PRIN: Annual Report 2006

Page 1

love


contents สารบั ญ

โครงการเด่ น n สรุ ป ข้ อ มู ล ทางการเงิ น n สาส์ น จากคณะกรรมการบริ ษั ท n

n n n n n n

คณะกรรมการและคณะผู้ บ ริ ห าร สาส์ น จากคณะกรรมการตรวจสอบ ข้ อ มู ล ทั่ ว ไป ลั ก ษณะประกอบธุ ร กิ จ ปั จ จั ย เสี่ ย ง ภาวะตลาดอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์

4 17 23 27 31 35 39 51 55


smile

n n n n n n n n n n

โครงการในอนาคต โครงสร้ า งการถื อ หุ้ น และการจั ด การ การกำกั บ ดู แ ลกิ จ การ การดู แ ลเรื่ อ งการใช้ ข้ อ มู ล ภายใน การควบคุ ม ภายใน รายการระหว่ า งกั น รายงานการวิ เ คราะห์ ผ ลการดำเนิ น งาน และฐานะการเงิ น รายงานของผู้ ส อบบั ญ ชี รั บ อนุ ญ าต งบการเงิ น หมายเหตุ ป ระกอบงบการเงิ น

67 71 91 101 105 109 117 135 137 149


Th e ar ts of t radit ional liv ing

สิริทาวารา ค้นพบสถานที่อันเป็นที่สุดของวัฒนธรรมการใช้ชีวิต กลางอารยธรรมตะวันออก ไทย ล้านนา บาหลี และจีน ติดถนนใหญ่ เอกมัย - รามอินทรา พื้นที่ใช้สอย 295 - 520 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้นเพียง 14 - 30 ล้านบาท โทร. 0-2932-9605-6


Re lax ing Home

Award of Merit

รางวัลแบบบ้านยอดเยี่ยมแห่งปีจาก PCBC 2001 และ 2004 ประเทศสหรัฐอเมริกา งานประกวดคัดสรรผลงานของสถาปนิก และบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก จากทุ กประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิก Award of Merit 2001 : Best Single Family Detached Home : under 1800 sf. Award of Merit 2001 : Best Single Family Detached Home : 2601 3000 sf. Award of Merit 2001 : Best Single Family Detached Home : 3300 3800 sf.


Wh e re Eleg ance Mee ts Pr ivac y

The Euro Prime ติดถนนใหญ่ อ่อนนุช-สุวรรณภูมิ บ้านเดี่ยวระดับเฟิร์ทคลาส ที่เด่นด้วยดีไซน์และพื้นที่ใช้สอย ที่แบ่งด้วยพื้นเล่นระดับ พื้นที่ใช้สอย 183 - 240 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้นเพียง 4.29 - 7 ล้านบาท โทร. 0-2327-0227


Wh e re Eleg ance Mee ts Pr ivac y

The Euro Nova ติดถนนใหญ่ อ่อนนุช-สุวรรณภูมิ คลัสเตอร์โฮมหรู 3 ชั้น เล่นระดับสไตล์อังกฤษ พื้นที่ใช้สอยระดับบ้านเดี่ยว 177 - 260 ตารางเมตร ราคาเริ่มต้นเพียง 2.79 - 4 ล้านบาท โทร. 0-2327-0227


Th e Mode r n ... เดอะ นอร์ธเทิร์น ไพร์ม ริมถนนใหญ่ วิภาวดี รังสิต ติดโรงกษาปณ์ บ้านเดี่ยว พื้นที่ใช้สอย 124-185 ตร.ม. เริ่มเพียง 2.83-4 ล้านบาท ฟรี เฟอร์นิเจอร์ SB ทั้งหลัง โทร. 0-2516-8881

Th e Nat ural Asian ...


...Life of the Future เดอะ นอร์ธเทิร์น โนวา ริมถนนใหญ่ วิภาวดี รังสิต ติดโรงกษาปณ์ ทาวน์เฮ้าส์ พื้นที่ใช้สอย 94-115 ตร.ม. เริ่มเพียง 1.49-1.99 ล้านบาท ฟรี เฟอร์นิเจอร์ SB ทั้งหลัง โทร. 0-2516-8881

...for Health and Spirit


ปริญลักษณ์ วงแหวนสาทร ติดถนนใหญ่ กาญจนาภิเษก คลัสเตอร์โฮมหรู 3 ชั้น เล่นระดับ ครบฟังก์ชั่น British Contemporary เพียง 10 นาที จากเดอะมอลล์บางแค เพียง 15 นาที สู่แหล่งธุรกิจ พื้นที่ใช้สอย 134-235 ตร.ม. ราคาเริ่มต้นเพียง 2.39 - 5 ล้านบาท โทร. 0-2454-4402-3

ปริญลักษณ์ เพชรเกษม 69 ติดถนนใหญ่ เพชรเกษม ใกล้แหล่งช้อปปิ้ง ห้างบิ๊กซี ห้างคาร์ฟูร์ เดอะมอลล์บางแค พื้นที่ใช้สอย 134-180 ตร.ม. ราคาเริ่มต้นเพียง 1.99 - 4 ล้านบาท โทร. 0-2421-6963

Th e

Mode r n


ปริญลักษณ์ เอกชัย-บางบอน ติดถนนใหญ่ เอกชัย-บางบอน เพียง 5 นาที จากจัสโก้-เอกชัย พื้นที่ใช้สอย 134-177 ตร.ม. เริ่มต้นเพียง 2.49-4 ล้านบาท โทร. 0-2899-8955

Life

of

th e

Fut ure


พบคอนโดหรู... ตกแต่งทั้งห้องพร้อมอยู่... กลางมหานครแห่งสีสัน ให้คุณเลือกในสไตล์คุณเอง • นราธิวาส • ราชปรารภ • พหลโยธิน 37


1.79

2.39




S

atisfied


P สรุปข้อมูล ทางการเงิน

จุดเด่นทางการเงิน (หน่วย : ล้านบาท)

ฐานะทางการเงิน สินทรัพย์รวม หนี้สินรวม ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม

ผลการดำเนินงาน รายได้รวม รายได้จากการขาย ต้นทุนขาย กำไรขั้นต้น กำไรสุทธิ

ปี 2547

ปี 2548

ปี 2549

2,124.42 1,334.70 789.72

3,196.99 1,748.09 1,448.91

4,395.97 2,589.84 1,806.13

1,486.66 1,469.22 1,046.75 422.48 184.18

2,325.34 2,312.40 1,612.19 700.21 304.75

2,960.52 2,948.73 2,001.62 947.10 447.80

อัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 4.83 2.60 3.36 อัตรากำไรขั้นต้น (%) 28.76 30.28 32.12 อัตราส่วนกำไรสุทธิ (%) 12.39 13.11 15.13 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (%) 26.75 27.23 27.51 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (%) 8.52 11.45 11.80 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.69 1.21 1.43 กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.36 0.56 0.67 มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น 1.55 2.68 2.70 เงินปันผลจ่ายต่อหุ้น (บาท) 0.14 0.18 0.27* หมายเหตุ : * เป็นอัตราเงินปันผลจ่ายต่อหุ้น โดยผ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550 มีมติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2549 และให้นำเสนอที่ประชุมผู้ถือ หุ้นสามัญประจำปี 2550 เพื่อขออนุมัติต่อไป

17


สรุปข้อมูลทางการเงิน

รายได้รวม (ล้านบาท) 3500 2,960.52

3000 2500

2,325.34

2000 1500

1,486.66

1000 500 0

ปี 2547

ปี 2548

ปี 2549

อัตรากำไรขั้นต้น

(%) 33

32.12

32 31

30.28

30 29

28.76

28 27

18

ปี 2547

ปี 2548

ปี 2549


สรุปข้อมูลทางการเงิน

กำไรสุทธิ

(ล้านบาท) 500 450

447.80

400 350 304.75

300 250 200

184.18

150 100 50 0

ปี 2547

ปี 2548

ปี 2549

สินทรัพย์รวม, หนี้สินรวม และส่วนของผู้ถือหุ้นรวม

(ล้านบาท) 5,000 4,500

4,395.97

4,000 3,500

3,196.99

3,000 2,500 2,000 1,500 1,000

2,589.84 2,124.42

1,748.09 1,334.70

1,806.13

1,448.91

789.72

500 0

ปี 2547 สินทรัพย์รวม

ปี 2548 หนี้สินรวม

ปี 2549 ส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 19


สรุปข้อมูลทางการเงิน อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 1.80

1.69

1.60

1.43

1.40 1.21

1.20 1.00 0.80 0.60 0.40 0.20 ปี 2547

ปี 2548

ปี 2549

อัตราตอบแทนจากสินทรัพย์ (%) 14.00 12.00

11.80 11.45

10.00 8.00

8.52

6.00 4.00 2.00 ปี 2547

20

ปี 2548

ปี 2549


สรุปข้อมูลทางการเงิน อัตราตอบแทนผู้ถือหุ้น (เท่า) 27.60

27.51

27.40 27.23

27.20 27.00 26.80 26.60

26.75

26.40 26.20 ปี 2547

ปี 2548

ปี 2549

เงินปันผลจ่ายต่อหุ้น (บาท) 0.30

0.27

0.25 0.20 0.18

0.15 0.10

0.14

0.05 ปี 2547

ปี 2548

ปี 2549

21


S

incere


P สาส์นจากคณะกรรมการบริษัท

23


สาส์นจากคณะกรรมการบริษัท

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) จากเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ที่มุ่งเน้นความเป็นหนึ่งในผู้นำด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย รวม ทั้งทำให้ได้การยอมรับและความไว้วางใจจากผู้บริโภคภายใต้ตราสินค้า “ปริญสิริ” ผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีการเติบโต อย่างต่อเนื่อง ถือได้ว่าเป็นบทพิสูจน์อีกบทหนึ่งที่ช่วยตอกย้ำความชัดเจนของบริษัทที่จะก้าวไปสู่จุดเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่าง ยั่งยืน แม้ว่าในปี 2549 ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในภาคที่อยู่อาศัยจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลาย ด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนราคาวัสดุในการก่อสร้างที่เชื่อมโยงกับราคาน้ำมัน โดยผ่านค่าขนส่ง, ความผันผวนของสถานการณ์ทางการเมือง รวมไปถึงสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ และ สถานการณ์ไข้หวัดนกที่ยังไม่สงบลง ประกอบกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้ซื้อที่อยู่อาศัยโดยตรง คือ อัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับตัวสูงขึ้นเป็นระยะ ก็ตาม ด้วยความเป็นมืออาชีพในด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของกรรมการ ผู้ บริหาร ตลอดจนพนักงานของบริษัท ประกอบกับความทุ่มเทและความร่วมแรงร่วมใจ ส่งผลให้ในปี 2549 บริษัทมีรายได้ รวม 2,960.52 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 447.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 27.32 และร้อยละ 46.94 ตาม ลำดับ นอกจากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจให้ไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว บริษัทยังมีเจตนารมณ์ในการทำธุรกิจ อย่างโปร่งใสและเป็นธรรม ภายใต้สโลแกนว่า “คุณภาพคู่คุณธรรม” จึงเน้นให้การดำเนินธุรกิจอยู่ภายใต้หลักการกำกับ ดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไป สู่ความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว คณะกรรมการบริษัท ขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน สถาบันการเงิน สื่อมวลชน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ที่เชื่อมั่นและสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทด้วยดีเสมอมา บริษัทพร้อมพัฒนา ศักยภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่ความเป็นหนึ่งในผู้นำด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ และ จะก้าวต่อไปอย่างแข็งแกร่งเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้เสียโดยรวมอย่างยั่งยืน นายมงคล เปาอินทร์ นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย ประธานกรรมการบริษัท ประธานกรรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ

24


สาส์นจากคณะกรรมการบริษัท

25


a

dvance

26


คณะกรรมการและคณะผู้บริหาร

27


คณะกรรมการและคณะผู้บริหาร

คณะกรรมการบริษัท

1. นายมงคล เปาอินทร์ 2. นายสุรพล ขวัญใจธัญญา 3. ร้อยตำรวจโทศิวะรักษ์ พินิจารมณ์ 4. นายอำนาจ งามสุริยโรจน์ 5. นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย 6. นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย 7. นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล 8. นางมุกดา อาริยวัฒน์ 9. นายนำชัย วนาภานุเบศ 10. นายสกล เปาอินทร์

ประธานกรรมการ/กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ/กรรมการอิสระ กรรมการ กรรมการ/เลขานุการคณะกรรมการบริษัท

คณะผู้บริหาร

1. นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย 2. นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย 3. นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล 4. นายนำชัย วนาภานุเบศ 5. นายสกล เปาอินทร์ 6. นางสาวนิภา อภิรัตนรุ่งเรือง

28

กรรมการผู้จัดการ รองกรรมการผู้จัดการ รักษาการสายงานบริหารกลุ่มโครงการ รักษาการสายงานขายและการตลาด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานลูกค้าสัมพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบัญชี การเงิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานอำนวยการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาองค์กร


คณะกรรมการและคณะผู้บริหาร

29


b

looming

30


สาส์นจากคณะกรรมการตรวจสอบ

31


สาส์นจากคณะกรรมการตรวจสอบ

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) คณะกรรมการตรวจสอบได้รับการแต่งตั้งขึ้น ตามมติที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2547 ประกอบด้วย กรรมการอิสระ 3 ท่าน คือ นายสุรพล ขวัญใจธัญญา เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ มี ร้อยตำรวจโท ศิวะรักษ์ พินิจารมณ์ และ นาย อำนาจ งามสุริยโรจน์ เป็นกรรมการตรวจสอบ โดยมี นายสกล เปาอินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานอำนวยการของบริษัทเป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ในปี 2549 คณะกรรมการตรวจสอบจัดให้มีการประชุมทั้งสิ้น 4 ครั้ง มีการพิจารณาเรื่องสำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. สอบทานงบการเงินรายไตรมาสและประจำปี ก่อนเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาว่า ได้มีการปฏิบัติ ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรายการระหว่างกัน รายการที่เกี่ยวโยงกัน รวมทั้งรายการที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 2. สอบทานระบบควบคุ ม ภายในและการติ ด ตามการแก้ ไ ขข้ อ บกพร่ อ งของระบบฯโดยส่ ว นงานตรวจสอบ ภายในและพบว่าฝ่ายบริหารได้ทำการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว จึงยืนยันได้ว่า บริษัทฯมีระบบควบคุมภายในที่ เพียงพอ รวมทั้งได้กำกับดูแลการตรวจสอบภายในว่าเป็นไปตามแผนที่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงขององค์กร กับ ได้ติดตามให้มีการพัฒนางานในด้านการตรวจสอบด้วย 3. สอบทานรายงานผลการบริหารความเสี่ยงให้มีความเพียงพอและเหมาะสมโดยฝ่ายบริหารได้จัดตั้งคณะ กรรมการบริหารความเสี่ยง และได้รับการยืนยันว่ากระบวนการบริหารความเสี่ยงมีความเพียงพอและมี การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 4. สอบทานให้บริษัทฯ ถือปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย รวมทั้งปฏิบัติตามระเบียบและข้อกำหนดของทางการ 5. สอบทานและให้ ค วามเห็ น ต่ อ การเข้ า ทำรายการที่ เ กี่ ย วโยงกั น หรื อ รายการที่ อ าจมี ค วามขั ด แย้ ง ทางผล ประโยชน์ รวมทั้งพิจารณาการเปิดเผยข้อมูลในเรื่องดังกล่าวให้มีความถูกต้องครบถ้วน

32


สาส์นจากคณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการตรวจสอบสามารถขอข้อมูลได้โดยไม่จำกัด และสามารถปรึกษาหารือเป็นการเฉพาะกับฝ่ายจัด การ สำนักตรวจสอบและควบคุมภายใน ผู้สอบบัญชีและที่ปรึกษาภายนอกได้อย่างเต็มที่ คณะกรรมการตรวจสอบมีความ เห็นว่างบการเงินของบริษัทฯ ได้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีอันรับรองทั่วไป มีการเปิดเผยข้อมูล การทำรายการที่เกี่ยวโยงกันอย่างถูกต้องครบถ้วน มีการปฏิบัติตามระเบียบข้อกำหนดของทางการและมีระบบควบคุม ภายในที่เพียงพอ สำหรับระบบงานที่ได้มีการประเมินประสิทธิผลของการควบคุมภายในไปแล้ว นอกจากนี้ ยังมีการ พัฒนาด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี อย่างต่อเนื่อง สำหรับปี 2549 คณะกรรมการตรวจสอบ พอใจกับผลการประเมินความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชีและได้เสนอ ต่อคณะกรรมการบริษัท ให้แต่งตั้งสำนักงานสอบบัญชี ดี ไอ เอ โดย นางวิไลรัตน์ โรจน์นครินทร์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 3104 เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ สำหรับปี 2550 เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติต่อไป (นายสุรพล ขวัญใจธัญญา) ประธานกรรมการตรวจสอบ

33


h

appy


ข้อมูลทั่วไปของบริษัท


ข้อมูลทั่วไปของบริษัท

ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ชื่อบริษัท ชื่อย่อหลักทรัพย์ ประเภทธุรกิจ ที่ตั้งสำนักงาน

: : : :

ทะเบียนเลขที่ โฮมเพจบริษัท โทรศัพท์ โทรสาร หลักทรัพย์ของบริษัท

: : : : :

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) PRIN พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส ชั้น 12 อาคารเอ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 0107574700320 www.prinsiri.com 0-2617-6900 0-2617-6910-1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ทุนจดทะเบียน 670,000,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญจำนวน 670,000,000 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ทุนที่ออกและชำระแล้ว 670,000,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญจำนวน 670,000,000 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท

ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทย่อย ชื่อบริษัทย่อย ประเภทธุรกิจ ที่ตั้งสำนักงาน

ทะเบียนเลขที่ โทรศัพท์ โทรสาร หลักทรัพย์ของบริษัทย่อย

36

: บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด : พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ : 123 อาคารซันทาวเวอร์ส ชั้น 12 อาคารเอ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 : 0105548055398 : 0-2255-9401 : 0-2201-3370-1 : ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ทุนจดทะเบียน 100,000,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญจำนวน 10,000,000 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ทุนที่ออกและชำระแล้ว 76,250,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญจำนวน 7,625,000 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท


ข้อมูลทั่วไปของบริษัท

ชื่อบริษัทย่อย ประเภทธุรกิจ ที่ตั้งสำนักงาน ทะเบียนเลขที่ โทรศัพท์ โทรสาร หลักทรัพย์ของบริษัทย่อย

: : : : : : :

บริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด รับเหมาก่อสร้าง และจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง 609/154 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 0105545057390 0-2933-9822-5 0-2933-6768 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญจำนวน 100,000 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ทุนที่ออกและชำระแล้ว 10,000,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญจำนวน 100,000 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท

ข้อมูลบุคคลอ้างอิง ชื่อนายทะเบียนหุ้น ที่ตั้งสำนักงาน โทรศัพท์ โทรสาร ชื่อผู้สอบบัญชี ที่ตั้งสำนักงาน โทรศัพท์ โทรสาร

: บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด : 62 อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 : 0-2596-9309 : 0-2832-4994-5 : สำนักงานสอบบัญชี ดี ไอ เอ : 316/32 ซอยสุขุมวิท 22 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 : 0-2259-5300 : 0-2260-1553

37


f

amily

38


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

39


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ประวัติความเป็นมา

ลักษณะการประกอบธุรกิจ

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2543 ด้วยทุนจดทะเบียน และเรียกชำระแล้ว 5 ล้านบาท เพื่อประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทหมู่บ้านจัดสรร และประเภทอาคาร ชุดพักอาศัย บริษัทได้รับรางวัลการออกแบบบ้านดีเด่น “Awards of Merit” ในปี 2544 และปี 2547 จากงาน PCBC (Pacific Coast Builders Conference) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 2549 บริษัทมีทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว ทั้งสิ้น 670 ล้านบาท

พัฒนาการที่สำคัญ

ปี 2548

• บริษัทเข้าลงทุนในบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด โดยประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ซึ่งบริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 99.99 และมีทุนจด ทะเบียนชำระแล้ว 10 ล้านบาท • บริษัทร่วมลงทุนกับบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) จัดตั้งบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบริษัทมีสัดส่วน การถือหุ้นร้อยละ 51.00 และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 5 ล้านบาท • บริษัทเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 155 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ต่อประชาชนทั่วไป ในราคาเสนอขายหุ้นละ 2.80 บาท ทำให้บริษัทมีทุนจดทะเบียน และชำระแล้วเป็น 670 ล้านบาท • บริษัทเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยหลักทรัพย์ ของบริษัทเข้าซื้อขายวันแรกในกระดานหลัก (Main Board) เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548

ปี 2549

• บริษัททำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และขาย ประเภทอาคารชุดพักอาศัย ชื่อโครง การเดอะพัลซ์ คอนโดมิเนียม ซอยลาดพร้าว 44 เป็นโครงการแรก • บริษัทและบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) เพิ่มเงินลงทุนในบริษัท ปริญ เวนเจอร์ จำกัด “บริษัทย่อย” อีก 2 ครั้ง เพื่อนำไปใช้ในการขยายธุรกิจ ทำให้ บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วเป็น 76.25 ล้านบาท ซึ่ง บริษัทมีสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 51.00 • บริษัทให้เงินกู้กับบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด “บริษัทย่อย” ตามสัดส่วนการถือหุ้น เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทมียอดการ ให้เงินกู้รวม 248.28 ล้านบาท

40


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ภาพรวมการประกอบธุรกิจของบริษัท และบริษัทย่อย

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) “บริษัท” และบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด “บริษัทย่อย” ประกอบธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทหมู่บ้านจัดสรร และประเภทอาคารชุดพักอาศัย ซึ่งบริษัทจะเป็นผู้พัฒนาโครงการและ เป็นเจ้าของโครงการ โดยเน้นการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ภายใต้แนวความคิด “เสน่ห์ของบ้าน...ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ” ในปี 2549 บริษัทมีสัดส่วนการขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทหมู่บ้านจัดสรร และประเภทอาคารชุดพักอาศัยประมาณร้อย ละ 85.93 และร้อยละ 10.76 ตามลำดับ ปัจจุบันถือได้ว่าบริษัทเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับการยอมรับ และ ความไว้วางใจจากผู้บริโภคเป็นอย่างมากภายใต้แบรนด์ “ปริญสิริ” ไม่ว่าจะเป็น ด้านทำเลที่ตั้งโครงการที่ดี ด้าน ผลิตภัณฑ์ที่ดีมีคุณภาพ ด้านราคาที่เหมาะสม และด้านบริการหลังการขายที่ดี บริษัทได้มีการพัฒนาและปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ของบริษัทอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด เช่น การ ออกแบบรูปแบบโครงการ ผังโครงการ รูปแบบบ้าน ประโยชน์ใช้สอย ทำเลที่ตั้งโครงการ การคัดสรรวัสดุก่อสร้าง และ อุปกรณ์ตกแต่งที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละโครงการ เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทยังได้รับรางวัลการ ออกแบบบ้านดีเด่น “Awards of Merit” ในปี 2544 และปี 2547 จากงาน PCBC (Pacific Coast Builders Conference) ประเทศสหรัฐอเมริกา บริษัท และบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด “บริษัทย่อย” มีนโยบายในการดำเนินงานที่แยกกันอย่างชัดเจน ถึง แม้ว่าจะมีประเภทของผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันก็ตาม ซึ่งที่ดินที่นำมาพัฒนาโครงการของบริษัทนั้น บริษัทจะเป็นผู้จัดหา และตัดสินใจในการซื้อที่ดินเอง ส่วนที่ดินที่นำมาพัฒนาโครงการของบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ที่ดินที่นำมาพัฒนาจะ มาจากบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) “ผู้ร่วมทุน” (โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ร้อยละ 49.00 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว) จะเป็นผู้จัดหาและนำมาเสนอเพื่อตัดสินใจในการซื้อที่ดินร่วมกัน โดยบริษัทจะเป็นผู้ พัฒนาโครงการ ดำเนินการก่อสร้าง และรับผิดชอบด้านการขายให้แก่บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด โดยมีค่าตอบแทนใน การดำเนินการดังกล่าว อีกทั้งโครงการของบริษัทและบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด จะใช้ชื่อของโครงการในแต่ละ ผลิตภัณฑ์ที่ต่างกันอีกด้วย บริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด “บริษัทย่อย” ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และจำหน่ายวัสดุก่อสร้างประเภท ปูน, สี, เหล็ก และไม้ เป็นต้น ให้กับบริษัทและผู้รับเหมาก่อสร้างของบริษัทเป็นส่วนใหญ่ ในปี 2549 มีสัดส่วนรายได้จาก ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และจำหน่ายวัสดุก่อสร้างประมาณร้อยละ 19.59 และร้อยละ 80.00 ตามลำดับ โครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มบริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน)

ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 670.00 ล้านบาท “พัฒนาอสังหาริมทรัพย์”

51.00% บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด

ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 76.25 ล้านบาท “พัฒนาอสังหาริมทรัพย์”

99.99% บริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด

ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 10.00 ล้านบาท “รับเหมาก่อสร้างและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง”

41


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

โครงสร้างรายได้ของบริษัท

2547

รายได้

ผู้ดำเนินการ

2549

งบการเงินเฉพาะบริษัท งบการเงินรวม

งบการเงินรวม

ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ

2548

บ้านเดี่ยวตลาดบน บ้านเดี่ยวตลาดกลาง ทาวน์เฮ้าส์/โฮมออฟฟิศ อาคารชุดพักอาศัย ที่ดินเปล่า

ปริญสิริ ปริญสิริ/ปริญเวนเจอร์ ปริญสิริ/ปริญเวนเจอร์ ปริญสิริ ปริญสิริ

563.99 574.81 330.43 -

37.94 428.38 18.42 127.36 4.30 38.66 1,312.46 56.44 1,526.09 51.55 22.23 419.80 18.05 890.65 30.08 - 318.56 10.76 - 80.38 3.46 -

รวมรายได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์

ปริญสิริ/ปริญเวนเจอร์ 1,469.23

98.83 2,241.02 96.37 2,862.66 96.69

รายได้จากการขายสินค้า รายได้อื่น

บริษัท/บริษัทย่อย

รวมรายได้ทั้งสิ้น หมายเหตุ

โกรโยธากรุ๊ป

:

-

-

71.39

3.07

86.07

2.91

17.43

1.17

12.94

0.56

11.79

0.40

1,486.66 100.00 2,325.35 100.00 2,960.52 100.00 บ้านเดี่ยวตลาดบน ราคาขายตั้งแต่ 7 ล้านบาทขึ้นไป บ้านเดี่ยวตลาดกลาง ราคาขายตั้งแต่ 3 – 7 ล้านบาท

ลักษณะผลิตภัณฑ์

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประเภทหมู่บ้านจัดสรร และประเภท อาคารชุดพักอาศัย เพื่อจำหน่าย โดยบริษัทจะเป็นผู้พัฒนาโครงการและเป็นเจ้าของโครงการ สำหรับทำเลที่ตั้งโครงการ ที่เลือกนำมาพัฒนานั้น ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งอยู่ใกล้แหล่งชุมชนที่มีระบบ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่าง ๆ ไว้รองรับการพัฒนาอย่างครบครัน ทั้งระบบไฟฟ้า ระบบประปา การสื่อสาร การคมนาคมขนส่งที่สะดวก ผลิตภัณฑ์ทุกประเภทที่บริษัททำการพัฒนาจะใช้ตราสินค้า “ปริญสิริ” ภายใต้แนวความคิด “เสน่ห์ของบ้าน...ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ” รูปตราสินค้าของบริษัท

42


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

บริษัทให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าเป็นอย่างมาก โดยผสานทุกรายละเอียด ทุกความประณีต ด้วยวัสดุ คุณภาพที่คัดสรรด้วยความตั้งใจในทุกองค์ประกอบของบ้าน อีกทั้งยังมีการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในทุก ๆ ขั้น ตอน รวมทั้งมีการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ปัจจุบันการขายผลิตภัณฑ์ของบริษัท จะให้ชำระเงินจอง เงินดาวน์ และเงินทำสัญญา จากลูกค้ารวมทั้งสิ้น ประมาณร้อยละ 10 – 30 ของราคาขาย สำหรับระยะเวลาการผ่อนชำระเงินดาวน์ประมาณ 3 – 8 งวด ขึ้นอยู่กับระยะ เวลาการก่อสร้างและการตกลงกันระหว่างลูกค้ากับบริษัท การส่งมอบบ้านและการโอนกรรมสิทธิ์บ้านให้กับลูกค้าจะ กำหนดในวันทำสัญญาและจะระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขาย ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับความพร้อมของลูกค้าแต่ละรายด้วย รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ในแต่ละประเภทมีดังนี้ 1. ประเภทหมู่บ้านจัดสรร การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทหมู่บ้านจัดสรรเพื่อจำหน่ายของบริษัทนั้น เป็นการพัฒนาโครงการใน ลักษณะแนวราบ ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะเป็นบ้านหรืออาคารที่สูงไม่เกิน 4 ชั้น โดยรูปแบบบ้านหรืออาคาร และรูป แบบโครงการ ในแต่ละโครงการจะแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของสถานที่ตั้งของโครงการและความต้องการ ของลูกค้า ซึ่งในแต่ละโครงการที่บริษัทพัฒนานั้นจะมีสาธารณูปโภคโครงการอย่างครบครัน โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวก และการรักษาความปลอดภัย เช่น สโมสร สระว่ายน้ำ สวนสาธารณะ ระบบรักษาความปลอดภัย เป็นต้น ทั้งนี้โครงการ ประเภทหมู่บ้านจัดสรรของบริษัทยังแบ่งออกเป็นแต่ละเฉพาะตัวผลิตภัณฑ์และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายแต่ละกลุ่ม โดยจะใช้ ชื่อโครงการที่ต่างกันออกไป ซึ่งแบ่งออกได้อีกดังนี้ (1) บ้านเดี่ยว (Single Detached Home) (1.1) บ้านเดี่ยวตลาดบน ตราสัญลักษณ์โครงการ : ชื่อโครงการ : สิริทาวารา ระดับราคา : 7.0 ล้านบาทขึ้นไป กลุ่มลูกค้า : กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูง รูปตัวอย่างผลิตภัณฑ์บ้านเดี่ยวตลาดบน

43


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

(1.2) บ้านเดี่ยวตลาดกลาง ตราสัญลักษณ์โครงการ ชื่อโครงการ ระดับราคา กลุ่มลูกค้า

: : : :

ปริญญดา 3.0 – 7.0 ล้านบาท กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ค่อนข้างสูง

รูปตัวอย่างผลิตภัณฑ์บ้านเดี่ยวตลาดกลาง

(2) ทาวน์เฮ้าส์และโฮมออฟฟิศ (Town House & Home Office)

ตราสัญลักษณ์โครงการ ชื่อโครงการ ระดับราคา กลุ่มลูกค้า

: : : :

ปริญลักษณ์ 1.5 – 3.0 ล้านบาท กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ปานกลาง

44

รูปตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทาวน์เฮ้าส์


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

รูปตัวอย่างผลิตภัณฑ์โฮมออฟฟิศ

(3) ประเภทอาคารชุดพักอาศัย การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดพักอาศัยเพื่อจำหน่ายของบริษัทนั้น เป็นการพัฒนาโครงการใน ลักษณะแนวสูง ซึ่งตัวผลิตภัณฑ์จะมีลักษณะเป็นอาคารชุดพักอาศัยที่สูง 8 ชั้นขึ้นไป โดยรูปแบบอาคารชุดพักอาศัย และ รูปแบบโครงการ ในแต่ละโครงการจะแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของสถานที่ตั้งของโครงการและความ ต้องการของลูกค้า ซึ่งในแต่ละโครงการที่บริษัทพัฒนานั้นจะมีสาธารณูปโภคโครงการอย่างครบครัน โดยมีสิ่งอำนวย ความสะดวกและการรักษาความปลอดภัย เช่น สระว่ายน้ำล้อมด้วยสวนสวย ลิฟท์ ระบบจานดาวเทียม ระบบรักษา ความปลอดภัย เป็นต้น ตราสัญลักษณ์โครงการ : ชื่อโครงการ : เดอะพัลซ์ ระดับราคา : 1.29 – 3.60 ล้านบาท กลุ่มลูกค้า : กลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ปานกลาง ถึงรายได้ค่อนข้างสูง รูปตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาคารชุดพักอาศัย

45


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

การตลาด จากกลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) ที่บริษัทใช้กลยุทธ์การมุ่งเน้นการสร้างความแตกต่างให้กับ ผลิตภัณฑ์และบริการ (Differentiation-base Focus) ทั้งยังมุ่งเน้นให้เกิดความเชื่อมั่นในบริษัทและผลิตภัณฑ์กับผู้ บริโภค ดังนั้นในด้านการตลาดของบริษัทจึงมีกลยุทธ์การแข่งขันโดยแบ่งออกได้ดังนี้ (1) ด้านผลิตภัณฑ์ บริษัทให้ความสำคัญอย่างมากในกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นการสร้างความแตกต่างในตัวผลิตภัณฑ์ภาย ใต้สโลแกน “เสน่ห์ของบ้าน...ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ” เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน เช่น ทำเลที่ตั้งโครงการ รูปแบบโครงการ รูปแบบบ้าน ขนาดพื้นที่ใช้สอย เป็นต้น ซึ่งบริษัทได้แยกผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อ โครงการที่แตกต่างกัน เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อที่อยู่อาศัยได้ตรงกับความต้องการมากที่สุด เพื่อตอบสนองความพึง พอใจและรองรับความต้องการขอลูกค้าให้ได้สูงสุด จากการควบคุมการทำงานในทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกทำเลที่ ตั้งในการซื้อที่ดิน การออกแบบบ้าน การออกแบบโครงการและสภาพแวดล้อม การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพสินค้า และ การก่อสร้าง รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับการยอมรับและความเชื่อมั่น จากลูกค้าไม่ว่าจะเป็นแบบบ้านที่สวยงาม ความลงตัวของพื้นที่ใช้สอย รูปแบบโครงการและสภาพแวดล้อมที่ร่มรื่น ความปราณี ตในการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุที่ดีได้มาตรฐาน (2) การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ บริษัทมีนโยบายในการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับราคาตลาด และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโครงการอื่น ๆ บนทำเลเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับโครงการของบริษัท ทั้งนี้ยังคำนึงถึงคุณภาพ สิ นค้า และต้นทุนโครงการ เช่น ค่าที่ดิน ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายทางการตลาด เป็นต้น (3) การส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์ในการส่งเสริมการตลาด เป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่บริษัทให้ความสำคัญ และนำมาใช้แข่งขันกับคู่แข่งขัน เพื่อสร้างการรับรู้ต่อตราสินค้าของบริษัท (Brand Awareness) โดยใช้เพื่อจูงใจให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ เพื่อเตือน ความทรงจำในสินค้า อีกทั้งยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ และภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัทอีกด้วย บริษัทได้นำ เครื่องมือการส่งเสริมการตลาดที่สำคัญมาใช้ดังนี้ การโฆษณา, การขายโดยใช้พนักงานขาย, การส่งเสริมการขาย, การ ตลาดทางตรง และการตลาดทางอ้อม สำหรับในรอบปี 2549 บริษัททำการโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้า หมายของบริ ษัทมากที่สุด ซี่งมีรายละเอียดดังนี้

46

กลยุทธ์ Above the line - โฆษณาผ่านสื่อวิทยุ ด้วยแนวความคิด “It’s time to go home” และเป็นสื่อแรกที่เปิดภาพ ความเป็นปริญสิริให้กับผู้บริโภครู้จัก - โฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ ด้วยภาพยนต์โฆษณาชุด “It’s time to go home”เพื่อถ่ายทอดมุม มองความอบอุ่นในคำว่าบ้านของปริญสิริ - โฆษณาผ่านนิตยสาร และหนังสือพิมพ์ - โฆษณาผ่านจอพลาสม่าในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ (VDO Wall) - โฆษณาผ่านสื่อ POV ในลิฟท์อาคารสำนักงาน และรถไฟฟ้า BTS


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

กลยุทธ์ Below the line - โฆษณาผ่านสื่อป้ายโฆษณา (Cut Out) โดยเลือกขึ้นป้ายตามถนนสายสำคัญที่อยู่โดยรอบ บริเวณโครงการของบริษัท เพื่อใช้ในการดึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเข้าเยี่ยมชมโครงการของบริษัท - โฆษณาผ่านสื่อเว็ปไซด์ www.prinsiri.com - กิจกรรม Road Show โดยใช้ Mascot Teddy Bear Family ที่จัดทำขึ้นเป็นแบบเฉพาะของ ปริญสิริ ออกประชาสัมพันธ์แนะนำโครงการต่าง ๆ และให้ข้อมูลแก่ลูกค้า

(4) ต้นทุนผลิตภัณฑ์ บริษัทมีการบริหารต้นทุนผลิตภัณฑ์ ที่มุ่งเน้นในการควบคุมราคาต้นทุนในการพัฒนาโครงการให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสม เพื่อรักษาอัตรากำไรขั้นต้นและเพื่อให้ราคาผลิตภัณฑ์ของบริษัทอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้ โดยเริ่มตั้งแต่ การคัดเลือกที่ดินและจัดซื้อที่ดินให้อยู่ในระดับราคาที่เหมาะสม การวิจัยและพัฒนาในการเลือกใช้วัสดุก่อสร้างและ อุปกรณ์ตกแต่ง ที่มีคุณภาพดีและได้มาตรฐานโดยมีต้นทุนไม่เกินจากที่ได้กำหนดไว้ การพัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีใน การก่ อสร้างเพื่อควบคุมต้นทุนในการก่อสร้าง ทั้งนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นอีกด้วย (5) การบริการหลังการขาย เพื่อให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ของบริษัทมากยิ่งขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ บริษัทจึงมีการบริการหลังการขายสำหรับผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังนี้ - รับประกันคุณภาพของบ้านระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่โอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้า สำหรับความ บกพร่องที่เกิดจากการก่อสร้าง วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่ง - ทำประกันการโจรกรรมให้กับลูกค้าที่ซื้อบ้านของบริษัทเป็นระยะเวลา 1 ปี การจัดหาผลิตภัณฑ์และบริการ การก่อสร้างโครงการของบริษัทในทุก ๆ โครงการ บริษัทจะเป็นผู้พัฒนาโครงการและเป็นเจ้าของโครงการ โดยเริ่มตั้งแต่การจัดซื้อที่ดิน การออกแบบบ้านและโครงการ การยื่นขออนุญาตจัดสรร การยื่นขออนุญาตก่อสร้าง การ ดำเนินการก่อสร้าง การควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพ จนถึงการขาย การดำเนินการก่อสร้างในแต่ละโครงการจะใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของ โครงการ ขนาด รูปแบบ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามระยะเวลาในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ มีระยะเวลาในการ ก่อสร้างดังนี้ การก่อสร้างบ้านแต่ละหลังจะใช้เวลาประมาณ 6 – 7 เดือน การก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์และโฮมออฟฟิศแต่ละ แถวจะใช้ เวลาประมาณ 7 - 8 เดือน การก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยจะใช้เวลาประมาณ 11 – 20 เดือน

