การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค แสดง

Page 1

อรรคเดช นิยมพงษ์


การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


ภาพประกอบหนังสือ

การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค

อรรคเดช นิยมพงษ์


การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


คำ�นำ� การละเล่นพื้นบ้านของไทยนั้นเป็นการละเล่นที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านในแต่ละท้อง ถิ่นซึ่งได้รับการสืบทอดต่อๆกันมาจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งแต่ในปัจจุบันการละเล่นพื้นบ้าน ของไทยนับวันจะเลือนหายไปตามกาลเวลาเนื่องจากมีการละเล่นที่แปลกใหม่และเทคโนโลยี ใหม่ๆเข้ามาแทนที่ ดังนั้นก่อนที่การละเล่นพื้นบ้านจะสูญหายไปผู้ออกแบบจึงได้รวบรวมการละเล่นที่ทุกคนรู้จัก และคุ้นเคยไว้ในหนังสือภาพประกอบ “การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค” เล่มนี้หวังว่าหนังสือเล่มนี้ จะช่วยส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านของไทยเพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้มีโอกาศเห็นคุณค่า ของภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษของไทยได้สร้างไว้

ผู้จัดทำ� อรรคเดช นิยมพงษ์


การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


อรรคเดช นิยมพงษ์


การละเล่นพื้นบ้านไทย

การละเล่นของเด็กไทยเริ่มตั้งแต่เป็นเด็กเล็กๆจน กระทั้ง เจริญวัยสามารถเล่นได้อย่างง่ า ยๆทั้ ง ที่ เ ล่ น อยู่ ภายในบ้านหรือเล่นสนุกนอกบ้าน และมีุปกรณ์การเล่น ที่ทำ�จากวัสดุธรรมชาติ การละเล่นของเด็กส่วนใหญ่มัก มีลักษณะการเล่นเป็นกีฬา มีการแข่งขันหรือมีการแบ่ง ข้าง แบ่งฝ่าย แบ่งพวก แต่ไม่แบ่งแยกเพศ จำ�นวนผู้เล่น มีตั้งแต่คนเดียว เล่นเป็นคู่ๆ เล่นเป็นฝ่ายหรือเป็นข้าง ข้าง ๓ - ๕ คน หรือมากกว่านั้นอาจเล่นทีละคนโดยให้ผู้ เล่นคนอื่นรอหรือเล่นพร้อมกันทุกคนการละเล่นของเด็ก ไทยจึงเป็นการเล่นที่มุ่งพัฒนาร่างกายสมองและจิตใจ ของเด็กให้เจริญไปตามวัยโดยไม่มุ่งเน้นเรื่องแพ้ชนะเป็น เรื่องสำ�คัญ การละเล่นของเด็กไทยภาคกลาง เช่น จำ�้ จี้ อีตัก ตีไก่ ขี้ตู่กลางนา หมากเก็บ แมงมุมขยุ้มหลังคาตั้งเต หรือต้องเตหรือจ้องเต แต่งลูกตาล ขี่ม้าส่งเมือง ขี่ม้า กานกล้วย ลิงชิงหลัก เสือข้ามห้วย อีกาฟักไข่ อ้ายเข้ อ้ายโขง งูกินหาง รีรีข้าวสาร มอญซ้อนผ้า ตี่จับ ช่วง การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค

ชิง ไล่จับ มะลูน ลูกข่าง โพงพาง ปลาหมอเข้าคอก วิ่งเปี้ยว ชักเย่อ สะบ้า กระรอก กระแต ซ้อนหา ตีไก่ แย้ลงรู ทอยกอง ล้อต๊อก ไม้หึ่ง อีตอีักตัก จำ�นวนผู้เล่น ไม่จำ�กัดจำ�นวน วิธีเล่น ผู้เล่นทุกคนโปรยเม็ดมะขามเท่าๆกันห่อใบไม้เป็น รูปช้อนสำ�หรับตัก ในการตักจะต้องตักทีละเม็ด หาก กระเทือนเม็ดอื่นจะหมดสิทธิ์สนการเล่นจะต้องให้ผู้เล่น คนอื่นเล่นต่อ หากใครได้มากที่สุดจะถือเป็นฝ่ายชนะ อุปกรณ์ เม็ดมะขาม และใบไม้


