่-หฺมา] น. ข้าวเม่าที่ ต� ำ ติ ด กั น เป็ น ก้ อ นมี ก ากปน คล้ายขี้หมา. ข้าวแข็ง [เข่า-แข็ง] น. ข้าวสวย, ข้าวเจ้าที่สุก. ข้าวครูด [เข่า-คูด] น. อาหารเด็ก ทารกโดยน�ำกล้วยมาครูดหรือ ขูดแล้วบดให้ละเอียดแทนข้าว, กล้วยครูด ก็ว่า. ข้าวค�่ำ [เข่า-ค�่ำ] น. อาหารมื้อเย็น. ข้าวซ้อมมือ [เข่า-ซ่อม-มือ] น. ข้าวสาร ทีต่ ำ� ด้วยครก. ข้าวดัง [เข่า-ดัง] น. ข้าวตัง, ข้าวสุก ทีต่ ดิ เป็นแผ่นเกรียมอยูก่ น้ หม้อ หรือก้นกะทะ. ข้าวต้มผัด [เข่า-ต้ม-พัด] น. ข้าวต้ม ปัด, ขนมท�ำจากข้าวเหนียวปรุง ด้วยกะทิ ห่อใบตองทาน�ำ้ มันหมู

เมื่ อ ยกฐานะเป็ น อ� ำ เภอจึ ง ใช้ นามนี้. ขามสะแกแสง น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งใน จังหวัดนครราชสีมา โดยน�ำ เอาชื่อ ๒ หมู่ บ้านมาตั้งเป็น ชื่ออ�ำเภอ คือ บ้านขามกับ บ้านสะแกแสง. ขาย ๑. ก. เรียกค่าปรับหรือค่า ท�ำขวัญ ที่ล่วงเกินหรือหมิ่น ประมาท; ค่าปรับหรือค่าท�ำ ขวัญอาจเป็นเงิน สิ่งของหรือ ท�ำให้อยู่ในสภาพเดิม เป็นต้น เช่ น ผู ้ ช ายไปแตะต้องตัว ผู้ หญิงจึงถูกขาย, สัตว์เลี้ยงไป ท�ำลายข้าวของคนอื่นเจ้าของ สัตว์จึงถูกขาย. ๒. ก. เป็ น การปรับเมื่อทาย ปริศนาไม่ได้ ก็จะถูก “ขาย” โดยคนตั้งค�ำถามจะพูดให้คน ทายยอมรับในเงือ่ นไข ถ้ายอมรับ จึ ง จะเฉลย เช่ น เมื่ อ ทาย ปริศนาไม่ถูก คนตั้งค�ำถามจะ พูดว่า “งั้นต้องขาย ขายตั้งแต่ นี่ ไ ปถึ ง ทะเลได้ เ มี ย ขาเป๋ เ อา มัย้ ” ข้อความการขายเปลีย่ นไป ตามที่ ต ้ อ งการเพื่ อ ความ สนุกสนาน. ขายขี้เท่อ [ขาย-ขี่-เท่อ] ก. แสดงความโง่ออกมา (ปล่อยไก่). 43

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ข้าวต้มมัด - ข่าววอ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เพื่อให้ดูน่ารับประทานแล้วนึ่ง ให้สกุ . ข้าวต้มมัด [เข่า-ต้ม-มั่ด] น. ข้าวต้ม ๒ อันมัดติดกัน. ข้าวต้มสองกลีบ เม็ดลีบอยู่ข้างใน [เข่า-ต้ม-สอง-กีบ-เม่ด-ลีบอยู่-ข่าง-ไน] (ปริศ) น. อวัยวะ เพศหญิง. ข้าวตอกแตก [เข่า-ตอก-แตก] น. ข้าวตอก, ข้าวทีค่ วั่ แล้วแตกออก จากข้าวเปลือกบานเป็นดอก. ข้าวเตี๋ยว [เข่า-เตี๋ยว] น. ก๋วยเตี๋ยว. ข้าวทรามมะขามดก [เข่า-ซาม-มะขาม-ด๊ก] (ส�ำ) ว. บ่งบอกถึง ความแห้งแล้งไม่สามารถท�ำ นาได้; เชื่อกันว่าปีไหนที่ท�ำนา ไม่ได้ผลมะขามมักจะดก. ข้าวน�ำ้ ช�ำ่ ปลา [เข่า-น่าม-ช�ำ่ -ปา] (ส�ำ) น. ข้าวปลาอุดมสมบูรณ์; ท�ำนอง เดียวกับในน�ำ้ มีปลาในนามีขา้ ว, ข้าวเหลือเกลืออิม่ เช่น เงินทอง เสือ้ ผ้า ข้าวน�ำ้ ช�ำ่ ปลา อาหารสิง่ ใด ยังค่อยบริบรู ณ์ (นิ.กุศราช). ข้าวเบือ [เข่า-เบือ] น. ข้าวสารคัว่ ต�ำให้ ป่นใช้ประกอบอาหาร เช่น ลาบ. ข้าวปัดลาน [เข่า-ปั๊ด-ลาน] น. ข้าว เปลื อ กที่ ต กหล่ น หรื อ หลง เหลื อ หลั ง จากการเก็ บ เมื่ อ ตีข้าวหรือนวดข้าวที่ลาน โดย 44

กวาดเอามาฝัดแยกดินออก. ข้าวป่า [เข่า-ป่า] น. ข้าวที่น�ำไปกิน ระหว่างพักในป่า ; ข้าวที่น�ำไป เรียกว่า เข่าผอก, (ดู เข่าผอก ประกอบ). ข้าวปาด [เข่า-ปาด] น. ขนมชนิดหนึง่ คล้ายขนมเปียกปูน ท�ำจากแป้ง ข้ า วเจ้ า กวนพอสุ ก ได้ ที่ จึ ง ใส่ น�ำ้ ตาล จากนัน้ น�ำมาใส่ภาชนะ เช่น ถาด แล้วปาดเป็นชิน้ ตาม ต้องการ. ข้าวเปียก [เข่า-เปียก] น. ข้าวต้ม (ข้าวที่ต้มใส่น�้ำให้สุก). ข้าวโป่ง [เข่า-โป่ง] น. ข้าวเกรียบว่าว, ถิ่นอีสานใช้ว่า เข้าเขียบ. ข้าวโป่ง

ข้าวผอก [เข่า-ผอก] น. ข้าวที่ห่อด้วย ใบตอง หรือใส่กระบอกเพื่อน�ำ ไปกินระหว่างทาง เช่น ได้ข้าว ผอกในกระบอกแล้วไคลคลา (นิ.พระปาจิต), ข้าวพอก ก็ว่า,


พจนานุกรม ภาษาโคราช (ดู ข้าวป่า ประกอบ). ข้าวพอก [เข่า-พอก] ดู ข้าวผอก. ข้าวแพะ [เข่า-แพะ] น. อาหารชนิดหนึง่ มีลักษณะเป็นข้าวต้มปรุงด้วย ฟักทอง, ยอดฟักทอง, บวบ, แตงโมอ่อน, หน่อไม้, ยอดต�ำลึง, ใบโหระพา, ข้าวโพดอ่อน, เนือ้ หมู เป็นต้น. ข้าวโพดแอ้ [เข่า-โพด-แอ้] น. ข้าวโพด ฝักอ่อนเล็กขนาดเท่านิว้ โป้งมือ ใช้ผดั หรือต้มจิม้ . ข้าวมันส้มต�ำ [เข่า-มัน-ส่ม-ต�ำ] น. อาหารพื้ น บ้ า นโคราชมี ข ้ า ว สารหุงด้วยกะทิรับประทานกับ ส้มต�ำ ส้มต�ำสมัยก่อนใส่ขงิ และ ปลาฉลาดป่น. ข้าวเม็ดละหม้อกอละเกวียน [เข่าเม่ด-ล่ะ-หม่อ-กอ-ล่ะ-เกียน] (ส�ำ) น. ข้าวอุดมสมบูรณ์ เม็ด โตรวงโต. ข้ า วเม่ า โปร [เข่า -เหฺม่า -โป] น. ข้าวเม่าที่ท�ำจากข้าวเจ้าที่พ้น จากเป็นข้าวน�้ำนม น�ำมาคั่ว แล้ ว ใส่ ค รกต� ำ จะมี เ สี ย งแตก ดั ง โปร๊ ะ จึ ง เรี ย กว่ า “เข่ า เหม่าโปร”. ข้าวเม่าสารท [เข่ า -เหฺม่า -สาด] น. กระยาสารท, พะยาสารท ก็ว่า. ข้าวเม่าอ่อน [เข่ า-เหฺม่า -อ่อ น] น.

ข้าวเม่าที่เป็นข้าวเหนียว. ขาวยังกะหยวกต้มน�้ำร้อน [ขาว-ยังก๊ะ-หฺยวก-ต้ม-น่าม-ล่อน] ว. ขาวอมด�ำ. ข้าวย�่ำ [เข่า-ย�่ำ] น. ข้าวสวยที่เคี้ยว ให้แหลกหรือน�ำข้าวมาบดผสม กั บ กล้ ว ยสุ ก เพื่ อ เป็ น อาหาร เด็กแรกเกิดหรือเด็กอ่อน. ข้าวเย็น [เข่า-เย็น] ๑. น. ข้าวสุกหรือ ข้าวสวยที่เหลือข้ามมื้อ ข้าม วันแล้วน�ำ มารับประทานโดย ไม่อุ่นหรือท�ำให้ร้อนเสียก่อน. ๒. อาหารมื้อเย็น. ข้าวรวงกูด [เข่า-ลวง-กูด] น. ข้าว รวงหงิกงอ. ข้าวร้อนแกงร้อน [เข่า-ล่อน-แกง-ล่อน] (ส�ำ) ก. ท�ำการใดเมือ่ เวลาจวน ตัว ต้องท�ำอย่างรีบร้อน. ข้าวเรีย่ [เข่า-เลีย่ ] น. ข้าวทีต่ กเรีย่ ราด. ข้าวเรียงเม็ด [เข่า-เลียง-เม่ด] ว. ช่วงเวลาข้าวหรืออาหารย่อย; ขอเวลาพั ก เพื่ อ ให้ ข ้ า วหรื อ อาหารย่ อ ยเสี ย ก่ อ นจึ ง จะท� ำ ภารกิจ. ข้าวไร่ [เข่า-ไล่] น. ข้าวที่ปลูกใน พื้นที่ที่สูง เช่น โคก. ข่าววอ น. เพลงสรรเสริญพระบารมี มาจากเนือ้ เพลงทีว่ า่ “ข้าวรพุทธ เจ้า….” 45

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ขาวว่อก - ขี้ตู่กลางนา

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ขาวว่อก ว. ขาวมาก, ขาวผ่อง. ข้าวหนม [เข่ า -หฺนม] น. ขนม เช่น ตัวเจ้าเหมือนข้าวหนม ท�ำสมมม ขโมยมา (นิ.รูปทอง). ข้าวหม้อแกงหม้อ [เข่า-หม่อ-แกงหม่อ] น. อาหารที่น�ำมาร่วม ตามก�ำลังความสามารถ. ข้าวหัวหม้อ [เข่า-หัว-หม่อ] น. ข้าวปาก หม้อ, ข้าวทีห่ งุ อยูส่ ว่ นบนสุด. ข้าวเหนียวหัวหงอก [เข่า-เหฺนียวหัว-หฺงอก] น. ขนมชนิดหนึ่ง ท� ำ ด้ ว ยข้ า วเหนี ย วโรยหน้ า ด้วยมะพร้าวขูด. ขาหมู ่ น. เพื่ อ น, คู ่ ข า, (ดู หมู ่ ประกอบ). ขาหย่าง ดู โถกเถก. ขาหลีกหนาม น. ลักษณะการเดินที่ เข่ า ทั้ ง สองชนกั น หรื อ หนี บ เข้าหากัน. ขิ [คิ] ว. ค�ำประกอบหน้าค�ำอื่น หมาย ความว่า กี่, เท่าไร เช่น คิวัน, คิเดือน, ขี่ ก็ว่า เช่น สักขี่ปีเล่า พ่อเจ้าเมียเอย สักขี่วันเลย เราจะพบกัน (นิ.รูปทอง). ขิเดือน [คิ-เดือน] ว. กี่เดือน, (ดู ขิ ประกอบ). ขิปีขิวัน [คิ-ปี-คิ-วัน] ว. กี่ปีกี่ วัน เช่น นับวันนับปี ตั้งแต่วัน นี้ สักขิปีขิวัน จะได้มาเห็น (นิ. 46

รูปทอง). ขิวัน [คิ-วัน] ว. กี่วัน, (ดู ขิ ประกอบ). ขี้กระทา [ขี่-กะ-ทา] น. ขี้ กระทาเกลือ, ขี้ทา; คราบเกลือ ที่ ผุ ด แห้ ง เกรอะตามผิ ว ดิ น , กระทาเกลือ ก็ว่า. ขี้กลาก [ขี่-กาก] (ปาก) ว. ค�ำบริภาษ หรือปรามาสท�ำนองว่าไม่มีค่า ไม่มีน�้ำยาหรือไม่มีราคา. ขีก้ ลาด [ขี-่ กาด] ก. ขีข้ ลาด, ขลาด, กลัว. ขี้ก๋วง [ขี่-ก๋วง] น. ขนมบัวลอย. ขี้กองใหญ่ให้เด็กน้อยเห็น [ขี่-กองไหย่-ไห่-เด๊ก-น่อย-เห็น] (ส�ำ) ก. ท�ำสิ่งที่ไม่สมควรให้ผู้น้อย เห็น. ขี้กะโลก [ขี่-กะ-โลก] น. น�้ำคร�ำ, น�้ำ โสโครก, โคลน, ดินเปียก เหลว, ขี้ละโลก ก็ว่า. ขี้กะเหลด [ขี่-กะ-เหฺลด] น. เสลด, เสมหะ, เมือกที่ออกมาจากล�ำ คอ, ขี้เสลด ก็ว่า. ขี้กาลาย [ขี่-กา-ลาย] น. กระดอม, ขี้กาเหลี่ยม, ขี้กาดง ; ชื่อไม้ เถาเนื้ออ่อนชนิด Gymnopet alumcochinchinense (Lour). Kurz ในวงศ์ Cucurbitaceae เถาเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะแยก เป็น ๓ แฉก ใบใหญ่มน ดอก


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ลา] (ส�ำ) น. คนต�่ำต้อยได้ดีมี ฐานะ หรือมียศถาบรรดาศักดิ์ แล้วอวดตน. ขี้คร้านกระดานใส [ขี่-ค่าน-กะ-ดานไส] (ส�ำ) ก. นอนเกียจคร้าน, ขี้เกียจสันหลังยาว ; เปรียบได้ กั บ นอนเกี ย จคร้ า นจนพื้ น กระดานใสหรือขึ้นเงา. ขี้ง่ก [ขี่-ง่ก] ก. งก, แสดงอาการ อยากได้ หรือไม่อยากเสียจน เกินควร. ขีแ้ ง [ขี-่ แง] ก. ขีแ้ ย, ร้องไห้บอ่ ย ๆ. ขีดยา ก. ฉีดยา. ขี้ เ ดี ย ด [ขี่ - เดี ย ด] ว. รั ง เกี ย จ, ขยะแขยง. ขี้ตะปด [ขี่-ตะ-ป๊ด] ก. ปด, โป้ปด, ขี้ปด ก็ว่า. ขี้ตีน [ขี่-ตีน] (ส�ำ) ค�ำเย้ยหยันท�ำนอง ว่ามีคุณค่าน้อยนิด, ขี้ผง. ขี้ตู่กลางนา [ขี่-ตู่-กาง-นา] น. การ เล่นอย่างหนึ่ง เดิมเล่นกัน กลางทุ่งนาใกล้บ้าน ผู้เล่นนั่ง ล้อมเป็นวง ให้คนหนึ่งเป็น “ขี่ตู่” หมอบเอามือหรือผ้า ปิด ตาอยู่กลางวง คนนั่งคนหนึ่ง จะทุบหลังแต่เบา ๆ แล้วขี้ตู่ลุก ขึ้นหาคนทุบ ถ้าชี้ตัวถูกคน ๆ นั้นจะเป็นขี้ตู่แทน ถ้าชี้ผิดก็ เล่นต่อไป แต่เดิมไม่ปรากฏว่า

สีขาวอมชมพู ผลกลมขนาด ผลส้ม เมื่อสุกสีแดงเมล็ดเป็น พิษเบื่อเมา รากใช้ท�ำยาได้.

ขี้กาลาย

ขี้ก�ำปื้ด [ขี่-ก�ำ-ปื้ด] น. ก�ำพืด, (ดู ก�ำ ปื้ด ประกอบ) ขี่กุ่ง ดู กุ่ง. ขี้กุดขี้ขาด [ขี่-กุ๊ด-ขี่-ขาด] ว. ขาด, ขาดรุ่งริ่ง เช่น ผ้านุ่งห่มกุด ขาดก็จัดแจง (นิ.พระปาจิต). ขี้เกีย [ขี่-เกีย] น. ขี้เกลือ, ขี้เปียก, ขี้เผียก, คราบหมักหมมขึ้นขาว คล้ า ยขี้ เ กลื อ ในหั ว ลึ ง ค์ แ ละ หนังหุ้มอวัยวะเพศชาย. ขี้ ข ะหนึ ม [ขี่ - ขะ-หนึม] น. ขี้ส นิม, ขี้ไคล. ขี้ขาง [ขี่-ขาง] ดู ขี้ตะขาง. ขี้ตะขาง [ขี่-ตะ-ขาง] น. ขาง, ไข่แมลงวัน, ขี้ขาง ก็ว่า. ขี้ครอกเดินถะลา [ขี่-คอก-เดิน-ทะ47

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ขี้แต้ - ขี้หนอนเถา

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ร้องเพลงประกอบในขณะเล่น ภายหลั ง มี ก ารร้ อ งว่ า “ขี่ ตู ่ กลางนา ขีต่ าต๊กแก ขีม่ กู คนแก่ อรแร่อรชร ชรติ้งชร ติ้งชร ติง้ ชร”. ขี้แต้ [ขี่-แต้] น. ดินที่แตกระแหงใน ทุ่งนา, หัวขี้แต้ ก็ว่า, ถิ่นอีสาน ใช้ว่า ขี้เขิบ. ขี้แตกขี้แตน [ขี่-แตก-ขี่-แตน] ก. ขี้ แตกไหลพุ่งกระจัดกระจาย. ขี้ไต้ [ขี่-ไต้] น. ไต้, ของส�ำหรับจุดไฟ ให้สว่าง หรือเชื้อเพลิงท�ำด้วย ไม้ผุ ๆ หรือเปลือกเสม็ดคลุก กั บ น�้ ำ มั น ยาง แล้ ว ห่ อ ด้ ว ย ใบไม้ท�ำเป็นดุ้นยาว ๆ หรือใส่ กระบอก. ขี้เถ้ายัดปาก [ขี-่ เท่า-ยัด่ -ปาก] น. ฆ่า โดยเอาขี้เถ้ายัดปากตั้งแต่ยัง เป็นทารก เช่น รู่หยั่งงี่เอาขี่ เถ้ายั่ดปากแล่ว (รู้อย่างนี้ฆ่า โดยเอาขี้เถ้ายัดปากตั้งแต่ยัง เป็นทารกแล้ว). ขี้ ทั้ ก แท่ [ขี่ - ทั้ ก -แท่] น. ไส้เดือน ตั ว เล็ ก สีแ ดงอาศัยอยู่ตาม ท้องนา. ขี้ทูดคุดถัง [ขี่-ทูด-คุ่ด-ถัง] น. ขี้ทูด กุฏฐัง, โรคเรื้อน. ขี้เท่อ [ขี่-เท่อ] ๑. ว. เก่าจนสนิมขึ้น, โกโร โกโส เช่น รถ ขี่เท่อ. 48

๒. ว. สมองไม่ด,ี โง่ เช่น หัวขีเ่ ท่อ. ขี้ปด [ขี่-ป๊ด] ดู ขี้ตะปด. ขี้ประหริ่ง [ขี่-ปะ-หลิ่ง] ว. ขี้เหร่, ไม่ สวย เช่น ชั่งมายอยิ่ง อีเฒ่าขี้ ประหริ่ง ท�ำหยิ่งนักหนา (นิ.รูป ทอง). ขี้ปอ [ขี่-ปอ] น. กากปอ, เปลือกปอที่ ลอกออกจากล�ำต้น. ขี้ปะติ๋วหลิว [ขี่-ปะ-ติ๋ว-หฺลิว] ว. เล็ก น้อย, ไม่ส�ำคัญ, ขี้ผง, ขี้ปะติ๋ว. ขี้เป็ด [ขี-่ เป๊ด] น. ขี้ผง, เล็กน้อย, ไม่ ส�ำคัญ. ขี้ผึ้ง [ขี่-ผึ่ง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Chrysophyllum roxburghil G. Don ในวงศ์ Sapotaceae, บางถิ่นเรียก หัวเต่า. ขี้ฝอยหมอยบ้า น. ขยะมูลฝอย.

ขี้พระร่วง

ขี้พระร่วง [ขี่-พะ-ล่วง] น. ชื่อไม้ต้น ชนิด Celtis timorensis Span ในวงศ์ Ulmaceae ใบเดี่ยว รูปไข่ ดอกเล็กออกเป็นช่อสัน้ ๆ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ขี้แมงวัน [ขี่-แมง-วัน] น. ไฝ, จุดหรือ เม็ดเล็ก ๆ สีด�ำหรือแดงขึ้นอยู่ ตามตัว. ขี้ระเก็ด [ขี่-ล่ะ-เก๊ด] น. สะเก็ด, ชิ้น ย่อยที่หลุดออกมาจากชิ้นใหญ่. ขี้ละโลก [ขี่-ล่ะ-โลก] ดู ขี้กะโลก. ขี้ ส บร่ อ ง [ขี่ - ซบ-ล่ อ ง] ว. ฟลุ ก , บังเอิญ, สบจังหวะ, สบโอกาส, ไม่ตั้งใจหรือคาดหมายมาก่อน, สบร่อง ก็ว่า, ถิ่นอีสานใช้ว่า ขี่ถืกปอง. ขี้สีก [ขี่-สีก] น. น�้ำคร�ำ, น�้ำโสโครก, น�้ำเน่า โดยปริยายหมายถึง น�้ำคร�ำ บริเวณใต้ถุนบ้านตรง ชานที่ตั้งโอ่งน�้ำ. ขี้ สู ด [ขี่ - สู ด ] (ส� ำ ) ว. ค� ำ พู ด ที่ ดู แ คลนท� ำ นองว่ า ไม่ มี น�้ ำ ยา, ไม่ มี ค วามสามารถในทางใด ทางหนึ่ง, ไม่มีสติปัญญาตาม ความสามารถ. ขี้เสลด [ขี่-สะ-เหฺลด] ดู ขี้กะเหลด. ขี้หนอน [ขี่-หฺนอน] น. หนอนที่อยู่ใน อาหารประเภทหมักดอง เช่น ฝูงชนจะลือชา เหมือนหนึ่งปร้า เป็นขี้หนอน (นิ.รูปทอง). ขี้หนอนเถา [ขี่-หฺนอน-เถา] น. ถั่ว แปบชนิด Agakia sericea Craaib ในวงศ์ Leguminos ae. ดอกสีม่วง ฝักแบน.

ผลรูปไข่ ใช้ปรุงเป็นยาขับพยาธิ ไส้เดือน นักพฤกษศาสตร์เรียก แก้ ง ขี้พ ระร่ว ง, มันปลาไหล ก็ ว ่ า. ขี้มอด [ขี-่ มอด] น. ขี้หนอน; ไม้ยืนต้น ขนาดกลางชนิด Zollingeria dongnaiensis Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึน้ ตามป่าโปร่ง เปลือกสีน�้ำตาลอ่อน ล�ำต้นมี หนามประปราย ใบอ่อนและ ดอกเป็นพิษอย่างแรง ผลแก่ จัดจะมีสีเหลือง เปลือกใช้เป็น ยาแก้หวัดคัดจมูก.

ขี้มอด

ขี่ม้าเลียบค่าย [ขี่-ม่า-เลียบ-ค่าย] (ปาก) ว. อ้อมค้อม, ไม่ตรง ประเด็น, เลียบ เคียง. ขี้มิ้น [ขี่-หมิ่น] น. ขมิ้น. ขี้มูกราขี้ตาเขลอะ [ขี่-มูก-ลา-ขี่-ตาเข้อะ] น. หน้าตามอมแมมมี ขี้มูกขี้ตาแห้งติดอยู่, ขี้มูกขี้ตา เกรอะกรัง. 49

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ขี้หมากเปียก - เข

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ขี้หมากเปียก [ขี-่ หมาก-เปียก] น. ชื่อ ไม้ต้นผลัดใบ ชนิด Anogeis susacuminata Wall. var. Ianceolata ในวงศ์ Com bretaceae เรือนยอดเป็นพุ่ม เปลื อ กต้ น สี น�้ ำ ตาลแกมเทา ใบเดี่ยวรูปหอก ดอกเล็ก ๆ สี เหลื อ งออกตามง่ า มใบผล ขนาดเล็ ก ค่ อ นข้ า งสี่ เ หลี่ ย ม นั ก พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร ์ เ รี ย ก ตะเคียนหนู, หมากเปียก ก็ว่า.

ขี้หมากเปียก

ขี้หมู [ขี่-หมู] น. ขี้ครอก, ไม้พุ่มขนาด เล็กชนิด Urena lobata L. ใน วงศ์ Malvaceae จัดอยู่ใน จ�ำพวกมะเขือ ดอกสีชมพูหรือ แดงแกมขาว ผลมีขน ใบใช้ต้ม จิ้มได้ แก้ไอ ไตพิการ รากต้ม เป็นยาเย็นถอนพิษไข้. ขี้หยอด [ขี่-หยอด] น. อุจจาระที่ออก มาคราวละน้อย ๆ. ขี้หัว [ขี่-หัว] น. ขี้รังแค. 50

ขีเ้ หล็กสาร [ขี-่ เล็ก-สาน] น. ชือ่ ไม้ตน้ ชนิด Cassia garrettiana Craib ในวงศ์ Leguminosae คล้ายต้นแสมสาร แก่นใช้ทำ� ยา ได้, ถิน่ เหนือเรียก ขีเ้ หล็กป่า. ขี้อ้น [ขี่-อ้น] น. ชื่อพืชล้มลุกชนิด Helicteres obtusa Wall., H. angustifolia Linn. ในวงศ์ Sterculiaceae มีขนทั้งต้น และใบ ใบเดี่ยวรูปไข่ ดอกออก ตามง่าม ผลคล้ายดอกบัวตูม ขนาดเล็ก รากใช้แก้ร้อนใน แก้พิษ นักพฤกษศาสตร์เรียก ขี้ตุ่น, เขากี่น้อย ก็ว่า. ขี้แอค [ขี่-แอ่ค] ก. เก๊ก, วางท่า น่าหมั่นไส้, ยียวนกวนประสาท, (อ. act) ขึ้น [ขึ่น] ว. การเริ่มต้นการเล่น เช่น สะบ้า หึ่ง ตี่ เป็นต้น, (ดู สีบ้า สีรอย ประกอบ). ขึ้นเพลง [ขึ่น-เพลง] น. การ โอ่ก่อนร้องเพลงโคราช, การ ขึ้นเพลงมี ๔ ลักษณะ คือ ๑) การโอ่เต็ม. ๒) การโอ่สั้น ๆ. ๓) การไม่โอ่แต่ร้องกลอน เพลงเลย. ๔) เอาค�ำท้ายของกลอนที่ อีกฝ่ายร้องจบมาขึ้นต้น.


พจนานุกรม ภาษาโคราช ขึ้ น กกไม้ ช ่ ว ยแรงกะถา [ขึ่ น -ก๊ ก ม่าย-ช่วย-แลง-กะ-ถา] (ส�ำ) ควรช่วยเหลือตัวเองด้วย อย่า มัวแต่หวังพึ่งคนอื่น หรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์แต่เพียงอย่างเดียว. ขึ้นกุ่ง [ขึ่น-กุ่ง] ดู กุ่ง.

ต้นเล่นใหม่. ขึ้ น ปล่ อ ง [ขึ่ น -ป่ อ ง] ก. การเผา เครื่องปั้นดินเผาช่วงที่ ๓ โดย เร่งไฟในเตาให้อุณหภูมิสูงขึ้น จนเป็ น สี แ ดง เป็ น ขั้ น ตอน ทีต่ อ่ จากขัน้ อุดเตา, เร่งไฟ ก็วา่ , (ดู ลุ่ม, อุดเตา, เตาทุเรียง ประกอบ). ขึ้นใหม่ [ขึ่น-ไหม่] น. เริ่มจะเป็นหนุ่ม เป็นสาว, วัยรุ่น, วัยแรกรุ่น, วัยกระเตาะ, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่ม เนื้อสาว, เพิ่งจะขึ้นหนุ่มขึ้นสาว เช่น เป็นสาวขึ่นใหม่ (เพิ่งเป็น สาว). ขืน ก. ตรึง, ท�ำให้อยู่คงที่ เช่น ขืนไว่ (ตรึงไว้). ขื่อหลื่อ ว. ด�ำสนิท, ด�ำปืน, ด�ำปี๋. ขุดบ่อหลา [คุด-บ่อ-หฺลา] ก. ขุดดิน จากบ่อหลาไปท�ำถนน, (ดู บ่อหลา ประกอบ). ขุนไม้ [ขุน-ม่าย] ดู พญาใต้ราก.

ขึ้นกุ่ง

ขึ้นขื่อ [ขึ่น-ขื่อ] น. การเล่นอย่าง หนึ่ง แบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่ายเท่า ๆ กัน ขีดเส้นเป็นรูป สี่ เ ห ลี่ ย ม ผื น ผ ้ า แ บ ่ ง เ ป ็ น ตารางห่างกันพอควร (คล้าย ตากระโดด) พวกหนึ่งจะแยก กันยืนตามมุมของตาราง ๆ ละคน (ห้ามเคลื่อนที่) อีกพวก จะวิ่งไปตามเส้นตารางโดยไม่ ให้ ค นที่ มุ ม ตารางแตะตั ว ได้ ถ้าถูกแตะคนหนึ่งฝ่ายนั้นก็จะ เป็นฝ่ายไปยืนมุมแทน ถ้าทุก คนสามารถ “ขึ้นขื่อ” (ผ่าน ตลอด) ได้ก็จะชนะ แล้วเริ่ม

ขุนไม้

เข ๑. ก. เฉ, เหไป, ตาเหล่, ตาเอียง, 51

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เข่งเหล่ง - เข้าฝักมะขาม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เช่น ตาเข. ๒. น. แกแล, กะแล; ไม้พุ่มรอ เลื้อยเนื้อแข็งชนิด Maclurac ochinchinensis (Lour.) Corner ในวงศ์ Moaceae ขึ้นใน ป่าดิบ ต้นมีหนาม แก่นเหลือง ใช้ย้อมผ้าและท�ำยาได้. เข่งเหล่ง ว. เอียงกระเท่เร่. เข็ดหลาบตะขาบตอด [เค็ด-หลาบตะ-ขาบ-ตอด] ก. กลัวจนไม่ กล้าท�ำเช่นนั้นอีก เพราะเคยได้ รับผลร้ายมาแล้ว, เข็ดจนฝังใจ, เข็ดขีแ้ ก่ขอี้ อ่ น. เข่น น. เอามีดที่ทื่อมาลับให้คม. เขม็ง [ขะ-เหฺม็ง] ๑. ก. ขยัน, เขม็ง เกลียว ก็ว่า. ๒. ก. ฟั่น, ท�ำให้เป็นเกลียว เช่น ฟั่นเชือก. เขม็งเกลียว [ขะ-เหฺมง็ -เกียว] ดู เขม็ง. เขม่น [ขะ-เหฺม่น] ก. ขะมักเขม้น. เขมรเหน็บ [ขะ-เหฺมน-เน้บ] ว. เอา ชายผ้าลอดหว่างขาเหน็บข้าง หลังเอว, กระเบนเหน็บ ก็ว่า. เขย็ก ๆ [ขะ-เย็ก-ขะ-เย็ก] ก. เขยก; อาการที่เคลื่อนไปในลักษณะที่ ขาหรือเท้าเคลื่อนไปทีละน้อย ด้วยความล�ำบากหรือไม่ถนัด. เขย่งเกงกอย [ขะ-เหฺย่ง-เกง-กอย] 52

๑. ก. เขย่ง, กระโดดตีน เดียว. ๒. น. การเล่นอย่างหนึ่ง ให้ ผู ้ เ ล่ น นั่ ง ล้ อ มกั น เป็ น วงกลม แล้วร้องพร้อมกันว่า “เขย่ง เกงกอย งัวกินอ้อย จั๊บใส่คุก เหล่าสองไห กระเทียมสองหัว ไก่สองตัว เห็นงัวข้าเบิ้งมั้ย” ให้คนหนึ่งเขย่งเกงกอย คือ กระโดดตี น เดี ย วไปรอบวง คนนั่ ง ล้ อ มวงถามพร้ อ มกั น ว่า “งัวตัวไหน” คนเขย่ง เกงกอยจะไปยังคนที่นั่งคนใด คนหนึ่งแล้วชี้ไปพร้อมกับพูด ว่า “งัวตัวนี่” คนถูกชี้จะต้อง รีบลุกขึ้นหนี ถ้าหนีไม่ทันจะ ถู ก ตี แ ละก็ จ ะมาเป็ น คนเขย่ ง แทน ถ้าไม่ถูกตีก็จะวิ่งรอบ วงกลั บ มานั่ ง ลงที่ เ ก่ า แล้ ว เล่นต่อไป. เขย็บ [ขะ-เย็บ] ก. ขยับ, เขยิบ, กระเถิบ. เขยิ่ง [ขะ-เหฺยิ่ง] ก. เคลื่อนไปด้วย ปลายเท้าข้างหนึ่ง, พยุงตัวให้ สูงขึ้น. เขลาใจ [เขฺลา-ใจ] ว. ไม่ดลใจ, มีเหตุ อันไม่ให้คดิ ไม่ให้ทำ� , นึกคิดไม่ทนั , ถิน่ อีสานใช้วา่ เขลา หมายถึง ไม่รเู้ ท่าทัน, โง่.


พจนานุกรม ภาษาโคราช เข้ากรรม [เข่า-ก�ำ] ๑. ก. เข้า ปริวาสกรรม, อยู่ค้างคืนเพื่อ รักษาศีลเจริญภาวนา. ๒. น. การเข้าพิธีกรรมใน โบสถ์ของหมอเพลง (ชาย) เป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน โดย วั น แรกต้ อ งท� ำ น�้ ำ มนต์ ไ ว้ ดื่ ม กิน พริกไทย ๑,๐๐๐ เม็ด เชื่อว่าจะท�ำให้เกิดสติปัญญา ป ฏิ ภ า ณ ไ ห ว พ ริ บ แ ล ะ สุ ้ ม เสียงดีในการว่าเพลง (ร้อง เพลงโคราช) ในระหว่าง ๗ วั น ห้ า มว่ า เพลงโดยเด็ ด ขาด เพราะจะท�ำให้กรรมแตก ซึ่ง ถ้ า ใครกรรมแตกจะมี อั น เป็ น ไปอย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง หรื อ ไม่ ก็เป็นบ้า อีกประการผู้เข้า กรรมจะต้อง หาไก่ตัวผู้สีขาว เรียกว่า “ไก่ชี” เอาไว้ เสี่ยงทาย ถ้าไก่ร่าเริงหมอ เพลงผู ้ นั้ น จะมี ชื่ อ เสี ย งเป็ น ที่ ชื่นชอบของคนฟัง ถ้าไก่ดู หงอยเหงาซึ ม เซาหมอเพลง ผู้นั้นจะไม่ประสบความส�ำเร็จ ในอาชีพหมอเพลง. เข้ากันครึบ [เข่า-กัน-คึ่บ] ว. เข้ากัน เป็นปี่เป็นขลุ่ย, เข้ากันได้ดี, ถูกคอกัน, ครึบ ก็ว่า. เขากี่น้อย [เขา-กี่-น่อย] ดู ขี้อ้น.

เข้าครัวเอามีดตัดหัว น�้ำตาร่วงเผาะ [เข่า-คัว-เอา-มีด-ตั๊ด-หัว-น่า ม-ตา-ล่วง-เพาะ] (ปริศ) น. หัวหอม. เข้าทางกรอกออกทางถะลา [เข่าทาง-กอก-ออก-ทาง-ถะ-ลา] (ส�ำ) ก. เข้าทางตรอกออกทาง ประตู, ท�ำตามธรรม เนียม. เข้าผี [เข่า-ผี] ดู เล่นเข้าผี. เข้าผีนางกระด้ง [เข่า-ผี-นาง-กะ-ด้ง] ดู เล่นเข้าผีนางกะโหลก. เข้าผีนางกะโหลก [เข่า-ผี-นาง-กะโหฺ ล ก] ดู เล่ น เข้ า ผี น าง กะโหลก. เข้าผีนางครก [เข่า-ผี-นาง-ค่ก] ดู เล่นเข้าผีนางกะโหลก. เข้าผีนางด้ง [เข่า-ผี-นาง-ด้ง] ดู เล่น เข้าผีนางกะโหลก. เข้าผีนางสาก [เข่า-ผี-นาง-สาก] ดู เล่นเข้าผีนางกะโหลก. เข้าผีแม่สี [เข่า-ผี-แม่-สี] ดู เล่นเข้าผี นางกะโหลก. เข้าฝัก [เข่า-ฟัก้ ] ๑. (ส�ำ) ก. เข้าหม้อ, ลืมวิชาที่เรียนมา. ๒. น. เมล็ดข้างในของผลไม้ บางชนิดแข็ง เช่น มะม่วง. เข้าฝักมะขาม [เข่า-ฟัก-มะ-ขาม] น. การใส่ก�ำหรือซี่ล้อเกวียนจาก ดุ ม ซึ่ ง เป็ น ศู น ย์ ล ้ อ ไปยั ง ขอบ 53

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เข้าโมย - แข็งเพาะ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

วงล้อ. เข้าโมย [เข่า-โมย] น. ขโมย, ผู้ลัก ทรัพย์; ก. ลักขโมย เช่น ตัว เจ้าเหมือนข้าวหนม ท�ำสมมม เข้าโมยมา (นิ.รูปทอง) เข่ารั้ว น. รั้ว, คอกรั้ว, ขะรั้ว ก็ว่า. เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา [เข่า-หู-ซ่าย-ทะลุ-หู-ขวา] (ส�ำ) ก. บอกสอน เท่าไรก็ไม่จดจ�ำ. เขิก ก. เขก, งอนิ้วแล้วเคาะลงไป อย่างแรง. เขิน ว. ตื้นเขิน. เขียงนา น. กระท่อม, กระต๊อบ, โรง หรื อ เพิ ง ขนาดเล็ก ปลูกไว้ ตามทุ ่ ง นาเพื่ อ พั ก ชั่ ว คราว, กระท่อมนา ก็ว่า, ถิ่นอีสานใช้ ว่า เถียงนา.

เขียงนา

เขียดขาค�ำ น. เขียดชนิดหนึ่งตัวเล็ก สี ค ล�้ ำ ค่ อ นท้ อ งสี เ หลื อ ง กระโดดได้ไกล, อีโด่น ก็ว่า. เขียดขาลาย น. เขียดชนิดหนึ่งตัวเล็ก ล� ำ ตั ว ลาย กระโดดได้ ไ กล 54

นิยมรับประทาน, เขียดโม่ ก็วา่ . เขียดจิก [เขียด-จิ๊ก] น. เขียดชนิด หนึ่งตัวสีเขียว ขายาว ชอบอยู่ ตามสระ, ห้วย, หนองหรือบน ใบบัว, เขียดบัว ก็ว่า. เขียดทราย น. เขียดชนิดหนึ่งตัวเล็ก เท่าปลายนิ้วก้อย สีน�้ำตาล อาศัยอยู่ตามดินทราย ใช้เป็น เหยื่อใส่เบ็ด. เขียดบัว ดู เขียดจิ๊ก, ถิ่นอีสานเรียก เขียดโม้. เขียดโม่ ดู เขียดขาลาย. เขียดลื่น น. เขียดชนิดหนึ่งตัวเล็กเท่า ปลายนิ้วก้อย ตัวเป็นเมือก. เขี่ยน ก. กรีด, ขูดให้เป็นเส้น ๆ (ใช้แก่ หน่อไม้). เขี่ยนหมาก น. เชี่ยนหมาก, ภาชนะ ส�ำหรับใส่หมากพลู. เขียม ก. ประหยัด, ตระหนี่. เขียว ว. ขวับ, เสียงอย่างฟาดด้วยไม้ เรียว เช่น สะบัดหวายง่อนแง่น อกแน่นตึง โลดทะลึง่ เสียงเขียว เหลียวดูกัน, เสียงสนั่นเขียว ขวับสับทัง้ ตัว (สุภมิต ฯ). เขี่ยว ก. งอแง, ออดอ้อน, เซ้าซี้ใน ลั ก ษณะเคี่ ย วเข็ ญ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ตามที่ต้องการ (มักใช้แก่เด็ก). เขียวชะอุ่มพุ่มไสว ไม่มีใบมีแต่เม็ด [เขียว-ชะ-อุม่ -พุม่ -สะ-ไหฺว-ไม่-


พจนานุกรม ภาษาโคราช มี-ไบ-มี-แต่-เม่ด] (ปริศ) น. ฝน. เขียวละลึบ ว. เขียวขจี เช่น เข่าเขียว ละลึบเต็มท่ง (ต้นข้าวเขียวขจี เต็มทุ่ง). เขี ย วเหมื อ นพระอิ น ทร์ บิ น เหมื อ น นก ศรปักอกจะว่านกก็ไม่ใช่ [เขียว-เหฺมือน-พะ-อิน-บินเหฺมือน-น่ก-สอน-ปั๊ก-อ๊ก-จะว่า-น่ก-ก็-ไม่-ไช่] (ปริศ) น. แมลงทับ. เขียวอื๋อ ว. เขียวเข้ม, เขียวมาก. เขียวอื๋อหลือ ว. เขียวเข้มจัด, เขียว มากเกินปกติ. เขื่องปล้องสั้น [เขื่อง-ป้อง-สั่น] น. ชื่ อ ไม้ เลื้ อ ย ช นิ ด Smila xperf เขื่องปล้องสั้น oliata Lour ในวงศ์ Smila caceae เถากลมมีหนามโค้งประปราย ใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมมี มือพัน, นักพฤกษศาสตร์เรียก ก�ำลังความถึก. เขื่อน น. รั้วกั้น, เครื่องล้อมเป็นแนว เขต, คอกกั้นสัตว์ เช่น วัว, ควาย ท� ำ ด้ ว ยท่ อ นไม้ ห รื อ ต้นไม้ทั้งล�ำต้น วางยาวมีง่าม

ไม้รองรับเป็นทอด ๆ.

เขื่อน

เขื่อมขึม ๑. ว. เขือม, แข็งแรง เช่น มี คู ล ้ อ มก� ำ แพงนั้ น เขื่ อ มขึ ม (นิ.พระปาจิต). ๒. ว. ขรึ ม , นิ่ ง เฉยอย่ า ง ตรึกตรอง. แข่ง ก. กร�ำ, ฝ่า, ประชัน. แข่งแดด ก. กร�ำแดด, ประชัน แดด เช่น เดินแข่งแดดมา (เดินกร�ำแดดมา). แข่งฝน ก. กร�ำฝน, ประชัน ฝน, ฝ่าสายฝน เช่น วิ่งแข่งฝน มา (วิ่งประชันกับฝนมา). แข็งกะเด๊ก ว. แข็งมาก, แข็งเป๊ก. แข็งจ๊กด๊ก ว. แข็งมาก, แข็งเป๊ก. แข็งจังงัง ว. แข็งกระด้าง. แข็งจ่างกร่าง ว. แข็งทื่อ. แข็งโด่ ว. แข็งตัว (ใช้แก่อวัยวะเพศผู)้ . แข็ง ๆ แทงหว่างขา (ปริศ) น. จูง กระเบน; ม้วนผ้าแล้วสอดเข้า หว่างขาเพื่อจูงกระเบน. แข็งเป๊ก ว. แข็งมาก. แข็งโป๊ก ว. แข็งมาก. แข็งเพาะ ดู 55

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แข้น - ไขว่เขเตนัง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เพาะแพะ. แข้น [แข่น] ว. ลักษณะ ของเหลว ทีข่ น้ จนจะ แข็งเพาะ กวนไม่ได้. แขวง [แขง] น. เมืองหรืออาณา บริ เ วณในการปกครองที่ ย ก ฐานะจากด่านหน้า, (ดู ด่าน หน้า ประกอบ). แขวน [แขน] ก. เกี่ยวห้อยอยู่. โขก ๑ ก. เล่น ใช้แก่การเล่นหมากรุก, หมากฮอส. ๒. (ปาก) ก. โก่งราคา, บอก ราคาเกินสมควร. โขกโหลกเขกเหลก [โขก-โหฺลก-เขกเหฺลก] ว. ไม่เป็นระเบียบ, สูง ชะลูด. โขง ว. กลิ่นเหม็นเน่า, เหม็นเน่าเหม็น โขง ก็ว่า. โข่ง ว. โตกว่าเพื่อน เช่น นั่กเรียนโข่ง (นักเรียนที่ตัวโตกว่าเพื่อน ๆ). โขดโดด ว. สูงเด่น, สูงชะลูด, โจด โดด, โจดโปด, โจดโหลด ก็ว่า. โขดโหลด [โขด-โหฺลด)] ว. ยาวเฟื้อย, โคดโลด ก็ว่า. โขนง [ขะ-โหฺนง] น. ไม้ไผ่ขดเป็น วงกลมส� ำ หรั บ ขึ้ น รู ป เครื่ อ ง จักสาน เช่น ไซ. 56

โขนงหมู [ขะ-โหฺนง-หมู] น. หนังหมูที่ แล่ เ นื้ อ ออกแล้ ว ขู ด ขนให้ เกลี้ยง, โขนง ก็ว่า. โขนงหัว [ขะ-โหฺนง-หัว] น. หนังศีรษะ (ใช้แก่คน). โขยง [ขะ-โหฺยง] ก. อาการสะดุง้ โหยง. โข่โหล่ ดู โค่โล่. ไข้ [ไข่] ก. อาการที่มีอุณหภูมิของ ร่ า งกายผิ ด จากระดั บ ปรกติ เนื่องจากความเจ็บป่วย, เช่น ไอ้นายมันไข่ (ลูกชายคนเล็ก เป็นไข้). ไข้ขึ้น [ไข่-ขึน่ ] ก. เป็นไข้, รู้สึก ครั่นเนื้อครั่นตัวจะเป็นไข้. ไข้สั่น [ไข่-สั่น] น. ไข้จับสั่น, ไข้มาลาเรีย. ไข้สนั ระบาต [ไข่-สัน-ล่ะ-บาด] น. ไข้สนั นิบาต ; ไข้ชนิดหนึง่ มี อาการสั่นชักกระตุกจนควบคุม ตัวเองไม่ได้. ไข้หัวโหลน [ไข่-หัว-โหฺลน] น. ไข้ที่เกิดจากการตกใจกลัว จนผมร่วงหมดหรือหัวโกร๋น. ไข้ออกตุ่ม [ไข่-ออก-ตุ่ม] น. หัด, ไข้ที่เกิดจากเชื้อไวรัสมีผื่น แดงออกตามตัว. ไข่ด้าน น. ไข่ที่ฟักไม่เป็นตัว. ไข่น�้ำ [ไข่-น่าม] น. ไข่แหน, ไข่ผ�ำ, พืชลอยน�้ำเป็นเม็ดเล็ก ๆ สี


พจนานุกรม ภาษาโคราช เขียวกินได้. ไข่เน่า น. ตีนนก, กานน, กาสามปีก, โคนสมอ, สมอกานน ; ไม้ต้น ผลัดใบชนิด Vitex pinnata L. ในวงศ์ Labiatae เปลือกสีเทา แกมเหลืองเป็นสะเก็ด ดอก เล็กสีฟ้าหรือขาวอมม่วงออก เป็นช่อใหญ่ ผลกลมสีม่วงคล�้ำ ถึงด�ำ เป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้ท�ำไม้ หมอน สร้างบ้านเรือน พาน ท้ายปืนและรางปืน. ไข่รา้ งรัง [ไข่-ล่าง-ลัง] น. ไข่ทฟี่ กั แล้วไม่เป็นตัว, ไข่ตายโคม, ถิน่

อีสานเรียกว่า ไข่ฮา้ งฮัง, ไข่เข่า. ไข่ละหลูด [ไข่-ล่ะ-หลูด] น. ไข่ที่ออก เรี่ยราดนอกเล้า, ไข่นอกรัง, ไข่ที่เปลือกอ่อน, ไข่ลม (ไข่ที่ไม่ เชื้อตัวผู้). ไขว่ [ข่วย] ก. ขวักไขว่, อาการที่ เคลื่อนไหวไปมาอย่างสับสน, อาการที่ พั น แข้ ง พั น ขาอย่ า ง น่าร�ำคาญ, พัลวัน. ไขว่เขเตนัง [ข่วย-เข-เต-นัง] ก. ขวักไขว่เป็นพัลวัน, พันกัน ยุ่งเหยิง.

57

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

58


พจนานุกรม ภาษาโคราช

คง

น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา ตามต�ำนานเล่า ว ่ า มี น า ย พ ร า น ชื่ อ ต า ค ง ภรรยาชื่ อ ยายเมื อ ง ได้ น� ำ พรรคพวกมาตั้ ง บ้ า นเรื อ น เรียกว่า “บ้านยายเมืองตาคง” ต่ อ มากลายเสี ย งเป็ น บ้ า น เมืองคง และต�ำบลเมืองคง เมื่ อ ยกฐานะเป็ น อ� ำ เภอได้ พิ จ ารณาเห็ น ว่ า ถ้ า ใช้ ชื่ อ อ�ำเภอเมืองคง เกรงว่าจะไป พ้องกับอ�ำเภอเมืองที่เป็นที่ตั้ง ของตัวจังหวัด คือ อ�ำเภอ นครราชสีมา อาจจะท�ำให้เกิด ความสั บ สนได้ จึง ใช้ชื่อว่า อ� ำ เภอคงโดยตั ด ค� ำ ว่ า เมื อ ง ออก. คนกลาด น. คนขี้ขลาด เช่น ท�ำ อ�ำนาจถ้าคนกลาดเป็นน่ากลัว (นิ.พระปา จิต), (ดู กลาด ประกอบ). คนแขก น. แขก, ผู้มาเยี่ยมเยียน. คนคุก [คน-คุก่ ] น. ขี้คุก, เลวเหมือน คนติดคุก (ค�ำด่า), ก้นคุก ก็ ว่า. คนโคราช น. ชาวไทยที่มีถิ่นฐานอยู่ที่

จั ง หวั ด นครราชสี ม า นั ก วิ ช าการได้ จั ด กลุ ่ ม คนโคราช อยู ่ ใ นกลุ ่ ม วั ฒ นธรรมไทย ภาคกลาง เพราะมีวัฒนธรรม ประเพณี เพลงพื้นบ้านค่อนไป ทางภาคกลาง ภาษาพูดจะเป็น ไทยภาคกลางที่ มี เ สี ย งเหน่ อ จะมีภาษาเขมร ลาว ปะปนบ้าง. คนเฒ่าหลังค่อม กินหญ้าอ้อมหัว ปลวก [คน-เถ่า-หลัง-ค่อมกิน-หย่า-อ้อม-หัว-ปวก] (ปริศ) น. มีดโกน; ก. โกนหัว. คนเฒ่าหลังแดง กินหญ้าแห้งทั้งทุ่ง [คน-เถ่า-หลัง-แดง-กิน-หย่าแห่ง-ทัง่ -ท่ง] (ปริศ) น. เคียว. คนเดิ้ง น. บางคน, คนเบิ้ง ก็ว่า. คนใน (ปริศ) น. เด็กที่อยู่ในท้องแม่. คนเบิ้ง ว. บางคน, คนละเบิ้ง, คนละ บ้าง, คนเดิ้ง ก็ว่า. คนเป็นแสน หามแก่นไม้มะค่า [คนเป็น-แสน-หาม-แก่น-ม่าย-มะค่า] (ปริศ) น. กิ้งกือ. คนพอกันมันพอแกง (ส�ำ) น. คนเก่ง ต่อคนเก่งมาเจอกันท�ำนองว่า เพชรตัดเพชร, เกลือจิ้มเกลือ. คนพุ่ง น. คนที่ท�ำหน้าที่สอดเส้นกกใน 59

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


คนละนา - ควด การทอเสื่อกก. ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

คนพุ่ง

คนละนา ก. พรรณนา, กล่าวโดย ละเอียด เช่น เจ่าจุกทุกคน พ้น ที่จะคนละนา (นิ.รูปทอง). คนละบ้าง [คน-ล่ะ-บ้าง] ดู คนเบิ้ง. คนละเบิ้ง [คน-ล่ะ-เบิ้ง] ดู คนเบิ้ง. คนหน้าดีตาย คนหน้าลายยัง [คนหน่า-ดี-ตาย-คน-หน่า-ลายยัง] (ส�ำ) น. คนดีมักตายง่าย ส่วนคนชั่วมักตายยาก, คนดี ตายคนชั่วยังอยู่ลอยนวล. คนห้าร้อยฆ่า เด็กน้อยก็ไม่ตาย [คน -ห้า-ล่อย-ข่า-เด๊ก-น่อย-ก็ไม่-ตาย] (ปริศ) ว. เงา. คนใหญ่ น. ผู ้ ใ หญ่ , ผู ้ ที่ ฐ านะหรื อ ต� ำ แหน่ ง สู ง . คบ น. มาตราวัดอย่างหนึ่ง มี ๔ ก�ำ มือ เช่น ต้นกล้าข้าว ๑ คบ เท่ากับ ๔ ก�ำมือ ; ๑๐ คบ เท่ากับ ๑ ปุง, ปุ๋ง ก็ว่า, (ดู ปุง 60

ประกอบ). ครกมือ [ค่ก-มือ] น. ครกซ้อมมือ, ครกที่ใช้มือต�ำ; ท�ำด้วยไม้ทั้ง ท่อนขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๗๐ เซ็นติเมตร ขุดเนื้อในออก เป็นหลุมลึก ส�ำหรับต�ำหรือ ซ้อมข้าว เป็นต้น ด้วยสากอุ๊บ, (ดู สากอุ๊บ ประกอบ). ครกสากเหมิ่ง [ค่ก-สาก-เหฺมิ่ง] น. ครกต�ำข้าวเม่าใช้สากเหมิ่งต�ำ, (ดู สากเหมิ่ง ประกอบ). ครบุรี น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา ที่ตั้งอ�ำเภอเป็นที่ ต�่ำชื้นมีน�้ำขังเฉอะแฉะ จึงเรียก กั น ว่ า บ้ า นแฉะแต่ ภ าษาถิ่ น โคราชออกเสียงเป็น “แช่ะ” เมื่ อ ครั้ ง ตั้ ง เป็ น กิ่ ง อ� ำ เภอใช้ ชื่อว่ากิ่งอ�ำเภอแชะ ต่อมายก ฐานะเป็นอ�ำเภอได้พิจารณาว่า ต� ำ บลแชะติ ด กั บ ต� ำ บลครบุ รี กอปรกับเป็นต้นน�้ำล�ำ ธารที่ ส�ำคัญ ชาวบ้านให้สมญานาม ว่า “สาครบุรี” จึงใช้ชื่อว่า “ครบุรี” ซึ่งมีความไพเราะและ มีความหมายตามสภาพพื้นที่. ครรภา ดู คัพภา. ครราช [คอน-ลาด] น. มาจากค�ำว่า นคร+ราช+สี+มา ชาวบ้าน เรียกกันสั้น ๆ ว่า ครราช ต่อ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ครูบาใหญ่ น. คนทรงในพิธีลงข่วง ร�ำผีฟ้า, (ดู ลงข่วงร�ำผีฟ้า ประกอบ). คล่องพอปานใส่ไข [ค่อง-พอ-ปั่นไส่-ไข] (ส�ำ) ว. คล่องแคล่ว, ว่องไว, ปราดเปรียว; เปรียบ ได้กับการเอาไขสัตว์ใส่เพลา หรื อ ล้ อ เกวี ย นเพื่ อ ให้ ห มุ น คล่อง. คลอหน่วย [คอ-หฺนว่ ย] ว. น�้ำตาปริ่ม ลูกตา เช่น น�้ำตาคลอเบ้าตา คลังแคลง [คัง-แคง] ว. คลางแคลง, สงสัย เช่น ประจักษ์ใจจริงจัง ไม่คลังแคลง (นิ.พระปาจิต). คล่าว ก. คลึง, ใช้มือคลึงเบา ๆ ให้ ทั่ว, ใช้ฝ่ามือกดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วผลักหรือหมุนไปมา. คลิ้ก [คิ้ก] ว. เกลี้ยง, เนียน (มักใช้ ประกอบหลังค�ำว่าเนียน). คลื่อ ก. คลี่. ควงระ ๆ [ควง-ล่ะ-ล่ะ] ก. แกว่ง หรือหมุนอย่างเร็ว เช่น ไก่เป็น ตะแกเวียน ควงร่ะ ๆ (ไก่ชัก กระตุกคอเอียงแล้วเดินวนอยู่ กับที)่ , (ดู ตะแกเวียน ประกอบ). ควด ๑. ก. ใช้ช้อนหรือสิ่งอื่น ๆ ขูด หรือเขี่ยอาหารจากภาชนะ. ๒. ว. เสียงดังอย่างช้อนขูดกับ จานชาม เช่น ดังควด ๆ.

มากลายเสียงเป็นโคราช. ครอก ว. เสียงดังในล�ำคอเพราะดื่ม น�้ำกลั้วคอแล้วบ้วนออก เช่น ตอนแปรงฟัน. ครัน [คัน] ๑. ว. ครั้น, หาก เช่น ครัน จะพูดก็กลัวจะไม่ถูก, ครันขุก คิดเหมือนนกเอี้ยงเลี้ยงควาย เถื่อน (นิ.พระปาจิต). ๒. ว. ใช้ประกอบค�ำวิเศษณ์ หรื อ คุ ณ ศั พท์ มีค วามหมาย ท�ำนองว่า พอสมควร เช่น ไกล ครัน (ไกลพอสมควร), จนใหญ่ ครันวัฒนาวษาสี (นิ.พระปาจิต) ครัว [คัว] น. ครอบครัว เช่น มีครัวรึ ยัง (มีครอบครัวหรือยัง). คราก [คาก] ว. อกแตกเพราะรู้สึก อัดอั้นตันใจ เช่น แสนสงสาร อกจะครากด้วยปากญาติ (นิ. พระปาจิต), พ่อเจ้าไปจากอก เมียจะครากถึ ง พระทรามวั ย (นิ.รูปทอง), แทบอกแยกแตก ครากคราก (สุภมิต ฯ). ครึบ [คึ่บ] ว. เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย, เข้ากันได้ดี, ถูกคอกัน, เข้ากัน ครึบ ก็ว่า. ครุถัง [คุ-ถัง] น. ครุสังกะสี ใช้ตักน�้ำ. ครุไม้ [คุ-ม่าย] น. ครุ, ภาชนะจักสาน รูปทรงอย่างตะกร้าขนาดย่อม มีหูหิ้ว ยาด้วยชัน ใช้ตักน�้ำ. 61

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ควย - คอนแลน ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

๓. ก. เซ่นโดยเอาอาหารเพียง แต่ น ้ อ ยไปสั ง เวยผี ห รื อ เจ้ า ที่ เช่น ควดเจ้าที่เจ้าทาง, ควดผี. ควย น. ควาย, อวัยวะเพศชาย, โคย ก็ว่า. ควยเสือก น. อวัยวะเพศชาย ที่ถอก หรือปลายลึงค์ที่หนังร่น เข้าไป. ควาญเมือง [ควน-เมือง] น. ผู้รักษา เมือง; เปรียบกับควาญช้างซึ่ง เป็นผู้เลี้ยงและบังคับช้าง. ความเจ็บอย่าได้ ความไข้อย่ามี [ควม -เจ๊บ-หย่า-ได้-ควม-ไข่-หย่า-มี] (ส�ำ) น. ค�ำขอให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากความเจ็บไข้ได้ป่วย. ความในอย่าบอก ความนอกอย่าไข [ควม-ไน-หย่ า -บอก-ควมนอก-หย่า-ไข] (ส�ำ) อย่าเอา เรื่องไม่ดี ในบ้านไป เล่านอก บ้าน อย่าเอาเรื่องนอกบ้าน มาสร้างปัญหาในบ้าน ตรงกับ ส� ำ นวน “ไฟในอย่ า น� ำ ออก ไฟนอกอย่าน�ำเข้า” เช่น กล่าว ถ้อยใส่ไคล้ ความในอย่าบอก ความนอกอย่าไข (นิ.รูปทอง). ควายแก่ร้องไห้ [ควย-แก่-ล่อง-ไห่] ดู เปือยเครือ. ควายเชือก [ควย-เชือก] น. ชื้อไม้ เลื้อยในกลุ่มต้น “กะทกรก” 62

ชนิด Olaxscandens Roxb. ในวงศ์ Olacaceae ตามต้นมี หนาม ใบรูปไข่หรือรี ดอกเล็ก สี ข าวเป็ น กระจุ ก ตามง่ า มใบ นักพฤกษศาสตร์เรียกน�ำ้ ใจใคร่, ถิน่ เหนือใช้วา่ นางจุม, ถิ่นใต้ เรียก ผักกรูด, ออกเสียงเป็น ควยเชียก ก็มี. ควายตู้ [ควย-ตู้] น. ควายเขาทู่. ควายตู้มักซน คนจนมักพล่าม [ควยตู้-มัก-ซน-คน-จน-มัก-พ่าม] (ปริศ) น. คนมีปมด้อยมัก แสดงปมเด่นให้คนอื่นยอมรับ, (ดู ควยตู้ ประกอบ). ควายน้อยเกลือกตม [ควย-น่อยเกือก-ตม] (ปาก) น. กับแกล้ม ชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อดิบพล่าและใส่ ขี้เพลี้ย. ควายผูกกะฟาง ควย-ผูก-ก๊ะ-ฟาง] (ส�ำ) ก. อยู่ใกล้สิ่งใดย่อมได้ ประโยชน์จาก สิ่งนั้น, อยู่ใกล้ กับสิ่งที่ชอบสิ่งนั้นย่อมสูญหาย ได้ง่าย. ควายเสียก [ควย-เสียก] น. กะทกรก, น�้ำใจใคร่, นางจุม, นางชม; ไม้ เถาชนิด Olax scandens Roxb. ในวงศ์ Olacaceae ใบเดี่ยวรูปไข่ ดอกเล็กสีขาว เป็นช่อคล้ายดอกคัดเค้า เป็น


พจนานุกรม ภาษาโคราช คอกรั้ว [คอก–ลั่ว] น. รั้ว; เครื่อง ล้ อ มกั น เป็ น เขตของบ้ า น เป็นต้นมักท�ำด้วยไม้ไผ่ ต้นไม้ ขนาดเล็ก หรือสังกะสี เช่น รั้วกระถิน, คอกกรั้ว ก็ว่า. คอขม ว. คอแห้งผาก เช่น จะร้องร�่ำ ระงมงอจนคอขม, เจ้าคงคอย หิวรอจนคอขม (สุภมิต ฯ). ค็อดล็อด ว. สั้น (มักใช้แก่หางสัตว์), ค็อดล็อดแค็ดแล็ด ก็ว่า. ค็อดล็อดแค็ดแล็ด ดู ค็อดล็อด. ค่อน ๑. ก. โค่น, ท�ำให้ล้มอย่าง ต้นไม้ล้ม. ๒. ก. ขอดข่อน, ค่อนแคะ, ว่าร้ายเหน็บแนม เช่น ราษฎร ก็จะค่อนกันนินทา (สุภมิต). ค่อนแจ้ง [ข่อน-แจ้ง] ว. ใกล้แจ้ง, ค่อนสว่าง, เช้ามืด.

ยาแก้หวัด ท้องอืด แก้ไข้ ขับ พยาธิ รักษาแผล.

ควยเสียก

ควายหน้ า โพ หางดอก คางด่ า ง ตีนด่าง [ควย-หน่า-โพ-หางดอก-คาง-ด่าง-ตีน-ด่าง] น. ลั ก ษณะของควายที่ ไ ม่ ดี ห รื อ ไม่เป็นคุณ แต่ถา้ เจ้าของขายไป มักจะให้โทษแก่เจ้าของ ๆ จึง มักไม่ขาย. คอกกรั้ว [คอก-กั้ว] ดู คอกรั้ว. ค็อกแค็ก ดู แค็ก. ค็อกม็อก น. มอมแมม, เปรอะเปื้อน, เลอะเทอะ, ค่อกม่อก, ค็อกม็อก แค็กแม็ก, ค่อกม่อกแค่กแม่ก ก็ว่า. ค่อกม่อก ดู ค็อกม็อก. ค็อกม็อกแค้กแม็ก ดู ค็อกม็อก. ค่อกม่อกแค่กแม่ก ดู ค็อกม็อก.

คอนแลน

คอนแลน น. คอแลน; ชื่อไม้ต้นผล คล้ายลิ้นจี่มีรสอมเปรี้ยวชาว บ้าน เรียกว่าลิน้ จีป่ า่ , หมัก๊ แวว, หมากแวว ก็วา่ , (ดู หมากแวว 63

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ค้อนหมาแดง - คัพภา

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ประกอบ), ถิน่ อีสานเรียก แงว, หมากแงว. ค้อนหมาแดง [ค่อน-หมา-แดง] น. ค้อนตีนหมา, คันทรง ; ชื่อไม้ เถาเนื้อ แข็งขนาดใหญ่ชนิด Ancistrocladus tectorius Mrr. ในวงศ์ Ancistrocla daceae มักเลื้อยพาดพันไป ตามต้นไม้อื่น ใบรูปรี ดอกจะ ออกที่ยอดเป็นช่อกระจาย ผล มี ๕ ปีก ใบและรากใช้เป็นยา แก้เม็ดผืนคัน. คอป้อก น. คอพอก. คอพวงมาลัย น. เสื้อคอกลม. คอยทาง ว. รอคอยด้ ว ยการเฝ้ า ดูทางว่าเมื่อไรจะมา, คอยดู, รอดูโดยมองไปตามทางทีจ่ ะมา. คอยท่า [คอย-ถ่า] ก. รอท่า, คอย, รอคอย. ค่อยยังชั่ว ๑. ว. ทุเลา, อาการดีขึ้น. ๒. ว. ยังดี, ยังโชคดี เช่น ค่อยยังชั่วที่มาทันเวลา. คอหอยแห้งผาก [คอ-หอย-แห่ง-ผาก] ดู คอแห้งผาก. คอหักคอห้อย [คอ-ฮัก-คอ-ห่อย] ว. คออ่ อ นคอพั บ ,อาการที่ ค อ เอนไปเอนมาเพราะเมา ง่วง หรือหมดแรง. คอแห้งเป็นผง [คอ-แห่ง-เป็น-ผง] ดู 64

คอแห้งผาก. คอแห้งผาก [คอ-แห่ง-ผาก] ว. อาการที่คอไม่ชุ่มจนผากด้วย อยากน�้ำ ดื่ม, คอแห้งเป็นผง ก็ว่า เช่น แต่ไปไหนนิดหน่อยก็ หอบเหนื่ อ ย แทบล้ า เมื่ อ ย คอแห้งเป็นแป้งผง (นิ.พระ ปาจิต), คอแห่งคอแห่งเป็นผง แม่โฉมยงขอน�่ำกินที น�่ำเปล่า พี่ก็ไม่เอา (ซ�้ำ) เอาแต่น�่ำเหล่า ๓๕ ดีกรี (เพลงวงเหล้า), คอหอยแห้งผาก ก็ว่า เช่น นายหมวดพลเดิ น เท้ า มิ ไ ด้ โต้ตอบแต่ประการใดด้วยว่า คอหอยนั้นแห้งผาก (ท้าว ฯ). คะทุน น. ประทุน. คะนน น. โอ่ ง น�้ ำ ขนาดเล็ก. คะนนทาน น. โอ่งขนาด คะนน เล็กใส่น�้ำไว้ เป็นทานแก่คนทีเ่ ดินทางผ่านไป มาได้ดม่ื , (ดู คะนน ประกอบ). คะนา ๑. น. คันนา, หกคะนา ก็ว่า. ๒. น. ขอบกระด้ง; ชื่อเรียก กระเพาะอาหารกระเพาะแรก ของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย มี ข นาดใหญ่ มี่ สุ ด ใน จ�ำนวน ๔ กระเพาะ เยื่อบุ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ภายในมีสันคล้ายขอบกระด้ง, ขอบด้ง ก็ว่า. คะนาน น. ทะนาน, เครื่ อ งตวง วั ด อย่ า งหนึ่ ง ท� ำ ด้ ว ยกะลา มะพร้าว อยู่ในมาตรชั่งตวงวัด ของไทย. คะเนง ก. คะเน, กะ, ค�ำนวณอย่าง หยาบ ๆ. คะแนน น. แนวเขต. คะมะ ว. จ๊ ะ , เจอกันโดยบัง เอิญ, กะมะ, จะมะ, ชะมะ ก็ว่า. คะเมนม้วน [คะ-เมน-ม่วน] ก. หกคะเมน ม้วนตัว. คะลาย ก. ยกครู, ทะลาย ก็ว่า. คะลีผล น. มักกะลีผล, นารีผล เช่น ลูก คะลีผลที่ต้นยังมี ขอองค์พระพี่ เอามาให้นอ้ ง (นิ.รูปทอง). คั ก [คั่ ก ] ว. จั ง , อย่ า งจั ง , ชั ด , ชัดแจ้ง, เต็มที่ เช่น ดูคั่ก ๆ ที (ดู ใ ห้ จั ง ๆ ที่เถอะ), คักโพด (อย่างจังมาก). คัดวาด ก. คัดหางเสือ, คัดท้ายเรือให้ แล่นไปในทิศที่ต้องการ เช่น หากไม่ มี ส ติ เ สมื อ นหางเสื อ คอยคัดวาดให้เรือตรงที่หมาย (ท้าว ฯ). คัน ก. เงี่ยน, อยาก, ความใคร่. คันคาก น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Pavetta tomentosa Roxb. ex Smith

var. canescens Craib ใน วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายและโคนแหลม ช่อ ดอกออกตามง่ามใบ กลิ่นหอม เล็กน้อย, ถิ่นนครสวรรค์เรียก ก�ำจ้อย. คั น คาย ก. คั น ระคายเนื่ อ งจาก ถู ก ละอองหรื อ ขนขนาดเล็ ก ของพื ช อย่ า งใบอ้ อ ยหรื อ ข้าวเปลือก เป็นต้น. คันเบ็ดเจ็ดทุ่ง ข้ามทุ่งพระยาแมน [คัน-เบ๊ด-เจ๊ด-ทุง่ -ข่าม-ทุง่ -พะยา-แมน] (ปริศ) น. รุง้ กินน�ำ้ . คันระย้า [คัน-ล่ะ-ย่า] ก. คันไปทั้งตัว. คันระยึก [คัน-ล่ะ-ยึ่ก] ก. คันคะเยอ, อาการที่ต้องเการ�่ำไป, อาการ คันมาก, คันระยึกระยึน ก็ว่า. คันระยึกระยึน [คัน-ละ-ยึ่ก-ล่ะ-ยึน] ดู คันระยึก. คันหลาว น. ไม้ที่เสี้ยมปลายสองข้าง ให้ แ หลมใช้ ห าบกล้ า ข้ า ว, ข้าวฟ่อน. คับปิ [คั่บ-ปิ๊] ว. คับมาก, คับจนแน่น ตึง, (ถิ่นครบุรี). คัพภา น. คัพภ์, ครรภ์. เช่น พระชนนี ทรงคัพภาได้ห้าเดือน (นิ.พระ ปาจิต), ครัน้ แล้วกลืนเข้า ไว้ใน คัพพา ราหุลไคลคลา จากที่ นั้น ไป (นิ. รูปทอง), ครรภา 65

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


คั่วหมี่ - คือ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ก็ว่า เช่น ปฏิสันธิ์ครรภานาง โฉมศรี (นิ.พระปาจิต). คั่วหมี่ [ขัว่ -หมี]่ ก. คั่วหมี่โดยใส่น�้ำมัน แต่น้อย ประกอบด้วยน�้ำตาล ปี๊บ หอม แดง พริกป่น น�้ำ ม ะ ข า ม เ ป ี ย ก ห รื อ ม ะ น า ว ถั่ ว งอกและใบหอม หากใส่ น�้ำมันมากเรียกว่าผัดหมี่ ; หมี่ โคราชเส้ น แบนต่ า งจากเส้ น ก๋วยเตี๋ยว คั่วหมี่หรือผัดหมี่ โคราชต่างจากผัดไทย. คา ก. ก�ำลังท�ำงานค้างคาอยู่ เช่น คาควย (ก�ำลัง เลี้ยงควาย), คางาน (ก�ำลังท�ำงาน). ค่า น. ค่าคบ, ง่ามต้นไม้ที่กิ่งใหญ่กับ ต้นแยกกัน เช่น ได้ยินเสียง ส�ำเนียงนกแขกเต้า มันจับเจ่า ค่าบนต้นกระสัง (สุภมิตฯ). ค้าง [ค่าง] ก. วางบนเตา (ใช้แก่ ภาชนะ) เช่น ค่างหม่อ (ตั้ง หม้อบนเตา), ค้างไฟ ก็ว่า. ค้างไฟ [ค่าง-ไฟ] ดู ค้าง. ค้างหม้อข้าว [ค่าง-หม่อ-เข่า] ก. หุงข้าว. ค่าจ้างค่าออน น. ค่าจ้าง. คาดลาด ว. ยาวมาก เช่น ลิงหางยาว คาดลาด. คาทาง ก. ขวางทาง ท�ำให้เดินเข้า ออกไม่สะดวก, ตันทาง ก็ว่า. 66

ค่าเผา น. ภาษีบ�ำรุงท้องที่, ค่าธรรม เนียมสวน, ไร่, นา. ค่ายชักปีกกา [ค่าย-ชั่ก-ปีก-กา] น. ค่ายที่สร้างด้วยไม้และสนาม เพาะเป็นก�ำแพงยาวล้อมค่าย ใหญ่ที่อยู่ตรงกลาง (ท้าว ฯ). ค่ า ยนาค น. ค่ า ยใหญ่ ห รื อ ค่ า ย บั ญ ชาการที่ อ ยู ่ ก ลางค่ า ยชั ก ปีกกา เช่น ปีกกาที่ชักก็ยาว โค้ ง ล้ อ มค่ า ยใหญ่ ซึ่ ง อยู ่ ต รง กลาง มองดูดุจพระยานาคที่ ขดตัว เพื่อระมัดระวังดวงมณี อันมีค่าอยู่วงใน จึ่งมีชื่อตาม ต�ำราพิชัยสงครามว่าค่ายชนิด นาค (ท้าวฯ), (ดู ค่ายชักปีกกา ประกอบ). คายอ้อ น. เครื่องบูชาครูหรือยกครู เพลงโคราช. ค่าล้างหน้าล้างตา [ค่า-ล่าง-หน่าล่าง-ตา] น. ค่าท�ำ ขวัญ, ค่าปรับ เช่น ค่าปรับเมื่อพา ลูกสาวคนอื่นหนี, (ดู ผัวควาย เมียควาย ประกอบ). ค่าหัว น. เงินที่เสียให้แก่ทางราชการ แทนการไม่ ไ ปรั บ ราชการ ทหาร. ค�่ำคาง น. คู่เขย, เพื่อนเขย. ค�่ำคูณ ว. กตัญญู, รู้คุณ, ให้โชคลาภ, น�ำโชคลาภมาให้, คูณ ก็ว่า.


พจนานุกรม ภาษาโคราช ค�้ำโพธิ์ ค�้ำไทร ต่อตะพาน [ค�ำ่ -โพค�ำ่ -ไซ-ต่อ-ตะ-พาน] น. พิธีต่อ อายุผเู้ จ็บป่วยหรือดวงชะตาขาด โดยเอาไม้ ง ่ า มไปค�้ ำ ต้ น โพธิ์ หรือต้นไทร ก่อกองทรายเล็ก ๆ มากกว่าอายุ ๑ กองขึ้นไป มี ธงกระดาษสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ปักไว้ เรียกว่าประทายอายุ น�ำ ไม้ ก ระดานสู ง เท่ า ตั ว พาดต่ อ กับสะพานในสระน�้ำ เอาด้าย สายสิญจน์พันรอบสิ่งที่ท�ำพีธี กรรมทั้งหมด นิมนต์พระมา สวดเพื่อให้หายเจ็บป่วยหรือมี ชีวิตยืนยาวอยู่ต่อไป โดยท�ำ พิธีที่วัด. ค�ำมอกช้าง [ค�ำ-มอก-ช่าง] น. ชื่อไม้ ต้นชนิด Gardenia sootepen sis Hutch ในวงศ์ Rubiaceae นักพฤกษศาสตร์เรียกว่า ค�ำ มอกหลวง, ผ่าด้าม ก็ว่า, (ดู ยาง มอกใหญ่ ประกอบ). ค�ำหยาด น. ชื่อไม้ต้นชนิด Chirita micromusae Burtt ในวงศ์ Gesneriaceae. ค�ำอ้าย น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กในกลุ่ม “ก้างปลา” ชนิด Phyllanthus reticularus Poir. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใบเดีย่ วรูปไข่ หรือรี ชนิดดอกสีแดงเรียกค�ำ

อ้ายแดง (ก้างปลาแดง) ชนิด ดอกสี ข าวเรี ย กค� ำ อ้ า ยขาว (ก้างปลาขาว) ใช้ท�ำยาแก้ร้อน ใน ไข้หวัด งูสวัด.

ค�ำอ้าย

คิงคก [คิง-ค่ก] น. คางคก, แคงคก ก็ว่า. คิดจนหัวจะแตก ก. คิดไม่ออก, จน ปัญญาที่จะคิด. คิดออกซอกเห็น ก. คิดส�ำเร็จ, คิดหา ค�ำตอบได้, เกิดเชาวน์ปัญญา ที่คิดหาค�ำตอบได้. คิม ก. ชิม, ลองลิ้มรสดูด้วยปลายลิ้น เช่น อยากรู่อาหารอร่อยต้อง น่าคิม (เพลงโคราช). คิ่มมิ่ม ว. มิดหมี, ด�ำมาก, ด�ำสนิท (ใช้ ประกอบหลังค�ำว่าด�ำ), จิ้มมิ่ม ก็ว่า. คิวรถ น. ท่ารถ. ครึบ [ครึ่บ] ดู เข้ากันครึบ. คืนยังรุง่ วันยังค�ำ่ น. ตลอดวันตลอดคืน, ทั้งวันทั้งคืน. คือ ๑. ว. เหมือน, คล้าย เช่น นิสัย 67

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


คืออยู่ - แค็ด

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

คือกัน (นิสัยเหมือนกัน), คือ ๆ กัน (เหมือน ๆ กัน). ๒. ว. เข้าท่า, เหมาะสม, เหมาะควร เช่น ไม่คือเลย (ไม่เข้าท่าเลย), ท�ำอย่างนั่นมัน ไม่คือ เราเป็นข้าราชการ (ท�ำ อย่างนั้นมันไม่เหมาะไม่ควร), คืออยู่ ก็ว่า. คืออยู่ ดู คือ. คุณนาย น. เจ้านาย, เป็นค�ำยกย่อง ใช้เรียกชายหรือหญิงที่มีฐานะ สูงกว่า. คุณหญิงโม น. ท่าน ท้าวสุรนารี. คุม ก. ไล่, วิ่งไล่, ละคุม ก็ว่า. คุ้ม [คุ่ม] น. ย่าน, บ้านจ�ำนวน คุณหญิงโม สองหลังขึ้น ไปตั้ ง อยู ่ ใ นละแวกเดี ย วกั น , ซุม ก็ว่า. คุม่ มุม่ ว. เงาตะคุม่ ๆ, เห็นเป็นเงาด�ำ ๆ. คุมเหง ก. ข่มเหง, รังแก. คุยสาว ก. เกี้ยวสาว, จีบสาว. คุยหนุ่ม ก. เกี้ยวหนุ่ม, จีบหนุ่ม. คูซ่ อ้ ม [คู-่ ซ่อม] (ปาก) น. หญิงทีเ่ ป็น คูข่ า, หญิงทีม่ คี วามสัมพันธ์กนั ทางเพศแบบไม่จริงจัง. คูณ ดู ค�่ำคูณ. 68

คูราช น. โคราช ค�ำว่า “โคราช” คน แต่ก่อนออกเสียงเป็น “คูราช” เช่น ปลัด เมืองคูราช ก็ว่าข้า เคร่งขรึมนั้นถูกแล้ว (ท้าว ฯ), ร่ะบ�ำมาแต่บ้านไหนเอ่ย ร่ะบ�ำ มาแต่คูราช (กล่อมเด็ก), (ดู โคราช ประกอบ). เคร่ง ว. ตึง, ไม่หย่อน. เคร่งเปรี๊ยะ ๑. ว. ตึงมาก, ตึงจนเกือบจะปริหรือขาด. ๒. ก. บึ้งตึง, บึ้งบูด. เครือเขาหนัง ดู เครือตาปา. เครื่องครูคาย น. การท�ำพิธีกรรมใน การร�ำผีฟ้า (ดู ลงข่วงร�ำผีฟ้า ประกอบ). เครื่องเล่น [เครื่อง-เหฺล่น] น. สิ่งที่ ประกอบการแสดง เช่น การ ฟ้อนร�ำ, ละคร เป็นต้น เช่น เจ้าอนุแห่งเวียงจันทน์คิดจะขอ แบ่ ง เครื่ อ งเล่ น บางอย่ า งคื อ หม่อมเล็ก ๆ ซึ่งเป็นเหล่าละคร (ท้าว ฯ). เครือ่ งส�ำบัดส�ำมา [เคือ่ ง-ส�ำ-บัด๊ -ส�ำมา] น. เครือ่ งขอขมาประกอบ ด้วยหมาก ๑ ค�ำ บุหรี่ ๑ มวน และเงินค่าเสียหายหรือสินไหม เป็นต้น, (ดู ผัวควายเมียควาย ประกอบ). เครื่องหาบหาม น. เครื่องปั่นไฟหรือ


พจนานุกรม ภาษาโคราช เครื่องปั้มน�้ำเคลื่อนที่โดยยก หามเคลื่อนที่ได้. เครือตาปา น. เปรียง, เถาวัลย์เปรียง ; ชื่อไม้เถาชนิด Derris scan dens (Roxb.) Benth ในวงศ์ Leguminosae หรือ Papilion eae ชอบเลื้อยพันต้นไม้ใหญ่ ใบเล็กกลมดอกเป็นช่อสีขาว ห้ อ ยลง ปลายดอกจะเป็น สีชมพูเรื่อ ๆ เถาและรากใช้ ท�ำยาแก้เสมหะ ไอหวัด ถ่าย เส้นและกษัย, เถาตาปลา, เครือ เขาหนัง, ย่านเมาะ ก็ว่า.

เครือปาตา

ยกเค่า (ถูกขโมยลักของ). เค่าเม่า ว. นิ่ง, เฉย, ไม่เคลื่อนไหว เช่น แมวตัวนี่หมอบเค่าเม่าไม่ ไปไหนเลย. เคิก ก. เสียเวลา, เสียการ เช่น นั่ด แล่วไม่มา คนรอเลยเคิก. เคียด ก. เคือง, โกรธ. เคียว ๑. ก. ร่าน, กระสัน, อยาก, ต้องการ. ๒. ก. ท้าทาย, ลวนลาม. เคี่ยว [เขี่ยว] ก. งอแง, ออดอ้อน, เซ้าซี้ในลักษณะเคี่ยวเข็ญเพื่อ ให้ได้ตามที่ต้องการ (มักใช้แก่ เด็ก). เคี่ย วแกลบให้เป็นน�้ำมัน [เขี่ยวแกฺลบ-ไห่-เป็น-ล่ะ-มัน] (ส�ำ) ว. ท�ำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้, เป็น ไปไม่ได้. แค็ก ก. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงไอ, ค็อกแค็ก, ไอค็อกไอแค็ก ก็ว่า. แคงคก [แคง-ค่ก] น. คางคก, คิงคก ก็ว่า. แคงแคว น. ค้างคาว, แค่งแคว ก็ว่า. แค่งแคว ดู แคงแคว. แคงโครง น. นกกิ้ ง โครง, นก คลิ้งโคลง. แค็ด [แค่ด] ก. งัด, ท�ำให้เผยอหรือ เคลื่อนที่โดยใช้วัตถุคัด, แง็ด ก็ว่า.

เครือสาวหลงขาว

เครือสาวหลงขาว น. ชื่อไม้เลื้อย ชนิด Dalechampia falcata Gagnep ในวงศ์ Euphorbi aceae. ล�ำต้นค่อนข้างแข็ง ใบเดี่ยวแคบยาวค่อนข้างโค้ง ดอกออกตามปลายกิ่ ง นั ก พฤกษศาสตร์เรียก กาคาบแก้ว. เค้า [เค่า] น. เงิน, สิ่งของ เช่น โดน 69

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แคทราย - ใครเขาเคย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

แคทราย น. ชื่อแค ในวงศ์ Bignoia ceae มี ๔ ชนิด คือ ๑) ชนิด Stereospermum neu ranthum Kurz มีชื่อ พื้นเมืองว่า แคฝอย, แคดง, แคก้อง ๒) ชนิด Stereo sper mumper sonatum Chatterjee ๓) ชนิด Dolichandroone serrulata Seem มีชื่อพื้นเมือง ว่า แคอาว นักพฤกษศาสตร์ เรียก แคขาว ๔) ชนิด Mar kanmia stipula ta seem, ถิ่นโคราชเรียก แคอาว, ถิ่น เชียงใหม่เรียก แคปุ๋ม, หมู. แคอาว ดู แคทราย. แคะหัวเลาเกาหัวหญ้า [แค่ะ-หัว-เลาเกา-หัว-หย่า] (ส�ำ) ว. อัตคัด ขั ด สน, ยากจนข้ น แค้ น , ท�ำมาหากินเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามประสา. โคก น. ป่าที่มีลักษณะเป็นที่สูงหรือ เป็นเนิน.

โค้งตีนเกวียน

70

โค้งตีนเกวียน [โค่ง-ตีน-เกียน] ดู หัน วงร่ะวิง. โคดโลด ว. ยาวเฟือ้ ย, โคดโลด เคดเลด, โขดโหลด ก็ว่า. โคดโลดเคดเลด ดู โคดโลด. โคน้อยได้กลิ่นราชสีห์ [โค-น่อย-ได้กิ่น-ลาด-ชะ-สี] (ส�ำ) เพียงแต่ รู้ถึงกิตติศัพท์ก็หวาดกลัว เช่น นครเวียงจันทน์อันเปรียบด้วย โคซึ่งละจากนมแม่ พอได้กลิ่น ราชสีหก์ ม็ แี ต่จะเผ่นหนี (ท้าว ฯ), (ดู มฤคน้ อ ยเห็ น รอยสิ ง ห์ ประกอบ). โคปุระ [โค-ปุ๊-ล่ะ] น. ซุ้มประตูของ ปราสาทหิน เช่น ซุ้มประตู ปราสาทหินพิมาย. โคม ก. คร่อม, อาการที่สัตว์ผสม พันธุ์. โคมเมน ว. โคมลอย, ไม่มีมูล, เลื่อนลอย, เดาสุ่ม. โคย น. อวัยวะสืบพันธุ์เพศชายหรือ เพศผู้, (ดู ควย ประกอบ). โครม ก. ชน, ชนกันเสียงดังโครม. โครม ๆ ว. ลักษณะที่ต่อเนื่องกันมาก เป็นแถว ๆ, เกรียว. โคราฆะปุระ [โค-ลา-ค่ะ-ปุ๊-ล่ะ] น. สั น นิ ษ ฐานว่ า เป็ น เมื อ งเก่ า ของโคราชอยู ่ ท างทิ ศ ใต้ ข อง ล�ำตะคองในเขตอ�ำเภอสูงเนิน


พจนานุกรม ภาษาโคราช ค�ำว่า “โคราฆะปุระ” ต่อมาก ลายเสียงเป็นโคราช. โคราช ๑. น. จังหวัดนครราชสีมา ราชสีมา ก็เรียก ค�ำว่า โคราช มีที่มาหลายต�ำนาน เช่น - ราวปี พ.ศ ๗๐๐ ดินแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็น อาณาจักรโคตรบูรณ์ มีเมือง พิ ม ายกั บ เมื อ งขวางทะบุ รี ศ รี มหานครราช เป็นหัวเมืองเอก ชาวเมืองเรียก สั้น ๆ ว่า เมือง คอนราช เข้าใจว่ากลายเสียง เป็น โคราช; ฉันจะเล่านิทาน ประวัตขิ องเมืองโคราชให้ทกุ คน ฟังไว้ เดิมชื่อ เมืองขวางทะบุรี (นิ.เมืองขวางทะบุรี). - คนแต่ก่อนออกเสียงเป็น “คูราช” ก็มี ตามประวัติที่ อ�ำเภอสูงเนินมี “เมืองเสมา” ตัง้ อยูฝ่ ง่ั ซ้ายและ “เมืองโคราฆะ ปุ ร ะ” อยู่ฝ ั่ง ขวาของล�ำน�้ำ “ล�ำตะคอง” ต่อมาเมืองเสมา มีสภาพเป็นเมืองร้าง สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช โปรดให้ ย้ายเมืองทั้งสองมาสร้าง ณ ที่ ตั้ ง ป ั จ จุ บั น ข อ ง จั ง ห วั ด นครราชสี ม าแล้ ว เรี ย กว่ า “นครราชสีมา” แต่ก่อนออก เสียงและเขียนเป็น “นครราช

สิมา”. ๒. (ดู โคราฆะปุระ ประกอบ). ๓. น. ชื่อต�ำบลหนึ่งในอ�ำเภอ สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. ๔. น. แอ่งอารยธรรมของ อีสานตอนใต้ ชื่อ “แอ่ง โคราช” มีลักษณะยกตัวขึ้น เป็นที่ราบสูงรูปโต๊ะแบนเรียบ. ๕. น. ชื่อเพลงพื้นเมืองของ โคราชที่ว่าแก้กันเป็นท�ำนองตี ฝีปากโต้คารมกันบ้าง เกี้ยว พาราสีกันบ้าง, ชมธรรมชาติ บ้าง มีลักษณ์เด่นคือเสียงร้อง ว่า “ไช ชะ ชะ ชิง ชาย....” บางจังหวะร�ำแบบขย่มตัว บาง ช่วงมีตบ มือ ไม่มีเครื่องดนตรี ใด ๆ ประกอบ. โคราชเมืองมวย น. ค�ำกล่าวขาน เมืองโคราชในสมัยหนึ่งว่าเป็น เ มื อ ง มี ชื่ อ เ สี ย ง ใ น เ รื่ อ ง มวยไทย. โค่โล่ [โข่-โหฺล่] ๑. ว. ไม่เป็นท่า (ใช้ แก่การล้ม). ๒. ว. หมดเกลี้ยง. ๓. ว. ล่อนจ้อน. ๔. ว. ทนโท่, จะ ๆ, โดดเด่น, เด่นชัด, อย่างจะแจ้ง เช่น นอน ตายโข่โหล่ (นอนตายอยูท่ นโท่). ใครเขาเคย ว. ไม่เคยมีใครเขาท�ำอย่าง 71

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ไคลดิน - ฆ่าช้างซิดายเกลือ นี,้ ไม่มใี ครเขาเคยท�ำกัน เช่น ใครเขาเคยจะได้ เ ป็ น เหมื อ น ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ 72

หลานอา (นิ.พระปาจิต). ไคลดิน น. ตะไคร่น�้ำ.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ฆ้องจังไร [ค่อง-จั่ง-ไล] ดู ฆ้องดัง เอง. ฆ้องดังเอง [ค่อง-ดัง-เอง] (ส�ำ) ก. ยกหางตัวเอง, พูดจายกย่อง ตัวเอง; เปรียบกับฆ้องจะต้อง มีคนตีถึงจะดัง ถ้าดังเองถือว่า เป็นฆ้องจัญไรเปรียบได้กับคน ที่ชอบยกยอตนเอง เช่น ก็ใคร เขาตี สัก ที หนอไอ้ฆ่องเอ๋ยมึง ดังเอง (เพลงโคราช). ฆ้องยอด [ค่อง-ยอด] น. ฆ้องวงแต่มี ขนาดเล็กกว่าฆ้องเอก. ฆ้องหม่อง [ค่อง-หฺมอ่ ง] น. ฆ้องเหม่ง ขนาดเขื่องกว่าฆ้องกระแต มี เชื อ กผู ก ร้อยหูแขวนห้อยกับ ไม้ ส� ำ หรั บ ตี ป ระกอบจั ง หวะ

หรือส่งเสียงเพื่อป่าวประกาศ เวลาตีจะมีเสียงดังหม่อง ๆ.

ฆ้องหม่อง

ฆ้องเอก [ค่อง-เอก] น. ฆ้องวง. ฆ่าช้างซิดายเกลือ [ข่า-ช่าง-ซิ-ดายเกื อ ] (ส� ำ ) ท� ำ การใหญ่ แ ต ่ เสี ย ดายของเล็ ก น้ อ ย หรือท�ำการใหญ่แต่ตระหนี่.

73

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินทรงเยี่ยมชมกิจการและผลงานทางวิชาการ ของวิทยาลัยครูนครราชสีมา วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๐๗

74


พจนานุกรม ภาษาโคราช

งง ว. อาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ชาย เช่น เดินไปเจ๊ดแปดท่ง กระดอไม่งงซักที (เพลงก้อม). ง่ง ๆ ดู โง่ง ๆ งงเต็ก [งง-เต่ก] (ปาก) ว. งงงัน, งง เป็นไก่ตาแตก, งงจนท�ำอะไร ไม่ถูก. งบ [ง่บ] ก. ปิด, คว�่ำลงปิด เช่น ง่บ ขนมคร่ก (เอาขนมครกฝาหนึ่ง คว�่ำทับอีกฝาหนึ่ง). งมโข่ง ว. มัวท�ำอะไรอยู่จึงไม่รู้เรื่อง รู้ราวอะไร, ไม่ทันเหตุการณ์. งวก ก. หัน, หันขวับ, หมุนกลับ, วกกลับ. งวม ว. คว�่ำ (ใช้แก่ภาชนะ).

ท�ำนิ้วมืองอ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้นิ้ว ชี้งอพร้อมกับร้องว่า “งอ ๆ ถ้าจั๊บตัวได้ จิ ให่ขึ่นคอ” ใคร ถู ก จั บ ได้ ก็ จ ะถู ก ขี่ ค อและมา เป็นคนไล่จับแทน เช่น ลงเล่น น�้ำมุดด�ำในสาคร บ้างหลอก หลอนลวงล่อเล่นงอกัน (นิ. พระปาจิต). ๒. ลักษณะลอยตัวอยู่ในน�้ำ หรื อ ว่ า ยโดยให้ มื อ และเท้ า อยู่ใต้ผิวน�้ำ. ๓. ว. งอหาย, อาการที่เงียบ หายไปเนื่ อ งจากร้ อ งไห้ ห นั ก หรือหัวเราะเพราะข�ำมาก จน หายใจไม่ทันต้องใช้ก�ำปั้นทุบ หลังให้หาย เช่น จะร้องระงม งอจนคอขม (สุภมิต ฯ). ง็อก ๆ ว. ตัวเป็นเกลียว เช่น ท�ำงาน ง็อก ๆ. ง่องแง่ง ก. งอแง, ขี้อ้อนจนน่า ร�ำคาญ (ใช้แก่เด็ก), อาการที่ เดินอย่างเหนื่อยล้า. งอนตุ๊บป่อง ว. โกรธอย่างแสนงอน, อาการที่โกรธอย่างน้อยใจหรือ ไม่พอใจเพื่อให้ง้อ. ง่อมแง่ม ว. หมดสภาพ เช่น ขาบวม

งวม

งอ ๑. น. การเล่นอย่างหนึ่งเล่นในน�้ำ ให้ ค นหนึ่ ง เป็นฝ่ายไล่จับโดย อีกฝ่ายจะคอยหนีและล้อโดย 75

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


งอย - งูเงี้ยวเขี้ยวตะขาบ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เลยอยู่ง่อมแง่มเฝ่าเรือน. งอย ก. ห้อย (ใช้แก่การนั่งโดยขาไม่ ถึงพื้น), อยู่หมิ่น ๆ เช่น นั่งงอย ขา, นั่งงอยขอน (นั่งยอง ๆ บน ขอนไม้ ใ นลั ก ษณะหมิ่ น ขอบ), ยามมั ว นั่ ง งอยง่ ว งเสี ย ท่ ว งที (สุภมิต ฯ). งอยกา ดู หงายเหงือก. งอล่องง่อง ว. งอคดโค้ง. งะ [ง่ะ] ก. งัด, ท�ำให้เผยอหรือ เคลื่ อ นที่ โ ดยใช้ วั ต ถุ ห รื อ สิ่งของยาวคัด, แงะ ก็ว่า. งัวใครเข้าคอกคนนัน้ [งัว-ไค-เข่า-คอกคน-นัน่ ] (ส�ำ) ก. สิง่ ของ ๆ ใคร ย่อมเป็นของคน ๆ นัน้ เปรียบกับ วั ว ที่ กั บ เข้ า คอกของมั น เอง; ส่ ว นที่ เ ป็ น ของใครก็ ย ่ อ มตก เป็นของคน ๆ นั้น. งัวตัวเขียวผูกหลักเดียวหัวจุม้ เป็นหมู่ [งัว-ตัว-เขียว-ผูก-ลัก-เดียวหัว-จุม้ -เป็น-หมู]่ (ปริศ) น. มะละกอดิบอยูบ่ นต้น. งัวต่าง น. การเล่นอย่างหนึ่ง ใช้คน เล่น ๓ คน คนหนึ่งเป็นวัว หมอบคลาน อีก ๒ คนเป็น ต่าง ใช้ขาของคนทั้งสองพาด บนหลังคนที่เป็นวัวแล้วจับขา ดึงกันไว้ เสร็จแล้ววัวก็คลาน ไป สลับกันเป็นวัวไปเรื่อย ๆ. 76

หมายเหตุ ต่าง คือภาชนะ ส� ำ หรั บ บรรทุ ก สิ่ ง ของมี ค าน พาดไว้บนหลังสัตว์พาหนะ.

งัวต่าง

งัวเมือง (ส�ำ) น. คนที่มีแววฉลาด, รู้ ทันคนอื่น; เปรียบได้กับวัวที่ อยู่ในเมืองที่สภาพแวดล้อมดี จึงช่างรู้กว่าวัวบ้านนอก งานคุณหญิงโม ดู งานท้าวสุระ. งานท้าวสุระ [งาน-ท่าว-ซุ-ล่ะ] น. งานฉลองวันแห่งชัยชนะของ ท่านท้าวสุรนารีเป็นงานประจ�ำปี ของจังหวัดนครราชสีมา เริ่ม วันที่ ๒๓ มีนาคม เป็นต้นไป เดิมเป็นงานที่ชาวเมืองโคราช จัดงานเฉลิมฉลองการก่อสร้าง อนุสาวรียค์ รัง้ แรก เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ แต่ก่อนเรียกว่างาน คุณหญิงโม, งานท้าวสุรนารี เรียกสัน้ ๆ ว่า “งานท้าวสุระ


พจนานุกรม ภาษาโคราช [งาน-ท่าว-ซุ-ร่ะ]” ปัจจุบันคน ทัว่ ไปเรียก “งานย่าโม”. ง่ามขา น. ช่วงระหว่างขาอ่อนทั้งสอง. งามติ๊มิ ว. งามน่ารักน่าเอ็นดู. ง่ามไม้ [ง่าม-ม่าย] น. คาคบ, ง่าม ต้นไม้ที่กิ่งใหญ่กับต้นแยกกัน. ง่าว ก. ลดขนาดจากยาวเป็นสั้น; ใช้ ประกอบค�ำว่าหด เช่น หน่าผา สูงจนห�ำฮดง่าว (หน้าผาสูงจน ห�ำหดสั้นจู๋; ที่อุทยานแห่งชาติ ป่าหินงาม จังหวัดชัยภูมิมีผา ห�ำหด), ย่าว ก็ว่า. งึด [งึ่ด] ว. แปลกใจ, ประหลาด, น่าพิศวง, ฉงนสนเท่ห์. งึบ ก. ปิดบัง, เก็บเงียบ. งุบ ว. เงียบ. งุ่มง�่ำ ก. งึมง�ำ, พึมพ�ำ. งูกินหาง น. การเล่นอย่างหนึ่ง เล่นได้ ๒ วิธี คือ ๑. กินหางตัวเอง ผู้เล่นจะเกาะ เข็มขัดหรือเอวกันเป็นแถวให้ คนหัวแถวเป็นแม่งูคอยเลี้ยว จับคนหางแถว คนที่ถูกจับได้ จะออกไป ท�ำเช่นนี้จนหมด. ๒. พ่องูตัวหนึ่งมากินหางแม่งู ให้คน ๆ หนึ่งเป็นพ่องู คอยจับ ลูกงูที่เกาะกันเป็นแถว โดยคน หัวแถวจะคอยปกป้องไม่ให้พอ่ งู จับลูกงู ลูกงูที่ถูกจับได้จะออกไป

ท�ำเช่นนีจ้ นหมด แล้วผัดเปลีย่ น กันเป็นแม่งลู กู งู หมายเหตุ วิธที ี่ ๒ เดิมไม่ปรากฏ ว่ามีการสนทนาประกอบ ภาย หลังมีการสนทนาโต้ตอบกันดังนี้ พ่องู : “แม่งูเอ๋ย กินน�่ำ บ่อไหน” แม่งู : “กินน�่ำบ่อหิน” แล้ว แม่งูและลูกงูท�ำท่าบิน พร้อม กับร้องว่า “บินไปก็บินมา” พ่องู : “แม่งูเอ๋ย กินน�่ำ บ่อไหน” แม่งู : “กินน�่ำบ่อโศก” แล้วทั้งแถวโยกตัวไปมาพร้อม กับร้องว่า “โยกไปก็โยกมา” พ่องู : “แม่งูเอ๋ย กินน�่ำ บ่อไหน” แม่งู : “กินน�่ำบ่อทราย” ทั้ ง แถวท� ำ ท่ า ย้ า ยตั ว ไปมา พร้อมกับร้องว่า “ย่ายไปก็ ย่ายมา” พ่องู : “กินหัวกินหาง กิน กลางตลอดตัว” (พูดอย่าง รวดเร็ว) แล้วพ่องูก็ไล่จับลูกงู แม่งูก็จะต่อสู้ป้องกัน อนึ่งบท สนทนานี้ แ ต่ ล ะแห่ ง อาจแตก ต่างกัน. งูเงี้ยวเขี้ยวตะขาบ [งู-เงี่ยว-เขี่ยวตะ-ขาบ] น. งูเงี้ยวเขี้ยวขอ, 77

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


งูดินกินลึก - โง่มเง่ม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

สัตว์มีพิษนานาชนิด. งูดนิ กินลึก [งู-ดิน-กิน-ลึก่ ] (ส�ำ) น. คน ทีม่ ที า่ ทางหงิม ๆ มักมีความคิด ลึกซึง้ ; ท�ำนองเดียวกับส�ำนวน น�ำ้ นิง่ ไหลลึก. งูดินโคราช น. งูดินชนิดหนึ่งพบมากที่ โคราช จึงเรียกว่า งูดินโคราช. เง้ก ๆ ว. เอ๋ง ๆ , เสียงอย่างเสียง หมาร้อง, เยก ๆ ก็ว่า. เงอะ ๆ งะ ๆ พอปาน แร้งเมากลอย [เง่อะ-เง่อะ-ง่ะ-ง่ะ-พอ-ปั่นแล่ง-เมา-กอย] ว. เงอะงะ, เก้ ๆ กัง ๆ; เปรียบได้กบั แร้งทีไ่ ปกิน กลอยแล้วเมา. เงาหัว (ส�ำ) ฐานะ เช่น ไม่ดูเงาหัว (ไม่ดูฐานะของตน, ไม่เจียมตัว, ไม่เจียมกะลาหัว). เงาะ [เง่าะ] ดู เก้าะ. เงาะเหงิบ [เง่าะ-เหฺงิบ] ดู กระดก กระเดื่อง. เงิง ๑. ก. อ้า, เปิดอ้า, เผยอ. ๒. ว. อาการคนชราที่ไม่มีแรง. เงิบ ใช้ประกอบค�ำว่า หงาย ให้มคี วาม หมายเด่นชัดขึน้ เช่น หงายเงิบ (หงายหลังพร้อมกับคอพับไป ข้างหลัง). เงิ บ งาบ ก. เนิบนาบ, เชื่องช้า, ไม่ฉับไว. เงิบเงย ก. เงย, เงยหน้า เช่น จงเงิบ 78

เงยคอยฟังบ้างปะไร (สุภมิตฯ), เหงิ บ เงย ก็ ว ่ า , (ดู เหงิ บ ประกอบ). เงี่ยงดุก [เงี่ยง-ดุ๊ก] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Canthium berberidifolium Geddes ในวงศ์ Rubiaceae. เงียดงอ ว. ร้องไห้จนหมดเสียงตัวงอ เช่น จะร้องไห้เงียดงอให้พ่ออุ้ม (สุภมิต ฯ). เงียบกรึบ [เงียบ-กึ๊บ] ว. เงียบกริบ. เงียบงอม ว. เงียบต๋อม, เงียบหายไป โดยไม่มีข่าวคราว, เงียบหาย ไปเป็นเวลานาน, เงียบงอม ปอมปีก ก็ว่า. เงียบงอมปอมปีก ดู เงียบงอม. เงียบจ้อย ว. เงียบกริบ, เงียบหายไป โดยไม่มีข่าวคราว, เงียบจ้อย พอปานหอยท�ำบุญ ก็ว่า, ถิ่น อีสานใช้ว่า มิดจี่ลี่. เงียบจ้อยพอปานหอยท�ำบุญ [เงียบจ้อย-พอ-ปั่น-หอย-ท�ำ-บุน] ดู เงียบจ้อย. เงื อ ดง่ า ก. เงื้ อ ง่ า , เงื อ ดเงื้ อ , เงื้อค้างท่าไว้ เช่น เงือดง่า พระขรรค์ จ ะฟั น เสี ย เปล่ า (นิ.รูปทอง). เงื่อนกระทบ [เงื่อน-กะ-ท่บ] น. เงื่อน พิรอด ; เงื่อนที่เป็นห่วงคล้อง กระทบกัน.


พจนานุกรม ภาษาโคราช แง่ง น. บั้ง, แถบเครื่องหมายยศ ทหารหรือต�ำรวจชั้นประทวน. แง็ด [แง่ด] ก. งัด, ท�ำให้เผยอหรือ เคลื่อนที่ โดยใช้วัตถุยาวคัด, แค่ด ก็ว่า. แงน ว. งอน, ส่วนปลายแห่งของ บางอย่างที่ช้อยขึ้น, โง้งขึ้น เช่น ก้นแงน. แง็บ [แง่บ] ก. งับ, อาการที่อ้าปาก คาบหรือกัดโดยเร็ว. แง่ม ๑. ว. ติ่ง, ง่าม, เช่น แง่มไม่ (ง่าม ไม้), แง่มตูด (ง่ามก้น). ๒. ก. แย้ม, เผยแต่น้อย ๆ.

แงะ [แง่ะ] ก. หันขวับ, หันหน้าโดย เร็ว, ชะแงะ ก็ว่า. โง ว. ย้อนกลับ, ย้อนมา, วกกลับ, เบน, โค้ง. โงกเงก ว. โงนเงน, เอียงเอนไปมา, โอนเอนไปมา. โง่ง ๆ ว. โฮ่ง ๆ; เสียงหมาเห่ากระโชก เช่น หมาเห่าโง่ง ๆ, ง่ง ๆ ก็ว่า. โง่บัดซบ [โง่-บั๊ด-ซบ] ว. โง่เง่า, โง่มาก. โง่ไม่แจกใคร ว. โง่อยู่คนเดียว. โง่มเง่ม ว. อาการเชื่องช้า.

งูกินหาง

79

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนิน ไปทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่บุษบกเหนืออุโบสถวัดบ้านไร่ ต�ำบลกุตพิมาน อ�ำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๘ 80


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ซึม

จก [จ๊ก] ๑. ก. จก, ล้วง, ควัก, ขุด. ๒. น. จอบ, เครื่องมือส�ำหรับ ขุ ด ดิ น หรื อ ถางหญ้ า ท� ำ ด้ ว ย เหล็กหน้าแบนกว้างมีด้ามยาว ส�ำหรับจับ.

เหล่า เช่น จตุรังคมนตรี เสนี เสนา มหาดเล็ก (นิ.รูปทอง). จ่น ๑. ว. ยุ่ง, ไม่ว่าง, ๒. ว. คั บ คั่ ง , แออั ด , เบียดเสียดกัน. จน ๆ แก้ผ้าขี้ [จน-จน-แก้-ผ่า-ขี่] (ปาก) (ส�ำ) จนชนิดที่สิ้นเนื้อ ประดาตัว, จนมากจนไม่มีแม้ เสื้อผ้าจะสวมใส่. จบกัน [จ๊บ-กัน] ก. บรรจบ, พบ เช่น แม่น�่ำสองสายมาจ๊บกัน (แม่น�้ำสองสายมาบรรจบกัน). จมูกหยี่ น. จมูกบี้, จมูกแฟบ. จมูกโหว่ น. จมูกโหว่เป็นรูแลเห็นลึก. จรจัน ก. จรจรัล, เดินทาง, เที่ยวไป. จวก ๑. ก. จั่ว, ลากไพ่จากกองมาเปิด. ๒. ก. ต่อว่า, ต�ำหนิ, พูด โต้ตอบ. จ้วด ว. มาก, จี๋, รวดเร็ว เช่น ร่อน ท่องจ้วด (ร้อนท้องจี๋), เพ็ดจ้วด (เผ็ดมาก). จวนผู้ว่า น. บ้านพักผู้ว่าราชการ จังหวัด, ถิ่นอีสานใช้ว่า จวน หมายถึง รั้วที่ฝังด้วยไม้แก่น เป็นระเบียบ เช่น รั้วบ้านพัก ผู้ว่าราชการจังหวัด.

จก

จกคอราก [จ๊ก-คอ-ลาก] ก. เอามือล้วงคอให้อาเจียนเพราะ ผะอืดผะอม. จกปากไม่กัด [จ๊ก-ปาก-ไม่กั๊ด] (ส�ำ) ว. ไม่มีพิษสงอะไร, ไม่มีอันตราย. จ้ ก ง่ ก ก. นั่ ง ในลั ก ษณะขี้ เ กี ย จ หลังยาว. จ่ง ก. กันไว้, ขยัก, เหลือไว้, แบ่งไว้. จ่งด่ง ว. สูงมาก เช่น จ่งด่งเหมือน หวู ด โรงสี , ถิ่ น อี ส านใช้ ว ่ า ก่งด่ง. จ่งหล่ง ๑. ว. โด่, โด่เด่, สูงเด่น. ๒. ว. จืดไม่มีรสชาติ, จ่องหล่อ ง, จ๋องหล๋อง ก็ว่า. จตุรังค [จะ-ตุ-ลัง-คะ] ว. องค์ ๔ 81

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


จ๊วบ - จั๊กกะโต่งดีดไม่ตาย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

จ๊วบ ว. เสียงดูดของเหลว เช่น ดูดน�่ำหวานจ๊วบ ๆ. จ่อ ก. ก่อไฟ, จุดไฟ. จ้อ ว. ใกล้, กระชั้น, ชิด. จ้อกกร้อก [จ้อก-ก้อก] ๑. ว. จน, ฝืดเคือง, หมดหนทาง. ๒. ว. เตี้ยอย่างคนแคระ. จ้อก้อ ว. อาการมึนงง, ซึม, เซ่อ, เซื่อง, สลึมสลือ ในลักษณะ มึ น งง เช่น นักมวยถูกชก นั่งจ้อก้อ (นั่งมึนงง, นั่งเซ่อ). จ้อกง่อก ก. นั่งในลักษณะขี้เกียจ. จ้อกด้อกแจ้กแด้ก ว. สั้นจู๋. จ๋อง ว. หงอยเหงา, ซึมเซา. จ่องหง่อง ว. จ๋อง, หงอยเหงา, ซึมเซา. จ่องหล่อง ดู จ่งหล่ง ๒. จ๋องหล๋อง ดู จ่งหล่ง ๒. จอด ๑. ก. บัดกรี, เชื่อม, ประสาน โลหะให้ตดิ กัน, ปะ เช่น จอดยาง, จอดสังกะสี. ๒. ก. จด, จรด. จอดไม่ต้องแจว (ปาก) (ส�ำ) ก. ไม่มี ทางสู้, พ่ายแพ้อย่างหมดท่า หมดหนทาง, หยุดสนิท. จอดหลอด ว. แคบมาก. จ่อด่อ ว. สั้นจู๋. จ่อด่อแจ่แด่ ว. โด่เด่. จอนจ่อ ว. จู๋, สั้นมาก, หดไปมาก เช่น 82

เอ็ น อี ก อั น นั่ น สั้ น จอนจ่ อ พวก ผูห้ ญิงได้ลอ่ กันทุกคนไป (ช้าเจ้า หงส์ดง), จอนจ๋อ ก็ว่า เช่น กอดหัวเข่า จอนจ๋อเขาล่อชม (สุภมิต ฯ), จอนจ๋อ ดู จอนจ่อ. จอบ น. เสียม. จ้อบง่อบ ว. งุ้ม, เตี้ย เช่น หลังคา บ้านจ้อบง่อบ. จ่อไฟ ก. ก่อไฟ. จ่อม ๑. น. อาหารอย่างหนึ่งคล้าย ไส้ ก รอกและหม�่ ำ ของอี ส าน ใช้เครื่องในหมูหรือวัว ข้าวคั่ว ปรุง. ๒. ก. ลักษณะการท�ำงานที่ เลื่อนลอย, ไม่คงที่ไม่แน่นอน เช่น จ่อมตรงนั่นทีตรงนี่ที. จ๋อม ก. ต๋อม, เสียงสิ่งของขนาดเล็ก ตกลงไปในน�้ำ. จ่อมเจ้าะ ว. จ�ำเพาะ, คับแคบ. จ่อมหง่อม ก. งอตัว, ห่อตัว, อาการ นั่งชันเข่าค้อมหลังลง. จ่อมหล่อมแจ่มแหล่ม ว. จิ้มลิ้ม, น่ารักน่าเอ็นดู. จอย ว. ผอม, โซ, จ่อย ก็ว่า. จอยฮอย ว. ผ่ายผอม, โซ. จ่อย ดู จอย. จ้อย ว. สนิท, แล้ว; ใช้ต่อท้ายค�ำเพื่อ เน้ น ค� ำ ให้ มี ค วามหมายเด่ น ,


พจนานุกรม ภาษาโคราช ชัดเจนขึ้น เช่น หายจ้อย (หาย วับ, หายไปโดยไม่มีข่าวคราว), เงียบจ้อย (เงียบกริบ), เย็น จ้อย (เย็นเจี๊ยบ), ตายจ้อย (ตายแล้ว), ไปจ้อย (ไปแล้ว). จ่อยหล่อย ว. จ๋อย, หน้าจืด, ซีดเซียว. จ่อหว่อ ว. แคบ (ใช้แก่ภาชนะ) เช่น ขวดคอจ่อหว่อ. จอหอ น. ชื่อต�ำบลหนึ่งอยู่ในอ�ำเภอ เมืองนครราชสีมา (ข.จอฮอ หมายถึงด่าน). จ่อหอ น. เรือนหอที่ยังสร้างไม่เสร็จ, ถิ่นอีสานใช้ว่า จ่อ หมายถึง เริ่มท�ำ. จ้ะ ว. เป็นค�ำขานรับ เช่นเดียวกับ ค่ะ, ครับ. จะ….ง่ายมั้ย ว. จะ… เร็วไหม, นาน ไหมถึงจะ.… เช่น จะท�ำให่งา่ ย มั้ย (จะท�ำให้เร็วไหม), จะมาง่า ยมั้ย (นานไหมถึงจะมา), จะ ยาก…..มั้ย ก็ว่า เช่น จะยาก มามั้ย (จะมาเร็วไหม, นานไหม ถึงจะมา). จะบก [จะ-บ๊ก] น. กระบก, ต้นไม้ ขนาดใหญ่ เมล็ดแข็ง เนื้อใน ขาว มีรสมันกินได้. จะบกกรั ง [จะ-บ๊ ก -กั ง ] น.ไม้ ต ้ น ประเภทก่ อ ชนิ ด Lithocar pus truncatus Rehd. &

Wils. ในวงศ์ Fagaceae นักพฤกษศาสตร์เรียก ก่อด�ำ, ถิ่นเหนือเรียกก่อดูก, ก่อเหล็ก. จะบูน น. มดลูก. จ้ะม่ะ ว. จ๊ะ, เจอะกันโดยบังเอิญ, กะมะ, คะมะ, ชะมะ ก็ว่า. จะยาก…..มั้ย ดู จะ.....ง่ายมั้ย. จ้ะว่ะ ดู จ่างจ้ะ. จะหลึน ว. ทะเล้น, ทะลึ่ง, หน้าเป็น. จะหลุนเชือก ก. ปั่นเชือก, ฟั่นเชือก. จ้ะเหม่ [จ้ะ-เหฺม่] น. จ๊ะเอ๋; ค�ำหยอก ล้อกัน. จะโหล ก. โผลไป, ถลา. จั๊ก ๑. ว. ไม่รู้, ไม่ทราบ, จั๊กเด่, จั๊กแหละ, จั๊กแหล่ว ก็ว่า. ๒. เป็นค�ำประกอบหน้าค�ำอื่นมี ความหมายว่าเท่าไร, กี่, สัก เช่น จั๊กบาท, จั๊กคน, จั๊กที. จั๊กเด่ ดู จั๊ก. จั๊กแหล่ว ดู จั๊ก. จั๊กแหละ ดู จั๊ก. จั๊กกะเดี๋ยว ว. ประเดี๋ยว, สักประเดี๋ยว. จั๊กกะต๊ะ ก. จักตอก. จั๊กกะติ๊ด ว. สักนิด, นิดหน่อย, ไม่มาก, จั๊กตี๊ด ก็ว่า. จั๊กกะแตน น. ตั๊กแตน. จั๊กกะโต่ง น. ตั๊กแตน. จั๊กกะโต่งดีดไม่ตาย (ส�ำ) เล็กน้อย ไม่ถึงกับตาย, เจ็บแค่จั๊กกะโต่ง 83

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


จั๊กกะลัน - จ่างจ้ะ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ดีด ก็ว่า. จั๊กกะลัน ๑. ก. ต�ำข้าวครกกระเดื่อง อย่างถี่ ๆ หรืออย่างกระชั้น. ๒. น. ไม้เขีย่ ข้าวใช้เขีย่ ทีก่ น้ ครก เพือ่ ให้ตำ� ทัว่ ถึง. จั๊กกะลึน ก. สยิว, รู้สึกเสียวซ่านจน ขนลุก. จั๊กกะหรีด น. จิ้งหรีด. จั๊ ก กะหลี ก . จั๊ ก จี้ , จั๊ ก กะเหลี ย ม, จั๊กกะเหลือม ก็ว่า จั๊กกะเหลน น. จิ้งเหลน. จั๊กกะเหลียม ดู จั๊กกะหลี. จั๊กกะเหลือม ดู จั๊กกะหลี. จั๊กกะไหล่ ดู กะไหล่. จั๊กตี๊ด ดู จั๊กกะติ๊ด. จักนวล ดู กล้วยจับนวล. จักราช [จั๊ก-กะ-หฺลาด] น. ชื่ออ�ำเภอ หนึ่ ง ในจั ง หวั ด นครราชสี ม า ตามประวัติเมื่อมีการยกฐานะ เป็ น กิ่ ง อ� ำ เภอใช้ ชื่ อ ว่ า กิ่ ง อ� ำ เภอท่ า ช้ า ง ที่ ว ่ า การกิ่ ง อ� ำ เภอตั้ ง อยู ่ ที่ บ ้ า นท่ า ช้ า ง ต�ำบลท่าช้าง ต่อมาได้รับการ ยกฐานะเป็ น อ� ำ เภอและย้ า ย มาตั้งที่ว่าการที่ตลาดจักราช มีล�ำน�้ำจักราชไหลผ่าน จึง เปลี่ยนชื่อเป็นอ�ำเภอจักราช. จั๊กแร้ [จั๊ก-กะ-แล่] น. รักแร้. จั๊กวาย ว. ใช้ประกอบค�ำอื่นเพื่อเน้น 84

ค� ำ ให้ มี น�้ ำ หนั ก หรื อ มี ค วาม หมายไปในท�ำนองว่า จัง, จริง ๆ, อะไรนักหนา เป็นต้น เช่น มาก จัก๊ วาย (มากจริง ๆ), ด�ำจัก๊ วาย (ด�ำมากจริง ๆ), จะอวดไอกัน จั๊กวาย (จะอวดอะไรนักหนา), ซะปาย, ซะวาย, นักวาย, ละวาย, เหลือวาย ก็ว่า. จังงัง ก. ตั้งท่า, เตรียมพร้อม เช่น ไทยไม่หนีรุกรี่ขึ้นไววาง ท่าทาง ก�ำหมัดตั้งจังงัง (นิ.พระปาจิต). จังไร [จั่ง-ไล] ว. จัญไร, เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล; มี ความเชื่อว่าสุนัขขึ้นลอมข้าว ถือว่าจัญไรต้องนิมนต์พระมา สวดปัดเป่า. จังไรใหญ่ [จั่ง-ไล-ไหย่] ว. จัญไร มาก ๆ. จั๋งหนับ [จั๋ง-นับ] ว. จ�ำหนับ, เต็มที่, เต็มแรง. จังหัน น. ภัตตาหารเช้า, อาหารเช้า ของพระสงฆ์. จัดส�ำรับ [จั๊ด-ส�ำ-ลั่บ] ก. จัดอาหาร หลายอย่างเป็นชุด. จัตุดมภ์ [จั๊ด-ตุ๊-ดม] น. จัตุสดมภ์, จตุสดมภ์, ต�ำ แหน่งหัวหน้า ปกครอง ๔ ฝ่าย คือ เวียง วัง คลัง และนา เช่น หมู่อ�ำมาตย์ จัตดุ มภ์ทเี่ คยเฝ้า (นิ.พระปาจิต).


