L I F E S T Y L E
Positioning for Profitable Growth While Minimizing Risk Focused on improvements in efffiiciencies to prepare to reap the upcoming proffiit potentials of 2013 and beyond.
Looking forward to a brighter 2013 Crafted our plan to make 2013 the biggest year of expansion also continue to lead the market in both market share and innovation.
จุดเด่นทางการเงิน
05 06
สาส์นจากประธานกรรมการ สาส์นจากประธานกรรมการบริหาร
PEOPLE
09
คณะกรรมการและคณะผู้บริหาร
ORGANIZATION
12 14
โครงสร้างองค์กร โครงสร้างการถือหุ้น โครงสร้างบริษัทในเครือ
16
Contents BUSINESSES
18 20 22 23 24 25 26
ลักษณะการประกอบธุรกิจ ธุรกิจโรงภาพยนตร์
28 38 44 48 49 55 56
ธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจพื้นที่ให้เช่าและบริการ ธุรกิจการจัดจำ�หน่ายภาพยนตร์ พันธมิตรทางธุรกิจ ปัจจัยความเสี่ยง
การกำ�กับดูแลกิจการ โครงสร้างการจัดการ การควบคุมภายใน บุคคลากร รายการระหว่างกัน ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โครงการเสนอใบสำ�คัญแสดงสิทธิ
CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY
58
กิจกรรมเพื่อสังคม
FINANCIALS
62 64 65 66 67 76
จากก้าวสู่ก้าว
ธุรกิจโบว์ลิ่ง คาราโอเกะและสเก็ตน้ำ�แข็ง
GOVERNANCE
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
MILESTONE
MESSAGES
คำ�อธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน
เมษายน 2555 • จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนโดยออกใบสำ�คัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญให้แก่ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทและ/หรือ บริษัทย่อย (ESOP-W4) อายุ 5 ปี จำ�นวน 8,690,000 หน่วย คิดเป็นร้อยละ 1.0 ของจำ�นวนหุ้นที่มีสิทธิออก เสียงทั้งหมด ณ วันที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2555 ราคาเสนอขาย 0 บาท ราคาการใช้สิทธิต่อหุ้นเท่า กับ 15.44 บาท พฤษภาคม 2555 • เปิดโรงภาพยนตร์เมกา ซีนเี พล็กซ์ ให้บริการโรงภาพยนตร์จ�ำ นวน 15 โรงภาพยนตร์ และโบว์ลง่ิ จำ�นวน 24 เลน และลานสเก็ตน้ำ�แข็ง 1 ลานที่โครงการเมกะบางนา • เข้าร่วมลงทุนกับบริษทั จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำ�กัด เปิดบริษทั เค อารีนา่ จำ�กัด โดยการซือ้ หุน้ จำ�นวน 99,998 หุน้ ราคาหุน้ ละ 100 บาท จำ�นวนเงิน 9,999,800 บาท สัดส่วนการลงทุนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน โดย วัตถุประสงค์ของบริษัท คือ ให้บริการด้านคาราโอเกะ กันยายน 2555 • เปิดโรงภาพยนตร์อีจีวี ซีนีม่า สาขาซีคอนบางแค ให้บริการโรงภาพยนตร์จำ�นวน 10 โรงภาพยนตร์ พฤศจิกายน 2555 • บริษัทย่อยจำ�นวน 4 บริษัท ได้ทำ�การจดทะเบียนลดทุน ดังนี้ - บริษัท เชียงใหม่ ซีนีเพล็กซ์ จำ�กัด ลดทุนจากมูลค่าหุ้นละ 100 บาท เป็น 25 บาท ทำ�ให้จำ�นวนทุนจด ทะเบียนลดลงจากเดิม 20 ล้าน บาท เป็น 5 ล้านบาท - บริษทั อุดร ไฟว์สตาร์ ซีนเี พล็กซ์ จำ�กัด ลดทุนจากมูลค่าหุน้ ละ 100 บาท เป็น 25 บาท ทำ�ให้ทนุ จด ทะเบียนลดลงจากเดิม 39 ล้านบาท เป็น 9.75 ล้านบาท - บริษทั อีจวี ี ไฟว์สตาร์ จำ�กัด ลดทุนจากมูลค่าหุน้ ละ 10 บาท เป็น 5 บาท ทำ�ให้ทนุ จดทะเบียนลดลงจาก เดิม 40 ล้านบาทเป็น 20 ล้านบาท - บริษทั เอ็นเตอร์เทน โกลเด้นท์ วิลเลจ เอ็กซิบชิ น่ั จำ�กัด ลดทุนจากมูลค่าหุน้ ละ 10 บาท เป็น 5 บาท ทำ�ให้ทนุ จดทะเบียนลดลงจากเดิม 10 ล้านบาท เป็น 5 ล้านบาท ธันวาคม 2555 • เปิดโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขานครศรีธรรมราช ให้บริการโรงภาพยนตร์จำ�นวน 4 โรงภาพยนตร์ • เพิ่มเงินลงทุนในบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำ�กัด(มหาชน) โดยการทยอย (ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2555 – ธันวาคม 2555) ซื้อหุ้นเพิ่มจำ�นวน 11,474,400 หุ้น ราคาหุ้นละ 1.44 บาท เป็นจำ�นวนเงินเท่ากับ 16,532,739 บาท ทำ�ให้สัดส่วนการถือหุ้นเปลี่ยนจากเดิมร้อยละ 66.07 เป็น 67.86 • เปลี่ยนแปลงเงินลงทุนในบริษัท สยามฟิวเจอร์ดีเวลลอปเมนท์ จำ�กัด(มหาชน) โดยการทยอย(ตั้งแต่ มกราคม 2555 - ธันวาคม 2555) ซือ้ หุน้ เพิม่ จำ�นวน 4,232,100 หุน้ ราคาหุน้ ละ 7.80 บาท เป็นจำ�นวนเงิน 33,025,890 บาท และขายหุน้ จำ�นวน 48,455,150 หุน้ ราคาหุน้ ละ 2.25 บาท เป็นจำ�นวนเงิน 108,956,995.59 บาท ทำ�ให้ สัดส่วนการถือหุน้ เปลีย่ นจากเดิมร้อยละ 24.46 เป็น 20.49
รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต งบการเงิน หมายเหตุประกอบงบการเงิน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
MESSAGES
MESSAGES
นายสมใจนึ ก เองตระกู ล ประธานกรรมการ สำ�หรับเมเจอร์ ปี 2555 ดูจะเป็นปีที่ไม่ โดดเด่นมาก เพราะไม่ค่อยมีหนังฟอร์มใหญ่เข้ามา มากนัก อีกส่วนอาจเป็นเพราะอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจ กำ�ลังฟื้นตัว กระนั้นก็ตามผมกลับคิดว่าสถานการณ์ เช่นนี้ เป็นสิ่งที่ช่วยพิสูจน์ถึงความสามารถในการ ปรับตัวของเราได้เป็นอย่างดี ปีที่แล้วเราให้ความสำ�คัญในการเตรียมตัว ให้พร้อมรับการเติบโตอย่างแข็งแรงในปีที่กำ�ลังจะมา ถึงเรารวบรวมทีมบริหารและระบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสรรสร้างแผนงานกลยุทธ์ทางธุรกิจต่อไปผมคิด ว่าเราไม่เคยอยู่ในตำ�แหน่งที่ดีเช่นนี้มาก่อน
ในนามของคณะผู้ บ ริ ห ารผมขอกราบ ขอบพระคุ ณท่ า นผู ้ ถ ื อ หุ ้ น คู่ค้าทางธุรกิจทุกท่าน สถาบั นการเงิ นต่ างๆ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงผู้ที่สนับสนุนเราในด้านต่างๆ ที่เป็นกำ�ลัง ให้เรา ไว้ใจเราตลอดมาและช่วยให้เราประสบความ สำ�เร็จยิ่งๆขึ้นไป ขอแสดงความนับถือ
นายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการ
ส่วนปีนี้แม้เราจะให้ความสำ�คัญในการกระ ตุ้นการเติบโตของตลาดในต่างจังหวัด แต่แน่นอน เรายั ง คงมุ่ ง มั่ น ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การเสริ ม สร้ า ง บริการที่มีประสิทธิภาพให้กับกลุ่มลูกค้าในเขตเมือง เราได้เตรียมแผนงานไว้เป็นอย่างดี เพื่อให้ปี 2556 เป็นปีแห่งการขยายตัวสูงสุด และเรายังคงเป็นผู้นำ� ทั้งส่วนแบ่งทางการตลาดและนวัตกรรมใหม่ๆเช่น เคย และด้วยเศรษฐกิจที่เป็นบวก และภาพยนตร์ที่ สนุกสนานจำ�นวนมากทำ�ให้เราคิดว่าปี 2556 จะเป็น ปีทีสดใสกว่าเดิม ซึ่งแน่นอนย่อมจะเป็นปีที่เราสร้าง ผลตอบแทนให้นักลงทุนทุกท่านได้ดีขึ้นกว่าเดิม
“LOOKING FORWARD TO A BRIGHTER 2013” ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
4
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
5
MESSAGES
MESSAGES
นายวิ ช า พู ล วรลั ก ษณ์ กรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เราจัดวางตัวเราให้พร้อมรับการเจริญเติบโตที่มีผลกำ�ไรและลดความเสี่ยง ปี 2555 เป็นปีที่มั่นคงมากสำ�หรับเมเจอร์ และ เราอยากขอกราบขอบพระคุณท่านผู้ถือหุ้นและหุ้นส่วน ทุกๆท่านที่สนับสนุนเราด้วยดีตลอดมา ในปี 2555 วงการ ธุ ร กิ จภาพยนตร์ ท ั ่ ว โลกไม่โดดเด่น มาก ในเชิ ง เนื ้ อ หา ของภาพยนตร์ ดังนั้นเมเจอร์จึงมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุง ประสิทธิภาพเพื่อที่จะเตรียมรับการทำ�กำ�ไรในปี 2556 และปีต่อๆไป เราได้เพิ่มพูนประสิทธิภาพ ในส่วนสำ�คัญๆ ต่างๆ เช่น การจัดการค่าใช้จ่ายด้านการจัดซื้อ ค่าใช้จ่าย ด้านการก่อสร้าง ลดความเสี่ยงจากค่าเช่าด้วยการ ชำ�ระ ค่าเช่าตามเปอร์เซ็นต์ทเ่ี หมาะสม ให้ความสำ�คัญ กับระบบการ
“POSITIONING FOR PROTABLE GROWTH WHILE MINIMIZING RISK”
จัดการที่มีประสิทธิภาพ และเราจะเปลี่ยนระบบการ ฉายเป็นระบบดิจิตอล 100 เปอร์เซ็นต์ในปี 2556 นี้
บริษัทฯ ได้วางแผนการดำ�เนินการที่ดีสำ�หรับ อนาคต ในปี 2556 นี้ เราจะเปิดโรงภาพยนตร์มากเป็น ประวัติการณ์เป็นจำ�นวนกว่า 100 โรง ซึ่งจะทำ�ให้เรา มีโรงภาพยนตร์มากถึง 500 โรงในประเทศ ทำ�เลและ สถานที่ ในการเปิ ด สาขาได้ ผ่ า นขบวนการคั ด สรรเป็ น อย่างดี และประสบการณ์ของเราจะทำ�ให้การลงทุน ครั้งนี้ทำ�ผลกำ�ไรได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การขยาย สาขาในทำ�เลที่สร้างโอกาสทำ�กำ�ไรสูงและภาพยนตร์ที่ ดีเลิศในปี 2556 นี้ จะช่วยให้เรามีศักยภาพในการทำ� กำ�ไรเพิ่มขึ้นได้อย่างมากมาย การเปิ ด ตั ว ของธุ ร กิ จบลู โอ โบว์ลิ่งในอินเดีย ของเราประสบความสำ � เร็ จเป็ นอย่างดี และเราจะยัง คงมุ่งมั่นขยายธุรกิจโบวลิ่งและโรงภาพยนตร์เพิ่มเติม ในประเทศเพื่อนบ้านด้วยความรอบคอบ ซึ่งเราจะเปิด ตลาดใหม่ ในประเทศที่ มี ค วามน่ า สนใจและปลอดภั ย เท่านั้น ท้ายนี้ เรารูส้ กึ ซาบซึง้ และขอกราบขอบพระคุณ ผู้ลงทุนและหุ้นส่วนทุกท่านที่มาร่วมสร้างอนาคตที่มั่นคง นี้กับเรา
ขอแสดงความนับถือ
นายวิชา พูลวรลักษณ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
6
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
7
PEOPLE
PEOPLE
คณะกรรมการ นายสมใจนึก เองตระกูล 68 ปี
ประธานกรรมการ
ประวัติการศึกษา • ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์ ดุษฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม • ปริญญาตรี นิตศิ าสตร์บณ ั ฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม • ปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์บณ ั ฑิต Upsala College, New Jersey ,USA ประสบการณ์การทำ�งาน • ตุลาคม 2547 - ปัจจุบนั : ประธานกรรมการ, บริษทั เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ กรุป้ จำ�กัด (มหาชน) • 2543 - 2547 : ปลัดกระทรวงการคลัง, กระทรวงการคลัง • 2540 - 2543 : อธิบดีกรมศุลกากร, กระทรวงการคลัง • 2539 - 2540 : อธิบดีกรมสรรพากร, กระทรวงการคลัง ตำ�แหน่งปัจจุบัน • ประธานกรรมการ, บริษัท ทิพยประกันภัย จำ�กัด (มหาชน) • ประธานกรรมการ, บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ การเข้าฝึกอบรมของกรรมการ RCP - Role of the Chairman Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
นายวิชา พูลวรลักษณ์ 49 ปี
กรรมการ และประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร จำ�นวนหุ้นที่ถือ 35.92% ประวัติการศึกษา • ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติ ซานดิเอโก, สหรัฐอเมริกา • ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์การทำ�งาน • 2538 - ปัจจุบัน : ประธานกรรมการบริหาร, บริษัท เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ กรุป้ จำ�กัด (มหาชน) • 2546 - ปัจจุบัน : กรรมการ, บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด (มหาชน) • 2555 - ปัจจุบัน : ประธานกรรมการบริหาร, มูลนิธิ เมเจอร์ แคร์ ตำ�แหน่งปัจจุบัน • กรรมการฝ่ายกิจกรรมสมาชิก, สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย • กรรมการคณะทีป่ รึกษา, ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ การเข้าฝึกอบรมของกรรมการ DCP - Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
นายวีรวัฒน์ องค์วาสิฏฐ์ 42 ปี กรรมการและกรรมการบริหาร จำ�นวนหุ้นที่ถือ 0.89%
ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร • น้องชายภรรยาประธานกรรมการบริหาร ประวัติการศึกษา • ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกา • ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์การทำ�งาน • 2545-ปัจจุบนั กรรมการ/กรรมการบริหาร, บริษัท เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ กรุป้ จำ�กัด (มหาชน) • 2546-ปัจจุบนั กรรมการ, บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด (มหาชน) การเข้าฝึกอบรมของกรรมการ DAP - Directo Accreditation Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
MAJOR Iconic Leadership Professionalism Adaptability Speed Service Excellence Innovation Optimism Networking ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
นางภารดี พูลวรลักษณ์ 49 ปี กรรมการและกรรมการบริหาร จำ�นวนหุ้นที่ถือ 3.43%
ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร • ภรรยาประธานกรรมการบริหาร ประวัติการศึกษา • ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติ ซานดิเอโก, สหรัฐอเมริกา • ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์การทำ�งาน • 2541 - ปัจจุบัน : กรรมการ/กรรมการบริหาร, บริษัท เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ กรุป้ จำ�กัด (มหาชน)
8
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
9
PEOPLE
อรรถสิทธิ์ ดำ�รงรัตน์ 48 ปี
ประวัติการศึกษา • ปริญญาโท Master of Public Adminstration, Kent State University, USA • ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง • ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ มหาวิทลัยธรรมศาสตร์ ประสบการณ์การทำ�งาน 2543 - 2545 • ปลัดกรุงเทพมหานคร 2533 - 2543 • รองปลัดกรุงเทพมหานคร ตำ�แหน่งปัจจุบัน • ที่ปรึกษา, สำ�นักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย ์ • กรรมการ, มูลนิธิรักเมืองไทย • ประธานกรรมการบริหาร, บมจ. มาสเตอร์ แอด • นายกสภามหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก • กรรมการ, มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ • กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ, บมจ. ปรีชากรุ้ป การเข้าอบรมของกรรมการ • DAP - Directors Accreditation Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
ประวัติการศึกษา • ปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง • ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์การทำ�งาน พ.ย. 50 - ปัจจุบนั • กรรมการ บริษทั เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ กรุป้ จำ�กัด (มหาชน) ตำ�แหน่งปัจจุบัน • ที่ปรึกษา สมาคมช่างภาพสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย • กรรมการ MMP จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การเข้าฝึกอบรมของกรรมการ • หลัดสูตรสถาบันพัฒนากรรมการบริษัทไทย • Capital Market Academy • DCP (Director Certification Program) • MIA (Monitoring The Internal Audit Function) • MIR (Monitoring The System of Internal Control and Risk Management)
กรรมการ
ชัย จรุงธนาภิบาล 59 ปี
กรรมการ
• กรรมการ สภาธุรกิจไทย - ฮ่องกง • กรรมการ สมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย • FSD (Financial Statements for Director) • MFM (Monitoring Fraud Risk Management) • RCP (Role of The Chairman Program) • ACP (Audit Committee Program)
ธนกร ปุลิเวคินทร์ 56 ปี
กรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ จำ�นวนหุ้นที่ถือ 0.08%
กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจฟิลม์ภาพยนตร์ จำ�นวนหุ้นที่ถือ 0.06%
ประวัติการศึกษา • ปริญญาโท บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบการณ์การทำ�งาน 2545 - ปัจจุบัน • กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) 2523 - 2540 • กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่การเงิน กลุ่มบริษัทไมเนอร์ ตำ�แหน่งปัจจุบัน • ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ทีมพริซิซั่น จำ�กัด (มหาชน) • ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ค้าเหล็กไทย จำ�กัด (มหาชน) • กรรมการ บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด (มหาชน) • กรรมการตรวจสอบ บริษัท โออิชิ จำ�กัด (มหาชน) • กรรมการตรวจสอบ บริษัท อาหารสยาม จำ�กัด (มหาชน) การเข้าอบรมของกรรมการ • ACP - Audit Committee Program • DCP - Director Certification Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
ประวัติการศึกษา • ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยยูไนเต็ด สเตท อินเตอร์เนชั่นแนล สหรัฐอเมริกา • ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประสบการณ์การทำ�งาน 2538 - ปัจจุบัน • กรรมการ / รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจฟิลม์ภาพยนตร์ บริษัท เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) การเข้าฝึกอบรมของกรรมการ • DAP - Directors Accreditation Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
เชษฐ มังคโลดม 55 ปี
นฤนาท รัตนะกนก 57 ปี
กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานสื่อโฆษณา
ประวัติการศึกษา • ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยดีทรอยต์ สหรัฐอเมริกา ประสบการณ์การทำ�งาน 2530 - 2540 • กรรมการผู้จัดการ บงล. จีเอฟ จำ�กัด (มหาชน) 2527 - 2530 • ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บงล. ซีตี้คอร์ป จำ�กัด ตำ�แหน่งปัจจุบัน • กรรมการตรวจสอบ บมจ. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป • กรรมการและกรรมการบริหาร บมจ. ธนาคารกรุงไทย การเข้าอบรมของกรรมการ • ACP - Audit Committee Program • DCP - Director Certification Program • DAP - Directors Accreditation Program • FSD - Financial Statement for Directors สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
ประวัติการศึกษา • ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สเตท โพลีเทคนิค โพโมนา สหรัฐอเมริกา • Certificate in Computer Programing มหาวิทยาลัยวู๊ดเบอร์รี่ สหรัฐอเมริกา • ปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง ประสบการณ์การทำ�งาน มี.ค. 2552 - พ.ย. 2555 • รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายสื่อโฆษณา บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) ม.ค. 2546 - พ.ย. 2551 • กรรมการผู้จัดการ บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ ประเทศไทย จำ�กัด ต.ค. 2545 - ธ.ค. 2545 • ผู้อำ�นวยการฝ่ายการเงิน บริษัท เวอร์จิ้น บีอีซี-เทโร เรดิโอ ประเทศไทย จำ�กัด ตำ�แหน่งในปัจจุบัน • รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสื่อโฆษณา บริษัท เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) • กรรมการ, บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำ�กัด • กรรมการ, บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทรนเม้นท์ จำ�กัด (มหาชน) • กรรมการ, บริษัท ทาเลนด์วัน จำ�กัด • กรรมการ, บริษัท เค อารีน่า จำ�กัด
วัลลภ ตั้งตรงจิตร 62 ปี
กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ ประวัติการศึกษา • ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย แช็ปแมน สหรัฐอเมริกา • ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยซานดิเอโก สหรัฐอเมริกา ประสบการณ์การทำ�งาน 2545 - ปัจจุบัน • กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) 2538 - 2540 • Co-Ordinator บริษัท รีเจนซี่ จำ�กัด 2526 - 2538 • ผู้จัดการ บริษัท เวลคอม จำ�กัด 2520 - 2526 • Project Co-Ordinator หจก. วิวัฒน์ก่อสร้าง ตำ�แหน่งปัจจุบัน • กรรมการผู้จัดการ บริษัท โพธารา จำ�กัด การเข้าอบรมของกรรมการ • FSD - Financial Statement for Director • DCP - Director Certification Program • DAP - Directors Accreditation Program • FND - Finance for Non Finance Directors สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
จินดา วรรธนะหทัย 49 ปี
รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานบริหารพื้นที่เช่า จำ�นวนหุ้นที่ถือ 0.02% ประวัติการศึกษา • ปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม ประสบการณ์การทำ�งาน 2536 - 2538 • ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เดอะมอลล์ กรุ้ป จำ�กัด 2533 - 2535 • ฝ่ายการขาย เอจี วิลคิลสัน พร้อพเพอร์ตี้ 2525 - 2532 • ฝ่ายการขาย ไดนาสตี้ เอเจนซี่
วิชัย พูลวรลักษณ์ 50 ปี
ฐิตาภัสร์ อิสราพรพัฒน์ 45 ปี
กรรมการ จำ�นวนหุ้นที่ถือ 0.47% ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร ญาติประธานกรรมการบริหาร
ผู้อำ�นวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน
ประวัติการศึกษา • ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ • CEO Development Institute • โครงการเสริมสร้างผู้จัดการยุคใหม่ รุ่นที่ 10 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ • สู่ความเป็นนายที่สมบูรณ์แบบ รุ่นที่ 4 สถาบันการบริหารและจิตวิทยา • หลักสูตรประกาศนียบัตรสถาบันกรรมการบริษัท รุ่นที่ 8 สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย • หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (หลักสูตร วตท.) รุ่นที่ 1 ประสบการณ์การทำ�งาน 2550 - ปัจจุบัน • ประธานกรรมการ บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล รีเสริช คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด (มหาชน) 2549 - ปัจจุบัน • ประธานกรรมการ บริษัท วรลักษณ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำ�กัด 2548 - ปัจจุบัน • กรรมการ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) 2536 - 2547 • กรรมการบริษัท และประธานกรรมการ, บริษัท อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำ�กัด (มหาชน) ตำ�แหน่งปัจจุบัน • อนุกรรมการก่อสร้างอาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • กรรมการ สมาคมเศรษฐศาสตร์ • นายกสมาคม 2548 - 2552, สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย การเข้าอบรมของกรรมการ • DCP - Director Certiffiication Program สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
PEOPLE
ร.ต.ต.เกรียงศักดิ์ โลหะชาละ 70 ปี
ประวัติการศึกษา • ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยลัย • ปริญญาตรี คณะบริการธุรกิจ สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง ประสบการณ์การทำ�งาน มี.ค. 2534 - 2552 • ผู้จัดการฝ่ายบัญชี บริษัท วิคแอนด์ฮุคลันด์ จำ�กัด (มหาชน) ตำ�แหน่งในปัจจุบัน • ผู้อำ�นวยการฝ่ายบัญชีและการเงินและเลขานุการบริษัท, บริษัท เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) • กรรมการ, บริษัท อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ • กรรมการ, บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ จำ�กัด • กรรมการ, บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทรนเม้นท์ จำ�กัด (มหาชน) • กรรมการ, บริษัท ทาเลนด์วัน จำ�กัด • กรรมการ, บริษัท เค อารีน่า จำ�กัด • กรรมการ, มูลนิธิ เมเจอร์ แคร์
10
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
11
ORGANIZATION
ORGANIZATION
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
12
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
13
ORGANIZATION
ORGANIZATION
บมจ. เมเจอร ซีนีเพล็กซ กรุป
CINEMA บจ. เชียงใหม ซีนีเพล็กซ 99.99%
บจ. อุดร ไฟวสตาร ซีนีเพล็กซ 99.99%
บจ. รัชโยธิน อเวนิว 50.00% (ทางตรง) 10.25% (ทางออม) กองทุนรวมสิทธิการเชาอสังหาริมทรัพย เมเจอรซีนีเพล็กซ ไลฟสไตล 33.00%
บจ. ไทยทิคเก็ตเมเจอร 40.00%
BOWLING บจ. เมเจอร โบวล กรุป 99.99%
บจ. รัชโยธิน แมเนจเมนท 99.99%
บจ. เอ็นเตอรเทน โกลเดน วิลเลจ เอ็กซิบิชั่น 99.96%
บจ. รัชโยธิน ซีนีมา 99.99%
บจ. อีจีวี เอ็กซิบิชั่น 99.96%
บจ. เอ็มวีดี 67.86%
บจ. อีจีวี ไฟวสตาร 99.96%
บจ. แปซิฟก มีเดีย เซลล 67.46% 14
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
บจ. พีวีอาร บลูโอ เอ็นเตอรเทนเมนท 49.00%
บจ. เมเจอร กันตนา บรอดแคสติ้ง 44.99% บจ. เค อารีนา 50.00%
FILM PRODUCTION AND SERVICE บจ. ทาเลนต วัน 80.00%
ADVERTISING บจ. เมเจอร ซีนีแอด 99.93% บมจ. เอ็ม พิคจอรส เอ็นเตอรเทนเมนท 67.86%
บจ. เอ็ม เทอรตี้ไนน 67.86% บจ. เอ็ม พิคเจอรส 67.86% บจ. ทีวี ฟอรัม 67.86%
FILM DISTRIBUTION
บจ. รัชโยธิน เรียลตี้ 99.99%
บจ. สยาม ซีนีเพล็กซ 99.99%
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
บจ. เมเจอร ซีนีเพล็กซ พรอพเพอรตี้ 99.99%
บม. เมเจอร ซีนีเพล็กซ เซอรวิส 99.99%
บจ. กรุงเทพ ไอแมกซ เธียเตอร 99.93%
บมจ. อีจีวี เอ็นเตอรเทนเมนท 99.98%
RENTAL & SERVICES
บจ. พีวีอาร 8.84%
ASSOCIATES
โครงสรางการถือหุน
บมจ. สยามฟวเจอรดีเวลอปเมนท 20.49%
15
ORGANIZATION
ORGANIZATION
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
16
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
17
BUSINESSES
บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) เป็นผู้นำ�อันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ของประเทศไทย บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นและ พัฒนาสู่การเป็น “ศูนย์รวมความบันเทิงสำ�หรับชีวิตคนรุ่นใหม่” โดยมีธุรกิจหลักได้แก่ ธุรกิจโรงภาพยนตร์, ธุรกิจโบว์ลิ่ง คาราโอเกะ และลาน สเก็ตน้ำ�แข็ง, ธุรกิจให้บริการสื่อโฆษณา, ธุรกิจพื้นที่ให้เช่าและบริการ และธุรกิจการจัดจำ�หน่ายภาพยนตร์ เพื่อต่อยอดธุรกิจบันเทิงให้ครบวงจร บริษัทฯได้ร่วมลงทุนในธุรกิจต่างๆ ดังนี้ • บมจ. สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเม้นท์ โดยมีสัดส่วนการลงทุน 20.49 % ด�ำเนินธุรกิจ พัฒนาและบริหารศูนย์การค้า ประเภทศูนย์การค้า แบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์ • บจ.ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ โดยมีสัดส่วนการลงทุน 40% ด�ำเนินธุรกิจให้บริการตัวแทนจ�ำหน่ายบัตรแก่ผู้จัดงานแสดงต่างๆ • กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ไลฟ์สไตล์ โดยมีสัดส่วนการลงทุน 33% • บมจ. เอ็ม พิคเจอร์ส เอนเตอร์เทนเมนท์ โดยมีสัดส่วนการลงทุน 67.86% ด�ำเนินธุรกิจสื่อโฆษณาและจัดจ�ำหน่ายภาพยนตร์ • บจ.พีวีอาร์ โดยมีสัดส่วนการลงทุน 8.84% ด�ำเนินธุรกิจให้บริการฉายภาพยนตร์ในประเทศอินเดีย • บจ. พีวีอาร์ บลูโอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ โดยมีสัดส่วนการลงทุน 49% ด�ำเนินธุรกิจโบว์ลิ่ง ในประเทศอินเดีย • บจ.เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง โดยมีสัดส่วนการลงทุน 44.99% ด�ำเนินธุรกิจเคเบิ้ลทีวี • บจ. ทาเลนต์ วัน โดยมีสัดส่วนการลงทุน 80% ด�ำเนินธุรกิจผลิตภาพยนตร์และสื่อสิ่งพิมพ์ • บจ. เค อารีน่า โดยมีสัดส่วนการลงทุน 50% ด�ำเนินธุรกิจคาราโอเกะ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จ�ำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2545
“ธุรกิจโรงภาพยนตร์” โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์เป็นโรงภาพยนตร์ ในระบบมัลติเพล็กซ์ (Multiplex) สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกใน ประเทศไทย เมื่อปี 2538 โดยคุณวิชา พูลวรลักษณ์ ในรูป แบบของ Standalone ที่สาขาปิ่นเกล้า โรงภาพยนตร์รูป แบบนี้ได้รวมทั้งโรงภาพยนตร์และศูนย์รวมความบันเทิงไว้ ด้วยกัน ทำ�ให้ผู้ชมได้รับอรรถรสทั้งจากจำ�นวนภาพยนตร์ ที่หลากหลายและร้านค้า ร้านอาหารที่เรียงรายให้เลือก มากมาย ส่งผลให้ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ที่สาขาปิ่นเกล้านี้ กลายเป็นแหล่งบันเทิงทางเลือกใหม่ของชาวเมืองกรุงนับแต่ นั้นมา ในช่วง 3 ปีต่อมา โรงภาพยนตร์รูปแบบ Standalone จึงเกิดขึ้นตามมาอีก 4 สาขา ได้แก่ สาขาสุขุมวิท สาขา รัชโยธิน สาขารังสิต และล่าสุดที่สาขา เอสพละนาด งามวงศ์วาน-แคราย
“Lifestyle Entertainment Company”
โรงภาพยนตร์รูปแบบ Standalone สร้างบนที่ดินที่มีสัญญา เช่าระยะยาว 20-30 ปี ในรูปแบบอาคาร 7-10 ชั้น โดยชั้น บนสุดเป็นโรงภาพยนตร์ 8-16 จอ และเลนโบว์ลิ่ง 20-38 เลน ขณะที่ 2-3 ชั้นล่างเป็นพื้นที่ให้เช่าสำ�หรับร้านค้าหลาก หลายรูปแบบ จากการที่คนไทยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมชอบ ชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์อย่างสม่ำ�เสมอ ทำ�ให้ปริมาณ ผู้มาใช้บริการในศูนย์ Standalone มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เป็น ผลให้มีร้านค้าเข้ามาเช่าพื้นที่กันมาก ส่งผลให้บริษัทฯมี อัตราพื้นที่เช่าเกินกว่า 90 % มาโดยตลอด นอกเหนือจากโรงภาพยนตร์รูปแบบ Standalone แล้ว บริษัทฯยังขยายสาขาในอีก 3 รูปแบบ ดังนี้ • รูปแบบห้างสรรพสินค้า • รูปแบบศูนย์การค้าแบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์ • รูปแบบห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
สาขาสมุย 3 สาขาชลบุรี 4 สาขากระบี่ 4 สาขาอยุธยา 4 สาขาเพชรบูรณ 4 สาขาบานโปง 5 สาขาอมตะนคร 5 สาขามหาชัย 5 สาขากำแพงเพชร 4 สาขาพิษณุโลก – เซ็นทรัล 5 สาขาจันทบุรี 5 สาขาพัทยา 8 สาขาเชียงใหม 7 สาขาอุดรธานี 8 สาขาฉะเชิงเทรา 5 สาขาอุบลราชธานี 5 สาขาหัวหิน 4 สาขาสระบุรี 4 สาขาเชียงราย 5 สาขานครศรีธรรมราช 4 สาขาในเครืออีจีวี จำนวนโรง สาขาซีคอนสแควร 14 สาขาปนเกลา 11 สาขารังสิต 10 สาขาลาดพราว 7 สาขาซีคอนบางแค 10 สาขาออมใหญ 5 สาขาขอนแกน 5 สาขาโคราช 8 สาขาศรีราชา 4 สาขาในเครือพารากอน ซีนีเพล็กซ จำนวนโรง สาขาสยามพารากอน 16 สาขาในเครือเอสพลานาด ซีนีเพล็กซ จำนวนโรง สาขาเอสพลานาด รัชดาภิเษก 12 สาขางามวงศวาน แคราย 16 สาขาในเครือเมกา ซีนีเพล็กซ จำนวนโรง เมกา บางนา 15 สาขาในเครือพาราไดซ ซีนีเพล็กซ จำนวนโรง พาราไดซ พารค 8 รวมทั้งสิ้น 413
920 1,060 1,130 1,310 1,140 1,440 1,310 1,170 1,010 1,170 1,340 1,750 1,840 2,130 1,710 830 1,400 1,100 1,230 970 จำนวนที่นั่ง 3,310 1,960 1,680 910 1,850 1,220 1,230 2,660 1,180 จำนวนที่นั่ง 4,480 จำนวนที่นั่ง 2,730 4,200 จำนวนที่นั่ง 3,450 จำนวนที่นั่ง 1,550 99,050
ณ สิ้นปี 2555 บริษัทฯ มีแบรนด์ในเครือทั้งสิ้น 6 แบรนด์ ดังนี้ • เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ • อีจีวี ซีนีม่า • พารากอน ซีนีเพล็กซ์ • เอสพละนาด ซีนีเพล็กซ์ • พาราไดซ์ ซีนีเพล็กซ์ • เมกา ซีนีเพล็กซ์ บริษัทฯ มีสาขารวมทั้งสิ้น 56 สาขา 413 โรง สามารถรองรับผู้ชมได้ 99,050 ทีน่ ง่ั ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากประเทศไทยยังมีจ�ำ นวนโรงภาพยนตร์ตอ่ จำ�นวนประชากรอยูใ่ นระดับต่�ำ บริษัทฯ จึงมีแผนขยายโรงภาพยนตร์เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากรในปี 2556 จำ�นวน 119 โรงและต่อไปอีก ปีละ 20-30 โรง เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ โรงภาพยนตร์ในเครือเมเจอร์ มุง่ เน้นให้บริการลูกค้าในทุกระดับชัน้ มีการขยายสาขา ไปทั่วประเทศ และเพื่อให้ผู้มาใช้บริการได้สัมผัสถึงความหลากหลายของโรงภาพยนตร์ในรูป แบบต่างๆ บริษัทฯจึงเน้นตกแต่งสาขาด้วยรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละแห่ง โดย ใช้รูปแบบการตกแต่งภายในโรงภาพยนตร์ด้วยแนวทางการออกแบบระดับสากลตามสถาน ที่ที่ได้รับความนิยมสูงทั่วโลก เพื่อให้ผู้ชมภาพยนตร์ได้สัมผัสถึงอรรถรสนั้น โดยที่มิต้องเดิน ทางไป อย่างเช่น การตกแต่งสไตล์ ลาสเวกัส เป็นต้น สำ�หรับลูกค้าในระดับพรีเมี่ยม บริษัทฯได้มีการออกแบบและตกแต่งโรงภาพยนตร์ ระดับหกดาว เพือ่ สนองการใช้ชวี ติ ทีเ่ หนือระดับไว้ทโ่ี รงภาพยนตร์พารากอน ซีนเี พล็กซ์ อย่างเช่น โรงภาพยนตร์บางกอก แอร์เวย์ เล้าจน์ ที่ตกแต่งด้วยเบาะหนังแท้ที่ปรับเอนนอนได้ และ มีบริการหมอนและผ้าห่มให้พร้อมสรรพทุกที่นั่ง นอกจากนี้ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ยังเปิดให้ บริการโรงภาพยนตร์ “อินิกม่า เดอะ ชาโดว์ สกรีน” อีกนวัตกรรมหนึ่งที่เป็นเอกสิทธิ์เฉพาะ สมาชิก ภายในประกอบด้วยห้องรับรองพิเศษพร้อมบาร์เครื่องดื่ม และโรงภาพยนตร์สุดหรู ขนาด 34 ที่นั่ง เหมาะสำ�หรับการจัดปาร์ตี้ส่วนตัว ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีทั้งจาก ลูกค้าระดับ VIP และลูกค้าองค์กรและในปี 2554 ได้มีการเปิดบริการโรงภาพยนตร์ 4DX
ที่พารากอน ซีนีเพล็กซ์ เป็นเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งโลกภาพยนตร์ ที่จะให้ลูกค้าได้รับอรรถรสในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาพ แสง สี เสียง สัมผัส และกลิ่นเอฟเฟคต่างๆ ด้วยการเพิ่มความพิเศษให้กับโรงภาพยนตร์ด้วยเก้าอี้แบบเฉพาะ พร้อมเอฟเฟคตระการตาถึง 24 ชนิดและระบบฉายดิจิตอล 3 มิติ
18
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
19
BUSINESSES
ลักษณะธุรกิจ
ในอดีต การขยายสาขาในรูปแบบห้างสรรพสินค้าเป็นที่นิยมเนื่องจากห้างสรรพสินค้ามีอัตราการเติบโตที่สูงมาก อีกทั้งยังสามารถ ประหยัดเงินลงทุนได้มากกว่าการขยายสาขาแบบ Standalone อย่างไรก็ตามการเติบโตของห้างสรรพสินค้าเริ่มเข้าสู่ภาวะชะลอตัว ปัจจุบันการพัฒนาห้าง ต้องใช้เวลากว่า 3-4 ปี ด้วยสาเหตุดังกล่าว บริษัทฯจึงเพิ่มรูปแบบการขยายสาขาอีกรูปแบบหนึ่ง คือ แบบศูนย์การค้า ไลฟ์สไตล์ มอลล์ตั้งแต่ปี 2547 โดยการเข้าไปร่วมลงทุนใน บมจ. สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเม้นท์ ซึ่งเป็นผู้ดำ�เนินธุรกิจ พัฒนาและบริหารศูนย์การค้า ประเภทศูนย์การค้า แบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์ ซึ่งใช้เนื้อที่ในการก่อสร้างเพียง 3-5 ไร่ มีระยะเวลาก่อสร้าง 6-12 เดือน ดังนั้นจึงสามารถเลือกทำ�เลที่อยู่ใกล้ ชุมชน เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มาใช้บริการได้เป็นอย่างดี จากกระแสความนิยมในการรับชมภาพยนตร์ และมีโรงภาพยนตร์ สาขาในเครือเมเจอร ซีนีเพล็กซ จำนวนโรง จำนวนที่นั่ง เป็นผู้เช่าหลัก ธุรกิจของบมจ. สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ จึงสามารถเติบโตได้กว่า 10 สาขารังสิต 16 3,470 เท่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัจจุบัน บริหารพื้นที่เช่าสูงกว่า 229,600 ตารางเมตร สาขารัชโยธิน 15 3,800 สาขาปนเกลา 13 4,080 ก่อให้เกิดผลดีทง้ั ต่อทางบริษทั ฯ คือสามารถเข้าไปตัง้ อยูใ่ นแหล่งชุมชน สามารถให้ความ สาขาสุขุมวิท 8 1,750 สาขาแจงวัฒนะ 5 1,040 สะดวกต่อผู้ชมภาพยนตร์โดยที่ไม่ต้องเดินทางไกล สำ�หรับผลดีต่อ บมจ. สยามฟิวเจอร์ ดี สาขาบางกะป 10 2,260 เวลอปเม้นท์ ก็คอื สามารถตอบสนองความต้องการของผูม้ าใช้บริการได้หลากหลายมากขึน้ ด้วย สาขาศาลายา 5 1,000 สาขานวนคร - บิ๊กซี 3 420 โรงภาพยนตร์และเลนโบว์ลิ่งที่มีในศูนย์การค้า สาขาธัญบุรี 4 1,020 อีกทางเลือกของการพัฒนารูปแบบสาขาของบริษัทฯ คือการเปิดให้บริการโรง สาขานวนคร - โลตัส 4 1,190 สาขาศรีนครินทร 5 1,260 ภาพยนตร์และเลนโบว์ลิ่งโดยเป็นผู้เช่าหลัก ในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ รูปแบบนี้ประสบ สาขาแฟชั่น ไอซแลนด 11 2,430 ความสำ�เร็จอย่างยิ่งในต่างจังหวัด เพราะห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นแหล่ง สาขาบางนา 10 1,950 สาขาพระราม 2 9 1,770 จับจ่ายใช้สอยสำ�หรับคนต่างจังหวัด แต่ยังเป็นจุดนัดพบ ตลอดจนเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อน สาขาพระราม 3 9 2,600 ใจสำ�หรับครอบครัวอีกด้วย โดยบริษัทฯได้ร่วมมือกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่สองแห่ง ได้แก่ สาขานนทบุรี 7 830 สาขาเพชรเกษม 6 1,750 เทสโก้ โลตัส และ บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ สาขารามคำแหง 7 2,110 ปัจจุบัน บริษัทฯครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 80 % ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สาขาสำโรง 12 2,230 สาขาสามเสน 6 1,510 ในประเทศไทย เป็นผลมาจากการควบรวมกิจการกับบมจ. อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ในปี สาขานครสวรรค 5 1,140 2547 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาด ณ ขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 23 % สาขาพิษณุโลก 4 1,070
BUSINESSES
บริษัทฯ ได้เริ่มธุรกิจโบว์ลิ่ง และคาราโอเกะ ในปี 2540 ด้วยจำ�นวน 20 เลน ที่ Standalone สาขาสุขุมวิท โดยเน้นความหลากหลายของการ บริการ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของบริษัทฯ ในการเป็นศูนย์รวมความ บันเทิงครบวงจรในที่แห่งเดียว ภายใต้ชื่อ “เมเจอร์ โบว์ล ฮิต” นำ�เสนอ บริการโบว์ลิ่งในลักษณะของกีฬาเพื่อความบันเทิง (Sport Entertainment) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ครอบครัวและเพื่อนๆสามารถมาสังสรรค์ด้วยกัน ได้แตกต่าง จากโบว์ลิ่งในรูปแบบเดิมที่จะเน้นเพื่อการกีฬาเพียงอย่างเดียว การตกแต่ง “เมเจอร์ โบว์ล ฮิต” จะเน้นรูปแบบความทันสมัย เหมาะสำ�หรับกลุ่ม ครอบครัวและคนรุ่นใหม่ พร้อมการให้บริการคาราโอเกะในนาม “เมเจอร์ คาราโอเกะ” อีกส่วนผสมที่ลงตัวต่อธุรกิจโบว์ลิ่ง ในการจัดสรรพื้นที่อย่างมี ประสิทธิภาพและเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้มาใช้บริการ โดยตกแต่งด้วย ความทันสมัยสอดคล้องเป็นอย่างดีกับความนิยมและพฤติกรรมของลูกค้าที่ เข้ามาใช้บริการโบว์ลิ่ง นอกจากนี้บริษัทฯ ได้เปิดตัวโบว์ลิ่งแบรนด์ใหม่ออกสู่ตลาดภาย ใต้ชื่อ “บลูโอ ริทึมแอนด์โบว์ล” ในปี 2549 โดยมีลักษณะเป็นแฟชั่นโบว์ลิ่ง มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าระดับบน ในย่านธุรกิจใจกลางเมือง โดยเปิดแห่งแรก ณ ห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน ให้บริการโบว์ลิ่ง 38 เลน ห้องคาราโอเกะ 19 ห้อง และห้องแบบ Platinum 2 ห้อง ประกอบด้วยเลนโบว์ลิ่ง 4 เลน และบริการคาราโอเกะภายในห้อง และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ในเดือน ธันวาคม 2552 บริษัทฯจึงได้ทำ�การเปิด standalone แห่งใหม่ เอสพละนาด สาขางามวงศ์วาน แคราย ภายใต้แบรนด์ บลูโอ ริทึ่มแอนด์ โบว์ล ทำ�ให้ ปัจจุบันบริษัทฯได้ดำ�เนินธุรกิจโบว์ลิ่งภายใต้แบรนด์ บลูโอ ริทึ่มแอนด์ โบว์ล ทั้งหมด 7 สาขา ได้แก่ สาขาพารากอน สุขุมวิท เอสพละนาด รัชดา รัชโยธิน เอสพละนาด งามวงศ์วาน แคราย พัทยาและ สาขาเมกา ซีนีเพล็กซ์
ณ สิ้นปี 2555 บริษัทฯเปิดให้บริการโบว์ลิ่งจำ�นวน 24 สาขา ประกอบด้วย 420 เลนโบว์ลิ่ง 274 ห้องคาราโอเกะ และ 4 ลานสเก็ตน้ำ�แข็ง จำนวนเลนโบวลิ่ง จำนวนหองคาราโอเกะ สาขาปนเกลา 20 15 สาขาสุขุมวิท (บลูโอ) 20 10 สาขารัชโยธิน (บลูโอ) 38 24 สาขารังสิต 26 18 สาขาสำโรง 20 13 สาขาบางกะป 14 11 สาขาพระราม 2 30 13 สาขานครสวรรค 12 9 สาขาอุดรธานี 16 7 สาขาแฟชั่นไอรแลนด 16 13 สาขาเพชรเกษม 12 6 สาขาหัวหิน 8 5 สาขาสมุย 8 7 สาขาพิษณุโลก 8 6 สาขาแจงวัฒนะ 14 9 สาขาพัทยา (บลูโอ) 22 9 สาขาชลบุรี 10 8 สาขาทองหลอ (เจ อเวนิว) 8 11 สาขาอยุธยา 10 10 สาขาสยามพารากอน (บลูโอ) 38 19 สาขาเอสพละนาด-รัชดา (บลูโอ) 22 17 สาขางามวงศวาน-แคราย (บลูโอ) 24 13 สาขาเมกาซีนีเพล็กซ 24 สาขาเซ็นทรัลปนเกลา 21 รวมทั้งสิ้น 420 274
BUSINESSES
“ธุรกิจโบว์ลิ่ง คาราโอเกะและลานสเก็ตน้�ำ แข็ง”
ในปี 2551 ธุรกิจโบว์ลิ่งในลักษณะของกีฬาเพื่อความบันเทิงได้ถูก ขยายไปยังประเทศอินเดีย บริษัทฯได้ ร่ ว มลงทุ นกั บบริ ษ ั ท พี ว ี อาร์ จำ � กั ด (PVRL) ซึ ่ ง เป็ น ผู ้ ป ระกอบธุ ร กิ จ โรงภาพยนตร์ ช ั ้ น นำ � ที ่ จ ั ด ตั ้ ง และจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ประเทศอินเดีย ร่วมกันจัดตั้งบริษัท พีวีอาร์ บลูโอ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำ�กัด (PVR blu-O)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบ ธุรกิจโบว์ลิ่งเชิงสันทนาการในประเทศอินเดีย PVR blu-O ได้เปิดให้บริการ Club Fashion Bowling สาขาแรกที่แอมเบียนส์ มอลล์ เมืองนิวเดลี เมื่อ เดือน มีนาคม 2552 โดยมีจำ�นวนเลนทั้งหมด 24 เลน ณ สิ้นปี 2555 PVR blu-o ได้เปิดบริการรวมทั้งหมด 5 สาขา ใน ประเทศอินเดีย
บริษัทฯได้เปิดตัวลานสเก็ตน้ำ�แข็งรูปแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ “ซับซีโร่” ซึ่งกลายเป็นที่สังสรรค์สำ�หรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ใจกลางเมือง ที่เอส พละนาด ศูนย์รวมความบันเทิงแห่งใหม่ของ สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ เปิดให้บริการลานสเก็ตน้ำ�แข็งพื้นที่กว่า 700 ตร.ม. ประกอบด้วยห้อง คาราโอเกะ 4 ห้อง นอกจากนี้ยังเปิดสอนสเก็ตน้ำ�แข็งลีลา และฮ้อกกี้น้ำ�แข็ง ในลานสเก็ตน้ำ�แข็งอีกด้วย มีการเปิดเพิ่มอีกหนึ่งสาขา ที่เอสพละนาด สาขางามวงศ์วาน แคราย ในเดือนธันวาคม 2552 และ สาขาล่าสุด เมกา ซีนีเพล็กซ์ในเดือนพฤษภาคม 2555 ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
20
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
21
BUSINESSES
“ธุรกิจสื่อโฆษณา” จากการที่บริษัทฯ สามารถดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการในแต่ละปีได้ 25-30 ล้านคนทั่วประเทศ ทำ�ให้ธุรกิจบริการสื่อโฆษณา เติบโตได้เป็นอย่างดี บริษัทย่อยภายใต้ชื่อ “บริษัท เมเจอร์ ซีนีแอด จำ�กัด” จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสื่อโฆษณาทั้งในโรงภาพยนตร์และพื้นที่ ทั้งหมดภายใน Cineplex ทั่วประเทศอย่างครบวงจร ด้วยความสามารถในการสร้างรายได้เพิ่มเติมจากสินทรัพย์ที่ลงทุนไปแล้ว ทำ�ให้ธุรกิจ สื่อโฆษณาของบริษัท หรือที่เรียกกันว่า “cinemedia” มีอัตรากำ�ไรมากกว่า 90%
ปัจจุบัน cinemedia ครอบคลุมสื่อโฆษณาหลากหลาย นับตั้งแต่ โฆษณาบนจอภาพยนตร์ (Screen Ads) โฆษณาบนจอวีดีโอ (VDO Wall) บริเวณโถงชั้นล่างในสาขา โฆษณาบนป้ายโฆษณาพลิกได้ 3 หน้า (Tri-vision) โฆษณาบนจอ Plasma โฆษณาบน Menu Board รวมถึงโฆษณาบนสื่อกลางแจ้ง (Billboard/Cut-out) จากการที่ cinemedia เป็นอีกช่องทางการโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ หลากหลาย และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง มากกว่าสื่อโฆษณาประเภทอื่น ส่งผลให้ มีอัตราการเติบโตของรายได้อยู่ในระดับต้นๆ เมื่อเทียบกับสื่อในอุตสาหกรรมโฆษณาทั้งหมดโดย ในปี 2555 ที่ผา่ นมา ธุรกิจสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์มีมูลค่าประมาณร้อยละ 10 ของอุตสาหกรรมรวม
พื้นที่ใหเชา (ตรม.) 1. สาขาสุขุมวิท 6,514 2. สาขารัชโยธิน 2,233 3. สาขารามคำแหง 444 4. สาขาเชียงใหม 62 5. สาขารังสิต 2,256 6. สาขาบางกะป 135 7. สาขาพระราม 2 446 8. สาขานครสวรรค 190 9. สาขาสมุย 436 10. สาขาสยามพารากอน 298 11. สาขาสำโรง 2,148 12. สาขาพิษณุโลก 186 13. สาขาชลบุรี 115 14. สาขาทองหลอ 335 15. สาขางามวงศวาน แคราย 11,633 16. สาขาโลตัส นวนคร 99 17. สาขาเมโทรโพลิส 21,669 18. สาขาออมใหญ 1,878 19. สาขาซีคอนสแควร 95 รวม 51,172
อัตราเชาพื้นที่ (%) 55% 100% 73% 48% 100% 100% 100% 50% 100% 92% 51% 100% 64% 100% 77% 100% 95% 100% 100% 92%
ในรูปแบบ Standalone บริษัทฯให้บริการพื้นที่เช่าเพื่อตอบ สนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย นอกเหนือจากภาพยนตร์ โบว์ลิ่ง คาราโอเกะ และลานสเก็ตน้ำ�แข็ง โดยทำ�การคัดเลือกประเภท ของร้านค้าให้สอดคล้องกับรสนิยมและพฤติกรรมของผู้ที่เข้ามาใช้ บริการเป็นหลัก ซึ่งร้านค้าส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับแนวหน้าและเป็นที่ นิยมของลูกค้า พื้นที่ให้เช่ามี 2 ลักษณะคือ เป็นสัญญาเช่าระยะยาว มากกว่า 3 ปี และสัญญาเช่าระยะสั้น ไม่เกิน 3 ปี
เนื่องจากเป็นศูนย์รวมความบันเทิงของคนรุ่นใหม่พื้นที่ ของบริษัทฯจึงเป็นที่ดึงดูดสำ�หรับร้านค้าระดับสากลและแบรนด์ที่ เกิดขึ้นใหม่ในประเทศ ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงของร้านอาหาร จานด่วนที่ต่างต้องการพื้นที่ใหม่ๆ ในการขยายสาขา ส่งผลต่ออัตรา การใช้พื้นที่เช่าอยู่ในระดับสูงแทบทุกๆสาขา พร้อมด้วยบริการเสริม ที่ควบคู่ไปกับการให้เช่าพื้นที่ได้แก่บริการแสงไฟ ไอเย็น ระบบป้องกัน อัคคีภัย การทำ�ความสะอาดและการรักษาความปลอดภัย รวมถึงการ บริการส่วนกลาง ตัวอย่างเช่น ลิฟท์ บันไดเลื่อนและที่จอดรถ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
22
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
23
BUSINESSES
“ธุรกิจพื้นที่ให้เช่าและบริการ”
BUSINESSES
“ธุรกิจอื่น”
บมจ. สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ บริษัทฯ ลงทุนในบมจ. สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ ผู้พัฒนาและบริหารศูนย์การค้า ประเภทศูนย์การค้าแบบเปิด ไลฟ์สไตล์ มอลล์ ในปี 2547 ด้วยรูปแบบศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ มอลล์ขนาดกลาง ใกล้กับแหล่งชุมชน เพื่อช่วยให้ทั้งสองฝ่ายเติบโตไปควบคู่ กัน โดยมีโรงภาพยนตร์ของเมเจอร์เป็นผู้เช่าหลักที่ช่วยดึงดูดลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ขณะที่สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ ซึ่งอยู่ใน ช่วงของการขยายธุรกิจ ก็เป็นอีกช่องทางที่ช่วยให้เมเจอร์สามารถขยายสาขาได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้นเช่นกัน ปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุน ในบมจ. สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ ด้วยสัดส่วน 20.49% บมจ. สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีอักษรย่อว่า SF
บริษัทฯลงทุนในธุรกิจจัดจำ�หน่ายภาพยนตร์โดยการถือหุ้น 67.86% ใน บมจ. เอ็ม พิคเจอร์ส เอนเตอร์เทนเมนท์ ในอดีต บริษัทฯ ถือหุ้นตรงใน บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำ�กัด ซึ่งจัดจำ�หน่ายภาพยนตร์ เข้าโรงภาพยนตร์ และยังได้ถือหุ้นใน บริษัท เอ็มวีดี จำ�กัด (เดิมชื่อ บริษัท แปซิฟิคมาร์เก็ตติ้ง แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ กรุ้ป จำ�กัด) บริษัทฯได้ทำ�การปรับโครงสร้างธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง และตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม 2552 เป็นต้นมา บริษัททั้งสองได้อยู่ภายใต้การ บริหารงานของบมจ. เอ็ม พิคเจอร์ส เอนเตอร์เทนเมนท์ เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดจำ�หน่ายภาพยนตร์ ตั้งแต่ต้นน้ำ�ถึงปลาย น้ำ�
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ไลฟ์สไตล์ ในเดือนมิถุนายน 2550 ได้เกิดอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่สำ�คัญของบริษัทฯ คือความสำ�เร็จในการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ไลฟ์ สไตล์ (MJLF) ที่ปัจจุบันจัดการบริหารโดย บลจ. กสิกรไทย เป็นกองทุนที่เข้าไปลงทุนในสิทธิการเช่าที่ดินและอาคารในโครงการเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัช โยธินและ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รังสิต รวมมูลค่า 2,300 ล้านบาท โดยบริษัทฯถือหุ้นในสัดส่วน 33% ของกองทุนดังกล่าว ทั้งนี้ กำ�ไรที่ได้มาจากการ ขายกองทุน บริษัทฯได้นำ�ไปลงทุนในสาขา Standalone แห่งใหม่บนถนนรัตนาธิเบศร์ และศูนย์การค้าเมเจอร์ อเวนิว รัชโยธิน ที่เข้าร่วมลงทุนร่วม กับบมจ. สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์ บริษัทละ 50% กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ไลฟ์สไตล์ (MJLF) เป็นเครื่องมือสำ�คัญในการต่อยอดทางธุรกิจในธุรกิจโรงภาพยนตร์ โดย เฉพาะในรูปแบบที่ใช้เงินลงทุนมากแต่คืนทุนกลับมาเร็ว อย่าง Standalone และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง โดยไม่ต้องเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นและมีทรัพย์สินอยู่ใน ครอบครองมากเกินไป กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ ไลฟ์สไตล์ จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีอักษรย่อว่า MJLF
ในด้านธุรกิจจัดจำ�หน่ายภาพยนตร์ บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำ�กัด บริหารจัดการจำ�นวนภาพยนตร์ที่จะเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ เพื่อให้มีภาพยนตร์เข้าฉายอย่างต่อเนื่องตลอด 52 สัปดาห์ของปี เพื่อ ช่วยสร้างรายได้ให้กับบริษัทอย่างสม่ำ�เสมอ แม้ในช่วงที่ภาพยนตร์ จากตลาดฮอลลีวู้ดมีไม่มากนัก โดยบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำ�กัด จะซื้อ ภาพยนตร์จากผู้สร้างอิสระ บริษัทหนังจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี จากการเป็นผู้นำ�ในตลาดโรงภาพยนตร์ของบมจ. เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ส่งผลให้รายได้ของบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จำ�กัด อยู่ในระดับที่ แข็งแกร่ง
บจ. เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง ในเดือนมกราคม 2553 บริษัทฯ ร่วมกับ บมจ.กันตนา กรุ๊ป จัดตั้ง บจ.เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง ขึ้นเพื่อประกอบธุรกิจเคเบิ้ล ทีวี ภายใต้ชื่อ “เอ็ม แชนนอล” ออกอากาศภาพยนตร์ตลอดจนรายการบันเทิงต่างๆเกี่ยวกับภาพยนตร์ทั่วประเทศผ่านดาวเทียม บริษัทฯมีสัดส่วนถือหุ้นอยู่ที่ 44.99% บจ. ทาเลนต์ วัน ในเดือนพฤศจิกายน 2554 บริษัทฯ ลงทุนใน บจ.ทาเลนต์ วัน เพื่อประกอบธุรกิจผลิตภาพยนตร์และรับผลิตสื่อ บันเทิงทุกรูปแบบโดยมีสัดส่วนถือหุ้นอยู่ 80%
สำ�หรับการจัดจำ�หน่ายภาพยนตร์ในตลาดโฮมวีดีโอ บริษัท เอ็มวีดี จำ�กัด บริหารระยะเวลาการจัดจำ�หน่าย (3-4 เดือนหลังจาก ภาพยนตร์ออกฉาย) และรักษาระดับราคาขายดีวีดีและวีซีดีที่ออกสู่ ตลาด ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้ภาพยนตร์สามารถสร้าง รายได้จากการฉายในโรงภาพยนตร์และตลาดโฮมวีดีโออย่างเต็มที่
บจ. เค อารีน่า ในเดือนพฤษภาคม 2555 บริษัทฯ ลงทุนใน บจ. เค อารีน่า เพื่อประกอบธุรกิจดำ�เนินธุรกิจบริหารสถานบริการร้อง คาราโอเกะโดยมีสัดส่วนถือหุ้นอยู่ 50% บจ.ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ ในเดือนมิถุนายน 2550 บริษัทฯได้เข้าลงทุนในบจ.ไทยทิคเก็ตมาสเตอร์.คอม ด้วยสัดส่วน 40% และต่อ มาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บจ. ไทยทิคเก็ต เมเจอร์ เพื่อช่วยขยายงานของบริษัทฯไปสู่ช่องทางการเป็นตัวแทนจำ�หน่าย บัตรชมการแสดงต่างๆ รวมถึงใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการใช้ช่องจำ�หน่ายบัตรชมภาพยนตร์ เป็นช่องทางในการจำ�หน่ายบัตรชมการแสดงต่างๆ เช่น บัตรคอนเสิร์ต บัตรชมกีฬา และบัตรโดยสาร เป็นต้น ด้วย เหตุนี้จึงเป็นการใช้ช่องจำ�หน่ายบัตรชมภาพยนตร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ ไทยทิคเก็ต เมเจอร์ ยังช่วยดึงดูด ลูกค้าให้เข้ามาในศูนย์การค้ามากขึ้นอีกด้วย
และในปี 2552 บมจ. เอ็ม พิคเจอร์ส เอนเตอร์เทนเมนท์ ยังได้ก่อตั้ง บริษัท เอ็ม เทอร์ตี้ ไนน์ จำ�กัด (M39) ซึ่งเป็นบริษัท สร้างภาพยนตร์ไทยคุณภาพขึ้นด้วย บริษัทฯและกลุ่มบริษัทในเครือ มีวัตถุประสงค์หลักคือการผลักดันการสร้างภาพยนตร์ไทยและวาง รากฐานของการเติบโตให้แก่วงการภาพยนตร์ในประเทศไทย
บจ. พีวีอาร์ บจ. พีวีอาร์ เป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของอินเดีย เป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงภาพยนตร์ชั้นนำ�รายหนึ่งของ ประเทศอินเดีย พีวีอาร์เป็นผู้บุกเบิกการสร้างเครือข่ายโรงภาพยนตร์ในรูปแบบมัลติเพล็กซ์รายแรกในประเทศอินเดียตั้งแต่ปี 2540 ปัจจุบันเครือข่ายของพีวีอาร์ ประกอบด้วย 142 โรงภาพยนตร์ 33 สาขาในประเทศอินเดีย ณ สิ้นปีบริษัทฯ ถือหุ้นใน พีวีอาร์ในสัดส่วน 8.84 % บจ. พีวีอาร์ จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศอินเดีย โดยมีอักษรย่อว่า PVRL บจ. พีวีอาร์ บลูโอ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ บจ. พีวีอาร์ บลูโอ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ เป็นกิจการร่วมค้าระหว่างบริษัทฯ กับ บจ.พีวีอาร์ จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2551 เพื่อประกอบ ธุรกิจโบว์ลิ่งในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นธุรกิจเสริมที่ดีให้กับ บจ.พีวีอาร์ มากกว่าเพียงแค่เป็นผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ แต่ยังมี ธุรกิจบันเทิงแนวไลฟ์สไตล์เสริมด้วย ธุรกิจโบว์ลิ่งแนวบันเทิงนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคในเมืองนิวเดลี ซึ่งเป็นที่ตั้ง ของสาขาแรก พีวีอาร์ บลูโอ มีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีกมากในเมืองใหญ่ของประเทศอินเดีย การขยายฐานไปยังตลาดอินเดีย นี้ถือเป็นโอกาสทองสำ�หรับ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ในการเติบโตในต่างแดน ในตลาดที่มีศักยภาพสูง และใหญ่กว่าประเทศไทย หลายเท่าตัว ณ สิ้นปี บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วน 49% ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
24
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
25
BUSINESSES
“ธุรกิจการจัดจำ�หน่ายภาพยนตร์”
BUSINESSES
ในการประกอบธุรกิจของบริษัทและบริษัทย่อยในนามของกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ บริษัทมีนโยบายการบริหารความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับ ธุรกิจ โดยสามารถประเมินปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการดำ�เนินงานได้ดังนี้
ความเสี่ยงจากการพึ่งพา ภาพยนตร์ที่เข้าฉาย ผู้ ป ระกอบการโรงภาพยนตร์ ใน ฐานะของผู้ฉายภาพยนตร์จำ�เป็นต้องพึ่งพา ภาพยนตร์ที่เข้าฉายค่อนข้างสูง หากบริษัท ไม่สามารถหาภาพยนตร์เพื่อนำ�มาฉายใน โรงภาพยนตร์ได้ ส่งผลให้บริษัทสูญเสีย รายได้ เนื่องจากเป็นปัจจัยหลักที่สำ�คัญใน การก่อให้เกิดรายได้ของธุรกิจหรือคิดเป็น อัตราร้อยละ 50 - 60 ของรายได้ทั้งหมด ของบริษัทรายได้หลักของโรงภาพยนตร์มา จากการจำ�หน่ายตั๋วเข้าชมภาพยนตร์ โดย รายได้จากการจำ�หน่ายตั๋วเข้าชมภาพยนตร์ จะขึ้ น อยู่ กั บ จำ � นวนภาพยนตร์ ที่ เ ข้ า ฉาย และระดับความนิยมของภาพยนตร์แต่ละ เรื่อง อย่างไรก็ตาม โรงภาพยนตร์เป็นช่อง ทางจัดจำ�หน่ายภาพยนตร์อันดับแรก และ มีความสำ�คัญสูงที่สุด เจ้าของและผู้จัด จำ�หน่ายภาพยนตร์ จำ�เป็นต้องพึ่งพาโรง ภาพยนตร์ในการฉายภาพยนตร์ เพื่อเป็น ใบเบิกทางในการจัดจำ�หน่ายในรูปแบบของ วีซีดี และดีวีดีต่อไป ดังนั้น การทำ�ธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ ผู้ ผลิตภาพยนตร์ และบริษัทตัวแทนจำ�หน่าย ภาพยนตร์ จึงมีลักษณะเกื้อกูลกัน ทั้งนี้เพื่อ เป้าหมายการเติบโตของทั้งสองธุรกิจร่วม กันทำ�ให้ความเสี่ยงในการพึ่งพาภาพยนตร์ ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ลดน้อยลง ปั จ จุ บั น บริ ษั ท และบริ ษั ท ย่ อ ยมี ส่ ว นแบ่ ง ทางการตลาดประมาณร้ อ ยละ 80 (ส่วนแบ่งตลาดจะวัดจากยอดขายตั๋ว ภาพยนตร์แต่ละเรื่องเฉพาะในรอบสัปดาห์ แรกที่เข้าฉาย) ซึ่งถือเป็นผู้นำ�ตลาดอันดับ 1 นับเป็นการเพิ่มอำ�นาจต่อรองของบริษัท กับเจ้าของและผู้จัดจำ�หน่ายภาพยนตร์มาก ขึ้น นอกจากนี้การที่บริษัทเข้าไปดำ�เนิน ธุ ร กิ จ จั ด จำ � หน่ า ยภาพยนตร์ แ ละทำ � การ ตลาดผ่านบริษทั เอ็ม พิคเจอร์ เอ็นเตอร์เทน เมนท์ จำ�กัด (มหาชน) ทำ�ให้บริษัทลดความเสี่ยง ในการพึ่งพาภาพยนตร์จากผู้จัดจำ�หน่าย
