BA: รายงานประจำปี 2558

Page 1



Fly Boutique. Feel Unique.

2


สารบัญ สารจากประธานกรรมการบริษัทฯ สารจากประธานคณะผู้บริหาร ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางการเงินโดยสรุป โครงสร้างองค์กรและคณะกรรมการ นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ ลักษณะการประกอบธุรกิจ ปัจจัยความเสี่ยง โครงสร้างการจัดการ โครงสร้างเงินลงทุน การกำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคม การควบคุมภายในและบริหารจัดการความเสี่ยง รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ รายการระหว่างกัน คำอธิบายผลการดำเนินงานและการวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน รายงานของผู้สอบบัญชี งบการเงิน สาขา

04 05 07 08 09 16 25 55 70 94 96 111 117 121 124 143 170 171 252

3


สารจากประธานกรรมการบริษัทฯ

พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ประธานกรรมการบริษัท

ท่ามกลางการแข่งขันของอุตสาหกรรมการบินที่เพิ่มสูงขึ้น สายการบินต่างปรับตัวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเน้นจุดขายด้าน การให้บริการ ในขณะเดียวกันก็เพิ่มทางเลือกในด้านราคา และความ สะดวกสบายของช่องทางการจัดจำหน่ายให้มีหลากหลายขึ้น กลยุทธ์ ทางด้านราคานี้เองเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้โดยสารเดินทางทางอากาศ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ในโอกาสที่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินธุรกิจสายการบินเอกชนของไทย เข้าสู่ปีที่ 48 บริษัทฯ ได้ดำเนินการตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้คือการขยายเครือข่าย การบิน ผ่านข้อตกลงร่วมกับสายการบินพันธมิตร (Code Share Agreement) ซึ่ ง ได้ รั บ ความสำเร็ จ เป็ น อย่ า งดี ทั้ ง นี้ เ พื่ อ เพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ ในระดับภูมิภาค นอกจากการเพิ่ ม ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น แล้ ว บริษัทฯ ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความปลอดภัยในการให้บริการ บริษัทฯ ได้เข้าเป็นสมาชิกสามัญของสมาพันธ์ผู้ขนส่งทางอากาศ นานาชาติ (IATA) มาตั้งแต่ป ี 2545 และเข้าสู่การรับรองมาตรฐาน ด้ า นความปลอดภั ย ในการปฏิ บั ติ ก ารบิ น ในระดั บ สากล (IATA Operational Safety Audit - IOSA) โดยผ่านระบบตรวจรับรอง คุณภาพการบริหารความปลอดภัยของ IATA บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นที่ จะพัฒนาและปรับปรุง ระบบการบริหารและการจัดการ การปฏิบัติ การการบิ น ให้ มี ม าตรฐานความปลอดภั ย ในระดั บ สู ง และเป็ น ที่ ยอมรับของสายการบินต่าง ๆ ทั่วโลกต่อไป

4

ผมและคณะกรรมการบริษัทฯ ขอเรียนให้ผู้ถือหุ้นและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางธุรกิจทุกท่านทราบว่า เป็นที่น่าเสียใจเป็น อย่ า งยิ่ งที่ คุ ณเจมส์ แพ็ ททริ ค รู นี่ ย์ ได้ ถึ งแก่ ก รรมและได้ พ้ นจาก ตำแหน่ ง กรรมการอิ ส ระและกรรมการตรวจสอบในเดื อ นตุ ล าคม 2558 ผมขอขอบคุณท่านที่ได้ทำหน้าที่กรรมการอย่างดีมาโดยตลอด และต่อมา คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคุณสหรัตน์ เพ็ญกุล เป็น กรรมการอิ ส ระและกรรมการตรวจสอบ เพื่ อ ทดแทนตำแหน่ ง กรรมการที่ว่างลง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา สุ ด ท้ า ยนี้ ใ นนามของคณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ผู้ บ ริ ห าร และพนักงานทุกท่าน ผมขอขอบคุณลูกค้า ผู้มีอุปการคุณ ผู้ถือหุ้น และพั น ธมิ ต รทางธุ ร กิ จ ที่ ใ ห้ ค วามเชื่ อ มั่ น ในการดำเนิ น งานของ บริษัทฯ เราจะมุ่งมั่นทำงานอย่างเต็มที่ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลที่ด ี โปร่งใส เพื่อให้บริษัทฯ เติบโตอย่างยั่งยืนตลอดไป


สารจากประธานคณะผู้บริหาร

นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ประธานคณะผู้บริหาร

ภาพรวมของอุตสาหกรรมการบินในปี 2558 มีอัตราการ เติบโตของปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ของทุกภูมิภาคอยู่ที่ ร้อยละ 6.5 ในขณะที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเติบโตร้อยละ 8.6 ใน ขณะที่ ป ริ ม าณการผลิ ต ด้ า นผู้ โ ดยสาร(ASK) ของทุ ก ภู มิ ภ าคและ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีอัตราเติบโตร้อยละ 5.6 และ 6.7 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือราคาบัตรโดยสารโดยเฉลี่ยที่ลดลง โดยลดลง กว่าปีก่อนหน้า ประมาณร้อยละ 5.0 ส่งผลให้ผู้โดยสารเลือกเดินทาง ทางอากาศเพิ่ ม ขึ้ น และทำให้ อั ต ราการเติ บ โตของเที่ ย วบิ น ของ ภูมิภาคเอเชีย เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 7.3 ในปี 2558 ที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทย มีการขยายตัวร้อยละ 2.8 แม้ว่าจะมีแรงกระตุ้นจากมาตรการต่างๆ ของภาครั ฐ การใช้ จ่ า ยงบลงทุ น ในโครงการสาธารณู ป โภคและ โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาล รวมทั้งการขยายตัวของภาค การท่องเที่ยวแล้ว แต่ประเทศไทยยังคงเผชิญกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้น ตัวช้าในขณะที่ ราคาน้ ำมั น ยั ง อยู่ ระดั บ ราคาที่ ต่ำ กว่ า ปี ก่ อ นหน้ า นี้ สำหรับภาคการท่องเที่ยว ยังคงเป็นภาคธุรกิจหลักที่สำคัญและเป็น แรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งภาพรวมของการ ท่องเที่ยวยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมาก ขึ้นในปี 2559 ธุรกิจสายการบินเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นและ มีสายการบินต่างชาติเข้ามาขนส่งผู้โดยสารและพัสดุภัณฑ์ในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิคและประเทศไทยมากขึ้น ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปี 2558 บริษัทฯ มีราย ได้รวม 24,902.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.6 เป็นผลมาจาก จำนวนผู้โ ดยสารและราคาบั ตรโดยสารโดยเฉลี่ ย ที่ เ พิ่ ม ขึ้ นรวมทั้ ง

ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดต่ำลงเป็นหลัก บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเท่ากับ 1,849.1 ล้านบาท โดยเป็นกำไรสุทธิที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 1,796.9 ล้านบาท มีกำไรต่อหุ้นอยู่ท ี่ 0.86 บาทต่อหุ้น บริษัทฯ ได้ ดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ตั้งไว้ โดยให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อ เครือข่ายผ่านศูนย์ปฏิบัติการการบินของบริษัทฯ โดยเฉพาะสนามบิน สมุย มีการเพิ่มความถี่ของเที่ยวบินที่เชื่อมต่อกับสนามบินสมุยและ สนามบินเชียงใหม่นอกจากนี้บริษัทฯ ได้เข้าทำความตกลงเที่ยวบิน ร่วมแบบ Code Share Agreement เพิ่มขึ้นอีก 4 สายการบิน เพื่อ ขยายเครือข่ายเส้นทางการบินให้ครอบคลุมจุดหมายปลายทางต่างๆ ทั่วโลก ผมมีความยินดีที่จะเรียนให้ทุกท่านทราบว่า บริษัทฯ ได้ รับรางวัลสายการบินระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยอดเยี่ยมประจำปี 2558 (Asia Pacific Regional Airline of the Year) จาก CAPA (Center for Asia Pacific Aviation) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่สาย การบินที่ประสบความสำเร็จ และถือว่าเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมการ บินที่สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างสอดคล้องกับการ เปลี่ ย นแปลงของปั จ จั ย ภายนอกได้ อ ย่ า งดี ผมในนามของคณะผู้ บริหารและพนักงานทุกคนขอขอบคุณลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ และ ผู้ถือหุ้นที่สนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทด้วยดีตลอดมา รวมทั้ง ขอขอบคุณผู้บริหารและพนักงานทุกคนที่เป็นพลังสำคัญในการขับ เคลื่อนและสร้างสรรค์ให้ธุรกิจของบริษัทฯ ดำเนินไปได้ด้วยดีและ มั่ นคงภายใต้ ก ารกำกั บดู แ ลกิ จ การที่ ดี แ ละตอบแทนสั งคมอย่ า งมี คุณค่า

5


Care and Attention Throughout Your Boutique Journey

6


ข้อมูลของบริษัทฯ ชื่อบริษัท ประเภทธุรกิจ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ เลขทะเบียนบริษัท โทรศัพท์ โทรสาร ทุนจดทะเบียนและ ทุนที่ออกชำระแล้ว

: : : : : : :

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ชื่อย่อ “BA”) ธุรกิจสายการบิน และกิจการสนามบินพาณิชย์ เลขที่ 99 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 0107556000183 (66) 2 265 5678 (66) 2 265 5775 หุ้นสามัญจำนวน 2,100,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวมมูลค่า 2,100,000,000 บาท

นายทะเบียนหลักทรัพย์ โทรศัพท์ โทรสาร เว็บไซต์

: : : :

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด 93 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 (66) 2 009 9000 (66) 2 009 9991 http://www.set.or.th/tsd

: : : :

บริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด ชั้น 33 อาคารเลครัชดา 193 / 136-137 ถนนรัชดาภิเษก คลองเตย กรุงเทพฯ 10110 (66) 2 264 9090 (66) 2 264 0789-90 www.ey.com

ผู้สอบบัญชี โทรศัพท์ โทรสาร เว็บไซต์

7


ข้อมูลทางการเงินโดยสรุป หน่วย : ล้านบาท บัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ปี 2558 ปี 2557 ปี 2556

8

งบแสดงฐานะการเงิน

สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้น

57,013 25,917 31,096

48,579 23,147 25,432

30,393 23,201 7,192

งบกำไรขาดทุน

รายได้จากธุรกิจสายการบิน รายได้จากการขายและบริการ รายได้รวม EBITDAR กำไรสุทธิ

19,430 3,148 24,903 5,293 1,849

17,844 2,684 22,124 4,110 386

16,735 2,656 20,721 4,780 990

ส่วนของผู้ถือหุ้น

จำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้ว (ล้านหุ้น) มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น (บาท) กำไรต่อหุ้น (บาท)

2,100 14.7 0.9

2,100 12.1 0.2

1,580 4.8 0.6

อัตราส่วนสภาพคล่อง และการบริหารเงิน

อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (เท่า) ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (วัน) ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (วัน) ระยะเวลาชำระหนี้ (วัน)

2.4 5.1 24.8 5.7 32.8

2.5 3.7 26.8 5.1 33.4

0.8 2.5 28.0 5.5 34.3

อัตราส่วนแสดงความสามารถ อัตรากำไรขั้นต้น (ร้อยละ) ในการทำกำไร อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (ร้อยละ) อัตรากำไรEBITDAR (ร้อยละ) อัตรากำไรสุทธิ (ร้อยละ) อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ร้อยละ)

21.1 12.3 22.0 7.4 6.5

16.5 8.1 18.6 1.7 2.4

24.4 13.5 23.1 4.8 13.3

อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ร้อยละ) ในการดำเนินงาน อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ถาวร (ร้อยละ) อัตราหมุนของสินทรัพย์ (เท่า)

3.5 32.3 0.5

1.0 15.4 0.6

3.2 24.6 0.7

อัตราส่วนวิเคราะห์

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า)

0.8

0.9

3.2

นโยบายทางการเงิน

อัตราส่วนความสามารถชำระดอกเบี้ย (เท่า)

2.3

1.4

2.0


9

99.99%

บริษัท กูร์เมท์ พรีโม่ จำกัด

99.99%

บริษัท การบินกรุงเทพ บริการภาคพื้น จำกัด ( PGGS ) 99.99%

บริษัท บางกอกแอร์เวย์ส โฮลดิ้ง จำกัด ( BAH )

90.00%

บริษัท บางกอกแอร์ เคเทอริ่งสมุย จำกัด 99.99%

99.99%

บริษัท บางกอกแอร์ เคเทอริ่งภูเก็ต จำกัด

บริษัท เอสเอ เซอร์วิสเซส จำกัด

51.00%

49.00%

บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด ( BFS Cargo ) 49.00%

บริษัท บีเอฟเอส คาร์โก้ ดีเอ็มเค จำกัด

99.99%

บริษัท บริการภาคพื้นการบิน กรุงเทพเวิลด์ไวด์ ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด ( BFS Ground )

90.00%

บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ จำกัด

99.99%

บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ ( BAC )

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

29.99%

โครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ ในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม และสัดส่วนการถือหุ้น

กองทุนรวม สิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์ สนามบินสมุย


บริษัทย่อยและบริษัทร่วม

บริษัทฯ มีการถือหุ้นในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมโดยมีรายละเอียดสรุป ได้ดังต่อไปนี้

บริษัทย่อย

ธุรกิจหลัก

ทุนชำระแล้ว (ล้านบาท)

สัดส่วน การถือหุ้น (ร้อยละ)

1,001.0

99.99

670.0

90.00

บริษัทย่อย 1. บริษัท บางกอกแอร์เวย์ส โฮลดิ้ง จำกัด (BAH) บริษัทโฮลดิ้ง (holding company)

2. บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพ เวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด (BFS Ground)

ให้บริการภาคพื้นดินในลานจอดและ อุปกรณ์ภาคพื้น ณ สนามบินสุวรรณภูมิ

3. บริษัท การบินกรุงเทพบริการภาคพื้น จำกัด (PGGS)

ให้บริการภาคพื้นดินบริการในลานจอด และอุปกรณ์ภาคพื้น ณ สนามบินสมุย

0.25

99.99

4. บริษัท เอสเอ เซอร์วิสเซส จำกัด(1)

ให้บริการภาคพื้นดินในลานจอดและ อุปกรณ์ภาคพื้น ณ สนามบินดอนเมือง

1.0

99.99

5. บริษัท บีเอฟเอส คาร์โก้ ดีเอ็มเค จำกัด(1) (BFS Cargo DMK)

ให้บริการคลังสินค้า ณ สนามบิน ดอนเมือง

25.0

51.00

6. บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (BAC) 7. บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด(2)

ให้บริการด้านครัวการบิน ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ธุรกิจร้านอาหาร

500.0 25.0

90.00

8. บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งสมุย จำกัด(2)

ให้บริการด้านครัวการบิน ณ สนามบินสมุย

25.0

99.99

9. บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งภูเก็ต จำกัด(2)

ให้บริการด้านครัวการบิน ณ สนามบินภูเก็ต

0.25

99.99

10. บริษัท กูร์เมท์ พรีโม่ จำกัด(3)

กิจการด้านโรงงานผลิตและแปรรูปอาหาร

20.0

99.99

300.0

49.00

9,500.0

29.99

99.99

บริษัทร่วม

1. บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด (BFS Cargo)

ให้บริการคลังสินค้า ณ สนามบินสุวรรณภูมิ

2. กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย

ลงทุนในสิทธิการเช่าสนามบินสมุย เป็นระยะเวลา 30 ปี

หมายเหตุ : (1) ถือหุ้นโดยบริษัท บริการภาคพื้นกรุงเทพเวิล์ดไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด (2) ถือหุ้นโดยบริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (3) ถือหุ้นโดยบริษัท บางกอกแอร์เวย์ส โฮลดิ้ง จำกัด

10


คณะกรรมการบริษัทฯ

4 6

5 3

8 1

9 2

7

1. พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล 2. นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ 3. นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ 4. พลตำรวจโท วิสนุ ปราสาททองโอสถ 5. นายประดิษฐ์ ทีฆกุล 6. นายศรีภพ สารสาส 7. พลเอก วิชิต ยาทิพย์ 8. นายสหรัตน์ เพ็ญกุล 9. นางนฤมล น้อยอํ่า

11


คณะกรรมการบริหาร 1. นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ 2. นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ 3. นายประดิษฐ์ ทีฆกุล 4. นายอนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา

3

1

2

4

คณะกรรมการตรวจสอบ 1. นายศรีภพ สารสาส 2. พลเอก วิชิต ยาทิพย์ 3. นายสหรัตน์ เพ็ญกุล 1

12

2

3


ประวัติคณะกรรมการ พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล กรรมการ / ประธานกรรมการ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิทางการศึกษา : วิทยาศาสตร์บัณฑิตโรงเรียนนายเรืออากาศ อายุ : 82 ปี การดำรงตำแหน่งกรรมการ / อื่นในปัจจุบัน -ไม่มี-

นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ

รองประธานกรรมการ / ประธานกรรมการบริหาร / ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิทางการศึกษา : แพทยศาสตรบัณฑิตศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อายุ : 83 ปี การดำรงตำแหน่งกรรมการ / อื่นในปัจจุบัน ประธานกรรมการบริหาร / ประธานคณะผู้บริหาร / กรรมการผูอ้ ำนวยการใหญ่ บริษทั กรุงเทพดุสติ เวชการ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษทั บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติง้ จำกัด กรรมการ บริษัท บางกอกแอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด กรรมการ บริษัท เซาท์ อีสท์ แอร์ จำกัด กรรมการ บริษัท สินสหกล จำกัด กรรมการ บริษัท ไทยปิโตรเลียม เซอร์วิส จำกัด กรรมการ บริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด กรรมการ บริษัท ปราสาททองโอสถ จำกัด กรรมการ บริษัท พาราไดซ์ ช้อปปิ้ง จำกัด

กรรมการ / กรรมการบริหาร / กรรมการผูอ้ ำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิทางการศึกษา : บัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ : 51 ปี การดำรงตำแหน่งกรรมการ / อื่นในปัจจุบัน กรรมการ บริษทั บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติง้ จำกัด กรรมการ บริษัท การบินกรุงเทพบริการภาคพื้น จำกัด กรรมการ บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งภูเก็ต จำกัด กรรมการ บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด กรรมการ บริษัท บางปะกง กอล์ฟคลับ จำกัด กรรมการ บริษัท สินสหกล จำกัด กรรมการ บริษัท กรุงเทพ เฮลิคอปเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด กรรมการ บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด กรรมการ บริษัท ดับบลิวเอฟเอสทีพีจีคาร์โก้ จำกัด กรรมการ บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิล์ดไวด์ ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด

• • • • • • • • •

• • • • • • • • • •

13


พลตำรวจโท วิสนุ ปราสาททองโอสถ

นายประดิษฐ์ ทีฆกุล

กรรมการ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิทางการศึกษา : รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช MBA, University of San Francisco, USA อายุ : 53 ปี การดำรงตำแหน่งกรรมการ / อื่นในปัจจุบัน ผู้บัญชาการสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท หลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด กรรมการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด กรรมการ บริษัท ไทยโคโพลีอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด

กรรมการ / กรรมการบริหาร / กรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายบริหาร บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิทางการศึกษา : นิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง อายุ : 57 ปี การดำรงตำแหน่งกรรมการ / อื่นในปัจจุบัน กรรมการที่ปรึกษาประธานคณะผู้บริหาร บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด กรรมการ บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งภูเก็ต จำกัด กรรมการ บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด กรรมการ บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด กรรมการ บริษัท เปาโลเมดิค จำกัด กรรมการ บริษัท บางกอกแอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด กรรมการ บริษัท เซาท์ อีสท์ แอร์ จำกัด กรรมการ บริษัท บางกอกแอร์ทัวร์ (1988) จำกัด กรรมการ บริษัท ไทยปิโตรเลียม เซอร์วิส จำกัด กรรมการ บริษัท ศูนย์การแพทย์ไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท บางกอกโกลเด้นไลฟ์ จำกัด กรรมการ บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท พาราไดซ์ ช้อปปิ้ง จำกัด กรรมการ บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ จำกัด กรรมการ บริษัท ดับบลิวเอฟเอสทีพีจีคาร์โก้ จำกัด กรรมการ บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพ เวิล์ดไวด์ ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด

• • • •

นายศรีภพ สารสาส กรรมการ / กรรมการอิสระ / ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิทางการศึกษา : MBA, University of Southern California , USA อายุ : 58 ปี การดำรงตำแหน่งกรรมการ / อื่นในปัจจุบัน กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ /กรรมการสรรหา บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินฟอเมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เกียรติธนาขนส่ง จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท ปรุส (2008) จำกัด กรรมการ บริษัท ขันธ์ จำกัด

• • • •

14

• • • • • • • • • • • • • • • • • •


พลเอกวิชิต ยาทิพย์

นางนฤมล น้อยอ่ำ

กรรมการ / กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิทางการศึกษา : วิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รัฐปศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ-ธนบุร ี อายุ : 69 ปี การดำรงตำแหน่งกรรมการ / อื่นในปัจจุบัน ที่ปรึกษา บริษัท ทิปโก้แอสฟัลด์ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท นิปปอนแพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท ทรีซิกตี้ไฟว์ จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท วนชัยกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท ซินเสียนเยอะเป้า จำกัด กรรมการ บริษัท แม๊คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

กรรมการ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิทางการศึกษา : MBA North Texas State , USA อายุ : 58 ปี การดำรงตำแหน่งกรรมการ / อื่นในปัจจุบัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ด้านการเงิน บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) กรรมการ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กรรมการ บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) กรรมการ บริษัท เปาโลเมดิค จำกัด กรรมการ บริษัท เปาโล สมุทรปราการ จำกัด กรรมการ บริษัท ศูนย์การแพทย์ไทย จำกัด (มหาชน)

• • • • • •

• • • • • • •

นายอนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา นายสหรัตน์ เพ็ญกุล

(1)

กรรมการ / กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิทางการศึกษา : MBA Texas A&M Internationnal University, USA อายุ : 51 ปี การดำรงตำแหน่งกรรมการ / อื่นในปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท บริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด

กรรมการบริหาร / รองรองผูอ้ ำนวยการใหญ่ ฝ่ายการเงิน / เลขานุการบริษทั บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) คุณวุฒิทางการศึกษา : MBA Cleveland State University, USA อายุ : 49 ปี การดำรงตำแหน่งกรรมการ / อื่นในปัจจุบัน กรรมการ บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด

หมายเหตุ (1)

ได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง เป็ น กรรมการของบริ ษั ท ฯ ตามมติ ที่ ป ระชุ ม กรรมการบริ ษั ท ครั้ ง ที่ 12 / 2558 ซึ่ ง ประชุ ม เมื่ อ วั น ที่ 24 ธันวาคม 2558 แทน นายเจมส์ แพ็ททริค รูนี่ย์ ซึ่งพ้น จากตำแหน่ง และได้รับการจดทะเบียนเข้าเป็นกรรมการกับ กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2559

15


นโยบายและภาพรวมการประกอบธุรกิจ วิสัยทัศน์ สร้างสรรค์ความเป็นเลิศ เพื่อเป็นสายการบินที่ดีที่สุดในเอเชีย

พันธกิจ บริษัทฯ มุ่งมั่นเป็นสายการบินที่ดีที่สุดของเอเชีย โดยมีพันธกิจในการดำเนินงานดังนี้

16

1. 2. 3. 4. 5. 6.

ปฏิบัติตามและรักษามาตรฐานความปลอดภัยระดับสากลในการปฏิบัติการทั้งภาคอากาศและภาคพื้นดิน บริหารจัดการทรัพยากรของบริษัทฯ อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและประโยชน์สูงสุด ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย สร้างสรรค์และส่งมอบผลิตภัณฑ์และการบริการที่เป็นเลิศ เพื่อประโยชน์ต่อผู้โดยสารและการเจริญเติบโต อย่างต่อเนื่องของบริษัทฯ ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการเรียนรู้การทำงานของพนักงานด้วยระบบการบิรหารจัดการทรัพยากร บุคคลที่ดีที่สุด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้การทำงานอย่างมืออาชีพ เพราะบริษัทฯ เห็นคุณค่าและให้ความสำคัญ กับพนักงานทุกคน ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการของบริษัทฯ เพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการให้บริการและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง


ความป็นมาของบริษัทฯ นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ได้ก่อตั้งธุรกิจสายการบินขึ้นในปี 2511 โดยจัดตั้งเป็นแผนกการบิน ของ บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัดซึ่งนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เป็นเจ้าของ หลังจากนั้นในปี 2527 จึงได้ก่อตั้ง บริษทั สหกลแอร์ จำกัด ขึน้ เพือ่ รับโอนกิจการต่างๆ ซึง่ รวมถึงแผนกการบินจากบริษทั กรุงเทพสหกล จำกัด และในภายหลัง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด บริษัทฯ ได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ อย่างเป็นทางการ ภายใต้ชื่อปัจจุบันคือ “สายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส”นับตั้งแต่ป ี 2529 เป็นต้นมา และใน ปี 2532 บริษัทฯ ได้สร้างสนามบินแห่งแรกที่เกาะสมุย ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาเกาะสมุยให้ เป็นแหล่งท่องเที่ยวนานาชาติ โดยบริษัทฯ ได้เริ่มดำเนิน งานในสนามบินสมุย และได้รับอนุญาตให้ทำการบินใน เส้นทางการบินแรกคือ กรุงเทพฯ - เกาะสมุย พร้อมกับ ได้รับรหัสการบินจาก IATA คือรหัสการบิน “PG” ต่อมา ในปี 2537 จึงได้เข้าร่วมในสำนักหักบัญชีของ IATA (IATA Clearing Clearing House) House) และได้เริ่มนำเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72 72 จำนวน 2 ลำมาใช้ จำนวน 2 ลำมาใช้ในฝูงบิน

ในปี 2541 บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการในสนาม บินแห่งที่สอง คือ สนามบินสุโขทัย และในปี 2543 ได้เริ่ม การบินด้วยเครื่องบินไอพ่นซึ่งมีความรวดเร็วและมีจำนวน ที่นั่งมากขึ้นเพื่อเพิ่มความจุผู้โดยสารและลดความถี่ของ เที่ยวบินลงโดยนำเครื่องบินแบบโบอิ้ง 717-200 ลำแรก มาใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการ ปฏิบตั กิ ารการบินของบริษทั ฯ และลดความถีข่ องเทีย่ วบิน ในเส้นทางกรุงเทพ - สมุยลง พร้อมกันนี้ บริษัทฯ เริ่ม ดำเนิ น งานในส่ ว นของโรงซ่ อ มอากาศยานที่ ส นามบิ น ดอนเมื อ งและเข้ า เป็ น สมาชิ ก ของ IATA Billing and Settlement Plan (“BSP”) ซึ่งทำให้บริษัทฯ เพิ่มฐาน การขาย และยั ง สามารถรั บ ชำระราคาบั ต รโดยสารที่ จำหน่ายผ่านผู้แทนจำหน่ายบัตรโดยสารที่ได้รับอนุญาต จาก IATA ผ่ า นระบบชำระเงิ น ของธนาคารที่ บ ริ ห าร จัดการโดย IATA ได้ จนกระทั่งในปี 2545 จึงได้เข้าเป็น สมาชิกสามัญของ IATA ซึ่งหมายถึงการเข้าสู่มาตรฐาน ความปลอดภัยในการบินพาณิชย์สากลนานาชาติภายใต้ IATA Operational Safety Audit (“IOSA”) และการมี สิ ท ธิ อ อกเสี ย งเรื่ อ งอั ต ราค่ า โดยสาร และในปี 2549 บริ ษั ท ฯ ได้ เริ่ ม ดำเนิ น กิ จ การสนามบิ น แห่ ง ที่ ส ามคื อ สนามบินตราด

17


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนจำนวน 2,100,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,100,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท และมีทุนชำระแล้วจำนวน 2,100,000,000 บาท

พัฒนาการที่สำคัญและรางวัลเกียรติคุณ ปี

2555

2556

พัฒนาการที่สำคัญ

บริษทั ฯ ได้ทำการปรับโครงสร้างธุรกิจของบริษทั ฯ เพือ่ ให้เหมาะสมต่อการออกและเสนอ ขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนและการนำหุ้นสามัญเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยบริษทั ฯ ได้จำหน่ายเงินลงทุนและทรัพย์สนิ บางส่วนทีไ่ ม่เกีย่ วข้องกับธุรกิจสายการบิน และธุรกิจสนามบิน หรือกิจการที่หยุดดำเนินการ หรือมีผลการดำเนินงานขาดทุนออกไป รวมทั้งที่ดินที่ไม่ได้ใช้ในธุรกิจสายการบิน และธุรกิจสนามบิน เป็นต้น

บริ ษั ท ฯ ได้ รั บ การจั ด อั น ดั บ ให้ อ ยู่ ใ นอั น ดั บ 4 สำหรั บ รางวั ล “World’s Best Regional Airline” ในการประกาศรางวัล The World Airline Awards จาก Skytrax

• •

เป็นปีที่ธุรกิจสายการบินก่อตั้งมาครบรอบ 45 ปี

• •

บริษทั ฯ แปรสภาพเป็นบริษทั มหาชนจำกัด และได้เพิม่ ทุนจดทะเบียนจาก 1,250,000,000 บาท เป็น 2,100,000,000 บาทโดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 850,000,000 หุ้น มี มู ล ค่ า ที่ ต ราไว้ หุ้ น ละ 1 บาท เพื่ อ เสนอขายให้ แ ก่ ผู้ ถื อ หุ้ น เดิ ม จำนวนไม่ เ กิ น 300,000,000 หุ้น เสนอขายต่อพนักงานและกรรมการหุ้นละ 10 บาท จำนวนไม่เกิน 30,000,000 หุ้น และเสนอขายต่อประชาชนทั่วไปอีกจำนวนไม่เกิน 520,000,000 หุ้น รวมทั้งอนุมัติให้นำหุ้นสามัญของบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทฯ ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับ 2 สำหรับรางวัล “Asia’s Best Regional Airline” ในการประกาศรางวัล The World Airline Awards จาก Skytrax

BFS Ground และ BFS Cargo ได้รับรางวัล “ผู้ให้บริการในท่าอากาศยานยอดเยี่ยม แห่งปี 2556” (2013 Frost & Sullivan Thailand Aviation Support Services Provider of the Year) ที่จัดขึ้นโดย Frost and Sullivan ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทาง ธุรกิจและวิจัย

18


ปี

พัฒนาการที่สำคัญ

2557

ในระหว่างปี 2557 บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายเครื่องบิน สำหรับเครื่องบินแบบ เอที อ าร์ 72-600 ใหม่ จ ำนวน 9 ลำ กำหนดส่ ง มอบเครื่ อ งบิ น ตั้ ง แต่ ไ ตรมาสที ่ 4 ของปี 2557 ถึงไตรมาสที ่ 1 ของปี 2560 ซึ่งบริษัทฯ ได้ขอรับการส่งเสริมการลงทุน เพื่อนำเข้าเครื่องบินทั้งหมดไว้แล้ว โดยในเดือนพฤศจิกายน 2557 บริษัทฯ ได้รับมอบ เครื่องบินลำแรกเข้าประจำฝูงบินของบริษัทฯ

บริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 ในหมวดธุรกิจขนส่งและ โลจิสติกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ

บริ ษั ท ฯ ได้ รั บ การจั ด อั น ดั บ ให้ อ ยู่ ใ นอั น ดั บ 1 สำหรั บ รางวั ล “World’s Best Regional Airline” และ “Best Regional Airline in Asia” จาก Skytrax

บริษัทฯ ได้รับรางวัลสายการบินระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยอดเยี่ยมประจำปี 2558 (Asia Pacific Regional Airline of the Year) จาก CAPA (Center for Asia Pacific Aviation) ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้แก่สายการบินที่ประสบความสำเร็จ และถือว่าเป็น ผู้นำในอุตสาหกรรมการบินที่สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างสอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกได้อย่างดี

บริ ษั ท ฯ ได้ รั บ การจั ด อั น ดั บ ให้ อ ยู่ ใ นอั น ดั บ 2 สำหรั บ รางวั ล “World’s Best Regional Airline” และ “Best Regional Airline in Asia” จาก Skytrax

บริษัทฯ ได้ถูกจัดลำดับให้เป็น 1 ใน 10 สายการบินที่ดีที่สุดของโลก (Top Ten Airline – Worldwide) และอันดับที ่ 5 สายการบินที่มีการบริการบนเครื่องยอดเยี่ยมของโลก (Best in Cabin Service - Worldwide) จากสมาร์ ท ทราเวลเอเชี ย ดอท คอม (SmartTravelAsia.com) เว็บไซต์ท่องเที่ยวชั้นนำของเอเชีย ที่มีการทำสำรวจความ คิดเห็นของนักท่องเที่ยวกว่าหลายล้านคนทั่วโลกในหัวข้อ “สุดยอดแบรนด์ท่องเที่ยว ประจำปี 2558 (Best in Travel 2015)”

2558

บริษัทฯ ถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 50 สายการบินที่มีผลการดำเนินการที่ดีที่สุดในโลก โดยอยู่ที่อันดับที่ 24 ซึ่งจัดอันดับโดยนิตยสารแอร์ไฟแนนซ์ เจอนัล (Airfimance Journal) ของประเทศอังกฤษ

19


ภาพรวมการประกอบธุรกิจ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ ให้บริการเที่ยวบินแบบประจำในเส้นทางบินภายในประเทศ 15 เส้นทาง โดยครอบคลุมเส้นทางไปยังจุดหมายปลายทางที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนและแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญในประเทศไทย ใน จังหวัดต่างๆ เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ กระบี่ และเกาะสมุย นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ให้บริการเที่ยวบินแบบประจำในเส้น ทางการบินระหว่างประเทศอีก 15 เส้นทางในประเทศต่างๆ เช่น เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย บังกลาเทศ และมัลดีฟส์ รวมทั้งเมืองต่างๆ เช่น ฮ่องกง เป็นต้น ทั้งนี้บริษัทฯ ยังได้ขยายการให้บริการให้ครอบคลุมไปยัง กลุ่มลูกค้าในยุโรป เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง รวมทั้งประเทศญี่ปุ่น โดยการประสานความร่วมมือกับสายการบินอื่นๆ เช่น สายการบินเอทิฮัดแอร์เวย์ส สายการบินเจแปนแอร์ไลน์ สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ สายการบินซิลค์แอร์ เป็นต้น โดยผ่าน การทำความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Sharing) และความตกลงร่วมอื่นๆ

บริษัทฯ ดำเนินงานผ่านศูนย์ปฏิบัติการการบิน หลั ก 3 แห่ ง คื อ สนามบิ น สุ ว รรณภู มิ ที่ ก รุ ง เทพฯ สนามบินสมุยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นสนามบินที่ บริษัทฯ เป็นเจ้าของและดำเนินการเอง และสนามบิน เชียงใหม่ บริษัทฯ ให้บริการเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลาย ทางที่ใช้เวลาเดินทางต่อเที่ยวบินไม่เกิน 5 ชั่วโมงจากศูนย์ ปฏิบัติการการบินแต่ละแห่งของบริษัทฯ ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถเข้าถึงผู้โดยสาร ทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เอเชียใต้ และอินเดีย บริษัทฯ เชื่อว่าประเทศไทย เป็นตลาดการท่องเที่ยวที่สำคัญและจะทำให้บริษัทฯ มี จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนผู้โดยสารคนไทยที่ เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากสามารถเข้าถึงการเดินทางโดยเครื่อง บินได้มากขึ้น และบริษัทฯ ยังเชื่อว่าการที่บริษัทฯ ให้ ความสำคัญกับการให้บริการที่มีคุณภาพสูง ความใส่ใจใน การบริการ และการมีเส้นทางบินสู่จุดหมายปลายทาง หรือประเทศที่มีวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะนั้นทำให้ บริษัทฯ มีความแตกต่างจากสายการบินคู่แข่ง

20


ในปี 2558 บริษัทได้ดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์ ซึ่งประสบความสำเร็จในหลายด้าน สรุปได้ดังนี้

เครือข่ายการบิน บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาตลาด ทั้งนี้บริษัทฯ ยังคงดำเนินนโยบายโดยการเพิ่มเที่ยวบินในจุดหมาย ปลายทางที่เป็นความต้องการของนักท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพันธมิตรทางธุรกิจ โดยการทำความตกลงเที่ยวบินร่วม (code share) กับสายการบินต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและ เพื่อรักษาตำแหน่งทางการตลาดและเสริมสร้างเครือข่ายเส้นทางของบริษัทฯ ในปีนี้ บริษัทฯ ได้เพิ่มปริมาณการผลิตผู้โดยสาร ทั้งนี้เพื่อรองรับเครือข่ายเส้นทางบินที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาค และตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารในเส้นทางนั้นๆ ซึ่งการเพิ่มขึ้นของปริมาณการผลิตผู้โดยสารดังกล่าวเกิดจาก การนำเข้าเครื่องบิน จำนวน 4 ลำ

ตารางแสดงจำนวนเครื่องบิน ณ สิ้นปี 2558 และปี 2557 ประเภทเครื่องบิน

ณ 31 ธันวาคม 2558

ณ 31 ธันวาคม 2557

แอร์บัส เอ 319 แอร์บัส เอ 320 เอทีอาร์ 72-500 เอทีอาร์ 72-600 รวมทั้งหมด

11 8 8 4 31

10 8 8 1 27

• การเปิดเส้นทางบินและการเพิ่มความถี่เที่ยวบิน ในระหว่างปี 2558 บริษัทฯ ได้ขยายเครือข่ายเส้นทางบิน โดยการเปิดเส้นทางการบิน ใหม่ และการเพิ่มความถี่เที่ยวบินจากเส้นทางบินเดิมที่ทำการปฎิบัติการบินอยู ่ ซึ่งนอกจากเป็นการเพิ่ม ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ แล้ว ยังเป็นการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีการเปิดเส้น ทางบินเพิ่มเติมและการเพิ่มความถี่เที่ยวบิน ดังนี้ เส้นทางบิน การเปิดเส้นทางบิน ภูเก็ต - หาดใหญ่ การเพิ่มความถี่เที่ยวบิน เกาะสมุย- ภูเก็ต เกาะสมุย- สิงคโปร์ เกาะสมุย-กัวลาลัมเปอร์ กรุงเทพ - ภูเก็ต เชียงใหม่ - ย่างกุ้ง เชียงใหม่ - มัณฑะเลย์

จำนวนเที่ยวบินต่อสัปดาห์

วันที่เริ่มทำการบิน

7

ตุลาคม 2558

42 12 11 63 7 4

ธันวาคม 2558 ตุลาคม 2558 มีนาคม 2558 ตุลาคม 2558 ธันวาคม 2558 ธันวาคม 2558 21


การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการ • ห้องรับรองผู้โดยสารที่สนามบิน บริษัทฯ มีบริการห้องรับรองผู้โดยสารที่บริเวณอาคารผู้โดยสารขาออกภายในประเทศหลายแห่ง เช่น สนามบินสุวรรณภูม ิ สนามบินสมุย สนามบินกระบี ่ สนามบินเชียงใหม่ และสนามบินเชียงราย เป็นต้น ในระหว่างปี 2558 บริษัทฯ ได้ทำการปรับปรุงห้องรับรองผู้โดยสารที่สนามบินนานาชาติหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสนามบินนานาชาติพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพื่อให้ มีความทันสมัยและมีพื้นที่รองรับผู้โดยสารมากขึ้น รวมทั้งให้บริการอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสบายเพิม่ ขึน้ โดยสนามบินนานาชาติหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้เปิดให้บริการ เต็มรูปแบบแล้ว สำหรับสนามบินนานาชาติพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จะเปิดให้บริการภายในกลางปี 2559 นี ้

22


ปรับโฉมเมนูอาหารทั้งบนเครื่องและในห้องรับรองผู้โดยสาร บริษัทฯ มีบริการอาหารบนเครื่องบินและในห้องรับรองผู้โดยสาร โดยนำเสนอรายการอาหารภายใต้แนวคิด “Tastes of Asia” ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสโลแกน “Asia’s Boutique Airline” ของบริษัทฯ ซึ่งเชิดชูความเป็นไทยและกลิ่นอายของความเป็นเอเชีย ในเที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ ของบริษัทฯ ที่เดินทางออกจากสนามบินสุวรรณภูมิทุกเที่ยวบิน และสำหรับเที่ยวบินที่เดินทางออกจาก สนามบินสมุย รวมถึงการให้บริการของว่างตามเทศกาลสำคัญ เช่น วันวาเลนไทน์ วันตรุษจีน วันสงกรานต์ วันแม่ เป็นต้น

“Tastes of Asia” “Asia’s Boutique Airline” 23


ความร่วมมือจากสายการบินพันธมิตร

ในปี 2558 บริษัทฯ มีสายการบินที่เข้าทำความตกลงเที่ยวบินร่วมแบบ Code Share Agreement รวม 20 สายการบิน เพิ่มจากปี 2557 จำนวน 4 สายการบิน ได้แก่

สายการบิน ไชน่าแอร์ไลน์

สายการบิน เจ็ท แอร์เวย์

สายการบิน เอมิเรตส์ แอร์ไลน์

สายการบินแอร์ แอสตานา

ทั้งนี้การเข้าทำความตกลงเที่ยวบินร่วมแบบ Code Share Agreement เป็นการเพิ่มปริมาณผู้โดยสารในเครือ ข่ายเส้นทางการบินของบริษัทฯ และช่วยขยายเครือข่ายเส้นทางการบินให้ครอบคลุมจุดหมายปลายทางต่างๆ ทั้งทวีปยุโรป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น

การทำความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Sharing) ปี

สายการบิน

ปี

2550

• การบินไทย1

2552

• สายการบินแอร์เบอร์ลิน

• สายการบินบริติชแอร์เวย์

• สายการบินเอทิฮัดแอร์เวย์ส

• สายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิค

• สายการบินแอร์ฟรานซ์

2556

สายการบิน

2557

• สายการบินกาตาร์แอร์เวย์

• สายการบินแควนตัส แอร์เวย์

2553

• สายการบินอีวีเอแอร์

• สายการบินแอโรฟลอต

2554

• สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์

• สายการบินการูด้า อินโดนีเซีย

2555

• สายการบินซิลค์แอร์

2558

• สายการบินไชน่าแอร์ไลน์

• สายการบินเจแปนแอร์ไลน์

• สายการบินเจ็ท แอร์เวย์

• สายการบินฟินแอร์

• สายการบินเอมิเรตส์แอร์ไลน์

• สายการบินเคแอลเอ็มรอยัลดัชท์แอร์ไลน์

• สายการบินแอร์ แอสตานา

หมายเหต 1 ปัจจุบันบริษัทฯ ไม่มีเส้นทางการบินที่มีเที่ยวบินร่วมกันกับการบินไทย

24


Fly Boutique. Feel Unique.

ลักษณะการประกอบธุรกิจ


ลักษณะการประกอบธุรกิจ โครงสร้างรายได้ของบริษัทฯ บริษัทย่อยและบริษัทร่วม ข้อมูลงานธุรกิจหลัก รายได้จากธุรกิจสายการบิน ค่าโดยสาร • เส้นทางบินภายในประเทศ • เส้นทางบินระหว่างประเทศ ค่าระวางขนส่ง บริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ รวมรายได้จากธุรกิจสายการบิน รายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน บริการภาคพื้น (BFS Ground) บริการภาคพื้น (PGGS) บริการครัวการบิน (BAC) อื่นๆ รวมรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน รายได้ธุรกิจสนามบิน ค่าธรรมเนียมผู้โดยสาร รวมรายได้จากธุรกิจสนามบิน รายได้อื่น รายได้จากเงินปันผล กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน รายได้จากการขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ รายได้อื่นๆ รวมรายได้อื่น รวมรายได้

26

ปี 2558

ปี 2557

ร้อยละ

ล้านบาท

ร้อยละ

ล้านบาท

12,617.6 6,469.8 325.6 16.6 19,429.6

50.7 25.9 1.3 0.1 78.0

10,670.4 6,821.6 331.5 20.6 17,844.1

48.2 30.8 1.5 0.1 80.7

1,694.0 322.9 1,020.8 110.6 3,148.3

6.8 1.3 4.1 0.4 12.6

1,487.1 253.6 943.7 - 2,684.4

6.7 1.1 4.3 0.0 12.1

535.3 535.3

2.2 2.2

504.3 504.3

2.3 2.3

280.4 322.9 0.1 1,186.3 1,789.7 24,902.9

1.1 1.3 0.0 4.8 7.2 100.0

244.1 71.7 3.4 771.5 1,090.7 22,123.5

1.1 0.3 0.0 3.5 4.9 100.0


1. ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทฯ สามารถแบ่งออกเป็นธุรกิจหลักและกลุ่มธุรกิจ ดังนี้

1. ธุรกิจสายการบิน • การให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ บริษัทฯ ให้บริการเที่ยวบินแบบประจำโดยเป็นการให้บริการแบบเต็มรูปแบบ โดยมุ่งเน้นการให้บริการ ระดับพรีเมี่ยมแก่กลุ่มผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินเพื่อการท่องเที่ยวและเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

• เครือข่ายเส้นทางการบิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เครือข่ายเส้นทางการบินของบริษัทฯ ครอบคลุมจุดหมายปลายทาง 23 แห่ง (ไม่รวมถึงกรุงเทพมหานคร) ใน 10 ประเทศ (รวมถึงประเทศไทย) นอกจากนี้ ด้วยความตกลง เที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) ทำให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เครือข่ายเส้นทางการบิน ของบริษัทฯ ได้ขยายออกไปครอบคลุมจุดหมายปลายทางในต่างประเทศอีก 20 แห่ง ใน 7 ประเทศ (ไม่รวมถึงประเทศไทย) บริ ษั ท ฯ เน้ น ให้ บ ริ ก ารเส้ น ทางการบิ น ระยะใกล้ ไ ปยั ง สนามบิ น ที่ อ ยู่ ใ กล้ เ คี ย งกั บ บริ เวณที่ เ ป็ น จุดหมายปลายทางของแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งโดยปกติอยู่ในรัศมีไม่เกิน 3,120 กิโลเมตร และระยะเวลาของเที่ยวบินไม่เกิน 5 ชั่วโมง อย่างไรก็ดี ด้วยความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) และความร่วมมือกับสายการบินอื่น ส่งผลให้ บริษัทฯ สามารถเข้าถึง ผู้โดยสารจากจุดหมายปลายทางอื่นๆ ทั้งในทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย และบริษัทฯ ยังสามารถเข้าถึงผู้โดยสารในประเทศจีนโดยการให้บริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ

27


เครือข่ายเส้นทางการบินของบริษัทฯ ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศ แผนที่ดังต่อไปนี้ แสดงถึงเครือข่ายเส้นทางการบินของบริษัทฯ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

Bangkok Airways Route Map 28


เครือข่ายเส้นทางการบินส่วนขยายของบริษัทฯ ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศเพิ่มเส้นทางบินในแผนที่ แผนที่ดังต่อไปนี้ แสดงถึงเครือข่ายเส้นทางการบินของบริษัทฯ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ที่ขยายครอบคลุมออกไป อันเป็นผลมาจากการเข้าทำความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement)

Bangkok Airways Code Share Route Map

29


• ความร่วมมือกับสายการบินอื่น ความร่วมมือระหว่างสายการบินอาจแบ่งได้เป็น การทำความตกลงรับขนผู้โดยสารระหว่างสายการบินแบบ Interline Cooperation Agreement และการทำความตกลงเที่ยวบินร่วมแบบ Code Share Agreement ความตกลงรับขนผู้โดยสารระหว่างสายการบินแบบ Interline Cooperation Agreement และการ ทำความตกลงเที่ยวบินร่วมแบบ Code Share Agreement ทำให้บริษัทฯ สามารถขยายการบริการไปยัง ตลาดระหว่างประเทศและให้บริการผู้โดยสารระหว่างประเทศได้มากขึ้นโดยไม่ต้องทำการบินในเที่ยวบิน ระหว่างประเทศและลงทุนในเส้นทางการบินระยะไกล และบริษัทฯ เชื่อว่าการทำความตกลงในลักษณะดัง กล่าวเป็นวิธีการที่ช่วยให้บริษัทฯ สามารถบริหารต้นทุนได้ดีขึ้นในการที่จะขยายขอบเขตการให้บริการขนส่ง ผู้โดยสารและสร้างภาพลักษณ์ของบริษัทฯ ในตลาดระหว่างประเทศให้ดีขึ้น และยังช่วยให้บริษัทฯ สามารถ ให้บริการในจุดหมายปลายทางที่สำคัญอื่นๆ ที่ไม่คุ้มค่ากับการที่บริษัทฯ จะให้บริการเที่ยวบินเองเนื่องจากมี ปริมาณผู้โดยสารใช้บริการน้อย ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทฯ มีศูนย์ปฏิบัติการการบิน ที่สนามบินสุวรรณภูมิซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติหลักของ ประเทศไทยและเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารของสายการบินระหว่างประเทศ และสนามบินสมุย บริษัทฯ จึงสามารถให้บริการในการเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารจากสายการบินอื่นที่มีความตกลงรับขนผู้โดยสารระหว่าง สายการบิ น แบบ Interline Cooperation Agreement และการทำความตกลงเที่ ย วบิ น ร่ ว มแบบ Code Share Agreement และให้บริการเชื่อมต่อเที่ยวบินแก่ผู้โดยสารเหล่านั้นไปยังจุดหมายปลายทาง ภายในประเทศและในภูมิภ าค ซึ่งอยู่ในเครื อ ข่ า ยเส้ น ทางการบิ น ของบริ ษั ท ฯ ได้ อ ย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพ และสะดวกกว่าการใช้บริการของสายการบินของประเทศไทยอื่นๆ ซึ่งมีศูนย์ปฏิบัติการการบินอยู่ที่สนามบิน นานาชาติดอนเมือง เนื่องจากผู้โดยสารไม่ต้องเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิไปยังสนามบินนานาชาติ ดอนเมืองเพื่อเปลี่ยนเที่ยวบิน บริษัทฯ เข้าทำความตกลงเทีย่ วบินร่วมแบบ Code Share Agreement กับสายการบินอื่น รวม 20 สาย การบิน ซึ่งรวมถึงการบินไทย (ในปัจจุบันบริษัทฯ ไม่มีเส้นทางการบินที่มีเที่ยวบินร่วมกันกับการบินไทย) สายการบินเอทิฮัดแอร์เวย์ส สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ สายการบินฟินแอร์ สายการบินเคแอลเอ็ม รอยัลดัชท์แอร์ไลน์ สายการบินแอร์ฟรานซ์ สายการบินซิลค์แอร์ สายการบินอีวีเอแอร์ สายการบินแอร์ เบอร์ลิน สายการบินเจแปนแอร์ไลน์ สายการบินกาตาร์แอร์เวย์ สายการบินแควนตัสแอร์เวย์ สายการบิน คาเธ่ย์แปซิฟิค สายการบินบริติชแอร์เวย์ สายการบินการูด้า อินโดนีเซีย และสายการบินแอโรฟลอต โดยปกติ บริษัทฯ จะทำความตกลงเที่ยวบินร่วมแบบ Code Share Agreement กับสายการบินอื่น ซึ่งจะ ช่วยเพิ่มปริมาณผู้โดยสารในเครือข่ายเส้นทางการบินของบริษัทฯ และช่วยขยายเครือข่ายเส้นทางการบินให้ ครอบคลุมจุดหมายปลายทางที่บริษัทฯ ต้องการ ทั้งนี้การเข้าทำความตกลงเที่ยวบินร่วมแบบ Code Share Agreement ช่วยให้บริษัทฯ สามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อผู้โดยสารที่เดินทางโดยสายการบินอื่นจากจุดหมาย ปลายทางนานาชาติทั้งในทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลียและภูมิภาคอื่นๆ

30


• การดำเนินงานของสายการบิน 1. เครื่องบิน และการใช้เครื่องบิน วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ มีเครื่องบินที่นำมาให้บริการขนส่งผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 31 ลำ โดยมีรายละเอียดดังนี้ แบบเครื่องบิน

จำนวนเครื่องบิน (ลำ)

ภายใต้สัญญาเช่า ทางการเงิน (ลำ)

ภายใต้สัญญาเช่า ดำเนินงาน (ลำ)

กรรมสิทธิ์ ของบริษัทฯ (ลำ)

แอร์บัส เอ 320

8

-

8

-

แอร์บัส เอ 319

11

-

11

-

เอทีอาร์ 72-500

8

1

2

5

เอทีอาร์ 72-600

4

4

-

-

รวมทั้งสิ้น

31

5

21

5

ในปี 2558 บริษัทฯ ใช้เครื่องบินในการดำเนินงานโดยเฉลี่ยประมาณ 9.02 ชั่วโมงปฏิบัติการบินต่อหนึ่ง วันการใช้งาน (block hour per day utilization) ซึ่งเป็นระดับปกติเช่นเดียวกับสายการบินอื่นๆ ในภูมิภาคที่ให้บริการแบบเต็มรูปแบบ บริษัทฯ ใช้เครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 320 โดยเฉลี่ยประมาณ 9.63 ชั่วโมงปฏิบัติการบินต่อหนึ่งวันการใช้งาน เครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 319 โดยเฉลี่ยประมาณ 9.32 ชั่วโมงปฏิบัติการบินต่อหนึ่งวันการใช้งาน และเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-500 โดยเฉลี่ยประมาณ 8.10 ชั่วโมงปฏิบัติการบินต่อหนึ่งวันการใช้งาน 31


2. การวางแผนเส้นทางการบิน บริษัทฯ เน้นให้บริการเส้นทางการบินระยะใกล้ไปยังสนามบินที่อยู่ในและใกล้เคียงกับบริเวณที่เป็นจุดหมาย ปลายทางของแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญ ซึ่งโดยปกติอยู่ในรัศมีไม่เกิน 3,120 กิโลเมตร ลเมตร และระยะเวลาของเที่ยวบินไม่เกิน 5 ชั่วโมงจากศูนย์ปฏิบัติการการบินของบริษัทฯ ในสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินสมุย และสนามบินเชียงใหม่ บริษัทฯ ได้ประสานงานกับกรมการบินพลเรือน ในการยื่นขอสิทธิการบินเพิ่มเติมภายใต้ความตกลงว่าด้วย การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศฉบับที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันและฉบับใหม่ ทั้งนี้ ความสามารถ ความสามารถ ของบริษัทฯ ที่จะขยายเครือข่ายเส้นทางการบิน เพิ่มจำนวนเที่ยวบินและจำนวนที่นั่งโดยสารขึ้นอยู่กับการ การ ที่บริษัทฯ จะสามารถขอรับสิทธิการบินและได้รับจัดสรรเวลาการใช้สนามบิน (Slot) ไปยังจุดหมายปลาย ทางเหล่านี้อย่างเพียงพอ ปัจจัยหลักที่นำมาพิจารณาในการเพิ่มเส้นทางการบินใหม่เข้ากับเครือข่ายเส้นทางการบินที่มีอยู่ของบริษัทฯฯ หรือในการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินในเส้นทางการบินเดิม ได้แก่ ความพร้อมของเครื่องบินและประมาณการ อัตราการขนส่งผูโ้ ดยสาร และพัสดุภณ ั ฑ์ ความสามารถในการสร้างรายได้ของเส้นทางการบิน และการส่งเสริม ปริมาณการขนส่งในเส้นทางการบินอื่นๆ ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์เครือข่ายเส้นทางการบินปัจจุบันของบริษัทฯ บริษัทฯ จะให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อ เครือข่ายผ่านศูนย์ปฏิบัติการการบินของบริษัทฯ ในกรุงเทพฯ และสนามบินของบริษัทฯ มากขึ้น โดยเฉพาะ สนามบินสมุย บริษัทฯ ได้ให้บริการการบินโดยการเชื่อมต่อนักท่องเที่ยวผ่านเส้นทางจากจังหวัด เชียงใหม่ ซึง่ เปรียบเสมือนประตูสภู่ าคเหนือของประเทศไทย บริษัทฯ ได้เข้าทำความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) และความร่วมมือกับสายการบินอื่นๆ ยังเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่ทำให้บริษัทฯ สามารถขยาย เครื อ ข่ า ยเส้ น ทางการบิ น และเพิ่ ม อั ต ราผู้ โ ดยสาร โดยผู้ โ ดยสารสามารถเชื่ อ มต่ อ เที่ ย วบิ น ของบริ ษั ท ฯ จากสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกทั้งในทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย และภูมิภาคอื่นๆ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังสามารถเข้าถึงผู้โดยสารในประเทศจีนโดยการให้บริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ ในการนี้บริษัทฯ จะตรวจสอบให้แน่ใจอย่างสม่ำเสมอว่าเที่ยวบินในเครือข่ายส่วนขยายมีตารางเวลาในการบินสอดคล้องกับ เที่ยวบินในเครือข่ายเส้นทางการบินของบริษัทฯ เพื่อที่จะทำให้มีจำนวนเที่ยวบินที่จะเชื่อมต่อกับเที่ยวบิน ของบริษัทฯ ให้ได้มากที่สุด และบริษัทฯ ยังต้องติดตามตรวจสอบปริมาณการขนส่งผู้โดยสารในเส้นทาง การบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศเป็นระยะๆ เพื่อปรับเปลี่ยนจำนวนเที่ยวบินและจำนวน ที่นั่งโดยสารตามความต้องการของตลาดในช่วงที่มีผู้โดยสารเดินทางมากและสอดคล้องกับความผันผวน ในอุปสงค์ของตลาดในเส้นทางการบินเหล่านี้

32


3. ตารางการบิน ฝ่ายจัดการด้านเครือข่ายเส้นทางการบินของบริษัทฯ จะจัดทำตารางการบินให้มีความสอดคล้องกับอุปสงค์ ของตลาดในเส้นทางการบินต่างๆ และตามแนวปฏิบัติของ IATA ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดทำตารางการบินเป็น 2 ฤดู อันประกอบด้วย ตารางการบินในภาคฤดูหนาวและตารางการบินในภาคฤดูร้อน โดยตารางการบิน ในภาคฤดู ห นาวเริ่ ม ตั้ ง แต่ วั น อาทิ ต ย์ สุ ด ท้ า ยของเดื อ นตุ ล าคมของปี ก่ อ นหน้ า ถึ ง วั น เสาร์ สุ ด ท้ า ยของ เดือนมีนาคม ส่วนตารางการบินในภาคฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนมีนาคมถึงวันเสาร์ สุดท้ายของเดือนตุลาคมของแต่ละปี ทั้งนี้บริษัทฯ อาจเปลี่ยนแปลงอัตราความถี่ของเที่ยวบินและแบบของ เครื่องบินที่ใช้ในเส้นทางการบินแบบประจำในบางเส้นทางได้ตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงฤดูกาล

4. การปฏิบัติการการบิน บริษัทฯ กำกับดูแลและควบคุมเที่ยวบินต่างๆ ของบริษัทฯ โดยผ่านศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการการบิน ซึ่งตั้งอยู่นอกบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อให้การปฏิบัติการการบินเป็นไปตามตารางการบิน กฎหมาย และข้อบังคับต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการการบินจะเก็บรวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวกับน้ำหนักที่เครื่องบินสามารถบรรทุกได้ สภาพอากาศ สภาพสนามบิน และสถานะ ของเครื่องบิน อนุมัติการอำนวยการบิน และประสานงานกับการบริการอุปกรณ์ภาคพื้นและบริการการซ่อม บำรุงที่จำเป็นแก่เครื่องบินของบริษัทฯ ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการการบินจะควบคุมติดตามเที่ยวบินโดยการ ใช้ระบบแสดงผลเรดาร์ภาคพื้นอากาศและภาคพื้นดิน การสื่อสารทางระบบวิทยุ ระบบการสื่อสารและ รายงานทางอากาศ (Air Communication Addressing and Reporting System) และระบบการสื่อสาร แบบเชื่อมโยงข้อมูลจากภาคพื้นอากาศสู่ภาคพื้นดิน (Air-to-Ground Data Link Communications) ซึ่ ง ถ้ า หากเกิ ด เหตุ ก ารณ์ ผิ ด ปกติ ศู น ย์ ค วบคุ ม การปฏิ บั ติ ก ารการบิ น อาจปรั บ เปลี่ ย นตารางเที่ ย วบิ น รวมเที่ยวบิน และยกเลิกเที่ยวบินในกรณีจำเป็น 33


5. ศูนย์ปฏิบัติการการบิน • ศูนย์ปฏิบัติการการบินในกรุงเทพฯ และสิ่งอำนวยความสะดวก บริษัทฯ เชื่อว่ากรุงเทพฯ มีข้อได้เปรียบและเป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาค ข้อได้เปรียบเช่นว่านี้ ได้แก่ การที่ ก รุ ง เทพมหานครเป็ น ประตู สู่ ภู มิ ภ าคอิ น โดจี น ภู มิ ภ าคลุ่ ม แม่ น้ ำ โขง ภู มิ ภ าคเอเชี ย ใต้ แ ละ ประเทศจีนตอนใต้ อีกทั้งกรุงเทพฯ ยังตั้งอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเป็นจุดแวะพักสำหรับเส้นทาง เชื่อมต่อระหว่างทวีปยุโรปกับทวีปเอเชียตอนเหนือ และทั้งทวีปยุโรปและเอเชียตอนเหนือกับจุดบิน ต่างๆ ในประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์ปฏิบัติการการบินหลักของบริษัทฯ อยู่ที่สนามบินสุวรรณภูม ิ ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติหลัก และเป็ น สนามบิ น ในประเทศที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ของประเทศไทยทั้งในด้านของปริมาณเครื่องบินที่ขึ้นลง และจำนวนผู้โดยสาร ทั้งนี้ตามข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว (Department of Tourism) จำนวน ผู้โดยสารโดยประมาณที่เดินทาง เข้า ออกสนามบินสุวรรณภูม ิ ในปี 2558 เท่ากับ 52.38 ล้านคน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2557 โดยประกอบด้วย ผู้โดยสารระหว่างประเทศ เป็น จำนวน 43.94 ล้านคน และผู้ โ ดยสารภายในประเทศเป็ น จำนวน 8.43 ล้ า นคน และตั้ ง แต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2558 การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) ได้นำระบบตรวจสอบและคัดกรอง ผู้โดยสารล่วงหน้า หรือ APPS (Advance Passenger Processing System) มาใช้ในสนามบิน ในการตรวจสอบผูโ้ ดยสาร เพือ่ ป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติ และเพิม่ ความปลอดภัยในท่าอากาศยาน สอดรั บ กั บ มาตรการรั ก ษาความปลอดภั ย ที่ อ งค์ ก ารการบิ น พลเรื อ นระหว่ า งประเทศ (ICAO) ให้ความสำคัญ ภายหลังจากบริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินงานในสนามบินสุวรรณภูมิ บริษัทฯ ได้โอนย้ายการดำเนินงาน ส่วนใหญ่ซ่ึงเคยอยู่ที่สนามบินดอนเมืองมายังสนามบินสุวรรณภูม ิ ยกเว้นในส่วนบริการการซ่อมบำรุง เครื่องบิน ทั้งนี้ บริษัทฯ ต้องชำระค่าเช่า ค่าธรรมเนียมการบิน และค่าบริการหลายรายการให้แก่ บมจ. ท่าอากาศยานไทย (ทอท) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมการลงจอด และการจอดเครื่องบิน ค่าเช่าพื้นที่และค่าธรรมเนียมอื่นๆ และบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของบริษัทฯ ต้องจ่ายค่าสัมปทานสำหรับธุรกิจที่ได้รับสัมปทานให้ดำเนินการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนี้บริษัทฯ ได้เช่าที่ดินในสนามบินดอนเมืองเพือ่ ใช้ในกิจการซ่อมบำรุงอากาศยาน ซึง่ ประกอบ ไปด้วยโรงซ่อมบำรุงอากาศยาน ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ขั้น C-Check รวมทั้งยังมีพื้นที่อยู่ในบริเวณติดกัน สำหรั บ การซ่ อ มอุ ป กรณ์ ต่ า งๆ ส่ ว นประกอบของเครื่ อ งบิ น หรื อ วั ส ดุ ส ำหรั บ ห้ อ งโดยสารภายใน เครื่องบินด้วย

34


• ศูนย์ปฏิบัติการการบินในเกาะสมุย และสิ่งอำนวยความสะดวก บริษัทฯได้ก่อสร้างและพัฒนา สนามบินสมุย และเปิดให้บริการในปี 2532 ด้วยเงินลงทุนประมาณ 800 ล้านบาท สนามบิ น เปิ ด อย่ า งเป็ น ทางการเมื่ อ วั น ที่ 25 เมษายน 2532 สนามบิ น ให้บ ริการ การเดินทางในประเทศที่มีการไปและกลับจากกรุงเทพฯ ด้วยพื้นที่ทางวิ่ง (Runway) 1,800 เมตร ในปี 2540 สนามบิ น สมุ ย ได้ มี ก ารพั ฒ นาเพื่ อ รองรั บ เที่ ย วบิ น ต่ า งประเทศ โดยเพิ่ ม ศุ ล กากรและ หน่วยงานตรวจคนเข้าเมือง พร้อมกับอาคารพักผู้โดยสารแห่งใหม่ เพื่อรองรับเที่ยวบินเส้นทางใหม่ มายังสนามบินรวมถึงการให้บริการที่มีจุดหมายปลายทางยังต่างประเทศ ในปี 2547 สนามบินได้เริ่มดำเนินการโครงการขยายอาคารรองรับผู้โดยสารอีก 6 อาคาร โดย 4 อาคาร สำหรับเส้นทางบินในประเทศ และอีก 2 อาคารสำหรับเส้นทางการบินระหว่างประเทศ ด้วยเงินลงทุน 500 ล้านบาท นอกจากนี้ยังขยายพื้นที่ทางวิ่งให้มีความยาวถึง 2,100 เมตร บนพื้นที่ที่กองทุนรวม มี สิ ท ธิ ก ารเช่ า ระยะยาวโดยมี ก ารก่ อ สร้ า งแล้ ว เสร็ จ เมื่ อ ปี 2550 สามารถรองรั บ ผู้ โ ดยสารได้ ถึ ง 16,000 คนต่อวัน และสามารถเพิ่มจำนวนผู้โดยสารต่อปีจาก 1.3 ล้านคนเป็น 6.0 ล้านคน การเติบโตของสนามบินสมุยทำให้ท่องเที่ยวเกาะสมุยเติบโตขึ้นด้วย ปัจจุบันเกาะสมุยเป็นจุดหมาย ปลายทางที่ได้รับความนิยมจากชาวยุโรป เอเชีย และจากภูมิภาคอื่นๆ ด้วยขนาดของพื้นที่ทางวิ่ง 2,100 เมตร บริษัทฯ สามารถเพิ่มขนาดของเครื่องบินที่ให้บริการมายัง สนามบิน โดยปัจจุบันมีการให้บริการด้วยเครื่องบินแบบ แอร์บัส เอ 319 และ เครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72 สนามบินสมุยยังได้เปิดให้บริการแก่สายการบินอื่นด้วย เช่น สายการบินไทย สายการบินซิลค์แอร์ สายการบินฟายเออร์ฟลาย สนามบินสมุยได้รับหลายรางวัลในด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรม ประกอบด้วยรางวัลด้าน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สนามบินได้นำต้นมะพร้าวมาใช้ในการตกแต่ง และการใช้อากาศจากธรรมชาติ ในระบบการทำความเย็นแบบเปิดในอาคารรับรองผู้โดยสาร และตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 ทางสนามบินสมุยได้นำระบบตรวจสอบและคัดกรองผู้โดยสารล่วงหน้า หรือ APPS (Advance Passenger Processing System) มาใช้ในสนามบินโดยเริ่มดำเนินการพร้อม กับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) ในการตรวจสอบผู้โดยสาร เพื่อป้องกันการก่อการร้าย ข้ามชาติ และเพิ่มความปลอดภัยในท่าอากาศยาน สอดรับกับมาตรการรักษาความปลอดภัยที่องค์การ การบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ให้ความสำคัญ

35


• ศูนย์ปฏิบัติการการบินเชียงใหม่ และสิ่งอำนวยความสะดวก ในปี 2558 บริษัทฯ ได้กำหนดให้สนามบินเชียงใหม่เป็นศูนย์ปฏิบัติการการบินในพื้นที่เขตภาคเหนือ ซึ่ ง ปั จ จุ บั น จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มจากนั ก ท่ อ งเที่ ย วและนั ก ธุ ร กิ จ เพิ่ ม มากขึ้ น เป็ น ลำดั บ และมีสายการบินนานาชาติหลายสายที่ได้ทำการบินโดยตรงไปยังสนามบินเชียงใหม่ บริษัทฯ ได้เล็งเห็น ศักยภาพของการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และการเชื่อมต่อเครือข่ายการบิน ในภูมิภาคนี้ บริษัทฯ จึงได้พัฒนาเส้นทางการบินโดยมีจังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง เช่น เส้นทางบิน เชียงใหม่-เกาะสมุย เชียงใหม่-ภูเก็ต เชียงใหม่-มัณฑะเลย์และเชียงใหม่-ย่างกุ้ง เพื่อรองรับการเจริญ เติบโตของผู้โดยสารที่เป็นนักท่องเที่ยวในเชิงวัฒนธรรม ทั้งที่เดินทางโดยสายการบินพันธมิตร และสาย การบินอื่นๆ

6. การให้บริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ การให้บริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำนั้น เป็นการช่วยเสริมอัตราการใช้เครื่องบินและเพิ่มรายได้ของ บริษัทฯ อย่างไรก็ด ี ในการให้บริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำนั้น บริษัทฯ จะคำนึงถึงจำนวนเครื่องบิน ที่สามารถนำมาให้บริการได้ โดยจะให้ความสำคัญกับการให้บริการขนส่งผู้โดยสารแบบประจำก่อน

7. การซ่อมบำรุงอากาศยาน การซ่อมบำรุงเครื่องบิน ซ่อมแซม และซ่อมบำรุงใหญ่ (Maintenance Repair and Overhaul (MRO) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความปลอดภัยของผู้โดยสาร ความมีประสิทธิภาพในการใช้งาน การดูแลรักษาเครือ่ งบิน ของบริษัทฯ และการใช้ประโยชน์ในเครื่องบินของบริษัทฯ ได้อย่างเหมาะสมที่สุด โดยตารางในการซ่อม บำรุงเครื่องบินของบริษัทฯ อาจแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยบางประการ ซึ่งรวมถึง อายุ และประเภท ของเครื่องบิน และคุณลักษณะที่กำหนดโดยผู้ผลิต บริษัทฯ ดำเนินการซ่อมบำรุงเครื่องบินตามหลักเกณฑ์ใน การซ่อมบำรุงที่กำหนดโดยองค์กรความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป (EASA) องค์กรตรวจสอบ ความปลอดภัยของ IATA (IATA Operational Safety Audit (IOSA)) และ ICAO นอกจากนี้ การซ่อมบำรุง เครื่องบินของบริษัทฯ ได้ผ่านการรับรองโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (ISO) และได้รับการ รับรองมาตรฐานการซ่อมบำรุงจากกรมการบินพลเรือน การซ่อมบำรุงอากาศยาน โดยปกติมีการกำหนดให้มีการซ่อมบำรุงย่อยและซ่อมบำรุงใหญ่ในแต่ละช่วงเวลา หรือแต่ละรอบการบิน หรือแต่ละช่วงของชั่วโมงบินโดยผู้ผลิตเครื่องบิน ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทของ เครื่องบิน โดยภาพรวมสามารถแบ่งออกตามลักษณะการซ่อมบำรุงอย่างกว้างๆ ได้ดังนี้ 1. การซ่อมบำรุงย่อย เป็นการซ่อมบำรุงอากาศยานขั้น A Check และ B Check 2. การซ่อมบำรุงใหญ่ประกอบด้วยการซ่อมบำรุงอากาศยานขั้น C Check และ D Check

36


การซ่อมบำรุงอากาศยานรายวัน (Daily Check) ซึ่งเป็นการตรวจสภาพเครื่องบินก่อนและหลังการให้บริการ การบินตามตารางที่กำหนด เพื่อให้เครื่องบินอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อาทิเช่น การตรวจสอบด้วยสายตา การตรวจสอบอุปกรณ์และความสะอาด การตรวจสอบระดับน้ำมัน การตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ ฉุกเฉินต่างๆ เป็นต้นแล้ว ยังมีการกำหนดการซ่อมบำรุงอีก 3 ขั้นคือ A Check B Check และ C Check ดังนี้ การซ่อมบำรุงย่อย ขั้น A Check / B Check

การซ่อมบำรุงใหญ่ ขั้น C Check

กำหนดเวลาในการตรวจสอบ เครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-500

ทุกๆ 500 ชั่วโมง

ทุกๆ 5,000 ชั่วโมง

กำหนดเวลาในการตรวจสอบ เครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 319 และ เอ 320

ทุ ก ๆ 4 เดื อ น หรื อ 750 ชั่ ว โมงบิ น (Flight Hour) หรือ 750 รอบการบิน (Cycles) แล้วแต่ ว่ารอบเวลาใดจะถึงก่อน

ทุกๆ 24 เดือน หรือ 7,500 ชั่วโมงบิน (Flight Hour) หรื อ 5,000 รอบการบิ น (Cycles) แล้วแต่ว่ารอบเวลาใดจะถึงก่อน

สถานที่ตรวจสอบ

หลุมจอดหรือจุดจอดเครื่องบิน

โรงซ่อมบำรุงอากาศยาน

ขอบเขต

การตรวจสอบระดับ A Check จะรวมการซ่อม บำรุงขั้นที่ต่ำกว่า คือการซ่อมบำรุงอากาศยาน รายวัน (Daily Check ) เข้าไปด้วย

การตรวจสอบระดับนี้ จะรวมการซ่อมบำรุงขั้นที่ ต่ ำ กว่ า คื อ การซ่ อ มบำรุ ง อากาศยานรายวั น (Daily Check ) A Check และ B Check เข้าไปด้วย

สำหรับการซ่อมบำรุงย่อยขั้น B Check เป็นการ ซ่อมบำรุงส่วนประกอบและระบบของอากาศยาน ที่ มี ร ายละเอี ย ดมากขึ้ น ซึ่ ง อาจต้ อ งใช้ อุ ป กรณ์ และการทดสอบพิเศษ ทั้งนี้ การตรวจสอบระดับ B Check นี้จะรวมการซ่อมบำรุงขั้นที่ต่ำกว่า คือ การซ่อมบำรุงอากาศยานรายวัน (Daily Check) และ A Check เข้าไปด้วย ตัวอย่าง การซ่อมบำรุงตามตาราง ที่ผู้ผลิตกำหนด

• • • • •

ตรวจสอบโครงสร้างของเครื่องบิน ไม่ชำรุด ผุกร่อน หรือได้รับความเสียหาย ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เปิด-ปิดปุ่มควบคุม ตรวจสอบการทำงานของระบบอ๊อกซิเจน ตรวจสอบระบบไฟฉุกเฉินภายในเครื่องบิน ตรวจสอบระบบไฮโดรลิคต่างๆ

• • • • • • • •

ตรวจสอบโครงสร้างภายในเครื่องบิน สาย ไฟฟ้ า ต่ า งๆ ด้ ว ยการรื้ อ เก้ า อี้ เ พื่ อ เปิ ด ผนั ง เครื่องบินออก ตรวจสอบระบบความปลอดภัยทางออกและ ทางออกฉุกเฉิน ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงโดยการทดสอบ รอยรั่วของประตูเครื่องบิน ตรวจสอบระบบความดันภายในเครื่องบิน ทดสอบระบบการจ่ า ยไฟฟ้ า สำรอง ระบบ ไฟฟ้ากระแสตรง ตรวจสอบช่ อ งประตู รั บ ลม (Ramp air turbine) ซึ่ ง จะเข้ า ไปหล่ อ เลี้ ย งในระบบ ไฮโดรลิค ตรวจสอบระบบต้าน / ปะทะของลม (Flap) ตรวจสอบกลไกและระบบควบคุมการบินต่างๆ

