ศูนย์ความรู้กินได้: แหล่งเรียนรู้มิติใหม่ของประชาชน

Page 1

ศูนย์ความรู้กินได้: แหล่งเรียนรู้มิติใหม่ของประชาชน การเรี ย นรู้ นั บ เป็ นยุ ท ธศาสตร์ ที่ สํ า คั ญ ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพคนที่ จ ะนํ า ไปสู่ ก ารพั ฒ นาตนเอง และ ประเทศชาติ สมรรถนะด้านการเรียนรู้ของประชาชนก่อให้เกิดทุนทางปัญญาที่สําคัญซึ่งเป็นตัวกําหนดทิศทางใน การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งความอยู่รอดของชาติในเวทีโลก ทั้งนี้ ภาครัฐมีบทบาทสําคัญ ที่สุดในการลงทุนทางด้านนี้ โดยการสร้างและจัดหาแหล่งเรียนรู้ทั้งในระบบ โดยผ่านสถาบันการศึกษา และนอก ระบบ ผ่ า นทางแหล่ ง เรี ย นรู้ รู ป แบบต่ า งๆ โดยมี จุด มุ่ ง หมายเพื่ อส่ ง เสริ มการเรี ย นรู้ ตลอดชี วิต ของประชาชน “ห้องสมุดประชาชน” นับเป็นแหล่ง เรียนรู้รู ปแบบหนึ่ง ที่ส่ง เสริ มแนวคิดดั งกล่ าว รวมทั้ง ปลูกฝั งให้ประชาชน แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และเพื่อให้เกิดการใช้ห้องสมุดประชาชนที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศให้เกิด ประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะการกระจายสาธารณูปโภคพื้นฐานทางด้าน “ปัญญา” ไปสู่ประชาชนในภูมิภาคให้เกิด การต่อยอดนําความรู้ไปประกอบอาชีพ สํานักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) หรือ OKMD จึงได้ร่วมมือ กับสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สํานักงาน กศน.) กระทรวงศึกษาธิการ พัฒนา “ศูนย์ความรู้กินได้” ขึ้น โดยใช้ “ห้องสมุดประชาชน” มาพัฒนาและบริหารจัดการใหม่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ มิติใหม่ที่แตกต่างจากห้องสมุดประชาชนทั่วไป โดยเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาอาชีพ และ ยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการในท้องถิ่นให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โครงการ “ศูนย์ความรู้กินได้” ถือเป็นการบริหารจัดการความรู้ซึ่งถูกตั้งขึ้นบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า ประเทศไทยมีสินทรัพย์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์และวัฒนธรรมที่สมบูรณ์แบบไม่แพ้ชาติใดในโลก หากแต่ที่ผ่านมาเรายังไม่มีการนํากระบวนการบริหารจัดการความรู้ที่ทันสมัยและเป็นระบบมาปรับใช้เพื่อเชื่อมต่อ และพัฒนาองค์ความรู้จากสินทรัพย์ดังกล่าวให้กับประชาชนในพื้นที่ทั่วประเทศสามารถปรับตัวได้เท่าทันกับความ เปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน รวมถึงการนําเสนอวิธีการหรือแนวคิดใหม่ๆ ของการผลิตสินค้าและบริการที่มี คุณภาพมาสนองตอบความต้องการของกลุ่มลูกค้าใหม่ที่กําลังเกิดขึ้นอยู่ทั่วโลก ปัญหาพื้นฐานที่เราต้องแก้ให้ได้คือ สินค้าและบริการในส่วนภูมิภาคนั้นยังขาดมาตรฐานด้านคุณภาพและ ความหลากหลาย ซึ่งจะนําไปสู่การแข่งขันด้านราคา ตราบใดที่ผู้ประกอบการไม่สามารถสร้างความแตกต่างที่ เหนือกว่าได้ ทั้งตัวสินค้าและบริการก็ไม่สามารถชนะคู่แข่งในตลาดโลกได้เช่นกัน ฉะนั้น ก่อนที่เราจะก้าวไปสู่การ พัฒนาสินค้าและบริการ เราจําเป็นต้อง “ยกระดับ” สินค้าและบริการ พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพด้าน การผลิตให้ได้มาตรฐาน ก่อนที่จะใช้ “ความคิดสร้างสรรค์” มาต่อยอดเพื่อเพิ่มความแตกต่างหลากหลายให้กับ สินค้าและบริการ ประการสําคัญ เราต้องช่วยกันเติมความรู้และข้อมูลใหม่ๆ ให้ผู้ประกอบการรับทราบ โดยใช้การ บริหารจัดการความรู้เชิงรุก การทํากิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้ และการทํางานร่วมกับเครือข่ายในพื้นที่ให้เกิดความ ต่อเนื่อง เพื่อแปลงสินทรัพย์ “ความรู้” ให้เป็น “ทุน” ในการประกอบอาชีพได้อย่างแท้จริง “ทุน” ในที่นี้อาจไม่ใช่ เงินอย่างเดียว แต่เป็น “วัฒนธรรม” ที่ยั่งยืนของประชาชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ประเมินค่าไม่ได้