ภาพยนตร์ลงในช่วงเวลาที่ไม่มีภาพยนตร์ ฟอร์มยักษ์จากฮอลลีวู้ดเข้าฉายในประเทศ อย่างไรก็ตาม บริษัทมีนโยบาย ที่จะรักษาสัมพันธภาพทางธุรกิจระยะยาว กับผู้ผลิตภาพยนตร์ทั้งในประเทศและต่าง ประเทศ ซึ่งโดยลักษณะของธุรกิจผู้ผลิต ภาพยนตร์และผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ จะต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ดังนั้น บริษัทจะทำ�ความตกลงกับผู้ผลิตภาพยนตร์ ตั้ ง แต่ ก ารวางแผนในการผลิ ต ภาพยนตร์ ตัง้ แต่ตน้ ทำ�ให้บริษทั สามารถบริหารจัดการ ค ว า ม เ สี่ ย ง ท า ง ด้ า น นี้ ไ ด้ อ ย่ า ง มี ประสิทธิภาพ
ดีวดี ที ง้ั ถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ทีม่ กี าร ผลิตมากขึ้น อันมีผลมาจากอายุการฉาย ภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ที่สั้นลง ซึ่งอาจ สร้ า งผลกระทบต่ อ รายได้ แ ละการเติ บ โต ของธุรกิจโรงภาพยนตร์ แต่อยู่ในระดับ ที่ไม่เป็นนัยสำ�คัญ ทั้งนี้เนื่องจากบริการ ที่ นำ � เสนอในสาขาของเมเจอร์ ซี นี เพล็ ก ซ์ ทำ � ให้ ลู ก ค้ า ที่ ม าใช้ บ ริ ก ารได้ รั บ ความบั น เทิงอื่นๆ นอกเหนือไปจากการมาเพียงเพื่อ ชมภาพยนตร์ นอกจากนี้ในด้านการปราบ ปรามสื่อผิดกฎหมายดังกล่าว รัฐบาลทุกชุด ได้ให้ความสำ�คัญกับปัญหานี้ ด้วยการ ดำ�เนินมาตรการเร่งปราบปรามอย่างเข้ม งวดและมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรม มีผลทำ�ให้สอ่ื ผิดกฎหมายลดลงเป็นอย่างมาก
ความเสี่ยงจากการ แข่งขันในธุรกิจ
ความเสี่ยงจากการ ลงทุนขยายสาขาใหม่
การแข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจ โรงภาพยนตร์นั้น ปัจจุบันโรงภาพยนตร์ เมเจอร์ ซี นี เพล็ ก ซ์ จ ะมี ฐ านะเป็ น ผู้ นำ � ใน วงการทั้งในด้านสถานที่และอุปกรณ์ที่ทัน สมัย มีการขยายสาขาใหม่และปรับปรุง สาขาเดิ ม ให้ มี รู ป ลั ก ษณ์ ทั น สมั ย อยู่ เ สมอ โดยการลงทุนขยายสาขาใน 4 รูปแบบ ได้แก่ Standalone ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้าแบบเปิด และห้างค้าปลีกขนาด ใหญ่ เพื่อขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมทุก ระดับความต้องการ แต่การเพิ่มขึ้นของ สาขาและการเติ บ โตของโรงภาพยนตร์ คู่แข่ง ล้วนส่งผลกระทบต่อกิจการของ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ อาทิเช่น สัดส่วนรายได้ ลดลง เกิดการเปรียบเทียบทั้งในเชิงสภาพ แวดล้อมและการบริการ เป็นต้น บริษัท ตระหนั ก ดี ถึ ง การแข่ ง ขั นทางธุ ร กิ จ ที่ อ าจ จะเกิดขึ้นจึงได้ให้ความสำ�คัญกับการสร้าง และรักษาฐานลูกค้า ด้วยการวางกลยุทธ์ การตลาดที่ ต่ อ เนื่ อ งและนำ � เสนอบริ ก าร เพื่อความบันเทิงที่มากกว่าโรงภาพยนตร์ เช่น บริการโบว์ลิ่ง และคาราโอเกะ ร้านค้า ในสาขา รวมทัง้ การปรับปรุงสาขาเดิมให้สวยงาม อยูเ่ สมอ ทำ�ให้ศกั ยภาพการแข่งขันของเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ โดดเด่นกว่าโรงภาพยนตร์อื่น ในอีกด้านหนึ่งคู่แข่งที่สำ�คัญของ ธุรกิจโรงภาพยนตร์คือวีดีโอเทป วีซีดีและ
ในปี 2556 บริษัทฯมีโครงการ ในการขยายสาขาและเพิ่ ม จำ � นวนโรง ภาพยนตร์ของเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ทั้งในเขต กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด รวม 119โรง และขยายสาขาโบว์ลิ่ง ณ ประเทศ อินเดียอีกประมาณ 78 เลน โดยเงินลงทุน ในโครงการทั้งหมดคาดว่าจะใช้ประมาณ 910 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนในประเทศ ประมาณ 900 ล้านบาท และการลงทุน ในประเทศอินเดียประมาณ 10 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้จากสถาบันการเงิน และ/หรือ การนำ � เงิ นที่ ได้ รั บ จากการออกและเสนอ ขายหุ้นกู้ และ/หรือ กระแสเงินสดจากการ ดำ�เนินงาน การลงทุ น ในสาขาใหม่ อ าจเกิ ด ความไม่ แ น่ น อนของผลตอบแทนจาก การลงทุน อาจส่งผลให้บริษัทต้องเลื่อน ระยะเวลาการเปิด หรือมีค่าใช้จ่ายที่สูง ขึ้นจากต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ด้วย ประสบการณ์ ค วามสำ � เร็ จ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ทำ�ให้บริษัทมีระยะเวลาคุ้มทุน (Payback Period) โดยเฉลี่ยประมาณ 3-4 ปีสำ�หรับ กรณี ส าขาและมี อั ต ราผลตอบแทนเฉลี่ ย ของโครงการ (IRR) ประมาณร้อยละ 1520 ซึ่งเน้นไปตามผลการศึกษาความเป็นไป ได้ของโครงการ (Feasibility Study) ความ ชำ�นาญในการดำ�เนินธุรกิจและนโยบายใน การขยายสาขา ทีม่ กี ารวางแผนกำ�หนดทำ�เล ทีต่ ง้ั บนทำ�เลทอง
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
ความเสี่ยงจากการพึ่ง พิงผู้บริหาร
26
เนือ่ งด้วยกิจการเมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ ก่อตั้งและประสบความสำ�เร็จในการดำ�เนิน กิ จ การด้ ว ยที ม งานบริ ห ารของนายวิ ช า พูลวรลักษณ์ ผู้ก่อตั้งกิจการ เสมือนว่า กิจการต้องพึ่งพาชื่อเสียงและประสบการณ์ ของผูก้ อ่ ตัง้ เท่านัน้ อีกทัง้ บริษทั อาจมีความเสีย่ ง จากการที่ก ลุ่ ม ผู้ ก่ อตั้ ง อาจลดสั ด ส่ ว นการ ถื อ หุ้ น ในบริ ษั ท ลงหรื อ ออกจากการเป็ น ผู้บริหารในกิจการ จะส่งผลให้เสียความ สัมพันธ์กับผู้ผลิตภาพยนตร์ และสูญเสีย ความเชื่อมั่นในบริษัท ทำ�ให้ส่งผลกระทบ กับรายได้อย่างมีนัยสำ�คัญ ซึ่งความเสี่ยง ดังกล่าวเป็นไปได้ยากมากเมื่อพิจารณาถึง ความเป็ น เจ้ า ของและความผู ก พั นที่ น าย วิชา พูลวรลักษณ์ ได้สร้างกิจการเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องตลอด มา และมีความตั้งใจที่จะประกอบกิจการให้ เติบโตต่อไปในฐานะของผู้บริหารและผู้ก่อ ตั้งซึ่งยังผูกพันกับธุรกิจอย่างลึกซึ้ง อย่างไรก็ตาม บริษัทมีนโยบายใน การพัฒนาผู้บริหารของกลุ่มบริษัทในแต่ละ ส่วนงานอย่างสม่ำ�เสมอเพื่อสร้างผู้บริหาร รุ่นใหม่ในการบริหารกิจการของกลุ่มบริษัท กั บ ทั้ ง ผู้ บ ริ ห ารของกลุ่ ม บริ ษั ท เป็ น ผู้ ที่ มี ความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ทาง ด้านธุรกิจภาพยนตร์และโรงภาพยนตร์ อย่างมาก จึงส่งผลให้บริษัทสามารถบริหาร จัดการความเสี่ยงทางด้านนี้ได้
ความเสี่ยงทางด้าน อัคคีภัย บริษัทอาจมีความเสี่ยงเกี่ยวกับอัคคี ภัย ส่งผลให้บริษัทต้องหยุดดำ�เนินการ ทำ�ให้ สูญเสียรายได้ อาทิเช่น เหตุเพลิงไหม้ที่เกิด ขึ้นที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาบางนา ใน ช่วงไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งส่งผลกระทบให้ บริษัทได้รับความเสียหาย รวมมูลค่าประมาณ 35,155,879 บาท อย่างไรก็ตามบริษัทได้มี การทำ � สั ญ ญาเอาประกั นครอบคลุ ม ในเรื่ อ ง ต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามลักษณะและมีเงื่อนไข ปกติของธุรกิจโดยได้รวมถึงการประกันภัยด้าน อัคคีภัย ด้วยวงเงินที่พอเพียงแก่ความเสียหาย ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ทรัพย์สิน และรายได้ที่ สูญเสียจากการหยุดดำ�เนินการ ซึ่งครอบคลุม ความเสียหายบุคคลที่ 3 ด้วย โดยในกรณี เหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นที่สาขาบางนา บริษัท สามารถเคลมประกั น ได้ ร วมมู ล ค่ า ประมาณ 31,590,791 บาท นอกจากนี้บริษัทฯยังจัดการ ซ้อมดับเพลิงเป็นประจำ�ทุกปี โดยได้รับคำ� แนะนำ�และช่วยเหลือจากตำ�รวจดับเพลิงที่มา สาธิตวิธีการเป็นประจำ�
14 แห่ง ทำ�ให้รายได้ของบริษัทลดลงกว่าระดับ ปกติประมาณ 28 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อย ละ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 แต่ความ เสียหายดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผลการ ดำ�เนินงานในไตรมาส 1 ปี 2555 เนื่องจาก ภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่เลื่อนมาฉายในไตรมาสนี้ และทำ�รายได้ได้ค่อนข้างดี ประกอบกับสาขาที่ ปิดบริการไป ได้ทำ�การเปิดให้บริการตามปกติ อย่างไรก็ตามบริษัทได้มีการจัดทำ�แผนความ ต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuing Plan) เพื่อนำ�มาใช้ในการบริหารจัดการความ เสี่ยงต่างๆ โดยแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ นี้ บริษัทจะนำ�มาปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้ทุกสถานการณ์ และอย่างทันท่วงที จึง สามารถลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
ความเสี่ยงเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายหรือเหตุการณ์ ความไม่สงบ สถานการณ์ ก ารก่ อ ความไม่ ส งบ ภายในประเทศยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผล กระทบต่อรายได้ของบริษัทบ้าง เช่น ผู้เข้า ชมลดลง รายได้ลดลง แต่มิได้มีนัยสำ�คัญ อย่ า งไรก็ ต ามบริ ษั ท ยั ง คงให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ นโยบายรักษาความปลอดภัยอย่างรัดกุมและ เข้มงวด การติดตามข่าวสารและมาตรการเฝ้า ระวังอย่างใกล้ชิดยังคงถูกนำ�มาใช้เพื่อเป็นการ ป้องกันและลดโอกาสที่จะเกิดเหตุวุ่นวายต่างๆ ในสาขาที่ อ ยู่ ใ นความรั บ ผิ ด ชอบของบริ ษั ท ตลอดจนมีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับ เหตุต่างๆอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รวมไปถึงการติด ตั้งอุปกรณ์ตรวจอาวุธและกล้องวงจรปิดเพิ่ม เติมในทุกสาขาของบริษัท เพื่อความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ความเสี่ยงอื่นๆ ที่อยู่ นอกเหนือการคาดการณ์ ในกรณี ที่ เ กิ ด เหตุ ก ารณ์ ต่ า งๆที่ อยู่นอกเหนือการคาดการณ์ของบริษัท เช่น ปัญหาน้ำ�ท่วมที่เกิดขึ้นในไตรมาส 4 ปี2554 ส่งผลให้ต้องปิดบริการโรงภาพยนตร์ชั่วคราว ไป
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
27
BUSINESSES
ปัจจัยความเสี่ยง
ในเขตพื้นที่แหล่งชุมชนที่พักอาศัย ใจกลาง เมือง ใกล้สถานศึกษาและสถานที่ทำ�งาน บริษัทเอกชนและราชการ และมีความ สะดวกในการใช้บริการ ทำ�ให้ผู้บริหารมี ความมั่นใจว่าจะสามารถนำ�ความสำ�เร็จมา สู่สาขาใหม่และสร้างความเติบโตให้กับกลุ่ม เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป อย่างไรก็ตาม หากระยะเวลาคุ้ม ทุนไม่เป็นไปตามที่คาด บริษัทก็จะพิจารณา ปรั บ เพิ่ ม หรื อ ลดจำ � นวนโรงภาพยนตร์ , ปรับจำ�นวนเลนโบว์ลิ่ง, ปรับจำ�นวนพื้นที่ เช่า หรือปรับค่าเช่าพื้นที่ ให้สอดคล้อง กับสถานการณ์ โดยการลงทุนสาขาใหม่ ทุ ก แห่ ง จะใช้ ม าตรการเดี ย วกั นนี้ ใ นการ พิจารณาและดำ�เนินงานจากการร่วมลงทุน กับบริษัท สยามฟิวเจอร์สดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด (มหาชน) และการขยายสาขาผ่าน ห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ยังช่วยให้บริษัททราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
ในปี 2555 นีค้ ณะกรรมการบริษทั ยังคงสืบสานเจตนารมณ์อนั มุง่ มัน่ ในการทีจ่ ะยกระดับการก�ำกับดูแลกิจการของบริษทั ให้เป็นไปตามมาตรฐาน สากล คณะกรรมการบริษัทจึงได้น�ำเอาแบบประเมินตนเองเรื่องการปฏิบัติตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance Self Assessment) มาใช้เป็นเครือ่ งมือในการพัฒนาระบบการก�ำกับดูแลกิจการของบริษทั ให้เป็นไปตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการทีด่ ี (Good Corporate Governance) ทีก่ �ำหนดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพือ่ ให้บริษทั มีระบบบริหารการจัดการทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูงสุด ซึง่ ครอบคลุมถึงเรือ่ ง การให้ความส�ำคัญต่อสิทธิของผูถ้ อื หุน้ การปฏิบตั ติ อ่ ผูถ้ อื หุน้ อย่างเท่าเทียมกัน บทบาทของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นส�ำคัญ โดยในปีที่ผ่านมามีรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติ ในเรื่องการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีที่บริษัทจะรายงานให้ทราบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
หมวดที่ 1 สิทธิผู้ถือหุ้น 1.1 นโยบายในการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีเกี่ยว กับการดูแลสิทธิของผู้ถือหุ้น • คณะกรรมการบริษัทได้ก�ำหนดนโยบายการ ก�ำกับดูแลกิจการที่ดีเกี่ยวกับการดูแลสิทธิของ ผู้ถือหุ้นที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นเมื่อปี 2552 โดยมุ่งเน้นให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสรับรู้ผลการ ด�ำเนินงานของบริษัทอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม กัน และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่างๆ ที่ ส�ำคัญ ตลอดจนปกป้อง ส่งเสริม สนับสนุน และไม่ลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยก�ำหนด นโยบายไว้ดังนี้ นโยบายเกี่ยวกับการดูแลสิทธิของผู้ถือหุ้น 1. คณะกรรมการบริ ษั ท มี ห น้ า ที่ ใ นการ ปกป้องและเคารพสิทธิของผู้ถือหุ้นขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สิทธิการซือ้ ขายหรือโอนหุน้ สิทธิในการมี ส่วนแบ่งในก�ำไรของกิจการ สิทธิในการได้รับ ข่าวสารข้อมูลกิจการอย่างเพียงพอ สิทธิในการ เข้าร่วมประชุมผูถ้ อื หุน้ เพือ่ แต่งตัง้ หรือถอดถอน กรรมการ การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี การจัดสรร เงินปันผล การก�ำหนดหรือแก้ไขข้อบังคับหรือ หนังสือบริคณห์สนธิ การลดทุนหรือเพิม่ ทุน การ อนุมัติรายการพิเศษ เป็นต้น 2. คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ในการส่ง เสริมและสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิในเรื่อง ต่างๆ ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปี ได้แก่ สิทธิในการเสนอวาระการประชุมผูถ้ อื หุน้ ล่วงหน้า สิทธิในการเสนอบุคคลเพื่อคัดเลือก เป็นกรรมการล่วงหน้า สิทธิในการส่งค�ำถามต่อ ที่ประชุมล่วงหน้าก่อนการประชุม สิทธิในการ แสดงความคิดเห็น และตั้งค�ำถามต่อที่ประชุม เป็นต้น
3. คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่ในการงด เว้นการกระท�ำใดๆ อันเป็นการละเมิด หรือ จ�ำ สิทธิ หรือการลิดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้นในการ ศึกษาสารสนเทศของบริษัทที่ต้องเปิดเผยตาม ข้อก�ำหนดต่างๆ และการเข้าประชุมผู้ถือหุ้น เช่น ไม่แจกเอกสารที่มีข้อมูลส�ำคัญเพิ่มเติม อย่างกะทันหัน ไม่เพิ่มวาระการประชุมหรือ เปลีย่ นแปลงข้อมูลส�ำคัญโดยไม่ได้แจ้งให้ ผูถ้ อื หุ้นทราบล่วงหน้า เป็นต้น 4. คณะกรรมการบริ ษั ท มี ห น้ า ที่ ใ นการ อ�ำนวยความสะดวกให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิต่างๆ เช่น การให้ข้อมูลส�ำคัญที่เป็นปัจจุบันผ่านทาง เว็บไซต์ของบริษัท การจัดให้ผู้ถือหุ้นเข้าเยี่ยม ชมกิจการ เป็นต้น 1.2 การเปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ ศึกษาข้อมูลก่อน วันประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้า • คณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการได้น�ำ นโยบายสิทธิของผู้ถือหุ้นมาปฏิบัติและมีความ ครอบคลุ ม มากกว่ า สิ ท ธิ ต ามกฎหมาย โดย เฉพาะสิทธิในการรับรู้ข้อมูลและสารสนเทศ ส�ำหรั บ การประชุ ม สามั ญ ผู ้ ถื อ หุ ้ น ประจ�ำปี 2555 เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2555 บริษัทได้เปิด โอกาสให้ผู้ถือหุ้นศึกษาข้อมูลก่อนวันประชุมผู้ ถือหุ้นล่วงหน้าเป็นเวลากว่า 30 วันก่อนการ ประชุมผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท และเผย แพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษพร้อมกัน โดยมีข้อมูลเหมือนกับข้อมูลในรูปแบบเอกสาร ทีบ่ ริษทั จะจัดส่งให้ผถู้ อื หุน้ ซึง่ เปิดเผยข้อมูลดัง ต่อไปนี้ 1. หนังสือเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปี 2555 2. เอกสารแนบ 1 รายงานการประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้น ประจ�ำปี 2554 3. เอกสารแนบ 2 รายงานประจ�ำปี 2554 ใน รูปแบบ CD-ROM
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
4. เอกสารแนบ 3 งบการเงินสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 5. เอกสารแนบ 4 ข้อมูลพิจารณาการจัดสรร ก�ำไรสุทธิ และจ่ายเงินปันผล 6. เอกสารแนบ 5 ข้ อ มู ล พิ จ ารณาประวั ติ กรรมการที่เสนอชื่อเลือกตั้งกลับเข้ามาแทน กรรมการที่ ต ้ อ งออกตามวาระจ�ำนวน 4 คน 7. เอกสารแนบ 6 ข้อมูลพิจารณารายละเอียด ค่าตอบแทนกรรมการ 8. เอกสารแนบ 7 ข้อมูลรายนามผู้สอบบัญชี และรายละเอียดค่าสอบบัญชี 9. แบบหนังสือมอบฉันทะ แบบ ก (แบบทั่วไป) 10. แบบหนังสือมอบฉันทะ แบบ ข (แบบที่ ก�ำหนดโดยกระทรวงพาณิชย์) 11. แบบหนังสือมอบฉันทะ แบบ ค (แบบ ส�ำหรับ custodian) 12. ข้อมูลประวัติกรรมการอิสระ (ส�ำหรับ ประกอบการมอบฉันทะ) 13. หลักฐานแสดงสิทธิเข้าร่วมประชุมผูถ้ อื หุน้ 14. ข้อบังคับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผู้ ถือหุ้น 15. แผนที่ตั้งสถานที่ประชุม • ในการจั ด ส่ ง เอกสารการประชุ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น บริษัทได้มอบหมายให้บริษัท ศูนย์รับฝากหลัก ทรั พ ย์ (ประเทศไทย) จ�ำกั ด ซึ่ ง เป็ น นาย ทะเบียนหุ้นของบริษัทเป็นผู้จัดส่งหนังสือเชิญ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปี 2555 ให้แก่ผู้ ถือหุ้นล่วงหน้าก่อนวันประชุม 7 วัน ซึ่งมีช่วง ระยะเวลาในการจัดส่งเอกสารมากกว่าตามที่ กฎหมายได้ก�ำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ ผู้ถือหุ้นได้มีระยะเวลาศึกษาข้อมูลมากขึ้น
28
GOVENANCES
• บริษัทได้แจ้งกฎเกณฑ์และวิธีการในการเข้า ร่วมประชุมผู้ถือหุ้นให้ผู้ถือหุ้นทราบในหนังสือ เชิญประชุม รวมทั้งในวันประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ ด�ำเนินการประชุมได้แจ้งกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการ ประชุม และขั้นตอนการออกเสียงลงมติให้ ผู้ ถือหุ้นทราบที่ประชุมผู้ถือหุ้น และได้มีการ บันทึกการแจ้งกฎเกณฑ์และขั้นตอนการออก เสียงลงมติดังกล่าวลงในรายงานการประชุมผู้ ถือหุ้นทุกครั้ง • นอกจากนี้บริษัทยังเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นใช้ สิทธิในการเข้าเยี่ยมชมบริษัท และเปิดโอกาส ให้ผู้ถือหุ้นได้รับข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ ที่เป็นข้อมูลปัจจุบันผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท อย่างสม�่ำเสมอ 1.5 การจัดสรรเวลาและการเปิดโอกาสให้ผู้ ถือหุ้นร่วมแสดงความคิดเห็น • บริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นซักถามในเรื่อง ทีเ่ กีย่ วข้องกับวาระการประชุมหรือเกีย่ วข้องกับ บริ ษั ท และแสดงความคิ ด เห็ น โดยประธาน กรรมการได้สอบถามที่ประชุมในแต่ละวาระทุก วาระ รวมทั้งได้มีการบันทึก ข้อซักถามในเรื่อง ทีเ่ กีย่ วข้องกับวาระการประชุมหรือเกีย่ วข้องกับ บริษัทและแสดงความคิดเห็นของผู้ถือหุ้น รวม ทัง้ ค�ำชีแ้ จงของคณะกรรมการบริษทั และ/หรือผู้ บริหารลงในรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้ง บริษัทจัดให้มีการบันทึกเสียงการประชุมผู้ถือ หุ้น และเปิดเผยรายละเอียดสาระส�ำคัญของ การซักถามในระหว่างการประชุมไว้ในรายงาน การประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อสามารถใช้อ้างอิงใน ภายหลัง และช่วยให้ผู้ถือหุ้นที่ไม่สามารถเข้า ร่วมการประชุมสามารถติดตามรายละเอียดได้
1.3 การป้องกันกรณีการจ�ำกัดโอกาสของผูถ้ อื หุ้นในการศึกษาข้อมูลและสารสนเทศ • ในปี 2555 คณะกรรมการบริษัทได้ส่งเสริม การใช้สทิ ธิของผูถ้ อื หุน้ และไม่จ�ำกัดสิทธิของผู้ ถือหุ้น โดยมีการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศผ่าน ทางเว็บไซต์ของบริษัทล่วงหน้า ทั้งในการเข้า ประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี 2555 บริษทั ไม่มี การแจกโดยกะทั น หั น ซึ่ ง เอกสารที่ มี ข ้ อ มู ล ส�ำคัญเพิ่มเติมในที่ประชุม ไม่มีการเพิ่มวาระ การประชุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลส�ำคัญโดย 1.6 การเข้ า ร่ ว มประชุ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น ของคณะ ไม่แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า กรรมการ • คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความส�ำคัญและ 1.4 การอ�ำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้นใน เคารพสิทธิของผูถ้ อื หุน้ ในการจัดประชุมสามัญ การใช้สิทธิ ผู้ถือหุ้นประจ�ำปี 2555 มีคณะกรรมการบริษัท • บริษทั อ�ำนวยความสะดวกให้กบั ผูถ้ อื หุน้ และ เข้าร่วมประชุม 11 คน จึงสรุปได้ว่าบริษัทยัง ผู้รับมอบฉันทะของผู้ถือหุ้นในการลงทะเบียน คงพัฒนาการจัดประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี เพื่อเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้น โดยการน�ำระบบ 2555 ให้มีความเคร่งครัดกว่าแนวทางการ การลงทะเบียน และนับคะแนนเสียงโดย ก�ำกับดูแลกิจการที่ดีที่ก�ำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง วิธี Barcode มาใช้ พร้อมทัง้ แจกใบลงคะแนน เสียงให้กับผู้ถือหุ้นที่มาประชุมด้วยตนเองก่อน การประชุม ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
GOVENANCES
การก�ำกับดูแลกิจการ
• ในวันประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทได้อ�ำนวยความ สะดวกแก่ผถู้ อื หุน้ ในการใช้สทิ ธิเข้าร่วมประชุม และออกเสียงด้วยการใช้ระบบ Barcode ใน การลงทะเบียน และนับคะแนนเสียง รวมทั้ง จัดให้มอี ากรแสตมป์ไว้บริการในกรณีทผี่ ถู้ อื หุน้ ไม่ได้น�ำมาในการมอบฉันทะ พร้อมทั้งจัดท�ำ ป้ายสัญลักษณ์ส�ำหรับ ผู้ถือหุ้นที่ลงทะเบียน แล้ว เพื่อความสะดวกในการเข้าออกที่ประชุม โดยไม่ต้องเสียเวลาในการตรวจสอบเอกสาร ใหม่ • หลังการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี 2555 บริษัทได้น�ำเนื้อหาการประชุมซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดวาระการประชุม มติทปี่ ระชุม การ ลงคะแนนเสียง ตลอดจนค�ำถามและความเห็น ของผู้ถือหุ้น รวบรวมจัดท�ำเป็น “รายงานการ ประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี 2555” เผยแพร่ ขึ้นเว็บไซต์ของบริษัท • หลังการประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี 2555 บริษัทได้น�ำเนื้อหาการประชุมซึ่งประกอบด้วย รายละเอียดวาระการประชุม มติทปี่ ระชุม การ ลงคะแนนเสียง ตลอดจนค�ำถามและความเห็น ของผู้ถือหุ้น รวบรวมจัดท�ำเป็น “รายงานการ ประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี 2555” เผยแพร่ ขึ้นเว็บไซต์ของบริษัท
หมวดที่ 2 การปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้น อย่างเท่าเทียมกัน การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นส่วนน้อยอย่างเท่าเทียม กัน • คณะกรรมการบริษัทค�ำนึงถึงการปฏิบัติต่อผู้ ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน จึงได้ก�ำหนดนโยบาย ในการอ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วน น้อยไว้ดังต่อไปนี้ • บริษัทได้เปิดโอกาสและอ�ำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 100,000 หุน้ โดยอาจเป็นผูถ้ อื หุน้ รายเดียวหรือ หลายรายรวมกันก็ได้ และเป็นการถือหุ้นอย่าง ต่อเนือ่ งนับจากวันทีถ่ อื หุน้ จนถึงวันทีเ่ สนอเรือ่ ง เพื่อบรรจุในวาระการประชุมเป็นเวลาไม่น้อย กว่า 12 เดือน ได้เสนอวาระในการประชุม สามัญผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้า โดยได้จัดท�ำ หลักเกณฑ์การพิจารณาเผยแพร่ผ่านระบบ ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัทล่วงหน้าเป็นเวลา 4 เดือนก่อนวันประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปี 2555 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2555) ซึ่งมีเลขานุการคณะกรรมการ บริษัทท�ำหน้าที่เป็นผู้รวบรวมวาระการประชุม และน�ำเสนอต่อกรรมการอิสระเพื่อพิจารณา ก่อนในเบื้องต้น หากกรรมการอิสระพิจารณา แล้วเห็นว่ามีความเหมาะสมก็ให้น�ำเสนอต่อที่ ประชุมคณะกรรมการบริษทั ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เพื่อพิจารณาออกเป็นระเบียบวาระการ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นต่อไป ซึ่งปรากฏว่าในปี 2555 ไม่มีผู้ถือหุ้นเสนอวาระการประชุมล่วง หน้า • บริษัทได้เปิดโอกาสและอ�ำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 100,000 หุน้ โดยอาจเป็นผูถ้ อื หุน้ รายเดียวหรือ หลายรายรวมกันก็ได้ และเป็นการถือหุ้นอย่าง ต่อเนือ่ งนับจากวันทีถ่ อื หุน้ จนถึงวันทีเ่ สนอเรือ่ ง เพื่อบรรจุในวาระการประชุมเป็นเวลาไม่น้อย กว่า 12 เดือน ได้เสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมเข้าด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการล่วงหน้า โดยได้จัดท�ำหลักเกณฑ์การพิจารณาเผยแพร่ ผ่ า นระบบข้ อ มู ล ของตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย และเว็บไซต์ของบริษัทล่วงหน้า เป็นเวลา 4 เดือนก่อนวันประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี 2555 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 ถึง วันที่ 31 มกราคม 2555)
29
GOVENANCES
การพิจารณาอนุมัติก�ำหนดค่าตอบแทนผู้สอบ บัญชี การพิจารณาอนุมตั แิ ต่งตัง้ กรรมการแยก เป็นรายบุคคล เป็นต้น รายละเอียดการนับ คะแนนเสียงดังกล่าวมีการบันทึกไว้ในรายงาน การประชุมผู้ถือหุ้นทุกครั้ง เพื่อความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ในกรณีหากมีข้อโต้แย้งเกิด ขึ้นในภายหลัง มาตรการป้ อ งกั น กรรมการ ผู ้ บ ริ ห ารและ พนักงานใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ • คณะกรรมการบริษัทได้ก�ำหนดมาตรการ ป้องกันกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้ ข้อมูลภายในเพือ่ หาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือ ผู้อื่นในทางมิชอบไว้ในหลักจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of Conduct) ซึง่ ครอบคลุมถึงเรือ่ งการ ใช้ขอ้ มูลภายในเพือ่ ซือ้ ขายหลักทรัพย์ ความขัด แย้งทางผลประโยชน์ และการรักษาความลับ โดยมีการแจ้งมาตรการดังกล่าวผ่านทางคู่มือ หลักจรรยาบรรณธุรกิจ การจัดอบรม และทาง เว็บไซต์ของบริษัท นอกจากนี้ยังได้มอบหมาย ให้เลขานุการคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิด ชอบในการแจ้งหลักเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล และติ ด ตามให้ ค ณะกรรมการบริ ษั ท และผู ้ บริห ารรายงานการถื อ ครองหลั ก ทรั พ ย์ ตาม กฎหมาย รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลเกีย่ วกับส่วน ได้ส่วนเสียหรือการท�ำรายการระหว่างกันของ กรรมการและผู้บริหาร
หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วน ได้ส่วนเสีย 3.1 นโยบายการก�ำกับดูแลกิจการที่ดีเกี่ยวกับ การดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษัทตระหนักและให้ความส�ำคัญต่อสิทธิ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ซึ่งไม่เพียงแต่ เฉพาะตามทีก่ ฎหมายก�ำหนดเท่านัน้ ในปีทผี่ า่ น มาบริษทั จึงได้พจิ ารณาชีบ้ ง่ ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย ขึ้ น ใหม่ พร้ อ มกั บ ก�ำหนดเป็ น นโยบายและ มาตรการในการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่ม เติมเพือ่ ให้สอดคล้องกับนโยบายการก�ำกับดูแล กิจการที่ดี และนโยบายความรับผิดชอบต่อ สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมของบริษัท ที่ได้ ยึดถือปฏิบตั คิ วบคูก่ นั ไป โดยผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย ของบริษัทแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
1. พนักงานและครอบครัว 2. ลูกค้า และเจ้าหนี้ 3. ผู้ถือหุ้น 4. พันธมิตรทางธุรกิจ 5. นักวิเคราะห์, นักลงทุน และ สถาบันการ เงิน คณะกรรมการบริษัทได้ก�ำหนดนโยบายและ มาตรการในการดูแลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังต่อ ไปนี้ 1. พนักงานและครอบครัว นโยบายเกี่ ย วกั บ การดู แ ลพนั ก งานและ ครอบครัว 1) บริษัทให้ผลตอบแทนแก่พนักงานโดยยึด หลักพิจารณาผลงานด้วยความเป็นธรรมและ สามารถวัดผลได้ อาทิ รายได้ค่าตอบแทนราย เดือน รายได้จากการท�ำงานล่วงเวลา โบนัส ประจ�ำปี การประกันชีวิตและประกันสุขภาพ กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น 2) บริษัทมุ่งส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มี ความรู้ความสามารถอย่างต่อเนื่อง อาทิ จัดให้ มีการอบรมและสัมมนาผู้บริหารและพนักงาน ทุกระดับ เป็นต้น 3) บริษัทปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนด้วยความ เป็นธรรมและความเท่าเทียมกัน อาทิ การ ประเมินผลงานของพนักงาน การรักษาความ ลับประวัติการท�ำงาน และการใช้สิทธิต่างๆ ของพนักงาน เป็นต้น 4) บริษัทค�ำนึงถึงสิทธิของพนักงานเป็นส�ำคัญ และเปิดโอกาสให้พนักงานรับร้องเรียนกรณี พนักงานไม่ได้รับความเป็นธรรมผ่านช่องทาง ต่างๆ เช่น ตู้รับความคิดเห็น หน่วยงานฝ่าย ทรัพยากรบุคคลที่รับเรื่อง เป็นต้น 5) บริษัทมีหน้าที่ดูแลจัดสภาพแวดล้อมในการ ท�ำงานให้มีความปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ และ เอื้อต่อการท�ำงานอย่างมีประสิทธิผล 2.ลูกค้า และเจ้าหนี้ นโยบายเกี่ยวกับการดูแลลูกค้า 1) บริษทั มีหน้าทีใ่ นการสร้างความสัมพันธ์และ ความร่วมมือในระยะยาวกับลูกค้า โดยยึดหลัก ความซื่อสัตย์สุจริต ความเชื่อถือและไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน 2) บริษัทมีหน้าที่ในการสร้างความพึงพอใจ สูงสุดให้กบั ลูกค้าของบริษทั ด้วยการรับผิดชอบ เอาใจใส่ และให้ความส�ำคัญต่อปัญหาและ ความต้องการของลูกค้าอันดับแรก โดยให้ผู้ บริหารและพนักงานทุกคนปฏิบตั ติ ามมาตรการ ดังต่อไปนี้
30
• ยึดมั่นในการน�ำเสนอและส่งมอบผลิตภัณฑ์ ที่ได้มาตรฐานคุณภาพตรงกับความต้องการ ของลูกค้า • ยึดถือปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้ท�ำข้อ ตกลงไว้กับลูกค้าอย่างดีที่สุด • การเสนอราคาและเงือ่ นไขการค้าให้แก่ลกู ค้า ทีจ่ ดั อยูใ่ นกลุม่ เดียวกันต้องมีความเท่าเทียมกัน • ให้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงความเป็นจริงแก่ลูกค้า เกีย่ วกับคุณสมบัตแิ ละคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ ผลิตได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความเป็น ธรรมให้กับลูกค้าของบริษัท • พร้อมที่จะตอบค�ำถามของลูกค้า รวมทั้งการ ด�ำเนิ น การเกี่ ย วกั บ ข้ อ ร้ อ งเรี ย น การให้ ค�ำ แนะน�ำ และการติดตามผลความคืบหน้าใน ประเด็นต่างๆ ที่ได้รับแจ้งจากลูกค้า นโยบายเกี่ยวกับการดูแลเจ้าหนี้ 1) บริษัทมีหน้าที่ในการสร้างความสัมพันธ์และ ปฏิบตั ติ อ่ เจ้าหนี้ โดยยึดหลักความซือ่ สัตย์สจุ ริต ความเชื่อถือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน 2) บริษัทมีหน้าที่ในการรับผิดชอบ เอาใจใส่ และให้ความส�ำคัญต่อเงื่อนไขต่างๆ ที่ได้ท�ำข้อ ตกลงไว้กับเจ้าหนี้อย่างดีที่สุด 3. ผู้ถือหุ้น นโยบายเกี่ยวกับการดูแลผู้ถือหุ้น 1) บริษัทมีหน้าที่ที่ต้องปกป้องและเคารพสิทธิ ของผู้ถือหุ้นขั้นพื้นฐาน ได้แก่ สิทธิการซื้อขาย หรือโอนหุ้น สิทธิในการมีส่วนแบ่งในก�ำไรของ กิจการ สิทธิในการได้รับข่าวสารข้อมูลกิจการ อย่างเพียงพอ สิทธิในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือ หุน้ เพือ่ แต่งตัง้ หรือถอดถอนกรรมการ การแต่ง ตั้ ง ผู ้ ส อบบั ญ ชี การจั ด สรรเงิ น ปั น ผล การ ก�ำหนดหรื อ แก้ ไ ขข้ อ บั ง คั บ หรื อ หนั ง สื อ บริคณห์สนธิ การลดทุนหรือเพิม่ ทุน การอนุมตั ิ รายการพิเศษ เป็นต้น 2) บริษัทมีหน้าที่ที่ต้องส่งเสริมและสนับสนุน ให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิในเรื่องต่างๆ ในการประชุม สามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี ได้แก่ สิทธิในการเสนอ วาระการประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้า สิทธิในการ เสนอบุคคลเพือ่ คัดเลือกเป็นกรรมการล่วงหน้า สิทธิในการส่งค�ำถามต่อทีป่ ระชุมล่วงหน้าก่อน การประชุม สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและ ตัง้ ค�ำถามต่อทีป่ ระชุม เป็นต้น ผ่านทางเว็บไซต์ 3)บริษัทต้องไม่กระท�ำการใดๆ อันเป็นการ ละเมิดหรือจ�ำกัดสิทธิของผู้ถือหุ้น
4. คู่ค้า นโยบายเกี่ยวกับการดูแลคู่ค้า 1) บริษัทมีหน้าที่ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี กับคู่ค้าทุกราย 2) บริษัทมีหน้าที่ในการเปิดโอกาสให้คู่ค้าทุก รายน�ำเสนอสินค้า/บริการได้โดยเท่าเทียมกัน โดยให้ผบู้ ริหารและพนักงานทีเ่ กีย่ วข้องกับคูค่ า้ ต้องปฎิบัติตามมาตรการต่อไปนี้ • ต้องปฏิบตั งิ านต่อคูค่ า้ ด้วยความซือ่ สัตย์สจุ ริต และมีความเท่าเทียมกัน • การพิจารณาและตัดสินใจต้องอยูบ่ นพืน้ ฐาน ของการเปรียบเทียบคุณภาพและเงือ่ นไขต่างๆ โดยค�ำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษทั ในระยะสัน้ และระยะยาว • ต้องรักษาความลับของคู่ค้า โดยห้ามมิให้มี การรับสินบนหรือค่านายหน้าใดๆ จากคูค่ า้ รวม ถึงห้ามเปิดเผยข้อมูลหรือข้อเสนอของคูค่ า้ ราย หนึ่งหรือหลายรายให้กับคู่ค้ารายอื่นๆรับทราบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม 5.นักวิเคราะห์, นักลงทุน และสถาบันการเงิน นโยบายเกี่ยวกับการดูแลนักวิเคราะห์, นัก ลงทุนและสถาบันการเงิน 1) บริษัทเปิดโอกาสให้นักวิเคราะห์, นักลงทุน และสถาบั น การเงิ น ได้ รั บ ทราบข้ อ มู ล การ ด�ำเนินงานของบริษทั และแนวโน้มผลประกอบ การในอนาคตได้ตามความเหมาะสม และเป็น ไปตามเงือ่ นไขของกฎหมาย และการก�ำกับดูแล กิจการที่ดีในเรื่องการเปิดเผยข้อมูล 2) บริ ษั ท จะอ�ำนวยความสะดวกโดยจั ด ท�ำ ข้อมูลแนะน�ำการลงทุนของบริษัท ให้แ ก่นัก ลงทุนผ่านช่องทางเว็บไซต์ 3.2 มาตรการชดเชยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกรณี ได้รับความเสียหายจากการละเมิด • คณะกรรมการบริษัทมีมาตรการที่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทจะต้องพึง ปฏิบัติในการใช้ข้อมูลภายในดังนี้ มาตรการป้องกันข้อมูลภายในของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน 1) เลขานุการคณะกรรมการบริษทั มีหน้าทีใ่ น การแจ้งให้กรรมการและผู้บริหารทราบและ ปฏิบตั ซิ งึ่ หน้าทีใ่ นการรายงานการถือครองหลัก ทรัพย์ในบริษทั ของตนเอง คูส่ มรส และบุตรทีย่ งั ไม่ บ รรลุ นิ ติ ภ าวะ ตลอดจนรายงานการ เปลีย่ นแปลงการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
และบทก�ำหนดโทษตามมาตรา 275 แห่งพระ ร า ช บั ญ ญั ติ บ ริ ษั ท ห ลั ก ท รั พ ย ์ แ ล ะ ตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 2) คณะกรรมการบริษทั จะแนะน�ำให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ทราบข้อมูลภายใน หลีกเลีย่ งการซือ้ ขายหุน้ ของบริษทั ก่อนการเปิด เผยข้อมูลที่เป็นสาระส�ำคัญ รวมถึงข้อมูลงบ การเงิ น ของบริ ษั ท ซึ่ ง มี ผ ลกระทบต่ อ การ เปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ต่อสาธารณชน กล่าวคือ เป็นเวลา 1 เดือนก่อนการเปิดเผย ข้อมูล และ 1 สัปดาห์หลังการเปิดเผยข้อมูล อันอาจเป็นการกระท�ำผิดพระราชบัญญัติหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ • บริษัทได้ก�ำหนดมาตรการป้องกันกรรมการ และผู ้ บ ริ ห ารใช้ ข ้ อ มู ล ภายในเพื่ อ หาผล ประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผูอ้ นื่ ในทางมิชอบไว้ ในหลั ก จรรยาบรรณส�ำหรั บ ผู ้ บ ริ ห ารและ พนักงานดังต่อไปนี้ มาตรการป้ อ งกั น ความขั ด แย้ ง ทางผล ประโยชน์ของผู้บริหารและพนักงาน 1) ผู้บริหารและพนักงานจะต้องไม่กระท�ำการ ใดๆ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์หรือเบียดบัง ทรัพย์สิน ซึ่งควรเป็นของบริษัท หรือควรเป็น ของลูกค้าของบริษัท 2) ผู ้ บ ริ ห ารและพนั ก งานควรหลี ก เลี่ ย ง สถานการณ์ หรือการมีกิจกรรมส่วนตัว และ การมีผลประโยชน์ทางการเงินซึ่งอาจขัดแย้ง กับหน้าทีก่ ารงานทีผ่ บู้ ริหารและพนักงานผูกพัน อยู่ 3) กรณีหากต�ำแหน่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ของผู้บริหารและพนักงานมีผลในอันที่จะเอื้อ ประโยชน์ทงั้ ทางตรงและทางอ้อมให้แก่ตนเอง หรือสมาชิกในครอบครัว (คู่สมรส บิดา มารดา บุตร ญาติพี่น้อง) หรือบุคคลที่รู้จัก ผู้บริหาร และพนักงานดังกล่าวไม่ควรมีส่วนร่วมในการ ตั ด สิน ใจด�ำเนิ น การใดๆ และจะต้ อ งแจ้ ง ผู ้ บังคับบัญชาตามสายงานให้ทราบทันที 4) บริษัทจะหลีกเลี่ยงที่จะมอบหมายหน้าที่ ความรับผิดชอบให้กบั ผูบ้ ริหารและพนักงานใน กรณีทอี่ าจจะน�ำไปสูส่ ถานการณ์ทจี่ ะก่อให้เกิด การขัดแย้งทางผลประโยชน์ของบริษทั หรือขัด ต่อผลประโยชน์ของลูกค้าของบริษัท 5) การที่ผู้บริหารและพนักงานมีส่วนร่วมใน การด�ำเนินกิจกรรมภายนอกองค์กร หรือด�ำรง ต�ำแหน่ ง ภายนอกองค์ ก ร อาทิ การเป็ น กรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน หรือเป็นพนักงาน
31
GOVENANCES
• ซึง่ มีเลขานุการคณะกรรมการบริษทั ท�ำ หน้ า ที่ เ ป็ น ผู ้ ร วบรวมข้ อ มู ล ประกอบการ พิจารณาด้านคุณสมบัติ และ การให้ความ ยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อ แล้วน�ำเสนอ ต่อคณะกรรมการสรรหาเพือ่ พิจารณาคุณสมบัติ ของบุคคลที่ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอมาตามกระ บวนการสรรหาที่บริษัทได้ก�ำหนดไว้ โดยหาก คณะกรรมการสรรหาพิจารณาแล้วว่ามีความ เหมาะสม ก็ ใ ห้ น�ำเสนอต่ อ ที่ ป ระชุ ม คณะ กรรมการบริษัทในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เพื่อ พิจารณาเสนอทีป่ ระชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ต่อไป ซึง่ ปรากฏว่าในปี 2555 ไม่มีผู้ถือหุ้นเสนอรายชื่อ • คณะกรรมการบริษัทได้ปฏิบัติตามนโยบาย เกีย่ วกับการดูแลสิทธิของผูถ้ อื หุน้ ทีไ่ ด้ก�ำหนดไว้ โดยในการประชุมผูถ้ อื หุน้ คณะกรรมการบริษทั ได้ ด�ำเนิ น การประชุ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น เป็ น ไปตาม ระเบียบวาระการประชุมอย่างเคร่งครัด โดย ไม่มีการแจกเอกสารที่มีข้อมูลส�ำคัญเพิ่มเติม อย่ า งกะทั น หั น และไม่ มี ก ารเพิ่ ม วาระการ ประชุมหรือเปลีย่ นแปลงข้อมูลส�ำคัญโดยไม่ได้ แจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบเป็นการล่วงหน้า • คณะกรรมการบริษัทสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นใช้ หนังสือมอบฉันทะในรูปแบบทีผ่ ถู้ อื หุน้ สามารถ ก�ำหนดทิศทางการลงคะแนนเสียงเห็นด้วย ไม่ เห็นด้วย งดออกเสียง โดยได้จดั ท�ำหนังสือมอบ ฉันทะแบบ ข ขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังได้จัดท�ำ หนังสือมอบฉันทะแบบ ก (แบบมอบฉันทะ ทั่วไป) และหนังสือมอบฉันทะแบบ ค (แบบ มอบฉันทะเฉพาะส�ำหรับ custodian) ให้แก่ผู้ ถือหุ้นโดยเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ล่วงหน้า เป็นเวลา 30 วันก่อนวันประชุมส�ำหรับให้ ดาวน์โหลดอีกด้วย • คณะกรรมการบริษัทอ�ำนวยความสะดวกให้ แก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่สะดวกเข้าร่วมประชุมได้ด้วย ตนเอง แต่มีความประสงค์จะใช้สิทธิในการลง คะแนนเสียงโดยวิธีการมอบฉันทะ โดยบริษัท ได้เสนอให้มีกรรมการอิสระเข้าประชุมและลง คะแนนเสียงแทนผู้ถือหุ้น จ�ำนวน 2 คน คือ นายชัย จรุงธนาภิบาล (ประธานกรรมการตรวจ สอบ และกรรมการอิสระ) และ นายนฤนาท รัตนะกนก (กรรมการตรวจสอบ และกรรมการ อิสระ) เพือ่ อ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผถู้ อื หุน้ ได้ ใช้สิทธิเลือกกรรมการอิสระคนใดคนหนึ่งเป็น ผู้รับมอบฉันทะแทนผู้ถือหุ้นได้ • คณะกรรมการบริษทั เปิดโอกาสให้ผถู้ อื หุน้ ใช้ สิทธิออกเสียงลงคะแนน โดยได้จัดเตรียมบัตร ลงคะแนนเสียงให้แก่ผู้ถือหุ้นไว้และแจกใน ขณะลงทะเบียนก่อนเริ่มการประชุม ซึ่งได้จัด ท�ำบัตรลงคะแนนเสียงครบทุกวาระ เช่น การ พิจารณาอนุมัติจ่ายเงินปันผล
1. พนักงานและครอบครัว มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการ ละเมิดต่อพนักงานและครอบครัว ปั จ จุ บั น บริ ษั ท จั ด ให้ มี ก ารดู แ ลในเรื่ อ งผล ตอบแทนและสวัสดิการของพนักงานอย่างทั่ว ถึง และปฏิบัติตามนโยบายการดูแลพนักงาน อย่างเคร่งครัด และได้จัดให้มีช่องทางรับข้อ ร้องเรียนและ/หรือข้อเสนอแนะจากพนักงาน ไว้ส�ำหรับเป็นช่องทางในการแจ้งเรือ่ งร้องเรียน ของพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการท�ำงาน ในปี 2555 บริษัทไม่ได้รับข้อร้องเรียนจาก พนักงานในกรณีความเสียหายจากการละเมิด 2. ลูกค้า และเจ้าหนี้ มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการ ละเมิดต่อลูกค้า และเจ้าหนี้
GOVENANCES
ปัจจุบันบริษัทได้มีการดูแลลูกค้าตามนโยบาย การดูแลลูกค้า และจัดให้มีฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Service) ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์ร้อง เรียนส�ำหรับลูกค้า ในกรณีทลี่ กู ค้ามีปญ ั หาและ ต้องการความช่วยเหลือ เพื่ อ ป้ อ งกั น กรณี ค วามเสี ย หายจากการ ละเมิ ด ต่ อ ลู ก หนี้ แ ละเจ้ า หนี้ ผู ้ บ ริ ห ารจะ พิจารณาคุณสมบัติของลูกหนี้และเจ้าหนี้ทุก รายก่อนการท�ำธุรกรรม เพื่อป้องกันการเกิด ปัญหาขึ้นในภายหลัง โดยพิจารณาตามหลัก ความซื่อสัตย์สุจริตและความน่าเชื่อถือ ในปี 2555 บริษัทไม่ได้รับข้อร้องเรียนจาก ลูกค้าและเจ้าหนีใ้ นกรณีความเสียหายจากการ ละเมิด
ไตรมาสละ 1 ครั้ง หรือไม่น้อยกว่าปีละ 4 ครั้ง อีกทั้งยังมีการจัดท�ำข้อมูลแนะน�ำการลงทุนผ่าน ช่องทางต่างๆ ทั้งการสอบถามข้อมูลผ่านทางนัก ลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relation - IR) โทร. 02-511-5427 ต่อ 893 หรือในลักษณะการเข้า พบ one on one และ group meeting หรือ ทางเว็บไซต์ของบริษัท ดังนั้นที่ผ่านมาบริษัทจึง ไม่เคยได้รับการร้องเรียนจากการไม่ได้รับทราบ ข้อมูลจากนักวิเคราะห์ นักลงทุน และสถาบันการ เงินแต่อย่างใด 3.3 กลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย • คณะกรรมการบริษทั ได้ก�ำหนดกลไกการมีสว่ น ร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียดังต่อไปนี้ 1. บริษัทได้จัดให้มีช่องทางรับข้อร้องเรียนและ/ 3. ผู้ถือหุ้น มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการ หรือแสดงความคิดเห็น ละเมิดต่อผู้ถือหุ้น 2. บริษัทได้เปิดโอกาสให้มีช่องทางการส่งข้อ ปัจจุบันบริษัทด�ำเนินการปกป้องและดูแล เสนอแนะถึงกรรมการบริษัท ผ่านทางเว็บไซต์ สิทธิของผู้ถือหุ้นขั้นพื้นฐาน ทั้งสิทธิในการได้ ของบริษัท หัวข้อนักลงทุน รับข้อมูลสารสนเทศ สิทธิในการเข้าร่วมประชุม ผู้ถือหุ้น ตลอดจนสนับสนุนการใช้สิทธินอก 3.4 กลไกคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส เหนือไปจากกฎหมาย • คณะกรรมการบริษทั ได้ก�ำหนดให้มชี อ่ งทางการ ทั้งนี้บริษัทได้ประเมินผลและติดตามการ แจ้ ง เบาะแสหรื อ ข้ อ ร้ อ งเรี ย นการกระท�ำผิ ด ด�ำเนินการเพื่อป้องกันความเสียหายจากการ ละเมิดของผู้ถือหุ้นโดยประเมินจากทั้งภายใน กฎหมายหรือจรรยาบรรณ รายงานทางการเงิน องค์กร ซึ่งจะประเมินกับฝ่ายจัดการที่ด�ำเนิน หรือระบบควบคุมภายในบกพร่อง การดู แ ลสิ ท ธิ ผู ้ ถื อ หุ ้ น และประเมิ น ผลจาก • คณะกรรมการบริษัทได้ก�ำหนดให้มีการคุ้มครองผู้ ภายนอก ในรูปของโครงการประเมินคุณภาพ แจ้งเบาะแส โดยการไม่เปิดเผยและเก็บข้อมูลต่างๆ การจัดประชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ (AGM Checklist) ของผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ ซึ่งประเมินโดยส�ำนักงาน ก.ล.ต. สมาคมส่ง • คณะกรรมการบริ ษั ท ได้ ก�ำหนดให้ มี เสริมผูล้ งทุนไทย และสมาคมบริษทั จดทะเบียน กระบวนการด�ำเนินการหลังจากมีผู้แจ้งเบาะแส เป็นประจ�ำทุกปี โดยในเบื้องต้นฝ่ายตรวจสอบภายในจะท�ำการ ในปี 2555 บริษัทไม่ได้รับข้อร้องเรียนจาก รวบรวมสรุปเรื่องดังกล่าวเพื่อน�ำเสนอต่อคณะ ผู้ถือหุ้นกรณีความเสียหายจากการละเมิดและ กรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาพิสูจน์หา ข้อ ไม่มีความเสียหายจากเรื่องอื่นๆ หรือข้อร้อง เท็จจริง และหากพบว่าเป็นข้อมูลที่กระทบต่อ เรียนในการจ�ำกัดสิทธิหรือลิดรอนสิทธิต่างๆ บริษัท จะต้องน�ำเสนอให้คณะกรรมการบริษัท พิจารณาต่อไป 4. นักวิเคราะห์, นักลงทุน และสถาบันการเงิน มาตรการป้องกันกรณีความเสียหายจากการ หมวดที่ 4 ละเมิดต่อนักวิเคราะห์, นักลงทุน และสถาบัน การเปิดเผยข้อมูลและ การเงิน ความโปร่งใส บริ ษั ท ได้ เ ปิ ด โอกาสให้ นั ก วิ เ คราะห์ แ ละนั ก ลงทุนจากสถาบันการเงินได้รบั ทราบข้อมูลการ ด�ำเนินงานของบริษทั และแนวโน้มผลประกอบ 4.1 ผลการปฏิบัตินโยบายเกี่ยวกับการก�ำกับ ดูแลกิจการที่ดี การในอนาคตอย่างเป็นประจ�ำอย่างน้อย
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
32
• ในรอบปี 2555 บริษทั ได้ท�ำการเปิดเผยข้อมูล ของบริษทั ทัง้ ข้อมูลทางการเงินและข้อมูลทีม่ ใิ ช่ ข้อมูลทางการเงินต่างๆ ตามเกณฑ์ที่ก�ำหนด โดยส�ำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และโปร่งใส ผ่านทางผ่านช่องทางระบบ online ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผ่าน ทางเว็ บ ไซต์ ข องบริ ษั ท อี ก ทั้ ง ไม่ เ คยถู ก ส�ำนักงาน ก.ล.ต. หรือตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยด�ำเนินการเนือ่ งมาจากการเปิดเผย ข้อมูลไม่เป็นไปตามก�ำหนด • นอกจากนี้บริษัทยังได้ด�ำเนินการประเมิน ประสิทธิภาพของกระบวนการเปิดเผยข้อมูล เป็นประจ�ำ และปฏิบตั ติ ามก�ำหนดระยะเวลาที่ ต้องเปิดเผยข้อมูลต่างๆ อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ บ ริ ษั ท ยั ง ได้ น�ำข้ อ มู ล สารสนเทศ ต่างๆ ที่ได้เปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย รวมถึงข่าวสารต่างๆ ของบริษัท เปิ ด เผยผ่ า นทางเว็ บ ไซต์ ข องบริ ษั ท และ ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างสม�่ำเสมอ และจัดให้มที งั้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพือ่ ให้ ผู ้ ถื อ หุ ้ น และผู ้ มี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย ได้ ท ราบ ข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน 4.2 ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร คณะกรรมการก�ำหนดค่าตอบแทนได้ก�ำหนด นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ ประธาน เจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห าร รวมถึ ง ผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ส�ำหรับปี 2555 ไว้ดังต่อไปนี้ นโยบายการจ่ า ยค่ า ตอบแทนกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับ สูง 1. การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ ประธาน เจ้าหน้าทีบ่ ริหาร และผูบ้ ริหารระดับสูง จะต้อง พิ จ ารณาถึ ง ความเหมาะสมกั บ ภาระหน้ า ที่ ความรั บ ผิ ด ชอบที่ ไ ด้ รั บ มอบหมาย ความ ยุติธรรม และการจูงใจที่เพียงพอ การเทียบ เคี ย งกั บ ค่ า ตอบแทนกรรมการในบริ ษั ท จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ อยูใ่ นอุตสาหกรรมและธุรกิจทีม่ ขี นาดใกล้เคียง กัน รวมถึงพิจารณาผลประกอบการ ผลงาน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจ โดยรวม
2. โดยคณะกรรมการก�ำหนดค่าตอบแทน จะเป็นผูพ้ จิ ารณาในเบือ้ งต้น และน�ำเสนอคณะ กรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ ให้ความเห็น ชอบ และน�ำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจ�ำเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งได้แก่ การ อนุมัติวงเงินค่าตอบแทนสูงสุดในแต่ละปี และ การก�ำหนดค่าตอบแทนประจ�ำต�ำแหน่ง 3. ทั้งนี้คณะกรรมการก�ำหนดค่าตอบแทน จะต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่ ได้อนุมัติวงเงินค่าตอบแทน และรายละเอียด ค่าตอบแทน โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจ�ำปี ด้วย นอกจากนี้ยังต้องเปิดเผยรวมถึงส่วนที่ กรรมการได้รับจากการท�ำหน้าที่อื่นให้บริษัท เช่น ที่ปรึกษา และรวมถึงส่วนที่ได้รับจากการ เป็นกรรมการและการท�ำหน้าที่อื่น เช่น ที่ ปรึกษาในบริษัทย่อย เป็นต้น 4. ในการก�ำหนดค่ า ตอบแทนให้ แ ยก กรรมการทีท่ �ำหน้าทีใ่ นฝ่ายบริหารและได้รบั ค่า ตอบแทนในรูปเงินเดือนจากบริษัท มิให้ได้รับ ค่าตอบแทนกรรมการ • คณะกรรมการก�ำหนดค่ า ตอบแทนได้ พิจารณาน�ำเสนอวงเงินและรายละเอียดการ ตอบแทนกรรมการเสนอต่ อ ที่ ป ระชุ ม คณะ กรรมการบริษัท และที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจ�ำปี 2555 เพื่ออนุมัติก�ำหนดค่าตอบแทน กรรมการในวงเงินไม่เกิน 10.5 ล้านบาทต่อปี แก่กรรมการซึ่งมิได้เป็นพนักงานและผู้บริหาร รายละเอียดปรากฏอยู่ในหัวข้อค่าตอบแทน กรรมการและผู ้ บ ริ ห าร ทั้ ง นี้ ก รรมการของ บริษทั ทีเ่ ป็นกรรมการของบริษทั ย่อยจะไม่ได้รบั ค่าตอบแทนจากบริษัทย่อย
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
4.3 รายงานของคณะกรรมการบริษัท • บริษัทได้มีการจัดท�ำรายงานความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการบริษัทต่อรายงานทางการเงิน แสดงควบคู ่ กั บ รายงานของผู ้ ส อบบั ญ ชี ราย ละเอียดปรากฏในหัวข้อรายงานความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน 4.4 บทบาทและหน้าทีข่ องคณะกรรมการบริษทั และคณะอนุกรรมการ ในปี 2555 คณะกรรมการบริษัทได้ปฏิบัติ หน้าที่ในการจัดการกิจการของบริษัทให้เป็นไป ตามกรอบของกฎหมาย วัตถุประสงค์และข้อ บังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวังรักษาผล ประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น นอกจากนี้คณะ กรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น เพื่ อ ช่ ว ยในการศึ ก ษารายละเอี ย ด ติ ด ตาม ควบคุมการปฏิบัติงาน และกลั่นกรองงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย
33
GOVENANCES
ในองค์กรอื่นๆ กิจกรรมนั้นๆ จะต้องไม่ก่อให้ เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัท และลูกค้าของบริษทั ไม่วา่ ทางตรงหรือทางอ้อม และจะต้องไม่ท�ำให้เกิดผลเสียหายต่อบริษัท รวมทั้งจะต้องไม่กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ ของบุคคลนั้นๆ 6) ห้ามมิให้ผู้บริหารและพนักงานเข้าร่วมหรือ รับต�ำแหน่งใดในองค์กรอื่นที่ประกอบธุรกิจใน ลักษณะเดียวกันกับบริษทั หรือกิจการทีแ่ ข่งขัน กับบริษัท หรือกิจการที่อาจมีผลประโยชน์ขัด แย้งกับบริษัท • คณะกรรมการบริษัทได้รับข้อมูลส่วนได้ส่วน เสียในการท�ำธุรกรรมกับบริษทั ของกรรมการ ผู้ บริ ห าร และพนั ก งาน เป็ น ประจ�ำอย่ า ง สม�่ำเสมอโดยตลอด โดยฝ่ายตรวจสอบภายใน ของบริษัทมีหน้าที่ในการรายงานข้อมูลส่วนได้ ส่วนเสียต่างๆ ให้แก่คณะกรรมการตรวจสอบ ทราบและพิจารณา และหลังจากนั้นให้คณะ กรรมการตรวจสอบน�ำสรุปข้อมูลส่วนได้ส่วน เสียต่างๆ รายงานให้แก่คณะกรรรมการบริษัท ทราบและพิจารณาต่อไป โดยฝ่ายตรวจสอบ ภายในจะเป็นผู้ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งใน ปี 2555 ไม่ปรากฏว่ามีข้อมูลส่วนได้ส่วนเสีย ของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่ก่อให้ เกิดความเสียหายแก่บริษัทแต่อย่างใด • บริษัทได้ก�ำหนดมาตรการชดเชยผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียไว้ในกรณีได้รับความเสียหายจากการ ละเมิดดังต่อไปนี้
จำ�นวนครั้งที่เข้าประชุม คณะกรรมการบริษัท จำ�นวนครัั้งทั้งหมด
รายชื่อกรรมการ
ตำ�แหน่ง
1. นายสมใจนึก เองตระกูล
ประธานกรรมการ
2/4
2. นายวิชา พูลวรลักษณ์
กรรมการ
4/4
3. นายวีรวัฒน์ องค์วาสิฎฐ์
กรรมการ
4/4
4. นางภารดี พูลวรลักษณ์
กรรมการ
4/4
5. นายธนกร ปุลิเวคินทร์
กรรมการ
4/4
6. ร้อยตำ�รวจตรีเกรียงศักดิ์ โลหะชาละ
กรรมการอิสระ
4/4
7. นายวิชัย พูลวรลักษณ์
กรรมการ
3/4
8. นายชัย จรุงธนาภิบาล
กรรมการอิสระ
4/4
การเข้าร่วมประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2555
ประธานกรรมการตรวจสอบ 9. นายวัลลภ ตั้งตรงจิตร
4/4
กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ
10. นายนฤนาท รัตนะกนก
4/4
กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ
11. นายอรรถสิทธิ์ ดำ�รงรัตน์
4/4
กรรมการอิสระ
คณะกรรมการบริหาร ในรอบปี 2555 คณะกรรมการบริหาร ได้ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นการบริหารจัดการกิจการของบริษทั พิจารณาก�ำหนดนโยบายต่างๆ แผนธุรกิจ แผนการ ลงทุน และแผนงานงบประมาณประจ�ำปี 2555 ของบริษัทเพื่อน�ำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ ติดตาม ก�ำกับ และควบคุมให้การ ปฏิบตั งิ านบรรลุตามเป้าหมายของแผนงานทีไ่ ด้รบั การอนุมตั จิ ากคณะกรรมการบริษทั และตามทีค่ ณะกรรมการบริษทั มอบหมาย และได้รายงานผล การด�ำเนินงานของบริษัทแต่ละไตรมาสตลอดปี 2555 รวมถึงผลประกอบการประจ�ำปีให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบ คณะกรรมการตรวจสอบ ในรอบปี 2555 คณะกรรมการตรวจสอบ ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบ โดยการพิจารณาการสอบทานงบการเงินของบริษัทและบริษัทย่อย พิจารณารายงานผลการตรวจสอบภายในจากฝ่ายตรวจสอบภายในเป็นประจ�ำทุกเดือน รวมถึงการประชุมร่วมกับผูส้ อบบัญชีในการหาแนวทางใน การพิจารณาเรือ่ งต่างๆ ร่วมกัน และประธานคณะกรรมการตรวจสอบรายงานผลสรุปเรือ่ งทีส่ �ำคัญให้ทปี่ ระชุมคณะกรรมการบริษทั เพือ่ ทราบและ พิจารณาโดยบรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุม และได้ให้ความเห็นจากการท�ำหน้าทีผ่ า่ นรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบซึง่ ปรากฏในรายงาน ประจ�ำปี ส�ำหรับปี 2555 คณะกรรมการตรวจสอบ มีการประชุมทั้งหมดจ�ำนวน 12 ครั้ง โดยมีรายละเอียดการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจ สอบแต่ละคนดังนี้
ลำ�ดับ 1. 2. 3.