นโยบายการผลิต บริษัทมีนโยบายการผลิตในการเพิ่มหรือลดกำลังการผลิตตามความสอดคล้องกับความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้ บริโภคในแต่ละโครงการ ทั้งนี้การดำเนินการก่อสร้างบริษัทจะว่าจ้างผู้รับเหมาเป็นผู้ดำเนินการ ดังนั้นหากในขณะที่มี ความต้องการที่อยู่อาศัยในแต่ละโครงการเพิ่มขึ้น บริษัทสามารถเพิ่มกำลังการผลิตโดยการจ้างผู้รับเหมาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ สัมพันธ์กับความต้องการของลูกค้าได้ และเพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพในการก่อสร้างให้มีคุณภาพที่ดีในระดับมาตรฐาน เดียวกัน บริษัทจึงมีนโยบายในการควบคุมคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพ ดังนี้ (1) กำหนดมาตรฐานการก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง ให้กับผู้รับเหมา (2) จัดการประชุมแผนการก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาก่อนเริ่มงาน

47


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

(3) จัดให้มีวิศวกรโครงการ และหัวหน้าผู้ควบคุมงานประจำแต่ละโครงการ เพื่อควบคุมแผนการ ก่อสร้างและตรวจรับงานของผู้รับเหมา (4) จัดให้มีฝ่ายควบคุมคุณภาพ โดยจะเข้าทำการตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้างทั้งหมด ให้ตรง ตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้

การจัดซื้อที่ดิน ที่ดินนับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการนำมาพัฒนาและก่อสร้างโครงการ โดยค่าที่ดินคิดเป็นประมาณ ร้อยละ 40 – 50 ของต้นทุนรวมผลิตภัณฑ์ บริษัทจึงมีนโยบายในการจัดซื้อที่ดิน โดยมุ่งเน้นที่ดินที่มีศักยภาพและสามารถนำมาพัฒนาได้ทันที โดยมีปัจจัย ในการพิจารณาเลือกซื้อที่ดิน เช่น ศักยภาพในทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาที่ดิน ผังเมือง ข้อจำกัดทางกฏหมาย ทิศทางการ เติบโตของแหล่งที่อยู่อาศัย เส้นทางการพัฒนาและการขยายตัวของเขตเมือง คู่แข่ง เป็นต้น สำหรับที่ดินที่บริษัทจัดซื้อ นั้นมาจากช่องทางต่าง ๆ คือ นายหน้าค้าที่ดิน เจ้าของที่ดิน และพนักงานของบริษัท เพื่อให้การจัดซื้อที่ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนการซื้อที่ดินทุกครั้งบริษัทจะทำการศึกษาถึงความเป็น ไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) โดยจัดทำเป็นรายงานเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาของคณะกรรมการ บริ หาร ในการอนุมัติจัดซื้อที่ดินที่จะจัดซื้อดังกล่าว

การคัดเลือกและว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง การดำเนินการงานก่อสร้าง บริษัทจะว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นผู้ดำเนินการ โดยบริษัทจะจัดวิศวกร โครงการและหัวหน้าผู้ควบคุมงานซึ่งเป็นพนักงานของบริษัทเข้าประจำตามโครงการต่าง ๆ เพื่อคอยดูแลและควบคุม งานของผู้รับเหมาก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนและมาตรฐานที่บริษัทกำหนดไว้ การคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหม่ บริษัทจะพิจารณาจากประสบการณ์ ผลงานและคุณภาพงานในอดีต ฐานะทางการเงิน เป็นต้น สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้างที่เคยรับเหมาก่อสร้างกับบริษัทแล้ว บริษัทจะจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของผู้รับเหมาไว้เป็นฐานข้อมูล เช่น ข้อมูลการทำงาน ข้อมูลการประเมินผลงาน เป็นต้น เพื่อใช้ในการประกอบการ พิจารณาว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างโครงการใหม่ ๆ ต่อไป ปัจจุบันบริษัทมีผู้รับเหมาก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 200 ราย ทำให้บริษัทมีความมั่นใจว่าผู้รับเหมาก่อสร้างมีมากพอสำหรับการดำเนินการงานก่อสร้างของบริษัท รวมทั้งยังสามารถ รองรับงานก่อสร้างที่มีมากขึ้นของบริษัทในอนาคตได้อีกด้วย ตารางสัดส่วนมูลค่างานระหว่างก่อสร้าง ของผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ต่อยอดมูลค่างานระหว่างก่อสร้างรวม รายการ 2547 2548 2549 สัดส่วนมูลค่างานระหว่างก่อสร้างของผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ (ร้อยละ) 38.05 จำนวนผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ (ราย) 2 หมายเหตุ : ผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ หมายถึง ผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีสัดส่วนมูลค่างานระหว่างก่อสร้างเกินร้อยละ 10 ของยอดมูลค่างานระหว่างก่อสร้างรวม

48


ลักษณะการประกอบธุรกิจ

ในปี 2547 มีสัดส่วนมูลค่างานระหว่างก่อสร้างของผู้รับเหมารายใดรายหนึ่งเกินร้อยละ 10 ของยอดมูลค่างาน ระหว่างก่อสร้างรวม จำนวน 2 ราย เนื่องจากในขณะนั้นบริษัทมีผู้รับเหมาก่อสร้างจำนวนน้อยราย และขนาดของ โครงการยังไม่ใหญ่มากนัก อย่างไรก็ตามบริษัทได้เริ่มจัดหาผู้รับเหมาก่อสร้างเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทำให้ ในปี 2548 และปี 2549 ไม่มีสัดส่วนมูลค่างานระหว่างก่อสร้างของผู้รับเหมารายใดรายหนึ่งเกินร้อยละ 10 ของยอดมูลค่างาน ระหว่างก่อสร้างรวม การจัดซื้อวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่ง บริษัทให้ความสำคัญเกี่ยวกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก ดังนั้นการคัดสรรวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ ตกแต่งให้เหมาะสมสอดคล้อง มีคุณภาพดีและได้มาตรฐาน จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาสั่งซื้อ ส่วนราคาจะ เป็นปัจจัยที่บริษัทใช้พิจารณาประกอบ ทั้งนี้วัสดุก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ เหล็ก โครงหลังคา กระเบื้องมุง หลังคา กระเบื้องเซรามิค แผ่นยิบซั่ม อิฐ แผ่นพื้น และเสาเข็มเจาะ สำหรับการจัดซื้อวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งจะแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ (1) วัสดุก่อสร้างที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นผู้รับผิดชอบและจัดหา เนื่องจากบริษัทว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ดังนั้นวัสดุก่อสร้างบางรายการใน แต่ละประเภทของงานที่รับดำเนินการในการรับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้างจะเป็นผู้จัดหาและจัดซื้อเอง ซึ่งราย ละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับรายการวัสดุและคุณสมบัติของวัสดุ จะต้องได้คุณภาพและตรงกับที่ระบุไว้ในสัญญาว่าจ้างของ บริษัทที่ได้กำหนดไว้ (2) วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งที่บริษัทเป็นผู้จัดหา วัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งที่บริษัทเป็นผู้จัดหาเอง ส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุและอุปกรณ์ตกแต่งที่ ต้องใช้เป็นจำนวนมาก หรือต้องสั่งซื้อกับผู้จัดจำหน่ายเฉพาะรายซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลาในการสั่งซื้อ ทั้งนี้การดำเนินการ ดังกล่าวยังทำให้บริษัทสามารถควบคุมต้นทุนการก่อสร้างอยู่ในระดับที่เหมาะสม อีกทั้งเพื่อเป็นการลดภาระของผู้รับเหมา ก่อสร้างในการจัดหาและจัดซื้อเอง ปัจจุบันบริษัทมีการสั่งซื้อจากผู้จัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งในประเทศ ทั้งหมดประมาณ 150 ราย สำหรับการสั่งซื้อวัสดุและอุปกรณ์ตกแต่งในแต่ละประเภท บริษัทจะทำการประเมินปริมาณการใช้ รวมทั้งโครงการก่อน และจะสั่งซื้อวัสดุและอุปกรณ์ดังกล่าวตามปริมาณที่ได้ประเมินไว้ แต่ทั้งนี้บริษัทจะให้ผู้จัดจำหน่าย ทยอยจัดส่งสินค้าและเรียกเก็บเงินตามความต้องการที่ใช้จริง ในปี 2547 – 2549 ไม่มีสัดส่วนการซื้อวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งของผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ รายใดรายหนึ่งเกินกว่าร้อยละ 10 ของยอดมูลค่างานระหว่างก่อสร้างรวม

49


h

ealthy

50


ปัจจัยเสี่ยง

51


ปัจจัยเสี่ยง

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงเป็นอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ ของบริษัท ทั้งนี้จึงได้กำหนดเป็นนโยบายการบริหารความเสี่ยงในทุกฝ่ายงานของบริษัทซึ่ง คณะกรรมการบริหาร คณะ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติตาม อีกทั้งบริษัทยังได้จังตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee) ทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงในภาพรวมของบริษัท โดยมีฝ่ายตรวจสอบภายในทำการตรวจ สอบประเมินผลการควบคุมของบริษัทในทุก ๆ ไตรมาส และรายงานตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท เพื่อให้ มั่นใจว่าบริษัทสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สำหรับปัจจัยความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ได้นำเสนอในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 2549 ของบริษัทนั้น เป็น ปัจจัยความเสี่ยงที่ประเมินจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้อาจมีความเสี่ยงอื่น ๆ ที่บริษัทไม่อาจทราบได้ในปัจจุบัน หรือ เป็นความเสี่ยงที่บริษัทพิจารณาว่าในปัจจุบันไม่มีผลกระทบในสาระสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมทั้งความ เสี่ยงที่อ้างอิงถึงสภาพเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาล เป็นข้อมูลที่ได้มาจากหน่วยงานของรัฐและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่ เชื่อถือได้ซึ่งบริษัทไม่ได้ตรวจทานข้อมูลดังกล่าว ดังนั้นการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทผู้ลงทุนควรพิจารณาอย่าง รอบคอบ ปัจจัยความเสี่ยงของบริษัท มีดังนี้ ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้าง บริษัทดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วัสดุก่อสร้างจึงเป็นวัตถุดิบหลักที่สำคัญในการพัฒนาโครงการ ทั้งนี้ราคาวัสดุก่อสร้างดังกล่าวจะมีความผันแปรไปตามภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนราคาวัสดุใน การก่อสร้างที่เชื่อมโยงกับปิโตรเลียมที่มีการปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยผ่านค่าขนส่ง ใน ขณะที่บริษัทไม่สามารถปรับราคาขายได้ในทันทีที่ราคาวัสดุก่อสร้างมีการปรับตัวขึ้น หรือหากบริษัทสามารถปรับราคา ขายให้สอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้นได้ ก็อาจส่งผลกระทบต่อจำนวนการขายที่อยู่อาศัยของบริษัทด้วยเช่นกันหากคู่แข่งขัน ที่มีโครงการอยู่ในย่านเดียวกันไม่ได้ทำการปรับราคาเพิ่มขึ้น ดังนั้นความผันผวนของราคาวัสดุก่อสร้างอาจส่งผลให้ต้นทุน ในการก่อสร้างโครงการของบริษัทเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัท อย่างไรก็ตามการจัดซื้อวัสดุก่อสร้างของบริษัทแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ วัสดุก่อสร้างที่ผู้รับเหมา ก่อสร้างเป็นผู้รับผิดชอบและจัดหา และวัสดุก่อสร้างที่บริษัทเป็นผู้จัดหา ตามรายละเอียดเรื่องการจัดหาผลิตภัณฑ์และ บริการ ซึ่งวัสดุก่อสร้างที่ผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นผู้รับผิดชอบและจัดหานั้น บริษัทจะกำหนดราคาการรับเหมาก่อสร้าง พร้อมกับราคาวัสดุก่อสร้างไว้ในสัญญาว่าจ้างของบริษัทไว้แล้ว ดังนั้นหากวัสดุก่อสร้างมีการปรับตัวขึ้น บริษัทก็จะยังคง จ่ายเงินให้กับผู้รับเหมาในราคาคงที่ตามสัญญาว่าจ้าง สำหรับวัสดุก่อสร้างที่บริษัทเป็นผู้จัดหานั้น จากการที่บริษัทมี ปริมาณโครงการที่จะดำเนินการพัฒนาเป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง ทำให้บริษัทมีอำนาจในการต่อรองกับผู้ค้าวัสดุ ก่อสร้างค่อนข้างสูง ซึ่งจะทำให้บริษัทยังสามารถควบคุมต้นทุนของวัสดุก่อสร้างให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ โดยบริษัท จะวางแผนการก่อสร้างและทำการประเมินปริมาณการใช้วัสดุแต่ละประเภทรวมทั้งโครงการก่อน และจะสั่งซื้อวัสดุ ดังกล่าวตามปริมาณที่ได้ประเมินไว้ ทั้งนี้บริษัทยังมีบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ดำเนิน ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง โดยบริษัทย่อยดังกล่าวถือว่าเป็นหน่วยธุรกิจของบริษัท ในการควบคุม ต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างสำหรับการพัฒนาโครงการของบริษัท และเพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขัน ความเสี่ยงจากการสร้างบ้านเสร็จก่อนขาย ปัจจุบันบริษัทและบริษัทย่อยมีนโยบายในการพัฒนาโครงการประเภทหมู่บ้านจัดสรร โดยสร้างบ้านเสร็จก่อน ขายเป็นส่วนใหญ่ จากนโยบายดังกล่าวส่งผลให้บริษัทต้องใช้เงินลงทุนล่วงหน้าในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสูงขึ้น เนื่องจาก จะไม่ได้รับเงินจากลูกค้ามาเป็นเงินทุนหมุนเวียนในระหว่างการก่อสร้าง ประกอบกับหากมีปัจจัยที่อาจจะส่งผลต่อการ ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัท เช่น ภาวะทางการเมือง การชลอตัวของเศรษฐกิจ ปัญหาราคา น้ำมัน อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น อาจทำให้บริษัทมีความเสี่ยงจากการสร้างบ้านเสร็จก่อนขายแล้วยังไม่สามารถขายได้

52


ปัจจัยเสี่ยง

หรือขายได้ช้าลง ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีภาระต้นทุนสินค้าคงเหลือในปริมาณที่สูง และส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องรวมทั้ง ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่จะพึงพอใจและเลือกซื้อบ้านที่สร้างเสร็จก่อนขาย เนื่องจากมั่นใจได้ว่าจะได้รับ มอบบ้านได้ตามสัญญา จากการมุ่งเน้นความเป็นเลิศของผลิตภัณฑ์และบริการ ภายใต้สโลแกน “เสน่ห์ของบ้าน...ที่เป็น มิตรกับธรรมชาติ” จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับการยอมรับและความเชื่อมั่นจากลูกค้า ภายใต้ตราสินค้า “ปริญสิริ” อย่างไรก็ตามบริษัทได้มีนโยบายเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว โดยทำการวิจัยและศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคก่อนการ พัฒนาโครงการ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด และบริษัทมีการวางแผน การก่อสร้างให้สอดคล้องกับประมาณการการขาย โดยแบ่งการพัฒนาโครงการออกเป็นรายเฟส และโครงการที่เปิดขาย ในแต่ละโครงการจะมีทั้งบ้านพร้อมอยู่ (Pre-Built) และบ้านที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง (Semi Pre-Built) และมีการส่ง เสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ต่อตราสินค้าของบริษัท (Brand Awareness) โดยใช้เพื่อจูงใจให้เกิด ความต้องการผลิตภัณฑ์ เพื่อเตือนความทรงจำในสินค้า อีกทั้งยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ และภาพลักษณ์ที่ ดีให้กับบริษัท ทำให้บริษัทมั่นใจได้ว่าสามารถลดผลกระทบดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง ความเสี่ยงจากนโยบายการจัดซื้อที่ดินเพื่อนำมาพัฒนาโครงการในอนาคต บริษัทมีนโยบายในการจัดซื้อที่ดิน โดยมุ่งเน้นที่ดินที่มีศักยภาพและสามารถนำมาพัฒนาได้ทันที ซึ่งจะไม่มี นโยบายในการซื้อที่ดินสะสมไว้เป็นจำนวนมาก ๆ สำหรับการก่อสร้างโครงการต่าง ๆ ในอนาคต เนื่องจากไม่ต้องการ แบกภาระต้นทุนทางการเงิน การแข่งขันในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากมีการเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ ที่ เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการแข่งขันการซื้อที่ดินในทำเลที่ดีในระหว่างผู้ประกอบการ อาจทำให้ บริษัทมีความเสี่ยงจากการ ราคาที่ดินที่มีการปรับตัวสูงขึ้น หรือไม่สามารถซื้อที่ดินในทำเลที่ต้องการได้ ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนในการพัฒนาโครงการของ บริษัทสูงขึ้น หรือไม่มีที่ดินในทำเลที่ดีในการพัฒนา อย่างไรก็ตามบริษัท มีการจัดทำแผนการจัดหาและจัดซื้อที่ดินล่วงหน้าให้สอดคล้องกับการนำไปพัฒนา โครงการของบริษัทในแต่ละปี ดังนั้นบริษัทจะยังคงมีเวลาเพียงพอที่จะจัดหาที่ดินเพื่อนำมาพัฒนาโครงการในอนาคตของ บริษัท และสามารถควบคุมราคาต้นทุนที่ดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมได้ อีกทั้งบริษัทมีนายหน้าค้าที่ดินเป็นจำนวนมากที่ ติดต่อกับบริษัทมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับนายหน้าค้าที่ดินดังกล่าว ซึ่งจะคอยคัดเลือก ที่ดินในทำเลที่ดีและราคาที่เหมาะสมมานำเสนอให้กับบริษัทเพื่อพิจารณามาโดยตลอด ความเสี่ยงจากการที่บริษัทมีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากกว่าร้อยละ 75 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทมีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ซึ่งได้แก่ กลุ่มตระกูลโกวิทจินดาชัย ซึ่งถือหุ้นใน บริษัทจำนวน 509,245,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 76.01 ของจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนชำระแล้ว ซึ่งสัดส่วนการถือหุ้นที่มี มากกว่า 3 ใน 4 ดังกล่าว ทำให้ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ดังกล่าวมีอำนาจในการควบคุมบริษัท และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของ บริษัทในทุกเรื่องที่ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้นผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัทจึงมีความเสี่ยงจากการไม่สามารถ รวบรวมคะแนนเสียงเพื่อตรวจสอบ และถ่วงดุลเรื่องที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณา นอกจากนี้การถือ หุ้นในลักษณะกระจุกตัวโดยผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายนี้ยังทำให้โอกาสที่บริษัทจะถูกครอบงำกิจการ (Takeover) โดยบุคคลอื่น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการยินยอมของ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่นี้ แม้ว่าผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่นจะเห็นโอกาสที่จะทำให้มูลค่าของกิจการเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทได้แต่ตั้งบุคคลภายนอก 5 ท่าน เข้าเป็นกรรมการอิสระของบริษัท และจัดให้มีคณะ กรรมการตรวจสอบ จึงเป็นการถ่วงดุลอำนาจของการบริหารจัดการได้ในระดับหนึ่ง

53


l

ifestyle

54


ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

55


ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

ภาวะอุตสาหกรรม ตลอดช่วงปี 2549 ที่ผ่านมาท่ามกลางภาวะทางการเมือง การชลอตัวของเศรษฐกิจ ปัญหาราคาน้ำมัน อัตรา ดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยรวมชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามมีโครงการอสังหาริมทรัพย์ เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมดในปี 2549 ประมาณ 70,444 ยูนิต รวมมูลค่าสูงถึง 218,858 ล้านบาท ซึ่งภาคที่อยู่อาศัยเป็น อสังหาริมทรัพย์ประเภทสำคัญที่มีการเปิดตัวใหม่มากที่สุดถึง 66,118 ยูนิต รวมมูลค่าสูงถึง 186,886 ล้านบาท หรือ ประมาณร้อยละ 94 ของจำนวนอสังหาริมทรัพย์เกิดขึ้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งหากเทียบเป็นมูลค่านั้นจะเท่ากับร้อยละ 85 ของ มูลค่ารวมที่มีการพัฒนาในปี 2549 การที่อสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นใหม่ส่วนใหญ่เป็นภาคที่อยู่อาศัยนั้น เนื่องจากเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่มีปริมาณ ความต้องการสูง แผนภูมิแสดงจำนวนที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ยูนิต)

(ร้อยละ) 78,116

80,000 70,000

62,796

67,829

7

50,594

60,000

6 5

50,000 40,000

34,023

4

34,035

30,000

3

20,000

2

10,000

1

0

2544

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

56

8

2545

2546

2547

2548

2549

0


ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

สำหรับการขยายตัวของจำนวนที่อยู่อาศัยจดทะเบียนเพิ่มขึ้น ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีการ เติบโตมาอย่างต่อเนื่องโดยปี 2544 – 2549 โดยมีจำนวน 34,023 ยูนิต, 34,035 ยูนิต, 50,594 ยูนิต, 62,796 ยูนิต, 67,829 ยูนิต และ 78,116 ยูนิต ตามลำดับ ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย (CAGR) คิดเป็นร้อยละ 18.08 ต่อปี ถึงแม้ว่าในปี 2549 ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะในภาคที่อยู่อาศัยจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยหลาย ด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาวะราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนราคาวัสดุในการก่อสร้างที่เชื่อมโยงกับปิโตรเลียมมี การปรับตัวสูงขึ้น และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ก็ปรับตัวสูงขึ้นโดยผ่านค่าขนส่ง รวมไปถึงความผันผวนของสถานการณ์ ทางการเมือง สถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ และสถานการณ์ไข้หวัดนก ที่ยังไม่สงบลง ประกอบกับปัจจัยที่ ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและผู้ซื้อที่อยู่อาศัยโดยตรง คืออัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับตัวสูงขึ้นเป็นระยะ แต่อย่างไร ก็ตามภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2549 ยังคงมีการขยายตัว โดยจะเห็นได้จากในปี 2549 จำนวนที่อยู่อาศัย จดทะเบียนเพิ่มขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลก็ยังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2548 โดยเพิ่มขึ้นร้อย ละ 15.17 จากจำนวนที่อยู่อาศัยที่จดทะเบียน 67,829 ยูนิตในปี 2548 เพิ่มเป็น 78,116 ยูนิตในปี 2549 แผนภูมิเปรียบเทียบประเภทที่อยู่อาศัยในโครงการเปิดตัวใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2548 ปี 2549 จำนวนที่อยู่อาศัยรวม 63,579 ยูนิต จำนวนที่อยู่อาศัยรวม 66,118 ยูนิต ที่ดินจัดสรร 1%

ที่ดินจัดสรร 3%

บ้านเดี่ยว 20%

บ้านเดี่ยว 31%

อาคารชุด 30%

บ้านแฝด 5%

อาคารชุด 45%

อาคารพาณิชย์ 3%

บ้านแฝด 5%

ทาวน์เฮ้าส์ 28%

ทาวน์เฮ้าส์ 27% อาคารพาณิชย์ 2%

ที่มา : บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA)

57


ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

สำหรับด้านอุปทาน (Supply) จากการข้อมูลรายงานการสำรวจวิจัยของ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) พบว่าในปี 2548 มีโครงการที่อยู่อาศัยซึ่งเปิดตัวใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 63,579 ยูนิต โดยมีประเภทที่อยู่อาศัยที่มีสัดส่วนสูงสุดเป็นบ้านเดี่ยวร้อยละ 31 รองลงมาเป็นอาคารชุดร้อยละ 30, ทาวน์เฮาส์ร้อยละ 28, บ้านแฝดร้อยละ 5, อาคารพาณิชย์และที่ดินจัดสรรร้อยละ 3 ตามลำดับ โดยมีมูลค่าโครงการ รวมทั้งสิ้นประมาณ 196,177 ล้านบาท ในปี 2549 โครงการที่อยู่อาศัยซึ่งเปิดตัวใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 66,118 ยูนิต โดย มีประเภทที่อยู่อาศัยที่มีสัดส่วนสูงสุดเป็นอาคารชุดร้อยละ 45 รองลงมาเป็นทาวน์เฮาส์ร้อยละ 27, บ้านเดี่ยวร้อยละ 20, บ้านแฝดร้อยละ 5, อาคารพาณิชย์ร้อยละ 2 และที่ดินจัดสรรร้อยละ 1 ตามลำดับ โดยมีมูลค่าโครงการรวมทั้งสิ้น ประมาณ 186,886 ล้านบาท ตารางที่อยู่อาศัยในโครงการเปิดตัวใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2549 แยกตามระดับราคา (หน่วย : ยูนิต) ระดับราคา บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ อาคารชุด ที่ดินจัดสรร รวม น้อยกว่า 500,001

-

-

-

-

404

138

542

500,001 - 1,000,000

-

62

6,986

-

4,472

252

11,772

1,000,001 - 2,000,000

1,411

1,887

5,220

355

14,044

310

23,227

2,000,001 - 3,000,000

3,439

789

2,345

361

3,216

38

10,188

3,000,001 - 5,000,000

5,549

252

2,948

788

4,293

88

13,918

5,000,001 - 10,000,000

2,568

-

360

136

2,001

-

5,065

10,000,001 - 20,000,000

401

-

-

10

592

6

1,009

มากกว่า 20,000,000

153

-

-

-

244

-

397

13,521

2,990

17,859

1,650

29,266

832

66,118

รวม

ที่มา : บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA)

58


ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

จากข้อมูลระดับราคาที่อยู่อาศัย ในโครงการเปิดตัวใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2549 นั้นจะ เห็นได้ว่าระดับราคาบ้านเดี่ยวที่มีการเปิดตัวขายมากที่สุดราคา 3.001 – 5.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 41.04 ของ โครงการบ้านเดี่ยวที่เปิดตัวใหม่ รองลงมาเป็นบ้านเดี่ยวระดับราคา 2.001 – 3.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.43 ของ โครงการบ้านเดี่ยวที่เปิดตัวใหม่ ในส่วนของบ้านแฝดระดับราคาที่มีการเปิดตัวขายมากที่สุดราคา 1.001 – 2.000 ล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ 63.11 ของโครงการบ้านแฝดที่เปิดตัวใหม่ รองลงมาเป็นบ้านแฝดระดับราคา 2.001 – 3.000 ล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ 26.39 ของโครงการบ้านแฝดที่เปิดตัวใหม่ ในส่วนของทาวน์เฮาส์ระดับราคาที่มีการเปิดตัวขายมาก ที่สุดราคา 0.501 – 1.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 39.12 ของโครงการทาวน์เฮาส์ที่เปิดตัวใหม่ รองลงมาเป็นทาวน์ เฮาส์ระดับราคา 1.001 – 2.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.23 ของโครงการทาวน์เฮาส์ที่เปิดตัวใหม่ ในส่วนของ อาคารพาณิชย์ระดับราคาที่มีการเปิดตัวขายมากที่สุดราคา 3.001 – 5.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.76 ของ โครงการอาคารพาณิชย์ที่เปิดตัวใหม่ รองลงมาเป็นอาคารพาณิชย์ระดับราคา 2.001 – 3.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.88 ของโครงการอาคารพาณิชย์ที่เปิดตัวใหม่ ในส่วนของอาคารชุดระดับราคาที่มีการเปิดตัวขายมากที่สุดราคา 1.001 – 2.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.99 ของโครงการอาคารชุดที่เปิดตัวใหม่ รองลงมาเป็นอาคารชุดระดับราคา 0.501 – 1.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.28 ของโครงการอาคารชุดที่เปิดตัวใหม่ และในส่วนของที่ดินจัดสรรระดับราคาที่มี การเปิดตัวขายมากที่สุดราคา 1.001 – 2.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 37.26 ของโครงการที่ดินจัดสรร รองลงมาเป็น ที่ดินจัดสรรระดับราคา 0.501 – 1.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30.29 ของโครงการที่ดินจัดสรร แผนภูมิจำนวนที่อยู่อาศัยที่จำหน่ายได้ของที่อยู่อาศัยในโครงการเปิดตัวใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2549 จำนวนที่อยู่อาศัยรวม 32,804 ยูนิต ที่ดินจัดสรร 1%

บ้านเดี่ยว 13% บ้านแฝด 3%

อาคารชุด 59% ทาวน์เฮ้าส์ 22%

อาคารพาณิชย์ 2%

ที่มา : บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) 59


ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

สำหรับด้านอุปสงค์ (Demand) จากข้อมูลรายงานการสำรวจวิจัยของ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) พบว่าในปี 2549 มีจำนวนที่อยู่อาศัยที่จำหน่ายได้ของที่อยู่อาศัยในโครงการที่เปิดตัวใหม่ใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 32,804 ยูนิต คิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนที่อยู่อาศัยซึ่งเปิดตัวใหม่ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในปีเดียวกัน โดยมีประเภทที่อยู่อาศัยที่มีสัดส่วนในการจำหน่ายได้สูงสุดเป็นอาคารชุด ร้อยละ 59 รองลงมาเป็น รองลงมาเป็นทาวน์เฮาส์ร้อยละ 22, บ้านเดี่ยวร้อยละ 13, บ้านแฝดร้อยละ 3, อาคารพาณิชย์ ร้อยละ 2 และที่ดินจัดสรรร้อยละ 1 ตามลำดับ ตารางจำนวนที่อยู่อาศัยที่จำหน่ายได้ของที่อยู่อาศัยในโครงการเปิดตัวใหม่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปี 2549 แยกตามระดับราคา (หน่วย : ยูนิต) ระดับราคา บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิชย์ อาคารชุด ที่ดินจัดสรร รวม น้อยกว่า 500,001

-

-

-

-

371

72

443

500,001 - 1,000,000

-

22

3,270

-

2,106

95

5,493

1,000,001 - 2,000,000

419

760

1,436

183

9,596

142

12,536

2,000,001 - 3,000,000

869

134

746

138

2,443

24

4,354

3,000,001 - 5,000,000

1,702

107

1,516

387

3,327

58

7,097

5,000,001 - 10,000,000

1,067

-

148

55

1,125

-

2,395

10,000,001 - 20,000,000

104

-

-

1

263

3

371

มากกว่า 20,000,000

32

-

-

-

83

-

115

4,193

1,023

7,116

764

19,314

394

32,804

รวม

ที่มา : บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA)

60


ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

จากข้อมูลระดับราคาจำนวนที่อยู่อาศัยที่จำหน่ายได้ ของที่อยู่อาศัยในโครงการเปิดตัวใหม่ในเขตกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล ปี 2549 นั้นจะเห็นได้ว่าระดับราคาบ้านเดี่ยวที่จำหน่ายได้มากที่สุดราคา 3.001 – 5.000 ล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ 40.59 ของโครงการบ้านเดี่ยวที่จำหน่ายได้ รองลงมาเป็นบ้านเดี่ยวระดับราคา 5.001 – 10.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25.45 ของโครงการบ้านเดี่ยวที่จำหน่ายได้ ในส่วนของบ้านแฝดระดับราคาที่จำหน่ายได้มาก ที่สุดราคา 1.001 – 2.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74.29 ของโครงการบ้านแฝดที่จำหน่ายได้ รองลงมาเป็นบ้านแฝด ระดับราคา 2.001 – 3.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.10 ของโครงการบ้านแฝดที่จำหน่ายได้ ในส่วนของทาวน์เฮาส์ ระดับราคาที่จำหน่ายได้มากที่สุดราคา 0.501 – 1.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 45.95 ของโครงการทาวน์เฮาส์ที่ จำหน่ายได้ รองลงมาเป็นทาวน์เฮาส์ระดับราคา 3.001 – 5.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21.30 ของโครงการทาวน์ เฮาส์ที่จำหน่ายได้ ในส่วนของอาคารพาณิชย์ระดับราคาที่จำหน่ายได้มากที่สุดราคา 3.001 – 5.000 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 50.65 ของโครงการอาคารพาณิชย์ที่จำหน่ายได้ รองลงมาเป็นอาคารพาณิชย์ระดับราคา 1.001 – 2.000 ล้าน บาท คิดเป็นร้อยละ 23.95 ของโครงการอาคารพาณิชย์ที่จำหน่ายได้ ในส่วนของอาคารชุดระดับราคาที่จำหน่ายได้มาก ที่สุดราคา 1.001 – 2.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.68 ของโครงการอาคารชุดที่จำหน่ายได้ รองลงมาเป็นอาคารชุด ระดับราคา 3.001 – 5.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.23 ของโครงการอาคารชุดที่จำหน่ายได้ และในส่วนของที่ดิน จัดสรรระดับราคาที่จำหน่ายได้มากที่สุดราคา 1.001 – 2.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 36.04 ของโครงการที่ดินจัดสรร รองลงมาเป็นที่ดินจัดสรรระดับราคา 0.501 – 1.000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 24.11 ของโครงการที่ดินจัดสรรที่จำหน่าย ได้ การแข่งขัน ปัจจุบันธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการแข่งขันกันสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากมีการเปิดตัวโครงการใหม่ ๆ ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่เพิ่มมากขึ้น จากรายงานการสำรวจวิจัยของ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) พบว่าในปี 2549 มีจำนวนโครงการที่เปิดตัวใหม่ทั้งหมด 366 โครงการ มีจำนวนหน่วยขายทั้งหมด 66,118 หน่วย ซึ่งมีจำนวนหน่วย ขายเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณร้อยละ 4 และมีมูลค่าโครงการรวมทั้งสิ้น 186,885 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าโครงการลดลง จากปี 2548 ประมาณร้อยละ 5 จากจำนวนหน่วยขายที่เพิ่มขึ้นแต่มีมูลค่าโครงการลดลงแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการปรับ ตัวของราคาที่อยู่อาศัย ที่เน้นการผลิตที่อยู่อาศัยราคาถูกลง เพื่อตอบสนองกำลังซื้อของผู้บริโภค ทั้งนี้ราคาเฉลี่ยขายต่อ หน่วยของที่อยู่อาศัยในปี 2549 อยู่ที่ 2.827 ล้านบาท ซึ่งมีราคาต่ำกว่าปี 2548 ที่ 3.111 ล้านบาท

61


ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

ตารางแสดงรายชื่อบริษัทที่มีจำนวนที่อยู่อาศัยในโครงการที่เปิดตัวใหม่สูงสุด 10 อันดับแรก ของปี 2549

ลำดับที่

ชื่อบริษัท

จำนวนโครงการ (โครงการ)

จำนวนที่อยู่อาศัย (ยูนิต)

1

บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)

17

4,616

2

บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

15

3,695

3

บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

6

3,563

4

บริษัท แอล.พี.เอ็น ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

4

3,476

5

บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

12

2,870

6

บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์ จำกัด

20

2,858

7

บริษัท อารียา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน)

2

1,700

8

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน)

12

1,512

9

บริษัท นิว ซิตี้ แอร์พอร์ต ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด

1

1,395

10 บริษัท นารายณ์พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 2 1,285 ที่มา : บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) ตารางแสดงรายชื่อบริษัทที่มีมูลค่าโครงการประเภทที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่สูงสุด 10 อันดับแรก ของปี 2549 ลำดับที่ ชื่อบริษัท จำนวนโครงการ มูลค่าโครงการ (โครงการ) (ล้านบาท)

62

1

บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

15

14,170

2

บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

12

10,543

3

บริษัท ที.ซี.ซี. แคปปิตอลแลนด์ จำกัด

3

10,281

4

บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)

6

9,682

5

บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ พาร์ทเนอร์ จำกัด

20

8,075

6

บริษัท แอล.พี.เอ็น ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

4

5,845


ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

ลำดับที่

ชื่อบริษัท

จำนวนโครงการ (โครงการ)

มูลค่าโครงการ (ล้านบาท)

7

บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)

17

5,704

8

บริษัท คาซ่า วิลล์ จำกัด

7

5,372

9

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน)

12

4,849

10 บริษัท เอ็มอาร์ สุขุมวิท จำกัด 1 4,587 ที่มา : บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) แนวโน้มอุตสาหกรรมและการแข่งขันในอนาคต สำหรับแนวโน้มความต้องการที่อยู่อาศัยในปี 2550 จากความเห็นของสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคม อาคารชุดไทยมีความเห็นว่า ทิศทางของที่อยู่อาศัยในปี 2550 นั้นน่าจะมีแนวโน้มในทางที่ดีขึ้น สืบเนื่องมาจากอุปทานที่ เติบโตขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และในขณะเดียวกันอุปสงค์ของตลาดที่อยู่อาศัยก็มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นด้วย โดยพิจารณา จากปัจจัยสนับสนุนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ดังนี้ (1) ความต้องการที่อยู่อาศัยที่ยังมีการรองรับอยู่ เนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่คลี่คลายลง ทำให้ความเชื่อ มั่นของผู้บริโภคเริ่มที่จะดีขึ้น และในขณะเดียวกันแนวโน้มของภาวะการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับต่ำ จึงถือว่าเป็นโอกาสที่ ดีของตลาดที่อยู่อาศัย (2) นโยบายรัฐบาล ที่จะสานต่อการลงทุนในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครและปริ มณฑล ซึ่งการขยายตัวของเส้นทางรถไฟฟ้าจะส่งผลต่อการขยายตัวของชุมชนเมือง และการขยายตัวของที่อยู่อาศัย (3) การส่งสัญญาที่ชัดเจนจากหลายสถาบัน รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ถึงภาวะอัตราดอกเบี้ยว่าใน ขณะนี้น่าจะเรียกได้ว่าอยู่ในระดับสูงสุด (Peak) แล้ว และอาจจะมีแนวโน้มว่าจะลดลงได้ในระดับหนึ่ง (4) ราคาน้ำมันที่ลดลง (5) กำลังซื้อเริ่มกลับมามีมากขึ้น หลังจากที่ได้มีการชะลอการตัดสินใจในช่วงปี 2549

63


ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

ตารางผลการสำรวจระดับราคาความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย

ที่มา

:

ระดับราคา (บาท)

ร้อยละ

ไม่เกิน 500,000 บาท

3.54

500,001 - 1,000,000 บาท

15.92

1,000,001 - 2,000,000 บาท

37.12

2,000,001 - 3,000,000 บาท

18.06

3,000,001 - 4,000,000 บาท

8.55

4,000,001 - 5,000,000 บาท

5.24

5,000,001 - 7,000,000 บาท

3.74

7,000,001 บาท ขึ้นไป

2.07

ไม่ระบุ

5.76

รวม

100.00

รายงานผลการสำรวจความต้องการของผู้เข้าชมงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 28 กันยายน - 1 ตุลาคม 2549 ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธอส. ร่วมกับ บริษัท โฮมบายเออร์ ไกด์ จำกัด

