อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
อารีย์ นาคสมพันธ์
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
1
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด ต�ำบลบางนกแขวก ที่บางคนฑี อ�ำเภอบางคนฑี เป็นอ�ำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม เดิมชื่อ อ�ำเภอสี่หมื่น ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2457 มาเป็นชื่อ บางคณฑี
2
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
ความหมายของ อาสนวิหาร อาสนวิหาร คือ Cathedra ในภาษากรีก หมายถึงเก้าอี้ ที่นั่งในสมัย โบราณ เก้าอี้เป็นสัญลักษณ์ของอ�ำนาจที่บุคคลผู้หนึ่งนั่ง เพื่อสอน ปกครอง หรือตัดสิน ภายในอาสนวิหารแห่งนี้จะมีบัลลังก์พระสังฆราช ซึ่งเป็นอ�ำนาจในการปกครอง ทุกๆ ปีพระสังฆราชประมุขมิสซังจะต้องมา ประกอบพิธีมสิ ซา ในเทศกาลปาสกา(Easter Sunday) เทศกาลคริสต์มาส เป็นวัดประจ�ำของพระสังฆราชประมุขของสังฆมณฑลราชบุรี (ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม และเพชรบุรี)
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
3
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด
ปี พ.ศ. 2378 พระสังฆราชกูรเวอร์ซไี ด้รับมอบหมายจาก พระสันตะปาปาจากกรุงโรมให้ท�ำหน้าที่เป็นพระสังฆราชแห่งสยาม โดยมี เขตการปกครองคือ ประเทศไทย ลาว เขมร มาเลเซีย พม่า และสิงคโปร์ ท่านได้เชิญบาทหลวงอัลบรังค์ ที่มีความช�ำนาญด้านภาษาจีนจากสิงคโปร์ ให้มาช่วยงานอภิบาลสัตบุรุษคนไทยเชื้อสายจีนที่วัดกาลหว่าร์ ตลาดน้อย กรุงเทพฯ ในระหว่างการเดินทางมาของบาทหลวงอัลบรังค์ ได้ผ่านแม่น�้ำ แม่กลองและได้พบกับครอบครัวคาทอลิกชาวจีนจ�ำนวน 8 ครอบครัวที่ย้าย มาจากวัดกาลหว่าร์ มาตัง้ ถิ่นฐานอยู่ในคลองสี่หมื่น ในปี พ.ศ. 2390 มีคริสต์ศาสนิกชนประมาณ 200 คนได้ช่วยกันสร้างวัด ขึ้นมาในที่ดนิ ของฟรังซิสโก ไง้ เป็นเรือนไม้ หลังคามุงจาก มีชื่อว่า “วัดศาลาแดง” หรือบางคนเรียกว่า “วัดรางยาว” ตามลักษณะของสีทาวัด และท�ำเลที่ตั้งอยู่รมิ คลองที่ชาวจีนขุดต่อกับแม่น�้ำเพื่อน�ำน�้ำมาท�ำสวนผัก มี รูปร่างเป็นรางส่งน�้ำ 4
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
5
ในปี พ.ศ. 2393 เมื่อจ�ำนวนสัตบุรุษเพิ่มมากขึ้น บาทหลวงมาแรง จึงท�ำการย้ายวัดมาอยู่ท่ปี ากคลองบางนกแขวก ที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 4 ทรงสั่งขุดเชื่อมระหว่าง แม่น�้ำแม่กลองกับแม่น�้ำท่าจีน เป็นเส้นทางคมนาคมทางน�ำ้ ไปสู่ กรุงเทพฯ และได้สร้างวัดหลังใหม่ท่นี ั่นโดยมีนามว่า “แม่พระบังเกิด” ในปี พ.ศ. 2433 บาทหลวงเปาโลซัลมอน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “บาทหลวงเป่า” (ซึ่งมีรูปปั้นท่านอยู่ท่บี ริเวณหน้าบ้านพักพระสงฆ์) ได้เริ่มลงมือสร้างวัดหลังนี้จนเป็นรูปร่างขึ้นมา ด้วยรับทุนสนับสนุน จากญาติพี่น้องของท่านในฝรั่งเศส จากคณะมิชชันนารีต่างประเทศ แห่งกรุงปารีส จากกรุงโรม และผู้ใจบุญ โดยสร้างไปหาทุนสนับสนุน ไปจนแล้วเสร็จ ท�ำพิธีเสกและเปิดใช้อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2439 ส่วนวัสดุของวัดหลังเก่าได้ถูกน�ำไป สร้างไว้ท่คี ลองขวางล่าง โดยมีนามชื่อว่า “วัดพระแม่องค์ประถัมป์” หรือชาวบ้านจะเรียกว่า “วัดใน”
