คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี

Page 1


หน้า

หน้า

5

4

7 8 9 10

12 13 14 15 16 22 25 30 30

• วิสัยทัศน์ (Vision) / พันธกิจ (Mission) • ค่านิยมองค์กร (Core value) • หลักปฏิบัติเกี่ยวกับคู่มือการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี ของบริษัท เอสวไี อ จำ�กัด (มหาชน) • มาตรการในการแจ้งเบาะแส และการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส

• นิยามและความหมาย • ความสำ�คัญของการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี -

สิทธิของผู้ถือหุ้น การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ค่าตอบแทนของคณะกรรมการ

- แผนการสืบทอดตำ�แหน่ง


32 33 34

41

46

52 53

• นิยามและความหมาย 3.1 จริยธรรมในการดำ�เนินธุรกิจ 3.2 จริยธรรมกรรมการบริษัทฯ - การปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับบริษัทฯ - ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการรักษาข้อมูลอันเป็นความลับ - ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบริษัทฯ 3.3 จริยธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสีย - นโยบายการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น - นโยบายการปฏิบัติต่อพนักงาน - นโยบายการปฏิบัติต่อลูกค้า - นโยบายการปฏิบัติต่อคู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้ - นโยบายการปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า - นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม - นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม 3.4 จริยธรรมพนักงาน - การปฏิบัติต่อตนเอง - การปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้เกี่ยวข้อง และสังคม - การปฏิบัติต่อองค์กร - การใช้สิทธิทางการเมือง 3.5 การดูแลให้มกี ารปฏิบตั ติ ามจริยธรรม และการทบทวนจริยธรรม ขององค์กร 3.6 วินัย


นายพงษ์ศกั ดิ์ โล่หท์ องคำ� นายพิเชษฐ กนกศิรมิ า

ประธานกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร การกำ �กับดูแลกิจการที่ดี บริษัท เอสวีไอ จำ�กัด (มหาชน)

คณะกรรมการยึดมั่นและให้ความสำ�คัญเป็นอย่างมากในการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้บรรษัท ภิบาลเกิดขึ้นทั่วองค์กร ตั้งแต่ระดับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ อันเป็นปัจจัยสำ�คัญ ในการเพิ่มมูลค่าและผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯในระยะยาว คณะกรรมการของ บริษัทฯได้แต่งตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลขึ้น โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการกำ�หนดแนวทาง ปฏิบัติและมาตรการการติดตาม เพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ และปรับปรุง นโยบายให้มีความเหมาะสม สอดคล้องตามแนวทางกำ�กับดูแลกิจการที่ดี ทั้งในและต่างประเทศเพื่อมุ่งไปสู่ มาตรฐานสากล บริษัทฯใช้หลักบรรษัทภิบาลซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ พร้อมยึดถือและปฏิบัติตามค่านิยมหลัก (Core value) ของบริษัทฯ อย่างสม่ำ�เสมอ ซึ่งประกอบด้วย 6 คุณค่า ดังนี้ • Mutual Support สนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยเน้นเป้าหมายรวมขององค์กรเป็นสำ�คัญ • Respect เคารพ ให้เกียรติ และรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยถือเป็นคุณค่าบนความแตกต่าง • Accountability รับผิดชอบต่อการกระทำ�ที่เกี่ยวข้องกับ ทั้งเป้าหมายส่วนตนและเป้าหมายส่วนรวม • Commitment มุ่งมั่นที่จะทำ�อย่างเต็มความสามารถ • Trust ไว้วางใจซึ่งกันและกัน • Transparency มีความโปร่งใสในการทำ�งานที่สามารถตรวจสอบได้ เพื่อเป็นการแสดงถึงพันธะสัญญา ที่จะร่วมกันยึดถือสาระสำ�คัญในคู่มือฉบับนี้ บริษัทฯได้สื่อสารค่า นิยมหลักนี้ไปยังพนักงานทุกระดับในองค์กร เพื่อให้บุคลากรทุกระดับได้รับรู้ เข้าใจ และยึดถือเป็นแนวทาง ในการทำ�งานร่วมกันอันจะนำ�มาซึ่งประสิทธิภาพในการดำ�เนินธุรกิจ การบริหารจัดการที่ดี และความสำ�เร็จ ของบริษัทฯ

นายพงษ์ศกั ดิ์ โล่หท์ องคำ�

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสวีไอ จำ�กัด (มหาชน)

นายพิเชษฐ กนกศิรมิ า ประธานกรรมการ การกำ�กับดูแลกิจการที่ดี


บริษัทฯ มุ่งหวังที่จะปฏิบัติตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้ความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียมีน้อย ที่สุด โดยใช้กระบวนการทำ�งาน นโยบาย วิธีการทำ�งาน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ระเบียบประเพณี เข้ามาช่วยในการควบคุม องค์ประกอบ ที่เป็นปัจจัยสำ�คัญต่อความสำ�เร็จของการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี คือ ความรับผิดชอบของคนในองค์กร

5



เรามุ่งสู่การเป็นองค์กร ระดับสากลในธุรกิจ ให้บริการแบบครบวงจรในการประกอบผลิตภัณฑ์ วงจรไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำ�เร็จรูป เพื่อ ก่ อให้ เกิ ด การเติ บโตด้ า นธุ ร กิ จการสร้ า งผล กำ�ไร ความซื่อสัตย์ และการแสดงความรับผิด ชอบต่อสังคม เรามุ่ ง มั่ น ในการเป็ น ผู้ ป ระกอบการชั้ น นำ � ระดับโลก ในการส่งมอบสินค้าสำ�เร็จรูปพร้อมใช้ อย่างเต็มรูปแบบในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ นอกเหนือจากการบรรลุเป้าหมายขององค์กรเรา ยังเสริมสร้างสัมพันธภาพระยะยาวกับลูกค้าและ ผู้ส่งมอบโดยใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม องค์กรของเรา ยังคงพัฒนา โดยคำ�นึงถึงความคาดหวังของลูกค้า ทางด้านคุณภาพและบริการ

7


สนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยเน้นเป้า หมายรวมขององค์กรเป็นสำ�คัญ เคารพ ให้เกียรติ และรับฟังความ คิดเห็นซึ่งกันและกัน โดยถือเป็น คุณค่าบนความแตกต่าง บริษทั ฯ ได้สอ่ื สารค่านิยมหลักนีไ้ ป ยั ง พนั ก งานทุ ก ระดั บ ในองค์ ก ร ผ่านสือ่ ต่างๆ ของบริษทั ฯ เพือ่ ให้ ทุกคนได้รบั รู้ เข้าใจ และยึดถือเป็น แนวทางในการทำ�งานร่วมกัน อัน จะนำ�มาซึ่งประสิทธิภาพในการ ดำ�เนินธุรกิจ การบริหารจัดการทีด่ ี และความสำ�เร็จของบริษทั ฯ

รับผิดชอบต่อการกระทำ�ที่เกี่ยวข้อง กับ ทั้งเป้าหมายส่วนตน และเป้า หมายส่วนรวม มุง่ มัน่ ทีจ่ ะทำ�อย่างเต็มความสามารถ ไว้วางใจซึ่งกันและกัน มี ค วามโปร่ ง ใสในการทำ � งานที่ สามารถตรวจสอบได้

8


คณะกรรมการบริษัทฯ มีการสื่อสาร และดูแล ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ได้ศึกษา และปฏิ บั ติ ต ามคู่ มื อ การกำ � กั บ ดู แ ลกิ จ การ อย่างเคร่งครัด รวมทั้งทบทวนคู่มือการกำ�กับ ดูแลกิจการเป็นประจำ�ทุกปี เพื่อยกระดับและ พั ฒ นาคุ ณ ภาพการกำ � กั บ ดู แ ลกิ จ การของ บริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นคง และยั่งยืนให้กับองค์กร ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วน ได้เสียทุกกลุ่ม

9


บริษัทฯเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติตามหลักการกำ�กับดูแลที่ดีจะทำ�ให้ บริษัทฯ บรรลุเป้าหมายการเติบโตอย่างยั่งยืนได้ในระยะยาว บริษัทฯ จึง จัดให้มีช่องทางสำ�หรับพนักงานและบุคคลภายนอกในการรายงานหรือ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำ�ผิด หรือการกระทำ�ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือขัด แย้งกับหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดีผ่านทาง Email: audit.svi@gmail.com และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานหรือบุคคลผู้แจ้งเบาะแสว่าจะ ได้รับการคุ้มครอง จึงได้กำ�หนดให้มีนโยบายการรับเรื่องร้องเรียน และ การให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียน ไม่ให้ได้รับการกระทำ�ที่ไม่เป็นธรรม รวม ถึงจัดให้มีการตรวจสอบเรื่องที่ได้รับการร้องเรียน เพื่อให้ความเป็นธรรม กับบุคคลที่ถูกร้องเรียนก่อนดำ�เนินการทางวินัย หรือทางกฎหมายต่อไป

10



การกำ�กับดูแลกิจการที่ดี หมายถึง การจัดโครงสร้าง และ กลไก การบริหารจัดการภายในองค์กร เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ระหว่างคณะกรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร พนักงานและผู้ถือหุ้น โดยมี วัตถุประสงค์ที่สำ�คัญในการสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น โดย คำ�นึงถึงผู้มีส่วนได้เสียโดยรวม ซึ่งการจัดโครงสร้าง และกลไกการ บริหารจัดการดังกล่าว โดยยึดถือปฏิบัติตามค่านิยมขององค์กร อัน ได้แก่ Mutual Support, Respect, Accountability, Commitment, Trust และ Transparency เรียกย่อว่า MR ACTT

12


คณะกรรมการบริษัทฯยึดมั่นและให้ความสำ�คัญเป็นอย่างมาก ในการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้บรรษัทภิบาลเกิดขึ้นทั่วองค์กร ตั้งแต่ระดับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ อันเป็น ปัจจัยสำ�คัญในการเพิ่มมูลค่าและผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นขอ งบริษัทฯในระยะยาว ในปีที่ผ่านมาคณะกรรมการของบริษัทฯได้แต่ง ตั้งคณะกรรมการบรรษัทภิบาลขึ้น โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ในการกำ�หนดแนวทางปฏิบัติและมาตรการการติดตามเพื่อให้มีการ ปฏิบัติตามนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการ และปรับปรุงนโยบายให้ มีความเหมาะสม สอดคล้องตามแนวทางกำ�กับดูแลกิจการที่ดีทั้งใน และต่างประเทศเพื่อมุ่งไปสู่มาตรฐานสากล และได้ปฏิบัติตามหลัก การกำ�กับดูแลกิจการครอบคลุม เนื้อหา 5 หมวด โดยมีเนื้อหาดังนี้