รวบรวมโดย : แนวโน้มของระดับราคาที่อยู่อาศัยที่ผู้บริโภคต้องการในปี 2550 จากรายงานผลการสำรวจความต้องการซื้อที่ อยู่อาศัย ซึ่งจัดทำโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธอส. และบริษัท โฮมบายเออร์ ไกด์ จำกัด พบว่าระดับราคาของที่อยู่ อาศัยที่ผู้บริโภคต้องการซื้อมากที่สุดอยู่ในช่วงระดับราคา 1,000,001 – 2,000,000 บาท ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 37.12 โดย ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยช่วงระดับราคาตั้งแต่ 500,001 – 3,000,000 บาท มีสัดส่วนรวมกันสูงถึงร้อยละ 71.10 ทั้งนี้ จากรายงานผลการสำรวจระบุว่ามีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวสูงถึงร้อยละ 39.90 ส่วนรองลงมาคือ ทาวน์เฮ้าส์ร้อยละ 22.25 คอนโดมิเนียมร้อยละ 21.57 อาคารพาณิชย์ร้อยละ 6.02 บ้านแฝดร้อยละ 5.69 และที่ดินเปล่า ร้อยละ 4.36

64


ภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์

65


c

ouple

66


โครงการในอนาคต

67


โครงการในอนาคต

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทและบริษัทย่อยอยู่ระหว่างการเปิดขายโครงการทั้งสิ้น 18 โครงการ มูลค่า รวมประมาณ 9,402.73 ล้านบาท และมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีกำหนดเวลาจะเปิดขายในปี 2550 ซึ่งมี โครงการทั้งสิ้น 11 โครงการ มูลค่ารวมประมาณ 8,139 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้ โครงการในส่วนของบริษัท ลักษณะโครงการ/ มูลค่าโครงการ กำหนดการ โครงการ พื้นที่ (ไร่) สถานที่ตั้ง ยูนิต โดยประมาณ เปิดโครงการ (ล้านบาท) โดยประมาณ ปริญลักษณ์ ทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น เอกชัย-บางบอน 209 674 ไตรมาสที่ 2 เอกชัย-บางบอน 19-0-00 ไร่ คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม 33 ชั้น ถนนราชปรารภ 547 1,550 ไตรมาสที่ 2 ราชปรารภ 3-1-53 ไร่ คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม 31 ชั้น ถนนนราธิวาส 187 800 ไตรมาสที่ 2 นราธิวาสราชนครินทร์ 1-1-98 ไร่ ราชนครินทร์ คอนโดมิเนียม คอนโดมิเนียม 8 ชั้น ซอยพหลโยธิน 37 308 693 ไตรมาสที่ 2 พหลโยธิน 3-3-0 ไร่ ปริญญดา บ้านเดี่ยว 2 ชั้น ถนนสามัคคี 119 474 ไตรมาสที่ 3 สามัคคี 24-2-20 ไร่ ปริญลักษณ์ ทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น ถนนสามัคคี 207 480 ไตรมาสที่ 3 สามัคคี 17-2-52 ไร่ ปริญญดา บ้านแฝด 2 ชั้น ถนนราชพฤกษ์ 148 754 ไตรมาสที่ 4 ราชพฤกษ์-พระราม 5 26-3-6 ไร่ ปริญลักษณ์ ทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น ถนนราชพฤกษ์ 291 738 ไตรมาสที่ 4 ราชพฤกษ์-พระราม 5 41-0-56 ไร่ รวม 2,016 6,163

68


โครงการในอนาคต

โครงการในส่วนของบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ลักษณะโครงการ/ มูลค่าโครงการ กำหนดการ โครงการ พื้นที่ (ไร่) สถานที่ตั้ง ยูนิต โดยประมาณ เปิดโครงการ (ล้านบาท) โดยประมาณ ยูโรโนวา ทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น ถ. อ่อนนุช 184 626 ไตรมาสที่ 1 อ่อนนุช 18-1-74.56 ไร่ นอร์ธเทิร์นไพรม์ บ้านเดี่ยว 2 ชั้น ถ. วิภาวดีรังสิต 242 800 ไตรมาสที่ 1 รังสิต 21-1-77 ไร่ นอร์ธเทิร์นโนวา ทาวน์เฮ้าส์ 3 ชั้น ถ. วิภาวดีรังสิต 312 550 ไตรมาสที่ 1 รังสิต 23-2-27 ไร่ รวม 738 1,976 หมายเหตุ : โครงการเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด บริษัทถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนร้อยละ 51 ของทุน ชำระแล้ว

69


riendly 70


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

71


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

โครงการสร้างถือหุ้น

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทมีทุนจดทะเบียน ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว จำนวน 670,000,000 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญจำนวน 670,000,000 หุ้นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ผู้ถือหุ้นของบริษัท รายชื่อกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 อันดับแรกที่ปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 29 ธันวาคม 2549 รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นที่ถือ (หุ้น) ร้อยละ 1. กลุ่มตระกูลโกวิทจินดาชัย 509,245,000 76.01 2. บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผู้ฝาก 159,496,250 23.80 3. ผู้ถือหุ้นอื่นๆ 1,258,750 0.19 รวม 670,000,000 100.00 หมายเหตุ : กลุ่มผู้ถือหุ้นกลุ่มตระกูลโกวิทจินดาชัยที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันและออกเสียงไปในทางเดียวกัน ได้แก่ ชื่อ-นามสกุล จำนวนหุ้นที่ถือ (หุ้น) ร้อยละ 1. นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย 155,595,000 23.22 2. นายปริญญา โกวิทจินดาชัย 100,000,000 14.93 3. นายสันติ โกวิทจินดาชัย 95,000,000 14.18 4. นางกิมลั้ง โกวิทจินดาชัย 80,000,000 11.94 5. นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย 6,050,000 0.90 6. นายชัยโย โกวิทจินดาชัย 5,200,000 0.78 7. นายชัยวุฒิ โกวิทจินดาชัย 5,200,000 0.78 8. นายชาไว โกวิทจินดาชัย 5,200,000 0.78 9. นายฐิติวัชร์ ไชยธนวัฒน์ 5,200,000 0.78 10. นางสาวพัชรี โกวิทจินดาชัย 5,200,000 0.78 11. นางสาวศุภรัตน์ โกวิทจินดาชัย 5,200,000 0.78 12. เด็กชายธนิน โกวิทจินดาชัย 5,200,000 0.78 13. นางสาวนิภา อภิรัตนรุ่งเรือง 5,200,000 0.78 14. นางสาวบุษยรัตน์ โกวิทจินดาชัย 5,200,000 0.78 15. นายพิษณุ โกวิทจินดาชัย 5,200,000 0.78 16. นางสาววรรัตน์ โกวิทจินดาชัย 5,200,000 0.78 17. นายว่องไว โกวิทจินดาชัย 5,200,000 0.78 18. นางสาวสุดารัตน์ โกวิทจินดาชัย 5,200,000 0.78 19. นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล 5,000,000 0.75 72


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ นิติบุคคล ทั้งนี้อัตราการจ่ายปันผลในแต่ละปีอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับผลประกอบการ แผนการขยายธุรกิจ สภาพ คล่อง ความจำเป็นและความเหมาะสมอื่น ๆ โดยให้อำนาจคณะกรรมการของบริษัทพิจารณา และการดำเนินการดัง กล่าวจะต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ถือหุ้น สำหรับบริษัทย่อยของบริษัทมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น เช่นเดียวกับบริษัท และเป็นไปตามการพิจารณาของคณะกรรมการบริษัท

73


74

ฝ่ายรัฐกิจ

ฝ่ายการเงิน ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์

ฝ่ายพัฒนาชุมชน

ฝ่ายบริการหลังการขาย ฝ่ายการตลาด

ฝ่ายขาย

สายงานขายและการตลาด นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย (ร.ก.)

รองกรรมการผู้จัดการ นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย

กรรมการผู้จัดการ นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย (MD)

คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการ

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548

สายงานลูกค้าสัมพันธ์ นายขวัญชาย มงคลกิจทวี

สำนักกรรมการผู้จัดการ

ฝ่ายกฎหมาย

สายอำนวยการ นายสกล เปาอินทร์

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง

ฝ่ายบัญชี

สายงานบัญชีและการเงิน นายนำชัย วนาภานเบศ

โครงสร้างการจัดการ

ฝ่ายพัฒนาโครงการ

ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์

ฝ่ายควบคุมคุณภาพ

ฝ่ายงบประมาณโครงการ

ฝ่ายประสานงานโครงการ

ฝ่ายจัดซื้อ

ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และธุรการ

ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ

สายงานพัฒนาองค์กร นางสาวนิภา อภิรัตนรุ่งเรือง ฝ่ายบริหารกลุ่มโครงการ

สายงานบริหารกลุ่มโครงการ นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย (ร.ก.)

สำนักตรวจสอบและควบคุมภายใน

คณะกรรมการตรวจสอบ

โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

คณะกรรมการบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 คณะกรรมการของบริษัทมีจำนวน 9 ท่าน ดังนี้ 1. นายมงคล เปาอินทร์ ประธานกรรมการ/กรรมการอิสระ 2. นายสุรพล ขวัญใจธัญญา กรรมการอิสระ/ประธานกรรมการตรวจสอบ 3. ร้อยตำรวจโทศิวะรักษ์ พินิจารมณ์ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ 4. นายอำนาจ งามสุริยโรจน์ กรรมการอิสระ/กรรมการตรวจสอบ 5. นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย กรรมการ 6. นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย กรรมการ 7. นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล กรรมการ 8. นางมุกดา อาริยวัฒน์ กรรมการ/กรรมการอิสระ 9. นายนำชัย วนาภานุเบศ กรรมการ 10. นายสกล เปาอินทร์ กรรมการ/เลขานุการคณะกรรมการบริษัท กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท โดยมีดังนี้ (1) นายมงคล เปาอินทร์ ลงลายมือชื่อร่วมกับ นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย รวมเป็นสองคน และประทับตราสำคัญของบริษัท หรือ คนใดคนหนึ่งในสองคนนี้ ลงลายมือชื่อร่วมกับ นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล หรือ นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท (2) การขออนุญาตจัดสรร การขออนุญาตค้าที่ดิน การขออนุญาตปลูกสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ทุกประเภท การขออนุญาตตรวจ รวม หรือแบ่งโฉนดที่ดิน การขออนุญาตแบ่งกรรมสิทธิ์รวม การจดทะเบียนจำนอง การปลอดจำนอง และการไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การขออนุญาตให้มีหมายเลขประจำบ้าน การขออนุญาต ใช้และโอนไฟฟ้าและน้ำประปา การเช่าสิทธิ การใช้หมายเลขโทรศัพท์ การยื่นคำร้องทั่วไปเกี่ยวกับโทรศัพท์ การขอ อนุญาตเชื่อมทางและท่อระบายน้ำ การขออนุญาตตัดคันหิน การชี้ระวางและรับรองแนวเขตที่ดิน การขอรังวัดแบ่งแยก ที่ดิน การขอจดทะเบียนอาคารชุด การขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด การขอจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร การขอ อนุญาตเปิดการใช้อาคาร การยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบการค้า การให้ถ้อยคำตลอดจนยื่นและรับเอกสารเกี่ยวข้องกับ กรมสรรพากร ดำเนินการฟ้องคดีและยื่นคำให้การทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อเจ้าพนักงาน ตำรวจหรือพนักงานสอบสวนแทนการร้องทุกข์ ประนีประนอมยอมความ ให้ถ้อยคำ ตลอดจนส่งและรับคืนเอกสารที่ เกี่ยวข้องกับคดี และการขออนุญาตต่าง ๆ ต่อหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ การรับรองสำเนาเอกสารต่าง ๆ ให้ นาย ขวัญชาย มงคลกิจทวีผล, นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย, นายนำชัย วนาภานุเบศ และนายสกล เปาอินทร์ กรรมการสอง ในสี่คนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท

75


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท 1. บริหารจัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติของที่ ประชุมผู้ถือหุ้นที่ชอบด้วยกฎหมาย ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และระมัดระวัง รักษาผลประโยชน์ของบริษัท 2. กำหนดเป้าหมาย แนวทาง นโยบาย แผนงานและงบประมาณบริษัท ควบคุมกำกับดูแลการ บริหารและการจัดการของคณะกรรมการจัดการและผู้บริหาร ให้เป็นไปตามแนวนโยบายที่ได้รับมอบหมายและตามข้อ บังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3. คณะกรรมการอาจแต่งตั้งกรรมการ และ/หรือ ผู้บริหารจำนวนหนึ่งตามที่เห็นสมควร ให้เป็น คณะกรรมการบริหารโดยให้มีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการบริษัทตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทก็ได้ เว้นแต่อำนาจในการดำเนินการดังต่อไปนี้ จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน ทั้งนี้กำหนดให้รายการที่กรรมการหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อื่น ใดกับบริษัท ให้กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้นไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น - เรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องได้มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น - การทำรายการที่มีกรรมการมีส่วนได้เสียและอยู่ในข่ายที่กฎหมาย หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ระบุให้ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ในปี 2549 บริษัทจัดประชุมคณะกรรมการบริษัททั้งสิ้น 4 ครั้ง กรรมการแต่ละท่านได้เข้าร่วมการ ประชุม ดังนี้ ลำดับที่

76

ชื่อ-นามสกุล

ปี 2548

ปี 2549

1

นายมงคล เปาอินทร์

5/5

4/4

2

นายสุรพล ขวัญใจธัญญา

5/5

4/4

3

ร้อยตำรวจโทศิวะรักษ์ พินิจารมณ์

5/5

4/4

4

นายอำนาจ งามสุริยโรจน์

5/5

3/4

5

นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย

5/5

4/4

6

นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย

5/5

4/4

7

นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล

5/5

4/4

8

นางมุกดา อาริยวัฒน์

5/5

4/4

9

นายนำชัย วนาภานุเบศ

2/5

4/4

10

นายสกล เปาอินทร์

5/5

4/4


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

คณะกรรมการตรวจสอบ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีจำนวน 3 ท่าน ดังนี้ 1. นายสุรพล ขวัญใจธัญญา ประธานกรรมการตรวจสอบ 2. ร้อยตำรวจโทศิวะรักษ์ พินิจารมณ์ กรรมการตรวจสอบ 3. นายอำนาจ งามสุริยโรจน์ กรรมการตรวจสอบ ทั้งนี้มีนายสกล เปาอินทร์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ 1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง และเปิดเผยอย่างเพียงพอ โดยการประสานงาน กับผู้สอบบัญชี และผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี คณะกรรมการตรวจสอบ อาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชี สอบทานหรือตรวจสอบรายการใด ๆ ที่เห็นว่าจำเป็น และเป็นเรื่องสำคัญในระหว่างการ ตรวจสอบบัญชีของบริษัทก็ได้ 2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล โดยสอบทานร่วมกับผู้สอบบัญชีและผู้ตรวจสอบภายใน 3. ปรึกษาหารือ และพิจารณาถึงขอบเขตการตรวจสอบ และแผนการตรวจสอบของผู้ตรวจสอบภายในและผู้ สอบบัญชีให้มีความสัมพันธ์และเกื้อกูลกันในส่วนที่เกี่ยวกับการตรวจสอบด้านการเงิน (Financial Auditing) 4. สอบทานงบการเงินระหว่างปีร่วมกับผู้สอบบัญชีและผู้ตรวจสอบภายในก่อนที่จะนำส่งให้หน่วยงานที่ มีหน้าที่กำกับดูแล (Regulators) 5. พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัทต่อคณะกรรมการบริษัท รวมถึงพิจารณาค่า ตอบแทนของผู้สอบบัญชี เพื่อขอรับการแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น 6. สอบทานการปฏิบัติของบริษัทให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนด ของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 7. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยงหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน 8. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดัง กล่าวลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 9. สอบทานและเสนอแนะการแก้ไขกฎบัตรต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้ทันสมัย และเหมาะสมกับสภาพ แวดล้อมในการดำเนินธุรกิจของบริษัท 10. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมายและคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย ในปี 2549 บริษัทจัดประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทั้งสิ้น 4 ครั้ง กรรมการตรวจสอบแต่ละท่านได้เข้าร่วม การประชุม ดังนี้

77


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

ลำดับที่

ชื่อ-นามสกุล

ปี 2548

ปี 2549

1

นายสุรพล ขวัญใจธัญญา

4/4

4/4

2

ร้อยตำรวจโทศิวะรักษ์ พินิจารมณ์

4/4

4/4

3

นายอำนาจ งามสุริยโรจน์

4/4

4/4

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทมีจำนวน 4 ท่าน ดังนี้ 1. นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง 2. นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล กรรมการ 3. นายนำชัย วนาภานุเบศ กรรมการ 4. นายสกล เปาอินทร์ กรรมการ ทั้งนี้มีนายสกล เปาอินทร์ เป็นเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 1. พิจารณา และอนุมัตินโยบายและกรอบการบริหารความเสี่ยง 2. ติดตามการพัฒนากรอบการบริหารความเสี่ยง 3. ติดตามกระบวนการบ่งชี้และประเมินความเสี่ยง 4. ประเมินและอนุมัติแผนการจัดการความเสี่ยง 5. รายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับความเสี่ยง และการจัดการความเสี่ยง 6. สื่อสารกับคณะกรรมการตรวจสอบ เกี่ยวกับความเสี่ยงที่สำคัญ บริษัทจัดให้มีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงในปี 2549 และในปีเดียวกันบริษัทจัดประชุมคณะ กรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งสิ้น 4 ครั้ง กรรมการบริหารความเสี่ยงแต่ละท่านได้เข้าร่วมการประชุมทุกครั้ง คณะกรรมการบริหาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 คณะกรรมการบริหารของบริษัทมีจำนวน 5 ท่าน ดังนี้ 1. นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย ประธานกรรมการบริหาร 2. นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย กรรมการบริหาร 3. นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล กรรมการบริหาร 4. นายนำชัย วนาภานุเบศ กรรมการบริหาร 5. นายสกล เปาอินทร์ กรรมการบริหาร

78


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร 1. พิจารณานโยบาย ทิศทาง กลยุทธ์ และโครงสร้างการบริหารจัดการ หลักในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ที่ ได้กำหนดให้สอดคล้องและสนับสนุนต่อสภาพเศรษฐกิจและการแข่งขันตามที่ฝ่ายบริหารเสนอ ก่อนที่จะนำเสนอต่อคณะ กรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ 2. เสนอแผนธุรกิจ งบประมาณ และอำนาจการบริหารต่างๆ ของบริษัท ต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อ พิจารณาให้ความเห็นชอบ รวมทั้งพิจารณาอนุมัติการจัดสรรงบประมาณประจำปี การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม งบประมาณประจำปีในกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน และให้นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบต่อไป 3. ตรวจสอบ ติดตามการดำเนินนโยบายและแนวทางการบริหารงานด้านต่างๆ ของบริษัท ที่กำหนดให้เป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพ เอื้อต่อสภาพการดำเนินธุรกิจ 4. ตรวจสอบติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทที่กำหนดให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่ได้รับอนุมัติจากคณะ กรรมการบริษัท 5. พิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการลงทุนของบริษัทที่เป็นไปตามแผนธุรกิจ 6. มีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน เจ้าหน้าที่ของบริษัทในตำแหน่งที่ต่ำกว่าตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ 7. ดำเนินการจัดทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงินในการเปิดบัญชี กู้ยืม จำนำ จำนอง ค้ำประกัน และการอื่นๆ รวมถึงการซื้อขายและจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินใดๆ ตามวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการ ของบริษัท 8. พิจารณาจัดสรรเงินบำเหน็จรางวัล โบนัส หรือค่าตอบแทนซึ่งได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทแล้วให้ แก่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัท หรือบุคคลใดๆ ที่กระทำกิจการให้แก่บริษัท 9. พิจารณาอนุมัติการซื้อขายอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนก่อสร้าง หรือซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารสำนักงาน 10. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย การมอบอำนาจของคณะกรรมการบริษัท ให้แก่คณะกรรมการบริหารตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะ กรรมการบริหารที่กล่าวมาข้างต้น ไม่รวมถึงลักษณะการมอบอำนาจ หรือมอบอำนาจช่วงที่ทำให้คณะกรรมการบริหาร หรือผู้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการบริหาร สามารถอนุมัติรายการที่ตนหรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง มีส่วนได้เสีย หรื อ อาจมี ค วามขั ด แย้ ง ทางผลประโยชน์ อื่ น ใด (เป็ น ไปตามที่ ส ำนั ก งานคณะกรรมการกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละตลาด หลักทรัพย์ ประกาศกำหนด) ทำกับบริษัท หรือบริษัทย่อย เว้นแต่เป็นการอนุมัติรายการที่เป็นไปตามนโยบายและ หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติไว้แล้ว

79


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

คณะผู้บริหาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 คณะผู้บริหารของบริษัทมีจำนวน 6 ท่าน ดังนี้ 1. นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย กรรมการผู้จัดการ 2. นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย รองกรรมการผู้จัดการ รักษาการสายงานบริหารกลุ่มโครงการ รักษาการสายงานขายและการตลาด 3. นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานลูกค้าสัมพันธ์ 4. นายนำชัย วนาภานุเบศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบัญชี การเงิน 5. นายสกล เปาอินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานอำนวยการ 6. นางสาวนิภา อภิรัตนรุ่งเรือง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาองค์กร อำนาจหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการ 1. ดำเนินการและบริหารจัดการการดำเนินธุรกิจตามปกติของบริษัท 2. ดำเนินการและบริหารจัดการการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามนโยบายธุรกิจ แผนธุรกิจ และ กลยุทธ์ทางธุรกิจที่คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแล้ว 3. มอบอำนาจหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นใด ที่กรรมการผู้จัดการเห็นสมควรทำหน้าที่ประธานในเรื่องที่จำเป็น และสมควร โดยให้อยู่ในดุลพินิจของประธานกรรมการ ซึ่งอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมาย และกฎระเบียบข้อบังคับ ของบริษัท 4. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทในแต่ละคราว 5. ดำเนินการและอนุมัติการเข้ารับว่าจ้าง รับทำงาน การตกลงผูกพันในการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัท โดย มีวงเงินดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบอำนาจอนุมัติและดำเนินการของบริษัท ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ บริษัทแล้ว ทั้งนี้วงเงินดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมโดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้การมอบอำนาจดังกล่าวข้างต้น ให้แก่กรรมการผู้จัดการนั้น ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายและกฎ ระเบียบข้อบังคับของบริษัท และในกรณีที่การดำเนินการใดที่มีหรืออาจมีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียของกรรมการผู้ จัดการ หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง กรรมการผู้จัดการไม่มีอำนาจอนุมัติการดำเนินการดังกล่าว โดยกรรมการผู้จัดการ จะต้องนำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ ในกรณีที่การทำรายการใดเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการเกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายไป ซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทหรือบริษัทย่อย แล้วแต่กรณี การทำรายการดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น และ/หรือ การปฏิบัติอื่นใดตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ในเรื่องนั้น ๆ ด้วย เพื่อให้ สอดคล้องกับข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องดังกล่าว

80


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

การสรรหากรรมการและผู้บริหาร การคัดเลือกกรรมการของบริษัท บริษัทยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อคัดเลือกบุคคลที่จะดำรง ตำแหน่งกรรมการของบริษัท อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาคัดสรรบุคคลผู้มีคุณวุฒิ ความรู้ ความ สามารถ มีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องและมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด ตามมาตรา 68 แห่งพระราช บัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 และตามประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ คณะกรรมการบริษัท ในการเลือกตั้งคณะกรรมการบริษัทจะกระทำโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ 1. ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง 2. ผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะต้องใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดตาม 1) ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการเป็น รายบุคคล คราวละคนหรือคราวละหลายคน รวมกันเป็นคณะ หรือด้วยวิธีการอื่นใดก็ได้ตามแต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นจะเห็น สมควร แต่ในการลงมติแต่ละครั้ง ผู้ถือหุ้นจะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดหรือคณะใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้ 3. การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการให้ใช้เสียงข้างมาก หากมีคะแนนเสียงเท่ากันให้ผู้เป็นประธานที่ ประชุมเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด บริษัทจัดให้มีคณะกรรมการบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการ ทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร กรรมการบริษัทจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด และกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด ในการประชุมสามัญประจำปีทุกครั้ง ให้กรรมการออกจากตำแหน่ง 1 ใน 3 ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออก ให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วน 1 ใน 3 โดยกรรมการที่จะต้องออกจากตำแหน่งในปีแรกและ ปีที่สอง ภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้นให้ใช้วิธีจับสลากกันว่าผู้ใดจะออก ส่วนปีหลังๆ ต่อไปให้กรรมการคนที่อยู่ใน ตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง กรรมการที่จะออกตามวาระนี้อาจถูกเลือกเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ก็ได้ ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงคราวออกตามวาระให้คณะกรรมการเลือกบุคคล ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดเข้าเป็นกรรมการแทน ในการประชุม คณะกรรมการคราวถัดไป เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือน้อยกว่า 2 เดือน โดยบุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทน จะอยู่ ในตำแหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน มติของคณะกรรมการในการเลือกกรรมการที่ ดำรงตำแหน่งแทนต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใด ออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียง และมีหุ้นสามัญรวมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ จำนวนหุ้นที่ถือ โดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง

81


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ โดยพิจารณาคุณสมบัติของกรรมการตรวจสอบตาม เกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด โดยเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการตรวจสอบโดยให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี โดยกรรมการตรวจสอบซึ่งพ้นจากตำแหน่งตาม วาระอาจจะได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยให้มีอำนาจหน้าที่บริหารความเสี่ยงของ บริษัทตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการบริหาร โดยให้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการของบริษัทตามที่ คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย

82


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ลำดับ

ชื่อ-สกุล

1. นายมงคล เปาอินทร์ ประธานกรรมการบริษัท / กรรมการอิสระ

อายุ

วุฒิการศึกษา

77 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิต จากสำนักอบรมกฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา

สัดส่วน ความสัมพันธ์ การถือหุ้น ทางครอบครัว ช่วงเวลา (ร้อยละ) ระหว่าง ผู้บริหาร

ประสบการณ์ทำงานย้อนหลัง ตำแหน่ง

บริษัท

ไม่มี เป็นลุงของ 2547-ปัจจุบัน ประธานกรรมการบริษัท นายสกล 2536-2540 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เปาอินทร์ 2531-2535 คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตและ ประพฤติมิชอบในวงราชการ 2532-2533 ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะ ในศาลฎีกา 2527-2530 อธิบดีผู้พิพากษาภาค 3 (นครราชสีมา)

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ศาลรัฐธรรมนูญ สถาบันพัฒนา ข้าราชการตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม

2. นายสุรพล ขวัญใจธัญญา 55 ปริญญาโท ไม่มี ประธานกรรมการตรวจสอบ / บริหารธุรกิจด้านการเงิน(MBA) กรรมการอิสระ โดยทุนมหาวิทยาลัย University of Washington, USA ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ (BSIE) โดยทุนมหาวิทยาลัย ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า (BSEE) University of Washington, USA เข้ารับการอบรมหลักสูตร DAP รุ่นที่ 14 วันที่ 17 พฤษภาคม 2547 DCP รุ่นที่ 44 วันที่ 16 พฤษภาคม 18 มิถุนายน 2547

ไม่มี

2548-ปัจจุบัน ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท หลักทรัพย์ แอ๊คคินซัน จำกัด(มหาชน) 2547- ปัจจุบัน ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) 2546-ปัจจุบัน ประธานกรรมการตรวจสอบ Tycoons Worldwide Group (Thailand) PLC. 2540-2545 กรรมการผู้จัดการ บรรษัทตลาดรอง 2538-2540 President สินเชื่อที่อยู่อาศัย 2536-2538 President บริษัทเงินทุน วชิรธนทุน จำกัด บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ สยามซิตี้ ซินดิเคท จำกัด

3. นายศิวะรักษ์ พินิจารมณ์ กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ

ไม่มี

2547- ปัจจุบัน กรรมการตรวจสอบ

55 ประกาศนียบัตรทางบัญชี UCLA, California, USA ประกาศนียบัตรด้านภาษี H&R BLOCK TAX SCHOOL Pasadena, California, USA ปริญญาโท Master of Arts in Public Administration, Minnesota State University ปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต

ไม่มี

2547- ปัจจุบัน 2544- 2547 2543-2544 2542-2543 2539-2541

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ ส่วนงานตรวจสอบภายใน จำกัด (มหาชน) ผู้อำนวยการ บริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ สำนักตรวจสอบภายใน จำกัด (มหาชน) รองหัวหน้าคณะผู้บริหาร Digital Phone Co., Ltd. ด้านการเงิน ผู้จัดการสำนัก บริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ ตรวจสอบภายใน จำกัด (มหาชน) ผู้จัดการสำนักการเงิน บมจ. ชินวัตร และบัญชี อินเตอร์เนชั่นแนล

83


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

ลำดับ

ชื่อ-สกุล

อายุ

วุฒิการศึกษา

สัดส่วน ความสัมพันธ์ การถือหุ้น ทางครอบครัว (ร้อยละ) ระหว่าง ผู้บริหาร

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ารับการอบรมหลักสูตร DAP รุ่นที่ 14 วันที่ 17 พฤษภาคม 2547 DCP รุ่นที่ 44 วันที่ 16 พฤษภาคม 18 มิถุนายน 2547

ช่วงเวลา

ประสบการณ์ทำงานย้อนหลัง ตำแหน่ง

บริษัท

2537-2539 ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบ บมจ. STA กรุ๊ป ภายในและพัฒนาระบบ 2535-2539 หัวหน้าสำนักบัญชี Borg-Werner เขต Los Angeles รัฐ California, USA

4. นายอำนาจ งามสุริยโรจน์ กรรมการตรวจสอบ / กรรมการอิสระ

52 ปริญญาตรี

ไม่มี

บัญชีบัณฑิต เข้ารับการอบรมหลักสูตร DAP รุ่นที่ 14 วันที่ 17 พฤษภาคม 2547 DCP รุ่นที่ 44 วันที่ 16 พฤษภาคม 18 มิถุนายน 2547

ไม่มี

2547- ปัจจุบัน กรรมการตรวจสอบ

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) 2546- ปัจจุบัน ประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ฮั้วฟง รับเบอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 2530- ปัจจุบัน กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำนาจ แอนด์แอส โซซิเอทส์ จำกัด 2525-2530 Personnel, Admin & บริษัท แอมเมกซ์ ทีม Finance Director แอ็ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด 2521-2525 ผู้ตรวจสอบภายใน บริษัท ไทยผลิตภัณฑ์ ยิบซั่ม จำกัด (มหาชน) 2517-2521 ผู้สอบบัญชี บริษัท เอส จี วี ณ ถลาง จำกัด

5. นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย กรรมการ / ประธานกรรมการบริหาร / กรรมการผู้จัดการ

57 ประสบการณ์ด้านธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ 15 ปี

17.42

เข้ารับการอบรมหลักสูตร DAP รุ่นที่ 20 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2547

เป็นพี่สาว 2543–ปัจจุบัน ของ นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล/ 2538–2547 เป็นป้าของ นายชัยวัฒน์ 2536–2545 โกวิทจินดาชัย

ประธานคณะ กรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท จินดาพงษ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท ไทยจินดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

6. นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล กรรมการ / กรรมการบริหาร / ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานลูกค้าสัมพันธ์

84

45 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยช่างกลเทคนิคสยาม ประสบการณ์ด้านธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ 15 ปี เข้ารับการอบรมหลักสูตร DAP รุ่นที่ 20 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2547

0.75

เป็นน้องของ 2548-ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ นางสาวสิริลักษณ์ สายงานลูกค้าสัมพันธ์ โกวิทจินดาชัย/ 2543 – 2548 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เป็นอาของ สายงานบริหารการตลาด นายชัยวัฒน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ โกวิทจินดาชัย 2539 – 2542 สายงานการตลาด 2536 – 2538 ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท จินดาพงษ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท ไทยจินดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

ลำดับ

ชื่อ-สกุล

อายุ

วุฒิการศึกษา

สัดส่วน ความสัมพันธ์ การถือหุ้น ทางครอบครัว (ร้อยละ) ระหว่าง ผู้บริหาร

ช่วงเวลา

7. นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย 38 ปริญญาโท สาขาบริหาร 0.90 เป็นหลานของ 2548-ปัจจุบัน กรรมการ / กรรมการบริหาร / มหาวิทยาลัยรามคำแหง นางสาวสิริลักษณ์ 2543-ปัจจุบัน รองกรรมการผู้จัดการ ปริญญาตรี โกวิทจินดาชัย สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และนายขวัญชาย 2539-2542 มหาวิทยาลัยรามคำแหง มงคลกิจทวีผล/ เข้ารับการอบรมหลักสูตร เป็นสามีของ 2536-2538 DAP รุ่นที่ 20 นางสาวนิภา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2547 อภิรัตนรุ่งเรือง 8. นายสกล เปาอินทร์ 43 ปริญญาตรี 0.19 เป็นหลานของ 2546-ปัจจุบัน กรรมการ / สาขานิติศาสตร์ นายมงคล กรรมการบริหาร / มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปาอินทร์ 2542-ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ประกาศนียบัตร สายงานอำนวยการ เนติบัณฑิตไทย เนติบัณฑิตยสภา 2538-2541 เข้ารับการอบรมหลักสูตร DAP รุ่นที่ 20 2535-2538 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2547 2532-2534

ประสบการณ์ทำงานย้อนหลัง ตำแหน่ง

บริษัท

รองกรรมการผู้จัดการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบริหารโครงการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานก่อสร้าง ผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้าง

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท จินดาพงษ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท ไทยจินดา พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานอำนวยการ กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท สำนักบังคับคดี ธีรคุปต์ จำกัด ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกพัฒน์ จำกัด (มหาชน) ผู้จัดการ ฝ่ายกฎหมาย บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอกธนา จำกัด (มหาชน) รองผู้จัดการ ฝ่ายกฎหมาย บริษัทเงินทุน เอกธนกิจ จำกัด (มหาชน) 2528-2531 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ 7 บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ฝ่ายกำกับหนี้สิ้น ภัทรธนกิจ จำกัด (มหาชน)

9. นางมุกดา อาริยวัฒน์ กรรมการ / กรรมการอิสระ

53 ปริญญาโท มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้ารับการอบรมหลักสูตร DAP รุ่นที่ 12 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547 Audit Committee Program เมื่อวันที่ 9 -10 ส.ค. 2547 รุ่น 1/2004

ไม่มี

49 ปริญญาโท บริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ ปริญญาตรี บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ารับการอบรมหลักสูตร DAP รุ่นที่ 45 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2548

ไม่มี

ไม่มี

2547-ปัจจุบัน กรรมการ 2547-ปัจจุบัน กรรมการอิสระและ กรรมการตรวจสอบ 2546-2547 กรรมการอิสระ 2540-2546 กรรมการอิสระและ กรรมการตรวจสอบ ผู้จัดการ 2538-2540 กรรมการผู้จัดการ

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท จี เอ็ม มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) บริษัท รอยเนท จำกัด (มหาชน) บริษัท ไดนาสตี้ เซรามิค จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ม ซี แอล แมเนจเม้น เซอร์วิส จำกัด บริษัทหลักทรัพย์วชิระ

10. นายนำชัย วนาภานุเบศ กรรมการ / กรรมการบริหาร / ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบัญชีและการเงิน

ไม่มี

2548-ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบัญชีและการเงิน 2542-ปัจจุบัน กรรมการ 2542-ปัจจุบัน ที่ปรึกษาทางการเงิน 2542-ปัจจุบัน รองกรรมการผู้จัดการ

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซี แอนด์ เอ็ม วิศวกรรม จำกัด บริษัท ฤทธิ์ทวีแลนด์ จำกัด บริษัท ส่งเสริมการค้า เอส เอ็ม อี จำกัด

85


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

ลำดับ

ชื่อ-สกุล

11. นางสาวนิภา อภิรัตนรุ่งเรือง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาองค์กร

หมายเหตุ

อายุ

วุฒิการศึกษา

38 ปริญญาโท บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาตรี วิทยาศาสตร์ เคมี มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สัดส่วน ความสัมพันธ์ การถือหุ้น ทางครอบครัว (ร้อยละ) ระหว่าง ผู้บริหาร 0.78

ช่วงเวลา

ประสบการณ์ทำงานย้อนหลัง ตำแหน่ง

เป็นภรรยา 2549-ปัจจุบัน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ของนายชัยวัฒน์ สายงานพัฒนาองค์กร โกวิทจินดาชัย 2547-2549 ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์และธุรการ 2545-2547 ประกอบธุรกิจส่วนตัว 2544-2545 ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี และการเงิน 2539-2543 ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี และการเงิน 2536-2538 ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี และการเงิน

บริษัท

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจส่วนตัว บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัท จินดาพงษ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด บริษัท ไทยจินดา พร็อพเพอร์ตี้

: กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทได้แก่ ลำดับที่ 1, 5, 6, 7, 8 และ 10 โดยมีดังนี้ (1) นายมงคล เปาอินทร์ ลงลายมือชื่อร่วมกับ นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือ คนใดคนหนึ่งใน สองคนนี้ ลงลายมือชื่อร่วมกับ นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล หรือ นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย รวมเป็นสองคนและประทับตราสำคัญของบริษัท (2) การขออนุญาตจัดสรร การขออนุญาตค้าที่ดิน การขออนุญาตปลูกสร้างอาคารและสิ่งปลูกสร้างทุกประเภท การขออนุญาตตรวจ รวม หรือแบ่งโฉนด ที่ดิน การขออนุญาตแบ่งกรรมสิทธิ์รวม การจดทะเบียนจำนอง การปลอดจำนอง และการไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การขออนุญาตให้มีหมายเลขประจำบ้าน การขออนุญาตใช้และโอนไฟฟ้าและน้ำประปา การเช่าสิทธิ การใช้หมายเลขโทรศัพท์ การยื่นคำร้องทั่วไปเกี่ยวกับโทรศัพท์ การขออนุญาตเชื่อมทางและท่อระบายน้ำ การ ขออนุญาตตัดคันหิน การชี้ระวางและรับรองแนวเขตที่ดิน การขอรังวัดแบ่งแยกที่ดิน การขอจดทะเบียนอาคารชุด การขอจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด การขอจด ทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร การขออนุญาตเปิดการใช้อาคาร การยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบการค้า การให้ถ้อยคำตลอดจนยื่นและรับเอกสารเกี่ยวข้องกับกรม สรรพากร ดำเนินการฟ้องคดีและยื่นคำให้การทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา การร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวนแทนการร้องทุกข์ ประนีประนอมยอมความ ให้ถ้อยคำ ตลอดจนส่งและรับคืนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคดี และการขออนุญาตต่าง ๆ ต่อหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ การรับรองสำเนา เอกสารต่าง ๆ ให้ นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล, นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย, นายนำชัย วนาภานุเบศ และนายสกล เปาอินทร์ กรรมการสองในสี่คนลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของบริษัท

86


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

รายละเอียดเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท รายชื่อ

บริษัทย่อย บริษัทที่เกี่ยวข้อง บริษัท ปริญสิริ บริษัท โกร บริษัท ปริญ บมจ. ชิน บริษัท อำนาจ บริษัท สำนัก บริษัท ซี บริษัท จำกัด (มหาชน) โยธา กรุ๊ป เวนเจอร์ แชทเทิลไลท์ แอนด์ บังคับคดี แอนด์ เอ็ม ส่งเสริม จำกัด จำกัด แอสโซซิเอทส์ ธีรคุปต์ จำกัด วิศวกรรม การค้า เอส จำกัด จำกัด เอ็ม อี จำกัด

นายมงคล เปาอินทร์

/ , X , @

นายสุรพล ขวัญใจธัญญา

/ , $ , @

นายศิวะรักษ์ พินิจารมณ์

/ , $ , @

นายอำนาจ งามสุริยโรจน์

/ , $ , @

นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย

/ , // , O

นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล

/ , // , O

นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย

/ , // , O

นายสกล เปาอินทร์

/ , // , O

นางมุกดา อาริยวัฒน์

/ , @

นายนำชัย วนาภานุเบศ

/ , // , O

นางสาวนิภา อภิรัตนรุ่งเรือง

หมายเหตุ :

O

O /

/ / /

/

O

/

/ = กรรมการ X = ประธานกรรมการ // = กรรมการบริหาร O = ผู้บริหาร $ = กรรมการตรวจสอบ @ = กรรมการอิสระ

รายละเอียดเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 รายชื่อ บริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย

/ , //

นายนำชัย วนาภานุเบศ

/ , //

นางสาวนิภา อภิรัตนรุ่งเรือง

/ , //

/

นางอรฤดี ณ ระนอง

/ , //

นายธนพล ศิริธนชัย

/ , //

นายฐิติวัชร์ ไชยธนวัฒน์ นางไพลิน วิเชษฐวิชัย หมายเหตุ : / = กรรมการ // = กรรมการบริหาร

/ /

87


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

ค่าตอบแทนผู้บริหาร

ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัท ค่าตอบแทนคณะกรรมการของบริษัทประกอบด้วย ค่าเบี้ยประชุม และค่าบำเหน็จ กรรมการ ในปี 2548 และปี 2549 บริษัทมีค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทจำนวน 2,080,000 บาท และ 1,850,000 บาท ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ รายชื่อ

ปี 2548

ปี 2549

ค่าเบี้ยประชุม บำเหน็จกรรมการ ค่าเบี้ยประชุม บำเหน็จกรรมการ 1. นายมงคล เปาอินทร์

145,000

200,000

100,000

200,000

2. นายสุรพล ขวัญใจธัญญา

245,000

200,000

200,000

200,000

3. ร้อยตำรวจโทศิวะรักษ์ พินิจารมณ์

245,000

125,000

200,000

125,000

4. นายอำนาจ งามสุริยโรจน์

245,000

125,000

200,000

125,000

5. นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย

12,500

50,000

10,000

50,000

6. นายชัยวัฒน์ โกวิทจินดาชัย

12,500

50,000

10,000

50,000

7. นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล

12,500

50,000

10,000

50,000

8. นางมุกดา อาริยวัฒน์

145,000

100,000

100,000

100,000

9. นายนำชัย วนาภานุเบศ

5,000

50,000

10,000

50,000

12,500

50,000

10,000

50,000

1,080,000

1,000,000

850,000

1,000,000

10. นายสกล เปาอินทร์ รวม ค่าตอบแทนผู้บริหาร

ค่าตอบแทน

ปี 2548

ปี 2549

จำนวนราย ค่าตอบแทน (บาท) จำนวนราย ค่าตอบแทน (บาท)

88

เงินเดือนรวม

5

6,400,000

6

8,640,000

โบนัสรวม

5

1,800,000

6

2,000,000

รวม

5

8,200,000

6

10,640,000


โครงสร้างการถือหุ้น และการจัดการ

ค่าตอบแทนอื่น -ไม่มี-

บุคลากร

จำนวนบุคลากร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทมีพนักงานทั้งสิ้น 240 คน ซึ่งไม่รวมกรรมการ และผู้บริหาร โดยแบ่งจำนวนพนักงานตามสายงานได้ดังนี้ สายงาน จำนวน (คน) สายงานอำนวยการ 10 สายงานขายและการตลาด 58 สายงานบริหารกลุ่มโครงการ 117 สายงานบัญชีและการเงิน 17 สายงานลูกค้าสัมพันธ์ 15 สายงานพัฒนาองค์กร 23 รวม 240 ทั้งนี้ในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา บริษัทไม่มีข้อพิพาทด้านแรงงานใด ๆ ค่าตอบแทนพนักงาน ค่าตอบแทนรวมของพนักงานซึ่งรวมค่าตอบแทนที่เข้าออกระหว่างปี โดยบริษัทมีการจ่ายค่า ตอบแทนในรูปของเงินเดือน ค่าจ้าง และโบนัส สำหรับปี 2548 มีพนักงานทั้งสิ้นจำนวน 189 คน จำนวนประมาณ 46.47 ล้านบาท และสำหรับปี 2549 มีพนักงานทั้งสิ้นจำนวน 240 คน จำนวนประมาณ 66.39 ล้านบาท นโยบายการพัฒนาบุคลากร บริษัทมีนโยบายการพัฒนาบุคลากร โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรในด้านความรู้ความ สามารถในการปฏิบัติงาน และรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทำงานกับบริษัทในระยะยาว มีความก้าวหน้าใน อาชีพ โดยได้มีการจัดอบรมทั้งในและนอกสถานที่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งบริษัทมีการจัดทำแผนการฝึกอบรมขึ้นทุกปีโดยจะ สำรวจความต้องการในการฝึกอบรมของบุคลากรทุกระดับในแต่ละฝ่าย และจะคำนึงถึงการจัดการฝึกอบรมให้เหมาะสม กับงานในแต่ละสายงาน โดยจะมีการฝึกอบรมในหลักสูตรปกติและโครงการพิเศษสำหรับพนักงานทั่วไปและผู้บริหาร

89


f

riendship

90


การกำกับดูแลกิจการ

91


การกำกับดูแลกิจการ

บริษัทมีเจตนารมณ์ที่มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) หรือบรรษัทภิบาล ตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดี ระเบียบข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย และระเบียบข้อบังคับของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ความเจริญเติบโต และเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียอื่น จากความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มมูลค่า และส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่ง ยืนของบริษัท โดยแสดงให้เห็นถึงการมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความ เชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย บริษัทจึงได้กำหนดเป็นนโยบาย และ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2547 อีกทั้งได้จัดทำเป็นเอกสารคู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเอกสารคู่มือ จรรยาบรรณ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติของทุกคนในองค์กร สำหรับการดำเนินการด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. เป้าหมายของนโยบายการกำกับดูแลกิจการ คณะกรรมการบริษัท ให้ความสำคัญในการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะ เรื่องอีกจำนวน 2 คณะ ในการช่วยกลั่นกรองงานที่มีความสำคัญภายใต้หลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี ได้แก่ คณะ กรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยคณะกรรมการเฉพาะเรื่องในทุกคณะประกอบด้วยผู้ทรง คุณวุฒิที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 และตามประกาศคณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กจ. 12/2543 และมีการกำหนดบทบาทอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ไว้อย่างชัดเจนในทุกคณะ ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบรับผิดชอบในการดำเนินการ เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีด้วย โดยมีขอบข่ายในการดำเนินงานดังนี้ 1. เสนอแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ต่อคณะกรรมการบริษัท 2. ให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการบริษัท ในเรื่องเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี 3. กำกับดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการและฝ่ายจัดการของบริษัท เพื่อให้เป็นไปตามหลักการ กำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท 4. ทบทวนแนวทางหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท โดยเปรียบเทียบกับแนวปฏิบัติของ หลักสากล และเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการบริษัท ได้กำหนดเป้าหมายของนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท ไว้ดังนี้ “บริษัท มุ่งเน้นให้การดำเนินกิจการเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง มีความโปร่งใสและเป็นธรรม รวมทั้งให้ความสำคัญต่อระบบการตรวจสอบและควบคุมภายในการบริหารความเสี่ยง และการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียง พออันจะส่งผลให้กิจการมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และเป็นการเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้กรอบของกฎหมายและจริยธรรมทางธุรกิจ” นอกจากนี้ บริษัทได้มีการรณรงค์ส่งเสริมความสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักการกำกับดูแลกิจการ ที่ดีอย่างจริงจัง โดยมีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์นโยบายและความรู้เกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัท ผ่านเอกสารคู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเอกสารคู่มือจรรยาบรรณ ทั้งนี้บริษัทยังทำการประชาสัมพันธ์ผ่าน Intranet และ Web Site ของบริษัทเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พนักงานทุกคนใน

92


การกำกับดูแลกิจการ

องค์กร และเป็นการเผยแพร่ให้กับผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือนำ ไปใช้อ้างอิงได้ 2. สิทธิของผู้ถือหุ้น บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญถึงสิทธิของผู้ถือหุ้น โดยการดำเนินการและส่งเสริมให้ผู้ถือหุ้นได้ใช้สิทธิ ของตน อีกทั้งยังคอยกำกับดูแลให้ผู้ถือหุ้นได้รับการปฏิบัติและปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกันด้วย การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น บริษัทกำหนดให้มีการประชุมปีละครั้ง ภายในเวลาไม่เกิน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นสุดรอบปีบัญชีของบริษัท ในกรณีที่มีเรื่องสำคัญเร่งด่วน ที่ต้องได้รับการพิจารณาจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทก็อาจจัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเป็นกรณีไป ซึ่งในการจัดประชุมผู้ถือหุ้นนั้น บริษัทจะจัดส่งเอกสารเชิญ ประชุมที่มีรายละเอียดวาระการประชุม พร้อมทั้งเอกสารประกอบการประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น และทำการลงประกาศเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์รายวัน ก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้นไม่น้อย กว่า 3 วัน ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละ 1 ฉบับ ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเผยแพร่ ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเชิญประชุมที่มีรายละเอียดวาระการประชุม พร้อมทั้งเอกสารประกอบการประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้น เป็นการล่วงหน้าก่อนที่จะจัดส่งเอกสาร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้มีเวลาศึกษาข้อมูลประกอบการประชุมล่วงหน้าอย่าง เพียงพอก่อนได้รับข้อมูลในรูปแบบเอกสารจากบริษัท บริษัทจึงจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวไว้ในเว็ปไซด์ (Web Site) ของบริษัทในส่วนของนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นยังสามารถเสนอวาระเข้าสู่ที่ประชุมผ่านช่องทางเว็ปไซด์ Web Site ของ บริษัทได้ด้วย สำหรับในวันที่จัดการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทจัดให้มีการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน ทุกราย และมีการเปิดรับลงทะเบียนก่อนเวลาประชุม 2 ชั่วโมง และคำนึงถึงสถานที่ และเวลา ที่เหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้น ที่มาร่วมประชุมด้วย ในการดำเนินการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัท บริษัทจะคอยดูแลและให้โอกาสผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันทุก ราย โดยก่อนเริ่มการประชุม ประธานที่ประชุมจะชี้แจงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประชุม ขั้นตอนการออกเสียงลงมติ อย่างชัดเจน ในขณะที่มีการประชุมประธานที่ประชุมจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกรายแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอ แนะ ถามคำถามในแต่ละวาระ โดยให้เวลาในการอภิปรายอย่างเพียงพอและเหมาะสม ในการชี้แจงและการตอบคำถาม ประธานที่ประชุมและผู้บริหารจะให้ความสำคัญในทุกประเด็นโดยตอบข้อซักถามอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา สำหรับ การลงมติโดยการนับคะแนนเสียงบริษัทจัดให้มีวิธีการตามแนวทางสากลและเน้นความโปร่งใส มีการบันทึกการประชุม อย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งได้จัดเก็บรายงานการประชุมอย่างเป็นระเบียบเพื่อ ง่ายและสะดวกต่อการตรวจสอบ นอกจากนี้บริษัทมีหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเปิด เผยข้อมูลและสารสนเทศของบริษัทต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ ผู้สื่อข่าว และประชาชนทั่วไปที่สนใจในหลักทรัพย์ ของบริษัท อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สม่ำเสมอ ทันเวลา โปร่งใส และเท่าเทียมกัน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกสำหรับ ข้อมูลและสารสนเทศของบริษัท เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท งบการเงิน รายงานประจำปี หนังสือเชิญประชุม สารสนเทศ ที่บริษัทแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ และกิจกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์ เป็นต้น บริษัทจึงได้เผยแพร่ไว้ในเว็ปไซด์ (Web Site) ของบริษัทในส่วนของนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นยังสามารถ ติดต่อกับหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) ได้โดยตรง หรือผ่านทางเว็ปไซด์ (Web Site) ของบริษัทได้ อีกด้วย 93


การกำกับดูแลกิจการ

3. สิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บริษัทจะให้ความสำคัญและเคารพต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินกิจการ เช่น ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า คู่แข่ง เจ้าหนี้ และชุมชน เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการบริษัทได้กำหนดเป็นนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณของบริษัทไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้ทุกคนในองค์กรยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงาน โดย สามารถสรุปความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้ - พนักงาน : บริษัทได้ปฏิบัติกับพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน และให้ผลตอบแทนที่เป็น ธรรมและเหมาะสม - คู่ค้าและเจ้าหนี้ : บริษัทปฏิบัติต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้อย่างเป็นธรรม และเป็นไปตามเงื่อนไข ทางการค้า ตามสัญญาที่ตกลงทำร่วมกัน - ลูกค้า : บริษัทเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อลูกค้า โดยผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและ มาตรฐาน และสามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าได้เป็นอย่างดี โดย เน้นให้ความสำคัญถึงคุณภาพสินค้า การบริการ และราคาที่เหมาะสม - คู่แข่งขัน : บริษัทปฏิบัติตามกรอบกติกาการแข่งขันที่ดี เพื่อรักษาบรรทัดฐานของข้อ พึงปฏิบัติในการแข่งขัน - ชุมชน : บริษัทให้ความใส่ใจเป็นอย่างมากกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยรับผิดชอบ และดูแลมิให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของชุมชนและสังคม 4. การประชุมผู้ถือหุ้น การประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทในปี 2549 ที่ผ่านมา มีการจัดประชุมผู้ถือหุ้น 1 ครั้ง โดยเป็นการประชุม สามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2549 ประจำปี 2549 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2549 ในการประชุมครั้งนี้บริษัท ได้จัดส่งหนังสือ เชิญประชุมที่มีรายละเอียดวาระการประชุม ความเห็นของคณะกรรมการ รายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมา รายงาน ประจำปี เอกสารประกอบการชุม เอกสารที่ต้องใช้ในการมอบฉันทะและระบุวิธีการไว้ชัดเจน โดยจัดส่งให้แก่ผู้ถือหุ้นล่วง หน้าก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นเกิน 7 วัน ซึ่งบริษัทได้จัดส่งให้กับผู้ถือหุ้นทุกรายที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท และทำการลงประกาศเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์รายวัน ก่อนวันประชุมผู้ ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 วัน ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างละ 1 ฉบับ ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน รวมทั้งได้แต่งตั้ง กรรมการอิสระเป็นผู้รับมอบฉันทะแทนผู้ถือหุ้นในกรณีที่ผู้ถือหุ้นประสงค์จะมอบฉันทะให้กรรมการอิสระเป็นผู้เข้าประชุม แทน ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นสามารถเลือกมอบฉันทะให้บุคคลอื่นใด หรือจะเป็นกรรมการอิสระตามที่ได้รับแต่งตั้งเข้าประชุมแทนได้ สำหรับการประชุมผู้ถือหุ้นในปี 2550 บริษัทจะดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเชิญประชุมที่มี รายละเอียดวาระการประชุม พร้อมทั้งเอกสารประกอบการประชุมให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นการล่วงหน้าก่อนที่จะจัดส่งเอกสาร ผ่านทางเว็ปไซด์ (Web Site) ของบริษัทในส่วนของนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) ทั้งภาษาไทยและภาษา อังกฤษ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น และดำเนินการเปิดให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอวาระเข้าสู่ที่ ประชุมผ่านช่องทางเว็ปไซด์ Web Site ของบริษัทได้อีกด้วย ในการประชุมผู้ถือหุ้นในปี 2549 ที่ผ่านมา มีกรรมการเข้าร่วมประชุมรวมทั้งสิ้น 10 ท่าน ประกอบด้วย คณะกรรมการบริษัททั้งหมด โดยประธานกรรมการบริษัททำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งได้แจ้งรายละเอียด ขององค์ประชุม อธิบายวีธีการลงคะแนน การนับคะแนน การใช้บัตรลงคะแนน และเปิดเผยผลการนับคะแนนแต่ละวาระ

94


การกำกับดูแลกิจการ

อย่างชัดเจน โปร่งใส รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าประชุมซักถาม แสดงความคิดเห็น โดยให้เวลาอย่างเหมาะสมและเพียง พอ สำหรับการตอบคำถามของกรรมการและผู้บริหารมีความชัดเจนตรงประเด็น ทั้งนี้การดำเนินการประชุมเป็นไปอย่าง ครบถ้วนและถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ถือหุ้น โดยมีการเปิดรับลงทะเบียน ก่อนเวลาประชุม 2 ชั่วโมง และต่อเนื่องไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นการประชุม มีการจัดของว่างเพื่อเลี้ยงรับรองผู้ถือหุ้น ใช้ เวลาประชุมประมาณ 1.30 ชั่วโมง มีการบันทึกการประชุมอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งได้จัดเก็บรายงานการประชุมอย่างเป็นระเบียบเพื่อง่ายและสะดวกต่อการตรวจสอบ ภายหลังการประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นสามารถเข้าดูรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นได้จากทางเว็ปไซด์ (Web Site) ของบริษัทในส่วนของนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) 5. ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ คณะกรรมการบริษัท ประกอบไปด้วยผู้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ ในการ ดำเนินการของคณะกรรมการบริษัทจะยึดหลักการตามกฏหมาย ข้อบังคับ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และตั้งอยู่ในความซื่อสัตย์ สุจริต ความมีจรรยาบรรณและจริยธรรม คณะกรรมการของบริษัทมีบทบาทสำคัญในการกำหนด วิสัยทัศน์ ภารกิจ และพิจารณาให้ความเห็นชอบ ทิศทางการดำเนินธุรกิจ นโยบาย กลยุทธ์ เป้าหมาย เพื่อให้ฝ่ายบริหารนำไปใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนธุรกิจ แผนงบ ประมาณประจำปี และกำกับดูแลให้การบริหารงานของฝ่ายจัดการเป็นไปตามนโยบาย เป้าหมาย แผนธุรกิจที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรและผู้ถือหุ้น ในปีที่ผ่านมาคณะกรรมการบริหารได้นำเสนอแผนธุรกิจประจำปี และ งบประมาณประจำปี ต่อคณะกรรมการบริษัทโดยมีการอภิปรายและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งคณะกรรมการบริษัท ได้พิจารณาให้ข้อคิดเห็นเพื่อการปรับปรุงและได้พิจารณาอนุมัติแล้ว 6. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัทให้ความสำคัญในนโยบายเกี่ยวกับความขัดแย้งทางประโยชน์ โดยได้กำหนดนโยบายที่ห้ามมิให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวที่ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัท ทั้งนี้บริษัทยังได้ กำหนดเป็นส่วนหนึ่งในจรรยาบรรณที่สำคัญให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด คณะกรรมการได้ดูแลเรื่องรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างรอบคอบ รวมทั้งการดูแล เรื่องการใช้ข้อมูลภายในของบริษัทเพื่อประโยชน์ส่วนตัวดังนี้ 1. รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการได้ทราบถึงรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ในการทำรายการที่ อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ คณะกรรมการจะพิจารณาความเหมาะสมอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ ของบริษัทเป็นหลัก โดยหากบริษัทมีรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยขน์ บริษัทจะนำเสนอต่อคณะกรรมการ ตรวจสอบเพื่อพิจารณาให้ความเห็นรายการดังกล่าว และนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาต่อไป ทั้งนี้บริษัทจะ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างเคร่งครัด 2. การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทได้มีนโยบายห้ามมิให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัท นำข้อมูลของบริษัทไปใช้ไม่ ว่าทางตรงหรือโดยทางอ้อมเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ตามรายละเอียดในเรื่องการดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน

95


การกำกับดูแลกิจการ

ในการประชุมคณะกรรมการบริษัททุกครั้ง ประธานกรรมการจะแจ้งต่อที่ประชุมให้ปฏิบัติตามนโยบาย เกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยในระเบียบวาระใดที่กรรมการเกี่ยวข้องหรือมีส่วนได้ส่วนเสีย ขอให้ กรรมการแจ้งต่อที่ประชุมเพื่องดออกเสียงหรือให้ความเห็นใด ๆ คณะกรรมการตรวจสอบจะพิจารณาความเหมาะสม ความสมเหตุสมผลของรายการที่เกี่ยวโยงกัน รายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอย่างรอบคอบ ก่อนนำเสนอ ให้คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ โดยกำหนดในรายงานและเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในทุก ๆ ไตรมาส รวมทั้งมีการเปิดเผย ข้อมูลไว้ในรายงานประจำปี และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี 7. จริยธรรมธุรกิจ บริษัทตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างระบบคุณธรรม และจริยธรรมอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน จึงได้จัด ให้มีการจัดทำจรรยาบรรณของบริษัทขึ้น ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2547 เพื่อใช้เป็นข้อพึงปฏิบัติสำหรับ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในการปฏิบัติตนและปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเป็นธรรม ซึ่งเป็นการสร้าง ความเติบโตที่ยั่งยืนให้แก่องค์กร โดยจรรยาบรรณดังกล่าวนี้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนจะต้องยึดถือและ ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด อีกทั้งบริษัทมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ ผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่ปรึกษา และคู่ค้า เป็นต้น นำจรรยาบรรณเหล่านี้ไปใช้อย่างกว้างขวางเช่นกัน บริษัทได้นำจรรยาบรรณของบริษัทที่จัดจำขึ้นเผยแพร่ให้กับ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน อย่างทั่วถึง ทั้งยังได้เผยแพร่ผ่านระบบ Intranet และเว็ปไซด์ (Web Site) ของบริษัทในส่วนของนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) ด้วย 8. การถ่วงดุลกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร บริษัทมีการถ่วงดุลกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร โดยไม่ให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีอำนาจในการตัดสินใจ แต่งเพียงบุคคลเดียวหรือกลุ่มเดียว เพื่อเป็นการสร้างกลไกการถ่วงดุลและให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยบริษัทมีคณะกรรมการทั้งสิ้นจำนวน 10 ท่าน รายละเอียดเป็นดังนี้ - กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 5 ท่าน - กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 5 ท่าน บริษัทมีกรรมการอิสระทั้งหมด 5 ท่าน และเป็นกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารทั้งหมด ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 50 ของกรรมการทั้งหมด โดยกรรมการอิสระสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของผู้ถือหุ้นได้อย่างเป็นอิสระ ซึ่งถือได้ว่ามีการถ่วงดุลที่เหมาะสม 9. การรวมหรือแยกตำแหน่ง บริษัทมีการแยกอำนาจหน้าที่และตำแหน่งของผู้บริหารอย่างชัดเจน โดยประธานกรรมการและประธาน คณะกรรมการบริหารมิได้เป็นบุคคลคนเดียวกัน มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่อย่างชัดเจน เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอำนาจโดยไม่จำกัด

96


การกำกับดูแลกิจการ

10. ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร บริษัทได้กำหนดนโยบายค่าตอบแทนกรรมการของบริษัทไว้อย่างชัดเจน และโปร่งใสโดยค่าตอบแทนอยู่ใน ระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับอุตสาหกรรม รวมทั้งอยู่ในระดับที่เพียงพอที่จะพึงดูดและรักษากรรมการที่มีคุณสมบัติ ที่ต้องการได้ และต้องผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น ค่าตอบแทนผู้บริหาร บริษัทจัดให้เป็นไปตามหลักการและนโยบายที่คณะกรรมการบริษัทกำหนด ซึ่งเชื่อม โยงกับผลการดำเนินงานของบริษัทและผลการดำเนินงานของผู้บริหารแต่ละท่าน ปัจจุบันบริษัทยังไม่มีการแต่งตั้งคณะ อนุกรรมการกำหนดค่าตอบแทน แต่มีกระบวนการพิจารณาค่าตอบแทนที่เหมาะสมโดยใช้ข้อมูลค่าตอบแทนของบริษัทใน อุตสาหกรรมเดียวกันและมีขนาดใกล้เคียงกัน รวมทั้งใช้ผลประกอบการของบริษัทมาประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ในปี 2549 บริษัทได้กำหนดค่าตอบแทนกรรมการของบริษัทซึ่งผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยเป็นค่าเบี้ยประชุมและบำเหน็จกรรมการ รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 2,480,000 บาท ในส่วนของกรรมการที่ เป็นผู้บริหารจะมีสิทธิได้รับผลตอบแทนในฐานะผู้บริหารในรูปของเงินเดือน และโบนัสอีกส่วนหนึ่งด้วย รายละเอียดค่า ตอบแทนกรรมการและผู้บริหารโปรดดูในหัวข้อ 9.3 เรื่องค่าตอบแทนผู้บริหาร 11. การประชุมคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทมีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง โดยมีการกำหนดวาระอย่าง ชัดเจน และมีวาระพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานเป็นประจำ บริษัทจะออกหนังสือเชิญประชุมพร้อมระเบียบวาระ การประชุมและเอกสารก่อนการประชุมล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้คณะกรรมการได้มีเวลาศึกษาข้อมูลอย่างเพียง พอ ก่อนเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท จะแจ้งการนัดประชุม โดยวิธีอื่นและกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้น การประชุมแต่ละครั้งจะใช้เวลาอย่างต่ำประมาณ 2 ชั่วโมง โดยในการประชุมจะเปิดโอกาสให้กรรมการ ทุกคนอภิปราย แสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยและเสรี โดยมีประธานคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้ประมวลความเห็นและ ข้อสรุปที่ได้จากที่ประชุม ในกรณีที่กรรมการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องที่กำลังพิจารณาจะต้องออกจากที่ประชุมในเรื่องนั้น ๆ มีการจัดทำบันทึกการประชุมทุกครั้งภายหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม และมีการจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการ รับรองแล้วจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทอย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้กรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องสะดวกและง่ายต่อการ ตรวจสอบ ในปี 2549 คณะกรรมการบริษัท มีการประชุมวาระปกติจำนวน 4 ครั้ง รายละเอียดการเข้าร่วมประชุม ของกรรมการแต่ละท่านโปรดดูในเรื่องโครงสร้างการจัดการ 12. คณะอนุกรรมการ เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการ เฉพาะเรื่องอีกจำนวน 2 คณะ เพื่อช่วยกลั่นกรองงานที่มีความสำคัญ ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง โดยมีอำนาจหน้าที่ตามรายละเอียดในเรื่องคณะกรรมการตรวจสอบ และในเรื่องคณะกรรมการบริหาร ความเสี่ยง ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ ดูแลในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี ของบริษัทด้วย โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้

97


การกำกับดูแลกิจการ

1. เสนอแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีต่อคณะกรรมการบริษัท 2. ให้คำแนะนำแก่คณะกรรมการบริษัทในเรื่องเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี 3. กำกับดูแลการปฏิบัติงานของกรรมการ และฝ่ายจัดการเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแล กิจการที่ดี 4. ทบทวนหลักการและแนวทางในการกำกับดูแลกิจการที่ของบริษัท โดยเปรียบเทียบกับแนว ปฏิบัติของสากล เพื่อการพัฒนาและปรับปรุง โดยเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริษัท 13. ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน บริ ษั ท ให้ ค วามสำคั ญ ต่ อ ระบบควบคุ ม ภายในทั้ ง ในระดั บ บริ ห าร และระดั บ ปฏิ บั ติ ง านเพื่ อ ให้ มี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ได้กำหนดภาระหน้าที่ อำนาจการดำเนินการของผู้ปฏิบัติงาน คณะกรรมการ คณะผู้บริหาร ไว้เป็น ลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน มีการควบคุมดูแลการใช้ทรัพย์สินของบริษัทให้เกิดประโยชน์ และมีการแบ่งแยกหน้าที่ผู้ ปฏิบัติงานผู้ติดตามควบคุมและประเมินผลออกจากกัน เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลและตรวจสอบระหว่างกันอย่างเหมาะสม จัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพและระบบการบริหารความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและครอบคลุม ทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้าน การบริหาร (Management Control), การเงิน (Financial Control) และการปฏิบัติการ (Operational Control) พร้อมทั้งมีการติดตามและประเมินผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ความมั่นใจว่าระบบที่วางไว้ สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่สอบทานในการปฏิบัติตามระบบควบคุม ภายใน บริษัทได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีบทบาทหน้าที่บริหารความเสี่ยงในภาพรวมของทั้ง องค์กร ประเมินความเสี่ยง และวางรูปแบบโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ทั้งนี้เพื่อจัดการความเสี่ยงให้อยู่ ในระดับที่สามารถยอมรับได้และเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks), ความเสี่ยงในการ ปฏิบัติงาน (Operation Risks), ความเสี่ยงในธุรกิจ (Business Risks) และความเสี่ยงในเหตุการณ์ (Event Risks) เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดทำการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น แนวโน้มซึ่งมีผลกระทบต่อบริษัททั้งภายใน และภายนอก และจัดให้มีการจัดทำรายงานประเมินผลความเสี่ยง (Risk Management Report) เสนอต่อคณะ กรรมการบริษัท บริษัทให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงอย่างจริงจัง คณะกรรมการบริษัทได้ประกาศนโยบายการ บริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้จัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรขึ้น เพื่อให้ทุกหน่วยงานของบริษัทใช้เป็นแนวทางในการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยง และในปี 2549 บริษัทมีการจัด อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงให้กับพนักงานทุกคนของบริษัทด้วย บริษัทมีฝ่ายตรวจสอบภายใน โดยว่าจ้างผู้ตรวจสอบภายในอิสระ (Out Source) เป็นผู้ดำเนินการทำ หน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติงานหลัก และกิจกรรมทางการเงินที่สำคัญของบริษัทได้ดำเนินการตามแนวทาง ที่กำหนดและมีประสิทธิภาพ รวมถึงตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับบริษัท และเพื่อให้ หน่วยงานตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลได้อย่างเต็มที่ คณะกรรมการจึง กำหนดให้ฝ่ายตรวจสอบภายในรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และได้รับการประเมินผล งานจากคณะกรรมการตรวจสอบด้วย

98


การกำกับดูแลกิจการ

14. รายงานของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินของบริษัท และสารสนเทศทางการเงินที่ปรากฏใน รายงานประจำปีของบริษัท ทั้งนี้งบการเงินดังกล่าวจัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่ได้รับการรับรองทั่วไปในประเทศ ไทย โดยเลือกใช้นโยบายที่เหมาะสมและถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวัง รวมทั้งมีการเปิดเผย ข้อมูลที่สำคัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน คณะกรรมการบริษัทได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อทำหน้าที่สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการ เงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ มีระบบการควบคุมภายใน และการตรวจสอบอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยคณะ กรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพของรายงานทางการ เงินและระบบควบคุมภายใน คณะกรรมการมีความเห็นว่าระบบควบคุมภายในของบริษัทโดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถ สร้างความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลต่อความเชื่อถือได้ของงบการเงินของบริษัท 15. ความสัมพันธ์กับผู้ลงทุน คณะกรรมการบริษัทตระหนักดีกว่าข้อมูลของบริษัททั้งที่เกี่ยวกับการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน ล้วนมีผล กระทบต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัท บริษัทจึงมีนโยบายให้ฝ่ายบริหารดำเนินการ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลที่ครบถ้วน ตรงต่อความเป็นจริง เชื่อถือได้ สม่ำเสมอ ทันต่อเวลา และเป็นไปตาม กฏหมาย ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ ที่ เ กี่ ย วกั บ การเปิ ด เผยของมู ล ของสำนั ก งานคณะกรรมการกำกั บ หลั ก ทรั พ ย์ แ ละ ตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งฝ่ายบริหารของบริษัทได้ให้ความสำคัญและจะยึดถือปฏิบัติ นอกเหนือจากการเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะ กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้ว บริษัทได้จัดตั้งหน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) ขึ้น โดยเป็นศูนย์กลางเพื่อดูแลเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทกับ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน นักวิเคราะห์ ผู้สื่อข่าว และ ประชาชนทั่วไปที่สนใจในหลักทรัพย์ของบริษัท โดยในปี 2549 บริษัทมีกิจกรรมในการนำเสนอข้อมูลของบริษัททั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้ การนำ เสนอข้อมูลแก่นักลงทุน (Road Show) ภายในประเทศจำนวน 6 ครั้ง การประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting) จำนวน 8 ครั้ง นักลงทุนรายย่อยขอเข้าพบผู้บริหารและรับฟังข้อมูลบริษัท จำนวน 1 ครั้ง การเยี่ยมชมกิจการ (Site Visit) จำนวน 3 ครั้ง จัดนำเสนอข้อมูลให้กับนักลงทุน ในงานบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุนของตลาดหลักทรัพย์ฯ (Opportunity Day) จำนวน 2 ครั้ง เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ (Press Releases) และสัมภาษณ์ออกรายการโทรทัศน์ เป็นครั้งคราวในกรณีที่บริษัทมีกิจกรรมการลงทุนหรือกิจกรรมทางธุรกิจที่สำคัญ ตลอดจนให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามนัก ลงทุนและสื่อมวลชนที่ติดต่อทางจดหมายอีเล็คโทรนิคส์ (E-mail) และโทรศัพท์อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้บริษัทมีบริการข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ผลการดำเนินงาน งบการเงิน ข่าวบริษัท ข้อมูลหลักทรัพย์ กิจกรรมหลักทรัพย์ รายงานประจำปี หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น รายงานการประชุม และข้อมูล ต่าง ๆ ผ่านทางเว็ปไซด์ (Web Site) www.prinsiri.com ในส่วนของนักลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) โดยมีการ ปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่ตลอด

99


pf

riendship eaceful

100


การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน

101


การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน

บริษัทมีนโยบายห้ามกรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลากรของบริษัท ใช้ข้อมูลภายในที่มีสาระสำคัญของบริษัท ซึ่งยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนเพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น รวมถึงการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท โดยมีวิธีการ ป้องกันการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ของผู้บริหารและบุคลากรของบริษัท ดังนี้ 1. ดำเนินการแจ้งให้กรรมการ และผู้บริหาร ที่มีหน้าที่ในการรายงานการถือหลักทรัพย์ในบริษัท ตามมาตรา 59 เพื่อให้เป็นไปตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ที่ สจ.14/2540 เรื่องการจัดทำและเปิดเผยรายงานการถือหลักทรัพย์ และบทกำหนดโทษตามมาตรา 275 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 2. ดำเนินการส่งหนังสือเวียนแจ้งให้ผู้บริหารทราบว่า ผู้บริหารของบริษัทที่ได้รับทราบข้อมูลที่ เป็นสาระสำคัญ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ ต้องไม่ใช้ประโยชน์จากข้อมูลก่อน ที่จะเปิดเผยสู่สาธารณชน โดยกำหนดให้ผู้บริหารห้ามทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทเป็น ระยะเวลา 1 เดือน ก่อนที่งบการเงินหรือข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญจะเปิดเผยสู่สาธารณชน และห้ามมิให้เปิดเผยข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญนั้นต่อบุคคลอื่น 3. บริษัทกำหนดให้มีการป้องกันการนำข้อมูลของบริษัทไปใช้ โดยกำหนดให้ไม่ให้หน่วยงานที่รู้ ข้อมูลนำไปเปิดเผยยังหน่วยงานหรือบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการควบคุมดูแลและตรวจสอบการดำเนินการดังกล่าว บริษัทมีนโยบายให้กรรมการ และผู้บริหาร ที่มีหน้าที่จัดทำรายงานการถือครองและการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ตามมาตรา 59 แจ้งให้คณะกรรมการบริหาร ของบริษัททราบ ในวันเดียวกับที่ส่งรายงานถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทมิได้ กำหนดบทลงโทษในกรณีที่ผู้บริหารไม่รายงานการถือครองหลักทรัพย์ แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทได้แจ้งให้ผู้บริหารทราบถึง บทลงโทษตามมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กรณีที่ฝ่าฝืนหรือไม่นำส่ง รายงานการถือหลักทรัพย์ ทั้งนี้บริษัทยังให้ความสำคัญเกี่ยวกับการดูแลการใช้ข้อมูลภายใน โดยได้กำหนดเป็นส่วนหนึ่งของ จรรยาบรรณที่สำคัญให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด

102


การดูแลเรื่องการใช้ข้อมูลภายใน

103


s

ecure

104


การควบคุมภายใน

105


การควบคุมภายใน

บริษัทให้ความสำคัญต่อการควบคุมภายในเป็นอย่างมาก โดยคณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะ กรรมการตรวจสอบ สอบทานการประเมินระบบการควบคุมภายใน โดยมุ่งเน้นระบบการควบคุมภายในที่มีความเพียง พอและเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน รวมทั้งการใช้ทรัพยากร การ ดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกัน หรือลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลือง การทุจริต ระบบบัญชี และรายงานทางการเงินที่มีความถูกต้องเชื่อถือได้ รวมทั้งการปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินธุรกิจของบริษัท บริษัทมีฝ่ายตรวจสอบภายใน โดยว่าจ้างผู้ตรวจสอบภายในอิสระ (Out Source) เป็นผู้ดำเนินการทำหน้าที่ ตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่า หน่วยงานตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลได้อย่าง เต็มที่ รวมทั้งคณะกรรมการได้กำหนดให้ฝ่ายตรวจสอบภายในรายงานผลการตรวจสอบโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจ สอบ ในปี 2549 คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานการประเมินการควบคุมภายใน ซึ่งจัดทำโดยฝ่ายตรวจสอบ ภายใน ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ 1. องค์กรและสภาพแวดล้อม ผู้บริหารและบุคคลากรมีทัศนคติที่ดีและเอื้อต่อการควบคุมภายใน ผู้บริหารให้ความสำคัญกับ การมีศีลธรรม จรรยาบรรณ และความซื่อสัตย์ มีการมอบอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และจำนวนผู้ปฏิบัติงาน เหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ นโยบายด้านบุคลากรเหมาะสมในการจูงใจและสนับสนุนผู้ปฏิบัติงาน โดยภาพรวมองค์กรและ สภาพแวดล้อมของบริษัทเหมาะสม และมีส่วนทำให้การควบคุมภายในมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2. การบริหารความเสี่ยง บริษัทได้กำหนดนโยบายและแนวทางในการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้การบริหารความเสี่ยง อย่างมีระบบตามหลักการสากล โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงของบริษัทในภาพรวม ทั่วทั้งองค์กร คลอบคลุมความเสี่ยงทางการบริหาร การเงิน การประกอบธุรกิจ การปฏิบัติการ การบริหารและการ จัดการความปลอดภัยชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม และความสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของบริษัท คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ระบุความเสี่ยงในระดับองค์กรและครอบคลุมทุกกิจกรรมที่สำคัญ และได้จัดทำแผน ในการบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานการบริหารความเสี่ยง ในทุก ๆ ไตรมาส เพื่อกำกับดูแลในการบริหารจัดการความเสี่ยงและป้องกันความเสียหายทีอาจจะเกิดขึ้น หรือการเสีย โอกาสทางธุรกิจ 3. การควบคุมปฏิบัติการ บริษัทมีการควบคุมการปฏิบัติการที่เหมาะสม เพียงพอ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดย กำหนดให้มีนโยบายระเบียบปฏิบัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร ระบุการดำเนินงานในส่วนที่มีความเสี่ยงที่สำคัญ และกำหนด กลไกในการควบคุมเพื่อป้องกันและลดข้อผิดพลาด มีการสอบทานผลการดำเนินงานโดยฝ่ายบริหาร และมีดัชนีวัดผล การดำเนินงานกับพนักงานทั้งองค์กร การควบคุมภายในสำหรับกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การบริหาร การเงิน การบัญชี การจัดซื้อจัด จ้าง และการบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัทมีการควบคุมที่เหมาะสมและเพียงพอ