รายชื่อกรรมการตรวจสอบ
จำ�นวนครั้งที่เข้าประชุม /จำ�นวนครัั้งทั้งหมด
นายชัย จรุงธนาภิบาล นายวัลลภ ตั้งตรงจิตร นายนฤนาท รัตนะกนก
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
12/12 12/12 12/12
34
GOVENANCES
คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน การท�ำหน้าที่สรรหา ในรอบปี 2555 คณะกรรมการสรรหาและ ก�ำหนดค่าตอบแทน ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการ สรรหากรรมการที่พ้นจากต�ำแหน่งตามวาระ การประชุ ม สามั ญ ผู ้ ถื อ หุ ้ น ประจ�ำปี 2555 จ�ำนวน 4 คน โดยพิจารณาถึงคุณสมบัติ ความ รู้ ความสามารถ ประสบการณ์เกี่ยวกับการ ด�ำเนินธุรกิจของบริษัท ประวัติการท�ำงานที่ดี รวมทั้งในด้านจริยธรรม ซึ่งกรรมการที่พ้นจาก ต�ำแหน่งตามวาระทั้ง 4 คน มีความเหมาะสม จึงน�ำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทให้ กลับเข้าด�ำรงต�ำแหน่งต่อไปอีกวาระหนึ่ง และ ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปีได้พิจารณา อนุมัติดังกล่าว ส�ำหรับปี 2555 คณะกรรมการสรรหาและ ก�ำหนดค่ า ตอบแทน มี ก ารประชุ ม ทั้ ง หมด จ�ำนวน 1 ครั้ง โดยกรรมการเข้าร่วมประชุม ครบทุกคน การท�ำหน้าที่ก�ำหนดค่าตอบแทน ในรอบปี 2555 คณะกรรมการก�ำหนดค่ า ตอบแทน ได้ปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นการพิจารณาก�ำหนด ค่าตอบแทนให้แก่กรรมการบริษัทซึ่งมิได้เป็น พนักงานและผูบ้ ริหาร และก�ำหนดรายละเอียด การจัดสรรค่าตอบแทนให้แก่กรรมการส�ำหรับปี 2555 โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมกับภาระ หน้าที่ ความรับผิดชอบทีไ่ ด้รบั มอบหมาย และ เทียบเคียงได้กบั ค่าตอบแทนกรรมการในบริษทั จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทีม่ ขี นาดธุรกิจใกล้เคียงกัน ตลอดจนค�ำนึงถึงผล ประกอบการ ผลงาน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และได้น�ำเสนอที่ ประชุมคณะกรรมการบริษัท และที่ประชุม สามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปีพจิ ารณาอนุมตั ดิ งั กล่าว ส�ำหรับปี 2555 คณะกรรมการสรรหาและ ก�ำหนดค่ า ตอบแทน มี ก ารประชุ ม ทั้ ง หมด จ�ำนวน 1 ครั้ง โดยกรรมการเข้าร่วมประชุม ครบทุกคน 4.5 ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน คณะกรรมการบริษทั มีนโยบายเกีย่ วกับการเปิด เผยข้อมูลสารสนเทศที่ส�ำคัญของบริษัทอย่าง ถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ เพียงพอ ทันเวลา และโปร่งใส รวมถึงข้อมูลทัว่ ไปทีม่ คี วามส�ำคัญ ที่อาจกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ของบริษัทได้ โดยมอบหมายให้มีหน่วยงานรับผิดชอบงาน
ด้านนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) ขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนในการสื่อสารกับผู้ลงทุน ประเภทสถาบัน ผู้ถือหุ้น รวมทั้งนักวิเคราะห์ ทัว่ ไป และภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้อง และสามารถดูได้ จากเวปไซต์ของบริษทั ซึง่ ใช้เป็นช่องทางในการ เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เช่น ข้อมูล เกี่ยวกับบริษัท ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ ข้อมูล ทางการเงิน ข่าวบริษัทที่มีผลต่อการตัดสินใจ ลงทุ น ข่ า วแจ้ ง ต่ อ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย ข่าวกิจกรรมต่างๆ ของบริษทั ราย ละเอียดการจัดประชุมผู้ถือหุ้น เป็นต้น ซึ่งจะ ช่ ว ยให้ นั ก ลงทุ น สามารถติ ด ตามข้ อ มู ล ของ บริษัทได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น • บริษทั ได้จดั ท�ำแผนนักลงทุนสัมพันธ์โดยสังเขป และแผนดังกล่าวอาจมีการเปลีย่ นแปลงแล้วแต่ โอกาสและความเหมาะสม ซึง่ มีรายละเอียดดังนี้ 1.จัดประชุมนักวิเคราะห์เป็นประจ�ำไตรมาส ละ 1 ครัง้ และในกรณีหากนักวิเคราะห์ประสงค์ ทีจ่ ะสอบถามข้อมูลในเรือ่ งอืน่ เพิม่ เติม บริษทั ก็ จะเชิญให้นักวิเคราะห์เข้ามาพบฝ่ายนักลงทุน สัมพันธ์เป็นกรณีๆ ไป 2.จัด Roadshow ในต่างประเทศอย่างน้อย ปีละ 1 ครัง้ 3.ร่วมออกบูธนิทรรศการที่จัดขึ้นเพื่อเผย แพร่ แ ละให้ ข ้ อ มู ล แก่ นั ก ลงทุ น เช่ น โดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมนัก วิเคราะห์หลักทรัพย์และองค์กรอืน่ ๆ
หมวดที่ 5 ความรับผิดชอบของ คณะกรรมการ 5.1 นโยบายเกี่ยวกับการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี • คณะกรรมการบริษทั มีเจตนารมณ์ทจี่ ะก�ำกับ ดู แ ลธุ ร กิ จ โดยยึ ด มั่ น ในหลั ก การก�ำกั บ ดู แ ล กิจการทีด่ ี ด้วยตระหนักถึงประโยชน์และความ ส�ำคัญของการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งมีส่วน ช่วยให้การบริหารงานและการด�ำเนินงานมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบ ได้ และส่งผลให้บริษัทเพิ่มขีดความสามารถใน การแข่งขัน และเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นใน ระยะยาวอีกด้วย คณะกรรมการบริษทั และฝ่าย จัดการจึงได้ก�ำหนดหลักการก�ำกับกิจการที่ดี เป็นนโยบายที่ดีเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้น และ คณะกรรมการบริษทั ให้ความเห็นชอบนโยบาย
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
ดังกล่าว ดังมีรายละเอียดนโยบายการก�ำกับ กิจการที่ดีต่อไปนี้ • การค�ำนึงถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นและการให้สิทธิ กับผู้ถือหุ้นในเรื่องต่างๆ เช่น มีสิทธิเสนอวาระ การประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้า มีสิทธิเสนอบุคคล เพื่ อ คั ด เลื อ กเป็ น กรรมการล่ ว งหน้ า เป็ น ต้ น ตลอดจนไม่กระท�ำการใดๆ อันเป็นการละเมิด หรือริดรอนสิทธิของผู้ถือหุ้น • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้ส่วน เสีย และผู้เกี่ยวข้อง อย่างเท่าเทียมกันและเป็น ธรรมต่อทุกฝ่าย • การเปิดเผยข้อมูลต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วน ได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้อง อย่างถูกต้อง เพียง พอ ทั่วถึง เท่าเทียมกัน และภายในระยะเวลาที่ ก�ำหนด โดยผ่านช่องทางทีเ่ หมาะสม เพือ่ ให้ผถู้ อื หุ้นและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยสะดวก เช่น ผ่านทางเวปไซต์ของบริษัท เป็นต้น • การปฏิบตั หิ น้าทีแ่ ละความรับผิดชอบของคณะ กรรมการบริษทั ในการก�ำกับดูแลและการบริหาร งานด้วยความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม รอบคอบและ ระมัดระวัง เพือ่ ให้บรรลุเป้าหมายของบริษทั และ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด ต่ อ บริ ษั ท และผู ้ ถื อ หุ ้ น ตลอดจนดูแลมิให้เกิดปัญหาความขัดแย้งด้านผล ประโยชน์ตา่ งๆ • การบริหารงานด้วยความโปร่งใสภายใต้ระบบ การควบคุมและการตรวจสอบภายใน • การควบคุมและการบริหารความเสีย่ งให้อยูใ่ น ระดับทีเ่ หมาะสมกับการด�ำเนินกิจการของบริษทั • การด�ำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ภาย ใต้กรอบของกฎหมาย และจริยธรรมทางธุรกิจ 5.2 โครงสร้างคณะกรรมการ • คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วยกรรมการ จ�ำนวน 11 คน ซึ่งมีคุณสมบัติที่หลากหลาย ทั้ง ในด้านทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถเฉพาะ ด้านที่เป็นประโยชน์กับบริษัท รวมทั้งการอุทิศ เวลาและความพยายามในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อ เสริมสร้างให้บริษัทมีคณะกรรมการที่เข้มแข็ง
35
GOVENANCES
คณะกรรมการบริษัท ในรอบปี 2555 คณะกรรมการบริษัท มีการประชุมรวมทั้งหมดจ�ำนวน 4 ครั้ง ซึ่งได้มีการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทและพระราช บัญญัติบริษัทมหาชนจ�ำกัด พ.ศ. 2535 อย่างเคร่งครัด มีการจัดส่งระเบียบวาระการประชุมและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องให้กรรมการได้ศึกษาและ พิจารณาล่วงหน้าเฉลี่ย 7 วันก่อนการประชุม และเปิดโอกาสให้กรรมการอภิปรายปัญหาส�ำคัญกันอย่างรอบคอบโดยทั่วกัน โดยมีเลขานุการคณะ กรรมการ และที่ปรึกษากฎหมายเข้าร่วมการประชุมและจดบันทึกรายงานการประชุม ข้อซักถาม และข้อเสนอแนะต่างๆ ของกรรมการด้วย เพื่อ ให้กรรมการและผู้เกี่ยวข้องสามารถติดตามและตรวจสอบได้ ส�ำหรับการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจ�ำปี 2555 โดยมีผู้บริหารสูงสุดทางด้านการ เงิน ผู้สอบบัญชี และที่ปรึกษากฎหมายเข้าร่วมประชุมด้วย ทั้งนี้ รายละเอียดการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการบริษัทดังนี้
5.3 ภาวะผู้น�ำและวิสัยทัศน์ • คณะกรรมการบริษัทมีภาวะผู้น�ำ วิสัยทัศน์ และมี ค วามเป็ น อิ ส ระในการตั ด สิ น ใจเพื่ อ ประโยชน์สงู สุดของบริษทั และผูถ้ อื หุน้ โดยรวม คณะกรรมการบริษัทจึงจัดให้มีการแบ่งแยก บทบาทหน้ าที่ ข องคณะกรรรมการและฝ่าย บริหารชัดเจน โดยฝ่ายบริหารจะเป็นผูห้ าข้อมูล ต่ า งๆ เพื่ อ ประกอบการพิ จ ารณาและคณะ กรรมการมีหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องต่างๆ • คณะกรรมการบริษัทมุ่งหวังที่จะให้กิจการ ของบริษทั มีความมัน่ คง และมีความส�ำเร็จทาง ธุรกิจที่ยั่งยืนอยู่ได้ในระยะยาว จึงได้ร่วมกับ ฝ่ายบริหารพิจารณาทบทวนก�ำหนดวิสัยทัศน์ และภารกิ จ ที่ เ หมาะสมกับ สภาพแวดล้อ มที่ เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงก�ำหนดเป้าหมาย แผน ธุรกิจ และแผนงบประมาณ โดยค�ำนึงถึงการ เพิม่ มูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด และความมัน่ คง ในระยะยาวของบริษัทและของผู้ถือหุ้น ตลอด จนท�ำหน้าที่ในการก�ำกับดูแลและติดตามการ
GOVENANCES
ด�ำเนินการของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตามแผน ธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • คณะกรรมการบริษทั ได้สนับสนุนให้เกิดระบบ บรรษัทภิบาลในการบริหารงานภายในองค์กร คณะกรรมการบริ ษั ท จึ ง ได้ เ ป็ น ผู ้ น�ำในการ ก�ำหนดแนวทางการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี หลัก จรรยาบรรณ มาตรการและขั้นตอนการอนุมัติ การท�ำรายการระหว่างกันกับบริษทั ทีเ่ กีย่ วข้อง หรือบุคคลทีอ่ าจมีความขัดแย้ง รวมถึงการแบ่ง แยกขอบเขตอ�ำนาจหน้าทีอ่ ย่างชัดเจนระหว่าง ผู้ถือหุ้นกับคณะกรรมการ คณะกรรมการกับผู้ บริหารและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เพื่อให้ เกิดการถ่วงดุลอ�ำนาจและสามารถตรวจสอบ ซึ่งกันได้อย่างอิสระ
ธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์และสุจริต การปฏิบัติ ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยความเท่าเทียมและ เป็นธรรม การป้องกันการละเมิดต่อผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การ รักษาความลับ และการใช้ข้อมูลในทางที่ผิด ตลอดจนเรือ่ งการรับสินบน ของขวัญ และของ รางวัล ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ฝ่ายตรวจสอบ ภายในติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติตาม หลักจรรยาบรรณนี้ • คณะกรรมการบริษัท จะติ ดตามและดูแล ให้การประกอบธุรกิจของบริษัท การปฏิบัติ หน้าที่ของกรรมการ การด�ำเนินการของฝ่าย บริหาร และการปฏิบตั งิ านของพนักงาน ยึดมัน่ อยู่ในกรอบของคุณธรรม และจริยธรรมอันดี 5.4 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ นอกเหนือจากระเบียบข้อบังคับของบริษทั และ • คณะกรรมการบริ ษั ท จะพิ จ ารณาการท�ำ กรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รายการระหว่างกันทีอ่ าจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ระหว่างผู้ถือหุ้น กรรมการ 5.6 การถ่วงดุลของกรรมการทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหาร และฝ่ายบริหาร ด้วยความรอบคอบ ซื่อสัตย์ • โครงสร้างคณะกรรมการบริษทั ประกอบด้วย สุจริต อย่างมีเหตุมีผล และเป็นอิสระภายใน ประธานกรรรมการที่ เ ป็ น กรรมการอิ ส ระ กรอบจริยธรรมที่ดี ตลอดจนการเปิดเผยข้อมูล กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารและเป็นกรรมการ อย่างครบถ้วน เพือ่ ผลประโยชน์ของบริษทั โดย อิสระ จ�ำนวน 6 คน และกรรมการที่เป็นผู้ รวมเป็นส�ำคัญ โดยยึดถือการปฏิบัติตามหลัก เกณฑ์และวิธีการตามประกาศ ค�ำสั่ง หรือข้อ บริหาร จ�ำนวน 5 คน ณ วันที่ 31 ธันวาคม ก�ำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2555 บริษัทมีกรรมการจ�ำนวนทั้งสิ้น 11 คน อย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้คณะกรรมการตรวจ โดยมีการถ่วงดุลของกรรมการทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหาร สอบให้ ค วามเห็ น เกี่ ย วกั บ ความจ�ำเป็ น และ ดังนี้ ความเหมาะสมของการท�ำรายการที่เกี่ยวโยง กรรมการที่เป็นผู้บริหาร จ�ำนวน 4คน (ร้อยละ 35) กันนั้น • คณะกรรมการบริษทั ได้ก�ำหนดให้มมี าตรการ กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารและเป็นกรรมการ และขั้นตอนการอนุมัติการท�ำรายการระหว่าง อิสระ กันกับบริษทั ทีเ่ กีย่ วข้อง หรือบุคคลทีอ่ าจมีความ จ�ำนวน 7คน (ร้อยละ 65) ขัดแย้ง โดยห้ามมิให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทาง ตรงและทางอ้อมมีส่วนร่วมในการพิจารณา 5.7 การรวมหรือแยกต�ำแหน่งเพื่อการถ่วง รายการ และก�ำหนดให้คณะกรรมการตรวจ ดุลอ�ำนาจการบริหารงาน สอบร่วมพิจารณาและให้ความเห็นเกี่ยวกับ คณะกรรมการบริษัทก�ำหนดแบ่งแยกขอบเขต ความจ�ำเป็ น และ ความสมเหตุ ส มผลของ อ�ำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบระหว่าง รายการที่น�ำเสนอนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดของ บริษัท ตลอดจนให้มีการเปิดเผยข้อมูลการท�ำ คณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริหาร รายการระหว่างกันไว้ในหมายเหตุประกอบงบ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา การเงินตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดย และก�ำหนดค่าตอบแทน รวมถึงประธานเจ้า หน้ า ที่ บ ริ ห าร ไว้ อ ย่ างชั ด เจน รวมถึ ง การ ทั่วไป ในรายงานประจ�ำปี ก�ำหนดให้ บุ ค คลผู ้ ด�ำรงต�ำแหน่ ง ประธาน กรรมการ ไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับ ผู้ด�ำรง 5.5 จริยธรรมทางธุรกิจ • คณะกรรมการบริษัทได้จัดท�ำหลักจรรยา ต�ำแหน่ ง ประธานกรรมการบริ ห าร หรื อ บรรณส�ำหรับผูบ้ ริหารและพนักงาน (Code of ประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห าร และไม่ มี ค วาม Conduct) เพือ่ ให้ผบู้ ริหารและพนักงานทุกคน สัมพันธ์ใดๆ กับฝ่ายบริหาร เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ ได้ใช้เป็นแนวทางการปฏิบตั งิ านในหน้าที่ และ บริหารคนใดคนหนึง่ มีอ�ำนาจโดยไม่จ�ำกัด และ ยึ ด ถื อ ประพฤติ ป ฏิ บั ติ อ ย่ า งสม�่ ำ เสมอและ สามารถทีจ่ ะสอบทานถ่วงดุลการบริหารงานได้ เคร่งครัด โดยครอบคลุมทั้งด้านการประกอบ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
36
5.8 บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการบริษัท • ในรอบปี 2555 คณะกรรมการบริษัทได้ท�ำ หน้าที่ในการพิจารณาและให้ความเห็นชอบใน เรื่องที่ส�ำคัญเกี่ยวกับการด�ำเนินงาน รวมทั้ง ก�ำกั บ ดู แ ลให้ ฝ ่ า ยจั ด การด�ำเนิ น งานตาม นโยบายและแผน รวมถึงงบประมาณทีก่ �ำหนด ไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล • ตามทีค่ ณะกรรมการบริษทั ได้ก�ำหนดนโยบาย การก�ำกับดูแลกิจการของบริษทั เป็นลายลักษณ์ อักษร และให้ความเห็นชอบในนโยบายดังกล่าว ไว้ แ ล้ ว นั้ น คณะกรรมการบริ ษั ท ได้ มี ก าร ทบทวนเป็นประจ�ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง • คณะกรรมการบริษัทได้จัดท�ำหลักจรรยา บรรณธุรกิจที่เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นไว้แล้ว และได้เผยแพร่แจกจ่ายให้แก่กรรมการ ผู้ บริหาร และพนักงานทีเ่ ข้าใหม่ และด�ำเนินการ ทบทวนจรรยาบรรณต่างๆ ส�ำหรับกรรมการ ผู้ บริหาร และพนักงานเดิม เพื่อให้เข้าใจถึง มาตรฐานด้ า นจริ ย ธรรมที่ บ ริ ษั ท ใช้ ใ นการ ด�ำเนินธุรกิจ และคณะกรรมการได้มอบหมาย ให้ฝ่ายตรวจสอบภายในติดตามการปฏิบัติตาม จรรยาบรรณดังกล่าวอย่างใกล้ชิด • คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีระบบการ ควบคุมด้านการรายงานทางการเงิน และการ ปฏิบัติตามกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งจะมีหน่วยงาน ตรวจสอบภายในท�ำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งมีความ อิสระต่อการปฏิบตั หิ น้าที่ และได้มกี ารทบทวน ระบบดังกล่าวอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 5.9 การประชุมคณะกรรมการบริษัท • คณะกรรมการบริษัทจะจัดให้มีการประชุม คณะกรรมการไม่น้อยกว่าปีละ 4 ครั้ง และ ด�ำเนินการประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับของ บริษทั พระราชบัญญัตบิ ริษทั มหาชนจ�ำกัด พ.ศ. 2535 และกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย โดยประธานกรรมการในฐานะ ประธานในที่ประชุมจะส่งเสริมให้มีการใช้ ดุลยพินิจที่รอบคอบ และจัดสรรเวลาอย่าง เพียงพอที่ฝ่ายบริหารจะเสนอเรื่อง และมาก พอทีก่ รรมการจะอภิปรายปัญหาส�ำคัญกันอย่าง รอบคอบโดยทั่วกัน และจัดให้มีการจดบันทึก รายงานการประชุมทุกครัง้ เพือ่ ให้กรรมการและ ผู้เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้ กรรมการ มีหน้าที่ต้องเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการทุก ครั้งยกเว้นกรณีที่มีเหตุผลพิเศษนั้น ในช่วง เดือนธันวาคม 2555 เลขานุการคณะกรรมการ บริ ษั ท ได้ จั ด ท�ำก�ำหนดการประชุ ม ประจ�ำปี
เพื่ อ ให้ ค ณะกรรมการรั บ ทราบก�ำหนดการ ประชุ ม ล่ ว งหน้ า ตลอดทั้ ง ปี ทั้ ง นี้ เ พื่ อ ให้ กรรมการสามารถวางแผนล่วงหน้าและจัด เวลาในการเข้าร่วมประชุมได้ • ในการก�ำหนดจ�ำนวนครัง้ ในการประชุมคณะ กรรมการบริษทั ได้พจิ ารณาถึงความเหมาะสม กับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะ กรรมการบริษัท โดยเลขานุการคณะกรรมการ บริ ษั ท ได้ จั ด ท�ำก�ำหนดการประชุ ม ประจ�ำปี พร้อมระบุเรื่องที่ต้องพิจารณาในการประชุม แต่ละครั้ง เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทได้รับ ทราบถึงรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องพิจารณาใน การประชุมแต่ละครั้งล่วงหน้า เช่น การจัด ประชุมในเดือนมีนาคมเพื่อพิจารณาอนุมัติงบ การเงินประจ�ำปี และก�ำหนดวาระการประชุม สามัญผูถ้ อื หุน้ ประจ�ำปี และก�ำหนดวันปิดสมุด ทะเบี ย นพั ก การโอนหุ ้ น ของบริ ษั ท , การจั ด ประชุ ม ในเดื อ นพฤษภาคม สิ ง หาคม และ ธันวาคม เพื่อพิจารณาอนุมัติงบการเงินสอบ ทานรายไตรมาสที่ 1, 2 และ 3 รวมถึงการจัด ประชุ ม ในเดื อ นธั น วาคมเพื่ อ พิ จ ารณางบ ประมาณประจ�ำปีของบริษัท เป็นต้น • ในการจั ด ประชุ ม แต่ ล ะครั้ ง ในปี 2555 เลขานุ ก ารคณะกรรมการบริ ษั ท ได้ จั ด ส่ ง เอกสารประชุมให้แก่กรรมการพิจารณาล่วง หน้าเฉลี่ย 7 วันก่อนการประชุม และได้มีการ จั ด ท�ำเอกสารและสารสนเทศประกอบการ ประชุม • การจัดประชุมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษทั และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจ�ำกัด พ.ศ. 2535 อย่ า งเคร่ ง ครั ด โดยเปิ ด โอกาสให้ กรรมการอภิ ป รายปั ญ หาส�ำคั ญ กั น อย่ า ง รอบคอบโดยทั่ ว กั น และมี เ ลขานุ ก ารคณะ กรรมการ และที่ปรึกษากฎหมายเข้าร่วมการ ประชุมและจดบันทึกรายงานการประชุม ข้อซัก ถาม และข้อเสนอแนะต่างๆ ของกรรมการด้วย เพือ่ ให้กรรมการและผูเ้ กีย่ วข้องสามารถติดตาม และตรวจสอบได้ • ในการประชุมคณะกรรมการบริษทั แต่ละครัง้ ประธานกรรมการจะใช้เ วลาในการประชุม ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาเพียงพอที่ ฝ่ายจัดการจะน�ำเสนอเรื่องเพื่อพิจารณา และ กรรมการสามารถอภิปรายปัญหาส�ำคัญกันได้ อย่ า งรอบคอบโดยทั่ ว กั น ทั้ ง นี้ ป ระธาน กรรมการได้สง่ เสริมให้กรรมการในทีป่ ระชุมใช้ ดุลยพินิจที่รอบคอบ และสอบถามที่ประชุมว่า จะมีผู้ใดสอบถามเพิ่มเติมหรือมีความเห็นเป็น
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
อย่างอื่นหรือไม่ในการะชุมแต่ละวาระทุกครั้ง 5.10 การประเมินตนเองของคณะกรรมการ โดยในเดือนธันวาคมของทุกปี เลขานุการคณะ กรรมการบริษัทได้จัดท�ำ “แบบประเมินตนเอง ของคณะกรรมการ” (CG Self Assessment) น�ำเสนอคณะกรรมการบริษัทท�ำการพิจารณา เป็นรายบุคคล เพื่อพิจารณาผลงานและแก้ไข ปัญหาต่างๆ ตลอดจนปรับปรุงประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลการท�ำงานให้ดีขึ้น 5.11 ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร การพิจารณาค่าตอบแทนของกรรมการนัน้ คณะ กรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา แ ล ะ ก�ำ ห น ด ค ่ า ต อ บ แ ท น ซึ่ ง เ ป ็ น ค ณ ะ อนุกรรมการขึ้น โดยในปี 2555 คณะกรรมการ สรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนได้พจิ ารณาแล้ว ว่าค่าตอบแทนกรรมการมีความเหมาะสมกับ สภาวการณ์ในปัจจุบัน 5.12 การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร • คณะกรรมการบริษัทได้ส่งเสริมและอ�ำนวย ความสะดวกให้มกี ารฝึกอบรมเพือ่ พัฒนาและให้ ความรู้แก่กรรมการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงในคณะ อนุกรรมการต่างๆ เพื่อให้มีการปรับปรุงการ ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2555 สรุปมี คณะกรรมการบริษัท จ�ำนวน 9 คน ที่ได้ผ่าน การอบรมหลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) และ/หรื อ Director Certification Program (DCP) จากสถาบัน IOD เรียบร้อยแล้ว • เลขานุการคณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มี เอกสารคู่มือกรรมการ และหลักเกณฑ์การเปิด เผยข้อมูล ประวัติ การถือครองหลักทรัพย์ การ เปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ เป็นต้น โดยจะจั ด ส่ ง ให้ ทุ ก ครั้ ง ที่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลง กรรมการใหม่ • คณะกรรมการบริษทั ได้ก�ำหนดให้ประธานเจ้า หน้าทีบ่ ริหารจัดท�ำรายงานเพือ่ ทราบเป็นประจ�ำ ถึงแผนการพัฒนาและสืบทอดงาน ซึ่งประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้อ�ำนวยการ ได้ เตรียมความพร้อมในเรื่องผู้สืบทอดงานในกรณี ที่ตนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ไว้แล้ว • คณะกรรมการบริษัทได้ก�ำหนดโครงสร้าง ส�ำหรับการพัฒนาผู้บริหาร โดยมอบหมายให้ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารรายงานเป็นประจ�ำทุก ปีถึงสิ่งที่ได้ ด�ำเนิ น การไปในระหว่ า งปี และ พิจารณาควบคู่กับแผนการสืบทอดงาน
37
GOVENANCES
• คณะกรรมการบริษทั ค�ำนึงถึงการบริหารงาน ที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้เป็นส�ำคัญ ดั ง นั้ น ประธานกรรมการของบริ ษั ท จึ ง เป็ น กรรมการอิสระ และไม่เป็นบุคคลคนเดียวกับ ประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห ารหรื อ กรรมการผู ้ อ�ำนวยการ • ส�ำหรับกระบวนการสรรหากรรมการ คณะ กรรมการบริษทั ได้ก�ำหนดวิธกี ารทีเ่ ป็นทางการ และยึดหลักความโปร่งใสไว้เป็นส�ำคัญ โดย ปราศจากอิทธิพลของผูถ้ อื หุน้ ทีม่ อี �ำนาจควบคุม หรือฝ่ายบริหาร คือ คณะกรรมการสรรหาจะ เป็นผู้สรรหาบุคคลผู้ด�ำรงต�ำแหน่งกรรมการ โดยท�ำการพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสม โ ด ย พิ จ า ร ณ า คุ ณ วุ ฒิ ค ว า ม ส า ม า ร ถ ประสบการณ์ท�ำงาน ฯลฯ เพื่อให้ตรงกับภาระ หน้าที่ของกรรมการบริษัท และ/หรือในคณะ อนุกรรมการต่างๆ และเมื่อคัดเลือกกรรมการ ที่เหมาะสมได้แล้ว จึงน�ำเสนอคณะกรรมการ บริษทั เพือ่ พิจารณาอนุมตั แิ ต่งตัง้ เป็นกรรมการ ต่อไป • คณะกรรมการบริษัทได้จัดให้มีการเปิดเผย รายชื่อของคณะกรรมการบริษัท และคณะ อนุ ก รรมการ โดยเปิ ด เผยชื่อ กรรมการราย บุคคล ต�ำแหน่ง อายุ ประวัตกิ ารศึกษา สัดส่วน การถือหุ้นในบริษัท ประสบการณ์ท�ำงาน และ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร โดยได้เปิดเผย ไว้ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งในรายงานประจ�ำปี และเว็บไซต์ของบริษัท
GOVENANCES
โครงสร้างการจัดการบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 ประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการอนุกรรมการทั้งหมด 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน โดยมีขอบเขตอ�ำนาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการ แต่ละคณะ
(1) คณะกรรมการบริษัท ค�ำนิยาม 1.1 กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารของบริษัท หมายถึง กรรมการภายนอกซึ่งไม่ได้มีต�ำแหน่งเป็นผู้ บริหารหรือพนักงานประจ�ำของบริษัท และไม่ ได้เป็นกรรมการบริหารหรือกรรมการผูม้ อี �ำนาจ ลงนามผูกพันบริษัท รวมทั้งเป็นอิสระจากผู้ถือ หุ ้ น รายใหญ่ ผู ้ บ ริ ห าร และผู ้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง สามารถท�ำหน้าที่คุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน และสามารถ ช่วยดูแลไม่ให้เกิดรายการที่มีความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ระหว่างบริษทั กับบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องกัน 1.2 กรรมการที่เป็นผู้บริหาร กรรมการที่เป็นผู้บริหารของบริษัท หมายถึง กรรมการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงาน ประจ�ำมีอ�ำนาจในการจัดการ และมีอ�ำนาจใน การลงนามผูกพันกับบริษัท คณะกรรมการบริ ษั ท ประกอบด้ ว ย ประธานกรรมการที่เป็นกรรมการอิสระ
กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารและเป็นกรรมการ อิสระ จ�ำนวน 6 คน กรรมการที่เป็นผู้บริหาร จ�ำนวน 5 คน รวมเป็นคณะกรรมการบริษัท จ�ำนวน 11 คน เห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่มี ความเหมาะสม กล่า วคื อ กรรมการที่ เ ป็ นผู ้ บริหารมีสัดส่วนร้อยละ 45 เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถให้ ค วามเห็ น ด้ า นธุ ร กิ จ อุ ต สาหกรรมบั น เทิ ง และอุ ต สาหกรรม ภาพยนตร์ รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องใน เชิงลึก และวางแผนกลยุทธ์ในการด�ำเนินธุรกิจ ในขณะทีก่ รรมการอิสระมีสดั ส่วนถึงร้อยละ 55 เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ในด้านอุตสาหกรรมโดย รวม การเงิน การธนาคาร การบริหารสินทรัพย์ การตรวจสอบ กฎหมาย และความรู้ทางธุรกิจ ด้านอื่นๆ ท�ำให้การแสดงความคิดเห็นในที่ ประชุมของคณะกรรมการบริษัทเป็นไปอย่าง สร้างสรรค์ โดยการพิจารณาตัดสินใจของคณะ กรรมการยึดถือผลประโยชน์ของบริษัทเป็นสิ่ง ส�ำคัญ
กรรมการผู้มีอ�ำนาจลงลายมือชื่อผูกพันบริษัท คือ “นายวิชา พูลวรลักษณ์ นางภารดี พูลวรลักษณ์ นายวีรวัฒน์ องค์วาสิฎฐ์ นายธนกร ปุลิเวคินทร์ สองในสี่คนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับ ตราส�ำคัญของบริษัท” อ�ำนาจของคณะกรรมการบริษัท 1. กรรมการอาจมอบหมายให้กรรมการคนหนึง่ หรือหลายคนปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งแทน คณะกรรมการก็ได้ 2. กรรมการอาจก�ำหนดชื่อกรรมการผู้มีอ�ำนาจ ลงนามผูกพันบริษทั พร้อมประทับตราส�ำคัญของ บริษัท ได้ 3. คณะกรรมการอาจแต่ ง ตั้ ง บุ ค คลอื่ น ใดให้ ด�ำเนินกิจการของบริษัทภายใต้การควบคุมของ คณะกรรมการ หรืออาจมอบอ�ำนาจเพือ่ ให้บคุ คล ดังกล่าวมีอ�ำนาจตามทีค่ ณะกรรมการเห็นสมควร และภายในเวลาทีค่ ณะกรรมการเห็นสมควร และ คณะกรรมการอาจยกเลิกเพิกถอนเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขอ�ำนาจนั้นๆ ได้
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการบริษัท ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด 11 คน ดังนี้ รายชื่อกรรมการ 1. นายสมใจนึก เองตระกูล 2. นายวิชา พูลวรลักษณ 3. นายวีรวัฒน องควาสิฎฐ 4. นางภารดี พูลวรลักษณ 5. นายธนกร ปุลิเวคินทร 6. นายวิชัย พูลวรลักษณ 7. นายอรรถสิทธิ์ ดำรงรัตน 8. นายชัย จรุงธนาภิบาล 9. นายวัลลภ ตั้งตรงจิตร 10. นายนฤนาท รัตนะกนก 11. รอยตำรวจตรีเกรียงศักดิ์ โลหะชาละ
ตำแหนง ประธานกรรมการ/กรรมการอิสระ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ/กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
% ถือหุน 35.92% 0.89% 3.43% 0.06% 0.47% 0.08% -
38
4. กรรมการทีม่ สี ว่ นได้เสียในเรือ่ งใดเรือ่ งหนึง่ จะไม่มีสิทธิออกเสียงในเรื่องนั้น 5. คณะกรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่าง กาลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เป็นครั้งคราว ในเมื่อเห็น ว่าบริษัทมีผลก�ำไรสมควรพอที่จะท�ำเช่นนั้น และรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการ ประชุมคราวต่อไป 6. การใดทีพ่ ระราชบัญญัตบิ ริษทั มหาชนจ�ำกัด พ.ศ.2535 ก�ำหนดว่าต้องได้รบั มติจากทีป่ ระชุม ผูถ้ อื หุน้ คณะกรรมการจะกระท�ำได้กต็ อ่ เมือ่ ได้ รั บ มติ จ ากที่ ป ระชุ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น อาทิ เ ช่ น การ พิ จ ารณาและอนุ มั ติ ง บดุ ล และบั ญ ชี ก�ำไร ขาดทุ น การพิ จ ารณาจั ด สรรเงิ น ก�ำไรและ จั ด สรรเงิ น ไว้ เ ป็ น ทุ น ส�ำรอง การเลื อ กตั้ ง กรรมการแทนกรรมการที่ออกตามวาระ และ ก�ำหนดค่าตอบแทน การแต่งตั้งผู้สอบบัญชี ทั้งหมด หรือบางส่วนและก�ำหนดค่าตอบแทน การขายหรือโอนกิจการของบริษัททั้งหมดหรือ บางส่วนทีส่ �ำคัญให้แก่บคุ คลอืน่ การซือ้ หรือรับ โอนกิ จ การของบริ ษั ท อื่ น มาเป็ น ของบริ ษั ท ทัง้ หมดหรือบางส่วนทีส่ �ำคัญ การท�ำ แก้ไข หรือ เลิกสัญญาเกีย่ วกับการให้เช่ากิจการของบริษทั การมอบหมายให้บคุ คลอืน่ เข้าจัดการธุรกิจของ บริษัท หรือการรวมกิจการกับบุคคลอื่นโดยมี วัตถุประสงค์จะแบ่งก�ำไรขาดทุนกัน หน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท 1. คณะกรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป ตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของ บริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความ ซือ่ สัตย์สจุ ริตและระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ ของบริษัท 2. คณะกรรมการต้องแจ้งให้บริษัททราบโดย มิชักช้าในกรณีที่กรรมการมีส่วนได้เสียไม่ว่า โดยตรงหรือโดยอ้อม ในสัญญาใด ๆ ที่บริษัท ท�ำขึ้นระหว่างรอบปีบัญชี หรือถือหุ้นหรือหุ้นกู้ ในบริษัท และบริษัทในเครือ โดยระบุจ�ำนวน ทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในระหว่ างรอบปี บัญชี 3. คณะกรรมการต้องประชุมอย่างน้อย 3 เดือนต่อครั้ง โดยมีกรรมการมาประชุมไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งของจ�ำนวนกรรมการทั้งหมด การ วินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ชี้ขาดตัดสินด้วย เสียงข้างมาก 4. คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือ หุ้นเป็นการประชุมสามัญประจ�ำปีภายใน 4 เดือนนับแต่วนั สิน้ สุดของรอบปีบญ ั ชีของบริษทั
5. กรรมการต้องไม่ประกอบกิจการอันมีสภาพ อย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการ ของบริษัท หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน หรือกรรมการในบริษทั อืน่ ทีป่ ระกอบกิจการอัน มีสภาพอย่างเดียวกัน ทั้ ง นี้ ในกรณี ที่ ก ารด�ำเนิ น การเรื่ อ งใดที่ กรรมการรายใดเป็นบุคคลทีอ่ าจมีความขัดแย้ง ตามประกาศส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ส�ำนักงาน ก.ล.ต.) คณะกรรมการก�ำกับตลาดทุน และ/หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีสว่ นได้สว่ น เสียหรือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดย บริษทั ได้ก�ำหนดให้กรรมการรายนัน้ ไม่มอี �ำนาจ อนุมตั กิ ารด�ำเนินการในเรือ่ งดังกล่าว ทัง้ นีเ้ พือ่ ผลประโยชน์ของบริษัทและผู้ถือหุ้นโดยรวม เป็นส�ำคัญ
(2) กรรมการอิสระ ค�ำนิยาม กรรมการอิสระของบริษัท หมายถึง กรรมการ ที่มีคุณสมบัติดังนี้ 1. ถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 0.5 ของจ�ำนวนหุ้นที่ มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดในบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือ นิติบุคคลอื่นที่อาจมีความขัด แย้ง โดยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง (ตามมาตรา 258 แห่งพระราชบัญญัติหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) 2. ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารงาน ในการเป็น ผู้มีอ�ำนาจควบคุมรวมถึงอ�ำนาจในการลงนาม ผูกพันบริษัท ไม่เป็นผู้บริหารหรือพนักงาน ประจ�ำของบริษัท หรือเป็นที่ปรึกษาที่ได้รับเงิน เดื อ นประจ�ำ หรื อ ผู ้ มี อ�ำนาจควบคุ ม บริ ษั ท บริษัทย่อย บริษัทร่วม หรือนิติบุคคลที่อาจมี ความขัดแย้ง ทั้งปัจจุบันและในช่วง 3 ปีก่อน ได้รับการแต่งตั้ง 3. ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตหรือโดย การจดทะเบียนในลักษณะที่เป็นบิดามารดา คู่ สมรส พีน่ อ้ ง และบุตร รวมทัง้ คูส่ มรสของบุตร กับผูบ้ ริหาร ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ ผูม้ อี �ำนาจควบคุม หรือบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้บริหาร หรือผูม้ อี �ำนาจควบคุมของบริษทั หรือบริษทั ย่อย และเป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหาร และผู้มีอ�ำนาจควบคุม
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
4. ไม่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ ท างธุ ร กิ จ กั บ บริ ษั ท ใน ลั ก ษณะของการให้ บ ริ ก ารทางวิ ช าชี พ และ ทางธุรกิจการค้าซึ่งเป็นไปตามข้อก�ำหนดของ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องการ ท�ำรายการที่ เกี่ ย วโยงกั น 5. ไม่ เ ป็ น การได้ รั บ แต่ ง ตั้ ง ขึ้ น เพื่ อ เป็ น ตัว แทนของกรรมการของบริ ษั ท ผู ้ ถื อ หุ ้ น ราย ใหญ่ หรื อ ผู ้ ถื อ หุ ้ น ซึ่ ง เป็ น ผู ้ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผู ้ ถื อ หุ้นรายใหญ่ 6. ไม่ มี ลั ก ษณะอื่ น ใดที่ ท�ำให้ ไ ม่ ส ามารถให้ ความเห็นอย่า งเป็ น อิ ส ระได้ 7. สามารถท�ำหน้ า ที่ คุ ้ ม ครองผลประโยชน์ ของผู ้ ถื อ หุ ้ น ทุ ก รายอย่ า งเท่ า เที ย มกั น และ ดู แ ลมิ ใ ห้ เ กิ ด รายการที่ มี ค วามขั ด แย้ ง ทางผล ประโยชน์ระหว่างบริษัทกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง กั น และสามารถเข้ า ร่ ว มประชุ ม คณะ กรรมการบริ ษั ท เพื่ อ ตั ด สิ น ใจในกิ จ กรรมที่ ส�ำคัญของบริ ษั ทได้ โดยกรรมการอิสระท�ำหน้าที่พิจารณาด้วย ดุลพินิจที่เป็นอิสระ เพื่อให้นโยบาย แผนการ ด�ำเนินงาน และการบริหารงานของบริษัทให้ ถู ก ต้ อ ง เหมาะสม และสอดคล้ อ งกั บ วัตถุประสงค์ ระเบียบข้อบังคับของบริษัท มติ ที่ ป ระชุ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น และกฎหมายที่ เ กี ย วข้ อ ง เพื่อเป็นการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ให้มีความเท่าเทียมกัน อนึ่งการก�ำหนดนิยาม กรรมการอิ ส ระของบริ ษั ท ดั ง กล่ า ว ได้ มี ก าร ปรั บ ปรุ ง แก้ ไ ขให้ มี ค วามเคร่ ง ครั ด มากกว่ า ที่ ก�ำหนดโดยส�ำนั ก งาน ก.ล.ต. หรื อ คณะ กรรมการก�ำกั บตลาดทุ น ประกาศก�ำหนด หลักเกณฑ์ในการคั ด เลื อ กกรรมการอิ ส ระ บริ ษั ท มี ห ลั ก เกณฑ์ คั ด เลื อ กกรรมการ อิ ส ระ โดยสรรหาผู ้ ที่ มี ค วามสามารถ มี ประสบการณ์ เข้าใจธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ของบริษัท ทั้ ง ยั ง เป็ น ผู ้ มี วิ สั ย ทั ศน์ แ ละมี เวลา เ พี ย ง พ อ ใ น ก า ร ป ฏิ บั ติ ห น ้ า ที่ ร ว ม ทั้ ง มี คุณสมบัติตามประกาศ ระเบียบ ข้อก�ำหนดที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ทางการ และขอเชิ ญ ท่ า นเหล่ า นั้ น เข้ า เป็ น กรรมการอิ ส ระของบริ ษั ท ซึ่ ง บริ ษั ท เห็ น ว่ า กรรมการอิ ส ระข้ า งต้ น สามารถ ใช้ความรู้ ความสามารถ ให้ ข ้ อ คิ ด เห็ น ที่ เป็ น ประโยชน์อย่ างเหมาะสมกับการด�ำเนินธุรกิจ ของบริษัท
39
GOVENANCES
โครงสร้ างการจั ด การ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
GOVENANCES
(ก) ความเห็นเกีย่ วกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็น ที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท (ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบ ควบคุมภายในของบริษัท (ค) ความเห็นเกีย่ วกับการปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่า ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ข้อก�ำหนด ของตลาด หลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจของบริษัท ตำแหนง ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ
(ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบ บัญชี (จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัด แย้งทางผลประโยชน์ (ฉ) จ�ำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบ แต่ละท่าน (ช) ความเห็ น หรื อ ข้ อ สั ง เกตโดยรวมที่ ค ณะ กรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ ตามกฎหมาย (Charter) (ซ) รายการอืน่ ทีเ่ ห็นว่าผูถ้ อื หุน้ และผูล้ งทุนทัว่ ไป ควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าทีแ่ ละความรับผิด ชอบที่ได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท 7. ปฏิ บั ติ ก ารอื่ น ใดตามที่ ค ณะกรรมการของ บริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะ กรรมการตรวจสอบ 8. คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบ ต่อคณะกรรมการบริษัทตามหน้าที่และความรับ ผิ ด ชอบที่ ไ ด้ รั บ มอบหมายจากคณะกรรมการ บริษทั และต้องรายงานผลการปฏิบตั งิ าน รวมถึง ข้อเสนอแนะและสิง่ ทีต่ รวจพบให้คณะกรรมการ บริษัททราบอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ทั้ ง นี้ ในกรณี ที่ ก ารด�ำเนิ น การเรื่ อ งใดที่ กรรมการท่านใดหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง การมีส่วนได้ส่วนเสียหรือความขัดแย้งทางผล ประโยชน์กบั บริษทั หรือบริษทั ย่อย รายการได้มา หรื อ จ�ำหน่ า ยไปซึ่ ง สิ น ทรั พ ย์ ข องบริ ษั ท จด ทะเบียน รวมถึงรายการที่เกี่ยวโยงกัน (ถ้ามี) ตามประกาศส�ำนั ก งานก.ล.ต. และหรื อ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย โดยคณะ กรรมการตรวจสอบจะต้องน�ำเสนอเรือ่ งดังกล่าว ต่อคณะกรรมการบริษัท และ/หรือที่ประชุมผู้ถือ หุ้น เพื่อให้พิจารณาและอนุมัติรายการดังกล่าว ภายใต้ ข ้ อ บั ง คั บ หรื อ ประกาศหรื อ กฎหมายที่ เกี่ยวข้อง
40
GOVENANCES
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการ ตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการตรวจสอบซึ่ง (3) คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นกรรมการอิสระ จ�ำนวน 3 คน มีวาระการ ด�ำรงต�ำแหน่งคราวละ 3 ปี โดยกรรมการตรวจ สอบแต่ละคนได้ผา่ นการอบรมหลักสูตร “Audit ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ได้มีมติให้แก้ไข Committee” ที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมสถาบัน คุณสมบัติของกรรมการตรวจสอบให้มีความ กรรมการบริษัทไทย (IOD) โดยรายนามกรรม สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ตาม การตรวจสอบของบริษัท 3 คน ดังนี้ แนวทางที่ส�ำนักงาน ก.ล.ต. และ/หรือคณะ กรรมการก�ำกับตลาดทุนได้ประกาศใช้ พร้อม ชื่อ ทั้ ง ปรั บ ปรุ ง ขอบเขตอ�ำนาจหน้ า ที่ ข องคณะ 1. นายชัย จรุงธนาภิบาล กรรมการตรวจสอบให้มีความสอดคล้องและ 2. นายวัลลภ ตั้งตรงจิตร เป็ น ไปในแนวทางเดี ย วกั น กั บ ประกาศที่ 3. นายนฤนาท รัตนะกนก เกี่ยวข้อง ค�ำนิยาม ขอบเขตอ�ำนาจหน้าทีข่ องคณะกรรมการตรวจ กรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ หมายถึง ผู้ได้รับการ สอบ แต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้น 1. สอบทานให้บริษทั มีการรายงานทางการเงิน ของบริ ษั ท ให้ เ ป็ น กรรมการตรวจสอบ โดย อย่างถูกต้องและเพียงพอ กรรมการตรวจสอบจะต้องเป็นกรรมการอิสระ 2. สอบทานให้ บ ริ ษั ท มี ร ะบบการควบคุ ม ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะ ภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจ กรรมการบริษทั ให้ตดั สินใจในการด�ำเนินกิจการ สอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและ ของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม มีประสิทธิผลและพิจารณาความเป็นอิสระของ บริษทั ย่อยล�ำดับเดียวกัน หรือนิตบิ คุ คลทีอ่ าจมี หน่วยงานตรวจสอบภายในตลอดจนให้ความ ความขัดแย้ง และไม่เป็นกรรมการของบริษัท เห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิก ใหญ่ บริษัทย่อย และบริษัทย่อยล�ำดับเดียวกัน จ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน หรือ ตลอดจนมีคณ ุ สมบัตแิ ละหน้าทีใ่ นลักษณะเดียว กับทีก่ �ำหนดไว้ในประกาศของส�ำนักงาน ก.ล.ต. หน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจ และข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สอบภายใน ว่าด้วยคุณสมบัติและขอบเขตการด�ำเนินงาน 3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่า ของคณะกรรมการตรวจสอบ และจะต้องมี ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อก�ำหนด ความรูแ้ ละประสบการณ์เพียงพอทีจ่ ะสามารถ ของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ท�ำหน้าที่สอบทานความน่าเชื่อถือของงบการ กับธุรกิจของบริษัท เงิ น ได้ รวมทั้ ง การท�ำหน้ า ที่ อื่ น ในฐานะ 4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมี กรรมการตรวจสอบ ความเป็นอิสระเพื่อท�ำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชี โดยคณะกรรมการบริษัทเห็นว่า กรรมการ ของบริษัทและเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดัง ตรวจสอบทุกคนมีคุณสมบัติตามนิยามที่บริษัท กล่าว รวมทัง้ เข้าร่วมประชุมกับผูส้ อบบัญชีโดย ก�ำหนดขึ้ น และเป็ น ไปตามข้ อ ก�ำหนดของ ไม่มฝี า่ ยจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปี ส�ำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่ง ละ 1 ครั้ง ประเทศไทย และทีป่ ระชุมคณะกรรมการตรวจ 5. พิจารณารายการทีเ่ กีย่ วโยงกันหรือรายการ สอบเห็นว่านายชัย จรุงธนาภิบาล เป็นผู้ที่มี ที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็น ความรูค้ วามเชีย่ วชาญในด้านบัญชีและการเงิน และมีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบมาเป็น ไ ป ต า ม ก ฎ ห ม า ย แ ล ะ ข ้ อ ก�ำ ห น ด ข อ ง ระยะเวลายาวนาน ซึ่งเพียงพอที่จะท�ำหน้าที่ ตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ารายการ ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงิน ดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุด ได้เป็นอย่างดี จึงมีมติแต่งตั้งให้เป็นประธาน ต่อบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบ พร้อมกับได้เปิดเผย 6. จัดท�ำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ประวัตขิ องนายชัย จรุงธนาภิบาล ไว้ในหนังสือ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจ�ำปีของบริษทั ซึง่ รับรองประวัติของกรรมการตรวจสอบที่ได้น�ำ รายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะ ส่งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตาม กรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วย ระเบียบใหม่เพิ่มเติมแล้ว ข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(4) คณะกรรมการบริหาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการบริหารของบริษทั ประกอบด้วยกรรมการทีเ่ ป็นผูบ้ ริหาร จำ�นวน 4 คน ดังมีรายนามต่อไปนี้ ชื่อ 1. นายวิชา พูลวรลักษณ 2. นายวีรวัฒน องควาสิฏฐ 3. นางภารดี พูลวรลักษณ 4. นายธนกร ปุลิเวคินทร
ขอบเขตอำ � นาจหน้ า ที่ ข องคณะกรรมการ บริหาร 1. ปฏิบตั งิ านและดำ�เนินกิจการของบริษทั ตาม กฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษทั ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย 2. ปฏิบัติงานและดำ�เนินกิจการให้เป็นไปตาม นโยบายและทิ ศ ทางการดำ � เนิ น งานของ กรรมการบริษัท 3. ปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยความ ซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต และระมั ด ระวั ง รั ก ษาผล ประโยชน์ของบริษัท 4. มีอำ�นาจพิจารณาอนุมัติการกู้หรือให้กู้ยืม เงิน หรือการขอสินเชือ่ ใดๆ จากสถาบันการเงิน รวมตลอดถึงการเข้าเป็นผู้ค้ำ�ประกัน หรือการ ชำ�ระหรือใช้จา่ ยเงินเพือ่ ธุรกรรมตามปกติธรุ กิจ ของบริษัท เช่น การใช้จ่ายเงินเพื่อการลงทุน และเพื่อการดำ�เนินงานต่างๆ ทั้งนี้ ภายใน วงเงินสำ�หรับแต่ละรายการไม่เกินกว่า 60 ล้าน บาท หรือจำ�นวนเทียบเท่า 5. มีอำ�นาจแต่งตั้ง ถอดถอนเจ้าหน้าที่ของ บริษทั ในตำ�แหน่งทีไ่ ม่สงู กว่าตำ�แหน่งกรรมการ ผู้จัดการ 6. มีอำ�นาจจัดทำ� เสนอแนะและกำ�หนด นโยบายแนวทางธุรกิจ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ ของบริษัทต่อคณะกรรมการ 7.จัดตัง้ โครงสร้างองค์กร และการบริหาร และ กรรมการบริ ห าร โดยให้ ค รอบคลุ ม ทุ ก ราย ละเอียดของการคัดเลือก การฝึกอบรม การว่า จ้าง และการเลิกจ้างของพนักงานของบริษัท 8.กำ�หนดแผนธุรกิจ อำ�นาจการบริหารงาน อนุมตั งิ บประมาณสำ�หรับประกอบธุรกิจประจำ�ปี และงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี และดำ�เนิน การตามแผนทางธุรกิจและกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยสอดคล้องกับนโยบาย และแนวทางธุรกิจที่ ได้แถลงต่อคณะกรรมการ
ตำแหนง ประธานกรรมการบริหาร กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร กรรมการบริหาร
ทั้ ง นี้ การมอบอ�ำนาจให้ ค ณะกรรมการ บริหารดังกล่าวข้างต้น จะไม่รวมถึงการมอบ อ�ำนาจที่ท�ำให้คณะกรรมการบริหารสามารถ อนุมัติรายการที่กรรมการบริหารท่านใดท่าน หนึ่ ง หรื อ บุ ค คลที่ อ าจมี ค วามขั ด แย้ ง ตาม ประกาศส�ำนักงาน ก.ล.ต. มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ กับบริษัท หรือบริษัทย่อย โดยคณะกรรมการบริหารจะ ต้องน�ำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการ บริ ษั ท และ/หรื อ ที่ ป ระชุ ม ผู ้ ถื อ หุ ้ น เพื่ อ ให้ พิจารณาและอนุมัติรายการดังกล่าวภายใต้ข้อ บังคับ หรือประกาศ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(5) คณะกรรมการสรรหา และก�ำหนดค่าตอบแทน คำ�นิยาม กรรมการสรรหา กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนของ บริษัท หมายถึง ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากคณะ กรรมการบริษัทให้เป็นกรรมการสรรหาและ กำ�หนดค่าตอบแทน โดยผู้เป็นประธานคณะ กรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทนจะ ต้องเป็นกรรมการอิสระ และในคณะกรรมการ สรรหาและกำ � หนดค่ า ตอบแทนจะต้ อ งมี ิ
กรรมการสรรหาและก�ำหนดค่ า ตอบแทนที่ เป็นกรรมการอิ ส ระไม่ น ้ อ ยกว่า 3 ใน 4 คน เพื่อความโปร่งใสและเป็นอิสระในการปฏิบัติ หน้ า ที่ นอกจากนี้ จ ะต้ อ งมี ค วามรู ้ แ ละ ประสบการณ์ เ พี ย งพอที่ จ ะสามารถท�ำหน้ า ที่ ใ น ก า ร ส ร ร ห า แ ล ะ ก�ำ ห น ด ค ่ า ต อ บ แ ท น กรรมการและผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ของบริ ษั ท รวมทั้ ง การท�ำหน้ า ที่ อื่ น ในฐานะกรรมการ สรรหาและก�ำหนดค่า ตอบแทน ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ส ร ร ห า แ ล ะ ก�ำ ห น ด ค ่ า ตอบแทนของบริ ษั ท ประกอบด้ ว ย ประธาน ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร ส ร ร ห า แ ล ะ ก�ำ ห น ด ค ่ า ตอบแทนเป็ น กรรมการอิ ส ระ และกรรมการ ส ร ร ห า แ ล ะ ก�ำ ห น ด ค ่ า ต อ บ แ ท น ที่ เ ป ็ น กรรมการอิ ส ระ จ�ำนวน 3 คน และเป็ น กรรมการสรรหาและก�ำหนดค่ า ตอบแทนที่ เป็นผู้บริหาร 1 คน โดยคณะกรรมการบริ ษั ท เห็ น ว่ า กรรมการสรรหาทุ ก คนมี คุ ณ สมบั ติ ตามนิยามที่บริษัทก�ำหนดขึ้น และเป็นไปหลัก ก า ร ก�ำ กั บ ดู แ ล กิ จ ก า ร ที่ ดี ที่ ก�ำ ห น ด โ ด ย ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย และที่ ประชุ ม คณะกรรมการสรรหาเห็ น ว่ า นายชั ย จรุงธนาภิบาล ซึ่ ง เป็ น กรรมการอิ ส ระ เป็ น ผู ้ ที่ มี ค วามรู ้ แ ละประสบการณ์ ใ นด้ า นการ สรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทนกรรมการและ ผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง จึ ง ได้ มี ม ติ แ ต่ ง ตั้ ง เป็ น ประธานคณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่า ตอบแทน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน ประกอบด้วยกรรมการ สรรหาและกำ�หนดค่าตอบแทน จำ�นวน 4 คน มีวาระการดำ�รงตำ�แหน่วคราวละ 3 ปี ดังนี้ ชื่อ 1. นายชัย จรุงธนาภิบาล 2. นายวัลลภ ตั้งตรงจิตร 3. นายนฤนาท รัตนะกนก 4. นายวีรวัฒน องควาสิฏฐ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
ตำแหนง ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดคาตอบแทน กรรมการสรรหาและกำหนดคาตอบแทน กรรมการสรรหาและกำหนดคาตอบแทน กรรมการสรรหาและกำหนดคาตอบแทน
41
GOVENANCES
คณะกรรมการบริษัท ได้แต่งตั้งนางสาว ฐิ ต าภั ส ร์ อิ ส ราพรพั ฒ น์ ท�ำหน้ า ที่ เ ป็ น เลขานุการบริษัท แทนนายฉัฐภูมิ ขันติวิริยะ โดยการแต่งตั้งดังกล่าวมีผลตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2554 ขอบเขตอ�ำนาจหน้าทีแ่ ละความรับผิดชอบของ เลขานุการบริษัท 1. ให้ค�ำแนะน�ำเบื้องต้นแก่กรรมการเกี่ยวกับ ข้อกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของบริษัท และสอดคล้องกับข้อพึงปฏิบัติที่ดี ตลอดจน ติ ด ตามให้ มี ก ารปฏิ บั ติ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งและ สม�่ำเสมอ 2. จัดการประชุมคณะกรรมการบริษัท, คณะ อนุกรรมการ และประชุมผูถ้ อื หุน้ ให้เป็นไปตาม กฎหมาย ข้อบังคับของบริษัท และข้อปฏิบัติ ต่างๆ รวมถึงปฏิบตั ติ ามนโยบายการก�ำกับดูแล กิจการทีด่ ขี องบริษทั และตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย 3. ดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลและรายงาน สารสนเทศต่อหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ ตามระเบียบและข้อก�ำหนดของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง รวมถึงการติดต่อสื่อสารกับผู้ถือหุ้น และดูแลผู้ถือหุ้นอย่างเหมาะสม 4. จัดท�ำและเก็บรักษาเอกสารดังต่อไปนี้ (ก) ทะเบียนกรรมการ (ข) หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการ รายงาน การประชุมคณะกรรมการบริษัท และรายงาน ประจ�ำปีของบริษัท (ค) หนังสือนัดประชุมผูถ้ อื หุน้ และรายงานการ ประชุมผู้ถือหุ้น 5. เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้ส่วนเสียที่ รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหาร 6. สนับสนุนงานของคณะกรรมการบริษทั ตาม ที่ได้รับมอบหมาย 7. ด�ำเนินการอืน่ ๆ ตามทีค่ ณะกรรมการก�ำกับ ตลาดทุน ประกาศของตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทยก�ำหนด
(7) คณะผู้บริหาร
(6) เลขานุการบริษัท คณะกรรมการบริ ษ ั ท ได้แต่ง ตั้ง ให้นางสาว ฐิ ต าภั ส ร์ อิ ส ราพรพั ฒ น์ ทำ � หน้ า ที ่ เ ป็ น เลขานุ ก ารบริ ษ ั ท ในการให้ ค ำ � แนะนำ � ด้ า น ก ฎ ห ม า ย แ ล ะ ก ฎ เ ก ณฑ์ ต่ า ง ๆ ที ่ ค ณะ กรรมการบริ ษ ั ท จะต้ อ งทราบ และปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ใ น ก า ร ดู แ ล กิ จ ก า ร ข อ ง ค ณ ะ กรรมการบริ ษ ั ท รวมทั ้ ง ประสานงานและ ติ ด ตามให้ ม ี ก ารปฏิ บ ั ต ิ ต ามมติ ข องคณะ กรรมการบริ ษ ั ท
ขอบเขตอ�ำนาจหน้าที่ของประธานเจ้าหน้าที่ บริ ห าร 1. ก�ำหนดแผนธุ ร กิ จ แผนการลงทุ น และ แผนงบประมาณประจ�ำปี เพื่อเสนอขออนุมัติ ต่ อ คณะกรรมการบริ ห าร และ/หรื อ คณะ กรรมการบริ ษั ท 2. รับผิดชอบการบริหารจัดการโดยรวม และ พิ จ ารณานโยบายการบริ ห ารงานด้ า นต่ า งๆ ของบริ ษั ท เพื่ อ ให้ ก ารด�ำเนิ น งานของบริ ษั ท บรรลุ เ ป้ า หมายที่ ก�ำหนดไว้ ภายใต้ ก รอบ นโยบาย แผนธุ ร กิ จ และแผนงบประมาณที่ ได้ รั บ การอนุ มัติ จากคณะกรรมการบริษัท 3. พิ จารณาอนุ มั ติ ใ ห้ ด�ำเนิ นการ หรืออนุมัติ การใช้ จ่ายเงิ นเพื่ อ การด�ำเนิ นการต่ างๆ ตาม ระเบี ย บอ�ำนาจอนุ มั ติ ข องบริ ษั ท หรือตามงบ ประมาณรายจ่ า ยประจ�ำปี ที่ ค ณะกรรมการ บริ ษั ท อนุ มั ติ ไ ว้ แ ล้ ว 4. สรรหา ว่ าจ้ า ง แต่ งตั้ ง สั บเปลี่ยน โอน ย้ า ย พั ก งาน และเลิ ก จ้ า งผู ้ บ ริ ห ารและ พนั ก งานในทุ ก ต�ำแหน่ ง รวมถึ ง การก�ำหนด ขอบเขตอ�ำนาจหน้ า ที่ และผลประโยชน์ ตอบแทนที่ เ หมาะสม โดยถ้ า เป็ น ต�ำแหน่ ง ระดั บ เที ย บเท่ า ตั้ ง แต่ ผู ้ อ�ำนวยการอาวุ โ สขึ้ น ไป ให้รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อรับ ทราบ และถ้ า เป็ นต�ำแหน่ งระดับเทียบเท่าผู้ บริ ห ารฝ่ า ยตรวจสอบภายใน ให้ ด�ำเนิ น การ ภายใต้ ค วามเห็ น ของคณะกรรมการตรวจ สอบ 5. แต่ งตั้ งผู ้ มี อ�ำนาจลงนามในเอกสารต่ างๆ ของบริ ษั ท ทั้ งด้านบั ญ ชี การเงิน การสั่งซื้อ การผลิ ต การขาย และการบริ หารทั่ว ไป รวม ทั้ งเอกสารส�ำคั ญ อื่ นๆ 6. ก�ำหนด เปลี่ ย นแปลง แก้ ไ ข และยกเลิก กฎระเบี ย บ ค�ำสั่ ง ประกาศ ข้ อ บั ง คั บ บท ลงโทษ รวมทั้ ง ระบบควบคุ ม ภายใน เพื่ อ ใช้ เป็ น แนวทางการปฏิ บั ติ ง านของพนั ก งานทุ ก คน และเพื่ อ ให้ ก ารบริ ห ารจั ด การภายใน องค์ ก รเป็ นไปตามนโยบายที่ บ ริษัท ก�ำหนด
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 บริษัทมีคณะผู้บริหาร 5 คน ดังนี้ รายชื่อผูบริหาร 1. นายวิชา พูลวรลักษณ
ตำแหนง ประธานเจาหนาที่บริหาร รักษาการตำแหนงรองประธานเจาหนาที่บริหารธุรกิจโบวลิ่ง รักษาการตำแหนงรองประธานเจาหนาที่บริหารสายงานการเงินและบัญชี รักษาการตำแหนงรองประธานเจาหนาที่บริหารสายงานวางแผนกลยุทธ และนักลงทุนสัมพันธ 2. นายธนกร ปุลิเวคินทร รองประธานเจาหนาที่บริหาร ธุรกิจฟลมโรงภาพยนตร 3. นางจินดา วรรธนะหทัย รองประธานเจาหนาที่บริหาร สายงานบริหารพื้นที่เชา 4. นายเชษฐ มังคโลดม รองประธานเจาหนาที่บริหาร ธุรกิจสื่อโฆษณา 5. นางสาวฐิตาภัสร อิสราพรพัฒน ผูอำนวยการฝายบัญชีและการเงิน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