อีตัก อรรคเดช นิยมพงษ์


หมากเก็บ การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


หมากเก็บ

อุปกรณ์การเล่น ก้อนหินลักษณะค่อนข้างกลมขนาดเท่าหัวแม่มือ จำ�นวน ๕ เม็ด สถานที่เล่น - บริเวณพื้นกระดาน หรือพื้นปูน ที่ค่อนข้าง เรียบ เช่น ระเบียงบ้าน ในห้อง พื้นใต้ถุนบ้าน หรือบริเวณ ใดก็ได้ที่ชอบ การแข่งขัน - ประเภทบุคคล และประเภททีม กติกาการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันจะตกลงกันก่อนว่า ใครจะเป็นผู้เล่น ก่อน โดยการตัดสินเป่ายิงฉุบ หรือหมากล้าน ใครล้านได้ จำ�นวนมากกว่า ก็เป็นฝ่ายเริ่มก่อน วิธีการเล่น มี ๙ ขั้นตอน คือ หมาก ๑ หมาก ๒ หมาก ๓ หมาก ๔ หมากจุ๊บ หมากเล็กใหญ่ หมากคาย หมากแกง และ หมากล้านผู้เล่นจะต้องตกลงกันก่อนว่าจะเล่นสิ้นสุดเกม ที่หมากใดแล้วแต่ความสามารถของคู่แข่งขันถ้าความ สามารถน้อย จะสิ้นสุดที่หมาก ๔ หากความสามารถมาก

ขึ้นก็อาจจบที่หมากจุ๊บ หมากเล็กใหญ่ หมากคาย และ หมากแกง เป็นต้น แต่จะจบเกมที่ขั้นตอนใดก็ตามจะต้องลงท้ายด้วย หมากล้านเสมอระหว่างการเล่นจะต้องเล่นให้ถูกต้องคือ จะต้องรับก้อนหินที่โยนขึ้นไปให้ได้และจะต้องหยิบก้อน หินที่พื้นโดยไม่ให้ก้อนอื่นสะเทือนหรือไหวหากรับไม่ได้ หรือเล่นแล้วเกิดการไหวก็จะต้องเปลี่ยนให้ฝ่ายตรงข้าม เล่นต่อ การตัดสิน การตัดสินว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายชนะนั้นจะนับคะแนน จากจำ�นวเม็ดที่ล้านได้ในหมากล้านใครเชี่ยวชาญเล่นได้ โดยไม่ไหวเลยและเล่นได้หมากล้านบ่อยๆก็จะได้คะแนน มาก

อรรคเดช นิยมพงษ์


จุ้มจี้

อุปกรณ์ ๑. จำ�นวนผู้เล่นตั้งแต่ ๓-๑๐ คน ๒. สถานที่นิยมเล่นในที่ร่ม

วิธีการเล่น จุ้มจี้ หรือจำ�้ จี้ เป็นการเล่นเสี่ยงทายคัดเลือกคนออกไป จากวงโดยการนับและใช้นิ้วชี้ไปยังมือหรือนิ้วของผู้เล่น จำ�นวน ผู้เล่นตั้งแต่ ๓-๑๐ คน สถานที่เล่นนิยมเล่นในร่ม ก่อนเริ่มเล่น ต้องเสี่ยงทายคนจี้เสียก่อน เมื่อได้ตัวคนจี้แล้ว ผู้เล่นทุกคนรวม ทั้งผู้จี้ด้วยต้องนั่งล้อมเป็นวงกลม คว่ำ�ฝ่ามือทั้ง ๒ ข้างลงบนพื้น ข้างหน้ายกเว้นคนจี้จะคว่ำ�ฝ่ามือลงข้างเดียวอีกข้างหนึ่งจะใช้ สำ�หรับจี้หลังมือทุกมือที่วางอยูในวงโดยเริ่มจี้จากมือของตนเอง ก่อน ขณะที่จี้ผู้เล่นช่วยกันร้องเพลงประกอบการเล่น ๑ พยางค์ ต่อการจี้ ๑ ครั้งหรือ ๑ มือ เมื่อพยางค์สุดท้ายของเพลงตกตรง ที่มือไหนมือนั้นจะต้องยกออกจากวง ผู้จี้จะร้องเพลงประกอบ และจี้ไปเรื่อยๆจนเหลือผู้เล่นเหลือมืออยู่ในวงคนเดียวและเป็น สุดท้ายก็เป็นผู้ชนะ ถ้าจะเล่นต่อไปผู้ชนะก็จะเป็นผู้จี้แทนคน เดิม

การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค

เพลงร้ องประกอบการเล่ นจุ้มจี้มีมากมายหลายสำ�นวนอาจ ผิดเพี้ยนกันไปบ้างเพราะการถ่ายทอดมาหลายๆขั้นจึงทำ�ให้ ถ้อยคำ�อาจแตกต่างกันไปในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ ๑. จุ้มจี้ จุ้มเจ้า จุ้มหมากหัวเน่า จุ้มพลูใบมน คดข้าวใส่ถาด นางนาฏเล่นกล เอาไปสักคน นายเพื่อนเราเอย ๒. จุ้มจี้ จุ้มปุด จุ้มแม่สีพุด จุ้มแม่ลัดดา พุทราเป็นดอก หมาก งอกเป็นใบพุ้งพิ้งลงใน ว่ายน้ำ�ฮ่อแฮ่ ฮ่อแฮ่ ๓. จุ้มจี้ จุ้มจวด พาลูกไปบวช ถึงวัดถึงวา พอสึกออกมา ตุ๊กตา พุงป่อง ทำ�ท่าไหว้ก็อง พุงป่องตาเหล่ ทำ�ท่าจับเข้ เข้ขบไข่ด้วน ๔. จุ้มจี้ จุ้มปุด จุ้มแม้สีพุด จุ้มแม่ลัดดา พุทราเป็นดอก หมาก งอกเป็นใบกุ้งกิ้งลงไป ว่ายน้ำ�จอแจ แขกเต้าเล่าอ่อน พังพอน เข้าแขก นางชีตาแหก ออกไปสักคน ในเพื่อนเราเอย ๕. จุ้มจี้ จุ้มเป้า จุ้มหมากหัวเน่า จุ้มพลูใบมน คดข้าวใส่ถาด ชัก ยาดชักยนออกไปสักคน ในเพื่อนเราเอย ๖. จุ้มจี้เม็ดหนุน ใครมีบุญได้กินสำ�รับ ใครตกอับได้กินหมาเน่า ส้มมะแป้น มะเฟือง มะไฟออกดอก มะกอกออกฝัก ผัวไม่รักไป โทษอีกแป้น อีแป้นนั่งนึกนั่งตรอง ฉีกใบตองมารองอึ่งอ่าง อึ่ง อ่างตัวเล็กตัวน้อย ถอยหลังดังเปรี๊ยะ


จุ้มจี้ อรรคเดช นิยมพงษ์


การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


อรรคเดช นิยมพงษ์


ชนกว่าง การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


ชนกว่าง

ในบรรดาการละเล่นพื้นบ้านทางภาคเหนือโดยเฉพาะ การละเล่นที่เกี่ยวข้องกับสัตว์นั้นการเล่นชนกว่างนับได้ว่าเป็น ที่นิยมไม่น้อยกว่าการชนไก่ กัดปลา ชนวัว หรือวิ่งควาย ของ ภาคอื่น ๆ กว่าง เป็นแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลด้วง มี ๖ ขา แต่ละขามีเล็บสำ�หรับเกาะยึดกิ่งไม้ ใบไม้ได้อย่างมั่นคง กว่างบางชนิดมีเขา บางชนิดไม่มีเขา บางชนิดไม่นิยมนำ�มา เลี้ยง บางชนิดนิยมเลี้ยงไว้ดูเล่นเช่น กว่างซาง กว่างงวง กว่า งกิ กว่างกิอุ และกว่างอี้หลุ้มกว่างซาง เป็นกว่างตัวโต ปีกและ ลำ�ตัวสีน้ำ�ตาลหรือสีแดงด้าน ๆ มีเขาด้านบน ๕ เขา ด้านล่าง ๓ เขาเขาด้านล่างขยับหนีบเข้าหากันได้ มักกินหน่อไม้ซางเป็น อาหาร อุปนิสัยอืดอาดช้าจึงไม่นิยมนำ�มาเลี้ยงกว่างงวง เป็นก ว่างที่มีลำ�ตัวกลม ปีกสีแดง ส่วนหัวสีดำ� มีเขาบนเขาเดียวงอ โง้งเหมือนงวง กว่างกิเป็นกว่างตัวเล็กเขาบนสั้นมากจนเกือบ กุด ส่วนเขาล่างยาวกว่า กว่างกิอุจะตัวโตกว่าและเขาบนจะยาว กว่ากว่างอีหลุ้ม หรือกว่างแม่มูด เป็นกว่างตัวเมีย ไม่มีเขา มัก นิยมนำ�มาใช้ล่อในการชน

