AMATA: Annual Report 2010 TH

Page 1

บร� ษ ั ท อมตะ คอร ป อเรชั น จำกั ด (มหาชน) ● รายงานประจำป 2553

ยืนหยัด ใตฟาหลังฝน….

ยืนหยัด ใตฟาหลังฝน….

255 รายงานประจำป

บร�ษัท อมตะ คอรปอเรชัน จำกัด (มหาชน)

ประเทศไทย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700 หมู่ที่ 1 ตำ�บลคลองตำ�หรุ อำ�เภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 โทรศัพท์ : +66 38 213 007 โทรสาร : +66 38 213 700

VIETNAM บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด นิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ 7 หมู่ที่ 3 ตำ�บลบ่อวิน อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ : +66 38 346 007 โทรสาร : +66 38 345 771

สำ�นักงานใหญ่ 2126 อาคารกรมดิษฐ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กทม. 10310 โทรศัพท์ : +66 2 792 0000 โทรสาร : +66 2 318 1096

Amata (Vietnam) Joint Stock Co. Long Binh Ward, Bien Hoa City, Dong Nai Province, Vietnam Tel : (84) 61 3991 007 Fax : (84) 61 3891 251


บริ ษั ท อมตะ คอร์ ป อเรชั น จ� ำ กั ด (มหาชน)

สารบัญ 04 05 06 08 11 12 15 26 36 37 39 45 46 47 48 49 50 51 52 55 56 100 101 106 107 108 109 114

ข้อมูลสำ�คัญทางการเงิน ผลประกอบการตามงบการเงินรวม 2549 - 2553 สารจากประธานกรรมการ ลักษณะการประกอบธุรกิจ โครงสร้างรายได้ ปัจจัยความเสี่ยง ประวัติคณะกรรมการ การปฏิบัติตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท รายงานการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการ กรรมการและโครงสร้างการจัดการ รายงานค่าตอบแทนคณะกรรมการ นโยบายค่าตอบแทน ข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่และนโยบายจ่ายเงินปันผล ระบบการจัดการข้อมูลภายใน รายการระหว่างกัน การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและผลการดำ�เนินงาน รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ในการจัดทำ�รายงานทางการเงินประจำ�ปี 2553 รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบ รายงานผู้สอบบัญชีรับอนุญาต งบการเงิน แผนผังองค์กร ประวัติผู้บริหาร โครงสร้างบริษัท การถือหุ้นของผู้บริหาร รายชื่อกรรมการของบริษัทย่อย ข้อมูลบริษัท บุคคลอ้างอิงอื่นๆ


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

เรายืนหยัดด้วยรากฐานที่มั่นคง วิกฤตการณ์ต่างๆ จากผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการเมืองในปี 2552 ที่เราได้เผชิญมานั้น เปรียบเสมือนการโถมกระหน�่ำของพายุลูกใหญ่ แต่ด้วยรากฐานอันมั่นคงยาวนานกว่า 20 ปี ท�ำให้เราสามารถยืนหยัดเผชิญจนกระทั่งพายุนั้นผ่านพ้นไป และในวันนี้..... เราคือต้นไม้ที่ ตัง้ ตระหง่านท่ามกลางบรรยากาศฟ้าหลังฝน ซึง่ พร้อมจะเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็วและงดงาม


บริ ษั ท อมตะ คอร์ ป อเรชั น จ� ำ กั ด (มหาชน)

เรายืนหยัดด้วยรากฐานที่มั่นคง รากแก้วแห่งวิสัยทัศน์อันกว้างไกล

แขนงกิง่ ก้านแห่งธุรกิจ

วิสัยทัศน์อันกว้างไกลผนวกกับแผนกลยุทธ์ ของผูบ้ ริหาร คือรากแก้วทีแ่ ผ่ขยายหยัง่ ลึกอัน นำ�มาซึง่ ความแข็งแกร่ง และเป็นรากฐานสำ�คัญ ที่ทำ�ให้องค์กรสามารถเติบโตต่อไปได้อย่าง มั่นคงในทุกสถานการณ์

เรามุ่งสรรค์สร้างธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ สำ�หรับ รองรับความต้องการอันหลากหลายของลูกค้า ภายในนิ ค มฯ อยู่ เ สมอ นั บ เป็ น การเพิ่ ม ช่ อ ง ทางสร้ า งรายได้ แ ละโอกาสในการขยายธุ ร กิ จ แก่องค์กรอย่างต่อเนือ่ ง


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

สร้างชุมชนทีด่ เี พือ่ เติบใหญ่อย่างยัง่ ยืน เป้าหมายส�ำคัญอย่างหนึ่งของเรา คือ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมฯ ให้เป็น “เมืองที่ สมบูรณ์” พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ด้วยการบริการระดับมาตรฐานสากล พร้ อ มด้ ว ยสิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกครบครั น โดยค� ำ นึ ง ถึ ง ทรั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

ข้อมูลส�ำคัญทางการเงิน ข้อมูลสำ�คัญทางการเงิน บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกำ�ไรขาดทุน (ล้านบาท) รายได้รวม รายได้จากการขาย กำ�ไรขั้นต้น กำ�ไรสุทธิ งบดุล (ล้านบาท) สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม ต่อหุ้นสามัญมูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท กำ�ไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น (บาท) การจ่ายปันผล (ล้านบาท) อัตราส่วนทางการเงินที่สำ�คัญ อัตรากำ�ไรสุทธิต่อรายได้รวม (%) อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (%) อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม (%) อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (เท่า)

2553 2552 2551 2550 2549

2,230.14 2,035.10 822.30 372.31

3,692.60 3,552.52 1,732.48 957.49

14,049.20

4,061.31 3,858.78 2,101.93 1,192.30

4,398.63 4,314.67 2,138.01 1,027.23

3,421.90 3,345.81 1,802.41 780.87

13,412.23 12,359.39

9,230.52 4,923.64 4,306.88

7,180.61 6,231.62

6,774.60 5,584.79

9,754.83 4,893.86 4,860.97

0.90 266.73

0.35 106.69

1.12 586.85

0.96 426.80

0.73 633.20

25.93 17.29 10.55 1.16

16.69 8.58 4.25 1.30

29.36 27.53

16.39 1.39

23.35 26.59

16.85 1.15

22.82 24.14

15.38 1.32

185 68 253

482 413 895

754 789 1,543

345 202 547

7,154.42 6,894.78

ผลการดำ�เนินงานของบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ยอดขายที่ดินเพื่ออุตสาหกรรม* นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 437 นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ 858 นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร & นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ 1,295 หมายเหตุ : * ที่ดินของนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ (เบียนหัว) ให้เช่าเท่านั้น

4


ผลประกอบการตามงบการเงิน พ.ศ. 2549-2553

กำไรขั้นตน

รายไดรวม

2551 2550

2549

อัตราหนี้สินตอสวนของผูถือหุน

2553

2552 2551

372.31 2550 2549

กำไร (ขาดทุน)

2553

2552 2551

2550 2549

การจายเง�นปนผล

ตอหุน(บาท)

(ลานบาท)

0.35

266.73

0.90

1.30

(เทา)

1.16

957.49 822.30

2,230.14 2552

(ลานบาท)

1,732.48

3,692.60 2553

กำไรสุทธ�

(ลานบาท)

(ลานบาท)

2553

2552

2551 2550

2549

2553

2552 2551

2550 2549

2553

2552 2551

2550 2549

5


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

สารจากประธานกรรมการ สารจากประธานกรรมการ จากสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในปี 2552 ท�ำบริษัทฯ ต้องเผชิญกับสถานการณ์อันยาก ล�ำบากในการด�ำเนินธุรกิจ แต่ด้วยความมุมานะของผู้บริหารและการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ รับผิดชอบอย่างเข้มแข็งของบุคลากรทุกฝ่าย ท�ำให้บริษัทฯ สามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ จน ผ่านพ้นไปได้ และมีผลประกอบการที่ดีในปี 2553 สามารถขายที่ดินได้ 1,295 ไร่ ในขณะที่ ปี 2552 ที่ขายได้เพียง 253 ไร่ นอกจากนี้ บริษัทยังมีรายได้จากการด�ำเนินงานส่วนอื่นๆ อาทิ การบริการด้านให้เช่าอาคารโรงงานส�ำเร็จรูป การให้บริการด้านสาธารณูปโภคเช่น น�้ำ และ บ�ำบัดน�้ำเสีย รวมถึงการให้เช่าพื้นที่พาณิชยกรรม ฯลฯ โดยรายได้ดังกล่าว เพิ่มขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ทั้งนี้เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย และการเติบโต ของธุรกิจยานยนต์

ดร.วิษณุ เครืองาม

สำ�หรับปี 2554 ทีก่ �ำ ลังจะมาถึงนี้ กระผมมัน่ ใจว่าภาพรวมของยอดขายนิคมอุตสาหกรรม ในไทยจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการลงทุนของนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศที่ เป็นกลุ่มเป้าหมาย ของบริษัทฯ อย่าง จีน และญี่ปุ่น ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เตรียมพัฒนาพื้นที่เพื่อ รองรับการลงทุนที่จะเข้ามาใหม่ในอนาคต โดยได้ลงนามสัญญาร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (โครงการ 2) บนพื้นที่ 8,226 ไร่ ในจังหวัดชลบุรีและฉะเชิงเทรา นอกจากนีบ้ ริษทั ฯ ยังเตรียมความพร้อมภายในองค์กรด้วยการพัฒนาองค์กรและบุคลากร บนพื้นฐานที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่พนักงาน ลูกค้า และชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยตระหนัก ในความสำ�คัญของทรัพยากรธรรมชาติและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ ในโอกาสนี้ กระผมขอขอบคุณท่านผูถ้ อื หุน้ นักลงทุน พันธมิตรทางธุรกิจ ลูกค้า รวมถึง ผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องทัง้ หมด พร้อมทัง้ ขอบคุณอย่างยิง่ ต่อคณะผูบ้ ริหารและพนักงานทุกคน สำ�หรับ ความพยายามทุ่มเทในการดำ�เนินงาน สุดท้ายนี้กระผมขอให้ทุกคนมั่นใจว่า พวกเราจะอุทิศตน ในการรักษาอัตราการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และพร้อมยืนหยัดในทุกสถานการณ์เพื่อ นำ�พาองค์กรสู่ความก้าวหน้าต่อไปอย่างมั่นคง

(ดร.วิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการ

6


ฟ้าหลังฝน... เมื่อพายุแห่งอุปสรรคทางธุรกิจได้ผ่านพ้นไป เรายัง คงเป็นหนึ่งในผู้น�ำธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมที่พร้อมจะ เติบโตอย่างมัน่ คงในฐานะเมืองอุตสาหกรรมทีส่ มบูรณ์แบบ


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

ลักษณะการประกอบธุรกิจ (1) ประวัติความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาที่สำ�คัญ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) เดิมชื่อบริษัท บางปะกง อินดัสเตรียล ปาร์ค 2 จำ�กัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวัน ที่ 6 มีนาคม 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำ�เนินธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์ ในรูปของการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเพื่อขายให้แก่ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรม โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรกจำ�นวน 120,000,000 บาท (หนึ่งร้อยยี่สิบล้านบาท) ปัจจุบันทุนจดทะเบียน 1,067,000,000 บาท (หนึ่งพันหกสิบเจ็ดล้านบาท) และได้จัดตั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรมบางปะกง ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น “นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร” เมื่อ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งจัดอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนเขตที่ 2 โดยเป็นโครงการที่ดำ�เนินงานโดยภาคเอกชนร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย บนเนื้อที่ประมาณ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ กม.ที่ 57 ถนนบางนา-ตราด ในเขตอำ�เภอเมือง และอำ�เภอพานทอง จังหวัดชลบุรี โดย มีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ 31 ธันวาคม 2553 คือ ครอบครัวกรมดิษฐ์ 30.88%, ครอบครัวยอดมณี 3.62%, Itochu Management (Thailand) Co., Ltd. 4.69% ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมยังคงเป็นผู้ถือหุ้นหลัก โดยในปี 2553 ครอบครัวกรมดิษฐ์ และครอบครัวยอดมณี ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้น ลงเล็กน้อย ส่วนผู้ถือหุ้นหลักรายอื่นได้แก่ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำ�กัด ถือหุ้น 4.90%, HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD.ถือหุ้น 3.79%, STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR AUSTRALIA ถือหุ้น 3.67%

ในปี 2553 มีเหตุการณ์สำ�คัญดังนี้

1.

ที่ประชุมคณะกรรมการ อมตะ ซิตี้ จำ�กัด (บริษัทย่อย ซึ่งบริษัทถือหุ้นอยู่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 83.67 ของทุนจดทะเบียน) ครั้งที่ 1/2010 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2553 มีมติให้สัตยาบันยกเลิกการร่วมลงทุนใน บริษัท พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการ อุตสาหกรรมระยอง(ไทย-จีน) จำ�กัด เนื่องจากเดิมบริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด ต้องการที่จะมี Recurring income หรือผลกำ�ไร จากธุรกิจดังกล่าว แต่แนวโน้มธุรกิจไม่เป็นไปตามความคาดหมาย จึงต้องการขายเงินลงทุนออกไป

2.

ที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2010 เมื่อวันที่ 20 กรกฏาคม 2553 มีมติให้ ลงทุนซื้อหุ้นเพิ่ม ในบริษัท อมตะ จัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติ จำ�กัด จำ�นวน 1.6 ล้านหุ้น หรือ ร้อยละ 10 จากบริษัท Chevron Thailand NGD Holding Ltd.เมื่อรวมสัดส่วนการถือหุ้นเดิม และการลงทุนซื้อหุ้นเพิ่ม บริษัทฯถือหุ้นในบริษัท อมตะ จัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติ จำ�กัดทั้งสิ้น 20%

3. วัน ที่ 20 ธันวาคม 2553 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้จัดตั้งเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (โครงการ 2) ในท้องที่ตำ�บลเกาะลอย ตำ�บลบ้านเก่า ตำ�บลบางนาง อำ�เภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และตำ�บลบางผึ้ง ตำ�บล ตลาดควาย อำ�เภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เนื้อที่ประมาณ 8,226 ไร่ 3 งาน 84 ตารางวา

(2) ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัท บริษัทย่อย และบริษัทร่วม

บริษทั เน้นการลงทุนในธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและธุรกิจทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับธุรกิจนิคมอุตสาหกรรมโดยสามารถแบ่งกลุม่ ธุรกิจได้ดงั นี้

กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อย ที่ดำ�เนินธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม จำ�นวน 2 บริษัทคือ 1. บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด บริษัทถือหุ้นอยู่ร้อยละ 83.67 เพื่อดำ�เนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โดยพัฒนาที่ดินในรูปนิคม อุตสาหกรรม ภายใต้ชื่อโครงการ “นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้” ซึ่งจัดอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนเขตที่ 3 บนเนื้อที่ประมาณ 11,000 ไร่ ตั้งอยู่บนถนนทางหลวงหมายเลข 331 ตำ�บลมาบยางพร อำ�เภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

2.

8

บริษัทได้เข้าร่วมทุนกับรัฐบาลเวียดนาม ในการจัดตั้ง Amata (Vietnam) Joint Stock Company โดยบริษัทและบริษัทย่อย ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 62.88 ดำ�เนินธุรกิจพัฒนาที่ดินในรูปนิคมอุตสาหกรรมบนเนื้อที่ประมาณ 4,375 ไร่ ใช้ชื่อโครงการว่า “Amata City (Bien Hoa)” ตั้งอยู่ ใกล้สี่แยกทางหลวงสาย 1 และสาย 15 ตำ�บลลองบินห์ เมืองเบียนหัว จังหวัดดองไน ประเทศเวียดนาม


กลุ่มสาธารณูปโภค บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทซึ่งทำ�กิจการด้านสาธารณูปโภคอีก 4 บริษัท คือ 1. บริษัท อมตะ เพาเวอร์ จ�ำกัด บริษัทถือหุ้นอยู่ 13.77% วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัทก็เพื่อก่อตั้งบริษัทร่วมทุนสร้าง โรงผลิต และจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้า และไอน�้ำ ทั้งในและต่างประเทศ 2. บริษัท อมตะ วอเตอร์ จ�ำกัด (เปลี่ยนจากบริษัท อมตะ ควอลิตี้ วอเตอร์ จ�ำกัด เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2548) ด�ำเนิน กิจการเกี่ยวกับน�้ำเพื่อการอุตสาหกรรม การบริโภค อุปโภค หรือผลิตภัณฑ์ซึ่งแปรสภาพจากน�้ำเพื่อการบริโภค หรืออุปโภค โดยบริษัทถือหุ้น 100% 3. บริษทั อมตะ จัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติ จำ�กัด ดำ�เนินกิจการจัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติโดยส่งผ่านท่อก๊าซ บริษทั ฯ ถือหุน้ 20% 4. บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 3 จ�ำกัด ด�ำเนินกิจการการผลิตกระแสไฟฟ้าและไอน�้ำ บริษัทฯ ถือหุ้น 10%

กลุ่มธุรกิจให้บริการในนิคมอุตสาหกรรม บริษัทได้จัดตั้งบริษัทซึ่งทำ�กิจการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยและให้บริการแก่ลูกค้าที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 6 บริษัท คือ

ลำ�ดับ 1. 2. 3. 4. 5. 6.

ชื่อบริษัท บริษัท อมตะ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด (เดิมชื่อบริษัท บีไอพี ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด) บริษัท อมตะ แมนชั่น เซอร์วิส จำ�กัด (เดิมชื่อบริษัท บีไอพี เซอร์วิส จำ�กัด) บริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำ�กัด บริษัท อมตะ-ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด บริษัท เวีย โลจิสติกส์ จำ�กัด บริษัท โรงพยาบาลวิภาราม (อมตะนคร) จำ�กัด

ผู้ถือหุ้น บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน บจ. อมตะ ดีเวลลอปเม้นท์ บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน

ร้อยละ ให้บริการที่ 43.49 นิคมฯ อมตะนคร 29.10

นิคมฯ อมตะนคร

91.00 49.00 21.00 21.25

นิคมฯ อมตะนคร นิคมฯ อมตะนคร นิคมฯ อมตะนคร นิคมฯ อมตะนคร

กลุ่มอื่นๆ ได้แก่ Amata Hong Kong Ltd. ซึ่งบริษัทถือหุ้น 100% จัดตั้งที่ฮ่องกง เพื่อเป็น Holding Company สำ�หรับกิจการ ลงทุนในต่างประเทศ

9


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

การพัฒนานิคมอุตสาหกรรม เราเป็นผู้น�ำด้านนิคมอุตสาหกรรมแบบครบวงจร ด้วยคุณภาพระดับสากล เพื่อมุ่งพัฒนาสู่การเป็นเมือง อุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์พร้อมสาธารณูปโภคพื้นฐาน แบบครบวงจร

10


โครงสร้างรายได้ สายผลิตภัณฑ์/ กลุ่มธุรกิจ

%

ปี 2552 รายได้

สายผลิตภัณฑ์/กลุ่มธุรกิจที่ 1 บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) (ส่วนงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์) Amata (Vietnam) Joint Stock Company 30.00% บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด 83.67% รวม

1,539 43 0 0 902 25 2,441 68

826 18 265 1,109

สายผลิตภัณฑ์/กลุ่มธุรกิจที่ 2 บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) (ส่วนงานบริการสาธารณูปโภค) Amata (Vietnam) Joint Stock Company 30.00% บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด 83.67% บริษัท อมตะ วอเตอร์ จำ�กัด 100.00% บริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำ�กัด 91.00% รวม

0 0 107 3 0 0 517 15 128 4 752 22

สายผลิตภัณฑ์/กลุ่มธุรกิจที่ 3 บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) (ส่วนงานให้เช่าทรัพย์สิน) Amata (Vietnam) Joint Stock Company 30.00% บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด 83.67% บริษัท อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด 49.00% รวม

43 1 154 4 25 1 138 4 366 10

ดำ�เนินการโดย

% การถือหุ้น ปี 2553 ของบริษัท รายได้

รวมทั้งสิ้น

3,553 100

(หน่วย : ล้านบาท) ปี 2551 % รายได้ % 41 1,622 1 858 13 414 55 2,894

42 22 11 75

0 103 0 458 109 670

0 5 0 22 5 32

19 87 18 498 129 751

0 2 0 13 4 19

20 136 7 93 256

1 7 0 5 13

28 109 1 75 213

1 3 0 2 6

2,035 100 3,858 100

11


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

ปัจจัยความเสี่ยง ความเสี่ยงของธุรกิจขายที่ดินเพื่ออุตสาหกรรม

ธุรกิจหลักของอมตะ คือ การพัฒนาและบริหารนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย และประเทศเวียดนาม โดยอาศัยการลงทุน โดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ดังนั้นความเสี่ยงของธุรกิจนี้ คือ สภาวะเศรษฐกิจโลก ความเสี่ยงหลักต่อแผนยุทธศาสตร์และธุรกิจของอมตะ คือ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หรือเกิดการตกต�่ำทางเศรษฐกิจ อย่างรุนแรง เช่น เกิดวิกฤตทางการเงินในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2540-2541 หรือ วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในปี 2551 ในสหรัฐอเมริกาและ แพร่กระจายไปถึงยุโรป ซึ่งชะลอการลงทุนโดยตรงที่จะเข้ามาในเอเชียและส่งผลกระทบในธุรกิจขายที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมทั้งในประเทศไทย และเวียดนาม การเติบโตอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลกมีส่วนส�ำคัญอย่างมากต่อการขายพื้นที่อุตสาหกรรมของอมตะ การเมืองและความมั่นคงภายในประเทศ ความมั่นคงและน่าลงทุนของประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ก็เป็นอีกส่วนส�ำคัญในการท�ำธุรกิจของอมตะ ดังนั้นความไม่สงบ ทางการเมืองย่ อมกระทบการขายที่ดินอุตสาหกรรมซึ่งเป็ นธุร กิจหลัก ของบริษัท การเปลี่ย นแปลงนโยบายอย่ างกะทั น หัน หรื อความ ไม่ต่อเนื่องของนโยบายการเมืองท�ำให้เกิดความไม่มั่นใจในการลงทุน ดังการเคลื่อนไหวทางการเมืองในปี พ.ศ. 2549 ที่ส่งผลให้มีการลดลง อย่างมากของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) แต่เมือ่ เสถียรภาพทางการเมืองกลับคืนมาเมือ่ ปลายปี 2551 ท�ำให้ FDI กระเตือ้ งขึน้ ภัยธรรมชาติ นอกจากนี้ วิกฤตทางธรรมชาติที่รุนแรง เช่น แผ่นดินไหว, โรคระบาด(ไข้หวัดนก) หรือ ภัยธรรมชาติ สามารถท�ำให้การลงทุน ในประเทศไทย และประเทศเวียดนามชะลอตัวลงได้ อันเป็นเหตุให้ธุรกิจหลักของอมตะเสียหายได้ เหตุการณ์ดังกล่าวจะยับยั้งการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ และน�ำไปสู่การตกต�่ำทางเศรษฐกิจ และท�ำให้ธุรกิจด้านอุตสาหกรรม และการขายอสังหาริมทรัพย์ให้แก่นักลงทุนชาวต่างชาติ ลดลง ความเสี่ยงข้างต้นท�ำให้ยอดขายที่ดินมีความผันผวนเป็นอย่างมาก เพื่อลดความเสี่ยงของความไม่แน่นอนของรายได้ บริษัทจึงเพิ่ม ความหลากหลายของแหล่งรายได้ โดยด�ำเนินการยุทธศาสตร์สร้างความสมดุลระหว่างรายได้จากการขายพืน้ ทีอ่ ตุ สาหกรรมในประเทศไทยและ เวียดนาม และรายได้ที่เกิดขึ้นเป็นประจ�ำอย่างต่อเนื่องเช่น ค่าเช่า ค่าบ�ำรุงรักษาและบริการสาธารณูปโภค

ความเสี่ยงของธุรกิจสาธารณูปโภค

การจัดหาสาธารณูปโภค เช่น ก๊าซธรรมชาติ ระบบไฟฟ้า การสื่อสาร ระบบประปา ฯลฯ ให้เพียงพอกับความต้องการเพื่อผลิตสินค้า ของลูกค้าก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เนื่องจากหากไฟฟ้าดับ หรือไม่มีน�้ำ จะกระทบกระบวนการผลิตสินค้าท�ำให้สินค้าเสียหาย อมตะพยายามลดความเสี่ ย งโดยจั ด หาสาธารณู ป โภคให้ เ พี ย งพอเพื่ อ สนองต่ อ ความต้ อ งการของลู ก ค้ า และลดอุ ป สรรค ด้านการด�ำเนินการผลิต โรงไฟฟ้าอมตะ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ด�ำเนินการส�ำรองไฟฟ้าในกรณีที่เกิดกระแสไฟฟ้าดับ ส่วนก๊าซธรรมชาติ มาจาก บริษัท อมตะ จัดจ�ำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จ�ำกัด หรือส่งตรงมาจากบริษัท ปตท.จ�ำหน่ายก๊าซธรรมชาติ จ�ำกัด บริษัท อมตะ วอเตอร์ จ�ำกัด ซึ่งเป็น บริษัทย่อยของอมตะ มีแหล่งน�้ำมากพอที่จะไม่เกิดผลกระทบจากภาวะขาดแคลนน�้ำ ดังเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับนิคมอุตสาหกรรมอื่นๆ ใน อีสเทิร์น ซีบอร์ด เมื่อกลางปี 2548 บริษัท อมตะ วอเตอร์ จ�ำกัด มีการพัฒนา แหล่งน�้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการขาดแคลนน�้ำในอนาคต โดยการจัดสร้างระบบการหมุนเวียนน�้ำที่จะน�ำน�้ำเสียจากอุตสาหกรรม น�ำกลับ มาใช้ในโรงงานได้อีก จากมาตรการการอนุรักษ์น�้ำท�ำให้ บริษัท อมตะ วอเตอร์ จ�ำกัด มีปริมาณแหล่งน�้ำใช้มากขึ้น และสามารถใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรน�้ำได้อย่างสูงสุด

12


ความเสี่ยงทางการเงิน

1. ความเสี่ยงทางด้านอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากบริษัทมีเงินกู้ยืมเป็นจ�ำนวนมาก ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2553 มียอดเงินกู้ยืมกับสถาบันการเงินตามงบการเงินรวมจ�ำนวน 5,303 ล้านบาทซึง่ เงินกูส้ ว่ นใหญ่เป็นอัตราดอกเบีย้ ลอยตัวและปัจจุบนั นีม้ แี นวโน้มทีจ่ ะมีอตั ราสูงขึน้ หากอัตราดอกเบีย้ เพิม่ ขึน้ 1% ต่อปี ค�ำนวณ จากยอดเงินกู้ ณ. 31 ธันวาคม 2553 จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนทางการเงินของบริษัทปีละ 53.03 ล้านบาท 2. ความเสี่ยงจากการด�ำรงอัตราส่วนทางการเงิน ตามที่บริษัทมีเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินอยู่จ�ำนวนมากนั้น นอกจากปัจจัยความเสี่ยงจากทางด้านอัตราดอกเบี้ยแล้ว บริษัทยังต้อง ค�ำนึงถึงความเสี่ยงของสัญญาเงินกู้ที่ก�ำหนดให้บริษัทต้องด�ำรงสัดส่วนทางการเงินที่ส�ำคัญเช่น Debt to Equity Ratio และ DSCR ซึ่งบริษัทได้ ค�ำนึงถึงความเสี่ยงนี้จึงได้วางแผนเข้าเจรจากับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ให้เป็นไปตามความสามารถ และสอดคล้องกับธุรกิจของบริษัทเพื่อลดความเสี่ยงในด้านนี้

13


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

บริการสาธารณูปโภค เราผลิตและจ�ำหน่ายสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้า น�้ำประปา และแก๊สธรรมชาติ เพื่อการบริการที่ครบวงจร ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง

14


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

ประวัติคณะกรรมการ ดร.วิษ ณุ เครืองาม

ดร.วิษณุ เครืองาม

ประเภทของกรรมการ » กรรมการอิสระ ตำ�แหน่งในบริษัท » ประธานกรรมการ อายุ » 60 ปี การศึกษา » ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ (เกียรตินิยมดีมาก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ » เนติบัณฑิตไทย สำ�นักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา » ปริญญาโท สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบอร์กเล่ย์ สหรัฐอเมริกา (LL.M.) » ปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบอร์กเล่ย์ สหรัฐอเมริกา (J.S.D.) » ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย » ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร การอบรมหลักสูตรกรรมการ » Director Accreditation Program (DAP) ปี 2551 ประสบการณ์การทำ�งาน » ศาสตราจารย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย » เลขาธิการคณะรัฐมนตรี » รองนายกรัฐมนตรี » กรรมการสภามหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต และสถาบันพระปกเกล้า) » นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา » นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ตำ�แหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น » ประธานกรรมการ บริษัท ศิครินทร์ จำ�กัด (มหาชน) » ประธานกรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาธร จำ�กัด (มหาชน) » ประธานกรรมการ บริษัท หลักทรัพย์ บีฟิท จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำ�กัด (มหาชน) ตำ�แหน่งในกิจการอื่น (ที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน) » ไม่มี การดำ�รงตำ�แหน่งในกิจการทีแ่ ข่งขัน / กิจการทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับธุรกิจของบริษัท » ไม่มี การเข้าประชุมปี 2553 » ประชุมคณะกรรมการบริษัท 8/8 ครั้ง » ประชุมผู้ถือหุ้น 1/1 ครั้ง จำ�นวนปีที่เป็นกรรมการ » 3 ปี 9 เดือน การถือหุ้นในบริษัท » ไม่มี ข้อมูลอื่นๆ » ไม่มีคดีความในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา » ไม่มีการทำ�รายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ในรอบปีที่ผ่านมา รายงานประจำ�ปี 2553