พจนานุกรม ภาษาโคราช จัตุมุข [จั๊ด-ตุ๊-มุ่ก] น. จตุรมุข. จันทร์โฉม น. ผักไผ่, แพรว, พริกม่า; ไม้ล้มลุก ต้นและใบมีกลิ่นหอม ฉุน. จันนกกรด [จัน-น่ก-ก๊ด] น. ไม้ยนื ต้น ข น า ด ก ล า ง ถึ ง ใ ห ญ ่ ช นิ ด Ellipanthus tomentosus Kurz., ssp. tomentosus var. tomen tosus ในวงศ์ Connaraceae กิง่ ก้านอ่อนมีขนละเอียด ใบรูป เดีย่ ว ดอกเล็กกลีบยาว ๕ กลีบ ม้วนออก ออกเป็นกระจุกทีง่ า่ ม ใบ แก้กษัย ตับทรุด ปวดท้อง นักพฤกษศาสตร์เรียก ตานนก กรด.

ลึกประมาณหน้าอก หาใบไม้ หรือวัสดุที่ลอยน�้ำได้วางกลาง วง แล้วแต่ละคนตีน�้ำใส่กันเมื่อ ส่ ง สั ญ ญาณให้ ห ยุ ด แล้ ว ใคร จั บ ใบไม้ ห รื อ วั ส ดุ นั้ น ได้ ก ่ อ น ก็จะได้ขย�ำหูคนอื่น ๆ แต่ถ้า คนไหนไหวทันรีบด�ำน�้ำหนีก่อน ก็จะไม่ถูกขย�ำหู. จับเจี้ยว [จั๊บ-เจี้ยว] น. เล็บเหยี่ยว; พรรณไม้ชนิดหนึ่งมีผลเล็ก ๆ รั บ ประทานได้ , ทั บ เหยี่ ย ว, ทับเยี่ยว, ยับเยี่ยว ก็ว่า. จับนวล [จั๊บ-นวล] น. กล้วยที่แก่ได้ที่ ผิวจะมีสีนวลขาว, (ดู กล้วย จักนวล ประกอบ). จ๋า น. สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนผู้ที่เรา เคารพ เมื่อพูดถึง (มักใช้แก่ เด็ก ๆ) เช่น จ๋าอยู่มั้ย (พ่อ, ลุง, ป้า อยู่ไหม) ; มาจากค�ำว่า พ่อจ๋า แม่จ๋า หรือลุงจ๋า. จ้าก ๑. ว. เสียงอย่างฝนตกแรง, ฉ่า, จั้ก ๆ. ๒. ก. ไหลออกมาในฉับพลัน เช่น น�่ำลายแตกจ้าก (น�้ำลาย ไหลออกมาทันที). จ๊าก ก. ร้องเสียงหลง, ส่งเสียงร้องดัง ผิดปกติ. จ่าง ก. ถ่าง. จ่างจ้ะ ว. อล่างฉ่าง, อ้าซ่า,

จันนกกรด

จับงัวให้ทนั ขี้ [จับ๊ -งัว-ไห่-ทัน-ขี]่ (ส�ำ) ก. คิดจะท�ำอะไรก็รีบท�ำให้ทัน การณ์, จับควายให้ทันขี้ ก็ว่า. จับควยให้ทันขี้ [จั๊บ-ควย-ไห่-ทัน-ขี่] ดู จับงัวให้ทันขี.้ จับจ่อม [จั๊บ-จ่อม] น. การเล่นอย่าง หนึ่ง โดยผู้เล่นยืนล้อมวงในน�้ำ 85

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


จ้างก็ไม่ - จุ้ม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ถ่างขาออกไปอย่างเปิดเผย, ถ่างขาจนเห็นขาอ่อน เช่น นั่ง จ่างจ้ะ, ยืนจ่างจ้ะ, จ้ะวะ ก็ว่า, ถิ่นอีสานใช้ว่า ก่างก๊ะ. จ้างก็ไม่ ว. ใช้ประกอบค�ำอื่นมีความ หมายเชิงปฏิเสธ เช่น จ้างก็ ไม่เชื่อ, จ้างดาก็ไม่ ก็ว่า. จ่างก่าง ว. แข็งมาก. จ้างดาก็ไม่ ดู จ้างก็ไม่. จาน น. ทองกวาว. จารึกบนหนังหมา ดู ตราลงหนังหมา. จ้าว น. ผูต้ งั้ ต้นเล่นเกม เช่น หมากเก็บ, หึ่ง, ผู้ตั้งต้นในวงการพนัน เช่น ไพ่. จ�้ำบ๊ะ น. การแสดงโป๊โดยหญิงเต้น และเปลื้ อ งผ้ า ที ล ะชิ้ น เปลื อ ย กายยัว่ เย้ากามารมณ์, แซ็ดบอม ก็ว่า. จ�ำปาก น. จ�ำปาศักดิ์หรือเมืองนคร จ�ำปาศักดิ์ เช่น แกบอกว่านาม พาราชื่อว่าเมืองจ�ำปาก, กรุง กษั ต ริ ย ์ เ จ้ า จ� ำ ปากผู ก นาถา (นิ.พระปาจิต), นครชัยเมือง จ� ำปากนาคบุรี (สุภมิต ฯ). จ�ำพะเอิญ ว. บังเอิญ, เผอิญ, เกิดขึ้น โดยไม่รู้ตัว. จ�ำมะลัง ว. คงที่, ประจ�ำ, ไม่ เปลี่ยนแปลง. จ� ำ หยาน น. พรรณไม้ชนิด หนึ่ง ผล 86

ติดกันรับประทานได้, ต�ำหยาน ก็ว่า. จ�ำหืน ว. ฝืนใจท�ำ, เสแสร้ง. จ�้ำอ้าว ว. โดยเร็ว, อาการที่ท�ำเร็ว ๆ ถี่ ๆ เช่น พายจ�้ำอ้าว. จ�ำโอ ก. อาเจียน, ส�ำรอกอาหารออก ทางปาก, จ�ำโอโรราก ก็ว่า. จ�ำโอกันละโอก [จ�ำ-โอ-กันล่ะ-โอก] ก. อาเจียนกันเสียง โอ้กอ้าก. จ�ำโอโรราก [จ�ำ-โอ-โล-ลาก] ดู จ�ำโอ. จิ ว. จะ เช่น จิไปไหน (จะไปไหน), จี่ ก็ว่า . จิ้งจกต๊กแกทัก [จิ้ง-จ๊ก-ต๊ก-แก-ทั่ก] ก. จิง้ จกตุก๊ แกหรือสัตว์สง่ เสียง หรือร้องเตือน เชือ่ กันว่าจะเกิด เรื่องอะไรสักอย่างขึ้นในเวลา ข้างหน้า. จิน ก. กิน เช่น จินเข่า (กินข้าว). จินรจา [จิน-ละ-จา] ก. เจรจา เช่น พรานก็ จ นไม่ รู ้ ที่ จ ะจิ น รจา (นิ.พระปาจิต). จิบ [จิ๊บ] น. เครื่องมือจับสัตว์น�้ำ ชนิดหนึ่ง ใช้เสาปักทางซ้าย และทางขวาเรียงกันเป็นล�ำดับ เอาเฝือกหรือกิ่งไม้กั้น ๒ ข้าง ระหว่ า งกลางมี ห ้ า งเล็ ก ๆ ส� ำ หรั บ นั่ ง จั บ เชื อ กที่ ผู ก กั บ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ปลายอวนที่กางกั้นให้ปลาเข้า จับเมื่อเวลาน�้ำไหล. จิม ก. จีม, เอาลิ่มเสียบแทรกลงไป เพื่อให้แน่น, จิ๋ม ก็ว่า. จิ้มมิ่ม ดู คิ่มมิ่ม. จีม ว. ติดกัน, ชิดกัน เช่น นั่งจีมกัน เลยน้อ. จืดจ่องหล่อง ว. จืด (ใช้แก่หน้า), จืด ไม่มีรสชาติ, จืดชืด, ลักษณะ อาหารที่มีน�้ำไม่เข้มข้นจนไม่มี รสชาติ, จืดจ๋องหล็อง ก็ว่า. จืดจ๋องหล็อง ดู จืดจ่องหล่อง. จืดเป็นไก่ต้ม ว. หน้าจืด, หน้าซีด, หน้าซีดเผือด. จื้น ๑. ว. เซ็ง, เลี่ยน, หมดรส, จืดชืด. ๒. ก. อาการมวนท้ อ ง, คลื่ น เหี ย น, คลื่ น ไส้ , เอี ย น, จื้ น ท้ อ ง ก็ ว ่ า . จื้นท้อง [จื้น-ท่อง] ดู จื้น.

กองไฟ. จุ้ ๆ ว. พอเหมาะ, พอดี เช่น เอาน�่ำล่ะ เลง น�ำ่ พริก่ พอจุ่ ๆ (เอาน�ำ้ ละลาย น�ำ้ พริกพอดี ๆ). จุ้ก ว. ร้อนผ่าว, ร้อนระอุ, จุ้ก ๆ ก็ว่า. จุ้ก ๆ ดู จุ้ก. จุกจิก [จุ๊ก-จิ๊ก] ว. จุบจิบ, อาการที่ กินพร�่ำเพรื่อทีละเล็กละน้อย, กระจุกกระจิก ก็ว่า. จุ้กจี้จุ้กจั้ก ก. พลุกพล่าน. จุกแอ้ก [จุก๊ -แอ้ก] ก. จุกแอ้ด, อาการ จุกจนพูดไม่ออก. จุ๊ค�่ำวันคืน น. กลางค�่ำกลางคืน, กลางคืน, ฉุกเฉิน เช่น เตรียม หยู ก ยาไว่ เ ผื่ อ เจ๊ บ ไข่ ไ ด้ ป ่ ว ย จุ๊ค�่ำวันคืน. จุ้งจ่า ว. สาธุ, ไหว้, สวัสดี; เป็นค�ำ บอกให้เด็กแสดงความเคารพ. จุ๊ดจี่ น. จี่; แมลงพวกด้วงปีกแข็ง อาศัยอยูต่ ามมูลสัตว์ เช่น ขีว้ วั , ขี้ควย, กุ๊ดจี่ ก็ว่า. จุ๊ดจู๋ ว. สั้นมาก, สั้นจู๋. จุ๋นจู่ ว . จุนจู๋, สั้น, สั้นมาก (ใช้แก่ หน้า) เช่น อึ่งพร่าวหน่าจุ๋นจู่ (อึ่งพร้าวหน้าสั้นหรือหน้ามู่ทู่). จุน้ พูน่ ว. พูน, เต็มจนนูน, อุน้ พูน้ ก็วา่ . จุ้ม ก. ลักษณะที่เอาศีรษะรวมเข้ามา ชิดกัน เช่น หัวจุ้มกัน (หัวก้ม ชิดกัน).

จุ๊ไฟ

จุ๊ ก. ใส่, ใส่ไฟ. จุ๊ไฟ ก. ดัน, ดุน,ไส, รุนฟืนที่ ไหม้ ไ ฟให้ เ ข้ า ไปในเตาหรื อ 87

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


จุ้มโพละ - แจ้งตามาเช้า จุ้มโพละ ดู ตุ้มบก. ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

จุมโพละ

จุ้ย (ปาก) ก. วางท่า, เต๊ะท่า, เต๊ะจุ้ย ก็ว่า. จุลาจล [จุ๊-ลา-จล] น. จลาจล เช่น เมฆหมอกเกลื่อนกล่น จุลาจล ไปทั้งสมุทรไทย (นิ.กุศราช). จูงกะเบน น. โจงกระเบน (ม้วนชาย ผ้ า นุ ่ ง แล้ ว ดึ ง ไปเหน็ บ ไว้ ข้างหลัง), จูงหาง ก็ว่า. จูงควายไม่เดิน [จูง-ควย-ไม่-เดิน] (ส�ำ) ไม่มีความสามารถ. จูงหาง ดู จูงกะเบน. จู้ด ว. หมดตัว, หมดทุน. เจ๊กโคก (ปาก) น. เป็นค�ำดูแคลน คนจีน ท�ำนองว่าเป็นคนเจ๊ก บ้านนอกคอกนาอยูใ่ นป่าในโคก. เจ่ น ว. มี ค วามหมายค่ อ นข้ า ง หลากหลาย เป็นต้นว่า จัง, ยิ่ง นัก, แท้ ๆ, จริง ๆ, มาก เช่น หนาวเจ่น (หนาวจัง, หนาวจริง ๆ), ไกลเจ่น (ไกลจัง, ไกลแท้ ๆ) ; อีกความหมายหนึง่ ว่าจนกระทัง่ , 88

จน, ตราบเท่า เช่น เอาเจ่นได้ (เอาจนได้), ตีแมวเอาเจ่นตาย (ตีแมวจนกระทั่งตาย), เก่น ก็ว่า. เจนจา ก. เจรจา เช่น ร้องโฉ่โห่สนั่น ขึ้นสามลา คนเจนจารู้เ รื่อง แล้วร้องไป (นิ.พระปาจิต). เจ็บกกลิ้น [เจ๊บ-ก๊ก-ลิ่น] เป็นค�ำพูด กระทบกระเที ย บคนโคราชที่ ดัดจริตพูดภาษาไทยกรุงเทพ เช่น อย่าดั๊ดล่างหลายไม่เจ๊บ ก๊ ก ลิ่ น นี (ดั ด จริ ต พู ด ภาษา กรุงเทพไม่เจ็บกกลิ้นเหรอ ). เจ็ บ ขี้ [เจ๊ บ -ขี่ ] ก. ปวดท้ อ งขี้ , ต้องการถ่ายอุจจาระ. เจ็บขี้วิ่งหาร่อง [เจ๊บ-ขี่-วิ่ง-หา-ล่อง] (ส�ำ) ก. จะคิดท�ำการใดก็ต่อ เมื่อเวลาจวนตัวเช่นเดียวกับ ส�ำนวนที่ว่า กินแกงร้อน. เจ็บแค่จั๊กกะโต่งดีด [เจ๊บ-แค่-จั๊กกะ-โต่ง-ดีด] ดู จั๊กกะโต่งดีด ไม่ตาย. เจ็บท้อง [เจ๊บ-ท่อง] ก. ปวดท้อง. เจ็บท้องร้องโห่ [เจ๊บ-ท่อง-ล่อง-โห่] ก. โอดโอย, ร้องเพราะความ เจ็บปวด. เจ็บเยี่ยว [เจ๊บ-เยี่ยว] ก. ปวดท้อง เยี่ยว, ต้องการถ่ายปัสสาวะ. เจ็บส�ำเหลียก [เจ๊บ-ส�ำ-เหฺลยี ก] ก. เจ็บ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ระบบบริเวณหลัง เช่น บัน้ เอว หรือ สะบักเวลายกสิ่งของจะ รู้สึกเสียวแปลบ หรือเจ็บแวบ แล่นเขาไปบริเวณหลัง, สะบักจม. เจ็ บ แสบพอปานเอาแหนบมาถอน หนวด [เจ๊บ-แสบ-พอ-ปั่นเอา-แหฺนบ-มา-ถอน-หฺนวด] (ส�ำ) ก. รู้สึกเจ็บใจ, เจ็บช�้ำ น�้ำใจ, กระเทือนความรู้สึกจน เสียใจ. เจริญ ๆ เถอะ [จะ-เลิน-จะ-เลินเทอะ] ว. ค�ำประชดประชัน ท� ำ นองว่ า ให้ เ จริ ญ ก้ า วหน้ า เถิด. เจ่อ ว. ฟันเหยิน, ฟันยื่นออกมา นอกปาก. เจ้อเล่อ ว. จ๊ะ, เจอกันโดยบังเอิญ. เจอเลอจั้กลั่ก ว. อาการรีบร้อน, ไม่มีมารยาท. เจอะเหวอะ [เจ้อะ-เว่อะ] ว. เหวอะหวะ, บาดแผลฉกรรจ์. เจ้าของ น. ตัวเราเอง. เจ้านาค น. นาค, ผู้ที่โกนหัวเตรียม จะบวช. เจ้าประคุณลุนช่อง ว. โดยปริยาย เป็นค�ำประชด เช่น เจ้าประคุณ ลุนช่องยังไม่มาเลย. เจ่าะ ๆ ว. ทีละน้อย, คราวละน้อย. เจ๊าะแจ๊ะ ว. มีน�้ำเจืออยู่เพียงเล็กน้อย,

แกงหรือผัดใส่น�้ำ น้อยแต่พอ เหมาะ, ขลุกขลิก เช่น ละลาย น�่ำพริกใส่น�่ำเจ๊าะแจ๊ะ. เจ๊าะเมาะ ว. ที่แคบ ๆ, เจ๊าะเวาะ, เจ๊าะเวาะแจ๊ะแวะ, เจ๊าะแอ๊ะ ก็วา่ เช่น ช่างมันไล่ หนามไผ่มนั เก๊าะ แก้ผา่ วิง่ หนี เห็นอีเ๋ จ๊าะเวาะ (เพลง นางกะโหลก). เจ๊าะเวาะ ดู เจ๊าะเมาะ. เจ๊าะเวาะแจ๊ะแวะ ดู เจ๊าะเมาะ. เจ๊าะแอ๊ะ ดู เจ๊าะเมาะ. เจิ้กเลิ่กจั้กลั่ก ก. ตกอกตกใจ. เจิ่งเหลิ่ง ว. ไม่เข้มข้น, จืด, จืดชืด, ไม่มีรสชาติ. เจิด ก. ร่อนถลา เช่น นกบินเจิด. เจิ้บจ้าบ ว. เนิบนาบ, เชื่องช้า. เจิ่มเจ้อะ ว. ไม่เข้าท่า เช่น ท�ำเจิ่มจ้อะ ไม่อายเขานี (ท�ำอะไรไม่เข้าท่า ไม่อายเขาหรือ). เจือ ก. เจือจุน, เอื้อเฟื้อ, อุดหนุน เช่น จึ ง คิ ด เจื อ เผื่ อ แผ่ ไ ปข้ า งหน้ า (นิ.พระปาจิต). เจื้อย ว. เฟื้อย, มาก; ใช้ประกอบค�ำ ว่ายาว เช่น จะให้เล่าก็ยาวเจือ้ ย สักห้าวันก็ไม่จบ (เพลงโคราช). แจกหมาก (ปาก) ก. ต่อยปาก, ชกปาก. แจ้ง น. เช้าตรู่. แจ้งตามาเช้า [แจ้ง-ตา-มา89

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แจ้งโปก - ใจหายวูบพอปานไอ้ตูบตกน�้ำ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ช่ า ว] ว. สว่ า ง, รุ ่ ง เช้ า , รุ่งแจ้ง. แจ้ ง โปก ว. สว่ า งคาตา, ยันสว่าง. แจงอนิสงส์ ดู เทศน์แจงอนิสงส์. แจ้ ด โดยปริ ย ายหมายถึง เลขหวย ตัวเด็ด, ตัวเต็ง, เลขเด็ด เช่น งวดนี่ ๙๔ ตัวแจ้ด (งวดนี้ ๙๔ เลขเด็ด). แจ๊ด ว. แจ๋ (ใช้แก่สีแดง), แป๊ด, แปร๊ด ก็ว่า. แจบ ๑. ก. ฐานะย�่ำแย่, จนกรอบ. ๒. ว. ราบเรียบ เช่น พายุ่พั่ด หลังคาบ้านแจบเมิ้ดเลย (พายุ พั ด หลั ง คาบ้ า นพั ง ราบเรี ย บ หมดเลย). แจ่มแจ้งแดงแจ๋ ว. แจ่มแจ้งอย่าง ละเอียด. แจแฮ ว. หมดหนทาง, หมดท่า เช่น กลั๊บมาอย่างแจแฮ. โจ้ก ๑. ว. ลักษณะของเหลวไหลอย่าง รวดเร็ว, จ้อก, เสียงน�้ำไหล เช่น เทน�่ำโจ้ก (เทน�้ำให้ไหลลง อย่างรวด เร็ว), เทโจ้ก (เทพรวด), โจ้กจ้าก ก็ว่า. ๒. ว. โฮ เช่น ร่องโจ้ก (ร้องไห้โฮ, ร้องไห้ด้วยเสียงดัง ๆ). โจ้กจ้าก ดู โจ้ก. โจ้โก้ ว. พูนจนล้น, โต้โก้ ก็ว่า. 90

โจ้กโก้ก ว. ผอมโซมาก. โจงโลง ดู ก่ะโซ่. โจ่งโหล่ง น. ว่างเปล่า, โล่ง. โจด น. ไผ่ชนิดหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าไผ่ ทั่วไป หน่อเล็กกว่าหน่อรวก นิยมน�ำมาท�ำอาหาร. โจดโดด ว. สูงอย่างไม่ได้สัดส่วน, สูงผิดปกติ, สูงชะลูด, โจดโปด, โจดโหลด, โขดโดด ก็ ว ่ า , ถิ่นอีสานใช้ว่า โจดโลด. โจดโปด ดู โจดโดด. โจดโหลด [โจด-โหฺลด] ดู โจดโดด. โจ่โ ด่ ว. ลักษณะสิ่งที่ยื่นออกมา, ถิ่นอีสานใช้ว่า โก่โด่. โจ่โด่เจ่เด่ ว. ลักษณะสิ่งที่ยื่นออกมา อย่างระเกะระกะ. โจ่นโหว่น [โจ่น-โหฺว่น] ว. สูงชลูด, สูงลิ่ว. ใจเต้นตุ๋ม ๆ ต้อม ๆ ว. ใจเต้นไม่เป็น จังหวะด้วยความตื่นเต้นหรือ หวาดกลัว. ใจเต้นเป็นตีปลา (ส�ำ) น. ตื่นเต้น อย่างลิงโลดเพราะดีใจ เช่น ครั้ น เมื่ อ คุ ณ หญิ ง แจ้ ง ว่ า เจ้าคุณปลัดกลับมา ส�ำหรับ ความดีใจมิพักต้องพูดถึง แต่ ทว่าหัวใจเต้นเป็นตีปลา (ท้าว ฯ). ใจร้ อ นพอปานเด็ ก น้ อ ยบ่ ม หน่ ว ย แหน่ [ไจ-ล่อน-พอ-ปัน่ -เด๊ก-


พจนานุกรม ภาษาโคราช น่อย-บ่ม-หน่วย-แหฺน]่ (ส�ำ) ว. ใจร้อน, เร่งรีบ, อยากได้เร็ว. ใจร่ะเพิน่ ว. จิตใจไม่สงบ, ใจร่ะเวิน่ ก็วา่ . ใจระเว่อ [ไจ-ล่ะ-เว่อ] ก. จิตฟุ้งซ่าน, ใจลอย. ใจระเวิ่น [ไจ-ล่ะ-เวิ่น] ดู ใจร่ะเพิ่น. ใจเสาะเหมื อ นปลาซิว [ไจ-เซาะเหฺมือน-ปา-ซิว] ว. ใจปลาซิว, ท้อถอยโดยง่าย, ไม่อดทน. ใจหล่นไปอยู่ตาตุ่ม ว. ตกใจหรือ ใจหายวูบเหมือนกับหัวใจหล่น. ใจหวัง่ ๆ [ไจ-หวัง่ -หวัง่ ] ก. หวิว ๆ, หวัน่ , พรัน่ , พรัน่ ใจ เช่น ครัน้ ว่า เห็นมิใช่ กลับหลังไปใจหวัง่ หวัง่ (นิ.รูปทอง).

ใจหวั่น ๆ [ไจ-หวั่น-หวั่น] ว. ใจสั่น ๆ, หัวใจเต้นถี่ ๆ. ใจหักวาบ [ไจ-ฮัก-วาบ] ว. ความรู้สึก สะเทื อ นใจที่ เ กิ ด ขึ้ น วาบหนึ่ ง แล้ ว หายไป, ใจหายวาบ, ใจหายวูบ ก็ว่า เช่น นาย นริ น ทร์ ภั ก ดี แ จ้ ง ความแล้ ว ใจหายวูบ (ท้าว ฯ). ใจหายวาบ ดู ใจหักวาบ. ใจหายวูบ ดู ใจหักวาบ, ใจหายวูบ พอปานไอ้ตูบตกน�้ำ ก็ว่า. ใจหายวูบพอปานไอ้ตูบตกน�้ำ [ไจหาย-วู บ -พอ-ปั ่ น -ไอ้ - ตู บ ต๊ก-น่าม] ดู ใจหายวูบ.

91

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ 92


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ฉมุกฉมัว [ชะ-มุก-ชะ-มัว] ว. ขมุกขมัว, มื ด มั ว ๆ เช่น แม่เอวกลม โฉมงามเดินตามผัว ฉมุกฉมัว โอดองค์แสนสงสาร (สุภมิต ฯ). ฉลุน [ฉะ-หลุน] ก. บิด, หมุนไปทางใด ทางหนึ่งให้เป็นเกลียว. ฉะ [ฉ๊ะ] ก. ปะทะคารม, ต่อปากต่อค�ำ กันอย่างรุนแรง. ฉะอึ๊ก ดู มะอึ๊ก. ฉ่า น. ครั้ง, ที (ใช้แก่การทอดแห) เช่น หว่านฉ่าเดียว (ทอดแหทีเดียว), (ดู หว่านแห ประกอบ). ฉาก ก. เดินผ่าน, ผ่านมา, ชาย, เฉียด, (ดู กราย ประกอบ). ฉาบ ก. โฉบ เช่น บินฉาบ (บินโฉบ). ฉายเดี่ ย ว ว. ไปหรือมาคนเดียว, บินเดี่ยว. ฉายยา น. ฉัยยา, ชายา, เมีย เช่น พี่ ไ ปไม่ ไ กลโฉม จะตามโลม นางฉายยา (นิ.รูปทอง), โฉม นางฉายยา ตรัส เรียกทาสา (นิ.กุศราช). ฉายหล่อ ก. ปรากฏตัวด้วยการแต่ง ตัวโก้หรือโชว์ความหล่อ. ฉ�ำฉา น. ปอกะสา ; ไม้ยนื ต้นขนาด กลาง ชนิด Broussonetia pa

pyrifera (L.) L’Hér. ex Vent. จัดอยูใ่ นวงศ์ Moraceae ล�ำต้น ขรุขระเมือ่ กรีดจะมีนำ�้ ยางสีขาว ใบมนรีปลายแหลม ดอกออก เป็นช่อ ผลกลมออกตามง่ามใบ กลมสีอมแดง ใช้เส้นใยจาก เปลื อ กล� ำ ต้ น ท� ำ กระดาษร่ ม ใช้ทำ� ยาได้. ฉิบหาย [ชิบ-หาย] อ. อย่างยิ่ง; ใช้ ประกอบค� ำ วิ เ ศษณ์ เ พื่ อ เน้ น ความหมาย เช่น เปรีย้ วชิบหาย, เค็มชิบหาย. ฉีดหว่านฉีดยา ก. ฉีดยา. ฉึบ [ชึบ] ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น ปิ๊ดประตูร่ถดังชึบ. ฉุ่ง ก. เหม็นโขลง, เหม็นคลุ้ง. ฉุงฉิง ว. เย่อหยิ่ง, ทะนง, ยโสโอ้อวด เช่น ท�ำทีฉุงฉิงท�ำเหยิดท�ำหยิ่ง (นิ.รูปทอง). ฉุนกึก [ฉุน-กึ้ก] ว. กลิ่นฉุนจัดจน ท�ำ ให้ชะงัก, รู้สึกโกรธจัดขึ้น ทันที. เฉ่ ก. เฉด, ค�ำร้องไล่หมา. เฉยกรุ่ม ว. นิ่งเฉยโดยไม่สนใจใยดีกับ ใคร, นิ่งเฉยไม่พูดจากับใคร, นิ่งเฉยอย่างไม่สนใจใยดี, ไม่ 93

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เฉียด - ชะ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

แยแสกับเหตุการณ์ที่ประสบ, กรุ่ม ก็ว่า. เฉียด ดู กราย, ฉาก. เฉียม ก. เขียม, ประหยัด. โฉ่ ก. ส่งเสียงดัง, เอ็ดตะโร, โจษจัน, ฉาวโฉ่ เช่น อย่าโฉ่ (อย่าส่ง

94

เสียงดัง). โฉมกรู น. โฉมตรู, รูปงาม. ไฉล [ชะ-ไล] ว. ไฉไล, เลื่อม, งาม เช่น พระสุริเยนลงไปลับเหลื่อ มไฉล (นิ.พระปาจิต).


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ชนะ [ชะ-น่ะ] ก. ใช้ประกอบหน้าค�ำ กริยามีความหมายท�ำนองว่า ขยัน, คร้านที่จะ, รู้สึกหน่าย เช่น ใครจิชะน่ะบอก (ใครจะ ขยันบอก, คร้านที่จะบอก, รู้สึก หน่ายที่จะบอก, บอกจนเบื่อ ที่ จ ะบอก); ค� ำ ว่ า “ไม่ ช นะ [ไม่-ชะ-น่ะ]” มีค วามหมาย เดียวกัน เช่น ไม่ชน่ะจิบอก (คร้านที่จะบอก). ชนู น. ธนู. ชลนัง [ชน-ละ-นัง] น. ชลนา, น�้ำตา. ชลนี [ชน-ละ-นี] น. ชนนี, แม่. ชโล น. ชเล, ในน�้ำ เช่น ก็เสื่อมสูญมุ่น ตามล�ำชโล แตกระแหงแล้งโผ ในท่อธาร (สุภมิต ฯ). ชวดฉลูขาลเถาะ [ชวด-ฉะ-หลู-ขานเทาะ] ดู ชวดโมะ. ชวดโมะ [ชวด-โม่ะ] ว. ชวด, ไม่ได้, อด, ไม่สมหวัง, ผิดหวัง, ชวด ฉลูขาลเถาะ ก็ว่า. ช่วยงาน ก. ไปร่วมงาน, ร่วมมือ ท�ำงาน เช่น ไปช่วยงานแต่ง (ไปร่วมงานแต่งงาน). ช่วยบุญ ก. ไปร่วมงานบุญ, ไปร่วม บริจาค.

ช่วยเหลือเจือจุน ก. ช่วยเหลือเจือจาน, ช่วยเหลือและเกื้อหนุน. ช็อกกะรี น. โสเภณี, หญิงส�ำส่อน. ช่องแมว น. ล่องแมว, ช่องว่าง ระหว่างพื้นเรือนกับพื้นระเบียง เพื่อให้ลมถ่ายเท, ช่องว่าง ระหว่างพรึงเรือนกับชานพาไล มีขนาดพอแมวลอดได้.

ช่องแมว

ช่องร่อง น. ท้องร่อง. ชอน ว. คดเคี้ยว. ช้อนป่า [ช่อน-ป่า] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Prismatomeris malayana Ridl. ในวงศ์ Rubiace, ไทย กรุงเทพเรียก สนกระ. ชอบขุดชอบก่น [ชอบ-คุด-ชอบ-ก่น] (ส�ำ) ก. ชอบขุดคุ้ยเรื่องราว มากล่าว. ช่ออ้อย น. อ้อยที่ปลูกแต่ละแถว. ชะ [ช่ะ] ว. เกลี้ยง, สะอาด เช่น ล่าง 95

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ชะแงะ - ช่างหีแม่มัน

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ชามไม่ช่ะ (ล้างชามไม่สะอาด). ชะแงะ [ช่ะ-แง่ะ] ก. ชะแง้, เหลียวดู. ชะนุน [ช่ะ-นุน] น. ชุน, เครื่องมือ ส� ำ หรั บ ถั ก ตาข่ า ยหรื อ แหท� ำ ด้วยไม้ไผ่มีเดือยตรงกลางใช้ รวบด้าย. ชะบุญ ว. เดชะบุญ, เหมือนเป็นบุญ, อ�ำนาจที่ดลให้เป็น. ชะมก [ช่ะ-ม่ก] น. ผีปอบ, ตะกละ ตะกลาม, ทะมก ก็ว่า. ชะมะ [ช่ะ-ม่ะ] ก. จ๊ะ, เจอะโดยบังเอิญ, อาการที่เจอะจนเกือบจะชนกัน, กะมะ, คะมะ, จะมะ ก็วา่ . ชะมุด [ช่ะ-มุ่ด] ก. มุดน�้ำ, ด�ำน�้ำ. ชะหล�ำพอง [ช่ะ-หล�ำ-พอง] ดู ปลา หล�ำพอง. ชักคะเย่อ ดู ชักชา.

ชักชา

ชักชา [ชั่ก-ชา] ก. ชักเย่อ; แต่เดิมใช้ มือจับต่อ ๆ กันแล้วแต่ละฝ่าย ดึงภายหลังใช้เชือก, ชักคะเย่อ ก็ว่า. ชักน�ำ้ เข้าลึกชักศึกเข้าเมือง [ชัก่ -น่าม96

เข่า-ลึ่ก-ชัก-ซึก-เข่า-เมือง] (ส�ำ ) น�ำ ศัตรูเ ข้าเมือง, น�ำ ความเสียหายมาสู่ตนหรือพวก พ้อง ตรงกับส�ำนวนที่ว่า “ชัก น�้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้าน” เช่น ชักน�้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าเมือง ท�ำให้ลือเลื่อง ทั่วทุกพารา (นิ. รูปทอง). ชักว่าว [ชั่ก-ว่าว] (ปาก) น. การ ส� ำ เร็ จ ความใคร่ ด ้ ว ยตนเอง ของผู้ชาย. ชั่งกราน ดู เชิงกราน. ชั่งโลง ดู โชงโลง. ชั้นไหน [ชัน่ -ไหน] น. ค�ำถามในท�ำนอง ว่า ระดับไหนหรือแน่แค่ไหน. ชัว่ เคีย้ วหมากแหลก [ชัว่ -เคีย่ ว-หมากแหฺลก] (ส�ำ) ว. เวลาชัว่ ขณะ หนึ่ง, เวลาชั่วครู่ใหญ่ ๆ; ชั่ว เวลาที่น้อยกว่าชั่วเคี้ยวหมาก จืด ซึ่งชั่วเคี้ยวหมากจืดใช้เวลา ๒๐ - ๓๐ นาที โดยตั้งแต่เริ่ม เคี้ยวจนหมากแหลก เมื่อเคี้ยว จนจืดหมดค�ำ จึงคายชานหมาก ทิ้ง เช่น อึ้งอยู่ไม่พอชั่วเคี้ยว หมากแหลก (ท้าว ฯ). ชั่ว ๆ ดี ๆ ดู ดี ๆ ชั่ว ๆ. ชั่วดีถี่ห่าง ดู ดี ๆ ชั่ว ๆ. ชัว่ หม้อข้าวเดือด [ชัว่ -หม่อ-เข่า-เดือด] น. ระยะเวลาประมาณ ๑๐-๑๕


พจนานุกรม ภาษาโคราช ยา-เหฺยียบ-เมือง] (ส�ำ) นับ เป็ น สิ ริ ม งคลที่ มี ผู ้ สู ง ศั ก ดิ์ ม า เยี่ยมเยียน. ช่างติ [ชั่ง-ติ๊] ว. นิสัยชอบติ, ติโน่น ตินี่, ลูกอีช่างติ ก็ว่า. ช้างเทียมแม่ [ช่าง-เทียม-แม่] น. ท่า ร� ำ ที่ ฝ ่ า ยหญิ ง กางแขนกว้ า ง ฝ่ายชายร�ำกางแขนแคบกว่า อยูใ่ นวงแขนฝ่ายหญิง, (ดู กระดี่ เคียงขอน ประกอบ). ช้างน้าว น. ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงใหญ่ ช นิ ด Ellipanthus tomentotus Kurz., ssp. ใน วงศ์ Connaraceae กิ่งอ่อน สี น�้ ำ ตาล ใบเดี่ ย วรู ป หอก ปลายแหลม แก้กษัย ต้มดื่ม แก้ปวดท้อง. ช่างมวยแต่ง น. ครูมวยหรือผู้ฝึกสอน มวย. ช่างโลง น. โชงโลง, เครื่องวิดน�้ำรูป คล้ายเรือครึ่งท่อน มีด้ามถือ ผูกแขวนเข้ากับขาหยั่ง, กะโซ่, ชั่งโลง, ปุงโซ่, อุ้งพุ่ง ก็ว่า, (ดู อุ้งพุ่ง ประกอบ). ช่างหม้อหลวง [ช่าง-หม่อ-หฺลวง] น. หัวหน้าผู้ควบคุมการปั้นหม้อ เช่น เป็นช่างหม้อหลวงสืบมา ช้านาน (นิ.กุศราช). ช่างหีแม่มัน ว. ช่างแม่มัน, ช่างหัวมัน,

นาที; มาจากระยะเวลาที่ต้ัง หม้อข้าวจนเดือด เช่น คุณหญิง เพลินต่อการเคี้ยวหมากอยู่พอ ชัว่ หม้อข้าวเดือด (ท้าว ฯ). ช้าโกรก [ช่า-โกก] ดู เพลงช้าโกรก. ช้ า ง [ช่ า ง] น. ชื่ อสัตว์บกเลี้ยงลูก ด้ ว ยนมที่ ใ หญ่ที่สุด จมูกยื่น ยาวเรี ย กว่ างวง ใบหูใหญ่. ช้ า งขึ้ น พู แกว่ ง หู ว าบ ๆ [ช่ า ง-ขึ่ น -พู - แก่ ง -หู - วาบวาบ] (ปริศ) น. คนกระตุกฟืม ทอผ้า. ช้างตกน�้ำมัน [ช่าง-ต๊ก-น่ามมัน] น. ช้างตกมัน, ช้างพลาย มี น�้ ำ มั น ไหลเยิ้ ม ที่ ห น้ า และ อวัยวะเพศเพราะเกิดก�ำหนัด แรงกล้าในฤดูผสมพันธุ์. ช้างน�้ำ [ช่าง-น่าม] ว. ค�ำ เปรียบผู้หญิงที่อ้วนล�่ำ. ช้างสารบ่มน�้ำมัน [ช่าง-สานบ่ม-น่าม-มัน] (ส�ำ) สั่งสม บารมีให้แก่กล้า ; เปรียบกับ ช้างบ่มมัน เช่น ถ้าสามารถ หั ก ไทยได้ . ....ถ้าได้กรุง เทพฯ เป็นบรรณาการ ก็เสมือนเลี้ยง ช้างสารที่บ่มน�้ำมัน (ท้าว ฯ), ช้างตกน�้ำมัน ก็ว่า. ช้ า งเหยี ย บนาพญาเหยี ย บ เมือง [ช่าง-เหฺยียบ-นา-พะ97

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ช้าเจ้าหงส์ - เช้า ๆ เข่าถ�้ำ ค�่ำ ๆ ออกเรียง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ไม่ใส่ใจ, ปล่อยไปโดยไม่สนใจ; เป็ น ค� ำ พู ด ที่ ไ ม่ แ ยแสหรื อ ไม่ สนใจ ในท�ำนองว่ามันจะเป็น อย่างไรก็ให้มันเป็นไป. ช้าเจ้าหงส์ [ช่า-เจ้า-หง] ดู ดงล�ำไย. ช้าเจ้าหงส์ดงล�ำไย [ช่า-เจ้า-หง-ดงล�ำ-ไย] ดู ดงล�ำไย. ช่าเชิญ ก. เชื้อเชิญ. ชาด น. ซาด; ไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่ ชนิด Erythrophleum succi rubrum Gag nep. เมื่อเผา เป็นถ่านจะให้ไฟแรง เรียกว่า ถ่านท�ำทอง, ถิ่นอีสานเรียก ซาด. ชาติ ๑. ว. ใช้ประกอบค�ำมีความหมาย ท�ำนองว่า ยังไง ๆ, รัง, รังแต่, คอยแต่จะ เช่น ชาติจะนินทา คน (รังแต่จะนินทาคน, ยังไง ๆ ก็จะนินทาคน), ชาติจิมันจะโกง (คอยแต่จะโกง, ยังไง ๆ ก็มันก็ จะโกง). ๒. น. ชาติเกิด, การเกิด เกิด เช่น ชาติกาก็ย่อมเป็นกา. ชาติชายใจหญิง น. เป็นผู้ชายแต่ใจ ไม่กล้า, เป็นผู้ชายแต่ใจเป็น ผู้หญิง เช่น อ้ายชาติชายใจ หญิงขลาดจงหยุดพาที (ท้าว ฯ). ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ ชื่อ [ชาด-เสือ-ต้อง-ไว่-ลาย98

ชาด-ชาย-ต้อง-ไว่-ชื่อ] (ส�ำ) การส�ำแดงความสามารถหรือ ศักดิ์ศรีให้เป็นที่ประจักษ์. ชามดิน น. ชามที่ท�ำจากดินเผาใช้ใส่ อาหาร. ชามเป้ด น. ชามที่ปั้นไม่ได้รูปทรง เช่น เบี้ยว, เป๋ไป. ชามเหลี่ยม น. ชามกระเบื้องที่ปั้น ไม่เรียบมักจะเป็นเหลี่ยม ๆ. ชาย ดู กราย. ช่าระอะ [ช่า-ล่ะ-อ๊ะ] ว. กระจ่าง, ชัดเจน. ชาลา น. ทางเดิ น ในปราสาทหิ น พิมาย มีลักษณะเป็นระเบียง โปร่งหลังคามุงกระเบื้อง. ชาวนครราชสีมา กล้าหาญ ซื่อสัตย์ กตั ญ ญู สู ้ ต าย [ชาว-นะคอน-ลาด-ชะ-สี-มา-ก้า-หานซื่ อ -ซั ด -กะ-ตั น -ยู - สู ่ - ตาย] เ ป ็ น ค� ำ ข วั ญ ข อ ง จั ง ห วั ด นครราชสีมาในอดีต. ชาวบน น. คนภูเขา, ไทยโคราชกลุ่ม หนึ่ง เรียกตนเองว่าเนียะกูล หรือเยียะกุร ซึ่งหมายถึงคน ภู เ ขาอาศั ย อยู ่ บ นเทื อ กเขา ดงพระยาเย็ น ตั้ ง แต่ บ ริ เ วณ อ�ำเภอปักธงชัย อ�ำเภอโชคชัย จนถึงเทือกเขาเพชรบูรณ์. ชาวบ้านชาวช่อง น. ชาวบ้าน, กลุ่ม


พจนานุกรม ภาษาโคราช คนที่อยู่ในย่านนั้น ๆ, ชาวบ้าน ร้านช่อง, ชาวบ้านร้านตลาด ก็ว่า เช่น พวกชาวร้านตลาด นั่ ง เกลื่ อ นกลาดเป็ น หมู ่ ห มู ่ (นิ.รูปทอง). ชาวบ้านร้านช่อง [ชาว-บ้าน-ล่านช่อง] ดู ชาวบ้านชาวช่อง. ชาวบ้านร้านตลาด [ชาว-บ้าน-ล่านตะ-หฺ ล าด] ดู ชาวบ้ า น ชาวช่อง. ชาวล่าง น. คนกรุงเทพ ฯ. ช�ำ่ ก. ช�ำ่ ชอง, ช�ำนาญ, เชีย่ วชาญ เช่น จนช�่ ำ เพลงเก่ ง กลอนคนลื อ กระฉ่อนฉาวโฉ (เพลงโคราช). ชิ่ง (ปาก) ก. หนีเอาตัวรอด, หลบ ฉาก, หลบหนีไปอย่างรวดเร็ว. ชิงชู้ [ชิง-ชู่] ก. ฟ้องศาลเอาเมียคืน จากชายชู้; การที่เมียไปอยู่กับ ชายอื่น เมื่อผัวเก่ากลับมาชาย ชู้ไม่ยอมคืนเมียให้จึงฟ้องร้อง ต่อศาล. ชิมิ ว. น้อย, เล็ก.

และส่งเสียงแก้ตัวเป็นพัลวัน หรือส่ง ๆ ไป. ชี้ โ พรงให้ ก ระรอกชี้ ก ระบอกให้ ห นู [ชี่- โพง-ไห่- กะ-ลอก-ชี่- กะบอก-ไห่-หนู] (ส�ำ) ก. แนะ ลู่ทางให้, ชี้ช่องทางให้ท�ำในสิ่ง ที่ไม่ดี. ชี้หญ้าให้นาย [ชี่-หย่า-ไห่-นาย] (ส�ำ) ก. ชี้ช่องทางให้คนอื่นรู้แต่ตน เองต้องรับภาระ. ชึบ ดู ฉึบ. ชุม น. วันที่ญาติพี่น้องมาชุมนุมก่อน วันงาน, วันชุม ก็ว่า. ชุมพวง น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา บริเวณที่ตั้งที่ว่า การอ� ำ เภอเป็ น ป่ า ไม้ มี ต ้ น พลวงมากชาวบ้ า นเรี ย กว่ า “ซุมพลวง” ต่อมากลายเสียง เป็น “ชุมพวง”. ชู้ [ชู่] น. คนรัก, แฟน; แต่ถ้าลักลอบ ล่วงประเวณีด้วยลูกเมียคนอื่น ใช้ว่า เหล่นชู่ (เล่นชู้). เช้าก็จับ เย็นก็จับ เวลาหลับเลย ลืม [ช่าว-ก็-จั๊บ-เย็น-ก็-จั๊บเว-ลา-ลับ-เลย-ลืม] (ปริศ) น. มือ. เช้า ๆ เข่าถ�้ำ ค�่ำ ๆ ออกเรียง [ช่าวช่ า ว-เข่ า -ถ�่ ำ -ค�่ ำ -ค�่ ำ -ออกเลียง] (ปริศ) ดาว.

ชี้โบ้ชี้เบ้

ชีโ้ บ้ชเี้ บ้ [ชี-่ โบ้-ชี-่ เบ้] ก. ชีม้ อื ประกอบ 99

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เชิง - ไช

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เชิง ว. รู้สึกว่า, ดูเหมือนจะ, ท่าทาง จะ, ดู ท ่ า จะ เช่ น เชิ ง จิ เ อา เรื่ อ ง (ท่ า ทางจะเอาเรื่ อ ง), เชิงจิหลงรั่กเขา (ดูท่าจะหลง รักเขา). เชิงกราน [เชิง-กาน] น. แม่เตาไฟ, กระบะไฟส�ำหรับหุงต้ม ท�ำด้วย ไม้ตีเป็นกรอบสี่เหลี่ยมใส่ดิน เพื่ อ ป้ อ งกั น ไฟไหม้ พื้ น มี ก ้ อ น เส้า ๓ ก้อนส�ำหรับวางภาชนะ, ชั่งกราน ก็ว่า เช่น ชั่งกราน ก้ อ นเส้ า ตะหวั ก ด้ า มยาว (นิ.รูปทอง).

เชิงกราน

เชิด ก. เอาทรัพย์หรือสิ่งของผู้อื่นไป. เชิ บ ๆ ก. อาการพับแขนและงอ ข้ อ ศอก ๒ ข้างแล้ว ตีปีก ท้ า ทายหรือลิง โลด, ร�ำหรือ เต้ น ลอยหน้ า ลอยตาอย่ า ง สนุ ก สนาน. เชิ่มเกริ้ม [เชิ่ม-เกิ้ม] ว. กองสูง, ค้าง 100

อยู่บนที่สูง. เชิ่มเงิ่ม ว. สูงชะลูด, เชิ่มเริ่ม ก็ว่า. เชิ่มเริ่ม ดู เชิ่มเงิ่ม. เชีย น ก. เลื่อยไม้เ ฉไม่ตรงตามที่ ต้องการ. เชื่อง ก. เซื่องซึม เช่น น่องท�ำตาเชื่อง เหมื อ นตาช่ า งเชี ย วหนอแม่ หางตาชี่ เห็นคนขี่เหร่อย่างพี่ เมื อ งยั ง ยื น เชื่ อ งหลั๊ บ ตาชั ง (เพลงโคราช). แช็บแง็บ [แช่บ-แง่บ] ว. แคบ เช่น หน่าผากแช่บแง่บ (หน้าผาก แคบ). แช่ เ ย็ น ก. จอดแช่ (มั ก ใช้ แ ก่ ร ถ โดยสาร). แชแว ก. นอนแผ่อย่างหมดแรง, นอน แผ่แอ้งแม้ง. แชะแยะ ว. ดก, แซแยะ ก็ว่า. โชคชัย น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา เดิมชื่ออ�ำเภอ กระโทก ตามประวัติในสมัย รัชกาลที่ ๕ ได้ยกฐานะจาก ด่ า นกระโทกขึ้ น เป็ น อ� ำ เภอ กระโทก ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อ�ำเภอโชคชัย. โชงโลง น. เครื่องวิดน�้ำ เช่น กะโซ่, อุ้งพุ่ง, ชั่งโลง ก็ว่า, (ดู กระโซ่, อุ้งพุ่ง ประกอบ). โชตนาการ ว. โชติช่วง, ชัชวาล,


พจนานุกรม ภาษาโคราช ห่ า -ไป-ดู - หมา-เย่ ด -กั น ] (ส�ำ) ใช้ให้ไปท�ำธุระเร่งด่วน แต่กลับเถลไถลไปทางอื่น. ไช ก. เสียงร้องรับก่อนจะร้องจบวรรค แรกของเพลงโคราช มาจาก ค�ำว่า ไช…ชะ…ชะ…ชิ…ชาย.

โพลงขึ้น เช่น โหมกะพือให้ เพลิงรักนั้นรุ่งโรจน์โชตนาการ (ท้าว ฯ). ใช่ดอก [ไช่-ด๊อก] ว. ไม่ใช่หรอก, (ดู ดอก ประกอบ). ใช้ไปซื้อปลาร้า ดันห่าไปดูหมาเย็ด กัน [ไช่-ไป-ซื่อ-ปา-ล่า-ดัน-

101

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ 102


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ซกมก [ซ่ก-ม่ก] ว. ซึมเซา, โซกโมก ก็ว่า. ซกลก [ซ่ก-ล่ก] ก. ซุ่มซ่าม, ลนลาน, กระโดกกระเดก, มี กิ ริ ย า ไม่เรียบร้อย (มักใช้แก่ผู้หญิง) ; เปรี ย บได้ กั บ ค� ำ ว่ า ม้ า ดี ด กะโหลก, ซกลกซักลัก, ซิมเซอะ ก็วา่ . ซกลกซักลัก [ซ่ก-ล่ก-ซัก่ -ลัก่ ] ดู ซกลก. ซง ๑. ก. รู้สึกว่า, เหมือนว่า เช่น ซงจิ ไข่ (รู้สึกว่าจะเป็นไข้). ๒. ว. แบบ, อย่าง เช่น ซงไหน (แบบไหน). ซ่น ดู ซวด. ซวด ก. ถลน, ทะเล้นออก, ปลิ้นออก, โปนออก (ใช้แก่ตา). ซ่น, สวด ก็ว่า. ซวดลวด ๑. ก. อาการกินอย่างตะกละ ตะกลาม, กินอย่างไม่มมี ารยาท. ๒. ลักษณะทีก่ ระท�ำอย่าง พรวดพราด. ซ็อกล็อกแซ็กแล็ก [ซ่อก-ล่อก-แซ่กแล่ก] ว. พูดกลับกลอก. ซอง ก. ช้อน, ตักเอาสิ่งที่อยู่ในน�้ำหรือ ของเหลว เช่น ซองลูกน�่ำ

(ช้อนลูกน�้ำ). ซอด ๑. ก. ทะลุ, ทะลุไม่ตรงที่หมาย เช่น ตีตะปูซอด (ปลายตะปู ทะลุหรือโผล่ไม่ตรงที่หมาย). ๒. ว. ตลอด, จนกระทั่ง เช่น ดู ลิเกซอดแจ้ง. ซ็อดล็อดแซ็ดแล็ด ว. ท�ำเล่นท�ำหัว. ซอม ก. สืบ, เสาะหาความจริง. ซอยวอย ว. ผอม, โซ, วอย ก็ว่า. ซออี๋ น. ซอชนิด หนึ่ ง คล้ า ย ซอด้วง แต่ กระบอกทีข่ งึ หนังจะเล็ก กว่า เวลาใช้ คั น ชั ก สี จ ะ ซออี๋ ดังอี๋ ๆ. ซะ ๑. ก. แหย่ เช่น ซะจมูก (แหย่จมูก). ๒. น. การท�ำผลตะโกให้ไม่มี ยางโดยลวกน�้ ำ ร้ อ นหรื อ แช่ น�้ำเกลือ บางแห่งชุบด้วยขี้เถ้า จะท�ำให้เนื้อในซุย, หงาด ก็ว่า. ซ่ะ ๑. ว. พลั่ก, อาการที่ไหลทะลักออก มาด้วยก�ำลังดัน เช่น เหงื่อ แตกซ่ะ (เหงื่อแตกพลั่ก), ซุ,่ พรุ่ ก็ว่า. 103

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ซ่ะ ๆ - ซื้อหญ้าให้ม้า

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

๒. ก. โปรย, ซัดให้กระจาย เช่น หว่านซ่ะ (หว่านซัดให้ กระจาย). ซ่ะ ๆ ว. ล้วน ๆ, ขนาดโต ๆ (ใช้แก่ สัตว์น�้ำ). ซะเงาะซะแงะ ดู เซาะเงาะแซะแงะ. ซะจรรย์ [ซะ-จัน] ว. อัศจรรย์; ใช้ ประกอบค� ำ อื่ น เพื่ อ เน้ น ให้ ค� ำ มี น�้ ำ หนั ก มี ค วามหมายไปใน ท�ำนองว่ามาก มากเหลือเกิน เช่น ไกลซะจรรย์ (ไกลมาก, ไกลจริง ๆ), อัศจรรย์ ก็ว่า. ซะซาย ว. มาก, มากมาย เช่น เ ห็ น ห น า ม พ ง ม า ก ล ้ น พ ้ น ก็ใจหาย เป็นสิงสู่ซับไปซะซาย (นิ.พระปาจิต). ซะปาย ว. ใช้ประกอบค�ำอื่นเพื่อเน้น ค� ำ ให้ มี น�้ ำ หนั ก หรื อ มี ค วาม หมายไปในท�ำนองว่า จัง, จริง ๆ เป็ น ต้ น เช่ น มากซะปาย (มากจริง ๆ), ด�ำซะปาย (ด�ำ มากจริง ๆ), จั๊กวาย, ซะวาย, นักวาย, ละวาย, เหลือวาย ก็ว่า เช่น นั่นซุ้มประตูช่องรู ก็ ใ หญ่ แต่ แ น่ น ละวายเยอ (นิ.เพลงอินทปัตถา). ซ่ะย่ะ ว. ดก, มาก, มากมาย. ซะรอย [ซะ-ลอย] ว. ลักษณะที่วัตถุ ทรงกลมหรื อ มี ส ่ ว นโค้ ง กลิ้ ง 104

เรียดพื้น, สะรอย, สีรอย ก็ว่า. ซะล่ะนอง ว. สาระแน, แส่ไม่เข้าเรื่อง. ซักผ้าขี้ผ้าเยี่ยว [ซัก่ -ผ่า-ขี-่ ผ่า-เยีย่ ว] (ส�ำ) ก. เลี้ยงดูตั้งแต่ยังเด็ก. ซั ด [ซั่ ด ] ก. กิ น , ต่ อ ย, ตี , ร่วมประเวณี. ซับปะปิ๊ ว. สารพัด, จิปาถะ, ซับปิ๊, ส�ำมะปิ๊ ก็ว่า. ซับปิ ๊ ดู ซับปะปิ๊. ซับพอ ดู สมพอ. ซับวิด ก. ขาด, ขาดเหลือ, เงินขาดมือ, หวิดหว่าง ก็ว่า. ซา ๑. ว. ถือสา, หัวซา ก็ว่า. ๒. ว. สาก, ระคาย เพราะมี ลักษณะไม่ละเอียดอ่อน, ไม่นุ่ม นวลขรุขระเพราะมีพื้นไม่เรียบ, ซาเรอะเกอะ ก็ว่า. ซาเรอะเกอะ [ซา-เล่อะ-เก้อะ] ดู ซา. ซางตาลขโมย น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามต� ำ ราแพทย์ แ ผนโบราณ ว่าเป็นแก่เด็กเล็ก มีลักษณะ ผอมโซ, พุงโร, หัวโต, ก้นปอด; มีอาการเช่นไม่กินนม, ไม่กิน อาหาร. ซ่าน ว. ขวักไขว่. ซาว ก. คล�ำ, ลูบ, เอามือควานหา, คลุก เช่น ซาวนม (เอามือควาน นม), ซาวเกลือ (คลุกเกลือ).


พจนานุกรม ภาษาโคราช ซีปึ้ก ดู ปึ้ ก. ซึกลึก [ซึก่ -ลึก่ ] ก. ไม่มีกิริยามารยาท, ทะเล้น, ซึกลึกซักลัก ก็ว่า. ซึกลึกซักลัก [ซึก่ -ลึก่ -ซัก่ -ลัก่ ] ดู ซึก่ ลึก่ . ซึง ๑. น. ซึ้ง, ลังถึง ภาชนะส�ำหรับนึ่ง ของ ซ้อนกันเป็นชั้น ชั้นล่างใส่ น�้ำต้มให้มีไอร้อน ชั้นข้างบน เจาะรูที่ก้นเพื่อให้ของที่นึ่งสุก. ๒. ก. ผสมพันธุ์ (ใช้แก่สัตว์).

ซ่าหริ่ม [ซ่ะ-หฺลิ่ม] น. ของหวานชนิด หนึ่ง ท�ำจากแป้งถั่วเขียวเป็น เส้นฝอยยาว มีหลายสี ใส่น�้ำ เชื่อมและกะทิ. ซ�้ำ [ซ�่ำ] ๑. ใช้ประกอบค�ำอื่นเพื่อให้ มีน�้ำหนักยิ่งขึ้น เช่น ว่าแต่เป็น มะม่วงกะล่อนเลยไม่ใช่ซ�่ำ, คุย ว่ า สอบได้ แ น่ แ ต่ พ อประกาศ ผลไม่ได้ซ�่ำ. ๒. ใช้ประกอบท้ายค�ำกริยามี ความหมายในท�ำนองว่าจริง ๆ เช่น ไม่เห็นซ�่ำ (ไม่เห็นจริง ๆ), ไม่รู่ซ�่ำ (ไม่รู้จริง ๆ). ซ�่ำซน ก. เซ้าซี้, พูดรบเร้าร�่ำไรเพื่อ ให้ได้ตามทีต่ อ้ งการ, ซ�ำ่ ซีซ่ ำ�่ ซน ก็ว่า. ซ�่ำซี่ซ�่ำซน ดู ซ�่ำซน. ซิ ว. ท่าทางจะ, ดูท่าจะ, ดูเหมือนจะ เช่น ซิบ้า ๆ (ท่าทางจะบ้าๆ), สี ก็ว่า. ซิกกะแร็ต [ซิก-กะ-แล่ต] น. บุหรี่ที่ บรรจุซอง เช่น บุหรี่พระจันทร์, เกล็ดทอง เป็นต้น. ซิด ว. สึกกร่อน. ซิดาย ว. เสียดาย. ซิต่าง ว. ติ๋งต่าง. ซีเจ็กฉ่าย [ซี-เจ่ก-ฉ่าย] น. ซีเซกฉ่าย, ผักดองเค็มปนกันหลายชนิด. ซี้บ้องเพ็ก ก. ตายแน่ ๆ (จ.ซี้บ้องเซ็ก).

ซึง

ซึม ก. รู้, เข้าใจ, ตระหนัก เช่น คุณหญิงโมผู้แก่ในเชิงชายก็ซึม เท่าเจ้าหนุ่ม, คุณหญิงซึมดีถึง ทุ ก ข์ แ ม่ ส าวที่ สุ ม อยู ่ จ นเต็ ม ทรวง (ท้าว ฯ). ซึมกะทือ ก. ซึมเซา, หงอยเหงา ไม่พูดจา. ซึมแซะ [ซึม-แซ่ะ] ก. ฝนตกปรอย ๆ. ซื่อกรง ว. ซื่อตรง. ซือ้ หญ้าให้มา้ [ซือ่ -หย่า-ไห่-ม่า] (ปาก) (ส�ำ) ก. เล่นม้า, เสียพนัน ม้าแข่ง. 105

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ซุ - แซ้ว

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ซุ [ซุ่] ๑. ว. ซุย, ยุ่ย, ร่วนซุย, เนื้อไม่ แน่น, อ้วนแต่ไม่แข็งแรง เช่น แตงโมเนื่อซุ่ (แตงโมเนื้อร่วน ยุ่ย). ๒. ดู ซะ ๒. ซุกจองเมรุ [ซุ่ก-จอง-เมน] น. การ เล่นอย่างหนึ่ง แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ พวก ขีดวงกลมโดยสมมติ ว่าเป็นเมรุ พวกหนึ่งจะไปซุก ซ่อนอีกพวกจะเฝ้าเมรุโดยจะ แบ่ ง กั น เฝ้ า อี ก ส่ ว นหนึ่ ง จะไป หาพวกที่ซุก หากเจอก็จะแพ้ และมาเป็ น พวกเฝ้ า เมรุ แ ทน แต่ ถ ้ า พวกที่ ซุ ก ซ่ อ นสามารถ เข้าวงกลมถือว่าเข้าเมรุได้ก็จะ ชนะ นิยมเล่นในตอนกลางคืน. ซุกหัวนอน [ซุ่ก-หัว-นอน] ก. นอน เช่น ที่ซุ่กหัวนอน (ที่นอน). ซุ่ง ก. พุ่ง (ใช้แก่การทอ). ซุซะ [ซุ่-ซ่ะ] ว. สุรุ่ยสุร่าย, ใช้จ่าย ฟุ่มเฟือย. ซุนลุน ว. ทะลึ่ง, สัปดน, ดื้อดึง. ซุม น. ละแวกบ้าน, คุ้มบ้าน, กลุ่ม, หมู่, พวก. ซุมซ�ำ ว. ลืม, หลงลืม, จ�ำไม่ได้ เช่น ให้ซุมซ�ำลืมค�ำพระอาจารย์ (นิ. พระปาจิต). ซุมแซว ว. สุมหัวเสียงดังจอแจ, (ดู แซว ประกอบ). 106

ซุมพี่ซุมน้อง [ซุม-พี่-ซุม-น่อง] น. เครือญาติพี่น้อง. ซุมพี่ซุมน้องมันเป็นซุมเพิง [ซุม-พี่ซุม-น่อง-มัน-เป็น-ซุม-เพิง] (ส�ำ) น. เครือญาติพี่น้องย่อม พึ่งพาอาศัยกันได้. ซุมยุม ก. กองไม่เป็นระเบียบ, กระเซิง, รุงรัง. ซุย น. มีดชายธง, มีดพก. ซุยซาย ก. หลุดลุ่ย, หลุดกระจายและ คลายตัว เช่น จนขนร่วงหลุด ลุ่ยออกซุยซาย (สุภมิต ฯ). ซุยุ ว. กระเซิง, รุงรัง, ดกในลักษณะ พันกันนุงนัง, ซุยุซะยะ ก็ว่า. ซุยุซะยะ ดู ซุยุ. ซุรามริด [ซุ-ลา-มะ-ลิด่ ] ดู พญาปราบ. ซุหัว [ซุ่-หัว] ก. สระผม. ซูน ก. ดันทุรัง, ดึงดัน, ดันไปข้างหน้า, ดันขึ้น เช่น ปลาซูนดาง (ปลา ดันแห), ผีเข้าสิงสู่ให้ท�ำดึงดัน เช่น เข้าสูนใจกายตัวร�ำสับร�ำ สน (นิ.พระปาจิต). เซกเตก ว. ยาน, หย่อน, ห้อย (ใช้ แก่นม) เช่น นมเซกเตก. เซงด�ำ น. ไม้ไผ่รมควันน�้ำมันยาง, (ดู ฝาปรือกรุเซงด�ำ ประกอบ). เซ่นผี [เส่น-ผี] ก. งานสมรส, งาน แต่งงาน; เซ่นไหว้ผีเรือนและ บรรพบุ รุ ษ ที่ ล ่ ว งลั บ เพื่ อ บอก


พจนานุกรม ภาษาโคราช กล่าวว่าลูกหลานจะแต่งงาน, อีสานใช้ว่า กินดอง. เซล่ะ ๆ [เซ-ล่ะ-ล่ะ] ว. เซถลา, ซวนเซ, เซอย่ า งเสี ย หลั ก , ซวนไป, เซแล่ะ ๆ ก็ว่า. เซแล่ะ ๆ [เซ-แล่ะ-แล่ะ] ดู เซล่ะ ๆ. เซ่ อ นอน ก. งั ว เงี ย , สลึ ม สลื อ , อาการงั ว เงี ย ของคนเพิ่ ง ตื่ น นอน, อาการที่คนแรกตื่นยัง ง่วงอยู่. เซอเปอ ๑. ว. อาการหนักย�่ำแย่, อาการร่อแร่ ๒. ก. ร่อนเร่พเนจร เช่น จึง เซอเปอมาให้ ย ากล� ำ บากตั ว (นิ.พระปาจิต). เซอะเซิง ว. กระเซอะกระเซิง, ซัดเซไป อย่างไร้จุดหมาย เช่น มาแต่ ไหนเล่านา เซอะเซิงเข้ามา ชั่ง ไม่เกรงใจ (นิ.รูปทอง) เซะ [เซ่ะ] ก. น�้ำตาไหลพราก, กะเซะ ก็ว่า. เซาะเงาะแซะแงะ ก. เดินโซเซอย่าง ทรงตัวไม่อยู่ เช่น คนเมา, ซะ เงาะซะแงะ, เซาะเยาะ ก็ว่า. เซาะเยาะ ดู เซาะเงาะแซะแงะ. เซิง ๑. น. หลืบที่อยู่สูง, ชั้นบน, ชั้นที่ สูง เช่น ชั้นใต้หลังคา. ๒. ก. ผสมพันธุ์ในลักษณะ คร่อม (ใช้แก่สัตว์).

๓. น. ล�ำไม้ไผ่ช่วงโคนที่เหลือ อยู่ที่กอค่อนข้างยาว, เซิงไม้ไผ่ ก็เรียก. เซิงไม้ไผ่ [ซิง-ม่าย-ไผ่] ดู เซิง. เซิบ ว. ซึม, ซึมซาบ. เซิมเซอะ [เซิม-เซ่อะ] ดู ซกลก. เซีย ดู สะหยาบ. เซือบ ก. เคลิ้มหลับ, จวนหลับ, หลับ ยังไม่สนิท. แซ่ซ่าน ว. เซ็งแซ่, ลือกันเซ็งแซ่อย่าง รวดเร็ว เช่น แต่นั้นมาพากัน ลื อ แซ่ ซ ่ า น (นิ . พระปาจิ ต ), แซแซว ก็ว่า เช่น เสียงขับนก เฝ้าไร่อยูแ่ ซแซว (นิ.พระปาจิต). แซแซว ดู แซ่ซ่าน. แซด [แซ่ด] ว.โจษจัน, พูดกันเซ็งแซ่ เช่น ลือกันแซด, แซดไปอี ขายหน้า ไม่รู้ว่าเขาเป็นชาย (นิ.รูปทอง). แซ็ดบอม [แซ่ด-บอม] ดู จ�้ำบ๊ะ (อ. sex bomb แปลว่า ดาวยั่ว). แซม ก. พูดสอดแทรกขณะที่ผู้อื่น ก�ำลังพูด, พูดแซม, พูดสอด ก็ว่า. แซว ก. เสียงดัง, เอ็ดตะโร, ส่งเสียง ดังให้เป็นที่ร�ำคาญ, เกรียว, เกรียวกราว, เสียงเอ็ดอึงพร้อม กันหลาย ๆ เสียง. แซ้ว ๑. ว. สลอน, เห็นเด่นสะพรัง่ เช่น 107

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แซวซะ - ฐานะฐาเน

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ยกมือไหว่แซ้ว (ยกมือไหว้กัน สลอน), ระแซว, ระแซ้ว ก็วา่ . ๒. ว. ระงม, เสียงร้องคร�ำ่ ครวญ ของคนจ�ำนวนมาก, ระแซว, ระแซ้ว ก็วา่ . แซวซะ [แซว-ซ่ะ] ว. มาก, มากมาย, หลาย. แซะ ก. พูดเสียดสี เช่น ชอบพูดแซะ, ว่าแสะว่าเสียด, พูดแสะพูดเสียด ก็วา่ . แซ่ะ ๆ ก. ฝนตก, ตกปรอย ๆ. แซะแยะ ๑. ก. ยิ้มเจื่อน ๆ, ผอมโซ เช่น โซแซะแยะ. ๒. ว. ดก, มาก. แซะและ ก. กระแดะ, ดัดจริต, สะและ ก็ว่า. โซ ว. ผอม, ผ่ายผอม. โซจอยฮอย ว. ผอมโซแบบ ไม่มีแรงเหมือนคนขาดอาหาร. โซโจ้กโก้ก ว. ผอมโซมาก, ผอมจนเห็นแต่ซี่โครง.

108

โซซอยวอย ว. ผอมโซแบบไม่ ร่าเริงเหมือนคนสร่างไข้. โซแซะแยะ ว. ผอมโซจนเห็น กระดูก. โซสืดหยืด ว. ผอมโซในลักษณะ ของคนผอมสูง. โซแห้งโซเหี่ยว [โซ-แห่ง-โซเหี่ยว] ว. ผอมแห้งหนังเหี่ยว. โซกโมก ดู ซกมก. โซ่กรวน [โซ่-กวน] น. โซ่ตรวน เช่น ใส่ ขื่ อ คาโซ่ ก รวนผู ก พ่ ว งคอ (สุภมิต ฯ). โซง ว. โทรม, อ่อนเพลีย. โซด ก. ซด, สูดหรือกินน�้ำร้อน ๆ เข้า ปากที่ละน้อย เช่น น�้ำร้อน, น�้ำชา, น�้ำแกง เป็นต้น และมัก จะมีเสียงดังซีดซาดหรือโฮกใน ขณะสูดหรือกิน. โซ่น�้ำ [โซ่-น่าม] น. ดินที่อุ้มน�้ำชุ่มชื้น. โซ่โม่ ว. สะลึมสะลือ, งัวเงีย, ซึมเซา เช่น การนั่งของคนที่ตื่นนอน.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ฐาน น. ฐานะ; ว. อย่าง, เยี่ยง เช่น ฐานพี่ฐานน่อง (ฐานะพี่น้อง, อย่างพี่อย่างน้อง).

ฐานะฐาเน ว. มีฐานะปานกลาง, พอประทัง.

109

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

สภาพการคมนาคม ก่อนตัดถนนมิตรภาพ (ภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ ๗)

110


พจนานุกรม ภาษาโคราช

เฒ่า [เถ่า] ๑. น. สรรพนามบุรุษที่ ๒ แทนผู้ที่เราพูดด้วย เช่น แก, คุณ, ท่าน เป็นต้น เช่น เถ่า ๆ มานี่ (แก ๆ มานี่), อีตาเฒ่า ก็ว่า. ๒. น. สรรพนามบุรุษที่ ๓ หมายถึงคนที่เราพูดถึง เช่น เถ่ามี (ลุงมี, ยายมี, จ่ามี, ทิดมี ฯลฯ แล้วแต่เพศ, อายุ, ยศ, ต�ำแหน่งคนที่เราพูดถึง). เฒ่าหลังโกงลงน�้ำไม่ขุ่น [เถ่า-หลังโกง-ลง-น่าม-ไม่-ขุ่น] (ปริศ) น. เบ็ด. เฒ่าหัวโล้นชอบกระโจนลงน�้ำ [เถ่าหั ว -โล่ น -ชอบ-กะ-โจน-ลงน่ า ม] (ปริศ ) น. ขันตักน�้ำ อลูมิเนียม.

เฒ่าหง�ำเหงือก [เถ่า-หง�ำ-เหฺงือก] น. แก่ชราจนเนื้อหนังเหี่ยวย่น ฟันหลุดเหลือแต่เหงือก.

เฒ่าหง�ำเหงือก

111

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ 112


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ดกดิงด่าง [ด๊ก-ดิง-ด่าง] น. กระดานหก, (ดู กระดกกระเดือ่ ง ประกอบ). ดงพญากลาง น. ป่าดงดิบช่วงบริเวณ ต�ำบลกลางดง อ�ำเภอปากช่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดงพญาไฟ เช่น ได้เชิญศุภอักษรไปทาง ดงพญากลาง (ท้าว ฯ), (ดู ดงพญาไฟ ประกอบ). ดงพญาไฟ น. ชื่อป่าดงดิบขนาดใหญ่ อยู ่ บ ริ เ วณอุ ท ยานเขาใหญ่ อ�ำเภอปากช่อง คนที่เดินทาง ผ่านมักไม่รอดตายจากไข้ป่า พระปิ่นเกล้า ฯ กราบทูล รัชกาลที่ ๔ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น “ดงพระยาเย็น” เพื่อให้เกิด ความร่มเย็น. ดงพญาเย็น ดู ดงพญาไฟ. ดงล�ำไย น. การแสดงพืน้ บ้านโคราช อย่างหนึง่ โดยฝ่ายชายฝ่าย หญิงออกมาร้องโต้กนั , ช้าเจ้า หงส์, ช้าเจ้าหงส์ดงล�ำไย ก็วา่ . ด้ด ๆ ก. ออกหน้าออกตา, โด้ด ๆ ก็วา่ . ด้ น ก. ว่ า กลอนเป็นท�ำนองด้ว ย ปฎิภาณไหวพริบ เช่น ด้นเพลง. ดวงก�ำลังขึ้น [ดวง-ก�ำ-ลัง-ขึ่น] ดู ดวงขึ้น.

ดวงขึ้น [ดวง-ขึ่น] ว. ดวงดี, ชะตา ก�ำลังขึ้น, ดวงก�ำลังขึ้น ก็ว่า. ดวงชัยตา น. ดวงชะตา เช่น ประหัดเป็น ปัตนิดวงชัยตา (นิ.พระปาจิต). ดวงซวย ว. ซวย, ดวงไม่ดี. ดวงตก [ดวง-ต๊ก] ว. ชะตาตก. ดวด ก. ดื่มเหล้า. ด่วน ว. รีบ, เร่งรีบ; คนโคราชมักจะไม่ พูดว่ารีบ แต่จะพูดว่าด่วน เช่น จะด่วนไปไหน, อย่าด่วนไป. ด๊อก ๑. น. ตุ้มหู. ๒. ว. หรอก, ดอก มีความหมาย ในเชิงปฏิเ สธ เช่น ใช่ด๊อก (ไม่ใช่หรอก), ไปด๊อก (ไม่ไป หรอก), มีด๊อก (ไม่มีหรอก). ดอกกะทือดง น. หญิงที่ใจง่ายในทาง ประเวณี (ใช้เป็นค�ำด่า). ดอกไก่โอก น. ดอกหงอนไก่. ดอกจาน น. ดอกทองกวาว. ดอกทอง น. หญิงที่ใจง่ายในทาง ประเวณี (ใช้เป็นค�ำด่า). ดอกดวง น. ดอกเบี้ย. ดอกด�ำ น. สีสัน, ลายดอก, สีย้อมผ้า ชนิดส�ำเร็จรูป. ดอกเด่ ดู เด่ ๑. ดอกเด้อ ว. หรอกนะ, ดอกนะ. 113

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ดอกนี - ด�ำด่างพร้อย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ดอกนี ว. หรอกหรือ, ดอกหรือ. ดอกเลา น. แมวสีสวาด, (ดู สีสวาด ประกอบ). ดอกว้า ๑. ว. หรอกวะ, ร้อก, ดอกวะ ใช้ ป ระกอบท้ า ยประโยคเพื่ อ เน้ น ค� ำ เช่น ไม่ไปดอกว้า (ไม่ไปหรอกวะ). ๒. ว. ไม่ใช่ดอกหรือ, ไม่ใช่ หรอกหรื อ , ไม่ ใ ช่ ห รื อ ใช้ ประกอบท้ายประโยคเชิงค�ำถาม หรื อ แสดงความสงสั ย เช่ น หวีอันนี่มันของป้าดอกว้า (หวี อั น นี้ เ ป็ น ของป้ า ไม่ ใ ช่ ด อก หรือ). ดอกอะไรเอ่ยมีทโี่ คราชทีเ่ ดียว (ปริศ) น. ดอกเด่, ดอกนี, ดอกว้า, (ดู ดอกเด่ , ดอกนี , ดอกว้ า ประกอบ). ดอกแฮะ ว. หรอกนะ, ดอกนะ. ดอง ๑. ว. เกี่ยวดอง, เกี่ยวข้องกัน ในการแต่งงาน เช่น พ่อแม่ ของสามีภรรยา เรียกว่า พ่อดอง แม่ดอง. (ปาก) ๒. ก. โดยปริยายหมาย ถึงเก็บไว้โดยมีวัตถุประสงค์ไป ในทางที่ไม่ดีหรือแกล้งท�ำให้ช้า เช่น ดองเรื่องที่เสนอ. ด่องแห ก. ผุดปลาที่ขึ้นในแหที่หว่าน. ดอด ๑. ก. ตอด เช่น ปลาดอด. 114

๒. ก. ท�ำโดยไม่ให้ผู้อื่นรู้, แอบ เช่น ดอดไป. ด่อน ว. ขาวเผือก, ขาวผิดปกติ, มีจุด ขาวปน. ดอยศพ [ดอย-ซบ] ก. มัดตราสัง. ดะดาษ [ด๊ะ-ดาด] ว. เกลื่อนกลาด, มากมาย, ดาษดื่ น , ดาษเด ก็ว่า. ดังอีทก [ดัง-อี-ท่ก] น. ชื่อไม้เลื้อย ชนิด Erycibenoei Kerr ใน วงศ์ Convolvulaceae. ดัด [ดั๊ด] ก. ดัดจริตพูดภาษาไทย กรุงเทพ (มักใช้แก่คนโคราช), ดัดล่าง, พูดดัด, พูดดัดล่าง ก็ว่า, (ดู ชาวล่าง ประกอบ). ดัดล่าง [ดั๊ด-ล่าง] ดู ดัด. ดัดขี้คร้าน [ดั๊ด-ขี้-ค่าน] ก. บิด ขีเ้ กียจ, บิดร่างกายไปมาเพราะ ความเกี ย จคร้ า นหรื อ เพื่ อ แก้เมื่อยเป็นต้น. ดัดเส้น [ดั๊ด-เส่น] ก. ดัดนิสัย, แก้ เผ็ด, โต้ตอบให้สมกับที่เสียที. ดัน ก. ไม่น่าเป็นไปได้ เช่น ขนาดไม่ได้ ดูหนังสือยังดันสอบได้, เสือก ก็ว่า. ดันดาก ว. ดึงดัน, ดันทุรัง. ดับขัย [ดั๊บ-ไข] น. ตาย, สิ้นอายุขัย. ดับแนว [ดับ๊ -แนว] ก. สูญพันธุ,์ ตาย หมดทัง้ โคตร เช่น จะอยูใ่ ยพากัน


พจนานุกรม ภาษาโคราช ด่ า นขุ น ทด น. ชื่ อ อ� ำ เภอหนึ่ ง ใน จังหวัดนครราชสีมา เป็นด่าน เมืองโคราชตั้งในสมัยสมเด็จ พระนารายณ์มหาราช นาย ด่านคนแรกชื่อขุนศิริทศ จึง เรียกว่าด่านขุนทศ ต่อมาเขียน เป็นด่าน ขุนทด. ด่านหน้า [ด่าน-หน่า] น. ทางผ่านเข้า ออกที่คอยตรวจตราและระวัง เหตุ เช่น ด่านขุนทด มีฐานะ เป็นด่านหน้า. ดาบหลัง ก. ลงโทษซ�้ำอีกเปรียบได้ กับดาบสอง เช่น หากแต่ ขัดขืนความประสงค์ก็คงจะถูก ตายด้วยดาบหลัง (ท้าว ฯ). ด้ายเข็ดใหญ่ [ด้าย-เค็ด-ใหญ่] ดู ด้ายไจ. ด้ายไจ น. ด้ายที่กรอกับไม้หรือหลอด กลม มี ป ริ ม าณขนาดใหญ่ , ด้ายเค็ดใหญ่ ก็ว่า. ด่าแม่มึงหมดคืนก็ไม่หมด [ด่า-แม่มึง-มด-คืน-ก็-ไม่-มด] (ปาก) (ส�ำ) พ่อเป็นคนเจ้าชู้มีเมียมาก มายหลายคน ดังนั้น ถ้าจะด่า แม่ทั้งวันทั้งคืนก็ไม่หมด. ดาษเด ดู ดะดาษ. ด�ำคิ่มมิ่ม ว. ด�ำสนิท, ด�ำมาก. ด�ำซิงิ ว. ด�ำมาก. ด�ำด่างพร้อย [ด�ำ-ด่าง-พล่อย] ว.

ตายให้ดบั แนว (นิ.พระปาจิต). ดั้วเดี้ย ว. ต้วมเตี้ยม, อาการที่ค่อย เคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไปอย่าง ช้า ๆ เช่น ท�ำดั้วเดี้ยหมอบแจบ แอบกับหิน (นิ.พระปาจิต), ฤา ดัว้ เดีย้ ดึกน�ำ้ ในล�ำธาร (สุภมิต ฯ). ดา ว. ด้วย, บ้าง, เป็นค�ำแสดงกิริยา รวมหรือเพิ่ม เช่น ไปดา, ขอ กินดา, เดิ้ง, เบิ้ง ก็ว่า. ดานี ว. ด้วยหรือ, ด้วยเหรอ. ดาวะ [ดา-ว่ะ] ว. ด้วยซิ, ด้วยวะ. ดาก น. ทวารหนัก, ตูด. ดาง ลักษณะนามของแห, ด๋าง ก็ว่า. ดางแห ๑. น. แห. ๒. น. เครือ่ งปิดของลับเด็กหญิง ท�ำด้วยเงิน, นาก. ด๋าง ดู ดาง. ดาด ๑. ก. นาบ, ถูกนาบด้วยสิ่งที่มี ความร้อน. ๒. ว. ดาษ, เต็ ม ไปด้ ว ย, มากมาย, เกลื่อนกลาด เช่น อารมณ์ ข องปุ ถุ ช นธรรมเข้ า ครอบง�ำ ใจก็ดาดไปด้วยกิเลส ต่าง ๆ (ท้าว ฯ). ดาดไข่ ก. ทอดไข่โดยใส่น�้ำมัน เพียงแต่นิดหรือไม่ใส่เลย. ด้าน ก. ดื้อด้าน, ดื้อ, ซุกซน, ไม่ยอม เชื่อฟังหรือท�ำตาม. 115

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ด�ำปี้ - ดู่ส้ม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ด่างพร้อย, เป็นจุด ๆ ดวง ๆ อยูท่ วั่ , โดยทัว่ ไปหมายความว่า มีมลทิน, มัวหมอง, ไม่บริสุทธิ์ เช่น มิให้ด�ำด่างพร้อยร้อยราคี (สุภมิต ฯ). ด�ำปี้ ว. ด�ำสนิท, ด�ำมาก, ด�ำปี้ล,ี่ ด�ำปี๋, ด�ำมิดหมี ก็ว่า. ด�ำปี๋ ดู ด�ำปี้. ด�ำปี้ลี่ ดู ด�ำปี้. ด�ำผุดด�ำโผล่ [ด�ำ-พุด-ด�ำ-โผ่] ก. มุดน�้ำแล้วโผล่ขึ้นสลับกันไป. ด�ำมิดหมี ดู ด�ำปี้. ด�ำมิดหมียิ่งตียิ่งกัด ด�ำเหมือนหมัด ยิ่งกัดยิ่งตี [ด�ำ-มิด-หมี-ยิ่งตี-ยิง่ -กัด๊ -ด�ำ-เหฺมอื น-มัด-ยิง่ กัด๊ -ยิง่ -ตี] (ปริศ) น. สิ่ว, ค้อน. ด�ำระกา [ด�ำ-ล่ะ-กา] ว. ด�ำมาก, ด�ำ สนิท, ด�ำเหมือนจรกา; จรกา เป็นตัวละครในวรรณคดีเรื่อง อิเหนาผิวด�ำมาก. ด�ำเหมี่ยง ว. ด�ำเหลื่อม, ด�ำขลับ. ด�ำเหมือนกา บินมาเหมือนนก ศร ปักอกจะว่านกก็ไม่ใช่ [ด�ำเหฺมือน-กา-บิน-มา-เหฺมือนน่ก-สอน-ปัก๊ -อ๊ก-จะ-ว่า-น่ก-ก็ -ไม่-ใช่] (ปริศ) น. แมงเหมีย่ ง, (ดู แมงเหมี่ยง ประกอบ). ด�ำเหมือนตอตะโก ว. ด�ำ; เปรียบ ความด� ำ เหมื อ นตอตะโกซึ่ ง 116

ด�ำเหมือนถ่าน. ด�ำอย่างกา บินมาอย่างนก มีเข็มปัก อก [ด�ำ-หย่าง-กา-บิน-มาหย่ า ง-น่ ก -มี - เข็ ม -ปั ๊ ก -อ๊ ก ] (ปริศ) น. แมงเหมี่ยง, (ดู แมงเหมี่ยง ประกอบ). ดินเกลือ น. ผิวดินที่เป็นเกลือมีสี คล�้ำแกมแดง. ดินเชื้อ [ดิน-เชื่อ] น. ดินที่ใช้ตีหม้อ; ดินเหนียวผสมแกลบน�ำไปเผา แล้วน�ำมาต�ำให้แหลก. ดินปลวก ดู ดินหุน. ดินหม้อ [ดิน-หม่อ] น. เขม่าไฟที่จับ ติดก้นหม้อ หรือกระทะ.

ดินหม้อ

ดินหุน น. จอมปลวก, ตัวปลวก, กะดินหุน, กะแดนหุน ก็ว่า. ดินเอียด น. ดินเกลือที่มีสีเข้มแกม แดง, คราบเกลือที่ปรากฏบน ผิวดิน เมื่อต้มเป็นเกลือแล้วจะ ได้เม็ดละเอียด. ดี ๆ จนใจหาย ร้าย ๆ ยังกับเสือ [ดี-


พจนานุกรม ภาษาโคราช ดี-จน-ไจ-หาย-ล่าย-ล่าย-ยังก๊ะ-เสือ] (ส�ำ) ว. เวลาอารมณ์ ดีจะใจดีมาก ตรงกันข้ามเวลา อารมณ์เสียหรือโกรธรุนแรง จะใจร้ายมากเช่นกัน. ดี ๆ ชั่ว ๆ ว. ถึงจะชั่วจะเลวหรือไม่ดี อย่ า งไรแต่ ก็ ไ ด้ รั บ ประโยชน์ เช่น ดี ๆ ชั่ว ๆ ก็ได้อีนางมันนี่ แหละสร่างบ้านให่ (ถึงลูกสาว คนเล็กจะชัว่ จะเลวอย่างไร ก็ เป็นคนสร้างบ้านให้อยู)่ , ความ เจ้ารักผัว ดีดชี วั่ ชัว่ ได้เห็นหน้า กัน (นิ.รูปทอง), ชัว่ ๆ ดี ๆ, ชัว่ ดี ถีห่ า่ ง ก็วา่ . ดีน�้ำตาล [ดี-น่าม-ตาน] น. ขัณฑสกร, หัวน�้ำตาล. ดีวนั ดีคนื ว. อาการเจ็บป่วยดีขนึ้ เรือ่ ย ๆ. ดึก [ดึ๊ก] ดู กะดึก. ดึน น. กึ๋น, ดึ๋น ก็ว่า. ดุ ๊ เป็ น ค� ำ ประกอบท้ า ยค� ำ อื่ น เพื่ อ เสริมให้เด่นให้ชัด โดยปริยาย มีความหมายท�ำนองว่า ซิ เช่น มานี่ดุ๊ (มานี่ซิ), ดูดุ๊ (ดูซิ). ดุเดือดเลือดพล่าน [ดุ๊-เดือด-เลือดพ่าน] (ปาก) ว. โดยปริยาย หมายถึงภาพยนตร์หรือความ บันเทิงที่บู๊ถึงใจ. ดุน ก. ดุด, ดัน เช่น หมูเอาจมูกดุนดิน. ดู ว. เยี่ยม, ดูแล เช่น ไปดูคนป่วย (ไป

เยี่ยมคนป่วย). ดูกอึง่ ใหญ่ น. อึง่ ใหญ่, กระดูกอึง่ , กระดูกเขียด, แกลบหนู, แกลบ หูหนู, แปรงหูหนู; ไม้พมุ่ ขนาด เล็ก ชนิด Dendrolobiumla nceolatum (Dunn.) Schindl. ในวงศ์ Legumin osae หรือ Fabaceae. สูงประมาณ ๑ - ๓ เมตร ใบรูปไข่ โคนใบสอบ ดอก สีเหลืองอ่อนเป็นช่อ ฝักเล็ก แบนกิว่ เป็นข้อ ๆ ใช้เป็นยาแก้ ไตพิการ โรคทางเดินปัสสาวะ. ดูดำ� ดูแดง ก. ดูดำ� ดูด,ี สนใจ, เอาใจใส่ ดูแลทั้งในเวลามีทุกข์และมีสุข เช่น ไม่มาดูดำ� ดูแดงกันเลย. ดูดุ๊ ว. ดูซิ; เสียงที่เปล่งออกมาแสดง ความไม่ พ อใจหรื อ แปลกใจ, ดูดู๋ ก็ว่า เช่น แม่ทองเหลือ...... ท�ำเป็นโกรธขยับกายลุกขึ้นยืน พูดด้วยเสียงเกรี้ยวว่าดูดู๋ท่าน นายหมวดไม่ส�ำรวมค�ำ (ท้าว ฯ), ดูดู๋ทั้งเจ็ดพระยา ไม่รู้ฤานา (นิ. กุศราช). ดูดู๋ ดู ดูดุ๊. ดูดยา ก. สูบบุหรี่. ดูทั่วะ ว. ดูซิ, ทั่วะ ก็ว่า. ดู่ส้ม [ดู่-ส่ม] น. ชื่อไม้ต้นผลัดใบ ชนิด Bischofia javanica Blume ในวงศ์ Euphorbbi 117

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เด่ - แดก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ceae ใบประกอบมีใบย่อย ๓ ใบ ดอกเล็กสีเหลืองอ่อน ผลกลมเล็กเป็นพวงเมื่อแก่จะ สีเหลืองหรือน�้ำตาล ใช้ท�ำพื้น ฝาเรือน เครื่องเรือน นัก พฤกษศาสตร์เรียก เติม.

ดู่ส้ม

เด่ ๑. ว. นะ, แหละ, นั่นแหละ, นี่ แหละ, นั่นเอง; ใช้ประกอบค�ำ เพื่อเน้นความให้ชัดขึ้น เช่น พี่ เด่เป็นคนท�ำ (พี่นี่แหละ เป็น คนท�ำ), ไม่รู่เด่ (ไม่รู้นะ), ดอก เด่ ก็ว่า. ๒. ว. ซิ, เถอะ, แน่, เหอะ เป็นค�ำ ประกอบท้ายค�ำอื่นตามบริบท เพือ่ เสริมข้อความให้เด่นชัดหรือ 118

สละสลวยเป็นต้น เช่น เอาเด่ (เอาแน่), ไปเด่ (ไปเถอะ). เด่เฮย ว. ค�ำต่อท้ายประโยค เพื่อเน้นความหมายท�ำนองว่า ว่ะ, ละนะ, นะ เช่น ทิดแก้วจิ มาเอาเรื่องเด่เฮย (ทิดแก้วจะ มาเอาเรื่องว่ะ). เด้ ว. นะ, เด้อ ก็ว่า. เดฉัน ส. ดิฉัน, ฉัน, ข้าพเจ้า (มักใช้ เฉพาะผู้หญิง) เช่น เดฉันจะขอ ลา พระบิดาจงอยู่ดี (นิ.รูป ทอง), เดฉันถ้วนหน้า มาสูค่ งคา ตักน�ำ้ ขึน้ ไป (นิ.กุศราศ). เด็ดบัวไม่เหลือใย [เด๊ด-บัว-ไม่-เหลือไย] ก. ตัดขาดชนิดที่ไม่มีหรือ ไว้ซึ่งเยื่อใยต่อกัน, ตัดญาติ ขาดมิตร. เด็ดรวงข้าวเอาวัน [เด๊ด-ลวง-เข่าเอา-วัน] น. พิ ธีก ล่ า วค� ำ อธิษฐานก่อนเกี่ยวข้าวที่จะมา ท� ำ ข้ า วเม่ า เพื่ อ ให้ เ กิ ด ความ เป็นสิริมงคล. เดน ว. เก่า, เดิม, เช่น เรื่องเดน, อย่างเดน, เหมือนเดน. เด้อ ว. นะ เช่น ไปละเด้อ (ไปละนะ). เด๊าะ ดู กะเด๊าะ. เดิ้ง ดู ดา. เดิ่น น. ลาน, ที่เตียนโล่งไม่มีหญ้าหรือ วัชพืชขึ้น.


พจนานุกรม ภาษาโคราช เดินตามตูดต้อย ๆ [เดิน-ตาม-ตูดต้อย-ต้อย], ดู เดินตามก้น ต้อย ๆ. เดินสับส้น [เดิน-ซับ-ส่น] ดู เดิน เหยียบส้นกัน. เดินเหยียบส้นกัน [เดิน-เหฺยียบ-ส่นกัน] (ส�ำ) ก. ติดไม่ยอมห่างจน เดินเหยียบส้นกัน เช่น ลูกติ๊ด แม่ จ นเดิ น เหยี ย บส่ น กั น , เดินสับส้น ก็ว่า. เดินเหมือนควายหาย [เดิน-เหมือนควย-หาย] ดู เดินตามควาย หาย. เดินอยู่บ้านถ้วยแตกอยู่วัด [เดินหฺยู่-บ้าน-ถ่วย-แตก-หฺยู่-วั่ด] (ปริศ) น. มีกิริยามารยาทไม่ เรียบร้อยเพราะเดินตึงตัง. เดินอาด ๆ [เดิน-อาด-อาด] ก. เดิน เห็นอยู่ทนโท่. เดี๊ยะ ว. เปราะ (มักใช้แก่ไม้ไผ่). เดื้ อ ง น. ปฏั ก , ไม้ มี เ หล็ ก ปลาย แหลมใช้บังคับสัตว์พาหนะ. เดือดปุด ๆ [เดือด-ปุ้ด-ปุ้ด] ก. เดือดจัด, โกรธจัด. เดือน น. ด้วง. เดือนมะยี่ปีมะโว่ น. เดือนปีที่ผ่านมา นานแล้ว เช่น ตั้งแต่เดือนมะยี่ ปีมะโว่โน่น. แดก ก. กิน, แดกห่า ก็ว่า.

เดิ่น

เดินขย่มธรณี ก. ลักษณะการเดิน กระทืบธรณี, อาการทีเ่ ดินห่มตัว (ถือกันว่าเป็นลักษณะทีไ่ ม่ด)ี . เดินเฉิบ ๆ [เดิน-เชิบ-เชิบ] ก. เดิน ลอยหน้าลอยตา. เดินซ่าน ก. เดินขวักไขว่, เดินไปมา อย่างสับสน. เดินตามก้น ก. เดินตามหลัง, เดิน ติ ด ตามเหมื อ นเป็ น ลู ก จ๊ อ ก, เดิ น หรื อ ติ ด ตามไปทุ ก หน ทุกแห่ง, เดินตามตูด ก็ว่า. เดินตามก้นต้อย ๆ [เดิน-ตาม-ก้นต้อย-ต้อย] ก. เดินตามก้นติด ๆ, เดินตามตูดต้อย ๆ ก็ว่า. เดินตามควายหาย [เดิน-ตาม-ควยหาย] ก. เดินเร็วมาก; เดินเร็ว กว่ า ปกติ เ หมื อ นกั บ เดิ น ตาม ควายที่หาย, เดินเหมือนควาย หาย ก็ว่า เช่น นายยิ่งยวด เดิ น เร็ ว เหมื อ นควายหาย (นิ.พระปาจิต). เดินตามตูด ดู เดินตามก้น. 119

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แดกห่า - ตกหนัก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

แดกห่า ดู แดก. แดงก�่ำ ว. หน้าแดงเพราะกินเหล้า, อาการหน้ า แดงเพราะโกรธ มาก. แดงแปร๊ด ว. แดงแจ๋. แดงร่า ว. แดงแจ๋, แดงเข้ม. แดงโร่ ว. แดงแจ๋, แดงเข้ม, แดงก�่ำ. แดดบด [แดด-บ๊ด] น. แดดหุบ, แดด ร่ ม เนื่ อ งจากมี เ มฆมาบดบั ง แสงอาทิตย์. แดดบ่ายศีร์ษะ [แดด-บ่าย-สี-ซะ] น. ตะวันบ่าย เช่น จวบจนแดด บ่ายศีร์ษะคุณหญิง (ท้าว ฯ). แด่น ว. ด่างขาว, มีขนสีขาวขึ้นกลาง หน้า เช่น ควายแด่น. โดน ปริยายหมายถึงหญิงที่เสียตัว แล้ว, เสียพรหมจรรย์แล้ว. โด่น ก. โด่ง, อาการที่พุ่งขึ้นไป, สูง ขึ้นฟ้า. โดย ก. อาการที่สัตว์ปีกผสมพันธุ์. ได้ก่อนล่อนแก่น ก. เล่นการพนัน ได้ก่อนใคร กลับเสียหมดใน ภายหลัง. ได้กัน ก. ได้เสียกันทางเพศสัมพันธ์.

120

ได้ผัวหลงพ่อ ได้เมียหลงแม่ (ส�ำ) แต่งงานแล้วลืมพ่อแม่, หญิงมี สามีแล้วลืมพ่อ ชายมีภรรยา แล้วลืมแม่ เช่น ไปได้สามีหรือ มีภรรยา ต้องหมั่นแลหมั่นดู ได้ ผั ว หลงพ่ อ ได้ เ มี ย หลงแม่ บางทีไปแชจนหลงหมู่ (นิ.เพลง เจ็ดคะนน). ได้ฤกษ์เบิกกระเชอ (ส�ำ) ได้เวลาหรือ เป็นเวลาที่ถือเป็นฤกษ์ดี, ได้ เวลาที่เหมาะสม, ได้เวลาที่มี ความพร้อม. ได้ใหม่ลืมเก่า ได้เต่าลืมหมา (ส�ำ) ได้ใหม่ลืมเก่า, ได้ดีแล้วลืม บุญคุณ ; เปรียบได้กับส�ำนวน ได้แกงเทน�้ำพริก. ได้อย่างเสียอย่าง ก. ได้อย่างหนึ่งแต่ ต้องเสียอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ สามารถได้ทั้งสองอย่าง. .....ได้......เอา ว. ใช้ประกอบค�ำอื่นมี ความหมายในท�ำนองว่า ได้ที, ได้ท่า, ได้ช่อง, ได้จังหวะ เช่น ว่าได้ว่าเอา, พูดได้พูดเอา.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ตก [ต๊ก] ก. พูดภาษาไทยกรุงเทพ แล้ ว พลั ด หลงพู ด ภาษาถิ่ น เช่น ต๊กโคราช (พูดภาษาไทย กรุงเทพแล้วพลัดหลงพูดภาษา โคราช), พูดตกโคราช ก็วา่ . ตกกระหม่า [ต๊ก-กะ-หฺม่า] ก. ตก ประหม่า, เกิดความรู้สึกสะทก สะท้านพรั่นใจ เช่น ลางคนเห็น ยักษา ตกกระหม่าหน้าคือผี (นิ.รูปทอง), ตกประหม่าบ้าใจ ก็ว่า เช่น เห็นลูกเขยมาตก ประหม่าบ้าใจ (นิรูปทอง). ตกกะเทิน [ต๊ก-กะ-เทิน] ว. ตกอยู่ใน ภาวะจ�ำใจ, ฝืนใจท�ำ, ไหน ๆ ก็ ไหน ๆ, ปลงใจในสิ่งที่ผ่านไป แล้วและจ�ำใจต้องท�ำต่อไป. ตกกะเมินเทินเท่อ [ต๊ก-กะ-เมิน-เทินเท่อ] ก. ตกตะลึง, จังงัง, ตกใจ จนพูดไม่ออก, ต๊กกะเหมินเถิน เถ่อ ก็ว่า. ตกกะเหมินเถินเถ่อ [ต๊ก-กะ-เหฺมินเถิน-เถ่อ] ดู ตกกะเมินเทิน เท่อ. ตกไกล [ต๊ก-ไกล] ว. ไปไกล, ห่างไป ไกล. ตกคลัก [ต๊ก-คั่ก] น. ปลาที่ติดอยู่

ตามบ่ อ หรื อ หนองที่ น�้ ำ แห้ ง งวด. ตกจนไม่ลืนหูลืนตา [ต๊ก-จน-ไม่-ลืนหู-ลืน-ตา] น. ฝนตกติดต่อกัน นาน. ตกต้วม [ต๊ก-ต้วม] ก. ตกลงในน�้ำ เสียงดังต้วม. ตกตะลึงพรึงเพริด [ต๊ก-ตะ-ลึง-พึงเพิด] ก. ตกตะลึง, ตกใจจน พูดไม่ออก, แสดงอาการงงงัน. ตกตุบแมงวันโห่ฮิ้ว [ต๊ก-ตุ้บ-แมงวัน-โห่-ฮิ้ว] (ปริศ) น. ขี้, อุจจาระ. ตกตุบใส่หมวกแต้ [ต๊ก-ตุ้บ-ไส่-หฺ มวก-แต้] (ปริศ) น. ลูกตาล, ตาล, ตกตุบใส่ห มวกแต้วิ่ง แถลไปตลาด ก็ว่า. ตกตุบใส่หมวกแต้ วิ่งแถลไปตลาด [ต๊ก-ตุ้บ-ไส่-หฺมวก-แต้-วิ่งถะ-แหฺล-ไป-ตะ-หฺลาด] ดู ตก ตุบใส่หมวกแต้. ตกประหม่าบ้าใจ [ต๊ก-ปะ-หม่า-บ้าใจ] ดู ตกกะหม่า. ตกพัก [ต๊ก-พั่ก] ก. ตกจากที่สูงต่าง ระดับ เช่น บันได. ตกหนัก [ต๊ก-นัก] ว. ในที่สุด, ผล 121

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ตกไหนตกไป - ตราลงหนังหมา

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

สุดท้าย. ตกไหนตกไป [ต๊ก-ไหน-ต๊ก-ไป] ก. ไม่ไยดี, ไม่ใส่ใจ; มาจากส�ำนวน การเล่นว่าวที่ไม่สนใจหรือไม่ เสียดายว่าว่าวจะไปตกที่ไหน เช่น นรกอเวจี ตามทีเป็นไร ตกไหนตกไป พอได้เมียงาม (นิ.รูปทอง). ตกอยู่ระหว่างเขาวัวเขาควาย [ต๊กหยู ่ - ระ-หว่า ง-เขา-งัว-เขาควย] ก. ตกอยูใ่ นอันตราย เช่น ในเวลานี้ เ ราสองจึ ง เปรี ย บ เท่ากับตกอยู่ในระหว่างเขาวัว เขาควาย (ท้าว ฯ). ตดยังไม่ทนั หายเหม็น [ต๊ด-ยัง-ไม่-ทันหาย-เหม็น] ว. เร็ว, รวดเร็ว. ตดให้หมาชะงัก [ต๊ด-ไห่-หมา-ชะงั่ก] ดู ตดให้หมาดีใจ. ตดให้หมาดีใจ [ต๊ด-ไห่-หมา-ดี-ใจ] (ส�ำ) ก. เคาะกะลาให้หมาดีใจ, หลอกให้มีความหวัง, ตดให้ หมาชะงัก ก็ว่า. ตดหมา [ต๊ด-หมา] น. ชื่อไม้เถาใน กลุ่ม “เครือตดหมา, ตดหมู ตดหมาและย่านพาโหม” ชนิด Saprosma latifolium Craib ในวงศ์ Rubiaceae ล�ำต้น มีขน กลิ่นเหม็น, ต�ำยานตัวผู,้ ตูดหมูตูดหมา ก็ว่า. 122

ต้นกระดาษ น. ต้นพลับพลึง. ต้นกะฏิ [ต้น-กะ-ติ๊] ว. ก้นกุฏิ, สนิท สนมจนเป็นที่ไว้วางใจ, ต้นกุฏิ ก็ว่า. ต้นกุฏิ [ต้น-กุ๊ด-ติ๊] ดู ต้นกะฏิ. ต้นขี้ครอกออกดอกก่อนใบ [ต้น-ขี่คอก-ออก-ดอก-ก่ อ น-ไบ] (ปริศ) น. กะบุก้ คันหอกเป็นพืช ชนิดหนึ่งล�ำต้นเล็กมีดอกก่อน แล้วใบผลิออกขึ้นทีหลัง, (ดู กะบุกคันหอก ประกอบ). ต้นขี้เย็ดไม่มีเม็ดก็งอกได้ [ต้น-ขี่เย่ด-ไม่-มี-เม่ด-ก็-งอก-ได้] (ปริศ) น. เห็ด. ต้นจังไรไม่มีใบมีแต่ดอก [ต้น-จั่งไล-ไม่ - มี - ไบ-มี - แต่ - ดอก] (ปริศ) น. เงินต้น ดอกเบี้ย. ต้นเท่าขาใบวาเดียว ต้นเท่าแขนใบ แล่นเสี่ยว (ปริศ) น.ต้นกล้วย, ต้นอ้อย. ต้นเท่าเข็มใบเต็มวัง (ปริศ) น. ผักแว่น. ต้นเท่าครกใบปกดิน [ต้น-เท่า-ค่กไบ-ป๊ก-ดิน] (ปริศ) น. ต้น ตะไคร้. ต้นเท่าครกใบหกวา [ต้น-เท่า-ค่ก-ไบฮก-วา] (ปริศ) น. ต้นมะพร้าว. ต้นเท่าคันเบ็ดใบเจ็ดแสน [ต้น-เท่าคัน-เบ๊ด-ไบ-เจ๊ด-แสน] (ปริศ) น. ต้นสามสิบ.


พจนานุกรม ภาษาโคราช ต้นเท่านิ้วก้อย พระห้าร้อยนั่งไม่หัก [ต้น-เท่า-นิ่ว-ก้อย-พ่ะ-ห้าล่อย-นั่ง-ไม่-ฮัก] (ปริศ) น. ต้นพริก. ต้นเท่าล�ำหวายใบกระจายเต็มแม่น�้ำ [ต้น-เท่า-ล�ำ-หวาย-ไบ-กะ-จายเต็ม-แม่-น่าม] (ปริศ) น. แห. ต้นนุ่น น. ต้นงิ้ว. ต้นเพาะแพะ น. ต้นตายใบเป็น; เอา ดอกพอตูม ๆ มาตบจะมีเสียง ดังเพาะแพะ. ต้นไม้ใหญ่ไม่มีผี สาวหน้าตาดีไม่มีคู่ ธรณีไม่อกแตกฤา [ต้น-ม่ายไหย่-ไม่-มี-ผี-สาว-หน่า-ตาดี-ไม่-มี-คู่-ทอ-ละ-นี-ไม่-อ๊กแตก-ลือ] (ปริศ) น. คนสวย ไม่มีคู่รักจะเชื่อได้หรือ. ต้นอยูเ่ มืองไทย ใบอยูเ่ มืองลาว (ปริศ) น. ต้นข่อย. ตบขีห้ ไู หล [ต๊บ-ขี-่ หู-ไหล] ก. ตบบ้องหู, ตบขีห้ ไู หลเต้นระบ�ำ ก็วา่ . ตบขี้หูไหลเต้นระบ�ำ [ต๊บ-ขี่-หู-ไหลเต้น-ละ-บ�ำ] ดู ตบขี้หูไหล. ตบด้วยหลังมือ [ต๊บ-ด้วย-หลัง-มือ] ก. ตบอย่างสะใจโดยใช้หลังมือ. ตบโดยไม่แบมือ [ต๊บ-โดย-ไม่-แบ-มือ] ก. ก�ำก�ำปั้นแล้วตบ, ตบด้วย ก�ำปั้น. ตบยุง [ต๊บ-ยุง] (ปาก) (ส�ำ) ถูกย้าย 123

หรื อ ให้ อ ยู ่ ใ นต� ำ แหน่ ง ที่ ไ ม่ มี งานให้ท�ำ. ตบรางวัล [ต๊บ-ลาง-วัน] ก. ตกรางวัล, ให้เงินรางวัล, ตุบ, ตุบรางวัล ก็ว่า. ตบล้มขะเหวาดิน [ต๊บ-ล่ม-ขะ-เหฺวาดิ น ] ก. ตบจนล้ ม ตะครุ บ เล็บมือข่วนดิน. ตบอกผาง [ต๊บ-อ๊ก-ผาง] ก. อาการ ที่ใช้มือตีอกแสดงความโกรธ หรือความไม่พอใจอย่างมาก. ต้มจนเปื่อย (ส�ำ) ก. หลอกจนเชื่อ อย่ า งสนิ ท ใจหรื อ อย่ า งไม่ มี อะไรต้องแคลงใจสงสัย. ต้มน�้ำร้อนนอนไฟ [ต้ม-น่าม-ล่อนนอน-ไฟ] ก. อยู่ไฟ. ต้มพุง น. ชื่อต้มย�ำชนิดหนึ่งใช้เครื่อง ในสัตว์ปรุง, ต้มเครื่องในสัตว์ หรือต้มย�ำเครื่องในสัตว์. ต้มเส้นหมี่ [ต้ม-เส่น-หมี่] ดู หมี่น�้ำ. ตรงดิ่ง ก. ตรงไปโดยไม่แวะเวียน ที่ไหน เช่น ตรงดิ่งไปหา. ตราราชสีห์ น. หนังสือหรือค�ำสั่งทาง ราชการที่มีตราราชสีห์ซึ่งเป็น ตราของมหาดไทยก�ำกับ เช่น ให้ถือตราราชสีห์ บอกข่าวกัน ไป (นิ.รูปทอง), (ดู ท้องตรา ราชสีห์ ประกอบ). ตราลงหนังหมา ก. จารึกหรือเขียน

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ตลบปบโป่ - ตะกร้างวง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ชื่อคนชั่วหรือคนเลวไว้บนหนัง หมา เช่น ตราลงหนังหมา ท�ำ อย่างนี้ไซร้ ครั้นเมื่อตายไป ไม่ พ้นจตุรา (นิ.รูปทอง), ถึงกรอง กรรมก็จะน�ำส�ำเนานาม ลง หนั ง สุ นั ข ถามเมื่ อ คราวตาย (นิ.กุศราช), จารึกบนหนังหมา ก็ว่า. ตลบปบโป่ [ตะ-ลบ-ป๊บ-โป่] ก. ท�ำ อย่างกุลีกุจอ, ท�ำโดยเร่งรีบ. ต้วม ก. เสียงอย่างของหนักตกลงในน�้ำ เช่น กระโดดน�ำ่ ดังต้วม (กระโดด น�ำ้ เสียงดังต้วม). ตวัก [ตะ-วัก] น. จวัก. ตวั ก ตะบวย [ตะ-วัก -ตะ-บวย] ดู ตะบักตะบวย. ต้อ น. ตัวต่อ. ตอก ก. มีความหมายหลายนัยตาม บริบท เช่น กิน, ร่วมประเวณี, เอา, น�ำไป. ต๊อก น. ล้อต๊อก, การเล่นอย่างหนึ่ง เชิ ง แข่ ง ขั น หรื อ พนั น ขั น ต่ อ เล่นได้ ๒ วิธี อุปกรณ์การเล่น คือเหรียญถ้าเล่นเพื่อการพนัน ใช้เหรียญที่มีค่าเงินเท่ากัน วิธที ี่ ๑ ใช้เหรียญโยนกระทบ ฝาเพือ่ ให้กระดอนกลับกลิง้ เรียด วิธที ี่ ๒ ใช้ไม้กระดานพาดพิง ให้ ล าดเอี ย งแล้ ว เอาเหรี ย ญ 124

ปล่อยให้กลิง้ ไป วิธนี บี้ างท้องที่ เรียกว่า สาลอยกอยกุง้ . ทั้งสองวิธีเหรียญใครกลิ้ง ไปหยุ ด ไกลสุ ด จะได้ ท อย เหรียญคนถัดมา ถ้าทอยถูกก็ จะได้ เ หรี ย ญนั้ น และทอย เหรียญต่อไปเรื่อย ๆ จนหมด ถ้าไม่ถูกเจ้าของเหรียญที่ถูก ทอยไม่ถูกก็จะทอยเหรียญที่อยู่ ถัดไปเช่นนี้จนหมด คนที่ทอย เหรียญถูกจะได้รางวัลตามแต่ จะตกลงกัน. ต๊อกต๋อย ว. ไม่มีงานท�ำ, ตกงาน, ตกอับ เช่น เดินต๊อกต๋อย (เดิน อย่างคนตกอับ, เดินอย่างคน ตกงาน). ตอกกลับ [ตอก-กั๊บ] ว. ว่าใส่หน้า กลับคืนอย่างไม่ไว้หน้า. ต่อไก่ น. การเล่นอย่างหนึ่ง แบ่งผู้ เล่นออกเป็น ๒ ฝ่ายเท่า ๆ กัน หาที่ก�ำบังไม่ให้เห็นไก่ (คน เล่น) ใช้ผ้าผืนใหญ่คลุมไก่ให้ มิดชิด หัวหน้าแต่ละฝ่ายน�ำไก่ มาหมอบตรงกลาง และบอก ให้ไก่ของตนขันไม่เกิน ๓ ครั้ง แล้ ว ให้ ท ายว่ า เป็ น เสี ย งใคร โดยห้ามจับคล�ำเนื้อตัว ถ้าทาย ถูกจะได้ไก่นั้นเป็นเชลย ถ้า ทายผิ ด ก็ ก ลั บ ที่ แ ล้ ว น� ำ ไก่ ตั ว


พจนานุกรม ภาษาโคราช ต่อเซีย น. ต่อเพิงหรือชายคาออก จากด้านข้างให้ปลายข้างหนึ่ง อยู่กับสิ่งปลูกสร้างหลัก, (ดู ซะหยาบ ประกอบ). ตอด ก. กัด, ต่อย (ใช้แก่สัตว์) เช่น งูตอด. ต่อน น. ชิ้น, ก้อน. เช่น ปลาต่อนใหญ่ (ปลาชิ้นใหญ่). ต่อนัดต่อแนง [ต่อ-นั่ด-ต่อ-แนง] ก. เกี่ยงงอน. ตอปดตอแหล [ตอ-ป๊ด-ตอ-แหฺล] ก. ปด, โกหก, พูดเท็จ, ตอลด ตอแหล ก็ว่า. ตอลดตอแหล [ตอ-ลด-ตอ-แหฺล] ดู ตอปดตอแหล. ต้อย ก. เขี่ย, ใช้ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ เพื่อ ให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่. ต้อย ๆ ก. ตามไปติด ๆ เช่น แม่ตะโพก ตุงตุง มาพี่จะกุ่งไปต้อยต้อย (เพลงโคราช). ต่อยมวย ก. ชกมวย. ต่อยวัดวา [ต่อย-วั่ด-วา] ก. ชกต่อย อย่างสุดแขนตรงไป โดยสลับ แขนซ้ายขวาเหมือนว่ายน�้ำ. ต๊ะ ดู กะ ๑. ตะกรอง น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ใช้กรองสิ่งของ เช่น ปลาร้า. ตะกร้างวง น. ตะกร้าสานด้วยไม้ไผ่ที่ มีรูปทรงคล้ายกระเชอ แต่เล็ก

ใหม่ออกมา (ตัวเดิมก็ได้) อนึ่ง หลั ง จากทายทุ ก ครั้ ง จะต้ อ ง เอาผ้าคลุมออก เพื่อให้รู้แน่ว่า ทายถูกหรือผิด ฝ่ายใดทายถูก มากกว่าถือว่าชนะ. ตอกจ่น ว. จนกระทั่ง, ตอกเจ่น ก็ว่า. ตอกเจ่น ดู ตอกจ่น. ตอกตะแคง น. ตอกที่ไม่มีผิวไม้ไผ่ โดยจักเอาแต่เนื้อใผ่เป็นเส้น บางๆ. ต๊อกป๊อก ดู ตุ๊กปุ๊ก. ตอกปื้น น. ตอกที่มีผิวไม้ไผ่, ตอกเปิ้น ก็ว่า. ตอกเปิ้น ดู ตอกปื้น. ตอกไพล [ตอก-ไพ] น. ตอกเส้น กลม. ต้อกม่อก ก. นั่งอย่างหมดอาลัย, นั่งโทนโท่. ตอกเวียน ดู ตอกสาน. ตอกสาน น. ตอกที่ใช้สานเครื่องใช้ ต่าง ๆ เช่น กระเชอ, ตอกเวียน ก็วา่ . ต่องต้อย ว. ต่องแต่ง, ห้อยแกว่งไป แกว่งมา. ต่องหม่อง ว. ทนโท่, จะแจ้ง, ปรากฏ ชั ด แก่ ต าหรื อ ในลั ก ษณะที่ โดดเด่น. ต่องหม่องแต่งแหม่ง ว. วางเกะกะ, ปะปนกัน. 125

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ตะกล้านา - ตะเคียนหนู กว่ามีหูหิ้ว. ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ตะกร้างวง

ตะกล้านา น. ตากล้านา, กระทงนาที่ เป็ น พื้ น ที่ มี คั น ดิ น ล้ อ มรอบ แปลงใช้เพาะกล้า. ตะกาวตะเกว ก. ตะกุยตะกาย, ตะเกียก ตะกาย, ปีนป่าย. ตะกิด [ตะ-กิ๊ด] ก. สะกิด, เอาปลาย เล็บหรือสิ่งที่คล้ายคลึงกันเขี่ย และควักแต่เบา ๆ เพื่อให้รู้ตัว หรือเพื่อให้หลุดหรือแตกออก เป็นต้น เช่น เอามือตะกิ๊ด (เอา มือสะกิด), ตะกึ๊ด ก็ว่า. ตะกึ๊ด ดู ตะกิด. ตะกึดฟัน [ตะ-กึด๊ -ฟัน] ก. กัดฟัน เช่น พากันท�ำอึดอึดตะกึดฟัน (สุภมิต ฯ). ตะกุด [ตะ-กุ๊ด] น. ล�ำน�้ำหรือล�ำห้วย ที่ขาดเป็นห้วง ๆ ปลายด้วน หรือปลายตัน เช่น ที่หนองน�้ำ เป็นตะกุดพระไทรใหญ่ (นิ.พระ ปาจิต), กุด ก็ว่า. ตะกุย ก. ตะกาย, คุ้ยเขี่ย. 126

ตะเก้ตะกัง ว. เก้ ๆ กัง ๆ, ขวาง ๆ รี ๆ เช่น พระแม่ได้ฟัง ตะเก้ ตะกัง กลับหลังมาหา (นิ. รูป ทอง), ว่ายกระเดือกเสือกซะเซ ตะเก้ตะกัง (สุภมิต ฯ). ตะเกีย น. เจตพังคี, ไม้พมุ่ ชนิด Cladogy nosorientalis Zipp. ex Span. ในวงศ์ Euphorbiaceae ท้องใบ สี ข าวนวลเปลื อ กและรากสี เหลือง รสขม แก้จกุ เสียด ปวด ท้อง ขับลม ท้องอืด, หนาดตะกัว่ , เปล้าเงิน ก็วา่ . ตะเก้าะ ดู เก้าะ. ตะแก น. กรรไกร, ตะไกร. ตะแกเวียน ก. อาการไก่ชักกระตุก คอเอียง แล้วเดินวนอยู่กับที่, กะแตเวียน ก็ว่า. ตะโกก น. สันหลังปลา, กระโดงหรือ โขดงหลังปลา. ตะโกรก [ตะ-โกก] น. โกรก, โตรก ทางที่ มี ลั ก ษณะเป็ น ซอกลึ ก หรือเป็นช่องลึกเกิดจากน�้ำไหล กัดเซาะเป็นร่องลึก, ซอก ลึก ของเขาหรื อ ล� ำ ธาร, โกรก เกริน ก็ว่า เช่น พระข้ามโคก โกรกเกรินขึ้นเนินผา (นิ.พระ ปาจิต), ถิ่นอีสานใช้ว่า โสก. ตะโกสะ [ตะ-โก-ซะ] น. ผลตะโกที่ ไม่ฝาด โดยน�ำมาแช่น�้ำเกลือ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ๒ - ๓ วัน แล้วน�ำมาตากแดด จึงจะใช้รับประทาน อีกวิธีน�ำ มาแช่น�้ำร้อนก่อนน�ำไปผึ่งแดด ซะหรื อ หงาดคือการท�ำให้ผ ล ตะโกไม่มียางหรือฝาด, ตะโก หงาด ก็ว่า, (ดู สะ, หงาด ประกอบ). ตะโกหงาด ดู ตะโกสะ ตะไก้ ดู ตาไก้. ตะของ น. เจ้าของ. ตะขู่ตะคอก ก. พูดขู่เสียงดัง, ตะคอก, กระโชกเสียงใส่. ตะเข้ [ตะ-เข่] น. จระเข้. ตะเข้สัน [ตะ-เข่-สัน] ดู ร้านตะเข้. ตะเข้ใหญ่กว่าวัง [ตะ-เข่-ไหย่-กัว่ -วัง] (ส�ำ) เคยได้ดีมีฐานะเมื่อตกต�่ำ ก็วางตนอย่างคนธรรมดาได้ ยาก; เปรียบได้กับส�ำนวนจรเข้ คับคลอง. ตะครุบกบ [ตะ-คุ่บ-ก๊บ] (ส�ำ) เป็นค�ำ พู ด ปลอบใจ เมื่อเด็กหกล้ม คว�่ำลงกับพื้น ท�ำนองว่าไม่เป็น อะไร ไม่ เ จ็บเพราะเป็นการ ตะครุบกบ. ตะครุบตะคลาน [ตะ-คุบ่ -ตะ-คาน] ก. ล้มลุกคลุกคลาน. ตะคว้า [ตะ-คั่ว] ก. คว้า, ยื่นมือไป จับ, ฉวยมาโดยเร็ว. ตะคอง, ตะครอง น. ชื่อล�ำน�้ำที่หล่อ 127

เลี้ยงเมืองโคราช มีต้นก�ำเนิด จากอ่ า งเก็ บ น�้ ำ ล� ำ ตะคอง อ�ำเภอสีคิ้ว ซึ่งแต่ก่อนมีต้น ตะครองมาก. ตะค้านหยวก [ตะ-ค่าน-หยวก] น. ชื่อ ไม้เถาในกลุม่ “ตะค้านหรือสะค้าน” ชนิด Piperribesoides Wall. ในวงศ์ Piperaceae ใช้ทำ� ยาได้. ตะเคียนหนู น. ชื่อไม้ยืนต้น “ในกลุ่ม ตะเคียน” ชนิด Hopea ferrea Laness. ในวงศ์ Dipterocar paceae เรือน ยอดเป็นพุม่ กลม ใบเดีย่ วปลายใบเรียว ดอกเล็ก สี ข าวอมเหลื อ งออกเป็ น ช่ อ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผล รูปทรงกระบอก ใช้ก่อสร้าง เช่น เสารอด ตง ไม้หมอน โครงเรือน นักพฤกษศาสตร์ เรียก ตะเคียนหิน.