(ไฟล์jpeg 001 OKMD article) ปัจจุบัน “ศูนย์ความรู้กินได้” โครงการต้นแบบอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี และได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ถือเป็นห้องสมุดประชาชนที่เปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนเรียนรู้การทํามาหากินจาก แหล่ ง เรี ย นรู้ ที่ ถู ก บริ ห ารจั ด การอย่ า งเป็ น ระบบ เพื่ อ กระตุ้ น ให้ ห น่ ว ยงานและองค์ ก รอื่ น ๆ ทั่ ว ประเทศเห็ น ความสําคัญของการสร้าง “แหล่งเรียนรู้” ที่ถูกเติมเต็มด้วยความคิดสร้างสรรค์ อันเป็นสาธารณูปโภคทางปัญญา ของคนไทยและประเทศไทยตลอดไป

(ไฟล์AI/jpeg 002 Kindai logo) คําว่า “ศูนย์ความรู้กินได้” มาจากประโยคที่ว่า “เพราะความรู้....ใช้ทํามาหากินได้” และใช้สัญลักษณ์ โครงการฯ เป็นรูปหนังสือมีประตูอยู่ตรงกลาง แสดงถึงช่องทางใหม่ของการนําความรู้ไปใช้ทํามาหากินอย่างมี ประสิทธิภาพ

(ไฟล์jpeg 003 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 004 OKMD article)

นิทรรศการแรกที่จัดแสดง ณ ศูนย์ความรู้กินได้ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อว่า “เฮ็ดจังสิ เด้อ จังสิมีโอกาส” เป็นการนําเสนอมุมมองและแนวคิดของการสร้างโอกาสใหม่ของสินค้า และบริการที่เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากร ที่ประชาชนส่วนใหญ่เติบโตขึ้นเป็นกลุ่มผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่ง ปรากฏการณ์ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเรามุ่งหวังให้นิทรรศการนี้ช่วยสร้างแรง บันดาลใจ และชี้ให้ทุกท่านได้เห็นโอกาสใหม่ๆ ของการผลิตสินค้า และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของ ผู้สูงอายุ ที่เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกําลังซื้อ และให้ความสําคัญกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดี


บริการ และการบริหารจัดการ ศูนย์ความรู้กินได้ จัดให้มีบริการ ดังนี้

(ไฟล์jpeg 006 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 007 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 006 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 008 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 009 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 010 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 011 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 012 OKMD article)


(ไฟล์jpeg 014 OKMD article) (ไฟล์jpeg 013 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 015 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 016 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 017 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 018 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 019 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 020 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 021 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 022 OKMD article)


(ไฟล์jpeg 023 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 024 OKMD article)