13


1 สิทธิของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ มีนโยบายในการคำ�นึงถึงสิทธิผู้ถือหุ้นโดยส่งเสริมการใช้สิทธิและไม่ ละเมิดสิทธิของผู้ถือหุ้น รวมถึงการอำ�นวยความสะดวกในการใช้สิทธิเข้าร่วมประชุมผู้ ถือหุ้นและออกเสียง และละเว้นการกระทำ�ที่อาจจำ�กัดโอกาสดังกล่าว ผู้ถือหุ้นสามารถ ใช้สิทธิในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของตน โดยการซักถาม แสดงความเห็น ให้ข้อ เสนอแนะและออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ใช้สิทธิร่วมตัดสินใจในเรื่องที่สำ�คัญต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อบริษัทฯ เช่น การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ การเสนอชื่อบุคคล เพื่อเป็นกรรมการอิสระ การอนุมัติผู้สอบบัญชี การจัดสรรเงินปันผล การลดทุนหรือ เพิ่มทุน การกำ�หนดหรือการแก้ไขข้อบังคับ บริคณห์สนธิ และการอนุมัติรายการพิเศษ เป็นต้น บริษัทฯ จะประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ ล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือ หุ้น เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคำ�ถามล่วงหน้า และเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าดำ�รงตำ�แหน่ง กรรมการบริษัทฯ ได้ล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นจะได้รับข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจใน การลงมติอย่างเพียงพอ ถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส เปิดเผยทันเวลา และสามารถตรวจ สอบได้ โดยได้เผยแพร่ข้อมูลประกอบวาระการประชุมผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไว้ในเว็บไซต์ ก่อนจัดส่งเอกสารให้แก่ผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ได้จัดทำ�หนังสือเอกสารเชิญประชุมสามัญ ผู้ถือหุ้น โดยระบุสถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุมและเรื่องที่จะเสนอต่อที่ ประชุมพร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อ ทราบ หรือเพื่อพิจารณา แล้วแต่กรณี รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการในเรื่องดัง กล่าว บริษัทฯ จะประกาศผ่านทางเว็บไซต์ ของบริษัทฯ ล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือ หุ้น เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอวาระการประชุมได้ล่วงหน้า ในกรณีที่มีการเพิ่ม วาระการประชุมจะมีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบ เอกสารเชิญประชุมสามัญผู้ถือหุ้นจะ ถูกส่งให้ผู้ถือหุ้นทุกรายและนายทะเบียนทราบตามที่กฎหมายกำ�หนด คือไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือ 14 วันก่อนวันประชุมแล้วแต่กรณี และได้เผยแพร่ข้อมูลประกอบวาระการ ประชุมผู้ถือหุ้น ล่วงหน้าไว้ในเว็บไซต์ก่อนจัดส่งเอกสาร

14


2 การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญต่อผู้ถือหุ้นทุกฝ่าย ทั้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่และ ผู้ถือหุ้นรายย่อย โดยได้ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมและเป็น ธรรม เพื่อสร้างความมั่นใจในการลงทุนกับบริษัทฯ ในการประชุมผู้ถือหุ้น บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมและออกเสียงลง มติแทนกรณีที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเข้าร่วมประชุมด้วยตนเองได้ โดยแสดง รายละเอียดเงื่อนไขการมอบฉันทะในการเข้าร่วมประชุมไว้ในเอกสารเชิญ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ในการประชุมมีการจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอ พร้อม ทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิอย่างเท่าเทียมกันในการแสดงความคิดเห็น และตั้งคำ�ถามในที่ประชุมและได้ใช้สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการเป็นรายคน กรรมการและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องจะเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อตอบคำ�ถาม ในที่ประชุม รวมทั้งได้บันทึกประเด็นซักถามและข้อคิดเห็นที่สำ�คัญไว้ใน รายงานการประชุมเพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถตรวจสอบ บริษัทฯ มีมาตรการใน การดูแลการใช้ข้อมูลภายใน โดยถ้ากรรมการและผู้บริหารได้รับทราบข้อมูล ภายในที่เป็นสาระสำ�คัญ อันจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ กรรมการและผู้บริหารจะต้องระงับการซื้อขายหลักทรัพย์ของ บริษัทฯ ใน ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ก่อนที่ข้อมูลภายในนั้นจะเปิดเผยต่อสาธารณชน และจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นสาระนั้นต่อบุคคลอื่น

15


3 บทบาทต่อผู้มีส่วนได้เสีย บริษัทฯได้ตระหนักถึงสิทธิและบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ โดยได้กำ�หนดไว้เป็นส่วนหนึ่งในจรรยาบรรณธุรกิจและเผยแพร่ผ่านสื่อ ต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับรู้และถือปฏิบัติอย่าง เคร่งครัด บริษัทฯได้กำ�หนดนโยบายการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม ไว้อย่างชัดเจน รวมถึงการให้ความสำ�คัญกับกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งมีสาระ สำ�คัญสรุปได้ดังนี้ 3.1 การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ผู้ถือหุ้น บริษัทฯให้ความสำ�คัญกับสิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม ทั้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นรายย่อย และกำ�หนด เป้าหมายในการตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้น โดยมุ่งมั่นดำ�เนิน ธุรกิจให้มีผลการดำ�เนินการที่ดี มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนและมี ศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งนี้บริษัทฯยังต้องคำ�นึงถึงความเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้ เกิดมูลค่าสูงสุดในระยะยาวสำ�หรับผู้ถือหุ้น บริษัทฯยังเปิดเผยข้อมูลที่สำ�คัญ ต่างๆ ด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม และดำ�เนินการทุกวิถีทางที่จะปกป้อง ทรัพย์สินและรักษาชื่อเสียงของบริษัทฯ นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังตระหนักถึง ความสำ�คัญของการมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้นเป็นอย่างมาก โดยบริษัทฯ ได้จัด ให้ผู้ถือหุ้นที่มีความสนใจเข้าเยี่ยมชมกิจการของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มี โอกาสรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับกิจการจากคณะผู้บริหารโดยตรง

16


ลูกค้า บริษัทฯให้ความสำ�คัญต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยคำ�นึงถึงคุณภาพของสินค้าและการบริการที่ดีในราคาที่เหมาะสม ด้วย นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้วยพนักงานที่มีคุณภาพ โดยสัญญา ระหว่างบริษัทฯ กับลูกค้าของบริษัทฯ เขียนด้วยภาษาที่ชัดเจนและเข้าใจ ง่าย มีข้อมูล ข้อตกลงที่ถูกต้องและเพียงพอ ไม่กำ�หนดเงื่อนไขที่ไม่เป็น ธรรมหรือเป็นการละเมิดสิทธิของลูกค้า รวมทั้งมีการปฏิบัติตามสัญญาหรือ เงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้บริษัทฯยังให้ความ สำ�คัญในการสนับสนุน ส่งเสริม และสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างลูกค้า กับบริษัทฯให้ยั่งยืนตลอดไป เจ้าหนี้และคู่ค้า บริษัทฯให้ความสำ�คัญในการพึงปฏิบัติต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้ทุกกลุ่ม อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม พึงปฏิบัติตามสัญญา หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด ให้ความช่วยเหลือในลักษณะเอื้ออำ�นวยผล ประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพื่อผลสำ�เร็จทางธุรกิจโดยรวม รวมทั้งให้ข้อมูลที่ เป็นจริงและบอกถึงความเสี่ยงที่อาจเป็นไปได้ นอกจากนี้ บริษัทฯยังได้เน้น ถึงสิ่งที่พนักงานพึงปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้ โดยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในคู่มือข้อพึงปฏิบัติในการทำ�งาน

17


เกณฑ์ทั่วไปในการคัดเลือกคู่ค้า มีดังนี้ 1. สถานะทางการเงิน 2. ความสามารถในการบริหารธุรกิจ 3. การเติบโตขององค์กร 4. การพัฒนาทางเทคโนโลยี ความสร้างสรรค์ คู่แข่งทางการค้า บริษัทฯมีนโยบายที่จะปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่เป็น ธรรม โดยไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการ ที่ไม่เหมาะสม เช่นการจ่ายเงินสินจ้างให้แก่พนักงานของคู่แข่ง เป็นต้น และ ไม่ทำ�ลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้า ด้วยการกล่าวหาในทางร้าย หรือให้ ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง พนักงาน บริษัทฯให้ความสำ�คัญต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัย สำ�คัญที่ผลักดันให้บริษัทฯสามารถดำ�เนินธุรกิจได้ตามวัตถุประสงค์และ บรรลุเป้าหมาย โดยประสงค์ที่จะให้พนักงานมีความรู้สึกภาคภูมิใจใน การเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร มีบรรยากาศการทำ�งานที่มีการเกื้อกูล พึ่งพา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และคำ�นึงถึงความเป็นธรรมในการบริหารจัดการ โดยที่ บริษัทฯจะปฏิบัติต่อพนักงานโดยคำ�นึงถึงการให้เกียรติและเคารพ ในสิทธิของพนักงานภายใต้กฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ จัด ให้พนักงานปฏิบัติหน้าที่ในตำ�แหน่งต่าง ๆ ด้วยความเป็นธรรม ให้ความ สำ�คัญเกี่ยวกับการสื่อสารสองทางระหว่างพนักงานกับบริษัทฯ กำ�หนดให้มี

18


นโยบาย ตลอดจนระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวกับการบริหารค่าจ้างและ ผลประโยชน์ตอบแทนพนักงานอย่างชัดเจน ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนา บุคลากร และจัดให้มีกิจกรรมนันทนาการเพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสพัก ผ่อนหย่อนใจคลายความตึงเครียดจากการทำ�งาน อีกทั้งยังเป็นการเสริม สร้างความรู้สึกที่ดี ระหว่างพนักงานกับบริษัทฯอีกทางหนึ่งด้วย ความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยความเชื่อว่าการดำ�เนินธุรกิจให้ประสบความสำ�เร็จอย่างมั่นคง ในระยะยาวนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารองค์กร และการ ยึดมั่นในจริยธรรมทางธุรกิจตามหลักการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี ความรับ ผิดชอบต่อสังคมเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญ โดยบริษัทฯ มี เจตนารมณ์ที่แน่วแน่ ในการที่จะทำ�งานร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดย คำ�นึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสีย อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชนรอบข้างที่ตั้งบริษัทฯ และหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนสังคมและประเทศชาติ พร้อมทั้งปลูกฝังและส่งเสริมให้พนักงาน มีความรับผิดชอบต่อสังคมตลอดจนมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ต่อสังคม ชุมชนโดยรอบ รวมทั้งใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม บริษัทฯมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบการจัดการอาชีว อนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมถึง สุขภาพของพนักงานและส่วนผลิตที่มีความปลอดภัย เพื่อป้องกันการบาด เจ็บและเจ็บป่วยจากการทำ�งาน พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีต่อ