42
7. แต่ ง ตั้ ง ที่ ปรึ ก ษาด้ านต่ า งๆ ที่ จ�ำเป็ น ต่ อ การด�ำเนิ น งานเพื่ อ ประโยชน์ ต ่ อ บริ ษั ท ทั้ง นี้ ร วมถึ งมี อ�ำนาจในการแต่ ง ตั้ ง ทนายความเพื่ อ ฟ้องร้องด�ำเนินคดี หรือเข้ าสู้คดีที่เ กี่ยวข้องกับบริษัท 8. มอบหมายเพื่ อ ให้ บุ ค คลอื่ น ปฏิ บั ติ ง านหรื อ กระท�ำการอย่ า งหนึ่ ง อย่ า งใดแทนตนตามที่ เ ห็ น สมควร และสามารถยกเลิ ก เพิ ก ถอน เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขอ�ำนาจนั้นๆ ได้ 9. รายงานผลการด�ำเนิ น งาน ความคื บ หน้ า ของโครงการต่ า งๆ ตลอดจนสถานะทางการเงิ น ต่ อ คณะกรรมการบริ ห าร และคณะ กรรมการบริษัท 10. ด�ำเนินการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหาร หรือคณะกรรมการบริษัท มอบหมาย ทั้งนี้ ในกรณีที่การด�ำเนินการเรื่องใดที่ประธานเจ้ าหน้ าที่บริหาร หรือบุคคลที่อ าจมีความขัดแย้ง มีส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย หรื อ ความขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ ประธานเจ้า หน้า ที่บริหารไม่มีอ�ำนาจอนุมัติก ารด�ำเนินการในเรื่องดังกล่าว ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัท และผู้บ ริหาร ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ได้พิจ ารณาค่าตอบแทนกรรมการตามข้ อ เสนอและความ เห็นของคณะกรรมการสรรหาและก�ำหนดค่าตอบแทน มีมติเห็นควรเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้น ประจ�ำปี 2555 พิจารณาอนุมัติ ก�ำหนดค่าตอบแทนกรรมการประจ�ำปี 2555 เป็นจ�ำนวนเงินไม่เกิน 10.5 ล้านบาท โดยแยกออกเป็นค่าตอบแทนรายปีและเบี้ยประชุม จ�ำนวน 6.6 ล้านบาท และบ�ำเหน็จพิเ ศษ จ�ำนวน 3.9 ล้านบาท ซึ่งโครงสร้างอัตราค่ าตอบแทนกรรมการเป็ น ดั ง นี้ ชื่อ
คาตอบแทนรายป และเบี้ยประชุม (บาท)
ตำแหนง
บำเหน็จพิเศษ (บาท)
1. นายสมใจนึก เองตระกูล 2. นายวิชา พูลวรลักษณ 3. นายวีรวัฒน องควาสิฏฐ 4. นางภารดี พูลวรลักษณ 5. นายธนกร ปุลิเวคินทร 6. รอยตำรวจตรีเกรียงศักดิ์ โลหะชาละ 7. นายอรรถสิทธิ์ ดำรงรัตน 8. นายวิชัย พูลวรลักษณ 9. นายชัย จรุงธนาภิบาล
ประธานกรรมการ/กรรมการอิสระ 800,000 795,750 กรรมการ 662,500 795,750 กรรมการ 608,333 256,500 กรรมการ 583,334 256,500 กรรมการ 583,333 256,500 กรรมการอิสระ 500,000 256,500 กรรมการอิสระ 500,000 256,500 กรรมการ 500,000 256,500 กรรมการอิสระ 687,500 256,500 ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธานกรรมการสรรหาและกำหนดคาตอบแทน 10 นายวัลลภ ตั้งตรงจิตร กรรมการอิสระ 587,500 256,500 กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำหนดคาตอบแทน 11.นายนฤนาท รัตนะกนก กรรมการอิสระ 587,500 256,500 กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำหนดคาตอบแทน ใบสำ�คัญแสดงสิทธิในการซือ้ หุน้ สามัญของบริษทั ฯ (ESOP-W4) ได้จดั สรรให้กรรมการ ค่าตอบแทนอื่น และผู บ ้ ริ ห ารของ บริษัทฯ ดังนี้ นอกเหนือจากผลตอบแทนตามปกติ บริ ษั ท ยั ง ได้ จั ด สรรใบสำ � คั ญ แสดงสิ ท ธิ แ ก่ ค่าตอบแทนอื่น กรรมการและพนักงานของบริษัท โดยไม่นำ�ใบ จำนวนหุน(ลาน) รายชื่อ ตำแหนง สำ� คัญแสดงสิท ธิดังกล่า วเข้าจดทะเบียนใน 1. นาย เชษฐ มังคโลดม รองประธานเจาหนาที่บริหาร สายงานสื่อโฆษณา 0.30 ตลาดหลักทรัพย์ ทัง้ นีเ้ พือ่ เป็นการตอบแทนการ 2. นางจินดา วรรธนะหทัย รองประธานเจาหนาที่บริหาร สายงานบริหารพื้นที่เชา 0.35 ปฏิ บั ติ ง านของกรรมการและพนั ก งานของ บริษัท และเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความตั้งใจและทำ�งานกับบริษัทต่อไปใน ค่าตอบแทนผู้บริหารปี 2555 ระยะยาว โดยใบสำ�คัญแสดงสิทธิที่ยังไม่หมด จำนวนเงิน(ลานบาท) คาตอบแทน จำนวนราย อายุมีรายละเอียดดังนี้ เงินเดือน เงินโบนัส และเงินสะสม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
4
19.75
43
GOVENANCES
หน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาและก�ำหนด ค่าตอบแทน หน้าที่เกี่ยวกับการสรรหา 1. ก�ำหนดหลักเกณฑ์และนโยบายในการ สรรหากรรมการบริษัท คณะอนุกรรมการชุด ต่างๆ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 2. พิ จ ารณาสรรหากรรมการบริ ษั ท คณะ อนุกรรมการชุดต่างๆ และประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร โดยพิจารณาจากบุคคลทีเ่ หมาะสมทีจ่ ะ มาด�ำรงต�ำแหน่ ง ดั ง กล่ า ว เพื่ อ เสนอคณะ กรรมการบริษทั พิจารณาอนุมตั ิ และ/หรือเสนอ ต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้วแต่กรณี 3. คณะกรรมการสรรหาต้องรายงานผลการ ประชุ ม หรื อ รายงานอื่ น ใดที่ เ ห็ น ว่ า คณะ กรรมการบริษัทควรทราบต่อคณะกรรมการ บริษัท 4. ปฏิบตั กิ ารอืน่ ใดตามทีค่ ณะกรรมการบริษทั มอบหมาย หน้าที่เกี่ยวกับการก�ำหนดค่าตอบแทน 1. ก�ำหนดหลั ก เกณฑ์ แ ละนโยบายในการ ก�ำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัท, คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ และประธานเจ้า หน้าทีบ่ ริหาร เพือ่ เสนอให้คณะกรรมการบริษทั พิจารณาอนุมัติ และ/หรือเสนอต่อที่ประชุม ผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้วแต่กรณี 2. ก�ำหนดค่าตอบแทนทีจ่ �ำเป็นและเหมาะสม ของคณะกรรมการบริษทั คณะอนุกรรมการชุด ต่างๆ และประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารของบริษทั ในแต่ละปี 3. คณะกรรมการก�ำหนดค่ า ตอบแทนต้ อ ง รายงานผลการประชุม หรือรายงานอืน่ ใดทีเ่ ห็น ว่ า คณะกรรมการบริ ษั ท ควรทราบต่ อ คณะ กรรมการบริษัท 4. ปฏิบตั กิ ารอืน่ ใดตามทีค่ ณะกรรมการบริษทั มอบหมาย
GOVENANCES
คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความส�ำคัญต่อ ระบบการควบคุมภายในและตรวจสอบภายใน ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ทัง้ ในระดับบริหาร และระดับ ปฏิบัติการ คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร มีหน้าที่และความรับผิดชอบโดยตรงในการจัด ให้มีและรักษาไว้ซึ่งระบบการควบคุมภายใน และการประเมิ น ความเพี ย งพอของระบบ ควบคุมภายในของบริษัทฯ ในส่วนต่างๆ ทั้ง 5 ส่วน คือ องค์กรและสภาพแวดล้อม, การ บริหารความเสี่ยง, การควบคุมการปฏิบัติงาน ของฝ่ายบริหาร, ระบบสารสนเทศและการ สื่อสารข้อมูล และระบบการติดตาม ซึ่งรวมถึง การก�ำหนดทิศทางการด�ำเนินธุรกิจ การพัฒนา ระบบสารสนเทศและการสือ่ สารเพือ่ สนับสนุน ระบบการตัดสินใจ การก�ำหนดขอบเขต อ�ำนาจ หน้าที่ และการก�ำหนดวงเงินอนุมัติของฝ่าย บริหารในแต่ละระดับ ตลอดจนมีการก�ำหนด ระเบียบวิธปี ฏิบตั ขิ องพนักงานแต่ละสายงานไว้ อย่างชัดเจน การก�ำหนดกรอบปฏิบัติตามหลัก จรรยาบรรณ รวมถึงการมีมาตรการควบคุม และขั้นตอนในการท�ำรายการระหว่างกันของ บริ ษั ท กั บ บุ ค คลที่ อ าจมี ค วามขั ด แย้ ง ทางผล ประโยชน์ และมีการใช้นโยบายบัญชีตามหลัก การบัญชีทรี่ บั รองทัว่ ไปซึง่ ผูส้ อบบัญชีมอี สิ ระใน การแสดงความเห็นและการเข้าถึงข้อมูลทีเ่ ป็น สาระส�ำคัญ บริษัทมีฝ่ายตรวจสอบภายในเพื่อท�ำหน้าที่ ตรวจสอบทั้งในด้านการเงิน การด�ำเนินงาน และในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ กิจการและด�ำเนินธุรกิจของบริษทั เพือ่ ให้มนั่ ใจ ว่าการปฏิบตั งิ านและกิจกรรมส�ำคัญของบริษทั ได้ ด�ำเนิ น การตามแนวทางที่ ก�ำหนดและมี ประสิทธิภาพ และเพื่อให้หน่วยงานตรวจสอบ ภายในมีความอิสระ สามารถท�ำหน้าที่ตรวจ สอบและถ่วงดุลได้อย่างเต็มที่ คณะกรรมการ จึงก�ำหนดให้ฝ่ายตรวจสอบภายในรายงานผล การตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจ สอบ ในปี 2555 คณะกรรมการตรวจสอบมีการ ประชุมจ�ำนวน 12 ครั้ง เพื่อพิจารณาความสม เหตุสมผลของการท�ำรายการระหว่างกัน ความ เพียงพอของระบบควบคุมภายใน รวมถึงการ ประชุมร่วมกับผูส้ อบบัญชีเพือ่ สอบทานงบการ เงินและพิจารณารายงานการเปิดเผยข้อมูล ทางการเงิ น ในงบการเงิ น ตลอดจนการ พิ จ ารณาแผนการตรวจสอบประจ�ำปี และ ติดตามรายงานผลการตรวจสอบภายในด้านต่างๆ
การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน
มีทกั ษะความรู้ โดยเรียนรูจ้ ากการปฏิบตั จิ ริง และ จากค�ำแนะน�ำของผูม้ ปี ระสบการณ์ในแต่ละสาย งาน นอกจากนี้ บริษัทยังส่งเสริมให้พนักงานเข้า อบรมและสัมมนากับหน่วยงาน ภายนอกอย่าง สม�่ ำ เสมอ ตลอดจนมี น โยบายในการให้ ผ ล ตอบแทนกับพนักงานในอัตราที่เหมาะสม เพื่อ จูงใจและรักษาให้พนักงานท�ำงานกับบริษัทใน ระยะยาว นโยบายการจ่ายเงินปันผล
บริษัทได้ก�ำหนดนโยบายในเรื่องจริยธรรม โดยที่กรรมการ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของ บริษัทจะต้องพึงปฏิบัติ ในการใช้ข้อมูลภายใน ที่มีสาระส�ำคัญของบริษัท ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผย ต่อสาธารณชนเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้ อืน่ รวมถึงการซือ้ ขายหลักทรัพย์ของบริษทั โดย มีวิธีการดูแลผู้บริหารในการน�ำข้อมูลภายใน ของบริษทั ไปใช้ประโยชน์เพือ่ ส่วนตนหรือผูอ้ นื่ ดังนี้ บริษทั มีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้กบั ผูถ้ อื หุน้ คือ ในกรณีปกติทบี่ ริษทั ไม่มคี วามจ�ำเป็นต้อง 1. ด�ำเนินการแจ้งให้ผู้บริหารฝ่ายต่างๆ ใช้เงินเพื่อการลงทุนเพิ่มหรือขยายงาน และมี เข้าใจถึงภาระหน้าทีใ่ นการรายงานการถือหลัก กระแสเงิ นสดเพี ย งพอ บริ ษั ท มีนโยบายจ่า ย ทรัพย์ในบริษัทของตนเอง คู่สมรส และบุตรที่ ยั ง ไม่ บ รรลุ นิ ติ ภ าวะ ตลอดจนรายงานการ เงินปันผลในอัตราประมาณร้อยละ 40 ของก�ำไร เปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 สุ ท ธิ จ ากการด�ำเนิ น งานหลั ง หั ก ภาษี เ งิ น ได้ และบทก�ำหนดโทษตามมาตรา 275 แห่งพระ นิ ติ บุ ค คลและเงิ น ส�ำรองตามกฎหมายแล้ ว ราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการบริษทั อาจจะก�ำหนด ให้บริษทั จ่ายเงินปันผลแตกต่างไปจากนโยบายดัง พ.ศ. 2535 กล่าวได้ตามความเหมาะสมและตามความจ�ำเป็น 2. ด�ำเนิ น การส่ ง หนั ง สื อ เวี ย นแจ้ ง ให้ ผู ้ ของบริษัท เช่น กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภาวะ บริหารทราบว่า ผู้บริหารที่ได้รับทราบข้อมูล ทางเศรษฐกิจ หรือสภาพตลาด หรือมีเหตุการณ์ ภายในที่เป็นสาระส�ำคัญ รวมถึงข้อมูลงบการ อื่นใดที่มีผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน เงิ น ของบริ ษั ท ซึ่ ง มี ผ ลกระทบต่ อ การ ของบริษัท เป็นต้น เปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ ควรหลีกเลี่ยง หรืองดการซือ้ ขายหลักทรัพย์ของบริษทั ในช่วง การควบคุมภายใน ระยะเวลา 1 เดือนและห้ามไม่ให้เปิดเผยข้อมูล ทีเ่ ป็นสาระส�ำคัญนัน้ ต่อบุคคลอืน่ ก่อนทีง่ บการ ฝ่ายตรวจสอบภายในได้จัดท�ำแบบประเมิน เงิ น หรื อ ข้ อ มู ล ภายในนั้ น จะเปิ ด เผยต่ อ ความเพียงพอของระบบควบคุมภายในประจ�ำปี สาธารณชน 2555 ฉบับลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2556 ขึ้น และ ทั้งนี้ บริษัทยังได้ก�ำหนดโทษส�ำหรับกรณีที่ ได้ผา่ นการพิจารณาจากคณะกรรมการตรวจสอบ มีการฝ่าฝืนในการน�ำข้อมูลภายในของบริษทั ไป แล้ว ทั้งนี้แบบประเมินดังกล่าวได้น�ำเสนอที่ ใช้เพือ่ ประโยชน์สว่ นตัวไว้ในระเบียบของบริษทั ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2556 เมื่อ โดยมีโทษตัง้ แต่การตักเตือนด้วยวาจาจนถึงขัน้ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 แล้ว การพิจารณาจัดท�ำแบบประเมินความเพียง ให้ออกจากงาน พอของระบบควบคุมภายใน บริษัทได้พิจารณา ข้อพิพาทด้านแรงงาน ทั้งหมด 5 ส่วนด้วยกัน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ปั จ จุ บ ั น บริ ษ ั ท ไม่ ม ี ข ้ อ พิ พ าทด้ า น องค์กรและสภาพแวดล้อม, ส่วนที่ 2 การบริหาร แรงงาน ความเสี่ยง, ส่วนที่ 3 การควบคุมการปฏิบัติงาน ของฝ่ายบริหาร, ส่วนที่ 4 ระบบสารสนเทศและ นโยบายในการพัฒนาพนักงาน การสือ่ สารข้อมูล และส่วนที่ 5 ระบบการติดตาม โดยคณะกรรมการบริษัทมีความเห็นว่าบริษัทมี บริษทั มีนโยบายจัดให้มกี ารอบรมภายในให้ ระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอ กับพนักงานของบริษัท เพื่อพัฒนาให้พนักงาน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
44
ระบบการควบคุมภายในของบริษัทในเรื่อง การท�ำธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผูบ้ ริหาร หรือผูท้ เี่ กีย่ วข้อง มีอย่างเพียงพอแล้ว นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษทั ได้สง่ เสริมและ สนั บ สนุ น ให้ ฝ ่ า ยจั ด การด�ำเนิ น การพั ฒ นา คุณภาพของระบบการควบคุมภายในอย่างต่อ เนื่องเพื่อเสริมสร้างการก�ำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) การประเมินความเพียงพอของระบบควบคุม ภายใน คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาประเมิน ความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของ บริษัทประจ�ำปี 2555 แล้ว มีสาระส�ำคัญทั้ง 5 ส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 องค์กรและสภาพแวดล้อม
วิ สั ย ทั ศ น์ แ ละพั น ธกิ จ ของบริ ษั ท ข้ อ มู ล เศรษฐกิ จ โดยรวมของประเทศ ปั จ จั ย ทั้ ง ภายนอกและภายในต่างๆที่มีผลต่อธุรกิจ รวม ถึงแนวทางทีค่ ณะกรรมการได้ให้หลักการไว้ อีก ทั้ ง ได้ พิ จ ารณาทบทวนถึ ง ประสิ ท ธิ ภ าพการ ปฏิบัติงานพนักงานในบริษัทแล้วว่ามีความรู้ และความสามารถที่จะปฏิบัติตามเป้าหมายได้ จริง โดยวิเคราะห์ถึงการให้สิ่งจูงใจหรือผล ตอบแทนแก่พนักงานว่าเป็นไปอย่างสมเหตุสม ผลของบริ ษั ท และสอดคล้ อ งต่ อ สภาวะ เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมอื่นๆ รวมถึงได้ ก�ำกับดูแลให้มีหน่วยงานท�ำหน้าที่คอยติดตาม ผลของเป้าหมายและแผนการด�ำเนินธุรกิจดัง กล่าวอยู่เป็นประจ�ำ บริษัทได้มีการจัดโครงสร้างองค์กรและ หน่วยงานต่างๆ ทีช่ ดั เจนและเหมาะสมกับการ ด�ำเนินงาน โดยมีการทบทวนโครงสร้างองค์กร และหน่วยงานว่ายังคงสอดคล้องเหมาะสมกับ ธุรกิจและสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป หรือไม่ เพือ่ ให้มกี ารด�ำเนินงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพ โดยส�ำนักงานใหญ่และหน่วยงานส่วนกลาง ได้ จัดแบ่งโครงสร้างเป็นฝ่ายต่างๆอย่างชัดเจน ซึง่ ท�ำหน้าที่สนับสนุนงานด้านต่างๆ ให้แก่สาขา ทั้งที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ช่วยให้ฝ่ายบริหาร สามารถควบคุ ม การบริ ห ารงานได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ บริษทั มีขอ้ ก�ำหนดเกีย่ วกับจริยธรรม (Code of conduct) ตามหลักการก�ำกับดูแลกิจการที่ ดี เป็นลายลักษณ์อกั ษรประกาศให้ผบู้ ริหารและ พนักงานทราบและยึดถือปฏิบัติโดยทั่วกัน ซึ่ง ครอบคลุ ม ถึ ง การห้ า มมิ ใ ห้ ฝ ่ า ยบริ ห ารและ พนักงานทุกคนปฏิบตั ติ นในลักษณะทีอ่ าจก่อให้ เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กบั บริษทั และ คู่ค้าของบริษัท มีการก�ำหนดบทลงโทษในกรณี ที่มีการฝ่าฝืนไว้อย่างชัดเจน
คณะกรรมการได้ก�ำกับดูแลให้มกี ารก�ำหนด เป้าหมายและแผนการด�ำเนินธุรกิจของบริษัท ที่ชัดเจนและวัดผลได้ เช่น ก�ำหนดให้จัดท�ำ แผนประจ�ำปี (Annual operation plan)และ แผนระยะกลาง 3 ปี เพือ่ ให้บรรลุตามวิสยั ทัศน์ และพันธกิจ (Vision& Mission) ของบริษัท เมือ่ แผนดังกล่าวได้รบั การอนุมตั ผิ บู้ ริหารจะน�ำ ไปก�ำหนดเป็นแผนงาน(Action Plan)ในหน่วย ธุรกิจของตน เพื่อให้พนักงานแต่ละหน่วยงาน ทราบและน�ำไปปฏิ บั ติ ใ ห้ บ รรลุ เ ป้ า หมายที่ ก�ำหนดไว้ ในการก�ำหนดเป้าหมายและแผนการ ด�ำเนินธุรกิจดังกล่าวทางผู้บริหารจะติดตาม ผลอยู่ตลอดตามความเหมาะสม เพื่อให้ทราบ ผลด�ำเนินงานเป็นไปตามแผนหรือไม่ หากมี ปัญหาหรือเหตุการณ์ที่จะท�ำให้ไม่เป็นไปตาม แผนงานจะสามารถปรับกลยุทธ์แผนงานในการ แก้ไขได้อย่างทันท่วงที และจะมีการรายงานให้ คณะกรรมการพิจารณารับทราบ โดยผู้บริหาร อาจขอปรับเปลีย่ นแผนการด�ำเนินธุรกิจในช่วง ระหว่างด�ำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ในขณะนั้นตามความเหมาะสม ทั้งนี้เรื่องดัง บริษัทมีการจัดท�ำนโยบายและระเบียบวิธี กล่ า วได้ น�ำเสนอคณะกรรมการบริ ษั ท เพื่ อ ปฏิบตั งิ านเป็นลายลักษณ์อกั ษรในธุรกรรมด้าน การเงิน การจัดซื้อ และการบริหารทั่วไปที่ พิจารณาอนุมัติ รัดกุมมีการควบคุมภายในเพียงพอเพื่อป้องกัน คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาทบทวน การทุจริต โดยนโยบายและระเบียบวิธีก าร เป้าหมายและแผนการด�ำเนินธุรกิจของบริษัท ปฏิ บั ติ ง าน มี อ ยู ่ ใ นรู ป แบบคู ่ มื อ ปฏิ บั ติ ก าร ว่า ฝ่ายบริหารได้จดั ท�ำอย่างรอบคอบโดยตัง้ อยู่ (Operation manual)
และแผนผังการปฏิบัติงาน (Business process flffllow) รวมถึงประกาศระเบียบ ค�ำสั่งต่างๆ ทั้งนี้ บริ ษั ท ได้ มี ก ารทบทวนความเหมาะสมของ นโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติงาน เพื่อท�ำการ ปรับปรุงให้เหมาะสมอย่างสม�่ำเสมอ รวมถึงการ พัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นเครื่องมือให้การท�ำงานมี ประสิทธิภาพ รัดกุมและป้องกันการทุจริต ในการก�ำหนดนโยบายและแผนการปฏิบัติ งาน บริษทั ได้ค�ำนึงถึงความเป็นธรรมต่อคูค่ า้ เพือ่ ประโยชน์ร่วมกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เนื่องจากบริษัทประกอบธุรกิจด้านการบริการจึง ให้ความส�ำคัญในการก�ำหนดนโยบายและวิธี ปฏิบัติงานในเรื่องความเป็นธรรมต่อคู่ค้าที่ใช้กับ คู่ค้าทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการเลือก ปฏิบัติที่ผิดไปจากวิธีการด�ำเนินงานธุรกิจตาม ปกติ และมุง่ มัน่ ทีจ่ ะด�ำเนินธุรกิจด้วยความรับผิด ชอบและเป็นธรรมต่อผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกกลุม่ ของบ ริษัทฯ ด้วยการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน เป็นธรรม เปิดเผย และโปร่งใส ส่วนที่ 2 การบริหารความเสี่ยง บริษทั ได้ประเมินความเสีย่ งและติดตามอย่าง สม�่ำเสมอ โดยจะวิเคราะห์เพื่อระบุปัจจัย ทั้ง ภายนอกและภายในและสัญญาณเตือนภัยต่างๆ รวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทอย่างมี นัยส�ำคัญ เพื่อที่บริษัทจะด�ำเนินการจัดการและ บริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทได้มีการติดตามผลอย่างต่อ เนื่อง บริษทั ได้ท�ำการวิเคราะห์อย่างระมัดระวัง ถึง เหตุการณ์ที่จ ะท�ำให้ ปั จ จั ย ที่ เป็ น ความเสี่ ย งที่ บริษัทได้ระบุไว้นั้นเกิดขึ้น เพื่อให้เป็นสัญญาณ เตือนภัยในการติดตามและจัดการบริหารความ เสี่ยง แล้วรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท บริ ษั ท ได้ ก�ำหนดมาตรการในการควบคุ ม ความเสี่ยงด้านต่างๆ ตลอดจนก�ำหนดวิธีการใน การตรวจติ ด ตามเหตุ ก ารณ์ ที่ เ ป็ น สาเหตุ ข อง ปัจจัยความเสีย่ ง เพือ่ ลดความเสีย่ งอันทีจ่ ะมีผลก ระทบกับบริษัท
บนพืน้ ฐานผลการด�ำเนินงานในอดีตถึงปัจจุบนั
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
45
GOVENANCES
การควบคุมภายใน
GOVENANCES
เกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์รวมอยู่ ในหลั ก จรรยาบรรณส�ำหรั บ ผู ้ บ ริ ห ารและ พนักงาน โดยก�ำหนดให้มหี น่วยงานทีต่ รวจสอบ และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบอย่าง ต่อเนื่อง รวมถึงบริษัทห้ามมิให้ผู้มีส่วนได้เสีย ร่วมพิจารณาอนุมัติธุรกรรมที่อาจมีความขัด แย้ง ทางผลประโยชน์ ทั้ งนี้ ใ นการตั ด สิ นใจ อนุมัติธุรกรรมใดๆ ก็ตาม บริษัทได้ค�ำนึงถึงผล ประโยชน์สูงสุดในระยะยาวเป็นส�ำคัญ และ กรณีเป็นธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้ง จะต้อง รายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบ หรือขอความเห็นจากคณะกรรมการตรวจสอบ ก่อนแล้วแต่กรณี บริษัทได้มีการติดตามให้มีการปฏิบัติตาม สัญญาในการท�ำธุรกรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องใน ลักษณะทีม่ ผี ลผูกพันบริษทั ในระยะยาว และข้อ ตกลงดังกล่าวที่มีผลผูกพันอย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่ 4 ระบบสารสนเทศและการสื่ อ สาร ข้อมูล บริ ษั ท ได้ มี ก ารจั ด เตรี ย มเอกสาร ข้ อ มู ล และรายละเอียดเกี่ยวกับวาระการพิจารณาที่ ส�ำคั ญ เพื่ อ ให้ ค ณะกรรมการใช้ เ ป็ น ข้ อ มู ล ประกอบการตัดสินใจล่วงหน้ า และหากเรื่อง ใดมี ร ายละเอี ย ดเพิ่ ม เติ ม ในภายหลั ง (ถ้ า มี ) บริษัทก็จะจัดให้มีข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแจกเป็น เอกสารประกอบการประชุ ม ให้ กั บ คณะ กรรมการในวั น ประชุ ม ทั้ ง นี้ ห ากในระหว่ า ง การประชุ ม มี ก ารใช้ ข ้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม นอกเหนื อ จากที่ เ ตรี ย มไว้ ก็ จ ะให้ ห น่ ว ยงานหรื อ ผู ้ ที่ เกี่ ย วข้ อ งจั ด ท�ำข้ อ มู ล มารองรั บ การพิ จ ารณา ระหว่ า งการประชุ ม เพื่ อ ให้ ทั น กาลต่ อ การ พิ จารณาตั ด สิ นใจ บริ ษั ท ได้ จั ด ส่ ง หนั ง สื อ เชิ ญ ประชุ ม คณะ กรรมการบริ ษั ท และรายงานการประชุ ม คณะกรรมการบริ ษั ท ครั้ ง ที่ ผ ่ า นมา พร้ อ มทั้ ง เอกสารประกอบการพิ จ ารณาการประชุ ม ให้ กับกรรมการบริษัททุกครั้งที่มีการประชุม เพื่อ เป็นการให้ข้อมูลแก่กรรมการบริษัทโดยจัดส่ง ล่ ว งหน้า ก่ อ นวั นประชุ ม
บริษัทได้มีการติดตามดูแลการด�ำเนินงาน ของบริษัทย่อยอย่างสม�่ำเสมอ ในกรณีที่บริษัท มีเงินลงทุนในบริษัทย่อย โดยบริษัทได้ส่งให้ ส่วนที่ 3 การควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่าย กรรมการของบริษัทเข้าไปเป็นกรรมการผู้มี บริหาร อ�ำนาจของบริษัทย่อย ส่วนบริษัทร่วมบริษัทได้ บริ ษั ท มี ก ารก�ำหนดขอบเขตของอ�ำนาจ ส่งตัวแทนเข้าไปเป็นกรรมการเจ้าหนีเ้ พือ่ รักษา หน้าที่และวงเงินอ�ำนาจอนุมัติของฝ่ายบริหาร ผลประโยชน์ของบริษัท บริ ษั ท ได้ จั ด ท�ำรายงานการประชุ ม คณะ ในแต่ละระดับ อย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์ กรรมการบริษัท โดยบันทึกรายละเอียดที่เป็น อักษร ซึ่งมีการทบทวนให้เหมาะสมต่อการ บริษัทได้มีมาตรการที่จะให้การด�ำเนินงาน สาระส�ำคั ญ รวมถึ งข้ อ เสนอแนะ ข้อท้วงติง บริหาร และการปฏิบตั งิ าน พร้อมกันนีพ้ นักงาน เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อลดความเสี่ยงในการ และข้ อ คั ด ค้ า น (ถ้ า มี ) และได้ ใ ห้ ค ณะ ทุ ก คนก็ รั บ ทราบอ�ำนาจด�ำเนิน การของฝ่าย ประกอบธุรกิจของบริษทั โดยบริษทั มีการจัดตัง้ กรรมการบริษัทรับรองรายงานการประชุมดัง บริหารด้วย หน่วยงานด้านกฎหมาย เพื่อติดตามกฎหมาย กล่ า วในการประชุ ม ครั้ ง ถั ด ไป ซึ่ ง ประธาน และระเบียบหน่วยงานราชการ หรือองค์กรที่ กรรมการได้ เ ปิ ด โอกาสให้ ค ณะกรรมการ บริษทั ได้จดั แบ่งแยกหน้าทีค่ วามรับผิดชอบ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การด�ำเนิ น ธุ ร กิ จ ของบริ ษั ท บริษัทได้แก้ไขหรือเพิ่มเติมเนื้อหาในรายงาน (1) หน้าทีอ่ นุมตั ิ (2) หน้าทีบ่ นั ทึกรายการบัญชี ประกาศใช้ และท�ำหน้าที่ให้ค�ำปรึกษาและให้ การประชุ ม ได้ อ ย่า งอิ ส ระ และข้อมูลสารสนเทศ (3) หน้าทีใ่ นการดูแลจัด ข้อมูลด้านกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องของบริษทั ตลอด เก็บทรัพย์สินออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อ จนจัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายใน เพื่อท�ำ บริ ษั ท ได้ จั ด เตรี ย มสถานที่ เ พื่ อ จั ด เก็ บ เป็นการตรวจสอบซึ่งกันและกัน และได้มีการ หน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อก�ำหนด กฎ เอกสารประกอบการบั น ทึ ก บั ญ ชี และบั ญ ชี จัด Work Flow ที่แสดงถึงขั้นตอนการปฏิบัติ ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต่ างๆ ไว้ อ ย่า งครบถ้ ว นและเป็ น หมวดหมู่ งาน บริษัทไม่เคยมีการกระท�ำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย บริ ษั ท ได้ ใ ช้ น โยบายบั ญ ชี ต ามหลั ก การ บริษัทได้ก�ำหนดให้มีมาตรการและขั้นตอน โดยฝ่ายบริหารสนับสนุนให้บริษัทด�ำเนินธุรกิจ บัญชีที่รับรองทั่วไป และเหมาะสมกับลักษณะ อนุ มั ติ ก ารท�ำรายการกั บ ผู ้ ถื อ หุ ้ น รายใหญ่ ตามกฎหมายที่ก�ำหนด ธุ ร กิ จ โดยบริ ษั ท ได้ มี ก ารปรั บ นโยบายบั ญ ชี กรรมการ ผู้บริหาร หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ตามหลั ก การบั ญ ชี ที่ รั บ รองทั่ ว ไปให้ เ ป็ น ไป ดังกล่าว โดยคณะกรรมการบริษัทและคณะ ตามฉบั บ ปั จ จุ บั น ที่ มี ผ ลบั ง คั บ ใช้ ภายใต้ ก าร กรรมตรวจสอบ และได้ก�ำหนดไว้เป็นนโยบาย ก�ำกับและตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
46
ส่วนที่ 5 ระบบการติดตาม
GOVENANCES
บริ ษั ท ได้ มี ก ารจั ด ประชุ ม ผู ้ บ ริ ห ารเพื่ อ รายงานความคืบหน้า ปัญหาและการแก้ไขเป็น ประจ�ำทุกเดือน หรือตามกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และมีชอ่ งทางต่างๆในการสือ่ สารและท�ำความ เข้าใจกับพนักงานทุกคนในองค์กรเพือ่ รับทราบ และปฏิบัติตามมาตรการบริหารความเสี่ยงที่ ก�ำหนดไว้ นอกจากนีย้ งั ก�ำหนดมาตรการในการ ติดตามเหตุการณ์และปัจจัยความเสี่ยงให้มี อย่างต่อเนือ่ ง รวมถึงการพิจารณาและประเมิน ความเสี่ยงที่ต้องด�ำเนิน การแก้ไขตามล�ำดับ ความส�ำคัญของความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในการลด ความเสีย่ งเหล่านัน้ เพือ่ ให้บริษทั ด�ำเนินการได้ ตามเป้าหมายที่วางไว้ บริษัทได้มีการติดตามการปฏิบัติงานของ หน่ ว ยงานต่ า งๆ ว่ า ได้ ป ฏิ บั ติ ต ามแผนการ บริหารความเสี่ยงที่ก�ำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการก�ำหนดตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับความ เสี่ยงในการติดตามการปฏิบัติงาน ซึ่งจะมีการ รายงานต่ อ ผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง และคณะ กรรมการบริษัททุกเดือน
ท�ำหน้าทีใ่ นการตรวจสอบการปฏิบตั ติ ามระบบ การควบคุมภายในทีว่ างไว้อย่างสมำ�่ เสมอ รวม ถึงการให้ค�ำแนะน�ำที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ภายในด้วย ทัง้ นีจ้ ะมีการรายงานผลต่อผูบ้ ริหาร ระดั บ สู ง และคณะกรรมการตรวจสอบ พิจารณารับทราบ
บริษัทมีการก�ำหนดเป้าหมายการด�ำเนิน ธุรกิจประจ�ำปีเพื่อขออนุมัติกับคณะกรรมการ บริษทั โดยฝ่ายบริหารจะรายงานความคืบหน้า และเปรี ย บเที ย บผลการด�ำเนิ น งานกั บ เป้ า หมายที่ก�ำหนดไว้ ให้คณะกรรมการบริษัทรับ ทราบอย่างสม�ำ่ เสมอและต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้บริษทั ฝ่ายตรวจสอบภายในจะรายงานผลการ ด�ำเนินธุรกิจได้ตามเป้าหมาย ตรวจสอบต่ อ คณะกรรมการบริ ษั ท /คณะ กรรมการตรวจสอบเป็นประจ�ำทุกเดือน ใน บริษัทก�ำหนดให้แต่ละหน่วยธุรกิจมีการ กรณีทขี่ อ้ บกพร่องทีเ่ ป็นสาระส�ำคัญเร่งด่วนจะ ติดตามผลการปฏิบัติงานรายวัน รายสัปดาห์ รายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบ และรายเดื อ นในรู ป แบบต่ า งๆ เช่ น Key ทันที เพื่อคณะกรรมการตรวจสอบจะสามารถ Performance Index เป็นต้น ในการประชุม เสนอแนะให้ฝา่ ยบริหารด�ำเนินการแก้ไขให้ทนั แต่ละระดับของพนักงานและฝ่ายบริหาร เพื่อ กาล อีกทัง้ ยังได้ก�ำหนดให้ฝา่ ยตรวจสอบภายใน รายงานความคื บ หน้ า และด�ำเนิ น การแก้ ไ ข ตรวจสอบติดตามผลการปฏิบัติงานของหน่วย ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ได้ในระยะเวลาทีเ่ หมาะสม เพือ่ งานอย่างสม�่ำเสมอ บรรลุเป้าหมายทีก่ �ำหนดไว้ การติดตามผลอย่าง ต่อเนื่องเป็นการลดและกระจายความเสี่ยงที่ หน่วยงานทีไ่ ด้รบั มอบหมายหรือหน่วยงาน อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งบริษัทสามารถปรับวิธีการ ตรวจสอบภายในจะคอยติดตามและรายงาน ปฏิบตั งิ านให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และ ความคืบหน้าในการปรับปรุงข้อบกพร่องที่มี ปัจจัยต่างๆ ที่มากระทบต่อเป้าหมายที่วางไว้ สาระส�ำคัญอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ น�ำเสนอต่อคณะ อย่างเหมาะสม กรรมการบริษัท/คณะกรรมการตรวจสอบเป็น ประจ�ำทุกเดือน ผู้บริหารของบริษัทเป็นผู้ก�ำหนดให้มีระบบ การควบคุมภายในเกิดขึ้นในบริษัท ทั้งนี้บริษัท ฝ่ายบริหารของบริษทั มีหน้าทีแ่ ละความรับ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบขึ้น และ ผิดชอบในการรายงานต่อคณะกรรมการบริษทั ได้จัดตั้งหน่วยงานตรวจสอบภายใน เพื่อท�ำ ถึงสิ่งที่ได้ท�ำการตัดสินใจด�ำเนินการในเรื่อง หน้ า ที่ ใ นการให้ ค วามเชื่ อ มั่ น ถึ ง การควบคุ ม ต่างๆ อันอาจมีผลกระทบต่อชือ่ เสียงและฐานะ ภายในของบริษัทอย่างสม�่ำเสมอว่า การปฏิบัติ การเงินของบริษัทอย่างมีนัยส�ำคัญ รวมถึง ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับทีก่ �ำหนดขึน้ ทัง้ ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการ ภายในภายนอกองค์กร และการปฏิบัติตาม ทุจริต หรือการกระท�ำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดย ระบบการควบคุมภายในที่มีอยู่ นอกจากนี้ยัง นอกจากฝ่ายบริหารของบริษัท ยังมีหน่วยงาน รวมถึงการให้ค�ำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่ ตรวจสอบภายในที่ ท�ำหน้ า ที่ ต รวจสอบการ หน่วยงานต่างๆด้านการควบคุมภายใน โดยมุ่ง ปฏิบตั งิ าน รวมถึงเหตุการณ์ทจุ ริตหรือสงสัยว่า เน้นให้เกิดการควบคุมตนเอง (Self-Control) มี เ หตุ ก ารณ์ ทุ จ ริ ต การปฏิ บั ติ ง านที่ ฝ ่ า ฝื น ทั้งนี้จะมีการรายงานผลต่อผู้บริหาร และคณะ กฎหมายซึ่งอาจกระทบต่อชื่อเสียงและฐานะ กรรมการตรวจสอบในการพิจารณาและรับ ทางการเงินของบริษัทอย่างมีนัยส�ำคัญ ตามที่ ทราบความเคลื่อนไหวของการควบคุมภายใน คณะกรรมการตรวจสอบมอบหมายและ อย่างสม�่ำเสมอ รายงานเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการตรวจ สอบทราบ ผู้บริหารของบริษัทเป็นผู้ก�ำหนดให้มีระบบ การควบคุมภายในเกิดขึ้นในบริษัท ทั้งนี้บริษัท มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและมี ฝ่ายตรวจสอบภายในที่เป็นหน่วยงานอิสระ รายงานตรงกับคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
47
GOVENANCES
GOVENANCES
บุ ค ลากร
รายการระหว่ า งกั น บุคคล/ นิติบุคคลที่ อาจมีความขัดแย้ง
บุคลากร
ค่าตอบแทนบุคลากร
นโยบายด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคล
ณ วั น ที่ 31 ธั น วาคม 2555 บริ ษั ท มี พนักงานจ�ำนวน 3,509 คน เพื่อรองรับการให้ บริการส�ำหรับลูกค้าที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจาก ธุรกิจโรงภาพยนตร์ โบว์ลิ่งและคาราโอเกะ โฆษณา และพื้นที่เช่าและศูนย์การค้า อีกทั้ง เป็นการเตรียมความพร้อมให้กบั สาขาทีจ่ ะเปิด ใหม่ด้วย โดยในปีนี้ MAJOR ได้เพิ่มจ�ำนวน สาขาอี ก 3 แห่ ง ได้ แ ก่ อี จี วี ซี ค อนบางแค, เมกา บางนา, นครศรี ธ รรมราช เพื่ อ ให้ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ตลอดจนในต่างจังหวัด เพือ่ ให้ลกู ค้าได้รบั ความ สะดวกมากขึ้น
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 บริษัทได้จ่าย ค่าตอบแทนทั้งหมดให้แก่พนักงานของบริษัท เป็นจ�ำนวนเงินทั้งสิ้น 693,374,685.35 บาท รวมในส่วนของเงินเดือน โบนัส และเงินสบทบ กองทุนส�ำรองเลี้ยงชีพ นอกจากนี้ บริษทั ได้จดั ค่าตอบแทนอืน่ ๆ ให้ แก่พนักงาน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าปฏิบตั งิ านต่าง จังหวัด ค่าล่วงเวลา เงินรางวัลการผลิต เป็นต้น และบริษทั ยังได้จดั สรรใบส�ำคัญแสดงสิทธิทจี่ ะ ซื้อหุ้นให้แก่กรรมการและพนักงานของบริษัท เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและตอบแทนการ ปฏิ บั ติ ใ ห้ มุ ่ ง ปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อ ย่ า งเต็ ม ความ สามารถอย่างต่อเนือ่ ง ตลอดจนสร้างความรูส้ กึ และการมีส่วนร่วมในการบริหารและพัฒนา องค์กร
การสรรหาพนักงานและจูงใจพนักงาน บริษทั จะเน้นการสรรหาพนักงานจากภายใน เป็นหลัก แล้วท�ำการฝึกอบรมเพิ่มเติม เนื่องจาก การเลื่อนต�ำแหน่งจากภายในท�ำให้ได้พนักงานที่ คุน้ เคยกับการด�ำเนินงานและยังมีสว่ นช่วยสร้าง ขวัญก�ำลังใจในการท�ำงานให้กับพนักงาน ทั้งยัง จูงใจให้พนักงานท�ำงานอยู่กับบริษัทเป็นระยะ เวลานาน และให้ผลตอบแทนในระดับทีเ่ ท่าเทียม กั บ ธุ ร กิ จ ในอุ ต สาหกรรมเดี ย วกั น นอกจากนี้ บริษัทยังได้จัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศใน การท�ำงานให้เอือ้ ต่อการใช้ศกั ยภาพของพนักงาน ได้อย่างเต็มทีซ่ งึ่ เป็นการจูงใจพนักงานอีกวิธหี นึง่
สายธุรกิจหลัก
จำนวนพนักงาน
สำนักงานใหญ
270
โรงภาพยนตร
2,228
โบวลิ่ง
692
ขายโฆษณา
45
ขายพื้นที่เชาและศูนยการคา
134
จัดจำหนายลิขสิทธิ์ภาพยนตร แผนวีซีดี ดีวีดีและบลูเรย
127
ธุรกิจผลิตภาพยนตรและสื่อสิ่งพิมพ
13
รวมจำนวนพนักงาน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
3,509
การพัฒนาทรัพยากรบุคคล บริ ษั ท มี ก ารจั ด อบรมให้ กั บ พนั ก งานทั้ ง ใน ลักษณะที่ท�ำพร้อมกับการท�ำงาน (On-the-job training) และในลักษณะอบรมงาน (Functional training) ส�ำหรับในกรณีที่เป็นการฝึกอบรม พร้อมกับการท�ำงาน บริษทั จะให้พนักงานทีฝ่ กึ หัด ได้ มี โ อกาสช่ ว ยพนั ก งานที่ อ าวุ โ สกว่ า โดย พนักงานที่อาวุโสกว่าจะเป็นพี่เลี้ยงดูแลให้ค�ำ แนะน�ำและช่วยชี้แนะตลอดทุกขั้นตอน ส่วน การอบรมแบบ Functional training จะมีการ อบรมหลักสูตรต่างๆ ทัง้ ทีด่ �ำเนินการโดยบุคลากร ภายใน/นอกบริษัท และการส่งพนักงานเข้าร่วม อบรมตามโครงการต่างๆ ที่หน่วยงานภายนอก เป็นคนจัด เช่น การฝึกอบรมด้านการบริหารและ ปฏิบัติการอย่างสม�่ำเสมอ อีกทั้งบริษัทยังจัดการ จัดอบรมทักษะทั่วไปอื่นๆ (Soft Skills) อาทิ ทักษะการเป็นผู้น�ำ, การพัฒนาทักษะการขาย และการตลาด, การพัฒนาทีมงาน, เทคนิคการ เจรจา, เทคนิคงานบริการ ฯลฯ อีกด้วย นอกจากนีบ้ ริษทั ยังได้จดั ให้มโี ครงการร่วมกับ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ แ ห่ ง ประเทศไทย โดยเป็ น โครงการระยะยาวเพือ่ สนับสนุนและรองรับ นิสติ นักศึกษา ที่ต้องการใช้เวลาที่ว่างเว้นจากการ เรียนให้เป็นประโยชน์ด้วยการฝึกประสบการณ์ การท�ำงาน โดยบริษทั ได้จดั ให้ นิสติ นักศึกษา ได้ มีโอกาสฝึกท�ำงานในบางต�ำแหน่งทีเ่ หมาะสมกับ วุฒิภาวะ ทักษะ และช่วงเวลาว่างของ นิสิต นักศึกษา แต่ละคน
48
ความสัมพันธ์
ประเภทรายการ
ล้านบาท ความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน ปี 2555
รายได้ 1. เงินปันผลรับ 3.37 2. รายได้อื่น 1.39 ค่าใช้จ่าย 1. ค่าเช่า ค่าบริการ และค่าสาธารณูปโภค 37.55 2. ค่าใช้จา่ ยอื่น 0.92 ลูกหนี้การค้า 1.06 ลูกหนี้อื่น 15.79 เงินมัดจำ� 5.52 เจ้าหนี้อื่น 3.91
บมจ.สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์
บริษัทร่วมที่บริษัทฯ ถือหุ้นทางตรงอยู่ ร้อยละ 20.49
บจ.รัชโยธิน อเวนิว
บริษัทร่วมที่บริษัทฯ ค่าใช้จ่าย ถื อ หุ้ น ทางตรงอยู่ ดอกเบี้ยจ่าย 0.97 ร้อยละ 50 และ ถือหุ้นทางอ้อมผ่าน เจ้าหนี้อ่นื 0.33 บมจ.สยามฟิวเจอร์ดี เวลลอปเมนท์(บริษัท ร่วมของบริษัทฯ)ใน อัตราร้อยละ 10.25
ก อ ง ทุ น ร ว ม สิ ท ธิก า ร เ ช่ า อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ไลฟ์สไตล์
บริษัทร่วมที่บริษัทฯ ถื อ หุ้ น ทางตรงอยู่ ร้อยละ 33.00
รายได้ 1. รายได้คา่ บริหารจัดการและ 37.09 ค่าตอบแทนบริหารอสังหาริมทรัพย์
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
เป็นรายการที่เกิดจากเงินลงทุน เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นการเช่าพืน้ ทีเ่ พือ่ ดำ�เนินธุรกิจโรงภาพยนตร์ และธุรกิจโบว์ลิ่งโดยประกอบ ด้วยสาขา ฉะเชิงเทรา สาขาทองหล่อ และสาขา เอสพลานาด ซึง่ ได้ผา่ นการพิจารณาเห็นชอบ จากคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว เป็นราคาตลาด เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ
เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปี เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ
เป็นค่าตอบแทนในการบริหารอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นรายการปกติทางการค้าและเป็นราคา ตลาดซึง่ ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ตรวจสอบแล้ว
49
GOVENANCES
GOVENANCES
บุคคล/ นิติบุคคลที่ อาจมีความขัดแย้ง
ความสัมพันธ์
ประเภทรายการ
ล้านบาท ความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน ปี 2555
2. รายได้คา่ สาธารณูปโภค 25.91 เป็นค่าตอบแทนการใช้สาธารณูปโภคทีบ่ ริษทั ฯ ให้ บ ริ ก ารแก่ ก องทุ น รวมสิ ท ธิ ก ารเช่ า อสังหาริมทรัพย์ เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ ไลฟ์ สไตล์ซง่ึ เป็นรายการปกติทางการค้าและเป็น ราคาตลาดซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะ กรรมการตรวจสอบแล้ว 3. เงินปันผลรับ 106.18 เป็นรายการที่เกิดจากเงินลงทุน ค่าใช้จ่าย 1. ค่าเช่าและค่าบริการ 135.68 เป็นการเช่าพืน้ ทีเ่ พือ่ ดำ�เนินธุรกิจโรงภาพยนตร์ และธุรกิจโบว์ลิ่งภายใต้พื้นที่การบริหารจัด การของกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ไลฟ์สไตล์ ซึ่งเป็น รายการปกติทางการค้าและเป็นราคา ตลาดซึ่งผ่านความ เห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว 2. ต้นทุนค่าโฆษณา 5.86 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ 3. ค่าใช้จา่ ยอื่น 1.21 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ ลูกหนี้การค้า 2.82 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ ลูกหนี้อื่น 5.92 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เงินมัดจำ� 3.46 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เจ้าหนี้การค้า 9.13 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เจ้าหนี้อื่น 1.21 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เงินรับล่วงหน้าจากการให้เช่าทีด่ นิ รวมอยูใ่ น”หนีส้ นิ ไม่หมุนเวียนอืน่ ”) 29.15 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เงินมัดจำ� (รวมอยูใ่ น”หนีส้ นิ ไม่หมุน เวียนอื่น”) 120.00 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ หนี้สินตามสั ญ ญาเช่า การเงิ น (รวมอยู่ใน “เงินกู้ระยะยาวจาก สถาบันการเงิน”) 20.42 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ บจ.ไทยทิคเก็ตเมเจอร์
บริษัทร่วมที่บริษัทฯ ถื อ หุ้ น ทางตรงอยู่ ร้อยละ 40.00
รายได้ 1. เงินปันผลรับ 11.80 2. รายได้อื่น 2.12 ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายอื่น 1.46 ลูกหนี้การค้า 0.10 ลูกหนี้อื่น 1.09 เจ้าหนี้อื่น 16.95
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
เป็นรายการที่เกิดจากเงินลงทุน เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ ลูกหนี้เกิดจากบจ.ไทยทิคเก็ตเมเจอร์ ขายตั๋ว ภาพยนตร์ให้เมเจอร์ฯ และยังไม่ได้เรียกเก็บ เงินคืน เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เงินทีบ่ ริษทั ฯ ขายตัว๋ ให้และรอทำ�คืนในเดือนถัดไป
50
บุคคล/ นิติบุคคลที่ อาจมีความขัดแย้ง
ความสัมพันธ์
ประเภทรายการ
บจ.พีวีอาร์ บลูโอ เอ็นเตอร์เทนเมนท์
กิจการร่วมค้าที่ ลูกหนี้อื่น บริษัทฯ ถือหุ้นทาง ตรงร้อยละ 49.00
บจ.เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติ้ง
ล้านบาท ความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน ปี 2555 4.00
เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติิ
กิจการร่วมค้าที่ รายได้ บริษัทฯ ถือหุ้นทาง 1. ค่าบริหารจัดการ ตรงร้อยละ 44.99 2. รายได้คา่ เช่าและบริการ ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้อื่น เจ้าหนี้อื่น
0.48 0.67 0.77 0.09 0.14
เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ
บจ. เค อารีนา ่
กิจการร่วมค้าที่ รายได้ บริษัทฯ ถือหุ้นทาง ค่าบริหารจัดการ ตรงร้อยละ 50.00 ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้อื่น เจ้าหนี้อื่น
1.51 0.88 6.09 2.05
บจ. แมคไทย
บริษัทที่คุณวิชา รายได้ พูลวรลักษณ์ ถือหุ้น 1. ค่าเช่า ค่าบริการ 31.43 ร้อยละ 100 และค่าสาธารณูปโภค 2. ค่าโฆษณา 1.76 3. ดอกเบี้ยรับ 0.14 4. รายได้อื่น 0.96 ค่าใช้จ่าย 1. ค่าโฆษณา 0.04 2. ค่าใช้จา่ ยอื่น 0.06 ลูกหนี้การค้า 2.79 ลูกหนี้อื่น 0.04 ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน 1.83 เจ้าหนี้การค้า 0.06 เจ้าหนี้อื่น 0.01 เงินรับล่วงหน้าจากการให้เช่าที่ดิน 17.09 (รวมอยูใ่ น”หนีส้ นิ ไม่หมุนเวียนอืน่ ”) เงินมัดจำ� (รวมอยูใ่ น”หนีส้ นิ ไม่หมุน 5.24 เวียนอื่น”)
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
เป็นการให้เช่าพืน้ ทีใ่ นอาคารของบริษทั ฯ และ บริษทั ย่อย ประกอบด้วยสาขารัชโยธิน สุขมุ วิท รังสิต สำ�โรง และเมโทรโพลิส เป็นรายการ ปกติทางการค้า และเป็นราคาตลาดซึ่งผ่าน ความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ
51
GOVENANCES
GOVENANCES
บุคคล/ นิติบุคคลที่ อาจมีความขัดแย้ง บจ.เวลแอด
บจ.เวล ซีนีเพล็กซ์
ความสัมพันธ์
ประเภทรายการ
ล้านบาท ความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน ปี 2555
บริษทั ทีค่ ณ ุ วิชา และคุณภารดี พูลวรลักษณ์ ถือหุน้ ร้อยละ 70 และร้อย ละ 25 ตามลำ�ดับ
ค่าใช้จ่าย ค่าบริการที่ปรึกษา 23.40 เจ้าหนี้อื่น 2.09
บริษทั ทีบ่ ดิ าและ มารดาคุณวิชา พูลวรลักษณ์ ถือหุน้ ร้อยละ 20 และ ร้อยละ 20 ตาม ลำ�ดับ และคุณวิชา พูลวรลักษณ์ ถือหุน้ ร้อยละ 10
รายได้ 1. รายได้คา่ บริหารจัดการ 4.80 ค่าใช้จ่าย ค่าเช่าอุปกรณ์ 19.54 เงินมัดจำ� 1.30
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ อัตรา เดือนละ 1.95 ล้านบาท โดยมีอายุของสัญญา เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ซึง่ ได้ผา่ นการพิจารณาเห็นชอบ จากคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว เป็นราคา ที่ตกลงกันตามที่กำ�หนดในสัญญา เป็นการ คิดค่าตอบแทนอยูท่ ไ่ี ม่เกินร้อยละ 1 ของรายได้ ซึง่ ต่�ำ กว่าเมือ่ เทียบกับประธานบริหารของบริษทั ทีจ่ ดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทัง้ นีค้ ณ ุ วิชาไม่ได้รบั ค่าตอบแทนอืน่ ใด เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ
บุคคล/ นิติบุคคลที่ อาจมีความขัดแย้ง
หจก.เวล เอ็นเตอร์เทนเมนท์
52
ประเภทรายการ
ล้านบาท ความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน ปี 2555
บริษัทที่บิดาและ ค่าใช้จ่าย มารดาคุณวิชา 1. ค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการ 28.12 พูลวรลักษณ์ถือหุ้น และค่าสาธารณูปโภค ร้อยละ 50 และ ร้อยละ 10 ตาม ลำ�ดับ 2. ค่าใช้จา่ ยอื่น 0.20 ลูกหนี้อื่น เงินมัดจำ�ค้างรับ เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้อื่น
รายได้คา่ บริหารงานอัตราเดือนละ 4 แสนบาท เป็นค่าบริหารศูนย์ของสาขาปิน่ เกล้าในส่วนของ บิดาคุณวิชา เป็นรายการปกติทางการค้าและ เป็ นราคาตลาดซึ ่ งผ่า นความเห็ นชอบจาก คณะกรรมการตรวจสอบแล้ว ค่าเช่าอุปกรณ์อตั ราเดือนละ 1.8 ล้านบาทเป็น การเช่าอุปกรณ์โรงภาพยนตร์จำ�นวน 8 โรง โดยมีอายุของสัญญา 15 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2560 ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจาก คณะกรรมการตรวจสอบแล้ว เป็นราคาตลาด เที ย บได้ ก ั บ ราคาอุ ป กรณ์ โดยรวมของโรง ภาพยนตร์ทง้ั หมดของเซ็นทรัล สาขาปิน่ เกล้า ซึ่งมีโรงภาพยนตร์ อีจีวี เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ
ความสัมพันธ์
บจ.เพชรปิ่นเกล้า
เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ 0.02 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ 1.30 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ 0.69 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ 0.01 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ
บริษัทที่คุณวิชา ค่าใช้จ่าย พูลวรลักษณ์ ถือหุ้น 1. ค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการ 20.56 ร้อยละ 99.99 และค่าสาธารณูปโภค 2. ค่าโฆษณา 0.27 3. ค่าใช้จา่ ยอื่น 1.12 เจ้าหนี้การค้า 0.30 เจ้าหนี้อื่น 1.17
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
เป็นการเช่าพื้นที่และบริการส่วนกลางเพื่อ ดำ�เนินธุรกิจโรงภาพยนตร์สาขาปิน่ เกล้าโดย มีค่าเช่า 800 บาทต่อเดือนต่อ ตร.ม. โดย มีอายุของสัญญา 15 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2545 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2560 ซึง่ ได้ผา่ นการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรม การตรวจสอบแล้ว เป็นราคาตลาดของเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า
เป็นค่าสิทธิการเช่าโครงการเมเจอร์ซนี เี พล็กซ์ (ปิน่ เกล้า) ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบ จากคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว เป็นราคา ตลาดของเซ็นทรัล สาขาปิ่นเกล้า เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ
53
GOVENANCES บจ. รัชโยธิน อเวนิว แมเนจเมนท์
บจ. เอส เอฟ ดีเวลอปเมนท์
ความสัมพันธ์
บริ ษั ท ที่ บ ริ ษั ท ฯถือ หุ ้ น ทางอ้ อ มผ่ า น บมจ.สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ ร้อยละ 10.25 และ ถื อ หุ ้ นทางอ้ อ ม ผ่าน บจ.รัชโยธิน อเวนิวร้อยละ 49.99
ประเภทรายการ
ล้านบาท ความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน ปี 2555
ค่าใช้จ่าย 1. ค่าสาธารณูปโภค 1.36
2. ดอกเบี้ยจ่าย 0.65 ลูกหนี้อื่น 8.50 เจ้าหนี้อื่น 0.77
บริษัทที่บริษัทฯถือ ค่าใช้จ่าย หุ้นทางอ้อมผ่าน 1. ค่าเช่าพื้นที่ ค่าบริการ บมจ.สยามฟิวเจอร์ และ ค่าสาธารณูปโภค ดีเวลอปเมนท์ 2. ค่าใช้จา่ ยอื่น ร้อยละ 10.04 เจ้าหนี้อื่น
เป็นค่าบริการสาธารณูปโภคสำ�หรับการเช่า พื้นที่เพื่อสำ�หรับสำ�นักงานของบริษัทฯ ใน บริเวณรัชโยธิน อเวนิว ซึ่งได้ผ่านการ พิจารณา เห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจ สอบแล้ว เป็นราคาตลาด เป็นรายการที่เกิดการดำ�เนินธุรกิจปกติ อัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปี เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ
19.60 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ 1.27 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ 3.36 เป็นรายการที่เกิดจากการดำ�เนินธุรกิจปกติ
จำ�นวนหุ้น
เปอร์เซ็นต์
318,840,100
35.92%
STATE STREET BANK EUROPE LIMITED
76,875,397
8.66%
ไทยเอ็นวีดอี าร์ จำ�กัด
66,301,985
7.47%
STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY FOR AUSTRALIA
62,672,000
7.06%
ภารดี พูลวรลักษณ์
30,470,436
3.43%
STATE STREET BANK AND TRUST COMPANY
28,221,800
3.18%
THE BANK OF NEW YORK MELLON-CGT TAXABLE
20,879,400
2.35%
HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD
18,108,700
2.04%
THE BANK OF NEW YORK (NOMINEES) LIMITED
15,355,515
1.73%
TFB FOR MFC-THAI FUND INVESTMENT PLAN
9,327,250
1.05%
ผูถ้ อื หุน้ วิชา พูลวรลักษณ์
บจ.พีวีอาร์
บริษัทที่บริษัทฯถือ รายได้ หุ้นทางตรงร้อยละ เงินปันผลรับ 8.84
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
2.78
เป็นรายการที่เกิดจากเงินลงทุน
54
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
55
GOVENANCES
บุคคล/ นิติบุคคลที่ อาจมีความขัดแย้ง
ผู ้ ถื อหุ ้ น รายใหญ่
GOVENANCES
และพนักงานครั้งที่ 3 (ESOP-W3) (ESOP-W3) ชนิดของใบสำ�คัญแสดงสิทธิ อายุของใบสำ�คัญแสดงสิทธิ จำ�นวนใบสำ�คัญแสดงสิทธิ วิธีการเสนอใบสำ�คัญแสดงสิทธิ ราคาเสนอ อัตราการใช้สิทธิ ราคาใช้สิทธิ ระยะเวลาการใช้สิทธิ
ระบุชื่อผู้ถือ เปลี่ยนมือไม่ได้ 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำ�คัญแสดงสิทธิ 13,000,000 หน่วย จัดสรรให้กรรมการ และพนักงาน จำ�นวน 82 ท่าน ไม่มีราคาเสนอ (หน่วยละ 0 บาท) ใบสำ�คัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย มีสิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ 1.114 หุ้น 15.056 บาทต่อหุ้น วันทำ�การสุดท้ายของเดือน กุมภาพันธ์ พฤษภาคม สิงหาคม และพฤศจิกายน ตลอดอายุใบสำ�คัญแสดงสิทธิ ซึ่งวันสุดท้าย ของการใช้สิทธิ คือ 15 พฤศจิกายน 2555
ESOP-W3 Exercise result ESOP-W3 การใช้สิทธิ วัน เดือน ปี จำ�นวนหุ้นสามัญ จำ�นวนเงินเพิ่ม วัตถุประสงค์ ครั้งที่ ที่ได้รับการใช้สิทธิ ทุนทั้งหมด (บาท) 1 29 ก.พ. 08 409,000 6,858,930 สนับสนุนการขยายสาขา และเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน 2 3 มิ.ย. 08 101,080 1,695,712 สนับสนุนการขยายสาขา และเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน 3 31 ส.ค. 08 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 4 30 พ.ย. 08 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - - 5 28 ก.พ. 09 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 6 31 พ.ค. 09 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 7 31 ส.ค. 09 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 8 30 พ.ย. 09 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 9 28 ก.พ. 10 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 10 31 พ.ค. 10 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 11 31 ส.ค. 10 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 12 30 พ.ย. 10 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 13 28 ก.พ. 11 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 14 31 พ.ค. 11 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 15 31 ส.ค. 11 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 16 30 พ.ย. 11 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 17 28 ก.พ. 12 ไม่มีผู้มาใช้สิทธิ - 18 31 พ.ค. 12 2,353,960 39,481,521 สนับสนุนการขยายสาขา และเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน 19 31 ส.ค. 12 1,575,600 26,426,553 สนับสนุนการขยายสาขา และเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน 20 15 พ.ย. 12 1,168,400 19,596,829 สนับสนุนการขยายสาขา และเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
56
โครงการเสนอใบส�ำคัญแสดงสิทธิแก่ผู้บริหาร
และพนักงานครั้งที่ 4 (ESOP-W4)
ตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2555 มีมติอนุมัติให้บริษัทออกใบสำ�คัญแสดงสิทธิให้แก่ผู้บริหาร และพนักงาน มีรายละเอียดดังนี้
(ESOP-W4) ชนิดของใบสำ�คัญแสดงสิทธิ ระบุชื่อผู้ถือ เปลี่ยนมือไม่ได้ อายุของใบสำ�คัญแสดงสิทธิ 5 ปี นับแต่วันที่ออกใบสำ�คัญแสดงสิทธิ จำ�นวนใบสำ�คัญแสดงสิทธิ 8,690,000 หน่วย วิธีการเสนอใบสำ�คัญแสดงสิทธิ จัดสรรให้ผู้บริหาร และพนักงาน จำ�นวน 108 ท่าน ราคาเสนอ ไม่มีราคาเสนอ (หน่วยละ 0 บาท) อัตราการใช้สิทธิ ใบสำ�คัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย มีสิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น ราคาใช้สิทธิ 15.44 บาทต่อหุ้น ระยะเวลาการใช้สิทธิ วันทำ�การสุดท้ายของเดือน มีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม ตลอดอายุใบสำ�คัญแสดงสิทธิ โดยวันเริ่มใช้สิทธิ คือ 30 มิถุนายน 2557 และวันสุดท้ายของการใช้สิทธิ คือ 9 เมษายน 2560
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
57
GOVENANCES
โครงการเสนอใบส�ำคัญแสดงสิทธิแก่กรรมการ
GOVENANCES
GOVENANCES
กิจกรรม เพื่อสังคม 2555 มกราคม เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ กรุป้ ส่งความสุขในวันเด็ก แห่งชาติ 2555 มอบบัตรของขวัญ ดูหนัง โยนโบว์ลิ่ง หรือ เล่นไอซ์สเก็ต ฟรี! 25,555 ใบผ่าน นายกรัฐมนตรี แจกงานวันเด็ก ฯพณฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รับมอบบัตรของขวัญวันเด็ก Major Kids Day Pass ที่รวบรวมความบันเทิงเอาไว้ในบัตร เดียวกัน ไม่วา่ จะ ดูหนัง กินป๊อปคอร์น โยน โบว์ลงิ่ เล่นไอซ์สเก็ต ฟรี 25,555 ชุด จาก นาย วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษทั เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ กรุป้ จ�ำกัด (มหาชน) เพื่อมอบให้กับเด็ก ๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมวันเด็ก แห่งชาติ ณ ท�ำเนียบรัฐบาล โดยเด็ก ๆ ที่ได้ รับบัตรของขวัญดังกล่าว สามารถน�ำมาชม ภาพยนตร์ฟรี 1 ที่นั่ง กินป๊อปคอร์นฟรี 1 ถุง โยนโบว์ลงิ่ ฟรี 1 เกม เล่นไอซ์สเก็ตฟรี 1 ชัว่ โมง ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 14-15 มกราคม 2555 ที่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ทุกแบรนด์ ดังนี้ เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์, อีจวี ,ี เอสพลานาด ซีนเี พล็กซ์, พารากอน ซีนีเพล็กซ์, พาราไดซ์ ซีนีเพล็กซ์, เมเจอร์ โบว์ล ฮิต, บลูโอ ริธึ่ม แอนด์ โบว์ล และ ซับซีโร่ ไอซ์สเก็ต ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยมี ดารานักแสดงเด็กจากละครลิขิตเสน่หา ข้าวตู น้องพี-พีรัชชัย รุมพล และ ไข่ตุ๋น น้อง ใยไหม- ชินารดี อนุพงษ์ภิชาติ พร้อมตัว การ์ตูนมาสคอต เพนกวิน จากภาพยนตร์เรื่อง แฮปปี้ ฟีท และ แพนด้า จากภาพยนตร์เรื่อง กังฟู แพนด้า มาร่วมด้วย ณ ห้องสีมว่ ง ตึกไทย คู่ฟา้ ท�ำเนียบรัฐบาล เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ส่งมอบความสุขใน วันเด็กแห่งชาติ 2555 ให้เด็กทั่วประเทศได้ดู หนังฟรี เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มอบความสุข ต้ อ นรั บ ปี งู ใ หญ่ ฉลองวั น เด็ ก แห่ ง ชาติ กั บ กิจกรรม Major Cineplex KIDS DAY 2012 ให้เด็กๆ ทั่วประเทศที่อายุไม่เกิน 12 ปี รับสิทธิ์ ดูหนังฟรีที่นั่งปกติ ทุกเรื่อง ทุกรอบ ทุกสาขา ทั่วประเทศ ในวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 14-15 มกราคม 2555 ที่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์, อีจีวี,
