801481-A49ChiangMai_InterviewReport

Page 1

A | 49

Chiang Mai

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 1

561710071 / นายศักราวุธ สุม า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


Chiang Mai

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม

บริษัท สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด

โดย นายศักราวุธ สุมา รหัสนักศึกษา 561710071

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา Theory in Professional Practice (801481) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคการศึกษาที่ 1 /255

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 2


คํานํา

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมฉบับนี้จัดทําขึ้นเพื่อประกอบการศึกษากระบวนวิชา Theory in Professional Practice (801481) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมในลักษณะของบริษัทได้แก่ การจัดการบริหารบริษัท แนวทางการทํางาน แนวทางและปรัชญาการออกแบบ ปัญหาและอุปสรรค และผลงานตัวอย่างของ โครงการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมมากขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติวิชาชีพในอนาคต ในการจัดทํารายงานฉบับนี้ ผู้เขียนได้ศึกษาจากการสัมภาษณ์เป็นการส่วนบุคคลจากคุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกย์การ กรรมการผู้จัดการบริษัท สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด และได้มาสังเกตการณ์ ณ สํานักงานสถาปนิก 49 เชียงใหม่ โดยตรง ประกอบกับการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ได้เนื้อหาที่ละเอียดและครอบคลุมมากที่สุด ต้องขอขอบคุณ คุณวิยะดา เจริญศุขว่องวิกการณ์ คุณกิตติธัช นิลสุวรรณ และบริษัท สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด เป็นอย่างสูงที่ได้เอื้อเฟื้อข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับ บริษัทในการศึกษา ซึ่งหวังว่าจะเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาต่อไป หากมีสิ่งใดขาดตกบกพร่องก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ผู้จัดทํา นายศักราวุธ สุมา รหัสนักศึกษา 561710071 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1 ธันวาคม 2559

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / ก


สารบัญ คํานํา ............................................................................................................................................... ก ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป .......................................................................................................................................................... 1 - ประวัติบริษัท ........................................................................................................................................................... 2 - สถานที่ทํางาน ......................................................................................................................................................... 4 - การจดทะเบียนนิติบุคคล .......................................................................................................................................... 7 - โครงสร้างการบริหาร ................................................................................................................................................ 8 - สถาปนิก/พนักงาน ................................................................................................................................................... 9 - เวลาทําการ 9 ส่วนที่ 2 แนวทางการทํางาน ............................................................................................................................................. 10 - กระบวนการทํางาน ............................................................................................................................................... 11 - การบริการลูกค้า .................................................................................................................................................... 12 - การดําเนินงานออกแบบ ........................................................................................................................................ 12 - การประสานงาน .................................................................................................................................................... 13 - การป้องกันหรือแก้ไขปัญหา ................................................................................................................................... 13 - การประชาสัมพันธ์บริษัท ........................................................................................................................................ 13 ส่วนที่ 3 แนวทางการออกแบบ ........................................................................................................................................ 14 - แนวทางการออกแบบ ............................................................................................................................................ 15 - วิธีสร้างแนวคิดในการออกแบบ .............................................................................................................................. 15 - วิธีควบคุมผลงาน ................................................................................................................................................... 15 - จุดยืนในการรับงาน ................................................................................................................................................ 15 - วิธีการนําเสนอผลงาน ............................................................................................................................................ 15 ส่วนที่ 4 ผลงานตัวอย่าง ................................................................................................................................................... 16 ผลงานที่1 ...................................................................................................................................................................... 17 ผลงานที่2 ...................................................................................................................................................................... 17 ผลงานที่3 ...................................................................................................................................................................... 18 ความคิด เห็น 18 บรรณานุกรม .................................................................................................................................................................... 19