106


การควบคุมภายใน

4. ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร บริษัทมีระบบข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติงาน การรายงาน ทางการเงินและการดำเนินงาน การปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลสารสนเทศที่ได้จาก ภายนอกองค์กรมีการสื่อสารไปยังผู้บริหาร และผู้ใช้ภายในองค์กรในรูปแบบที่ช่วยให้ผู้รับข้อมูลสารสนเทศปฏิบัติหน้าที่ได้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งระบบสารสนเทศและการสื่อสารของบริษัทมีความเหมาะสมในการดำเนินธุรกิจ 5. ข้อมูลและระบบการติดตาม บริษัทมีการติดตามประเมินผลการควบคุมภายใน และประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานอย่าง ต่อเนื่อง โดยให้ทุกสายงานรายงานผลการดำเนินตามแผนการตรวจสอบ รวมทั้งวัดผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปฏิบัติงานตามปกติของฝ่ายบริหาร ผู้ควบคุมงานและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งมีการ ประเมินผลโดยสำนักตรวจสอบภายในตามแผนการตรวจสอบประจำไตรมาสและประจำปี นอกจากนี้ได้มีคำแนะนำจาก การตรวจสอบงบการเงินโดยผู้สอบบัญชีของบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานผลการดำเนินการบริหาร ความเสี่ยงของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ กรณีพบข้อที่ควรปรับปรุง ได้มีกำหนดวิธีปฏิบัติและติดตามเพื่อให้ความมั่นใจว่าข้อ ตรวจสอบจากการตรวจสอบได้รับการแก้ไข คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานระบบการควบคุมภายใน ซึ่งประเมินโดยฝ่ายตรวจสอบ ภายใน ไม่พบประเด็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เป็นสาระสำคัญ สอดคล้องกับความเห็นของผู้สอบบัญชีของบริษัท ระบบ การควบคุมภายในของบริษัทมีความเพียงพอ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2549 ปี 2549 คณะกรรมการบริษัทได้ประเมิน ความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน คณะกรรมการมีมติเห็นชอบว่า บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอใน ปัจจุบัน กล่าวคือบริษัทมีระบบการควบคุมภายในเรื่องการทำธุรกรรมกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กรรมการ ผู้บริหาร และบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลดังกล่าวอย่างเพียงพอและรัดกุม ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทไม่พบข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับ ระบบการควบคุมภายในแต่อย่างใด ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ และได้รับการ ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายในอิสระ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานของบริษัท

107


a

ppreciate

108


รายการระหว่างกัน

109


รายการระหว่างกัน

มูลค่าและยอดคงค้างของรายการระหว่างกันกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งกัน

บุคคล/นิติบุคคล ที่อาจมีความขัดแย้ง 1. บริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ประกอบกิจการ รับเหมาก่อสร้าง และจำหน่าย วัสดุก่อสร้าง

ลักษณะของ มูลค่ารายการ ยอดคงค้าง (ล้านบาท) รายการระหว่างกัน ระหว่างกัน (ล้านบาท) ณ 31 ธันวาคม 2548 2549 2548 2549 เป็นบริษัทย่อย (1.1) บริษัทฯ ปัจจุบันบริษัท - ซื้อ 52.27 91.45 ถือหุ้นร้อยละ 99.99 (วัสดุก่อสร้าง) ของทุนจดทะเบียน - ซื้อ 73.41 42.41 ชำระแล้ว (รับเหมาก่อสร้าง) - เจ้าหนี้การค้า 14.64 9.14 - เงินประกัน 6.26 6.45 ผลงานรับ - ค้ำประกัน 5.00 วงเงินเบิกเกิน บัญชี

ความสมเหตุสมผลของ รายการระหว่างกัน บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) เข้าถือหุ้นในบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะให้ บริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด เป็นหน่วยธุรกิจหนึ่ง ของบริษัท ในการควบคุมต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้าง สำหรับการพัฒนาโครงการของบริษัท และเพื่อเสริม ศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งนี้บริษัทซื้อวัสดุก่อสร้าง ประเภท ปูน บานประตู ไม้บันใด เหล็ก แผ่นพื้น เป็นต้น และว่าจ้างงานรับเหมาก่อสร้างกับบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด โดยราคาที่ซื้อขายและ ราคารับเหมาก่อสร้าง เป็นราคาที่ใกล้เคียงกับที่บริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ขายให้ผู้รับเหมารายอื่น ๆ ของ บริษัท ทั้งนี้สำหรับวัสดุก่อสร้างบางประเภทที่ขายให้ กับบริษัท จะเป็นราคาที่ต่ำกว่าที่ขายให้กับผู้รับเหมา รายอื่น ๆ ของบริษัทเล็กน้อย เนื่องจากบริษัทดังกล่าว เป็นบริษัทย่อยของบริษัท ในอนาคตคาดว่าจะยังคงมี การซื้อสินค้าอยู่

เจ้าหนี้การค้าดังกล่าวเกิดจากการซื้อตามรายการ ข้างต้น โดยบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ได้ให้ระยะ เวลาในการชำระค่าสินค้าภายในประมาณ 30 – 60 วัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าตามการค้าปกติ

เงินประกันผลงานดังกล่าวเกิดจากการว่าจ้างให้บริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ดำเนินงานก่อสร้าง เช่น งานมุงกระเบี้องหลังคา เป็นต้น ซึ่งเป็นเงินประกันที่ บริษัทรับไว้ตามสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมา และเป็นอัตรา ปกติที่บริษัทรับไว้ตามสัญญา เหมือนกับผู้รับเหมาราย อื่น ๆ ทั่วไปของบริษัท เนื่องจากบริษัทดังกล่าวเป็น บริษัทย่อยของบริษัท ในอนาคตคาดว่าจะยังคงมี รายการดังกล่าวอยู่

คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้วเห็นว่ารายการ ซื้อ เจ้าหนี้การค้า และเงินประกันผลงานรับ ดังกล่าว เป็นการค้าปกติของบริษัท อีกทั้งบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด เป็นบริษัทย่อยของบริษัทอีกด้วย

การค้ำประกันวงเงินเบิกเกินบัญชี เป็นรายการที่เกิดขี้น ในปี 2549 โดยบริษัทนำที่ดินบริเวณซอยแจ่มจันทร์ เนื้อที่ดิน 247 ตารางวา (ปัจจุบันใช้เป็นศูนย์บัญชาการ บริการหลังการขายของบริษัท) ไปค้ำประกันวงเงินเบิก เกินบัญชีให้กับบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด เพื่อ เป็นการเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ประกอบ กับบริษัทย่อยดังกล่าวไม่มีสินทรัพย์ที่จะนำไปค้ำประกัน วงเงินเบิกเกินบัญชีได้ บริษัทจึงนำที่ดินดังกล่าวเข้าค้ำ ประกันให้กับบริษัทย่อยของบริษัท และเนื่องจากบริษัท ดังกล่าว

110

ความสัมพันธ์


รายการระหว่างกัน

บุคคล/นิติบุคคล ที่อาจมีความขัดแย้ง

ความสัมพันธ์

ลักษณะของ มูลค่ารายการ ยอดคงค้าง (ล้านบาท) รายการระหว่างกัน ระหว่างกัน (ล้านบาท) ณ 31 ธันวาคม 2548 2549 2548 2549

ความสมเหตุสมผลของ รายการระหว่างกัน เป็นบริษัทย่อยของบริษัท ในอนาคตคาดว่าจะยังคงมี รายการดังกล่าวอยู่

คณะกรรมการตรวจสอบได้ พิจารณาแล้วเห็นว่า รายการค้ำประกันวงเงินเบิกเกินบัญชีให้กับบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด นั้น เป็นการช่วยเสริม สภาพคล่องให้กับบริษัทย่อย ซึ่งบริษัทย่อยไม่มี สินทรัพย์ที่จะนำไปค้ำประกันเองได้ ประกอบกับ บริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด เป็นบริษัทย่อยที่ บริษัทถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 อีกด้วย (1.2) บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด - ซื้อ (วัสดุก่อสร้าง) - ซื้อ (รับเหมาก่อสร้าง) - เจ้าหนี้การค้า - เงินประกัน ผลงานรับ

-

33.21

-

-

-

9.20

-

-

-

-

-

4.63 0.46

15.94 -

20.62 -

2.91

2.09

เหตุผลและการพิจารณาชองคณะกรรมการตรวจสอบ เหมือนกับในข้อ (1.1) ในส่วนของการซื้อวัสดุก่อสร้าง ว่าจ้างรับเหมาก่อสร้าง เจ้าหนี้การค้า และเงินประกัน ผลงานรับ ทั้งนี้เนื่องจากบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด และบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด เป็นบริษัทย่อยของ บริษัท ในอนาคตคาดว่าจะยังคงมีการซื้อสินค้าอยู่

2. บริษัท ไทยจินดา ผ้าม่าน จำกัด ประกอบธุรกิจ จำหน่ายผ้าม่าน มูลี่ วอลเปเปอร์ ชุดเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์

คุณสันติ (2.1) บริษัทฯ โกวิทจินดาชัย - ซื้อ เป็นกรรมการ - เจ้าหนี้การค้า ผู้มีอำนาจลงนาม ในบริษัท ไทยจินดา ผ้านม่าน จำกัด ซึ่งเป็นพี่ชายของ คุณสิริลักษณ์ และ เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ปัจจุบันถือหุ้นของ บริษัท ร้อยละ 14.18 ของทุน จดทะเบียน ชำระแล้ว

บริษัทซื้อผ้าม่าน มูลี่ วอลเปเปอร์ จากบริษัท ไทยจินดา ผ้าม่าน จำกัด โดยราคาที่ซื้อเป็นราคา ใกล้เคียงกับที่บริษัทซื้อจากผู้ขายรายอื่นทั่วไป และ เนื่องจากบริษัทดังกล่าวมีการติดต่อซื้อขายกันมานาน สินค้ามีคุณภาพดี โดยเฉพาะสินค้าผ้าม่านจะมีความ ปราณีตในการตัดเย็บเป็นอย่างมาก มีการจัดส่ง ที่ตรงเวลา ดังนั้นในอนาคตคาดว่าจะยังคงมีการซื้อ สินค้าอยู่ เจ้าหนี้การค้าดังกล่าวเกิดจากการซื้อตามรายการ ข้างต้นโดยบริษัท ไทยจินดา ผ้าม่าน จำกัด ได้ให้ระยะ เวลาในการชำระค่าสินค้าภายในประมาณ 30–60 วัน ซึ่งเป็นเงื่อนไขการชำระเงินค่าสินค้าตามการค้าปกติ

คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้วเห็นว่า รายการซื้อ เจ้าหนี้การค้า ดังกล่าวเป็นการค้าปกติ ของบริษัท

111


รายการระหว่างกัน

บุคคล/นิติบุคคล ที่อาจมีความขัดแย้ง 3. บริษัท ปริญ เวนเจอร์ จำกัด ประกอบธุรกิจ พัฒนาอสังหา ริมทรัพย์ ประเภทหมู่บ้าน จัดสรร และ ประเภทอาคาร ชุดพักอาศัย

ความสัมพันธ์

เป็นบริษัทย่อย ปัจจุบันบริษัทถือ หุ้นร้อยละ 51.00 ของทุน จดทะเบียน ชำระแล้ว

ลักษณะของ มูลค่ารายการ ยอดคงค้าง (ล้านบาท) รายการระหว่างกัน ระหว่างกัน (ล้านบาท) ณ 31 ธันวาคม 2548 2549 2548 2549 (3.1) บริษัทฯ - ให้กู้ยืมเงิน ระยะสั้น - ดอกเบี้ยค้างรับ - ดอกเบี้ยรับ - รายได้ค่าบริหาร - ค้ำประกัน วงเงินกู้ยืม

45.90

208.38

45.90

248.28

1.80 2.45 -

14.08 10.47 -

1.80 243.22

15.88 544.12

ความสมเหตุสมผลของ รายการระหว่างกัน

บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่างบริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ในสัดส่วนการถือหุ้น ร้อยละ 51.00 ต่อ 49.00 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ตามลำดับ สำหรับการให้กู้ยืมเงินระยะสั้นของบริษัท กับบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด เพื่อเพิ่มสภาพคล่องใน การดำเนินกิจการให้กับบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ซึ่งไปตามเงื่อนไขในสัญญาร่วมทุน โดยบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด สามารถกู้ยืมเงินจากผู้ถือหุ้นตาม สัดส่วนการถือหุ้นในวงเงินกู้ยืมไม่เกิน 500 ล้านบาท และคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในอัตรา MLR+2 ต่อปี เนื่องจากจำนวนเงินการให้กู้ยืมเงินระยะสั้นยังไม่เกิน วงเงินในการกู้ยืมตามสัญญา ดังนั้นในอนาคตจะยังคงมี รายการดังกล่าวอยู่

ดอกเบี้ยค้างรับ และดอกเบี้ยรับ เกิดจากให้กู้ยืมเงิน ระยะสั้นตามรายการข้างต้น โดยเป็นไปตามเงื่อนไข ในสัญญาร่วมทุน รายได้ค่าบริหารของบริษัท เป็นไปตามเงื่อนไขใน สัญญาร่วมทุน โดยคิดค่าบริการเป็นรายเดือน ๆ ละ 350,000 บาทต่อโครงการ และค่าบริหารงานขายใน อัตราร้อยละ 2 ของยอดขาย เนื่องจาก บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ในอนาคต คาดว่าจะยังคงมีรายการดังกล่าวอยู่ คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้วเห็นว่ารายการ ให้กู้ยืมเงินระยะสั้น เป็นการให้กู้ยืมตามสัดส่วนการถือ หุ้นซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาร่วมทุน และ เป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับบริษัทย่อย ประกอบกับ บริษัทคิดดอกเบี้ยตามราคาตลาด จึงเป็นรายการที่ สมเหตุสมผล และก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัทและ บริษัทย่อย การค้ำประกันวงเงินกู้ยืม เป็นรายการที่เกิดขี้นตั้งแต่ปี 2548 โดยป็นการค้ำประกันวงเงินเบิกเกินบัญชี วงเงิน อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน เงินกู้ยืมระยะยาว และวงเงิน หนังสือค้ำประกัน เป็นการค้ำประกันตามสัดส่วนการ ถือหุ้น ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาร่วมทุน และ เพื่อนำเงินไปใช้ในการพัฒนาโครงการของบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทย่อย ของบริษัท ในอนาคตคาดว่าจะยังคงมีรายการ ดังกล่าวอยู่

112


รายการระหว่างกัน

บุคคล/นิติบุคคล ที่อาจมีความขัดแย้ง

ความสัมพันธ์

ลักษณะของ มูลค่ารายการ ยอดคงค้าง (ล้านบาท) รายการระหว่างกัน ระหว่างกัน (ล้านบาท) ณ 31 ธันวาคม 2548 2549 2548 2549

ความสมเหตุสมผลของ รายการระหว่างกัน

คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้วเห็นว่า รายการค้ำประกันวงเงินกู้ยืม เป็นการค้ำประกันตาม สัดส่วนการถือหุ้นซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา ร่วมทุน เพื่อนำเงินไปใช้ในการพัฒนาโครงการของ บริษัทย่อย จึงเป็นรายการที่สมเหตุสมผล และก่อให้ เกิดประโยชน์กับบริษัทและบริษัทย่อย 4. นายสันติ โกวิทจินดาชัย

คุณสันติ (4.1) บริษัทฯ โกวิทจินดาชัย - เงินกู้ยืมระยะสั้น 20.00 ซึ่งเป็นพี่ชายของ - ดอกเบี้ยจ่าย 0.70 คุณสิริลักษณ์ และเป็นผู้ถือหุ้น ของบริษัท ปัจจุบัน ถือหุ้นของบริษัท ร้อยละ 14.18 ของ ทุนจดทะเบียน ชำระแล้ว

20.00 0.77

20.00 -

20.00 -

บริษัทกู้ยืมเงินจากนายสันติ โกวิทจินดาขัย โดย ออกเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน ครบกำหนดเมื่อทวงถาม โดยในปี 2548 และ 2549 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.50 และ 5.00 ต่อปี ตามลำดับ เพื่อใช้เป็นเงินทุน หมุนเวียนและสำหรับการซื้อที่ดินของบริษัท ปี หากในอนาคตการคิดอัตราดอกเบี้ยของ นายสันติ โกวิทจินดาชัย ไม่เกินอัตราดอกเบี้ยที่ของการออก ตั๋วสัญญาใช้เงินของรายอื่น ๆ ของบริษัท ในอนาคตจะยังคงมีรายการดังกล่าวอยู่ ดอกเบี้ยจ่าย เกิดจากการกู้ยืมเงินระยะสั้นของ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามรายการข้างต้น โดยคิดอัตรา ดอกเบี้ยต่ำกว่าดอกเบี้ยของตั๋วสัญญาใช้เงินรายอื่น ๆ ของบริษัท

คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้วเห็นว่า รายการเงินกู้ยืมระยะสั้น และดอกเบี้ยจ่าย เป็นการ กู้ยืมเงินตามปกติ ซึ่งเป็นการกู้ยืมเงินเพื่อใช้เป็นเงิน ทุนหมุนเวียน และสำหรับการซื้อที่ดินของบริษัท อีกทั้งการคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของ ตั๋วสัญญาใช้เงินรายอื่น ๆ ของบริษัท ซึ่งเป็นประโยชน์ แก่บริษัท 5. นางสาว สิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย

กรรมการ/ประธาน (5.1) บริษัทฯ กรรมการบริหาร/ - เงินทดรองรับ กรรมการผู้จัดการ - เงินทดรองจ่าย และเป็นผู้ถือหุ้น ของบริษัท ปัจจุบัน ถือหุ้นของบริษัท ร้อยละ 23.22 ของ ทุนจดทะเบียนชำระ แล้ว

3.00 3.00

-

-

-

ในปี 2548 บริษัทรับและคืนเงินทดลองจ่ายกับ คุณสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย ซึ่งเป็นค่ามัดจำในการซื้อ ที่ดินของบริษัทที่คุณสิริลักษณ์ได้สำรองจ่ายล่วงหน้า ให้กับบริษัท เนื่องจากต้องวางเงินมัดจำค่าที่ดินเป็น กรณีเร่งด่วนซึ่งบริษัทได้คืนเงินจำนวนดังกล่าวให้กับ คุณสิริลักษณ์เรียบร้อยแล้ว ในปี 2549 ไม่มีรายการ ดังกล่าวเกิดขึ้น ทั้งนี้ในอนาคตอาจจะยังคงมี รายการอยู่ตามกรณีและความจำเป็น คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้วเห็นว่า รายการเงินทดรองจ่ายดังกล่าว เป็นการคืนเงินที่ได้ สำรองจ่ายล่วงหน้าให้กับบริษัทตามปกติ โดยไม่ได้คิด ค่าตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ย และก่อให้เกิดความ คล่องตัวในการดำเนินการจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินงานของบริษัท

113


รายการระหว่างกัน

บุคคล/นิติบุคคล ที่อาจมีความขัดแย้ง

ความสัมพันธ์

ลักษณะของ มูลค่ารายการ ยอดคงค้าง (ล้านบาท) รายการระหว่างกัน ระหว่างกัน (ล้านบาท) ณ 31 ธันวาคม 2548 2549 2548 2549

ความสมเหตุสมผลของ รายการระหว่างกัน

6. นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล

กรรมการ / (6.1) บริษัทฯ กรรมการบริหาร / - ขาย ผู้ช่วยกรรมการ (ยานพาหนะ) ผู้จัดการสายงาน ลูกค้าสัมพันธ์ และ เป็นผู้ถือหุ้นของ บริษัท ปัจจุบัน ถือหุ้นของบริษัท ร้อยละ 0.75 ของ ทุนจดทะเบียน ชำระแล้ว

-

1.50

-

-

บริษัทขายรถยนต์ ให้กับคุณขวัญชาย มงคลกิจทวีผล เนื่องจากเป็นรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้ในกิจการเพื่อประโยชน์ ของบริษัท สำหรับการขายรถยนต์ดังกล่าวในครั้งนี้ ใช้วิธีการประมูล โดยบริษัทขายให้กับผู้ประมูลให้ ราคาที่สูงที่สุด ซึ่งคุณขวัญชายเป็นผู้ชนะการประมูล คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้วเห็นว่า รายการขายยานพาหนะของบริษัทดังกล่าว เป็นการขายรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้ในกิจการเพื่อประโยชน์ ของบริษัท จึงมีเหตุสมควรในการจำหน่ายรถยนต์ ดังกล่าว

อีกทั้งมีขั้นตอนในการประมูลที่ยุติธรรม และเป็นการ จำหน่ายภายหลังจากที่ได้มีการเทียบกับราคาตลาดแล้ว โดยราคาชนะการประมูลเป็นราคาที่ใกล้เคียงกับ ราคาตลาด 7. นายสกล เปาอินทร์

114

กรรมการ / กรรมการบริหาร / ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการสายงาน อำนวยการ และ เป็นผู้ถือหุ้นของ บริษัท ปัจจุบัน ถือหุ้นของบริษัท ร้อยละ 0.19 ของ ทุนจดทะเบียน ชำระแล้ว

(7.1) บริษัทฯ - ขาย (อาคารชุด พักอาศัย)

-

2.65

-

-

บริษัทขายอาคารชุดพักอาศัย โครงการเดอะพัลซ์ ซอยลาดพร้าว 44 จำนวน 2 ยูนิต ให้กับคุณสกล เปาอินทร์ สำหรับการขายอาคารชุดดังกล่าวในครั้งนี้ เป็นการขายในราคา เงื่อนไขปกติ โดยได้รับส่วนลด เหมือนกับลูกค้าพิเศษ (VIP) ของบริษัท เช่น เจ้าหน้าที่ ธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัท เจ้าหน้าที่หน่วยงานงานราชการที่บริษัทติดต่อด้วย เป็นต้น คณะกรรมการตรวจสอบได้พิจารณาแล้วเห็นว่า รายการขายอาคารชุดพักอาศัยของบริษัทดังกล่าว เป็นการขายในราคา และเงื่อนไขปกติ โดยได้รับ ส่วนลดเท่ากับลูกค้าพิเศษ (VIP) ทั่วไปของบริษัท


รายการระหว่างกัน

มาตรการหรือขั้นตอนการอนุมัติการทำรายการระหว่างกัน สำหรับรายการระหว่างกันคณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นผู้อนุมัติการทำธุรกรรมดัง กล่าว ทั้งนี้การทำธุรกรรมนั้นต้องก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท โดยทำธุรกรรมในราคาตลาด ซึ่งเป็นราคาที่สามารถ เปรียบเทียบกับราคาของบุคคลภายนอกได้ มีเงื่อนไขทางการค้าปกติ และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายอื่นเสนอราคา แข่งขันโดยเท่าเทียมกัน ทั้งนี้บริษัทจะต้องปฏิบัติตามกฏหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับเรื่องการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทอย่าง เคร่งครัด โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทำรายการดังกล่าวจะไม่มีสิทธิออกเสียงในเรื่องนั้นๆ และให้รายงานต่อคณะกรรมการ เพื่อทราบต่อไป นโยบายหรือแนวโน้มการทำรายการระหว่างกันในอนาคต บริษัทมีนโยบายในการเข้าทำรายการระหว่างกันในกรณีการค้าปกติ ซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นตามปกติและต่อเนื่อง โดยจะมีการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ให้เป็นไปตามลักษณะการดำเนินการค้าในราคาตลาด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับราคา ที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอก และเป็นไปตามราคาที่ยุติธรรม สมเหตุสมผลและสามารถตรวจสอบได้ โดยนำเสนอให้คณะ กรรมการตรวจสอบเป็นผู้พิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางในการปฏิบัติดังกล่าว ทั้งนี้ บริษัทจะให้กรรมการตรวจสอบของ บริษัทหรือผู้เชี่ยวชาญอิสระพิจารณาตรวจสอบและให้ความเห็นถึงความเหมาะสมของราคา และความสมเหตุสมผลของการ ทำรายการด้วย สำหรับรายการระหว่างกันในอนาคต เช่น การซื้อผ้าม่าน มูลี่ วอลเปเปอร์ กับบริษัท ไทยจินดา ผ้าม่าน จำกัด เป็นต้น ขึ้นอยู่กับเหตุผลและความจำเป็นของบริษัท ซึ่งการรับและการจ่ายค่าตอบแทนระหว่างกันจะเป็นไปตามราคาตลาด และยุติธรรม ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้ให้ความเห็นต่อรายการดังกล่าว โดยคณะกรรมการตรวจสอบจะนำราคา ตลาดของผู้อื่นมาเปรียบเทียบด้วย ทั้งนี้หากมีรายการระหว่างกันเกิดขึ้นกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมีส่วนได้เสีย บริษัทมี นโยบายให้คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับราคา อัตราค่าตอบแทน รวมทั้งความจำเป็นและความเหมาะ สมต่อรายการนั้น โดยในการออกเสียงในที่ประชุมนั้น ๆ กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียจะไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน มาตรการคุ้มครองผู้ลงทุน เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ลงทุน ในอนาคตถ้ามีรายการระหว่างกันของบริษัทเกิดขึ้นกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ มีส่วนได้ส่วนเสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในอนาคต บริษัทจะจัดให้ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการ ที่มีกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุม เพื่อดูแลให้รายการระหว่างกันเป็นไปอย่างยุติธรรมและมีนโยบายการกำหนดราคาที่ เหมาะสม ในกรณีที่กรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการพิจารณารายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้น บริษัทจะให้ผู้ เชี่ยวชาญอิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัท เป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประกอบการ ตัดสินใจของคณะกรรมการหรือผู้ถือหุ้นตามแต่กรณี โดยคณะกรรมการบริษัทจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมตลอดถึง การปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่สำคัญ ของบริษัท ทั้งนี้ยกเว้นรายการระหว่างกันที่เป็นรายการปกติธุรกิจ และมีนโยบายในการกำหนดราคาและเงื่อนไขซึ่งเป็นราคา ตลาดหรือไม่ต่างจากบุคคลภายนอก บริษัทจะเปิดเผยรายการระหว่างกันไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีของ บริษัท โดยบริษัทมีนโยบายเข้าทำรายการระหว่างกันเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัท ปัจจุบันบริษัทมีคณะ กรรมการตรวจสอบ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบรายการระหว่างกันรวมถึงระบบควบคุมภายในของบริษัท เพื่อความโปร่งใสและ เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทยังได้ยึดหลักการลดความเสี่ยงทุกชนิดของธุรกิจ โดยให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงสอด ส่องดูแลอีกทางหนึ่งด้วย

115


l

ively

116


การวิเคราะห์ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงาน

117


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

การวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน

ภาพรวมของผลการดำเนินงานที่ผ่านมา อุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของภาคที่อยู่อาศัย มีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่องแม้จะมีปัจจัย ต่างๆ เข้ามากระทบต่ออุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม ซึ่งก็น่าจะเป็นการส่งผลมาจากความต้องการที่อยู่อาศัย ของผู้บริโภคที่ยังมีอยู่ในปริมาณที่ค่อนข้างสูงและต่อเนื่อง ในช่วงที่ผ่านมาในแต่ละปีบริษัทมีการเปิดโครงการเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ในปี 2549 บริษัทเริ่มมีรายได้จากการขายอาคารชุดพักอาศัยเป็นโครงการแรก และตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้น มาบริษัทเริ่มกระจายยอดการรับรู้รายได้ของบริษัทให้ไม่กระจุกตัวในไตรมาสใดไตรมาสหนึ่งมากเกินไป ด้วยการวางแผน ในการพัฒนาโครงการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการรับรู้รายได้ในแต่ละไตรมาส ซึ่งปัจจุบันในปี 2549 บริษัทมีการ กระจายรายได้ในแต่ละไตรมาสได้ดีขึ้น ตั้งแต่ปี 2548 ความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในระดับราคาที่ถูกลงเริ่มมีสูงขึ้น ทำให้บริษัทเริ่ม หันมาพัฒนาโครงการประเภทหมู่บ้านจัดสรร และประเภทอาคารชุดพักอาศัยในกลุ่มลูกค้าเป้าหมายดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น รายได้หลักของบริษัทมากกว่าร้อยละ 95 มาจากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2547 – ปี 2549 บริษัทมีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นจากการขายอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 28.76 เป็นร้อยละ 30.92 และร้อยละ 32.70 ตามลำดับ โดยการควบคุมและบริหารต้นทุนในการก่อสร้าง โดยผ่านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการพัฒนา เทคนิคและเทคโนโลยีการก่อสร้าง นอกจากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์แล้ว บริษัทเริ่มมีรายได้จากการขายสินค้า ประเภทวัสดุก่อสร้าง ตั้งแต่ปี 2548 โดยผ่านบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ซึ่งคิดเป็น สัดส่วนประมาณร้อยละ 3.00 ของรายได้รวม ในปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยเปิดขายโครงการใหม่ทั้งสิ้น 9 โครงการ ทำให้มีโครงการที่เปิดขาย อยู่ทั้งสิ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 จำนวน 17 โครงการ โดยมีมูลโครงการที่เปิดดำเนินการจำนวน 6,860.56 ล้านบาท และมีมูลค่าซื้อขายที่ได้ทำสัญญาแล้วทั้งสิ้น 3,621.39 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.79 ของมูลค่าโครงการที่ เปิดดำเนินการ อีกทั้งในช่วงปลายปี 2549 โครงการยูโรไพร์ม อ่อนนุช ที่พัฒนาในส่วนของบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เริ่มมีการทยอยโอนกรรมสิทธิ์และรับรู้รายได้ ทั้งนี้ในปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้ รวม 2,960.52 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 447.80 ล้านบาท รายได้ รายได้หลักของบริษัทบริษัทและบริษัทย่อยมาจากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ประเภท หมู่บ้านจัดสรร และประเภทอาคารชุดพักอาศัย ประมาณร้อยละ 96.00 – 98.00 ของรายได้รวม ในปี 2547, ปี 2548 และ ปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เท่ากับ 1,469.22 ล้านบาท, 2,241.01 ล้านบาท และ 2,862.65 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.53 และร้อยละ 27.74 ตามลำดับ โดยรายได้จากการขาย อสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นเนื่องจาก อุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของภาคที่อยู่อาศัย มีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงดังกล่าวจะมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามากระทบต่ออุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม ซึ่งก็น่าจะเป็นการส่งผล มาจากความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค ที่ยังมีอยู่ในปริมาณที่ค่อนข้างสูงและต่อเนื่อง ประกอบกับบริษัทและบริษัท ย่อยมีการเปิดขายโครงการเพิ่มขึ้นและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี อีกทั้งบริษัทมีการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ และควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยเน้นรูปแบบที่

118


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

ตอบสนองประโยชน์การใช้สอยของที่อยู่อาศัย ความทันสมัย คุณภาพ และมาตรฐาน จนได้รับการยอมรับและความเชื่อ มั่นจากลูกค้า บริษัทและบริษัทย่อย มีนโยบายการรับรู้รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์เมื่อส่งมอบสินค้าแล้ว (เมื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้า) การดำเนินการก่อสร้างในแต่ละโครงการจะใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งขึ้นอยู่กับ ประเภทของโครงการ ขนาด รูปแบบ เป็นต้น สำหรับการก่อสร้างบ้านแต่ละหลังจะใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน การ ก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์และโฮมออฟฟิศแต่ละแถวจะใช้เวลาประมาณ 7-8 เดือน การก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยจะใช้เวลา ประมาณ 11-20 เดือน ดังนั้นรายได้รายไตรมาสอาจมีความผันผวนในระดับหนึ่ง ขึ้นอยู่กับประเภทของโครงการที่บริษัท จะทำการพัฒนา โดยในช่วงปี 2547 ถึง 2549 รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่มาจากการขายบ้านเดี่ยว โดยเฉพาะบ้านเดี่ยวตลาดกลางที่มีรายได้มากที่สุดในช่วงปีดังกล่าว บริษัทมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ประเภทบ้านเดี่ยวตลาดบนในปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 เท่ากับ 563.99 ล้านบาท, 428.38 ล้านบาท และ 127.36 ล้านบาท ตามลำดับ ลดลงร้อยละ 24.04 และร้อยละ 70.27 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงระยะเวลาดังกล่าวบริษัทได้พัฒนาโครงการบ้านเดี่ยวตลาดบนเพียงโครงการเดียวคือ โครงการสิริทาวารา เป็นโครงการบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ตั้งอยู่ที่ถนนประดิษฐ์มนูธรรม (เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา) เป็นโครงการขนาด 30-2-44 ไร่ จำนวน 59 ยูนิต มูลค่าโครงการประมาณ 1,145.42 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทมียอดโอนแล้ว 32 ยูนิต มูลค่า 549.94 ล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวขายอยู่ที่ระดับราคา 13.00 – 14.00 ล้านบาทต่อหลัง บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ประเภทบ้านเดี่ยวตลาดกลางในปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 เท่ากับ 574.81 ล้านบาท, 1,312.46 ล้านบาท และ 1,526.09 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 128.33 และร้อยละ 16.28 ตามลำดับ และมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ประเภททาวน์เฮ้าส์/โฮมออฟฟิศ ในปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 เท่ากับ 330.43 ล้านบาท, 419.80 ล้านบาท และ 890.65 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อย ละ 27.05 และร้อยละ 112.16 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในระดับราคา 1.00 – 5.00 ล้านบาท มีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทและบริษัทย่อยจึงเน้นพัฒนาโครงการประเภทบ้านเดี่ยวตลาดกลาง และ ประเภททาวน์เฮ้าส์/โฮมออฟฟิศเพิ่มขึ้นด้วย และในช่วงปลายปี 2549 บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ของบริษัท มีการเปิดขายโครงการเป็นโครงการแรกคือโครงการยูโรไพรมส์ อ่อนนุช เป็นโครงการบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ตั้งอยู่ ที่ถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง เป็นโครงการขนาด 15-2-36 ไร่ จำนวน 62 ยูนิต มูลค่าโครงการประมาณ 359.50 ล้านบาท ซึ่งเริ่มมีการทยอยโอนกรรมสิทธิ์และรับรู้รายได้ในปีเดียวกัน บริษัทเริ่มมีรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ประเภทอาคารชุดพักอาศัยในปี 2549 เป็นครั้งแรก เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมีความต้องการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทจึงได้พัฒนา โครงการประเภทอาคารชุดพักอาศัยขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว สำหรับโครงการแรกและเป็น โครงการเดียวในปี 2549 ประเภทอาคารชุดพักอาศัยชื่อโครงการเดอะพัลซ์ คอนโดมิเนียม เป็นโครงการอาคารชุดพัก อาศัยสูง 9 ชั้น ตั้งอยู่ที่ซอยลาดพร้าวซอย 44 บนเนื้อที่ 1-2-0 ไร่ จำนวน 202 ยูนิต มูลค่าโครงการประมาณ 325.25 ล้านบาท ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่สร้างเสร็จก่อนขาย ทำให้ในปี 2549 ที่บริษัทเริ่มเปิดขายโครงการดังกล่าว สามารถโอนกรรมสิทธิ์และรับรู้รายได้ในปีเดียวกัน โดย ณ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทมีรายได้จากการขายอาคารชุดพัก อาศัยดังกล่าวนี้จำนวน 200 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 318.56 ล้านบาท