6
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
7
8
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
ลักษณะเด่นของอาสนวิหารนี้ คือเป็นวัดที่สร้างมานานกว่าหนึ่งศตวรรษ มาแล้ว เป็นศิลปะแบบโกธิคสร้างด้วยอิฐเผา ผนังฉาบด้วยปูนต�ำกับน�้ำ เชื่อมจากอ้อยใสสีด�ำ ประดับด้วยกระจกสีที่สวยงามจากประเทศฝรั่งเศส ที่เป็นเรื่องเล่าของพระนางมารีย์พรหมจารีจากพระคัมภีร์ และภาพของ บรรดานักบุญชายหญิง เมื่อเกิดสงครามโลกครัง้ ที่ 2 บางส่วนของวัด และภาพกระจกสีได้รับความกระทบกระเทือนเสียหาย ดังนัน้ บาทหลวง เจ้าอาวาสจึงได้มีการบูรณะซ่อมแซมเรื่อยมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 สัฆมณฑลราชบุรี ได้ท�ำการบูรณะวัดครัง้ ใหญ่เพื่อเตรียมฉลองครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2539 อาสนวิหารแห่งนี้จึงเป็นวัดที่สวยและเก่าแก่ที่สุดใน ประเทศไทย เป็นของขวัญจากพระเจ้ามอบแก่ชาวคาทอลิกทุกคน อาสนวิหาร ซึ่งเป็นการเรียกชื่อโบสถ์ประจ�ำต�ำแหน่งของพระสังฆราช ในประเทศไทยมี 2 อัครสังฆมณฑล และ 8 สังฆมณฑล และจะมีอาสนวิหารประจ�ำต�ำแหน่งชองพระสังฆราชแต่ละท่าน
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
9
อาสนวิหารแม่พระบังเกิดเป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิค(Gothic Art) มีโครงสร้างสูง ที่ยอดเป็นหอสูงแหลมอยู่ข้างบน ใช้เป็นหอระฆัง ท�ำให้รูป ร่างสูงขึ้นเสียดฟ้า เพดาน ซุ้มประตูหน้าต่าง และซุ้มภายในมีส่วนโค้ง (Arch) ที่แปลกกว่าส่วนโค้งของศิลปะอื่นใด คือเป็นส่วนโค้งที่มีจุดตัดอยู่ ตอนบนสุด รูปแบบภายนอกของอาสนวิหารได้สัดส่วนสวยงามมากแห่ง หนึ่งในประเทศไทย 10
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
11
12
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
ที่ประตูอาสนวิหารมีการใช้ศิลปะไทยประยุกต์ ซึ่งท�ำใหม่ เมื่อครั้งสมโภช 100 ปี โดยใช้ เครื่องเขิน จากจังหวัด เชียงใหม่ แกะสลักเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิล
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
13
14
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
15
ภายในอาสนวิหารมีสิ่งหนึ่งที่เด่นหาดูได้ยากและสวยงามที่สุดใน ประเทศไทยเช่นกัน นั่นคือกระจกสี (Stained Glass) ตามช่องซุ้มประตูและ หน้าต่าง เนื่องด้วยสถาปัตยกรรมโกธิคไม่นิยมวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง เพราะลักษณะของอาคารไม่เอื้ออ�ำนวย โครงสร้างของโบสถ์ยุคนี้ ค�ำนึงเพียงแต่การเจาะช่องหน้าต่างบริเวณฝาผนังให้ได้มากที่สุด ท�ำให้ไม่มีพื้นที่ว่างพอส�ำหรับการสร้างงานจิตรกรรมฝาผนัง แต่อย่างไรก็ตาม การเปิดช่องหน้าต่างนี้จึงได้สร้างงานจิตรกรรมอีกแบบ หนึ่งขึ้นมาแทน นั่นคือ การท�ำกระจกสี เมื่อมีแสงสว่างผ่านจะดูเหมือนภาพ นั้นเขียนด้วยแก้วสี ซึ่งในสมัยก่อนต้องสั่งซื้อจากประเทศฝรั่งเศสโดยส่งมา ทางเรือ ภาพกระจกสีส่วนใหญ่เป็นของเก่าดังเดิมตั้งแต่แรกสร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 มีบ้างส่วนที่ซ่อมแซมบ้าง