วัดปงยางคก วัดปงยางคก ตั้งอยู่ที่ ตําบลปงยางคก อําเภอห้างฉัตร จังหวัดลําปาง เมื่อประมาณ พ.ศ. 1206 พระแม่เจ้าจามเทวี ราชธิดา กรุงละโว้ (ลพบุรี) ได้ยกกองทัพขึ้นมาครอง เมืองหริภุญไชย (ลําพูน) และราว พ.ศ. 1224 ได้ให้ มหันตยศ ราชบุตรองค์ที่หนึ่ง ครองเมืองหริภญ ุ ไชยแทนและให้ราชบุตรองค์ที่สอง คือ อนันตยศ มาสร้างและครองเมืองเขลางค์นคร (ลําปาง) ราว พ.ศ.1243 พระแม่เจ้าจามเทวีเสด็จออกจากลําพูนเพื่อมาเยี่ยมเยือน อนันตยศ ผู้ราชบุตรในนครลําปาง เมื่อมาถึง ณ ฝั่ง แม่น้ําแห่งหนึ่งเป็นที่รื่นรมย์จึงสร้างเมืองลําลองพัก ณ ที่แห่งนั้น เมืองนั้นต่อมาได้ชื่อว่า "เวียงรมณีย์" (เมืองตาล) ปัจจุบันเป็น เมืองร้างมีแต่คดู ินตั้งอยู่ระหว่างดอยขุนตาลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของที่ว่าการอําเภอห้างฉัตร ประมาณ 2 ก.ม. ขณะที่พักอยู่ที่เวียงรมณีย์นั้นได้สร้างฉัตรทองคําสําหรับจะไปบูชาพระธาตุลําปางหลวง ในเวลาต่อมาจึงเรียกว่า บ้านห้างฉัตร อันเป็นนามของอําเภอห้างฉัตรในปัจจุบันนี้ เมื่อสร้างฉัตรทองคําแล้วเสร็จก็ทรงช้างพระที่นั่งเดินไปตามเส้นทางถึง ณ ที่แห่งหนึ่งปรากฏอัศจรรย์ช้างพระที่นั่งทรุดเข่าลง หมอบคู้ชูงวงในท่าคารวะ พระแม่เจ้าเห็นเป็นอัศจรรย์จึงพักพล ณ ที่นั้น ตกกลางคืนจึงอธิฐานว่า ณ ที่นี้มีสิ่งศักดิส์ ิทธิ์ก็ขอให้ ปรากฏปาฏิหาริย์ขึ้น ขาดคําพระดํารัสของพระแม่เจ้าก็ปรากฏแสงฉัพพรรณรังสีแห่งพระบรมสารีริกธาตุพวยพุ่งขึ้น ณ ที่จอม ปลวกแห่งหนึ่ง จึงทรงให้ปลูกวิหารจามเทวีครอบจอมปลวกไว้ด้วยมณฑปปราสาท ตลอดจนสร้างรูป จ๊างนบ ไว้หน้าวิหาร เป็น รูปช้างทรุดเข่าลงหมอบคู้ชูงวงขึ้นเหนือหัวในท่าคารวะ และปลูกไม้ศรีมหาโพธิ์ซึ่งได้พันธุ์มาจากลังกาทวีปไว้พร้อมสรรพ ต่อมา ณ ที่แห่งนี้จึงเรียกว่า "บ้านปงจ๊างนบ" ต่อมาหลายร้อยปีนามนี้กไ็ ด้เพี้ยนไปเป็น "ปงยางคก" วัดปงยางคกนีม้ ีความสําคัญทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน เพราะเป็นถิ่นกําเนิดของเจ้าหนานติ๊บจ๊าง (เจ้าพระยาสุรวฤาชัย สงคราม) วีรบุรุษแห่งเขลางค์นครผู้กู้อิสรภาพจากพม่า อีกประการหนึ่งก่อนที่เจ้าหนานติ๊บจ๊างจะได้ปราบดาภิเษกเป็นเจ้า พระยาสุรวฤาชัยสงครามขึ้นปกครองเขลางค์นครลําปาง พระองค์ได้เคยศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและบวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดปงยางคกนี้มาก่อน จึงถือว่าเป็นวัดประวัตศิ าสตร์ของลานนาไทยที่มีความสําคัญยิ่ง สิ่งก่อสร้างสําคัญคือวิหารพระแม่เจ้าจามเทวี ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 15 เมตร มุงด้วยแป้นไม้เกล็ด แต่ในปัจจุบันนี้มุงด้วยดิน ขอเกล็ด เนื่องจากแป้นไม้เกล็ดได้ผุกร่อนไปตามกาลเวลา เป็นวิหารโถงขนาดเล็กทําด้วยไม้ตอนล่างเปิดโล่งตลอดไม่มีประตู และหน้าต่าง ตอนสุดท้ายของวิหารมีผนังก่ออิฐฉาบปูนทึบสามด้านล้อมกู่พระเจ้าหรือโขงพระเจ้า (คือซุ้มปราสาทเรือนยอดก่อ อิฐครอบพระประธานเอาไว้) ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบลานนายุคหริภญ ุ ไชยสกุลช่างเขลางค์ หลังคาสามชั้น ฐานพระวิหาร สูงจากพื้นดินหนึ่งฟุต เดิมคงสูงประมาณสามศอกเศษ แต่เนื่องจากมีน้ําหลากพาดินจากที่อื่นมาท่วมทับถมทุกปีเป็นเวลาพัน กว่าปีมาแล้ว อีกประการหนึ่งคือการขนทรายเข้าวัดตามประเพณีก่อพระเจดีย์ทรายทําให้ฐานพระวิหารสูงเหลือเพียงหนึ่งฟุต โครงสร้างภายในทั้งหมดทุกชิ้นแต่งลายลายเขียนน้ํารักปิดทองบนพื้นสีแดงเช่นรูปลายกระถางดอกไม้บูชาพระ ลายกนกเครือ เถาว์ เทพยดา ลายดาว ลายเรขาคณิต และรูปอื่นๆ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานและสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่ทสี่ ําคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ที่เกี่ยวข้อง กับบุคคลผู้ก่อให้เกิดการเปลีย่ นแปลงสําคัญ อันเนื่องจาก เจ้าหนานติ๊บจ๊าง คือบรรพบุรุษเจ้าครองนครในแคว้นล้านนา เป็นผู้ ที่ร่วมมือกับกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์รวบรวมดินแดนที่เคยเป็นแคว้นลานนาในอดีต ผนวกเข้าเป็นดินแดนของไทยใน สมัยนั้น ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการที่ประเทศไทยมีขอบเขตการปกครองกว้างขวางเช่นในปัจจุบันเป็นผลส่วนหนึ่งมาจาก บทบาทของเจ้าหนานติ๊บจ๊างผู้นดี้ ว้ ย
ที่มา สํานักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดลําปาง ถนนวัดม่อนจําศีล ต.พระบาท อ.เมือง จ.ลําปาง 52000 โทรศัพท์ 0 5421 8382 โทรสาร 0 5421 8624
วัดพระธาตุลาปางหลวง ตั้งอยู่ที่ ตําบลลําปางหลวง อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ห่างจากตัวเมืองลําปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผังและส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบทีส่ ุด บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์ พระธาตุลําปางหลวงเป็นประธาน มีบันไดนาคนําขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดจากซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็น วิหารหลวง ทิศเหนือของ องค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คอื วิหารน้ําแต้ม และ วิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหาร ละโว้ และ หอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และอุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกําแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอก กําแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนําไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคารหอพระไตรปิฎก กุฏปิ ระดิษฐานพระแก้วดอน เต้า อาคารพิพิธภัณฑ์ และกุฏสิ งฆ์ ในทางประวัติศาสตร์มีประวัติกล่าวว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2275 พม่าเรืองอํานาจแผ่อิทธิพลปกครองอาณาจักรล้านนาไว้ได้ ทั้งหมด โดยแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์พม่า ท้าวมหายศ เจ้าผู้ครองนครลําพูนได้ยกกําลังมายึด นครลําปาง โดยตั้งค่ายอยูภ่ ายในวัดพระธาตุลําปางหลวง ครั้งนั้น หนานทิพย์ช้าง ชาวบ้านปงยางคก (ปัจจุบันอยู่อําเภอห้าง ฉัตร) วีรบุรุษของชาวลําปาง ได้รวบรวมพลทําการต่อสู้ทัพเจ้ามหายศ โดยลอบเข้ามาในวัดและใช้ปนื ยิงท้าวมหายศตายแล้วตี ทัพลําพูนแตกพ่ายไป ปัจจุบันยังปรากฏรอยลูกปืนอยู่บนรั้วทองเหลืองที่ล้อมองค์พระธาตุเจดีย์ ต่อมาหนานทิพย์ช้างได้รับ สถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าทิพย์จักรสุละวะฤๅไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครลําปาง และเป็นต้นตระกูล ณ ลําปาง เชื้อเจ็ดตน ณ เชียงใหม่ ณ ลําพูน ณ น่าน เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วดอนเต้าซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวลําปาง และชาวพุทธทั่วไป ประตูโขงเป็นฝีมือช่างหลวงโบราณที่สวยงามก่ออิฐถือปูนทําเป็นซุม้ ยอดแหลมเป็นชั้นๆมีสี่ทิศ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูน ปั้นรูปดอกไม้และสัตว์หิมพานต์
วิหารหลวงที่เป็นประธานของวัดตัง้ อยู่บนแนวเดียวกับประตูโขงและองค์พระธาตุเจดีย์ เป็นวิหารโล่งรูปสีเ่ หลีย่ มผืนผ้าตาม แบบล้านนายุคแรก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้นๆ ภายในวิหารบรรจุมณฑปพระเจ้าล้านทอง ด้านในของแนวคอสองมีภาพเขียนสี โบราณเรื่องชาดก องค์พระธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงล้านนาก่ออิฐถือปูน ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม บัวมาลัยสามชั้น หุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองฉลุลายหรือที่ เรียกว่าทองจังโก ตามตํานานกล่าวว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารน้ําแต้มเป็นวิหารบริวารตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุเจดีย์ เครื่องไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในคอสองมีภาพเขียนสี โบราณเก่าแก่ ประดิษฐานพระพุทธรูปสําริดขนาดหน้าตักกว้าง 45 นิ้ว หอพระพุทธก่ออิฐทรงสี่เหลีย่ มฐานเจดียส์ ร้างครอบรอยพระพุทธบาท วิหารพระพุทธสร้างขึ้นคู่กับวิหารน้ําแต้ม สันนิษฐานว่าเดิมคงเป็นวิหารโล่ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาด หน้าตักกว้าง 40 นิ้ว เป็นวิหารทิศตามจักรวาลคติสร้างขึ้นเป็นวิหารหลังแรกของวัดในปี พ.ศ. 2019 ในสมัยของพระเจ้าติโลก ราช เดิมเป็นวิหารโถงมีฝาย้อยคอยกันแดดและฝน โครงสร้างภายในใช้วิธีการรับน้ําหนักของเครื่องบนแบบขื่อม้าต่างไหมซึ่ง เป็นแนวคิดของช่างล้านนา ไม่ปรากฏในพื้นที่อื่น มีเสาหลวง 10 ต้นแบ่งพื้นที่ภายในเป็น 5 ห้องเมื่อมีการบูรณะในปี พ.ศ. 2345 มีการก่ออิฐขึ้นมาเป็นฝาปิดทึบตามแนวเดียวกับฝาย้อยและกัน้ ปิดห้องแรกเพิ่มซุม้ ประตูขึ้นมา พระประธานในวิหารเป็น พระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะแบบสุโขทัย และเป็นวิหารลายคํา 1 ใน 3 หลังของวัดพระธาตุลําปางหลวง ลาย คําที่เสาหลวงมีร่องรอยของการบูรณะมาแล้วซึ่งน่าจะทําในคราวเดียวกับการกั้นฝาวิหาร บันไดทางขึ้นด้านหน้าออกแบบเป็นรูปมกรคายพญานาคทั้งสองข้างบันได เชิงบันไดมีรูปสิงห์ปูนปั้นขนาดใหญ่สองตัวสร้างใน สมัยเจ้าหอคําดวงทิพย์เจ้าผู้ครองนครลําปางเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2331
วัดไหล่หิน
วัดเสลารัตนปัพพะตาราม หรือ วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดป่าหิน หรือ วัดม่อนหินแก้ว ตั้งอยู่ ที่ อําเภอเกาะคา จังหวัดลําปาง ไม่มีหลักฐานแน่ชดั ว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่ ดร.ฮันส์ เพนธ์ ได้พบคัมภีร์ใบลานที่เก่าแก่ของวัด ระบุจลุ ศักราช 833 หรือ พ.ศ. 2014 วัดไหล่หินเป็นศิลปแบบล้านนา ประกอบด้วยลานหน้าวัดหรือ ข่วง สําหรับทํากิจกรรม ภายในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย วิหารโถง ศาลาบาตร ลานทราย เจดีย์ท้ายวิหารเป็นศิลปะแบบล้านนาเชื่อว่าบรรจุพระบรมธาตุ จําลองภูมิจักรวาลคือวิหาร เปรียบเสมือนชมพูทวีป เจดีย์เปรียบเหมือนเขาพระสุเมรุ และลานทรายเปรียบเสมือนมหานทีสีทันดร ส่วนพุทธาวาสก่อสร้างอย่างสวยงามมีขนาดค่อนข้างเล็กกะทัดรัด อาคารต่างๆ ก่ออิฐฉาบปูนประดับปูนปั้น ล้อมรอบด้วย กําแพงแก้ว วิหารมีลักษณะสกุลช่างลําปางซึ่งอ่อนช้อยน้อยกว่าสกุลช่างเชียงใหม่ หลังคามีลักษณะแอ่นโค้งเพียงเล็กน้อย เรียกวิหารแบบนี้ว่า ฮ้างปู้ หมายถึงร่างการของผู้ชาย ทรงโถงหลังคาซ้อน 3 ชั้น 2 ตับ มุงกระเบือ้ งดินเผาปลายตัด เครื่อง ลํายองของวิหารนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ทําให้มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ตามแบบสถาปัตยกรรมไทยภาคกลาง ซุ้มประตูโขงมีลักษณะคล้ายกับทีว่ ัดพระธาตุลําปางหลวงประดับตุ๊กตาดินเผา กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 97 ตอนที่ 195 ลงวันที่ 14 ตุลาคม พ .ศ .2523 สิ่งที่ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน คือ วิหารทรงล้านนา พระธาตุเจดีย์ พระอุโบสถ ซุ้มประตู กําแพงแก้ว และหอธรรม ในปี 2550 ได้ขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์จากสมาคมสถาปนิกสยาม