19


ชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก ดังนี้ 1. ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย และข้อกำ�หนดอื่นที่ เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม 2. ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและวัสดุทดแทนให้เกิดประโยชน์สูงสุดและ จัดหาทรัพยากรที่จำ�เป็น สนับสนุนส่วนผลิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 3. กำ�หนดและทำ�ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายระบบการ จัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม บริษัทฯสนับสนุน และส่งเสริมให้พนักงานของบริษัทฯ ทุกคนได้ ตระหนักถึงการเสริมสร้างจิตสำ�นึกในความรับผิดชอบอาชีวอนามัย ความ ปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมและพร้อมที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบัน และอนาคต 3.2 การปฏิบัติต่อสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ยอมรับในสิทธิความเป็นมนุษย์ของประชาขนทุกคนโดยไม่มี การแบ่งแยกหรือคำ�นึงถึงความแตกต่าง บริษัทฯ จึงมีนโยบายอย่างชัดเจน ในการส่งเสริมและสนับสนุนหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด • บริษัทฯ ให้การยอมรับในการใช้สิทธิของพนักงานตามที่กำ�หนด ไว้ในกฎหมายทั่วไปหรือรัฐธรรมนูญ ตลอดจนจะไม่กระทำ�การใดๆที่ จะเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิดังกล่าวของพนักงาน • บริษัทฯ จะไม่สนับสนุนและส่งเสริมให้พนักงานกระทำ�การใดๆ ที่ เป็นการละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนหรือสิทธิของผู้อื่น • บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของพนักงานไว้เป็นความลับ

20


โดยจะไม่เผยแพร่ต่อบุคคลภายนอก ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด ๆ นอกจาก จะได้รับอนุญาตจากพนักงานผู้นั้น • พนักงานของบริษทั ฯทุกคนจะปฏิบตั ติ อ่ บุคคลอืน่ ด้วยความเท่าเทียม และเสมอภาคตลอดจนไม่กระทำ�การใดๆ ที่เป็นการล่วงละเมิด หรือ คุกคามต่อสิทธิของบุคคลอื่น 3.3 นโยบายแนวทางปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ การไม่ ล ะเมิ ด ทรั พ ย์ สิ น ทาง ปัญญา หรือลิขสิทธิ์ บริษัทฯได้ตระหนักดีถึงความสำ�คัญของทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็น ผลงานที่เกิดจากความรู้ ความสามารถของบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ บริษัทฯจึงพยายามอย่างยิ่งที่จะทำ�การตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลหรือ ผลงานต่างๆ ที่ถูกนำ�มาใช้ในบริษัทฯ จะต้องไม่มีการละเมิดทรัพย์สินทาง ปัญญาของผู้อื่นโดยเด็ดขาด • บริษัทฯไม่อนุญาตและสนับสนุนให้พนักงานใช้ซอฟท์แวร์ที่ละเมิด ลิขสิทธิ์ ผิดกฎหมาย ในการทำ�งานให้บริษทั ฯไม่วา่ จะในกรณีใด ๆ ทัง้ สิ้น • พนักงานทีป่ ฏิบตั งิ านโดยใช้คอมพิวเตอร์ของบริษทั ฯ จะต้องปฏิบตั ิ ตามข้อกำ�หนดจากเจ้าของลิขสิทธิ์ และใช้เฉพาะเท่าที่ได้รับอนุญาต จากบริษัทฯเท่านั้น • พนักงานจะต้องไม่นำ�ผลงานหรือสิ่งที่มีการคิดค้นขึ้นระหว่างที่ทำ�งาน ให้กับบริษัทฯไปใช้ประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอม จากบริษัทฯ และพนักงานจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทางปัญญาคืนแก่บริษัทฯ ไม่ ว่าสิ่งนั้นจะถูกเก็บอยู่ในรูปแบบใด ๆ เมื่อพนักงานพ้นสภาพจากการเป็น

21


พนักงานก่อนที่จะมีการนำ�เอาผลงานการคิดค้นหรือข้อมูลใดๆ มาใช้ใน การปฏิบัติงานให้กับบริษัทฯนั้น พนักงานจะต้องตรวจสอบให้แน่เสียก่อน ว่าผลงานสิ่งประดิษฐ์หรือข้อมูลที่นำ�มานั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย และไม่เป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น 4 การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส บริษัทฯ ได้เปิดเผยสารสนเทศ ที่เป็นข้อมูลสำ�คัญของบริษัทฯ จัดให้มี การรายงานผลการดำ�เนินงาน รวมถึงรายงานทางการเงิน และสารสนเทศ เรื่องอื่นๆ ที่มีความชัดเจน กะทัดรัด เข้าใจง่าย โปร่งใส ครบถ้วน เพียงพอ เชื่อถือได้ และเป็นไปตามกำ�หนดเวลา โดยรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ อย่างต่อเนื่อง และรายงานไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำ�ปี (แบบ 56-1) รายงานประจำ�ปี (แบบ 56-2) และในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อ ประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป และให้ผู้ถือหุ้นได้รับสารสนเทศ อย่างเท่าเทียมกัน คณะกรรมการได้ให้ความสำ�คัญและรับผิดชอบต่อรายงานทางการ เงินของบริษัทฯและบริษัทฯย่อยรวมทั้งสารสนเทศทางการเงินในรายงาน ประจำ�ปี งบการเงินดังกล่าวได้จัดทำ�ขึ้นตามมาตรฐานและหลักการบัญชีที่ รับรองทั่วไป โดยใช้นโยบายการบัญชีที่เหมาะสมตามหลักความระมัดระวัง ถูกต้อง และครบถ้วน และสะท้อนผลการดำ�เนินงานตามที่เป็นจริง รวม ทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำ�คัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการ เงิน และผ่านการตรวจสอบจากผูส้ อบบัญชีภายนอกทีม่ คี วามเป็นอิสระ มี

22


คุณสมบัติที่ได้รับการยอมรับและได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. เพื่อ ความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงิน นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทฯยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบ เพื่อทำ�หน้าที่กำ�กับดูแลสอบทานความน่าเชื่อถือและความ ถูกต้องของรายงานทางการเงิน รวมทั้งระบบควบคุมภายในให้มีความ เพียงพอและเหมาะสม บริษัทฯ กำ�หนดให้พนักงานทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อผล ประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ เท่านั้น การกระทำ�และการตัดสินใจใดๆ จะ ต้องปราศจากอิทธิพลของความต้องการส่วนตัว ครอบครัว ญาติพี่น้อง หรือบุคคลอื่นที่รู้จักส่วนตัวเป็นการเฉพาะ โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบวิธี ของบริษัทฯ ด้วยมาตรฐานเดียวกัน บริษัทฯ มีมาตรการป้องกันการใช้ ประโยชน์จากข้อมูลภายใน โดยกำ�หนดให้พนักงานทุกระดับของบริษัทฯ ต้องไม่นำ�ข้อมูลภายในอันนำ�ไปสู่การแสวงหาผลประโยชน์ เพื่อตนเอง หรือครอบครัว หรือพวกพ้องในทางมิชอบ และรักษาข้อมูลและเอกสารที่ ไม่พึงเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก ตัวอย่างเช่น การให้ข้อมูลกิจกรรมการ ดำ�เนินงาน หรือแผนการในอนาคตของบริษัทฯ เป็นต้น บริษัทฯ มีมาตรการในการดูแลการใช้ข้อมูลภายใน โดยถ้ากรรมการ และผู้บริหารได้รับทราบข้อมูลภายในที่เป็นสาระสำ�คัญ อันจะมีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ กรรมการและผู้บริหารจะต้องระงับการ ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม ก่อนที่ข้อมูล ภายในนั้นจะเปิดเผยต่อสาธารณชน และจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็น สาระนั้นต่อบุคคลอื่น

23


บริษัทฯ ได้กำ�หนดให้กรรมการและผู้บริหารรายงานการซื้อขาย หลักทรัพย์ของบริษัทฯ ต่อบริษัทฯ ตามแบบฟอร์มที่กำ�หนด และจัดส่ง รายงานนี้ให้แก่บริษัทฯ ในวันทำ�การถัดจากวันที่เกิดรายงานซื้อขาย ใน กรณีที่กรรมการและผู้บริหารได้ดำ�เนินการรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ ด้วยตนเอง ทางบริษัทฯ ให้กรรมการและผู้บริหารรายงานให้ทางบริษัทฯ ด้วยเช่นกัน ในกรณีที่มีข่าวสารใดๆ ทั้งที่เป็นจริงและไม่เป็นจริงรั่วไหล ออกสู่สาธารณชน บริษัทฯ จะชี้แจงต่อ ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนผ่านทาง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในทันที ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความไม่เป็น ธรรมต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ให้ความสำ�คัญอย่างสูงต่อการบริหารความ สัมพันธ์กับนักลงทุน ซึ่งจะมุ่งเน้นถึงความถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ ของ ข้อมูลสารสนเทศของบริษัทฯ ที่เผยแพร่ให้แก่ผู้ลงทุนรายย่อย ผู้ลงทุน สถาบัน ผู้ลงทุนทั่วไป นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ สื่อมวลชน ผู้จัดการกองทุน ทั้งในและต่างประเทศ และผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม อย่างโปร่งใส เป็นธรรม ทั่วถึง และสม่ำ�เสมอ โดยจัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงผลการดำ�เนินงาน รายไตรมาสและรายปี การพบปะนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และผู้จัดการ กองทุนทั้งในและต่างประเทศ การให้สัมภาษณ์ของผู้บริหารระดับสูง ผ่านสื่อต่างๆ อาทิ สื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ เว็บไซต์ การส่งข่าว ประชาสัมพันธ์บริษัทฯไปยังสื่อมวลชน อีกทั้งได้จัดตั้งหน่วยงานนักลงทุน สัมพันธ์ (Investor Relations Section) เพื่อทำ�หน้าที่สื่อสารประชาสัมพันธ์ ข้อมูลสำ�คัญที่เป็นประโยชน์ผ่านช่องทางต่างๆ รวมทั้งเปิดโอกาสให้นัก ลงทุนได้ซักถามตลอดจนรับทราบข้อมูลของบริษัทฯ ผ่านทางเว็บไซต์

