Yao

Page 1

ผ้าปักชาวเมี่ยน

บ้านปางค่าใต้ ตำ�บลผาช้างน้อย อำ�เภอปง จังหวัดพะเยา

อนุศิษฏ์ บุญชื่น


ผ้าปักชาวเมี่ยน

บ้านปางค่าใต้ ตำ�บลผาช้างน้อย อำ�เภอปง จังหวัดพะเยา เมี่ยน หรือ เย้าได้รับการจัดให้อยู่ในเชือ้ ชาติ มองโกลอยด์ คืออยู่ใน ตระกูลจีนธิเบตได้ปรากฏครั้งแรกในเอกสารบันทึกของจีนสมัยราชวงศ์ถัง โดยปรากฏในชื่อ ม่อ เย้า มีความหมายว่าไม่อยู่ใต้อ�ำนาจของผู้ใด เล่ากัน ว่า เมื่อประมาณ 2000 กว่าปีมาแล้วบรรพชน ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ท่รี าบรอบ ทะเสาปตงถิงแถบแม่น�้ำแยงซีหลังจากนั้นเกิดความแห้งแล้งอย่างรุ่นแรง ติดต่อกันหลายปีจึงได้อพยพจากประเทศจีนเพื่อหาพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ และเข้าสู่ประเทศลาวประมาณปี พ.ศ. 2413 โดยการน�ำของนายจั่นควน แซ่เติ๋น ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในจังหวัดน�ำ้ ทาและหลวงพระบางต่อมาได้ถูก แต่งตั้งให้เป็น พญาคีรี ศรีสมบัติต่อมา พญาคีรี ศรีสมบัติ เห็นว่าพื้นที่ลาว คับแคบจึงได้ส่งตัวแทนคือนายลีวุ่นเฟยน�ำเครื่องบรรณาการและหน่อแรด เข้าเฝ้าเจ้าเมืองน่านเพื่อขยายพื้นที่ท�ำกินเข้ามาทางตอนเหนือของจังหวัด น่าน บริเวณดอยภูแวทัง้ หมด เจ้าเมืองน่านทรงยินดี พญาคีรี จึงได้เคลื่อน ย้ายประชาชนมีทั้งชนเผ่าเย้าและม้ง เข้ามาอาศัยอยู่ท่ดี อยภูแว ต่อมาพญา คีรี เห็นว่าพื้นที่ดอยภูแวนัน้ ไม่เพียงพอต่อราษฏร จึงขอเข้าเฝ้าเจ้าเมืองน่าน องค์ที่ 3 โดยน�ำเครื่องบรรณาการพร้อมเงินแท่ง ไปขอซือ้ พื้นที่ภูเขาทางทิศ ตะวันออกของจังหวัดน่าน ที่ประกอบไปด้วย ดอยวาว ดอยผาช้าง ดอยภู ลังกา ดอยผาแดง ดอยต้นหอม ปัจจุบันติดเขตอ�ำเภอเชียงค�ำ จังหวัดพะเยา และอ�ำเภอเชียงของจังหวัดเชียงรายทัง้ หมด 2


ผ้าปักชาวเมี่ยน

3


ศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าของชาวเมี่ยนที่เลื่องลือเป็นที่ รู้จักและยอมรับในความงดงามกันไปทั่วก็คือการปักลวดลายงานปักแต่ละ ลายที่ปรากฏบนผืนผ้าของชนเผ่าเมี่ยนแทบทุกผืนยังคงเป็นลวดลายโบราณ เอกลั ก ษณ์ ดั้ ง เดิ ม ที่ สื บ ทอดต่ อ มาจากบรรพบุ รุ ษ ตั้ ง แต่ ส มั ย โบราณกาล มักมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับต�ำนานปรัมปรารวมถึงความเชื่อที่สอด แทรกอยู่ในประเพณีวัฒนธรรมประจ�ำชนเผ่าที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัย บรรพบุรุษผสมผสานกลมกลืนเข้ากับลวดลายที่มาจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รอบตัวตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมี่ยนไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่อง ใช้ในครัวเรือนพืชพรรณต่างๆสัตว์ป่าน้อยใหญ่การใช้สีในลวดลายปักก็ยังคง ยึดถือด้วยการใช้สเี ส้นด้ายที่ไม่น้อยกว่า 7 สี โดยสี 7 สีหลักของชาวเมี่ยนตาม ต�ำนาน ได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน�้ำเงิน สีเขียว สีม่วง สีด�ำ และสีขาว ผ้าปักข องชาวเผ่าเมี่ยนแต่ละผืนยังเปรียบเสมือนการท�ำงานเพื่อแสดงความกตัญญู ต่อบรรพบุรุษและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาล�้ำค่าของชนเผ่าที่ยึดถือสืบต่อกัน มาผ้าปักของชาวเมี่ยนบางผืนอาจพบลวดลายมากกว่า10ลวดลายรวมกันอยู่ ในผืนเดียวและใช้เวลาในการสร้างสรรค์งานปักแต่ละผืนเนิ่นนานเป็นปีกว่า จะแล้วเสร็จลักษณะลวดลายที่สะท้อนถึงตัวตนของชนเผ่าเมี่ยนที่ชัดเจนเมื่อ หากพบเห็นในที่ใดก็รู้ได้ทันทีว่า เป็นผืนผ้าของชนเผ่าเมี่ยนลวดลายเหล่านี้ เป็นลวดลายโบราณดั้งเดิมที่สืบทอดมาแต่ครั้งบรรพบุรุษของชนเผ่าเมี่ยนนับ หลายร้อยปีท่ตี ้องมีอยู่บนผืนผ้าเมี่ยนแทบทุกผืน