ตะเคียนหนู

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ตะงอย - ตะละวี

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ตะงอย ๑. น. ส่วนที่ยื่นออกไป เช่น หิ น ที่ ยื น ออกไปจากหน้ า ผา, ตลิ่ ง ที่ ยื่ น เข้ า ไปในแม่ น�้ ำ ล�ำคลอง เช่น กระบัดใจก็ถึง ฝั่งนทีที่ตะงอย (นิ.พระปาจิต). ๒. ว. ซึมเซา หงอยเหงา เช่น นั่งตะงอยคอยพ่อล่อเลี้ยงน้อง (สุภมิต ฯ). ตะเงอะ [ตะ-เง่อะ] ว. เงอะงะ, ป�้ำ ๆ เป๋อ ๆ, หลง ๆ ลืม ๆ, ตะเงอะ ตะงะ, ตะเงอะตะเงย, ตะเงอะ ตะเงิ่น ก็ว่า. ตะเงอะตะงะ [ตะ-เง่อะ-ตะ-ง่ะ] ดู ตะเงอะ. ตะเงอะตะเงย [ตะ-เง่อะ-ตะ-เงย] ดู ตะเงอะ. ตะเงอะตะเงิ่น [ตะ-เง่อะ-ตะ-เงิ่น] ดู ตะเงอะ. ตะเง้าตะงอด [ตะ-เง่า-ตะ-งอด] ก. หน้าเง้าหน้างอ, ออดอ้อน. ตะเงาะ [ตะ-เง่าะ] ดู เก้าะ. ตะจ่น ว. จนกระทั่ง. ตะโนน น. เนิน, มูลดินทีส่ งู , ตะโมน ก็วา่ . ตะบักตะบวย [ตะ-บั๊ก-ตะ-บวย] ว. ตวักตะบวย ใช้ประกอบค�ำถาม ในเชิ ง ไม่ พ อใจมี ค วามหมาย ท�ำนองว่า ท�ำไม, อะไร, เพื่อ อะไร เช่น พูดหาตะบั๊กตะบวย 128

อะไร (พูดท�ำไม, พูดหาอะไร). ตะเบ่ง ว. พอง, ขยายตัว, เบ่ง (พยายามขับ, ดัน, ส่ง เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น ให้ ออกมา) เช่น กัดฟันตะเบ่ง จนตัวเองล้า เลยออกมาเป็น หญิงก็ได้ยนิ (นิ.เพลงปาจิต ฯ), กะเบ่ง ก็วา่ . ตะแบกเกรี ย บ น. ตะแบกชนิ ด Lagers troemiabalansae Koehne ในวงศ์ Lythraceae เป็ น ไม้ ต ้ น ขนาดกลางสู ง ประมาณ ๖๐-๗๐ ฟุต ใบเดี่ยว ปลายแหลม ดอกเป็นช่อสีม่วง ปนขาว ผลเล็กรูปไข่ ชอบขึ้น ตามป่าราบ. ตะแบกใบขน น. ชื่อไม้ยืนต้นชนิด Terminalia dafeuillana Pie rre ex Kaness ในวงศ์ Com bretaceae นักพฤกษศาสตร์ เรียกตะแบกกราย. ตะแบกเปลือกบาง น. ตะแบกชนิด Lagerstroemia duperreana Pierre ในวงศ์ Lythraceae เป็นไม้ต้นขนาดกลาง ดอกเป็น ช่อสีม่วงปนขาว ผลเล็กรูปไข่ ชอบขึน้ ตามป่าราบ, ถิน่ พืน้ เมือง เรียก ตะแบกใหญ่, ตะแบกไข่. ตะปด [ตะ-ป๊ด] ก. ปด, โกหก.


พจนานุกรม ภาษาโคราช ตะปัด [ตะ-ปั๊ด] ก. ปัด. ตะปิ๊ดตะปี่ ก. ก�ำลังผลิใบ, เริ่มผลิใบ. ตะปือ ดู อึดตะพือ. ตะปุด๊ ตะปู ้ ว. เก่าแก่, โบราณ, นานนม, แต่ปดุ๊ แต่ปู้ ก็วา่ . ตะปู่ น. ปู่ตา, ศาลเทพารักษ์. ตะเป้ดตะป้าด ก. ซวนเซ, เซถลา เสียหลัก, เปะปะ, ไม่ตรง. ตะเปะตะปะ [ตะ-เป๊ะ-ตะ-ป๊ะ] ว. เปะปะ, ไม่ตรง. ตะโป ดู กะโป. ตะพาน น. สะพาน. ตะพานเงิน น. ทางที่ทอด ประหนึ่งเป็นสะพานส�ำหรับให้ เจ้าสาวเดินในขบวนแต่งงาน เช่ น ผู ้ ห ญิ ง ไต่ ต ะพานเงิ น (นิ.รูปทอง). ตะพานเงินตะพานทอง น. ทางที่ทอดประหนึ่งเป็นสะพาน ให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวเดินในขบวน แต่ ง งาน เช่ น ตะพานเงิ น ตะพานทอง งามเรืองรองทั้ง สองอัน (นิ.รูปทอง). ตะพานทอง น. ทางที่ทอด ประหนึ่งเป็นสะพานส�ำหรับให้ เจ้าบ่าวเดินในขบวนแต่งงาน เช่ น ผู ้ ช ายไต่ ต ะพานทอง (นิ.รูปทอง). ตะพานเรือก น. สะพานที่ใช้ไม้

ปูในทางขวาง. ตะใภ้ [ตะ-ไภ่] น. สะใภ้, กะใภ้ ก็ว่า. ตะมอย ๑. น. ฝีหัวเดือน. ๒. ว. หมิ่น, เกือบชิดขอบ, ในที่เกือบตก, จวนตก. ตะมิด ว. สูงสุดยอด. ตะมิดตะมอย ว. เอียงอาย, แสดง อาการเขินอาย. ตะแม็กแค็ก ว. เตี้ยแล้วคอยังสั้น จนแทบไม่มีล�ำคอ, เตี้ยอย่าง คนแคระ. ตะโมน น. เนิน, มูลดินที่สูง. ตะริดติ๊ดชึ่ง (ปาก) ก. เถลไถล, เที่ยว เฉไฉไปเรื่อย ๆ เช่น แม่แกไป ตะริดติ๊ดชึ่งก๊ะไหน. ตะลบป้ปโป่ ว. ตะลีตะลาน, รีบร้อน ลนลาน. ตะลอแต น. เจ้าชู้, ตะลอแต๋ ก็ว่า. ตะลอแต๋ ดู ตะลอแต. ตะล่อมป้อมแป้ม ว. ลักษณะที่ท�ำพอ ให้พ้นตัว. ตะละตะลน ว. ตะลีตะลาน, รีบร้อน ลนลาน, ตะละตะลุน ก็ว่า. ตะละตะลุน ดู ตะละตะลน. ตะละป๋า ว. เกินเวลา, เวลาล่วงเลยมา เช่น เพลตะละป๋า. ตะละวี [ต๊ะ-ล่ะ-วี] น. พัดขนาดใหญ่ สานด้ ว ยไม้ ไ ผ่ ใ ช้ พั ด หรื อ วี ใ ห้ เศษผงหรือสิ่งไม่ต้องการออก 129

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ตะลีหบั - ตัง้ ทะลาย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

จากกองข้าวเปลือก. ตะลีหบั [ตะ-ลี-ฮับ] น. ตลับ เช่น ขีผ้ งึ้ อย่างดีใส่ตะลีหบั ของน้องเหนียว หนับนับนึบใน (ช้าเจ้าหงส์). ตะลึดตึ๊ดตื๋อ ว. มืดมาก, มืดมิด. ตะลุดกุ๊ด ว. สั้นจู๋. ตะลุมปุ๊ก น. ต้นตะลุมพุก, ต้นกระลุม พุก; ไม้ต้นกึ่งไม้พุ่มชนิดหนึ่ง. ตะแล็ดแต็ดแช น. การเล่นอย่างหนึ่ง โดยเอาแผนดิ น เหนี ย วหรื อ เศษกระเบื้องเหวี่ยงหรือขว้าง แฉลบ เพื่อให้กระดอนบนผิวน�้ำ ว่ า ใครจะกระดอนไปได้ ไ กล มากกว่ากัน. ตะแล็ดแต็ดแต๋ [ตะ-แล็ด-แต๊ด-แต๋] ว. ใช้ขยายค�ำว่าแบนมีความ หมายว่า ถูกทับหรือท�ำให้แบน ราบเรียบ, แบนจนเป็นแผ่น, แบนจนเอาคืนรูปไม่ได้. ตะวันทับ [ตะ-วัน-ทั่บ] น. ตะวัน ทับตา, อาการหลงเวลาซึง่ เกิด จากการนอนหลั บ ตอนเย็ น , ตะวันเหยียบ ก็ว่า. ตะวันแปร น. เวลาบ่าย. ตะวันส่องตูด ว. โดยปริยายหมายถึง บอกคนที่นอนขี้เซาตื่นสายว่า สายลุกขึ้นได้แล้ว, เวลาสาย ลุกได้แล้ว. ตะวันหรอง ๆ [ตะ-วัน-หฺลอง-หฺลอง] 130

ว. เวลาพลบค�่ำ, ตะวันแหร่ ๆ ก็ว่า. ตะวันเหยียบ ดู ตะวันทั่บ. ตะวันแหร่ ๆ [ตะ-วัน-แหล่-แหล่] ดู ตะวันหรอง ๆ. ตะแวว ดู มีดตะแวว. ตะหมวด ก. ขมวด. ตะหม้อ [ตะ-หม่อ] น. ตอม้อ, ตอไม้ที่ ฝั ง ไว้ ห น้ า ยุ ้ ง เพื่ อ เหยี ย บขึ้ น แทนบันได. ตะหมูกหากิน ตีนป้อนลูก ตะหมูก ป้อนปาก (ปริศ) น. หมู, ไก่, ช้าง.

ตะหมูกปลาไหล

ตะหมูกปลาไหล น. จมูกปลาหลด; ไม้ เลื้อยชนิดหนึ่ง ชนิด Oxyste lmaes culentum (L.) R. Br. จัดอยูใ่ นวงศ์ Asclepiadaceae เถาเล็กมียางสีขาว ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ ดอกผลิออกตรง


พจนานุกรม ภาษาโคราช โคนก้าน ใบ ผล เป็นฝักปลาย แหลม รากใช้รักษาโรคดีซ่าน นั ก พฤกศาสตร์เรียก สอึก, บางถิ่นเรียก จมูกปลาไหลดง. ตะหลอแต ว. เจ้าชู้, กะล่อน; เปรียบ ได้กบั ส�ำนวนตอแหลกระแตวับ. ตะหล่อม น. ตะล่อมข้าว; ที่ส�ำหรับใส่ ข้าวเปลือก เป็นต้น ใช้ไม้ไผ่ซกี เล็ก ๆ มาขัดแตะท�ำเป็นวงล้อม รอบยาด้วยขีว้ วั , ขีค้ วาย ขนาด เล็กกว่ายุง้ . ตะหลุก [ตะ-ลุก] น. หลุมเล็ก ๆ ขนาด ย่อม, กะฮุก, ตะฮุก ก็ว่า. ตะหลุกขลุกขลิก [ตะ-ลุก-คุก-คิก] น. ถนนหรือพื้นเป็นหลุมเป็นบ่อ. ตะหลุ่ง น. วังน�้ำเป็นรูปคล้ายกระทะ, หลุ่ง ก็ว่า. ตะหลุม น. หลุมเล็ก ๆ. ตะหาร น. ทหาร. ตะเหล่งเฉ่ง ว. ยาวเฟื้อย.

คล้ายเข่งหรือหลัว ส�ำหรับขัง สัตว์ เช่น เป็ด ไก่ หมู, ตาเหลว ก็ว่า. ตะเหลวเป๋ว ว. เหลวเป๋ว, ไม่ได้เรื่อง. ตะเหลี่ยม ก. เลียบเคียง, แสดง อาการกรายเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อ หยั่งเชิงดู, หาทางใช้ค�ำพูด. ตะโหนก [ตะ-โหฺนก] น. ตะโหงก, หนอกหรื อ ก้ อ นเนื้ อ ที่ ต ้ น คอ สัตว์ เช่น วัว, ควาย. ตะฮุก ดู ตะหลุก. ตัก้ ๆ ก. วิง่ อย่างหัวใจเต้นตึก้ ๆ, หัวใจ เต้นตึก้ ๆ. ตัก๊ กะโต่ง น. ตัก๊ แตน, จัก๊ กะโต่ง ก็วา่ . ตักน�้ำต�ำข้าว [ตัก๊ -น่าม-ต�ำ-เข่า] (ส�ำ) ก. ท�ำงานบ้าน เช่น ท�ำกับข้าว, เย็บปักถักร้อย, ท�ำการบ้าน การเรือน. ตัง น. กาวที่ท�ำจากยางไม้ต่าง ๆ เช่น ข่อย, ไทร, เลียบ เป็นต้น ใช้ ส�ำหรับดักสัตว์ เช่น นก. ตังค์แดง น. เหรียญทีท่ ำ� ด้วยทองแดง มีรตู รงกลาง. ตังค์ตาบอด น. กะแปะ, อีแปะ, เงิน ปลีกโบราณ, สตางค์ที่ไม่มีรู. ตังค์น้อย [ตัง-น่อย] น. แบ็งค์ย่อย. ตั้งเตา ก. ก่อไฟ. ตั้งทะลาย [ตั้ง-ท่ะ-ลาย] ก. ยกครู, ตั้งขวัญข้าว.

ตะเหลว

ตะเหลว น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ 131

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ตั้งแท้ - ตาถีบทอง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ตั้งแท้ [ตั้ง-แท่] ว. ที่แท้ เช่น ตั้งแท้ เค้ากินขอบด้ง จนหมดวงขอบ ตี (กล่อมเด็ก). ตังบาน น. เครื่องดักสัตว์ชนิดหนึ่ง มี รูปทรงคล้ายกระด้ง ๒ อัน ติด กันกรุด้วยตาข่ายสามารถงับ ประกบกันได้. ตังมัง น. จังมัง, ไม้ไผ่ที่ใช้ขัดตรงมุม ก้นกระเชอ, กระบุง, ตะกร้า ๔ มุม เหมือนเป็นขาทู่ ๆ เพื่อ รองรับกระเชอ เป็นต้น, (ดู ไม้เสียบตูด ประกอบ). ตั้งล�ำ ว. ตั้งหลัก. ตัดต้นไม่ตาย ตัดปลายไม่เหีย่ ว [ตัด๊ ต้ น -ไม่ - ตาย-ตั๊ ด -ปาย-ไม่ เหีย่ ว] (ปริศ) น. เส้นผม. ตัดปุยนุน่ ลอย ในอากาศขาดได้ [ตัด๊ ปุ ย -นุ ่ น -ลอย-ไน-อา-กาดขาด-ได้] (ส�ำ) คมมาก; อาวุธ เช่น มีด ดาบ คมมาก เช่น อาวุธลับมาคมดุจว่าสามารถ ตัดนุน่ ทีล่ อยมาในอากาศให้ขาด จากกันได้ (ท้าว ฯ). ตัดผมกันหน้า ห่มผ้ากันหนาว [ตั๊ดผม-กั น -หน่ า -ห่ ม -ผ่ า -กั น หนาว] (ส�ำ) น. เป็นคน ทันสมัย, ท�ำตามสมัยนิยม. ตัดเยื่อไม่เหลือใย [ตั๊ด-เยื่อ-ไม่-เหฺ ลือ-ไย] (ส�ำ) ก. ตัดขาดจาก 132

กันอย่างไม่มีเยื่อใย, ตัดขาดไม่ คบหากันอีก. ตัดเยื่อ ยังเหลือใย [ตั๊ด-เยื่อ-ยังเหฺลือ-ไย] (ส�ำ) ก. แม้จะขาด จากกันไปแล้ว แต่ก็ยังมีอาลัย เหลื อ อยู ่ ห รื อ ยั ง มี เ ยื่ อ ใยต่ อ กันอยู่, ความผูกพันที่ยังตัด ไม่ขาด. ตัน ก. ขวางหรือคาจนผ่านไม่ได้หรือ ไม่สะดวก เช่น ตันทาง, ตัน ประตู. ตันตก [ตัน-ต๊ก] น. ทิศตะวันตก. ตันออก น. ทิศตะวันออก. ตับเต่า [ตับ๊ -เต่า] น. พรรณไม้ชนิด หนึง่ , ถิน่ อีสานเรียก ก้นครก. ตับปิง้ [ตับ๊ -ปิง้ ] น. ตับ, เหล็กส�ำหรับ หนีบปลาหรือเนือ้ ปิง้ ไฟ เป็นต้น.

ตับปิ้ง

ตัวกระเปี๊ยก น. ตัวเปี๊ยก, ตัวเล็กมาก


พจนานุกรม ภาษาโคราช เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น. ตั วน้ อ ยหลั ง โกง กินหญ้า หมดทุ่ง [ตัว-น่อย-หลัง-โกง-กิน-หย่ามด-ท่ง] (ปริศ) น. เคียว. ตัวนาง ๆ น. ตัวเขื่อง ๆ, ตัวขนาดไม่ เล็ ก ไม่ ใ หญ่ ก� ำ ลั ง พอเหมาะ พอดี (มักใช้แก่สัตว์). ตัวยาวเป็นวา ตาเท่าเม็ดถั่ว [ตัวยาว-เป็น-วา-ตา-เท่า-เม่ดถั่ว] (ปริศ) น. งู. ตัวเล็ก ๆ หลังโกง ลงน�้ำไม่ขุ่น [ตัวเล็ก-เล็ก-หลัง-โกง-ลง-น่ามไม่-ขุ่น] (ปริศ) น. เบ็ด. ตัวเลวเอวเปล่า (ส�ำ) น. ตัวคนเดียว ไม่มีพันธะใด ๆ. ตัวสั่นบั้นงอ (ส�ำ) ก. อยากได้ของ คนอื่นจนตัวสั่น.

ตาไก้

ตาไก้ น. ก�ำแพงเจ็ดชั้น, ตะลุ่มนก, น�้ำนอง; ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Salacia chinensis L. ในวงศ์ Celastraceae ขึ้ น ตามป่ า 133

เบญจพรรณและป่าดิบ ใบ เดี่ยวรูปรี ดอกเล็กสีเขียวอม เหลือง ใช้ท�ำยาได้, ตะไก้ ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่, ตาเอียง. ตาโค้ง [ตา-โค่ง] น. ผักบุ้ง. ต่ า งดอก น. ชื่ อ ไม้ พุ ่ ม ชนิ ด Mu ssaenda variolosa Wall ในวงศ์ Rubiaceae นั ก พฤกษศาสตร์เรียก ตาผ้าขาว. ตาเชื่ อ ง ก. อาการมองโดยไม่ กะพริบตา. ตาด�ำตาแดง น. มะกล�่ำ ; ชื่อพันธุ์ไม้ หลายชนิด ในวงศ์ Legumin oseae เช่น มะกล�่ำตาช้าง, มะกล�่ำหนู, กล�่ำเครือ ผลเป็น ฝักในฝักมีเมล็ด ๕-๖ เมล็ด เมล็ ด เป็ น รู ป กลมรี สี แ ดง บริเวณขั้วมีจุดสีด�ำ. ตาตี่ ดู ตาหยี. ตาแตก ว. ตาเซ่อ, เป็นค�ำต่อว่า ต่อขานว่า มองไม่เห็นในสิ่งที่ ควรมองเห็น เช่น ตาแตกนี ของแค่นี่ก็มองไม่เห็น (ตาเซ่อ เหรอของแค่นี้ก็มองไม่เห็น). ตาถีบขี้นก [ตา-ถีบ-ขี่-น่ก] น. ชื่อไม้ ต้นชนิด Canthium brunnes cens Craib ในวงศ์ Rubia ceae. ตาถีบทอง น. ไม้ยืนต้น ชนิด Actino

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ตาเถน - ตาเหลว

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

daphnehenryi Gamble ในวงศ์ Lauraceae นักพฤกษศาสตร์ เรียก ตองลาด. ตาเถน น. เถน, นักบวชที่เป็นอลัชชี, ชายที่นุ่งขาวห่มขาวและถือศีล. ตาทิบหิน น. ไม้ยืนต้นชนิด Neolitsea siamensis Kostel ในวงศ์ Lau raceae นักพฤกษศาสตร์ เรียก ตา ทิบทอง. ตานา น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glochidion coccineum Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae นักพฤกษศาสตร์เรียก กาน�้ำ, ถิ่นขอนแก่นเรียก จากนา. ตาบ ๑. ก. ปะ; เอาวัตถุ เช่น ผ้าหรือ สังกะสี เป็นต้น ปิดส่วนทีช่ ำ� รุด, เป็นรู, เป็นช่อง เช่น ตาบผ่า (ปะผ้า). ๒. น. แผลเป็น เช่น หน่าตาบ (หน้าเป็นแผลเป็น). ตาบอดสอดรู ้ [ตา-บอด-สอด-ลู่] (ส�ำ) น. ตาบอดสอดตาเห็น, อวดรู้ในสิ่งที่ตนเองไม่รู้. ตาปุ้ก น. หุ่นฟางมีแขนหรือขาอย่าง คน ท�ำไว้เฝ้ายุ้งข้าวกันขโมย เมื่ อ น� ำ ข้ า วเปลื อ กเก็ บ ใส่ ยุ ้ ง แล้ว ก็จะท�ำพิธีเซ่นสรวงตาปุ้ก เ พื่ อ ใ ห ้ คุ ้ ม ค ร อ ง ป ้ อ ง กั น ภยั น ตรายที่ จ ะเกิ ด แก่ ข ้ า ว 134

เปลือก. ตาเป็นน�้ำข้าว [ตา-เป็น-น่าม-เข่า] น. ตาน�้ำข้าว, แก่ชราจนนัยน์ตา ขุ่นขาว. ตาเป็นปอบ (ส�ำ) ก. จ้องกันตาเป็นมัน, อาการที่ตาหลายคู่จับตามอง จ้องดู. ตาแป น. ตากุ้งยิง. ตาโป น. ตาโปน, ตาที่ลูกตาโผล่ล�้ำ กระบอกตา, ตาโล ก็ว่า. ตาฟ้า หนวดขาว [ตา-ฟ่า-หฺนวดขาว] น. ฝรั่ง, ชาวตะวันตก, ชนชาติผิวขาว เช่น ตาฟ้า หนวดขาวชาวอังกฤษ (ท้าว ฯ). ตามภาษา น. ตามประสา, ตามวิสัยที่ เป็นไป เช่น กระหม่อมจึ่งได้พูด ไปตามภาษาซื่อที่เคยได้ยินได้ ฟังมา (ท้าว ฯ). ตามภาษาซื่อ ก. พาซื่อ, เข้าใจตรง ๆ ตามที่เขาพูด, (ดู ตามภาษา ประกอบ). ตามืดตามัว (ส�ำ) ว. เหมือนมีสิ่งมา บิดบังหรือดลใจไม่ให้คิดหรือ ให้ท�ำ. ตาโม่ง น. การเล่นอย่างหนึ่งให้ คนหนึ่งเป็น “ตาโม่ง” ใช้ผ้า ผูกตาไม่ให้มองเห็นคนอื่น ๆ วิ่งล้อมรอบ ๆ พร้อมกับร้องว่า “อ้ า ยโม่ ง ตาบอดไล่ คุ ม กอด


พจนานุกรม ภาษาโคราช ไม่ทัน” หรือ “อ้ายโมงตาผี ไล่ คุมตีไม่ทัน” ฯลฯ ถ้าตาโม่ง แตะถูกคนไหนคนนั้นจะต้องมา เป็นตาโม่งแทน. ตายจนกระดูกล่อน [ตาย-เจ่น-กะดูก-หฺล่อน] ว. ศพที่ฝังไว้นาน จนเนื้ อ หนั ง ล่ อ นเหลื อ แต่ กระดูก; ในสมัยก่อนนิยมน�ำ ศพไปฝัง เมื่อจะเผาศพก็จะขุด แต่กระดูกมาท�ำพิธี, (ดู เจ่น และ ล่อน ประกอบ). ตายจาก ก. ตาย, ตายจากกันไป. ตายปะติเงาะ [ตาย-ปะ-ติ เง่าะ] ก. ตายแน่นิ่ง. ตายเป็นเหม็นหอม (ส�ำ) ว. เป็นตาย ร้ายดี. ตายฝังยังเลี้ยง [ตาย-ฝัง-ยัง-เลี่ยง] (ส�ำ) น. อุปการะบุตรหลาน ของผู้ตาย ; เปรียบได้กับคน ตายก็เอาไปฝัง ส่วนคนที่มี ชี วิ ต อยู ่ ก็ อุ ป การะเลี้ ย งดู กั น ต่อไป. ตายยาก ดู ไม่ตายง่าย. ตายแล้ง [ตาย-แล่ง] น. พืชที่ตาย เพราะขาดน�ำ้ เช่น เข่าตายแล่ง (ข้าวตายแล้ง). ตาล น. โรคหวัดของสัตว์ปีก. ตาลนกกรด [ตาน-น่ก-ก๊ด] น. ตาล เหลื อ ง ; ไม้ พุ ่ ม กึ่ ง ไม้ ยื น ต้ น

ขนาดเล็ก ดอกสีเหลือง ออก เป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่งและ ซอกใบใกล้ยอด. ตาลอ น. ตาต้อ, ตาทีม่ จี ดุ ขาวทีต่ าด�ำ. ตาล่ะเห็น น. ตามองไม่เห็น, (ดู ละ ประกอบ) ตาโล น. ตาโปน, ตาขมึงทึง, อาการ ท�ำตาโต, ตาโลป๊กลก, ตาโลป็ อกล็อก ก็ว่า. ตาโลป๊กลก [ตา-โล-ป้ก-ล่ก] ดู ตาโล. ตาโลป็อกล็อก [ตา-โล-ป้อก-ล่อก] ดู ตาโล. ต่าว ก. เขี่ยข้าวในขณะที่ต�ำอย่างถี่ๆ, ต�ำซ�้ำอีก. ตาสะหวอก น. ตาปรือเพราะอดนอน. ตาหยี น. ตาหรี่, คนที่มีหนังตาบน ตกลงมาจนเกือบปิดท�ำให้เบิก ตากว้างไม่ได้ เช่น ตาของคน จีน, ตาตี่ ก็ว่า.

ตาเหลว

ตาเหลว ๑. ดู ตะเหลว. ๒. น. กล้วยน้อย ; ไม้ต้นขนาด 135

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ตาเอก - ตีไก่

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

กลาง ชนิด Xylopia vielana Pierre ในวงศ์ Annonaceae กิ่ ง อ่ อ นมี ข นสี น�้ ำ ตาลอมแดง เปลือกสีน�้ำตาลคล�้ำ ใบเดี่ยว รู ป ไข่ ดอกเดี่ ย วออกเป็ น กระจุ ก ออกตามง่ า มใบใกล้ ปลายกิ่ง รากสีด�ำ แก้พิษงูได้. ตาเอก น. ตาเข, ตาเหล่. ต�่ำ น. ข้างล่าง, พื้นดิน, กะต�่ำ ก็ว่า. ต�้ำ ว. เสี ย งดั ง อย่ า งเสี ย งเอามื อ ทุบอก เช่น เอาสองกรตีอก เข้าต�้ำผาง (นิ.พระปาจิต). ต� ำ พริ ก ไม่ เ ป็ น จะกระเด็ น เข้ า ตา [ต�ำ-พิก่ -ไม่-เป็น-จะ-กะ-เด็นเข่า-ตา] (ส�ำ) มีประสบการณ์ น้ อ ย คื อต�ำพริกไม่ใส่เกลือ พริกมักจะกระเด็นเข้าตา. ต�ำยานตัวผู้ [ต�ำ-หยาน-ตัว-ผู่] ดู ตดหมา. ต�ำยานตัวผู้

ต�ำแย น. หมามุ้ย, ต�ำแยขอ ก็ว่า. ต�ำแยขอ ดู ต�ำแย. 136

ต�ำแยใหญ่ น. ชื่อไม้เลื้อยในกลุ่มต้น “หมามุ้ย” ชนิด Mucuma monosperma DC. ในวงศ์ Leguminoseae ฝักมีขนถูก ผิวหนังจะคันมาก, ไทยกรุงเทพ เรียก หมามุ้ยใหญ่. ต�ำลึงทอง น. กะทกรก. ต�ำส้ม [ต�ำ-ส่ม] น. ส้มต�ำ, ส้มต�ำ มะละกอ; ก. ต�ำส้ม. ต�ำสากเหมิ่ง ก. ต�ำข้าวเม่าโดยใช้สาก ไม้ยาวประมาณ ๓-๔ เมตร ๒ อัน (มัดติดกัน) ใช้คนต�ำ ๒ คน โดยคนหนึ่งต�ำและอีกคนคอย ใช้ไม้จั๊กกะไหล่เขี่ยข้าวในครก เวลาต�ำสากอันหนึง่ จะดังเหมิง อีกอันจะดังเหมิ่ง ดังสลับกันไป ตามจังหวะต�ำ, (ดู จักกะไหล่, สากเหมิ่ง ประกอบ). ต�ำหยาน ดู จ�ำหยาน. ต�่ำอย่างเป็ด กะเต็ดอย่างม้า ต�่ำ กว่าหญ้าเอาไม้สอยกิน [ต�่ำหฺย่าง-เป๊ด-กะ-เต่ด-หฺย่างม่า-ต�่ำ-กั่ว-หย่า-เอา-ม่ายสอย-กิน] (ปริศ) น. ครก กระเดื่อง, บึ้ง. ติงตัง น. ชื่อไม้เถาในกลุ่ม “นมควาย” ชนิด Uvriarufa Blume ใน วงศ์ Annonaceae ดอกสี เหลือง.


พจนานุกรม ภาษาโคราช ติงตัว ก. ตั้งหลัก, เคลื่อนไหวตัว. ติดขี้ละโลก [ติ๊ด-ขี่-ล่ะ-โลก] ดู ติด ละโลก. ติดจั้กกั้ก [ติด๊ -จัก้ -กัก้ ] ว. โดยปริยาย หมายถึงรถติดจนเคลื่อนไปได้. ติดตังค์ไม่ต้องใช้ [ติ๊ด-ตัง-ไม่-ต้องไช่] (ปริศ) ติดตังที่เป็นกาวท�ำ จากยางไม้ ไม่ต้องใช้คืน ไม่ เหมือนติดตังค์หรือติดสตางค์ กันต้องใช้คืน, (ดู ตัง ประกอบ). ติดโป้ง [ ติ๊ด-โป้ง] ก. ติดเก้ง, อาการ สมจรของสุนัขซึ่งก�ำลังติดกัน.

ติดโป้ง

ติดลม [ติ๊ด-ลม] โดยปริยายหมายถึง การท�ำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างเพลิน จนลืมว่าจะเกิดความเสียหาย เช่น กินเหล้าเพลินจนลืมเวลา ท� ำ งานหรื อ ปล่ อ ยให้ ค นอื่ น คอย. ติดละโลก [ติ๊ด-ล่ะ-โลก] ก. ติดหล่ม, ติดโคลน, ติดขี้ละโลก ก็ว่า. ติดสาว [ติ๊ด-สาว] ก. ติดพันผู้หญิง, รั ก หรื อ ชอบหญิ ง สาวอย่ า ง ติดพัน. 137

ติดหนุ่ม [ติ๊ด-หนุ่ม] ก. ติดพันผู้ชาย, รั ก หรื อ ชอบอย่ า งติ ด พั น กั บ ชายหนุ่ม. ติดอั้ง [ติ๊ด-อั้ง] ก. ติดอ่าง; พูด แต่ละค�ำต้องย�้ำไม่ทันอกทันใจ คนฟัง, อั้ง ก็ว่า. ติตงิ [ติ-๊ ติง] ก. ทักท้วงในข้อบกพร่อง, ชีข้ อ้ บกพร่อง. ติถิน [ติ๊-ถิน] ว. ติฉิน, ติฉินนินทา, นินทาว่าร้าย, ติถินนินทา ก็ว่า เช่น สารพัดควรว่า ติถินนินทา เป็นน่าให้อาย (นิ.รูปทอง). ติถินนินทา [ติ๊-ถิน-นิน-ทา] ดู ติถิน. ติมิ [ติ๊-มิ] ว. งามน่ารัก เช่น งามติมิ. ติ้ว ว. อย่างจัด; ใช้ประกอบค�ำให้มี ความหมายเด่นชัดขึ้น เช่น หน่ า มนติ้ ว (หน้ า กลมดิ ก ), หมุนติ้ว (หมุนด้วยความเร็ว). ตี ก. กรรโชก, โหม, กระหน�่ำ (ใช้แก่ ลม) เช่น ลมตีเมิ้ดคืน (ลมพัด กรรโชกทั้งคืน). ตีกาก ดู ตีฟาง. ตี่กืก น. ตี่ใบ้, การเล่นตี่ชนิดหนึ่งที่ ผู้เล่นไม่ต้องท�ำเสียง “ตี่” แต่ หุบปากฮ�ำเสียงว่า “ตี่” ไว้ ตลอดเวลา ถ้ า เผยอปาก เมื่อใดถือว่าแพ้, ไทยกรุงเทพ เรียก ตี่ใบ้. ตีไก่ น. การละเล่นอย่างหนึง่ แบ่งผูเ้ ล่น

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ตีขมิบคม - ตื่นเช้าได้งานหลาย ตื่นสายได้งานน้อย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ออกเป็น ๒ ฝ่ายเท่า ๆ กัน ผู้เล่นนั่งยอง ๆ เอาแขนสอด ใต้ขาทั้งสองข้างและจับมือไว้ ให้แน่น แล้วเต้นไปชนคู่ต่อสู้ ผู ้ ที่ ล ้ ม และมื อ หลุ ด จากกั น ถือว่าแพ้. ตีขมิบคม [ตี-คะ-มิบ-คม] ก. ตีแต่ง คมมีดให้บางเรียบตรง. ตีข้าว [ตี-เข่า] ก. นวดข้าว โดยใช้ ไม้ คี บ รวงข้ า วที่ มั ด เป็ น ฟ่ อ น ตี ที่ พื้ น ลานให้ เ ม็ ด ข้ า วหลุ ด จากรวง, ฟ่อนข้าวที่เหลือ เรียกว่า กาก.

ตีข้าว

ตี๊ด ว. นิด, เล็ก, น้อย. ตี๊ ด เดี ย ว ว. นิ ด เดี ย ว, เล็กเหลือเกิน, น้อยเหลือเกิน. ตี๊ ด หนึ่ ง ว. นิ ด หนึ่ ง , หน่ อ ยหนึ่ ง . ตีนเกวียน [ตีน-เกียน] น. ล้อเกวียน, ตีนล้อ ก็ว่า. ตีนดุ [ตีน-ดุ๊] น. ฝ่าเท้าเป็นตาปลา 138

หรื อ เป็ น ไตคล้ า ยหน่ อ แข็ ง , ตีนหน่อ ก็ว่า. ตีนตะขาบ น. โดยปริยายหมายถึง รถถัง หรือรถหุ้มเกราะของ ทหาร, รถตีนตะขาบ ก็ว่า. ตีนตู้ น. ภาชนะคล้ายถ้วย ส�ำหรับ ใส่ น�้ ำ รองขาตู ้ กั บ ข้ า วกั น มด หรือแมลงขึ้น. ตีนเท่าฝาหอย รอยเท่ารอยฟาน (ส�ำ) เด็ก, เด็กเมื่อวานซืน หรือยัง ไม่สิ้นกลิ่นน�้ำนม ; ค�ำกล่าวเชิง ดูหมิ่นหรือสั่งสอน ว่ามีความรู้ หรือประสบการณ์น้อย. ตีนนก [ตีน-น่ก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Terminalia glaucifolia Craib ในวงศ์ Combretaceae นักพฤกษศาสตร์เรียก แหนนา, ถิ่นเหนือใช้ว่า แหนนก. ตีนปุก [ตีน-ปุ๊ก] น. ปุก, เท้าปุก, เท้า พิการไม่มีนิ้วรูปดังก�ำปั้น เวลา เดินต้องเขย่งเท้าให้เสมอกับ อีกข้างหนึ่ง, ปุกเหยิด ก็ว่า. ตีนเปอ ๆ คะเย่อกินใบไผ่ (ปริศ) น. ช้าง. ตี น แป น. เท้ า พิ ก ารในลั ก ษณะ เท้ า ตะแคงเวลาเดิ น ต้ อ ง ตะแคงเท้าเดิน. ตีนมนรอยยาว (ปริศ) ล้อเกวียน. ตีนลงพื้น [ตีน-ลง-พื่น] น. เท้าที่ส้น


พจนานุกรม ภาษาโคราช เท้าแตก มักเป็นในหน้าหนาว บางคนเชื่ อ ว่ า เป็ น เพราะกิ น เนื้อควายเผือก. ตีนล้อ [ตีน-ล่อ] ดู ตีนเกวียน.

เพื่อให้ตัวลอยได้ (เป็นการเล่น ของผู้หญิง). ตีฟาง ก. ใช้ขอฉายตีฟางข้าวที่เหลือ จากการ “ตีเข่า” มาท�ำให้เมล็ด ข้าวที่หลงเหลือหลุดออกจาก รวง, ตีกาก ก็วา่ , (ดู ตีขา้ ว ประกอบ). ตีหลาบ ก. ตีเหล็กให้แบนเป็นรูปทรง ตามที่ต้องการ เช่น มีด. ตีห่อบ้อง ก. ตีปลายมีดส่วนที่เป็น ด้ามให้แบนเป็นแผ่นแล้วม้วน ริมทั้งสองข้างเข้าหากันให้กลม เป็นบ้อง หรือเป็นช่องคล้าย กระบอกเพื่ อ ใช้ เ ป็ น ด้ า มถื อ หรือใช้ไม้สวมให้เป็นด้าม. ตีอกชกลม [ตี-อ๊ก-ช่ก-ลม] ก. อาการ ที่ใช้มือทุบอกแสดงการฮึดฮัด หรือความน้อยใจ. ตี่อึด [ตี่-อึ๊ด] น. การส่งเสียงตี่ได้นาน ในการเล่นตี่. ตึ้กมึก ก. นั่งหรือยืนทื่อ ๆ. ตึง ว. อาการเริ่มเมา, เมาพอได้ที่. ตึ่ง ว. บวม, ฉุ, พอง. ตึ่งโอ้ดโซด ว. บวมตุ่ย, บวม ในลักษณะพองโป่งออกมา. ตึ้ม ว. เสียงดังเช่นนั้น เช่น เสียง ปืนใหญ่ดังตึ้ม. ตื่นเช้าได้งานหลาย ตื่นสายได้งาน น้อย [ตืน่ -ช่าว-ได้-งาน-หลาย-

ตีนเกวียน/ตีนล้อ

ตีนสัน้ มือยาว [ตีน-สัน่ -มือ-ยาว] (ส�ำ) ลักเล็กขโมยน้อย เช่น อย่าตีน สัน้ มือยาว ไปเอาของของใคร (นิ.เพลงสุภมิตร ฯ). ตีนหน่อ ดู ตีนดุ;๊ บางคนเชื่อว่าจะเป็น ในช่ ว งหน่ อ ไม้ อ อกคื อ เดื อ น ๖-๗. ตีนเหยิด น. เท้าพิการเดินหรือวิ่ง ไม่เต็มเท้าคือจดแต่ปลายเท้า ส่วนส้นเท้าไม่แตะพื้นต้องเขย่ง เท้าให้เสมอกับอีกข้างหนึ่ง. ตีปลา ก. เต้น, สั่น เช่น แต่ทว่าหัวใจ เต้นเป็นตีปลา (ท้าว ฯ), นั่ง ตัวสั่นคือตีปลา (นิ.รูปทอง). ตีโปง น. การเล่นอย่างหนึ่งในน�้ำ โดย ตีน�้ำเข้าผ้าถุงให้โป่งหรือพอง 139

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ตื่นแต่ดึกรู้สึกแต่หนุ่ม - เตาทุเรียง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ตืน่ -สาย-ได้-งาน-น่อย] (ส�ำ) คน ที่ ตื่ น แต่ เ ช้ า ขยั น ท� ำ การงาน ย่อมเจริญก้าวหน้า. ตื่นแต่ดึกรู้สึกแต่หนุ่ม [ตื่น-แต่-ดึ๊กลู่-ซึก-แต่-หนุ่ม] (ส�ำ) ตื่นแต่ ดึก๊ ซึกแต่หนุม่ , เร่งรัดท�ำกิจการ ให้เหมาะสมแก่เวลาและวัยทีย่ งั แข็งแรงอยู่, ลุกแต่ดึกรู้สึกแต่ หนุม่ ก็วา่ . ตื่ม ว. เพิ่ม, เติม, แถม. ตื้อ ๑. ว. ทื่อ เช่น มีดตื้อ (มีดทื่อ). ๒. ว. เข้ม แก่, จัด (ใช้แก่ สีเขียว), อื๋อ ก็ว่า. ตุ๊กปุ๊ก ว. นิ่งเฉย เช่น นั่งตุ๊กปุ๊ก, ต๊อกป๊อก ก็ว่า. ตุ่น ว. จุ่น, ลักษณะสะดือที่โปน ออกมา. ตุ๊บ ๑. ก. เอาเงินที่ทุกฝ่ายพนันมารวม ไว้เพื่อป้องกันการโกง. ๒. ก. ตกรางวัล. ตุ๊บรางวัล [ตุ๊บ-ลาง-วัน] ก. ตกรางวัล. ตุ้ม ๑. ก. กอดไว้กับอก, กก, ฟัก เช่น ไก่กำ� ลังตุม้ ไข่, แม่ตมุ้ ลูกไว้ทอี่ ก เช่ น จะได้ ตุ ้ ม อุ ้ ม ชู ลู ก อุ ท ร (สุภมิต ฯ), ด้วยฟูมฟักตุ้มลูก ทุกคืนวัน (นิพระปาจิต). ๒. น. เครือ่ งดักสัตว์นำ�้ ชนิดหนึง่ . ๓. ก. คลุม, ห่ม, เอาผ้าปิด 140

หน้าอกเด็กให้เกิดความอบอุ่น ในเวลานอน. ตุ๋ม ๆ ต้อม ๆ ดู ตุ๋ม ๆ ต�้ำๆ. ตุ๋ม ๆ ต�้ำ ๆ ก. ระทึก,ใจเต้นตึ้ก ๆ, ใจ เต้นไม่เป็นจังหวะเพราะความ กลัวหรือตื่นเต้น, ตุ๋ม ๆ ต้อม ๆ ก็ว่า. ตุ้มบก [ตุ้ม-บ๊ก] น. ของเล่นเด็ก ท�ำด้วยไม้รวกหรือไผ่รวก ซึ่งมี ล�ำขนาดเล็ก เช่น ไผ่เปร็ง ใช้ กระดาษแช่น�้ำให้เปื่อย แล้วปั้น เป็นก้อนกลม ๆ หรือ ลูกไม้ กลม ๆ เป็นกระสุนอัดยิง, ก�ำพัก, ก้องโพละ, จุ้มโพละ, ตุ้มพุก, ทั้งบั้ง, บั้งโพละ ก็ว่า. ตุ้มพุก [ตุ้ม-พุ่ก] ดู ตุ้มบก. ตุ๊ละตุ๊เหล่ง ว. ทุลักทุเล. ตู้ ว. ทู่, ไม่แหลม. ตูดแงน น. ก้นงอน, ดู แงน ประกอบ. ตูดหมึก [ตูด-มึก] (ปาก) ว. ค�ำเรียก คนสนิทสนมกัน, ค�ำเรียกเชิง หยอกล้อ. ตูดหมูตูดหมา ดู ตดหมา. ตูน ว. ตุง, นูนออกมา, เหน็บยาเส้น เป็นก้อนไว้ที่ริมฝีปากด้านบน, ตูนยา ก็ว่า. ตูนยา ดู ตูน. เต้กเซก ว. นมยาน, โต้กโซก ก็ว่า, ถิ่น อีสานใช้ว่า เต๊ะเซะ.


พจนานุกรม ภาษาโคราช เต็ง ก. ทับ, ซ้อน, ซ้อนข้างบน เช่น อย่าเอาอะไรมาเต็งกล่องนี่เด้อ (อย่าเอาอะไรมาวางซ้อนหรือ ทับกล่องนี้นะ). เต้ง ว. เป้ง, ใหญ่. เต็มแก่ ว. เต็มที่ เช่น หิวนอนเต็มแก่ (ง่วงนอนเต็มที่). เตยน้อย [เตย-น่อย] น. ชื่อไม้พุ่มใน กลุม่ ต้น “เตย” ชนิด Pandanus bifidus St. John. ในวงศ์ Pandanaceaeiup ใบแคบ ยาวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียว ขึน้ ไปจนถึงยอด ดอกแยกเพศ อยูต่ า่ งกัน. เตลิดตะเลย [ตะ-เหฺลิด-ตะ-เลย] ว. เตลิด, เลย. เต้อ ว. อ๋อย, จ๋อย, จัด, เข้ม (ใช้แก่ สี เ หลื อ งเพื่ อ เน้ น ความเข้ ม ของสี). เต๋อ ว. เต่อ, สั้นมาก ใช้กับชายผ้านุ่ง หรือแขนเสื้อเป็นต้น เช่น แขน เสื่อสั่นเต๋อ (แขนเสื้อสั้นมาก). เต๊อะ ว. ใช้ประกอบค�ำว่าหนามีความ หมายว่า หนามาก เช่น ขี้มูก ขี้ตาไหลเต๊อะ แมงวันแมงหวี่ ไหล....ตอม (เพลงโคราช). เต้อะเซ่อะ ว. รุ่มร่าม เช่น แต่งตัว เต้อะเซอะ. เต๊อะเติน ว. มากมาย.

เต๊ะจุ๊ย [เต๊ะ-จุ้ย] (ปาก) ก. วางท่า, ท่าทางยียวน. เตะโด่ง [เต๊ะ-โด่ง] ก. ถูกย้ายไป อยู่ไกล. เตา น. โรงเรือนหรือเพิงส�ำหรับตีเหล็ก ตีมดี ตีเคียว. เตาขนมครก [เตา-ขะ-หฺนม-ค่ก] น. เตาอั้ ง โล่ ช นิ ด ปากกว้ า งก้ น สอบใช้ส�ำหรับท�ำขนมครก. เตาขุ ด [เตา-คุ ด ] น. เตาเผา เครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิม โดยขุดที่จอมปลวก. เตาด�ำ น. เตาอั้งโล่ชนิดรูปทรง กระบอกภายนอกหุ ้ ม ด้ ว ย สังกะสีสีด�ำ.

เตาทุเรียง

เตาทุเรียง น. เตาเผาเครื่องปั้น ดิ น เผาก่ อ ด้ ว ยอิ ฐ ยกพื้ น สู ง จากดินหลังคาโค้งมนเหมือน หลังเต่า พื้นลาดเอียงมี ๓ ส่วนคื อ ส่วนที่เ ป็นปากเตา มีหลุมส�ำหรับเก็บถ่าน ส่วน 141

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เต่าเพ็ก - โต้ยโม่ย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ทีว่ างเครือ่ งปัน้ ดินเผา และส่วน ที่เป็นท้ายเตาก่อเป็นปล่องไฟ. เต่าเพ็ก [เต่า-เพ่ก] น. เต่าชนิดหนึ่ง ตัวค่อนข้างโตสีน�้ำตาลอาศัย อยู่ตามป่าเพ็ก, เต่าเพ็ด ก็ว่า. เต่าเพ็ด [เต่า-เพ่ด] ดู เต่าเพ็ก. เต่าเย้ยเยาะตะพาบว่ามีขน [เต่าเย่ย-เย่าะ-ตะ-พาบ-ว่า-มี-ขน] (ส�ำ) ก. ว่าแต่เขาอิเหนาเป็น เอง, ติเตียนผู้อื่นแต่ตนกลับ เป็นเสียเอง เช่น ท่านจะกล้า มาต�ำหนิในสิ่งที่ท่านเคยกระท�ำ มาเที ย วหรือ จะมิกลายเป็น ท่านต�ำหนิตัวของท่านเอง อัน จะเข้าอยู่ในหลักเต่าเย้ยเยาะ ตะพาบว่าไว้ขน (ท้าว ฯ). เตาลาย น. เตาอั้งโล่ชนิดปากกว้าง ก้ น สอบภายนอกหุ ้ ม ด้ ว ย สังกะสีเป็นลวดลายต่าง ๆ. เต้าอี้ น. เก้าอี.้ เตาอุโมงค์ น. เตาที่ก่อด้วยดินหรืออิฐ หลั ง คาโค้ ง คล้ า ยโดมหรื อ อุโมงค์ใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา. เต๊าะ ๑. ก. แตะเบา ๆ ; ใช้มือหรือ สิ่งอื่นสัมผัสแต่เพียงเบา ๆ. ๒. ก. หยั่ง, หยั่งเชิง, หยั่งท่าที เช่น ร่ถคันนี่ลองเต๊าะ ๆ ดูแล่ว สู ่ ร าคาไม่ ไหว (รถคันนี้ล อง หยั่งราคาดูแล้วสู้ไม่ไหว). 142

เติ่งเหมิ่ง ว. ทนโท่อยู่บนที่สูง; เรียก สิ่ ง ที่ มี ลั ก ษณะเกลี้ ย งอย่ า ง จะแจ้ง เช่น หัวล่านเติ่งเหมิ่ง (หัวล้านใสเพราะผมถอยร่นสูง ขึ้นไปกว่าปกติ). เติน ก. ละเมอพูด. เตียน ว. เนียน, หมดเกลีย้ ง, ไม่เหลือ เช่น มีสลึงพึงบรรจ๊บให่คร่บบาท ไปตลาดฟาดให่ เ นี ย นเตี ย น กระเป๋า. เตียนเล่อ ว. เตียนโล่ง, เตียน ชนิดที่ไม่มีอะไรขึ้นเลย. เตี้ยม่อต้อ ว. เตี้ยอย่างคนแคระ. เตี้ยหมาตื่น ว. เป็นค�ำพูดเยาะเย้ย หรือดูแคลนคนเตี้ย. เตี่ยว น. ผ้าชิ้นน้อยปิดที่ของลับเด็ก เหมือนตะปิ้ง. เตียววิด น. นกต้อยตีวิด. แต้ ว. เรียบ (ใช้แก่การหวีผม) เช่น หวีผมแต้. แตก ก. แลกเป็นเงินย่อย. แตกตังค์ ก. แตกเงิน, เอา เงินตราหน่วยใหญ่ไปแลกเงิน ปลีกหรือหน่วยย่อย. แตกตึง้ ว. แตกกระเจิง, แตกฮือ ก็วา่ . แตกพรุ [แตก-พุ่] ๑. ว. แตกพร้อม กันดูจนขาวโพลน เช่น ดอกงิ่ว แตกพุ่ (ดอกงิ้วแตกดอกทั้ง ต้น), เข่าตอกแตกพุ่ (ข้าวตอก


พจนานุกรม ภาษาโคราช แตกพร้อมกัน). ๒. ว. พลั่ก (ดู ซะ ประกอบ). แตกสะแตกสาด [แตก-ซะ-แตกสาด] ดู แตกสะนะโม. แตกสะนะโม [แตก-ซะ-น่ะ-โม] ก. แตกฉานซ่านเซ็น, แตกกระเจิง, แตกซะแตกสาด ก็วา่ . แตกฮือ ดู แตกตึ้ง. แตงกรด [แตง-ก๊ด] น. แตงที่แก่จัด. แตงเครือตาย น. แตงเถาตาย. แต่ปุ๊ดแต่ปู้ ดู ตะปุ๊ดตะปู้. แต้มแก่ ว. ฉลาดแกมโกง. แต๊ะ ดู แต๊ะโป้. แต๊ะโป้ ก. แปะโป้ง, พิมพ์ลายนิ้ว หัวแม่มือ; โดยปริยาย หมาย ถึง ซื้อเชื่อ, ซื้อของโดยติดค้าง ไว้, แต๊ะ ก็ว่า. โต้โก้ ดู โจ้โก้. โต้กโซก ดู เตกเซก. โต่ง ๑. ก. ช้อนตักเอาสิ่งที่อยู่ในน�้ำ หรือในของเหลว เช่น โต่งกุ้ง, โต่งปลา. ๒. ก. รองน�้ำ เช่น รองน�้ำฝน, ถิ่นอีสานใช้ว่า ต่ง. ๓. ก. เย็บริมด้านข้างของผ้าถุง หรือผ้าซิน่ ให้ตดิ กัน. ๔. ลักษณะนามของผ้าถุง เช่น ผ่าถุง ๒ โต่ง (ผ้าถุง ๒ ผืน). โต่งโต้น ว. โตงเตง, ลักษณะที่สิ่งของ

ห้อยอยู่แล้วแกว่งไปมาได้ ; บ้านวังโต่งโต้น ต�ำ บลหมูสี อ�ำเภอปากช่อง มีเถาวัลย์หรือ เถากระไดลิ ง ขึ้ น ตามวั ง น�้ ำ ในป่ามาก เวลาถูกลมพัดจะแกว่ง โตงเตง จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านวังโต่งโต้น. โต่งโหม่ง ๑. ว. เห็นอย่างจะแจ้ง, ปรากฏชั ด แก่ ต า, ทนโท่ , เห็นโต้ง ๆ, โต่งโหม่งเต่งเหม่ง ก็ว่า. ๒. ว. สว่างจ้า เช่น แจ้ง โต่งโหม่ง. โต่งโหม่งเต่งเหม่ง ว. ห้อยระย้า อยู่ท นโท่ , (ดู โต่ ง โหม่ ง ๑ ประกอบ). โตจนหมาเลียตูดไม่ถึง (ส�ำ) โตหรือ เป็ น ผู ้ ใ หญ่ แ ล้ ว ยั ง ท� ำ เหมื อ น เด็ก, เป็นผูใ้ หญ่แล้วยังมีวฒ ุ ภิ าวะ ต�่ำ, ใหญ่จนหมาเลียตูดไม่ถึง ก็ว่า. โต๋เต๋ ก. เดินเกร่อย่างคนว่างงาน เช่น เห็ น ไอ้ ชั ย เดิ น โต๋ เ ต๋ อ ยู ่ แ ถว คุณหญิงโม (เห็นไอ้ชัยเดินเกร่ อยู่แถวอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี). โต้น ว. ใหญ่มาก, ใหญ่กว่าปกติ. โตนด [ตะ-โหฺนด] น. โฉนด. โต้โผ น. ตั้วโผ, หัวหน้า, ผู้น�ำ. โต้ยโม่ย ก. เดินต้วมเตี้ยม เช่น การ 143

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


โตรัก - ถ้าแม่น

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เดินของคนอ้วน. โตรัก น. มะม่วง; ชาวบนทีอ่ ยูแ่ ถบโคราช เรียก “มะม่วง” ว่า “โตรัก”. ไต้กระบอก น. ไต้ทหี่ อ่ ด้วยใบไม้ทำ� เป็น ดุน้ ยาว หรือใส่กระบอกมีขนาด เล็ ก กว่ า ไต้ ช ่ า ง, (ดู ไต้ ช ้ า ง ประกอบ). ไต้ช้าง [ไต้-ช่าง] น. ไต้ที่ใช้จุดให้แสง

144

สว่าง ใช้ใบไม้ขนาดใหญ่ เช่น ใบพลวงห่ อ ขี้ ไ ต้ ท� ำ เป็ น ดุ ้ น ขนาดใหญ่ โอบด้วยไม้ไผ่ที่จัก เป็ น ซี่ หุ ้ ม แล้ ว ตั้ ง หรื อ ฝั ง ดิ น , ไต้รุ่ง ก็ว่า. ไต้รุ่ง [ไต้-ลุ่ง] ดู ไต้ช้าง ; ที่เรียกว่า ไต้รุ่งเพราะจุดให้ความสว่าง ได้นานจนถึงรุ่งสว่าง.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ถนนกระดาน น. ถนนโพธิ์กลาง ใน เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งในสมัยก่อนใช้ไม้หมอนและ กระดานปูเรียงเป็นถนน.

ถ่อนเครือ น. ชื่อไม้เลื้อยชนิด Dal bergia discolor Bl. ในวงศ์ Leguminosae. ถอยหน้าถอยหลัง [ถอย-หน่า-ถอยหลัง] ก. เคลื่อนไปข้างหน้า แล้วถอยกลับข้างหลังสลับกัน อยู่อย่างนั้นอย่างถี่ ๆ (มักใช้ แก่คนเมา). ถะลา น. ถนน. ถั่วดิน น. ถั่วลิสง. ถั่วตัด [ถั่ว-ตั๊ด] น. ขนมที่ท�ำด้วยถั่ว ผสมด้วยน�้ำตาลอัดเป็นแผ่น แล้วตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม. ถั่วแปบช้าง [ถั่ว-แปบ-ช่าง] น. ถั่ว แปบชนิด Agakia sericea Craaib ในวงศ์ Legumi nosae. ดอกสีม่วง ฝักแบน. ถั่วเรียน น. ทุเรียน. ถ่า ก. ท่า, รอคอย, ดู ท่า. ถางไร่ไถนาหาฟืน (ส�ำ) ก. ท�ำการงาน. ถ้าถาน สัน. ถ้าหาก. ถานขี้ [ถาน-ขี่] น. ส้วมหลุม. ถานว่า สัน. ถ้าหากว่า, สมมติว่า. ถ่านหิน น. ถ่านไฟแช็ก. ถามข่าวเอาเหยื่อ ก. ถามข่าวคราว. ถ้าแม่น สัน. ถ้าหาก, สมมติ.

ถนนกระดาน(ถนนโพธิ์กลางในอดีต)

ถลอกปอกเปิ ก [ถะ-หฺ ล อก-ปอกเปิ ก ] ว. ผิ ว หนั ง ถลอกเป็ น สะเก็ ด หลุ ด รุ ่ ง ริ่ ง หลายแห่ ง , ถิ่นอีสานใช้ว่า เปิก หมายถึง ถลอก. ถล�ำ [ถะ-หฺล�ำ] ว. เกิน, มากกว่าที่ ต้องการ เช่น ทอนเงินถล�ำไป ห้าบาท (ทอนเงินเกินไปห้าบาท). ถวายแหวน น. ลีลาการชกมวยไทยใน ลักษณะทีป่ ระชิดตัวคูต่ อ่ สู้ แล้ว เอามื อ ทั้ ง สองจั บ คอกระชาก ตีเข่าทีค่ าง เช่น เข้าประชิดและ ศัตรูหลวมตัว ก็เอามือทั้งสอง ประเคนขึ้นที่ลูกคางอันเรียกว่า ถวายแหวน (ท้าว ฯ), (ดู เน็บ กฤช และ เหวีย่ งควย ประกอบ). 145

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ถึงคอ - ไถเอาวัน

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ถึงคอ ก. อิม่ แปล้, อิม่ เต็มที,่ ถึงคอรัด ก็วา่ . ถึงคอรัด [ถึง-คอ-ลั่ด] ดู ถึงคอ. ถึงไหนถึงหนึง่ ว. ใช้ประกอบค�ำอืน่ มี ความหมายในท�ำนองว่า มาก ถึงไหนก็ไม่อาจประมาณได้ เช่น ยาวถึงไหนถึงหนึง่ (ยาวมาก). ถือครอง ก. ถือบวช, บวช, ประพฤติ พรตตามลัทธิศาสนา เช่น ถือ ครองจีวร, ถือครองผ้าเหลือง. ถือพายซื่อ ว. พาซื่อ, หลงเชื่อหรือ หลงผิดตามไปด้วย. ถือสา [ถือ-ซา] ว. ยึดเอาเป็นเรือ่ งราว. ถูกหางเลข ว. พลอยโดนไปกับเขาด้วย. ถูหมี่ ก. ละเลงแป้งหมี่ ซึ่งเป็นขั้นตอน หนึ่งของการท�ำเส้นหมี่ โดย เอาก้ น ขั น ละเลงในลั ก ษณะถู วนเป็ น วงกลมให้ เ ป็ น แผ่ น , กวดหมี่ ก็ว่า. เถก ว. เก้งก้าง, (ดู โถกเถก ประกอบ). เถากระดึงช้าง [เถา-กะ-ดึง-ช่าง] น. ชื่อไม้เลื้อยชนิด Agyreia lan ceolata Choisy ในวงศ์ Con volvulaceae. เถาคันเหล็ก [เถา-คัน-เล็ก] น. ชื่อ ไม้เลื้อยชนิด Ventilago crista na Pierre ในวงศ์ Rhamana ceae, ถิ่นอีสานเรียก เครือ ปลอก, มะแตก. 146

เถาตาปลา น. เถาวัลย์เปรียง, (ดู เถาวัลย์เปรียง ประกอบ). เถาติดต่อ [เถา-ติด๊ -ต่อ] น. เถาหัวด้วน, เถาวัลด้วน, เถาวัลย์ยอดด้วน; ชื่ อ ไม้ เ ถาเลื้ อ ยไร้ ใ บช นิ ด Sarcostemma runonianum Wight et Arn. ในวงศ์ Asclepiadaceae ใช้ท�ำยาได้.

เถามวกขาว

เถามวกขาว [เถา-หมฺวก-ขาว] น. ไม้ เถาชนิด Xylinabaria minu tifloraPierre ในวงศ์ Apocyna ceae เปลือกสีน�้ำตาลเข้ม ใบ รูปรี ดอกสีขาวจะออกเป็นช่อ ตรงยอด ผลเป็นฝักคู่ เถาใช้ เป็นยารักษาบาดแผล ประดง พยาธิ. ส�ำหรับเครือเขามวก ขาว, กระทั่งติด, กุมาริกา, เถามวก, ตังติด เป็นไม้เถาชนิด Parameria laevig ata (Juss.)


พจนานุกรม ภาษาโคราช Moldenke ในวงศ์ Apocyn aceae มียางเหนียวคล้ายกาว ใช้ทำ� ยาได้. เถิก ว. หัวล้าน ชนิดที่ผมที่หัวตอน หน้าผากร่นสูงขึ้นไป. เถิง ว. ถึง เช่น เถิงว่า (ถึงว่า), ไปเถิง เข้าปราสาท จึงอภิวาทลงวันทา (นิ.รูปทอง). แถก ว. ฉวัดเฉวียน, โฉบไปโฉบมา. แถล [ถะ-แหฺล] ก. ไถล, ลื่นไปไม่ตรง ทาง, ทางหรือพื้นที่ลาดเอียง ลง เช่น ทางลงเขา. แถลง [ถะ-แหฺลง] ดู แสลงโทน. แถววัลย์ [แถว-วัน] น. เถาว์วัลย์. โถก ว. ยาว (ใช้แก่ขา) เช่น ขาโถก (ขา ยาว), (ดู โถกเถก ประกอบ). โถกเถก น. การเล่น อย่างหนึง่ ใช้ ไม้ไผ่ ๒ อัน มีแขนงตรง ข้อยืน่ ออกมา ส�ำหรับเหยียบ โถกเถก เดิน; โถก หมายถึง ยาว เถก หมายถึง เก้งก้าง, ขาโถกเถก, ขาหย่าง ก็ว่า. โถกโถย ก. อาการอย่างคนไม่มีแรง. ไถ น. เครือ่ งมือท�ำไร่ทำ� นาชนิดหนึง่ ท�ำ ด้วยไม้เนื้อแข็งทุกชนิดยกเว้น

ไม้มะค่าแต้ และไม้กระบก เชือ่ ว่า ไม้ทั้งสองไม่เป็นมงคล คือแต้ หมายถึง ไม่เจริญ บก หมายถึง บกพร่อง, ลด เป็นต้น, (ดู บก ประกอบ). ไถคู่ ก. ไถโดยใช้วัวหรือควาย ๒ ตัว หรือ ๑ คู่. ไถด�ำ ก. ไถในช่วงที่พื้นนามีน�้ำ มากพอที่จะไถด�ำ แล้วคราดให้ เรียบจากนั้นจึงปักด�ำต้นกล้า. ไถเดี่ยว ก. ไถโดยใช้วัวหรือ ควายตัวเดียว. ไถเดี่ยว

147

ไถหว่าน ก. ไถในช่วงที่พื้นนามี น�้ ำ น้ อ ยไม่ ม ากพอที่ จ ะไถด� ำ หลั ง จากคราดแล้ ว จึ ง หว่ า น เมล็ดข้าวปลูกเช่นเดียวกับ การท�ำนาหว่าน. ไถเอาวัน ก. ท�ำพิธีไถเพื่อ เอาฤกษ์เอาชัยให้เป็นสิริมงคล

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ไถ่ - ท้วง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ก่ อ นที่ จ ะไถตามปกติ โดย ไถจากซ้ า ยไปขวา ๓ รอบ แล้ ว ไถขวางทางทิ ศ อี ส านมา ทางทิศหรดีเป็นอันเสร็จพิธี. ไถ่ [ถ่าย] ๑. ก. แก้ตัวแทนผู้ที่ยิงสะบ้า ผิด กล่าวคือเมื่อมีคนในทีมยิง สะบ้าผิดโดยพลาดไปถูกสะบ้า ของคนอื่น ถือว่า “เน่า” ต้อง ให้คนใดคนหนึ่งในทีมยิงสะบ้า แก้คืนให้ เรียกว่า ไถ่, (ดู เน่า

ประกอบ). ๒. ก. ไถ่ถอนทรัพย์สินหรือ สิ่งของที่ถูกยึดไว้เป็นประกันใน การเดิมพัน เล่นสะบ้า และจะ ต้ อ งหาสิ่ ง ของหรื อ ทรั พ ย์ สิ น ตามแต่จะตกลงมาไถ่คืน เช่น หมากพลู บุหรี่ หรือเครื่อง ส�ำอาง เป็นต้น, (ดู สีบ้าสีรอย ประกอบ).

ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมาในอดีต

148


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ท่ง น. ทุ่ง. ทด น. คันกั้นน�้ำ, ท�ำนบ; ก. กั้นไม่ให้ น�้ำไหล. ทนรมา [ทน-ละ-มา] ก. ทรมาน เช่น ไม่อยู่เป็นคนไม่ทนรมา (นิ.รูป ทอง), เขียนเป็น ทนระมา ก็มี เช่น ผู้เดียวเดินทนระมาน�้ำตา ไหล (นิ.พระปาจิต), ทนรมาน, ทารมาน ก็ว่า. ทนรมาน [ทน-ละ-มาน] ดู ทนรมา. ทนายดาบ น. ผู้พิทักษ์หรือองครักษ์ กษั ต ริ ย ์ โ ดยมี ด าบเป็ น อาวุ ธ เช่น เดียวกับทนายเลือก เช่น ทนายปื น ถื อปืน ทนายหอก ออกยืน ทนายดาบออกหน้า (นิ.รูปทอง). ทนายปืน น. ผู้พิทักษ์หรือองครักษ์ กษั ต ริ ย ์ โ ดยมี ป ื น เป็ น อาวุ ธ , (ดู ทนายดาบ ประกอบ). ทนายหอก น. ผู้พิทักษ์หรือองครักษ์ กษั ต ริ ย ์ โ ดยมี ห อกเป็ น อาวุ ธ (ดู ทนายดาบ ประกอบ). ทโมน [ทะ-โมน] ก. ซนเหมือนลิง. ทรงลูกจันทร์ น. ทรงผมผู้หญิงที่เกล้า ขมวดบนกลางศี ร ษะเป็ น รู ป ทรงกลม.

ทรงอเมริกัน น. ทรงลานบิน, ทรงผม ผู ้ ช ายแบบหนึ่ ง ตั ด โดยรอบ ศีรษะสั้นเกรียน ตอนบนตัดสั้น เป็นแนวตรง ซึ่งเป็นทรงผม ของทหารอเมริกัน. ทรามชม น. ทรามเชย, หญิงอันเป็น ที่รัก เช่น มาถึงที่บรรทม นาง ทรามชมสลบไป (นิ.รูปทอง), ทรามเปลี่ยว, สามเชย, สาม เปลี่ยว ก็ว่า เช่น ถึงนาง ผู ้ ท รามเปลี่ ย วอยู ่ อ งค์ เ ดี ย ว เปลี่ยวพระทัย (นิ. กุศราช), แม่สามเชยยังไม่เคยจะตกยาก (สุภมิต ฯ), บัดนี้สองคนนะสาม เปลี่ยว จงอยู่คนเดียวพี่นี้จะไป เที่ยวขอทาน (นิ.กุศราช), ทรามเปลี่ยว ดู ทรามชม. ทวก น. ทูบ, ไม้แคร่เกวียนที่ยื่นออก ไปติดกับแอก, ตัวถังหรือโครง เกวียนที่ เป็นส่วน ส�ำหรับ บรรทุก (อ.cha ทวก ssis). ท้วง ก. ทัก, ทักทาย, ทักท้วง, ท้วงติง. 149

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ทอก - ทะลื่น

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ทอก ๑. น. เรียกสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วัว, ควาย เป็นต้น. ๒. น. ผลไม้ที่ด้วงกิน เช่น มะพร้าว. ๓. น. คนหรือสัตว์ที่มีอัณฑะ ลูกเดียว. ท้องขดท้องแข็ง [ท่อง-คด-ท่อง-แข็ง] ว. ท้องคัดท้องแข็ง, อาการที่ หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที.่ ท้ อ งตราราชสี ห ์ [ท่อ ง-ตา-ลาดชะ-สี] น. หนังสือหรือค�ำสั่ง ทางราชการที่ มี ต ราราชสี ห ์ ซึ่ ง เป็ น ตราของมหาดไทย ก�ำกับ เช่น เมื่อเพลากลางวัน มีท้องตราราชสีห์มาว่า เมือง ขุ ขั น ธ์ เ กิ ด ความไม่ เ รี ย บร้ อ ย (ท้าว ฯ), (ดู ตราราชสีห์ ประกอบ). ท้องตึง่ [ท่อง-ตึง่ ] ว. ท้องอืด, ท้องขึน้ , แน่นท้อง. ท้องป่อง [ท่อง-ป่อง] น. พุงป่อง. ท้องโป่ง [ท่อง-โป่ง] น. พุงป่อง เช่น บั๊ ด แต่ เ ง่ า ะคลานออกมา แต่ ท่ อ งแม่ ท่องโป่ง คือคน ท่ อ งมาน (กล่อมเด็ก). ท้องพ่อท้องแม่ [ท่อง-พ่อ-ท่อง-แม่] น. ท้องแม่ เช่น เกิดจากท่องพ่อ ท่องแม่เพิ่งเคยเห็น (เกิดจาก ท้องพ่อท้องแม่เพิ่งจะเคยเห็น). 150

ท้องโร [ท่อง-โล] น. พุงโร. ทองเสาะ [ทอง-เซาะ] น. ทองขัน ลงหิน, ทองลงหิน,โลหะผสม ระหว่างทองแดง ทองเหลือง ดีบุก เงิน; ทองเสาะใช้ท�ำ กระดิ่ง เป็นต้น. ทอดกล้า ก. ตกกล้า, เพาะข้าวลงใน ตากล้า เช่น ไปไถนาตลอดจน จะทอดกล้า (นิพระปาจิต). ทอดดอก ก. ตกดอก, เอาเงินหรือ สิ่ ง ของให้ ไ ปก่ อ นแล้ ว คิ ด เอา ดอกเบี้ยภายหลัง. ทอดบ้อ น. โยนหลุม, การเล่นอย่าง หนึ่ง โดยใช้สตางค์ทอย หรือ หยอดให้ลงหลุม; มีการน�ำไป ใช้ในการพนันก็มี. ท่อดูด น. หลอดดูด. ทอยตูด ดู ทอยท้าย. ทอยท้าย [ทอย-ท่าย] ก. คัดท้าย, ทอยตูด ก็ว่า. ท่อล่อ ว. ลับ ๆ ล่อ ๆ, พรวดพราด, เสนอหน้า. ท่อล่อแท่แล่ ก. เล่น ๆ, ไม่จริงจัง เช่น อย่าท�ำท่อล่อแท่แล่เด้อ. ทะนง น. โลดทะนง, ชื่อไม้พุ่มขนาด เล็กชนิด Trigonostemonreid iodes (Kurz.) Crab ในวงศ์ Euphorbiaceae ล�ำต้นเรียว เล็กขึ้นเป็นกอ ใบเดี่ยวรูปหอก


พจนานุกรม ภาษาโคราช ทะแม่ง ว. เสียงแปร่ง ๆ, กลิน่ แปลก ๆ. ทะยอม น. พะยอม, ไม้ยืนต้นขนาด ใหญ่ ดอกสีเหลืองอ่อน กลิ่น หอม. ทะยูง น. พะยูง, ไม้ต้นขนาดใหญ่เนื้อ สีแดงด�ำคล�้ำ, ออกเสียงเป็น ถะยูง ก็มี. ทะระแม็ก น. คาคบต้นไม้, ง่ามต้นไม้ ใหญ่กับล�ำต้นแยกกัน, ออก เสียงเป็น ถะล่ะแม่ก ก็มี. ทะลกทะลัก ว. ซุ่มซ่าม, ออกเสียงเป็น ถะล่กถะลั่ก ก็มี. ทะลวง ก. อาราม, มุ่งหมายอย่าง รีบร้อน, ถลัน, พรวดพราด เช่น ทะลวงลุ่กขึ่น (อารามรีบ ร้อนลุกขึ้น), ทะลวงไวไล่กระชั้น พระโฉมยง (นิ.พระปาจิต), ออก เสียงเป็น ถะลวง ก็ม.ี ทะละม่อม น. เท้ายายม่อม; ไม้ล้มลุก ชนิด Taccaleontopetaloids (L.) Kuntze ในวงศ์ Tacca ceae หัวหรือเหง้ามีสัณฐาน กลมแบนใช้ท�ำแป้งเป็นอาหาร ได้ เรียกว่า แป้งเท้ายายม่อม. ทะลาด ดู ทะลูด. ทะลาย ดู คะลาย. ทะลื่น ก. ทะเล้น เช่น ไอ้พรานป่าหน้า เป็นเช่นทะลื่น, อหังการ์หน้า ชื่นทะลื่นลาม (นิ.พระปาจิต).

ปลายแหลม ดอกเล็กสีขาวอม ชมพูเป็นช่อออกตามง่ามใบ ๓ พู รากฝนดื่มแก้หืด วัณโรค ฝนกับมะนาวหรือสุรา แก้พษิ งู, รักทะนง ก็วา่ . ทะนง

ทะน�ำ (ปาก) น. ผู้ที่หารายได้ด้วย การพาผู้ที่ต้องการปรึกษาคดี ไปหาทนายความ. ทะแนะ (ปาก) น. พวกตีนโรงตีนศาลที่ หากิ น ด้ ว ยการแนะน� ำ ให้ ค� ำ ปรึกษาคดี. ทะมก [ถะ-ม่ก] ๑. น. ผีปอบ ; เชื่อ กันว่าผีท่ะม่กชอบเข้าสิงสู่ร่าง ผู้หญิงแล้ว จะมีอาการร้องไห้ คร�่ำครวญ, ช่ะมก ก็ว่า. ๒. ก. ตะกละ, ตะกละตะกลาม, กินไม่เลือก, กินอย่างมูมมาม, ชะมก ก็ว่า. ทะมอน ดู พะมอน. 151

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ทะลูด - ท�ำเหมือนเอาไม้แหย่งู

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ทะลูด ก. ไถลตัวลงจากทีส่ งู , ครูด, การเล่นกระดานลืน่ ของเด็กโดย นั่งไถลตัวลงจากกระดานที่ตั้ง สูงทอดต�ำ่ ลงมา, ทะลาด ก็วา่ . ทะเลหญ้า [ทะ-เล-หย่า] ดู หัวทะเล. ทะเล่อ ดู เท่อเล่อ. ทะเล่อทะล่า ดู เท่อเล่อ. ทะวายท้อง [ถะ-วาย-ท่อง] ก. อาการ ท้องไส้ปั่นป่วนเพราะหิว เช่น มี อาการโอกอากอยากดื่มสุรา, อาการมวนท้องหรือคลืน่ เหียน, จืน้ ท้อง ก็วา่ . ทะหยาบ ดู สะหยาบ. ทัก [ทัก่ ] น. ชะลอมส�ำหรับใส่เกลือ ท�ำ ด้วยไม้ไผ่สาน, ทักเกลือ ก็วา่ . ทักเกลือ [ทั่ก-เกือ] ดู ทัก. ทักท้วง [ทั่ก-ท่วง] ว. ผีต่าง ๆ เช่น ผี เรือน เจ้าที่เจ้าทางมาทักทาย แล้ ว ท� ำ ให้ เ จ็ บ ป่ ว ยหรื อ มี ภยันตราย. ทั้งบั้ง [ทั่ง-บั้ง] ดู ตุ้มบก. ทับ [ทั่บ] ก. ข่มทับด้วยถือว่าเหนือ กว่า เช่น คุยทับ ; ในการเล่น การพนันมักพูดว่า เกทั่บ. ทับเยี่ยว ดู จับเจี้ยว. ทั่วทีบ ว. ทั่วทุกทิศ, ทุกหนทุกแห่ง, ไม่มีจุดหมาย, ทั่วทีบทั่วแดน ก็ว่า. ทั่วทีบทั่วแดน ดู ทั่วทีบ. 152

ทั่วะ ว. ซิ, เถอะ, เถอะน่า เช่น บอกแม่ ทั่วะลูก (บอกแม่ซิลูก, บอกแม่ เถอะลูก), ทั่วะเห่อ, ถั่วะ ก็ว่า, (ดู ดูทั่วะ ประกอบ). ทั่วะเห่อ ดู ทั่วะ. ท่าจก [ท่า-จ๊ก] น. ท่าหนึ่งของการร�ำ เพลงโคราช, ท่าช้างประสานงา ก็ว่า. ท่าช้าง [ท่า-ช่าง] น. ต�ำบลท่าช้าง ซึ่ ง เดิ ม เป็ น ชื่ อ อ� ำ เภอจั ก ราช แต่ ป ั จ จุ บั น เป็ น ที่ ตั้ ง อ� ำ เภอ เฉลิมพระเกียรติ ตามประวัติ บ้ า นท่ า ช้ า งเคยเป็ น ด่ านช้ า ง มาก่อน. ท่าช้างประสานงา [ท่า-ช่าง-ปะ-สานงา] ดู ท่าจก. ทารกรรม [ทา-ละ-ก�ำ] น. ทรกรรม, อยู่ในภาวะล�ำบาก เช่น ทาร กรรมถึงชีวิตจะสังขา (นิ.พระ ปาจิต). ทารนา [ทา-ละ-นา] ว. จิ๊บจ๊อย, เล็ก น้อย, แค่หยิบมือ เช่น งานแค่ นี่ไม่ทารนามือด็อก (งานแค่นี้ จิ๊บจ๊อยไม่พอมือหรอก). ทารมาทารกรรม [ทา-ละ-มา-ทา-ละก�ำ] ดู ทารมานทารกรรม. ทารมาน [ทา-ละ-มาน] ก. ทรมาน, (ดู ทนรมา ประกอบ). ทารมานทารกรรม [ทา-ละ-มาน-ทา-


พจนานุกรม ภาษาโคราช ละ-ก�ำ] ก. ทรมานทรกรรม, ท�ำให้ทนทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบ สิ้น เช่น น้องเหมือนปลาทาร มานกันดารน�้ำ ทารกรรมถึง ชีวิตจะสังขา (นิ.พระปาจิต), ทารมาทารกรรม ก็ว่า. ท่ า ลอก น. ชื่ อ ไม้ชนิด Parinari anamense Hance ในวงศ์ Chrysobalanaceae (Rosa ceae) ใบเดี่ยวรูปไข่ ดอกเล็ก สีขาว ผลกลมรี แก่นต้มดื่ม แก้ผื่น แก้น�้ำเหลืองเสีย นัก พฤกษศาสตร์เรียก มะพอก.

ตมเพื่อตกกล้า. ท�ำนาให้ได้ข้าวขายเล่าเรียนให้ได้ เป็นนายคน [ท�ำ-นา-ไห่-ได้เข่า-ขาย-เล่า-เลียน-ไห่-ได้เป็น-นาย-คน] (ส�ำ) ให้กิจการ เจริญรุ่งเรือง ถ้าเล่าเรียนขอ ให้มีต�ำแหน่งสูง ๆ. ท�ำแนว ก. ท�ำพันธุ์. ท�ำเป็นหลาย ดู ท�ำเชิง. ท�ำผี ดู ผัวควายเมียควาย. ท�ำพูด ก. ฆ่าแล้วเอาชิ้นส่วนของ อวัยวะมากองเป็นกอง ๆ, (ดู พูด ประกอบ). ท�ำเพศ ว. ดัดจริตแต่งตัวให้เกินควร, แสดงท่าทางในเชิงดัดจริต, ส�ำ พิมเพศ ก็ว่า. ท�ำไมยัง... ว. ใช้ประกอบค�ำถามมี ความหมายท�ำนองว่า ท�ำไมถึง เช่น ท�ำไมยังเก่งแท้, ท�ำไมถึง สวย. ท�ำไร่ให้ได้หญ้าคา ท�ำนาให้ได้ผักบุ้ง [ท�ำ-ไล่-ไห่-ได้-หย่า-คา-ท�ำนา-ไห่-ได้-พัก-บุง้ ] (ส�ำ) ขอให้ ท�ำมาหากินไม่เจริญ (ค�ำแช่ง). ท�ำลุ่น ก. ท�ำลายวัชพืช, ถากถาง วัชพืช. ท�ำเหมือนเอาไม้แหย่งู [ท�ำ-เหฺมอื นเอา-ม่าย-แหฺย-่ งู] (ส�ำ) อาการ กล้า ๆ กลัว ๆ.

ท่าลอก

ทาลาน ก. เอาขี้วัว, ขี้ควาย ผสมกับ น�้ำทาพื้นดินเพื่อเตรียมสถานที่ นวดข้าว. ท่าใหญ่ ว. วางท่าแสดงอ�ำนาจหรือ วางก้าม. ท�ำเชิง ก. ท�ำที, แกล้งท�ำ, แสดงกิริยา หรืออาการให้ผู้อื่นส�ำคัญผิด, ท�ำเป็นหลาย ก็ว่า. ท�ำเทือก ก. ไถคราดดินให้เป็นโคลน 153

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ท�ำอยู่ท�ำกิน - แท่แร่

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ท�ำอยูท่ ำ� กิน ก. ท�ำอาหาร, หุงหาอาหาร. ทิวาสี น. พิธีบูชาไฟในปราสาทหิน พิมายสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยการหยดน�้ำมัน เครื่อง หอม ลงที่บูชาเป็นเสาหินแล้ว ท�ำการบูชารอบ ๆ เสานั้น. ที่กะเทย น. ที่ดินที่มีสภาพดินปาน กลาง กล่าวคือจะว่าเป็นดินดีก็ ไม่ใช่ดินเลวก็ไม่เชิง, ที่กะเทิน ก็ว่า. ที่กะเทิน ดู ที่กะเทย. ที่ทาง น. หน้าที่, กิจที่ควรท�ำ. ที่อยู่ที่กิน น. ที่อยู่อาศัย, บ้านช่อง. ทุก [ทุ่ก] ก. บรรทุก เช่น ทุ่กหลัง (บรรทุกใส่หลัง, ใส่บนหลัง แบกพาไป). ทุกผูท้ กุ คน [ทุก-ผู-่ ทุก-คน] ว. ทุกคน. ทุกวี่ทุกวัน ว. ทุกวัน. ทุ่งส�ำเร็จ [ทุ่ง-ส�ำ-เล็ด] น. ทุ่งส�ำริด อ�ำเภอพิมาย เช่น แต่ก่อนเขา เรียกกันว่าทุ่งส�ำเร็จ เลยเรียก เป็นทุ่งส�ำริด (เพลง โคราช). ทุบาย ก. เพทุบาย, ท�ำอุบาย, ทูบาย ก็ว่า. ทุรา น. ทาง เช่น พวกเดินโคกทุรา เคี้ ย ว พานักเที่ยวทุราข้าม (เพลงโคราช). ทุเรียนบ้าน ดู ทุเรียนปลาร้า. 154

ทุเรียนปลาร้า [ทุ-เลียน-ปา-ล่า] น. ทุเรียนเทศ, ทุเรียนน�้ำ, ทุเรียน แขก ; ผลไม้ชนิดหนึ่งมีหนาม คล้ายทุเ รียน แต่ห นามเล็ก กว่า เนือ้ ในคล้ายน้อยหน่า มีรส เปรีย้ วอมหวาน ไม่เป็นพูเหมือน ทุเรียน, ทุเรียนบ้าน ก็วา่ .

ทุเรียนปลาร้า

ทูบาย ก. เพทุ บาย, ท� ำ อุบ าย, ท�ำเล่ห์กล เช่น เข้าทูบายด้วย สุนทรอันอ่อนหวาน จานถ้วย (นิ.พระปาจิต). เท่ง ว. ใช้ประกอบค�ำอื่นเพื่อให้ค�ำเด่น ชัดท�ำนองว่า มาก, ยิ่งขึ้น เช่น กินใหญ่กนิ เท่ง (กินเอากินเอา). เท้งเก้ง [เท่ง-เก้ง] ว. เท้งเต้ง, อาการที่เรือหลุดลอยตามแต่ จะไป เช่น เรือลอยเท่งเก้ง. เทน�ำ้ ในถ้วยลงในกองเพลิง [เท-น่ามไน-ถ่ ว ย-ลง-ไน-กอง-เพิ ง ] (ส�ำ) ก. น�้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ, ฝ่ายข้างน้อยย่อมแพ้ฝ่ายข้าง


พจนานุกรม ภาษาโคราช มาก เช่น ก็เท่ากับเทน�้ำในถ้วย ลงกั บ กองเพลิ ง หาระงั บ แสง อันรุ่งโรจน์ได้ไม่ (ท้าว ฯ). เทพารักษ์ น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสี ม า เดิ ม ชื่ อ ส� ำ นั ก ตะคร้ อ ต่ อ มาหลวงพ่ อ คู ณ ปริสุทโธ เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ อ�ำเภอด่านขุนทด ได้แนะน�ำให้ เปลี่ยนชื่อเป็นเทพารักษ์เพราะ บริ เ วณนี้ มี เ ทพารั ก ษ์ ป กปั ก รักษา และกระทรวงมหาดไทย เห็นชอบจึงได้ประกาศเปลี่ยน ชื่อดังกล่าว. เที่ยวเล่น [เที่ยว-เหฺล่น] ว. อาการที่ ท�ำอย่างไม่เอาจริง ; ก. ไปในที่ ต่าง ๆ เรื่อยไป. เทศน์แจง ก. เทศน์หรือสวดให้พร้อม เพรี ย งกั น และเป็ น แบบแผน เดียวกัน ซึ่งต้องมีการอธิบาย ชี้แจงประกอบ. เทศน์ แ จงอนิ ส งส์ ก. เทศน์แ ผ่ อานิ ส งส์ , เทศน์แ ผ่ผ ลแห่ง กุศลกรรมแก่ผู้ล่วงลับ, แจง อนิสงส์ ก็ว่า. เทศน์ โ จทย์ ก. เทศน์ในลักษณะตั้ง กระทู ้ ถ ามตอบหรื อ ปุ จ ฉา วิสัชนา. เท่อเล่อ ว. เซ่อซ่า, ต�ำตา, ทนโท่, ปรากฏชัดแก่ตา, อาการเซ่อซ่า,

พรวดพราดเข้ า ไปในที่ ที่ ต น ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง, เท่อเล่อ ท่าล่า ก็ว่า. เท่อเล่อท่าล่า ดู เท่อเล่อ. เท่าขี้ตา [เท่า-ขี-่ ตา] ว. เล็กหรือน้อย นิดเดียว, นิดหนึ่ง เช่น เอามา ซักเท่าขี่ตา (เอามานิดเดียว หรือเล็กเท่ากับขี้ตา). เท้าฤาษี [ท่าว-ลือ-สี] น. ชื่อไม้พุ่ม เตี้ยชนิด Barleria longiflora Linn. ในวงศ์ Acanthaceae. เทิน ก. ทับ, วางข้างบน, ซ้อนข้างบน. เทียนจ�ำน�ำพรรษา น. เทียนพรรษา. แทงถั่วถูกไม่ได้ตังค์ (ส�ำ) สูญเสีย ผลประโยชน์เพราะถูกโกง. แทงยอด ก. แตกยอด, ผลิยอด. แท่แร่ ว. เถลไถล, ไถล, เชือนแช, ไม่ตรงไปตรงมา เช่น สาวน่อยบอกแม่ว่าจิไปดั๊กตุ้ม ลับตาแม่แท่แร่เข่าพุ่ม (เพลง เพียะ), (ดู เพียะ ประกอบ).

โทงเทง

155

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


โทงเทง - ธิบาย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

โทงเทง ว. ล่อนจ้อน เช่น คนบ้าแก้ผ่า เดินโทงเทง (คนบ้าเดินแก้ผ้า ล่อนจ้อน). โทงโทย ว. โทง ๆ, อาการที่เดิน หรือวิ่งโหย่ง ๆ ไปในที่โล่ง เช่น วิ่งโทงโทยอยู่นั่น (วิ่ง โหย่ง ๆ อยู่นั่น). โทน น. กลองที่ท�ำด้วยดินเผา ใช้หนัง งูเหลือมหรือหนังตะกวด ขึง ด้านเดียวใช้ตีประกอบการร�ำ เรียกว่า ร�ำโทน.

โทน

โท่โล่ ว. ทนโท่, ต�ำตา. ไทกะเทิน ดู ไทโคราช ๒. ไทโคราช ๑. น. คนโคราช ซึ่งเป็น กลุ ่ ม คนที่ อ ยู ่ ใ นเขตพิ ม าย นครราชสีมา อพยพมาจากลุ่ม น�้ำเจ้าพระยา มีภาษาศิลปะ

156

วั ฒ นธรรมเป็ น ของตนเอง ต่อมาผสมผสานกับลาว แต่ ไซเดนฟาเดน นักโบราณคดี ชาวฝรัง่ เศสเชือ่ ว่า “ไทโคราช” เป็นพวกไทกลุม่ หนึง่ ทีเ่ ป็นเขมร ผสมไท ผิวคล�ำ้ เชี่ยวชาญใน การทอผ้า สืบเชื้อสายมาจาก บรรพบุรุษผู้เป็นแรงงานสร้าง ปราสาทหิ น พิ ม าย อนึ่ ง นั ก โบราณคดีสรุปว่า “คนโคราช” มีบุคลิกและวัฒนธรรมที่เ ด่น คือ กินข้าวเจ้า เคี้ยวหมาก ตัดผมเกรียน นุ่งโจงกระเบน มีศิลปะ และสถาปัตยกรรม แบบภาคกลาง. ๒. เป็นค�ำ ที่คนอีสานเรียก คนโคราช, ไทกะเทิน, ไทเดิ้ง, ไทเบิ้ง ก็ว่า. ไทเดิ้ง ดู ไทโคราช ๒. ไทเบิ้ง ดู ไทโคราช ๒. ไทยยวน ดู ยวน. ไทรโยง ดู ไทรระโยง. ไทรระโยง น. ไทรย้อย เช่น ไทรระโยงย้อยระย้ายาว สลอน (นิ.พระปาจิต), ไทรโยง ก็ว่า.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ธนา ก. อาราธนา, นิมนต์. ธนู น. เครื่องเล่นกับว่าว มีลักษณะ คล้ายธนู ใช้ใบลานหรือใบตาล โยงปลายทั้งสองข้างยึดตึงไว้ แล้วผูกติดกับหลังว่าว (มักผูก ติดกับว่าวจุฬา) เมื่อถูกลมพัด ใบธนู จ ะพลิ ก หมุ น กลั บ ไปมา ท�ำให้เกิดเสียงดู้ดู่ ๆ นิยมชักไว้ ในตอนกลางคืน, ชนู ก็ว่า.

ตั้งไว้บนขอนไม้. ธรรมศาลา ดู บ้านมีไฟ. ธะมาสน์ น. ธรรมาสน์, ทะมาศน์ ก็เขียน เช่น เห็นคนพร้อม ทู ล กระหม่ อ มขึ้ น ธะมาสน์ , (นิ.พระปาจิต).

ธนู ธนู

ธะมาสน์ ธนู

ธาตุ น. อัฐิ, กระดูกคนที่เผาแล้ว, (ดู กลับธาตุ ประกอบ). ธิฐาน ก. อธิษฐาน, ตั้งจิตขอร้อง สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ เ พื่ อ ผลอย่ า งใด อย่างหนึ่ง เช่น มาช่วยข้าขอให้ สมดังธิฐาน (นิ.พระปาจิต). ธิบาย ก. อธิบาย, ชีแ้ จง, ขยายความ เช่น ทัง้ แยบทัง้ คายธิบายเจรจา (นิ.กุศราช), พระยานายจึงธิบาย ว่าท่านขา (นิ.พระปาจิต).

ว่าธนูวธนู

ธรณี น. ทั่ง, แท่นเหล็กใช้รองตีโลหะ 157

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ธุระปะปัง - นกเข้าพุ่ม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ธุระปะปัง [ทุ-ล่ะ-ป๊ะ-ปัง] น. ธุระ, เรื่องส่วนตัว เช่น มีธุร่ะป๊ะปัง อะไรถึงมาถึงนี่. ธุสะ ๆ [ทุ-ซะ-ทุ-ซะ] ว. สาธุ เช่น ธุซะ ๆ

158

ก็ไม่ได้เป็นยังงัน่ ด๊อก. โธ้ ๆ อ. โธ่; ค�ำทีเ่ ปล่งออกมาด้วย ความกังขา เช่น โธ้ ๆ จิเอายังงัน่ นี (โธ่ ๆ จะเอาอย่างงัน้ เหรอ)


พจนานุกรม ภาษาโคราช

นก [น่ก] น. กระดึง, เครื่องไม้คล้าย ระฆั ง มี ลู กกระทบขนาบอยู่ ภายนอก ๒ ด้านข้าง ใช้แขวน คอวัวหรือควาย เพื่อให้เกิด เสี ย งดั ง หรื อ บอกสั ญ ญาณ เสียงจะดังนก ๆ.

ไม่ออก [น่ก-กะ-ยาง-บิน-มาล่ะ-เย่ะ-ขี่-ต๊ก-เป้ะ-เช่ด-ไม่ออก] (ปริศ) น. ขี้กลาก. นกกะยูง [น่ก-กะ-ยูง] น. นกยูง. นกกะฮูก [น่ก-กะ-ฮูก] น. นกฮูก. นกเกรียน [น่ก-เกียน] น. นกกะเรียน. นกขุ้มลี่ [น่ก-ขุ่ม-หลี่] น. นกขุ้ม ประเภทหนึ่งตัวเล็กกว่านกขุ้ม ทั่วไป. นกเขากระทุง้ โรง [น่ก-เขา-กะ-ทุง่ -โลง] น. นกเขาที่ ขั น แบบกระชั้ น เสียงหรือ กระโชกกระชัน้ นกเขา ประเภทนีไ้ ม่นยิ มเลีย้ งกันเพราะ ถือว่าไม่ใช่นกดี ไม่ต้องโฉลก. นกเขาคารม [น่ก-เขา-คา-ลม] น. นกเขาใหญ่ทขี่ นั มีคารม โดยขัน ในลักษณะสามเส้า, (ดู สามเส้า ประกอบ). นกเขาคารม อ้อยคันร่ม ส้มขีม้ า้ ผ้า หางกระรอก [น่ก-เขา-คา-ลมอ้อย-คัน-ล่ม-ส่ม-ขี่-ม่า-ผ่าหาง-กะ-ลอก] เป็นค�ำขวัญ ของจั ง หวั ด นครราชสี ม าใน สมัยหนึ่ง. นกเขาเง้า [น่ก-เขา-เง่า] ดู กระทิยอบ. นกเข้าพุ่ม [น่ก-เข่า-พุม่ ] น. เวลา

นก

นกก็ไม่ใช่นก แร้งก็ไม่ใช่แร้ง บิน แคว้ง ๆ อยู่ข้างเขา [น่ก-ก็ไม่ - ไช่ - น่ ก -แล่ ง -ก็ - ไม่ - ไช่ แล่ง-บิน-แค่ง-แค่ง-หยู-่ ข่างเขา] (ปริศ) น. ใบหูควาย. นกกรอด [น่ก-กอด] น. นกปรอด. นกกะเด้าดิน [น่ก-กะ-เด้า-ดิน] น. นกแอ่นลม. นกกะยาง [น่ก-กะ-ยาง] น. นกยาง ปากแหลม ขายาว ตัวสีขาว. นกกะยางบินมาระเยะ ขี้ตกเป้ะเช็ด 159

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


นกเค้า - นักมวยโคราช นักปราชญ์อุบล

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ที่นกเข้ารัง, เวลาเย็น เช่น พอตก เพลานกเข้าพุ่ม (ท้าว ฯ). นกเค้า [น่ก-เค่า] น. นกเค้าแมว. นกจับไม่ไม่มีรอย [น่ก-จั๊บ-ไม่-ไม่-มีลอย] (ส�ำ) ว. ไม่มีหลักฐาน. น่กบ้าน ดู นอกบ้าน. นกปากแหนบ [น่ก-ปาก-แหฺนบ] น. นกปากส้อม, นกปากซ่อม; ชื่อ นกเขาขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีหลายชนิด. นกสีแหรก [น่ก-สี-แหฺลก] น. นกแสก. นกอีจู้ [น่ก-อี-จู้] น. นกกางเขน. นครราชสีมา ๑. น. สมัยก่อนออก เสียงเป็น “นครราชสิมา” เป็น จั ง หวั ด หนึ่ ง ของประเทศไทย ปรากฏหลั ก ฐานครั้ ง แรกใน กฎมณเฑียรบาล สมัยสมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถ มาจาก ค�ำว่า นคร (เมือง) + ราช (พระราชา) + สีมา (เขต,แดน) หมายถึง เมืองอันเป็นพระราช อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยา ที่เป็นชายแดนของอาณาจักร ไทย ชาวเมืองมักเรียกสัน้ ๆ ว่า “ครราช” (คอนราด), (ดู ครราช ประกอบ). ๒. น. บางหลักฐานอ้างว่า “นครราชสีมา” มีความเป็นมา จากค� ำ ผู ก เรื่ อ งต� ำ นานเมื อ ง 160

เสมากับเมืองโคราฆะปุระ, (ดู โคราช ประกอบ) ๓. น. บางหลักฐานอ้างว่าเอา ชื่อโคราช ประสมกับชื่อเสมา เป็นโคราชเสมา แล้วกลาย เป็นนครราชสีมา. ๔. น. ปัจจุบันเป็นจังหวัดหนึ่ง ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ซึ่ ง ประกอบด้ ว ย จั ง หวั ด นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ที่เป็นกลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน ล่ า ง ๑ ตามการแบ่ ง กลุ ่ ม จังหวัดแบบบูรณาการ. นมเคร่ง น. นมคัด, อาการที่เต้านม ของหญิ ง แม่ ลู ก อ่ อ นมี น�้ ำ นม ค้างอยู่มาก เต้านมจะตึงและ รู้สึกเจ็บปวด ต้องให้ลูกดูด หรือบีบออกทิ้ง, นมเสียว ก็ว่า. นมเคร่งครัด [นม-เค่ง-คั่ด] ว. นมเต่งตึง เช่น โฉมเฉิดงาม จ�ำรัส นมเคร่งครัดอยู่ทั้งสอง (นิ.รูปทอง). นมงัว น. ชือ่ ไม้ตน้ ชนิด Scleropy rum wallichianum Arnott ในวงศ์ Santalaceae นักพฤกษศาสตร์ เรียก เหมือดคน, ถิน่ ระยองเรียก มะไฟแรด. นมน�้ำเหลือง [นม-น่าม-เหฺลือง] น.


พจนานุกรม ภาษาโคราช น�้ ำ นมที่ มี สี เ หลื อ งยั ง ไม่ เ ป็ น น�้ำนมร้อยเปอร์เซ็นต์. นมพิจิตร [นม-พิ-จิ๊ด] น. ชื่อไม้ล้มลุก ในกลุม่ “บวบ” ชนิด Trichos anthesanguina Linn. ในวงศ์ Cucurbitaceae นักพฤกษศาสตร์ เรียก บวบงู, ถิ่นเหนือเรียก มะนอยงู. นมสาว น. ขนมเทียน เพราะห่อเป็น รูปสามเหลี่ยมคล้ายนมผู้หญิง. นมเสียว ดู นมเคร่ง. นวลเผาะ [นวน-เพาะ] ว. สีนวล เปล่งปลั่ง. นอกบ้าน ก. ไปถ่ายอุจจาระ, น่กบ้าน ก็ว่า. น่อง น. ยางน่องเถา, ไม้เถาขนาดใหญ่ เนือ้ แข็ง ชนิด Strophanthus caudatus ในวงศ์ Apocyna ceae มียางสีขาว ใบเดีย่ วรูปรี ดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ผล เป็นฝักคู่. น้อง [น่อง] น. รก, ที่หุ้มหล่อเลี้ยง ลูกอ่อนในครรภ์ เช่น น่องงัว. นอนก่อนไก่ ก. นอนแต่หัวค�่ำ เช่น มา วั น หนึ่ ง ไซร้ นอนแต่ก่อนไก่ ทรงไกรกาสา (นิ.กุศราช). นอนคว�่ำเห็นลายนอนหงายเห็นตับ [นอน-ข่วม-เห็น-ลาย-นอน-หฺ งาย-เห็น-ตั๊บ] (ปริศ) น. เสื่อ,

ตับมุงหลังคา. นอนจนตะวันส่องตูด (ส�ำ) ก. นอน ตื่นสายด้วยความเกียจคร้าน. นอนปังป้าบ ก. นอนพังพาบ, นอนคว�ำ่ กางมือกางเท้า. นอนวัน ก. นอนกลางวัน. นอนอุตุ [นอน-อุ๊-ตุ๊] ก. นอนอย่าง สบาย. นอนเอาบ้านหลังนี้ [นอน-เอา-บ้าน -หลั ง -นี่ ] ดู นอนเอาบ้ า น เอาเมือง. นอนเอาบ้ า นเอาเมื อ ง (ส� ำ ) ก. นอนกินบ้านกินเมือง, นอนตื่น สายด้วยความเกียจคร้าน (ใช้ เป็นค�ำประชด), นอนเอาบ้าน หลังนี้ ก็ว่า. … น้อย ...ใหญ่ [… น่อย ...ใหญ่] ใช้ ประกอบค�ำอื่น มีความหมาย ไปในท�ำนองว่ามาก เช่น ร่องน่อยร่องใหญ่ = ร้องไห้โฮ ๆ กินน่อยกินใหญ่ = กินเอากินเอา, .....ใหญ่......น้อย ก็วา่ . น้อยอกตกใจ [น่อย-อ๊ก-ต๊ก-ใจ] (ส�ำ) ว. น้อยอกน้อยใจ. นักต่อนัก ว. มาก, ยิ่งนัก. นักมวยโคราช นักปราชญ์อุบล น. เป็ น สมญานามของเมื อ ง โคราชในยุคสมัยหนึ่ง เพราะ โคราชมีนักมวยเก่งไม่มีที่ไหนสู้ 161

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


นักเรียนบ�ำรุง - นางห้อง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ได้ ส่วนคนอุบลเก่งทางเจ้าบท เจ้ากลอนและค�ำผญา. นักเรียนบ�ำรุง [นั่ก-เลียน-บ�ำ-ลุง] น. นักเรียนทุน. นั่งจิบ [นั่ง-จิ๊บ] ก. นั่งจับสัตว์น�้ำด้วย จิ๊บ, (ดู จิบ ประกอบ).

นั่งจิบ

นั่ ง ซกมก [นั่ ง -ซ่ ก -ม่ ก ] ก. นั่ ง หมดอาลัยตายอยาก, นั่งซึม, นั่งจับเจ่า. นั่งตุกปุก [นั่ง-ตุ้ก-ปุ้ก] ก. ลักษณะ การนั่งนิ่งเฉยของคนอ้วน. นั่งตุกปุกหัวจุกแดงร่า [นั่ง-ตุ้ก-ปุ้กหัว-จุก๊ -แดง-ล่า] (ปริศ) น. แห. นั่งเถ่อพอปานหมาขึ้นเรือ [นั่ง-เถ่อพอ-ปั่น -หมา-ขึ่น-เลือ] (ส�ำ) นั่งทอดสายตาอย่างเฉยเมย. นั่งบนตอหัวร่อคัก ๆ [นั่ง-บน-ตอหัว-ร่อ-คั่ก-คั่ก] (ปริศ) หม้อ ข้าวเดือด ; สมัยก่อนหุงข้าว บนเชิงกรานซึ่งมีก้อนเส้า ๓ ก้อน, (ดู เชิงกราน ประกอบ). นั่งเป็นตาปุ้ก (ส�ำ) นั่งเฉยเหมือนเป็น 162

หุ่นฟาง, (ดู ตาปุ้ก ประกอบ). นัง่ ยอง ๆ มองกระเด้า เข้าไม่เข้าเอา มือคล�ำดู [นัง่ -ยอง-ยอง-มองกะ-เด้า-เข่า-ไม่-เข่า-เอา-มือค�ำ-ดู] (ปริศ) คนลับมีด. นั่งยังไม่พอก้นอุ่น (ส�ำ) ก. รีบร้อน เช่น นั่งยังไม่พอก้นอุ่นเลยก็รีบ ไปซะแล่ว. นัง่ ลอด ว. นัง่ โป๊, นัง่ ถ่างจนเห็นหว่างขา. นั่งโส ดู โส. นัน่ เด่ ว. นัน่ ซิ, นัน่ แหละ, นัน่ ล่ะเด่ ก็วา่ . นั่นละเด่ ดู นั่นเด่. นั่นแล้ว [นั่น-แหล่ว] ว. ใช่แล้ว, นั่น แหละ. นั่นเอ๋ง ว. นั่นไง, ใช่แล้ว. นัว ๑. ว. ข้น, เข้มข้น ท�ำให้อาหาร อร่อยถึงรส. ๒. ว. ชุลมุน, ยุ่งเหยิงเป็น พัลวัน. นัวกะเตอะ [นัว-กะ-เต้อะ] ว. ชุลมุน กันมาก, ยุ่งอย่างสับสนมาก, ยุ่งมาก. นัวนึง ก. คุยถูกคอกันไม่หยุด, คุยกัน ไม่หยุดเพราะถูกอัธยาศัยกัน. นัวเอ้เล่ ว. ข้นมาก, เข้มข้นมาก. นาเขิน น. นาน�้ำฝน, นาที่อยู่บน สั น ดอนหรื อ ที่ สู ง กว่ า นาโดย ทั่วไปต้องอาศัยน�้ำฝน, นาโคก, นาสูง ก็ว่า.


พจนานุกรม ภาษาโคราช นาคลอง น. นาที่ ท� ำ โดยอาศั ย น�้ ำ จากคลอง. นาโคก ดู นาเขิน. นาง ๆ ว. เขื่อง, ขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ ก�ำลังพอเหมาะพอดี (มักใช้แก่ สัตว์น�้ำ). นางด�ำ น. เขลง, หยี ; ไม้ต้นชนิด Dialium cochinchinense Pierre ในวงศ์ Leguminosae มี ผ ลเมล็ ด เดี ย ว เมื่ อ แก่ เปลื อ กจะกรอบเป็ น สี ด� ำ เนื้อหุ้มเมล็ดสีน�้ำตาลอมแดง รสเปรี้ ย วอมหวาน, นางด�ำ นางแดง ก็ว่า. นางด�ำนางแดง ดู นางด�ำ.

ขาว ๆ เหลือง ๆ ปลายยอดผล เท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อแก่จะ แตกเป็น ๓ กลีบ น�้ำมันจาก เมล็ ด ใช้ ท� ำ ยาหรื อ เคลื อ บ กระดาษกันน�้ำซึม. นางน้อย [นาง-น่อย] น. ลูกสาว คนเล็ก, ลูกสาวคนสุดท้อง, หญิงที่มีอายุอ่อนกว่า. นางแย้ม [นาง-แย่ม] น. ระย่อม, กระย่ อ ม ; ชื่ อ ไม้ พุ ่ ม ชนิ ด Rauvolfia serpentina (L.) Benth. cambodiana ex Kurz. ในวงศ์ Apocynaceae ทุกส่วนมียางขาว ดอกเล็ก สีชมพู ออกเป็นช่อตามยอด รากใช้ ท� ำ ยาแก้ ไ ข้ แ ละบ� ำ รุ ง ประสาท เช่น ตานขโมยต้นขมิน้ งามไสว หมูน่ างแย้มแกมประยง ดงล�ำไย (นิ.พระปาจิต). นางรักทุ่ง [นาง-ลั่ก-ทุ่ง] น. ชื่อไม้ ล้มลุกชนิด Limnophila lao tica Bonati ในวงศ์ Scro phulariaceae. นางลัก [นาง-ลั่ก] น. แมงลัก, ผัก ชนิดหนึ่งเมล็ดแช่น�้ำกินได้. นางเล็ก [นาง-เล่ก] น. ขนมนางเล็ด. นางห้อง [นาง-ห่อง] น. หญิงที่เก็บ ตั ว อยู ่ แ ต่ ใ นห้ อ งไม่ ย อมออก ไปไหน.

นางแตก

นางแตก น. กระทงลาย, กระทุงลาย, มะแตก ; ไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Celastrus paniculatus Willd. ในวงศ์ Celastraceae ใบรูป ไข่ปลายแหลม ดอกช่อเล็ก 163

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


นางใหญ่ - น�้ำอ้อย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

นางใหญ่ น. ลูกสาวคนโต. นาแซง น. นาที่อยู่ใกล้แหล่งน�้ำ เช่น เอามาไว้ ที่พระไทรริมนาแซง (นิ.พระปาจิต). นานเน ว. นานนม, นานมาแล้ว. น้านาง [น่า-นาง] น. น้าสะใภ้. นาบ ก. ตี, เฆี่ยน. น่าฟัด [หน่า-ฟั่ด] ว. น่าเอาหรือน่า ร่วมประเวณี, น่าฟาด ก็ว่า. น่าฟาด [หน่า-ฟาด] ดู น่าฟัด. นายน้อย [นาย-น่อย] น. ลูกชาย คนเล็ก, ลูกชายคนสุดท้อง. นายมาลาการ น. หัวหน้าควบคุมช่าง ถั ก ทอหรื อ กรองหมวก เช่น ให้ ส อนศิ ษ ย์ทั้ง หลาย ตั้ง ให้ เป็ น นายมาลาการ, จึ ง นาย มาลาการก้มกราบกรานพระราชา (นิ.กุศราช). นายหม้อ [นาย-หม่อ] น. ผู้มีความ ช�ำนาญในการปั้นหม้อ เช่น พระองค์เสด็จไปโรงหม้อมินาน นายหม้อนั้นไซร้ เป็นคนผู้ใหญ่ ได้ท�ำการงาน (นิ.กุศราช). น่ารักน่าชัง [หน่า-ลัก่ -หน่า-ชัง] ว. น่า รักน่าเอ็นดู (ใช้กับเด็กเล็ก ๆ) ; ตรงกั บ ส� ำ นวน น่ า เกลี ย ด น่าชัง. นาวาน น. นาที่ท�ำด้วยการไหว้วาน ญาติพี่น้องหรือเพื่อนบ้านโดย 164

ไม่มีค่าจ้าง, นาที่ลงแขก. น่าสะเอีย [หน่า-สะ-เอีย] ว. น่า เอร็ดอร่อยเหมือนคนแพ้ท้อง หิว, (ดู สะเอีย ประกอบ). นาสูง ดู นาเขิน. นาหลวง น. นาในที่สาธารณะ. นาแห้ง [นา-แห่ง] น. นาที่หว่านข้าว ปลู ก ลงในดิ น แห้ ง ๆ ที่ ไ ถ คราดไว้. นาฬิโมง (ปาก) น. นาฬิกา. น�้ำกลิ้งบนใบบอน [น่าม-กิ้ง-บน-ใบบอน] (ส�ำ) น�้ำกลิ้งบนใบบัว, กลอกกลิ้ง, ไว้ใจไม่ได้, ไม่น่า เชื่อถือ. น�้ำขุ่นอยู่ในน�้ำใสอยู่นอก [น่าม-ขุ่นอยู ่ - ไน-น่ า ม-ไส-อยู ่ - นอก] (ส�ำ) เก็บความรู้สึกเอาไว้อย่า ให้ใครรู้เห็น แม้จะไม่พอใจก็ยัง แสดงสีหน้าปกติ; ท�ำนองหน้า ชื่นอกตรม. น�้ำคราญ [น่าม-คาน] ว. ร�ำคราญ. น�้ำคันกินตีน [น่าม-คัน-กิน-ตีน] น. น�้ำคันหรือน�้ำสกปรกกัดเท้า. น�้ำจิกินอย่าเอาตีนลงคน [น่าม-จิกิ น -อย่ า -เอา-ตี น -ลง-คน] (ส�ำ) อย่าท�ำลายสิ่งก�ำลังจะใช้ ประโยชน์. น�้ำตับ [น่าม-ตั๊บ] น. อาหารชนิดหนึ่ง ใช้ ตั บ และเครื่ อ งในวั ว หรื อ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ควายสับให้ละเอียด คลุกข้าว สุ ก เกลื อ และเครื่ อ งปรุ ง ยัดไส้อย่างไส้กรอก, ถิ่นอีสาน เรียก หม�่ำ. น�ำ้ ตาคลอหน่วย [น่าม-ตา-คอ-หฺนว่ ย] ว. น�้ ำ ตาคลอ, น�้ ำ ตาคลอ เบ้ า ตา. น�ำ้ ตาลปึก [น่าม-ตาน-ปึก๊ ] น. น�ำ้ ตาล งบ, น�ำ้ ตาลหรือน�ำ้ อ้อยทีเ่ คีย่ ว ท�ำเป็นแผ่นกลม ๆ หรือเป็นปึก. น�ำ้ ตาโหลงเหลง [น่าม-ตา-โหฺลง-เหฺลง] ว. น�ำ้ ตาคลอ, น�ำ้ ตาเอ่อเบ้า. น�้ำแตก [น่าม-แตก] ก. โดยปริยาย หมายถึงน�้ำกามหลั่ง. น�้ำนมหลงรู [น่าม-นม-หฺลง-ลู] น. น�้ำนมไหลไม่สะดวก. น�้ำนอง [น่าม-นอง] ดู เกี่ยวคอไก่. น�้ำน้อยปลามาก พญานาคลงกวน สาวน้อยหน้านวล นั่งกวนอยู่ ปากถ�้ำ [น่าม-น่อย-ปา-มากพะ-ยา-นาก-ลง-กวน-สาวน่ อ ย-หน่ า -นวน-นั่ ง -กวนอยู่-ปาก-ถ�่ำ] (ปริศ) น. ข้าว ก�ำลังหุง, ทัพพี, ผู้หญิงหุงข้าว, เตาไฟ. น�ำ้ ปลาปากไห [น่าม-ปา-ปาก-ไห] น. น�ำ้ ปลาทีห่ มักไว้ลน้ ออกมาค้างที่ ปากไห, (ดู ไหปลาร่า ประกอบ). น�้ำพริกขี้กา [น่าม-พิ่ก-ขี่-กา] น. น�้ำ

พริกที่ปรุงด้วยพริกสดเผา หัว หอมแดงเผา น�้ำปลา โดยไม่ใส่ น�้ ำ ละลายให้ เ หลวเหมื อ นน�้ ำ พริกทั่วไป อาจปรุงแต่งด้วย อย่ า งอื่ น ตามแต่ ช อบ เช่ น มะนาว เป็นต้น. น�้ำพริกน�้ำพาย [น่าม-พิก่ -น่าม-พาย] น. น�้ำพริก. น�้ำภูเขาท่วมเหย้าท่วมเรือน [น่ามพู-เขา-ถ่วม-เหฺยา้ -ถ่วม-เลือน] (ส�ำ ) ล่มจมหมดเนื้อหมดตัว เพราะน�้ำท่วม. น�้ำมะเน็ด [น่าม-มะ-เน่ด] น. เครื่อง ดื่มรสมะนาว (อ.Lemonade : เลมอนเนด). น�้ำลายแตกข้าง [น่าม-ลาย-แตกข่าง] ก. พูดมาก, พูดไม่หยุด จนน�้ำลายแตกเป็นฟองริมข้าง ปากทั้งสอง. น�้ำหยั่น [น่าม-หฺยั่น] น. น�้ำหวานบน ดอกไม้. น�้ำห่าว [น่าม-ห่าว] น. น�้ำกาม, น�้ำที่ เกิดจากความก�ำหนัด. น�้ำหูน�้ำตาไหล [น่าม-หู- น่าม-ตาไหฺล] ว. น�้ำตาเล็ด. น�้ำโห่ง [น่าม-โห่ง] น. น�้ำฝนที่ขังนอง เป็นแอ่ง. น�้ำอ้อย [น่าม-อ้อย] น. น�้ำอ้อยที่ เคี่ยวจนสีแดงท�ำเป็นปึก. 165

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


น�้ำแอ่งน้อยท่วมไร่ท่วมนา - โนง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

น�้ำแอ่งน้อยท่วมไร่ท่วมนา [น่ามแอ่ง-น่อย-ถ่วม-ไล่-ถ่วม-นา] (ส�ำ) สิ้นเนื้อประดาตัวเพราะ ติดเหล้าเมาสุรา. นิก น. กระดึงขนาดเล็ก เสียงจะดังนิก ๆ, (ดู น่ก ประกอบ).

นิก

นิตรา น. นิทรา, การหลับ เช่น ทั้ง ไพร่นายท่านพระยาพระนิตรา ไป (นิ.พระปาจิต). นิทงนิทาน น. นิทาน; การพูดหยอก ล้อเด็ก ๆ ที่อยากฟังนิทาน ผู้ เล่ า ก็ จ ะโกหกด้ ว ยการพู ด ว่ า “นิทาน ๆ กะโปกยาน ๆ นิทาน จ๊บจ้อย”. นิยงนิยาย น. นิยมนิยาย, สาระหรือ แก่นสาร, เป็นงานเป็นการ, เป็นเรื่องเป็นราว, มักใช้ใน ความปฏิเสธ เช่น ไปเอานิยง นิยายอะไรได้ (ไปเอาแก่นสาร 166

หรือไปเอาความแน่นอนจริงจัง อะไรไม่ได้). นิว้ โป้ [นิว่ -โป้] น. นิว้ โป้ง, นิว้ หัวแม่มอื . นิว้ โป้ตนี [นิว่ -โป้-ตีน] น. นิว้ หัวแม่เท้า. นิแหน่ น. น้อยหน่า, หน่วยแหน่ ก็ว่า. นิโหน่ง น. น้อยโหน่ง, หน่วยโหน่ง ก็วา่ . นิอ่อง น. กล้วยน�้ำว้า, (ดู มะลิอ่อง ประกอบ). นี ว. หรือ, เหรอ; ค�ำประกอบกับ ประโยคค�ำถาม เช่น ไม่กินนี (ไม่กินเหรอ). นึก คะนอง [นึ่ก-คะ-นอง] ก. คิด ล�ำพองใจจนเกินพอดี, คึกจน เกินพอดี. นึบใน ว. ท่าทางเฉย ๆ ไม่ช่างพูด มัก จะมีความคิดลึกซึ้งหรือท่าทาง เฉย ๆ แต่เป็นคนเจ้าชู้; ตรง กับส�ำนวน น�้ำนิ่งไหลลึก. นุ่งจีบห่มจีบ ก. นุ่งเจียมห่มเจียม, แต่งตัวพอสมกับฐานะ เช่น หนุ ่ ม สาวนุ ่ ง จี บ ห่ ม จี บ มองดู เย็นตา (ท้าว ฯ). เน็ง ก. เล็ง, จ้องไปยังที่หมาย. เนน น. ขนุ น ไม้ ยื น ต้ น ชนิ ด Artocarpus hetero phyllus Lam. จัดอยู่ในวงศ์ Mora ceae ดอกออกเป็นช่อที่ปลาย กิ่งหรือง่ามใบ เปลือกผลมี หนามทู่ ถ้ากรีดจะมียางเหนียว


พจนานุกรม ภาษาโคราช แน่นตึบ [แหฺนน่ -ตึบ๊ ] ว. แน่นหนา, แน่น สนิท, แน่นแฟ้น, แน่นเอีย้ ด. แน่นแอ้ด [แหฺนน่ -แอ่ด] ว. แน่นเอีย้ ด, แน่นขนัด, แน่นจนแออัด. แน่บ ว. โดยเร็ว, แจ้น, เร็ว เช่น เปิด แน่บ (วิ่งแจ้น), โกยแน่บ ก็ว่า. แนม ว. สอดแนม, สืบ, สืบความลับ, แอบดู, แอบฟัง เช่น พอพี่ออก ไปจากเมือง ก็มีเรื่องตามไป แนม (นิ.เพลงปาจิต ฯ) . แนว ๑. น. พันธุ์ , เทือกเถา, เหล่ากอ, พวกพ้อง, วงศ์วาน, ตระกูล, หน่อแนว ก็ว่า. ๒. สัน. เพราะ, ด้วย, แนวทางที่ วางไว้, ก็เช่น แนวคนแต่กอ่ น (ก็คนแต่ก่อน, เพราะคนแต่ ก่อน). ๓. น. สิ่ง, สิ่งของ, ประเภท, ชนิด, พวก, กลุ่ม, พรรค์ เช่น คนละแนว (คนละพวก), แนวนัน่ (ชนิดนั้น, พรรค์นั้น), แนวไหน (อย่างไหน, ชนิดไหน, ประเภทไหน). แนวว่า สัน. เพราะว่า. โนง ๑. ว. เหน่ง, ใสเกลี้ยง, เลื่อมเป็น มัน เช่น ไอ้หัวล้านลงไปอยู่ นอนอู้คู้หัวใสโนง (นิ.รูปทอง). ๒. ว. โด่ง เรียกจมูกที่เป็นสัน สูงขึ้นมา เช่น บ้างหูยานฟัน

ภายในผลของขนุนจะมีซังขนุน หุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ดจะอยู่ ในยวง ชาวบนในแถบโคราช เรียก “ขนุน” ว่า “เนน”. เน่า ก. ยิงสะบ้าไปถูกสะบ้าคนอื่นซึ่ง ไม่ใช่สะบ้าที่เป็นคู่ของตนถือว่า เน่า จะต้องให้คนหนึ่งในฝ่าย ตนไถ่ ถ้าไถ่ไม่ได้ต้องเปลี่ยนไป ให้ฝ่ายตรงขึ้นหรือเล่น, (ดู ไถ่, สีบ้าสีรอย ประกอบ). เนียน ว. หมดเกลี้ยง, ไม่เหลือ เช่น ฉั น เล่ า หมดเนี ย นแหละวั น นี้ วั น หลั ง อย่ า มาถามกั น น่ า (เพลงโคราช), เตียน ก็ว่า. เนื้อต่อนหนา ปลาต่อนใหญ่ [เนือ่ ต่อน-หฺนา-ปา-ต่อน-ไหย่] (ส�ำ) ความอุดมสมบูรณ์ ; ท�ำนอง ในน�้ำมีปลาในนามีข้าว. เนื้อถี่ [เนื่อ-ถี่] น. นางอันเป็นที่รัก เช่น จึงบอกนางเนื้อถี่ สรงวารี ให้ส�ำราญ (นิ.รูปทอง), เนื้อ หอม, เนื้อเหลือง ก็ว่า เช่น อยู่ดีดีก็คิดถึงเนื้อหอม, แสน ล�ำบากนี่กระไรเจ้าเนื้อเหลือง (นิ.พระปาจิต). เนื้อหอม [เนื่อ-หอม] ดู เนื้อถี่. เนื้อเหลือง [เนื่อ-เหฺลือง] ดู เนื้อถี่. แน ก. คาดว่า, คาดคะเน เช่น ฉันแน ว่าลุงเกลี้ยงจะมาบ้าน. 167

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


โนน - บ่อนนูนให้ถาง บ่อนล่างให้ถม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ยาวตะหมูกโนง บางคนโด่งต�่ำ เตี้ยเสียราศี (นิ.พระปาจิต). โนน น. ที่สูง, เนิน. โนนแดง น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา เป็นท้องที่ที่เป็น เนินมีไม้แดงมาก. โนนไทย น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา เดิมมีบา้ นสันเทียะ ตัง้ อยูใ่ นต�ำบลโนนลาว เมือ่ ยก ฐานะเป็นอ�ำเภอใช้ชื่อว่าอ�ำเภอ โนนลาว ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น อ�ำเภอสันเทียะตามชื่อหมู่บ้าน สันเทียะเป็นภาษาเขมร แปลว่า เกลือสินเธาว์ ครัง้ หลังสุดเปลีย่ น ชือ่ อ�ำเภอเป็นโนนไทย. โนนสูง น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด

168

นครราชสีมา เดิมชื่ออ�ำเภอ กลาง เพราะ ตั้งอยู่ตรงกลาง ระหว่างอ�ำเภอเมือง (อ�ำเภอ ใน) กับอ�ำเภอบัวใหญ่ (อ�ำเภอ นอก) ต่อมาได้พิจารณาเห็นว่า ที่ว่าการอ�ำเภอตั้งอยู่ในที่ของ วัดร้าง ควรตั้งชื่ออ�ำ เภอให้ เหมาะสมกับสภาพที่ตั้ง จึง เปลี่ ย นชื่ อ เป็ น อ� ำ เภอโนนวั ด เมื่ อ กระทรวงมหาดไทยมี ประกาศให้ปรับปรุงเขตอ�ำเภอ ได้มีการยุบรวมพื้นที่หลายแห่ง จึงเปลี่ยนชื่อจากอ�ำเภอโนนวัด มาเป็ น อ� ำ เภอโนนสู ง ตาม สภาพท้องที่ซึ่งเป็นที่ราบสูง. ในเรือน ดู เรือนนอน.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

บก [บ๊ก] ว. แห้ง, ยุบ, ลดลง. บงอับบงรา [บง-อั๊บ-บง-ลา] ๑. ว. ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน, ทุกข์ ยากล�ำบากด้วยกัน. ๒. ว. ไร้สาระ, ไม่เป็นแก่นสาร. บ่นอืด ก. บ่นออด, บ่นซ�้ำ ๆ ซาก ๆ, บ่นไม่หยุด, บ่นอยู่ร�่ำไป. บ่แพ่ ว. มาก, มากมาย, หลาย, ถมเถ, ถมไป เช่น บอกสอนมันบ่แพ่ แต่มันไม่เอา, บ่แพะ, บ่แพ่ บ่พัด ก็ว่า, (ถิ่นอ�ำเภอคง). บ่แพ่บ่พัด [บ่อ-แพ่-บ่อ-พัด่ ] ดู บ่แพ่. บ่แพะ [บ่อ-แพะ] ดู บ่แพ่. บ่มหนอง ก. กลัดหนอง. บวบลม น. จุกโรหินี [จุก-กะ-โล-หิ-นี], พุงปลา, พุงปลาช่อน ; ชื่อไม้ อิงอาศัยชนิด Dischidia major (Vahl) Merr. ในวงศ์ Asclepia daceae เกาะเลื้อยบนต้นไม้ น�ำ้ ยางสีขาว ใบเป็นรูปถุงกลวงใน ออกเป็นกระจุก รากใช้ท�ำยา แก้ท้องร่วง อาเจียน แก้ไอ. บอกเบอร์ ก. ใบ้หวย. บอกหญ้าม้าให้นาย [บอก-หย่า-ม่าไห่-นาย] (ส�ำ) ก. ชี้ช่องทางให้ ผู้อื่นรู้ แต่ตนเองต้องรับภาระ.