24


นักลงทุนสัมพันธ์ (http://investorrelations.svi.co.th) การสื่อสารผ่าน โทรศัพท์ ตลอดจนอีเมล์ (ir@svi.co.th) ที่สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่าง ฉับไว เพื่อชี้แจงและตอบคำ�ถามของนักลงทุนได้ทันเวลา 5 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ 5.1 โครงสร้างคณะกรรมการ คณะกรรมการของบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน โดยมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะและมี จำ�นวนไม่น้อยกว่า 3 คน จำ�นวนกรรมการที่เหลือ จะเป็นไปตามสัดส่วน อย่างยุติธรรมของเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นแต่ละกลุ่ม กรรมการทุกท่าน เป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. บริษัทฯมหาชน จำ�กัด มีอายุไม่เกิน 70 ปี บริบูรณ์ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และ มีประสบการณ์ในการดำ�เนินธุรกิจอย่างหลากหลาย อีกทั้งกรรมการทุก คนยังได้อุทิศเวลาและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ในการสรรหา กรรมการนั้น บริษัทฯได้กำ�หนดหลักเกณฑ์ไว้อย่างชัดเจนและโปร่งใส ตามที่เปิดเผยรายละเอียดไว้ในการบริหารจัดการ หัวข้อการแต่งตั้งคณะ กรรมการบริษัทฯ และการสรรหากรรมการอิสระ สำ�หรับการดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ บริษัทฯได้กำ�หนดนโยบายไว้ อย่างชัดเจน ทั้งประเภทของกรรมการและจำ�นวนบริษัทฯที่สามารถไป ดำ�รงตำ�แหน่งได้ ตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และได้เปิด เผยข้อมูลการดำ�รงตำ�แหน่งในบริษัทฯอื่นของกรรมการแต่ละคนให้ผู้ถือ หุ้นทราบไว้ในรายงานประจำ�ปีด้วย

25


คณะกรรมการทำ�หน้าที่กำ�หนดนโยบาย วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ในการ ดำ�เนินธุรกิจ เป้าหมาย ภารกิจ แผนธุรกิจ และงบประมาณของบริษัทฯ ตลอดจนกำ�กับดูแลให้ฝ่ายจัด การบริ ห ารงานให้ เป็ น ไปตามนโยบายที่ กำ�หนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายใต้กรอบของกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับของบริษัทฯ และมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยความรับ ผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง ตามหลักการข้อพึงปฏิบัติที่ดี นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้ควบคุมและตรวจสอบการบริหารของฝ่ายจัดการให้ เป็นไปอย่างโปร่งใส มีจริยธรรม และเป็นไปตามจรรยาบรรณของผู้บริหาร และพนักงาน และดูแลการสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทฯให้เป็น ไปอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ คณะกรรมการของบริษัทฯ ภายใต้การนำ�ของประ ธานกรรมการทีม่ ภี าวะผูน้ �ำ และสามารถควบคุม การดำ�เนินการของผูบ้ ริหาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดให้แก่กิจการ และ ความมั่นคงสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น บริษัทฯมีประธานคณะกรรมการบริษัทฯ และประธานเจ้าหน้าที่ บริหารเป็นบุคคลคนละคนกัน โดยประธานคณะกรรมการบริษัทฯมีความ เป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่และจากฝ่ายจัดการ โดยไม่มีตำ�แหน่ง เป็นผู้บริหารหรือพนักงานประจำ�ของบริษัทฯ ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ เสียไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมทั้งในด้านการเงินและการบริหารงานของ บริษัทฯ 5.2 คณะกรรมการชุดย่อย เพื่ อ ให้ ก ารปฏิ บั ติ ห น้ า ที่ ข องคณะกรรมการมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและ

26


ประสิทธิผล บริษัทฯ มีคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่องรวม 4 คณะ ประกอบด้วย - คณะกรรมการตรวจสอบ จำ�นวน 3 ท่าน (เป็นกรรมการอิสระทั้ง 3 ท่าน) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยคุณสมบัติ และขอบเขตการดำ�เนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบกำ�หนดไว้ โดยจะ ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลการบริหารกิจการต่างๆ ของบริษัทฯ เพื่อ ให้เกิดความถูกต้อง เป็นธรรม และเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุก คน - คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน จำ�นวน 4 ท่าน โดยเป็น กรรมการอิสระ 3 ท่าน - คณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการ คณะกรรมการบริษัทฯได้อนุมัติจัด ตั้งคณะกรรมการกำ�กับดูแลกิจการ โดยแต่งตั้งจากผู้บริหารระดับสูง จำ�นวน 5 ท่าน และกรรมการอิสระ 1 ท่าน เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการนี้ - คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง คณะกรรมการบริษัทฯได้อนุมัติ จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยแต่งตั้งจากผู้บริหารระดับสูง จำ�นวน 5 ท่าน และกรรมการอิสระ 1 ท่าน เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการนี้ 5.3 บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทฯได้มีการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างคณะ กรรมการและประธานกรรมการบริหารไว้อย่างชัดเจน โดยคณะกรรมการ มีบทบาทในการกำ�กับดูแลการบริหารงานของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตาม เป้าหมาย และให้มีระบบงานที่ให้ความเชื่อมั่นว่ากิจกรรมต่างๆ ของ

27


บริษัทฯ ได้ดำ�เนินไปในลักษณะที่ถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม คณะ กรรมการทุกท่านมีความเข้าใจในหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการและ ลักษณะการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวังและรอบคอบ โดยคำ�นึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และเป็น ธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย คณะกรรมการได้แสดงความคิดเห็นของตน อย่างเป็นอิสระ และอุทิศเวลาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบอย่าง เต็มที่ คณะกรรมการได้ร่วมกับฝ่ายบริหารในการกำ�หนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย เป้าหมาย ภารกิจและทิศทางการดำ�เนินงาน และติดตามดูแล ให้การบริหารเป็นไปตามเป้าหมายที่กำ�หนดไว้ 5.4 การประชุมคณะกรรมการ การประชุมคณะกรรมการจะมีการกำ�หนดขึ้นเป็นการล่วงหน้า และจะ แจ้งให้กรรมการแต่ละคนทราบถึงกำ�หนดการประชุมดังกล่าว เพื่อให้กรรม การสามารถจัดเวลาและเข้าร่วมประชุมได้ ประธานกรรมการเป็นผู้ให้ความ เห็นชอบในการจัดเรือ่ งทีจ่ ะเข้าวาระการประชุมคณะกรรมการ และพิจารณา คำ�ขอของกรรมการ ที่จะบรรจุเรื่องอื่นที่สำ�คัญเป็นวาระการพิจารณาในการ ประชุมครั้งต่อไป กรรมการจะได้รับเอกสารประกอบการประชุมล่วงหน้า โดยมีเวลาเพียงพอที่จะศึกษาพิจารณาและตัดสินใจอย่างถูกต้องในเรื่อง ต่างๆ คณะกรรมการบริษัทฯมีการประชุมอย่างสม่ำ�เสมอ ไตรมาสละ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย โดยเลขานุการคณะกรรมการบริษัทฯได้กำ�หนดวันประชุม

28


และวาระการประชุมประจำ�ล่วงหน้าตลอดทั้งปี เพื่อให้กรรมการสามารถ จัดเวลาเข้าร่วมประชุมได้ทุกครั้ง ซึ่งในการประชุมแต่ละครั้ง ทางฝ่าย บริหารได้จัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดเพื่อให้คณะกรรมการใช้ประกอบ การพิจารณา และในระหว่างประชุม ประธานในที่ประชุมได้ให้เวลากับ กรรมการในการพิจารณาวาระต่างๆ อย่างรอบคอบ รวมถึงการให้แสดง ความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ และมีการจดบันทึกการประชุมเป็นลายลักษณ์ อักษร รวมทั้งมีการจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรอง เพื่อ ให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบได้ คณะกรรมการตรวจสอบมีการประชุมกันเองกับผู้จัดการตรวจสอบ ภายใน เพื่อติดตามและวางแผนงานตรวจสอบภายในอย่างสม่ำ�เสมอ ไตรมาสละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย และประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ไตรมาสละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เช่นกัน ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการตรวจ สอบ ได้พิจารณาคัดเลือกและเสนอชื่อของผู้สอบบัญชีและค่าตอบแทน ผู้สอบบัญชี ให้ความเห็นในงบการเงินระหว่างกาลและงบการเงินประจำ�ปี ที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานหรือตรวจสอบ พิจารณาการปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางบัญชี และการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินก่อนนำ�เสนอให้คณะกรรมกา รบริษัทฯพิจารณา สอบทานการเปิดเผยรายการระหว่างกันหรือรายการที่ เกี่ยวโยงกัน การพิจารณาความเหมาะสมของแผนการกำ�กับดูแลและตรวจ สอบภายใน

29


ค่าตอบแทนของคณะกรรมการ บริษัทฯ มีนโยบายที่จะกำ�หนดค่าตอบแทนของกรรมการ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารให้อยู่ในระดับที่เทียบเคียงได้กับที่ปฏิบัติ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และอยู่ในระดับที่สามารถจูงใจได้ รวมทั้งจัด ค่าตอบแทนในลักษณะที่เชื่อมโยงกับผลการดำ�เนินงานของบริษัทฯ เพื่อ สามารถรักษากรรมการ และ ผู้บริหาร ที่มีคุณภาพตามที่ต้องการได้ โดยมี คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนเป็นผู้กำ�หนดหลักเกณฑ์การพิจารณา ค่าตอบแทน กำ�หนดวิธีปฏิบัติการจ่ายค่าตอบแทน และรายงานผลการ พิจารณาค่าตอบแทนต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาขออนุมัติในที่ ประชุมผู้ถือหุ้น แผนการสืบทอดตำ�แหน่ง บริษัทฯ มีการจัดทำ�แผนสืบทอดตำ�แหน่ง ในตำ�แหน่งที่สำ�คัญใน แต่ละกลุ่มงาน ได้แก่ ประธานกรรมการบริหาร กรรมการผู้อำ�นวยการ และ ผู้อำ�นวยการทุกสายงาน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯมีผู้บริหารที่ความรู้ ความ เข้าใจในธุรกิจ มีความสามารถเพียงพอในการสานต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความราบรื่นและมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น บริษัทฯยังคัดสรรพนักงานที่ มีศักยภาพ เพื่อพัฒนาให้เป็นผู้บริหารรุ่นใหม่และเป็นรากฐานในการขยาย ธุรกิจ รวมทั้งป้องกันปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรในอนาคต เพื่อรักษา ความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน ตลอดจนพนักงาน คณะกรรมการมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและกำ�หนดค่า ตอบแทนทำ�หน้าที่พิจารณา กำ�หนดหลักเกณฑ์ และแผนการสืบทอด ตำ�แหน่ง รวมทั้งจัดให้มีการทบทวนแผนการสืบทอดตำ�แหน่งผู้บริหาร ระดับสูงเป็นประจำ�ทุกปี