119


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

บริษัทมีรายได้จากการขายสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง ตั้งแต่ปี 2548 โดยผ่านบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท โดยเป็นการขายให้กับบริษัทและผู้รับเหมาของบริษัทเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน ประมาณร้อยละ 3.00 ของรายได้รวม โดยในปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายสินค้า เท่ากับ 71.39 ล้านบาท และ 86.07 ล้านบาทตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.56 เนื่องจากบริษัททำการพัฒนาโครงการ ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทำให้บริษัทย่อยสามารถขายวัสดุก่อสร้างให้กับผู้รับเหมา ของบริษัทได้เพิ่มขึ้น นอกจากรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ และรายได้จากการขายสินค้าแล้ว บริษัทและบริษัทย่อยมี รายได้จากค่าจองบ้านที่ลูกค้าไม่มาทำสัญญาเมื่อถึงกำหนดเวลา และค่างวดผ่อนชำระที่ลูกค้าชำระมาระยะหนึ่งแล้วหยุด ชำระโดยไม่มาติดต่อบริษัท ทั้งนี้รายได้ดังกล่าวไม่ใช่รายได้หลักของบริษัทและบริษัทย่อย ต้นทุนขาย ต้นทุนขายอสังหาริมทรัพย์ประกอบด้วย ที่ดินและค่าพัฒนาที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับ โครงการ ดอกเบี้ยจ่าย โดยในปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีต้นทุนขายอสังหาริมทรัพย์เท่ากับ 1,046.75 ล้านบาท, 1,548.09 ล้านบาท และ 1,926.62 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 71.24, ร้อยละ 69.08 และ ร้อยละ 67.30 ของรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามลำดับ อัตราส่วนต้นทุนขายอสังหาริมทรัพย์ต่อรายได้จากการ ขายอสังหาริมทรัพย์ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลมาจาก (1) ที่ดินที่ซื้อเพื่อนำมาพัฒนาโครงการมีศักยภาพและมีราคาที่เหมาะสม เนื่องจากที่ดินนับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการนำมาพัฒนาและก่อสร้างโครงการ โดยค่าที่ดิน คิดเป็นประมาณร้อยละ 40 – 50 ของต้นทุนรวมผลิตภัณฑ์ จากการที่บริษัทมีนโยบายในการจัดซื้อที่ดิน โดยมุ่งเน้นที่ดินที่ มีศักยภาพและสามารถนำมาพัฒนาได้ทันที โดยมีปัจจัยในการพิจาณาเลือกซื้อที่ดิน เช่น ศักยภาพในทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาที่ดิน ผังเมือง ข้อจำกัดทางกฏหมาย ทิศทางการเติบโตของแหล่งที่อยู่อาศัย เส้นทางการพัฒนาและการขยายตัว ของเขตเมือง คู่แข่ง เป็นต้น ทั้งนี้ก่อนการซื้อที่ดินทุกครั้งบริษัทจะทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility Study) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาในการจัดซื้อที่ดินเพื่อให้ได้ที่ดินที่มีศักยภาพในราคาที่เหมาะ สม (2) การบริหารควบคุมต้นทุนในการก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพ บริษัทมีการบริหารควบคุมต้นทุนโดยมีการดำเนินการต่าง ๆ เช่น การพัฒนาเทคนิคและ เทคโนโลยีการก่อสร้าง การมีบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด (เป็นบริษัทย่อยของบริษัท) เป็นหน่วยธุรกิจหนึ่งของบริษัท ในการควบคุมต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างสำหรับการพัฒนาโครงการของบริษัท โดยเป็นผู้รับเหมาและผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ให้กับบริษัทรวมทั้งผู้รับเหมาของบริษัทด้วย สำหรับต้นทุนขายสินค้า เกิดจากบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นย่อยของบริษัท โดยเป็นการ จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง โดยยอดที่เกิดขึ้นเป็นการจำหน่ายให้กับผู้รับเหมาของบริษัททั้งหมด ในปี 2548 และปี 2549 บริษัทมีต้นทุนขายสินค้าเท่ากับ 64.10 ล้านบาท และ 75.00 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 89.78 และร้อยละ 87.14 ของรายได้จากการขายสินค้า ตามลำดับ อัตราส่วนต้นทุนขายสินค้าต่อรายได้จากการขายสินค้าปรับลดลงเล็กน้อย เนื่องจากบริษัทมีปริมาณโครงการที่จะดำเนินการพัฒนาเป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง ทำให้บริษัทย่อยของบริษัทมีอำนาจ ในการต่อรองราคากับผู้ค้าวัสดุก่อสร้างค่อนข้างสูง

120


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ในปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเท่ากับ 159.01 ล้านบาท, 262.31 ล้านบาท และ 356.69 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.96 และ 35.98 ตามลำดับ สาเหตุที่ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้นในแต่ละปีนั้นเนื่องจากค่าใช้จ่ายหลัก ๆ คือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินเดือนพนัก งาน และโบนัสเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการรับพนักงานเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัท ค่าธรรมเนียมการโอน และภาษีธุรกิจเฉพาะตามกฏหมายเพิ่มขึ้น ซึ่งผันแปรไปตามรายได้ที่เพิ่มขึ้นของบริษัท ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทมีการเปิดขายโครงการใหม่เพิ่มมากขึ้น จึงต้องมีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการให้แก่ผู้บริโภคและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพิ่มมากขึ้นด้วย แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการขายบริษัท จะมีมูลค่าสูงขึ้นทุกปี แต่เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อรายได้รวมแล้ว จะเห็นว่าในปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 มีสัดส่วนร้อยละ 10.70, ร้อยละ 11.28 และร้อยละ 12.05 ล้านบาทของรายได้รวม ซึ่งบริษัท สามารถบริหารและควบคุมค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารได้เป็นอย่างดีโดยมาโดยตลอด กำไร ในปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีอัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 28.76, ร้อยละ 30.28 และร้อยละ 32.12 ตามลำดับ บริษัทและบริษัทย่อยมีอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลจากการ ลดลงอย่างต่อเนื่องของต้นทุนขาย ตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ ข. เรื่องต้นทุนขาย ในปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีอัตรากำไรจากการดำเนินงานร้อยละ 19.01, ร้อยละ 19.41 และ 20.36 ตามลำดับ สาเหตุของการเพิ่มขึ้นของอัตรากำไรจากการดำเนินงานตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ ค. ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ในปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิเท่ากับ 184.18 ล้านบาท, 304.75 ล้านบาท และ 447.80 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราส่วนกำไรสุทธิร้อยละ 12.39, ร้อยละ 13.11 และ 15.13 ตาม ลำดับ การเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนกำไรสุทธิอย่างต่อเนื่องโดยมีสาเหตุตามข้างต้น ประกอบกับบริษัทเริ่มเป็นบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อปลายปี 2548 ทำให้บริษัทได้รับความเชื่อมั่นจากธนาคารและสถาบันการ เงินต่าง ๆ จึงได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ต่ำลง รวมไปถึงในปี 2549 บริษัทเริ่มใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการเข้า เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยปกติบริษัทเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ลดลงเหลืออัตราร้อยละ 25 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น ในปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทมีอัตราตอบแทนผู้ถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 26.75, ร้อยละ 27.23 และร้อยละ 27.51 โดยมีอัตราผลตอบแทนเติบโตขึ้นมาโดยตลอด เนื่องจากบริษัทมีผลกำไรสุทธิที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทั้งนี้ บริษัท จ่ายเงินปันผลจากผลประกอบการของปี 2547 และปี 2548 เท่ากับ 72.10 ล้านบาท และ 120.60 ล้านบาท ตาม ลำดับ

121


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

การวิเคราะห์ฐานะการเงิน

สินทรัพย์ สินทรัพย์รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 มีมูลค่าเท่ากับ 2,124.42 ล้านบาท, 3,196.99 ล้านบาท และ 4,395.97 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 สินทรัพย์ รวมของบริษัทและบริษัทย่อย ประกอบด้วยสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเท่ากับ 4,192.06 ล้านบาท และ 203.91 ล้านบาท ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 95.36 และร้อยละ 4.64 ของสินทรัพย์รวม ตามลำดับ โดยสินทรัพย์ ส่วนใหญ่ของบริษัทเป็นสินค้าคงเหลือ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีสินค้าคงเหลือเท่ากับ 3,873.10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.11 ของสินทรัพย์รวม เงินลงทุนชั่วคราว บริษัทเริ่มมีเงินลงทุนชั่วคราวในปี 2548 โดยเป็นการลงทุนในกองทุนเปิดตราสารหนี้ เนื่องจากใน ขณะนั้นบริษัทมีสภาพคล่องมากจึงได้นำเงินไปลงทุนเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2548 และปี 2549 มีเงิน ลงทุนในกองทุนเปิดตราสารหนี้เท่ากับ 139.14 ล้านบาท และ 26.98 ล้านบาท ตามลำดับ โดย ณ 31 ธันวาคม 2549 มี การลดเงินลงทุนลงจากปี 2548 จำนวน 112.16 ล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 80.61 เนื่องจากในปี 2549 บริษัทได้ ทำการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ หลายโครงการจึงต้องใช้เงินทุนในการพัฒนาโครงการ ประกอบกับบริษัทลงทุนเพิ่มใน บริษัทย่อย และให้บริษัทย่อยกู้ยืมเงินเพื่อนำไปพัฒนาโครงการ บริษัทจึงมีการขายเงินลงทุนดังกล่าว ลูกหนี้การค้า-สุทธิ ณ สิ้นปี 2547 และปี 2548 บริษัทและบริษัทย่อยมีลูกหนี้การค้าสุทธิเท่ากับ 0.31 ล้านบาท และ 26.16 ล้านบาท ตามลำดับ ลูกหนี้การค้าที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นในกลุ่มลูกหนี้อายุระหว่าง 1 – 90 วัน โดย เพิ่มจาก 0.16 ล้านบาท เป็น 15.51 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้การค้าของบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ซึ่ง เป็นการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาก่อสร้างของบริษัทและบริษัทย่อย ส่วน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัท และบริษัทย่อยมีลูกหนี้การค้าสุทธิเท่ากับ 30.27 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2548 ร้อยละ 15.73 ซึ่งเหมือนกันกับใน ปี 2548 ประกอบกับบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด มียอดขายวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มียอดลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น ด้วย โดยมีรายละเอียดของลูกหนี้การค้า ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 ดังแสดงในตาราง (หน่วย : บาท) รายละเอียดลูกหนี้ ในกำหนด อายุระหว่าง 1 – 90 วัน อายุระหว่าง 91 – 180 วัน อายุระหว่าง 181 – 360 วัน

122

ณ 31 ธันวาคม 2547

ณ 31 ธันวาคม 2548

ณ 31 ธันวาคม 2549

-

7,325,404.90

8,279,672.96

158,000.00

15,506,931.13

9,369,217.56

-

2,976,951.13

3,859,471.33

645,000.00

612,629.15

8,762,210.80


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

เกินกว่า 360 วัน

281,593.00

2,571,065.57

3,332,119.87

1,084,593.00

28,992,981.88

33,602,692.52

หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

776,593.00

2,836,097.26

3,332,119.87

ลูกหนี้การค้า-สุทธิ

308,000.00

26,156,884.62

30,270,572.65

รวม

บริษัทและบริษัทย่อยมีนโยบายตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ โดยประเมินจากลูกหนี้ที่บริษัทและ บริษัทย่อยคาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ ประกอบกับประวัติการจ่ายชำระหนี้ที่ผ่านมาในอดีตมาร่วมในการพิจารณา ณ สิ้น ปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญรวม 0.78 ล้านบาท, 2.84 ล้านบาท และ 3.33 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งฝ่ายบริหารให้ความสำคัญในการติดตามลูกหนี้การค้าดังกล่าว ในกรณี ที่ลูกหนี้รายใดคาดว่าจะมีปัญหา บริษัทจะดำเนินการคั้งค่าเผื่อหนี้สงสัญจะสูญเพื่อให้งบการเงินแสดงมูลค่าที่แท้จริง ทั้งนี้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญดังกล่าวถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่มากเมื่อเทียบกับรายได้รวมของบริษัท โดย ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 มีสัดส่วนร้อยละ 0.05, ร้อยละ 0.12 และร้อยละ 0.11 ตามลำดับ ทั้งนี้บริษัทและบริษัทย่อยมีลูกหนี้เกินกว่า 360 วัน ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 เท่ากับ 0.28 ล้านบาท, 2.57 ล้านบาท และ 3.33 ล้านบาท ตามลำดับ โดยเป็นลูกหนี้ค้าวัสดุก่อสร้างของบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งปัจจุบันฝ่ายบริหารได้ให้ความสำคัญในการบริหารลูกหนี้ โดยมีการกำหนดนโยบายที่ ชัดเจนเกี่ยวกับการกำหนดวงเงิน อายุหนี้ และการดำเนินการฟ้องร้องเพื่อให้ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวชำระหนี้ การชำระเงินของโครงการที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทมีเงินที่ถึงกำหนดชำระจากลูกหนี้สะสมตามวิธีค่างวดที่ถึงกำหนด ชำระเท่ากับ 5,508.70 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 87.20 ของมูลค่าโครงการที่ขายแล้ว ในจำนวนนี้มียอดเงินที่ชำระแล้ว สะสมจำนวน 5,506.88 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.97 ของเงินที่ถึงกำหนดชำระสะสม โดยมียอดเงินที่ค้างชำระสะสม จำนวน 1.82 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของเงินที่ถึงกำหนดชำระสะสม และมียอดคงเหลือที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ จำนวน 808.33 ล้านบาท คิดเป็น 12.80 ของมูลค่าโครงการที่ขายแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้

123


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

ตารางรายละเอียดการชำระเงินของโครงการที่ดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549

(หน่วย : ล้านบาท)

มูลค่าที่ ขายแล้ว ชื่อโครงการ

เงินที่ค้างชำระสะสม

คงเหลือจำนวนที่ยัง ไม่ถึงกำหนดชำระ

ร้อยละ ร้อยละ จำนวนเงิน ของมูลค่า จำนวนเงิน ของมูลค่า ที่ขายแล้ว ที่ขายแล้ว

ปริญสิริ นวมินทร์

697.32

697.32 100.00

697.32 100.00

-

-

-

-

ปริญสิริ นวลจันทร์

398.09

398.09 100.00

398.09 100.00

-

-

-

-

ปริญญดา แจ่มจันทร์

148.64

148.64 100.00

148.24

99.73

0.40

0.27

-

-

สิริทาวารา ออเรนทอล

630.28

574.30 91.12

573.05

90.78

1.25

0.22

55.98

8.88

ปริญญดา เทพารักษ์ เฟส 1 274.09

266.60 97.27

266.60

-

-

-

7.49

2.73

ปริญญดา เทพารักษ์ เฟส 2 298.44

298.44 100.00

298.44 100.00

-

-

-

-

ปริญญดา วงแหวนสาทร

1,032.03

999.75 96.87

999.64

0.11

0.01

ปริญลักษณ์ พระราม 2

525.63

522.04 99.32

522.04 100.00

-

ปริญลักษณ์ เอ็กซ์คลูชีฟ

215.03

210.49 97.89

210.49 100.00

ปริญญดา พระราม 2

371.81

316.54 85.13

ปริญลักษณ์ อินทราลักษณ์

192.69

เดอะพัลซ์ คอนโดมิเนียม

32.28

3.13

-

3.59

0.68

-

-

4.54

2.11

316.54 100.00

-

-

55.27

14.87

184.81 95.91

184.81 100.00

-

-

7.88

4.09

318.56

318.56 100.00

318.56 100.00

-

-

-

-

ปริญญดา เกษตรนวมินทร์

435.19

285.97 65.71

285.97 100.00

-

-

149.22

34.29

ปริญลักษณ์ วงแหวนสาทร

306.56

220.26 71.85

220.26 100.00

-

-

86.3

28.15

ปริญลักษณ์ เพชรเกษม 69

120.15

5.53

4.60

5.48

99.10

0.05

0.90

114.62

95.40

ปริญญดา กาญจนาภิเษก

77.92

2.78

3.57

2.77

99.64

0.01

0.36

75.14

96.43

57.69 100.00

-

-

204.34

77.98

0.89 100.00

-

-

11.68

92.99

1.82

0.03

808.33

12.80

ยูโรไพร์ม

262.03

ยูโรโนวา

12.56

รวม

124

เงินที่ชำระแล้ว สะสม

ร้อยละ ร้อยละ จำนวนเงิน ของมูลค่า จำนวนเงิน ของมูลค่า ที่ขายแล้ว ที่ขายแล้ว

เงินที่ถึงกำหนด ชำระสะสม

6,317.02

57.69 22.02 0.89

7.09

5,508.70 87.20

5,506.88

99.99

99.97


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

ตารางรายละเอียดเงินค้างชำระสะสม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549

ชื่อโครงการ

เงินค้าชำระสะสม

ค้างชำระ 1-30 วัน จำนวน จำนวน ราย เงิน

(หน่วย : ล้านบาท)

ค้าชำระ 31-60 วัน จำนวน จำนวน ราย เงิน

ค้างชำระ 61-90 วัน จำนวน จำนวน ราย เงิน

ค้างชำระมากกว่า 90 วันขึ้นไป จำนวน จำนวน ราย เงิน

จำนวน ราย

จำนวน เงิน

ปริญญดา แจ่มจันทร์

1

0.40

-

-

-

-

-

-

1

0.40

สิริทาวารา

1

1.25

-

-

-

-

-

-

1

1.25

ปริญญดา วงแหวนสาทร

1

0.11

-

-

-

-

-

-

1

0.11

ปริญลักษณ์ เพชรเกษม 69

2

0.05

1

0.03

1

0.02

-

-

-

-

ปริญญดา กาญจนาภิเษก

1

0.01

1

0.01

-

-

-

-

-

-

6

1.48

2

0.04

1

0.02

-

-

3

1.76

รวม

หมายเหตุ : เก็บข้อมูลโดยวิธีค่างวดที่ครบกำหนดชำระ โดยบริษัทยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกหนี้ โดยยอดเงินค้างชำระที่ปรากฏในตาราง ข้างต้นจะแตกต่างจากลูกหนี้ค้างชำระในหมายเหตุประกอบงบการเงิน เนื่องจากบันทึกโดยใช้วิธีรับรู้เมื่องานเสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อ แล้ว การเก็บตัวเลขด้วยวิธีที่ต่างกันนี้ ทำให้ยอดลูกหนี้ค้างชำระในตารางข้างต้นมียอดสูงกว่าเงินค้างชำระในงบการเงิน

สินค้าคงเหลือ ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีสินค้าคงเหลือเท่ากับ 2,013.24 ล้าน บาท, 2,617.64 ล้านบาท และ 3,873.10 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.02 และร้อยละ 47.96 ตามลำดับ ซึ่งมี แนวโน้มเพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับจากนโยบายการสร้างบ้านเสร็จก่อนขาย และการรับรู้รายได้เมื่อโอน ทำให้บริษัทและบริษัทย่อยมีสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น โดยมีรายละเอียดของสินค้าคงเหลือ ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 ดังแสดงในตาราง รายละเอียด สินค้าสำเร็จรูป - บ้านเพื่อขาย - วัสดุก่อสร้าง ที่ดินและค่าพัฒนาที่ดิน งานระหว่างก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับโครงการ ดอกเบี้ยรอการตัดบัญชี รวม

ณ 31 ธันวาคม 2547

ณ 31 ธันวาคม 2548

1,471,634,732.11 481,046,875.98 14,554,997.37 46,000,680.64 2,013,237,286.10

46,164,934.34 1,714,309,008.96 820,923,615.16 18,726,872.77 63,186,201.80 2,617,635,322.24

(หน่วย : บาท) ณ 31 ธันวาคม 2549 489,623.55 1,389,115.17 2,426,041,071.82 1,274,716,316.12 26,709,676.52 98,082,011.27 3,873,103,125.24

125


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

สินค้าคงเหลือในส่วนของสินค้าสำเร็จรูปของบริษัทและบริษัทย่อย แบ่งออกเป็นบ้านเพื่อขาย และวัสดุก่อสร้าง สำหรับบ้านเพื่อขายนั้นบริษัทและบริษัทย่อยเริ่มมีสินค้าสำเร็จรูป ณ สิ้นปี 2549 จำนวน 46.16 ล้านบาท เนื่องจาก นโยบายในการสร้างบ้านเสร็จก่อนขาย ประกอบกับ ณ สิ้นปีดังกล่าวยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้าหรือยังขายไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเพื่อขายในโครงการที่เปิดขายมานาน เช่น ปริญสิรินวลจันทร์, ปริญสิรินวมินทร์ และปริญญดา แจ่มจันทร์ สินค้าคงเหลือในส่วนของที่ดินและค่าพัฒนาที่ดิน นั บได้ว่ามีสัดส่วนมากที่สุดของยอดสินค้าคงเหลือรวม เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการนำมาพัฒนาและก่อสร้างโครงการ โดยค่าที่ดินและค่าพัฒนาที่ดินคิดเป็น ประมาณร้อยละ 40 – 50 ของต้นทุนรวมผลิตภัณฑ์ ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 มีสัดส่วนร้อยละ 73.10, ร้อย ละ 65.49 และร้อยละ 62.64 ของมูลค่าสินค้าคงเหลือรวม การลดลงของสัดส่วนดังกล่าวเนื่องจาก นโยบายในการจัดซื้อ ที่ดินของบริษัทโดยมุ่งเน้นที่ดินที่มีศักยภาพและสามารถนำมาพัฒนาได้ทันที ซึ่งส่วนใหญ่หลังจากที่บริษัทจัดซื้อที่ดินแล้ว จะนำมาพัฒนาเลย จะไม่มีนโยบายในการซื้อที่ดินเก็บไว้ในระยะนาน ๆ เพื่อรอทำการพัฒนา (Land Bank) ส่งผลให้มี สินค้าสำเร็จรูป และงานระหว่างก่อสร้างเพิ่มขึ้น สินค้าคงเหลือในส่วนของงานระหว่างก่อสร้าง ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 เท่ากับ 481.05 ล้าน บาท, 820.92 ล้านบาท และ 1,274.71 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.65 และร้อยละ 55.28 ตามลำดับ โดย เหตุผลในการเพิ่มขึ้นของงานระหว่างก่อสร้างตามที่อธิบายในส่วนของที่ดินและค่าพัฒนาที่ดิน บริษัทไม่มีความจำเป็นต้องตั้งสำรองการด้อยค่าของทรัพย์สิน เนื่องจากบริษัทได้ว่าจ้างผู้ประเมินราคาอิสระ ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทำการประเมิน ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีไว้เพื่อขายของบริษัทและบริษัทย่อย ซึ่งผลการประเมินราคาทรัพย์สินมีมูลค่าสูงกว่าราคา ทุนเดิม ทั้งนี้โปรดดูรายละเอียดประกอบในข้อ 5.1 เรื่องทรัพย์สินของบริษัท ที่ดินและอุปกรณ์-สุทธิ ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีที่ดินและอุปกรณ์สุทธิ จำนวน 27.67 ล้านบาท, 29.94 ล้านบาท และ 36.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.20, และร้อยละ 21.67 ตามลำดับ ทั้งนี้การเพิ่มขึ้น ของที่ดินและอุปกรณ์สุทธิ เป็นการเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินกิจการ และไปตามการขยายตัวของบริษัท ซึ่งโดย ส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของเครื่องใช้สำนักงาน ทั้งนี้ในปี 2548 เพิ่มขึ้นจากปี 2547 เท่ากับร้อยละ 60.18 และ ในปี 2549 เพิ่มขึ้นจากปี 2548 เท่ากับร้อยละ 37.61 อย่างไรก็ตามรายละเอียดของที่ดินและอุปกรณ์สุทธิ ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 ดังแสดงในตาราง

126


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

รายละเอียด ที่ดิน เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องใช้สำนักงาน ยานพาหนะ รวม ค่าเสื่อมราคาสะสม ที่ดินและอุปกรณ์-สุทธิ

ณ 31 ธันวาคม 2547 3,063,453.90 6,221,227.17 13,408,561.69 20,576,746.14 43,269,988.90 15,597,266.33 27,672,722.57

ณ 31 ธันวาคม 2548 3,346,838.00 6,628,121.05 21,478,707.06 22,236,410.81 53,690,076.92 23,749,101.32 29,940,975.60

(หน่วย : บาท) ณ 31 ธันวาคม 2549 3,279,342.43 4,015,004.24 8,062,698.78 29,556,573.49 25,669,335.81 70,582,954.75 34,154,300.36 36,428,654.39

สำหรับในปี 2549 บริษัทมีที่ดินเพิ่มขึ้นจำนวน 3.28 ล้านบาท โดยเป็นที่ดินบริเวณซอยแจ่มจันทร์ พื้นที่ 247 ตารางวา ซึ่งเป็นที่ดินบริเวณใกล้เคียงกับโครงการปริญญดาแจ่มจันทร์ โดยแต่เดิมเป็นที่ดินผืนเดียวกัน แต่ต่อ มามีถนนตัดผ่านทำให้ที่ดินถูกแยกออกจากกัน ปัจจุบันใช้เป็นศูนย์บัญชาการบริการหลังการขาย และเนื่องจากเป็นที่ดิน ดังกล่าวมีขนาดเล็กบริษัทจึงยังไม่มีนโยบายที่จะนำที่ดินดังกล่าวไปพัฒนาเป็นโครงการ ที่ดินรอการพัฒนา ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีที่ดินรอการพัฒนาเท่ากับ 3.28 ล้าน บาท, 70.24 ล้านบาท และ 69.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2,042.04 และร้อยละ 1.01 ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นอย่าง มากในปี 2548 เนื่องจากมีการโอนรายการที่ดินที่ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จากบัญชีสินค้าคงเหลือเข้า บัญชีที่ดินรอการพัฒนา เนื่องจากบริษัทยังไม่มีนโยบายที่จะพัฒนาโครงการในที่ดินดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 16-0-89 ไร่ และในปี 2549 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากมีการปรับปรุงที่ดินโดยการถมที่ดินเพื่อรอการพัฒนาในอนาคต เงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพัน ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีเงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพันเท่ากับ 9.78 ล้านบาท, 88.37 ล้านบาท และ 92.09 ล้านบาท เพิ่มขิ้นร้อยละ 803.88 และร้อยละ 4.21 ตามลำดับ การเพิ่มขึ้น อย่างมากในปี 2548 เนื่องจากมีการโอนเงินกองทุนหมู่บ้านจากการเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภคส่วนกลางจากลูกค้าตั้งแต่ บริษัทเริ่มเปิดดำเนินการ เข้าบัญชีของบริษัท โดยโอนจากบัญชีของคุณสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย เพื่อกองทุนรักษ์บ้าน และบริษัทนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับธนาคารพาณิชย์เพื่อการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน และเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2549 เนื่องจากมียอดเงินจากการเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภคส่วนกลางจากลูกค้าเพิ่มขึ้นจากการขายโครงการของบริษัท และบริษัทย่อย ทั้งนี้เงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพันเกิดจากการที่บริษัทและบริษัทย่อยมีเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝาก ประจำ ไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับธนาคารพาณิชย์เพื่อการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินในการจัดซื้อที่ดิน สำหรับ ณ สิ้นปี 2549 จากตัวเลขยอดเงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพันของบริษัทและบริษัทย่อย ในจำนวนนี้เป็นเงินฝากจากการเรียกเก็บ ค่าสาธารณูปโภคส่วนกลางจากลูกค้าจำนวน 55.82 ล้านบาท ซึ่งบริษัทและบริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่ต้องโอนส่งมอบเงิน ดังกล่าว เมื่อได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านแต่ละโครงการเรียบร้อยแล้ว 127


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

สภาพคล่อง กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ปี 2548 บริษัทและบริษัทย่อยมีกระแสเงินสดใช้ไปจากกิจกรรมดำเนินงานเท่ากับ 10.65 ล้านบาท โดยบริษัทและบริษัทย่อยได้รับได้รับกระแสเงินสดดังกล่าวจากกำไรสุทธิ 304.75 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคา 9.22 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของเจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 101.12 ล้านบาท เงินค่างวดที่ยังไม่รับรู้เป็นรายได้ 25.27 ล้านบาท หนี้สิน หมุนเวียนอื่น 37.45 ล้านบาท และภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 28.49 ล้านบาท อย่างไรก็ตามกระแสเงินสดจากการ ดำเนินงานลดลง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงเหลือ 409.96 ล้านบาท สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 97.69 ล้านบาท ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นการจ่ายชำระค่ามัดจำที่ดินและลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ 3.86 ล้านบาท ปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีกระแสเงินสดใช้ไปจากกิจกรรมดำเนินงานเท่ากับ 880.41 ล้านบาท โดยบริษัทและบริษัทย่อยได้รับได้รับกระแสเงินสดดังกล่าวจากกำไรสุทธิ 447.80 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคา 10.97 ล้าน บาท หนี้สูญ 2.00 ล้านบาท การลดลงของสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 14.39 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของเจ้าหนี้การค้าและตั๋ว เงินจ่าย 3.32 ล้านบาท หนี้สินหมุนเวียน 46.88 ล้านบาท และภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 2.95 ล้านบาท สำหรับ กระแสเงินสดจากการดำเนินงานลดลงเนื่องจาก การเพิ่มขึ้นของสินค้าคงเหลือ 1,091.30 ล้านบาท เจ้าหนี้ค่าที่ดิน-ตั๋ว สัญญาใช้เงิน 257.50 ล้านบาท ค่างวดที่ยังไม่รับรู้เป็นรายได้ 48.40 ล้านบาท และลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ 6.61 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 4.89 ล้านบาท กระแสเงินสดจากการลงทุน ปี 2548 บริษัทและบริษัทย่อยมีกระแสเงินสดใช้ไปในการลงทุนสุทธิเท่ากับ 206.96 ล้านบาท โดย บริษัทได้จ่ายเงินซื้อกองทุนเปิดตราสารหนี้ 159.00 ล้านบาท เนื่องจากในขณะนั้นบริษัทมีสภาพคล่องมาก จึงได้นำไป ลงทุนเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ เงินสดจ่ายเพื่อซื้อบริษัทย่อย 22.52 ล้านบาท โดยบริษัทได้เข้าลงทุนในบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียน เพื่อเป็น หน่วยธุรกิจหนึ่งของบริษัทในการควบคุมต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้าง สำหรับการพัฒนาโครงการของบริษัท และเพื่อเสริม ศักยภาพในการแข่งขัน ซื้ออุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงาน 13.33 ล้านบาท เพื่อใช้ในกิจการและการขยายตัวของบริษัท และการเพิ่มขึ้นของเงินฝากประจำมีภาระผูกพัน 33.88 ล้านบาท เนื่องจากนำเงินฝากประจำเพื่อค้ำประกันเจ้าหนี้ค่าที่ ดิน-ตั๋วสัญญาใช้เงิน ในปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีกระแสเงินสดได้มาในการลงทุนสุทธิเท่ากับ 107.31 ล้านบาท โดย ขายกองทุนเปิดตราสารหนี้จำนวน 145.60 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทได้ทำการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ หลายโครงการ จึง ต้องใช้เงินทุนในการพัฒนาโครงการ ประกอบกับการลงทุนเพิ่มในบริษัทย่อย และให้บริษัทย่อยกู้ยืมเงินเพื่อนำไปพัฒนา โครงการ บริษัทจึงมีการขายเงินลงทุนดังกล่าวออก และการลดลงของเงินฝากประจำมีภาระผูกพันจำนวน 11.70 ล้าน บาท เนื่องจากมีการส่งมอบเงินฝากจากการเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภคส่วนกลางจากลูกค้าให้กับคณะกรรมการหมู่บ้านที่ มีการจัดตั้งเรียบร้อยแล้ว

128


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน ในปี 2548 บริษัทและบริษัทย่อยมีกระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้นจากการจัดหาเงินสุทธิเท่ากับ 265.56 ล้าน บาท ซึ่งมีกระแสเงินสดได้มาจากเงินสดจากการเพิ่มทุนจำนวน 424.71 ล้านบาท จากเงินเบิกเกินบัญชีและกู้ยืมระยะสั้น จากสถาบันการเงิน 219.27 ล้านบาท และเงินกู้ยืมระยะสั้น 44.10 ล้านบาท ขณะเดียวกันมีกระแสเงินสดใช้ไปจากการ จ่ายเงินปันผลจำนวน 72.10 ล้านบาท และการใช้คืนเงินกู้ยืมระยะยาว 351.86 ล้านบาท ในปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีกระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้นจากการจัดหาเงินสุทธิเท่ากับ 805.42 ล้าน บาท ซึ่งกระแสเงินสดได้มาจากเงินกู้ยืมระยะยาว 635.41 ล้านบาท เงินกู้ยืมระยะสั้น 194.45 ล้านบาท เงินเบิกเกิน บัญชีและกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน 61.25 ล้านบาท และรับเงินค่าหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 34.91 ล้านบาท ขณะเดียวกันมีกระแสเงินสดใช้ไปจากการจ่ายเงินปันผลจำนวน 120.60 ล้านบาท กระแสเงินสดสุทธิ โดยสรุป ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อย มีกระแสเงินสดสุทธิเท่ากับ 30.88 ล้านบาท, 78.83 ล้านบาท และ 111.14 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 155.25 และร้อยละ 41.00 ตาม ลำดับ อัตราส่วนสภาพคล่อง ในปี 2548 บริษัทและบริษัทย่อย มีอัตราส่วนสภาพคล่อง และมีอัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็วเท่ากับ 2.60 เท่า และ 0.21 เท่า ตามลำดับ และในปี 2549 มีอัตราส่วนสภาพคล่อง และมีอัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็วเท่ากับ 3.36 เท่า และ 0.14 เท่า ตามลำดับ อัตราส่วนสภาพคล่องอยู่ในระดับปกติของการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตามอัตราส่วน สภาพคล่องหมุนเร็วมีค่าค่อนข้างต่ำ เนื่องจากสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนใหญ่เป็นสินค้าคงเหลือ สำหรับการเพิ่มขึ้นของ สินค้าคงเหลือเป็นการเพิ่มขึ้นตามรายได้ที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับจากนโยบายการสร้างบ้านเสร็จก่อนขาย และการรับรู้ราย ได้เมื่อโอน รายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือโปรดอ่านในข้อ 12.2.2 เรื่องการวิเคราะห์ฐานะการเงิน ในส่วนของสินค้า คงเหลือ รายจ่ายลงทุน ในปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายจ่ายลงทุนจำนวน 173.69 ล้านบาท และ 63.32 ล้านบาท โดยในปี 2548 บริษัทได้เข้าลงทุนในบริษัท โกร โยธา กรุ๊ป จำกัด ดำเนินธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและจำหน่าย วัสดุก่อสร้าง ในสัดส่วนร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียน เพื่อเป็นหน่วยธุรกิจหนึ่งของบริษัท ในการควบคุมต้นทุนค่า วัสดุก่อสร้าง สำหรับการพัฒนาโครงการของบริษัท และเพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขัน จำนวน 32.00 ล้านบาท อีกทั้ง ลงทุนในกองทุนเปิดตราสารหนี้ ซึ่งในขณะนั้นบริษัทมีสภาพคล่องมาก จึงได้นำเงินไปลงทุนเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้ ในระหว่างปีมีการซื้อและขายสุทธิ 139.14 ล้านบาท และร่วมทุนกับบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) จัดตั้งบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด เพื่อดำเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในสัด่วนร้อยบละ 51.00 ของทุนจดทะเบียน ในปีดังกล่าว ลงทุนในบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ทั้งสิ้น 2.55 ล้านบาท

129


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

ในปี 2549 บริษัทชำระทุนจดทะเบียนในบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด เพิ่มอีกจำนวน 36.34 ล้านบาท และลงทุนในกองทุนเปิดตราสารหนี้อีกจำนวน 26.98 ล้านบาท ทั้งนี้จากการร่วมทุนในบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ได้กำหนดทุนจดทะเบียนไว้ในสัญญาร่วมทุน 100 ล้านบาท ปัจจุบันได้ชำระทุนจดทะเบียนไปแล้ว 76.25 ล้านบาท ยังเหลือเงินทุนจดทะเบียนที่ต้องชำระอีก 23.75 ล้าน บาท ดังนั้นคาดว่าในปี 2550 จะต้องชำระทุนจดทะเบียนดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น โดยบริษัทถือหุ้นในบริษัท ปริญ เวนเจอร์ จำกัด ในสัดส่วน 51.00 ของทุนจดทะเบียน ซึ่งทำให้ต้องชำระทุนจดทะเบียนในส่วนของบริษัทที่เหลืออีกจำนวน 12.11 ล้านบาท แหล่งที่มาของเงินทุน หนี้สิน ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินมูลค่า 1,334.70 ล้านบาท, 1,748.09 ล้านบาท และ 2,589.84 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.97 และร้อยละ 48.15 ตามลำดับ การเพิ่มขึ้นของหนี้สินรวมในปี 2548 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของหนี้สินหมุนเวียนซึ่งได้แก่ เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินจาก 47.16 ล้านบาท เป็น 226.42 ล้านบาท, เงินกู้ยืมระยะสั้นตั๋วสัญญาใช้เงินจาก 92.00 ล้านบาท เป็น 136.10 ล้านบาท, เจ้าหนี้ค่าที่ดิน-ตั๋วสัญญาใช้เงินเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนเป็น 257.50 ล้านบาท, เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่ายจาก 97.91 ล้านบาท เป็น 214.16 ล้านบาท โดยการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน ดังกล่าวบริษัทนำไปใช้ในการซื้อที่ดินและพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของบริษัทและบริษัทย่อยเพื่อจำหน่าย ทั้งนี้ในปีเดียวกัน บริษัทและบริษัทย่อยได้ชำระคืนเงินกู้ยืมระยาวจาก 904.45 ล้านบาท ลดลงเหลือ 552.59 ล้านบาท เนื่องจากเป็นการ จ่ายคืนเงินกู้ตามเงื่อนไขของสัญญากู้ยืม โดยจ่ายคืนเมื่อมีการโอนขายบ้านในสัดส่วนร้อยละ 70 – 80 ของราคาขาย สำหรับการเพิ่มขึ้นของหนี้สินรวมในปี 2549 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้น ทั้งด้านหนี้สิน หมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียน ได้แก่ เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินโดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 61.25 ล้านบาท, เงินกู้ยืมระยะสั้น-ตั๋วสัญญาใช้เงินโดยเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 194.45 ล้านบาท, เจ้าหนี้การ ค้าและตั๋วเงินจ่ายเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 27.15 ล้านบาท, เจ้าหนี้ค่าที่ดิน-ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะยาวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 100.00 ล้านบาท และเงินกู้ยืมระยะยาวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 635.41 ล้านบาท โดยการเพิ่มขึ้นของหนี้สินดัง กล่าวบริษัทนำไปใช้ในการซื้อที่ดินและพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของบริษัทและบริษัทย่อยเพื่อจำหน่ายเหมือนปีก่อน อย่างไรก็ตามในปีเดียวกันบริษัทและบริษัทย่อย มีค่างวดที่ยังไม่รับรู้เป็นรายได้ลดลงจากปีก่อนจำนวน 48.40 ล้านบาท เนื่องจากมีการโอนกรรมสิทธิ์ และส่งมอบบ้านให้กับลูกค้าเป็นจำนวนมาก และเจ้าหนี้ค่าที่ดิน-ตั๋วสัญญาใช้เงินลดลงจาก ปีก่อนจำนวน 193.33 ล้านบาท เนื่องจากการจ่ายคืนเจ้าหนี้การค้าที่ดิน-ตั๋วสัญญาใช้เงินที่คอยกำหนดชำระตามสัญญา ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 789.72 ล้าน บาท, 1,448.91 ล้านบาท และ 1,806.13 ล้านบาท ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 83.47 และร้อยละ 24.65 ตามลำดับ โดยในปี 2547 ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2547 มีมติให้แปลง สภาพเป็นบริษัทมหาชน และเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจากมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 100.00 บาท เป็นมูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 5.00 บาท และเพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 500.00 ล้านบาท เป็น 670.00 ล้านบาท และมีมติให้เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน ให้แก่กรรมการผู้บริหารและหรือพนักงานของบริษัทจำนวน 3 ล้านหุ้น ในราคามูลค่าหุ้นละ 6.00 บาท ทำให้ในวันที่ 30