ห้องเรี ยนรู้ตลอดชี วิต เป็นห้ องเอนกประสงค์ ที่ มีอุปกรณ์ พื้นฐานที่ จํา เป็ นสํ า หรั บการประชุ มกลุ่มย่ อย ให้บริการแก่กลุ่มสมาชิกที่มาพบปะสังสรรค์ และแลกเปลี่ยนความรู้กัน ห้องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สิ่งอํานวยความสะดวกด้านเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายภายในบริเวณห้องสมุด กล่องความรู้ เป็นกล่องที่รวบรวมข้อมูลที่ได้รับการคัดสรรจากสื่อหลากหลายรูปแบบ เช่น หนังสือ ดีวีดี คําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญ ดัวอย่างวัตถุดิบ ฯลฯ ตามหัวเรื่องอาชีพธุรกิจ จัดไว้ในกล่องเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจ เริ่มต้นเข้าถึงองค์ความรู้อย่างสะดวกและเป็นระบบ มุมหมอนขิต เพื่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัยในอิริยาบถต่างๆ โดยจัดสรรเป็นมุมสบายๆ ด้วยพื้นไม้ พร้อม หมอนติดสําหรับเอนกายอ่านหนังสือ ห้องสมุดเด็กไทยคิด เป็นการขยายพื้นที่บริการเด็กเล็กออกมาจากบริเวณเฉพาะ ซึ่งแยกออกจากพื้นที่ ให้บริการทั่วไป เพื่อความอิสระในการแสดงออกของเด็กๆ การจัดกิจกรรมพิเศษ นอกเหนือจากการให้บริการยืมหนังสือและสื่อต่างๆ เหมือนห้องสมุดโดยทั่วไปแล้ว ศูนย์ความรู้กินได้ยังได้จัดกิจกรรมพิเศษให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป เช่น การอบรม การแลกเปลี่ยนความรู้ และ การฝึกปฏิบัติ เช่น กระตุ้นยอดขายด้วย Mind Map เผยไต๋ธุรกิจ รหัสลับการสร้างแบรนด์ จัดร้านให้ได้ล้าน หนังสือทํามือ จัดช่อดอกไม้ เป็นต้น กิจกรรมนิทานวันอาทิตย์ เป็นการเล่านินทานในรูปแบบต่างๆ แก่เด็ก และ กิจกรรมให้บริการส่งเสริมการอ่านใน กศน. ตําบล โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ที่ขอมา ในด้านการบริหารจัดการ ศูนย์ความรู้กินได้ แบ่งงานออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ งานบรรณารักษ์ งาน Visitor Service งานมวลชนสัมพันธ์ งานองค์ความรู้และกิจกรรม และงานสารสนเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลของ หั วหน้ า งานการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ยและห้ อ งสมุ ด และมี ค ณะกรรมการห้ องสมุ ด ซึ่ ง ประกอบด้ วยผู้ แ ทนจาก หลากหลายสาขาอาชีพ ทําหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการบริหารงานทั่วไป โดยมีรูปแบบโครงสร้างการ บริหารจัดการตามแผนภูมิด้านล่าง


ก . ก ก ก ก ! !"

ก #

Visitor Service

$ #

# % " ก&'ก

(

(ไฟล์jpeg 025 OKMD article) จุดเด่นของศูนย์ความรู้กินได้ คือการพัฒนาบุคลากรให้สามารถให้บริการได้มากกว่า งาน บรรรณารักษ์ โดยทั่วไป แต่ให้ทําหน้าที่เป็น “นักจัดการความรู้” (Knowledge Manager) อีกหน้าที่หนึ่งด้วย โดยศูนย์ฯ ได้ จัดการฝึกอบรมเครื่องมือใหม่ๆ สําหรับการพัฒนางานให้บริการห้องสมุดแก่บรรณารักษ์ เช่น การแบ่งปันข้อมูล ด้วยวิกีพีเดีย บล็อก และการค้นหาข้อมูล การเพิ่มพลังสมองด้วย Mind Map รวมทั้งจัดการศึกษาดูงานแหล่ง เรียนรู้รูปแบบใหม่ เช่น ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) อุทธยานการเรียนรู้ (TK Park) และพิพิธภัณฑ์การ เรียนรู้ (Museum Siam) และการอบรม “พลังสร้างสรรค์ขับเคลื่อนองค์กร” เพื่อให้บรรณารักษ์ห้องสมุดได้มี เครื่องมือช่วยสร้างสรรค์บริการความรู้ที่เป็นประโยชน์ และสามารถดึงดูดสมาชิกและประชาชนทั่วไปให้นําความรู้ ไปต่อยอดทํากินได้ จุดเด่นอีกประการหนึ่งคือ การให้ความสําคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ใน จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ/ผู้ประกอบการ องค์กรทางการเงิน/ราชการ สื่อมวลชน และความ ร่วมมือกับห้องสมุดอื่นๆ ในพื้นที่ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ มีส่วนร่วมสนับสนุนและพัฒนางานและ การให้บริการ ซึ่งจะนําไปสู่การสร้างความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ ความยั่งยืนและทําให้ห้องสมุดประชาชนเป็น ส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างแท้จริง