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / ข


/ศักราวุธ สุมา, 2559

BASIC INFO

1

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 1


ประวัติบริษัท เริ่มจากบริษทั สถาปนิก 49 จํากัด ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2526 แล้วได้ทํางานจนเป็นบริษัทอันดับต้นๆ ในแวดวงสถาปัตยกรรม และต่อมาในปี 2548 บริษทั สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด ก็ได้ก่อตั้งขึ้นพร้อมกัน กับบริษัท สถาปนิก 49 (ภูเก็ด) จํากัด โดยคุณนิธิ สถาปิตานนท์และคณะผู้บริหารบริษัท สถาปนิก 49 จํากัด (คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกการณ์, การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 26 ตุลาคม 2559) ด้วยวิสัยทัศน์ของคุณนิธิที่มองว่า เศรษฐกิจของเชียงใหม่และภูเก็ตกําลังเติบโต มีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้น แต่ละเมืองก็มสี ภาพการณ์ทางด้าน เศรษฐกิจ ลูกค้า วัฒนธรรม ภูมิประเทศต่างกับกรุงเทพฯ การเกิดขึ้นของบริษัท สถาปนิก 49 ในภูมิภาคนั้นจะ ช่วยสนับสนุนและทําให้บริษทั สถาปนิก 49 ให้บริการได้ครอบคลุมมากขึ้นและเข้าใจสภาพพื้นที่ยิ่งขึ้น โดย ยังคงใช้มาตราฐานเช่นเดียวกันกับบริษัท สถาปนิก 49 จํากัด ที่กรุงเทพฯ (http://www.li-zenn.com, ม.ป.ป) โดยในช่วงแรกบริษัทเริ่มต้นด้วยการทํางานขนาดเล็กจําพวกบ้านพักอาศัย และมีงานขนาดใหญ่บ้าง บางงาน งานแรกๆของบริษัท อย่างเช่น โรงแรมเชียงใหม่แกรนวิว (คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกย์การ, การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 26 ตุลาคม 2559)

/ www.a49.co.th, 2016

ปีที่ก่อตั้ง ชื่อบริษัท ก่อตั้งโดย

- คุณนิธิ สถาปิตานนท์ ผู้ก่ อ ตัง้ อายุการก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2559) ผู้จัดการทั่วไป การจดทะเบียน Website หมายเลขโทรศัพท์ ที่ตั้งสํานักงาน E-mail ขอบเขตการให้บริการทาง วิชาชีพ

พฤษภาคม พ.ศ. 2548 บริษัท สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด (เลขที่นิติ น050-49) Architects 49 (Chiang Mai) Limited คุณนิธิ สถาปิตานนท์ (ว-สถ 350) คุณประภากร วทานยกุล (ว-สถ 404) คุณสุวัฒน์ วสะภิญโญกุล (ว-สถ 472) คุณพิชัย วงศ์ไวศยวรรณ คุณสมเกียรติ โล่จินดาพงศ์ คุณครรชิต ปุณยกนก (ส-สถ 1692) คุณชัยภัต โอสถาพันธุ์ http://www.act.or.th/th/membership/index.php, 2012 11 ปี คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกย์การ บริษัทจํากัด http://www.49group.com โทร 053 220 158 49/19-20 ถนน ห้วยแก้ว อําเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่ 50300 A49chiangmai@gmail.com ออกแบบสถาปัตยกรรม,สถาปัตยกรรมภายใน,ภูมิสถาปัตยกรรม, การวางผัง

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 2


A49

| Architects 49 Limited

A49 HD | Architects 49 House Design Limited AE49 | Architectural Engineering 49 Limited - สถานที่ทํางาน IA49 | Interior Architects 49 Limited ME49 | M&E Engineering 49 Limited CM49 | Consulting& Management 49 Limited LD49 | 49 Lighting Design Consultants Limited L49

| Landscape Architects 49 Limited

G49

| G49 Limited

Architects 49 (Chiang Mai) Limited Architects 49 (Phuket) Limited Architects 49 (Khon Kaen)