บอง ก. ท่าคุกเข่ายิงสะบ้า, (ดู สีบ้า สีรอย ประกอบ). บ่อง ก. เจาะ, เจาะเป็นรูหรือโพรง เช่ น กระรอกบ่ อ งมะพร่ า ว (กระรอกเจาะมะพร้าว). บอดถั่ว น. ตาถั่ว; ตาที่มีจุดขาวมัวอยู่ กลางตาด�ำ ท�ำให้มองเห็นไม่ ชัด เช่น หูหนักตาบอดถั่ว ไม่มี ผัวก็อย่าเอา (นิ.รูปทอง). บอน ก. ย้ายไม้ยืนต้นไปปลูกที่ใหม่ ด้วยการขุดบริเวณรอบโคนต้น ให้ดินหุ้มรากเป็นตุ้ม. บ่อน น. ที่, สถานที่ เช่น บ่อนไหน (ที่ไหน), บ่อนนอน (ที่นอน). บ้อน ๑. น. หนอนบ่อน. ๒. ก. เสือก, ท�ำให้เคลื่อนไป บนพื้นโดยแรง, บื้น ก็ว่า. บ่อนต�่ำให้พูน บ่อนนูนให้ถาง [บ่อนต�ำ่ -ไห่-พูน-บ่อน-นูน-ไห่-ถาง] (ส�ำ) ให้ตอ่ สูฟ้ นั ฝ่าอุปสรรคทีข่ ดั ขวางอย่าท้อถอย, ถิน่ อีสานใช้วา่ บ่อนต�ำ่ ให้คนู บ่อนนูนให้ถาก. บ่อนนูนให้ถาง บ่อนล่างให้ถม [บ่อนนูน-ไห่-ถาง-บ่อน-ล่ า ง-ไห่ ถม] (ส� ำ ) ให้ ต ่ อ สู ้ ฟ ั น ฝ่ า อุ ป ส ร ร ค ที่ ขั ด ข ว า ง อ ย ่ า 169

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


บ่อนอยู่บ่อนกิน - บ้านเหลืองเมืองร้อน

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ท้อถอย. บ่อนอยู่บ่อนกิน น. บ้าน, ที่อยู่อาศัย. บ่อหลา น. บ่อที่มีความกว้างและยาว ด้านละประมาณ ๑ หลาหรือ ประมาณ ๑ เมตร ลึกประมาณ ๑ คืบ. บะโต๊ะ ก. รวมกัน, มาชุมนุมสังสรรค์. บะสัง ดู สัง. บะหรั่น น. เหล้า, มะหรั่น ก็เรียก. บัก [บั๊ก] น. อวัยวะเพศผู้. บักโกรกบักอาน [บัก๊ -โกก-บัก๊ -อาน] ว. โทรม, อ่อนเปลีย้ , สะบักสะบอม. บักอาโหลว [บัก๊ -อา-โหลฺว] น. โทรโข่ง, ทรโข่ง, อาโหลว ก็ว่า. บั้ง น. บ้อง เช่น บั้งกัญชา (บ้อง กัญชา). บั้งโพละ ดู ตุ้มบก. บังหักบังโคน [บัง-ฮัก-บัง-โคน] ก. บังคับ, ใช้อ�ำนาจให้ท�ำ เช่น เจ็บไปทุกตัวคน แข่งไม่ทน บัง หักบังโคนวุ่นวาย (นิ.รูปทอง). บัง้ หู น. บ้องหู, บริเวณใบหูและโดยรอบ. บัญจางคประดิษฐ์ น. เบญจางคประดิษฐ์, กราบโดยให้อวัยวะ ทั้ง ๕ คือ เข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้ า ผากจดกับพื้น เช่น เป็นบัญจางคประดิษฐ์จิตสมา (นิ.พระปาจิต). บัณระสะ [บัน-นะ-ละ-ซะ] น. บัณรสี, 170

วัน ๑๕ ค�่ำ. บัด [บั๊ด] ว. ครั้น, พอ, เมื่อ เช่น บั๊ด เราคุยด้วยท�ำเฉย (พอเราคุย ด้วยท�ำเฉย), บัดว่า ก็ว่า. บัดได [บั๊ด-ได๋] ว. ที่ไหนได้ ; ค�ำพูด แสดงความประหลาดใจว่าไม่ เป็นไปอย่างที่คิดว่าจะพึงเป็น เช่น เห็นแต่หางคิ่ดว่าเป็นงูบั๊ด ได๋เป็นจิ้งเหลน. บัดแต่ [บั๊ด-แต่] บ. ตั้งแต่ เช่น เป็น ปมเป็นเปาเอาแท่ ๆ บั๊ดแต่ เง่าะคลานออกมาแต่ท่องแม่ (กล่อมเด็ก), ปั๊ดแต่ ก็ว่า. บัดว่า [บั๊ด-ว่า] ดู บัด. บัวก็สดปลาก็ได้น�้ำก็ใสไม่ขุ่น [บัวก้อ-ซด-ปา-ก้อ-ได้-น่าม-ก้อไส-ไม่-ขุน่ ] (ส�ำ) ถนอมน�ำ้ ใจ ไม่ให้ขุ่นเคืองกัน มิให้กระทบ กระเทือนใจกัน ; เปรียบกับ ส�ำนวนบัวไม่ช�้ำน�้ำไม่ขุ่น เช่น บัวก็สดปลาก็ได้นำ�้ ใสก็ไม่ขนุ่ มัว รั ก ษาตั ว ไว้ อ ย่ า งทางโบราณ (นิ.พระปาจิต). บัวขี้แพะ [บัว-ขี-่ แพ่ะ] น. จงกลนี, บัว ดอกคล้ายบัวขม ดอกสีชมพู และขาว. บัวบังสะไบ [บัว-บัง-ซะ-ไบ] น. นม เช่น บัวบังสะไบของทองเหลือ แม่ยังงามหนักขึ้นไปอีก ฐาน


พจนานุกรม ภาษาโคราช นั้นกลมนวลขาวผ่อง (ท้าว ฯ). บัวลาย น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสี ม าตั้ ง อยู ่ ที่ บ ้ า น หนองบั ว ลาย ซึ่ง มีหนองน�้ำ ที่ มี บั ว มากมาย ค� ำ ว่ า “บั ว มากมาย” คนท้องถิ่นจะพูดว่า “บัวหลาย” ต่อมากลายเสียง เป็น “บัวลาย” เมือ่ ตัง้ เป็นต�ำบล ได้ตดั ค�ำว่า “หนอง” ออกเหลือ เพียง “บัวลาย”. บัวใหญ่ น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา เดิมชื่ออ�ำเภอ ด่านนอก ซึ่งยกฐานะจากด่าน ขึ้นเป็นอ�ำเภอ ต่อมาย้ายที่ ว่ า การอ� ำ เภอมาอยู ่ ที่ บ ้ า น บัวใหญ่ ซึ่งมีสระบัวขนาดใหญ่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น บัวใหญ่. บางหรึม ว. บางมาก. บ้าชัก [บ้า-ชั่ก] ว. บ้า, บ้า ๆ บอ ๆ; น. ไอ้บ้า, บ้าหมู (ค�ำด่า), บ้า ใหญ่ ก็ว่า. บาดหูบาดตา ก. แสลงใจเมื่อได้ยิน และเห็น. บาทย่อม น. ไม่ถึงบาท, ไม่เต็มบาท. บ้านเก่า ก. ตาย, กลับบ้านเก่า, ไป บ้านเก่า ก็ว่า. บานจวัก [บาน-จะ-วัก] ก. แผ่แม่เบี้ย (ใช้แก่งู). บานดึก [บาน-ดึ๊ก] น. ชื่อไม้ล้มลุก

ชนิด Ipomoeaalba Linn. ใน วงศ์ Convolvulaceae. บ้านแตกสีแหรกขาด (ส�ำ) น. สภาพ ทีต่ อ้ งกระจัดกระจายพลัดพราก จากกันเพราะเหตุการณ์ที่ร้าย แรงขึ้ น ในครอบครั ว หรื อ ใน บ้านเมือง. บ้านพร้อมไฟ [บ้าน-พ่อม-ไฟ] ดู บ้าน มีไฟ. บ้านมีไฟ น. ทีพ่ กั ส�ำหรับคนเดินทาง ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ภายในมีไฟติดไว้ให้รวู้ า่ เป็นทีพ่ กั หลุยส์ ฟีโนต์ (Louis Finot) นัก โบราณคดี ช าวฝรั่ ง เศสเรี ย ก บ้านลักษณะนีว้ า่ Dharmasala (ธรรมศาลา), บ้านพร้อมไฟ ก็ว่า. บ้ า นเล็ ก ตรอกน้ อ ย [บ้ า น-เล่ ก ตอก-น่ อ ย] น. บ้ า นเรื อ นที่ อยู่ในชุมชน เช่น ข่าวท่าน ปลั ด เมื อ งนครราชสี ม ากลั บ มาคืน กระจายไปทั่วทุกบ้าน เล็กตรอกน้อย (ท้าว ฯ). บ้านเล็กบ้านน้อย [บ้าน-เล่ก-บ้านน่อย] น. เมียน้อย, เมียลับ. บ้านเหลืองเมืองร้อน [บ้าน-เหฺลืองเมือง-ล่อน] (ส�ำ) บ้านเมือง อยู่ในสภาวะเดือดร้อนเสมือน บ้านเมืองลุกเป็นไฟ. 171

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


บ้านเหลื่อม - บูชาเตาไฟ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

บ้านเหลือ่ ม น. ชือ่ อ�ำเภอหนึง่ ในจังหวัด นครราชสีมา เดิมชือ่ บ้าน มะเหลื่อม เพราะมีต้นมะเหลื่อม อายุกว่า ๑๐๐ ปี ปัจจุบนั ตาย แล้ว ต่อมาค�ำว่า “มะ” หายไป เหลือเพียงบ้านเหลือ่ ม เมือ่ ยก ฐานะเป็นกิ่งอ�ำเภอและอ�ำเภอ จึ ง ใช้ ชื่ อ บ้ า นเหลื่ อ มตามชื่ อ หมูบ่ า้ น, (ดู มะเหลือ่ ม ประกอบ). บ้านเอง น. บ้านเรา, บ้านเอ๋ง ก็ว่า. บ้านเอ๋ง ดู บ้านเอง. บ้านแอบยุ้ง [บ้าน-แอบ-ยุง่ ] น. เรือน ชั่วคราวต่อเป็นเพิงกับยุ้ง, (ดู เรือนชั่วคราว ประกอบ). บ้าไม่แจกใคร (ส�ำ) ว. บ้าอยู่คนเดียว, บ้าที่ไม่มีใครเหมือน. บาย ก. จับ, ลูบคล�ำ เช่น แออัดยัด กั น ไป หญิ ง ชายบายนมกั น (นิ. รูปทอง). บ่าววิง่ หาพระยาวิง่ รับ [บ่าว-วิง่ -หาพะ-ยา-วิง่ -ลับ่ ] (ส�ำ) เป็นเจ้า คนนายคน, มียศฐาบรรดาศักดิ.์ บ้าหมู น. คนทีท่ ำ� อะไรแผลง ๆ แตกต่าง ไปจากปรกติ, คนไม่เต็มบาท. บ้าใหญ่ ว. บ้ามาก ๆ. บ�ำหยัด [บ�ำ-ยัด] น. บัญญัติ เช่น ต้องอาบัติพระบ�ำหยัดว่าสังฆา (นิ.พระปาจิต). บิ้ง น. ลักษณะนามของนา เช่น นา ๒ 172

บิ้ง (นา ๒ แปลง). บิ้ ง นา น. นา, แปลงนาที่ มี คั น นา ล้อมรอบ.

บิ้งนา

บินแถก ก. บินโฉบ. บินมายิบ ๆ นกกระจิบก็ไม่ใช่ [บินมา-ยิ บ -ยิ บ -น่ ก -กะ-จิ๊ บ -ก็ ไม่-ไช่] (ปริศ) น. แดด. บึ้งกือ น. กิ้งกือ. บึ๋น ว. ดันทุรัง, ดึงดัน, บืน ก็ว่า เช่น ฤาว่าลางแกล้งจะบืนมาบอกกู (นิ.พระปาจิต). บึ้ม ก. ไฟไหม้โพลงขึ้น, เสียงของ ระเบิด, บุ้ม ก็ว่า. บืน ดู บึ๋น. บื้น ก. เสือก, ท�ำให้เคลื่อนไปบนพื้น โดยแรง, บ้อน ก็ว่า, ถิ่นอีสาน ใช้ว่า บืน. บุ [บุ๊] ๑ ก. กรุ, ปิดกันช่องโหว่หรือที่ ว่างรองไว้ข้างล่าง.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

๒ น. ป่าละเมาะ เช่น ปล่อยเสือ เข่าบุ๊ (ปล่อยเสือเข้าป่าละเมาะ). บุกอีรอก [บุก๊ -อี-ลอก] น. ชือ่ ไม้ลม้ ลุก ชนิ ด Pseudodacontium siamense Gagnep ในวงศ์ Araceae ในฤดูฝนจะออกดอก เมื่อดอกโรยจะมีใบงอกออกมา หน้าแล้งต้นตายหัวอยูใ่ ต้ดนิ หัว กินได้. บุ่ง น. บึง, แหล่งน�้ำขนาดใหญ่ เช่น บุ่งตาหลัว ในค่ายสุรนารี. บุญกึ่งถึงกัน ดู บุญถึงกึ่งกัน. บุญถึงกึง่ กัน (ส�ำ) มีบญ ุ วาสนาเท่าเทียม กัน, เนือ้ คูก่ นั เช่น ว่าบุญไม่ถงึ กึง่ นางกัลยา (นิ.พระปาจิต), บุญกึง่ ถึงกัน ก็วา่ . บุญน�ำกรรมแต่ง (ส�ำ) บุญท�ำกรรม แต่ง, ชีวิตคนเราเป็นไปตาม บุญหรือกรรมที่ได้กระท�ำไว้. บุ ญ หนั ก [บุ ญ -นั ก ] ว. มี ย ศถา บรรดาศักดิ์ เช่น เดชะผลแห่ง กุ ศ ลกรรมอันนี้ เห็นว่าชาติ หน้าจะได้บุญหนักอยู่ (ท้าว ฯ). บุญหลายสายยาว (ส�ำ) มีบุญวาสนา ดีมีอายุยืนยาว. บุนนาค น. มังตาน, ไม้ยืนต้นชนิด Schima wallichii (DC.) Korth ในวงศ์ Theaceae เ ป ลื อ ก น อ ก สี น�้ ำ ต า ล ด� ำ

เปลื อ กในสี ช มพู แ กมแดง ระคายผิวเป็นผื่นคัน ใบเดี่ยว รูปหอก ดอกสีขาวเป็นกลุ่มที่ ปลายกิ่ง ผลค่อนข้างกลม ใช้ เบื่อปลา.

บุนนาค

บุบบู้บี้ [บุ๊บ-บู้-บี้] ก. บุบหรือบุ๋มลง จนผิดรูปอย่างยับเยิน. บุ้ม ๑ ว. บุบ, บุ๋มลง. ๒ ดู บึ้ม.

บุ้ม

บูชาเตาไฟ น. พิธีการออกจากการ อยู่ไฟ โดยบูชาด้วยดอกไม้ ธูป เทียนแล้วดับไฟ จากนั้นอาบ น�้ ำ มนต์ เ พื่ อ ดั บ พิ ษ ไฟและ ป้องกันเสนียดจัญไร. 173

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


บูชายัญ - โบสถ์โล่ง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

บูชายัญ น. การเล่นอย่างหนึ่งในหมู่ เด็กชาย โดยขุดหลุมให้โตพอที่ ลูกบอลเล็ก ๆ จะลงหลุมได้ให้ เท่ากับจ�ำนวนผู้เล่น และทุกคน จะต้องจ�ำหลุมของตัวเอง ให้มี คนหนึ่งเริ่มต้นเล่น โดยโยน หรือทอยลูกบอล (ลูกเดียว) ให้ ล งหลุ ม ถ้ า ลงหลุ ม ใคร เจ้ า ของหลุ ม ต้ อ งรี บ ไปเอา ลูกบอลปาให้ถูกคนอื่น ๆ ซึ่ง คนอื่น ๆ พอรู้ว่าลูกบอลไม่ได้ ลงหลุมตัวเองก็จะวิ่งหนี ถ้าปา ไม่ถูกใครเลย คน ๆ นั้นก็จะ เป็ น ผู ้ ถู ก บู ช ายั ญ เสี ย เองแต่ ถ้ า ปาถู ก ใครคนนั้ น ก็ จ ะถู ก บูชายัญ โดยการไปยืนหันหลัง ให้คนอื่น ๆ ปาลูกบอลใส่จน ครบทุกคน แล้วเริ่มต้นเล่น ใหม่ การเล่นอาจเล่นแตกต่าง ไปจากนี้ ตามแต่ละท้องถิ่นจะ คิดวิธีการเล่น. บูดรา ว. เสียจนราขึ้น (ใช้แก่อาหาร) เช่น เขาไม่อยากซื้อหา ของ บูดราเขาเดินเลย (นิ.รูปทอง). บู๋น น. การท�ำนายผูเ้ จ็บป่วย โดยใช้ ด้ายผูกฝาเต้าปูนหมุนเหนือขัน ที่ ใ ส่ ข ้ า วสารพร้ อ มกั บ พู ด ท�ำนาย เมื่อเต้าปูนหยุดหมุน ตรงกับค�ำทีท่ ำ� นาย ก็จะรูว้ า่ การ 174

เจ็บป่วยเกิดจากอะไร เช่น เกิด จากผีบ้านผีเรือน ผีตายโหง เป็นต้น ก็จะท�ำ การสะเดาะ เคราะห์ต่อไป. บูนดู น. การท�ำนายโชคชะตา โดยใช้ ด้ายผูกกับฝาเต้าปูน ถ้าฝาเต้า ปูนนิ่งแสดงว่าไม่มีเคราะห์ร้าย ถ้าดวงชะตาไม่ดีฝาเต้าปูนจะ หมุน. เบ่งกินฟรี (ปาก) ก. อวดเป็นนักเลง กินอาหารแล้วไม่จ่ายเงิน. เบ็ดฟาด [เบ๊ด-ฟาด] น. เบ็ดเดี่ยว. เบ้บปาก ก. เบะ, ท�ำปากเบ้, เบ้ปากจะ ร้องไห้, เบ้ปากแสดงอาการ ดูแคลน. เบอร์ น. หวยใต้ดิน, หวยเถื่อน, สลากกินรวบ. เบารถ [เบา-ล่ด] ก. โบกรถ, แกว่ง มือท�ำสัญญาณให้รถหยุดหรือ ชะลอความเร็วลง. เบาหว๋อง ว. เบาเหวง, เบาโหวง, เบาจนแทบไร้น�้ำหนัก, เบาหวิว ก็ว่า, ถิ่นอีสานใช้ว่า โหว่ง หมายถึง หวิว. เบาหวิว ดู เบาหว๋อง. เบิ้ง ว. ด้วย, บ้าง, (ดู ดา ประกอบ). เบิด ก. เชิดหน้า. เบิ้ด ว. หมด, เมิ้ด ก็ว่า. เบี้ย น. ต้นกล้าผัก, เบี้ยผัก ก็ว่า.


พจนานุกรม ภาษาโคราช เบี้ยผัก [เบี้ย-พัก] ดู เบี้ย. เบี้ยริบ [เบี้ย-ริ่บ] น. การเล่นอย่าง หนึ่ ง ในช่ ว งเทศกาลตรุ ษ สงกรานต์ เหมือนกับการเล่น ปั ่ น แปะ แต่ ใ ช้ ส ตางค์ แ ดง (เป็ น สตางค์ ที่ มี รู ต รงกลาง เหรียญ) ปั่นในขณะที่เหรียญ ก�ำลังหมุนใช้มือตะปบปิดแล้ว ให้ทายว่าจะออกหัวหรือก้อย ผู้เล่นจะไม่ใช้เงินแทง แต่จะใช้ ทรัพย์อย่างอื่น เช่น เสื้อผ้า เข็ ม ขั ด นาก สร้ อ ย แหวน ก�ำไล ฯลฯ ทรัพย์สินที่เสียแก่ เจ้ามือ เจ้ามือจะริบไว้และมา ไถ่หลังเทศกาลสงกรานต์หรือ ตามแต่จะตกลงกัน, เบี้ยแหวน ก็ว่า, (ดู โป้ก้อย ประกอบ). เบี้ยแหวน ดู เบี้ยริบ. เบือ ก. เบื่อ, วางยาพิษ เป็นต้น ให้เมาหรือให้ตาย. เบื้อย ก. เฉี่อย, ช้า, เฉื่อยชา, ชักช้า, เนิบ ๆ, ไม่รีบร้อน เช่น พอเรา พูดด้วยมันท�ำเป็นเบื้อย, เวลา ท�ำอะไรก็ท�ำเป็นเบื้อย. แบ่งรับแบ่งเลี่ยง [แบ่ง-ลั่บ-แบ่งเลี่ ย ง] ก. แบ่ง รับแบ่ง สู้, รับบ้างปฏิเสธบ้าง, อิดเอื้อน โดยไม่ตกลงในทันที เช่น แม่ ทองเหลือจึ่งเพทุบาย เป็นเชิง

แบ่งรับแบ่งเลี่ยง (ท้าว ฯ). แบงอร น. บังอร, ผู้หญิง. แบ่น ก. แอ่น เช่น ยืนแบ่น. แบะ [แบ๊ะ] ก. แบ, แผ่, คลี่ออก, ถ่างออก. แบะท่า [แบ๊ะ-ท่า] ว. เปิดเผยความ ในออกมา. โบก ๑. น. แก้ว, จอก (ใช้แก่เหล้า) เช่น ขอเหล่าซักโบก (ขอเหล้า สักแก้ว). ๒. น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้กระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กระบอก โบกครอบเบีย้ โดยมากใช้เบีย้ เม็ด มะขามผ่าซีก จ�ำนวน ๒ เม็ด เป็น ๔ ซีก (กะปิ)๊ ถ้าคว�ำ่ แต่ละซีกจะ เห็นผิวเม็ดสีดำ� ถ้าหงายจะเห็น เนือ้ ในสีขาวของเม็ดมะขาม วิธี แทงให้แทงว่าจะออกคูห่ รือคี่ แล้ว แจงผลทีอ่ อกดังนี้ คี่ คือหงาย (ขาว) ๑ ซีก คว�่ำ (ด�ำ) ๓ ซีก หรือ หงาย (ขาว) ๓ ซีก คว�่ำ (ด�ำ) ๑ ซีก คู่ คือหงาย (ขาว) ๒ ซีก คว�่ำ (ด�ำ) ๒ ซีก หรือ หงาย (ขาว) ๔ ซีก เรียกว่า ขาวล้วน หรือ คว�่ำ (ด�ำ) ๔ ซีก เรียกว่า ด�ำล้วน โบสถ์โถง ดู โบสถ์โล่ง. โบสถ์โล่ง น. โบสถ์ที่ไม่มีฝาโดยปล่อย 175

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ใบท้องแดง - ประตูไชยณรงค์

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ให้โล่ง, โบสถ์โถง ก็ว่า. ใบท้องแดง [ไบ-ท่อง-แดง] ดู กระเบือ. ใบมน ๆ แหย่หีคน ทั่วบ้านทั่วเมือง [ไบ-มน-มน-แหฺย่-หี-คน-ทั่วบ้าน-ทั่ว-เมือง] (ปริศ) กระด้ง (ผู้หญิงมักจะใช้กระด้งแนบที่ เอวตรงกับอวัยวะเพศฝัดข้าว)

176

เช่น เวลาฝัดข้า วมันกัดเอา แต่โมมเมีย ฉันเลยไม่ท�ำมัน (เพลงโคราช). ใบหยัก ๆ ลูกรักเต็มคอ [ไบ-ยัก-ยักลูก-ลัก่ -เต็ม-คอ] (ปริศ) น. ต้นมะละกอ.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ปงก [ปะ-งก] ก. ผงก, ก้มหัวลงแล้ว เงยขึ้ น โดยเร็ ว แสดงอาการ ยอมรับหรือเห็นด้วย, กระดก ขึ้นลงที่ละน้อย. ปงะ [ปะ-งะ] ก. ผงะ, ชะงัก. ปฏิภาณวุฒิ [ปะ-ติ-๊ พาน-วุด่ ] น. ผูม้ ี เชาวน์ไวไหวพริบด้วยวุฒภิ าวะ, วุฒิภาวะเชาวน์ปัญญาไว เช่น เจ้าเมืองนครราชสีมา......สมเป็น ผู้อุดมด้วยวัยวุฒิปฏิภาณวุฒิ (ท้าว ฯ). ปไม [ป๊ะ-ไม] น. อุปไมย; สิ่งหรือ ข้อความที่เปรียบเทียบกับสิ่ง อื่นเพื่อให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง เช่น ถ้าว่าเว้นแต่พารามัฆวาน เกินประมาณที่จะว่ามาประไม (นิ.พระปาจิต). ปร๋อ ๑. ดู ป้อ. ๒. ว. ปรื๋อ, อาการที่เคลื่อนที่ ไปอย่างเร็ว เช่น บินปร๋อ. ประจามิ ต ร น. ปั จ จามิ ต ร, ศั ต รู , ฝ่ายตรงข้าม. ประแจ น. กุญแจ. ประโดก น. ชือ่ หมูบ่ า้ นในต�ำบลหมืน่ ไวย อ� ำ เภอเมื อ งนครราชสี ม า “โดก” เป็นภาษาเขมร แปลว่า 177

ไม้กระโดน บ้านนี้เป็นป่าโดก ต่อมากลายเสียงเป็นประโดก มีชอื่ เสียงในการท�ำขนมจีน และ รู้จักกันในนาม “ขนมจีนบ้าน ประโดก หรือ ขนมจีนประโดก”. ประตูชุมพล น. ประตูเมืองโคราชอยู่ ด้านทิศตะวันตก สร้างเป็นหอ รั ก ษาการณ์ แ ละหอรบ ใน ลักษณะของรูปเรือนไทย (คฤห) ใช้ ร ะดมไพร่ พ ลเมื่ อ เกิ ด ศึ ก สงคราม ปัจจุบนั อนุสาวรียท์ า้ ว สุรนารีประดิษฐานอยูห่ น้าประตู แห่งนี้ อนึ่งชาวเมืองโคราชเชื่อ กันว่าใครที่ลอดซุ้มประตูชุมพล เข้าไปยังตัวเมือง มักจะได้อยู่ที่ เมืองโคราชหรือมักจะประสบ ความส�ำเร็จในการท�ำกิจการ ต่าง ๆ. ประตูไชยณรงค์ น. ประตูเมืองโคราช อยู ่ ด ้ า นทิ ศ ใต้ “ไชยณรงค์ ” แปลว่า ชัยชนะ เมื่อได้ชัยชนะ จากการท�ำศึกสงครามก็จะยก ทัพเข้าประตูนี้ หรือถ้ามีการล่า ถอยก็จะออกประตูนี้ เพื่อไปตั้ง หลักเอาฤกษ์เอาชัย นอกจาก นี้นักโทษประหารหรือคนตายก็

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ประตูน�้ำ - ปล่อยตามเวรตามกรรม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

จะต้องน�ำออกทางประตูนี้เช่น กัน จึงเรียกประตูนี้อีกชื่อหนึ่ง ว่า “ประตูผี หรือ ประตูผอี อก”. ประตู น�้ ำ [ปะ-ตู - น่ า ม] ดู ประตู พลแสน. ประตูผี ดู ประตูไชยณรงค์. ประตูผีออก ดู ประตูไชยณรงค์. ประตูพลล้าน [ปะ-ตู-พน-ล่ะ-ล่าน] น. ประตูเมืองโคราช อยู่ด้านทิศ ตะวันออกหรือทิศบูรพา ชาว เมืองเรียกว่า ประตูตะวันออก เล่ า สื บ กั น มาว่ า เมื่ อ จะท� ำ ศึ ก ใหญ่ต้องระดมไพร่พลเป็นล้าน ก็ให้ถือเอาเคล็ดหรือเอาฤกษ์ เอาชัยเคลื่อนทัพออกประตูนี้ ซึ่ ง ในสมั ย นั้ น ไม่ มี ไ พร่ พ ลพอ แสนพอล้าน แต่จะต้องไประดม จากเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองนคร จันทึก เมืองพิมาย เมืองนางรอง เมืองบุรีรัมย์ เมืองจัตุรัส เมือง ชั ย ภู มิ เป็ น ต้ น มาสมทบ นอกจากนี้ ชื่ อ พลล้ า นเพื่ อ ข่ ม ขวัญข้าศึกว่าหากยกพลมาเป็น ล้านก็ไม่หวั่น. ประตูพลแสน [ปะ-ตู-พน-ล่ะ-แสน] น. ประตูเมืองโคราชอยู่ด้าน ทิศเหนือ เล่าสืบกันมาว่าถ้าจะ ระดมไพร่พลเป็นแสนท�ำศึกก็ ให้ ถื อ เอาเคล็ ด หรื อ เอาฤกษ์ 178

เอาชัยให้เคลื่อนทัพออกประตู นี้ อนึ่งประตูพลแสนอยู่ใกล้กับ ล�ำน�้ำล�ำตะคอง ซึ่งบริเวณนี้ เป็ น เหมื อ นปากประตู น�้ ำ ที่ จ ะ ไหลออกไปสมทบกั บ ล� ำ น�้ ำ อื่น ๆ เช่น ล�ำ มูล จึงเรียกว่า “ประตูน�้ำ”. ประทาย ๑. น. ค�ำว่า “ประทาย” แปล ว่า ค่าย, ป้อม. (ข. บนฺทาย). ๒. น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา เล่าสืบกันมาว่า พระเจ้าชัยวรมันต์ที่ ๒ ทรง ขยายอาณาเขตของขอม ได้ยก ทั พ มาตั้ ง ค่ า ยพั ก แรม ณ ที่ บริเ วณนี้ ต่อมาเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านประทาย เมือ่ มีการ ยกฐานะเป็นอ�ำเภอจึงใช้ชื่อว่า อ�ำเภอประทาย. ประทายอายุ น. กองทรายที่ก่อในการ ท�ำพิธีค�้ำโพธิ์ค�้ำไทรต่อสะพาน, (ดู ค�้ ำ โพธิ์ ค�้ ำ ไทรต่ อ ตะพาน ประกอบ). ประทีบโคมถือ น. โคมไฟที่ใช้ท�ำพิธีใน วันส�ำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา. ประนินทิน ว. ปฏิทิน, ประจ�ำวัน เช่น นกเงื อ กนี้ ไ ซร้ ต้ อ งไปหากิ น เป็นประนินทิน ค�่ำเช้าเพรางาย (นิ.รูปทอง).


พจนานุกรม ภาษาโคราช ประสัง น. ผี, ใช้นำ� หน้าชือ่ คนตายไปแล้ว เมือ่ กล่าวถึง เช่น จะตายกลาด แหลกเล่นเป็นประสัง, เป็นประสัง ม้วยลงเพราะสงคราม (สุภมิตฯ). ประสาทเสื่ อ ม ก. ประสาทเสี ย , ความจ�ำเสื่อม. ประหัด, ประหัส [ปะ-ฮัส] น. วัน พฤหัสบดี เช่น ประหัดเข้าเสาร์ แทรกอังคารคา (นิ.พระปาจิต). ปร้า [ปฺร้า] น. ปลาร้า. ปร้าตุ [ปฺร้า-ตุ๊] น. ปลาร้ามี กลิ่นตุ ๆ. ปร้าเป็นขี้หนอน [ปฺร้า-เป็นขี่-หฺนอน] (ส�ำ) ไม่มีราคา, ไม่มี ค่า, หญิงที่ไม่สนใจการบ้าน การเรือน ชายย่อมไม่หมายปอง เช่น งานการเอาใจใส่ เจ้าอย่า ได้ออกเที่ยวป่า ฝูงชนจะลือชา เหมื อ นหนึ่ ง ปร้ า เป็ น ขี้ ห นอน (นิ.รูปทอง). ปร้าสะเออะ [ปฺร้า-สะ-เอ๊อะ] ดู ปลาร้าสะเออะ. ปร้าสับเขียง [ปฺรา้ -ซับ- เขียง] (ส�ำ) น. ผลประโยชน์เล็กน้อย ที่เขาละเลย เปรียบกับส�ำนวน “ เศษเนื้ อ ข้ า งเขี ย ง” เช่ น ดูข้านี้นา เหมือนปร้าสับเขียง (นิ.รูปทอง). ปร้าหลน [ปฺรา้ -หฺลน] ดู หลน.

ปราบที่ ก. ท�ำพื้นที่ให้ราบเรียบ, ปรับ พื้นที่ให้เตียน. ปร้ า ว [ปฺ ร ้ า ว] ว. พรู , อาการที่ เคลื่อนไหวมาพร้อม ๆ กันเป็น จ�ำนวนมาก เช่น แตกปร้าว (แตกร่วงพรูลงมา), ระปร้าว, ปรู้ ก็ว่า. ปรุ [ปุ๊] ว. ทะลุปรุโปร่ง, เข้าใจอย่าง แจ่มแจ้งโดยตลอด, ปรุโปร่ง ก็ ว่า เช่น ให้ปรุโปร่งช้อยแช่ม แจ่มขจร (นิ.พระปาจิต). ปรุโปร่ง [ปุ๊-โป่ง] ดู ปรุ. ปรุง ก. ปรุงแต่งให้เหมาะสม, ท�ำให้งาม (ใช้แก่การสร้างบ้าน, เรือน). ปรู [ปู๊] ว. กรู, ประดังกันเข้าไป, วิ่งไป พร้อมกัน เช่น ต�ำรวจปรูวงิ่ คลัง่ เห็นสังขาร์ (สุภมิต ฯ). ปรู้ [ปฺรู้] ๑. ก. เสียงที่เปล่งขึ้นด้วย ความร�ำคาญ, หรือไม่พอใจ. ๒. ดู ปร้าว. ปฤดีื [ป๊ะ-ลึ-ดี] น. ฤดี, ใจ เช่น ทหาร ฝ่ายเจ้าโอจึ่งหลับสิ้นสมปฤดี หามีใครนึกว่าจะมีภัยมาถึงตน ไม่ (ท้าว ฯ). ปลอกเปลือกเห็นหมอย ปลอกหมอย เห็นเม็ด [ปอก-เปือก-เห็นหฺมอย-ปอก-หฺมอย-เห็น-เม่ด] (ปริศ) น. ข้าวโพด. ปล่อยตามเวรตามกรรม ก. ปล่อย 179

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ปล่อยเลยตามเลย - ปอม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ตามบุญตามกรรม, ปล่อยไป ตามยถากรรม, ปล่อยให้เป็นไป อย่างนั้น. ปล่อยเลยตามเลย ก. ปล่อยให้เป็นไป ตามแต่มันจะเป็น, ไม่เอาเป็น ธุระ, ไม่เอาใจใส่, ปล่อยให้เป็น ไปอย่างนั้น. ปล่อยวาง ก. วาง, โดยปริยายหมาย ถึ ง ให้ ห ลุ ด พ้ น จากความรู ้ สึ ก หรือความรับผิดชอบของตน, ละวางปล่อยวาง ก็ว่า. ปลักปลอม [ปัก๊ -ปอม] ว. แปลกปลอม, มี สิ่ ง อื่ น หรื อ พวกอื่ น มาปน เช่น โอ้เสียดายกลัวแต่ชายจะ ปลักปลอม (นิ.พระปาจิต). ปลากระโดดเข้าหมวง [ปา-กะ-โดดเข่า-หฺมวง] น. การเล่นอย่าง หนึง่ แบ่งผูเ้ ล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย เท่า ๆ กัน ให้ฝ่ายหนึ่งเป็นปลา อีกฝ่ายเป็นหมวง (ข้อง) ฝ่าย เป็นหมวงจับมือกันเป็นวงกลม นั่งลงกับพื้นคอยยกมือที่จับกั้น ไม่ให้ปลากระโดดเข้าวงกลม (หมวง) ถ้าฝ่ายเป็นปลาคนหนึง่ กระโดดเข้าได้ โดยไม่ถูกมือที่ จับยกกั้น ฝ่ายหมวงก็จะปล่อย มื อ ให้ ป ลาที่ อ ยู ่ น อกวงเข้ า ไป แ ล ้ ว พ ว ก ป ล า ก็ พ ย า ย า ม กระโดดออก ถ้าถูกมือที่จับกั้น 180

พวกปลาจะมาเป็นหมวงแทน. ปลากรึ ม [ปา-กึ ม ] น. ปลากริ ม (รูปร่างคล้ายปลากัด). ปลาก�ำกรับ [ปา-ก�ำ-กั๊บ] น. ปลา หมอช้ า งเหยี ย บ, ปลาช้ า ง เหยียบ ก็ว่า. ปลาค่าว [ปา-ค่าว] น. ปลาเค้า. ปลาเจ่ า [ปา-เจ่ า ] น. ปลาส้ ม , ปลาที่หมักด้วยเกลือ ข้าวสุก ออกรสเปรี้ยว. ปลาชะหลมพอง ดู ปลาหล�ำพอง. ปลาช้างเหยียบ [ปา-ช่าง-เหฺยียบ] ดู ปลาก�ำกรับ. ปลาโด [ปา-โด] น. ปลาชะโด, ปลาน�ำ้ จืดรูปร่างคล้ายปลาช่อน. ปลาตกแห้งบนบก [ปา-ต๊ก-แห่ง-บนบ๊ก] น. ปลาตกคลัก, ปลาที่มา รวมกันในน�้ำที่งวดบนบก เช่น สาวทองเหลื อ ก็ เ บิ ก บานใจ เพราะนาน ๆ จักมีโอกาสพบปะ หมู ่ ช นมาก ๆ ประดุ จ ปลา ตกแห้งบนบกได้รบั น�ำ้ ก็สำ� ราญ แหวกว่ายไปมา (ท้าว ฯ). ปลาเบา [ปา-เบา] น. ปลาขนาดเล็ก มี น�้ ำ หนั ก ไม่ เ กิ น ครึ่ ง กิ โ ลกรั ม เช่น ปลาตะเพียน ปลาสร้อย. ปลาเป้า [ปา-เป้า] น. ปลาปักเป้า. ปลาผง [ปา-ผง] น. ปลาป่น. ปลาไม่รู้ลอย [ปา-ไม่-ลู่-ลอย] (ปริศ)


พจนานุกรม ภาษาโคราช ปลิ้น ก. พลิกคว�่ำ, หกกลับ. ปลู ก เรื อ นผิ ด คิ ด จนวั น ตาย [ปู ก เลือน-พิด-คิ่ด-จน-วัน-ตาย] (ส�ำ) ท�ำสิ่งใดไม่รอบคอบ เมื่อ ผิดพลาดแล้วแก้ไขยาก คิดและ จดจ�ำไปจนตาย. ป่วยยืน ก. ป่วย, เจ็บไข้ แต่ยงั สามารถ ลุกเดินไปไหนมาไหนได้ ต่าง จากการป่วยที่ต้องนอนรักษา. ป้อ ว. งาม, เท่, สวย เช่น แต่งตัวป้อ, ป๋อ, ปร๋อ ก็ว่า. ป๋อ ดู ป้อ. ปอก ว. ขาว, จัว๊ ะ เช่น หน่าขาวปอก (หน้า ขาวจัว๊ ะ), แก้มปอก (แก้มขาว) ป็อกล็อก ว. ตาโปน, ป้กลก ก็ว่า. ปอบิด [ปอ-บิ๊ด] ๑. น. เชือกฟั่น, ปอปิด ก็ว่า. ๒. น. ไม้ พุ ่ ม ขนาดเล็ ก ชนิ ด Helicteres isora Linn. ในวงศ์ Sterculiaceae สูงประมาณ ๒-๓ เมตร ดอกสีอฐิ ผลเป็นฝัก เปลือกมียางเหนียว ใช้เส้นใย ท�ำเป็นปอเช่นเดียวกับปอแก้ว ปอกระเจา, ปอปิด ก็ว่า. ปอปิด [ปอ-ปิ๊ด] ดู ปอบิด. ปอพาน น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Sterculia guttata Roxz ในวงศ์ Sterculiaceae. ปอม น. กิง้ ก่า, กะปอม, ปอมก่า ก็วา่ .

น. ปลากด (เพราะกดไว้จึงไม่ ลอยขึ้น). ปลาย ว. เกือบ เช่น จึงประทานให้แก่ แม่นม คนละสิบห้าชั่งปลาย, แผ้ ว ถางมรรคา ร้ อ ยห้ า วา ปลาย (นิ.รูปทอง), ๙๒ ปีปลาย (๙๒ ปีเกือบ ๙๓ ปี). ปลายตีน น. ทิศเหนือ, ปะตีน ก็ว่า. ปลาร้าสะเออะ [ปา-ล่า-สะ-เอ๊อะ] น. ปลาร้ า สั บ ตุ ๋ น ใส่ ไ ข่ , ปร้ า สะเออะ ก็ว่า. ปลาร้าหลน [ปา-ล่า-หฺลน] ดู หลน. ปลาหนัก [ปา-นัก] น. ปลาขนาดใหญ่, ปลาที่ มี น�้ ำ หนั ก ประมาณครึ่ ง กิโลกรัมขึ้นไป เช่น ปลาช่อน ปลาดุก. ปลาหลุม น. ปลาที่เสือกเข้าหลุมหรือ บ่อขนาดเล็ก เช่น พาลูกเมีย เที่ยวฉกปลาหลุมไม่ท�ำนาเลย (เพลงโคราช). ปลาหล�ำพอง น. ปลาเนือ้ อ่อน, สะหล�ำ พอง, ชะหลมพอง ก็ว่า. ปลาอะไรไม่มกี า้ ง (ปริศ) น. ปาท่องโก๋. ปลิงค้าว [ปิง-ค่าว] น. ปลิงชนิดหนึ่ง ล�ำตัวกลมสีค่อนข้างด�ำขนาด เท่าหัวแม่มือ ชอบเกาะควาย. ปลิดทิ้ง [ปิ๊ด-ทิ่ง] ว. ในทันที, สิ้นเชิง ใช้แก่การรักษาโลก เช่น หาย เป็นปิ๊ดทิ่ง. 181

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ปอมก่า - ปัติสนธิ์

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ปอมก่า ดู ปอม. ป้อล่อ ว. ปรากฏทันที, โผล่มาทันที, ทนโท่, จะแจ้งต�ำตา เช่น พูดยัง ไม่ทันขาดค�ำก็มาป้อล่อนั่นไง (พอพูดถึงก็โผล่มา), โป้โล่ ก็วา่ . ปอลืน่ น. ผลกระเจีย๊ บ ใช้ตม้ จิม้ น�ำ้ พริก เวลาเคี้ยวกลืนจะรู้สึกลื่นคล่อง คอ, มะเขือลื่น, มะเขือปอ ก็ว่า.

ปอลื่น

ป๊ะ อ. บ๊ะ, เสียงที่เปล่งด้วยความ ไม่พอใจ, ประหลาดใจ, ป๊ะเหว่ย, ป๊ะเอ้อ ก็ว่า. ป๊ะเหว่ย ดู ป๊ะ. ป๊ะเอ้อ ดู ป๊ะ. ปะกรรม [ปะ-ก�ำ] ๑. ก. บริกรรม, ส�ำรวมใจ, สวดมนต์ภาวนา, ท่องคาถาหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ เกิดความขลัง. ๒. น. หนังที่เสกคาถาใช้ในการ คล้องช้างป่า. ปะขาง น. ผาลไถนาท�ำด้วยเหล็ก, เหล็ก ส�ำหรับสวมหัวหมูเครือ่ งไถ. ปะข้าง [ปะ-ข่าง] น. ข้าง, ด้านข้าง เช่น เน็บมีดอยู่ ๒ ปะ ข่างเอว. 182

ปะขาวลาด น. ชื่อหมู่บ้านภูเขาลาด อ� ำ เภอเมื อ งนครราสี ม า, ปะโขลาด ก็ว่า. ปะโขลาด ดู ปะขาวลาด. ปะงาบ ๆ [ปะ-งาบ-ปะ-งาบ] ว. งาบ ๆ, อาการอ้าปากแล้วหุบเข้าออก อย่างช้า ๆ, ปะแงบ ๆ ก็วา่ . ปะแงบ ๆ [ปะ-แงบ-ปะ-แงบ] ดู ปะงาบ ๆ. ปะจุ [ปะ-จุ๊] ก. บรรจุ. ปะแจ น. กุญแจ. ปะซา น. พุทรา. ปะด�้ำ น. ต้นโมกหลวง. ปะดืด ๆ [ปะ-ดืด-ปะ-ดืด] ก. หายใจถี่ คล้ายจะสิ้นใจ. ปะดู้ด ว. พะเยิบ ๆ, พะเยิบพะยาบ; อาการกระพือขึ้นลงช้า ๆ ปะแดง น. ผูท้ สี่ กึ จากพระทีค่ งแก่เรียน, ทิดที่คงแก่เรียน. ปะติกมุ่ เท่งกุม่ [ปะ-ติ-๊ กุม่ -เท่ง-กุม่ ] ก. กระโดดไปกระโดดมา (ใช้แก่ อาการทีน่ กติดแร้ว) เช่น ไม่เป็น เรื่องเป็นแถวเหมือนดังแร่วติ๊ด แร่งปะติกุ่มเท่งกุ่ม เหมือนน่ก ตะกรุ ม ติ๊ ด ตะแกรง (เพลง โคราช), ปาติกุ่มเท่งกุ่ม ก็ว่า. ปะติ๋ ว ว. เรื่ อ งเล็ ก , เล็ ก มาก, ไม่ส�ำคัญ, ขี้ผง, ขี้ปะติ๋วหลิว, ปะติ๋วหลิว ก็ว่า.


พจนานุกรม ภาษาโคราช ปะติ๋วหลิว ดู ปะติ๋ว. ปะตีน น. ทิศเหนือ, ปลายตีน ก็ว่า. ปะทุก [ปะ-ทุ่ก] ก. บรรทุก. ป๊ะโท่น ๆ [ป๊ะ-โท่น-โท่น] ว. เสียงโทน ที่ตีในเทศกาลสงกรานต์, ใน การเล่ น สะบ้ า หรื อ ให้ จั ง หวะ ร�ำโทนด้วยเสียง ป๊ะโท่นโท่น ป๊ ะ โท่ น ป๊ ะ โท่ น ป๊ ะ โท่ น โท่ น เป็นต้น, (ดู ร�ำโทน ประกอบ). ปะไร ว. เป็นไร, เห็นไหม, ขนาดไหน, แค่ไหน, เช่น นั่นปะไร (นั่นเห็น ไหม), ยาวประไร (ยาวแค่ไหน), ประไรเหล่า (เป็นไรเล่า). ปะลม ก. ปะปน, ผสมผเส, พลอยไปด้วย, ผสมโรง, ปะลมปะเล ก็วา่ . ปะลมปะเล ดู ปะลม. ปะล�่ำปะลอย ดู ปะหล�่ำปะหลอย. ปะหล�่ ำ ปะหลอย ว. ไม่ จ ริ ง จั ง , เลื่อนลอย, ไม่มีหลักฐาน เช่น พูดปะหล�ำ่ ปะหลอย, ปะล�ำ่ ปะลอย ก็วา่ . ปะวะ ว. ปลีกตัว, ปลีกเวลา, ปะวะ ปะแวง ก็ว่า. ปะวะปะแวง ดู ปะวะ. ปะสะน�ำ้ มนต์ [ปะ-ซะ-น่าม-มน] ก. รด น�ำ้ มนต์เพือ่ ความเป็นสิรมิ งคล, (ดู ปะสะปะสาง ประกอบ). ปะสะปะสาง [ปะ-ซะ-ปะ-สาง] ก. รด น�ำ้ มนต์เพือ่ ขับไล่สงิ่ ไม่ดใี ห้ออก 183

ไปและเพื่อความเป็นสิริมงคล, (ดู ปะสะน�้ำมนต์ ประกอบ). ปะสัง ก. ตาย เช่น พอขาดใจก็เป็น ปะสัง บุญที่ท�ำกรรมที่สร้างส่ง ไปดีที่ประเสริฐ (เพลงโคราช), เขียนเป็นประสัง ก็ม,ี (ดู ประสัง ประกอบ). ปะอั๊ บ ปะเออ ก. พะอื ด พะอม, จะอาเจียนก็ไม่อาเจียน. ปั้งกี๋ น. ปุ้งกี๋, บุ้งกี่. ปั้ด ๆ ก. พล่าน ๆ, อาการที่น�้ำเดือด ผุ ด ขึ้ น ; ว. มาก, จั ด เช่ น น�ำ่ เดือดปัด้ ๆ (น�ำ้ เดือดพล่าน ๆ), แดดร่อนปั้ด ๆ (แดดร้อนจัด), ดิ้นปั้ด ๆ (ดิ้นพล่าน ๆ). ปัดแต่ [ปั๊ด-แต่] บ. ตั้งแต่ เช่น เป็น ปมเป็นเปาเอาแท่ ๆ ปั๊ดแต่ เง่าะคลานออกมาแต่ท่องแม่ (กล่อมเด็ก), บัดแต่ ก็ว่า. ปัติยา [ปั๊ด-ติ๊-ยา] ก. ปฏิญาณ, ให้ ค�ำมั่นสัญญา เช่น จะทดลอง ปัตยิ าสาบานตน (นิ.พระปาจิต). ปัติสนธิ์ [ปั๊ด-ติ๊-สน] ก. ปฏิสนธิ, เกิด ในท้อง เช่น เชิญท่านลงไป เอา ปัติสนธิ์ ในครรภ์มณฑล แห่ง ตากะยาย, มาเอาปัติสนธิ์ ใน ชลวิสัย แล้วจะขอเป็นรูปทอง เรืองรองเกริกไกร จึงเข้าอยู่ใน ครรภ์พระมารดา (นิ.รูปทอง).

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ปั่น - ปี๋

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ปั่น ว. ปาน, เหมือน, คล้าย, ราว เช่น ปั่นกั๊บลูก (ปานกับลูก). ปั๊วะ ว. ผลัวะ, เสียงดังเช่นนั้น เช่น ค�่ำคืนก็ด้นไปใครพูดไม่ถูกใจก็ โดนปั๊วะ (เพลงโคราช). ปากกะจูด น. ลักษณะริมฝีปากห่อให้ แคบคล้ายผิวปาก. ปากกะใจไม่ตรงกัน [ปาก-ก๊ะ-ไจ-ไม่ตง-กัน] ก. พูดอย่างหนึ่งแต่ใจ คิดตรงกันข้าม. ปากกะโถน น. ปากกว้าง. ปากกะโผ่ง ก. พูดเสียงดัง, คุยโว, พูดนินทาคนอื่น. ปากกัดขยุม้ ตูด [ปาก-กัด๊ -ขะ-ยุม่ -ตูด] (ส�ำ) ปากกัดตีนถีบ, ท�ำงานตัว เป็นเกลียว, ออกแรงอย่างสุด ก�ำลัง, มานะบากบั่นอย่างไม่ คิดถึงความเหนื่อยยาก. ปากแคบคางลาย ร้องไม่อายมนุษย์ [ปาก-แคบ-คาง-ลาย-ล่องไม่-อาย-มะ-นุด่ ] (ปริศ) น. กบ. ปากจะฉีกถึงหู น. เรียกการว่ากล่าว ตักเตือนหรือพูดซ�้ำแล้วซ�้ำเล่า ก็ ยั ง ไม่ ไ ด้ ผ ลตามที่ มุ ่ ง หมาย, ปากแฉะ, ปากเปียกปากแฉะ ก็ว่า. ปากแฉะ [ปาก-แชะ] ดู ปากจะฉีกถึงหู. ปากช่อง น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา ในสมัยรัชกาลที่ 184

๕ มี ก ารสร้ า งทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จ�ำเป็น ต้องระเบิดหินผ่านช่องเขา ต่อ มาเรี ย กหมู ่ บ ้ า นนี้ ว ่ า บ้ า น ปากช่ อ ง เมื่ อ ยกฐานะเป็ น อ�ำเภอจึงใช้ชื่อนี้. ปากตุ่ย น. ริมฝีปากบวม. ปากเตา น. ส่วนบนของเตาอัง้ โล่ตงั้ แต่ รั ง ผึ้ ง ขึ้ น ไปจนถึ ง บริ เ วณตั้ ง ภาชนะซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ใส่ถ่าน, (ดู อุ๊เตา ประกอบ). ปากเป็น ก. พูดจาฉอเลาะ, พูดอ่อน หวานประจบประแจง (มักใช้ แก่เด็ก). ปากเปียกปากแฉะ [ปาก-เปียก-ปากแชะ] ดู ปากจะฉีกถึงหู. ปากเปื่อย น. โรคปากนกกระจอก, ปากที่ เ ป็ น แผลเปื ่ อ ยขาว ๆ เหลือง ๆ ที่มุมปาก. ปากไปล่ [ปาก-ไป่] น. ปากกว้าง เช่น กระโถนทองปากไปล่ เ หมื อ น ใบบัว (นิ.พระปาจิต). ปากผลอ [ปาก-ผอ] ก. พูดไร้สาระ, พูดพล่อย ๆ, ปากไม่มีหูรูด. ปากว่าเบือ่ ลอดช่องแต่มอื ไม่วางชาม [ปาก-ว่า-เบือ่ -ลอด-ช่อง-แต่มือ-ไม่-วาง-ชาม] (ส�ำ) ก. ปาก พู ด อย่ า งหนึ่ ง แต่ ก ารกระท� ำ ตรงกั น ข้ า ม, (ดู ปากกะใจ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ไม่ตรงกัน ประกอบ). ปากสั่นปากยาว ก. บอกเล่าในอาการ ที่สั่นไปทั้งตัว. ปากหา ก. พูดหา, พูดด้วย. ปากเหวอ [ปาก-เหฺวอ] น. ปากเหิบ, ปากกว้างริมฝีปากหุบไม่ลง. ปากแหนบ [ปาก-แหฺนบ] น. นก ปากส้ อ ม. ป่างหง่าง ก. ล้มลงอย่างไม่เป็นท่า, ล้มหงายผลึ่ง. ป๊าด อ. อื้อฮือ, ค�ำที่เปล่งออกมาด้วย ความสงสั ย , ฉงนสนเท่ ห ์ ใ น ท�ำนองว่าอะไรจะขนาดนั้น. ป๊าดโธ่ อ. โธ่, พุทโธ่, เป็นค�ำที่เปล่ง ออกมาด้ ว ยความไม่ พ อใจ, ประหลาดใจ, ร�ำคาญ, สงสาร. ปาตั้งโก๋ น. ปาท่องโก๋. ปาติกุ่มเท่งกุ่ม ดู ปะติกุ่มเท่งกุ่ม. ปาน [ปั่น] ว. เหมือน, คล้าย, ราว เช่น ปั่นกั๊บลูก (ปานกับลูก). ป้าบ ก. ตี, เตะ เช่น โดนไปป้าบหนึ่ง (โดนตีหรือเตะไปทีหนึ่ง). ป�้ำ ก. ซ้อมไก่ชน. ปิ๊ดปี๋ ว. ด�ำมาก, มิดหมี ก็ว่า. ปิ้น น. มะค่าโมง, มะค่าใหญ่; ชื่อไม้ ยืนต้นขนาดใหญ่ชนิด Afzeria xylocarpa Craib. ในวงศ์ Leguminoseae ใบคล้ายใบ ประดู่ ฝักแบน เนื้อสีน�้ำตาล

อมแดง ใช้ในการก่อสร้าง. ปี ้ ๑. ก. ร่วมเพศ, สืบพันธุ์. ๒. ใช้ประกอบค�ำว่าด�ำ มีความ หมายว่า ด�ำสนิท, ด�ำดินปืน, ด�ำ มาก, ปี๋, ปื้อ ก็ว่า. ปี่ น. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า. ปี ่ แ ก้ ว น. ปี ่ ที่ ท� ำ ด้ ว ยไม้ ไ ผ่ รวก ลิ้นปี่ท�ำด้วยทองเหลือง มีรู ๖ รู หนุ่ม ๆ มักน�ำติดตัว ไปเป่าเกี้ยวสาว เพลงที่ร้อง ประกอบ เช่น นางเอยมารั่บ พี่ ด ้ ว ย พี่ แ อบต้ น กล้ ว ยหมา เห่าพี่เด.... (ปี่แก้ว). ปี่ซังข้าว [ปี่-ซัง-เข่า] น. ปี่ ที่ท�ำจากซังข้าวสด มักท�ำให้ เด็กเล่น. ปี่แหย่น [ปี่-แหฺย่น] น. เครื่อง ดนตรีชนิดหนึง่ ท�ำด้วยไม้ไผ่รวก คล้ายขลุ่ย ใช้ แผ่นทองแดง หรือทองเหลือง เป็นลิ้น เวลา เป่ามีเสียงดัง แหย่ น ๆ, ปี่แหย่น ปี่แหว่น ก็ว่า. ปีแ่ หว่น [ปี-่ แหฺวน่ ] ดู ปีแ่ หย่น. ปี๋ ว. ใช้ประกอบค�ำมีความหมายใน ท�ำนองว่า มาก, จัด เช่น เค็มปี๋ (เค็มจัด), ด�ำปี๋ (ด�ำมาก). 185

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


......ปีค่อน - เป็นเฉาะเป็นฉ่อง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

......ปีคอ่ น [......ปีขอ่ น] ว. ค่อน, เกือบ ใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น อายุ ๒๕ ปีค่อนอีแม่ก้อน ทองขา (๒๕ ปีกว่าหรือ ๒๕ เกือบ ๒๖ ปี) (เพลงโคราช). ปีด๊ ว. ใช้ประกอบค�ำมีความหมายไปใน ท�ำนองว่ามากหรือยิ่งกว่าปกติ เช่น แหลมปี๊ด, ขมปี๊ด, คมปี๊ด, ด�ำปี๊ด, เงียบปี๊ด. ปี๊บ ก. เสียงร้องท้าทายท�ำนองว่าใคร แน่, ปี๊บกระโทก ก็ว่า, ถิ่นอีสาน ใช้ว่า ปีบโฮ หมายถึง ไชโย โห่ร้อง. ปี๊บกระโทก ดู ปี๊บ. ปีมะโว่เดือนมะยี่ (ส�ำ) เวลาผ่านมานาน แล้วจนไม่รวู้ า่ ตัง้ แต่เมือ่ ใด. ปึ้ก (ปาก) ว. สนิทสนมกันมาก, ซีปึ้ก ก็ว่า. ปึ้ง ว. ปึก, ลักษณะนามของสมุด เช่น เล่ม, หัว. ปึ่งหลึ่ง ว. ปึ่ง, ท�ำทีเฉย, ท�ำท่าไว้ยศ ไม่ พู ด จาด้ ว ย, แสดงอาการ คล้ายกับโกรธ. ปืนคาบหิน น. ปืนคาบศิลา, ปืนชนิดมี เหล็กกับหินสับกันเป็นประกาย ติดดินหู (ดินปืนอย่างแรง ใช้ โรยรางชนวนในการยิงปืนสมัย โบราณ) เช่น ทหารแห่หน้า ภูมินทร์ ถือปืนคาบหิน ลูกดิน 186

จินดามากมาย (นิ.กุศราช). ปื้อ ดู ปี้ ๒. ปุกเผล่ว [ปุ๊ก-เผล่ว] ดู ปุกเหยิด. ปุกเหยิด [ปุ๊ก-เหฺยิด] น. เท้าปุก, เท้า พิการโดยนิ้วเท้าด้วนมีรูปดัง ก�ำปัน้ เวลาเดินต้องเขย่งเท้าให้ เสมอกับอีกข้างหนึ่ง, ตีนปุก, ปุกเผล่ว ก็ว่า.

ปุกเหยิด

ปุง น. มาตราวัดอย่างหนึ่ง ๑ ปุง เท่ากับ ๔๐ ก�ำมือ หรือเท่ากับ ๑๐ คบ, ปุ ๋ ง ก็ ว ่ า , (ดู คบ ประกอบ). ปุ้ง ๆ ว. เสียงที่เกิดจากการกระทุ้ง. ปุ๋ง ดู ปุง. ปุงโซ่ ดู กะโซ่.

ปุงโซ่


พจนานุกรม ภาษาโคราช ปุงเน็ก น. กระดิ่ง, โปงขนาดเล็กใช้ แขวนคอสัตว์. ปุงละปุงเล่ง ว. ปุเลง, ทุลักทุเล ปุโลทั่ง ว. เก่ามาก, โกโรโกโส เช่น รถปุโลทั่ง. ปูเฒ่า [ปู-เถ่า] น. ปูเฒ่า, ปูทแี่ ก่มอี ายุ มาก สีกระดองจะเข้มเดินเชื่อง ช้า นัยว่าเนื้อมีรสชาติไม่อร่อย. ปู ๊ ด ลู ้ ด ว. ปรู ๊ ด ปร๊ า ด, อาการที่ เคลื่อนไหวอย่างว่องไว เช่น เอาไม่ ม าแหย่ ไ ม่ ก ระแตก็ กระจ้อนวิ่งออกปู๊ดลู้ด (เพลง โคราช). ปู่ด่าย่าสอน (ส�ำ) ผู้ใหญ่อบรมสั่งสอน เช่ น อย่ า ได้ เ ป็ น เหมื อ นเช่ น สันดาน ไม่มปี ดู่ า่ ย่าสอน (เพลง โคราช). ปู่ต้องจากย่า ตาต้องจากยาย พ่อ ต้ อ งจากแม่ (ส�ำ) ก. ต้อง พลัดพรากจากกัน เช่น รวบรวม ผู ้ ค นกวาดต้ อ นไปยั ง นคร เวียงจันทน์ ปู่ต้องจากย่า ตา ต้องจากยาย พ่อต้องจากแม่ แล้วก็จะต้องจากกันต่อ ๆ ไป (ท้าว ฯ). ปูที่หลับที่นอน [ปู-ที่-ลับ-ที่-นอน] ก. จัดที่หลับที่นอน. ปู่สังกะสาย่าสังกะสี (ส�ำ) โบราณ, นมนานมาเมื่อครั้งปู่ย่าตายาย. 187

เป้ง ว. โต, ใหญ่ (ใช้แก่สัตว์จ�ำพวก แมลงและผลไม้) เช่น แม่เป้ง มดแดง. เป้ด ก. ทะลักออกมา เช่น บีบยาสีฟัน ไหลเป้ดออกมา. เป็ดก้าบ [เป๊ด-ก้าบ] น. เป็ดชนิดที่ ร้อง ก้าบ ๆ, เป็ดไล่ทุ่ง. เป็ดหาวจนเห็นร�ำ [เป๊ด-หาว-จนเห็น-ล�ำ] (ส�ำ) ก. อิ่มแปล้, อิ่ม มาก; เปรียบได้กบั เป็ดทีก่ นิ มาก จนอ้าปากเห็นร�ำในคอ. เป็น ว. ใช้ตอ่ ท้ายค�ำเพือ่ เน้นความหาย เช่น ไม่เห็นใหญ่เป็น (ไม่เห็น เติบโต), ไม่อยูเ่ ป็น (ไม่คอ่ ยอยู)่ . เป็นเกือกทองรองพระบาท (ส�ำ) เป็น ข้ารองพระบาท เช่น จงเอ็นดู น้อง เหมือนหนึง่ เกือกทอง รอง พระบาทา, ข้าเฒ่านึกหวังจะมา เป็นเกือกทอง (นิ .รูปทอง). เป็ น ความกิ น ขี้ ห มาดี ก ว่ า [เป็ น ควม-กิน-ขี่-หมา-ดี-กั่ว] (ส�ำ) ว. ถ้ า จะมี ค ดี ฟ ้ อ งร้ อ งกั น ถึ ง โรงศาลให้ ท� ำ ในสิ่ ง ที่ แ ม้ จ ะ แสนล�ำบากดีกว่า เพราะการ เป็ น คดี ค วามกั น ใช้ เ วลานาน เสียทั้งเวลาและเงิน. เป็นใจ ก. ส่งเสริม, หนุน เช่น อากาศ เป็นใจ. เป็นเฉาะเป็นฉ่อง [เป็น-เชาะ-เป็น-

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เป็นโชงโลง - เปือยดง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ฉ่อง] ก. พูดคล่อง, พูดล�ำดับ ความได้ ดี , พู ด จาฉะฉาน, เป็นเด๊าะเป็นด่อง ก็ว่า. เป็นโชงโลง (ส�ำ) ว. เป็นหลัก, ที่ยึด เหนี่ยว เช่น มีพ่อเป็นโชงโลง, (ดู โชงโลง ประกอบ). เป็นซออี๋จิมาสีให้ดังอ้อ [เป็น-ซอ-อี๋จิ๊-มา-สี-ไห่-ดัง-อ้อ] (ส�ำ) ก. แข่งกับผูม้ บี ารมี, ตีเสมอ, ยกตัว ขึ้ น เที ย มท่ านโดยไม่รู้จักที่ต�่ำ ที่สูง. เป็นด้วงเป็นแมง (ส�ำ) น. มีมลทิน, มี ร าคี (มั ก ใช้ แ ก่ ห ญิ ง ที่ ไ ม่ บริสุทธิ์ทางพรหมจรรย์). เป็นเด๊าะเป็นด่อง ดู เป็นเฉาะเป็นฉ่อง. เป็นตา ว. น่า, ชวนให้, พอ; ค�ำช่วยกริยา แสดงว่าควรเป็นเช่นนั้น เช่น เป็นตากินมัย้ (พอกินได้ไหม). เป็นตาชัง ก. ชัง, เกลียด, ไม่ชอบ, ไม่รัก. เป็นตายร้ายดี [เป็น-ตาย-ล่าย-ดี] ว. จะเป็นหรือตายจะร้ายหรือดี, เป็นยังไง เช่น ไม่รู่ว่าเป็นตาย ร่ายดียงั ไง, เป็นตายร่ายดียงั ไง ก็ต้องไป. เป็นตาหน่าย ก. เบื่อ, หน่าย, ระอา, น่าเบื่อหน่าย. เป็นทุกข์เป็นร้อน [เป็น-ทุก่ -เป็น-ล่อน] ว. ห่วงใย, กังวล. 188

เป็นแป้ง ว. เมามาก, เมาจนไม่ได้สติ. เป็นไรดอก [เป็น-ไล-ด้อก] ว. ไม่เป็นไร หรอก, (ดู ดอก ประกอบ). เป็นลมเป็นแล้ง [เป็น-ลม-เป็น-แล่ง] ก. ไปจากถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครรู้ แน่ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่. เป็นเลือด ก. เป็นระดู, เป็นรอบเดือน, เป็นประจ�ำเดือน. เป็นหม้อข้าวหม้อแกง [เป็น-หม่อเข่า-หม่อ-แกง] (ส�ำ) น. เป็น แม่บ้านแม่เรือน, เก่งเรื่องงาน บ้านงานเรือน. เปราะหิน [เป๊าะ-หิน] น. ชื่อไม้ล้มลุก ชนิ ด Caulokaempferia saxicola K. Larsen ในวงศ์ Zingiberaceae คล้ า ยต้ น เปราะ, เปราะหอม ใช้ เ ป็ น อาหารและท�ำยา. เปรี๊ยะ ว. เต็มที่, มาก เช่น เมาเปรี๊ยะ, เต็มเปรี๊ยะ. เปล [เป] ว. หันเห, เบี่ยง, เบนไปจาก เดิม เช่น แล้วคุณหญิงจึ่งเปล หลบไปเสี ย ข้ า งหนึ่ ง , ได้ ฟ ั ง ลิ้ น ลมลวงของเจ้ า อุ ป ราชก็ หั น เหเปลไปตามกระแสลม (ท้าว ฯ). เปลวหมู น. เปลวมันหมูที่ไม่มีหนังติด ทอดเอาน�้ำมันออกแล้ว. เปล้าเงิน ดู หนาดตะกัว่ .


พจนานุกรม ภาษาโคราช เปลือกเปราะกะเทาะแดง เปลือกแดง กะเทาะขาว [เปือก-เป๊าะ-กะเท่าะ-แดง-เปือก-แดง-กะเท่าะ-ขาว] (ปริศ) น. มะขาม. เปอ ว. ใบ้ เช่น ว่าจะไปใครไม่ปากท�ำ เป็นเปอ (นิ.พระปาจิต). เป้อหวา ว. เออวะ, ดูซิ (ถิ่นโชคชัย, ปักธงชัย), (ดู หวา ประกอบ). เปอะ [เป๊อะ] น. กับข้าวชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยหน่อไม้ใส่ย่านาง ไม่ใส่กะทิ, แกงเปอะ ก็ว่า. เป๊ะ ๑. ว. เสียงตกดังเช่นนั้น เช่น สี ย่อยต๊กเป้ะ (สีย้อยตกเป้ะ), เพละ ก็ว่า. ๒ ว. อาการที่ล้ม, ร่วง, หล่น ลงโดยเร็ว, ฟุบ เช่น ล่มเป้ะ (ล้ม ฟุบลง), เพละ ก็ว่า. เป่ายาง น. การเล่นของเด็ก โดยผลัด กันเป่ายางของฝ่ายตนให้เกย ทับของอีกฝ่ายหนึ่ง. เปิด ก. หนี, ไปด้วยอาการเร่งรีบ. เปิดแน็บ [เปิด-แน่บ] ก. ไป โดยเร็ว, วิ่งแจ้น. เปิดก่อนล่อนแก่น ก. เปิดไพ่ดกู อ่ นเจ้า มือถือว่าผิดกติกาเจ้ามือมีสิทธิ กินได้. เปิดหวอ ก. อาการทีผ่ หู้ ญิงนุง่ กระโปรง นั่ ง แบะหรื อ ถ่ า งขาจนเห็ น ลึ ก เข้าไป, อ้าซ่า.

เปิ้น ก. แฉลบ, อาการที่สิ่งของเคลื่อน เฉไปไม่ตรงทาง. เปียกเข่า ก. ต้มข้าวต้ม. เปี ่ ย วกิ น ตี น น. เท้ า เป็ น เหน็ บ ชา, เหยี่ยวกินตีน ก็ว่า. เปื้อนปรั๊วะ ว. เปื้อนเปรอะ, เลอะเทอะ เช่น ดูเปือ้ นปรัว๊ ะแหลกเล่นไชย เสนเอ๋ย (สุภมิต ฯ). เปือยเครือ น. กระดูกกบ, กระพัด แม่มา่ ย ; ชือ่ ไม้พมุ่ รอเลือ้ ยชนิด Hymenopyramis brachiata Wall. ในวงศ์ Verbenaceae กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ดอกเล็กสีขาว เป็นช่อ ผลกลม, ควยแก่รอ้ งไห้, เปื๋อยเครือ ก็ว่า.

เปื๋อยเครือ

เปื๋อยเครือ ดู เปือยเครือ. เปือยดง น. ตะแบกชนิด Lagerstroemia calyculata Kurz ในวงศ์ Lythraceae เป็นไม้ต้นขนาด 189

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แป - ไปทั่ว

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

กลาง ดอกเป็นช่อสีมว่ งปนขาว ผลเล็กรูปไข่ ชอบขึ้นตามป่า ราบ; นักพฤกษศาสตร์เรียก ตะแบกแดง, ถิ่นพื้นเมืองเรียก ตะแบกใหญ่, ตะแบกเปลือย. แป ว. ลีบ, ไม่มีเนื้อในเมล็ด, แฟบ เพราะไม่ เ จริ ญ เติ บ โตตาม ธรรมชาติที่ควรเป็น เช่น เข่า เม่ดแป ๆ (ข้าวเม็ดลีบ ๆ). แป้ น. ภาชนะคอยาวคล้ายกับคนโท ใช้ใส่น�้ำหรือเหล้า. แปกสี แ หรก [แปก-สี-แหฺลก] น. แปดสาแหรก ; ค�ำประชดว่า ดั ด จริ ต ท� ำ ตั ว เป็ น ผู ้ ดี , คนที่ ท� ำ กรี ด กรายเอาอย่ า งผู ้ ดี , ผู้ดีแปกสีแหรก ก็ว่า. แป๊ด ๑. ว. จัด, มาก เช่น ร่อนแป้ด (ร้อนมาก, ร้อนจี๋). ๒. ว. แจ๋ (ใช้แก่สีแดง) เช่น แดงแป้ด (แดงแจ๋), แจ๊ด, แปร๊ด ก็วา่ . แปดปน ก. ปลอมปน, ปะปน. แปร๊ด ดู แป๊ด. แปรนา [แป-นา] ก. ไถแปร. แปรปร้า [แป-ปฺรา้ ] น. การปรุงปลาร้า ให้มีรสชาติอร่อย ท�ำหลังจาก หมักพอได้ที่แล้วน�ำข้าวคั่วมา คลุกเคล้า. แปลกแต่กี้ ว. แปลกกว่าเมื่อก่อนนี้. 190

แป้ว ๑. ว. เบี้ยว (ใช้แก่ผลไม้). ๒. ว. อาการที่ขาไม่แข็งแรง เช่น ขาแป้ว. แป๊ะ ๑. น. ชื่อไม้พุ่มขนาดย่อมคล้าย ต้ น คนที ส อทะเลชนิ ด Vitex Quinata Williams. ในวงศ์ Verbenaceae ขึ้ น ในป่ า เบญจพรรณ ป่ า ดิ บ แล้ ง นักพฤกษศาสตร์เรียก หมากเล็ก หมากน้อย. แป๊ะ

๒. ก. พึ่ง, อาศัยคนอื่น, พึ่งพา คนอื่น, แป๊ะแม่ะ ก็ว่า. ๓. ว. ใกล้, ติด, ชิด เช่น บ้าน อยู่แป๊ะ ๆ โรงเรียน. แป๊ะแม่ะ ดู แป๊ะ ๒. แป้ะแซ น. แบะแซ, ข้าวสาลีกวน จนเหนียวข้นใช้ท�ำขนม. โปก ใช้ประกอบค�ำอื่นมีความหมายใน ท�ำนองว่ายัน, ยันป้าย, กระทั่ง, ถึ ง , จนถึ ง เช่ น แจ้ ง โปก (ยั น สว่ า ง), ถึ ง โคราชโปก (ยั น โคราช, จนกระทั่ ง ถึ ง


พจนานุกรม ภาษาโคราช โป่งลอยน�้ำ [โป่ง-ลอย-น่าม] ดู ลอย ตะเข้. โปงละโปงเล่ง ว. พะรุงพะรัง. โปย น. ปอยผม. โปรงเปรง ก. โปร่งเปร่ง, โหรงเหรง, ไม่ เ ต็ ม ที่ เช่ น เหมื อ นหนึ่ ง หัวแหวน ของดีไม่ชั่ว พลอย หลุดโปรงเปรง (นิ.รูปทอง). โปรด ก. ปล่อย (ใช้แก่สัตว์) เช่น ปลา ตกคลักจับใส่ครุไปปล่อยโปรด (นิ.พระปาจิต), ถิ่นอีสานใช้ว่า โผด. โป้โล่ ก. ปรากฏทันที, โผล่มาทันที, ป้อล่อ ก็ว่า. โป้ะโล่ะ ก. กองสุมรวมกันไว้. โป๊ะหมู่ ก. คบเพื่อน. ไปก็ค�้ำมาก็ค�้ำ [ไป-ก็-ค�่ำ-มา-ก็-ค�่ำ] (ปริศ) ไม้ค�้ำเกวียน. ไปกินปลามากินข้าว [ไป-กิน-ปา-มากิน-เข่า] (ส�ำ) ก. ต้อนรับเลี้ยงดู ด้วยอาหารการกินป็นอย่างดี, เลี้ยงดูปูเสื่อ. ไปดอก [ไป-ด๊อก] ว. ไม่ไปหรอก. (ดู ดอก ประกอบ). ไปตีกบิณฑ์ [ไป-ตี-กะ-บิน] ดู ลงข่วง ร�ำผีฟ้า. ไปท่ง ก. ไปอุจจาระ. ไปทัว่ ก. คิดหรือท�ำไปเรือ่ ย, เรือ่ ยเปือ่ ย เช่น คิดไปทัว่ , หาท�ำไปทัว่ .

โคราช). โป้กอ้ ย น. ปัน่ แปะ; การพนันอย่างหนึง่ ใช้เหรียญปั่นในขณะที่เหรียญ ก�ำลังหมุนใช้มือตะปบปิด แล้ว ให้ทายว่าจะออกโป้ (หัว) หรือ ก้อย นอกจากการใช้เหรียญ เดียวแล้วบางครั้งใช้เหรียญ ๒ อันปั่นพร้อมกัน ถ้าออกหัวทั้ง ๒ เหรียญเรียกว่าออกโป้ ถ้า ออกก้อยทั้ง ๒ เหรียญ เรียก ว่าออกก้อย แต่ถ้าเหรียญหนึ่ง ออกโป้ อี ก เหรี ย ญออกก้ อ ย เรียกว่า “กลาง”, อีหมุน ก็ว่า. โปง น. เครื่องไม้หรือเหล็กมีรูปคล้าย กระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ ภายใน หรือห้อยกระหนาบอยู่ ภายในใช้แขวนคอสัตว์ เพื่อให้ เกิดเสียงดัง มีหลายประเภท เช่น นิก, น่ก, พรวนทาม, มัก กะโหร่ง, มักกะแหล่ง, โปงลาง ก็ว่า. โปงลาง ดู โปง. โปงเหล็ ก [โปง-เล็ ก ] น. โปง,โปงลางที่ ใ ช้ เ หล็ ก หรื อ โลหะท�ำ. โป่งเป้ง น. ไม้ที่สอดเข้าใต้เส้นยืนใน การทอผ้า เพื่อยกเส้นทอให้สูง กว่าระดับพืน้ จะช่วยให้เส้นเชือก ตึงได้ที่, อีโปง ก็ว่า. 191

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ไปบ้านเก่า - ผลัดดิน

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ไปบ้านเก่า ก. ตาย. ไปเผาถ่าน ก. ตาย. ไปเล่ น บ้ า น [ไป-เหฺ ล ่ น -บ้ า น] ก. ไปเที่ยวบ้าน, ไปเยี่ยมบ้าน. ไปสู ่ ห า ก. ไปมาหาสู ่ , ไปหา, ไปเยี่ยมเยียน เช่น ครั้นจะไป สู่หา ท่านจะวุ่นวาย (นิ.รูปทอง) ไปหากิน ก. ไปท�ำงานหาเลี้ยงชีพ.

192

ไปหาพระเอาของไปถวาย ไปหานาย เอาของไปฝาก [ไป-หา-พ่ะเอา-ของ-ไป-ถะ-หฺวาย-ไปหา-นาย-เอา-ของ-ไป-ฝาก] (ส�ำ) ก. เอาสิ่งของไปฝากตาม ธรรมเนียมประเพณี. ไปไหนก็ตามแต่ถามไม่พดู (ปริศ) เงา.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ผงขาว น. สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ เป็นสารที่นิยมใช้ย้อมสีผ้าไหม เพราะย้ อ มง่ า ยอี ก ทั้ ง ท� ำ ให้ ผ้าไหมเรียบสวยงาม, (ดู กาว ประกอบ). ผงเหม็น น. สบูเ่ ทียม (wetting agent) เป็นผงชนิดหนึ่งใช้กับสบู่ฟอก เส้นไหมให้ขาว. ผมทรงลูกจันทร์ น. ทรงผมผู้หญิงที่ เกล้าขมวดบนกลางศีรษะเป็น รูปทรงกลมคล้ายลูกจันทร์. ผมทรงอเมริกัน น. ผมทรงลานบิน, ทรงผมผู้ชายที่ตัดข้างล่างสั้น เกรียน ข้างบนราบเสมอกัน; เป็นทรงผมของทหารอเมริกัน หรือจีไอ (อ.GI = Government Issue).

มาแต่ก�ำเนิด. ผมโปย น. ผมเดิมของทารกที่ติดมา ตัง้ แต่เกิดขึน้ เป็นกลุม่ เป็นกระจุก ด้านหลังศีรษะ. ผมไม่ ตั ด วั ด ไม่ เ ข้ า เหล้ า ไม่ ข าด บาตรไม่ใส่ [ผม-ไม่-ตั๊ด-วั่ดไม่-เข่า-เหฺล่า-ไม่-ขาด-บาดไม่-ไส่] (ส�ำ) ว. นอกรีตนอก รอย, ไม่ประพฤติตามแนวทาง ที่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ กั น มา ผิ ด ไปจาก แนวทางที่ดี. ผมหย็อง น. ผมฟู. ผมหยิ ก หน้ า กล้ อ คอสั้ น [ผม-ยิ ก หฺ น ่ า -ก้ อ -คอ-สั่ น ] (ส� ำ ) น. ลักษณะของคนที่ไม่ดีหรือบุรุษ โทษที่ไม่ควรคบ. ผลอ [ผอ] ก. พูดเรื่อยเปื่อย, พูดไร้ สาระ เช่น หญิงก็หลายชายก็ มากที่ปากผลอ (สุภมิต ฯ). ผล็อบแผล็บ [พ็อบ-แพ็บ] ว. แพล็บ, ชั่วระยะเวลาประเดี๋ยวเดียว. ผลักไสไล่ส่ง [พัก-ไส-ไล่-ส่ง] ก. ขับ ไล่ไปอย่างไม่มีเยื่อใย. ผลัดดิน [ผั้ด-ดิน] น. การเพิ่มดิน ตกแต่งเครื่องปั้นดินเผา ใน ขณะพะมอน, (ดู พะมอน

ผมทรงอเมริกัน

ผมป่า น. ผมไฟ, ผมเดิมของทารกทีต่ ดิ 193

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ผลึ่ง - ผักโป่ง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ประกอบ). ผลึ่ง ก. อาการที่ล้มหงายไปทันทีทันใด เช่น หงายผลึ่ง. ผลุง [ผุง] ว. พรวด, พรวดพราด; อาการที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว, เสียงอย่างเสียงของหนักตกลง เช่ น กระโดดผลุ ง (กระโดด พรวด). ผลุมผลาม [ผุม-ผาม] ว. ผลีผลาม, รีบร้อนเกินไปโดยไม่ระมัดระวัง หรือไม่ถกู กาลเทศะ เช่น แกผลุม ผลามวิ่ ง เข้ า กอดด้ ว ยเยื่ อ ใย (นิ.พระปาจิต). ผสมลมเล็ม [พะ-สม-ลม-เล็ม] ว. ปะติด ปะต่อเป็นเรือ่ งเป็นราว, ผสมเล็ก ผสมน้อย, เก็บไว้ทีละเล็กทีละ น้อย. ผอมกะหร่อง ว. ผอมมาก, ผอมโซ, ผอมกะหร่องก่อง ก็ว่า. ผอมกะหร่องก่อง ดู ผอมกะหร่อง. ผอมไผ่ ก. ผ่ายผอม, ผอมลง เช่น มารดาผอมไผ่ยากเย็นเท่าไร จึง่ ได้รอดมา (นิ.กุศราช). ผอมเห็นแต่กา้ ง ว. ผอมจนเห็นซีโ่ ครง. ผอมเหมือนกุ้งแห้ง [ผอม-เหฺมือนกุ้ง-แห่ง] ว. ผอมมาก, ผอม เก้งก้าง. ผะเหนิก [ผะ-เหฺนิก] น. คันนา, (ดู ขะเหนิก ประกอบ). 194

ผะเหนิกบ่า [ผะ-เหฺนิก-บ่า] น. ส่วน ที่ไหล่ที่ติดกับคอ. ผักกะตู [พัก-กะ-ตู] น. ประตูเรือน.

ผักกะตู

ผักกะโตวา [พัก-กะ-โต-วา] น. ผัก สั น ตะวา เป็ น พื ช น�้ ำ ใบบาง สีเขียวอมน�้ำตาลกินได้. ผักขม [พัก-ขม] น. ผักโขม. ผักขมโคก [พัก-ขม-โคก] น. ชือ่ ไม้พมุ่ ชนิ ด Erythroxylum cam bodianum Pierre ในวงศ์ E r y t h r o x y l a c e a e นั ก พฤกษศาสตร์เรียก ตานครบ, ถิ่ น เหนื อ เรี ย ก หญ้ า หุ ่ น ไห้ , ถิ่นใต้เรียกโดนทุ่ง. ผั ก ขมเหี้ ย น [พั ก -ขม-เหี่ ย น] น. ผักขมต้นเล็ก ๆ. ผักขีเ้ ต่า [พัก-ขี-่ เต่า] น. สาหร่ายหาง กระรอก ; พืชชนิด Hydrilla vertcillata (L.f.) Royal ในวงศ์ Hydrocharitaceae ไม่มลี ำ� ต้น ใบ และรากที่ แ ท้ จ ริ ง มี แ ต่


พจนานุกรม ภาษาโคราช คลอโรพลาสต์ ขึ้นในน�้ำหรือ ที่เฉอะแฉะ. ผักชีฝรั่ง [พัก-ชี-ฟะ-หลั่ง] น. ยี่หร่า. ผักชีลาว [พัก-ชี-ลาว] น. เทียนตา ตั๊ ก แตน ; ชื่ อ ไม้ ล ้ ม ลุ ก จาก ต่ า งประเทศชนิ ด Anethum Graveolens L. ในวงศ์ Umbelliferae นักพฤกษศาสตร์ เ รี ย ก เ ที ย น ข ้ าว เ ป ลื อ ก นักพฤกษศาสต์บางท่านเห็นว่า เป็นชือ่ เรียกผลแก่แห้งของผักชี ลาว ใช้เป็นเครื่องเทศ. ผักตวาดหมา [พัก-ตะ-หวาด-หมา] (ปริศ) น. ผักกระเฉด (เฉด = เสียงตวาดหรือไล่หมา). ผักตาโค้ง [พัก-ตา-โค่ง] น. ผักเบี้ย, ผั ก เบี้ ย ใหญ่ ; ไม้ ล ้ ม ลุ ก ชนิ ด Portulaca Oleracea L. ใน วงศ์ Portulacaceae. ล�ำต้น เตี้ยใช้เป็นผักรับประทานได้. ผักนกยูง [พัก-น่ก-ยูง] น. ชือ่ เฟินชนิด Helminthostachys eylani ca Hook. F. ในวงศ์ Ophioglossaceae นั ก พฤกษศาสตร์ เ รี ย ก ผั ก ตี น กวาง, ถิ่นเหนือเรียก กูดชัง, ถิ่นใต้เรียก ตีนนกยูง. …ผัก….นาง […พัก….นาง] น. ผัก, พืช ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น มีพักมีนาง

(มีผัก). ผักแนม [พัก-แนม] น. ผักเครือ่ งเคียง เพือ่ ประกอบกับอาหารบางชนิด เช่ น พั ก แนมขนมจี น ได้ แ ก่ ถั่ ว ฝั ก ยาว กระถิ น ถั่ ว งอก โหระพา หรือสะระแหน่ เป็นต้น. ผักบัว [พัก-บัว] น. ขนมฝักบัว. ผักปลาบดง [พัก-ปาบ-ดง] น. ผัก ปลาบช้ า ง ; ไม้ ล ้ ม ลุ ก เลื้ อ ย ในกลุ ่ ม ต้ น “ปลาบ” ชนิ ด Floscapa scandens Lour. ใน วงศ์ Commelinaceae. ล�ำต้น เป็นข้อปล้อง ใบเดี่ยว รูปหอก ปลายแหลมออกสลั บ ตาม ข้อต้น, หญ้าปล้องขน ก็ว่า.

ผักปลาบดง

ผักโป่ง [พัก-โป่ง] น. ผักตบชวา. ผักโป่ง

195

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ผักลืมผัว - ผ่าแนว

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ผักลืมผัว [พัก-ลืม-ผัว] น. ผักชนิด หนึ่งต้นเล็กสูงประมาณ ๒ นิ้ว ใบกลม ๆ เกิดตามทุ่งนาใช้เป็น อาหาร เล่ากันว่าเป็นผักที่มี ความเอร็ดอร่อยกินเพลินจน ลืมเก็บไว้ให้ผัว. ผักสายพลวง [พัก-สาย-พวง] น. ชื่อ ไม้ น�้ ำ ชนิ ด Nymphoides hydrophyllum Ktze. ในวงศ์ Menyanthaceae (Genti anaceae). ผักไห [พัก-ไห] น. มะระขี้นก. ผักอะไรกินไม่ได้ [พัก-อะ-ไล-กิน-ไม่ได้] (ปริศ) น. ผักกะตู (ประตู เรือน), (ดู ผักกะตู ประกอบ). ผักฮงหาย [พัก-ฮง-หาย] น. ชื่อไม้ ล้ ม ลุ ก ชนิ ด Crotalaria chinensis Linn. ในวงศ์ Leguminosae, ถิน่ ล�ำปางเรียก มะหิ่งแพะ. ผัดดิน [พัด-ดิน] น. การช่วยหมุนแป้น เครื่องปั้นดินเผา, (ดู พะมอน ประกอบ). ผั้ดแต่ ว. ตั้งแต่ เช่น ผั้ดแต่ใหญ่มา, ผั้ ด แต่ ไ ด้ เ มี ย เลยไม่ เ ที่ ย ว (ตั้งแต่ได้เมียเลยไม่เที่ยวเตร่). ผัวควายเมียควาย [ผัว-ควย-เมีย-ควย] (ส�ำ) หญิงทีห่ นีตามชายไปอยูก่ นิ ฉันสามีภรรยาเปรียบได้กับวัว 196

ควายทีส่ มสูก่ นั โดยไม่มกี ารสูข่ อ ภายหลังเมือ่ ฝ่ายชายน�ำหญิงมา ขอขมาพ่อแม่ฝา่ ยหญิง เรียกว่า มา “ท�ำผีหรือเสียผี” ด้วยการ จั ด เครื่ อ งขอขมาเรี ย กว่ า “เครื่องส�ำบั๊ดส�ำมา” และเงิน ค่าปรับเรียกว่า “ค่าเสียผีหรือ ค่าล่างหน่าล่างตา”. ผัวมีชเู้ มียรูเ้ มียก็รกั [ผัว-มี-ชู-่ เมีย-ลู-่ เมีย-ก็-ลัก่ ] (ส�ำ) พอรูว้ า่ จะสูญ เสี ย ของมี ค ่ า ก็ เ ริ่ ม ให้ ค วาม ส�ำคัญ ; เปรียบได้กับพอรู้ว่า ผั ว จะนอกใจ เมี ย รู ้ ตั ว ในข้ อ บกพร่องจึงเอาอกเอาใจ. ผ่า ๑. ก. ผสม, เจือปน. ๒. ก. ลัด, ตัด , ผ่าน เช่น เดิน ผ่าท่ง (เดินลัดหรือตัดทุ่ง). ผ้า [ผ่า] น. สิ่งที่ท�ำด้วยเยื่อใย เช่น ฝ้าย, ไหม โดยวิธีทอหรืออัดให้ เป็นผืน. ผ้ากะเตี่ยว [ผ่า-กะ-เตี่ยว] ดู ผ้าขี่ม้า. ผ้ากาควาย [ผ่า-กา-ควย] น. ผ้าชนิดหนึ่งสีคล้ายผ้าม่อฮ่อม ใหม่ ๆ ผ้าจะแข็ง. ผ้าไกร [ผ่า-ไก] น. ผ้าไตร. ผ้ า ขะม้ า [ผ่ า -คะ-ม่ า ] น. ผ้าขาวม้า. ผ้าขี่ม้า [ผ่า-ขี่-ม่า] (ปาก) น.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ผ้าหางกระรอก [ผ่า-หาง-กะลอก] น. ผ้าไหมพื้นเส้นพุ่งเป็น เส้นไหมควบทอมีลายในเนื้อผ้า เป็นเส้นฝอยฟูเหมือนขนหาง กระรอก. ผ้าโหล [ผ่า-โหฺล] น. เสื้อผ้าที่ ตัดเย็บส�ำเร็จรูปเป็นโหล. ผ้าไหมลูกลาย [ผ่า-ไหม-ลูกลาย] น. ผ้าม่วงหางกระรอก. ผ้าไหว้ [ผ่า-หว่าย] น. ผ้า เช่น ผ้ า ไหม ที่ ฝ ่ า ยหญิ ง น� ำ มา กราบไหว้พ่อแม่ฝ่ายชายในวัน แต่งงาน. ผ้ า อาบน�้ ำ ฝน [ผ่ า -อาบน่าม-ฝน] ดู ผ้าจ�ำน�ำพรรษา. ผ้าอีโป้ [ผ่า-อี-โป้] ดู ผ้าโป้. ผาดเผิน ว. ผิวเผิน, ไม่ลึกซึ้ง เช่น แล แต่เพียงผาดเผิน เห็นไทยโพก ศีรษะห่มผ้าตะแบงมาน ก็เข้าใจ ว่ า เป็ น พลผู ้ ช ายล้ ว นฉกรรจ์ (ท้าว ฯ). ผ่าด้าม ดู ยางมอกใหญ่. ผ่าตับ [ผ่า-ตั๊บ] น. ชื่อไม้พุ่มยืนต้น ชนิด Randia nutans A. DC. ในวงศ์ Rubiaceae. นั ก พฤกษศาสตร์เรียก ระเวียงสอ. ผ่าแนว ว. ผ่าเหล่า, มีความประพฤติ ผิ ด ไปจากเทื อ กเถาเหล่ า กอ, ผ่าเหล่าผ่าแนว ก็ว่า.

ผ้าม้วนยาวพอประมาณ ส�ำหรับ คาดซับประจ�ำเดือน, ผ้ากะเตีย่ ว ก็วา่ . ผ้าจ�ำน�ำพรรษา [ผ่า-จ�ำ-น�ำพัน-สา] น. ผ้าอาบน�ำ้ , ผ้าทีพ่ ระ ภิกษุสามเณรใช้ผลัดอาบน�้ำ, ผ้าอาบน�้ำฝน ก็ว่า. ผ้าจูงหาง [ผ่า-จูง-หาง] น. ผ้าโจงกระเบน. ผ้าด้ายดิบ [ผ่า-ด้าย-ดิ๊บ] น. ผ้าดิบ. ผ้ า ตุ ้ ม [ผ่ า -ตุ ้ ม ] น. ผ้ า ที่ ปกคลุ ม ที่ ห น้ า อกเด็ ก เล็ ก ให้ อบอุ่น, (ดู ตุ้ม ประกอบ). ผ้ า น้ อ ย [ผ่ า -น่ อ ย] น. ผ้าเช็ดหน้า. ผ้านุ่ง [ผ่า-นุ่ง] น. ผ้าถุง, ผ้าหางกระรอก. ผ้าป้อ [ผ่า-ป้อ] น. ผ้าเช็ดหน้า. ผ้าโป้ [ผ่า-โป้] น. ผ้าห่มชนิด หนึ่ง, ผ่าอีโป้, ผ่าห่มมัด ก็ว่า. ผ้าผวย [ผ่า-ผวย] น. ผ้าขนหนู ผืนเล็ก ๆ ใช้ห่มหรือพันคอ. ผ้าผ่อนท่อนสไบ [ผ่า-ผ่อนท่ อ น-สะ-ไบ] น. เสื้ อ ผ้ า ห่มด้วยสไบ. ผ้าห่ม [ผ่า-ห่ม] น. ผ้าขาวม้า. ผ้ า ห่ ม มั ด [ผ่ า -ห่ ม -มั่ ด ] ดู ผ้ าโป้ . 197

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ผาม - ผู้หญิงอิงเรือ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ผาม น. โรงที่ใช้ท�ำพิธีกรรม มีเสา ๔ ต้น หลังคามุงด้วยก้านมะพร้าว ตกแต่ ง ให้ เ ป็ น เหมื อ นป่ า หิมพานต์ในเรือ่ งมหาเวสสันดร ชาดก, (ดู ลงข่ ว งร� ำ ผี ฟ ่ า ประกอบ). ผ่าเหล่าผ่าแนว ดู ผ่าแนว. ผิดกัน [พิด-กัน] ว. หมางใจกัน, ผิดใจ กัน, ไม่ถูกกัน. ผิน ก. หันหน้า เช่น ผินพระพักตร์ตรัส สั่งมเหสี (สุภมิต ฯ). ผีกองกอย น. การเล่นอย่างหนึ่งในคืน เดือนมืด โดยจุดเทียนไว้บนกอง ทราย แล้วทุกคนไปซ่อนห้ามส่ง เสียงดังเชื่อว่าผีกองกอยจะมา เล่นไฟ พอเทียนดับก็จะมาดูว่า มีรอยเท้าเล็ก ๆ ของผีกองกอย บนทรายรอบเทียนหรือไม่. ผีกะพุ่งใต้ น. ผีพุ่งใต้. ผีกินแรงตาย คนกินแรงไม่ตาย (ส�ำ) ให้ อ ดทนเมื่ อ ถู ก เอารั ด เอา เปรียบ; ถูกคนกินแรงหรือถูก คนเอาเปรียบย่อมไม่ตาย ไม่ เหมือนกับผีปอบกินตับไตไส้พงุ แล้วตาย. ผีแจกทางหากิน (ส�ำ) น. ฟ้าประทาน ให้แต่ละคนมีความสามารถหรือ เก่งกันคนละทาง; ท�ำนองว่า ทางใครทางมัน, เชื่อกันว่าผู้ที่ 198

ท�ำอะไร ๆ ก็ประสบความส�ำเร็จ เป็ น เพราะผี , สิ่ ง ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ , ฟ้าหรือสวรรค์ประทานมาให้, ผีแจกนาให้ท�ำ ก็ว่า. ผีแจกนาให้ท�ำ [ผี-แจก-นา-ไห่-ท�ำ] (ส�ำ) น. ดู ผีแจกทางหากิน. ผีซุกผ้า [ผี-ซุ่ก-ผ่า] น. การเล่นอย่าง หนึง่ เหมือนมอญซ่อนผ้า ผูเ้ ล่น นัง่ เป็นวงกลมหันหน้าเข้าหากัน ให้ ค นหนึ่ ง เป็ น “ผี ” เดิ น วน รอบ ๆ ไปมานอกวง คนใด เผลอก็จะเอาผ้าม้วนกลม ๆ วาง ไว้ขา้ งหลัง (ขณะเล่นห้ามคนนัง่ ที่เห็นพูด หรือมองข้างหลังตน) เมือ่ ผีเดินวนมาทีเ่ ดิมก็จะเอาผ้า ตีหลังคนนั้น ๒ - ๓ ที แล้วไป ซุกคนอื่นต่อไป ถ้าคนนั่งจับได้ ว่าถูกวางผ้าคน ๆ นั้นจะไปเป็น ผีแทน. ผีตกป่าช้า [ผี-ต๊ก-ป่า-ช่า] (ส�ำ) น. ผีถึงป่าช้า, จ�ำใจท�ำเพราะไม่มี ทางเลือก, อยู่ในภาวะจ�ำยอม. ผีบ้านผีเรือน น. ผีประจ�ำบ้านหรือ เรือน. ผีปัด [ผี-ปัด๊ ] ก. อุบัติเหตุที่เกิดจาก มือซึ่งเชื่อว่าเกิดจากผีปัดมือ ท� ำ ให้ เ กิ ด เหตุ อ ย่ า งใดอย่ า ง หนึ่ง เช่น สิ่งของหลุดหล่นจาก มื อ เชื่ อ ว่ า เกิ ด จากผี ป ั ด ให้


พจนานุกรม ภาษาโคราช หลุดมือ. ผีเป้า น. ผีพรายชนิดหนึ่งอยู่ตามป่า สามารถแปลงร่างปรากฏตัวให้ เห็นในชั่วพริบตา. ผีโป่ง น. ภู ต ผี ที่ เ ฝ้ า ดิ น โป่ ง มั ก จะ ปรากฏตัวชั่วพริบตา ผีผลัก [ผี-พัก] ก. ผีผลักให้เกิดเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อยู่ดี ๆ ก็ล้ม, การที่มีดบาดมือเชื่อว่า เกิดจากการกระท�ำของผีผลัก มีดให้บาดมือ. ผีโพลง [ผี-โพง] น. ผีประเภทหนึ่งที่ ปรากฏตัวเป็นดวงไฟลุกโพลง. ผีไม่ฆ่าม้าไม่เหยียบ [ผี-ไม่-ข่า-ม่าไม่- เหฺยยี บ] (ส�ำ) น. คนดีผคี มุ้ , คนดีพระย่อมคุม้ ครอง, คนท�ำดี ย่อมแคล้วคลาดจากภยันตราย. ผีเรือนให้ท่าผีป่าก็พลอย [ผี-เลือนไห่-ท่า-ผี-ป่า-ก็-พอย] (ส�ำ) น. คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอก บ้านเข้ามาท�ำความเสียหาย. ผีเหยียบ ก. ผีอ�ำ, อาการไหวตัวไม่ได้ ในขณะนอนเพราะฝั น ร้ า ย เหนื่ อ ยหอบหายใจไม่ อ อกจน ตื่นขึ้น. ผูกเกลอ [ผูก-เกอ] น. การร่วมดื่มน�้ำ สาบานว่าจะเป็นเพื่อนตาย ใช้ ส�ำหรับผู้ชาย ถ้าเป็นผู้หญิง เรียกว่า ผูกเพื่อน, ถิ่นอีสานใช้

ว่า ผูกเสี่ยว. ผูกข้อต่อมือ [ผูก-ข่อ-ต่อ-มือ] ดู ผูกมือถือแขน. ผูกเพื่อน ดู ผูกเกลอ. ผูกมือถือแขน ก. สู่ขอหญิงเพื่อการ สมรสด้วยการน�ำสินสอดทอง หมั้นผูกข้อมือ, ผูกข้อต่อมือ ก็ว่า. ผู้ดีเดินกรอก ขี้ครอกเดินถะลา [ผู่ดี-เดิน-กอก-ขี-่ คอก-เดิน-ทะลา] (ส�ำ) น. การพลิกผันฐานะ อย่างกลับตาลปัตรไปในทางที่ เลวร้าย, ความเปลี่ยนแปลงที่ เป็นไปในทางตรงกันข้าม; ในอีก ความหมายหนึ่ง คือผู้ดีตกอับ ขี้ครอกได้ดี. ผู้ดีตีนแดงตะแคงตีนเดิน [ผู่-ดี-ตีนแดง-ตะ-แคง-ตีน-เดิน] น. ค�ำ ประชดว่าดัดจริตท�ำเป็นผู้ดี. ผู้ดีนุ่งผ้าดอก บ้านนอกนุ่งผ้าพื้น [ผู่ดี-นุ่ง-ผ่า-ดอก-บ้าน-นอกนุ่ง-ผ่า-พื่น] (ส�ำ) ก. บ่งบอก ถึงฐานะว่าผู้ดีสูงศักดิ์นุ่งผ้าทอ ชั้ น ดี มี ด อกลวดลาย แต่ ช าว บ้านแต่งกายนุ่งผ้าทอพื้นบ้าน. ผูด้ แี ปกสีแหรก [ผู-่ ดี-แปก-สี-แหฺลก] น. ค�ำประชดว่าวางท่าอย่างผูด้ ี หรือดัดจริตท�ำตัวเป็นผู้ดี. ผู้หญิงอิงเรือ [ผู่-หยิง-อิง-เลือ] (ส�ำ) 199

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เผลอแผล็บเดียว - ฝาปรือกรุ๊เซงด�ำ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

น. ผูห้ ญิงยิงเรือ, ผูห้ ญิงริงเรือ, ผู้หญิงทั่วไป. เผลอแผล็บเดียว [เผอ-แพ็บ-เดียว] ก. ลืมไปชั่วประเดี๋ยวเดียว เช่น เผลอแพล็ บ เดี ย ว ๓ ปี แ ล่ ว (เผลอลืมไปประเดีย๋ วเดียวผ่าน ไป ๓ ปีแล้ว). เผานา น. ภาษีบ�ำรุงท้องที่. เผาผี ก. เผาศพ เช่น ไปเผาผี (ไปงาน เผาศพ). เผาพริกเผาเกลือ [เผา-พิก่ -เผา-เกือ] (ส�ำ) ก. เป็นการสาปแช่งอย่าง หนึ่ง ด้วยการคั่วพริกคั่วเกลือ แล้วก็สาปแช่งในขณะทีค่ วั่ เชือ่ กันว่าจะบังเกิดผลตามที่แช่ง. เผิ่ง ก. แห้ง, ผึ่ง, แห้งผาก, แห้งสนิท เช่น แห่งเผิ่ง (แห้งผาก). แผ่ ก. เรี่ยไร, ขอรับบริจาค, บอกบุญ, แผ่สลาก ก็ว่า. แผ่สลาก ดู แผ่. แผลเห่อ น. แผลอักเสบ.

200

โผงผาง

โผงผาง น. ชื่อไม้พุ่มเตี้ยในกลุ่มต้น ขัดมอน, หญ้าขัดชนิด Abutilon indicum (L.) ในวงศ์ Malvaceae ล� ำ ต้ น จะมี ข น สี ข า ว น ว ล ทั้ ง ต ้ น ใ บ ม น ปลายแหลม ดอกเหลื อ ง ใช้ท�ำยาบ�ำรุงเลือดและขับลม นั ก พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร ์ เ รี ย ก ครอบจักรวาล, ครอบตลับ. ไผ น. ไฝ. ไผ่น้องหนึ่ง [ไผ่-น่อง-หนึ่ง] น. ไผ่ที่ มีอายุประมาณ ๑ ปี ซึ่งนวลไผ่ จะหมดไปเป็นผิวสีเขียวเข้ม.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ฝนขาดเม็ด [ฝน-ขาด-เม่ด] ว. ฝน หยุดตก. ฝนตกชะ [ฝน-ต๊ก-ช่ะ] ก. ฝนตกจน เปียกโชก, ฝนตกใส่จนไหลอาบ ไปทั่ว, ฝนตกท�ำให้สิ่งที่ติดอยู่ หลุดไปหรือหมดไป. ฝนตกแดดออก นกกระจอกเข้ารัง [ฝน-ต๊ก-แดด-ออก-น่ก-กะจอก-เข่า-ลัง] น. เพลงก้อมให้ เด็ ก ที่ ร ้ อ งงอแงสนุ ก สนาน, (เพลงก้อม). ฝนมีด ก. ลับมีด. ฝนระเหย [ฝน-ล่ะ-เหย] ก. หมดฝน, สิ้นฝน. ฝนลงเม็ด [ฝน-ลง-เม่ด] ก. ฝนเริม่ ตก. ฝนล่า [ฝน-หล่า] ว. ฝนมาล่าช้า. ฝนล่าฟ้าแรง [ฝน-หฺล่า-ฟ่า-แลง] ว. ฝนมาล่ า ช้ า กว่ า ฤดู ก าลและ ตกแรง. ฝนสั่ง น. ฝนสั่งฟ้า, ฝนที่ตกหนักตอน ปลายฤดูฝน. ฝ่อ ๆ ดู ฝู ๆ. ฝอดฝอย ว. ระแคะระคาย, เค้าเงื่อน นิด ๆ หน่อย ๆ แต่ยังยืนยัน ไม่ได้. ฝอย ๑. ว. โม้, โว, พูดเกินความจริง.

๒. น. ฉลาก, ค�ำอธิบายวิธีใช้ เช่น ฝอยยา (ฉลากยา). ฝอยฝน น. ละอองฝน เช่น พระชลนัย ไหลเช็ ด ดั ง ฝอยฝน (นิ . พระ ปาจิต). ฝอยไหม น. ฝอยทอง; พืชล้มลุกไม่มี ใบ ต้นเป็นเส้นเล็ก ๆ สีเหลือง ออกสีทอง. ฝากก [ฝา-ก๊ ก ] น. ฝาที่ ใ ช้ ต ้ น กก กรุขัดท�ำเป็นฝา.

ฝากก

ฝาขัดเซงด�ำ [ฝา-คัด-เซง-ด�ำ] น. ฝาเรือนที่ขัดแตะสานด้วยไม้ไผ่ มี สี ด� ำ สลั บ เป็ น ลายทาด้ ว ย น�ำ้ มันยาง, (ดู เซงด�ำ ประกอบ). ฝาปรือกรุเ๊ ซงด�ำ [ฝา-ปือ-กุ-๊ เซง-ด�ำ] น. ฝาเรือนทีท่ ำ� ด้วยต้นปรือ ซึง่ เป็นกกชนิดหนึ่ง โดยใช้เซงด�ำ เป็นตัวหนีบใบปรือให้แน่นทั้ง 201

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ฝ่าม - พรวนทาม ด้านนอกและด้านใน, (ดู เซงด�ำ ประกอบ). ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ฝาปรือกรุ๊เซงด�ำ

ฝ่าม ก. ฝ่อ, ท�ำให้มีรสชาติจืด (ใช้แก่ ผลไม้) เช่น อ้อยฝ่าม (อ้อยฝ่อ จืดไม่หวาน). ฝิ่น น. กระโดงแดง ; ไม้ต้นขนาดเล็ก ถึงกลาง ชนิด Chionanthus micostigma (Gagnep.) Kiew ในวงศ์ Oleaceae ถิ่นราชบุรีเรียก ฝิ่นต้น.

202

ฝีหัวเดือน น. ฝีตะมอย, ฝีชนิดหนึ่งขึ้น ตามนิ้วมือ. ฝุ่น น. ปุ๋ยคอก, ปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ แห้งเป็นผง. ฝุ่นกลบ [ฝุ่น-ก๊บ] ว. ฝุ่นตลบ, ฝุ่นฟุ้ง. ฝู ๆ ว. เสียงกรนในล�ำคอ เช่น เสียง กรนอยู่ฝูฝู พระโฉมตรูแล้วนิ่ง ไป (นิ.กุศราช), ฝ่อ ๆ ก็ว่า เช่น เหื่ อ ย้ อ ยลงหลามไหล เสี ย ง หายใจอยู่ฝ่อฝ่อ (นิ.รูปทอง). เฝอฝุ่น น. ฝุ่น เช่น เป็นเฝอฝุ่นตรอง เห็นไม่เป็นผล (สุภมิต ฯ). เฝ้า ผีเ ฝ้าไข้ [เฝ่า-ผี- เฝ่า-ไข่] ก. คอยดูแลปรนนิบัติ, พยาบาล ผู้เจ็บป่วย. แฝงเฝือง ก. แฝง, แอบแฝง, ซ่อนเร้น เช่น พระเห็นเหตุแจ่มแจ้งไม่ แฝงเฝือง (นิ.พระปาจิต).


พจนานุกรม ภาษาโคราช

พง น. แขม, ไม้ล้มลุกประเภทหญ้า ดอกใช้ท�ำไม้กวาด. พญาใต้ราก น. ชื่อไม้ต้นสูงทรงพุ่ม ชนิ ด Podocarpus nerri folius D. Don ในวงศ์ Podocarpaceae ใบเดี่ ย ว ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู ้ สี เหลืองอ่อนเป็นช่อคล้ายหาง กระรอก ดอกเพศเมียเป็นดอก เดี่ยวออกตามง่ามใบผลรูปไข่ ใช้ ท� ำ อุ ป กรณ์ ต กแต่ ง ภายใน นักพฤกษศาสตร์เรียก พญาไม้, ขุนไม้ ก็ว่า.

ในวงศ์ Lauraceae ใบรูปหอก ปลายเรียวแหลม ดอกเล็กสี เหลืองอ่อนเป็นช่อ กลิ่นหอม ผลรู ป ไข่ เ ป็ น พวง เกิ ด ตาม ป่ า ดงดิ บ ใช้ ท� ำ ยาและปรุ ง น�้ำหอม, สุรามริด ก็ว่า. พญามาร น. ผีหลวงหลาวเหล็ก ทีห่ มอ เพลงโคราชเชือ่ ว่าจะดลบันดาล ให้การว่าเพลงติดขัด ไม่เกิด ปัญญาหรือปฏิภาณท�ำให้ด้น กลอนเพลงไม่ออก เช่น ขอ ยกย่องสัพพัญญูที่ได้ปราบหมู่ ดอกนาครูนาพญามาร (เพลง โคราช). พยพ [พะ-ย่ บ ] ก. อพยพ เช่ น ต่ า งพยพพากั น เข้ า แห่ โ หม (นิ.พระปาจิต). พยุหยัดตรา [พะ-ยุ-ฮะ-ยัด-ตา] น. พยุหยาตรา, กระบวนทัพใหญ่ เช่ น ตั้ ง พยุ ห ยั ด ตรา ยกพล โยธาไปเมืองสากล (นิ.กุศราช). พรมเจียม น. พรมทีท่ ำ� จากขนสัตว์ชนิด หนึ่งในจ�ำพวกกวาง เช่น พรม เจี ย มหาปู ไ ว้ ข อเชิ ญ ท่ า นนั่ ง เถิดรา (นิ.รูปทอง). พรวนทาม [พวน-ทาม] น. พรวนที่ผูก

พญาปราบ

พญาปราบ น. อบเชย ; ชื่อไม้ต้นชนิด Cinnamomum iners Blume. 203

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


พระคลุมบาตร - พ่อกว่อก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

คอสัตว์ เช่น วัว, ควาย; บาง ครั้งผูกคอม้าเพื่อใช้ในการเล่น “ม้าล่อช้าง”. พระคลุมบาตร [พ่ะ-คุม-บาด] น. พระ ออกบิณฑบาต ในลักษณะห่ม จี ว รคลุ ม บาตร; โดยปริ ย าย หมายถึงเวลาเช้าตรู่, ถิ่นอีสาน ใช้ว่า คุมบาตร.

พระคลุมบาตร

พระเจ้าเหา [พ่ะ-เจ้า-เหา] (ปาก) ว. เก่าแก่,โบราณ เช่น รถคันนั่น สมัยพระเจ้าเหา (รถคันนั้นเก่า แก่สมัยโบราณ). พระทอง [พ่ะ-ทอง] น. พระประธาน หรื อ พระพุ ท ธรู ป องค์ ใ หญ่ ที่ ประดิ ษ ฐานอยู ่ ใ นโบสถ์ ห รื อ วิหาร. 204

พระทองค�ำ [พ่ะ-ทอง-ค�ำ] น. ชือ่ อ�ำเภอ หนึ่ ง ในจั ง หวั ด นครราชสี ม า ตั้ ง อยู ่ ที่ บ ้ า นปะค� ำ และต� ำ บล สระพระ จึงน�ำค�ำท้ายของบ้าน ประค�ำและต�ำบลสระพระมาตั้ง เป็นชือ่ แต่เพิม่ ค�ำว่า “ทอง” เพือ่ เป็นอนุสรณ์แด่พระยาปลัดทองค�ำ สามีของท่านท้าวสุรนารี. พระพาย น. ลม เช่น พระพายพัดเย็นใจ นอนหลับไปทั้งสองรา (นิ.รูป ทอง), อีกทั้งพระพายชายพัด ร�ำเพยพา (สุภมิต ฯ). พระภุย น. ลม เช่น อีกพระพายทั้ง พระภุ ย ร� ำ เพยมา คุ ณ รั ก ษา ดับเข็ญได้เย็นยิน (นิ.พระปาจิต). พระภูมินา [พ่ะ-พูม-นา] น. ร้านที่ท�ำ ด้วยไม้ไผ่เหมือนศาลเพียงตา สร้างไว้ทที่ นี่ า; การบวงสรวงจะ น�ำดินจากนาปั้นเป็นจอมปลวก เล็ก ๆ พร้อมด้วยเครื่องสังเวย พระภูมเิ จ้าทีน่ า แล้วอธิษฐานให้ คุ้มครองที่นา มักท�ำในวันแรก ของการท�ำนา. พรากลูกนกฉกลูกกา [พาก-ลูก-น่กชก-ลูก-กา] (ส�ำ) ก. ท�ำให้แม่ ลู ก พรากกั น ตรงกั บ ส� ำ นวน “พรากลูกนกลูกกา” เช่น เป็น ย้อนพรากลูกนก เป็นย้อนฉก ลูกกา กรรมยังตามมา (นิ.เพลง


พจนานุกรม ภาษาโคราช ศุภมิตร ฯ). พรายสะเรียง [พาย-ซะ-เลียง] ดู สะเม่าใหญ่.

เสร็จจัด (นิ.พระปาจิต). พลั่ด ๆ [พั่ด-พั่ด] ดู ปั๊ด ๆ ที่ ๒. พลาบ ว. ระยิบ, ระยับ, วาววับ, เลือ่ ม เช่น น�ำ่ เหลือ่ มพลาบ ๆ (น�ำ้ เลือ่ ม ระยิบระยับ), อันขาวพลาบวาบ เป็นเงาใส (นิ.พระปาจิต). พลิกฟืน้ [พิก่ -ฟืน่ ] ก. พลิกหรือฟืน้ พืน้ ดินกลับขึ้นมา. พลึ บ [พลึ่ บ ] ก. ลุ ก ทั น ที อ ย่ า ง รวดเร็ ว , ลุ ก ฮื อ (ใช้ แ ก่ ไ ฟ) เช่น ไฟลุ่กพลึ่บ. พลูหีบ น. เครือออน, ไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่อ, ล่วงสุ่มสาว, ล่วงสุ่มตัวผู้ ก็ว่า. พวงบุหรี่ น. บุหรี่พระราม, ไม้เถา ชนิดหนึ่งมีมือกาะ ดอกเป็นช่อ ออกตามง่ามใบ ผลเรียวยาว คล้ า ยกระบอกกลมเวลาแก่ ผลจะแตกที่ปลายเป็น ๓ ช่อง เมล็ดสีด�ำ. พวงหูตุ้ม น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Ardisia pilosa Fletch. ในวงศ์ Myrsinaceae. พวม ดู ก�ำพวม. พ่อกว่อก ๑. ว. มอมแมม, เปื้อน. ๒. ว. ขาวเหมือนพอกหรือโปะ แป้ง (ใช้แก่หน้า) เช่น หน่าขาว พ่อกว่อก (หน้าขาวเพราะพอก แป้งเต็มหน้า).