โอกาสหรือเวลาที่เล่น ฤดูกาลเล่นชนกว่างจะเริ่มต้นตั้งแต่กลางฤดูฝนไปจนถึง ต้นฤดูหนาว โดยชาวบ้านจะไปจับตามกอไม้รวก ด้วยการเขย่า ให้ตกลงมาถ้าเห็นว่ามีลักษณะดีตรงตามชนิดที่จะสามารถนำ� มาเลี้ยงไว้ชนได้ก็จะนำ�มาเลี้ยงโดยให้อาหารจำ�พวกหน่อไม้ ลูกบวบ กล้วยสุก อ้อย แนวคิด ปัจจุบัน การเล่นชนกว่างยังคงนิยมเล่นกันอยู่ทั้งเด็กและ ผู้ใหญ่ ถ้าผู้ใหญ่เล่นมักนิยมไปเล่นในบ่อนเพื่อการพนัน แหล่ง ซื้อหากว่างที่รู้จักกันดีอยู่ตรงริมแม่น้ำ�ปิง เชิงสะพานนวรัฐ ใน เขตอำ�เภอเมืองเชียงใหม่และตามกาดหรือตลาดทั่วไป

อรรคเดช นิยมพงษ์


โพงพาง โพงพาง อุปกรณ์ ผ้าปิดตา จำ�นวนผู้เล่น ไม่จำ�กัดจำ�นวน

วิธีเล่น ยิงฉุบกันว่าใครจะเป็นผู้แพ้ต้องปิดตาเป็นโพงพางตาบอด ผู้เล่นคนอื่น ๆ จับมือเป็นวงกลมร้องเพลง โพงพางเอ๋ย โพงพาง ตาบอด รอดเข้ารอดออก โพงพางตาบอดปล่อยลูกช้างเข้าในวง ขณะเดินวนรอบ ๆ โพงพางตาบอดร้องเพลง ๑-๓ จบ แล้วนั่ง ลงโพงพางจะเดินมาคลำ�คนอื่น ๆ ซึ่งต้องพยายามหนี และจะ ต้องเงียบสนิท หากโพงพางจำ�เสียงหัวเราะ รูปลักษณะได้จะ เรียกชื่อ ถ้าเรียกคนถูกต้องออกมาปิดตาเป็นโพงพางต่อไป ถ้า ไม่ถูกก็ต้องเป็นโพงพางอีกไปเรื่อย ๆ กติกา ใครถูกจับได้ และบอกชื่อถูกต้องเป็นโพงพางแทน โอกาส เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป

การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


โพงพาง อรรคเดช นิยมพงษ์


เบี้ยขี่โก่ง

การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


เบี้ยขี่โก่ง

สถานที่เล่น ลานกว้าง อุปกรณ์ เบี้ย ก้อนหินที่มีลักษณะแบน จำ�นวนผู้เล่น ไม่จำ�กัดจำ�นวน