- บริษัทในเครือ A49

https://www.youtube.com/channel/UC7eFbpNsQb0_YzrN8sT2H4Q, 2015

สาเหตุของการจัดตัง้ บริษัท บริษัท สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด เป็นบริษัทในเครือ A49 โดยมีผู้ถือหุ้นจาก บริษัท สถาปนิก 49 จํากัด ที่กรุงเทพฯเป็นผู้ถือหุ้นหลัก ทั้งหมด 49% โดยบริษัทถูกจัดตั้งขึ้นเนื่องจากในแต่ ละพื้นที่จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1. ด้านการออกแบบ เนื่องจากกายภาพระหว่าง ภูมิภาคต่างๆนั้นมีความแตกต่างไม่เหมือนกัน ทําให้ในการออกแบบรูปแบบสถาปัตยกรรม และโปรแกรมย่อมมีความแตกต่างกันเฉพาะ พื้นที่ การแยกเป็นบริษัทมาจึงทําให้ถนัดในการ ออกแบบเฉพาะพื้นที่มากขึ้น 2. ด้านการลงทุน ในกรุงเทพฯ มีการลงทุนมากก็ สามารถสร้างโครงการขนาดใหญ่ได้ แตกต่างกับ เชียงใหม่มีการลงทุนที่น้อยลงมา การลงทุน โครงการขนาดใหญ่จึงไม่มีมากนัก ทําให้การ ลงทุนและการตลาดจึงแตกต่างกัน อีกทั้งจาก นโยบายที่รัฐบาลจะประกาศนโยบายที่จะ พัฒนาเมืองเชียงใหม่ และภูเก็ต เป็นจุดศูนย์ รวมทางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวก็ เป็นปัจจัยที่จะทําให้เชียงใหม่มีการลงทุนมาก ขึ้นเรื่อยๆ 3. ด้านลูกค้า ในปัจจุบันมีลูกค้าที่เป็นนักลงทุน ชาวจีน ซึ่งแตกต่างจากภูเก็ตที่จะเป็นนักลงทุน ชาวต่างชาติ การแยกมาเป็นบริษัทจึงทําให้ สามารถบริการลูกค้าและนักลงทุนแต่ละ พื้นที่ได้อย่างเหมาะสม (คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกการณ์และ คุณกิตติธัช นิลสุวรรณ, การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 26 ตุลาคม 2559; http://www.li-zenn.com, ม.ป.ป)

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 3


สถานทีท่ ํางาน ที่ตั้ง : 49/19-20 ถนนห้วยแก้ว อําเภอเมือง เชียงใหม่ 50300 ลักษณะ : เป็นอาคารพาณิชย์ตึกแถว 3 ชั้นครึ่ง 2 คูหา พื้นที่ : ประมาณ 200 ตร.ม.

/ศักราวุธ สุมา, 2559

- แผนที่สถานที่ตั้งสํานักงาน

/Map.google.com, 2016

บริ ษัท สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด

- อาคารสํานักงาน

สาเหตุที่เลือกที่ตั้งสํานักงานอยู่ที่นี่เนื่องจากคนภายนอกเห็นได้ง่ายเพราะติดถนนห้วยแก้ว ลูกค้าสามารถเดินเข้ามาติดต่อได้ สะดวก มีแนวคิดที่จะย้ายสํานักงานแต่เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี และการสร้างสํานักงานใหม่ต้องใช้ต้นทุนสูง ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งหาก ในอนาคตมีเศรษฐกิจดี มีงานเข้ามามากก็อาจจะย้าย ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีการรีโนเวทปรับปรุงสํานักงานซึ่งใช้เงินประมาณ 1 ล้านบาท โดย ปัจจุบันใช้วิธีการเช่าสํานักงานเดือนละ 50,000 บาท (คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกย์การ, การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 26 ตุลาคม 2559)