15


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

นายเคอิตะ อิชิอิ

นายเคอิตะ อิชิอิ

16

ประเภทของกรรมการ » กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร ตำ�แหน่งในบริษัท » รองประธานกรรมการ อายุ » 50 ปี การศึกษา » ปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ จาก Waseda University, Japan การอบรมหลักสูตรกรรมการ » ไม่มี ประสบการณ์การทำ�งาน » Director of ITOCHU Chemical Frontier Corporation, Japan ตำ�แหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น » กรรมการ บริษัท ทีทีแอล อุตสาหกรรม จำ�กัด (มหาชน) ตำ�แหน่งในกิจการอื่น (ที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน) » Chief Officer for Indo-China Region บริษัท อีโตชู คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด » ประธานกรรมการ บริษัท อีโตชู (ไทยแลนด์) จำ�กัด และ บริษัท อีโตชู แมนเนจเมนท์ (ไทยแลนด์) จำ�กัด » กรรมการหอการค้าญี่ปุ่น (JCC) » กรรมการสมาคมไทย-ญี่ปุ่น » กรรมการโรงเรียนสมาคมไทย-ญี่ปุ่น การดำ�รงตำ�แหน่งในกิจการที่แข่งขัน/กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของ บริษัท » ไม่มี การเข้าประชุมปี 2553 » ประชุมคณะกรรมการบริษัท 4/4 ครั้ง (ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553) » ประชุมผู้ถือหุ้น 1/1 ครั้ง จำ�นวนปีที่เป็นกรรมการ » 9 เดือน การถือหุ้นในบริษัท » ไม่มี ข้อมูลอื่นๆ » ไม่มีคดีความในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา » ไม่มีการทำ�รายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ในรอบปีที่ผ่านมา


นายวิกรม กรมดิษ ฐ์

นายวิกรม กรมดิษฐ์

ประเภทของกรรมการ » กรรมการที่เป็นผู้บริหาร ตำ�แหน่งในบริษัท » กรรมการ » ประธานกรรมการบริหาร » ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร อายุ » 58 ปี การศึกษา » ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ไต้หวัน การอบรมหลักสูตรกรรมการ » ไม่มี ประสบการณ์การทำ�งาน » กรรมการผู้จัดการ บริษัท วี แอนด์ เค คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด » กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรมดิษฐ์ จำ�กัด » รองประธานบริษัท บี ไอ พี แอนจิเนียริ่ง จำ�กัด (มหาชน) » ประธานกรรมการ บริษัท อมตะ (เวียตนาม) จำ�กัด » กรรมการ บริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำ�กัด ตำ�แหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น » ไม่มี ตำ�แหน่งในกิจการอื่น (ที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน) » ประธานกรรมการ บริษัท อมตะ โฮลดิ้ง จำ�กัด » กรรมการ บริษัท อมตะ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด » กรรมการ บริษัท อมตะ แมนชั่น เซอร์วิส จำ�กัด » กรรมการ บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด » กรรมการและประธานกรรมการที่ปรึกษา Amata (Vietnam) Joint Stock Company » ประธานมูลนิธิอมตะ การดำ�รงตำ�แหน่งในกิจการทีแ่ ข่งขัน / กิจการทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับธุรกิจของบริษัท » ไม่มี การเข้าประชุมปี 2553 » ประชุมคณะกรรมการบริษัท 7/8 ครั้ง » ประชุมผู้ถือหุ้น 1/1 ครั้ง จำ�นวนปีที่เป็นกรรมการ » 20 ปี 10 เดือน การถือหุ้นในบริษัท » 263,700,000 หุ้น (24.71%) ข้อมูลอื่นๆ » ไม่มีคดีความในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา » ไม่มีการทำ�รายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ในรอบปีที่ผ่านมา

17


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา

ประเภทของกรรมการ » กรรมการอิสระ ตำ�แหน่งในบริษัท » กรรมการ

อายุ » 74 ปี

พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา

18

การศึกษา » โรงเรียนเซนต์คาเบรียล » โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า » โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ชุดที่ 48 » วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 33 » หลักสูตรพลร่มและจู่โจม ณ ฟอร์ดเบนนิ่ง โรงเรียนทหารราบ กองทัพบกสหรัฐอเมริกา » หลักสูตรชั้นนายพัน เหล่าทหารราบ ณ ฟอร์ดเบนนิ่ง โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก สหรัฐอเมริกา การอบรมหลักสูตรกรรมการ » ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่น 56/2006 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ประสบการณ์การทำ�งาน » ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 1 » ปลัดกระทรวงกลาโหม » สมาชิกวุฒิสภา » รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม » ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง » ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ�กระทรวงกลาโหม » กรรมการ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย » กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จำ�กัด » ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำ�กัด » กรรมการ บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำ�กัด » กรรมการ บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด (มหาชน) » ประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย » นายกสมาคมว่ายน้ำ�สมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ » ประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ » นายกสมาคมยิมนาสติกแห่งประเทศไทย » กรรมการ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำ�กัด (มหาชน) » ประธานสหพันธ์กีฬาซีเกมส์ » ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตำ�แหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น » กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ กรรมการกำ�กับดูแล บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำ�กัด (มหาชน) » ที่ปรึกษา บริษัท ปตท. เคมิคอล จำ�กัด (มหาชน) ตำ�แหน่งในกิจการอื่น (ที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน) » ประธานกรรมการ บริษัท GPP International Co., Ltd. » รองประธาน บริษัท แพน เอเชีย แพลนเนอร์ จำ�กัด » กรรมการ บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด การดำ�รงตำ�แหน่งในกิจการที่แข่งขัน / กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของบริษัท » ไม่มี การเข้าประชุมปี 2553 » ประชุมคณะกรรมการบริษัท 7/8 ครั้ง » ประชุมผู้ถือหุ้น 1/1 ครั้ง จำ�นวนปีที่เป็นกรรมการ » 8 ปี 1 เดือน การถือหุ้นในบริษัท » ไม่มี ข้อมูลอื่นๆ » ไม่มีคดีความในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา » ไม่มีรายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทในรอบปีที่ผ่านมา


นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์

นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์

ประเภทของกรรมการ » กรรมการที่เป็นผู้บริหาร ตำ�แหน่งในบริษัท » กรรมการ » กรรมการบริหาร อายุ » 72 ปี การศึกษา » ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย » ปริญญาโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทกซัส ณ เมือง ออสติน ประเทศสหรัฐอเมริกา » ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.) การอบรมหลักสูตรกรรมการ » Director Accreditation Program (DAP) ปี 2546 » Finance for Non-Finance Director (FN) ปี 2548 » Director Certification Program (DCP) ปี 2549 » Role of Compensation Committee (RCC) ปี 2550 » Audit Committee Program (ACP) ปี 2552 ประสบการณ์การทำ�งาน » รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตำ�แหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น » กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และประธานกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการอิสระ และกรรมการที่ปรึกษา บริษัท สหยูเนี่ยน จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและ กำ�หนดค่าตอบแทน บริษัท เทพธานีกรีฑา จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ และประธานกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน บริษัท กันยงอิเลคทริก จำ�กัด (มหาชน) ตำ�แหน่งในกิจการอื่น (ที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน) » ประธานกรรมการ บริษัท แมกเนคอมพ์ พรีซิซั่น เทคโนโลยี จำ�กัด (มหาชน) » ประธานกรรมการ บริษัท พรีซิพาร์ท จำ�กัด » ประธานกรรมการ บริษัท อมตะวอเตอร์ จำ�กัด » ประธานกรรมการ Amata (Vietnam) Joint Stock Company » กรรมการ บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด » กรรมการ Amata Hong Kong Ltd. » กรรมการ บริษัท ซาน มิเกล เบียร์ (ประเทศไทย) จำ�กัด » กรรมการ บริษัท ไทย ซาน มิเกลลิเดอร์ จำ�กัด การดำ�รงตำ�แหน่งในกิจการทีแ่ ข่งขัน / กิจการทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับธุรกิจของบริษัท » ไม่มี การเข้าประชุมปี 2553 » ประชุมคณะกรรมการบริษัท 7/8 ครั้ง » ประชุมผู้ถือหุ้น 1/1 ครั้ง จำ�นวนปีที่เป็นกรรมการ » 7 ปี 6 เดือน การถือหุ้นในบริษัท » ไม่มี ข้อมูลอื่นๆ » ไม่มีคดีความในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา » ไม่มีการทำ�รายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ในรอบปีที่ผ่านมา

19


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

นายดุสิต นนทะนาคร

นายดุสิต นนทะนาคร

20

ประเภทของกรรมการ » กรรมการอิสระ ตำ�แหน่งในบริษัท » กรรมการ » กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน อายุ » 64 ปี การศึกษา » วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยยังส์ทาว์น รัฐโอไฮโอ » วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ » บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส การอบรมหลักสูตรกรรมการ » Chairman 2000 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย » Directors Certification Program (DCP 24) » Audit Committee Program (ACP 10) ประสบการณ์การทำ�งาน » กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ค้าวัสดุซิเมนต์ไทย จำ�กัด » เลขาธิการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและหอการค้าไทย » ที่ปรึกษาและกรรมการ ธนาคารออมสิน ตำ�แหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น » กรรมการ บริษัท อาร์ ซี แอล จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการ บมจ. ธนาคารกรุงไทย » กรรมการ บริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการ บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการ บริษัท วิค แอนด์ ฮุคลันด์ จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการ บริษัท ฝาจีบ จำ�กัด (มหาชน) ตำ�แหน่งในกิจการอื่น (ที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน) » กรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำ�กัด » กรรมการ บริษัท พลังโสภณ จำ�กัด การดำ�รงตำ�แหน่งในกิจการทีแ่ ข่งขัน / กิจการทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับธุรกิจของบริษัท » ไม่มี การเข้าประชุมปี 2553 » ประชุมคณะกรรมการบริษัท 8/8 ครั้ง » ประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน 2/2 ครั้ง » ประชุมผู้ถือหุ้น 1/1 ครั้ง จำ�นวนปีที่เป็นกรรมการ » 2 ปี 9 เดือน การถือหุ้นในบริษัท » ไม่มี ข้อมูลอื่นๆ » ไม่มีคดีความในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา » ไม่มีการทำ�รายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ กับบริษัทในรอบปีที่ผ่านมา


นายวิบูลย์ กรมดิษ ฐ์

นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์

ประเภทของกรรมการ » กรรมการที่เป็นผู้บริหาร ตำ�แหน่งในบริษัท » กรรมการ, กรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ อายุ » 50 ปี การศึกษา » ปริญญาตรี คณะบริหาร (คอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ » รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (การบริหารจัดการสาธารณะ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การอบรมหลักสูตรกรรมการ » Director Accreditation Program (DAP) ปี 2547 » Director Certification Program (DCP) ปี 2550 » TLCA Executive Development Program (EDP) รุ่นที่ 1 ปี 2550 ประสบการณ์การทำ�งาน » ประธานสมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งประเทศไทย » ประธานสมาคมว่ายน�้ำสมัครเล่นแห่งเอเชีย » กรรมการ บริษัท ดูแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล จำ�กัด » กรรมการและที่ปรึกษาสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย » ประธาน TLCA Executive Development Program (EDP) รุ่นที่ 1 » ได้รับรางวัลนักทรัพยากรมนุษย์ดีเด่นแห่งประเทศไทย ประจำ�ปีพุทธศักราช 2552 จากสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำ�แหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น » ไม่มี ตำ�แหน่งในกิจการอื่น (ที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน) » กรรมการ บริษัท อมตะซิตี้ จำ�กัด » กรรมการ บริษัท อมตะ วอเตอร์ จำ�กัด » กรรมการ บริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำ�กัด » กรรมการ บริษัท ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด » กรรมการ Amata (Vietnam) Joint Stock Company » กรรมการ Amata Hong Kong Ltd. การดำ�รงตำ�แหน่งในกิจการทีแ่ ข่งขัน / กิจการทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับธุรกิจของบริษัท » ไม่มี การเข้าประชุมปี 2553 » ประชุมคณะกรรมการบริษัท 8/8 ครั้ง » ประชุมผู้ถือหุ้น 1/1 ครั้ง จำ�นวนปีที่เป็นกรรมการ » 4 ปี 9 เดือน การถือหุ้นในบริษัท » 350,000 หุ้น (0.03%) ข้อมูลอื่นๆ » ไม่มีคดีความในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา » ไม่มีการทำ�รายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ในรอบปีที่ผ่านมา

21


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

นายอนุชา สิหนาทกถากุล

นายอนุชา สิหนาทกถากุล

22

ประเภทของกรรมการ » กรรมการอิสระ ตำ�แหน่งในบริษัท » กรรมการ » ประธานกรรมการตรวจสอบ อายุ » 51 ปี การศึกษา » ปริญญาตรี สาขาบัญชี และการบริหาร Houston Baptist University, ประเทศสหรัฐอเมริกา » ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ (การเงิน) University of Houston, ประเทศสหรัฐอเมริกา การอบรมหลักสูตรกรรมการ » Director Certification Program (DCP) ปี 2543 » Fellow Member ปี 2544 » Director Compensation ปี 2546 » Non-Executive Director ปี 2547 » Board Failure and How to Fix it ปี 2547 » CEO Performance Evaluation ปี 2547 » Raising the Awareness of Corporate Fraud in Thailand ปี 2548 ประสบการณ์การทำ�งาน » กรรมการ และรองประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการ บริษัท ปตท. สำ�รวจและผลิตปิโตรเลียม จำ�กัด (มหาชน) » ทีป่ รึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงินวุฒสิ ภา » ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมาธิการด้านการธนาคาร และสถาบันการเงินวุฒิสภา » กรรมการ บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำ�กัด » กรรมการ บริษัท นวลิสซิ่ง จำ�กัด (มหาชน) » กรรมการ บริษัท เดอะมอลล์นครราชสีมา จำ�กัด ตำ�แหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น » กรรมการ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท โฟคัส ดีเวลลอปเม้นท์ แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำ�กัด (มหาชน) ตำ�แหน่งในกิจการอื่น (ที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน) » กรรมการ Amata (Vietnam) Joint Stock Company » กรรมการ บริษัท อมตะเพาเวอร์ จำ�กัด » กรรมการ บริษัท อมตะวอเตอร์ จำ�กัด » กรรมการ Amata Hong Kong Ltd. » กรรมการ บริษัท ปองกมล จำ�กัด » กรรมการ บริษัท โฟคัส เอนไวรอนเมนทัล จำ�กัด » กรรมการ บริษัท แคปปิตัล โฟคัส จำ�กัด » กรรมการ บริษัท มูนแดนซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด » กรรมการ บริษัท มูนแดนซ์ บิสโทร จำ�กัด » กรรมการ บริษัท ดาต้า อิน โมชั่น จำ�กัด » กรรมการ บริษัท 888 พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด การดำ�รงตำ�แหน่งในกิจการทีแ่ ข่งขัน / กิจการทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับธุรกิจของบริษัท » ไม่มี การเข้าประชุมปี 2553 » ประชุมคณะกรรมการบริษัท 7/8 ครั้ง » ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ 4/4 ครั้ง » ประชุมผู้ถือหุ้น 1/1 ครั้ง จำ�นวนปีที่เป็นกรรมการ » 3 ปี 9 เดือน การถือหุ้นในบริษัท » 5,534,000 หุ้น (0.52%) ข้อมูลอื่นๆ » ไม่มีคดีความที่ขัดต่อคุณสมบัติของกรรมการของบริษัทจดทะเบียน ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา » ไม่มีการทำ�รายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ในรอบปีที่ผ่านมา


นายนพพันธป์ เมืองโคตร

นายนพพันธป์ เมืองโคตร

ประเภทของกรรมการ » กรรมการอิสระ ตำ�แหน่งในบริษัท » กรรมการ » กรรมการตรวจสอบ » ประธานกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน อายุ » 62 ปี การศึกษา » Diploma, Springfield Township High School, Phila., Pa. (American Field Service Scholarship) พ.ศ. 2509-2510 » นิติศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2510-2514 » ประกาศนียบัตรเนติบัณฑิตไทย เนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2515 » นิติศาสตร์มหาบัณฑิต (LL.M. Corporations) New York University (Fulbright and Asia Foundation Scholarships) พ.ศ. 2518-2520 การอบรมหลักสูตรกรรมการ » Director Accreditation Program (DAP) 43/2548 ประสบการณ์การทำ�งาน » หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย บริษทั เงินทุนหลักทรัพย์ ไอทีเอฟ จำ�กัด พ.ศ. 2515-2518 » ทนายความ สำ�นักงานกฎหมายแชนด์เล่อร์และทองเอก พ.ศ. 2520-2524 ตำ�แหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น » กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำ�กัด (มหาชน) ตำ�แหน่งในกิจการอื่น (ที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน) » กรรมการอิสระ บริษัท อิออน (ประเทศไทย) (เดิม “บริษัท สยาม-จัสโก้ จำ�กัด”) จำ�กัด » รองประธานกรรมการ บริษัท สหกล อีควิปเมนท์ จำ�กัด และบริษัท สหกล เอนยิเนีย จำ�กัด » ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท เจริญสิน พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด » กรรมการ บริษัท โพรมิเนนท์ ฟลูอิด คอนโทรลส์ (ประเทศไทย) จำ�กัด » เจ้าของสำ�นักงานกฎหมาย อินเตอร์เนชัน่ แนล บิสซิเนส ลอว์เยอร์ส จำ�กัด พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน การดำ�รงตำ�แหน่งในกิจการทีแ่ ข่งขัน / กิจการทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับธุรกิจของบริษัท » ไม่มี การเข้าประชุมปี 2553 » ประชุมคณะกรรมการบริษัท 8/8 ครั้ง » ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ 4/4 ครั้ง » ประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน 2/2 ครั้ง » ประชุมผู้ถือหุ้น 1/1 ครั้ง จำ�นวนปีที่เป็นกรรมการ » 9 ปี 6 เดือน การถือหุ้นในบริษัท » ไม่มี ข้อมูลอื่นๆ » ไม่มีคดีความในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา » ไม่มีการทำ�รายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ในรอบปีที่ผ่านมา

23


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

รศ.ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์

รศ.ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์

24

ประเภทของกรรมการ » กรรมการอิสระ ตำ�แหน่งในบริษัท » กรรมการ » กรรมการตรวจสอบ » กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน อายุ » 62 ปี การศึกษา » สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก Doctor of Engineering (D. Eng.) ปี พ.ศ. 2523 ; Asian Institute of Technology (AIT) (King’s Scholarship (Thailand)) » สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาโท Master of Engineering (M. Eng.) ปี พ.ศ. 2516 ; Asian Institute of Technology (AIT) (British Government Scholarship) » สำ�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี Bachelor of Engineering (B. Eng.) ปี พ.ศ. 2514 ; University of Tasmania (Australia) (Colombo Plan Scholarship) ประสบการณ์การทำ�งาน » 9 ปี ในฐานะผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย » 3 ปี ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่สนามบินสุวรรณภูมิ ตำ�แหน่งในบริษัทจดทะเบียนอื่น » กรรมการ บริษัท ปรีชากรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) ตำ�แหน่งในกิจการอื่น (ที่ไม่ใช่บริษัทจดทะเบียน) » ประธานกรรมการบริหาร สำ�นักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) » ประธานกรรมการ องค์การตลาด รัฐวิสาหกิจ กระทรวงมหาดไทย » รักษาการผู้อำ�นวยการ องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) อพท. » กรรมการผู้จัดการ Dawei Development Corporation (Myanmar) การดำ�รงตำ�แหน่งในกิจการทีแ่ ข่งขัน / กิจการทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับธุรกิจของบริษัท » ไม่มี การเข้าประชุมปี 2553 » ประชุมคณะกรรมการบริษัท 8/8 ครั้ง » ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ 4/4 ครั้ง » ประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน 2/2 ครั้ง » ประชุมผู้ถือหุ้น 0/1 ครั้ง จำ�นวนปีที่เป็นกรรมการ » 11 ปี การถือหุ้นในบริษัท » ไม่มี ข้อมูลอื่นๆ » ไม่มีคดีความในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา » ไม่มีการทำ�รายการที่อาจเกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท ในรอบปีที่ผ่านมา


บริการสิ่งอำ�นวยความสะดวก

เราจัดเตรียมสิ่งอำ�นวยความสะดวกหลากหลาย ไว้บริการ เพื่อให้พื้นที่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมฯ ของ เราเป็นชุมชนเมืองที่น่าอยู่และเต็มเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

การปฏิบัติตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี นโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ

คณะกรรมการอมตะ เชื่อมั่นว่าธุรกิจที่ดีไม่ใช่การหวังผลเพียงแค่กำ�ไรว่าเป็นเป้าหมายทางธุรกิจเท่านั้น แต่การดำ�เนินมาเพื่อให้ได้ผล กำ�ไรเหล่านั้น ก็เป็นองค์ประกอบสำ�คัญที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หรือแม้กระทั่งสำ�คัญกว่าหากมองในระยะยาว คณะกรรมการอมตะ จึงมีความ พยายามและมีเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมให้บริษัท เป็นองค์กรที่มีการดำ�เนินธุรกิจโดยยึดหลักบรรษัทภิบาลที่ดี นโยบายเกี่ยวกับการกำ�กับดูแลกิจการนี้ บริษัทได้ร่างขึ้นโดยอ้างอิงจากหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี สำ�หรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเทียบเคียงกับหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีตามแนวทางของ OECD (The Organization for Economic Co-operation and Development) โดยแบ่งออกเป็นหมวดหลักๆ ดังต่อไปนี้ 1. สิทธิของผู้ถือหุ้น 2. การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน 3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย 4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส 5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ นอกจากนี้บริษัทยังได้กำ�หนดนโยบายเพิ่มเติมเพื่อให้การกำ�กับดูแลกิจการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังต่อไปนี้ 6. การบริหารความเสี่ยง 7. การควบคุมภายใน 8. แผนการสืบทอดตำ�แหน่ง 9. ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และเพื่อให้หลักการก�ำกับดูแลกิจการเบื้องต้นสามารถน�ำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล บริษัทได้จัดตั้งคณะท�ำงานก�ำกับดูแลกิจการขึ้นเพื่อ ดูแลการน�ำนโยบายไปใช้ในภาคปฏิบัติ โดยคณะท�ำงานชุดดังกล่าวมีหน้าที่สื่อสาร ส่งเสริมให้การก�ำกับดูแลกิจการของบริษัทเป็นไปได้ ตามนโยบายหลักการก�ำกับดูแลกิจการ โดยจะมีการประเมินผลและทบทวนนโยบายอย่างสม�่ำเสมอ และเปิดเผยไว้ในเว็บไซต์ของบริษัท แบบ 56-1 รายงานประจ�ำปี 1. สิทธิของผู้ถือหุ้น (The Rights of Shareholders) คณะกรรมการให้ความสำ�คัญและเคารพในสิทธิของผู้ถือหุ้นและปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน ผู้ถือหุ้นทุกรายทั้งในฐานะ ของนักลงทุนในหลักทรัพย์ และในฐานะเจ้าของบริษัท พึงได้รับสิทธิขั้นพื้นฐาน อันได้แก่ • สิทธิในการซื้อ ขาย โอนหุ้น และสิทธิในการรับใบหุ้น • สิทธิในการที่ได้รับข้อมูล ข่าวสารอย่างถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา ในรูปแบบที่เหมาะสมในการตัดสินใจ • สิทธิในการรับส่วนแบ่งผลกำ�ไรของกิจการ • สิทธิในการเข้าร่วมประชุมและลงคะแนนในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อร่วมตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่สำ�คัญของบริษัทฯ • สิทธิในการเลือกตั้งและถอดถอนกรรมการ รวมทั้งการกำ�หนดค่าตอบแทนคณะกรรมการ • สิทธิในการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้สอบบัญชี และกำ�หนดค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี บริษัทฯ ได้กำ�หนดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นปีละครั้ง ภายในเวลาไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัทฯ และหากมี ความจำ�เป็นเร่งด่วนต้องเสนอวาระเป็นกรณีพิเศษซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบหรือเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น หรือเกี่ยวกับเงื่อนไขหรือกฎ เกณฑ์ กฎหมาย ที่ ใช้บังคับที่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว บริษัทจะเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเป็นกรณีไป หรือในทำ�นองเดียวกัน ผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำ�นวนหุ้นที่จำ�หน่ายได้ทั้งหมด หรือผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 25 คน ซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำ�นวนหุ้นที่จำ�หน่ายได้ทั้งหมด จะเข้าชื่อกันทำ�หนังสือขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุม วิสามัญเมื่อใดก็ได้ โดยต้องระบุเหตุผลในการขอเรียกประชุมให้ชัดเจนในหนังสือดังกล่าวด้วย ในกรณีเช่นนี้คณะกรรมการต้องจัดให้มี การประชุมผู้ถือหุ้นภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันได้รับหนังสือจากผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นของบริษัททุกคนมีสิทธิออกเสียงตามจำ�นวนหุ้นที่ถืออยู่ โดยหุ้นแต่ละหุ้นมีสิทธิออกเสียงหนึ่งเสียง และไม่มีหุ้นใดมีสิทธิพิเศษที่เป็นการจำ�กัดสิทธิของผู้ถือหุ้นรายอื่น

26


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

ในปี 2553 นอกเหนือจากสิทธิพื้นฐานต่างๆ ข้างต้นแล้วบริษัทยังได้ดำ�เนินการในเรื่องต่างๆ ที่เป็นการส่งเสริม และอำ�นวยความสะดวก ในการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น ดังนี้ 1.1 บริษัทฯ จัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2553 ณ ห้อง แพลทินัม ฮอล์ ชั้น 3 โรงแรม แกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพฯเพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้พิจารณาและออกเสียงในกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ ตามที่ กฎหมายกำ�หนด โดยบริษัทได้มอบให้บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำ�กัด จัดส่งหนังสือเชิญประชุม พร้อมทั้งเอกสารประกอบการประชุมแก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นระยะเวลา ที่เพียงพอต่อการศึกษาข้อมูลของการประชุมฯ โดยจัดส่งให้กับผู้ถือหุ้นทุกรายที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันปิดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เอกสารประกอบการประชุมที่บริษัทฯ ได้ส่งให้ผู้ถือหุ้นประกอบด้วยรายละเอียด วาระการประชุม รายงานประจำ�ปี งบการเงิน และหนังสือมอบฉันทะ ซึ่งเป็นเอกสารที่มีข้อมูลครบถ้วนเพียงพอให้ผู้ถือหุ้น ใช้ประกอบการตัดสินใจลงคะแนนในวาระต่างๆ และได้ทำ�การประกาศลงหนังสือพิมพ์รายวัน ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน และก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน เพื่อบอกกล่าวเรียกประชุมผู้ถือหุ้น 1.2 เผยแพร่ข้อมูลประกอบวาระการประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าประมาณ 1 เดือนก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นในเว็บไซต์ของบริษัท (www.amata.com) นอกจากนี้ ยังได้ชี้แจงสิทธิของผู้ถือหุ้นในการเข้าประชุมและสิทธิออกเสียงลงมติของผู้ถือหุ้นไว้ด้วย 1.3 ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง บริษัทเปิดโอกาสให้สามารถมอบฉันทะให้กรรมการหรือบุคคลอื่น เข้าร่วมประชุมแทนตนได้ โดยให้ใช้หนังสือมอบฉันทะแบบหนึ่งแบบใดที่บริษัทได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นสามารถ Download หนังสือมอบฉันทะผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของบริษัทได้อีกทางหนึ่งด้วย 1.4 สนับสนุนให้กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้สอบบัญชีเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อตอบคำ�ถามและรับทราบความเห็นของ ผู้ถือหุ้น โดยในปี 2553 มีประธานกรรมการและกรรมการได้เข้าร่วมการประชุมรวม 9 ท่านจากจำ�นวนทั้งหมด 10 ท่าน คิดเป็นร้อยละ 90 ของจำ�นวนกรรมการทั้งหมด 1.5 ในการประชุม บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือตั้งคำ�ถามในวาระต่างๆ อย่างอิสระ ก่อนการลงมติในทุกวาระ ทั้งนี้ ในการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทได้ให้ข้อมูลรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวอย่างเพียงพอ แก่ผู้ถือหุ้น โดยในวาระที่ผู้ถือหุ้นมีข้อสงสัย ข้อซักถาม บริษัทฯ ได้จัดเตรียมบุคคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละ สาขาเป็นผู้ให้คำ�ตอบภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ พร้อมทั้งมีการบันทึกการประชุมอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และสรุปด้วยการลงมติและคะแนนเสียง รวมระยะเวลาที่ ใช้ในการประชุมผู้ถือหุ้นประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที 1.6 บริษัทจะเปิดโอกาศให้ผู้ถือหุ้นสามารถส่งคำ�ถามที่ต้องการให้ชี้แจงในประเด็นของระเบียบวาระที่นำ�เสนอได้ล่วงหน้าโดย ส่งจดหมายอิเลคโทรนิคมาที่ ir@amata.com หรือโทรสารหมายเลข 0-2318-1096 เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้รับประโยชน์ สูงสุดจากการประชุม รวมทั้งเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นอย่างเต็มที่ 1.7 บริษัทได้จัดทำ�วีดิทัศน์ บันทึกภาพการประชุมผู้ถือหุ้นตลอดระยะเวลาการประชุม เพื่อให้ผู้ถือหุ้นที่มีข้อสงสัยสามารถ ติดตามเหตุการณ์ในระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นได้ 1.8 บริษัทมีการแจ้งมติที่ประชุมผ่านระบบข่าวของตลาดหลักทรัพย์ภายในวันทำ�การถัดไป 1.9 บริษทั มีการจัดทำ�รายงานการประชุมภายใน 14 วันนับแต่วนั ประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ซึง่ ได้สง่ ให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำ�หนด และเผยแพร่ในเว็บไซต์ของบริษัท (www.amata.com)

รายงานประจำ�ปี 2553

27


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

2. ความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น (The Equitable Treatment of Shareholders)

การสร้างความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นทุกรายทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหาร นักลงทุนสถาบัน หรือผู้ถือหุ้นต่างชาติ เป็นเรื่องที่ อมตะ คำ�นึงถึงและพยายามสร้างเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง โดยเฉพาะกับผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เช่น