วัดปงสนุก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัย เจ้าอนันตยศ ซึ่งเป็นราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย (จังหวัดลําพูนในปัจจุบัน) เมื่อ ครั้งเสด็จมาสร้างเขลางค์นคร (จังหวัดลําปางในปัจจุบันเมื่อปี พ.ศ. 1223) บางตํานานกล่าวไว้ว่าเมือ่ ประมาณปี พ.ศ. 2364 เมืองลําปางและเมืองเชียงใหม่ยกทัพเข้าตีเมืองเชียงแสน ชาวเมืองจึงถูกต้อนมายังฝั่งเวียงเหนือของนครลําปาง หนึ่งในกลุม่ ชน นั้นมีชาวปงสนุกรวมอยู่ด้วยกับชาวเมืองพะเยา ต่อมาเมื่อบ้านเมืองสงบแล้วชาวพะเยาก็ยา้ ยกลับบ้านเกิดเมืองนอนของตน
เหลือไว้แต่เพียงชาวปงสนุก จึงได้เรียกชื่อวัดและชื่อหมู่บ้านตามเผ่าพันธุ์ของตนเอง คําว่า ปงสนุก นั้นหมายถึงพงศ์เผ่าแห่ง ความรื่นเริง แต่เดิมวัดนี้มีอาณาบริเวณกว้างขวาง มีพระภิกษุและสามเณรบวชเรียนอยู่เป็นจํานวนมาก จึงได้มีการแบ่งการปกครอง ออกเป็น 2 ส่วนคือ วัดปงสนุกเหนือ กับ วัดปงสนุกใต้ เพื่อให้ช่วยกันดูแลได้อย่างทั่วถึง ด้วยเหตุนจี้ ึงทําให้วัดปงสนุกมีความ พิเศษตรงทีเ่ หมือนว่ามีวัด 2 วัดตั้งอยู่ในเขตใบพัทธสีมาเดียวกัน ภายในวัดได้มีการถมดินไว้ระหว่างพื้นที่ของวัดทั้งสองเรียกว่า “ม่อนดอย” เปรียบได้กับการจําลองเขาพระสุเมรุขึ้นมา โดยที่พื้นที่ด้านบนนี้จะมี พระเจดีย์ศรีจอมไคล วิหารพระนอน และ วิหารพระเจ้าพันองค์ ลักษณะเป็นทรงโถงจัตุรมุขอันเป็นเอกลักษณ์แห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งวิหารพระเจ้าพันองค์หลังนี้ ได้รับรางวัลการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมดีเด่นจากยูเนสโก้เมื่อปี 2008 (Award of Merit Wat Pongsanuk; Asia-Pacific Heritage Awards for Culture Hermitage Conservation from UNESCO Year 2008) วิหารพระเจ้าพันองค์สร้างด้วยไม้เป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ทหี่ ลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวของประเทศ ตัวอาคารแสดงถึงการ รวบรวมงานด้านจิตรกรรมและสถาปัตยกรรมทีผ่ สมผสานระหว่างไทย จีน พม่า ไว้ด้วยกัน โครงสร้างของวิหารมีลักษณะเป็น มณฑปเปิดโล่งตรงกลางประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์ พระพักตร์แต่ละองค์ก็หันออกไปยังทิศทั้งสี่ หลังคามีลักษณะซ้อนกัน สามชั้นตกแต่งไว้อย่างสวยงาม เสาสีเ่ หลีย่ มที่ค้ําตัววิหารมีลวดลายอันวิจิตร ด้านบนในวิหารได้รับการประดับด้วยพระพิมพ์ องค์เล็กจํานวนมากถึง 1,080 องค์ นอกจากความเป็นวัดเก่าที่มากด้วยความสวยงามแล้วก็ยังมีข้าวของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา เช่น ห้องเก็บหีบธรรม เก่าซึง่ เป็นตู้เก็บคัมภีร์พระไตรปิฎกหรือที่ชาวล้านนาเรียกว่า หีดธรรม สันนิษฐานว่าเพื่อไม่ให้พ้องกับคําว่าไม้หีบที่ใช้หนีบปลา หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ
วัดพญาวัด
เป็นปูชนียสถานที่สําคัญของจังหวัดน่านในยุคที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลล้านนา ล้านนารุ่งเรืองถึงขีดสุดทั้งทางศาสนาและอาณาจักร
โดยช่างได้นํารูปแบบมาจากจังหวัดลําพูนในยุคที่
วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ชื่อว่าพระเจ้าสายฝนซึ่งชาวบ้านเคารพนับถือ และมาขอฝนเมื่อเกิดความแห้งแล้งฝน ไม่ตกต้องตามฤดูกาล พิธีขอฝนนี้ทําครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2533 เนื่องจากเกรงว่าองค์พระจะชํารุดเพราะมีความเก่าแก่มาก แล้ว ภายในวัดมีธรรมมาสฝีมือช่างเมืองน่าน ลักษณะคล้ายบุษบก ฐานเป็นปูนก่อติดกับพื้น ตัวธรรมมาสเป็นไม้แกะสลักทรงลุ้งคือ ด้านบนผาย ด้านล่างสอบเข้าเป็นแบบฝาตัด ลงรักเขียนลายรดน้ําปิดทอง ใช้ใส่พระธรรมคัมภีร์พร้อมทั้งเครื่องสูงจําลอง หรือ เครื่องราชกุธภัณฑ์เป็นเครื่องสักการพระพุทธเจ้า ทําจากไม้เขียนลายรดน้ํา เจดียส์ ร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1538 ทรงสี่เหลีย่ มซ้อนกัน 4 ชั้น มีชั้นบัวหงายคั่น ฐานบัวแก้วย่อเก็จ ถัดขึน้ ไปเป็นชั้นสี่เหลี่ยมเรียง ซ้อนลดหลั่นกัน 5 ชั้น แต่ละชั้นจะมีซุ้มจรนัมก่อยอดเป็นรูปวงโค้ง ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืน ซึ่งพบเฉพาะใน ศิลปะล้านนาระยะแรก สันนิษฐานว่าจําลองแบบมาจากเจดีย์วดั กู่กดุ จังหวัดลําพูน (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17) และมีการ ต่อเติมขึ้นภายหลัง ทั้งนี้เพราะส่วนฐานขยายสูงขึ้นโดยเพิ่มหน้ากระดานสี่เหลี่ยมและฐานบัวลูกแก้วเข้ามารองรับ ส่วนการก่อ วงโค้งยอดซุ้มจรนัมคงได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์ทรงเรือนธาตุศิลปล้านนาที่สร้างขึ้นระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21
วัดพระธาตุดอยน้อย ในวันแรม 12 ค่ํา เดือนยี่ ปีมะเส็ง พุทธศักราช 1201 พระนางจามเทวีพร้อมด้วยโยธาประชากรเริม่ เข้าสู่เขตดินแดนหริภุญชัย เนื่องจากลําน้ําระมิงค์ยามนั้นไหลเชี่ยวมาก เมื่อขึ้นตามลําน้ํามาเห็นเนินเขียวชะอุ่มก็ทรงอยากจะสร้างพระเจดีย์ เพื่อ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอันนํามาจากเมืองละโว้ จึงให้นายพรานธนูผู้ที่มีความรู้ในทางไตรเพทตั้งสัจจะอธิษฐานยิงธนู หาที่ประดิษฐานพระเจดีย์เพื่อเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเจ้า นายขมังธนูรับพระราชโองการแล้วก็ยิงธนูแล้วให้คน ทั้งหลายตามไปดูยังที่ลูกธนูตกก็ปรากฏว่าลูกธนูตกลงยังดอยน้อย ริมฝั่งแม่น้ําระมิงค์ จึงให้หยุดพักไพร่พล ณ สถานที่แห่งนั้น และทรงให้คนทั้งมวลสร้างพระเจดีย์ทําการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และขนานนามที่นั่นว่า “ปะวีสิถะเจดีย”์ เมื่อวัน