4


รูปแบบเทคนิคและองค์ประกอบของผ้าปัก เทคนิคหญิ่ว

รูปที่ปักผ้าด้านหลัง

รูปที่ปักจากผ้าด้านหน้า

เส้นสีขาว ม่วง แดง คือเทคนิค หญิ่ว

5


1. การปักแบบ หญิ่ว เป็นการปักลายเส้น งานปักบนผืนผ้าทุกชนิด จะต้องมีการปักเส้นในส่วนที่เป็นขอบงานปักผ้า มีวิธีการปักดังนี้ ใช้เข็มแทง ลงด้านบนของผ้า ลอดเส้นฝ้ายในผ้า 4 เส้น จากนัน้ แทงทแยงข้ามเส้นฝ้ายขึ้น มาด้านบน แล้วดึงปลายเข็มขึ้น จากนัน้ ปักถอยหลังไป

6


เทคนิคเจี่ยม

รูปที่ปักจากด้านหลัง

รูปที่ปักจากด้านหน้า

ฉ่ง-แฉ ที่ปักเสร็จแล้ว ด้วยเทคนิค เจี่ยม

7


2. การปักแบบ เจี่ยม (มงคล จันทร์บ�ำรุง เรียก ลายขัด) เป็นการปักเดิน เส้นขึ้นลงตามลวดลายที่ก�ำหนดไปตามแนวขวาง ลวดลายที่ปรากฏเหมือน ลวดลายที่ได้จากเทคนิคของการจก ในการทอผ้าเจี่ยมจะใช้ปักในส่วนที่เป็น ขากางเกง ซึ่งเป็นส่วนที่เริ่มต้นของการปักผ้าเปรียบเสมือนการหัดก้าวเดิน ก้าวสั้นบ้างยาวบ้าง การปักลักษณะนี้เป็นการสอนเรื่องการนับเพราะการ ปักเทคนิคนี้จะต้องนับช่อง นับเส้น ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเรียนรู้ของสตีในเรื่อง การปัก มีวิธีการปักดังนี้ แทงเข็มขึ้นลงบนผ้าด้านบนแล้วสอดเข็มเข้าด้านใน ช่องว่างระหว่างเส้นฝ้ายในผืนผ้าเหมือนกับการทอผ้าที่พุ่งเส้นนอนลงบนเส้น ยืนซึ่งสอดเข็มลงใต้เส้นฝ้ายจะสอดกี่เส้นและข้ามกี่เส้นขึ้นอยู่กับลาย ซึ่งต้อง นับให้ถูกต้อง เมื่อปักเสร็จแล้วด้านหน้าและด้านหลังจะได้ลายที่แตกต่างกัน เป็นลายปีกที่ต้องมีในกางเกงเมี่ยน ทุกผืน ไม่ว่าอยู่ท่ใี ดต้องมีลายปักนี้