28

2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7

การกำ�หนดให้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมเป็นไปตามจำ�นวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถืออยู่ โดยหนึ่งหุ้นมีสิทธิเท่ากับหนึ่งเสียง สำ�หรับการประชุมผู้ถือหุ้นนั้น บริษัทได้จัดทำ�หนังสือมอบฉันทะรูปแบบที่ผู้ถือหุ้นกำ�หนดทิศทางการลงคะแนนได้ตามแบบที่ กระทรวงพาณิชย์กำ�หนด และได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยสามารถมอบฉันทะให้กับกรรมการอิสระของ บริษัทได้ด้วย ซึ่งจะระบุรายชื่อกรรมการดังกล่าวไว้ในหนังสือเชิญประชุม นอกจากนี้ บริษัทยังได้ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุม ภายหลังจากได้เริ่มประชุมแล้ว มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนสำ�หรับวาระที่อยู่ ในระหว่างการพิจารณาและยังไม่ได้มีการลงมติ และนับเป็นองค์ประชุมตั้งแต่วาระที่ได้เข้าประชุมและออกเสียงเป็นต้นไป เว้นแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะมีความเห็นเป็นอย่างอื่น บริษัทมีนโยบายที่จะไม่เพิ่มระเบียบวาระในที่ประชุมโดยผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารไม่ได้แจ้งให้ผู้ถือหุ้นอื่นทราบล่วงหน้า เพื่อให้ ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสศึกษาข้อมูลของระเบียบวาระการประชุมก่อนลงมติ ในวาระการเลือกตั้งกรรมการ บริษัทได้ใช้วิธีเลือกกรรมการเป็นรายบุคคล เพื่อความสะดวกของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ได้จัดให้มีการลงทะเบียนโดยใช้ระบบบาร์โค้ดที่แสดงถึงเลขทะเบียนของผู้ถือหุ้นแต่ละราย ที่ บ ริ ษั ท ได้ จั ด พิ ม พ์ ไ ว้ บ นหนั ง สื อ มอบฉั น ทะ เพื่ อให้ ผู้ ถื อ หุ้ น ได้ รั บ ความสะดวกสบายในการประชุ ม และทำ � ให้ ขั้ น ตอน การลงทะเบียนเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ในการใช้สิทธิออกเสียงแต่ละวาระเมื่อปี2553 บริษัทฯ ได้ใช้วิธีเก็บบัตรลงคะแนน ของผู้ถือหุ้นทุกใบเพื่อนำ�มาคำ�นวณผลการลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระ และยืนยันการลงคะแนนทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และงด ออกเสียงโดย เมื่อจบการประชุม ผู้ถือหุ้นสามารถขอตรวจสอบความถูกต้องได้ บริษัทจะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นที่มีสัดส่วนการถือหุ้นขั้นต่ำ�ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.05 ของหุ้นบริษัทที่ชำ�ระแล้วทั้งหมด ต่อเนื่อง มาไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถเสนอระเบียบวาระการประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้นประจำ�ปี รวมทั้งเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติ เหมาะสมเข้าเป็นกรรมการระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2553 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2554 ซึ่งได้ประกาศให้ทราบโดยผ่านช่องทาง ของ ตลท. และบนเว็บไซต์ของบริษัท โดยมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนและโปร่งใส คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำ�หนดมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในโดยมิชอบ (Insider Trading) ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายถึง คณะกรรมการผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ และพนักงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล (รวมทั้งคู่สมรสและบุตร ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลดังกล่าว) ดังนี้ 2.7.1 ห้ามบุคคลที่เกี่ยวข้องทำ�การซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทภายใน 2 สัปดาห์ก่อนมีการเปิดเผยงบการเงินรายไตรมาสและ งบการเงินประจำ�ปี และภายใน 24 ชั่วโมง หลังการเปิดเผยงบการเงินดังกล่าว (Blackout Period) 2.7.2 ในกรณีที่ทราบข้อมูลใดๆ ที่ยังไม่เปิดเผยซึ่งอาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัท ต้องไม่ทำ�การซื้อขาย หลักทรัพย์ของบริษัทจนกว่าจะพ้นระยะเวลา 24 ชั่วโมง นับแต่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลนั้นสู่สาธารณะทั้งหมดแล้ว รวมทั้ง ห้ามมิให้ผู้บริหารหรือหน่วยงานที่ได้รับทราบข้อมูลภายในเปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ไม่มีหน้าที่ เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นำ�ข้อมูลภายในไปใช้ในทางมิชอบ 2.7.3 ในกรณีที่กรรมการบริษัทและผู้บริหาร ซึ่งหมายรวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง จำ�นวนหุ้นที่ถืออยู่ จะต้องแจ้งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 59 แห่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2533 ภายใน 3 วัน ทำ�การนับจากวันที่ซื้อ ขาย โอน หรือรับโอน 2.7.4 บริษัทกำ�หนดให้กรรมการและผู้บริหารรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทในการประชุม คณะกรรมการบริษัท ทุกครั้ง


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

2.8 คณะกรรมการบริษทั ฯ ได้ก�ำ หนดนโยบายเกีย่ วกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์บนหลักการทีว่ า่ การตัดสินใจใดๆ ของบุคคลากรทุก ระดับในการดำ�เนินกิจกรรมทางธุรกิจ ต้องทำ�เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ เท่านั้น และถือเป็นหน้าที่ของบุคคลากรทุกระดับที่ จะหลีกเลี่ยงการมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเงิน และ/ หรือความสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทฯ ต้องเสีย ผลประโยชน์ หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งในด้านผลประโยชน์ หรือขัดขวางการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำ�หนดให้ผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวโยงกับรายการที่พิจารณา ต้องแจ้งให้บริษัทฯ ทราบถึงความสัมพันธ์หรือการเกี่ยวโยงของตนในรายการ ดังกล่าว และต้องไม่เข้าร่วมการพิจารณาตัดสิน รวมถึงไม่มีอำ�นาจอนุมัติในธุรกรรมนั้นๆ และในการอนุมัติใดๆ สำ�หรับกรณี ดังกล่าว ต้องยึดถือหลักการไม่ให้มีการกำ�หนดเงื่อนไขหรือข้อกำ�หนดพิเศษจากปกติ คณะกรรมการตรวจสอบจะนำ�เสนอคณะกรรมการบริษัท เกี่ยวกับรายการที่เกี่ยวโยงกัน และรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ซึ่งได้มีการพิจารณาความเหมะสมอย่างรอบคอบ และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำ�หนดและมีการเปิดเผยไว้ ในรายงานประจำ�ปี และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำ�ปี (แบบ 56-1) ด้วย

3. บทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย (The Role of Stakeholders) บริษทั ฯ ได้ให้ความสำ�คัญในการดูแลและคำ�นึงถึงผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกกลุม่ ทัง้ ภายในและภายนอกบริษทั ตัง้ แต่ลกู ค้า ผูถ้ อื หุน้ และพนักงาน รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 3.1 ผู้ถือหุ้น บริษัทมีความมุ่งมั่น ที่จะเป็นตัวแทนที่ดีของผู้ถือหุ้นในการดำ�เนินธุรกิจอย่างโปร่งใสโดยคำ�นึงถึงการเจริญเติบโต ของมูลค่าบริษัทในระยะยาว มีผลตอบแทนที่ดี และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน 3.2 พนักงาน บริษัทถือว่าพนักงานเป็นปัจจัยความสำ�เร็จของบริษัทฯ บริษัทฯ จะสนับสนุนพัฒนาความสามารถในการทำ�งานให้เป็น ระดับมืออาชีพ ในปี 2553 บริษัทได้จัดอบรมความรู้เพิ่มเติมให้กับพนักงานจำ�นวน 31 ครั้ง ให้ความมั่นใจในคุณภาพชีวิต การทำ�งานอย่างเท่าเทียม เสมอภาค มีสถานที่ทำ�งานที่ปลอดภัยและมีสุขอนามัยที่ดี พนักงานได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม เป็นธรรม ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้บริษัทมีกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพสำ�หรับพนักงานตั้งแต่ปี 2539 3.3 คู่ค้า บริษัทฯ จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเอื้อประโยชน์ร่วมกันและปฏิบัติตาม เงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้าอย่างเคร่งครัด รวมทั้ง ปฏิบัติต่อคู่ค้าอย่างเสมอภาคบนพื้นฐานของการแข่งขันที่เป็นธรรม 3.4 คู่แข่ง บริษัทฯ จะปฏิบัติตามกรอบกติกาของการแข่งขันที่ดี ไม่ทำ�ลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้าย โดยปราศจากซึ่งมูลความจริง ไม่มีการล่วงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาหรือลิกขสิทธิ์ 3.5 เจ้าหนี้ บริษัทฯ จะรักษาและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่มีต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด 3.6 ลูกค้า บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการสร้างความพึงพอใจและความมั่นใจให้กับลูกค้า เพื่อให้ได้รับผลิตภัณฑ์และการบริการที่ดี มีคุณ ภาพในระดับราคาที่เหมาะสม นอกจากนี้บริษัทฯยังมุ่งมั่น พัฒนานิคมฯเพิ่มบริการต่างๆ ให้ครบวงจรเพื่อเป็นเมือง ที่สมบูรณ์แบบ 3.7 ชุมชนและสังคม บริษัทฯ ตระหนักและห่วงใยถึงความปลอดภัยของสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพสังคม ชีวิตของชุมชน รวมทั้งให้ความสำ�คัญต่อกิจกรรมของชุมชนและสังคมอย่างสม่ำ�เสมอ โดยปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและกฎระเบียบ อย่างเคร่งครัด 3.8 สิ่งแวดล้อม บริษัทในกลุ่มอมตะ ดำ�เนินธุรกิจพัฒนาที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรม, สาธารณูปโภคและให้บริการแก่นักลงทุน จากต่างประเทศ และในประเทศที่มาลงทุนประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างมีคุณภาพ ขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงความสำ�คัญ ของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการรักษาสภาพแวดล้อมของชุมชนอย่างจริงจัง โดยบริษัท ในกลุ่มอมตะ มีเจตจำ�นงค์ที่จะดำ�เนินการต่างๆ ภายใต้ความมุ่งมั่น ดังนี้

รายงานประจำ�ปี 2553

29


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

1. บริษัทในกลุ่มอมตะ จะปฏิบัติตามข้อกฎหมายและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด 2. บริษัทในกลุ่มอมตะ มุ่งเน้นที่จะป้องกันปัญหาก่อนการเกิดเหตุ หรือ ณ ที่จุดเกิดเหตุ มิให้กระทบต่อสภาพแวดล้อม 3. ลดของเสียให้น้อยที่สุด (Zero Waste Discharge) พร้อมทั้งนำ�น้ำ�ที่ผ่านการบำ�บัดแล้วมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด 4. บริษัทในกลุ่มอมตะ มุ่งเน้นการใช้พลังงานและทรัพยากรในกระบวนการผลิตอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ 5. บริษัทในกลุ่มอมตะ จะพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบ�ำบัดน�้ำเสีย, ระบบผลิตน�้ำประปา, ระบบการจัดการขยะมูลฝอย, ขยะทั่วไป และระบบการน�ำน�้ำกลับมาใช้ใหม่ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ 6. ปลุกจิตสำ�นึกของพนักงานทุกๆ คน ให้ช่วยกันอนุรักษ์สภาพแวดล้อมโดยใช้คำ�ขวัญว่า “Green and Clean” 7. ประชาสัมพันธ์นโยบายสิ่งแวดล้อม สู่พนักงานทุกคน หรือบุคคลอื่นๆ ที่ปฏิบัติงานงานให้กับบริษัทในกลุ่มอมตะ และ เปิ ด เผยต่ อ สาธารณชน บริ ษั ท ฯ ได้ จั ด การดู แ ลและรั ก ษาสภาวะแวดล้ อ มอย่ า งดี โ ดยได้ รั บ การรั บ รองมาตรฐาน ISO 14001 จากสถาบัน TUV Anlagentechnik GmbH ทั้งที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2543 บริษทั ฯ ได้เปิดช่องทางให้ผมู้ สี ว่ นได้เสียสามารถแสดงความเห็นผ่านช่องทางการสือ่ สารกับคณะกรรมการบริษทั เพือ่ ให้ขอ้ แนะนำ�อันเป็น ประโยชน์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทได้ ดังนี้ • จดหมายอิเลคโทรนิกส์ ir@amata.com • จดหมายธรรมดา คณะกรรมการบริษัท บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) 2126 อาคารกรมดิษฐ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหมห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โดยเลขานุการบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบในการรับจดหมายดังกล่าวและส่งให้คณะกรรมการชุดย่อยหรือกรรมการที่เกี่ยวข้องโดยไม่ผ่าน ฝ่ายจัดการ เพื่อตรวจสอบข้อมูล โดยคำ�ร้องเกี่ยวกับรายงานทางบัญชีและการเงิน การควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตาม กฎหมายจะได้รับการส่งต่อให้คณะกรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการร้องเรียน หรือประเด็นที่อ่อนไหวอื่นๆ บริษัทจะรักษาข้อมูลของ ผู้ให้ข้อมูล และความเห็นต่างๆไว้เป็นความลับ และจะมีการตอบกลับเป็นการส่วนตัวภายใน 15 วันนับจากวันที่บริษัทได้รับทราบข้อมูล 4. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (Disclosure and Transparency) บริษทั ฯ มีนโยบายในการเปิดเผยรายงานทางการเงินหรือสารสนเทศอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วกับธุรกิจและผลประกอบการของบริษทั ฯ ต่อสาธารณะ ผ่านช่องทางต่างๆ ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำ�หนดอย่างเคร่งครัด ครบถ้วน โปร่งใสและตรงเวลา บริษัทฯ ได้เปิดเผยข้อมูลเพื่อแสดงถึงความ โปร่งใสในการดำ�เนินธุรกิจ ดังนี้ 4.1. เปิดเผยข้อมูลการเงินและข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลการเงินอย่างถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใสทันเวลา 4.2. จัดทำ�รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงินและแสดงไว้คู่กับรายงานผู้สอบบัญชี ในรายงานประจำ�ปี 4.3. กำ�หนดให้กรรมการและผู้บริหารต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียของตนและผู้เกี่ยวข้องในกรณีที่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับ บริษัท โดยให้กรรมการและผู้บริหารจัดทำ�รายงานตามที่คณะกรรมการของบริษัทกำ�หนด ทั้งนี้จะต้องรายงานครั้งแรกภายใน 30 วัน นับจากวันที่เข้าดำ�รงตำ�แหน่ง และภายใน 15 วัน นับจากว้นที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล และและภายในวันที่ 31 มกราคม ของทุกปี แล้วส่งให้เลขานุการบริษัทเป็นผู้เก็บรักษา 4.4. เปิดเผยโครงสร้างการดำ�เนินงานและการลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม อย่างชัดเจน 4.5. เปิดเผยรายชื่อและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดต่างๆ จำ�นวนครั้งของการประชุมและจำ�นวนครั้งที่ กรรมการเข้าร่วมประชุม 4.6. เปิดเผยนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนแก่กรรมการ ซึง่ เป็นไปตามมติที่ได้รบั การอนุมตั จิ ากการประชุมผูถ้ อื หุน้ แล้ว ทัง้ นีร้ ายละเอียด ค่าตอบแทนกรรมการ ได้เปิดเผยข้อมูลไว้ในหัวข้อ ค่าตอบแทนกรรมการ

30


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

4.7. รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบซึ่ ง ทำ � หน้ า ที่ ส อบทานรายงานทางการเงิ น และนำ � เสนอรายงานทางการเงิ น ต่ อ คณะกรรมการบริษัทฯ โดยคณะกรรมการบริษัทฯเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินเฉพาะบริษัท งบการเงินรวมของบริษัท และ บริษัทย่อย งบการเงินดังกล่าวจัดทำ�ขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี รับรองและตรวจสอบโดย นายณรงค์ พันตาวงษ์ ผู้สอบบัญชี รับอนุญาต บริษัท สำ�นักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำ�กัด มีการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศที่สำ�คัญ ทั้งข้อมูลทางการเงิน และไม่ใช่ การเงิน ดำ�เนินการบนพื้นฐานของข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วนและสม่ำ�เสมอ 4.8. เปิดเผยนโยบายการดูแลสิ่งแวดล้อม และสังคม รวมทั้งผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย 4.9. เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถซักถามข้อสงสัยต่างๆ ผ่านหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ ในปี 2553 บริษัทเข้าร่วม Conference ซึ่งจัดโดยสถาบันต่างๆ รวมทั้งนักวิเคราะห์ นักลงทุนและผู้เกี่ยวข้องสามารถทำ�การนัดหมาย (Company Visit) เข้าพบผู้บริหาร ของบริษัทฯ เพื่อสอบถามข้อมูลและความคิบหน้าการดำ�เนินกิจการต่างๆ ดังนี้ Road show 8 ครั้ง เข้าร่วม (Opportunity Day) 4 ครั้ง Company Visit/ Conference Call 129 ครั้ง ทั้งนี้ ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้นอกจากจะได้เปิดเผยสู่สาธารณะผ่านทางสำ�นักงาน ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ยังได้ เปิดเผยทางเว็บไซต์ของ บริษัท ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอีกด้วย

5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ โครงสร้าง และคณะอนุกรรมการต่างๆ (The Responsibilities of the Board, Structure, and the Subcommittees)

โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยบุคคลซึ่งมีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับในระดับประเทศ โดยเป็นผู้มีบทบาทสำ�คัญในการ กำ�หนดนโยบายของบริษัท โดยร่วมกับผู้บริหารระดับสูงวางแผนการดำ�เนินงานทั้งระยะสั้น ระยะยาว ตลอดจนกำ�หนดนโยบายการเงิน การบริหารความเสี่ยง และภาพรวมขององค์กร มีบทบาทสำ�คัญในการกำ�กับดูแล ตรวจสอบ และประเมินผลการดำ�เนินงานของบริษัทและ ผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นอิสระ ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทมีจำ�นวน 10 คน ประกอบด้วยกรรมการบริษัทที่ไม่เป็นผู้บริหารจำ�นวน 1 คน และกรรมการบริษัทที่มาจาก ฝ่ายบริหารจำ�นวน 3 คน และมีกรรมการที่มีคุณสมบัติเป็นอิสระจำ�นวน 6 คน ตามหลักเกณฑ์ของบริษัทและ ก.ล.ต. กำ�หนด (รายละเอียด เพิ่มเติมใน หน้า 36) นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน เพือ่ ปฏิบตั หิ น้าทีเ่ ฉพาะเรือ่ งและเสนอเรือ่ งให้คณะกรรมการบริษทั พิจารณาหรือรับทราบ ซึง่ คณะอนุกรรมการแต่ละชุดมีหน้าที่ตามรายละเอียด ในหน้า 39-43 บริษัทได้แบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการบริษัท กับผู้บริหารระดับสูง(ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) อย่างชัดเจนโดยกรรมการบริษัททำ�หน้าที่ ในการกำ�หนดนโยบายและกำ�กับดูแลการดำ�เนินงานของผู้บริหารระดับสูงในระดับนโยบาย ขณะ ที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทำ�หน้าที่บริหารงานของบริษัทในด้านต่างๆ ให้เป็นไปตามนโยบายที่กำ�หนด ดังนั้นประธานกรรมการบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหารจึงเป็นบุคคลคนละคนกัน การสรรหากรรมการบริษัท คณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนมีหน้าทีส่ รรหาบุคคลผูท้ รงคุณวุฒเิ ป็นกรรมการแทนกรรมการทีค่ รบกำ�หนดออกตามวาระ หรือในกรณีอื่นๆ เสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณาบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อไป โดย คณะกรรมการสรรหาฯคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเชี่ยวชาญจากหลากหลายอาชีพมีภาวะผู้นำ� วิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้มีคุณธรรม และจริยธรรมมีประวัติการทำ�งานโปร่งใสไม่ด่างพร้อย รวมทั้งมีความสามารถในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระ รายงานประจำ�ปี 2553

31


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

บริษัทไม่ได้กำ�หนดอายุของกรรมการบริษัทที่จะไม่ถูกเสนอชื่อเข้ารับการเลือกตั้งในวาระถัดไป หรือจำ�นวนบริษัทที่กรรมการบริษัท แต่ละคนดำ�รงตำ�แหน่ง เนื่องจากบริษัทมีความเชื่อว่าความสามารถทางธุรกิจและความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ ของกรรมการบริษัทไม่ได้ ขึ้นอยู่กับอายุหรือจำ�นวนบริษัทที่ดำ�รงตำ�แหน่ง ตราบเท่าที่ยังมีความสามารถและอุทิศเวลาให้กับบริษัทได้อย่างเต็มที่ สามารถช่วยกำ�หนด นโยบาย ให้คำ�ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการดำ�เนินธุรกิจได้ตามมาตรฐานที่บริษัทคาดหวังไว้ เช่นเดียวกับการกำ�หนดจำ�นวนวาระ การดำ�รงตำ�แหน่งติดต่อกันสูงสุดของกรรมการบริษัท เพราะบริษัทเชื่อว่าอำ�นาจในการตัดสินใจในการเลือกตั้งบุคคลเข้าดำ�รงตำ�แหน่ง กรรมการบริษัทนั้น เป็นสิทธิของผู้ถือหุ้นโดยแท้ที่จะคัดเลือกบุคคลเข้าทำ�หน้าที่แทนตนในการกำ�หนดนโยบายและควบคุมบริษัทที่ตนเป็น เจ้าของ ยกเว้นการดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการตรวจสอบเท่านั้นที่ระยะเวลาการดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการตรวจสอบไม่ควรเกิน 3 วาระติดต่อกัน (นับตั้งแต่กรรมการตรวจสอบชุดปัจจุบันครบวาระเป็นต้นไป) เว้นแต่กรรมการตรวจสอบคนใด มีความเหมาะสมที่จะดำ�รงตำ�แหน่ง นานกว่านั้น คณะกรรมการจะพิจารณาความเป็นอิสระและประสิทธิภาพของการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจสอบรายดังกล่าว การปฐมนิเทศกรรมการใหม่ ในการปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะคณะกรรมการบริษัทฯ กรรมการควรจะต้องทราบถึงลักษณะการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯ ดังนั้น โดยเฉพาะในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือมีกรรมการเข้าใหม่ บริษัทฯ จะจัดปฐมนิเทศกรรมการใหม่ เพื่อแนะนำ�ให้รับทราบลักษณะและ แนวทางการดำ�เนินงานในภาพรวมของบริษทั ฯ รวมทัง้ ให้ขอ้ มูลสารสนเทศทีส่ �ำ คัญและจำ�เป็นต่อการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องกรรมการ รวมทัง้ แนวทาง การปฏิบัติเกี่ยวกับการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี ทั้งนี้ เลขานุการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบจัดการปฐมนิเทศ การประชุมคณะกรรมการบริษัท ถือเป็นหน้าที่ส�ำคัญในฐานะกรรมการบริษัทที่ต้องเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทอย่างสม�่ำเสมอ เพื่อรับทราบและร่วมกันตัดสินใจ ในการด�ำเนินธุรกิจของบริษัท โดยในแต่ละปีจะมีการจัดประชุมอย่างน้อย 5 ครั้ง แต่ละครั้งจะมีการก�ำหนดวาระการประชุมล่วงหน้าไว้ชัดเจน และอาจมีการประชุมครั้งพิเศษเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาเรื่องที่มีความส�ำคัญเร่งด่วน คณะกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารสามารถจัดประชุมระหว่าง กันเองตามความจ�ำเป็น เพื่ออภิปรายปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจ โดยไม่มีฝ่ายจัดการร่วมด้วย และรายงานให้ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารทราบถึงผลการประชุม ในการประชุม ประธานกรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นผู้ร่วมกันกำ�หนดวาระการประชุมและพิจารณาเรื่องเข้าวาระ การประชุมคณะกรรมการบริษัทโดยเปิดโอกาสให้กรรมการแต่ละคนสามารถเสนอเรื่องต่างๆ เพื่อเข้ารับการพิจารณาเป็นวาระการประชุมได้ ในปี 2553 ได้มีการประชุมคณะกรรมการจำ�นวน 8 ครั้ง แบ่งเป็นการประชุมที่ได้กำ�หนดไว้ล่วงหน้าทั้งหมด ทั้งนี้ ในการประชุมแต่ละ ครั้งบริษัทได้จัดส่งเอกสารประกอบวาระประชุมล่วงหน้าเพื่อให้กรรมการบริษัทมีเวลาที่จะศึกษาข้อมูลในเรื่องต่างๆ อย่างเพียงพอ ในการพิจารณาเรือ่ งต่างๆ ประธานกรรมการบริษทั ซึง่ ทำ�หน้าทีป่ ระธานในทีป่ ระชุมได้เปิดโอกาสให้กรรมการแสดงความคิดเห็นได้อย่าง อิสระ ทัง้ นี้ ในการลงมติให้ถอื ตามเสียงข้างมาก โดยให้กรรมการคนหนึง่ มีเสียงหนึง่ เสียง และกรรมการทีม่ สี ว่ นได้เสียจะไม่เข้าร่วมประชุมและ/ หรือไม่ใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ประธานในที่ประชุมจะออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเพื่อเป็นเสียงชี้ขาด ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหารระดับสูงได้เข้าร่วมด้วยเพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และรับทราบนโยบายโดยตรง เพื่อให้ สามารถนำ�ไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เว้นแต่ในบางวาระที่ประชุมเฉพาะคณะกรรมการบริษัทหรือเฉพาะคณะกรรมการบริษัทที่ไม่เป็นผู้ บริหาร ทั้งนี้ เพื่อความเป็นอิสระในการพิจารณาเรื่องต่างๆ ของคณะกรรมการ เมือ่ สิน้ สุดการประชุม เลขานุการบริษทั เป็นผูท้ มี่ หี น้าทีจ่ ดั ทำ�รายงานการประชุม และจัดส่งให้ประธานกรรมการบริษทั พิจารณาลงลายมือ ชื่อรับรองความถูกต้องโดยเสนอให้ที่ประชุมรับรองในวาระแรกของการประชุมครั้งถัดไป ทั้งนี้ กรรมการบริษัทสามารถแสดงความคิดเห็นขอ แก้ไขเพิ่มเติมรายงานการประชุมให้มีความละเอียดถูกต้องมากที่สุดได้ รายงานการประชุมที่ที่ประชุมรับรองแล้วจะถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบในรูปแบบของเอกสารชั้นความลับของบริษัท ณ สำ�นักงานบริษัท และจัดเก็บในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์พร้อมกับเอกสารแนบประกอบวาระการประชุมต่างๆ เพื่อสะดวกในการสืบค้นอ้างอิง

32


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทฯ กำ�หนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำ�ทุกปี เพื่อร่วมกันพิจารณา และสรุปผลการประเมิน และนำ�มาทบทวนการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ และร่วมกันหาแนวทางปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้การ ทำ�งานของคณะกรรมการมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กำ�หนดให้มีการประเมินตนเองของคณะกรรมการในรูปแบบการประเมินตนเองของกรรมการ ทั้งคณะ การพัฒนากรรมการ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพในการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการชุดต่างๆ บริษทั สนับสนุนให้คณะกรรมการบริษทั และผูบ้ ริหารระดับสูงเข้าร่วม สัมมนาหลักสูตรที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะกรรมการบริษัท และผู้บริหารระดับสูงของ องค์กรต่างๆ อยู่เสมอ ทั้งหลักสูตรที่จัดโดยหน่วยงานที่ดูแลการฝึกอบรมพนักงานของบริษัท และหลักสูตรที่จัดโดยหน่วยงานกำ�กับดูแลของรัฐ หรือองค์กรอิสระ เช่น หลักสูตรกรรมการบริษัทของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยที่สำ�นักงาน ก.ล.ต. กำ�หนดให้กรรมการของ บริษัทจดทะเบียนต้องผ่านการอบรมอย่างน้อยหนึ่งหลักสูตร ซึ่งได้แก่ Directors Certification Program (DCP), Directors Accreditation Program (DAP) และ Audit Committee Program (ACP) ทั้งนี้ เพื่อนำ�ความรู้และประสบการณ์มาพัฒนา บริษัทต่อไป ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทและผู้บริหาร คณะกรรมการได้รับค่าตอบแทนจำ�นวน 3 ส่วน คือ ค่าตอบแทนประจำ�เป็นรายเดือน เบี้ยประชุมต่อครั้งที่มาประชุม และเงินโบนัส ดังนี้ ค่าตอบแทนรายเดือน ให้จ่ายทุกเดือน โดยจ่าย ประธาน 35,000 บาท/เดือน รองประธาน 25,000 บาท/เดือน กรรมการอื่นท่านละ 15,000บาท/เดือน เบี้ยประชุมคณะกรรมการบริษัท ให้จ่ายเป็นรายครั้งเฉพาะเมื่อมาเข้าประชุม ประธาน 45,000 บาท/ครั้ง รองประธาน 35,000 บาท/ครั้ง กรรมการอื่นท่านละ 25,000บาท/ครั้ง โบนัสคณะกรรมการ ตามผลงานของกรรมการ บริษทั ฯ ได้ก�ำ หนดนโยบายเรือ่ งค่าตอบแทนกรรมการไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส โดยจะพิจารณาจากผลประกอบการของบริษทั ฯ และหน้าทีค่ วาม รับผิดชอบของกรรมการ เทียบเคียงกับอุตสาหกรรมเดียวกัน กรรมการที่ได้รบั มอบหมายหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบเพิม่ ขึน้ ในคณะอนุกรรมการ ต่างๆ ก็จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นตามปริมาณความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นดังนี้ ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบให้จ่ายเฉพาะ เบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเมื่อมาเข้าร่วมประชุม ประธาน 45,000 บาท/ครั้ง กรรมการอื่นท่านละ 25,000 บาท/ครั้ง ค่าตอบแทนคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน ให้จ่ายเฉพาะเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเมื่อมา เข้าร่วมประชุม ประธาน 45,000 บาท/ครั้ง กรรมการอื่นท่านละ 25,000 บาท/ครั้ง โดยคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้พิจารณาค่าตอบแทนในเบื้องต้น แล้วเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อ พิจารณา และต้องขออนุมตั จิ ากทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจนในรายงานประจำ�ปี ทัง้ ค่าตอบแทนกรรมการเป็นรายบุคคล (ในหน้า 45) และค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง (ในหน้า 46) ส่วนค่าตอบแทนผู้บริหารคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนเป็น ผู้พิจารณาจากหน้าที่ความรับผิดชอบและผลการปฏิบัติงานของแต่ละคนประกอบกับผลการดำ�เนินงานของบริษัท รายงานประจำ�ปี 2553

