Ruean phae trok ban jeen

Page 1

เรือตรอกบ้ นแพานจีน พนาวสันต์ ใจแก้ว



เรือนแพ

ตรอกบ้านจีน พนาวสันต์ ใจแก้ว


บ้านเรือนแพ เรือนแพ หมายถึง เรือนที่สร้างอยู่ในน�้ำ อยู่บนแพทัง้ หลัง โดยมีลักษณะและ ส่วนประกอบโดยทัว่ ไปเหมือนกับเรือนไทยเดิม เพียงแต่การลอยอยู่ในน�ำ้ อาศัยแพ ที่ เป็นทุ่นลอยน�้ำ เรือนแพจึงแยกได้เป็นสองส่วน คือ ส่วนตัวเรือน และส่วนแพที่เป็น ทุ่นลอยน�ำ ้ แพเป็นส่วนส�ำคัญที่รับน�ำ้ หนักของเรือน ส่วนใหญ่จะใช้แพไม้ไผ่ ต่อมาใช้ ถังน�้ำมัน และมีวิวัฒนาการเป็นเรือเหล็กหนุน ซึ่งจะคงทนและรับน�้ำหนักได้มากกว่า แพไม้ไผ่แบบเดิม ซึ่งเป็นไม้ไผ่ที่มัดรวมกันเป็นฟ่อนๆ ถ้าเป็นลูกบวบขนาดเล็ก ฟ่อน หนึ่งจะมี 40-50 ล�ำ หากเป็นลูกบวบขนาดใหญ่ จะมีประมาณ 60-100 ล�ำ ลูกบวบ ท�ำหน้าที่เป็นทุ่นให้แพ ลอยได้เหมือนเรือโป๊ะแต่ราคาถูกกว่ามาก ในขณะเดียวกันก็ มีอายุการใช้งานไม่ยาวนัก เพราะจะถูกคลื่นกระแทกตลอดเวลาเมื่อมีเรือแล่นผ่าน ส่วนลักษณะและโครงสร้างของเรือนแพคล้ายกับเรือนไทย ฝามีหลายแบบ เป็นฝากระแชงอ่อน หรือฝาขัดแตะ ซึ่งมีน�้ำหนักเบาสามารถเปิดบานกระทุ้งได้ ส่วน ด้านสกัดของเรือนเรียกฝาถัง ใช้ไม้กระดานเป็นแผ่นหน้ากว้างตัง้ ขึน้ เป็นฝา แต่ทำ� เป็น ลิน้ เข้าไม้สนิทเสมือนเป็นแผ่นเดียวกันแบบจีน พบได้ในเรือนแพส่วนใหญ่ เพือ่ ป้องกัน ไม่ให้ขโมยที่อาจพายเรือเข้ามาเทียบแพงัดฝาได้ง่าย หลังคาจะมุงจาก เนื่องจากน�้ำ หนักเบา ทนต่อการสั่นไหวจากคลื่น ถ้าใช้กระเบื้องคงจะหนักและร่วงหล่นได้ง่าย

เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 2


เรือนแพ ในสยาม คนไทยที่อาศัยอยู่รมิ แม่น�้ำเจ้าพระยา ในเมืองบางกอก ที่เป็นเมืองหลวงมา แต่เดิมนัน้ ในประวัตศิ าสตร์มกี ล่าวถึงตัง้ แต่ช่วงรัชกาลที่ 1 มาแล้ว มักนิยมสร้างบ้าน อยูบ่ นแพ ใช้ทงั้ พักอาศัยและค้าขาย เพราะแม่นำ�้ เป็นศูนย์กลางของสังคมอีกแห่งหนึง่ ในอดีตถือเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ท�ำให้สายน�ำ้ คือชีวติ ของคนไทยในสมัยก่อน ชาว ไทยบางส่วนยังคงเกิดและอาศัยอยู่ในเรือ ซึ่งสัญจรขนส่งสินค้า ล่องไปตามหัวเมือง ใหญ่ต่างๆ แม้คนที่มาจากต่างเมือง แล้วเข้ามาค้าขายในเมืองบางกอก ก็นิยมสร้าง เรือนแพ เพราะไม่ต้องมีทดี่ นิ เป็นของตนเอง การล่องเรือน�ำสินค้าไปขายยังต่างเมือง ก็สะดวกมากนั่นเอง นักวิชาการบางท่านถึงกับเรียกชาวสยามว่าเป็นชาวน�้ำ เพราะ ความผูกพันของคนไทยกับสายน�ำ้ นั้นแนบแน่นจนแยกกันไม่ขาด น�้ำกับชีวิตแบบไทยๆ เป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณจนปัจจุบัน เริ่ม ตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานที่เกาะติดกับน�้ำมาตั้งแต่เริ่มแรก โดยที่สังคมไทยเป็นสังคม เกษตรกรรม ดังนัน้ น�ำ้ จะเป็นสือ่ กลางของการคมนาคมและการขนส่งสินค้าทางการ เกษตร จากแหล่งหนึง่ ไปยังแหล่งอืน่ ๆ ในระยะทีส่ ามารถมีแม่นำ �้ ล�ำคลอง ให้คมนาคม ถึงกันได้ เมือ่ ศึกษาถึงการตัง้ ถิน่ ฐานทางกายภาพของคนไทยโดยเฉพาะในภาคกลาง เราจะพบว่าหมู่บ้านริมน�้ำจะเกิดก่อนหมู่บ้านที่อยู่ในระยะไกลออกไป ภาพของ เรือนไทยจั่วทรงสูงมีป้านลมและเหงาจะเห็นเป็นกลุ่มๆ อยู่ริมแม่น�้ำ ล�ำคลอง และ นอกจากทัศนียภาพของตัวบ้านแล้ว องค์ประกอบส�ำคัญของบ้านริมน�ำ้ อีกอย่างหนึง่ คือ ท่าน�้ำของแต่ละบ้านจะแลเห็นเรียงรายกันไปตลอดแนวของหมู่บ้าน เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 3


ในบางพื้นที่ที่พื้นที่ชายน�้ำเป็นที่ลุ่ม มีน�้ำท่วมถึงเป็นเวลานานในช่วงหน้าน�ำ ้ การสร้างบ้านที่ชายฝั่งต้องยกพื้นชัน้ บนสูงมากจึงจะพ้นน�้ำ ซึ่งไม่สะดวกในหน้าแล้ง ท�ำให้เกิดลักษณะสถาปัตยกรรมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งยืดหยุ่นกว่าการสร้างบ้านซึ่งมี เสาสูงมากบนพื้นดินชายฝั่งน�้ำ นั่นคือการสร้างเรือนแพที่สามารถปรับระดับของ ตนเองขึ้นลงได้ตามระดับน�้ำในแม่น�้ำล�ำคลองเรือนแพจึงเป็นอาคารอีกลักษณะหนึ่ง ที่เกิดขึน้ ตามสังคมเกษตรกรรมของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งที่เป็นศูนย์กลาง การค้าขาย และการคมนาคมขนส่ง เรือนแพมีความยืนหยุน่ ในการด�ำรงชีวติ มากกว่า บ้านบนบก โดยเฉพาะกลุม่ คนทีค่ า้ ขายสินค้าเกษตรกรรมด้วย เพราะสามารถเคลือ่ น ย้ายที่ตั้งไปกับแหล่งการค้าได้เมื่อถึงคราวจ�ำเป็น ประโยชน์ใช้สอยของเรือนแพมีทงั้ ใช้พกั อาศัยและค้าขาย ซึง่ ทัง้ พักอาศัยและ ค้าขายยังสามารถแยกประเภทการใช้งานย่อยๆของตนไปได้อีก เช่น แยกประเภท ตามการขาย คือ เรือนแพขายของช�ำ ขายอาหาร ใช้เป็นโกดังเก็บของ ขายน�้ำมัน เชือ้ เพลิงให้แก่ยานพาหนะทางน�ำ้ และอืน่ ๆ อีกมากมาย ส�ำหรับเรือนแพทีใ่ ช้พกั อาศัย เท่าที่พบมีทั้งเรือนจั่วเดียวขนาดเล็ก เรือนจั่วแฝด จนกระทั่งถึงเรือนหลายๆ จั่วที่ต่อ ชายคาคลุมการใช้สอยเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มปริมาณของสมาชิกในครอบครัว

เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 4


เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 5


เรือนแพ ตรอกบ้านจีน ตรอกบ้านจีน ได้เป็นแหล่งชุมชนทีม่ คี วามเจริญรุง่ เรืองมากในอดีต โดยมีชาว จีนชื่อ “จีนเต็ง” ได้ขยายกิจการค้าขายจากเมืองเชียงใหม่ลงมาถึงเมืองตาก และได้ เข้าหุ้นส่วนค้าขายกับพ่อค้าอีก 2 คนคือ “จีนบุญเย็น” และ “จีนทองอยู่” ต่อมาได้ เข้าไปอยูใ่ นระบบราชการไทย กล่าวคือ “จีนบุญเย็น” ได้รบั แต่งตัง้ ให้เป็น “หลวงนรา พิทกั ษ์” ปลัดฝ่ายจีนเมืองตาก แล้วได้รบั แต่งตัง้ ให้เป็น “หลวงจิตรจ�ำนงวานิช” สังกัด กรมท่าซ้าย ส่วนจีนทองอยูไ่ ด้เป็น “หลวงบริรกั ษ์ประชากร” กรมการพิเศษเมืองตาก อากรเต็งและหุ้นส่วนทั้งสองใช้ย่ีห้อการค้าว่า “กิมเซ่งหลี” ห้างกิมเซ่งหลีได้เข้ารับ ช่วงผูกขาดการจัดเก็บภาษีอาการ ทีเ่ มืองเชียงใหม่จงึ ได้นำ� พวกคนจีนเข้ามาอยูล่ ะแวก บ้านนี้ หมู่บ้านนี้จงึ มีแต่ลูกหลานจีนด�ำเนินการค้าขาย ปลูกบ้าน ร้านค้า เริ่มมีถนน หนทางแต่เป็นเพียงทางเดินเท้า ร้านค้าจะมีของขายทุกอย่าง ในซอยตรอกบ้านจีนจะ มุงหลังคาบ้านชนกัน จึงเป็นที่ร่มใช้เดินถึงกันได้ตลอด มีร้านขายถ้วยชาม ร้านผ้า ร้านหนังสือเรียน ร้านเครื่องอัฐบริขารในการบวชพระ เป็นความมั่งคั่งรุ่งเรืองของ ตรอกบ้านจีน จะเห็นได้จาก เรือนพ่อค้า เรือนคหบดี เรือนขุนนาง ที่มีความวิจิตร งดงาม และมีเอกลักษณ์ ทั้งเรือนไทย เรือนขนมปังขิง เรือนค้าขายที่ผสมระหว่าง เรือนภาคกลางและเรือนภาคเหนือ เรียงรายอยู่ในตรอก

เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 6


เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 7


เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 8


บ้านเรือนแพ ในชุมชนตรอกบ้านจีน

บ้านเรือนแพในชุมชนตรอกบ้านจีน พบการได้รับอิทธิพลในการสร้างงาน สถาปัตยกรรมและงานศิลปกรรมหลักๆ อยู่ 2 รูปแบบ อิทธิพลแรกคือ การที่ชาวจีน เข้ามาท�ำการติดต่อค้าขายและตั้งถิ่นฐาน ซึ่งส่งผลต่อรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ พบ คือ การใช้ประตูบานเฟี้ยมเป็นจ�ำนวนมาก และอิทธิพลที่สองคือ อิทธิพลจาก ภาคกลางของไทย เมือ่ ได้มกี ารเข้ารับราชการของเจ้าสัวทัง้ สามของชุมชนตรอกบ้าน จีน และได้กลับมายังชุมชนพร้อมน�ำอิทธิพลการสร้างบ้านแบบภาคกลางไทยขึ้นมา ผสมกับอิทธิผลของจีน จึงได้ปรับรูปแบบการสร้างให้เข้ากับสภาพของบ้านเมืองจึง ท�ำให้เกิดเรือนแพที่ได้มีการผสมหลากหลายวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นถึง ความเจริญรุ่งเรืองของการค้าขายในยุคที่เมืองตากเป็นเส้นทางการค้าระหว่างภาค กลางของไทยสู่หัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยนัน้

เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 9


บ้านตระกูลกาญจนสุต (ตระกูลโสภโณดร)

บ้ า นตระกู ล กาญจนสุ ต (ตระกู ล โสภโณดร) ตั้ ง อยู ่ ที่ 750 ซอยบ้ า นจี น ต� ำ บลระแหง อ� ำ เภอเมื อ งตาก จั ง หวั ด ตาก เดิ ม เจ้ า ของบ้ า นคื อ คุ ณ ก๋ ง โพธิ์ (มาจากจีนแผ่นดินใหญ่) และได้สบื ทอดมรดกกันเรือ่ ยมาจนถึง นายคม กาญจนสุต (เจ้าของ บ้านในปัจจุบัน) บ้านตระกูลกาญจนสุตได้สร้างขึ้นในพ.ศ.2407 โดยท�ำจากไม้สักทั้งหลัง รูปทรงไทยโบราณเรือนแฝด ๓ หลัง ผู้สร้างคือ ก๋งโพธิ์ โดยก๋งโพธิม์ อี าชีพค้าไม้และท�ำเรือ โกลนขาย (เรือที่ขุดมาจากไม้ทงั้ ล�ำต้น) โดยมีชื่อร้านว่าไท่เส็ง ต่อมา ทวดมิ้ม โสภโณดร ซึ่งเป็นบุตรตรีของก๋งโพธิ์ได้เปิดร้านขายเครื่องสังฆภัณฑ์ สบง จีวร และถ้วยชามจาก ประเทศจีน โดยขนส่งทางเรือเมล์จากกรุงเทพฯ มายังจังหวัดตาก ต่อมาได้ขายผ้าจากเมือง เหนือ โดยทวดมิ้มได้มเี รือชะล่าอยู่ ๕ ล�ำ ที่ใช้ในการขนส่งสินค้า เมื่อรัฐบาลสั่งให้ถมน�ำ้ ปิง เพื่อสร้างถนนหนทางเพื่อน�ำความเจริญมาสู่เมืองตาก ย่านการค้าริมน�ำ้ ก็ซบเซาลง ท�ำให้ ทวดมิม้ ได้ปดิ กิจการลงและร้านค้านัน้ ก็ได้กลายมาเป็นเรือนพักอาศัยโดนตรง โดยทวดมิม้ ก็ยกบ้านหลังนี้ให้เป็นมรดกตกทอดต่อ คุณแม่จรูญ กาญจนสุต (บุตรบุญธรรม) และหลัง จากนั้นแม่จรูญก็ได้มอบให้แก่ นายคม กาญจนสุต ซึ่งได้เป็นเจ้าของมาจวบจนปัจจุบัน ลักษณะทางสถาปัตยกรรม เป็นเรือนไทยภาคกลางแฝด 3 หลัง จะเป็นเรือนเครือ่ ง สับไม้จริง หลังคาจั่วทรงสูงและแอ่นปลาย มีป้านลมแบบมีตัวเหงาและจั่วที่สูงชะลูด เป็น บ้านขนาด 5 ช่วงเสา มีเสาหลักทั้งหมด 39 ต้น ด้านหน้าเป็นประตูบานเฟี้ยมเข้าโครงเป็น แบบลูกฟักทึบ ไม่มีลวดลาย มีหน้าต่างจ�ำนวน 13 บาน ประตูทางเข้า 5 บาน ประตูบาน เฟี้ยม 6 คู่ โดยพื้นที่การใช้สอยจะแบ่งเป็นทัง้ หมด 4 ส่วน ส่วนแรกจะเป็นชานที่เอาไว้โชว์ สินค้าต่างๆ ที่ใช้ในการค้าขาย ส่วนที่สองจะเป็นห้องที่เอาไว้รับรองแขกและเป็นที่พักผ่อน หย่อนใจ ส่วนที่สามเป็นห้องนอนห้องใหญ่ 1 ห้องและห้องเล็ก 1 ห้องอยู่ข้าง และในส่วน สุดท้ายเป็นห้องที่ใช้ในการเก็บอุปกรณ์และสิ่งของต่างๆ และห้องครัวอยู่ภายในตัว เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 10


เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 11


เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 12


กระเบื้องดินขอ เป็นกระเบื้องดินเผาชนิดหนึ่งที่มีใช้ในบ้านเรามานาน มีลักษณะเป็น แผ่นสีเ่ หลีย่ มปลายตัดตรง ด้านล่างท�ำเป็นปุม่ เพือ่ เอาไว้เกีย่ วกับระแนงทีร่ องรับ หลังๆ มามีการพัฒนารูปแบบให้มลี กั ษณะปลายมนบ้าง ลบเหลีย่ มบ้าง แล้วแต่ ผู้ผลิต แต่ยังคงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือเป็นกระเบื้องหลังคาดินเผาขนาดเล็ก

เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 13


เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 14


เต้า

เป็นไม้เหลี่ยมที่สอดทะลุเสา ท�ำหน้าที่ยื่นจากเสาไปรับน�ำ้ หนักเชิงชาย และ ปลายของหลังคา อีกทั้งเป็นที่ยดึ เกาะของจันทันกันสาด เต้าที่อยู่ตรงมุมเรือนมีสอง ตัวเรียก เต้ารุม เต้าทีไ่ ม่อยู่ตรงมุมเรียก เต้าราย ทัง้ สองชนิดมีปลายข้างหนึง่ เล็ก โคน ใหญ่เมื่อสอดเต้าผ่านเสาที่เจาะรูพอดีกับเต้าเสา และเต้าระดับให้แน่น และได้ระยะ พอดี สามารถรับน�ำ้ หนักกันสาดได้เป็นอย่างดี เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 15


หน้าจั่ว

แผงรูปไม้สามเหลีย่ มใช้ไม้ขนาดกลางตีทบั เกร็ดซ้อนเป็นทางแนวนอน ใช้เพือ่ ประกบปิดตรงส่วนทีเ่ ป็นโพรงของหลังคาทางด้านสกัดหรือขือ่ ของเรือน เพือ่ ป้องกัน ลม แดด ฝน ช่องลมข้างในกรุเป็นไม้ระแนงตีเป็นเส้นไขว่ทแยง ท�ำให้ดูโปร่ง และเพื่อ ให้ลมผ่านเข้าในห้อง เป็นการช่วยระบายความร้อนภายในอาคารออกไป

เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 16


ช่องลม

ข้างในกรุเป็นไม้ระแนงตีเป็นเส้นไขว้ทแยง ท�ำให้ดูโปร่ง และเพื่อให้ลมผ่าน เข้าในห้อง เป็นการช่วยระบายความร้อนภายในอาคารออกไป

เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 17


ตู้กระจกสูงจรดเพดาน

อยู่ส่วนชานของบ้าน ตู้ชนิดนี้ออกแบบ และท�ำขึ้น ณ สถานที่ที่ต้องการเลยทีเดียว โดย มิได้โยกย้ายมากจากที่อื่น เอาไว้โชว์สินค้าหน้า ร้านและมีช่องลมด้านบน เพื่อให้ลมผ่านเข้าใน ห้อง เป็นการช่วยระบายความร้อนภายในอาคาร ออกไปอีกด้วย เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 18


เสาเรือน

ปรากฏตัวอักษรจีน ที่สื่อ ความหมายทางการค้ า ในอดี ต อักษรสองตัวนี้คือ “ไท่ เส็ง” (ภาพ กลาง) หมายถึง ไทยการค้า ภาพ ซ้าย หมายถึง ยิ่งใหญ่ไพศาล หนัก แน่น ดุจดั่งขุนเขา ภาพขวา การ ค้าขาย การพาณิชย์ ที่ร�่ำรวยยั่งยืน อักษรจีนนี้จะต้องมีค�ำแปลอยู่ด้วย กัน 9 ค�ำ ซึ่งค�ำมงคลมีความหมาย ที่ดีต่อเจ้าของบ้านนัน้ ๆ

เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 19


เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 20


ฝาห้องนอน

(ภาพหน้า 20) เป็นบาน

เฟี ้ ย มตอนบนเป็ น เกร็ ด ระบายลม ตอนล่างเป็นลูกฟักเล็กและลูกฟัก ยาวตั้ง ด้านบนมีช่องลมไม้ระแนงตี เป็ น เส้ น ไขว่ ท แยง เพื่ อ ให้ ล มผ่ า น เข้าไปภายในห้องนอน

หน้าต่าง หน้ า ต่ า งตอนบนเป็ น เกร็ ด ระบายลม ตอนล่างลูกฟักยาวตั้ง มี ช่องลมให้อากาศผ่านเข้าไปภายใน ห้องนอนเช่นเดียวกับประตู

เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 21


บ้านตระกูลอินทร์อยู่ ประวัติบ้านอินทร์อยู่ได้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2468 สร้างขึ้นโดย นายชู และนาง ริ้ว ทองมา เป็นเจ้าของบ้านรุ่นที่ 1 และต่อมานางวิไลวรรณ อินทร์อยู่ ได้รับมรดก ตกทอดจากบิดาและมารดา โดยสมัยนั้นได้ทำ� การค้าขายเครื่องนุ่งห่ม เป็นเจ้าของ บ้านรุ่นที่ 2 และทายาทที่จะได้สบื ทอดรุ่นต่อไป คือ นางเยาวเรศ บัวทอง (อินทร์อยู่) ประตูบานเฟีย้ มเป็นประตูอกี รูปแบบหนึง่ ทีม่ วี ธิ กี ารใช้งานต่างจากประตูโดย ทั่วไป โดยน�ำประตูบานเล็ก ๆ หลายบานมาต่อกันด้วยบานพับ ท�ำให้สามารถพับทบ กันไปรวมที่ด้านในด้านหนึ่ง หรือสองด้านได้ตามการออกแบบท�ำให้กินพื้นที่ใช้งาน น้อย และเปิดได้กว้างกว่าแบบอืน่ ๆ นิยมน�ำมาใช้ในการแบ่ง หรือเป็นฉากกัน้ ห้อง จะ ช่วยให้ห้องนัน้ สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์มากขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุด โดย เฉพาะบ้านที่มเี นือ้ ที่หรือห้องจ�ำกัด ส่วนใหญ่เรือนร้านค้าทุกหลัง จะมีตู้ขายของที่ใส่ สินค้าอยู่ด้วยกัน 2 ตู้ อยู่คู่กันเสมอ และจะเป็นตู้สนิ ค้าหลังใหญ่ๆ

เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 22


เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 23


บ้านตระกูลสุวรรณเพ็ญ ประวัติบ้าน ที่ดินของตระกูลสุวรรณเพ็ญ ที่ชุมชนตรอกบ้านจีน เมืองตากนี้ นายริต-นางทองค�ำ อยู่สวัสดิ์ (พ่อค้าไม้สัก ผู้ครอบครองที่ดินจ�ำนวนมากของเมือง ตาก) ได้มอบเป็นมรดกให้แก่ นางปุกเงิน ผู้เป็นลูกสาว และนายอินทร์ สุวรรณเพ็ญ เพือ่ ใช้สร้างครอบครัว โดยปลูกเป็นเรือนค้าขาย(สร้างขึน้ ก่อน พ.ศ.๒๔๖๖) เปิดหน้า ร้านท�ำการค้าขายจ�ำพวกเครือ่ งใช้ต่างๆ เสือ้ ผ้าและเครือ่ งแก้ว ด้านหลังเป็นส่วนพัก อาศัย นอกชาน ที่นั่งพักผ่อน และเรือนครัว ห้องน�้ำ ยุ้งข้าว และสวนผลไม้ท่อี ยู่หลัง บ้านยาวไปจนติดกับถนนหลังบ้าน (ถนนตากสินในปัจจุบัน) ตามลักษณะเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม เรือนค้าขายของชุมชนตรอกบ้าน จีน คือเป็นเรือนค้าขาย ทรงไทยชั้นเดียว ยกใต้ถุน ด้านหน้า (ถนนตรอกบ้านจีน) จะ เป็นส่วนค้าขาย พบปะผู้คน ประตูจงึ เป็นบานเฟีย้ มแบบลูกฟัก สามารถเปิดด้านหน้า ได้ยาวตลอดในช่วงเวลาค้าขาย และปิดในเวลากลางคืน มีชานไว้วางของขาย พื้น ส่วนพักผ่อนจะยกระดับจากชาน เจ้าของบ้านสามารถนัง่ เล่นนอนเล่นได้ หลังคาทรง จัว่ สูง มุงกระเบือ้ งดินเผา องค์ประกอบของอาคารส่วนต่างๆเป็นไม้สกั ตัง้ แต่ฐานราก เสาคาน พื้นผนัง ประตูหน้าต่าง และยึดองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกันตาม เทคนิค โบราณ คือ ใช้สลักเดือย

เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 24


เรือนแพ ตรอกบ้านจีน 25


เรือนแพ ตรอกบ้านจีน ภาพและเนื้อเรื่อง © 2014 (พ.ศ. 2557) โดย พนาวสันต์ ใจแก้ว, 540310124 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557
 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย พนาวสันต์ ใจแก้ว โดยใช้ฟอนท์ TH Niramit AS 16 pt. 
หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



เรื อ นแพ ตรอกบ้ า นจี น จะมุ ง หลั ง คาบ้ า นชนกั น จึ ง เป็ น ที่ ร่ ม ใช้

เดิ น ถึ ง กั น ได้ ต ลอด มี ร้ า นขายถ้ ว ยชาม ร้ า นผ้ า ร้ า นหนั ง สื อ เรี ย น ร้านเครื่องอัฐบริขารในการบวชพระ ตรอกบ้านจีนเริ่มซบเซาลงหลัง จากสงครามโลกครั้งที่ 2 ปี 2484 ปัจจุบันบ้านจีนจึงเหลือแต่บ้านเก่าๆ ซึง่ ยังคงลักษณะของสถาปัตยกรรมเดิมไว้คอ่ นข้างสมบูรณ์ เหมาะสำ�หรับ เดินทางเที่ยวชมสภาพบ้านเรือนโดยรอบและวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของ ชุมชนตรอกบ้านจีน

ภาพปก : เรือนแพ ตรอกบ้านจีน ออกแบบปกโดย : พนาวสันต์ ใจแก้ว


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.