๕. ผู้ที่โยนเบี้ยไกลที่สุดจะถูกคนที่ใกล้หลุมมากที่สุดเก็บเบี้ยขึ้น มาแล้วโยน จากหลุมให้ข้ามเขต ๕ เมตร แล้วโยนเบี้ยให้ถูกคน ที่อยู่ไกลหลุม ๖. ถ้าถูกคนนั้นก็จะขี่หลังของคนที่ตีเบี้ยโดนนั้น แล้วโยนหิน บนหลังนั้นให้เข้าหลุมก็ได้ หรือไม่เข้าก็ต้องตีโดนเบี้ยนั้นให้ได้ ๗. ถ้าโยนไม่ถูก คนที่ได้ขี่หลังก็จะถูกคนที่ขี่หลังเก็บเบี้ยของตน แล้วมาตีให้ถูกเบี้ยของคน นั้นให้ได้ ถ้ายังไม่ถูกคนที่เหลือก็จะ ต้องตีให้ถูกหินของใครก็ได้แล้วคนที่ขี่หลังโยน หินต่อ แต่ถ้าไม่ โดนสักคนก็เริ่มต้นใหม่ โอกาส เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เล่นกันโดยทั่วไป

วิธีเล่น ๑. ขุดหลุมให้พอเหมาะกับเบี้ย ๑ หลุม และขีดเส้นใต้ห่างจาก หลุมให้พอเหมาะ ๒. ถ้าผู้เล่นมีไม่ครบคู่ให้เล่นคี่ก็ได้ ๓. จุดโยนเบี้ยต้องห่างจากหลุมไม่ต่ำ�กว่า ๕ เมตร ๔. ผู้เล่นต้องโยนหินให้ใกล้หลุมมากที่สุดหรือลงหลุมเลยก็ได้ อรรคเดช นิยมพงษ์


การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


อรรคเดช นิยมพงษ์


การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


อรรคเดช นิยมพงษ์


แข่งเรือบก การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


การละเล่นของเด็กไทย ภาคตะวันออกเฉัยงเหนือ หรืออีสาน เช่น ขโมยลักควาย จ้ำ�แจ่วหรือ ลิงเกลี่ยลูก

ปลาหมอตกกระทะ ข้าวเหนียวติดมือ ดึงครกดึงสาก ตะลุมปุ๊ก ขนมฝักบัว หมาตายตึ่ง นางด้ง จ้ำ�บักยม ผีกิน เทียน แห่นางแมว จ้ำ�หนูเนียม โค้งตีนเกวียนหรือระวังตีนเกวียน

แข่ ( แข่งเรื งเรืออบก บก )

จำ�นวนผู้เล่น ไม่จำ�กัดจำ�นวน

วิธีเล่น แบ่งผู้เล่นเป็น 2 ฝ่าย เท่าๆ กัน แล้วทั้ง 2 ฝ่ายนั่งเข้าแถว ต่อกันเป็น 2 แถว ห่างกันพอสมควร โดยให้คนแรกของแถวอยู่ ในระดับเดียวกัน คนที่นั่นอยู่ข้างหลังใช้ขารัดเองของคนข้าง หน้าไว้ต่อๆ กัน เมื่อกรรมการให้สัญญาณเริ่มแข่งขัน ผู้เล่นทั้ง สองฝ่ายจะต้องกระเถิบตัวไปข้างหน้าให้เร็วที่สุด และไม่ให้ขา หลุดจากเอวคนข้างหน้าเป็นอันขาด ฝ่ายใด ไปถึงเส้นชัยก่อนเป็นฝ่ายชนะ