33


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษทั ปฏิบตั ติ ามกฎเกณฑ์ของ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างเคร่งครัด โดยคณะกรรมการบริษทั ให้ความสำ�คัญในเรือ่ งการจัดการ เกี่ยวกับความขัดแย้งของผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ เป็นธรรม และโปร่งใส หากมีรายการที่เกี่ยวโยงกัน จะต้องพิจารณาอย่าง รอบคอบ เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวอย่างชัดเจนและทันเวลาเพื่อผลประโยชน์ของ บริษัทโดยรวมเป็นสำ�คัญ บริษัทจะปกป้องความลับของลูกค้าและของผู้ถือหุ้น รักษาความเชื่อถือของลูกค้า โดยให้ความมั่นใจว่าจะรักษาความลับทางธุรกิจของ ลูกค้า นอกจากว่าจะได้รบั ความยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลได้ บริษทั ฯ ได้น�ำ เอาระบบอีเลคโทรนิคส์มาใช้ในการสือ่ สารภายใน เพือ่ เป็นการประหยัด และเพิ่มประสิทธิภาพ ได้มีการกำ�หนดมาตรการและกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลและเอกสารอย่างไม่ถูกต้อง ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้แต่งตัง้ บริษทั ศูนย์รบั ฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำ�กัด ให้จดั ทำ�รายชือ่ ของผูถ้ อื หุน้ ในแต่ละเดือน การใช้ขอ้ มูลอย่างผิดกฎหมาย ไม่เหมาะสม และผิดจริยธรรม หรือใช้ไม่ถกู ต้องตามอำ�นาจหน้าที่ จะมีผลให้ถกู ลงโทษตามกฎระเบียบของบริษทั นอกจากนีย้ งั ห้ามซือ้ ขายหลักทรัพย์ของบริษทั ในช่วงเวลาทีก่ �ำ หนด (Blackout Period) ซึง่ นอกจากจะรักษาสิทธิของผูถ้ อื หุน้ แล้วยังเป็นการป้องกันความขัดแย้งของผลประโยชน์อกี ทางหนึง่ ด้วย บริษัท มีโครงสร้างการถือหุ้นชัดเจน โปร่งใส ไม่มีการถือหุ้นไขว้กันกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จึงทำ�ให้ไม่มีความขัดแย้งของผลประโยชน์ นอกจากนี้ ยังแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนระหว่างคณะกรรมการบริษัท ฝ่ายบริหาร และผู้ถือหุ้น จึงปราศจากปัญหาการก้าวก่าย หน้าทีค่ วามรับผิดชอบ ในกรณีทกี่ รรมการบริษทั หรือผูบ้ ริหารคนหนึง่ คนใดมีสว่ นได้สว่ นเสียกับผลประโยชน์ในเรือ่ งทีก่ �ำ ลังพิจารณา ก็จะไม่เข้า ร่วมประชุมหรืองดออกเสียง เพือ่ ให้การตัดสินใจของคณะกรรมการบริษทั และผูบ้ ริหารเป็นไปอย่างยุตธิ รรม เพือ่ ผลประโยชน์ของผูถ้ อื หุน้ อย่าง แท้จริง บริษัทเปิดเผยโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท ไว้ในรายงานประจำ�ปีอย่างชัดเจน รวมทั้งเปิดเผยการถือหุ้นสามัญในบริษัทของคณะ กรรมการบริษัทอย่างครบถ้วน เลขานุการบริษัท คณะกรรมการได้มมี ติแต่งตัง้ นางวราภรณ์ วัชรานุเคราะห์ เป็นเลขานุการบริษทั เพือ่ ทำ�หน้าที่ให้การสนับสนุนการจัดเตรียมระเบียบวาระ การประชุม ทำ�หนังสือเชิญประชุม ดูแลและจัดการประชุมคณะกรรมการบริษัท คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ และการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งจัด ทำ�รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทและคณะอนุกรรมการต่างๆ รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น รายงานประจำ�ปี ตลอดจนจัดเก็บเอกสาร ตามที่กฎหมายกำ�หนด และให้คำ�ปรึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติของคณะกรรมการให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทัง้ ดูแลให้กรรมการและบริษทั ฯ มีการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศอย่างถูกต้องครบถ้วนและโปร่งใส โดยเลขานุการบริษทั ทีค่ ณะกรรมการแต่ง ตั้งขึ้นนี้เป็นผู้ที่คณะกรรมการเห็นว่ามีความเหมาะสมมีความรู้ ความสามารถในการบริหารงานเลขานุการบริษัท นโยบายและวิธีปฏิบัติในการไปดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นของผู้บริหารระดับสูง บริษัทฯ พิจารณาผู้บริหารระดับสูงไปดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการในบริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือบริษัทอื่นจาก ความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสม พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลการดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการที่บริษัทอื่นของผู้บริหารระดับสูงแต่ละคนในรายงานประจำ�ปีและแบบ 56-1 การบริหารความเสี่ยง บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะท�ำงานบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ร่วมกันประชุม และประเมิน ความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ทั้งที่เกิดจากปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในอย่างสม�่ำเสมอ โดยจะท�ำการวิเคราะห์ถึงปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ โอกาส เกิดและระดับความรุนแรงของผลกระทบ พร้อมทั้งร่วมกันก�ำหนดมาตรการบริหารความเสี่ยงและผู้รับผิดชอบ โดยคณะท�ำงานบริหาร ความเสี่ยงจะคอยดูแลติดตามความเสี่ยงตามแผนที่วางไว้ โดยความร่วมมือและการประสานงานจากหน่วยงานฝ่ายต่างๆ และรายงานผล ให้กับคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะท�ำหน้าที่ประเมิน ประสิทธิภาพของการบริหารความเสี่ยงแล้วรายงาน ให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบ อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อช่วยให้ทราบจุดอ่อนและปรับปรุงนโยบายให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น การควบคุมและตรวจสอบภายใน บริษัทฯให้ความสำ�คัญเกี่ยวกับความเหมาะสมและความพอเพียงของระบบควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน บริษัทฯ ได้จัดให้มี ระบบการควบคุมภายในที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านการเงินและการปฎิบัติการ มีการกำ�หนดบทบาท หน้าที่และอำ�นาจการดำ�เนินการให้เป็น ไปตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ และเพื่อให้การตรวจสอบภายในมีประสิทธิภาพและทำ�งานอย่างเป็นอิสระ ปราศจากการ แทรกแซงในการทำ�หน้าที่ บริษทั จึงได้วา่ จ้างบริษทั ปรมา คอนซัลแต้นท์ จำ�กัด ซึง่ เป็นผูต้ รวจสอบภายในจากบริษทั ภายนอก ทำ�หน้าทีต่ รวจสอบ

34


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

การปฎิบัติงานของทุกหน่วยงาน และรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อให้ฝ่าย บริหารสามารถแก้ไขปัญหาเร่งด่วนได้ทนั การ และรับการประเมินผลงานจากคณะกรรมการตรวจสอบด้วย ทัง้ นีเ้ ลขานุการคณะกรรมการตรวจ สอบเป็นผูด้ แู ลและประสานงานระหว่างบริษทั ปรมา คอนซัลแต้นท์ จำ�กัดและคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบได้ประชุมร่วม กับผู้สอบบัญชีภายนอกและ บริษัท ปรมา คอนซัลแต้นท์ จำ�กัด เพื่อขอทราบจุดอ่อนของระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่ และรายงานให้คณะ กรรมการทราบถึงความเหมาะสมและเพียงพอของระบบควบคุมภายใน ในปี2553 คณะกรรมการตรวจสอบได้รายงานผลการตรวจสอบให้ คณะกรรมการทราบในการประชุมคณะกรรมการครั้งที่1/2011 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 ว่า บริษัทและบริษัทย่อยมีระบบควบคุมภายใน ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะสามารถป้องกันทรัพย์สินของบริษัทและบริษัทย่อยอันเกิดจากการนำ�ไปใช้โดยมิชอบ และในรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการตรวจสอบไม่พบว่ามีการกระทำ�ดังกล่าว แผนการสืบทอดตำ�แหน่ง บริษัทฯ ได้เล็งเห็นความจำ�เป็นและความสำ�คัญของการจัดให้มีแผนสืบทอดตำ�แหน่ง ซึ่งนอกจากคณะกรรมการบริษัทฯ จะตั้งคณะ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน เพื่อทำ�หน้าที่ ในการสรรหา คัดเลือกและเสนอบุคคลเข้าดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ ยังได้จัดทำ�แผนสืบทอดตำ�แหน่งที่ครอบคลุมตำ�แหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ประธานเจ้าหน้าที่พัฒนา ธุรกิจ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน และประธานเจ้าหน้าที่ฝายนักลงทุนสัมพันธ์ของบริษัทฯ โดยทำ�การคัดเลือกบุคคลที่จะปฎิบัติหน้าที่ ใน ตำ�แหน่งผู้บริหารดังกล่าว ทำ�การพัฒนาฝึกอบรม เพื่อเตรียมความพร้อมให้สามารถรองรับตำ�แหน่งได้ในอนาคต และเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มี ผู้บริหารที่มีความรู้ ความสามารถที่จะสืบทอดตำ�แหน่งที่สำ�คัญต่อไปในอนาคต ความรับผิดชอบต่อสังคม บริษทั ฯ ให้ความสำ�คัญกับการประกอบธุรกิจโดยคำ�นึงถึงหลักการดำ�เนินธุรกิจภายใต้จรรยาบรรณทางธุรกิจ ควบคูไ่ ปกับความรับผิดชอบ ต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) ในทุกระดับมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความสมัครใจและเป็นสิ่งที่ทางบริษัทฯ ยึดถือในการประกอบ กิจการมาโดยตลอด บริษทั ฯ มุง่ เน้นทีจ่ ะดูแลสังคมทีอ่ ยูโ่ ดยรอบอย่างเป็นรูปธรรม เพือ่ แสดงให้เห็นถึงความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะเป็นผูน้ �ำ และเป็นแบบอย่างในการดำ�เนิน ธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมในทุกระดับ ประกอบด้วย 1. พนักงานและบริษัทคู่ค้า ที่ปฏิบัติงานให้กับบริษัท 2. ผู้ประกอบการและโรงงานทุกราย 3. ชุมชนต่างๆที่อยู่โดยรอบพื้นที่ 4. สังคมโดยทั่วๆไป บริษัทฯได้จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำ�งาน เพื่อส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคมขึ้นเพื่อดูแลกิจกรรมเพื่อสังคมอย่าง ใกล้ชิด โดยคณะดังกล่าวประกอบด้วยคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่จากแผนกต่างๆของบริษัท และตัวแทนจากบริษัทในเครือ

ในด้านของการจัดกิจกรรม บริษทั ฯได้จดั กิจกรรรมทีเ่ ป็นทีต่ อ้ งการของสังคมอย่างแท้จริง โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุม่ กิจกรรม ประกอบด้วย 1. กิจกรรมด้านการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ 2. กิจกรรมด้านการส่งเสริมสวัสดิการ คุณภาพชีวิต และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสถานประกอบการ 3. กิจกรรมด้านการเผยแพร่ความรู้และนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจากการประกอบการของบริษัทฯและความรู้ทางด้าน การประกอบธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 4. กิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและรักษาสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นชุมชนรอบนิคมฯ 5. กิจกรรมของมูลนิธิอมตะ

มูลนิธิอมตะ ซึ่งก่อตั้งตั้งแต่ปี 2539 โดยมี นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) เป็นผู้เริ่มก่อตั้งและดำ�รงตำ�แหน่งเป็น ประธานมูลนิธิ ทั้งนี้เงิน ที่ ใช้ในการดำ�เนินงานมูลนิธิอมตะทั้งหมดเป็นเงิน ส่วนตัวของนายวิกรม กรมดิษฐ์ และครอบครัวที่ตั้งใจทุ่มเทให้กับกิจกรรมเพื่อสังคมโดยส่วนรวม

รายงานประจำ�ปี 2553

35


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการ 10 ท่าน กรรมการที่เป็นผู้บริหาร นายวิกรม กรมดิษฐ์ นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์

กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร นายเคอิตะ อิชิอิ

กรรมการที่เป็นอิสระ (*) ดร.วิษณุ เครืองาม พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา นายดุสิต นนทะนาคร นายอนุชา สิหนาทกถากุล นายนพพันธป์ เมืองโคตร รศ.ดร. สมเจตน์ ทิณพงษ์

เลขานุการบริษัท นางวราภรณ์ วัชรานุเคราะห์

(*) คุณสมบัติของกรรมการอิสระ กรรมการอิสระต้องเป็นกรรมการที่เป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหาร และผู้เกี่ยวข้อง โดยต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 1 ของจำ�นวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง โดยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย 2. ไม่เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงานที่ปรึกษาที่ได้รับเงินเดือนประจำ� ผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำ�ดับเดียวกัน (บริษัทพี่น้อง) หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งในปัจจุบันและก่อนเป็นกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 2 ปี 3. ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลอื่นที่มีความขัดแย้งในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้ วิจารณญาณอย่างอิสระของตนทั้งในปัจจุบันและก่อนเป็นกรรมการอิสระไม่น้อยกว่า 2 ปี ดังนี้ 3.1 ไม่เป็นผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ ให้รวมถึงการไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของสำ�นักงาน สอบบัญชีต้นสังกัด 3.2 ไม่เป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพอื่นๆ เช่น ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ประเมินราคาทรัพย์สินเป็นต้น ที่มีมูลค่าการให้บริการ ทางวิชาชีพอื่นเกินกว่า 2 ล้านบาทต่อปี กับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วมหรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการ ไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ให้บริการวิชาชีพอื่นๆ 3.3 ไม่ได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือมีส่วนได้เสีย จากการทำ�ธุรกรรมทางการค้าหรือธุรกิจ ได้แก่ รายการที่เป็นธุรกิจปกติ รายการเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสิน ทรัพย์หรือบริการ หรือ รายการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน กับบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 20 ล้านบาท หรือ ตั้งแต่ร้อยละ 3 ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัท แล้วแต่จำ�นวนใด จะต่ำ�กว่า โดยให้นับรวมมูลค่ารายการในระหว่าง 1 ปี ก่อนวัน ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ ทั้งนี้ ให้รวมถึงการไม่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการอิสระ ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนผู้จัดการของผู้ที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจดังกล่าว 4. ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตร กับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำ�นาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้บริหาร หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัทหรือบริษัทย่อย 5. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รบั แต่งตัง้ ขึน้ เพือ่ เป็นตัวแทนของกรรมการของบริษทั ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือผูถ้ อื หุน้ ซึง่ เป็นผูเ้ กีย่ วข้องกับผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ของบริษทั 6. ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วนที่มีนัยในห้างหุน้ ส่วน หรือ เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ� หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่งของจำ�นวนหุ้น ที่มีสิทธิออกเสียง ทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทหรือบริษัทย่อย 7. สามารถดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน 8. สามารถดูแลไม่ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 9. สามารถเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการของบริษัทเพื่อตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้โดยอิสระ 10. ไม่ เ ป็ น บุ ค คลที่ มี ชื่ อ อยู่ ใ นบั ญ ชี ร ายชื่ อ บุ ค คลที่ ต ลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยเห็ น ว่ าไม่ ส มควรเป็ น ผู้ บ ริ ห ารตามข้ อ บั ง คั บ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แห่งประเทศไทย 11. ไม่เคยต้องคำ�พิพากษาว่าได้กระทำ�ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน กฎหมายว่าด้วย การประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือกฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจการเงิน ในทำ�นองเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายไทยหรือกฎหมายต่างประเทศ โดยหน่วยงานที่มีอำ�นาจตามกฎหมายนั้น ทั้งนี้ ในความผิดเกี่ยวกับการกระทำ� อันไม่เป็นธรรมที่เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการบริหารงานที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง ฉ้อฉล หรือทุจริต 12. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำ�ให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำ�เนินงานของบริษัท 13. หากมีคุณสมบัติตามข้อ 1-12 กรรมการอิสระอาจได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทให้ตัดสินใจในการดำ�เนินกิจการของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม บริษทั ย่อยลำ�ดับเดียวกัน (บริษทั พีน่ อ้ ง) หรือนิตบิ คุ คลทีอ่ าจมีความขัดแย้ง โดยมีการตัดสินใจแบบองค์คณะ (Collective Decision) ได้โดยไม่ถือว่ากรรมการอิสระเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน

36


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

รายงานการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการ ในปี 2553 มีการประชุมคณะกรรมการ 8 ครั้ง ประชุมคณะกรรมการบริหาร 114 ครั้ง ประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนด ค่าตอบแทน 2 ครั้ง และ ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ 4 ครั้ง ผู้เข้าร่วมประชุม รายชื่อกรรมการ ดร. วิษณุ เครืองาม นายเคอิตะ อิชิอิ(ได้รับการแต่งตั้งเมื่อ 23 เมษายน 2553) นายวิกรม กรมดิษฐ์ พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ นายอนุชา สิหนาทกถากุล นายนพพันธป์ เมืองโคตร รศ.ดร. สมเจตน์ ทิณพงษ์ นายดุสิต นนทะนาคร

คณะกรรมการ (*) 8/8 4/4 7/8 7/8 7/8 8/8 7/8 8/8 8/8 8/8

คณะกรรมการ ตรวจสอบ (*)

คณะกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน (*)

4/4 4/4 4/4

2/2 2/2 2/2

(*) จำ�นวนที่เข้าประชุม/จำ�นวนการประชุมทั้งปี (ครั้ง)

รายงานประจำ�ปี 2553

37


นโยบายส่งเสริมศักยภาพ ของพนักงาน เราเล็งเห็นความสำ�คัญในการส่งเสริมศักยภาพและ คุณภาพชีวิตให้กับบุคลากร ด้วยการจัดฝึกอบรมและ กิจกรรมต่าง ๆ อันส่งผลดีต่อทั้งบุคลากรและชุมชนใน ท้องถิ่นใกล้เคียง


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

กรรมการและโครงสร้างการจัดการ คณะกรรมการและคณะทำ�งาน

โครงสร้างคณะกรรมการบริษัทฯ มีคณะกรรมการทั้งหมด 4 ชุด

คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการสรรหาและ กำ�หนดค่าตอบแทน คณะกรรมการตรวจสอบ

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหาร ประธานกรรมการสรรหาและ กำ�หนดค่าตอบแทน กรรมการสรรหาและกำ�หนด ค่าตอบแทน ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ

ดร. วิษณุ เครืองาม นายเคชิตะ อิชิอิ นายวิกรม กรมดิษฐ์, พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา, นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์, นายดุสิต นนทะนาคร, นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์, นายอนุชา สิหนาทกถากุล, นายนพพันธป์ เมืองโคตร และรศ.ดร. สมเจตน์ ทิณพงษ์ นายวิกรม กรมดิษฐ์ นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ และนายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ นายนพพันธป์ เมืองโคตร รศ.ดร. สมเจตน์ ทิณพงษ์ และนายดุสิต นนทะนาคร นายอนุชา สิหนาทกถากุล (เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ ในการสอบทานงบการเงินของบริษัท) นายนพพันธป์ เมืองโคตร และรศ.ดร. สมเจตน์ ทิณพงษ์

คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ 1. มีความเข้าใจถึงวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ในการดำ�เนินงานของบริษัทอย่างชัดเจน ทำ�ให้สามารถดูแลการดำ�เนินงาน ของบริษัทให้เป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ 2. คณะกรรมการบริษัทได้ตกลงร่วมกันในการหาแนวทางให้บริษัทฯ มีการปฏิบัติการที่ดีที่สุด 3. ดูแลตรวจสอบให้เห็นว่าบริษัทฯดำ�เนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์เป็นที่ไว้วางใจและให้เป็นไปในแนวทางที่สอดคล้องกับนโยบาย ของบริษัทฯ ความเห็นโดยรวมของผู้ถือหุ้น 4. ปฏิบัติและควบคุมดูแลนโยบายต่างๆ ของบริษัทฯให้บรรลุและเป็นไปตามข้อบังคับของกฎหมายทั้งหมด 5. มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์และบทบาทหน้าทีข่ องตนเอง คณะกรรมการบริหาร, คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน 6. เปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้นและประชาชนทั่วไปอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และมีมาตรฐาน 7. ทำ�ความเข้าใจและดูแลตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการยึดถือปฏิบัติตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ

รายงานประจำ�ปี 2553

39


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการแต่ละชุด การสรรหากรรมการ และผู้บริหาร กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนจะเป็นผู้พิจารณาสรรหาผู้มาดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการบริษัทฯ ทดแทนกรรมการที่หมดวาระ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ และที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ จำ�นวนกรรมการสูงสุดของบริษัทมิได้กำ�หนดไว้ ขึ้นอยู่กับที่ประชุม ผู้ถือหุ้นจะพิจารณาลงมติ กรรมการอาจถูกถอดถอนได้ ด้วยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของจำ�นวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและ มีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำ�นวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุม และมีสิทธิออกเสียง ในกรณีที่ตำ�แหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้คณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน เลือกบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำ�หนดเข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไป เว้นแต่วาระ ของกรรมการจะเหลือน้อยกว่าสองเดือน บุคคลซึง่ เข้าเป็นกรรมการแทนดังกล่าว จะอยู่ในตำ�แหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระทีย่ งั เหลืออยูข่ อง กรรมการที่ตนแทน มติของกรรมการดังกล่าวนี้ ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่ต่ำ�กว่า 3 ใน 4 ของจำ�นวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่ ส่ ว นกรณี ที่ ก รรมการพ้ น จากตำ � แหน่ ง ตามวาระหรื อไม่ ก็ ต าม การแต่ ง ตั้ ง กรรมการขึ้ น ใหม่ ที่ ป ระชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น จะเป็ น ผู้ แ ต่ ง ตั้ ง โดยผู้ถือหุ้นจะเลือกตั้งกรรมการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ โดยผ่านการกลั่นกรองจากกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน 1. ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง 2. ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะต้องใช้คะแนนที่มีอยู่ทั้งหมดตาม (1) เลือกตั้งบุคคลเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ แต่จะแบ่ง คะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ 3. บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำ�ดับลงมา เป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำ�นวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะ พึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำ�ดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำ�นวนกรรมการที่จะพึงมี หรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด ระบบการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ ในการประชุมสามัญประจำ�ปีทกุ ครัง้ กรรมการจะต้องออกจากตำ�แหน่งอย่างน้อยจำ�นวนหนึง่ ในสาม (1/3) โดยอัตรา ถ้าจำ�นวนกรรมการ แบ่งออกให้เป็นสามส่วนไม่ได้ก็ให้ออกโดยจำ�นวนใกล้เคียงที่สุดกับส่วนหนึ่งในสาม (1/3) กรรมการทีจ่ ะออกจากตำ�แหน่งในปีแรกและปีทสี่ องภายหลังจดทะเบียนบริษทั นัน้ ให้จบั สลากว่าผูใ้ ดจะออก ส่วนปีหลังๆ ต่อไปให้กรรมการ ที่อยู่ในตำ�แหน่งนานที่สุดเป็นผู้ออกจากตำ�แหน่ง กรรมการผู้ออกจากตำ�แหน่งไปนั้นอาจจะเลือกเข้ารับตำ�แหน่งอีกก็ได้ การประชุม การประชุมกรรมการอย่างน้อย 5 ครัง้ ต่อปี โดยมีเลขานุการบริษทั เป็นผูร้ บั ผิดชอบในการเก็บและจดบันทึกรายงานการประชุมแต่ละครัง้ ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัท 1. ค่าตอบแทนรายเดือน ประธาน 35,000 บาท/เดือน รองประธาน 25,000 บาท/เดือน กรรมการอื่นท่านละ 15,000 บาท/เดือน 2. เบี้ยประชุมคณะกรรมการบริษัท จ่ายเป็นรายครั้งเฉพาะเมื่อมาเข้าประชุม ประธาน 45,000 บาท/ครั้ง รองประธาน 35,000 บาท/ครั้ง กรรมการอื่นท่านละ 25,000 บาท/ครั้ง 3. โบนัส จ่ายตามผลงานของคณะกรรมการ

40


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการบริหาร มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ 1. การจัดซื้อที่ดินดิบ เพื่อดำ�เนินโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมของบริษัท ซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทแล้ว 2. การจัดซื้อทรัพย์สิน (ยกเว้นที่ดินดิบในข้อ 1) ที่มีมูลค่าไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อนำ�มาใช้ในกิจการของบริษัท 3. การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ เช่า จำ�นองที่ดินของบริษัท และแบ่งแยกโฉนดที่ดิน ณ สำ�นักงานที่ดินจังหวัด การยื่นขออนุญาต และเปลี่ยนแปลงแก้ไขที่เป็น ทางการต่อหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งใบอนุญาตและสิทธิในการดำ�เนินกิจการ ของบริษัท 4. การเปิดบัญชีธนาคารใหม่ หรือฝากเงินกับสถาบันการเงินอื่นนอกเหนือจากบัญชีของบริษัทที่มีอยู่กับธนาคาร สถาบันการเงิน ที่มีอยู่แล้ว เพื่อดำ�เนินกิจการปกติของบริษัท การกู้เงินและให้บุคคลที่สามกู้เงินของบริษัท 5. การค�้ำประกันการกู้ยืมเงินให้แก่บริษัทย่อยในวงเงินรวมไม่เกิน 1,000 ล้านบาท 6. การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อการดำ�เนินกิจการในวงเงินไม่เกินคราวละ 500 ล้านบาท การประชุม การประชุมจะถูกกำ�หนดตามความจำ�เป็นและความเร่งด่วนของวาระที่เข้าประชุม ค่าตอบแทน ไม่มี คณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน คณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ 1. จัดทำ�แผนสืบทอดตำ�แหน่ง และกำ�หนดกระบวนการสรรหาเพื่อทดแทนกรรมการเดิมที่หมดวาระ 2. พิจารณาสรรหาผู้มาดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการบริษัทฯ ทดแทนกรรมการที่หมดวาระเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ และที่ ประชุมผู้ถือหุ้น พิจารณาอนุมัติ 3. จัดทำ�แผนสืบทอดตำ�แหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และฝ่ายจัดการระดับสูงของบริษัทฯ เพื่อเสนอให้คณะกรรมการ บริษัทฯพิจารณา 4. เสนอแนะวิธีการประเมินผลการทำ�งานของกรรมการและคณะกรรมการบริษัทฯ รวมทั้งติดตามผลการประเมิน 5. เสนอแนวทางและวิธีการ การจ่ายค่าตอบแทนให้แก่คณะกรรมการบริษัท และคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ที่คณะกรรมการบริษัท แต่งตั้ง ซึ่งรวมถึงโบนัสประจำ�ปีและเบี้ยประชุม 6. เสนอนโยบายพิจารณาค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารระดับสูง (Management Incentives) ซึ่งรวมถึงเงินเดือนโบนัสประจำ�ปี โดยสอดคล้องกับผลการดำ�เนินงานของบริษัทและผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารระดับสูงเป็นรายบุคคล ในกรณีที่เห็นสมควร ให้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อให้คำ�แนะนำ�การดำ�เนินโครงการ 7. ประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหารเพื่อกำ�หนดค่าตอบแทนก่อนนำ�เสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการ บริษัทเป็นประจำ�ทุกปี 8. ประเมิ น ผลการปฏิ บั ติ ง านของผู้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง เป็ น รายบุ ค คลตามข้ อ เสนอของประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห ารเพื่ อ กำ � หนด ค่าตอบแทนก่อนนำ�เสนอขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำ�ทุกปี 9. พิจารณางบประมาณการขึ้นค่าจ้าง การเปลี่ยนแปลงค่าจ้างและผลตอบแทน เงินรางวัลประจำ�ปีของพนักงานจัดการระดับสูง ก่อนเสนอคณะกรรมการบริษัท 10. พิจารณาทบทวน ศึกษา ติดตามความเปลีย่ นแปลงและแนวโน้มในเรือ่ งผลตอบแทนของคณะกรรมการบริษทั รวมทัง้ ผูบ้ ริหารระดับสูง อย่างสม�่ำเสมอ เพื่อน�ำเสนอคณะกรรมการบริษัทอนุมัติ

รายงานประจำ�ปี 2553

41


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

42

11. พิจารณาการจ่ายค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูงเปรียบเทียบกับบริษัทจดทะเบียนชั้น นำ �อื่นๆ ที่มีการประกอบธุรกิจอย่างเดียวกัน เพื่อให้ AMATA รักษาความเป็นผู้นำ�ในตลาดธุรกิจอุตสาหกรรมนั้นๆ และเพื่อเป็นการ สร้างแรงจูงใจในการบริหารงานให้เจริญก้าวหน้า 12. รายงานความคืบหน้าและผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริษัททุกครั้งหลังมีการประชุมคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนด ค่าตอบแทนอย่างสม่ำ�เสมอ 13. ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการพิจารณาผลตอบแทนและรายงานผลการประเมินให้คณะกรรมการบริษัททราบ 14. พิจารณาทบทวนและเสนอแนะหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกี่ยวกับข้อบังคับ (Charter) ของคณะกรรมการสรรหาฯ และพิจารณา ค่าตอบแทนต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อขออนุมัติปรับปรุงให้เหมาะสมและมีความทันสมัยอยู่เสมอ 15. ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย วาระการดำ�รงตำ�แหน่ง คณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนมีวาระการดำ�รงตำ�แหน่ง 3 ปีเมื่อครบกำ�หนดออกตามวาระก็อาจได้รับ การพิจารณาแต่งตั้งให้ดำ�รงตำ�แหน่งต่อไปอีกได้ การประชุม คณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนมีการประชุมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ค่าตอบแทน จ่ายเฉพาะเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเมื่อมาเข้าร่วมประชุม ประธาน 45,000 บาท/ครั้ง กรรมการอื่นท่านละ 25,000 บาท/ครั้ง คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังต่อไปนี้ 1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ 2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสม และมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายในตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณา แต่งตั้ง โยกย้าย หรือเลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน 3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำ�หน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทและเสนอค่าตอบแทน ของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฏหมายและข้อกำ�หนดของ ตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดของบริษัท 6. จัดทำ�รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำ�ปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนาม


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

โดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ • ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท • ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท • ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท • ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี • ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ • จำ�นวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน • ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (charter) • รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน ทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ ได้รับมอบหมาย จากคณะกรรมการบริษัท 7. ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ วาระการดำ�รงตำ�แหน่ง คณะกรรมการตรวจสอบมีวาระการดำ�รงตำ�แหน่ง ไม่ควรเกิน 3 วาระติดต่อกัน (นับตั้งแต่กรรมการตรวจสอบชุดปัจจุบันครบวาระ เป็นต้นไป) เว้นแต่กรรมการตรวจสอบคนใด มีความเหมาะสมที่จะดำ�รงตำ�แหน่งนานกว่านั้น คณะกรรมการจะพิจารณาความเป็นอิสระ และประสิทธิภาพของการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการตรวจสอบรายดังกล่าว การประชุม คณะกรรมการตรวจสอบมีการประชุมอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี ค่าตอบแทน จ่ายเฉพาะเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งเมื่อมา เข้าร่วมประชุม ประธาน 45,000 บาท/ครั้ง กรรมการอื่นท่านละ 25,000 บาท/ครั้ง

รายงานประจำ�ปี 2553

43


คุณภาพชีวิตของผู้คนในชุมชน เรามุ่งดำ�เนินธุรกิจและบริการแบบครบวงจร ที่เอื้อ อำ�นวยต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของลูกค้าและผู้คน ในชุมชนใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ด้านการ ทำ�งานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเป็นอยู่ การศึกษา และ กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจด้วย


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

รายงานค่าตอบแทนคณะกรรมการ ในปี 2553 คณะกรรมการได้รับผลตอบแทนในรูปเบี้ยกรรมการ เบี้ยประชุมและโบนัส รายละเอียดตามตาราง กรรมการสรรหา กรรมการ และ ค่าตอบแทนคณะกรรมการ ตรวจสอบ กำ�หนดค่าตอบแทน ้ยกรรมการ โบนัส เบี้ยประชุม เบี้ยประชุม เบีเบี + ้ยประชุม กรรมการปัจจุบัน ดร.วิษณุ เครืองาม 780,000.00 175,000.00 นายโทชิฮิเดะ ฮาชิมะ (ลาออกจากการเป็นกรรมการ เมื่อ 23 เมษายน 2553) 205,000.00 125,000.00 นายเคอิตะ อิชิอิ (ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ เมื่อ 23 เมษายน 2553) 330,500.00 - นายวิกรม กรมดิษฐ์ 380,000.00 75,000.00 พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา 355,000.00 75,000.00 นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ 175,000.00 - นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ 380,000.00 75,000.00 นายอนุชา สิหนาทกถากุล 180,000.00 355,000.00 75,000.00 นายนพพันธป์ เมืองโคตร 90,000.00 100,000.00 380,000.00 75,000.00 รศ.ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์ 50,000.00 100,000.00 380,000.00 75,000.00 นายดุสิต นนทะนาคร 50,000.00 380,000.00 75,000.00 รวม 190,000.00 380,000.00 4,100,500.00 825,000.00

หน่วย : บาท

รวม 955,000.00 330,000.00 330,500.00 455,000.00 430,000.00 175,000.00 455,000.00 610,000.00 645,000.00 605,000.00 505,000.00 5,495,500.00

ค่าตอบแทนที่กรรมการอิสระได้รับบริษัทย่อยในปี 2553 บริษัทย่อย บจก. Amata (Vietnam) บจก. อมตะซิตี้ Joint Stock อมตะ วอเตอร์ Company พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา 255,000.00 บาท - - นายอนุชา สิหนาทกถากุล - US$ 5,600 40,000.00 บาท

รายชื่อกรรมการ

Amata Hong Kong Ltd. ไม่มี

รายงานประจำ�ปี 2553

45


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

นโยบายค่าตอบแทน

ค่าตอบแทนของกรรมการบริษัท

ค่าตอบแทนสำ�หรับกรรมการบริหาร

ค่าตอบแทนของผู้บริหาร

ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี

บริษทั มีนโยบายกำ�หนดให้ทปี่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ เป็นผูอ้ นุมตั คิ า่ ตอบแทนของกรรมการ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเปิดเผยในแบบ 56-1 และรายงาน ประจำ�ปี : คณะกรรมการได้รับผลตอบแทนในรูปเบี้ยประชุม เบี้ยกรรมการและโบนัส ในปี 2553 จำ�นวน 5,495,500.00บาท สำ�หรับกรรมการ จำ�นวน 11 ท่าน ซึ่งค่าตอบแทนที่แต่ละท่านได้รับมีรายละเอียดตามตารางหน้า 45

ในปี 2553 กรรมการบริหารไม่ได้รับค่าตอบแทนสำ�หรับการดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการบริหาร

คณะกรรมการบริษทั ได้ก�ำ หนดนโยบายและแนวทางสำ�หรับค่าตอบแทนของผูบ้ ริหาร โดยสัมพันธ์กบั ผลการดำ�เนินงานของบริษทั และผล งานของผู้บริหารแต่ละท่าน ในปี 2553 บริษัทได้จ่ายค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินได้แก่ เงินเดือน และ โบนัส ให้ผู้บริหารจำ�นวน 16,736,055.00 บาท และจ่ายค่าตอบ แทนอื่นๆได้แก่ เงินสบทบกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ จำ�นวน 1,431,394.50 บาท

46

1. 2.

ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี (audit fee) บริษัทและบริษัทย่อยจ่าย ค่าตอบแทนการสอบบัญชี ให้แก่ • ผู้สอบบัญชีของบริษัท ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีจำ�นวนเงินรวม 3,435,000.-บาท • สำ�นักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสำ�นักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชี สังกัด ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีจำ�นวนเงินรวม -0- บาท ค่าบริการอื่น (non-audit fee) บริษัทและบริษัทย่อยจ่าย ค่าตอบแทนของงานบริการอื่น ให้แก่ • ผู้สอบบัญชีของบริษัท ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีจำ�นวนเงินรวม 100,000.-บาท และจะต้องจ่ายในอนาคตอันเกิดจากการ ตกลงที่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีจำ�นวนเงินรวม -0-บาท • สำ�นักงานสอบบัญชีที่ผู้สอบบัญชีสังกัด บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับผู้สอบบัญชีและสำ�นักงานสอบบัญชีดังกล่าว ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีจำ�นวนเงินรวม 267,500.- บาท และจะต้องจ่ายในอนาคตอันเกิดจากการตกลงที่ยัง ให้บริการ ไม่แล้วเสร็จในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามีจำ�นวนเงินรวม 3,886,240.- บาท


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

ข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่และนโยบายการจ่ายเงินปันผล ข้อมูลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ 31 ธันวาคม 2553 1 ตระกูลกรมดิษฐ์ นายวิกรม กรมดิษฐ์ 263,700,000 นายวิฑูรย์ กรมดิษฐ์ 65,522,270 นายวิฑิต กรมดิษฐ์ 265,200 2 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำ�กัด 3 ITOCHU MANAGEMENT (THAILAND) CO.,LTD. 4 HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 5 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR AUSTRALIA 6 ตระกูลยอดมณี พล.ต.อ. ชวลิต ยอดมณี 38,561,170 นายปิยะ ยอดมณี 35,800 7 NORBAX INC.,13 8 STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR LONDON 9 NORTRUST NOMINEES LTD. 10 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำ�กัด (มหาชน)

จำ�นวนหุ้น

%การถือหุ้น

329,487,470

30.88

52,335,049 50,000,000 40,462,300 39,137,000 38,596,970

4.90 4.69 3.79 3.67 3.62

25,818,600 20,593,900 16,168,987 13,925,600

2.42 1.93 1.52 1.31

นโยบายการจ่ายเงินปันผล

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย มีนโยบายจ่ายเงินปันผลไม่ต่ำ�กว่า 40% ของกำ�ไรสุทธิในแต่ละปี โดยเริ่ม ตั้งแต่ปี 2538/2539 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจของประเทศ ภาวะตลาดของธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม และสภาพคล่องของบริษัทฯ ด้วย ตั้งแต่ปี 2550 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานบัญชี ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีได้กำ�หนดให้บริษัทบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม ในงบเดี่ยว (เฉพาะกิจการ) ด้วยวิธี Cost Method ในขณะที่งบรวมยังใช้วิธี Equity Method นั้น ส่งผลให้กำ�ไรสุทธิของงบกำ�ไร ขาดทุนในงบเดี่ยวและงบรวมอาจแสดงตัวเลขต่างกันได้ ดังนั้นอัตราจ่ายเงินปันผลจะจ่ายจากงบเดี่ยว แต่บริษัทจะงดจ่ายปันผล หากงบรวมของบริษัทยังมีผลขาดทุนสะสม หรือจ่ายปันผลแล้ว กำ�ไรสะสมในงบรวมเปลี่ยนเป็นขาดทุนสะสม

รายงานประจำ�ปี 2553

47


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

ระบบจัดการข้อมูลภายใน บริษัทฯ ได้กำ�หนดมาตรการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในโดยมิชอบ (Insider Trading) ของบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งหมายถึง คณะกรรมการ ผูบ้ ริหารระดับสูงของบริษทั ฯ และพนักงานในหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับข้อมูล (รวมทัง้ คูส่ มรสและบุตรทีย่ งั ไม่บรรลุนติ ภิ าวะของบุคคลดังกล่าว) ดังนี้ 1. ห้ามบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องทำ�การซือ้ ขายหลักทรัพย์ของบริษทั ภายใน 2 สัปดาห์กอ่ นมีการเปิดเผยงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงิน ประจำ�ปี และภายใน 24 ชั่วโมง หลังการเปิดเผยงบการเงินดังกล่าว (Blackout Period)

2.

ในกรณีทที่ ราบข้อมูลใดๆ ทีย่ งั ไม่เปิดเผยซึง่ อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษทั ต้องไม่ท�ำ การซือ้ ขายหลักทรัพย์ของบริษทั จนกว่าจะพ้นระยะเวลา 24 ชัว่ โมง นับแต่ได้มกี ารเปิดเผยข้อมูลนัน้ สูส่ าธารณะทัง้ หมดแล้ว รวมทัง้ ห้ามมิให้ผบู้ ริหารหรือหน่วยงาน ที่ได้รับทราบข้อมูลภายในเปิดเผยข้อมูลภายในแก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ นำ�ข้อมูลภายในไปใช้ในทางมิชอบ

3.

ในกรณีที่กรรมการบริษัทและผู้บริหาร ซึ่งหมายรวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำ�นวนหุ้น ที่ถืออยู่ จะต้องแจ้งรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ต่อสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามมาตรา 59 แห่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2533 ภายใน 3 วันทำ�การนับจากวันที่ซื้อ ขาย โอน หรือรับโอน

48


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

รายการระหว่างกัน คณะกรรมการให้ความสำ�คัญกับเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน และรายการเกี่ยวโยงโดยการวางนโยบาย, ข้อปฏิบัติและวิธีการปฏิบัติ อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับกฎหมาย, ระเบียบบริษัท, กฎระเบียบของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและหลักการกำ�กับกิจการที่ดี ผู้ที่เกี่ยวข้องกับรายการเกี่ยวโยงหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อนจะต้อง แจ้งบริษัทและเปิดเผยความสัมพันธ์ บุคคลเหล่านี้ ไม่ได้รับอนุญาตให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและจะไม่มีอำ�นาจอนุมัติการทำ�ธุระกรรม ยิ่งกว่านั้นการอนุมัติธุระกรรมที่ว่านี้ต้องทำ�โดยเห็นแก่ประโยชน์ของบริษัทเป็นสำ�คัญปราศจากเงื่อนไขพิเศษใดๆ และได้เปิดเผยรายการธุรกิจ กับกิจการที่เกี่ยวข้องกันในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 9 ของงบการเงินของบริษัทสำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553

รายงานประจำ�ปี 2553

49


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

การวิเคราะห์การเงินและผลการดำ�เนินงาน ผลการดำ�เนินงาน

ในปี 2553 เศรษฐกิจเอเซียฟื้นตัวพร้อมกับการขยายตัวของธุรกิจยานยนต์ได้ส่งผลต่อยอดขายที่ดินของ AMATA อย่างมาก รายได้จาก การขายอสังหาริมทรัพย์เพิ่มจาก 1,109 ล้านบาทในปี 2552 เป็น 2,441 ล้านบาท ในปี 2553 ไม่เพียงแต่ธุรกิจหลักที่มีรายได้เพิ่มเท่านั้น รายได้จากธุรกิจสาธารณูปโภค และรายได้จากการให้เช่าก็เพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้รายได้รวมเพิ่มจาก 2,230 ล้านบาท ในปี 2552 เป็น 3,693 ล้านบาท ในปี 2553 จากการที่สัดส่วนการขายที่ดินเพิ่มขึ้นส่งผลท�ำให้อัตราก�ำไรขั้นต้นของบริษัทเพิ่มจาก 40.41% ในปี 2552 เป็น 48.77% ในปี 2553 นอกจากนี้ ในงวดปัจจุบันบริษัทได้เปลี่ยนประเภทเงินลงทุนในบริษัทอมตะ เพาเวอร์ จ�ำกัด ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 13.77 จากเงิน ลงทุนทั่วไปเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วม เนื่องจากบริษัทฯ มีอิทธิพลในบริษัทดังกล่าวอย่างมีนัยส�ำคัญ จากการที่บริษัทฯ มีตัวแทนอยู่ในคณะ กรรมการของบริษทั ดังกล่าวและมีสว่ นร่วมในการก�ำหนดนโยบายการด�ำเนินงานของบริษทั ดังกล่าวด้วย ผลกระทบจากการเปลีย่ นประเภท เงิน ลงทุนดังกล่าวส่งผลให้บริษัทฯ รับรู้ส่วนแบ่งก�ำไร/ขาดทุนจากการลงทุน ในบริษัทอมตะ เพาเวอร์ จ�ำกัด ในปี 2552 จ�ำนวน 77 ล้านบาท และ 99 ล้านบาทในปี 2553 จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นทำ�ให้กำ�ไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่เพิ่มขึ้นจาก 372.31 ล้านบาทในปี 2552 เป็น 957.49 ล้านบาท ใน ปี 2553 สภาพคล่อง ณ.วันสิ้นงวด 2553 บริษัทมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด จำ�นวน 1,099.07 ล้านบาท และมีวงเงินกู้ที่ยังไม่ได้เบิก ใช้อีก 2,723 ล้านบาทจึงเห็นว่าบริษัทมีสภาพคล่องเพียงพอกับการดำ�เนินธุรกิจ

ฐานะการเงิน ในปี 2553 สินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นจาก 13,412 ล้านบาทในปี 2552 เป็น 14,049 ล้านบาทส่วนใหญ่เกิดจากการลงทุนเพิ่มในธุรกิจ สาธารณูปโภค 2 บริษัท คือ 1. ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท อมตะ จัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติ จำ�กัด จากบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่งเป็นจำ�นวน 1.6 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 105 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 168 ล้านบาท การซื้อหุ้นดังกล่าวนี้ ทำ�ให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ ในบริษัท ดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 และทำ�ให้บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ที่บริษัทฯ มีอิทธิพลอย่างมีสาระสำ�คัญในบริษัทดังกล่าว

2. บริษัทฯ ได้ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 3 จำ�กัด จำ�นวน 1,400,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 100 บาท รวมเป็นจำ�นวนเงิน 140 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าว

50

ถึงแม้บริษัทฯ จะมีการลงทุน ใน 2 บริษัทดังกล่าวแต่ภาระเงินกู้ยืมของบริษัทฯ กลับลดลงจาก 5,853 ล้านบาทในปี 2552 เหลือ 5,303 ล้านบาท ในปี 2553 ทำ�ให้ อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ลดลงจาก 1.15 เท่าในปี 2552 เหลือ 1.04 เท่าใน ปี 2553 ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทฯ สามารถขายที่ดินได้มากกว่าปี 2552 เป็นจำ�นวนมาก (ปี 2552 ขายที่ดินได้ 253 ไร่ ในขณะที่ ปี 2553 ขายได้ 1,295 ไร่)


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

รายงานความรั บผิดชอบของ รายงานความรั บผิดชอบของ คณะกรรมการในการจั ดทำรายงานทางการเงิ น น คณะกรรมการในการจั ดทำรายงานทางการเงิ รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ประจำปี 25522552 ประจำปี

บริษัท อมตะ ปอเรชัคอร์ น ปอเรชัน บริษคอร์ ัท อมตะ จำกัด (มหาชน) จำกัด (มหาชน) 2552 2552

49 49

ในการจัดทำ�รายงานทางการเงินประจำ�ปี 2553

นงบการเงิ ษัทษัทอมตะ อเรชั นอเรชั จ�ำกั (มหาชน) และบริษษัทัทและบริ ย่ย่ออยย ที่นษที�ำมาจั ปฏิบัตปิตนฏิามหลั การบั ี่ ของบรินษนของบริ ัทของบริ อมตะ ปคอร์ อเรชัปคอร์ น ปจำกั ด นด(มหาชน) และบริ ดทีทำงบการเงิ นรวมได้ บัติตกาม งบการเงิ งบการเงิ คอร์ อมตะ จำกั ด (มหาชน) ัท่นย่ำมาจั อดย ท�ำงบการเงิ ่นำมาจันดรวมได้ ทำงบการเงิ รวมได้ ปฏิบญัตชีิตทาม รองทั ่วไป และใช้ นโยบายบั ญชีที่เหมาะสมและถื อปฏิบัติโดยสม� การพิ จารณาถึกงความสมเหตุ สมผลและจั ดท�ำงบการเงิ หลักการบัหลั ญกชีรับทการบั ี่รับรองทั และใช้ นโยบายบั ชีที่เหมาะสมและถื อปฏิ่ำบเสมอ ตลอดจนมี ัติโดยสม่ ารพิจารณาถึ น ญชีท่วี่รไป ับรองทั ่วไป และใช้นญโยบายบั ญชีที่เหมาะสมและถื อปฏิบำัตเสมอ ิโดยสม่ตลอดจนมี ำเสมอ ตลอดจนมี การพิงจความสมเหตุ ารณาถึงความสมเหตุ อย่ า งรอบคอบ เพื อ ่ เป็ น ประโยชน์ ต อ ่ ผู ถ ้ อ ื หุ น ้ และผู ล ้ งทุ น ทั ว ่ ไป ที จ ่ ะได้ ร บ ั ทราบข้ อ มู ล ที แ ่ สดงฐานะการเงิ น และผลการด�ำเนิ น งานที ค ่ รบถ้ สมผลและจั ดทำงบการเงิ นอย่างรอบคอบ เพื่อเป็นประโยชน์ ต่อผู้ถือหุต้น่อและผู ้ลหุงทุ นทั่วไปที ่จนะได้ รับทราบข้ อับมูทราบข้ ลที่แสดงฐานะการเงิ น วนเป็น น สมผลและจั ด ทำงบการเงิ น อย่ า งรอบคอบ เพื ่ อ เป็ น ประโยชน์ ผู ้ ถ ื อ ้ น และผู ้ ล งทุ ทั ่ ว ไปที ่ จ ะได้ ร อ มู ล ที ่ แ สดงฐานะการเงิ จริงและสมเหตุ ผล วนเป็นจริงและสมเหตุผล และผลการดำเนิ นงานที่ครบถ้ และผลการดำเนิ นงานที ่ครบถ้วนเป็นจริงและสมเหตุผล ่อ่อให้ให้เกิเกิดดความเชื ่อมั่อ่น้มมัของผู ้มีสส้ม่ว่วีนได้ สย่วต่นเสี ยต่อยรายงานงบการเงิ ดัทท�ำขึ เป็นไปตามวั น้นไปตามวั ตถุถุปประสงค์ ระสงค์ งต้น ่อความเชื มั่นของผู ีส่น่วของผู นได้ นที่บรินษทีัท่บนริฯ ษทีัท่บจัฯจั ดริษทำขึ ดังนั ้น เพืดัดั่องงนัให้ นั้น้นเกิ เพืดเพืความเชื สนเสี ่วนได้ สอ่วรายงานงบการเงิ นเสี ต่อรายงานงบการเงิ ฯ ้นว่้นจัาว่ดเป็าทำขึ ว่าเป็นตไปตามวั ตถุ ขป้าระสงค์ คณะกรรมการบริ คณะกรรมการตรวจสอบที ม่ คี ม่ ณ ุ คี สมบั ตคิ ม่ รบถ้ วสมบั นตามข้ ก�ำหนดของตลาดหลั กทรัพย์กให้ ข้างต้น คณะกรรมการบริ ษทั ษฯ ทั ฯได้ ได้แแษต่ทั งฯ ตัง้ คณะกรรมการตรวจสอบที ณ ุ สมบั ตคี คิ ณ วนตามข้ อวกำหนดของตลาดหลั ทรัเข้พาย์มาท�ำหน้ ให้ เข้พาามา ข้างต้ น คณะกรรมการบริ ได้แต่งตัง้ คณะกรรมการตรวจสอบที ุ รบถ้ ตคิ อรบถ้ นตามข้อกำหนดของตลาดหลั กทรั ย์ที ส่ อบทาน ให้เข้ามา ให้ บ ริ ษ ท ั ฯมี ก ารรายงานทางการเงิ น อย่ า งถู ก ต้ อ งเพี ย งพอ รวมทั ง ้ มี ก ารเปิ ด เผยรายการที เ ่ กี ย ่ วโยงกั น หรื อ ที อ ่ าจมี ค วามขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ ทำหน้าที่สทำหน้ อบทานให้ บ ริ ษ ั ท ฯ มี ก ารรายงานทางการเงิ น อย่ า งถู ก ต้ อ งเพี ย งพอ รวมทั ้ ง มี ก ารเปิ ด เผยรายการที ่ เ กี ่ ย วโยงกั น หรื อ ที ่ อ าจมี าที่สอบทานให้บริษัทฯ มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องเพียงพอ รวมทั้งมีการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือที่อาจมี างถูกต้องและครบถ้ บริษัทฯมี มบภายในและการตรวจสอบภายในที ่เหมาะสมและมีประสิทธิผล สอบทานการ ความขัดแย้ งอย่ ทางผลประโยชน์ อย่าวนงถูกสอบทานให้ ต้ออย่งและครบถ้ วน ระบบการควบคุ สอบทานให้ ริษัทฯ บมีริรษะบบการควบคุ มภายในและการตรวจสอบภายใน ความขั ดัตแย้ งทางผลประโยชน์ าพงถูย์กข้ต้ออผูงและครบถ้ วน สอบทานให้ ัทฯ มีร่เกีะบบการควบคุ มพิภายในและการตรวจสอบภายใน ปฏิ บ ิ ต ามข้ อ ก�ำหนดตลาดหลั ก ทรั ก พั น ที ่ ม ี ไ ว้ ก ั บ บุ ค คลภายนอกและกฎหมายที ่ ย วข้ อ ง รวมทั ้งคลภายนอกและกฎหมาย จารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งและ ที่เหมาะสมและมี ป ระสิ ท ธิ ผ ล สอบทานการปฏิ บ ั ต ิ ต ามข้ อ กำหนดตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ข้ อ ผู ก พั น ที ่ ม ี ไ ว้ ก ั บ บุ ค ที่เหมาะสมและมี ป ระสิ ท ธิ ผ ล สอบทานการปฏิ บ ั ต ิ ต ามข้ อ กำหนดตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ข้ อ ผู ก พั น ที ่ ม ี ไ ว้ กับบุคคลภายนอกและกฎหมาย เสนอค่ าจตอบแทนผู ้สอบบั ญชี ที่เกี่ยวข้อทีงรวมทั ง ้ พิ ารณาคั ด เลื อ ก เสนอแต่ ง ตั ง ้ และเสนอค่ า ตอบแทนผู ส ้ อบบั ญ ชี ่เกี่ยวข้องรวมทั้งพิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งและเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี จากโครงสร้ หารและระบบการควบคุ มภายในดั งกล่าว าว และผลการตรวจสอบของผู ้สอบบั ญชีรญับชีอนุ าตญญท�ำให้ คทำให้ ณะกรรมการ างการบริางการบริ ารและระบบการควบคุ มภายในดั กล่ ้สอบบั ับญอนุ ทำให้ จากโครงสร้ จากโครงสร้ าหงการบริ หารและระบบการควบคุ มงภายในดั งและผลการตรวจสอบของผู กล่าว และผลการตรวจสอบของผู ้สรอบบั ชีาต รับอนุ ญาต ของบริ ษ ท ั เชื อ ่ ได้ ว า ่ งบการเงิ น ของบริ ษ ท ั อมตะ คอร์ ป อเรชั น จ�ำกั ด (มหาชน) และบริ ษ ท ั ย่ อ ย ณ.วั น ที 3 ่ 1 ธั น วาคม 2553 ได้ แ สดงฐานะการ คณะกรรมการของบริ ษัทเชื่อได้ษว่าัทงบการเงิ ของบริษนัทของบริ อมตะ คอร์ ปอเรชัน จำกั ด (มหาชน) และบริ ษัทย่อย ณ วั ่ 31 ธันนทีวาคม คณะกรรมการของบริ เชื่อได้ว่านงบการเงิ ษัท อมตะ คอร์ ปอเรชั น จำกัด (มหาชน) และบริ ษัทย่นอทีย ณ วั ่ 31 ธันวาคม เงิ น ผลการด�ำเนิ น งาน และกระแสเงิ น สด โดยถู ก ต้ อ งตามที ค ่ วรในสาระส�ำคั ญ ตามหลั ก การบั ญ ชี ท ร ่ ี บ ั รองทั ว ่ ไป 2552 ได้2552 แสดงฐานะการเงิ น ผลการดำเนิ น งาน และกระแสเงิ น สด โดยถู ก ต้ อ งตามที ค ่ วรในสาระสำคั ญ ตามหลั ก การบั ญ ชี ท ร ่ ี บ ั ได้แสดงฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสด โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัรอง ญชีที่รับรอง ทั่วไป ทั่วไป

เครือษษงาม) (นายวิบบูลูล(นายวิ กรมดิ ษฐ์) ณุณุ เครือองาม) (นายวิ ย์ย์ กรมดิ (ดร.วิษณุ(ดร.วิ งาม) บษูลษฐ์ย์)ฐ์ )กรมดิ ประธานเจ้ประธานเจ้ าหน้าที่ปฏิบัติกาทีาร ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิาบหน้ ัติการ ่ปฏิบัติการ

รายงานประจำ�ปี 2553

51


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบ รายงานการกำ�กับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ ประจำ�ปี 2553 เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) ในปี 2551 คณะกรรมการบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) ได้แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ จำ�นวน 3 ท่าน ซึ่งเป็น คณะกรรมการอิสระที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำ�หนด และแนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ปัจจุบันคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท ประกอบด้วย นายอนุชา สิหนาทกถากุล เป็นประธานกรรมการตรวจสอบ นายนพพันธป์ เมืองโคตร และ รศ.ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์เป็นกรรมการตรวจสอบ โดยมี นางวราภรณ์ วัชรานุเคราะห์ เป็นเลขานุการ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวงจสอบ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบที่ ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยในรอบปีบัญชี 2553 ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการตรวจ สอบจำ�นวน 4 ครั้ง และในปี 2554 จนถึงวันที่รายงาน จำ�นวน 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 5 ครั้ง โดยนายอนุชา สิหนาทกถากุล นายนพพันธป์ เมืองโคตรและรศ.ดร.สมเจตน์ ทิณพงษ์เข้าร่วมประชุมครบถ้วนทุกครัง้ และเป็นการร่วมประชุมกับผูบ้ ริหาร ผูส้ อบบัญชีและผูต้ รวจสอบภายใน ตามความเหมาะสมซึ่งสรุปสาระสำ�คัญได้ดังนี้

1.

สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำ�ปี 2553 โดยได้สอบถามและรับฟัง คำ�ชี้แจงจากผู้บริหาร และผู้สอบบัญชี ในเรื่องความถูกต้องครบถ้วนของงบการเงิน และความเพียงพอในการเปิดเผยข้อมูล รวมถึงรับทราบแผนการสอบบัญชีของ ผู้สอบบัญชีประจำ�ปี 2553 ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมความเห็นสอดคล้องกับผู้สอบบัญชีว่า งบการเงินดังกล่าวมีความถูกต้อง ตามที่ควรในสาระสำ�คัญตามมาตราฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป

2.

สอบทานข้อมูลการดำ�เนินงานและระบบการควบคุมภายใน เพื่อประเมินความเพียงพอ เหมาะสม และประสิทธิผลของระบบ การควบคุมภายในอันจะช่วยส่งเสริมให้การดำ�เนินงานบรรลุตามเป้าหมายที่กำ�หนดไว้ โดยพิจารณาจากการสอบทานผล การประเมินระบบการควบคุมภายในร่วมกับผู้สอบบัญชี และ ผู้ตรวจสอบภายใน ไม่พบจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำ�คัญ มีการดูแลรักษาทรัพย์สินที่เหมาะสม และมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้ นอกจากนี้ได้ประเมินระบบ การควบคุมภายในตามแนวทางที่กำ�หนดโดยสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยผู้สอบบัญชีและ ผู้ตรวจสอบภายใน มีความเห็นว่า บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นสอดคล้องกับ ผู้สอบบัญชีและ ผู้ตรวจสอบภายใน รวมทั้งมีความเห็นว่าบริษัทฯ มีระบบการติดตามควบคุมดูแลการดำ�เนินงานของบริษัทย่อย อย่างเพียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิผล

3.

สอบทานการตรวจสอบภายในโดยพิจารณาภารกิจ ขอบเขตการปฏิบัติงาน หน้าที่ และความรับผิดชอบ ความเป็นอิสระ ของบริษัท ปรมา คอนซัลแต้นท์ จำ�กัด ซึ่งเป็น ผู้ตรวจสอบภายในของบริษัท อีกทั้งได้พิจารณาทบทวนและอนุมัติการแก้ไข กฏบัตรงานตรวจสอบภายในให้เหมาะสม ทันสมัย และสอดคล้องกับคู่มือแนวทางการตรวจสอบภายในของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และได้อนุมัติแผนการตรวจสอบประจำ�ปี ที่จัดขึ้นตามความเสี่ยงระดับองค์กร คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็น ว่า บริษัทฯ มีระบบการตรวจสอบภายในที่เพียงพอ เหมาะสม และมีประสิทธิผล เป็นไปตามมาตราฐานสากล

4.

สอบทานการปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงการปฏิบัติตามข้อกำ�หนดของบริษัทฯ และข้อผูกพันที่บริษัทฯ มีไว้กับบุคคล ภายนอก ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า ไม่พบประเด็น ที่เป็น สาระสำ�คัญในเรื่องการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำ�หนด และข้อผูกพันที่บริษัทฯ มีไว้กับบุคคลภายนอก

52


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

5.

สอบทานระบบการบริหารความเสี่ยง ให้มีความเชื่อมโยงกับระบบการควบคุมภายในเพื่อจัดการความเสี่ยงทั่วทั้งบริษัทฯ โดยได้ พิจารณาสอบทานนโยบาย ปัจจัยความเสี่ยง แนวทางการบริหารความเสี่ยง รวมถึงความคืบหน้าของการบริหารความเสี่ยง ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า บริษัทฯ มีระบบการบริหารความเสี่ยง โดยมีการกำ�หนดวัตถุประสงค์บ่งชี้ความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง จัดการความเสี่ยง และติดตามผลความคืบหน้า มีการกำ�หนดดัชนีชี้วัดความเสี่ยงที่สำ�คัญ (Key Risk Indicator –KRI) ซึ่งถือเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้า ให้เหมาะสมตามสถานการณ์ มีการกำ�หนดความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Tolerance)

6.