30



คือ แบบแผนของการกระ ทำ�ที่ถูกต้อง หรือเป็นเครื่องนำ�ทางไปสู่หลักใน การประพฤติปฏิบัติที่ถูกหลักศีลธรรม หรือเป็น แนวคิดของการประพฤติที่ถูกต้อง “ จริยธรรมทางธุรกิจ หมายถึง กลไก ทุกส่วนในการดำ�เนิน กิจกรรมทางธรุกิจที่ให้ ความชอบธรรมเพื่อ ประสิทธิภาพสูงสุด ”

คือ เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการผลิตและจำ�หน่ายสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบ สนองความต้ อ งการของผู ้ บ ริ โ ภค โดยมี ว ั ต ถุ ประสงค์เพื่อแสวงหากำ�ไรสูงสุด คือ มาตรฐานของการประกอบธุรกิจ การผลิต สินค้า การให้บริการ จัดจำ�หน่ายเพื่อได้รับผล ตอบแทนตามสมควรกั บ การที่ ล งทุ น ไปอย่ า ง เป็นธรรมทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้บริโภค เจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร ผู้ร่วมงาน ผู้ บริการ รัฐบาล สังคม ซึ่งต่างมีความสัมพันธ์เชิง ธุรกิจร่วมกัน

32


3.1 จริยธรรมในการดำ�เนินธุรกิจ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้นำ�หลักเศรษฐกิจพอเพียงกับการดำ�เนิน ธุรกิจอย่างยั่งยืน มาใช้เป็นแนวทางในการดำ�เนินธุรกิจ เพื่อสร้างความ ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบและรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย และสังคมเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย มีส่วนในการดูแลกิจการ และให้ ความเห็นเกี่ยวกับการดำ�เนินกิจการ เพื่อเป็นกลไกและกระบวนการที่ จะดูแลให้มีการดำ�เนินการอย่างจริงจัง นำ�ไปสู่การเป็นองค์กรธรรมาภิ บาลที่แท้จริง ดังนี้ 1. ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง อย่าง เคร่งครัด 2. ปฏิบัติตาม นโยบาย “การกำ�กับดูแลกิจการ” และ “จริยธรรมทาง ธุรกิจ” ของบริษัทฯ 3. มุ่งมั่นที่จะประกอบธุรกิจด้วยความโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต และ เป็นธรรม 4. ปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำ�นึกที่ดี และยึดมั่นในการปฏิบัติตนเป็น พลเมืองดี 5. คำ�นึงถึงผลประโยชน์ และผลกระทบจากการดำ�เนินงานขององค์กร ด้วยความเสมอภาคและเป็นธรรมทางสังคม ต่อผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ 6. ดำ�เนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ และรักษาผลประโยชน์ของผู้มี ส่วนได้เสียและสังคม

33


7. สร้างระบบงานที่เข้มแข็ง เพื่อป้องกันการทุจริต 8. กำ�หนดให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทั่วทั้งองค์กร มีส่วนร่วม ในการต่อต้านการทุจริต รายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การสื่อสาร อย่างมีประสิทธิผล ส่งเสริมคุณภาพชีวิตในการทำ�งาน 9. เปิดโอกาสให้ผมู้ สี ว่ นได้เสีย มีชอ่ งทางการร้องเรียน และรับฟังความ คิดเห็น และมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้แจ้งเบาะแส 3.2 จริยธรรมกรรมการบริษัทฯ บริษัทฯ มุ่งหวังให้ กรรมการ กรรมการชุดย่อย และกรรมการบริษัทฯ ย่อย ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กรอบจริยธรรม ดำ�รงตน หรือ ปฏิบัติหน้าที่ด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง รอบคอบ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการดำ�เนิน ธุรกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้ 3.2.1 การปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับบริษัทฯ 3.2.1.1 ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯดังนี้ 1) กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2) กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ต้องไม่หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตาม ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3) กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน จะต้องให้ความร่วมมือกับหน่วย

34


งานกำ�กับดูแลกิจการที่บริษัทฯกำ�หนดขึ้น 3.2.1.2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง โดยในการประชุม มีเรื่องที่ จะพิจารณา กรรมการที่มีส่วนได้เสียท่านนั้น ต้องออกจากห้องประชุม และงดการมีส่วนร่วมใด ๆ ในการพิจารณาตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว 3.2.1.3 หลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อความ โปร่งใสในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) ไม่นำ�ข้อมูลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อแสวงหา ประโยชน์ให้แก่ตนหรือผู้อื่นโดยมิชอบ 2) ไม่ใช้ความลับขององค์กรในทางที่ผิด และไม่เปิดเผยข้อมูล ที่เป็นความลับขององค์กร แม้พ้นสภาพหรือสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ ขององค์กรไปแล้ว 3) ไม่หาประโยชน์ส่วนตัว จากการเป็นกรรมการ 4) ไม่สร้างข้อผูกมัดที่อาจขัดแย้งกับหน้าที่ของตนในภายหลัง 5) ไม่รับสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดอันเป็นการขัดต่อประ โยชน์ขององค์กร 3.2.1.4 รักษาข้อมูลที่เป็นความลับขององค์กร ไม่ให้รั่วไหลไปยังบุคคล ที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรหรือผู้มีส่วน ได้เสีย ยกเว้นกรณีที่เป็นไปตามกฎหมาย 3.2.1.5 การได้มาหรือจำ�หน่ายไป ซึง่ หลักทรัพย์จดทะเบียนของกรรมการ คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะ กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับ

35


การได้มาหรือ จำ�หน่ายไปซึ่ ง หลั กทรั พย์ ข องกรรมการและพนั กงาน พ.ศ.2547

3.2.2 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์และการรักษาข้อมูลอันเป็นควาลับ 3.2.2.1 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัทฯ มีนโยบายที่มิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้ โอกาสจากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทฯ แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน จึงกำ�หนดข้อควรปฏิบัติไว้ ดังต่อไปนี้ 1) หลีกเลี่ยงการทำ�รายการที่เกี่ยวโยงกับตนเอง ที่อาจก่อให้เกิดความ ขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ 2) ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ไปเป็นกรรมการ หรือที่ ปรึกษาในองค์กรอื่น การดำ�รงตำ�แหน่งนั้นต้องไม่ขัดต่อประโยชน์ขอ งบริษัทฯ และการปฏิบัติหน้าที่โดยตรงในบริษัทฯ 3)ในการพิ จ ารณารายการที่ มี ห รื อ อาจมี ค วามขั ด แย้ ง ทางผล ประโยชน์ (Conflicts of Interest) ระหว่างผู้ถือหุ้น กรรมการ ผู้บริหาร และบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งอื่น ซึ่งใช้เป็นแนวปฏิบัติอย่างชัดเจน และเชื่อมั่นได้ว่าการเข้าทำ�รายการดังกล่าวมีความเป็นธรรม โปร่งใส สมเหตุสมผล และเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งจัดให้ มีแบบรายงานการเปิดเผยรายการที่สงสัยว่าจะเป็นผลประโยชน์ที่ขัด กันกับผลประโยชน์ของบริษัทฯ ไว้ในคู่มือกำ�กับดูแลกิจการ 4) บุคคลที่ดำ�เนินการใด ๆ ซึ่งมีส่วนได้เสียกับการดำ�เนินธุรกิจของ บริษัทฯ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม จะต้องมีหน้าที่ในการรายงานการ มีส่วนได้เสีย ดังนี้

36


• กรรมการและผู้บริหาร จะต้องมีหน้าที่รายงานการมีส่วนได้เสีย กรณีที่มีรายการเกิดขึ้น และเพื่อมั่นใจได้ว่า บริษัทฯ ได้มีการตรวจ สอบเป็นประจำ� จึงกำ�หนดให้ผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่สำ�รวจ รายการที่มีส่วนได้เสียเป็นประจำ�ทุกไตรมาส โดยรายงานต่อ ประธานกรรมการบริษัทฯ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และ คณะกรรมการธรรมาภิบาลรับทราบทุกไตรมาส • เพือ่ ให้สอดคล้องมีนโยบายการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี บริษทั ฯ ได้ กำ � หนดให้ ผู้ บ ริ ห ารในระดั บ จั ด การทุ ก คนและพนั ก งานที่ มี ส่ ว น เกี่ยวข้องในการดำ�เนินงาน มีหน้าที่รายงานการมีส่วนได้เสีย และ/ หรือรายงานการมีส่วนได้เสียเป็นประจำ�ทุกไตรมาส โดยมอบหมาย ให้ผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่สำ�รวจและรายงานต่อคณะกรรมการ ธรรมาภิบาลรับทราบเป็นประจำ�ทุกไตรมาส 5) กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานทีม่ สี ว่ นรูข้ อ้ มูลภายในใช้เป็นแนวปฏิบตั ิ และกำ�หนดให้กรรมการและผู้บริหารที่มีหน้าที่รายงานการถือครองหลัก ทรัพย์ตามข้อกำ�หนดของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ ต่อคณะกรรมการเป็นประจำ� 6) เพื่อประโยชน์ในการติดตามดูแลการมีส่วนได้เสียของกรรมการ และผู้ บริหารของบริษัทฯ หรือบุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง ซึ่งมีส่วนได้เสียกับการ บริหารจัดการของบริษัทฯและบริษัทฯย่อย ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ โดย คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำ�หนดให้มีการรายงานข้อมูลของรายการที่