พารากอน ซีนเี พล็กซ์, เอสพลานาด ซีนเี พล็กซ์ และ พาราไดซ์ ซีนีเพล็กซ์ นอกจากนี้ โรง ภาพยนตร์กรุงศรี ไอแมกซ์ ยังเปิดให้นอ้ ง ๆ ชม ภาพยนตร์ 3 มิติ ฟรี เรื่อง Born to be Wild และ Under The Sea ในวันเสาร์และอาทิตย์ ที่ 14-15 มกราคม 2555 ระบบฟิล์มชมที่ โรง ภาพยนตร์กรุงศรี ไอแมกซ์ พารากอน ซีนีเพล็ กซ์ ส่วนระบบดิจิตอลชมที่ โรงภาพยนตร์กรุง ศรี ไอแมกซ์ รัชโยธินและปิ่นเกล้า
มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จ พระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวฒ ั นากรมหลวง นราธิวาส ราชนครินทร์, โรงเรียนชลประทาน สงเคราะห์ มาชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่อง “แฮปปี้ ฟีต 2” โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ พลอากาศเอก ก�ำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ให้เกียรติมาเป็นประธานในงาน ร่วม กับ ฐิตาภัสร์ อิสราพรพัฒน์ ผู้อ�ำนวยการฝ่าย บัญชีและการเงิน บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ ป จ�ำกัด (มหาชน) และ ไจตนย์ ศรีวังพล ผู้ อ�ำนวยการ รายการข่าวจราจร สถานีวิทยุ สวพ. FM91 พร้อมนักแสดงเด็กจากภาพยนตร์เรื่อง “ปัญญาเรณู ภาค 2” อาทิ น้องทิว - ด.ช.โชติทวิ ตั ถ์ ผลรัศมี ผู้รับบท บักปัญญา, น้องเปเล่-ด.ช.บุญ ฤทธิ์ จันทร์แก้ว ผู้รับบท บักจอบ หนุ่มน้อยหน้า ซือ่ ผูม้ ฟี นั เหยินเป็นเอกลักษณ์ประจ�ำตัว ช่างพูด, น้องมิว-ด.ญ.ธฤศวรรณ กาหาวงษ์ ผู้รับบทเป็น คุณมิว สาวน้อยผูน้ า่ รักจากกรุงเทพฯ, น้องแซกด.ช.พงษ์สิทธิ์ นาเวียง ผู้รับบทเป็น กี่ เพื่อนเมือง กรุงที่ช่วยปัญญาเรณู มาร่วมสร้างความสุข ความสนุก และความบันเทิงในงาน ณ แก รนด์ฮอลล์ ชั้น 1 เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย
พี่จูงน้อง ดูหนังวันเด็ก เป็นประจ�ำทุกปี ส�ำหรับ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จ�ำกัด (มหาชน) ที่จะร่วมส่ง มอบความสุขความบันเทิงให้กับน้อง ๆ จาก มูลนิธิและสถานสงเคราะห์ ได้มีโอกาสสัมผัส ประสบการณ์การเรียนรูส้ งั คมภายนอก ส�ำหรับ วันเด็กแห่งชาติในปี 2555 นี้ โรงภาพยนตร์ เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย และ สถานีวิทยุ สวพ. FM 91 ได้ร่วมกันจัด กิจกรรม “พีจ่ งู น้อง ดูหนัง วันเด็ก” ด้วยการน�ำ น้องๆ จากมูลนิธิและสถานสงเคราะห์ต่าง ๆ 7 แห่ง กว่า 300 คน จาก สถานสงเคราะห์คน พิการและทุพพลภาพพระประแดง, สถาน สงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา (บ้านเฟื่องฟ้า), สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้าน มหาเมฆ, สถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญพร, เปิดให้ชมฟรี เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ เพื่ อ การเรี ย นรู ้ ที่ เอสพลานาด ซี นี เ พล็ ก ซ์ สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี, งามวงศ์วาน-แคราย
บริษทั เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ กรุป้ จ�ำกัด (มหาชน) และ สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย ร่วมเปิดโลก ทัศน์ ส่งเสริมการเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ ๆ ด้วยการมอบ ความรู ้ คู ่ ค วามบั น เทิ ง กั บ งาน “เทศกาล ภาพยนตร์ วิ ท ยาศาสตร์ เ พื่ อ การเรี ย น รู ้ ครั้งที่ 7 - Science Film Festival 2012” เปิดฉายภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จากประเทศ ต่าง ๆ ให้ชมฟรี ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2122, 28-29 มกราคม 2555 วันละ 2 รอบ รอบ เวลา 10.00 น. และ 11.30 น. (ภาพยนตร์ทุก เรือ่ งพากย์ภาษาไทย) ณ เอสพลานาด ซีนเี พล็กซ์ งามวงศ์วาน-แคราย ประชาชนทั่วไปและ สถานศึกษาหรือโรงเรียน ทีส่ นใจ...สามารถโทร ส�ำรองทีน่ งั่ และติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิม่ เติมได้ที่ 02-591-0393
กุมภาพันธ์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป น�ำทีมคณะผู้บริหาร พนักงาน และศิลปินดารา ลงพื้นที่ฟื้นฟู 4 โรงเรี ย นหลั ง น�้ ำ ลดที่ อ ยุ ธ ยา ในโครงการ “พลังน�้ำใจไทย” บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จ�ำกัด (มหาชน) โดย วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร น�ำทีมคณะผูบ้ ริหาร
สมโภชณ์ สภาวสุ รองผู้อ�ำนวยการส�ำนัก ประสานงานภายนอก บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จ�ำกัด (มหาชน), จิรณา โอสถศิลป์ ผู้ช่วยผู้ จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน), กรกาญจน์ ดุสติ สิน ผูจ้ ดั การธุรกิจสัมพันธ์ ธุรกิจ ลู ก ค้ า กลุ ่ ม ธุ ร กิ จ สายลู ก ค้ า ธุ ร กิ จ รายใหญ่ นครหลวง ธนาคารกรุงเทพ จ�ำกัด (มหาชน), รมมุก เพียจันทร์ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ โครงการ ทรู ปลูกปัญญา กลุม่ บริษทั ทรู คอ ปอเรชัน่ จ�ำกัด (มหาชน), พนักงานบริษทั ในเครือเมเจอร์ ซีนเี พล็ กซ์ กรุ้ป และศิลปินดารา กว่า 300 คน ลงพื้น ที่ ฟ ื ้ น ฟู 4 โรงเรี ย นที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจาก สถานการณ์มหาอุทกภัยเมือ่ เดือนตุลาคมปีทผี่ า่ น มา ซึ่งระดับน�้ำท่วมสูงถึง 2-3 เมตร และ ขาดแคลนงบประมาณในการปรับปรุงซ่อมแซม ได้แก่ โรงเรียนวัดหันตรา (เวช สมาน ราษฎร์นุ กูล), โรงเรียนวัดพระญาติการาม, โรงเรียนวัด ใหญ่ชัยมงคล และ โรงเรียนวัดดุสิดาราม ภาย ใต้ โครงการ “พลังน�้ำใจไทย” หรือ “Power of Thai” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสถานศึกษาที่ ประสบมหาอุทกภัยทีผ่ า่ นมา ให้ครบ 84 โรงเรียน ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 โดยเล็งเห็นถึง ความส�ำคัญของสถานศึกษาซึ่งเป็นหน่วยงานที่ ให้ความรูก้ บั เด็กไทย ทีจ่ ะเติบโตเป็นบุคลากรทีม่ ี
คุณภาพในอนาคตของประเทศ หลายสิง่ หลาย อย่างสูญหายไปพร้อมกับมหาอุทกภัยบางอย่าง เรียกคืนไม่ได้ แต่บางอย่างสามารถฟื้นฟูและ เอากลับคืนมาได้ดว้ ยพลังนำ�้ ใจไทย ทีเ่ ราเชือ่ ว่า มีอยู่ทุกที่ทั่วประเทศ มาร่วมกันคืนรอยยิ้มให้ อยู่กับพวกเขาตลอดไป ส�ำหรับกิจกรรมปรับปรุง ซ่อมแซม ทาสีรั้ว ห้องเรียน อาคารเรียน สนามเด็กเล่น และปลู ก ต้ น ไม้ ใ ห้ กั บ แต่ ล ะโรงเรี ย น เพื่ อ เป็นการสร้างเสริมทัศนียภาพแวดล้อมและ ปรับภูมทิ ศั น์ของสถานศึกษาให้นา่ เรียนมากขึน้ นั้ น ได้ รั บ ความร่ ว มมื อ จากคณะผู ้ บ ริ ห าร พนักงาน และศิลปินดารา อาทิ เป้-อารักษ์, ยิป โซ-รมิดา, เทพ-พงศ์เทพ อนุรกั ษ์ จากภาพยนตร์ เรื่องวาเลนไทน์ สวีทตี้, สลิ่ม จากภาพยนตร์ไม่ ได้ขอให้มารัก และละครน้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์, ใบปอ-ชาลินี บุนนาค จากภาพยนตร์เรื่องรัก มั น ใหญ่ ม าก, ไอด้ า -ไอรดา ศิ ริ วุ ฒิ จาก ภาพยนตร์เรื่องรักมันใหญ่มาก, รัฐ-ศิรัฐ วิทย ถาวรวงศ์ จากภาพยนตร์เรื่อง 32 ธันวา, แอร์ภุมวารี, ดีเจ จอมยุ่ง 94EFM เป็นต้น ร่วม กิจกรรมฟื้นฟูสถานศึกษาในครั้งนี้ ตลอดจน มอบชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนทดแทน ที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงการมอบของใช้ จ�ำเป็นให้กับน้อง ๆ นักเรียนแต่ละโรงเรียน ท่ามกลางบรรยากาศการต้อนรับของคณะครู นั ก เรี ย นที่ พ ร้ อ มใจกั น จั ด ชุ ด การแสดง ร�ำ อวยพร มาต้อนรับ พร้อมทัง้ ได้มอบของทีร่ ะลึก ต้นไม้หัวใจให้กับผู้บริหารเพื่อเป็นการขอบคุณ กิจกรรมครัง้ นีไ้ ด้สร้างความดีใจและประทับใจให้ กับคณะครูและน้อง ๆ นักเรียนเป็นอย่างมาก
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
58
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
59
GOVENANCES
GOVENANCES
รับมอบเงินสนับสนุน โครงการ “พลังน�้ำใจ ไทย” วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการ บริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จ�ำกัด (มหาชน) รับมอบเงิน 150,000 บาท จาก ปัณณทัต พรหมสุภา ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ส จ�ำกัด เพื่อ สนับสนุน โครงการ “พลังน�้ำใจไทย” หรือ “Power of Thai” ซึ่งเป็นโครงการฟื้นฟูสถาน ศึกษาทีป่ ระสบปัญหามหาอุทกภัยทีผ่ า่ นมา ด้วย การระดมทุนจัดตั้งกองทุนพลังน�้ำใจไทย เพื่อ ใช้ในการท�ำกิจกรรมต่าง ๆ ในการช่วยฟื้นฟู สถานศึกษาให้ก้าวข้ามผ่านวิกฤติหลังน�้ำลด โดยมี ธนกร ปุลเิ วคินทร์ รองประธานเจ้าหน้าที่ บริหารธุรกิจฟิล์มภาพยนตร์, เชษฐ มังคโลดม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายสื่อโฆษณา บริษทั เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ กรุป้ จ�ำกัด (มหาชน), ศุภมาส หวังธรรมเกื้อ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด และ ธนินท์รัฐ คงเกียรติยศ ผู้จัดการฝ่ายขาย บริษัท ยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ส จ�ำกัด ร่วมในการรับมอบด้วย ณ โรงภาพยนตร์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน
ประเทศ ที่นั่งปกติทุกระบบ ทั้ง 35 มม., ดิจิตอล 2 มิติ 3 มิติและดิจิตอลไอแมกซ์ ในเครือ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ทั้ง 6 แบรนด์ คือ เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์,อีจวี ,ี พารากอน ซีนเี พล็กซ์, เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์, พาราไดซ์ ซีนีเพล็กซ์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์, อีจีวี, พารากอนซีนีเพล็กซ์, และ เมกา ซีนีเพล็กซ์ เอสพลานาด ซีนเี พล็กซ์ และ พาราไดซ์ ซีนเี พล็กซ์
กรกฎาคม
บริจาคโลหิตให้สภากาชาดไทย วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการ บริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จ�ำกัด (มหาชน) พร้อมด้วย กิ๊ฟ อัญชิสา เลี่ยว ไพโรจน์, บลู เอลิกา พลอยอัมพร, แอ้ม ศิร ประภา สุขด�ำรงค์ และพนักงานบริษัทในเครือ เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ กรุป้ พร้อมใจกันร่วมบริจาค โลหิตให้กบั สภากาชาดไทย ในโครงการ “Blood Donation 2012” ซึง่ เป็นกิจกรรมทีท่ �ำต่อเนือ่ ง มาเป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้แล้ว พร้อมมอบพวง เมษายน กุญแจ Blood Donation รุ่นพิเศษให้กับผู้ร่วม ท�ำความดีบริจาคโลหิตทุกคน ณ ห้องประชุม เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป มอบความสุขวันผู้สูง อาคาร 3 ชั้น 14 เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน อายุ 13 เมษายนนี้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ดูหนัง ฟรี! พร้อมรับนมโฟร์โมสต์ แคลซีเม็กซ์ 6 สิงหาคม สาขา 13 เมษายน วันผูส้ งู อายุ เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ชวนร�ำลึกพระคุณ กรุ้ป มอบความสุขความบันเทิงให้แก่ผู้สูงอายุ แม่ 12 สิงหา พาแม่ดูหนังฟรี! ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เพียงแสดงบัตรประจ�ำตัว เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ชวนลูกบอก ประชาชน ชมภาพยนตร์ฟรี ทุกเรื่อง ทุกร รักและร�ำลึกพระคุณแม่ 12 สิงหาคม พาแม่ดู อบ ทุกสาขาทั่วประเทศ จ�ำนวน 1 ที่นั่ง ที่ หนังฟรี ทุกเรือ่ ง ทุกรอบ ตลอดวัน ทุกสาขาทัว่
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
ตุลาคม
เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป เปิดแคมป์สอนภาษา อังกฤษในโรงภาพยนตร์ ปีที่ 6ใช้เทคโนโลยี ถ่ายทอดสดการสอนจากกรุงเทพฯ ไปยัง 4 สาขาในต่างจังหวัดลุ้นพาอาจารย์ผู้สอนบินลัด ฟ้ายกแก๊งค์อบรมคอร์สภาษาทั่วโลก เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ร่วมกับ ผลิตภัณฑ์ โยเกิร์ตพร้อมดื่มดัชมิลล์ 4 in 1 และ สถาบัน สอนภาษาในต่างประเทศ EF Education First ประจ�ำประเทศไทย เปิดโครงการ English On Screen (EOS) แคมป์สอนภาษาอังกฤษในโรง ภาพยนตร์ ซึง่ จัดต่อเนือ่ งมาเป็นปีที่ 6 มีนกั เรียน มัธยมปลายที่ผ่านการอบรมภาษาอังกฤษในโรง ภาพยนตร์ไปแล้ว 5 รุ่น จ�ำนวน 9,000 คน และ ได้รับทุนไปอบรมคอร์สภาษาในต่างประเทศ 46 ทุน ส�ำหรับไฮไลท์ของปีที่ 6 อยูท่ กี่ ารLive Broadcast ซึ่ง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ได้ใช้นวัตกรรมของ เทคโนโลยีถ่ายทอดสดการสอนในโรงภาพยนตร์ จากกรุงเทพฯ ไปยังโรงภาพยนตร์สาขาในต่าง จังหวัด 4 จังหวัดในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขาเชียงใหม่, นครสวรรค์, ชลบุรี และอีจีวี โคราช
60
จังหวัดละ 500 คน รวม 2,000 คน เพื่อเปิด โอกาสให้นักเรียนที่อยู่ต่างจังหวัดได้เข้าร่วม อบรมไปพร้ อ ม ๆ กั บ เพื่ อ น ๆ นั ก เรี ย นที่ กรุงเทพฯ อีก 2,000 คน ณ โรงภาพยนตร์สยาม ภาวลัย ชั้น 6 พารากอน ซีนีเพล็กซ์ โดย เปิดรับสมัครนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ สนใจเข้ า ร่ ว มโครงการฟรี ตั้ ง แต่ วั น ที่ 27 กรกฎาคมถึง 16 กันยายน 2555 เพียงส่งใบ สมัครเป็นทีม ทีมละ 4 คน พร้อมแนบหูกล่อง นมโยเกิร์ตพร้อมดื่ม ยูเอชที ดัชมิลล์ 4 in 1 ด้านที่มีโลโก้ 1 ชิ้นต่อ 1 ใบสมัคร และส่งใบ สมั ค รได้ ที่ เคาน์ เ ตอร์ จ�ำหน่ า ยบั ต รชม ภาพยนตร์ ของ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์, อีจีวี, พา รากอน ซีนีเพล็กซ์, เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์, พาราไดซ์ ซีนเี พล็กซ์ และเมกา ซีนเี พล็กซ์ ทุก สาขาทั่วประเทศ ส�ำหรับการอบรมแบ่งเป็น 2 รอบ รอบแรก อบรมในวันที่ 1 ตุลาคม 2555 และรอบสอง อบรมในวันที่ 2 ตุลาคม 2555 ตั้งแต่เวลา 08.00-14.00 น. ใช้ภาพยนตร์เรือ่ ง “Dr.Seuss’ The Lorax” ในการสอนโดย อาจารย์คริสโต เฟอร์ ไรท์ นักเรียนที่ผา่ นการอบรมทุกคนจะ ได้ รั บ ประกาศนี ย บั ต รรั บ รอง ส่ ว นที ม ที่ สามารถท�ำคะแนนสอบประเมินผลสูงสุด 2 อันดับแรก มีสทิ ธิพ์ าอาจารย์ผสู้ อน 1 ท่าน ร่วม ทีมแบบยกแก๊งค์เดินทางไปเรียนคอร์ส
“ภาษาอังกฤษเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยไม่ เสียค่าใช้จ่ายใดๆ กับโรงเรียนสอนภาษาในต่าง ประเทศของสถาบั น EF International Language School ที่มีอยู่ใน 50 เมืองทั่วโลก ประเทศไหนก็ได้ อาทิ สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สิงคโปร์, ไอร์แลนด์, แอฟริกาใต้, มอลต้า เป็นต้น จ�ำนวน ธันวาคม 2 ทีม 10 ทุนการศึกษา รวมมูลค่ากว่า 2 ล้าน บาท โดยจะเดินทางไปอบรมคอร์สภาษาอังกฤษ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ชวนตอบแทน ในเดือนเมษายน 2556 พระคุณพ่อ...ลูกพาพ่อดูหนังฟรี 5 ธันวาคมนี้ ทุกเรื่อง ทุกรอบ ตลอดวัน พฤศจิกายน เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ร่วมฉลอง วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม ชวนลูกตอบแทน มอบรายได้รอบพิเศษการกุศล “รักจับใจ” ช่วย พระคุณพ่อ กับกิจกรรม “ลูกพาพ่อดูหนังฟรี คนตาบอด ทุกเรื่อง ทุกรอบ ทุกสาขาทั่วประเทศ ตลอด นิธิ พัฒนภักดี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เมเจอร์ วัน” ที่นั่งปกติ ระบบ 35 มม. และ ดิจิตอล 2 ซีนีแอด จ�ำกัด มอบรายได้ทั้งหมดจากการฉาย มิติ ในเครือเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ทั้ง 6 ภาพยนตร์รอบพิเศษการกุศลเรือ่ ง “รักจับใจ” ให้ แบรนด์ คือ เมเจอร์ซนี เี พล็กซ์, อีจวี ,ี พารากอน กับ คุณหญิงอุไรวรรณ ศิรนิ พุ งศ์ ประธาน มูลนิธิ ซีนเี พล็กซ์, เอสพลานาด ซีนีเพล็กซ์, พาราไดซ์ ช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย ในพระบรม ซีนีเพล็กซ์ และ เมกา ซีนีเพล็กซ์ ราชินูปถัมภ์ โดยมี น้องพินต้า ณัฐนิช รัตนเสรี เกียรติ หนึ่งในนักแสดงน�ำจากภาพยนตร์เป็นผู้ แทนจาก บริษัท ซิเนริโอ จ�ำกัด ร่วมมอบด้วย ณ โรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ รัชโยธิน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
61
FINANCIALS
ปัจจุบันเครือข่ายของพีวีอาร์ ประกอบด้วย 351 โรงภาพยนตร์ 85 สาขาในประเทศอินเดีย ทั้งนี้ความสัมพันธ์เชิงธุรกิจกับ PVR เริ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่บริษัทฯ ได้ร่วมทุนกับ PVR จัดตั้งบริษัท พีวีอาร์ บลูโอ เอ็นเตอร์ เทนเมนต์ จ�ำกั ด (PVR blu-O) โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ประกอบธุ ร กิ จ โบว์ ลิ่ ง ใน ประเทศอินเดีย ธุรกิจโบว์ลงิ่ เป็นธุรกิจเสริมทีด่ ี ท�ำให้ PVR เป็นมากกว่าผู้ประกอบการโรง ภาพยนตร์ แต่ยังมีธุรกิจบันเทิงแนวไลฟ์สไตล์ เสริมด้วย ธุรกิจโบว์ลิ่งแนวบันเทิงนี้ได้รับการ ตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคในเมืองนิวเดลี ซึ่งเป็นที่ตั้งของสาขาแรก ดังนั้น PVR blu-O จึงมีแผนทีจ่ ะขยายสาขาเพิม่ ขึน้ อีกมากในเมือง ใหญ่ของประเทศอินเดีย การขยายฐานไปยัง ตลาดอินเดียนีถ้ อื เป็นโอกาสทองส�ำหรับบริษทั ฯ ในการเติบโตในต่างแดน ในตลาดที่มีศักภาพ สูงและใหญ่กว่าประเทศไทยหลายเท่าตัว
ภาพรวมของบริษัท
บริ ษั ท เมเจอร์ ซี นี เ พล็ ก ซ์ กรุ ้ ป จ�ำกัด(มหาชน) (บริษัทฯ) ด�ำเนินธุรกิจหลัก 6 ธุรกิจ คือ ธุรกิจโรงภาพยนตร์ ธุรกิจโบว์ลิ่ง คาราโอเกะและลานสเก็ตน�ำ้ แข็ง ธุรกิจพืน้ ทีใ่ ห้ เช่า และบริการ ธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจจัด จ�ำหน่ า ยวี ซี ดี ดี วี ดี บลู เ รย์ และลิ ข สิ ท ธิ์ ภาพยนตร์ และธุรกิจผลิตภาพยนตร์และสือ่ สิง่ พิมพ์ จากการเพิ่มสาขาในปี 2555 อีกจ�ำนวน 3 สาขาประกอบกับกระบวนการบริหารสินทรัพย์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ท�ำให้ ณ วันสิ้นปี 2555 บริษัทฯ บริหารโรงภาพยนตร์อยู่ทั้งหมด 413 โรง ให้บริการได้กว่า 99,050 ที่นั่ง โบว์ลิ่ง 420 เลน และห้องคาราโอเกะ 274 ห้อง และลาน สเก็ตน�้ำแข็งรูปแบบ จ�ำนวน 4 ลาน และพื้นที่ ให้เช่า 51,172 ตารางเมตร ส�ำหรับกลุม่ ธุรกิจจัดจ�ำหน่ายภาพยนตร์นนั้ จากการที่ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการ จัดการเมื่อปี 2552 เพื่อให้การบริหารงานเกิด ประสิทธิภาพสูงสุด ท�ำให้เกิดกระบวนการจัด จ�ำหน่ายภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ขึ้นตั้งแต่การน�ำ ภาพยนตร์เข้าโรงภาพยนตร์ ไปจนถึงการจัด จ�ำหน่ายภาพยนตร์ในรูปแบบของวีซีดี ดีวีดี บลูเรย์ ทั้งหมดภายใต้การบริหารจัดการของ บมจ.เอ็ ม พิ ค เจอร์ ส เอ็ น เตอร์ เ ทนเม้ น ท์ (MPIC) ตลอดจนการจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัท เอ็ม เตอร์ตี้ ไนน์ จ�ำกัด (M39) ซึ่งเป็นบริษัท สร้างภาพยนตร์ไทยขึ้นภายใต้ MPIC ด้วยนั้น ท�ำให้เกิดบูรณาการทางธุรกิจที่ค่อนข้าง
สมบูรณ์ ไม่เพียงแต่ท�ำให้ทงั้ ผลประกอบการของ MPIC แข็ ง แกร่ ง ขึ้ น แต่ ยั ง ช่ ว ยเพิ่ ม ความ สามารถในการท�ำก�ำไรให้กบั สายธุรกิจหลักของ บริษทั ฯ คือ ธุรกิจโรงภาพยนตร์ อีกด้วย นอก เหนือจาก ธุรกิจหลักทีบ่ ริษทั ฯ ด�ำเนินการแล้ว เพือ่ ให้บริษทั ฯ เป็นศูนย์รวมความบันเทิงทีค่ รบ วงจร บริษัท ฯยังถือหุ้นในบริษัทร่วม ได้แก่ บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเมนท์ จ�ำกัด (มหาชน) ที่ พั ฒ นาพื้ น ที่ ใ ห้ เ ช่ า ในรู ป แบบ ศูนย์การค้าชุมชนขนาดเล็กถึงขนาดกลาง และ บริษทั ไทยทิกเก็ต เมเจอร์ จ�ำกัด ทีใ่ ห้บริการ เป็นตัวแทนจ�ำหน่ายบัตรต่างๆแบบครบวงจร เต็มรูปแบบ ผ่านทางระบบ Online Real-time เป็นต้น นอกจากนีใ้ นปี 2553 บริษทั ฯ ยังได้รว่ ม ทุนจัดตัง้ บจ.เมเจอร์ กันตนา บรอดแคสติง้ ขึน้ อี ก เพื่ อ ด�ำเนิ น ธุ ร กิ จ เคเบิ้ ล ที วี ออกอากาศ ภาพยนตร์ และรายการวาไรตี้ต่างๆ เกี่ยวกับ ภาพยนตร์อกี ด้วย ทัง้ นีเ้ พือ่ เป็นการกระตุน้ ความ สนใจ และให้เกิดการชมภาพยนตร์มากขึน้ นอกจากนีบ้ ริษทั ฯยังได้ลงทุนใน กองทุนรวม สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ ไลฟ์สไตล์(MJLF) อีกด้วย ในเดือนมิถุนายน 2550 บริษทั ฯได้ตงั้ กองทุน MJLF ขึน้ เพือ่ ระดม ทุนในการเข้าลงทุนในสิทธิการเช่าที่ดินและ อาคารในโครงการเมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ รัชโยธิน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
และ เมเจอร์ ซีนเี พล็กซ์ รังสิต รวมมูลค่า 2,300 ล้านบาท บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 33 ของกองทุนดังกล่าว ต่อมาในปลายปี 2553 MJLF ยั ง ได้ เ ข้ า ลงทุ น ในสิ ท ธิ ก ารเช่ า ในอาคาร ศูนย์การค้าซูซูกิ อเวนิว รัชโยธิน โดยทุนจด ทะเบียนและทุนจดทะเบียนทีช่ �ำระแล้วได้เพิม่ ขึน้ เป็น 3,300 ล้านบาท และบริษทั ยังได้ลงทุนเพิม่ และรักษาสัดส่วนการถือหุน้ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 33 เท่า เดิม ในปี 2554 บริษทั ฯได้ลงทุนในบริษทั ทาเล้นท์วนั จ�ำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 40 ล้านบาท โดย วัตถุประสงค์ให้บริการผลิตภาพยนตร์และรับจ้าง ผลิตงานทางด้านบันเทิงทุกรูปแบบ ส�ำหรับการลงทุนในต่างประเทศ บริษัทฯ ได้ เข้าถือหุน้ ใน บริษทั พีวอี าร์ จ�ำกัด(PVR) ซึง่ เป็น บริ ษั ท ที่ จ ดทะเบี ย นในตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ข อง ประเทศอิ น เดี ย เป็ น ผู ้ ป ระกอบธุ ร กิ จ โรง ภาพยนตร์ชั้นน�ำรายหนึ่งของประเทศ อินเดีย และเป็ น ผู ้ บุ ก เบิ ก การสร้ า งเครื อ ข่ า ยโรง ภาพยนตร์ ใ นรู ป แบบมั ล ติ เ พล็ ก ซ์ ร ายแรกใน ประเทศอินเดียตั้งแต่ปี 2540
62
ภาพรวมของผลการ ด�ำเนินงานในปี 2555 ณ สิน้ ปี 2555 บริษทั ฯ มีรายได้รวมทัง้ หมด 6,965 ล้านบาท ซึง่ เพิม่ ขึน้ จากปี 2554 จ�ำนวน 217 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3 โดยแบ่งสัดส่วน รายได้และการเติบโตของรายได้ในแต่ละธุรกิจ ได้ดังนี้ รายได้รวมของบริษัทฯ เพิ่มขึ้น เป็นผลมา จากรายได้ของธุรกิจโรงภาพยนตร์สงู ขึน้ ซึง่ เกิด จากปรั บ ราคาตั๋ ว เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ การ พั ฒ นาเทคโนโลยี แ ละนวั ต กรรมการฉาย ภาพยนตร์ระบบดิจิตอล 2D 3D และ4DX เพื่อ รองรับระบบภาพและเสียงที่มีคุณภาพมากขึ้น ท�ำให้ผู้ชมภาพยนตร์ได้สัมผัสถึงความคมชัด ของภาพยนตร์มากขึน้ นอกจากนีค้ วามสามารถ ในการบริหารราคาบัตรชมภาพยนตร์ให้เหมาะ สมในแต่ ล ะช่ ว งเวลาและกลุ ่ ม เป้ า หมาย (dynamic pricing) ประกอบกั บ จ�ำนวน ภาพยนตร์ที่เข้าฉายในปีนี้มีทั้งหมด 212 เรื่อง ซึ่งมากกว่าจ�ำนวนภาพยนตร์ที่เข้าฉายในปี 2554 ถึง 20 เรื่อง และการที่บริษัทได้ท�ำการ ตลาดเพือ่ จัดเก็บระบบฐานข้อมูลของลูกค้าด้วย การออกบัตร M Gen ท�ำให้บริษัทมีฐานข้อมูล ของลูกค้า ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ไม่ ว่าจะเป็นการจัดท�ำรายการส่งเสริมการขายให้ เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย นัน่ หมายความว่า
บริ ษั ท ฯสามารถด�ำเนิ น การสื่ อ สารกั บ ลู ก ค้ า เฉพาะกลุ่มได้มากขึ้น ส่งผลให้ลูกค้ากลับมาใช้ บริการในโรงภาพยนตร์มากขึน้ และอย่างต่อเนือ่ ง โดยในปี 2555 บริษัทฯ มีสมาชิก M Gen อยู่ ประมาณ 1.8 ล้านคน นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมี รายได้จากการจ�ำหน่าย Concession สูงขึน้ ด้วย การพั ฒ นาและออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องหั ว Topper ให้มีความหลากหลายและสวยงาม ส่ง ผลต่อสัดส่วนรายได้ Concession ต่อ รายได้ ภาพยนตร์ (CTB) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3 (ปี 2555 : 28% , ปี 2554 : 25%) บริษัทฯ มีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการขาย และบริหาร ณ สิ้นปี 2555 มีมูลค่า 6,384 ล้าน บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 จ�ำนวน 450 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของ ต้นทุนขายเกิดจากการเปลีย่ นแปลงนโยบายการ ตัดจ�ำหน่ายใหม่ของการขายลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ จ�ำนวนประมาณ 120 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของ ต้นทุนการให้บริการซึง่ เกิดจากค่าเช่าและบริการ เครือ่ งฉายระบบดิจติ อลทีส่ งู ขึน้ เนือ่ งจากจ�ำนวน เครื่องเครื่องฉายดิจิตอลเพิ่มขึ้น จ�ำนวน 89 เครื่อง (ปี 2555 : 207 เครื่อง ,ปี 2554 : 118 เครือ่ ง) และการเพิม่ ขึน้ ของค่าใช้จา่ ยในการขาย และบริหาร เกิดจากการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่า ความนิยม และการเพิ่มขึ้นของการปรับค่าแรง ขั้นต�่ำ ค่าเบี้ยประกันภัย เป็นต้น บริษทั ฯ มีรายได้อนื่ เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจาก บริษทั ฯ ได้ รั บ เงิ น ชดเชยความเสี ย หายกรณี อุ ท กภั ย ปี 2554 ของสาขาศาลายา และกรณีไฟไหม้ของ สาขาบางนา รวมจ�ำนวน 67.83 ล้านบาท และ ก�ำไรจากการจ�ำหน่ายเงินลงทุนของ บริษัทร่วม โดยสรุปบริษัทฯ มีก�ำไรสุทธิ ณ สิ้นปี 2555 จ�ำนวน 811 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลก�ำไรสุทธิ ต่อหุ้น 0.92 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 จ�ำนวน 29 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 4
ฐานะทางการเงินของ บริษัท ณ สิ้นปี 2555 สินทรัพย์ บริษทั ฯ มีสนิ ทรัพย์รวม ณ สิน้ ปี 2555 มูลค่า 11,502 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 514 ล้านบาท หรือคิด เป็นร้อยละ 5 จากปี 2554 สาเหตุหลักเกิดจาก บริษัทฯ มีลูกหนี้อื่นจากการขายเงินลงทุซึ่งจะ ได้รับเงินในปี 2556 จ�ำนวนประมาณ 141.10 ล้านบาท และลูกหนีก้ ารค้าจากการให้เช่าพืน้ ที่ ทีส่ าขาราชด�ำริห์ จ�ำนวน 114 ล้านบาท รวมถึง
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดสาขา ใหม่ 3 สาขาในปี 2555 คือ สาขาเมกา ซีนเี พล็กซ์ สาขาซีคอนบางแค และสาขานครศรีธรรมราช หนี้สิน บริษัทฯ มีหนี้สินรวม ณ สิ้นปี 2555 มูลค่า 5,117 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 186 ล้านบาท หรือคิดเป็น ร้อยละ 4 จากปี 2554 โดยรายการหลักมาจาก บริษัทฯมีเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นเพิ่มขึ้น เงินสด ณ สิ้นปี 2555 บริษัทฯ มีเงินสดและรายการที่ เทียบเท่าเงินสดอยู่จ�ำนวน 481 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20 ล้านบาท จากปี 2554 เป็นผลมาจากกระแส เงินสดจากกิจกรรมการด�ำเนินงาน 1,434 ล้านบาท กระแสเงินสดใช้ไปในกิจกรรมการลงทุน 660 ล้าน บาท จากการลงทุนในสาขาใหม่ และกระแสเงินสด ใช้ไปจากกิจกรรมการจัดหาเงิน 755 ล้านบาท โดย หลักมาจากการจ่ายคืนหุ้นกู้มูลค่า 1,500 ล้านบาท ที่ถึงก�ำหนดไถ่ถอนในปี 2555 แหล่งที่มาของเงินทุน แหล่งที่มาของเงินทุน ณ สิ้นปี 2555 บริษัทฯ มีหนี้สินรวม มูลค่า 5,117 ล้านเพิ่มขึ้น 186 ล้าน บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4 จากปีก่อน โดยเป็นหนี้ สินหมุนเวียนมูลค่า 3,474 ล้านบาท และหนีส้ นิ ไม่ หมุนเวียนมูลค่า 1,643 ล้านบาท ในระหว่างปี 2555 บริษัทฯได้ออกหุ้นกู้มูลค่า 1,000 ล้านบาท อายุ 5 ปี ครบก�ำหนดจ่ายคืนวัน ที่ 10 สิงหาคม 2560 และมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 4.6% ต่อปี และ ณ สิ้นปี 2555 บริษัทฯ มีเงินเบิก เกินบัญชีธนาคารและเงินกูย้ มื ระยะสัน้ จากสถาบัน การเงินจ�ำนวน 801 ล้านบาท สภาพคล่องและความสามารถในการท�ำก�ำไร สภาพคล่องของบริษทั ฯ ณ สิน้ ปี 2555 คิดเป็น 0.66 เท่า เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2554 เท่ า กั บ 0.57 ทั้ ง นี้ เ กิ ด จาก บริ ษั ท ฯ มี ห นี้ สิ น หมุนเวียนลดลงจากการที่บริษัทฯได้ช�ำระหุ้นกู้ 1,500 ล้านบาท ระยะเวลาในการขายสินค้าเฉลี่ย ลดลงจาก 58 วันเป็น 43 วัน และวงจรเงินสดเร็ว ขึ้นจาก จาก 61 วันเป็น 45 วัน แสดงให้เห็นว่า บริษัทมีสภาพคล่องสูงดีขึ้น ความสามารถในการท�ำก�ำไร ในขณะทีบ่ ริษทั ฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น บริษัทฯ ก็ต้องแบกรับภาระต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงานที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ประกอบกับการตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าความนิยม อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ได้มีการบริหารงานอย่างมี ประสิทธิภาพเพือ่ ให้ตน้ ทุนมีความเหมาะสม ท�ำให้ บริษัทฯ มีอัตราส่วนก�ำไรเฉพาะส่วนที่เป็นของ บริษทั ฯ เทียบกับรายได้รวมเพิม่ ขึน้ ในอัตราทีส่ งู ขึน้ จากปีก่อนเล็กน้อย (ปี 2555: 11.65%, ปี 2554: 11.58%)
63
FINANCIALS
ค�ำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
FINANCIALS
FINANCIALS
รายงานคณะกรรมการตรวจสอบ
รายงานความรั บ ผิ ด ชอบของ คณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน
คณะกรรมการตรวจสอบของ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) ประกอบไปด้วยกรรมการที่เป็น อิสระ 3 ท่าน คณะกรรมการตรวจสอบได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ปฏิบัติหน้าที่ในการสอบทานข้อมูล ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรายงานทางการเงิน การตรวจสอบภายใน และการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พร้อม กันนี้ คณะกรรมการตรวจสอบได้ส่งเสริมและผลักดัน ให้บริษัทฯมีการปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่ดีของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้บริษัทฯมีการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี ตลอดจนให้การแนะนำ�ในเรื่องการบริหารความเสี่ยง และระบบควบคุมภายใน ต่อผู้บริหาร ในปี 2555 คณะกรรมการตรวจสอบมีการประชุมทั้งสิ้น 12 ครั้ง เป็นการประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เพื่อทบทวนและสอบทานข้อมูลและรายงานทางการเงินของบริษัทสำ�หรับทุกสิ้นไตรมาสแล้วนำ�ไปแสดงความเห็นและ ข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการ รวมทั้งได้ประชุมอย่างเป็นอิสระร่วมกับฝ่ายบริหาร ผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี เพื่อทบทวนและประเมินนโยบายบัญชีและวิธีการทางบัญชีที่เกี่ยวเนื่อง รวมทั้งระบบควบคุมภายในและแผนการตรวจ สอบ หากเกิดข้อบกพร่องของระบบควบคุมภายใน แผนการแก้ไขจะต้องถูกนำ�มาปฏิบัติโดยเร็วเพื่อลดความเสี่ยงที่ เกี่ยวข้อง คณะกรรมการตรวจสอบมีความเห็นว่า การควบคุมภายในของบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) มี ประสิทธิภาพเพียงพอ ที่ทำ�ให้มั่นใจได้ว่าสินทรัพย์ของบริษัทฯ มีการป้องกันและรักษาเป็นอย่างดี การบันทึกรายการทาง บัญชีมีความเหมาะสมและทรัพยากรได้ถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการตรวจสอบได้เสนอต่อคณะกรรมการ บริษัท ให้แต่งตั้งนายพิสิฐ ทางธนกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขที่ 4095 นายชาญชัย ชัยประสิทธิ์ ผู้สอบบัญชีรับ อนุญาต เลขที่ 3760 และนายบุญเลิศ กมลชนกกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขที่ 5339 แห่ง บริษัท ไพร้ซ วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ เอบีเอเอส จำ�กัดเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ ต่อไป สำ�หรับรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2556 การแต่งตั้ง ผู้สอบบัญชีและค่าสอบบัญชี ขึ้นอยู่กับการอนุมัติของผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญประจำ�ปีที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 เมษายน 2556
คณะกรรมการบริษัทฯ เป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของบริษัทฯ บริษัทย่อย และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏ ในรายงานประจำ�ปี งบการเงินดังกล่าวจัดทำ�ขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย โดยเลือกใช้นโยบายที่ เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำ�เสมอ และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวังและประมาณการที่ดีที่สุดในการจัดทำ� รวมทั้งมี การเปิดเผยข้อมูลสำ�คัญอย่างพอเพียงในหมายเหตุประกอบงบการเงิน นอกจากนี้คณะกรรมการได้จัดให้มีและดำ�รงรักษาไว้ ซึ่งระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิผล เพื่อให้มั่นใจได้อย่างมีเหตุผลว่าการบันทึกข้อมูลทางบัญชีมีความถูกต้อง ครบถ้วน และ เพียงพอที่จะดำ�รงรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน และเพื่อให้ทราบจุดอ่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดทุจริตหรือการดำ�เนินการที่ผิดปกติอย่างมี สาระสำ�คัญ ในการนี้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระที่ไม่เป็นผู้บริหาร เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการเงิน และระบบควบคุมภายใน รวมทั้งให้ความเห็นถึงรายงานที่เกี่ยว โยง หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์กัน ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ เกี่ยวกับ เรื่องนี้ปรากฏในรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งแสดงไว้ในรายงานประจำ�ปีนี้แล้ว คณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นว่าระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ และบริษัทย่อยโดยรวมอยู่ในระดับที่นา่ พอใจ และสามารถสร้างความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลต่อความเชื่อถือได้ของงบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ 31 ธันวาคม 2555
( นายสมใจนึก เองตระกูล ) ประธานกรรมการ
( นายวิชา พูลวรลักษณ์ ) ประธานกรรมการบริหาร
นายชัย จรุงธนาภิบาล ประธานกรรมการตรวจสอบ 15 กุมภาพันธ์ 2556 ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
64
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
65
FINANCIALS
งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
เสนอผู้ถือหุ้นของบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทของบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะของบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงินรวมและงบแสดงฐานะการเงินเฉพาะ บริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และงบกำ�ไรขาดทุนรวมและงบกำ�ไรขาดทุนเฉพาะบริษัท งบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมและงบกำ�ไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จเฉพาะบริษัท งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะบริษัท และ งบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะบริษัทสำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน รวมถึงหมายเหตุสรุปนโยบายการบัญชี ที่สำ�คัญและหมายเหตุเรื่องอื่น ๆ ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำ�และการนำ�เสนองบการเงินเหล่านี้โดยถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่ผู้บริหารพิจารณาว่าจำ�เป็นเพื่อให้สามารถจัดทำ�งบการเงินที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จ จริงอันเป็นสาระสำ�คัญไม่วา่ จะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบ ตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งกำ�หนดให้ข้าพเจ้าปฏิบัติตามข้อกำ�หนดด้านจรรยาบรรณ รวมถึงวางแผนและปฏิบัติงานตรวจสอบเพื่อให้ได้ ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วธิ กี ารตรวจสอบเพือ่ ให้ได้มาซึง่ หลักฐานการสอบบัญชีเกีย่ วกับจำ�นวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน วิธีการตรวจสอบที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอบบัญชี ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็น สาระสำ�คัญของงบการเงินไม่วา่ จะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ในการประเมินความเสี่ยงดังกล่าว ผู้สอบบัญชีพิจารณาการควบคุมภายใน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำ�และการนำ�เสนองบการเงินโดยถูกต้องตามที่ควรของกิจการ เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกิจการ การตรวจสอบรวมถึงการประเมินความเหมาะ สมของนโยบายการบัญชีที่ผู้บริหารใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชีที่จัดทำ�ขึ้นโดยผู้บริหารรวมทั้งการประเมินการนำ�เสนอ งบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่ข้าพเจ้าได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ความเห็น ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะบริษัทของ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะของบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำ�กัด (มหาชน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และผลการดำ�เนินงานรวมและผลการดำ�เนินงานเฉพาะบริษัท และกระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสดเฉพาะบริษัท สำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำ�คัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
พิสิฐ ทางธนกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4095 บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำ�กัด
สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กจิ การที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ - สุทธิ ภาพยนตร์ระหว่างผลิต ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้าที่ถงึ กาหนดภายในหนึ่งปี สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
7 8 9 33 10
480,732,922 1,453,559,614 132,240,700 38,426,052 34,653,397 162,839,694
460,800,247 50,595,828 1,090,004,044 153,850,831 17,799,723 34,657,257 184,660,948
331,372,894 850,623,961 462,148,376 38,110,958 9,472,507 26,826,609
358,312,884 50,595,828 782,886,695 475,369,892 33,255,926 9,472,507 36,317,087
2,302,452,379
1,992,368,878
1,718,555,305
1,746,210,819
12 12 12
372,406,147 7,932,206 12,782,128 20,132,597 1,883,886,016 238,163,523
177,457,846 5,989,137 12,381,352 38,788,773 1,977,166,901 113,228,869
372,406,147 20,132,597 2,351,200,286 1,716,422,344 216,793,035
177,457,846 38,788,773 1,911,916,647 1,792,353,449 103,119,735
33 13 14 15 16 17
6,612,057 5,332,125,834 287,065,399 367,322,744 520,938,169 150,173,271
10,695,183 5,180,795,378 342,112,936 424,759,957 555,324,895 156,765,502
1,006,612,936 2,432,848,855 49,475,279 168,875,879 118,111,686
1,274,419,154 2,268,640,894 30,062,430 178,348,386 124,468,205
9,199,540,091
8,995,466,729
8,452,879,044
7,899,575,519
11,501,992,470 10,987,835,607
10,171,434,349
9,645,786,338
16 11
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย เงินฝากธนาคารที่ติดภาระค้าประกัน ลูกหนี้ตามสัญญาเช่าการเงิน ลูกหนี้ตามสัญญาระยะยาว เงินลงทุนในบริษทั ย่อย - สุทธิ เงินลงทุนในบริษทั ร่วม - สุทธิ ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บคุ คล หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - สุทธิ ค่าความนิยม - สุทธิ สินทรัพย์ไม่มตี ัวตน - สุทธิ ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้าระยะยาว สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
8
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน รวมสินทรัพย์
กรุงเทพมหานคร 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทในหน้า 12 ถึง 85 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
สินทรัพย์
หมายเหตุ
งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทในหน้า 12 ถึง 85 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
66
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
67
FINANCIALS
รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
FINANCIALS
งบแสดงฐานะการเงิน(ต่อ)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
หนี้สนิ และส่วนของผู้ถอื หุ้น
หมายเหตุ
งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554 หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
หนี้สนิ และส่วนของผู้ถอื หุ้น (ต่อ)
หนี้สนิ หมุนเวียน
ส่วนของผู้ถอื หุ้น
เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้น จากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถงึ กาหนดชาระ ภายในหนึ่งปี เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลหรือกิจการ ที่เกี่ยวข้องกัน ภาษีเงินได้คา้ งจ่าย หนี้สนิ หมุนเวียนอื่น
ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญจานวน 904,500,990 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท หุ้นสามัญจานวน 906,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท
19 18
801,468,051 1,527,442,595
473,121,537 1,260,879,916
200,000,000 945,118,841
908,306,016
19
880,790,505
1,546,393,362
840,297,642
1,540,048,220
33
126,244,198 137,820,724
82,854,356 142,112,152
467,777,630 93,895,593 36,591,961
65,607,579 52,916,986 42,836,904
3,473,766,073
3,505,361,323
2,583,681,667
2,609,715,705
20
รวมหนี้สนิ หมุนเวียน หนี้สนิ ไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ภาระผูกพันผลประโยชน์พนักงาน หนี้สนิ ไม่หมุนเวียนอื่น
19 21 22
1,169,696,005 18,869,662 454,847,501
967,003,723 16,532,500 442,522,322
1,121,402,298 10,431,741 60,438,414
960,859,937 9,191,596 20,252,901
รวมหนี้สนิ ไม่หมุนเวียน
1,643,413,168
1,426,058,545
1,192,272,453
990,304,434
รวมหนี้สนิ
5,117,179,241
4,931,419,868
3,775,954,120
3,600,020,139
ทุนที่ออกและชาระแล้วเต็มมูลค่า หุ้นสามัญจานวน 887,576,343 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท หุ้นสามัญจานวน 881,897,219 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ส่วนเกินทุน - หุ้นทุนซื้อคืน ส่วนต่าจากการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน ใบสาคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ กาไรสะสม จัดสรรแล้ว ทุนสารองตามกฎหมาย ยังไม่ได้จัดสรร องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถอื หุ้น รวมส่วนของบริษทั ใหญ่ ส่วนได้เสียที่ไม่มอี านาจควบคุม
หมายเหตุ
23
904,500,990
887,576,343
906,000,000
887,576,343
23 23 12 24
3,919,499,372 288,424,625 (12,986,075) 9,191,064
881,897,219 3,839,673,605 288,424,625 -
25
90,600,000 1,050,946,989 64,415,497
90,600,000 928,699,746 (129,755,466)
90,600,000 1,136,064,392 64,415,497
90,600,000 1,074,926,216 (129,755,466)
6,297,667,815 87,145,414
5,899,539,729 156,876,010
6,395,480,229 -
6,045,766,199 -
6,384,813,229
6,056,415,739
6,395,480,229
6,045,766,199
11,501,992,470 10,987,835,607
10,171,434,349
9,645,786,338
26
รวมหนี้สนิ และส่วนของผู้ถอื หุ้น
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
904,500,990 906,000,000
รวมส่วนของผู้ถอื หุ้น
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทในหน้า 12 ถึง 85 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
3,919,499,372 288,424,625 8,900,000
881,897,219 3,839,673,605 288,424,625 -
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทในหน้า 12 ถึง 85 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
68
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
69
FINANCIALS
งบแสดงฐานะการเงิน(ต่อ)
FINANCIALS
งบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
สำ�หรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
หมายเหตุ รายได้ รายได้จากการให้บริการ รายได้จากการขาย
สำ�หรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
6
รวมรายได้
5,224,404,943 1,740,856,065
5,083,484,304 1,664,643,522
2,948,657,598 714,902,804
2,871,468,072 623,420,995
6,965,261,008
6,748,127,826
3,663,560,402
3,494,889,067
งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 กาไรสาหรับปี
755,828,444
802,312,224
750,032,635
1,187,614,314
กาไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จอื่น กาไร(ขาดทุน)จากการวัดมูลค่าเงินลงทุนเผื่อขาย (หมายเหตุ 8)
194,170,963
(73,466,139)
194,170,963
(73,466,139)
กาไร(ขาดทุน)เบ็ดเสร็จอื่นสาหรับปี - สุทธิจากภาษี
194,170,963
(73,466,139)
194,170,963
(73,466,139)
949,999,407
728,846,085
944,203,598
1,114,148,175
1,005,312,665 (55,313,258)
708,204,764 20,641,321
944,203,598 -
1,114,148,175 -
949,999,407
728,846,085
944,203,598
1,114,148,175
ต้นทุน ต้นทุนการให้บริการ ต้นทุนขาย
(3,603,853,287) (3,471,589,976) (2,215,768,554) (2,113,393,068) (1,113,573,416) (956,113,552) (246,943,842) (222,417,373)
กาไรเบ็ดเสร็จรวมสาหรับปี
รวมต้นทุน
(4,717,426,703) (4,427,703,528) (2,462,712,396) (2,335,810,441)
กาไรขั้นต้น รายได้อื่น ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ต้นทุนทางการเงิน ส่วนแบ่งกาไรจากเงินลงทุนในบริษทั ร่วม และกิจการร่วมค้า
2,247,834,305 2,320,424,298 432,695,044 137,918,693 (451,926,049) (450,757,771) (1,214,965,106) (1,055,971,431) (133,087,371) (144,035,424)
การปันส่วนของกาไรเบ็ดเสร็จรวม ส่วนที่เป็นของบริษทั ใหญ่ ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มอี านาจควบคุม
27 29 12
กาไรก่อนภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้ กาไรสาหรับปี
1,200,848,006 628,473,270 (158,040,640) (627,030,029) (102,839,750)
1,159,078,626 1,039,714,499 (171,998,767) (597,322,612) (120,422,145)
157,192,335
212,332,032
-
-
1,037,743,158 (281,914,714)
1,019,910,397 (217,598,173)
941,410,857 (191,378,222)
1,309,049,601 (121,435,287)
755,828,444
802,312,224
750,032,635
1,187,614,314
811,141,702 (55,313,258)
781,670,903 20,641,321
750,032,635 -
1,187,614,314 -
755,828,444
802,312,224
750,032,635
1,187,614,314
0.92 0.91
0.90 0.90
0.85 0.85
1.37 1.37
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
การแบ่งปันกาไร ส่วนที่เป็นของบริษทั ใหญ่ ส่วนที่เป็นของส่วนได้เสียที่ไม่มอี านาจควบคุม กาไรต่อหุ้น
26 30
กาไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กาไรต่อหุ้นปรับลด
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
70
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
71
FINANCIALS
งบกำ�ไรขาดทุน
72 ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
-
ซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย
-
3,919,499,372
-
-
-
-
79,825,767
288,424,625
-
-
-
-
-
288,424,625
-
288,424,625
-
-
-
-
-
288,424,625
-
-
-
หุน้ ทุนซื้อคืน
ส่วนเกินทุน -
(12,986,075)
-
-
(12,986,075)
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
เดียวกัน
การควบคุม
รวมธุรกิจภายใต้
ส่วนต่าจากการ
9,191,064
-
-
-
9,191,064
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
สิทธิซื้อหุน้ สามัญ
ใบส่าคัญแสดง
90,600,000
-
-
-
-
-
90,600,000
-
90,600,000
-
-
-
-
-
-
90,600,000
-
90,600,000
ตามกฏหมาย
ทุนส่ารอง
ส่ารอง
1,050,946,989
811,141,702
(688,894,459)
-
-
-
928,699,746
-
928,699,746
781,670,903
(883,795,410)
(344,161)
-
-
267,920,095
763,248,319
(17,281,494)
780,529,813
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
267,920,095
-
(267,920,095)
-
(267,920,095)
หุน้ ทุนซื้อคืน
64,415,497
194,170,963
-
-
-
-
(129,755,466)
-
(129,755,466)
(73,466,139)
-
-
-
-
-
(56,289,327)
-
(56,289,327)
เงินลงทุนเผือขาย
ก่าไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอืน
ส่วนของผู้ถือหุน้
องค์ประกอบอืนของ
6,297,667,815
1,005,312,665
(688,894,459)
(12,986,075)
9,191,064
85,504,891
5,899,539,729
-
5,899,539,729
708,204,764
(883,795,410)
(344,161)
-
-
556,344,720
5,519,129,816
(17,281,494)
5,536,411,310
บริษัทใหญ่
รวมส่วนของ
-
-
เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 31) กาไรเบ็ดเสร็จรวมสาหรับปี
79,825,767 3,919,499,372 -
5,679,124 887,576,343 -
ยอดคงเหลือปลายปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
-
288,424,625
-
288,424,625
288,424,625
-
288,424,625 -
-
-
ส่วนเกินทุน หุน้ ทุนซื้อคืน
-
-
90,600,000
-
8,900,000 8,900,000
90,600,000
90,600,000
-
-
90,600,000
90,600,000 -
-
-
-
-
-
(267,920,095)
267,920,095
267,920,095 -
งบการเงินเฉพาะบริษัท กาไรสะสม จัดสรรแล้ว ทุนสารอง ทุนสารอง ตามกฏหมาย หุน้ ทุนซื้อคืน
-
-
-
-
-
-
ใบสาคัญแสดง สิทธิซื้อหุน้ สามัญ
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทในหน้า 12 ถึง 85 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
3,839,673,605
881,897,219
ยอดยกมาต้นปี ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 การเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุน้ สาหรับปี เพิม่ ขึ้นระหว่างปี (หมายเหตุ 23) ใบสาคัญแสดงสิทธิทจี่ ะซื้อหุน้ สามัญ (หมายเหตุ 24) เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 31) กาไรเบ็ดเสร็จรวมสาหรับปี
3,839,673,605
881,897,219
ยอดคงเหลือปลายปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
-
3,839,673,605
881,897,219
ยอดคงเหลือทีป่ รับปรุงแล้ว การเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุน้ สาหรับปี เพิม่ ขึ้นระหว่างปี (หมายเหตุ 23) จาหน่ายหุน้ ทุนซื้อคืนระหว่างปี (หมายเหตุ 23)
3,839,673,605 -
881,897,219 -
ส่วนเกิน มูลค่าหุน้
ยอดยกมาต้นปี ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ผลกระทบของการเปลี่ยนนโยบายการบัญชี
ทุนทีอ่ อกและ เรียกชาระแล้ว
สำ�หรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
-
1,136,064,392
(688,894,459) 750,032,635
1,074,926,216
1,074,926,216
(883,795,410) 1,187,614,314
267,920,095 -
503,187,217
511,225,098 (8,037,881)
ยังไม่ได้จัดสรร
87,145,414
(55,313,258)
(10,870,674)
(3,546,664)
-
-
156,876,010
-
156,876,010
20,641,321
(4,365,128)
(932,242)
5,530,217
-
-
136,001,842
(1,098,538)
137,100,380
อ่านาจควบคุม
ส่วนได้เสียทีไม่มี
-
-
-
-
-
267,920,095
(267,920,095)
(267,920,095) -
-
64,415,497
194,170,963
(129,755,466)
(129,755,466)
(73,466,139)
-
(56,289,327)
(56,289,327) -
องค์ประกอบอื่น ของส่วนของผู้ถือหุน้ กาไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น หุน้ ทุนซื้อคืน เงินลงทุนเผื่อขาย
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น(ต่อ)
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
(267,920,095)
-
267,920,095
-
267,920,095
หุน้ ทุนซื้อคืน ยังไม่ได้จัดสรร
จัดสรรแล้ว
ก่าไรสะสม
งบการเงินรวม ส่วนของบริษัทใหญ่
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทในหน้า 12 ถึง 85 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
887,576,343
-
กาไรเบ็ดเสร็จรวมสาหรับปี ยอดคงเหลือปลายปี ณ วันที 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
-
-
-
5,679,124
3,839,673,605
881,897,219
เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 31)
ทีไ่ ม่มีอานาจควบคุม (หมายเหตุ 12)
ลงทุนเพิม่ ในบริษัทย่อยโดยซื้อหุน้ จากส่วนได้เสีย
ใบสาคัญแสดงสิทธิซื้อหุน้ สามัญ (หมายเหตุ 24)
เพิม่ ขึ้นระหว่างปี (หมายเหตุ 23)
การเปลียนแปลงส่วนของผู้ถือหุน้ ส่าหรับปี
ยอดยกมาต้นปี ณ วันที 1 มกราคม พ.ศ. 2555
3,839,673,605
-
กาไรเบ็ดเสร็จรวมสาหรับปี
-
-
-
-
-
3,839,673,605
-
3,839,673,605
881,897,219
-
ยอดคงเหลือปลายปี ณ วันที 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
-
ทีไ่ ม่มีอานาจควบคุม เงินปันผลจ่าย (หมายเหตุ 31)
ลงทุนเพิม่ ในบริษัทย่อยโดยซื้อหุน้ จากส่วนได้เสีย
-
จาหน่ายหุน้ ทุนซื้อคืนระหว่างปี (หมายเหตุ 23)
881,897,219
-
881,897,219
มูลค่าหุน้
เรียกช่าระแล้ว
เพิม่ ขึ้นระหว่างปี (หมายเหตุ 23)
การเปลียนแปลงส่วนของผู้ถือหุน้ ส่าหรับปี
ยอดคงเหลือทีป่ รับปรุงแล้ว
ผลกระทบของการเปลี่ยนนโยบายการบัญชี
ยอดยกมาต้นปี ณ วันที 1 มกราคม พ.ศ. 2554
ส่วนเกิน
ทุนทีออกและ
สำ�หรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
-
6,395,480,229
85,504,891 8,900,000 (688,894,459) 944,203,598
6,045,766,199
6,045,766,199
(883,795,410) 1,114,148,175
556,344,720 -
5,259,068,714
5,267,106,595 (8,037,881)
รวมส่วนของผู้ถือหุน้
หน่วย : บาท
6,384,813,229
949,999,407
(699,765,133)
(16,532,739)
9,191,064
85,504,891
6,056,415,739
6,056,415,739
728,846,085
(888,160,538)
(1,276,403)
5,530,217
-
556,344,720
5,655,131,658
(18,380,032)
5,673,511,690
ผู้ถือหุน้
รวมส่วนของ
หน่วย : บาท
FINANCIALS
FINANCIALS
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
73
FINANCIALS
งบกระแสเงินสด(ต่อ)
สำ�หรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดาเนินงาน เงินสดได้มาจากกิจกรรมดาเนินงาน จ่ายดอกเบี้ย จ่ายภาษีเงินได้
หมายเหตุ 32
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินสดจ่ายสาหรับเงินลงทุนชั่วคราว เงินสดรับจากการจาหน่ายเงินลงทุนชั่วคราว เงินสดให้กู้ยืมระยะสั้นแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดรับคืนจากเงินให้กู้ยืมระยะสั้น แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดรับคืนจากเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บุคคล หรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินให้กู้ยืมแก่บุคคลอื่น เงินสดรับจากเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลอื่น เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนจากส่วนได้เสีย ที่ไม่มีอานาจควบคุม เงินสดจ่ายเพื่อลงทุนในบริษัทย่อย เงินสดรับจากการลดทุนของบริษัทย่อย เงินสดจ่ายเพื่อลงทุนในบริษัทร่วม เงินสดรับจากการจาหน่ายเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินสดรับจากการลดทุนของบริษัทร่วม เงินสดจ่ายเพื่อลงทุนในกิจการร่วมค้า เงินสดรับจากการจาหน่ายเงินลงทุนในกิจการร่วมค้า เงินสดรับจากการจาหน่ายเงินลงทุนระยะยาว เงินสดจ่ายเพื่อซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ เงินสดรับจากการจาหน่ายและให้เช่าที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และสิทธิการเช่า เงินสดจ่ายเพื่อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เงินปันผลรับจากบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เงินปันผลรับจากเงินลงทุนระยะยาว ดอกเบี้ยรับ