สอบทานและให้ความเห็นต่อรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูล ของรายการดังกล่าว ตามข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งผู้สอบบัญชีมีความเห็นว่ารายการค้ากับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันที่มีสาระสำ�คัญได้เปิดเผยและแสดงรายการในงบ การเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินแล้ว และคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็น สอดคล้องกับผู้สอบบัญชี รวมทั้ง มีความเห็นว่า รายการดังกล่าวเป็นรายการที่สมเหตุสมผล และเป็นประโยชนสูงสุดต่อการดำ�เนินธุรกิจของบริษัท รวมทั้งมี การเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วน

7.

พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี ประจำ�ปี 2554 เพื่อนำ�เสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ให้อนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2554 ซี่งคณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาผลการปฏิบัติงาน ความเป็นอิสระและ ความเหมาะสมของค่าตอบแทนแล้ว เห็นควรเสนอแต่งตั้งนางสาว ศิราภรณ์ เอื้ออนันต์กุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3844 และ/หรือ นาย ศุภชัย ปัญญาวัฒโน ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3930 และ/หรื อ นายกฤษดา เลิ ศ วนา ผู้ ส อบบั ญ ชี รับอนุญาตเลขที่ 4958 แห่งบริษัทสำ�นักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำ�กัดป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ประจำ�ปี 2554 พร้อมด้วยค่า ตอบแทนเป็นจำ�นวนเงินรวม 1,350,000 บาท โดยคณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นเกี่ยวกับการเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ดังกล่าวดังนี้ • ในรอบปีบัญชีที่ผ่านมา ผู้สอบบัญชีได้ปฏิบัติงานด้วยความรู้ ความสามารถในวิชาชีพ และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบ การควบคุมภายในและความเสี่ยงต่างๆ รวมทั้งมีความเป็นอิสระในการปฏบัติงาน • ค่าตอบแทนที่เสนอมาเป็นอัตราที่เหมาะสม โดยได้เสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีเป็นจ�ำนวน 1,350,000 บาท ซึ่งต�่ำกว่า ค่าตอบแทนประจ�ำปี 2553 • มีการปฏิบตั สิ อดคล้องกับข้อกำ�หนดของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ในเรือ่ งการกำ�หนดให้ บริษทั จดทะเบียนต้องจัดให้มกี ารหมุนเวียนผูส้ อบบัญชีทลี่ งลายมือชือ่ รับรองงบการเงินทุก 5 รอบปีบญ ั ชี ทัง้ นีห้ ากผูส้ อบบัญชี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชี ประจำ�ปี 2554 จะจัดเป็นปีแรกของผู้สอบบัญชี • ผู้สอบบัญชีไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับบริษัทฯ และบริษัทย่อย

ความเห็น/ข้อสังเกตจากการปฏิบัติหน้าที่ โดยสรุป ในภาพรวมแล้วคณะกรรมการตรวจสอบได้ปฏิบัติหน้าที่ครบถ้วนตามที่ ได้ระบุไว้ในกฏบัตรคณะกรรมการตรวจสอบที่ ได้รับ อนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ และมีความเห็นว่า บริษัทฯ มีรายงานข้อมูลทางการเงินและการดำ�เนินงานอย่างถูกต้อง มีระบบการควบคุม ภายใน การตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล มีการปฏิบัติตามกฏหมาย ข้อกำ�หนดและข้อผูกพันต่างๆ มีการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างถูกต้องและมีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับระบบการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีอย่างเพียงพอ โปร่งใส และ เชื่อถือได้รวมทั้งมีการพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพดีขึ้นและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

ในนามคณะกรรมการตรวจสอบ นายอนุชา สิหนาทกถากุล (ประธานกรรมการตรวจสอบ) 17 กุมภาพันธ์ 2554 รายงานประจำ�ปี 2553

53


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

การรักษาความปลอดภัย ในด้ า นการรั ก ษาความปลอดภั ย เรามี ร ะบบและ มาตรการต่างๆ ที่เข้มงวด ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการรักษาความปลอดภัยสำ�หรับทุกชีวิตในนิคมฯ

54


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) 2552

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เสนอต่อผู้ถือหุ้นของ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม ผู้ถือหุ้นรวมและงบกระแสเงินสดรวมสำหรับปีสิ้นสุด ษัทย่อยและได้ ตรวจสอบงบการเงิ ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 งบกำ�ไรขาดทุนและบริ รวม งบแสดงการเปลี ่ยนแปลงส่ วนของ นเฉพาะก ่งผู้บนริหจำารของกิ จการเป็และบริ นผู้รับษผิัทดย่ชอบต่ ผู้ถือหุ้นรวมและงบกระแสเงินสดรวมสำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของ แต่ละปีของบริษัท อมตะ คอร์ปซึอเรชั �กัด (มหาชน) อย อความถูกต้อ องบการเงิ และได้ตรวจสอบงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) ด้วยเช่ในการแสดงความเห็ นกัน ซึ่งผู้บริหารของกินจต่การเป็ นผู้รับผินดดังกล่าวจากผลก ชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็ น ต่ อ งบการเงิ น ดังกล่าว ษัทซึ่งตรวจสอบ ของบริษัทย่อยในต่างประเทศสองบริ จากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า งบการเงินรวมของบริษัทฯ ได้รวม งบการเงินของบริษัทย่อยในต่ างประเทศสองแห่ ษัทร่วมใน ของบริ ษัทย่อยดังกล่งาและบริ วแสดงยอดสิ นทรัพย์รวมจำนวน ประเทศหนึ่งแห่งซึ่งตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น งบการเงินของบริษัทย่อยดังกล่าวแสดงสินทรัพย์รวมล้านบาท (2551 : 636 ล้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553านบาท) และกำไรสุ จำ�นวน ทธิร 1,489 ล้านบาท (2552: 1,695 ล้านบาท) รายได้รวมสำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันจำ�นวน 296 ล้านบาท (2552: 349 ล้านบาท) และกำ�ไรสุทธิ การตรวจสอบของผู ื่นนัท้นธิ แล้วและการรา รวมสำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันจำ�นวน 83 ล้านบาท (2552: 145 ล้านบาท) และจากงบการเงินของบริ ษัทร่วมบริษัทฯ รับรู้​้สส่วอบบั นแบ่ญ งกำชี�อไรสุ การเงิข้นาพเจ้ รวม ได้ ือตามรายงานการตรวจสอบของผู้สอ จากเงินลงทุนในบริษัทร่วมดังกล่าวสำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันจำ�นวน 99 ล้านบาท (2552: 78 ล้านบาท) าได้รับถรายงานการตรวจสอบ ของ ผู้สอบบัญชีอื่นนั้นแล้วและการรายงานของข้าพเจ้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทย่อยและบริษัทร่วมดังกล่าว ซึ่งรวมอยู่ในงบการเงินรวม ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการส ได้ถือตามรายงานการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีอื่นนั้น เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า งบการเงิน ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งกำ�หนดให้ขรวมถึ ้าพเจ้างการใช้ ต้องวางแผนและปฏิ บัติงานเพื ่อ วิธีการทดสอบหลั กฐานประกอบรายกา ให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสำ�คัญหรืเหมาะสมของหลั อไม่ การตรวจสอบรวมถึ ง การใช้ ว ิ ธ ี ก าร กการบัญชีที่กิจการใช้และประม ทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำ�นวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชี ้น ตลอดจนการประเมิ นถึงความเหมาะส ที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงิน ที่เป็น สาระสำ�คัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดผูทำ้จ�ัดขึทำขึ ้น ตลอดจนการประเมิ นถึงความ าวให้ สรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหม เหมาะสมของการแสดงรายการที่นำ�เสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่การตรวจสอบดั าวให้ข้อสรุปที่เป็งนกล่ เกณฑ์ อย่ขา้องเหมาะสม ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า จากการตรวจสอบของข้าพเจ้าและจาก จากการตรวจสอบของข้าพเจ้าและจากรายงานการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีอื่น ข้าพเจ้31 าเห็ธันนว่วาคม างบการเงิ นข้างต้และ นนี้แสดงฐานะ 2552 2551 ผลการดำเนินงาน การเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 ผลการดำ�เนินงานและกระแสเงินสดสำ�หรับปีสคอร์ ิ้นสุดปวัอเรชั นเดียนวกั นจำกั ของแต่ ล ะปี ข อง ษัท ษทั ย่อยและ ด (มหาชน) บริและบริ อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และเฉพาะของบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควร ทีค่ วรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีทรี่ บั รองทัว่ ไป ในสาระสำ�คัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

เสนอต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

ณรงค์ นตาวงษ์ ณรงค์ พันพัตาวงษ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3315 ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3315 บริษัท สำ�นักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำ�กัด ษัท สำนั ส์ท แอนด์ ยัง จำกัด กรุงบริ เทพฯ : 23 กุกมงาน เอิ ภาพันธ์น2554 กรุงเทพฯ: 19 กุมภาพันธ์ 2553

รายงานประจำ�ปี 2553

55


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

งบดุล บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

56


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

งบดุล (ต่อ) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

รายงานประจำ�ปี 2553

57


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

งบดุล (ต่อ) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

58


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

งบกำ�ไรขาดทุน

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

รายงานประจำ�ปี 2553

59


60 บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น


งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ) บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

รายงานประจำ�ปี 2553

61


62 บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ)


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

งบกระแสเงินสด

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

รายงานประจำ�ปี 2553

63


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

งบกระแสเงินสด (ต่อ)

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

64


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

งบกระแสเงินสด (ต่อ)

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

รายงานประจำ�ปี 2553

65


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552

1.

ข้อมูลทั่วไปของบริษัทฯ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) เป็นบริษัทมหาชนซึ่งจัดตั้งและมีภูมิลำ�เนาในประเทศไทย ธุรกิจหลัก ของบริษัทฯคือการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม ที่อยู่ของบริษัทฯ ตามที่จดทะเบียนอยู่ที่ 2126 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร

2.

เกณฑ์ในการจัดทำ�งบการเงิน 2.1 งบการเงินนี้จัดทำ�ขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่กำ�หนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยแสดงรายการในงบ การเงินตามข้อกำ�หนดในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าลงวันที่ 30 มกราคม 2552 ออกตามความในพระราชบัญญัติ การบัญชี พ.ศ. 2543 งบการเงินฉบับภาษาไทยเป็นงบการเงินฉบับที่บริษัทฯใช้เป็นทางการตามกฎหมาย งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษแปลจาก งบการเงินฉบับภาษาไทยนี้ งบการเงินนี้ได้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิมเว้นแต่จะได้เปิดเผยเป็นอย่างอื่นในนโยบายการบัญชี 2.2 เกณฑ์ในการจัดทำ�งบการเงินรวม ก) งบการเงินรวมนี้ได้จัดทำ�ขึ้นโดยรวมงบการเงินของบริษัทฯและบริษัทย่อย (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “บริษัทย่อย”) ดังต่อไปนี้

66


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

2.3

ข) บริษัทฯ นำ�งบการเงินของบริษัทย่อยมารวมในการจัดทำ�งบการเงินรวมตั้งแต่วันที่ได้มา (วันที่บริษัทฯ มีอำ�นาจ ในการควบคุมบริษัทย่อย) จนถึงวันที่บริษัทฯ สิ้นสุดการควบคุมบริษัทย่อยนั้น ค) งบการเงินของบริษัทย่อยได้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้นโยบายการบัญชีที่สำ�คัญเช่นเดียวกันกับของบริษัทฯ ง) สิ น ทรั พ ย์ แ ละหนี้ สิ น ตามงบการเงิ น ของบริ ษั ท ย่ อ ยซึ่ ง จั ด ตั้ ง ในต่ า งประเทศแปลงค่ า เป็ น เงิ น บาทโดยใช้ อั ต รา แลกเปลี่ยน ณ วัน ที่ ในงบดุล ส่วนรายได้และค่าใช้จ่ายแปลงค่าเป็นเงิน บาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ย รายเดือน ผลต่างซึ่งเกิดขึ้นจากการแปลงค่าดังกล่าวได้แสดงไว้เป็นรายการ “ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน” ในส่วนของผู้ถือหุ้น จ) ยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯ และบริษัทย่อย รายการค้าระหว่างกันที่มีสาระสำ�คัญได้ถูกตัดออกจากงบการเงินรวม นี้แล้ว ฉ) ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยคือ จำ�นวนกำ�ไรหรือขาดทุนและสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อยส่วนที่ไม่ได้เป็นของบริษัทฯ และแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในงบกำ�ไรขาดทุนรวมและส่วนของผู้ถือหุ้นในงบดุลรวม บริษัทฯ ได้จัดทำ�งบการเงินเฉพาะกิจการเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยแสดงเงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม ตามวิธีราคาทุน

3.

การประกาศใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่ ในระหว่างปีปัจจุบัน สภาวิชาชีพบัญชี ได้ออกมาตรฐานการบัญชีฉบับปรับปรุงและมาตรฐานการบัญชี ใหม่ตามรายละเอียด ข้างล่างนี้ ก) มาตรฐานการบัญชีที่มีผลบังคับใช้สำ�หรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 (เว้นแต่แม่บท การบัญชีซึ่งมีผลบังคับใช้ทันที) แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) การนำ�เสนองบการเงิน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) สินค้าคงเหลือ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2552) งบกระแสเงินสด มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2552) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2552) เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 11 (ปรับปรุง 2552) สัญญาก่อสร้าง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2552) สัญญาเช่า มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2552) รายได้ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 ผลประโยชน์ของพนักงาน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2552) ต้นทุนการกู้ยืม มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2552) การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 26 การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2552) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 28 (ปรับปรุง 2552) เงินลงทุนในบริษัทร่วม มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 การรายงานทางการเงินในสภาพเศรษฐกิจที่เงินเฟ้อรุนแรง มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2552) ส่วนได้เสียในการร่วมค้า มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2552) กำ�ไรต่อหุ้น มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 34 (ปรับปรุง 2552) งบการเงินระหว่างกาล มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2552) การด้อยค่าของสินทรัพย์ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 37 (ปรับปรุง 2552) ประมาณการหนีส้ นิ หนีส้ นิ ทีอ่ าจเกิดขึน้ และสินทรัพย์ทอี่ าจเกิดขึน้ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2552) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน

รายงานประจำ�ปี 2553

67


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

68

มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2552) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 2 การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 3 การรวมธุรกิจ (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 5 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำ�เนินงานที่ยกเลิก (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 6 การสำ�รวจและประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่ การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน สัญญาการก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ ฉบับที่ 15 ข) มาตรฐานการบัญชีที่มีผลบังคับใช้สำ�หรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 ภาษีเงินได้ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 20 (ปรับปรุง 2552) การบัญชีสำ�หรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2552) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ และบริษัทย่อยเชื่อว่ามาตรฐานการบัญชีข้างต้นจะไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำ�คัญต่องบการเงินสำ�หรับปีที่ เริ่มใช้มาตรฐานการบัญชีดังกล่าว ยกเว้น มาตรฐานการบัญชีดังต่อไปนี้ที่ฝ่ายบริหารคาดว่าจะมีผลกระทบต่องบการเงินในปีที่ นำ�มาตรฐานการบัญชีดังกล่าวมาถือปฏิบัติ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำ�หนดให้กิจการระบุผลแตกต่างชั่วคราวที่เกิดจากความแตกต่างของมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินระหว่าง เกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากร เพื่อรับรู้ผลกระทบทางภาษีเป็นสินทรัพย์หรือหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีตามหลักเกณฑ์ที่กำ�หนด ปัจจุบันฝ่ายบริหารของบริษัทฯ และบริษัทย่อยอยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบที่อาจมีต่องบการเงินในปีที่เริ่มนำ�มาตรฐานการบัญชี ฉบับนี้มาถือปฏิบัติ มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง รายได้ มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำ�หนดให้กิจการต้องรับรู้รายได้จากการขายสินค้าซึ่งรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ที่พัฒนาเพื่อขายเมื่อกิจการ ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่สำ�คัญให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯ และบริษัทย่อยสามารถเลือกรับรู้รายได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์ตามวิธีอัตราส่วนของงานที่ทำ�เสร็จได้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวในปี 2554 จะมีผลทำ�ให้กำ�ไรสะสม ยกมาต้นปีของงบการเงินรวมลดลงประมาณ 709 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 322 ล้านบาท) มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้กำ�หนดให้กิจการต้องรวมต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการได้มา การก่อสร้าง หรือการผลิตสินทรัพย์ ที่เข้าเงื่อนไขเป็นส่วนหนึ่งของราคาทุนของสินทรัพย์นั้น ซึ่งในปัจจุบันบริษัทฯ และบริษัทย่อยเลือกบันทึกต้นทุนการกู้ยืมเป็นค่าใช้จ่าย เมื่อเกิดรายการ การเปลี่ยนแปลงนโยบาย การบัญชีดังกล่าวจะเริ่มถือปฏิบัติกับต้นทุนการกู้ยืมที่เกิดในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

4.

นโยบายการบัญชีที่สำ�คัญ 4.1 การรับรู้รายได้ ก) รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์รับรู้เป็นรายได้ตามวิธีอัตราส่วนของงานที่ทำ�เสร็จ อัตราส่วนของงานที่ทำ�เสร็จ ประมาณโดยวิศวกร ทั้งนี้จะเริ่มรับรู้รายได้ดังกล่าวเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ครบถ้วนแล้ว เช่น ได้มีการทำ�สัญญาจะซื้อจะขายแล้ว และได้รับชำ�ระเงินขั้นต้นจากผู้ซื้ออย่างน้อยในอัตราร้อยละ 20 ของราคาขาย เป็นต้น ข) รายได้จากการขายน้ำ� รายได้จากการขายน้ำ�ประปาและน้ำ�ดิบ ซึ่งรวมอยู่ในรายได้ค่าสาธารณูปโภครับรู้เป็นรายได้เมื่อได้ส่งน้ำ�ให้กับลูกค้า ค) รายได้จากการบริการ รายได้จากการบริการประกอบด้วยค่าบริการบำ�บัดน้ำ�เสียและค่าบริการดูแลรักษาพื้นที่ส่วนกลางในนิคอุตสาหกรรม รับรู้เป็นรายได้เมื่อได้ให้บริการแล้วโดยพิจารณาถึงขั้นความสำ�เร็จของงาน ง) รายได้จากการให้เช่า รายได้จากค่าเช่าประกอบด้วยค่าเช่าที่ดิน ค่าเช่าพื้นที่อาคารสำ�นักงานและโรงงานอุตสาหกรรม รับรู้เป็นรายได้ ตามระยะเวลาของการให้เช่าและตามอัตราที่กำ�หนดไว้ในสัญญาเช่า จ) เงินปันผลรับ เงินปันผลรับถือเป็นรายได้เมื่อบริษัทฯ มีสิทธิในการรับเงินปันผล 4.2 ต้นทุนขายอสังหาริมทรัพย์ ในการคำ�นวณหาต้นทุนขายอสังหาริมทรัพย์ บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ทำ�การแบ่งสรรต้นทุนการพัฒนาทั้งหมดที่คาดว่าจะ เกิดขึ้น (โดยคำ�นึงถึงต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงด้วย) ให้กับที่ดินที่ขายได้ตามเกณฑ์พื้นที่ที่ขาย แล้วจึงรับรู้เป็นต้นทุนขายในงบ กำ�ไรขาดทุนตามอัตราส่วนของงานที่ทำ�เสร็จ 4.3 ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขาย ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขาย เช่น ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตาม สัดส่วนของการรับรู้รายได้ 4.4 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดหมายถึง เงินสดและเงินฝากธนาคาร และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งถึง กำ�หนดจ่ายคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ได้มาและไม่มีข้อจำ�กัดในการเบิกใช้ 4.5 ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้าแสดงมูลค่าตามจำ�นวนมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ บริษัทฯ และบริษัทย่อยบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำ�หรับ ผลขาดทุนโดยประมาณที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ ซึ่งโดยทั่วไปพิจารณาจากประสบการณ์การเก็บเงิน และการวิเคราะห์อายุหนี้ 4.6 ต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แสดงในราคาทุนเฉพาะเจาะจงหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำ�กว่า ราคา ทุนดังกล่าวหมายถึง ต้นทุนที่ดินและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 4.7 เงินลงทุน ก) เงินลงทุนในบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ในงบการเงินรวมแสดงมูลค่าตามวิธีส่วนได้เสีย ข) เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ในงบการเงินเฉพาะกิจการแสดงมูลค่าตามวิธีราคาทุน บริษัทฯ ใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำ�หนักในการคำ�นวณต้นทุนของเงินลงทุน

รายงานประจำ�ปี 2553

69


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

70

4.8 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และค่าเสื่อมราคา ที่ดินแสดงมูลค่าตามราคาทุน อาคารและอุปกรณ์แสดงมูลค่าตามราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์คำ�นวณจากราคาทุนของสินทรัพย์โดยใช้วิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณ ดังนี้ ส่วนปรับปรุงที่ดิน - 5, 20 ปี อาคาร - 5, 20, 50 ปี สถานีไฟฟ้าย่อย - 50 ปี เครื่องตกแต่งและอุปกรณ์ - 3 - 6 ปี ระบบสาธารณูปโภค - 5 - 20 ปี ยานพาหนะ - 5 ปี สินทรัพย์อื่น - 5 ปี ค่าเสื่อมราคารวมอยู่ในการคำ�นวณผลการดำ�เนินงาน ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาสำ�หรับที่ดินและงานระหว่างก่อสร้าง บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะตัดรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ออกจากบัญชีเมื่อจำ�หน่ายสินทรัพย์หรือคาดว่าจะไม่ได้รับ ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการใช้หรือการจำ�หน่ายสินทรัพย์ รายการผลกำ�ไรหรือขาดทุนจากการจำ�หน่าย สินทรัพย์ (ผลต่างระหว่างสิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับจากการจำ�หน่ายสินทรัพย์กับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น) จะรับรู้ ในงบกำ�ไรขาดทุนเมื่อบริษัทฯ และบริษัทย่อย ตัดรายการสินทรัพย์นั้นออกจากบัญชี 4.9 ที่ดินรอการพัฒนาในอนาคต ที่ดินรอการพัฒนาในอนาคตแสดงในราคาทุนเฉพาะเจาะจง หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำ�กว่า ราคาทุน ประกอบด้วยต้นทุนในการได้มาซึ่งที่ดิน 4.10 สิทธิในการใช้ที่ดินและต้นทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ สิทธิในการใช้ที่ดินและต้นทุนในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ดูหมายเหตุ 17) ตัดจำ�หน่ายเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรง ไปตลอดตามอายุของสิทธิการใช้ที่ดินที่ได้รับนั้น 4.11 รายการธุรกิจกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับบริษัทฯ หมายถึง บุคคลหรือกิจการที่มีอำ�นาจควบคุมบริษัทฯ หรือถูกควบคุมโดย บริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรืออยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันกับบริษัทฯ นอกจากนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันยังหมายรวมถึงบริษัทร่วมและบุคคลที่มีสิทธิออกเสียงโดยทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งทำ�ให้มีอิทธิพลอย่างเป็น สาระสำ�คัญต่อบริษัทฯ ผู้บริหารสำ�คัญ กรรมการหรือพนักงานของบริษัทฯ ที่มีอำ�นาจ ในการวางแผนและควบคุมการดำ�เนินงานของบริษัทฯ 4.12 เงินตราต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สิน ที่เป็นตัวเงินซึ่งอยู่ในสกุลเงินตราต่างประเทศได้แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ ในงบดุล กำ�ไรและขาดทุนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนรวมอยู่ในการคำ�นวณผลการดำ�เนินงาน 4.13 การด้อยค่าของสินทรัพย์ ทุกวันที่ ในงบดุล บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะทำ�การประเมินว่ามีข้อบ่งชี้ซึ่งแสดงว่าสินทรัพย์ของ บริษัทฯ และบริษัทย่อย ด้อยค่าลงหรือไม่ หากมีข้อบ่งชี้ของการด้อยค่า บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะทำ�การประมาณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของ สินทรัพย์ มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์หมายถึง มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายของสินทรัพย์หรือมูลค่า จากการใช้สินทรัพย์แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า และหากพบว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์นั้นมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่า จะได้รับคืน แสดงว่าสินทรัพย์ดังกล่าวเกิดการด้อยค่า บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะลดมูลค่าของสินทรัพย์ลงให้เท่ากับมูลค่า ที่คาดว่าจะได้รับคืนบริษัทฯ และบริษัทย่อยจะรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าในงบกำ�ไรขาดทุน


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

4.14 ผลประโยชน์พนักงาน บริษัทฯ และบริษัทย่อยรับรู้เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพเป็นค่า ใช้จ่ายเมื่อเกิดรายการ 4.15 ประมาณการหนี้สิน บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะบันทึกประมาณการหนี้สินไว้ในบัญชีเมื่อภาระผูกพันซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีตได้เกิด ขึ้นแล้ว และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าบริษัทฯ และบริษัทย่อยจะเสียทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจไปเพื่อปลดเปลื้อง ภาระผูกพันนั้น และบริษัทฯ และบริษัทย่อยสามารถประมาณมูลค่าภาระผูกพันนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ 4.16 ภาษีเงินได้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยบัน ทึกภาษีเงินได้ตามจำ�นวนที่คาดว่าจะจ่ายให้กับหน่วยงานจัดเก็บภาษีของรัฐ โดยคำ�นวณ จากกำ�ไรทางภาษีตามหลักเกณฑ์ที่กำ�หนดในกฎหมายภาษีอากร

5.

การใช้ดุลยพินิจและประมาณการทางบัญชีที่สำ�คัญ ในการจัดทำ�งบการเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ฝ่ายบริหารจำ�เป็นต้องใช้ดุลยพินิจและการประมาณการในเรื่องที่มี ความไม่แน่นอนเสมอ การใช้ดุลยพินิจและการประมาณการดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อจำ�นวนเงินที่แสดงในงบการเงินและต่อ ข้อมูลที่แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างไปจากจำ�นวนที่ประมาณการไว้ การใช้ดุลยพินิจและ การประมาณการที่สำ�คัญมีดังนี้ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และค่าเสื่อมราคา ในการคำ�นวณค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ ฝ่ายบริหารจำ�เป็นต้องทำ�การประมาณอายุการใช้งานและมูลค่าซากเมื่อเลิก ใช้งานของอาคารและอุปกรณ์ และต้องทบทวนอายุการใช้งานและมูลค่าซากใหม่หากมีการเปลี่ยนแปลงเช่นนั้นเกิดขึ้น นอกจากนี้ฝ่ายบริหารจำ�เป็นต้องสอบทานการด้อยค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์เป็นครั้งคราวและบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่า หากคาดว่าจำ�นวนที่จะได้รับคืนต่ำ�กว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ในการนี้ฝ่ายบริหารจำ�เป็นต้องใช้ดุลยพินิจที่เกี่ยวข้องกับ การพยากรณ์รายได้และค่าใช้จ่ายในอนาคตซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินทรัพย์นั้น

6.