37


เกี่ยวโยงกันทุกไตรมาส และตามหลักเกณฑ์ที่กำ�หนดไว้ 7) ในกรณีที่บุคคลที่เกี่ยวข้อง เข้าไปมีส่วนร่วมหรือถือหุ้นในกิจการที่ แข่งขันกับธุรกิจของบริษัทฯ • กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องแจ้งให้คณะ กรรมการบริษัทฯ ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร • พนักงาน จะต้องแจ้งให้กรรมการผู้อำ�นวยการ และกรรมการ ธรรมาภิบาล ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร 3.2.2.2 การใช้ข้อมูลภายใน (1) ห้ามใช้โอกาสหรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือ พนักงาน ในการหาประโยชน์ส่วนตน เพื่อผู้อื่น หรือทำ�ธุรกิจที่แข่งขัน กับบริษัทฯ และ/หรือ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกัน (2) ห้ามใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตนในการซื้อขายหุ้นของ บริษัทฯ หรือให้ข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขาย หุ้นของบริษัทฯ (3) ห้ามใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ส่วนตน (4) ห้ามใช้ข้อมูลของบริษัทฯ ไปใช้อ้างอิงต่อบุคคลภายนอก เพื่อ สร้างประโยชน์ส่วนตัว (5) ห้ามเปิดเผยข้อมูลความลับทางธุรกิจของบริษัทฯ ต่อบุคคล ภายนอกโดยเฉพาะคู่แข่งขันแม้หลังพ้นสภาพการเป็นกรรมการ ผู้ บริหาร หรือพนักงานของบริษัทฯ ไปแล้ว

3.2.3 ความรับผิดชอบต่อทรัพย์สินของบริษัทฯ

38


บริษัทฯ ส่งเสริมให้ผู้บริหาร พนักงาน ใช้ทรัพยากร และทรัพย์สินของ บริษัทฯ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการ ให้บริการที่ดีแก่ลูกค้า โดยกำ�หนดเป็นแนวปฏิบัติของผู้บริหารและพนักงาน ดังนี้ 1. ใช้ทรัพย์สินและทรัพยากรของบริษัทฯ อย่างประหยัด และเกิด ประโยชน์สูงสุด 2. ช่วยกันดูแลมิให้ทรัพย์สินของบริษัทฯ เสื่อมค่าหรือสูญหายโดย มิชอบ 3.2.3.1 การจัดทำ�เอกสาร (1) ต้องจัดทำ�เอกสารต่าง ๆ ด้วยความสุจริต รอบคอบ และเป็นไป ตามมาตรฐานที่กำ�หนด (2) ห้ามมิให้ปลอมแปลงหนังสือ รายงาน หรือเอกสารของบริษัทฯ 3.2.3.2 การใช้คอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (1) อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและข้อมูล สารสนเทศต่าง ๆ ให้ถื อเป็ น ทรั พย์ สิ น ของบริ ษ ั ท ฯ ผู ้ บริ ห ารและ พนักงานไม่ควรใช้คอมพิ ว เตอร์ และเทคโนโลยี สารสนเทศเพื ่ อ ประโยชน์ส่วนตัว (2) ห้ามผู้บริหาร และพนักงาน เปิดเผยข้อมูลทางธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงข้อมูลที่ทางบริษัทฯ ซื้อมาทั้งที่อยู่และไม่อยู่ในระบบข้อมูลขอ งบริษัทฯ หรือคัดลอกข้อมูลใส่ในสื่อบันทึกข้อมูลส่วนตัวโดยไม่ได้รับ อนุญาต (3) ห้ามผู้บริหารและพนักงานเปลี่ยนแปลง ทำ�ซ้ำ� ลบทิ้ง หรือทำ�ลาย ข้อมูลของบริษัทฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต

39


(4) ห้ามผู้บริหารและพนักงาน นำ�ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายมาใช้ และห้าม คัดลอกซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ด้วยเหตุผลใด ๆ โดยมิได้รับอนุญาตจากบริษัทฯผู้ ผลิตซอฟต์แวร์นั้น ๆ (5) ห้ามผู้บริหารและพนักงานปรับแต่งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ หรือติดตั้งอุปกรณ์ ใด ๆ ที่นอกเหนือ จากอุปกรณ์มาตรฐานที่บริษัทฯ ติดตั้งให้ นอกจากได้รับ อนุญาตเป็นกรณีไป (6) ห้ามผู้บริหารและพนักงานใช้อีเมล์ของบริษัทฯ ในการส่งต่อข้อ ความที่กล่าวร้าย ทำ�ให้เสื่อมเสีย หรือส่อไปในทางที่ลามก อนาจาร อันเป็น สิ่งที่ขัดต่อศีลธรรมจรรยาอันดีงามของสังคม (7) ผู้บริหารและพนักงาน ควรใช้อินเทอร์เน็ตในการแสวงหาข้อมูลและ ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน และจะต้องหลีกเลี่ยงเว็บไซต์ที่ ผิดกฎหมาย หรือละเมิดศีลธรรมอันดีงาม (8) ผู้บริหารและพนักงานควรใช้ระบบสารสนเทศและอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ที่บริษัทฯ จัดให้ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรศัพท์มือถือ อย่างมีจิตสำ�นึกและ รับผิดชอบ โดยคำ�นึงถึงประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นหลัก (9) ห้ามผู้บริหาร และพนักงานเข้าถึงระบบหรือข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ได้มีไว้สำ�หรับตนโดยมิชอบ (10) ห้ามผู้บริหารและพนักงานที่ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงข้อมูล และระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำ�ขึ้น หรือไม่ได้มีไว้สำ�หรับตนโดยมิชอบ และปรารถนาหรือทำ�ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น (11) บริษัทฯ หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย โดยบริษัทฯ ขอสงวน สิ ท ธิ์ ใ นการตรวจสอบการใช้ ง านทรั พ ย์ สิ น ภายใต้ ร ะบบสารสนเทศของ บริษัทฯ ตามความเหมาะสม

40


3.3 จริยธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสีย นโยบายการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้น บริษัทฯให้ความสำ�คัญกับสิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อผู้ถือ หุ้นอย่างเท่าเทียม ทั้งผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นรายย่อย และกำ�หนด เป้าหมายในการตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้น โดยมุ่งมั่นดำ�เนิน ธุรกิจให้มีผลการดำ�เนินการที่ดี มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนและ มีศักยภาพในการแข่งขัน ทั้งนี้บริษัทฯยังต้องคำ�นึงถึงความเสี่ยงต่างๆทั้ง ในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อให้เกิดมูลค่าสูงสุดในระยะยาวสำ�หรับผู้ถือ หุ้น นอกจากนั้น บริษัทฯยังเปิดเผยข้อมูลที่สำ�คัญต่างๆ ด้วยความโปร่งใส และเป็นธรรม และดำ�เนินการทุกวิถีทางที่จะปกป้องทรัพย์สินและรักษา ชื่อเสียงของบริษัทฯ บริษัทฯตระหนักถึงความสำ�คัญของการมีส่วนร่วม ของผู้ถือหุ้น และได้เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแสดงความเห็นอย่างอิสระและ ถามคำ�ถามเกี่ยวกับการดำ�เนินกิจการในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้น สามารถเสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุม รวมถึงการเปิดโอกาส ให้ผู้ถือหุ้นเสนอชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อเข้าดำ�รงตำ�แหน่ง กรรมการของบริษัทฯล่วงหน้าก่อนวันประชุม นอกจากการให้สิทธิขั้นพื้น ฐานแล้ว บริษัทฯยังจัดให้ผู้ถือหุ้นที่มีความสนใจเข้าเยี่ยมชมกิจการของบ ริษัทฯ เพื่อให้ผู้ถือหุ้นได้มีโอกาสรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับกิจการจากคณะผู้ บริหารโดยตรง ทั้งนี้บริษัทฯยังมีช่องทางการสื่อสารทางเว็บไซด์เพื่อรับคำ� เสนอแนะหรือข้อสงสัยจากผู้ถือหุ้น เพื่อนำ�เสนอไปยังคณะกรรมการ บริษัทฯ โดยตรงด้วย

41


นโยบายการปฏิบัติต่อพนักงาน บริษัทฯให้ความสำ�คัญต่อการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัย สำ�คัญที่ผลักดันให้บริษัทฯสามารถดำ�เนินธุรกิจได้ตามวัตถุประสงค์และ บรรลุเป้าหมายของบริษัทฯ โดยประสงค์ที่จะให้พนักงานมีความรู้สึกภาค ภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ที่มีบรรยากาศการทำ�งานที่มีการ เกื้อกูล พึ่งพา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และคำ�นึงถึงความเป็นธรรมในการ บริหารจัดการ • บริษัทฯปฏิบัติต่อพนักงานโดยคำ�นึงถึงการให้เกียรติและเคารพ ในสิทธิของพนักงานภายใต้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับของบ ริษัทฯ • บริษัทฯได้จัดให้พนักงานปฏิบัติหน้าที่ในตำ�แหน่งต่าง ๆ ด้วย ความเป็นธรรม โดยคำ�นึงถึงความรู้ ความสามารถของแต่ละคนเป็น สำ�คัญ โดยจะไม่คำ�นึงถึงความแตกต่างทางด้าน เพศ อายุ เชื้อชาติ ศาสนาของพนักงาน • บริษัทฯได้ให้ความสำ�คัญเกี่ยวกับการสื่อสารสองทาง ระหว่าง พนักงานกับบริษัทฯ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการสร้างความเข้าใจกันที่ ดีต่อกันระหว่างพนักงานกับบริษัทฯ และยังเป็นช่องทางให้บริษัทฯ ได้อธิบายในสิ่งที่พนักงานมีข้อสงสัย หรือไม่เข้าใจ เพื่อสร้างความ สัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานกับบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯยังได้เปิด โอกาสให้พนักงานทุกระดับได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ใน เชิ ง สร้ า งสรรค์ ผ่ า นทางช่ อ งทางการสื่ อ สารที่ บ ริ ษั ท ฯจั ด ให้ มี ขึ้ น เป็นต้นว่า ระบบการเสนอข้อคิดเห็น การประชุมพนักงาน ซึ่ง