- บริเวณด้านหน้าสํานักงาน

/ศักราวุธ สุมา, 2559

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 4


-

-

/ศักราวุธ สุมา, 2559 /ศักราวุธ สุมา, 2559

บริเวณพื้นที่ต้อนรับ

บอร์ด References

/ศักราวุธ สุมา, 2559

- บริเวณที่ประชุม

-

/ศักราวุธ สุมา, 2559

- บริเวณทางเข้า

/ศักราวุธ สุมา, 2559

โต๊ะทํางาน

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 5


/ศักราวุธ สุมา, 2559

โต๊ะทํางาน

-

บริเวณชั้นหนังสือ

-

โต๊ะทํางาน

-

/ศักราวุธ สุมา, 2559

/ศักราวุธ สุมา, 2559

/ศักราวุธ สุมา, 2559

-

บอร์ด

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 6


การจดทะเบียนนิติบคุ คล จดทะเบียนในรูปแบบของบริษัทจํากัดที่และจดทะเบียนกับสภาสถาปนิก มีคณะกรรมการบริหารที่เป็นสถาปนิก ระดับวุฒิสถาปนิก 3 ท่าน สามัญสถาปนิก 1 ท่านและเป็นผู้ถือหุ้นในเชียงใหม่ สาเหตุที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจํากัด เนื่องจากมีการหักค่าใช้จ่ายได้สะดวก มีโอกาสทํางานได้ในระดับที่มีมาตรฐานและมีขนาดใหญ่มากขึ้น บริษัทมีความน่าเชื่อถือ เอกสารตรวจสอบได้ง่าย มีหลักประกันที่มั่นคงให้กับลูกค้า ผู้บริหารหรือเจ้าของเกิดเหตุลาออกหรือเสียชีวิตบริษัทก็ยัง ดําเนินการต่อไปได้ต่างกับฟรีแลนซ์ที่จะไม่มีคนรับผิดชอบต่อหรือห้างหุ้นส่วนที่จะค่อนข้างจะดําเนินการได้ยุ่งยากกว่า (คุณวิยะ ดา เจริญศุข ว่องวิกการณ์และคุณกิตติธัช นิลสุวรรณ, การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 26 ตุลาคม 2559)

การบริหารและติดต่อประสานงานระหว่างเชียงใหม่และบริษทั ในเครือ 49 กรณีที่ 1 ได้รับงานโดยตรงที่เชียงใหม่ โครงการที่มีขนาดไม่ใหญ่มากบริษัทก็จะดูแลเองทั้งหมด แต่ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่ มากๆ ก็จะทําการปรึกษาหรือทํางานร่วมกับกับบริษัท A49 ที่กรุงเทพฯ กรณีที่ 2 ได้รับงานจากกรุงเทพฯ จะมีทั้งการทํางานร่วมกัน การตัดตอนงานบางส่วนมาให้บริษัท A49 เชียงใหม่ดูแล หรือให้ให้ บริษัท A49 เชียงใหม่ดูแลทั้งหมด ซึ่งงานที่ต้องการบริษัทที่เชียงใหม่เข้าไปร่วมด้วยก็จะมีบริษัท A49 ที่กรุงเทพฯ เป็นผู้ควบคุม โครงการและบริษัท A49 เชียงใหม่เป็นทีมสนับสนุน หรือถ้าบริษัท A49 ที่กรุงเทพฯต้องการทีมเพิ่มก็จะมีการส่งพนักงานไปทํางานที่ กรุงเทพ ซึ่งการป้อนงานจากบริษัท A49 ที่กรุงเทพฯก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะมาช่วยให้เกิดรายรับที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในบริษัทผ่าน การให้งานเข้ามาช่วย กรณีที่ 3 การรับงานนอกภูมิภาค ปัจจุบันบริษัทเคยได้ทํางานในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ น่าน แพร่ และเชียงราย ซึ่งบริษัทก็เป็น สาขาที่ให้บริการในพื้นที่ภาคเหนือเป็นหลัก อย่างไรก็ตามการรับงานนอกภูมิภาคก็สามารถทําได้เพราะอย่างไรก็เป็นบริษัทในเครือ เดียวกัน ขึ้นอยู่ว่าลูกค้าไว้ใจบริษัทที่ภูมิภาคใด เช่น ลูกค้าไว้ใจที่ภูเก็ตแต่พื้นที่งานอยู่ที่เชียงใหม่ ก็สามารถใช้บริการที่ภูเก็ตได้ โดย อาจมีการร่วมกันกับในพื้นที่ และอาจมีสัดส่วนให้เจ้าของพื้นที่แล้วแต่การตกลงว่าจ้างตามสัญญาการออกแบบ