8


เทคนิคทิ่ว

รูปที่ปักจากด้านหลัง

รูปที่ปักจากด้านหน้า

ลายปักที่เสร็จแล้วด้วยเทคนิค ทิ่ว

9


3. การปักแบบ ทิ่ว (มงคล จันทร์บ�ำรุง เรียกลาย สอง) เมื่อปักเสร็จ แล้วจะได้รูปเครื่องหมาย(+)แต่เป็นการปักสี่เส้นที่แยกจากกันจากจุดเดียว มีวิธีการปักดังนี้แทงเข็มลงบนผืนผ้าด้านบนแล้วสอดเข็มลอดเส้นฝ้ายบน ผืนผ้า2เส้นดึงปลายเข็มขึ้นจากนัน้ สอดเข็มลงบนฝ้ายอีก2 เส้นท�ำแบบนี้ไป เรื่อยๆตามแนวนอนที่ปักแนวนอนและแนวตั้งขณะที่ปักแนวตั้งกล่าวคือการ ปักเดินหน้าไปเรื่อยๆจนจบกันเป็นลายเทคนิคทิ่ว เป็นเทคนิคที่ยากที่สุดจะ ต้องใช้สมาธิและการวางแผนที่ดีเยี่ยมดังนั้นลายจะใช้สีเดียวในการปักด้าน หน้าและด้านหลังจะมีความเหมือนกัน

10


เทคนิคดับญัดหรือไขว้

รูปที่ปักจากด้านหลัง

รูปที่จากปักด้านหน้า

ฉ่ง-คะ-หม่าว-หน่อม ที่ปักเสร็จแล้วด้วยเทคนิค ดับญัด (ไขว้)

11


4. การปักแบบ ดับญัด หรือการปัก ไขว้ เป็นเทคนิคที่ปักกันโดยทั่วไป เพราะมีการน�ำมาปักในงานต่างๆ มากมาย มีวิธีการปักดังนี้ แทงเข็มลงบน ผ้าขึ้งลงโดยข้ามเส้นบนผ้าครัง้ ละ 2 เส้น จะท�ำให้เส้นไหมที่ปักลงไปออก มาเป็นรูปกากบาท เมื่อปักเสร็จแล้วด้านหน้าและด้านหลังจะต่างกัน การ ปักเทคนิคนี้มักจะใช้ปักทัง้ ลายเดี่ยว เช่นลายฟันเลื่อน และลายที่มีการผสม ผสาน เช่นดอกฟักทอง ไม่นยิ มปักลงบนชุดเจ้าสาว เพราะการปักไขว้ถอื ว่า เป็นการทับถมกันจะท�ำใช้เฉพาะเทคนิคเจี่ยมและทิ่วเท่านั้น อีกทั้งยังไม่ให้ผู้ท่ี เริ่มหัดใหม่ปักเพราะง่าย แต่จะให้เริ่มจากสิ่งที่ยากก่อนแล้ว ค่อยมาง่าย

12


ลักษณะการใช้ประโยชน์ของผ้าปักในวิถีชีวิต ของชาวเมี่ยน บทบาทของผ้าปักในชีวิตประจ�ำวันนอกจากการนุ่งห่มตามประเพณี นิยมรวมทัง้ ข้าวของเครื่องใช้ของกลุ่มชนแล้ว ก็ยังรวมถึงผ้าที่ใช้ใน พิธีกรรมต่าง ๆ เช่น ชุดแต่งงาน ชุดสุภาพในโอกาสงาน ผ้าที่ใช้ตั้งแต่เกิด ช่วงที่มีชีวิตอยู่ และพิธีศพ

13


ลวดลายผ้าปักเมี่ยน การปักผ้าของเมี่ยนในบ้านปางค่าใต้มี 2 ลักษณะคือ ปักเพื่อการค้า การปักประเภทนี้จะเป็นการน�ำเอาลายและเทคนิคแบบง่ายๆ ไปปักลงบน ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น กระเป๋า ถุง ที่ใส่ปากกาเป็นต้น เป็นลักษณะของสินค้า otop อีกประเภทหนึ่งคือ การปักเครื่องนุ่งห่มส�ำหรับการใช้เองในครอบครัว หรือส�ำหรับจ�ำหน่ายให้เมี่ยนด้วยกันเองที่อยู่ต่างถิ่นหรือต่างประเทศ

14


ผ้าปักชาวเมี่ยน บ้านปางค่าใต้ ต�ำบลผาช้างน้อย อ�ำเภอปง จังหวัดพะเยา © 2017 (พ.ศ. 2560) โดย อนุศษิ ฏ์ บุญชื่น สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม พ.ศ. 2560 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย อนุศษิ ฏ์ บุญชื่น ใช้แบบอักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 pt หนังสือเล่มนี้ เป็นผลงานทางวิชาการ จัดท�ำขึ้นเพื่อส่งเสริมและต่อ ยอดศักยภาพ การศึกษาภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.