42


บริษัทฯ จะมีการนำ�เอาความคิดเห็นที่พนักงานเสนอแนะนั้น มา พิจารณาเพื่อนำ�ไปสู่การปฏิบัติตามความเหมาะสม • บริษัทฯได้กำ�หนดให้มีนโยบาย ตลอดจนระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวกับ การบริหารค่าจ้างและผลประโยชน์ตอบแทนพนักงานอย่างชัดเจน โดยการจ่ายค่าตอบแทนให้แก่พนักงานนั้น จะพิจารณาจากความรู้ ความสามารถ บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ลักษณะของงาน และ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นสำ�คัญ โดยคำ�นึงถึงความเป็น ธรรมและความเหมาะสมเป็นสำ�คัญ • บริษัทฯได้ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้พนักงาน มีความรู้ ความสามารถและทักษะ ที่จำ�เป็นอย่างเพียงพอต่อการ ทำ�งานตามบทบาทและหน้าที่ของพนักงานในแต่ละตำ�แหน่ง ตลอด จนเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีการพัฒนาตนเองเพื่อความก้าวหน้า ในหน้าที่การงาน ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ มีความหลากหลายและต่อเนื่อง บริษัทฯได้จัดให้มีกิจกรรมนันทนาการเพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสพัก ผ่อนหย่อนใจคลายความตึงเครียดจากการทำ�งาน อีกทั้งยังเป็นการเสริม สร้างความรู้สึกที่ดีระหว่างพนักงานกับบริษัทฯอีกทางหนึ่งด้วย นโยบายการปฏิบัติต่อลูกค้า บริษัทฯให้ความสำ�คัญต่อการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยคำ�นึงถึงคุณภาพของสินค้า และการบริการที่ดีในราคาที่เหมาะสม ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้วยพนักงานที่มีคุณภาพ โดย

43


สัญญาระหว่างบริษัทฯ กับลูกค้าของบริษัทฯ เขียนด้วยภาษาที่ชัดเจนและ เข้าใจง่าย มีข้อมูล ข้อตกลงที่ถูกต้องและเพียงพอ ไม่กำ�หนดเงื่อนไขที่ไม่ เป็นธรรมหรือเป็นการละเมิดสิทธิของลูกค้า รวมทั้งมีการปฏิบัติตามสัญญา หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด และในกรณีที่ไม่สามารถ ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งได้ ต้องรีบแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยเร็วเพื่อ ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางแก้ไขโดยใช้หลักความสมเหตุสมผล นอกจากนี้ บริษัทฯยังให้ความสำ�คัญในการสนับสนุน ส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์ อันดี ระหว่างลูกค้ากับบริษัทฯให้ยั่งยืนตลอดไป นโยบายการปฏิบัติต่อคู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้ บริษัทฯให้ความสำ�คัญในการพึงปฏิบัติต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้อย่างเสมอ ภาคและเป็นธรรม พึงปฏิบัติตามสัญญา หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้ อย่างเคร่งครัด ให้ความช่วยเหลือในลักษณะเอื้ออำ�นวยผลประโยชน์ซึ่งกัน และกัน เพื่อผลสำ�เร็จทางธุรกิจโดยรวม รวมทั้งให้ข้อมูลที่เป็นจริง และบอก ถึงความเสี่ยงที่อาจเป็นไปได้นอกจากนี้บริษัทฯยังได้เน้นถึงสิ่งที่พนักงานพึง ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ การปฏิบัติตนต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้ โดยเขียนเป็นลาย ลักษณ์อักษรในคู่มือข้อพึงปฏิบัติในการทำ�งาน บริษัทฯ ห้ามมิให้ผู้บริหาร และพนักงาน หรือเครือญาติ ให้ของขวัญ หรือรับของขวัญจากลูกค้าหรือผู้ขายสินค้า หรือผู้ที่มีโอกาสที่จะเป็นผู้ขาย สินค้า การรับเงินสดหรือสิ่งอื่นในทำ�นองเดียวกับเงินสด รวมทั้ง เช็ค ตั๋วเงิน บัตรกำ�นัล บัตรของขวัญ เงินกู้ หุ้น หรือสิทธิได้รับจัดสรรหุ้น ไม่สามารถ ยอมรับได้ในทุกกรณี ของขวัญอื่น ๆ อาจให้หรือรับได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติ ล่วงหน้าจากฝ่ายบริหารจัดการระดับสูงขึ้นไป

44


นโยบายการปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้า บริษัทฯมีนโยบายที่จะปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่เป็น ธรรม โดยไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้าด้วยวิธีการ ที่ไม่เหมาะสม เช่นการจ่ายเงินสินจ้างให้แก่พนักงานของคู่แข่ง เป็นต้น และ ไม่ทำ�ลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้า ด้วยการกล่าวหาในทางร้าย หรือให้ ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง นโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เป็นองค์กรที่มี ประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการเป็นองค์กรที่ดีของสังคม บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะ ประกอบธุรกิจด้วยความสุจริตและเป็นธรรม ต่อต้านการทุจริต ปฏิบัติตาม กฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน และคำ�นึงถึงผลประโยชน์ และผลกระทบจากการดำ�เนินงานขององค์กรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบ ริษัทฯ อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลุกค้า คู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้ คู่แข่งทางการ ค้า และชุมชน ตลอดจนการดูแลการดำ�เนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวะ อนามัย และสิ่งแวดล้อมไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งต่อภาระหน้าที่ของบริษัทฯในการพัฒนา ระบบการจัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมถึงสุขภาพของพนักงานและส่วนผลิตที่มีความปลอดภัย เพื่อป้อง กันการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากการทำ�งาน พร้อมทัง้ เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ที่ดีต่อชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก ดังนี้

45


• ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย และข้อกำ�หนดอื่นที่ เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม • ใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และวัสดุทดแทนให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจัดหาทรัพยากรทีจ่ �ำ เป็น สนับสนุนส่วนผลิตเพือ่ ให้บรรลุเป้าหมายฯ • กำ�หนดและทำ�ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายระบบการ จัดการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม บริษทั ฯ มีความตระหนักถึงการเสริมสร้างจิตสำ�นึกในความรับผิดชอบ ชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะอนุรักษ์สิ่งแวด ล้อมทั้งในปัจจุบันและอนาคต 3.4 จริยธรรมพนักงาน 3.4.1 การปฏิบัติต่อตนเอง ผลประโยชน์ทับซ้อน พนักงานต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมส่วนบุคคล การลงทุน หรือการสมาคม ซึ่งอาจเห็นได้ว่ามีผลกระทบต่อการตัดสินใจที่ดีเกี่ยวกับผลประโยชน์ของบ ริษัทฯ และไม่อาจใช้ตำ�แหน่งหรือความสัมพันธ์กับบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ ส่วนตัว ต้องหลีกเลี่ยงแม้เพียงปรากฏมีการขัดกันของผลประโยชน์เช่นว่า นั้น ตัวอย่างเช่น มีผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ดังนี้ • ทำ�ให้บริษัทฯ เข้าทำ�ธุรกรรมทางธุรกิจกับเครือญาติหรือเพื่อนฝูง • ใช้ข้อมูลซึ่งไม่เป็นที่เปิดเผยของบริษัทฯ ลูกค้า หรือผู้ขายสินค้า เพื่อประโยชน์ส่วนตัวแก่ท่านเอง แก่เครือญาติ หรือแก่เพื่อนฝูง • มีส่วนได้เสียในทางการเงินกับผู้ผลิต ลูกค้า หรือคู่แข่งของบริษัทฯ

46


• รับเงินให้กู้ยืมหรือการค้ำ�ประกันหนี้จากบริษัทฯ (นอกเหนือไปจาก ที่ได้รับอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ) หรือบุคคลภายนอก อันเนื่องมา จากตำ�แหน่งของพนักงานในบริษัทฯ • ทำ�การค้าแข่ง หรือเตรียมการที่จะทำ�การค้าแข่งกับบริษัทฯ ในขณะ ที่ยังคงเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ หรือ • ทำ�งาน (โดยได้รับหรือไม่ได้รับค่าตอบแทน) ให้กับคู่แข่ง องค์กร กำ�กับดูแลหรือองค์กรของรัฐบาล ลูกค้า หรือผู้ขายสินค้าของบริษัทฯ หรือทำ�งานใดๆ ให้กับบุคคลภายนอกซึ่งอาจมีผลในทางลบต่อการ ปฏิบัติงาน หรือการตัดสินใจในงานหรือบั่นทอนความสามารถในการ อุทิศเวลาและความตั้งใจอันจำ�เป็นต่อหน้าที่ โอกาสทางธุรกิจ พนักงานมีหน้าที่ในการนำ�มาซึ่งผลประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัทฯ เมื่อมีโอกาสที่จะทำ�เช่นนั้นได้ นอกจากการหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน แล้ว ต้องไม่รับเอาไว้เพื่อตนเองหรือส่งต่อให้กับบุคคลอื่น ซึ่งโอกาสหรือ แนวคิดทางธุรกิจใดๆ ซึ่งบริษัทฯ อาจมีส่วนได้เสีย ซึ่งถูกค้นพบในระหว่าง การจ้างงาน ของขวัญ สินบนและเงินทุจริต นอกจากของขวัญพอประมาณซึ่งได้ให้หรือได้รับจากการดำ�เนินธุรกิจ ปกติ (รวมถึงการท่องเที่ยวและสันทนาการ) ซึ่งไม่อาจถือได้ว่าเป็นสิ่งจูงใจ ในทางธุรกิจ พนักงานหรือเครือญาติของพนักงานไม่อาจให้ของขวัญกับ หรือรับของขวัญจากลูกค้าหรือผู้ขายสินค้าของบริษัทฯ ในระหว่างหรือเกี่ยว เนื่องกับการเจรจาตกลงสัญญาไม่ควรรับของขวัญจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ที่

47


มีโอกาสที่จะเป็นผู้ขายสินค้า การรับเงินสดหรือสิ่งอื่นในทำ�นองเดียวกับ เงินสด รวมทั้ง เช็ค ตั๋วเงิน บัตรกำ�นัล บัตรของขวัญ เงินกู้ หุ้น หรือสิทธิได้ รับจัดสรรหุ้น ไม่สามารถยอมรับได้ในทุกกรณี ของขวัญอื่นๆ อาจให้หรือรับ ได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติล่วงหน้าจากฝ่ายบริหารจัดการระดับสูงขึ้นไป ลูกจ้างคนใดซึ่งให้หรือรับสินบนหรือเงินทุจริตจะถูกเลิกจ้างและถูก รายงานไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ เงินทุจริตหรือสินบนให้หมายรวมถึงสิ่ง ใดๆที่มุ่งหมายเพื่อจะให้ได้มาซึ่งการปฏิบัติอันเป็นคุณโดยไม่เหมาะสม 3.4.2 การปฏิบัติต่อลูกค้า ผู้เกี่ยวข้องและสังคม การรักษาความลับและการใช้อย่างเหมาะสมซึ่งข้อมูลของบริษัทฯ ลูกค้าหรือผู้ผลิต พนักงานต้องไม่ใช้หรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่นซึ่งความลับทางการค้า ข้อมูลความลับหรือการเป็นเจ้าของของบริษัทฯ ของลูกค้าหรือผู้ผลิต เว้น แต่จะได้รับอนุญาตจากฝ่ายบริหารจัดการระดับสูงขึ้นไป หรือตามที่ถูก กำ�หนดไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย สิ่งรวมถึงวิธีดำ�เนินธุรกิจ การกำ�หนดราคา และข้อมูลทางการตลาด กลยุทธ์ รหัสคอมพิวเตอร์ สกรีน แบบฟอร์ม การ ค้นคว้าทดลอง และข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าและลูกจ้างในปัจจุบันในอดีตและ ที่คาดหวังของบริษัทฯ การขาย-การหมิ่นประมาทและการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ การขายในเชิงรุกต้องไม่มีการให้ข้อความเท็จ การพูดจาเสียดสี การ ปล่อยข่าวลือเกี่ยวกับคู่แข่งหรือสินค้าหรือสภาวะทางการเงินของคู่แข่ง ห้ามให้สัญญาที่ไม่อาจได้รับการสนับสนุนได้เกี่ยวกับสินค้าของบริษัทฯ