พรายสะเรียง

พริกตกละโลก [พิ่ก-ต๊ก-ล่ะ-โลก] น. ต้นพริกยืนต้นตายเนื่องจากถูก น�้ำท่วม. พริกบ้านเหนือเกลือบ้านใต้ [พิ่กบ้ า น-เหฺ นื อ -เกื อ -บ้ า น-ไต้ ] (ส�ำ) น�ำสิ่งของที่ใช้ประกอบ อาหารมาช่ ว ยงานบุ ญ เช่ น ข้ า วสาร พริ ก ผั ก น�้ ำ ปลา เป็นต้น. พริกผง [พิ่ก-ผง] น. พริกป่น. พริกม่า [พิ่ก-ม่า] น. ผักแพว; พืชผัก ล้มลุกชนิดหนึ่งใบเล็กรูปหอก ปลายเรี ย วแหลม มี ร สเผ็ ด รับประทานได้. พรุกนี้ [พุ่ก-นี่] ว. พรุ่งนี้ เช่น พรุกนี้ จะมา เจ้าอย่าร้อนใจ (นิ.รูป ทอง), วันพรุกนี้ตีสิบเอ็ดเรา 205

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


พอแกน ๆ - พิดิษฐ์

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

พอแกน ๆ [พอ-แกน-แกน] ว. ไป อย่างนัน้ , จ�ำใจท�ำอย่างเสียมิได้ เช่น กินพอแกน ๆ (กินไปอย่าง นั้นแหละ, กินพอเป็นพิธี). พ่อง ก. หมด, ลดลง. พอจ�ำบ่ม ว. จ�ำบ่ม, น�ำผลไม้ที่ยังแก่ ไม่ได้ที่มาบ่มให้สุก. พอฉันเกิดแม่ฉนั ตาย (ปริศ) น. ต้นกล้วย. พ่อดวง โดยปริยายใช้เป็นค�ำเปรียบ เที ย บมี ค วามหมาย เช่ น พ่อทูนหัว. พ่อเฒ่า [พ่อ-เถ่า] น. พ่อตา, ตาทวด, พ่อของตา. พ่อเฒ่าแม่เฒ่า [พ่อ-เถ่า-แม่-เถ่า] น. พ่อตาแม่ยาย. พอปาน [พอ-ปัน่ ] ว. ปาน, เหมือน, คล้าย, ราว เช่น พอปัน่ กัน (ปาน กัน), พอปัน่ ลูก (ปานกับลูก). พ่อปู่ น. พ่อของสามี. พอไปวัดตอนเพล [พอ-ไป-วัด่ -ตอนเพน] ดู พอไปวัดตอนสาย ๆ. พอไปวัดตอนสาย ๆ [พอ-ไป-วั่ดตอน-สาย-สาย] ว. พอไปวัด ไปวา, สวยพอสมควร, ไม่ถึง กับน่าเกลียด, พอไปวัดตอน เพล ก็ว่า. พ่อมัน ดู พ่อมึง. พ่อมึง น. สามี, เป็นค�ำที่ภรรยาเรียก สามี, เพ่าะมึง, พ่อมัน ก็ว่า. 206

พอยา ว. เพียงพอ เช่น เงินแค่นี่จะ พอยาอะไร. พ่อรัก [พ่อ-รั่ก] น. พ่อของเพื่อน. พอเรานอนมันตื่น พอเราตื่นมันนอน (ปริศ) น. พระจันทร์. พอแรง ว. พอควร, พอใจ, เพียงพอ, เต็มอิ่ม เช่น แอบขโมยเอาจน พอแรงแล่ว (แอบขโมยเอาจน เต็ ม ที่ ห รื อ พอใจแล้ ว ), กิ น ก็ พอแรงแล่วยังเอากลั๊บบ้านอิ๊ก (กินก็เพียงพอแล้วยังเอากลับ ไปบ้านอีกหรือ). พ่อว่อ ก. โผล่มา, ต�ำตา, ปรากฏทันที. แพ่แว่ ก็ว่า. พอสมมาพาควร ว. พอเหมาะพอดี, พอเหมาะพอควร, พอสั ม มา พาควร ก็ว่า. พอสัมมาพาควร ดู พอสมมาพาควร. พ่อใหญ่ น. ตา (พ่อของแม่). พ่อใหญ่แม่ใหญ่ น. ตายาย. พ่ออีนาง น. สามี, เป็นค�ำทีภ่ รรยาเรียก สามีท�ำนองว่าพ่อของลูกสาว. พ่อไอ้นาย น. สามี, เป็นค�ำที่ภรรยา เรี ย กสามี ท� ำ นองว่ า พ่ อ ของ ลูกชาย. พะ น. พื้นเรือนที่ต่อจากเรือนนอน หรือห้องนอนออกไปประมาณ ๑ ช่ ว งเสา มี ร ะดั บ เสมอพื้ น ระเบียง, (ดู เรือนนอนและร้าน


พจนานุกรม ภาษาโคราช พักนี้ [พั่ก-นี่] ว. หมู่นี้, ระยะนี้ เช่น พั่กนี่ไม่เห็นมาเลย. พั่ดว่า ว. กลับหาว่า, กลับค�ำพูด, เป็น หรือท�ำตรงกันข้ามกับที่คาด. พั น มหา น. ดองดึ ง ; ไม้ เ ถาชนิ ด Gloriosa superba L. ในวงศ์ Golchicaceae และ Liliaceae ปลายใบม้วน กลีบดอกจะบิด เป็นเส้นยาว ปลายดอกสีแดง และโคนดอกสีเหลือง หัวมีพิษ. พันยา ก. มวนยาสูบ. พับโผก ว. ตลบตะแลง, ปลิ้นปล้อน, พูดจากลับกลอก. พั่ว น. ช่อ, ขั้ว. พา น. ส�ำหรับ, ภาชนะ เช่น ถาด, กระด้ง เป็นต้น ใช้ส�ำหรับใส่ อาหาร, พาข้าว ก็ว่า. พาข้าว [พา-เข่า] ดู พา. พาก น. ทาก, หอยทาก. พาณิ โ ช น. พาณิ ช , พ่ อ ค้ า เช่ น พาณิ โ ชว่ า ยั ง มี พ ่ อ ค้ า จาร (นิ.พระปาจิต) พายซื่อ ก. พาซื่อ, เข้าใจตรง ๆ ตาม ที่เขาพูด, ภาษาซื่อ ก็ว่า. พาลพะโล ดู พะโล. พาโล ดู พะโล. พิกาศ ก. ประกาศ, เพกาศ ก็ว่า. พิจ่าง ว. อย่างนั้นแหละ. พิ ดิ ษ ฐ์ [พิ - ดิ๊ ด ] ก. ประดิ ษ ฐ์ ,

สันตะเข้ ประกอบ). พะนาด ก. เชื่อ, เซ็นไว้ก่อน. พะเนินเทินทึก [พะ-เนิน-เทิน-ทึก่ ] น. กอง สูงมาก เช่น กองพะเนินเทินทึก่ . พะมอน น. การขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผา ด้วยการหมุนแป้น, แป้นหมุน ส� ำ หรั บ ปั ้ น เครื่ อ งปั ้ น ดิ น เผา, ทะมอน ก็ว่า. พะมอน

พะยอพะแย ก. กระเสาะกระแสะ, ออดแอดด้ ว ยอาการป่ ว ย, อาการเจ็บป่วยอยู่บ่อย ๆ. พะยาสารท น. กระยาสารท, ข้าวเม่า สารท ก็ว่า. พะเร่อพะร่า ก. อาการทีแ่ บกหรือหอบ ของพะรุงพะรัง. พะลา ว. เวลา เช่น พะลาไปอย่าลืม เอามีดไปด้วย. พะโล ก. อาการโมโห, ดึงดันไม่ยอม ใคร, หุนหัน, ฉุนเฉียว, มุทะลุ, พาลพะโล, พาโล ก็ว่า. พะหยิ่มพะย่อง ว. กระหยิ่มยิ้มย่อง, ครึ้มใจ. 207

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


พิธาจารย์ - พูดกระแทกแดกดัน

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ประดิดประดอย. พิธาจารย์ น. พฤฒาจารย์, อาจารย์ ผู้สูงวัย. พิธาพราหมณ์ น. พฤฒาพราหมณ์, พราหมณ์ผู้สูงวัย. พิธีแรกนา น. การท�ำพิธีก่อนจะปักด�ำ, ด�ำนา เพื่อเอาฤกษ์เอาชัย ให้ เป็ น สิ ริ ม งคลได้ ผ ลเจริ ญ งอกงาม ด้วยการกล่าวแรกนา ๓ จบ แล้วปักด�ำกล้า ๗ ต้น. พิพาส ก. ประพาส, ไปเทีย่ ว เช่น วันนี้ พิพาสป่าไปกับข้าเล่นส�ำราญ (นิ.รูปทอง). พิ ม าย น. ชื่ อ อ� ำ เภอหนึ่ ง ในจั ง หวั ด นครราชสีมา ค�ำว่า “พิมาย” มี ที่มาตามหลักฐานต่าง ๆ ดังนี้ ๑. หลักฐานในจารึกภาษาเขมร บนแผ่นหินกรอบประตูระเบียง คดด้ า นหน้ า ของปราสาทหิ น พิมายมีค�ำว่า “วิมาย” ปรากฏ อยู ่ และในจารึ ก ปราสาท พระขรรค์ พุทธศักราชที่ ๑๘ ในประเทศกัมพูชา เรียกเมือง ที่ตั้งปราสาทหินพิมายว่าเมือง “วิมาย หรือ วิมายะปุระ” ต่อ มาเพีย้ นเป็น “พิมาย” อนึง่ จาก จารึกโบราณในสมัยก่อนเมือง พระนครและสมัยเมืองพระนคร ซึ่งเป็นหลักฐานทางโบราณคดี 208

บั น ทึ ก ว่ า บริ เ วณเขตแดนนี้ เรียกว่า “มูลเทศะ” มีเมือง “ภีมปุระ” เป็นเมืองส�ำคัญเมือง หนึ่ง ซึ่งต่อมาก็คือวิมายะปุระ หรือเมืองพิมาย. ๒. ในต� ำ นานท้ า วปาจิ ต นาง อรพิม ตอนหนึง่ กล่าวว่า ในพิธี อภิ เ ษกสมรสระหว่ า งท้ า ว พ ร ห ม ทั ต กั บ น า ง อ ร พิ ม ท้ าวปาจิ ต คนรั ก เก่ าแอบเข้ า ร่วมในพิธี พอนางอรพิมเห็น ได้ร้องเอ่ยว่า “พี่มา” ค�ำว่า “พี่” คนพิมายออกเสียงเป็น “พิ” ค�ำว่า “มา” จะออกเสียง ยาว ต่อมาค�ำว่า “พี่มา” ได้ กลายเสี ย งเป็ น “พิ ม าย” ดังนิทานค�ำกลอนเรือ่ งพระปาจิต กล่าวว่า “แม่นงคราญแลเห็น พระเชษฐา จึ ง ร้ อ งทั ก ออก ประจักษ์ว่าพี่มา ชาวพาราลือ สะท้อนขจรเมือง แต่นั้นมาชาว พาราพากันเรียก น�ำส�ำเหนียก ลือเล่าเป็นราวเรื่อง ให้นาม เมืองชื่อว่าพี่มาเมือง ทุกคน เนื่องเรียกเป็นเรื่องเมืองพิมาย ที่เกิดใหญ่ชายหญิงไม่รู้เรื่อง เ รี ย ก น า ม เ มื อ ง ผิ ด กั น นั้ น หนักหนา เมืองพี่มาก็มาเพี้ยน เปลี่ยนวาจา ทุกคนเรียกเป็น


พจนานุกรม ภาษาโคราช เรือ่ งเมืองพิมาย” (นิ.พระปาจิต). หมายเหตุ นักวิชาการเห็นว่า ชื่อพิมาย มิได้หมายถึงเสียง เรียกของนางอรพิมที่เรียกท้าว ปาจิตว่าพี่มา เพราะศิลาจารึก ปราสาทพระขรรค์ ก ล่ า วถึ ง เมืองวิมายหรือวิมายะปุระ พิมายด�ำ น. ภาชนะดินเผา รูปทรงสมัย ทวาราวดี มีลักษณะขัดมันเป็น ลายเส้นเขียนรอบ ๆ ผิวเรียบ ผิวด้านใดด้านหนึง่ จะมีสดี ำ� หรือ ด�ำทั้งหมด เป็นแบบเฉพาะ ขุด พบที่อ�ำเภอพิมายและบริเวณ ใกล้เคียง มีอายุในสมัยเหล็ก ประมาณ ๑,๕๐๐ – ๒,๓๐๐ ปี. พิมายด�ำ

พิมายปุระ [พิ-มาย-ปุ-๊ ล่ะ] น. ชือ่ เมือง พิ ม ายในอดี ต เป็ น หั ว เมื อ ง ส� ำ คั ญ ในสมั ย กรุ ง ศรี อ ยุ ธ ยา และกรุงรัตนโกสินทร์. พิลกึ พิลอื [พิ-ลึก่ -พิ-ลือ] ว. พิลกึ พิลนั่ , แปลกมาก, ประหลาดมาก. พิศวงงงงวย ว. พิศวง, สงสัย, แปลก. พิษฐาน [พิ่ด-สะ-ถาน] ก. อธิษฐาน. พีก่ อดน้อง คนทัง้ สองจมน�ำ้ [พี-่ กอด209

น่อง-คน-ทั่ง-สอง-จม-น่าม] (ปริศ) น. ข้าวต้มมัด. พีไ่ ด้พนี่ อ้ งได้นอ้ ง [พี-่ ได้-พี-่ น่อง-ได้น่อง] น. พี่ชายแต่งงานแล้ว น้องชายยังมาแต่งงานกับน้อง สาวของภรรยาพี่ชาย. พี่น้องท้องเดียวกัน [พี่-น่อง-ท่องเดียว-กัน] น. พีน่ อ้ งร่วมมารดา เดียวกัน. พี่น้องท้องเดียว แลเหลียวไม่เห็นกัน [พี-่ น่อง-ท่อง-เดียว-แล-เหฺลยี วไม่-เห็น-กัน] (ปริศ) ใบหู. พี่นาง น. พี่สะใภ้. พี่นาย น. พี่เขย. พี่ร่วมท้องน้องร่วมครรภ์ [พี่-ล่วมท่อง-น่อง-ล่วม-คัน] น. พี่น้อง ร่วมมารดาเดียวกัน เช่น พีร่ ว่ ม ท้ อ งน้ อ งร่ ว มครรภ์ กั น แท้ (สุภมิต ฯ). พี่รัก [พี่-ลั่ก] น. พี่ของเพื่อน. พุงขี้ [พุง-ขี่] ดู เกี่ยวคอไก่. พุ่มเรียงสวน ดู พูเวียง. พูด น. เนื้อสัตว์ที่แล่ออกเป็นกอง ๆ เช่น เนื้อ ๑ พูด เท่ากับ ๑ กอง. พูดกระดกกระโด่ [พูด-กะ-ด๊ก-กะ-โด่] ก. พูดไม่เหมือน, พูดไม่ชัด เช่น คนต่างชาติพูดภาษาไทย. พูดกระแทกแดกดัน ก. พูดกระทบหรือ ประชดประชันให้เจ็บใจ.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


พูดแข่ง - เพลงลากไม้

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

พูดแข่ง ก. พูดประชันในขณะที่คนอื่น ก�ำลังพูด. พูดแซม ก. พูดสอดแทรกขณะที่ผู้อื่น ก�ำลังพูด, พูดสอด, แซม ก็ว่า. พูดดัด [พูด-ดั๊ด] ดู ดั๊ด. พูดดัดล่าง [พูด-ดั๊ด-ล่าง] ดู ดั๊ด. พูดเดิม ก. พูดนินทา, พูดเรื่องคนอื่น ลับหลัง. พูดตกโคราช [พูด-ต๊ก-โค-ลาด] ก. พู ด ภาษาไทยกรุ ง เทพแล้ ว เผลอไผลพูดภาษาโคราช พูดถึงก็มา (ส�ำ) ว. ไม่ตายง่าย. พูดบ้บ ๆ [พูด-บ้บ-บ้บ] ก. พูดใน ลักษณะลิ้นรัว. พูดบ้อบ ๆ [พูด-บ้อบ-บ้อบ] ก. พูด พล่าม, พูดจ้อ. พูดผลอ [พูด-ผอ] ก. พูดสวน, พูด เรื่อยเปื่อย, พูดไร้สาระ, พูด พล่อย ๆ. พูดผวา [พูด-ผะ-หวา] ก. พูดเสียง แปร่ง ๆ กล่าวคือ มีเสียงผิด เพีย้ นไปจากปกติ เช่น พูดภาษา โคราชแล้วตกหรือพลัดหลงพูด ภาษาไทยกรุงเทพ หรือคนต่าง ประเทศพูดภาษาไทยไม่ชดั ถ้อย ชัดค�ำ เป็นต้น. พูดเพรอะ ก. พูดไม่เพราะ, พูดพล่อย ๆ, พูด เพร่อ ะ ก็ว ่า, (ดู เพรอะ ประกอบ). 210

พูดเพร่อะ ดู พูดเพรอะ. พูดไม่ได้ไอไม่ดังเลยนั่งเฉย (ส�ำ) ก. พูดไปไม่ได้ประโยชน์ นิ่งเสียจะ ดีกว่า; เปรียบได้กับ พูดไปสอง ไพเบี้ยนิ่งเสียต�ำลึงทอง. พูดแรง ก. พูดเสียงดัง, พูดจารุนแรง. พู ด ลั ง ก. พู ด สอดแทรกในขณะที่ คนอืน่ ก�ำลังพูด ท�ำให้ฟงั ไม่รเู้ รือ่ ง, ลัง ก็ว่า. พูดเลอะเทอะเลินเทิน [พูด-เลอะเท่อะ-เลิน-เทิน] ก. พูดไร้สาระ. พูดแล้วเหยียบ [พูด-แล่ว-เหฺยยี บ] ก. พูดแล้วให้ปกปิดเป็นความลับ. พูดสอด ดู พูดแซม. พูดแสะ [พูด-แซะ] ก. พูดเสียดสี, พูด กระแนะกระแหน, พูดแสะพูด เสียด, ว่าแสะว่าเสียด ก็ว่า. พูดแสะพูดเสียด [พูด-แซะ-พูด-เสียด] ดู พูดแสะ. พูดหยาบเหมือนหนังกระโปก ก. พูด หยาบคาย, พูดจาลามก. พูดหา ก. พูดด้วย. พูดเองเป็นเอง น. ตัวเองท�ำตัวเองโดย ไม่มีใครท�ำ. พูเวียง น. ชื่อไม้ยืนพุ่มขนาดย่อมใน กลุ ่ ม ต้ น “ช� ำ มะเลี ย งและ พุ่มเรียง” ชนิด Otophora cambodiana Pierre. ในวงศ์ Sapindaceae ใบประกอบ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ใบย่ อ ยเป็ น รู ป หอกเรี ย วยาว สี เ ขี ย วเข้ ม ดอกสี แ ดงเป็ น ช่ อ เล็ ก ผลรู ป หั ว ใจมี ร ่ อ ง ตรงกลางแบ่งออกเป็น ๒ พู สุกจะสีม่วงด�ำเหมือนสีลูกหว้า รสหวานปนฝาด ใช้ท�ำเป็นยา แก้ไข้สนั นิบาต ท้องผูก ร้อนใน, นั ก พ ฤ ก ษ ศ า ส ต ร ์ เ รี ย ก ช� ำ มะเรี ย งบ้ า น.

อีกเส้นเป็นหญิงชักลาก จะมี การร้ อ งเพลงโต้ ต อบกั น ตลอดทาง เพื่อให้สนุกสนาน คลายความเหน็ดเหนื่อย ซึ่ง แต่ละท้องที่อาจมีค�ำร้องแตก ต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ ในค�ำร้องจะมีค�ำว่า “ช่าโกรก” เช่น ช่าเจ้าเอยโกรกเอย ล่วง ถึงเดือนห๊ก ยังไม่ได้ต๊กกล้า ทางวัดเกณฑ์มาลากไม่ ลาก มาได้ ถึ ง หนองจะบ๊ ก มั น ให่ อ่อนอ๊กอ่อนใจ, เพลงลากไม้, โกรกลากไม้ ก็ว่า. เพลงช้าเจ้าหงส์ดงล�ำไย [เพง-ช่าเจ้า-หง-ดง-ล�ำ-ไย] น. เพลง ปฏิ พ ากษ์ ร ้ อ งโต้ ต อบกั น ระหว่างชายกับหญิงเป็นคู่ ๆ ใน งานเทศกาล เช่น สงกรานต์, เพลงดงล�ำไย ก็ว่า. เพลงเชิด น. เพลงที่ใช้ร้องประกอบ การเล่ น เช่ น ชั ก คะเย่ อ (ชักเย่อ), แม่กระซิบ, ไสส่าว, วิ่งวัว เป็นต้น. เพลงดงล�ำไย ดู เพลงช้า เจ้า หงส์ ดงล�ำไย. เพลงโรง น. เวทีแสดงเพลงโคราช, โรงเพลง ก็ว่า. เพลงลากไม้ [เพง-ลาก-ม่าย] ดู เพลง ช้าโกรก.

พูเวียง

เพ ก. หัก, พัง เช่น เกียนเพ (เกวียนหัก). เพลงก้อม น. เพลงพืน้ บ้านโคราชอย่าง หนึ่งสันนิษฐานว่าต่อมาพัฒนา เป็นเพลงโคราช. เพลงช้าโกรก [เพง-ช่า-โกก] น. การ เล่ น เพลงพื้ น บ้ า นในเทศกาล ตรุษสงกรานต์ หรือหลังฤดูเก็บ เกี่ยว เดิมใช้ร้องประกอบการ ชักลากไม้มาใช้งานในวัด เช่น สร้างกุฏิ โดยใช้เชือก ๒ เส้น ดึ ง ลาก เส้ น หนึ่ ง เป็ น ชาย 211

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เพ่อเล่อเพ่อเจ้อ - โพะเพะ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เพ่อเล่อเพ่อเจ้อ ว. ประเจิดประเจ้อ. เพ่อเว่อ ว. เหวอะหวะ, ลักษณะของ บาดแผลฉกรรจ์. เพะ ว. เป๊ะ, ตรง, ตรงที่หมายพอดี, เป๊ะ, เพละ ก็ว่า. เพรอะ ว. พล่อย, ไม่เพราะ เช่น อย่า ได้ฟังบ่อนเพรอะ ฟังแต่ที่บ่อน เพราะ (เพลงโคราช), เพร่อะ, พูดเพรอะ, พูดเพร่อะ ก็ว่า . เพร่อะ ดู เพรอะ. เพละ [เพล่ะ] ดู เป๊ะ. เพาะ ว. ใช้ประกอบค�ำว่าขาว, นวล เพือ่ เน้นค�ำ เช่น ขาวเพาะ (ขาวจัว๊ ะ), นวลเพาะ (นวลผ่องเป็นยองใย). เพ่าะ น. พ่อ. เพาะแพะ น. ต้นตายใบเป็น, คว�่ำตาย หงายเป็น, โพะเพะ ก็ว่า.

เพาะแพะ

เพิกพังพอน น. ที่อยู่ของพังพอน. เพิงยุ้ง [เพิง-ยุ่ง] น. เพิงที่ต่อจากยุ้ง 212

ข้าวท�ำเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว ระหว่างรอบ้านที่ก�ำลังสร้าง; บางครั้ ง ท� ำ เป็ น เพิ ง เอกเทศ ไม่ต่อจากสิ่งปลูกสร้างใด ๆ, (ดู เรือนชั่วคราว ประกอบ).

เพิงยุ้ง

เพียปาก น. ปากพล่อย. เพี้ยฟาน [เพี่ย-ฟาน] น. ราชดัด กาจับหลัก, พญาดาบหัก; ไม้พมุ่ ชนิด Brucea javanica (L.) Merr. ในวงศ์ Simaroubaceae ต้นสูงประมาณ ๑ - ๒ เมตร ใบ เป็นใบประกอบ ขอบใบหยัก ดอกสีแดงออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามง่ามกิ่ง ผลรูปใข่เมื่อแก่จะ สีด�ำเมล็ดใช้ท�ำยาแก้ปวดท้อง พยาธิ บ�ำรุงธาตุ, เฟีย่ ฟาน ก็วา่ . เพริด ก. ตื่น, แสดงอาการผิดปกติ เพราะตกใจหรือไม่คุ้นเคย. เพียะ น. เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งท�ำด้วย ไม้ไผ่ใช้ปากเป่าและลิ้นช่วยให้ เกิดเป็นเสียงดนตรีคล้ายเพี้ย,


พจนานุกรม ภาษาโคราช จ้องหน่อง, เรไร แต่เพี้ยใช้ดีด จ้องหน่องใช้กระตุก ส่วนเรไร ท� ำ ด้ ว ยไม้ ซ างอั น เดี ย วมี เ ต้ า ส�ำหรับเป่า.

เพียะ

แพ่ง ก. ริน, แจก, แบ่ง (มักใช้แก่เหล้า). แพงพอน น. พังพอน. แพรงพราง ก. อ�ำพราง เช่น ไปสืบดู ให้แจ้งใจใสสว่าง จะเหตุจริง จะได้แจ้งไม่แพรงพราง (นิ.พระปาจิต). แพรพับไว้ [แพ-พั่บ-ไว่] (ส�ำ) ว. เรี ย บร้ อ ย ; ตรงกั บ ส� ำ นวน “ผ้าพับไว้” เช่น หลานของน้า อ่อนโยนเรียบร้อยดัง่ แพรทีพ่ บั ไว้ ก็มิเท่า (ท้าว ฯ). แพรสะพาย น. ผ้าแพรที่คล้องหรือ ห้อยเฉียงบ่า เช่น นางจงช่วย ปลดแพรสะพายออกยื่นให้เขา เถิด (ท้าว ฯ). แพลม [แพม] ว. แวบ เช่ น ฟ่ า แพลมทางโน่นทีแพลมทางนี่ที (ฟ้าแลบทางโน้นทีแลบทางนีท้ )ี . แพล่ม [แพ่ม] ก. พล่าม, เพ้อเจ้อ, พูดมาก, อาการที่พูดซ�้ำซาก 213

ไม่รู้จักจบจนน่าร�ำคาญ. แพ่แว่ ดู พ่อว่อ. แพสลาด [แพ-สะ-หฺ ล าด] น. เพสลาด, ไม่แก่ไม่อ่อนก�ำลัง พอดี (ใช้กับใบไม้ที่รับประทาน ได้). แพะ ก. ท�ำข้าวแพะ, แพะข้าว ก็ว่า, (ดู ข้าวแพะ ประกอบ). แพะข้าว [แพะ-เข่า] ดู แพะ. แพ่ะ [แพ่ะ] ว. ลักษณะที่นอนแผ่ เช่น ล่มแพ่ะ (ล้มลงนอนแผ่). โพง ว. ผิวหนังพอง. โพด ว. มากเกิน เช่น ไกลโพด, ด�ำโพด. โพดไป ว. เกินไป. โพไทร น. ไกร, ไทรเลียบ ชนิด Ficus superba Miq. ในวงศ์ Moraceae เปลือกสีเทาเรียบ ใบใหญ่ ช่อดอกรูปคล้ายผล ออกตามง่ามใบ ผลสีชมพู. โพนเพน ดู อีโผนอีเผน. โพรงตะเกียง ดู กะโลงตะเกียง. โพลงพลาม ว. แพรวพราวเห็นอย่าง เด่นชัด เช่น เป็นกระบวนทวน ธงดูโพลงพลาม (นิ.พระปาจิต). โพะเพะ ๑. ดู เพาะแพะ. ๒. น. ทองสามย่าน ไม้ล้มลุก ชนิ ด Kalanchoe integra (Medik.) O. Kuntze จัดอยู่ใน วงศ์ Crassulaceae ล�ำต้นมี

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ไพ - ฟันหวี

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ลั ก ษณะโค้ ง แล้ ว ตั้ ง ตรง สู ง ประมาณ ๑-๑.๕ เมตร เป็น พรรณไม้กลางแจ้งชอบ แสงแดด ใบเป็นรูปไข่หรือรูป หอก ปลายใบมน ออกดอกเป็น ช่อบริเวณยอดของล�ำต้น ผล เป็นรูปยาวรี ใบสดต�ำแล้วคั้น เอาน�้ำเป็นยาแก้ไข้มาลาเรีย อหิวาตกโรค ล�ำต้นใช้เป็นยา ห้ามเลือด. ไพ ๑. ก. ถัก, ทอ, กรอง เช่น ไพหญ่า คา (กรองหญ้ า คาเป็ น ตั บ ),

214

ไพหญ่าแฝก (กรองหญ้าแฝก เป็นตับ). ๒. น. ลักษณะนามของตับหญ้า คา เช่น หญ่าคา ๒ ไพ (หญ้า คา ๒ ตับ). ไพ่ บ ้ ว น น. การเล่ น ไพ่ ยี่ สิ บ เอ็ ด , ไพ่ป๊อก. ไพร่ราบพลรบ น. พลทหารหน่วยรบ เช่ น นายกองนายหมวด ประกาศแก่ไพร่ราบพลรบทั้ง ปวง (ท้าว ฯ).


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ฟ่น น. พ่น เช่น ฟ่นน�่ำ (พ่นน�้ำ), ฟ่นสี (พ่นสี). ฟอด น. หวอด, ฟองน�้ำที่ปลาท�ำเป็นที่ วางไข่. ฟั ก กิ ง [ฟั ่ ก -กิ ง ] น. ฟั ก ชนิ ด หนึ่ ง ผลใหญ่สีเขียวเข้ม. ฟักแฟงแตงร้าน [ฟั่ก-แฟง-แตงล่ า น] น. พื ช ผั ก สวนครั ว ประเภทฟัก เป็นต้น. ฟังออกมั้ย ก. ฟังรู้เรื่องไหม. ฟัด [ฟั่ด] ก. ร่วมประเวณี, สืบพันธุ์. ฟันจอบ น. ฟันซี่บนด้านหน้า ๒ ซี่ แบนใหญ่คล้ายจอบ.

ฟันไม่เข้า [ฟัน-ไม่-เข่า] (ส�ำ) (ปาก) น. ฟันเขยินในลักษณะฟันบน ที่ ยื่ น ออกมา นอกริ ม ฝี ป าก แม้ จ ะหุ บ ปากฟั น ก็ ไ ม่ เ ข้ า ไป ภายในปาก มักถูกล้อเลียนว่า หนังเหนียวคือฟันไม่เข้า. ฟันไม่เข้าแทงไม่ออก [ฟัน-ไม่-เข่าแทง-ไม่ - ออก] ก. หนั ง เหนียว, เชื่อในทางไสยศาสตร์ ว่าฟันแทงไม่เข้าเนื้อ, อุปมา หมายถึงตายยาก. ฟันหว่อง น. ฟันแหว่ง, ฟันหลุดจาก แถวดูพร่องไปจากที่เคยมี เช่น ฟันบนหว่องไป ๒ ซี่ (ฟันแถว บนหลุดแหว่งไป ๒ ซี่).

ฟันจอบ

ฟันเจ่อ น. ฟันเขยิน, ลักษณะฟันบนที่ ยื่นออกมานอกริมฝีปาก.

ฟันหว่อง

ฟันหวี น. ฟืม, เครื่องทอผ้าที่กระทกให้ ด้ายหรือไหมประสานกัน ; ท�ำ ด้วยไม้หรือเหล็กเป็นช่องเล็ก ๆ มี หลายขนาด เช่น ๑,๖๐๐ -

ฟันเจ่อ

215

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ฟาก - ไฟไหม้ป่า ไม่ไหม้ห่อหมก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

๒,๐๐๐ ช่อง. ฟาก ว. เป็นค�ำปฏิเสธในท�ำนองว่า ไม่ มี ท าง, เป็ น ไปไม่ ไ ด้ เช่ น ฟากเถ้อะ (ท�ำไปเถอะไม่มีทาง เป็นไปได้). ฟาด ก. กิน, ร่วมประเวณี, ต่อย, ชก. ฟาน น. เก้ง, สัตว์จ�ำพวกกวางตัวเล็ก. ฟ้าแปล๊บ ๆ [ฟ่า-แป๊บ-แป๊บ] ดู ฟ้า แพลบ ๆ. ฟ้าผ่าลงดิน [ฟ่า-ผ่า-ลง-ดิน] ก. ฟ้ า ผ่ า โดยกระแสไฟหรื อ อิเล็กตรอนลงพื้นดิน. ฟ้าผ่าหัวปลาหมอ [ฟ่า-ผ่า-หัว-ปาหมอ] น. ฤดูที่ปลาหมอชุกชุม หัวปลาจะทิ้งเกล็ด; (ส�ำ) ฝนสั่ง ฟ้า, ฝนตกหนักและลมแรงตอน ปลายฤดูฝน, ฟ้าผ่าหัวปลาหมอ ลมหักคอไม่หลึม่ , ฟ้าผ่าหัวปลา หมอหักคอหน่อไม้ ก็ว่า. ฟ้าผ่าหัวปลาหมอ ลมหักคอไม่หลึ่ม [ฟ่ า -ผ่ า -หั ว -ปา-หมอ-ลมฮัก-คอ-ไม่-หลึ่ม] ดู ฟ้าผ่า หัวปลาหมอ. ฟ้ า ผ่ า หั ว ปลาหมอ หั ก คอหน่ อ ไม้ [ฟ่า-ผ่า-หัว-ปลา-หมอ-ฮักคอ-หน่อ-ม่าย] ดู ฟ้าผ่าหัว ปลาหมอ. ฟ้าแพลบ ๆ [ฟ่า-แพบ-แพบ] ก. ฟ้าแลบเป็นแสงแวบ ๆ, ฟ้า 216

แปล๊บ ๆ ก็ว่า. ฟ้าแมง [ฟ่า-แมง] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Dipteracanthus repens Hassk ในวงศ์ Diptero carpaceae นักพฤกษศาสตร์ เรียก จ�้ำหอม. ฟ้าแล่น [ฟ่า-แล่น] ว. ฟ้าแลบ, ฟ้าลัน่ ติดต่อกัน. ฟิต [ฟิ่ด] ๑. ก. ขยันฝึกซ้อม, เตรียม ตัวอย่างแข็งขัน. ๒. ว. คับ (มักใช้แก่การสวมใส่ เสื้อผ้า). ฟิตเปรี๊ยะ [ฟิ่ด-เปี๊ยะ] ๑. ก. ฝึกซ้อมหนัก, เตรียมตัวเต็มที่. ๒. ว. คับมาก, คับจนเสื้อผ้าที่ สวมใส่ตึงรัด. ฟืมฟันปลา น. ฟืมทอเสื่อ มีฟันเป็นซี่ๆ คล้ายฟันปลา. ฟืมรู น. ฟืมทอเสื่อ โดยเจาะรูกับเซาะ เป็นร่องสลับหน้าหลัง เวลาทอ ต้องใช้คน ๒ คน คนหนึ่ง คอย กระทบฟืมอีกคนคอยสอดเส้น กก คนสอดเส้นกก เรียกว่า คน พุ่ง. ฟุสแก๊ป [ฟุ่ด-สะ-แก่บ] น. กระดาษ ฟุลสแก๊ป; กระดาษสีขาว มีเส้น บรรทัด พับทบกลาง ขนาด ประมาณ ๔๓ x ๓๔ เซนติเมตร ใ ช ้ ส� ำ ห รั บ เ ขี ย น ห นั ง สื อ ,


พจนานุกรม ภาษาโคราช (อ.Foolscap) ฟูกเพาะเบาะหมอน [ฟูก-เพาะ-เบ๊าะหฺมอน] น. ฟูกเบาะเมาะหมอน, เครื่องนอน เช่น ฟูก หมอน ผ้าห่ม เป็นต้น, ฟูกเมาะเบาะ หมอน ก็วา่ เช่น อีกจัด๊ แจงทีล่ บั ที่นอน ฟูกเพาะเบาะหมอนเร็ว ไว (ช้าเจ้าหงส์). ฟูกเมาะเบาะหมอน [ฟูก-เมาะ-เบ๊าะหฺมอน] ดู ฟูกเพาะเบาะหมอน. ฟูมฟอง ว. ฟูม, ฟูเป็นฟองขึ้นมา เช่น น�้ ำ เนตรฟู ม ฟอง อาบพระ พักตรา (นิ.รูปทอง). เฟี่ยฟาน ดู เพี่ยฟาน.

เฟี่ยฟาน

ไฟเขียวไฟแดง (ปาก) น. ไฟสัญญาณ จราจร เช่น ธนาคารอยู่ตรงไฟ เขียวไฟแดง (ธนาคารอยู่ตรง ไฟสัญญาณจราจร). ไฟธาตุแตก ก. อาการทุรนทุรายของ คนก่อนจะตาย. ไฟประลัยลน น. ไฟประลัยกัลป์, ไฟที่ เชื่อว่าเป็นไฟล้างโลกเมื่อสิ้น กัป, มักเปรียบเทียบกับความ โกรธ เช่นในอกพ่อนี้เหมือนไฟ ประลัยลน (นิ.พระปาจิต). ไฟไหม้ป่า ไม่ไหม้ห่อหมก [ไฟ-ไหม่ป่า-ไม่-ไหม่-ห่อ-มก] (ปริศ) น. จอมปลวก.

เฟี่ยฟาน

217

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ 218


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ภพสาม น. พรหมโลก; สามโลกหรือ สามภพ โลกทั้ง ๓ คือ มนุษย์ โลก เทวโลก และพรหมโลก เช่น สมเด็จองค์สัตว์ที่พึ่งในภพ สาม (นิ.พระปาจิต). ภาษา น. ประเทศ, ชาติ มักพูดว่าต่าง ชาติตา่ งภาษา เช่น ทุกภาษาพา กันว่าภัยอย่ามี (นิ.พระปาจิต). ภาษาซื่อ ดู พายซื่อ. ภาษีดอกหญ้า [พา-สี-ดอก-หย่า] น. ภาษีบ�ำรุงท้องที่. ภิปราย ก. อภิปราย, พูดชี้แจงแสดง เหตุผลอย่างละเอียด เช่น ข้า เห็ น มิ ค วรแก่ โ ฉมฉาย ข้ า จึ ง ภิปราย คิดว่าจะคลายโกรธา,

สาวกทั้งหลาย ทูลเป็นภิปราย แก่พระศาสดา (นิ.กุศราช). ภูเขาสูงย่อมมีหญ้าขึ้น [พู-เขา-สูงย่อม-มี-หย่า-ขึ่น] (ส�ำ) น. ผู้ สูงศักดิย์ อ่ มมีบริวารเสริมบารมี เช่น เกียรติคณ ุ ของฝ่าบาทย่อม สูงประดุจภูเขาหลวง มิไยที่ หย่อมหญ้าไปขึน้ เพิม่ เสริมให้สงู ขึ้น (ท้าว ฯ). ภู เ ขาเหล่ า กา [พู - เขา-เหฺ ล ่ า -กา] ว. ภูเขาเลากา, มาก; น. กอง สู ง มาก มั ก ใช้ เ ปรี ย บว่ า เป็ น ดั่งภูเ ขา เช่น กองเป็นภูเ ขา เหล่ากา. ภูตผีปีศาจ น. ผี, อมนุษย์.

219

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

พลับพลาที่ประทับ ในพิธีเปิดถนนจอมสุรางค์ยาตร์

ปะร�ำส�ำหรับพิธีเปิดถนนจอมสุรางค์ยาตร์

220


พจนานุกรม ภาษาโคราช

มรคา [มอ-ละ-คา] ๑. น. มรรคา, ทาง, ถนน, เขียนเป็น มอระคา ก็มี เช่น ว่าท่านขามอระคาเขาเดิน ไหน (นิ.พระปาจิต). ๒. น. รถยนต์ เพี้ยนมาจากค�ำ ว่า มอเตอร์คาร์ (อ.motorcar). มฤคน้อยเห็นรอยสิงห์ [ม่ะ-ลึก่ -น่อยเห็น-ลอย-สิง] (ส�ำ) เพียงแต่รู้ ถึงกิตติศัพท์ก็หวาดกลัว เช่น ดุ จ มฤคน้ อ ยเห็ น รอยสิ ง ห์ ก็ หวาดระแวงเผ่นผยอง (ท้าว ฯ). (ดู โคน้ อ ยได้ ก ลิ่ น ราชสี ห ์ ประกอบ). มวนท้ อ ง [มวน-ท่ อ ง] ก. อาการ คลื่นเหียน. ม้วนเมี้ยน [ม่วน-เมี่ยน] ดู เมี้ยน. ม่วม ว. น่วม, อ่อนนุ่มจนเกือบเหลว เช่น ขนุนลูกนี่ม่วม (ขนุนลูกนี้ อ่อนนุ่ม). มวยคาดเชือก

มวยคาดเชือก น. มวยทีใ่ ช้เชือกพันมือ 221

ชกกัน ต่อมาใช้ผา้ ด้ายดิบแช่นำ�้ ข้าวเพือ่ ให้แข็งพันมือ เช่น ครัน้ เปรียบแล้วสรรพเสร็จได้เจ็ด คู่......เอาด้ายดิบคาดมัดเข้า ทันที (นิ.พระปาจิต). มวยไม่เต็มบาท น. มวยที่ได้ค่าชกคู่ละ ๑ บาท ต้องแบ่งกันคนละ ๒ สลึง, มวยสองสลึง ก็ว่า. มวยวัด [มวย-วัด่ ] น. มวยทีไ่ ม่มชี นั้ เชิง ในการชก; ในสมั ย ก่ อ นการ ชกมวยจะมีแต่ในงานวัด ไม่มี ค่ายมวย นักมวยไม่มีการฝึก ซ้อม ชอบใจใครก็เปรียบมวย ชกกันเลย. มวยสองสลึง ดู มวยไม่เต็มบาท. มหาดเด็กชา [มะ-หาด-เด๊ก-ชา] ดู มหาดเล็กเด็กชา. มหาดเล็กเด็กชา [มะ-หาด-เล่ก-เด๊กชา] น. เด็กชา, เด็กรับใช้ในวัง, มหาดเด็กชา ก็วา่ เช่น เสนีเสนา มหาดเด็ ก ชา ช้ า งม้ า ข้ า คน, มหาดเล็ ก เด็ ก ชา ให้ ม ารั บ นางสาวศรี (นิ.กุศราช). มหาฬาร ว. มโหฬาร, ยิ่งใหญ่ เช่น พระราชทานเพลิ ง ศพสมเด็ จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย ณ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


มหาเหนียว - มะเขือพวง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ท้ อ งสนามหลวงซึ่ ง เป็ น งาน มหกรรมมหาฬารยิง่ นัก (ท้าว ฯ). มหาเหนียว น. กระเชา, กระเจา; ไม้ ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ชนิด Holoptelea Integrifolia (Roxb.) Planch ในวงศ์ Ulmaceae เปลือกสีนำ�้ ตาลอม เทา ใบเดี่ ย วรู ป รี ปลายใบ แหลม ดอกเล็ ก เป็ น ช่ อ ออก เป็นกระจุกตามง่ามใบ ผลแบนรี มีปีกบางล้อมรอบ เป็นยาแก้ ปวดข้อ โรคเรื้อน ก�ำจัดเห็บ มดไร, เนื้อไม้ใช้ท�ำเครื่องเรือน แกนร่ม ก้านไม้ขีดไฟ.

มหาเหนียว

มไห ว. ใหญ่ เช่น ถึงเกาะหนึ่งใหญ่มไห (นิ.พระปาจิต). มอ น. เนิน, ทางหรือถนนสูงชัน, ที่ที่ เป็นเนินสูง ม่อ ว. เกือบ, จวน, เจียน, หวิด เช่น 222

ม่อจิชน (เกือบจะชน). มอก น. กระมอบ; ไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Gardenia obtusifolia Roxb. Ex Kurz ในวงศ์ Rbiaceae คล้ายกระเบียน ผลัดใบในขณะ ออกดอก ล� ำ ต้ น แคระแกร็ น เปลือกสีเทาปนด�ำ เนื้อไม้ขาว ใช้แกะสลัก. ม็อกซ็อก [ม่อก-ซ่อก] ว. มอมแมม, ม่อกซ่อกมอซอ ก็ว่า. ม็อกซ็อกมอซอ [ม่อก-ซ่อก-มอ-ซอ] ดู ม่อกซ่อก. ม็อกล็อก [ม่อก-ล่อก] ว. มอมแมม, เปรอะเปรือ้ น. ม่อกล่อกแม่กแล่ก ก็ว่า. ม็อกล็อกแม็กแล็ก [ม่อก-ล่อก-แม่กแล่ก] ดู ม็อกล็อก. ม่อง น. ตาย, ม่องเท่ง ก็ว่า. ม่องเท่ง ดู ม่อง. มองทาง ก. เฝ้ารอคอยดูทางว่าเมื่อไร จะมา. มองมูน ว. มูนมอง, มากมาย เช่น แต่ น�้ำเต้าฟักทองนั้นมองมูน (นิ. พระปาจิต), มูนมอ ก็วา่ เช่น มัน จะเป็นไหนก็เป็นกัน เหมือนยัง ไม้เขาฟันเอยเป็นกอทั้งพยานกู ก็มูนมอ (เพลงโคราช). มอด ก. ลอด, มุด. ม่อต้อ ว. ลักษณะของคนอ้วนเตี้ย.


พจนานุกรม ภาษาโคราช มอตันไซค์ น. มอเตอร์ไซค์. มอบ น. ยกลูกสาวให้แต่งงาน (ถิ่น โชคชัย) เช่น ลูกสาวมอบวัน ไหน (ลูกสาวแต่งงานวันไหน). มอบนาค ก. น�ำผู้ที่จะบวชไปมอบให้ เจ้าอาวาส เพื่อฝึกค�ำขานนาค, สวดมนต์, ศึกษาการใช้ชีวิตใน วัดก่อนที่จะบวช. มอบเมน ก. มอบหมาย เช่น แล้วสั่ง สารพนั ก งานเจ้ า กรมหมอ ให้ตรงต่อมอบเมนเป็นรักษา แม่ จ งผลั ด กั น เว้ น วั น มาดู แ ล (นิ.พระปาจิต). มอระคา ดู มรคา. มะกอกป่า น. มะกอก; ชื่อไม้ต้นชนิด Spondias bipinnata Airy Shaw & Forman ในวงศ์ Anacardiaceae ใบอ่อนมีรส เปรี้ยวฝาด ใบและผลใช้ปรุง อาหาร. มะเก็บ [มะ-เก๊บ] น. หมากเก็บ (การ ละเล่นชนิดหนึ่ง). มะเกลือกา น. ไม้ยนื ต้นตระกูลเดียวกับ มะเกลือ แต่เป็นชนิด Diospyros montana Robx. ในวงศ์ Ebenceae ใบคล้ายใบมะเกลือ แต่ใหญ่กว่า เปลือกสีด�ำ ผล เหมื อ นลู ก มะเกลื อ ใช้ เ ป็ น ยาขั บ พยาธิ ละลายไขข้ อ 223

นักพฤกษศาสตร์เรียก ตานด�ำ, ถิน่ อีสานเรียก มะเกลือป่า.

มะเกลือกา

มะขามโคก ดู มะรุมป่า. มะเขือกะโหลก น. มะเขือลูกขนาดเขือ่ ง หรือค่อนข้างใหญ่ เช่น แนว ข้ า วโพดทั้ ง ข้ า วฟ่ า งมั ก เขื อ กะโหลก (นิ.พระปาจิต). มะเขือเครือ น. มะเขือเทศลูกกลมเล็ก เป็นพวง แก่จะสีเหลืองหรือส้ม อมแดง, มะเขือพวง ก็ว่า. มะเขือปอ ดู มะเขือลื่น. มะเขือพวง ดู มะเขือเครือ.

มะเขือละคอน

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


มะเขือละคอน - มัก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

มะเขือละคอน น. มะเขือพวง. มะเขือลื่น น. ผลกระเจี๊ยบใช้ต้มจิ้มกับ น�้ำพริก เวลาเคี้ยวกลืนจะรู้สึก ลื่นคล่องคอ, มะเขือปอ, ปอลื่น ก็ว่า. มะเขื อ สวรรค์ น. ผลกระเจี๊ ย บ (ถิ่นโชคชัย, ครบุรี). มะเขือหืน น. มะเขือขื่น. มะตู ม ลงหลั ง (ปาก) ก. ใช้ ก� ำ ปั ้ น ทุบหลัง (การท�ำโทษนักเรียน ในสมัยก่อน). มะนีมะนา ว. กุลีกุจอ เช่น มะนีมะนา เชิ ญ ยายจงผายผั น (นิ . พระ ปาจิ ต ), ให้ แ กงแต่ ง ถวาย มะนีมะนา บัดเดีย๋ วมิชา้ ต้มแกง ทันใจ (นิ.กุศราช). มะนึงตึงนืด ว. ติดพันกันจนยุง่ , เหนียว หนืด, ติดกันยืด ; ของเหลว เ ห นี ย ว ติ ด กั น ห รื อ พั น กั น เป็ น ยางยื ด , มะนึ ง ตึ ง พื ด , มะลึงตึงนืด ก็ว่า. มะนึงตึงพืด ดู มะนึงตึงนืด. มะเนอมะนา ว. เพิ่งเริ่ม, ท�ำทีหลังคน อื่น ๆ. มะแนด น. ฟักพันธุ์หนึ่งมีผลยาว. มะพร้ า วทอก [มะ-พ่ า ว-ทอก] น. มะพร้าวที่กะโหลกเล็กผิดปกติ ไม่ มี เ นื้ อ ไม่ มี น�้ ำ มั ก ใช้ เ ปลื อ ก ถูพื้นกระดาน. 224

มะม่ ว งหั ว แมงวั น น. มะม่ ว งชนิ ด Buchanania latifolia Roxb ในวงศ์ Anacardiaceae, ถิ่นเหนือเรียก ฮักหมู, ถิ่นใต้ เรียก รักหมู. มะมัง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Diospyros ehretioides Wall. ex G. Don. ในวงศ์ Ebenac eae ต้นตรง เปลือกสีน�้ำตาล ด�ำคล้ายตะโก ใบเดี่ยวรูปไข่ ท้องใบสีเทาอ่อน ผลกลมป้อม เป็นกระจุกเหมือนมะเขือ ใช้ท�ำ ยาแก้วัณโรค พิษไข้ ร้อนใน บ�ำรุงปอด นักพฤกษศาสตร์ เรียก ตับเต่าใหญ่.

มะมัง

มะเมอ ก. ละเมอ; โดยปริ ย าย หมายความว่า เพ้อ, คร�ำ่ ครวญ, ร�ำพึงร�ำพัน, มะเมอมะมาย ก็วา่


พจนานุกรม ภาษาโคราช เช่น แทบจะคลัง่ เป็นบ้า มะเมอ มะมาย ตะกายคว้าหา คิดถึง ฉายยา (นิ.รูปทอง). มะเมอมะมาย ดู มะเมอ. มะรอจ๋อเจี๋ยน ว. กระเสาะกระแสะ, ป่วยออด ๆ แอด ๆ. มะรอมมะร่อ ว. รอมร่อ, เกือบจะ, จวนเจียน, หวุดหวิด. มะระขีน้ ก [มะ-ล่ะ-ขี-่ น่ก] น. มะระชนิด ผ ล เ ล็ ก มี ลั ก ษ ณ ะ เ ป ็ น รู ป กระสวยสั้น ผิวเปลือกขรุขระ ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสี เหลืองอมแดง. มะรุมป่า น. พฤกษ์, ไม้ยนื ต้นดอกสีขาว นวล, มะขามโคก ก็ว่า. มะลัง ดู มะลัว. มะลัว น. บริเวณน�้ำซับ, มะลัง ก็ว่า. มะลิอ่อง น. กล้วยน�้ำว้า, นิอ่อง ก็ว่า. มะลึกไหน [มะ-ลึ่ก-ไหน] ว. ตั้งแต่ ครั้งไหน, นานเท่าไร. มะลึงตึงนืด ดู มะนึงตึงนืด. มะลิเถา น. ชื่อไม้เลื้อยในกลุ่ม “มะลิ” ชนิด Jasminum attenatum Roxb ในวงศ์ Oleaceae. มะลิป่า น. ชื่อไม้เลื้อยในกลุ่ม “มะลิ” ชนิ ด Jasminum bifarium Wall ในวงศ์ Oleaceae. มะลื่น น. กระบก; ไม้ต้นขนาดกลางถึง ใหญ่ ชนิด Irvingia malayana 225

Oliv. ex A. W. Benn. ในวงศ์ Irvingiaceae ใบรูปไข่ผลเท่า มะกอกหรือมะปราง เนื้อในขาว มีรสมันกินได้, หมักลืน่ ก็เรียก.

มะลื่น

มะส้าง [มะ-ส่าง] น. มะส้าน, มะตาด, ไม้ขนาดกลาง ผลกลมพู ผลสุก มีรสหวานอมเปรี้ยว เช่น ส้ม เปลือกบางเหล่ามะส้างทั้งส้ม แก้ว (นิ.พระปาจิต). มะหรั่น น. สุรา เช่น คนเบิ้งก็ถือเออ มะหรั่ น เดิ น เรี ย งตามส่ ง พา กันโศก (เพลงโคราช), บ๊ะหรั่น ก็ว่า. มะเหลื่อม น. มะเลื่อม, มะกอกเลื่อม, มะเกิ้ ม , มะกอกเกลื้ อ น; ชื่ อ ต้ น ไม้ ช นิ ด หนึ่ ง ผลและเม็ ด คล้ายเม็ดกาน้า. มะโหลกโขกเขก [มะ-โหฺลก-โขก-เขก] ว. กระโดกกระเดก, มีกิริยา มารยาทไม่เรียบร้อย. มัก น. กลายเสียงจากค�ำว่า มะ, หมาก ; ใช้เรียกลูกหรือผลของไม้และ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


มักกรูด - มาท�ำผี

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ไม้ต้นบางชนิด เช่น มักม่วง, มักนาว, มักเขือ, มักค่า. มักกรูด น. มะกรูด เช่น เอาเงิน ปิ ด หน่ ว ยมั ก กรู ด พองขนาน (นิ.พระปาจิต). มักเกลือ น. มะเกลือ, ชื่อไม้ต้น ขนาดใหญ่ ผลดิบใช้ยอ้ มผ้าและ ท�ำยาได้ เช่น ต้องการแย่งเขียว ข�ำด�ำมักเกลือ (นิ.พระปาจิต). มักค่า น. มะค่า. มักแวว ดู หมากแวว. มักก่อหม้อ [มัก-ก่อ-หม่อ] น. ไม้ต้น ประเภทก่ อ ชนิ ด Lithocar pus annamensis A. Ca mus ในวงศ์ Fagaceae นักพฤกษศาสตร์เรียก ก่อน�้ำ. มั่กกั่ก ว. จ�้ำม�่ำ. มักแยก ดู หมากแยก. มัง น. ส่วนที่เป็นขอบกะเชอ. มันเครือ น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยในกลุ่ม ต้น “ติง่ ตัง่ ” ชนิด Calycopteris fl o ribunda Lamk ในวงศ์ Combretaceae ดอกสีเขียว อมขาว ออกดอกเวลาผลัดใบ. มันปลาไหล ดู ขี้พระร่วง. มั น ปู น. ว่ า นน�้ ำ เขา; ว่ า นชนิ ด Chlorophytum orchidastrum Lindl. ในวงศ์. Anthericaceae เป็นไม้ล้มลุก โคนต้นเมื่อลอก 226

เอาใบออกจะเห็นเนื้อสีขาว ๆ กินได้. มันย้อนหมู [มัน-ย่อน-หมู] (ส�ำ) ก. ได้ดีเพราะคนอื่น. มันเลือด น. มันชนิดหนึ่งเนื้อมีสีม่วง ออกแดง. มันสะอม น. ชื่อมันชนิดหนึ่งในกลุ่ม มันนกสกุล Dioscorea paradoxa Prain & Burkill ในวงศ์ Dioscoreaceae, ถิ่นสระบุรีเรียก มันเชิงน�้ำจืด. มันอ้อน น. ชื่อมันชนิด Disocoraea daunaea Prain & Burk ในวงศ์ Dioscoreaceae เป็น ไม้ล้มลุกเลื้อย เช่น เตี้ยเอยทั่ง เน็บมันอ้อน ทุ่กข์ร่อนกะไอมัน (เพลงโคราช). มันเฮ็บ น. มันเหน็บ เนื้อสีขาว. มั่บ ๆ ว. นิดหน่อย, เล็กน้อย. มั้บ ดู แม็บ. มั่ว ก. ท�ำอะไรในลักษณะสุมกัน, ปะปน กั น จนแยกไม่ อ อก, มั่ ว ซั่ ว , มั่วตั้ว ก็ว่า. มั่วซั่ว ดู มั่ว. มั่วตั้ว ดู มั่ว. ม้า [ม่า] น. สัตว์เ ลี้ยงลูกด้วยนม เท้าเป็นกีบ ขายาว หางเป็นพู่ มีขนแผงคอยาววิง่ ได้เร็ว ใช้เป็น พาหนะขับขี่และเทียมรถ.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ม้ากระจ้อน [ม่า-กะ-จ้อน] น. ม้าแคระ, ม้าตัวเล็ก, ม้าแกลบ. ม้าดีด [ม่า-ดีด] (ปาก) ดู ม้าเตะ. ม้ า เดิ น กรอก ขี้ ค รอกเดิ น ถะลา [ม่า-เดิน-กอก-ขี-่ คอกเดิน-ทะ-ลา] (ส�ำ) น. การแปรผัน ไปตามยุ ค สมั ย เป็ น ส� ำ นวน ที่มาจากในสมัยหนึ่งม้าซึ่งเป็น พาหนะเดิ น บนถนน เมื่ อ มี รถยนต์ ม้ า ต้ อ งไปเดิ น ตาม ตรอกซอย จนท�ำให้คนชั้นต�่ำ ซึ่งเคยเดินตามตรอกซอยไม่มี ที่จะเดินต้องไปเดินบนถนน. ม้าเตะ [ม่า-เต๊ะ] (ปาก) (ส�ำ) ก. เล่นม้าเสีย, ม้าดีด ก็ว่า. ม้าไม่มที ำ� เล [ม่า-ไม่-มี-ท�ำ-เล] (ส� ำ ) ไม่ มี ห ลั ก แหล่ ง , ไม่ มี หัวนอนปลายตีน. ม้าล่อช้าง [ม่า-ล่อ-ช่าง] น. การเล่นอย่างหนึ่ง โดยขี่ม้าไป ยัว่ ยวนเย้าแหย่ชา้ ง จากนัน้ ช้าง ก็จะออกมาไล่ม้า อาจมีม้าอีก ตัวมาเย้าแหย่ข้างหลังช้าง ซึ่ง เป็นที่สนุกสนานและมักเล่นกัน หลังจากมีการแห่ช้างแห่ม้าใน งานพิธีต่าง ๆ. มากเกิน [มาก-เกิน้ ] ว. มากเหลือเกิน, มากเกินไป. มาเงียบ เปิดงาบ ปิดแงบ ไปเงียบ 227

[มา-เงี ย บ-เปิ ด -งาบ-ปิ ๊ ด แงบ-ไป-เงียบ] (ปริศ) น. พระ บิณฑบาต. ม้าซอยยา [ม่า-ซอย-ยา] น. ทีส่ �ำหรับ ซอยใบยาคล้ายม้านั่งไม่มีพนัก. มาด น. สิ น สอด, หมั้ น หมาย เช่น ลูกสาวเขามามาดเท่าไร (ลูกสาวเขามาหมัน้ เป็นสินสอด เท่าไร), มาดหมาย ก็ว่า. มาดหมาย ดู มาด. มาดพล้ายโรง [มาด-พ่าย-โลง] น. ม้าทลายโรง ; ชื่อไม้เลื้อยชนิด Neuropeltis racemosa Wall. ในวงศ์ Convol vulaceae ใบเดี่ยวเรียงเวียน สับ มีปีกบางล้อมรอบเป็นแผ่น กลม ผลเล็ก. มาตุลี น. มาตุลานี, ป้าสะไภ้, น้าสะไภ้ เช่น เราไม่ได้อายหน้า แล้วจึง สั่งมาตุลี (นิ.รูปทอง). มาแต่ ก. มาจาก เช่น มาแต่ไหน (มาจากไหน). มาถูกมาต้อง ดู มาทักมาท้วง. มาทักมาท้วง [มา-ทัก่ -มา-ท่วง] ก. ทัก โดยปริยายเชื่อว่าการเจ็บไข้ ได้ปว่ ยเกิดจากผี เช่น ผีปยู่ า่ ตา ยาย, ผีเรือน, ผีห่า เป็นต้น มาทักทาย, มาถูกมาต้อง ก็ว่า. มาท�ำผี ดู ผัวควยเมียควย.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ม่าน - มีเรือนใหญ่หัวกระไดสูง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ม่าน ก. มองด้วยสายตาที่ไม่พอใจ, ตาขวาง เช่น มองตาม่าน ๆ (มองด้วยสายตาขวาง ๆ). มาบ ดู พลาบ. มาไป ว. ไปเถอะ, เรียกให้ไป. ม้าไม้ [ม่า-ม่าย] น. หมาไม้, สัตว์ชนิด หนึ่งคล้ายกระแต แต่ตัวเล็ก กว่าอาศัยอยู่ตามยอดไม้ในป่า, หมอไม้ ก็ว่า. ม่ายะ น. ชือ่ ไม้พมุ่ ในกลุม่ ต้น “โคลงเคลง” ชนิด Melastoma Villosum Lodd. ในวงศ์ Melasto mataceae ดอกสี ช มพู ห รื อ ม่วงแดง. ม้ารองตีน [ม่า-ลอง-ตีน] น. ตั่งมีขา สองข้ า งชั้ น เดี ย วส� ำ หรั บ รอง เหยียบก้าวจากพืน้ เรือนขึน้ ห้อง บนเรือน, (ดู ภาพร้านสันตะเข้ ประกอบ).

มาระสา ก. รบกวน, ท�ำให้เกิดความ ร� ำ คาญ เช่ น ผี อั ป รี ย ์ มั น จึ ง แกล้งมาระสา (นิ.พระปาจิต). มาเลศ น. แมวสีสวาด, (ดู สีสวาด ประกอบ). ม้าหาบข้าว [ม่า-หาบ-เข่า] น. ที่ ส�ำหรับหาบข้าวฟ่อนหรือกล้า ข้าว คล้ายคันหลาวแต่มีขาตั้ง ตรงปลายทัง้ สองข้างละสองขา ปลายคานท�ำเป็นง่ามหรือทีเ่ กีย่ ว.

ม้าหาบข้าว

มาอีท่าไหน ว. จะมาแบบไหน, จะมา ท�ำนองไหน,มาอีแบบไหน ก็ว่า. มาอีแบบไหน ดู มาอีท่าไหน. มิม่ น. ตัวนิม่ , ตัวลิน่ ; สัตว์เลีย้ งลูกด้วย นมชนิดหนึง่ ชอบขดหรือม้วนตัว. มิรอด ว. ไม่ตลอดรอดฝั่ง, ไม่ถึงจุด หมาย, ไม่ไหว เช่น เดินมิรอด

ม้ารองตีน

228


พจนานุกรม ภาษาโคราช (เดินไม่ไหว, เดินไปไม่ถงึ ), ย่กมือ มิ ร อด (ยกมื อ ไม่ ขึ้ น , ยกมื อ ไม่ไหว), (ถิน่ พิมาย). มีไก่ไม่รขู้ นั มีภรรยาไม่มลี กู [มี-ไก่-ไม่ลู่-ขัน-มี-พัน-ยา-ไม่-มี-ลูก] (ส�ำ) มีของดีมีค่าแต่ไม่ได้รับ ประโยชน์จากสิง่ ของเหล่านัน้ . มีคนเดินหน้า มีขขี่ า้ ตามหลัง [มี-คนเดิน-หน่า-มี-ขี-่ ข่า-ตาม-หฺลงั ] (ส�ำ) เป็นผู้มียศถาบรรดาศักดิ์, เป็นเจ้าคนนายคน. มีดอก [มี-ดอก] ว. ไม่มหี รอก, (ดู ดอก ประกอบ). มีดตะขอ น. มีดขอ. มีดตะแวว น. มีดชนิดหนึง่ ใบมีดโค้งพอ ประมาณ. ตะแวว, มีดตาแวว ก็วา่ . มีดตาแวว ดู มีดตะแวว. มีดบาง น. มีดขนาดย่อมส�ำหรับปอก ไม้ผล ซอย เป็นต้น. มีดโมะ [มีด-โม่ะ] น. มีดโต้. มีดโมะ

มีดสะหนาก น. กรรไกรหนีบหมาก.

มีดสะหนาก

229

มีดเหน็บ [มีด-เน็บ] น. มีดที่ใส่ฝักใช้ เหน็บเอวพกพา. มีตารอบตัว ไม่กลัวกะลา (ปริศ) น. สับปะรด. มี แ ต่ หู มี แ ต่ ก ้ น คนอยู ่ ห ลั ง บ้ า น (ปริ ศ ) น. กระทะใบบั ว ; กระทะขนาดใหญ่. มีน�้ำไม่รู้จักกิน มีหม้อดินไม่รู้จักใช้ [มี - น่ า ม-ไม่ - ลู ่ - จั๊ ก -กิ น -มี หม่อ-ดิน-ไม่-ลู-่ จัก๊ -ไช่] (ส�ำ) มี ข อ ง ดี มี ค ่ า แ ต ่ ไ ม ่ รู ้ จั ก ใ ช ้ ประโยชน์. มีผวั คนรู้ มีชคู้ นงาม [มี-ผัว-คน-ลู-่ มี-ชู-่ คน-งาม] (ส�ำ) นับเป็นบุญวาสนา ที่ได้สามีรูปงามมีความรู้ดี. มีผัวเจ๊กกินเล็กกินน่อย มีผัวไทยกิน ใหญ่กินโต [มี-ผัว-เจ้ก-กินเล่ก-กิน-น่อย-มี-ผัว-ไทย-กินไหย่-กิน-โต] (ส�ำ) มีผัวคนจีน จะกินอยูอ่ ย่างประหยัด มีผวั คน ไทยกินอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์. มีผัวให้ยกย่อง มีพี่น้องให้ยกยอ [มีผัว-ไห่-ย่ก-ย่อง-มี-พี่-น่องไห่-ยก-ยอ] (ส�ำ) ควรยกย่อง ให้เกียรติสามีและญาติ พี่น้อง. มีฟนั รอบหัว แต่ตวั อยูป่ า่ หากินของสูง (ปริศ) น. กระต่ายขูดมะพร้าว. มีเรือนใหญ่หวั กระไดสูง [มี-เลือน-ไหย่ฮก-กะ-ได-สูง] (ส�ำ) บ่งบอกถึง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


มีลูกประกอบตัว มีผัวประกอบใจ - เม็ดเท่าหม้อ กอละเกวียน

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ความมีฐานะมีหลักฐานมัน่ คง. มีลกู ประกอบตัว มีผวั ประกอบใจ (ส�ำ) น. หญิ ง ที่ มี ลู ก มี ผั ว ย่ อ มเป็ น ครอบครัวที่สมบูรณ์. มีลูกหญิงให้สืบสาย มีลูกชายให้สืบ ศาสนา [มี-ลูก-หยิง-ไห่-สืบสาย-มี-ลูก-ชาย-ไห่-สืบ-สาดสะ-หนา] (ส�ำ) มีลูกผู้หญิงให้ ได้คู่ครองเพื่อสืบเชื้อสาย มีลูก ผู้ชายให้ได้บวชเรียนทดแทน พระคุณพ่อแม่. มีสองหัว แต่ตัวมีตัวเดียว (ปริศ) น. ไม้คาน. มึน ๑. ว. หน้าด้าน, หน้าทน เช่น หน่ามึน (หน้าด้านหน้าทน). ๒. ว. ไม่คม, ทื่อ. มืดตะลึดตึ๊ดตื๋อ ว. มืดมิด, มืดสนิท. มื ด ตึ่ บ ว. มื ด ทึ บ , มื ด สนิ ท , มื ด แปดด้ า น, มองไม่ เ ห็ น ทาง แก้ไขปัญหา, มืดตึ๊บ ก็ว่า. มืดตึ๊บ ดู มืดตึ่บ. มืดฟ้ามัวฝน [มืด-ฟ่า-มัว-ฝน] ว. มืด ฟ้ามัวดิน, มีจ�ำนวนมากมาย เช่น ถึงแม้ว่ากองทัพลาวจะยก มาจนมื ด ฟ้ า มั ว ฝนในที่ สุ ด ก็ ปราชัยเป็นแม่นมั่น (ท้าว ฯ). มือ น. ลักษณะนามบอกจ�ำนวนนับน�ำ้ แข็ง ๑ ก้อน ที่แบ่งออกจากกั๊ก. มือแง่ม น. มือทีน่ วิ้ หัวแม่มอื มีนวิ้ เล็ก ๆ 230

งอกหรือติ่งออกมา, สิบเอ็ดนิ้ว ก็ว่า.

มือแง่ม

มือแมว น. ไม้รูปร่างคล้ายมือขัดแยก เป็นซี่ มักท�ำด้วยไม้ไผ่ ส�ำหรับ ปิ้งย่าง เช่น ข้าวเกรียบ, ปลา, ไม้มือแมว ก็ว่า. มุ ก. เอนหัวนอน, ฟุบหัวลงเมื่อเวลา ง่วงนอน (มักใช้แก่เด็ก). มุ ก มี่ มุ ก ม่ ว น ก. ผุ ด นั่ ง ผุ ด นอน, เดี๋ยวลุกเดี๋ยวนอน. มุค่า น. ต้นมะค่า, ไม้มะค่า. มุตโต น. การท�ำพิธีกรรมของหมอ เพลงโคราช เชือ่ ว่าจะท�ำให้เกิด สติปัญญาปฏิภาณไหวพริบใน การคิดกลอนเพลง ประกอบพิธี ในโบสถ์เป็นเวลา ๗ วันโดยการ อดอาหารมีเพียงน�้ำมนต์ไว้ดื่ม กินพริกไทย ๑,๐๐๐ เม็ด ใน ระหว่างนี้ว่าห้ามว่าเพลง (ร้อง เพลงโคราช) โดยเด็ ด ขาด เพราะจะท�ำให้มุตโตหรือกรรม


พจนานุกรม ภาษาโคราช แตก หรือถ้าอยู่ไม่ครบ ๗ วัน ถือว่ามุตโตแตกซึ่งจะมีอันเป็น ไปอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เป็น บ้ า , เสี ย สติ อี ก ประการจะ ต้ อ งหาไก่ ตั ว ผู ้ สี ข าวเรี ย กว่ า “ไก่ชี” เอาไว้เสี่ยงทาย ถ้าไก่ ร่าเริง หมอเพลงผู้นั้นจะมีชื่อ เสียงเป็นที่ชื่นชอบของคนฟัง ถ้าไก่ดูหงอยเหงาซึมเซาหมอ เพลงผู ้ นั้ น จะไม่ ป ระสบความ ส�ำเร็จในอาชีพหมอเพลง เช่น ขอไหว้คุณครูบา.....ขอให้ช่วย เสริมช่วยแทรก ให้ปญ ั ญาแตก มุตโต, เข้ากรรม ก็ว่า. มุตโตแตก ดู มุตโต. มุ่น ว. ละเอียด, แหลก. มุ่นกะเต้อะ ว. แหลกละเอียด จนไม่มีชิ้นดี. มุน่ เมเตนัง ว. แหลกละเอียดจน ไม่รวู้ า่ เป็นชิน้ ไหนเป็นอันไหน. มุ ่ น เมเตแหลก ว. แหลก ละเอียดจนไม่มีชิ้นดี. มุ่นเอ้เล่ ว. แหลกละเอียดจน ไม่มีชิ้นดี. มุนินาถ น. มุนินทร์, พระพุทธเจ้า เช่น สมเด็ จ มุ นิ น าถ กุ ศ ราชเรื อ ง ฤทธา เมื่ อ กลั บ ชาติ ม า คื อ ตถาคตนี้เอง (นิ.กุศราช). มุ ๆ มิ ๆ ว. ตามประสา. 231

มูกขาว น. ชือ่ ไม้ตน้ ในกลุม่ ต้น “โมก” ชนิด Hunteria zeylanica Gard. ex Thw. ในวงศ์ Apocynaceae. ใบเดีย่ วเรียง ตรงข้าม ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ดอกเล็กสีขาวออก เป็นช่อตามง่ามใบ ผลรูปไข่สสี ม้ นักพฤกษศาสตร์เรียก มูกเขา.

มูกขาว

มูนมอ ดู มองมูน. มูนมอง ก. มอบหมาย, ยกให้ เช่น จะ มูนมองให้เจ้าครองพระพารา (นิ.พระปาจิต). มูล น. มรดก, ทรัพย์สมบัติ. มูลมอง, มูลมัง, มูลมังสังขยา ก็ว่า เช่น แต่เงินทองของส�ำคัญนั้นไม่ให้ ด้วยจะไปในวังนั้นคลังเหลือ มี มูลมองของหลวงต้องกวยเรือ (นิ.พระปาจิต). มูลมัง ดู มูล. มูลมังสังขยา ดู มูล. เม็ดทะนา [เม่ด-ทะ-นา] ก. เวทนา. เม็ดเท่าหม้อ กอละเกวียน [เม่ด-เท่าหม่อ-กอ-ละ-เกียน] (ส�ำ) น.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เมตไกร - แม่มึง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ข้าวอุดมสมบูรณ์เม็ดโตรวงโต. เมตไกร น. เมตไตร, พระนามของ พระพุ ท ธเจ้ า ก่ อ นจะมาตรั ส รู ้ ข้างหน้า. เมน ๑. น. จ�ำนวนท่าของการเล่น เช่น สะบ้า, หึ่ง เป็นต้น ; การเล่น สะบ้าครบทุกท่าเรียกว่า ๑ เมน. ๒. น. สนามเล่นสะบ้า, เมนสีบา้ ก็ว่า. เมนกั้น น. เส้นที่กั้นก�ำหนด เขตแดนของแต่ละฝ่ายในการ เล่นสะบ้า เพื่อมิให้มีการลุกล�้ำ เขตกัน โดยห่างจากเมนตัง้ ออก มาด้านหน้าประมาณ ๑ เมตร, (ดู เมนตั้ง ประกอบ). เมนตั้ ง น. เส้ น หรื อ แนว ที่ก�ำหนดให้เป็นที่ตั้งลูกสะบ้า. เมนเล่น [เมน-เหฺล่น] น. เส้น หรือแนวที่แสดงจุดในการเล่น สะบ้าในท่าต่าง ๆ ห่างจากเมน ตั้งประมาณ ๕-๑๐ เมตร, (ดู เมนตั้ง ประกอบ). เมนสีบ้า ดู เมน. เม่น ก. เย็บตะเข็บ. เม้นมิด [เม่น-มิด่ ] ก. มิดเม้น, ปิด เช่น ขอจงง� ำ ไว้ โดยเม้ น มิ ด ให้ เข้ า หลั ก นั ก แสดงกลหรื อ ศรีธนญชัยอย่างใดอย่างหนึ่ง จงได้ (ท้าว ฯ). 232

เม่า ว. อาการที่ท�ำหน้างอแสดงความ ไม่พอใจ, เม่าเค่า ก็ว่า. เม่าเค่า ดู เม่า. เมาแป้ ก. เมามาก (อาจเพราะกินเหล้า จนหมดแป้), (ดู แป้ ประกอบ). เมาแอ๊ะ ก. เมาจนครองสติไม่อยู่, เมาแอ๊ะแอ่น, แอ๊ะ ก็ว่า. เมาแอ๊ะแอ่น ดู เมาแอ๊ะ. เมิ้ด ว. หมด. เมิ้ดกล้าก็แล้วนา [เมิ้ด-ก้า-ก็-แล่วนา] ดู หมดกล้าก็แล้วนา. เมิ้ดบ่อน ดู หมดบ่อน. เมี้ยน [เมี่ยน] ก. ซ่อน, เก็บ, เก็บให้ เข้าที่, ม้วนเมี้ยน ก็ว่า เช่น ไม่ม้วนเมี้ยนโศกาพะว้าหงาย (สุภมิต ฯ) . เมี่ยม ว. ละเลื่อม, เป็นเงาด�ำ เช่น ด�ำเมี่ยม, เหมี่ยม ก็ว่า. เมียมีชู้ผัวรู้ผัวก็รัก [เมีย-มี-ชู่-ผัว-ลู่ผัว-ก็-ลัก่ ] (ส�ำ) พอรูจ้ ะสูญเสีย ของมีค่าก็เริ่มให้ความส�ำคัญ; เปรียบได้กับพอรู้ว่าเมียคิดจะ นอกใจ ผัวรูต้ วั ว่าบกพร่องก็เริม่ รักเริ่มเอาใจ. เมื่องเซื่อง ว. ขี้เหร่ เช่น ขี่ช้างเลียบ เมือง หน้าตาเมื่องเชื่อง ดูสอก หลอกหลอน (นิ.กุศราช). เมืองมวย น. เมืองโคราช ; ในอดีต โคราชมี ชื่ อ เสี ย งในด้ า นการ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ชกมวย. เมืองยาง น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสี ม า แต่ ก ่ อ นมี ต ้ น ยางนามาก. เมือ่ น้อยไม่มี พอเจ็ดปีเต็มปากพ่อว่อ [เมื่อ-น่อย-ไม่-มี-พอ-เจ๊ด-ปีเต็ม-ปาก-พ่อ-ว่อ] (ปริศ) ฟัน. เมื่ อ ยแข้ ง เมื่ อ ยขา ก. ปวดเมื่ อ ย แข้ ง ขา. เมื่อหว่าง ว. เมื่อไม่นานมานี้, เมื่อ เร็ว ๆ นี้, เมื่อครั้ง, (ดู หว่าง นี้ ประกอบ). แม่ [แม่ะ] น. หญิงที่ให้ก�ำเนิดหรือ เลี้ยงลูก, ค�ำที่เรียกผู้หญิงด้วย ความรักใคร่, .ค�ำที่เรียกคนผู้ เป็นหัวหน้า, ค�ำทีเ่ รียกสิง่ ทีเ่ ป็น ประธานของสิ่งต่าง ๆ ในพวก เดียวกัน. แม่กระซิบ [แม่-กะ-ซิ่บ] น. การเล่นอย่างหนึ่ง แบ่งผู้เล่น เป็นฝ่าย ก. และ ข. ให้คนหนึ่ง เป็นแม่กระซิบนัง่ ตรงกลาง ห่าง จากทั้งสองฝ่ายพอควร โดย แต่ ล ะฝ่ า ยจะออกมาหาแม่ กระซิบทีละคน เพื่อกระซิบทาย ชื่อฝ่ายตรงข้ามซึ่งเป็นการเดา หรือคาดว่าจะเป็นผู้ออกมา ถ้า ทายถูกผู้นั้นถือว่า “ตาย” จะ ต้องออกจากการเล่นไป ฝ่ายใด 233

ทายถูกมากกว่าถือว่าชนะ. แม่ขมองอิ่ม [แม่-ขะ-หฺมองอิ่ม] น. โดยปริยายหมายถึง แม่คุณ, แม่ทูนหัว. แม่ฉันตาย ฉันได้เกิด (ปริศ) น. เห็ดกระด้าง แม่ชั่งกราน น. แม่เตาไฟ, ไม้ ที่ ตี เ ป็ น กรอบสี่ เ หลี่ ย มกรุ ดิ น ส�ำหรับตั้งเตาไฟ, แม่เชิงกราน ก็ว่า, (ดู เชิงกราน ประกอบ). แม่ซื้อ [แม่-ซื่อ] เทวดาหรือผี ที่เชื่อว่าเป็นผู้ดูแลและรักษา ทารก เช่น เด็กแรกเกิดยิม้ เชือ่ ว่าแม่ซื้อมาหยอก. แม่เฒ่า [แม่-เถ่า] น. แม่ยาย, ยายทวด, แม่ของยาย. แม่ดวง น. โดยปริยายใช้เป็น ค�ำเรียกผู้หญิงเป็นเชิงยกย่อง เช่นเดียวกับแม่ทูนหัว. แม่ท้อง [แม่-ท่อง] น. พยาธิ ในท้อง. แม่เนื้อถี่ ดู แม่ห ม่อม. แม่เป้ง น. สัตว์จ�ำพวกแมลงที่ โตกว่าเพือ่ น; โดยปริยายหมาย ถึงหญิงที่เป็นหัวหน้า. แม่มา่ ยแม่รา้ ง [แม่-ม่าย-แม่ล่าง] น. แม่ม่ายที่หญิงเลิกกับ ผัว, แม่ม่ายผัวร้าง. แม่มงึ น. ภรรยา, เป็นค�ำทีส่ ามี

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แม่โม - แมวปลาย่าง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เรียกภรรยา ; อีกความหมาย หนึ่งเป็นค�ำด่าแม่. แม่โม น. คุณหญิงโม, ท่านท้าว สุรนารี. แม่ โ มยกดาบ [แม่-โม-ย่ก ดาบ] (ส� ำ) ว. ไม่มีทางเป็น ไปได้ , ไม่ มี วั น ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ได้ ตรงกั บ ส� ำ นวนน�้ ำ ท่ ว มหลั ง เป็ด เช่น ยืมเงินแล้วสัญญาว่า ใช้ คื น ก็ ต ่ อ เมื่ อ ให้ คุ ณ หญิ ง โม (รู ป ปั ้ น อนุ ส าวรี ย ์ ) ยกดาบ เสียก่อน ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้. แม่ยอดขมองอิ่ม [แม่-ยอดขะ-หฺมอง-อิ่ม] น. แม่ทูนหัว, ค�ำเรียกผู้หญิงเชิงประชด. แม่ ย ่ า น. แม่ ข องสามี , แม่ของผัว. แม่รกั [แม่-ลัก่ ] น. แม่ของเพือ่ น. แม่ ร้ อ งลู กน�้ำตาไหล [แม่ล่อง-ลูก-น่าม-ตา-ไหล] (ปริศ) น. ระหัดวิดน�้ำ. แม่เรือน ดู เรือนนอน. แม่สามเชย ดู ทรามชม. แม่สามเปลี่ยว ดู ทรามชม. แม่สายบัวแต่งตัวเก้อ (ส�ำ) น. ผู ้ ห ญิ ง ที่ แ ต่ ง ตั ว คอยผู ้ ม ารั บ ออกไปนอกบ้าน แต่เขาไม่มา ตามนัด เลยแต่งตัวคอยเก้อ, แต่งตัวเสร็จแล้วไม่ได้ไปเพราะ 234

คนนัดไม่มา. แม่หม่อม น. ค�ำเรียกหญิงเป็น เชิงยกย่องท�ำนองว่า แม่ทูล กระหม่อม, แม่ทนู หัว, หญิงสาว อันเป็นที่รัก เช่น มันก็แปลก แต่กี้ ตัวแม่หม่อมก็มีผัว คล้าย เองก็มเี มีย (เพลงโคราช), เอา มานี้มาแม่หม่อมแม่จอมขวัญ (สุภมิตฯ), แม่เนือ้ ถี,่ แม่เอวกลม ก็วา่ เช่น สักเมือ่ ไรจะได้พบแม่ เนือ้ ถี่ (นิ.พระปาจิต), แม่เอวกลม โฉมงามเดินตามผัว (สุภมิตฯ). แม่ใหญ่ น. ยาย. แม่อีนาง น. ภรรยา, เป็นค�ำ ที่สามีเรียกภรรยา ท�ำนองว่า แม่ของลูกสาว. แม่เอวกลม ดู แม่หม่อม. แม่ไอ้นาย น. ภรรยา, เป็นค�ำ ที่สามีเรียกภรรยา ท�ำนองว่า แม่ของลูกชาย. แม็คโค น. แบ็คโฮ, รถแทร็กเตอร์ชนิด หนึ่งมีเครื่องตักและขุดดินได้. แมงกุดจี่ [แมง-กุ๊ด-จี่] ดู กุ๊ดจี่. แมงคาม น. แมงกว่าง, กว่าง. แมงคาม

แมงจู่จี่ ดู กุ๊ดจี่.


พจนานุกรม ภาษาโคราช แมงซอน น. แมงกะชอน. แมงต่ อ ยมวย น. ตั๊ ก แตนต� ำ ข้ า ว, แมงมวย ก็ว่า. แมงทุย ดู แมงฟ่า. แมงพอน น. พังพอน. แมงฟ้า [แมง-ฟ่า] น. แมลงปอ, แมงทุย, แมงมอย, แมงวอย ก็ว่า.

แมงฟ้า

แมงมวย ดู แมงต่อยมวย. แมงมอย ดู แมงฟ่า. แมงวอย ดู แมงฟ่า. แมงเสียบ น. แมลงสาบ. แมงหมี่ น. แมลงหวี่. แมงหีห้อย [แมง-หี-ห่อย] น. แมลง หิ่งห้อย. แมงเหมี่ยง น. แมลงชนิดหนึ่งตัวเล็ก สีด�ำ อาศัยอยู่ในน�้ำ อกเป็น เงี่ยงแหลม. แมงไอ ว. อะไร, อะไรเอ่ย ; เป็นค�ำ ขึ้นต้น, ค�ำลงท้ายในการทาย ปัญหา ท�ำนองว่า อะไรเอ่ย เช่น แมงไอต๊กตุ้บใส่หมวกแต้ หรือ 235

ต๊กตุบ้ ใส่หมวกแต้ แมงไอ; บาง ท้องถิ่นออกเสียงเป็น แมงไอ๋ หรือพูดว่า แมงไอเอ้า ก็มี. แม่น ว. ใช่, ถูกต้อง. แม่นล่ะแมะ, แม่น ล่ะว้า, แม่นล่ะเด่ ดู แม่น ก็ว่า. แม่นล่ะเด่ ดู แม่น. แม่นล่ะแมะ ดู แม่น. แม่นล่ะว้า ดู แม่น. แม่นขมัง [แม่น-ขะ-หฺมัง] ว. แม่น เหมือนจับวาง, แม่นย�ำ. แม็บ ว. ฉับไว, ฉับพลัน เช่น ยิบแม็บ (หยิ บ อย่ า งฉั บ ไว), คั่ ว แม็ บ (คว้าอย่างฉับไว), มั่บ ก็ว่า. แม็บ ๆ ว. แว็บ, แว็บ ๆ, ปรากฎให้เห็น ชั่วประเดียวหนึ่งก็หายไป. แมวโคราช น. แมวสีสวาด มีถนิ่ ก�ำเนิด ที่อ�ำเภอพิมาย โคราชจึงเรียก ว่า “แมวโคราช” ได้รับการ ยกย่องว่า เป็นแมวที่สวยสง่า และให้โชคลาภแก่ผู้เลี้ยง, แมว ดอกเลา, แมวมาเลศ ก็เรียก, (ดู สีสวาด ประกอบ). แมวดอกเลา น. แมวสีสวาด ขนสี ดอกเลา, แมวมาเลศ ก็ว่า, (ดู สีสวาด ประกอบ). แมวทองแดง น. เป็นแมวในสายพันธุ์ แมวสีสวาด, แมวศุภลักษณ์ ก็วา่ . แมวปลาย่าง น. การเล่นอย่างหนึง่ ให้ คนหนึง่ เป็นแมว อีกคนเป็นปลา

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แมวโพง - ไม้คานหัวหย่ง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ย่างใช้ผา้ ผูกตาคนทัง้ สองให้มดิ ส่ ว นคนอื่ น ๆ จับมือกันเป็น วงกลมไม่ให้แมวและปลาย่าง ออก แมวจะร้องว่า “แมว” ปลา ย่างจะร้องว่า “ปลาย่าง” แล้ว แมวไล่จับปลาย่าง ถ้าแมวจับ ปลาย่ า งได้ ก็ ช นะ แล้ ว สลั บ เปลี่ยนกันเล่น. แมวโพง น. แมวตัวโตเวลาร้องออก เสียงหง่าว ๆ, แมวหง่าว ก็ว่า. แมวมองหมู ่ แ มวเซา น. พลลาด ตระเวน, กองทหารที่คอยระวัง เหตุ เช่น จัดทัพแมวมองหมู่ แมวเซาออกตรวจตราดู อ ยู ่ เสมอ (ท้าว ฯ). แมวมาเลศ ดู แมวดอกเลา. แมวศุภลักษณ์ ดู แมวทองแดง. แมวสีสวาด ดู แมวโคราช. แมวหง่าว ดู แมวโพง. โม่ ๑. น. โรคชนิดหนึ่งที่เป็นแผลตาม ร่างกายเกิดจากตุม่ คล้ายฝีแตก เป็นแผลคล้ายโรคคุดทะราด ถ้าแผลใหญ่เรียก กะชาด. ๒. น. เมล็ดเน่าหรือมีแมลงเจาะ เช่ น เข่ า โพดไม่ มี โ ม่ มี แ มง (ข้าวโพดเมล็ดไม่เน่าหรือไม่มี แมลงเจาะ. โมง ว. ใหญ่ (ใช้แก่ผลไม้) เช่น มุค่า โมง (มะค่าใหญ่). 236

โม่ง ว. คุยโต, เสียงดัง เช่น พูดแต่ละ ค�ำมีแต่โม่ง ๆ ทั่งนั่น. โมน ก. ตี เช่น โมโหหุนหัน วิ่งขึ่นไปบน หอ ฉวยได้ไม่สมอ หมายจะโมน สมอง เห็นเมียเปิดอ๊กอ้างล่าง เลยรี บ วางกระบอง (เพลง โคราช). โมม น. บริเวณโคกอวัยวะเพศหญิง. โม่ม ก. หม�ำ่ ข้าว, กินอย่างเอร็ดอร่อย หรืออย่างตะกละตะกลาม, ขะโม่ม ก็วา่ . โม่ย ๆ ว. ไบ่ ๆ, อาการที่เคี้ยวสิ่งของ ท�ำปากเยื้องไปมา, เคี้ยวอย่าง เอร็ดอร่อย. โมลี น. ชื่ อ ไม้ ต ้ น ชนิ ด Reevesia siamensis Craib ในวงศ์ Sterculiaceae. โมะ ๑. น. อวัยวะเพศหญิง, อีโม่ะ ก็ว่า. ๒. ก. ตี เช่น โมะหัว (ตีหัว). ไม้ [ม่าย] น. ค�ำรวมเรียกพืชทัว่ ไป, ค�ำ ประกอบหน้าสิง่ ของบางอย่างที่ มีลักษณะยาวท�ำด้วยไม้. ไม้กวดแข็ง [ม่าย-กวด-แข็ง] น. ไม้กวาดทีท่ ำ� จากกิง่ ไม้ เช่น ไม้ ขัดมอญ ทางมะพร้าวใช้กวาด เศษสิง่ ต่าง ๆ บริเวณลานบ้าน. ไม้กวดเสีย้ นตาล [ม่าย-กวดเสี่ยน-ตาน] น. ไม้กวาดที่ท�ำ จากเสี้ยนตาลด้ามยาวใช้กวาด


พจนานุกรม ภาษาโคราช

หยากไย่. ไม้ ก วดหนาม [ม่ า ย-กวดหนาม] น. ไม้ขอเกี่ยวฟางโดย ใช้ส่วนของไม้ไผ่หรือไม้รวกที่ เป็นแขนงกิ่ง. ไม้กวดอ่อน [ม่าย-กวด-อ่อน] น. ไม้กวาดทีท่ ำ� จากดอกพงหรือ ดอกแขม. ไม้กวดอ่อนหางไก่ [ม่าย-กวดอ่อน-หาง-ไก่] น. ไม้กวาดอ่อน ชนิดที่ท�ำงอนคล้ายหางไก่, (ดู ไม้กวดอ่อน ประกอบ). ไม้แก่นหล่อน [ม่าย-แก่นหล่อน] น. ไม้ที่ยืนต้นตาย, ไม้ ที่ ตั ด ไว้ น านหรื อ แช่ น�้ ำ จน เปลือกและกระพี้หลุดล่อนออก หมดเหลือแต่แก่น. ไม้ขะเยีย [ม่าย-ขะ-เยีย] น. ไม้ ๒ แผ่น หรือ ๒ ท่อน ตอกตะปู หรือยึดติดกันแล้วแยกส่วนบน ออกเป็นง่ามเพื่อใช้ค�้ำ. ไม้ขะแหนบ [ม่าย-ขะ-แหฺนบ] น. ไม้สอยผลไม้โดยผ่าปลาย แล้วใช้เศษไม้เล็ก ๆ ขัดให้แยก.

ไม้ขัดก้น [ม่าย-คัด-ก้น] น. ไม้ไผ่ ๒ อันไขว้เป็นกากบาทขัด ที่ก้นกระเชอให้แข็งแรง. ไม้คอ [ม่าย-คอ] น.ไม้แผ่นรูป สี่เหลี่ยมด้านหนึ่งแบนเรียบอีก ด้านแกะเป็นเส้นยาวขนานกัน มีดา้ มส�ำหรับถือใช้ปน้ั หม้อหรือ ตีหม้อ. ไม้คานหัวโมะ [ม่าย-คาน-หัวโม่ะ] น. ไม้คานที่ปลายทั้งสอง ตรง ไม่งอนชูขึ้นเหมือนไม่คาน หั ว หย่ ง , (ดู ไม้ ค านหั ว หย่ ง ประกอบ).

ไม้คานหัวโมะ

ไม้คานหัวหย่ง [ม่าย-คาน-หัวหย่ง] น. ไม้คานที่ปลายทั้งสอง งอนชูขึ้น หรืองอนขึ้นเพื่อกัน สิ่งของที่หาบหลุด.

ไม้ขะแหนบ ไม้คานหัวหย่ง

237

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ไม้แค็ด - ไม่มีด้วงไม่มีแมง ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ไม้แค็ด [ม่าย-แค่ด] น. ไม้งัด ยิงสะบ้าแทนนิว้ มือท�ำด้วยไม้ไผ่ ใช้ส�ำหรับฝ่ายหญิงเท่านั้น. ไม้ แง็ด ก็ว่า. ไม้แง็ด [ม่าย-แง่ด] ดู ไม้แค็ด. ไม้ จั๊ ก กะเท้ า [ม่าย-จั๊ก-กะท่าว] น. ไม้สักกะเท้า, ไม้เท้า. ไม้จั๊กกะลัน [ม่าย-จั๊ก-กะ-ลัน] น. ไม้เขีย่ ข้าว ท�ำด้วยไม้ไผ่เหลา แบน ๆ ใช้เขี่ยที่ก้นครกเพื่อให้ ต�ำทั่วถึง, ไม้จั๊กกะไหล่ ก็ว่า. ไม้จั๊กกะไหล่ [ม่าย-จั๊ก-กะไหล่] ดู ไม้จั๊กกะลัน. ไม้ตะขอ [ม่าย-ตะ-ขอ] น. ไม้ ท�ำเป็นขอใช้เกาะสอยผลไม้. ไม้ตีข้าว [ม่าย-ตี-เข่า] น. ไม้ ส�ำหรับใช้ตีข้าว, นวดข้าว, ไม้ ตี หั ว ข้ า ว ก็ ว ่ า , (ดู ตี ข ้ า ว ประกอบ). ไม้ตีข้าว

ไม้มือแมว

ไม้ตีหัวข้าว [ม่าย-ตี-หัว-เข่า] ดู ไม้ตีข้าว. ไม้ถ่างอู่ [ม่าย-ถ่าง-อู่] น. ไม้ 238

ขนาดยาวขนาด ๑ ฟุตเศษ ใช้ ขัดหรือถ่างด้านหัวอู่หรือเปล เด็กให้กางออก; นิยมใช้ไม้ไผ่ เพราะหาง่าย. ไม้ปัด [ม่าย-ปั๊ด] น. ไม้กวาด. ไม้ ไฟ [ม่าย- ไฟ] น. ไม้ขีดไฟ. ไม้มือแมว [ม่าย-มือ-แมว] ดู มือแมว.

ไม้สงู กว่าแม่จแิ พ้ลมบน [ม่ายสูง-กัว่ -แม่-จิ-แพ่-ลม-บน] (ส�ำ) น. คนที่อวดเก่งไม่เชื่อฟังผู้อื่น อาจผิดพลาดหรือเสียหายได้. ไม้เสียบก้น [ม่าย-เสียบ-ก้น] ดู ไม้เสียบตูด. ไม้เสียบตูด [ม่าย-เสียบ-ตูด] น. ไม้ไผ่ที่ใช้เสียบด้านก้นเพื่อ ขึ้นรูปกระเชอ; ไม้ไผ่ ๒ อันไขว้ กันเป็นกากบาทเสียบแผ่นตอก ที่สานเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านก้นกระเชอเพื่อขึ้นเป็นรูป


พจนานุกรม ภาษาโคราช กระเชอ,ไม้เสียบก้น ก็ว่า. ไม้ ห ลาบ [ม่า ย-หลาบ] น. ไม้ รู ป สี่ เ หลี่ ย มมี ด ้ า มถื อ มี ลักษณะคล้ายไม้คอ ใช้ตีหรือ ปัน้ ภายนอกหม้อควบคูก่ บั หินดุ ให้ เ รี ย บแน่ น จากนั้ น จึ ง แต่ ง ลวดลายตามที่ ต ้ อ งการ, (ดู ไม้คอ, หินดุ ประกอบ). ไมกรี น. ไมตรี, ความหวังดีต่อกัน เช่น ปราศรัยด้วยดี เป็นทางไมกรี (นิ.รูปทอง). ไม่เข้าแก๊บ [ไม่-เข่า-แก้บ] ว. ไม่เข้าท่า, ไม่ได้เรื่อง. ไม่เคร่งไม่ครัด เหมือนดังหาบดังคอน [ไม่-เค่ง-ไม่-คั่ด-เหฺมือน-ดังหาบ-ดัง-คอน] (ส�ำ) ไม่ยงุ่ ยาก, ไม่มพี ธิ รี ตี อง เหมือนกับหาบของ. ไม่ฉาก ดู ไม่มาฉาก. ไม่ชนะ [ไม่-ชะ-น่ะ] ดู ชนะ. ไม่ได้กระผีก (ส�ำ) เป็นค�ำดูแคลนใน ท�ำนองว่า ไม่ได้ครึ่ง, ไม่ได้แค่ เสี้ยว. ไม่ได้เหงิบได้เงย [ไม่-ได้-เหฺงิบ-ได้เงย] (ส� ำ )ไม่ ไ ด้ ห ยุ ด หย่ อ น, ท�ำงานเพลินจนไม่ได้เงยหน้า. ไม่ตายง่าย อ. ค�ำอุทานเมื่อพูดถึงใคร คนหนึ่งแล้วคน ๆ นั้นก็มาพอดี, ตายยาก ก็ว่า. ไม่ต�ำรีไม่ตีถิน (ส�ำ) ไม่ด่างพร้อย เช่น 239

ช่ า งผ่ อ งแผ้ ว ไม่ ต� ำ รี ไ ม่ ตี ถิ น (นิ.พระปาจิต). ไม่ถูกโฉลก [ไม่-ถูก-ฉะ-โหฺลก] ว. ไม่ถูกโรคกัน, ไม่ต้องอัธยาศัย, ไม่ชอบ, ไม่ถูกชะตา ก็ว่า. ไม่ถูกชะตา ดู ไม่ถูกโฉลก. ไม่ท่า ว. ไม่ค่อย, ไม่ใคร่ เช่น ไม่ท่ามา (ไม่ค่อยมา). ไม่แน่ไม่แช่แป้ง (ส�ำ) ก. แสดงความ มั่นใจ, ต้องเป็นไปอย่างที่พูด แน่นอน; ใช้เป็นค�ำท้า. ไม่ปาก ว. ไม่พูด ไม่ปากหา ว. ไม่พูดหา, ไม่พูดด้วย. ไม่เป็นตา ว. ไม่น่า เช่น ไม่เป็นตากิน (ไม่น่ากิน). ไม่เป็นเรื่องเป็นแถว ว. ไม่เป็นเรื่อง เป็นราว. ไม่พอมือ ว. ไม่เกินก�ำลัง, ไม่กระทบ กระเทือนก�ำลังความสามารถ. ไม่พอยา ว. ไม่เพียงพอ เช่น ไม่พอ ยาด๊อกเงินแค่นี่ (ไม่พอหรอก เงินแค่นี้). ไม่มาใกล้ ดู ไม่มาฉาก. ไม่มาฉาก ว. ไม่เฉียดหรือกรายมา, ไม่ไปมาหาสูเ่ หมือนเคย, ไม่ผา่ น มาเลย, ไม่ฉาก, ไม่มาใกล้ ก็วา่ . ไม่มคี อ ไม่มหี วั มีแต่ตวั ถึงเวลาตีเอา ตีเอา (ปริศ) น. กลอง. ไม่ มี ด ้ ว งไม่ มี แ มง (ส� ำ ) บริ สุ ท ธ ิ์ ,

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ไม่มีตัว ไม่มีแขน มีแต่หน้าถึงเวลาตีเอา ๆ - ยังรุ่งยังค�่ำ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ไม่ มี ม ลทิ น (มั ก ใช้ เ กี่ ย วแก่ พรหมจารี). ไม่มีตัว ไม่มีแขน มีแต่หน้าถึงเวลาตี เอา ๆ [ไม่-มี-ตัว-ไม่-มี-แขนมี - แต่ - หน่ า -ถึ ง -เว-ลา-ตี เอา-ตี-เอา] (ปริศ) น. กลอง. ไม้เมืองเดิม [ม่าย-เมือง-เดิม] น. ของเก่า. ไม่รานกิน ว. ไม่ชอบกิน, ไม่แย่งกันกิน. ไม่รจู้ กั ใหญ่ [ไม่-ลู-่ จัก๊ -ไหฺย]่ ว. ไม่เห็น เติ บ ใหญ่ สั ก ที , ไม่ ใ หญ่ เ ป็ น , ไม่เห็นใหญ่เป็น, ก็ว่า. ไม่รดู้ อกเด่ [ไม่-ลู-่ ดอก-เด่] ว. ไม่ร,ู้ ไม่รหู้ รอก, ไม่ทราบ, ไม่รเู้ ด่ ก็วา่ . ไม่รู้เด่ [ไม่-ลู่-เด่] ดู ไม่รู้ดอกเด่. ไม่ รู ้ แ ห่ ง [ไม่ - ลู ่ - แห่ ง ] ว. จนใจ, จนปัญญา, ไม่รวู้ า่ จะท�ำอย่างไร. ไม่ลืมหูลืมตา ว. หนัก, รุนแรง เช่น ต๊กจนไม่ลมื หูลมื ตา (ฝนตกหนัก). ไม่เล็ดไม่หลิน [ไม่-เล่ด-ไม่-หลิน] (ส�ำ) ตระหนี่, ประหยัด, ไม่ให้ บกพร่ อ ง ; เงิ น ทองไม่ ใ ห้ เล็ดลอด. ไม่วา่ แล้ว [ไม่-ว่า-แหฺลว่ ] ว. ไม่ขดั ข้อง, ยินดี.

240

ไม่เห็นใหญ่เป็น ดู ไม่รู้จักใหญ่. ไม่เหลือ [ไม่-เหฺลือ] ว. แน่นอน, จริง, เป็นอย่างที่พูด เช่น คนหนึ่งพูด ว่า “ถ้าไปอยู่ภาคเหนือต้องได้ เมียคนเหนือแน่นอน” อีกคน ตอบว่า “ไม่เหลือ” ไม่เหลือ แหล่ว ก็ว่า. ไม่เหลือแหล่ว ดู ไม่เหลือ. ไม่ใหญ่ ว. ค�ำพูดนี้ถ้าใช้แก่เด็กที่เจ็บ ป่วยหมายถึง ไม่รอด หรือไม่อยู่ จนเติบใหญ่. ไม่ใหญ่เป็น ดู ไม่รู้จักใหญ่. ไม่อยู่สุข [ไม่-หฺยู่-ซุก] ก. อยู่ไม่สุข, อยู่นิ่ง ๆ ไม่ได้. ไม่เอาส�่ำ ว. ไม่เอาถ่าน, ไม่เอาการ เอางาน, ไม่รักดี. ไม่ เ อาเหนี ย ง ว. ไม่ เ อาถ่ า น, ไม่ เ อาการเอางาน, ไม่ รั ก ดี , ไม่ เ อาใคร, ไม่ ส นใจใคร, ไม่อินังขังขอบกับใคร. ไม่เอาเหมือด ว. ไม่เอาพวกพ้อง, ไม่ รักดี, ไม่เอาถ่าน. ไม่ เ อาเหมื อ ดใคร ว. ไม่ เ อาใคร, ไม่ ส นใจใคร, ไม่ อิ นั ง ขั ง ขอบ กั บ ใคร.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ยกครู [ย่ก-คู] (ปาก) ก. ท�ำพิธีบูชาครู หรื อ สิ่ ง ที่ นั บ ถื อ ด้ ว ยเครื่ อ ง สั ก การะก่ อ นจะท� ำ พิ ธีท าง ไสยศาสตร์ต่อไป ; โดยปริยาย หมายถึงการเสียตัวของผู้หญิง เช่น ยกครูหรือยัง. ยกยอ [ย่ก-ยอ] ก. ยกย่อง. ยกเรือน [ย่ก-เลือน] ก. ปลูกบ้านหรือ เรือน, สร้างบ้านหรือเรือน. ยกล่อ [ย่ก-ล่อ] น. โอยัวะหรือกาแฟ ด�ำใส่นมสด. ยกสง [ย่ก-สง] ก. ยกย่อง เช่น เขาก็ เฝ้ายกสงพระทรงศรี (เพลง โคราช). ยกเสาลงหลุม [ย่ก-เสา-ลง-หฺลมุ ] น. ยกเสาเอก, โดยปริยายหมาย ถึง งานแต่งงาน. ยงดิน ก. พรวนดิน. ยงโยะยงโย่ ก. ยงโย่ยงหยก, กิริยาที่ จะยืนก็ไม่ใช่จะนัง่ ก็ไม่เชิง, กิรยิ า โค้งตัวกึง่ นัง่ กึง่ ยืนเคลือ่ นไปมา. ยวงนม น. นมสัตว์ เช่น วัว, ควาย เช่น ยวงนมย่าง. ยวน น. ชนกลุ ่ ม หนึ่ ง อพยพมาจาก ล้านนาหรือภาคเหนือตัง้ ถิน่ ฐาน อยู ่ แ ถบอ� ำ เภอสี คิ้ ว มี ภ าษา 241

และวั ฒ นธรรมของตนเอง, ไทยยวน ก็เรียก. ย้วย [ย่วย] ก. ย้อย, ค่อย ๆ หยด ลงมา เช่น ไหลย่วย. ยโสโอหัง ก. แสดงกิรยิ าวาจาหยิง่ ยโส. ยอ ก. หยุด, เป็นค�ำสั่งให้สัตว์อยู่กับที่. ย็อก ๆ ก. เหยาะ ๆ, อาการวิ่งช้า ๆ, เหยง ๆ ก็ว่า. ยองย่อ ว. ยอง ๆ, นั่งชันเข่าทั้ง ๒ โดย ก้นไม่ถึงพื้น. ยอดตุ๊ปุ๊ติ๊ปิ๊ ดู ยอดอุ๊ปุ๊อิ๊ปิ๊. ยอดเยี่ ย มกระเที ย มดอง (ส� ำ ) ว. ดีที่สุด, เลิศที่สุด, เยี่ยมยอด. ยอดอุ๊ปุ๊อิ๊ปิ๊ ก. แตกยอดอ่อนสะพรั่ง, ยอดตุ๊ปุ๊ติ๊ปิ๊ ก็ว่า (ถิ่นโชคชัย). ย้อน [ย่อน] ว. เพราะ, เพราะว่า, เป็นเพราะ. ยอบ ก. ยุบ, เฉา. ยอแย ก. กวนใจ, ตอแย เช่น มายอแย แง่งอนให้หลงงาม (สุภมิต ฯ). ยะ ก. แยก, แบะออก, แยะ. ยักแย่ยักยัน ก. ฉุดดึงกัน, แหย่เข้าดึง ออกเหมือนแหย่งูในรู. ยังเขายังเอง ว. อย่างเขาอย่างเรา, อย่างเขาอย่างเอง ก็ว่า. ยังรุ่งยังค�่ำ ว. ทั้งวันทั้งคืน.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ยัน - ยิ้มเฝื่อน ๆ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ยัน ๑. ก. ถีบ, ใช้ฝ่าเท้าดันไปโดยแรง. ๒. ว. ตะพึดตะพือ, เรือ่ ยไป เช่น ไปยัน (ไปตะพึดตะพือ). ๓. ว. จวบจวน, จนถึง เช่น ดูลิเกยันแจ้ง. ยัด ก. กิน; ใช้เป็นค�ำไม่สุภาพ. ยัดห่า ก. กิน; เป็นค�ำไม่สุภาพ, แดกห่า ก็ว่า. ยับเยี่ยว [ยั่บ-เยี่ยว] น. เล็บเหยี่ยว, เย่บเยี่ยว ก็ว่า. ยา น. ยาสูบ, สิง่ ทีใ่ ช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบ�ำรุงร่างกาย. ยากลาง [ยา-กลาง] น. ยาเส้น ที่ท�ำจากใบกลางต้นยา นัยว่ามี รสชาติดี, นุ่มนวล. ยากะแร็ต [ยา-กะ-แล่ต] น. บุ ห รี่ ที่ บ รรจุ ซ อง เช่ น บุ ห รี่ พระจันทร์, เกล็ดทอง เป็นต้น.

ยากะแร็ต

ยาซุม น. ยาหมู่, ยาสมุนไพร หลาย ๆ ชนิด. ยาดูด น. บุหรี่ที่ใช้ใบตองแห้ง หรือกระดาษมวนยาเส้น. 242

ยาตีนดิน น. ยาเส้นทีท่ ำ� จากใบ ตรงช่วงโคนต้นยาหรือช่วงติด กับดิน นัยว่ารสชาติจะจืดชืดไม่ เป็นที่นิยม. ยาใบตอง น. บุหรี่, ยาสูบที่ ใช้ใบตองมวน.

ยาใบตอง

ยายอด น. ยาเส้นที่ท�ำจากใบ ช่วงยอดต้นยา นัยว่าจะมีความ ฉุนมาก. ยาสีฟัน น. ยาเส้นที่ใช้ถูฟันใน เวลากินหมากแล้วม้วนเป็นก้อน เล็ก ๆ จุกไว้ที่มุมปาก ถ้าจุกไว้ มุมปากด้านบนเรียกว่า ตูนยา. ยาหลาบ น. ยาแก้ซางตาน ขโมย ประกอบด้วยสมุนไพร หลายชนิดใช้ต้มรับประทาน. ยาก ใช้ประกอบค�ำอื่นมีความหมายใน ท�ำนองว่า ไม่….ง่าย, ไม่.....เร็ว เช่น ยากไป (ไม่ไปง่าย ๆ) ยาก มา (ไม่มาเร็ว). ยากจนข้นแค้น [ยาก-จน-ข้น-แค่น] ว. อัตคัด, ขัดสน, ยากแค้น. ยากซา ว. ยาก, ล�ำบาก, ยากเย็น.


พจนานุกรม ภาษาโคราช ยางปากออก (ส�ำ) ก. พูดเป็นลาง สังหรณ์, พูดเป็นลางร้าย. ยางมอกใหญ่ น. ค�ำมอกหลวง ; ไม้ ยืนต้นขนาดเล็ก มียางสีเหลือง เมล็ดต้มเคี่ยวผสมกับน�้ำ ใช้ฆ่า เหา, ผ่าด้าม, ค�ำมอกช้าง ก็ว่า. ยางระวง [ยาง-ล่ะ-วง] น. หนังยาง, ยางวง, เส้นยางวงกลมเล็ก ๆ ส�ำหรับใช้รัดสิ่งของ, (ดู ระวง ประกอบ).

ยางระวง

ย่างสามขุม น. ท่าชกมวย, ท่าร�ำของ หมอเพลงโคราช ในลักษณะ ย่างก้าวเป็นจังหวะยักเยือ้ งเป็น ๓ เส้า. ย่าน น. พวก เช่น ไอ้ย่านผู้ชายไม่กลัว ด๊อก (พวกผู้ชายไม่กลัวหรอก), ย่านผู้ชายถ้ามาเทียบเปรียบ เสมอ (นิ.พระปาจิต). ยานโตงเตง ว. โดยปริยายหมายถึง อัณฑะหรือนมยานลงหรือห้อย ลงแกว่งไปมา. ย่านเมาะ ดู เครือตาปา. 243

ยานหูก ก. คลายปมเส้นไหมหรือด้าย ให้หย่อน. ยามนอนมันตัง้ ยามตัง้ มันนอน (ปริศ) น. เท้า. ยามไปเท่าบิ้งนา ยามมาเท่าก้อนเส้า [ยาม-ไป-เท่า-บิง้ -นา-ยาม-มาเท่า-ก้อน-เส่า] (ปริศ) น. แห. ย่ า โม น. ท่ า นท้ า วสุ ร นารี ; เดิ ม ชาวเมืองเรียก “แม่โม” หรือ “คุ ณ หญิ ง โม” ปั จ จุ บั น คน ทั่วไปเรียก “ย่าโม”. ย่าว ดู ง่าว. ยาวโคดโลด ว. ยาวเฟื้อย. ยาวเจื้อย ว. ยาวเฟื้อย. ยิก ว. หยิก, หงิก. ยิงยอม ว. ยินยอม. ยิ่งว่ายิ่งเสริญ [ยิ่ง-ว่า-ยิ่ง-เสิน] ว. ยิ่งพูดเหมือนยิ่งยุให้ท�ำ. ยิ่บ ก. เย็บ. ยิ้มแก้มปริ [ยิ่ม-แก้ม-ปิ๊] ก. ยิ้มแฉ่ง จนแก้มแทบแตกเป็นรอยร้าว. ยิม้ จนเห็นเหงือก [ยิม่ -จน-เห็น-เหฺงอื ก] ก. ยิ้มในลักษณะอ้าปากกว้าง จนเห็นเหงือก. ยิ้ ม เจื่ อ น ๆ [ยิ่ ม -เจื่ อ น-เจื่ อ น] ดู ยิ้มเฝื่อน ๆ. ยิ้มเฝื่อน ๆ [ยิ่ม-เฝื่อน-เฝื่อน] ก. ยิ้ ม อย่ า งวางสี ห น้ า ไม่ ส นิ ท , ยิ่มเจื่อน ๆ ก็ว่า.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ยิ้มแหยะ ๆ - โยโส

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ยิ้มแหยะ ๆ [ยิ่ม-แยะ-แยะ] ก. แสยะ ยิ้ม, ยิ้มแหย, ยิ้มอย่างเก้อเขิน, ฝืนยิ้ม. ยึก [ยึ่ก] ก. ทะยาน, กระดุกกระดิก, ขยับตัว, ไหวตัว, อาการที่ขยับ ไปขยับมาไม่อยูน่ งิ่ , ยึกยัก ก็วา่ . ยึกยัก [ยึ่ก-ยั่ก] ดู ยึก. ยึกยือ [ยึ่ก-ยือ] ก. อาการที่กล้า ๆ กลัว ๆ. ยืน น. ยก (ใช้แก่การชกมวย); การ ชกมวยของโคราชสมัยก่อน จะ ชกคู่ละ ๓ ยืน (๓ ยก) โดยชก แบบเวียนรอบ เช่น รายการ มวยมี ๔ คู่ ก็จะชกกันทีละคู่ ๆ ละ ๑ ยืน เมื่อยืนที่ ๑ ครบ ๔ คู่แล้ว คู่ที่ ๑ จึงจะมาชกยืนที่ ๒ เมื่อทุกคู่ชกครบยืนที่ ๒ แล้ว คู่ที่ ๑ จึงจะเริ่มชกยืนที่ ๓ เรียง เช่ น นี้ ไ ปจนครบทุ ก คู ่ เช่ น ทั้ ง สิ บ คู ่ สู ้ กั น ครบทั้ ง สามยก (นิ.พระปาจิต). ยืนแบ่น ก. ยืนแอ่น. ยืนละหงอย ว. ยืนสลอน. ยุ่งขี้ยุ่งตด [หยุ่ง-ขี่-หยุ่ง-ต๊ด] (ส�ำ) ว. ยุง่ , ยุง่ เหยิง, ยุง่ เหมือนยุงตีกนั . ยุ่งพอปานลิงติดแห [หยุ่ง-พอ-ปั่นลิง-ติ๊ด-แห] (ส�ำ) ยุ่งเหยิง. ยุด [ยุ่ด] ก. ยึด, ดึง เช่น ว่าช้างแล้ว อย่าได้ไปยุดหาง (นิ.พระปาจิต). 244

ยุบยิบ ก. ยุบยับ, อาการที่เคลื่อนไหว กระดุบกระดิบของสัตว์เล็ก ๆ อย่างหนอน, มด, ปลวก จ�ำนวน มาก; ปริยายใช้แก่คนจ�ำนวน มาก, เคลื่อนไหวขวักไขว่ไปมา. เยก ๆ ว. เอ๋ง ๆ, เสียงอย่างเสียงหมา ร้อง, เง้ก ๆ ก็ว่า. เย็ดแม่มึง [เย่ด-แม่-มึง] ว. ใช้เป็น ค�ำด่า. เย็นจ้อย ว. เย็นเจี๊ยบ, เย็นจัด. เย็นชะอึด้ ว. อาการของคนตัวเย็นมาก. เย็นอย่างฟัก หนักอย่างหิน [เย็นหฺยา่ ง-ฟัก่ -นัก-หฺยา่ ง-หิน] (ส�ำ) ใจคอเยือกเย็นและหนักแน่น. เย็บเยี่ยว [เย่บ-เยีย่ ว] น. เล็บเหยี่ยว, ยั่บเยี่ยว ก็ว่า. เย่ย ก. เอนลง, โน้ม, เฉียง, เยื้อง. เยอ ว. นะ, หนอ เช่น มาจากไหนกันเยอ. เยอะแยะตาแป๊ะ [เย่อะ-แย่ะ-ตา-แป้ะ] (ปาก) ว. มากมายก่ายกอง. เยิดยง ว. ยง, ยรรยง, งามสง่า เช่น งามเยิดยงเยี่ยมยอดราชยาน (สุภมิต ฯ). เยิ่น ว. ลักษณะที่เลยหรือเกินออกไป, ยื่นออกไป เช่น ขนจมูกเยิ่น ออกมา. เยิบยาบ ว. เนิบนาบ, ยืดยาด, อืดอาด. เยียก ก. เรียก. เยี่ยวไก่ น. ค้อนกลอง, สะแอะ; ชื่อไม้


พจนานุกรม ภาษาโคราช เถาเนื้อแข็งชนิด Capparis grandis L.f. ในวงศ์ Capparaceae ล�ำต้นมีหนาม ผลกลมใหญ่ผิวขรุขระ เมื่อสุก จะสีแดง ใช้ท�ำยาได้.

เยี่ยวไก่

เยี่ยวหยด [เยี่ยว-ยด] ก. ปัสสาวะ ไหลออกมาเป็ น หยาด ๆ เหมือนน�้ำหยด. เยือ ว. นาน, ยืดเยือ, ยาวนาน. เยื่อม ก. เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เยื่อมยาม

ก็ว่า เช่น มาเยื่อมยามถามข่าว พระจอมขวัญ (นิ.พระปาจิต). เยื่อมยาม ดู เยื่อม. แย่งยอ น. เครื่องมือจองจ�ำอย่างหนึ่ง คล้ายขื่อ เช่น เอาแย่งยอผูก คอทรลักษณ์ (สุภมิต ฯ). แย้ม [แย่ม] ก. แง้ม, เปิดเพียงเล็ก น้อย เช่น แย่มประตู. แยะ [แย่ะ] ก. แยะ, แยก, แตก, แหยะ ก็ว่า. โย้ [โย่] ก. ย้าย, โยกย้าย. โยนปีบ ก. วิดน�้ำโดยใช้ปีบ มีเชือก ผูกมัดกับตัวปีบ ๒ ข้าง แล้วคน ๒ คน ยืนจับเชือกคนละ ด้าน วิดหรือพุย้ น�ำ้ เข้าออกตาม ต้องการ. โยโส ก. ยโส, เย่อหยิ่ง เช่น เชิงมุสา พู ด โยโสพู ด โอหั ง (นิ . พระ ปาจิต).

โยนปีบ

245

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

อุโบสถเก่า วัดพระนารายณ์มหาราช ฯ

246


พจนานุกรม ภาษาโคราช

รถตีนตะขาบ [ล่ด-ตีน-ตะ-ขาบ] น. รถ ถังหรือรถหุ้มเกราะของทหาร, (ดู ตีนตะขาบ ประกอบ). รถหวานเย็น [ล่ด-หวาน-เย็น] น. รถ ที่แล่นไปอย่างช้า ๆ ไม่ทันใจ ผู้โดยสาร. รบกัน [ล่บ-กัน] ก. ทะเลาะกัน. รวก น. ลูกอ๊อดกบ, เขียด, คางคก. ร่วงเผาะ [ล่วง-เพาะ] ก. ร่วงติ๋ง ๆ, หยดติ๋ง ๆ, หยดแหมะ เช่น น�่ำตาร่วงเพาะ (น�้ำตาร่วงติ๋ง, น�้ำตาหยดแหมะ). ร่วงรุ่ ๆ [ล่วง-ลุ่-ลุ่] ก. ร่วงพรู. ร่วน ว. ซุย, ลักษณะทีย่ ยุ่ ไม่เกาะกันแน่น เหนียว เช่น แตงร่วน (แตงเนื้อ ซุย), ซุ่ ก็ว่า. รวมพี่รวมน้อง [ลวม-พี่-ลวม-น่อง] ก. พี่น้องมาชุมนุมกัน. รสทราม น. รสชาติไม่ดี เช่น ผลหมาก ดิบสดย่อมมีรสทราม (ท้าวฯ).

รอ

รอ น. ภาชนะคล้ายอ่างภายในท�ำเป็น 247

ตะปุ่มตะป�่ำใช้ฝนยารากไม้. รอก น. เครื่องบอกสัญญาณ ใช้ผูกคอ วัว, ควาย.