37


การซ่อมบำรุงอากาศยาน ขั้น D Check เป็นการซ่อมบำรุงใหญ่ โดยเป็นการตรวจซ่อมบำรุงรักษาโครงสร้าง ของอากาศยานอย่ า งละเอี ย ดว่ า มี ค วามบกพร่ อ งเกิ ด ขึ้ น ในชิ้ น ส่ ว น ส่ ว นประกอบ หรื อ โครงสร้ า งของ อากาศยานหรือไม่ (non-destructive test) โดยรวมไปถึงการตรวจหาถึงร่องรอยการผุกร่อน ความผิดปกติ ของโครงสร้างอากาศยาน การแตกหัก หรือร่องรอยความเสียหายอื่นซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการแยก ส่วนประกอบของอากาศยานเพื่อทำการตรวจซ่อมบำรุง โดยจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษและกระทำโดยผู้มีความ รู้ความชำนาญทางเทคนิคขั้นพิเศษ ซึ่งบริษัทฯ ไม่มีการให้บริการการซ่อมบำรุงใหญ่ขั้น D Check กรณีที่ เครื่องบินของบริษัทฯ ต้องการการซ่อมในลักษณะนี้ บริษัทฯ จะส่งเครื่องบินไปยังผู้ซ่อมเครื่องบินรายอื่น สำหรับการซ่อมบำรุงอื่นๆ อันได้แก่ การซ่อมบำรุงส่วนประกอบเครื่องบิน การซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ และการ ให้บริการสอบเทียบมาตรฐาน (Calibration) บริษัทฯ ได้ว่าจ้างให้ผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเป็น ผู้ดำเนินการ นอกจากนี้ ภายใต้สัญญาเช่าเครื่องบินของบริษัทฯ นั้น บริษัทฯ จะได้รับประโยชน์จากการรับประกันและ ความช่วยเหลือจากผู้ผลิตเครื่องบินผ่านทางผู้ให้เช่าเครื่องบิน ทั้ ง นี้ บริ ษั ท ฯ ได้ เ ก็ บ ชิ้ น ส่ ว นอะไหล่ ค งคลั ง ที่ ใช้ แ ล้ ว หมดไปและที่ ส ามารถใช้ ห มุ น เวี ย นสั บ เปลี่ ย นได้ ณ โรงซ่อมบำรุงอากาศยานที่สนามบินดอนเมืองและสนามบินสมุย

8. สิทธิและประโยชน์จากการได้รับการส่งเสริมการลงทุน • กิจการสายการบิน บริษัทฯ ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่ม เติม สำหรับกิจการสายการบิน โดยได้รับสิทธิประโยชน์ที่สำคัญซึ่งรวมถึงการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิมีกำหนดเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการสำหรับ แต่ละโครงการ ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับจาก แต่ละโครงการ ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตลอดระยะเวลาที่บริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลสำหรับโครงการนั้นๆ และในกรณีที่ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างระยะเวลาได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ จะได้รับอนุญาตให้นำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไป หักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่ เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลานั้น โดยจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ตลอดจนได้รับสิทธิในการนำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการเข้ามาในราชอาณาจักรตาม จำนวนและกำหนดระยะเวลาเท่าที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเห็นสมควร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน รวมจำนวน 6 บัตร ซึ่งยังคงได้รับ สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยได้มีการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับเครื่องบินไปแล้ว จำนวน 16 ลำ จากทั้งหมด 40 ลำ คงเหลือจำนวนเครื่องบินที่สามารถนำเข้าภายใต้สิทธิประโยชน์ ดังกล่าว อีก 24 ลำ 38


กิจการสนามบินพาณิชย์ บริษัทฯ ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 (รวมทั้งที่มี การแก้ไขเพิ่มเติม) สำหรับกิจการสนามบินพาณิชย์ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ที่สำคัญซึ่งรวมถึงการได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิมีกำหนดเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบ กิจการสำหรับโครงการ การได้รับอนุญาตให้หักเงินลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความ สะดวกร้อยละ 25 ของเงินลงทุนนอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ การได้รับยกเว้นอากร ขาเข้าสำหรับเครื่องจักร การได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินปันผลที่ได้รับจากโครงการไปรวมคำนวณเพื่อเสีย ภาษีเงินได้ตลอดระยะเวลาที่บริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับโครงการ ในกรณีที่ ประกอบกิจการขาดทุนในระหว่างเวลาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้นำผล ขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลานั้นไปหักออกจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นภายหลังระยะเวลาได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดเวลานั้น โดยจะเลือกหักจาก กำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ตลอดจนได้รับสิทธิในการนำคนต่างด้าวซึ่งเป็นช่างฝีมือหรือ ผู้ชำนาญการเข้ามาในราชอาณาจักรตามจำนวนและกำหนดระยะเวลาเท่าที่คณะกรรมการส่งเสริม การลงทุนเห็นสมควร อนึ่ง บริษัทฯ เคยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนสำหรับสนามบินพาณิชย์จำนวน 4 บัตร (สนามบินสมุย สนามบินสุโขทัย และสนามบินตราด) ซึ่งสิทธิประโยชน์ในการรับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้สิ้นสุดลง แล้ว อย่างไรก็ดีบริษัทฯ ยังคงต้องดำเนินการตามเงื่อนไขภายใต้บัตรส่งเสริมต่อไปจนกว่าจะดำเนินการ ยกเลิ ก บั ต รส่ ง เสริ ม ดั ง กล่ า ว โดยเงื่ อ นไขที่ ส ำคั ญ ที่ ต้ อ งปฏิ บั ติ ต าม เช่ น การไม่ จ ำหน่ า ยจ่ า ยโอน เครื่องจักรภายใต้โครงการ การที่ต้องมีบุคคลผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 และการรายงานการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้น การรายงานฐานะการเงิน และผลการดำเนินงาน เป็นต้น

39


2. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน นอกเหนือจากธุรกิจสายการบินแล้ว บริษัทฯ ยังประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบินได้แก่ การให้ บริการลูกค้าภาคพื้น และการให้บริการในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น การให้บริการครัวการบิน และ การ ให้บริการคลังสินค้าระหว่างประเทศ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ โดยผ่านบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัทฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้

40

บริษัท

สัดส่วนหุ้น (ร้อยละ)

ลักษณะ

ประกอบธุรกิจ

BFS Ground

90.0

บริษัทย่อย

การให้บริการลูกค้าภาคพื้น และ การให้บริการในลานจอดและ อุปกรณ์ภาคพื้น

BAC

90.0

บริษัทย่อย

การให้บริการครัวการบิน

BFS Cargo

49.0

บริษัทร่วม

การให้บริการคลังสินค้าระหว่าง ประเทศ


• การให้บริการลูกค้าภาคพื้น และการให้บริการในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น BFS Ground ให้บริการลูกค้าภาคพื้น และให้บริการในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นแก่เที่ยวบินภายใน และระหว่างประเทศแบบประจำและเที่ยวบินเช่าเหมาลำของบริษัทฯ และเที่ยวบินของสายการบินอื่น ณ สนามบินสุวรรณภูมิ โดยในการดำเนินกิจการ BFS Ground ได้ว่าจ้างให้ Worldwide Flight Services Holding S.A. “(WFS)” ให้บริการสนับสนุนการดำเนินกิจการตามสัญญาสนับสนุนการ บริหารการให้บริการกิจการภาคพื้น โดย WFS จะให้บริการเกี่ยวกับการควบคุมและประเมินผล คุณภาพการดำเนินงานบริการ การตลาด และสิ่งอำนวยความสะดวกของ BFS Ground การพัฒนาการ ควบคุมและวิธีการดำเนินงานที่ดีที่สุดเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน การบริหารจัดการให้ BFS Ground ดำเนินการตามสัญญาต่างๆ โดยรวมไปถึงสัญญาโครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวยความ สะดวกด้านการซ่อมบำรุง และการให้ความช่วยเหลือในการจัดหาใบรับรองในการประกอบอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้อง BFS Ground ได้รับสัมปทานจาก ทอท. ตามสัญญาโครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวย ความสะดวกด้านการซ่อมบำรุง ซึ่งอนุญาตให้ BFS Ground ดำเนินงานและให้บริการตามโครงการ อุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุง โดยสัญญานี้มีอายุใช้บังคับเป็น ระยะเวลา 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2549 ทัง้ นี ้ BFS Ground เป็นผูใ้ ห้บริการลูกค้าภาคพืน้ และการให้บริการในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นหนึ่ง ในสองราย ณ สนามบินสุวรรณภูมิ โดยผู้ประกอบการอีกราย คือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ให้บริการลูกค้าภาคพื้น และให้บริการในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นที่สนามบิน สมุย ผ่าน PGGS ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.99 สำหรับในสนามบินใน ต่างประเทศ ผู้ให้บริการภาคพื้นหรือสายการบินหลักที่มีฐานในสนามบินต่างๆ ได้จัดให้มีบริการภาคพื้น สำหรับเที่ยวบินของบริษัทฯ โดยทั่วไปตั้งอยู่บนพื้นฐานของค่าบริการตามสัญญาที่ได้มีการกำหนดล่วง หน้า

41


1. การให้บริการลูกค้าภาคพื้น BFS Ground ให้บริการต่างๆ แก่ผู้โดยสารสำหรับเที่ยวบินแบบประจำของสายการบินอื่น เที่ยว บินแบบเช่าเหมาลำ และเครื่องบินส่วนตัว ณ สนามบินสุวรรณภูม ิ ซึ่งการบริการเหล่านี้ประกอบ ไปด้วย การบริการเช็คอิน การบริการออกบัตรโดยสาร การบริการติดตามกระเป๋าและสัมภาระ และการบริการติดตามกระเป๋าและสัมภาระระหว่างสายการบิน BFS Ground ให้บริการผู้โดยสารในเที่ยวบินต่างๆ มากกว่า 50 สายการบิน ที่สนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว สัญญาการให้บริการลูกค้าภาคพื้น จะมีระยะเวลา 2 ถึง 3 ปี และกำหนดค่า บริการเป็นสกุลเงินบาท 2. การให้บริการในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น BFS Ground ให้บริการในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นแก่สายการบินต่างๆ เที่ยวบินเช่าเหมาลำ และเครื่องบินส่วนตัว ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งการบริการเหล่านี้ประกอบด้วย การขนถ่ายและ ลำเลียงสินค้าสัมภาระเข้าออกจากเครื่องบิน บริการลากจูงเครื่องบิน รถบันไดบริการผู้โดยสารขึ้น ลงเครื่องบิน บริการทำความสะอาดภายในเครื่องบิน บริการเครื่องทำความเย็น บริการน้ำดื่ม บริการอุปกรณ์ซ่อมบำรุงภาคพื้น บริการรับส่งลูกเรือ และการให้ความช่วยเหลือในการดำเนินการ การบิน BFS Ground ให้บริการในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นแก่สายการบินต่างๆ 60 สายการบินใน สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งได้แก่สายการบินเอมิเรตส์แอร์เวย์ สายการบินบริติชแอร์เวย์ สายการบิน แควนตัสแอร์เวย์ และสายการบินกาตาร์แอร์เวย์ เป็นต้น ทั้งนี้ โดยทั่วไปแล้ว สัญญาการให้บริการ ในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น จะมีระยะเวลา 2 ถึง 3 ปี และกำหนดค่าบริการเป็นสกุลเงินบาท BFS Ground เป็นผู้ดำเนินการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัยของ การปฏิบัติการภาคพื้นจาก IATA (International Air Transport Association Safety Audit for Ground Operations: ISAGO)

• การให้บริการครัวการบิน BAC ผลิตอาหารเพื่อให้บริการแก่ผู้โดยสารในเที่ยวบินของบริษัทฯ และผู้โดยสารของสายการบินอื่นๆ ณ สนามบิ น สุ ว รรณภู มิ โดย BAC เป็ น ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารด้ า นครั ว การบิ น หนึ่ ง ในสามราย ณ สนามบิ น สุวรรณภูมิ โดยได้รับสัมปทานจาก ทอท. ตามสัญญาโครงการครัวการบิน ซึ่งอนุญาตให้ BAC ดำเนิน งานและให้บริการตามโครงการครัวการบิน ณ สนามบินสุวรรณภูม ิ โดยสัญญานี้มีอายุใช้บังคับเป็น ระยะเวลา 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2549

42


โรงครัวของ BAC ตั้งอยู่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ โดยมีพื้นที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่ สำหรับการเตรียมอาหารโคเชอร์ (Kosher meals) 2,000 ตารางเมตร การเตรียมอาหารธรรมดา 6,000 ตารางเมตร และอีก 5,000 ตารางเมตรสำหรับการเตรียมอาหารฮาลาล (Halal meals) BAC สามารถผลิตอาหารสำหรับเที่ยวบินของบริษัทฯ และสายการบินอื่น นอกจากนี้ BAC ยังให้บริการผลิตอาหารสำหรับเที่ยวบินเช่าเหมาลำ และผลิตอาหารโคเชอร์ (Kosher meals) แบบแช่แข็งสำหรับเที่ยวบินของบริษัทฯ และสำหรับเที่ยวบินของสายการบินอื่นด้วย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จำนวนอาหารที่ผลิตสำหรับเที่ยวบินของบริษัทฯ (ล้านที่) จำนวนอาหารที่ผลิตสำหรับเที่ยวบินของสายการบินอื่น (ล้านที่)

จำนวนอาหารที่ผลิตต่อวันโดยเฉลี่ย (ที่)

4.2 5.7 27,055

4.0 4.9 24,528

อาหารทุ ก ที่ ผ ลิ ต โดยผ่ า นมาตรฐานสากล ได้ แ ก่ ระบบวิ ธี ก ารที่ ดี ใ นการผลิ ต อาหาร (Good Manufacturing Practice (GMP)) และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติ (Hazard Analysis and Critical Control Points : HACCP) อีกทั้งการผลิตอาหารฮาลาล (Halal meals) ได้ รับการรับรอง จากสำนักคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และการผลิตอาหารอาหารโค เชอร์ (Kosher meals) ได้รับการรับรองจากจากบริษัท ไทยคาชรุธเซอร์วิสเซส จำกัด นอกจากบริษัทฯ แล้ว BAC มี สายการบินที่เป็นจำนวนลูกค้า 20 ราย โดยสัญญาของธุรกิจครัวการบิน โดยทั่วไปจะมีระยะเวลา 1 ถึง 3 ปี และจะกำหนดราคาเป็นสกุลเงินบาท ทั้งนี้ BAC เป็นผู้ให้บริการครัวการบินหนึ่งในสามราย ณ สนามบินสุวรรณภูมิ โดยผู้ประกอบการรายอื่น คือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทแอลเอสจี สกายเชฟส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม บริษัทสายการบินลุฟท์ฮันซ่า ในปี 2558 BAC ได้ขยายพื้นที่ให้บริการโดยเปิดโรงครัวภูเก็ตและโรงครัวสมุยเพื่อเพิ่มจำนวนลูกค้าและ บริการที่นอกเหนือจากเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นอกจากนี ้ BAC ยังให้บริการอาหารสำหรับห้องพักรับรองผู้โดยสารชั้นธุรกิจและชั้นประหยัดของ บริษัทฯ และห้องพักรับรองผู้โดยสารชั้นธุรกิจของสายการบิน ณ สนามบินสุวรรณภูมิ และให้บริการ อาหารนอกสถานที่ในเขตกรุงเทพฯ โดยผ่านทางบริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ของ BAC ที่ดำเนินกิจการร้านอาหาร

43


• การให้บริการคลังสินค้า BFS Cargo ให้บริการคลังสินค้าที่สนามบินสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ ในการดำเนินกิจการ BFS Cargoได้ว่าจ้าง ให้ WFS ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคลังสินค้าแก่สายการบินทั่วโลกในการบริหารจัดการตามสัญญาสนับสนุน การบริหารคลังสินค้า โดย WFS จะให้บริการการควบคุมและประเมินผลคุณภาพการดำเนินงานบริการ การตลาด และสิ่งอำนวยความสะดวกของ BFS Cargo การพัฒนาการควบคุมและวิธีดำเนินงานที่ดี ที่สุดเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน การบริหารจัดการให้ BFS Cargo ปฏิบัติตามสัญญาต่างๆ โดยรวมไป ถึ ง สั ญ ญาโครงการคลั ง สิ น ค้ า และการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ในการจั ด หาใบรั บ รองในการประกอบ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง BFS Cargo ได้รับสัมปทานจาก ทอท. ตามสัญญาโครงการคลังสินค้า โดย สัญญาโครงการคลังสินค้า นี้มีอายุใช้บังคับเป็นระยะเวลา 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2549 ซึ่ง เป็นวันที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ซึ่งอนุญาตให้ BFS Cargo เข้าดำเนิน งานและให้บริการตามสัญญาโครงการคลังสินค้าโดยครอบคลุมการดำเนินการและข้อกำหนดของการให้ บริการคลังสินค้า สำหรับสินค้าที่มีการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในสนามบินสุวรรณภูมิ

44


ทั้งนี้ BFS Cargo มีอาคารคลังสินค้าที่สามารถเก็บรักษาและดูแลสินค้าชนิดพิเศษ รวมถึงสินค้าสดหรือ เน่าเสียง่าย และสินค้ามีมูลค่าสูง เนื่องจากสินค้าประเภทดังกล่าวสามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า ทั้งนี้ BFS Cargo ได้ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยในอาคารคลังสินค้า โดยได้ทำการติดตั้ง โทรทัศน์วงจรปิดจำนวน 186 เครื่องครอบคลุมทั้งอาคารคลังสินค้า โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการเก็บ รักษาสินค้าที่มีมูลค่าสูงจะมีการติดตั้งกล้องประจำพื้นที่อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีเครื่องเอ็กซเรย์เพื่อที่จะ ตรวจสอบวัตถุระเบิด และมีการว่าจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ได้รับการฝึกอบรมในด้านการ เดินอากาศ และพนักงานรักษาความปลอดภัย BFS Cargo ได้ รั บ การรั บ รองจากสมาคมป้ อ งกั น ทรั พ ย์ สิ น ที่ มี ก ารขนส่ ง (Transported Asset Protection Association: TAPA) และองค์การมาตรฐานสากล (International Organization of Standards: ISO) โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 BFS Cargo เป็นผู้ให้บริการรายแรกและรายเดียวที่ ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการตรวจสอบความปลอดภัยของการปฏิบัติการภาคพื้นจากสมาคมขนส่ง ทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association Safety Audit for Ground Operations: ISAGO) คลังสินค้าของ BFS Cargo ตั้งอยู่ ณ สนามบินสุวรรณภูมิ มีพื้นที่ 55,370 ตารางเมตร โดยเป็นพื้นที่สำหรับโกดังสินค้า 39,744 ตารางเมตร ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ห้องทำความ เย็นสำหรับเก็บรักษาสินค้าขนาด 16,000 ตารางเมตร โดยมีช่องสำหรับรับส่งสินค้าโดยตรง 4 ช่อง พื้นที่เก็บรักษาสินค้าที่ต้องการความปลอดภัยที่ควบคุมการเข้าออกพิเศษ สำหรับสินค้ามีค่า พื้นที่ ระบายอากาศสำหรับสินค้ามีชีวิต และมีพื้นที่สำหรับเก็บสินค้าอันตรายขนาด 120 ตารางเมตร ทั้งนี้ อาคารคลังสินค้าของ BFS Cargo มีความจุ 550,000 ตันต่อปี

น้ำหนักของสินค้าที่ให้บริการ (ตัน) ปริมาณการรองรับสินค้า (ตันต่อปี)(1) การใช้งาน (Utilization) (ร้อยละ)

ปี 2557

ปี 2558

371,530 55,000 67.6

375,301 450,000 83.4

หมายเหตุ (1) บริษัทดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด ปรับวิธีการคำนวนการรองรับสินค้า เนื่องจากสัดส่วนของสินค้าขาเข้า มีอัตราเพิม่ สูงขึน้ (ปัจจุบนั สัดส่วนสินค้าขาเข้าต่อสินค้าขาออก เท่ากับ 46:54 จากเดิม 34:66) ซึ่งโดยปกติ สินค้าขาเข้าจะเก็บรักษาในคลังสินค้าเป็นเวลาหลายวันก่อนที่ผู้นำเข้าจะมารับสินค้าไป ในขณะที่สินค้า ขาออกจะเก็บไว้ในคลังสินค้าประมาณ 0.5 วันเท่านั้น ส่งผลให้พื้นที่การจัดเก็บสินค้าลดลงจาก 550,000 ตัน ต่อปี เป็น 450,000 ตันต่อปี

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 BFS Cargo มีจำนวนลูกค้ามากกว่า 50 ราย สัญญาการให้บริการคลัง สินค้าจะ มีระยะเวลา 2 ถึง 3 ปี และกำหนดค่าบริการเป็นสกุลเงินบาท ทั้งนี้ BFS Cargo เป็นผู้ให้บริการคลังสินค้าระหว่างประเทศหนึ่งในสองราย ณ สนามบินสุวรรณภูมิ โดย ผู้ให้บริการอีกราย คือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

45


3. ธุรกิจสนามบิน บริษัทฯ เป็นเจ้าของและผู้ดำเนินกิจการสนามบินจำนวน 3 สนามบิน คือ สนามบินสมุย สนามบินตราด และสนามบินสุโขทัย

• สนามบินสมุย สนามบิ น สมุ ย นั บ เป็ น สนามบิ น ที่ มี ค วามสำคั ญ ต่ อ บริ ษั ท ฯ ทั้ ง ในเรื่ อ งจำนวนผู้ โ ดยสารและรายได้ บริษัทฯ เริ่มดำเนินกิจการสนามบินสมุยเมื่อปี 2532 ในฐานะสนามบินสาธารณะในประเทศไทยที่ เอกชนเป็นเจ้าของ โดยดำเนินกิจการสนามบินสมุยภายใต้ใบอนุญาตจัดตั้งสนามบินสมุย ในปี 2548 บริษัทฯ ได้ดำเนินการขยายสนามบินสมุย เพื่อให้มีขีดความสามารถที่จะรองรับการบริการ ผู้โดยสารจำนวน 16,000 คนต่อวัน และ 6 ล้านคนต่อปี ในปี 2558 สนามบินสมุยให้บริการผู้โดยสาร เข้าและออกกว่า 2 ล้านคน และจำนวนกว่า 27,000 เที่ยวบิน

ตารางแสดง เที่ยวบินที่เข้าและออกจากสนามบินสมุยในแต่ละวัน ณ เดือนธันวาคม 2558 โดยมีรายละเอียดดังนี้

สายการบิน บริษัทฯ การบินไทย ซิลค์แอร์ ฟายเออร์ฟลาย

เที่ยวบินต่อวัน 36 2 10(1) 1 หมายเหตุ (1) เที่ยวบินต่อสัปดาห์

สนามบินสมุยเปิดดำเนินการเป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน โดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 600 ไร่ ประกอบ ด้วยทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง ซึ่งมีระยะทาง 2,060 เมตร มีทางขับจำนวน 4 ทางขับ และมีลานจอดอากาศยาน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 28,000 ตารางเมตร สนามบินสมุยสามารถรองรับเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-500 72-600 เครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 319 และเครื่องบินแบบโบอิ้ง 737-400 รวมทั้งเครื่องบินไอพ่นที่ใช้ในเที่ยวบินธุรกิจและเที่ยวบินส่วนบุคคล ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้รับอนุมัติจากกรมการบินพลเรือน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบาย และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว โดยกำหนดจำนวนเที่ยวบินขาเข้าและขาออกจาก สนามบินสมุยในแต่ละวัน 50 เที่ยวบินต่อวัน

46


สนามบินสมุยมีอาคารผู้โดยสารจำนวน 6 อาคารซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 12,113 ตารางเมตร โดยเป็นพื้นที่ ในเชิงพาณิชย์ 1,939 ตารางเมตร ทั้งนี้ ภายในอาคารผู้โดยสารยังประกอบด้วย เคาน์เตอร์ตรวจ คนเข้าเมืองจำนวน 8 เคาน์เตอร์ โดยเปิดดำเนินการเป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน และตั้งแต่เดือน สิ ง หาคม 2558 เป็ น ต้ น มา สนามบิ น เพิ่ ม ความสะดวกในการให้ บ ริ ก ารผู้ โ ดยสารในการตรวจรั บ บัตรโดยสาร โดยมีตู้ตรวจรับบัตรโดยสารอัตโนมัติให้บริการด้วยตนเอง ตั้งอยู่บริเวณอาคารผู้โดยสาร ขาออกจำนวน 10 เครือ่ ง ในเดื อ นพฤศจิ ก ายน 2549 บริ ษั ท ฯ ให้ เช่ า ทรั พ ย์ สิ น ในส่ ว นของสนามบิ น สมุ ย แก่ ก องทุ น รวม อสังหาริมทรัพย์สิทธิการเช่าสนามบินสมุย “กองทุนรวม” เป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 ภายใต้สัญญาเช่าระยะยาวโดยบริษัทฯ ตกลงที่จะเป็นผู้รับผิดชอบในบรรดาค่าใช้จ่ายสำหรับการ รักษาสภาพแวดล้อมโดยรวมของทรัพย์สินที่เช่าและสนามบินสมุยให้อยู่ในสภาพที่ดี และรับผิดชอบใน การจัดให้มีกิจกรรมด้านการตลาดที่จำเป็น บริ ษั ท ฯ ได้ น ำสนามบิ น สมุ ย กลั บ มาบริ ห ารกิ จ การต่ อ ภายใต้ สั ญ ญาเช่ า ช่ ว งและสั ญ ญาให้ บ ริ ก าร ซึ่งบริษัทฯ เข้าทำกับกองทุนรวมในวันเดียวกันกับที่มีการเข้าทำสัญญาเช่าระยะยาว โดยกองทุนรวมได้ ให้บริษัทฯ เช่าช่วงสนามบินสมุยกลับภายใต้สัญญาเช่าช่วง เป็นระยะเวลา 3 ปีโดยจะมีการต่ออายุ สัญญาได้ 9 ครั้ง ครั้งละ 3 ปี โดยระยะเวลาเช่าช่วงรวมทั้งหมดไม่เกิน 30 ปี นอกจากนี้ภายใต้สัญญา ให้บริการ บริษัทฯ ตกลงให้บริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์ซ่อมบำรุงทางวิ่ง ระบบสื่อสาร และระบบอื่นๆ แก่กองทุนรวม เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินกิจการ สนามบินสมุย ทั้งนี้ สัญญาให้บริการดังกล่าว มีกำหนดระยะเวลา 30 ปี โดยภายใต้สัญญาเช่าช่วงและ สัญญาให้บริการ บริษัทฯ ตกลงที่จะชำระค่าเช่าช่วงแก่กองทุนรวมเป็นจำนวน 26.1 ล้านบาทต่อเดือน และค่าบริการซึ่งแบ่งออกเป็นค่าบริการคงที่เป็นจำนวนเดือนละ 21.4 ล้านบาท และค่าบริการผันแปร โดยคำนวณตามสูตรที่กำหนดไว้ในสัญญาให้บริการ ซึ่งมฐานการคำนวณจากจำนวนผู้โดยสารและ เครื่องบินที่มาใช้บริการสนามบินสมุย (รวมถึงเครื่องบินของบริษัทฯ) ทั้งนี้ โดยไม่รวมถึงค่าเช่าที่ได้รับ จากการให้เช่าพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ในสนามบินสมุย รายได้หลักที่ได้รับจากการดำเนินงานสนามบินสมุยมาจากค่าบริการผู้โดยสารขาออกที่เรียกเก็บจาก ผู้โดยสารขาออก ค่าบริการในการลงจอดอากาศยาน ค่าบริการที่จอดอากาศยาน และค่าบริการภาค พื้นดิน ที่เรียกเก็บจากสายการบินอื่นๆ ที่เข้ามาใช้บริการสนามบินสมุย รวมถึงรายได้จากการให้เช่า พื้นที่ในเชิงพาณิชย์ในสนามบินสมุย บริษัทฯ ได้ให้สิทธิในการให้บริการภาคพื้นดินแก่ PGGS เพื่อให้บริการภาคพื้นดินแก่สายการบินอื่น ที่เข้ามาใช้บริการในสนามบินสมุย ดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่มีรายได้จากการให้บริการภาคพื้นดินให้แก่สาย การบินอื่นโดยตรง แต่จะได้รับรายได้จากการให้สิทธิในการบริการภาคพื้นดินจาก PGGS ซึ่งเงินจาก รายได้หลักที่ได้รับจากการดำเนินงานสนามบินสมุยดังกล่าวส่วนใหญ่ จะถูกจ่ายต่อไปยังกองทุนรวมใน รูปของค่าเช่า ค่าบริการคงที่ และค่าบริการผันแปร บริษัทฯ จะได้รับรายได้กลับคืนมาในรูปแบบของ เงินปันผลจากการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมตามสัดส่วนที่ถืออยู่

47


• สนามบินตราด บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินกิจการสนามบินตราดเมื่อปี 2549 โดยดำเนินกิจการภายใต้ใบอนุญาตจัดตั้ง สนามบิ น ตราดซึ่ ง มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ จ นถึ ง วั น ที ่ 14 มี น าคม 2559 โดย เมื่ อ วั น ที่ 11 มี น าคม 2556 กระทรวงการคลังได้ประกาศให้สนามบินตราดเป็นสนามบินศุลกากร (Custom Inspection and Quarantine Airport: CIQ) สนามบินตราดอยูห่ า่ งจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 387 กิโลเมตร และจังหวัดตราด เป็นเมืองที่อยู่ใกล้พรมแดนประเทศกัมพูชา โดยบริษัทฯ เป็นสายการบินเพียงแห่งเดียวที่มีการบิน ไปยังจังหวัดตราด สนามบินตราดเปิดดำเนินการเป็นเวลา 13 ชั่วโมงต่อวัน และสามารถรองรับ ผู้โดยสารได้มากถึง 3,640 คนต่อวัน โดยมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,300 ไร่ ประกอบด้วยทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง มีระยะทาง 1,800 เมตร ทั้งนี้ ในปี 2558 บริษัทฯ ได้ดำเนินการรองรับผู้โดยสารขาเข้า และขาออกจากสนามบินตราดประมาณ 80,000 คน และให้บริการกว่า 30,000 เที่ยวบิน บริษัทฯ เริ่มก่อสร้างลานจอดเครื่องบินพื้นที่ประมาณ 4,800 ตารางเมตร โดยพิจารณาก่อสร้าง ลานจอดรถเครื่องบินในส่วนแรกเพื่อรองรับเครื่องบินจำนวน 2 ลำ เนื่องจากในปัจจุบัน สนามบินตราด ยังไม่มีลานจอดเครื่องบินที่เหมาะสม สนามบินตราดมีอาคารผู้โดยสารจำนวน 1 อาคาร ซึ่งครอบคลุม พื้นที่ 2,560 ตารางเมตร โดยเป็นพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ 1,250 ตารางเมตร

• สนามบินสุโขทัย บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินกิจการสนามบินสุโขทัยเมื่อปี 2541 สนามบินสุโขทัยตั้งอยู่ในจังหวัดสุโขทัย ซึ่งห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือเป็นระยะทาง 440 กิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 600,000 คน ทั้งนี้ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ทางทิศตะวันตกเป็นระยะทาง 12 กิ โ ลเมตร ได้ รั บ การประกาศให้ เ ป็ น แหล่ ง มรดกโลกจากองค์ ก ารยู เ นสโกตั้ ง แต่ ป ี 2534 ทั้ ง นี้ ในปี 2558 บริษัทฯ ได้ดำเนินการรองรับผู้โดยสารขาเข้าและขาออกจากสนามบินสุโขทัยประมาณ 54,000 คน และให้บริการกว่า 14,000 เที่ยวบิน และบริษัทฯ เป็นสายการบินเพียงแห่งเดียวที่ม ี การบินไปยังจังหวัดสุโขทัย สนามบินสุโขทัยเปิดดำเนินการเป็นเวลา 12 ชั่วโมงต่อวันและสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 3,360 คนต่อวัน โดยมีพื้นที่ทั้งหมดของสนามบินที่ได้รับอนุญาตประมาณ 1,018 ไร่ ประกอบด้วยทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง มีระยะทาง 2,100 เมตร และมีทางขับจำนวน 1 ทางขับ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 3,870 ตารางเมตร และมีจำนวน 2 ลานจอดอากาศยานที่พร้อมใช้งาน คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 9,975 ตารางเมตร สนามบิน สุโขทัยมีอาคารผู้โดยสารจำนวน 2 อาคาร ซึ่งครอบคลุมพื้นที ่ 1,026 ตารางเมตร โดยเป็นพื้นที ่ ในเชิงพาณิชย์ 784 ตารางเมตร

48


2. การตลาดและภาวะการแข่งขัน นโยบายการตลาด • การยกระดับประสบการณ์การใช้บริการของผู้โดยสาร บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะยกระดับประสบการณ์การใช้บริการของผู้โดยสาร ด้วยการให้บริการระดับพรีเมี่ยมและมี คุณภาพ รวมถึงการให้บริการห้องพักรับรองผู้โดยสารที่สนามบินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การให้บริการด้วยความ เป็นมิตร และการให้บริการที่เน้นความใส่ใจในผู้โดยสาร การใช้เครื่องบินที่มีอายุการใช้งานต่ำ และการให้ บริการในจุดหมายปลายทางอันเป็นแหล่งวัฒนธรรม และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ บริษัทฯ สร้างความแตกต่างให้ประสบการณ์การใช้บริการของผู้โดยสาร ด้วยการให้บริการห้องพักรับรอง ผู้โดยสารโดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยห้องพักรับรองสำหรับผู้โดยสารชั้นประหยัด บริษัทฯ ได้ให้บริการอาหารว่าง เครื่องดื่ม และการให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับการให้บริการห้องพักรับรองผู้โดยสาร ชั้นธุรกิจหรือ “Blue Ribbon” นั้นจะแยกออกจากการให้บริการแก่ผู้โดยสารชั้นประหยัด โดยห้องพัก รับรองผู้โดยสารชั้นธุรกิจจะให้บริการ อาหารจานร้อน ห้องอาบน้ำ ห้องสมุด และการให้บริการอินเทอร์เน็ต ในการให้บริการด้วยคุณภาพระดับที่ดีที่สุดแก่ผู้โดยสาร บริษัทฯ มีพนักงานที่มีความสามารถในการสื่อสาร ภาษาอังกฤษได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี และมีความเป็นมืออาชีพ ทั้งนี้ การรับพนักงานจะต้องผ่านขั้นตอนที่เข้ม งวด และจะมีการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น และมีกิจกรรมการเสริมสร้างสมรรถภาพในการทำงาน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการฝึกอบรมพนักงานที่ให้บริการผู้โดยสารทุกปี เพื่อให้แน่ใจได้ ว่ า พนั ก งานได้ รั บ การเตรี ย มความพร้ อ มมาเป็ น อย่ า งดี ใ นการให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ แก่ ผู้ โ ดยสารได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ

49


• การโฆษณาและการส่งเสริมการขาย บริษัทฯ เชื่อว่าการที่ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม บริษัทฯ มีนโยบายทางการ ตลาดโดยให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมไทยอันเป็นเอกลักษณ์ที่ดึงดูดใจ รวมถึงการต้อนรับนักท่องเที่ยว อย่างมีไมตรีด้วยมนุษยสัมพันธ์อันดีของคนไทย โดยบริษัทฯ มีความมุ่งหมายที่จะเสริมสร้างภาพลักษณ์ ให้ดีขึ้นและสร้างชื่อเสียงที่โดดเด่นในด้านคุณภาพการให้บริการแก่ผู้โดยสาร ค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาดของบริษัทฯ เป็นค่าใช้จ่ายในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ รวมทั้งการสนับสนุนกิจกรรมของบริษัทท่องเที่ยวและตัวแทนการท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยส่วนใหญ่ บริษัทฯ จะโฆษณาผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ สื่อสังคมออนไลน์ งานแสดงสินค้า ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ แผ่นป้ายโฆษณากลางแจ้ง หนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ และ การ โฆษณาทางวิทยุ แม้ว่าบริษัทฯ จะทำการตลาดโดยเน้นจุดหมายปลายทางภายในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ บริษัทฯ ก็ยังคงสามารถรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศที่ต้องการเชื่อมต่อกับเส้นทางการ บินที่บริษัทฯ ให้บริการอยู่ ด้วยการเข้าทำความความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) และข้อตกลงระหว่างสายการบินอื่นๆ และการมีผู้แทนจำหน่ายบัตรโดยสารและสำนักงานด้านการ ตลาดของบริษัทฯ ตั้งอยู่ในหลายพื้นที่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก

• การกำหนดราคาและการบริหารจัดการรายได้ จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการและค่าบัตรโดยสารที่เรียกเก็บมีผลต่อธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ ได้ติดตั้ง ระบบการบริหารจัดการรายได้เพื่อเพิ่มรายได้ในแต่ละเที่ยวบินให้เหมาะสม ทั้งนี้ การบริหารจัดการ รายได้เป็นกระบวนการที่ใช้ในการคำนวณราคาบัตรโดยสารและจำนวนที่นั่งผู้โดยสารที่มีอยู่สำหรับ ผู้ โ ดยสารชั้ น ธุ ร กิ จ และผู้ โ ดยสารชั้ น ประหยั ด เพื่ อ เพิ่ ม รายได้ จ ากการขายบั ต รโดยสารให้ สู ง ที่ สุ ด บนพื้นฐานของพฤติกรรมทางด้านอุปสงค์ที่คาดการณ์ไว้ในแต่ละตลาด จากการใช้ระบบการบริหารจัดการรายได้ในปัจจุบัน บริษัทฯ พยายามที่จะเพิ่มรายได้ให้ได้ในแต่ละ เที่ยวบิน โดยการจัดสรรที่นั่งผู้โดยสารที่มีอยู่ตามราคาค่าโดยสารในแต่ละชั้นเพื่อให้บริษัทฯ ได้รับ ประโยชน์สูงสุด บริษัทฯ มีโครงสร้างราคาค่าบัตรโดยสารที่หลากหลายเพื่อที่จะตอบรับความต้องการในแต่ละกลุ่มตลาด ที่นั่งผู้โดยสารบนเครื่องบินได้ถูกแบ่งออกเป็นชั้นธุรกิจและชั้นประหยัด และราคาค่าโดยสารแบ่งออก เป็นจำนวน 16 กลุ่มย่อย โดยบริษัทฯ จะกำหนดจำนวนที่นั่งในแต่ละราคาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ การแข่งขันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการในการบริหารจัดการรายได้ การคาดการณ์ล่วงหน้า และการกำหนดราคาที่เหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ บริษัทฯ ใช้การคาดการณ์ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลการสำรองที่ นั่งในอดีต รวมเข้ากับการสำรองที่นั่งในปัจจุบัน ประกอบกับงานหรือเหตุการณ์ (event) ที่กำลังจะเกิด ขึ้นในอนาคต รวมถึงแรงกดดันจากภาวะการแข่งขัน และปัจจัยอื่นๆ ในการกำหนดโครงสร้างราคา ค่าบัตรโดยสารเพื่อเพิ่มรายได้สูงสุด 50


บริษัทฯ ใช้ระบบการบริหารจัดการรายได้ที่พัฒนา โดยระบบดังกล่าวนี้ได้ใช้แบบจำลองในการคาด คะเนและกำหนดราคาที่เหมาะสมเพื่อที่จะวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเศรษฐศาสตร์ เพื่อการกำหนด จำนวนที่นั่งในแต่ละราคา ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถเพิ่มรายได้บนขีดความสามารถที่มีอยู่ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ใช้ระบบดังกล่าวทั้งในเส้นทางการบินระหว่างประเทศ และเส้นทางการบินภายในประเทศมาตั้งแต่ ปี 2551 บริษัทฯใช้ระบบการบริหารจัดการรายได้ท่ีพัฒนาขึ้นโดยระบบดังกล่าวนี้ได้ใช้แบบจำลองในการคาด คะเนและกำหนดราคาที่เหมาะสมเพื่อที่จะวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเศรษฐศาสตร์ เพื่อการกำหนด จำนวนที่นั่งในแต่ละราคา ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถเพิ่มรายได้บนขีดความสามารถที่มีอยู่ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ใช้ระบบดังกล่าวทั้งในเส้นทางการบินระหว่างประเทศ และเส้นทางการบินภายในประเทศมาตั้งแต่ ปี 2551 บริษัทฯใช้นโยบายการตลาดและการขายเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ในการขนส่งผู้โดยสารสูงสุดดังนี้ 1. 2. 3. 4.

กำหนดโครงสร้างราคาที่ไม่ซับซ้อนและนำเสนอนโยบายด้านราคาในแต่ละจุดขายเพื่อเพิ่มรายได้ ให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละจุดขายและช่องทางการจัดนำหน่าย เพื่อให้บริษัทฯ มีผลตอบแทน สูงสุดและลดการสูญเสียรายได้ ใช้ระบบบัตรโดยสารอัตโนมัติเพื่อป้องกันการสูญเสียรายได้เนื่องจากความผิดพลาดจากตัวบุคคล และเพิ่มรายได้จากค่าบริการเสริมได้แก่ ค่าธรรมเนียมจากสัมภาระส่วนเกิน ใช้แผนการตลาดส่งเสริมการขายในเส้นทางบินที่ให้ผลตอบแทนสูง จัดสรรทีน่ ง่ั สำหรับบัตรโดยสารในแต่ละระดับราคาให้เกิดประโยชน์สงู สุด ตามอุปสงค์ทคี่ าดการณ์ไว้ ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่ผ่านมาของแต่ละเส้นทางการบิน 5. จัดลำดับการจัดสรรที่นั่งให้แก่ผู้โดยสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามอุปสงค์ที่คาดการณ์ไว้เพื่อที่จะ เพิ่มรายได้ให้แก่ทั้งเครือข่ายการบิน ไม่เพียงแต่เพิ่มรายได้เฉพาะในบางเส้นทางการบินเท่านั้น เช่นเดียวกับสายการบินส่วนใหญ่ บริษัทฯ รับสำรองที่นั่งมากกว่าจำนวนที่นั่งโดยสารในบางเที่ยวบิน เพื่อทดแทนในกรณีที่ผู้โดยสารได้สำรองที่นั่งแล้วแต่ไม่ได้เดินทาง โดยอัตราส่วนของการสำรองที่นั่ง ในลักษณะดังกล่าว แตกต่างกันไปในแต่ละเส้นทางการบินและขึ้นอยู่กับอัตราส่วนในอดีตของปริมาณ ผู้โดยสารที่สำรองที่นั่งแต่มิได้เดินทาง และกรณีการยกเลิกบัตรโดยสารล่าช้า

51


• การรักษาลูกค้าประจำโดยโปรแกรม FlyerBonus ตัง้ แต่มกี ารจัดตัง้ โปรแกรมสะสมไมล์ (Frequent Flyer Program) ของบริษทั ฯ ในชือ่ “FlyerBonus” ในปี 2548 โปรแกรมดังกล่าว ก็มี บทบาทสำคั ญในการดำเนิ น กลยุ ท ธ์ ท างการตลาดของบริ ษั ท ฯ และเป็ น หนึ่ ง ในวิ ธี ก ารพื้ น ฐานในการสร้ า งและรั ก ษาลู ก ค้ า ของบริ ษั ท ฯ โปรแกรม FlyerBonus ของบริษัทฯ ประกอบด้วยสมาชิกสองระดับ อันได้แก่ สมาชิกระดับธรรมดา และสมาชิกระดับพิเศษ โดยสมาชิกระดับพิเศษเป็นสมาชิกที่มาจากการเรียนเชิญของบริษัทฯ เท่านั้น ทั้งนี้ โปรแกรมสะสมไมล์ จะสนับสนุนความยึดมั่นให้แก่ลูกค้าในการใช้บริการของบริษัทฯ การแลกบัตรโดยสารจะช่วยส่งเสริม ให้ลูกค้าใช้บริการของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สมาชิกสามารถสะสมไมล์ได้จากเที่ยวบินของบริษัทฯ และจากเที่ ย วบิ น ของสายการบิ น ภายใต้ ค วามตกลงเที่ ย วบิ น ร่ ว ม (Code Share Agreement) ในกิจกรรมส่งเสริมการขายของโปรแกรม FlyerBonus บริษัทฯ จะเพิ่มคะแนนสะสมให้สองหรือ สามเท่าในบางครั้ง เพื่อส่งเสริมเส้นทางการบินใหม่ของบริษัทฯ คะแนนสะสมไมล์สามารถแลกเพื่อรับ บัตรโดยสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือแลกเป็นส่วนลด หรือยกระดับชั้นโดยสารในเที่ยวบินของบริษัทฯ หรือแลกเป็นสินค้าที่ขายบนเที่ยวบิน ทั้งนี้ โปรแกรม FlyerBonus มีพันธมิตรผู้ประกอบธุรกิจเดินทาง มากกว่า 30 ราย ซึง่ รวมถึงสายการบินทัง้ หมดตามความตกลงเทีย่ วบินร่วม (Code Share Agreement) สถาบันการเงิน บริษัทให้เช่ารถยนต์ และโรงแรมทั้งในท้องถิ่นและระหว่างประเทศ ทำให้สมาชิก สามารถทำการสะสมไมล์ ไ ด้ ทุ ก วั น ผ่ า นการจั บ จ่ า ยใช้ ส อยประจำ การเช่ า รถยนต์ แ ละการเข้ า พั ก ในโรงแรม โปรแกรม FlyerBonus ช่ ว ยเพิ่ ม รายได้ ใ ห้ แ ก่ บ ริ ษั ท ฯ โดยเพิ่ ม ยอดขายบั ต รโดยสารในเที่ ย วบิ น ของบริษัทฯ และกระตุ้นยอดขายบัตรโดยสารของสายการบินพันธมิตรตามความตกลงรับขนผู้โดยสาร ระหว่ า งสายการบิ น (Interline) ซึ่ ง สมาชิ ก สามารถได้ รั บ ไมล์ ส ะสมจากรายการสะสมไมล์ อื่ น ๆ ของสายการบินพันธมิตรตามความตกลงรับขนผู้โดยสารระหว่างสายการบิน (Interline) นอกจากนี ้ บริษัทฯ ยังมีรายได้เพิ่มจากการแลกรับรางวัลบัตรโดยสารโดยสายการบินพันธมิตร เมื่อสมาชิกรายการ สะสมไมล์เดินทางของสายการบินดังกล่าวขอแลกรับรางวัลเป็นบัตรโดยสารของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นั่งโดยสารที่จัดให้สำหรับการแลกรับรางวัลด้วยไมล์สะสมของสมาชิกโปรแกรม FlyerBonus จะถูกจำกัดในแต่ละเที่ยวบิน และชั้นโดยสาร ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามของบริษัทฯ ที่จะเพิ่ม รายได้สูงสุดให้แก่บริษัทฯ นอกจากนี ้ จำนวนไมล์สะสมอาจหมดอายุ หากสมาชิกไม่นำไมล์สะสม มาแลกรับรางวัลภายใน 3 ปี

• กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัทฯ ในปัจจุบัน คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวเป็นหลัก เนื่องจากประเทศไทยยังคง มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ประกอบกับการให้บริการห้องพักรับรองผู้โดยสารโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ถือ เป็นจุดเด่นของบริษัทฯ เมื่อเปรียบเทียบกับสายการบินอื่นๆ โดยในอดีตที่ผ่านมา ผู้โดยสารของบริษัทฯ เป็นผู้โดยสารจากต่างประเทศเป็นหลัก และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้โดยสารภายในประเทศ เองมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพที่ดีขึ้น บริษัทฯ จึงได้ดำเนินการขยายตลาดผู้โดยสาร ภายในประเทศควบคู่กันไปเช่นกัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและ เป็นการลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้โดยสารจากต่างประเทศ 52


• การจำหน่ายและช่องทางการจำหน่าย บริษัทฯ มีช่องทางการจัดจำหน่ายหลัก 2 ช่องทาง ได้แก่ การขายทางตรง โดยผ่านสำนักงานขาย ของบริษัทฯ ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ และเว็บไซต์ และการขายทางอ้อม

1. การขายทางตรง บริษัทฯ ขายบัตรโดยสารทางตรงผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงสำนักงานขาย เคาน์เตอร์ขายบัตร โดยสาร เคาน์เตอร์ขายบัตรโดยสารประจำสนามบิน ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ และผ่านช่อง ทางบนหน้าเว็บไซต์ • สำนักงานขาย เคาน์เตอร์ขายบัตรโดยสาร และเคาน์เตอร์ขายบัตรโดยสารประจำสนามบิน บริษัทฯ มีสำนักงานขายบัตรโดยสาร ซึ่งดำเนินการโดยบริษัทฯ 33 สำนักงานขาย และผ่าน ทางตัวแทนจำหน่าย 50 สำนักงานขายในทวีปยุโรป เช่น ประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย สิงคโปร์ กัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ และฮ่องกง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังขายบัตรโดยสารที่เคาน์เตอร์ขายบัตรโดยสารซึ่งตั้งอยู่ใน สนามบินที่บริษัทฯ ให้บริการอยู่ ซึ่งสำนักงานขาย เคาน์เตอร์ขายบัตรโดยสาร และเคาน์เตอร์ ขายบัตรโดยสารประจำสนามบินเหล่านี้ ได้อำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าที่ต้องการเข้ามา สำรองที่นั่งหรือเปลี่ยนแปลงการสำรองที่นั่งด้วยตนเอง โดยสามารถชำระค่าบัตรโดยสาร ด้วยเงินสด บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต • ศูนย์บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call Center) ผู้โดยสารสามารถสำรองที่นั่งบนเที่ยวบินของบริษัทฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านทางศูนย์ บริการลูกค้าทางโทรศัพท์หมายเลข 1771 และสามารถชำระเงินจากการสำรองที่นั่งผ่านศูนย์ บริการลูกค้าทางโทรศัพท์ผ่านบัตรเครดิต หรือชำระเงินผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือ ผ่านทางช่องทางอื่นๆ รวมถึงร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ

53


• การขายทางอินเทอร์เน็ต บริษทั ฯ ขายบัตรโดยสารทางอินเทอร์เน็ต ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษทั ฯ www.bangkokair.com โดยในการสำรองทีน่ งั่ ทางออนไลน์นนั้ ผูโ้ ดยสารจะต้องชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงด้านเครดิตและกระบวนการทางบัญชี และยังช่วยปรับปรุงกระแสเงินสด ในการดำเนินงานของบริษัทฯ เนื่องจากธนาคารผู้ให้บริการของบริษัทฯ จะเป็นผู้รับรายได้ ทั้งหมดจากการขายทางอินเทอร์เน็ต และนำเข้าบัญชีบริษัทฯ โดยตรง ทั้งนี้ในปี 2553 บริษัทฯ ได้พัฒนาเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อจะเพิ่มการขายผ่านทางอินเทอร์เน็ต และลดค่า คอมมิชชั่นจากตัวแทนจำหน่าย และยังปรับปรุงแผนผังเว็บไซต์เพื่อให้การแสดงค่าโดยสาร และสิทธิพิเศษให้เห็นเด่นชัดขึ้น ทั้งนี้ การขายบัตรโดยสารทางอินเตอร์เน็ตมีสัดส่วนที่เพิ่มสูง ขึ้นมาโดยตลอด โดยในปี 2558 ขายได้กว่า 1.2 ล้านคน บริษัทฯ คาดว่าแนวโน้มดังกล่าว จะคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในอนาคต ทั้งนี้ การขายทางอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการ จัดจำหน่ายที่มีต้นทุนการดำเนินงานต่ำที่สุดของบริษัทฯ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายโสหุ้ยและ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำกว่า

2. การขายทางอ้อม โดยทั่วไปบริษัทฯ จะแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารของบริษัทฯ ทั้งในประเทศไทยและ ต่างประเทศเพื่อที่จะขยายเครือข่ายการให้บริการและฐานลูกค้า บริษัทฯ มีตัวแทนจำหน่าย บัตรโดยสารในหลากหลายพืน้ ที ่ รวมถึงประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และทวีปยุโรป โดยตั ว แทนจำหน่ า ยบั ต รโดยสารจะทำหน้ า ที่ ค ล้ า ยกั บ สำนั ก งานขายของบริ ษั ท ฯ ซึ่ ง รวมถึ ง งานด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย และการจำหน่ายบัตรโดยสาร ทั้งนี้ ตัวแทนจำหน่าย มีความสำคัญสำหรับการขายบัตรโดยสารในเที่ยวบินตามความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) ซึ่งเป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศที่เชื่อมต่อไปยังเที่ยวบินภายในประเทศและภายใน ภูมิภาคของบริษัทฯ ตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารที่ได้รับอนุญาตจาก IATA อาจเป็นผู้จำหน่ายบัตรโดยสารเที่ยวบิน ของบริษัทฯ บริษัทฯ มีผู้แทนจำหน่ายบัตรโดยสารที่ได้รับอนุญาตจาก IATA ในกว่า 40 ประเทศ ทั่วโลกเนื่องจากบริษัทฯ เองได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IATA BSP ตั้งแต่ปี 2543 ทำให้การชำระ ราคาบัตรโดยสารที่จำหน่ายผ่านผู้แทนจำหน่ายบัตรโดยสารที่ได้รับอนุญาตจากสมาคมขนส่ง ทางอากาศระหว่างประเทศมีการชำระผ่านระบบชำระเงิน ผ่านทางธนาคารที่ให้บริการบริหาร จัดการแก่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การให้บริการโดยบริษัทตัวแทนการ ท่องเที่ยวเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่นักท่องเที่ยวที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และ / หรือ ไม่สะดวกที่จะใช้บัตรเครดิต โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ท่ีห่างไกลในประเทศไทยหรือประเทศ กำลังพัฒนาอื่นๆ

54


Fly Boutique. Feel Unique.

ปัจจัยความเสี่ยง


ปัจจัยความเสี่ยง 1. ความเสี ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ 1.1 ธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ อาจได้รับผลกระทบในทางลบ อย่างมีนัยสำคัญจากค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงไม่เพียงพอ ค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินคิดเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดของต้นทุนขายและบริการของบริษัทฯ โดยตามงบการเงินรวม ค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงคิดเป็นร้อยละ 29.6 และร้อยละ 24.2 ของต้นทุนขาย และบริการรวมในปี 2557 และปี 2558 ตามลำดับด้วยเหตุที่ค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงถือเป็นรายการ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ รายการหนึ่งที่มีนัยสำคัญ การปรับเพิ่มราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น เพี ยงเล็ก น้อยจะสามารถส่งผลกระทบในทางลบต่ อ ค่ า ใช้ จ่ า ยในการดำเนิ น งานของบริ ษั ท ฯ ได้ ทั้ ง นี้ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีความผันผวนอย่างมากโดยในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมาราคาซื้อขายทันที (spot price) ของน้ำมันเชื้อเพลิงเคยมีราคาสูงสุดถึง 140.99 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในวันที่ 8 เมษายน 2554 (และเคยลดต่ำลงถึง 43.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558) ทั้งนี้ ตามข้อมูลจาก MOPS ราคาซื้ อ ขายทั น ที (spot price) ของน้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2558 อยู่ ที่ 43.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลในกรณีที่น้ำมันเชื้อเพลิงขาดแคลน ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอาจปรับตัวสูงขึ้น หรือบริษัทฯ อาจต้องลดเที่ยวบินแบบประจำลงทั้งนี ้ บริษัทฯได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากราคา น้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง เพื่ อ บริ ห ารความเสี่ ย งที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น เมื่ อ ราคาน้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง เปลี่ ย นแปลงในอนาคต ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงราคาน้ำมันในสัดส่วนถัวเฉลี่ย ร้อยละ 48.7 ของความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิง บริษัทฯยังมีภาระผูกพันจากการทำประกันความเสี่ยง ราคาน้ำมันถึงกันยายน 2559 อีกจำนวน 345,000 บาร์เรล บริษัทฯไม่สามารถรับประกันได้ว่าการเข้าทำ สัญญาป้องกันความเสี่ยงจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัทฯ จะเพียงพอที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยง ของบริษัทฯ จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีความเสี่ยง ที่จะขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงต่างๆอีกด้วย บริษัทฯ จัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินโดยการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากผู้จัดจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง รายใหญ่ 2 ราย คือ ปตท. และ เชลล์แห่งประเทศไทยเป็นหลักโดยในปี 2557 และปี 2558 ปริมาณน้ำมัน เชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินของบริษัทฯ มาจากการซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากปตท. ในสัดส่วนร้อยละ 67.3 และร้อยละ 67.4 ตามลำดับ และจากเชลล์แห่งประเทศไทยในสัดส่วนร้อยละ 28.3 และร้อยละ 27.9 ตามลำดับทั้งนี ้ หากเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงและ/หรือหากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อต้นทุน ธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และ โอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ ได้

56


1.2 ธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน งาน และโอกาสทางธุรกิจในอดีตรวมทั้งในอนาคตของบริษัทฯฯ อาจได้รับผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญ ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน อุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ ที่เกี่ยวกับเครื่องบิน บริษัทฯ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่จะขาดทุนอย่างมีนัยสำคัญ ในกรณีที่เครื่องบินของบริษัทฯ เกิดสูญหาย หรือประสบเหตุฉุกเฉิน เกิดอุบัติเหตุ เกิดการก่อการร้าย หรือภัยพิบัติอื่นๆ และบริษัทฯ ต้องแบกรับ ต้นทุนที่สูงมากจากการเรียกร้องค่าเสียหายของผู้โดยสาร การซ่อมแซมหรือการเปลี่ยนทดแทนเครื่องบิน ที่ได้รับความเสียหาย และจากการที่บริษัทฯ ต้องระงับการให้บริการเครื่องบินดังกล่าวเป็นการชั่วคราว หรือถาวร บริษัทฯไม่สามารถรับประกันได้ว่าบริษัทฯจะไม่ประสบเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน หรือเหตุการณ์ที่ร้ายแรง กว่าเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ที่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทฯไม่สามารถรับประกันได้ว่าการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทฯ จะครอบคลุมความ สูญเสียหรือความเสียหายจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ใดๆในอนาคตได้อย่างเพียงพอ 1.3 การเปลี่ยนแปลงของความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) กับสายการบินอื่นอาจก่อ ให้เกิดผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาส ทางธุรกิจของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ ได้ทำความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) กับสาย การบินจำนวน 20 สาย บริษัทฯ มีรายรับจากสายการบินอื่นตามความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) บริ ษั ท ฯ คาดการณ์ ว่ า บริ ษั ท ฯ ต้ อ งพึ่ ง พาความตกลงเที่ ย วบิ น ร่ ว ม (Code Share Agreement) มากขึ้น อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ไม่สามารถรับประกันได้ว่าบริษัทฯ จะไม่ได้รับผลกระทบใน ทางลบจากการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในอนาคตในความสัมพันธ์กับสายการบินที่บริษัทฯ ได้ทำความตกลง เที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) ด้วย นอกจากนี้ความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) บางฉบับอาจถูกบอกเลิกได้โดยไม่ต้องมีเหตุแห่งการเลิกสัญญาเกิดขึ้น หากคู่สัญญาฝ่ายที่ ต้องการเลิกสัญญาแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน หรือสัญญาอาจถูกบอกเลิกได้ทันทีหากเกิดเหตุแห่งการเลิกสัญญาขึ้น ทั้งนี้การที่สัญญาสิ้นสุดลงโดยที่ไม่ ได้มีการคาดการณ์มาก่อนหรือการที่สัญญาสิ้นสุดลงก่อนกำหนดระยะเวลาอาจก่อให้เกิดผลกระทบในทาง ลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ

57


1.4 ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงในอุตสาหกรรมการบินและการแข่งขันจากการคมนาคมขนส่งในรูปแบบอื่น อาจส่งผล กระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ ต้องประสบกับปัญหาการแข่งขันที่สูงทั้งในเส้นทางการบินภายในประเทศและระหว่างประเทศ สายการบิ น ต่ า งแข่ ง ขั น กั น ในเรื่ อ งระดั บ ราคาค่ า บั ต รโดยสาร จำนวนเที่ ย วบิ น ความน่ า เชื่ อ ถื อ ของ การบริ ก าร ภาพลั ก ษณ์ ข องสายการบิ น สิ่ ง อำนวยความสะดวกแก่ ผู้ โ ดยสาร โปรแกรมสะสมไมล์ (Frequent Flyer Program) ตลอดจนความพร้อมและความสะดวกสบายของบริการอื่นๆ นอกจากนี้ สายการบินบางแห่งที่เป็นคู่แข่งของบริษัทฯ นั้น มีขนาดใหญ่กว่าอาจมีชื่อเสียงและทรัพยากรทางการเงิน มากกว่า และมีความสามารถในการช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดในตลาดสำคัญซึ่งรวมถึงเส้นทางการบินภายใน ประเทศได้ดีกว่าบริษัทฯ สายการบินเหล่านั้นอาจมีความสามารถในการให้บริการในเส้นทางการบิน บางเส้นทางที่ไม่ได้กำไรเป็นเวลานานกว่าที่บริษัทฯ จะสามารถดำเนินการได้ คู่แข่งของบริษัทฯ สำหรับการให้บริการขนส่งผู้โดยสารแบบประจำนั้นรวมถึง ผู้ประกอบธุรกิจสายการบิน แบบเต็มรูปแบบ สายการบินต้นทุนต่ำ และผู้ประกอบธุรกิจการคมนาคมขนส่งในรูปแบบอื่นๆ ทั้งนี้ บริ ษั ท ฯ ต้ อ งแข่ ง ขั น ในเส้ น ทางการบิ น หลั ก ภายในประเทศของบริ ษั ท ฯ โดยมี คู่ แข่ ง ที่ ส ำคั ญ เช่ น การบินไทยสายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินนกแอร์ สายการบินไทยสไมล์ และสายการบินไทย ไลอ้อนแอร์ นอกจากนี้ สายการบินอื่นๆ อาจแสดงความประสงค์ที่จะจัดให้มีเที่ยวบินเข้าและออกจาก สนามบินสมุยได้ในอนาคต ซึ่งอาจทำให้การแข่งขันที่บริษัทฯ ต้องเผชิญนั้นสูงขึ้น บริษัทฯ จึงไม่สามารถ รับประกันได้ว่าคู่แข่งจะไม่ใช้กลยุทธ์ในการตัดราคาหรือกิจกรรมอื่นๆ เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาด ซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของ บริษัทฯ

58


1.5

ธุรกิจสายการบินและสนามบินของบริษัทฯต้องพึ่งตลาดการท่องเที่ยวในประเทศไทย และตลาดการท่องเที่ยว ในภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออกเฉี ย งใต้ โ ดยนั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวไทยและนั ก ท่ อ งเที่ ย วจากภู มิ ภ าคนี้ แ ละทวี ป ยุ โ รป เป็นอย่างมากการลดลงของอุปสงค์ ในการเดินทางทางอากาศในตลาดเหล่านี้อาจส่งผลกระทบในทางลบ อย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ ธุรกิจสายการบินคือธุรกิจหลักของบริษัทฯ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่บริษัทฯในอัตราร้อยละ 80.7 และร้อยละ 78.0 ของรายได้รวมตามงบการเงินรวมของบริษัทฯ ในปี 2557 และปี 2558 ตามลำดับ โดยธุรกิจ สายการบินของบริษัทฯ ประกอบด้วยการให้บริการการขนส่งทางอากาศสำหรับผู้โดยสารทั้งภายใน ประเทศและระหว่างประเทศ แนวทางการสร้างความเติบโตของบริษัทฯ ได้ดำเนินการโดยมุ่งเน้นการเพิ่ม เที่ยวบินภายในประเทศและระหว่างประเทศไปยังและออกจากฐานการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ที่สนามบิน สุวรรณภูมิ สนามบินสมุย และสนามบินเชียงใหม่ และจะยังคงดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ จะได้รับผลกระทบในทางลบ จากสถานการณ์ใดๆ ที่ก่อให้เกิดการลดลงของอุปสงค์ของการขนส่งทางอากาศในประเทศไทย ซึ่งรวมถึง การเปลี่ยนแปลงในทางลบของสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศ ความน่าสนใจของประเทศไทยในฐานะ จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ลดลง หรือค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอันเป็นผลมาจาก การเพิ่มขึ้นของภาระต้นทุนในการใช้สนามบินและค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้โดยสาร บริษัทฯ เชื่อว่าผู้โดยสารส่วนใหญ่ที่ใช้บริการสายการบินของบริษัทฯและผู้ใช้บริการสนามบินของบริษัทฯ ประกอบไปด้วยนักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเข้ามาในประเทศไทยเพื่อเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ด้วยเหตุน ี้ บริษัทฯ จึงต้องพึ่งพาความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่ผ่านมา บริษัทฯเคยประสบกับเหตุการณ์ที่จำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศลดลงอย่างมีนัยสำคัญ การประท้วง ทางการเมืองในประเทศไทยหลายครั้ง รวมถึงกรุงเทพฯซึ่งมีรายงานความรุนแรงเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของ ฯ จะได้รับผลกระทบในทางลบจากสถานการณ์ใดๆ ที่ทำให้ประเทศไทย กรุงเทพฯโดยธุรกิจของบริษัทฯ ในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมีความน่าสนใจลดลง สนใจลดลง ทั้งนี้บริษัทฯ ไม่สามารถรับประกันได้ว่าบริษัทฯ จะสามารถใช้มาตรการป้องกันเพื่อที่จะบรรเทาผลกระทบในทางลบที่อาจเกิดขึ้นต่อการประกอบธุรกิจ ฯ นอกจากนี้ เนื่ อ งจากนั ก ท่ อ งเที่ ย วจากความตกลงรั บ ขนผู้ โ ดยสารระหว่ า งสายการบิ น ของบริ ษั ท ฯ (Interline) บางส่วนมาจากทวีปยุโรป ดั รป งนั้นปัจจัยภายนอกในทางลบต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเดินทาง (Interline) บางส่ จากทวีปยุโรปอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทาง ฯ ธุรกิจของบริษัทฯ

59


1.6 บริษัทย่อยและบริษัทร่วม ได้รับสัมปทานเพื่อให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ บริ ษั ท ย่ อ ยและบริ ษั ท ร่ ว มได้ เข้ า ทำสั ญ ญากั บ ทอท. เพื่ อ ให้ บ ริ ก ารอื่ น ๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สนามบิ น ณ สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งรวมถึงการให้บริการคลังสินค้าการให้บริการภาคพื้นดินและการให้บริการ ครัวการบินโดยสัญญาสัมปทานมีกำหนดระยะเวลา 20 ปี โดยจะสิ้นสุดในวันที่ 27 กันยายน 2569 ปี 2557 รายได้จาก BFS Ground และ BAC คิดเป็นร้อยละ 6.7 และร้อยละ 4.3 ของรายรับรวม ของบริษัทฯ และสำหรับปี 2558 คิดเป็นร้อยละ 6.8 และร้อยละ 4.1 ของรายรับรวมของบริษัทฯ ทั้งนี้บริษัทฯ ไม่สามารถรับประกันได้ว่าสัญญาเหล่านี้สัญญาใดสัญญาหนึ่ง หรือหลายสัญญารวมกัน จะไม่ถูกยกเลิกก่อนครบกำหนดระยะเวลา และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาหรือเมื่อมีการเลิกสัญญา ดังกล่าวแล้วหากบริษัทย่อยและบริษัทร่วมไม่สามารถต่อหรือขยายอายุสัญญาได้บริษัทย่อยและบริษัทร่วม จะไม่มีสิทธิในการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องภายใต้สัญญาดังกล่าวได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ สูญเสียกระแส รายได้จากกิจการดังกล่าว และจะนำมาซึง่ ผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ 1.7 การปฏิ บั ติ ต ามกฎหมายและระเบี ย บทางด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มอาจจะส่ ง ผลกระทบการดำเนิ น งานทั้ ง ในปั จ จุ บั น และอนาคตของบริษัทฯ และทำให้บริษัทฯ มีต้นทุนเพิ่มขึ้น ธุรกิจสายการบินถูกกำกับดูแลโดยกฎหมายและระเบียบทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีความ เข้มงวดมากขึ้นในอนาคต กฎหมายและระเบียบทางด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามากำกับดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ มลภาวะทางเสียงทีเ่ กิดจากเครือ่ งบิน การใช้และครอบครองวัตถุอนั ตราย การปล่อยก๊าซของเสีย การกำจัด สิง่ เจือปนในสิง่ แวดล้อม และอืน่ ๆ โดยประเทศต่างๆ ได้ออกคำสัง่ ทีเ่ กีย่ วกับสิง่ แวดล้อม และกฎระเบียบอืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมลภาวะทางเสียงและการปล่อยก๊าซของเสียที่เกิดจากเครื่องบิน และอายุของเครื่องบิน กฎหมายสิ่งแวดล้อมเหล่านี้โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับมลภาวะทางเสียงและทางอากาศ ได้พัฒนา ไปอย่างรวดเร็วและเป็นที่คาดการณ์ได้ว่าอาจพัฒนาไปในแนวทางที่จะกำหนดให้ยกเลิกการใช้เครื่องบิน บางแบบหากเครื่องบินเหล่านั้นไม่มีคุณสมบัติเป็นไปตามที่กฎหมายสิ่งแวดล้อมกำหนด ข้อกำหนดต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้บริษัทฯ มีภาระต้นทุนในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง และมีข้อจำกัด ในการประกอบกิจการสายการบิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเครื่องบินแบบใหม่ที่นำมาใช้ต้องเป็นไปตาม ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมตลอดอายุการใช้งาน การปฏิบัติกฎหมายและกฎระเบียบดังกล่าวอาจทำให้ ค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ เพิ่มขึ้น หรือจำกัดความสามารถของบริษัทฯ ในการขยายการดำเนินงานของ บริษัทฯ ต่อไป

60


1.8 ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงของบริษัทฯ จะเพิ่มขึ้นตามอายุของฝูงบิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 อายุโดยเฉลี่ยของเครื่องบินของบริษัทฯ คือ 9.0 ปี โดยทั่วไปค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาเครื่องบินที่มีอายุการใช้งานมานานจะสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องบินที ่ ใหม่กว่า ดังนั้น เมื่อฝูงบินของบริษัทฯ มีอายุการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะต้องการการบำรุงรักษามากขึ้น และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องบินของบริษัทฯ ก็จะปรับสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ทั้งในส่วนของ ปริ ม าณการผลิ ต ด้ า นผู้ โ ดยสาร (ASK) และอั ต ราส่ ว นของค่ า ใช้ จ่ า ยในการดำเนิ น งานของบริ ษั ท ฯ (ในกรณีที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอื่นๆ ของบริษัทฯ ยังคงที่) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญอาจมีผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทาง ธุรกิจของบริษัทฯ โดยปกติ เครื่องบินลำที่มีอายุการใช้งานมานาน จะมีอุปกรณ์ภายในห้องโดยสารที่มีอายุการใช้งาน จะต้องการการบำรุงรักษาบ่อยขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตารางการบิน และความพึงพอใจ ของลูกค้า รวมทั้งทัศนะที่ลูกค้ามีต่อสายการบินของบริษัทฯ ซึ่งแต่ละกรณีข้างต้นอาจจะลดความสามารถ ในการแข่งขันของบริษัทฯ ลงได้ 1.9 บริษัทฯ อาจก่อหนี้อย่างมีนัยสำคัญในอนาคตเพื่อระดมทุนในการจัดหาเครื่องบิน เพื่อใช้เป็นการลงทุนหรือ ใช้ในแผนขยายธุรกิจ ที่ผ่านมา บริษัทฯ เช่าเครื่องบินส่วนใหญ่ตามสัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ อาจพิจารณาซื้อเครื่องบินที่จำเป็นส่วนหนึ่งในอนาคต เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2557 บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-600 ใหม่จำนวน 9 ลำ และกำหนดส่งมอบเครื่องบิน ทั้ง 9 ลำ อยู่ระหว่างไตรมาสที่ 4 ของปี 2557 ถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2560 ซึ่งหากบริษัทฯ ตัดสินใจ ซื้อเครื่องบิน บริษัทฯ อาจต้องระดมเงินทุนและก่อหนี้เพิ่มขึ้น หากบริษัทฯ ไม่สามารถจัดหาเงินทุนได้ ตามที่คาดการณ์ไว้ บริษัทฯ ยังคงมีหน้าที่ที่จะต้องรับมอบเครื่องบินทั้ง 9 ลำ บริษัทฯ อาจจะต้องจัดหา เงินทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น หรือาจจะต้องเจรจาสัญญากับผู้ขายใหม่ หรืออาจจะถือว่าบริษัทฯ ผิดสัญญา ภายใต้สัญญาซื้อขายเครื่องบินดังกล่าว นอกจากนี้ บริษัทฯ อาจต้องกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ โดยหากบริษัทฯ ไม่สามารถระดมทุนเพื่อซื้อเครื่องบินใหม่บนข้อกำหนดและเงื่อนไขที่เหมาะสม อาจส่งผล กระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทฯ และอาจทำให้แผนการขยายฝูงบินล่าช้า นอกจากนี้ สั ญ ญาสิ น เชื่ อ ในอนาคตของบริ ษั ท ฯ อาจมี ข้ อ กำหนดที่ จ ำกั ด กิ จ กรรมการดำเนิ น งานและกิ จ กรรม ทางการเงิ น ของบริ ษั ท ฯ และอาจกำหนดให้ บ ริ ษั ท ฯ ต้ อ งนำทรั พ ย์ สิ น ไปวางเป็ น หลั ก ประกั น ทั้ ง นี้ ความสามารถในการชำระหนี้และจัดหาเงินทุนสำหรับการลงทุนที่ตามแผนการของบริษัทฯ จะขึ้นอยู่กับ ความสำเร็จในการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจ และความสามารถในการสร้างรายได้อย่างเพียงพอเพื่อ ชำระหนี้ ซึ่งมีความไม่แน่นอนและอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทฯ

61


1.10 บริษัทฯอาจไม่ประสบความสำเร็จในการปรับใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจ กลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทฯ ประกอบไปด้วยการเพิ่มจำนวนเครื่องบิน การเพิ่มจำนวนเที่ยวบินใน เส้นทางการบินเดิมที่บริษัทฯให้บริการ การเปิดเส้นทางการบินใหม่ท้ังที่บริษัทฯ ให้บริการเองและ ที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเส้นทางการบินที่ขยายออกไปตามความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) และกระตุ้นการเติบโตในตลาดที่บริษัทฯให้บริการอยู่เดิม ทั้งนี้ ความสำเร็จในกลยุทธ์ ทางธุรกิจนั้น มีความสำคัญต่อความสำเร็จของบริษัทฯ การเพิ่มจำนวนเส้นทางการบินที่บริษัทฯ ให้บริการอยู่ ขึ้นอยู่กับการได้รับการจัดสรรเวลาเข้าออกของ เครื่องบิน (Slot) ที่เหมาะสมในสนามบินที่ตั้งอยู่ในตลาดเป้าหมายในลักษณะที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ ในการบริหารต้นทุนของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ จำเป็นต้องได้รับสิทธิการบิน และการจัดสรรเวลาเข้าออก ของเครื่องบิน (Slot) ในสนามบินใดๆ ก่อนที่จะเริ่มให้บริการเส้นทางการบินใหม่ได้ การเพิ่มจำนวน เส้นทางการบิน การเพิ่มจำนวนเที่ยวบินในเส้นทางการบินที่บริษัทฯให้บริการอยู่ยังขึ้นอยู่กับความ สามารถของบริษัทฯ ที่จะได้รับการจัดสรรเวลาขึ้นและลงจอด (Slot) เพิ่มเติมในสนามบินของเส้นทาง การบินดังกล่าว ซึ่งรวมถึงสนามบินสุวรรณภูมิ สนามบินสมุย สนามบินเชียงใหม่ และสนามบินที่บริษัทฯ มีเส้นทางการบินทุกแห่ง ทั้งนี้ การไม่ได้รับสิทธิการบินการไม่ได้รับการจัดสรรช่วงเวลาการนำเครื่องบินขึ้น และลงจอด (Slot) ในสนามบินใดๆ การไม่ได้รับอนุญาตต่างๆ หรือการไม่สามารถเข้าทำความตกลง เที่ ย วบิ น ร่ ว ม (Code Share Agreement) เพิ่ ม เติ ม หรื อ การไม่ ส ามารถขอเพิ่ ม ช่ ว งเวลาการนำ เครื่องบินขึ้นและลงจอดในสนามบินใดๆ เพิ่มเติมดังกล่าวข้างต้นอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ คาดหมายว่าเส้นทางการบินหลายเส้นทางที่บริษัทฯวางแผนเปิดให้บริการในอนาคต การให้ บริการในเส้นทางการบินใหม่อาจทำให้บริษัทฯ ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มให้บริการ ทั้งนี้ ในระยะแรก บริษัทฯอาจมีอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) ต่ำ และอาจจำเป็นต้อง เสนอค่ า โดยสารราคาพิ เ ศษในเส้ น ทางการบิ น ใหม่ ซึ่ ง จะส่ ง ผลกระทบในทางลบต่ อ ความสามารถ ในการทำกำไรจากเส้นทางการบินใหม่นี้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังวางแผนที่จะขยายฝูงบินให้กลายเป็น 43 ลำ ภายในวั น ที่ 31 ธั น วาคม 2561 หากบริ ษั ท ฯ ไม่ ป ระสบความสำเร็ จ ในการปรั บ ใช้ ก ลยุ ท ธ์ ทางธุรกิจได้ บริษัทฯ อาจต้องเลื่อนกำหนดเวลาหรือยกเลิกการรับมอบเครื่องบินเหล่านี้และอาจต้องจ่าย ค่าชดเชยความเสียหายซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และ โอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ

62


ปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึง • • • • • • • •

สภาวะทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประเทศไทย ภูมิภาคเอเชีย และภูมิภาคอื่นทั่วโลก รวมทั้งสภาวะ ตลาดทุนของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อุปสงค์ของการคมนาคมขนส่งทางอากาศในภูมิภาค อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดการบินในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสามารถของบริษัทฯในการควบคุมต้นทุนการดำเนินงานและบริหารกิจการขนาดใหญ่กว่าเดิม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การได้รับใบอนุญาตสิทธิการบินเพิ่มเติมสำหรับตลาดที่บริษัทฯ วางเป้าหมายในทางภูมิศาสตร์ เพื่อการขยายเส้นทางการบิน ความสามารถของบริษัทฯในการว่าจ้าง ฝึกอบรม และรักษาจำนวนของนักบิน พนักงานต้อนรับ และ วิศวกรประจำเครื่องบินของ บริษัทฯ อย่างเพียงพอ ความสามารถของบริษัทฯในการจัดหาและรับมอบเครื่องบินในเวลาอันสมควร ความสามารถของบริษัทฯในการระดมเงินทุนที่จำเป็นเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจภายใต้ต้นทุนทาง การเงินที่เหมาะสม

ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นหลายปัจจัยนั้นอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทฯ ดังนั้นบริษัทฯ จึงไม่สามารถ รับประกันได้ว่าบริษัทฯจะสามารถขยายธุรกิจในตลาดที่ให้บริการอยู่ได้สำเร็จ หรือสามารถสร้างตลาดใหม่ ขึ้ น มาได้ ซึ่ ง ความล้ ม เหลวในการปรั บ ใช้ ก ลยุ ท ธ์ ท างธุ ร กิ จ ของบริ ษั ท ฯ อาจส่ ง ผลกระทบในทางลบ อย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ

63


1.11 ความสามารถในการกำหนดค่าโดยสารของบริษัทฯถูกจำกัดอัตราค่าโดยสารขั้นสูงที่กำหนดโดยรัฐบาล ในฐานะบริษัทสายการบิน บริษัทฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยรัฐบาลผ่านกรมการบินพลเรือนและ หน่วยงานอื่นๆ ซึ่งกรมการบินพลเรือนเป็นหน่วยงานกำกับดูแลที่มีหน้าที่กำกับดูแลภาคการบินของ ประเทศไทย โดยเป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการที่จำเป็นในการให้บริการเที่ยวบินของบริษัทฯ และ เป็นผู้กำหนดอัตราขั้นสูงสำหรับค่าโดยสารเส้นทางการบินภายในประเทศที่ขายในประเทศไทย กำกับ ดูแลค่าธรรมเนียมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับบริการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าภายในประเทศแบบประจำ รวมถึงเป็นผู้ทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศแบบทวิภาคีระหว่างประเทศกับประเทศอื่นๆ ทั้งนี้ ค่าโดยสารภายในประเทศของบริษัทฯ จะต้องไม่เกินอัตราค่าโดยสารที่กำหนดโดยกรมการบินพลเรือน อนึ่ง รายได้ของบริษัทฯ จากการให้บริการขนส่งผู้โดยสารภายในประเทศ คิดเป็น ร้อยละ 60.9 และ ร้อยละ 66.0 ของรายได้ค่าโดยสารในปี 2557 และปี 2558 ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงในทางลบใดๆ ในนโยบายเหล่านี้ นอกเหนือจากกฎระเบียบและนโยบายอื่นๆ ที่ใช้กำกับดูแลการดำเนินการสายการบิน อาจส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของ บริษัทฯ 1.12 ความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ เนื่องจากบริษัทฯมีการทำธุรกิจในหลายประเทศ จึงมีรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นสกุลเงินหลายสกุล ที่สำคัญ คือ สกุลเงินบาทและเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม สัญญาซ่อมบำรุง สัญญาเช่าเครื่องบิน สัญญาการจัดหา น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน สัญญาการประกันภัยโดยส่วนใหญ่ รวมทั้งสัญญาจัดหาอะไหล่เครื่องบิน เกือบทั้งหมดของบริษัทฯเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ค่าเงินของสกุลเงินหลายสกุล มีความผันผวน อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อบริษัทฯ โดยขึ้นอยู่กับสถานะเงินตราต่างประเทศของบริษัทฯ ทั้งด้านรายได้และค่าใช้จ่ายบริษัทฯไม่สามารถรับประกันได้ว่า บริษัทฯ จะจัดให้มีการป้องกันความเสี่ยง ดังกล่าวได้ หรือการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวจะสามารถจัดทำได้ภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสมในเชิงพาณิชย์ หรือสามารถป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯอาจมีภาระทางการเงินเพิ่มในสกุลเหรียญสหรัฐฯ ในอนาคต ซึ่งอาจรวมถึงการกู้ยืมเพื่อซื้อเครื่อง บินในอนาคต ด้วยเหตุนี้ การอ่อนค่าลงของสกุลเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างประเทศเหล่านี้อาจทำให้ ภาระหนี้สินของบริษัทฯ เพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทฯ ไม่สามารถรับประกันได้ว่า บริษัทฯจะสามารถสร้างรายได้ เพิ่มขึ้นอย่างเพียงพอที่จะชดเชยภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว ดังนั้น ความผันผวนของค่าเงินบาทเมื่อเทียบ กับสกุลเงินต่างประเทศจึงอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และ โอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ

64


1.13 บริษัทฯ เผชิญกับความเสี่ยงบางประการที่ ไม่ ได้ทำประกันภัยไว้ และอาจเผชิญกับอุปสรรคในการทำกรมธรรม์ ประกันภัยที่มีเงื่อนไขที่ยอมรับได้ในเชิงพาณิชย์ หรืออาจไม่สามารถจัดหาประกันภัยได้เลย การประกันภัยเป็นพื้นฐานสำคัญของการดำเนินธุรกิจสายการบินและสนามบิน ทั้งนี้ การก่อการร้าย หรือ เหตุการณ์ที่มีผลกระทบในระดับโลกอื่นๆ อาจมีผลทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถทำประกันภัยเกี่ยวกับการบิน ในความเสี่ยงบางประเภท หรืออาจทำประกันภัยได้ในวงเงินประกันภัยที่ลดลง ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนที่ กำหนดโดยผู้ให้เช่าเครื่องบินของบริษัทฯ หรือตามกฎระเบียบของรัฐบาล การที่บริษัทฯ ไม่สามารถทำ กรมธรรม์ประกันภัยในการประกอบธุรกิจโดยทั่วไป หรือในสินทรัพย์บางอย่างของบริษัทฯ ภายใต้เงื่อนไข และข้อกำหนดที่ยอมรับได้ในเชิงพาณิชย์ หรือไม่สามารถทำกรมธรรม์ประกันภัยได้เลยอาจส่งผลกระทบ ต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ บริษัทฯ ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทฯ จะเพียงพอกับ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ในกรณีที่ความเสียหายที่แท้จริงสูงกว่าจำนวนเงินที่ทำประกันภัยไว้ บริษัทฯ อาจต้องรับภาระความเสียหายจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนิน งาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่ได้ทำประกันภัยความเสี่ยงบางประเภท ซึ่ง รวมถึงการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก และการสูญเสียกำไรหรือรายได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ สายการบินอื่นในอุตสาหกรรมซึ่งมักจะไม่ได้ทำประกันภัยในเรื่องดังกล่าวไว้เช่นกัน ในกรณีที่เกิดภัยที่ ไม่ได้ทำประกันภัยไว้ ธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ อาจได้ รับผลกระทบในทางลบ

65


2. ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบิน 2.1 ในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อุตสาหกรรมการบินมีแนวโน้มที่จะมีผลประกอบการถดถอย ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกตกต่ำเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก และเนื่องจากอุตสาหกรรมการบิน มีลักษณะเฉพาะตัวคือมีอัตรากำไรต่ำและมีต้นทุนคงที่สูง ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ซึ่งรวมถึงค่าเสื่อมราคา ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงเครื่องบินค่าบริหารจัดการเครื่องบินและค่าธรรมเนียมการเดินอากาศ ต้นทุน ทางการเงิน ค่าเช่าดำเนินงานเครื่องบิน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานสำหรับนักบิน ลูกเรือ และ บุคคลากรที่ทำงานระดับภาคพื้นดิน ไม่ได้เปลี่ยนแปลงตามอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) ในขณะที่รายได้ที่เกิดจากเที่ยวบินหนึ่งจะสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนผู้โดยสารหรือสินค้าที่รับขน และ โครงสร้างค่าโดยสาร ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงด้านจำนวนผู้โดยสารในตลาดที่เกี่ยวข้อง หรือมีการ เปลี่ยนแปลงด้านราคา ด้านอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) หรือการเดินทางรูปแบบอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกัน (Traffic Mix) อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และ โอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ นอกจากนี ้ ผลขาดทุนเล็กน้อยในระดับรายได้ที่คาดการณ์ไว้สามารถส่ง ผลกระทบในทางลบต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทฯ 2.2 ข้อจำกัดของสนามบินในกรุงเทพฯ และสนามบินอื่นๆ ในประเทศไทย อาจทำให้บริษัทฯไม่สามารถเพิ่มอัตรา การใช้เครื่องบินต่อลำต่อวัน ปรับปรุงการตรงต่อเวลาของเที่ยวบิน และให้บริการขนส่งทางอากาศอย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพได้ ถึงแม้ว่าโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานของการบินเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยจะมีการพัฒนาขึ้นอย่าง มาก โดยมีการเปิดใช้สนามบินสุวรรณภูมิในเดือนกันยายน 2549 และเปิดใช้สนามบินดอนเมืองอีกครั้ง สำหรับเที่ยวบินภายในประเทศในเดือนมีนาคม 2550 แต่ทรัพยากรในหลายภาคส่วนของอุตสาหกรรม การบินเชิงพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกของสนามบินและระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ ยังไม่เพียงพอในการรองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ความสามารถของ บริษัทฯ ในการเพิ่มอัตราการใช้เครื่องบินต่อลำต่อวัน การปรับปรุงความตรงต่อเวลาของเที่ยวบิน และ การให้บริการขนส่งทางอากาศอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในอนาคต ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ อยู่นอกเหนือการควบคุมของ บริษัทฯได้แก่ • • •

66

จำนวนเครื่องบินที่สามารถลงจอดได้ ความจุผู้โดยสารในอาคารผู้โดยสาร และความหนาแน่นของ การจราจรทางอากาศในสนามบินที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการการบินที่บริษัทฯให้บริการอยู่โดยเฉพาะ สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินภูเก็ต คุณภาพของการบริหารจัดการของสนามบินในประเทศไทยโดยผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้อง คุณภาพของการควบคุมการจราจรทางอากาศของประเทศ


• • • •

คุณภาพของระบบนำร่องและการดำเนินการควบคุมภาคพื้นดินในสนามบินในประเทศไทย ข้อจำกัดว่าด้วยความยาว และ/หรือความแข็งแรงของทางวิ่ง (runway) ซึ่งจำกัดน้ำหนักบรรทุก สูงสุดของเครื่องบินของบริษัทฯ คุณภาพของสาธารณูปโภคพื้นฐานในสนามบินระดับภูมิภาคที่บริษัทฯให้บริการเที่ยวบินอยู่ การเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัย

หากปัจจัยที่กล่าวไปแล้วข้างต้นไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อาจส่งผลกระทบต่อศักยภาพในการขยาย เครือข่ายเส้นทางการบินหรือการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินของบริษัทฯ การปรับปรุงเที่ยวบินให้ตรงต่อเวลา และการให้บริการขนส่งทางอากาศอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯอาจได้รับผลกระทบในทางลบ 2.3 อุตสาหกรรมการบินเผชิญความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การก่อการร้าย การระบาด ของโรคติดต่อ และภาวะอากาศเลวร้าย การก่อการร้าย เช่น ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ส่งผลกระทบในทางลบต่ออุตสาหกรรมการบิน โดยผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงการที่ต้นทุนด้านการรักษาความปลอดภัยและการประกันภัยที่เพิ่มขึ้น ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการก่อการร้ายในอนาคตที่เพิ่มขึ้น การปิดสนามบิน การยกเลิกเที่ยวบินและ ความล่ า ช้ า ของเที่ ย วบิ น อั น เนื่ อ งมาจากการละเมิ ด มาตรการรั ก ษาความปลอดภั ย และความเสี่ ย ง ด้านความปลอดภัย และการลดลงของจำนวนผู้โดยสารและผลตอบแทน อันเนื่องมาจากอุปสงค์ของ การเดินทางทางอากาศทั่วโลกลดลง ทั้งนี้ การก่อการร้าย หรือความหวาดกลัวว่าจะเกิดการก่อการร้าย หรือเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบในระดับโลกอื่นๆ อาจทำให้อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) และผลตอบแทนลดลง และอาจทำให้ต้นทุนของอุตสาหกรรมการบินรวมถึง บริษัทฯ เพิ่มขึ้น ซึ่งถ้า เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นในอนาคต ธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ จะได้รับผลกระทบในทางลบ การระบาดของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางหรือโรคเมอร์ (MERS) ซึ่งรัฐบาลของประเทศที่ได้รับ ผลกระทบจากการระบาดใช้รับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาด อาจทำให้การประกอบธุรกิจของ บริษัทฯ ติดขัดซึ่งอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาส ทางธุรกิจของบริษัทฯ

67


ในช่วงฤดูมรสุมหรือช่วงที่เกิดสภาวะอากาศแปรปรวนในประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ เที่ยวบินต่างๆ อาจถูกยกเลิกหรือต้องเลื่อนเวลาจากกำหนดการเดิม ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบ ภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงสึนามิและอุทกภัยในกรณีท ี่ บริษัทฯ ยกเลิกเที่ยวบินหรือเลื่อนเวลาจากกำหนดการเดิมเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนนั้น รายได้และผล กำไรของ บริษัทฯจะลดลง และถึงแม้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะอยู่นอกเหนือการควบคุมของบริษัทฯ แต่ ผู้โดยสารอาจเห็นว่า บริษัทฯ ต้องรับผิดในความล่าช้าและการยกเลิกเที่ยวบินที่เกิดขึ้น ซึ่งบริษัทฯ อาจ เสื่อมเสียชื่อเสียงซึ่งส่งผลให้เสียลูกค้า และส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ นอกจากนี้ สภาพอากาศแปรปรวนในประเทศต่างๆ หรือในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งผู้โดยสารที่มาใช้บริการในเส้นทางการบินของบริษัทฯ มาจากประเทศหรือภูมิภาคดังกล่าวอาจส่ง ผลกระทบในทางลบต่อจำนวนผู้โดยสารบนเที่ยวบินของบริษัทฯ 2.4 อุตสาหกรรมการบินอยู่ภายใต้การกำกับดูแลความปลอดภัยและมาตรฐานการบินในระดับสากล อุตสาหกรรมการบิน อยู่ภายใต้การกำกับดูแลความปลอดภัยและมาตรฐานการบินในระดับสากล ซึ่งมี หน่วยงานต่างๆ ในระดับสากลเป็นผู้ตรวจสอบและกำกับดูแล หากพบว่ามีข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญ ต่อความปลอดภัย (Significant Safety Concerns) จะถูกปรับลดสถานะความปลอดภัย ซึ่งจะส่งผล กระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมกับประเทศ หน่วยงานที่กำกับดูแลกิจการด้านการบิน รวมทั้งสายการบิน ด้วย เช่น การถูกระงับการเพิ่มเส้นทางการบิน การจำกัดจำนวนเที่ยวบิน การจำกัดตารางการบิน ซึ่งจะ ส่ ง ผลต่ อ ความสามารถในการแข่ ง ขั น และทำให้ ต้ น ทุ น ในการดำเนิ น งานเพิ่ ม สู ง ขึ้ น นอกจากนั้ น ยั ง จำกัดโอกาสในการขยายธุรกิจ การทำกำไรของธุรกิจ อัตราค่าเช่าเครื่องบินและเบี้ยประกัน ตลอดจน เงื่ อ นไขการซ่ อ มบำรุ ง จะมี ค วามเข้ ม งวดมากขึ้ น อี ก ด้ ว ย และส่ ง ผลกระทบต่ อ ความเชื่ อ มั่ น ของผู้ ใช้ บริการ เนื่องจากความปลอดภัยเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ลูกค้าพิจารณาเลือกใช้บริการ

68


69

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

แผนผังองค์กรของบริษัทฯ


โครงสร้างการจัดการ คณะกรรมการของบริษัทฯ คณะกรรมการของบริษัทฯ ประกอบด้วย คณะกรรมการจำนวน 3 ชุด คือ คณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการ บริหาร และคณะกรรมการตรวจสอบ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

• คณะกรรมการบริษัทฯ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วย กรรมการจำนวน 9 ท่าน ดังนี้

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9.

ชื่อ พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ พลตำรวจโท วิสนุ ปราสาททองโอสถ นายประดิษฐ์ ทีฆกุล นายศรีภพ สารสาส พลเอกวิชิต ยาทิพย์ นายสหรัตน์ เพ็ญกุล (1) นางนฤมล น้อยอ่ำ

ตำแหน่ง ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ หมายเหตุ (1) ได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง เป็ น กรรมการของบริ ษั ท ฯ ตามมติ ทีป่ ระชุมกรรมการบริษทั ครัง้ ที ่ 12 / 2558 ซึง่ ประชุม เมือ่ วันที ่ 24 ธันวาคม 2558 แทน นายเจมส์ แพ็ททริค รูนี่ย์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง และได้รับการจดทะเบียน เข้ า เป็ น กรรมการกั บ กระทรวงพาณิ ช ย์ เมื่ อ วั น ที่ 7 มกราคม 2559

70


ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ด้านนโยบาย และการกำกับดูแล

1. 2. 3. 4. 5. 6.

คณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทฯ และตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และมีอำนาจกระทำ การใดๆ ตามที่ระบุไว้ในหนั ง สื อ บริ ค ณห์ ส นธิ และพระราชบั ญญั ติ บริ ษั ท มหาชนจำกั ด หรื อ กฎเกณฑ์ ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ปฏิ บั ติ ต ามข้ อ กำหนดและข้ อ พึ ง ปฏิ บั ติ ที่ ดี ส ำหรั บ กรรมการบริ ษั ท จดทะเบี ย น ตามหลั ก เกณฑ์ ข อง ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดนโยบาย และให้ความเห็นชอบในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทฯ ในภาพรวม เช่น วิสัยทัศน์ ทิศทางการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์ รวมถึงอนุมัติแผนธุรกิจ งบประมาณประจำปี แผนการลงทุน และการตัดสินใจทางการเงิน เป็นต้น ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินกิจการเป็นไปตามเป้าหมายและแผนงาน ที่กำหนดไว้ จัดให้มีนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ เป็นลายลักษณ์อักษร และให้ความเห็นชอบนโยบาย ดังกล่าว คณะกรรมการฯ ควรทบทวนนโยบายและการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวเป็นประจำ อย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง ส่งเสริมให้มีการกำหนดจรรยาบรรณธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ทุกคนเข้าใจถึงมาตรฐานด้านจริยธรรมที่บริษัทฯ ใช้ในการดำเนินธุรกิจ และติดตามให้มีการปฏิบัติตาม จรรยาบรรณดังกล่าวอย่างจริงจัง

ด้านการเงิน

1. 2.

จัดให้มีระบบการรายงานทางการเงิน และการสอบบัญชีที่มีความน่าเชื่อถือ จัดให้มีการทำงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุน ณ วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของบริษัทฯ เสนอต่อที่ประชุม ผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญประจำปีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทฯ ต้องจัดให้ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนนั้นให้เสร็จก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น

ด้านการควบคุม และการตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยง

1. 2. 3.

จั ด ให้ มี ร ะบบการควบคุ ม ภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่ เ หมาะสม โดยจั ด ให้ มี บุ ค คลหรื อ หน่ ว ยงานที่ มี ค วามเป็ น อิ ส ระในการปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ เ ป็ น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบ ในการตรวจสอบระบบดังกล่าว และทบทวนระบบการควบคุมภายในอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง จัดให้มีนโยบายด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Policy) การจัดการและควบคุมความเสี่ยง ให้ครอบคลุมทั้งองค์กร ทบทวนระบบหรือประเมินประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในและการจัดการความเสี่ยงอย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง

71


ด้านทรัพยากรบุคคล เกี่ยวกับกรรมการบริษัทฯ

1. กลั่นกรองรายชื่อผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้ง 2. กลัน่ กรองรูปแบบและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทฯ และกรรมการชุดย่อย เพื่อเสนอ ให้ท่ปี ระชุมผู้ถือหุ้นให้ความเห็นชอบ เกี่ยวกับประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่

1. 2. 3.

ให้ความเห็นชอบคุณสมบัติที่เหมาะสม วิธีการสรรหา หลักเกณฑ์ในการสรรหา ตลอดจนรูปแบบและ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนของประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที ่ และผลการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของ ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ให้ความเห็นชอบการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนประจำปีสำหรับประธานคณะผู้บริหารและกรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่

เกี่ยวกับโครงสร้างองค์กร หลักเกณฑ์การปรับเงินเดือน และแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหาร

1. 2. 3.

ให้ความเห็นชอบรูปแบบโครงสร้างองค์กรระดับบน ตลอดจนขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบ สำหรับผู้บริหารของระดับดังกล่าว ให้ความเห็นชอบโครงสร้างเงินเดือนและหลักเกณฑ์การปรับเงินเดือนประจำปีของบริษัทฯ ให้ ค วามเห็ น ชอบแผนการสื บ ทอดตำแหน่ ง ผู้ บ ริ ห าร (Succession plan) สำหรั บ ตำแหน่ ง ประธาน คณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่

ด้านการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์

1. 2. 3.

กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินการ และการเปิดเผยข้อมูลของรายการที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์ให้ถูกต้องครบถ้วน รายงานให้บริษัทฯ ทราบถึงการมีส่วนได้เสียของตนหรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นส่วนได้เสีย ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความโปร่งใส จึงให้มีการรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล กรรมการอิสระควรส่งหนังสือยืนยันให้กับบริษัทฯ เพื่อรับรองความเป็นอิสระของตนตามคำจำกัดความ ของบริษัทฯ ในวันที่กรรมการอิสระยอมรับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและทุกๆ ปีหลังจากนั้น

ด้านการติดต่อสื่อสารกับผู้ถือหุ้น

72

จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่าง เป็นมาตรฐานและโปร่งใส


ด้านการลงทุน

1. 2.

มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติเกี่ยวกับการลงทุนในทุกกรณี โดยอยู่ในระดับความเสี่ยงที่บริษัทฯ ยอมรับได้ มอบอำนาจให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติเกี่ยวกับการลงทุน ในวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อครั้ง และให้คณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ จัดทำรายงานการอนุมัติการลงทุนให้ คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ รั บ ทราบ เมื่ อ มี ก ารประชุ ม คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ในกรณี ที่ เ ป็ น การลงทุ น ใน หลักทรัพย์ของบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวโยงกับบริษัทฯ ผู้บริหาร หรือกรรมการของบริษัทฯ ให้คณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ นำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติเกี่ยวกับ การลงทุนดังกล่าว โดยกรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียจะไม่เข้าร่วมประชุมและออกเสียง ลงคะแนนในการประชุมเรื่องดังกล่าว

ด้านอื่น ๆ

1. 2. 3.

แต่งตั้งเลขานุการบริษัทฯ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จัดให้มีกฎบัตรของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย ตลอดจนให้ความเห็นชอบข้อเสนอ ของกรรมการชุดย่อยในการปรับเปลี่ยนเนื้อหาในกฎบัตรให้มีความเป็นปัจจุบัน และเหมาะสมกับระเบียบ ข้อบังคับ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในประกาศ ข้อกำหนด พระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นใด ที่กำกับ ดูแลบริษัทฯ

ทั้งนี้ อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถใช้กับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้ ส่วนเสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย และไม่รวมถึงการ ดำเนินการเกี่ยวกับรายการเกี่ยวโยงกัน และรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่สำคัญของบริษัทจด ทะเบียนตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือประกาศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติให้เป็นไป ตามกฎระเบียบ และข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือประกาศอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ นอกจากนี ้ อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบดังกล่าวข้างต้นไม่รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่ข้อบังคับบริษัทฯ กำหนดให้ต้องขออนุมัติจาก มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และคณะกรรมการบริษัทฯ หรือผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการบริษัทฯ ไม่สามารถ อนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือประกาศ คณะกรรมการกำกับตลาดทุน) อาจมีส่วนได้เสีย หรืออาจได้รับประโยชน์ในลักษณะใดๆ หรืออาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยของบริษัทฯ ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบาย และหลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาอนุมัติไว้

73


• คณะกรรมการบริหาร เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพทันกับสภาวการณ์ เกิดประโยชน์สูงสุดกับบริษัทฯ คณะ กรรมการบริษัทฯ จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการบริหารของบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 4 ท่านและ กำหนดวาระในการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารเป็นระยะเวลา 3 ปีรายชื่อคณะกรรมการบริหารมี ดังนี้ ชื่อ

ตำแหน่ง

1. นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ

ประธานกรรมการบริหาร

2. นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ

กรรมการบริหาร

3. นายประดิษฐ์ ทีฆกุล

กรรมการบริหาร

4. นายอนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา

กรรมการบริหาร

ขอบเขตและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร ด้านนโยบาย และการกำกับดูแล

1. 2. 3. 4.

กำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางการดำเนินธุรกิจ นโยบาย กลยุทธ์ของบริษัทฯ เพื่อนำเสนอขอความเห็นชอบจาก คณะกรรมการบริษัทฯ ทบทวนแผนธุรกิจ แผนงบประมาณ รายจ่ายประจำปี แผนการลงทุน และแผนงานด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility (CSR)) ของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับนโยบาย และกลยุทธ์ที่วางไว้และนำเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทฯ กำกับดูแลการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามแผนงานต่างๆ ที่วางไว้ รวมทั้งให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนกฎระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ พิจารณารายงานสรุปผลการปฏิบัติงานของบริษัทฯ และเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อทราบทุก ไตรมาส

ด้านการเงิน 74

1.

อนุมัติรายจ่ายเพื่อการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อการกุศล ซึ่งอยู่นอกงบประมาณประจำปี ในวงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท ยกเว้น รายจ่ายลงทุน ในอสังหาริมทรัพย์ ประเภทที่ดินและ / หรือ สิ่งปลูกสร้าง รวมจนถึงสิทธิการเช่าในที่ดินและ / หรืออาคาร ซึ่งต้องจดทะเบียนสิทธิการเช่ากับสำนักงานที่ดินจะต้องได้รับอนุมัติการลงทุนจากคณะกรรมการบริษัทฯ ในทุกกรณี


ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2556 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติให้แก้ไขขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร โดยให้เพิ่มเติมการอนุมัติการลงทุนและค่าใช้จ่ายในกรณี จำเป็นเร่งด่วน เพื่อให้การบริหารกิจการของบริษัทฯ เป็นไปด้วยดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่สามารถอนุมัติ รายจ่ายเพื่อการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ตลอดจนค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือ เพื่ อ การกุ ศ ล ซึ่ ง อยู่ น อกงบประมาณประจำปี ใ นวงเงิ น ที่ ก ล่ า วข้ า งต้ น ไปก่ อ นได้ และให้ น ำเสนอต่ อ คณะกรรมการบริหารเพื่อให้สัตยาบันในภายหลัง

2. อนุมัติหรือทบทวนวงเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย ในวงเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยบริษัทย่อยดังกล่าว จะต้องไม่มีบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัทแม่ถือหุ้นเกินร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้ว ในบริษทั ย่อยดังกล่าว และให้รายงานให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบในการประชุมครั้งถัดไป

ด้านการควบคุม และการตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยง

กำกับดูแลให้บริษัทฯ มีระบบปฏิบัติการควบคุมภายใน และระบบการจัดการและควบคุมความเสี่ยงที ่ เหมาะสมรัดกุม และเป็นไปตามข้อเสนอและท้วงติงของคณะกรรมการตรวจสอบ

ด้านทรัพยากรบุคคล

1. 2. 3. 4.

กลั่นกรองและทบทวนรูปแบบโครงสร้างองค์กร และขอบเขตอำนาจ หน้าที่ ความรับผิดชอบระดับบน (ระดับผู้อำนวยการใหญ่) เพื่อเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ ให้ความเห็นชอบแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหาร (Succession plan) ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง โยกย้าย หรือปลดผู้บริหารตั้งแต่ตำแหน่งระดับรองผู้อำนวยการใหญ่ ตลอดจน ให้ความเห็นชอบในการพิจารณากำหนดรายชื่อกรรมการบริษัทย่อย และกรรมการผู้จัดการของบริษัทย่อย เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของบริษัทย่อยในการนำรายชื่อดังกล่าวผ่านขั้นตอนอนุมัติตามกฎหมาย หรือตามกฎระเบียบและข้อบังคับของแต่ละบริษัทต่อไป กลั่นกรองและทบทวนโครงสร้างเงินเดือน (Pay Scale) และหลักการการปรับเงินเดือนประจำปีของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (ทั้งนี้ไม่รวมตำแหน่งประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่) เพื่อนำเสนอ ต่อคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ

ด้านการลงทุน

1. 2.

มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติเกี่ยวกับการลงทุน ในวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อครั้ง ในกรณีท่ีเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ที่มีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวโยงกับบริษัทฯ ผู้บริหาร หรือกรรมการของบริษัทฯ ให้คณะกรรมการบริหารนำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา อนุมัติเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าว โดยกรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้เสียจะไม่เข้าร่วมประชุมและ ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมเรื่องดังกล่าว

75


ด้านอื่นๆ

1. 2. 3.

แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ สอบทานกฎบัตรของคณะกรรมการบริหารเป็นประจำทุกปี ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารเห็นว่า มีความ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเนื้อความในกฎบัตรดังกล่าวให้เหมาะสมกับระเบียบ ข้อบังคับ และสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป ให้คณะกรรมการบริหารเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ ให้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ต่อไป ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ

ทั้งนี้ อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถใช้กับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้ ส่วนเสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในลักษณะอื่นใดกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย และไม่รวมถึงการ ดำเนิ น การเกี่ ย วกั บ รายการเกี่ ย วโยงกั น และรายการได้ ม าหรื อ จำหน่ า ยไปซึ่ ง ทรั พ ย์ สิ น ที่ ส ำคั ญ ของบริ ษั ท จดทะเบียน ตามกฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือประกาศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และบริษัทจะต้องปฏิบัติให้ เป็นไปตามกฎระเบียบ และข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือประกาศอื่นๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ นอกจากนี้ อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบดังกล่าวข้างต้นไม่รวมถึงเรื่องอื่นๆ ที่ข้อบังคับบริษัทฯ กำหนดให้ต้องขอ อนุมัติจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และคณะกรรมการบริหาร หรือผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการบริหารไม่ สามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือ ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน) อาจมีส่วนได้เสีย หรืออาจได้รับประโยชน์ในลักษณะใดๆ หรืออาจมีความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยของบริษัทฯ ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตาม นโยบายและหลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาอนุมัติไว้

• คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวน 3 ท่าน และมีคุณสมบัติครบถ้วน ตามที่กำหนดโดยประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และตลาดหลักทรัพย์ฯ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการบริษัทฯ ที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารบริษัทฯ ซึ่ง มีรายชื่อ ดังนี้ ชื่อ 1. นายศรีภพ สารสาส

ประธานกรรมการตรวจสอบ

2. พลเอก วิชิต ยาทิพย์

กรรมการตรวจสอบ

3. นายสหรัตน์ เพ็ญกุล

กรรมการตรวจสอบ

(1)

76

ตำแหน่ง

หมายเหตุ (1) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทฯ ตามมติที่ประชุมกรรมการบริษัทครั้งที่ 12 / 2558 ซึ่งประชุม เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 แทน นายเจมส์ แพ็ททริค รูนี่ย์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง และได้รับการ จดทะเบียนเข้าเป็นกรรมการกับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2559


นายศรีภพ สารสาส เป็นประธานกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอในการสอบทาน ความน่าเชื่อของงบการเงินของบริษัทฯ

โดยมี นายเกษม อาคเนย์สุวรรณเป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ด้านนโยบาย และการกำกับดูแล

สอบทานให้บริษัทฯ ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาด หลักทรัพย์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ

ด้านการเงิน

1. 2. 3.

สอบทานให้บริษัทมีการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทฯ ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนเป็นที่เชื่อถือได้ โดยการประสานงานกับผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำ รายงานทางการเงินตามกรอบระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานราชการ กำหนด พิจารณา คัดเลือก และเสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้า ร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จัดให้มีกระบวนการรับแจ้งเบาะแสจากพนักงานเกี่ยวกับรายการในงบการเงินที่ไม่เหมาะสมหรือประเด็น อื่นๆ โดยต้องทำให้ผู้แจ้งเบาะแสมั่นใจได้ว่ามีกระบวนการสอบสวนที่เป็นอิสระ และมีการดำเนินการในการ ติดตามที่เหมาะสม

ด้านการควบคุม และการตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยง

1. 2. 3. 4.

สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยสอบทานร่วมกับผู้ตรวจสอบอิสระภายนอกและ ผูต้ รวจสอบภายใน ทัง้ นี ้ คณะกรรมการตรวจสอบควรพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน สอบทานหลักฐานการไต่สวนภายในเมื่อมีข้อสงสัยหรือสันนิษฐานว่าอาจมีการทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือ ความบกพร่องสำคัญในระบบการควบคุมภายใน และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณาต่อไป สั่งการและสอบทานหลักฐานหากมีข้อสงสัยว่าอาจมีการฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อกำหนดใดๆ ของตลาดหลัก ทรัพย์ฯ ซึ่งมีหรืออาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ ว่าจ้างหรือนำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาสนับสนุนงานตรวจสอบและสอบสวน โดยปฏิบัติตามระเบียบของ บริษัทฯ ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำซึ่งอาจมีผลกระทบ อย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

77


5. ในกรณีที่บริษัทฯ มีหน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัทฯ เอง คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจในการ ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง หัวหน้างานตรวจสอบภายใน และประเมินผลการปฏิบัติ หน้าทีข่ องผูท้ ดี่ ำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยตรวจสอบภายใน แต่ในกรณีทบี่ ริษทั ฯ ใช้บริการหน่วยงานภายนอก เป็นผู้ให้บริการด้านการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจให้ความเห็นชอบการว่าจ้างและ กำหนดค่าธรรมเนียมตอบแทนการว่าจ้างดังกล่าว 6. สอบทานให้บริษัทฯ มีระบบการจัดการและควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสม ครอบคลุมทั้งองค์กร และเสนอ แนะแนวทางในการบริหารความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพ 7. สอบทานการรายงานการบริหารความเสี่ยง และติดตามความเสี่ยงที่สำคัญ และนำเสนอรายงานความเห็น ที่เกี่ยวกับความพอเพียงของระบบ และการควบคุมความเสี่ยงต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา

ด้านการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์

พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์ สูงสุดต่อบริษัทฯ

ด้านอื่น ๆ

78

1. 2.

จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัทฯ ซึ่งรายงานดังกล่าว ต้องมีรายละเอียดตามประกาศตลาดหลักทรัพย์ฯ และระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง สอบทานกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี โดยกฎบัตรดังกล่าวควรมีรายละเอียด เกี่ยวกับขอบเขตของการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ และมี ข้อกำหนดที่รองรับการทำหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างเพียงพอ เช่น การจ้างผู้เชี่ยวชาญ ให้ความเห็นในเรื่องที่ต้องใช้ความชำนาญเฉพาะด้าน โดยบริษัทฯ รับผิดชอบค่าใช้จ่าย เป็นต้น ในกรณีท ี่ คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่ามีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเนื้อความในกฎบัตรดังกล่าวให้เหมาะสม กับระเบียบ ข้อบังคับ และสถานการณ์ทเี่ ปลีย่ นแปลงไป ให้คณะกรรมการตรวจสอบเสนอต่อคณะกรรมการ บริษัทฯ ให้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป 3. ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการของบริษัทฯ มอบหมาย

ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริษัทฯ โดยประธานกรรมการตรวจสอบและ กรรมการตรวจสอบมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 3 ปี


• คณะผู้บริหาร

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คณะผู้บริหารประกอบด้วยผู้บริหารจำนวน 16 ท่าน ดังนี้ ชื่อ

ตำแหน่ง

นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ

ประธานคณะผู้บริหาร

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ

กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ / กรรมการรองผู้อำนวย การใหญ่ ฝ่ายปฏิบัติการ

นายประดิษฐ์ ทีฆกุล

กรรมการรองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายบริหาร / ผู้อำนวย การอาวุโสสำนักผู้อำนวยการใหญ่ สังกัดสำนักผู้อำนวย การใหญ่

นายคริสทอป คลาเรนซ์

รองผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส ฝ่ายช่าง

นายปีเตอร์ วิสเนอร์

รองผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส ฝ่ายบริหารเครือข่ายการ บินและผลิตภัณฑ์

หม่อมหลวงนันทิกา วรวรรณ

รองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์

นางอาริญา ปราสาททองโอสถ

รองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายขาย

นายณรงค์ชัย ถนัดช่างแสง

รองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายสนามบิน

นายวิโรจน์ สติธโรปกรณ์

รองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายบัญชี

นายพรต เสตสุวรรณ

รองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายการตลาด

นายปิง ณ ถลาง

รองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายนิรภัยองค์กร

พลอากาศโท เดชิศร์ เจริญวงศ์ (1)

รองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายปฏิบัติการบิน / นักบินที่ 1

นายเกษม อาคเนย์สุวรรณ

รองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายตรวจสอบภายใน

นายอนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา

รองรองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายการเงิน

นางสาวอณิญญา เนตรประไพ

รองรองผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายบริหาร

นางนฤมล ใจหนักแน่น

เลขานุการ สำนักประธานคณะผู้บริหาร (ระดับรองผู้อำนวยการใหญ่) หมายเหตุ : (1) ได้รับแต่งตั้ง 1 พฤศจิกายน 2558 แทน นาวาอากาศโทศราวุธ ทองเล็ก ซึง่ พ้นจาก ตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2558

79


ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานคณะผู้บริหาร (Chief Executive Officer) ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของประธานคณะผู้บริหาร (Chief Executive Officer) มีดังต่อไปนี้

ด้านนโยบายและการกำกับดูแล

1. 2. 3. 4. 5.

ร่วมกับคณะกรรมการบริหารในการดูแลให้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ ทิศทางการดำเนินธุรกิจ นโยบาย กลยุทธ์ ของบริษัทฯ สื่อสารวิสัยทัศน์ ทิศทางการดำเนินธุรกิจ นโยบาย กลยุทธ์ของบริษัทฯ ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ บริษัทฯ ให้ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ ใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนงานและบริหารจัดการธุรกิจของ แต่ละหน่วยงาน ดูแลให้บริษัทฯ มีการจัดทำแผนธุรกิจ แผนงบประมาณ แผนการลงทุน และแผนงานด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมขององค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR) ให้สอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ ที่วางไว้ ตลอดจนกลั่นกรองแผนดังกล่าว และเสนอคณะกรรมการบริหารพิจารณา ดูแลการปฏิบตั งิ านของบริษทั ฯ ให้เป็นไปตามแผนงานต่างๆ ทีว่ างไว้ รวมทัง้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อกำหนดของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของบริษัทฯ และนำมาซึ่ง ผลประกอบการที่ได้ตั้งเป้าหมาย ทั้งในส่วนที่เป็นเป้าหมายทางการเงิน และมิใช่การเงิน ดูแลให้การบริหารจัดการของบริษัทฯ เป็นไปอย่างโปร่งใส

ด้านการเงิน

อนุมัติรายจ่ายต่างๆตามแผนงานที่ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการบริหารและตาม อำนาจที่ได้รับมอบหมาย

ด้านการควบคุม การตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยง

80

1. 2.

ดู แ ลให้ บ ริ ษั ท ฯ มี ร ะบบปฏิ บั ติ ก ารควบคุ ม ภายในที่ เ หมาะสมตามแนวทางที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายจากคณะ กรรมการบริหาร และ / หรือคณะกรรมการตรวจสอบ ดูแลให้บริษัทฯ มีระบบการจัดการและควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสม และเป็นไปตามแนวทางที่ได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการบริหาร และ / หรือคณะกรรมการตรวจสอบ


ด้านทรัพยากรบุคคล

ดูแลเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลของบริษัทฯ ในภาพรวม

ด้านการติดต่อสื่อสารกับผู้ถือหุ้น 1. เป็นตัวแทนของบริษัทฯ ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ถือหุ้น 2. สนับสนุนคณะกรรมการบริษัทฯ ในการจัดให้มีช่องทางในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นมาตรฐานและโปร่งใส

ด้านสัมพันธ์ภาพกับบุคคลภายนอก

เป็นตัวแทนของบริษัทฯ ในการประชาสัมพันธ์องค์กรต่อสาธารณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการสร้าง เครือข่ายความสัมพันธ์และภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในระดับประเทศและระดับสากล

ด้านอื่น ๆ

ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริหาร

ทั้งนี้ประธานคณะผู้บริหารหรือผู้รับมอบอำนาจจากประธานคณะผู้บริหารไม่สามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือ บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือประกาศคณะกรรมการกำกับ ตลาดทุน) อาจมีส่วนได้เสียหรืออาจได้รับประโยชน์ในลักษณะใดๆ หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ อื่นใดกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยของบริษัทฯ ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ ที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาอนุมัติไว้

81


ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (President) ขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (President) มีดังต่อไปนี้

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) / พันธกิจ (Mission) / วัตถุประสงค์ (Objective) / เป้าหมาย (Goal) ของ บริษัทฯ ในการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพื่อสร้างกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนให้ทุกคน ในองค์กรดำเนินการตามอย่างเป็นระบบ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กำกับดูแลการดำเนินธุรกิจด้วยความถูกต้องบนพื้นฐานของระเบียบข้อบังคับ กฎเกณฑ์ กฎหมาย ฯลฯ ด้วยความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ มีความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กำกับดูแลผลการดำเนินการ ผลประกอบการทางธุรกิจ และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น เพื่อคาดคะเนแนวโน้ม และกำหนดทิศทางการดำเนินงานทางธุรกิจ กำหนดนโยบายเพื่อสร้างขีดความสามารถทางการบริหารของผู้บริหารในการเตรียมความพร้อมการพัฒนา บุคลากรภายในองค์กร เพื่อความอยู่รอดขององค์กร และการเจริญเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน กำหนดแนวทางการเจริ ญ เติ บ โตในระยะยาว เพื่ อ เตรี ย มความพร้ อ มต่ อ การเปลี่ ย นแปลงที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ของสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจ และคู่แข่งทางธุรกิจในการสร้างประสิทธิภาพและศักยภาพทางการแข่งขัน บริหาร สั่งการ ควบคุม และติดตามการดำเนินงานของผู้ใต้บังคับบัญชา กำกับดูแลการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดี โดยรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอันนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ

ทั้งนี้ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือผู้รับมอบอำนาจจากกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ไม่สามารถอนุมัติ รายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (ตามที่นิยามไว้ในประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือประกาศ คณะกรรมการกำกั บ ตลาดทุ น ) อาจมี ส่ ว นได้ เ สี ย หรื อ อาจได้ รั บ ประโยชน์ ใ นลั ก ษณะใดๆ หรื อ อาจมี ความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่นใดกับบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยของบริษัทฯ ยกเว้นเป็นการอนุมัติรายการ ที่เป็นไปตามนโยบายและหลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาอนุมัติไว้

82

• อำนาจอนุมัติ

คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดให้รายการต่อไปนี้ คือ งบลงทุนประจำปี การเสนองบประมาณค่าใช้จ่าย ประจำปี ก ารอนุ มั ติ โ ครงการหรื อ สิ น ทรั พ ย์ ที่ มี ค วามต้ อ งการอย่ า งเร่ ง ด่ ว นระหว่ า งปี ที่ มู ล ค่ า เกิ น กว่ า 100.0 ล้านบาท การอนุมัติค่าใช้จ่ายนอกงบประมาณที่มีมูลค่าเกินกว่า 100.0 ล้านบาท การจัดหา จัดซื้อ และการเช่าระยะยาวเครื่องบิน การทำรายการระหว่างกันกรณีที่เป็นข้อตกลงทางการค้าที่ไม่เป็นเงื่อนไข การค้าโดยทั่วไป การลงทุนในธุรกิจและหลักทรัพย์ที่มีมูลค่ามากกว่า 500 ล้านบาท จะต้องได้ผ่านการอนุมัติ จากคณะกรรมการบริษัทฯ

ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ที่มีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวโยงกับบริษัทฯ ผู้บริหาร หรือกรรมการของบริษัทฯ ให้คณะกรรมการบริหาร นำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณา อนุมัติเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าว โดยกรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย จะไม่เข้าร่วมประชุม และออกเสียงลงคะแนนในการประชุมเรื่องดังกล่าว


• การสรรหาและแต่งตั้งกรรมการและผู้บริหารระดับสูงสุด 1. กรรมการอิสระ

คุณสมบัติของกรรมการอิสระ เป็นไปตามนิยามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. 2.

3. 4. 5. 6. 7.

ถื อ หุ้ น ไม่ เ กิ น ร้ อ ยละหนึ่ ง ของจำนวนหุ้ น ที่ มี สิ ท ธิ อ อกเสี ย งทั้ ง หมดของบริ ษั ท ฯ บริ ษั ท ใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งของบริษัทฯ ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้น ของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้นๆ ด้วย (ผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง บุคคลตามมาตรา 258 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการทีม่ สี ว่ นร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ทีป่ รึกษาทีไ่ ด้เงินเดือนประจำ หรือผูม้ อี ำนาจควบคุมของบริษทั ฯ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม บริษทั ย่อยลำดับเดียวกัน ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือของผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อย กว่าสองปีทั้งนี้ลักษณะต้องห้ามดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีที่กรรมการอิสระเคยเป็น ข้าราชการ หรือที ่ ปรึกษาของส่วนราชการซึง่ เป็นผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ หรือผูม้ อี ำนาจควบคุมของบริษทั ฯ ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายในลักษณะ ที่เป็นบิดามารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทั้งคู่สมรสของบุตรของ ผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้มีอำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็น ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุมของ บริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้น รายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ ในลักษณะที่อาจเป็นการขัดขวางการใช้วิจารณญาณ อย่ า งอิ ส ระของตนรวมทั้ ง ไม่ เ ป็ น หรื อเคยเป็ น ผู้ ถื อหุ้ น ที่ มี นั ย หรื อ ผู้ มีอ ำนาจควบคุ ม ของผู้ที่ มี ความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือ ผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของ สำนักงานสอบบัญชี ซึ่งมีผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้น รายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ สังกัดอยู่ เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าว มาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพใดๆ ซึ่งได้รับค่าบริการเกินกว่าสองล้านบาทต่อปีจาก บริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทฯ และไม่เป็นผู้ถือหุ้นที่มีนัย ผู้มีอำนาจควบคุม หรือหุ้นส่วนของผู้ให้บริการทางวิชาชีพนั้นด้วย เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกรรมการของบริษัทฯ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่

83


8. 9.

ไม่ ป ระกอบกิ จ การที่ มี ส ภาพอย่ า งเดี ย วกั น และเป็ น การแข่ ง ขั น ที่ มี นั ย กั บ กิ จ การของบริ ษั ท ฯ หรือบริษัทย่อย หรือไม่เป็นหุ้นส่วน หรือกรรมการ ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่รับเงินเดือนประจำ หรือถือหุ้นเกินร้อยละหนึ่งของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัทอื่น ซึ่งประกอบ กิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันที่มีนัยกับกิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของ บริษัทฯ

2. กรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ บริษัทฯ ยังมิได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสรรหา (Nominating Committee) โดยคณะกรรมการบริษัทฯ จะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินการสรรหากรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ ให้เป็นไปตาม หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด ด้วยความโปร่งใส ตามหลักธรรมาภิบาล เมื่อกรรมการที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ หรือมีเหตุจำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งกรรมการเพิ่ม คณะกรรมการที่ดำรง ตำแหน่งในปัจจุบันจะหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาคัดเลือกกรรมการโดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา โดย พิจารณาถึงความรู้ความสามารถ รวมถึงประสบการณ์การทำงาน ประกอบการพิจารณาเพื่อกำหนดตัว บุคคลที่มีความเหมาะสมทั้งด้านประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถที่จะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ เข้ามา เป็นกรรมการ ทั้งนี้ บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทฯ จะต้องมีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) และประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. และไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ กฎหมายอื่น และ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติแต่งตั้งแล้ว จะเสนอรายชื่อ กรรมการดังกล่าวต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป (ตามแต่ละกรณี) องค์ประกอบและการแต่งตั้ง การถอดถอน หรือการพ้นจากตำแหน่งกรรมการของบริษัทฯ นั้น จะมีกำหนด ไว้ในข้อบังคับของบริษัทฯ ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. คณะกรรมการของบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวนกรรมการทัง้ หมดนั้น จะต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย 2. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้เลือกตั้งกรรมการโดยใช้เสียงข้างมากตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่ง (1) หุ้นต่อหนึ่ง (1) เสียง โดยผู้ถือหุ้นจะต้องใช้คะแนน เสียงที่มีอยู่ทั้งหมดเลือกตั้งบุคคลเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการ แต่จะแบ่งคะแนนเสียงให้ ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ (2) ให้ผู้ถือหุ้นออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการเป็นรายบุคคล (3) บุคคลที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวน กรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับ ถั ด ลงมามี ค ะแนนเสี ย งเท่ า กั น เกิ น จำนวนกรรมการที่ จ ะพึ ง มี ห รื อ จะพึ ง เลื อ กตั้ ง ในครั้ ง นั้ น ให้ ประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด 84


3. 4. 5.

ในการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่งจำนวนหนึ่งในสาม ถ้ า จำนวนกรรมการจะแบ่ ง ออกให้ ต รงเป็ น สามส่ ว นไม่ ไ ด้ ก็ ใ ห้ อ อกโดยจำนวนใกล้ ที่ สุ ด กั บ ส่วนหนึ่งในสาม กรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและปีที่สองภายหลังจดทะเบียน บริษัทนั้นให้จับสลากกัน ส่วนปีหลังๆ ต่อไปให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออก จากตำแหน่งกรรมการที่ออกตามวาระนั้น อาจได้รับเลือกให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกได้ กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่งให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัทฯ โดยการลาออกนั้นจะมีผล นับแต่วันที่ใบลาออกถึงบริษัทฯ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ด้วย คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้น นับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง

3. กรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 3 ท่าน โดยแต่งตั้งจากกรรมการอิสระ ที่ มี คุ ณ สมบั ติ ค รบถ้ ว นตามประกาศคณะกรรมการกำกั บ ตลาดทุ น รวมถึ ง ประกาศตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ฯ ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบจะต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด ซึ่ง รวมถึงคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 1. 2. 3. 4.

ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการของ บริษทั ฯ บริษทั ใหญ่ บริษทั ย่อย บริษทั ร่วม บริษทั ย่อยลำดับเดียวกัน หรือนิตบิ คุ คลทีอ่ าจมีความขัดแย้ง ไม่ เ ป็ น กรรมการของบริ ษั ท ใหญ่ บริ ษั ท ย่ อ ย หรื อ บริ ษั ท ย่ อ ยลำดั บ เดี ย วกั น เฉพาะที่ เ ป็ น บริ ษั ท จดทะเบียน มี ค วามรู้ แ ละประสบการณ์ แ ละสามารถอุ ทิ ศ เวลาได้ อ ย่ า งเพี ย งพอที่ จ ะสามารถทำหน้ า ที่ ใ นฐานะ กรรมการตรวจสอบ ต้ อ งไม่ เ ป็ น กรรมการตรวจสอบของบริ ษั ท จดทะเบี ย นในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ฯ ซึ่ ง อยู่ ใ นธุ ร กิ จ หรื อ อุตสาหกรรมเดียวกัน และไม่เป็นกรรมการตรวจสอบของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ อื่น เกินกว่า 5 บริษัทเนื่องจากอาจมีผลให้การปฏิบัติหน้าที่ในบริษัทใดบริษัทหนึ่งทำได้ไม่เต็มที่

ทั้งนี้ กรรมการตรวจสอบอย่างน้อยหนึ่งคน ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถ ทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้

85


• การกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บริษัทฯ จะดำเนินการกำกับดูแลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ดังนี้ (1) (2) (3) (4)

86

ส่งกรรมการของบริษัทฯ หรือผู้บริหารที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อเป็นกรรมการตัวแทนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ทั้ ง นี้ เพื่ อ ทำหน้ า ที่ ก ำหนดนโยบายที่ ส ำคั ญ ในการบริ ห ารงานและควบคุ ม การดำเนิ น ธุ ร กิ จ ของ บริษัทย่อยและบริษัทร่วมดังกล่าวตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ ดำเนินการให้บริษัทย่อยกำหนดนโยบายการเข้าทำรายการของบริษัทย่อย กับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน และ รายการได้ ม าจำหน่ า ยไปซึ่ ง ทรั พ ย์ สิ น โดยให้ น โยบายดั ง กล่ า วสอดคล้ อ งและเป็ น ไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ ประกาศ ระเบียบ ข้อกำหนด และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องที่ประกาศโดยสำนักงาน ก.ล.ต. ดำเนินการให้บริษัทย่อย จัดทำรายงานทางการเงิน เพื่อให้แสดงถึงสถานะทางการเงินและผลการ ประกอบการของบริษัทฯ โดยอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลทางบัญชีที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอตาม มาตรฐานการบัญชีซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และรายงานการทำรายการระหว่างบริษัทย่อยดังกล่าวกับ บุคคลที่อาจมีส่วนได้เสีย หรือมีความขัดแย้งกันในทางผลประโยชน์ รวมถึงรายการการได้มาหรือ จำหน่ า ยไปซึ่ ง สิ น ทรั พ ย์ ข องบริ ษั ท ย่ อ ยดั ง กล่ า ว โดยให้ มี ก ารนำเสนอต่ อ คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ เพื่อทราบอย่างน้อยปีละ4ครั้ง ดำเนิ น การให้ บ ริ ษั ท ย่ อ ยที่ เ ป็ น บริ ษั ท ที่ ป ระกอบธุ ร กิ จ หลั ก จั ด ให้ มี ห น่ ว ยงานตรวจสอบภายใน (Internal Audit) หรือผู้ตรวจสอบภายในจากภายนอก เข้ามาจัดทำแผนงานการตรวจสอบภายใน ประจำปี ข องบริ ษั ท ดั ง กล่ า ว และจั ด ให้ มี ก ารตรวจสอบตามแผนงานตรวจสอบภายในประจำปี ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ รวมถึงจัดให้มีรายงานผลการตรวจสอบ และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน ว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัทดังกล่าว มีความรัดกุมเพียงพอหรือไม่ และพนักงาน ผู้บริหาร และกรรมการของบริษัทดังกล่าว ได้มีการปฏิบัติ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ นโยบายการควบคุ ม ภายในมากน้ อ ยเพี ย งใด เพื่ อ นำเสนอต่ อ คณะกรรมการของ บริษัทย่อยภายในระยะเวลาที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ


• การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทฯ มีนโยบายและวิธีการดูแลกรรมการ และผู้บริหารในการนำข้อมูลภายในของบริษัทฯ ซึ่งยัง ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะชนไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนดังนี้

1. 2. 3. 4.

ให้ความรู้แก่กรรมการและผู้บริหาร เกี่ยวกับหน้าที่ในการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 59 และ บทกำหนดโทษตามมาตรา 275 แห่งพ.ร.บ. หลักทรัพย์ รวมทั้งการรายงานการได้มาหรือจำหน่าย หลั ก ทรั พ ย์ ข องตน คู่ ส มรส และบุ ต รที่ ยั ง ไม่ บ รรลุ นิ ติ ภ าวะต่ อ สำนั ก งานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 246 และบทกำหนดโทษ ตามมาตรา 298 แห่งพ.ร.บ. หลักทรัพย์ ให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ รวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จัดทำและเปิดเผย รายงานการถือครองหลักทรัพย์และรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ต่อสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามมาตรา 59 และบทกำหนดโทษ ตามมาตรา 275 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ และจัดส่งสำเนารายงานนี้ให้แก่บริษัทฯ ในวันเดียวกับวันที่ส่งรายงานต่อสำนักงาน คณะกรรมการ ก.ล.ต. กรรมการ ผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้างของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ที่ได้รับทราบข้อมูลภายในที่เป็น สาระสำคัญซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ต้องใช้ความระมัดระวังในการซื้อขายหลักทรัพย์ ของบริษัทฯ ในช่วง 30 วันก่อนที่งบการเงินหรือข้อมูลภายในนั้นจะเปิดเผยต่อสาธารณชนและใน ช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมงภายหลังจากที่ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในต้องไม่เปิดเผยข้อมูลนั้นให้ผู้อื่นทราบจนกว่าจะได้มีการแจ้งข้อมูลนั้น ให้แก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ห้ามมิให้กรรมการผู้บริหารพนักงานและลูกจ้างของบริษัทฯ ใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ที่มีหรือ อาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ซึ่งยังมิได้เปิดเผยต่อสาธารณชน ซึ่งตนได้ล่วงรู้มาในตำแหน่งหรือฐานะเช่นนั้น มาใช้เพื่อการซื้อหรือขายหรือเสนอซื้อหรือเสนอขายหรือ ชักชวนให้บุคคลอื่นซื้อหรือขายหรือเสนอซื้อ หรือเสนอขายซึ่งหุ้นหรือหลักทรัพย์อื่น (ถ้ามี) ของบริษัทฯ ไม่ว่าทั้งทางตรงหรือทางอ้อมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ ไม่ว่าทั้งทางตรงหรือ ทางอ้อมและไม่ว่าการกระทำดังกล่าวจะทำเพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่นหรือนำข้อเท็จจริงเช่นนั้น ออกเปิดเผยเพื่อให้ผู้อื่นกระทำดังกล่าวโดยตนได้รับผลประโยชน์ตอบแทนหรือไม่ก็ตาม

• ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี ในรอบบั ญ ชี สิ้ น สุ ด ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2558 บริ ษั ท ฯ ได้ จ่ า ยค่ า ตอบแทนให้ แ ก่ ผู้ ส อบบั ญ ชี คื อ นางสาวพิมพ์ใจ มานิตขจรกิจ จากบริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด สำหรับการสอบบัญชีงบการเงินเท่ากับ 5.1 ล้านบาท

87


การประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ • การประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในปี 2558 บริษัทฯ มีก ารจัด ประชุม คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ จำนวน 12 ครั้ ง โดยมี ร ายละเอี ย ดการ เข้าประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ดังนี้

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

ชื่อ

จำนวนครั้งที่เข้าประชุม / การประชุมทั้งหมดในปี 2558

พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ พลตำรวจโท วิสนุ ปราสาททองโอสถ นายประดิษฐ์ ทีฆกุล นายศรีภพ สารสาส พลเอก วิชิต ยาทิพย์ นายเจมส์ แพ็ททริค รูนี่ย์ นางนฤมล น้อยอ่ำ นายสหรัตน์ เพ็ญกุล (1)

9 / 12 12 / 12 12 / 12 8 / 12 12 / 12 12 / 12 11 / 12 9 / 12 11 / 12 -

หมายเหตุ (1) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทฯ ตามมติที่ประชุมกรรมการบริษัทครั้งที่ 12 / 2558 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 แทน นายเจมส์ แพ็ททริค รูนี่ย์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง และได้รับการจดทะเบียนเข้าเป็นกรรมการกับกระทรวง พาณิชย์เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2559

• การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ในปี 2558 บริษัทฯ มีการจัดประชุมคณะกรรมการตรวจสอบจำนวน 4 ครั้ง โดยมีรายละเอียดการเข้า ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ดังนี้ จำนวนครั้งที่เข้าประชุม / การประชุมทั้งหมดในปี 2558

ชื่อ 1. 2. 3. 4.

นายศรีภพ สารสาส พลเอก วิชิต ยาทิพย์ นายเจมส์ แพ็ททริค รูนี่ย์ นายสหรัตน์ เพ็ญกุล (1)

4 / 4 3 / 4 2 / 4 -

หมายเหตุ (1) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทฯ ตามมติที่ประชุมกรรมการบริษัทครั้งที่ 12 / 2558 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 แทน นายเจมส์ แพ็ททริค รูนี่ย์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง และได้รับการจดทะเบียนเข้าเป็นกรรมการกับกระทรวง พาณิชย์เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2559 88


• เลขานุการบริษัทฯ คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ ได้ แ ต่ ง ตั้ ง นายอนวั ช ลี ล ะวั ฒ น์ วั ฒ นา เป็ น เลขานุ ก ารบริ ษั ท ฯ นั บ ตั้ ง แต่ วั น ที่ 13 มี น าคม 2556 โดยมี ห น้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบตามที่ ก ำหนดไว้ ใ นพระราชบั ญ ญั ติ ห ลั ก ทรั พ ย์ และตลาดหลักทรัพย์

• ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน (ก) ค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทฯ ในปี 2558 บริษัทฯ ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่กรรมการจำนวน 9 ราย เป็นจำนวนทั้งสิ้น 38.83 ล้าน บาท โดยค่าตอบแทนดังกล่าวเป็นค่าตอบแทนในรูปแบบค่าบำเหน็จ และค่าเบี้ยประชุมในฐานะ กรรมการเท่านั้น ทั้งนี้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

รายชื่อคณะกรรมการบริษัท

ตำแหน่ง

ค่าตอบแทนรวมในฐานะกรรมการ ปี 2558 (ล้านบาท)

พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ พลตำรวจโท วิสนุ ปราสาททองโอสถ นายประดิษฐ์ ทีฆกุล นายศรีภพ สารสาส พลเอก วิชิต ยาทิพย์ นายเจมส์ แพ็ททริค รูนี่ย์ นางนฤมล น้อยอ่ำ นายสหรัตน์ เพ็ญกุล (1)

ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

8.64 7.44 5.37 3.18 3.90 3.42 3.31 0.29 3.27 -

หมายเหตุ (1) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัทฯ ตามมติที่ประชุมกรรมการ บริษัทครั้งที่ 12 / 2558 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 แทน นายเจมส์ แพ็ททริค รูนี่ย์ ซึ่งพ้นจากตำแหน่ง และได้รับการจดทะเบียนเข้าเป็นกรรมการ กับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2559

(ข) ค่าตอบแทนของผู้บริหารบริษัทฯ ในปี 2558 บริษัทฯ ได้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่ประธานคณะผู้บริหาร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหาร รวม 16 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นประมาณ 221.9 ล้านบาท โดยค่าตอบแทนดังกล่าว เป็นค่าตอบแทนในรูปแบบเงินเดือน โบนัส และค่าตอบแทนอื่นๆ

89


ค่าตอบแทนอื่น

(ก)

สิทธิประโยชน์อื่นๆ สำหรับกรรมการบริษัทฯ มีรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 1. ให้กรรมการได้รับสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล โดยสำหรับกรรมการแต่ละท่านในวงเงิน ไม่เกิน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท) ต่อปี และรวมกันในระหว่างวาระการดำรงตำแหน่ง ไม่เกิน 2,000,000 บาท (สองล้านบาท) 2. ให้กรรมการได้รบั สิทธิประโยชน์เกีย่ วกับบัตรโดยสารเครือ่ งบินของบริษทั ฯ โดยสำหรับกรรมการแต่ละท่าน และผู้ติดตาม 1 ท่าน ไม่เกิน 24 ครั้งต่อปี 3. ให้กรรมการได้รับสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับการใช้เครื่องบินของบริษัทฯ (เมื่อตารางการบินว่าง) สำหรับ กิจการของบริษัทฯ และ / หรือคณะกรรมการ และ / หรือกรรมการ และกิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรม ที่มีประโยชน์ หรือส่งเสริมภาพลักษณ์ของบริษัทฯ หรือของธุรกิจของบริษัทฯ สาธารณประโยชน์ กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร และภารกิจพิเศษอื่นๆ ไม่เกิน 100 ชั่วโมงต่อปี 4. ให้บริษัทฯ จัดให้มีการทำประกันภัยความรับผิดของกรรมการและผู้บริหาร (Directors and Officers Liabilities Insurance) ให้เป็นสิทธิประโยชน์แก่กรรมการและผู้บริหาร

• บุคลากรและการฝึกอบรม

ข้อมูลทั่วไป ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ มีพนักงานรวมทั้งสิ้นจำนวน 2,613 คน โดยแบ่งตามหน้าที่ได้ดังนี้ จำนวนบุคคลากร

ณ 31 ธันวาคม 2558

ลูกเรือบนเที่ยวบิน :

นักบิน

328

พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

581

พนักงานภาคพื้นดิน:

ฝ่ายบริการลูกค้าภาคพื้น

323

ฝ่ายช่าง

248

หน้าที่อื่นๆ :

90

ฝ่ายการตลาด การสำรองที่นั่ง การขายพื้นที่ และระวางสินค้า

161

อื่นๆ

972

รวมทั้งสิ้น

2,613


บริษัทฯ กำหนดให้มีการว่าจ้างนักบิน วิศวกร และบุคคลากรอื่นๆ ที่มีความสามารถและความทุ่มเท และมี ประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งนี้ จากแผนการเติบโตของบริษัทฯ ทำให้บริษัทฯ ต้องว่าจ้าง ฝึกอบรม พนักงาน ใหม่เป็นจำนวนมากในอนาคต บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการคงความต่อเนื่องในการบริหารจัดการ ของบริษัทฯ เพื่อรักษาข้อได้เปรียบของบริษัทฯ ให้เหนือคู่แข่ง ทั้งนี้ กรรมการของบริษัทฯ เชื่อว่าความสำเร็จ อย่างต่อเนื่องของบริษัทฯ นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างซึ่งรวมถึงการสนับสนุนและความทุ่มเทของผู้บริหาร ของบริษัทฯ ทั้งนี้ ทางบริษัทฯ ได้ปรับใช้กลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งรวมถึงค่าตอบแทนที่สามารถแข่งขันได้ การสรรหาบุคคลที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และแผนการสืบทอดงาน บริษัทฯ ว่าจ้างนักบินที่มีประสบการณ์และได้รับใบอนุญาตทั้งจากภาคการทหารหรือจากสายการบินอื่น อีกทั้ง บริษัทฯ ยังได้ว่าจ้างนักบินพาณิชย์ที่ไม่มีการบันทึกศักยภาพการบินเฉพาะแบบที่มีคุณสมบัติครบถ้วน โดยนักบิน ดังกล่าวต้องมีชั่วโมงบิน 250 ชั่วโมงก่อนได้รับใบอนุญาตนักบิน นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้สรรหาและตั้งใจจะสรรหา บุคลากรนักศึกษาที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโดยตรง โดยบริษัทฯ รับประกันว่าจะให้เข้าทำงานกับบริษัทฯ ภายหลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนการบิน (ด้วยค่าใช้จ่ายตนเอง) บริษัทฯ พยายามสร้างแรงจูงใจเพื่อรักษาพนักงานของบริษัทฯ โดยให้ผลตอบแทนตามการปฏิบัติงาน พร้อมทั้ง ยกระดับและทักษะความสามารถของพนักงานด้วยการฝึกอบรม ทั้งนี้ บริษัทฯ ให้พนักงานของบริษัทฯ เข้าร่วม การประชุมและเข้ารับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานได้รับและพัฒนาทักษะและความสามารถ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี ้ การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงานเป็นแนวทางสำคัญอีกประการหนึ่งในการถ่ายทอดความรู ้ จากผู้เชี่ยวชาญไปยังพนักงานใหม่หรือพนักงานระดับล่าง การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถ ของพนักงาน นอกจากนี ้ ด้านการพัฒนาทักษะเหล่านี้ยังช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่พนักงานระดับล่างและ ระดับกลาง เพื่อรับผิดชอบงานของผู้บริหารระดับสูงต่อไป

• กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทฯ ได้จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2542 กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมของพนักงานในระยะยาว สร้างหลักประกันให้กับ พนักงานและครอบครัวในกรณีที่ออกจากงาน เกษียณอายุ หรือเสียชีวิต นอกจากนี ้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยังเป็นแรงจูงใจทำให้พนักงานทำงานกับบริษัทฯ เป็นระยะเวลานาน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งช่วยให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2543 บริษัทฯ ได้แต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม จำกัด (มหาชน) ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)” เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวมสำรองเลี้ยงชีพ โดยบริษัทฯ สมทบเงินร้อยละ 3-8 ของเงินเดือนของพนักงานเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และพนักงานจ่ายเงินสะสม เข้ากองทุนในอัตราร้อยละ 3-8 ของเงินเดือนของพนักงานแต่ละราย

91


นโยบายในการพัฒนาบุคลากร การฝึกอบรมผู้บริหารและพนักงาน บริษัทฯ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของพนักงานอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนา ทั้งภายในและภายนอกองค์กรให้กับผู้บริหารและพนักงานแต่ละระดับ ตามแนวทางในการพัฒนาและฝึกอบรม บุคลากรที่บริษัทฯ จัดทำขึ้น (Training Development Framework) เป็นไปตามค่านิยมหลักขององค์กร (Core Values) สมรรถนะหลั ก (Core Competency) สมรรถนะด้ า นบริ ห ารจั ด การ (Managerial Competency) ที่บริษัทฯ กำหนด ทั้งยังสนับสนุนการขับเคลื่อนทางธุรกิจขององค์กร โดยบริษัทฯ มุ่งเน้น การพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับบุคคลากรในแต่ละระดับขององค์กร ซึ่งบริษัทฯ ได้รับความร่วมมือกับสถาบัน การอบรมชั้นนำและ/หรือมหาวิทยาลัยในประเทศในการพัฒนาหลักสูตรทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น หลักสูตร ภาคบังคับสำหรับพนักงาน (Fundamental Program) หลักสูตรพัฒนาความรู้ทางธุรกิจและการบริหารจัดการ สำหรับผู้บริหาร (Leadership Development Program), หลักสูตรพัฒนาทักษะหัวหน้างาน (Supervisory Skills) เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ จัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถทั่วไป (General Training) หรือสาขาวิชาอื่นๆ เพิ่มเติม อาทิ หลักสูตรการพัฒนาการสื่อสาร หลักสูตรการพัฒนาทักษะทาง ความคิด หลักสูตรเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์การบริการและพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน (Service Design) เป็นต้น เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กรในแต่ละปีอีกด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าบุคลากรขององค์กรมีความพร้อม ทางด้านความรู้ ทักษะและความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากหลักสูตรภาคบังคับดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ จัดให้มีโครงการพัฒนาความก้าวหน้าเติบโตในสายอาชีพ (Career Development Program) ตามแผนการพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคลของพนักงาน (Individual Development Plan-IDP) เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จริงในหน่วยงาน ผ่านการ เรี ย นรู้ ด้ ว ยวิ ธี ห มุ น เปลี่ ย นเรี ย นงานภายในองค์ ก ร (Job Rotation) เพื่ อ พั ฒ นาศั ก ยภาพ ทั ก ษะ ความรู้ และประสบการณ์ในการทำงานที่กว้างหรือสูงขึ้นได้อย่างสอดคล้องตามแผนความก้าวหน้าเติบโตในสายอาชีพ ของพนักงาน โดยภายหลังจากจบการพัฒนาตามแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคลในแต่ละปี พนักงานจะได้รับ การประเมินการเรียนรู ้ จากผู้สอนงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้พนักงานร่วมกับผู้บังคับบัญชาสามารถนำไปใช้ เป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนการพัฒนารายบุคคลของพนักงานได้

92


การฝึกอบรมนักบิน

บริษัทฯ จัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ความสามารถของนักบินอย่างต่อเนื่อง ทั้งการฝึกอบรมภาคพื้น (Ground Training Course) และการฝึกปฏิบัติจริงผ่านหลักสูตรต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของกรมการบิน พลเรือน องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) รวมทั้ง สายการบินพันธมิตรชั้นนำ โดยเป็นการฝึกอบรมให้นักบินมีความรู้และความเข้าใจในอากาศยานที่ทำการบิน (Aircraft System) และการฝึกอบรมเพื่อทบทวนการปฏิบัติในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน (Emergency Procedure) ในเครื่องฝึกบินจำลอง (Simulator) เป็นประจำทุก 6 เดือน ทั้งนี้ ยังมีการฝึกอบรมภาควิชาการในรอบ 12 เดือน ในหลักสูตรที่สำคัญ คือ • หลักสูตรการบริหารทรัพยากรการบิน (Crew Resource Management) • หลักสูตรการดับเพลิง (Fire Fighting) • หลักสูตรการขนส่งสินค้าอันตรายทางอากาศ (Dangerous Goods) • หลักสูตรความมั่นคงการบิน (Aviation Security) • หลักสูตรการอพยพผู้โดยสารออกจากอากาศยานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทั้งบนพื้นดินและพื้นน้ำ (Slide and Wet Drill) และด้านนิรภัยการบิน (Flight Safety) • การฝึกปฏิบัติการบินในทัศนวิสัยจำกัด (Low Visibility Operation) ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่านักบินของบริษัทฯ จะสามารถทำการบินได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัยและมีความ สามารถในการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติการบินได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เพื่อให้ หลักสูตรการฝึกอบรมนักบินมีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บริษัทฯ มีการส่งเสริมให้ครูการบินและนักบินเข้ารับการอบรมและสัมมนาในหลักสูตรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก ประเทศเพื่อกลับมาพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย

การฝึกอบรมพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทฯ จัดให้มีการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ความสามารถตลอดจนทัศนคติของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน อย่างต่อเนื่องทั้งในการอบรมภาคพื้น (Ground Training Course) และการฝึกปฏิบัติจริงผ่านหลักสูตรต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของกรมการบินพลเรือน องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) สมาคมขนส่ง ทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) รวมทั้งสายการบินพันธมิตรชั้นนำ โดยเป็นการฝึกอบรมในด้านการให้ ความช่วยเหลือผู้โดยสารในกรณีปกติและฉุกเฉินเป็นหลัก รวมถึงงานด้านการบริการผู้โดยสาร นอกจากนี้ ยั ง ให้ ก ารฝึ ก อบรมตามหลั ก สู ต รต่ า งๆ ตามรอบ 12 เดื อ นเช่ น เดี ย วกั บ นั ก บิ น ทั้ ง หมด และรวมถึ ง การฝึ ก ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid) ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัทฯ จะสามารถดูแลผู้โดยสารได้เป็นอย่างดีทั้งในด้านการบริการและการให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน นอกจากนี ้ เพื่ อ ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาด้ า นการบริ ก ารบนเครื่ อ งบิ น และสามารถตอบสนองความต้ อ งการตามประเภทและ กลุ่มผู้โดยสาร บริษัทฯ มีการส่งเสริมให้ผู้ฝึกอบรม (Cabin crew instructor) เข้ารับการอบรมและสัมมนา ในหลักสูตรต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศเพื่อกลับมาพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมและงานด้านการบริการ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น 93


โครงสร้างเงินลงทุน 3.1 ผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2558 บริษัทมีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ดังต่อไปนี้ ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2558

รายชื่อกลุ่มผู้ถือหุ้น 1. 2.