รายการปรับปรุงปีก่อน ในอดีตบริษัทฯ บัน ทึกเงินลงทุนในบริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำ�กัด ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 14 เป็นเงินลงทุน ทั่วไป อย่างไรก็ตามในปีปัจจุบันฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าบริษัทฯ มีอิทธิพลในบริษัทดังกล่าวอย่างมีนัยสำ�คัญ เนื่องจากบริษัทฯ มีตัวแทนอยู่ในคณะกรรมการของบริษัทดังกล่าวและมีส่วนร่วมในการกำ�หนดนโยบายการดำ�เนินงานของบริษัท ดังกล่าวด้วย ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงได้ทำ�การเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าวจากเงินลงทุนทั่วไปเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วม ในการ เปลี่ยนแปลงประเภทของเงินลงทุนดังกล่าว บริษัทฯ ได้ปรับย้อนหลัง งบการเงินรวมปีก่อนที่นำ�มาแสดงเปรียบเทียบเสมือนว่า บริษัทฯ ได้ถือเงินลงทุนในบริษัทดังกล่าวเป็นเงินลงทุนในบริษัทร่วมมาโดยตลอด ผลกระทบจากการเปลี่ยนประเภทเงินลงทุนใน บริษัทดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังนี้

รายงานประจำ�ปี 2553

71


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

72

ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดประเภทรายการเงินลงทุนในงบการเงินเฉพาะกิจการใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงประเภท เงินลงทุนข้างต้น


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

7. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด

8. ลูกหนี้การค้า ยอดคงเหลือของลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 แยกตามอายุหนี้ที่คงค้างนับจากวันที่ถึงกำ�หนดชำ�ระ ได้ดังนี้

รายงานประจำ�ปี 2553

73


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

9. รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รายละเอียดความสัมพันธ์ที่บริษัทฯ มีกับบุคคลหรือกิจการที่มีอำ�นาจควบคุมบริษัทฯ หรือถูกควบคุมโดยบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็น โดยทางตรงหรือทางอ้อม หรืออยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันกับบริษัทฯ มีดังนี้

ชื่อกิจการ ลักษณะความสัมพันธ์ บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด บริษัทย่อยของบริษัทฯ บริษัท อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด บริษัทย่อยของบริษัทฯ Amata (Vietnam) Joint Stock Company บริษัทย่อยของบริษัทฯ บริษัท อมตะ วอเตอร์ จำ�กัด บริษัทย่อยของบริษัทฯ บริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำ�กัด บริษัทย่อยของบริษัทฯ Amata Hong Kong Limited บริษัทย่อยของบริษัทฯ บริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำ�กัด บริษัทร่วมของบริษัทฯ บริษัท อมตะ จัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติ จำ�กัด บริษัทร่วมของบริษัทฯ บริษัท เวีย โลจิสติกส์ จำ�กัด บริษัทร่วมของบริษัทฯ บริษัท โรงพยาบาลวิภาราม (อมตะนคร) จำ�กัด บริษัทร่วมของบริษัทฯ บริษัท อมตะ ดีเวลล็อปเม้นท์ จำ�กัด บริษัทร่วมของบริษัทฯ บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 1 จำ�กัด บริษัทย่อยของบริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำ�กัด บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 2 จำ�กัด บริษัทย่อยของบริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำ�กัด บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 3 จำ�กัด บริษัทย่อยของบริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำ�กัด และบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 10 Amata Power (Bien Hoa) Limited บริษัทย่อยของบริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำ�กัด และ Amata (Vietnam) Joint Stock Company ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 10 ในระหว่างปี บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายการธุรกิจที่สำ�คัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รายการธุรกิจดังกล่าวเป็นไปตาม เงื่อนไขทางการค้าและเกณฑ์ตามที่ตกลงกันระหว่างบริษัทฯ และบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันเหล่านั้น ซึ่งเป็นไปตามปกติ ธุรกิจโดยสามารถสรุปได้ดังนี้

74


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

รายงานประจำ�ปี 2553

75


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

76

ยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯ และบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 มีรายละเอียดดังนี้


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

ในระหว่างปี 2553 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทย่อยและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากบริษัทย่อยมีการเคลื่อนไหวต่อไปนี้

ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ในปี 2553 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินเดือน โบนัส ค่าเบี้ยประชุมและเงินบำ�เหน็จของกรรมการและผู้บริหาร เป็นจำ�นวน 49 ล้านบาท และเฉพาะของบริษัทฯ เป็นจำ�นวน 31 ล้านบาท (2552: 41 ล้านบาท และ 24 ล้านบาท ตามลำ�ดับ) ภาระค้ำ�ประกันกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทฯ มีภาระจากการค้ำ�ประกันให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกันตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 31.2 (1)

10. มูลค่างานที่เสร็จแต่ยังไม่ได้เรียกเก็บ/ค่างวดที่ยังไม่รับรู้เป็นรายได้ ยอดคงเหลือของมูลค่างานที่เสร็จแต่ยังไม่เรียกเก็บ/ค่างวดที่ยังไม่รับรู้เป็นรายได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 มีรายละเอียดดังนี้

รายงานประจำ�ปี 2553

77


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

11. ต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ยอดคงเหลือของต้นทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 มีรายละเอียดดังนี้

12. เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนในบริษัทย่อยตามที่แสดงอยู่ในงบการเงินเฉพาะกิจการมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

78

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด มีที่ดินส่วนหนึ่งจำ�นวน 51 ล้านบาท (2552 : 86 ล้านบาท) ซึ่งเป็นที่ดิน ที่อยู่ระหว่างรอการโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ขายที่ดินมาเป็นของบริษัทดังกล่าว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด ได้จดจำ�นองที่ดินของโครงการซึ่งมีมูลค่าสุทธิประมาณ 334 ล้านบาท (2552 : 402 ล้านบาท) เพื่อค้ำ�ประกันเงินกู้ยืมระยะยาวของตนตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 19


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

ในปี 2552 บริษัทฯ ได้ขายหุ้นของ Amata (Vietnam) Joint Stock Company จำ�นวนร้อยละ 32 ให้กับ Amata Hong Kong Limited และจำ�นวนร้อยละ 1 ให้กับบริษัท อมตะ วอเตอร์ จำ�กัด ในราคารวมทั้งสิ้น 237 ล้านบาท บริษัทฯ รับรู้กำ�ไรจาก การขายเงินลงทุนดังกล่าวเป็นจำ�นวนเงิน 95 ล้านบาทในงบกำ�ไรขาดทุนเฉพาะกิจการ เนื่องจากการโอนหุ้นดังกล่าวเป็นการโอน ให้กับบริษัทย่อย ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่องบกำ�ไรขาดทุนรวม

13. เงินลงทุนในบริษัทร่วม 13.1 รายละเอียดของบริษัทร่วม

รายงานประจำ�ปี 2553

79


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

80

เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ ครั้งที่ 6/2010 มีมติอนุมัติให้บริษัทฯ ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท อมตะ จัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติ จำ�กัด จากบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง เป็นจำ�นวน 1.6 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 105 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 168 ล้านบาท การซื้อหุ้นดังกล่าวนี้ทำ�ให้สัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ ในบริษัทดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 และทำ�ให้บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทร่วมของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ที่บริษัทฯ มีอิทธิพลอย่างมีสาระสำ�คัญในบริษัท ดังกล่าว ในระหว่างปีปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 3 จำ�กัด จำ�นวน 1,400,000 หุ้น ในราคา หุ้นละ 100 บาท รวมเป็นจำ�นวนเงิน 140 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าว 13.2 ส่วนแบ่งกำ�ไร/ขาดทุนและเงินปันผลรับ ในระหว่างปี บริษัทฯ รับรู้ส่วนแบ่งกำ�ไร/ขาดทุนจากการลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินรวมและรับรู้เงินปันผลรับจากบริษัทร่วม ดังกล่าวในงบการเงินเฉพาะกิจการดังนี้


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

13.3 ข้อมูลทางการเงินของบริษัทร่วม ข้อมูลทางการเงินตามที่แสดงอยู่ในงบการเงินของบริษัทร่วมโดยสรุปดังนี้

(ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา)

14. เงินลงทุนในบริษัทอื่น

ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 13 ภายหลังจากการซื้อหุ้นสามัญในบริษัท อมตะ จัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติ จำ�กัด ทำ�ให้บริษัทดังกล่าวเปลี่ยนสถานะจากบริษัทที่เกี่ยวข้องกันเป็นบริษัทร่วม รายงานประจำ�ปี 2553

81


82

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

15. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

รายงานประจำ�ปี 2553

83


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีอาคารและอุปกรณ์จำ�นวนหนึ่งซึ่งตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้วแต่ยังใช้งานอยู ่ มูลค่าตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์ดังกล่าวมีจำ�นวนเงินประมาณ 293 ล้านบาท และเฉพาะของบริษัทฯ : 122 ล้านบาท (2552: 164 ล้านบาท และ 89 ล้านบาท ตามลำ�ดับ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัท อมตะ ซัมมิต เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมูลค่าสุทธิตามบัญชีจำ�นวน ประมาณ 1,172 ล้านบาท (2552: 992 ล้านบาท) ซึ่งไปค้ำ�ประกันวงเงินสินเชื่อที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์

16.

ที่ดินรอการพัฒนาในอนาคต ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีที่ดินส่วนหนึ่งจำ�นวน 515 ล้านบาท และเฉพาะของบริษัทฯ จำ�นวน 371 ล้านบาท (2552: 397 ล้านบาท และ 300 ล้านบาท ตามลำ�ดับ) ซึ่งเป็นที่ดินที่อยู่ระหว่างรอการโอนกรรมสิทธิ์จากผู้ขาย ที่ดินมาเป็นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

17.

สิทธิในการใช้ที่ดินและต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Amata (Vietnam) Joint Stock Company ได้ทำ�สัญญากับรัฐบาลประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยได้รับสิทธิ ในการใช้ที่ดินเพื่อใช้ในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมซึ่งสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2587 สิทธิการใช้ที่ดินและต้นทุนการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ประกอบด้วย

18. เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน

84


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

19. เงินกู้ยืมระยะยาว ยอดคงเหลือเป็นเงินกู้ยืมระยะยาวที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้รับจากธนาคารประกอบด้วย

รายงานประจำ�ปี 2553

85


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

86

รายละเอียดของเงินกู้ยืมระยะยาวข้างต้น มีดังนี้ 19.1 เงินกู้วงเงิน 11 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำ�กัด ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อก่อสร้างอาคารที่พักขยะ เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 0.50 ต่อปี มีกำ�หนดชำ�ระดอกเบี้ย เป็นประจำ�ทุกเดือนและชำ�ระคืนเงินต้นเป็นประจำ�ทุกไตรมาสเป็นระยะเวลา 20 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 0.6 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนสิงหาคม 2554 ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำ�ประกันสำ�หรับเงินกู้ยืมดังกล่าว 19.2 เงินกู้วงเงิน 210 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัท อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด ได้รับจากธนาคารในประเทศ แห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.75 ต่อปีในช่วง 3 ปีแรก จากนั้นคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี มีกำ�หนดชำ�ระดอกเบี้ยเป็นประจำ�ทุกเดือนและชำ�ระ คืนเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นจำ�นวนงวดละ 7.5 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนมีนาคม 2557 19.3 เงินกู้วงเงิน 148 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัท อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด ได้รับจากธนาคารในประเทศ แห่งหนึ่งเพื่อใช้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.75 ต่อปี ในช่วง 3 ปีแรก จากนั้นคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี มีกำ�หนดชำ�ระดอกเบี้ยเป็นประจำ�ทุกเดือนและชำ�ระ คืนเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นจำ�นวนงวดละ 5.3 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2558 19.4 เงินกู้วงเงิน 252 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัท อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด ได้รับจากธนาคารในประเทศ แห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.75 ต่อปีในช่วง 3 ปีแรก จากนั้นคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี มีกำ�หนดชำ�ระดอกเบี้ยเป็นประจำ�ทุกเดือนและชำ�ระ คืนเงินต้น เป็นประจำ�ทุกไตรมาสเป็นจำ�นวนงวดละ 10.5 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 19.5 เงินกู้วงเงิน 395 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัท อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด ได้รับจากธนาคารในประเทศ แห่งหนึ่งเพื่อใช้ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.75 ต่อปี ในช่วง 3 ปีแรก จากนั้นคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี มีกำ�หนดชำ�ระดอกเบี้ยเป็นประจำ�ทุกเดือนและชำ�ระ คืนเงินต้น เป็นรายไตรมาสเป็นจำ�นวนงวดละ 14.1 - 14.3 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2560 19.6 เงินกู้วงเงิน 300 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเพื่อใช้ซื้อที่ดิน และใช้เป็นทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน และมีกำ�หนดชำ�ระเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 12 งวด ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2553 19.7 เงินกู้วงเงิน 500 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเพื่อใช้ซื้อที่ดิน และใช้เป็นทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.75 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน และมีกำ�หนดชำ�ระคืนเงินต้นเป็นประจำ�ทุกไตรมาสเป็นระยะเวลา 16 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 31.3 ล้านบาท ซึ่งจะ สิ้นสุดภายในเดือนมิถุนายน 2556 19.8 เงินกู้วงเงิน 390 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเพื่อใช้ซื้อที่ดิน และใช้เป็นทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน และมีกำ�หนดชำ�ระเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 14 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 21.8 - 43.5 ล้านบาท ซึ่งจะ สิ้นสุดภายในเดือนมิถุนายน 2556 19.9 เงินกู้วงเงิน 110 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเพื่อใช้ซื้อที่ดิน และใช้เป็นทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน และมีกำ�หนดชำ�ระเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 16 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 6.9 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายใน เดือนกุมภาพันธ์ 2557 19.10 เงินกู้วงเงิน 300 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อ ที่ดินและใช้เป็นทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.25 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุก กำ�หนดชำ�ระเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 10 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 30 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือน มกราคม 2556


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

19.11 19.12 19.13 19.14 19.15 19.16 19.17 19.18 19.19

เงินกู้วงเงิน 850 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเพื่อใช้ซื้อที่ดิน และใช้เป็นทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.75 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน และมีกำ�หนดชำ�ระเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 14 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 42.5 - 74.4 ล้านบาท ซึ่งจะ สิ้นสุดภายในเดือนมิถุนายน2558 เงินกู้วงเงิน 500 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนและมี กำ�หนดชำ�ระเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 20 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 25.0 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายใน เดือนมิถุนายน 2554 เงินกู้วงเงิน 100 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ�ประเภท 1 ปีบวกร้อยละ 2.75 ต่อปี ชำ�ระ ดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนและมีกำ�หนดชำ�ระเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 20 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 5 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนตุลาคม 2553 เงินกู้วงเงิน 500 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนและชำ�ระ คืนเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 16 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 31.3 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือน ธันวาคม 2554 เงินกู้วงเงิน 500 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรก จากนั้นคิดดอกเบี้ย ในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.5 ต่อปี หรือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ�ประเภท 3 เดือน บวกร้อยละ 2.00 ต่อปี ทั้งนี้ แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า มีกำ�หนดชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนและชำ�ระคืนเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 13 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 31.3 - 62.5 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนมิถุนายน 2554 เงินกู้วงเงิน 300 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนและมี กำ�หนดชำ�ระคืนเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 20 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 15.0 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายใน เดือนพฤษภาคม 2556 เงินกู้วงเงิน 500 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่งเพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.25 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนและมี กำ�หนดชำ�ระคืนเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 18 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 27.8 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายใน เดือนสิงหาคม 2556 เงินกู้วงเงิน 500 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนและมี กำ�หนดชำ�ระคืนเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 16 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 31.3 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายใน เดือนธันวาคม 2556 เงินกู้วงเงิน 500 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรก จากนั้นคิดดอกเบี้ย ในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ�ประเภท 3 เดือน บวกร้อยละ 2.00 ต่อปี ทั้งนี้ แล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า มีกำ�หนดชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนและชำ�ระคืนเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 14 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 31.3 - 62.5 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดือนพฤษภาคม 2556

รายงานประจำ�ปี 2553

87


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

19.20 19.21 19.22 19.23 19.24

20.

สำ�รองตามกฎหมาย ภายใต้บทบัญญัติของมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำ�กัด พ.ศ. 2535 บริษัทฯ ต้องจัดสรรกำ�ไรสุทธิประจำ�ปี ส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำ�รองไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำ�ไรสุทธิประจำ�ปีหักด้วยยอดขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำ�รองนี้ จะมีจำ�นวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุน จดทะเบียน สำ�รองตามกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถนำ�ไปจ่ายเงินปันผลได้

21. รายได้จากการให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดิน จำ�นวนนี้คือ รายได้จากการให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินแก่บริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ 3 จำ�กัด เพื่อสร้างระบบส่งและวางท่อ ตามแนวถนนในนิคมอุตสาหกรรมของบริษัทฯ โดยสิทธิดังกล่าวไม่มีกำ�หนดระยะเวลา

88

เงินกู้วงเงิน 200 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนและมี กำ�หนดชำ�ระคืนเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 20 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 10.0 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายใน เดือนพฤศจิกายน 2557 เงินกู้วงเงิน 500 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.75 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน และมี กำ�หนดชำ�ระเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 12 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 35.8 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายใน เดือนมิถุนายน 2556 เงินกู้วงเงิน 500 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน และมี กำ�หนดชำ�ระเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 10 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 33.4 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดภายใน เดือนตุลาคม 2555 เงินกู้วงเงิน 135 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อเงินลงทุนในบริษัท อมตะ จัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติ จำ�กัด เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.50 ต่อปี และมี กำ�หนดชำ�ระคืนเงินต้นเป็นรายปีเป็นระยะเวลา 5 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 27.0 ล้านบาท และต้องจ่ายชำ�ระคืนเงิน ต้นทั้งหมดภายในมิถุนายน 2558 เงินกู้วงเงิน 1,000 ล้านบาท เป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทฯ ได้รับจากธนาคารในประเทศแห่งหนึ่ง เพื่อใช้ซื้อที่ดินและใช้เป็น ทุนหมุนเวียน เงินกู้ยืมดังกล่าวคิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR ลบร้อยละ 1.75 ต่อปี ชำ�ระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนและมี กำ�หนดชำ�ระคืนเงินต้นเป็นรายไตรมาสเป็นระยะเวลา 16 งวด เป็นจำ�นวนงวดละ 37.5 - 87.5 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุด ภายในเดือนธันวาคม 2558 สัญญาเงินกูย้ มื ทีก่ ล่าวข้างต้นบางฉบับกำ�หนดให้บริษทั ฯ และบริษทั ย่อยต้องปฏิบตั ติ ามเงือ่ นไขทางการเงินบางประการ เช่น การดำ�รงอัตราส่วนหนีส้ นิ ต่อส่วนของผูถ้ อื หุน้ และอัตราส่วนความสามารถในการชำ�ระหนี้ ตราบเท่าทีเ่ งินกูย้ งั คงค้างชำ�ระอยู ่ รวมถึงบริษทั ฯ และบริษทั ย่อยจะไม่น�ำ ทีด่ นิ ในโครงการของบริษทั ฯ และบริษทั ย่อยไปจดจำ�นองหรือก่อภาระผูกพันในทรัพย์สนิ กับบุคคลอื่นตลอดอายุสัญญาเงินกู้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษทั ฯ และบริษทั ย่อยมีวงเงินกูย้ มื ระยะยาวตามสัญญาเงินกูท้ ยี่ งั มิได้เบิกใช้เป็นจำ�นวน 2,723 ล้านบาท (เฉพาะของบริษัทฯ : 2,005 ล้านบาท)


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

22. รายได้อื่น รายได้อ่นื ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้

23.

24. ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ รายการค่าใช้จ่ายตามลักษณะประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายที่สำ�คัญดังต่อไปนี้

ต้นทุนส่วนเพิ่มของงานขายอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 รองนายกรัฐมนตรีของประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้ออกประกาศให้ขึ้นอัตราค่าเช่า รายปีของที่ดินที่ได้ส่งมอบให้กับ Amata (Vietnam) Joint Stock Company ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2549 การปรับขี้นค่าเช่า ดังกล่าวมีผลทำ�ให้บริษัทดังกล่าวมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็นจำ�นวนรวม 106 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทดังกล่าวได้รับรู้รายได้จากการ ให้เช่าที่ดินดังกล่าวตามสัญญาเช่าทางการเงินไปครบถ้วนแล้ว บริษัทดังกล่าวจึงได้บันทึกรายการดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำ�นวน ในงบกำ�ไรขาดทุนในปี 2552

รายงานประจำ�ปี 2553

89


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

25.

การส่งเสริมการลงทุน บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) บริษัทฯ ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำ�หรับกิจการให้บริการเขตอุตสาหกรรม ที่ดินสำ�หรับ จัดสรรและปรับปรุงที่ดิน ภายใต้เงื่อนไขที่กำ�หนดบางประการ สิทธิพิเศษดังกล่าวรวมถึงการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำ�หรับกำ�ไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม โดยมีรายละเอียดของบัตรส่งเสริมการลงทุนดังนี้

บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด บริษัทย่อยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำ�หรับให้บริการเขตอุตสาหกรรม ที่ดินสำ�หรับจัดสรร และปรับปรุงที่ดิน ภายใต้เงื่อนไขที่กำ�หนดบางประการ สิทธิพิเศษดังกล่าวรวมถึงการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำ�หรับ กำ�ไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม โดยมีรายละเอียดของบัตรส่งเสริมการลงทุนดังนี้

90


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

บริษัท อมตะ วอเตอร์ จำ�กัด บริษัทย่อยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำ�หรับกิจการผลิตน้ำ�ประปาหรือน้ำ�เพื่ออุตสาหกรรม และการบำ�บัดน้ำ�เสีย ภายใต้เงื่อนไขที่กำ�หนดบางประการ สิทธิพิเศษดังกล่าวรวมถึงการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำ�หรับ กำ�ไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม โดยมีรายละเอียดของบัตรส่งเสริมการลงทุนดังนี้

บริษัท อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด บริษัทย่อยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำ�หรับกิจการพัฒนาพื้นที่สำ�หรับกิจการอุตสาหกรรม ภายใต้เงื่อนไขที่กำ�หนดบางประการ สิทธิพิเศษดังกล่าวรวมถึงการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำ�หรับกำ�ไรสุทธิที่ ได้จาก การประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม โดยมีรายละเอียดของบัตรส่งเสริมดังนี้

รายได้ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยสำ�หรับปีจำ�แนกตามกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

รายงานประจำ�ปี 2553

91


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

26.

27. กำ�ไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำ�ไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำ�นวณโดยหารกำ�ไรสุทธิสำ�หรับปีด้วยจำ�นวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำ�หนักของหุ้นสามัญที่ออกอยู่ในระหว่างปี

28.

92

รายการโอนกลับบัญชีภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนานิคมอุตสาหกรรมภายใต้บัตรส่งเสริมการลงทุนเลขที่ 1422(2)/2550 ภายใต้ บัตรส่งเสริมการลงทุนดังกล่าว บริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำ�หรับกำ�ไรสุทธิที่เกิดจากการประกอบกิจการซึ่งได้รับ การส่งเสริมรวมกันไม่เกินเงินลงทุนของโครงการ ในระหว่างปี 2550 ถึงปี 2551 บริษัทฯ พบว่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เกี่ยวเนื่อง กับโครงการดังกล่าวมีจำ�นวนเกินกว่ามูลค่าเงินลงทุนเป็นจำ�นวน 52 ล้านบาท ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้บันทึกจำ�นวนเงินดังกล่าวไว้ เป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย ในปีปัจจุบันจำ�นวนเงินดังกล่าวได้ลดลงจำ�นวน 28 ล้านบาท เนื่องจากมีการลงทุนเพิ่มเติม บริษัทฯ จึงได้โอนกลับรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่ายจำ�นวนดังกล่าวเข้าเป็นรายได้ในงบกำ�ไรขาดทุนในปีปัจจุบัน ในระหว่างปี 2547 ถึงปี 2551 Amata (Vietnam) Joint Stock Company มีข้อโต้แย้งกับหน่วยงานภาษีของรัฐบาลเวียดนามว่า บริษัทดังกล่าวควรเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 10 หรือร้อยละ 28 อย่างไรก็ตามเพื่อความระมัดระวัง บริษัทดังกล่าว จึงได้บันทึกผลต่างของภาษีเงินได้ระหว่างอัตราภาษีที่แตกต่างกัน นี้จำ�นวนประมาณ 226 ล้านบาท เป็น สำ�รองภาษีเงินได้ นิติบุคคลในงบการเงินในระหว่างปี 2552 หน่วยงานภาษีของรัฐบาลเวียดนามได้แจ้งว่าบริษัทดังกล่าวได้รับสิทธิในการเสียภาษี ในอัตราร้อยละ 10 แทนที่จะเป็นร้อยละ 28 ด้วยเหตุนี้บริษัทดังกล่าวจึงได้โอนกลับรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่ายจำ�นวน ดังกล่าวเข้าเป็นรายได้ในงบกำ�ไรขาดทุนในปี 2552

ข้อมูลทางการเงินจำ�แนกส่วนงาน บริษัทฯ และบริษัทย่อยดำ�เนินกิจการใน 3 ส่วนงานหลักคือ ส่วนงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ส่วนงานบริการสาธารณูปโภค และส่วนงานให้เช่าทรัพย์สิน และดำ�เนินธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ข้อมูลทางการเงินจำ�แนกตามส่วนงานของ บริษัทฯ และบริษัทย่อยสำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 มีดังต่อไปนี้


สวนงานทางธุรกิจ

ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

รายงานประจำ�ปี 2553

93


94

บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

29.

กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ บริษัทฯ บริษัทย่อยและพนักงานบริษัทฯ และบริษัทย่อยได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุน สำ�รองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 โดยบริษัทฯ และพนักงานจะจ่ายสมทบเข้ากองทุนเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 15 ของ เงินเดือน กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพนี้บริหารโดยบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม กสิกรไทย จำ�กัด และจะจ่ายให้แก่พนักงาน เมื่อพนักงานนั้นออกจากงานตามระเบียบว่าด้วยกองทุนของบริษัทฯ ในระหว่างปี 2553 บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้จ่ายเงินสมทบ กองทุนเป็นจำ�นวนเงิน 5 ล้านบาท และเฉพาะของบริษัทฯ : 3 ล้านบาท (2552 : 5 ล้านบาท และ 3 ล้านบาท ตามลำ�ดับ)

30. เงินปันผล เงินปันผลสำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 2552 ประกอบด้วย

31.

ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 31.1 ภาระผูกพันเกี่ยวกับสัญญาระยะยาว บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) บริษัทฯ มีภาระที่จะต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตามสัญญาร่วมดำ�เนินงาน โครงการนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยจะต้องจ่ายชำ�ระค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายตามสัญญาเป็นจำ�นวน 10,000 บาทต่อไร่ เงินกองทุนเพื่อบำ�รุงรักษาฯ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จำ�นวน 60 ล้านบาท (บริษัทฯ ได้ชำ�ระเงิน กองทุนดังกล่าวครบถ้วนแล้ว) และค่ากำ�กับการบริการตามพื้นที่โครงการไม่น้อยกว่าปีละประมาณ 2.6 ล้านบาท เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2548 บริษัทฯ ได้ทำ�สัญญาให้เช่าที่ดินและขายที่ดินกับบริษัท อมตะ สปริง ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำ�สนามกอล์ฟในนิคมอมตะนคร โดยมีเงื่อนไขที่สำ�คัญในสัญญาดังนี้ 1. บริษัทฯ ให้เช่าที่ดินรวม 274,653 ตารางวา (ประมาณ 687 ไร่) โดยบริษัทฯ คิดค่าเช่าปีละ 2 ล้านบาท เริ่มคิด ค่าเช่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 สัญญาเช่าที่ดินมีระยะเวลา 30 ปี และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาแล้ว ผู้เช่าสามารถ ต่อสัญญาตามเงื่อนไขเดิมได้อีก 30 ปี

�� รายงานประจำ�ปี 2553

95


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

31.2 การค�้ำประกัน (1) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัทฯ มีภาระค้ำ�ประกันวงเงินสินเชื่อต่อสถาบันการเงินให้กับบริษัทย่อยเป็นมูลค่ารวม ประมาณ 32 ล้านบาท (2552: 32 ล้านบาท) (2) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีหนังสือค้ำ�ประกันที่ออกโดยธนาคารในนามของบริษัทฯ และ บริษัทย่อยเหลืออยู่เป็นจำ�นวนเงินประมาณ 18 ล้านบาท และเฉพาะของบริษัทฯ : 2 ล้านบาท (2552: 17 ล้านบาท และ 2 ล้านบาท ตามลำ�ดับ) เพื่อค้ำ�ประกันการใช้ไฟฟ้าของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (3) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษทั ฯ และบริษทั ย่อยมีหนังสือค้�ำ ประกันทีอ่ อกโดยธนาคารให้กบั การนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทยเพื่อค้ำ�ประกันการปฏิบัติตามสัญญาร่วมดำ�เนินงานโครงการนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัด ชลบุรี และโครงการนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยองเป็นจำ�นวนเงินรวม 340 ล้านบาท และเฉพาะของ บริษัทฯ : 181 ล้านบาท (2552 : 484 ล้านบาท และ 252 ล้านบาท ตามลำ�ดับ)

96

2. บริษัทฯ จะขายที่ดินจำ�นวน 46,443 ตารางวา (ประมาณ 116 ไร่) ในราคาตารางวาละ 7,300 บาท โดยผู้ซื้อที่ดิน จะต้องจ่ายเงินมัดจำ�ค่าที่ดินจำ�นวน 30 ล้านบาท โดยจ่ายปีละไม่ต่ำ�กว่า 6 ล้านบาท ซึ่งจะต้องชำ�ระให้เสร็จสิ้น ภายใน 5 ปี และเมื่อบริษัทฯ โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแต่ละเฟสให้กับผู้ซื้อ และผู้ซื้อจะต้องจ่ายค่าที่ดินให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปี นับจากวันโอนที่ดิน Amata (Vietnam) Joint Stock Company บริษัทย่อยมีภาระที่จะต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้กับหน่วยงานราชการของรัฐบาลเวียดนาม โดยจะต้องจ่ายชำ�ระ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเช่าพื้นที่จำ�นวน 225.35 เฮคแทร์ในเฟส 1 - 2A และ 2B ในอัตรา 1,000 เหรียญสหรัฐ ต่อพื้นที่ 1 เฮคแทร์ ต่อปี เป็นระยะเวลา 35 ปี และพื้นที่ 33.35 เฮคแทร์ในเฟส 11B- 11D ต้องจ่ายในอัตรา 3,000 เหรียญ สหรัฐต่อพื้นที่ 1 เฮคแทร์ ต่อปี บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด บริษัทย่อยมีภาระที่จะต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตามสัญญาร่วมดำ�เนินงาน โครงการนิคมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง โดยจะต้องจ่ายชำ�ระค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขายตามสัญญาเป็นจำ�นวน 10,000 บาทต่อไร่ เงินกองทุนเพื่อบำ�รุงรักษาฯ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จำ�นวน 60 ล้านบาท (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 บริษัทย่อยได้ชำ�ระแล้วเป็นจำ�นวน 38 ล้านบาท) และค่ากำ�กับการบริการตามพื้นที่โครงการไม่น้อยกว่าปีละ ประมาณ 2.3 ล้านบาท บริษัท อมตะ วอเตอร์ จำ�กัด เพื่อประโยชน์ในการจัดหาน้ำ�ให้พอเพียงต่อความต้องการใช้น้ำ�ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครและนิคมอุตสาหกรรม อมตะซิตี้ บริษัทย่อยได้ทำ�สัญญาระยะยาวเพื่อซื้อน้ำ�ดิบและผลิตน้ำ�ประปากับบริษัทต่างๆ หลายสัญญา ในราคาและ ปริมาณการใช้น้ำ�ตามที่กำ�หนดในสัญญาทั้งนี้ราคาสามารถปรับเพิ่มได้ในอนาคตตามดัชนีราคาผู้บริโภค สัญญาเหล่านี้ จะสิ้นสุดในปี 2565 ถึงปี 2572 ในระหว่างปี 2551 บริษัทย่อยได้รับหนังสือขอเก็บเงินค่าน้ำ�ขั้นต่ำ�กว่าปริมาณรับประกันการซื้อน้ำ�ตามสัญญาจากคู่สัญญา รายหนึ่ง อันเนื่องมาจากการที่บริษัทย่อยไม่สามารถรับน้ำ�ตามเกณท์ขั้นต่ำ�ที่ตกลงไว้ในสัญญา โดยเรียกเก็บเงินค่าน้ำ� ชดเชยสำ�หรับปี 2549 เป็นจำ�นวนเงินประมาณ 14.3 ล้านบาทและสำ�หรับปี 2550 เป็นจำ�นวนเงินประมาณ 6.2 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารของบริษัทย่อยและที่ปรึกษาทางกฎหมายของบริษัทย่อยพิจารณาแล้วเห็นว่ากรณีดังกล่าว จะไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำ�คัญต่อผลการดำ�เนินกิจการหรือฐานะการเงินของบริษัทย่อย


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

32.