130


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

มิถุนายน 2547 บริษัทมีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วจำนวน 515.00 ล้านบาท มีส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญจำนวน 3.00 ล้านบาท ต่อมาที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2547 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2547 มีมติให้เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากหุ้น ละ 5.00 บาท เป็นหุ้นละ 1.00 บาท ทำให้บริษัทมีหุ้นสามัญจากเดิมจำนวน 134 ล้านหุ้น เป็น 670 ล้านหุ้น อีกทั้ง บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรเพิ่มขึ้น 184.18 ล้านบาท ในปี 2548 บริษัทเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 155 ล้านหุ้น ต่อประชาชน เมื่อวันที่ 25 -27 ตุลาคม 2548 มูลค่าที่เสนอขายหุ้นละ 2.80 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 434 ล้านบาท การเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวเพื่อนำ เงินไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและเป็นเงินทุนในการพัฒนาโครงการของบริษัท ทำให้บริษัทมีทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระ แล้วครบทั้งจำนวน 670 ล้านบาท และมีการจ่ายเงินปันผลในปีเดียวกัน โดยผ่านมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2548 มีมติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2547 ในอัตราหุ้นละ 0.14 บาท รวมเป็นจำนวนเงิน 72.10 ล้านบาท ซึ่งได้จ่ายให้ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2548 อีกทั้งบริษัทและบริษัทย่อย มีกำไรเพิ่มขึ้น 304.75 ล้านบาท ในปี 2549 บริษัทมีการจ่ายเงินปันผล โดยผ่านมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2549 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2549 มีมติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2548 ในอัตราหุ้นละ 0.18 บาท รวมเป็นจำนวน เงิน 120.60 ล้านบาท ซึ่งได้จ่ายให้ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2549 อีกทั้งบริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรเพิ่มขึ้น 447.80 ล้านบาท ความเหมาะสมของโครงสร้างเงินทุน ณ สิ้นปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เท่ากับ 1.69 เท่า, 1.21 เท่า และ 1.43 เท่า ตามลำดับ โดยในปี 2548 ลดลงจากปี 2547 อย่างมากเนื่องจากเสนอขาย หุ้นเพิ่มทุนในปี 2548 ประกอบกับการที่บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในปีเดียวกันบริษัทมีการจ่าย เงินปันผลด้วย ทั้งนี้ในปี 2549 เพิ่มขึ้นจากปี 2548 เนื่องจากการกู้ยืมเงินเพื่อเป็นเงินทุนในการพัฒนาโครงการของ บริษัทและบริษัทย่อย โดยเฉพาะโครงการของบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย โดยโครงการส่วนใหญ่ของ บริษัทย่อยกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและยังไม่ได้เปิดขาย จึงทำให้มียอดเงินการกู้ยืมเงินเพื่อนำมาพัฒนาโครงการมี มูลค่าที่ยังสูง อีกทั้งบริษัทมีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นด้วย สำหรับอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นโดยเฉลี่ยของบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยมีอัตรา ส่วนที่เหมาะสมไม่เกิน 1.00 เท่า ดังนั้นอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทจึงเกินเกณฑ์ค่าเฉลี่ยของบริษัทใน อุตสาหกรรมเดียวกันเล็กน้อย อย่างไรก็ตามโครงการต่าง ๆ ที่บริษัทและบริษัทย่อยดำเนินการพัฒนาอยู่ หากเริ่มทำการ เปิดขายและมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้กับลูกค้าแล้ว บริษัทและบริษัทย่อยจะดำเนินการทยอยคืนวงเงินกู้ยืมดังกล่าว ซึ่งจะ ส่งผลให้อัตราส่วนดังกล่าวลดลงด้วย

131


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

ปัจจัยและอิทธิพลที่อาจมีผลต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต

ความต้องการของผู้บริโภคต่อที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไป จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาวะทางการเมือง การชลอตัวของเศรษฐกิจ ปัญหาราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้น เป็นต้น ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อความต้องการที่อยู่อาศัย และการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัย ของผู้บริโภค ดังนั้นหากมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามากระทบต่อผู้บริโภคอาจทำให้ความต้องการของผู้บริโภคต่อที่อยู่อาศัยนั้น เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้บริษัทไม่สามารถขายสินค้าได้ หรือขายสินค้าได้ช้าลง ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีภาระต้นทุนสินค้า คงเหลือในปริมาณที่สูง และส่งผลกระทบต่อสภาพคล่อง รวมทั้งความสามารถในการทำกำไรของบริษัท อย่างไรก็ตามจากการมุ่งเน้นความเป็นเลิศของผลิตภัณฑ์และบริการ ภายใต้สโลแกน “เสน่ห์ของ บ้าน...ที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ” จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทได้รับการยอมรับและความเชื่อมั่นจากลูกค้าภายใต้ตราสินค้า “ปริญสิริ” ทั้งนี้บริษัทมีการลดผลกระทบดังกล่าวด้วยการทำวิจัยและศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคก่อนการพัฒนา โครงการ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด ประกอบกับการวางแผนการ ก่อสร้างให้สอดคล้องกับประมาณการขาย โดยแบ่งการพัฒนาโครงการออกเป็นรายเฟส ซึ่งหากบริษัทไม่สามารถขาย สินค้าได้หรือขายสินค้าได้ช้าลง บริษัทก็สามารถชะลอหรือหยุดงานก่อสร้างไว้ชั่วคราวได้ อีกทั้งบริษัทยังทำการส่งเสริม การตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ต่อตราสินค้าของบริษัท เพื่อจูงใจให้เกิดความต้องการผลิตภัณฑ์ และเพื่อเตือน ความทรงจำในสินค้า อีกทั้งยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ และภาพลักษณ์ที่ดีให้กับบริษัท ค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี บริษัทและบริษัทย่อยจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้สอบบัญชีในรอบบัญชีปี 2547, ปี 2548 และปี 2549 จำนวน 0.59, 1.00, 1.18 ล้านบาท ตามลำดับ โดยบริษัทและบริษัทย่อยไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนอื่นที่ไม่ใช่ค่าสอบบัญชี

132


การวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน

133


d

evelop

134


บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

135


รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

เสนอ

ผู้ถือหุ้น บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน)

ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวมและงบดุลเฉพาะบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 งบกำไร ขาดทุ น รวมและงบกำไรขาดทุ น เฉพาะบริ ษั ท งบแสดงการเปลี่ ย นแปลงในส่ ว นของผู้ ถื อ หุ้ น รวมและงบแสดงการ เปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะบริษัท และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะบริษัท สำหรับปีสิ้น สุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และของเฉพาะบริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วน ข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผน และปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง อันเป็นสาระสำคัญหรือ ไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบ การเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้ และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็น สาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการ เงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัทข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงิน เฉพาะบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 ผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะบริษัทและ กระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสดเฉพาะบริษัท สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และงบการเงินเฉพาะของบริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป สำนักงานสอบบัญชี ดี ไอ เอ (นางวิไลรัตน์ โรจน์นครินทร์) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขทะเบียน 3104 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550

136


งบการเงิน

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

งบการเงินรวม (บาท) 2549 2548

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 2548

สินทรัพย์ หมายเหตุ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 5 111,144,891.32 78,826,951.20 93,431,155.45 58,003,167.59 เงินลงทุนชั่วคราว 6 26,984,289.43 139,141,915.54 428,455.12 139,141,915.54 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ 7 30,270,572.65 26,156,884.62 1,277,310.84 374,500.00 เงินให้กู้ยืมบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - ตั๋วสัญญาใช้เงิน 8 0.00 0.00 248,283,300.00 45,900,000.00 สินค้าคงเหลือ 9 3,873,103,125.24 2,617,635,322.24 2,680,016,781.10 2,360,637,089.63 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินมัดจำค่าสินค้า 53,054,195.59 10,410,221.36 49,923,683.25 10,410,221.36 เงินมัดจำค่าที่ดิน 61,811,088.75 113,872,425.00 61,811,088.75 93,872,425.00 อื่น ๆ 35,692,363.70 40,669,924.72 45,655,976.49 42,266,566.93 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนในบริษัทย่อย ที่ดินและอุปกรณ์ - สุทธิ ที่ดินรอการพัฒนา เงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพัน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เงินมัดจำและเงินประกัน

4,192,060,526.68 3,026,713,644.68 3,180,827,751.00 2,750,605,886.05 10 11 12 13

0.00 36,428,654.39 69,533,625.00 92,091,339.56

0.00 29,940,975.60 70,244,967.43 88,373,773.17

83,394,762.10 33,975,654.66 69,533,625.00 85,854,654.10

44,741,555.74 29,600,411.97 70,244,967.43 84,331,575.42

5,860,147.09

5,540,250.92

5,328,947.09

5,227,750.92

รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 203,913,766.04 194,099,967.12 278,087,642.95 234,146,261.48 รวมสินทรัพย์ 4,395,974,292.72 3,220,813,611.80 3,458,915,393.95 2,984,752,147.53 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

137


งบการเงิน

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุล (ต่อ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

งบการเงินรวม (บาท) หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุ 2549 2548 หนี้สินหมุนเวียน เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้น จากสถาบันการเงิน 14 327,672,687.09 266,421,873.77 เงินกู้ยืมระยะสั้น - ตั๋วสัญญาใช้เงิน 15 330,546,700.00 136,100,000.00 เจ้าหนี้ค่าที่ดิน - ตั๋วสัญญาใช้เงิน 16 64,167,000.00 257,501,500.00 เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 17 241,308,633.44 237,984,783.20 ค่างวดที่ยังไม่รับรู้เป็นรายได้ 77,987,900.00 126,391,800.00 หนี้สินหมุนเวียนอื่น ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 76,496,386.63 73,546,917.22 เงินประกันผลงานผู้รับเหมา 80,566,316.23 49,183,499.72 อื่น ๆ 47,282,211.09 31,781,931.60 รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน เจ้าหนี้ค่าที่ดิน - ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะยาว เงินกู้ยืมระยะยาว เจ้าหนี้อื่น ผลขาดทุนเกินกว่าเงิน ลงทุนในบริษัทย่อย

1,246,027,834.48 1,178,912,305.51

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 2548 326,744,373.50 92,000,000.00 64,167,000.00 201,364,704.97 60,937,500.00

258,049,947.98 92,000,000.00 257,501,500.00 216,767,396.44 126,391,800.00

72,911,839.90 68,870,934.00 27,716,593.02

69,454,989.25 52,536,267.42 26,714,651.07

914,712,945.39 1,099,416,552.16

18 19 13

100,000,000.00 1,188,000,279.72 55,815,897.95

0.00 552,592,306.50 40,402,678.23

0.00 714,546,200.72 55,377,597.95

0.00 397,069,106.50 40,402,678.23

10

0.00

0.00

0.00

784,610.00

รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 1,343,816,177.67 592,994,984.73 769,923,798.67 438,256,394.73 รวมหนี้สิน 2,589,844,012.15 1,771,907,290.24 1,684,636,744.06 1,537,672,946.89 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

138


งบการเงิน

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุล (ต่อ) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 งบการเงินรวม (บาท)

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ) หมายเหตุ 2549 ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 670,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท 670,000,000.00

ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว หุ้นสามัญ 670,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 20.2 กำไรสะสม จัดสรรแล้ว สำรองตามกฎหมาย 21 ยังไม่ได้จัดสรร ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2548

2549

2548

670,000,000.00

670,000,000.00

670,000,000.00

670,000,000.00 272,712,400.00

670,000,000.00 272,712,400.00

670,000,000.00 272,712,400.00

670,000,000.00 272,712,400.00

54,340,000.00 777,226,249.89 31,851,630.68

31,940,000.00 472,426,800.64 1,827,120.92

54,340,000.00 777,226,249.89 0.00

31,940,000.00 472,426,800.64 0.00

1,806,130,280.57 1,448,906,321.56 1,774,278,649.89 1,447,079,200.64

รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 4,395,974,292.72 3,220,813,611.80 3,458,915,393.95 2,984,752,147.53 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

139


งบการเงิน

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกำไรขาดทุน สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

งบการเงินรวม (บาท)

2549

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท)

2548

2549

2548

รายได้

รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากการขายสินค้า ส่วนกำไรในผลการดำเนินงานสุทธิของ บริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสีย รายได้อื่น

0.00 11,789,340.38

0.00 12,938,924.68

12,345,805.74 35,515,385.88

12,741,555.74 9,403,666.79

รวมรายได้ ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขายอสังหาริมทรัพย์ ต้นทุนขายสินค้า ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ส่วนขาดทุนในผลการดำเนินงานสุทธิของ บริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสีย ค่าตอบแทนกรรมการ

2,960,515,117.83 2,325,336,348.54 2,868,967,391.62 2,263,151,998.53

รวมค่าใช้จ่าย กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้นิติบุคคล ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล

2,360,165,097.84 1,876,579,798.90 2,260,621,700.00 1,817,774,555.61

1,926,620,854.04 1,548,092,520.72 1,918,414,518.25 1,554,836,470.86 75,003,399.83 64,097,645.55 0.00 0.00 356,690,843.97 262,309,632.63 331,111,692.37 257,523,474.75 0.00 1,850,000.00

0.00 2,080,000.00

9,245,489.38 1,850,000.00

3,334,610.00 2,080,000.00

600,350,019.99 6,408,405.09 151,030,155.89

448,756,549.64 9,041,591.58 135,592,651.05

608,345,691.62 17,341,578.00 143,204,664.37

445,377,442.92 9,904,154.60 130,725,719.98

442,911,459.01 4,887,990.24

304,122,307.01 625,261.33

447,799,449.25 0.00

304,747,568.34 0.00

กำไรสุ 447,799,449.25 ทธิ กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไรสุทธิ 0.67 จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 670,000,000 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

304,747,568.34

447,799,449.25

304,747,568.34

0.56 541,328,767

0.67 670,000,000

0.56 541,328,767

กำไรก่อนส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย

140

2,862,654,200.00 2,241,006,776.00 2,821,106,200.00 2,241,006,776.00 86,071,577.45 71,390,647.86 0.00 0.00


งบการเงิน

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

หมายเหตุ

ยอดยกมา ณ วันที่ 1 มกราคม 2548 เพิ่มทุนระหว่างงวด 20.2 จัดสรรระหว่างงวด สำรองตามกฎหมาย 21 จ่ายเงินปันผลระหว่างงวด 22 รับชำระค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เพิ่มขึ้น ณ วันซื้อ กำไรสุทธิ สำหรับปี ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เพิ่ม(ลด) สำหรับปี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 จัดสรรระหว่างงวด สำรองตามกฎหมาย 21 จ่ายเงินปันผลระหว่างงวด 22 รับชำระค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำไรสุทธิ สำหรับปี ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เพิ่ม(ลด) สำหรับปี ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำระแล้ว

ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น

งบการเงิ นรวม (บาท)

กำไร(ขาดทุน)สะสม จัดสรรแล้วสำรอง ยังไม่ได้จัดสรร ตามกฎหมาย

515,000,000.00 3,000,000.00 16,700,000.00 155,000,000.00 269,712,400.00 0.00

255,019,232.30 0.00

ส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนน้อย

รวม

0.00 0.00

789,719,232.30 424,712,400.00

0.00 0.00 0.00

0.00 15,240,000.00 0.00 0.00 0.00 0.00

(15,240,000.00) 0.00 (72,100,000.00) 0.00 0.00 2,450,000.00

0.00 (72,100,000.00) 2,450,000.00

0.00 0.00

0.00 0.00

0.00 0.00

0.00 304,747,568.34

2,382.25 0.00

2,382.25 304,747,568.34

0.00

0.00

0.00

0.00

(625,261.33)

(625,261.33)

670,000,000.00 272,712,400.00 31,940,000.00

472,426,800.64

1,827,120.92 1,448,906,321.56

0.00 0.00 0.00 0.00

0.00 22,400,000.00 (22,400,000.00) 0.00 0.00 0.00 (120,600,000.00) 0.00 0.00 0.00 0.00 34,912,500.00 0.00 0.00 447,799,449.25 0.00

0.00

0.00

0.00

670,000,000.00 272,712,400.00 54,340,000.00

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

0.00 (4,887,990.24)

0.00 (120,600,000.00) 34,912,500.00 447,799,449.25 (4,887,990.24)

777,226,249.89 31,851,630.68 1,806,130,280.57

141


งบการเงิน

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาม 2549 และ 2548

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำระแล้ว

หมายเหตุ ยอดยกมา ณ วันที่ 1 มกราคม 2548 515,000,000.00 เพิ่มทุนระหว่างงวด 20.2 155,000,000.00 จัดสรรระหว่างงวด สำรองตามกฎหมาย 21 0.00 จ่ายเงินปันผลระหว่างงวด 22 0.00 กำไรสุทธิ สำหรับปี 0.00 ยอดคงเหลือ ณ 31 ธันวาคม 2548 670,000,000.00 จัดสรรระหว่างงวด สำรองตามกฎหมาย 21 0.00 จ่ายเงินปันผลระหว่างงวด 22 0.00 กำไรสุทธิ สำหรับปี 0.00 ยอดคงเหลือ ณ 31 ธันวาคม 2549 670,000,000.00 หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

142

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น

กำไร (ขาดทุน) สะสม จัดสรรแล้ว ยังไม่ได้จัดสรร สำรองตามกฎหมาย

รวม

3,000,000.00 269,712,400.00

16,700,000.00 0.00

255,019,232.30 0.00

789,719,232.30 424,712,400.00

0.00 0.00 0.00

15,240,000.00 0.00 0.00

(15,240,000.00) (72,100,000.00) 304,747,568.34

0.00 (72,100,000.00) 304,747,568.34

272,712,400.00

31,940,000.00

472,426,800.64

1,447,079,200.64

0.00 0.00 0.00

22,400,000.00 0.00 0.00

(22,400,000.00) (120,600,000.00) 447,799,449.25

0.00 (120,600,000.00) 447,799,449.25

272,712,400.00

54,340,000.00

777,226,249.89

1,774,278,649.89


งบการเงิน

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสด สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 งบการเงินรวม (บาท) 2549 2548

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน กำไรสุทธิ 447,799,449.25 304,747,568.34 รายการปรับกระทบกำไรสุทธิเป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากกิจกรรมดำเนินงาน ค่าเสื่อมราคา 10,974,487.53 9,220,975.50 โอนกลับหนี้สงสัยจะสูญ 0.00 (100,000.00) หนี้สงสัยจะสูญ 496,022.61 0.00 หนี้สูญ 2,003,020.61 0.00 (กำไร) ขาดทุนจากการขายทรัพย์สิน (1,134.58) 37,314.34 (กำไร) ขาดทุนจากการเลิกใช้ทรัพย์สิน 233,776.64 374,660.87 กำไรจากการจำหน่ายเงินลงทุนชั่วคราว (300,677.58) (7,594.75) กำไรจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนชั่วคราว (141,696.31) (134,320.79) รายได้อื่น 0.00 (7,701,865.76) ส่วนกำไรในผลการดำเนินงานสุทธิ ของบริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสีย 0.00 0.00 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (4,887,990.24) (625,261.33) การเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของสินทรัพย์ดำเนินงาน (เพิ่มขึ้น) ลดลง ลูกหนี้การค้า (6,612,731.25) (3,863,618.20) สินค้าคงเหลือ (1,091,300,803.00) (409,959,441.65) สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 14,394,923.04 (97,686,114.24) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (319,896.17) 2,727,430.40

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 2548 447,799,449.25

304,747,568.34

10,672,396.22 0.00 0.00 0.00 (883.56) 230,781.56 (270,796.64) (15,742.94) 0.00

9,135,261.47 (100,000.00) 0.00 0.00 37,314.34 372,660.87 (7,594.75) (134,320.79) 0.00

(3,100,316.36) 0.00

(9,406,945.74) 0.00

(902,810.84) (255,212,691.47) (10,841,535.20) (101,196.17)

33,500.00 (156,863,928.53) (87,257,627.51) (1,429,552.98)

143


งบการเงิน

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสด (ต่อ) สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 งบการเงินรวม (บาท) 2549 2548

การเปลี่ยนแปลงในส่วนประกอบของหนี้สินดำเนินงาน เพิ่มขึ้น(ลดลง) เจ้าหนี้ค่าที่ดิน - ตั๋วสัญญาใช้เงิน (257,501,500.00) เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย 3,323,850.24 เงินค่างวดที่ยังไม่รับรู้เป็นรายได้ (48,403,900.00) ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย 2,949,469.41 46,883,096.00 หนี้สินหมุนเวียนอื่น

0.00 101,115,783.47 25,268,175.00 28,492,681.88 37,445,617.91

(257,501,500.00) (15,402,691.47) (65,454,300.00) 3,456,850.65 17,336,608.53

0.00 95,032,230.29 25,268,175.00 25,609,448.28 32,047,198.65

เงิ (880,412,233.80) (10,648,009.01) นสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)ในกิจกรรมดำเนินงาน กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินสดจ่ายซื้อเงินลงทุนชั่วคราว - กองทุน เปิดตราสารหนี้ (33,000,000.00) (159,000,000.00) เงินสดรับจากการขายเงินลงทุนชั่วคราว กองทุนเปิดตราสารหนี้ 145,600,000.00 20,000,000.00 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย(เพิ่มขึ้น) 0.00 0.00 เงินฝากประจำมีภาระผูกพัน(เพิ่มขึ้น) ลดลง 11,695,653.33 (33,879,022.23) เงินสดจ่ายเพื่อซื้อบริษัทย่อยสุทธิจาก เงินสดที่ได้มา (ข้อมูลเพิ่มเติม 2) 0.00 (22,516,086.46) เงินสดจ่ายเพื่อซื้อเงินลงทุนในบริษัทย่อย 0.00 0.00 เงินสดจ่ายซื้ออุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงาน (14,480,657.54) (13,325,561.87) เงินสดรับจากการขายอุปกรณ์และ เครื่องใช้สำนักงาน 65,191.59 1,756,074.77 ที ่ ด ิ น รอการพั ฒ นา(เพิ ่ ม ขึ ้ น ) (2,568,000.00) 0.00

(129,308,378.44)

237,083,386.94

0.00

(159,000,000.00)

139,000,000.00 (202,383,300.00) 13,451,841.04

20,000,000.00 (45,900,000.00) (34,151,723.48)

0.00 (36,337,500.00) (12,006,194.48)

0.00 (34,550,000.00) (13,229,000.85)

8,000.00 (2,568,000.00)

1,756,074.77 0.00

(100,835,153.44)

(265,074,649.56)

เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป) ในกิจกรรมลงทุน

107,312,187.38

(206,964,595.79)

144

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 2548


งบการเงิน

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสด (ต่อ) สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

งบการเงินรวม (บาท)

2549 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน จ่ายเงินปันผล เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจาก สถาบันการเงินเพิ่มขึ้น (ลดลง) เงินกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มขึ้น(ลดลง) จ่ายคืนเจ้าหนี้เช่าซื้อทรัพย์สิน เงินกู้ยืมระยะยาวเพิ่มขึ้น(ลดลง) เงินสดรับค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุน เงินสดรับค่าหุ้นสามัญจากผู้ถือหุ้นส่วนน้อย เงิ นสดสุทธิได้มา(ใช้ไป)จากกิจกรรมจัดหาเงิน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ข้อมูลกระแสเงินสดเปิดเผยเพิ่มเติม 1. เงินสดจ่ายในระหว่างงวด ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคล

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท)

2548

2549

2548

(120,600,000.00)

(72,100,000.00)

(120,600,000.00)

(72,100,000.00)

61,250,813.32 194,446,700.00 0.00 635,407,973.22 0.00 34,912,500.00

219,265,169.57 44,100,000.00 (1,009,781.06) (351,859,977.04) 424,712,400.00 2,450,000.00

68,694,425.52 0.00 0.00 317,477,094.22 0.00 0.00

210,893,243.78 0.00 (1,009,781.06) (507,383,177.04) 424,712,400.00 0.00

805,417,986.54

265,557,811.47

265,571,519.74

55,112,685.68

32,317,940.12

47,945,206.67

35,427,987.86

27,121,423.06

78,826,951.20

30,881,744.53

58,003,167.59

30,881,744.53

111,144,891.32

78,826,951.20

93,431,155.45

58,003,167.59

82,390,785.85 151,864,111.86

61,957,062.35 107,100,052.46

60,862,235.08 139,747,813.72

58,284,859.72 105,116,271.70

145


งบการเงิน

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสด (ต่อ) สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

2. การซื้อบริษัทย่อย ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 บริษัทฯ ได้ลงทุนซื้อหุ้นสามัญของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ซึ่งมีราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ และหนี้สิน ดังนี้

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า - สุทธิ สินค้าคงเหลือ ลูกหนี้เงินประกันผลงาน สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น อุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงาน - สุทธิ เงินฝากธนาคารที่ติดภาระผูกพัน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น

บาท 9,483,913.54 24,940,210.94 3,902,719.49 10,607,211.37 7,974,871.06 331,716.64 4,314,899.00 4,469,483.38 (18,188,778.10) (1,208,694.37) (6,923,304.94)

มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิที่ได้รับ ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย ส่วนเกินราคาตามบัญชีที่สูงกว่าราคาทุนที่จ่ายซื้อ หัก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่มีอยู่ในบริษัทย่อย ณ วันซื้อกิจการ

39,704,248.01 (2,382.25) (7,701,865.76) (9,483,913.54)

22,516,086.46 เงินสดจ่ายซื้อบริษัทย่อยสุทธิจากเงินสดที่จ่ายซื้อเข้ามา 3. รายการไม่กระทบเงินสด 3.1 ในปี 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อย บันทึกเงินฝากประจำที่มีภาระผูกพัน จำนวน 15.41 ล้านบาท และ 40.40 ล้านบาท ตามลำดับ และเจ้าหนี้อื่นด้วยจำนวนเดียวกัน ตามหมายเหตุข้อ 13 (เฉพาะบริษัทฯ ในปี 2549 จำนวน 14.97 ล้าน บาท) 3.2 ในปี 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อย ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อซื้อที่ดินในการพัฒนาโครงการ จำนวน 164.17 ล้านบาท และจำนวน 257.50 ล้านบาท ตามลำดับ (เฉพาะบริษัทฯ ในปี 2549 มีจำนวน 64.17 ล้านบาท) 3.3 ในปี 2549 บริษัทฯ โอนที่ดินรอการพัฒนาไปเป็นที่ดินและอุปกรณ์ จำนวน 3.28 ล้านบาท 3.4 ในปี 2548 บริษัทฯ โอนที่ดินที่ใช้ในการพัฒนาโครงการไปเป็นที่ดินรอการพัฒนา จำนวน 66.97 ล้านบาท หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

146


147


a

bsolute

148


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

149


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548

1. ข้อมูลทั่วไป 1.1 บริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน ตามกฎหมายไทย ทะเบียนเลขที่ 0107547000320 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2547 ตั้งอยู่เลขที่ 123 อาคารซันทาวเวอร์ส ชั้น 12 อาคาร เอ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 1.2 บริษัทฯ ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย 1.3 บริษัทฯ มีข้อมูลเกี่ยวกับพนักงานดังนี้ งบการเงิ นรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท จำนวนพนักงานถัวเฉลี่ย (คน) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน (ล้านบาท)

2549 247 99.00

2548 177 66.01

2549 225 93.94

2548 165 62.67

2. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน งบการเงินนี้แสดงรายการตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยกระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ 14 กันยายน 2544 เรื่องกำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินของบริษัทมหาชนจำกัด และได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรอง ทั่วไป ภายใต้พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 งบการเงินของบริษัทฯและบริษัทย่อยได้จัดทำขึ้นโดยใช้เกณฑ์ราคาทุนเดิมในการวัดมูลค่าขององค์ประกอบของ รายการในงบการเงิ น ยกเว้ นรายการที ่เปิด เผยไว้ในนโยบายการบัญชีที่เกี่ยวข้อง

3. เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม 3.1 ในการจัดทำงบการเงินรวมถือหลักเกณฑ์การรวมเฉพาะบริษัท ซึ่งบริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) มี อำนาจควบคุมในบริษัทเหล่านั้น ตามหลักวิธีส่วนได้เสีย (Equity Method) หลังจากได้ตัดยอดคงเหลือและ รายการระหว่างกันแล้ว โดยบริษัทฯ ได้นำบริษัทย่อย 2 แห่ง เข้ามาจัดทำงบการเงินรวมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2548 และวันที่ 22 เมษายน 2548 ตามลำดับ ซึ่งเป็นวันที่มีอำนาจควบคุม 3.2 การตัดบัญชีรายการระหว่างบริษัทในบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย ตามวิธีส่วนได้เสียกับส่วนของผู้ถือหุ้นโดย ถือหลักการตัดบัญชีเป็นเงินลงทุนร้อยละ 100 ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นรายอื่น แสดงเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วน น้อย 3.3 ส่วนของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อยที่เกินกว่าราคาที่จ่ายซื้อสุทธิ (ค่าความนิยมติดลบ) บริษัทฯ ได้ รับรู้เป็นรายได้ทั้งจำนวนในระหว่างงวด โดยแสดงเป็นรายได้อื่นในงบกำไรขาดทุน 3.4 งบการเงินรวมนี้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานรวมของบริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย เท่านั้น การใช้ข้อมูลตามงบการเงินเพื่อวัตถุประสงค์อื่น อาจมี ข้อจำกัดด้านลักษณะธุรกิจที่ค่อนข้างแตกต่างกันในบรรดาบริษัทต่าง ๆ ที่นำงบการเงินมาประกอบเป็นงบ การเงินรวม 150


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

3.5 งบการเงินรวมประกอบด้วยงบการเงินของบริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่และงบการ เงินบริษัทย่อย ซึ่งบริษัท ปริญสิริ จำกัด (มหาชน) เข้าถือหุ้นหรือมีอำนาจควบคุมอย่างเป็นสาระสำคัญใน บริ ษัท ย่อยดั งนี้ อัตราการถือหุ้น ร้อยละ 2549 99.99 51.00

ประเภทธุรกิจ

ความสัมพันธ์

2548 99.99 51.00

บริษัท โกรโยธา กรุ๊ป จำกัด ขายสินค้าและรับเหมาก่อสร้าง บริษัทย่อย พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย บริษัทย่อย บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด 4. สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ 4.1 การบันทึกรายได้และค่าใช้จ่าย 4.1.1 รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ รับรู้เป็นรายได้เมื่องานก่อสร้างเสร็จตามสัญญา และมีการโอน กรรมสิทธิ์แก่ผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว 4.1.2 รายได้จากการขายสินค้า รับรู้รายได้เมื่อมีการส่งมอบและได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เป็น สาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้าให้กับผู้ซื้อแล้ว 4.1.3 รายได้จากการรับเหมาก่อสร้าง รับรู้ตามส่วนของงานเสร็จ ซึ่งคำนวณตามอัตราส่วนต้นทุนของ งานที่เกิดขึ้นแล้วกับต้นทุนทั้งหมดที่ประมาณว่าจะใช้ในการก่อสร้าง รายได้ที่รับรู้แล้วแต่ยังไม่ถึง กำหนดเรียกชำระตามสัญญาแสดงไว้เป็น “มูลค่างานเสร็จที่ยังไม่ได้เรียกเก็บ” 4.1.4 รายได้อื่นและค่าใช้จ่ายรับรู้ตามเกณฑ์คงค้าง 4.2 เงินลงทุนชั่วคราว เงินลงทุนในกองทุนเปิด - ตราสารหนี้ แสดงด้วยราคายุติธรรม ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่า บันทึกไว้ในงบ กำไรขาดทุน 4.3 การบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทฯ และบริษัทย่อยบันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ โดยประมาณการจากลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้และ อาศัย ประสบการณ์ในการเก็บหนี้ที่ผ่านมาเป็นเกณฑ์ 4.4 การตีราคาสินค้าคงเหลือ บริษัทฯ และบริษัทย่อยตีราคาสินค้าคงเหลือ - อสังหาริมทรัพย์รอการขาย ตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้ รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ราคาทุนของสินค้าคงเหลือ - อสังหาริมทรัพย์รอการขายของแต่ละโครงการประกอบด้วย ต้นทุนในการได้มาซึ่งที่ดิน ค่าพัฒนาที่ดิน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับโครงการและดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เกี่ยวข้องกับการ ได้มาของที่ดินและการก่อสร้างจะบันทึกเป็นต้นทุนสินค้า เมื่อเริ่มมีการพัฒนาโครงการ และจะหยุดบันทึกเมื่อการ ก่อสร้างแล้วเสร็จหรือหยุดพัฒนาโครงการ โดยจะตัดจ่ายเป็นต้นทุนขายตามสัดส่วนของที่ดินที่โอนขาย บริษัทย่อยตีราคาสินค้าคงเหลือ - วัสดุก่อสร้างตามราคาทุน โดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้ รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า

151


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

4.5 ที่ดินและอุปกรณ์ บริษัทฯ และบริษัทย่อยบันทึกราคาสินทรัพย์ในราคาทุนหักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม บริษัทฯ และบริษัทย่อยตัดค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงาน โดยวิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดย ประมาณ ของสินทรัพย์เป็นระยะเวลาประมาณ 5 ปี 4.6 ที่ดินรอการพัฒนา ที่ดินรอการพัฒนาหมายถึง ที่ดินที่บริษัทฯ มีความตั้งใจที่จะถือไว้เพื่อประโยชน์ในอนาคตและบันทึกไว้เป็น สินทรัพย์ ไม่หมุนเวียน โดยแสดงตามราคาทุนซึ่งอาจปรับด้วยค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์ ราคาทุนประกอบด้วย ค่าที่ดินและ ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดิน รวมถึงต้นทุนการกู้ยืมที่เกี่ยวข้องที่เกิดในระหว่างการพัฒนาที่ดิน เฉพาะในขณะที่มีการพัฒนาที่ดินนั้น บริษัทฯ จะหยุดรวมต้นทุนกู้ยืมในระหว่างที่กิจกรรมในการพัฒนาที่ดินหยุดลงหรือ เมื่อการพัฒนาเสร็จสิ้น 4.7 ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทฯ และบริษัทย่อยบันทึกภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องจ่ายในแต่ละปี เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในงวดนั้น และ คำนวณภาษีเงินได้ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดให้รับรู้รายได้ตามวิธีค่างวดที่ครบกำหนดชำระ 4.8 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารทุกประเภทแต่ไม่รวมเงินฝาก ประเภท ที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด 4.9 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น ที่แสดงไว้ในงบกำไรขาดทุนเป็นกำไร(ขาดทุน)ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน ซึ่งคำนวณโดยการหาร ยอด กำไร(ขาดทุน)สุทธิ สำหรับปีด้วยจำนวนหุ้นสามัญที่ออกจำหน่ายและเรียกชำระแล้วถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 4.10 ประมาณการทางบัญชี การจัดทำงบการเงินเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ในบางกรณีฝ่ายบริหารอาจต้องใช้ประมาณการและ ตั้งข้อสมมติฐานบางประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อจำนวนเงินที่แสดงไว้ในงบการเงิน และการเปิดเผยในหมายเหตุประกอบ งบการเงินซึ่งผลที่เกิดขึ้นจริงภายหลังอาจแตกต่างไปจากจำนวนเงินที่ประมาณไว้ 4.11 ประมาณการหนี้สิน บริษัทฯ จะบันทึกประมาณการหนี้สินเมื่อมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ของการเกิดภาระผูกพันในปัจจุบันตาม กฎหมาย หรือจากการอนุมานอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในอดีต ภาระผูกพันดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลให้สูญเสีย ทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อจ่ายชำระภาระผูกพันและจำนวนที่ต้องจ่ายสามารถประมาณการได้อย่างน่าเชื่อ ถือหากบริษัทฯ คาดว่าจะได้รับคืนรายจ่ายที่จ่ายชำระไปตามประมาณการหนี้สินทั้งหมดหรือบางส่วนอย่างแน่นอน บริษัทฯ จะรับรู้รายจ่าย ที่ได้รับคืนเป็นสินทรัพย์แยกต่างหากแต่ต้องไม่เกินจำนวนประมาณการหนี้สินที่เกี่ยวข้อง

152


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

5. เงิ นสดและรายการเที ยบเท่าเงินสด ประกอบด้วย งบการเงินรวม (บาท) เงินสด แคชเชียร์เช็ค เช็คฝากระหว่างทาง เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ รวม 6. เงินลงทุนชั่วคราว

กองทุนเปิด - ตราสารหนี้ 7. ลูกหนี้การค้า-สุทธิ หมายเหตุ

2549 823,736.72 0.00 50,388,450.00 4,395,911.49 55,536,793.11

2548 780,830.00 9,000,000.00 3,440,425.00 21,865,175.75 43,740,520.45

2549 745,789.72 0.00 46,438,250.00 2,691,064.68 43,556,051.05

2548 720,830.00 9,000,000.00 3,440,425.00 21,865,175.75 22,976,736.84

111,144,891.32

78,826,951.20

93,431,155.45

58,003,167.59

งบการเงินรวม (บาท)

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท)

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท)

2549 2548 26,984,289.43 139,141,915.54

2549 428,455.12

2548 139,141,915.54

26,984,289.43 139,141,915.54

428,455.12

139,141,915.54

งบการเงินรวม (บาท)

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท)

2549

2548

2549

2548

0.00 33,602,692.52

0.00 28,992,981.88

1,277,310.84 395,000.00

374,500.00 395,000.00

ลูกหนี้การค้า - บริษัทที่เกี่ยวข้อง 25.1 - อื่น รวม หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ลูกหนี้การค้าอื่น

33,602,692.52

28,992,981.88

1,672,310.84

769,500.00

(3,332,119.87)

(2,836,097.26)

(395,000.00)

(395,000.00)

รวม

30,270,572.65

26,156,884.62

1,277,310.84

374,500.00

ยอดลูกหนี้การค้าแยกตามอายุหนี้ที่ค้างชำระได้ดังนี้

153


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

งบการเงินรวม (บาท) 2549 2548 8,279,672.96 7,325,404.90 9,369,217.56 15,506,931.13 3,859,471.33 2,976,951.13 8,762,210.80 612,629.15 3,332,119.87 2,571,065.57

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 2548 1,277,310.84 374,500.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 395,000.00 395,000.00

ในกำหนด อายุระหว่าง 1 - 90 วัน อายุระหว่าง 91 - 180 วัน อายุระหว่าง 181 - 360 วัน เกินกว่า 360 วัน รวม 33,602,692.52 28,992,981.88 1,672,310.84 769,500.00 8. เงินให้กู้ยืมบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน - ตั๋วสัญญาใช้เงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ ให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทย่อยแห่งหนึ่ง เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 248.28 ล้านบาท และจำนวน 45.90 ล้านบาท ตามลำดับ ครบกำหนดเมื่อทวงถาม อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR+2 ต่อปี ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน การให้กู้ยืมเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น 9. สินค้าคงเหลือ ประกอบด้วย

งบการเงินรวม (บาท)

2549

2548

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549

2548

สินค้าสำเร็จรูป - บ้านเพื่อขาย 46,164,934.34 0.00 46,164,934.34 0.00 - วัสดุก่อสร้าง 1,389,115.17 489,623.55 0.00 0.00 ที่ดินและค่าพัฒนาที่ดิน 2,426,041,071.82 1,714,309,008.96 1,755,096,654.80 1,491,532,428.97 งานระหว่างก่อสร้าง 1,274,716,316.12 820,923,615.16 811,857,288.13 795,813,891.14 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับโครงการ 26,709,676.52 18,726,872.77 20,549,679.31 17,772,959.85 98,082,011.27 63,186,201.80 46,348,224.52 55,517,809.67 ดอกเบี้ยรอการตัดบัญชี รวม 3,873,103,125.24 2,617,635,322.24 2,680,016,781.10 2,360,637,089.63 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแต่ละโครงการของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ส่วนใหญ่ จำนวน 3,589.95 ล้านบาท และจำนวน 2,617.64 ล้านบาท ตามลำดับ (เฉพาะบริษัทฯ จำนวน 2,398.25 ล้านบาท และจำนวน 2,360.64 ล้านบาท ตามลำดับ) ได้นำไปจดจำนองเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงินเบิก เกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน วงเงินอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน และเงินกู้ยืมระยะยาว ตามหมายเหตุ 14, 16,18 และ 19 ตามลำดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อยบันทึกดอกเบี้ยจ่ายเป็นต้นทุนโครงการ จำนวน 93.61 ล้านบาท และจำนวน 56.87 ล้านบาท ตามลำดับ (เฉพาะบริษัทฯ มีจำนวน 45.73 ล้านบาท และ จำนวน 48.31 ล้านบาท ตามลำดับ) 154