/ศักราวุธ สุมา, 2559

ข้อได้เปรียบของการเป็นบริษัทในภูมิภาค 1. ให้บริการได้ครอบคลุมในภูมิภาคมากขึ้น 2. บริษัทมีความน่าเชื่อถือ 3. งานมีลักษณะเฉพาะ (Character) ของงานแต่ละสาขาในภูมิภาค 4. มีบริษัทในเครือที่ให้บริการครอบคลุมงานสถาปัตยกรรมที่จับคู่ ร่วมกันทํางานได้ ซึ่งประสานงานกันได้ง่ายกว่า ข้อเสียเปรียบของการเป็นบริษัทในภูมิภาค 1. ติดต่อกันกันไม่ได้รวดเร็วเหมือนการทํางานร่วมกับบริษัทที่อยู่เชียงใหม่ ด้วยกัน 2. การติดตามงานก็ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 3. โครงการในภูมิภาคมักมีข้อจํากัดเรื่องงบประมาณ ซึ่งสัดส่วนค่าบริการ วิชาชีพที่ทางเชียงใหม่ได้รับจะได้ตามสัดส่วนการทํางานและการตกลง เป็นแต่ละโครงการไป 4. ความคาดหวังสูงกับการเป็นบริษัทในเครือ 49 ทําให้การทํางานมีความ กดดันเล็กน้อย รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 7


โครงสร้างการบริหาร ควบคุมการบริหารงานจากบริษัท A49 ที่กรุงเทพฯ เนื่องจากเป็นบริษัทในเครือ ส่วนโครงสร้างการทํางานภายใน บริษัทจะไม่ได้ถูกแบ่งชัดเจนเหมือนกับบริษัท A49 ที่กรุงเทพฯ แต่จะเป็นการทํางานร่วมกันตามแต่ละขั้นตอนเนื่องด้วย เป็นบริษัทขนาดเล็ก มีพนักงานไม่มาก

- คุณประภากร วทานยกุล (ว-สถ 404)

A49

ประธานคณะกรรมการบริห าร

A49 Chiang Mai

-

คุณสุวัฒน์ วสะภิญโญกุล (ว-สถ 472) รองประธานคณะกรรมการบริห าร

-

คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกย์การ (ภสถ.2595) กรรมการผู้จัดการ

-

พิศานต์ คนดี (ภสถ.9869) กรรมการบริหาร

- คุณพิชัย วงศ์ไวศยวรรณ (วสถ.509) - คุณสมเกียรติ โล่จินดาพงศ์

รองประธานคณะกรรมการบริห าร

รองประธานคณะกรรมการบริห าร

-

คุณครรชิต ปุณยกนก (สสถ.1682) กรรมการบริหาร

-

-

กรกช เจริญธุระยนต์ (ภสถ.10932) กรรมการบริหาร /ข้อมูลและรูปภาพทั้งหมดจาก www.a49.co.th, 2016

คุณรัฐวุฒิ จันทร์ศรีตระกูล (สสถ.2194) กรรมการบริหาร

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 8


สถาปนิก/พนักงาน มีทั้งหมด 14 คน แบ่งเป็น ตําแหน่ง สถาปนิก

ระดับ วุฒิสถาปนิก สามัญสถาปนิก ภาคีสถาปนิก

จํานวน (คน) 1 1 9 1 1 2

สถาปนิกภายใน (Interior Architect) ภูมิสถาปนิก (Landscape Architect) ฝ่ายสนับสนุน (สเปคแบบ เขียนแบบ)

คุณพรเทพ หงส์ลดารมภ์ (วสถ.370) คุณกิตติธัช นิลสุวรรณ

การสมัครงาน จะต้องส่ง Portfolio และใบสมัคร การพิจารณาจะมีการสัมภาษณ์โดยมีคณะกรรมการ 5 ท่านต่อ 1 คน พิจารณาจาก 1. บุคลิกภาพ 2. ประสบการณ์ 3. ทัศนคติต่อการทํางาน 4.แนวทางการออกแบบที่ดูจากผลงานใน Portfolio

เวลาทําการ

/ศักราวุธ สุมา, 2559

9.00-18.00 น. มีการทํางานล่วงเวลา (OT.) ในบางครั้งในช่วงก่อนส่งงานให้ลูกค้าประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งค่าแรง ล่วงเวลาเป็นไปตามกําหนดตามกระทรวงแรงงาน การเข้างานใช้การแสกนลายนิ้วมือ เซ็นชื่อตามเวลา

สวัสดิการพนักงาน

1. กองทุนสํารองเลี้ยงชีพมีลักษณะคล้ายกับเงินบํานาญในส่วนราชการ บริษัทจ่ายส่วนหนึ่ง และพนักงานจ่ายส่วนหนึ่ง ประมาณ 3% ของรายได้ ซึ่งจะสะสมและจ่ายให้พนักงานเมื่อเกษียณอายุหรือลาออก