อรรคเดช นิยมพงษ์


กาฟั กาฟักกไข่ ไข่

ผู้เล่น เด็กทั้งชายและหญิงไม่น้อยกว่า 3 คน สถานที่เล่น บนพื้นดินกลางแจ้ง วิธีการเล่น ขีดเส้นเป็นวงกลมบนพื้นกว้างพอสมควร นำ�เอาไข่ของ ทุกคนไปรวมกันในวงกลม แล้วหาผู้เล่น 1 คน ไปเป็นกาคอย รักษาไข่ไม่ให้ผู้เล่นคนอื่นแย่งไข่ไปได้โดยผู้เป็นกาจะใช้มือหรือ เท้าป้องไข่ไว้ โดยจะป้องกันได้เฉพาะในวง จะออกนอกวงไม่ได้ ส่วนผู้แย่งไข่ต้องระวังอย่าให้มือหรือเท้าของกามาถูกตนได้ถ้า ไปถูกใครเข้า คนนั้นจะต้องเข้ไปเป็นกาแทน แล้วเริ่มเล่นกัน ใหม่ ไข่ที่แย่งไปได้ต้องคืนหมด แต่ถ้ากาถูกแย่งไข่ไปได้หมด ผู้ เป็นกาจะต้องปิดตาแล้วผู้เล่นคนอื่นจะเอาไข่ไปซ่อนตามสถาน ที่ใกล้ๆ นั้น หลั ง จากนั้ น กาต้ อ งออกตามหาไข่ ใ ห้ ไ ด้ ค รบจำ � นวนถ้ า หาไม่ครบแล้วยอมแพ้ก็จะถูกผู้ซ่อนไข่ดึงหูพาไปหาที่ซ่อนไข่จน ครบ และต้องเป็นกาต่อไป แต่ถ้ากาหาไข่ได้หมด เจ้าของไข่ที่ ถูกกาหาพบคนแรกจะต้องมาเป็นกาแทน ประโยชน์และคุณค่าการละเล่นกาฟักไข่ 1. ฝึกความคล่องแคล่วว่องไว ในการเคลื่อนไหวร่างกาย 2. ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต หูไวตาไว การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


กาฟักไข่ อรรคเดช นิยมพงษ์


ตีนเลียน (ล้อเลื่อน) การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


ตีตีนนเลีเลียยนน(ล้(ล้ออเลืเลื่อ่อน)น) วิธีการเล่น ๑. การเริ่มต้นผู้เล่นจะยืนเรียงกันโดยใช้ไม้ไผ่ด้านปลายวางไว้ที่ บ่าแล้วจับให้แน่น ๒. สัญญาณบอกเริ่มวิ่ง ผู้เล่นก็จะดันตีนเลียนให้วิ่งออกไป เพื่อ ให้ถึงเส้นชัยซึ่งอาจจะเป็นระยะทาง ๕๐ เมตร หรือ ๑๐๐ เมตร ๓. การสิ้นสุดการเล่นใครถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ โอกาสที่เล่น นิยมเล่นในงานประเพณีสงกรานต์หรือประเพณีอื่นที่เห็น ว่าเหมาะสม เพื่อสร้างความสนุกสนาน อุปกรณ์การเล่น ตีนเลียน ทำ�ด้วยไม้กระดานรูปวงกลมรัศมี ๘-๑๒ นิ้ว เจาะรู ตรงกลางใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ ๒ เมตร ผ่าครึ่งยาว ประมาณ ๑๒ นิ้ว เพื่อเชื่อมกับรูของกระดานโดยใช้ตะปู หรือ ไม้ที่แข็งเป็นเพลาแล้วสกัดไว้ให้แน่นไม่หลุดออกมา

คุณค่า/สาระ ผู้เล่นได้รับความสนุกสนาน คณะ เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

สร้างความสามัคคีในหมู่

อรรคเดช นิยมพงษ์


การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


อรรคเดช นิยมพงษ์


กำ�ทาย การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


การละเล่นของเด็กไทยภาคใต้ เช่น การเล่นเชื้อ เชื้อยา

กำ�ทาย อุปกรณ์และวิธีการเล่น อุปกรณ์ในการเล่นมีดังนี้ (ใช้อย่างหนึ่งอย่างใด) ๑) ยางเส้น ๒) เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ๓) เมล็ดสวาด ๔) เมล็ดสวด ๕) ลูกนู (ก้อนดินกลม) วิธีการเล่น ๑) เมื่อสัญญาณการเล่นเริ่มขึ้นทุกคนจะกอบหรือกำ�ของที่อยู่ ตรงหน้านั้น โดยไม่ให้คนอื่นเห็นว่ามีจำ�นวนเท่าใด ๒) ให้ทายที่คนว่าของในมือของทุกคนเมื่อรวมกันแล้วมีจำ�นวน เท่าใด ๓) เมื่อทายเสร็จทุกคนแบมือออกและนับของในมือของทุกคน ใครทายถูกได้เป็นกรรมสิทธิ์ในของนั้น ถ้าทายถูกหลายคนใช้วิธี หารแบ่งกัน ถ้ามีเศษให้รวมไว้เป็นกองกลาง เพื่อเป็นเล่นหน ต่อไป