สำ�หรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554 งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
1,800,445,566 (127,680,454) (238,524,872)
1,744,714,347 (142,869,134) (198,996,574)
816,801,754 (96,188,720) (150,399,615)
732,513,862 (123,170,840) (92,494,435)
1,434,240,240
1,402,848,639
570,213,419
516,848,587
8 8 33
53,222,751 (1,800,000)
(250,050,000) 250,140,854 -
53,222,751 (1,565,892,864)
(250,050,000) 250,140,854 (1,717,041,554)
33
1,800,000 (1,419,976)
(11,331,329)
1,583,453,389 (1,193,551)
1,250,562,697 (211,116,329)
33
5,633,351 (7,800,000) 21,856,480
14,924,343 (34,792,786) 24,354,197
260,999,769 (7,800,000) 11,356,480
633,854,297 (34,282,786) 21,607,045
(16,532,739) (33,025,890) 220,048,357 (113,673,300) (465,447,643)
(1,276,404) (11,727,940) (129,999,885) 42,038,890 202,500,000 (48,599,980) 1,000,000 11,309,616 (378,268,062)
(486,532,739) 44,249,100 (33,025,890) 220,048,357 (113,673,300) (275,528,309)
(33,276,404) (129,999,885) 42,038,890 202,500,000 (48,599,980) 1,000,000 11,309,616 (231,160,811)
21,998,224 (488,884,390) 121,345,342 2,779,970 20,337,355
74,364,631 (388,356,387) 340,105,648 7,585,341 21,149,414
7,236,240 (29,500,709) 159,529,571 2,779,970 112,639,926
76,202,575 (6,623,276) 882,151,269 7,585,341 65,108,529
(659,562,108)
(264,929,839)
(57,631,809)
781,910,088
เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดาเนินงาน
12 12 12 12 12 12 12 12 8
12
เงินสดสุทธิ(ใช้ไปใน)ได้มาจากกิจกรรมลงทุน
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทในหน้า 12 ถึง 85 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
FINANCIALS
งบกระแสเงินสด
หมายเหตุ กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดที่มีภาระผูกพันเพิ่มขึ้น เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน จ่ายคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดรับเงินเบิกเกินบัญชี เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เงินสดจ่ายชาระเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน จ่ายคืนหนี้สินตามสัญญาเช่าการเงิน จ่ายคืนเงินกู้ยืมจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินสดรับจากเงินกู้ยืมระยะยาว จ่ายคืนเงินกู้ยืมระยะยาว เงินสดรับจากการออกหุ้นกู้ จ่ายคืนหุ้นกู้ เงินสดรับจากการขายหุ้นทุนซื้อคืน เงินสดรับจากการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญ เงินปันผลจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น เงินปันผลจ่ายให้แก่ส่วนได้เสียที่ไม่มีอานาจควบคุม
33 33 19
33 19 19 19 19 23 23 31 26
เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง)สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันต้นปี เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันปลายปี
7
งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
หน่วย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
(1,943,069) 10,146,514 2,659,500,000 (2,341,300,000) (4,379,976) 91,800,000 (54,340,616) 1,000,000,000 (1,500,000,000) 85,504,891 (688,862,527) (10,870,674)
(67,263) 8,949,377 674,900,000 (708,107,902) (2,683,554) (440,126,829) 221,800,000 (302,269,590) 556,344,720 (883,655,812) (4,365,128)
1,238,610,875 (832,779,833) 2,250,000,000 (2,050,000,000) (1,995,006) (40,000,000) 1,000,000,000 (1,500,000,000) 85,504,891 (688,862,527) -
1,038,026,812 (1,059,827,360) 300,000,000 (599,807,903) (1,446,202) (508,938,295) 200,000,000 (120,000,000) 556,344,720 (883,655,812) -
(754,745,457)
(879,281,981)
(539,521,600)
(1,079,304,040)
19,932,675 460,800,247
258,636,819 202,163,428
(26,939,990) 358,312,884
219,454,635 138,858,249
480,732,922
460,800,247
331,372,894
358,312,884
305,407,282 35,823,055 2,026,486 1,348,031
102,713,961 10,138,603 1,113,017 53,549,999
150,629,857 1,094,000 -
74,912,501 730,803 -
-
-
-
17,679,510
-
1,285,200
-
-
141,111,020 31,932
354,000 139,598
141,111,020 31,932
139,598
130,250
-
-
1,000,000
รายการที่ไม่ใช่เงินสด รายการที่ไม่ใช่เงินสดที่มีสาระสาคัญ มีดังนี้ การลงทุนในที่ดิน อาคารและอุปกรณ์โดยยังมิได้ชาระเงิน การลงทุนในสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยยังมิได้ชาระเงิน การลงทุนในอาคารและอุปกรณ์โดยทาสัญญาเช่าการเงิน การจาหน่ายอาคารและอุปกรณ์โดยยังมิได้รับชาระเงิน การจาหน่ายอาคารและอุปกรณ์โดยหักกลบกับ ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกันและสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น การลงทุนในอาคารและอุปกรณ์โดยการกลบหนี้ กับเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลอื่น การลงทุนในลิขสิทธิ์ภาพยนตร์โดยการกลบหนี้ กับเงินให้กู้ยืมแก่บุคคลอื่น การจาหน่ายเงินลงทุนในบริษัทร่วมโดยยังมิได้รับชาระเงิน เงินปันผลจ่ายโดยยังมิได้ชาระเงิน การหักกลบเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน กับเงินกู้ยืมจากบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทในหน้า 12 ถึง 85 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
74
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
75
FINANCIALS
สำ�หรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554 1
2
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.1
ขอมูลทั่วไป
1839, 1839/1-6 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
กลุมบริษัทดําเนินธุรกิจหลักในการเปนผูใหบริการจัดแสดงภาพยนตร และใหบริการเกี่ยวกับความบันเทิง การประกอบธุรกิจของ กลุมบริษัทสามารถสรุปไดดังนี้ • • • • • •
ธุรกิจโรงภาพยนตร การใหบริการสื่อและโฆษณา การใหบริการโบวลิ่งและคาราโอเกะ ธุรกิจใหเชาพื้นที่และบริการ การจัดจําหนายวีซีดี ดีวีดี บลูเรย และลิขสิทธิ์ภาพยนตร ธุรกิจผลิตภาพยนตรและนิตยสาร
งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทฉบับภาษาอังกฤษจัดทําขึ้นจากงบการเงินตามกฎหมายที่เปนภาษาไทย ในกรณี ที่มีเนื้อความขัดแยงกันหรือมีการตีความในสองภาษาแตกตางกัน ใหใชงบการเงินตามกฎหมายฉบับภาษาไทยเปนหลัก 2.2
การจัดประเภทรายการใหม
ในระหวางป พ.ศ. 2555 บริษัทยอยไดมีการจัดประเภทรายการใหมสําหรับคาเผื่อสินคาลาสมัยและคาเผื่อการลดมูลคา ของสินคาคงเหลือ และขาดทุนจากการดอยคาของลิขสิทธิ์ภาพยนตร เพื่อใหเปนไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง “สินคาคงเหลือ” ตัวเลขเปรียบเทียบจึงมีการปรับใหมเพื่อใหสอดคลองกับตัวเลขในป ป จ จุ บั น จึ ง ได มี ก ารจั ด ประเภทรายการใหม ซึ่ ง มี ผ ลกระทบต อ งบกํ า ไรขาดทุ น รวม สํ า หรั บ ป สิ้ น สุ ด วั น ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ดังนี้ งบการเงินรวม ตามที่แสดงไวเดิม จัดประเภทรายการใหม บาท บาท
งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทไดรับการอนุมัติจากคณะกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ พ.ศ. 2556 2
เกณฑการจัดทํางบการเงิน (ตอ) การจัดทํางบการเงินใหสอดคลองกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย กําหนดใหใชประมาณการทางบัญชีที่สําคัญ และการใชดุลยพินิจของผูบริหารซึ่งจัดทําขึ้นตามกระบวนการในการนํานโยบายการบัญชีของกลุมกิจการไปถือปฏิบัติ และ ตองเปดเผยเรื่องการใชดุลยพินิจของผูบริหารหรือความซับซอน หรือเกี่ยวกับขอสมมติฐานและประมาณการที่มีนัยสําคัญ ตองบการเงินรวมในหมายเหตุประกอบงบการเงินขอที่ 4
บริษัท เมเจอร ซีนีเพล็กซ กรุป จํากัด (มหาชน) (“บริษัท”) เปนบริษัทมหาชนจํากัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นในประเทศไทยและมีที่อยูตามที่ได จดทะเบียนดังนี้
บริษัทเปนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยแ หงประเทศไทย เพื่อ วัตถุประสงคในการรายงานขอมูลจึงรวมเรียกบริษัทและ บริษัทยอยวา “กลุมบริษัท”
FINANCIALS
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัท
ตนทุนขาย คาใชจายในการบริหาร
นโยบายการบัญชี
945,867,710 1,066,217,273
10,245,842 (10,245,842)
ตามที่ปรับใหม บาท 956,113,552 1,055,971,431
นโยบายการบัญชีที่สําคัญที่ใชในการจัดทํางบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทมีดังตอไปนี้ 2.1
เกณฑการจัดทํางบการเงิน งบการเงิ น รวมและงบการเงิ น เฉพาะบริ ษั ท ได จั ด ทํ า ขึ้ น ตามหลั ก การบั ญ ชี ที่ รั บ รองทั่ ว ไปในประเทศไทยภายใต พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งหมายความถึงมาตรฐานการบัญชีที่ออกภายใตพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และขอกําหนดของคณะกรรมการกํากับหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพยวาดวยการจัดทําและนําเสนอรายงานทางการเงิน ภายใตพระราชบัญญัติหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย พ.ศ. 2535 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทไดจัดทําขึ้น โดยใชเกณฑราคาทุน เดิมในการวัดมูลคา ขององคประกอบของ งบการเงิน ยกเวนเรื่องที่อธิบายในนโยบายการบัญชีในลําดับตอไป
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
76
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
77
FINANCIALS
2
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.3
มาตรฐานการบัญชีใหม มาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม การปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี และการตีความมาตรฐาน การบัญชี มาตรฐานการบัญชีใหม มาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม การปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี และการตีความมาตรฐาน การบัญชี ซึ่งยังไมมีผลบังคับใช และกลุมบริษัทยังไมไดนํามาถือปฏิบัติ มีผลบังคับใชสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มตนในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 20 เรือ่ ง การบัญชีสําหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล และการเปดเผยขอมูลเกี่ยวกับ ความชวยเหลือจากรัฐบาล มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 8 เรื่อง สวนงานดําเนินงาน การตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 10 เรื่อง ความชวยเหลือจากรัฐบาล - กรณีที่ไมมีความเกี่ยวของอยางเฉพาะเจาะจง กับกิจกรรมดําเนินงาน การตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 21 เรื่อง ภาษีเงินได - การไดรับประโยชนจากสินทรัพยที่ไมไดคิดคาเสื่อมราคาที่ ตีราคาใหม การตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 25 เรื่อง ภาษีเงินได - การเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางภาษีของกิจการหรือ ของผูถือหุน ผูบริหารของกลุมบริษัทไดประเมินและเห็นวามาตรฐานการบัญชีใหม มาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม การปรับปรุง มาตรฐานการบั ญชี และการตี ความมาตรฐานการบั ญชี ใหมดั งกลาวจะไม มี ผลกระทบที่ เป นสาระสํ าคั ญตอ งบการเงิ น ที่นําเสนอยกเวนมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 และมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 8 มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12 เกี่ยวของกับภาษีเงินได ซึ่งรวมถึงภาษีเงินไดของงวดปจจุบัน และภาษีเงินไดรอการตัดบัญชี คาใชจายภาษีเงินไดของงวดคํานวณจากจํานวนที่ตองเสียภาษีและจํานวนที่สามารถหักภาษีไดซึ่งแสดงอยูในแบบการคํานวณ ภาษีเงินไดในงวดปจจุบัน สินทรัพยหรือหนี้สินภาษีเงินไดของงวดปจจุบันคํานวณจากจํานวนที่คาดวาจะตองจายแก หรือ ไดรับคืนจากหนวยงานจัดเก็บภาษี โดยใชอัตราภาษีและกฎหมายภาษีอากรที่บังคับใชอยูหรือที่คาดวาจะมีผลบังคับใชภายใน วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน การบัญชีสําหรับภาษีเงินไดรอการตัดบัญชีคํานวณจากผลแตกตางชั่วคราวของฐานภาษี ของสินทรัพยหรือหนี้สิน และมูลคาตามบัญชีของสินทรัพยหรือหนี้สินในงบการเงิน ผูบริหารของกลุมบริษัทอยูในระหวาง การประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 12
FINANCIALS
2
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.3
มาตรฐานการบัญชีใหม มาตรฐานการรายงานทางการเงินใหม การปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี และการตีความมาตรฐาน การบัญชี (ตอ) มีผลบังคับใชสําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มตนในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 4 การประเมินวาขอตกลงประกอบดวยสัญญาเชาหรือไม การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 12 ขอตกลงสัมปทานบริการ การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 13 โปรแกรมสิทธิพิเศษแกลูกคา การตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 การเปดเผยขอมูลของขอตกลงสัมปทานบริการ การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 4 กําหนดใหมีการพิจารณาวาขอตกลงเปนหรือประกอบดวยสัญญาเชา หรื อ ไม โ ดยอ า งอิ ง จากเนื้ อ หาของข อ ตกลง การตี ค วามนี้ กํ า หนดให ป ระเมิ น ว า ข อ ตกลงเข า เงื่ อ นไขต อ ไปนี้ ห รื อ ไม (1) การปฏิบัติตามขอตกลงขึ้นอยูกับการใชสินทรัพยที่เฉพาะเจาะจง และ (2) ขอตกลงดังกลาวเปนการใหสิทธิในการใช สินทรัพยนั้น ผูบริหารของกิจการอยูในระหวางการประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติตามการตีความมาตรฐานการรายงาน ทางการเงินฉบับนี้ การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 12 เกี่ยวของกับขอตกลงสัมปทานบริการระหวางภาครัฐกับเอกชน ในการใหบริการสาธารณะโดยที่เอกชนไดเขารวมในการสราง การลงทุน การดําเนินงาน และการบํารุงรักษาโครงสรางพื้นฐาน สําหรับบริการสาธารณะ การตีความฉบับนี้ไมเกี่ยวของกับการดําเนินงานของกลุมบริษัท การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับ ที่ 13 ใหคํา อธิบายเกี่ยวกับ กรณีที่ขายสิน คาหรือ ใหบริก ารพรอมกับ ใหสิทธิพิเศษแกลูกคา (เชน คะแนนหรือไดรับสินคาโดยไมตองจายคาตอบแทน) วาเปนรายการที่มีหลายองคประกอบ และ สิ่งตอบแทนที่ไดรับหรือคางรับจากลูกคาตองปนสวนใหแตละองคประกอบของรายการโดยใชมูลคายุติธรรม กลุมบริษัท ไดนําการตีความฉบับนี้มาถือปฏิบัติในการจัดทํางบการเงินอยูแลว การตีความมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 29 กําหนดเกี่ยวกับการเปดเผยขอมูลสําหรับขอตกลงสัมปทานบริการระหวางภาครัฐ กับเอกชน การตีความฉบับนี้ไมเกี่ยวของกับการดําเนินงานของกลุมบริษัท
มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 8 กําหนดใหกิจการเปดเผยขอมูลสวนงานตามเกณฑการเสนอรายงานภายใน เพื่อใหผูบริหารใช กลุมบริษัทจะเริ่มนํามาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับนี้มาปฏิบัติตั้งแตวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ผูบริหารอยูในระหวางการประเมินผลกระทบในรายละเอียด แตจํานวนของสวนงานที่รายงานตลอดจนวิธีการรายงานสวนงาน จะเปลี่ยนแปลงไปเพื่อใหสอดคลองกับวิธีการนําเสนอรายงานภายในตอผูมีอํานาจตัดสินใจสูงสุดดานการดําเนินงาน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
78
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
79
FINANCIALS
2
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.4
ก)
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.4
บัญชีกลุมบริษัท - เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา
บัญชีกลุมบริษัท - เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา ข)
บริษัทยอย
เงิน ลงทุน ในบริษัท ยอ ยจะบัน ทึกบัญชี ดวยราคาทุน หักค า เผื่อ การดอ ยคา ตน ทุน จะมีการปรับ เพื่อ สะทอ นการ เปลี่ยนแปลงสิ่งตอบแทนที่เกิดขึ้นจากสิ่งตอบแทนที่คาดวาจะไดรับ ตนทุนนั้นจะรวมสวนแบงตนทุนทางตรง กรณี ที่มู ล ค า สิ่ง ตอบแทนที่ โอนให และมูล คา ส วนได เสีย ที่ไ มมี อํา นาจควบคุม ในผูถู กซื้อ และมูล ค ายุ ติธ รรม ณ วันซื้อธุรกิจของสวนไดเสียในสวนของผูถือหุนของผูถูกซื้อที่ผูซื้อถืออยูกอนการรวมธุรกิจ มากกวามูลคาสุทธิ ณ วัน ที่ซื้อ ของสิ น ทรั พยที่ไ ดมาที่ระบุไดแ ละหนี้สิน ที่ รับ มา ผูซื้ อ ตอ งรับ รูคา ความนิยม หากมูล คา ของมูล ค า สิ่งตอบแทนที่โอนให และมูลคาสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมในผูถูกซื้อ และมูลคายุติธรรม ณ วันซื้อธุรกิจของ สวนไดเสียในสวนของผูถือหุนของผูถูกซื้อที่ผูซื้อถืออยูกอนการรวมธุรกิจ นอยกวามูลคาราคายุติธรรมของสินทรัพย สุทธิของบริษัทยอยเนื่องจากมีการตอรองราคาซื้อ จะรับรูสวนตางโดยตรงไปยังงบกําไรขาดทุน กิจการจะตัดรายการบัญชีระหวางกิจการ ยอดคงเหลือ และรายการกําไรหรือขาดทุนที่ยังไมไดเกิดขึ้นจริงระหวาง กลุมบริษัท นโยบายการบัญชีของบริษัทยอยไดถูกเปลี่ยนเพื่อใหสอดคลองกับนโยบายการบัญชีของกลุมบริษัท รายชื่อบริษัทยอยและผลกระทบทางการเงินจากไดมาและจําหนายบริษัทรวมออกไป ไดเปดเผยไวในหมายเหตุ 12
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
80
รายการและสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม กลุมบริษัทปฏิบัติตอรายการกับสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมเชนเดียวกันกับสวนที่เปนของผูถือหุนกลุมบริษัท สําหรับการซื้อสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม ผลตางระหวางสิ่งตอบแทนที่จายใหและหุนที่ไดมาของมูลคาตาม บัญชีของสินทรัพยสุทธิของหุนที่ซื้อมาในบริษัทยอยจะถูกบันทึกในสวนของผูถือหุน และกําไรหรือขาดทุนจาก การขายในสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุมจะถูกบันทึกในสวนของผูถือหุน
บริษัทยอยหมายถึงกิจการที่กลุมบริษัทมีอํานาจในการควบคุมนโยบายการเงินและการดําเนินงาน และโดยทั่วไปแลว กลุมบริษัทจะถือหุนที่มีสิทธิออกเสียงมากกวากึ่งหนึ่ง ในการประเมินวากลุมบริษัทมีการควบคุมบริษัทอื่นหรือไม กิจการตองพิจารณาถึงการมีอยูและผลกระทบจากสิทธิในการออกเสียงที่เปนไปไดที่กิจการสามารถใชสิทธิหรือแปลง สภาพตราสารนั้นในปจจุบันรวมถึงสิทธิในการออกเสียงที่เปนไปได ซึ่งกิจการอื่นถืออยูดวย กลุมบริษัทรวมงบการเงิน ของบริษัทย อยไว ในงบการเงินรวมตั้งแตวันที่ กลุมบริษัทมี อํานาจในการควบคุมบริษัทย อย กลุมบริ ษัทจะไมนํ า งบการเงินของบริษัทยอยไวในงบการเงินรวมนับจากวันที่กลุมบริษัทสูญเสียอํานาจควบคุม กลุมบริษัทบันทึกบัญชีการรวมธุรกิจโดยใชวิธีการซื้อ สิ่งตอบแทนที่โอนใหสําหรับการซื้อบริษัทยอย ตองวัดดวย มูล คา ยุ ติธรรมของสิ น ทรัพย ที่ผูซื้อ โอนให แ ละหนี้ สิน ที่กอ ขึ้น และสวนไดเสียในสวนของผูถื อ หุน ที่อ อกโดย กลุมบริษัท รวมถึงมูลคายุติธรรมของสินทรัพย หรือหนี้สินที่คาดวาจะตองจายชําระ ตนทุนที่เกี่ยวของกับการซื้อ จะรับรูเปนคาใชจายเมื่อเกิดขึ้น และวัดมูลคาเริ่มแรกของสินทรัพยที่ไดมาที่ระบุไดและหนี้สินและหนี้สินที่อาจจะ เกิดขึ้นในการรวมธุรกิจดวยมูลคายุติธรรม ณ วันที่ซื้อ ในการรวมธุรกิจแตละครั้ง กลุมบริษัทวัดมูลคาของสวนไดเสีย ที่ไมมีอํานาจควบคุมในผูถูกซื้อดวยมูลคายุติธรรม หรือ มูลคาของสินทรัพยสุทธิที่ระบุไดของผูถูกซื้อตามสัดสวน ของหุนที่ถือ
FINANCIALS
2
เมื่อกลุมบริษัทสูญเสียการควบคุมหรือมีอิทธิพลมีนัยสําคัญ สวนไดเสียในหุนที่เหลืออยูจะวัดมูลคาใหมโดยใชราคา ยุติธรรม การเปลี่ยนแปลงในมูลคาจะรับรูในกําไรหรือขาดทุน มูลคายุติธรรมนั้นจะถือเปนมูลคาตามบัญชีเริ่มแรก ของมูลคาของเงินลงทุนที่เหลือของบริษัทรวม กิจการรวมคา หรือสินทรัพยทางการเงิน สําหรับทุกจํานวนที่เคยรับรู ในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นจะถูกจัดประเภทใหมเปนกําไรหรือขาดทุนเสมือนมีการขายสินทรัพยหรือหนี้สินที่เกี่ยวของ ถาสวนไดเสียของเจาของในบริษัทรวมนั้นลดลงแตยังคงมีอิทธิพลอยางมีนัยสําคัญ กิจการตองจัดประเภทรายการ ที่เคยรับรูในกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเขากําไรหรือขาดทุนเฉพาะสัดสวนในสวนไดเสียของเจาของที่ลดลง ค)
บริษัทรวม บริษัท รวมเปน กิจการที่ก ลุมบริษัท มีอิท ธิพลอยา งเปน สาระสําคัญแตไมถึงกับ ควบคุมซึ่งโดยทั่วไปก็คือ การที่ กลุมบริษัทถือหุน ที่มีสิทธิออกเสียงอยูระหวางรอยละ 20 ถึงรอยละ 50 ของสิทธิออกเสียงทั้งหมด เงินลงทุนใน บริษัทรวมรับรูเริ่มแรกดวยราคาทุนและใชวิธีสวนไดเสียในการแสดงในงบการเงินรวม กลุมบริษัทรับรูเงินลงทุน ในบริษัท รวมซึ่งไดรวมคาความนิยมที่ระบุไวเมื่อ ไดมาสุท ธิจากคาเผื่อการดอ ยคาสะสม (ดูหมายเหตุป ระกอบ งบการเงินขอ 2.13 สําหรับการดอยคาสินทรัพยรวมทั้งคาความนิยม) สวนแบงกําไรหรือขาดทุนของกลุมบริษัทในบริษัทรวมที่เกิดขึ้นภายหลังการไดมาจะรวมไวในกําไรหรือขาดทุน และความเคลื่อนไหวในบัญชีกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น จากการตีมูลคายุติธรรมภายหลังการไดมาจะรวมไวเปน สวนหนึ่งของบัญชีกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงภายหลังการไดมาจะปรับปรุงกับราคา ตามบั ญ ชี ข องเงิ น ลงทุ น เมื่ อ ส ว นแบ ง ขาดทุ น ของกลุ ม บริ ษั ท ในบริ ษั ทร วมมี มู ลค าเท ากั บ หรื อเกิ นกว ามู ลค า สวนไดเสียของกลุมบริษัทในบริษัทรวมนั้น กลุมบริษัทจะไมรับรูสวนแบงขาดทุน อีกตอไป เวนแตกลุมบริษัท มีภาระผูกพันในหนี้ของบริษัทรวมหรือรับวาจะจายหนี้แทนบริษัทรวม รายการกํ า ไรที่ยัง ไมไ ดเกิด ขึ้น จริงระหว า งกลุมบริษัท กั บ บริ ษัท ร วมจะตัด บัญชี เทาที่ กลุม บริษั ท มีส วนไดเสี ย ในบริษัทรวมนั้น รายการขาดทุนที่ยังไมไดเกิดขึ้นจริงก็จะตัดบัญชีในทํานองเดียวกัน เวนแตรายการนั้นมีหลักฐานวา สินทรัพยที่โอนระหวางกันเกิดการดอยคา
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
81
FINANCIALS
2
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.4
บัญชีกลุมบริษัท - เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา (ตอ) ค)
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.5
บริษัทรวม (ตอ)
การแปลงคาเงินตราตางประเทศ รายการตาง ๆ ในงบการเงินของแตละกิจการในกลุมบริษัทวัดมูลคาโดยใชสกุลเงินบาท งบการเงินรวมนําเสนอในสกุลเงินบาท
บริษัทรวมจะเปลี่ยนนโยบายการบัญชีเทาที่จําเปนเพื่อใหสอดคลองกับนโยบายการบัญชีของกลุมบริษัท กําไรและ ขาดทุนจากการลดสัดสวนเงินลงทุนในบริษัทรวมจะรับรูในงบกําไรขาดทุน
กลุมบริษัทแปลงคารายการที่เปนเงินตราตางประเทศใหเปนเงินบาทโดยใชอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ที่เกิดรายการและ แปลงคาสิน ทรัพยและหนี้สินที่เปนตัวเงินซึ่งเปน เงิน ตราตางประเทศ ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงินใหเปนเงินบาท โดยใชอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน รายการกําไรและรายการขาดทุนที่เกิดจากการรับหรือจายชําระ ที่เปนเงินตราตางประเทศ และที่เกิดจากการแปลงคาสินทรัพยและหนี้สินที่เปนตัวเงินดังกลาวไดบันทึกไวในงบกําไรขาดทุน
เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพยของกองทุนรวมสิทธิการเชาอสังหาริมทรัพย เมเจอร ซีนีเพล็กซ ไลฟสไตล (กองทุนรวมฯ) ซึ่งเปนบริษัทรวมแสดงดวยมูลคายุติธรรม ณ วันที่ในงบการเงินที่ประเมินโดยผูประเมินราคาอิสระที่ไดรับอนุมัติจาก คณะกรรมการกํากับหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย บริษัทจัดการกองทุนรวมฯ จะจัดใหมีการประเมินราคาทุกสองป นับแตวันที่มีการประเมินเพื่อซื้อหรือเชาอสังหาริมทรัพย และจัดใหมีการสอบทานการประเมินทุกปนับแตวันที่มีการ ประเมิ นครั้ งล าสุ ด บริ ษั ทจั ดการกองทุ นรวมฯ จะไม แต งตั้ งบริ ษั ทประเมิ นทรั พย สิ นรายใดรายหนึ่ งให ประเมิ น อสังหาริมทรัพยหรือสิทธิการเชาอสังหาริมทรัพยเดียวกันติดตอกันเกิน 2 ครั้ง
ผลตา งจากการแปลงคาเงินลงทุนในตราสารหนี้แ ละสินทรัพยทางการเงินอื่น ซึ่งวัดมูล คาโดยใชมูลคายุติธรรม ใหรวม ผลตางดังกลาวเปนรายการกําไรหรือรายการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน สวนผลตางจากการแปลงคารายการที่ไมเปน ตัวเงิน เชน เงินลงทุนในตราสารทุนที่ถือไวเพื่อคา ใหรวมผลตางดังกลาวเปนรายการกําไรหรือรายการขาดทุนของการ เปลี่ยนแปลงมูลคายุติธรรม นอกจากนี้ผลตางจากการแปลงคาเงินลงทุนในตราสารทุนที่ถือไวเผื่อขายใหรวมไวในสวนเกินทุน จากการตีมูลคายุติธรรมซึ่งแสดงอยูในสวนของผูถือหุน
ผลกระทบจากการนํามาตรฐานการบัญชีเรื่องอสังหาริมทรัพยเพื่อการลงทุนมาถือปฏิบัติ กลุมบริษัทไดเลือกถือปฏิบัติ โดยใชวิธีราคาทุนในการวัดมูลคา ในขณะที่บริษัท สยามฟวเจอรดีเวลอปเมนท จํากัด (มหาชน) (“SF”) ซึ่งเปนบริษัทรวม ไดเลือกถือปฏิบัติโดยใชวิธีมูลคายุติธรรมในการวัดมูลคา กลุมบริษัทจึงไดปรับปรุงผลกระทบของมาตรฐานฉบับนี้ที่มี ตอสวนแบงกําไรจากเงินลงทุนในบริษัท SF กอนที่บริษัทจะรับรูสวนแบงกําไรจากบริษัทรวมดังกลาวในงบการเงินรวม
รายการในงบกําไรขาดทุน เบ็ดเสร็จและงบกระแสเงิน สดของหนวยงานตางประเทศแปลงคาเปนเงินบาทโดยใชอัตรา แลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยในระหวางป รายการในงบแสดงฐานะการเงินแปลงคาเปนเงินบาทโดยใชอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้น รอบระยะเวลาบัญชี ผลตางจากการแปลงคาที่เกิดจากการแปลงคาของเงินลงทุนสุทธิในหนวยงานตางประเทศไดรวมไปยัง สวนของผูถือหุน และเมื่อมีการจําหนายหนวยงานตางประเทศนั้น ผลสะสมของผลตางจากการแปลงคาทั้งหมดดังกลาว ถือเปนสวนหนึ่งของรายการกําไรหรือขาดทุนจากการจําหนายหนวยงานตางประเทศนั้นในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
เงินลงทุนในบริษัทรวมแสดงในงบการเงินเฉพาะบริษัทโดยใชวิธีราคาทุน รายชื่อของบริษัทรวมและผลกระทบทางการเงิน จากการไดมาและจําหนายบริษัทรวมออกไป ไดเปดเผยไวใน หมายเหตุ 12 ง)
FINANCIALS
2
2.6
กิจการรวมคา สวนไดเสียของกลุมบริษัทในกิจการที่ควบคุมรวมกันแสดงในงบการเงินรวมโดยใชวิธีสวนไดเสีย สวนแบงของ กลุมบริษัท ในกําไรหรือ ขาดทุน ของกิจการรวมคาที่เกิดขึ้น ภายหลังการไดมาจะรวมไวในงบกําไรขาดทุนรวม ผลสะสมของการเปลี่ยนแปลงภายหลังการไดมาจะปรับปรุงกับราคาตามบัญชีของสวนไดเสียในกิจการรวมคา กลุมบริษัทจะไมรับรูสวนแบงขาดทุนอีกตอไป หากสวนแบงขาดทุนของกลุมบริษัทในกิจการรวมคามีมูลคาเทากับ หรือเกินกวามูลคาสวนไดเสียของกลุมบริษัทในกิจการรวมคานั้น เวนแตกลุมบริษัทรับผิดในหนี้ของกิจการรวมคา หรือรับวาจะจายหนี้แทนกิจการรวมคา สวนไดเสียในกิจการรวมคาแสดงในงบการเงินเฉพาะบริษัทโดยแสดงดวยราคาทุน
เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด ในงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะบริษัท เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสดรวมถึงเงินสดในมือ เงินฝาก ธนาคารประเภทจายคืนเมื่อทวงถาม เงินลงทุนระยะสั้นอื่นที่มีสภาพคลองสูงซึ่งมีอายุไมเกินสามเดือนนับจากวันที่ไดมา
2.7
ลูกหนี้การคา ลูกหนี้การคารับรูเริ่มแรกดวยมูลคาตามใบแจงหนี้ และจะวัดมูลคาตอมาดวยจํานวนเงินที่เหลืออยูหักดวยคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งประมาณจากการสอบทานยอดคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหมายถึงผลตางระหวางราคาตามบัญชีของ ลูกหนี้การคาเปรียบเทียบกับมูลคาที่คาดวาจะไดรับจากลูกหนี้การคา หนี้สูญที่เกิดขึ้นจะรับรูไวในงบกําไรขาดทุนโดยถือเปน สวนหนึ่งของคาใชจายในการบริหาร
รายชื่อของกิจการรวมคารวมถึงผลกระทบทางการเงินจากการไดมาและจําหนายกิจการรวมคาออกไปไดเปดเผยไว ในหมายเหตุ 12
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
82
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
83
FINANCIALS
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.8
2
สินคาคงเหลือและภาพยนตรระหวางผลิต
สินคาคงเหลือแสดงดวยราคาทุนหรือมูลคาสุทธิที่จะไดรับแลวแตราคาใดจะต่ํากวา ราคาทุนของอาหารและเครื่องดื่มและ วัสดุสิ้นเปลืองที่ใชในโรงภาพยนตรคํา นวณตามวิธีเขา กอนออกกอน ราคาทุน ของแผนวีซีดีแ ละดีวีดีคํา นวณโดยใชวิธี ถัวเฉลี่ยถวงน้ํา หนัก ตนทุนของการซื้อประกอบดวยราคาซื้อและคาใชจายที่เกี่ยวของโดยตรงกับการซื้อสินคานั้น เชน คาอากรขาเขาและคาขนสง หักดวยสวนลดจากการจายเงินตามเงื่อนไข สวนลดจากการรับประกันสินคาหรือสวนลดตาง ๆ มูลคาสุทธิที่จะไดรับประมาณจากราคาปกติที่คาดวาจะขายไดของธุรกิจ หักดวยคาใชจายที่จําเปนเพื่อใหสินคานั้นสําเร็จรูป รวมถึงคาใชจายในการขาย กลุมบริษัทบันทึกบัญชีคาเผื่อการลดมูลคาของสินคาเกา ลาสมัย หรือเสื่อมคุณภาพเทาที่จําเปน ภาพยนตรระหวางผลิต แสดงถึงตน ทุนของการผลิตและถายทําภาพยนตรที่อ ยูระหวางการผลิตและจะตัดจําหนายเปน ตน ทุน เมื่อมีการจําหนา ยหรือจัดฉายภาพยนตรโดยตัดจําหนา ยตามอัตราสวนของรายไดที่คาดวาจะไดรับจากชอ งทาง การตลาดตาง ๆ ตนทุนการผลิตภาพยนตรประกอบดวยคาใชจายตาง ๆ ที่เกี่ยวของโดยตรงกับการผลิตและถายทําภาพยนตร และแสดงดวยราคาทุน 2.9
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.9
สินคาคงเหลือประกอบดวย อาหารและเครื่องดื่ม วัสดุสิ้นเปลืองที่ใชในโรงภาพยนตร และแผนวีซีดีและดีวีดี
เงินลงทุน กลุมบริษัทจัดประเภทเงินลงทุนที่นอกเหนือจากเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา เป น เงิ น ลงทุ น เผื่ อ ขาย การจั ด ประเภทขึ้ น อยู กั บ จุ ด มุ ง หมายขณะลงทุ น ฝ า ยบริ ห ารจะเป น ผู กํ า หนดการจั ดประเภท ที่เหมาะสมสําหรับเงินลงทุน ณ เวลาลงทุนและทบทวนการจัดประเภทเปนระยะ เงินลงทุนเผื่อขาย คือ เงินลงทุนที่จะถือไวโดยไมระบุชวงเวลาและอาจขายเพื่อเสริมสภาพคลองหรือ เมื่ออัตราดอกเบี้ย เปลี่ยนแปลง ไดแสดงรวมไวในสิน ทรัพยไมหมุน เวียน เวนแตกรณีที่ฝายบริหารแสดงเจตจํา นงที่จะถือไวในชวงเวลา นอยกวา 12 เดือนนับแตวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน ก็จะแสดงรวมไวในสินทรัพยหมุนเวียน หรือเวนแตกรณีที่ฝายบริหาร มีความจําเปนที่ตองขายเพื่อเพิ่มเงินทุนดําเนินงาน จึงจะแสดงรวมไวในสินทรัพยหมุนเวียน เงินลงทุนเผื่อขายรับรูมูลคาเริ่มแรกดวยราคาทุน ซึ่งหมายถึงมูลคายุติธรรมของสิ่งตอบแทนที่ใหไปเพื่อใหไดมาซึ่งเงิน ลงทุนนั้นรวมทั้งคาใชจายในการทํารายการ เงินลงทุนเผื่อขายวัดมูลคาในเวลาตอมาดวยมูลคายุติธรรม มูลคายุติธรรมของเงินลงทุนวัดตามราคาเสนอซื้อที่อางอิงจาก ตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย ณ วันทําการสุดทายของวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน โดยอางอิงราคาเสนอซื้อลาสุดจาก ตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย รายการกําไรหรือขาดทุนที่ยังไมเกิดขึ้นรับรูในสวนของผูถือหุน
FINANCIALS
2
เงินลงทุน (ตอ) บริษัทจะทดสอบคาเผื่อการลดลงของมูล คาของเงินลงทุนเมื่อมีขอบงชี้วาเงินลงทุนนั้นอาจมีคาเผื่อการลดลงของมูลคา เกิดขึ้น หากราคาตามบัญชีของเงิน ลงทุน สูงกวา มูล คา ที่คาดวา จะได รับ คืนบริษัท จะบัน ทึก รายการขาดทุน จากคาเผื่ อ การลดลงของมูลคารวมไวในงบกําไรขาดทุน ในการจําหนายเงินลงทุน ผลตางระหวางมูลคายุติธรรมของผลตอบแทนสุทธิที่ไดรับจากการจําหนายเมื่อเปรียบเทียบกับ ราคาตามบัญชีของเงินลงทุนนั้นจะบันทึกรวมอยูในงบกําไรขาดทุน กรณีที่จําหนายเงินลงทุนที่ถือไวในตราสารหนี้หรือตรา สารทุนชนิดเดียวกันออกไปบางสวน ราคาตามบัญชีของเงินลงทุนที่จําหนายคํานวณโดยใชวิธีถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักดวยราคา ตามบัญชีจากจํานวนทั้งหมดที่ถือไว
2.10 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ ที่ดิน อาคารและอุปกรณรับรูเมื่อเริ่มแรกตามราคาทุนหักดวยคาเสื่อมราคาสะสม ตนทุนเริ่มแรกจะรวมตนทุนทางตรงอื่นๆ ที่เกี่ยวของกับการซื้อสินทรัพยนั้น ตนทุนที่เกิดขึ้นภายหลังจะรวมอยูในมูลคาตามบัญชีของสินทรัพยหรือรับรูแยกเปนอีก สินทรัพยหนึ่งตามความเหมาะสม เมื่อตนทุนนั้นเกิดขึ้นและคาดวาจะใหประโยชนเชิงเศรษฐกิจในอนาคตแกบริษัทและ ตนทุนดังกลาวสามารถวัดมูลคาไดอยางนาเชื่อถือ และจะตัดมูลคาตามบัญชีของชิ้นสวนที่ถูกเปลี่ยนแทนออก สําหรับ คาซอมแซมและบํารุงรักษาอื่น ๆ บริษัทจะรับรูตนทุนดังกลาวเปนคาใชจายในงบกําไรขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น ที่ดินไมมีการคิดคาเสื่อมราคา คาเสื่อมราคาของสินทรัพยอื่นคํานวณโดยใชวิธีเสนตรง เพื่อลดราคาตามบัญชีของสินทรัพย แตละชนิดตลอดอายุการใหประโยชนที่ประมาณการไวของสินทรัพยหรืออายุสัญญาเชาในกรณีที่อายุสัญญาเชาสั้นกวา ดังตอไปนี้ ยกเวนที่ดินซึ่งถือวาประมาณการอายุการใหประโยชนมีไมจํากัด อาคาร โรงภาพยนตร สวนปรับปรุงอาคารและโรงภาพยนตร ระบบสาธารณูปโภค เครื่องมือและอุปกรณ เครื่องตกแตงและติดตั้ง อุปกรณสํานักงาน ยานพาหนะ
20 ป 10, 20 ป และตามอายุสัญญาเชา 10, 20 ป และตามอายุสัญญาเชา 5, 10, 15 ป 5, 10, 15, 20 ป 5 ป 5 ป 5 ป
ทุกสิ้นรอบรอบระยะเวลารายงาน ไดมีการทบทวนและปรับปรุงมูลคาคงเหลือและอายุการใหประโยชนของสินทรัพยให เหมาะสม
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
84
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
85
FINANCIALS
นโยบายการบัญชี (ตอ)
2
2.10 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ (ตอ)
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.12 สินทรัพยไมมีตัวตนอื่น (ตอ)
ในกรณีที่มูลคาตามบัญชีสูงกวามูลคาที่คาดวาจะไดรับคืน มูลคาตามบัญชีจะถูกปรับลดใหเทากับมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืน ทันที ผลกําไรหรือขาดทุนที่เกิดจากการจําหนายที่ดิน อาคารและอุปกรณ คํานวณโดยเปรียบเทียบจากสิ่งตอบแทนสุทธิที่ไดรับ จากการจําหนายสินทรัพยกับมูลคาตามบัญชีของสินทรัพย และจะรับรูบัญชีผลกําไรหรือขาดทุนอื่นสุทธิในงบกําไรขาดทุน 2.11 คาความนิยม คาความนิยมคือตนทุนของเงินลงทุนที่สูงกวามูลคายุติธรรมของเงินลงทุนที่กลุมบริษัทมีสวนแบงในสินทรัพยสุทธิของ บริษัทยอย ณ วันที่ไดมาซึ่งบริษัทนั้น คาความนิยมที่เกิดจากการไดมาซึ่งบริษัทยอยจะแสดงเปนรายการแยกตางหากใน งบแสดงฐานะการเงินรวม คาความนิยมที่รับรูจะตองถูกทดสอบการดอยคาทุกป และแสดงดวยราคาทุนหักคาเผื่อการดอยคาสะสม คาเผื่อการดอยคา ของคาความนิยมที่รับรูแลวจะไมกลับรายการบัญชี ทั้งนี้มูลคาคงเหลือตามบัญชีของคาความนิยมจะถูกรวมคํานวณใน กําไรหรือขาดทุนเมื่อมีการขายกิจการ ในการทดสอบการดอยคาของคาความนิยม คาความนิยมจะถูกปนสวนไปยังหนวยที่กอใหเกิดกระแสเงินสด โดยที่หนวยนั้น อาจจะเปนหนวยเดียวหรือหลายหนวยรวมกันซึ่งคาดวาจะไดรับประโยชนจากการรวมธุรกิจ ซึ่งคาความนิยมเกิดขึ้นจาก สวนงานปฏิบัติการที่ระบุได 2.12 สินทรัพยไมมีตัวตนอื่น
โปรแกรมคอมพิวเตอร สิทธิการใชโปรแกรมคอมพิวเตอรโดยที่ซื้อมามีลักษณะเฉพาะบันทึกเปนสินทรัพยโดยคํานวณจากตนทุนในการไดมาและ การดําเนินการใหโปรแกรมคอมพิวเตอรนั้นสามารถนํามาใชงานไดตามประสงค โดยจะตัดจําหนายตลอดอายุประมาณการ ใหประโยชนภายในระยะเวลาไมเกิน 5 ป ตนทุนที่ใชในการพัฒนาและบํารุงรักษาโปรแกรมคอมพิวเตอรใหบันทึกเปนคาใชจายเมื่อเกิดขึ้น ตนทุนโดยตรงในการ จัดทําโปรแกรมคอมพิวเตอรที่กลุมบริษัทเปนผูดูแลและมีลักษณะเฉพาะเจาะจงซึ่งอาจใหประโยชนเชิงเศรษฐกิจที่มากกวา ตนทุนเปนเวลาเกินกวาหนึ่งปจึงจะบันทึกเปนสินทรัพยไมมีตัวตน ตนทุนโดยตรงรวมถึงตนทุนพนักงานที่ทํางานในทีม พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอรและคาใชจายที่เกี่ยวของในจํานวนเงินที่เหมาะสม คาใชจายในการพัฒนาประสิทธิภาพของโปรแกรมคอมพิวเตอรใหสูงขึ้นกวาเมื่อไดมาใหบันทึกเปนตนทุนเพื่อการพัฒนา และบวกรวมไวในตนทุนเมื่อไดมาซึ่งโปรแกรมคอมพิวเตอรนั้น ตนทุนในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอรจะรับรูเปน สินทรัพยและตัดจําหนายโดยใชวิธีเสนตรง ตลอดอายุการใหประโยชนตามประมาณการแตไมเกิน 5 ป 2.13 คาเชาจายลวงหนาระยะยาว คาเชาจายลวงหนาระยะยาวเปนสิทธิการเชาที่ดินและสิทธิการเชาพื้นที่อาคาร บันทึกตามราคาทุนและตัดจําหนายเปน คาใชจายตามอายุของสัญญาเชา 2.14 การดอยคาของสินทรัพย
คาลิขสิทธิ์ภาพยนตร ลิ ขสิ ท ธิ์ ภาพยนตร บั น ทึ ก ตามราคาทุ น ที่ ราคาซื้ อ และค าใช จ ายทางตรงที่ เกี่ ยวข อ งในการซื้ อ ลิ ขสิ ท ธิ์ ต น ทุ น ลิ ขสิ ท ธิ์ ตัดจําหนายเปนตนทุนโดยตรงของการแสดงภาพยนตร วีซีดีและดีวีดี และการถายทอดทางโทรทัศน ตามอัตราสวนของ รายไดที่คาดวาจะไดรับจากชองทางเหลานั้นตลอดระยะเวลาของลิขสิทธิ์ ในกรณีที่มีการขาดทุนเกิดขึ้นในแตละลิขสิทธิ์ กลุมบริษัทจะตัดจายขาดทุนที่คาดวาจะเกิดขึ้นออกจากมูลคาทางบัญชีของลิขสิทธิ์นั้น ๆ เปนคาใชจายในงบกําไรขาดทุนทันที
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
FINANCIALS
2
86
สินทรัพยที่มีอายุการใหประโยชนไมทราบแนชัด (เชน คาความนิยม) ซึ่งไมมีการตัดจําหนายจะถูกทดสอบการดอยคาเปน ประจําทุกป สินทรัพยอื่นที่มีการตัดจําหนายจะมีการทบทวนการดอยคา เมื่อมีเหตุการณหรือสถานการณบงชี้วาราคาตามบัญชี อาจสูงกวามูลคาที่คาดวาจะไดรับคืน รายการขาดทุนจากการดอยคาจะรับรูเมื่อราคาตามบัญชีของสินทรัพยสูงกวามูลคาสุทธิ ที่คาดวาจะไดรับคืน ซึ่งหมายถึงจํา นวนที่สูงกวาระหวา งมูลคายุติธรรมหักตนทุนในการขายเทียบกับมูลคาจากการใช สินทรัพยจะถูกจัดเปนหนวยที่เล็กที่สุดที่สามารถแยกออกมาไดเพื่อวัตถุประสงคของการประเมินการดอยคา สินทรัพย ที่ไมใชสิน ทรัพยทางการเงิน นอกเหนือ จากคา ความนิยม ซึ่งรับ รูรายการขาดทุน จากการดอยคา ไปแลว จะถูกประเมิน ความเปนไปไดที่จะกลับรายการขาดทุนจากการดอยคา ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
87
FINANCIALS
นโยบายการบัญชี (ตอ)
2
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.17 ผลประโยชนของพนักงาน
2.15 สัญญาเชาระยะยาว
2.17.1
สัญญาเชาระยะยาว - กรณีที่กลุมบริษัทเปนผูเชา
ภาระผูกพันกองทุนบําเหน็จบํานาญ บริษัทไดกําหนดโครงการบําเหน็จบํานาญในหลายรูปแบบ โดยเปนการจายชําระผานผูบริหารกองทุน ซึ่งมีการ คํ า นวณโดยใช วิ ธี ท างคณิ ต ศาสตร ป ระกั น ภั ย เป น ระยะๆ บริ ษั ท มี ทั้ ง โครงการสมทบเงิ น และโครงการ ผลประโยชน สําหรับโครงการสมทบเงินบริษัทจะจายเงินสมทบใหกองทุนในจํานวนเงินที่คงที่ บริษัทไมมีภาระ ผูกพันทางกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมานที่จะตองจายเงินเพิ่ม ถึงแมกองทุนไมมีสินทรัพยเพียงพอที่จะ จายใหพนักงานทั้งหมดสําหรับการใหบริการจากพนักงานทั้งในอดีตและปจจุบัน สําหรับโครงการผลประโยชน คือโครงการบํา เหน็จบํานาญที่ไมใชโครงการสมทบเงิน ซึ่งจะกําหนดจํานวนเงินผลประโยชนที่พนักงานจะ ไดรับเมื่อเกษียณอายุ โดยสวนใหญจะขึ้นอยูกับหลายปจจัย เชน อายุ จํานวนปที่ใหบริการและคาตอบแทน
สัญญาระยะยาวเพื่อเชาสินทรัพยซึ่งผูใหเชาเปนผูรับความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเปนเจาของเปนสวนใหญ สัญญาเชา นั้นถือเปนสัญญาเชาดําเนินงาน เงินที่ตองจายภายใตสัญญาเชาดังกลาว (สุทธิจากสิ่งตอบแทนจูงใจที่ไดรับจากผูใหเชา) จะบันทึกในงบกําไรขาดทุนโดยวิธีเสนตรงตลอดอายุของสัญญาเชานั้น สัญญาเชาที่ดิน อาคารและอุปกรณ ซึ่งผูเชาเปนผูรับความเสี่ยงและผลตอบแทนของความเปนเจาของเกือบทั้งหมดถือเปน สัญญาเชาการเงิน ซึ่งจะบันทึกเปนรายจายฝายทุนดวยมูลคายุติธรรมสุทธิของสินทรัพยที่เชาหรือมูลคาปจจุบันสุทธิของ จํานวนเงินที่ตองจายตามสัญญาเชา แลวแตมูลคาใดจะต่ํากวา
หนี้ สินสํ าหรั บโครงการผลประโยชนจะรั บ รูใ นงบแสดงฐานะการเงิ น ดว ยมู ล คา ป จจุ บัน ของภาระผู ก พัน ณ วั น สิ้ น รอบระยะเวลารายงาน และปรั บ ปรุ ง ด ว ยต น ทุ น บริ ก ารในอดี ต ที่ ยั งไม รั บรู ภาระผู กพั นนี้ คํ านวณ โดยนักคณิตศาสตรประกันภัยอิสระทุกป ดวยวิธีคิดลดแตละหนวยที่ประมาณการไว ซึ่งมูลคาปจจุบันของโครงการ ผลประโยชนจะประมาณโดยการคิดลดกระแสเงิน สดออกในอนาคต โดยใชอัตราผลตอบแทนในตลาดของ พันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเปนสกุลเงินเดียวกับสกุลเงินที่จะจายภาระผูกพัน
จํานวนเงินที่ตองจายดังกลาวจะปนสวนระหวางหนี้สินและคาใชจายทางการเงินเพื่อใหไดอัตราดอกเบี้ยคงที่ตอหนี้สิน คงคางอยู โดยพิจารณาแยกแตละสัญญา ภาระผูกพันตามสัญญาเชาหักคาใชจายทางการเงินจะบันทึกเปนหนี้สินระยะยาว สวนดอกเบี้ยจายจะบันทึกในงบกําไรขาดทุนตลอดอายุของสัญญาเชา สินทรัพยที่ไดมาตามสัญญาเชาการเงินจะคิดคาเสื่อม ราคาตลอดอายุการใชงานของสินทรัพยที่เชาหรืออายุของสัญญาเชาแลวแตระยะเวลาใดจะนอยกวา
กําไรและขาดทุนจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัยเกิดขึ้นจากการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง ขอสมมติฐานจะตองรับรูในงบกําไรขาดทุนในงวดที่เกิด
สัญญาเชาระยะยาว - กรณีที่กลุมบริษัทเปนผูใหเชา สินทรัพยที่ใหเชาตามสัญญาเชาทางการเงินบันทึกเปนลูกหนี้สัญญาเชาทางการเงินดวยมูลคาปจจุบันของจํานวนเงินที่จาย ตามสัญญาเชา ผลตางระหวางยอดรวมของลูกหนี้เบื้องตนกับมูลคาปจจุบันของลูกหนี้บันทึกเปนรายไดทางการเงินคางรับ รายไดจากสัญญาเชาระยะยาวรับรูตลอดอายุของสัญญาเชา โดยใชวิธีเงิน ลงทุน สุท ธิซึ่งสะทอ นอัตราผลตอบแทนคงที่ ทุกงวด ตนทุนทางตรงเริ่มแรกที่รวมอยูในการวัดมูลคาลูกหนี้สัญญาเชาทางการเงินเริ่มแรกและจะทยอยรับรูโดยลดจาก รายไดตลอดอายุของสัญญาเชา สินทรัพยที่ใหเชาตามสัญญาเชาดําเนินงานจึงรวมแสดงอยูในงบแสดงฐานะการเงินในสวนที่ดิน อาคาร และอุปกรณ และ ตัดคาเสื่อมราคาตลอดอายุการใหประโยชนของสินทรัพยดวยเกณฑเดียวกันกับรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณของกลุมบริษัท ซึ่ ง มี ลั ก ษณะคล า ยคลึ ง กั น รายได ค า เช า (สุ ท ธิ จ ากสิ่ ง ตอบแทนจู ง ใจที่ ไ ด จ า ยให แ ก ผู ใ ห เ ช า ) รั บ รู ด ว ยวิ ธี เ ส น ตรง ตลอดชวงเวลาการใหเชา 2.16 เงินกูยืม เงินกูยืมจัดประเภทเปนหนี้สินหมุนเวียนเมื่อกลุมบริษัทไมมีสิทธิอันปราศจากเงื่อนไขใหเลื่อนชําระหนี้ออกไปอีกเปนเวลา ไมนอยกวา 12 เดือน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
FINANCIALS
2
88
ตนทุนบริการในอดีตจะถูกรับรูทันทีในงบกําไรขาดทุน เวนแตการเปลี่ยนแปลง โครงการผลประโยชนนั้นจะมี เงื่อนไขซึ่งผูกกับระยะเวลาที่พนักงานยังคงตองใหบริการตามที่กําหนดระยะเวลาการใหสิทธิ ซึ่งในกรณีนี้ตนทุน การใหบริการในอดีตจะถูกตัดจําหนายโดยวิธีเสนตรงตลอดระยะเวลาการใหสิทธิ สําหรับโครงการสมทบเงิน บริษัทจะจายสมทบใหกับผูบริหารกองทุนตามเกณฑสัญญา กลุมบริษัทไมมีภาระ ผูกพันที่จะจายเงินเพิ่มอีกเมื่อไดจายเงินสมทบไปแลว เงินสมทบจะถูกรับรูเปนคาใชจายผลประโยชนพนักงาน เมื่อถึงกําหนดชําระ สําหรับเงินสมทบจายลวงหนาจะถูกรับ รูเปนสินทรัพยจนกวาจะมีก ารไดรับเงิน คืนหรือ หักออกเมื่อครบกําหนดจาย 2.17.2
ผลประโยชนเมื่อเลิกจาง ผลประโยชน เ มื่ อ เลิ ก จ า งจะจ า ยเมื่ อ บริ ษั ท ยกเลิ ก การจ า งงานก อ นวั น เกษี ย ณตามปกติ หรื อ เสนอที่ จ ะให ผลประโยชน เ มื่ อ เลิ ก จ า ง เพื่ อ สนั บ สนุ น การออกจากงานด ว ยความสมั ค รใจของพนั ก งาน บริ ษั ท จะรั บ รู ผลประโยชน เ มื่ อ เลิ ก จ า งเฉพาะเมื่ อ บริ ษั ท มี โ ครงการที่ เ ป น ทางการอย า งละเอี ย ดสํ า หรั บ การเลิ ก จ า งและ ไมสามารถยกเลิกโครงการนั้นได ในสวนของการเสนอที่จะใหผลประโยชนเมื่อเลิกจางดวยความสมัครใจนั้นจะ คํานวณจากจํานวนพนักงานที่คาดวา จะยอมรับขอเสนอ ผลประประโยชนที่มีกําหนดชําระเกินกวา 12 เดือ น ภายหลังรอบระยะเวลารายงานตองคิดลดเปนมูลคาปจจุบัน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
89
FINANCIALS
นโยบายการบัญชี (ตอ)
2
2.18 การจายโดยใชหุนเปนเกณฑ
•
•
รวมเงื่อนไขทางการตลาด ไม รวมผลกระทบของการบริ การและเงื่อนไขการไดรั บสิ ทธิ ที่ไม ใช เงื่ อนไขการตลาด (ตั วอยางเชน ความสามารถ ทํากําไร การเติบโตของกําไรตามที่กําหนดไว และพนักงานจะยังเปนพนักงานของกิจการในชวงเวลาที่กําหนด) และ ไมรวมผลกระทบของเงื่อ นไขการไดรับสิท ธิที่ไมใชเงื่อ นไขการบริก ารหรือ ผลงาน (ตัวอยางเชน ความตอ งการ ความปลอดภัยของพนักงาน)
เงื่อนไขการไดรับสิทธิที่ไมใชเงื่อนไขทางตลาดจะรวมอยูในขอสมมติฐานเกี่ยวกับจํานวนของสิทธิซื้อหุนที่คาดวาจะไดรับ สิทธิ คาใชจายทั้งหมดจะรับรูตลอดระยะเวลาไดรับสิทธิ ซึ่งเปนไปตามเงื่อนไขการไดรับสิทธิที่กําหนดไว กลุมบริษัทจะ ทบทวนการประเมินจํานวนของสิทธิซื้อหุนที่คาดวาจะไดรับสิทธิ ซึ่งขึ้นกับเงื่อนไขการไดรับสิทธิที่ไมใชเงื่อนไขการตลาด และจะรับรูผลกระทบของการปรับปรุงประมาณการเริ่มแรกในกําไรหรือขาดทุนพรอมกับการปรับปรุงรายการไปยังสวนของ ผูถือหุน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาการรายงาน เมื่อมีการใชสิทธิ บริษัท จะออกหุนใหม สิ่งตอบแทนที่ไดรับ สุท ธิของตน ทุน ในการทํารายการทางตรงจะเครดิตไปยัง ทุนเรือนหุน (มูลคาตามบัญชี) และสวนเกินมูลคาหุน กรณีที่บ ริษัท ใหสิท ธิ ซื้อ ตราสารทุน แกพ นัก งานของบริษัท ยอ ยในกลุมบริษัท จะปฏิบัติเหมือ นการเพิ่มทุน อยา งหนึ่ ง กลุมกิจการตองวัดมูลคายุติธรรมของบริการของพนักงาน โดยอางอิงกับมูลคายุติธรรมของตราสารทุนที่ออกให มูลคาของ ตราสารทุ น เหลา นั้น ตอ งวัด ณ วั น ที่ใ หสิ ท ธิ ซึ่ งจะรับ รูต ลอดระยะเวลาที่ ได รับ สิท ธิ เชน เดี ยวกั น กั บ การเพิ่ม ขึ้น ของ เงินลงทุนในบริษัทยอย สําหรับการจายโดยใชหุนเปนเกณฑที่บ ริษัทออกสิทธิซื้อหุนสามัญกอนป พ.ศ. 2554 บริษัทจะบันทึกเมื่อมีการใชสิท ธิ โดยบริษัท จะออกหุน ใหม สิ่งตอบแทนที่ไดรับ สุท ธิของตน ทุน ในการทํารายการทางตรงจะเครดิตไปยังทุน เรือ นหุน (มูลคาตามบัญชี) และสวนเกินมูลคาหุน 2.19 ประมาณการหนี้สิน ประมาณการหนี้สินจะรับรูก็ตอเมื่อกลุมบริษัทมีภาระผูกพันในปจจุบันตามกฎหมายหรือตามขอตกลงที่จัดทําไว อันเปนผล สืบเนื่องมาจากเหตุการณในอดีตซึ่งการชําระภาระผูกพันนั้นมีความเปนไปไดคอนขางแนวาจะสงผลใหบริษัทตองสูญเสีย ทรัพยากรออกไป และตามประมาณการจํานวนที่ตองจายไดอยางนาเชื่อถือ ประมาณการหนี้สินจะไมรับรูสําหรับขาดทุน จากการดําเนินงานในอนาคต
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.19 ประมาณการหนี้สิน (ตอ)
กลุมบริษัทดําเนินโครงการผลตอบแทนพนักงานโดยใชหุนเปนเกณฑที่ชําระดวยตราสารทุน โดยที่กิจการไดรับบริการจาก พนักงาน เปนสิ่งตอบแทนสําหรับตราสารทุน (สิทธิซื้อหุนสามัญ) ที่กิจการออกให มูลคายุติธรรมของบริการของพนักงาน เพื่อแลกเปลี่ยนกับการใหสิทธิซื้อหุนจะรับรูเปนคาใชจาย จํานวนรวมที่ตัดเปนคาใชจายจะอางอิงจากมูลคายุติธรรมสิทธิซื้อหุน ที่ออกใหโดย •
FINANCIALS
2
90
ในกรณีที่มีภ าระผูก พัน ที่ คลา ยคลึงกั น หลายรายการ กลุมกิ จการกํา หนดความนา จะเปน ที่กิจการจะสูญเสี ยทรัพยากร เพื่อจายชําระภาระผูกพันเหลานั้น โดยพิจารณาจากความนาจะเปนโดยรวมของภาระผูกพันทั้งประเภท แมวาความเปนไปได คอนขางแนที่กิจการจะสูญเสียทรัพยากรเพื่อชําระภาระผูกพันบางรายการที่จัดอยูในประเภทเดียวกันจะมีระดับต่ํา กลุมกิจการจะวัดมูลคาของจํานวนประมาณการหนี้สิน โดยใชมูลคา ปจจุบันของรายจายที่คาดวาจะตอ งนํามาจายชําระ ภาระผูกพัน โดยใชอัตรากอนภาษีซึ่งสะทอนถึงการประเมินสถานการณตลาดในปจจุบันของมูลคาของเงินตามเวลาและ ความเสี่ยงเฉพาะของหนี้สินที่กําลังพิจารณาอยู การเพิ่มขึ้นของประมาณการหนี้สินเนื่องจากมูลคาของเงินตามเวลา จะรับรู เปนดอกเบี้ยจาย 2.20 ประมาณการคาเผื่อสินคารับคืน ประมาณการคาเผื่อสินคารับคืนสําหรับแผนวีซีดีและดีวีดี ประมาณขึ้นโดยพิจารณาจากขอมูลในอดีตที่เกิดขึ้นและปจจัย การตลาดอื่นๆ ที่เกี่ยวของ ประมาณการคาเผื่อสินคารับคืนบันทึกดวยกําไรขั้นตนและแสดงในงบกําไรขาดทุนโดยสุทธิ จากยอดขาย 2.21 ประมาณการหนี้สินโปรแกรมสิทธิพิเศษแกลูกคา บริษัทประมาณการหนี้สินจากการแลกคะแนนสะสม โดยพิจารณาจากอัตราการแลกคะแนนสะสมที่ผานมา และจํานวน คะแนนสะสมที่คงเหลืออยู ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน 2.22 การรับรูรายได รายไดหลักของกลุมบริษัท คือ รายไดจากการมีผูเขาชมภาพยนตร รายไดจากการจําหนายอาหารและเครื่องดื่ม รายไดจาก การใหบริการโฆษณาสินคา รายไดจากการใหบริการโบวลิ่งและคาราโอเกะ รายไดจากการใหเชาพื้นที่และบริการ รายไดจาก การจําหนายแผนวีซีดี ดีวีดี และลิขสิทธิ์ภาพยนตรและรายไดจากการสนับสนุนธุรกิจ รายไดประกอบดวยมูลคายุติธรรมที่ไดรับจากการขายสินคาและบริการที่ใหเปนจํานวนเงินสุทธิจากภาษีขาย เงินคืน และ สวนลด โดยไมรวมรายการขายภายในกลุมบริษัทสําหรับงบการเงินรวม รายไดจากการขายสินคารับรูเมื่อผูซื้อรับโอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เปนสาระสําคัญของความเปนเจาของสินคา รายได จากการใหบริการแกลูกคารับรูเมื่อการใหบริการแลวเสร็จ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
91
FINANCIALS
3
นโยบายการบัญชี (ตอ) 2.22 การรับรูรายได (ตอ)
รายไดจากการเผยแพรโฆษณาตางๆ รับรูเมื่อมีการโฆษณา รายไดจากการใหบริการเคเบิ้ลทีวี รับรูรายไดเมื่อไดใหบริการแกลูกคาตลอดระยะเวลาของสัญญา
ปจจัยความเสี่ยงทางการเงิน กิจกรรมของกลุมบริษัทยอมมีความเสี่ยงทางการเงินที่หลากหลายซึ่งไดแก ความเสี่ยงจากตลาด (รวมถึงความเสี่ยงจาก อัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงดานมูลคายุติธรรมอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย และดานกระแสเงินสด อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในอัตราดอกเบี้ย) ความเสี่ยงดานการใหสินเชื่อ และความเสี่ยงดานสภาพคลอง แผนการจัดการ ความเสี่ยงโดยรวมของกลุมบริษัทจึงมุงเนนความผันผวนของตลาดการเงินและแสวงหาวิธีการลดผลกระทบที่ทําใหเสียหาย ตอผลการดําเนินงานทางการเงินของกลุมบริษัทใหเหลือนอยที่สุดเทาที่เปนไปได 3.1.1 ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
รายไดจากการใหเชาพื้นที่และบริการรับรูเปนรายไดตลอดระยะเวลาอายุสัญญาเชา
กลุมบริษัท ไมมีความเสี่ยงอยางเปน สาระสําคัญจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ เนื่องจากกลุมบริษัท มีลูกหนี้และเจาหนี้สวนใหญเปนสกุลเงินบาท กลุมบริษัทไมไดใชสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนลวงหนาเพื่อปองกัน ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ
รายไดรอการตัดบัญชีจากการใหเชาพื้นที่ และการบริการ รับรูเปนรายไดเมื่อไดใหบริการแกลูกคาแลว รายไดอื่นรับรูตามเกณฑดังตอไปนี้ รายไดดอกเบี้ย - รับรูตามเกณฑสัดสวนของเวลาโดยพิจารณาจากอัตราดอกเบี้ยที่แทจริงของชวงเวลาจนถึงวันครบอายุ และพิจารณาจากจํานวนเงินตนที่เปนยอดคงเหลือในบัญชีสําหรับการบันทึกคางรับของกลุมบริษัท รายไดเงินปนผล - รับรูเมื่อสิทธิที่จะไดรับเงินปนผลนั้นเกิดขึ้น 2.23 ภาษีเงินได กลุมบริษัทคํานวณภาษีเงินไดตามเกณฑที่กําหนดไวในประมวลรัษฎากรและบันทึกภาษีเงินไดตามเกณฑคงคาง
3.1.2 ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย รายไดและกระแสเงิ นสดจากการดําเนินงานของกลุมบริษั ทสวนใหญไม ขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของอั ตราดอกเบี้ ย ในตลาด ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยเกิดขึ้นจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งอาจจะสงผลกระทบตอ ผลการดําเนินงาน และกระแสเงินสดของกลุมบริษัท อัตราดอกเบี้ยเงินกูยืมของกลุมบริษัทสวนใหญเปนอัตราคงที่ กลุมบริษัทไมไดใชอนุพันธดานอัตราดอกเบี้ยเพื่อปองกันความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยดังกลาว 3.1.3 ความเสี่ยงดานการใหสินเชื่อ
กลุมบริษัทไมรับรูภาษีเงินไดคางจายหรือคางรับที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในสวนของผลตางชั่วคราวระหวางฐานภาษีของ สินทรัพยและหนี้สินกับราคาตามบัญชีที่แสดงอยูในงบการเงิน ผลตางชั่วคราวหลักเกิดจากคาตัดจําหนายลิขสิทธิ์ภาพยนตร และภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน 2.24 การจายเงินปนผล เงินปนผลที่จายบันทึกในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทในรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งที่ประชุมผูถือหุนของบริษัท ไดอนุมัติการจายเงินปนผล 2.25 ขอมูลจําแนกตามสวนงาน ขอมูลจําแนกตามสวนงานไดจัดทําขึ้นโดยอาศัยรายงานภายในของกลุมบริษัท ซึ่งจําแนกขอมูลทางการเงินตามการใหบริการ หรือผลิตภัณฑของแตละสายธุรกิจ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
การจัดการความเสี่ยงทางการเงิน 3.1
รายไดจากการใหใชสิทธิ์ในภาพยนตรรวมถึงสิทธิ์ที่เกิดจากภาพยนตรที่ผลิตเองและคิดคาธรรมเนียมเปนจํานวนคงที่ โดย ผูใชสิทธิ์ไมสามารถเรียกคืนคาธรรมเนียมไดและผูใหสิทธิ์ไมมีขอผูกพันภายหลังการใหใชสิทธิ์จะถือเปนรายไดทั้งจํานวน เมื่อผูใชสิทธิ์สามารถใชสิทธิไดตามสัญญา
FINANCIALS
2
92
กลุมบริษัทไมมีการกระจุกตัวอยางมีนัยสําคัญของความเสี่ยงดานการใหสินเชื่อเนื่องจากกลุมบริษัทมีลูกคาจํานวน มากราย ซึ่ ง รายได ส ว นใหญ ข องกลุ ม บริ ษั ท เป น รายได ที่ รั บ เป น เงิ น สด กลุ ม บริ ษั ท มี น โยบายที่ เ หมาะสม เพื่อทําใหเชื่อมั่นไดวาไดขายสินคาและใหบริการแกลูกคาที่มีประวัติสินเชื่ออยูในระดับที่เหมาะสม คูสัญญาใน อนุพันธทางการเงินและรายการเงินสดไดเลือกที่จะทํารายการกับสถาบันการเงินที่มีคุณภาพและมีความนาเชื่อถือสูง 3.1.4 ความเสี่ยงดานสภาพคลอง จํานวนเงินสดที่มีอยางเพียงพอและเงินลงทุนในหลักทรัพยที่มีตลาดรองรับยอมแสดงถึงการจัดการความเสี่ยงของ สภาพคลองอยางรอบคอบ ความสามารถในการหาแหลงเงินลงทุนแสดงใหเห็นไดจากการที่มีวงเงินอํานวยความสะดวก ในการกู ยืม ที่ ได มี การตกลงไว แล ว อย า งเพี ยงพอ ส วนงานบริห ารเงิ น ของกลุ มบริ ษัท ไดตั้ ง เป า หมายว า จะใช ความยืดหยุนในการระดมเงินลงทุนโดยการรักษาวงเงินสินเชื่อที่ตกลงไวใหเพียงพอที่จะหามาไดเนื่องจากลักษณะ ธรรมชาติของธุรกิจที่เปนฐานของกลุมบริษัทมีพลวัตเปลี่ยนแปลงได