กลุ่มนายพุฒิพงศ์ และนางเด่นนภา ปราสาททองโอสถ อันได้แก่ - นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ - นางเด่นนภา ปราสาททองโอสถ นางสาวปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ

จำนวนหุ้น

ร้อยละ

523,642,700

24.94

523,387,900 (1) 254,800 (1) 331,600,020 (1)

24.93 0.01 15.79

3. นางอาริญา ปราสาททองโอสถ

281,073,000 (2)

13.38

4. 5.

164,773,600

7.84

164,523,600 (1) 250,000 (1) 105,000,000

7.83 0.01 5.00

6. นางสาวสมฤทัย ปราสาททองโอสถ

77,542,900

3.69

7. บริษัท สินสหกล จำกัด(3)

63,934,400

3.04

8. กองทุนเปิด บัวหลวงหุ้นระยะยาว

48,654,900

2.32

9. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด

25,501,787

1.21

10. กองทุนเปิด บัวหลวงหุ้นระยะยาว 75/25

25,439,000

1.21

กลุ่มนายปราเสริฐ และนางวัลลีย์ ปราสาททองโอสถ อันได้แก่ - นายปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ - นางวัลลีย์ ปราสาททองโอสถ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ (1) ข้อมูลล่าสุดจากรายงาน 246 - 2 ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 (2) ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 (3) บริษทั สินสหกล จำกัด ถือหุน้ ใหญ่ โดยครอบครัว ปราสาททองโอสถ ร้อยละ 100.0

94


3.2 นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

คณะกรรมการบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย อาจพิจารณาจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นตามนโยบายดังต่อไปนี ้

3.2.1 นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทฯ บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ จากงบ เฉพาะกิจการภายหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและหลังหักสำรองต่างๆ ทุกประเภทตาม ที่ ก ฎหมายกำหนดและตามที่ ก ำหนดไว้ ใ นข้ อ บั ง คั บ ของบริ ษั ท ฯ อย่ า งไรก็ ต าม การจ่ า ย เงินปันผลดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ข้ึนอยู่กับการขยายธุรกิจและความต้องการใช้ เงินทุนของบริษัทฯ ในแต่ละปี หรือขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความเหมาะสมอื่นๆ ตามที่ คณะกรรมการบริษัทฯ เห็นสมควร ทั้งนี ้ ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ยกเว้นการ จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ อาจอนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ได้เป็นครั้งคราว เมื่อเห็นว่าบริษัทฯ มีกำไรสมควรพอที่จะทำเช่นนั้นได้

3.2.2 นโยบายการจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อย ในการพิจารณาจ่ายเงินปันผลของบริษัทย่อยแต่ละบริษัท จะอยู่ภายใต้การอนุมัติของที่ประชุม ผู้ถือหุ้นของบริษัทดังกล่าว ตามข้อเสนอของคณะกรรมการของบริษัทย่อยแต่ละบริษัท โดยจะคำนึงถึงผลการดำเนินงานสภาพคล่อง กระแสเงินสด และสถานะทางการเงินของ บริษัทย่อยแต่ละบริษัท เงื่อนไขและข้อจำกัดในการจ่ายเงินปันผลตามที่กำหนดไว้ในสัญญา เงินกู้ หุ้นกู้ หรือสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่กำหนดให้บริษัทย่อยแต่ละบริษัทต้องปฏิบัติ ตามแผนธุรกิจในอนาคต และความจำเป็นในการใช้เงินลงทุน รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ตามที่ คณะกรรมการของบริษัทย่อยแต่ละบริษัทเห็นสมควร

95


การกำกับดูแลกิจการ บริษัทฯ ได้ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการดำเนินกิจการผ่านทางกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน และถือว่าหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมความสำเร็จในภาพรวม ของบริษัทฯ ในฐานะที่เป็นองค์กรหนึ่งที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ เป็นไปตามแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจด ทะเบียนปี 2555 ตามแนวทางที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด โดยนโยบายในการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ มีรายละเอียดดังนี้

• นโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) นโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ เป็นไปตามแนวทางหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับ บริ ษั ท จดทะเบี ย นปี 2555 (The Principles of Good Corporate Governance For Listed Companies, 2012) ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) ได้กำหนดให้นำมาใช้เป็น แนวทางในการจัดทำนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียน โดยครอบคลุมเนื้อหาในหัวข้อ ต่อไปนี้ • • • • •

96

สิทธิและการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้นและการประชุมผู้ถือหุ้น นโยบายด้านผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ความรับผิดชอบของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย จริยธรรมทางธุรกิจและจรรยาบรรณ


1. สิทธิและการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันต่อผู้ถือหุ้น

• สิทธิทั่วไปและความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ รับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นในด้านการเปิดเผยข้อมูลการจัดทำงบการเงินการใช้ข้อมูลภายในและ ผลประโยชน์ที่ขัดแย้งผู้บริหารจะต้องมีจริยธรรมและในการตัดสินใจใดๆ จะต้องทำด้วยความซื่อสัตย์ และเป็นธรรมทั้งต่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นรายย่อยเพื่อผลประโยชน์โดยรวมของทุกฝ่ายบริษัทฯ ตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนในการให้ความสำคัญกับสิทธิที่ปราศจากอคติและการปฏิบัติต่อผู้ถือ หุ้นทุกคนอย่างเท่าเทียมกันบริษัทฯ และคณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์และสิทธิ ของผู้ถือหุ้นซึ่งรวมถึงสิทธิในการได้รับเงินปันผลและรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเพียงพอจากบริษัทฯ ในเวลาอันสมควรอย่างสม่ำเสมอนอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลอย่างโปร่งใสและแสดง ความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารผ่านการจัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยคณะกรรมการบริษัทฯ มีนโยบาย ในการสนับสนุนหรือส่งเสริมผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มรวมถึงผู้ถือหุ้นประเภทสถาบันให้เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น นอกจากนี้บริษัทฯ มีนโยบายสนับสนุนการเปิดเผยข้อมูลและธุรกรรมทางธุรกิจเพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีความ เข้าใจในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างชัดเจนโดยบริษัทฯ มุ่งมั่นในการสร้างความเท่าเทียมกันให้ เกิดขึ้นกับผู้ถือหุ้นทุกรายทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ผู้ถือหุ้นรายย่อยนักลงทุนสถาบันหรือผู้ถือ หุ้นต่างชาติควรได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจนโยบายด้านบริหารจัดการและรายงานการเงิน อย่างเท่าเทียมกันและมีสิทธิได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรม ในการประชุม ผู้ถื อหุ้ น ทุ ก ครั้ ง บริ ษั ท ฯ จะจั ด ส่ ง หนั ง สื อ เชิ ญ ประชุ มให้ แ ก่ ผู้ ถื อ หุ้ น ล่ ว งหน้ า เพื่ อแจ้ง วัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุมพร้อมความคิดเห็นของคณะกรรมการบริษัทฯ ในแต่ละวาระ รวมถึงเอกสารประกอบต่างๆ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นมีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจและชี้แจงสิทธิของผู้ถือหุ้น ในการเข้าร่วมประชุมและสิทธิออกเสียงลงมติของผู้ถือหุ้น รวมถึงหลักเกณฑ์ในการที่ผู้ถือหุ้นสามารถ ส่งคำถามล่วงหน้าก่อนวันประชุม นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับแบบฟอร์มหนังสือมอบฉันทะเพื่อเปิด โอกาสให้ ผู้ ถื อ หุ้ น แต่ ง ตั้ ง ตั ว แทนของตนเข้ า ร่ ว มประชุ ม แทนและออกเสี ย งลงคะแนนแทนตนได้ นอกจากนี้ เ พื่ อ เพิ่ ม ช่ อ งทางในการรั ก ษาสิ ท ธิ ข องผู้ ถื อ หุ้ น บริ ษั ท ฯ ได้ เ สนอทางเลื อ กให้ ผู้ ถื อ หุ้ น มอบอำนาจให้กรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ท่านให้เข้าร่วมการประชุมและออกเสียงในกรณีที่ผู้ถือหุ้น ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมนั้นๆ ได้โดยการมอบอำนาจดังกล่าวผู้ถือหุ้นสามารถใช้หนังสือมอบฉันทะ แบบหนึ่งแบบใดที่บริษัทฯ ได้จัดส่งไปพร้อมกับหนังสือนัดประชุม ทั้งนี้ในระหว่างการประชุมผู้ถือหุ้นผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็นและ ซักถามโดยให้เวลาอย่างเหมาะสมซึ่งการลงคะแนนและนับคะแนนเสียงเป็นไปอย่างเปิดเผยและรวดเร็ว โดยบริษัทฯ จะส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการนี้การออกเสียงลงคะแนนบริษัทฯ จะนับ 1 หุ้นเป็น 1 เสียงและถือเสียงข้างมากเป็นมติ (สำหรับในวาระปกติทั่วไปซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดเป็นอย่างอื่น) หรือตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในเรื่องนั้นๆ ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาดอีก เสียงหนึ่งต่างหากนอกเหนือจากการออกเสียงในฐานะผู้ถือหุ้น

97


บริษัทฯ จะใช้บัตรลงคะแนนและเก็บบัตรลงคะแนนเหล่านี้ไว้เพื่อให้เป็นหลักฐานและสามารถตรวจ สอบได้ภายหลังรวมทั้งได้มีการบันทึกมติที่ประชุมในแต่ละวาระทั้งเห็นชอบไม่เห็นชอบและงดออกเสียง ในรายงานการประชุมและมีการบันทึกคำถามคำชี้แจงและความคิดเห็นของที่ประชุมไว้เพื่อให้ผู้ถือหุ้น สามารถขอตรวจสอบได้ กรณีที่ผู้ถือหุ้นคนใดมีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในวาระการประชุมเรื่องใดห้ามออกเสียงในเรื่องนั้นยกเว้น การออกเสียงเลือกตั้งกรรมการ หรือเรื่องอื่นใดที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดหรืออนุญาต นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดให้กรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียของ ตนและผู้เกี่ยวข้องและบันทึกไว้ในรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อให้คณะกรรมการ บริษัทฯ สามารถพิจารณาธุรกรรมของบริษัทฯ ที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์และสามารถตัดสิน ใจเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ โดยรวม ทั้งนี้ กรรมการและผู้บริหารที่มีส่วนได้เสียกับธุรกรรมที่ทำกับ บริษัทฯ ต้องงดเว้นจากการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทำธุรกรรมดังกล่าว

• การประชุมผู้ถือหุ้น นโยบายของบริษัทฯ คือ การจัดประชุมผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสมตามกฎหมายและเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้น ใช้สิทธิของตนอย่างเต็มที่และในรูปแบบที่ได้รับข้อมูลอย่างดีและสามารถส่งคำถามล่วงหน้าก่อนที่จะใช้ สิ ท ธิ ดั ง กล่ า วทั้ ง นี้ บ ริ ษั ท ฯ จะจั ด ประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น สามั ญ ประจำปี ภ ายใน 4 เดื อ นนั บ จากวั น สิ้ น สุ ด ปีงบการเงินบริษัทฯ การจัดประชุมจะจัดตามกฎหมายที่ใช้บังคับและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ นับตั้งแต่การเรียกประชุมการจัดประชุมและหลังจากการจัดการประชุม ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นสามารถขอให้มี การเรียกประชุมผู้ถือหุ้นได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด รายละเอียดกระบวนการประชุมผู้ถือหุ้นแต่ละครั้งมีดังนี้

ก่อนการประชุม บริษัทฯ จะส่งหนังสือบอกกล่าวนัดประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน (หรือระยะ เวลาอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนด)ตามกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกำหนดเช่นการขออนุมัติรายการที่มีความ เกี่ยวโยงกันหรือการเข้าทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทฯ จะแจ้งกำหนดการประชุมพร้อมระเบียบวาระ และความเห็นของคณะกรรมการบริษัทฯ ต่อตลาดหลัก ทรัพย์ฯ ตามระเบียบและข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ใน ระยะอันสมควรไม่น้อยกว่า 7 วันก่อนวันนัดประชุมผู้ถือหุ้นนอกจากนี ้ บริษัทฯ จะจัดทำหนังสือเชิญ ประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวเป็นภาษาอังกฤษทั้งฉบับ และเผยแพร่พร้อมกับหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นที่ เป็นฉบับภาษาไทย

98


ก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้งผู้ถือหุ้นจะได้รับรายละเอียดการประชุมเช่นเวลาและสถานที่จัดการ ประชุมวาระการประชุมรายงานประจำปีของบริษัทฯ แบบฟอร์มหนังสือมอบฉันทะและรายการเอกสาร ประกอบที่ต้องใช้ในการเข้าร่วมประชุมรวมทั้งบริษัทฯ จะส่งรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการประชุม ขั้นตอนการออกเสียงลงมติ หลักเกณฑ์ในการที่ผู้ถือหุ้นสามารถส่งคำถามล่วงหน้าก่อนวันประชุมและ การแต่งตั้งผู้รับมอบฉันทะตลอดจนการเสนอแนะให้ผู้ถือหุ้นแต่งตั้งกรรมการอิสระเป็นผู้รับมอบฉันทะ ของตนด้วยนอกจากนี้ในแต่ละวาระได้มีการแสดงความเห็นของคณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบและ ได้จัดให้มีเอกสารประกอบการประชุมอย่างละเอียดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้ถือหุ้น ได้พิจารณาก่อนการเข้าประชุมเพื่อช่วยผู้ถือหุ้นในการใช้สิทธิและลงคะแนนเสียงในแต่ละวาระการ ประชุมได้อย่างรอบคอบและเพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ถือหุ้นบริษัทฯ จะจัดทำบัตรลงคะแนนเสียง แยกต่างหากเป็นชุดสำหรับการลงคะแนนเสียงแต่ละวาระทั้งนี ้ บริษัทฯ จะละเว้นการกระทำใดๆ ทีเ่ ป็นการจำกัดโอกาสของผูถ้ อื หุน้ ในการเข้าประชุมและการศึกษาสารสนเทศของบริษทั ฯ โดยปราศจาก เหตุอันสมควร

ระหว่างการประชุม บริษัทฯ จะกำหนดให้ผู้ท่ีทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมแจ้งและอธิบายวิธีลงคะแนนเสียงในวาระต่างๆ ก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการและมีการประกาศผลการลงคะแนนเสียงเมื่อจบแต่ละวาระ การประชุมพร้อมทั้งบันทึกผลคะแนนที่ได้ในแต่ละวาระอย่างชัดเจน บริษัทฯ มีนโยบายจัดการประชุมตามวาระที่ได้กำหนดอย่างชัดเจนและเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นทุกคน ได้ลงคะแนนเสียงของตนอย่างเท่าเทียมกัน ในกรณีที่วาระใดๆ มีข้อพิจารณาหลายรายการ เช่น วาระการแต่งตั้งกรรมการ บริษัทฯ จะจัดให้มีการลงมติเป็นแต่ละรายการ เพื่อเป็นการให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นทุกท่านบริษัทฯ ได้กำหนดเป็นนโยบายให้กรรมการ บริษัทฯ ทุกท่านตลอดจนคณะกรรมการชุดย่อยผู้ตรวจสอบบัญชีและผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้ง ทั้งนี้ประธานในที่ประชุมจะเปิดโอกาสแก่ผู้ถือหุ้นอย่างเพียงพอในการตั้งคำถามและให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัทฯ ตลอดจนรายงานการเงินประจำปีโดยจะให้ความกระจ่างในเรื่อง ข้อมูลต่างๆ ระหว่างการประชุม นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ส่งเสริมให้จัดให้มีบุคคลที่เป็นอิสระเป็นผู้ตรวจนับหรือตรวจสอบ คะแนนเสียงในการประชุมสามัญและวิสามัญผู้ถือหุ้น และคณะกรรมการบริษัทฯ ยังสนับสนุนให้มีการ ใช้บัตรลงคะแนนเสียงในวาระที่สำคัญ เช่น การทำรายการเกี่ยวโยงกัน การทำรายการได้มาหรือ จำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ เป็นต้น เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้หากมีกรณีมีข้อโต้แย้งในภายหลัง

99


หลังการประชุม บริษัทฯ จัดเตรียมรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นที่มีการบันทึกการชี้แจงขั้นตอนการลงคะแนน และวิธีการ แสดงผลคะแนน รวมถึงการบันทึกคำถามคำตอบ และผลการลงคะแนนในแต่ละวาระว่ามีผู้ถือหุ้น เห็นด้วย คัดค้าน และงดออกเสียงเป็นอย่างไรรวมถึงบันทึกรายชื่อกรรมการผู้เข้าร่วมประชุมและ กรรมการที่ลาประชุมด้วย และนำส่งรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นดังกล่าวให้กับตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในระยะเวลาที่กำหนด 14 วันหลังการประชุมพร้อมทั้งเปิดเผยให้สาธารณชนทราบถึงรายงาน การประชุมดังกล่าวในวันทำการถัดไปบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ

• การคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (1) 2) (3) (4)

100

คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดหลักเกณฑ์การให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอเพิ่มวาระการประชุม ล่ ว งหน้ า ก่ อ นวั น ประชุ ม ผู้ ถื อ หุ้ น ให้ ชั ด เจนเป็ น การล่ ว งหน้ า เพื่ อ แสดงถึ ง ความเป็ น ธรรมและ ความโปร่งใสในการพิจารณาว่าจะเพิ่มวาระที่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอหรือไม่ คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดวิธีการให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าดำรงตำแหน่ง กรรมการล่วงหน้าในเวลาอันสมควรพร้อมทั้งจัดให้มีข้อมูลประกอบการพิจารณาด้านคุณสมบัต ิ และการให้ความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารควรหลีกเลี่ยงที่จะไม่มีการเพิ่มวาระการประชุมที่ไม่ได้แจ้งเป็นการล่วงหน้า โดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะวาระสำคัญที่ผู้ถือหุ้นต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ คณะกรรมการบริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการเป็นรายคน


2. นโยบายด้านผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯ เล็งเห็นและตระหนักในความสำคัญของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นบุคลากรภายในหรือ ผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กรเช่นผู้ถือหุ้นผู้รับบริการเจ้าหนี้คู่ค้าชุมชนหน่วยงานราชการและองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องบริษัทฯ ตระหนักเป็นอย่างยิ่งว่าการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มจะสร้างความยั่งยืน และความคงอยู่ขององค์กรในระยะยาว ดังนั้นบริษัทฯ จึงมีนโยบายที่จะปกป้องสิทธิของบุคคลเหล่านี้ด้วย การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับตลอดจนคำนึงถึงผลประโยชน์ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทั้งนี้ บริษัทฯ จัดให้มีการเปิดเผยกิจกรรมต่างๆ รวมถึงกลไกในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่แสดงให้เห็นถึงการ ดำเนินการตามนโยบายดังต่อไปนี้ และจัดให้มีการทำรายงานแห่งความยั่งยืนด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ของบริษัทฯ ไว้ในรายงานประจำปีหรือจัดทำเป็นฉบับแยกต่างหากจากรายงานประจำปี นอกจากนี ้ คณะกรรมการของบริษัทฯ ได้จัดให้มีกระบวนการและช่องทางในการรับและจัดการกับข้อร้อง เรียนของผู้มีส่วนได้เสียโดยเปิดเผยกระบวนการและช่องทางในเว็บไซต์ หรือรายงานประจำปีของบริษัทฯ

• นโยบายด้านธุรกรรมที่อาจทำให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งและธุรกรรมระหว่าง บริษัทฯ คณะกรรมการบริษทั ฯ ตระหนักว่าธุรกรรมทีอ่ าจนำไปสูก่ ารขัดแย้งทางผลประโยชน์และ / หรือธุรกรรม กับคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องจะต้องได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อให้เป็นไปตามกฎและระเบียบที่ เกี่ ย วข้ อ งของคณะกรรมการกำกั บ ตลาดทุ น และสำนั ก งานคณะกรรมการกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละ ตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ และนโยบายตลอดจนแนวทางภายในของบริษัทฯ นอกจาก นี้ธุรกรรมดังกล่าวจะต้องทำในลักษณะเสมือนทำรายการกับบุคคลภายนอกที่ไม่มีความสัมพันธ์กับ บริษัทฯ อย่างเคร่งครัดและดำเนินการโดยให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่กับบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นทั้งหมด ข้อกำหนดและเงื่อนไขของธุรกรรมดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขตามมาตรฐาน ทางการค้าที่ยอมรับกันทั่วไปเสมอ บริษัทฯ มีนโยบายที่จะป้องกันไม่ให้กรรมการผู้บริหารใช้สถานภาพของตนเพื่อหาผลประโยชน์ส่วนตัว โดยกรรมการผู้บริหารจะต้องละเว้นจากการทำธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการขัดแย้งทางผลประโยชน์กับ บริษัทฯ นอกจากนี้กรรมการผู้บริหารที่มีส่วนได้เสียจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในกระบวนการตัดสิน ใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมการจะถูกห้ามไม่ให้พิจารณาหรือลงคะแนนเสียงในเรื่องที่ตนมีส่วนได้เสียที่ เป็นประโยชน์รวมถึงธุรกรรมระหว่างบริษัทฯ และบริษัทย่อยกับบุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบคอบ และปราศจากอคติด้วย

101


• นโยบายเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน คณะกรรมการบริษัทฯ ห้ามมิให้กรรมการผู้บริหารและพนักงานใช้โอกาสหรือข้อมูลที่ได้รับขณะทำงาน ในตำแหน่งของตนเพื่อหาผลประโยชน์ให้กับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้น หรื อ เพื่ อ จั ด ตั้ ง ธุ ร กิ จ ที่ แข่ ง หรื อ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ธุ ร กิ จ ของบริ ษั ท ฯ ซึ่ ง รวมถึ ง การห้ า มใช้ ข้ อ มู ล ภายใน ที่เป็นสาระสำคัญเพื่อซื้อหรือขายหุ้นและหลักทรัพย์ของบริษัทฯ เพื่อผลประโยชน์ของบุคคลเหล่านั้น อย่างเด็ดขาดและห้ามการให้ข้อมูลภายในแก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเพื่อซื้อหรือขายหุ้นและหลักทรัพย์ ของบริษัทฯ กรรมการและผู้บริหารจะต้องรายงานธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ และสถานะการ ถือครองหุ้นของตนรวมถึงคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงต่อเลขานุการ บริษัทฯ ตามที่กำหนดในกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเลขานุการบริษัทฯ จะได้จัดทำ รายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อทราบ

• นโยบายต่อผู้ถือหุ้น บริษัทฯ มุ่งหวังที่จะดำเนินการเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ในระยะยาวสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นด้วยการจัดการให้ ธุรกิจเติบโตและมีความสามารถในการทำกำไรอย่างยั่งยืนภายใต้ธรรมาภิบาลที่ดีและมีความรับผิดชอบ ต่อสังคมรวมทั้งดำรงความสามารถในการแข่งขันโดยคำนึงถึงความเสี่ยงทางธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต อย่า งรอบคอบบริษัทฯ เน้น การดำเนิ น การเพื่ อ ให้ ไ ด้ ผ ลกำไรอย่ า งสม่ ำ เสมอผ่ า นการพั ฒ นาธุ ร กิ จ อย่างต่อเนื่องในระยะยาวการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพมีระบบการตรวจสอบและการบริหาร ความเสีย่ งที่แข็งแรงเพื่อเป็นการตอบแทนและแสดงความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นทุกท่าน ทั้งนี้นอกเหนือไปจากสิทธิพื้นฐานของผู้ถือหุ้นเช่นสิทธิในการตรวจสอบจำนวนหุ้นสิทธิในการรับใบหุ้น สิทธิในการเข้าประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงลงคะแนนสิทธิในการแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างอิสระในที่ประชุมผู้ถือหุ้นสิทธิที่จะได้รับผล ตอบแทนอย่างเป็นธรรมและสิทธิอื่นๆ ของผู้ถือหุ้นตามกฎหมายแล้วบริษัทฯ ยังมีนโยบายในการเปิด เผยข้อมูลอย่างยุติธรรมและโปร่งใสในเวลาอันสมควรภายใต้ข้อจำกัดทางธุรกิจเพื่อให้ผู้ถือหุ้นทุกท่าน สามารถได้รับรู้ข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน

• นโยบายต่อพนักงาน พนักงานถือว่าเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้ดูแลพนักงานที่มีความสามารถ และประสบการณ์อย่างต่อเนื่องตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของบริษัทฯ พร้อมทั้งให้โอกาสใน การทำงานที่เท่าเทียมกันและมีมาตรการที่จะให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมนอกจากนี้บริษัทฯ ได้จัดการ ฝึกอบรมความรู้ที่จำเป็นเพื่อเพิ่มพูนทักษะความสามารถของพนักงานอย่างต่อเนื่องผ่านการฝึกอบรมที่ จัดโดยบุคคลภายนอกและภายในองค์กรมีการส่งเสริมวัฒนธรรมและบรรยากาศที่ดีในองค์กรตลอดจน ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม

102


บริษัทฯ จะจัดสวัสดิการและความปลอดภัยให้กับพนักงานซึ่งรวมทั้งผลประโยชน์ต่างๆ เช่น สวัสดิการ ด้านการรักษาพยาบาลกองทุนสำรองเลี้ยงชีพการจัดมอบทุนแก่พนักงานเพื่อให้บุคลากรเหล่านี้ได้เพิ่ม องค์ความรู้เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรต่อไปโดยมุ่งหวังให้องค์กรแห่งนี้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของบุคลากรและเพือ่ เป็นการสร้างแรงจูงใจให้บคุ ลากรทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถอยูก่ บั องค์กรในระยะยาว

• นโยบายต่อฝ่ายบริหาร บริษัทฯ ตระหนักว่าฝ่ายบริหารเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่งในการดำเนินธุรกิจด้วยเหตุ นี้บริษัทฯ จะมีการจัดทำโครงสร้างค่าตอบแทนของผู้บริหารอย่างเหมาะสมโดยสามารถเปรียบเทียบได้ กับผู้บริหารระดับเดียวกันในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ฝ่ายบริหารจะมีโอกาสทำงานตามหน้าที่และความ รับผิดชอบของตนอย่างอิสระปราศจากการแทรกแซงซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดร่วมกันขององค์กร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

• นโยบายต่อคู่ค้า บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจกับหุ้นส่วน คู่แข่ง เจ้าหนี้ คู่ค้า และอื่นๆ ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการซื้อขายที่ ได้ทำเป็นสัญญาอย่างมีจริยธรรม ทั้งนี้ บริษัทฯ มีนโยบายในการกำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการคัด เลือกลูกค้าหรือคู่ค้าที่ชัดเจนและโปร่งใสเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำใดก็ตามที่อาจส่งผลให้เกิดความไม่ ซื่อสัตย์สุจริตและบริษัทฯ ยังมีนโยบายหลีกเลี่ยงการกระทำใดก็ตามที่อาจละเมิดสิทธิของคู่สัญญาตาม ที่กฎหมายกำหนดหรือที่ได้ตกลงร่วมกันและเป็นไปตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ

• นโยบายต่อผู้รับบริการ บริษัทฯ ตระหนักว่าผู้รับบริการเป็นปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่งในการดำเนินธุรกิจบริษัทฯ มุ่ ง หวั ง ที่ จ ะทำให้ ผู้ รั บ บริ ก ารพอใจด้ ว ยการให้ บ ริ ก ารที่ มี คุ ณ ภาพและมี ค วามมุ่ ง หวั ง ที่ จ ะปรั บ ปรุ ง คุณภาพด้านการบริการให้ดียิ่งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการอย่าง ยุติธรรม ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการกำหนดขอบเขตการดูแลผู้รับบริการอย่างเป็นระบบทั้งในด้านความ ปลอดภัย และการชดเชยจากการใช้บริการของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ถือว่าข้อมูลของผู้รับบริการทุกท่าน เป็นความลับและจะไม่ถูกนำมาเปิดเผยเว้นแต่ตามที่กฎหมายกำหนดหรือจนกว่าจะได้รับความยินยอม จากผู้รับบริการโดยตรง

• นโยบายความรับผิดชอบต่อชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ มีความมุ่งหวังที่จะปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรฐานที่สูงอย่างต่อเนื่องโดยยึดมั่น ในการรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยและการควบคุมมลภาวะในการดำเนินธุรกิจเพื่อทำให้มั่นใจได้ ว่าห่วงโซ่อุปทาน (Value Chain) ของบริษัทเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน อย่างสม่ำเสมอบริษัทฯ รับมือกับประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะและเข้าร่วมใน กิจกรรมที่เป็นประโยชน์และสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับชุมชนและสิ่งแวดล้อมโดยบริษัทฯ มีนโยบายที่จะ ดำเนิ น ธุ ร กิ จ ด้ ว ยความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คมผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งและบุ ค ลากรทุ ก คนในองค์ ก รรวมถึ ง การ สนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมและปลูกฝังให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่ เกี่ยวข้องไว้ด้วย 103


3. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส บริษัทฯ มีนโยบายที่จะเปิดเผยข้อมูลทั้งทางการเงินและข่าวสารทั่วไปของบริษัทฯ ต่อผู้ถือหุ้นนักลงทุนและ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์รวมถึงสาธารณชนทั่วไปอย่างถูกต้องครบถ้วนทั่วถึงเท่าเทียมโปร่งใสและทันการณ์ รวมทั้งเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง บริษัทฯ มีนโยบายที่จะเปิดเผยข้อมูลการเงินของบริษัทฯ ข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญตลอดจนข้อมูลอื่นๆ ที่อาจ ส่งผลกระทบต่อส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นหรือการตัดสินใจลงทุนซึ่งอาจส่งผลต่อราคาหุ้นหรือหลักทรัพย์ใด ของบริษัทฯ ข้อมูลนี้จะเผยแพร่ในเวลาอันเหมาะสมเพียงพอและครบถ้วนด้วยวิธีที่โปร่งใสผ่านช่องทางที่เข้า ถึงข้อมูลได้ง่าย มีความเท่าเทียมกันและน่าเชื่อถือโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อให้มั่นใจว่าการลงทุนใน หลักทรัพย์ของบริษัทฯ เกิดจากการตัดสินใจที่ยุติธรรมและได้รับข้อมูลอย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน ทั้งนี้บริษัทฯ จะกำหนดให้ผู้บริหารระดับสูงที่ได้รับมอบหมายเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ สำหรับ การสือ่ สารต่อบุคคลภายนอกบริษทั ฯ จะจัดให้มหี น่วยงานหรือผูร้ บั ผิดชอบงานเพือ่ สือ่ สารกับบุคคลภายนอก เช่น ผู้ลงทุน นักลงทุนสถาบัน นักลงทุนทั่วไป และนักวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ว่าข้อมูลที่ให้เป็นข้อมูลที่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะแล้ว

104

• การเปิดเผยข้อมูล

(1) (2) (3) (4) (5)

คณะกรรมการบริษัทฯ มีกลไกที่จะดูแลให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลที่เปิดเผยต่อนักลงทุนถูกต้อง ไม่ทำให้ สำคัญผิด และเพียงพอต่อการตัดสินใจของนักลงทุน คณะกรรมการบริษัทฯ จะรายงานนโยบายการกำกับดูแลกิจการจรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายด้าน การบริหารความเสี่ยงและนโยบายเกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ได้ให้ความเห็นชอบ ไว้โดยสรุป และผลการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว รวมทั้งกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบาย ดังกล่าวได้พร้อมด้วยเหตุผล โดยรายงานผ่านช่องทางต่างๆ เช่น รายงานประจำปี และเว็บไซต์ ของบริษัทฯ เป็นต้น คณะกรรมการบริษัทฯ จะจัดให้มีรายงานความรับผิดชอบต่อรายงานทางการเงินควบคู่ไปกับ รายงานการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีแสดงไว้ในรายงานประจำปีและแบบ 56-1 คณะกรรมการบริษัทฯ จะสนับสนุนให้บริษัทฯ จัดทำคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion and Analysis หรือ MD&A) เพื่อประกอบการเปิดเผยงบการเงิน ทุกไตรมาส ทั้งนี้ เพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบข้อมูลและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฐานะ การเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ในแต่ละไตรมาสได้ดียิ่งขึ้น นอกเหนือจากข้อมูลตัวเลข ในงบการเงินเพียงอย่างเดียว คณะกรรมการบริ ษั ท ฯ จะดู แ ลให้ มี ก ารเปิ ด เผยค่ า สอบบั ญ ชี แ ละค่ า บริ ก ารอื่ น ที่ ผู้ ส อบบั ญ ชี ให้บริการไว้ด้วย


(6) คณะกรรมการบริษัทฯ ดูแลให้มีการเปิดเผยบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ และ คณะกรรมการชุดย่อยจำนวนครั้งของการประชุมและจำนวนครั้งที่กรรมการแต่ละท่าน เข้าร่วม ประชุมในปีที่ผ่านมาและความเห็นจากการทำหน้าที่ รวมถึงการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้ด้าน วิชาชีพอย่างต่อเนื่องของคณะกรรมการบริษัทฯ ในรายงานประจำปีตามที่กฎหมายกำหนด (7) คณะกรรมการบริษัทฯ เปิดเผยนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนแก่กรรมการและผู้บริหารระดับสูง ที่สะท้อนถึง ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคน รวมทั้งรูปแบบหรือลักษณะของ ค่ า ตอบแทนด้ ว ย ทั้ ง นี้ จำนวนเงิ น ค่ า ตอบแทนที่ เ ปิ ด เผยได้ ร วมถึ ง ค่ า ตอบแทนที่ ก รรมการ แต่ละท่านได้รับจากการเป็นกรรมการของบริษัทย่อยด้วยตามที่กฎหมายกำหนด

4. ข้อมูลที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ของบริษัทฯ นอกจากการเผยแพร่ขอ้ มูลตามหลักเกณฑ์ทก่ี ำหนดและผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ แบบแสดงรายการ ข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปีแล้วคณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษผ่านช่องทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ โดยสม่ำเสมอด้วยข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน

5. ความรับผิดชอบของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย • โครงสร้างคณะกรรมการบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทฯ มีจำนวนทั้งสิ้น 9 ท่านทั้งนี้ เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทฯ ซึ่งกำหนดให้คณะกรรมการของบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 6 คน โดยประกอบด้วย กรรมการที่เป็นผู้บริหาร (Executive Directors) จำนวน 3 ท่านและกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร (Non-Executive Directors) จำนวน 6 ท่านซึ่งในจำนวนนี้เป็นกรรมการอิสระจำนวน 3 ท่าน โดยกรรมการอิสระคือกรรมการที่ไม่ได้บริหารจัดการบริษัทฯ บริษัทย่อยบริษัทร่วมหรือบริษัทที่มี ความเกี่ยวข้องกันในลักษณะอื่นตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนโดยเป็นอิสระต่อการ บริหารจัดการผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือผู้ที่มีอำนาจควบคุมกิจการและเป็นผู้ที่ไม่มีธุรกิจหรือความเกี่ยวข้อง ทางผลประโยชน์ ใ นบริ ษั ท ฯ บริ ษั ท ย่ อ ยบริ ษั ท ร่ ว มหรื อ บริ ษั ท ที่ มี ค วามเกี่ ย วข้ อ งกั น ซึ่ ง อาจทำให้ ผลประโยชน์ของบริษัทฯ และ / หรือผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นต้องลดลงและต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ เป็นไปตามข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับตลาดทุนนอกจากนี้บริษัทฯ มีนโยบายกำหนดโครงสร้าง ของคณะกรรมการบริษั ท ฯ ให้ ประกอบด้ ว ยกรรมการที่ มีคุ ณ สมบั ติ ห ลากหลาย ทั้ ง ในด้ า นทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถเฉพาะด้านเพื่อประโยชน์กับบริษัทฯ

105


บริษัทฯ มีนโยบายกำหนดให้ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารต้องไม่เป็นบุคคลคนเดียวกัน ทั้งนี้ประธานกรรมการจะทำหน้าที่อย่างเที่ยงธรรมในการดูแลการใช้นโยบายและแนวทางเชิงกลยุทธ์ ตามที่จัดทำขึ้นตลอดจนดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ จนสำเร็จและ ดูแลให้กรรมการทุกท่านมีส่วนร่วมในการประชุมและตั้งคำถามที่เป็นประโยชน์อย่างมีอิสระในระหว่าง การประชุมแต่ละครั้ง คณะกรรมการบริษัทฯ จะประชุมกันอย่างน้อย 6 ครั้งต่อปีเพื่อติดตามและ สนับสนุนนโยบายเชิงกลยุทธ์ของบริษัทฯ และในกรณีที่บริษัทฯ ไม่ได้มีการประชุมทุกเดือน บริษัทฯ จะ ส่งรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการบริษัทฯ ทราบในเดือนที่ไม่ได้มีการประชุม เพื่อให้คณะ กรรมการบริษัทฯ สามารถกำกับ ควบคุมและดูแลการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการได้อย่างต่อเนื่องและ ทันการณ์ แม้ว่าในหลักการกรรมการบริษัทฯ ไม่ควรดำรงตำแหน่งติดต่อกันยาวนานในระดับหนึ่งอย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อจำกัดในการสรรหาผู้เข้ามาดำรงตำแหน่งแทนอย่างเหมาะสมรวมทั้งประโยชน์ที่เกิดจาก ความรู้ความเข้าใจในธุรกิจตลอดจนประเด็นความเสี่ยงจากการบริหารจัดการในด้านการดำเนินงานของ กรรมการท่านเดิมซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญในการนำมาพิจารณาคัดสรรกรรมการโดยเฉพาะธุรกิจของ บริษัทฯ เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะด้านอย่างแท้จริงที่จะมีความรู้ความเข้าใจใน ธุรกิจของบริษัทฯ ได้อย่างถ่องแท้ดังนั้นบริษัทฯ จึงยังไม่ได้กำหนดข้อจำกัดของเวลาในการดำรง ตำแหน่งของกรรมการอย่างเป็นทางการ

• หน้าที่ของกรรมการ ก. ด้านนโยบาย และการกำกับดูแล 1. คณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อ การดำเนินงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทฯ และตามมติของที่ประชุม ผูถ้ อื หุน้ และมีอำนาจกระทำการใดๆ ตามทีร่ ะบุไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ และพระราชบัญญัต ิ บริษัทมหาชน หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ 2. ปฏิบัติตามข้อกำหนดและข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน ตามหลักเกณฑ์ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ 3. กำหนดนโยบาย และให้ความเห็นชอบในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วกับการดำเนินงานของบริษทั ฯ ในภาพรวม เช่น วิสัยทัศน์ ทิศทางการดำเนินธุรกิจ กลยุทธ์ รวมถึงอนุมัติแผนธุรกิจ งบประมาณประจำปี แผนการลงทุน และการตัดสินใจทางการเงิน เป็นต้น 4. ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินกิจการเป็นไปตามเป้าหมาย และแผนงานที่กำหนดไว้ 5. จั ด ให้ มี น โยบายการกำกั บ ดู แ ลกิ จ การของบริ ษั ท ฯ เป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษร และให้ ค วาม เห็นชอบนโยบายดังกล่าว คณะกรรมการบริษัทฯ ควรทบทวนนโยบายและการปฏิบัติตาม นโยบายดังกล่าวเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 6. ส่งเสริมให้มีการกำหนดจรรยาบรรณธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนเข้าใจถึงมาตรฐานด้านจริยธรรมที่บริษัทฯ ใช้ในการดำเนินธุรกิจ และ ติดตามให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณดังกล่าวอย่างจริงจัง

106


ข. ด้านการเงิน 1. จัดให้มีระบบการรายงานทางการเงิน และการสอบบัญชีที่มีความน่าเชื่อถือ 2. จัดให้มีการทำรายงานทางการเงิน ณ วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของบริษัทฯ เสนอต่อที่ประชุม ผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญประจำปีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทฯ ต้องจัด ให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบรายงานทางการเงิน นั้นให้เสร็จก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น ค. ด้านการควบคุม และการตรวจสอบภายใน และการบริหารความเสี่ยง 1. จัดให้มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสม โดยจัดให้มีบุคคลหรือหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบระบบดังกล่าว และทบทวนระบบการควบคุมภายในอย่าง น้อยปีละหนึ่งครั้ง 2. จัดให้มีนโยบายด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Policy) การจัดการและ ควบคุมความเสี่ยงให้ครอบคลุมทั้งองค์กร 3. ทบทวนระบบหรือประเมินประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายในและการจัดการความ เสี่ยงอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ง. ด้านทรัพยากรบุคคล เกี่ยวกับกรรมการบริษัทฯ 1. กลั่ น กรองรายชื่ อ ผู้ ส มควรได้ รั บ การแต่ ง ตั้ ง เป็ น กรรมการบริ ษั ท ฯ เพื่ อ เสนอให้ ที่ ป ระชุ ม ผู้ถือหุ้นเลือกตั้ง 2. กลั่นกรองรูปแบบและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทฯ และกรรมการ ชุดย่อย เพื่อเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้ความเห็นชอบ เกี่ยวกับประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ 1. ให้ความเห็นชอบคุณสมบัติที่เหมาะสม วิธีการสรรหา หลักเกณฑ์ในการสรรหา ตลอดจน รู ป แบบและหลั ก เกณฑ์ ก ารจ่ า ยค่ า ตอบแทนของประธานคณะผู้ บ ริ ห ารและกรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ 2. ให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ และผลการประเมินการ ปฏิบัติหน้าที่ของประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ 3. ให้ความเห็นชอบการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนประจำปีสำหรับประธานคณะผู้บริหารและ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เกี่ยวกับโครงสร้างองค์กร หลักเกณฑ์การปรับเงินเดือน และแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหาร 1. ให้ความเห็นชอบรูปแบบโครงสร้างองค์กรระดับบน ตลอดจนขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และ ความรับผิดชอบสำหรับผู้บริหารของระดับดังกล่าว 2. ให้ความเห็นชอบโครงสร้างเงินเดือนและหลักเกณฑ์การปรับเงินเดือนประจำปีของบริษัทฯ 3. ให้ความเห็นชอบแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้บริหาร (Succession plan) สำหรับตำแหน่ง ประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ 107


จ. ด้านการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์

1. 2. 3.

กำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ เกี่ยวกับขั้นตอนการ ดำเนินการ และการเปิดเผยข้อมูลของรายการที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์ให้ถูกต้อง ครบถ้วน รายงานให้บริษัทฯ ทราบถึงการมีส่วนได้เสียของตนหรือของบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็น ส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการกิจการของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย ทั้งนี้ เพื่อเป็น การแสดงความโปร่งใส จึงให้มีการรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทุกครั้งที่มีการ เปลี่ยนแปลงข้อมูล กรรมการอิสระควรส่งหนังสือยืนยันให้กับบริษัทฯ เพื่อรับรองความเป็นอิสระของตนตามคำ จำกัดความของบริษัทฯ ในวันที่กรรมการอิสระยอมรับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและทุกๆ ปี หลังจากนั้น

ฉ. ด้านการติดต่อสื่อสารกับผู้ถือหุ้น

จัดให้มีช่องทางในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ และจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูล อย่างเป็นมาตรฐานและโปร่งใส

ช. ด้านอื่น ๆ

1. 2. 3.

แต่งตั้งเลขานุการบริษัทฯ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จัดให้มีกฎบัตรของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการชุดย่อย ตลอดจนให้ความเห็นชอบ ข้ อ เสนอของกรรมการชุ ด ย่ อ ยในการปรั บ เปลี่ ย นเนื้ อ หาในกฎบั ต รให้ มี ค วามเป็ น ปั จ จุ บั น และเหมาะสมกับระเบียบ ข้อบังคับ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่กำหนดไว้ในประกาศ ข้อกำหนด พระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นใด ที่กำกับดูแลบริษัทฯ

• คณะกรรมการชุดย่อย ก. คณะกรรมการตรวจสอบ บริษัทฯ จัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนคณะกรรมการบริษัทฯ ในการ ตรวจสอบและสอบทานให้บริษัทฯ มีการกำกับดูแลกิจการอย่างเพียงพอ โดยคณะกรรมการตรวจ สอบได้รับอำนาจอย่างเต็มที่จากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ทำงานของตน ซึ่งรวมถึงการติดตาม การปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ และดำเนินการให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในอย่าง รัดกุม มีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดในการเปิดเผยข้อมูล และมี มาตรการในการป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและเรื่องการเงินอย่างครบถ้วน

108


คณะกรรมการตรวจสอบต้องได้รับการแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัทฯ หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น และประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 3 คน โดยทุกคนต้องเป็นกรรมการอิสระโดยกรรมการอย่าง น้อย 1 คน ต้องมีความรู้และประสบการณ์ด้านการบัญชีหรือการเงินอย่างเพียงพอที่จะสามารถทำ หน้าที่ในการสอบทานความเชื่อถือได้ของงบการเงิน ผู้ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระของบริษัทฯ จะต้องมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และมีขอบเขตอำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบตามที่ กำหนดไว้ในกฏบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ ข. คณะกรรมการย่อยชุดอื่นๆ บริษัทฯ อาจพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการย่อยชุดอื่นๆ เช่น คณะกรรมการสรรหาและพิจารณา ค่าตอบแทนเป็นต้น ต่อไปตามความจำเป็นและเหมาะสมเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแล กิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน

• การประชุมคณะกรรมการ บริษัทฯ จะกำหนดการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ล่วงหน้าตลอดปีโดยจัดให้มีการประชุมทุกเดือน เพื่อให้กรรมการบริษัทฯ ทุกท่านทราบกำหนดการประชุมล่วงหน้าและสามารถจัดสรรเวลาเข้าร่วม ประชุมได้ทุกครั้งทั้งนี้ ประธานกรรมการและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่จะร่วมกันพิจารณาการเสนอ เรื่องเข้าวาระการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ โดยดูให้แน่ใจว่าเรื่องที่สำคัญได้นำเข้ารวมไว้แล้วโดย เปิดโอกาสให้กรรมการแต่ละคนมีอิสระที่จะเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ เข้าสู่วาระการประชุม และมีวาระสืบเนื่องเพื่อติดตามงานที่ได้มอบหมายไว้ซึ่งเลขานุการบริษัทฯ จะจัดส่งหนังสือเชิญประชุม และวาระการประชุมล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วันเพื่อให้กรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียงพอก่อน การเข้าร่วมประชุม ในการนี้ บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมให้กรรมการทุกคนเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของจำนวนการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งหมดที่ได้จัดให้มีขึ้นในรอบปีและจะจัดสรร เวลาไว้อย่างพอเพียงที่ฝ่ายจัดการจะเสนอเรื่องต่างๆ และมากพอที่กรรมการจะอภิปรายปัญหาสำคัญ อย่างรอบคอบทั้งนี ้ บริษัทฯ สนับสนุนให้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่เชิญผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วม ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ เพื่อให้สารสนเทศรายละเอียดเพิ่มเติมในฐานะที่เกี่ยวข้องกับปัญหา โดยตรงและคณะกรรมการบริษัทฯ สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่จำเป็นเพิ่มเติมได้จากกรรมการผู้อำนวย การใหญ่ เลขานุการบริษัทฯ หรือผู้บริหารอื่นที่ได้รับมอบหมาย ภายในขอบเขตนโยบายที่กำหนด และ ในกรณีที่จำเป็นคณะกรรมการบริษัทฯ อาจจัดให้มีความเห็นอิสระจากที่ปรึกษาหรือผู้ประกอบวิชาชีพ ภายนอก โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทฯ ถือเป็นนโยบายให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมีโอกาสที่จะประชุมระหว่างกันเอง ตามความจำเป็นเพื่ออภิปรายปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจโดยไม่มีฝ่ายจัดการ ร่วมด้วย และแจ้งให้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ทราบถึงผลการประชุมด้วย

109


• การกำหนดค่าตอบแทนของกรรมการและผู้บริหาร บริษัทฯ กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้พิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการอย่างเป็นธรรม และเหมาะสมกั บ ภาระหน้ า ที่ ต ลอดจนความรั บ ผิ ด ชอบของกรรมการโดยเปรี ย บเที ย บกั บ กิ จ การ ที่มีขนาดใกล้เคียงในธุรกิจเดียวกัน โดยสำหรับการพิจารณาค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูงนั้น บริษัทฯ มีนโยบายให้มีการพิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมผ่านกระบวนการประเมินผลงานตาม หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายทรัพยากรบุคคลกำหนดไว้สำหรับผู้บริหารในแต่ละระดับ โดยเชื่อมโยงกับผลการประกอบการของบริษัทฯ และผลงานของผู้บริหารแต่ละท่าน

• การพัฒนาความรู้ของกรรมการ บริษัทฯ มีนโยบายในการสนับสนุนให้กรรมการของบริษัทฯ และบริษัทในเครือได้เข้าอบรมหลักสูตร Director CertificateProgram (DCP) และ Director Accreditation Program (DAP) กับสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เพื่อส่งเสริมให้กรรมการมีความเข้าใจในเรื่องการกำกับดูแล ธุรกิจให้มีประสิทธิผลสูงสุดและสามารถนำความรู้มาใช้ในการดำเนินนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้อย่างต่อเนื่องรวมทั้งมีนโยบายสนับสนุนให้กรรมการเข้าอบรมกฎระเบียบนโยบายหรือข้อกำหนด ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงาน ก.ล.ต. ที่ได้มีการปรับปรุงใหม่เพื่อถือปฏิบัติให้ถูกต้อง ทุกครั้งที่มีการแต่งตั้งกรรมการใหม่ ฝ่ายจัดการจะจัดให้มีเอกสารและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการ ปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการใหม่ รวมถึงการจัดแนะนำลักษณะธุรกิจ และแนวทางการดำเนินธุรกิจของ บริษัทฯ ให้แก่กรรมการใหม่

6. จริยธรรมทางธุรกิจและจรรยาบรรณ บริษัทฯ มีนโยบายการดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในมาตรฐานจริยธรรมสูงสุด ได้แก่ การรักษาความลับของ บริษัทฯ การปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ถูกต้องตามกฎหมาย การเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน การดูแล ทรัพย์สินของบริษัทฯ และสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ ตลอดจนผู้บริหาร และพนักงาน ทุกคนได้ให้ความสำคัญและมีหน้าที่ต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยกำหนดให้มีการลงโทษกรณีที่มีการ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมทางธุรกิจและ / หรือจรรยาบรรณที่กำหนด

110


Fly Boutique. Feel Unique.

ความรับผิดชอบต่อสังคม


ความรับผิดชอบต่อสังคม นโยบายภาพรวม บริ ษั ท การบิ น กรุ ง เทพ จำกั ด (มหาชน) (“บริ ษั ท ฯ”) และ บริ ษั ท ย่ อ ย ดำเนิ น ธุ ร กิ จ อยู่ ภ ายใต้ ก รอบของ ความมีจริยธรรมและธรรมาภิบาลที่ดี มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้เป็นองค์กรที่สามารถพัฒนา ธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีนโยบาย ที่ส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility - CSR) ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมด้านกีฬา ด้านวัฒนธรรมประเพณีและการส่งเสริมพระพุทธ ศาสนา อันเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน

1. การดำเนินงานและการจัดทำรายงาน จากการที่ บ ริ ษั ท ฯ ได้ ต ระหนั ก ถึ ง ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม ได้ มี ก ารกำหนด นโยบายเกี่ ย วกั บ ความ รับผิดชอบต่อสังคม ด้านต่างๆ ดังนี้

112

1)

ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องและตามกฏหมายและกฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีความ โปร่งใส เปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ สามารถตรวจสอบได้ และยึดมั่นในการดูแลและแบ่งปันผลประโยชน์ ให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง เหมาะสมและเป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ชุมชนและสังคม รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส ด้วยตระหนักในความสำคัญของการกำกับ ดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance)

2)

ดำเนิ น ธุ ร กิ จ โดยยึ ด หลั ก ธรรมาภิ บ าล จรรยาบรรณธุ ร กิ จ และปฏิ บั ติ ต ามกฏหมาย โดยบริ ษั ท ฯ ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นการปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติงาน ในตำแหน่งหน้าที่ หรือใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ การฝ่าฝืนหลักกฏหมาย หลักจริยธรรม ระเบียบ ข้อบังคับหรือนโยบายของบริษัทฯ เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเรียก รับเสนอ หรือให้ทรัพย์สิน รวมถึงประโยชน์อื่นใดกับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลอื่นใดที่ทำธุรกิจ กับบริษัทฯ เป็นต้น

3)

ให้ความสำคัญกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในทุกขั้นตอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่ การสรรหาบุคคลากร การพัฒนาบุคคลากร มีการจัดอบรมให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง การกำหนด ผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม การจัดสวัสดิการอย่างเหมาะสม การส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงาน มีโอกาสที่จะก้าวหน้าในอาชีพ รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เหมาะสม


4)

สนับสนุนนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยในอดีตบริษัทฯ มีการบริหารจัดการ สนามบิ น ให้ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้ อ มอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เช่ น ทำการสำรวจและทำรายงานผลกระทบ สิ่งแวดล้อมก่อนการก่อสร้าง วางผังและระเบียบในการใช้งาน ไม่ให้สร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และชุมชนโดยรอบ นอกจากนี้ยังเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์แนวคิดรักษ์โลกตระหนักถึงการช่วยกัน ลดสภาวะโลกร้ อ น ลดการใช้ พ ลั ง งาน ให้ พ นั ก งานมี ส่ ว นร่ ว มด้ ว ยช่ ว ยประหยั ด ไฟฟ้ า กระดาษ การใช้ลิฟท์โดยสาร เป็นต้น

5) มีนโยบายส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมในด้านต่างๆ โดยมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ทั้งในส่วนของสำนักงานใหญ่ และสนามบินต่างๆ เช่น โครงการบริจาคโลหิตช่วยชีวิตเพื่อน โครงการ ทำบุญ-ตักบาตรพระสงฆ์ เป็นต้น

2. กิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (after process) บริษัทฯ และบริษัทย่อย ได้ทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนท้องถิ่น เพื่อเป็นการพัฒนาที่ยั่ง ยืน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมโดยจัดให้มีกิจกรรม “Fly for Forest” ใน หลายจังหวัด และจัดกิจกรรม “ปลูกต้นมะพร้าวเพื่อเกาะสมุย” ภายใต้โครงการ “Love Earth, Save Earth: Love Samui, Save the Coconut Tree” ที่เกาะสมุย เนื่องจากเกาะสมุยเป็นแหล่งท่องเที่ยว สำคัญของประเทศไทย และเป็นจุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ที่นักท่องเที่ยวทั่วโลกอยากมาเยือน ด้วย ความงดงามของทิวมะพร้าว หาดทรายขาว น้ำทะเลใส และธรรมชาติที่บริสุทธิ์ ซึ่งถือเป็นมรดกทาง ธรรมชาติที่ควรอนุรักษ์ไว้ เพื่อลูกหลาน บริษัทจึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์ด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่เกาะสมุยมา อย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ “Love Earth, Save Earth” อาทิ การปลูกปะการังร่วมกับโรงแรมบน เกาะสมุย และการปลูกป่าชายเลน เพื่อรักษาความสมดุลทางธรรมชาติของทะเลไทย อนุรักษ์ต้นมะพร้าวซึ่ง เป็นเอกลักษณ์ทางธรรมชาติและเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกาะสมุย และในปีนี้เราได้ร่วมกับเทศบาล นครเกาะสมุย และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะสมุย จัดกิจกรรมปลูกต้นมะพร้าว และแจกหน่อ มะพร้าว จำนวน 2,000 หน่อ ให้แก่ชาวบ้านใน อ.เกาะสมุย นำกลับไปปลูกเอง เพื่อรณรงค์ให้ทุกคนให้ ความสำคัญและร่วมมือกันอนุรักษ์ต้นมะพร้าวให้มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดไป

จัดงานวันเด็กให้โรงเรียนสนามบินสุโขทัย ตราด และสมุย 113


อี ก ทั้ ง บริ ษั ท ฯยั ง ความสำคั ญ กั บ การเลื อ กใช้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ค ำนึ ง ถึ ง ส่ ว นรวมเป็ น หลั ก ในส่ ว นบริ ก ารใน ห้องโดยสารบนเครื่องบิน (In-flight Services) เนื่องจากปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ให้บริการผู้โดยสารบนเครื่อง ในแต่ละวันมีเป็นจำนวนมาก ทำให้เราต้องตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อส่วนรวมในด้านต่างๆ การคัดเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จึงมีขึ้นภายใต้หลักเกณฑ์การดำเนินกิจกรรมของบริษัทที่สร้างผลประโยชน์ต่อ สังคมส่วนรวม ดังตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เราเลือกใช้สำหรับบริการผู้โดยสารบนเครื่อง อาทิเช่น ก. ข. ค.

114

ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีกรรมวิถีในการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อส่วนรวม เลือกใช้กาแฟจากดอยตุง (Drip Coffee Dark Roast) ซึ่งผลิตโดยกรรมวิธีที่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเน้นวัตถุดิบที่ทำจาก กระดาษแทนการใช้พลาสติก เช่น ปากกากระดาษ Recycle ซึ่งตัวด้ามทำมาจากกระดาษรีไซเคิล อัดแน่นและกล่องอาหารและแก้วกระดาษขนาดต่างๆ ที่ให้บริการบนเครื่อง ซึ่งในแต่ละวันใช้ใน ปริมาณมาก นับว่าช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนได้ มาก เป็นต้น


3. นโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักธรรมาภิบาล จรรยาบรรณธุรกิจ และปฏิบัติตามกฏหมาย มาโดยตลอด และบริษัทฯ ได้มีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ไม่ให้มีการเรียกรับหรือยินยอมที่ จะรับเงิน สิ่งของ หรือผลประโยชน์ใดๆ รวมทั้งไม่ดำเนินการ หรือกระทำการใดๆ ที่เข้าข่ายดังกล่าว เพื่อ ประโยชน์ทั้งต่อบริษัทฯ ต่อตนเองหรือผู้อื่น ซึ่งได้กำหนดไว้ในจรรยาบรรณการปฏิบัติหน้าที่ทางธุรกิจของ บริษัทฯ (Code of Conduct) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติขั้นพื้นฐานแก่พนักงาน บริษัทฯ ยังตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ได้มีการกำหนดนโยบายต่อต้าน คอร์ รั ป ชั่ น (Anti-Corruption Policy) เพื่ อ แนวทางการปฏิ บั ติ เ พื่ อ ป้ อ งกั น และต่ อ ต้ า นปั ญ หาทุ จ ริ ต คอร์รปั ชัน่ ของบริษทั ฯ ให้ชดั เจนยิง่ ขึน้ โดยกำหนดให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร พนักงาน ภายในบริษทั ฯ บริษทั ย่อย และกิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจควบคุม จะต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าวไม่ว่ากรณีใดๆ และ จะปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติในนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นอย่างเคร่งครัด รวมถึงให้ความร่วมมือใน กระบวนการตรวจสอบภายใน เพื่อป้องกันและร่วมแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน องค์กร โดยบริษัทฯ ได้วางแนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันและต่อต้านปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ดังนี้ 1)

กำหนดหลักการสำหรับการให้ หรือรับของขวัญ หรือการบันเทิง ไว้เป็นส่วนหนึ่งของจรรยาบรรณ การปฏิบัติหน้าที่ทางธุรกิจของบริษัทฯ กล่าวคือ พนักงานต้องไม่เสนอ เรียก รับ หรือยินยอมที่จะ รับเงิน สิ่งของ การเลี้ยงอาหารและความบันเทิงต่างๆ หรือประโยชน์อื่นใด ที่อาจมีผลให้เกิดข้อสงสัย ในพฤติกรรมการให้สินบน และการทุจริต หากเป็นการรับของขวัญ ควรเป็นสิ่งที่มีมูลค่าไม่มากนัก และไม่ควรเป็นเงินสดหรือเทียบเท่าเงินสด และต้องตระหนักอยู่เสมอว่าการกระทำหรือไม่กระทำใดๆ ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่โปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้

2) กำหนดระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง วัตถุประสงค์ในการทำรายการ การเข้าทำสัญญา การเบิกจ่ายเงิน โดยในแต่ละขั้นตอนจะต้องมีเอกสารประกอบอย่างชัดเจน นอกจากนั้นยังมีการกำหนดวงเงินพร้อม อำนาจอนุมัติในแต่ละระดับด้วย 3) จัดให้มีระบบการตรวจสอบภายใน ครอบคลุมทั้งด้านการเงิน การบัญชี การเก็บบันทึกข้อมูล และ ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านบัญชีและการเงิน เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกรรมทางการเงินดังกล่าวเป็นไป เพื่อวัตุประสงค์ที่ได้รับอนุมัติและเพื่อการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส 4)

ทำการสื่อสารนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ด ี (Good Corporate Governance) รวมถึงนโยบาย การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption Policy) ไปยังหน่วยงานต่างๆ ภายในบริษัทฯ บริ ษั ท ย่ อ ยและกิ จ การที่ บ ริ ษั ท ฯ มี อ ำนาจควบคุ ม ผ่ า นช่ อ งทางต่ า งๆ ได้ แ ก่ การอบรมพนั ก งาน ระบบการสื่อสารภายในของบริษัทฯ เช่น เว็บไซต์หรืออินเตอร์เน็ต เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ และนำนโยบายดังกล่าวไปถือปฏิบัติ 115


5)

คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ทำหน้าที่ในการตรวจสอบและสอบทานให้บริษัทฯ มีการกำกับดูแล กิ จ การที่ ดี อ ย่ า งเพี ย งพอสอดคล้ อ งกั บ นโยบายและข้ อ กำหนดที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ทั้ ง นี้ หากคณะกรรมการ ตรวจสอบได้พบหรือหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำที่อาจส่งผลระทบต่อความโปร่งใสในการ ดำเนินงานของบริษัทฯ คณะกรรมการตรวจสอบมีอิสระในการรายงานสิ่งที่พบต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และ / หรือกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (แล้วแต่กรณีตามความเหมาะสม) เพื่อให้มีการดำเนินการแก้ไข ปัญหาดังกล่าวได้อย่างทันเวลาและเหมาะสม

6)

กำหนดช่องทางการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียนมายังคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ในกรณีพบ เหตุการณ์การกระทำที่ส่อถึงการทุจริตหรือประพฤติมิชอบของบุคคลรวมถึงบริษัทฯ โดยผู้แจ้งเบาะแส สามารถแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนพร้อมส่งรายละเอียดหลักฐานต่างๆ ทางไปรษณีย์มายัง บริษัท การบิน กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เลขที่ 99 หมู่ที่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 ตามประเภทของเรื่องต่างๆ ดังนี้ ประเภทของเรื่องแจ้งเบาะแส เรื่องการกระทำความผิดกฏหมาย ทุจริต ระเบียบ บริษัทและจรรยาบรรณการปฏิบัติหน้าที่ทางธุรกิจ ของบริษัทฯ เรื่องที่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงและภาพพจน์ ของบริษัทฯ เรื่องการกระทำความผิดจรรยาบรรณของกรรมการ เรื่องความผิดปกติของรายงานทางการเงิน

116

7)

ผู้รับข้อมูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือผู้ดำรงตำแหน่ง บริหารสูงสุดของฝ่ายทรัพยากรบุคคล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ประธานกรรมการบริษัท / หรือประธานกรรมการ ตรวจสอบ หรือเลขานุการบริษัท ประธานกรรมการตรวจสอบ

เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้แจ้งเบาะแส บริษัทฯ มีกลไกในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส โดยให้ถือเป็นนโยบายในการเก็บความลับข้อมูล (ชื่อ-สกุล) ของผู้แจ้งเบาะแส ดังนั้นกรณีที่ข้อมูลของผู้แจ้ง เบาะแสถูกเปิดเผย ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบข้อมูลดังกล่าว จะต้องถูกดำเนินการลงโทษทางวินัยตาม ข้อบังคับการทำงานของบริษัทฯ


Fly Boutique. Feel Unique.

การควบคุมภายในและบริหารจัดการความเสี่ยง


การควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง 1. การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการบริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญต่อระบบควบคุมภายในเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งในรอบระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มุ่งมั่นพัฒนาระบบควมคุมภายใน ให้เป็นไปตามแนวทางของ COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission) โดยครอบคลุมด้านการควบคุมภายในองค์กร (Control Environment) การประเมินความ เสี่ยง (Risk Assessment) การควบคุมการปฏิบัติงาน (Control Activities) ระบบสารสนเทศ และการ สื่อสารข้อมูล (Information and Communication) ตลอดจนการติดตามประเมินผล (Monitoring Activities) ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 2 / 2559 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งมีกรรมการตรวจ สอบจำนวน 3 ท่านเข้าร่วมประชุมได้พิจารณาแบบประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน โดย มีการซักถามข้อมูลจากฝ่ายบริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความเพียงพอของระบบการ ควบคุมภายในในด้านต่างๆ โดย ผลการประเมินการควบคุมภายใน สรุปได้ดังนี้

สภาพแวดล้อมการควบคุม บริษัทเห็นความสำคัญของการมีสภาพแวดล้อมของการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการ กำกับดูแลกิจการที่ดีอันเป็นพื้นฐานที่จะช่วยทำให้การบริหารงานของบริษัทมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งเป็นปัจจัยของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในปีที่ผ่านมาบริษัทมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรเพื่อให้มี ความเหมาะสมทั้งในเรื่องบุคลากรและสายการรายงานที่ชัดเจนเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และ การเปลี่ยนแปลงในหลายปัจจัย นอกจากนี้ยังมีการจัดให้มีการแบ่งแยกหน้าที่ในส่วนงานที่สำคัญอย่าง ชัดเจน เพื่อให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลกันอันนำมาซึ่งการบริหารธุรกิจอย่างโปร่งใส

118


การบริหารความเสี่ยง บริษัทได้มีการกำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยงไว้อย่างชัดเจน โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และเผยแพร่ให้พนักงานได้รับทราบเพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุประสงค์ที่กำหนดนั้นมีความสอดคล้องกับเป้าหมาย เชิงกลยุทธ์ และความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ โดยในระหว่างปีมีกระบวนการทบทวน วิเคราะห์ ติดตาม และ กำหนดมาตรการในการบริหารความเสี่ยงอย่างบูรณาการ และมุ่งสร้างทัศนคติและความเข้าใจที่ดีให้แก่ พนักงานของบริษัทและบริษัทย่อยในเรื่องการบริหารความเสี่ยง ให้กับบุคลากรทุกระดับ ทั้งนี้ รายละเอียด ด้านการบริหารความเสี่ยง ระบุไว้ในหัวข้อ “การบริหารความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง”

กิจกรรมการควบคุม บริษัทมีการปลูกฝังพนักงานให้ดำเนินกิจกรรมการควบคุมในระดับต่างๆ ของบริษัทเพื่อลดความเสี่ยงต่อ การไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีการเลือกและพัฒนากิจกรรมการควบคุมโดยพิจารณาจาก ความคุ้มค่าและความเป็นไปได้ของกิจกรรมการควบคุมและมีการบูรณาการร่วมกับการประเมินความเสี่ยง ที่มีผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้วางไว้ การออกแบบกิจกรรมควบคุมภายในของบริษัท มีการคำนึงถึงการแบ่งแยกหน้าที่งานอย่างสมเหตุสมผลระหว่างบุคคลและกระบวนการ ในรอบระยะเวลาที่ ผ่านมาเมื่อมีข้อจำกัดด้านทรัพยากรซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถแบ่งแยกหน้าที่งานได้อย่างสมบูรณ์ ผู้บริหารจะ พิจารณากิจกรรมการควบคุมอื่นเพื่อทดแทนข้อจำกัดดังกล่าว ทั้งยังมีการสอบทานและติดตามผลการปฏิบัติ ตามระบบการควบคุมภายในที่ได้วางไว้ ทั้งนี้ผู้บริหารมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลและตรวจสอบ ระบบการทำงานภายในส่วนงานของตนให้มีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามระเบียบการปฏิบัติงาน โดยสอบ ทานการปฏิบัติงานตามระบบการควบคุมภายในที่มีอยู ่ ตลอดจนปรับปรุงการควบคุมภายในให้มีความรัดกุม รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีวินัย และจิตสำนึกที่ดีในเรื่องการควบคุมภายใน

ระบบสารสนเทศและการสือ่ สารข้อมูล บริ ษั ท มี ก ารจั ด การเกี่ ย วกั บ การพั ฒ นาระบบและแผนการใช้ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศ รวมถึ ง การจั ด การ ทรัพยากรในการจัดการระบบสารสนเทศ และการควบคุมความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ที่ผ่าน มาบริษัทได้มุ่งพัฒนาระบบการสื่อสารภายในที่มีประสิทธิผล ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของการมีระบบสาร สนเทศและการสื่อสารที่ดีและรวดเร็ว จะช่วยสนับสนุนการทำงานขององค์ประกอบการควบคุมภายในอื่นๆ ทำให้ระบบการควบคุมภายในและข้อมูลที่จำเป็นถูกระบุ รวบรวม นำไปใช้ และเผยแพร่ในรูปแบบที่สามารถ เข้าถึงทุกคนในองค์กรตามกรอบเวลาที่เหมาะสมและทันต่อการใช้งาน ซึ่งทำให้บุคลากรสามารถดำเนินการ เกี่ยวกับการควบคุมภายในที่ตนรับผิดชอบได้

119


การติดตามประเมินผล บริ ษั ท มี ก ารติ ด ตามดู แ ลระบบการควมคุ ม ภายใน เพื่ อ ประเมิ น คุ ณ ภาพผลการดำเนิ น งานของระบบ ในช่วงเวลาที่ผ่านไป โดยมีการติดตามการปฏิบัติให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยสายงานตรวจสอบ รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องการประเมินความเพียงพอและประสิทธิผลของการควบคุมภายใน รวมทั้งตรวจ สอบการปฏิ บั ติ ต ามระบบ เพื่ อ นำไปสู่ ก ารปรั บ ปรุ ง มาตรการการควบคุ ม ให้ เ หมาะสมกั บ สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม และปัจจัยความเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน ของบริ ษั ท การสอบทานระบบการควบคุ ม ภายในนั้ น เป็ น ไปอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง พร้ อ มทั้ ง ปรั บ ปรุ ง แก้ ไข ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หากมีประเด็นใดที่ไม่ถูกแก้ไขหรือปรับปรุง ทางส่วนงานตรวจ สอบภายในจะมีการรายงานผลการตรวจสอบต่อคณะกรรมการตรวจสอบทุกไตรมาสเพื่อให้คณะกรรมการ บริ ษั ท ได้ รั บ ทราบเพื่ อ พิ จ ารณาให้ เ กิ ด การแก้ ไขในระยะเวลาอั น ควร ถื อ เป็ น การปฏิ บั ติ ต ามกลไกและ กระบวนการที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด สามารถวัดผลได้ สอดคล้องกับนโยบายและแผนงานของบริษัทฯ เพื่อมั่นใจได้ว่าการบริหารและการกำกับองค์กรมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ ผู้ถือหุ้นว่าผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นได้รับการดูแลอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม เพิ่มคุณค่าเกิดผลประโยชน์ ระยะยาวแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

2. หัวหน้างานตรวจสอบภายในและหัวหน้างานกำกับดูแล การปฏิบัติงานของบริษัทฯ ปัจจุบัน ฝ่ายควบคุมภายในมีนายวิโรจน์ สติธโรปกรณ์ เป็นหัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน แทนนายเกษม อาคเนย์สุวรรณ ซึ่งสิ้นสุดวาระการทำงานตามสัญญาเมื่อวันที ่ 15 ธันวาคม 2558 โดยปัจจุบันมีพนักงาน ทั้งหมด 8 ท่าน (รวมหัวหน้างานตรวจสอบภายใน) โดยแบ่งออกเป็น 2 หน่วยงานได้แก่ 1. Internal audit ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบและประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน 2. Risk and compliance ซึ่งเป็นผู้ระบุและดูแลการบริหารความเสี่ยง ตามที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบครั้งที ่ 1/2559 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559 ได้ให้ความเห็นว่า นายวิโรจน์ สติธโรปกรณ์ มีความเหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้างานผู้ตรวจสอบภายในของ บริษัทฯ ได้อย่างเหมาะสมเพียงพอและมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีวุฒิการศึกษาและการอบรมที่เหมาะสม มีประสบการณ์ยาวนานในการปฏิบัติงานด้านสายธุรกิจการบิน และเคยเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่ เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานอันได้แก่ การอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (Director Accreditation Program) ทั้งยังเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแนวคิดใหม่การควบคุมภายในตาม COSO 2013 Internal Control - Integrated Framework และมีความเข้าใจและความเป็นอิสระในกิจกรรมและ การดำเนินงานของบริษัทฯ

120


Fly Boutique. Feel Unique.

รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ


รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ เรียน

ท่านผู้ถือหุ้น

คณะกรรมการตรวจสอบบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประกอบด้ ว ยกรรมการอิ ส ระจำนวน 3 ท่ า น โดยได้ ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ต ามขอบเขตอำนาจหน้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบ ที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายตามกฎบั ต ร โดยคณะกรรมการตรวจสอบ มีอำนาจและมีความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย นายศรี ภ พ สารสาส ดำรงตำแหน่ ง ประธานคณะกรรมการ ตรวจสอบและกรรมการตรวจสอบอีก 2 ท่าน ได้แก่ พล.อ. วิชิต ยาทิพย์ และนายสหรัตน์ เพ็ญกุล ผู้ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะ กรรมการบริษัทฯ ให้ดำรงตำแหน่งแทน นายเจมส์ แพ็ททริค รูนี่ย์ ซึ่งถึงแก่กรรม นายสหรัตน์ เพ็ญกุล เป็นกรรมการอิสระทีม่ คี วามรู ้ ความชำนาญ และประสบการณ์ในด้านบริหารความเสี่ยง ด้านการบัญชีและการลงทุน โดยมีองค์ประกอบและคุณสมบัติตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2558 คณะกรรมการตรวจสอบมีการประชุมรวม 4 ครั้งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตความรับผิดชอบที่ระบุไว้ ตามกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติที่ดีของคณะกรรมการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งยังได้มีการหารือร่วมกับฝ่ายบริหาร ฝ่ายตรวจสอบภายในและความเสี่ยง และกำกับดูแลการปฏิบัติตามกฎ รวมถึงผู้สอบบัญชี สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. สอบทานรายงานทางการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำ ปี 2558 ของบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลที่มีความสำคัญของบริษัทฯ โดยได้ประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีภายนอกและฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ก่อนที่จะเปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยและบุคคลทั่วไป ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบ มีความเห็นสอดคล้องกับผู้สอบบัญชีว่า งบการเงิน ดังกล่าวมีความถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป 2. 122

สอบทานและให้ความเห็นต่อรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึง ความเพียงพอและโปร่งใสต่อการเปิดเผยข้อมูลของรายการดังกล่าว ตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยได้ประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชี ซึ่งมีความเห็นว่า รายการค้ากับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันที่มีสาระสำคัญ ได้เปิดเผยและแสดงรายการในงบการเงิน และหมายเหตุประกอบงบการเงินแล้ว และคณะกรรมการตรวจสอบ มีความเห็นสอดคล้องกับผู้สอบบัญชี รวมทั้ง มีความเห็นว่า รายการดังกล่าวเป็นรายการที่สมเหตุสมผล และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องและครบถ้วน


3. สอบทานความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในและการบริหารจัดการความเสี่ยง คณะกรรมการตรวจสอบ ได้พิจารณานโยบายการบริหารความเสี่ยง แผนงาน และแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงตามรายการความเสี่ยง ระดับองค์กร (Corporate Risk profile) และรับทราบผลการตรวจสอบและประเด็นจุดอ่อนของระบบการควบคุม ภายในของบริษทั ฯ และบริษทั ย่อย จากส่วนงานตรวจสอบภายในอย่างสม่ำเสมอ โดยได้กำชับให้หน่วยงานตรวจสอบ ภายในคอยติดตามในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ฝ่ายจัดการได้แก้ไขหรือปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ ของหน่ ว ยงานตรวจสอบภายใน ตามระยะเวลาที่ ก ำหนด คณะกรรมการตรวจสอบมี ค วามเห็ น ว่ า ในปี 2558 บริ ษั ท มี ร ะบบการควบคุ ม ภายในที่ เ พี ย งพอและสอดคล้ อ งกั บ แบบประเมิ น การควบคุ ม ภายในของสำนั ก งาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งมีการจัดการความเสี่ยงที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ 4.

การสอบทานการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการตรวจสอบให้ความสำคัญเรื่องการปฏิบัติงานของผู้บริหาร และพนักงานในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้ อ กำหนดต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง นอกจากนี้ ยั ง จั ด ให้ มี ช่ อ งทางสำหรั บ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ทุ ก ฝ่ า ยในการแจ้ ง เบาะแส หรือการร้องเรียนการกระทำที่สงสัยว่ามีการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือนโยบาย การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การ รวมถึ ง การรายงานทางการเงิ น ที่ ไ ม่ ถู ก ต้ อ ง หรื อ ระบบควบคุ ม ภายในที่ บ กพร่ อ งต่ อ คณะกรรมการตรวจสอบ

5. การพิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาเห็นชอบให้บริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประจำปี 2559 และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อนำเสนอแต่งตั้งและอนุมัติค่าสอบบัญชีต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2559

คณะกรรมการตรวจสอบเห็นว่า ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีการจัดทำรายงานทางการเงินและเปิดเผย ข้อมูลอย่างเพียงพอเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป และฝ่ายบริหารได้ให้ความสำคัญกับการกำกับ ดูแลกิจการทีด่ ี การควบคุมภายใน และการบริหารความเสีย่ งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บริษัทฯ มีการกำกับดูแลกิจการที่ด ี มีการควบคุมภายในที่เพียงพอเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ มีการบริหารความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ ระบบบัญชี และรายงานทางการเงิ น มี ค วามถู ก ต้ อ งเชื่ อ ถื อ ได้ รวมทั้ ง ได้ ป ฏิ บั ติ ต ามกฎหมาย ว่ า ด้ ว ยหลั ก ทรั พ ย์ และ ตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

นายศรีภพ สารสาส ประธานกรรมการตรวจสอบ

123


รายการระหว่างกัน บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายการกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง (1) รายการระหว่างกันกับบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (บริษัทฯ)

บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง 1

บริษัท กรุงเทพเฮลิคอปเตอร์ เซอร์วิสเซส จำกัด

ลักษณะรายการ ลูกหนี้การค้า รายได้รับค่าบริการ

ความสัมพันธ์ • บริษัทร่วมของ บมจ. กรุงเทพดุสิตเวชการ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

ปี 2558 (บาท)

เหตุผลและความจำเป็น

288,383 บริษัทฯ ได้ให้บริการด้านการบริหารจัดการ 3,085,517 และซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ อัตราค่าบริการ การบริหารจัดการเป็นไปตามสัญญาระหว่าง กั น ส่ ว นค่ า บริ ก ารซ่ อ มบำรุ ง จะเรี ย กเก็ บ เมื่ อ มี ก ารให้ บ ริ ก าร โดยกำหนดอั ต ราค่ า บริการด้วยวิธีต้นทุนบวกอัตรากำไรไม่น้อย กว่าร้อยละ 15.0 ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการบริหารจัดการ มีความสมเหตุสมผล เนื่องจากบริษัทฯ มีบุคคลากรที่เชี่ยวชาญ เป็นการสร้างรายได้โดยไม่มีต้นทุนเพิ่มเติม และจะมี ก ารทบทวนเงื่ อ นไขในสั ญ ญาทุ ก 3 ปีสำหรับรายการซ่อมบำรุง มีความสมเหตุ สมผล โดยกำหนดอัตราค่าบริการด้วยวิธี ต้ น ทุ น บวกอั ต รากำไรไม่ น้ อ ยกว่ า ร้ อ ยละ 15.0

2

บริษทั พาราไดซ์ชอ้ ปปิง้ จำกัด ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

ลูกหนี้ค่าระวางสินค้า รายได้ค่าระวางสินค้า

2,654 บริษทั พาราไดซ์ชอ้ ปปิง้ จำกัด ใช้บริการขนส่ง 13,031 สินค้าเพือ่ นำสินค้ามาจำหน่ายทีส่ นามบินสมุย บริษัทฯ จึงได้กำหนดอัตราส่วนลดร้อยละ 20 จากอัตราค่าบริการปกติ สำหรับการใช้ บริการขนส่งที่เกินกว่า 45 กิโลกรัมต่อเที่ยว ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

124


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

ลักษณะรายการ

ปี 2558 (บาท)

ลูกหนี้ค่าเช่า รายได้ค่าเช่าพื้นที่ (สนามบินสมุย)

230,701 2,693,710

เหตุผลและความจำเป็น บริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่าและสัญญาบริการ กับบริษัท พาราไดซ์ช้อปปิ้ง จำกัด โดยมี การคิดค่าเช่าพื้นที่และค่าบริการตามราคา ประกาศของบริ ษั ท ฯ (Price List) ที่ สามารถเปรียบเทียบได้กับอัตราที่ให้บุคคล ภายนอกเช่า ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการดังกล่าวมีความสมเหตุสมผล อัตรา ค่ า เช่ า และค่ า บริ ก ารเป็ น ไปตามเงื่ อ นไข การค้าปกติ โดยจะต้องทบทวนสัญญาเช่า ทุกปีและให้เรียกเก็บค่าเช่าและค่าบริการ ให้ครบถ้วนตามสัญญา

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย

99,665 326,175

บริษัทฯ ซื้อสินค้าที่ระลึก โดยเป็นการซื้อ ขายสินค้าตามราคาตลาดและเงื่อนไขการ ค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

3 บริษทั ปราสาททองโอสถ จำกัด ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

4 บริษัท สมุยแอคคอม จำกัด ความสัมพันธ์ • บริษัทร่วมของ บริษัท สินสหกล จำกัด • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย

21,000 23,754

บริษัทฯ ซื้อเวชภัณฑ์ เช่น ยาหอม ยาดม เป็นการซื้อขายสินค้าตามราคาตลาดและ เงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค่าบริการ

3,350 336,930

บริษัทฯ ได้ใช้บริการรถขนส่งผู้โดยสารและ สัมภาระกับบริษัท สมุยแอคคอม จำกัด โดย อัตราค่าบริการและเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตาม เงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

125


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

ลักษณะรายการ ลูกหนี้ค่าเช่า รายได้ค่าเช่า รายได้อื่น เงินมัดจำค่าเช่าพื้นที่

ปี 2558 (บาท) 609,802 698,526 1,545,560 252,000

เหตุผลและความจำเป็น บริ ษั ท สมุ ย แอคคอม จำกั ด ได้ เช่ า พื้ น ที่ บู ธ และลานจอดรถลี มู ซี น ที่ ส นามบิ น สมุ ย โดยมี ก ารคิ ด ค่ า เช่ า พื้ น ที่ แ ละค่ า บริ ก าร ตามราคาประกาศของบริษัทฯ (Price List) ที่ ส ามารถเปรี ย บเที ย บได้ กั บ อั ต ราที่ ใ ห้ บุคคลภายนอกเช่า ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการดังกล่าวมีความสมเหตุสมผล อัตรา ค่ า เช่ า และค่ า บริ ก ารเป็ น ไปตามเงื่ อ นไข การค้ า ปกติ และให้ เรี ย กเก็ บ ค่ า เช่ า และ ค่าบริการให้ครบถ้วนตามสัญญา

5 บริษัท ธรรมชาตินาไทย จำกัด ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย

31,423 177,306

บริ ษั ท ฯ ซื้ อ ข้ า วออแกนนิ ค โดยเป็ น การ ซื้ อ ขายสิ น ค้ า ตามราคาตลาดและเงื่ อ นไข การค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

ลูกหนี้การค้า รายได้ค่าระวางสินค้า

7,070 16,730

บริษัท ธรรมชาตินาไทย จำกัด ใช้บริการ ขนส่งสินค้าทางอากาศ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

6 บริษัท สมุยพาร์คอเวนิว จำกัด

เงินมัดจำค่าเช่า

1,800,000

ความสัมพันธ์ • บริษัทย่อยของ บริษัท สินสหกล จำกัด • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

7 บริษัท บางกอกแทรเวล คลับ จำกัด ความสัมพันธ์ • บริษัทร่วมของ บริษัท สินสหกล จำกัด • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

126

บริษัท สมุยพาร์คอเวนิว จำกัด เช่าพื้นที่ใน สนามบินสมุย ประมาณ 6,400 ตารางเมตร และให้ เช่ า ต่ อ กั บ ผู้ เช่ า รายย่ อ ยต่ า งๆ ซึ่ ง บริ ษั ท ฯ ไม่ ไ ด้ ต่ อ สั ญ ญาเช่ า ตั้ ง แต่ วั น ที่ 1 กรกฏาคม 2557 ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัทฯ จะเป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่ให้เช่า ดังนั้นรายการดังกล่าวจะไม่มีแล้วในอนาคต

ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้การค้า เงินมัดจำ รายได้อื่น

566,007 1,049,390 346,400 1,292,348

บริษัทฯ ว่าจ้างบริษัท บางกอก แทรแวล คลับ จำกัด บริการจัดหาที่พัก จัดทำวีซ่า และอื่ น ๆ ให้ กั บ พนั ก งาน ผู้ บ ริ ห าร โดย อัตราค่าบริการและเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตาม เงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง 8 บริษัท สินทรัพย์สุโขทัย จำกัด ความสัมพันธ์ • บริษัทย่อยของ บริษัท สินสหกล จำกัด • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม 9 บริษัท บางกอกแอร์ทัวร์ (1988) จำกัด ความสัมพันธ์ • บริษัทร่วมของ บริษัท สินสหกล จำกัด • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

ลักษณะรายการ เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย

ปี 2558 (บาท) 76,100 615,068

เหตุผลและความจำเป็น บริษัทฯ ใช้บริการโรงแรม ซึ่งได้รับส่วนลด พิเศษสำหรับห้องพัก ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

ลูกหนี้การค้า รายได้ค่าบัตรโดยสาร

3,284,745 39,107,372

บริ ษั ท บางกอกแอร์ ทั ว ร์ (1988) จำกั ด เป็ น บริ ษั ท ตั ว แทนจำหน่ า ยตั วโดยสาร ซึ่งมีการกำหนดราคาซื้อขาย อัตราส่วนลด ต่อยอดขาย เครดิตทางการค้าและเงื่อนไข อื่นๆ เป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่ายค่าบัตรโดยสาร

504,092 2,532,915

บริ ษั ท ฯ ว่ า จ้ า งบริ ษั ท บางกอกแอร์ ทั ว ร์ (1988) จำกัด จัดหาตัวเครื่องบินในเส้นทาง ที่บริษัทฯ ไม่ได้ให้บริการ จัดทำวีซ่า การทำ ประกันค่าเดินทางและอื่นๆ ให้กับพนักงาน ผู้บริหาร ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ ทั้ง 2 รายการข้างต้นเป็นไปตามราคาตลาด และเงื่อนการค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

10 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) - B MS

รายได้ค่าบัตรโดยสาร

231,180

ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

บริ ษั ท ฯ จำหน่ า ยตั วโดยสารแก่ BDMS ซึ่งมีการกำหนดราคาซื้อขาย อัตราส่วนลด ต่อยอดขาย เครดิตทางการค้าและเงื่อนไข อื่นๆ เป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

รายได้ค่าเช่าเหมาลำ

31,200,000

บริ ษัทฯ ให้ บริ ก ารเช่ า เหมาลำแก่ BDMS โดยกำหนดอั ต ราค่ า บริ ก ารด้ ว ยวิ ธี ต้ น ทุ น บวกอัตรากำไรไม่น้อยกว่าร้อยละ 15.0 ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ การกำหนดราคาควรมีการพิจารณาต้นทุน และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและกำหนดอัตรา ค่ า บริ ก ารด้ ว ยวิ ธี ต้ น ทุ น บวกอั ต รากำไร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15.0

127


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

ลักษณะรายการ

ปี 2558 (บาท)

เหตุผลและความจำเป็น

เงินลงทุน รายได้เงินปันผล

22,386,894,918 231,936,299

บริษทั ฯ มีการลงทุนในหลักทรัพย์ของ BDMS โดยจัดเป็นหลักทรัพย์ประเภทเผื่อขาย ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการดั ง กล่ า ว มี ค วามสมเหตุ ส มผล บริษัทฯ และบริษัทย่อย จะต้องดำเนินการ ภายใต้นโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

415,148 2,610,731 142,500

บริษัทฯ ใช้บริการตรวจสุขภาพของ BDMS โดยอัตราค่าบริการและเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไป ตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการข้างต้นเป็นไปตามราคาตลาดและ เงื่อนการค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

รายได้อื่น

1,876,575

บริษัทฯ ได้รับเงินสนับสนุนกิจกรรมรายการ Queen s Cup Bangkok Airways และ รายการ Samui Blue Paradise Fest ซึ่ง เป็นเงื่อนไขทั่วไปที่ให้กับผู้สนับสนุนรายอื่น ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการข้างต้นเป็นไปตามราคาตลาดและ เงื่อนการค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

11 บริษทั ทีเอชเอ็น เน็ตเวิรค์ จำกัด ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

ลูกหนี้การค้า รายได้อื่น

346,680 366,000

บริ ษั ท ฯ มี สั ญ ญาแลกเปลี่ ย นสิ น ค้ า และ บริการ (Barter Agreement) กับบริษัท ที เ อชเอ็ น เน็ ต เวิ ร์ ค จำกั ด โดย บริ ษั ท ฯ ว่ า จ้ า งบริ ษั ท ที เ อชเอ็ น เน็ ต เวิ ร์ ค จำกั ด จั ด ทำภาพยนต์ โ ฆษณาประชาสั ม พั น ธ์ บริษัทฯ โดยแลกปลี่ยนกับบัตรโดยสารของ บริษัทฯ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

12 บริษัท สมุยปาล์มบีชรีสอร์ท จำกัด ความสัมพันธ์ • บริษัทย่อยของ บริษัท สินสหกล จำกัด • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

128

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย

71,500 807,050

บริษัทฯ ใช้บริการโรงแรม สำหรับเจ้าหน้าที่ ที่เดินทางไปปฏิบัติงาน โดยอัตราค่าบริการ และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามเงื่อนไขการค้า ทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง 13 บริษัท วิทยุการบินแห่ง ประเทศไทย จำกัด ความสัมพันธ์ • หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัด กระทรวงคมนาคมมีหน้าที่ รับผิดชอบด้านงานควบคุม จราจรทางอากาศ การบริหาร ระบบสื่อสาร ระบบช่วยการ เดินอากาศและติดตาม อากาศยาน โดยมีกระทรวง การคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ • มีกรรมการร่วม

ลักษณะรายการ เงินลงทุน

ปี 2558 (บาท)

เหตุผลและความจำเป็น

7,043,900

บริษัทฯ ถือหุ้นในบริษัท วิทยุการบินแห่ง ประเทศไทย จำกัด ตั้งแต่ปี 2546

44,757,420 482,924,774 72,000

บริษัทฯ ใช้บริการด้านต่างๆ เช่น ค่าบำรุง รั ก ษาวิ ท ยุ สื่ อ สารค่ า บริ ก ารข้ อ มู ล เรดาร์ กั บ บริ ษั ท วิ ท ยุ ก ารบิ น แห่ ง ประเทศไทย จำกัด และบริษัทฯ ได้วางเงินมัดจำสำหรับ การเช่าใช้บริการระบบ Radar Display

รายได้ค่าบริการไฟฟ้าหอบังคับการบินสมุย

454,020

ค่าบริการไฟฟ้าหอบังคับการบินสมุย เรียกเก็บ ตามจำนวนการใช้งาน

รายได้ค่าบัตรโดยสาร รายได้ค่าระวางสินค้า

2,316,240 20,070

บริษัทฯ จำหน่ายตัวโดยสารแก่บริษัท วิทยุ การบิ น แห่ ง ประเทศไทย จำกั ด ซึ่ ง มี ก าร กำหนดราคาซื้อขาย และเงื่อนไขอื่นๆ เป็น ไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย เงินมัดจำ

ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ ทั้ง 4 รายการข้างต้นเป็นไปตามราคาตลาด และเงื่อนการค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล 14 บริษัท ข้าวธรรมชาติ จำกัด ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นร่วม

ค่าใช้จ่าย เจ้าหนี้การค้า

1,090,956 462,324

บริษัทฯ ซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ขนมและ ชุดของขวัญ โดยเป็นการซื้อขายสินค้าตาม ราคาตลาดและเงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการข้างต้นเป็นไปตามราคาตลาดและ เงื่อนการค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

รายได้ค่าระวางสินค้า ลูกหนี้ค่าระวางสินค้า

63,044 7,355

บริษัทข้าวธรรมชาติ จำกัดใช้บริการขนส่ง สินค้าทางอากาศ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการข้างต้นเป็นไปตามราคาตลาดและ เงื่อนการค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

15 บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) -S H ความสัมพันธ์ • บริษัทย่อยของ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ • มีกรรมการร่วม

ลูกหนี้การค้า รายได้ค่าบัตรโดยสาร เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย

709,800 2,352,000 11,150 66,861

SVH ให้ คู ป องส่ ว นลดค่ า โดยสารของ สายการบิ น บางกอก แอร์ เวยส์ แก่ ผู้ ม า ใช้บริการโรงพยาบาลสมิติเวชโดยบริษัทฯ จะเรี ย กเก็ บ ค่ า โดยสารจาก SVH เมื่ อ มี ผู้โดยสารนำคูปองส่วนลดมารับบริการ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

129


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง 16 บริษัท บางปะกงริเวอร์ไซร์ คันทรี่ คลับ จำกัด

ลักษณะรายการ ค่าใช้จ่าย เจ้าหนี้การค้า

ปี 2558 (บาท) 12,600 3,277

ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นร่วม 17 บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด

ค่าใช้จ่ายค่าโฆษณา

469,490

ความสัมพันธ์ • มีกรรมการร่วม

บริษัทฯ ได้รับรายได้ค่าโฆษณาจากบริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด ที่ทำการโฆษณาบนเครื่องบิน ในขณะเดียว กั น บริ ษั ท ฯ ได้ ว่ า จ้ า งให้ บ ริ ษั ท บางกอก มี เ ดี ย แอนด์ บรอดคาสติ้ ง จำกั ด จั ด ทำ ภาพยนต์โฆษณาประชาสัมพันธ์ของบริษัทฯ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

ลูกหนี้การค้า รายได้ค่าระวางสินค้า

277,608 331,051

ความสัมพันธ์ • บริษัทย่อยของ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ • บริษัทร่วมของบมจ.สมิติเวช • มีกรรมการร่วม

19 บริษัท ร้านอาหารสนามบิน จำกัด

บริษัทฯ ใช้บริการสนามกอล์ฟ เพื่อการเลี้ยง รับรองโดยอัตราค่าบริการและเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

ความสัมพันธ์ • บริษัทร่วมของ บริษัท สินสหกล จำกัด • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

18 บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด

เหตุผลและความจำเป็น

บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด ใช้ บ ริ ก ารขนส่ ง ทางวั ส ดุ แ ละอุ ป กรณ์ ก าร แพทย์ ที่ส นามบิ นสมุ ย และสนามบิ นภู เ ก็ ต เป็ น จำนวนมากและมี ค วามต่ อ เนื่ อ ง บริษัทฯ จึงได้กำหนดอัตราส่วนลดร้อยละ 20 จากอัตราค่าบริการปกติ สำหรับการใช้ บริการขนส่งที่เกินกว่า 45 กิโลกรัมต่อเที่ยว ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย ลูกหนี้การค้า

124,796 741,719 185,600

บริษัทฯ ซื้ออาหารในรูปของคูปองอาหาร สำหรับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองสนามบิน สมุยที่เดินทางไปปฏิบัติงาน และผู้โดยสาร กรณียกเลิกเที่ยวบิน โดยการซื้อขายสินค้า ตามราคาตลาดและเงื่ อ นไขการค้ า ทั่ ว ไป นอกจากนีบ้ ริษทั ร้านอาหารสนามบิน จำกัด ต้องจ่ายชำระค่าประกอบกิจการในสนามบิน ให้ แ ก่ บ ริ ษั ท ฯ โดยคิ ด ค่ า ประกอบกิ จ การ เป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนไขการค้า ทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

130


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

ลักษณะรายการ

20 ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกาะช้าง แอค คอม

ค่าใช้จ่าย

ปี 2558 (บาท) 1,308

ความสัมพันธ์ • มีกรรมการร่วม 21 บริษัท กรุงเทพลิมูซีน จำกัด ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

เหตุผลและความจำเป็น บริษัทฯ ใช้บริการการขนส่งสัมภาระและ บริการพาหนะโดยอัตราค่าบริการและเงื่อน ไขอื่นๆ เป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

ค่าใช้จ่าย เงินมัดจำ รายได้อื่น

699,500 63,000 252,000

บริ ษั ท ฯได้ ว่ า จ้ า งบริ ษั ท กรุ ง เทพลิ มู ซี น จำกัดในการขนส่งผู้โดยสารและสัมภาระที่ สนามบิ น ตราด โดยอั ต ราค่ า บริ ก ารและ เงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

22 นายประดิษฐ์ ที กุล ความสัมพันธ์ • เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการ ของบริษัทฯ

การค้ำประกัน

27,020,000

บริ ษั ท ฯ ขายสิ น ค้ า ทั ณ ฑ์ บ นให้ กั บ บริ ษั ท มอร์แดน ฟรี จำกัด ซึ่งบริษัท มอร์แดนฟรี จำกัดจะต้องนำหนังสือค้ำประกันในการขอ อนุญาตจัดตั้งคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภท ร้านค้าปลอดอากรไปวางให้แก่กรมศุลกากร ทดแทนหนังสือค้ำประกันฉบับเดิมที่ออกใน นามของบริ ษั ท ฯ ปั จ จุ บั น อยู่ ร ะหว่ า งการ ดำเนิ น การเรื่ อ งหนั ง สื อ ค้ ำ ประกั น ดั ง นั้ น นายประดิษฐ์ ทีฆกุล จึงได้มอบหนังสือค้ำ ประกันและหลักประกันมูลค่า 27,020,000 บาท เพื่อเป็นค้ำประกันแก่บริษัทฯ กรณีที่ อาจมีความเสียหายเกิดขึ้น ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ นายประดิษฐ์ ทีฆกุล มีความสัมพันธ์เครือ ญาติกับผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท มอร์แดน ฟรี จำกัด จึงได้ให้ความช่วยเหลือในการวาง หลักประกันและค้ำประกัน เต็มจำนวนใน ช่ ว งที่ มี ก ารดำเนิ น การเจรจากั บ กรม ศุ ล กากร สำหรั บ การค้ ำ ประกั น ดั ง กล่ า ว เป็นการครอบคลุมความสี่ยงให้แก่บริษัทฯ ในกรณีที่อาจมีความเสียหายเกิดขึ้นในช่วง เวลาดังกล่าว

131


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง 23 บริษัท กรุงเทพบริการ ความปลอดภัย จำกัด BSS ความสัมพันธ์ • บุคคลที่เสมือนมีความขัดแย้ง

ลักษณะรายการ เจ้าหนี้ค่าบริการ ค่าใช้จา่ ยในการรับบริการ รายได้ เงินมัดจำอื่นๆ เงินมัดจำรับ (เงินประกัน) ลูกหนี้การค้า

ปี 2558 (บาท) 2,451,423 67,948,281 182,160 347,200 45,540 270,316

เหตุผลและความจำเป็น บริ ษั ท ฯ ว่ า จ้ า ง BSS ในการให้ บ ริ ก าร ทำความสะอาด และรักษาความปลอดภัย ในสำนักงานใหญ่ สนามบินสุวรรณภูมิและ สนามบินสมุยค่าบริการจะขึ้นอยู่กับจำนวน พนักงานที่ให้บริการ อัตราเงินเดือน และ ค่าล่วงเวลา ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผลอย่างไร ก็ ต ามควรมี ก ารทบทวนและเปรี ย บเที ย บ ราคาในการต่ออายุสัญญาทุกครั้ง

24 บริษัท กรุงเทพบริการการบิน จำกัด - BASE ความสัมพันธ์ • บุคคลที่เสมือนมีความขัดแย้ง

เจ้าหนี้ค่าบริการ ค่าใช้จ่ายในการรับบริการ รายได้อื่น เงินมัดจำอื่นๆ เงินมัดจำรับ(เงินประกัน) ลูกหนี้การค้า

1,870,540 169,584,200 813,354 543,120 267,055 710,132

บริ ษั ท ฯ ว่ า จ้ า ง BASE ในการให้ บ ริ ก าร ทำความสะอาด รั ก ษาความปลอดภั ย บริ ก ารผู้ โ ดยสารในสนามบิ น ต่ า งๆ ค่ า บริ ก ารจะขึ้ น อยู่ กั บ จำนวนพนั ก งานที่ ใ ห้ บริการ อัตราเงินเดือน และค่าล่วงเวลา

เจ้าหนี้การค้าค่าเช่าอาคาร ค่าใช้จ่ายค่าเช่าอาคาร

960,000 960,000

บริษัทฯ ได้เช่าอาคารเพื่อใช้เป็นสำนักงาน ขายจาก BASE อายุสัญญาเช่ารวม 3 ปี นับ ตั้ ง แต่ เ ดื อ นมิ ถุ น ายน 2556 -พฤษภาคม 2559

ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผลอย่างไรก็ตาม ควรมีการทบทวนและเปรียบเทียบราคาใน การต่ออายุสัญญาทุกครั้ง

ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล 25 บริษัท มอร์แดน ฟรี จำกัด ความสัมพันธ์ • บุคคลที่เสมือนมีความขัดแย้ง

ลูกหนี้ค่าระวาง รายได้ค่าระวาง

ค่าใช้จ่ายซื้อสินค้า เจ้าหนี้การค้า

132

21,444 97,498

บริษัท มอร์แดน ฟรี จำกัด ใช้บริการขนส่ง สินค้าเพื่อนำสินค้ามาจำหน่ายที่สนามบิน สมุยบริษัทฯ จึงได้กำหนดอัตราส่วนลดร้อย ละ 20 จากอัตราค่าบริการปกติ สำหรับการ ใช้บริการขนส่งที่เกินกว่า 45 กิโลกรัมต่อ เที่ยว

2,175,000 1,022,626

บริษัทฯ ซื้อสุราเพื่อใช้ให้บริการบนเครื่อง บินโดยอัตราค่าบริการและเงื่อนไขอื่นๆ เป็น ไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

ลักษณะรายการ ลูกหนี้การค้าค่าเช่า รายได้ค่าเช่า รายได้อื่น เงินมัดจำ

ปี 2558 (บาท) 417,771 1,532,160 2,966,694 40,000

เหตุผลและความจำเป็น บริ ษั ท มอร์ แ ดน ฟรี จำกั ด เช่ า พื้ น ที่ ใ น สนามบิ น สมุ ย เพื่ อ ทำร้ า นค้ า ปลอดภาษี โดยอัตราค่าบริการและเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไป ตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ ทั้ง 3 รายการข้างต้นเป็นไปตามราคาตลาด และเงื่อนการค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

26 บริษัท ฟูด แอนด์ แทรเวล จำกัด

ค่าใช้จ่ายยกเลิกเที่ยวบิน

4,000

ความสัมพันธ์ • บุคคลที่เสมือนมีความขัดแย้ง

27 บริษัท แบกส์บริการภาคพื้น จำกัด - BAGS ความสัมพันธ์ • บุคคลที่เสมือนมีความขัดแย้ง

บริษัทฯ ได้สั่งซื้ออาหารบริษัท ฟูด แอนด์ แทรเวล จำกัด สำหรับผู้โดยสารสนามบิน อู่ตะเภา ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ บริ ษั ท ฯ จะไม่ มี ก ารทำรายการดั ง กล่ า ว ในอนาคต เนื่องจากมีการยกเลิกสัญญา

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย เงินมัดจำรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

94,665,786 443,756,408 1,082,080 30,071,688

บริษัทฯ ว่าจ้าง BAGS ในการให้บริการภาค พื้นในสนามบินในประเทศทุกแห่ง ยกเว้น สนามบิ น สุ ว รรณภู มิ โดยอั ต ราค่ า บริ ก าร และเงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามเงื่อนไขการค้า ทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล อย่างไรก็ตาม ควรมีการทบทวนและปรียบเทียบราคาใน การต่ออายุสัญญาทุกครั้ง

ลูกหนี้การค้า รายได้ค่าขายตัวโดยสาร รายได้ค่าระวาง

1,420,573 2,294,145 144,744

บริษัทฯ จำหน่ายตัวโดยสารและให้บริการ ขนส่งสัมภาระแก่ BAGS สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ ไปปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ที่ ส นามบิ น บริ ษั ท ฯ จึ ง ได้ กำหนดอัตราส่วนลดร้อยละ 20 จากอัตรา ค่าบริการปกติ สำหรับการใช้บริการขนส่งที่ เกินกว่า 45 กิโลกรัมต่อเที่ยว ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

133


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

ลักษณะรายการ

ปี 2558 (บาท)

รายได้ค่าเช่าพื้นที่

2,691,626

เหตุผลและความจำเป็น BAGS เช่ า พื้ นที่ เช่ า ที่ ส นามบิ นภู เ ก็ ต เพื่ อ ดำเนินธุรกิจ โดยพื้นที่ดังกล่าว บริษัทฯ เช่า มาจากการท่าอากาศยาน ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

รายได้อื่น

12,097,734

รายได้อนื่ คือ รายได้คา่ สาธารณูปโภค ค่าเช่า วิทยุสอื่ สาร และค่าบัตรรักษาความปลอดภัย เป็นต้น ซึ่งคิดค่าบริการตามเงื่อนไขการค้า ปกติ สำหรับปี 2558 บริษัทฯ มีรายได้อื่น ที่ไม่ใช่รายได้จากการดำเนินงานปกติเพิ่มขึ้น คื อ รายได้ จ ากการขายอุ ป กรณ์ ภ าคพื้ น ให้กบั BAGS เป็นเงินประมาณ 7.0 ล้านบาท และค่าชดเชยความเสียหายที่เกิดจากการ ให้ บ ริ ก ารของ BAGS เป็ น เงิ น ประมาณ 3.0 ล้านบาท ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

28 บริษัท เอ.พี เชริฟ จำกัด ความสัมพันธ์ • บุคคลที่เสมือนมีความขัดแย้ง

ค่าใช้จ่ายในการรับ บริการ

1,451,216

บริษัทฯ ว่าจ้าง บริษัท เอ.พี เชริฟ จำกัด ให้ บ ริ ก ารรั ก ษาความสะอาด และรั ก ษา ความปลอดภัย ที่สนามบินสมุย จ่ายชำระ ค่าบริการเป็นรายเดือน ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผลอย่างไร ก็ ต ามควรมี ก ารทบทวนและเปรี ย บเที ย บ ราคาในการต่ออายุสัญญาทุกครั้ง

134


(2) รายการระหว่างกันกับบริษัท บางกอกแอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด (BAH) บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

ลักษณะรายการ

ปี 2558 (บาท)

เหตุผลและความจำเป็น

1 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) - B MS

เงินลงทุน รายได้เงินปันผล

4,551,000,000 47,150,000

บริษทั ฯ มีการลงทุนในหลักทรัพย์ของ BDMS โดยจัดเป็นหลักทรัพย์ประเภทเผื่อขาย ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการดั ง กล่ า ว มี ค วามสมเหตุ ส มผล บริษัทฯ และบริษัทย่อย จะต้องดำเนินการ ภายใต้นโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์

ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

(3) รายการระหว่างกันกับบริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด (BFS Ground) บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง 1 บริษัท วิทยุการบินแห่ง ประเทศไทย จำกัด ความสัมพันธ์ • หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัด กระทรวงคมนาคมมีหน้าที่ รับผิดชอบด้านงานควบคุม จราจรทางอากาศ การบริหาร ระบบสื่อสาร ระบบช่วยการ เดินอากาศและติดตาม อากาศยาน โดยมีกระทรวง การคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ • มีกรรมการร่วม 2 บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) - B MS ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

ลักษณะรายการ

ปี 2558 (บาท)

เจ้าหนี้การค้า ค่าเช่าวิทยุการบิน ค่าใช้จ่าย

69,000 17,379,930 154,380

เหตุผลและความจำเป็น BFS Ground เช่ า วิ ท ยุ สื่ อ สารจากบริ ษั ท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด เพื่อใช้ ติ ด ต่ อ ภายในสนามบิ น สุ ว รรณภู มิ ติ ด ต่ อ สายการบินต่างๆ และบริการภาคพื้นซึ่งมี การกำหนดราคาตามเงื่อนไขการค้าปกติ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

ลูกหนี้การค้า รายได้ค่าบริการ

473,475 2,886,950

BFS Ground ให้ บ ริ ก ารอำนวยความ สะดวกที่สนามบินสุวรรณภูมิ (Meet and Assist Service) แก่ BDMS ซึ่ ง มี ก าร กำหนดราคาค่าบริการในอัตราที่เท่ากับที่ คิดกับลูกค้ารายอื่น ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

135


(4) รายการระหว่างกันกับบริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (BAC) บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง 1 บริษัท โรงพยาบาลพญาไท 1 จำกัด

ลักษณะรายการ ค่าตรวจสุขภาพประจำปี

ปี 2558 (บาท) 548,030

เจ้าหนี้การค้า ค่าพยาบาลประจำคลินิค

135,000 1,485,000

ความสัมพันธ์ • หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัด กระทรวงคมนาคมมีหน้าที่ รับผิดชอบด้านงานควบคุม จราจรทางอากาศ การบริหาร ระบบสื่อสาร ระบบช่วยการ เดินอากาศและติดตาม อากาศยาน โดยมีกระทรวง การคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ • มีกรรมการร่วม

136

BAC ว่าจ้างแพทย์และพยาบาลมาประจำ ในคลินิคของ BAC ตลอด 24 ชั่วโมง ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล อย่างไร ก็ ต ามควรมี ก ารทบทวนและเปรี ย บเที ย บ ราคาและเงื่อนไขทางการค้าเป็นประจำทุกปี

ความสัมพันธ์ • บริษัทย่อยของ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ • มีกรรมการร่วม 3 บริษัท วิทยุการบินแห่ง ประเทศไทย จำกัด

BAC ใช้ บ ริ ก ารตรวจสุ ข ภาพประจำปี กั บ โรงพยาบาลพญาไท 1 ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล อย่างไร ก็ ต ามควรมี ก ารทบทวนและเปรี ย บเที ย บ ราคาและเงื่อนไขทางการค้าเป็นประจำทุกปี

ความสัมพันธ์ • บริษัทย่อยของ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ • มีกรรมการร่วม 2 บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) -S H

เหตุผลและความจำเป็น

เจ้าหนี้การค้า ค่าเช่าวิทยุการบิน ค่าติดตั้ง

138,250 1,588,650 16,140

BAC เช่าวิทยุสื่อสารจากบริษัท วิทยุการบิน แห่งประเทศไทย จำกัด เพื่อใช้ติดต่อภายใน สนามบินสุวรรณภูมิ ติดต่อสายการบินต่างๆ และบริการภาคพื้นโดยมีอายุสัญญา 1 ปี ซึง่ มีการกำหนดราคาตามเงือ่ นไขการค้าปกติ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

ลักษณะรายการ

ปี 2558 (บาท)

4 บริษัท พาราไดซ์ช้อปปิ้ง จำกัด

ลูกหนี้การค้า รายได้รับค่าเช่า

79,686 398,964

ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

เหตุผลและความจำเป็น บริษัท พาราไดซ์ช้อปปิ้ง จำกัด ใช้บริการ เช่ า พื้ น ที่ จั ด เก็ บ สิ น ค้ า โดย BAC คิ ด ราคา ค่าเช่าพืน้ ทีส่ นิ ค้าเป็นอัตราทัว่ ไปเปรียบเทียบ ได้ กั บ ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารลู ก ค้ า รายอื่ น นอกจากนี้ BAC ได้ให้บริการการจัดเรียงสินค้าของที่ ระลึกให้แก่บริษัทพาราไดซ์ ช้อปปิ้ง จำกัด โดยค่าบริการเป็นไปตามที่กำหนดในสัญญา ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเช่ า พื้ น ที่ เ ก็ บ สิ น ค้ า มี ค วามสมเหตุ สมผล มีการกำหนดราคาตามเงื่อนไขการค้า ปกติ ตามอัตราที่เทียบเท่ากับที่ให้กับผู้เช่า ที่ เ ป็ น บุ ค คลภายนอกรายอื่ น สำหรั บ การ จัดเรียงสินค้า เป็นรายการที่มีความสมเหตุ สมผล โดยค่ า บริ ก ารดั ง กล่ า วมี ก ารมี ก าร อ้างอิงจากต้นทุนและกำไร

5 บริษัท บางกอกแอร์ทัวร์ (1988) จำกัด

ค่าใช้จ่ายค่าบัตรโดยสาร

330,600

ความสัมพันธ์ • บริษัทร่วมของ บริษัท สินสหกล จำกัด • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

6 บริษัท ธรรมชาตินาไทย จำกัด ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

7 บริษัท มอร์แดนฟรี จำกัด ความสัมพันธ์ • บุคคลที่เสมือนมีความขัดแย้ง

BAC ซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินผ่านบริษัท บางกอกแอร์ทัวร์ (1988) จำกัด เป็นการ ซื้ อ ขายสิ น ค้ า ตามราคาตลาดและเงื่ อ นไข การค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผลและ BAC สามารถใช้บริการกับตัวแทนจำหน่ายอื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการผูกขาด

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย

79,040 413,985

BAC ซื้ อ ข้ า วหอมสุ โขทั ย โดยเป็ น การ ซื้ อ ขายสิ น ค้ า ตามราคาตลาดและเงื่ อ นไข การค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

ลูกหนี้การค้า รายได้ค่าเช่าตู้เก็บของ

90,369 453,528

บริ ษั ท มอร์ แ ดนฟรี จำกั ด ใช้ บ ริ ก ารเช่ า พื้นที่จัดเก็บสินค้าโดยเป็นอัตราค่าเช่าเป็น ไปตามราคาตลาดและเงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผลอย่างไร ก็ ต ามควรมี ก ารทบทวนและเปรี ย บเที ย บ ราคาและเงื่อนไขทางการค้าเป็นประจำทุกปี

137


บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง 8 บริษัท เอ.พี เชริฟ จำกัด ความสัมพันธ์ • บุคคลที่เสมือนมีความขัดแย้ง

ลักษณะรายการ

ปี 2558 (บาท)

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย

67,624 758,243

เหตุผลและความจำเป็น BAC ว่าจ้าง บริษัท เอ.พี เชริฟ จำกัด ให้ บริ ก ารรั ก ษาความสะอาด ภายในอาคาร สำนักงานที่สนามบินสุวรรณภูมิ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผลอย่างไร ก็ ต ามควรมี ก ารทบทวนและเปรี ย บเที ย บ ราคาและเงื่อนไขทางการค้าเป็นประจำทุกปี

(5) รายการระหว่างกันกับบริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด (BACGH)

1

บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง

ลักษณะรายการ

ปี 2558 (บาท)

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) - B MS

ลูกหนี้การค้า รายได้ค่าอาหาร

39,826 1,174,185

ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม

เหตุผลและความจำเป็น BACGH ให้บริการจัดเลี้ยงแก่ BDMS โดย เป็นการซื้อขายสินค้าตามราคาตลาดและ เงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผลอย่างไรก็ตาม ควรมีการทบทวนและเปรียบเทียบราคาอยู่ อย่างสม่ำเสมอ

เจ้าหนี้การค้า ค่าเช่าพื้นที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส เงินมัดจำ

128,502 3,115,640 1,356,633 703,840

BACGH เช่ า พื้ น ที่ อ าคารบางกอกพลาซ่ า ของโรงพยาบาลกรุ ง เทพ เพื่ อ ประกอบ กิ จ การร้ า นอาหาร Alsaray อาหาร อินเดียน-เลบานิส โดยอัตราค่าเช่าเป็นไป ตามราคาตลาดและเงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผลอย่างไรก็ตาม ควรมีการทบทวนและเปรียบเทียบราคาใน การต่ออายุสัญญาทุกครั้ง

2

บริษัท โรงพยาบาลพญาไท 1 จำกัด

ค่าตรวจสุขภาพประจำปี

ความสัมพันธ์ • บริษัทย่อยของ บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ • มีกรรมการร่วม

(6) รายการระหว่างกันกับบริษัท กูร์เมท์ พรีโม่ จำกัด (GP) - ไม่มีรายการ 138

53,740

BACGH ใช้บริการตรวจสุขภาพประจำปีกับ โรงพยาบาลพญาไท 1 ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผลอย่างไรก็ตาม ควรมี ก ารทบทวนและเปรี ย บเที ย บราคา และเงื่อนไขทางการค้าเป็นประจำทุกปี


(7) รายการระหว่างกันกับบริษัท การบินกรุงเทพบริการภาคพื้น จำกัด (PGGS) บุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง 1

บริษัท วิทยุการบินแห่ง ประเทศไทย จำกัด

ลักษณะรายการ

ปี 2558 (บาท)

เจ้าหนี้การค้า เงินทดรองจ่ายแทน -ลูกค้า

242,234 10,710,962

ความสัมพันธ์ • หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัด กระทรวงคมนาคมมีหน้าที่ รับผิดชอบด้านงานควบคุม จราจรทางอากาศ การบริหาร ระบบสื่อสาร ระบบช่วยการ เดินอากาศและติดตาม อากาศยาน โดยมีกระทรวง การคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ • มีกรรมการร่วม 2

บริษัท สมุย คอนวีเนียนท์ สโตร์ จำกัด

บริษัท แบกส์บริการภาคพื้น จำกัด - BAGS ความสัมพันธ์ • บุคคลที่เสมือนมีความขัดแย้ง

4

บริษัท เอ.พี เชริฟ จำกัด

ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์

187,141 327,293

บริษัท กรุงเทพบริการการบิน จำกัด - BASE ความสัมพันธ์ • บุคคลที่เสมือนมีความขัดแย้ง

PGGS ซื้ อ อุ ป กรณ์ ค รั ว และวั ต ถุ ดิ บ จาก บริษัท สมุย คอนวีเนียนท์ สโตร์ จำกัด ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็นไปตามราคาตลาดและเงื่อนการ ค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

เจ้าหนี้การค้า ค่าใช้จ่าย เงินมัดจำ

3,913,140 40,925,300 1,500,000

PGGS ว่าจ้าง BAGS ในการให้บริการภาคพืน้ ในสนามบิ น สมุ ย โดยอั ต ราค่ า บริ ก ารและ เงื่อนไขอื่นๆ เป็นไปตามเงื่อนไขการค้าทั่วไป ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล อย่างไร ก็ ต ามควรมี ก ารทบทวนและเปรี ย บเที ย บ ราคาในการต่ออายุสัญญาทุกครั้ง

ค่าใช้จ่ายค่าบริการ

352,000

ความสัมพันธ์ • บุคคลที่เสมือนมีความขัดแย้ง

5

PGGS ให้บริการภาคพื้นให้แก่สายการบิน ต่ า งๆ (รวมถึ ง บริ ก ารจ่ า ยชำระค่ า วิ ท ยุ การบิน) โดย PGGS จะเรียกเก็บกับลูกค้า พร้อมค่าบริการ ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

ความสัมพันธ์ • มีผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วม 3

เหตุผลและความจำเป็น

PGGS ว่ า จ้ า ง บริ ษั ท เอ.พี เชริ ฟ จำกั ด ให้บริการรักษาความปลอดภัย อาคารคลัง สินค้าที่สนามบินสมุย ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล

ค่าใช้จ่ายค่าบริการ

590,400

PGGS ว่าจ้าง บริษัท กรุงเทพบริการการบิน จำกัด ให้บริการด้านความปลอดภัยทีส่ นามบิน สมุย ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ รายการเป็ น ไปตามราคาตลาดและเงื่ อ น การค้าปกติที่มีความสมเหตุสมผล 139


คำอธิบายผลการดำเนินงานและการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ข้อมูลงานธุรกิจสายการบิน ข้อมูลงานธุรกิจสายการบิน

มกราคม-ธันวาคม ปี 2558 ปี 2557

ล้านบาท

19,517.1 11,886.1 7,631.0

18,063.6 11,027.7 7,035.9

ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (AS ) (2) เส้นทางการบินภายในประเทศ เส้นทางการบินระหว่างประเทศ

ล้านที่นั่ง-กม.

5,853.6 3,365.4 2,488.2

5,655.0 3,230.5 2,424.5

ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RP ) (2) เส้นทางการบินภายในประเทศ เส้นทางการบินระหว่างประเทศ

ล้านที่นั่ง-กม.

3,911.5 2,350.0 1,561.5

3,691.4 2,209.3 1,482.1

รายได้จากการขนส่งผู้โดยสารแบบประจำ (1) เส้นทางการบินภายในประเทศ เส้นทางการบินระหว่างประเทศ

140

หน่วย

อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) เส้นทางการบินภายในประเทศ เส้นทางการบินระหว่างประเทศ

ร้อยละ

66.8 69.8 62.8

65.3 68.4 61.1

จำนวนผู้โดยสารที่ขนส่ง (2) เส้นทางการบินภายในประเทศ เส้นทางการบินระหว่างประเทศ

พันคน

5,149.5 3,719.6 1,429.9

4,789.8 3,487.5 1,302.3

จำนวนที่นั่งทั้งหมด เส้นทางการบินภายในประเทศ เส้นทางการบินระหว่างประเทศ

พันที่นั่ง

7,653.4 5,290.4 2,363.0

7,357.2 5,080.6 2,276.6

อัตราการใช้เครื่องบิน(3) แอร์บัส เอ320 แอร์บัส เอ319 เอทีอาร์72-500 และ เอทีอาร์72-600

ชั่วโมงต่อวัน

9.02 9.63 9.32 8.10

8.81 9.14 9.43 7.82

จำนวนเครื่องบิน ณ วันที่สิ้นสุดไตรมาส แอร์บัส เอ320 แอร์บัส เอ319 เอทีอาร์72-500 เอทีอาร์72-600

ลำ

31 8 11 8 4

27 8 10 8 1


ข้อมูลงานธุรกิจสายการบิน

หน่วย

ระยะทางบินโดยเ ลี่ย

มกราคม-ธันวาคม ปี 2558 ปี 2557

กิโลเมตร

759.6

770.7

ระยะทางบิน (2)

ล้านกิโลเมตร

45.8

44.3

รายได้จากการขนส่งผู้โดยสารต่อหน่วย (Passenger ield) (4)

บาทต่อคน-กม.

4.99

4.89

รายได้ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (RAS ) ต้นทุนต่อปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (CAS ) ต้นทุนต่อปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสารไม่รวมค่าน้ำมันเชื้อเพลิง (CAS - Fuel) RAS CAS

บาทต่อปริมาณ การผลิตด้าน ผู้โดยสาร

3.60 3.30

3.41 3.26

2.55 0.30

2.34 0.15

หมายเหตุ : ตัวเลขเหล่านี้จะแตกต่างจากตัวเลขที่แสดงในงบการเงินรวม เนื่องจากเป็นตัวเลขที่รวมรายได้จากเที่ยวบินแบบประจำ รายได้สุทธิจากการแลกเปลี่ยนการรับขนส่งผู้โดยสารสุทธิ จากเที่ยวบินที่ดำเนินการโดยสายการบินอื่นและขายโดย บริ ษั ท ฯ ตามความตกลงเที่ ย วบิ น ร่ ว ม (code-sharing) รายได้จากการขายที่นั่งโดยสารบนเที่ยวบินของสายการบิน อื่นซึ่งไม่ได้เป็นเที่ยวบินร่วม (Interline) รายได้ค่าธรรมเนียม ชดเชยค่าน้ำมันและเงินค่าประกันภัยเรียกเก็บจากผู้โดยสาร แต่ ไ ม่ ร วมรายได้ จ ากการให้ บริ ก ารคลั งสิ นค้ า และการให้ บริ ก ารเที่ ย วบิ น เช่ า เหมาลำ และยั ง ไม่ ไ ด้ หั ก ส่ ว นลดและ ค่าคอมมิชชั่น (1)

ไม่รวมเที่ยวบินซึ่งไม่ได้อยู่ในตารางการบิน และเที่ยวบิน ที่ดำเนินการโดยสายการบินอื่นและขายโดยบริษัทฯ แต่รวม เทีย่ วบินทีด่ ำเนินการโดยบริษทั ฯ และขายโดยสายการบินอืน่

(2)

(3)

ไม่รวมเที่ยวบินซึ่งไม่อยู่ในตารางบิน

รายได้ จ ากผู้ โ ดยสาร ไม่ ร วมรายได้ ค่ า ธรรมเนี ย มชดเชย ค่าน้ำมันและเงินค่าประกันภัยเรียกเก็บจากผู้โดยสาร และ ไม่ ร วมรายได้ ค่ า สั ม ภาระน้ ำ หนั ก เกิ น หารด้ ว ยปริ ม าณ การขนส่งผู้โดยสาร (RPK) (4)

141


ตารางแสดงข้อมูลการดำเนินการและข้อมูลทางการเงิน ของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัทฯ ในการบริการที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน

ข้อมูลการบริการครัวการบิน: รายได้ (1) EBITDA กำไรสุทธิ จำนวนอาหารที่ผลิตและให้บริการ (ล้านที่)

1,456.0 431.6 284.5 9.9

1,350.0 372.0 267.0 8.9

ข้อมูลการบริการภาคพื้นดิน: รายได้ (1) EBITDA กำไรสุทธิ จำนวนเที่ยวบินที่ให้บริการ

2,130.1 304.8 146.1 58,074

1,948.8 246.0 111.5 54,871

ข้อมูลการบริการคลังสินค้าระหว่าประเทศ: รายได้ (1) EBITDA กำไรสุทธิ น้ำหนักของสินค้าที่ให้บริการ(ตัน) ปริมาณการรองรับสินค้า (ตันต่อปี) (2) การใช้งาน (Utilization) (ร้อยละ)

1,567.9 672.2 443.6 375,301 450,000 83.4

1,557.7 684.1 453.9 371,530 550,000 67.6

หมายเหตุ : รายได้ ข องบริ ษั ท ย่ อ ยและบริ ษั ท ร่ ว ม เป็ น รายได้ ที่ แ สดงยอดรวม โดยไม่หักรายการที่มีระหว่างกันกับบริษัทใหญ่

(1)

บริษัทดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด ปรับลดปริมาณการรองรับ สินค้า เนื่องจากสัดส่วนของสินค้าขาเข้ามีอัตราเพิ่มสูงขึ้น(ปัจจุบัน สัดส่วนสินค้าขาเข้าต่อสินค้าขาออก เท่ากับ 46:54 จากเดิม 34:66) ซึ่งโดยปกติสินค้าขาเข้าจะเก็บรักษาในคลังสินค้าเป็นเวลาหลายวัน ก่ อ นที่ ผู้ น ำเข้ า จะมารั บ สิ น ค้ า ไป ในขณะที่ สิ น ค้ า ขาออกจะเก็ บ ไว้ ในคลังสินค้าประมาณ 0.5 วันเท่านั้น ส่งผลให้พื้นที่การจัดเก็บสินค้า ลดลงจาก 550,000 ตันต่อปี เป็น 450,000 ตันต่อปี (2)

142

หน่วย : ล้านบาท มกราคม-ธันวาคม ปี 2558 ปี 2557


คำอธิบายผลการดำเนินงาน และการวิเคราะห์ฐานะทางการเงิน

1. ภาวะเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการบิน สภาวะเศรษฐกิจในประเทศไทยปี 2558 ได้รับแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจมาจากการใช้จ่าย ลงทุ น ในโครงการสาธารณู ป โภคและโครงสร้ า งพื้ น ฐานขนาดใหญ่ ข องภาครั ฐ และการขยายตั ว ของ ภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2558 มีการขยายตัวร้อยละ 2.8 ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน ร้อยละ 0.1 เป็นผลมาจากเศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับ เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวช้า รวมไปถึงราคาน้ำมันที่ลดต่ำลง (ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ) อย่างไรก็ดีสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของปี 2558 นี้ยังคงจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ไปยังปี 2559 ที่จะมีการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ จากภาครัฐให้เติบโตขึ้นต่อไป ในส่วนของการส่งออกที่เป็นเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปสงค์ของปี 2558 พบว่าการส่งออกของไทย ปี 2558 หดตัวที่สุดในรอบ 6 ปี ที่ร้อยละ 5.8 (ที่มา: กระทรวงพาณิชย์) โดยมีสาเหตุหลักจากการส่งออก ที่ติดลบอย่างต่อเนื่องจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ลดการนำเข้า อีกทั้งเศรษฐกิจประเทศจีนที่ชะลอตัว ซึ่งส่งผลให้อุปสงค์ยังคงไม่ฟื้นตัว จึงทำให้การส่งออก ของไทยยังไม่ฟื้นตัวด้วย ขณะที่การส่งออกของไทยไปยังเขตการค้าชายแดนและประเทศในกลุ่ม CLMV มีการขยายตัวได้ดีพอควร ภาคการท่องเที่ยวนับเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยรวมมีการขยายตัวอย่าง ชั ด เจนทั้ ง นั ก ท่ อ งเที่ ย วในประเทศและต่ า งประเทศถึ ง แม้ ว่ า ช่ ว งที่ ผ่ า นมาจะมี ปั จ จั ย ที่ ส่ ง ผลกระทบต่ อ การท่องเที่ยวทั้งปัญหาการเมือง เหตุการณ์วางระเบิดจุดท่องเที่ยวที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยว ในระยะเวลานั้ น แต่ ก็ ยั ง กลั บ มาฟื้ น ตั ว อย่ า งรวดเร็ ว ในช่ ว งหลั ง ซึ่ ง สะท้ อ นได้ จ ากจำนวนนั ก ท่ อ งเที่ ย ว ต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 20.0 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยนักท่องเที่ยวในเขตภูมิภาคเอเชียยังเป็นกลุ่มหลักของประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่มีอัตรา ขยายตัวที่ร้อยละ 73.4 ส่วนนักท่องเที่ยวชาวยุโรป (ไม่รวมสหพันธรัฐรัสเซีย) และชาวตะวันออกกลาง มีอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 6.6 และร้อยละ 11.0 ตามลำดับ (ที่มา: กรมการท่องเที่ยว) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามีนโยบายส่งเสริมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของประเทศโดย การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและการบริการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งมีการพัฒนาระบบโครงสร้าง พื้น ฐานเพื่อการคมนาคมที่ไ ด้ มาตรฐานอย่ า งทั่ ว ถึ ง ครอบคลุ มเส้ น ทางหลั ก และเส้ น ทางรองที่ จะเข้า สู ่ แหล่งท่องเที่ยว

143


ภาพรวมของอุตสาหกรรมการบินสำหรับปี 2558 ยังคงมีอัตราการเติบโตของปริมาณการขนส่ง ผู้ โ ดยสาร (RPK) ของทุ ก ภู มิ ภ าคอยู่ ที่ ร้ อ ยละ 6.5 ในขณะที่ ภู มิ ภ าคเอเชี ย แปซิ ฟิ ค เติ บ โตร้ อ ยละ 8.6 เป็นอันดับสองรองลงมาจากภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 10.0 ในขณะที่ปริมาณ การผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) ของทุกภูมิภาคและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคมีอัตราเติบโตร้อยละ 5.6 และ ร้อยละ 6.7 ตามลำดับ (ที่มา: สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ) โดยปัจจัยสนับสนุนการเติบโต ของจำนวนผู้โดยสารยังคงเป็นราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยที่ลดลง ราคาเฉลี่ยบัตรโดยสารของทั่วโลกในปี 2558 ต่ำกว่าปี 2557 ประมาณร้อยละ 5.0 ภูมิภาคเอเชียมีอัตราการเติบโตของเที่ยวบินตรงเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 7.3 ซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ผู้โดยสารมีความต้องการเดินทางเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากระยะเวลาเดินทางสั้นลง สำหรับแนวโน้มภาคการท่องเที่ยวของปี 2559 โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่จะเข้ามาเที่ยวในไทยจำนวนประมาณ 31.4 - 32.3 ล้านคน เติบโตประมาณร้อยละ 5.0 - 8.0 เมื่อเทียบกับปี 2558 ที่ผ่านมาจากแรงหนุนการทำกิจกรรมการตลาดของภาครัฐ และการแข่งขันของ ภาคธุรกิจสายการบินที่มีการแข่งขันรุนแรง โดยมีสายการบินต่างชาติที่เข้ามาทำการตลาดในภูมิภาคเอเชีย แปซิ ฟิ ก และประเทศไทยมากขึ้ น เพราะมองเห็ น โอกาสในการเติ บ โตด้ า นการท่ อ งเที่ ย วของภู มิ ภ าคนี ้ โดยตลาดนักท่องเที่ยวหลักที่คาดว่าจะขยายตัวได้ด ี คือกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนและชาวจีนที่เข้ามาทำธุรกิจ ในประเทศไทย อย่างไรก็ตามทิศทางของตลาดนักท่องเที่ยวยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่จะกระทบกับการเติบโต ในปี 2559 คือ ปัจจัยเศรษฐกิจในประเทศ ปัจจัยด้านการเมือง ปัญหาภัยก่อการร้าย รวมถึงการแข่งขัน ด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวตะวันออกกลาง คงต้องติดตามสถานการณ์ ราคาน้ำมันที่จะกระทบกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจซึ่งกลุ่มนักท่องเที่ยวนี้มีค่าใช้จ่ายต่อหัวค่อนข้างสูง โดยส่วนใหญ่จะเดินทางมาเข้ามาประเทศไทยเพื่อรับการบริการทางการแพทย์ อย่างไรก็ตามตลาดภูมิภาค เอเชียตะวันออกยังคงเป็นตลาดหลักของการท่องเที่ยวไทย ซึ่งประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทาง ลำดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวชาวจีน ในขณะที่ คาดว่าตลาดนักท่องเที่ยวยุโรปในปี 2559 จะสามารถ กลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ที่ประมาณร้อยละ 3.0 จากที่หดตัวประมาณร้อยละ 8.7 ในปี 2558

144


2. ภาพรวมของบริษัทฯ บริษัทฯ เป็นสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบ โดยมุ่งเน้นบริการระดับพรีเมี่ยมให้แก่ผู้โดยสาร บริษัทฯ ก่อตั้งขึ้นในปี 2527 และบริษัทฯ เริ่มให้บริการเที่ยวบินแบบประจำอย่างเป็นทางการ ภายใต้ ชื่อปัจจุบันคือ “บางกอกแอร์เวย์ส” ในปี 2529 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ ให้บริการเที่ยวบิน แบบประจำในเส้นทางการบินภายในประเทศ 15 เส้นทางโดยครอบคลุมเส้นทางที่เป็นจุดหมายปลายทาง ในด้านการพักผ่อนและแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญในประเทศไทย เช่น จังหวัดภูเก็ต เกาะสมุย จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดกระบี่ และให้บริการเที่ยวบินแบบประจำในเส้นทางการบินระหว่างประเทศอีก 15 เส้นทาง เช่น ประเทศเมียนมาร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศอินเดีย ประเทศบังคลาเทศ และประเทศมัลดีฟส์ บริษัทฯ กำหนดระยะเวลา การบินไม่เกิน 5 ชั่วโมงจากแต่ละศูนย์ปฏิบัติการการบิน ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถเข้าถึงผู้โดยสารที่เดินทาง ไป หรือเดินทางจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ทั้งนี้ บริษัทฯ ขยายการให้บริการให้ ครอบคลุมไปยังกลุ่มลูกค้าในทวีปยุโรป เอเซียใต้ ตะวันออกกลาง และประเทศญี่ปุ่น โดยการประสานความ ร่วมมือกับสายการบินอื่นๆ เช่น สายการบินเอทิฮัดแอร์เวย์ส สายการบินเจแปนแอร์ไลน์ สายการบิน มาเลเซียแอร์ไลน์ สายการบินบริติชแอร์เวย์ สายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิค สายการบินแควนตัสแอร์เวย์และ สายการบินซิลค์แอร์ เป็นต้น โดยการทำความตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) และความ ตกลงร่ ว มอื่ น ๆ บริ ษั ท ฯ ดำเนิ น งานธุ ร กิ จ สายการบิ น ที่ ศู น ย์ ป ฏิ บั ติ ก ารการบิ น สามแห่ ง คื อ สนามบิ น สุวรรณภูมิที่กรุงเทพฯ สนามบินสมุยที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสนามบินเชียงใหม่ที่จังหวัดเชียงใหม่ บริ ษั ท ฯ เป็ น เจ้ า ของและดำเนิ น การกิ จ การสนามบิ น 3 สนามบิ น ได้ แ ก่ สนามบิ น สมุ ย สนามบินสุโขทัย และสนามบินตราด เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 บริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่าระยะยาว กับกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย (“กองทุนรวม”) เพื่อให้เช่าสนามบินสมุยรวมทั้ง สิ่งอำนวยความสะดวกเป็นเวลา 30 ปี (สิ้นสุดปี 2579) เป็นจำนวนเงิน 9,300 ล้านบาท ในวันเดียวกัน บริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่าช่วงสนามบินสมุยจากกองทุนรวมเป็นระยะเวลา 3 ปี พร้อมคำมั่นที่จะเช่าช่วงทรัพย์ สินที่เช่าต่อไม่เกิน 9 ครั้ง ครั้งละ 3 ปี พร้อมกันนี ้ บริษัทฯ ได้ทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งเพื่อรับบริการระบบ สิ่งอำนวยความสะดวกที่สนามบินสมุยจากกองทุนรวมเป็นระยะเวลา 30 ปี โดยสัญญาเช่าระยะยาวกับ กองทุนรวมกำหนดค่าตอบแทนแบบคงที่เดือนละ 47.5 ล้านบาท และให้เพิ่มเติมตามการผันแปรตามจำนวน ผู้โดยสารขาออกที่เดินทางออกจากสนามบินสมุย และเที่ยวบินขาเข้าสนามบินสมุย ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ ถือหน่วยลงทุนร้อยละ 29.9 ในกองทุนรวม นอกเหนือจากธุรกิจสายการบินและธุรกิจสนามบินแล้ว บริษัทฯ ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ธุรกิจสนามบิน ได้แก่ การให้บริการกิจการภาคพื้นดิน การให้บริการอาหารบนเที่ยวบิน และการให้บริการ คลังสินค้าระหว่างประเทศ ให้กับสายการบินตนเองและสายการบินอื่นๆ โดยผ่านบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ของบริษัทฯ ดังนี้

145


บริษัท บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพ เวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด (BFS Ground)

รายละเอียด • บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 90.0 • ประกอบธุรกิจให้บริการภาคพื้นดินและให้บริการในลานจอดและอุปกรณ์ ภาคพื้นในสนามบินสุวรรณภูมิ • BFS Ground มีบริษัทย่อย คือ บริษัท บีเอฟเอสคาร์โก้ ดีเอ็มเค จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าที่สนามบินดอนเมือง โดย BFS Ground ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 51.0

บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (BAC)

• บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 90.0 • ประกอบธุรกิจให้บริการครัวการบิน ในสนามบินสุวรรณภูมิ • BAC มีบริษัทย่อย ดังนี้

- - -

บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด ประกอบธุรกิจร้านอาหาร โดย BAC ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.9 บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งภูเก็ต จำกัด ประกอบธุรกิจด้านครัวการบิน ที่สนามบินภูเก็ต โดย BAC ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.9 บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งสมุย จำกัด ประกอบธุรกิจด้านครัวการบิน ที่สนามบินสมุย โดย BAC ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.9

บริษัท การบินกรุงเทพบริการภาคพื้น จำกัด (PGGS)

• บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.9

บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด (BFS Cargo)

• บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 49.0

• ประกอบธุรกิจให้บริการภาคพื้น และบริการในลานจอดและอุปกรณ์ภาค พื้นที่สนามบินสมุย •

ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าระหว่างประเทศ ในสนามบินสุวรรณภูม ิ และเนื่องจากเป็นบริษัทร่วมรายได้จาก BFS Cargo จะไม่ได้แสดงในรายได้ จากการขายและบริ ก าร แต่ จ ะแสดงในส่ ว นแบ่ ง กำไรจากเงิ น ลงทุ น ใน บริษัทร่วม

• BFS Cargo มี บ ริ ษั ท ร่ ว ม คื อ บริ ษั ท บี เ อฟเอสคาร์ โ ก้ ดี เ อ็ ม เค จำกั ด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าที่สนามบินดอนเมือง ซึ่ง BFS Cargo ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 49.0

บริษัทฯ ได้ขยายฝูงบินจากจำนวน 27 ลำ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เป็นจำนวน 31 ลำ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 โดยในระหว่างปีบริษัทฯ ได้รับมอบเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-600 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 319 จำนวน 1 ลำ

146


3. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทฯ คาดว่าปัจจัย ดังกล่าวจะยังคงส่งผลกระทบต่อไปในอนาคต มีดังนี้

3.1 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจการบิน • สภาพแวดล้อมในการดำเนินงานด้านการบินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย รายได้ค่าโดยสารของบริษัทฯ โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับภาวะการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ และในลำดับ รองลงมาได้แก่ การเดินทางเพื่อธุรกิจมายังประเทศไทย ในขณะเดียวกันก็ได้รับผลกระทบจากความผันผวน ของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศระหว่างเงินบาทกับสกุลเงินหลักอื่นๆ ภาวะเศรษฐกิจของโลกและ ของไทย ปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทย ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงตาม ฤดูกาล และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ในรูปแบบการขนส่ง ตลอดจนสิทธิทางการบินที่ได้รับและกำหนดเวลา การใช้สนามบิน นอกจากนี ้ รายได้ค่าโดยสารยังขึ้นอยู่กับการดำเนินการและความสามารถในการแข่งขัน ของบริษัทฯ กับสายการบินระหว่างประเทศและสายการบินภายในประเทศ ตลอดจนสายการบินราคา ประหยัด เหตุการณ์ที่สำคัญที่อยู่เหนือการควบคุมของบริษัทฯ เช่น การก่อการร้ายและการระบาดของ โรคระบาด ได้ส่งผลกระทบในทางลบต่ออุตสาหกรรมการบิน เศรษฐกิจไทย และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาค ซึ่งทำให้อุปสงค์สำหรับเที่ยวบินและบริการที่เกี่ยวเนื่องลดลง ราคาค่าโดยสารลดลง ในขณะที ่ เบี้ยประกันภัยสูงขึ้น และค่าใช้จ่ายด้านการรักษาความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่ไม่ปกติเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตและอาจส่งผลกระทบในระยะสั้นหรือระยะยาวต่ออุตสาหกรรมการบิน ตลอดจน ธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทางธุรกิจของบริษัทฯ แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจประกอบกับสภาวะวิกฤตหนี้ของประเทศ ในสหภาพยุโรปที่ใช้สกุลเงินยูโรรวมถึงวิกฤตทางการเมือง ปัญหาทางด้านสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อมและ เหตุการณ์จลาจลข้างต้นทั้งหมด ปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ของบริษัทฯ ยังมีการเติบโตอย่าง ต่อเนื่องจากจำนวน 3,691.4 ล้านคน กม. ในปี 2557 เป็นจำนวน 3,911.5 ล้านคน กม. ในปี 2558

• ปริมาณที่นั่งและเครือข่ายเส้นทางการบิน (Ca a ty and oute ) ปริมาณที่นั่งและเครือข่ายเส้นทางการบินของบริษัทฯ เป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดปริมาณการผลิต ด้านผู้โดยสาร (Available Seat-Kilometer: ASK) โดยในปี 2557 มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) 5,655.0 ล้านคน กม. เพิ่มขึ้นเป็น 5,853.6 ล้านคน กม. ในปี 2558

147


• องค์ประกอบของฝูงบิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ มีเครื่องบินจำนวนทั้งสิ้น 31 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบินแบบ เอทีอาร์ 72-500 จำนวน 8 ลำ เครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-600 จำนวน 4 ลำ เครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 319 จำนวน 11 ลำ และเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 320 จำนวน 8 ลำ อายุโดยเฉลี่ยของเครื่องบินของบริษัทฯ ประมาณ 9.0 ปี และปัจจุบันฝูงบินสามารถรองรับจำนวนที่นั่งผู้โดยสารได้ 3,600 ที่นั่ง เครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-500 เครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-600 เครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 319 และเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 320 ของบริษัทฯ ช่วยให้บริษัทฯ สามารถกำหนดเครื่องบินกับเส้นทางการบิน ที่เหมาะสมได้ ในปัจจุบันประกอบด้วยเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-500 และ เครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-600 มีความสามารถในการเข้าถึงสนามบินบางแห่งซึ่งเครื่องบินที่มีขนาดใหญ่กว่าไม่สามารถเข้าถึงได้ และ สามารถนำไปให้บริการในเส้นทางการบินที่มีผู้โดยสารใช้บริการน้อย นอกจากนี้ยังสามารถช่วยให้บริษัทฯ ทำการปรับเปลี่ยนเพื่อบริหารจัดการจำนวนเที่ยวบินในเส้นทางการบินที่มีความต้องการต่ำหรือในช่วงที่ม ี ผู้โดยสารเดินทางน้อย (Off-Season) หรือที่คาดหมายว่าจะมีผู้โดยสารเดินทางน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่ ว นเครื่ อ งบิ น แบบแอร์ บั ส เอ 319 นั้ น ทำให้ บ ริ ษั ท ฯ ขยายขี ด ความสามารถในการขนส่ ง ผู้ โ ดยสาร ในเส้นทางการบินไปยังสนามบินสมุย ในขณะที่เครื่องบินแบบแอร์บัส เอ 320 ทำให้บริษัทฯ สามารถขยาย เส้นทางการบินระหว่างประเทศไปยังเมืองต่างๆ ในต่างประเทศ เช่น มุมไบ และธากา เป็นต้น

• กลยุทธ์ด้านเครือข่ายเส้นทางการบิน บริษัทฯ ทำการประเมินเครือข่ายเส้นทางการบินด้วยการใช้เครื่องมือที่หลากหลายรวมถึงระบบ การจัดการรายได้ของบริษัทฯ ในการเพิ่มรายได้ รายได้ต่อหน่วย อัตราการใช้ประโยชน์ของฝูงบิน และ ปริมาณที่นั่งให้สูงที่สุด ทั้งนี้ ในการกำหนดเครือข่ายเส้นทางการบินจะพิจารณาจากอุปสงค์และอุปทาน เป็นหลัก ในขณะที่การขนส่งผู้โดยสารจะแตกต่างกันไปตามแต่ละเส้นทางการบิน และตามช่วงระยะเวลา ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการทบทวนและปรับเครือข่ายเส้นทางการบินภายหลังจากที่บริษัทฯ ได้ประเมินอัตราส่วน ของปริมาณทีน่ งั่ รวมทัง้ หมดทีไ่ ด้จดั สรรให้กบั เส้นทางการบิน การแข่งขันในเส้นทางการบินเฉพาะบางเส้นทาง จำนวนผูโ้ ดยสารซึง่ เข้ามาใช้บริการ และราคาบัตรโดยสารโดยเฉลีย่ รายได้ทเี่ พิม่ ขึน้ จากการให้บริการเทีย่ วบิน ที่เชื่อมต่อ ตลอดจนต้นทุนปัจจุบันและต้นทุนที่อาจเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต หากไม่สามารถทำกำไรจากเส้นทาง การบินใหม่ได้หลังจากที่ให้บริการไปแล้ว ประมาณ 18-24 เดือนบริษัทฯ อาจพิจารณาลดความถี่ใน เส้นทางการบินดังกล่าว และจะทำการทบทวนอย่างต่อเนื่องทุกไตรมาส หรือยกเลิกเส้นทางการบิน เช่น การยกเลิกเส้นทางการบิน เชียงใหม่-อุดรธานี และกรุงเทพ-อุดรธานี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทฯ อาจพิจารณาเป็นรายกรณีให้รักษาเส้นทางการบินที่อาจไม่ได้ทำกำไรเอาไว้เพื่อที่จะเชื่อมต่อเส้นทางกับ เส้นทางการบินในเครือข่ายเดิมเพื่อจะทำกำไรในเส้นทางการบินโดยรวมได้ บริษัทฯ ได้มุ่งการเป็น จุด เชื่อ มต่ อ และความต่ อ เนื่ อ งระหว่ า งเส้ น ทางการบิ น ในประเทศและ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางเส้นทางกับเส้นทางการบินอื่นๆ โดยการเป็นพันธมิตรในการทำการ บินร่วม (CodeShare Agreement) และการดำเนินการให้ความร่วมมือต่างๆ ในการดำเนินกลยุทธ์เครือ ข่ายเส้นทางการบินของบริษัทฯ ซึ่งช่วยให้อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารเพิ่มสูงขึ้นจากผู้โดยสารที่เชื่อมต่อ กับสายการบินของบริษัทฯ จากพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลกทั้งนี้บริษัทฯ ได้เพิ่มการเป็นพันธมิตรในการทำการบิน ร่วม (Code Share Agreement) เป็นจำนวน 20 ราย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 148