โอกาสหรือเวลาที่เล่น กำ�ทาย เป็นการเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก เล่นได้ทั้งชายและหญิง เป็นการเล่นในร่ม โดยมีผู้เล่น ๒-๕ คน นั่งล้อมวงกัน แล้วแต่ละ คนเอาของชนิดเดียวกันวางกองไว้ตรงหน้า

หงส์ เชื้อคางคก เชื้อมดแดง ดาวไสว ราวเด้อ กุบกับ ทอง สูง ปี่ใบตอง เกือกผล็อก หมาชิงเสา เสือกินวัว เก้น้ำ�

แนวคิดจากการละเล่นกำ�ทาย การเล่นกำ�ทาย เป็นการละเล่นที่ฝึกทักษะในการคำ�นวณ และ การสังเกต

อรรคเดช นิยมพงษ์


หมากขุ หมากขุมม

อุปกรณ์ในการเล่น ๑). รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำ�จากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร มีด้าน ละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็น หลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง ๒) ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมาก ใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมาก ในการเล่น ๙๘ ลูก ๓) ผู้เล่นมี ๒ คน วิธีการเล่น ๑) ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก ทั้ง ๗ หลุม ส่วนหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้ ๒) การเดินหมาก ผู้เล่นจะเริ่มเดินพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย เรียกว่า แข่งเมือง โดยหยิบลูกหมากจากหลุมเมืองของตนหลุมใดก็ได้ แต่ ส่วนใหญ่จะหยิบหลุมสุดท้ายของฝ่ายตนเอง เพราะคำ�นวนว่าเม็ด สุดท้ายจะถึงหัวเมืองของตนพอดี การเดินหมากจะเดินจากขวาไป ซ้าย โดยใส่ลูกหมากลงในหลุม ถัดจากหลุมเมืองที่หยิบลูกหมาก ขึ้นมาเดิน ใส่ลูกหมากหลุมละ ๑ เม็ด รวมทั้งใส่หลุมหัวเมืองฝ่าย ตนเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงกันข้าม ยกเว้นหลุมหัวเมือง เมื่อเดินลูกหมากเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุม ให้หยิบลูกหมากทั้งหมดใน การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค

หลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไป เล่นเดินหมาก อย่างนี้จนลูกหมากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่า หมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่า สิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้าตายในหลุมเมืองฝ่ายตนเอง ให้ผู้เล่น กินหมากหลุมเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตายโดย ควักลูกหมากทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมหัวเมืองของฝ่ายตน เรียก ว่ากินแทน เล่นอย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูก หมาก เดินต่อไปไม่ได้ ลูกหมากทั้งหมดจะไปรวมอยู่ในหลุมหัวเมือง ของทั้ง ๒ ฝ่าย จึงเริ่มเล่นรอบใหม่ต่อไป ๓) การเดินหมากรอบสอง ผู้เล่นจะผลัดกันเดินทีละคน ทำ�เช่น เดียวกับการเดินรอบแรก นำ�ลูกหมากจากหลุมหัวเมืองฝ่ายตนเอง ใส่ลงในหลุม ๆ ละ ๗ ลูก ในฝ่ายของตนเอง คราวนี้แต่ละฝ่ายจะ มีลูกหมากไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีลูกหมากมากกว่าจะเป็นผู้เดินหมาก ก่อน ฝ่ายที่มีลูกหมากน้อยกว่าจะใส่ไม่ครบทุกหลุม หลุมใดมีไม่ ครบให้นำ�ลูกหมากที่เหลือไปใส่ในหลุมหัวเมืองฝ่ายตน หลุมใดไม่มี ลูกหมากเรียกว่า เมืองหม้าย ตามปกติหลุมเมืองหม้ายจะปล่อยไว้ หลุมปลายแถว หลุมเมืองหม้ายจะไม่ใส่ลูกหมาก ถ้าฝ่ายใดใส่จะถูก ริบเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม ในกากรเล่นจะเล่นจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หมดลูกหมากเดินต่อไปไม่ได้และจะนับเมือง หม้าย ใครมีจำ�นวน เมืองหม้ายมากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้