2. ประกันสุขภาพ จะได้รับเมื่อทํางานในบริษัทครบ 1 ปี เฉพาะเป็นผู้ป่วยในในโรงพยาบาล 3. โบนัสปลายปี ตามความเหมาะสมโดยมีผลประกอบการบริษัทประกอบการพิจารณา ซึ่งจะแบ่งจากผลกําไรของปีนั้นและ จะมีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 40% ของผลกําไรตลอดทั้งปี (คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกย์การและคุณกิตติธัช นิลสุวรรณ, การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 26 ตุลาคม 2559) รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 9


/ศักราวุธ สุมา, 2559

2 WORKING PROCESS รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 10


กระบวนการทํางาน ติดต่อ คุยงาน

คุยตกลงกับลูกค้าว่าต้องการอะไร แบบไหน พื้นที่อะไรบ้าง ขนาดเท่าไหร่ (Program& Requirements) มีระยะเวลาใน การออกแบบและก่อสร้างเท่าไหร่ให้แน่นอน แล้วตัดสินใจว่าจะรับงานหรือไม่รับงาน

เซ็นต์ สัญญา

พอตกลงเสร็จ บริษัทตัดสินใจรับงาน ก็ทําการเซ็นต์สัญญา โดยก่อนการเริ่มทํางานทุกครั้งต้องมีการเซ็นต์ สัญญาเพราะถือว่าบริษัทจะไม่ทํางานฟรี และเมื่อเซ็นต์สัญญาจะมีการจ่ายเงินล่วงหน้าก่อน 5% ของ ค่าบริการที่ระบุในสัญญา

Preliminary Design

กําหนดแนวคิดโครงการ และส่งงานแบบร่าง 2-3 ครั้ง ซึ่งปกติมักจะมากกว่านั้น

3 เดือน Design ปรึกษากับวิศวกรเพื่อกําหนดแบบโครงสร้าง งานระบบ และกําหนดรายละเอียดวัสดุ Detail ต่างๆ เช่น Development ลูกบิด กลอน ประตู ชนิดของหน้าต่าง แล้วตกลงกับลูกค้าในเรื่องของหน้าตาอาคารและวัสดุ 3 เดือน Construction Designer จะเขียนแบบก่อสร้างเอง โดยมีทีมสนับสนุนให้คําปรึกษาเรื่องการเขียน Detail ต่างๆ เพราะ ปัจจุบันหาช่างเขียนแบบได้ยาก เมื่อเขียนเสร็จก็ยื่นขออนุญาตจากเทศบาล Drawing 3 เดือน บริษัทจะไม่ได้คุมงานก่อสร้างโดยตรง แต่จะมีการตรวจสอบและเข้าร่วมประชุมอย่างน้อย Construction เดือนละครั้งเรียกว่า Project Meeting ว่าเป็นไปตามแบบหรือไม่ โดยที่ Construction Manager วิศวกรและผู้รับเหมาอาจเป็นสัญญาเดียวกันหรือสัญญาแยกก็ได้ ซึ่งก็มีทั้งจากบริษัทในเครือ และ จ้างวิศวกรจากภายนอกด้วย

ส่งมอบ โครงการ

ระยะเวลาดําเนินโครงการสั้นที่สุดคือ 3 เดือนครึ่ง ยาวนานที่สุดคือ 8-9 ปี (คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกการณ์และคุณกิตติธัช นิลสุวรรณ, การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 26 ตุลาคม 2559)

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 11


ลักษณะลูกค้า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนต่างชาติ ระยะหลังจะเป็นนักธุรกิจชาวจีนและนักธุรกิจในเชียงใหม่

การบริการลูกค้า การติดต่องานสามารถทําได้ 5 ทาง ได้แก่ 1. เดินเข้ามาติดต่อที่บริษัท (Walk in) ที่ 49/19-20 ถนนห้วยแก้ว อําเภอเมือง เชียงใหม่ 50300 2. ติดต่อผ่านโทรศัพท์ของบริษัท โทร 053 220 158 3. ติดต่อผ่านโทรศัพท์ส่วนตัว คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกย์การ โทร.081-8455699 คุณกิตติธัช นิลสุวรรณ โทร 085-9619351 4. ติดต่อผ่าน Line 5. ติดต่อผ่าน E-mail A49chiangmai@gmail.com เวลานัดหมายงาน 9.00-18.00 น. ซึ่งถ้าจําเป็นก็สามารถนัด นอกเวลาได้