เริ่มสร้างพระเจดีย์ ตรงกับวันขึ้น 2 ค่ํา เดือน 3 ปีมะเส็ง พุทธศักราช 1201 พระองค์ทรงสร้างพระเจดีย์ทองคําบรรจุพระบรม สารีริกธาตุ และสร้างพระพุทธรูปเท่าพระองค์ หมู่เศรษฐีที่ตดิ ตามมาก็ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปไว้เป็นจํานวนมาก พร้อมทั้ง สิ่งของต่างๆ ที่มีค่าซึ่งนํามาจากเมืองละโว้ เป็นต้นว่าแก้ว แหวน เงิน ทอง สิ่งของที่พระนางจามเทวีและเศรษฐีนํามาเข้าบรรจุ ไว้ในพระเจดีย์ ทรงสถาปนาให้ช่างก่อสร้างโขงเพือ่ บรรจุพระเครื่องรางของขลังต่างๆ และสร้างพระพุทธรูปบรรจุไว้ในโขงแห่ง นั้นหันหน้าพระพักตร์ไปทางทิศทัง้ สี่ ในคราวนั้นพระสงฆ์ที่เดินทางมากับพระนางจามเทวีก็ได้ทรงผูกพัทธสีมาเพื่อทํากิจของ พระสงฆ์หา่ งจากพระเจดียไ์ ปประมาณ 50 เมตร แล้วเสร็จในวันขึ้น 8 ค่ํา เดือน 4 ปีมะเส็ง พุทธศักราช 1201 ใช้เวลาการ ก่อสร้าง 1 เดือน กับ 6 วัน พระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่วัดพระธาตุดอยน้อยนี้มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว สีดอกพิกุลแห้ง ปัฏฐานกลมเกลี้ยงซึ่งได้ อัญเชิญมาจากวัดพระธาตุศรีจอมทองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ โดยท่านครูบาศรีวิชัยได้ขอกับท่านครูบามหาวรรณไว้เพราะในขณะนั้น วัดพระธาตุศรีจอมทองมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยูส่ ององค์ด้วยกัน คือเป็นของเดิมองค์หนึ่ง และเป็นของ พุทธศาสนิกชนชาวพม่านํามาประดิษฐานไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ อีกองค์หนึ่ง ต่อมาครูบาศรีวิชัยจึงให้พระปวนพรหมเสโน สามเณรแสนเรือนป้อม และสามเณรจูไปรับพระบรมสารีริกธาตุที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง ท่านครูบามหาวรรณจึงถือโอกาสให้ พระยาพิชัย (ขณะนั้นเป็นกํานัน) มอบพระบรมสารีริกาตุให้กับพระเณรที่วัดดอยหล่อ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ ทางคณะสงฆ์ให้แยกวัดดอยหล่อและวัดพระธาตุดอยน้อยเป็นคนละวัด อนึ่งเมื่อพระอธิการมูล ได้ย้ายมาอยู่ ที่วัดพระธาตุดอยน้อยนี้แล้ว ก็ได้พร้อมใจกันทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ไปอาราธนาเอาพระบรมสารีริกธาตุซึ่งประดิษฐานอยู่ที่วัด ดอยหล่อขึ้นมาประดิษฐานที่วัดพระธาตุดอยน้อยโดยมีความเห็นว่าเป็นสถานที่เหมาะสมโดยประการทั้งปวง อนึ่งวัดพระธาตุ ดอยน้อยเคยมีงานประเพณีสรงน้ําพระธาตุตั้งแต่ในอดีตกาลมาแล้ว เมื่อถึงวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ําเดือน ๘ เหนือ (๖ ใต้) พุทธศาสนิกชนทั่วทุกสารทิศก็ได้พากันมากราบนมัสการพระธาตุดอยน้อยแห่งนี้ เมื่อยังไม่ได้บูรณะขึ้นเป็นวัดทรัพย์สมบัติ ต่างๆ ที่พุทธศาสนิกชนนํามาถวายก็ตกเป็นของข้าพระธาตุที่พระนางจามเทวีทรงตั้งขึ้น ต่อมาภายหลังทางเจ้าอาวาสวัดดอย หล่อจึงนําเอาทรัพย์สมบัติเหล่านัน้ ไปบูรณะวัดทั้งสอง คือ วัดดอยหล่อและวัดพระธาตุดอยน้อย (ขณะนั้นยังไม่ได้แยกวัด) ปัจจุบันวัดพระธาตุดอยน้อยก็ได้เอาวันเพ็ญ ขึ้น๑๕ ค่ําเดือน ๘ เหนือเป็นงานประเพณีสรงน้ําพระธาตุหรืองานประจําปีของวัด ตามที่เคยปฏิบัตมิ าตั้งแต่อดีตกาลปัจจุบันวัดพระธาตุดอยน้อยก็ได้เอาวันเพ็ญ ขึ้น๑๕ ค่ําเดือน ๘ เหนือเป็นงานประเพณีสรง น้ําพระธาตุหรืองานประจําปีของวัดตามที่เคยปฏิบตั ิมาตั้งแต่อดีตกาล
วัดพระธาตุแช่แห้ง วัดพระธาตุแช่แห้ง หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตําบลม่วงตี๊ด อําเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอาราม หลวง อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ยๆ สีทองสุกปลั่ง สูง 2 เส้น เป็น อนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต ตัวพระธาตุตั้งอยู่บนเชิงเนินปูด้วยอิฐลาดขึ้นไปยังยอดเนินกว้างประมาณ 20 วา มีบันไดนาคขนาบทัง้ สองข้าง องค์พระเจดีย์ เป็นแบบล้านนาฐานเป็นสีเ่ หลีย่ มซ้อนกันขึ้นไปจนสูง ใช้แผ่นทองเหลืองบุรอบฐานแล้วลงรักปิดทอง จากพงศาวดารเมืองน่าน กล่าวว่าพระยาการเมืองเจ้านครน่านได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากกรุงสุโขทัยมาประดิษฐานไว้ทดี่ อยภูเพียงแช่แห้ง และ ตามตํานานกล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ําที่ริมฝั่งแม่น้ําน่านทางทิศตะวันออกที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอ แห้งซึ่งพระยามลราชนํามาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมากพระพุทธเจ้าจึงทรงนําผลสมอนั้นไปแช่น้ําก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ ว่าต่อไปที่นี่จะมีผู้นําพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุ แช่แห้ง
วัดภูมินทร์ เดิมชื่อ “วัดพรหมมินทร์” เป็นวัดหลวง ตั้งอยู่ในเขตพระนครดังปรากฏชื่อตําบลในเวียงในปัจจุบัน เจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2139 ต่อมาอีกประมาณ 300 ปี มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิ์เดช เมื่อ พ.ศ. 2410 (ปลาย สมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมแซมนานถึง 7 ปี เป็นวัดทรงจัตุรมุขดูคล้ายตั้งอยู่บนหลังพญานาคขนาดใหญ่ 2 ตัว แหนพระ อุโบสถเทินไว้กลางลําตัว กลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 4 องค์ หันพรพักตร์ออกด้านประตูทั้งสี่ทิศหัน เบื้องปฤษฏาค์ชนกัน ประทับนั่งบนฐานซุกชีปางมารวิชัย อาคารนี้เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ในหลังเดียวกัน โดยใช้อาคารในแนว ตะวันออก-ตะวันตก เป็นพระวิหาร และอาคารแนว เหนือ-ใต้ เป็นพระอุโบสถ รัฐบาลไทยเคยพิมพ์รูปวัด ภูมินทร์ ในธนบัตรใบละ 1 บาท ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวชาดก วิถีชีวิต ตํานานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ได้แก่ การ แต่งกายคล้ายผ้าซิ่นลายน้ําไหล การท่อผ้าด้วยกี่ทอมือ การติดต่อซื้อขายกับชาวต่างชาติ สิ่งน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือบาน
ประตูแกะสลักลึกเป็น 3 ชั้นบนไม้สักทองแผ่นเดียวขนาดใหญ่ ความหนาของไม้ประมาณ 4 นิ้วสลักเป็นลวดลายเครือเถาทีม่ ี ทั้งดอกและผลระย้า รวมทั้งสัตว์นานาชนิด ฝีมือช่างเมืองน่าน หอไตรวัดภูมินทร์ สร้างขึ้นใหม่เลียนแบบของเดิมเมื่อ 5 มีนาคม 2537 อาคารสี่เหลียมทรงสูงสองชั้นก่ออิฐถือปูน มีบันใด ภายในตัวอาคาร ชั้นบนมีระเบียง หลังคามีช่อฟ้าใบระกา
วัดพระธาตุช้างคาวรวิหาร (วัดหลวงกลางเวียง) เดิมชื่อ วัดหลวงกลางเวียง เจ้าผูค้ รองนครน่าน พญาภูเข่ง เป็นผูส้ ร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1949 พระวิหารหลวงวัดพระธาตุช้างค้ํา วรวิหารเป็นวิหารขนาดใหญ่ สร้างตามศิลปะสถาปัตยกรรมภาคเหนือ ด้านหน้ามีสิงห์คู่ยืนตรงเชิงบันไดด้านละตัว มีทางเข้า 3 ทาง ประตูกลางทําเป็นประตูใหญ่และประตูเล็กอยู่ดา้ นซ้ายและด้านขวา ทางขึ้นเป็นประตูเล็กๆ ตรงข้ามพระประธาน ด้านทิศ ตะวันออกและตะวันตกอีก 2 ข้าง ทําหลังคาซ้อนกัน 2 ชั้น มุขลดด้านหน้าและด้านหลัง หน้าบันตีด้วยแผ่นกระดานเรียงต่อ กัน แล้วประดับที่ขอบเสาด้านหน้าทุกต้นตามลักษณะสถาปัตยกรรมล้านนาไทย ภายในพระวิหารกว้างขวาง มีเสาปูนกลม ขนาดใหญ่ขนาด 2 คนโอบ จําหลักลวดลายปูนปั้นนูนสูงไว้เหนือจากระดับพื้นพระวิหาร 1.50 เมตร เป็นลวดลายกนกระย้า ย้อยเหมือนเสาในวิหารวัดภูมินทร์ ภายในวัดประดิษฐานเจดีย์ช้างค้ําซึ่งเป็นศิลปสมัยสุโขทัย อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 รอบเจดีย์มีรูปปั้นช้างปูนปั้นเพียง ครึ่งตัวประดับอยู่โดยรอบ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปทองคําปางลีลา คือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นทองคํา 65 % สูง 145 เซ็นติเมตร ยอดพระโมฬีทําเสริมเมื่อ พ.ศ. 2442 หนัก 69 บาท เจ้างั่วฬารผาสุม เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 14 แห่ง ราชวงค์ภูคาเป็นผู้สร้าง เมื่อวันพุธ เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 1969 เป็นศิลปะสุโขทัยประดิษฐานอยู่ที่หอพระไตรปิฎกใหญ่ที่สดุ ใน ประเทศ พระธาตุเจดีย์ช้างค้ําวรวิหารเป็นทีป่ ระดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน ได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย เห็นได้จากจาก เจดีย์ทรงลังกาที่มีลักษณะเดียวกันกับเจดีย์วัดช้างล้อม พระธาตุเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ฐานเป็นรูปสี่เหลืย่ มจัตรุ ัสซ้อนกัน 3 ชั้น กว้างด้านละ 9 วา ฐานชั้นหนึ่งถึงชั้นสองมีรูปช้างค้ําอยู่ในลักษณะเหมือนฐานรองรับไว้ด้านละ 6 เชือก รวมทั้งหมด 24 เชือก แต่ละตัวโผล่ออกมาครึ่งตัว ขาหน้าทั้งคู่ยื่นพ้นออกมาจากเหลีย่ มฐาน เหนือขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ (ฐานบัว) ซ้อนกัน 3 ชัน และ
เป็นองค์ระฆังแบบลังกา ต่อจากองค์ระฆังทําเป็นฐานเขียงรองรับมาลัยลูกแก้วลดหลั่นกันไปเป็นส่วนยอด ปัจจุบันพระธาตุ เจดีย์ช้างค้ําได้รับการบูรณะซ่อมแซมและหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองทั้งองค์ หอไตรวัดช้างค้ําวรวิหารสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุรยิ พงษ์ผริตเดชฯ ดังปรากฏในพระประวัตขิ องพระองค์ว่า "ร.ศ. 127 พ.ศ. 2453 ก่อสร้างหอพระไตรปิฏกในบริเวณวัดช้างค้ํา 1 หลัง 8 ห้อง ยาว 16 วา 1 ศอก กว้าง 5 วา 2 ศอก สูงตั้งแต่ดินถึงอกไก่ 13 วา หลังคาทําเป็นชั้นๆ ก่ออิฐทาสี เครื่องบนไม้สักมุงกระเบื้องไม้สักทําอย่างแน่นหนา มีเพดานจัว่ 2 ข้าง และเพดานทํา ด้วยลวดลายต่างๆ พระสมุห์อิน เจ้าอาวาสวัดหัวข่วงกับ จีนอิ๋ว จีนซาง เป็นสล่าสิ้นเงิน 12,558 บาท” โครงสร้างและ สถาปัตยกรรมมีลักษณะอย่างเดียวกับวิหารและโบสถ์ตั้งอยู่ด้านหน้าคู่กับพระวิหารหลวง อาคารก่ออิฐโบกปูนยกพื้นสูง มีสิงห์ ยืนอยู่ด้านหน้าตรงเชิงบันใดด้านละ 1 ตัว ตั้งเสารายรับหลังคาเชิงชายแทนผนังและก่อผนังปิด ทําเป็นห้องไว้พระธรรมและ พระไตรปิฏก ตรงแนวเสาที่รับคานมีทางเข้าด้านหน้าเป็นประตูทางเดียว บานประตูสลักเป็นรูปเทวดา 2 องค์ และมีลายปูน ปั้นเป็นรูปยอดปราสาททําเป็นชั้นติดหน้าต่างด้านละ 3 บาน ผนังด้านหลังปิดทึบ ด้านนอกสองข้างทางระหว่างเสารายและ ผนังเป็นทางเดินถึงกันได้ตลอดโดยรอบ อาคารสูงหลังคาช้อน 3 ชั้น ไม่มีมุขลด ที่หน้าบันใช้แผ่นไม้เรียงต่อกันเป็นแผ่นๆ ประดับลายปูนปั้นเป็นรูปกนกล้อพระยาครุฑ ระหว่างช่วงเสาประดับด้วยแผ่นไม้จําหลักลายกนกเป็นรูปสามเหลี่ยมสลับลาย พุ่มข้าวบิณฑ์คว่ําและรูปพระยาครุฑห้อยลงมาตามแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา ภายในมีลักษณะส่วนกว้างแคบ ส่วนยาวลึก เข้าไปภายใน และส่วนสูงชะลูดขึ้นไปมากใช้เป็นที่เก็บพระไตรปิฏกซึ่งส่วนใหญ่เป็นใบลานจารอักษรตัวธรรมมีอยู่เป็นจํานวน มาก ปัจจุบนั ได้ปรับปรุงเป็นวิหารประดิษฐานพระพุทธนันทบุรีศรีศากยมนี
วัดหัวข่วง
ตั้งอยู่ใกล้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน มีวิหาร และ เจดีย์ ลักษณะศิลปกรรมแบบล้านนา สกุลช่างเมืองน่านฝีมือประณีต งดงาม ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด มีเพียงหลักฐานว่าได้รับการบูรณะในราว พ.ศ. 2425 โดยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช วิหารเป็นอาคารทรงจั่วเด่นที่หน้าบันประดับลวดลายไม้จําหลักรูปพรรณพฤกษา ผักกาดอันเป็นศิลปะแบบตะวันตกผีมือช่างเมืองน่าน