48


การค้าอย่างเป็นธรรม ห้ามมิให้พนักงานใช้ข้อได้เปรียบอันไม่เป็นธรรมกับบุคคลใดๆ ด้วยการ ชักจูงหว่านล้อม ปิดบัง ใช้ข้อมูลลับในทางที่ผิด แสดงข้อเท็จจริงที่สำ�คัญ อย่างผิดๆ หรือใช้การปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรมอื่นๆ การซื้อขายหลักทรัพย์ การซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลสำ �คัญซึ่งยังไม่เป็นที่รับรู้ต่อ สาธารณะชนเป็นการผิดกฎหมาย พนักงานซึ่งให้ “ข้อมูลวงใน” ที่ยังไม่เป็น ที่เปิดเผยแก่บุคคลอื่น อาจมีความรับผิดเท่ากับบุคคลซึ่งซื้อขายหลักทรัพย์ ในขณะที่มีข้อมูลนั้น ทั้งนี้ อาจเป็นการละเมิดกฎหมายหลักทรัพย์หากท่าน หรือเครือญาติหรือเพื่อนฝูงเข้าทำ�การซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ หรือของ ลูกค้า หรือของผู้ผลิต ในขณะที่มีข้อมูลวงในเกี่ยวกับบริษัทฯนั้น การปกปิดข้อผิดพลาด การเปลี่ยนแปลงการบันทึกให้ผิดไป ข้อผิดพลาดไม่ควรถูกปกปิด แต่ควรที่จะได้ถูกเปิดเผยและแก้ไขในทัน ที และทั้งหมด ห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลงบันทึกใดๆ ของบริษัทฯ ของลูกค้า หรือของบุคคลภายนอกให้ผิดไป ความปลอดภัยในสถานที่ทำ�งาน บริษทั ฯ ให้ค�ำ มัน่ ในการจัดสภาพแวดล้อมในการทำ�งานทีป่ ลอดภัยและ ถูกสุขลักษณะ และจะเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นนโยบาย ของบริษัทฯ ที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและสุขอนามัยที่บังคับใช้ พนักงานทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ ในการปฏิบัติตามนโยบายของบริษัทฯเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรง การล่วง ละเมิด และเรื่องอื่นๆ ในลักษณะเดียวกันนี้ รวมทั้งการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต ประสาท

49


3.4.3 การปฏิบัติต่อองค์กร ความถูกต้องเที่ยงตรงทางการเงิน (Financial Integrity) ผู้ลงทุน เจ้าหนี้และบุคคลอื่นๆ ล้วนมีส่วนได้เสียอันชอบด้วยกฎหมาย ในข้อมูลทางการเงินและทางบัญชีของบริษัทฯ ความถูกต้องเที่ยงตรงของ รายงานทางการเงินและข้อมูลทางการบัญชีของบริษัทฯ ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของความสมบูรณ์ ถูกต้อง และความสมบูรณ์ของข้อมูลพื้นฐานซึ่งใช้ประกอบ รายการในสมุดและบันทึกของบริษัทฯ สมุดบันทึก และบัญชีทางการเงินต้อง สะท้อนถึงธุรกรรมและเหตุการณ์อย่างถูกต้องและเป็นไปตามหลักการทาง บัญชีที่ยอมรับทั่วไปและสอดคล้องกับระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ เป็น หน้าที่รับผิดชอบของพนักงานทุกคนที่จะส่งเสริมมาตรฐานเหล่านี้ พนักงานถูกคาดหวังในการให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการตรวจ สอบภายในของบริษัทฯ และของผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก ข้อมูลจะต้องไม่ ถูกเปลี่ยนแปลงหรือปกปิดไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆ ตัวอย่างของหลักปฏิบัติทางการบัญชีและทางการเงินที่ขาดจริยธรรม รวมถึง • ทำ�การบันทึกรายการผิดโดยเจตนาที่จะปิดบังหรือกลบเกลื่อนสภาพ ที่แท้จริงของธุรกรรมใดๆ • เร่งหรือเลื่อนการบันทึกรายจ่ายหรือรายได้อย่างไม่เหมาะสม เพื่อให้ บรรลุผลลัพธ์หรือเป้าหมายทางการเงิน • คงไว้ซึ่งเงินกองทุนใดๆ ที่ไม่เปิดเผยหรือถูกบันทึก หรือสินทรัพย์นอก บัญชี (off the book assets) • ทำ�หรือคงไว้ซึ่งเอกสารทางบัญชี หรือรายงานทางการเงินที่ไม่เหมาะ

50


สม ทำ�ให้เข้าใจผิด ไม่สมบูรณ์หรือเป็นการฉ้อฉล • ทำ�การจ่ายเงินใดๆ เพื่อวัตถุประสงค์อันนอกเหนือไปจากที่ระบุไว้ใน เอกสารประกอบการจ่ายเงิน และ • ลงนามในเอกสารใดๆ ที่เชื่อว่าไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง การปกป้องและการใช้ทรัพย์สินของบริษัทฯ อย่างเหมาะสม พนักงานทุกคนต้องปกป้องทรัพย์สินของบริษัทฯ จากการสูญหายหรือ โจรกรรม และจะไม่ใช้ทรัพย์สินดังกล่าวเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง ทรัพย์สิน ของบริษัทฯ รวมถึงข้อมูลที่เป็นความลับ ความลับทางการค้า ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำ�นักงาน และวัสดุใช้สิ้นเปลือง ห้ามมิให้ทำ�สำ�เนาแจกจ่ายหรือเปิดเผยซอฟต์แวร์ของบริษัทฯและของ บุคคลที่สามโดยมิได้รับอนุญาตไว้เป็นการเฉพาะ ซอฟต์แวร์ทั้งหลายของ บุคคลที่สามต้องได้รับอนุญาตให้ใช้โดยถูกต้องเหมาะสม ข้อตกลงอนุญาต ให้ใช้สิทธิในซอฟต์แวร์ของบุคคลที่สาม อาจกำ�หนดข้อจำ�กัดในการเปิดเผย การใช้และการทำ�สำ�เนาซอฟต์แวร์ไว้หลายประการ และข้อจำ�กัดนั้นต้องได้ รับการปฏิบัติตาม การเก็บรักษาข้อมูล ข้อมูลทางธุรกิจของบริษัทฯ จะต้องถูกเก็บรักษาไว้ตามระยะเวลาที่ กำ�หนดและให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์เฉพาะของหน่วยธุรกิจของท่าน ข้อมูล อาจทำ�ถูกทำ�ลายได้เมื่อครบกำ�หนดระยะเวลาที่ถูกต้องเหมาะสมเท่านั้น

51


3.4.4 การใช้สิทธิทางการเมือง การให้การสนับสนุนทางการเมือง ห้ามมิให้ใช้สินทรัพย์ของบริษัทฯ เพื่อให้การสนับสนุนทางการเมือง เว้นแต่จะเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้บังคับ อย่างไรก็ตาม พนักงาน อาจเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองได้ด้วยทรัพยากรของพนักงานโดยใช้เวลา ของพนักงานเอง 3.5 การดูแลให้มีการปฏิบัติตามจริยธรรม และการทบทวนจริยธรรม องค์กร บริษัทฯ กำ�หนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้ บริหาร และพนักงานทุกคนที่จะต้องรับทราบ ทำ�ความเข้าใจ ปฏิบัติตาม นโยบายที่กำ�หนดไว้ใน เรื่องจริยธรรมธุรกิจ และข้อพึงปฏิบัติในการทำ�งาน ข้างต้น อย่างเคร่งครัด มิใช่การปฏิบัติตามสมัครใจ และไม่สามารถอ้างอิง ว่าไม่ทราบแนวปฏิบัติที่กำ�หนดขึ้น ผู้บริหารทุกระดับในองค์กรจะต้องดูแลรับผิดชอบ และถือเป็นเรื่อง สำ�คัญที่จะดำ�เนินการให้พนักงานภายใต้สายบังคับบัญชาทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามอย่างจริงจัง บริษัทฯ ไม่พึงปรารถนาที่จะทำ�ให้การกระทำ�ใด ๆ ที่ผิดกฎหมาย ขัด กับหลักจริยธรรมที่ดี หากกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานผู้ใดกระทำ�ผิด จริยธรรมที่กำ�หนดไว้ จะได้รับโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด และหากมีการก ระทำ�ที่เชื่อได้ว่าผิดกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบ และข้อบังคับของภาครัฐ บริษัทฯ จะส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐดำ�เนินการต่อไปโดยไม่ชักช้า

52


3.6 วินัย คณะกรรมการบริษัทฯ ถือว่าจริยธรรมและข้อพึงปฏิบัติในการทำ�งาน เป็นวินัยอย่างหนึ่ง ซึ่งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัด การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการทำ�ผิดวินัยตาม ระเบียบว่าด้วยการบริหารงานบุคคล กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามและส่ง เสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตามจริยธรรมและข้อพึงปฏิบัติในการทำ�งานโดยการกระ ทำ�ต่อไปนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม 1. การไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมและข้อพึงปฏิบัติในการทำ�งาน 2. แนะนำ� ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้อื่นไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมและข้อพึง ปฏิบัติในการทำ�งาน 3. ละเลย เพิกเฉย เมื่อพบเห็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามจริยธรรมฯ ในกรณีที่ตนทราบ 4. ไม่ให้ความร่วมมือ ขัดขวาง การสืบสวน/สอบสวน ข้อเท็จจริง 5. การกระทำ�อันไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้องเรียน จากการรายงานการไม่ ปฏิบัติตามจริยธรรม

53



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.