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

10. เงินลงทุนในบริษัทย่อย

อัตรา การถือหุ้น บริษัท โกรโยธา กรุ๊ป จำกัด 99.99 บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด 51.00 รวม

งบการเงินรวม (บาท) 2549 วิธีราคาทุน 0.00 0.00

วิธีส่วนได้เสีย 0.00 0.00

0.00

0.00

2548 วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00

0.00

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท)

อัตรา 2549 2548 การถือหุ้น วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย บริษัท โกรโยธา กรุ๊ป จำกัด 99.99 32,000,000.00 57,087,361.48 32,000,000.00 44,741,555.74 0.00 บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด 51.00 38,887,500.00 26,307,400.62 2,550,000.00 รวม 70,887,500.00 83,394,762.10 34,550,000.00 44,741,555.74 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 เงินลงทุนในบริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ซึ่งบันทึกตามวิธีส่วนได้เสีย มียอดติดลบ จำนวน 784,610.00 บาท ได้แสดงไว้เป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน - ผลขาดทุนเกินกว่าเงินลงทุนในบริษัทย่อย 11. ที่ดินและอุปกรณ์ - สุทธิ งบการเงินรวม (บาท) 2548 เพิ่มขึ้น ลดลง โอนเข้า(โอนออก) 2549 ราคาทุน :ที่ดิน 0.00 0.00 0.00 3,279,342.43 3,279,342.43 เครื่องจักรและอุปกรณ์ 3,346,838.00 403,914.92 170,000.00 434,251.32 4,015,004.24 เครื่องตกแต่งสำนักงาน 6,628,121.05 1,434,577.73 0.00 0.00 8,062,698.78 เครื่องใช้สำนักงาน 21,478,707.06 9,158,539.89 139,250.28 (941,423.18) 29,556,573.49 22,236,410.81 3,483,625.00 0.00 (50,700.00) 25,669,335.81 ยานพาหนะ รวม 53,690,076.92 14,480,657.54 309,250.28 2,721,470.57 70,582,954.75 ค่าเสื่อมราคาสะสม :เครื่องจักรและอุปกรณ์ 2,149,952.64 787,808.05 134,043.05 (28,473.28) 2,775,244.36 เครื่องตกแต่งสำนักงาน 2,847,743.60 1,408,134.80 0.00 0.00 4,255,878.40 เครื่องใช้สำนักงาน 7,084,586.98 4,682,124.45 111,150.22 (270,042.15) 11,385,519.06 11,666,818.10 4,096,420.23 0.00 (25,579.79) 15,737,658.54 ยานพาหนะ 23,749,101.32 10,974,487.53 245,193.27 (324,095.22) 34,154,300.36 รวม ที่ดินและอุปกรณ์ - สุทธิ 29,940,975.60 36,428,654.39 155


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์ถาวรที่คิดค่าเสื่อมราคาเต็มราคา มูลค่าแล้ว แต่ยังใช้งานอยู่ คิดเป็นมูลค่าต้นทุน 7.11 ล้านบาท และ 2.68 ล้านบาท ตามลำดับ ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 จำนวน 10.97 ล้านบาท และจำนวน 9.22 ล้านบาท ตามลำดับ งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) ราคาทุน :ที่ดิน เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องใช้สำนักงาน ยานพาหนะ รวม ค่าเสื่อมราคาสะสม :เครื่องจักรและอุปกรณ์ เครื่องตกแต่งสำนักงาน เครื่องใช้สำนักงาน ยานพาหนะ รวม

2548

เพิ่มขึ้น

ลดลง

โอนเข้า(โอนออก)

2549

0.00 0.00 3,175,038.00 403,914.92 6,615,181.10 32,510.88 21,039,082.79 8,086,143.68 22,207,906.14 3,483,625.00 53,037,208.03 12,006,194.48

0.00 3,279,342.43 3,279,342.43 0.00 434,251.32 4,013,204.24 0.00 0.00 6,647,691.98 99,540.00 (937,892.18) 28,087,794.29 0.00 (50,700.00) 25,640,831.14 99,540.00 2,725,001.57 67,668,864.08

2,035,937.32 2,841,777.33 6,910,380.70 11,648,700.71

766,396.32 1,326,055.08 4,489,225.32 4,090,719.50

0.00 0.00 92,423.56 0.00

(28,473.28) 2,773,860.36 0.00 4,167,832.41 (269,506.23) 11,037,676.23 (25,579.79) 15,713,840.42

23,436,796.06 10,672,396.22

92,423.56

(323,559.30) 33,693,209.42

ที่ดินและอุปกรณ์ - สุทธิ 29,600,411.97 33,975,654.66 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ มีสินทรัพย์ถาวรที่คิดค่าเสื่อมราคาเต็มราคามูลค่าแล้ว แต่ยัง ใช้งานอยู่คิดเป็นมูลค่าต้นทุน 7.11 ล้านบาท และจำนวน 2.68 ล้านบาท ตามลำดับ ค่าเสื่อมราคาสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 จำนวน 10.67 ล้านบาท และจำนวน 9.13 ล้านบาท ตามลำดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทฯ นำที่ดินไปจดจำนองกับธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน วงเงินเบิกเกินบัญชีของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งตามหมายเหตุ 14 ในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 บริษัทฯ จำหน่ายยานพาหนะ 1 คัน ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกัน ตามหมายเหตุ 25.14 ยานพาหนะดังกล่าวมีราคาตามบัญชี จำนวน 1,683,068.89 บาท มีผลกำไรจากการจำหน่ายจำนวน 16,931.11 บาท

156


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

12. ที่ดินรอการพั ฒนา ที่ดินและค่าพัฒนาที่ดิน

งบการเงินรวม (บาท)

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท)

2549

2548

2549

2548

69,533,625.00

70,244,967.43

69,533,625.00

70,244,967.43

69,533,625.00

70,244,967.43

69,533,625.00

70,244,967.43

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 ที่ดินรอการพัฒนาของบริษัทฯ จำนวน 69.53 ล้านบาท ได้นำไปจดจำ นองเป็นหลักทรัพย์ ค้ำประกันวงเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร ตามหมายเหตุ 14 13. เงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีเงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำ จำนวน 92.09 ล้านบาท และจำนวน 88.37 ล้านบาท ตามลำดับ (เฉพาะบริษัทฯ มีจำนวน 85.85 ล้านบาท และจำนวน 84.33 ล้านบาท ตามลำดับ) โดยเงินฝากออมทรัพย์บางส่วน จำนวน 55.19 ล้านบาท และจำนวน 40.40 ล้านบาท ตามลำดับ เป็นเงินฝากจากการเรียกเก็บค่าสาธารณูปโภคส่วนกลาง จากลูกค้า ซึ่งบริษัทฯ มีภาระผูกพันที่ต้องโอนส่ง มอบเงินดังกล่าว เมื่อได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านแต่ละโครงการเรียบร้อยแล้วและ บริษัทฯ ได้บันทึกหนี้สินดัง กล่าวเป็นเจ้าหนี้อื่นในงบการเงิน ส่วนที่เหลือนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงินอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและใช้ในการให้ ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันตามหมายเหตุ 16, 27.1 และ 27.2 14. นการเงิน ประกอบด้วย เงินเบิ กเกิ นบัญ ชีและเงิ นกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบั งบการเงินรวม (บาท) งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 2548 2549 2548 เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร 946,094.06 8,371,925.79 17,780.47 0.00 ตั๋วแลกเงิน - สถาบันการเงิน 246,726,593.03 248,049,947.98 246,726,593.03 248,049,947.98 ตั๋วสัญญาใช้เงิน - ธนาคารพาณิชย์ 80,000,000.00 10,000,000.00 80,000,000.00 10,000,000.00 รวม 327,672,687.09 266,421,873.77 326,744,373.50 258,049,947.98 เงิ นการเงิน - ตั๋วแลกเงิน ประกอบด้วย นกู ้ยืมจากสถาบั ตั๋วแลกเงิน หัก ส่วนลดดอกเบี้ยจ่าย ตั๋วแลกเงิน - สุทธิ

งบการเงินรวม (บาท) งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 2548 2549 2548 250,000,000.00 250,000,000.00 250,000,000.00 250,000,000.00 (3,273,406.97) (1,950,052.02) (3,273,406.97) (1,950,052.02) 246,726,593.03 248,049,947.98 246,726,593.03 248,049,947.98

157


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีวงเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร จำนวน 80.00 ล้านบาท และจำนวน 70.00 ล้านบาท ตามลำดับ (เฉพาะบริษัทฯ มีจำนวน 60.00 ล้านบาท) ค้ำประกันโดยที่ดินและสิ่ง ปลูกสร้างโครงการ ที่ดินและอุปกรณ์-สุทธิ ที่ดินรอการพัฒนา และค้ำประกันโดยบริษัทฯ ตามหมายเหตุ 9, 11, 12 และ 27.3 ตามลำดับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ ออกตั๋วแลกเงินกับสถาบันการเงิน จำนวน 250.00 ล้านบาท ครบกำหนดชำระในปี 2550 และ 2549 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.3 - 5.8 ต่อปี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ ออกตั๋วสัญญาใช้เงินกับธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง จำนวน 80.00 ล้านบาท และจำนวน 10.00 ล้านบาท ตามลำดับ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR - 1.25 และอัตราร้อยละ MOR ต่อปี ตามลำดับ ค้ำประกันโดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโครงการและที่ดินของบุคคลที่เกี่ยวข้องตามหมายเหตุ 9 และ 25.17 ตามลำดับ 15. เงินกู้ยืมระยะสั้น - ตั๋วสัญญาใช้เงิน ประกอบด้วย บุคคลอื่น บุคคลใกล้ชิด บริษัทที่เกี่ยวข้อง รวม

งบการเงินรวม (บาท)

25.6.1 25.6.2

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท)

2549 72,000,000.00 20,000,000.00 238,546,700.00

2548 72,000,000.00 20,000,000.00 44,100,000.00

2549 72,000,000.00 20,000,000.00 0.00

2548 72,000,000.00 20,000,000.00 0.00

330,546,700.00

136,100,000.00

92,000,000.00

92,000,000.00

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อยออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ประเภทครบ กำหนดเมื่อทวงถาม มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.00 และร้อยละ 3.50 ต่อปีตามลำดับ และบริษัทที่เกี่ยวข้องในอัตราร้อย ละ MLR + 2 ต่อปี ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน 16. เจ้าหนี้ค่าที่ดิน - ตั๋วสัญญาใช้เงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ มีเจ้าหนี้ค่าที่ดิน - ตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 64.17 ล้านบาท และจำนวน 257.50 ล้านบาท ตามลำดับ อาวัลโดยธนาคารพาณิชย์ วงเงินอาวัลดังกล่าวค้ำประกันโดยที่ดินและสิ่งปลูก สร้างโครงการ และเงินฝากธนาคารที่มีภาระผูกพัน ตามหมายเหตุ 9 และ 13 ตามลำดับ

158


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

17. เจ้าหนี้การค้าและตั๋วเงินจ่าย หมายเหตุ

งบการเงินรวม (บาท) 2549

2548

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549

2548

เจ้าหนี้การค้า - บริษัทที่เกี่ยวข้อง 25.7 0.00 0.00 9,144,029.20 13,404,192.53 - อื่น 235,803,139.15 230,569,644.43 190,539,121.38 198,337,445.83 5,505,494.29 7,415,138.77 1,681,554.39 5,025,758.08 ตั๋วเงินจ่าย รวม 241,308,633.44 237,984,783.20 201,364,704.97 216,767,396.44 18. เจ้าหนี้ค่าที่ดิน - ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะยาว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อซื้อที่ดิน จำนวน 100.00 ล้านบาท ครบกำหนดชำระในปี 2551 อาวัลโดยธนาคารพาณิชย์ วงเงินอาวัลดังกล่าวค้ำประกันโดยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโครงการ ตามหมายเหตุ 9 และค้ำประกันโดยบริษัทฯ ตามหมายเหตุ 27.3 19. เงินกู้ยืมระยะยาว เงินกู้ยืมระยะยาว - ธนาคารพาณิชย์ - สถาบันการเงิน

งบการเงินรวม (บาท) 2549 1,188,000,279.72 0.00

2548

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549

2548

510,060,064.50 714,546,200.72 354,536,864.50 42,532,242.00 0.00 42,532,242.00

รวม 1,188,000,279.72 552,592,306.50 714,546,200.72 397,069,106.50 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ กู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ในประเทศและสถาบันการเงิน รวม 3 แห่ง และ 4 แห่ง ตามลำดับ มีวงเงินรวม จำนวน 3,001.00 ล้านบาท และจำนวน 2,716.75 ล้านบาท ตาม ลำดับ มีอัตราดอกเบี้ยระหว่างร้อยละ MLR - 1.50 ถึง MLR ต่อปี และอัตราร้อยละ MOR ต่อปี โดยชำระดอกเบี้ยทุก เดือน และชำระเงินต้นตามการปลดจำนองอสังหาริมทรัพย์รอการขาย ในสัดส่วนร้อยละ 70 - 80 ของราคาขาย บริษัทฯ ต้องชำระคืนเงินกู้ให้ครบทั้งจำนวนในปี 2551 - ปี 2552 เงินกู้ยืมดังกล่าวค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างของแต่ละโครงการที่เสนอกู้ ตามหมายเหตุ 9 ค้ำประกันส่วนตัวโดยกรรมการบริษัท และค้ำประกัน โดยที่ดินของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตามหมายเหตุ 25.17 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ 2 แห่ง และ 1 แห่ง ตามลำดับ มีวงเงินกู้ยืมจำนวน 1,001.44 ล้านบาท และจำนวน 416.90 ล้านบาท ตามลำดับ มีอัตราดอกเบี้ย ระหว่างร้อยละ MLR - 0.5 ถึง MLR ต่อปี โดยชำระดอกเบี้ยทุกเดือนและชำระเงินต้นตามการปลดจำนอง

159


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

อสังหาริมทรัพย์รอการขายในสัดส่วนร้อยละ 70 - 75 ของราคาขาย โดยต้องชำระคืนเงินกู้ให้ครบทั้งจำนวนในปี 2551 2554 เงินกู้ยืมดังกล่าวค้ำประกันโดยการจดจำนองที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้างโครงการที่เสนอกู้ ตามหมายเหตุ 9 และค้ำ ประกันโดยบริษัทฯ ในวงเงิน 510.73 ล้านบาท และ 212.62 ล้านบาท ตามลำดับ ตามหมายเหตุ 27.3 20. ทุนจดทะเบียน 20.1 ตามรายงานการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ครั้งที่ 3/2549 และครั้งที่ 4/2549 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 และวันที่ 20 มีนาคม 2549 ตามลำดับ มีมติพิเศษให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากจำนวน 0.50 ล้านหุ้น เป็น 10 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10.00 บาท เป็นผลให้บริษัทย่อยมีทุนจดทะเบียนจากเดิมจำนวน 5.00 ล้านบาท เป็นจำนวน 100.00 ล้านบาท โดยเป็นหุ้นสามัญทั้งจำนวน และเรียกชำระหุ้นเพิ่มทุนหุ้นละ 7.50 บาท เป็นจำนวน 71.25 ล้านบาท บริษัทย่อยได้จดทะเบียนเพิ่มทุนที่เรียกชำระแล้ว กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2549 20.2 เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2548 บริษัทฯ นำหุ้นสามัญออกจำหน่ายให้กับบุคคลภายนอกโดยการเสนอขาย ผ่านตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 155 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 2.80 บาท บริษัทฯ ได้รับชำระค่าหุ้นสามัญเพิ่มทุนครบทั้ง จำนวน มีส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญเพิ่มขึ้น จำนวน 269.71 ล้านบาท และบริษัทฯ ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนที่เรียกชำระแล้ว กับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2548 21. สำรองตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 บริษัทฯ ต้องจัดสรรกำไรสุทธิเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิหลังจากหักยอดขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน สำรองตามกฎหมายดังกล่าวจะนำไปจ่ายเงินปันผลไม่ได้ 22. เงินปันผลจ่าย ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2549 และรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2549 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2549 และวันที่ 24 เมษายน 2549 ตามลำดับ มีมติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนิน งาน ประจำปี 2548 ในอัตราหุ้นละ 0.18 บาท เป็นจำนวนเงิน 120.60 ล้านบาท ได้จ่ายให้ผู้ถือหุ้นเรียบร้อยแล้วเมื่อวัน ที่ 24 พฤษภาคม 2549 ตามรายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2548 และรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2548 และวันที่ 26 เมษายน 2548 ตามลำดับ มีมติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลการดำเนิน งานประจำปี 2547 ในอัตราหุ้นละ 0.14 บาท เป็นจำนวนเงิน 72.10 ล้านบาท ได้จ่ายให้ผู้ถือหุ้นเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2548 23. การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ ตามรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2549 และอนุมัติเพิ่มโดยที่ประชุม วิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 กำหนดจ่ายค่าตอบแทนกรรมการบริษัทที่ปฏิบัติงานเพิ่ม เติม โดยกรรมการของบริษัทฯ ที่มิใช่ กรรมการตรวจสอบให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายปีเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน

160


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ไม่เกิน 0.60 ล้านบาท ทั้งนี้อาจได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมในรูปบำเหน็จกรรมการ สำหรับกรรมการตรวจสอบและอิสระ ของบริษัทฯ ให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายปีเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนไม่เกิน 2.48 ล้านบาททั้งนี้อาจได้รับค่าตอบแทน เพิ่มเติมในรูปบำเหน็จกรรมการ บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ จากการอนุมัติโดยที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2548 เมื่อ วันที่ 26 เมษายน 2548 และอนุมัติเพิ่มโดยที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2548 กำหนดจ่ายค่าตอบแทนกรรมการบริษัทที่ปฏิบัติงาน โดยกรรมการของบริษัทฯ ที่มิใช่ กรรมการตรวจสอบให้ได้รับค่า ตอบแทนเป็นรายปี รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 0.60 ล้านบาท ทั้งนี้อาจได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมในรูปบำเหน็จ กรรมการ สำหรับกรรมการตรวจสอบและอิสระของบริษัทฯ ให้ได้รับค่าตอบแทนเป็นรายปี รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวนไม่เกิน 1.85 ล้านบาท ทั้งนี้อาจได้รับค่าตอบแทนเพิ่มเติมในรูปบำเหน็จกรรมการ 24. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน บริษัทฯ และพนักงานร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 และพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 โดยจัดตั้งเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2547 และ มอบหมายให้ผู้จัดการรับอนุญาตเป็นผู้จัดการกองทุนนี้ โดยหักจากเงินเดือนพนักงานส่วนหนึ่งและบริษัทฯ จ่ายสมทบส่วน หนึ่ง และจะจ่ายให้พนักงานในกรณีที่ออกจากงานตามระเบียบการที่กำหนด 25. รายการกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ลำดั ลักษณะความสัมพันธ์ ลักษณะรายการ บ บุคคลหรือกิจการ 1. นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย เป็นกรรมการบริษัทฯ มีเงินทดรองจ่ายกับบริษัทฯ ถึงปัจจุบัน มีเงินให้กู้ยืมกับบริษัทฯ 2. นายสันติ โกวิทจินดาชัย ผู้ถือหุ้น

3. นายขวัญชาย มงคลกิจทวีผล

เป็นกรรมการบริษัทฯ ถึงปัจจุบัน

4. บริษัท โกรโยธา กรุ๊ป จำกัด

บริษัทย่อย

5. บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด

บริษัทย่อย

นำที่ดินค้ำประกันวงเงิน กู้ยืมให้บริษัทฯ ซื้อยานพาหนะจากบริษัทฯ

ให้บริการรับเหมาก่อสร้าง และขายสินค้า บริษัทฯนำที่ดินค้ำประกัน วงเงินเบิกเกินบัญชี มีเงินกู้ยืมจากบริษัทฯ ในรูปตั๋วสัญญาใช้เงิน

นโยบายราคา

ไม่มีการคิดดอกเบี้ยระหว่างกัน เงินกู้ยืมครบกำหนดเมื่อทวงถาม อัตราดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกัน ร้อยละ 5.00 ต่อปี จ่ายชำระ ดอกเบี้ยทุกเดือน ราคาขายยานพาหนะใกล้เคียงกับ ราคาตลาด โดยกำหนดราคา ไม่ต่ำกว่าราคารับซื้อของ เต็นท์รถยนต์ที่ประมูล ราคาใกล้เคียงกับท้องตลาด

เงินกู้ยืมครบกำหนดเมื่อทวงถาม อัตราดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกัน ร้อยละ MLR+2 ต่อปี จ่ายชำระดอกเบี้ยพร้อมเงินต้น

161


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

บริษัทฯ เข้าค้ำประกันทุก วงเงินที่เกี่ยวกับที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างโครงการ ว่าจ้างบริษัทฯ จัดการและ บริหารโครงการ ว่าจ้างบริษัทฯ บริหารงาน ขายโครงการ 6. บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)

7. นาย สกล เปาอินทร์

เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทย่อย แห่งหนึ่ง ในสัดส่วน ร้อยละ 49

เป็นกรรมการบริษัทฯ ถึงปัจจุบัน

บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ลูกหนี้การค้า - ค่าบริหารงาน ลูกหนี้การค้า - ค่าบริหารงานขาย รวม 25.2 สิน ค้า คงเหลือ บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ดอกเบี้ยจ่ายโครงการรอตัดจ่าย

162

ค่าจ้างตามอัตราที่ตกลงกันเดือนละ 0.35 ล้านบาท ไม่รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าจ้างตามอัตราที่ตกลงกัน ร้อยละ 2 ของยอดขาย เงินกู้ยืมครบกำหนดเมื่อทวงถาม อัตราดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกัน ร้อยละ MLR+2 ต่อปี จ่ายชำระ ดอกเบี้ยพร้อมเงินต้น เข้าค้ำประกันตามสัดส่วนการถือหุ้น

มีเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย แห่งหนึ่ง

บริษัท ยูนิฯ เข้าค้ำประกันทุก วงเงินที่เกี่ยวกับที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างโครงการของ บริษัทย่อยแห่งหนึ่ง เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ซื้ออาคารชุดจากบริษัทฯ

ค่าจ้างตามอัตราที่ตกลงกัน ราคาขายให้ส่วนลดเท่ากับ ลูกค้าระดับชั้นดีรายอื่น

รายการและจำนวนเงินกับบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ เป็นดังนี้ 25.1 ลูกหนี ้การค้า

เข้าค้ำประกันตามสัดส่วนการถือหุ้น

งบการเงินรวม (บาท) 2549 2548

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 2548

0.00 0.00

0.00 0.00

749,000.00 528,310.84

374,500.00 0.00

0.00

0.00

1,277,310.84

374,500.00

งบการเงินรวม (บาท) 2549 2548 15,312,417.06

1,736,194.19

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 2548 0.00

0.00


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

25.3 เงินให้กู้ยืมระยะสั้น - ตั๋วสัญญาใช้เงิน - บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) (บาท) 2549 2548 2549 2548 บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ยอดยกมา 0.00 0.00 45,900,000.00 0.00 0.00 0.00 202,383,300.00 45,900,000.00 รับเงินกู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด ยอดคงเหลือปลายงวด

0.00

25.4 เงินทดรองจ่ายจากกรรมการ

งบการเงินรวม (บาท) 2549

นางสาวสิริลักษณ์ โกวิทจินดาชัย ยอดยกมา รับเงินทดรองจ่ายเพิ่มระหว่างงวด จ่ายคืนเงินทดรองจ่าย ยอดคงเหลือปลายงวด 25.5 ดอกเบี้ยค้างรับ

0.00 0.00 0.00 0.00

2548 0.00 3,000,000.00 (3,000,000.00) 0.00

งบการเงินรวม (บาท)

บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ดอกเบี้ยค้างรับ - เงินให้กู้ยืมระยะสั้น ตั๋วสัญญาใช้เงิน 25.6 เงินกู้ยืมระยะสั้น - ตั๋วสัญญาใช้เงิน 25.6.1 นายสันติ โกวิทจินดาชัย ยอดยกมา รับเงินกู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด จ่ายชำระเงินกู้ยืมระหว่างงวด ยอดคงเหลือปลายงวด

0.00 248,283,300.00 45,900,000.00

2549 0.00

2548 0.00

งบการเงินรวม (บาท) 2549

20,000,000.00 0.00 0.00 20,000,000.00

2548 20,000,000.00 0.00 0.00 20,000,000.00

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 0.00 0.00 0.00 0.00

2548 0.00 3,000,000.00 (3,000,000.00) 0.00

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 15,881,907.55

2548 1,803,269.22

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549

2548

20,000,000.00 20,000,000.00 0.00 0.00 0.00 0.00 20,000,000.00 20,000,000.00

163


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

25.6.2 บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด(มหาชน) ยอดยกมา 44,100,000.00 0.00 รับเงินกู้ยืมเพิ่มระหว่างงวด 194,446,700.00 44,100,000.00 ยอดคงเหลือปลายงวด 238,546,700.00 44,100,000.00 รวม 258,546,700.00 64,100,000.00 25.7 เจ้าหนี้การค้า งบการเงินรวม (บาท) 2549 2548 บริษัท โกรโยธา กรุ๊ป จำกัด เจ้าหนี้การค้า - ผู้รับเหมา 0.00 0.00 25.8 เงินประกันผลงาน งบการเงินรวม (บาท) บริษัท โกรโยธา กรุ๊ป จำกัด เงินประกันผลงาน - ค่าจ้างก่อสร้าง 25.9 ดอกเบี้ยค้างจ่าย

2549

0.00

2548

0.00

งบการเงินรวม (บาท) 2549

2548

0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 0.00 20,000,000.00 20,000,000.00

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549

2548

9,144,029.20 13,404,192.53

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549 6,445,816.70

2548 6,264,429.59

งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) 2549

2548

บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) ดอกเบี้ยค้างจ่าย - เงินให้กู้ยืมระยะสั้น ตั๋วสัญญาใช้เงิน 15,312,417.06 1,736,194.19 0.00 0.00 25.10 รายได้จากการขายสังหาริมทรัพย์ งบการเงินรวม (บาท) งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 นาย สกล เปาอินทร์ รายได้จากการขายห้องชุด 2 ยูนิต 0.00 0.00 2,652,000.00 0.00

164


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

25.11 ดอกเบี้ยรับ

งบการเงินรวม (บาท) งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548

บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด ดอกเบี้ยรับ - เงินให้กู้ยืมระยะสั้น ตั๋วสัญญาใช้เงิน 25.12 รายได้ค่าบริหารงาน บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด รายได้ค่าบริหาร 25.13 รายได้ค่าบริหารงานขาย บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด รายได้ค่าบริหารงานขาย

0.00

0.00

14,078,638.34

1,803,269.22

งบการเงินรวม (บาท) งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 0.00

0.00

7,700,000.00

2,450,000.00

งบการเงินรวม (บาท) งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 0.00

0.00

2,772,878.51

0.00

25.14 กำไร (ขาดทุน) จากการจำหน่ายยานพาหนะ งบการเงินรวม (บาท) งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 บุคคลที่เกี่ยวข้องกันตามลำดับ 3 กำไร(ขาดทุน)จากการ จำหน่ายยานพาหนะ 0.00 16,931.11 0.00 16,931.11

165


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

25.15 ต้น ทุนขาย

บริษัท โกรโยธา กรุ๊ป จำกัด - รายได้รับเหมา - รายได้ขายสินค้า 25.16 ดอกเบี้ยจ่าย นายสันติ โกวิทจินดาชัย

งบการเงินรวม (บาท) งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 0.00 0.00 0.00

0.00 0.00 0.00

38,288,270.36 91,945,917.61 130,234,187.97

38,283,081.53 45,395,482.20 83,678,563.73

งบการเงินรวม (บาท) งบการเงินเฉพาะบริษัท (บาท) สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 31 ธันวาคม 2549 31 ธันวาคม 2548 775,616.43 700,000.00 775,616.43 700,000.00

25.17 การเข้าค้ำประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทฯได้นำที่ดินของ นายสันติ โกวิทจินดาชัย จำนวน 1 โฉนด เนื้อที่รวม 339.50 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของหลักทรัพย์ค้ำประกันตั๋วสัญญาใช้เงิน ตามหมายเหตุ 14 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 บริษัทฯได้นำที่ดินของ นายสันติ โกวิทจินดาชัย จำนวน 2 โฉนด เนื้อที่รวม 564 ตารางวา เป็นส่วนหนึ่งของหลักทรัพย์ค้ำประกันวงเงินกู้ยืมระยะยาว ตามหมายเหตุ 19 26. ภาระผูกพัน 26.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายชำระค่าที่ดิน ตามสัญญาจะซื้อจะขาย จำนวน 489.67 ล้านบาท และ 639.31 ล้านบาท ตามลำดับ (เฉพาะบริษัทฯ มีจำนวน 489.67 ล้านบาท และ 239.31 ล้านบาท ตามลำดับ) 26.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าเช่าจากการ ทำสัญญาเช่าอาคารระยะยาวจนครบกำหนดตามสัญญาจำนวน 9.34 ล้านบาท และ 3.11 ล้านบาท ตามลำดับ (เฉพาะ บริษัทฯ มีจำนวน 6.64 ล้านบาท และ 2.21 ล้านบาท ตามลำดับ) 26.3 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายชำระผู้รับเหมา จากการทำสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างแต่ละโครงการจนครบตามสัญญา เป็นจำนวนเงิน 1,068.57 ล้านบาท และ จำนวน 379.46 ล้านบาท ตามลำดับ (เฉพาะบริษัทฯ มีจำนวน 834.88 ล้านบาทและ 379.46 ล้านบาท ตามลำดับ) 26.4 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าเช่าป้าย โฆษณาให้ครบกำหนดตามสัญญาเช่าเป็นจำนวนเงิน 7.33 ล้านบาทและ 11.82 ล้านบาท ตามลำดับ (เฉพาะบริษัทฯ มี จำนวน 6.58 ล้านบาทและ 11.82 ล้านบาท ตามลำดับ)

166


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

26.5 ภาระจากการพัฒนาโครงการที่ดำเนินการอยู่

งบการเงินรวม 2549 2548 8 7 0 (2) 9 3 17 8 6,860.56 4,536.05 3,621.39 3,508.79

งบการเงินเฉพาะบริษัท 2549 2548 8 7 0 (2) 7 3 15 8 5,929.40 4,536.05 3,353.70 3,508.79

จำนวนโครงการที่ดำเนินการอยู่ต้นงวด จำนวนโครงการที่ปิดแล้ว จำนวนโครงการที่เปิดใหม่ จำนวนโครงการที่ดำเนินการอยู่สิ้นงวด มูลค่าโครงการที่เปิดดำเนินการ(ล้านบาท) มูลค่าซื้อขายที่ได้ทำสัญญาแล้วทั้งสิ้น(ล้านบาท) คิดเป็นร้อยละของยอดขายรวมของ โครงการที่เปิดดำเนินการอยู่ 52.79 77.35 56.56 77.35 27. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 27.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ธนาคาร ออกหนังสือค้ำประกันเพื่อการพัฒนาโครงการ จำนวน 192.75 ล้านบาท และจำนวน 129.93 ล้าน บาท ตามลำดับ (เฉพาะบริษัทฯ มีจำนวน 168.29 ล้านบาทและจำนวน 129.93 ล้านบาท ตามลำดับ) 27.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ธนาคารออก หนังสือค้ำประกันการสั่งซื้อสินค้าจำนวน 5.00 ล้านบาท และจำนวน 4.00 ล้านบาท ตามลำดับ 27.3 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 และ 2548 บริษัทฯ มีหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในการค้ำประกันวงเงินเบิกเกิน บัญชี วงเงินอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน เงินกู้ยืมระยะยาวและวงเงินหนังสือค้ำประกันให้แก่บริษัทย่อย บริษัท ปริญเวนเจอร์ จำกัด จำนวน จำนวน 544.12 ล้านบาท และจำนวน 243.22 ล้านบาท ตามลำดับ 27.4 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทฯ ถูกฟ้องในคดีแพ่ง 3 คดี ดังนี้ 27.4.1 บริษัทฯ บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและริบเงินมัดจำจากลูกค้ารายหนึ่ง จำนวน 800,000.00 บาท จากการที่ลูกค้ารายดังกล่าวผิดนัดชำระหนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บริษัทฯ ชำระเงิน จำนวน 296,000.00 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 148,000.00 บาท นับจากวันที่ 15 กันยายน 2546 ถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2546 และของต้นเงินจำนวน 296,000.00 บาท นับจากวันที่ 15 ตุลาคม 2546 เป็นต้นไป ปัจจุบันคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการ พิจารณาของศาลอุทธรณ์ 27.4.2 ในปี 2548 บริษัทฯ ถูกฟ้องร้องฐานความผิดจ้างทำของ ให้ชำระหนี้ ทุนทรัพย์จำนวน 6.50 ล้านบาท ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550 27.4.3 ในปี 2549 บริษัทฯ ถูกฟ้องร้องฐานความผิดสัญญาจ้างก่อสร้าง เรียกค่าจ้าง ค่าเสียหาย ค่า ขาดประโยชน์ และเรียกเงินคืน จำนวนทุนทรัพย์ 170.77 ล้านบาท บริษัทฯ ให้การว่าผู้รับ จ้างเป็นฝ่ายผิดสัญญา เนื่องจาก ก่อสร้างงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้บันทึกหนี้สินเป็นเจ้าหนี้การค้า ไว้แล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549

167


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

จำนวน 52.15 ล้านบาท ต่อมาผู้รับจ้างยอมรับว่าผิดสัญญาและยินยอมจ่ายค่าปรับงานก่อสร้าง ล่าช้า บริษัทฯ และผู้รับจ้างจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาให้ ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550 โดยบริษัทฯ ต้องจ่ายชำระให้ผู้รับ จ้างภายหลังหัก ค่าปรับงานก่อสร้างล่าช้าสุทธิเป็นจำนวน 40.14 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนต่ำกว่า หนี้สินที่บริษัทฯ ได้บันทึกเป็นเจ้าหนี้การค้าไว้แล้วจำนวน 12.01 ล้านบาท บริษัทฯ ได้จ่ายชำระ แก่ผู้รับจ้างเสร็จสิ้นตามคำสั่งศาล เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 27.5 ในปี 2547 บริษัทฯ และกรรมการท่านหนึ่งของบริษัทฯ ถูกฟ้องร้องในคดีอาญาในข้อหาโกงเจ้าหนี้เกี่ยว กับการซื้อที่ดินเพื่อนำมาพัฒนาโครงการของบริษัทฯ ซึ่งที่ดินดังกล่าวผู้ขายได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้กับ ผู้ซื้ออีกรายหนึ่งเมื่อบริษัทฯ ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากผู้ขายแล้ว ผู้ซื้อรายดังกล่าวจึงทำการฟ้องร้อง ต่อบริษัทฯ และกรรมการของบริษัทฯ ศาลจังหวัดมีนบุรีได้พิพากษายกฟ้องคดีดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2549 คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ 28. ข้อมูลจำแนกตามส่วนงาน บริษัทฯ และบริษัทย่อย ประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ และขายวัสดุก่อสร้าง และมียอดขายวัสดุ ก่อสร้างในสัดส่วนไม่ถึงร้อยละ 10 ของยอดรายได้ จึงไม่มีนัยสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลจำแนกตามส่วนงาน 29. การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน 29.1 นโยบายการบัญชี รายละเอียดของนโยบายการบัญชีที่สำคัญ วิธีการที่ใช้ซึ่งรวมถึงเกณฑ์ในการรับรู้และวัดมูลค่าที่ เกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินแต่ละประเภท ได้เปิดเผยไว้แล้วในหมายเหตุประกอบงบการเงิน 4 29.2 ความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งมีผล กระทบต่อผลการดำเนินงานและกระแสเงินสด รายการทางการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อยโดยส่วนใหญ่มีอัตราดอก เบี้ยที่ปรับขึ้นลงตามอัตราตลาด 29.3 ความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา ความเสี่ยงจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ บริษัทฯ และ บริษัทย่อย ฝ่ายบริหารมีการบริหารจัดการธุรกิจอย่างระมัดระวัง โดยใช้นโยบายทางบัญชีในการรับรู้รายได้เมื่อโอน กรรมสิทธิ์ให้แก่ ลูกค้าต่อเมื่อได้รับชำระเต็มจำนวนแล้ว สำหรับบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจขายวัสดุก่อสร้าง ฝ่ายบริหาร ใช้นโยบายในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของลูกค้า โดยการกำหนดวงเงินการให้สินเชื่อและตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญใน กรณีที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา 29.4 ราคายุติธรรมของเครื่องมือทางการเงิน สินทรัพย์ทางการเงินที่แสดงในงบดุลประกอบด้วยเงินสด เงินฝากธนาคาร เงินลงทุนชั่วคราว ลูกหนี้การค้า ตั๋วเงินรับและตั๋วสัญญาใช้เงิน หนี้สินทางการเงินที่แสดงในงบดุลประกอบด้วย เงินเบิกเกินบัญชี เงินกู้ยืม ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ค่าทรัพย์สินและเงินกู้ยืมระยะยาว ราคาตามบัญชี ของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่แสดงในงบดุล มีมูลค่าใกล้เคียงกับมูลค่ายุติธรรมโดยประมาณ

168


หมายเหตุประกอบงบการเงิน

30. เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550 มีมติให้เสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อ อนุมัติจ่ายเงินปันผล สำหรับปี 2549 ประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิประจำปี การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวขึ้นอยู่กับ การอนุมัติของผู้ถือหุ้น 31. การจัดประเภทรายการใหม่ งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ที่นำมาแสดงเปรียบเทียบ ได้จัดประเภทรายการใหม่ให้ สอดคล้องกับงบการเงินสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 โดยจัดประเภทลูกหนี้อื่นที่เกิดจากค่าปรับงานล่าช้าของ ผู้รับเหมาจำนวน 23.82 ล้านบาท เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น - อื่น ๆ จากเดิมที่นำไปลดยอดเจ้าหนี้การค้า - ผู้รับ เหมารายเดียวกัน 32. การอนุมัติงบการเงิน งบการเงินนี้ได้รับการอนุมัติให้ออกงบการเงินโดยคณะกรรมการของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2550

169


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.