เครือข่ายความร่วมมือของห้องสมุด ภาคการศึกษา - ม.อุบลราชธานี - ม.ราชภัฎอุบลฯ - วิทยาลัยอาชีวศึกษา - ศูนย์เรียนรู้วัดไชยมงคล

หน่วยงานทาง ธุรกิจ/ราชการ

ห้องสมุดประชาชน จ.อุบลราชธานี “ศูนย์ความรู้กินได้”

- SME Bank - หอการค้าจังหวัดฯ - ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม - กองทุนหมู่บ้าน - ภาคเอกชน/กลุ่มธุรกิจ

ผู้ประกอบการ ห้องสมุด - ร้านดาวกาแฟ/กาแฟภันเต - ร้านระหว่างทาง - กลุ่มทอผ้าบ้านปะอาว - สวนเห็ดกิตติ - นายบุญเหล็ง สายแวว (เกษตรกร)

- ห้องสมุดโรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์ - ห้องสมุดประชาชนอําเภอ - ห้องสมุดวัดไชยมงคล

สื่อมวลชน

- สื่อสร้างสุข จ.อุบลราชธานี - อาร์ทีวี (เคเบิลทีวีท้องถิ่น) - www.guideubon.com - สวท.อุบลราชธานี

(ไฟล์jpeg 026 OKMD article) รางวัลที่ภาคภูมิใจ ด้วยความโดดเด่นทางด้านเนื้อหาและรูปแบบการให้บริการที่แตกต่างจากห้องสมุดทั่วๆ ไป ที่เป็นแหล่ง เรียนรู้ด้านการทํามาหากินบนพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และนําเสนอองค์ความรู้ที่จําเป็นต่อการทํามาหากินตาม ความเหมาะสม และความต้องการของท้องถิ่น ทําให้ห้องสมุดประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี “ศูนย์ความรู้กินได้” ได้รับการคัดเลือกเป็น “ห้องสมุดประชาชนยอดเยี่ยมระดับประเทศ” ซึ่งสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย (สํานักงาน กศน.) กระทรวงศึกษาธิการได้จัดการประกวดห้องสมุดประชาชนในสังกัดทั้ง ระดับจังหวัด อําเภอ และห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีในสังกัดทั่วประเทศ ประจําปี 2553 (National Public Library Awards 2010)


(ไฟล์jpeg 027 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 028 OKMD article)