รอก

ร็อกหร็อย ว. บางตา, รุ่งริ่ง. ร้องโก้ก [ล่อง-โก้ก] ก. ร้องไห้โฮ. ร้องจ๊าก [ล่อง-จ๊าก] ก. ร้องอย่างเสียง หลง, ส่งเสียงร้องดังผิดปกติ. ร้องแซว [ล่อง-แซ้ว] ก. ร้องระงม, ร้องไห้กันขรม. ร้องเพลงในครัวจะได้ผัวแก่ [ล่องเพง-ไน-คัว-จะ-ได้-ผัว-แก่] (ส�ำ) ถ้าไม่อยากได้ผัวแก่อย่า ร้องเพลงในขณะหุงหาอาหาร ในครัว; นัยว่าเป็นกุศโลบายที่ จะให้ขมีขมันหรือก้มหน้าก้มตา ท�ำอาหารโดยไม่ชกั ช้าเสียเวลา. ร้อนจุ้ก [ล่อน-จุ้ก] ว. ร้อนผ่าว. ร้อนตับแลบ [ล่อน-ตับ๊ -แลบ] (ปาก) ว. ร้อนมาก, ร้อนระอุจนอยูไ่ ม่ได้.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ร้อนปั้ด - ระเบิด

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ร้อนปัด้ [ล่อน-ปัด้ ] ว. ร้อนจัด, ร้อนมาก. ร้อนลักร้อนเล [ล่อน-ลัก่ -ล่อน-เล] ว. ทุลักทุเล, ร้อนรน, พะว้าพะวัง, แสดงอาการกระวนกระวาย. รอยคาดมาตรชีวิต น. ร่องรอยของ ความอาฆาดมาดร้าย, พยาบาท อย่ า งรุ น แรง ที่ อ ยู ่ ใ นความ ทรงจ� ำ เช่ น เอาหอก ดาบ แหลน หลาว สักลงบนหน้า คอ แลตามร่างกายของไอ้พวก กบฏโดยแรงให้ ทั่ ว ทุ ก ตั ว คน รอยคาดมาตรชีวติ เหล่านีแ้ หละ จะเป็นอนุสาวรีย์ของเราต่อไป (ท้าว ฯ). ร้อยบาทเอา ขีห้ มากองเดียว [ล่อยบาด-เอา-ขี-่ หมา-กอง-เดียว] (ส�ำ) ค�ำท้าทายเชิงพนันว่าสิ่งที่ พูดต้องเป็นจริงหรือเป็นไปตาม นั้นอย่างแน่นอน. ระ ๆ [ล่ะ-ล่ะ] ๑. ก. อาการซวนเซ, เสีย หลักซวนไป, เซถลาไปมา เช่น เซร่ะ ๆ (เซถลา). ๒. ก. ร่วงพรู เช่น มะม่วงร่วงร่ะ ๆ (มะม่วงร่วงพรู), รุะ่ ระ ก็วา่ . ระก้อมระแก้ม [ล่ะ-ก้อม-ล่ะ-แก้ม] ก. ท่าทางเคอะเขิน. ระเกรียว [ล่ะ-เกี้ยว] ก. เกรียวกราว, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง. 248

ระคาญ [ล่ะ-คาน] ก. ร�ำคาญ, เบื่อ หน่าย, ไม่สบอารมณ์ เช่น เสวย ก็ไม่ได้ ระคาญใจเป็นนักหนา (นิ.รูปทอง). ระคิก [ล่ะ-คิก] ว. คิก ๆ, เสียงหัวเราะ เบา ๆ กันหลายคน. ระงึด [ล่ะ-งึ่ด] ว. เงียบกริบ เช่น พอ นายอ�ำเภอมาคนเงียบระงึ่ด. ระเงียว [ล่ะ-เงียว] ว. หงุดหงิด เช่น จะอ้อนพ่องอระเงียวจะเคีย้ วกิน (สุภมิต ฯ). ระเงียวระงม [ล่ะ-เงียว-ล่ะ-งม] ว. เสียงดังเซ็งแซ่. ระเงอะระเงย [ล่ะ-เง่อะ-ล่ะ-เงย] ว. อาการที่ เ งอะงะ, เคอะเขิ น , ไม่มั่นใจ, ไม่ช�ำนาญในสิ่งนั้น. ระเงาะระเหงิบ [ล่ะ-เง่าะ-ล่ะ-เหฺงิบ] ว. มีทา่ ทางโดกเดก, โอนไปโอน มา, ท่าทางเหมือนคนเมาเหล้า. ระโงก [ล่ะ-โงก] ๑. ว. สล้างสลอน, มากมาย. ๒. น. เห็ดชนิดหนึ่ง. ระโงกระงึน [ล่ะ-โงก-ล่ะ-งึน] ดู ระโงก ระเงก. ระโงกระเงก [ล่ะ-โงก-ล่ะ-เงก] ว. นั่ง หรื อ นอนเรี ย งกั น เป็ น แถว, นั่ ง อย่ า งหมดอาลั ย หรื อ ทอด อาลัย, ระโงกระงึน ก็ว่า. ระชุดระชิด [ล่ะ-ชุ่ด-ล่ะ-ชิ่ด] ว. หลับ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ไม่สนิท, หลับไม่เต็มที่, หลับ ๆ ตื่น ๆ (ใช้แก่การนอน), ระซุด ระซิด ก็ว่า . ระซุดระซิด [ล่ะ-ซุ่ด-ล่ะ-ซิ่ด] ดู ระชุด ระชิด. ระซ่อง [ล่ะ-ซ่อง] ๑. ว. มาก, สลอน เช่น นั่งรอกันระซ่อง (นั่งรอกัน สลอน), ราซ่อง ก็ว่า เช่น คือ ดั่งบัวทอง ตกเกลื่อนราซ่อง ขาวผ่องยองใย (นิ.กุศราช). ๒. ก. จ้อกแจ้ก, เสียงของคน มาก ๆ ที่ต่างคนต่างพูด. ระซ่องยังกะหน้างัวเกวียน [ล่ะ-ซ่องยัง-ก๊ะ-หน่า-งัว-เกียน] (ส�ำ) น. หน้าสลอนเหมือนหน้าวัวที่ เทียมเกวียน. ระเซะ [ล่ะ-เซ่ะ] ก. น�้ำตาไหลพราก, หยดหรือย้อยไหลเป็นทาง, เซ่ะ, กะเซ่ะ, กะเซ่อะ ก็ว่า. ระแซว [ล่ะ-แซว] ดู แซ้ว. ระแซ้ว [ล่ะ-แซ้ว] ดู แซ้ว. ระดะ [ล่ะ-ด๊ะ] ดู ระดะระดาษ. ระดะระดาษ [ละ-ด๊ะ-ละ-ดาด] ว. เกลื่ อ นกลาด, มากมาย, ดาษดื่น. ระดึ๊บ ว. ผลิเขียว เช่น เขียวระดึ๊บ, ระลิบ ก็ว่า. ระเด่ [ล่ะ-เด่] ว. นะ, แล้วนะ เช่น ช่าง มันไม่เดินระเด่ (ช้างมันไม่เดิน

นะ), ระดะ ก็ว่า. ระโด่ระเด่ [ล่ะ-โด่-ล่ะ-เด่] ว. โด่แด่. ระทา [ล่ะ-ทา] ดู กระทา. ระเทระทัง [ล่ะ-เท-ล่ะ-ทัง] ว. ไม่มี จุดหมาย. ระนึงตึงนืด [ล่ะ-นึง-ตึง-นืด] ดู มะนึง ตึงนืด. ระเนระนั ง [ล่ ะ -เน-ล่ ะ -นั ง ] ว. ระเนระนาด, ล้มก่ายกันอย่าง เกะกะ. ระเนือก [ล่ะ-เนือก] น. ฟาก, พื้นเรือน ที่ปูด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกแล้วทุบให้ แบน. ระบัง [ล่ะ-บัง] ดู กักระบัง. ระบุ๊ดระบูด ว. เปียกปอนฝ่าสายฝน อย่างทุลกั ทุเล, สมบุกสมบันฝ่า สายฝน, สมบุกสมบันด้วยเนื้อ ตัวเปียกปอน, สะบุก๊ สะบูด ก็วา่ . ระเบิด [ล่ะ-เบิด] ว. ใช้ประกอบค�ำอื่น มีความหมายในท�ำนองว่า มาก, อย่างยิ่ง เช่น วิ่งหนีกันระเบิด (วิง่ หนีกนั หัวซุกหัวซุนหรืออย่าง ซ่ า นเซ็ น ), เท่ ร ะเบิ ด (มาด สุ ด หล่ อ ), ระเบิ ด เถิ ด เทิ ง , ระเบิ ด เบิ ง , ระเบิ ด ระเบิ ง , ระเบิดใหญ่ ก็ว่า เช่น พวกไทย ลามตามฟังพวกลาวเซิง้ ระเบิด เบิงเบียดเสียดกันแหลกเหลว (นิ.พระปาจิต). 249

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ระเบิดเถิดเทิง - ระหิมระหาม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ระเบิดเถิดเทิง [ล่ะ-เบิด-เถิดเทิง] ดู ระเบิด. ระเบิดเบิง [ล่ะ-เบิด-เบิง] ดู ระเบิด. ระเบิดระเบิง [ล่ะ-เบิด-ล่ะ-เบิง] ดู ระเบิด. ระเบิดใหญ่ [ล่ะ-เบิด-ไหย่] ดู ระเบิด. ระเบะระบะ [ล่ะ-เบ้ะ-ล่ะ-บ้ะ] ดู กะเบ่ะ กะบ่ะ. ระแบม [ล่ ะ -แบม] ก. ร่ ว งพรู , เกลื่อนกลาด, ระแบ๋ม ก็ว่า. ระแบ๋ม [ล่ะ-แบ๋ม] ดู ระแบม. ระปร้าว [ล่ะ-ป้าว] ดู ปร้าว. ระปุ้ด [ล่ะ-ปุ้ด] ก. ขาดเสียงดังปุ้ด. ระปุ้ดระปั้ด [ล่ะ-ปุ้ด-ล่ะ-ปั้ด] ก. ขาด เสียงดังปุ้ดปั้ด. ระผุ ด ระโผ [ล่ ะ -พุ ด -ล่ ะ -โผ] ก. กระวนกระวาย, ร้อนรน เช่น ให้คอแห้งแรงหอบระผุดระโผ (นิ.พระปาจิต). ระโผเผ [ล่ะ-โผ-เผ] ว. โซเซ เช่น จะโซม ซุมเสือกโซระโผเผ (สุภมิต ฯ). ระเพิ่น [ล่ะ-เพิ่น] ๑. ก. แตก, แยก จากกัน, แตกตื่น, ตกใจกระจัด พลัดพรายไป เช่น บีบแตรไก่ ระเพิน่ เมิด้ เลย (บีบแตรไก่แตก หนีหมดเลย), ตีนแม่ร้าวเท้า ระเพิ่นเดินด�ำรง (สุภมิต ฯ). 250

๒. ว. ไม่มสี มาธิ, ใจลอย, ระเว่อ ก็ว่า. ระย้า [ล่ะ-ย่า] ก. คันไปทั้งตัว. ระยึก [ล่ะ-ยึ่ก] ๑. ก. คัน, คันคะเยอ, อาการทีต่ อ้ งให้เการ�ำ่ ไป, ระยึก ระยึน ก็ว่า. ๒. ก. สั่น, ไหวถี่ ๆ. ระยึกระยึน [ล่ะ-ยึ่ก-ล่ะ-ยึน] ๑. ดู ระยึ่ก. ๒. ก. ขวักไขว่, สับสน. ระยึงตึงตื้ด [ล่ะ-ยึง-ตึง-ตื้ด] ว. ยาว, ยุ่งเหยิง. ระยึ ง ระยื ด [ล่ ะ -ยึ ง -ล่ ะ -ยื ด ] ๑. ว. พันกันยุ่งเหยิง, ยุ่งเหยิง, เหนอะหนะ เป็นยางยืด. ๒. ก. มากันมาก, มาเป็นโขยง. ระยืด [ล่ะ-ยืด] ว. ยาวมาก, ยาวเฟือ้ ย. ระยุง ว. ระโยง, สิ่งที่ห้อยย้อยลงมา อย่างระเกะระกะ. ระยุงระย้า [ล่ะ-ยุง-ล่ะ-ย่า] ดู ระโยง ระเยง. ระยุงระยาง [ล่ะ-ยุง-ล่ะ-ยาง] ดู ระโยง ระเยง. ระโยง ก. ห้อยระย้า. ระโยงระเยง น. ระโยงระยาง, สายที่ โยงผู ก แขวนห้ อ ยระเกะระกะ หรื อ อย่ า งอี นุ ง ตุ ง นั ง , ระยุ ง ระย้า, ระยุงระยาง ก็ว่า. ระเยะ [ล่ะ-เยะ] ว. มากมาย.


พจนานุกรม ภาษาโคราช ระเยะระยะ [ล่ ะ -เยะ-ล่ ะ -ยะ] ว. มากมายหลายอย่าง, ห้อยหรือ แขวนระเกะระกะ. ระราย [ล่ะ-ลาย] ก. เราะราย, พูดให้ คนฟังขุ่นเคือง. ระโรม [ล่ะ-โลม ] ก. รวมกัน, รวบรวม, รุม, เบียดเบียน. ระลิบ [ล่ะ-ลิบ] ดู ระดึบ. ระเลิง [ล่ะ-เลิง] ก. โค่นหรือล้มด้วย แรงลม. ระวง [ล่ะ-วง] น. วง เช่น แม่คิ่วก่งก่ง ระวงหน่าก่วงก่วงลงท่งก้วงก้วง งามเอาเสี ย เกิ น เกิ น (เพลง โคราช). ระวงตีนเกวียน [ล่ะ-วง-ตีน-เกียน] ดู หันวงระวิง. ระวิง ว. ไม่หยุดหย่อน, ไม่ว่าง เช่น มือ เป็นระวิง (มือไม่วา่ ง, มือท�ำงาน ไม่ได้หยุดหย่อน). ระวิดระหวือ [ล่ะ-วิด-ล่ะ-หฺวือ] ว. เกือบ, หวุดหวิด, ชักหน้าไม่ถึง หลัง, ระวืดระหวือ ก็ว่า. ระวืดระหวือ [ล่ะ-วืด-ล่ะ-หวือ] ดู ระวิดระหวือ. ระเว [ล่ะ-เว] (ปาก) ก. ส�ำรวจ (อ. Survey : เซอร์เวย์). ระเว่อ [ล่ะ-เว่อ] ว. ไม่มสี มาธิ, ใจลอย, ระเพิ่น ก็ว่า. ระเวิก่ ว. ขวักไขว่, ฟุง้ ซ่าน, ระเวิก่ ระวึน 251

ก็วา่ . ระเวิ่กระวึน ดู ระเวิ่ก. ระเวิ่ดระหวั่น ว. จิตใจไม่สงบ. ระเสดระสัง [ล่ะ-เสด-ล่ะ-สัง] ว. มากมาย เช่น บ้างตีมาร่าราย ระเสดระสัง (นิ.พระปาจิต). ระหงึน [ล่ะ-หงึน] ๑. ว. อาการซึมเซา, หงอยเหงา. ๒. ว. สัปหงก, นัยน์ตาปรือ เช่น ลั บ ระหงึ น (หลั บ โดยหน้ า สัปหงก). ระหม็ อ น [ล่ ะ -หม็ อ น] ว. สลอน, ระหม็อนระแหม็น ก็ว่า. ระหม็อนระแหม็น [ล่ะ-หม็อน-ล่ะแหฺม็น] ดู ระหม็อน. ระหามหิม [ล่ะ-หาม-หิม] ดู ระหิม ระหาม. ระหิดระเหียน [ล่ะ-ฮิด-ล่ะ-เหียน] ว. เล็กน้อย, ไม่มาก; ก. รูเ้ ป็นเลา ๆ, รู้มานิด ๆ หน่อย ๆ, ได้ความไม่ ชัดเจน เช่น หลงด้วยรู้เขาสัก นิดระหิดระเหียน (นิ.พระปาจิต). ระหิ ม ระหาม [ล่ ะ -หิ ม -ล่ ะ -หาม] ว. หิมหาม, ฉุกละหุก, ด่วน, รีบ, เร่ ง , รี บ เร่ ง , สั บ สนอย่ า ง รีบร้อน เช่น พวกต�ำรวจตรวจ เวรได้รบั สัง่ ละล้าละลังพาวิง่ ระ หิมระหาม (นิ.พระปาจิต), จะ ร้องไห้ระหิมระหามเดินตามพ่อ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ระหิมหาม - ร่า

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

(สุภมิต ฯ), ระหามหิม, ระหิมหาม, ระหึมระหาม, ก็ว่า เช่น จึง ทานทั ด ห้ า มปรามระหามหิ ม , สองสหายสมเพชระหิ ม หาม, แสนล�ำบากยากจนระหึมระหาม (นิ.พระปาจิต). ระหิมหาม [ล่ะ-หิม- หาม] ดู ระหิม ระหาม, ระหึนระหาย [ล่ะ-หึน-ล่ะ-หาย] ดู ระหึน ระเหือย. ระหึนระเหือย [ล่ะ-หึน-ล่ะ-เหือย] ก. ร้องไห้ฟูมฟาย, สะอึกสะอื้น, ระหึนระหาย, ระหืนระไห ก็ว่า เช่น สุชลนัยน์ไหลนองระหืนระไห (นิ.พระปาจิต). ระหืนระไห [ล่ะ-หืน-ล่ะ-ไห] ดู ระหึน ระเหือย. ระหูยระแหก [ล่ะ-หูย-ล่ะ-แหก] ก. เรีย่ ราย, กระจายไป, เช่น แม่กบั พ่ อ ซั ด เซระเหระหน ระหู ย ระแหกแยกย้ า ยเป็ น รายคน (สุภมิต ฯ). ระเหย [ล่ะ-เหย] ก. เหือดหาย, หาย สิ้น, หมดไป เช่น รักน้องสอง ข้าง ไม่ห่างระเหย อย่าถือโทษ เลย พี่ขอสมา (นิ.รูปทอง). ระเหระหัน [ล่ะ-เห-ล่ะ-หัน] ว. ระเหระหน, ร่อนเร่ไปไม่เป็นที่ เช่น ป่ารกเหลือ บินเร่ระเหระหัน (สุภมิต ฯ). 252

ระเหงือกระหงึน [ล่ะ-เหฺงอื ก-ละ-หงึน] ว. อ่อนแรงมาก, งัวเงียจนไม่ ลืมหูลืมตา เช่น นอนระเหงือก ระหงึน. ระโหงก [ล่ะ-โหฺงก] ๑. ว. สล้างสลอน, มากมาย. ๒. ก. ท�ำด้วยความยากล�ำบาก. ระไหว ก. ไหว, ปลิวสะบัด, สลอน เช่น ก๊ ว กมื อ ระไหว ๆ (กวั ก มื อ สลอน), มาแกว่งกวัดต้องใบโพ ระไหว (นิ.พระปาจิต). ระอ้องระแอ้ง [ล่ะ-อ้อง-ล่ะ-แอ้ง] ว. กระตุ้งกระติ้ง. ระออบระแอบ ว. ออด ๆ แอด ๆ, เจ็บ ออดแอด เช่ น ด้ ว ยตั ว ฉั น ก็ ส� ำ คั ญ ระออบระแอบ ให้ เจ็ บ แสบที่ ฝ ่ า เท้ า จะก้ า วย่ า ง (นิ.พระปาจิต). ระออม ว. บอบช�้ำ, ระบม, ช�้ำใน, เจ็บ ไปทั่วตัว. ระอิ๊ก [ล่ะ-อิ๊ก] ก. หัวร่อต่อกระซิก. ระอึร๊ ะอึม ก. นอนในลักษณะเรียงราย, มากมาย, ระอึ๊กระอึน, ระอึน ก็ว่า. ระอึก๊ ระอึน [ล่ะ-อึก๊ -ล่ะ-อึน] ดู ระอึระอึม. ระอึน ดู ระอึระอึม. ระอึม [ล่ะ-อึ่ม] ก. พึมพ�ำ. ระเอิม ก. อาการเมื่อเท้าย�่ำของเหลว แล้วมีความรู้สึกขยะแขยงหรือ


พจนานุกรม ภาษาโคราช สะอิดสะเอียน. ระโอด [ล่ะ-โอ้ด] ว. ระหง, สูงสล้าง. ระเฮอะ ว. แสดงอาการดีใจ เช่น พอ บอกว่าจะพาไปดูหนัง ลูก ๆ พา กันระเฮอะ. รักกันให้รอด กอดกันให้มนั่ [ลัก่ -กัน-ไห่ลอด-กอด-กัน-ไห่-หมัน่ ] (ส�ำ) ให้รกั กันอย่างมัน่ คงตลอดไป. รักทะนง [ลั่ก-ทะ-นง] ดู ทะนง. รักสนุกทุกข์ขนัด [ลัก่ -สะ-นุก-ทุก่ -ขะนัด] (ส�ำ) รักสนุกทุกข์สนัด, เอาแต่มัวสนุกจะมีความทุกข์ ล�ำบากภายหลัง. รักให้ตอบชอบให้บอก [ลัก่ -ไห่-ตอบชอบ-ไห่-บอก] (ส�ำ) ถ้ารักชอบ กันจริงให้บอกผู้ใหญ่หรือสู่ขอ ผู้ใหญ่ตามประเพณี. รัง ก. พูดแข่ง, พูดสอด, พูดแทรกใน ขณะที่ผู้อื่นก�ำลังพูด เช่น ชอบ พูดรัง. รังที ว. บางที. รังโทน น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bridelia retusa (L.) A. Juss. ในวงศ์ Euphorbiaceae ล�ำต้นมีหนาม กิ่งอ่อน ใบเดี่ยวรูปรี ดอกแยก เพศคือเพศผูส้ เี หลือง ดอกเพศ เมียสีน�้ำตาลแดง ออกเป็นช่อ กระจุกตามง่ามใบและตามกิ่ง ผลค่อนข้างกลม เปลือกมีสาร 253

แทนนิน ทางเภสัชกรรมใช้เป็น สารต้ า นไวรั ส บางชนิ ด , นั ก พฤกษศาสตร์เรียก เต็งหนาม .

รังโทน

รังเรื่อ น. เปลหามศพท�ำด้วยไม้ไผ่ผ่า ซีกหรือทุบให้แบนสานเป็นผืน เช่น ท�ำรังเรื่อผูกรุงรังเหมือน อย่างผี (นิ.พระปาจิต). รัญจวน ดู ล�ำมะเจียก. รัดวัน ว. ถึงวัน, ลุวัน เช่น เคยชกตี หลายครัง้ ไม่รดั วัน (นิ.พระปาจิต). รั้วหักงัวก็เข้า [ลั่ว-ฮัก-งัว-ก็-เข่า] ดู รั้วหักงัวก็ออก. รั้วหักงัวก็ออก [ลั่ว-ฮัก- งัว-ก็-ออก] (ส�ำ) ผีซ�้ำด�้ำพลอย, ถูกซ�้ำเติม เมื่อพลาดพลั้งหรือเมื่อคราว เคราะห์ร้าย, รั้วหักงัวก็เข้า, รั้วหักหมาก็เข้า ก็ว่า. รัว้ หักหมาก็เข้า [ลัว่ -ฮัก-หมา-ก็-เข่า] ดู รั้วหักงัวก็ออก. ร่า ว. หรา, ก๋า เช่น ยกมือร่า (ยกมือ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ราก - รู้แจ้งแดงแจ๋

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

หรา). ราก ก. อาเจียน, อ้วก. รากแตก ก. อาเจียน, อ้วก. รากแตกรากแตน ก. อาเจียน อย่างหนัก. รากบัว ดู หัวบัว. รากบ้ า น น. คนพื้ น เพในหมู ่ บ ้ า น, คนเก่าแก่ในหมู่บ้าน. รากเหง้าเหล่ากอ ว. เชื้อสายดั้งเดิม ของวงศ์ตระกูล. รากรี [ลา-กี] น. ราตรี, กลางคืน. รางโกง น. ขโมย, ผู้ลักทรัพย์ เช่น อันตัวเรารางโกงนัน้ หนา โบราณ ว่าคือขโมยนั่นไง (นิ.เสือสาง รางโกง). ราชสีมา [ลาด-ชะ-สี-มา] น. ชื่อเรียก จังหวัดนครราชสีมาอีกชื่อหนึ่ง คนพืน้ เมืองโคราชมักเรียกสัน้ ๆ ว่า ราช-สี-มา. ราชสี ห ์ กั ด กั น กะไหน หญ้ า แพรก แหลกกะนัน่ [ลาด-สี-กัด๊ -กันก๊ะ-ไหน-หย่า-แพก-แหฺลกก๊ะ-นั่น] (ส�ำ) น. ผู้มีอ�ำนาจ ทะเลาะเบาะแว้งกัน ผู้น้อยที่ ใกล้ชิดพลอยได้รับผลกระทบ ด้วย เช่นเดียวกับค�ำว่า “ช้าง สารชนกันหญ้าแพรกก็แหลก ราน” เช่น เช่นเดียวกับราชสีห์ ขบกัดฟัดเหวี่ยงกันที่ไหนแล้ว 254

อย่าหวังเลยว่าหญ้าแพรกตรง นั้นจะไม่แหลกลง (ท้าว ฯ). ราชสีห์บ้าน (ปาก) น. หมา, สุนัข; คน โบราณพูดล้อเล่นเรียกสุนัขว่า ราชสีห์บ้าน. ราซ่อง ดู ระซ่อง. ราทะนา ก. อาราธนา เช่น บิณฑบาต ราทะนา (นิ.กุศราช). ร้านตะเข้ [ล่าน-ตะ-เข่] น. ตะเข้, ตั ว ไม้ จ ากกลางจั่ ว บ้ า นตรง มายังชายคาพาดเป็นมุม ๔ มุม มีลกั ษณะเป็นสัน, ตะเข้สนั ก็วา่ . แนวชายคา เรือนนอน

พะ

้ ะเข ้วร นต บริเวณระเบียง า น

แนวสัน หลังคา ม้ารองตีน

แนวชายคา บริเวณนอกชาน

ครัว

ร้านตะเข้

ร้านน�้ำ [ล่าน-น่าม] น. ร้านที่ปลูก ยกพื้นเพื่อใช้วางโอ่งน�้ำส�ำหรับ ดื่ม ส่วนมากจะอยู่ติดกับครัว. ร�ำกระโดดสาก น. ร�ำกระทบไม้แต่ใช้ สากไม้ยาวแทน, ร�ำสาก ก็ว่า, ถิ่นอีสานใช้ว่า เต้นสาก. ร�ำโทน น. ร�ำวงพื้นบ้านโคราช โดยใช้


พจนานุกรม ภาษาโคราช โทนเป็นเครื่องดนตรีให้จังหวะ ผูร้ ำ� เหยียดแขนแล้วกางมือโดย ไม่มีการจับมือ ผู้ชายกางแขน เป็ น วงกว้ า งมื อ สู ง เสมอไหล่ ผู้หญิงกางแขนเป็นวงแคบมือ ต�่ำกว่าชาย แล้วร�ำจะร�ำตาม จั ง หวะโทนคื อ ป๊ ะ โท่ น โท่ น , (ดู โทน, ป๊ะโท่น ๆ ประกอบ). ร�ำโทนรอบครก [ล�ำ-โทน-ลอบ-ค่ก] น. ร�ำโทนรอบตะเกียงซึง่ วางบน ครกต�ำข้าว. ร�่ำรี่ร�่ำไร ว. ร�่ำไร, ชักช้า, อ้อยอิ่ง. ร� ำ สั บ ร� ำ สน [ล� ำ -ซั บ -ล� ำ -สน] ว. กระสับกระส่าย, กระวนกระวาย เช่น ร�ำสับร�ำสนบ่นทุกมื้อแต่ โศกศัลย์ (นิ.พระปาจิต). ร�ำโหย ก. โหยหา, โหยไห้ เช่น ร�ำโหย หวนร�ำ่ บ่นถึงชนนี, แม่โศกเศร้า โอดโอยร�ำโหยหา (สุภมิต ฯ). ริถา ก. อรรถาธิบาย, อธิบายความ เช่น ขอริถาว่าเรื่องเมืองพิมาย (นิ.พระปาจิต). ริน ๆ ก. ตกปรอย ๆ เช่น อย่าเพิ่งไป ยังริน ๆ อยู่เลย (อย่าเพิ่งไปฝน ยังตกปรอยๆอยู่เลย). ริบ [ริ่บ] ก. จอง, แสดงความเป็น เจ้าของโดยพลการ, ริบกะป็อก, ริบกะป็อกกะจ้อกคอหอย ก็ว่า. ริบกะป็อก [ลิ่บ-กะ-ป่อก] ดู ริบ. 255

ริบกะป็อกกะจ้อกคอหอย [ริ่บ-กะป่ อ ก-กะ-จ้ อ ก-คอ-หอย] ดู ริบ. ริ่ว น. เร่ว, กระวานกานพลู. รีรอรีไร ก. พิรี้พิไร, อ้อยอิ่ง, ประวิง เวลา, (ดู ร�่ำรี่ร�่ำไร ระกอบ). รึก, รึก ๆ ว. ริก, ระริก,สั่นถี่, สั่นรัว, ไหวถี่ ๆ เช่น อกแม่สั่นรึกรึก แต่จะนึกไม่วายวัน (นิ.รูปทอง). รุ่ ๆ [ลุ่-ลุ่] ๑. ก. พรู, ร่วงหรือหล่นลง มาพร้อมกันมาก ๆ. ๒. ก. กรู, พร้อมกันเข้าไป. รุ ่ ง โรจน์ โ ชตนาการ ว. โชติ ช ่ ว ง, ชัชวาล, สว่างรุง่ โรจน์, โพลงขึน้ เช่น โหมกะพือให้เพลิงรักนั้น รุ่งโรจน์โชตนาการ (ท้าว ฯ). รุ ่ ง สางราเช้ า [ลุ ง -สาง-ลา-ช่ า ว] น. รุ่งเช้า. รุ่ม ๆ ก. มะรุมมะตุ้ม, กลุ้มรุมท�ำสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น กินกันรุ่ม ๆ, รุ่มร�่ำ ก็ว่า. รุ่มร�่ำ ดู รุ่ม ๆ. รุระ [ลุ่-ล่ะ] ดู ร่ะ ๆ ๒. รู ขี้ [ลู - ขี่ ] โดยปริ ย ายเป็ น ค� ำ เยาะ เย้ย ๆ, ถากถาง, ดูแคลนอีก ฝ่าย; ใช้เป็นค�ำไม่สุภาพ เช่น รูขี่กูนี้, หัวขี้ ก็ว่า. รู้แจ้งแดงแจ๋ [ลู่-แจ้ง-แดง-แจ๋] ก. รู้แจ้งแทงตลอด, รู้ชัดจนคาด

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


รู้ถึงเจ้าเล่าถึงนาย - โรง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

การณ์ได้. รู้ถึงเจ้าเล่าถึงนาย [ลู่-ถึง-เจ้า-เล่าถึง-นาย] ก. รู้ถึงหูผู้ใหญ่หรือ ผู้บังคับบัญชา. รูปรี ๆ ยังกะใบพลู มีรตู รงกลาง สอง ปะข้างมีขน [ลู-ปี –ปี-ยัง-ก๊ะไบ-พู-มี-ลู-ตง-กาง-สอง-ปะข่าง-มี-ขน] (ปริศ) หูววั , หูควาย. รูปล่อง [ลู-ป่อง] น. รูใต้ดนิ ทีส่ ตั ว์บาง ประเภท เช่น จิ้งหรีด, แย้ ท�ำ ไว้เพื่อใช้หลบหนี, รูเหิน ก็ว่า. รูแป น. รูแบน เช่น รูแป ๆ (รูแบน ๆ). รูรีข้าวสาร [ลู-ลี-เข่า-สาน] น. รีรี ข้าวสาร ; การเล่นอย่างหนึ่ง ผูเ้ ล่นยืนเกาะเข็มขัดหรือเอวกัน เป็นแถว ให้อีก ๒ คนหนึ่งถือ ผ้ า ขึ ง ไว้ เ หนือศีรษะคล้ายซุ้ม ประตู คนหั ว แถวน� ำ ลู ก แถว ลอดไปพร้อมกับร้องว่า “รูรี เข่าสาร สองทะนานเข่าเปลือก เลือกได้เลือกเอา” พอสิ้นค�ำ ว่า “เลือกได้เลือกเอา” ผู้ที่ ขึงผ้าจะครอบเอาคนที่ก�ำลังจะ ลอดผ่าน ซึ่งทุกคนจะต้องรีบ ผ่านไปให้ได้ ถ้าถูกครอบได้จะ ถูกให้ร�ำหรือถูกท�ำโทษตามแต่ จะตกลงกัน อนึ่งค�ำร้องนี้อาจ แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที.่ รู้ไส้รู้พุง [ลู่-ไส่-ลู่-พุง] ก. รู้ความใน 256

หรือรูเ้ รือ่ งของผูอ้ นื่ เป็นอย่างดี, รู้เช่นเห็นชาติ. รูเหิน ดู รูปล่อง. เร่งไฟ ดู ขึ้นปล่อง. เร่งร่าง ว. รุ่มร่าม, เก้งก้าง. เรอเชอ ว. สูง, ตระหง่าน เช่น ต่นไม่ สูงเรอเชอ (ต้นไม้สูงตะหง่าน). เรอะ น. เครือ่ งส�ำหรับล่อให้ปลาเข้ามา อยู่ ใช้ไม้ปักสุมไว้. เราะ ก. การยิงสะบ้าไปถูกสะบ้าที่ไม่ใช่ คู่ของตน, การไปถูกหรือท�ำให้ สะบ้าของอีกฝ่ายหนึ่งล้ม. เริง ว. คึก, ร่าเริง. เริ่ง น พุ่มไม้. เริ่ม ว. เริ้ม, สั่นไปทั้งตัว เช่น ตัวสั่น เริ่ม ๆ. เริมเกิม ก. อาการที่จนปัญญา เช่น หันรีหันขวาง, เก้ ๆ กัง ๆ, ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะท�ำอย่างใด เป็นต้น, (ดู แกร๊ะ ประกอบ). เริ่มเร่อ ว. แก่หง่อม, ทนโท่, ต�ำตา, ปรากฏแก่ตา, เริ่มเรอะ ก็ว่า. เริ่มเรอะ ดู เริ่มเร่อ. เรี่ย น. พืชผักที่งอกขึ้นจากเมล็ดที่ท�ำ ตกหล่น เช่น ผักกาด, ผักชี, มะเขือ. เรียกขวัญข้าว [เลียก-ข็วน-เข่า] น. พิธีเรียกขวัญข้าว นิยมท�ำใน วันเพ็ญเดือน ๑ ซึง่ เป็นช่วงข้าว


พจนานุกรม ภาษาโคราช ตัง้ ท้อง เพือ่ เป็นสิรมิ งคลให้ขา้ ว เจริญงอกงามได้เม็ดโตรวงโต. เรียด ก. ยิงสะบ้าโดยวางสะบ้าลงทีพ่ นื้ แล้วใช้นิ้วดีด. เรี่ยรูดเรี่ยราด ว. เรี่ยราด. เรือกสวนไร่นา น. ที่สวนที่นา. เรือนชั่วคราว น. เพิงที่ท�ำเป็นที่พัก อาศัยชัว่ คราวระหว่างรอบ้านที่ ก�ำลังสร้าง ; ต่อจากเพิ่งยุ้งก็มี, บ้านเพิงยุ้ง ก็ว่า, (ดู เพิงยุ้ง ประกอบ). เรือนนอน น. ห้องนอนส่วนตัวของ พ่อแม่ แต่ยังให้ลูกเล็ก ๆ หรือ ลูกสาวใช้ร่วม, แม่เรือน, ใน เรือน ก็ว่า. เรือนมาด น. เรือนหอ, เรือนทีฝ่ า่ ยชาย สร้างแทนสินสอดทองหมั้น. เรื อ นไม้ ไ ผ่ [เลื อ น-ม่ า ย-ไผ่ ] น. ล� ำ ไม้ ไ ผ่ ที่ เ ป็ น ช่ ว งที่ อ ยู ่ เ หนื อ หรือต่อจากซอไม้ไผ่, ช่วงที่อยู่ เหนือเซิง เหมาะส�ำหรับจักสาน, (ดู เซิง ประกอบ). เรือนหลวง น. เรือนหลังใหญ่สร้าง ใกล้ ๆ และขนานกับเรือนหลัง เล็ก เช่น เก๊บพักบุ้งไปใส่เรือน หลวง เก๊บพักสวงไปใส่เรือน น่อย (กล่อมลูก). เรือนแหวนกับเพชร (ส�ำ) เหมาะสมกัน, สมน�้ำสมเนื้อ เช่น อนึ่งนาย 257

หมวดพลเดินท้าวก็มิด้อย..... เปรียบกับแม่ทองเหลือ ก็ดงั่ เรือน แหวนทองค�ำกับเพ็ชรลูกน�้ำดี สมกันไม่ใช่นอ้ ย (ท้าว ฯ). เรือสองล�ำขึ้นได้คนเดียว ชอบเที่ยว บนบก [เลือ-สอง-ล�ำ-ขึน่ -ได้คน-เดียว-ชอบ-เทีย่ ว-บน-บ๊ก] (ปริศ) น. รองเท้า. เรือเหาะ [เลือ-เฮาะ] น. เรือบิน, เครื่องบิน. แรง ว. ศักดิ์สิทธิ์, ขลัง, มีฤทธิ์ขลัง, มีอ�ำนาจที่ดลบันดาลให้เป็นไป ได้ เช่น ตรงนี่เจ้าที่แรง (ตรง นี้ เ จ้ า ที่ เ จ้ า ทางศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ห รื อ มีฤทธิ์ขลัง). แร้วคอม้า [แล่ว-คอ-ม่า] น. เครื่อง ดักสัตว์ประเภทแร้วชนิดหนึ่ง. แระนา [แล่ะ-นา] ก. ไถท�ำเป็นแนว เขตที่นา. โร่ ๑. โดยปริยายหมายความว่า จัด, ยิ่ง, แรง (ใช้แก่สี หรือ แสง) เช่น แดงโร่ (แดงแจ๋), สว่างโร่ (สว่างจ้า). ๒. ว. โผล่ เช่น โร่มาโน่น. โรคกล่อน น. นิว่ , โรคทางเดินปัสสาวะ, กษัยกล่อน. โรง น. สิ่งปลูกสร้างที่มีหลังคาคลุม ส�ำหรับเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัย ประกอบ การ.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


โรงธรรม - ฤกษ์ดาวหมานอน ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

โรงธรรม น. ศาลาการเปรียญ. โรงเพลง น. เวทีเพลงโคราช แต่ เ ดิ ม หลั ง คามุ ง ด้ ว ยใบ มะพร้าว จะไม่ใช้ตอกมัดยึดใบ มะพร้าวและตีตาปูยึดกระดาน พืน้ เพราะเชือ่ ว่าจะท�ำให้การว่า เพลงติดขัดและคาถาอาคมที่

258

เรียนมาก็จะเสื่อม. โรงไห น. สถานที่ปั้นเครื่องปั้น ดินเผา เช่น โอ่งครก กระถาง แต่ก่อนจะมีการปั้นไหเป็นส่วน ใหญ่. โรม ก. รุม, รวม.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ฤกษ์งามยามดี น. เวลาที่ดี, เวลาที่ เหมาะสม, เวลาทีม่ คี วามพร้อม. ฤกษ์ดาวโจร น. ฤกษ์ผานาทีหรือเวลา ที่เป็นฤกษ์ของโจรจะออกปล้น โดยดู จ ากดาวโจรจะขึ้ น บน ท้องฟ้าประมาณช่วงตี ๑ ถึง ตี ๒, ฤกษ์ดาวหมานอน ก็ว่า,

(ดู ฤกษ์ดาวหมานอน ประกอบ). ฤกษ์ดาวหมานอน (ปาก) น. ฤกษ์ผา นาที ห รื อ เวลาที่ เ ป็ น ฤกษ์ ของโจรจะออกปล้น โดยยึดเอา เลาช่วงทีห่ มานอน, (ดู ฤกษ์ดาว โจร ประกอบ).

259

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ก�ำแพงเมือง และคูเมืองนครราชสีมา ในสมัยอดีต

260


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ลกลัก [ล่ก-ลั่ก] ก. ซุ่มซ่าม, ลนลาน. ลงกระเดื่อง ก. ต�ำข้าวครกกระเดื่อง; มั ก ต� ำ ในยามค�่ ำ คื น ซึ่ ง พวก หนุม่ ๆ จะมาช่วยสาว ๆ ต�ำ และ ได้มีโอกาสพบปะกัน. ลงข่วงร�ำผีฟา้ [ลง-ข่วง-ล�ำ-ผี-ฟ่า] น. การลงข่ ว งและร� ำ ผี ฟ ้ า เป็ น ประเพณีที่มีความสัมพันธ์กันที่ เกิดจากความเชือ่ มี ๒ อย่าง คือ ๑) การร�ำผีฟ้า ซึ่งเป็นพิธีกรรม การรั ก ษาผู ้ เ จ็ บ ป่ ว ยโดยการ ร� ำ ผี ฟ ้ า ผู ้ รั ก ษาหรื อ คนทรง (ครูบาใหญ่) จะประกอบพิธกี รรม ยกด้วย “เครื่องครูคาย” ซึ่ง ประกอบด้ ว ยเงิ น ค่ า ยกครู คนทรง ผ้าขาว ผ้าถุง ดอกไม้ ธูปเทียน (ขัน ๕ ขัน ๘) กรวย บายศรีและค่ายกครูหมอแคน เป็นต้น คนทรงจะท่องคาถา ประกอบการร้ อ งร� ำ อั ญ เชิ ญ วิ ญ ญาณบรรพบุ รุ ษ มาเข้ า ประทั บ ร่ า งทรงเพื่ อ ปั ด เป่ า รักษา มีดนตรี เช่น โทน แคน และกลอนร�ำ จากนั้นคนทรงจะ เอามีดดาบแตะบ่าผู้ป่วยแสดง อิทธิฤทธิข์ บั ไล่สงิ่ ชัว่ ร้ายให้ออก

261

ไป แล้วให้ผู้ป่วยฟ้อนร�ำ ท�ำให้ ผู้ป่วยรู้สึกรื่นเริงสนุกสนาน มี ก�ำลังใจสามารถลุกขึ้นฟ้อนร�ำ โดยลืมความเจ็บป่วยและหาย จากการเจ็บป่วยในทีส่ ดุ ซึง่ เชือ่ ว่าเกิดจากผีบรรพบุรุษมาคอย คุ้มครองปกปักรักษา ๒) การลงข่ ว งผี ฟ ้ า เป็ น ประเพณีที่จัดขึ้นเมื่อผู้ป่วยหาย เป็นปกติ เพื่อร�ำลึกถึงพระคุณ ครูบาอาจารย์และบรรพบุรุษ รวมถึงความเป็นสิริมงคลแก่ เจ้าภาพ จัดประมาณ ๒-๓ วัน จนเป็ น ประเพณี แ ละมั ก ท� ำ ใน เดื อ น ๓ ซึ่ ง วั น แรกจะมี ก าร เตรี ย มผาม คื อ โรงพิ ธีที่ มี เสา ๔ ต้น หลังคามุงด้วยก้าน มะพร้าว ตกแต่งให้เป็นเหมือน ป่าหิมพานต์ในเรือ่ งมหาเวสสันดร ชาดก เครือ่ งบูชาประกอบด้วย อาหารคาวหวาน ขนมต่าง ๆ ขัน ๕ ขัน ๘ กรวยบายศรี ตกตอน เย็นคนทรงจะประกอบพิธกี รรม ด้วยการท่องคาถา มีการน�ำ บางตอนของมหาเวสสั น ดร ชาดกมากล่าว แล้วอัญเชิญ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ล่งโง้ง - ละง้อกละแง้ก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

นางฟ้านางสวรรค์ ผีฟ้าต่าง ๆ มาประทั บ ร่ า งทรงเมื่ อ ผี ฟ ้ า ประทั บ ร่ า งทรง คนทรงและ ผู ้ ม าร่ ว มพิ ธีก็ จ ะฟ้ อ นร� ำ รอบ พร้อมกันอย่างสนุกสนาน คืน แรกเรียกว่า “ลงมาลัยหมื่น มาลัยแสน” วันที่ ๒ เรียกว่า “วันหงายพาข้าว” เป็นวันเลีย้ ง ผี ปู ่ ย ่ า ตายายหรื อ ที่ ช าวบ้ า น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เลี้ยงผี พ่อหมอเฒ่า” ซึ่งเวลาเช้าของ วันนี้จะมีการท�ำบุญเลี้ยงพระที่ วั ด เพื่ อ อุ ทิ ศ ส่ ว นกุ ศ ลแก่ ค รู อาจารย์ผู้รักษาที่ได้ล่วงลับไป แล้วอย่างใหญ่โต เรียกว่า “ไป ตีกบิณฑ์”. ล่งโง้ง [ล่ง-โง่ง] ว. โง้ง, โค้ง, คดงอ, คดโค้ ง เช่น เล็กงอโล่ง โง่ง (เหล็กงอคดโค้ง), ล่องง่อง ก็วา่ . ลงปลา ก. จับปลา. ลดตะรี่ [ล่ด-ต-ะลี่] น. ล็อตเตอรี่. ลดทับคอ [ล่ด-ทั่บ-คอ] (ปาก) ก. ลด ราคาให้ตามที่ต่อไว้และคนต่อ ราคาจ�ำใจต้องเอา เช่น ต่อ ราคาเล่น ๆ เมือ่ ผูข้ ายลดให้จริง ผู ้ ต ่ อ ราคาแม้ ไ ม่ อ ยากได้ แ ต่ จ�ำใจต้องเอา. ลดวาบ [ล่ด-วาบ] ก. ลดอย่างรวดเร็ว, ลดฮวบ. 262

ลดแหลกแจกแถม [ล่ด-แหฺลก-แจกแถม] (ปาก) ก. ทั้งลดราคา อย่างเต็มที่แล้วยังมีรายการ แถมอีกด้วย. ลนลี่ลนลาน ว. ลนลาน, ตะลีตะลาน, อาการรีบร้อนจนท�ำอะไรไม่ถกู . ลมฆาน น. ลมที่หายใจเข้าออก; หมอ เพลงมีความเชื่อว่า การจะก้าว ขึ้นโรงเพลงด้านทิศไหนจะต้อง เป็นไปตามฤกษ์วัน โดยการ ตรวจสอบลมฆาน คือดูจากการ หายใจเข้าออก ลมหายใจข้าง ไหนสะดวกก็จะก้าวขาข้างนั้น ขึ้นก่อน. ล้มตึง [ล่ม-ตึ้ง] ก. ล้มโครม, อาการ ล้มทั้งยืน. ลมพลอยฝน (ส�ำ) ก. ท�ำตามคนอืน่ , เอา อย่างคนอืน่ , คล้อยตามคนอืน่ . ลมร้ายและลมดี [ลม-ล่าย-และ-ลม-ดี] (ส�ำ) น. มีทั้งสิ่งเลวร้ายและ สิ่งดีที่ผ่านเข้ามาในชีวิต เช่น ประหนึ่งลมร้ายและลมดีย่อม พัดผ่านถูกทุก ๆ คน (ท้าว ฯ). ลมหัวด้วน

ลมหัวด้วน น. ลมหมุนขนาดเล็ก, ลม


พจนานุกรม ภาษาโคราช บ้าหมู. ลมหมาด้วน, ลมฮุดห้วน ก็ว่า. ลมหมาด้วน ดู ลมหัวด้วน. ลมหุดห้วน [ลม-ฮุด-ห้วน] ดู ลมหัวด้วน. ลมออกหู ว. เผ็ดมาก, เผ็ดจนหูอื้อ, โกรธมาก. ลวง ว. ด้าน, ทาง เช่น ลวงยาว (ด้าน หรือทางยาว), ลวงขวง (ด้าน หรือทางขวาง). ล่วงสุม่ ตัวผู้ [ล่วง-สุม่ -ตัว-ผู]่ ดู พลูหบี . ล่วงสุ่มสาว ดู พลูหีบ. ล่อไข่แดง ก. ได้ความบริสุทธิ์ของ ผูห้ ญิง, ได้ลกู สาวมาครอบครอง. ล่องง่อง ดู ล่งโง้ง. ลอน น. ลักษณนามของลูกอัณฑะ. ล่อน [หฺล่อน] ก. หลุดออก (มักใช้แก่ ของที่หุ้มอยู่ เช่น เปลือก, สี). ลอม ว. โค้งเข้าหากัน, ฟ่อนข้าวที่เรียง กันขึ้นเป็นจอม. ลอยตะเข้ [ลอย-ตะ-เข่] น. การเล่น อย่างหนึ่ง โดยเหยียดตัวตรง ลอยนิ่งอยู่บนน�้ำ คล้ายจระเข้ ลอยตัว, โป่งลอยน�้ำ ก็ว่า. ล่อยห้อย ว. ละห้อย, หล่อยห่อย ก็ว่า. ละ [ล่ะ] ๑. ก. ปล่อย, วาง, เลิก, สิน้ สุดลงในกิจการ เช่น ล่ะเรียน (เลิกเรียน). ๒. ก. อาการที่เอามือไปครูด สิ่งของ เช่น ล่ะฝา (ครูดฝา), 263

ล่ะกิ่งไม้ (ครูดกิ่งไม้). ๓. ก. กันไว้, ขยัก, เหลือไว้, แบ่งไว้. ๔. ว. ไว้, ปล่อย, ท�ำให้ออกจาก สิ่ ง ที่ ติ ด อยู ่ เช่ น ล่ ะ หนวด (ไว้หนวด, ปล่อยให้หนวดยาว), ล่ะผม (ไว้ผมยาว, ปล่อยให้ ผมยาว). ๕. ก. แวะตามรายทาง เช่น ล่ ะ ไปตามทาง (แวะไปตาม รายทาง). ๖. บ. ด้วย, กับ เช่น ไปล่ะ เขา (ไปกับเขา), ไปละกัน (ไป ด้วยกัน). ๗. ว. ไม่ เช่ น ตาล่ ะ เห็ น (ตามองไม่เห็น). ละกอ น. มะละกอ, ละก๋อ ก็ว่า. ละก๋อ [ล่ะ-ก๋อ] ดู ละกอ. ละก๊ ะ ว. ใช้ ต ่ อ ท้ า ยค� ำ ถามมี ค วาม หมายท�ำนองว่า นะ, ละ เช่น ไปไหนมาละก๊ะ (ไปไหนมานะ, ไปไหนมาละ). ละกัน [ล่ะ-กัน] บ. ด้วยกัน, (ดู ละ ๖ ประกอบ). ล่ะกุ้บล่ะกั้บ ว. เป็นหลุมเป็นบ่อ. ล่ะเกรียว ก. เกรียวกราว. ล่ะคุม ก. ไล่จับ, วิ่งไล่, (ดู ไล่คุม ประกอบ). ละง้อกละแง้ก ว. งอกแงก, โอนเอนไป

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ล่ะโงกล่ะงัน - ล่างง่าง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

มา, โซเซ เช่ น เดิ น ละง่ อ ก ละแง่ก (เดินโซเซอย่างคนเมา). ล่ะโงกล่ะงัน ว. อาการเดินอย่างงกงัน หรือสั่นเงอะงะ เช่น การเดิน ของคนแก่ที่สะดุดเหมือนจะล้ม ไปข้างหน้า). ล่ะโงกล่ะเงก ก. โยกเยก, โอนไปเอนมา. ล่ะช่อง น. ลอดช่อง ; ชือ่ ขนมอย่างหนึง่ ท�ำด้วยแป้งข้าวเจ้า กวนพอสุก แล้ ว กดลงในกะโหลกที่ มี รู ใ ห้ ไหลออกมาเป็นตัว ๆ หัวท้าย แหลม กินกับน�้ำกะทิใส่น�้ำตาล. ละเด้อ ว. ละ, ละนะ, แล้วนะ ; ใช้ ประกอบค�ำกริยาเพือ่ เน้นความ เช่น ไปละเด้อ (ไปละนะ, ไปแล้ว นะ), แหละเด้อ ก็ว่า. ล่ะเดิ๊บ ว. เรียงราย, มากมาย, เกลื่อน กลาด. ละนม [ล่ะ-นม] ก. เลิกกินนมหรือ หย่านม เช่น เปรียบด้วยโคซึง่ พึง่ ละจากนมแม่ (ท้าว ฯ), (ดู ละ ๑. ประกอบ). ล่ะผล็อย ว. ทะยอยร่วงหรือหล่น. ล่ะเพิ่น ก. ลอยฟ่อง, ใจลอย. ล่ะฟ่อง ก. ลอยฟ่องหลายตัว (ใช้แก่ สัตว์น�้ำ). ละมัน น. น�้ำมัน เช่น ดูเหื่อไหลโทรม หน้าเหมือนทาละมัน (นิ.พระ ปาจิต). 264

ล่ะมุ น. โป๊ะเล็ก ๆ ท�ำไว้ส�ำหรับดัก สัตว์น�้ำ เช่น ปลา. ล่ะมุล่ะมิ ว. ตามประสา, อ่อนนุ่ม. ละแมะ เป็นค�ำประกอบท้ายค�ำอื่นเพื่อ เสริมข้อความให้เด่นชัด หรือ สละสลวย มีความหมายท�ำนอง ว่า เถอะ, ซิ, นะ เช่น ไปละแมะ (ไปซิ), มาละแมะ (มาซิ). ล่ะลม น. คลองที่ช่วงขาดจากล�ำน�้ำ. ล่ะลัง ก. ละล้าละลัง, ห่วงหน้าห่วงหลัง. ล่ะล�ำ่ ก. ลามปาม เช่น พอพูดดีทำ� ละล�ำ่ . ล่ะลึบ ว. เขียวสด, เขียวขจี (ใช้แก่ สีเขียว). ล่ะลึม ก. ตกปรอย ๆ, ตกพร�ำ ๆ (ใช้แก่ฝน). ล่ะลุ่ ก. เลาะด้ายออก. ละเลง [ล่ะ-เลง] ก. ละลาย, ลุย, ตะลุย เช่น ละเลงน�่ำพริ่ก (ละลาย น�้ำพริก), หมาละเลงแปลงพัก (หมาวิ่งตะลุยแปลงผัก). ล่ะเลิง ๑. น. คลองหลง, คลองที่เกิด จากล� ำ น�้ ำ ที่ ข าดเป็ น ช่ ว ง ๆ, คลองที่ ช ่ ว งขาดจากล� ำ น�้ ำ แต่ ตื้ น กว่ า ละลม, (ดู ละลม ประกอบ). ๒. น. ลานกว้าง, เวิ้ง. ล่ะเลาะล่ะลอง ก. ประคับประคอง, กระเหม็ดกระแหม่. ล่ะโลก [ล่ะ-โลก] น. โคลน, ตม,


พจนานุกรม ภาษาโคราช ขี้ละโลก ก็ว่า. ล่ะไล น. ยอดไม้, ยอดผักที่แตกยอด อ่อน ๆ. ละวง น. วง, วงกลม เช่ น พิ ศ ดู คิ้วเจ้าโก่งเหมือนละวงถั่วแปบ (เพลงเชิด). ละวางปล่อยวาง [ล่ะ-วาง-ป่อย-วาง] ก. วาง, โดยปริยายหมายถึง ให้หลุดพ้นจากความรู้สึกหรือ ความรั บ ผิ ด ชอบของตน, ปล่อยวาง ก็ว่า. ละวาย ดู ซะปาย. ล่ะเว่อ ว. ใจลอย. ล่ะเวิ่น ก. ลอยว่อน, ลอยกระจายไปใน อากาศ. ล่ะหงอย ว. ซึมเศร้ากันสลอน เช่น ยืนล่ะหงอย. ล่ ะ หมุ น ล่ ะ เหมี ย น ว. อ่ อ นเปลี้ ย , อ่อนเพลีย, เพลียมาก. ล่ะหุละ่ หูด [ล่ะ-ฮุ-ล่ะ-หูด] ว. ขะมุกขะมอม, เปรอะเปือ้ น. ละหุ ่ ง เครื อ น. ชื่ อ ไม้ เ ลื้ อ ยชนิ ด Byttneria andamanensis Kurz. ในวงศ์ Sterculiaceae, ถิ่นเหนือเรียก สาเครือ. ล่ะหูด ว. รั่ว. ละเหงก ก. ลักษณะการนอนอย่าง สบาย, ละโหงก ก็ว่า. ละเหย ว. สร่าง, สร่างซา, คลาย เช่น

ปลื้ ม เนื้ อ ปลื้ ม ใจยั ง ไม่ ล ะเหย (นิ.รูปทอง). ละโหงก ดู ละเหงก. ล่ะโหล ก. ถล�ำ, เสียหลัก. ล่ะโหลง [ละ-โหฺลง] ก. กลัดหนอง. ล่ะโอ้ด ว. งอกงาม (ใช้แก่พืชผัก). ลัง ก. พูดสอดแทรกในขณะที่คนอื่น ก�ำลังพูด ท�ำให้ฟังไม่รู้เรื่อง, พูดลัง ก็ว่า. ลังคน ว. บางคน. ลัด [ลั่ด] ๑. ก. ผลิดอก, ผลิใบ, งอก เช่น เนื่อค่อย ๆ ลั่ดขึ่นเดี๋ยว แผลก็หาย (เนือ้ เยือ่ ค่อย ๆ งอก ขึ้ น เดี๋ ย วแผลก็ ห าย), ใบมั น ลั่ดขึ่นแล่วไม่ตายด๊อกมะนาว (ใบมันแตกผลิออกแล้วไม่ตาย หรอกมะนาว). ๒. ก. กั้น, คอยสกัด. ลัด ๆ [ลั่ด-ลั่ด] ว. หยก ๆ, เร็ว ๆ เช่น เห็นอยูล่ ดั่ ๆ เมือ่ วานตายแล่วนี (เห็นอยู่หยก ๆ เมื่อวานตาย แล้วเหรอ). ลัน น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง ท�ำด้วยไม้ไผ่. ลันทึง น. กากะทิง, สารภีทะเล. ล่า ก. ล้า, เชื่องช้าลงกว่าเดิมเพราะ หย่อนก�ำลัง ลากไม้ [ลาก-ม่าย] ดู เพลงช้าโกรก. ล่างง่าง ก. ไม่มีอะไรปกปิด, ล้อนจ้อน 265

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ลานาค - ลิบ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เช่ น เปิ ด อ๊ ก ล่ า งง่ า ง (เปิ ด หน้าอกล่อนจ้อน). ลานาค น. การน�ำนาคพร้อมดอกไม้ ธูปเทียนไปขอขมาผู้ใหญ่หรือ ผู้ที่เคารพนับถือเพื่อลาบวช. ลาบเทา น. ลาบที่ปรุงด้วยเทา ซึ่งเป็น สาหร่ า ยชนิ ด หนึ่ ง ผสมด้ ว ย เครือ่ งปรุง เช่นเดียวกับการท�ำ ลาบทั่วไป. ลาบบึ้ง น. ลาบที่ปรุงด้วยบึ้ง ซึ่งเป็น แมลงมุมขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ขุดรูอยู่ใต้ดินผสมด้วยเครื่อง ปรุ ง เช่ น เดี ย วกั บ การท� ำ ลาบ ทั่วไป. ลามกจกกะเปรต [ลา-ม่ก-จ๊ก-กะ-เปด] ว. ลามก, พูดจาหรือกระท�ำ หยาบโลนในเรื่องเพศสัมพันธ์. ลายล่อกก้อก ว. ลายทั้งตัว. ลายอ้อมอ้อย ว. ลายพร้อย, ลายทัง้ ตัว. ลาวโซ่ง น. เป็นค�ำปรามาสหรือดูแคลน คนลาวที่เซ่อ ๆ ซ่า ๆ. ล�ำ บ. ตาม, แนว ย่าน. เช่น ล�ำดิน (ตามดิน), ล�ำทาง (ตามทาง), จะไม่ได้อยูล่ ำ� บ่อน ไม่ได้นอนล�ำ บ้าน (นิ.เพลงอินทปัตถา). ล�่ำ ๑. ก. ร่วมประเวณี. ๒. ก. กิน, รับประทาน. ๓. ก. ตี, ฟาด. ล�ำจวน ดู ล�ำมะเจียก. 266

ล�ำทะเมนชัย น. ชื่ออ�ำเภอในจังหวัด นครราชสีมา มีล�ำน�้ำทะเมนชัย ไหลผ่าน. ล�ำเบิ้ง ว. บางสิ่ง, ไม่ใช่ทั้งหมด เช่น เหมือนอย่างข้าวเบาเจ้าของ เกี่ ย วเอา แล้ ว วางไว้ ล� ำ เบิ้ ง (เพลงโคราช). ล�ำพวน น. ผง, ขนข้าวที่ปนอยู่กับ ข้าวเปลือก. ล�ำพัก ก. น�ำพา, เอาใจใส่ เช่น เลื่อง ลือกันไปทัว่ ทุกดอนนา ไม่ลำ� พัก ว่าไปเทีย่ วขายเอย (นิ.รูปทอง). ล�ำพา ก. น�ำพา, เอาใจใส่, ช่วยเป็น ธุระ, เอื้อเฟื้อ, มักใช้ในความ หมายปฏิเสธว่า ไม่น�ำพา เช่น โยมทางโน้นเหมือนยังเฉยไม่ ล�ำพา (นิ.พระปาจิต). ล�ำเพิน น. ล�ำแพน, เสือ่ ทีส่ านด้วยตอก ไม้ไผ่เส้นใหญ่ ๆ แบน ๆ. ล�ำเพิน


พจนานุกรม ภาษาโคราช ล�ำมะเจียก น. ล�ำเจียก, ไม้พุ่มชนิด Pandanus tectorius Sol., P. laevis Rumph. ในวงศ์ Pandanaceae ล�ำต้นกลมมี รอยข้อถี่ ๆ มีรากอากาศกลม ยาวออกจากล�ำต้นย้อยลงมา ดอกสีขาวเป็นช่อออกที่ปลาย ยอด กลิน่ หอม ผลรวมทรงกลม, ล�ำจวน, รัญจวน ก็ว่า.

อยู่ตลอดเวลา. ลิง ก. ซุกซน, ลึ่ง ก็ว่า. ลิงง้อ [ลิง-ง่อ] น. ขานาง; ไม้ต้นผลัด

ลิงง้อ

ใบขนาดใหญ่ชนิด Homalium tomentosum (Vent.) Benth ใน วงศ์ Flacourtiaceae เปลือก สีเทานวล ผิวเรียบ ใบเดี่ยวรูป ไข่ หลั ง ใบมี ข น ดอกเล็ ก สี เหลืองอ่อนออกเป็นช่อตามง่าม ใบและปลายกิ่ ง กลิ่ น เหม็ น เหมาะกับการใช้งานก่อสร้างใน ที่ร่ม. ลิ้นกรัม [ลิ่น-กัม] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pyrrosia eberhardtii Ching ในวงศ์ Polypodiaceae. ลิน้ แรด [ลิน่ -แลด] น. ชือ่ ไม้เลือ้ ยชนิด Tetracera scandens (L.) Merr. ในวงศ์ Dilleniaceae, ถิ่นใต้เรียก ปดขน, ปดเลื่อม, บดคาย. ลิบ ใช้ประกอบค�ำอื่น มีความหมายใน ท�ำนองว่า ฉับพลัน, โดยเร็ว, ทันทีทันใด เช่น เปิดลิบ (ไป

ล�ำมะเจียก

ล�ำลาน น. คลองที่ตื้นเขินเป็นลาน กว้าง. ล�ำเลิก ก. พูดทวงบุญคุณ, พูดฟืน้ เรือ่ ง เก่า, ล�ำเลิกเบิกกะเชอ ก็ว่า. ล�ำเลิกเบิกกะเชอ ดู ล�ำเลิก. ล�ำเลียบ น. หน้าไม้. ลิ ก. ลิด, เด็ด, ตัด, ท�ำให้ขาด. ลิกล็อก ก. ล่อกแล่ก, แสดงอาการ หลุกหลิก, เหลียวซ้ายแลขวา 267

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ลีลา - ลูกอยู่คาอู่ ผัวอยู่คาอก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

โดยเร็ ว ), หายลิ บ (หายไป อย่างเร็ว). ลีลา ว. ค�ำพูดเชิงหมั่นไส้ท�ำนองว่า ลวดลาย, แสดงท่าทางแฝงไว้ ด้วยชั้นเชิงหรือมีลูกไม้ต่าง ๆ. ลีโอ น. ชือ่ อ้อยพันธุห์ นึง่ ให้นำ�้ อ้อยมาก. ลึกพึก [ลึก่ -พึก่ ] ว. พิลกึ , ชอบกล เช่น ให้ผวิ ผ่องเป็นละอองออกลึกพึก (สุภมิต ฯ). ลึ่น ๆ ว. โครม ๆ, เกรียวกราว. ลึ่ม ว. เกรียวกราว, มากมาย เช่น คน มาลึ่ม (คนมากันเกรียวกราว หรืออย่างมากมาย). ลืนตา ก. ลืมตา. ลืนตาอ้าปาก ว. ดีขึ้น, ทุเลา, มีฐานะ ดีขนึ้ กว่าเดิมพอทัดเทียมคนอืน่ . ลื่นปอดแปด [ลื่น-ป้อด-แป้ด] โดย ปริยายหมายถึงเหยียบพื้นตรง ไหนก็ลื่นไปหมด ลุ ว. หายกันไป, เจ๊า, ไม่มีหนี้ต่อกัน. ลุก ก. คลุก, คลุกเคล้า, เคล้าให้ เข้ า กั น เช่ น ลุ ก น�่ ำ ปลาร่ า (คลุกน�้ำปลาร้า). ลุกแต่ดึกรู้สึกแต่หนุ่ม [ลุ่ก-แต่-ดึ๊กลู่-ซึก-แต่-หนุ่ม] ดู ตื่นแต่ดึก รู้สึกแต่หนุ่ม. ลุกบึ้ม [ลุ่ก-บึ้ม] ก. ลุกฮือ, ลุกพรึบ (ใช้แก่ไฟ). ลุ่น น. วัชพืช, หญ้า, พืชที่ไม่ต้องการ. 268

ลุ่ม น. การเผาเครื่องปั้นดินเผาในช่วง แรกด้วยการรมไฟอ่อน ๆ เพือ่ ไล่ ไอน�้ำออกจากเครื่องปั้นดินเผา ด้วยการเผาขอนไม้ไว้ทปี่ ากเตา ประมาณ ๑ วัน ๑ คืน, (ดู เตา ทุเรียง ประกอบ). ลุม่ เหล่ง ก. มาก, มากมาย, ยุง่ , พัลวัล เช่น ลูกหลานมากันลุ่มเหล่ง (ลูกหลานมากันมากมาย), ร่บกัน ลุม่ เหล่ง (ทะเลาะกันเป็นพัลวัน). ลุยลาย ก. ดูถูก, ดูหมิ่น, ท�ำอะไร ที่ ไ ม่ ค� ำ นึ ง ถึ ง ความเสี ย หาย ผู้อื่น เช่น ผู้หญิงด่าว่าบักหมา หน้าบ่อาย ท�ำลุยลายดูขา้ บ่เคย (นิ.พระปาจิต), ลูยลาย ก็ว่า. ลูก น. ลักษณะนามของแก้ว (ภาชนะที่ ใส่น�้ำกิน). ลูกกระจ๊อก น. ลูกสมุนชัน้ ปายแถว, ลูก กระโปก ก็วา่ , (ดู ลูกกระโปก ๒. ประกอบ). ลูกกระโปก ๑. น. ลูกอัณฑะ, ไข่อณ ั ฑะ. ๒. (ส�ำ) น. ลูกจ๊อก, ลูกน้อง, ลูกสมุน. ลูกกระจ๊อก ก็ว่า. ลูกกระพรวน น. พรวน, โลหะกลม กลวง ภายในมีลกู ลิง้ เล็ก ๆ เมือ่ เคลื่อนไหวท�ำให้เกิดเสียงดัง ใช้ผูกข้อเท้าเด็กหรือคอสัตว์, (ดู พรวนทาม ประกอบ). ลูกกะเบ่ง ดู ลูกตะเบ่ง.


พจนานุกรม ภาษาโคราช ลูกคลอด ดู ลูกตะเบ่ง. ลูกคาอู่ ผัวอยู่คาอก [ลูก-คา-อู่-ผัวอยู่-คา-อ๊ก] ดู ลูกอยู่คาอู่ ผัวอยู่คาอก. ลูกโคน น. ขนมไข่เหี้ย, ขนมไข่หงส์. ลูกช้างลูกม้า [ลูก-ช่าง-ลูก-ม่า] ส. ค�ำ แทนตัวใช้ในการบนบานศาล กล่าวหรือขอความเมตตา. ลูกชิด น. ลูกจาก. ลูกดิน น. ดินเหนียวที่นวดได้ที่แล้วปั้น เป็นก้อนหรือเป็นแท่งพร้อมทีจ่ ะ น�ำไปใช้งานปั้น. ลู ก โดด น. พริ ก ที่ รั บ ประทานไป ทีละเม็ด. ลูกตะเบ่ง น. ลูกในไส้, ลูกที่ก�ำเนิด จากตนเอง, ลู ก กะเบ่ ง , ลู ก คลอด ก็ว่า. ลูกตั้ง น . สะบ้ า ที่ ฝ ่ า ยหนึ่ ง ตั้ ง หรื อ ตั้ ง เรี ย งกั น ในการเล่ น สะบ้ า , (ดู สีบ้าสีรอย ประกอบ). ลูกเต้าเล่าอ่อน น. แม่ลูกอ่อน เช่น ลูกเต้าเล่าอ่อนไปไหนก็ยาก. ลูกทาง น. ลูกที่เกิดมาโดยไม่รู้ว่าใคร เป็นพ่อ. ลูกนกตกไม้พลัดไปจากรัง [ลูก-น่กต๊ ก -ม่ า ย-พั่ ด -ไป-จาก-ลั ง ] (ส�ำ) ก. พลัดพราก, จากกันไป, แยกจากบุ คคลหรือสถานที่ที่ เคยผูกพัน เช่น ตัวเราสองคน

จรดลเดิ น ไพร ลู ก นกตกไม้ พลัดไปจากรัง (นิ.รูปทอง). ลูกนกถูกท�ำลายรัง [ลูก-น่ก-ถูก-ท�ำลาย-ลัง] (ส�ำ) ก. บ้านแตก สาแหรกขาด, ที่อยู่อาศัยถูก ท�ำลาย เช่น เสมือนลูกนกที่ ถูกท�ำลายรัง สภาพแห่งเมือง กาฬสิ น ธุ ์ ก� ำ ลั ง ถู ก ปล้ น จาก ความสันติสขุ ไปสูค่ วามฉุกละหุก ยุคเข็ญทุกหย่อมหญ้า (ท้าว ฯ). ลูกบ้า ก. ฮึด, กลับคิดมุ, กลับรวบรวม ก�ำลังใจท�ำอย่างเอาจริงเอาจัง. ลูกป่า น. ลูกที่เกิดมาโดยไม่รู้ว่าใคร เป็นพ่อ. ลูกแป้ง น. แป้งทีโ่ ม่แล้วคัน้ เอาน�ำ้ ออก ปั้นเป็นก้อนเตรียมน�ำไปบีบให้ เป็นเส้นขนมจีน. ลูกผัวตัวหม้อ [ลูก-ผัว-ตัว-หม่อ] (ส�ำ) มีลูกมีผัวเป็นตัวเป็นตน. ลูกพรวนหมา น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Pycnospora lutescens (Pior.) Schindl ในวงศ์ Leguminosae. ลูกลม น . กั ง หั น ลม, ใบพั ด ท� ำ จาก ใบตาล. ลูกสัปดนชอบแหย่ก้นแม่ [ลูก-ซับป๊ะ-ดน-ชอบ-แหฺย่-ก้น-แม่] (ปริศ) น. ลูกกุญแจ. ลูกหวีด น. นกหวีด. ลูกอยูค่ าอู่ ผัวอยูค่ าอก [ลูก-หยู-่ คา269

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ลูกอ่อนนอนไฟ - เลนเต

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

อู่ ผัว-หยู่-คา-อ๊ก] (ส�ำ) มีลูก ผั ว เป็ น ตั ว เป็ น ตน, ลู ก คาอู ่ ผัวอยู่คาอ๊ก ก็ว่า. ลูกอ่อนนอนไฟ น. แม่ลูกอ่อน เช่น ที่ ลู ก อ่ อ นนอนไฟไปไม่ ร อด (นิ.พระปาจิต). ลูกอีช่างติ [ลูก-อี-ช่าง-ติ๊] ว. นิสัย ชอบติ, ติโน่นตินี่, ช่างติ ก็ว่า. ลูยลาย ดู ลุยลาย. เล่ง ๆ ก.ไหลอย่างแรง (ใช้แก่น�้ำ). เล็ดหลิน [เล่ด-หฺลิน] ว. ขี้เหนียว, ตระหนี่, เล็ดลอด (ใช้แก่การใช้ จ่าย), เงินทองไม่ให่เล่ดหลิน เลยเนาะ (เงินทองไม่ให้เล็ดลอด เลยนะ, ขี้เหนียวจริงนะ). เลน ว. เหลว, ไม่เต่งตึง, นุ่มนิ่ม, เลนเอ้ดเลด ก็ว่า. เลนเอ้ดเลด ดู เลน. เล่นกัน [เหฺล่น-กัน] ก. เล่นชู้, คบชู้, แอบมีเพศสัมพันธ์กัน. เล่นเข้าผี [เหฺล่น-เข่า-ผี] น. การเล่น เข้าผีเล่นได้หลายอย่าง เช่น เข้าผีแม่สี (ภาคกลางเรียกแม่ ศรี), เข้าผีนางกะโหลก, เข้าผี นางกระด้ ง , เข้ า ผี น างช้ า ง, เข้าผีนางครก, เข้าผีนางสาก ซึ่งมีวิธีการเล่นคล้าย ๆ กัน คือ ผู ้ ที่ จ ะสื่ อ สารกั บ ผี ต ้ อ งเป็ น ผู ้ ห ญิ ง เอาผ้ า คลุ ม ตั ว จนมิ ด 270

แล้วคนอื่น ๆ ก็จะร้องเพลงเชิด ผูเ้ ป็นร่างทรงจะเริม่ มีอาการตัว สั่ น แสดงว่ า ผี เ ริ่ ม เข้ า สิ ง ร่ า ง จากนั้ น ก็ เ ล่ น ตามแบบของ ประเภทผีต่าง ๆ, เข้าผี ก็ว่า. เล่นเข้าผีนางกระด้ง [เหฺล่น-เข่า-ผีนาง-กะ-ด้ง] ผีนางด้ง ก็วา่ , (ดู เล่นเข้าผีนางกะโหลก, เข่าผี นางกะด้ง ประกอบ). เล่นเข้าผีนางกะโหลก [เหฺลน่ -เข่า-ผีนาง-กะ-โหฺลก] น. ผู้เล่นต้อง เป็ น หญิ ง เป็ น คนทรงผี น าง กะโหลก โดยนั่งยอง ๆ บน กะโหลก (กะลามะพร้าว ๒ อัน) อยู่กลางวง เอามือทั้งสองยัน พื้นไว้เพื่อทรงตัวไม่ให้ล้ม ใช้ผ้า คลุมตัวให้มดิ ชิด คนทีน่ งั่ ล้อมวง ตบมือเป็นจังหวะพร้อมกับร้อง เพลงเชิดว่า“นางกะโหลกเอย ขึ่นไปโคกเก๊บเฮ็ดเพาะ ช่างมัน ไล่หนามไผ่มันเก๊าะ เฮ็ดซ่ะเฮ็ด ซาย เสียดายเฮ็ดเอย (ซ�้ำ)” ร้องเป็นเวลาผ่านไปพอสมควร คนทรงผี น างกะโหลกจะเริ่ ม ตั ว สั่ น และแรงขึ้ น ตามล� ำ ดั บ เป็นการแสดงว่าผีนางกะโหลก เข้ามาสิงสูร่ า่ งคนทรง แล้วนาง กะโหลก (คนทรง) จะลุกยืนขึ้น ร�ำตามจังหวะที่เพลงเชิด คนที่


พจนานุกรม ภาษาโคราช อยู่รอบวงก็จะถามว่าเป็นใคร ชื่ออะไร มาจากไหน มาท�ำอะไร ฯลฯ นางกะโหลกก็ จ ะตอบ ค�ำถาม เชิดเพลงซ�้ำไปมาเป็น เวลาพอสมควร นางกะโหลกก็ จะลากลับ (อาจกล่าวลาหรือ ยกมือไหว้) แล้วล้มตัวลงนอนที่ พื้น คนที่นั่งล้อมวงก็จะลุกขึ้น ข้ามคนทรงผีนางกะโหลกไปมา เพื่อเป็นการล้างอาถรรพ์ให้ผี นางกะโหลกออกจากร่ า งตั ว คนทรงเป็ น อั น เสร็ จ การเล่ น ส่ ว นการเล่ น เข่ า ผี น างช้ า ง, เข้าผีนางครก, เข้าผีนางสาก, เข้าผีนางกะด้งหรือผีนางด้ง มี วิธกี ารเล่นคล้ายกัน เพียงแต่ใช้ อุปกรณ์การเล่นให้เข้ากับชื่อผี เช่น ครก สาก กะด้ง, เข้าผีนาง กะโหลก ก็ว่า. เล่นเข้าผีนางครก [เหฺลน่ -เข่า-ผี-นางค่ก] (ดู เล่นเข้าผีนางกะโหลก ประกอบ), เข้าผีนางครก ก็ว่า. เล่นเข้าผีนางสาก [เหฺลน่ -เข่า-ผี-นางสาก] (ดู เล่นเข้าผีนางกะโหลก ประกอบ), เข้าผีนางสาก ก็ว่า. เล่นเข้าผีแม่สี [เหฺล่น-เข่า-ผี-แม่-สี] น. การเล่นเข่าผีแม่สีคล้ายกับ “การเล่ น เข้ า ผี น างกะโหลก” เพียงแต่คนที่เล่นเป็นคนทรงผี 271

แม่ สี นั่ ง ขั ด สมาธิ อ ยู ่ ก ลางวง ใช้ผ้าคลุมตัวจนมิดชิด คนอื่นที่ นัง่ ล้อมวงเชิดเพลงพร้อมกันว่า “แม่สีเอย แม่สีต๊กซะ (สระ) ย่ก มือไหว่พร่ะไม่มีคนชมชั่กผ่าห่ม ชมแม่สเี อย (ซ�ำ้ )” ร้องเป็นเวลา ผ่านไปพอสมควรคนทรงผีแม่สี จะเริ่ ม ตั ว สั่ น และแรงขึ้ น ตาม ล�ำดับเป็นการแสดงว่าผีแม่สี เข้ามาสิงสูร่ า่ งคนทรงแล้วแม่สี (คนทรง) จะลุกยืนขึ้นร�ำตาม จังหวะที่เพลงเชิด คนที่นั่งอยู่ รอบวงก็ จ ะถามเช่ น เดี ย วกั บ การเล่นเข้าผีนางกะโหลก เมื่อ ผี แ ม่ สี ล ากลั บ ก็ มี ก ารล้ า ง อาถรรพ์เช่นเดียวการเล่นเข้าผี นางกะโหลก, เข้าผีแม่สี ก็ว่า, (ดู เล่ น เข้ า ผี น างกะโหลก ประกอบ). เล่นชู้ [เหฺล่น-ชู่] ดู ชู้. เล่นซุก [เหฺล่น-ซุ่ก] น. เล่นซ่อนหา, (ดู แอ๊ดสะไพ ประกอบ). เลนเต น. มหาหงส์ ; ไม้ล้มลุกชนิด Hedychium coronarium J. Konig ในวงศ์ Zingiberaceae ดอกใหญ่ สีขาวล้วนหรือมีสี เหลืองตอนกลาง กลิน่ หอม ชอบ ขึน้ ในทีล่ มุ่ น�ำ้ ขัง เช่น หอมดอก เลนเตเป็นเล่นกั หนา (นิ.รูปทอง),

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เล่นนอก - ไล่คุม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

กระทายหิน ก็วา่ , ถิ่นจันทบุรี, ระยองเรียก ลันเต. เล่นนอก [เหฺล่น-นอก] ก. พูดเย้า หยอก, กระเซ้าเย้าแหย่ เช่น เพือ่ น ๆ เหล่นนอกว่า “เห็นใคร น้อไปก๊ะคนผมยาว ๆ”, สงเย่าะ ก็ว่า. เล่นเบอร์ [เหฺล่น-เบอ] ก. แทงหวย ใต้ดิน. เล่นเพลง [เหฺลน่ -เพง] ก. แสดงเพลง โคราช. เล่นสาว [เหฺล่น-สาว] ก. เกี้ยวสาว. เล่น ๆ หัว ๆ [เหฺลน่ -เหฺลน่ -หัว-หัว] ก. เล่น ๆ, ไม่จริงจัง, (ดู ท่อล่อ แท่แล่ ประกอบ). เล็บมือนาง น. ชือ่ ไม้พม่ ุ ชนิด Desmodium renifolium Schindl ในวงศ์ Leguminosae, ถิน่ เชียงใหม่เรียก ตาลสร้อยดอย. เลเพลาดพาด ก. นอนในลักษณะก่าย หรือพาดเกยกัน. เลอ น. ภาชนะดินเผาอย่างหนึง่ ส�ำหรับ นึ่งของ. เลอ

272

เลอะเทอะเลินเทิน [เล่อะ-เท่อะ-เลินเทิน] ว. เลอะเทอะ. เลาะ [เล่าะ] ๑. ก. เลียบไปตามริม เช่น เล่าะหา. ๒. ว. แถว, แถบ, บริเวณ เช่น อยู่เล่าะ ๆ วั่ด (อยู่แถว ๆ วัด). เลาะและ ว. เปาะแปะ, ลักษณะที่ฝน ตกปรอย ๆ. เลิกกัน ก. หย่าร้าง. เลิกนม ก. หย่านม. เลิกพก [เลิก-พ่ก] ก. ถลกชายผ้าซิ่น หรือผ้าถุง. เลิ่ ม ก. ไล่ , ต้ อ น (ใช้ แ ก่ สั ต ว์ ) เช่น เลิ่มไก่ (ไล่ไก่), เลิ่มเป๊ด (ต้อนเป็ด). เลีย้ งช้างเฒ่าเอางา [เลีย่ ง-ช่าง-เถ่าเอา-งา] (ส�ำ) เลีย้ งดูคนแก่เพือ่ หวังมรดก หรือแฝงไว้เพื่อหวัง ประโยชน์. เลี้ยงเป็ดได้ไข่ เลี้ยงไก่ได้ขัน [เลี่ยงเป๊ด-ได้-ไข่-เลี่ยง-ไก่-ได้-ขัน] (ส�ำ) ท�ำสิ่งใดย่อมได้สิ่งนั้น. เลี้ยงผีพ่อหมอเฒ่า [เลี่ยง-ผี-พ่อหมอ-เถ่า] ดู ลงข่วงร�ำผีฟ่า. เลือดลมเดินไม่สะดวก ก. อาการที่ อารมณ์แปรปรวน. เลือดสาด ว. เลือดโชก. เลื่อยคัน น. เลื่อยชนิดปลายใบทั้ง ๒ ข้ า งติ ด กั บ คั น เลื่ อ ย ไม้ ต รง


พจนานุกรม ภาษาโคราช กลางระหว่างใบเลื่อยกับด้าม ส�ำหรับจับมีไม้ยึดให้แน่น ใช้ ส�ำหรับตัดหรือซอยแผ่นไม้.

เลื่อยคัน

เลื่อยซอย

เลื่อยตัดต้น

เลือ่ ยซอย น. เลือ่ ยชนิดใบเลือ่ ยเป็นปืน้ ขนาดเล็ก คล้ายเลื่อยซอยแต่ ยาวกว่า ใช้ซอยไม้ให้เป็นแผ่น. เลื่อยตะลาปา น. เลื่อยลันดา. เลื่อยตัด [เลื่อย-ตั๊ด] ดู เลื่อยตัดต้น. เลือ่ ยตัดต้น [เลือ่ ย-ตัด๊ -ต้น] น. เลือ่ ย ชนิดใบเลื่อยเป็นแผ่นใหญ่ยาว ท้องเลื่อยโค้ง ปลายเลื่อยทั้ง สองท�ำเป็นบ้อง ส�ำหรับสอดไม้ ท่อนกลม ๆ เพื่อใช้จับชักเลื่อย โดยใช้คนชักเลื่อย ๒ คน ใช้ ตัดต้นไม้, ท่อนไม้ขนาดใหญ่, เลื่อยตัด ก็ว่า. และ ก. ช�ำแหละ. 273

และ ๆ ดู สะแหละ. และเล็ม [แล่ะ-เล็ม] ก. และเลียม, พูดจาเกี้ยวผู้หญิงทีเล่นทีจริง, พูดเลียบเคียงเข้าไปทีละน้อย. โล่งโจ้ง ว. ล่อนจ้อน. โลภะธาตุ น. ธาตุแท้ของความโลภ เช่ น ในขณะนั้ น โลภะธาตุ ซึ่ ง เจือปนอยูม่ ากมายในกาย (ท้าว ฯ). โลภนักลาภหาย (ส�ำ) ก. ยิง่ อยากได้ มากก็ยิ่งไม่ได้เลย ; ตรงกับ ส�ำนวนที่ว่า โลกมากลาภหาย เช่น โลภนักลาภหาย โลภนัก ตัวตาย อย่าได้นกึ ปอง (นิ.รูปทอง). โลมา น. ขน. เช่น เป็นน่าแสยงเกศา โลมาพอง (นิ.พระปาจิต). โล่ยโง่ย ว. ล่อนจ้อน, เปลือยกาย, โหล่ยโหง่ย ก็ว่า. โลหิตแดงมากกว่า โลหิตขาว [โลฮิต-แดง-มาก-กัว่ -โล-ฮิต-ขาว] (ส�ำ) มีความกล้าหาญมากกว่า ขีข้ ลาดตาขาว เช่น พวกท่านทัง้ หลายมีโลหิตแดงมากกว่าโลหิต ขาว ก้าวหน้ามากกว่าถอยหลัง (ท้าว ฯ). ไล น. กลอนประตู ห รื อ หน้ า ต่ า ง, สลักกลอนประตูหรือหน้าต่าง, เหล็กไนของสัตว์ทมี่ พี ษิ เช่น ผึง้ . ไล่คุม ก. ไล่กวด, วิ่งให้เร็วขึ้นเพื่อ ให้ทัน, ล่ะคุม ก็ว่า.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ประตู และก�ำแพงเมือง ก่อนได้รับการบูรณะ

274


พจนานุกรม ภาษาโคราช

วงกลองต๊อก น. วงดนตรีพื้นบ้าน โคราชคล้ า ยกั บ วงมโหรี มี กลองต๊ อ กหรื อ กลองทึ่ ม เป็ น เครื่ อ งดนตรี ที่ โ ดดเด่ น . วง กลองทึ่ม ก็ว่า, (ดู กลองทึ่ม ประกอบ).

วงกลองต๊อก

วงกลองทึ่ม ดู วงกลองต๊อก. วงรี ๆ แตะหีคนทัว่ ไป [วง-ลี-ลี-แต๊ะหี-คน-ทั่ว-ไป] (ปริศ) กระด้ง; การใช้ ก ระด้ ง ฝั ด ข้า วต้ อ งให้ กระด้งชิดขอบเอวด้านหน้า. วสา น. พรรษา; มาจากค�ำว่าวัสสานะ เช่น เป็นบุญบวชก็ไม่มากสัก วสา (นิ.พระปาจิต). วอน ก. ยั่วโทสะ, รนหาที่ด้วยอยากจะ ให้เกิดเรื่อง, วอนหาเรื่อง ก็ว่า. วอนหาเรื่อง ดู วอน. ว่อน ว. อาการที่ปลิว, เคลื่อนไหวใน อากาศ, บิน, บินไปมา. ว่อนระเวิก [ว่อน-ล่ะ-เวิ่ก] ว. ว่อนใน 275

ลั ก ษณะขวั ก ไขว่ , (ดู ว่ อ น ประกอบ). ว็อบแว็บ ว. แวบ, แผล็บ, ช่วงระยะ เวลาประเดี๋ยวเดียว. วอย ว. ไม่แข็งแรง, ผอม, ซอยวอย ก็ว่า. ว่ะ ๑. ว. โล่งอก, โล่งใจ เพราะหมด กังวล, สร่าง, ว่ะกระโทก, ว่ะหว่าง ก็ว่า. ๒. ซิ เช่น ดูว่ะ, เอาว่ะ. ว่ะกระโทก ดู ว่ะ. ว่ ะ วาบ ก.โล่ ง อกขึ้ น ทั น ที , สบายใจขึ้นทันที, สร่างในทันที ทันใด. ว่ะวาบพอปานน้องเมียได้ผัว [ว่ะ-วาบ-พอ-ปั่น-น่อง-เมียได้-ผัว] (ส�ำ) น. โล่งอก. ว่ะหว่าง ดู ว่ะ. ว่ะหูว่ะตา ว. สบายหูสบายตา, สร่าง. วังตะเข้ [วัง-ตะ-เข่] น. ที่อยู่ของ จระเข้. วังน�ำ้ เขียว [วัง-น่าม-เขียว] น. ชือ่ อ�ำเภอ หนึง่ ในจังหวัดนครราชสีมา ตัง้ ชือ่ ตามชือ่ บ้านวังน�ำ้ เขียว มีวงั น�ำ้ ใส สะอาด.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


วัดกลาง - ว่านอึ่ง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

วัดกลาง [วัด่ -กาง] น. วัดพระนารายณ์ มหาราช เป็นวัดที่อยู่ใจกลาง เมืองโคราช ตามกบิลเมืองวัดนี้ จะไม่มกี ารเผาศพและไม่มปี า่ ช้า. วัดบึง [วัด่ -บึง] น. วัดหนึง่ ทีอ่ ยูท่ างทิศ ตะวันตกของเมืองโคราชใกล้ กับประตูชมุ พล ตามกบิลเมือง วัดนี้จะไม่มีการเผาศพและไม่มี ป่าช้า. วัดบูรพ์ [วั่ด-บูน] น. วัดหนึ่งอยู่ทาง ทิศบูรพาหรือทิศตะวันออกของ เมื อ งโคราชใกล้ กั บ ประตู พ ล ล้าน ตามกบิลเมืองวัดนี้จะไม่มี การเผาศพและไม่มีป่าช้า. วัดพายัพ [วั่ด-พา-ยั่พ] น. วัดหนึ่งอยู่ ทางทิศพายัพหรือทิศตะวันตก เฉี ย งเหนื อ ของเมื อ งโคราช ตามกบิลเมืองวัดนี้จะไม่มีการ เผาศพและไม่มีป่าช้า. วัดไม่มเี ขือ่ นเหมือนเรือนไม่มฝี า [วัด่ ไม่ - มี - เขื่ อน-เหฺมือ น-เลือ นไม่-มี-ฝา] (ส�ำ) น. พระไม่มีศีล ก็เหมือนไม่มีเครื่องป้องกันการ ท�ำผิดพระวินัย; คนไม่มีศีลก็ เหมื อ นกั บไม่มีเครื่องป้องกัน การท�ำชั่ว, (ดู เขื่อน ประกอบ). วัดวา [วั่ด-วา] ๑. ก. ชกหรือต่อยใน ลักษณะใช้แขนทั้ง ๒ เหวี่ยง สลับกันไปมาอย่างรวดเร็ว. 276

๒. ก. คว�่ำหน้าว่ายน�้ำโดยใช้ แขนทัง้ ๒ ตวัดซ้ายขวาสลับกัน พุ ้ ย น�้ ำ ให้ เ คลื่ อ นไป ขณะ เดียวกันก็ตีขาขึ้นลงเพื่อดันตัว ให้ไปข้างหน้า.

วัดวา

วัดวา

วัดสระแก้ว [วั่ด-ซะ-แก้ว] น. เป็นวัด อยู่ทางทิศใต้ของเมืองโคราช ตามกบิลเมืองวัดนี้จะไม่มีการ เผาศพและไม่มีป่าช้า. วัดอิสาน [วั่ด-อิ-สาน] น. วัดหนึ่งอยู่ ทางทิศอีสานหรือทิศตะวันออก เฉี ย งเหนื อ ของเมื อ งโคราช ตามกบิลเมืองวัดนี้จะไม่มีการ เผาศพและไม่มีป่าช้า. วันงัน น. วันสุกดิบ, วันเตรียมงานก่อน ถึงวันงานพิธี ๑ วัน, วันชุม ก็วา่ . (ดู วันชุม ประกอบ). วันชุม น. วันที่ญาติพี่น้องมาชุมนุมเพื่อ


พจนานุกรม ภาษาโคราช เตรียมการก่อนถึงวันงานพิธี. วันดีคืนดี น. เวลาที่นึกถึงเรื่องหนึ่ง เรื่องใดขึ้นได้ เช่น วันดีคืนดีก็ พูดเรือ่ งเก่า (เวลาทีน่ กึ ถึงเรือ่ ง เก่าขึ้นได้ก็พูดอีก). วันเดิ้ง ว. บางวัน. วันธงชัยยามปลอด น. วันที่ถือว่าเป็น ฤกษ์ดี เช่น วันธงชัยยามปลอด จะคลาดแคล้วจากภยันตราย ทั้งปวง (ท้าว ฯ). วันเบิ้ง ว. บางวัน. วันฝานผัก [วัน-ฝาน-พัก] น. วันเตรียม งานก่อนวันงาน ๑-๒ วัน เช่น งานแต่งงาน งานบวช ส่วน ใหญ่ จ ะเป็ น เรื่ อ งการเตรี ย ม อาหาร ฝานผัก หัน่ เนือ้ เป็นต้น. วันยังค�่ำคืนยังรุ่ง ว. ตลอดวันตลอด คืน, ทั้งวันทั้งคืน. วันหงายพาข้าว [วัน-หงาย-พา-เข่า] ดู ลงข่วงร�ำผีฟ้า. วาชนี [วา-ชะ-นี] น. วาลวีชนี, พัดกับ แส้ ข นจามรี ถื อ เป็ น เครื่ อ ง ก กุ ธ ภั ณ ฑ ์ อ ย ่ า ง ห นึ่ ง ใ น เบญจราชกกุ ธ ภั ณ ฑ์ เช่ น เคยเชิ ญ พานพระภู ษ าวาชนี เคยพัดวีให้ส�ำราญเมื่อบรรทม (นิ.พระปาจิต). ว่าเด่ ว. ว่าเถอะ, อย่างงั้นเถอะ เป็น ค�ำสร้อยในการเกริน่ น�ำก่อนเล่า 277

นิทาน เช่น นานมาแล่วมีตาก๊ะ ยายสองคนว่าเด่ (นานมาแล้ว มีตากับยายสองคนว่าเถอะ). ว่าแต่ ก. คิดว่า, นึกว่า เช่น ว่าแต่จะ เอาอะไร, ว่าแต่ป้าเป็นคนพูด. ว่านก้ามปู [หว่าน-ก้าม-ปู] น. ดองดึง; ชือ่ ไม้เถาเลือ้ ยชนิด Gloriousa superba L. ในวงศ์ Colchicaceae ปลายใบเรียว ม้วน หัวมีพิษอยู่ใต้ดิน. ว่านตะมอย [หว่าน-ตะ-มอย] น. ชื่อไม้ เลือ้ ยชนิด Pothos yunnanensis Presl ในวงศ์ Araceae, ถิน่ เลย เรียก ตะขาบเขียว. ว่านปอก [หว่าน-ปอก] น. ชือ่ ไม้ยนื ต้น ชนิ ด Syzygiumsiamensis Crab. ในวงศ์ Myrtaceae ใบเดี่ยว ดอกสีแดงแกมม่วง ผลกลมหรื อ รู ป ไข่ สี เ ขี ย วถึ ง สีม่วง ผลแก่เดือนพฤษภาคมมิ ถุ น ายน นั ก พฤกษศาสตร์ เรียก ชมพู่น�้ำ. ว่านสามพี่น้อง [หว่าน-สาม-พี่-น่อง] น. ว่ า นชนิ ด Ceropegia zootepensis Craib ในวงศ์ Asclepiadaceae, ถิ่นเหนือ เรียก มะมุยดอย, มะเขือแจ้ดิน. ว่านอึ่ง [หว่าน-อึ่ง] น. ชื่อกล้วยไม้ดิน ชนิด Eulophia macrobulbon

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


วาบ - แวบ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

Par. & Reichb. f. ในวงศ์ Orchidaceae. วาบ ว. วูบ เช่น น�่ำลงวาบ ๆ (น�้ำลง วูบ ๆ ). ว่าเพลง ก. ร้องเพลงโคราช. ว่ามั้ย ว. เห็นด้วยไหม, เห็นพ้องด้วย ไหม, ใช่ไหม. ว่ายงอ [หว่าย-งอ] ก. ว่ายน�้ำลอยคอ กระเดือกไป โดยมือและเท้าอยู่ ใต้น�้ำ. ว่าแล้ว [ว่า-แล่ว] ว. เห็นไหมเล่า, เป็น ไปอย่างที่พูดไว้. ว่าวขาดลม (ส�ำ) ก. ขาดการอุปการะ, ขาดการสนับสนุน เช่น ที่ลอย เปล่าไปเหมือนว่าวเมื่อขาดลม (นิ.พระปาจิต). ว่าวธนู น. ว่าวที่มีธนูผูกติดด้านหลัง, (ดู ธนู ประกอบ).

ว่าวธนู

ว่าแสะว่าเสียด [ว่า-แซะ-ว่า-เสียด] ก. พู ด กระแนะกระแหน, 278

พูดเสียดสี. วิ่งงัว น. การเล่นอย่างหนึ่ง แบ่งเป็น ฝ่ายชายกับฝ่ายหญิงฝ่ายละ เท่า ๆ กัน ตั้งแถวให้ห่างกันพอ สมควร แล้ววิง่ ทีล่ ะคูค่ อื ชายกับ หญิงเหมือนกับการวิง่ เปีย้ ว แต่ วิ่งงัวจะต่างตรงที่วิ่งกันคนละ ๒-๓ รอบตามแต่จะตกลงกัน แล้ ว จึ ง ผลั ด กั น วิ่ ง อ้ อ มหลั ก ฝ่ายทีว่ งิ่ ไล่ทนั ฝ่ายตรงข้ามเป็น ฝ่ายชนะ บางที่มีการท้าพนัน เรียกว่า “เหล่นกินตัว (เล่นกิน ตัว)” คือวิ่งจนแพ้ชนะไม่ต้องมี คนผลัด ถ้าฝ่ายใดแพ้จะรู้สึก เสียหน้าและอับอายเพราะต้อง ออกมาร�ำตามที่ฝ่ายชนะร้อง เชิ ด โดยคนอื่ น ๆจะตบมื อ ให้ จังหวะ เช่น เจ้างามเลิศเอย ร�ำ ไปเถิดน่องจะหาเมียให่ รูปร่าง อย่างนี่จะหาดีอย่างไง หน่าขาว เป็นใยใจน่องจะขาดเอย หน่า ขาวเป็นใยใจน่องจะขาดเอย. วิ่งตาม ก. หนีพอ่ แม่หรือผูป้ กครองตาม ไปอยู่กับชายคนรัก. วิ่งโตน ก. วิ่งระคนกระโดด, วิ่งไป กระโดดไป. วิ่งสามขา น. การเล่นอย่างหนึ่ง แบ่ง เป็นคู่ ๆ โดยมัดขาซ้ายคนหนึ่ง กับขาขวาอีกคนหนึ่ง คู่ใดวิ่งถึง


พจนานุกรม ภาษาโคราช เส้ น ชั ย ก่ อ นโดยเชือกไม่หลุด ถือว่าชนะ. วิ่งหางจุกตูด [วิ่ง-หาง-จุ๊ก-ตูด] ดู หางจุกตูด. วิดปลา [วิด่ -ปลา] ก. ท�ำให้นำ�้ ในหนอง หรือบ่อแห้งเพื่อจับปลา. วิทพิยุ [วิ่ด-พิ-ยุ่] น. วิทยุ. วิน ๆ ดู หวินๆ. วิมาย ดู พิมาย. วิมายะปุระ [วิ-มา-ย่ะ-ปุ-๊ ล่ะ] ดู พิมาย. วี้ดว้าด ว. ร้องด้วยความตกใจ. วืด ว. พลาด, ไม่ถูกเป้าหมาย เช่น เต๊ะ ลู ก บอลวื ด (เต๊ ะ ลู ก ฟุ ต บอล พลาดไปไม่ถกู ), ตีลกู ปิงปองวืด (ตีลูกเปิงปองพลาด), วูด ก็ว่า. วุน่ วายพอปานขายข้าวหลาม (ส�ำ) ก. วุ่นวายสับสน, ยุ่งเหยิงสับสน เพราะความเร่งรีบ; เปรียบได้ กับส�ำนวน วุ่นเป็นจุลกฐิน. วุ่นวี่วุ่นวาย ก. วุ่นวาย, ก้าวก่าย. วูด ดู วืด. เวรา น. เวร, ความพยาบาท เช่น โอ้กรรมเวรา ของข้าหรือไร (นิ.รูปทอง). เวลากินน�้ำตาไหล ป้อนเท่าไรยิ่งดี เท่านั้น [เว-ลา-กิน-น่าม-ตาไหล-ป้อน-เท่า-ไล-ยิง่ -ดี-เท่านั่น] (ปริศ.) หีบอ้อย. เวลาดีดจี นใจหาย เวลาร้ายร้ายยังกะ 279

เสือ [เว-ลา-ดี-ดี-จน-ไจ-หายเว-ลา-ล่าย-ล่าย-ยัง-ก๊ะ-เสือ] ว. เวลาอารมณ์ดีจะใจดีมาก ตรงกันข้ามเวลาอารมณ์เสีย หรือโกรธรุนแรงจะใจร้ายมาก เช่นกัน. เวิง น. เวิ้ง, ลาน, ลานกว้าง. เวิ่น ว. ว่อน, ลอยฟ่อง, เคลื่อนไหวใน อากาศ เช่น ปลิวเวิ่น (ปลิว ว่อน), ตะเข่ลอยเวิ่น (จระเข้ ลอยฟ่อง), สูงเวิน่ สายว่าว น่อง จิเชิญไป (กล่อมเด็ก). แวง น. ปรื อ ; ชื่ อ ไม้ ล ้ ม ลุ ก ชนิ ด Scleria poaeformis Retz ในวงศ์ Cyperaceae ขึ้นใน น�้ำใบยาว ๆ ใช้ท อเป็นเสื่อ, แว้ง ก็ว่า. แวง ๆ น. หนุ่มสาวแรกรุ่น, วัยรุ่น, วัยกระเตาะ. แว้ง ดู แวง. แว้ด ก. แหว, ลักษณะของเสียงดังที่ แสดงอาการเกรี้ยวกราด. แวบ ก. แฟบ, ยุบ.

แวบ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แววตาสีเหล็ก - โศลก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ลว ว ศ ส ห อ ฮ

แววตาสี เ หล็ ก [แวว-ตา-สี - เล็ ก ] (ส�ำ) น. แววตาที่แสดงออกถึง ความเข้มแข็งประดุจดังเหล็ก เช่น ชายหนุ่มร่างผึ่งลักษณะ มี เ ชิ ง ชายทุ ก ส่ ว น ในแววตา สีเหล็กแฝงไว้ซึ่งความเข้มแข็ง

280

(ท้าว ฯ). โว้เว้ [โว่-เว่] ดู โหว่เหว่. ไว้ท่า [ไว่-ถ่า] ก. ไว้คอยท่า, ไว้รอท่า. ไววาง ว.ไวทายาด, ไวมาก, ว่องไว, รวดเร็ ว , ถิ่ น เหนื อ ใช้ ว ่ า ไวปานวอก.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ศรี ธ นนไชย น. ชื่ อ ไม้ ต ้ น ชนิ ด Buchanania siamensis Mig. ในวงศ์ Anacardiaceae กิ่ง อ่อน ดอกเล็กสีขาวหรือขาวอม เหลือง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ผลค่อนข้างกลม นักพฤกษศาสตร์ เรียก ธนนไชย.

ศรีธนนไชย

ศาล น. ทีว่ า่ การอ�ำเภอ ; สมัยก่อน ทีว่ า่ การอ�ำเภอมีหน้าทีส่ อบสวน, ช�ำระความต่าง ๆ ชาวบ้านมัก เรียกอ�ำเภอว่า ศาล. ศาลเจ้าปู่ ดู ศาลตะปู่. ศาลตะปู่ น. ศาลปู่ตา ; ที่สถิตของ เทวดาหรือผี. ศาลเจ้าปู่ ก็ว่า.

ศาลาว่ า ความเมื อ ง [สา-ลา-ว่ า ควม-เมือง] น. ศาลากลางหรือ ที่ ท� ำ การบริ ห ารราชการของ เมืองเช่นเดียวกับศาลากลาง จังหวัด เช่น ครั้นกองทัพเจ้า อุ ป ราชเดิ น ทางไปถึ ง เมื อ ง กาฬสินธุ์ ก็สั่งให้ตั้งทัพพักแรม ณ ศาลาว่าความเมือง (ท้าว ฯ). ศาลาเวรมหาดไทย น. สถานที่ท�ำการ ของเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยปกครอง เช่น หลวงบุ ริ น ทร์ แ ละขุ น ชนะไพรี เป็นนายกองม้าคุมทหารม้า ๓๐ ม้า น�ำใบบอกไปวางยังศาลา เวรมหาดไทย (ท้าว ฯ). โศลก [สะ-โหฺลก] ก. โฉลก, ถูกชะตา กัน, ถูกอัธยาศัยกัน.

ศาลตะปู่

281

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ 282


พจนานุกรม ภาษาโคราช

สกัด [สะ-กัด๊ ] ก. ดัก, ดักพบ, คอย ตรงเส้นทางที่ผู้ต้องการพบจะ ผ่านมา เช่น หนุ่มน่อยมาคอย สกั๊ ด ทางลั่ ด ทางกอดสนั้ ด ใจ (กล่อมเด็ก). สกุณัย น. นก, สกุณา, สกุณี เช่น คิ ด ว่ า พิ ม มิ รู ้ ว ่ า นกสุ ก ณั ย (นิ.พระปาจิต). สง ก. ช้อนโดยเอามือหรือสิ่งใดเลือก ตักเอาสิง่ ของทีอ่ ยูใ่ นของเหลว. ส่งเดชส่งหัว ว. ส่งเดช, ท�ำหรือพูด อย่างลวก ๆ, มักง่าย. ส่งทุกข์ [ส่ง-ทุ่ก] น. อุจจาระ. สงน [สะ-หฺ ง น] ก. ฉงน, สงสั ย , แคลงใจ. สงเยาะ [สง-เย่าะ] ก. กระเซ้าเหย้า แหย่, (ดู เล่นนอก ประกอบ). ส่งแรง ก. ออกแรงช่วยผู้ที่เคยช่วย เหลือเพื่อเป็นการทดแทน. สงสาร น. วัฏสงสาร, การเวียนว่าย ตายเกิด เช่น ให้พ้นจากไพรี อั น เวี ย นวนในสงสาร (นิ . รู ป ทอง), จะหึ ง นานในสงสาร กระวนกระวาย ล� ำ บากกาย ตายเกิดอยู่ไปมา (สุภมิต ฯ). สนม [สะ-หฺนม] น. สวะ, กลุม่ พืชทีล่ อย 283

เป็นแพอยู่ในน�้ำ. สนละวน ก. สาละวน, กังวล, วุ่นอยู่ ด้วยกิจธุระเฉพาะบางอย่าง เช่น ดูเหมือนจะปรานี ท�ำสนละวน (นิ.รูปทอง), บ้างถางที่สนละวน บ้างขนอิฐ (นิ.พระปาจิต). สนอม [สะ-หฺนอม] ก. ถนอม. สนัด [สะ-นัด] ว. ถนัด, สันทัด เช่น หนุ่มน้อยมาคอยสกัด ทางลัด ทางกอดสนั ด ใจเอย (กล่ อ ม เด็ก), สนัดสะหนี่ ก็ว่า. สนัดสะหนี่ [สะ-นัด-สะ-หนี]่ ดู สนัด. สนุ [สะ-นุ] น. ฟางข้าวที่นวดแล้วแต่ ยังมีเมล็ดข้าวหลงเหลืออยู่. สนุกพอปานเตะเห็ด [สะ-นุก-พอ-ปัน่ เต๊ะ-เฮ็ด] (ส�ำ) ก. ท�ำสิ่งใดที่ ง่ายหรือสะดวก ย่อมท�ำอย่าง สนุกหรือเพลิดเพลิน. สนุ่น [สะ-หฺนุ่น] น. พืชที่งอกตาม หนองน�้ำ. สนุนสนม [สะ-หนุน-สะ-หฺนม] น. แพสวะ ที่อยู่ในน�้ำ. สบ [ซบ] ก. กินยาทีม่ สี รรพคุณตรงกับ โรคที่เป็น, ถูกโรค, กินแล้ว สามารถบ�ำบัดโรคได้.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


สบง - สลักได

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

สบง [สะ-บง] น.ไม้ที่ใช้แทงจมูกวัว, ควาย เพื่อสนตะพาย. สบจังหวะ [ซบ-จัง-วะ] ก. สบโอกาส, จังหวะดี. สบช่อง [ซบ-ช่อง] ก. สบช่องทาง, พบ ช่องทาง. สบที [ซบ-ที] ว. เผื่อว่า, ผิว่า, ถ้าว่า, หากว่า, แม้นว่า, สบว่า, สบทีวา่ ก็ว่า. สบทีว่า [ซบ-ที-ว่า] ดู สบที. สบร่อง [ซบ-ล่อง] ว. บังเอิญ, สบ จังหวะ, สบโอกาส , ไม่ตั้งใจ หรือคาดหมายมาก่อน, ฟลุก, ขี้สบร่อง ก็ว่า. สบฤกษ์ [ซบ-เลิก] น. ฤกษ์งามยามดี, โชคดี, โอกาสดี. สบว่า [ซบ-ว่า] ดู สบที. สบหม่อง [ซบ-หม่อง] ว. สบที่หมาย, ถูกที่หมาย. สบหวิด [ซบ-วิด] ว. สบจังหวะที่เงิน ขาดมือ, สับหวิด, หวิดหว่าง ก็ว่า. สบเหมาะ [ซบ-เมาะ] น. โอกาสเหมาะ, เวลาที่เหมาะ. สม เป็นค�ำย่อของค�ำว่า สมน�้ำหน้า. ส้มกลีบ [ส่ม-กีบ] ดู ห�ำอาว. ส้มเกลี้ยง [ส่ม-เกี้ยง] น. ส้มชนิดหนึ่ง ผิวเปลือกเกลี้ยง เปลือกแข็ง เช่น ส้มเกลี้ยงแลส้มโอ สุกโต 284

หน่วยเท่าขัน (นิ.รูปทอง). ส้มขี้ม้า [ส่ม-ขี่-ม่า] น. ส้มชนิดหนึ่ง ผลเหมือนลูกอิน เล็กกลมแป้น ตรงกลางบุ๋ม เปลือกสีเขียว ขนาดเท่าก้อนขี้ม้ามีรสเปรี้ยว เมื่อสุกเปลือกจะเป็นสีส้ม. สมใจอยาก ก. เป็นไปตามทีค่ ดิ ทีห่ วังไว้, สมใจในสิ่ ง ที่ ต ้ อ งการ เช่ น อยากกิ น ผั ด หมี่ พอดี มี ค น เอามาให้ ก็เลยได้กนิ สมใจอยาก. สมน�้ำหน้ากะลาหัวเจาะ [สม-น่ามหน่ า -กะ-ลา-หั ว -เจ๊ า ะ] ว. สมน�้ำหน้า, เป็นค�ำแดกดันหรือ ซ�ำ้ เติมว่าควรได้รบั ผลร้ายเช่นนัน้ . สมบั๊ด ว. แค่จะ, เพียงแต่, อะไร เช่น สมบั๊ดจิกินก็ยังไม่มี (แค่จะกิน ก็ยังไม่มี), พูดหาสมบั๊ดอะไร (พูดหาอะไร), มันจิมสี มบัด๊ อะไร (มันจะมีอะไร, มันจะมีค่ามีราคา อะไร), ส�ำบั๊ด ก็ว่า. สมปุ๊สมปุ้ย ๑ ก. มั่ว. ๒ ว. มอมแมม, แต่งกายรุ่งริ่ง. ส้ ม แป้ น [ส่ ม -แป้ น ] น. มะแฟน, มะแพน, กะแทน ; ไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ชนิด Protium serratum (Wall. ex Colebr.) Engl. ในวงศ์ Burseraceae ใบเป็ น ใบ ประกอบ ใบย่อยเป็นรูปรียาว


พจนานุกรม ภาษาโคราช ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบ มี ผลค่อนข้างกลมมนหรือแป้น ๆ สี แ ดงมี ร ่ อ ง รั บ ประทานได้ รากต้มเอาน�ำ้ กินแก้ไข้ ถอนพิษ ต่าง ๆ. ส้มแป้นขี้ม้า [ส่ม-แป้น-ขี่-ม่า] น. ส้ม เขียวหวาน, ส้มจุก, ส้มจันทบูร ; ส้มชนิด Citrus reticulata Blanco ในวงศ์ Rutaceae. สมพอ ว. ถึงว่า, สมควร เช่น สมพอ แม่ดุ๊ (สมควรที่แม่ดุ), สมพอ เขาถึงโมโห (ถึงว่าเขาถึงโมโห), ซับพอ, ส�ำพอ ก็ว่า. สมมม ว. โสมม, สกปรก, เลอะเทอะ เช่ น เป็ น หญิ ง ชั่ ว ช้ า ผั ว อยู ่ ต่อหน้า ชัง่ มาสมมม (นิ.รูปทอง). ส้มละกอ [ส่ม-ล่ะ-กอ] น. ส้มต�ำ มะละกอ, ส้มล่ะก๋อ ก็ว่า. ส้มล่ะก๋อ [ส่ม-ล่ะ-ก๋อ] ดู ส้มละกอ. ส้มสันดาน [ส่ม-สัน-ดาน] น. ส้มชนิด Hibiscus furcatus Roxb. ในวงศ์ malvaceae. ส้มส่า น. ส้มชนิดหนึ่งผลเล็ก มีรส เปรี้ยว. สมอกง [สะ-หมอ-กง] น. สมอชนิด Strobilanthes cystolithigera Lindau ในวงศ์ Acanthaceae. สมอร่องแร่ง น. หยากไย่, เขม่าไฟ. ส้มอีเว่อ [ส่ม-อี-เว่อ] น. ส้มชนิดหนึ่ง 285

คล้ายส้มโอมีรสเปรี้ยว. ส้ ม โอโตแต่ เ ปลื อ ก [ส่ ม -โอ-โตแต่-เปือก] (ส�ำ) ว. ภายนอก ดู ดี แต่ ภ ายในตรงกั น ข้ า ม, โตแต่ ตั ว แต่ มี ค วามสามารถ ไม่สมกับรูปร่าง. สมุยกุย [สะ-หมุย-กุย] น. คงคาเดือด ; ไม้ ยื น ต้ น ขนาดกลางชนิ ด Arfeuillea arborescens Pierre ในวงศ์ Spindaceae. ใบเป็ น ใบประกอบคล้ า ยใบ มะเฟือง ดอกเล็กสีม่วงคล�้ำ กลิ่นหอม เปลือกใช้ท�ำยาแก้ ร้อนในกระหายน�ำ้ ฆ่าพยาธิ ดับ พิษไข้ เจริญอาหาร.

สมุยกุย

สรรพคุณ [ซับ-พะ-คุน] ว. บุญคุณ. สลบเหมื อ ด [สะ-ลบ-เหฺ มื อ ด] ก. สลบไสล, สลบแน่นิ่ง. สลักได [สะ-ลัก-ได] น. สลัดได; ไม้ พุ่มขนาดใหญ่หลาย ชนิดใน สกุล Euphorbia วงศ์ Euphor

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


สลัดซัด - สะกัว

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

biaceae ต้ น เป็ น เหลี่ ย มมี หนามไม่มใี บ (ล�ำต้นเป็นใบไปใน ตัว) ต้นและกิ่งก้านมียางสีขาว ข้นเป็นพิษ ดอกเล็ก ๆ สีแดง ออกตามเหลี่ยมต้น. สลัดซัด [สะ-ลัด-ซัด] ก. ตระบัดสัตย์, ไม่รักษาค�ำมั่นสัญญา. สลึงอย่าบังบาท (ปาก) (ส�ำ) น. สถานะ ด้อยกว่าอย่าออกหน้าหรืออย่า มาบัง. สวด ดู ซวด. สวดหนังสือ ก. อ่านหนังสือด้วยเสียง สูงต�่ำคล้ายท�ำนองเสนาะ.

ส้วนใหญ่

ส้วนใหญ่ น. นางแย้ม, ปิ้งหอม; ไม้ พุ ่ ม ขนาดเล็ ก ชนิ ด Clerod endrum chinense (Osbeck) Mabb. ในวงศ์ Labiatae หรือ Verbenaceae ดอกออก เป็ น ช่ อ สี ข าวหรื อ แดงเรื่ อ ๆ เบียดกันแน่น มีกลิ่นหอม ใช้ ท� ำ ยาแก้ โ รคผิ ว หนั ง ผื่ น คั น ปวดตามข้ อ ริ ด สี ด วงทวาร 286

เหน็บชา ขับระดูขาว. ส่วย ก. ล้าง เช่น สวยหม่อส่วนไห (ล้างหม้อล้างไห).

สวองหิน

สวองหิน [สะ-หวอง-หิน] น. ชื่อไม้ ต้นชนิด Vitex limonifolia Wall. ในวงศ์ Labiatae (Verbe naceae) ใบเป็นใบ ประกอบคล้ายรูปนิ้วมือ ดอก สี ช มพู แ กมม่ ว งออกเป็ น ช่ อ ตามแยกแขนงที่ปลายกิ่งและ ตามง่ามใบ ผลกลม ใช้ท�ำฝา เรือน แกะสลัก เครื่องตกแต่ง บ้ า น นั ก พฤกษศาสตร์ เ รี ย ก สวอง. สวะสว่ า ง [สะ-วะ-สะ-หว่ า ง] ว. สว่างไสว, แจ่มใส. สวัด [สะ-วั้ด] ก. ตวัด. สว่างโร่ ว. สว่างจ้า, สว่างคาตา. สวิงปากหม้อ [สะ-หวิง-ปาก-หม่อ] ดู สวีปากหม้อ. สวิงสะหวอย [สะ-หวิง-สะ-หวอย] ดู


พจนานุกรม ภาษาโคราช สะหวอย. สวีปากหม้อ [สะ-หวี-ปาก-หม่อ] ก. ตี หรือปั้นแต่งปากหม้อให้เรียบ กลมและมี ค วามหนาตามที่ ต้องการ โดยใช้ทั้งผ้าพลาสติก และใบไม้ตา่ ง ๆ เช่น ใบกระบอง เพชร ใบหนามพร�ำ ใบสับปะรด ลอกเอาเฉพาะเยื่อบาง ๆ เป็น อุปกรณ์, สวิงปากหม้อ, หวีปาก หม้อ ก็ว่า. สวึง [สะ-หวึง] ก. ครุ่นคิด, อาการ งวยงงคิ ด อะไรไม่ อ อก เช่ น ยืนสวึง. สองเกลออยู่ข้างกันเหลียวหันก็ไม่ เห็น [สอง-เกอ-หฺยู่-ข่าง-กันเหฺลียว-หัน-ก็-ไม่-เห็น] (ปริศ) น. ใบหู. สองตีนบังแดดแปดตีนเดินวน ต�่ำ เตี้ ย หน้ า มนมี น ามว่ า อะไร [สอง-ตีน-บัง-แดด-แปด-ตีนเดิน-วน- ต�ำ่ -เตีย้ -หน่า-มน-มีนาม-ว่า-อะ-ไล] (ปริศ) น. ปู. สองตี น ออดแอด แปดตี น พาไป (ปริศ) น. เกวียน. สองปะข้าง [สอง-ป๊ะ-ข่าง] ว. สองข้าง. สองสามครู่ ว. ชั่วระยะเวลาที่นาน กว่ า ครู ่ ห นึ่ ง เช่ น พิ นิ จ พิ ศ ดู เป็นสองสามครู่ ทั่วทั้งกายา (นิ.รูปทอง). 287

สองเสาตั้งท่า ตีหญ้าสองตับ นอน ไม่ ห ลั บ ลุ ก ขึ้ น ปลุ ก [สองเสา-ตั้ ง -ท่ า -ตี - หย่ า -สองตั๊ บ -นอน-ไม่ - ลั บ -ลุ ก -ขึ่ น ปุก] (ปริศ) น. ไก่. ส่อน ก. ช้อน เช่น ส่อนกุ้ง, ส่อนปลา. ส้อม [ส่อม] น. เหล็ก ๒ ง่าม ปลาย แหลมใช้แทงสัตว์น�้ำ เช่น ปลา เป็นต้น. ส่อย ก. จัก, ท�ำให้เป็นเส้นแบนยาว เช่น ส่อยก๊ก (จักกก). ส่อหล่อ ก. แส่, สาระแน, เสือก, ส่อหล่อแส่แหล่ ก็ว่า. ส่อหล่อแส่แหล่ ดู ส่อหล่อ. สะกัว

สะกั ว [ซะ-กั ว ] น. ชื่ อ ไม้ ต ้ น ชนิ ด Sumbaviopsis albicans (Blume) J. J. Smith. ในวงศ์ Uphorbiaceae ใบเดี่ยวรูปไข่ ดอกเล็กแยกเพศสีเขียวอ่อน เป็ น ช่ อ ดอกเพศผู ้ ใ หญ่ ก ว่ า เพศเมี ย ผลเป็ น พู กิ น ได้ นักพฤกษศาสตร์เรียก ตองผ้า.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


สะเก็ด - สะโหมง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

สะเก็ด [สะ-เก๊ด] ว. ไม่ถูกต้อง เช่น ดาวรุง่ ขึน่ โพลง ดาวโยงขึน่ โผล่ สุริยันแดงโร่ เวลาใกล้จะรุ่ง (เพลงโคราช) ซึ่ ง ไม่ ถู ก ต้ อ ง เพราะข้อเท็จจริงดาวโยงจะขึ้น ก่อนดาวรุ่ง. สะแกเถา น. ชื่อพันธุ์ไม้เลื้อยชนิด Combretum prostrata Crabib ในวงศ์ Combre taceae. สะคร้อ [สะ-ค่อ] น. ตะคร้อ เช่น ต้น มะขวิดติดมะขวาดหมู่หัวขวาน ต้นสะคร้อดูงามสะคราญดูไสว (นิ.พระปาจิต). สะจรรย์ [ซะ-จัน] ว. อัศจรรย์; ใช้ ประกอบค� ำ อื่ น เพื่ อ เน้ น ให้ ค� ำ มี น�้ ำ หนั ก มี ค วามหมายไปใน ท�ำนองว่ามาก มากเหลือเกิน เช่น ไกลซะจรรย์ (ไกลมาก, ไกลจริง ๆ), อัศจรรย์ ก็ว่า. สะดีดสะดิ้ง ว. สะดิ้ง, ท�ำจริตดีดดิ้น. สะดุดหลักกระทัง่ ตอ [สะ-ดุด๊ -ลัก-กะทั่ง-ตอ] (ส�ำ) ความทุกข์ยาก ล�ำบากที่เกิดซ้อนขึ้นมาในเวลา เดียวกัน เหมือนไปสะดุดหลัก แล้วยังไปสะดุดตออีก. สะเดา น. ก�ำเดา เช่น เลือดสะเดา. สะเดาะเคราะห์ [สะ-เด๊าะ-เค่าะ] น. ท�ำพิธขี บั ไล่สงิ่ ชัว่ ร้ายให้ออกไป 288

จากตัว. สะเดิด ก. สะดุ้ง. สะเทิน ดู กะเทิน. สะบัดช่อ [สะ-บั๊ด-ช่อ] ว. ใช้ประกอบ ค�ำอืน่ มีความหมายในท�ำนองว่า สะเด็ดยาด, มาก, หนักยิ่งขึ้น เช่น โกงสะบั๊ดช่อ (โกงสะเด็ด ยาด), สวยสะบัด๊ ช่อ (สวยมาก). สะบ้าลาย น. ชื่อไม้เลื้อยในกลุ่มต้น “หมามุ ้ ย ”ชนิ ด Mucuma interrupta Gagnep ในวงศ์ Leguminoseae ฝั ก มี ข น ถูกผิวหนังจะคันมาก. สะบุ๊กสะบูด ดู ระบุ๊ดระบูด. สะโปรง น. กระโปรง. สะพือ ก. กระพือ. สะไพยนต์ [ซะ-ไพ-ยน] น. ไพชยนต์, ปราสาท เช่น ขึ้นมาสะไพยนต์ ม ณ เ ที ย ร ท อ ง ข อ ง ภู บ า ล (นิ.กุศราช). สะมูทู [ซะ-มู-ทู] ว. มู่ทู่, ป้าน, ใหญ่ เช่น ที่รูปชายถือหน้าไม้สะมูทู (นิ.พระปาจิต) . สะเม่าใหญ่ น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Cierodendron serratum Spreng. ในวงศ์ Verbenaceae ใบเดี่ยวรูปคล้ายหอก ดอกช่อ เป็นแท่งที่ปลายยอด ใช้สมาน บาดแผล แก้ ริ ด สี ด วง ขั บ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ปัสสาวะ นักพฤกษศาสตร์เรียก ตรีชวา, พรายซะเรียง ก็วา่ . สะรอย [ซะ-ลอย] ว. ลักษณะที่วัตถุ ทรงกลมหรื อ มี ส ่ ว นโค้ ง กลิ้ ง เรียดพื้น, ซะรอย, สีรอย ก็ว่า. สะรุสะระ [สะ-ลุ-สะ-ละ] ว. ยุ่งเหยิง, สุรุ่ยสุร่าย. สะเล่า [ซะ-เหฺล่า] ว. ค�ำประกอบท้าย ค� ำ เพื่ อ ให้ เ น้ น ความหมาย ท�ำนองว่า เสียเล่า เช่น ท�ำไม ไม่บอกเขาซะเหล่า. สะวาย [ซะ-วาย] ดู ซะปาย. สะหนาก [สะ-หนาก] น. กรรไกรหนีบ หมาก, มีดสะหนาก ก็ว่า. สะหยาบ [ซะ-หยาบ] น. เพิงหรือ ชายคาทีต่ อ่ ออกจากด้านข้างให้ ปลายข้ า งหนึ่ ง อยู ่ กั บ สิ่ ง ปลู ก สร้างหลัก; คล้ายกับขยาบที่ เป็นเครือ่ งกันแดดและฝนเลือ่ น เข้ า ออกจากประทุ น เรื อ ได้ , ทะหยาบ, เซีย ก็ว่า.