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
93
FINANCIALS
การจัดการความเสี่ยงทางการเงิน (ตอ) 3.2
4
มูลคายุติธรรม มูลคายุติธรรมของสินทรัพยทางการเงินและหนี้สินทางการเงินที่มีอายุคงเหลือต่ํากวาหนึ่งป มีคาใกลเคียงกับมูลคาทางบัญชี เงินกูยืมระยะยาวมีอัตราดอกเบี้ยใกลเคียงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด นอกจากนี้เงินกูยืมกับกิจการที่เกี่ยวของกันมีอัตรา ดอกเบี้ยใกลเคียงกับอัตราดอกเบี้ยในตลาด ดังนั้นฝายบริหารจึงเชื่อวามูลคาตามบัญชีของเงินกูยืมดังกลาวมีมูลคาใกลเคียงกับ มูลคายุติธรรม
4
FINANCIALS
3
ประมาณการทางบัญชีที่สําคัญ ขอสมมติฐาน และการใชดุลยพินิจ
ประมาณการทางบัญชีที่สําคัญ ขอสมมติฐาน และการใชดุลยพินิจ (ตอ) 4.4
การบันทึกตนทุนภาพยนตรระหวางผลิต บันทึกตามตนทุนที่เกิดขึ้น เมื่อมีขอบงชี้และหากมูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนต่ํากวา ตนทุน กลุมบริษัทจะรับรูคาเผื่อการดอยคาของภาพยนตรดังกลาว ซึ่งการพิจารณามูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนเพื่อใชในการ คํานวณตองอาศัยการประมาณการจากผูบริหาร 4.5
การประมาณการ ขอสมมติฐานและการใชดุลยพินิจ ไดมีการประเมินทบทวนอยางตอเนื่องและอยูบนพื้นฐานของประสบการณ ในอดีตและปจจัยอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงเหตุการณในอนาคตที่เชื่อวามีเหตุผลในสถานการณขณะนั้น 4.1
4.2
4.3
4.6
คาเผื่อสินคารับคืน ฝายบริหารเปนผูประมาณการคาเผื่อสินคารับคืนสําหรับแผนวีซีดีและดีวีดีที่คาดวาจะไดรับคืนในอนาคต ผูบริหารประมาณการ สัด สว นร อ ยละที่ ค าดวา จะรั บ คื น โดยพิจ ารณาจากข อ มู ล และประสบการณ ในอดี ต รวมถึง รู ป แบบการดํา เนิน ธุร กิ จ ในปจจุบัน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
94
ประมาณการดอยคาของคาความนิยม กลุมบริษัททดสอบการดอยคาของคาความนิยมทุกป ตามที่ไดกลาวในหมายเหตุ 2.11 มูลคาที่คาดวาจะไดรับคืนของหนวย สินทรัพยที่กอใหเกิดเงินสด พิจารณาจากการคํานวณมูลคาจากการใช การคํานวณดังกลาวอาศัยการประมาณการ (หมายเหตุ 14) หากประมาณการตนทุนของเงินลงทุนกอนภาษีที่ใชในการคํานวณกระแสเงินสดคิดลด สูงกวารอยละ 1.0 ของอัตราที่ ผูบริหารประมาณไว (เชน รอยละ 9.5 แทนที่จะเปนรอยละ 8.5) กลุมบริษัทจะตองรับรูคาเผื่อการดอยคาของคาความนิยม เพิ่มขึ้นอีก 37.00 ลานบาท
คาเผื่อการลดมูลคาของสินคาเกา ลาสมัยหรือเสื่อมคุณภาพ กลุมบริษัทตั้งคาเผื่อการลดมูลคาของสินคาเกา ลาสมัยหรือเสื่อมคุณภาพโดยประมาณการมูลคาสุทธิที่จะไดรับ ซึ่งคํานวณ จากราคาปกติที่คาดวาจะขายไดของธุรกิจหักดวยคาใชจายที่จําเปนเพื่อใหสินคาสําเร็จรูป การคํานวณดังกลาวตองอาศัย การประมาณการของผูบริหาร โดยพิจารณาจากขอมูลในอดีต ประสบการณของผูบริหารในธุรกิจ และแนวโนมของตลาด
รายได/การตัดจําหนายลิขสิทธิ์ภาพยนตร กลุมบริษัทตัดจําหนายลิขสิทธิ์ภาพยนตรและบันทึกเปนตนทุนจายตามอัตราสวนของรายไดที่คาดวาจะไดรับในแตล ะ ชองทางตลาด และระยะเวลาของลิขสิทธิ์ ซึ่งการประมาณการรายไดที่คาดวาจะไดรับในแตละชองทางเพื่อนํามาใชคํานวณ อัตราสวนนี้ผูบริหารเปนผูประมาณการโดยพิจารณาจากขอมูลและประสบการณในอดีต
ประมาณการการดอยคาของลูกหนี้การคา กลุมบริษัทตั้งคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพื่อใหสะทอนถึงการดอยคาลงของลูกหนี้การคาโดยประมาณการขาดทุนที่อาจเกิดจาก การที่ลูกคาไมสามารถชําระหนี้ได กลุมบริษัทประเมินคาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากการคาดการณกระแสเงินสดรับในอนาคต ซึ่งอยูบนพื้นฐานของประสบการณในอดีตในการรับชําระหนี้ และกรณีของการผิดชําระหนี้ที่เกิดขึ้น และการพิจารณา แนวโนมของตลาด
มูลคาภาพยนตรระหวางผลิต
4.7
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ และสินทรัพยไมมีตัวตน ฝายบริหารเปนผูประมาณการอายุการใชงานและมูลคาคงเหลือ สําหรับอาคารและอุปกรณ และสินทรัพยไมมีตัวตนของ กลุมบริษัท โดยฝายบริหารจะทบทวนคาเสื่อมราคาเมื่ออายุการใชงานมีความแตกตางไปจากประมาณการในงวดกอน หรือมีการ ตัดจําหนายสินทรัพยที่ลาสมัยหรือเลิกใชงานหรือจําหนายออกไป
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
95
11 1,386
(50)
8
5,332 2,122 4,048 11,502
778 68 214 (55) 9 1,014 (133) 157 1,038 (282) 756 (34)
807 46 (5)
3,074 สินทรัพยถาวรของสวนงาน เงินลงทุนในบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา สินทรัพยที่ยังไมไดปนสวน สินทรัพยทั้งสิ้นในงบการเงินรวม
(176) 51 425
7
7,551 (586) 6,965 194 (70) 124 787 (53) 734 605 (100) 505 597 (85) 512
505
ผลการดําเนินงานตามสวนงาน เงินชดเชยคาเสียหายและคืนพื้นที่ กําไรจากการจําหนายเงินลงทุน การดอยคาของคาความนิยม รายไดที่ไมสามารถปนสวนได กําไรจากการดําเนินงาน ตนทุนทางการเงิน สวนแบงกําไรของบริษัทรวมและกิจการรวมคา กําไรกอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไรสุทธิ
ในการดํารงไวหรือปรับโครงสรางของทุน กลุมบริษัทอาจปรับนโยบายการจายเงินปนผลใหกับผูถือหุน การคืนทุนใหแกผูถือหุน การออกหุนใหมหรือการขายทรัพยสินเพื่อลดภาระหนี้สิน
ขอมูลทางการเงินจําแนกตามสวนงาน
วัตถุประสงคของกลุมบริษัทในการบริหารทุนของบริษัทนั้นเพื่อดํารงไวซึ่งความสามารถในการดําเนินงานอยางตอเนื่องของกลุมบริษัท เพื่อสรางผลตอบแทนตอผูถือหุนและเปนประโยชนตอผูที่มีสวนไดเสียอื่น และเพื่อดํารงไวซึ่งโครงสรางของทุนที่เหมาะสมเพื่อ ลดตนทุนทางการเงินของทุน
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
การจัดการความเสี่ยงในสวนของทุน
ขอมูลทางการเงินจําแนกตามสวนงานธุรกิจ มีดังตอไปนี้
5
ธุรกิจ โรงภาพยนตร
บริษัทประมาณการหนี้สินจากการแลกคะแนนสะสม โดยพิจารณาจากอัตราการแลกคะแนนสะสมที่ผานมา และจํานวน คะแนนสะสมที่คงเหลืออยู ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
669 (20) 649
ประมาณการหนี้สินโปรแกรมสิทธิพิเศษแกลูกคา
ธุรกิจ โฆษณา
4.9
4,699 (258) 4,441
ขอสมมติฐานหลักอื่นๆสําหรับภาระผูกพันผลประโยชนพนักงานอางอิงกับสถานการณปจจุบันในตลาด ขอมูลเพิ่มเติม เปดเผยในหมายเหตุ 21
ธุรกิจโบวลิ่ง และคาราโอเกะ
งบการเงินรวม
กลุมบริษัทไดพิจารณาอัตราคิดลดที่เหมาะสมในแตละป ซึ่งไดแกอัตราดอกเบี้ยที่ควรจะใชในการกําหนดมูลคาปจจุบันของ ประมาณการกระแสเงิ น สดที่ค าดว า จะต อ งจ า ยภาระผลประโยชน พ นั กงานในการพิ จารณาอั ต ราคิ ดลดที่ เ หมาะสม กลุมบริษัทพิจารณาใชอัตราผลตอบแทนในตลาดของพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งเปนสกุลเงินเดียวกับสกุลเงินที่ตอ งจายชําระ ผลประโยชนเมื่อเกษียณอายุ และมีอายุครบกําหนดใกลเคียงกับระยะเวลาที่ตองจายชําระภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน ที่เกี่ยวของ
ธุรกิจใหเชา และบริการ
ธุรกิจจําหนาย วีซีดี ดีวีดี และ ลิขสิทธิ์ภาพยนตร
มูล ค า ปจ จุ บั น ของภาระผู ก พัน ผลประโยชนพ นั ก งานขึ้ น อยู กั บ หลายป จจั ย ที่ ใ ชใ นการคํ า นวณตามหลั ก คณิ ตศาสตร ประกันภัยโดยมีขอสมมติฐานหลายตัว รวมถึงขอสมมติฐานเกี่ยวกับอัตราคิดลด การเปลี่ยนแปลงของขอสมมติฐานเหลานี้ จะสงผลกระทบตอมูลคาของภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน
รายได รายไดตามสวนงานธุรกิจ รายไดระหวางสวนงานธุรกิจ รายไดสุทธิ
ธุรกิจ ผลิตภาพยนตร
ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน
กลุมบริษัท รวม
หนวย : ลานบาท
4.8
6
FINANCIALS
ประมาณการทางบัญชีที่สําคัญ ขอสมมติฐาน และการใชดุลยพินิจ (ตอ)
FINANCIALS
4
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
96
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
97
5,181 2,090 3,717 10,988 3
1,002 9 (59) 952 (144) 212 1,020 (218) 802 (18)
7,326 (578) 6,748 188 (69) 119 862 (92) 770
13
(1)
ตนทุนที่ไมสามารถปนสวนไดสวนใหญเปนคาใชจายสวนกลาง สินทรัพยของสวนงานประกอบดวย ที่ดิน อาคารและอุปกรณ สินทรัพยไมมีตัวตน สินคาคงเหลือ ลูกหนี้ และเงินสดสําหรับการดําเนินงานแตไมรวมเงินลงทุน
7
1,248
568 (85) 483
หนี้สินของกลุมบริษัทสวนใหญเปนเงิน กูยืมเพื่อ ใชกับทุกสวนงานและบริหารสภาพคลองโดยรวม ดังนั้น กลุมบริษัท จึงไมได นําเสนอขอมูลหนี้สินจําแนกตามสวนงาน 88
กลุม บริษัท รวม ธุรกิจ ผลิตภาพยนตร ธุรกิจใหเชา และบริการ
ขอมูลทางการเงินจําแนกตามสวนงาน (ตอ)
เงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด หนวย : บาท
785
(5)
582 (89) 493
43
รวมเงินสดและรายการเทียบเทาเงินสด
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
31,471,741 449,261,181 480,732,922
31,874,572 428,925,675 460,800,247
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 22,895,066 308,477,828 331,372,894
22,946,348 335,366,536 358,312,884
เงินฝากธนาคารประเภทจายคืนเมื่อทวงถามมีอัตราดอกเบี้ยที่แทจริงอยูที่รอยละ 0.10 ถึงรอยละ 3.25 ตอป (พ.ศ. 2554 : รอยละ 0.25 ถึงรอยละ 2.50 ตอป)
3,089
579 (6) 573
416 522
ธุรกิจ โรงภาพยนตร
เงินสด เงินฝากธนาคารประเภทจายคืนเมื่อทวงถาม
4,547 (237) 4,310
ธุรกิจโบวลิ่ง และคาราโอเกะ
งบการเงินรวม
ธุรกิจ โฆษณา
งบการเงินรวม
ธุรกิจจําหนาย วีซีดี ดีวีดี และ ลิขสิทธิ์ภาพยนตร
หนวย : ลานบาท
FINANCIALS
FINANCIALS
6
8
เงินลงทุน
สินทรัพยถาวรของสวนงาน เงินลงทุนในบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา สินทรัพยที่ยังไมไดปนสวน สินทรัพยทั้งสิ้นในงบการเงินรวม
ผลการดําเนินงานตามสวนงาน กําไรจากการจําหนายเงินลงทุน ตนทุนที่ไมสามารถปนสวนได กําไรจากการดําเนินงาน ตนทุนทางการเงิน สวนแบงกําไรของบริษัทรวมและกิจการรวมคา กําไรกอนภาษีเงินได ภาษีเงินได กําไรสุทธิ
รายได รายไดตามสวนงานธุรกิจ รายไดระหวางสวนงานธุรกิจ รายไดสุทธิ
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554
งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะบริษัท ประเภทหมุนเวียน ประเภทไมหมุนเวียน
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
372,406,147 372,406,147
50,595,828 177,457,846 228,053,674
6
ขอมูลทางการเงินจําแนกตามสวนงาน (ตอ)
หนวย : บาท
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
98
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
99
FINANCIALS
เงินลงทุน (ตอ)
9
ลูกหนี้การคาและลูกหนี้อื่น
ประเภทหมุนเวียน - เงินลงทุนชั่วคราว
หนวย : บาท งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 50,595,828 (49,818,490) (777,338) -
48,526,268 250,050,000 (250,000,000) 2,019,560 50,595,828
ในระหวางป พ.ศ. 2555 บริษัทมีกําไรจากการจําหนายเงินลงทุนชั่วคราวจํานวน 3.40 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : 0.14 ลานบาท) ประเภทไมหมุนเวียน - หลักทรัพยเผื่อขาย
เงินลงทุนในบริษัทอื่น หัก คาเผื่อการดอยคา เงินลงทุนในบริษัทอื่น - สุทธิ
177,457,846 177,457,846
การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนประเภทไมหมุนเวียนในระหวางปมีดังนี้ ราคาตามบัญชีตนป จําหนายเงินลงทุน กลับรายการการดอยคา การตีราคาใหมของหลักทรัพยเผื่อขาย ราคาตามบัญชีปลายป
177,457,846 194,948,301 372,406,147
บุคคลภายนอก - ลูกหนี้การคา - รายไดที่ยังไมไดเรียกเก็บ รวม หัก คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้การคา - บุคคลภายนอก - สุทธิ ลูกหนี้การคา - กิจการที่เกี่ยวของกัน (หมายเหตุ 33) ลูกหนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน (หมายเหตุ 33) ลูกหนี้อื่น คาใชจายจายลวงหนา ลูกหนี้การคาและลูกหนี้อื่น
หนวย : บาท งบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 372,406,147 372,406,147
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
งบการเงินรวม พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555
เงินลงทุนชั่วคราวเปนเงินลงทุนในกองทุนเปด การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนชั่วคราวในระหวางปมีดังตอไปนี้
ราคาตามบัญชีตนป การลงทุนเพิ่ม จําหนายเงินลงทุน การตีราคาใหมของหลักทรัพยเผื่อขาย ราคาตามบัญชีปลายป
หนวย : บาท
278,094,853 (44,918,290) 19,766,982 (75,485,699) 177,457,846
ในระหวางป พ.ศ. 2554 บริษัทมีขาดทุนจากการจําหนายเงินลงทุนในหลักทรัพยเผื่อขายจํานวน 13.84 ลานบาท
828,289,046 702,755,496 147,506,084 124,206,678 975,795,130 826,962,174 (50,436,954) (44,872,498) 925,358,176 782,089,676 8,860,461 24,255,009 43,904,035 38,293,081 397,502,420 208,015,712 77,934,522 37,350,566 1,453,559,614 1,090,004,044
65,915,475 36,203,791 102,119,266 102,119,266 132,621,634 280,199,584 283,912,002 51,771,475 850,623,961
103,794,872 9,575,332 113,370,204 113,370,204 223,820,924 326,382,261 110,073,610 9,239,696 782,886,695
ลูกหนี้การคา - บุคคลภายนอก ณ วันที่ 31 ธันวาคม สามารถวิเคราะหตามอายุหนี้ที่คางชําระไดดังนี้ หนวย : บาท งบการเงินรวม พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555 รายไดที่ยังไมไดเรียกเก็บ ลูกหนี้การคา ยังไมถึงกําหนดชําระ คางชําระไมเกิน 3 เดือน 3 - 6 เดือน เกินกวา 6 เดือน รวม หัก คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้การคาบุคคลภายนอก - สุทธิ
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
147,506,084
124,206,678
36,203,791
9,575,332
392,684,328 220,243,525 75,602,717 139,758,476 975,795,130 (50,436,954) 925,358,176
292,483,958 313,185,511 22,765,620 74,320,407 826,962,174 (44,872,498) 782,089,676
32,465,406 31,110,275 545,044 1,794,750 102,119,266 102,119,266
33,917,758 65,527,718 1,058,924 3,290,472 113,370,204 113,370,204
บริษัท พีวีอาร จํากัด บริษัทไดซื้อหุนในบริษัท พีวีอาร จํากัด (“PVR”) ซึ่งเปนบริษัทที่จัดตั้งและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยในประเทศอินเดียจํานวน 2,557,000 หุน ในราคาหุนละ 165 รูป หรือ 120.45 บาท คิดเปนสัดสวนรอยละ 8.84 เปนจํานวนเงินทั้งสิ้น 307,990,650 บาท บริษัท ไดบันทึกเปนเงินลงทุนเผื่อขายและบันทึกผลจากการเปลี่ยนแปลงในมูลคายุติธรรมของเงินลงทุนในงบกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
100
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
101
FINANCIALS
8
FINANCIALS
12
สินคาคงเหลือ - สุทธิ หนวย : บาท งบการเงินรวม อาหารและเครื่องดื่ม แผนวีซีดีและดีวีดี - สุทธิจากคาเผื่อ วัสดุสิ้นเปลืองและอื่นๆ สินคาระหวางทาง สินคาคงเหลือ - สุทธิ
งบการเงินเฉพาะบริษัท
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
48,594,571 71,267,512 11,650,351 728,266 132,240,700
43,136,467 101,159,358 6,473,004 3,082,002 153,850,831
33,104,262 5,006,696 38,110,958
28,397,339 4,858,587 33,255,926
ตนทุ นของสิ นคาคงเหลื อที่ รับรู เป นค าใชจ ายและรวมอยู ในต นทุ นขายเป นจํ านวน 500.40 ล านบาท และจํ านวน 246.94 ล านบาท ในงบกําไรขาดทุนรวมและงบกําไรขาดทุนเฉพาะบริษัท ตามลําดับ (พ.ศ. 2554 : 499.12 ลานบาท และจํานวน 222.42 ลานบาท) กลุมบริษัทบันทึกผลขาดทุนจากสินคาลาสมัยและคาเผื่อการลดมูลคาสินคาในงบกําไรขาดทุนรวมสําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เปนจํานวน 32.95 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : 2.38 ลานบาท) 11
สินทรัพยหมุนเวียนอื่น
หนวย : บาท งบการเงินรวม พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555
ภาษีมูลคาเพิ่มคางรับ ภาษีถูกหัก ณ ที่จาย อื่น ๆ
122,038,261 26,437,635 14,363,798 162,839,694
97,106,812 42,678,444 44,875,692 184,660,948
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 23,629,542 3,197,067 26,826,609
19,776,377 16,540,710 36,317,087
FINANCIALS
10
เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา - สุทธิ ก)
การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา มีดังนี้ เงินลงทุนในบริษัทยอย
หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555
เงินลงทุนในบริษัทยอย หัก คาเผื่อการดอยคา เงินลงทุนในบริษัทยอย - สุทธิ
2,354,200,286 (3,000,000) 2,351,200,286
1,911,916,647 1,911,916,647
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ยอดคงเหลือตนป เงินลงทุนเพิ่ม ลดลงจากการลดทุน การดอยคา ยอดคงเหลือปลายป
1,911,916,647 486,532,739 (44,249,100) (3,000,000) 2,351,200,286
1,878,640,243 33,276,404 1,911,916,647
ในระหวางป พ.ศ. 2555 การลงทุนเพิ่มในบริษัทยอย บริษัท อีจีวี เอนเตอรเทนเมนท จํากัด (มหาชน) (“EGV”) บริษัทซื้อหุนสามัญของ EGV จํานวน 103 ลานหุน รวมเปนจํานวนเงิน 470.00 ลานบาท จากบริษัทยอยแหงหนึ่ง ผลจาก การลงทุนเพิ่มดังกลาว ทําใหสัดสวนการถือหุนโดยตรงเปลี่ยนแปลงจากเดิมในอัตรารอยละ 60.36 เปนรอยละ 99.98 และ สัดสวนการถือหุนทางออมของบริษัทเปลี่ยนแปลงจากเดิมในอัตรารอยละ 39.61 เปนไมมีการถือหุนทางออม อยางไรก็ตาม สัดสวนการถือหุนโดยรวมของกลุมบริษัทไมไดเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บริษัท เอ็ม พิคเจอรส เอ็นเตอรเทนเมนท จํากัด (มหาชน) (“MPIC”) บริษัทลงทุนในหุนสามัญของ MPIC เพิ่มจํานวน 11.47 ลานหุน รวมเปนเงินจํานวน 16.53 ลานบาท ทําใหสัดสวนการ ถือหุน เปลี่ยนแปลงจากเดิมในอัตรารอ ยละ 66.07 เปนรอ ยละ 67.86 ผลตางจากการซื้อ หุนเพิ่มจํา นวน 12.99 ลา นบาท บันทึกเปน “สวนต่ําจากการรวมธุรกิจภายใตการควบคุมเดียวกัน” ซึ่งแสดงอยูภายใตสวนของผูถือหุน ในเดื อ นธั น วาคม พ.ศ. 2555 กลุ ม บริ ษั ท ได รั บ รู ข าดทุ น จากการด อ ยค า ของค า ความนิ ย มจํ า นวน 50.00 ล า นบาท (หมายเหตุ 14) ซึ่ ง ปจ จั ย หลั ก ที่ มีผ ลต อ การรั บ รู ข าดทุน ดั ง กล า วมีดั ง ต อ ไปนี้ ก) การลดลงของรายได ที่ค าดการณ ไ ว จากผลกระทบจากปจจัยภายนอกตาง ๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในพฤติก รรมของผูบริโภคในเทคโนโลยีและชองทาง การจําหนายโดยเฉพาะวีซีดีและดีวีดี ซึ่งสงผลกระทบตอผลประกอบการในระยะยาว ตลอดจนภาวะการณและแนวโนม ของตลาดโดยรวม และ ข) การยกเลิกของสัญญาจัดจําหนายกับสตูดิโอภาพยนตรที่สําคัญในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
102
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
103
FINANCIALS
12
เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา - สุทธิ (ตอ) ก)
การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา มีดังนี้ (ตอ)
เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา - สุทธิ (ตอ) ก)
ในระหวางป พ.ศ. 2555 (ตอ)
FINANCIALS
12
การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา มีดังนี้ (ตอ) เงินลงทุนในบริษัทรวม
การลดทุนในบริษัทยอย บริษัท เชียงใหม ซีนีเพล็กซ จํากัด (“CMC”)
หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม
ผูถือหุนของ CMC ไดอนุมัติใหลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจากมูลคาที่ตราไวหุนละ 100 บาท เปนมูลคาที่ตราไวหุนละ 25 บาท จํานวน 200,000 หุน รวมเปนเงิน 15,000,000 บาท บริษัทไดรับเงินคืนจากการลดทุนดังกลาวจํานวน 14,999,475 บาท ในระหวางเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม พ.ศ. 2555 บริษัท อุดร ไฟวสตาร ซีนีเพล็กซ จํากัด (“UDF”) ผูถือหุนของ UDF ไดอนุมัติใหลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจากมูลคาที่ตราไวหุนละ 100 บาท เปนมูลคาที่ตราไวหุนละ 25 บาท จํานวน 390,000 หุ น เปน เงิน 29,250,000 บาท บริษั ท ได รับ เงิน คื น จากการลดทุน ดั งกล า วจํ า นวน 29,249,625 บาท ในระหวางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 นอกจากนี้บริษัทไดบันทึกขาดทุนจากการดอยคาของคาความนิยมจํานวน 5,047,537 บาท และบันทึกคาเผื่อการดอยคาของ เงินลงทุนใน UDF จํานวน 3,000,000 บาท ซึ่งบันทึกในงบกําไรขาดทุนรวมและงบกําไรขาดทุนเฉพาะบริษัท ตามลําดับ ในระหวางป พ.ศ. 2555 บริษัทยอยหลายแหงไดจายเงินปนผลใหแกบริษัทรวมเปนจํานวน 38.18 ลานบาท ซึ่งแสดงไวใน “รายไดอื่น” ในงบกําไรขาดทุนเฉพาะบริษัท ในระหวางป พ.ศ. 2554
ราคาตามบัญชีตนป ผลกระทบของการเปลี่ยนนโยบายการบัญชี ซื้อเงินลงทุนเพิ่ม จําหนายเงินลงทุน ลดลงจากการลดทุนของบริษัทรวม เงินปนผลรับ สวนแบงกําไรในบริษัทรวม ราคาตามบัญชีปลายป
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
1,977,166,901 33,025,890 (150,892,414) (121,345,342) 145,930,981 1,883,886,016
2,205,262,747 (3,883,256) 129,999,885 (19,774,466) (202,500,000) (340,105,648) 208,167,639 1,977,166,901
1,792,353,449 33,025,890 (108,956,995) 1,716,422,344
1,878,745,369 129,999,885 (13,891,805) (202,500,000) 1,792,353,449
กลุมบริษัทมีกําไรในรายการระหวางกันที่เกิดจากการจําหนายสินทรัพยใหกับกองทุนรวมสิทธิการเชาอสังหาริมทรัพย ซึ่งรับรูในงบกําไรขาดทุนรวมดวยวิธีเสนตรงตลอดอายุของสัญญาเชาอาคารที่จําหนายไป ในระหวางป พ.ศ. 2555 กลุมบริษัท รับรูกําไรในรายการระหวางกันดังกลาวเปนรายไดจํานวน 16.32 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : 16.32 ลานบาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เงินลงทุนในบริษัทรวมรวมคาความนิยมสุทธิในงบการเงินรวมที่มีมูลคาตามบัญชีจํานวน 44.12 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : 44.12 ลานบาท)
บริษัท เอ็ม พิคเจอรส เอ็นเตอรเทนเมนท จํากัด (มหาชน) (“MPIC”) การลงทุนเพิ่มในบริษัทยอย บริษัทไดลงทุนในหุนสามัญของ MPIC จํานวน 0.89 ลานหุน รวมเปนเงินจํานวน 1.28 ลานบาท ทําใหสัดสวนการถือหุน เปลี่ยนแปลงจากเดิมในอัตรารอยละ 65.93 เปนรอยละ 66.07 บริษัท ทาเลนต วัน จํากัด (“TLO”) การซื้อเงินลงทุน ในระหวางป พ.ศ. 2554 บริษัทไดลงทุนในหุนสามัญของ TLO จํานวน 0.12 ลานหุน รวมเปนจํานวน 12 ลานบาท คิดเปน สัดสวนการถือหุนเทากับรอยละ 60 ซึ่งมีคาความนิยม 3.70 ลานบาท (หมายเหตุ 14) ตอมาบริษัทไดลงทุนเพิ่มในหุนสามัญของ TLO จํานวน 0.20 ลานหุน รวมเปนจํานวน 20.00 ลานบาท ทําใหสัดสวนการถือหุน เปลี่ยนแปลงจากเดิมในอัตรารอยละ 60 เปนรอยละ 80 ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
104
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
105
FINANCIALS
เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา - สุทธิ (ตอ) ก)
12
การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา มีดังนี้ (ตอ)
เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา - สุทธิ (ตอ) ก)
การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา มีดังนี้ (ตอ)
เงินลงทุนในบริษัทรวม (ตอ)
เงินลงทุนในบริษัทรวม (ตอ)
ในระหวางป พ.ศ. 2555
ในระหวางป พ.ศ. 2554
บริษัท สยามฟวเจอรดีเวลลอปเมนท จํากัด (มหาชน) (“SF”)
บริษัท สยามฟวเจอรดีเวลลอปเมนท จํากัด (มหาชน) (“SF”)
การลงทุนเพิ่มในบริษัทรวม
การลงทุนเพิ่มในบริษัทรวม
ในระหวางป พ.ศ. 2555 บริษัทลงทุนเพิ่มในหุนสามัญของ SF จํานวน 4.23 ลานหุน รวมเปนจํานวนเงิน 33.03 ลานบาท
ในระหวางป พ.ศ. 2554 บริษัทไดลงทุนเพิ่มในหุนสามัญของ SF จํานวน 20.52 ลานหุน รวมเปนจํานวนเงิน 130.00 ลานบาท
การจําหนายเงินลงทุนในบริษัทรวม
การจําหนายเงินลงทุนในบริษัทรวม
ในระหวางป พ.ศ. 2555 บริษัทจําหนายเงินลงทุนจํานวน 48.46 ลานหุน ในบริษัท SF ไปในราคา 361.16 ลานบาท โดยมี กําไรจากการจําหนายเงินลงทุนดังกลาวเปนจํานวน 210.27 ลานบาท และ 252.20 ลานบาท ซึ่งรับรูในงบกําไรขาดทุนรวมและ งบกําไรขาดทุนเฉพาะบริษัท ตามลําดับ
ในระหวางป พ.ศ. 2554 บริษัทไดจําหนายเงินลงทุนจํานวน 6.38 ลานหุน ในบริษัท SF ไปในราคา 42.04 ลานบาท โดยมี กําไรจากการจําหนายเงิน ลงทุน ดังกลาวเปน จํานวน 22.26 ลานบาท และ 28.15 ลานบาท ในงบกําไรขาดทุนรวมและ งบกําไรขาดทุนเฉพาะบริษัท ตามลําดับ
ผลจากการลงทุนเพิ่มและจําหนายเงินลงทุนดังกลาว ทําใหสัดสวนการถือหุนเปลี่ยนแปลงจากเดิมในอัตรารอยละ 24.46 เปน รอยละ 20.49
ผลจากการลงทุนเพิ่มและจําหนายเงินลงทุนดังกลาว ทําใหสัดสวนการถือหุนเปลี่ยนแปลงจากเดิมในอัตรารอยละ 23.24 เปนรอยละ 24.46
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555 ที่ประชุมสามัญประจําปผูถือหุนของ SF ไดมีมติอนุมัติจายเงินปนผลเปนหุนสามัญของ บริษัท จํานวนไมเกิน 129,995,010 หุน มูลคาหุนที่ตราไวหุนละ 1 บาท ใหแกผูถือหุนในอัตรา 8 หุนเดิม ตอ 1 หุนปนผล หรือคิดเปนอัตราการจายเงินปนผลหุนละ 0.125 บาท เศษของหุนจะไดรับเปนเงินสดปนผลในอัตราหุนละ 0.125 บาท และจายปนผลเปนเงินสดในอัตราหุนละ 0.01389 บาท รวมเปนการจายปนผลในอัตราหุนละ 0.13889 บาท โดยจายใหกับ หุนทั้งหมดที่มีชื่ออยูในทะเบียนผูถือหุน ณ วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 บริษัทไดรับหุนปนผลจํานวน 30.31 ลานหุน และ เงินปนผลรับเปนจํานวน 3.37 ลานบาท ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555
บริษัท รัชโยธิน อเวนิว จํากัด (“RAV”)
ในระหวางป พ.ศ. 2555 บริษัทไดรับเงินปนผลจากบริษัทรวมหลายแหงเปนจํานวนเงิน 121.35 ลานบาท ซึ่งแสดงไวใน “รายไดอื่น” ในงบกําไรขาดทุนเฉพาะบริษัท
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
106
FINANCIALS
12
ในระหวางป พ.ศ. 2554 บริษัท รัชโยธิน อเวนิว จํากัด ไดลดทุนหุนสามัญจดทะเบียนจํานวน 40,500,000 หุน ซึ่งมีมูลคาตราไว หุนละ 10 บาท เป นจํ านวนเงิน 405.00 ลานบาท บริ ษัทไดรั บเงินจากการลดทุนดังกล าวเปนจํานวนเงิน 202.50 ล านบาท นอกจากนี้ บริษัทไดรับเงินปนผลจาก RAV เปนจํานวนเงิน 219.00 ลานบาท ในระหว างป พ.ศ. 2554 บริษัทไดรั บเงินป นผลจากบริ ษัทรวมหลายแหงเปนจํานวนเงิน 340.11 ล านบาท ซึ่งแสดงไวใน “รายไดอื่น” ในงบกําไรขาดทุนเฉพาะบริษัท
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
107
FINANCIALS
12
เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา - สุทธิ (ตอ) ก)
การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา มีดังนี้ (ตอ) สวนไดเสียในกิจการรวมคา งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 ราคาตามบัญชีตนป ผลกระทบของการเปลี่ยนนโยบายการบัญชี เงินลงทุนในกิจการรวมคา จําหนายเงินลงทุน สวนแบงกําไร ราคาตามบัญชีปลายป
113,228,869 113,673,300 11,261,354 238,163,523
61,248,911 (192,195) 48,599,980 (592,220) 4,164,393 113,228,869
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
103,119,735 113,673,300 216,793,035
55,519,755 48,599,980 (1,000,000) 103,119,735
สวนไดเสียของกลุมบริษัทในสินทรัพย หนี้สิน รายได และคาใชจายของกิจการรวมคา มีดังนี้
เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา - สุทธิ (ตอ) ก)
หนวย : บาท
หนวย : บาท งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา มีดังนี้ (ตอ) ในระหวางป พ.ศ. 2555 บริษัท พีวีอาร บลูโอ เอ็นเตอรเทนเมนท จํากัด (“PVR blu-O”) การลงทุนเพิ่มในกิจการรวมคา เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4/2554 มีมติอนุมัติใหบริษัทซื้อหุนเพิ่มทุนใน PVR blu-O เพื่อรักษาสัดสวนการลงทุนเดิมที่รอยละ 49 เปนจํานวน 276.00 ลานรูป ในระหวางป พ.ศ. 2555 บริษัทไดจายชําระคาหุนแลว รวมเปนจํานวนเงิน 168.70 ลานรูป หรือเทากับ 103.67 ลานบาท ที่เหลือจะชําระภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556 บริษัท เค อารีนา จํากัด (“เค อารีนา”) การลงทุนในกิจการรวมคา เมื่อ วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2555 บริษัทไดลงทุนใน เค อารีนา ซึ่งประกอบธุรกิจใหบ ริการคาราโอเกะ เปนจํานวนเงิน 10.00 ลานบาท คิดเปนสัดสวนรอยละ 50 ของทุนจดทะเบียน
สินทรัพยไมหมุนเวียน สินทรัพยหมุนเวียน สินทรัพยรวม
248,215,462 81,848,504 330,063,966
115,345,890 42,936,146 158,282,036
หนี้สินไมหมุนเวียน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินรวม
53,862,406 63,955,830 117,818,236
17,142,944 41,723,015 58,865,959
สินทรัพยสุทธิ
212,245,730
99,416,077
ในระหวางป พ.ศ. 2554 บริษัทเขาซื้อหุนสามัญเพิ่มทุนจํานวน 0.90 ลานหุนใน KAN เพื่อรักษาสัดสวนการลงทุนเดิมที่รอยละ 49.99 ในราคาหุนละ 10 บาท เปนจํานวนเงิ นลงทุ นทั้งสิ้ น 8.99 ลานบาท โดยชําระเงินคาหุนทั้งหมดในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
รายได คาใชจาย
143,120,183 133,002,997
73,066,526 68,792,777
การจําหนายเงินลงทุนในกิจการรวมคา
ไมมี
ไมมี
สวนไดเสียตามสัดสวนในขอภาระผูกพันที่เกิดขึ้นในกิจการรวมคา กลุมบริษัทไมมีภาระที่เกี่ยวของกับหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหนาของกิจการรวมคา
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
FINANCIALS
12
ในระหวางป พ.ศ. 2554 บริษัท เมเจอร กันตนา บรอดแคสติ้ง จํากัด (“KAN”) การลงทุนเพิ่มในกิจการรวมคา
ในระหวางป พ.ศ. 2554 บริษัทไดจําหนายเงินลงทุนจํานวน 0.10 ลานหุน ในบริษัท KAN ไปในราคา 1.00 ลานบาท โดยมีกําไร จากการจําหนายเงินลงทุนดังกลาวเปนจํานวน 0.41 ลานบาท ในงบกําไรขาดทุนรวม ผลจากการลงทุนเพิ่มและจําหนายเงินลงทุนดังกลาวทําใหสวนไดเสียเปลี่ยนแปลงจากเดิมรอยละ 49.99 เปนรอยละ 44.99
108
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
109
FINANCIALS
12
เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา - สุทธิ (ตอ) ก)
เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา - สุทธิ (ตอ) ข)
การเปลี่ยนแปลงของเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา มีดังนี้ (ตอ)
รายละเอียดของเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา มีดังนี้ ลักษณะ
ในระหวางป พ.ศ. 2554 (ตอ)
ประเภทธุรกิจ
บริษัท พีวีอาร บลูโอ เอ็นเตอรเทนเมนท จํากัด (“PVR bluO”) การลงทุนเพิ่มในกิจการรวมคา เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 2/2553 มีมติอนุมัติใหบริษัทเขาซื้อหุนสามัญเพิ่มทุน จํานวน 2.45 ลานหุนใน PVR bluO เพื่อรักษาสัดสวนการลงทุนเดิมที่รอยละ 49 ในราคาหุนละ 10 รูป เปนจํานวนเงินลงทุน ทั้งสิ้น 24.50 ลานรูป ซึ่งไดชําระเงินคาหุนสวนแรกในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2554 เปนจํานวนเงิน 20.00 ลานรูป หรือเทากับ 14.40 ลานบาท เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ที่ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4/2554 มีมติอนุมัติใหบริษัทซื้อหุนเพิ่มทุนใน PVR bluO เพื่อรักษาสัดสวนการลงทุนเดิมที่รอยละ 49 เปนจํานวน 276.00 ลานรูป ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 บริษทั ไดจาย ชําระคาหุนลวงหนาจํานวน 40.00 ลานรูป หรือเทากับ 25.20 ลานบาท ทีเ่ หลือจะชําระภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2556
บริษัทยอย บริษัท เมเจอร ซีนีเพล็กซ พรอพเพอรตี้ จํากัด บริษัท เมเจอร ซีนีเพล็กซ เซอรวิส จํากัด บริษัท เชียงใหม ซีนีเพล็กซ จํากัด บริษัท รัชโยธิน แมเนจเมนท จํากัด บริษัท รัชโยธิน ซีนีมา จํากัด บริษัท รัชโยธิน เรียลตี้ จํากัด บริษัท เมเจอร โบวล กรุป จํากัด บริษัท เมเจอร ซีนีแอด จํากัด บริษัท กรุงเทพ ไอแมกซ เธียเตอร จํากัด บริษัท อุดร ไฟวสตาร ซีนีเพล็กซ จํากัด บริษัท สยามซีนีเพล็กซ จํากัด บริษัท อีจีวี เอ็นเตอรเทนเมนท จํากัด (มหาชน) (“EGV”) บริษัท เอ็ม พิคเจอรส เอ็นเตอรเทนเมนท จํากัด (มหาชน) (“MPIC”) บริษัท ทาเลนต วัน จํากัด
บริษัทยอยภายใต EGV บริษัท เอ็นเตอรเทน โกลเดนท วิลเลจ เอ็กซิบิชั่น จํากัด บริษัท อีจีวี เอ็กซิบิชั่น จํากัด
บริษัท อีจีวี ไฟวสตาร จํากัด
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
FINANCIALS
12
110
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
ใหเชาพื้นที่ในอาคาร ใหบริการดานสาธารณูปโภค ใหบริการจัดแสดงภาพยนตร ใหบริการดานสาธารณูปโภค ใหเชาพื้นที่และบริการ ใหเชาพื้นที่ในอาคาร ใหบริการดานโบวลิ่งและ คาราโอเกะ และการบันเทิง ใหบริการโฆษณาและบริการ ใหคําปรึกษาธุรกิจ ใหบริการจัดแสดงภาพยนตร ใหบริการจัดแสดงภาพยนตร ใหบริการจัดแสดงภาพยนตร ใหบริการจัดแสดงภาพยนตร
ความสัมพันธ
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
ถือหุนโดยตรง ถือหุนโดยตรง ถือหุนโดยตรง ถือหุนโดยตรง ถือหุนโดยตรง ถือหุนโดยตรง ถือหุนโดยตรง
99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99
99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99
ถือหุนโดยตรง
99.93
99.93
ถือหุนโดยตรง ถือหุนโดยตรง ถือหุนโดยตรง ถือหุนโดยตรง ถือหุนทางออม ถือหุนโดยตรง
99.93 99.99 99.99 99.98 67.86
99.93 99.99 99.99 60.36 39.61 66.07
80.00
80.00
ถือหุนทางออม
99.96
99.96
ถือหุนทางออม
99.96
99.96
ถือหุนทางออม
99.96
99.96
สื่อสิ่งพิมพและโฆษณาและ จัดจําหนายลิขสิทธิ์ภาพยนตร ใหบริการผลิตภาพยนตรและ ถือหุนโดยตรง รับจางผลิตงานทางดานบันเทิง ทุกรูปแบบ ใหบริการจัดแสดงภาพยนตร และ การโฆษณา ใหบริการจัดแสดงภาพยนตร และการโฆษณารวมทั้ง ใหบริการเชาพื้นที่ ใหบริการจัดแสดงภาพยนตร และการโฆษณา
อัตรารอยละของหุนที่ถือ
111
50.00 10.25
50.00 12.23
33.00
33.00
เปนตัวแทนจัดจําหนาย บัตรเขาชมการแสดง
ถือหุนโดยตรง
40.00
40.00
ใหบริการโบวลิ่งและ คาราโอเกะและการบันเทิง ใหบริการเคเบิ้ลทีวี ใหบริการคาราโอเกะ
ถือหุนโดยตรง
49.00
49.00
ถือหุนโดยตรง ถือหุนโดยตรง
44.99 50.00
44.99 -
บริษัทยอย บริษัทรวมและกิจการรวมคาทั้งหมดเปนบริษัทที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย ยกเวน PVR bluO ซึ่งจัดตั้งขึ้นใน ประเทศอิน เดีย เงิน ลงทุน ทั้งหมดเปน การลงทุน ในหุน สามัญและหนวยลงทุน ในกรณีของกองทุน รวมสิท ธิการเช า อสังหาริมทรัพย
20.49 50.00 10.25 33.33 40.00 39,504,367 45,555,900
24.46
1,347,087,413 70,235,897
20.49
กองทุนรวมสิทธิการเชาอสังหาริมทรัพย เมเจอร ซีนีเพล็กซ ไลฟสไตล บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร จํากัด
ใหเชาพื้นที่ในอาคารและ ถือหุนโดยตรง ใหบริการดานสาธารณูปโภค ใหเชาพื้นที่ในอาคารและ ถือหุนโดยตรง ใหบริการดานสาธารณูปโภค ถือหุน ทางออม ผาน SF ใหเชาพื้นที่และใหบริการ ถือหุนโดยตรง ดานสาธารณูปโภค
(6,665,693) 169,489 ถือหุนทางออมผาน SF 160,145,398 132,242,348 82,468,560 20,184,837
65.68
301,557,594 27,669,724
67.46
855,650,527 187,210,289
ถือหุนทางออม
1,468,360,836 353,483,538
จําหนายเทป ซีดี วีดีโอเทป วีซีดีและดีวีดี
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 บริษัทรวม บริษัท สยามฟวเจอรดีเวลอปเมนท จํากัด (มหาชน) บริษัท รัชโยธิน อเวนิว จํากัด
66.07
39,027,163 73,336,090
67.86
30,321,287 5,139,187 ถือหุนทางออมผาน SF 182,981,599 159,934,316 59,482,449 12,772,849
ถือหุนทางออม
345,957,085 34,132,538
66.07 1,132,971,376 231,571,311
67.86
กําไร(ขาดทุน) บาท
ถือหุนทางออม
รายได บาท
66.07 66.07
1,334,558,848 89,631,250
กิจการรวมคา บริษัท พีวีอาร บลูโอ เอ็นเตอรเทนเมนท จํากัด (“PVR bluO”) บริษัท เมเจอร กันตนา บรอดแคสติง้ จํากัด บริษัท เค อารีนา จํากัด*
67.86 67.86
กองทุนรวมสิทธิการเชาอสังหาริมทรัพย เมเจอร ซีนีเพล็กซ ไลฟสไตล บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร จํากัด
บริษัท ไทยทิคเก็ตเมเจอร จํากัด
ถือหุนทางออม ถือหุนทางออม
1,842,553,112 362,087,794
กองทุนรวมสิทธิการเชาอสังหาริมทรัพย เมเจอร ซีนีเพล็กซ ไลฟสไตล
สื่อและโฆษณาทางโทรทัศน จัดจําหนายลิขสิทธิ์ภาพยนตร เพื่อฉายในโรงภาพยนตร เพื่อจัดทําวีซีดีและดีวีดี และ เพื่อถายทอดทางโทรทัศน จําหนายแผน วีซีดี ดีวีดี และ ลิขสิทธิ์ภาพยนตร ผลิตภาพยนตร
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 บริษัทรวม บริษัท สยามฟวเจอรดีเวลอปเมนท จํากัด (มหาชน) บริษัท รัชโยธิน อเวนิว จํากัด
บริษัทรวม บริษัท สยามฟวเจอรดีเวลอปเมนท จํากัด (มหาชน) (“SF”) บริษัท รัชโยธิน อเวนิว จํากัด
พ.ศ. 2554
สินทรัพย บาท
บริษัทยอยภายใต MVD บริษัท แปซิฟค มีเดีย เซลล จํากัด
พ.ศ. 2555
กลุมบริษัทมีสวนแบงในผลการดําเนินงาน สินทรัพยและหนี้สินของบริษัทรวม ดังตอไปนี้
บริษัท เอ็ม เทอรตี้ไนน จํากัด
ความสัมพันธ
รายละเอียดของเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา (ตอ)
บริษัท เอ็มวีดี จํากัด (“MVD”)
ประเภทธุรกิจ
ข)
บริษัทยอยภายใต MPIC บริษัท ทีวี ฟอรัม จํากัด บริษัท เอ็ม พิคเจอรส จํากัด
อัตรารอยละของหุนที่ถือ
หนี้สิน บาท
ลักษณะ
24.46 50.00 12.23 33.00 40.00
สัดสวนของการถือหุน รอยละ
รายละเอียดของเงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา มีดังนี้ (ตอ)
เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา - สุทธิ (ตอ)
ข)
12
FINANCIALS
เงินลงทุนในบริษัทยอยและบริษัทรวมและสวนไดเสียในกิจการรวมคา - สุทธิ (ตอ)
FINANCIALS
12
* บริษัทที่จัดตั้งใหมและลงทุนในป พ.ศ. 2555 ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
112
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
113
114 ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC. 13
13
208,316,998 208,316,998
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ราคาทุน หัก คาเสื่อมราคาสะสม คาเผื่อการดอยคา ราคาตามบัญชี - สุทธิ
ราคาตามบัญชี - สุทธิ
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ราคาทุน หัก คาเสื่อมราคาสะสม คาเผื่อการดอยคา
ราคาตามบัญชีปลายป - สุทธิ
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ราคาตามบัญชีตนป - สุทธิ ซื้อสินทรัพย โอนสินทรัพย จัดประเภทสินทรัพย จําหนายสินทรัพย - สุทธิ ตัดจําหนายสินทรัพย - สุทธิ คาเสื่อมราคา การดอยคาของสินทรัพย
208,316,998 208,316,998
208,316,998 208,316,998
ที่ดิน
208,316,998 208,316,998
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ราคาตามบัญชีตนป - สุทธิ ซื้อสินทรัพย เพิ่มขึ้นจากการซื้อบริษัทยอย (หมายเหตุ 12) โอนสินทรัพย จัดประเภทสินทรัพย จําหนายสินทรัพย - สุทธิ ตัดจําหนายสินทรัพย - สุทธิ คาเสื่อมราคา การดอยคาของสินทรัพย (กลับรายการ) ราคาตามบัญชีปลายป - สุทธิ
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ - สุทธิ (ตอ)
208,316,998 208,316,998
ที่ดิน
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ราคาทุน หัก คาเสื่อมราคาสะสม คาเผื่อการดอยคา ราคาตามบัญชี - สุทธิ
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ - สุทธิ
3,265,393,123 (1,506,008,513) 1,759,384,610
1,803,622,838 44,845,584 82,655,427 16,028,472 (12,299,322) (175,468,389) 1,759,384,610
3,159,300,763 (1,355,677,925) 1,803,622,838
1,810,314,486 (602,574,851) 1,207,739,635
1,059,055,558 3,843,449 8,537,752 223,592,872 (3,298) (1,763,163) (85,523,535) 1,207,739,635
3,054,524,305 (1,458,990,602) 1,595,533,703
1,759,384,610 100,260,183 102,765,163 (212,128,647) (364,209) (2,420,510) (151,962,887) 1,595,533,703
อาคารและ โรงภาพยนตร สวนปรับปรุง และสวนปรับปรุง
1,414,363,876 (355,308,318) 1,059,055,558
1,127,402,642 9,435,108 8,401,993 (16,028,472) (70,155,713) 1,059,055,558
1,414,378,919 (286,976,277) 1,127,402,642
อาคารและ โรงภาพยนตร สวนปรับปรุง และสวนปรับปรุง
3,912,109,628 (2,438,774,929) (4,875,603) 1,468,459,096
1,559,708,384 126,469,254 49,675 133,730,585 791,367 (120,136,456) (4,421,731) (222,880,663) (4,851,319) 1,468,459,096
3,816,817,405 (2,256,299,116) (809,905) 1,559,708,384
1,103,862,201 (525,236,206) (1,644,451) 576,981,544
574,180,007 58,284,311 16,653,552 (2,362,578) (8,457,150) (60,820,828) (495,770) 576,981,544
4,037,033,307 (2,451,434,064) (7,054,041) 1,578,545,202
1,468,459,096 314,110,638 78,523,364 (11,464,225) (12,904,708) (34,869,677) (221,130,847) (2,178,439) 1,578,545,202
งบการเงินรวม เครื่องมือ อุปกรณ ระบบ และเครื่องตกแตง สาธารณูปโภค ที่ใชดําเนินงาน
1,049,659,221 (474,330,533) (1,148,681) 574,180,007
555,915,210 52,975,394 27,008,864 (3,005,873) (57,564,907) (1,148,681) 574,180,007
974,561,766 (418,646,556) 555,915,210
งบการเงินรวม เครื่องมือ อุปกรณ ระบบ และเครื่องตกแตง สาธารณูปโภค ที่ใชดําเนินงาน
287,732,842 (236,374,953) (669,714) 50,688,175
51,980,008 21,192,114 10,295,451 (817,070) (10,408) (31,657,891) (294,029) 50,688,175
อุปกรณ สํานักงาน
305,922,849 (253,567,156) (375,685) 51,980,008
52,939,001 28,401,982 406,376 5,621,746 (791,367) (25,319) (34,983,373) 410,962 51,980,008
276,437,178 (223,497,152) (1,025) 52,939,001
อุปกรณ สํานักงาน
20,248,796 (11,383,653) 8,865,143
8,242,948 4,136,153 (3,513,958) 8,865,143
รวม
5,406,004,733 484,140,325 456,051 (120,161,780) (19,856,226) (564,198,687) (5,589,038) 5,180,795,378
5,180,795,378 772,881,411 (16,451,863) (47,520,908) (554,609,946) (2,968,238) 5,332,125,834
105,455,434 10,627,488,369 - (5,285,994,329) (9,368,206) 105,455,434 5,332,125,834
51,176,153 271,054,563 (216,775,282) 105,455,434
รวม
หนวย : บาท
51,176,153 10,223,054,491 - (5,035,859,144) (6,399,969) 51,176,153 5,180,795,378
88,876,472 219,847,596 (257,418,615) (129,300) 51,176,153
88,876,472 9,963,837,806 - (4,557,022,143) (810,930) 88,876,472 5,406,004,733
สินทรัพย ยานพาหนะ ระหวางกอสราง
16,112,643 (7,869,695) 8,242,948
9,223,188 2,165,407 (5) (3,145,642) 8,242,948
25,148,305 (15,925,117) 9,223,188
สินทรัพย ยานพาหนะ ระหวางกอสราง
หนวย : บาท
FINANCIALS
FINANCIALS
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
115
116 ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC. 13
13
ราคาตามบัญชี - สุทธิ
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ราคาทุน หัก คาเสื่อมราคาสะสม
ราคาตามบัญชีปลายป - สุทธิ
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ราคาตามบัญชีตนป - สุทธิ ซื้อสินทรัพย โอนสินทรัพย จําหนายสินทรัพย - สุทธิ ตัดจําหนายสินทรัพย - สุทธิ คาเสื่อมราคา
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ - สุทธิ (ตอ)
ราคาตามบัญชี - สุทธิ
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ราคาทุน หัก คาเสื่อมราคาสะสม
ราคาตามบัญชีปลายป - สุทธิ
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ราคาตามบัญชีตนป - สุทธิ ซื้อสินทรัพย โอนสินทรัพย จําหนายสินทรัพย - สุทธิ ตัดจําหนายสินทรัพย - สุทธิ คาเสื่อมราคา
ราคาตามบัญชี - สุทธิ
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ราคาทุน หัก คาเสื่อมราคาสะสม
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ - สุทธิ (ตอ)
1,913,062,573 (740,189,727) 1,172,872,846
1,192,264,594 42,791,654 69,330,702 (12,299,322) (119,214,782) 1,172,872,846
1,848,538,458 (656,273,864) 1,192,264,594
173,406,998 173,406,998
173,406,998 173,406,998
2,084,728,464 (845,166,738) 1,239,561,726
1,172,872,846 89,408,658 95,865,713 (359,709) (14,754) (118,211,028) 1,239,561,726
อาคาร โรงภาพยนตร ที่ดิน และสวนปรับปรุง
173,406,998 173,406,998
173,406,998 173,406,998
173,406,998 173,406,998
อาคาร โรงภาพยนตร ที่ดิน และสวนปรับปรุง
377,971,505 (114,905,408) 263,066,097
261,739,869 14,944,220 11,465,599 (25,083,591) 263,066,097
ระบบ สาธารณูปโภค
353,771,647 (92,031,778) 261,739,869
238,123,536 30,576,220 16,887,053 (23,846,940) 261,739,869
306,308,374 (68,184,838) 238,123,536
ระบบ สาธารณูปโภค
1,616,393,062 (937,478,340) 678,914,722
591,676,562 133,889,829 50,196,620 (4,525) (96,843,764) 678,914,722
เครื่องมือ อุปกรณ และเครื่องตกแตง ที่ใชดําเนินงาน
อุปกรณ สํานักงาน
180,068,344 (148,427,177) 31,641,167
35,176,063 13,864,606 3,791,873 (145) (21,191,230) 31,641,167
อุปกรณ สํานักงาน
170,221,532 (135,045,469) 35,176,063
35,877,651 18,418,833 5,512,002 (24,632,423) 35,176,063
9,001,886 (6,152,334) 2,849,552
2,627,712 1,557,300 (1,335,460) 2,849,552
2,339,240,377 306,804,115 (88,621,914) (12,489,319) (276,292,365) 2,268,640,894
2,268,640,894 427,252,167 (364,379) (14,754) (262,665,073) 2,432,848,855
43,408,593 4,484,978,852 - (2,052,129,997) 43,408,593 2,432,848,855
31,140,844 173,587,554 (161,319,805) 43,408,593
รวม
หนวย : บาท
31,140,844 4,118,484,879 - (1,849,843,985) 31,140,844 2,268,640,894
14,571,527 156,051,455 (137,502,405) (1,979,733) 31,140,844
สินทรัพย ยานพาหนะ ระหวางกอสราง
7,444,586 (4,816,874) 2,627,712
1,907,033 2,165,407 (4) (1,444,724) 2,627,712
รวม 14,571,527 3,974,042,034 - (1,634,801,657) 14,571,527 2,339,240,377
สินทรัพย ยานพาหนะ ระหวางกอสราง
146,290,697 13,878,913 (110,413,046) (11,971,880) 35,877,651 1,907,033
งบการเงินเฉพาะบริษัท
1,469,436,699 (877,760,137) 591,676,562
683,089,038 56,800,546 45,772,648 (86,642,177) (189,997) (107,153,496) 591,676,562
1,471,047,067 (787,958,029) 683,089,038
เครื่องมือ อุปกรณ และเครื่องตกแตง ที่ใชดําเนินงาน
งบการเงินเฉพาะบริษัท
หนวย : บาท
FINANCIALS
FINANCIALS
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
117
FINANCIALS
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ - สุทธิ (ตอ)
14
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ราคาทุนของอาคารและอุปกรณ ซึ่งหักคาเสื่อมราคาเต็มจํานวนแลว แตยังคงใชงานอยูมีจํานวน 1,780.07 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : 1,498.78 ลานบาท) และ 921.34 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : 595.15 ลานบาท) ในงบการเงินรวมและ งบการเงินเฉพาะบริษัท ตามลําดับ ในระหวางป พ.ศ. 2554 มูลคาตามบัญชีของอุปกรณของสาขาของบริษัทใหญเปนจํานวน 17.62 ลานบาท ไดรับความเสียหายจากการคืน พื้นที่เชา ไฟไหม และน้ําทวมซึ่งทางบริษัทไดทําการตัดจําหนายสินทรัพยทั้งจํานวน ในระหวางป พ.ศ. 2555 บริษัทไดรับเงินชดเชย จํานวน 67.83 ลานบาท และ 57.96 ลานบาท ซึ่งรวมอยูใน “รายไดอื่น” ในงบกําไรขาดทุนรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัท ตามลําดับ ในป พ.ศ. 2555 และ พ.ศ. 2554 กลุมบริษัทและบริษัทไมมีสนิ ทรัพยที่ใชเปนหลักประกันเงินกูยืมแตอยางใด การซื้อสินทรัพยในระหวางป พ.ศ. 2555 ในงบการเงินรวม รวมการไดมาซึ่งสินทรัพยจากสัญญาเชาการเงิน จํานวน 2.03 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : 1.18 ลานบาท) สินทรัพยตามสัญญาเชาการเงินที่กลุมบริษัทและบริษัทเปนผูเชาซึ่งรวมแสดงในรายการขางตนประกอบดวยพื้นที่อาคาร รถยนต และอุปกรณคอมพิวเตอร มีรายละเอียดดังนี้ หนวย : บาท งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 ราคาทุนของสินทรัพยตามสัญญาเชาการเงิน หัก คาเสื่อมราคาสะสม ราคาตามบัญชี - สุทธิ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
27,852,687 (6,169,094) 21,683,593
26,358,688 (3,800,261) 22,558,427
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
21,906,697 (3,566,517) 18,340,180
20,412,697 (2,388,235) 18,024,462
118
คาความนิยม - สุทธิ
วันที่ 1 มกราคม ราคาทุน หัก คาเผื่อการดอยคา ราคาตามบัญชี - สุทธิ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ราคาตามบัญชีตนป - สุทธิ ลงทุนเพิ่มในบริษัทยอย (หมายเหตุ 12) การดอยคา (หมายเหตุ 12) ราคาตามบัญชีปลายป - สุทธิ วันที่ 31 ธันวาคม ราคาทุน หัก คาเผื่อการดอยคา ราคาตามบัญชี - สุทธิ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
FINANCIALS
13
หนวย : บาท งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 342,112,936 342,112,936
342,112,936 342,112,936
342,112,936 (55,047,537) 287,065,399
338,408,261 3,704,675 342,112,936
342,112,936 (55,047,537) 287,065,399
342,112,936 342,112,936
119
FINANCIALS
16
สินทรัพยไมมีตัวตน - สุทธิ
หนวย : บาท งบการเงินรวม ลิขสิทธิ์ โปรแกรม คอมพิวเตอร ภาพยนตร
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ราคาทุน หัก คาตัดจําหนายสะสม คาเผื่อการดอยคา ราคาตามบัญชี - สุทธิ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ราคาตามบัญชีตนป - สุทธิ การซื้อบริษัทยอย (หมายเหตุ 12) ซื้อสินทรัพย คาตัดจําหนาย การดอยคาของสินทรัพย ราคาตามบัญชีปลายป - สุทธิ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ราคาทุน หัก คาตัดจําหนายสะสม คาเผื่อการดอยคา ราคาตามบัญชี - สุทธิ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ราคาตามบัญชีตนป - สุทธิ ซื้อสินทรัพย ตัดจําหนาย คาตัดจําหนาย การดอยคาของสินทรัพย ราคาตามบัญชีปลายป - สุทธิ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ราคาทุน หัก คาตัดจําหนายสะสม คาเผื่อการดอยคา ราคาตามบัญชี - สุทธิ ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
คาเชาจายลวงหนา
2,441,055,727 (2,008,422,996) (48,455,957) 384,176,774 384,176,774 391,908,901 (376,988,905) (7,864,890) 391,231,880 2,832,964,628 (2,385,411,902) (56,320,846) 391,231,880 391,231,880 421,102,258 (2,696,763) (482,901,412) (12,455,784) 314,280,179 3,251,370,122 (2,868,313,312) (68,776,631) 314,280,179
งบการเงิน เฉพาะบริษัท รวม
โปรแกรม คอมพิวเตอร
43,261,425 2,484,317,152 (9,091,688) (2,017,514,684) (48,455,957) 34,169,737 418,346,511
35,723,568 (5,151,996) 30,571,572
34,169,737 85,988 7,083,402 (7,811,050) 33,528,077
418,346,511 85,988 398,992,303 (384,799,955) (7,864,890) 424,759,957
30,571,572 6,623,276 (7,132,418) 30,062,430
50,443,502 2,883,408,130 (16,915,425) (2,402,327,327) (56,320,846) 33,528,077 424,759,957
42,346,845 (12,284,415) 30,062,430
33,528,077 31,959,077 (241,496) (10,887,084) (1,316,009) 53,042,565
424,759,957 453,061,335 (2,938,259) (493,788,496) (13,771,793) 367,322,744
30,062,430 29,500,709 (10,087,860) 49,475,279
82,048,579 3,333,418,701 (27,690,005) (2,896,003,317) (1,316,009) (70,092,640) 53,042,565 367,322,744
71,847,554 (22,372,275) 49,475,279
120
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 ราคาทุน หัก คาตัดจําหนายสะสม ราคาตามบัญชี - สุทธิ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ราคาตามบัญชีตนป - สุทธิ คาตัดจําหนาย ราคาตามบัญชีปลายป - สุทธิ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ราคาทุน หัก คาตัดจําหนายสะสม ราคาตามบัญชี - สุทธิ สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ราคาตามบัญชีตนป - สุทธิ คาตัดจําหนาย ราคาตามบัญชีปลายป - สุทธิ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ราคาทุน หัก คาตัดจําหนายสะสม ราคาตามบัญชี - สุทธิ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
งบการเงินรวม
หนวย : บาท งบการเงิน เฉพาะบริษัท
810,533,054 (185,445,662) 625,087,392
239,888,378 (42,594,978) 197,293,400
625,087,392 (35,105,240) 589,982,152
197,293,400 (9,472,507) 187,820,893
810,533,054 (220,550,902) 589,982,152
239,888,378 (52,067,485) 187,820,893
589,982,152 (34,390,586) 555,591,566
187,820,893 (9,472,507) 178,348,386
810,533,054 (254,941,488) 555,591,566
239,888,378 (61,539,992) 178,348,386
121
FINANCIALS
15
FINANCIALS
คาเชาจายลวงหนา (ตอ)
19 หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม สวนที่ถึงกําหนดภายในหนึ่งป สวนที่เกินกวาหนึ่งป รวมคาเชาจายลวงหนา
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
34,653,397 520,938,169 555,591,566
34,657,257 555,324,895 589,982,152
9,472,507 168,875,879 178,348,386
9,472,507 178,348,386 187,820,893
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลุมบริษัทไดนําสิทธิการเชาที่มีมูลคาตามบัญชีจํานวน 24.00 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : 25.15 ลานบาท) ไปใชเปนหลักประกันเงินกูยืมจากสถาบันการเงิน (หมายเหตุ 19) 17
สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น
หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม เงินมัดจํา อื่น ๆ
18
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
137,624,983 12,548,288 150,173,271
138,668,123 18,097,379 156,765,502
106,207,283 11,904,403 118,111,686
109,007,321 15,460,884 124,468,205
เจาหนี้การคาและเจาหนี้อื่น
หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม เจาหนี้การคาและตั๋วเงินจาย เจาหนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน (หมายเหตุ 33) เจาหนี้อื่น คาใชจายคางจาย รายไดคาเชาและบริการรับลวงหนา เจาหนี้การคาและเจาหนี้อื่น
เงินกูยืม
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
642,280,408 35,392,103 275,803,012 334,915,638 239,051,434 1,527,442,595
514,847,842 16,149,801 268,102,303 289,793,261 171,986,709 1,260,879,916
443,585,649 114,534,989 128,694,051 120,693,630 137,610,522 945,118,841