ซุ้มประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปใบ
หอไตรลักษณะคล้ายวิหารแต่มีขนาดเล็ก ทรงสูง หน้าบันและฝาชั้นบนประดับลายแกะสลักสวยงามตัง้ อยู่ใกล้องค์เจดีย์ เจดีย์ทรงประสาทหรือเรือนทองได้รับอิทธิพลจากศิลปะล้านนา ฐานล่างทําเป็นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมรับฐานบัวลูกแก้ว 2 ชั้น มีชั้นหน้ากระดานคั่นกลางฐานบัวลูกแก้วชั้นบนย่อเก็จรับกับเรือนธาตุไปจรดชั้นบัวถลาใต้องค์ระฆัง ส่วนเรือนธาตุมีซุ้มจรนัม ด้านละซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปสําริดปางมารวิชัย ที่มุมผนังทั้งสองข้างปั้นเป็นรูปเทวดาทรงเครื่องยืนพนมมือ เหนือชั้น อัสดงสุดเรือนธาตุเป็นชั้นบัวถลาซ้อนกัน 3 ชั้น องค์ระฆังมีขนาดเล็กไม่มีบลั ลังก์ ลักษณะของรูปทรงโดยส่วนรวมคล้ายกับ เจดีย์วัดโลกโมลีจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสร้างขึ้นระหว่างรัชกาลพระเมืองเกษเกล้าราว พ.ศ. 2071 แต่สวนฐานล่างและชั้นบัวถลา ของเจดีย์นี้ยืดสูงขึ้นทําให้มีลักษณะเรียวสูงกว่า แสดงถึงพัฒนาการทรงรูปแบบที่ช่างเมืองน่านดัดแปลงนํามาใช้ในระยะหลัง ซึ่งคงมีอายุไม่เก่าไปกว่าครึ่งแรกของพุทธศตวรรษที่ 22
วัดต้นแหลง เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นเมื่อราวปี พ.ศ. 2127 หรือประมาณ 422 ปีมาแล้ว โดยช่างชาวไตลื้อ ถือเป็นศิลปกรรมสกุลไตลื้อในยุค แรกๆตัววิหารถูกรื้อแล้วสร้างใหม่เนื่องจากสร้างอยู่ริมตลิ่งทําให้ในฤดูน้ําหลากจึงถูกท่วมและพังทลายลง สันนิษฐานว่าวัดต้นแหลงน่าจะสร้างขึ้นสมัยสุโขทัยตอนปลาย เพราะลักษณะของหลังคาเป็นทรงสามชั้นมุงด้วยไม้ทั้งหมด นาค บนหลังคาเป็นนาคสามเศียรคล้ายกับนาคของประเทศลาว ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมของวัดต้นแหลงอยู่ที่ตัววิหาร ซึ่งนัก โบราณคดีต่างให้ความเห็นว่าได้รบั วิวัฒนาการมาจากวิหารไม้หลังเดิม หลังคาทรงคุ่มลาดเอียง ต่อมาได้เกิดการชํารุดเนื่องจาก ปลวกแมลงและความชืน้ จากดินจึงต้องเป็นผนังก่ออิฐและเพิ่มช่องหน้าต่างขนาดเล็กขึ้นเพื่อให้แสงสว่าง ตัววิหารเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า บริเวณฐานชุกชีค่อนไปทางหลังวิหารสามารถเดินได้รอบ ฐานวิหารยกพื้นสูงประมาณ 1
เมตร บริเวณกึ่งกลางพระวิหารมีประตูทางเข้าเป็นประตูไม้เปิดปิดได้โดยเจาะรูผนังแกนหมุนเพื่อรับบานประตูขนาดใหญ่ พระ ประธานสร้างขึ้นตามแบบศิลปะไตลื้อ ภายในวิหารมีศาสนใช้สอยประกอบกันได้แก่ ฐานชุกชี ธรรมมาสน์ และอาสนสงฆ์ ซึ่งถือว่ามีพื้นที่น้อยมากเมื่อเทียบกับตัว วิหารซึ่งเป็นอาคารแบบโล่ง สําหรับให้ชาวบ้านใช้ฟังธรรมเทศนา มีช่องสําหรับให้แสงเข้าน้อยมาก บรรยากาศยามเช้าแสง สว่างจะลอดผ่านเป็นลําพุ่งตรงจากประตูผ่านเสาวิหารที่เรียงกันเป็นทิวแถวตรงเข้าสู่องค์พระประธาน หน้าบันด้านนอกประดับด้วยไม้โปร่งเป็นรัศมีแฉกเล่นลวดลายสีสันสวยงาม หน้าบันประกอบด้วยตัวลํายองนาคและช่อฟ้าแบบ พื้นบ้าน ซึ่งเป็นลักษณะเริม่ ต้นของศิลปะตกแต่งแบบไตลื้อ ตกแต่งเชิงชายหรือชายน้ําด้วยไม้ซี่แหลมรอบอาคาร หลังคามุง ด้วยกระเบื้องไม้ทมี่ ุงขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2499 ปัจจุบันวัดต้นแหลงได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ศึกษา ค้นคว้าต่อไป
วัดหนองบัว เป็นวัดที่เก่าแก่ประจําหมู่บ้านหนองบัว ต. ป่าคา อ. ท่าวังผา จ. น่าน ตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่บ้านไทยลือ้ อันสงบ วัดหนองบัวเป็น วัดชาวบ้านการตกแต่งภายในวิหารจึงเรียบง่าย แต่กระนั้นวิหารวัดหนองบัวก็เป็นอาคารที่ทรงคุณค่าในแง่สถาปัตยกรรม พื้นบ้านที่สวยงามและหาชมได้ยาก จากคําบอกเล่าวัดนี้น่าจะสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2405 (สมัยรัชกาลที่ 4) โดยท่านสุนันต๊ะ (ครู บาหลวง) เป็นหัวเรีย่ วหัวแรงนําชาวบ้านสร้างขึ้นเป็นวัดประจําหมู่บา้ นหนองบัว จิตรกรรมฝาผนังสะท้อนให้เห็นสภาพความเป็นอยู่ของผูค้ นในสมัยนั้น โดยเฉพาะการแต่งกายของผูห้ ญิงที่นุ่งผ้าซิ่นลายน้ําไหล หรือผ้าซิ่นตีนจกที่สวยงามใกล้เคียงกับภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ในเมืองน่าน เชื่อกันว่าภาพเขียนฝาผนังในวัดหนอง บัวแห่งนีเ้ ขียนขึ้นด้วยช่างสกุลเมืองน่านผู้เดียวกันกับผู้เขียนภาพฝาผนังในวัดภูมินทร์ จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์เล่าเรื่องหนึ่งในปัญญาสชาดกซึ่งเป็นพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า และยังมีภาพเรือกลไฟและดาบ ปลายปืนซึ่งเริ่มนําเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ภาพจิตรกรรมที่วัดหนองบัวแห่งนี้ได้สะท้อนให้เห็น สภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
นอกจากภาพจิตรกรรมแล้วที่ฐานพระประธานยังประดิษฐานพระพุทธรูปล้านนาองค์เล็กอยู่หลายองค์ ล้านนาอยู่ด้วย
และยังมีบุษบกสมัย
ด้านหลังวัดหนองบัวยังเป็นที่ตั้งของศูนย์บริการวัฒนธรรมสายใยชุมชน ซึ่งเป็นแห่งผลิตและขายผ้าซิ่นทอมือพื้นเมืองของชาว น่าน รวมถึงแสดงข้าวของเครื่องใช้ของชาวบ้านในชุมชนอีกด้วย