สะหยาบ

สะหริ่ม น. ซ่าหริ่ม. สะหล� ำ พอง [ซะ-หล� ำ -พอง] น. 289

ปลาเนื้ออ่อน, ปลาหล�ำพอง, สะแหล็มพอง ก็ว่า. สะหวอก [สะ-หวอก] ว. ซีดเซียว, หมดแรง, อิดโรย, เฉา, เหี่ยว, สะหวอกสะหวอย ก็ว่า. สะหวอกสะหวอย [สะ-หวอก-สะหวอย] ดู สะหวอก. สะหวอย [สะ-หวอย] ก. หิ ว จั ด , หิวกระหาย, อาการทีอ่ ยากข้าว อยากน�้ำ, สวิงสะหวอย ก็ว่า. สะหวอยแดด [สะ-หวอย-แดด] ว. อ่อนเพลีย, เหนื่อยล้า, อิดโรย เพราะตากหรือกร�ำแดด. สะเหงิม [สะ-เหฺงิม] ก. เหม่อลอย, ครุ่นคิด เช่น ท�ำข้อสอบไม่ได้ เลยนั่งสะเหงิม. สะเหงาะสะแหงะ [ซะ-เงาะ-ซะ-แงะ] ก. เดินโซเซอย่างทรงตัวไม่อยู่, เดินอย่างคนหมดแรง, เปะปะ, โซเซ เช่น คนเมา, เซาะเงาะแซะ แงะ ก็ว่า. สะแหล็มพอง [ซะ-แหฺล็ม-พอง] ดู สะหล�ำพอง. สะแหละ [สะ-และ] ก. กระแดะ, ดี ด ดิ้ น , ดั ด จริ ต , กิ ริ ย าร่ า น ผู้ชาย, แสะแหละ, และ ๆ ก็ว่า. สะโหมง [สะ-โหฺมง] น. ไม้ที่ใช้สน ตะพายวัวควาย ส่วนมากท�ำ จากไม้ไผ่เหลาปลายให้แหลม.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


สะโหลสะเหล - สากต�ำ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

สะโหลสะเหล [สะ-โหฺล-สะ-เหฺล] ว. อ่อนเพลีย, งัวเงีย, อาการที่ มึนงงอยู่. สะอม น. ชะอม. สะออน ว. น่ารัก, น่าเอ็นดู, สะอิง้ สะออน ก็วา่ , ถิน่ อีสานใช้วา่ ออนซอน. สะอิ้งสะออน ดู สะออน. สะอึด [สะ-อึ๊ด] ว. เย็นชืด, ตัวเย็น, เย็นเฉียบ. สะเอน ว. สบาย เช่น ด้วยพระนางเคย สะเอนเอี่ ย มส� ำ อาง (นิ . พระ ปาจิต). สะเอม น. ชะเอม. สะเออะ [สะ-เอ๊อะ] ก. ตุน๋ ปลาร้าสับใส่ ไข่, (ดู ปลาร้า สะเออะ ประกอบ). สะเอีย ก. อาการแพ้ทอ้ ง, อาการหิวจัด ของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์. สักกระผีก [ซัก-กะ-ผีก] ดู สักแปะ. สักกะแบะ [ซัก-กะ-แบ๊ะ] ดู สักแปะ. สักกะแปะ [ซัก-กะ-แป๊ะ] ดู สักแปะ. สักตี๊ด [ซัก-ตี๊ด] ดู สักแปะ. สักโบก [ซัก-โบก] ว. สักหน่อย. สักแปะ [ซัก-แป๊ะ] ว. สักนิด, สักตี๊ด, สักกระผีก, สักกะแบะ, สักกะแปะ ก็วา่ . สักเลข [ซัก-เลก] ก. ท�ำเครื่องหมาย โดยใช้เหล็กแหลมจุ้มหมึกจิ้มที่ ผิวหนังแสดงการขึ้นทะเบียน ชายฉกรรจ์เข้าสังกัดกรมกอง 290

เช่น พระสุริยะภักดี (ป้อม) เจ้า กรมพระต� ำ รวจ พร้ อ มด้ ว ย ข้าหลวงอีกหลายนายไปสักเลข ตามหัวเมืองต่าง ๆ (ท้าว ฯ). สัง ๑ ว. เขื่อง, ค่อนข้างโต เช่น เข่า เม่ดสัง ๆ (ข้าวสารเม็ดใหญ่ ล้วน ๆ). ๒ ใช้น�ำหน้าชื่อคนตายไปแล้ว เมื่อกล่าวถึง, โดยปริยายเป็นที่ รู้กันว่าหมายถึงผู้ที่ตายล่วงลับ ไปแล้ว เช่น สังลุงแก้ว, สังแม่ ใหญ่, บะสัง, ประสัง ก็ว่า, (ดู ประสัง ประกอบ). สังขยา [สัง-ขะ-หฺยา] ๑. น. มรดก ตกทอด, มูลมังสังขยา ก็ว่า. ๒. (ปาก) ก. กินเหล้าแล้วกิน เบี ย ร์ ห รื อ สาโทนั ย ว่ า จะเมา มาก. สังเค็ด [สัง-เค่ด] น. ที่หามคนตาย คล้าย ๆ กับเปล. สังธะยาย ก. สาธยาย, อธิบายเรื่อง เช่น ไม่แยกทางมาสังธะยาย พี่ จะเล่าต้นยลนางอย่าตั้งท่ายอ ท่าเย่ย (เพลงโคราช). สังระเสิน, สังระเสริญ ก. สรรเสริญ เช่น ยิ่งเขาสังระเสิน เรียกว่า หม่อมยาย (นิ.รูปทอง), สังระ เสริญป้อยอพ่อพระคุณ (สุภมิต ฯ), มึ ง มาสั ง ระเสริ ญ มากมาย


พจนานุกรม ภาษาโคราช นอกใจเจ้านายมึงนีจ่ ะตายเป็นผี (นิ.กุศราช). สังวาลย์พระอินทร์ น. ไม้เถาเลื้อย กึ่ ง กาฝาก ชนิ ด Cassytha fi l i f o r m i s L i n n . ใ น ว ง ศ ์ Santalaceae ล�ำต้นเป็นเถา สีเขียวแกมเทา ใบขนาดเล็ก ดอกเป็นช่อสีขาว, ถิน่ เลยเรียก เขียงค�ำโคก. สังโวก ว. สังเวช, โศกเศร้า, ซึมเศร้า เช่น คิดสังโวกให้สงั เวชนางนวล ระหง (นิ.พระปาจิต), พระผิน พักตร์แลไปให้สังโวก ก�ำสรด โศกโศกาต่อหน้าเขา (สุภมิตฯ). สัตถาวร [สัด-ตะ-ถา-วอน] ว. สถาพร, ยั่งยืน เช่น ว่าเจ้าคุณยังจ�ำรูญ สัตถาวร (นิ.พระปาจิต). สั น จม น. อวั ย วะส่ ว นที่ เ ป็ น สะบั ก , ส�ำเหลียก ก็ว่า. สั่นดด ๆ [สั่น-ด่ด-ด่ด] ก. สั่นระรัว เพราะโกรธมาก. สันเทียะ น. ชื่อหมู่บ้านหนึ่งในอ�ำเภอ โนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ค�ำว่า “สันเทียะ” กลายเสียงมา จาก “บ้านศาลเตี้ย” (ข. ซัน เตียร์ หมายถึง บ้านฟ้าผ่า). สั่นรึ่ก ๆ [สั่น-ลึ่ก-ลึ่ก] ก. สั่นริก ๆ, สั่นระริก. สั่นเริ่ม ๆ [สั่น-เลิ่ม-เลิ่ม] ว. เริ้ม, สั่น

ไปทั้งตัว, อาการสั่นเหมือนเจ้า เข้าทรง, สั่นเทิ้ม. สับปะดีส้ ปี ะดน [สับ๊ -ป๊ะ-ดี-้ สี-ปะ-ดน] ว. สั ป ดน, อุ ต ริ น อกแบบ, นอกแผน. สับหัวคั่วแห้ง [ซับ-หัว-ขั่ว-แห่ง] (ส�ำ) ว. บั ง คั บ เช่ น ต้ อ งซั บ หั ว ขั่วแห่งมันถึงท�ำงาน. สัมมายังไงสัมไปยังงัน้ [สัม-มา-ยัง-ไงสัม-ไป-ยัง-งั่น] (ส�ำ) เป็นมา ยังไงก็เป็นไปยังงัน้ , ท�ำอย่างไร ไว้ยอ่ มได้รบั ผลอย่างนัน้ . สั่ว ก. เส็ง, ก่อกวน, ยั่วอารมณ์, พูดให้คนอื่นมีอารมณ์โกรธ. สา ว. ค�ำลงท้ายบอกความหมายว่า ซะ, เถิด, นะ เช่น ไม่เอื้อยเอ่ย สาเลยหนู พี่ไม่รู้สาเลยหนอ (นิ.เพลงศุภมิตร ฯ). ส่า น. ขุยดินที่เป็นเกลือ. ส่ากุ้ง น. พล่ากุ้งฝอย. สากซ้อม [สาก-ซ่อม] น. สากครก กระเดื่ อ งมี ลั ก ษณะปลายหั ว สากไม่ใหญ่ป้านมน ใช้ต�ำข้าว จะขั ด สี ผิ ว ข้ า วออกขาวน่ า รับประทาน. สากต�ำ น. สากครกกระเดือ่ งมีลกั ษณะ ปลายหัวสากใหญ่ป้านมนเช่น เดียวกับสากกะเบือ เมือ่ ต�ำข้าว จะท�ำให้ข้าวแหลกเม็ดหัก. 291

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


สากเหมิ่ง - ส�่ำ ๆ เสีย ๆ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

สากเหมิง่ น. สากไม้ยาวประมาณ ๓ – ๔ เมตร ใช้ ส�ำหรับต�ำข้าวเม่า, (ดู ต�ำสากเหมิง่ ประกอบ). สากเหมิ่ง

สากอุบ๊ น. สากไม้ใช้ตำ� ข้าวสัน้ กว่าสาก เหมิง่ ประมาณครึง่ หนึง่ , (ดู สาก เหมิ่ง ประกอบ). ส่าเกลือ น. ขุยดินเกลือ, ผื่น, แถบดิน ทีเ่ ป็นเกลือผุดขึน้ เป็นผืน่ ผิวดิน. สาง ก. ถางหรือท�ำให้หายรก เช่น สาง หญ้าหรือป่าที่รก. สาด ก. กระจัดกระจาย, เรี่ยราด, กระเจิดกระเจิง, กระจุยกระจาย, สาดเซ, สาดเซเตนัง, สาดเซ ระเนระนัง, สาดเซเหระ, สาดเซ เหโร, สาดเซเหตะโร ก็ว่า. สาดเซ ดู สาด. สาดเซเตนัง ดู สาด. สาดเซระเนระนัง [สาด-เซล่ะ-เน-ล่ะ-นัง] ดู สาด. สาดเซเหตะโร ดู สาด. สาดเซเหระ [สาด-เซ-เห-ล่ะ] ดู สาด. สาดเซเหโร ดู สาด. สาดน�้ำให้ไก่ดีใจ [สาด-น่าม-ไห่-ไก่ดี - ไจ] (ส� ำ ) ให้ ค วามหวั ง ; 292

เปรียบเหมือนสาดน�้ำล้างชาม แต่ไม่มีเศษข้าว, อาหาร, ไก่วิ่ง มาหาเก้อแล้วต้องผิดหวัง. สามขัด [สาม-คัด] ดู สามเส้า. สามง่าม น. เฟินชนิด Pteris wal lichiana Ag. ในวงศ์ Polypo diaceae. สามเชย น. ทรามเชย, หญิงอันเป็น ที่รัก เช่น แม่สามเชยยังไม่เคย จะตกยาก (สุภมิต ฯ), (ดู ทรามชม ประกอบ). สามเปลี่ยว ดู ทรามชม. สามยอด น. ชื่ อ ไม้ ล ้ ม ลุ ก ชนิ ด Canscora andrographioides Griff. ex Clarke ในวงศ์ Gentianaceae. สามเส้า [สาม-เส่า] น. นกเขาขันเรียก เป็น ๓ เสียงหรือ ๓ กุก คือ เจ้า พุทโธ, เจ๊กหัวโต, โก้โก บางแห่ง ฟังเป็น กู้, กรู, กู้ฮุก, กรู, กู้, กรู, สามขัด ก็ว่า, (ดู ขันเรียก ประกอบ). สามุติ ก. สมมุติ, รู้สึกนึกเอาว่า เช่น เสียดายถ้าเป็นชายไม่สามุติ จะ สมสูอ่ ยูก่ บั นุชจนสังขร, พิมบุรษุ ทีส่ ามุตชิ อื่ ปาจิต (นิ.พระปาจิต). สายครึน น. สายเชือกที่ต่อจากบ่วงที่ ท�ำไว้ดักนกและไก่; ครึนเป็น เครื่ อ งดั ก นกดั ก ไก่ ช นิ ด หนึ่ ง ,


พจนานุกรม ภาษาโคราช สายครืน ก็ว่า. สายครืน ดู สายครึน. สายตะขาบ น. นกตะขาบ ตัวสีน�้ำเงิน เลื่อมวาว ปากด�ำ, ถิ่นอีสานใช้ ว่า นกขาบ หรือ นกตะขาบ. สายทุง น. สายซุง, เชือกที่ใช้ปลายทั้ง ๒ ผู ก กั บ อกว่ า วห่ า งกั น พอ สมควร ส�ำหรับต่อกับสายป่าน. สายรูด น. กางเกงขาสั้นมีเชือกรอบ เอวเพือ่ รูดมัดให้กระชับแทนขอ หรือกระดุม. สายสะได น. สายกระได, สายเชือกที่ ผูกจอมแหใช้ดึงสาวกลับ. สายหยืด ดู สีหยืด. สาระปิ [สา-ละ-ปิ]๊ ว. สารพัด, จิปาถะ, สาระพัดละปิ ก็ว่า. สาระพัดละปิ [สา-ล่ะ-พั่ด-ล่ะ-ปิ๊] ดู สาระปิ. สาระสอด ก. เสือก, สาระแน, สอดรู้ สอดเห็น. สาลอยกอยกุ้ง ดู ต๊อก. สาละเลอะ [สา-ละ-เล่อะ] ว. ป�้ำ ๆ เป๋อ ๆ, หลง ๆ ลืม ๆ, ใจลอย, สาละเหลอ ก็ว่า. สาละเหลอ ดู สาละเลอะ. ส่าเลือด น. ช้าเลือด; ชื่อไม้เถาชนิด Caesalpinia mimosoides Lam. ในวงศ์ Leguminosae เถามีหนามใบเป็นฝอยคล้าย

ชะอมดอกเป็นช่อสีเหลือง มีฝกั ใบและช่ อ มี ก ลิ่ น คล้ า ยกลิ่ น ตัวเรือด ใช้ท�ำยาได้. สาวตีน ก. สาวเท้า, ก้าวยาว ๆ เพื่อ เร่งเท้าให้เร็ว. สาวน้อย ๆ พายเรือลอดพุ่ม [สาวน่อย-น่อย-พาย-เลือ-ลอดพุ่ม] (ปริศ) กระสวยทอผ้า. สาวมานเก้าเฒ่ามานสิบ [สาว-มานเก้า-เถ่า-มาน-ซิบ] น. สาว ๆ ท้องเก้าเดือน คนอายุมากท้อง สิบเดือนจึงคลอด. สาวสวรรค์ น. นมสวรรค์ , พนม ส ว ร ร ค ์ , ชื่ อ ไ ม ้ พุ ่ ม ช นิ ด Clerodenddrum paci culatum L. ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ดอกสีแดงอมส้ม ออกเป็นช่อ ตามยอดมี ๔ พู ใช้ท�ำยาได้. ส�่ำ ๑. ว. เหมือน, เสมือน, เท่ากับ, เสมอกับ, ขนาด, แค่ เช่น เลว ส�่ ำ หมา (เลวเหมื อ นหมา), ส�่ำไหน (ขนาด, แค่ไหน). ๒. ใช้ประกอบค�ำเพื่อเน้นน�้ำ หนั ก ให้ ค� ำ มี ค วามหมายมาก ยิ่ ง ขึ้ น เช่ น ไอ้ อ ย่ า งส�่ ำ แก่ (แก่มาก), ส�่ำขี่เหร่ (ขี้เหร่มาก). ส�่ำเสีย ดู ส�่ำ ๆ เสีย ๆ. ส�่ำ ๆ เสีย ๆ ว. พูดให้เสียหาย อย่างป่นปี้, ส�่ำเสีย ก็ว่า เช่น 293

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ส�่ำไหน - สีบ้า

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

สาวศรี จึ ง ว่ า ฟั ง ดู เ ถิ ด หนา มาว่าส�่ำเสีย (นิ. รูปทอง). ส�่ำไหน ว. เก่งแค่ไหน, แน่แค่ ไหน, ขนาดไหน ส�ำบั๊ด ดู สมบั๊ด. ส�ำบั๊ดส�ำมา ดู ส�ำมา. ส�ำบั๊ดอะไร ดู สมบั๊ด. ส�ำพอ ดู สมพอ. ส�ำพิมเพศ ดู ท�ำเพศ. ส�ำเพ็ง น. หญิงใจง่ายในทางประเวณี, โสเภณี; ใช้เป็นค�ำด่า. ส� ำ มะปิ [สั ม -มะ-ปิ ๊ ] ว. สารพั ด , จิปาถะ, ซับปิ,๊ ซับปะปิ,๊ สัมปิ ก็วา่ เช่น ธูปเทียนดอกไม้ของหวาน น�้ำอ้อยน�้ำตาลสัมปิเนานี้นานา (นิ.กุศราช). ส�ำมะรด [สัม-มะ-ล่ด] น. สับปะรด. ส�ำมะหลัง น. มันส�ำปะหลัง. ส�ำมา ก. ขมา, กล่าวขอโทษยอมรับผิด เช่น แม่รูปรวยจะท�ำกรวยขอ ส�ำมา (นิ.พระปาจิต), ส�ำบั๊ด ส�ำมา ก็ว่า. ส�ำหราง ก. อาการลอยตัวขึ้นเหนือน�้ำ เช่น ปลาส�ำหราง (ปลาลอยตัว ขึ้นเหนือน�้ำ). ส�ำหรางน�้ำค้าง [สัม-หลาง-น่ามค่าง] ก. ตากน�้ำค้าง. ส�ำหรีด ก. กรีดกราย, ท�ำจริต, ส�ำหรีด กรีดกราย ก็ว่า. 294

ส�ำหรีดกรีดกราย ดู ส�ำหรีด. ส�ำเหลียก น. สันหลัง, บริเวณด้านหลัง ของร่างกาย เช่น บัน้ เอว, สันจม. ส�ำอวด ก. โอ้อวด, พูดยกตัว เช่น ผู้สวดให้นั่งสวด อย่าส�ำอวด ท�ำโอหัง (นิ.รูปทอง). สิเดือน ดู สีเดือน. สิ้นเนื้อสิ้นตัว [สิ้น-เนื่อ-สิ้น-ตัว] ว. สิ้นเนื้อประดาตัว, ไม่มีสมบัติ เหลือติดตัว. สิบ้า [ซิ-บ้า] ดู สีบ้า. สิบเบ็ด [ซิบ-เบ๊ด] น. สิบเอ็ด. สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่ เท่ามือคล�ำ [ซิบ-ปาก-ว่า-ไม่เท่า-ตา-เห็น-ซิบ-ตา-เห็น-ไม่เท่า-มือ-ค�ำ] (ส�ำ) ว. การได้ยนิ ได้ฟงั จากผูอ้ นื่ หลาย ๆ คน ก็ไม่ เท่ากับเห็นด้วยตาตนเอง การ ได้เห็นด้วยตาก็ไม่เท่ากับได้จับ ต้องด้วยมือตนเอง จึงจะเกิด ความแน่ใจ. สิบมุมไร่ไม่เท่ามุมนา สิบพ่อตาไม่เท่า ลูกเขย [ซิบ-มุม-ไล่-ไม่-เท่ามุม-นา-ซิบ-พ่อ-ตา-ไม่-เท่าลู ก -เขย] (ส� ำ ) ท� ำ กิ จ การ มากมายใหญ่โต แต่ได้ผลไม่ เท่ากับท�ำเล็ก ๆ น้อย ๆ; แรงคน แก่ สิ บ คนก็ ไ ม่ เ ท่ า กั บ แรงคน หนุ ่ ม คนเดี ย ว หรื อ สู ้ แ รงคน


พจนานุกรม ภาษาโคราช สีดาย ว. เสียดาย, สิด๋าย ก็ว่า. สีดือ น. สะดือ, สิดื๋อ ก็ว่า. สีดือตุ่น น. สะดือจุ่น. สีดอื เพลง น. เนือ้ หา, เค้าโครง,ใจความ ส� ำ คั ญ ของเพลงโคราชช่ ว ง กลางเนื้ อ เพลง ซึ่ ง เป็ น ช่ ว ง จังหวะที่หมอเพลงตบมือ. สีเดือน น. ไส้เดือน, สิเดื๋อน ก็ว่า. สีต่าง ว. ติ๋งต่าง. สี่ตีนกินไอ้ตีนเดียว หัวเขียวกินไอ้ หน้าคว�่ำ [สี่-ตีน-กิน-ไอ้-ตีนเดียว- หัว-เขียว-กิน-ไอ้-หน่าข่วม] (ปริศ) น. เต่ากินเห็ด, เป็ด (หัวเขียว) กินหอย. สี่ตีนรู้เต้นลงมาเล่นรู้ตบ ฟงฟันมัน หมด กินของมิรกู้ นิ [สี-่ ตีน-ลู-่ เต้น-ลง-มา-เหฺลน่ -ลู-่ ต๊บ-ฟงฟั น -มั น -มด-กิ น -ของ-มิ - ลู ่ กิน] (ปริศ) น. กระต่ายขูด มะพร้าว, คนขูดมะพร้าว. สีเนื้อสีตน [สี-เนื่อ-สี-ตน] ดู ขัดศรี เนื้อตัว. สีบา้ ๑. น. สะบ้า ลูกสะบ้ามี ๒ ชนิด คือ ลูกสะบ้าที่เป็นเมล็ดกลมแป้น คล้ายกระดูกสะบ้าหัวเข่าจากไม้ เถาชนิดหนึง่ และสะบ้าทีท่ ำ� จาก ไม้เนื้อแข็งกลึงให้กลมอย่างงบ น�ำ้ อ้อย, สิบา้ , สีบา้ ก็วา่ . ๒. น. การเล่ น สะบ้ า มี ๒

หนุ่มคนเดียวไม่ได้. สิบสองภาษา [ซิบ-สอง-พา-สา] น. คนต่างด้าว, คนต่างชาติ, คน ดินแดนอื่น เช่น คนมาเข้าครบ ทุกอย่างสิบสองภาษา, แขก ฝรัง่ อังกฤษยอดละว้าต่างภาษา ทั้งสิบสองมากสลอน (นิ.พระ ปาจิต), พม่าเชียงใหม่ มอญไทย ทุ ก คน บอกให้ ไ ปจนสิ บ สอง ภาษา (นิ.รูปทอง). สิบเอ็ดนิ้ว [ซิบ-เอ๊ด-นิ่ว] น. คนที่หัว แม่มือมีนิ้วเล็ก ๆ งอกติ่งออก มา นับรวมทั้งสองมือแล้วได้ ๑๑ นิ้ว, (ดู มือแง่ม ประกอบ). สี ว. ท่าทางจะ, ดูท่าจะ, ดูเหมือนจะ เช่น สีบ้า ๆ (ท่าทางจะบ้า ๆ), ยายเห็ น ว่ า สี ท� ำ ไม่ ย� ำ เกรง (นิ.พระปาจิต), ซิ ก็ว่า. สี่ ก. ร่วมประเวณี. สี คิ้ ว น. ชื่ อ อ� ำ เภอหนึ่ ง ในจั ง หวั ด นครราชสีมา เดิมตั้งอยู่ที่บ้าน จันทึก ต่อมาย้ายมาอยู่ที่บ้าน ของพระยาสี่ เ ขี้ ย ว ซึ่ ง เป็ น เจ้าเมือง (ที่ตั้งที่ว่าการอ�ำเภอ ปัจจุบัน) ต่อมากลายเสียงเป็น “สีคิ้ว”. สี ด า น. ชื่ อ อ� ำ เภอหนึ่ ง ในจั ง หวั ด นครราชสีมา มีโบราณสถานที่ ส�ำคัญ คือ ปรางค์กู่สีดา. 295

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


สีบ้ากืก - สีบ้าสีรอย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ประเภท คื อ สะบ้ า โยนหรื อ สะบ้าทอย และสะบ้ายิงหรือ เรียดให้ถกู เป้า ฝ่ายหญิงอาจใช้ “ไม่แค่ด” ช่วยในการงัดยิงก็ได้ สะบ้ายิงบางแห่งเรียกว่า สีบ้า สีรอย, สีบ้าวง (ดู สีบ้าสีรอย, ไม่แค่ด ประกอบ).

สีบ้าเม็ด

สีบ้ากลึง

สีบ้ากืก น. การเล่นสะบ้าโดยผู้ เล่นทุกคนไม่ออกเสียงใดๆ เช่น กระซิบ หัวเราะ ในขณะเล่น ถ้า ผิ ด กติ ก าผู ้ เ ล่ น ฝ่ า ยตรงข้ า ม ต้องขึน้ ใหม่ คือ เริม่ ต้นเล่นใหม่, (ดู สีบ้าสีรอย ประกอบ). สีบา้ โยน น. การเล่นสะบ้าอย่าง หนึ่งโดยใช้ลูกสะบ้าโยนให้ถูก สะบ้าของฝ่ายตรงข้ามให้ล้ม ฝ่ายที่ถูกล้มหมดก่อนถือว่าแพ้ 296

และจะถู ก ท� ำ โทษตามแต่ จ ะ ตกลง เช่น ตีหัวเข่า, ร�ำโทน เป็นต้น. สีบา้ สีรอย น. การเล่นสะบ้า จะ แบ่งผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย มักเป็น ฝ่ายชายกับฝ่ายหญิงโดยจับคู่ กัน ฝ่ายหนึ่งตั้งสะบ้าและอีก ฝ่ายเล่นขึ้นต้นก่อนตามล�ำดับ ท่า ซึ่งแต่เดิมมีประมาณ ๒๗ ท่ารวมเรียกว่า ๑ เมน หรือเมน หนึ่ง (ท้าว ฯ) ดังนี้ ๑) สี ร อย บางแห่ ง เรี ย กว่ า ซะรอย, อีสีรอย, อีซะรอย โดย กลิ้งสะบ้าให้เรียดพื้นไป. ๒) อีคอ ท่านีใ้ ช้ลกู สะบ้าตัง้ ทีค่ อ ด้านหน้าแล้วใช้นิ้วมือปั่นสลัด ให้หมุนกลิ้งไป. ๓) อีอก [อี-อ๊ก] ท่านี้ใช้ลูก สะบ้าตัง้ ทีท่ รวงอกแล้วใช้นวิ้ มือ ปั่นสลัดให้หมุนกลิ้งไป. ๔) สีดือ, อีสะดือ [อี-ซะ-ดือ], อี จื อ ท่ า นี้ ใ ช้ ลู ก สะบ้ า ตั้ ง ที่ บริเวณสะดือแล้วใช้นิ้วมือปั่น สลัดให้หมุนกลิ้งไป. ๕) สลัดพ่ก [สะ-ลัด-พ่ก] บาง แห่งเรียกว่า สลัดผ้า [สะ-ลัดผ่า] ท่านีใ้ ช้ลกู สะบ้าวางในทาง ขวางที่บริเวณโคนขาอ่อนแล้ว กระโดดไปข้างหน้า ให้สะบ้า


พจนานุกรม ภาษาโคราช

หมุนกลิ้งไป. ๖) หัวเข่าหรืออีเข่า ท่านี้ใช้ หัวเข่าทั้งสองหนีบสะบ้าแล้ว กระโดดสลั ด ให้ ส ะบ้ า กลิ้ ง ไป ส่วนฝ่ายหญิงแม้จะนุ่งผ้าซิ่น ก็จะท�ำเช่นเดียวกันโดยสลัดผ้า พร้อมกระโดด. ๗) ขานาง ท่านีใ้ ช้ลกู สะบ้าหนีบ ทีห่ ว่างขาเหนือหัวเข่าแล้วสลัด ให้สะบ้าหมุนกลิ้งไป. ๘) เหยียบม่วงสอย, อีม่วงสอย บางแห่งเรียกว่า อีเหยียบม่วง ท่านี้ใช้เท้าข้างหนึ่งเหยียบเท้า อี ก ข้ า งหนึ่ ง แล้ ว เหน็ บ สะบ้ า ระหว่างเท้า แล้วกระโดดสลัด ให้สะบ้ากลิ้งไป. ๙) ทะเลือ่ นส้น [ทะ-เลือ่ น-ส่น], อีทะเลื่อนส้น [อี-ทะ-เลื่อนส่น] ท่านีใ้ ช้สน้ เท้าทัง้ สองหนีบ สะบ้าแล้วกระโดดสลัดให้สะบ้า กลิ้งไป, อีตาส่น ก็ว่า. ๑๐) ตากแดด, อีตากแดด ท่า นี้ใช้สะบ้าวางขวางแล้วใช้เท้า ทัง้ สองหนีบให้อยูร่ ะหว่างกลาง เท้าแล้วกระโดดสลัดให้สะบ้า กลิ้งไป. ๑๑) ตาตุ่ม, อีตาตุ่ม ท่านี้ใช้ ตาตุ่มทั้ง ๒ ข้างหนีบลูกสะบ้า แล้วกระโดดให้สะบ้ากลิ้งไป.

297

๑๒) ตากลาง, อีตากลาง ท่านี้ เหน็บสะบ้าไว้ตรงกลางทั้งสอง แล้วหนีบไม่ให้สะบ้าหลุดพร้อม กับสลัดให้กลิ้งไป. ๑๓) ตาขอ, อีตาข้อ [อี-ตา-ข่อ] ท่านี้สอดสะบ้าไว้ตรงหัวแม่เท้า ทั้งสองแล้วหนีบให้แน่นพร้อม กับสลัดให้กลิ้งไป. ๑๔) ตามิด, อีตามิด ท่านี้เหน็บ สะบ้ า ไว้ ต รงปลายเท้ า แล้ ว กระโดดสลัดให้สะบ้ากลิ้งไป. ๑๕) จมูก, อีจมูก บางแห่งเรียก ว่ า อี ต ะหมู ก ดุ ๊ ด หรื อ อี ชุ ด ฉี ด ท่านี้ตั้งลูกสะบ้าไว้ที่พื้น แล้ว คุ ก เข่ า ก้ ม ใช้ จ มู ก ดุ ด หรื อ ดุ น ด้วยการดันสะบ้าให้กลิง้ ไป บาง แห่งท่านีป้ รับเปลีย่ นวิธเี ล่นโดย ตั้งสะบ้าไว้ที่เมนแล้วใช้นิ้วก้อย เขีย่ หรือปัดสะบ้าให้กลิง้ ไป และ เรียกว่า ท่าอีตาก้อย. ๑๖) มาบอย่า, อีมาบหญ่า ท่า นี้เอาสะบ้าวางบนหลังเท้ายืน อยู่กับที่ตรงเมนแล้วสลัดหรือ เตะให้สะบ้ากลิง้ ไป แล้วตะครุบ จากนั้นจึงยิง. ๑๗) ท่าถีบ, อีทา่ ถีบ ท่านีต้ งั้ ลูก สะบ้าที่เมนแล้วใช้เท้าถีบครั้ง เดียวให้กลิ้งไป บางแห่งให้นั่ง ก้นแตะพื้นแล้วถีบ.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


สี่บาทพาดขะรั้ว - สีมือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

๑๘) คีบต่อย, อีคีบต่อย บาง แห่งเรียกว่าอีคีบต่อยย่อยคาง ท่านี้ใช้หัวแม่เท้ากับนิ้วข้างหัว แม่ เ ท้ า คี บสะบ้าแล้ว กระโดด เขย่งเท้าเดียวไปต่อยให้สะบ้า ฝ่ายตรงข้ามให้ล้ม. ๑๙) กะเติ่งกะทะ [กะ-เติ่ง-กะท่ะ], อีกะเติง่ กะท่ะ [อี-กะ-เติง่ กะ-ท่ะ] ท่านี้วางสะบ้าไว้บน หลังเท้าแล้วงอนิ้วเท้ากั้นไม่ให้ สะบ้าหล่น แล้วกระโดดเขย่ง เท้าเดียวไปโยนให้สะบ้าฝ่าย ตรงข้ามล้ม. ๒๐) ซะครูด, อีสะครูด [อี-ซะคูด] บางแห่งเรียกว่า อีจั๊ก ครูด, อีตะเซิงซุด ท่านี้ตั้งสะบ้า ที่ เ มนเล่ น แล้ ว ใช้ ป ลายเท้ า เหยียบหรือกดสะบ้าพร้อมกับ เขย่งขาเดียวไสสะบ้าในลักษณะ ครูดไปให้ชนสะบ้าฝ่ายตรงข้าม, อีจ๊ะอุงครูด, อีจั๊กครูด ก็ว่า. ๒๑) ยิงตรา ๕ หรือ ยิงกรา ๕ หมายถึงท่านี้ยิงได้ถึง ๕ ครั้ง ซึ่งถ้าครั้งที่ ๑ ยิงไม่ถูกคนอื่นมี สิทธิ์ไถ่ได้ ๔ ครั้ง อนึ่งก่อนจะ เล่นต้องแบ่งเส้นเป็น ๕ เส้น ห่างเท่า ๆ กันจากเมนเล่นไปถึง เมนตั้ง เพื่อใช้เป็นจุดยิงสะบ้า โดยใช้ท่ายิงบอง ผู้เล่นจะยิง 298

ตรา ๕ หรือเส้นที่ ๕ ซึ่งอยู่ติด กับเมนเล่นก่อน, (ดู เมนเหล่น และเมนตั้ง ประกอบ). ๒๒) ยิงตรา ๔ หรือ ยิงกรา ๔ ท่านี้เมื่อผ่านยิงตรา ๕ ได้จึงจะ มีสทิ ธิย์ งิ ตรา ๔ เช่นเดียวกันคือ ยิงได้ ๔ ครั้ง ถ้าไม่ถูกคนอื่นมี สิทธิ์ไถ่ได้ ๓ ครั้งในท่ายิงบอง. ๒๓) ยิงตรา ๓ หรือ ยิงกรา ๓ ท่านี้เมื่อผ่านยิงตรา ๔ ได้จึงจะ มีสิทธิ์ยิงตรา ๓ เล่นเหมือนท่า ยิงตราอื่น ๆ. ๒๔) ยิงตรา ๒ หรือ ยิงกรา ๒ ท่านี้เมื่อผ่านยิงตรา ๓ ได้จึงจะ มีสิทธิ์ยิงตรา ๒ เล่นเหมือนท่า ยิงตราอื่น ๆ. ๒๕) ยิงตราขอบ้อง ท่านี้เมื่อ ผ่านยิงตรา ๒ ได้จงึ จะมีสทิ ธิย์ งิ ตรงเส้นที่ ๑ เล่นเหมือนท่ายิง ตราอื่น ๆ. ๒๖) สะรอยส่งหน้า [ซะ-ลอยส่ง-หน่า],อีสะรอยส่งหน้า [อีซะ-ลอย-ส่ง-หน่า] ท่านี้ผู้เล่น ยกขาข้างหนึ่งขึ้นแล้วจับสะบ้า ลอดไขว้ ใ ต้ ข าด้ า นหลั ง แล้ ว สีรอยหรือกลิ้งไป จากนั้นรีบไป ตะครุบสะบ้าแล้วยิง. ๒๗) สะรอยส่งก้น [ซะ-ลอยส่ง-ก้น], อีสีรอยส่งก้น ท่านี้


พจนานุกรม ภาษาโคราช ศัพท์ส�ำคัญที่ใช้ในการเล่น ๑) หัว หมายถึง ลักษณะนาม ของสะบ้า เรียกสะบ้า ๑ อันว่า ๑ หัว. ๒) หงาย หมายถึ ง หงาย สะบ้าที่เป็นลวดลาย เช่น ลาย วงกลมซ้อนกันหลายวงเป็นรูป ดอกจันทร์. ๓) คว�่ำ [ข่วม] หมายถึง คว�่ำ สะบ้าด้านหลัง ที่ไม่มีลวดลาย. ๔) เมน มี ๒ ประเภทคือเมนตัง้ เป็นเส้นหรือแนวส�ำหรับตัง้ สะบ้า และเมนเล่นเป็นเส้นหรือแนวที่ ใช้เล่นสะบ้าท่าต่าง ๆ. ๕) เราะ หมายถึง ยิงสะบ้าไป ถูกสะบ้าที่ไม่ใช่คู่ของตนล้ม. ๖) ไถ่ หมายถึง เพื่อนในทีมยิง แก้ให้กรณีที่ยิงไม่ถูก. ๗) บอง หมายถึง การคุกเข่า ด้ า นใดด้ า นหนึ่ ง และอี ก ด้ า น ชันเข่าแล้ววางสะบ้ายิง. สี่บาทพาดขะรั้ว [สี่-บาด-พาด-ขะลัว่ ] (ปริศ) น. ต้นต�ำลึง (สีบ่ าท = ๑ ต�ำลึง, ขะรั่ว = รั้ว). สีมอ ๆ น. สีคราม. สีมือ น. เครื่องสีข้าวสานด้วยไม้ไผ่ เวลาสีใช้มอื โยกผลักไปมา หมุน บดข้ า วเปลื อ กเพื่ อ ให้ เ ปลื อ ก แ ต ก เ ป ็ น ข ้ า ว ก ล ้ อ ง ห รื อ

ผู ้ เ ล่ น ยื น หั น หลั ง ให้ เ มนเล่ น แล้วสีรอยหรือกลิ้งสะบ้าลอด หว่างขาแล้วหันหลังกลับรีบไป ตะครุบสะบ้าแล้วยิง. กติกาการเล่น ฝ่ายที่ยิงถูกลูก สะบ้ า ของอี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง ครบ ทุกท่าถือว่าเป็นผู้ชนะ หากยิง ผิดในท่าใดท่าหนึ่ง, ลูกสะบ้า สีรอยหรือกลิ้งไปแล้วตะครุบ ไม่ทัน เป็นต้น ก็มีโอกาสไถ่ได้ อี ก ครั้ ง โดยเพื่ อ นยิ ง แก้ ใ ห้ กรณีทยี่ งิ ไปถูกลูกสะบ้าคนอืน่ ที่ ไม่ใช่ลูกสะบ้าคู่ของตนนับเป็น “เน่า” ต้องให้ฝ่ายตรงข้ามขึ้น (เล่น) ส่วนเรื่องเดิมพันนั้นแล้ว แต่จะตกลงกัน แต่ส่วนใหญ่จะ เป็นเครื่องประดับกาย เมื่อสิ้น สงกรานต์ก็ไปไถ่คืน เครื่องไถ่ ของฝ่ายหญิงมักเป็นหมากพลู ฝ่ายชายมักเป็นเครื่องส�ำอาง เป็นต้น. จ�ำนวนท่าเล่น การเรียกชื่อท่า เล่นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละ ท้องถิ่นและกาลเวลา เช่น ต่อ จากท่าอีจือจะเป็นท่าอีก�ำโป้ด และท่าอีขาอ่อนแล้วจึงจะเป็น ท่าอีเข่า, ต่อจากท่าอีซะครูดจะ เป็นท่าอีหงายและอีคว�ำ่ แล้วจึง จะเป็นท่ายิงกรา เป็นต้น. 299

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


สียา - สูงดึง ต�่ำดัน คนเสมอกันเห็นดี ข้าวสาร. ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

สีมือ

สียา ก. เอายาเส้นถูฟันแล้วเหน็บเป็น ก้อนไว้ที่ริมฝีปาก; ถ้าเหน็บริม ฝีปากด้านบนเรียกว่า ตูนยา. สีรอย ดู ซะรอย. สีลูกหนู ว. สีแดงอย่างเหล็กที่เผาไฟ. สีแหล่ ๆ [สี-แหฺล่-แหฺล่] ว. สี ห ม่ น ๆ, สี ค ล�้ ำ ๆ, สี มั ว ๆ หมอง ๆ. สีสร้อย [สี-ส่อย] น. สายสร้อย. สี ส วาด [สี - สะ-หวาด] น. แมวสี สวาดหรือแมวโคราช มีขนสี เทาอมเขี ย วอย่ า งสี เ มล็ ด สวาดคือออกสีเทาเงิน เรียก ว่ า สี ส วาด หางยาว ตาสี เหลือง เชื่อกันว่าขนสีเงินจะ ให้โชคลาภ อนึ่งสีขนคล้ายสี หมอกเมฆฝนจึ ง ใช้ ใ นการ แห่ น างแมว มี ถิ่ น ก� ำ เนิ ด ที่ โคราชจึงเรียกว่า “แมวโคราช” 300

ถือว่าเป็นแมวมีสกุล ได้รับการ ยกย่ อ งว่ า เป็ น แมวไทยที่ สวยงามและเป็ น เอกลั ก ษณ์ ของแมวไทย เป็นทีร่ จู้ กั กันทัง้ ใน หมู่คนไทยและชาวต่างประเทศ ว่า Siamese Cat แต่ดั้งเดิม เรียกว่า แมวมาเลศหรือแมว ดอกเลา แมวสีสวาดมีหลาย ชนิ ด เช่ น แมววิ เ ชี ย รมาศ, แมวขาวมณี ห รื อ แมวขาว ปลอด, แมวทองแดงหรือแมว ศุภลักษณ์. สีสวาด

สีหยืด ว. เสียว, หวาดเสียว, เสียวไส้, สะอิ ด สะเอี ย น, ขยะแขยง, ไสหยืด, สายหยืด ก็ว่า เช่น ช่างแชชันน่าไสหยืดสยองกาย (นิ.พระปาจิต). สีหลอด น. สะหลอด, ต้นสะหลอด. สีหวด น. มะหวด ผลเหมือนลูกหว้า กิ น ได้ รสหวานปะแล่ ม ๆ, ถิ่นใต้เรียก ก�ำซ�ำ. สีหวาบ [สี-หวาบ] น. ชายโครง, สวาบ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ก็ว่า. สีห่ ชู ขู นึ้ ฟ้าอ้าปากกินคน [สี-่ หู-ชู-ขึน่ ฟ่า-อ้า-ปาก-กิน-คน] (ปริศ) น. มุ้ง. สีแหรก น. สาแหรก, นกแสก. สีอะไรคนเฒ่าชอบ [สี-อะ-ไล-คนเถ่า-ชอบ] (ปริศ) น. สีเสียด. สึกไม่สบฤกษ์ [ซึก-ไม่-ซบ-เลิก] น. สึ ก จากพระภิ ก ษุ แ ล้ ว มี ส ติ ไม่ปกติ เช่น บ้า ๆ บอ ๆ, ไม่เต็มบาท. สึม ๑. ว. ซึม, เซื่องซึม, ซึมเซา. ๒. น. รุ่งสาง, เช้าตรู่. สืดหยืด ว. ผอมสูงชะลูด, ผอมโซ เช่น เพราะว่าป่วยจึงโซสืดหยืด. สุกในดินกินได้ สุกในไม้กินดี สุกสาม ทีเป็นพระยา [ซุก-ไน-ดิน-กินได้-ซุก-ไน-ม่าย-กิน-ดี-ซุก สาม-ที-เป็น-พะ-ยา] (ปริศ) น. ข้าวที่หุงในหม้อดิน ข้าวหลาม กระยาสารท, ถิ่นโคราชใช้ว่า พระยาสารท. สุกโพลง [ซุก-โพง] ว. สุกสกาว. สุกแหง่ว [ซุก-แหฺง่ว] ว. แวววาว, สุกใส. สุด [ซุด] ว. เสร็จ, หมด, จบ, สิ้น, สุด. สุดยัง [ซุด-ยัง] ก. หมดหรือ ยัง; โดยปริยายหมายถึงค�ำถาม ว่าปัสสาวะ หรืออุจจาระเสร็จ

หรือยัง. สุดหัวสุดหาง [ซุด-หัว-ซุดหาง] ว. ยาวมาก, ยาวจนสุด ลูกหูลูกตา, ยาวจนสุดสายตา. สุดโส [ซุด-โส] ว. ถึงทีส่ ดุ จึงคิดกระท�ำ การอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ กลัวว่าจะเกิดผลอย่างไร เช่น จึงวอนว่าลูกนีค้ ดิ ด้วยสุดโส (นิ. พระปาจิต), (ดู โส ประกอบ). สุรามริด [ซุ-ลา-มะ-ลิด่ ] ดู พญาปราบ. สู ส. แก, เอ็ง, มึง, สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยที่เป็น เด็กหรืออาวุโสน้อยกว่า เช่น พวกสูอย่ามาโฉ่แถวนี่ (พวกแก อย่ามาส่งเสียงดังแถวนี้). สู่ ใช้ประกอบค�ำมีความหมายท�ำนอง ว่า ร่มกัน, ปัน เช่น มีอะไรก็หา มาสู่กัน. สู่กันกิน ก. จัดหาอาหารมากินร่วมกัน มักพูดว่า หาสู่กันกิน เช่น ตัว ไหนได้เหยือ่ มาแปลกให้แจกกัน อย่าจิกกันสู่กันกินด้วยยินดี (นิ. พระปาจิต), (ดู สู่ ประกอบ). สูงกว่าน�้ำต�่ำกว่าเรือ [สูง-กั่ว-น่ามต�่ำ-กั่ว-เลือ] (ปริศ) น. ใบบัว. สูงดึง ต�่ำดัน คนเสมอกันเห็นดี (ส�ำ) ผู ้ ใ หญ่ ช ่ ว ยเหลื อ ผู ้ น ้ อ ย สนับสนุนคนมีฐานะเท่าเทียมกัน เห็นดี ถ้าประกอบไปด้วย ๓ 301

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


สูงเท่าขี้ไก่ แต่เอาไม้สอยกิน - เสือคอยอยูป่ ากถ�ำ้

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ประการนี้ ท�ำกิจกรรมใดย่อม ประสบผลส�ำเร็จ. สูงเท่าขี้ไก่ แต่เอาไม้สอยกิน [สูงเท่ า -ขี่ - ไก่ - แต่ - เอา-ม่ า ยสอย-กิน] (ปริศ) น. หอย. สูงเทียมฟ้า แต่ต�่ำกว่าหญ้านิดเดียว [สูง-เทียม-ฟ่า-แต่-ต�่ำ-กั่วหย่ า -นิ ด -เดี ย ว] (ปริ ศ ) น. ภูเขา. สูงเนิน น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด น ค ร ร า ช สี ม า ตั้ ง อ ยู ่ บ น ภู มิ ป ระเทศเป็ น ที่ ร าบสู ง และ เป็นเนิน. เส็ง ก. ประชัน, แข่งขัน เช่น หมู่ผู้ชาย นั่งเส็งนั้นเพลงใหม่.....ว่าเพลง สั บ รั บ กั น ขั น ปั ญ ญา (นิ . พระ ปาจิต). เส่นผี น. งานแต่งงาน, งานสมรส, เซ่น ไหว้ผเี รือนและบรรพบุรษุ ทีล่ ว่ ง ลับเพือ่ บอกกล่าวว่าลูกหลานจะ แต่งงาน, อีสานใช้ว่า กินดอง. เส้นสองสลึง [เส่น-สอง-สลึง] น. เส้น บาง ๆ ที่ยึดใต้หัวลึงค์. เสม็ดทุ่ง [สะ-เม็ด-ทุ่ง] น. ชื่อไม้ต้น ช นิ ด L e p h o p e t a l u m wightiana Arn. ในวงศ์ Celastraceae, ถิน่ กาญจนบุรี เรียกว่า ดีหมี. เสมอหลึม่ ว. เสมอกัน, เท่ากัน เช่น เข่า 302

เสมอหลึม่ (ต้นข้าวสูงเสมอกัน). เสร็จมะก้องด้อง [เซ็ด-มะ-ก้อง-ด้อง] ว. เสร็จอย่างสิ้นเชิง, หมดท่า. เสวียน [สะ-เหฺวียน] ๑. น. ยุ้งข้าวสาน ด้วยไม้ไผ่ทรงกลมทาหรือยา ด้วยขีว้ วั หรือขีค้ วายผสมแกลบ และดินเหนียวเพื่อไม่ให้รั่ว. ๒. น. ฟางที่มัดเป็นวงกลมเพื่อ รองก้นหม้อหรือภาชนะต่าง ๆ เช่น กลอง ถ้าใช้รองหม้อเรียก ว่า เสวียนหม่อ (เสวียนหม้อ). เสวียนหม้อ [สะ-เหฺวยี น-หม่อ] ดู เสวียน ๒. เสอเพอ ว. เลินเล่อ, พลัง้ เผลอ, ลืมง่าย. เสอเพอกระเชอเปล่า (ส�ำ) คนไร้สาระ, ไม่เอาไหน, ไม่เอาถ่าน เช่น สั่ง สอนอย่างไร มิได้จ�ำเอา เสอ เพอ กระเชอเปล่า ไม่เอาถ้อยค�ำ (นิ.รูปทอง). เส่อเหล่อ ว. สะเหล่อ, ทั้งเซ่อซ่าและ เล่อล่า, เส่อเหล่อส่าหล่า ก็ว่า. เส่อเหล่อส่าหล่า ดู เส่อเหล่อ. เส่อเหล่อใหญ่ ว. เชยมาก ๆ, เปิ่น มาก ๆ, เซ่อซ่ามาก ๆ. เสิง ๆ ว. ฟ้าสาง, รุ่งอรุณ; ช่วงที่ฟ้า ค่อย ๆ สว่างขึ้นที่ละน้อยใน ตอนเช้ามืด. เสิงสาง ๑. น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งในจังหวัด นครราชสีมา จากต�ำนานท้าว


พจนานุกรม ภาษาโคราช โชคร้ายหมดสิน้ ไปหรือเบาบางลง. เสียเคราะห์ไม่ตก [เสีย-เค่าะไม่-ต๊ก] ก. สะเดาะเคราะห์แล้ว แต่ไม่ได้ผล. เสียงว่า ก. ได้ยินหรือฟังมาว่า, พูดว่า. เสี่ยน ก. กรีด, ข่วน, ขีด, เขี่ยนท�ำให้ เป็นเส้น (ใช้แก่หน่อไม้). เสียบท้อง [เสียบ-ท่อง] ก. เสียดท้อง. เสียบท้องย่าว ๆ [เสียบ-ท่อง-ย่าว-ย่าว] ก. เสี ย ดท้ อ งอย่ า งรุ น แรง, เสียดท้องแปลบ ๆ. เสียผี ๑. ดู ผัวควายเมียควาย. ๒. ก. เสียค่าปรับ, ค่าสินไหม เพื่ อ ขอขมาในความผิ ด เชิ ง ชูส้ าวตามประเพณี, (ดู ผัวควาย เมียควาย ประกอบ). เสือก ว. ไม่น่าเป็นไปได้ เช่น ขนาด ไม่ได้ดูหนังสือยังเสือกสอบได้, ดัน ก็ว่า. เสื้อกะแล็ด [เสื่อ-กะ-แล่ด] น. เสื้อ คอกระเช้า, เสื้อคอกลมกว้าง ไม่มีแขน ใช้เป็นเสื้อชั้นในแบบ เก่าของผู้หญิง, ถิ่นอีสานใช้ว่า เสื้อกะแหล่ง. เสือคอยอยู่ปากถ�้ำ [เสือ-คอย-หยู่ปาก-ถ�่ำ] (ส�ำ) คอยตะครุบ เหยื่อ เช่น ทหารลาวเดินทาง มาระยะไกล.....ทัง้ ๆ ทีอ่ ดิ โรย ยัง ต้องเข้าป่าไปฟันและตัดต้นไม้ขน

ปาจิตนางอรพิม ตอนหนึง่ กล่าว ว่า ท้าวปาจิตกับนางอรพิมจะ เดินทางกลับเขมรเกิดหลงทาง พลัดกัน จนรุ่งสางจึงได้พบกัน ณ ที่ตรงนั้นต่อมาเรียกว่า บ้าน เสิงสาง เมือ่ มีการยกฐานะเป็น กิ่ ง อ� ำ เภอและอ� ำ เภอได้ ชื่ อ เสิงสางตามชื่อหมู่บ้าน. ๒. น. ฟ้าสาง, ใกล้รุ่ง เช่น พอ เสิงสางกระจ่างแจ้งเห็นแสงเงา (สุภมิต ฯ). เสิน, เสริญ ก. สรรเสริญ, ยกย่อง, ยอ, เหมือนยุให้ท�ำ, พูดห้าม มิให้ท�ำอะไรก็กลับท�ำเหมือนจะ ยั่วอารมณ์ เช่น ยิ่งว่ายิ่งเสริญ นะ, มิใช่น้อยพาราพากันเสิน (นิ.พระปาจิต), เสริญขึน้ , เสริญ ใหญ่ ก็วา่ , ถิน่ อีสานใช้วา่ ย้อง. เสริญขึ้น [เสิน-ขึ่น] ดู เสริญ. เสริ ญ ขึ้ น ยั ง กะข้ า วค้ า งปี [เสิน-ขึ่น-ยัง-กะ-เข่า-ค่าง-ปี] (ส�ำ) ชอบยกยอปอปัน้ ; เหมือน ข้าวค้างปีที่หุงขึ้นหม้อดี. เสริญใหญ่ ดู เสริญ. เสียข้าวสุก [เสีย-เข่า-สุก] (ส�ำ) เปลือง ข้ า วสุ ก , เลี้ ย งดู แ ล้ ว ไม่ ท� ำ ประโยชน์ให้. เสียเคราะห์ [เสีย-เค่าะ] ก. สะเดาะ เคราะห์; ท�ำพิธีผ่อนคลายให้ 303

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เสื้อจกกบ - ไสหยืด

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

มายังค่ายอีก ตรงกันข้ามกับ ทหารไทยซึง่ เปรียบดัง่ เสือทีค่ อย ทีอ่ ยู่ ณ ปากถ�ำ้ (ท้าว ฯ). เสื้ อ จกกบ [เสื่ อ -จ๊ ก -ก๊ บ ] น. เสื้อกล้าม, เสื้อชั้นในของผู้ชาย ไม่มีแขน ไม่มีปก. เสือตบตูด [เสือ-ต๊บ-ตูด] น. การเล่น อย่างหนึ่ง ให้คนหนึ่งเป็นเสือ ขีดวงกลมพอเหมาะ ผู้เล่นคน อืน่ ยืนริมเส้นในวงกลมห้ามออก นอกวงกลมเป็นอันขาด คนเป็น เสื อ หมอบคลานในลั ก ษณะ โก้ ง โค้ ง มื อ ทั้ ง สองแตะพื้ น ใน วงกลม ใช้เท้าป่ายหรือเหวี่ยง พาดถูกใครคนนัน้ จะมาเป็นเสือ แทน (ห้ามเสือใช้มอื หรือยืนเมือ่ เวลาป่าย) คนอืน่ ๆ จะพยายาม เข้าทางหัวเสือบ้าง ด้านข้าง บ้าง เพือ่ ใช้มอื ตบทีต่ ดู เสือ, ถิน่ กลางใช้ว่า เสือตบก้น. เสื้อเป้า [เสื่อ-เป้า] น. เสื้อยกทรง, เสื้อชั้นในหญิงที่ยกเต้านมให้ ได้รูปทรง. เสือลากหาง ก. ลีลาการชกมวยไทย โดยปรี่เข้าหาคู่ชกเอามือซ้าย ค�้ ำ คอดั น ให้ ถ อยหลั ง แล้ ว ปล่ อ ยมื อ ซ้ า ยจากนั้ น เหวี่ ย ง หมัดขวาไปที่ก้านคอ. เสาะ [เซาะ] ว. เปราะ, หั ก ง่ า ย, 304

แตกง่าย. แส น. รังวัดทีด่ นิ โดยน�ำความยาวของ ด้ า นตรงข้ า มของแต่ ล ะด้ า น บวกกัน แล้วเอา ๒ หารแต่ละ ด้านเสร็จแล้วน�ำผลลัพธ์แต่ละ ด้านมาคูณกันจะเป็นผลลัพธ์ ของพื้นที่ทั้งหมด. แสลงทม [สะ-แหฺลง-ทม] ดู แสลงโทน. แสลงโทน [สะ-แหฺ ล ง-โทน] น. แสลงใจ, ไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Strych nos nuxvocima L. ใน วงศ์ Strychnaceae ใบสีเขียว เข้มเป็นมันดกหนาทึบ ดอกเล็ก เป็นช่อสีนวล ผลกลมเมือ่ สุกจะ มีสีเหลือง รากใช้ท�ำยา เมล็ด แก่แห้งใช้ท�ำยาเบื่อ, แถลง, แสลงทม, แสลงเบือ ก็ว่า.

แสลงโทน

แสลงเบือ [สะ-แหฺลง-เบือ] ดู แสลง โทน. แสล่ม [สะ-แล่ม] ว. แฉล้ม.


พจนานุกรม ภาษาโคราช แสะแหยะ [แซะ-แยะ] ๑. ก. ยิม้ เจือ่ น ๆ, ผอมโซ เช่น โซแซะแยะ. ๒. ว. ดก, มาก. แสะแหละ [แซะ-และ] ดู สะแหละ. โส ๑. ว. เสี่ยง; ก. ท�ำไปแม้จะล่อแหลม ต่อความเสียหาย เช่น โสตาย (เสี่ยงตาย), โสเจ้ง (เสี่ยงต่อ การขาดทุนอย่างย่อยยับ). ๒. ว. พูดคุย, สนทนา เช่น นั่งโส, โสเหร่ ก็ว่า. โสเหร่ ดู โส ๒. โสน [โสน] ว. เฉา, เหี่ยว. โสนขน [สะ-โหฺน-ขน] ว. โสนชนิด Aeschynomene americana Linn. ในวงศ์ Leguminosae ใบเล็ ก คล้ า ยใบมะขาม ดอก สีเหลือง ยอดและดอกกินได้. ใสก่วง ว. สดใส, แจ่มใส. ใส่ตีนหมา (ปาก) ก. วิ่งอย่างเร็ว. ใส่ฟนื ใส่ไฟ ก. ใส่ฟนื เผาศพ; ในโบราณ คนที่ไปร่วมงานศพต้องน�ำฟืน ไปด้ ว ย เพื่ อ แบ่ ง เบาภาระ เจ้าภาพ. ใสหง่าว ว. วาววับ, มันเป็นเงา, สุกใส, เปล่งปลั่ง, ใสแหง่ว ก็ว่า. ใส่หนอง ก. กลัดหนอง. ใสแหง่ว ดู ใสหง่าว.

ใส่ใหญ่ ว. ใช้ประกอบค�ำอื่น มีความ หมายไปในท� ำ นองว่ า ซ�้ ำ เติ ม กระหน�่ำมากยิ่งขึ้น เช่น เกลียด ใส่ใหญ่ (เกลียดมาก). ไส้ไก่ [ไส่-ไก่] น. ชื่อไม้เลื้อยชนิด Jasminum anodontum Gagnep ในวงศ์ Oleaceae. ไสสาว ดู ไสส่าว. ไสส่าว น. การเล่นอย่างหนึง่ คล้ายการ เล่นซักส้าว เป็นการแข่งขันกัน ระหว่างตัวต่อตัว หรือฝ่ายละ หลายๆคนตามแต่ จ ะตกลง อุปกรณ์การเล่นใช้ไม้ไผ่หรือไม้ กลมตรงยาวพอประมาณ จับ คนละข้างแล้วออกแรงไส ฝ่าย ใดถอยล�้ ำ ถึ ง เส้ น ที่ ขี ด ไว้ ข ้ า ง หลังของแต่ละฝ่ายถือว่าแพ้, ไสสาว, ไสส้าว ก็ว่า.

ไสส่าว

ไสส้าว ดู ไสส่าว. ไสหยืด ดู สีหยืด.

305

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ 306


พจนานุกรม ภาษาโคราช

หงอน [หฺงอน] ก. หอน, เสียงหมา หอน. หง็อนเงาะหง็อนหง่อ ว. แก่หง่อมจน หลังค้อม. หง่อม ๑. ว. ตามประสา เช่น อยู่กิน กันหง่อม ๒ คนผัวเมีย, หง่อม แหง่ม ก็ว่า. ๒. ว. แก่ชรามากจนหลังโกง เช่น ครั้นโทเฒ่าแก่หง่อมผอม ชรา (นิ.พระปาจิต), ถิ่นอีสาน ใช้ว่า ง่อมหมายถึงหลังโกง, หลังค่อม. หง่อมแหง่ม ดู หง่อม. หงาด ดู ซะ ๒. หงายเงิบ ก. หงายหลังพร้อมกับคอพับ ไปข้างหลัง, หงายผลึ่ง. หงายชฎา [หงาย-ช่ะ-ดา] ดู หงายผึง่ . หงายผึง่ ก. หงายเก๋ง, อาการล้มหงาย หลั ง ตึ ง อย่ า งแรงแล้ ว นอน แน่นิ่ง, หงายชฎา ก็ว่า. หงายเหงือก ก. นอนหงายทรงตัวอยู่ บนผิวน�ำ้ , ว่ายน�ำ้ ท่าตีกรรเชียง, นอนหงายตัวว่ายน�้ำโดยทอด แขนไปเหนือศีรษะแล้วใช้แขน ทั้งสองข้างพุ้ยน�้ำให้ตัวเคลื่อน ไปแล้ว, งอยกา, เหงือกหงาย

ก็ว่า เช่น ให้มัวเมานิ่งนอนจน เหงือกหงาย ครัน้ พรหมทัตนอน นิ่งไม่ติงกาย (นิ.พระปาจิต). หงายเหงือก

หง�ำ ว. ง�ำ, คลุม, บัง, แผ่กิ่งก้าน ปกคลุม เช่น ต้นมะม่วงหง�ำ ต้นมันส�ำปะหลัง. หง�ำหงืด ก. บ่นพึมพ�ำ, พูดเบา ๆ ใน ล�ำคอ. หง�ำเหงือก ว. แก่ชราจนฟันหลุดเหลือ แต่ เ หงื อ ก, แก่ ม ากจนเลอะ เลือน. หงินฟัน ก. ยิงฟัน, ขะหยินฟัน ก็ว่า.

หงินฟัน

307

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


หงึม - หนอนเลขแปด

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

หงึม ว. นิ่งเงียบ. หงุ่ม ๆ ก. เดินดุ่ม ๆ, เดินท่อม ๆ, โหง่ม ๆ ก็ว่า. หงุ่ย ว. ทอดหุ่ย, ปล่อยอารมณ์ตาม สบายโดยมิได้วิตก กังวลอะไร, อาการนั่งเฉย. หญ้ากับแก้ [หย่า-กั๊บ-แก้] ดู หญ้า นกเขา. หญ้าขวากกระต่าย [หย่า-ขวก-กะต่าย] น. หญ้ากระจาม, หญ้า กระต่ายจาม, กระต่ายจันทร์; ไม้ ล ้ ม ลุ ก ขนาดเล็ ก ชนิ ด Centipeda minima (L.) A. Braun et Asch. ในวงศ์ Compositae ขึ้นตามพื้นที่ ลุ่มต�่ำ, แฉะ, ต้นเตี้ยคล้ายต้น ผั ก เบี้ ย ปลายใบแหลมคม, เหมือดโลด ก็เรียก. หญ้าไซ [หย่า-ไซ] น. หญ้าชนิดหนึ่ง ขึ้ น ตามหนองน�้ ำ มั ก ใช้ เ ป็ น อาหารม้า. หญ้าธูป [หย่า-ทูบ] ดู ก๊กล�ำพัน. หญ้านกเขา [หย่า-น่ก-เขา] น. หญ้า ชนิด Echnochloa colonum (L.) Link ในวงศ์ Gramineae นักพฤกษศาสตร์เรียก หญ้า ข้าวนก, หญ้ากับแก้ ก็ว่า. หญ้าใบไผ่ [หย่า-ไบ-ไผ่] น. ไม้ล้มลุก ในกลุ ่ ม ต้ น “ปลาบ” ชนิ ด 308

Aneilema scaberrimum (Bl.) Kunth ในวงศ์ Commeli naceae, ถิ่นเชียงใหม่เรียก ผักปลาบเขียว. หญ้าปล้องขน [หย่า-ป้อง-ขน] ดู ผัก ปลาบดง. หญ้าเสิงสาง [หย่า-เสิง-สาง] น. ย่านลิเภา, ไม้เถาจ�ำพวกหญ้า, ถิ่นอีสานเรียก กูด. หญ้าหัวหงอก [หย่า-หัว-หฺงอก] น. แห้วชนิด Cyperus dubius Rottb. ในวงศ์ Cyperaceae ขึ้นตามที่แฉะ. หญิงซ�้ำสาม [หยิง-ซ�่ำ-สาม] (ส�ำ) น. หญิ ง ที่ เ ลิ ก ร้ า งแล้ ว กลั บ มา แต่งงานใหม่ถึง ๓ ครั้ง, ใช้พูด เชิงต�ำหนิว่าเป็นคนที่ไม่น่าคบ ตรงกับส�ำนวน “หญิงสามผัว” เช่ น เป็ น หญิ ง ซ�้ ำ สาม เห็ น ชายลวนลาม แต่ตามเภอใจ (นิ.รูปทอง). หดง่าว [ฮด-ง่าว] ก. หดจู๋, หดสั้น เข้ า มามาก, กลั ว จนหั ว หด, กลัวมาก, ฮดย่าว ก็ว่า. หดย่าว [ฮด-ย่าว] ดู หดง่าว. หทยางค์ น. หทัย, ใจ, หัวใจ เช่น ร�ำ โหยโหกหทยางค์ ไ ม่ ส ร่ า งสม (สุภมิต ฯ). หน่วยตา น. ลูกตา , ลูกนัยน์ตา เช่น


พจนานุกรม ภาษาโคราช เพ่งนัยนาด้วยตากแดดหน่วย ตาลาย (นิ.พระปาจิต). หน่วยหน่า ดู หน่วยแหน่. หน่ ว ยแหน่ น. น้ อ ยหน่ า , นิ แ หน่ , หน่วยหน่า ก็ว่า เช่น ต้นหน่วย โหน่ ง ปนหน่ ว ยหน่ า อิ น ทนิ น (นิ.พระปาจิต). หน่ ว ยโหน่ ง น. น้อยโหน่ง , นิโหน่ง ก็ ว ่ า. หนหวย ก. ร�ำคาญ. หนองน้อย ๆ กอไผ่ล้มทับ [หฺนองน่อย-น่อย-กอ-ไผ่-ล่ม-ทั่บ] (ปริศ) ตา. หนองบุญมาก น. ชื่ออ�ำเภอหนึ่งใน จังหวัดนครราชสีมา เดิมชื่อ อ�ำเภอหนองบุนนาก เพราะมี ต้นบุนนากขึ้นอยู่มาก ต่อมา หลวงพ่ อ คู ณ ปริ สุ ท โธ เจ้ า อาวาสวั ด บ้ า นไร่ อ� ำ เภอ ด่านขุนทด ได้บริจาคเงินสร้าง ที่ว่าการอ�ำเภอเป็นรูปทรงไทย และเห็นค�ำว่า “นาก” ฟังแล้ว น่ากลัวเพราะไปพ้องกับนิยาย แ ล ะ ห นั ง ผี เ รื่ อ ง แ ม ่ น า ค พระโขนง จึงแนะน�ำให้เปลี่ยน ชื่อเป็น “หนองบุญมาก” ดูจะ เป็นสิริมงคลเพราะเป็นเรื่อง บุญกุศล บุญบารมีที่มาก ซึ่ง กระทรวงมหาดไทยเห็ น ชอบ

และให้เปลี่ยนเป็น “หนองบุญ มาก”. หนองหัวควาย [หฺนอง-หัว-ควย] น. ชือ่ หมูบ่ า้ นอยูใ่ นอ�ำเภอปักธงชัย ปั จ จุ บั น เปลี่ ย นเป็ น “ศี ร ษะ กระบือ”. หน่อแตด น. ค�ำด่า; มักใช้แก่ผู้ชาย เช่น ไอ้หน่าหน่อแตด. หน่อถั่ว น. ถั่วงอก. หนอนกระดืบ น. การเล่นอย่างหนึ่ง แบ่งผู้เล่นเป็นแถวเท่า ๆ กัน นั่งลงเป็นแถวตอน คนที่นั่งอยู่ ข้างหลังใช้เท้าทั้งสองเกี่ยวเอว คนอยู่หน้าต่อ ๆ กันจนหมด แถว แข่งกันโดยใช้ก้นกระเถิบ ไปและมื อ ช่ ว ยยั น แต่ อ ย่ า ให้ แถวแตก ฝ่ายไหนถึงเส้นชัย ก่อนเป็นผู้ชนะ.

หนอนเลขแปด

หนอนเลขแปด น. การเล่นอย่างหนึ่ง ขีดวงกลม ๒ วงติดกันเป็นเลข ๘ วงโตเท่าใดนั้นกะโดยผู้เล่น 309

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


หน่อแนว - หน้ามืดกลุ้ม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ยืนชิดกันกลางวง ห่างเส้นรอบ วงหนึ่งช่วงแขน ให้คนหนึ่งวิ่ง ไต่เส้นไล่แตะคนที่อยู่ในวงกลม ทั้งสอง แตะถูกคนใด หรือคนที่ อยู ่ ใ นวงกลมวิ่ ง หนี ไ ปเหยี ย บ เส้นถือว่า “ตาย” จะเปลี่ยนมา เป็นผู้ไล่แทน. หน่อแนว ดู แนว. หน่อไม้ชุบ [หน่อ-ม่าย-ชุ่บ] น. ซุบ หน่อไม้. หน่ อ ไม้ ส ้ ม [หน่ อ -ม่ า ย-ส่ ม ] น. หน่อไม้ดองมีรสเปรี้ยว. หนักเข้า [นัก-เข่า] ว. สุดท้าย, ในทีส่ ดุ , หลาย ๆ ครั้ง. หนักตึ้ง [นัก-ตึ้ง] ว. หนักมาก, หนัก อย่างเต็มก�ำลัง, หนักเต็มแอ้ด. หนักเปรี้ยะ [นัก-เปรี้ยะ] ว. หนักมาก, หนักอย่างเต็มก�ำลัง. หนักหน้า [นัก-หน่า] ว. ยิ่งแย่. นับวัน ยิ่ ง แต่ แ ย่ . หนั ก หน้ า พอปาน หาบนุ่น ก็ว่า. หนักหน้าพอปานหาบนุ่น [นัก-หน่าพอ-ปัน่ -หาบ-นุน่ ] ดู หนักหน้า. หนักหัวแม่มงึ [นัก-หัว-แม่-มึง] ก. มัก ใช้เป็นค�ำประชดท�ำนองว่า หนัก กบาลใคร, หนักหัวแม่มึงหรือ เช่น ฉันจะไปไหนมันนักหัวแม่ มึงนี (ฉันจะไปไหนก็เป็นเรื่อง ของฉัน มันหนักกบาลใคร). 310

หนังสือใหญ่ น. หนังสือบาลีทเี่ ป็นหลัก ค�ำสอนในพระพุทธศาสนาจารึก เป็นอักษรขอม. หนังหัวเกวียน [หฺนัง-หัว-เกียน] (ส�ำ) ขี้ตระหนี่, ขี้เหนียว; เปรียบได้ กับหนังทีค่ าดหัววัวเทียมเกวียน ที่มีความเหนียวมาก, (ดู หนัง หัวไถ ประกอบ). หนังหัวไถ น. เชือกที่ฟั่นจากหนังสัตว์ ใช้ ขั น หั ว เกวี ย น ส� ำ หรั บ ผู ก คราดไถ, หนังหัวเกียน ก็ว่า. หน้า [หน่า] น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่ หน้าผากลงมาจดคาง. หน้ า กะหยู ด น. หน้ า นิ่ ว คิ้ ว ขมวด, (ดู กะหยูด ประกอบ). หน้าเคร่ง [หน่า-เค่ง] น. สีหน้า บึ้งตึง, สีหน้าเคร่งเครียด. หน้าเคร่งเปรี๊ยะ [หน่า-เค่งเปี ๊ ย ะ] น. หน้ า บึ้ ง ตึ ง มาก, สีหน้าเคร่งเครียดมาก, หน้านิว้ คิ้วขมวด. หน้ า งอด [หน่ า -งอด] ว. หน้างอ, หน้าบึ้ง, แสดงสีหน้า ไม่ พ อใจ หรื อ โกรธอย่ า ง แสนงอน. หน้าง�้ำ [หน่า-ง�่ำ] ว. หน้าเง้า หน้างอ. หน้าง�้ำหน้างอด, หน้า เง้าหน้างอด ก็ว่า. หน้าง�้ำหน้างอด [หน่า-ง�่ำ-


พจนานุกรม ภาษาโคราช

หน่า-งอด] ดู หน่าง�่ำ. หน้าเง้าหน้างอด [หน่า-เง่าหน่า-งอด] ดู หน่าง�่ำ. หน้าแง [หน่า-แง] น. หน้า ผาก, ถิ่นอีสานใช้ว่า หน้าแง หมายถึงแสกหน้า. หน้าโง่ตะโกสะ [หน่า-โง่-ตะโก-ซะ] (ส�ำ) ว. ใช้เป็นค�ำด่าว่า หน้าโง่, (ดู ตะโกสะ ประกอบ). หน้าจืดจ่องหล่อง [หน่า-จืด-จ่องหฺล่อง] ดู หน่าจืดจ๋องหล่อง. หน้าจืดจ๋องหลอง น. หน้าซีด เผือด, หน้าถอดสีอย่างเวลาถูก จับผิดได้ ตกใจ กลัว หรือผิด หวัง, หน่าจืดจ่องหล่อง, หน่าจืด เหมือนไก่ต้ม ก็ว่า. หน้าจืดเหมือนไก่ต้ม [หน่าจืด-เหฺมอื น-ไก่-ต้ม] ดู หน้าจืด จ๋องหลอง. หน้าตกวาบ [หน่า-ต๊ก-วาบ] ว. หน้าถอดสีในทันที, สีหน้า ตกในทั น ที , หน้ า ซี ด ในทั น ที . หน้าหักวาบ ก็ว่า. หน้าตั้ง [หน่า-ตั้ง] ก. วิ่งหน้า ตื่น, วิ่งหน้าเชิด. หน้าตาบ [หน่า-ตาบ] น. หน้า เป็นแผลเป็น. หน้าเตา [หน่า-เตา] น. ส่วน ล่างของเตาอัง้ โล่ตงั้ แต่รงั ผึง้ ลง

311

มามีชอ่ งสีเ่ หลีย่ มให้ลมเข้าออก และเป็นพื้นเก็บขี้เถ้า, (ดู ปาก เตา ประกอบ). หน้าบานเท่ากระด้ง [หน่าบาน-เท่า-กะ-ด้ง] (ส�ำ) หน้า บาน, ได้หน้า, ท�ำหน้าแสดง อาการดีใจที่มีคนชม. หน้ า เบิ ด [หน่ า -เบิ ด ] ก. เชิดหน้า. หน้าเปลี่ยนสี [หน่า-เปี่ยน-สี] น. หน้าซีดไปจากปกติ. หน้าเผิก [หน่า-เผิก] น. หน้าผาก. หน้ามนทนหนาว หน้ายาวทน ร้อน [หน่า-มน-ทน-หนาวหน่า-ยาว-ทน-ล่อน] (ปริศ) น. ขัน, ทัพพี. หน้ามอด [หน่า-มอด] น. หน้า เป็นรอยแผลเป็นเต็มไปหมด หรื อ เป็ น รอยอย่ า งมอดเจาะ เพราะโรคบางอย่าง เช่น ฝีดาษ, อีสุกอีใส. หน้าม้าหมากรุก [หน่า-ม่าหมาก-ลุก] ว. หน้างอ, หน้าเง้า. หน้ามึน [หน่า-มึน] ก. ท�ำ เฉยชาอย่างไม่เชื่อฟังใคร. หน้ามืดกลุม้ [หน่า-มืด-กุม้ ] ๑. ว. หน้ามืด, มัวตาดูอะไรพร่า ไปหมด. ๒. (ส�ำ) มืดแปดด้าน, จนปัญญา

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


หน้าส้นตีน - หนิงหน่อง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

มองไม่เห็นทางแก้ปญ ั หา. หน้าส้นตีน [หน่า-ส่น-ตีน] ว. ใช้เป็นค�ำด่าเพือ่ เปรียบเทียบว่า ต�่ ำ เหมื อ นส้ น เท้ า หรื อ หน้ า เหมือนส้นเท้า. หน้าสลอน [หน่า-สะ-หฺลอน] ก. เสนอหน้า, เห็นเด่นสะพรั่ง. หน้าสะหวอก [หน่า-สะ-หวอก] ว. หน้าซีด, มีสีหน้าซีดขาว. หน้ า เสมอหลึ่ ม [หน่ า -สะเหฺมอ-หฺลึ่ม] ว. ตีหน้าตาย, หน้าด้านหน้าทน. หน้าหลึ่ม [หน่า-หฺลึ่ม] ว. หน้า ทะเล้น, หน้าทะลึ่ง. หน้าหักวาบ [หน่า-ฮัก-วาบ] ว. หน้าถอดสีในทันที, สีหน้า ตกในทั น ที , หน้ า ซี ด ในทั น ที , หน่าต๊กว่าบ ก็ว่า. หน้าหี [หน่า-หี] ว. เป็นค�ำด่า ท� ำ นองว่ า เป็ น คนหมกมุ ่ น ใน กามารมณ์. หน้าใหญ่ [หน่า-ไหย่] ว. หน้า ใหญ่ ใ จโต, มี ใ จกว้ า งใช้ จ ่ า ย ฟุ่มเฟือยเกินตัวเพื่ออวดมั่งมี. หน้าใหญ่นสิ ยั แมว [หน่า-ไหย่นิ-สัย-แมว] ว. ค�ำเปรียบบุคลิก ของคนโคราช ว่าใจกว้าง ดือ้ รัน้ . หนาดงัว น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Le gera alata (D. Don) Sch. Bip. ex 312

Oliv ในวงศ์ Compositae. หนาดตะกัว่ น. ชือ่ ไม้ตน้ ขนาดเล็กชนิด Chloradenenia discolor Baill., Cladagynos srientalis Zipp. ex Spanoghe ในวงศ์ Euphorbiaceae ใบเดีย่ ว ราก ขนาดหัวแม่มือมีรสขม แก้จุก เสียดแน่นเฟ้อ ปวดท้อง ท้อง ร่วง ผสมกับมหาหิงคุ์แก้ท้อง อืด นักพฤกษศาสตร์เรียก เจต พังคี, เปล้าเงิน, ตะเกีย ก็ว่า.

หนาดตะกั่ว

หนาดแห้ง [หนาด-แห่ง] น. ว่าน มหากาฬ;ไม้ ล ้ ม ลุ ก มี หั ว ชนิ ด Gynura pseudochina (L.) DC. ในวงศ์ Compositae ใบเดีย่ วปลายแหลมจะแตกออก ที่โคนต้น ดอกเป็นช่อสีเหลือง ส้ม ผลรูปทรงกระบอกใบใช้ท�ำ


พจนานุกรม ภาษาโคราช ยาได้ แก้โรคไฟลามทุ่ง ใบคั้น เป็นน�้ำแก้เจ็บคอ.

ไข่ ดอกเดีย่ วสีเหลืองออกตาม ง่ามใบ, หนามเกี่ยวไก่, หนาม นมงัว, โกโรโกโส ก็ว่า. หนามเกาะไก่

หนาดแห้ง

หนาเตอะ [หนา-เต๊อะ] ว. มีความหนา มาก. หนาน น. แปลง เช่น หนานพัก (แปลง ผั ก ), หนานดอกไม่ (แปลง ดอกไม้). หนามกราย น. ขี้อ้าย, ก�ำจาย; ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Terminalia triptera Stapf ใน วงศ์ Combretaceae ใบเดี่ยว ดอกเป็นช่ออยูป่ ลายกิง่ เปลือก ชั้นในสีแสด รสฝาด ใช้เคี้ยว หมาก, หางกราย ก็ว่า. หนามเกาะไก่ [หนาม-เก๊าะ-ไก่] น. ไก่ไห้, กะอิด, งวงช้าง, งัวเลีย, ตะลุ่มอิด; ไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Capparis flavicans Kurz ใน วงศ์ Capparidaceae ขึ้นใน ป่าเบญจพรรณและป่าละเมาะ ล�ำต้นและกิง่ ก้านมีหนาม ใบรูป 313

หนามเกี่ยวไก่ ดู หนามเกาะไก่. หนามนมงัว ดู หนามเกาะไก่. หนามเปรียง น. เถาวัลย์เปรียง, เครือ หนามเปรียง. หนามพุงแก ดู เกี่ยวคอไก่. หนามสะ [หนาม-ซะ] น. รั้วที่ใช้ไม้มี หนามสะหรือสุมกั้นไว้. หนามเหลี่ ย ม น. ชื่ อ ไม้ เ ถาในกลุ ่ ม “หนามขี้ แ รด” ชนิ ด Aca ciacomosa Gagnep ในวงศ์ Leguminosae นักพฤกษศาสตร์ เรียก หนามหัน, ถิน่ ล�ำพูนเรียก หนามเอือ้ ง. หน่ามึงหน่า ว. นะมึงนะ เช่น ร่ะวังหน่า มึงหน่าเดี๋ยวแมวมากั๊ดกระโปก มึงเด้อ (กล่อมเด็ก). หนิงหน่อง [นิ้ง-หน่อง] (ปาก) น. เครื่ อ งกั้ น ถนนข้ า มทางรถไฟ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


หนีบ - หมอต�ำรา

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เพื่อบอกสัญญาณ เสียงจะดัง นิ้งหน่อง. หนีบ ก. เหน็บหรือสอดสิ่งของใส่พก ติดตัวไป เช่น พักบุง้ หล่นใบ ผัว จิไปเหล่นโบก หนีบหมากใส่พก พันพลูต้อให่ผัว (กล่อมเด็ก). หนึบหนับ [นึ่บ-นั่บ] ว. เหนียวหนึบ, เหนียวและเนื้อแน่น. หนุย ว. ซวย, โชคไม่ดี. หนูกดั เสือ่ แล้วจึงรูค้ ณ ุ แมว [หนู-กัด๊ เสื่ อ -แล่ ว -จึ ง -ลู ่ - คุ น -แมว] (ส�ำ) เมือ่ ผิดพลาดแล้วจึงนึกถึง ความดีที่ผู้อื่นท�ำให้แก่ตน. หนูนา ดู หนูปุก. หนูปกุ [หนู-ปุก่ ] น. หนูพกุ , หนูนา ก็วา่ . หม่งเหม่ง น. วงมโหรีที่ใช้ประโคมใน งานศพ เรียกตามเสียงกลอง และฆ้อง ประกอบด้วยปี่ กลอง ฆ้องโหม่ง ฆ้องหึ่ง เสียงปี่จะ โหยหวนเยือกเย็น. หมดกันเท่าไหร่ [มด-กัน-เท่า-ไหล่] ว. รวมกั น มี จ� ำ นวนเท่ า ไร, ทั้งหมดราคาเท่าไร. หมดกล้าก็แล้วนา [มด-ก้า-ก็-แล่วนา] (ส�ำ) ว. เมื่อหมดหรือไม่มี อุปกรณ์จะท�ำ ภารกิจก็จ�ำต้อง แล้วเสร็จไปโดยปริยาย; เปรียบ ได้กบั เมือ่ หมดกล้าข้าวทีจ่ ะปลูก การท�ำนาก็จ�ำต้องแล้วเสร็จ, 314

เมิ้ดกล้าก็แล้วนา ก็ว่า. หมดจาก [มด-จาก] ว. หมดไม่เหลือ, หมดสิ้น เช่น กินเมิ้ดจาก, ตาย เมิ้ดจาก. หมดจิส�่ำ [มด-จิ-ส�่ำ] ว. โดยปริยาย หมายถึงระอาใจ, เบื่อหน่าย, อ่อนใจ. หมดตูด [มด-ตูด] ว. หมดเนือ้ หมดตัว, หมดเงิน. หมดบ้อ [มด-บ้อ] ว. หมดท่า, หมด หนทาง, จนปัญญา. หมดบ่อน [มด-บ่อน] ว. หมดที่จะ, หมดอาลัย, หมดปัญญาที่จะ, หมดหนทาง เช่น หมดบ่อนพูด (หมดที่จะพูด, หมดปัญญาที่จะ พูด), หมดบ่อนไป (หมดที่จะไป, หมดทางไป), เมิ้ดบ่อน ก็ว่า. หมดปี [มด-ปี] ว. โดยปริยายมีความ หมายในท� ำ นองว่ า ทั้ ง ปี , มี พฤติกรรมเช่นนั้นตลอด; เป็น ค�ำพูดในท�ำนองดูแคลนว่าไม่ได้ เรื่ อ ง, หมดปี ห นองอี แ หนบ ก็ว่า. หมดปีหนองอีแหนบ [มด-ปี-หฺนองอี-แหฺนบ] ดู หมดปี. หมดแรงข้าวต้ม [มด-แลง-เข่า-ต้ม] ว. หมดแรงอย่างอ่อนเปลี้ย, เพลียมาก. หมวง [หฺมวง] น. ข้องส�ำหรับใส่สัตว์


พจนานุกรม ภาษาโคราช น�้ำ เช่น ปู, ปลา.

ที่ ตั้ ง หม้ อ ข้ า วจนเดื อ ด, (ดู ชั่วหม้อข้าวเดือด ประกอบ). หม้อธาตุ [หม่อ-ทาด] น. หม้อ ดิ น เผาเอาไฟใส่ เ พื่ อ ท� ำ พิ ธี ฌาปนกิจศพ เรียกว่า “หม่อไฟ” ก็ มี , บางท้ อ งที่ แ บ่ ง กระดู ก คนตายส่วนหนึ่งหลังจากเผา น�ำมาใส่หม้อดินเผาเอาผ้าขาว ปิดแล้วน�ำไปฝังดิน หม้อโล [หม่อ-โล] น. หม้อ อลูมิเนียม. หม้อเหล็ก [หม่อ-เล็ก] น. หม้อ ที่ท�ำด้วยโลหะเคลือบ มีหูร้อย หิ้วได้ใช้ใส่แกง, หุ้งต้ม. หม้ อ ไหแตกแล้ ว แตกไปหา ใหม่ ซื้ อ มา [หม่อ-ไห-แตกแล่ว-แตก-ไป-หา-ไหม่-ซือ่ -มา] (ส� ำ ) เงิ น ทองของนอกกาย ไม่ ต ายหาใหม่ ไ ด้ , เสี ย แล้ ว เสียไปเริ่มต้นหาใหม่ทดแทน, อย่ า อาลั ย กั บ สิ่ ง ที่ สู ญ เสี ย ไป แล้ว ตั้งต้นใหม่จะดีกว่า. หม่อง น. บริเวณ, ย่าน, ที่, แถบ เช่น อยู่หม่องไหน (อยู่แถบไหน, อยู่ ย่านไหน). หมอตอนควาย [หมอ-ตอน-ควย] น. ผู้ช�ำนาญในการตอนหรือขยาย พันธุ์ควาย. หมอต�ำรา น. หมอดู.

หมวง

หมวงเป็ด

หมวงเป็ด [หฺมวง-เป๊ด] น. ข้องรูปคล้ายเป็ด. หมอ ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนผู้ที่ พูดถึง เช่น พูดหรือคุยถึงเรื่อง จ่าแดง แล้วพูดว่า “หมอได้ เลื่อนต�ำแหน่ง (จ่าแดงได้เลื่อน ต�ำแหน่ง)”, หมอนี่ ก็ว่า. หม้อ [หม่อ] ภาชนะประเภทหนึ่งมี รูปทรงต่าง ๆ ใช้ส�ำหรับใส่ของ หรื อ ใช้ ง านบางอย่ า งเช่ น หุ ง หรือต้ม. หม้อข้าวเดือด [หม่อ-เข่าเดือด] น. ระยะเวลาประมาณ ๑๐-๑๕ นาที; มาจากระยะเวลา 315

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


หมอทรง - หมูโคราช

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

หมอทรง น. คนทรง, คนทรงเจ้า. หมอนั่น ส. สรรพนามบุรุษที่ ๓ แทนผู้ ที่พูดถึง เช่น หมอนั่นพูดไม่รู่ เรื่อง (คน ๆ นั้นพูดไม่รู้เรื่อง). หมอนี ่ ส. สรรพนามบุรุษที่ ๒ แทนผู้ที่ พูดด้วย เช่น หมอนีพ่ ดู ไม่รเู่ รือ่ ง (แก มึง คุณ พูดไม่รู้เรื่อง); ส. บางครั้ ง หมายถึ ง สรรพนาม บุรุษที่ ๓, (ดู หมอ ประกอบ). หมอบีบ น. หมอนวดที่จับเส้นสาย คลายปวดเมื่อย. หมอเพลง น. ผู้เล่นเพลงโคราช, ผู้ ช�ำนาญในการร้องเพลงโคราช. หมอมวย น. นักมวย. หมอไม้ [หมอ-ม่าย] น. สัตว์ชนิดหนึ่ง คล้ า ยกระแตแต่ ตั ว เล็ ก กว่ า หน้ า เหมื อ นหมา ใบหู ก ลม, หมาไม้ ก็ว่า. หมอเรียกข็วน น. หมอขวัญ, ผู้รู้พิธี ท�ำขวัญ, หมอท�ำขวัญ. หมอส่อง น. คนทรง; ผู้ที่ให้เจ้าหรือผี เข้าสิงเพื่อการพยากรณ์หรือ รักษาโรค. หมอบกระแต ก. หมอบจนราบคาบ. หมอยแซมแตด ว. พูดสอด, สอด แทรก. หมักลื่น ดู มะลื่น. หมันดง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cordia dichotoma Forst. f. ในวงศ์ 316

Ehrertiaceae หรื อ Bor aginaceae, ถิ่นเหนือเรียก ผักหม่อง, มันหมู. หมากข้อน [หมาก-ค่อน] น. ตะโก, ไม้ ในสกุล Diospyros castanea Fletcher ในวงศ์ Ebenaceae. หมากทอก น. หมากที่ด้วงแทะเนื้อ ท�ำให้เนื้อหมากไม่เต็ม. หมากเปียก ดู ขี้หมากเปียก. หมากแยก น. การเล่นที่ดัดแปลงมา จากหมากฮอส เพียงแต่ใช้วิธี เดินแยกแทน, มักแยก ก็ว่า. หมากลื่น น. กระบก, มะลื่น; ชื่อไม้ต้น ขนาดใหญ่ ช นิ ด Irvingia malayana Olir. ex A. Bern. ในวงศ์ Ixonanthaceae ใบรูปไข่ เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมันกินได้. หมากแวว น. คอแลน, ไม้ต้นชนิด Nephelium hypoleucum Kurz. ในวงศ์ Sapindaceae ผลมีสีและรสคล้ายลิ้นจี่แต่เล็ก กว่า, มักแวว, คอนแลน ก็ว่า. หมาจอก น. หมาจิ้ ง จอก เช่ น ส�่ ำ สั ต ว์ จั ตุ บ าทในไพร สุ นั ข จอกไน เห็นคนก็กระเจิงเริงวาง (นิ.สองดรุณี). หมาตามเกวียน [หมา-ตาม-เกียน] (ส�ำ) น. คนที่ตามคนอื่นไปเป็น


พจนานุกรม ภาษาโคราช พรวนด้วยความสนใจ เช่น เดิน แห่พอปั่นหมาตามเกียนแท่น้อ (เดินขบวนแห่กันไปเป็นพรวน หรือเป็นโขยง). หมาน้อยไม่รจู้ กั กลิน่ เสือ [หมา-น่อยไม่-ลู่-จั๊ก-กิ่น-เสือ] (ส�ำ) ไร้ เดียงสา, เด็กไม่รู้เดียงสา. หมาเน่า น. การเล่นอย่างหนึ่งในน�้ำ โดยเอาผ้าขาวม้ามัดหัวมัดท้าย แล้วเอาตัวไปซุกข้างในตีนำ�้ เข้า เพือ่ ให้โป่งหรือพองจะท�ำให้ลอย น�้ำได้. หมามุ้ย [หมา-มุ่ย] น. ต�ำแย. หมาไม้ [หมา-ม่าย] ดู หมอไม้. หมาเลียตูดไม่ถึง (ส�ำ) โตเป็นผู้ใหญ่ เช่น ใหญ่จนหมาเลียตูดไม่ถึง แล่ว. หมาวัด [หมา-วัด่ ] ว. ต�ำ่ ต้อย, ต�ำ่ ศักดิ์ เช่น ลืมพี่น้องญาติกาเหมือน หมาวัด (นิ.พระปาจิต), ใช้เป็น ค�ำด่าว่า เช่น ไอ้หมาวั่ด. หมาหางงอ (ส�ำ) น. คนทีท่ ำ� ผิดแล้วล่อ หลอกให้ผู้อื่นท�ำตามและยุแยง ว่าเป็นสิง่ ดี; ตรงกับส�ำนวนทีว่ า่ หมาหางด้ ว น เช่ น นางด่ า จ้านว่าอ้ายพรานหมาหางงอ (นิ.พระปาจิต). หมาเห็นข้าวหลาม [หมา-เห็น-เข่าหลาม] (ส�ำ) น. แม้อยากกินก็ 317

กินไม่ได้, ได้มาก็หาประโยชน์ไม่ เช่น ปานหมาเห็นข้าวหลาม เงาะน�ำกัดดม (นิ.เพลงศุภมิตร ฯ); ตรงกับส�ำนวน หมาเห็นข้าว เปลือก. หมาน ว. ดวงดี, โชคดี. หม่าว ๑. ก. เสียงของแมวโพง. ๒. น. แมวโพง. หมี่โคราช น. เส้นหมี่ท�ำด้วยแป้งข้าว เจ้า ใช้เส้นตอกมัดเป็นก�ำ ๆ เป็นเอกลักษณ์ของโคราชต่าง จากเส้นก๋วยเตี๋ยวและเส้นหมี่ จากที่อื่น. หมีน่ ำ�้ [หมี-่ น่าม] น. ผัดหมีโ่ คราชแบบ มีน�้ำเช่นเดียวกับก๋วยเตี๋ยวน�้ำ, ต้มเส้นหมี่ ก็ว่า. หมีหมัน ว. ขมีขมัน, รีบเร่งในทันทีทนั ใด เช่น จึงลุกเข้าไป หมีหมันทันที (นิ.รูปทอง). หมุ่น ก. แทรก, มุด. หมุ่นผม ก. ขมวดผม. หมุยขาว ดู หัวโล้น. หมู่ น. เพื่อน, ขาหมู่ ก็ว่า. หมูกระโดน น. หมูพนื้ บ้าน ตัวเล็กสีเทา ค่อนไปทางด�ำ มีไขมันน้อยกว่า หมู เ ลี้ ย งทั่ ว ไปเนื้ อ คล้ า ย ๆ หมูป่า. หมูโคราช น. คนโคราช; เป็นค�ำเรียก คนโคราชในสมั ย หนึ่ ง ท� ำ นอง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


หมูเชียง - หลับตาชัง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ดูแคลนว่าหลอกต้มได้ง่าย ๆ. หมูเชียง น. กุนเชียง. หมูส้ม [หมู-ส่ม] น. แหนมหมู. หมู่เอง น. พวกเรา. หย่อง ก. ย่อง, เดินด้วยปลายเท้าเบา ๆ ไม่ให้มเี สียง เช่น หย่อง ๆ ไป. หยอดลงตะหลุก สุกแล้วแค่ะข้าง [หยอด-ลง-ตะ-ลุก-ซุก-แล่วแค่ะ-ข่าง] (ปริศ) น. ขนมครก. หยอม ว. ประหยัด, มัธยัสถ์, ท�ำแต่พอ น้อย ๆ เช่น กินหยอม ๆ (กิน แต่น้อย ๆ). หย่อม ว. คุ้มบ้าน, ละแวก. หย่ อ มหญ้ า ย่ อ มเสริ ม ภู เ ขาให้ สู ง [หย่อม-หย่า-ย่อม-เสิม-พู-เขาไห่-สูง] (ส�ำ) ก. เสริมส่ง, เสริม บารมี เช่น พระเกียรติคณ ุ ของ ฝ่าบาทย่อมสูงประดุจภูเขาหลวง มิใยทีห่ ย่อมหญ้าไปขึน้ เพิม่ เสริม ให้สงู ขึน้ (ท้าว ฯ). หยักเยื่อหยักไย่ [ยัก-เหฺยื่อ-ยัก-ไย] น. หยากไย่, ใยแมงมุมทีต่ ดิ ค้าง อยู่ตามที่ต่าง ๆ. หยั ก โศก [ยั ก -โสก] ว. หยั ก ศก, ลักษณะที่ผมหยักเป็นลอน. หยัง ๆ ก. เดินหรือวิ่งอย่างรีบร้อน หย�่ำแก่ว ว. ต้องการ, ได้ใจ, อยู่ที่เดิม. หย�่ำแข่ว ก. ย่ามใจ, ได้ใจ. หย�ำแยะ ว. ฉ�ำแฉะ, เฉือ่ ยแฉะ, คัง่ ค้าง, 318

คาราคาซัง, ท�ำอะไรซ�้ำซากจน เป็นที่ร�ำคาญหรือน่าเบื่อหน่าย เช่น พูดหย�ำแยะ (พูดซ�้ำซาก), เมาหย�ำแยะ (เมาตลอดวัน). แหยมแยะ ก็วา่ . หยิง่ ยโส ว. หยิง่ , ยโส, จองหอง, เย่อหยิง่ เพราะถือตัวว่ามียศ ความรู้ มีทรัพย์ เป็นต้น, หยิ่งยโสโอหัง ก็ว่า. หยิ่งยโสโอหัง ดู หยิ่งยโส. หยิบจับ [ยิบ-จั๊บ] ก. ท�ำ, กระท�ำ เช่น ไม่ยิบจั๊บอะไรเลย (ไม่ท�ำอะไร เลย). หยึ ง ๆ ก. ท� ำ อย่ า งขะมั ก เขม้ น , ท�ำท่าทางขึงขัง, เอาจริงเอาจัง, หยึงหยัง ก็ว่า เช่น ต่างคนคุม ยึ ก ยั ก อยู ่ ห ยึ ง หยั ง (นิ . พระ ปาจิต). หยึงหยัง ดู หยึง ๆ. หยึ่ง ว. ขึง, ตึง. หยุดกึก [ยุด-กึ้ก] ก. หยุดทันที, หยุด ชะงัก เช่น วิ่งมาแล่วยุดกึ่ก. หยุดปั้ด [ยุด-ปั้ด] ก. หยุดทันที เช่น เลือดที่ไหลยุดปั่ด, พอครูมา พวกส่งเสียงดังพากันยุดปั้ด. หรอง ๆ ๑. ว. เพิม่ หรือขึน้ ทีละน้อย, งอก ขึน้ บาง ๆ เช่น น�ำ่ ขึน่ หรอง ๆ (น�ำ้ ขึน้ ทีล่ ะนิด). ๒. ว. ก�ำลังพอเหมาะพอดี.


พจนานุกรม ภาษาโคราช หร่อหรอย ก. ร่อยหรอ, ค่อย ๆ หมด ไป. หราง ๆ ว. ราง ๆ, เห็นไม่ชัดเจน, ร�ำไร เช่น แดดหราง ๆ (แดดร�ำไร), เห็นหราง ๆ (มองเห็นราง ๆ). หร่าย ว. ย่างกราย, กรีดกรายไปมา เช่น เดินหร่ายไปหร่ายมา, เดิน หร่าย ๆ, หร่าว ก็ว่า, เช่น จึง เดินหร่าวเข้าไปถามอยากรูแ้ จ้ง ความจริง (นิ.เพลงปาจิต ฯ). หร่าว ดู หร่าย. หลง ว. หลวง เป็นค�ำเรียกพระภิกษุ โดยความเคารพ เช่น หลงตา (หลวงตา), หลงพี่ (หลวงพี่). หลงตัวไปตามเพือ่ น หนีเรือนไปตามผี (ส�ำ) หลงผิดหรือพลาดพลั้งไป ตามคนอื่ น โดยคิ ด ไม่ ถึ ง หรื อ รู้เท่าไม่ถึงการณ์. หลงทิศ [หฺลง-ทิ่ด] ว. เข้าใจหรือ ส�ำคัญทิศผิดเพราะอยู่ต่างถิ่น. หลน ก. ต้ม, ท�ำให้ของเหลวเช่นน�้ำ หรือสิง่ อืน่ ทีอ่ ยูใ่ นของเหลวร้อน เดื อ ด หรื อ สุ ก (มั ก ใช้ แ ก่ ปลาร้า). เช่น หลนปลาร่า. หล่นข่วน น. สิ้นอายุขัย, ตายด้วยวัย ชรา, ผลไม้สุกงอมหล่นจากขั้ว. หล่นเทครัว ก. หล่นมากเพราะจวนจะ วาย, หล่นทั้งต้น (ใช้แก่ผลไม้). หลนพุ ง ปลา น. อาหารอย่ า งหนึ่ ง

ประกอบด้ ว ยพุ ง ปลา เช่ น ปลาช่อน กะทิ ตะไคร้ หัวหอม กระเทียม ใบมะกรูด กระชาย เป็นต้น แล้วเคี่ยวจนได้ที่. หล่มเนื้อ [หฺล่ม-เนื่อ] น. เนื้อมีกลิ่น เพราะหมักใส่เกลือน้อย. หล็อย ก. แอบหนี, แอบไป, แอบเอา ไปในขณะที่เจ้าของเผลอ. หล่อยห่อย ว. ละห้อย, ล่อยห้อย ก็ว่า. หล่อแหล่ ว.ไม่จริงจัง, เล่น ๆ หัว ๆ, เหลาะแหละ, เหลวไหล, หล่าแหล่ ก็ว่า. หลักเฝือ [ลัก-เฝือ] น. เฝือ, เครื่อง หรือสิ่งที่ใช้คันหูกเพื่อจัดเส้น ไหมหรือด้ายส�ำหรับทอผ้าให้มี จ�ำนวนพอเหมาะกันกับช่องฟืม. หลั่ง ๆ ก. น�้ำไหลโจ้ก เช่น น�่ำไหล หลั่ง ๆ (น�้ำไหลโจ้ก ๆ). หลังโกะ [หลัง-โก๊ะ] น. หลั ง โกง, หลังงอ, หลังค่อม. หลังคาติดตะกั่ว โผล่หัวออกนอก ชายคา [หลัง-คา-ติ๊ด-ตะกั่ว-โผ่-หัว-ออก-นอก-ชายคา] (ปริศ) น.เต่า หลังงุ่ม น. หลังโกง, หลังงอ. หลั่น น. ลอน, ส่วนที่มีลักษณะสูง ๆ ต�่ำ ๆ อย่างลูกคลื่นติดต่อสลับ กันไปบนพื้นที่ราบ. หลับตาชัง [ลับ-ตา-ชัง] ก. ค้อนด้วย 319

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


หลับตาเอา - หว็อย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

การหลับตาข้างหนึ่งช�ำเลือง, อาการชังโดยหลับตาข้างหนึ่ง. หลับตาเอา [ลับ-ตา-เอา] ว. เอาหรือ ได้โดยไม่ดูหรือตรวจให้ดี หรือ ไม่ดูตาม้าตาเรือ, ท�ำไปอย่าง เสียมิได้ (โดยทั่วไปมีนัยไปใน ทางเรื่องเพศ). หลับให้ได้เงินหมื่น ตื่นให้ได้เงินแสน [ลับ-ไห่-ได้-เงิน-หมืน่ -ตืน่ -ไห่ได้-เงิน-แสน] (ส�ำ) น. ค�ำ อวยพรให้เงินทองไหลมาเทมา. หล่า ว. ล่า, ล่าช้า, ช้ากว่าก�ำหนด, สุดท้าย, หล่าหล็อย ก็ว่า. หล่าหล็อย ดู หล่า. หล่างหง่าง ว. จะแจ้ง. หลามไหล ก. ไหลล้น, ไหลออกมามาก ท้น เช่น ดุจหนึ่งเป็นบ้า น�้ำตา หลามไหล (นิ.กุศราช). หล่าแหล่ ดู หล่อแหล่. หล�ำพอง น. ปลาเนื้ออ่อน. หล�ำละหล�ำหร่าย ก. อาการกระสับ กระส่าย, กระวนกระวาย เช่น เดิน หล�ำละหล�ำหร่าย (เดินกระสับ กระส่ายไปมา). หลิน ๑. ก. อาการที่ของเหลวทะลัก ออกมา. ๒. ก. ปลิ้น, กลับด้านในบาง ส่วนให้โผล่ออกมา. ๓. ก. งอกเงย, เพิม่ ขึน้ , พอกพูน; 320

โดยปริยายหมายถึงรายได้ เช่น ไม่ ป ระกั น ประเกิ น ไม่ มี เ งิ น ประกัน เช่น สมบั๊ดแต่จะกินมัน ยังหลินไม่ทัน (เพลงโคราช). ๔. ก. รัว่ ไหล, เล็ดลอด เช่น เงิน ทองไม่เล่ดไม่หลิน (เงินทองไม่ เล็ดลอดหรือรั่วไหล). ๕. ก. ผลิใบหรือออกดอกตูม ๆ เล็ก ๆ. หลิ่ว ๑. ก. ยิงสะบ้าไปหยุดตรงหน้า สะบ้าที่ไม่ใช่คู่ของตน, (ดู สีบ้า สีรอย ประกอบ). ๒. น. เรี ย กนกเขาที่ ขั น ไม่ มี เสียง “กุ๊ก” ในค�ำที่ ๔, หลิ่วตัน ก็เรียก. หลิ่วแกมกุ๊ก น. เรียกนกเขาที่ขันหลิ่ว แล้วขันเสียงกุ๊กในค�ำที่ ๔ เช่น กุ๊ก…กรู…กรู… แล้วขัน กุ๊ก… กรู…กรู…กุ๊ก. หลิ่วตัน ดู หลิ่ว. หลีกหนาม ๑. ก. หลบหนาม. ๒. ดู ขาหลีกหนาม. หลีหลูหลีเหลอ ดู หลีเหลอ. หลีเหลอ ก. ชะแง้หา, เหลียวหา, เฝ้า คอยหาอย่างเดียวดาย, อาการ ที่ ขวาง ๆ รี ๆ ไม่รู้ว่าจะไปทาง ไหนดี, หลีหลูหลีเหลอ ก็ว่า. หลึม ๑ . น. ริม, ชิดขอบ. ๒. ว. ลิบ เช่น ไกลหลึม (ไกลลิบ).


พจนานุกรม ภาษาโคราช ๓. ว. ราง ๆ, ไม่กระจ่าง. หลึ่ม ๑. ก. ทะเล้น, ทะลึ่ง, หน้าเป็น เช่น หน่าหลึ่ม (หน้าทะเล้น), หน่าเสมอหลึ่ม (ตีหน้าตาย). ๒. ว. เท่ากัน, เสมอกัน. เช่น สูงเสมอหลึ่ม. หลืด ๆ ว. ช้า ๆ, เชื่องช้า เช่น เกียน นักไปอย่างหลืด ๆ (เกวียนหนัก ไปอย่างช้า ๆ). หลุก [ลุก] ก. หลุด เช่น สตางค์ลุก เข่าคอ (สตางค์หลุดเข้าคอ). หลุกหลิก [ลุก-ลิก] ก. กลิ้ง (ใช้แก่น�้ำ) เช่น เสมือนหยดน�้ำที่ลาดลง บนใบบอนย่อมหลุกหลิกด้วย แววใส (ท้าว ฯ). หลุง่ น. วังน�้ำหรือแอ่งน�้ำรูปคล้าย กะทะขนาดใหญ่ เช่น ที่หาดสูง ก็ จ ะหลุ ่ ง เป็ น วั ง ลึ ก (นิ . พระ ปาจิต), ตะหลุ่ง ก็ว่า. หลุด [ลุด] ก. ลด, ลดราคา (มักใช้ ในการต่อรองราคา). หลูห่ ลีข่ า้ วสาร [หลู-่ หลี-่ เข่า-สาน] น. การเล่นรีรีข้าวสาร. ห่วงหลังกังวลหน้า [ห่วง-หลัง-กังวน-หน่า] ก. ห่วงหน้าห่วงหลัง, พะว้าพะวัง, ห่วงเรือ่ งข้างหลังก็ ห่วง กังวลเรือ่ งข้างหน้าก็กงั วล เช่น ตกอยู่ในภาวะที่ห่วงหลัง กังวลหน้า, ทหารลาวก�ำลังสูอ้ ยู่ 321

ข้างหน้า ครัน้ เห็นทัพไทยมาโจม ทางด้านหลัง ก็ห่วงหลังกังวล หน้า ไม่เป็นอันสู้รบ (ท้าว ฯ). หวด น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่สำ� หรับ นึ่ง เช่น ข้าวเหนียว. ห้วยแถลง [ห่วย-ถะ-แหฺลง] น. ชื่อ อ� ำ เ ภ อ ห นึ่ ง ใ น จั ง ห วั ด นครราชสี ม า ตั้ ง อยู ่ ที่ บ ้ า น ห้ ว ยแถลง ซึ่ ง ใช้ ชื่ อ ล� ำ ห้ ว ย แถลงเป็นชื่อบ้าน อนึ่งค�ำว่า “แถลง” สันนิษฐานว่า มาจาก ค�ำว่า “แถล [ถะแหฺล]” ถิ่น โคราช หมายถึง ที่ลาดเอียงลง ต่อมากลายเสียงเป็น “แถลง”. หว็อง ว. ใช้ประกอบค�ำว่าเบามีความ หมายว่าเบามาก เช่น เบาหว็อง (เบาหวิว, เบามาก). หวองน�้ำ [หวอง-น่าม] ก. อาการที่พืช ผั ก แซมยอดขึ้ น เหนื อ น�้ ำ หลั ง จากฝนตก ล�ำต้น, ก้าน, ยอด จะอวบน�้ำ เช่น ผักแว่น, ผักบุ้ง. หว่องแหว่ว ดู หว่องแหว๋ว. หว่องแหว๋ว น. หน้าตาดี, หน้าตา สดใส, หว่องแหว่ว ก็ว่า เช่น เหมือนขุนแผนยังเป็นไพร่ชื่อ พลายแก้ว หว่องแหว่ววิชาดี ไม่มีสอง (นิ.พระปาจิต). หว็อย น. เล็ก, เส้นเล็ก เช่น ด้าย, คน รูปร่างผอมเล็ก ๆ.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


หวั่ง ๆ - หันวงระวิง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

หวั่ง ๆ ก. หวิว ๆ, หวั่น, พรั่น, พรั่นใจ เช่น ครั้นว่าเห็นมิใช่ กลับหลัง ไปใจหวั่งหวั่ง (นิ.รูปทอง). หวั่นเหว [หวั่น-เหฺว] ว. หวั่นไหว, พะว้าพะวัง. หวา ว. วะ, ค�ำออกเสียงต่อท้าย ประโยค เช่นไปไหนหวา (ไป ไหนวะ), อย่าเลยหวาอาตมาไม่ พอที่ (สุมิต ฯ). หว่างนี้ [หว่าง-นี่] ว. เมื่อเร็ว ๆ นี้, เมื่ อ ไม่ น านมานี้ , ตะกี้ เช่ น เมื่อหว่างนี่ (เมื่อเร็ว ๆ นี้), เมื่อหว่าง ก็ว่า. หว่างไว ๆ [หว่าง-ไว-ไว] ว. เมือ่ เร็ว ๆ นี้, เมื่อไว ๆ นี้. หว่านกล้า ก. ตกกล้า. หว่านข้าวเอาฤกษ์ [หว่าน-เข่า-เอาเลิก] น. พิธีหว่านข้าว, ตกกล้า ท� ำ หลั ง จากไถเอาวั น เพื่ อ เอา ฤกษ์เอาชัยเป็นสิริมงคลให้ข้าว ออกผลเจริ ญ งอกงาม, (ดู ไถเอาวัน ประกอบ). หว่านเทือก ก. หว่านข้าวปลูกลงใน ที่ดินที่ท�ำเทือกไว้แล้ว คือใน ที่ดินที่ไถและคราดแล้วท�ำให้ เป็นโคลนตม. หว่านแห ก. ทอดแห. หว้าปลอก น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางใน กลุ ่ ม “ชมพู ่ ” ชนิ ด ในสกุ ล 322

Syzygium หว้าปลอกเป็นไม้ ชนิด Syzygium siamensis Craib ในวงศ์ Myrtaceae ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบ รูปหอก ปลายใบแหลม โคน ใบมน ดอกสีแดงแกมม่วงเป็น ช่อออกกระจายที่ปลายกิ่งหรือ ง่ า มใบ ผลกลมหรื อ รู ป ไข่ สีเขียวปลายผลเป็นกลีบกินได้ นักพฤกษศาสตร์เรียก ชมพูน่ ำ�้ .

หว้าปลอก

หว่าย อ. ว้าย, ค�ำเปล่งออกมาแสดง อาการกลัวหรือตกใจ เช่น หว่าย ไม่เอาแหล่ว (ว้ายไม่เอาแล้ว). หวิด [วิด] ก. คลาดกัน, หวุดหวิด, เฉียด. หวิดหว่าง [วิด-หว่าง] ก. ขาดเหลือ, ขาด, เงินขาดมือ, สับหวิด ก็วา่ . หวิ น น. ห่ ว งที่ ใ ช้ ป ระกอบการ สนตะพาย. หวิน ๆ ก. หวั่น, พรั่น, มีอาการกริ่ง เกรงไป เช่น พญากลัวจริงหนอ ขิหยูตอ่ ใจหวินหวิน (นิ.รูปทอง).


พจนานุกรม ภาษาโคราช วิน ๆ ก็ว่า เช่น พญาเห็นคับขัน ตัวออกสัน่ ใจวินวิน (นิ.รูปทอง). หวิ่น ๑. ว. หมิ่น, ชิดขอบเกือบตก. ๒. ก. ขาดไป, พ่องไป. หวีปากหม้อ [หวี-ปาก-หม่อ] ดู สวี ปากหม่อ. หวีหัว ก. หวีผม เช่น หวีหัวมัวนุ่งผ้า แต่งตัวช้าเลวกว่าใคร (นิ.รูปทอง), จะผั ด หน้ า ทาขมิ้ น ให้ สิ้ น เหื่ อ ให้เหลืองเรื่อแต่ละทีจะหวีหัว (สุภมิต ฯ). ห้อ ก. ควบ, บังคับให้วิ่งเร็ว (ใช้แก่ สัตว์) เช่น ห้อม่ามาโน่น (ควบ ม้ามาโน่น). หอกสี่คม น. แนวทางแห่งความส�ำเร็จ ของหมอเพลงโคราชมี ๔ ประการ คือ ๑) ความรู้ด้าน ธรรม ๒) ความรอบรู้ด้านทาง โลก เช่ น ประวั ติ ศ าสตร์ วรรณคดี ประเพณี วัฒนธรรม เป็นต้น ๓) ความรู้รอบตัว ๔) ปฏิ ภ าณไหวพริ บ ในการแก้ ปัญหา. ห้องหับ [ห่อง-ฮับ] น. ห้อง. หอนอน น. เรือนนอน. หอนั่ง น. เรือนส�ำหรับรับรองแขก. ห้อม [ห่อม] ก. ห้อมล้อม, รุมล้อม. หอมีสองหัว (ปริศ) ห (หอหีบ). หอยจูบ น. หอยขม. 323

หอยนา น. หอยชนิดหนึ่ง คล้ายหอย โข่งแต่ตัวเล็กกว่า อาศัยอยู่ ตามท้องนา. หอยลอยตามคราด (ส�ำ) เห็นดีเห็น งามตามผู้อื่น, คิดหรือรู้สึกไป ตามผู้อื่น. ห้อยอยู่กะหลัก ตักก็เต็ม ไม่ตักก็เต็ม [ห่อย-หยู-่ ก๊ะ-ลัก-ตัก๊ -ก็-เต็มไม่ - ตั๊ ก -ก็ - เต็ ม ] (ปริ ศ ) น. มะพร้าว. หักดงไม้ไผ่ [ฮัก-ดง-ม่าย-ไผ่] ก. หัก เพราะต้องลมแรง (ใช้แก่ต้นไม้ สูง). หักหาญน�้ำใจ [ฮัก-หาน-น่าม-ไจ] ก. กระท� ำ ด้ ว ยอ� ำ นาจหรื อ ก� ำ ลั ง โดยเจ้าตัวไม่ยินยอมพร้อมใจ. หันควก [หัน-ค่วก] ก. เหลียวขวับ, หัน ขวับ. หันใจ ก. หายใจ. หั น ใจผู ผู ก. หายใจถี่ ๆ เช่น ยืนทอดใจใหญ่ หันใจผูผู (นิ.รูปทอง). หันใจไม่อิ่ม ก. หายใจไม่เต็ม ปอด, อาการที่เหนื่อยเพราะ หายใจไม่เต็มที่. หันวงระวิง [หัน-วง-ล่ะ-วิง] น. การ เล่นอย่างหนึง่ ใช้ผเู้ ล่นประมาณ ๘ คนโดย ๔ คนแรกจะนั่ ง เหยียดเท้าชนกันเป็นมุมฉาก ๔

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


หัว - หัวสุ่ม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

มุม หรือเป็นรูปเครื่องหมาย บวก อีก ๔ คนหลังจะเข้าไปจับ มือพวกที่นั่งกันคนละช่องแล้ว หมุน สลับเปลี่ยนกันยืนกันนั่ง บางแห่งเรียกว่า โค่งตีนเกียน (โค้งตีนเกวียน) หรือร่ะวงตีน เกียน (ระวงตีนเกวียน). หัว น. ลักษณะนามของ สะบ้า, สมุด, ขนมจีน เป็นต้น. หัวกระได ดู ฮกกระได. หัวข่วน น. ขั้วของผลไม้. หัวขอด ว. หัวสูง, มีรสนิยมสูง, แสดง ตนเป็นผู้รู้ดี. หัวขั้ว (ปาก) ดู หัวควย. หัวข้าวหัวปลา [หัว-เข่า-หัว-ปา] ว. ช่วงเดือน ๘-๙ ที่น�้ำข้าวอุดม สมบูรณ์ ; ท�ำนองในน�ำ้ มีปลาใน นามีข้าว. หัวขี้ [หัว-ขี่] ดู รูขี้. หัวขี้แต้ [หัว-ขี่-แต้] ดู ขี้แต้. หัวขี้เท่อ [หัว-ขี่-เท่อ] ว. ขี้เท่อ, หัว สมองไม่ดี, สมองทึบ, โง่. หัวควย น. อวัยวะสืบพันธุข์ องชาย (ค�ำ ด่าหรือท้าทาย), หัวขั้ว, หัวโคย ก็ว่า. หัวโคย ดู หัวควย. หัวงก น. หัวทุยโตผิดปกติ. หัวใจหล่นลงไปอยู่ตาตุ่ม ว. ตกใจจน รู้สึกวาบลงไป. 324

หัวซา ว. ถือสา, ซา. หัวด�ำคนออก หัวหงอกคนเลีย้ ง [หัวด�ำ-คน-ออก- หัว-หฺงอก-คนเลี่ ย ง] (ส� ำ ) ผู ้ ห ญิ ง ทุ ก วั น นี้ คลอดลูกแล้วทิ้งให้พ่อแม่หรือ ญาติผู้ใหญ่เป็นคนเลี้ยง (เป็น ค�ำประชด). หัวด�ำไปก่อน หัวด่อนไปหลัง (ส�ำ) ตามล�ำดับอาวุโส. หัวแตกหัวแตน ว. หัวแตก, ปูด, บวม ทั่วทั้งหัว. หัวถล�ำต�ำดิน (ส�ำ) ท�ำงานหนักอย่าง หัวปักหัวป�ำ. หัวทะเล น. ชื่อหมู่บ้านและต�ำบลหนึ่ง ในอ� ำ เภอเมื อ งนครราชสี ม า เล่าสืบกันมาว่าบริเวณแห่งนี้ เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่เหมือน ทะเลจึงเรียกว่า “ทุง่ ทะเลหญ้า” หรือ “ทะเลหญ้า” เช่น ตาม ต� ำ ราพิ ชั ย สงครามค่ า ยชนิ ด นาคนามเบื้องนั้นทะเลหญ้าซึ่ง อยู ่ ท างทิ ศ ตะวั น ออกของตั ว เมืองนครราชสิมา (ท้าว ฯ) ใน สมัยก่อนนักโทษที่จะประหาร ชี วิ ต ต้ อ งออกทางประตู ผี (ประตูไชยณรงค์) แล้วน�ำมา ประหารที่ทุ่งทะเลหญ้า กอปร กับบ้านเมืองมีการรบทัพจับศึก กันบ่อย ๆ คงจะมีหัวของผู้ถูก


พจนานุกรม ภาษาโคราช ประหารและจากการท�ำศึกน�ำ มาทิ้งเกลื่อนไปหมดแลดูแล้ว เหมือนกับทะเลหัวคน ค�ำว่าทุ่ง “ทะเลหญ้า” ต่อมากลายเสียง เป็น “หัวทะเล”. หัวที น. ครั้งแรก, ทีแรก, แต่แรก, เดิมที. หัวนอน น. ทิศใต้. หัวบัว น. ไหลบัว, ส่วนของบัวที่ไหล ชอนไชและงอกเงย หรือแยก เป็นบัวต้นใหม่ได้, รากบัว ก็ว่า. หัวปลวก น. จอมปลวก, รังปลวกขนาด ใหญ่ที่สูงขึ้นเป็นจอม. หัวโป่ น. หัวโจก, หัวหน้า. หัวแยกเลี้ยว [หัว-แยก-เลี่ยว] น. หัว เลี้ยวหัวต่อ, ช่วงส�ำคัญที่อยู่ใน ระยะต่ อ กั น ถื อ ว่ า เป็ น ตอน ส�ำคัญ มีโอกาสเปลีย่ นแปลงได้ ง่าย เช่น จะยอมเสียสาวก็เนือ่ ง ด้วยประเพณีดอกแล ประเพณี นี้เสมือนหนึ่งหัวแยกเลี้ยวของ ชีวิต (ท้าว ฯ). หั ว รถ [หั ว -ล่ ด ] น. สถานี ร ถไฟ นครราชสีมา, หัวร่ถไฟ ก็ว่า. หัวรถไฟ [หัว-ล่ด-ไฟ] ดู หัวรถ. หัวร่อต่อกระซิก ก. หัวเราะกันไปมา อย่างสนุก. หัวระพา น. โหระพา. หัวรั้ว [หัว-ลั่ว] น. มุมรั้ว, มุมเขต 325

ที่ดิน, หลักเขตตรงมุมที่ดิน. หัวไร น. รอยเส้นผมทีถ่ กู ถอนออกแล้ว เช่น ผมที่ตัดมิให้ลัดขึ้นมาได้ ถอนแต่ ไ รล่ อ แต่ เ ล่ ห ์ เ สน่ ห า (สุภมิต ฯ). หั ว ล้ า นเติ่ ง เหมิ่ ง [หั ว -ล่ า น-เติ่ ง เหฺมิ่ง] น. หัวล้านใสเห็นชัด อย่างจะแจ้ง. หั ว และ [หั ว -แล่ ะ ] ว. เป็ น ค� ำ พู ด ดูแคลนในท�ำนองว่าไม่มีอะไร, ไม่มีฐานะ, ไม่มีสมบัติพัสถาน, ไม่มีน�้ำยา.