โดยเป็นการท�ำกระจกสีแบบโบราณ ที่ใช้ธาตุท่ใี ห้สีต่างๆ เป็นส่วนผสม เมื่อน�ำไปเผาก็จะได้กระจกที่มีสีสันสดใส คงทน ซึ่งการท�ำนั้นจะต้องละเอียดลออเป็นพิเศษ เพราะเป็นการน�ำกระจก ชิ้นเล็กๆ แต่ละสีมาต่อกันให้ได้ภาพตามที่ต้องการ ไม่ต่างอะไรกับการต่อ จิ๊กซอร์นั่นเอง การเชื่อมต่อกันของกระจกแต่ละชิ้นนั้นต้องมีตัวประสาน ซึ่งตัวประสานนัน้ มีสีน�้ำตาลเข้ม เป็นเม็ดกลมๆ เล็กๆ มากมายเรียงต่อกัน จนมองคล้ายเป็นเส้นกรอบของภาพนั่นเอง เรื่องราวที่ถ่ายทอดออกมาโดย งานกระจกสีคือ ประวัติของพระแม่มารี เป็นเรื่องราวของพระแม่ตงั้ แต่ ประสูติจนถึงรูปที่พระแม่ได้รับเกียรติและขึ้นสู่สวรรค์
ถัดลงมาจากรูปปูนปั้นเป็นรูปนักบุญทางด้านซ้ายโดยหันหน้า เข้าทางแท่นพิธี ทั้งหมดเป็นรูปนักบุญชาย ส่วนทางด้านขวาที่ หันหน้าเข้าทางแท่นพิธีเป็นรูปนักบุญหญิง ในสมัยก่อนการนั่ง ของสาธุชนจะต้องนั่งแบ่งฝั่งชายหญิงโดยดูตามรูปกระจกสีของ นักบุญ
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
17
18
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
19
นอกจากกระจกสีแล้ว โบสถ์แห่งนี้ยังมีรูปปูนปั้นนูนต�่ำ เป็นรูปมหา ทรมานของพระเยซูคริสต์ ภาพอาหารมื้อสุดท้าย และภาพถูกจับให้เดิน ลากไม้กางเขนไปที่ภูเขา จนพระองค์ส้นิ พระชนม์ ตลอดจนการปลด พระองค์ลงมาและน�ำร่างไปฝังที่คูหา โบสถ์ทุกหลังที่เป็นคาทอลิกต้องมี ภาพลักษณะ มีความหมายถึงพระเยซูท่เี ป็นบุตรของพระเจ้า พระเยซูที่เกิดมาเพื่อไถ่บาปให้มนุษย์ และแสดงถึงพระเยซูที่รักในตัวของ มนุษย์
20
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
21
อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับการบูรณะปรับปรุงครัง้ ใหญ่ เมื่อครั้งสมโภช 100 ปี ซึ่งยังคงรูปเดิมไว้โดยใช้ปูนต�ำซ่อมผิวภายนอก ปูนต�ำเป็นศิลปะ พื้นเมืองของช่างปั้นเมืองเพชรบุรี เป็นการน�ำเอาอ้อยตัดเป็นท่อน แล้ว น�ำเอาไปเผาให้เปลือกไหม้เกือบทั้งหมด และบีบคั้นเอาแต่น�้ำ ที่มีลักษณะใส แต่ให้มสี ีด�ำ น�ำไปผสมกับปูนและทราย เพราะในสมัย ก่อนไม่มีปูนซีเมนต์ ใส่กระดาษสาหรือกระดาษฟางใส่อย่างใดอย่างหนึ่ง ในปริมาณที่พอดี และใส่กาวหนังความที่เคี่ยวแล้ว เมื่อใส่ครบก็ หมักจนได้ท่ี และใส่ครกเพื่อน�ำไปต�ำ จึงเรียกว่า ปูนต�ำ สีที่ ออกมาจะเป็นสีเท่าค่อนข้างด�ำ ขณะที่ฉาบปูนปูนซึ่ง ยังมีความเปียกหรือชื้นอยู่ ช่าง สาดเข้าไป เมื่อต้องการสีนอกเหนือจากสีด�ำปูน หมักอันเป็นกรรมวิธีดั้งเดิมที่ น่ายกย่องแก่วัดและ ช่างทีด่ แู ลรักษา ยิ่งนัก
22
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี
23
อาสนวิหารแม่พระบังเกิด บางคณฑี ภาพและเนื้อเรื่อง © 2014 (พ.ศ. 2557) โดย อารีย์ นาคสมพันธ์, 540310150 สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ พิมพ์ครั้งแรก เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2557 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและจัดรูปเล่มโดย อารีย์ นาคสมพันธ์ โดยใช้ฟอนท์ TH Niramit AS 16 pt หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานทางวิชาการจัดทำ�ขึ้นเพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่