เครื่องมือทางการเงิน 32.1 นโยบายการบริหารความเสี่ยง เครื่องมือทางการเงินที่สำ�คัญของบริษัทฯ และบริษัทย่อยตามที่นิยามอยู่ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 107 “การแสดง รายการและการเปิดเผยข้อมูลสำ�หรับเครื่องมือทางการเงิน” ประกอบด้วยเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้ การค้า เงินให้กู้ยืม เงินลงทุน เงินกู้ยืมระยะสั้นและเงินกู้ยืมระยะยาว บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ เครื่องมือทางการเงินดังกล่าว และมีนโยบายในการบริหารความเสี่ยงดังนี้ ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับลูกหนี้การค้าและเงินให้กยู้ มื ฝ่ายบริหารควบคุม ความเสี่ยงนี้โดยการกำ�หนดให้มีนโยบายและวิธีการในการควบคุมสินเชื่อที่เหมาะสม ดังนั้นบริษัทฯ และบริษัทย่อย จึงไม่คาดว่าจะได้รับความเสียหายที่เป็น สาระสำ�คัญจากการให้สินเชื่อ นอกจากนี้ การให้สินเชื่อของบริษัทฯ และบริษัทย่อยไม่มีการกระจุกตัวเนื่องจากบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีฐานของลูกค้าที่หลากหลายและมีอยู่จำ�นวน มากราย จำ�นวนเงินสูงสุดที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยอาจต้องสูญเสียจากการให้สินเชื่อคือมูลค่าตามบัญชีของลูกหนี้ และเงินให้กู้ยืมที่แสดงอยู่ในงบดุล ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่สำ�คัญอันเกี่ยวเนื่องกับเงินฝากสถาบันการเงิน เงินเบิกเกิน บัญชี เงินให้กู้ยืม เงินกู้ยืมระยะสั้นและเงินกู้ยืมระยะยาวที่มีดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสินทรัพย์และหนี้สิน ทางการเงินส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นลงตามอัตราตลาด หรือมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งใกล้เคียงกับอัตรา ตลาดในปัจจุบัน ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจึงอยู่ในระดับต่ำ� ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับต่ำ� เนื่องจากธุรกรรมทางการเงินโดยส่วนใหญ่ ของบริษัทฯและบริษัทย่อยอยู่สกุลเงินของท้องถิ่นนั้น 32.2 มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินส่วนใหญ่ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจัดอยู่ ในประเภทระยะสั้น เงินให้กู้ยืม และเงินกู้ยืมมีอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด บริษัทฯ และบริษัทย่อยจึงประมาณมูลค่ายุติธรรมของ สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินใกล้เคียงกับมูลค่าตามบัญชีที่แสดงในงบดุล มูลค่ายุติธรรมหมายถึง จำ�นวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้ และ เต็มใจในการแลกเปลี่ยนและสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน วิธีการกำ�หนด มูลค่ายุติธรรมขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องมือทางการเงิน มูลค่ายุติธรรมจะกำ�หนดจากราคาตลาดล่าสุด หรือกำ�หนดขึ้น โดยใช้เกณฑ์การวัดมูลค่าที่เหมาะสม

33. การบริหารจัดการทุน

วัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการทุนที่สำ�คัญของบริษัทฯ คือการจัดให้มีซึ่งโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมและการดำ�รงไว้ซึ่ง ความสามารถในการดำ�เนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ตามงบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 กลุ่มบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 1.04:1 (2552: 1.15:1) และบริษัทฯ มีอัตราส่วนเท่ากับ 0.86:1 (2552: 0.99:1)

รายงานประจำ�ปี 2553

97


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

34.

35. การอนุมัติงบการเงิน งบการเงินนี้ได้รับการอนุมัติให้ออกโดยคณะกรรมการของบริษัทฯเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554

98

การจัดประเภทรายการในงบการเงิน บริษัทฯได้จัดประเภทรายการบัญชีบางรายการในงบการเงินสำ�หรับปี 2552 ใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดประเภทรายการ บัญชีในปีปัจจุบัน ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อกำ�ไรสุทธิหรือส่วนของผู้ถือหุ้น การจัดประเภทรายการใหม่ที่สำ�คัญมีดังต่อไปนี้ 1. สิทธิในการใช้ที่ดินและต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของ Amata (Vietnam) Joint Stock Company ซึ่งได้เคย แสดงไว้ภายใต้รายการ “ต้นทุนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์” และ “สิทธิในการใช้ที่ดิน” ในงบดุล ได้มีการจัดประเภทใหม่ ไว้ ภ ายใต้ ร ายการ “สิ ท ธิ ใ นการใช้ ที่ ดิ น และต้ น ทุ น การพั ฒ นาอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ ” เนื่ อ งจากที่ ดิ น ดั ง กล่ า วถื อไว้ เ พื่ อ วัตถุประสงค์ในการให้เช่าดำ�เนินงาน 2. เงินลงทุนในบริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำ�กัด ซึ่งได้เคยแสดงไว้ภายใต้รายการ “เงินลงทุนในบริษัทอื่น” ในงบดุล ได้มีการ จัดประเภทใหม่ไว้ภายใต้รายการ “เงินลงทุนในบริษัทร่วม” ตามเหตุผลที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 6


ระบบก�ำจัดน�้ำเสีย เราดำ�เนินงานภายใต้กฎการกำ�จัดของเสียโดย ไม่ปล่อยออกสู่ภายนอก (Zero-Discharge Waste Management) ด้วยการน�ำน�้ำเสียมาบ�ำบัดเพื่อน�ำกลับ มาใช้ใหม่ตามมาตรฐานสากล


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

แผนผังองค์กร คณะกรรมการบรษิทั เลขานกุารบรษิทั

คณะกรรมการสรรหา และกำหนดคาตอบแทน

คณะกรรมการบรหิาร

คณะกรรมการตรวจสอบ

ประธานเจาหนาทบ่ีรหิาร

ฝายตรวจสอบภายใน สำนกัเลขานกุาร

ประธานเจาหนาทป่ีฏบิตักิาร

ประธานเจาหนาทก่ีารเงนิ

ประธานเจาหนาท่ี พฒ ั นาธรุกจิ

ประธานเจาหนาท่ี นกัลงทนุสมัพนัธ

ฝายการตลาดและการขาย

ฝายบญ ั ชแีละการเงนิ

ฝายธรุกจิอตุสาหกรรม

ฝายบรหิารการลงทนุ

ฝายประชาสมัพนัธ

ฝายธรุกจิพาณชิยกรรม

ฝายทด่ีนิ และประสานงานราชการ

ฝายธรุกจิการศกึษา

ฝายวศิวกรรม

ฝายสงเสรมิธรุกจิ

ฝายกฎหมาย ฝายทรพัยากรบคุคล และธรุการ ฝายเทคโนโลยี และสารสนเทศ

100


ประวัติผู้บริหาร นางสมหะทัย พานิชชีวะ

ตำ�แหน่งในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » ประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ การศึกษา » ปริญญาโท คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ » 45 ปี ตำ�แหน่งอื่น » ประธานกรรมการ Amata Hong Kong Ltd. » กรรมการ Amata (Vietnam) Joint Stock Company » กรรมการ บริษัท อมตะ โฮลดิ้ง จำ�กัด » กรรมการ บริษัท ชีวาทัย จำ�กัด » กรรมการ มูลนิธิ อมตะ ระยะเวลาการทำ�งานในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » 6 ปี

นางสาวทรงโฉม ตั้งนวพันธ์

ตำ�แหน่งในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » ผู้อำ�นวยการฝ่ายการตลาดและการขาย การศึกษา » ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ (ภาษาอังกฤษ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อายุ » 49 ปี ตำ�แหน่งอื่น » ไม่มี ระยะเวลาการทำ�งานในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » 21 ปี

นายชัยรัตน์ สุวรรณวิจารณ์

ตำ�แหน่งใน บริษัท อมตะคอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » ผู้อำ�นวยการฝ่ายที่ดินและประสานงานราชการ การศึกษา » ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง อายุ » 49 ปี ตำ�แหน่งอื่น » ไม่มี ระยะเวลาการทำ�งานในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » 22 ปี

101


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

นายภราดร สรงสุวรรณ

ตำ�แหน่งใน บริษัท อมตะคอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » ผู้อำ�นวยการฝ่ายวิศวกรรม การศึกษา » ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อายุ » 56 ปี ตำ�แหน่งอื่น » กรรมการ บริษัท อมตะ วอเตอร์ จำ�กัด » กรรมการ บริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำ�กัด » กรรมการ บริษัท ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด ระยะเวลาการทำ�งานในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » 18 ปี

นายชัยชนะ ชาญพัฒนนันท์

ตำ�แหน่งใน บริษัท อมตะคอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคลและธุรการ การศึกษา » ปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ » 38 ปี ตำ�แหน่งอื่น » ไม่มี ระยะเวลาการทำ�งานในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » 8 ปี

นายกำ�จร วรวงศากุล

ตำ�แหน่งใน บริษัท อมตะคอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » ผู้อำ�นวยการฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษา » ปริญญาโท สาขาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อายุ » 55 ปี ตำ�แหน่งอื่น » ไม่มี ระยะเวลาการทำ�งานในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » 22 ปี

102


นางสาวเด่นดาว โกมลเมศ

ตำ�แหน่งในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » ผู้อำ�นวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน การศึกษา » ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจและการจัดการ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) อายุ » 49 ปี ตำ�แหน่งอื่น » กรรมการ บริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำ�กัด » กรรมการ บริษัท อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด » Inspection Committee, Amata (Vietnam) Joint Stock Company ระยะเวลาการทำ�งานในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » 20 ปี

นายยาซูโอะ ซึซึอิ

ตำ�แหน่งในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » ผู้จัดการการตลาด การศึกษา » ปริญญาตรี สาขาภาษาอังกฤษ Kansai Gaidai University, Japan อายุ » 39 ปี ตำ�แหน่งอื่น » ไม่มี ระยะเวลาการทำ�งานในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » 12 ปี

นายชูชาติ สายถิ่น

ตำ�แหน่งใน บริษัท อมตะ วอเตอร์ จำ�กัด » กรรมการผู้จัดการ การศึกษา » ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา » ปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ » Director Certification Program (DCP), Thai Institute of Director (IOD.) » Company Secretary Program (CSP.), Thai Institute of Director (IOD.) » Financial Demystify for Director (IOD) อายุ » 49 ปี ตำ�แหน่งอื่น » กรรมการ บริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำ�กัด ระยะเวลาการทำ�งานในบริษัท อมตะ วอเตอร์ จำ�กัด » 9 ปี

103


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

นายอัครเรศร์ ชูช่วย

ตำ�แหน่งในบริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำ�กัด » กรรมการผู้จัดการ การศึกษา » ปริญญาโท สาขาการบริหารธุรกิจและการจัดการ Southwest Missouri State University U.S.A. » ปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อายุ » 43 ปี ตำ�แหน่งอื่น » กรรมการ บริษัท อมตะ จัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติ จำ�กัด ระยะเวลาการทำ�งานใน กลุ่มอมตะ » 11 ปี

นางสาวจันจิรา แย้มยิ้ม

ตำ�แหน่งในบริษัท อมตะ ซัมมิท เรดี้บิลท์ จำ�กัด » กรรมการผู้จัดการ การศึกษา » ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจและการจัดการ, Boston University, U.S.A. อายุ » 43 ปี ตำ�แหน่งอื่น » ไม่มี ระยะเวลาการทำ�งานในบริษัท อมตะซัมมิต เรดี้บิลท์ จำ�กัด » 6 ปี

นางวราภรณ์ วัชรานุเคราะห์

104

ตำ�แหน่งในบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » เลขานุการบริษัท » เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ » เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน » ผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหารการลงทุน การศึกษา » ปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อายุ » 52 ปี การเข้ารับการอบรบจากสมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) » Company Secretary Program เมื่อ 2546 » Effective Minute Taking เมื่อ 2549 ตำ�แหน่งอื่น » กรรมการ Amata (Vietnam) Joint Stock Company » กรรมการบริษัท เวียโลจิสติกส์ จำ�กัด » กรรมการบริษัท อมตะ ดีเวลลอปเม้นต์ จำ�กัด » กรรมการบริษัท อมตะ แมนชั่น เซอร์วิส จำ�กัด ระยะเวลาการทำ�งานใน บริษัท อมตะคอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) » 21 ปี


ด้านสิ่งแวดล้อม เราตระหนักถึงความสำ�คัญของ ทรัพยากรธรรมชาติ และผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม ด้วยนโยบายทีม่ งุ่ สร้างพืน้ ที่ สีเขียวเพือ่ รักษาสมดุลธรรมชาติให้กบั ชุมชน จนได้รบั การ รับรองคุณภาพ ISO 14001


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

โครงสร้างบริษัท ข้อมูลทั่วไป ธุรกิจหลักของบริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อยของอมตะ คือ การพัฒนาที่ดิน พร้อมระบบ สาธารณูปโภคทีจ่ ำ�เป็นตามมาตรฐานและระเบียบของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และให้ความสำ�คัญต่อการเป็นเมืองอุตสาหกรรม ที่สมบูรณ์แบบ โดยเน้นการบริการแก่ลูกค้าในนิคมฯ ของบริษัท และบริษัทย่อยเป็น หลัก ธุรกิจของอมตะแบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม กลุ่มสาธารณูปโภค กลุ่มให้บริการ และอื่นๆ

บมจ. อมตะ คอรปอเรชัน 6 มีนาคม 2532 83.67% บจก. อมตะ ซิตี้ 5 มิถุนายน 2538 30%

Amata (Vietnam) Joint Stock Co. 31 ธันวาคม 2537

13.77%

บจก. อมตะ เพาเวอร 2 มีนาคม 2538

10%

บจก. อมตะ วอเตอร 5 มีนาคม 2542

20%

บจก. อมตะจัดจำหนายกาซธรรมชาติ 27 พฤศจิกายน 2544

91%

บจก. อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอรวิส 27 พฤศจิกายน 2545

43.49% บจก. อมตะ ดีเวลลอปเมนท 15 มิถุนายน 2533 49%

บจก. อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลท 15 ธันวาคม 2547

21%

บจก. เวียโลจิสติกส 27 ธันวาคม 2547

100%

106

บจก. อมตะ เพาเวอร (เบียนหัว) 30 มีนาคม 2550

1%

Amata (Vietnam) Joint Stock Co. 31 ธันวาคม 2537

29.10%

บจก. อมตะ แมนชั่น เซอรวิส 15 พฤศจิกายน 2534

31.88%

Amata (Vietnam) Joint Stock Co. 31 ธันวาคม 2537

บจก. อมตะ บี.กริม เพาเวอร 3 12 มกราคม 2553

100%

21.25%

10%

บจก. โรงพยาบาล วิภาราม (อมตะนคร) 27 กันยายน 2548 Amata Hong Kong Ltd. 28 พฤษภาคม 2551

นิคมอุตสาหกรรม

สาธารณูปโภค

ใหบริการ

อื่นๆ


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

การถือหุ้นของผู้บริหาร จำ�นวนหุ้นซึ่งถือโดยผู้บริหารในปี 2553 การถือหุ้น ชื่อ-นามสกุล

ตำ�แหน่ง

ณ 31 ธ.ค. 2553 % จำ�นวน การถือหุ้น

1. ดร. วิษณุ เครืองาม ประธานกรรมการ - 2. นายเคอิตะ อิชิอิ รองประธานกรรมการ - 3. นายวิกรม กรมดิษฐ์ กรรมการ, ประธานกรรมการบริหาร 263,700,000 และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 4. พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา กรรมการ - 5. นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ กรรมการ, กรรมการบริหาร - 6. นายดุสิต นนทะนาคร กรรมการ, กรรมการสรรหา - และกำ�หนดค่าตอบแทน 7. นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่ 350,000 ปฏิบัติการ 8. นายอนุชา สิหนาทกถากุล กรรมการ 5,534,000 และประธานกรรมการตรวจสอบ 9. นายนพพันธป์ เมืองโคตร กรรมการ, กรรมการตรวจสอบ, - ประธาน กรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน 10. รศ.ดร. สมเจตน์ ทิณพงษ์ กรรมการ, กรรมการตรวจสอบ - และกรรมการสรรหา และกำ�หนดค่าตอบแทน 11. นางสมหะทัย พานิชชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ 140,000 12. นางสาวทรงโฉม ตั้งนวพันธ์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายการตลาด - และการขาย 13. นายชัยรัตน์ สุวรรณวิจารณ์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายที่ดิน - และประสานงานราชการ 14. นายภราดร สรงสุวรรณ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายวิศวกรรม - 15. นายก�ำจร วรวงศากุล ผู้อ�ำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี 61,000 และสารสนเทศ 16. นางวราภรณ์ วัชรานุเคราะห์ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายบริหารการลงทุน 232,840 17. นางสาวเด่นดาว โกมลเมศ ผู้อ�ำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน -

ณ 31 ธ.ค. 2552 % จำ�นวน การถือหุ้น

- - - - 24.7142 260,000,000 - - -

เพิ่ม (+) ลด (-)

- - 24.3674 3,700,000

- - -

- - -

-

0.0328 250,000

0.0234

100,000

0.5187 5,534,000

0.5187

-

-

-

-

-

-

-

-

-

0.0131 140,000 - -

0.0131 -

-

-

-

-

-

- 0.0057

- 60,000

- 0.0056

1,000

0.0218 232,840 - -

0.0218 -

-

รายงานประจำ�ปี 2553

107


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

รายชื่อกรรมการของบริษัทย่อย รายชื่อกรรมการ นายอาสา สารสิน พล.ต.อ. ชวลิต ยอดมณี นายวิกรม กรมดิษฐ์ พลเอกยุทธศักดิ์ ศศิประภา นายฮาราลด์ ลิงค์ นายอนุชา สิหนาทกถากุล นายจักก์ชัย พานิชพัฒน์ นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ นางสมหะทัย พานิชชีวะ นายภราดร สรงสุวรรณ นายกมลชัย ภัทโรดม นายธนภัทร ศรกุล นางวราภรณ์ วัชรานุเคราะห์ นายชูชาติ สายถิ่น นางสาวจันจิรา แย้มยิ้ม นางสาวกานติมา เจริญไชยประเสริฐ นางสาวเด่นดาว โกมลเมศ นายอัคร์เรศน์ ชูช่วย นายชูทอง พัฒนะเมลือง นายสันติ พัฒนะเมลือง นายทวีฉัตร จุฬางกูร นายกรกฤช จุฬางกูร Mr. Chu Thanh Son Mr. Huynh Ngoc Phien Mrs. Pham Thi Thanh Huong Mr. Nguyen Minh Huy หมายเหตุ X = ประธานกรรมการ / = กรรมการ // = กรรมการบริหาร

108

บจก. อมตะซิตี้ X /, // /, // / / /, // /, //

Amata (Vietnam) Joint Stock Company

บริษัทย่อย บจก. บจก. อมตะ อมตะ วอเตอร์ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส

/

X

/ X / / / / / / /

/ X / / / /

/ / /

/ /

/ / /

Amata Hong Kong Ltd.

บจก. อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลท์

/ / / X

/

/ / /

X / / /

/


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

ข้อมูลบริษัท บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สำ�นักงานใหญ่ โทรศัพท์ โทรสาร โฮมเพจ อีเมล์ ผู้บริหาร สำ�นักงานโครงการ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ ผู้บริหาร

: พัฒนานิคมอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง : 6 มีนาคม 2532 : 0107537002761 : หุ้นสามัญ 1,067,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท : 2126 อาคารกรมดิษฐ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กทม. 10310 : (02) 792 0000, (038) 213 007 : (02) 318 1096, (038) 213 700 : www.amata.com : viboon@amata.com : นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ (กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ) : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700 หมู่ที่ 1 ตำ�บลคลองตำ�หรุ อำ�เภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 : (038) 213 007 : (038) 213 700 : tsutsui@amata.com : นายยาซูโอะ ซูซุย (ผู้จัดการการตลาด)

นิติบุคคลที่บริษัทถือหุ้นอย่างน้อย 10% 1. บริษัท อมตะ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่ โทรศัพท์ โทรสาร ผู้บริหาร

: ขายและให้เช่าอพาร์ทเมนท์ขนาด 198 ห้อง ในนิคมฯอมตะนคร : 15 มิถุนายน 2533 : 0105533068758 : หุ้นสามัญ 68,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท : 43.49 % : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700/1000 หมู่ 1 ตำ�บลคลองตำ�หรุ อำ�เภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 : (038) 213 331-5 : (038) 213 143 : นายก้องเดช สงวนสัตย์ (รองผู้จัดการทั่วไป)

2. บริษัท อมตะ แมนชั่นเซอร์วิส จำ�กัด ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่

: ดูแลทรัพย์สินส่วนกลางของอมตะ แมนชั่นและบริการต่างๆ ในนิคมฯอมตะนคร : 15 พฤศจิกายน 2534 : 0105534108753 : หุ้นสามัญ 100,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท : 12.66 % (ทางอ้อม) : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700/1001 หมู่ 1 ตำ�บลคลองตำ�หรุ อำ�เภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 รายงานประจำ�ปี 2553

109


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

โทรศัพท์ โทรสาร ผู้บริหาร

: (038) 213 331-5 : (038) 213 143 : นายก้องเดช สงวนสัตย์ (รองผู้จัดการทั่วไป)

3. Amata (Vietnam) Joint Stock Company ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ สำ�นักงานโครงการ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ ผู้บริหาร

: การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมเพื่อให้เช่า : 31 ธันวาคม 2537 : 1100/GP และ 472033000132 : 20,400,000 เหรียญสหรัฐฯ : 62.88% (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) : 165 Nguyen Van Troi, Phu Nhuan District, Ho Chi Minh City, Vietnam : (84) 8 3845 0007, (84) 8 3844 3709 : (84) 8 3844 3713 : amatavn@hcm.vnn.vn; van@amata.com.vn : Long Binh Ward, Bien Hoa City, Dong Nai Province, Vietnam : (84) 61 3991 007 : (84) 61 3891 251 : phien@amata.com.vn; president@amata.com.vn : Dr. Huynh Ngoc Phien (President and CEO)

4. บริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำ�กัด ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ ผู้บริหาร

5. บริษัท อมตะซิตี้ จำ�กัด

ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่

110

: การผลิตกระแสไฟฟ้าและไอน�้ำเพื่อการขาย : 2 มีนาคม 2538 : 0105538027863 : หุ้นสามัญ 17,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท : 13.77 % : 88 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 : (02) 379 4246, 710 3400 : (02) 379 4245, 379 4251 : preeyanart.s@amatabgrimmpower.com : นางปรียนาถ สุนทรวาทะ (ประธานกรรมการ / กรรมการผู้จัดการ) : พัฒนานิคมอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง : 5 มิถุนายน 2538 : 0105538066591 : หุ้นสามัญ 4,500,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท : 83.67 % : 2126 อาคารกรมดิษฐ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กทม. 10310


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

โทรศัพท์ โทรสาร สำ�นักงานโครงการ ที่ตั้งโครงการ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ ผู้บริหาร

: (02) 792 0000 : (02) 318 1096 : นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ 7 หมู่ที่ 3 ตำ�บลบ่อวิน อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 : ทางหลวง 331 กม. 95 ตำ�บลมาบยางพร อำ�เภอปลวกแดง จังหวัดระยอง : (038) 346 007 : (038) 345 771 : viboon@amata.com : นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ (กรรมการ)

6. บริษัท อมตะ วอเตอร์ จำ�กัด ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ ผู้บริหาร

: ผลิตและจำ�หน่ายน้ำ�เพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม บริโภค และอุปโภค : 5 มีนาคม 2542 : 0105542016421 : หุ้นสามัญ 800,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท : 100 % : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700/2 หมู่ 1 ตำ�บลคลองตำ�หรุ อำ�เภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 : (038) 213 213 : (038) 214 214 : chuchat@amata.com : นายชูชาติ สายถิ่น (กรรมการผู้จัดการ)

7. บริษัท อมตะ จัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติ จำ�กัด ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ ผู้บริหาร

: จัดจำ�หน่ายก๊าซธรรมชาติ : 27 พฤศจิกายน 2544 : 0105544114560 : หุ้นสามัญ 16,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท : 20 % : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700/2 หมู่ 1 ถนนบางนา-ตราด ตำ�บลคลองตำ�หรุ อำ�เภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 : (038) 214 199, 458 601-2 : (038) 214 255 : sales@amatangd.com : นายพัฒนะ น้อมจิตเจียม (ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม)

รายงานประจำ�ปี 2553

111


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

8. บริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำ�กัด

ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ ผู้บริหาร

9. บริษัท อมตะ ซัมมิท เรดดี้ บิลท์ จำ�กัด ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ ผู้บริหาร

: ให้บริการดูแลพื้นที่ส่วนกลาง : 29 พฤศจิการยน 2545 : 0205545012590 : หุ้นสามัญ 150,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท : 91 % : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700/2 หมู่ 1 ตำ�บลคลองตำ�หรุ อำ�เภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 : (038) 215 007-9 : (038) 215 006 : aukkares@amata.com : นายอัครเรศน์ ชูช่วย (กรรมการผู้จัดการ) : บริการให้เช่าอาคารโรงงานสำ�เร็จรูป : 15 ธันวาคม 2547 : 0205547025176 : หุ้นสามัญ 3,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท : 49 % : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700 หมู่ 1 ตำ�บลคลองตำ�หรุ อำ�เภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 : (038) 213 007 : (038) 457 000 : janjira@amata.com : นางสาวจันจิรา แย้มยิ้ม (กรรมการผู้จัดการ)

10. บริษัท เวีย โลจิสติกส์ จำ�กัด ประเภทของกิจการ : ให้บริการคลังสินค้า และขนส่งสินค้า วันที่จดทะเบียนบริษัท : 27 ธันวาคม 2547 เลขที่จดทะเบียนบริษัท : 0205547025907 ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว : หุ้นสามัญ 1,714,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 83 บาท สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) : 21 % สำ�นักงานใหญ่ : นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700/616 หมู่ 4 ตำ�บลบ้านเก่า อำ�เภอพานทอง จังหวัดชลบุรี 20160 โทรศัพท์ : (038) 210 228-230 โทรสาร : (038) 210 245 อีเมล์ : tamura-h@vialogi.com ผู้บริหาร : นายฮิเดกิ ทามูระ (กรรมการผู้จัดการ)

112


ยืนหยัด... ใต้ฟ้าหลังฝน

11. บริษัท โรงพยาบาล วิภาราม (อมตะนคร) จำ�กัด ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ ผู้บริหาร

: ให้บริการรักษาคนไข้และผู้เจ็บป่วย : 27 กันยายน 2548 : 0205548026371 : หุ้นสามัญ 10,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท : 21.25 % : อาคารกรมดิษฐ์ พาร์ค นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700/2 หมู่ 1 ตำ�บลคลองตำ�หรุ อำ�เภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 : (038) 468 900-903 : (038) 468 904 : : นพ. ไพบูลย์ เอกแสงศรี (กรรมการผู้จัดการ)

12. Amata Hong Kong Ltd. ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ ผู้บริหาร

: โฮลดิ้ง : 28 พฤษภาคม 2551 : 1242011 : หุ้นสามัญ 1,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 เหรียญฮ่องกง : 100 % : 16th - 19th Floor, Prince’s Building, 10 Chater Road, Central, Hong Kong : (02) 792 0000 : (02) 318 1096 : somhatai@amata.com : นางสมหะทัย พานิชชีวะ (ประธานกรรมการ)

13. บริษัท อมตะ บี กริม เพาเวอร์ 3 จำ�กัด ประเภทของกิจการ วันที่จดทะเบียนบริษัท เลขที่จดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียนที่ออกและเรียกชำ�ระแล้ว สัดส่วนการถือหุ้นโดย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) สำ�นักงานใหญ่ โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ ผู้บริหาร

: การผลิตกระแสไฟฟ้าและไอน�้ำ : 12 มกราคม 2553 : 0105553004461 : หุ้นสามัญ 14,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท : 10 % : 88 ถนนกรุงเทพกรีฑา แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพ 10240 : (02) 379 4246, (02) 710 3400 : (02) 379 4245, (02) 379 4251 : preeyanart.s@amatabgrimmpower.com : นางปรียนาถ สุนทรวาทะ (ประธานกรรมการ / กรรมการผู้จัดการ)

รายงานประจำ�ปี 2553

113


บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน)

บุคคลอ้างอิงอื่นๆ นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำ�กัด ที่อยู่ โทรศัพท์ โทรสาร

: อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชั้น 4 และชั้น 7 62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม. 10110 ประเทศไทย : (02) 229 2800 : (02) 654 5599

ผู้สอบบัญชี นายณรงค์ พันตาวงษ์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ ชื่อบริษัท ที่อยู่ โทรศัพท์ โทรสาร

: 3315 : บริษัท สำ�นักงาน เอินส์ท แอนด์ ยัง จำ�กัด : ชั้น 33 อาคารเลครัชดา 193/136-137 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 : (02) 264 0777, (02) 661 9190 : (02) 264 0789-90, (02) 661 9192

ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บิสซิเนส ลอว์เยอร์ส จำ�กัด ที่อยู่ โทรศัพท์ โทรสาร

114

: 33/118-119 อาคารวอลล์สตรีททาวเวอร์ ชั้น 23 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุรวงศ์ เขตบางรัก กทม. 10500 ประเทศไทย : (02) 233 1001, (02) 233 1008 : (02) 236 6100


บร� ษ ั ท อมตะ คอร ป อเรชั น จำกั ด (มหาชน) ● รายงานประจำป 2553

ยืนหยัด ใตฟาหลังฝน….

ยืนหยัด ใตฟาหลังฝน….

255 รายงานประจำป

บร�ษัท อมตะ คอรปอเรชัน จำกัด (มหาชน)

ประเทศไทย บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำ�กัด (มหาชน) นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 700 หมู่ที่ 1 ตำ�บลคลองตำ�หรุ อำ�เภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000 โทรศัพท์ : +66 38 213 007 โทรสาร : +66 38 213 700

VIETNAM บริษัท อมตะ ซิตี้ จำ�กัด นิคมอุตสาหกรรมอมตะ ซิตี้ 7 หมู่ที่ 3 ตำ�บลบ่อวิน อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230 โทรศัพท์ : +66 38 346 007 โทรสาร : +66 38 345 771

สำ�นักงานใหญ่ 2126 อาคารกรมดิษฐ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กทม. 10310 โทรศัพท์ : +66 2 792 0000 โทรสาร : +66 2 318 1096

Amata (Vietnam) Joint Stock Co. Long Binh Ward, Bien Hoa City, Dong Nai Province, Vietnam Tel : (84) 61 3991 007 Fax : (84) 61 3891 251


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.