หมากขุม อรรคเดช นิยมพงษ์


เป่ากบ การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


เป่ากบ อุปกรณ์และวิธีการเล่น ๑. ยางวง (ยางเส้น) วงใหญ่ หรือวงเล็กก็ได้ แล้วแต่ความชอบ และความถนัด ๒. ผู้เล่นจำ�นวนตั้งแต่ ๒ คน หรือมากกว่า เล่นทั้งเด็กชายและ เด็กหญิงบางครั้งอาจเล่นเป็นทีมก็ได้ ๓. สถานที่ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ วิธีการเล่น เป่ากบเป็นการเล่นอย่างหนึ่งของเด็ก เล่นกันทั้งเด็กชายและ หญิง ผู้เล่นมีจำ�นวน ๒ คน หรือเป็นทีมก็ได้ สถานที่เล่น ในที่ร่ม ใช้พื้นที่เรียบ ๆ เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นกระดาน หรือพื้นโต๊ะ ซึ่งผู้ เล่นจะเอายางเส้น (ยางวง) จะเป็นวงเล็กหรือวงใหญ่ หรืออาจ จะเป็นวงสีต่าง ๆ อยู่ที่ความชอบ ได้แก่ สีเขียว สีแดง สีน้ำ�ตาล เป็นต้น นำ�มาวางบนพื้นคนละ ๑ เส้น ให้อยู่ห่างกันประมาณ ๑ ฟุต ผู้เล่นจะผลัดกันเป่ายางเส้น (ยางวง) ของตนไปข้างหน้าที ละน้อย ๆ จนยางเส้นทั้งสองมาอยู่ใกล้กันผู้เล่นคนใดเป่าให้ยาง เส้นของตนไปทับยางเส้น ของฝ่ายตรงข้ามได้ก็จะเป็นผู้ชนะ ฝ่ายแพ้จะต้องจ่ายรางวัลให้กับผู้ชนะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยาง เส้น (ยางวง) แต่อาจให้รางวัลอื่น ๆ ก็ได้ตามแต่จะตกลงกัน

โอกาสหรือเวลาที่เล่น การเล่นเป่ากบของเด็ก ส่วนใหญ่เล่นกันในเวลาที่ว่าง และมี อุปกรณ์พร้อมที่จะเล่นกันทั้งสองฝ่าย คุณค่า / แนวคิด/ สาระ ๑. การเล่นเป่ากบ เป็นการเล่นที่ให้ความสนุกสนานแล้วยัง เป็นการฝึก การรู้กำ�หนดจังหวะและกะระยะด้วย ๒. การเล่นเป่ากบเป็นการฝึกสังเกต ไหวพริบในการเป่าของคู่ ต่อสู้ ซึ่งจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำ�ให้เด็กรู้จักคิดให้รอบคอบก่อนที่ จะเป่า ถ้าเป่าโดยไม่คิดอาจจะผิดพลาดได้ จนทำ�ให้ต้องแพ้ ๓. เป็นการฝึกให้เด็กรู้จักความรัก ความสามัคคี

อรรคเดช นิยมพงษ์


Folk e Gam การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค

นายอรรคเดช นิยมพงษ์


อรรคเดช นิยมพงษ์


บรรณานุกรม หนังสือและบทความ ทิพวรรณ คนธา.การละเล่นของเด็กภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ 1999, 2542. ผะอบ โปษะ, ฐะปนีย์ นาครทรรพ และศิวะพร สุคนธพงเผ่า,การละเล่นของเด็กภาคกลาง.กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่เอกลักษณ์ของไทย กระทรวงศึกษาธิการ,2522. พีระพงศ์ บุญสิริ. การละเล่นพื้นบ้านล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันราชภัฎเชียงใหม่,2537. สุภิกดิ์ อนุกุล. การละเล่นพื้นบ้านภาคกลาง-ภาคตะวันตก. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น,2545.

การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


การออกแบบภาพประกอบหนังสือ “การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค” ผู้ออกแบบ นายอรรคเดช นิยมพงษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปกรรม(ออกแบบนิเทศศิลป์) มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม อรรคเดช นิยมพงษ์


Funny and Happiness

การละเล่นพื้นบ้านไทย ๔ ภาค


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.