วัดดอนมูล วิหารไทลื้อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2375 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2380 โดยเจ้าหลวงอนุภาพ มีพระปัญญาเป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. 2400 ได้สร้างพระประธานและตกแต่งฐานชุกชี ต่อมา พ.ศ. 2471 ได้เปลีย่ นไม้แป้นเกล็ดมุงหลังคาใหม่ มีพระสอนเป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ. 2490 พระบุญเปล่ง คํายวง เจ้าอาวาส นายผ่อง หน่อคํา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 นายวงศ์ นันท์ชัย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 ร่วมกับราษฎรทั้งสองหมู่บ้านร่วมกันบูรณะพระวิหารครั้งใหญ่ คือได้เปลีย่ นไม้แป้นเกล็ดมุงหลังคาใหม่หมดทั้งหลัง เปลี่ยนเสา ไม้ที่ชํารุดเป็นเสาก่ออิฐถือปูน เหลือไว้เพียง 2 ต้น ทําการเจาะช่องหน้าต่างให้กว้างขึ้นอีกเล็กน้อย (เดิมหน้าต่างกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร) ปิดประตูนาคด้านหลังวิหาร (เดิมที่วิหารนีม้ ี 3 ประตู) ให้เหลือเพียง 2 ประตู และได้ตกแต่งพระประธาน ทํา ฝ้าเพดาน ซุ้มพระประธาน การบูรณะครั้งนี้แม้จะทําเป็นครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบูรณะมา แต่ก็ยังรักษาเอกลักษณ์ของ ศิลปะไทลื้อเดิมไว้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะโครงสร้างหลังคา เมื่อ พ.ศ. 2529 วิหารไทลื้อหลังนีไ้ ด้ทรุดโทรมลงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเสาไม้ 2 ต้น ที่คงไว้เมื่อคราวบูรณะครั้งก่อนได้ทรุดลงเล็กน้อย หลังคารั่ว ผนังข้างทรุดแยกออกจากกัน จึงได้เท คอนกรีตเสริมฐานเสาไม้ดังกล่าวเปลี่ยนแป้นเกล็ดทั้งหมด เทคอนกรีตเสริมฐานรอบพระวิหาร มีนายปั่น บุญมา เป็นช่าง ผู้ดําเนินการบูรณะ นายสวัสดิ์ หน่อคํา กํานันตําบลศรีภูมิ ท่านพระอธิการอุดมปภสโร เจ้าอาวาส เป็นผู้อํานวยการบูรณะ วัด ดอนมูลได้รบั พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 และประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราช กิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนพิเศษ 103 ง วันที่ 6 ตุลาคม 2543
วัดพระธาตุช่อแฮ (พระอารามหลวง) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 96 ง วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ 28 เมตร องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ศลิ ปะเชียงแสนแบบแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง บุ ด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก องค์พระธาตุสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียง สี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม 3 ชั้น ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ําและชุดท้องไม้แปดเหลี่ยมซ้อนลดชั้นกัน ขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้นจนถึงองค์ระฆังแปดเหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุมไม้สิบ สองและปล้องไฉน ส่วนยอดฉัตรประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนแบบล้านนา มีรั้วเหล็กรอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มแบบปราสาทล้านนาไว้อย่างสวยงาม พระประธานทีป่ ระดิษฐานในพระอุโบสถเป็นศิลปะล้านนา (แบบเชียงแสน, สุโขทัย) สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังจากสร้างองค์ พระธาตุช่อแฮแล้ว หน้าตักกว้าง 3.80 เมตร สูง 4.50 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐโบกปูนลงรักปิดทอง พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อทันใจเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิปูนปั้นลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 30 นิ้ว สูงประมาณ 2 ศอก (กว้าง 80 เซนติเมตร สูง 1.20 เซนติเมตร) เป็นพระพุทธรูปองค์ใหม่ที่สร้างขึน้ เมื่อปี พ.ศ. 2465 ผู้สร้างเป็นชาวไทย ใหญ่ (เงี้ยว) แทนพระพุทธรูปองค์เดิมที่หล่อด้วยจืน (ตะกั่ว) ที่ถูกลักไป พระเจ้าทันใจหรือหลวงพ่อทันใจ (ทางเหนืออ่านว่า พระเจ้าตันใจ๋) เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้นยิ มมากราบไหว้บนบานศาลกล่าวอยู่เสมอ เชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่ใครมาขอพร แล้วจะได้สิ่งนั้นอย่างสมประสงค์ ด้านหลังซุ้มทีพ่ ระเจ้าทันใจประดิษฐานอยู่มีไม้เสี่ยงทายทําด้วยไม้รวกหรือไม้สัก มีความยาว เกิน 1 วา คาดว่าใช้แทนไม้เซียมซี เมื่อผู้ใดต้องการเสี่ยงทายสิ่งใดก็จะนําไม้ดังกล่าวมาทาบกับช่วงแขนที่กางเหยียดตรงไปจน สุดแขนทั้งสองข้าง ความยาวของวาอยู่ตรงจุดใดของไม้ก็จะ ทําเครื่องหมายไว้แล้วนําไม้มาอธิษฐานเบื้องหน้าพระเจ้าทันใจว่า สิ่งที่ตนประสงค์นั้นจะสําเร็จหรือไม่ หากสําเร็จก็ขอให้ความยาวของตนเลยจุดที่ทําเครื่องหมายไว้ออกไป เมื่ออธิษฐานเสร็จ แล้วก็นําไม้เสีย่ งทายขึ้นมาวาอีกครั้งหนึ่ง พระพุทธโลกนารถบพิตรและวิหารศิลปะล้านนาประยุกต์ เป็นพระพุทธรูปปางพระนาคปรกประดิษฐานอยู่ในวิหารศิลปะลาน นาประยุกต์ ภายในมีภาพจิตกรรมฝาผนังอย่างสวยงาม สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2534 โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(ฟื้น ชุตินฺธโร ป.ธ.9) เป็นประธานเททองหล่อและเบิกพระเนตร องค์พระขนาดหน้าตักกว้าง 3.60 เมตร สูง 7 เมตร สร้างด้วย โลหะทองเหลืองลงรักปิดทอง พระเจ้าไม้สักสร้างด้วยไม้สักทอง หน้าตักกว้าง 33 นิ้ว สูง 87 นิ้ว เป็นศิลปล้านนา พระเจ้านอนเป็นพระพุทธรูปที่ชาวจังหวัดแพร่เคารพนับถือ โดยก่อนจะขึ้นไหว้องค์พระธาตุช่อแฮชาวบ้านมักจะแวะไหว้พระ เจ้านอนก่อนเสมอ สร้างเมื่อขึ้น 15 ค่ํา เดือน 6 เหนือ พ.ศ. 2459 ศิลปะพม่าขนาดยาว 3.70 เมตร สูง 1.35 เมตร ก่อสร้าง ด้วยอิฐโบกปูนลงรักปิดทอง ธรรมมาสน์โบราณ มีความสวยงามวิจิตรบรรจงด้วยลวดลายไทยผสมศิลปะล้านนา ซึ่ง นางแก้ว ทองถิ่น สร้างอุทิศให้ นาย คลอง ทองถิ่น เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2492 ก่อสร้างด้วยไม้สักแกะสลักลงรักปิดทอง กรุอัฐิครูบาศรีวิชัย บรรจุอัฐิธาตุส่วนที่ 5 จากจํานวน 7 ส่วนของครูบาศรีวิชัย สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกบุญคุณที่ท่านได้ ทะนุบํารุงพระพุทธศาสนา บันไดนาคโบราณ มีอยู่ 4 ด้าน และบันไดสิงห์ 1 ด้าน รวม 5 บันได ซึ่งล้วนมีความยาวและจํานวนขั้นไม่เท่ากัน เจ้ากุมภัณฑ์มีความเชื่อว่านาคที่เฝ้าบันไดกุมภัณฑ์ด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุช่อแฮชอบหนีออกไปเล่นน้าํ ที่ลําน้ําแม่ สายในหมู่บ้านเป็นประจํา ชาวบ้านจึงสร้างเจ้ากุมภัณฑ์นั่งทับขดหางนาคไว้เพื่อมิให้หนีไปเล่นน้ําอีก แผ่นศิลาจารึกตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพระเจ้าทันใจจารึกเรื่องราวการสร้างบันไดด้านทิศตะวันตก