• สิทธิทางการบินและการจัดสรรเวลาการขึ้นลงของเครื่องบินในสนามบิน สิทธิทางการบินและการจัดสรรเวลาการขึ้นลงของเครื่องบินล้วนมีผลต่อปริมาณการผลิตด้าน ผู้โดยสาร (ASK) และเครือข่ายเส้นทางการบินของบริษัทฯ การกำหนด จำนวนที่นั่งรวมทั้งหมดที่สายการบิน แต่ละแห่งจะได้รับอนุญาตให้บินไปยังจุดหมายปลายทาง และการจัดสรรเวลาการขึ้นลงของเครื่องบิน ในสนามบินจะส่งผลกระทบต่อความสามารถของบริษัทฯ ในการปรับเปลี่ยนเครือข่ายเส้นทางการบิน อาจส่งผลให้บริษัทฯ ไม่สามารถเพิ่มจำนวนเที่ยวบินไปยังสถานีปลายทางที่สามารถสร้างกำไรมากกว่า หรือมีอุปสงค์ในการใช้บริการทางการบินสูงกว่าได้

• ค่าโดยสาร อัตราค่าโดยสารโดยเฉลี่ยคำนวณโดยนำผลรวมของรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารแบบประจำ หารด้วยจำนวนผู้โดยสารทั้งหมด โดยอัตราค่าโดยสารโดยเฉลี่ยของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ซึ่งเท่า กับ 3,771.3 บาท เป็น 3,790.1 บาทในปี 2558 เนื่องจากการเพิ่มความถี่ทั้งในส่วนของเส้นทางที่มีผู้ โดยสารเดินทางเป็นจำนวนมากและเส้นทางที่มีคู่แข่งขันน้อยราย

• กลยุทธ์ในการกำหนดราคาและบริหารจัดการรายได้ ธุรกิจการบินเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันด้านราคาสูงมาก โดยทั่วไป บริษัทฯ และคู่แข่งจะลดราคาค่า โดยสารในช่วงนอกฤดูท่องเที่ยวเพื่อกระตุ้นความต้องการในการเดินทาง การลดราคาค่าโดยสารของบริษัทฯ มักส่งผลให้สายการบินคู่แข่งต้องลดราคาตามด้วย เมื่อบริษัทฯ มีการลดราคาค่าโดยสาร รายได้จากการ ขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วย ก็จะลดลง และส่งผลกระทบลบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ได้ใช้การกำหนดราคาที่มีความยืดหยุ่น การเน้นการเพิ่มรายได้ต่อหน่วยและอัตราส่วนการขนส่งให้ สูงขึ้น บริษัทฯ บริหารจัดการกำไรจากการขนส่งผู้โดยสารโดยใช้ระบบการบริหารจัดการรายได้ (AirVision Revenue Manager) และใช้นโยบายการตลาดและการขายของบริษัทฯ ทั้งนี้ ระบบการบริหารจัดการราย ได้ของบริษัทฯ ได้ใช้แบบจำลองในการคาดคะเนและการหาราคาที่เหมาะสม เพื่อวิเคราะห์ข้อได้เปรียบเสีย เปรียบเชิงเศรษฐศาสตร์ที่ต้องเกิดขึ้นในการกำหนดจำนวนที่นั่งในแต่ละราคา ซึ่งทำให้บริษัทฯ สามารถเพิ่ม รายได้สูงสุดบนขีดความสามารถที่มีอยู่เช่นเดียวกับการพิจารณากำหนดเครือข่ายเส้นทางการบิน นโยบาย การตลาดและการขายของบริษัทฯ ได้นำปัจจัยหลายประการเข้ามาใช้ในการพิจารณาด้วย ซึ่งรวมถึงอุปทาน และอุปสงค์ สภาพตลาดและการกำหนดราคาของคู่แข่ง รวมทั้งการจัดสรรปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ไปยังพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หรือภูมิภาคนั้น และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หรือภูมิภาค นั้นโดยปกติ เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน บริษัทฯ จะปรับราคาค่าโดยสารเป็นระยะๆ ซึ่งอาจรวม ถึงการให้ส่วนลดราคาค่าโดยสารในบางเส้นทางก่อนที่จะมีการเดินทางเพื่อเพิ่มอัตราส่วนการขนส่งในเส้น ทางนั้นๆ และบริษัทฯ ได้ดำเนินมาตรการเพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงที่สุดด้วยการเพิ่มราคาค่าโดยสารในเที่ยวบินที่ มีตัวเลขการจองและความต้องการมาก และในบางเส้นทางที่ในอดีตมีข้อมูลแสดงว่ามีอัตราส่วนการขนส่งที่ สม่ำเสมอหรือสูง

149


• การแข่งขัน บริษัทฯ ต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงทั้งจากสายการบินที่ให้บริการแบบเต็มรูปแบบและจากสาย การบินราคาประหยัดอื่นๆ นอกจากนี้ คู่แข่งอาจลดราคาค่าโดยสารในอนาคต หรือเพิ่มปริมาณที่นั่ง ในเส้น ทางการบินเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของตนเองซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้ราคาค่าโดยสาร อัตราส่วน การขนส่งผู้โดยสารและส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทฯ ลดลง และอาจส่งผลให้บริษัทฯ ต้องปรับโครงสร้าง ต้นทุนและราคาค่าโดยสาร ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการบินมีความอ่อนไหวต่อการลดราคาค่าโดยสารมากเป็น พิเศษ เนื่องจากสายการบินจะแบกรับเพียงแค่ต้นทุนผันแปรที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากการให้บริการแก่ผู้ โดยสารเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้นกับสภาพการแข่งขันในตลาดสายการบินภายในประเทศและ ในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงผลที่เกิดขึ้นจากนโยบาย “การเปิดน่านฟ้าเสรี” ของอาเซียน (ASEAN Open Skies Policy) อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อธุรกิจ ฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และโอกาสทาง ธุรกิจของบริษัทฯ

• ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นค่าใช้จ่ายที่มีสัดส่วนสูงที่สุดของต้นทุนขายและบริการ ซึ่งรวมถึง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินและผลกำไรหรือขาดทุนตามสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากราคาน้ำมัน เชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงคิดเป็นร้อยละ 29.6 และร้อยละ 24.2 ของต้นทุนขายและบริการ ของบริษัทฯ ในปี 2557 และปี 2558 ตามลำดับต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัทฯ จะแปรผันอย่าง เป็ น นัยสำคัญ ตามการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ ำ มั น โลกซึ่ ง มี ค วามผั น ผวนทั้ ง ในอดี ต ที่ ผ่ า นมาและยั ง คง เป็นไปในอนาคต ตามการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน โดยราคาซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉลี่ยของ บริษัทฯ ในปี 2557 เท่ากับ 122.9 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และเท่ากับ 89.7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในปี 2558 บริษัทฯ จัดซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนใหญ่สำหรับเที่ยวบินต่างๆ ตามสัญญาที่ทำไว้กับ ปตท. และ เชลล์ (ประเทศไทย) โดยมีกำหนดระยะเวลา 2-3 ปี ทั้งนี้ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามสัญญาซื้อน้ำมันสำหรับ เครื่องบินในประเทศของบริษัทฯ ระบุเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ แต่กำหนดให้ชำระเป็นสกุลเงินบาทสำหรับ เครื่องบินในต่างประเทศของบริษัทฯ ระบุเป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ และโดยทั่วไปต้องชำระเป็นสกุลเงิน เหรียญสหรัฐฯ โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตามสัญญาซื้อขายน้ำมันสำหรับเครื่องบินของบริษัทฯ โดยทั่วไปจะ กำหนดตามราคาเฉลี่ยของราคาน้ำมันที่ซื้อขายที่ตลาดประเทศสิงคโปร์ ซึ่งรายงานโดย MOPS บริษทั ฯ ได้เข้าทำธุรกรรมป้องกันความเสีย่ งจากราคาน้ำมันเชือ้ เพลิงในรูปแบบต่างๆ เป็นครัง้ คราว เพื่อให้ต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัทฯ อยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ ซึ่งรวมถึงการทำธุรกรรม เพื่อบริหารจัดการต้นทุนเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ บริษัทฯ ป้องกันความเสี่ยงจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ในหลายรูปแบบ ซึ่งรวมถึงสัญญาสวอปราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Price Swap Agreement) สัญญา คอลลาร์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Price Collar Agreements) และสัญญาออปชั่นราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel Price Option Agreements) ซึ่งบริษัทฯ จะทำการทบทวนทุกรายไตรมาส อย่างไรก็ดี การป้องกัน ความเสี่ยงจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่บริษัทฯ ทำไว้ แม้ว่าราคาตลาดของน้ำมันจะปรับตัวลดลงในอนาคต 150


บริษัทฯ อาจไม่สามารถลดต้นทุนน้ำมันได้ในเวลาอันรวดเร็ว และด้วยลักษณะของการป้องกันความเสี่ยงจาก ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าว บริษัทฯ อาจต้องรับภาระส่วนต่างของราคาน้ำมัน หากราคาน้ำมันต่ำกว่าราคา ขั้นต่ำจากการทำประกันความเสี่ยง และในทางกลับกันบริษัทฯ อาจจะได้รับชดเชยส่วนต่างหากราคาน้ำมัน สูงกว่าราคาขั้นสูงจากการทำประกันความเสี่ยงซึ่งบริษัทฯ จะบันทึกส่วนต่างดังกล่าวในส่วนต้นทุนขายและ บริการของงบการเงินรวมของบริษัทฯ

• ค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการสายการบิน (A rl ne enses) ค่ า ใช้ จ่ า ยส่ ว นใหญ่ ข องบริ ษั ท ฯ เป็ น ค่ า ใช้ จ่ า ยประจำในทุ ก หน่ ว ยการผลิ ต ซึ่ ง จะไม่ แ ปรผั น ตามจำนวนเที่ยวบินที่ทำการบินค่าใช้จ่ายดังกล่าวรวมถึงค่าบำรุงรักษาและปรับปรุงเครื่องบิน ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย ค่าใช้จ่ายในการเช่าเครื่องบินและอะไหล่ ต้นทุนทางการเงิน ค่าเช่าตามสัญญาเช่า ดำเนินงาน (Operating Lease) และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ดังนั้น อัตราการใช้เครื่องบินต่อลำที่สูงขึ้น จะส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยลดลงและได้รับผลตอบแทนต่อผู้โดยสารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ บางรายการซึ่งรวมถึงค่าน้ำมันสำหรับเครื่องบินและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานสำหรับนักบิน และลูกเรือ ผันแปรตามจำนวนเที่ยวบินที่ทำการบินแต่ไม่ได้ผันแปรตามอัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร ดังนั้น การ เปลี่ ย นแปลงของอั ต ราส่ ว นการขนส่ ง ผู้ โ ดยสารเพี ย งเล็ ก น้ อ ยอาจมี ผ ลกระทบอย่ า งมี นั ย สำคั ญ ต่ อ ผล การดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้บริหารจัดการต้นทุนโดยการเพิ่มอัตราการใช้เครื่องบินต่อลำ ให้เหมาะสมแต่ยังคงรัก ษาระดั บอั ต ราส่ วนการขนส่ งผู้ โ ดยสารให้เ พีย งพอ และสอดคล้อ งกับข้อจำกัด ด้านการดำเนินงานและกฏระเบียบที่ใช้บังคับเมื่ออัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารลดลง บริษัทฯ มีมาตรการในการบริหารต้นทุนโดยเน้นไปที่การบริหารจัดการเส้นทางการบิน การบริหาร จั ด การและการป้ อ งกั น ความเสี่ ย งจากราคาน้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง การควบคุ ม จำนวนบุ ค ลากร เงิ น เดื อ น ผลประโยชน์ และเงินค่าล่วงเวลาของพนักงาน ตลอดจนการควบคุมรายจ่ายของลูกเรือ

• ค่าใช้จ่ายในการเช่าเครื่องบิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เครื่องบินจำนวน 21 ลำจากทั้งหมด 31 ลำของเครื่องบินของบริษัทฯ อยู่ภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงาน (Operating Lease) 5 ลำ เป็นสัญญาเช่าทางการเงิน (Finance Lease) และบริษัทฯ เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เครื่องบิน 5 ลำทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการเช่าเครื่องบิน รวมถึงค่าเช่าเครื่องบิน ที่ชำระให้บริษัทผู้ให้เช่าเครื่องบินและบริษัทผู้ค้าเครื่องบินตามสัญญาเช่าดำเนินงาน ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี ้ ส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ โดยภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงาน บริษัทฯ มีสิทธิใช้เครื่องบินและมีหน้าที่ ชำระเงินค่าเช่าตามข้อตกลงการเช่าที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการคืนเครื่องบินในสภาพที่ตกลงไว้ เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเช่า อย่างไรก็ดี แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในเครื่องบินยังเป็นของผู้ให้เช่า บริษัทฯ มีหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่ใช้บังคับ และมีหน้าที่ในการดูแลรักษาซ่อมบำรุงเครื่องบิน การให้บริการ การประกันภัย การชำระภาษี ตลอดระยะเวลาที่สัญญาเช่ายังมีผลใช้บังคับ บริษัทฯ จะบันทึก ค่าเช่าที่ชำระตามสัญญาเช่าดำเนินงานเป็นค่าใช้จ่ายตามสัญญาเช่าดำเนินงานในงบกำไรขาดทุนของบริษัทฯ โดยจะไม่บันทึกภาระหนี้สินที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินที่อยู่ภายใต้สัญญาเช่าดำเนินงานในงบดุลของบริษัทฯ แต่ปรากฏในหมายเหตุประกอบงบการเงินของบริษัทฯ 151


• ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องบิน อายุโดยเฉลี่ยของเครื่องบินของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เท่ากับ 9.0 ปี โดยทั่วไปแล้ว ต้นทุนในการบำรุงรักษาเครื่องบินที่มีอายุการใช้งานมานานจะสูงกว่าต้นทุนในการบำรุงรักษาเครื่องบิน ที่ใหม่กว่า ดังนั้น เมื่อฝูงบินของบริษัทฯ มีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะต้องการการบำรุงรักษามากขึ้นและทำให้ ค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาของบริษัทฯ ปรับสูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน การบำรุงรักษาดังกล่าวอาจกระทบ ต่อต้นทุนการดำเนินงานบนฐานปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร และอัตราการใช้เครื่องบินต่อลำของบริษัทฯ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯในที่สุด นอกจากนี้ เมื่อฝูงบินของบริษัทฯ มีอายุมากขึ้น เรื่อยๆ บริษัทฯ จะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการรับประกันเครื่องบินดังกล่าวจากผู้ผลิตซึ่งปกติมีอายุ ประมาณ 2-3 ปี และเมื่อฝูงบินของบริษัทฯ มีอายุมากขึ้น ภาพลักษณ์ของฝูงบินของบริษัทฯ ในมุมมองของ ผู้โดยสาร และความไม่เชื่อมั่นของผู้โดยสารต่อความปลอดภัยและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาจมีผลกระทบต่อ ความต้องการในการใช้บริการของผู้โดยสาร และย่อมจะส่งผลกระทบถึงผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน

• การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ มีความผันผวนตามฤดูกาล โดยบริษัทฯ ประสบกับความผันผวน ของความต้องการของผู้โดยสารในแต่ละช่วงเวลาต่างๆ ของวันและของสัปดาห์ตลอดจนความผันผวนของ ความต้องการของผู้โดยสารในแต่ละฤดูกาล บริษัทฯ คาดว่าผลการดำเนินงานของบริษัทฯ จะยังคงผันผวน ต่อไปในอนาคต อันเป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านฤดูกาลหลายๆ ประการ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงใน ความต้องการของผู้โดยสาร ตารางการบินและต้นทุนขายและบริการ โดยปกติปริมาณการขนส่งและ อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารของบริษัทฯ จะสูงสุดในไตรมาสแรกซึ่งเป็นช่วงที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด และสูงรองลงมาในไตรมาสที่สี่ ไตรมาสที่สาม และไตรมาสที่สองของปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาที่อุปสงค์ของผู้โดยสารอยู่ในระดับสูงนั้น บริษัทฯ จะประเมินอุปสงค์และอุปทาน ตลอดจนปัจจัยทางด้านตลาดเพื่อเพิ่มปริมาณการขนส่งในเที่ยวบิน รวมทั้งบริษัทฯ ยังได้ดำเนินการจัดสรร หรือปรับลดปริมาณการขนส่งในเที่ยวบินสำหรับช่วงที่ความต้องการของผู้โดยสารอยู่ในระดับต่ำและดำเนิน การซ่อมบำรุงเครื่องบินมากขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ดังนั้น บริษัทฯ จึงวางแผนในการซ่อมบำรุงรักษา เครื่องบินในไตรมาสที่สองเป็นหลัก

• ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทั้ ง นี้ ราคาบั ต รโดยสารที่ เ ป็ น สกุ ล เงิ น ต่ า งประเทศจะแปรผั น ตามอั ต ราแลกเปลี่ ย นสกุ ล เงิ น ต่างประเทศเมื่อเทียบกับสกุลเงินบาท ในขณะเดียวกันต้นทุนขายและบริการที่อยู่ในรูปสกุลเงินต่างประเทศ อาจเพิ่ ม ขึ้ น เมื่ อ แปลงค่ า เป็ น สกุ ล เงิ น บาท บริ ษั ท ฯ จึ ง มี น โยบายการบริ ห ารจั ด การความเสี่ ย งในการ แลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศโดยใช้นโยบายบริหารอัตราแลกเปลี่ยนแบบสมดุล (MatchingApproach) ระหว่างจำนวนเงินที่ได้รับกับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละสกุลเงิน บริษัทฯ สามารถกำหนดสกุลเงิน ที่ บ ริ ษั ท ฯ จะได้ รั บ จากการขายบั ต รโดยสารที่ ผ่ า นผู้ แ ทนที่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตจาก IATA ในส่ ว นของเงิ น ต่ า งประเทศที่ ไ ม่ ส ามารถจั ด หาได้ และสำหรั บ รายได้ ใ นส่ ว นที่ เ หลื อ บริ ษั ท ฯ จะดำเนิ น การแปลงเงิ น 152


ต่างประเทศจากสกุลหนึ่งเป็ น สกุ ล เงิ น ที่ ต้ อ งการ ในอั ต รา ณ เวลาทำการแลกเปลี่ ย นนั้ น ทั้ ง นี้ บ ริษัท ฯ ไม่ได้เข้าทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงใดๆ เพื่อที่จะป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน เงินต่างประเทศ และบริษัทฯ จะบันทึกกำไรหรือขาดทุนจากการแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศสุทธิ เป็นรายได้ อื่นหรือค่าใช้จ่ายอื่นแล้วแต่กรณี

• ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย ภาระหนี้คงค้างของบริษัทฯ มีทั้งอัตราดอกเบี้ยคงที่และอัตราดอกเบี้ยลอยตัว โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ มีภาระหนี้คงค้างที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคิดเป็นร้อยละ 2.4 ของจำนวน หนี้สินคงค้างของบริษัทฯ (รวมถึงสัญญาเช่าทางการเงินด้วย) ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่มีการทำสัญญาการป้องกัน ความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย

3.2 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจสนามบิน

บริษัท ฯ มีร ายได้จ ากสนามบิ น โดยการคิ ด ค่ า บริ ก ารผู้ โ ดยสารขาออก 200-700 บาทต่ อ คน ซึ่งได้รับจากผู้โดยสารระหว่างประเทศ และในประเทศที่เดินทางออกจากสนามบินสมุย สนามบินสุโขทัย และสนามบินตราด ตามลำดับ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของรายได้ของบริษัทฯ จากค่าบริการผู้โดยสารจะขึ้น อยู่กับจำนวนผู้โดยสารขาออกจากสนามบินและอัตราค่าบริการที่เรียกเก็บ นอกจากนี้บริษัทฯ มีรายได้จาก ค่าบริการลงจอดอากาศยาน และค่าบริการที่จอดอากาศยาน ที่ได้รับจากสายการบินอื่นๆ ที่นำเครื่องบินลง จอดในสนามบินของบริษัทฯ ซึ่งจำนวนเที่ยวบินที่ลงจอดในสนามบินจะมีความสัมพันธ์ต่อรายได้ดังกล่าว ในเดือนพฤศจิกายน 2557 กรมการบินพลเรือนได้อนุญาตให้บริษัทฯ เพิ่มจำนวนเที่ยวบินขาเข้า และขาออกจากสนามบินสมุย เป็นไม่เกิน 50 เที่ยวบินต่อวัน ซึ่งบริษัทฯ ได้ดำเนินการเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน ในเส้นทางที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

3.3 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน • BFS Cargo บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด (“BFS Cargo”) เป็นบริษัทร่วมที่บริษัทฯ ถือหุ้นใน สัดส่วนร้อยละ 49.0 ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าระหว่างประเทศที่สนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่ง BFS Cargo มีบริษัทร่วมที่ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 49.0 คือ บริษัท บีเอฟเอสคาร์โก้ ดีเอ็มเค จำกัด ประกอบ ธุรกิจให้บริการคลังสินค้าที่สนามบินดอนเมือง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของ BFS Cargo ประกอบด้วยระวางน้ำหนัก (Tonnage) ราคาค่าบริการ ซึ่งทั้งระวางน้ำหนักและค่าบริการจะรับผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจของโลกอุปสงค์ และอุปทานรวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านแรงงานทั้งนี้ BFS Cargo มีปริมาณระวางน้ำหนัก (Tonnage) ที่ให้บริการ เท่ากับ 371,530 ตัน ในปี 2557 และ 375,301 ตันในปี 2558 153


• BAC บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (“BAC”) เป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 90.0 ประกอบธุรกิจให้บริการครัวการบินที่สนามบินสุวรรณภูม ิ ซึ่ง BAC มีบริษัทย่อยที่ถือหุ้นในสัดส่วน ร้อยละ 99.9 จำนวน 3 บริษัทฯ คือ 1) บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด ประกอบธุรกิจร้านอาหาร 2) บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งภูเก็ต จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการครัวการบินที่สนามบินภูเก็ต และ 3) บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งสมุย จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการครัวการบินที่สนามบินสมุย ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ผลการดำเนิ น งานของ BAC ประกอบด้ ว ยจำนวนอาหารที่ ผ ลิ ต และ ที่ส่งขึ้นเครื่อง ราคาอาหารต่อหน่วย และราคาของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ทั้งนี้ BAC ได้ทำการ เพิ่ ม จำนวนอาหารที่ ผ ลิ ต และที่ ส่ ง ขึ้ น เครื่ อ งอย่ า งต่ อ เนื่ อ งจาก 24,528 รายการต่ อ วั น ในปี 2557 เป็น 27,055 รายการต่อวันในปี 2558 กลยุทธ์ในด้านราคาของ BAC ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองกับลูกค้า เป็นรายกรณีและขึ้นอยู่กับราคาอาหารของคู่แข่งรายหลักๆ • BFS round บริ ษั ท บริ ก ารภาคพื้ น การบิ น กรุ ง เทพเวิ ล ด์ ไวด์ ไ ฟลท์ เซอร์ วิ ส จำกั ด (“BFS Ground”) เป็นบริษัทย่อยที่บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 90.0 โดยประกอบธุรกิจให้บริการภาคพื้นและให้บริการ ในลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นในสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่ง BFS Ground มีบริษัทย่อยที่ถือหุ้นในสัดส่วน ร้อยละ 51.0 คือ บริษัท บีเอฟเอสคาร์โก้ ดีเอ็มเค จำกัด ประกอบธุรกิจให้บริการคลังสินค้าที่สนามบิน ดอนเมือง ปั จ จั ย ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ผลการดำเนิ น งานของ BFS Ground ประกอบด้ ว ยราคาค่ า บริ ก าร จำนวนเที่ ย วบิ น ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารและค่ า ใช้ จ่ า ยด้ า นแรงงาน ทั้ ง นี้ BFS Ground ได้ ข ยายจำนวนเที่ ย วบิ น ที่ให้บริการจาก 54,871 เที่ยวบินในปี 2557 เป็น 58,074 เที่ยวบินในปี 2558 กลยุทธ์ในเรื่องราคาของ BFS Ground ขึ้นอยู่กับอัตราค่าบริการของคู่แข่งรายอื่นและจำนวนเที่ยวบินที่ BFS Ground ให้บริการนั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณเที่ยวบิน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

154


4. งบการเงินรวมสำหรับปี 2558

ประกอบด้วยงบการเงินเฉพาะกิจการและงบการเงินของบริษัทย่อยรวม 9 บริษัท

หน่วย : ล้านบาท

มกราคม ธันวาคม 2558

2557

เปลี่ยนแปลง จำนวน

กำไรสำหรับปี/งวด

1,849.1

385.7

1,463.4

379.4

บวก: ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร

1,606.4 250.0 1.0

1,638.4 0.5 11.8

(32.0) 249.5 (10.8)

(2.0) 49,900.0 (91.5)

280.4 255.8 322.9 9.2

244.1 73.6 71.7 (1) 7.3

36.3 182.2 251.2 1.9

14.9 247.6 350.4 26.0

2,838.2

1,639.6

1,198.6

73.1

833.4

644.7

188.7

29.3

EBIT A (3)

3,671.6

2,284.4

1,387.2

60.7

บวก: ค่าเช่าเครื่องบิน

1,621.7

1,754.0

(132.3)

(7.5)

EBIT AR (3)

5,293.3

4,038.4

1,254.9

31.1

รายได้รวม รายได้จากการดำเนินงาน (4) กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท

24,902.9 24,034.6 1,796.9

22,123.5 21,726.8 351.1

2,779.4 2,307.8 1,445.8

12.6 10.6 411.8

EBIT Ratio (ร้อยละ)

11.8

7.6

4.2

EBIT A Ratio (ร้อยละ)

15.3

10.5

4.8

EBIT AR Ratio (ร้อยละ)

22.0

18.6

3.4

หัก: รายได้เงินปันผล ดอกเบี้ยรับ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน รายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (2) EBIT (3) บวก: ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย

หมายเหตุ

งบการเงินสำหรับปี 2557 รายการกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนรายงานนำเสนอรวมอยู่ในรายได้อื่น กำไรจากการขายเงินลงทุน กำไรจากการขายเงินลงทุนในบริษัทย่อย และกำไรจากการขายสินทรัพย์ (3) สำหรับการคำนวณ EBIT EBITDA และ EBITDAR ต่อรายได้จากการดำเนินงาน เป็นการคำนวณเพิ่มเติมซึ่งผู้ลงทุนไม่ควรพิจารณาเป็นการแสดง ผลการดำเนินงานหรือสภาพคล่อง หรือใช้ทดแทนกำไรสำหรับปี/งวด หรือกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ซึ่งถูกแสดงในงบการเงินของบริษัทฯ ที่จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชี ทั้งนี้ เนื่องจากมีวิธีการคำนวณ EBIT EBITDA และ EBITDAR หลายวิธี EBIT EBITDA และ EBITDAR ตามที่ ปรากฏในเอกสารฉบับนี้ อาจไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับมาตรวัดที่มีชื่อเรียกอย่างเดียวกันที่ใช้โดยบริษัทอื่น (4) รายได้รวมหักรายได้เงินปันผล กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ยรับ และรายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน (1) (2)

155


กำไรจากการดำเนินงานและกำไรสุทธิ บริษัทฯ มีรายได้จากการดำเนินงานในปี 2557 และปี 2558 เท่ากับ 21,726.8 ล้านบาทและ 24,034.6 ล้ า นบาทตามลำดั บ ซึ่ ง เพิ่ ม ขึ้ น ร้ อ ยละ 10.6 ในขณะที่ ค่ า ใช้ จ่ า ยในการดำเนิ น การเพิ่ ม ขึ้ น จาก 20,530.1 ล้านบาท เป็น 21,692.8 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 5.7 ส่วนใหญ่เกิดจาก การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนและผลประโยชน์พนักงานค่าบริการผู้โดยสาร และค่าซ่อมบำรุงเครื่องบิน บริษัทฯ มีกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ บวกด้วยค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่าย และค่าเช่า เครื่องบิน (EBITDAR) คำนวณจากรายได้รวม (ไม่รวมรายได้เงินปันผล กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ย รั บ และรายได้ ที่ ไ ม่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การดำเนิ น งาน) หั ก ด้ ว ยค่ า ใช้ จ่ า ยรวม บวกกลั บ ด้ ว ยค่ า เสื่ อ มราคา ค่าตัดจำหน่าย และค่าเช่าเครื่องบิน เท่ากับ 4,038.4 ล้านบาท และ 5,293.3 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.6 และร้อยละ 22.0 ของรายได้จากการดำเนินงานตามลำดับ ปี 2558 บริษทั ฯ มีกำไรสุทธิ 1,849.1 ล้านบาท เพิม่ สูงขึน้ จากปี 2557 จำนวน 1,463.4 ล้านบาท หรือร้อยละ 379.4 ทั้งนี้ เป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เท่ากับ 1,796.9 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 97.2 ของกำไรสำหรับงวด

รายได้ รายได้ ร วมของบริ ษั ท ฯ (โดยไม่ ร วมรายได้ ร ะหว่ า งสายธุ ร กิ จ ) สามารถแบ่ ง ตามสายธุ ร กิ จ ออก เป็น 4 ประเภทดังนี้ หน่วย : ล้านบาท

มกราคม ธันวาคม 2558

2557

เปลี่ยนแปลง ล้านบาท

1. ธุรกิจสายการบิน

19,429.6

78.0

17,844.1

80.7

1,585.5

8.9

2. ธุรกิจสนามบิน

535.3

2.2

504.3

2.3

31.0

6.2

3. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน

3,148.3

12.6

2,684.4

12.1

463.9

17.3

4. รายได้ที่ไม่ได้แบ่งตามสายธุรกิจ

1,789.7

7.2

1,090.7

4.9

699.0

64.1

24,902.9

100.0

22,123.5

100.0

2,779.4

12.6

รวมรายได้

156


รายได้จากธุรกิจสายการบิน รายได้ค่าโดยสารประกอบด้วยรายได้จากการให้บริการเที่ยวบินแบบประจำและรายได้จากการให้บริการ เที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำโดยมีรายละเอียดดังนี้ หน่วย : ล้านบาท มกราคม ธันวาคม

รายได้สุทธิจากการขนส่งผู้โดยสารแบบประจำ รายได้จากการให้บริการเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำ รวมรายได้ค่าโดยสาร ค่าระวางขนส่ง รวมรายได้ธุรกิจสายการบิน

เปลี่ยนแปลง

2558

2557

19,087.4

17,492.0

1,595.4

9.1

16.6

20.6

(4.0)

(19.4)

19,104.0

17,512.6

1,591.4

9.1

325.6

331.5

(5.9)

(1.8)

19,429.6

17,844.1

1,585.5

8.9

ล้านบาท

รายได้จากการให้บริการเที่ยวบินทั้งแบบประจำและแบบเช่าเหมาลำของบริษัทฯ ในปี 2558 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับปี 2557 การเติบโตดังกล่าวเป็นผลมาจากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.5 ในขณะที่จำนวนที่น่ังเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มความถี่ของเส้นทางบิน ทีม่ อี ปุ สงค์สงู โดยเฉพาะอย่างยิง่ เส้นทางบินทีร่ บั ผูโ้ ดยสารมาจากสายการบินพันธมิตร และเดือนตุลาคม 2558 บริษัทฯได้เปิดเส้นทางบินใหม่เพิ่มขึ้น 1 เส้นทาง คือ ภูเก็ต - หาดใหญ่ ซึ่งตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการ เส้นทาง ภูเก็ต - หาดใหญ่มีอัตราบรรทุกเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 70

รายได้จากธุรกิจสนามบิน ปี 2557 และปี 2558 รายได้จากธุรกิจสนามบินคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.3 และ 2.2 ของ รายได้รวมของบริษัทฯ ตามลำดับ รายได้จากธุรกิจสนามบินเกิดจากรายได้ค่าบริการผู้โดยสารซึ่งได้รับจาก ผู้โดยสารขาออก ซึ่งมาจากสนามบินสมุยเป็นหลัก โดยในปี 2558 บริษัทฯ มีรายได้จากธุรกิจสนามบิน เป็น 535.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เทียบกับปี 2557 ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนผู้โดยสารขาออก จากสนามบินสมุยเพิ่มขึ้น และบริษัทฯ ปรับอัตราการเรียกเก็บค่าบริการผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศ ณ สนามบิ น สมุ ย เพิ่ ม ขึ้ น จากอั ต ราค่ า บริ ก ารท่ า นละ 600 บาท เป็ น 700 บาท ซึ่ ง มี ผ ลตั้ ง แต่ วั น ที่ 1 มิถุนายน 2558 เป็นต้นไป ปี 2558 จำนวนที่ นั่ ง และจำนวนผู้ โ ดยสารขาออกจากสนามบิ น สมุ ย ที่ ป ฏิ บั ติ ก ารบิ น โดย สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส มีจำนวน 1.3 ล้านที่นั่ง และ 1.1 ล้านคนตามลำดับ เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4.2 และร้อยละ 5.4 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน

157


รายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน ข้อมูลการดำเนินการและข้อมูลทางการเงินของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของบริษัทฯ ในการบริการที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน หน่วย : ล้านบาท มกราคม-ธันวาคม ปี 2558

ปี 2557

1,456.0 431.6 284.5 9.9

1,350.0 372.0 267.0 8.9

2,130.1 304.8 146.1 58,074

1,948.8 246.0 111.5 54,871

1,567.9 672.2 443.6 375,301 450,000 83.4

1,557.7 684.1 453.9 371,530 550,000 67.6

ข้อมูลการบริการครัวการบิน: รายได้ (1) EBITDA กำไรสุทธิ จำนวนที่อาหารที่ผลิตและให้บริการ (ล้านที่) ข้อมูลการบริการภาคพื้นดิน: รายได้ (1) EBITDA กำไรสุทธิ จำนวนเที่ยวบินที่ให้บริการ ข้อมูลการบริการคลังสินค้าระหว่างประเทศ: รายได้ (1) EBITDA กำไรสุทธิ น้ำหนักของสินค้าที่ให้บริการ(ตัน) ปริมาณการรองรับสินค้า (ตันต่อปี) (2) การใช้งาน (Utilization) (ร้อยละ)

หมายเหตุ (1) รายได้ของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เป็นรายได้ที่แสดงยอดรวมโดยไม่หักรายการที่มีระหว่างกัน กับบริษทั ใหญ่ บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด ปรับลดปริมาณการรองรับสินค้า เนื่องจากสัดส่วนของสินค้า ขาเข้ามีอัตราเพิ่มสูงขึ้น (ปัจจุบันสัดส่วนสินค้าขาเข้าต่อสินค้าขาออก เท่ากับ 46:54 จากเดิม 34:66) ซึ่งโดยปกติสินค้าขาเข้าจะเก็บรักษาในคลังสินค้าเป็นเวลาหลายวันก่อนที่ผู้นำเข้าจะมารับสินค้าไป ในขณะที่สินค้าขาออกจะเก็บไว้ในคลังสินค้าประมาณ 0.5 วันเท่านั้น ส่งผลให้พื้นที่การจัดเก็บสินค้า ลดลงจาก 550,000 ตันต่อปี เป็น 450,000 ตันต่อปี (2)

158


รายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน แสดงเ พาะส่วนที่ให้บริการให้แก่สายการบินอื่นดังนี้ หน่วย : ล้านบาท มกราคม ธันวาคม

บจ.ครัวการบินกรุงเทพ บจ.บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ ไฟล์ทเซอร์วิส บจ.การบินกรุงเทพบริการภาคพื้น รายได้อื่นๆ (1) รวมรายได้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน

เปลี่ยนแปลง

2558

2557

1,020.8

943.7

77.1

8.2

1,694.0

1,487.1

206.9

13.9

322.9 110.6

253.6 -

69.3 110.6

27.3 n.a.

3,148.3

2,684.4

463.9

17.3

ล้านบาท

หมายเหตุ (1) รายได้อื่นๆ คือรายได้จาก บจ. บีเอซี กูร์เม่ท์ เฮาส์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บจ.ครัวการบินกรุงเทพ ประกอบธุรกิจร้านอาหารในย่านธุรกิจและแหล่ง ท่องเที่ยวชั้นนำในกรุงเทพฯ

• บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (BAC) ผลการดำเนินงาน ปี 2557 และ 2558 รายได้จาก BAC เพิ่มขึ้นจาก 943.7 ล้านบาทเป็น 1,020.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 ทั้งนี้เนื่องมาจากจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางเข้าออกสนามบินสุวรรณภูมิมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้จำนวนอาหารที่ให้บริการสายการบินลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นด้วยโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วง เวลาเดียวกันของปีที่แล้ว • บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ ไวด์ ไ ล์ทเซอร์วิส จำกัด (BFS round) ผลการดำเนินงาน ปี 2557 และ 2558 รายได้จาก BFS Ground เพิ่มขึ้นจาก 1,487.1 ล้านบาท เป็น 1,694.0 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของรายได้ดังกล่าวเกิดจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนเที่ยวบิน และสายการบิน ลูกค้าที่เพิ่มขึ้น โดยในปี 2558 BFS Ground มีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น 7 สายการบิน

• บริษัท การบินกรุงเทพบริการภาคพื้น จำกัด (

S)

ผลการดำเนินงานปี 2557 และ 2558 รายได้จาก PGGS เพิ่มขึ้นจาก 253.6 ล้านบาท เป็น 322.9 ล้านบาท PGGS ให้บริการภาคพื้นที่สนามบินสมุยเป็นหลัก การเพิ่มขึ้นของรายได้ดังกล่าวเกิดจากจำนวนลูกค้าใหม่ที่ เพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 รวมถึงการปรับอัตราค่าบริการต่อเที่ยวบินเพิ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2558

159


รายได้ที่ไม่ได้แบ่งตามสายธุรกิจ บริษัทฯ มีรายได้อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสายการบิน ธุรกิจสนามบิน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ สนามบิน โดยมีรายละเอียดดังนี้ หน่วย : ล้านบาท มกราคม ธันวาคม 2557

เงินปันผลรับ

280.4

244.1

36.3

14.9

กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

322.9

71.7

251.2

350.4

0.1

3.4

(3.3)

(97.1)

รายได้อื่นๆ (1)

1,186.3

771.5

414.8

53.8

รวมรายได้ที่ไม่ได้แบ่งตามสายธุรกิจ

1,789.7

1,090.7

699.0

64.1

กำไรจากการขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์

เปลี่ยนแปลง

2558

ล้านบาท

หมายเหตุ (1) รายได้อื่นๆ มีองค์ประกอบหลักคือรายได้ค่าธรรมเนียมบัตรโดยสาร ค่าสัมภาระส่วนเกิน และดอกเบี้ยรับ เป็นต้น

ผลการดำเนินงาน ปี 2557 และ 2558 บริษัทฯ มีรายได้ที่ไม่ได้แบ่งตามสายธุรกิจ เพิ่มขึ้นจาก 1,090.7 ล้านบาท เป็น 1,789.7 ล้านบาท รายได้ที่ไม่ได้แบ่งตามสายธุรกิจ ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่คือกำไรจากอัตรา แลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของสกุลเงินบาทตั้งแต่ช่วงกลางปี 2558 รายได้อื่นๆ มีอัตรา การเติบโตที่สูงขึ้นเช่นกัน การเพิ่มขึ้นของรายได้อื่นๆ ส่วนใหญ่แปรผันตามจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มสูงขึ้น อันได้แก่ ค่าธรรมเนียมบัตรโดยสาร ค่าสัมภาระส่วนเกิน

160


ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ผลการดำเนินงาน ปี 2557 และ 2558 บริษัทฯ มีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม เพิ่มขึ้นจาก 437.7 ล้านบาท เป็น 504.2 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากส่วนแบ่งกำไร จากเงินลงทุนในบริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจ ี คาร์โก้ จำกัด และกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ สนามบินสมุย หน่วย : ล้านบาท มกราคม – ธันวาคม

เปลี่ยนแปลง

2558

2557

ล้านบาท

%

บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด

217.4

232.6

(15.2)

(6.5)

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย

286.8

205.1

81.7

39.8

ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายประกอบด้วยต้นทุนขายและบริการ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเป็นหลัก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

มกราคม ธันวาคม 2558

2557

เปลี่ยนแปลง ล้านบาท

ต้นทุนขายและบริการ

18,228.3

84.0

17,563.1

85.5

665.2

3.8

ค่าใช้จ่ายในการขาย

1,748.1

8.1

1,510.2

7.4

237.9

15.8

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

1,716.3

7.9

1,456.8

7.1

259.5

17.8

ค่าใช้จ่ายอื่น

8.8

0.0

6.5

0.0

2.3

35.4

ค่าใช้จ่ายรวม

21,701.5

100.0

20,536.6

100.0

1,164.9

5.7

161


ต้นทุนขายและบริการ ต้นทุนขายและบริการมีองค์ประกอบหลัก คือ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าบริการผู้โดยสาร เงินเดือน

ค่าแรงและผลประโยชน์อื่นๆ ของพนักงาน ค่าซ่อมแซมเครื่องบิน และค่าเช่าเครื่องบิน เป็นต้น

สำหรับ ปี 2557 และ 2558 ต้นทุนขายและบริการเป็นค่าใช้จ่ายหลักของบริษัทฯ ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 85.5 และร้อยละ 84.0 ของค่าใช้จ่ายรวมตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของต้นทุนขายและบริการเป็น ผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินเดือน ค่าแรงและผลประโยชน์อื่นๆ ของพนักงาน ค่าบริการผู้โดยสาร ค่าซ่อม เครื่องบิน และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ค่ า น้ า มั น เชื้ อ เพลิ ง : ต้ น ทุ น ค่ า น้ ำ มั น เชื้ อ เพลิ ง เป็ น ต้ น ทุ น ที่ มี สั ด ส่ ว นที่ สู ง ที่ สุ ด ในต้ น ทุ น ขาย และบริ ก าร และเป็ น ต้ น ทุ น ผั น แปรตามจำนวนชั่ ว โมงปฏิ บั ติ ก ารบิ น สำหรั บ ปี 2557 และปี 2558 บริษัทฯ มีต้นทุนค่าน้ำมัน 5,205.0 ล้านบาท และ 4,401.3 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.6 และ ร้อยละ 24.2 ของต้นทุนขายและบริการตามลำดับ ต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงเป็นผลมา จากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยตามราคาตลาดที่ปรับตัวลดลง บริษัทฯ ได้ประกันความเสี่ยงด้านราคาน้ำมัน โดยสัดส่วนถัวเฉลี่ยร้อยละ 48.7 ของปริมาณการใช้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ค่าบริการผู้โดยสาร : บริษัทฯ มีค่าบริการผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจาก 2,609.6 ล้านบาท เป็น 3,072.4 ล้านบาท สำหรับปี 2557 และ 2558 ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของค่าบริการผู้โดยสารเป็นผลจากจำนวนของ ผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น และจำนวนเที่ยวบินที่ให้บริการสูงขึ้น นอกจากนั้นในปี 2558 บริษัทฯมีค่าปรับที่ต้อง ชำระให้กับบริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนประมาณ 100.0 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่าย ดังกล่าวเป็นการเรียกเก็บการใช้บริการย้อนหลัง และเป็นรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว (One-off transaction) เงินเดือน ค่าแรงและผลประโยชน์อื่นๆ ของพนักงาน : ปี 2557 และ 2558 บริษัทฯ มีเงินเดือน ค่าแรงและผลประโยชน์อื่นๆ ของพนักงาน เพิ่มขึ้นจาก 2,205.7 ล้านบาท เป็น 2,753.4 ล้านบาท ตาม ลำดับ การเพิ่มขึ้นของเงินเดือน ค่าแรงและผลประโยชน์อื่นๆ พนักงานเกิดจากจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักบิน และลูกเรือที่มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนเครื่องบินที่ใช้ปฏิบัติการบิน การปรับเพิ่มขึ้น ของอัตราเงินเดือน และโบนัสที่จ่ายให้แก่พนักงาน ค่าซ่อมแซมเครื่องบิน : ปี 2557 และ 2558 บริษัทฯ มีค่าซ่อมแซมเครื่องบินเพิ่มขึ้นจาก 1,974.9 ล้านบาท เป็น 2,218.7 ล้านบาท ตามลำดับ ค่าซ่อมแซมเครื่องบินที่เพิ่มสูงขึ้นเกิดจากจำนวนเครื่องบิน ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ ต้องสำรองค่าซ่อมบำรุงเครื่องบินให้กับผู้ให้เช่าตามเงื่อนไขของสัญญาเช่า เครื่องบิน (Maintenance Reserve Fund) รวมถึงค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมของฝูงบินที่มีอายุมากขึ้น ค่าเช่าเครื่องบิน : บริษัทฯ มีต้นทุนค่าเช่าเครื่องบินลดลงจาก 1,754.0 ล้านบาท เป็น 1,621.7 ล้านบาท สำหรับ ปี 2557 และ 2558 ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.0 และ ร้อยละ 8.9 ของต้นทุน ขายและบริการตามลำดับ 162


ค่าใช้จ่ายในการขาย สำหรับ ปี 2557 และ 2558 ค่าใช้จ่ายในการขายคิดเป็นร้อยละ 7.4 และร้อยละ 8.1 ของ ค่าใช้จ่ายรวม ตามลำดับ ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเกิดจากค่าโฆษณา ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการขาย และ ค่าสำรองที่นั่งผ่านตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้โดยสาร

ค่าใช้จ่ายในการบริหาร สำหรับปี 2557 และ 2558 ค่าใช้จ่ายในการบริหารคิดเป็นร้อยละ 7.1 และร้อยละ 7.9 ของ ค่าใช้จ่ายรวม ตามลำดับ ค่าใช้จ่ายในการบริหารประกอบด้วย เงินเดือน และเบี้ยเลี้ยงพนักงาน ค่าตอบแทน ผู้บริหาร ค่าเทคโนโลยีสารสนเทศ และค่าเสื่อมราคาเป็นหลัก

ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าใช้จ่ายทางการเงินมีองค์ประกอบหลักคือ ค่าเช่าตามสัญญาเช่าช่วงจากกองทุนรวมสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย ทั้งในส่วนของค่าเช่าตามสัญญาเช่าช่วง และส่วนที่ผันแปรตามจำนวน ผู้ โ ดยสารขาออกและเที่ ย วบิ น ขาเข้ า ในการคำนวณอั ต ราดอกเบี้ ย ที่ แ ท้ จ ริ ง ในปี 2556 บริ ษั ท ฯ ได้ เปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องในส่วนของสัญญาเช่าช่วงจาก กองทุนรวม เพื่อให้รวมถึงประมาณการค่าบริการผันแปร (นอกเหนือจากค่าเช่าคงที่) มารวมคำนวณเพื่อ หาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง การเปลี่ยนวิธีการคำนวณทำให้มูลค่าทางบัญชีของเงินกู้ยืมระยะยาวดังกล่าวเพิ่ม สูงขึ้นเนื่องจากเป็นการนำประมาณการหนี้สินที่มีในอนาคตตลอดทั้งสัญญามาบันทึกในงบการเงิน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ยังรวมถึง ดอกเบี้ยจ่ายสถาบันการเงิน และดอกเบี้ยภายใต้ สัญญาเช่าเช่าทางการเงิน (Finance Lease) ในรูปแบบสัญญาซื้อขายแบบมีเงื่อนไข (Conditional Sale Agreement) หน่วย : ล้านบาท มกราคม ธันวาคม

ดอกเบี้ยจ่ายกองทุนรวม ดอกเบี้ยจ่าย (1) รวมค่าใช้จ่ายทางการเงิน

เปลี่ยนแปลง

2558

2557

1,351.4

1,294.1

57.3

4.4

255.0

344.3

(89.3)

(25.9)

1,606.4

1,638.4

(32.0)

(2.0)

ล้านบาท

หมายเหตุ (1) ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ยจ่ายสถาบันการเงินและหนี้สินภายใต้สัญญา เช่าทางการเงิน (Finance Lease)

163


ปี 2557 และ 2558 ดอกเบี้ยจ่ายกองทุนรวมเพิ่มขึ้นจาก 1,294.1 ล้านบาท เป็น 1,351.4 ล้าน บาท ตามจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางออกจากสนามบินสมุย และจำนวนเที่ยวบินที่เข้าออกสนามบินสมุย เพิ่มขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของอัตราค่าบริการผู้โดยสารขาออกระหว่างประเทศที่เดินทางออกจากสนามบิน สมุยในอัตราใหม่ สำหรับดอกเบี้ยจ่ายสถาบันการเงินและหนี้สินภายใต้สัญญาเช่าทางการเงิน (Finance Lease) ลด ลงจาก 344.3 ล้านบาท เป็น 255.0 ล้านบาทจากการชำระคืนเงินกู้ยืมตามเงื่อนไขตามสัญญา

สินทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทและบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 57,012.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวัน ที่ 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 8,433.7 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ หน่วย : ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

เปลี่ยนแปลง

สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดและ เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

13,243.5

13,700.2

(456.7)

1,847.1

1,705.5

141.6

15,846.3

16,561.0

(714.7)

27,003.2 9,559.0 41,166.3

20,936.2 7,033.5 32,017.9

6,067.0 2,525.5 9,148.4

57,012.6

48,578.9

8,433.7

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนระยะยาวอื่น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

164

รวมสินทรัพย์


สินทรัพย์หมุนเวียน บริษัทฯ มีสินทรัพย์หมุนเวียน จำนวน 15,846.3 ล้านบาท ลดลงจาก วันที่ 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 714.7 ล้านบาท โดยมีรายการหลักที่เปลี่ยนแปลงได้แก่ •

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดและเงินลงทุนชั่วคราว ลดลงเป็นจำนวน 456.7 ล้านบาท ซึ่งเป็น ผลมาจากการใช้ เ งิ น เพื่ อ กิ จ กรรมการลงทุ น ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ก ารใช้ เ งิ น จากกการระดมทุ น ใน ตลาดหลักทรัพย์

สินทรัพย์ ไม่หมุนเวียน บริษัทฯ มีสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนมีจำนวน 41,166.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 9,148.4 ล้านบาท โดยมีรายการหลักที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ •

เงินลงทุนในบริษัทร่วม เพิ่มขึ้นจำนวน 780.6 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการลงทุนเพิ่มในหน่วยลงทุนกองทุน รวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย โดยมีสัดส่วนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 25.0 เป็น ร้อยละ 30.0

เงินลงทุนระยะยาวอื่น เพิ่มขึ้นจำนวน 6,067.0 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการการปรับมูลค่าเงินลงทุน ระยะยาวในหลักทรัพย์เผื่อขาย ตามมูลค่าตลาด

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นจำนวน 2,525.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการรับมอบเครื่องบินตาม สัญญาการสั่งซื้อเครื่องบินประเภท ATR 72-600 ในเดือนกุมภาพันธ์ เดือนกันยายน และเดือนธันวาคม 2558 รวมถึงการลงทุนซื้ออะไหล่เครื่องบินและอุปกรณ์บริการภาคพื้น

165


หนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 25,916.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก วันที่ 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 2,770.0 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ หน่วย : ล้านบาท ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2558

ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2557

เปลีย่ นแปลง

หนี้สินหมุนเวียน เงินกูย้ มื ระยาวและหนีส้ นิ ภายใต้สญ ั ญาเช่าทาง การเงินส่วนทีถ่ งึ กำหนดชำระภายในหนึง่ ปี รายได้รับล่วงหน้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น

500.0

1,119.0

(619.0)

2,328.1 1,405.8

2,151.2 967.0

176.9 438.8

รวมหนี้สินหมุนเวียน

6,525.1

6,734.5

(209.4)

เงินกู้ยืมระยะยาวและหนี้สินภายใต้สัญญาเช่า ทางการเงิน - สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระ ภายในหนึ่งปี

2,503.8

1,013.1

1,490.7

เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินภาษีเงินได้รอตัดบัญชี

11,354.1 5,040.3

11,285.7 3,711.6

68.4 1,328.7

รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน

19,391.8

16,412.4

2,979.4

รวมหนี้สิน

25,916.9

23,146.9

2,770.0

หนี้สินไม่หมุนเวียน

166


หนี้สินหมุนเวียน บริษัทฯ มีหนี้สินหมุนเวียน จำนวน 6,525.1 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 209.4 ล้านบาท โดยมีรายการหลักที่เปลี่ยนแปลงได้แก่ •

เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี และหนี้สินภายใต้สัญญาเช่าทางการเงินเครื่องบินที่ ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี จำนวน 307.7 ล้านบาทและ 192.3 ล้านบาท ลดลงจากวันที ่ 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 356.7 ล้านบาทและ 262.2 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขที่ กำหนดไว้ในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาเช่าทางการเงิน โดย ณ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์เครื่องบิน ATR 72-500 รวมทั้งหมด จำนวน 6 ลำ

รายได้รับล่วงหน้า เพิ่มขึ้นจำนวน 176.9 ล้านบาท จากวันที่ 31 ธันวาคม 2557 การเพิ่มขึ้นของรายได้ รับล่วงหน้าป็นสัดส่วนโดยตรงกับรายได้บัตรโดยสารที่เพิ่มขึ้น

หนี้สินหมุนเวียนอื่น เพิ่มขึ้น จำนวน 438.8 ล้านบาท จากวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ซึ่งรายการหลัก คือ ค่าภาษีสนามบินค้างจ่ายและเงินโบนัสค้างจ่าย ซึ่งบริษัทฯ มีกำหนดชำระในเดือนมกราคม 2559

หนี้สินไม่หมุนเวียน บริ ษั ท ฯ มี ห นี้ สิ น ไม่ ห มุ น เวี ย น มี จ ำนวน 19,391.8 ล้ า นบาท เพิ่ ม ขึ้ น จากวั น ที ่ 31 ธั น วาคม 2557 จำนวน 2,979.4 ล้านบาท โดยมีรายการรายการหลักที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ •

หนี้สินภายใต้สัญญาเช่าทางการเงินเครื่องบิน เพิ่มขึ้นจำนวน 1,680.2 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการ เข้าทำสัญญาเช่าทางการเงินจากการรับมอบเครื่องบิน ATR72-600 เพิ่มขึ้นในระหว่างปีจำนวน 3 ลำ

หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เพิ่มขึ้นจำนวน 1,328.7 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากผลการปรับมูลค่าตาม ราคาตลาดของหลักทรัพย์เผื่อขายที่เพิ่มขึ้น

167


ส่วนของผู้ถือหุ้น หน่วย : ล้านบาท ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2558

ณ วันที ่ 31 ธันวาคม 2557

เปลีย่ นแปลง

ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนออกจำหน่ายและชำระแล้ว ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญและส่วนเกินทุน จากการใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ กำไรสะสม รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

2,100.0 9,319.5

2,100.0 9,319.5

- -

430.9

(362.7)

793.6

31,095.7

25,432.0

5,663.7

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีส่วนของผู้ถือหุ้นรวมทั้งสิ้น 31,095.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2557 จำนวน 5,663.7 ล้านบาท การเปลี่ยนแปลงมูลค่าดังกล่าวเกิดจาก การปรับมูลค่าตามราคาตลาดของหลักทรัพย์เผื่อขาย และเงินปันผลจ่ายจากผลประกอบการปี 2557 และ เงินปันผลระหว่างกาลปี 2558 ซึ่งบริษัทฯ ได้ประกาศจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นจำนวนรวม 945.0 ล้านบาท

งบกระแสเงินสด หน่วย : ล้านบาท มกราคม-ธันวาคม

168

ปี 2558

ปี 2557

เงินสดสุทธิจาก(ใช้ไปใน) กิจกรรมการดำเนินงาน

1,791.7

(220.7)

เงินสดสุทธิจากกิจกรรมการลงทุน

2,225.3

(11,032.2)

เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน

(1,564.1)

10,875.2

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายงวด

4,628.0

2,175.1


กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงใน สินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน จำนวน 3,667.4 ล้านบาท และมีเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 3,441.6 ล้านบาท โดยหลักเกิดจาก • ค่าภาษีสนามบินค้างจ่าย • เงินโบนัสค้างจ่าย ซึ่งบริษัทฯ มีกำหนดชำระในเดือนมกราคม 2559 และ • การเพิม่ ขึ้นของลูกหนี้การค้าและเงินมัดจำเครื่องบิน ซึ่งนำเสนออยู่ในรายการสินทรัพย์อื่น

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน จำนวน 2,225.3 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดการสภาพคล่องของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้ย้ายเงินลงทุนชั่วคราว มาเป็นเงินฝากธนาคารระยะสั้น เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้เงินในอนาคต เงินปันผลรับจาก บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการและกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุยจำนวนรวม 877.5 ล้านบาท รวมถึงการเพิ่มเงินลงทุนในกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย

กระแสเงินสดจากกิจกรรมการจัดหาเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกระแสเงินสดที่ใช้ในกิจกรรมการจัดหาเงินจำนวน 1,564.1 ล้านบาทส่วนใหญ่เป็น การชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจำนวน 631.1 ล้านบาท และจ่ายเงินปันผล ให้แก่ผู้ถือหุ้นรวมจำนวน 945.0 ล้านบาท

169


นิยามศัพท์ด้านการบิน คำศัพท์ อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสาร (Load Factor) ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (Available Seat-Kilometer: ASK)

170

หมายถง จำนวนบรรทุกผู้โดยสารเทียบเป็นสัดส่วนต่อจำนวนที่นั่ง ผู้โดยสารทั้งหมด จำนวนที่นั่งผู้โดยสารคูณระยะทางบินเป็นกิโลเมตร

ปริมาณการขนส่งด้านผู้โดยสาร (Revenue Passenger-Kilometer: RPK)

จำนวนผู้โดยสารของเที่ยวบินแบบประจำคูณระยะทางบิน เป็นกิโลเมตร

รายได้ต่อหน่วยจากการผลิตด้านผู้โดยสาร (Revenue per ASK: RASK)

รายได้จากการขายและให้บริการของบมจ. การบินกรุงเทพ (หมายถึง รายได้รวมจากงบการเงินเฉพาะกิจการสุทธิกับ กำไรจากการขายเงินลงทุน โอนกลับค่าเผื่อการด้อยค่าเงิน ลงทุนในบริษัทย่อย เงินปันผลรับ และ เงินชดเชยจากการ เลิกสัญญา) หารด้วยปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร(ASK)

ต้นทุนต่อหน่วยจากการผลิตด้านผู้โดยสาร (Cost per ASK: CASK)

ผลรวมของต้นทุนจากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่ า ใช้ จ่ า ยในการบริ ห าร และค่ า ตอบแทนผู้ บ ริ ห ารของ บมจ. การบิ น กรุ ง เทพ (แต่ ไ ม่ ร วมต้ น ทุ น ทางการเงิ น ) (หมายถึง ค่าใช้จ่ายรวมจากงบการเงินเฉพาะกิจการสุทธิ กับ ขาดทุนจากการขายเงินลงทุน และขาดทุนจากการขาย สิทธิการเช่า) หารด้วยปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK)

ต้นทุนต่อปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร ไม่รวมต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (CASK - Fuel)

ผลรวมของต้นทุนจากการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่ า ใช้ จ่ า ยในการบริ ห าร และค่ า ตอบแทนผู้ บ ริ ห ารของ บมจ. การบินกรุงเทพ (แต่ไม่รวมต้นทุนทางการเงินและ ต้นทุนค่าน้ำมัน) (หมายถึง ค่าใช้จ่ายรวมจากงบการเงิน เฉพาะกิ จ การสุ ท ธิ กั บ ขาดทุ น จากการขายเงิ น ลงทุ น ขาดทุนจากการขายสิทธิการเช่า และ ค่าน้ำมัน) หารด้วย ปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK)


Fly Boutique. Feel Unique.

บริษัท การบินกรุงเทพจำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

รายงานและงบการเงิน

31 ธันวาคม 2558


รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เสนอต่อผู้ถือหุ้นของบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบการเงินรวมของบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะการ เงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบกระแสเงินสด รวม สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน รวมถึงหมายเหตุสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญและหมายเหตุเรื่องอื่นๆ และได้ตรวจสอบงบการเงิน เฉพาะกิจการของบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ด้วยเช่นกัน

ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำและการนำเสนองบการเงินเหล่านี้โดยถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่ผู้บริหารพิจารณาว่าจำเป็นเพื่อให้สามารถจัดทำ งบการเงินที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด

ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจ สอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ รวมถึงวางแผนและปฏิบัติงานตรวจ สอบเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินปราศจาก การแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับจำนวนเงินและ การเปิดเผยข้อมูลในงบ การเงิน วิธีการตรวจสอบที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอบบัญชี ซึ่งรวมถึง การประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อ ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงินไม่ว่าจะเกิดจาก การทุจริตหรือข้อผิดพลาด ในการประเมินความเสี่ยงดังกล่าว ผู้สอบ บัญชีพิจารณาการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและการนำเสนองบการเงินโดยถูกต้องตามที่ควรของกิจการ เพื่อออกแบบ วิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อประสิทธิผลของการควบคุมภายในของ กิจการ การตรวจสอบรวมถึงการประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ผู้บริหารใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการ ทางบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้บริหาร รวมทั้งการประเมินการนำเสนองบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ข้าพเจ้าได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า

ความเห็น ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้น สุดวันเดียวกันของบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และเฉพาะของบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน

พิมพ์ใจ มานิตขจรกิจ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 4521 บริษัท สำนักงาน อีวาย จำกัด กรุงเทพฯ: 25 กุมภาพันธ์ 2559 172


บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินฝากธนาคารที่มีภาระค้ำประกัน เงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินลงทุนระยะยาวอื่น เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สิทธิการเช่า สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์

หมายเหตุ

2558

2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558

2557

7 4,627,981,380 2,175,125,368 4,094,772,694 1,877,258,697 8 8,615,491,000 11,525,141,500 8,600,000,000 11,500,000,000 6, 9 1,847,143,846 1,705,461,007 1,819,068,433 1,531,282,211 193,072,945 218,187,209 178,913,042 205,751,603 10 306,327,560 271,885,673 193,669,855 177,680,188 256,272,198 665,216,501 202,963,312 571,253,574 15,846,288,929 16,561,017,258 15,089,387,336 15,863,226,273 11 26,816,301 191,779,142 2,081,230 167,675,020 13 2,450,269,091 1,669,637,551 3,278,980,520 2,405,570,907 12 - - 2,184,233,179 2,184,233,179 15 27,003,240,693 20,936,195,768 22,452,240,693 17,410,195,768 6 - - 45,000,000 63,283,576 14 253,991,442 494,742,126 253,991,442 494,742,126 16 9,559,003,031 7,033,543,213 8,779,415,541 6,234,141,509 17 711,521,944 779,827,746 211,961,612 234,794,058 47,110,861 49,232,635 47,110,861 49,232,635 28.1 28,906,083 25,069,520 - - 6, 18 1,085,409,827 837,844,041 1,062,856,525 779,498,402 41,166,269,273 32,017,871,742 38,317,871,603 30,023,367,180 57,012,558,202 48,578,889,000 53,407,258,939 45,886,593,453

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

173


บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม

หมายเหตุ

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 6, 19 เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 20 ภาษีเงินได้ค้างจ่าย หนี้สินภายใต้สัญญาเช่าการเงินเครื่องบิน ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 21 หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงินที่ถึงกำหนดชำระ ภายในหนึ่งปี 22 รายได้รับล่วงหน้า หนี้สินหมุนเวียนอื่น 6 รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาว - สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนด ชำระภายในหนึ่งปี หนี้สินภายใต้สัญญาเช่าการเงินเครื่องบิน สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน - สุทธิจากส่วนที่ถึง กำหนดชำระภายในหนึ่งปี เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน

2557

2558

2557

2,260,578,287 242,020,000 30,605,635

2,440,123,782 626,073,148 57,113,757

2,133,680,054 233,520,000 -

2,298,246,385 457,473,148 -

192,340,194

454,587,312

192,340,194

454,587,312

65,675,444 38,327,520 44,976,814 29,120,288 2,328,068,959 2,151,213,117 2,325,477,705 2,147,704,780 1,405,771,427 967,022,771 1,009,769,372 640,863,912 6,525,059,946 6,734,461,407 5,939,764,139 6,027,995,825

20

229,160,000

21

2,188,318,860

22

86,367,821

441,180,000

206,660,000

440,180,000

508,108,259 2,188,318,860

508,108,259

63,788,461

46,077,411

42,956,871

23 11,354,130,416 11,285,745,088 11,354,130,416 11,285,745,088 24 421,346,250 328,552,873 346,412,673 270,393,128 28.1 5,040,278,491 3,711,603,911 4,326,228,491 3,202,553,911 72,233,933 73,471,072 - - 19,391,835,771 16,412,449,664 18,467,827,851 15,749,937,257 25,916,895,717 23,146,911,071 24,407,591,990 21,777,933,082

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

174

2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ


บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบแสดงฐานะการเงิน (ต่อ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม

หมายเหตุ

ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น 25 ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 2,100,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ทุนออกจำหน่ายและชำระแล้ว หุ้นสามัญ 2,100,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ กำไรสะสม จัดสรรแล้ว - สำรองตามกฎหมาย 26 ยังไม่ได้จัดสรร องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย รวมส่วนของผู้ถือหุ้น รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

2558

2,100,000,000

2557

2558

2557

2,100,000,000

2,100,000,000

2,100,000,000 2,100,000,000 2,100,000,000 9,319,481,872 9,319,481,872 9,319,481,872

2,100,000,000 9,319,481,872

120,000,000 310,901,680 19,106,097,950 30,956,481,502 139,180,983 31,095,662,485 57,012,558,202

2,100,000,000

งบการเงินเฉพาะกิจการ

25,000,000 (387,672,957) 14,252,109,414 25,308,918,329 123,059,600 25,431,977,929 48,578,889,000

120,000,000 1,322,799,890 16,137,385,187 28,999,666,949 - 28,999,666,949 53,407,258,939

25,000,000 560,782,771 12,103,395,728 24,108,660,371 - 24,108,660,371 45,886,593,453

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

175


บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม

หมายเหตุ

2558

2557

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558

2557

กำไรหรือขาดทุน: รายได้ ค่าโดยสาร รายได้จากการขายและบริการ ค่าระวางขนส่ง ค่าบริการผู้โดยสาร เงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับ กำไรจากการขายเงินลงทุน กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน รายได้อื่น รวมรายได้

6 19,104,043,011 17,512,599,890 19,104,566,841 17,513,512,285 6 3,148,283,228 2,684,355,336 - - 6 325,584,106 331,543,221 325,584,106 331,543,221 535,282,928 504,301,879 535,282,928 504,301,879 6 280,425,674 244,132,188 1,266,485,450 1,157,151,396 6 255,792,326 73,591,399 251,521,200 66,148,162 83,500 3,389,500 - 7,000,000 322,935,508 71,699,711 311,054,266 55,606,017 6 930,474,036 697,923,331 1,096,506,728 807,378,703 24,902,904,317 22,123,536,455 22,891,001,519 20,442,641,663

ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขายและบริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายอื่น รวมค่าใช้จ่าย

6 18,228,330,068 17,563,111,197 16,337,742,010 15,903,849,967 6 1,748,057,987 1,510,204,562 1,730,971,699 1,492,764,494 6 1,716,347,041 1,456,841,619 1,251,627,426 1,044,871,228 8,813,243 6,469,948 658,000 - 21,701,548,339 20,536,627,326 19,320,999,135 18,441,485,689

กำไรก่อนส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ค่าใช้จ่ายทางการเงิน และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 3,201,355,978 1,586,909,129 3,570,002,384 2,001,155,974 ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 13.3 504,159,540 437,682,331 - - กำไรก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงินและค่าใช้จ่าย ภาษีเงินได้ 3,705,515,518 2,024,591,460 3,570,002,384 2,001,155,974 ค่าใช้จ่ายทางการเงิน (1,606,448,252) (1,638,395,472) (1,589,427,715) (1,602,944,055) กำไรก่อนค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 2,099,067,266 386,195,988 1,980,574,669 398,211,919 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ 28.2 (250,000,195) (521,857) (120,269,191) 97,451,316 กำไรสำหรับปี 1,849,067,071 385,674,131 1,860,305,478 495,663,235 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

176


บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (ต่อ) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม

หมายเหตุ

2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2557

2558

2557

กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น : รายการที่จะถูกบันทึกในส่วนของกำไรหรือขาดทุน ในภายหลัง ผลกำไรจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย 6,067,486,825 6,613,946,361 5,042,486,824 หัก : ผลกระทบของภาษีเงินได้ 28.3 (1,213,497,365) (1,322,789,272) (1,008,497,365) รายการที่จะถูกบันทึกในส่วนของกำไรหรือ ขาดทุนในภายหลัง - สุทธิจากภาษีเงินได้ 4,853,989,460 5,291,157,089 4,033,989,459 รายการที่จะไม่ถูกบันทึกในส่วนของกำไรหรือ ขาดทุนในภายหลัง ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัย 24 (63,380,335) - (63,380,335) หัก : ผลกระทบของภาษีเงินได้ 28.3 5,091,976 - 5,091,976 รายการที่จะไม่ถูกบันทึกในส่วนของกำไรหรือ ขาดทุนในภายหลัง - สุทธิจากภาษีเงินได้ (58,288,359) - (58,288,359) กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับปี 4,795,701,101 5,291,157,089 3,975,701,100 กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี 6,644,768,172 5,676,831,220 5,836,006,578 การแบ่งปันกำไร ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ส่วนที่เป็นของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ของบริษัทย่อย

จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก มูลค่าตราไว้หุ้นละ 1 บาท

351,105,156 1,860,305,478 34,568,975 385,674,131

5,496,696,361 (1,099,339,272) 4,397,357,089 - - - 4,397,357,089 4,893,020,324 495,663,235

1,796,862,996 52,204,075 1,849,067,071

6,592,563,606 5,642,261,712 5,836,006,578 4,893,020,324

52,204,566 34,569,508 6,644,768,172 5,676,831,220

การแบ่งปันกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ส่วนที่เป็นของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม ของบริษัทย่อย กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ

30

0.86

0.21

0.89

0.30

2,100,000,000 1,672,602,740 2,100,000,000 1,672,602,740

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

177


178 ส่วนเกินมูลค่า หุ้นสามัญ

ส่วนทุนจาก การจ่ายโดยใช้หุ้น เป็นเกณฑ์ จัดสรรแล้ว

ยังไม่ได้จัดสรร

กำไรสะสม

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 2,100,000,000 9,319,481,872 กำไรสำหรับปี - - กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับปี - - กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี - - ส่วนต่ำกว่าทุนจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทย่อย - - ส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อยลดลง - - หุ้นสามัญของบริษัทย่อย - ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มี อำนาจควบคุมของบริษัทย่อย - - โอนไปสำรองตามกฎหมาย 26 - - เงินปันผลจ่าย 33 - - เงินปันผลจ่ายส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย - - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 2,100,000,000 9,319,481,872

งบการเงินรวม

- - - - - - 15 15 95,000,000 (95,000,000) - - - - - - - (945,000,000) - - - (945,000,000) - (945,000,000) - - - - - - (36,047,911) (36,047,911) 120,000,000 310,901,680 19,260,982,963 (154,885,013) 19,106,097,950 30,956,481,502 139,180,983 31,095,662,485

25,431,977,929 1,849,067,071 4,795,701,101 6,644,768,172 (433) (35,287)

- - - - -

123,059,600 52,204,075 491 52,204,566 - (35,287)

25,000,000 (387,672,957) 14,406,993,994 (154,884,580) 14,252,109,414 25,308,918,329 - 1,796,862,996 - - - 1,796,862,996 - (58,288,359) 4,853,988,969 - 4,853,988,969 4,795,700,610 - 1,738,574,637 4,853,988,969 - 4,853,988,969 6,592,563,606 - - - (433) (433) (433) - - - - - -

- - - - - -

- - - - (23,000,653) (23,000,653) 123,059,600 25,431,977,929

7,191,711,728 385,674,131 5,291,157,089 5,676,831,220 - 12,586,435,634

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น

- - - - - - - - - - - - 14,406,993,994 (154,884,580) 14,252,109,414 25,308,918,329

ส่วนของผู้มี ส่วนได้เสียที่ไม่มี อำนาจควบคุม ของบริษัทย่อย

111,490,745 34,568,975 533 34,569,508 - -

รวม ส่วนของผู้ถือหุ้น ของบริษัทฯ

(หน่วย : บาท)

9,115,837,438 (154,884,580) 8,960,952,858 7,080,220,983 - - - 351,105,156 5,291,156,556 - 5,291,156,556 5,291,156,556 5,291,156,556 - 5,291,156,556 5,642,261,712 - - - - - - - 12,586,435,634

องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ส่วนตํ่ากว่าทุนจาก การเปลี่ยนแปลง ส่วนเกินทุนจาก รวม การวัดมูลค่าเงิน สัดส่วนการถือหุ้น ลงทุนในหลักทรัพย์ ในบริษัทย่อยของ องค์ประกอบอื่นของ ส่วนของผู้ถือหุ้น บริษัทใหญ่ เผื่อขาย

ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 1,580,000,000 270,000,000 207,300,000 210,000,000 (4,148,031,875) กำไรสำหรับปี - - - - 351,105,156 กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับปี - - - - - กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี - - - - 351,105,156 โอนส่วนทุนจากการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ไป ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ - 207,300,000 (207,300,000) - - ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน 25 520,000,000 12,066,435,634 - - - โอนสำรองตามกฎหมายและส่วนเกินมูลค่าหุ้นชดเชย ขาดทุนสะสม 26 - (3,224,253,762) - (210,000,000) 3,434,253,762 โอนไปสำรองตามกฎหมาย 26 - - - 25,000,000 (25,000,000) เงินปันผลจ่ายส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย - - - - - ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 2,100,000,000 9,319,481,872 - 25,000,000 (387,672,957)

ทุนเรือนหุ้น หมายเหตุ ที่ออกและชำระแล้ว

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย


179

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2,100,000,000 - - - - - 2,100,000,000

26 33

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 กำไรสำหรับปี กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับปี กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี โอนไปสำรองตามกฎหมาย เงินปันผลจ่าย ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

9,319,481,872 - - - - - 9,319,481,872

1,580,000,000 270,000,000 - - - - - - - 207,300,000 520,000,000 12,066,435,634 - (3,224,253,762) - - 2,100,000,000 9,319,481,872

ส่วนเกินมูลค่า หุ้นสามัญ

25 26 26

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและชำระแล้ว

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 กำไรสำหรับปี กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับปี กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี โอนส่วนทุนจากการจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ไปส่วนเกิน มูลค่าหุ้นสามัญ ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน โอนสำรองตามกฎหมายและส่วนเกินมูลค่าหุ้น ชดเชยขาดทุนสะสม โอนไปสำรองตามกฎหมาย ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

หมายเหตุ

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ)

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

- - - - - - -

207,300,000 - - - (207,300,000) - - - -

ส่วนทุนจากการจ่าย โดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ ยังไม่ได้จัดสรร

องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น กำไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ส่วนเกินทุนจากการ รวมองค์ประกอบอื่น วัดมูลค่าเงินลงทุน ในหลักทรัพย์เผื่อขาย ของส่วนของผู้ถือหุ้น

รวม ส่วนของผู้ถือหุ้น

25,000,000 - - - 95,000,000 - 120,000,000

560,782,771 12,103,395,728 12,103,395,728 24,108,660,371 1,860,305,478 - - 1,860,305,478 (58,288,359) 4,033,989,459 4,033,989,459 3,975,701,100 1,802,017,119 4,033,989,459 4,033,989,459 5,836,006,578 (95,000,000) - - - (945,000,000) - - (945,000,000) 1,322,799,890 16,137,385,187 16,137,385,187 28,999,666,949