เสียงสะท้อนบางส่วนจากกรรมการตัดสิน เช่น อัชราภรณ์ โค้วคชาภรณ์ หน่วยศึกษานิเทศก์ สํานักงาน กศน. ที่มีความเห็นว่า “...ศูนย์ความรู้กินได้เป็นห้องสมุดที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพทั้งด้านบริหาร จัดการ และการบริ การคุ ณภาพ เป็ นห้ องสมุ ดมี ชีวิตที่ มีกิ จกรรมหลากหลาย สร้ างความมี ชีวิตชี วาด้ วยการจั ด กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องสมุด จัดหาหนังสือ สื่อการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการอ่านแก่ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งแสวงหาภาคีเครือข่ายเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนา ห้องสมุด....” คุ ณ ช่ อ ทิ พ ย์ ศิ ริ พ ร จากสถาบั น กศน. ภาคตะวั น ออก กล่ า วว่ า “...(ห้ อ งสมุ ด ประชาชนจั ง หวั ด อุบลราชธานี) ใช้กระแสความเปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปทําให้ผู้สูงอายุกลายเป็นตลาดใหม่ที่มี ศักยภาพ เป็นผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่มีกําลังซื้อสูงมาร่วมรู้จักและเข้าใจความต้องการของตลาดกลุ่มคน (ไม่ยอม) แก่ เพื่อสร้างธุรกิจที่ถูกทางจากกิจกรรม “เฮ็ดจังสิเด้อ จังสิมีโอกาส”...” คุณนลินี ศรีสารคาม จันทร์ตรี ผู้อํานวยการสถาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ให้ความเห็นว่า “….เป็นห้องสมุดประชาชนที่แตกต่างจากห้องสมุดอื่น คือ การนําการเรียนรู้ด้านอาชีพ มาสร้างความแปลกใหม่ของ ห้องสมุดประชาชน เพื่อมาเป็นทิศทางการออกแบบ การจัดวางหนังสือ การจัดสื่อ การจัดกิจกรรมนิทรรศการ ฯลฯ และยังคงเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าได้ทุกเรื่องตามหน้าที่ของห้องสมุดประชาชน...” รวมทั้งเสียงสะท้อนจาก คุณประธาน เสรีอภิสิทธิ์ ประธานกรรมการสถานศึกษาและกรรมการห้องสมุด ประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายที่มีบทบาทและมีความสําคัญยิ่งต่อการพัฒนางานห้องสมุดมี ชีวิต และเป็นตัวอย่างของยอดนักการอ่านและการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิตจนประสบความสําเร็จเป็นนักธุรกิจ ใหญ่ มืออาชีพด้านยางพารา ได้เล่าประสบการณ์การเรียนรู้ว่า “พันธ์ยางดีอยู่ที่ไหน วิธีปลูกทําอย่างไร ขยายพันธุ์ อย่างไร ผมเป็นคนชอบเรียนรู้ ชอบอ่าน ชอบศึกษา DNA ของยางพารา ผมต้องรู้ให้หมด” นับเป็นการนําความรู้ที่ ได้จากห้องสมุดไปทํามาหากิน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการบางส่วนได้แสดงความคิดเห็นต่อศูนย์ความรู้กินได้ไปในทํานองเดียวกัน เช่น “…เป็นแหล่งความรู้กินได้จริงๆ ค่ะ ชอบชั้นหนังสือที่ทําจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม...” “...ยินดีกับชาวอุบลฯ ที่มีห้องอาหารสมองที่ยอดเยี่ยม...” “...จะนําความรู้ที่ได้จากห้องสมุดแห่งนี้ไปพัฒนาชาติเป็นคนดีของสังคม...”


“...ต้องขอขอบคุณที่นําสิ่งดีๆ มาให้ชาวอุบลฯ ได้กินอาหารสมองเพิ่มอีกหนึ่งที่...” “..ห้องสมุดที่มีความสุขเมื่อได้เข้ามาใช้บริการ มีความทันสมัยและมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการบริการที่มี คุณภาพ ทุกคนที่เข้ามาใช้มีความสุขดีมาก....”

(ไฟล์jpeg 029 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 030 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 031 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 032 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 033 OKMD article)

(ไฟล์jpeg 034 OKMD article)

เสียงสะท้อนเหล่านี้ นอกจากจะเป็นกําลังใจให้กับบุคลากรของศูนย์ความรู้กินได้จังหวัดอุบลราชธานีใน การพั ฒนาและปรั บปรุง งานให้ บริการแก่ประชาชนให้ดียิ่งขึ้ นแล้ ว OKMD ในฐานะมีบ ทบาทในการผลัก ดั น สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างนวัตกรรมและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ สร้างแหล่งเรียนรู้ และสร้างเสริม งานที่ยังขาดอยู่ โดยทํางานผ่านการดําเนินงานของหน่วยงานภายใน ๕ หน่วย คือศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) สํานักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (NDMI) ศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCELS) และศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (Moral


Center) จะได้นํานวัตกรรมดังกล่าวไปเผยแพร่เพื่อให้คนไทยปรับ “กระบวนการคิด” เพื่อนําความรู้ไปต่อยอดใน การประกอบอาชีพและสร้างรายได้ ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนและยกระดับคุณภาพชีวิตของคน ไทยต่อไป ********************************************


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.