วัดจอมสวรรค์
ตั้งอยู่บนถนนยันตรกิจโกศล ตําบลในเวียง อําเภอเมือง จังหวัดแพร่ ห่างจากศาลากลางจังหวัด ๑ กม. เป็นวัดไทยใหญ่สร้าง ตามแบบสถาปัตยกรรมพม่า หลังคาซ้อนลดหลั่นเป็นชั้น ประดับประดาลวดลายฉลุ ตัวอาคารเป็นไม้สัก ใช้เป็นทั้งโบสถ์ วิหาร และกุฏิ ภายในอาคารแสดงให้เห็นฝีมือการตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง เพดานและเสาฉลุไม้ประดับกระจกสีงดงาม โบราณวัตถุ ภายในวัดได้แก่ หลวงพ่อสาน เป็นพระพุทธรูปที่สร้างโดยใช้ไม้ไผ่สานเป็นองค์ลงรักปิดทอง พระพุทธรูปงาช้างซึ่งเป็นศิลปะ แบบพม่า คัมภีร์งาช้าง หรือคัมภีร์ปฏิโมกข์ โดยนํางาช้างมาบดแล้วอัดเป็นแผ่นบาง ๆ เขียนลงรักแดง จารึกเป็นอักษรพม่า และยังมีบุษบกลวดลายวิจิตรงดงามประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ครั้งแรกในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๗ ตอน ๑๕๙ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓
คุ้มเจ้าหลวง สร้างขึ้นก่อนสมัยเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ประมาณ 100 ปี ประมาณ 2435 หลังจากเจ้าหลวงเมืองแพร่ คือ เจ้าพิริยเทพวงศ์ ได้ลี้ ภัยไปอยูเ่ มืองหลวงพระบางแล้ว คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ได้กลายเป็นที่ตั้งของกองทหารม้าที่ทางกรุงเทพฯ ได้ส่งมารักษาความ สงบเรียบร้อยในเมืองแพร่อยูร่ ะยะหนึ่ง บริเวณทีต่ ั้งของคุ้มเจ้าหลวงมีอาณาเขตครอบคลุมถึงที่ตั้งของห้องสมุดประชาชน จังหวัดแพร่ และสํานักงานสาธารณสุขอําเภอเมืองแพร่ในปัจจุบนั ซึ่งบริเวณนี้มีศาลาหลังใหญ่เป็นคอกม้าเก่า ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีประกาศพระราชบัญญัติการประถมศึกษาขึ้นบริเวณคอกม้าเก่าจึง เป็นที่ตั้งของโรงเรียนประจําจังหวัดชาย เรียกกันสมัยนั้นว่า “โรงเรียนคอกม้า” (ปัจจุบันคือ โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ และ ได้ย้ายไปอยู่บริเวณถนนยันตรกิจโกศล) ต่อมา วันที่ 5 ธันวาคม 2547 จังหวัดแพร่ได้มอบคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ให้องค์การ บริหารส่วนจังหวัดแพร่เป็นผูด้ ูแล เพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง” ให้ประชาชนได้เข้าไปเยี่ยมชมและศึกษา ประวัติและเรื่องราวในอดีตของจังหวัดแพร่ ซึ่งหลังจากที่ได้รับมอบแล้วองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ได้ทําการปรับปรุง ภายในพิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง” และตกแต่สภาพภูมิทัศน์โดยรอบให้สวยงาม พร้อมทั้งได้จัดตั้งสํานักงานและ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ได้ดูแล
คุ้มเจ้าหลวง มีรูปทรงอาคารเป็นแบบไทยผสมยุโรปหรือที่เรียกว่าแบบขนมปังขิง มีความหรูหรา สง่างาม และโอ่โถงมาก เป็น ฝีมือช่างชาวจีนและช่างพื้นบ้าน ใต้ถุนอาคารมีห้องสําหรับควบคุมข้าทาสของเจ้าหลวงทีกระทําผิด ทําให้มีเรื่องเล่าขานว่ามี วิญญาณสิงสถิตอยู่จวบจนปัจจุบัน บริเวณชั้น 2 ของคุ้มเป็นที่ประดิษฐ์ฐานของพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อให้นักท่องเที่ยวและ ผู้สนใจได้สักการบูชา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลปัจจุบันเคยเสด็จประทับแรมระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม พ.ศ. 2501 และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จประทับแรม เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2536 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีพระวรราชาทินัดดามาตุเสด็จ ณ วันที่ 4 ก.พ. 2548 พระเจ้า หลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาเสด็จ ณ. วันที่ 21 มิ.ย. 2549 พิพิธภัณฑ์เมืองแพร่ “คุ้มเจ้าหลวง” ได้รับพระราชทานรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจําปี 2536 และสถาปัตยกรรม ดีเด่น ประจําปี 2540 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วัดสะแล่ง ตั้งอยู่ที่ อ.ลอง จ.แพร่ ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ ๔๕ กิโลเมตร เป็นวัดที่มีโบราณสถานและโบราณวัตถุ ที่รวบรวมไว้จากหลายยุค ในอดีต ร่วมสมัยกับ พระธาตุศรีดอนคํา พระอุโบสถเป็นทรงล้านนาประยุกต์ ประวัติความเป็นมาของวัดกล่าวว่าวัดนี้สร้างใน สมัยพระนางจามเทวี เป็นทีป่ ระดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีโบราณวัตถุเป็นพระพุทธรูปสมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยทวาราวดี จนถึงอยุธยาตอนปลาย คําว่า “สะแล่ง” เป็นชื่อของดอกไม้ป่าชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยืนต้น ดอกสีขาวนวล ลักษณะของดอกคล้าย ดอกปีป(กาสะลอง)คือมีลักษณะปลายแหลมเหมือนหอกโบราณ การบูรณปฏิสังขรณ์และการก่อสร้างศาสนวัตถุนั้นทําหลังจากที่มีการสร้างพระธาตุขะอูบคําแล้วประมาณ พ.ศ. ๑๓๐๐ – ๒๐๒๐ ได้มีการสร้างอุโบสถ กุฏิ กําแพง บ่อน้ํา ซุ้มพระ ซุ้มสิงห์จามเทวี