210,000,000 (3,344,134,226) 7,706,038,639 7,706,038,639 6,629,204,413 - 495,663,235 - - 495,663,235 - - 4,397,357,089 4,397,357,089 4,397,357,089 - 495,663,235 4,397,357,089 4,397,357,089 4,893,020,324 - - - - - - - - - 12,586,435,634 (210,000,000) 3,434,253,762 - - - 25,000,000 (25,000,000) - - - 25,000,000 560,782,771 12,103,395,728 12,103,395,728 24,108,660,371

จัดสรรแล้ว

กำไรสะสม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

(หน่วย : บาท)


บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบกระแสเงินสด

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรก่อนภาษี รายการปรับกระทบยอดกำไรก่อนภาษีเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากกิจกรรมดำเนินงาน ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (โอนกลับ) การปรับลดสินค้าคงเหลือเป็นมูลค่าสุทธิทจ่ี ะได้รบั (โอนกลับ) กำไรจากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ กำไรจากการจำหน่ายสิทธิการเช่า กำไรจากการขายเงินลงทุนระยะสั้น ขาดทุนจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนระยะสั้น ตัดจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน ขาดทุนจากบริษัทร่วมเลิกกิจการ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง เงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับ ค่าใช้จ่ายทางการเงิน กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ และหนี้สินดำเนินงาน สินทรัพย์ดำเนินงาน (เพิ่มขึ้น) ลดลง ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์อื่น หนี้สินดำเนินงานเพิ่มขึ้น (ลดลง) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น หนี้สินหมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้สัญญาเช่าทางการเงิน จ่ายผลประโยชน์ระยะยาวพนักงาน หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่น เงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน จ่ายดอกเบี้ย จ่ายภาษีเงินได้ เงินสดสุทธิจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมดำเนินงาน หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 180

2558 2,099,067,266

2557 386,195,988

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 1,980,574,669

2557 398,211,919

834,030,351 644,734,510 606,462,079 450,352,026 7,540,733 (25,507,099) 6,623,304 (26,548,534) (1,945,517) 1,189,227 (2,215,517) 1,189,227 (9,089,082) (3,948,704) (9,015,235) (3,032,811) - (3,609,634) - (3,609,634) (83,500) (3,389,500) - (7,000,000) 5,412,200 3,253,500 - - 960,303 11,812,119 960,303 11,812,119 (504,159,540) (437,682,331) - - 70,583,157 51,048,649 52,600,197 40,351,571 482,725 - 658,000 - 94,412,177 31,740,808 93,642,172 31,641,117 (280,425,674) (244,132,188) (1,266,485,450) (1,157,151,396) (255,792,326) (73,591,399) (251,521,200) (66,148,162) 1,606,448,252 1,634,170,716 1,589,427,715 1,602,944,055 3,667,441,525 1,972,284,662 2,801,711,037 1,273,011,497 (150,523,529) (32,496,370) 399,716,754 (225,838,976)

198,678,416 (125,268,572) (44,657,027) (13,774,150) (89,553,026) 372,727,245 (71,961,052) (226,238,820)

180,041,015 (26,606,539) (67,278,604) (76,745,830)

(184,538,730) 124,848,172 (182,116,514) 112,118,568 594,850,207 8,255,240 540,045,279 (394,343,512) (584,576,066) (640,385,031) (567,947,939) (636,036,027) (41,170,115) (8,980,934) (39,960,987) (6,652,062) (1,237,139) 9,168,540 - (5,000,000) 3,441,627,561 (1,524,493,227) (125,470,295) 1,791,664,039

1,457,697,960 2,559,176,579 352,508,506 (1,567,174,419) (1,508,546,074) (1,530,318,586) (111,192,314) (12,726,025) (34,858,335) (220,668,773) 1,037,904,480 (1,212,668,415)


บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบกระแสเงินสด (ต่อ)

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินฝากธนาคารที่มีภาระค้ำประกัน (เพิ่มขึ้น) ลดลง เงินลงทุนชั่วคราว (เพิ่มขึ้น) ลดลง ซื้อเงินลงทุนระยะยาวอื่น ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ดอกเบี้ยรับ เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันลดลง เงินปันผลรับจากเงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินปันผลรับจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินปันผลรับจากเงินลงทุนระยะยาว เงินสดรับจากการจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เงินสดรับจากการจำหน่ายสิทธิการเช่า เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนระยะสั้น เงินสดรับจากบริษัทร่วมเลิกกิจการ เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนระยะยาว เงินสดจ่ายจากการเปลีย่ นแปลงสัดส่วนเงินลงทุนในบริษทั ย่อย เงินสดจ่ายจากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินสดสุทธิจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุน กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินเบิกเกินบัญชี เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินลดลง เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะสั้น ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้น เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาว ชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาว เงินสดรับจากการเพิ่มทุน จ่ายเงินปันผล เงินปันผลจ่ายส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุมของ บริษัทย่อย เงินสดรับค่าหุน้ จากผูถ้ อื หุน้ ทีไ่ ม่มอี ำนาจควบคุมในบริษทั ย่อย เงินสดสุทธิจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดต้นปี เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายปี (หมายเหตุ 7) หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

2558

2557

164,962,841 (2,683,819) 2,900,000,000 (11,030,000,000) - (326,900) (1,104,809,454) (715,905,543) (62,418,189) (129,455,989) 291,949,364 21,428,289 - 54,154,904 - - 597,112,888 495,324,907 280,425,674 244,132,188 11,000,000 4,145,314 - 10,906,600 4,321,800 16,034,000 2,342,000 - 441,900 - (35,720) - (860,027,342) - 2,225,265,762 (11,032,246,049)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558

2557

165,593,790 457,759 2,900,000,000 (11,030,000,000) - (326,900) (976,623,850) (453,309,181) (60,762,665) (126,394,101) 287,676,928 12,943,936 18,283,576 34,300,000 266,839,144 34,534,479 597,112,888 495,324,906 232,080,674 201,842,737 9,125,622 3,044,938 - 10,906,600 - 418,250,000 2,342,000 - - 441,900 - - (860,027,342) - 2,582,082,665 (10,398,424,827)

- (671,364,998) - (650,000,000) 3,540,476 - - 30,685,000 (3,540,476) - - (30,685,000) - 35,000,000 - - (631,073,148) (1,039,889,574) (457,473,148) (682,589,574) - 12,586,435,634 - 12,586,435,634 (945,000,000) - (945,000,000) - (23,000,656) (21) - - 15 - - - (1,564,073,789) 10,875,181,041 (1,402,473,148) 11,253,846,060 2,452,856,012 (377,733,781) 2,217,513,997 (357,247,182) 2,175,125,368 2,552,859,149 1,877,258,697 2,234,505,879 4,627,981,380 2,175,125,368 4,094,772,694 1,877,258,697 - - - -

181


บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

งบกระแสเงินสด (ต่อ)

สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (หน่วย : บาท) งบการเงินรวม

ข้อมูลกระแสเงินสดเปิดเผยเพิ่มเติม รายการที่ไม่ใช่เงินสดประกอบด้วย เงินปันผลค้างรับเพิ่มขึ้น เงินปันผลค้างจ่ายเพิ่มขึ้น เจ้าหนี้จากการซื้อเงินลงทุนในบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น เจ้าหนี้ค่าซื้อสินทรัพย์เพิ่มขึ้น (ลดลง) ซื้อสินทรัพย์ภายใต้สัญญาเช่าทางการเงิน ผลกำไรจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ เผื่อขาย - สุทธิ จากภาษีเงินได้ ขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ ประกันภัย - สุทธิจากภาษีเงินได้

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ 182

2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2557

2558

2557

198,449,906 170,452,745 23,000,632 - - 16,382,271 (6,797,599) (5,735,695) 755,921,684 1,855,451,078

425,449,273 - - 4,040,708 729,935,646

4,853,089,460 5,291,157,089 4,033,989,459

4,397,357,089

- 13,047,255 16,382,271 (19,073,934) 1,903,029,423

(58,288,359)

-

(58,288,359)

-


บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม สำหรับปสินสุดวันที่

ธันวาคม

1. ข้อมูลทั่วไป บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) เป็นบริษัทมหาชนซึ่งจัดตั้งและมีภูมิลำเนาในประเทศไทย ธุรกิจหลักของบริษัทฯ คือการให้บริการขนส่งทางอากาศและการบริการสนามบิน โดยมีที่อยู่ตามที่จดทะเบียน คือ เลขที่ 99 หมู่ 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

2. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน 2.1

งบการเงินนี้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 โดยแสดงรายการในงบการเงินตามข้อกำหนดในประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าลงวันที ่ 28 กันยายน 2554 ออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

งบการเงินฉบับภาษาไทยเป็นงบการเงินฉบับที่บริษัทฯ ใช้เป็นทางการตามกฎหมายงบการเงินฉบับ ภาษาอังกฤษแปลจากงบการเงินฉบับภาษาไทยนี้ งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิมเว้นแต่จะได้เปิดเผยเป็นอย่างอื่นในนโยบายการบัญชี

183


2.2

เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม (ก) งบการเงินรวมนี้ได้จัดทำขึ้นโดยรวมงบการเงินของบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “บริษัทฯ”) และบริษัทย่อย (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “บริษัทย่อย”) ดังต่อไปนี้ ชื่อบริษัท

ลักษณะธุรกิจ

จัดตั้งข้นใน ประเทศ

อัตราร้อยละของการถือหุ้น 2558 ร้อยละ

2557 ร้อยละ

ถือหุ้นโดยบริษัทฯ บริษัท บางกอกแอร์เวย์ส โฮลดิ้ง จำกัด

ลงทุนในหลักทรัพย์

ไทย

99.99

99.99

บริษัท การบินกรุงเทพบริการภาคพื้น จำกัด

การบริการภาคพื้น

ไทย

99.99

99.99

บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพ เวิลด์ไวด์ ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด

การบริการภาคพื้น

ไทย

90.00

90.00

บริการอาหารบนเครื่องบิน

ไทย

90.00

90.00

ผลิตและแปรรูปอาหาร สำหรับจัดจำหน่าย

ไทย

99.98

-

บริษัท เอสเอ เซอร์วิสเซส จำกัด (ถือหุ้นโดย บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพ เวิลด์ไวด์ ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด ร้อยละ 99.99)

การบริการภาคพื้น

ไทย

89.99

89.99

บริษัท บีเอฟเอส คาร์โก้ ดีเอ็มเค จำกัด (ถือหุ้นโดยบริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพ เวิลด์ไวด์ ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด ร้อยละ 51.00)

บริการคลังสินค้า

ไทย

45.90

45.90

บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด (ถือหุ้นโดยบริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด ร้อยละ 99.99)

ร้านอาหาร

ไทย

89.99

89.99

บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งภูเก็ต จำกัด (ถือหุ้นโดยบริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด ร้อยละ 99.99 (2557: ร้อยละ 70.00))

บริการอาหารบนเครื่องบิน

ไทย

89.99

63.00

บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งสมุย จำกัด (ถือหุ้นโดยบริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด ร้อยละ 99.99)

บริการอาหารบนเครื่องบิน

ไทย

89.99

-

บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด ถือหุ้นโดยบริษัทย่อยของบริษัทฯ บริษัท กูร์เมท์ พรีโม่ จำกัด (ถือหุ้นโดยบริษัท บางกอกแอร์เวย์ส โฮลดิ้ง จำกัด ร้อยละ 99.99)

184


2.3

ข) ค) ง) จ) ฉ)

บริษัทฯจะถือว่ามีการควบคุมกิจการที่เข้าไปลงทุนหรือบริษัทย่อยได้ หากบริษัทฯ มีสิทธิได้รับ หรือมีส่วนได้เสียในผลตอบแทนของกิจการที่เข้าไปลงทุน และสามารถใช้อำนาจในการสั่งการ กิจกรรมที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อจำนวนเงินผลตอบแทนนั้นได้ บริ ษั ท ฯนำงบการเงิ น ของบริ ษั ท ย่ อ ยมารวมในการจั ด ทำงบการเงิ น รวมตั้ ง แต่ วั น ที่ บ ริ ษั ท ฯ มีอำนาจในการควบคุมบริษัทย่อยจนถึงวันที่บริษัทฯสิ้นสุดการควบคุมบริษัทย่อยนั้น งบการเงินของบริษัทย่อยได้จัดทำขึ้นโดยใช้นโยบายการบัญชีที่สำคัญเช่นเดียวกันกับของบริษัทฯ ยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯ และบริษัทย่อย รายการค้าระหว่างกันที่มีสาระสำคัญได้ถูกตัดออก จากงบการเงินรวมนี้แล้ว ส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม คือ จำนวนกำไรหรือขาดทุนและสินทรัพย์สุทธิของ บริษัทย่อยส่วนที่ไม่ได้เป็นของบริษัทฯ และแสดงเป็นรายการแยกต่างหากในส่วนของกำไรหรือ ขาดทุนรวมและส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงฐานะการเงินรวม

บริษัทฯจัด ทำงบการเงิ น เ พาะกิ จ การโดยแสดงเงิ น ลงทุ น ในบริ ษั ท ย่ อยและบริ ษั ท ร่ ว มตามวิธี ราคาทุน

3. มาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม่ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เริ่มมีผลบังคับในปีบัญชีปัจจุบันและที่จะมีผลบังคับในอนาคต มีรายละเอียดดังนี้

ก.

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เริ่มมีผลบังคับใช้ในปีปัจุบัน บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้นำมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุง (ปรับปรุง 2557) และ ฉบับใหม่ที่ออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งมีผลบังคับใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 มาถือปฏิบัติ มาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวได้รับการปรับปรุงหรือจัดให้มี ขึ้นเพื่อให้มีเนื้อหาเท่าเทียมกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นการ ปรับปรุงถ้อยคำและคำศัพท์ การตีความและการให้แนวปฏิบัติทางการบัญชีกับผู้ใช้มาตรฐาน การนำ มาตรฐานการรายงานทางการเงินดังกล่าวมาถือปฏิบัตินี้ไม่มีผลกระทบ อย่างเป็นสาระสำคัญต่องบการ เงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย อย่างไรก็ตาม มาตรฐานการรายงานทางการเงินตามที่กล่าวข้างต้นบาง ฉบับมีการเปลี่ยนแปลงหลักการสำคัญซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

185


มาตรฐานการบัญชี บับที่ 19 (ปรับปรุง 2557) เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน มาตรฐานฉบับปรับปรุงนี้กำหนดให้กิจการต้องรับรู้รายการกำไรขาดทุนจากการประมาณการตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยทันทีในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ในขณะที่มาตรฐานฉบับเดิมอนุญาตให้กิจการ เลือกรับรู้รายการดังกล่าวทันทีในกำไรขาดทุน หรือในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หรือทยอยรับรู้ในกำไร ขาดทุนก็ได้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้เปลี่ยนแปลงการรับรู้รายการกำไรขาดทุนจากการประมาณการตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัยในปีปัจจุบันจากการรับรู้ทันทีในกำไรหรือขาดทุนไปเป็นรับรู้ทันทีในกำไรขาดทุน เบ็ดเสร็จอื่น ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าว บริษัทฯ และบริษัทย่อยไม่มีการปรับปรุงงบการเงินย้อน หลัง เนื่องจากฝ่ายบริหารพิจารณาแล้วเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญ ต่องบการเงินปี 2557 มาตรฐานการรายงานทางการเงิน บับที่ 10 เรื่อง งบการเงินรวม มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 10 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินรวม โดยใช้ แทนเนื้อหาเกี่ยวกับการบัญชีสำหรับงบการเงินรวมที่เดิมกำหนดอยู่ในมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ มาตรฐานฉบับนี้เปลี่ยนแปลงหลักการเกี่ยวกับการ พิจารณาว่าผู้ลงทุนมีอำนาจการควบคุมหรือไม่ กล่าวคือ ภายใต้มาตรฐานฉบับนี้ผู้ลงทุนจะถือว่า ตนควบคุมกิจการที่เข้าไปลงทุนได้ หากตนมีสิทธิได้รับหรือมีส่วนได้เสียในผลตอบแทนของกิจการ ที่เข้าไปลงทุน และตนสามารถใช้อำนาจในการสั่งการกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อจำนวนเงินผลตอบแทน นั้นได้ ถึงแม้ว่าตนจะมีสัดส่วนการถือหุ้นหรือสิทธิในการออกเสียงโดยรวมน้อยกว่ากึ่งหนึ่งก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนี้ส่งผลให้ฝ่ายบริหารต้องใช้ดุลยพินิจอย่างมากในการทบทวนว่าบริษัทฯ และ บริษัทย่อยมีอำนาจควบคุมในกิจการที่เข้าไปลงทุนหรือไม่และจะต้องนำบริษัทใดในกลุ่มกิจการมาจัดทำ งบการเงินรวมบ้าง การเปลี่ยนแปลงหลักการนี้ไม่มีผลกระทบต่องบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

186


มาตรฐานการรายงานทางการเงิน บับที่ 11 เรื่อง การร่วมการงาน มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 11 ใช้แทนมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 31 เรื่อง ส่วนได้เสียใน การร่วมค้า ซึ่งได้ถูกยกเลิกไป มาตรฐานฉบับนี้กำหนดให้กิจการที่ลงทุนในกิจการใดๆต้องพิจารณาว่า ตนมีการควบคุมร่วม (Joint control) กับผู้ลงทุนรายอื่นในกิจการนั้นหรือไม่ หากกิจการมีการควบคุม ร่วมกับผู้ลงทุนรายอื่นในกิจการที่ถูกลงทุนนั้นแล้วให้ถือว่ากิจการนั้นเป็นการร่วมการงาน (Joint arrangement) หลังจากนั้น กิจการต้องใช้ดุลยพินิจในการกำหนดประเภทของการร่วมการงานนั้นว่า เป็นการดำเนินงานร่วมกัน (Joint operation) หรือการร่วมค้า (Joint venture) และบันทึกส่วนได้เสีย จากการลงทุนให้เหมาะสมกับประเภทของการร่วมการงาน กล่าวคือ หากเป็นการดำเนินงานร่วมกัน ให้กิจการรับรู้ส่วนแบ่งในสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่ายแต่ละรายการของการดำเนินงาน ร่วมกันตามส่วนที่ตนมีสิทธิตามสัญญาในงบการเงินเฉพาะกิจการของตน แต่หากเป็นการร่วมค้า ให้กิจการรับรู้เงินลงทุนในการร่วมค้าตามวิธีส่วนได้เสียในงบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย หรืองบการเงินรวม (หากมี) และรับรู้เงินลงทุนในการร่วมค้าตามวิธีราคาทุนในงบการเงินเฉพาะกิจการ การเปลี่ยนแปลงหลักการนี้ไม่มีผลกระทบต่องบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน บับที่ 12 เรือ่ ง การเปิดเผยข้อมูลเกีย่ วกับส่วนได้เสีย ในกิจการอืน่ มาตรฐานฉบับนี้กำหนดเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับส่วนได้เสียของกิจการในบริษัทย่อย การ ร่วมการงาน บริษัทร่วม รวมถึงกิจการที่มีโครงสร้างเฉพาะตัว มาตรฐานฉบับนี้จึงไม่มีผลกระทบ ทางการเงินต่องบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย มาตรฐานการรายงานทางการเงิน บับที่ 13 เรือ่ ง การวัดมูลค่ายุตธิ รรม มาตรฐานฉบับนี้กำหนดแนวทางเกี่ยวกับการวัดมูลค่ายุติธรรมและการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับการวัด มูลค่ายุติธรรม กล่าวคือ หากกิจการต้องวัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์หรือหนี้สินใดตามข้อกำหนดของ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องอื่น กิจการจะต้องวัดมูลค่ายุติธรรมนั้นตามหลักการของมาตรฐานฉบับนี้และใช้วิธี เปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปในการรับรู้ผลกระทบจากการเริ่มใช้มาตรฐานนี้ มาตรฐานฉบับนี้ไม่มีผลกระทบอย่างเป็นสาระสำคัญต่องบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

187


ข.

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่จะมีผลบังคับในอนาคต ในระหว่างปีปัจจุบัน สภาวิชาชีพบัญชีได้ประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับปรับปรุง (ปรับปรุง 2558) และฉบับใหม่ รวมถึงแนวปฏิบัติทางบัญชี จำนวนหลายฉบับ ซึ่งมีผลบังคับใช้สำหรับ งบการเงินที่มีรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2559 มาตรฐานการรายงาน ทางการเงินดังกล่าวได้รับการปรับปรุงหรือจัดให้มีขึ้นเพื่อให้มีเนื้อหาเท่าเทียมกับมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินระหว่างประเทศ ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ และบริษัทย่อยเชื่อว่ามาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับปรับปรุงและฉบับใหม่ รวมถึงแนวปฏิบัติทางบัญชีดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบอย่างเป็น สาระสำคัญต่องบการเงินเมื่อนำมาถือปฏิบัติ

4. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ 4.1

การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย ค่าโดยสาร รายได้จากการจำหน่ายบัตรโดยสารรับรู้เป็นรายได้ในส่วนของกำไรหรือขาดทุนเมื่อมีผู้โดยสารนำบัตร โดยสารมาใช้บริการกับสายการบิน โปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า บริษัทฯได้จัดให้มีโปรแกรมสิทธิพิเศษแก่ลูกค้า โดยจะให้คะแนนสะสมแก่ลูกค้าที่ซื้อบัตรโดยสารกับ บริษัทฯ ซึ่งสามารถนำไปแลกเป็นบัตรโดยสาร ที่พัก หรือของรางวัลตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ของบริษัทฯ บริษัทฯปันส่วนมูลค่าของบัตรโดยสารและต้นทุนในการแลกของรางวัลให้กับคะแนนสะสมด้วยมูลค่า ยุติธรรมของคะแนนสะสมดังกล่าว และทยอยรับรู้เป็นรายได้เมื่อลูกค้ามาใช้สิทธิและบริษัทฯ ได้ปฏิบัติ ตามสัญญาภาระผูกพันที่จะจัดหารางวัลนั้น ขายสินค้า รายได้จากการขายสินค้ารับรูเ้ มือ่ บริษทั ฯ และบริษทั ย่อยได้โอนความเสีย่ งและผลตอบแทนทีม่ นี ยั สำคัญ ของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว รายได้จากการขายแสดงมูลค่าตามราคาในใบกำกับสินค้า โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้าที่ได้ส่งมอบหลังจากหักส่วนลดแล้ว การให้บริการ รายได้จากการให้บริการขนส่งผู้โดยสาร ค่าระวางและรายได้ค่าใช้บริการสนามบินรับรู้ในส่วนของกำไร หรือขาดทุนเมื่อได้ให้บริการแล้ว

188


ค่าเช่าเครื่องบิน รายได้จากการให้เช่าเครื่องบินรับรู้ในส่วนของกำไรหรือขาดทุนตามระยะเวลาของการให้เช่า ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยรับถือเป็นรายได้ตามเกณฑ์คงค้างโดยคำนึงถึงอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง เงินปันผลรับ เงินปันผลรับถือเป็นรายได้เมื่อมีสิทธิในการรับเงินปันผล ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าใช้จ่ายทางการเงินถือเป็นค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์คงค้าง โดยคำนวณตามวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง

4.2

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินสดและเงินฝากธนาคาร และเงินลงทุนระยะสั้นที่มี สภาพคล่องสูง ซึ่งถึงกำหนดจ่ายคืนภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันที่ได้มาและไม่มีข้อจำกัด ในการเบิกใช้

4.3

ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้าแสดงมูลค่าตามจำนวนมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ บริษัทฯ บันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับ ผลขาดทุ น โดยประมาณที่ อ าจเกิ ด ขึ้ น จากการเก็ บ เงิ น จากลู ก หนี้ ไ ม่ ไ ด้ ซึ่ ง โดยทั่ ว ไปพิ จ ารณาจาก ประสบการณ์การเก็บเงินและการวิเคราะห์อายุหนี้

4.4

สินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือแสดงมูลค่าตามราคาทุน (ตามวิธีเข้าก่อน-ออกก่อน) หรือมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับแล้ว แต่ราคาใดจะต่ำกว่า อะไหล่เครื่องบิน วัสดุสิ้นเปลืองและตัวโดยสารแสดงมูลค่าตามราคาทุน (ตามวิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่) และ ถือเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อมีการเบิกใช้

189


4.5

เงินลงทุน ก) เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้าแสดงตามมูลค่ายุติธรรม การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ หลักทรัพย์บันทึกในส่วนของกำไรหรือขาดทุน ข) เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขายแสดงตามมูลค่ายุติธรรม การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของ หลักทรัพย์ดังกล่าวบันทึกในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น และจะบันทึกในส่วนของกำไรหรือขาดทุน เมื่อได้จำหน่ายหลักทรัพย์นั้นออกไป ค) เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในหนึ่งปี รวมทั้งที่จะถือจนครบกำหนดแสดงมูลค่า ตามวิธีราคาทุนตัดจำหน่าย บริษัทฯ ตัดบัญชีส่วนเกิน/รับรู้ส่วนต่ำกว่ามูลค่าตราสารหนี้ตาม อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ซึ่งจำนวนที่ตัดจำหน่าย/รับรู้นี้จะแสดงเป็นรายการปรับกับดอกเบี้ยรับ ง) เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดถือเป็นเงินลงทุนทั่วไป ซึ่งแสดงใน ราคาทุนสุทธิจากค่าเผื่อการด้อยค่า (ถ้ามี) จ) เงินลงทุนในบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ในงบการเงินรวมแสดงมูลค่าตามวิธีส่วนได้เสีย ฉ) เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วมที่แสดงอยู่ในงบการเงินเฉพาะกิจการแสดงมูลค่าตามวิธ ี ราคาทุน มูลค่ายุติธรรมของหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดคำนวณจากราคาเสนอซื้อหลังสุด ณ สิ้นวัน ทำการสุดท้ายของปีมูลค่ายุติธรรมของหน่วยลงทุนคำนวณจากมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของหน่วยลงทุน บริษัทฯ ใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการคำนวณต้นทุนของเงินลงทุน เมื่อมีการจำหน่ายเงินลงทุน ผลต่างระหว่างสิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับกับมูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุน จะถูกบันทึกในส่วนของกำไรหรือขาดทุน

4.6

อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน บริษัทฯ บันทึกมูลค่าเริ่มแรกของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนในราคาทุนซึ่งรวมต้นทุนการทำรายการ หลังจากนั้น บริษัทฯ จะบันทึกอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและ ค่าเผื่อการด้อยค่า (ถ้ามี) ค่าเสื่อมราคาของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนคำนวณจากราคาทุนโดยวิธีเส้นตรงตามอายุการให้ ประโยชน์โดยประมาณ 20 ปี ค่าเสื่อมราคาของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนรวมอยู่ในการคำนวณผล การดำเนินงาน บริษัทฯ รับรู้ผลต่างระหว่างจำนวนเงินที่ได้รับสุทธิจากการจำหน่ายกับมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ ในส่วนของกำไรหรือขาดทุนในปีที่ตัดรายการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนออกจากบัญชี

190


4.7

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และค่าเสื่อมราคา

ที่ดินแสดงมูลค่าตามราคาทุน อาคารและอุปกรณ์แสดงมูลค่าตามราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม และ ค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ (ถ้ามี) ค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์คำนวณจากราคาทุนโดยวิธีเส้นตรงตามอายุการให้ประโยชน์โดย ประมาณดังนี้ อาคารและส่วนตกแต่ง

3 - 20 ปี

สนามบินและส่วนปรับปรุง

20 ปี

เครื่องบิน

20 ปี

อะไหล่เครื่องบินและอุปกรณ์ภาคพื้น

3 - 20 ปี

เฟอร์นิเจอร์และส่วนตกแต่ง

3 - 10 ปี

ยานพาหนะ

5 - 10 ปี

ค่าเสื่อมราคารวมอยู่ในการคำนวณผลการดำเนินงาน ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคาสำหรับที่ดินและสินทรัพย์ระหว่างติดตั้ง บริษัทฯ และบริษัทย่อยตัดรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ออกจากบัญชี เมื่อจำหน่ายสินทรัพย์ หรือคาดว่าจะไม่ได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากการใช้หรือการจำหน่ายสินทรัพย์ รายการ ผลกำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์จะรับรู้ในส่วนของกำไรหรือขาดทุนเมื่อบริษัทฯ และ บริษัทย่อยตัดรายการสินทรัพย์นั้นออกจากบัญชี

4.8

สินทรัพย์ ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแสดงมูลค่าตามราคาทุนหักค่าตัดจำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าสะสม (ถ้ามี) ของสินทรัพย์นั้น บริษัทฯ และบริษัทย่อยตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์จำกัดอย่างมีระบบ ตลอดอายุการให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์นั้น และจะประเมินการด้อยค่าของสินทรัพย์ ดังกล่าวเมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าสินทรัพย์นั้นเกิดการด้อยค่า บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะทบทวนระยะเวลาการ ตั ด จำหน่ า ยและวิ ธี ก ารตั ด จำหน่ า ยของสิ น ทรั พ ย์ ไ ม่ มี ตั ว ตนดั ง กล่ า วทุ ก สิ้ น ปี เ ป็ น อย่ า งน้ อ ย ค่ า ตั ด จำหน่ายรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของกำไรหรือขาดทุน

191


สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่มีอายุการให้ประโยชน์จำกัดมีดังนี้ อายุการให้ประโยชน์ สัมปทาน ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์

4.9

20 ปี 5 ปี

รายการธุรกิจกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับบริษัทฯ หมายถึง บุคคลหรือกิจการที่มีอำนาจควบคุมบริษัทฯ หรือ ถูกบริษัทฯควบคุมไม่ว่าจะเป็นโดยทางตรงหรือทางอ้อม หรืออยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันกับ บริษัทฯ นอกจากนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันยังหมายรวมถึงบริษัทร่วมและบุคคลที่มีสิทธิออกเสียงโดย ทางตรงหรือทางอ้อมซึ่งทำให้มีอิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญต่อบริษัทฯ ผู้บริหารสำคัญ กรรมการหรือ พนักงานของบริษัทฯ ที่มีอำนาจในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงานของบริษัทฯ

4.10 สัญญาเช่าระยะยาว สัญญาเช่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ได้โอน ไปให้กับผู้เช่าถือเป็นสัญญาเช่าการเงิน สัญญาเช่าการเงินจะบันทึกเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนด้วยมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์ที่เช่าหรือมูลค่าปัจจุบันสุทธิของจำนวนเงินที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าแล้วแต่มูลค่า ใดจะต่ำกว่า ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าหักค่าใช้จ่ายทางการเงินจะบันทึกเป็นหนี้สินระยะยาว ส่วนดอก เบี้ยจ่ายจะบันทึกในส่วนของกำไรหรือขาดทุนตลอดอายุของสัญญาเช่า สินทรัพย์ที่ได้มาตามสัญญาเช่า การเงินจะคิดค่าเสื่อมราคาตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ที่เช่า สัญญาเช่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่ความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเป็นเจ้าของส่วนใหญ่ไม่ได้ โอนไปให้กับผู้เช่าถือเป็นสัญญาเช่าดำเนินงาน จำนวนเงินที่จ่ายตามสัญญาเช่าดำเนินงานรับรู้เป็นค่าใช้ จ่ายในส่วนของกำไรหรือขาดทุนตามวิธีเส้นตรงตลอดอายุของสัญญาเช่า

192


4.11 เงินตราต่างประเทศ บริษัทฯ แสดงงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการเป็นสกุลเงินบาทซึ่งเป็นสกุลเงินที่ใช้ใน การดำเนินงานของบริษัทฯ รายการต่าง ๆ ของแต่ละกิจการที่รวมอยู่ในงบการเงินวัดมูลค่าด้วยสกุลเงิน ที่ใช้ในการดำเนินงานของแต่ละกิจการนั้น รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นตัวเงินซึ่งอยู่ในสกุลเงินตราต่างประเทศได้แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตรา แลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน กําไรและขาดทุนทีเ่ กิดจากการเปลีย่ นแปลงในอัตราแลกเปลีย่ นได้รวมอยูใ่ นการคำนวณผลการดำเนินงาน

4.12 การด้อยค่าของสินทรัพย์ ทุกวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะทำการประเมินการด้อยค่าของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์หรือสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนอื่นของบริษัทฯ และบริษัทย่อยหากมีข้อบ่งชี้ว่าสินทรัพย์ดังกล่าว อาจด้อยค่า บริษัทฯ และบริษัทย่อยรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าเมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของ สินทรัพย์มีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์นั้น ทั้งนี้มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนหมายถึงมูลค่า ยุติธรรมหักต้นทุนในการขายของสินทรัพย์หรือมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าในส่วนของกำไรหรือขาดทุน

4.13 ผลประโยชน์ของพนักงาน ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน บริษัทฯ และบริษัทย่อยรับรู้ เงินเดือน ค่าจ้าง โบนัส และเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเป็นค่าใช้จ่าย เมื่อเกิดรายการ

ผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน โครงการสมทบเงิน บริษัทฯ บริษัทย่อยและพนักงานได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งประกอบด้วยเงินที่พนักงาน จ่ายสะสมและเงินที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยจ่ายสมทบให้เป็นรายเดือน สินทรัพย์ของกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพได้แยกออกจากสินทรัพย์ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย เงินที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยจ่ายสมทบ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในปีที่เกิดรายการ

193


โครงการผลประโยชน์หลังออกจากงาน บริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยมี ภ าระสำหรั บ เงิ น ชดเชยที่ ต้ อ งจ่ า ยให้ แ ก่ พ นั ก งานเมื่ อ ออกจากงานตาม กฎหมายแรงงาน ซึ่งบริษัทฯ และบริษัทย่อย ถือว่าเงินชดเชยดังกล่าวเป็นโครงการผลประโยชน์ หลังออกจากงานสำหรับพนักงาน บริษัทฯ และบริษัทย่อยคำนวณหนี้สินตามโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน โดยใช้ วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (Projected Unit Credit Method) โดยผู้เชี่ยวชาญอิสระได้ ทำการประเมินภาระผูกพันดังกล่าวตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ผลกำไรหรือขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยสำหรับโครงการผลประโยชน์ หลังออกจากงานของพนักงานจะรับรู้ทันทีในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น

4.14 ประมาณการหนี้สิน บริ ษัทฯ และบริษั ทย่อยจะบั นทึกประมาณการหนี้สินไว้ในบั ญชีเมื่ อภาระผูกพั นซึ่งเป็นผลมาจาก เหตุการณ์ในอดีตได้เกิดขึ้นแล้ว และมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่นอนว่าบริษัทฯ และบริษัทย่อยจะเสีย ทรัพยากรเชิงเศรษฐกิจไปเพื่อปลดเปลื้องภาระผูกพันนั้น และบริษัทฯ และบริษัทย่อยสามารถประมาณ มูลค่าภาระผูกพันนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ

4.15 ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ประกอบด้วยภาษีเงินได้ปัจจุบันและภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

ภาษีเงินได้ปัจจุบัน บริษัทฯ และบริษัทย่อยบันทึกภาษีเงินได้ปัจจุบันตามจำนวนที่คาดว่าจะจ่ายให้กับหน่วยงานจัดเก็บ ภาษีของรัฐ โดยคำนวณจากกำไรทางภาษีตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายภาษีอากร

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี บริษัทฯ และบริษัทย่อยบันทึกภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของผลแตกต่างชั่วคราวระหว่างราคาตาม บัญชีของสินทรัพย์และหนี้สิน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานกับฐานภาษีของสินทรัพย์และหนี้สิน ที่เกี่ยวข้องนั้น โดยใช้อัตราภาษีที่มีผลบังคับใช้ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน บริษัทฯ และบริษัทย่อยรับรู้หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของผลแตกต่างชั่วคราวที่ต้องเสียภาษี ทุกรายการ แต่รับรู้สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีสำหรับผลแตกต่างชั่วคราวที่ใช้หักภาษี รวมทั้ง ผลขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ในจำนวนเท่าที่มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่บริษัทฯ จะมีกำไรทางภาษี ในอนาคตเพี ย งพอที่ จ ะใช้ ป ระโยชน์ จ ากผลแตกต่ า งชั่ ว คราวที่ ใช้ หั ก ภาษี แ ละผลขาดทุ น ทางภาษี ที่ยังไม่ได้ใช้นั้น 194


บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะทบทวนมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีทุกสิ้นรอบ ระยะเวลารายงานและจะทำการปรับลดมูลค่าตามบัญชีดังกล่าว หากมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่า บริษัทฯ และบริษัทย่อย จะไม่มีกำไรทางภาษีเพียงพอต่อการนำสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ประโยชน์ บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะบันทึกภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีโดยตรงไปยังส่วนของผู้ถือหุ้นหากภาษี ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับรายการที่ได้บันทึกโดยตรงไปยังส่วนของผู้ถือหุ้น

4.16 การวัดมูลค่ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรม หมายถึง ราคาที่คาดว่าจะได้รับจากจากการขายสินทรัพย์หรือเป็นราคาที่จะต้องจ่ายเพื่อ โอนหนี้สินให้ผู้อื่นโดยรายการดังกล่าวเป็นรายการที่เกิดขึ้นในสภาพปกติระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย (ผู้ร่วม ในตลาด) ณ วันที่วัดมูลค่า บริษัทฯ และบริษัทย่อยใช้ราคาเสนอซื้อขายในตลาดที่มีสภาพคล่องในการ วัดมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินซึ่งมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกำหนดให้ต้อง วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม ยกเว้นในกรณีที่ไม่มีตลาดที่มีสภาพคล่องสำหรับสินทรัพย์หรือหนี้สินที่มี ลักษณะเดียวกันหรือไม่สามารถหาราคาเสนอซื้อขายในตลาดที่มีสภาพคล่องได้ บริษัทฯ และบริษัท ย่อยจะประมาณมูลค่ายุติธรรมโดยใช้เทคนิคการประเมินมูลค่าที่เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ และ พยายามใช้ข้อมูลที่สามารถสังเกตได้ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์หรือหนี้สินที่จะวัดมูลค่ายุติธรรมนั้นให้มาก ที่สุด ลำดับชั้นของมูลค่ายุติธรรมที่ใช้วัดมูลค่าและเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินในงบการ เงินออกเป็นสามระดับตามประเภทของข้อมูลที่นำมาใช้ในการวัดมูลค่ายุติธรรม ดังนี้ ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3

ใช้ข้อมูลราคาเสนอซื้อขายของสินทรัพย์หรือหนี้สินอย่างเดียวกันในตลาดที่มีสภาพคล่อง ใช้ข้อมูลอื่นที่สามารถสังเกตได้ของสินทรัพย์หรือหนี้สิน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางตรงหรือ ทางอ้อม ใช้ขอ้ มูลทีไ่ ม่สามารถสังเกตได้ เช่น ข้อมูลเกีย่ วกับกระแสเงินในอนาคตทีก่ จิ การประมาณขึน้

ทุกวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะประเมินความจำเป็นในการโอนรายการ ระหว่างลำดับชั้นของมูลค่ายุติธรรมสำหรับสินทรัพย์และหนี้สินที่ถืออยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลา รายงานที่มีการวัดมูลค่ายุติธรรมแบบเกิดขึ้นประจำ

195


5. การใช้ดุลยพินิจและประมาณการทางบัญชีที่สำคัญ ในการจัดทำงบการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจและการประมาณ การในเรื่องที่มีความไม่แน่นอนเสมอ การใช้ดุลยพินิจและการประมาณการดังกล่าวนี้ส่งผลกระทบต่อจำนวนเงินที่ แสดงในงบการเงินและต่อข้อมูลที่แสดงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างไปจาก จำนวนที่ประมาณการไว้ การใช้ดุลยพินิจและการประมาณการที่สำคัญมีดังนี้

สัญญาเช่า ในการพิจารณาประเภทของสัญญาเช่าว่าเป็นสัญญาเช่าดำเนินงานหรือสัญญาเช่าทางการเงิน ฝ่ายบริหารได้ใช้ ดุลยพินิจในการประเมินเงื่อนไขและรายละเอียดของสัญญาเพื่อพิจารณาว่าบริษัทฯ และบริษัทย่อยได้โอนหรือรับ โอนความเสี่ยงและผลประโยชน์ในสินทรัพย์ที่เช่าดังกล่าวแล้วหรือไม่

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ ในการประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจในการประมาณการผล ขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากลูกหนี้แต่ละราย โดยคำนึงถึงประสบการณ์การเก็บเงินในอดีต อายุของหนี้ที่คงค้าง และสภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เป็นต้น

มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน ในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินที่บันทึกในงบแสดงฐานะการเงิน ที่ไม่มีการซื้อขายในตลาด และไม่สามารถหาราคาได้ในตลาดซื้อขายคล่อง ฝ่ายบริหารต้องใช้ดุลยพินิจในการประเมินมูลค่ายุติธรรมของ เครื่องมือทางการเงินดังกล่าว โดยใช้เทคนิคและแบบจำลองการประเมินมูลค่า ซึ่งตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองได้มา จากการเทียบเคียงกับตัวแปรที่มีอยู่ในตลาด โดยคำนึงถึงความเสี่ยงทางด้านเครดิต สภาพคล่อง ข้อมูลความ สัมพันธ์ และการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าของเครื่องมือทางการเงินในระยะยาว การเปลี่ยนแปลงของสมมติฐานที่ เกี่ยวข้องกับตัวแปรที่ใช้ใน การคำนวณ อาจมีผลกระทบต่อมูลค่ายุติธรรมที่แสดงอยู่ในงบแสดงฐานะการเงิน และ การเปิดเผยลำดับชั้นของมูลค่ายุติธรรม

ค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ บริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยจะตั้ ง ค่ า เผื่ อ การด้ อ ยค่ า ของเงิ น ลงทุ น ในหลั ก ทรั พ ย์ เ ผื่ อ ขายและเงิ น ลงทุ น ทั่ ว ไป เมื่อมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนดังกล่าวได้ลดลงอย่างมีสาระสำคัญและเป็นระยะเวลานานหรือเมื่อมีข้อบ่งชี ้ ของการด้อยค่า การที่จะสรุปว่าเงินลงทุนดังกล่าวได้ลดลงอย่างมีสาระสำคัญหรือเป็นระยะเวลานานหรือไม่นั้น จำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจของฝ่ายบริหาร

196


ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์และค่าเสื่อมราคา ในการคำนวณค่าเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ์ ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องทำการประมาณอายุการให้ประโยชน์ และมูลค่าคงเหลือเมื่อเลิกใช้งานของอาคารและอุปกรณ์ และต้องทบทวนอายุการให้ประโยชน์และมูลค่าคงเหลือ ใหม่หากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องสอบทานการด้อยค่าของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ในแต่ละช่วงเวลาและบันทึก ขาดทุนจากการด้อยค่าหากคาดว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์น้ัน ในการนี ้ ฝ่ายบริหารจำเป็นต้องใช้ดุลยพินิจที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์รายได้และค่าใช้จ่ายในอนาคตซึ่งเกี่ยวเนื่องกับ สินทรัพย์นั้น

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี บริษัทฯ และบริษัทย่อยจะรับ รู้สิ น ทรั พ ย์ ภ าษี เ งิ น ได้ ร อการตั ด บั ญชี ส ำหรั บผลแตกต่ า งชั่ ว คราวที่ ใช้ หักภาษี และขาดทุนทางภาษีที่ไม่ได้ใช้เมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ว่าบริษัทฯ และบริษัทย่อยจะมีกำไรทางภาษี ในอนาคตเพียงพอที่จะใช้ประโยชน์จากผลแตกต่างชั่วคราวและขาดทุนนั้น ในการนี้ฝ่ายบริหารจำเป็นต้อง ประมาณการว่าบริษัทฯ และบริษัทย่อยควรรับรู้จำนวนสินทรัพย์ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชีเป็นจำนวนเท่าใด โดยพิจารณาถึงจำนวนกำไรทางภาษีที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตใน แต่ละช่วงเวลา

ผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงานตามโครงการผลประโยชน์ หนี้สินตามโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานของพนักงาน ประมาณขึ้นตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ซึ่งต้องอาศัยข้อสมมติฐานต่างๆ ในการประมาณการนั้น เช่น อัตราคิดลด อัตราการขึ้นเงินเดือนในอนาคต อัตรามรณะ และอัตราการเปลี่ยนแปลงในจำนวนพนักงาน เป็นต้น

คดี ้องร้อง บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นจากการถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย ซึ่งฝ่ายบริหารได้ใช้ดุลยพินิจ ในการประเมินผลของคดีที่ถูกฟ้องร้องแล้ว บริษัทฯ และบริษัทย่อยบันทึกประมาณการหนี้สินดังกล่าว ณ วันสิ้น รอบระยะเวลารายงาน

197


6. รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ในระหว่างปี บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายการธุรกิจที่สำคัญกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รายกาธุรกิจ ดังกล่าวเป็นไปตามเงือ่ นไขทางการค้าและเกณฑ์ตามทีต่ กลงกันระหว่างบริษทั ฯ และบุคคลหรือกิจการทีเ่ กีย่ วข้องกัน เหล่านั้น ซึ่งเป็นไปตามปกติธุรกิจโดยสามารถสรุปได้ดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท) งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

นโยบาย การกำหนดราคา

- - - - - - - - -

- - - - - - - - -

1 176 18 3 437 424 460 2 1

1 152 17 3 262 429 451 - -

ราคาตลาด ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ตามที่ประกาศจ่าย ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ตามอัตราที่จ่ายจริง ราคาตามสัญญา

3 1 1 1,351 21 1

1 3 1 1,294 16 -

597 1,351 21 -

1 694 1,294 16 -

MLR ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ตามที่ประกาศจ่าย ราคาตามสัญญา ตามอัตราที่จ่ายจริง ราคาตามสัญญา

รายการธุรกิจกับบริษัทย่อย (ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว) รายได้ค่าโดยสาร รายได้ค่าอนุญาตประกอบกิจการในสนามบิน รายได้ค่าบริการห้องรับรองในสนามบิน ค่าเช่ารับ เงินปันผลรับ ค่าอาหารบริการผู้โดยสาร ค่าบริการภาคพื้น ค่าอาหาร ค่าบริการขนถ่ายสินค้า รายการธุรกิจกับบริษัทร่วม ดอกเบี้ยรับ รายได้ค่าบริการภาคพื้น รายได้ค่าธรรมเนียมเรียกเก็บเงิน รายได้จากการขายอาหาร เงินปันผลรับ ดอกเบี้ยจ่าย ค่าบริการขนถ่ายสินค้า ค่าเช่าจ่าย

198


(หน่วย : ล้านบาท) งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

นโยบาย การกำหนดราคา

46 2 24 3 12 31 1 3 1 1 2 3 7 279 4 573 171 73 3 4 5 1 1 503 2

58 3 5 3 12 13 1 2 1 2 1 243 4 341 142 67 6 19 3 1 1 573 -

46 2 12 31 1 3 1 1 2 3 7 232 4 532 171 72 4 3 1 484 2

58 3 12 13 1 2 1 2 1 202 4 307 142 67 1 17 3 1 559 -

ราคาตลาด ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ตามอัตราที่จ่ายจริง ราคาตามที่ตกลงกัน ราคาตามสัญญา ตามที่ประกาศจ่าย ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ราคาตามสัญญา ตามอัตราที่จ่ายจริง ราคาตลาด ราคาตามสัญญา ตามอัตราที่จ่าย ราคาตลาด ตามอัตราที่จ่ายจริง

รายการธุรกิจกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน รายได้ค่าโดยสาร รายได้ค่าอนุญาตประกอบกิจการในสนามบิน รายได้จากการขายอาหาร รายได้ค่าบริการภาคพื้น ค่าเช่ารับ รายได้ค่าเช่าเหมาลำ รายได้ค่าระวาง ค่าที่ปรึกษารับ รายได้ค่าโฆษณา รายได้ค่าสนับสนุนการตลาด รายได้ค่าสาธารณูปโภค รายได้ค่าชดเชยรับ กำไรจากการขายสินทรัพย์ เงินปันผลรับ ค่าอาหารบริการผู้โดยสาร ค่าบริการภาคพื้น ค่าบริการจัดการ ค่าบริการรักษาความปลอดภัย ค่าเช่าจ่าย ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่ารักษาพยาบาล ค่าโฆษณา ค่าสาธารณูปโภค ค่าวิทยุการบิน ค่าใช้จา่ ยในการยกเลิกเทีย่ วบินและชดเชยผูโ้ ดยสาร

199


ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแสดงได้ดังนี้ รายชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

200

ความสัมพันธ์กับบริษัทฯ

บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด

บริษัทย่อย

บริษัท การบินกรุงเทพบริการภาคพื้น จำกัด

บริษัทย่อย

บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด

บริษัทย่อย

บริษัท บางกอกแอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด

บริษัทย่อย

บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด

บริษัทย่อย (ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย)

บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งภูเก็ต จำกัด

บริษัทย่อย (ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย)

บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งสมุย จำกัด

บริษัทย่อย (ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย)

บริษัท เอสเอ เซอร์วิสเซส จำกัด

บริษัทย่อย (ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย)

บริษัท บีเอฟเอส คาร์โก้ ดีเอ็มเค จำกัด

บริษัทย่อย (ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย)

บริษัท กูร์เมท์ พรีโม่ จำกัด

บริษัทย่อย (ถือหุ้นโดยบริษัทย่อย)

บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด

บริษัทร่วม

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ สนามบินสมุย

บริษัทร่วม

บริษัท เอส อี เอ เอวิเอชั่น จำกัด

บริษัทร่วม

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท เซาท์ อีสท์ แอร์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ไทยคาร์โกแอร์ไลน์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท บางกอก มีเดีย แอนด์ บรอดคาสติ้ง จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท กรุงเทพเฮลิคอปเตอร์เซอร์วิสเซส จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ไทยปิโตรเลียมเซอร์วิส จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท บางกอก โกลเด้นไลฟ์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท บางปะกง กอล์ฟ คลับ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ปราสาททองโอสถ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท พาราไดซ์ ช้อปปิ้ง จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพสนามจันทร์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ศูนย์ฝึกการบินกรุงเทพ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท สมุยพาร์คอเวนิว จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท สมุยแอคคอม จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน


รายชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

ความสัมพันธ์กับบริษัทฯ

บริษัท สินทรัพย์สุโขทัย จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท สินสหกล จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท กรุงเทพ เซฟดรัก จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท กรุงเทพประกันสุขภาพ จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท กรุงเทพพรีเมียร์ นายหน้าประกันชีวิต จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท การแพทย์สยาม จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท เกียรติธนาขนส่ง จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ขันธ์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ซิงเสียนเยอะเป้า จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท เซฟดรัก เซ็นเตอร์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โซเด็กซ์โซ่ ซัพพอร์ท เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โซเด็กซ์โซ่ เฮ็ลธแคร์ ซัพพอร์ท เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ตราดสีทอง จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ทรีซิกตี้ไฟว์ จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ที เอช เอ็น เน็ตเวิร์ค จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ไทยโคโพลีอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ธนบุรี เมดิเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ธรรมชาตินาไทย จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท นิปปอน แพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเท็มส์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท บางกอก แทรเวล คลับ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท บางกอก โทเทิล คอมมูนิเคชั่น จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท บางกอกริเวอร์เรส จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท บีดีเอ็มเอส เทรนนิ่ง จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท บีดีเอ็มเอส แอคเคาท์ติ้ง จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท บางกอกแอร์ทัวร์ (1988) จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ประสิทธิ์พัฒนา จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ปรุส (2008) จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท เปาโลเมดิค จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน 201


รายชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

202

ความสัมพันธ์กับบริษัทฯ

บริษัท เปาโล สมุทรปราการ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท พัทยา คันทรี่ คลับ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท พาราดิม เอเซีย จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท พีระ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท มายเรียด วัสดุ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท แม็คกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท แม่อรุณ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โมเดอร์นแมนู จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท รอยัลบางกอก เฮ็ลธ์แคร์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โรงพยาบาลพญาไท 1 จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โรงพยาบาลพญาไท 2 จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โรงพยาบาลพญาไท 3 จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โรงพยาบาลศรีราชานคร จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ลีกัล คอนเน็กท์ คอนเซาท์แทนท์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท วนชัย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท วิสุนีย์ แลนด์ดิ้ง จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ศูนย์การแพทย์ไทย จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท สมุย คอนวีเนียนท์ สโตร์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท สมุยปาล์มบีชรอยัลวิง จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท สมุยแอร์พอร์ตช็อป จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท สมุยปาล์มบีชรีสอร์ท จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท สหแพทย์เภสัช จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท สุธากัญจน์ จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท หลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท เอเซียเวิร์ค เทเลวิชั่น จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท เอ.เอ็น.บี.ลาบอราตอรี่(อำนวยเภสัช) จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท หลักทรัพย์ เอสบีไอ ไทย ออนไลน์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน


รายชื่อบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

ความสัมพันธ์กับบริษัทฯ

บริษัท สบาย สบาย นิเวศน์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท เขาค้อ วินด์ พาวเวอร์ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท ซัสเทนเอเบิล เอนเนอยี คอร์ปอเรชั่น จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท กรีนไลน์ ซินเนอร์จี จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท เยเนอรัล ฮอสปิตัล โปรดัคส์ จำกัด (มหาชน)

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท แลนด์ แอนด์ เวจจี้ จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงราย จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท รอยัลโอเรียนทัล เอ็นเนอร์จี จำกัด

มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน

บริษัท PV Consulting จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท ฟู้ด แอนด์ สโตร์ จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท การบินกรุงเทพ (กัมพูชา) จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท มอร์แดนฟรี จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท ประนันท์ภรณ์ จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท ฬาเต้เย็น จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท ออเร้นจ์ ดิจิตอล มีเดีย จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท เอ.พี เชริฟ จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท กรุงเทพบริการการบิน จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท กรุงเทพบริการความปลอดภัย จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท แบ๊กส์บริการภาคพื้น จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท กรุงเทพลิมูซีน จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท ข้าวธรรมชาติ จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท ร้านอาหารสนามบิน จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด เกาะช้างแอคคอม

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

ห้างหุ้นส่วนสามัญ คาเฟ่ ดิ บางกอกแอร์

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท นาข้าวพัฒนา จำกัด

เสมือนเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

203


ยอดคงค้างระหว่างบริษัทฯ และกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 มีรายละเอียดดังนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม 2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2557

2558

2557

ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 9) บริษัทย่อย

-

-

415,711

274,502

บริษัทร่วม

199,312

199,247

198,450

198,460

14,314

28,169

10,095

25,778

213,626

227,416

624,256

498,740

47,500

47,500

47,500

47,500

3,200

3,062

962

962

50,700

50,562

48,462

48,462

บริษัทย่อย

-

-

178,932

168,923

บริษัทร่วม

124,496

111,858

115,653

103,306

บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน)

184,400

122,237

179,761

118,238

รวมเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

308,896

234,095

474,346

390,467

บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน)

26,000

-

-

-

รวมหนี้สินหมุนเวียนอื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

26,000

-

-

-

บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน) รวมลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินมัดจำ - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (แสดงภายใต้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น) บริษัทร่วม บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน (มีผู้ถือหุ้นและ/หรือกรรมการร่วมกัน) รวมเงินมัดจำ - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุ 19)

หนี้สินหมุนเวียนอื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (แสดงภายใต้หนี้สินหมุนเวียนอื่น)

204


เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ยอดคงค้างของเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับระหว่างบริษัทฯ และกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 มีการเคลื่อนไหวของเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับ ดังนี้ (หน่วย: พันบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

เพิ่มข้น ระหว่างปี

ลดลง ระหว่างปี

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

บริษัทย่อย

63,284

-

(18,284)

45,000

รวม

63,284

-

(18,284)

45,000

เงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับ

เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ยอดคงค้างของเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างจ่ายระหว่างบริษัทย่อยและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 มีการเคลื่อนไหวของเงินกู้ยืมและดอกเบี้ยค้างจ่าย ดังนี้

(หน่วย: พันบาท)

งบการเงินรวม ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

เพิ่มข้น ระหว่างปี

ลดลง ระหว่างปี

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

กรรมการ

-

3,541

(3,541)

-

รวม

-

3,541

(3,541)

-

เงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยค้างรับ

ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร ในระหว่างปีสิ้นสุดวันที ่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานที่ให้แก่ กรรมการและผู้บริหาร ดังต่อไปนี้

(หน่วย: ล้านบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

ผลประโยชน์ระยะสั้น

248

194

196

158

ผลประโยชน์หลังออกงาน

11

8

10

6

รวม

259

202

206

164

ภาระค้ำประกันกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีภาระจากการค้ำประกันให้กับกิจการที่เกี่ยวข้องกันตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 34.3 และ 34.4 205


7. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (หน่วย: พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

เงินสด

125,052

168,188

122,387

165,814

เงินฝากธนาคาร

4,447,890

2,006,937

3,972,386

1,711,445

55,039

-

-

-

4,627,981

2,175,125

4,094,773

1,877,259

ตัวแลกเงิน รวม

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และตัวแลกเงินมีอัตราดอกเบี้ยระหว่างร้อยละ 0.05 ถึง 2.75 ต่อปี (2557: ร้อยละ 0.10 ถึง 2.75 ต่อปี) และเงินสดจำนวน 55 ล้านบาท เป็นเงินสดในมือ ที่อยู่ในสถานีต่างประเทศ (2557: 118 ล้านบาท)

8. เงินลงทุนชั่วคราว (หน่วย: พันบาท)

งบการเงินรวม

2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557

2558

2557

เงินฝากประจำที่มีอายุเกินกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 1 ปี หลักทรัพย์เพื่อค้า รวม

8,600,000

11,500,000

8,600,000

11,500,000

15,491

25,142

-

-

8,615,491

11,525,142

8,600,000

11,500,000

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เงินฝากประจำมีอัตราดอกเบี้ยระหว่างร้อยละ 0.9 ถึง 1.9 ต่อปี (2557: ร้อยละ 2.2 ถึง 3.0 ต่อปี) ในระหว่างปีปัจจุบัน บริษัทย่อยขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้ามูลค่าตามบัญชี 4 ล้านบาท (2557: 13 ล้านบาท) และรับรู้กำไรจากการขายจำนวน 0.1 ล้านบาท (2557: 4 ล้านบาท) ในส่วนของกำไรหรือขาดทุน

206


9. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม 2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2557

2558

2557

ลูกหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน อายุหนี้คงค้างนับจากวันที่ถึงกำหนดชำระ ยังไม่ถึงกำหนดชำระ

9,848

22,662

23,834

52,806

ค้างชำระ ไม่เกิน 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน

2,552 1,027 1,219 530

4,375 430 143 229

1,871 921 1,198 530

18,724 430 131 186

15,176

27,839

28,354

72,277

ยังไม่ถึงกำหนดชำระ

1,349,302

1,323,710

982,772

986,487

ค้างชำระ ไม่เกิน 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน

259,646 7,219 14,526 80,856

128,652 25,266 6,773 80,612

189,363 6,736 13,318 79,453

30,641 18,244 2,507 80,590

1,711,549

1,565,013

1,271,642

1,118,469

(92,377)

(90,778)

(91,003)

(89,736)

รวมลูกหนี้การค้า - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน, สุทธิ

1,619,172

1,474,235

1,180,639

1,028,733

รวมลูกหนี้การค้า - สุทธิ

1,634,348

1,502,074

1,208,993

1,101,010

ลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

198,450

199,577

595,902

426,463

รวมลูกหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน, สุทธิ

198,450

199,577

595,902

426,463

ลูกหนี้อื่น - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน

23,416

12,880

23,243

12,879

หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

(9,070)

(9,070)

(9,070)

(9,070)

รวมลูกหนี้อื่น - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน, สุทธิ

14,346

3,810

14,173

3,809

212,796

203,387

610,075

430,272

1,847,144

1,705,461

1,819,068

1,531,282

รวมลูกหนีก้ ารค้า - กิจการทีเ่ กีย่ วข้องกัน, สุทธิ ลูกหนี้การค้า - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน อายุหนี้คงค้างนับจากวันที่ถึงกำหนดชำระ

รวม หัก: ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

ลูกหนี้อื่น

รวมลูกหนี้อื่น - สุทธิ รวมลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น - สุทธิ

207


10. สินค้าคงเหลือ (หน่วย: พันบาท)

งบการเงินรวม

รายการปรับลดราคาทุน ให้เป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ

ราคาทุน

สินค้าคงเหลือ - สุทธิ

2558

2557

2558

2557

2558

2557

200,388

174,755

(39,405)

(41,620)

160,983

133,135

52,822

53,473

-

-

52,822

53,473

523

445

(409)

(409)

114

36

อื่นๆ

92,809

85,372

(400)

(130)

92,409

85,242

รวม

346,542

314,045

(40,214)

(42,159)

306,328

271,886

อะไหล่เครื่องบิน อาหารและอุปกรณ์ครัว ตัวโดยสาร

(หน่วย: พันบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

สินค้าคงเหลือ - สุทธิ

2558

2557

2558

2557

2558

2557

200,388

174,755

(39,405)

(41,620)

160,983

133,135

18,949

24,627

-

-

18,949

24,627

523

445

(409)

(409)

114

36

อื่นๆ

13,624

19,882

-

-

13,624

19,882

รวม

233,484

219,709

(39,814)

(42,029)

193,670

177,680

อะไหล่เครื่องบิน อาหารและอุปกรณ์ครัว ตัวโดยสาร

รายการปรับลดราคาทุน ให้เป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ

ราคาทุน

11. เงินฝากธนาคารที่มีภาระค้ำประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 เงินฝากกระแสรายวันจำนวน 166 ล้านบาท เป็นเงินฝากซึ่งถูกระงับธุรกรรมชั่วคราว และในระหว่างปี 2558 ธนาคารได้ปรับสถานะบัญชีเงินฝากดังกล่าวเป็นปกติ ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบ งบการเงินข้อ 35.3

208


12. เงินลงทุนในบริษัทย่อย 12.1 เงินลงทุนในบริษัทย่อยตามที่แสดงในงบการเงินเฉพาะกิจการ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ทุนเรียกชำระแล้ว บริษัท

2558

บริษัท บางกอกแอร์เวย์ส 1,001,000 โฮลดิ้ง จำกัด

(หน่วย: พันบาท) สัดส่วนเงินลงทุน

2557

2558 (ร้อยละ)

2557 (ร้อยละ)

ราคาทุน 2558

2557

เงินปนผลที่บริษัทฯ รับระหว่างปี 2558 2557

1,001,000

99.99

99.99

1,000,999

1,000,999

39,840

34,535

250

250

99.99

99.99

250

250

72,998

19,999

บริษัท บริการภาคพื้น การบินกรุงเทพ เวิลด์ไวด์ ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด

670,000

670,000

90.00

90.00

603,515

603,515

90,454

-

บริษัท ครัวการบิน กรุงเทพ จำกัด

500,000

500,000

90.00

90.00

579,469

579,469

234,000

207,000

2,184,233

2,184,233

437,292

261,534

บริษัท การบินกรุงเทพ บริการภาคพื้น จำกัด

เงินลงทุนในบริษัทย่อย

เงินลงทุนในบริษัทย่อยจำนวน 594 ล้านบาท (2557: 594 ล้านบาท) ได้ใช้เป็นหลักประกันสำหรับวงเงินสินเชื่อ ของบริษัทย่อย

12.2 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัท บางกอกแอร์เวย์ส โฮลดิ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2557 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติอนุมัติการลงทุนของ บริษัท บางกอก แอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด ในการจัดตั้งบริษัทย่อย บริษัท กูร์เมท์ พรีโม่ จำกัด เพื่อผลิตและแปรรูปอาหาร สำหรับจัดจำหน่าย โดยบริษัท บางกอกแอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวร้อยละ 99.99 บริษัท กูร์เมท์ พรีโม่ จำกัด จัดตั้งขึ้นและจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558 โดยมีทุนจดทะเบียนจำนวน 50 ล้านบาท

209


บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด ในเดือนพฤษภาคม 2558 บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด ได้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในบริษัท บางกอก แอร์เคเทอริ่งภูเก็ต จำกัด โดยการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทดังกล่าวจำนวน 30,000 หุ้น ทำให้สัดส่วนการ ลงทุนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 69.99 เป็นร้อยละ 99.99 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทของ บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด มีมติ อนุมัติการลงทุนและจัดตั้งบริษัทย่อย บริษัท บางกอกแอร์เคเทอริ่งสมุย จำกัด เพื่อบริการอาหารบน เครื่องบินโดย บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด ถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวร้อยละ 99.99 บริษัท บางกอก แอร์เคเทอริ่งสมุย จำกัด จัดตั้งขึ้นและจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 โดยมีทุนจดทะเบียนจำนวน 20 ล้านบาท

13. เงินลงทุนในบริษัทร่วม 13.1 รายละเอียดของบริษัทร่วม (หน่วย: พันบาท)

บริษัท

ลักษณะธุรกิจ

จัดตั้งข้น ในประเทศ

บริษัท ดับบลิวเอฟเอส พีจีคาร์โก้ จำกัด

บริการ คลังสินค้า

ไทย

49.00

กองทุนรวมสิทธิการเช่า กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ สนามบินสมุย

ไทย

บริษัท เอส อี เอ เอวิเอชั่น จำกัด

ไทย

รวม

210

งบการเงินรวม

ขนส่งมวลชน และสินค้า

สัดส่วนเงินลงทุน 2558 (ร้อยละ)

2557 (ร้อยละ)

มูลค่าตามบัญชี ตามวิธีส่วนได้เสีย

ราคาทุน 2558

2557

2558

2557

49.00

147,000

147,000

164,855

219,422

29.99

25.00

3,131,981

2,255,571

2,285,414

1,447,405

-

10.00

-

3,000

-

2,810

3,278,981

2,405,571

2,450,269

1,669,637


(หน่วย: พันบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจ

บริษัท

ลักษณะธุรกิจ

จัดตั้งข้น ในประเทศ

บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด

บริการคลังสินค้า

ไทย

49.00

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ สนามบินสมุย

กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์

ไทย

ขนส่งมวลชน และสินค้า

ไทย

บริษัท เอส อี เอ เอวิเอชั่น จำกัด

สัดส่วนเงินลงทุน 2558 (ร้อยละ)

ราคาทุน

2557 (ร้อยละ)

2558

2557

49.00

147,000

147,000

29.99

25.00

3,131,981

2,255,571

-

10.00

-

3,000

3,278,981

2,405,571

รวม

13.2 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของเงินลงทุนในบริษัทร่วม บริษัท เอส อี เอ เอวิเอชั่น จำกัด เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2558 ของบริษัท เอส อี เอ เอวิเอชั่น จำกัด ได้มีมติอนุมัติให้เลิกบริษัทและชำระบัญชีและคืนทุนให้ผู้ถือหุ้น จากเหตุการณ์น ี้ บริษัทฯได้รับ เงินจากการเลิกกิจการและชำระบัญชีของบริษัทร่วมดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 2.34 ล้านบาท

13.3 ส่วนแบ่งกำไร ขาดทุนและเงินปันผลรับ ในระหว่างปีบริษัทฯรับรู้ส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนจากการลงทุนในบริษัทร่วมในงบการเงินรวมและรับรู้ เงินปันผลรับจากบริษัทร่วมดังกล่าวในงบการเงินเฉพาะกิจการ ดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท)

บริษัท

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจ

ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) จากเงินลงทุนในบริษัทร่วมระหว่างปี

เงินปนผลรับระหว่างปี

2558

2557

2558

2557

บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด

217,382

232,616

271,950

396,900

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย

286,763

205,078

325,163

296,875

15

(12)

-

-

504,160

437,682

597,113

693,775

บริษัท เอส อี เอ เอวิเอชั่น จำกัด รวม

211


13.4 มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่เป็นบริษัทจดทะเบียนฯ สำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วมที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ (หน่วย: ล้านบาท) มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม

บริษัท

2558

2557

กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ สนามบินสมุย

5,670

4,109

รวม

5,670

4,109

13.5 ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัทร่วมที่มีสาระสำคัญ สรุปรายการฐานะทางการเงิน (หน่วย: ล้านบาท) บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด

212

กองทุนรวมสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย

บริษัท เอส อี เอ เอวิเอชั่น จำกัด

2558

2557

2558

2557

2558

2557

สินทรัพย์หมุนเวียน

184

186

115

103

-

6

สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

858

968

10,318

10,439

-

23

หนี้สินหมุนเวียน

(639)

(646)

(14)

(13)

-

-

หนี้สินไม่หมุนเวียน

(27)

(21)

(48)

(48)

-

-

สินทรัพย์ - สุทธิ

376

487

10,371

10,481

-

29

สัดส่วนเงินลงทุน (ร้อยละ)

49.00

49.00

29.99

25.00

-

10.00

สัดส่วนตามส่วนได้เสียของ กิจการในสินทรัพย์ - สุทธิ

184

239

3,110

2,620

-

3

การตัดรายการระหว่างกันและ รายการปรับปรุงอื่น

(19)

(20)

(825)

(1,173)

-

-

มูลค่าตามบัญชีของส่วนได้เสีย ของกิจการในบริษัทร่วม

165

219

2,285

1,447

-

3


สรุปรายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (หน่วย : ล้านบาท) สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม บริษัท ดับบลิวเอ เอสพีจี คาร์โก้ จำกัด

กองทุนรวมสิทธิการเช่า อสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย

บริษัท เอส อี เอ เอวิเอชั่น จำกัด

2558

2557

2558

2557

2558

2557

รายได้

1,569

1,558

1,288

1,225

-

-

กำไร

444

475

1,101

1,178

-

-

กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม

444

475

1,101

1,178

-

-

14. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน มูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนแสดงได้ดังนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ ที่ดิน รอการขาย

อาคารและ ร้านค้าให้เช่า

รวม

ราคาทุน

235,226

321,016

556,242

โอนจัดประเภททรัพย์สิน

(224,700)

-

(224,700)

หัก: ค่าเสื่อมราคาสะสม

-

(77,551)

(77,551)

มูลค่าตามบัญชี - สุทธิ

10,526

243,465

253,991

235,226

321,016

556,242

หัก: ค่าเสื่อมราคาสะสม

-

(61,500)

(61,500)

มูลค่าตามบัญชี - สุทธิ

235,226

259,516

494,742

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558:

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557: ราคาทุน

213


การกระทบยอดมูลค่าตามบัญชีของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนสำหรับปีแสดงได้ดังนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ มูลค่าตามบัญชีต้นปี เพิ่มขึ้นระหว่างปี โอนจัดประเภททรัพย์สิน - มูลค่าสุทธิตามบัญชี ค่าเสื่อมราคา มูลค่าตามบัญชีปลายปี

2558

2557

494,742 - (224,700) (16,051) 253,991

312,317 187,817 - (5,392) 494,742

มูลค่ายุติธรรมของอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 ของบริษัทฯ แสดงได้ดังนี้ (หน่วย: พันบาท) ที่ดินรอการขาย อาคารและร้านค้าให้เช่า

2558

2557

84,955 150,494

312,805 114,322

มูลค่ายุติธรรมของที่ดินและอาคารประเมินโดยผู้ประเมินราคาอิสระโดยใช้เกณฑ์วิธีพิจารณาจากรายได้ และเกณฑ์ราคาตลาดและสำหรับที่ดินบางส่วนใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์จากกรมธนารักษ์ บริษัทฯได้นำอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนมูลค่าสุทธิตามบัญชี จำนวนประมาณ 11 ล้านบาท (2557: 157 ล้านบาท) ไปค้ำประกันวงเงินสินเชื่อที่ได้รับจากธนาคารพาณิชย์

15. เงินลงทุนระยะยาวอื่น

(หน่วย: พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

หลักทรัพย์เผื่อขาย ตราสารทุนในความต้องการของตลาด บวก: กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการปรับมูลค่า หลักทรัพย์เผื่อขาย - สุทธิ ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด เงินลงทุนทั่วไป

2,869,965 24,076,232 26,946,197 50,000 7,044

2,869,965 18,008,745 20,878,710 50,000 7,486

2,223,465 20,171,732 22,395,197 50,000 7,044

2,223,465 15,129,245 17,352,710 50,000 7,486

รวม

27,003,241

20,936,196

22,452,241

17,410,196

หลักทรัพย์เผื่อขายส่วนหนึ่งซึ่งมีมูลค่าตลาด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จำนวน 14,173 ล้านบาท (2557: 10,981 ล้านบาท) ได้ใช้เป็นหลักประกันเงินกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคารและเงินกู้ยืมระยะยาว 214


215

อาคารและ ส่วนตกแต่ง

สนามบินและ ส่วนปรับปรุง เครื่องบิน

ราคาทุน 1,804,133 1,598,412 824,497 4,364,932 31 ธันวาคม 2556 - 12,012 - 674,488 ซื้อเพิ่ม - - - - จำหน่าย - (77,777) 97,512 - โอนเข้า (ออก) 31 ธันวาคม 2557 1,804,133 1,532,647 922,009 5,039,420 ซื้อเพิ่ม - 13,494 - 2,220,681 จำหน่าย - (83) - - โอนจัดประเภททรัพย์สิน 224,700 - - - โอนเข้า (ออก) - 73,937 1,371 - 31 ธันวาคม 2558 2,028,833 1,619,995 923,380 7,260,101 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2556 - 641,485 524,232 2,256,886 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี - 89,451 35,202 171,620 ค่าเสื่อมราคา - จำหน่าย - - - - โอนเข้า (ออก) - (25,370) - - 31 ธันวาคม 2557 - 705,566 559,434 2,428,506 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี - 96,276 38,243 244,836 ค่าเสื่อมราคา - จำหน่าย - (65) - - โอนจัดประเภททรัพย์สิน - - - - 31 ธันวาคม 2558 - 801,777 597,677 2,673,342 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2557 1,804,133 827,081 362,575 2,610,914 31 ธันวาคม 2558 2,028,833 818,218 325,703 4,586,759 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 (จำนวน 496 ล้านบาท รวมอยู่ในต้นทุนขายและบริการ ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร) 2558 (จำนวน 646 ล้านบาท รวมอยู่ในต้นทุนขายและบริการ ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร)

ที่ดิน

16. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

758,036 95,578 (11,791) 68,556 910,379 66,370 (9,963) 58,364 39,424 1,064,574 535,936 83,148 (11,769) 7,355 614,670 113,178 (9,410) 4,276 722,714 295,709 341,860

934,354 154,090 (528) - 1,087,916 206,520 (7,315) - 1,287,121 853,775 1,178,585

เ อร์นิเจอร์และ ส่วนตกแต่ง

1,595,763 333,841 (704) 12,791 1,941,691 514,524 (8,712) - 18,203 2,465,706

งบการเงินรวม อะไหล่ เครื่องบินและ อุปกรณ์ภาคพื้น

- - - - - - - - - 153,676 167,375

125,680 111,670

194,790 279,117 (11,812) (308,419) 153,676 151,506 (572) - (137,235) 167,375

งานระหว่าง ก่อสร้าง

444,272 35,600 (15,493) - 464,379 41,566 (28,931) - 477,014

535,449 68,714 (15,493) 1,389 590,059 23,586 (29,261) - 4,300 588,684

ยานพาหนะ

569,111 740,619

7,033,543 9,559,003

5,337,165 569,111 (27,790) (18,015) 5,860,471 740,619 (45,721) 4,276 6,559,645

11,676,012 1,463,750 (39,800) (205,948) 12,894,014 2,990,161 (48,591) 283,064 - 16,118,648