390,123,655 177,963,938 131,204,261 105,013,542 104,000,620 908,306,016
หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
36,668,051 764,800,000
26,521,537 446,600,000
200,000,000
-
801,468,051
473,121,537
200,000,000
-
1,336,177 79,454,328 800,000,000 880,790,505
1,174,927 45,218,435 1,500,000,000 1,546,393,362
297,642 40,000,000 800,000,000 840,297,642
48,220 40,000,000 1,500,000,000 1,540,048,220
สวนที่ไมหมุนเวียน - หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน - เงินกูยืมจากธนาคาร - หุนกู รวมเงินกูยืมไมหมุนเวียน
24,035,538 145,660,467 1,000,000,000 1,169,696,005
24,566,748 142,436,975 800,000,000 967,003,723
21,402,298 100,000,000 1,000,000,000 1,121,402,298
20,859,937 140,000,000 800,000,000 960,859,937
รวมเงินกูยืม
2,851,954,561
2,986,518,622
2,161,699,940
2,500,908,157
สวนที่หมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร เงินกูยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน รวมเงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกูยืม ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน สวนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งปของเงินกูยืมระยะยาว - หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน - เงินกูยืมจากธนาคาร - หุนกู รวมเงินกูยืมสวนที่ถึงกําหนดชําระภายในหนึ่งป
ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยของเงินกูยืมของกลุมบริษัทและบริษัท (ไมรวมหนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน) มีดังตอไปนี้ ยอดรวมเงินกูยืม - ณ อัตราคงที่ - ณ อัตราลอยตัว
2,704,800,000 121,782,846 2,826,582,846
2,926,600,000 34,176,947 2,960,776,947
2,140,000,000 2,140,000,000
2,480,000,000 2,480,000,000
รายไดคาเชาและบริการรับลวงหนาไดรวมเงินรับลวงหนาจากลูกคาเปนจํานวนเงิน 58.41 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : จํานวนเงิน 41.38 ลานบาท) ซึ่งเปนเงินรับจากการจําหนายบัตรเงินสดโดยบริษัทตองฝากไวในธนาคารเปนจํานวนไมนอยกวามูลคาคงเหลือของ บัตรเงิ น สดที่ลู กค ายั งไม ได ใช ทั้งนี้ เพื่ อ ใหเ ปน ไปตามประกาศของธนาคารแห งประเทศไทยที่ บัง คับ ใชกั บ ผู ป ระกอบธุ รกิ จ บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
122
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
123
FINANCIALS
16
FINANCIALS
เงินกูยืม (ตอ)
19
เงินกูยืมของกลุมบริษัทและบริษัทที่มีความเสี่ยงในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและชวงเวลาการกูยืมซึ่งจะมีผลตอการ วัดมูลคาใหมของเงินกูยืม (ไมรวมหนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน) มีรายละเอียดดังนี้
FINANCIALS
19
เงินกูยืม (ตอ)
ราคาตามบัญชีและมูลคายุติธรรมของเงินกูยืมระยะยาวสวนที่ไมหมุนเวียน (ไมรวมหนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน) มีดังตอไปนี้
หนวย : บาท
หนวย : บาท
งบการเงินรวม
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เงินกูยืมรวม วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เงินกูยืมรวม
งบการเงินรวม
6 เดือน หรือนอยกวา
6 - 12 เดือน
1 - 5 ป
รวม
1,584,800,000 1,584,800,000
20,000,000 20,000,000
1,100,000,000 1,100,000,000
2,704,800,000 2,704,800,000
1,966,600,000 1,966,600,000
20,000,000 20,000,000
940,000,000 940,000,000
2,926,600,000 2,926,600,000
ราคาตามบัญชี พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 เงินกูยืมระยะยาวจากธนาคาร หุนกู
วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เงินกูยืมรวม วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เงินกูยืมรวม
1 - 5 ป
รวม
1,020,000,000 1,020,000,000
20,000,000 20,000,000
1,100,000,000 1,100,000,000
2,140,000,000 2,140,000,000
1,520,000,000 1,520,000,000
20,000,000 20,000,000
940,000,000 940,000,000
2,480,000,000 2,480,000,000
179,407,556 1,001,570,580 1,180,978,136
154,815,674 812,611,507 967,427,181
งบการเงินเฉพาะบริษัท มูลคายุติธรรม
ราคาตามบัญชี
งบการเงินเฉพาะบริษัท 6 - 12 เดือน
142,436,975 800,000,000 942,436,975
หนวย : บาท
หนวย : บาท 6 เดือน หรือนอยกวา
145,660,467 1,000,000,000 1,145,660,467
มูลคายุติธรรม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
เงินกูยืมระยะยาวจากธนาคาร หุนกู
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
100,000,000 1,000,000,000 1,100,000,000
140,000,000 800,000,000 940,000,000
133,747,089 1,001,570,580 1,135,317,669
152,378,699 812,611,507 964,990,206
มูลคายุติธรรมของเงินกูยืมระยะยาวคํานวณจากกระแสเงินสดในอนาคตซึ่งคิดลดดวยอัตราดอกเบี้ยเงินกูยืมที่ฝายบริหารคาดวา กลุมบริษัทและบริษัทจะตองจาย ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน สวนมูลคายุติธรรมของเงินกูยืมระยะสั้น หนี้สินตามสัญญาเชา การเงิน ใกลเคียงกับราคาตามบัญชีของรายการดังกลาว
อัตราดอกเบี้ยที่แทจริง ณ วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน มีดังนี้ งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม
- เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร - เงินกูยืมจากธนาคาร - หุนกู
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
พ.ศ. 2555 รอยละ
พ.ศ. 2554 รอยละ
พ.ศ. 2555 รอยละ
พ.ศ. 2554 รอยละ
7.38 - 7.90 3.08 - 7.00 2.99 - 4.60
6.25 - 7.55 1.93 - 7.13 3.35 - 4.80
3.08 - 4.62 2.99 - 4.60
1.93 - 4.60 3.35 - 4.80
124
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
125
FINANCIALS
19
เงินกูยืม (ตอ)
หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม
หัก คาใชจายทางการเงินในอนาคตของ สัญญาเชาการเงิน มูลคาปจจุบันของหนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
3,300,369 10,611,218 48,072,405 61,983,992
3,252,128 9,195,449 51,708,100 64,155,677
1,995,006 8,694,819 45,602,210 56,292,035
1,693,602 6,456,627 48,931,196 57,081,425
(36,612,777) 25,371,715
(38,414,002) 25,741,675
(34,592,095) 21,699,940
(36,173,268) 20,908,157
มูลคาปจจุบันของหนี้สินตามสัญญาเชาการเงินมีรายละเอียดดังนี้ หนวย : บาท
ครบกําหนดภายใน 1 ป ครบกําหนดระหวาง 1 ป ถึง 2 ป ครบกําหนดระหวาง 2 ป ถึง 5 ป
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
1,336,177 24,035,538 25,371,715
1,174,927 24,566,748 25,741,675
297,642 21,402,298 21,699,940
48,220 20,859,937 20,908,157
การเปลี่ยนแปลงของเงินกูยืมระยะยาวจากธนาคาร (ไมรวมหนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน) สามารถวิเคราะหไดดังนี้ หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม
ยอดคงเหลือปลายป
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
45,218,435 42,436,975 100,000,000 142,436,975 187,655,410
40,000,000 40,000,000 60,000,000 100,000,000 140,000,000
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
187,655,411 91,800,000 (54,340,616) 225,114,795
268,125,000 221,800,000 (302,269,590) 187,655,410
180,000,000 (40,000,000) 140,000,000
100,000,000 200,000,000 (120,000,000) 180,000,000
126
40,000,000 40,000,000 100,000,000 140,000,000 180,000,000
เงิน กูยืมระยะสั้นจากสถาบัน การเงิน เปน ตั๋วแลกเงิน และตั๋วสัญญาใชเงิน ที่อยูในสกุล เงิน บาท มีอัตราดอกเบี้ยระหวางรอ ยละ 3.08 ถึงรอยละ 6.50 ตอป (พ.ศ. 2554 : รอยละ 1.93 ถึงรอยละ 7.13 ตอป) เงินกูยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินมีอัตราดอกเบี้ยรอยละ 4.60 ถึงรอยละ 7.00 ตอป (พ.ศ. 2554 : รอยละ 4.60 ถึงรอยละ 6.63 ตอป) เงินกูยืมดังกลาวมีอาคารและสิทธิการเชาเปนหลักทรัพยค้ําประกัน (หมายเหตุ 13 และหมายเหตุ 16) หลักประกันของหนี้สินตาม สัญญาเชาการเงินคือการที่บริษัทจะตองมอบคืนสิทธิในสินทรัพยตามสัญญาเชาแกผูใหเชาในกรณีที่กลุมบริษัทผิดสัญญา หุนกู
หนวย : บาท งบการเงินรวม
ยอดคงเหลือตนป การออกหุนกู ชําระคืนหุนกู ยอดคงเหลือปลายป
ยอดคงเหลือตนป กูยืมเพิ่ม จายคืนเงินกูยืม
79,454,328 74,321,079 71,339,388 145,660,467 225,114,795
งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม ครบกําหนดภายในไมเกิน 1 ป ครบกําหนดเกิน 1 ป
เงินกูยืม (ตอ) ระยะเวลาครบกําหนดของเงินกูยืมระยะยาวจากธนาคาร มีดังตอไปนี้
จํานวนเงินขั้นต่ําที่ตองจายซึ่งบันทึกเปนหนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน มีดังตอไปนี้
ครบกําหนดภายในไมเกิน 1 ป ครบกําหนดเกิน 1 ปแตไมเกิน 5 ป ครบกําหนดหลังจาก 5 ป
FINANCIALS
19
งบการเงิน เฉพาะบริษัท
2,300,000,000 2,300,000,000 1,000,000,000 1,000,000,000 (1,500,000,000) (1,500,000,000) 1,800,000,000 1,800,000,000
ในระหวางป พ.ศ. 2555 บริษัทไดเสนอขายหุนกูประเภทไมดอยสิทธิ ชนิดคืนเงินตนครั้งเดียวเมื่อครบกําหนดไถถอน ไมมีประกัน มีผูแทนผูถือหุนกู จํานวน 1,000 ลานบาท หุนกูดังกลาวมีอายุ 5 ป นับจากวันออกหุนกู อัตราดอกเบี้ยรอยละ 4.60 ตอป บริษัทไดรับ เงินจํานวน 1,000 ลานบาท ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และบริษัทไดนําเงินที่ไดรับจากการเสนอขายหุนกูไปชําระหนี้เงินกูยืม จากธนาคาร
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
127
FINANCIALS
เงินกูยืม (ตอ)
21
หุนกู (ตอ)
ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน - โครงการผลประโยชนหลังออกจากงาน จํานวนที่รับรูในงบแสดงฐานะการเงินมีดังนี้ หนวย : บาท
บริษัทไดออกหุนกูในสกุลเงินบาทประเภทจายคืนเงินตนเมื่อครบกําหนด (Straight Bond) ไมมีหลักประกันและไมดอยสิทธิที่มูลคา ตราไว 1,000 บาทตอหนวย โดยมีรายละเอียดดังตอไปนี้ หุนกู อัตราดอกเบี้ยคงที่ ลานบาท รอยละตอป
อายุหุนกู
วันที่ออก
วันครบกําหนด
3 ป 5 ป
วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553 วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 วันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2560
800 1,000
3.35 4.60
งบการเงินรวม มูลคาปจจุบันของภาระผูกพันที่ไมมี สินทรัพยโครงการ หนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน
ดอกเบี้ยมีกําหนดการจายทุกไตรมาสและทุกหกเดือน บริษัทตองดํารงไวซึ่งอัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุนในอัตราสวน ที่กําหนดไวในหนังสือชี้ชวน
วงเงินกูยืม ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลุมบริษัทและบริษัทมีวงเงินสินเชื่อที่ไดรับจากสถาบันการเงินซึ่งยังมิไดใชเปนจํานวน 4,843.42 ลานบาท และจํานวน 4,375.00 ลานบาท ตามลําดับ (พ.ศ. 2554 : จํานวน 4,330.18 ลานบาท และจํานวน 3,675.00 ลานบาท ตามลําดับ) วงเงินสิน เชื่อสวนใหญสิ้นสุดอายุภายใน 3 ป และจะมีการทบทวนตามวาระ วงเงินสินเชื่อสวนใหญมีไวใชสําหรับการสราง โรงภาพยนตรและใชเปนเงินทุนหมุนเวียน
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
18,869,662 18,869,662
16,532,500 16,532,500
10,431,741 10,431,741
9,191,596 9,191,596
หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
วันที่ 1 มกราคม ตนทุนบริการปจจุบัน ตนทุนดอกเบี้ย วันที่ 31 ธันวาคม
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
16,532,500 1,820,147 517,015 18,869,662
14,304,581 1,737,419 490,500 16,532,500
9,191,596 895,591 344,554 10,431,741
8,037,881 850,395 303,320 9,191,596
จํานวนที่รับรูในงบกําไรขาดทุนมีดังนี้
หนวย : บาท งบการเงินรวม
หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
พ.ศ. 2555
งบการเงินรวม
หนี้สินหมุนเวียนอื่น
ภาษีขายยังไมถึงกําหนดชําระ ประมาณการหนี้สินโปรแกรมสิทธิพิเศษแกลูกคา ประมาณการหนี้สินจากสินคารับคืน อื่น ๆ
งบการเงินเฉพาะบริษัท
รายการเคลื่อนไหวของโครงการผลประโยชนระหวางปมีดังนี้
บริษัทนําเงินที่ไดรับจากการจําหนายหุนกูไปชําระหนี้เงินกูยืมจากสถาบันการเงินและใชในการดําเนินงานและขยายธุรกิจของบริษัท
20
FINANCIALS
19
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
50,210,515 16,870,000 28,943,703 41,796,506 137,820,724
54,035,154 16,100,000 52,516,963 19,460,035 142,112,152
11,567,131 16,870,000 8,154,830 36,591,961
19,978,360 16,100,000 6,758,544 42,836,904
128
ตนทุนบริการปจจุบัน ตนทุนดอกเบี้ย รวม (แสดงเปนสวนหนึ่งของคาใชจาย ผลประโยชนพนักงาน)
งบการเงินเฉพาะบริษัท
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
1,820,147 517,015
1,737,419 490,500
895,591 344,554
850,395 303,320
2,337,162
2,227,919
1,240,145
1,153,715
คาใชจายจํานวน 2,337,162 บาท และ 1,240,145 บาท (พ.ศ. 2554 : จํานวน 2,227,919 บาท และจํานวน 1,153,715 บาท) ไดรวมอยูใน “คาใชจายในการบริหาร” ในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัท ตามลําดับ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
129
FINANCIALS
ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน - โครงการผลประโยชนหลังออกจากงาน (ตอ)
23
ทุนเรือนหุนและสวนเกินมูลคาหุน
ขอสมมติฐานหลักในการประมาณการตามหลักคณิตศาสตรประกันภัยที่ใชเปนดังนี้ งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม
อัตราคิดลด อัตราเงินเฟอ อัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนที่คาดไว 22
พ.ศ. 2555 รอยละ
พ.ศ. 2554 รอยละ
พ.ศ. 2555 รอยละ
พ.ศ. 2554 รอยละ
3.80 3.00 3.00 - 9.00
3.80 3.00 3.00 - 9.00
3.80 3.00 3.00 - 9.00
3.80 3.00 3.00 - 9.00
หนี้สินไมหมุนเวียนอื่น หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 การออกหุน วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 การออกหุน ทุนจดทะเบียนรองรับการใชสิทธิ ESOP - W4 การใชสิทธิซื้อหุนสามัญ ESOP - W3 การลดทุน วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ทุนที่ออกและเรียกชําระเต็มมูลคาแลว จํานวนหุน จดทะเบียน หุน
จํานวน หุนสามัญ หุน
หุนสามัญ บาท
สวนเกิน มูลคาหุน บาท
906,000,000 906,000,000
881,897,219 881,897,219
881,897,219 881,897,219
3,839,673,605 3,839,673,605
8,690,000
5,679,124 887,576,343
5,679,124 887,576,343
79,825,767 3,919,499,372
(10,189,010) 904,500,990
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
หุนสามัญจดทะเบียนทั้งหมดมีจํานวน 904,500,990 หุน (พ.ศ. 2554 : 906,000,000 หุน) ซึ่งมีมูลคาที่ตราไวหุนละ 1 บาท (พ.ศ. 2554 : 1 บาทตอหุน) หุนสามัญที่ไดออกและเรียกชําระเต็มมูลคาแลวมีจํานวน 887,576,343 หุน (พ.ศ. 2554 : 881,897,219 หุน)
209,904,513 206,611,088 38,331,900 454,847,501
215,268,045 227,254,277 442,522,322
22,106,514 38,331,900 60,438,414
20,252,901 20,252,901
เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 ที่ประชุมสามัญประจําปผูถือหุนของบริษัทไดมีมติอนุมัติการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจากเดิม 906,000,000 บาท เปน 895,810,990 บาท โดยการลดหุนสามัญที่ยังไมไดออกจําหนายของบริษัท จํานวน 10,189,010 หุน มูลคา ที่ตราไวหุนละ 1 บาท
บริษัทไดรับเงินชวยเหลือคากอสรางจากผูใหเชาเปนจํานวน 38.33 ลานบาท โดยบันทึกเปนสวนลดคาเชาที่ตองจายบริษัทตลอดอายุ สัญญาเชา
เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 ที่ประชุมสามัญประจําปผูถือหุนของบริษัทไดมีมติอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก จํานวน 895,810,990 บาท เปนจํานวน 904,500,990 บาท โดยออกหุนสามัญใหม จํานวน 8,690,000 หุน มูลคาที่ตราไวหุนละ 1 บาท เพื่อรองรับการใชสิทธิซื้อหุนสามัญตามใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุนสามัญ (ESOP - W4) บริษัทไดจดทะเบียนลดทุนและเพิ่มทุนกับ กระทรวงพาณิชยแลวเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555 และวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2555 ตามลําดับ
เงินมัดจํารับจากลูกคา รายไดคาเชาและบริการรับลวงหนา เงินชวยเหลือคากอสราง
FINANCIALS
21
ในระหวางป พ.ศ. 2555 ผูถือใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุน (ESOP - W3) ไดใชสิทธิซื้อหุนสามัญจํานวน 5,679,124 สิทธิเปนจํานวนเงิน 85,504,891 บาท โดยมีสวนเกินมูลคาหุนจํานวน 79,825,767 บาท ในระหวางป พ.ศ. 2552 บริษัทไดซื้อคืนหุนสามัญจํานวน 40.91 ลานหุน ในตลาดหลักทรัพยแหงประเทศไทย โดยจายเงินเพื่อ ซื้อคืนหุนเปนจํานวนเงิน 267.92 ลานบาท และไดแสดงเปนรายการหักจากสวนของผูถือหุน หุนทั้งหมดที่ซื้อคืนถือไวเพื่อรอการ จําหนายอีกครั้งหนึ่งในเวลาตอไป บริษัทไดกันกําไรสะสมไวเปนสํารองเพื่อหุนทุนซื้อคืนจํานวน 267.92 ลานบาท ตามที่กําหนดไว ในมาตรา 66/1 (2) ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ. 2535 ซึ่งกําหนดใหบริษัทตองกันกําไรสะสมไวเปนเงินสํารอง เทากับจํานวนเงินที่ไดซื้อหุนคืน ในระหวางเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 บริษัทไดขายหุนทุนซื้อคืนทั้งจํานวนรวมเปนเงิน 556.34 ลานบาท กําไรจากการขายหุนทุน ซื้อคืนจํานวน 288.42 ลานบาท ไดบันทึกเปน “สวนเกินทุน - หุนทุนซื้อคืน” ภายใตสวนของผูถือหุน ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
130
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
131
FINANCIALS
24
การจายโดยใชหุนเปนเกณฑ - ใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุนสามัญ
การจายโดยใชหุนเปนเกณฑ - ใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุนสามัญ (ตอ) รายการเคลื่อนไหวของจํานวนสิทธิซื้อหุนที่คงเหลือ และราคาใชสิทธิถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักที่เกี่ยวของกันดังนี้
24.1 ใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุนสามัญที่จัดสรรใหแกพนักงานของบริษัท (“ESOP”)
งบการเงินรวม ราคาใชสิทธิ ถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนัก บาทตอหุน จํานวนสิทธิ
บริษัท ไดอ อกใบสํา คัญแสดงสิทธิซื้อหุน สามัญที่จัดสรรใหแกพนักงานของบริษัทและบริษัท ยอย (“ESOP”) โดยเปน ใบสําคัญแสดงสิทธิจดทะเบียนและไมสามารถโอนใหบุคคลอื่นได ไมมีราคาเสนอขายและมีอายุไมเกิน 5 ป นับตั้งแตวันที่ออก อัตราการใชสิทธิซื้อหุนสามัญและราคาการใชสิทธิมีรายละเอียดดังตอไปนี้ วันที่ออก ESOP-W4
กําหนดเวลาการใชสิทธิ
จํานวนที่ออก ราคาการใชสิทธิ ลานหนวย บาท/หนวย
10 เมษายน พ.ศ. 2555
8.69
15.44
เริ่ม
สิ้นสุด
30 มิถุนายน พ.ศ. 2557
9 เมษายน พ.ศ. 2560
ราคาใชสิทธิและอัตราการใชสิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ มีดังนี้
อัตราการใชสิทธิ หนวย/หุน
ราคาการใชสิทธิ บาท/หนวย
1.000
15.440
ESOP-W4
ในระหวางป พ.ศ. 2555 ผูถือใบสําคัญแสดงสิทธิ (ESOP-W3) ไดใชสิทธิซื้อหุนสามัญจํานวน 5,097,960 สิทธิ ซึ่งบริษัทไดรับ เงินเปนจํานวน 85,504,891 บาท (หมายเหตุ 23) และสิทธิซื้อหุนสามัญจํานวน 7,391,960 สิทธิ ไดหมดอายุแลวเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 24.2 ใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุนสามัญที่จัดสรรใหแกพนักงานของบริษัทยอย (“ESOP”) บริษัทยอยไดออกใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุนสามัญที่จัดสรรใหแกพนักงานของบริษัทและบริษัทยอย (“ESOP”) โดยเปน ใบสําคัญแสดงสิทธิจดทะเบียนและไมสามารถโอนใหบุคคลอื่นได ไมมีราคาเสนอขายและมีอายุไมเกิน 5 ป นับตั้งแตวันที่ออก อัตราการใชสิทธิซื้อหุนสามัญและราคาการใชสิทธิมีรายละเอียดดังตอไปนี้ วันที่ออก ESOP-W1
จํานวนที่ออก ราคาการใชสิทธิ ลานหนวย บาท/หนวย
10 เมษายน พ.ศ. 2555
4.42
1.59
ราคาใชสิทธิและอัตราการใชสิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิ มีดังนี้
ESOP-W1
กําหนดเวลาการใชสิทธิ เริ่ม
สิ้นสุด
30 มิถุนายน พ.ศ. 2557
อัตราการใชสิทธิ หนวย/หุน 1.000
23 เมษายน พ.ศ. 2560
ราคาการใชสิทธิ บาท/หนวย 1.59
ในระหวางป พ.ศ. 2555 ผูถือใบสําคัญแสดงสิทธิไมไดใชสิทธิซื้อหุนสามัญ เนื่องจากราคาใชสิทธิสูงกวาราคาตลาดของหุน ในระหวางป พ.ศ. 2555 ไมมีการเปลี่ยนเงื่อนไขในขอกําหนดวาดวยสิทธิและหนาที่ของผูออกใบสําคัญแสดงสิทธิไมมีการ ซื้อหุนสามัญ (ESOP-W4 และ ESOP-W1)
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
FINANCIALS
24
132
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 สิทธิเลือกที่ออกให สิทธิเลือกที่ออกโดยบริษัท ESOP - W4 สิทธิเลือกที่ออกโดยบริษัทยอย ESOP - W1 สิทธิเลือกที่ถูกริบ สิทธิเลือกที่มีการใชสิทธิ สิทธิเลือกที่ออกโดยบริษัท ESOP - W3 สิทธิเลือกที่หมดอายุ สิทธิเลือกที่ออกโดยบริษัท ESOP - W3 วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
งบการเงินเฉพาะบริษัท ราคาใชสิทธิ ถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนัก บาทตอหุน
จํานวนสิทธิ
16.45
12,489,920
16.45
12,489,920
15.44 1.59 -
8,690,000 4,424,625 -
15.44 -
8,690,000 -
15.05
(5,097,960)
15.05
(5,097,960)
15.05
(7,391,960) 13,114,625
15.05
(7,391,960) 8,690,000
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 บริษัทและบริษัทยอยมีสิทธิซื้อหุนคงเหลือจํานวน 8,690,000 สิทธิ และจํานวน 4,424,625 สิทธิ ตามลําดับ (พ.ศ. 2554 : ไมมี) สิทธิที่ออกโดยบริษัทและบริษัทยอยมีมูลคายุติธรรมถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักของสิทธิซื้อหุนที่ใหสิทธิในระหวางปซึ่งประมาณโดยใช วิธีการคํานวณแบบ Black-Scholes ประกอบดวย ตัวแปรในการคํานวณ มูลคาของใบสําคัญแสดงสิทธิ (บาทตอสิทธิ) คาความผันผวน (รอยละ) ผลตอบแทนของเงินปนผล (รอยละ) ราคาหุนถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนัก ณ วันใหสิทธิ (บาทตอหุน) ประมาณการอายุของสิทธิ (ป) อัตราดอกเบี้ยปราศจากความเสี่ยง (รอยละ)
บริษัท ESOP-W4 3.90 - 4.69 32.01 - 37.58 4.41 - 6.55 18.20 2.22 - 4.22 3.39 - 3.59
บริษัทยอย ESOP-W1 0.75 69.25 2.12 1.49 5 3.51
ความผันผวนของราคาหุน MAJOR และ MPIC ยอนหลั ง โดยอิงจากชวงระยะเวลาตามอายุ คงเหลือของ MAJOR-ESOP-W4 และ MPIC-ESOP-W1 โดยมูลคาของ MAJOR-ESOP-W4 และ MPIC-ESOP-W1 จะมีมูลคาเพิ่มขึ้น หากความผันผวนของราคาหุน MAJOR และ MPIC สูงขึ้น ตามลําดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลุมบริษัทและบริษัทไดรับรูคาใชจายที่เกี่ยวของกับใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุนสามัญตลอดระยะเวลาที่ ไดรับสิทธิ คาใชจายเกี่ยวกับใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุนสามัญ ไดบันทึกเปนคาใชจายในงบกําไรขาดทุนรวมและงบกําไรขาดทุนเฉพาะ บริษัท และสวนของผูถือหุนรวมและสวนของผูถือหุนเฉพาะบริษัท เปนจํานวน 9,191,064 บาท และ 8,900,000 บาท ตามลําดับ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
133
FINANCIALS
28
สํารองตามกฎหมาย
คาใชจายตามลักษณะ
ตามพระราชบัญญัติบ ริษัทมหาชนจํา กัด พ.ศ. 2535 บริษัทตองสํา รองตามกฎหมายอยา งนอ ยรอยละ 5 ของกํา ไรสุท ธิหลังจาก หักขาดทุนสะสมยกมา (ถามี) จนกวาสํารองนี้จะมีมูลคาไมนอยกวารอยละ 10 ของทุนจดทะเบียนของบริษัท สํารองตามกฎหมาย ไมสามารถจัดสรรได 26
สวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม
หนวย : บาท งบการเงินรวม พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555 คาเสื่อมราคาของอาคารและอุปกรณ (หมายเหตุ 13) คาตัดจําหนายสินทรัพยไมมีตัวตน - ลิขสิทธิ์ภาพยนตร (หมายเหตุ 15) - โปรแกรมคอมพิวเตอร (หมายเหตุ 15) - คาเชาจายลวงหนา (หมายเหตุ 16) การดอยคาของเงินลงทุน (หมายเหตุ 12) การดอยคาของคาความนิยม (หมายเหตุ 14) การดอยคาของสินทรัพย (หมายเหตุ 13 และหมายเหตุ 15) คาซอมแซมและรายจายบํารุงอาคารและอุปกรณ คาใชจายเกี่ยวกับพนักงาน ขาดทุนจากการตัดจําหนายอาคารและอุปกรณ หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ(กลับรายการ) ขาดทุนจากการลดมูลคาสินคาคงเหลือ ขาดทุนจากสินคารับคืน(กลับรายการ) สินคาคงเหลือ - ตนทุนของสินคาที่รับรูเปนคาใชจาย (รวมอยูใน “ตนทุนสินคาขาย”)
หนวย : บาท งบการเงินรวม
ยอดคงเหลือตนป ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ยอดคงเหลือที่ปรับปรุงแลว ซื้อเงินลงทุนในบริษัทยอยจากสวนไดเสียที่ไมมีอํานาจควบคุม การซื้อบริษัทยอย สวนแบงกําไรในบริษัทยอย เงินปนผลจาย ยอดคงเหลือปลายป 27
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
156,876,010 156,876,010 (3,546,664) (55,313,258) (10,870,674) 87,145,414
137,100,380 (1,098,538) 136,001,842 (932,242) 5,530,217 20,641,321 (4,365,128) 156,876,010
รายไดอื่น
หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม เงินปนผลรับ (หมายเหตุ 12) กําไรจากการจําหนายอุปกรณ กําไรจากการจําหนายเงินลงทุน (หมายเหตุ 12) คาบริหารจัดการรับ ดอกเบี้ยรับ กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน คาภาษีโรงเรือนรับ เงินชดเชยความเสียหาย (หมายเหตุ 13) อื่น ๆ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
2,779,970 6,100,475 213,671,224 43,876,614 19,011,178 3,093,939 25,124,574 67,828,723 51,208,347 432,695,044
7,585,341 4,263,542 8,971,366 42,165,068 22,585,772 146,204 25,499,624 26,701,776 137,918,693
162,309,542 6,871,861 255,606,643 42,367,554 82,384,322 1,028,477 3,175,701 57,961,638 16,767,532 628,473,270
868,788,210 4,103,568 14,446,247 42,165,069 93,005,822 354,985 2,705,773 14,144,825 1,039,714,499
134
29
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
554,609,946
564,198,687
262,665,073
276,292,365
482,901,412 10,887,084 34,390,586 55,047,537
376,988,905 7,811,050 35,105,240 -
10,087,860 9,472,507 3,000,000 -
7,132,418 9,472,507 -
16,740,031 60,418,305 693,374,686 50,459,167 13,818,766 32,951,984 (23,473,259)
13,453,928 61,574,251 647,399,343 19,856,226 403,920 2,380,953 14,854,908
31,076,737 372,550,412 14,754 1,069,133 -
30,928,605 354,145,180 12,489,319 (87,651) -
500,403,367
499,117,882
246,943,842
222,417,373
ตนทุนทางการเงิน หนวย : บาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม ดอกเบี้ยจาย: เงินกูยืมจากธนาคาร เงินกูยืมจากบริษัทยอย สัญญาเชาการเงิน หุนกู
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
53,130,009 1,983,531 77,973,831 133,087,371
35,275,044 8,075,347 1,875,035 98,809,998 144,035,424
17,316,040 5,857,089 1,692,789 77,973,832 102,839,750
8,356,106 11,649,655 1,606,386 98,809,998 120,422,145
135
FINANCIALS
25
FINANCIALS
31
กําไรตอหุน กําไรตอหุนขั้นพื้นฐานคํานวณโดยการหารกําไรที่เปนของผูถือหุนสามัญดวยจํานวนหุนสามัญถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนักที่ออกจําหนายและ ชําระแลวในระหวางป สํา หรับ กํ า ไรตอ หุ น ปรั บ ลดคํา นวณจากจํ า นวนหุน สามั ญถัว เฉลี่ ยถว งน้ํา หนัก ที่รวมสมมติฐ านว า หุน สามั ญเที ยบเทา ปรับ ลด ไดถูกแปลงเปนหุนสามัญทั้งหมด ซึ่งไดแกใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุนสามัญตามรายละเอียดในหมายเหตุ 24
เงินปนผลจาย สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ในที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 คณะกรรมการไดมีมติอนุมัติใหจายเงินปนผลจากการดําเนินงาน ของงวดเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 จํานวน 0.43 บาทตอหุน รวมเปนจํานวนเงินทั้งสิ้น 379.21 ลานบาท โดยจายใหกับ หุนทั้งหมดที่มีชื่ออยูในทะเบียนผูถือหุน ณ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554 และไดจายใหกับผูถือหุนในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554
ใบสําคัญแสดงสิทธิซื้อหุนสามัญคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เปนใบสํา คัญแสดงสิทธิซื้อหุนสามัญที่จัดสรรใหแ ก กรรมการและพนักงานของบริษัท และบริษัทยอย (หมายเหตุ 24) ซึ่งไมมีผลตอการคํานวณกําไรตอหุนปรับลดเนื่องจากราคาตาม สิทธิของใบสําคัญแสดงสิทธิที่เหลืออยูสูงกวาราคาตลาดเฉลี่ยของหุนสามัญของบริษัทในระหวางปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ในที่ ประชุ มคณะกรรมการของบริ ษัทเมื่ อวั นที่ 24 กุ มภาพันธ พ.ศ. 2554 คณะกรรมการได มีมติอนุมัติ ให จายเงินป นผลจากการ ดําเนินงานของงวดเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 จํานวน 0.60 บาทตอหุน รวมเปนจํานวนเงินทั้งสิ้น 504.59 ลานบาท โดย จะจายใหกับหุนทั้งหมดที่มีรายชื่ออยูในทะเบียนผูถือหุน ณ วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งไดรับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผูถือหุนใน วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554 และไดจายใหกับผูถือหุนแลวในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
การคํานวณกําไรตอหุนขั้นพื้นฐานและกําไรตอหุนปรับลด แสดงไดดังนี้
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 งบการเงินรวม
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม กําไรตอหุนขั้นพื้นฐาน ผลกระทบของหุนสามัญเทียบเทาปรับลด กําไรตอหุนปรับลด
กําไร
จํานวนหุนถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนัก
กําไรตอหุน
บาท
หุน
บาท
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
811,141,702 811,141,702
781,670,903 781,670,903
884,194,660 2,806,472 887,001,132
868,896,508 868,896,508
0.92 0.91
0.90 0.90
งบการเงินเฉพาะบริษัท
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม กําไรตอหุนขั้นพื้นฐาน ผลกระทบของหุนสามัญเทียบเทาปรับลด กําไรตอหุนปรับลด
กําไร
จํานวนหุนถัวเฉลี่ยถวงน้ําหนัก
กําไรตอหุน
บาท
หุน
บาท
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
750,032,635 1,187,614,314 750,032,635 1,187,614,314
884,194,660 2,806,472 887,001,132
868,896,508 868,896,508
0.85 0.85
1.37 1.37
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
136
FINANCIALS
30
ในที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 คณะกรรมการไดมีมติอนุมัติการจายเงินปนผลระหวางกาลจาก การดําเนินงานของงวดเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 จํานวน 0.39 บาทตอหุน รวมเปนจํานวนเงินทั้งสิ้น 344.96 ลานบาท โดยจายใหกับหุนทั้งหมดที่มีชื่ออยูในทะเบียนผูถือหุน ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และไดจายใหกับผูถือหุนในวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 ในที่ประชุมคณะกรรมการของบริ ษัทเมื่ อวั นที่ 16 กุมภาพั นธ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการได มีมติอนุมั ติ ให จายเงินปนผลจากการ ดําเนินงานของงวดเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 จํานวน 0.39 บาทตอหุน รวมเปนจํานวนเงินทั้งสิ้น 343.94 ลานบาท โดยจายใหกับหุนทั้งหมดที่มีรายชื่ออยูในทะเบียนผูถือหุน ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งไดรับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผูถือหุน ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555 เงินปนผลดังกลาวไดจายใหกับผูถือหุนในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
137
FINANCIALS
32
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน (ตอ)
พ.ศ. 2555
หนวย : บาท งบการเงินรวม หมายเหตุ กําไรกอนภาษีเงินได รายการปรับปรุง คาเสื่อมราคาและคาตัดจําหนาย หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ(กลับรายการ) ขาดทุนจากสินคารับคืน(กลับรายการ) ขาดทุนจากการตัดจําหนายสินคาคงเหลือ ขาดทุนจากสินคาลาสมัย(กลับรายการ) การดอยคาเงินลงทุนในบริษัทยอย กลับรายการการดอยคาเงินลงทุนระยะยาว การดอยคาของสินทรัพย การดอยคาของคาความนิยม ขาดทุนจากการตัดจําหนายสินทรัพย กําไรจากการจําหนาย อาคาร และอุปกรณ และสิทธิการเชา ขาดทุนจากการตัดจําหนายอาคาร อุปกรณ และสินทรัพยไมมีตัวตน สวนแบงกําไรสุทธิของบริษัทรวมและกิจการรวมคา กําไรจากการจําหนายเงินลงทุน ในบริษัทยอย บริษัทรวมและกิจการรวมคา กําไรจากการจําหนายเงินลงทุนชั่วคราว ขาดทุนจากการจําหนายเงินลงทุนระยะยาว ประมาณการหนี้สินโปรแกรมสิทธิพิเศษแกลูกคา ภาระผูกพันผลประโยชนพนักงาน ใบสําคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุนสามัญ เงินปนผลรับ ดอกเบี้ยรับ ตนทุนทางการเงิน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
28 28 28 10 10 12 8 14
13, 15 12 12 8 8 20 21 24 27 27 29
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2554
1,037,743,158 1,019,910,397
941,410,857 1,309,049,601
1,082,789,028 13,818,766 (23,473,259) 32,951,984 16,740,031 55,047,537 4,928,913
984,103,882 403,920 14,854,908 4,564,280 (2,183,328) (19,766,982) 9,060,934 365,131
282,225,440 1,069,134 3,000,000 -
292,897,290 (87,651) (19,766,982) -
(6,894,392)
(4,443,979)
(6,871,861)
(4,103,568)
50,459,167 19,856,226 (157,192,335) (212,332,032)
14,754 -
12,489,319 -
(210,266,963) (3,404,261) 770,000 2,337,162 9,191,064 (2,779,970) (19,011,178) 133,087,371
การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพยและหนี้สินดําเนินงาน - ลูกหนี้การคาและลูกหนี้อื่น - สินคาคงเหลือ - ภาพยนตรระหวางผลิต - สินทรัพยหมุนเวียนอื่น - ลูกหนี้ตามสัญญาเชาการเงิน - ลูกหนี้ตามสัญญาระยะยาว - สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น - เจาหนี้การคาและเจาหนี้อื่น - หนี้สินหมุนเวียนอื่น - หนี้สินไมหมุนเวียนอื่น
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555
หนวย : บาท งบการเงินรวม
การกระทบยอดกําไรกอนภาษีเงินไดใหเปนกระแสเงินสดจากกิจกรรมดําเนินงาน มีรายละเอียดดังตอไปนี้
(22,672,204) (252,202,382) (28,147,085) (140,854) (3,404,261) (140,854) 33,608,674 33,608,674 16,100,000 770,000 16,100,000 2,227,919 1,240,145 1,153,715 8,900,000 (7,585,341) (162,309,542) (868,788,210) (22,585,771) (82,384,322) (93,005,822) 144,035,424 102,839,750 120,422,145
138
เงินสดไดมาจากกิจกรรมดําเนินงาน
33
FINANCIALS
32
พ.ศ. 2554
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
(236,834,644) (53,506,849) 42,049,015 (11,441,853) (21,616,133) (4,855,031) (20,626,329) 1,580,413 6,401,103 (30,337,281) 9,490,477 (400,776) (1,911,115) 18,656,177 17,078,893 18,656,177 3,035,752 (58,351,494) 2,800,038 (6,579,993) (43,515,303) (118,807,204) 19,069,128 (7,795,372) (7,014,943) 12,325,178 (14,292,616) 40,185,513 1,800,445,566 1,744,714,347 816,801,754
32,273,177 (13,892,318) (404,778) 17,078,893 (57,476,655) (18,226,718) 2,037,779 (556,090) 732,513,862
รายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน บุคคลและกิจการที่ควบคุมบริษัท หรือถูกควบคุมโดยบริษัทหรืออยูภายใตการควบคุมเดียวกับบริษัททั้งทางตรงหรือทางออ ม ไมว าจะโดยทอดเดีย วหรือ หลายทอด บุค คลและกิ จการดัง กลา วเปน บุค คลหรื อ กิ จการที่เ กี่ย วข อ งกับ บริ ษัท บริษั ท ย อ ยและ บริษัทยอยลําดับถัดไป บริษัทรวมและบุคคลที่เปนเจาของสวนไดเสียในสิทธิออกเสียงของบริษัท ซึ่งมีอิทธิพลอยางเปนสาระสําคัญ เหนือกิจการ ผูบริหารสําคัญรวมทั้งกรรมการและพนักงานของบริษัท ตลอดจนสมาชิกในครอบครัวที่ใกลชิดกับบุคคลเหลานั้น บุคคลและกิจการทั้งหมดถือเปนบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกับบริษัท ในการพิจารณาความสัมพันธระหวางบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกันซึ่งอาจมีขึ้นไดตองคํานึงถึงรายละเอียดของความสัมพันธ มากกวารูปแบบความสัมพันธตามกฎหมาย
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
139
FINANCIALS
33
รายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน (ตอ)
รายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน (ตอ) ข)
บริษัทที่เกี่ยวของกันอื่นเปนบริษัทของกรรมการและครอบครัวของกรรมการ ดังนั้นจึงถือเปนกิจการที่เกี่ยวของกัน
การซื้อสินคาและบริการ และอื่น ๆ
รายไดจากการขายสินคาและบริการและอื่น ๆ หนวย : พันบาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 รายไดจากการขายสินคาและการใหบริการ บริษัทยอย บริษัทรวม กองทุนรวมสิทธิการเชาอสังหาริมทรัพย กิจการรวมคา บริษัทที่เกี่ยวของกัน
ขายอุปกรณ บริษัทยอย กิจการรวมคา
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
หนวย : พันบาท งบการเงินเฉพาะบริษัท
งบการเงินรวม
รายการตอไปนี้เปนรายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน ก)
FINANCIALS
33
3,508 62,994 3,798 57,528 127,828
พ.ศ. 2554 2,940 60,629 1,373 81,037 145,979
พ.ศ. 2555 313,531 17,075 143,532 677 10,805 485,620
พ.ศ. 2554 814,257 226,323 116,646 693 21,089 1,179,008
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
41,837 142,744 124,558 309,139
59,654 131,831 102,377 293,862
175,584 31,604 103,873 109,377 420,438
148,964 41,528 98,377 89,185 378,054
-
-
-
12,232 12,232
46,104 46,104
45,248 45,248
25,974 25,974
25,938 25,938
การซื้อสินคาและบริการ บริษัทยอย บริษัทรวม กองทุนรวมสิทธิการเชาอสังหาริมทรัพย บริษัทที่เกี่ยวของกัน ซื้ออุปกรณ บริษัทยอย คาตอบแทนผูบริหาร ผูบริหาร
นโยบายการคิดราคาระหวางกิจการที่เกี่ยวของกัน มีดังนี้
22,811 22,811
-
7,160 7,160
1,980 1,980
140
นโยบายการคิดราคา คาบริหารจัดการ คาโฆษณา ดอกเบี้ย การเชาพื้นที่และบริการ คาเชาอุปกรณ คาบริการเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร คาสิทธิการเชาพื้นที่ คาสนับสนุนธุรกิจ ตนทุนคาแสดงภาพยนตร
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
ราคาที่ตกลงกันตามที่กําหนดในสัญญา ราคาที่ตกลงกันซึ่งใกลเคียงกับราคาตลาด อัตราซึ่งอิงจากอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย ราคาที่ตกลงกันซึ่งใกลเคียงกับราคาตลาด ราคาที่ตกลงกันซึ่งใกลเคียงกับราคาตลาด ราคาที่ตกลงกันตามที่กําหนดในสัญญา ราคาที่ตกลงกันซึ่งใกลเคียงกับราคาตลาด ราคาที่ตกลงกันตามที่กําหนดในสัญญา ราคาที่ตกลงกันซึ่งใกลเคียงกับราคาตลาด
141
FINANCIALS
รายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน (ตอ) ค)
พ.ศ. 2555
ลูกหนี้บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน บริษัทยอย บริษัทรวม กิจการรวมคา กิจการที่เกี่ยวของกัน เงินมัดจํา (รวมอยูใน “สินทรัพยไมหมุนเวียนอื่น”) บริษัทรวม กิจการที่เกี่ยวของกัน ลูกหนีต้ ามสัญญาเชาการเงิน กิจการที่เกี่ยวของกัน
ยอดคงเหลือที่เกิดจากการซื้อขายสินคาและบริการและอื่น ๆ (ตอ) งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
หนวย : พันบาท งบการเงินรวม
ลูกหนี้การคา (รวมรายไดที่ยังไมไดเรียกเก็บ) บริษัทยอย บริษัทรวม กิจการรวมคา กิจการที่เกี่ยวของกัน
รายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน (ตอ) ค)
ยอดคงเหลือที่เกิดจากการซื้อขายสินคาและบริการและอื่น ๆ
3,984 1,647 3,230 8,861 22,812 10,173 10,919 43,904
งบการเงินเฉพาะบริษัท
พ.ศ. 2554 9,294 749 14,212 24,255 21,385 4,680 12,228 38,293
พ.ศ. 2555 130,858 1,075 436 252 132,621 258,704 6,945 4,110 10,441 280,200
พ.ศ. 2554 219,334 2,825 66 1,595 223,820 304,950 5,341 4,680 11,411 326,382
8,979 2,600 11,579
8,979 5,000 13,979
3,460 2,600 6,060
3,460 5,000 8,460
1,827 1,827
1,817 1,817
-
-
เจาหนี้การคา (รวมอยูใน “เจาหนี้การคาและตั๋วเงินจาย”) บริษัทยอย บริษัทรวม กิจการที่เกี่ยวของกัน เจาหนี้อื่น (รวมอยูใน “เจาหนี้บุคคล หรือกิจการที่เกี่ยวของกัน”) บริษัทยอย บริษัทรวม กิจการรวมคา กิจการที่เกี่ยวของกัน กรรมการ เงินรับลวงหนาจากการใหเชาและบริการ (รวมอยูใน “หนี้สินไมหมุนเวียนอื่น”) บริษัทรวม กิจการที่เกี่ยวของกัน เงินมัดจํารับ (รวมอยูใน “หนี้สินไมหมุนเวียนอื่น”) บริษัทยอย บริษัทรวม กิจการที่เกี่ยวของกัน หนี้สินตามสัญญาเชาการเงิน (รวมอยูใน “เงินกูยืมระยะยาวจาก สถาบันการเงิน”) บริษัทรวม กิจการที่เกี่ยวของกัน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
142
FINANCIALS
33
33
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
หนวย : พันบาท งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
9,130 1,056 10,186
10,266 1,204 11,470
86,435 7,723 952 95,110
145,031 9,254 1,079 155,364
22,404 2,186 6,960 3,842 35,392
8,529 343 3,693 3,584 16,149
83,396 21,286 139 6,414 3,300 114,535
164,583 7,213 343 2,525 3,300 177,964
29,150 17,090 46,240
30,197 18,600 48,797
-
-
120,003 5,796 125,799
120,003 8,906 128,909
983 135 1,118
135 135
12,253 8,169 20,422
12,125 8,083 20,208
12,253 8,169 20,422
12,125 8,083 20,208
143
FINANCIALS
33
รายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน (ตอ) ง)
เงินใหกูยืมระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกันเปนเงินใหกูยืมแกบริษัทในกลุมบริษัท เมเจอร ซีนีเพล็กซ กรุป จํากัด (มหาชน) (“เมเจอร กรุป”) ในประเทศไทย เพื่อใชสําหรับการจัดหาเงินแกกลุม เมเจอร กรุปในประเทศไทย เงินใหกูยืมระยะสั้นแก กิจการที่เกี่ยวของกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เปนเงินใหกูยืมที่ไมมีหลักประกันทั้งจํานวน ซึ่งมีกําหนดชําระคืน ภายใน 1 เดือน มีอัตราดอกเบี้ยรอยละ 4.00 ตอป การเคลื่อนไหวของเงินใหกูยืมระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกันในระหวางป แสดงไวดังตอไปนี้ หนวย : พันบาท สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม บริษัทยอยและบริษัทรวม และพนักงาน ยอดคงเหลือตนป เงินใหกูยืมในระหวางป รับคืนเงินใหกูยืมในระหวางป จัดประเภทรายการใหม ยอดคงเหลือปลายป
งบการเงินรวม พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555 1,800 (1,800) -
-
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 475,370 1,565,893 (1,583,454) 4,339 462,148
8,891 1,717,042 (1,250,563) 475,370
รายไดดอกเบี้ยที่เกี่ยวของมีจํานวนเงิน 18,859,251 บาท (พ.ศ. 2554 : 14,206,697 บาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 บริษัท มีดอกเบี้ยคางรับจํานวน 1,456,590 บาท (พ.ศ. 2554 : 1,704,453 บาท)
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
รายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน (ตอ) จ)
เงินใหกูยืมระยะสั้นแกกิจการที่เกี่ยวของกัน
144
FINANCIALS
33
เงินใหกูยืมระยะยาวแกบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม บริษัทยอยและบริษัทรวม และพนักงาน ยอดคงเหลือตนป เงินใหกูยืมในระหวางป รับคืนเงินใหกูยืมในระหวางป จัดประเภทรายการใหม ยอดคงเหลือปลายป
งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
10,695 1,550 (5,633) 6,612
14,288 11,331 (14,924) 10,695
หนวย : พันบาท งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
1,274,419 1,194 (261,000) (8,000) 1,006,613
1,696,079 212,195 (633,855) 1,274,419
เงินใหกูยืมแกบริษัทที่เกี่ยวของกันมีอัตราดอกเบี้ยระหวางรอยละ 4.00 ถึงรอยละ 6.13 ตอป (พ.ศ. 2554 : รอยละ 4.00 ถึง รอยละ 7.25 ตอป) และไมมีกําหนดชําระคืน เงินใหกูยืมแกพนักงานจํานวน 6.61 ลานบาท และจํานวน 5.85 ลานบาท ในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัท (พ.ศ. 2554 : 10.70 ลานบาท และ 9.51 ลานบาท ตามลําดับ) ประกอบดวยเงินใหกูยืมแกพนักงานจํานวน 1.73 ลานบาท และ 1.67 ลานบาท ตามลําดับ ซึ่งไมคิดดอกเบี้ย และจํานวน 4.88 ลานบาท และ 4.19 ลานบาท คิดอัตราดอกเบี้ยรอยละ 2.00 - 3.00 ตอป (พ.ศ. 2554 : จํานวน 2.61 ลานบาท ไมคิดดอกเบี้ย และจํานวน 6.89 ลานบาท คิดอัตราดอกเบี้ยรอยละ 2.00 - 3.00 ตอป)
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
145
FINANCIALS
รายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน (ตอ) ฉ)
33
เงินกูยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวของกัน
รายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน (ตอ) ซ)
ฌ)
34
งบการเงินเฉพาะบริษัท สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
พ.ศ. 2555 พันบาท
พ.ศ. 2554 พันบาท
ยอดคงเหลือตนป เงินกูยืมในระหวางป จายคืนเงินกูยืมในระหวางป จัดประเภทรายการ ยอดคงเหลือปลายป
65,608 1,238,611 (832,780) (3,661)
87,408 1,038,027 (1,059,827) -
467,778
65,608
คาใชจายดอกเบี้ยที่เกี่ยวของมีจํานวนเงิน 5,857,089 บาท (พ.ศ. 2554 : 3,112,910 บาท) ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 บริษัท มีดอกเบี้ยคางจายจํานวน 1,650,662 บาท (พ.ศ. 2554 : 193,240 บาท) เงินกูยืมระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวของกัน
สําหรับปสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม บริษัทยอยและบริษัทรวม ยอดคงเหลือตนป เงินกูยืมในระหวางป จายคืนเงินกูยืมในระหวางป ยอดคงเหลือปลายป
หนวย : พันบาท งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น ก)
หนังสือค้ําประกันที่ออกโดยธนาคาร และเลตเตอรออฟเครดิต ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลุมบริษัทมีภาระผูกพันจากการค้ําประกันโดยธนาคารและเลตเตอรออฟเครดิตออกใหกับ บุคคลภายนอกจํานวน 183.57 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : 149.39 ลานบาท)
ข)
การค้ําประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 บริษัทและบริษัทยอ ยแหงหนึ่งไดค้ําประกันเงินกูยืมจากธนาคารใหแกบริ ษัทยอยและ บริษัทรวมเปนจํานวนทั้งสิ้น 681.71 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : 490.10 ลานบาท)
ค)
ภาระผูกพันตามสัญญาเชาดําเนินงาน - กรณีกลุมบริษัทเปนผูเชา บริษัทและบริษัทยอยมีภาระผูกพันตามสัญญาเชาระยะยาวกับบริษัทอื่น เกี่ยวกับการเชาที่ดิน พื้นที่อาคารและสัญญาบริการ โดยมียอดรวมของจํานวนเงินคาเชาและคาบริการขั้นต่ําภายใตสัญญาที่ไมสามารถยกเลิกไดดังนี้ หนวย : ลานบาท งบการเงินรวม
-
440,127 (440,127) -
-
507,938 1,000 (508,938) -
เงินกูยืมจากบริษัทยอยและบริษัทรวมมีอัตราดอกเบี้ยระหวางรอยละ 4.00 ถึงรอยละ 6.13 ตอป และรอยละ 6.38 ถึงรอยละ 7.25 ตอป ตามลําดับ (พ.ศ. 2554 : รอยละ 4.00 ถึงรอยละ 6.12 ตอป และรอยละ 6.38 ถึงรอยละ 7.25 ตอป ตามลําดับ) และ ไมมีกําหนดชําระคืน
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
เงินลงทุนในบริษัทยอย บริษัทรวม และกิจการรวมคา รายละเอียดของเงินลงทุนในบริษัทยอย บริษัทรวมและกิจการรวมคา แสดงไวในหมายเหตุ 12
การเคลื่อนไหวของเงินกูยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวของกันในระหวางป แสดงไวดังตอไปนี้
งบการเงินรวม พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554
คาตอบแทนผูบริหาร ในระหวางป พ.ศ. 2555 ผลตอบแทนทั้งหมดซึ่งรวมทั้งเงินเดือนและผลประโยชนอยางอื่นของกรรมการและผูบริหารเปน จํานวนเงิน 46.10 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : 45.25 ลานบาท)
เงินกูยืมระยะสั้นจากกิจการที่เกี่ยวของกันเปนเงินกูยืมจากบริษัทในกลุมบริษัท เมเจอร ซีนีเพล็กซ กรุป จํากัด (มหาชน) (“เมเจอร กรุป”) ในประเทศไทย เพื่อใชสําหรับการจัดหาเงินแกกลุม เมเจอร กรุปในประเทศไทย เงินกูยืมระยะสั้นจาก บริษัทที่เกี่ยวของกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 เปนเงินกูยืมที่ไมมีหลักประกันทั้งจํานวน ซึ่งมีกําหนดชําระคืนภายใน 1 เดือน มีอัตราดอกเบี้ยรอยละ 4.00 ตอป
ช)
FINANCIALS
33
146
ไมเกิน 1 ป เกินกวา 1 ป แตไมเกิน 5 ป เกินกวา 5 ป
พ.ศ. 2555
พ.ศ. 2554
766 3,093 5,235 9,094
760 2,806 4,941 8,507
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 499 2,032 2,503 5,034
434 1,627 1,787 3,848
นอกจากจํานวนเงินคาเชาและคาบริการขั้นต่ําขางตน กลุมบริษัทมีภาระผูกพันตามสัญญาเชาพื้นที่อาคารและสัญญาบริการ ซึ่งคิดตามเกณฑการแบงรายไดใหกับผูใหเชา
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
147
FINANCIALS
ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น (ตอ) ง)
36
ภาระผูกพันที่เปนรายจายฝายทุน
งบการเงินรวม สกุลเงิน
รวม
บาท บาท ดอลลารสหรัฐฯ ยูโร บาท ดอลลารสหรัฐฯ ยูโร
รวมเปนเงินบาททั้งสิ้น จ)
เหตุการณภายหลังวันที่ในงบการเงิน เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ พ.ศ. 2556 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ไดมีมติดังนี้
รายจายฝายทุนที่ถือเปนภาระผูกพัน ณ วันที่ในงบดุล แตยังไมไดรับรูในงบการเงิน มีดังตอไปนี้
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ สินทรัพยไมมีตัวตน
FINANCIALS
34
ก) อนุมัติการจายเงินปนผลจากการดําเนินงานของงวดเดือ นกรกฎาคมถึงเดือนธัน วาคม พ.ศ. 2555 จํานวน 0.48 บาทตอหุน รวมเปนเงินทั้งสิ้น 426 ลานบาท โดยจายใหกับผูถือหุนทั้งหมดที่มีชื่ออยูในทะเบียนผูถือหุน ณ วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556
งบการเงินเฉพาะบริษัท
พ.ศ. 2555 ’ 000
พ.ศ. 2554 ’ 000
พ.ศ. 2555 ’ 000
พ.ศ. 2554 ’ 000
67,286 43,500 6,671 62 110,786 6,671 62 318,650
48,763 500 3,980 20 49,263 3,980 20 176,769
45,207 45,207 45,207
26,962 26,962 26,962
ข) อนุมัติการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทจาก 904,500,900 บาท เปน 896,266,347 บาท โดยการลดหุนสามัญที่ยังไมไดออกจําหนาย จํานวน 8,234,643 หุน มูลคาตราไวหุนละ 1 บาท รวมเปนเงิน 8,234,643 บาท เนื่องจากการหมดอายุของใบสําคัญแสดงสิทธิ (ESOP-W3)
ภาระผูกพันในการผลิตภาพยนตร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 กลุมบริษัทมีภาระผูกพันในการชําระเงินแกผูกํากับภาพยนตรเปนจํานวนเงิน 10.79 ลานบาท (พ.ศ. 2554 : จํานวน 5.75 ลานบาท)
35
ขอมูลเกี่ยวกับคุณภาพของสินทรัพย คุณภาพของสินทรัพยจําแนกตามประเภทที่กําหนดโดยสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 มีดังนี้ หนวย : พันบาท งบการเงินรวม พ.ศ. 2554 พ.ศ. 2555 ลูกหนี้การคา ลูกหนี้การคา (สุทธิจากเงินมัดจํารับจากลูกคา) หัก คาเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้การคา - สุทธิ
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
6,549 (6,549) -
7,338 7,338
งบการเงินเฉพาะบริษัท พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2554 1,069 (1,069) -
1,345 1,345
148
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
149
FINANCIALS
นายทะเบียนหลักทรัพย์ บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด เลขที่ 62 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชั้น 4, 6 และ 7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทร 0 2359 1200-1 ผู้สอบบัญชี
นายพิสิฐ ทางธนกุล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4095 บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จ�ำกัด เลขที่ 179/74-80 อาคารบางกอกซิตี้ ทาวเวอร์ ชั้น 15 ถนนสาธรใต้ เขตสาธร กรุงเทพฯ 10120 โทร 0 2344 1000, 0 22869999
ที่ปรึกษากฎหมาย
คุณกุลกนิษฐ ค�ำศิริวัชรา บริษัท ส�ำนักกฏหมายสากล พรีเมียร์ จ�ำกัด เลขที่ 999/9 อาคารส�ำนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 26 ถนนพระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร 0 2646 1888
นายทะเบียนหุ้นกู้
ธนาคารกสิกรไทย จ�ำกัด (มหาชน) 400/22 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
ธนาคารกสิกรไทย จ�ำกัด (มหาชน) 400/22 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
การแสดงรายการที่ก�ำหนดตามแบบ 56-2 1. ข้อมูลทั่วไป 1.1 ชื่อบริษัท สถานที่ตั้ง ฯลฯ 1.2 นิติบุคลที่บริษัทถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป 1.3 บุคลอ้างอิงอื่น 2. ข้อมูลทางการเงินโดยสรุปของบริษัท
หน้า ปกหน้าด้านใน, 76 16 - 17 150 1
3. ลักษณะการประกอบธุรกิจ 3.1 การประกอบธุรกิจของบริษัท 3.2 โครงสร้างรายได้ 3.3 การเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญในรอบปีที่ผ่านมา
18 - 25 62 - 63 18 - 25
4. ปัจจัยความเสี่ยง
26 -27
5. โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 5.1 ผู้ถือหุ้น 5.2 การจัดการและการก�ำกับดูแลกิจการ 5.3 นโยบายการจ่ายเงินปันผล 6. รายการระหว่างกัน 7. ค�ำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการด�ำเนินงาน 8. งบการเงิน 8.1 รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ 8.2 รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน 8.3 รายงานของผู้สอบบัญขีรับอนุญาติ
9 - 11, 55 28 - 43 137 49 - 54 62 - 63 67 - 149 64 65 66
ผู้ผลิต / เผยแพร่ บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จ�ำกัด (มหาชน) 1839,1839/1-6 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2511 5427-36 โทรสาร 0 2511 5752 http://corporate.majorcineplex.com http://www.majorcineplex.com ออกแบบ / พิมพ์ บริษัท ณ บ้านดิจิตอล จ�ำกัด 368 รัชดาภิเษก 42 แขวงจันทเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2939 0216 โทรสาร 0 2939 0327
ANNUAL REPORT 2012 MAJOR CINEPLEX GROUP PLC.
150