หัวโล้น

หัวโล้น [หัว-โล่น] น. กระเบียน ; ชื่อ ไม้ตน้ ชนิด Gardenia turgida Roxb. ในวงศ์ Rubiaceae ขึ้น ในป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ ต้ น มี ห นามห่ า ง ๆ ดอกแรก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง อ่อน ผลคล้ายละมุดฝรั่ง สุก แล้วแข็ง, หมุยขาว ก็เรียก. หัวสุ่ม น. ดอกนมแมว.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


หัวหง่าว - ห�ำอาว

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

หัวหง่าว น. เหง้า, โคนหรือปมรากของ พืชบางอย่าง เช่น ขิง ข่า กล้วย, หัวเหง้า ก็ว่า. หัวหมุน่ ก้นซุก [หัว-หฺมนุ่ -ก้น-ซุก่ ] (ส�ำ) ท�ำงานตัวเป็นเกลียว, ท�ำงาน หนัก. หัวเหน่ง [หัว-เหฺน่ง] น. หัวเหม่ง, หัว ล้านใสเป็นมัน. หัวเหง้า [หัว-เหฺง่า] ดู หัวง่าว. หั ว แหลมปลายแหลม ลอยมาใน มหาสมุ ท ร มนุ ษ ย์ ช อบกิ น [หั ว -แหฺ ล ม-ปาย-แหฺ ล มลอย-มา-ไน-มะ-หา-สะ-มุดมะ-นุ่ด-ชอบ-กิน] (ปริศ) น. ลอดช่อง. หั ว โหนก [หั ว -โหฺ น ก] น. ศี ร ษะที่ ท้ายทอยนูนออกมา. หัวโหล่ น. ส่วนของยอดเขาที่ยื่นออก ไป, ชะโงกเขา. หัสแดง [ฮัด-สะ-แดง] น. ว่านไก่ทอง, ว่านไก่น้อย; พรรณไม้จ�ำพวก เฟิร์นชนิด Golden Moss, Chain Fern. และ Cibotium barometz J. Sm. ในวงศ์ Dicksoniaceae. Cibo tiaceae ใบมี ลั ก ษณะคล้ า ย มงกุฎออกรอบ ๆ เหง้า. หา ๑. ก. ไปหาโดยการจ้างหรือวาน เช่น ไปหาเพลงมาเหล่น (ไปหา 326

ว่าจ้างเพลงโคราชมาแสดง), ไปหาคนมาช่วยเกีย่ วเข่า (ไปหา วานคนมาช่วยเกี่ยวข้าว). ๒. ใช้ประกอบค�ำอื่นให้มีความ หมายเด่นชัด. หากิน ก. ท�ำมาหากิน, ประกอบ อาชีพ. หาพระแสง ดู หาหอก. หาพระแสงดาบคาบค่าย ดู หาหอก. หาพริกหานาง [หา-พิ่ก-หานาง] ก. จัดข้าวปลาอาหาร เช่น น�้ำพริก ผัก เป็นต้น. หายาก ว. ค�ำประชดประชัน ท�ำนองว่า คน, สิง่ ของประเภทนี้ หายาก มักพูดว่า หายากแท่ะ ๆ. หาสู่ ก. หา, เอามา เช่น หา เข่ า มาสู ่ กั น กิ น (หาข้ า วหรื อ อาหารมากินกัน). หาหอก ว. มั ก ใช้ ป ระกอบ ค�ำถามท�ำนองว่าท�ำไม, หาอะไร เช่น พูดหาหอกอะไร (พูดท�ำไม, พู ด หาอะไร), หาพระแสง, หาพระแสงดาบคาบค่าย ก็ว่า. หาอยูห่ ากิน น. ประกอบอาชีพ, ท�ำมาหากิน. ห่า น. เป็นค�ำด่าหรือค�ำที่แสดงว่า ต�่ำช้าหรือทราม. ห่ากิน ว. เป็นค�ำด่ามีความ


พจนานุกรม ภาษาโคราช หมายท�ำนองว่า ตายเพราะผีหา่ มากิน. ห่าปัด [ห่า-ปั๊ด] ว. ค�ำสบถ หรือค�ำด่าอย่างหนึ่งท�ำนองว่า ห่ากิน, ห่าฟัด ก็ว่า. ห่าฟัด [ห่า-ฟั่ด] ดู ห่าปัด. ห่าแดก ว. ใช้เป็นค�ำด่าอย่าง หนึ่งท�ำนองว่าห่ากิน. ห่าราก ว. ค�ำสบถหรือค�ำด่า อย่างหนึ่งท�ำนองว่าห่ากิน. ห่าเอ้ย น. ค�ำที่แทนคนที่พูด ด้วยหรือกล่าวถึงบุคคลที่ ๓ ที่ สนิมสนมพูดกัน เช่น ห่าเอ้ย ท�ำไมท�ำอย่างนั่น (แกท�ำไมท�ำ อย่างนั้น). หางกราย ดู หนามกราย. หางจุกตูด [หาง-จุ๊ก-ตูด] ก. วิ่งแจ้น ด้วยความหวาดกลัว, วิง่ หางจุก ตูด ก็ว่า. หางนกลิง [หาง-น่ก-ลิง] น. ชื่อไม้ ล้ ม ลุ ก ชนิ ด Christia ves pertilionis (L.f.) Bakh. f. ใน วงศ์ Leguminosae, ถิ่นอีสาน เรียก ปีกเจีย. หางปลา น. เครือ่ งบอกสัญญาณรถไฟ คล้ายหางปลาติดไว้บนเสา. หางสิงห์ น. ไม้ประเภทเฟิร์นชนิดที่ ชอบอาศัยต้นไม้อื่นชนิด Lyco podium squarrosum Forst 327

ในวงศ์ Lycopodiaceae คล้าย ต้นช้องนางคลี่ ล�ำต้นยาวห้อย ลงแยกแขนงเป็ น คู ่ ๆ, ถิ่ น นครศรีธรรมราชเรียก หางด่าง. หางเหี่ ย ว น. เหล็ ก ส� ำ หรั บ ขุ ด ดิ น เหนียว, ส่วนปลายหางของว่าว จุฬา. หางแห้ม [หาง-แห่ม] น. หางไหม้ (ใช้เรียกงูเขียวหางไหม้). หาบกะด่อน คอนกะเดี่ยว (ส�ำ) ท�ำมา หากินด้วยการหาบของขาย. หาบคลอนยอนยาน [หาบ-คอนยอน-ยาน] (ส�ำ) ก. หาบของ ขายด้วยความเหนื่อยยาก. หาบฟัดหาบเหวี่ยง [หาบ-ฟั่ด-หาบเหฺวี่ยง] (ส�ำ) ก. หาบไปด้วย ความล�ำบาก. ห่าม ก. บ้า ๆ บอ ๆ, คุ้มดีคุ้มร้าย, มุทะลุ, บ้าบิ่น. หายจ้อย ว. หายวับ, หายไปโดยไม่มี ข่าวคราว. หายใจไม่อิ่ม ก. อาการเหนื่อยเพราะ หายใจไม่เต็มทีห่ รือไม่เต็มปอด. ห่าว ก. เงี่ยน, อยาก, ก�ำหนัด. ห�ำอาว น. ต้นสะแกแสง ; ไม้ยืนต้น ชนิ ด Cananga latifolia (Hook.f. & Thomson) Fi net & Gagnep. ในวงศ์ Annonaceae ใบเดี่ยวออก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


ห�ำฮอก - หุย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ตามข้อต้น ดอกเดีย่ วสีเขียวอม เหลืองช่อละ ๒-๓ ดอก ดอกละ ๕-๖ กลีบมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ, ห�ำฮอก, ส่มกลีบ ก็ว่า. ห�ำฮอก ดู ห�ำอาว. หิ่งห้อ น. ชื่อไม้พุ่มพันธุ์หนึ่งในกลุ่ม “ต้นหิ่งหาย” ชนิด Crotalaria juncea Linn. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ฝักกลมพอง นักพฤกษศาสตร์ เรียก ค�ำบูชา. หิน ก. หัน, หันหน้า. หินดัน ดู หินดุ. หินดุ [หิน-ดุ๊] น. เครื่องมือตีหรือปั้น หม้อที่ท�ำจากดินเผาเหมือนไม้ คอ เป็นแผ่นรูปโค้งโดยสอดไว้ ด้านในหม้อเพื่อรองรับแรงตี หรือปั้นหม้อจากด้านนอก เพื่อ ให้ ไ ด้ รู ป ทรงตามที่ ต ้ อ งการ, หินดุน, หินดัน ก็ว่า, (ดู ไม้คอ ประกอบ). หินดุน ดู หินดุ. หินเหล็กไฟ [หิน-เล็ก-ไฟ] ดู เหล็กไฟ. หิมหาม ดู ระหิมระหาม. หิรัญญิการ์ [ฮิ-ลัน-ยิ-กา] น. ชื่อไม้ เลื้ อ ยชนิ ด Beaumontia brevituba Oliv. ในวงศ์ Apocynaceae, ถิ่ น ล� ำ ปาง เรียก ค�ำมอกเครือ. 328

หิวนอน ก. ง่วงนอน. หีเคียว ว. หญิงที่ให้ท่า , หญิงที่ร่าน ผู้ชาย (ค�ำด่า). หี ฉี ก ว. เสี ย งจามโดยออกเสี ย ง อย่างนั้น. หีโต้น น. หีใหญ่มาก ๆ (ใช้เป็นค�ำด่า). หีนะทานัง [หี-น่ะ-ทา-นัง] ว. ไม่รู้เรื่อง อะไร, ไม่ประสีประสามักพูดว่า ไม่รู่หีน่ะทานัง (ไม่สุภาพ). หีบบุหรี่ น. หีบหรือกล่องเล็ก ๆ ส�ำหรับ ใส่บุหรี่. หีปลิ้น [หี-ปิ้น] ว. ใช้เป็นค�ำด่าผู้หญิง (ไม่สุภาพ). หีแม่มึง ๑. สรรพนามบุรุษที่ ๒ โดย ปริ ย ายหมายถึ ง ค� ำ ที่ ใ ช้ แ ทน ผู้ที่เราพูดด้วย เช่น มึง, แก, ลูก ๆ เป็นต้น. ๒. ว. ใช้ประกอบค่าว่า ช่าง มี ความหมายท� ำ นองว่ า ช่ า ง หัวมัน, ปล่อยไปตามเรื่องตาม ราว, ปล่อยไปไม่เอาเป็นธุระ, เช่น ช่างหีแม่มึง (ช่างมึง). ๓. ว. ค�ำด่าแม่. หีโล่ง ว. ใช้เป็นค�ำด่าผูห้ ญิง (ไม่สภุ าพ) เช่น ถ้าได้กั๊บพี่จะไขว่สายยั่บจะ จั๊บสายโยง ให่ลมเป่าหีโล่ง ๆ สบายรู...เล่ย (เพลงโคราช). หึ [ฮึ] ว. ไม่, หึอื้อ ก็ว่า. หึอื้อ [ฮึ-อื้อ] ดู หึ.


พจนานุกรม ภาษาโคราช หึง ว. นาน, ยืนยาว เช่น จะหึงนาน ในสงสารกระวนกระวาย, พระชั น ษายาวอยู ่ ใ ห้ ยื น หึ ง (นิ.พระปาจิต). หึ่ง น. การเล่นอย่างหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย อุปกรณ์การเล่นมี “ไม้ แม่หึ่ง” ซึ่งใช้ไม้ไผ่รวกหรือไม้ กลม ๆ ขนาดพอเหมาะยาว ประมาณ ๒ ฟุต และ “ไม้ลูก หึ่ ง ” ซึ่ ง เป็ น ไม้ ก ลมสั้ น ยาว ประมาณ ๕ เซนติเมตร ขุดหลุม เป็นร่องยาวพอสมควรเพื่อใช้ วางไม้ลกู หึง่ งัด การเล่นจะมี ๒ ท่า คือ ท่าแรกเรียกว่าอีงดั โดย วางไม้ลกู หึง่ ขวางร่องแล้วงัดไป ให้ไกลที่สุด อีกฝ่ายจะคอยรับ เมือ่ เสร็จจากท่าแรกก็จะไปเล่น ท่าที่สอง เรียกว่าอีตี โดยจับไม้ ลู ก หึ่ ง แล้ ว ใช้ ไ ม้ แ ม่ ห่ึ ง ตี ไ ปให้ ไกลที่ สุ ด อี ก ฝ่ า ยจะคอยรั บ กติกาการรับไม้ลูกหึ่ง มีดังนี้ ๑) ถ้าฝ่ายคอยรับ รับได้กจ็ ะโยน ไม้ ลู ก หึ่ ง ให้ ไ ปลงหลุ ม หรื อ ให้ ใกล้ปากหลุมมากทีส่ ดุ ถ้าไม่ถงึ ปากหลุม ฝ่ายงัดก็จะใช้ไม้แม่หงึ่ วัดระยะทางว่าได้กี่ไม้ ๒) ถ้าฝ่ายคอยรับรับไม่ได้ ฝ่าย งั ด ก็ จ ะไปที่ จุ ด ที่ ไ ม้ ลู ก หึ่ ง ตก จากนั้ น ก็ จ ะใช้ ไ ม้ แ ม่ หึ่ ง วั ด ไป 329

จนถึงปากหลุมที่งัดว่าได้ระยะ ทางกี่ไม้ ฝ่ายไหนได้ระยะทาง ยาวกว่ากันเป็นฝ่ายชนะ ส่วน การลงโทษแล้วแต่จะตกลงกัน เช่น ขี่หลัง เป็นต้น การเล่น แต่ละท้องทีอ่ าจแตกต่างกันไป. หึน ก. หืน, เหม็นเขียว, มีรสทีอ่ อกกลิน่ เหม็นคล้ายกลิน่ หญ้าทีต่ ดั สด ๆ ใกล้บูด เช่น ผักเสี้ยนที่ดองยัง ไม่เป็น, หืน, หึนตื้อ, เหม็นหึน ก็ว่า. หึนตื้อ ดู หึน. หึ่มเหื่อ ว. อ้วนล�่ำ (มักใช้แก่ผู้ใหญ่). หื่นระหัน ก. หื่นหรรษ์, เริงใจ, ร่าเริง เช่น ส่วนนายเภตราได้ฟังวาจา ชื่นชมหื่นระหัน (นิ.รูปทอง). หุงเกลือ ก. ท�ำเกลือสินเธาว์ด้วยการ เคี่ยวน�้ำเกลือจนงวดแห้ง. หุนหวย ว. กระสับกระส่าย, กระวน กระวายใจ. หุนใหญ่ น. ชื่อไม้เลื้อยชนิด Cissus convolvulacae Planch ใน วงศ์ Vitaceae. หุบเท่ากระบอก ถอกเท่ากระด้ง [ฮุบเท่า-กะ-บอก-ถอก-เท่า-กะ-ด้ง] (ปริศ) น. ร่ม. หุย น. ไอ, สิ่งที่มีลักษณะอย่างควัน ลอยออกจากของที่ ถู ก ความ ร้อนจนระเหย, หุยห้วน ก็ว่า.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


หูเข้าหูออก - เหมือด

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

หุยห้วน ดู หุย. หูเข้าหูออก [หู-เข่า-หู-ออก] ก. ฟัง เช่น พวกนี่เสียงดัง หูเข่าหูออก อะไรไม่ได้เลย (พวกนี้เสียงดัง คนเขาคุยกันฟังอะไรไม่รู้เรื่อง, ฟังไม่ได้ศัพท์). หูจะแตก ว. ค�ำเปรียบเปรยท�ำนองว่า พูดหรือเรียกจนแก้วหูจะแตก แล้วยังไม่ได้ยิน เช่น เรียกจนหู จะแตกอยู่แล่ว. หูแช ว. ฟังไม่ได้ความ, ฟังความแล้ว เข้าใจผิด. เหง [เหง] น. ปีกไม้. เหงก [เหฺงก] ก. ค�ำปฏิเสธหรือแสดง ความไม่ พ อใจ, ไม่ เ ห็ น ด้ ว ย พร้ อ มกั บ ยกด้ า นหลั ง มื อ ท� ำ มะเหงกให้ คืองอข้อนิว้ มือทัง้ ห้า เข้าด้วยกัน เหงิ่ ง หง่ า ง [เหฺ งิ่ ง -หง่ า ง] ว. งง, อาการเซ่อ. เหงินหง่อ [เหฺงิน-หง่อ] ดู หง็อนหง่อ. เหงิบ [เหฺงิบ] ก. เงย, อ้า, เผยอ. เหงิบเงย [เหฺงิบ-เงย] ๑ ว. อาการดี ขึ้น, ทุเลา, ค่อยยังชั่ว. ๒. ก. (ส�ำ) เงยหน้าอ้าปาก, มี ฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียม คนอื่น. ๓. ก. เงย, เงยหน้า, เงิบเงย ก็วา่ . เหงิบหูฟัง ก. เงี่ยหูฟัง. 330

เหงือกหงาย ดู หงายเหงือก. เหงื่อเม็ดข้าวโพด [เหฺงื่อ-เม่ด-เข่าโพด] น. เหงื่อเม็ดโตเปรียบได้ กับเม็ดข้าวโพด. เหงื่อย้อยตะหมูก [เหฺงื่อ-ย่อย-ตะ-หฺ มูก] ก. เหงื่อไหลย้อยอยู่ปลาย จมูก. เหงื่อไหลไคลย้อย [เหฺงื่อ-ไหฺล-ไคย่อย] น. เหงื่อไหลโชก. เห็ด [เฮ็ด] น. เห็ด. เห็ดกระโปกพระ [เฮ็ด-กะโปก-พ่ะ] น. เห็ดชนิดหนึ่งลูก กลม ๆ สีเหลือง. เห็ดไข่ [เฮ็ด-ไข่] ดู เห็ดร่ะโงก. เห็ดบด [เฮ็ด-บ๊ด] น. เห็ด กระด้าง. เห็ดระโงก [เฮ็ด-ล่ะ-โงก] น. เห็ดชนิดหนึง่ ดอกสีขาว, เห็ดไข่ ก็เว่า. เห็ ด แร้ ง คอย [เฮ็ ด -แล่ ง คอย] น. เห็ดชนิดหนึ่งมีพิษกิน แล้วเมาถึงตาย นัยว่าใครที่กิน เห็ดชนิดนี้มักไม่รอดแร้งมักจะ คอยกินศพ. เหตุผลต้นปลาย น. ต้นสายปลายเหตุ, ความเป็นมาของเรื่อง เช่น ข้า ก็ พ ยายามทั ก ท้ ว งแลถามถึ ง เหตุผลต้นปลาย (ท้าวฯ). เหน็บกฤช [เน็บ-กิ๊ด] น. ท่าหนึ่งของ


พจนานุกรม ภาษาโคราช มวยไทย โดยใช้เท้าเตะสะโพกคู่ ต่อสู้ เช่น หลอกเอาเท้าไปปะทะ กับชายตะโพกของคู่อริเรียกว่า เหน็บกฤช (ท้าว ฯ). เหน็บกะเตี่ยว [เน็บ-กะ-เตี่ยว] ก. หยักรั้ง, รวบผ้าถุงหรือโสร่ง ข้ า งสะโพกมาเหน็ บ ไว้ ที่ เ อว ทั้ง ๒ ข้าง, การเหน็บกะเตี่ยว ก็เพื่อความคล่องตัว, กะเตีย่ ว, เน็บรัง้ ก็ว่า เช่น ตาแก่ไม่ฟัง นุ่งผ้าเหน็บรั้ง แลหลังแลหน้า (นิ.รูปทอง). เหน็ บ กิ น [เน็ บ -กิน] ก. เหน็บชา, อาการชาตามอวัยวะบางส่วน ชั่วขณะ. เหน็บรั้ง [เน็บ-ลั่ง] ดู เหน็บกะเตี่ยว. เห็น ๆ ก. เห็นแวบ ๆ, เห็นชั่วพริบตา. เห็นแจ้งแดงแจ๋ ก. รู้เห็นอย่างทะลุ ปรุโปร่ง. เห็นว่าก็ดาย ว. เห็นว่าก็ไม่ใช่อย่างนั้น หรอก, ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก, เห็นว่าก็ไม่ถึงขนาดนั้น, เห็นว่า กะดาย ก็ว่า. เห็นว่ากะดาย ดู เห็นว่าก็ดาย. เห็นไส้เห็นพุง [เห็น-ไส่-เห็น-พุง] ก. รูไ้ ส้, รูเ้ ห็นทุกซอกทุกมุม, รูเ้ ห็น สันดานเดิมเป็นอย่างดี. เห็นหน ก. มองเห็น, สายตาดี. เหนียน ก. เกี่ยง, เกี่ยงงอน. 331

เหนียวยังกะหนังหัวเกวียน [เหฺนียวยัง-กะ-หนัง-หัว-เกียน] (ส�ำ) ขี้ตระหนี่, ขี้เหนียว; เปรียบได้ กับหนังทีค่ าดหัววัวเทียมเกวียน ทีม่ คี วามหนียวมาก, (ดู หนังหัว เกียน, หนังหัวไถ ประกอบ). เหนือฝ้ายังมีสิว (ปาก) (ส�ำ) ยังมีสิ่งที่ เหนือกว่า. เหนื่อยในท้อง [เหฺนื่อย-ไน-ท่อง] ว. อ่อนเพลีย. เหม่งหม่าง ดู เหมิ่งหม่าง. เหม็นกุย ก. เหม็นสาบ. เหม็นกลุ้ม ก. เหม็นเน่าอย่างแรง. เหม็นขิว ก. เหม็นสาบ. เหม็ น ฉุ ่ ง ก. กลิ่ น เหม็ น อย่ า งแรง, เหม็นโฉ่. เหม็นเน่าเหม็นโขง ก. กลิน่ เหม็นอย่าง เนื้ อ เน่ า ค้ า งหลายวั น , กลิ่ น เหม็นอย่างแรง. เหม็นหึน ดู หึน. เหม็นหืน ดู หึน. เหมิ่งหม่าง [เหฺมิ่ง-หม่าง] ก. แสดง อาการท�ำหน้าตาตืน่ , ตกตะลึง, เลิกลั่ก, เหม่งหม่าง ก็ว่า. เหมี่ยง ดู เหมี่ยม. เหมี่ยม ดู เมื่ยม. เหมือด ๑. น. เนื้อสัตว์ที่ใช้ประกอบ อาหาร เช่น หอย, ปู ปลา, เนื้อหมู, เนื้อวัว เป็นต้น.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เหมือดแก้ว - เหวี่ยงแห

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

๒. เครือ่ งปรุงเป็นน�ำ้ ยาขนมจีน ได้แก่ ปลาป่น หอมแดง (ซอย หรือหั่น) หัวตะไคร้ (ซอยหรือ หั่น) ใบมะกรูด (ซอยหรือหั่น) น�้ ำ ปลา, (ดู ขนมจี น เหมื อ ด ประกอบ). เหมือดแก้ว น. ชือ่ ไม้ตน้ ชนิด Sladenia celastrifolia Kurz. ในวงศ์ Sladeniaceae. เหมือดปลาซิว น. ไม้ต้นในกลุ่มต้น “เหมือด” ชนิด Symplocos caudata Wall ในวงศ์ Symplocoseae ดอกสีขาว เป็นช่อกลิ่นหอมใบแห้งจะเป็น สีเหลือง. เหมือดโลด ดู หญ้าขวากกระต่าย.

เหมือดโลด

เหมือนฟันหยวกกล้วย (ส�ำ) ก. ท�ำสิ่ง ใดที่ ง ่ า ยหรื อ สะดวก เช่ น เสมือนหยวกกล้วยให้ไทยฆ่าฟัน เล่นสนุกมือ (ท้าว ฯ). 332

เหมือนยัง, เหมือนหยัง่ ว. เหมือนอย่าง. เหมื่อม ว. ใช้ประกอบค�ำว่าด�ำ มีความ หมายว่าด�ำเป็นเงามัน, ด�ำมาก, เหมี่ยง, เหมี่ยม ก็ว่า. เหยง [เหฺยง] ว. โหยง, อาการที่ กระโดดโดยฉับไว เช่น กระโดด เหยง. เหยง ๆ [เหฺยง-เหฺยง] ก. เหยาะ ๆ, อาการช้า ๆ เช่น กระโดดเหยง ๆ (กระโดดเหยาะ ๆ), ย็อก ๆ ก็วา่ . เหยิด [เหฺยดิ ] ก. หย่ง, อาการเดินของ คนเท้าพิการต้องเขย่งเท้าอีก ข้างหนึง่ , อาการเดินจรดปลาย เท้า โดยฝ่าเท้าไม่ถูกพื้น. เหยิดหยิ่ง [เหฺยิด-หยิ่ง] ว. เย่อหยิ่ง เช่ น ท� ำ ที ฉุ ง ฉิ ง ท� ำ เหยิ ด ท� ำ หยิ่ ง ราวกะท่ า นขรั ว ยาย (นิ.รูปทอง). เหยิน [เหฺยิน] ก. เขยิน, เผยอขึ้น เช่น คางก็เหยินหูก็ยาวเขี้ยวก็โง้ง (นิ.พระปาจิต). เหยิ่ม [เหฺยิ่ม] ก. ขย่ม, ขะเหยิ่ม ก็ว่า. เหยียบ ว. ใช้ประกอบค�ำเพือ่ ให้มคี วาม หมายชั ด เจน มี ค วามหมาย ท�ำนองว่า ไป, มา, เคย, เกือบ เช่น ไม่เคยมาเหยียบบ้านเลย (ไม่เคยมาบ้านเลย) , ไม่ตายคง ได้ไปเหยียบเยอรมัน (ไม่ตาย คงได้ไปประเทศเยอรมนี), น้า


พจนานุกรม ภาษาโคราช เคยเหยียบความเป็นหนุ่มสาว มาแล้ว (ท้าวฯ), อายุเหยียบ ๖๐ (อายุเกือบ ๖๐). เหยียบซ�้ำ [เหฺยียบ-ซ�่ำ] ก. ซ�้ำเติม, ทับถมให้ร้ายขึ้นไปอีก. เหยียบรอยโจรรอยขโมย (ส�ำ) ก. บังเอิญเข้าไปสวมรอยผู้กระท�ำ ผิดโดยไม่ล่วงรู้หรือไม่คาดคิด มาก่อน. เหยียบเรือน น. อายุ เช่น คุณหญิงโม เป็นสตรีที่จัดอยู่ในเกณฑ์งาม แม้จะตกเหยียบเรือน ๔๐ (ท้าว ฯ). เหยีย่ วกินตีน น. เท้าเป็นเหน็บชา, เปีย่ ว กินตีน ก็ว่า. เหยาะลูกย่าง [เยาะ-ลูก-ย่าง] ว. เหยาะ ๆ, อาการวิ่งช้า ๆ เช่น ก็สาวตีนเดินไวเหมือนวิ่งหมา เหยาะลู ก ย่ า งมากระทั่ ง ถึ ง บ้านนา (นิ.พระปาจิต). เหริ่ม ๆ [เหฺลิ่ม-เหฺลิ่ม] ว. เหยาะ ๆ เช่น วิ่งเหริ่ม ๆ. เหล็กพืด [เล็ก-พืด] น. เหล็กกล้าหรือ เหล็กแท่ง. เหล็กไฟ [เล็ก-ไฟ] น. ไฟแช็กที่เวลา ใช้ต้องให้จักรโลหะครูดกับถ่าน ก้อนเล็ก ๆ กลมสั้นที่เรียกว่า หินเล็กไฟ (หินเหล็กไฟ). เหล่ง น. ไม่ได้ระดับ, ไม่ตรง, เอียง 333

(ศัพท์ช่าง). เหลง ๆ [เหฺลง-เหฺลง] ก. ปลิวร่อนลง อย่างช้า ๆ เช่น ลมก็พั่ดลิ่ว ๆ ใบไม่ก็ปลิวเหลง ๆ จิไปดูเขา เหล่นเพลงปะตีนวั่ดหัวละเลิง (เพลงโคราช). เหล่อหล่า ว. เร่อร่า, เซ่อ ๆ ซ่า ๆ. เหล้าเด็ด [เหฺล่า-เด๊ด] น. เหล้าขาวที่ ชาวบ้านต้มกลั่น. เหล้าโท [เหฺล่า-โท] น. สาโท. เหลินเลอะ [เหฺลนิ -เล่อะ] ว. เลอะเลือน, หลง ๆ ลืม ๆ, เลือน, ราง ๆ มัว ๆ, ไม่ชัดแจ้ง เช่น ครั้นเถ่าร�่ำว่า หูตาเหลินเลอะ (เพลงโคราช). เหลืองร่า ว. เหลืองสด, เหลืองอร่าม. เหลือเดน ว. เดนตาย, รอดตายทั้ง ๆ ที่น่าจะตาย. เหลือวาย ว. อะไรกันหนักหนา, ละวาย ก็ว่า, (ดู ซะปาย ประกอบ). เหว่ย ว. ใช้ประกอบท้ายค�ำมีความ หมายท�ำนองว่า เว้ย, วะ เช่น ไปไหนเหว่ย (ไปไหนวะ), เหว่ยเฮย ก็ว่า. เหว่ยเฮย ดู เหว่ย. เหวีย่ งควาย [เหฺวยี่ ง-ควย] ดู เหวีย่ งแห. เหวี่ย งแห น. ลีลาการชกมวยไทย ในลั ก ษณะเต๊ ะ และต่ อ ยเป็ น วงกว้าง เช่น อันเพลงมวยนั้น นายหมวด นายกองผู้มีฝีมือมัก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เหวี่ยงแหครอบ - .....ใหญ่.....เท่ง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

สอนเริ่มต้นด้วยการเหวี่ยงแห (ท้าว ฯ), เหวี่ยงควาย ก็ว่า. เหวี่ยงแหครอบ (ส�ำ) พูดสุ่มเพื่อหยั่ง เชิงเช่นเดียวกับส�ำนวน โยนหิน ถามทาง เช่น แม่ทองเหลือจะ เหวีย่ งแหครอบว่าข้าเท็จ (ท้าว ฯ). เห่อ ใช้ประกอบท้ายค�ำ มีความหมาย ท�ำนองว่า เถอะน่า, นะ, เหอะน่า, เช่น อะไรเห่อ (อะไรนะ). เหอะหะ [เฮอะ-ฮะ] ก. ร้องเอะอะ, โวยวาย. เหาะหล็อย ๆ [เฮาะ-หฺล็อย-หฺล็อย] ก. เหาะลอยมา. เหิบ ก. อ้า, แย้ม, เผยอ. เหี่ยว น. เหยี่ยว. เหื่อ น. เหงื่อ. เหือ่ ย้อยตะหมูก [เหือ่ -ย่อย-ตะ-หมูก] ก. เหงื่อไหลย้อยอยู่ปลายจมูก. เหื่อไหลไคลย้อย [เหื่อ-ไหล-ไคฺลย่อย] น. เหงื่อไหลโชก. แห้ง [แห่ง] ว. ผอมแห้ง, ผอมโซมาก จนผิดปกติ; เรียกคนลักษณะนี้ ว่า เช่น ป้าแห่ง หรือ ยายแห่ง. แห้งเผาะ [แห่ง-เพาะ] ว. แห้งผาก, แห้งสนิท. แหง่ว ว. เงาวับ, ใส, แวววาว เช่น ซุกแหง่ว (สุกใส). แห่น ก. แทะ, เอาฟันกัดให้หลุดออกมา ทีละน้อย ๆ. 334

แหนแหะแหนแห่ [แหน-แฮะ-แหนแห่ ] ก. มะรุ ม มะตุ ้ ม และ เดิ น ตามไปทุ ก ที่ จ นเกิ ด ความ ร�ำคาญ, เทียวไปเทียวมา เช่น ไอเหาหิ้วแหห่าง ท�ำแหนแหะ แหนแห่ (เพลงโคราช). แหม่น [แหฺม่น] ก. บิด, หมุนให้เป็น เกลียว โดยใช้ไม้ขะแหนบ, (ดู ไม้ขะแหนบ ประกอบ). แหยมแยะ [แหฺยม-แยะ] น. หน้ามี ขี้ ต าเกรอะ; ว. พร�่ ำ เพรื่ อ , ซ�้ำซาก, (ดู หย�ำแยะ ประกอบ). แหยะ [แย่ะ] ก. แยะ, แยก, แตก เช่น ตื่นจะร้าวเท้าจะพองเป็นหนอง แหยะ (สุภมิต ฯ). แหล่ ว. ใช้ประกอบท้ายค�ำมีความ หมายท�ำนองว่า จวน, ใกล้ เช่น จิตายมิตายแหล่ (จวนจะตาย), จะพังมิพังแหล่ (จวนจะพัง). แหละเด้อ ว. ละ, ละนะ, แล้วนะ ; ใช้ ประกอบค�ำกริยาเพือ่ เน้นความ เช่น ไปแหละเด้อ (ไปละนะ, ไปแล้วนะ), ล่ะเด้อ ก็ว่า. แหว่ น. หว้าชนิดหนึ่งลูกเล็ก. แห้วกระต่าย [แห่ว-กะ-ต่าย] น. ไม้ ล ้ ม ลุ ก ชนิ ด Murdannia loureirii Rao & Kammathy ในวงศ์ Commelinaceae, ถิ่น นครสวรรค์เรียก กระเทียมช้าง.


พจนานุกรม ภาษาโคราช แหวกแนว [แหฺวก-แนว] ว. ผ่าเหล่า, ผิดพวกผิดพ้อง, ไม่เหมือนใคร, แหวกหน่อแหวกแนว ก็ว่า. แหวกหน่อแหวกแนว [แหฺวก-หฺน่อแหฺวก-แนว] ดู แหวกแนว. โหก ๑. ว. กว้าง, กลวง เช่น รูขลุย่ โหก. ๒. ก. โหย, ครวญถึง, สลด, เศร้า เช่น พอทราบเหตุโหก พระทัยให้ถวิล, คิดถึงแม่โซโศก ให้โหกหืน (สุภมิต ฯ). โหง่ม ๆ [โหฺง่ม -โหฺง่ม] ก. เดินดุ่ม ๆ, เดินท่อม ๆ, หงุม่ ๆ, โหง่มเหง่ม ก็ว่า เช่น เดินโหง่มเหง่ม. โหง่มเหง่ม [โหฺง่ม-เหฺง่ม] ดู โหง่ม ๆ. โหง่ย ก. เอนลง, ล้มฟาดลง, ทอดลงพืน้ , ล้มตึ้ง. โหง่ย ๆ ว. ท่อม ๆ, อาการเดินมุ่งหน้า ไปเรื่ อ ย เช่ น เดิ น โหง่ ย ๆ อยู่โน่น, เดินหนีไปโหง่ย ๆ. โหนกโหนย [โหฺนก-โหฺนย] ดู โหนย. โหนย ว. ขัดโชคลาภ, ซวย, พลาดหวัง, โหนกโหนย ก็ว่า. โหม่งเหม่ง น. เสียงฆ้อง, (ดู หม่งเหม่ง ประกอบ). โหยกโหยบ [โหฺยก-โหฺยบ] ดู โหยกโหยย. โหยกโหยย [โหฺ ย ก-โหฺ ย ย] ว. สูงเก้งก้าง, สูงไม่ได้สัดส่วน, โหยกโหยบ ก็ว่า. โหย่น [โหฺย่น] ก. ไกว, โล้. 335

โหย่นชิงช้า [โหฺย่น-ชิง-ช่า] ก. โล้ชิงช้า, เล่นชิงช้า, ไกวชิงช้า. โหย่นเหย่น [โหฺยน่ -เหฺยน่ ] ก. โอนเอน, แกว่ง, เคลื่อนไหวไปมา เช่น แมวขาวเอย ไต่ไม่ราวหางยาว โหย่นเหย่น (กล่อมเด็ก). โหลงเหลง [โหฺลง-เหฺลง] น. น�้ำตา คลอ, น�้ำตาคลอหน่วย, น�้ำตา ที่ ป ริ่ ม ใกล้ ข อบตาจวนจะไหล เช่น เต็มหัวใจจึงน�้ำตาได้โหลง เหลง (นิ.พระปาจิต). โหลน [โหฺลน] ว. โกร๋น, ร่วงเกือบหมด, มีน้อย. โหล่ยโหง่ย ว. ล่อนจ้อน, (ดู โล่ยโง่ย ประกอบ). โหวกหวาก [โหฺ ว ก-หวาก] ว. โหวกเหวก, เสียงดังลั่น. โหว่เหว่ ว. ว้าเหว่, โว่เว่ ก็ว่า. ใหญ่จนหมาเลียตูดไม่ถงึ (ส�ำ) โตแล้ว ยังท�ำเหมือนเด็ก. ใหญ่แต่ขดี้ แี ต่กนิ [ไหฺย-่ แต่-ขี-่ ดี-แต่กิ น ] (ส� ำ ) โตแต่ ไ ม่ มี ค วาม รับผิดชอบ, โตแต่มวี ฒ ุ ภิ าวะต�ำ่ . ใหญ่แต่บ้านข้าวสารไม่มี [ไหย่-แต่บ้าน-เข่า-สาน-ไม่-มี] (ส�ำ) ภายนอกภู มิ ฐ านแต่ ภ ายใน ตรงกันข้าม. .....ใหญ่.....เท่ง ใช้ประกอบค�ำกริยามี ความหมายท�ำนองว่า เอา, มาก

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


.....ใหญ่.....น้อย - อนุสาวรีย์คุณหญิงโม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

เช่น กินใหญ่กินเท่ง (กินเอา กินเอา). .....ใหญ่.....น้อย [ไหย่-น่อย] ดู ..... น้อย....ใหญ่. ใหญ่ไม่ถูกทหาร (ส�ำ) โตแต่ท�ำอะไร ไม่เป็น, โตแต่มีวุฒิภาวะต�่ำ. ใหญ่ย้อนกินข้าว เฒ่าย้อนเกิดนาน [ไหย่-ย่อน-กิน-เข่า-เถ่า-ย่อนเกิด-นาน] (ส�ำ) โตหรือแก่ เพราะเกิดก่อนผู้อื่น แต่ไม่ท�ำ อะไรให้เกิดประโยชน์. ใหญ่ แ ล้ ว [ไหย่ - แล่ ว ] ว.โตแล้ ว , โตเป็นผู้ใหญ่แล้ว. ให้ตนื่ เช้าเหมือนกา ให้หากินเหมือนไก่ [ไห่-ตืน่ -ช่าว-เหฺมอื น-กา- ไห่หา-กิน-เหฺมอื น-ไก่] (ส�ำ) ก. ให้ ขยันหากินเหมือนกาเหมือนไก่. ให้ร�่ำให้รวย ให้ควายเต็มคอก [ไห่ล�่ ำ -ไห่ - ลวย-ไห่-ควย-เต็มคอก] (ส�ำ) ก. ให้ร�่ำรวย ; ใช้เป็นค�ำอวยพร. ไหใบบัว น. ไหชนิดหนึง่ คล้ายไหปลาร้า แต่ปากบานกว้างคล้ายใบบัว, (ดู ไหปลาร้า ประกอบ). ไหปลาร้า [ไห-ปา-ล่า] น. ไหชนิดหนึ่ง ปากมีสองชั้น (ปาก) ไหคล้ายที่ ใส่นำ�้ รองตีนตูก้ บั ข้าวกันมดขึน้ ) ต่างจากไหทัว่ ไป ใช้สำ� หรับหมัก 336

ท� ำ ปลาร้ า , ไหลิ้ น , ไหปาก สองชั้น ก็ว่า. ไหปากสองชั้น [ไห-ปาก-สอง-ชั่น] ดู ไหปลาร้า เช่น แม่ปากไหสอง ชั้ น นี่ พี่ อ ยากเป็ น คู ่ ส องชม (เพลงโคราช).

ไหปากสองชั้น

ไหลิ้น [ไห-ลิ่น] ดู ไหปลาร้า. ไหลย้วย [ไหล-ย่วย] ก. ไหลย้อย. ไหลยืด ก. ไหลย้อยยาวออกออกมา เช่น น�่ำลายไหลยืด. ไหลหลาม ว. ล้นหลาม, มากมาย เช่น มียุ้งฉางคลังทรัพย์นับสิบสอง แต่เงินทองขนใส่อยู่ไหลหลาม (นิ.พระปาจิต). ไหลเอื่อย ว. ไม่ขาดสาย, ต่อเนื่อง กันไม่ขาดระยะ เช่น คนเดิน มาไหลเอื่ อ ย (คนเดิ น มาไม่ ขาดระยะ), รถมาไหลเอื่ อ ย (รถมาไม่ขาดสาย). ไหว้เจ้าเข้าทรง [ไหว่-เจ้า-เข่า-ซง] น. ท�ำพิธีเซ่นสรวง.


พจนานุกรม ภาษาโคราช

อกคราก [อ๊ ก -คาก] ว. อกแตก เพราะรู ้ สึ ก อั ด อั้ น ตั น ใจ เช่ น แทบอกครากครุ่นคิดสะท้อน ถอน, อกจะครากคิดยิ่งแค้น แสนกระสั น (นิ . พระปาจิ ต ), แทบอกแยกแตกครากคราก ถล่ม (สุภมิต ฯ). อกต�ำข้าว [อ๊ก-ต�ำ-เข่า] ก. อาการที่ หัวใจเต้นแรงผิดปกติ. อกแตกตาย [อ๊ก-แตก-ตาย] ก. ตาย เพราะความอัดอั้นตันใจจนทน ไม่ไหว. อง น. ค� ำ น� ำ หน้ า เรี ย กผู ้ มี ย ศหรื อ ต�ำแหน่งทางราชการ เช่น นาย อ�ำเภอองนั่น (นายอ�ำเภอท่าน นั้น), ผู้ว่าองนี่ (ผู้ว่าท่านนี้). อดข้าว [อ๊ด-เข่า] ก. ขาดแคลนข้าว หรือไม่มีข้าวจะกิน เนื่องจากท�ำ นาไม่ได้ผล เช่น ปีนี่บ้านเองอ๊ด เข่ า แท่ ะ ๆ (ปี นี้ บ ้ า นเรา ขาดแคลนไม่มีข้าวจะกินแท้ ๆ). อดข้ า วอดน�้ ำ [อด-เข่า -อด-น่า ม] ก. แห้ ง แล้ง ไม่ได้ท�ำนา ไม่มี ข้ า วกิ น . อดน�้ำให้ขึ้นเขา อดข้าวให้เข้าเมือง [อ๊ด-น่าม-ไห่-ขึน่ -เขา-อ๊ด-เข่า337

ไห่-เข่า-เมือง] (ส�ำ) ท�ำอะไร ให้ถกู กับกาลเทศะ ; ท�ำนองว่า ไม่มนี ำ�้ ดืม่ ให้ไปหาน�ำ้ บนเขา ไม่มี ข้าวกินต้องไปในเมืองหรือตลาด. อดยัดห่า [อ๊ด-ยัด่ -ห่า] ก. โดยปริยาย หมายถึงไม่ได้สิ่งที่คิดว่าจะได้, อ๊ดแดก ก็ว่า. อดส้มไว้กินหวาน [อ๊ด-ส่ม-ไว่-กินหวาน] (ส�ำ) ก. อดใจไว้เพือ่ หวัง สิ่งที่ดีกว่าข้างหน้า ; ตรงกับ ส�ำนวน อดเปรี้ยวไว้กินหวาน เช่ น อดส้ ม ไว้ กิ น หวาน ค� ำ บุราณว่ามาหลาย (นิ.รูปทอง). อนุสาวรียค์ ณ ุ หญิงโม [อะ-นุ-่ สาว-วะลี-คุน-หยิง-โม] น. อนุสาวรีย์ ท้าวสุรนารี แต่เดิมชาวเมือง จะเรี ย กกั น ว่ า “อนุ ส าวรี ย ์ คุณหญิงโม” ชาวเมืองบางคน เรียกว่า “อนุสาวรีย์แม่ใหญ่ โม” ซึ่ ง กรมศิ ล ปากรได้ ใ ห้ ศาสตราจารย์ศลิ ป์ พีระศรี เป็น ผู ้ อ อกแบบและปั ้ น ร่ ว มกั บ พระเทวานิมิตร เป็นรูปหล่อ ด้วยทองแดงรมด�ำ สูง ๑.๘๕ ซ.ม. แต่งกายแบบโบราณด้วย เครื่องยศที่ได้รับพระราชทาน

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


อพิโธ่อพิถัง - อ้วนตุ้ต้ะมะระจิ้มขี้

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ผ้านุ่งกรองทองมี ลายเชิง เสือ้ กรอบทอง ห่มสไบ เฉียงบ่าซ้าย (สะพัก) สวมตุ้มหู สวมตะกรุดพิสมรมงคล ๓ สาย ทับสไบ นิว้ ก้อยและนิว้ นางสวม แหวนนิ้วละวง ไว้ทรงผมดอก กระทุ ่ ม ถอนไร มื อ ซ้ า ยท้ า ว สะเอว มือขวากุมดาบปลาย จรดพืน้ หันหน้าไปทางทิศตะวัน ตกเพื่อแสดงการคารวะใต้ฝ่า ละอองธุ ลี พ ระบาทพระมหา กษัตริย์ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๗๗. อพิโธ่อพิถัง อ. พุทโธ่; ค�ำที่เปล่งออก มาแสดงความเห็ น อกเห็ น ใจ หรือสงสาร. อ้ม น. เนียม; ไม้พุ่มขนาดเล็กในกลุ่ม ต้น “เนียม” ชนิด Sympagis nivea (Craib) Brem. ในวงศ์ Acanthaceae ดอกเล็กสีม่วง อ่อน ใบมีกลิ่นหอม ใช้ผสมปูน กินกับหมาก นักพฤกษศาสตร์ เรียก เนียมสวน. อมดินสอ (ปาก) (ส�ำ) ท�ำการบ้านหรือ ท�ำข้อสอบไม่ได้. อย่า [หฺยา่ ] ว. ใช้ประกอบค�ำกริยาบอก ความห้ามหรือไม่ยอมให้กระท�ำ การต่าง ๆ. อย่าขวางเรือในน�้ำเชี่ยว อย่าสู้เสือ 338

บนดิน [หย่า-ขวง-เลือ-ไนน่าม-เชี่ยว-หย่า-สู่-เสือ-บนดิน] (ส�ำ) น�้ำเชี่ยวอย่าขวาง เรือ, อย่าขวางผู้มีอ�ำนาจหรือ ผู้ที่ก�ำลังโกรธจัด, อย่าต่อสู้กับ ผู ้ มี ก� ำ ลั ง เหนื อ กว่ า ในพื้ น ที่ ที่ เสียเปรียบ เช่น โบราณยังว่า ไว้ว่า อย่าขวางเรือในน�้ำเชี่ยว อย่าสู้เสือบนพื้นดิน เพราะนั่น คือการปราชัยทั้งสิ้น (ท้าวฯ). อย่าด่วน ว. อย่ารีบ เช่น อย่า ด่วนไป. อย่าถือคนบ้า อย่าซาคนเมา (ส�ำ) อย่าถือสาคนที่ขาดสติ, อย่าถือสาหาความ. อย่าเทีย่ ว ว. อย่าหาท�ำ, อย่าท�ำ, อย่าริอ่าน เช่น อย่าเที่ยวไป ขโมยของ (อย่าหาหรืออย่าริ ขโมยของ). อย่าไปเตะตะกร้อ อย่าไปล่อ สีกา [หย่า-ไป-เต๊ะ-ตะ-ก้อหย่า-ไป-ล่อ-สี-กา] (ส�ำ) ค�ำ สอนผู ้ ที่ จ ะบวชเป็ น พระภิ ก ษุ สามเณรมิ ใ ห้ ท� ำ ผิ ด ศี ล หรื อ ข้อห้าม. อย่าเพิม่ ว. อย่าเพิง่ , อย่าเพ่อ. อย่ายึก [หย่า-ยึ่ก] ว. อย่าหือ, อย่าเถียง, อย่าคัดค้าน. อย่ายึกยัก [หย่า-ยึ่ก-ยัก] ว.


พจนานุกรม ภาษาโคราช อย่าหือ, อย่ากระดุกกระดิก. อย่าหา ว. อย่า, ไม่ควร เช่น อย่าหาท�ำ (ไม่ควรท�ำ, อย่าท�ำ), อย่าหาพูด (ไม่ควรพูด), อย่า เที่ยวหา ก็ว่า. อย่าให้แม่คายหมาก [หย่าไห่ - แม่ ะ -คาย-หมาก] (ส� ำ ) ป่วยการเปล่า ๆ, เสียเวลาที่จะ พูด, พูดไปท�ำไมมี, อย่าให้ต้อง พูดเลยก็รู้ ๆ กันอยู่. อยากหัว ก. อยากจะหัวเราะ (ท�ำนอง ว่าให้สะใจ), อยากหัวตั้ว ก็ว่า. อยากหัวตั้ว ดู อยากหัว. อย่าง ว. ใช้ประกอบค�ำอื่นมีความว่า มาก, หลาย, เช่น อย่างสวย (สวยมาก), ไอ้อย่างใหญ่ (ใหญ่ มาก ๆ), หยุง่ อย่างใหญ่ (ยุง่ มาก). อย่ า งกั น นั่ น ว. อย่ า งพรรค์ นั้ น , อย่างนั้น. อย่างเขาอย่างเอง ว. อย่างเขาอย่าง เรา, ยังเขายังเอง ก็ว่า. อย่างเดน ว. อย่างเก่า, เหมือนเก่า, เหมือนเดิม. อย่างว่า โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่พูด ถึงเป็นที่รู้เข้าใจกัน. อยู่กันหง่อมแหง่ม [หยู่-กัน-หฺง่อมแหฺง่ม] ว. อยู่กันตามประสา. อยู่กินหม้อข้าวยังไม่ทันด�ำ [หฺยู่-กินหฺมอ่ -เข่า-ยัง-ไม่-ทัน-ด�ำ] (ส�ำ)

แต่ ง งานกั น ยั ง ไม่ น านก็ ต ้ อ ง เลิกร้างหรือระหองระแหงกัน. อยูด่ กี นิ ได้ พอปานไก่กนิ ด้วง [หยู-่ ดีกิน-ได้-พอ-ปั่น-ไก่-กิน-ด้วง] (ส�ำ) น. มีความเป็นอยู่อย่าง สุขสบาย. อยูฟ่ นื อยูไ่ ฟ ก. อยูไ่ ฟ, นอนใกล้ไฟเพือ่ ให้มดลูกเข้าสู่ภาวะปรกติเร็ว หลังคลอด. อยูอ่ ย่างก้อนเส้า เฝ้าเรือนอย่างแมว ลาย [หยู่-หฺย่าง-ก้อน-เส่าเฝ่า-เลือน-หฺย่าง-แมว-ลาย] (ส�ำ) อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน, อยู่ประจ�ำไม่ไปไหน. อโรคยาศาล [อะ-โล-คะ-ยา-สาน] น. ศาสนสถานรูปทรงปรางค์และ ใช้ เ ป็ น สถานพยาบาลคล้ า ย โรงพยาบาล (สั น นิ ษ ฐานว่ า สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ภายในอาคารประดิษฐาน พระไภษ์ชยคุรุไวทยผู้ประทาน ความสุ ข และความไม่ มี โ รค) บางแห่งเรียกว่า กู่, ปรางค์ก,ู่ กุฏิฤาษี ก็ว่า. อ้วนตุกปุก มีกระดูกอันเดียว [อ้วนตุ้ก-ปุ่ก-มี-กะ-ดูก-อัน-เดียว] (ปริศ) น. กองฟาง, ลอมฟาง. อ้วนตุ้ต้ะมะระจิ้มขี้ [อ้วน-ตุ้-ต้ะ-ม่ะล่ะ-จิ้ม-ขี่] ว. เป็นค�ำหยอกล้อ 339

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


อ่วย - อัศจอรอหันการันต์ยอ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

คนอ้วน. อ่วย ว. เอี้ยว, เบี่ยง, เลี้ยว,วกกลับ เช่น หันหน้าอ่วยน�้ำตาก็ออก (นิ.เพลงอินทปัตถา). อ้วยส้วย ก. นิ่ง, เฉย เช่น นอนลับตา เอ้อ้วยส้วย เขามาขายกล้วย เองจิได้กินอือ....(กล่อมเด็ก). ออกตุ่ม น. อีสุกอีใส. ออกท่า ก. ท�ำที, แสดงกิริยาหรือ อาการให้ผู้อื่นส�ำคัญผิด เช่น ออกท่าถาม (ท�ำทีถาม). ออกร้อน [ออก-ล่อน] ก. มีความรู้สึก ร้อนตามผิวหนัง. ออกร้อนออกแสบ [ออก-ล่อน-ออกแสบ] ก. ปวดแสบปวดร้อน, ปวดระคายแสบและร้อน, ออก แสบออกร้อน ก็ว่า. ออกร้อนออกหนาว [ออก-ล่อน-ออกหนาว] ก. สะบัด ร้อนสะบัด หนาว, อาการร้อน ๆ หนาว ๆ. อ้อกล่อก [อ้อก-ล่อก] ว. มอมแมม, เปรอะเปื้อน, เลอะเทอะ. ออกแสบออกร้อน [ออก-แสบ-ออกล่อน] ดู ออกร้อนออกแสบ. ออกใหม่ น. วั น ข้ า งขึ้ น ของเดื อ น ระหว่างวันขึน้ ๑ ค�ำ่ ถึง ๑๔ ค�ำ่ . อ้อง น. แอก, ไม้หรือสิ่งที่วางขวางบน คอสั ต ว์ เ พื่ อ ใช้ ใ นการไถหรื อ เทียมคู่ลากเกวียน. 340

อ้อง

อ๋อง น. เขียดชนิดหนึง่ ร้องเสียงอ๋อง ๆ. อ่องต่อง ว. งาม, สวย. อ้องแอ้ง ก. อาการทีร่ อ้ งออดอ้อน, เซ้าซี้ หรือรบกวนจะเอาเสียให้ได้. ออดหลอด [ออด-หฺลอด] ๑. ว. หมด เกลี้ยงไม่เหลือหลอ, เกลี้ยง ออดหลอด ก็ว่า. ๒. ว. งาม, สวย, น่ารัก, ออด หลอดแอดแหลด ก็ว่า. ออดหลอดแอดแหลด [ออด-หฺลอดแอด-แหฺลด] ดู ออดหลอด. อ้อน น. มันอ้อน , มันชนิดหนึ่ง, (ดู มันอ้อน ประกอบ). อ่อนยังกะกบ นบยังกะเขียด [อ่อนยัง-ก๊ะ-ก๊บ-น่บ-ยัง-ก๊ะ-เขียด] (ส�ำ) อ่อนน้อมถ่อมตน, แสดง กิริยาวาจานบนอบ. อ้อป้อ ก. ส�ำหรีด, กรีดกราย เช่น ท�ำอ้อป้อล่อเจ้าหนุ่มไปถึงไหน (สุภมิต ฯ). อ้อล่อ น. ขนมบัวลอยแป้งข้าวเหนียว. อ้อยคันร่ม น. อ้อยชนิดหนึง่ ล�ำต้นเล็ก ขนาดเท่านิ้วแม่มือ เคยใช้เป็น ค�ำขวัญของจังหวัดนครราชสีมา.


พจนานุกรม ภาษาโคราช จน-กัว่ -เพือ่ น] (ส�ำ) อับจนกว่า ใคร ๆ. อั๊บหมา ว. ยุให้หมากัดกัน. อัปพะรา [อั๊บ-พ่ะ-ลา] ก. อัปราชัย, พ่ายแพ้อย่างย่อยยับ. อัพลา [อับ๊ -ลา] น. ความพินาศ, ความ เสียหายยับเยิน เช่น เป็นเปลี้ย ง่อยอัพลาโรคาเบียน (นิ.พระ ปาจิต). อั่ว ก. แทรก, ยัด, อัด. อั่วเกวียน [อั่ว-เกียน] ก. เอาไม้ตีอัด ดุมล้อเกวียนให้แคบ เพื่อให้ กระชับ หรือให้พอเหมาะพอดี. อั้วลั่ว ว. มาก, ชุกชุม เช่น ปลาที่อยู่ ในไซ. อั๊วะ ว. อวบ; ถ้าเป็นพืชจะหมายถึงพืช ที่มีล�ำต้นหรือผลอ้วนกว่าปกติ ถ้ า เป็ น คนก็ จ ะหมายถึ ง คนที่ อวบอั๋นมีเ นื้อหนังเต่งตึงกว่า ปกติ แต่ไม่ถึงกับอ้วน. อัศจรรย์ [อั๊ด-ซะ-จัน] ว. ใช้ประกอบ ค�ำอื่นเพื่อเน้นให้ค�ำมีน�้ำหนักมี ความหมายไปในท�ำนองว่ามาก มากเหลือเกิน เช่น ไกลอัศ๊ จรรย์ (ไกลมาก, ไกลจริง ๆ). ซะจรรย์ ก็ว่า. อัศจอรอหันการันต์ยอ [อั๊ด-ซะ-จอลอ-หัน-กา-ลัน-ยอ] (ปาก) ว. ใช้เป็นค�ำพูดเล่นลิน้ หรือส�ำนวน

(ดู อ้อยคันร่ม ส้มขีม้ า่ ผ้าหาง กระรอก ประกอบ). อะดั ก อะดน [อะ-ดั๊ ก -อะ-ดน] ว. อะดักอะเดื่อ, อึดอัดเต็มทน, คับใจเต็มทน, เร่าร้อนใจ เช่น ดูเหมือนคนตีนหักอะดักอะดน (นิ.พระปาจิต). อ่ ะ ย่ ะ ก. นั่ ง ถ่ า งขา, วางสิ่ ง ของ แผ่กระจาย, มากมาย, ดก. อะเรื่ออร่าม ก. อะร้าอร่าม, แต่งตัว ด้วยเครื่องประดับแพรวพราว เช่น ดูอะเรื่ออร่าม โฉมงาม สคราญ (ช้าเจ้าหงส์ ฯ). อะไรเห่อ ว. อะไรนะ, (ดู เห่อ ประกอบ). อั้ ก ว. เสี ย งที่ โ ดนกระแทก เช่ น กระแทกอั้ก. อั๊ก ก. ซ่อนตัวไม่ยอมพบใคร, ถิน่ อีสาน ใช้ว่า อัก. อั้ง ก. ติดอ่าง, ติดอั้ง ก็ว่า. อั้ดตั้ด ว. จ�้ำม�่ำ, อ้วน, อวบ, แน่นขนัด, อัดกันแน่น. อัตไสย [อั๊ด-ตะ-สัย] น. อัธยาศัย, นิสยั ใจคอ เช่น ดอกไม้หมิ พานต์ ตระการเหลือใจ ตามอัตไสย ของน้องเถิดรา (นิ.รูปทอง). อั้น ว. ไม่รับแทง (มักใช้แก่การพนัน หรือหวยใต้ดิน) เช่น เลขตัวนี่ เจ้ามืออั้น. อับกว่าคนจนกว่าเพือ่ น [อับ๊ -กัว่ -คน341

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


อัสสะดะ - อีบุกหูช้าง

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

โวหารในท�ำนองว่า อัศจรรย์. อัสสะดะ [อั๊ด-สะ-ด๊ะ] น. อัสดร, ม้า เช่น มีโรงเรือนโรงม้าอัสสะดะ (นิ.พระปาจิต). อากขะหนาก ก. เอกเขนก, นัง่ หรือนอน เอาศอกข้างหนึ่งเท้ากับหมอน หรือพื้น. อ้ากนาก [อ้าก-นาก] ว. นอนแผ่อย่าง หมดแรง. อากิน ว. อาจิณ, เป็นประจ�ำ, ติดเป็น นิสัย, เสมอ ๆ เช่น บิดาอย่า อากิ น มิ ใ ช่ อิ น ทร์ เ หาะลงมา (นิ.รูปทอง). อ่ า งที่ ก. กิ น ที่ , เปลื อ งที่ เช่ น ไม่เกี่ยวข้องมานั่งอ่างที่คนอื่น อยู่ได้. อ้างล่าง ว. ท้องโตอุ้ยอ้าย. อ้าซ่า ก. นั่ ง ถ่ า งขาเห็ น จะแจ้ ง , อล่ า งฉ่ า ง (มั ก ใช้ กั บ การนั่ ง ของผู้หญิง). อ้าดลาด ๑. ว. นอนอย่างสบาย, นอน เหมือนคนเกียจคร้าน, นอนผึ่ง, นอนเห็นทนโท่. ๒. ว. อ้วนตุ๊ต๊ะ. อ่านขาด ก. สังเกตหรือพิจารณาจน เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง, เข้าใจ อย่างทะลุปรุโปร่ง, รู้ว่าอีกฝ่าย หนึ่งจะท�ำอะไร. อ่านแตก ก. อ่านได้อย่างคล่องแคล่ว, 342

อ่านได้อย่างฉะฉาน, อ่านอย่าง แตกฉาน. อานาง น. อาสะใภ้. อ้าปากหวอ ก. อ้าปากค้าง เช่น นั่งฟัง นิทานอ้าปากหวอ. อาพัดเหล้า [อา-พั่ด-เหฺล่า] ก. เสก เหล้าดื่มก่อนชกมวย. อาย ดู ไอ. อายม้วนต้วน [อาย-ม่วน-ต้วน] ว. แสดงอาการเอียงอายด้วยการ บิดไปมา. อามาตย์ น. อ�ำมาตย์ เช่น เหล่าเสนา อามาตย์ เขาก็ปรารถนาคิด (นิ.เพลงศุภมิตร ฯ) อาโหลว ๑. น. โทรโข่ง, ทรโข่ง, บั๊ก อาโหลว ก็ว่า. ๒. ว. ฮัลโหลว, เสียงทดสอบ ไมโครโฟน, การทักทายเวลา พูดโทรศัพท์. อ�้ำ ก. หม�่ำ, กิน (มักใช้แก่เด็กทารก). อ�ำเท็จ ว. เท็จ, โกหก, ไม่จริง เช่น พูดอ�ำเท็จ. อ�ำพะนึง น. อมพะน�ำ, นิ่งอึ้งไม่พูดจา. อ�ำเพศ น. อาเพศ, เหตุประหลาด ถือเป็นลางไม่ดี เช่น เมือ่ จักเกิด เหตุ เทวาอ�ำเพศ ให้ร้อนกายา (นิ.รูปทอง). อ�ำเภอกลาง น. ชื่อเดิมของอ�ำเภอ โนนสูง, (ดู โนนสูง ประกอบ).


พจนานุกรม ภาษาโคราช อ� ำ อ้ า ย น. ก้ า งปลา, ก้ า งปลา เครื อ ; ไม้ พุ ่ ม กึ่ ง ยื น ต้ น ชนิ ด Phyl lanthus reticulatus Poir. ในวงศ์ Euphor biaceae ใบยาวรี ป ลายทู ่ ออกดอกเป็นกลุ่มตามง่ามใบ ใช้ ท�ำยาได้ . อิ๊กแก้ะ ดู อีกแก้ะ. อิจฉาตาร้อน [อิด๊ -ฉา-ตา-ล่อน] ก. มี ความอิจฉา, เห็นคนอืน่ ได้ดแี ล้ว ไม่พอใจ อยากจะมีหรืออยากจะ เป็นอย่างเขาบ้าง. อิถีเพศ [อิ๊-ถี-เพด] น. อิสตรี, หญิง. อินตรา [อิน-ตา] น. พระอินทร์ เช่น เมื่อนั้นพระอินตรา แลลงมา เห็นเรืองรอง (นิ.รูปทอง). อินถาลัม น. อินทผาลัม. อินออม ดู อีออม. อิ่มเอ้อเร่อ ว. อิ่มแปล้, อิ่มจนจุก. อิ่ ม เอ้ อ เร่ อ พอปานเลอเทิ น หม้ อ [อิ่ม-เอ้อ-เล่อ-พอ-ปั่น-เลอเทิน-หม่อ] (ส�ำ) อิ่มจนจุก, อิ่ม จนแทบจะส�ำรอกออกมา. อิ้ว น. เครื่องหีบฝ้าย. อิสยม [อิด๊ -สะ-หฺยม] น. อิสริยยศ, ยศ ที่แสดงถึงความเป็นเจ้า เช่น ปางเจ้ า จอมพระปาจิ ต อิ ส ยม (นิ.พระปาจิต). อีกแก้ะ ว. อีกแหละ, อิ๊กแก่ะ ก็ว่า. 343

อีจือ น. ท่าหนึ่งของการเล่นสะบ้า (ท่า สะดือ), (ดู สีบา้ สีรอย ประกอบ). อีจู้ น. นกกางเขน. อีดอก น. หญิงที่ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ว่าหมายถึงดอกทองหรือดอก กระทื อ ดง (ใช้ เ ป็ น ค� ำ ด่ า ), (ดู ดอกทอง, ดอกกะทื อ ดง ประกอบ). อีตาเฒ่า [อี-ตา-เถ่า] ส. สรรพนาม บุรุษที่ ๒ แทนผู้ที่เราพูดด้วย เช่น คุณ, แก เป็นต้น. อีตาส้น [อี-ตา-ส่น] ดู ทะเลื่อนส้น ใน สีบ้าสีรอย. อีแต็ดแม็ด น. ค�ำเรียกหญิงที่ก๋ากั่น, หญิ ง ที่ รู ป ชั่ ว ตั ว ด� ำ แล้ ว ยั ง มี กิริยาจัดจ้าน. อีแม็ด, อีหีแม็ด ก็ว่า. อี น าง น. ค� ำ ที่ ผู ้ ใ หญ่ ใ ช้ เ รี ย ก เด็ ก หญิ ง หรื อ หญิ ง ที่ มี อ ายุ อ่ อ นกว่ า ด้ ว ยความเอ็ น ดู หรื อ สนิ ท สนมเป็ น กั น เอง; โดยปริ ย ายหมายถึ ง อี ห นู , ลูกสาวคนเล็ก. อีนุน น. ชื่อไม้ชนิดหนึ่ง, อีนูน, ผักสาบ, แมงชนิดหนึ่งรับประทานได้. อีบุกหูช้าง [อี-บุ๊ก-หู-ช่าง] น. บุก ชนิ ด หนึ่ ง ในสกุ ล Amor phophallus ในวงศ์ Araceae เมื่อแล้งต้นจะตายเหลือหัวอยู่

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


อีเบ้อะ - อีหล่อยป่อยแอ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ใต้ดิน หัวกินได้ และใช้ท�ำยา ได้ด้วย. อีเบ้อะ ว. อีบา้ , หญิงอ้วนเบอะบะหรือ อ้วนใหญ่เทอะทะไม่ได้สัดส่วน. อีปิ [อี-ปิ๊] น. อวัยวะเพศหญิง (มักใช้ แก่เด็ก). อีโป้ น. ผ้าห่มชนิดหนึ่งมีขนต่างจาก ผ้าห่มนวม. อีโปง น. ไม้ที่สอดใต้เส้นยืนในการทอ ผ้า, (ดู โป่งเป้ง ประกอบ). อีผ่อ ดู อีพ่อ. อีโผนอีเผน น. การเล่นอย่างหนึ่ง ทุก คนก�ำมือแล้วใช้นิ้วชี้วางซ้อน ทับสลับกัน ให้คนแรกที่วางนิ้ว อยูล่ า่ งสุดใช้นวิ้ ชีม้ อื อีกข้างหนึง่ เขีย่ ปัดนิว้ ชีค้ นทีอ่ ยูบ่ นสุดไปมา พร้อมกับร้องว่า “อีโผน อีเผน จั๊กกะเหลนหางเน่า น�่ำท่วมเข่า ปลาเป้าลอยคอ หมาหางงอ กอดคอกระเจียวโง้ก” ร้องเสร็จ มือคนที่ถูกเขี่ยก็จะเอาออกไป ซ่อนไว้ข้างหลัง แล้วเขี่ยปัดนิ้ว ต่อมาพร้อมกับร้องเช่นเดิมท�ำ ไปจนครบ จากนั้นก็จะผลัดกัน ถามเวียนเรียงล�ำดับว่า “นิว่ มือ อยูไ่ หน” เจ้าของมือก็จะบอกว่า ไปตลาดบ้าง ไปกรุงเทพ ฯ ไป โรงเรียน ฯลฯ ตามแต่จะตอบ คนถามจะถามต่อไปว่า “เมื่อไร 344

จะมา” คนตอบจะตอบว่า “มา แล่ว” พร้อมกับเอามือออกมา ถามตอบไปจนครบทุกคน แล้ว ทุ ก คนเอามื อ มารวมกั น ขย� ำ พร้อมกับพูดว่า “หยู่หยี่ ๆ ๆ ๆ…” เป็นอันว่าจบการเล่น บาง แห่งเรียกว่า “โพนเพน” ซึ่งก็ เล่นคล้ายกันเพียงแต่ร้องว่า “โพนเพน กะเลนหางนาค น�่ำ ท่วมฟ่า ปลาเป้าลอยคอ หมา หางงอ กอดคอกะเจียววิด แม่ อีลดิ กับแม่อลี อย ตัด๊ ก้านกล้วย มารองบายศรี แม่ส�ำลีตีฆ่อง โหม่ง ๆ” เมือ่ เขีย่ ปัดนิว้ มือหมด เหมือนวิธีแรกก็จะผลัดกันถาม ว่า “ไหนมือมึง” คนถูกถาม จะตอบว่า เกวียนทั่บหั๊ก … กระดานทั่บหั๊ก….. ฯลฯ แล้ว แต่จะตอบ ถามตอบจนครบทุก คน แล้วทุกคนก็เอามือออกมา รวมกันสลัดไปมาพร้อมกับพูด ว่า “นี่มือกู” เป็นอันว่าจบการ เล่น. อีพ่อ น. พ่อคุณ (ค�ำพูดเพือ่ เอาใจชาย หรือแสดงความเอ็นดูรักใคร่ เด็กชาย และบางครั้งใช้เป็นค�ำ ประชด) เช่ น ใจจะขาดอยู ่ รอมร่ อ ว่ า อี พ ่ อ ไม่ เ คยเป็ น (นิ.รูปทอง), อีผ่อ ก็ว่า.


พจนานุกรม ภาษาโคราช อีมันพอแกง (ส�ำ) น. หญิงที่โตมีวุฒิ ภาะวะพอที่ จ ะมี ส ามี ห รื อ มี ครอบครัวได้แล้ว; เปรียบได้กบั มันที่หัวแก่พอจะแกงได้. อีมกุ อีมว่ น ก. ล้มลุกคลุกคลาน, ทุลกั ทุเล. อีเม็ดก�ำโปด [อี-เม่ด-ก�ำ-โปด] น. ท่าขาอ่อน ซึ่งเป็นท่าหนึ่งของ การเล่นสะบ้า, (ดู สีบ้าสีรอย ประกอบ). อีแม็ด ดู อีแต็ดแม็ด. อีโมะ [อี-โม่ะ] น. อวัยวะเพศหญิง, โม่ะ ก็ว่า. อีรุงตุงนัง ว. อีนุงตุงนัง, พันกันยุ่ง, รุงรัง. อีล็อกค็อกแค็ก ก. ท�ำสิ่งหนึ่งสิ่งใดใน ลักษณะทีเล่นทีจริง, ท�ำอย่าง ไม่ตั้งใจ, ท�ำเล่น ๆ หัว ๆ. อีล่อมก้อมแก้ม ก. พูดอ้อมแอ้ม, พูด กลบเกลื่อนความจริง, อีล่อม ป้อมแป้ม ก็ว่า. อีล่อมป้อมแป้ม ดู อีล่อมก้อมแก้ม. อีล่อมพ่อมพ่อก ว. ไม่มีสง่าราศรี. อีลักอีหลูด ว. ทุลักทุเล, อาการที่เป็น ไปอย่ า งขลุ ก ขลั ก , กะปลก กะเปลี้ย เช่น ขมกเขม่าช่างเข่า กอไผ่ งาใหญ้ใหญ่ช่างมิดช่าง หมี่ เดื อ นซิ บ สี่ อ อกลู ก ในนา กระต่ายท�ำงานอีลกั อีหลูด (การ

เล่นขมุกเขม่า), (ดู ขมุกเขม่า ประกอบ). อีลักอีเหลื่อ ก. อิดโรย, เมื่อยล้า. อีลุดอีหลูด ก. หลุดลุ่ย. อีลบุ ตุบตับ [อี-ลุบ่ -ตุบ้ -ตับ้ ] ก. ตุบ้ ตับ้ , เสียงดังอย่างเสียงทุบกัน. อีลูดปู้ดเจื้อก ว. เลอะเทอะ, เปรอะ เปื้อน, ทุลักทุเล, ท�ำด้วยความ ไม่สะดวก. อีลูดปู้ดเจื้อก พอปานป้าป้อนหลาน [อี - ลู ด -ปู ้ ด -เจื้ อ ก-พอ-ปั ่ น ป้า-ป้อน-หลาน] (ส�ำ) อยู่ใน สภาพเปรอะเปื้อน, ท�ำอย่าง ทุลักทุเล; เปรียบได้กับป้อน อาหารเด็กอย่างทุลักทุเล และ เปรอะเปื้อนไปหมด. อีเลดเป้ดป้าด ว. เปะปะ, ซวนเซ, ไม่ตรง ใช้แก่การเดิน ; ก. เดิน ในลักษณะกะปลกกะเปลี้ย. อีสามเรือนค�่ำ (ส�ำ) หญิงที่ไม่ท�ำการ งานเพราะชอบพูดเรื่องคนอื่น หรื อ เรื่ อ งสั พ เพเหระหมดไป วัน ๆ. อีหมุน ดู โป้ก้อย. อีหล่อยป่อย ก. กระมิดกระเมีย้ น, แสดง อาการซ่อนอายลับ ๆ ล่อ ๆ เช่น นั่ ง อี ห ล่ อ ยป่ อ ย (นั่ ง กระมิ ด กระเมีย้ น). อีหล่อยป่อยแอ ว. ลักษณะทีไ่ ม่เอาการ 345

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


อีหีแม็ด - อู้นพู่น

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

งาน. อีหีแม็ด น. ค�ำด่าหญิงเช่นเดียวกับอีหี เคียว, (ดู หีเคียว, อีแต๊ดแม็ด ประกอบ) (ไม่สุภาพ). อีเหงิบอีงบั [อี-เหฺงบิ -อี-งับ่ ] ดู กระดก กระเดื่อง. อีออม [อี-ออม] น. ผักพืน้ บ้าน จัดเป็น พรรณไม้ ล ้ ม ลุ ก ล� ำ ต้ น กลม กลวงเป็นข้อ ๆ ใบเดีย่ วขึ้นตาม ข้อ ปลายดอกสีชมพู โคนดอก สีขาว มีกลิ่นหอมฉุนเผ็ดร้อน, อิ น ออม ก็ ว ่ า , บางถิ่ น ใช้ ว ่ า กะออม, (ข. ปะกามะออม). อีแอะอีแอ่น [อี-แอ๊ะ-อี-แอ่น] ก. เดิน โซเซแอ่นหน้าแอ่นหลัง เช่น การเดินของคนเมา. อีโอ้บ น. คอมแบต, รองเท้าหนังหุม้ ข้อ อย่ า งทหาร, (อ. combat boots). อึ่งกระโดน น. อึ่งชนิดที่หลังมีลายสี น�้ำตาลไม่ค่อยพองตัว. อึง่ พร้าว [อึง่ -พ่าว] น. อึง่ ชนิดทีค่ ล้าย อึ่งกระโดน แต่หลังมีลายเป็น จุด ๆ หน้าสั้นมู่ทู่. อึ่งไม้แดง [อึ่ง-ม่าย-แดง] น. อึ่งที่ อาศัยอยู่ตามโคกหรือป่า นิยม รับประทาน. อึง่ ยาง น. อึง่ ชนิดหนึง่ ผิวหนังเป็นเมือก คล้ายยาง. 346

อึ่งสะแก น. อึ่งชนิดที่ตัวลายเท่าหัวนิ้ว มือสีออกแดง ร้องเสียงแก ๆ หรือ แก้ ๆ. อึ้งลึ่ง ว. ท้องโต, ขึ้นอืด, พองขึ้น. อึ๊ด ก. อด, ไม่มีอะไรจะกิน เช่น อึ๊ด อยาก (อดอยาก). อึ๊ดตะบือ ดู อึ๊ดตะพือ. อึด๊ ตะพือ ว. อึดตะปือ, มาก, ล้นหลาม, อึ๊ดตะบือ, ตะปือ ก็ว่า. อึด้ ตึด้ ว. แน่นจนแออัด, แน่นมาก, โดย ปริยายหมายถึงอาการที่นอน หรือนั่งอย่างคนอ้วนใหญ่. อึตึ [อึ๊-ตึ๊] ก. เฉย, นิ่งเฉยโดยไม่สนใจ ใคร เช่น อย่ารั่กที่ชวน อย่า นัง่ อึต๊ ึ๊ ไม่มวี นั ตาย (เพลงก้อม). อึน ว. ชื้น, แห้งไม่สนิท, หมาด. อึมครึม ว. ครึ้มฟ้าครึ้มฝน, เหตุการณ์ ตึงเครียด. อืดหลืด ก. นอนอย่างคนเกียจคร้าน; ว. อ้วนตุ๊ต๊ะ, อ้วนจนอึดอัด. อื๋อ ว. เข้ม, จัด, แก่ (ใช้แก่สีเขียว), อื๋อ หลือ, ตื้อ ก็ว่า. อื๋อหลือ ดู อื๋อ. อือเนาะ อ. ค�ำที่เปล่งออกมาเพื่อตอบ รับหรือรับรู้. อือออห่อหมก [อือ-ออ-ห่อ-มก] ว. อือออ, พลอยเห็นดีเห็นงามไป ด้วย. อื้ อ แฮะ อ. อื อ , ค� ำ ที่ เ ปล่ ง ออกมา


พจนานุกรม ภาษาโคราช เป็นการตอบรับหรือรับรู้. อุ๊กอั่ง ว. หนักใจ, กลุ้มใจ, กลัดกลุ้ม, อุ๊อั่ง ก็ว่า. อุงพุ่ง น. โชงโลง, เครื่องวิดน�้ำคล้าย เรือครึง่ ท่อน มีดา้ มถือผูกแขวน ไว้ กั บ ขาหยั่ ง แล้ ว จั บ ด้ า ม พุ ้ ย หรื อ วิ ด น�้ ำ เข้ า ออกตาม ต้องการ, อุ้งพุ่ง, อุงมุ่ง, กะโซ่, ปุงโซ่ ก็ว่า. อุ้งพุ่ง ดู อุงพุ่ง. อุงมุ่ง ดู อุงพุ่ง. อุดตูดคะนาน [อุด๊ -ตูด-คะ-นาน] (ส�ำ) เงียบ, นิง่ เฉย; ทะนานถิน่ โคราช ใช้วา่ คะนาน คือ กะลามะพร้าว ใช้ตวงข้าว ถ้าไม่อุดรูที่ก้นข้าว จะรั่วเกิดเสียงดัง.

คะนาน

อุดเตา [อุ๊ด-เตา] น. การเผาเครื่อง ปัน้ ดินเผาในช่วงที่ ๒ โดยใส่ฟนื สุมไฟในเรือนเตาหลังจากรมไฟ อ่ อ น ๆ เพื่ อ เร่ ง ให้ อุ ณ หภู มิ สูงขึ้น, (ดู ลุ่ม ประกอบ). อุตุ [อุ๊-ตุ๊] ว. จ�้ำม�่ำ, ตุ๊ต๊ะ, ใช้ประกอบ ค�ำอ้วนเป็นอ้วนอุ๊ตุ๊. อุเตา [อุ๊-เตา] น. เตาอั้งโล่. 347

อุ ทั จ ก์ [อุ ๊ - ทั่ ด ] น. อุ ท ธั จ , ความ ประหม่า, ความขวยเขิน เช่น แม่ ท องเหลื อ ประสานตาเข้ า ความอุทจั ก์กเ็ พิม่ ตาม (ท้าว ฯ). อุบอิบ [อุ๊บ-อิ๊บ] ว. มุบมิบ, ยักยอก เอาเงียบ ๆ. อุบาทว์ชาติชั่ว ว. อัปรีย์, สารเลว, ชาติชั่ว. อุปภิเษก [อุบ๊ -ป๊ะ-พิ-เสก] ก. อภิเษก, แต่งตั้ง เช่น แล้วอุปภิเษกให้ เป็นใหญ่ยอดบุรี (นิ.พระปาจิต). อุ้มลูกผูกอู่ (ส�ำ) แม่ลูกอ่อน. อุ้ยลุ่ย ว. ตุ๊ตะ, อ้วนตุ๊ตะ. อุ้ยุ่ ว. สิ่งของที่วางหรือกองไว้ไม่เป็น ระเบียบ. อุรัง น. อุรา, อก. อุ๊อั่ง ดู อุ๊กอั่ง. อุ๊อูน ว. มากมาย. อู้คู้ ก. คุดคู้, ขดตัวงอแขนงอเข่า เช่น แลเห็นรูปทอง นี่หรือเจ้าของ ยังนอนอู้คู้ (นิ.รูปทอง). อูด ก. รมด้วยควันไฟ. อูดปูด ก. นอนอย่างสบาย. อู้ดลูด ๑. น. กับข้าวชนิดหนึ่งประกอบ ด้ ว ยหน่ อ ไม้ เ ผาหรื อ ต้ ม แล้ ว เสี้ยนใส่ย่านาง ใบแมงลัก กะทิ เป็นต้น. ๒. ว. เปรอะเปื้อน, เลอะเทอะ. อู้นพู่น ว. พูน, เต็มจนพูน, จุ้นพู่น ก็ว่า.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


อู้ลู่ - เอื้องนางอั่วน้อย

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

อู้ลู่ ก. รัดจนคับหรือตึงจนเนื้อปลิ้น. เอกลาภ น. ลาภอันประเสริฐ เช่น ชรอยจะเป็นบุญญาภินหิ ารแห่ง นครราชสีมาเราเป็นเที่ยงแท้ จึงดลบันดาลให้เราพบเอกลาภ อย่างใหญ่หลวง (ท้าว ฯ). เอกั ง ว. เอกา, หนึ่ ง , คนเดี ย ว, โดดเดียว เช่น ว่าเอกังสมยัง ในครั้งหนึ่ง (สุภมิต ฯ). เอง ส. เรา, พวกเรา; สรรพนามบุรุษ ที่ ๑ ใช้แทนชื่อคนที่พูด บาง กรณีหมายถึงหลายคนรวมทั้ง ผู้พูดด้วย เช่น อย่างเขา อย่าง เอง (อย่างเขาอย่างเราหรือพวก เรา), บ้านเอง (บ้านเรา), เอ็ง, เอ๋ง ก็วา่ เช่น โคราชบ้านเอ๋ง (โคราชบ้านเรา). เอ็ง ดู เอง. เอ่ง ๑. ว. เอ่อ, ปริ่มขึ้นมา, ท้นขึ้นมา เช่น ก็น�้ำเนตรเอ่งพระทัยอั้น (เพลงโคราช). ๒. น. แอ่ง, บ่อน�้ำเล็ก ๆ บน ผิวดิน. เอ๋ง ดู เอง. เอ้งเล่ง ว. อิ่มมาก. เอชา อ. ค�ำที่เปล่งออกมาด้วยความ ดีใจ. เอ้ดเลดอ้าดลาด ก. นัง่ หรือนอนอย่าง คนเกียจคร้าน. 348

เอ้เต้ ก. นัง่ หรือนอนวางท่าอย่างสบาย อารมณ์, เอ่เล่ ก็ว่า เช่น นอน เอ้เต้ (นอนอย่างสบาย). เอ้เล่ ว. พะเนินเทินทึก, มากมายก่าย กอง, สบาย เช่น กองเอ่เล่ (กองพะเนินเทินทึก). เอวกระเดื่อง น. ส่วนหนึ่งของครก กระเดื่ อ งที่ เ ป็ น เสาหรื อ หลั ก รองรั บ แกนที่ ส อดติ ด ตึ ง กั บ กระเดือ่ ง อยูร่ ะหว่างด้านหัวทีม่ ี สากกับด้านหางท�ำเป็นทีเ่ หยียบ แต่เยือ้ งไปทางด้านเหยียบหรือ หางกระเดื่อง. เอวกิ่ว ว. เอวคอดเล็ก. เอ้อเร่อ ว. อิ่มมาก, อิ่มแปล้, อิ่ม จนจุก ; พูดเป็นส�ำนวนว่า อิ่ม เอ้ อ เร่ อ พอปั ่ น เลอเทิ น หม่ อ , แอ้แล่ ก็ว่า. เอ้อเห่อ อ. ค�ำเปล่งเสียงแสดงความ ตกใจหรือประหลาดใจเช่นเดียว กับโอ้โฮ. เอา ก. ร่ ว มประเวณี , ร่ ว มเพศ, แต่งงาน. เอากัน ก. ร่วมประเวณี. เอ้า ว. ร้อน, อบอ้าว. เอาของมาเชิงบาตร ก. น�ำสิ่งของมา ช่วยเจ้าภาพประกอบอาหารใน งานศพ เช่น ข้าวสาร ฟัก แตง พริก พืชผัก ฯลฯ.


พจนานุกรม ภาษาโคราช เอาควายมาส่ง [เอา-ควย-มา-ส่ง] ก. น�ำหญิงทีพ่ าหนีไปอยูก่ นิ ด้วยกัน มาขอขมาพ่อแม่, (ดู ผัวควย เมียควย ประกอบ). เอาเนื้อไปสู่เสือ มันจะเหลือที่ไหน [เอา-เนื่อ-ไป-สู่-เสือ-มัน-จะเหฺลือ-ที่-ไหฺน] (ส�ำ) สิ่งหรือ ประโยชน์ทใี่ ห้ไปแล้วยากทีจ่ ะได้ คืน เช่น จะเอาเนื้อไปสู่เสือ มัน จะเหลื อ ที่ ไ หน คิ ด ดู เ ถิ ด ยาย อย่าได้เชื่อฟัง (นิ.รูปทอง), (ดู หาสู่ ประกอบ). เอาผัว น. มีผัว, มีสามี. เอาเมีย น. มีเมีย, มีภรรยา. เอาลูกเขามาเลีย้ ง เอาเมีย่ งเขามาอม ซื้อขนมให้หมากิน [เอา-ลูกเขา-มา-เลี่ยง-เอา-เหฺมี่ยงเขา-มา-อม-ซื่อ-ขะ-หฺนม-ไห่หมา-กิน] (ส�ำ) ก. เอาลูกคน อื่นมาเลี้ยงแต่ตนเองได้รับผล ตอบแทนที่เดือดร้อนวุ่นวาย. เอาศึกมาสู่บ้าน เอาว่านมาสู่สวน [เอา-ซึ ก -มา-สู ่ - บ้ า น-เอาหว่าน-มา-สู-่ สวน] (ส�ำ) ก. เอา ความเดือดร้อนมาสูค่ รอบครัว. เอาใหญ่เอาโต ก. เอาใหญ่, เหิมเกริม, ก�ำเริบ, ล�ำพอง, ได้ใจ. ......เอา........เอา ก. ใช้ประกอบค�ำเพือ่ เน้นแสดงถึงความต่อเนือ่ ง เช่น

กินเอากินเอา, อ้วนเอาอ้วนเอา. เอ๊าะเยาะ ก. ล้มลงไปนอนกองที่พื้น เช่น ถูกชกลงไปกองเอ๊าะเยาะ, กองสิ่งของขนาดเล็ก ๆ อย่าง ไม่เป็นระเบียบ, กองไว้ไม่เป็นที่ ; ถ้าเป็นกองขนาดใหญ่ เรียกว่า อ่ะย่ะ. เอิดเติด ก. นั่งหรือนอนอย่างสบาย, เชิดหน้า. เอิน่ เทิน่ ว. สูงเด่น เช่น ภูเขาสูงเอิน่ เทิน่ . เอิ๊บ อ. แสดงความประหลาดใจ เช่น เดียวกับค�ำว่า อ๊ะ. เอี่ยกเหมียก ว. มอมแมม. เอี้ยเลี่ย ว. อิ่มจนจะอาเจียน, อิ่มจนถึง ใจ เช่น เห็นแล่วก็ยังเอี้ยเลี่ย อยู่เลย (เห็นแล้วยังอิ่มจนเบื่อ อยู่เลย). เอี๊ยะ ก. แหวะ, อาการที่เด็กทารก ส�ำรอกอาหารออกมาเพราะกิน อิ่มเกินไป. เอื้องกุหลาบโคราช น. กล้วยไม้ชนิด Habenaria dentata Schltr. ในวงศ์ Orchidaceae เป็น กล้วยไม้ทเี่ ป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ถิ่ น โคราช, กุ ห ลาบเหลื อ ง โคราช ก็ว่า. เอื้องนางอั่วน้อย [เอื้อง-นาง-อั่วน่อย] น. กล้วยไม้ชนิด Aerides houlletiana Reichb. f. ในวงศ์ 349

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


เอื้องสามดอก - โอส้ม

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

Orchidaceae, ถิ่นเชียงใหม่ เรียก เอื้องข้าวตอก. เอื้ อ งสามดอก น. กล้ ว ยไม้ ช นิ ด Coelogyne viscosa Reichb. f. ในวงศ์ Orchidaceae. เอื่อย ว. เรื่อย ๆ, ลักษณะอาการที่ต่อ เนื่องกันไม่ขาดระยะ เช่น คน เดินมาเอื่อย, ร่ถมาไหลเอื่อย. แอ็ค [แอ่ค] ก. เก๊ก, วางท่า, ยียวน. แสดงอาการที่ น ่ า หมั่ น ไส้ , ขี่แอ่ค ก็ว่า. แอ้งแล่ง ว. แอ้งแม้ง เช่น นอนแอ้ง แล่ง (นอนแอ้งแม้ง). แอ้ดแซด ว. อ่อนเพลีย, อ่อนเปลี้ย, หมดแรง. แอ้ดแต้ด ว. แน่นขนัด, อัดกันแน่น. แอ้ดรถ [แอ้ด-ล่ด] น. การ์ดรถ, เด็กรถ, กระเป๋ารถ. แอ้ดแล่ด ก. นอนซม, นอนแอ้งแม้ง. แอ๊ดสะไพ น. การเล่นซ่อนหา โดยให้ คนหนึ่งเป็นคนหา อีกกลุ่มหนึ่ง จะไปซ่อน เมื่อคนที่หาเจอก็จะ พูดว่า“แอ๊ดสะไพ” แล้วเอ่ย หรือเรียกชื่อคนที่เจอ ถ้าเรียก ถูกต้องคน ๆ นั้นก็จะไปเป็นคน หาแทน แต่ถ้าเรียกชื่อไม่ถูก ต้องแล้วคน ๆ นัน้ หรือคนอืน่ ที่ ซ่อนวิ่งมาแตะตัวคนหาพร้อม กับพูดว่า “ป๊อก” ได้ ถือว่า 350

คนหาแพ้ต้องเริ่มต้นเล่นใหม่, เล่นซุก ก็ว่า. แอบแปะ [แอบ-แป๊ะ] ว. พึ่งพาอาศัย คนอื่น, ได้ดีเพราะมีคนอื่นช่วย, แอ่มแปะ ก็ว่า. แอ้ม ว. ต้องการสิง่ ใดสิง่ หนึง่ อย่างมีนยั . แอ่มแปะ ดู แอบแปะ. แอ้แล่ ว. อิม่ หน�ำ, อิม่ แปล้, (ดู เอ้อเร่อ ประกอบ). แอ้ว ว. เบี้ยว, คอด, กิ่ว (ใช้แก่ผลไม้). แอ๊ะ ก. เมาเหล้าจนครองสติไม่อยู่ เช่น พ่อแกแอ๊ะมาเลย, เมาแอ๊ะ ก็วา่ , (ดู อีแอ๊ะอีแอ่น ประกอบ). แอ๊ะแยะ ก. วางกองไว้ไม่เป็นระเบียบ. โอ ๑ น. ขันน�้ำขนาดเล็ก. ๒ ว. กลิ่นเหม็น, เหม็นเน่า เช่น กลิ่นโอ (กลิ่นเหม็นเน่า). โอ่ น. การขึ้นเพลง เป็นธรรมเนียม ก่อนจะร้องเพลงโคราชจะต้อง มีการขึ้นเพลง ด้วยการโอ่….. เรียกว่า ธรณีบทต้น ก็มี. โอก ว. โต, ใหญ่, โตใหญ่กว่าใคร ในพวก เช่น ไก่โอก. โอ้กโลก ว. ขาวจัว๊ ะ, ให้รสู้ กึ ว่าขาวมาก. โอ้กอ้าก ก. เสียงอย่างอาเจียน, โดย ปริ ย ายหมายถึ ง คนติ ด เหล้ า เพี ย งแต่ ไ ด้ ก ลิ่ น เหล้ า ก็ จ ะ ส่งเสียงโอ้กอ้าก. โอด ก. โน้มกิ่งไม้.


พจนานุกรม ภาษาโคราช โอ้ดโซด ว. บวมฉุ. โอดอง [โอด-อง] ว. สะโอดสะอง, สูงโปร่งงาม.

ตาแป๊ะ อัศวินเจ๊กแคระตาแปะ หนวดยาว. โอมเพีย้ ง อ. ค�ำอธิษฐานแล้วเปล่งออก มาเพื่ อ ต้ อ งการให้ เ กิ ด ความ ศักดิ์สิทธิ์ตามที่ต้องการ. โอย อ. ค�ำที่เปล่งออกมาประกอบกับ ค� ำ อื่ น เพื่ อ ให้ มี ค วามหมาย ชัดเจน เช่น โอยอย่างนี้ไม่เอา หรอก, โอ๊ย ก็ว่า. โอ๊ย ดู โอย. โอ้โล่ ว. ลักษณะที่เอาผ้าคาดเอวแล้ว มัดหลวม ๆ.

โอเผียง

โอเผียง ก. วิธีการหาผู้ชนะและผู้แพ้ เพื่อเริ่มต้นในการเล่นของเด็ก ในกรณีที่การเล่นนั้นใช้ผู้เล่น ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป โดยผู้เล่น ทั้งหมดยืนเป็นวงกลมหันหน้า เข้ า หากั น ใช้ มื อ ข้ า งหนึ่ ง ยื่ น สะบั ด ไปมาพร้ อ มกั บ พู ด ว่ า “โอเผียง” เมือ่ สิน้ ค�ำว่าโอเผียง ทุกคนจะหงายมือหรือคว�่ำมือ จะถือการคว�ำ่ หงายของมือทีม่ าก กว่าเป็นฝ่ายชนะ ฝ่ายชนะจะ ออกไป ท� ำ เช่ น นี้ จ นกว่ า จะ เหลือคนเดียว แต่ถ้าเหลือ ๒ คนสุดท้ายต้องใช้วิธีโอส้มกัน (ดูโอส้มประกอบ) เพือ่ ให้เหลือ ผู้แพ้เพียงคนเดียว บางแห่ง เรียกว่า โออาเหล่าตาแป๊ะ มีวธิ ี การเช่นเดียวกับโอเผียง เพียง แต่พูดพร้อมกันว่า “โออาเหล่า

โอส้ม

โอส้ม [โอ-ส่ม] ก. วิธีการหาผู้ชนะและ ผูแ้ พ้ เพือ่ เริม่ ต้นในการเล่นของ เด็ ก ในกรณี ที่ ก ารเล่ น นั้ น ใช้ ผูเ้ ล่น ๒ คน โดยทัง้ คูจ่ ะเอามือ ข้างหนึ่งซุกไว้ข้างหลัง แล้วน�ำ มาแสดงต่อกันพร้อมกับพูดว่า “โอส้ม” ถ้าฝ่ายหนึ่งก�ำก�ำปั้น อีกฝ่ายชูสองนิ้ว ฝ่ายชูสองนิ้ว จะแพ้ เ พราะก� ำ ก� ำ ปั ้ น เหมื อ น 351

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


โออาเหล่าตาแป๊ะ - แฮ, แฮ่ ๆ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

ฆ้อน จะทุบสองนิ้วซึ่งเหมือน กรรไกร ถ้าฝ่ายหนึ่งก�ำก�ำปั้น อีกฝ่ายหนึ่งแบมือ ฝ่ายแบมือ จะชนะเพราะแบมื อ เหมื อ น กระดาษสามารถห่อหุม้ ก�ำปัน้ ได้ ในกรณีทฝ่ี า่ ยหนึง่ แบมืออีกฝ่าย ชูสองนิว้ ฝ่ายชูสองนิว้ เป็นฝ่าย ชนะ เพราะสองนิ้ ว เหมื อ น กรรไกรสามารถตัดแบมือซึ่ง เหมือนกระดาษได้ แต่ถ้าต่าง ฝ่ายต่างกระท�ำเหมือนกัน เช่น แบมือต่อแบมือ ชูสองนิ้วต่อชู สองนิ้ว หรือชูก�ำปั้นต่อก�ำปั้น ถือว่าเสมอกัน ต้องเริ่มต้นใหม่ ท�ำไปจนกว่าจะได้ผู้ชนะและผู้ แพ้ ภาคกลางเรียก เป่ายิงฉุบ. โออาเหล่าตาแป๊ะ ดู โอเผียง. ไอ ว. อะไร, อาย, ไอ๋ ก็ว่า เช่น ท�ำอาย (ท�ำอะไร). ไอเยอ ว. อะไรนะ, ไอ๋เยอ ก็ว่า. ไอ๋ ดู ไอ. ไอ๋เยอ ดู ไอ. ไอค็อกไอแค็ก ดู ไอแค็ก ๆ. ไอค็อกไอแค็ก ไอกระด๊อกไอกระแด๊ก ดู ไอแค็ก ๆ. ไอแค็ก ๆ [ไอ-แค็ก-แค็ก] ก. เสียงดัง เช่นนัน้ อย่างเสียงไอ, ค็อกแค็ก, ไอค็อกไอแค็ก,ไอค็อกไอแค็ก ไอกระด๊อกไอกระแด๊ก ก็ว่า. 352

ไอ้ดำ� กะไอ้แดง ต่อยกันขีม้ กู โป่ง [ไอ้ด�ำ-ก๊ะ-ไอ้-แดง-ต่อย-กัน-ขี่มูก-โป่ง] (ปริศ) น. หม้อข้าวตัง้ บนเตาไฟแดง ๆ ก�ำลังเดือด ; หม้อดินหรือหม้อทั่วไปที่ก้นด�ำ เพราะถูกก้อนถ่านแดง ๆ ลนจน เดือด. ไอ้หนึ่งพาเป็น ไอ้หนึ่งพาตาย (ส�ำ) มี สิ่งหนึ่งให้คุณ แต่ก็มีอีกสิ่งหนึ่ง ให้โทษ. ไอ้หยา อ. ค�ำทีเ่ ปล่งออกมาแสดงความ ตกใจ, ประหลาดใจ เป็นต้น เช่น เดียวกับค�ำว่า โอ้โฮ. ไอ้หอกหัก [ไอ้-หอก-ฮัก] ว. ไอ้หอก; ใช้เป็นค�ำด่าอย่างหนึ่งท�ำนอง ว่าไอ้เฮงซวย. ไอ้ห่า น. ค�ำที่แทนคนฟังระหว่างคนที่ สนิทสนมพูดกัน เช่น ไอ้หา่ นี่ (ไอ้ นี่), ไอ้ห่าเอ้ยท�ำไมท�ำอย่างนั่น (แกท�ำไมท�ำอย่างนั้น). ไอ้หุ้ม ไอ้หั่น ปลายแดงนั่น เข้าหนึ่งรู ออกสองรู [ไอ้-หุ่ม-ไอ้-หั่นปาย-แดง-นั่น-เข่า-หฺนึ่ง-ลูออก-สอง-ลู] (ปริศ) น. บุหรี่. ไอ้อย่าง ว. ใช้น�ำหน้าค�ำวิเศษณ์เพื่อ เน้นค�ำหรือเพิ่มน�้ำหนักของค�ำ เช่น ไอ้อย่างใหญ่ (ใหญ่มาก), ไอ้อย่างสวย (สวยมาก, สวย จริง ๆ), ไอ้อย่างซวย (ซวยจริง ๆ).


พจนานุกรม ภาษาโคราช

ฮกกระได น. บันได, หัวกระได ก็ว่า. ฮกคะนา น. คันนา, (ดู คะนา ประกอบ). ฮวก ก. เสียงซดน�้ำแกงหรืออาหาร ที่เป็นน�้ำดัง ๆ, ฮวก ๆ ก็ว่า. ฮวก ๆ ดู ฮวก. ฮอน น. ส่วนหนึง่ ของล�ำโพงใช้หมุนเข้า เกลียวกับก้นดอกล�ำโพง.

ฮอน

ฮั่ก ๆ ก. แฮก ๆ, อาการที่หอบถี่ ๆ เพราะเหนื่อย. ฮา ก. เสียงถอนหายใจเบา ๆ, เสียง พ่นไอร้อนจากปาก, เสียงเป่า เบา ๆ ข้างกล่องไม้ขดี ไฟทีเ่ ปียก ชื้นให้แห้ง. ฮิว้ ก. เสียงโห่, เสียงโห่เมือ่ เพลงโคราช ร้องถูกอกถูกใจ หรือเมื่อเพลง โคราชร้ อ งจบเป็ น การแสดง ความพออกพอใจ. ฮิ้ว ๆ ก. เสียงร้องเยาะเย้ย พร้อมด้วย 353

อาการกระดกนิว้ ชีห้ รือนิว้ ทัง้ ห้า ตรงไปยังผู้ที่ถูกเยาะเย้ย. ฮึก ๑. ว. ใหญ่, หนา, อ้วนล�่ำผิด ปกติ. ๒. ก. หว่านไม่กระจาย (ใช้แก่ แห) เช่น แหมันไม่ฮึกเลยไม่ ค่อยได้ปลา. ฮึ่ม ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงของ หนัก ๆ ล้มหรือตกเป็นต้น เช่น ต้นไม่ล่มฮึ่ม (ต้นไม้ล้มดังฮึ่ม หรือดังโครม), เสียงฟ้าร้อง เช่น ฟ่าร่องฮึ่ม ๆ. เฮย ว. ค�ำสร้อยที่ประกอบต่อท้ายค�ำ เพื่ อ เน้ น ค� ำ มี ค วามหมาย ท�ำนองว่า เอย, เอ๋ย, เฮ้ย เช่น แจ่ ม เฮยมี ค นจิ ม าขอลู ก สาว (แจ่มเอย, แจ่มเอ๋ย มีคนจะมา ขอลูกสาว), นอนไม่ได้เลยเฮย (นอนไม่ได้เลยเฮ้ย), (ดู เด่เฮย ประกอบ). เฮอะฮะ ก. ร้องเอะอะ, โวยวาย. แฮ, แฮ่ ๆ ๑. ว. แหะ ๆ, เสียงอย่าง หัวเราะ เช่น ท�ำหุน ๆ หัน ๆ เลยหงินฟันแฮ่ ๆ (เพลงโคราช), (ดู หงินฟัน ประกอบ). ๒. ดู แฮะ ๆ.

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ


แฮ่เข้าใส่ - แฮะ ๆ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฐ ฒ ด ต ถ ท ธ น บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ฤ ล ว ศ ส ห อ ฮ

แฮ่เข้าใส่ [แฮ่-เข่า-ไส่] ก. เสียงสัตว์ เช่น หมา ขู่ค�ำรามท�ำท่าว่าจะ เข้าท�ำร้าย. แฮ็ด ๆ ก. ท�ำกิริยาแสดงร่านผู้ชาย (เป็ น ค� ำ ต� ำ หนิ ห รื อ เชิ ง ห้ า ม ปรามหญิง) เช่น จะแฮ็ด ๆ ไป ทางไหนอีก. แฮ็ ด คอ [แฮ่ ด -คอ] ก. บาดคอ,

354

ระคายคอ, ติดคอเนื่องจากดื่ม หรือกินของทีม่ รี สเข้ม เช่น หวาน จนแฮ่ดคอ (หวานจนบาดคอ). แฮ่ะ ก. ค�ำทัก หรือบอกให้รู้ตัว เช่น แฮ่ะท�ำอิ๊กแล่ว (นี่ท�ำอีกแล้ว, แน่ะท�ำอีกแล้ว). แฮะ ๆ ก. เสียงร้องห้ามปรามเพือ่ ให้ หยุดการกระท�ำ, แฮ่, แฮ่ ๆ ก็วา่ .


เอกสารอ้างอิง นิทานค�ำกาพย์ เรื่องกุศราช. (๒๕๓๘). นฤมล ปิยวิทย์ ปริวัตร รวบรวม ส�ำนักศิลปะ และวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครราชสีมา, เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม. นิทานค�ำกาพย์ เรื่องรูปทอง. (๒๕๓๘). นฤมล ปิยวิทย์ ปริวัตร รวบรวม ส�ำนัก ศิลปะและวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครราชสีมา, เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. (๒๕๓๘). กรุงเทพ ฯ : เพื่อนพิมพ์. กรมศิลปากร. (๒๕๓๑). เมืองพิมาย. พิมพ์ครัง้ ที่ ๖, : กรุงเทพ ฯ : โชคเจริญมาร์เก็ตติง้ . . (๒๕๔๖). น�ำชมอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย. พิมพ์ครั้งที่ ๒, นครราชสีมา : โจเซฟ ปรินท์ติ้ง. กระทรวงศึกษาธิการ, กรมพลศึกษา. (๒๕๒๕). ปทานุกรมกีฬาพื้นเมือง. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์. กระทรวงศึกษาธิการ, กรมวิชาการ. (๒๕๔๑). พจนานุกรม (ร.ศ.๑๒๐). กรุงเทพฯ : คุรสุ ภา ลาดพร้าว. กระทรวงศึกษาธิการ, ส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ของดี โคราช เล่มที่ ๒ จดหมายจากโคราช. กรุงเทพฯ : สหสินวัฒนา. . (๒๕๒๕). ของดีโคราช เล่มที่ ๓ บันทึกจากโคราช. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. . (๒๕๓๔). ประเพณีการบวช การแต่งงาน และการจัดงานศพอย่างประหยัด. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ. ขรรค์ชัย บุนปาน และสุจิตต์ วงศ์เทศ. (๒๕๕๘). โคราชของเรา. ฉบับพิเศษ, นนทบุรี : มติชนปากเกร็ด. ไขศิริ ปราโมช ณ อยุธยา. (๒๕๒๙). การเปลี่ยนแปลงถ้อยค�ำและความหมายของ ส�ำนวนไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะกรรมการโครงการพจนานุกรมอีสาน – กลาง ฉบับ มข.– สวอ. (๒๕๒๓). พจนานุกรมอีสาน – กลาง ฉบับ มข. – สวอ. ขอนแก่น : ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท. คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอ�ำนวยการจัดงาน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสพระราชพิธมี หามงคล 355


เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒. (๒๕๔๓). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัตศิ าสตร์ เอกลักษณ์และภูมปิ ญ ั ญา จังหวัดนครราชสีมา. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว. ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และพรพิไล เลิศวิชา. (๒๕๔๑). วัฒนธรรมหมู่บ้านไทย. พิมพ์ ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฉ�่ำ ทองค�ำวรรณ. (๒๕๐๓). หลักภาษาเขมร. กรุงเทพฯ : รุ่งเรืองธรรม. โชค กัลยาณมิตร. (๒๕๑๘). พจนานุกรมสถาปัตยกรรมและศิลปะเกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ : ศิริมิตรการพิมพ์. ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (๒๕๒๓). ภาษา – พาสาร ก – ค ๒๐๐ ส�ำนวน. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์บรรณกิจ. ถาวร สุบงกช และคณะ. (๒๕๒๖). เพลงโคราช : การศึกษาเชิงวิเคราะห์และวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ : ที.พี.พริ้นท์. . (๒๕๒๖). ภาษาถิ่นโคราช : การวิเคราะห์เรื่องเสียงและความหมาย. นครราชสีมา : สมบูรณ์ออฟเซ็ทการพิมพ์. ธวัช ปุณโณทก. (๒๕๑๙). สุภมิต-เกศีนี. รายงานการศึกษาค้นคว้าวรรณคดีโคราช, เอกสารการนิเทศการศึกษา ฉบับที่ ๑๘๓ หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการ ฝกึ หัดครู. ศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูนครราชสีมา. (๒๕๓๐). วัฒนธรรมพื้นบ้านนครราชสีมา. นครราชสีมา : โคราชออฟเซ็ท การพิมพ์. บ�ำรุงสุวรรณ, หลวง. (๒๕๓๘). นิทานค�ำกลอน เรื่องพระปาจิต. ส�ำนักศิลปะและ วัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครราชสีมา, เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม. บุปผา บุญทิพย์. (๒๕๒๙). คติชาวบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ ๘, กรุงเทพฯ : ฝ่ายต�ำราและ อุปกรณ์การศึกษา มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง. ปรีชา อุยตระกูล. (๒๕๒๒). วรรณกรรมพื้นบ้านจากต�ำบลรังกาใหญ่ อ�ำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. เอกสารนิเทศการศึกษา กรมการฝึกหัดครู. เปลือ้ ง ณ นคร. (๒๕๒๕). พจนะ – สารานุกรม ฉบับทันสมัย เล่ม ๑ – ๒. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. พระมหาวีระวงศ์ (ติสฺสมหาเถระ), สมเด็จ. (๒๕๔๑). พจนานุกรมภาคอีสาน – ภาค กลาง. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. มนตรี ตราโมท. (๒๔๙๗ ). การเล่นของไทย. กรุงเทพฯ : ท่าพระจันทร์. มูลนิธสิ ารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (๒๕๓๔). สารานุกรมวัฒนธรรม 356


ไทย ภาคกลาง เล่ม ๑ – ๑๕. กรุงเทพฯ : สยามเพรสแมนเนจเม้นท์. . (๒๕๓๔). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม ๑ – ๑๕. กรุงเทพฯ : สยามเพรสแมนเนจเม้นท์. ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๖). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั เนือ่ งในโอกาสพระราชพิธมี หา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ศิริ วัฒนาอินเตอร์พริ้นท์. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (๒๕๓๙). พจนานุกรมสัตว์และพืชในเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : รวมสาส์น (๑๙๗๗). . (๒๕๔๘). พจนานุกรมสมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๖, กรุงเทพ ฯ : รวมสาส์น (๑๙๗๗). ศรีโยธา, พ.ต., หลวง และคณะ. (๒๔๗๗). ท้าวสุระนารี. ม.ป.ท. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา, ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. (๒๕๓๘). ของดีโคราช เล่มที่ ๔ สาขากีฬาและนันทนาการ. นครราชสีมา : ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏ นครราชสีมา. สถาบันราชภัฏนครราชสีมา, ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม. (ม.ป.ป.). ของดีโคราช เล่ม ๕ สาขา การช่างฝีมือ. กรุงเทพฯ : ที.พี.ปริ๊นท์. สนอง โกสัย และคณะ. (๒๕๒๗). การศึกษานิทานพืน้ บ้านจากตะคร้อ (ต�ำบลด่านจาก อ�ำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา). เอกสารโรเนียวเย็บเล่ม. . (๒๕๓๐). “ไทยตีหม้อ ใน วัฒนธรรมไทย”. วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๓ มีนาคม ๒๕๓๐ หน้า ๕๑-๕๖. ส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (๒๕๓๒). วัฒนธรรมพืน้ บ้าน : กรณีอสี าน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ. ส�ำนักพจนานุกรมมติชน. (๒๕๔๗). พจนานุกรมฉบับมติชน. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์ มติชน. ส�ำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, ส�ำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ. (๒๕๔๐). วัฒนธรรมทางภาษาไทย. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์. ส�ำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครราชสีมา. (๒๕๔๑). ของดีโคราช เล่มที่ ๑ สาขามนุษยศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง. . (๒๕๕๔). ของดีโคราช เล่มที่ ๕ สาขาการช่างฝีมอื . พิมพ์ครัง้ ที่ ๒, กรุงเทพฯ : เฟือ่ งฟ้าพริน้ ติง้ . 357


สุจิตต์ วงษ์เทศ. (๒๕๔๙). “พลังลาว” ชาวอีสานมาจากไหน ?. กรุงเทพฯ : ส�ำนักพิมพ์มติชน. สุบงกชศึกษากร, ขุน. (๒๕๒๑). “ภาษาส�ำเนียงโคราช” ใน ของดีโคราช. นครราชสีมา : ตราเสือการพิมพ์. . (๒๕๓๘). “การเล่นช้าเจ้าหงส์” ใน ของดีโคราช เล่มที่ ๔ สาขาการกีฬา และนั น ทนาการ. นครราชสี มา : ศู น ย์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรม สถาบั น ราชภั ฏ นครราชสีมา. สุพร ศุภสร. (๒๕๓๐). “การก่อสร้างก�ำแพงและซุ้มประตูนครราชสีมา” ใน ที่ระลึกใน พิธเี ปิดหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ร.๙ นครราชสีมา วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ. เสถียร โกเศศ. (๒๕๓๒). ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต : แต่งงาน. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : แม่ค�ำผาง. อนุมานราชธน, พระยา. (๒๕๓๒). ประเพณีเบ็ดเตล็ด. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว. อเนก นาวิกมูล. (๒๕๓๗). “หน่วยที่ ๕ เพลงพื้นบ้านภาคต่าง ๆ” ใน ภาษาไทย ๘ คติชนวิทยาส�ำหรับครู). พิมพ์ครั้งที่ ๓, นนทบุรี : ส�ำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

358


ภาคผนวก



เพลงมาร์ชราชสีมา เนื้อร้อง – ทำ�นอง หลวงวิจิตรวาทการ ( สร้อย ) ราชสีมาเหมือนดังศิลาที่ก่อกำ�แพง สยามจะเรืองกระเดื่องเดชแรง ด้วยมีกำ�แพงคือราชสีมา ชาวนครราชสีมาแต่โบราณ เหี้ยมฮึกกล้าหาญยิ่งนักหนา ศึกเสือเหนือใต้ข้างไหนมา เลือดนครราชสีมาไม่แพ้ใคร ( สร้อย ) แต่ก่อนกาลท่านวีรสตรี กล้าหาญยอดยิ่งผู้หญิงไทย

ท้าวสุรนารีผู้เป็นใหญ่ มิ่งขวัญธงชัยของเมืองเรา

( สร้อย ) มาเถอะเราชาวนครราชสีมา หากศัตรูไม่เกรงข่มเหงเรา

หน้าเดินรีบมาสู้กับเขา สู้เขาสู้กันอย่าพรั่นใจ

( สร้อย )

หมายเหตุ ๑. เป็นเพลงประจำ�จังหวัด ในอดีตทุกโรงเรียน ทุกวงการ ตลอดจน การอบรม ลูกเสือ ลูกเสือชาวบ้านทุกรุ่น จะต้องร้องเพลงนี้ ๒. คนโคราชควรจะร้องให้ได้กันทุกคน 361


รายนามผู้สนับสนุนในการจัดพิมพ์ "อันความกรุณาปรานี หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ

จะมีใครบังคับก็หาไม่ จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน"

หนังสือ “พจนานุกรมภาษาโคราช” นี้ สำ�เร็จได้ด้วยผู้ให้การสนับสนุน ดังนี้ ๑. จังหวัดนครราชสีมา ๑๕๐,๐๐๐ บาท ๒. แม่ทัพภาคที่ ๒ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ๓. ชมรมเพื่อนครูสุขานารี ๑๒,๑๐๐ บาท ๔. ศิษย์เก่าสุรนารี รุ่น ๐๗ (จำ�นวน ๑๔ คน) ๑๒,๐๐๐ บาท ๕. ศ.(พิเศษ) ดร.นพ. สำ�เริง แหยงกระโทก ๑๐,๐๐๐ บาท ๖. คุณสมศักดิ์ ทรงทรัพย์กุล (ร้านรักเจริญยนต์ อ.ครบุรี) ๑๐,๐๐๐ บาท ๗. ชมรมภูมิปัญญาไทยโคราช ๖,๕๐๐ บาท ๘. ชมรมอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมพื้นบ้านโคราช จิตอาสาราชประชาสมาสัย ๕,๗๐๐ บาท ๙. คุณประคอง จันเทียะ ๕,๐๐๐ บาท ๑๐. คุณสุชาติ พวงจันทึก ๕,๐๐๐ บาท ๑๑. คุณพัฒฑิพงษ์ สิทธิเวชสวรรค์ ๕,๐๐๐ บาท ๑๒. คุณประทีป-พญ.วันวิสา จันทร์หมื่นไวย ๕,๐๐๐ บาท ๑๓. คุณเยาวลักษณ์ สมุทรสาคร, คุณชุษณา เมตต์การุณ์จิต ๕,๐๐๐ บาท ๑๔. คุณภาษิตา ทิพย์ประภา, คุณกาญจนา แจ่มอุลิตรัตน์ ๕,๐๐๐ บาท ๑๕. คุณแพรวพราย รัตนดิลกพานิชย์, คุณสุมนา ทัณฑเศรษฐี ๕,๐๐๐ บาท ๑๖. คุณประภาวดี จิรังบุญกุล, คุณลูกอินทร์ นิลคูหา ๕,๐๐๐ บาท ๑๗. บริษัท เอ็นเอชแอล เทรลเลอร์ จำ�กัด, หจก. ราชสีมาง่วนฮงหลีเครื่องชั่ง (นครราชสีมา) ๕,๐๐๐ บาท ๑๘. คุณพิมพ์ผกา พงศ์ผาสุก, คุณสุวรรณ พิมพกรรณ์, 362


คุณชัชวรรษ์ เกิดปรางค์ ๕,๐๐๐ บาท ๑๙. คุณภัสสรินทร์ บุญญฤทธิ์, คุณศิริรักษ์ วิเชียรทวี, คุณประเทือง เทพธรณี ๕,๐๐๐ บาท ๒๐. คุณประไพพรรณ สุวัฒนะพงศ์เชฏ, คุณสาลินี จงขวัญยืน, คุณปราจิญ วิศาลสวัสดิ์ ๕,๐๐๐ บาท ๒๑. คุณศันสนีย์ ครบนพรัตน์, คุณวรวรรณ โถทองคำ�, คุณวัณณี ฤทธิ์เลิศ ๕,๐๐๐ บาท ๒๒. คุณเบญจรัตน์ กองกาญจนะ, คุณเบญจรัตน์ อรุณเรื่อ, สมาชิกชมรมอายุยืน ๒๘ นครราชสีมา ๕,๐๐๐ บาท ๒๓. คุณวิไลวรรณ วัลลิภากร จักรบุตร, คุณประทิน แจ้งหมื่นไวย, คุณทองเจียว วงศ์สวาสดิ์ ๕,๐๐๐ บาท ๒๔. คุณสุนีย์ เลิศสีมาพร, คุณเสาวภาคย์ บุญสาธร, คุณสุกัญญา เกียรติอำ�นวย ๕,๐๐๐ บาท ๒๕. คุณแดง แก้วมณี, สมาคมชาวไร่อ้อยลำ�มูลบน ๔,๐๐๐ บาท ๒๖. ผู้สนับสนุนท่านอื่น ๆ รวมเป็นเงิน ๕๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๓๙๐,๘๐๐ บาท

363


ที่ว่าการอ�ำเภอพิมาย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ขณะประดับประดาตกแต่งด้วยธงชาติ เพื่อเตรียมรับการตรวจเยี่ยมของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จากส่วนกลาง

364


ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียง ชื่อ – สกุล

ดร. เมตต์ เมตต์การุณ์จิต

สถานที่เกิด

ต. ในเมือง อ. เมืองนครราชสีมา จ. นครราชสีมา

การศึกษา

ป.ป. , ป.กศ.สูง (ภาษาไทย) , พ.ม. , น.บ. , ศษ.บ. , พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์) NIDA, ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา) , ศษ.ด. (การบริหารการศึกษา)

การอบรม

ประกาศนียบัตรวิทยาลัยการปกครอง หลักสูตรนายอำ�เภอ รุ่นที่ ๓๔ และหลักสูตรนักปกครองระดับสูง (นปส.) รุ่นที่ ๔๐

เกียรติประวัต ิ ๑. วุฒิบัตรวิทยาลัยการปกครองรางวัลผู้มีผลงานทางวิชาการดีเด่น ในการศึกษาตามหลักสูตรโรงเรียนนายอำ�เภอ รุ่นที่ ๓๔ ๒. ศิษย์เก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยวงษ์ ชวลิตกุล, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. การรับราชการ

ครูจัตวา, นักประชาสัมพันธ์, บุคลากร, ผู้ช่วยนายทะเบียนอำ�เภอ, ปลัดอำ�เภออาวุโส , นายอำ�เภอพรเจริญ (บึงกาฬ) , นายอำ�เภอหนอง หงส์ (บุรีรัมย์) , นายอำ�เภอครบุรี นายอำ�เภอเสิงสาง นายอำ�เภอคง นายอำ�เภอขามสะแกง นายอำ�เภอพิมาย (นครราชสีมา) , นายอำ�เภอ เดชอุดม (อุบลราชธานี) , นายอำ�เภอเมืองสกลนคร , นายอำ�เภอเมือง ชัยภูมิ, อาจารย์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ , ผู้อำ�นวยการ โรงเรียนสาธิต และรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

การบรรยาย - วิทยากรสถาบันพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - อาจารย์พิเศษ โปรแกรมรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ, โปรแกรมรัฐประศาสน ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, หลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ชัยภูมิ. ปัจจุบัน

อาจารย์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ (นครราชสีมา) 365



...ปั จ จุ บั น ภาษาโคราช ก� ำ ลั ง เปลี่ ย นไป เช่ น การกลายเสี ย ง พ่ อ แม่ บางคนพูดกับลูก ๆ หรือ พูดกับคนโคราชด้วยกัน เป็นภาษากรุงเทพ หรือ บางคนไม่กล้าพูดโคราช เพราะกลัวจะถูกล้อเลียน ว่าเป็นลาว ...เหล่ า นี้ ล ้ ว นเป็ น เหตุ ให้ ภ าษาโคราชค่ อ ย ๆ สูญหายไป

356


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.