รวม

(หน่วย: พันบาท)


216

อาคารและ ส่วนตกแต่ง

สนามบินและ ส่วนปรับปรุง เครื่องบิน

ราคาทุน 31 ธันวาคม 2556 1,804,133 1,475,803 824,497 4,364,932 ซื้อเพิ่ม - 12 - 674,488 จำหน่าย - - - - โอนเข้า (ออก) - (84,279) 97,512 - 31 ธันวาคม 2557 1,804,133 1,391,536 922,009 5,039,420 ซื้อเพิ่ม - 110 - 2,220,681 จำหน่าย - (12) - - โอนจัดประเภททรัพย์สิน 224,700 - - - โอนเข้า (ออก) - 69,927 1,371 - 31 ธันวาคม 2558 2,028,833 1,461,561 923,380 7,260,101 ค่าเสื่อมราคาสะสม 31 ธันวาคม 2556 - 595,876 524,232 2,256,886 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี - 73,258 35,202 171,620 ค่าเสื่อมราคา - จำหน่าย - - - - โอนเข้า (ออก) - (25,369) - - 31 ธันวาคม 2557 - 643,765 559,434 2,428,506 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี - 76,812 38,243 244,836 ค่าเสื่อมราคา - จำหน่าย - (2) - - โอนจัดประเภททรัพย์สิน - - - - 31 ธันวาคม 2558 - 720,575 597,677 2,673,342 มูลค่าสุทธิตามบัญชี 31 ธันวาคม 2557 1,804,133 747,771 362,575 2,610,914 31 ธันวาคม 2558 2,028,833 740,986 325,703 4,586,759 ค่าเสื่อมราคาสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 (จำนวน 358 ล้านบาท รวมอยู่ในต้นทุนขายและบริการ ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร) 2558 (จำนวน 485 ล้านบาท รวมอยู่ในต้นทุนขายและบริการ ส่วนที่เหลือรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร)

ที่ดิน 436,376 66,177 (6,196) 68,556 564,913 30,923 (7,342) 58,364 34,677 681,535 316,651 50,885 (6,184) 7,355 368,707 73,971 (6,854) 4,276 440,100 196,206 241,435

784,242 139,841 (55) - 924,028 423,828 - - - 1,347,856 554,655 70,065 (55) - 624,665 100,654 - - 725,319 299,363 622,537

งบการเงินเฉพาะกิจการ อะไหล่ เครื่องบินและ เ อร์นิเจอร์และ อุปกรณ์ภาคพื้น ส่วนตกแต่ง

85,244 69,491

247,885 20,518 (15,493) - 252,910 25,663 (25,312) - 253,261

301,801 50,457 (15,493) 1,389 338,154 5,610 (25,312) - 4,300 322,752

ยานพาหนะ

127,935 163,672

- - - - - - - - -

173,842 254,737 (11,812) (288,832) 127,935 146,584 (572) - (110,275) 163,672

งานระหว่าง ก่อสร้าง

421,548 560,179

6,234,141 8,779,416

4,496,185 421,548 (21,732) (18,014) 4,877,987 560,179 (32,168) 4,276 5,410,274

10,165,626 1,185,712 (33,556) (205,654) 11,112,128 2,827,736 (33,238) 283,064 - 14,189,690

รวม

(หน่วย: พันบาท)


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมียอดคงเหลือของเครื่องบิน ยานพาหนะและอุปกรณ์ ซึ่ ง ได้ ม าภายใต้ สั ญ ญาเช่ า ทางการเงิ น โดยมี มู ล ค่ า สุ ท ธิ ต ามบั ญ ชี เ ป็ น จำนวนเงิ น 4,696 ล้ า นบาท (2557: 2,719 ล้านบาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีอาคารและอุปกรณ์จำนวนหนึ่งซึ่งตัดค่าเสื่อมราคา หมดแล้วแต่ยังใช้งานอยู่ มูลค่าตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของสินทรัพย์ดังกล่าวมีจำนวนเงิน ประมาณ 1,492 ล้ า นบาท (2557: 1,487 ล้ า นบาท) (งบการเงิ น เฉพาะกิ จ การ: 1,228 ล้ า นบาท (2557: 1,233 ล้านบาท)) สนามบิ น สมุ ย และสิ่ ง อำนวยความสะดวกได้ ใช้ เ ป็ น หลั ก ประกั น การปฏิ บั ติ ต ามข้ อ กำหนดและเงื่ อ นไข ของสัญญาเช่าช่วงและสิ่งอำนวยความสะดวกตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 23 ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ของบริษัทฯ ได้ใช้เป็นหลักประกันวงเงินเบิกเกินบัญชี วงเงินกู้ยืมระยะสั้น จากธนาคารและเงินกู้ยืมระยะยาวตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 20 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เครื่องบินของบริษัทฯ จำนวน 4 ลำ อยู่ภายใต้สัญญาซื้อขายแบบมีเงื่อนไข (Conditional Sale Agreement) บริษัทฯรับรู้รูปแบบสัญญาซื้อขายแบบมีเงื่อนไขนี้เป็นสัญญาเช่าทางการ เงิน (Financial Lease) และรับรู้ผู้ขายตามสัญญาซื้อขายแบบมีเงื่อนไขนี้เป็นผู้ให้เช่าเครื่องบิน ทั้งนี้ผู้ให้เช่า เครื่องบินเหล่านี้ได้เช่าเครื่องบินจากเจ้าของเครื่องบินมาอีกทอดหนึ่ง ตามสัญญาเช่าเครื่องบิน (Aircraft Lease Agreement) กำหนดสิทธิผู้ให้เช่าเครื่องบินที่จะซื้อเครื่องบินดัง กล่าวจากเจ้าของเครื่องบิน หากผู้ให้เช่าเครื่องบินไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าเครื่องบินดังกล่าว เจ้าของเครื่อง บินมีสิทธิที่จะกลับเข้าครอบครองเครื่องบินได้ อันอาจเป็นผลทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถใช้หรือรับมอบ กรรมสิทธิ์ในเครื่องบินดังกล่าวได้ แม้จะได้จ่ายชำระเงินให้แก่ผู้ให้เช่าเครื่องบินแล้วตามสัญญา ทั้งนี้ ตาม สัญญาเช่าเครื่องบิน (Aircraft Lease Agreement) กรรมสิทธิ์ในเครื่องบินจะเป็นของบริษัทฯ เมื่อบริษัทฯ ชำระเงินงวดสุดท้ายให้กับผู้ให้เช่าเครื่องบิน และผู้ให้เช่าเครื่องบินได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องบินจาก เจ้าของเครื่องบินแล้ว

217


17. สินทรัพย์ ไม่มีตัวตน บริษัทย่อย 2 แห่งได้ทำสัญญากับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (“ทอท.”) (ผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการดำเนินการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) เพื่อประกอบกิจการตามโครงการต่างๆ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นเวลา 20 ปี นับแต่วันที่ท่าอากาศยานเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ (จากวันที่ 28 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 27 กันยายน 2569) บริษัทย่อยต้องจ่ายชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทนรายปีให้แก่ ทอท. ในจำนวนที่ไม่ต่ำกว่า ค่าตอบแทนขั้นต่ำของแต่ละปีตลอดระยะเวลาที่ได้รับสัมปทาน บริษัท

โครงการ

ระยะเวลา

บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด

ครัวการบิน

20 ปี

บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพ เวิลด์ไวด์ ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด

อุปกรณ์ภาคพื้นและสิ่งอำนวย ความสะดวกด้านอุปกรณ์ซ่อมบำรุง

20 ปี

กรรมสิทธิ์ในอาคาร สิ่งปลูกสร้างและส่วนควบต่างๆ ของโครงการได้โอนเป็นกรรมสิทธิ์ของกระทรวงการคลัง มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 แสดงได้ดังนี้

(หน่วย: พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

สัมปทาน

ซอ ท์แวร์ คอมพิวเตอร์

รวม

สัมปทาน

ซอ ท์แวร์ คอมพิวเตอร์

รวม

920,732

375,186

1,295,918

-

352,316

352,316

หัก: ค่าตัดจำหน่ายสะสม

(426,299)

(158,097)

(584,396)

-

(140,354)

(140,354)

มูลค่าตามบัญชี - สุทธิ

494,433

217,089

711,522

-

211,962

211,962

920,732

372,569

1,293,301

-

351,315

351,315

หัก: ค่าตัดจำหน่ายสะสม

(380,262)

(133,211)

(513,473)

-

(116,521)

(116,521)

มูลค่าตามบัญชี - สุทธิ

540,470

239,358

779,828

-

234,794

234,794

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558: ราคาทุน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557: ราคาทุน

218


การกระทบยอดมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนสำหรับปีแสดงได้ดังนี้ งบการเงินรวม

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

มูลค่าตามบัญชีต้นปี ซื้อซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ จำหน่ายซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ ค่าตัดจำหน่าย ค่าตัดจำหน่ายส่วนที่จำหน่าย โอนจัดประเภททรัพย์สิน - มูลค่าสุทธิตาม บัญชี

779,828 61,021 (40) (75,239) 40 (54,088)

717,086 130,853 - (68,111) - -

234,794 59,366 - (28,110) - (54,088)

128,294 127,791 - (21,291) - -

มูลค่าตามบัญชีปลายปี

711,522

779,828

211,962

234,794

18. สินทรัพย์ ไม่หมุนเวียนอื่น

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม

เงินมัดจำ ภาษีถูกหัก ณ ที่จ่าย อื่นๆ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

941,008 142,114 2,288

658,053 177,504 2,287

934,281 126,288 2,288

650,926 126,285 2,287

1,085,410

837,844

1,062,857

779,498

19. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

301,573

228,442

466,790

384,797

1,335,355

1,457,398

1,149,935

1,278,546

7,323

5,653

7,556

5,670

เจ้าหนี้อื่น - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน

610,137

723,368

506,733

620,831

เจ้าหนี้ค่าซื้อซอฟท์แวร์และอุปกรณ์

6,190

25,263

2,666

8,402

2,260,578

2,440,124

2,133,680

2,298,246

เจ้าหนี้การค้า - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เจ้าหนี้การค้า - กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน เจ้าหนี้อื่น - กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

รวมเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น

219


20. เงินกู้ยืมระยะยาว บริษัทฯ (หน่วย: พันบาท)

เงินกู้

วงเงินกู้

อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี)

ระยะเวลา (ปี)

วันที่ทำสัญญา

การชำระคืน

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558

2557

1

420

ปีที่ 1-2 : MLR - 0.50 ปีที่ 3 เป็นต้นไป : MLR

6

29 ตุลาคม 2552

เป็นรายเดือน

-

117,000

2

1,100

ปีที่ 1: MLR - 1.00 ปีที่ 2: MLR - 0.50 ปีที่ 3 เป็นต้นไป : MLR

7

20 สิงหาคม 2553

เป็นรายเดือน

312,800

495,200

3

250

MLR

5

9 พฤศจิกายน 2553 เป็นรายเดือน

-

61,000

4

500

5.50

7

9 พฤษภาคม 2554

เป็นรายปี

-

45,953

5

300

5.50

7

24 มิถุนายน 2554

เป็นรายเดือน

105,600

148,800

6

53

6.00

7

24 มกราคม 2555

เป็นรายเดือน

21,780

29,700

440,180

897,653

หัก: ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

(233,520)

(457,473)

ส่วนที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหนึ่งปี

206,660

440,180

รวม

บริษัทย่อย (หน่วย: พันบาท) วงเงิน กู้

อัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี)

ระยะเวลา (ปี)

วันที่ทำสัญญา

บริษัท บริการภาคพื้น การบินกรุงเทพ เวิลด์ไวด์ ไฟลท์ เซอร์วิส จำกัด

630

MLR - 0.75

12

15 มีนาคม 2547

บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด

50

MLR

บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด

40

MLR

บริษัท

2558

2557

ชำระคืนเป็น รายไตรมาส

-

157,000

5 ปี 9 เดือน 6 พฤษภาคม 2558 ชำระคืนเป็น รายไตรมาส

30,000

-

1,000

12,600

31,000

169,600

หัก: ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

(8,500)

(168,60)

ส่วนที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหนึ่งปี

22,500

1,000

รวม

220

การชำระคืน

4

24 เมษายน 2555 ชำระคืนเป็น รายไตรมาส


(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม 2558 รวม หัก: ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2557

2558

2557

471,180

1,067,253

440,180

897,653

(242,020)

(626,073)

(233,520)

(457,473)

229,160

441,180

206,660

440,180

ส่วนที่ถึงกำหนดชำระเกินกว่าหนึ่งปี

เงินกู้ยืมดังกล่าวค้ำประกันโดยการจำนองหุ้นสามัญของบริษัทย่อย เงินลงทุนระยะยาวของบริษัทฯและที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างของบริษัทฯและบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุ 12 หมายเหตุ 15 และ หมายเหตุ 16 ตามลำดับ ภายใต้สัญญาเงินกู้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขทางการเงินบางประการตามที่ระบุในสัญญา เช่น การดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ให้เป็นไปตาม สัญญา เป็นต้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 บริษัทฯ และบริษัทย่อยไม่มีวงเงินกู้ยืมระยะยาวตามสัญญาเงินกู้ที่ยัง มิได้เบิกใช้

21. หนี้สินภายใต้สัญญาเช่าการเงินเครื่องบิน หนี้สินภายใต้สัญญาเช่าการเงินเครื่องบิน (อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงร้อยละ 1.00 ถึงร้อยละ 2.90) อายุของสัญญา มีระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 12 ปี ถึงกำหนดชำระดังต่อไปนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 หนี้สินภายใต้ สัญญาเช่าการเงิน

ดอกเบี้ยจ่าย รอตัดบัญชี

รวม

ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

225,856

(33,516)

192,340

ถึงกำหนดชำระหลังจากหนึ่งปี แต่ไม่เกินห้าปี

900,618

(104,328)

796,290

ถึงกำหนดชำระเกินกว่าห้าปี

1,458,993

(66,964)

1,392,029

รวม

2,585,467

(204,808)

2,380,659

221


(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 หนี้สินภายใต้ สัญญาเช่าการเงิน

ดอกเบี้ยจ่าย รอตัดบัญชี

รวม

ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

472,690

(18,103)

454,587

ถึงกำหนดชำระหลังจากหนึ่งปี แต่ไม่เกินห้าปี

193,554

(14,240)

179,314

ถึงกำหนดชำระเกินกว่าห้าปี

338,720

(9,926)

328,794

1,004,964

(42,269)

962,695

รวม

22. หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน

162,095

109,858

95,925

76,607

หัก : ดอกเบี้ยรอการตัดจำหน่าย

(10,052)

(7,742)

(4,871)

(4,530)

รวม

152,043

102,116

91,054

72,077

หัก : ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

(65,675)

(38,328)

(44,977)

(29,120)

หนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน - สุทธิจาก ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

86,368

63,788

46,077

42,957

บริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยได้ ท ำสั ญ ญาเช่ า การเงิ น กั บ บริ ษั ท ลี ส ซิ่ ง เพื่ อ เช่ า ยานพาหนะและอุ ป กรณ์ ใช้ ใ นการ ดำเนินงานของกิจการโดยมีกำหนดการชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน อายุของสัญญามีระยะเวลาโดยเฉลี่ยประมาณ 3 ถึง 5 ปี

222


บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าเช่าขั้นต่ำตามสัญญาเช่าการเงินดังนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม 2558 ไม่เกิน 1 ปี

1 - 5 ปี

รวม

ผลรวมของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า

71,757

90,338

162,095

ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ/เช่าการเงินรอการตัดบัญชี

(6,082)

(3,970)

(10,052)

มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า

65,675

86,368

152,043 (หน่วย: พันบาท)

งบการเงินรวม 2557 ไม่เกิน 1 ปี

1 - 5 ปี

รวม

ผลรวมของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า

42,551

67,307

109,858

ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ/เช่าการเงินรอการตัดบัญชี

(4,223)

(3,519)

(7,742)

มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า

38,328

63,788

102,116 (หน่วย: พันบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 ไม่เกิน 1 ปี

1 - 5 ปี

รวม

ผลรวมของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า

48,234

47,691

95,925

ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ/เช่าการเงินรอการตัดบัญชี

(3,257)

(1,614)

(4,871)

มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า

44,977

46,077

91,054 (หน่วย: พันบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 ไม่เกิน 1 ปี

1 - 5 ปี

รวม

ผลรวมของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า

31,893

44,714

76,607

ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ/เช่าการเงินรอการตัดบัญชี

(2,773)

(1,757)

(4,530)

มูลค่าปัจจุบันของจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นตามสัญญาเช่า

29,120

42,957

72,077

223


23. เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2558

11,285,745

เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยทบต้น

1,351,420

หัก: ส่วนที่จ่ายชำระในปี

(1,283,035)

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

11,354,130

หัก: ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

-

เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน - สุทธิ จากส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี

11,354,130

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 บริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่าระยะยาวกับกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ สนามบิ น สมุ ย (กองทุ น ) เพื่ อ ให้ เช่ า สนามบิ น สมุ ย รวมสิ่ ง อำนวยความสะดวกเป็ น เวลา 30 ปี (ตั้ ง แต่ วั น ที่ 24 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2579) เป็นจำนวนเงิน 9,300 ล้านบาท บริษัทฯได้จดจำนอง ทรัพย์สินที่เช่าให้แก่กองทุนในวงเงิน 20,900 ล้านบาท เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาเช่าระยะยาว ดังกล่าว ตามข้อกำหนดของสัญญาเช่าระยะยาวบริษัท (บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ/หรือบริษัท ในเครือ และ/หรือบริษัทย่อย) ต้องดำรงสัดส่วนการถือเงินลงทุนในกองทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของจำนวน หน่ ว ยลงทุ น ในกองทุ น ที่ อ อกและเสนอขาย เป็ น เวลา 20 ปี (ตั้ ง แต่ วั น ที่ 24 พฤศจิ ก ายน 2549 ถึ ง วั น ที่ 23 พฤศจิกายน 2569) ในวันเดียวกันบริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่าช่วงสนามบินสมุยจากกองทุนเป็นระยะเวลา 3 ปี พร้อมคำมั่นที่จะเช่า ช่วงทรัพย์สินที่เช่าต่อไม่เกิน 9 ครั้ง ครั้งละ 3 ปี พร้อมกันนี้บริษัทฯ ได้ทำสัญญาอีกฉบับหนึ่งเพื่อรับบริการ ระบบสิ่งอำนวยความสะดวกที่สนามบินสมุยจากกองทุนเป็นระยะเวลา 30 ปี (ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2579) ค่าตอบแทนตามสัญญาดังกล่าวมีดังนี้ ค่าเช่าช่วง

26,125,000 บาทต่อเดือน

บริการระบบสิ่งอำนวยความสะดวก

224

- คงที่

21,375,000 บาทต่อเดือน

- เพิ่มเติม

ผันแปรตามจำนวนผู้โดยสารขาออกและ เที่ยวบินขาเข้า


บริษัทฯ ต้องจัดให้มีหลักประกันโดยการส่งมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย และ/หรือ นำเงิ น สดมาฝากไว้ เ พื่ อ เป็ น ประกั น ในบั ญ ชี เ งิ น ฝากของกองทุ น และ/หรื อ การจำนำหุ้ น ที่ จ ดทะเบี ย นใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือหลักทรัพย์อื่นๆ ซึ่งจะต้องมีจำนวน อย่างน้อยเท่ากับจำนวนค่าเช่า ช่วงตามที่ระบุในสัญญาเช่าช่วงและค่าบริการคงที่ตามที่ระบุในสัญญาบริการระบบจำนวน 12 เดือน ในกรณี ที่เป็นการจำนำหุ้นและ/หรือหลักทรัพย์อื่นๆ มูลค่าหลักประกันต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 120 ของวงเงินที่จำนำ ตลอดระยะเวลาที่มีการจำนำ บริษทั ฯ ได้จำนำหุน้ สามัญของบริษทั กรุงเทพดุสติ เวชการ จำกัด (มหาชน) จำนวน 45 ล้านหุน้ (2557: 45 ล้านหุน้ ) โดยมีมูลค่ายุติธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 จำนวน 999 ล้านบาท (2557: 774 ล้านบาท) เพื่อเป็น หลักประกันตามสัญญาเช่าช่วงและสัญญาบริการระบบข้างต้น

24. สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน จำนวนเงินสำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานซึ่งเป็นเงินชดเชยพนักงานเมื่อออกจากงานแสดงได้ดังนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

328,553

286,485

270,393

236,694

ต้นทุนบริการในปัจจุบัน

58,703

39,886

43,027

30,984

ต้นทุนดอกเบี้ย

12,787

11,163

10,481

9,367

(907)

-

(907)

-

ส่วนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ข้อสมมติทางการเงิน

26,911

-

26,911

-

ส่วนที่เกิดจากการปรับปรุงจากประสบการณ์

36,469

-

36,469

-

(41,170)

(8,981)

(39,961)

(6,652)

421,346

328,553

346,413

270,393

สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานต้นปี ส่วนที่รับรู้ในกำไรขาดทุน:

ปรับปรุง: ขายส่วนงานโรงครัวสมุย ส่วนที่รับรู้ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น: (กำไร) ขาดทุนจากการประมาณการตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัย

ผลประโยชน์ที่จ่ายในระหว่างปี สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานปลายปี

225


ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานรวมอยู่ในส่วนของกำไรหรือขาดทุนแสดง ได้ดังนี้ (หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

ต้นทุนขายและบริการ

48,050

35,520

36,009

28,007

ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร

22,533

15,529

16,592

12,344

รวมค่าใช้จ่ายที่รับรู้ในกำไรหรือขาดทุน

70,583

51,049

52,601

40,351

บริษัทฯ และบริษัทย่อยคาดว่าจะจ่ายชำระผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานภายใน 1 ปี ข้างหน้า เป็นจำนวน ประมาณ 0.8 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: ไม่มี) (2557: จำนวน 0.8 ล้านบาท งบการเงินเฉพาะกิจการ: ไม่มี) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ระยะเวลาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการจ่ายชำระผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงานของ บริษัทฯ และบริษัทย่อยประมาณ 9.74 - 12.02 ปี (งบการเงินเฉพาะกิจการ: 12.02 ปี) (31 ธันวาคม 2557: 9.74 - 12.02 ปี งบการเงินเฉพาะกิจการ: 12.02 ปี) สมมติฐานที่สำคัญในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ณ วันประเมินสรุปได้ดังนี้ (หน่วย: ร้อยละต่อปี) งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

อัตราคิดลด

3.14 - 4.10

3.96 - 4.10

3.14

4.00

อัตราการขึ้นเงินเดือนในอนาคต

5.00 - 7.00

4.00 - 6.00

6.00

5.00

อัตราการเปลี่ยนแปลงในจำนวนพนักงาน (ขึ้นกับช่วงอายุ)

0.00 - 33.00

0.00 - 22.00

5.00 - 9.00

4.00

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสมมติฐานที่สำคัญต่อมูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันผลประโยชน์ระยะยาวของ พนักงาน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 สรุปได้ดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินรวม เพิ่มขึ้น 1

226

งบการเงินเฉพาะกิจการ

ลดลง 1

เพิ่มขึ้น 1

ลดลง 1

อัตราคิดลด

(36)

43

(30)

36

อัตราการขึ้นเงินเดือนในอนาคต

39

(34)

36

(31)

อัตราการเปลี่ยนแปลงในจำนวนพนักงาน (ขึ้นกับช่วงอายุ)

(40)

44

(33)

39


25. ทุนเรือนหุ้น เมื่อวันที่ 14 - 17 ตุลาคม 2557 21 - 22 ตุลาคม 2557 และ 24 ตุลาคม 2557 บริษัทฯ เสนอขายหุ้นสามัญ เพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไปจำนวน 520,000,000 หุ้น ในราคาหุ้นละ 25 บาท คิดเป็นเงินจำนวน 13,000 ล้านบาท โดยมีส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ (สุทธิจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายหุ้นสามัญ) จำนวน 12,066 ล้านบาท และบริษัทฯ ได้รับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวในวันที่ 28 ตุลาคม 2557 ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จดทะเบียนการเพิ่มทุนชำระแล้วจากเดิม 1,580 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 1,580 ล้านหุ้น มูลค่าที่ ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) เป็น 2,100 ล้านบาท (หุ้นสามัญ 2,100 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท) กับกระทรวง พาณิชย์เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2557

รายการกระทบยอดจำนวนหุ้นสามัญ (หน่วย: หุ้น) งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558

2557

2,100,000,000

1,580,000,000

-

520,000,000

2,100,000,000

2,100,000,000

หุ้นสามัญจดทะเบียน ออกจำหน่ายและชำระแล้ว จำนวนหุ้นสามัญ ณ วันต้นปี เพิ่มทุนเรียกชำระ - หุ้นละ 1 บาท จำนวนหุ้นสามัญ ณ วันปลายปี

26. สำรองตามกฎหมาย ภายใต้บทบัญญัติของมาตรา 116 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 บริษัทฯ ต้องจัดสรรกำไร สุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิประจำปี หักด้วยยอดขาดทุนสะสม ยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียนสำรองตามกฎหมาย ดังกล่าวไม่สามารถนำไปจ่ายเงินปันผลได้

227


27. ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ รายการค่าใช้จ่ายแบ่งตามลักษณะประกอบด้วยรายการค่าใช้จ่ายที่สำคัญดังต่อไปนี้ งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

4,982,612

4,150,915

3,407,555

2,755,328

ค่าเสื่อมราคา

756,670

574,503

576,230

426,940

ค่าตัดจำหน่าย

77,361

70,232

30,232

23,412

ค่าเช่าจ่ายตามสัญญาเช่าดำเนินงาน

1,870,235

1,995,604

1,756,204

1,884,647

ค่าน้ำมันสำหรับเครื่องบิน

4,401,314

5,199,960

4,401,314

5,199,960

ค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษา

2,320,608

2,094,226

2,198,449

1,970,278

ค่าบริการภาคพื้น

1,181,356

934,545

1,640,871

1,385,997

ค่าอาหารและค่าบริการผู้โดยสาร

986,923

770,635

1,410,794

1,199,613

ค่าธรรมเนียมลงจอด

351,676

336,245

351,676

336,245

ค่าวิทยุการบิน

589,429

583,729

589,429

583,729

1,269,258

1,056,023

1,269,258

1,056,023

วัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป

515,754

479,409

-

-

ค่าน้ำมันสำหรับอุปกรณ์ภาคพื้น

47,432

54,335

-

-

เงินเดือนและค่าแรงและผลประโยชน์อื่นของพนักงาน

ค่าใช้จ่ายในการสำรองที่นั่ง

228

(หน่วย: พันบาท)


28. ภาษีเงินได้ 28.1 สินทรัพย์ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี

ส่วนประกอบของสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ประกอบด้วย รายการดังต่อไปนี้ (หน่วย: พันบาท)

งบการเงินรวม 2558

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2557

2558

2557

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ

8,043

8,432

7,963

8,406

ค่าเสื่อมราคาสะสม - อาคารและอุปกรณ์

505

623

-

-

ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย

15,146

14,412

1,685

1,576

สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน

42,691

29,771

27,831

18,186

ขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้

12,429

85,213

12,429

85,213

รวม

78,814

138,451

49,908

113,381

4,748,396

3,534,899

4,034,346

3,025,849

761

537

761

537

341,029

289,393

341,029

289,393

-

156

-

156

5,090,186

3,824,985

4,376,136

3,315,935

28,906

25,070

-

-

5,040,278

3,711,604

4,326,228

3,202,554

หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการวัดมูลค่าหลักทรัพย์ รายได้ค้างรับ หนี้สินภายใต้สัญญาเช่าการเงินเครื่องบิน หนี้สินภายใต้สัญญาเช่าทางการเงิน รวม สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี - สุทธิ

หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี - สุทธิ

229


28.2 ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้สำหรับปี สรุปได้ดังนี้

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

133,312

99,530

-

-

255

(200)

-

(200)

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีจากการเกิดผลแตกต่างชั่วคราวและ การกลับรายการผลแตกต่างชั่วคราว

116,433

(98,808)

120,269

(97,251)

ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่แสดงอยู่ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

250,000

522

120,269

(97,451)

ภาษีเงินได้ปัจจุบัน: ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับปี รายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลของปีก่อน ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี:

รายการกระทบยอดระหว่างกำไรทางบัญชีกับค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้มีดังนี้ งบการเงินรวม

(หน่วย: พันบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

2,099,067

386,196

1,980,575

398,212

20%

20%

20%

20%

419,813

77,239

396,115

79,643

255

(200)

-

(200)

(122,325)

(59,510)

(122,325)

(59,510)

51,703

(12,495)

51,703

73,640

213,868

188,016

213,170

180,565

ค่าใช้จ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่มขึ้น

(313,314)

(192,528)

(418,394)

(371,589)

รวม

(170,068)

(76,517)

(275,846-)

(176,894)

250,000

522

120,269

(97,451)

กำไรทางบัญชีก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล กำไรทางบัญชีก่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล คูณอัตราภาษี รายการปรับปรุงค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลของปีก่อน ผลกระทบทางภาษีสำหรับ: การส่งเสริมการลงทุน (หมายเหตุ 29) รายได้ที่ไม่ถือเป็นรายได้ทางภาษี ค่าใช้จ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร

ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่แสดงอยู่ใน งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

230


28.3 ภาษีเงินได้ส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบแต่ละส่วนของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น จำนวนภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบแต่ละส่วนของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นสำหรับปี สรุปได้ดังนี้

(หน่วย: พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

1,213,497

1,322,789

1,008,497

1,099,339

(5,092)

-

(5,092)

-

1,208,405

1,322,789

1,003,405

1,099,339

ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ กำไรจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย ขาดทุนจากการประมาณการตามหลัก คณิตศาสตร์ประกันภัย

29. สิทธิพิเศษจากการส่งเสริมการลงทุน บริษัทฯได้รับสิทธิและประโยชน์จากการได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการ ลงทุนโดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมเป็น เวลาแปดปี ดังต่อไปนี้ บัตรส่งเสริมเลขที่

รายการ

วันที่เริ่มมีรายได้จากบัตรส่งเสริม

วันสิ้นสุดสิทธิที่ได้รับ

กิจการขนส่งทางอากาศ

2072(2)/2548 2199(2)/2551 1204(2)/2555 2019(2)/2555 1208(2)/2556

เครื่องบิน 6 ลำ ผู้โดยสาร 795 ที่นั่ง เครื่องบิน 3 ลำ ผู้โดยสาร 430 ที่นั่ง เครื่องบิน 2 ลำ ผู้โดยสาร 300 ที่นั่ง เครื่องบิน 1 ลำ ผู้โดยสาร 162 ที่นั่ง เครื่องบิน 4 ลำ ผู้โดยสาร 832 ที่นั่ง

1 กรกฎาคม 2550 30 มกราคม 2552 11 มีนาคม 2555 30 พฤศจิกายน 2555 18 พฤษภาคม 2556

30 มิถุนายน 2558 29 มกราคม 2560 10 มีนาคม 2563 29 พฤศจิกายน 2563 17 พฤษภาคม 2564

1 พฤษภาคม 2550

30 เมษายน 2558

กิจการสนามบิน

1352(2)/2550

สนามบินสมุย

กิจการผลิตอาหาร

2110(3)/2549

ผลิตอาหารพร้อมรับประทานและ กึ่งพร้อมรับประทาน

-

-

ในฐานะที่เป็นบริษัทฯ ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ ที่กำหนดในบัตรส่งเสริมนี้ 231


รายได้ของบริษัทฯสำหรับปีจำแนกตามกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

(หน่วย: ล้านบาท)

กิจการที่ได้รับ การส่งเสริม

กิจการที่ไม่ได้รับ การส่งเสริม

รวม

2558

2557

2558

2557

2558

2557

12,833

12,526

6,271

4,987

19,104

17,513

870

1,029

2,917

1,900

3,787

2,929

13,703

13,555

9,188

6,887

22,891

20,442

รายได้ รายได้ค่าบัตรโดยสาร อื่นๆ รวมรายได้

30. กำไรต่อหุ้น กำไรต่อหุน้ ขัน้ พืน้ ฐานคำนวณโดยหารกำไรสำหรับปีทเี่ ป็นของผูถ้ อื หุน้ ของบริษทั ฯ (ไม่รวมกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอืน่ ) ด้วยจำนวนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของหุ้นสามัญที่ออกอยู่ในระหว่างปี

กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานแสดงการคำนวณได้ดังนี ้ กำไรสำหรับปี

232

จำนวนหุ้นสามัญ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

กำไรต่อหุ้น

2558 (พันบาท)

2557 (พันบาท)

2558 (พันหุ้น)

2557 (พันหุ้น)

2558 (บาท)

2557 (บาท)

งบการเงินรวม

1,796,863

351,105

2,100,000

1,672,603

0.86

0.21

งบการเงินเฉพาะกิจการ

1,860,305

495,663

2,100,000

1,672,603

0.89

0.30


31. ข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน ข้ อ มู ล ส่ ว นงานดำเนิ น งานที่ น ำเสนอนี้ ส อดคล้ อ งกั บ รายงานภายในของบริ ษั ท ฯ ที่ ผู้ มี อ ำนาจตั ด สิ น ใจสู ง สุ ด ด้านการดำเนินงานได้รับและสอบทานอย่างสม่ำเสมอเพื่อใช้ในการตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรให้กับส่วนงาน และประเมินผลการดำเนินงานของส่วนงาน เพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารงาน บริษัทฯ และบริษัทย่อยจัดโครงสร้างองค์กรเป็นหน่วยธุรกิจตามประเภทของ บริการ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีส่วนงานที่รายงานทั้งสิ้น 3 ส่วนงาน ดังนี้ • • •

ส่วนงานสายการบิน เป็นส่วนงานที่จำหน่ายตัวโดยสารและให้บริการขนส่งผู้โดยสาร ส่วนงานสนามบิน เป็นส่วนงานที่ให้บริการสถานที่สำหรับผู้โดยสารและสายการบินต่างๆ ส่วนงานสนับสนุนธุรกิจการบิน เป็นส่วนงานที่ให้บริการภาคพื้นดิน คลังสินค้าและบริการอาหารให้แก่ สายการบินและบุคคลทั่วไป

ส่วนงานอื่น คือ ส่วนงานธุรกิจร้านอาหาร เนื่องจากส่วนงานดำเนินงานดังกล่าวมีลักษณะเชิงปริมาณที่ไม่เข้า เงื่อนไขที่ต้องแยกแสดงตามที่กำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดสอบทานผลการดำเนินงานของแต่ละหน่วยธุรกิจแยกจากกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดสรรทรัพยากรและการประเมินผลการปฏิบัติงาน บริษัทฯ ประเมินผลการปฏิบัติงาน ของส่วนงานโดยพิจารณาจากกำไรหรือขาดทุนจากการดำเนินงานซึ่งวัดมูลค่าโดยใช้เกณฑ์เดียวกับที่ใช้ในการ วัดกำไรหรือขาดทุนจากการดำเนินงานในงบการเงิน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ และบริษัทย่อยบริหารงานด้าน การจัดหาเงิน ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายทางการเงิน และรายได้ทางการเงิน และภาษีเงินได้ของทั้งกลุ่ม ดังนั้น รายได้ และค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงไม่มี การปันส่วนให้แต่ละส่วนงานดำเนินงาน ราคาโอนระหว่างส่วนงานดำเนินงานถูกกำหนดจากพื้นฐานของราคาที่ตกลงร่วมกัน รายได้ระหว่างส่วนงานถูกตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว

233


234

154

(8)

114

3

111

2558

(9)

70

1

69

2557 - (887)

(887)

2558 - (884)

(884)

2557

4,885

23,113

-

23,113

2558

1,797

381

3,497

882

2,615

2557

351

(35)

244 73 3 72 698 (1,510) (1,457) (6) 438 (1,638) (1)

3,470

21,033

-

21,033

2557

งบการเงินรวม

กำไรสำหรับปีส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ

112

3,921

883

3,038

2558

การตัดรายการบัญชี ระหว่างกัน

(52)

134

504

-

504

2557

ส่วนงานอื่นๆ

ส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของ บริษัทย่อย

3,213

535

-

535

2558

ส่วนงานสนับสนุน ธุรกิจการบิน

280 256 - 323 930 (1,748) (1,716) (9) 504 (1,606) (250)

4,378

กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงานตามส่วนงาน

17,845

1

17,844

2557

ส่วนงาน สนามบิน

(หน่วย: ล้านบาท)

รายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้ปันส่วน: เงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับ กำไรจากการขายเงินลงทุน กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าใช้จ่ายอื่น ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม ค่าใช้จ่ายทางการเงิน ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

19,430

1

19,429

รายได้ทั้งสิ้น

รายได้ระหว่างส่วนงาน

รายได้จากภายนอก

2558

ส่วนงาน สายการบิน

ข้อมูลรายได้และกำไรของส่วนงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยสำหรับปีมีดังต่อไปนี้


บริษทั ฯ และบริษทั ย่อยใช้เกณฑ์ในการกำหนดราคาระหว่างกันตามทีก่ ล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบ งบการเงินข้อ 6 รายได้จากส่วนงานสายการบิน ส่วนงานสนามบินและส่วนงานสนับสนุนการบินของบริษัทฯ และบริษัทย่อยที่เกิด ในประเทศคิดเป็นร้อยละ 67 ของรายได้ส่วนงาน ในปี 2558 และ 2557 บริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยไม่ มี ร ายได้ จ ากลู ก ค้ า รายใดที่ มี มู ล ค่ า เท่ า กั บ หรื อ มากกว่ า ร้อยละ 10 ของรายได้ของกิจการ

32. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทฯ และพนักงานบริษัทฯ ได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยง ชีพ พ.ศ. 2530 โดยบริษัทฯและพนักงานจะจ่ายสมทบเข้ากองทุนเป็นรายเดือนในอัตรา ร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 8 (2557: ร้อยละ 2 ถึงร้อยละ 5) ของเงินเดือน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้บริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) และจะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นออกจากงานตามระเบียบว่าด้วยกองทุนขอ งบริษัทฯ ในระหว่างปี 2558 บริษัทฯได้จ่ายเงินสมทบกองทุนเป็นจำนวนเงิน 82 ล้านบาท (2557: 47 ล้านบาท) บริษัทย่อยและพนักงานบริษัทได้ร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยง ชีพ พ.ศ. 2530 โดยบริษัทย่อยและพนักงานจะจ่ายสมทบเข้ากองทุนเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 3 ถึงร้อยละ 7 ของเงินเดือน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้บริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) และจะจ่ายให้แก่พนักงานเมื่อพนักงานนั้นออกจากงานตามระเบียบว่าด้วยกองทุนของบริษัทย่อย ในระหว่าง ปี 2558 บริษัทย่อยได้จ่ายเงินสมทบกองทุนเป็นจำนวนเงิน 20 ล้านบาท (2557: 17 ล้านบาท)

33. เงินปันผลจ่าย อนุมัติโดย

จำนวน เงินปนผล (ล้านบาท)

อัตราเงินปนผล ต่อหุ้น (บาท)

เงินปันผลประจำปีสำหรับปี 2557

ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2558

420

0.20

เงินปันผลระหว่างกาลสำหรับปี 2558

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558

525

0.25

945

0.45

235


34. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 34.1 ภาระผูกพันเกี่ยวกับสัญญาเช่าดำเนินงาน

บริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่าที่เกี่ยวข้องกับการเช่าเครื่องบินกับบริษัทในต่างประเทศ อุปกรณ์สำนักงานและ อุปกรณ์ภาคพื้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ มีจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายในอนาคตภายใต้สัญญาเช่าเครื่องบิน จำนวนทั้งสิ้น 159 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา (2557: 157 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา) บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีจำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องจ่ายในอนาคตทั้งสิ้นภายใต้สัมปทาน สัญญาเช่าที่ดิน สัญญาเช่าอาคารสำนักงานและสัญญาบริการทั้งในและต่างประเทศที่บอกเลิกไม่ได้ ดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558

2557

2558

2557

771

715

268

227

มากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี

2,100

1,917

171

170

มากกว่า 5 ปี

3,238

3,663

78

73

จ่ายชำระ ภายใน 1 ปี

34.2 ภาระผูกพันเกี่ยวกับรายจ่ายฝ่ายทุน

236

34.2.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีภาระผูกพันรายจ่ายฝ่ายทุนซึ่งส่วนใหญ่ เกี่ยวเนื่องกับส่วนปรับปรุงอาคารจำนวน 25 ล้านบาท (2557: 11 ล้านบาท) และการซื้อ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานเพื่อใช้ในการดำเนินงานของบริษัทฯ จำนวน 34 ล้านบาท (2557: 75 ล้านบาท) 34.2.2 ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2558 บริ ษั ท ฯ มี ภ าระผู ก พั น จากการลงนามในสั ญ ญาซื้ อ ขาย เครื่องบิน เอ ที อาร์ จำนวน 5 ลำ กับ Avions De Transport Regional G.I.E. โดยมีกำหนด ส่งมอบเครื่องบินระหว่างเดือนมกราคม 2559 ถึง กุมภาพันธ์ 2560


34.3 หนังสือค้ำประกัน

34.3.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯค้ำประกันวงเงินกู้และวงเงินสินเชื่อให้แก่บริษัทย่อย ในวงเงิน 570 ล้านบาท (2557: 1,910 ล้านบาท) และบริษัทร่วมในวงเงิน 165 ล้านบาท (2557: 165 ล้านบาท) 34.3.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคาร ในนามของบริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ย ซึ่ ง เกี่ ย วเนื่ อ งกั บภาระผู ก พั น ทางปฏิ บัติ บางประการ ตามปกติธุรกิจของ บริษัทฯ และบริษัทย่อย คงเหลือดังนี้ งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2558 (ล้าน)

2557 (ล้าน)

2558 (ล้าน)

2557 (ล้าน)

161.55

153.49

19.18

11.12

20.05 0.03

20.05 0.03

20.05 0.03

20.05 0.03

142.81

135.74

-

-

เหรียญสหรัฐอเมริกา ริงกิตมาเลเซีย เหรียญสิงคโปร์ ตากา รูปีอินเดีย

0.50 0.02 0.14 1.20 18.30

0.50 0.02 0.14 1.20 18.80

0.50 0.02 0.14 1.20 18.30

0.50 0.02 0.14 1.20 18.80

บาท ยูโร เหรียญสหรัฐอเมริกา รูปีอินเดีย

50.61 0.01 0.37 0.50

56.67 0.01 - -

35.95 0.01 0.34 0.50

42.01 0.01 - -

หนังสือค้ำประกันการเช่าที่ดินและอาคาร

บาท

หนังสือค้ำประกันการซื้อน้ำมันสำหรับเครื่องบิน

บาท เหรียญสหรัฐอเมริกา

หนังสือค้ำประกันการทำสัญญาสัมปทาน

บาท

หนังสือค้ำประกันการจ่ายชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ อื่นๆ

237


34.4 การค้ำประกัน

บริษัทฯ และบริษัทย่อย 34.4.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากภาระ การค้ำประกันเงินกู้ยืมดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท) ผู้ค้ำประกัน บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด

ผู้ถูกค้ำประกัน บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด

2558

2557

120

46

34.4.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 และ 2557 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจาก ภาระการค้ำประกันหนี้เบิกเกินบัญชีดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท) ผู้ค้ำประกัน บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด

ผู้ถูกค้ำประกัน บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด

2558

2557

5

5

34.5 ภาระผูกพันอื่น

238

34.5.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 บริษัทฯ มีภาระผูกพันเกี่ยวกับเงินลงทุนที่ยังไม่ได้เรียกชำระ ในบริษัท แห่งหนึ่งจำนวน 9 ล้านบาท (2558: ไม่มี) 34.5.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ ได้ทำสัญญาจ้างบริการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน กับบริษัทแห่งหนึ่ง โดยมีระยะเวลาตามสัญญา 2 ปี 5 เดือน ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาดังกล่าว บริษทั ฯ มีภาระผูกพันทีจ่ ะต้องจ่ายค่าบริการตามจำนวนเทีย่ วบินทีเ่ กิดขึน้ จริง คิดเป็นจำนวนเงิน ประมาณ 112 ล้านบาท 34.5.3 เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2558 บริษัทฯ ได้ทำสัญญากับกิจการแห่งหนึ่ง (“คู่สัญญา”) เพื่อ แลกเปลี่ยนผลตอบแทนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ (Swap Transaction) โดยบริษัทฯ ผูกพันที่จะจ่ายจำนวนเงินในอัตราคงที่เพื่อแลกเปลี่ยนกับผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ในหลักทรัพย์ของกิจการแห่งหนึ่งของคู่สัญญา สัญญาดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลา 3 ปี สิ้นสุด วันที่ 5 พฤศจิกายน 2561 โดย ณ วันสิ้นสุดของสัญญา คู่สัญญาเป็นผู้มีสิทธิเลือกที่จะ ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯมีจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในอนาคตทั้งสิ้นภายใต้สัญญาดังกล่าว ที่บอกเลิกไม่ได้ ดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท)

งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558

2557

ภายใน 1 ปี

95

-

มากกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี

174

-

จ่ายชำระ

34.6 วงเงินเลตเตอร์ออ เครดิต

ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2558 บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาสินเชื่อกับสาขาของธนาคารต่างประเทศแห่งหนึ่ง โดยมี ว งเงิ น สิ น เชื่ อ ระยะสั้ น วงเงิ น สั ญ ญาค้ ำ ประกั น วงเงิ น เลตเตอร์ อ อฟเครดิ ต รวมเป็ น เงิ น 3 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริษัทฯ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ ที่ระบุไว้ในสัญญา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 บริษัทฯ มีวงเงินคงเหลือที่ยังไม่ได้เบิกใช้จำนวน 1.87 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา

35. คดี ้องร้อง บริษัท 35.1 35.2

บริษัทฯ ถูกฟ้องโดยอดีตพนักงานของบริษัทฯ จำนวน 3 ราย เพื่อเรียกเงินโบนัสในปี 2550 จำนวน 0.2 ล้านบาท แต่บริษัทฯ ต่อสู้ว่าพนักงานลาออกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2551 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงิน โบนัสของปีก่อนที่จ่ายในระหว่างปี 2551 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 ศาลพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ 1 ราย ซึ่งมีทุนทรัพย์ฟ้อง 61,000 บาท และคดีสำหรับอดีตพนักงาน 1 รายนี้ ถือเป็นอันสิ้นสุดและ สำหรับคดีของพนักงานอีก 2 ราย ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา เทศบาลเมืองเกาะสมุยได้ประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของสนามบินสมุยระหว่างปี 2550 ถึงปี 2553 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 119 ล้านบาท และสำหรับปี 2554 ถึง 2557 เป็นจำนวนเงินปีละ 38.8 ล้านบาท บริษัทฯ ไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีดังกล่าว เนื่องจากการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของ เทศบาลเมืองเกาะสมุยไม่ ช อบด้ ว ยข้ อ กฎหมายและข้ อ เท็ จ จริ ง จึ ง ได้ ร้ อ งขอให้ มีก ารประเมินใหม่ ตามสิทธิท่ีมีอยู่ตามกฎหมาย แต่จำเป็นต้องชำระเงินภาษีตามที่ถูกประเมินให้แก่เทศบาลเมืองเกาะสมุย ไปก่อน เนื่องจากตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 จะต้องมีการชำระภาษี ที่ถูกประเมินไปก่อนจึงจะสามารถนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลได้

239


35.3

240

บริษัทฯ ได้ดำเนินการฟ้องเทศบาลเมืองเกาะสมุยต่อศาลภาษีอากรกลางเพื่อเรียกร้องให้เทศบาลเมือง เกาะสมุ ย คื น ภาษี ท่ี ไ ด้ ช ำระไปแล้ ว ทั้ ง นี้ ศาลภาษี อ ากรกลางได้ ตั ด สิ น ให้ บ ริ ษั ท ฯ ชนะคดี ส ำหรั บ การประเมินภาษีปี 2550 ถึงปี 2553 และสำหรับการประเมินภาษีปี 2554 ถึงปี 2557 โดยได้พิพากษา ให้เทศบาลเมืองเกาะสมุยชำระคืนเงินภาษีโรงเรือนสำหรับปี 2550 ถึงปี 2553 และสำหรับปี 2554 ถึงปี 2557 คืนให้แก่บริษัทฯ พร้อมทั้งดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ทั้งนี้ เทศบาลเมืองเกาะสมุย ได้ยื่นขอทุเลาการบังคับตามพิพากษาและได้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลภาษีอากรกลางโดยขณะนี ้ คำอุทธรณ์อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ทั้งนี้ บริษัทฯ ยืนยันว่า การบันทึกรายการที่เกี่ยวข้องเพื่อวัตถุประสงค์ทางบัญชี จะไม่กระทบถึงและ ไม่ถือเป็นการสละสิทธิตามกฏหมายของบริษัทฯ ในการเรียกร้องภาษีโรงเรือนที่ศาลได้มีคำพิพากษา ให้เทศบาลเมืองเกาะสมุยชำระคืนให้แก่บริษัทฯ แล้ว รวมถึงคดีอื่นๆที่บริษัทฯ ได้โต้แย้งและอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาล และการอุทธรณ์การประเมินภาษีของบริษัทฯ บริษัทฯ ถูกฟ้องจากโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนในการจำหน่ายบัตรโดยสารและบริการขนส่งสินค้า ทางอากาศที่ดำเนินการในประเทศบังกลาเทศ โดยโจทก์ได้ยื่นฟ้องบริษัทฯ เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นว่า บริษัทฯกระทำผิดสัญญาเนื่องจากการไม่ต่ออายุสัญญาแต่งตั้งบริษัทตัวแทนทำให้ได้รับความเสียหาย คิดเป็นเงินประมาณ 807 ล้านตากา หรือประมาณ 308 ล้านบาท และขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครอง ชั่วคราวห้ามมิให้บริษัทฯ กระทำธุรกรรมใดๆ กับบัญชีเงินฝากของบริษัทฯที่ ธนาคาร เอชเอสบีซี สาขา Banani ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 11 ซึ่ง ศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องไว้ แต่ให้ยกคำขอคุ้มครองชั่วคราว โจทก์จึงได้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอคุ้มครอง ชั่วคราวไปยังศาลฎีกาและศาลพิจารณาแล้วเห็นควรอนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราว โดยให้ศาลชั้นต้น จำหน่ายคำขอคุ้มครองชั่วคราวเมื่อพ้นกำหนด 2 เดือนนับจากวันที่ได้รับคำสั่ง บริษัทฯ ได้ว่าจ้าง ทนายความต่อสู้ข้อกล่าวหาเนื่องจากการต่ออายุสัญญาแต่งตั้งบริษัทตัวแทนเป็นสิทธิของบริษัทฯ อีกทั้งสัญญาแต่งตั้งบริษัทตัวแทนไม่ได้กำหนดให้บริษัทฯ ต้องขอความยินยอมจากบริษัทตัวแทน ในเรื่องการต่ออายุสัญญาก่อนแต่อย่างใด ต่อมาบริษัทฯ และโจทก์มีความพยายามที่จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยบริษัทฯ ต้องจ่าย ชดเชยค่าเสียหายให้กับโจทก์เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1.6 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือ จำนวน 52 ล้ า นบาท ซึ่ ง บริ ษั ท ฯ ได้ บั น ทึ ก ภาระหนี้ สิ น ที่ ต้ อ งจ่ า ยให้ กั บ โจทก์ ไว้ ค รบถ้ ว นแล้ ว ต่ อ มาเมื่ อ วั น ที ่ 28 กันยายน 2557 บริษัทฯ ได้ลงนามในข้อตกลงระงับข้อพิพาทโดยบริษัทฯ มีภาระที่ต้องจ่ายชำระ ค่าเสียหายสุทธิจำนวน 0.8 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือ เทียบเท่า 64 ล้านตากา คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 26 ล้านบาท โดยบริษัทฯ จะแบ่งจ่ายเงินค่าเสียหายเป็น 5 งวด งวดละเท่าๆ กัน ต่อมาธนาคาร เอชเอสบีซี ได้ปรับสถานะบัญชีเงินฝากของบริษัทฯ เป็นปกติพร้อมทั้งโอนเงินจำนวน 64 ล้านตากา ไปยังบัญชีเงินฝากเพื่อประโยชน์ของคู่สัญญาเพื่อเตรียมจ่ายให้กับโจทก์ เมื่อโจทก์ได้ปฎิบัติตามเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในข้อตกลงระงับข้อพิพาทและสัญญาแต่งตั้งตัวแทนชำระเงินแล้ว


35.4 35.5

ในเดือนพฤษภาคม กันยายน พฤศจิกายนและธันวาคม 2558 บริษัทฯ ได้จ่ายชำระค่าเสียหายงวดที่ 1 งวดที่ 2 งวดที่ 3 และงวดที่ 4 ตามลำดับ ให้แก่โจทก์ ตามบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาท โดยตั้งแต่ เดือนมิถนุ ายน 2558 จนถึงปัจจุบนั บริษทั ฯ ได้โอนเงินกลับเข้าบัญชีธนาคารของบริษทั ฯ ในประเทศไทย แล้วจำนวนประมาณ 106 ล้านบาท ในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 บริษัทฯ ถูกฟ้องโดยอดีตพนักงานของบริษัทฯ เพื่อเรียกค่าเสียหายจาก การละเมิดและผิดสัญญาจ้าง จำนวน 91.4 ล้านบาท ต่อมาในเดือนเมษายน 2557 บริษัทฯ ได้ยื่น ฟ้องโจทก์ในข้อหาผิดสัญญาการศึกษาและฝึกอบรมจำนวน 10.2 ล้านบาท ต่อมาในเดือนมีนาคม 2558 ศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 1.8 ล้านบาท พร้อมกับ ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ศาลฎีกา ในเดือนกรกฎาคม 2557 บริษัทฯ ถูกฟ้องจากอดีตพนักงานของบริษัทฯ เพื่อเรียกเงินชดเชยจาก การเลิกจ้างจำนวน 34.6 ล้านบาท ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานกลาง

บริษัทย่อย

35.6

ในระหว่างปี 2551 บริษัทย่อยถูกฟ้องเป็นจำนวนเงินรวม 68.6 ล้านบาท จากเจ้าหนี้ค่าก่อสร้างของ บริษัทย่อย ทั้งนี้สืบเนื่องจากกรณีข้อพิพาทระหว่างบริษัทย่อยและผู้ก่อสร้างในประเด็นที่บริษัทย่อย เห็นว่าผู้ก่อสร้างไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของสัญญาก่อสร้าง เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2553 ศาลชั้นต้น พิพากษาให้บริษัทย่อยชำระเงินจำนวน 25.4 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วนั ที ่ 15 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ และเมือ่ วันที ่ 14 กรกฏาคม 2553 บริษัทย่อยได้ยื่นคำร้องขอทุเลาคดีแก่ศาลอุทธรณ์ ในเดือนมีนาคม 2554 บริษัทย่อยได้จ่ายชำระเงินคืนในส่วนของเงินค่าประกันผลงานแก่โจทก์จำนวน 10.4 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวน 13.1 ล้านบาท และเมื่อวันที ่ 17 มีนาคม 2554 บริษัทย่อยได้นำเงินส่วนที่เหลือจำนวน 15 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยรวมเป็นเงินจำนวน 19.8 ล้านบาท ไว้เป็นประกันตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2554 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ บริษัทย่อยชำระเงินค่างานเพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนเงิน 13.6 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที ่ 15 ตุลาคม 2550 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ต่อมาเมื่อวันที ่ 30 กันยายน 2554 บริษัทย่อยได้ย่ืนฎีกาต่อศาลฎีกา ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งยังไม่อาจ ทราบผลสรุปได้ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัทย่อยเชื่อว่าจำนวนเงินที่บันทึกไว้ในบัญชีแล้วนั้นเพียงพอ สำหรับค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากคดีความดังกล่าว

241


36. ลำดับชั้นของมูลค่ายุติธรรม ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2558 บริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยมี สิ น ทรั พ ย์ แ ละหนี้ สิ น ที่ วั ด มู ล ค่ า ด้ ว ยมู ล ค่ า ยุ ติ ธ รรม หรือเปิดเผยมูลค่ายุติธรรมแยกแสดงตามลำดับชั้นของมูลค่ายุติธรรม ดังนี้ (หน่วย: ล้านบาท)

งบการเงินรวม ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

รวม

เงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า - ตราสารทุน

15

-

-

15

เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย - ตราสารทุน

26,946

-

-

26,946

5,670

-

-

5,670

-

-

235

235

มูลค่ายุติธรรมของสัญญาแลกเปลี่ยนราคาน้ำมันที่เป็นหนี้สิน

-

-

183

183

มูลค่ายุติธรรมของสัญญาแลกเปลี่ยนตราสารทุนที่เป็นหนี้สิน

-

-

280

280

สินทรัพย์ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม

สินทรัพย์ที่เปิดเผยมูลค่ายุติธรรม เงินลงทุนในบริษัทร่วมที่เป็นบริษัทจดทะเบียนฯ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หนี้สินที่เปิดเผยมูลค่ายุติธรรม

(หน่วย: ล้านบาท) งบการเงินเฉพาะกิจการ ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

รวม

22,395

-

-

22,395

5,670

-

-

5,670

-

-

235

235

มูลค่ายุติธรรมของสัญญาแลกเปลี่ยนราคาน้ำมันที่เป็นหนี้สิน

-

-

183

183

มูลค่ายุติธรรมของสัญญาแลกเปลี่ยนตราสารทุนที่เป็นหนี้สิน

-

-

280

280

สินทรัพย์ที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย - ตราสารทุน สินทรัพย์ที่เปิดเผยมูลค่ายุติธรรม เงินลงทุนในบริษัทร่วมที่เป็นบริษัทจดทะเบียนฯ อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หนี้สินที่เปิดเผยมูลค่ายุติธรรม

242


37. เครื่องมือทางการเงิน 37.1 นโยบายการบริหารความเสี่ยง เครื่องมือทางการเงินที่สำคัญของบริษัทฯตามที่นิยามอยู่ในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 107 “การแสดง รายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน” ประกอบด้วย เงินสดและรายการ เที ย บเท่ า เงิ น สด ลู ก หนี้ ก ารค้ า เงิ น ให้ กู้ ยื ม เงิ น ลงทุ น เงิ น กู้ ยื ม ระยะสั้ น และเงิ น กู้ ยื ม ระยะยาว บริษัทฯ มีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงินดังกล่าว และมีนโยบายการบริหารความเสี่ยง ดังนี้ ความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อ บริษัทฯ มีความเสี่ยงด้านการให้สินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับลูกหนี้การค้า เงินให้กู้ยืม ลูกหนี้อื่นและตั๋วเงินรับ ฝ่ายบริหารควบคุมความเสี่ยงนี้โดยการกำหนดให้มีนโยบายและวิธีการในการควบคุมสินเชื่อที่เหมาะสม ดังนั้ นบริ ษัทฯ จึงไม่คาดว่าจะได้รับ ความเสีย หายที่ เป็นสาระสำคัญ จากการให้ สินเชื่ อ นอกจากนี้ การให้สินเชื่อของบริษัทฯ ไม่มีการกระจุกตัวเนื่องจากบริษัทฯ มีฐานของลูกค้าที่หลากหลายและ มีอยู่จำนวนมากราย จำนวนเงินสูงสุดที่บริษัทฯอาจต้องสูญเสียจากการให้สินเชื่อคือมูลค่าตามบัญชีของ ลูกหนี้ เงินให้กู้ยืม ลูกหนี้อื่นและตั๋วเงินรับที่แสดงอยู่ในงบแสดงฐานะการเงิน ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย บริษัทฯ มีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องกับเงินฝากสถาบันการเงิน เงินเบิกเกิน บัญชี หุ้นกู้และเงินกู้ยืมระยะยาวที่มีดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงิน ส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นลงตามอัตราตลาด หรือมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ซึ่งใกล้เคียงกับอัตรา ตลาดในปัจจุบัน ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของบริษัทฯจึงอยู่ในระดับต่ำ สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่สำคัญสามารถจัดตามประเภทอัตราดอกเบี้ย และสำหรับสินทรัพย์ และหนี้สินทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่สามารถแยกตามวันที่ครบกำหนด หรือ วันที่มีการกำหนด อัตราดอกเบี้ยใหม่ (หากวันที่มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยใหม่ถึงก่อน) ได้ดังนี้

243


(หน่วย: ล้านบาท)

งบการเงินรวม 2558 อัตราดอกเบี้ย ปรับข้นลง มากกว่า 5 ปี ตามราคาตลาด

อัตราดอกเบี้ยคงที่ ภายใน 1 ปี

1 ถง 5 ปี

ไม่มี อัตรา ดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

รวม

สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสด

7

-

-

2,132

2,489

4,628

0.05 - 2.75

8,600

-

-

-

15

8,615

0.90 - 1.90

-

-

-

-

1,847

1,847

-

27

-

-

-

-

27

0.90 - 1.10

-

-

50

-

26,953

27,003

4.375

8,634

-

50

2,132

31,304

42,120

เจ้าหนี้การค้าและ เจ้าหนี้อื่น

-

-

-

-

2,261

2,261

เงินกู้ยืมระยะยาว

51

76

-

344

-

หนี้สินภายใต้สัญญาเช่า เครื่องบิน

192

796

1,392

-

-

2,380

1.00 - 2.90

เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่า ทางการเงิน

66

86

-

-

-

152

4.00 - 6.25

เงินกู้ยืมระยะยาวจาก กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

-

102

11,252

-

-

11,354

12.64

309

1,060

12,644

344

2,261

16,618

เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เงินฝากประจำที่มีภาระค้ำ ประกัน เงินลงทุนระยะยาวอื่น รวม หนี้สินทางการเงิน

รวม

244

-

471 5.5 - 6.0 และ MLR - 1.0 ถึง MLR


(หน่วย: ล้านบาท)

งบการเงินรวม 2557 อัตราดอกเบี้ย ปรับข้นลง มากกว่า 5 ปี ตามราคาตลาด

อัตราดอกเบี้ยคงที่ ภายใน 1 ปี

1 ถง 5 ปี

ไม่มี อัตรา ดอกเบี้ย

รวม

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสด

2

-

-

727

1,446

2,175

0.10 - 2.75

11,500

-

-

-

25

11,525

1.20 - 3.00

-

-

-

-

1,705

1,705

-

22

-

-

2

168

192

1.70 - 2.95

-

-

50

-

20,886

20,936

4.375

11,524

-

50

729

24,230

36,533

เจ้าหนี้การค้าและ เจ้าหนี้อื่น

-

-

-

-

2,440

2,440

เงินกู้ยืมระยะยาว

97

127

-

843

-

หนี้สินภายใต้สัญญาเช่า เครื่องบิน

455

179

329

-

-

963

0.86 - 7.07

เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่า ทางการเงิน

33

48

-

-

21

102

4.50 - 6.61

เงินกู้ยืมระยะยาวจาก กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

-

-

11,286

-

-

11,286

12.64

585

354

11,615

843

2,461

15,858

เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เงินฝากประจำที่มีภาระค้ำ ประกัน เงินลงทุนระยะยาวอื่น รวม หนี้สินทางการเงิน

รวม

-

1,067 5.5 - 6.0 และ MLR - 1.5 ถึง MLR

245


(หน่วย: ล้านบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2558 อัตราดอกเบี้ย ปรับข้นลง มากกว่า 5 ปี ตามราคาตลาด

อัตราดอกเบี้ยคงที่ ภายใน 1 ปี

1 ถง 5 ปี

ไม่มี อัตรา ดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

รวม

สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสด

2

-

-

1,666

2,427

4,095

0.05 - 2.75

8,600

-

-

-

-

8,600

0.90 - 1.90

ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

-

-

-

-

1,819

1,819

-

เงินฝากประจำที่มีภาระค้ำ ประกัน

2

-

-

-

-

2

0.90

เงินลงทุนระยะยาวอื่น

-

-

50

-

22,402

22,452

4.375

8,604

-

50

1,666

26,648

36,968

เจ้าหนี้การค้าและ เจ้าหนี้อื่น

-

-

-

-

2,134

2,134

เงินกู้ยืมระยะยาว

51

76

-

313

-

หนี้สินภายใต้สัญญาเช่า เครื่องบิน

192

796

1,392

-

-

2,380

1.00 - 2.90

เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่า ทางการเงิน

45

46

-

-

-

91

4.00 - 6.23

เงินกู้ยืมระยะยาวจาก กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

-

102

11,252

-

-

11,354

12.64

288

1,020

12,644

313

2,134

16,399

เงินลงทุนชั่วคราว

รวม หนี้สินทางการเงิน

รวม

246

-

440 5.5 - 6.0 และ MLR - 1.0 ถึง MLR


(หน่วย: ล้านบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2557 อัตราดอกเบี้ย ปรับข้นลง มากกว่า 5 ปี ตามราคาตลาด

อัตราดอกเบี้ยคงที่ ภายใน 1 ปี

1 ถง 5 ปี

ไม่มี อัตรา ดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง (ร้อยละต่อปี)

รวม

สินทรัพย์ทางการเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสด

2

-

-

497

1,378

1,877

0.10 - 2.75

11,500

-

-

-

-

11,500

1.20 - 3.00

ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น

-

-

-

-

1,531

1,531

-

เงินฝากประจำที่มีภาระค้ำ ประกัน

-

-

-

2

166

168

1.70

เงินลงทุนระยะยาวอื่น

-

-

50

-

17,360

17,410

4.375

11,502

-

50

499

20,435

32,486

เจ้าหนี้การค้าและ เจ้าหนี้อื่น

-

-

-

-

2,298

2,298

เงินกู้ยืมระยะยาว

97

128

-

673

-

898 5.5 - 6.0 และ MLR - 1.5 ถึง MLR

หนี้สินภายใต้สัญญาเช่า เครื่องบิน

455

179

329

-

-

963

0.86 - 7.07

เจ้าหนี้ตามสัญญาเช่า ทางการเงิน

29

43

-

-

-

72

4.50 - 6.61

เงินกู้ยืมระยะยาวจาก กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

-

-

11,286

-

-

11,286

12.64

581

350

11,615

673

2,298

15,517

เงินลงทุนชั่วคราว

รวม หนี้สินทางการเงิน

รวม

-

247


37.2 ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน บริ ษั ท ฯ และบริ ษั ท ย่ อ ยมี ย อดคงเหลื อ ที่ มี ส าระสำคั ญ ของสิ น ทรั พ ย์ แ ละหนี้ สิ น ทางการเงิ น ที่ เ ป็ น สกุลเงินตราต่างประเทศ ดังนี้ งบการเงินรวม สกุลเงิน

หนี้สินทางการเงิน

อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย

2558

2557

2558

2557

(ล้าน)

(ล้าน)

(ล้าน)

(ล้าน)

1

1

-

-

26.28

26.81

1,646

1,347

2

13

0.46

0.42

เรนมินบิ

17

14

1

2

5.55

5.30

ยูโร

6

8

-

-

39.44

40.05

ปอนด์สเตอร์ลิง

1

1

-

-

53.50

51.15

เหรียญฮ่องกง

8

18

4

5

4.66

4.25

รูปีอินเดีย

155

157

22

34

0.54

0.52

เยน

20

45

1

2

0.30

0.27

รูเบิล

23

18

-

-

0.50

0.56

เหรียญสิงคโปร์

2

1

-

-

25.52

24.89

เหรียญสหรัฐฯ

72

65

91

63

36.09

32.96

เหรียญไต้หวัน

4

6

-

-

1.10

1.04

359

341

-

-

0.03

0.03

ริงกิตมาเลเซีย

-

-

1

-

8.43

9.42

แรนด์แอฟริกาใต้

1

-

-

-

2.36

2.84

เปโซฟิลิปปินส์

1

-

-

-

0.77

0.74

รูเปียอินโดนีเซีย

921

-

27

-

0.003

0.003

เหรียญออสเตรเลีย ตากา

วอน

248

สินทรัพย์ทางการเงิน

2558

2557

(บาทต่อหน่วยเงินตราต่างประเทศ)


งบการเงินเฉพาะกิจการ สกุลเงิน

สินทรัพย์ทางการเงิน

หนี้สินทางการเงิน

อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย

2558

2557

2558

2557

(ล้าน)

(ล้าน)

(ล้าน)

(ล้าน)

1

1

-

-

26.28

26.81

1,646

1,347

2

13

0.46

0.42

17

14

1

2

5.55

5.30

ยูโร

6

8

-

-

39.44

40.05

ปอนด์สเตอร์ลิง

-

1

-

-

53.50

51.15

เหรียญฮ่องกง

8

18

4

5

4.66

4.25

155

157

22

34

0.54

0.52

เยน

20

45

1

2

0.30

0.27

รูเบิล

23

18

-

-

0.50

0.56

เหรียญสิงคโปร์

2

1

-

-

25.52

24.89

เหรียญสหรัฐฯ

70

63

82

53

36.09

32.96

เหรียญไต้หวัน

4

6

-

-

1.10

1.04

359

341

-

-

0.03

0.03

ริงกิตมาเลเซีย

-

-

1

-

8.43

9.42

แรนด์แอฟริกาใต้

1

-

-

-

2.36

2.84

เปโซฟิลิปปินส์

1

-

-

-

0.77

0.74

921

-

27

-

0.003

0.003

เหรียญออสเตรเลีย ตากา เรนมินบิ

รูปีอินเดีย

วอน

รูเปียอินโดนีเซีย

2558

2557

(บาทต่อหน่วยเงินตราต่างประเทศ)

249


37.3 ความเสี่ยงด้านราคาน้ำมัน

ความผันผวนของราคาน้ำมันจะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก รวมทั้ง ผลกระทบจากสภาวการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลการดำเนินงาน เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจขนส่งทางอากาศ บริษัทฯ ได้จัดทำการประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความผันผวนของต้นทุน ด้านน้ำมันอากาศยาน และเพื่อให้ผลประกอบการของบริษัทฯ เป็นไปตามเป้าหมายและเป็นการปกป้อง มูลค่าของบริษัทฯ ให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้ท่ีเกี่ยวข้อง โดยมิใช่เป็นการแสวงหารายได้หรือหวังผลกำไร เพิ่มเติมจากการบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมัน บริษัทฯ ได้มีการบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมันอากาศยานอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ โดยได้ปรับนโยบาย การบริหารความเสี่ยงราคาน้ำมันฯ ให้สามารถจัดทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และไม่ เ กิ น ร้ อ ยละ70 ของปริ ม าณการใช้ ใ นรอบหนึ่ ง ปี และระยะเวลาประกั น ไม่ เ กิ น 12 เดื อ น โดยวิธีการกำหนดราคาน้ำมันฯขั้นต่ำและขั้นสูงไว้ซึ่งบริษัทฯ จะต้องรับภาระส่วนต่างหากราคาน้ำมัน ต่ำกว่าราคาขั้นต่ำในทางกลับกันบริษัทฯ จะได้รับชดเชยส่วนต่างหากราคาน้ำมันสูงกว่าราคาขั้นสูง โดยการรับชดเชยหรือจ่ายชดเชยส่วนต่างเป็นสกุลเหรียญดอลลาร์สหรัฐ บริษัทฯ ได้ประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันในสัดส่วนถัวเฉลี่ยร้อยละ 48.67 (2557: ร้อยละ 58.6) ของปริ ม าณการใช้ ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2558 บริ ษั ท ฯยั ง มี ภ าระผู ก พั น จากการทำประกั น ความเสี่ ย งราคาน้ ำ มั น ถึ ง เดื อ นกั น ยายน 2559 อี ก เป็ น จำนวน 345,000 บาร์ เรล (2557: 735,000 บาร์เรล) โดยทำสัญญาแลกเปลี่ยนราคาน้ำมันในราคาระหว่าง 56 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรลถึง 77 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (2557: ราคาระหว่าง 96.9 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ต่อบาร์เรลถึง 119.27 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล)

37.4 มูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน

เนื่องจากเครื่องมือทางการเงินส่วนใหญ่ของบริษัทฯ จัดอยู่ในประเภทระยะสั้น เงินให้กู้ยืมและเงินกู้ยืม มีอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด บริษัทฯจึงประมาณมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือ ทางการเงินใกล้เคียงกับมูลค่าตามบัญชีที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน ยกเว้น สัญญาแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมัน สัญญาแลกเปลี่ยนตราสารทุน

250


มูลค่ายุติธรรมของตราสารอนุพันธ์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 มีดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท) งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะกิจการ มูลค่ายุติธรรม กำไร (ขาดทุน) ตราสารอนุพันธ์

สัญญาแลกเปลี่ยนราคาน้ำมัน

(183)

สัญญาแลกเปลี่ยนตราสารทุน

(280)

บริษัทฯ มีการประมาณการมูลค่ายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงินตามหลักเกณฑ์ดังนี้ ก)

ตราสารอนุพัน ธ์ แสดงมูล ค่ า ยุ ติ ธ รรมซึ่ ง คำนวณโดยใช้ เ ทคนิ ค การคิ ด ลดกระแสเงิ น สดในอนาคตและ แบบจำลองตามทฤษฎีในการประเมินมูลค่า ซึ่งข้อมูลที่นำมาใช้ในการประเมินมูลค่าส่วนใหญ่เป็นข้อมูล ที่สามารถสังเกตได้ในตลาดที่เกี่ยวข้อง เช่น อัตราแลกเปลี่ยนทันที อัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าของเงินตรา ต่างประเทศ เส้นอัตราผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ย และเส้นราคาล่วงหน้าของสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น ในระหว่างปีปัจจุบัน ไม่มีการโอนรายการระหว่างลำดับชั้นของมูลค่ายุติธรรม

38. การบริหารจัดการทุน วัตถุประสงค์ในการบริหารจัดการทุนที่สำคัญของบริษัทฯ คือการจัดให้มีซึ่งโครงสร้างทุนที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุน การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯและเสริมสร้างมูลค่าการถือหุ้นให้กับผู้ถือหุ้น โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 กลุ่ม บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 0.83:1 (2557: 0.91:1) และเฉพาะบริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 0.84:1 (2557: 0.90:1)

39. เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีข้อเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณา อนุมัติการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2558 ในอัตรา 0.45 บาทต่อหุ้น คิดเป็นจำนวนเงิน 945 ล้านบาท

40. การอนุมัติงบการเงิน งบการเงินนี้ได้รับอนุมัติให้ออกโดยคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559

251


Fly Boutique. Feel Unique.

Conta t re tory


Bang o A r ays ead

es

A C Ch ang a A r ort

e

e

eser at on Center 1771 Sales

Ch ang a o n Bang o A r ort

e

e Ch ang a A r ort

Ch ang a o n

e

e

253


uro ean eg onal

e

am ang A r ort

e

e

at a A r ort

e

uang ra ang A r ort

e

Fax: 856 (71) 253 253

ong ong o n

e

uang ra ang o n

e

Sales

ra A r ort

ra o n

254

e

e

andalay A r ort

andalay o n

e

e


S um a A r ort

e

ay y a A r ort

attaya A r ort

attaya o n

hnom enh o n

e

e

e

hnom enh A r ort

e

hu et A r ort

e

e

hu et o n

e

Samu A r ort

e

Samu Cha eng

e

255


S S em ea o n

S nga ore A r ort

S nga ore o n

e

e

e

rat ( oh Chang)

ent ane o n

e

angon A r ort

e

angon o n Su hotha A r ort

rat A r ort

256

e

e

e

e




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.