พื้นที่นําเสนองาน

การสั่งงานพนักงานจะแบ่งงานเท่าๆกันตาม หน้าที่ในบริษัท จะมีการประชุมควบคุมงานส่ง แนวความคิดและรายละเอียดต่างๆมาคุยตกลงกัน แล้วทําตามที่ตกลงกัน โดยต้องทําสิ่งที่ลูกค้าต้องการที่สุด ก่อน ซึ่งถ้ามีนอกเหนือสิ่งที่ลูกค้าต้องการแต่เป็นสิ่งที่ ต้องการนําเสนอว่าดีกว่าสิ่งที่ลูกค้าต้องการก็ทํา Scheme เพิ่มโดยต้องบอกและนําเสนอได้ว่า Scheme ที่เพิ่มเข้า มาดีกว่าอย่างไร ซึ่งงานของ A49 นั้นก็มีแนวคิดอยู่ว่า ต้องนําเสนอสิ่งดีที่สุดก่อน โดยปกติแล้วบริษัทจะ นําเสนอหลายๆ Scheme เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือก (คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกการณ์และคุณกิตติธัช นิลสุวรรณ, การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 26 ตุลาคม 2559)

การดําเนินการออกแบบ

-

/ศักราวุธ สุมา, 2559

-

/ศักราวุธ สุมา, 2559

สถานที่นําเสนอผลงาน จะตามแล้วแต่ลูกค้าสะดวก แต่ส่วน ใหญ่จะเป็นที่บริษัท เนื่องจากในทางจิตวิทยาแล้วจะทําให้ ลูกค้ารู้สึกว่าต้องการนําเสนอให้เขาจริงๆ และสะดวกในการ นําเสนอเมื่อลูกค้าสงสัยสามารถหยิบตัวอย่างวัสดุโมเดล หรือ งานที่เคยทํามาให้ดูได้

แบบทางเลือก

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 12


การประสานงาน ในการประสานงานแต่ละฝ่ายสถาปนิกจะเป็นคนบริหารจัดการแล้วติดต่อกับลูกค้าเป็นหลักโดยแต่ละฝ่ายมีรายละเอียด ดังนี้ ภูมิสถาปนิก สถาปนิกตกแต่งภายใน มีอยู่ภายในบริษัท วิศวกร ไม่มีในบริษัท ใช้การจ้าง Outsource ภายนอกมีทั้งจากบริษัทในเครือ และจ้างวิศวกรจากภายนอกด้วย ซึ่งก็ ทํางานร่วมกับวิศวกรที่ไว้ใจและเคยทําร่วมกันและมีเวลาว่างตรงกัน ซึ่งวิศวกรจะเริ่มมาทํางานด้วยในขั้นตอนช่วง Design Development ซึ่งอาจจะมีมาก่อนช่วง Preliminary Design ด้วย ผู้รับเหมา จะมีการประมูล ติดต่อมาประมาณ 3 เจ้า โดยบริษัทจะให้รายการที่เรียกว่า Blank Form BOQ. ให้ ผู้รับเหมา แล้วผู้รับเหมาจะเสนอราคากลับมา และบริษัทก็จะพิจารณาราคาที่สมเหตุสมผลกับราคที่บริษัทประเมินไว้มากที่สุด

การป้องกันหรือแก้ไขปัญหา การส่งแบบล่าช้า ต้องคุยแจ้งกับทางลูกค้าก่อน แล้วแก้ไขปัญหาโดยทําสิ่งที่ จําเป็นจริงๆก่อน โดยจะมีการป้องกันโดยกําหนดตารางการทํางาน งบประมาณเกิน หากเกินเป็นจํานวนมากต้องปรับลดที่แบบก่อนสร้าง หาก ไม่เกิน 15-20 % ต้องมาดูที่ BOQ. ว่างบที่เกินมากเป็นส่วนไหน แล้วปรับลด Spec วัสดุลงตามความเหมาะสม ส่วนมากที่เกินจะเป็นเรื่องวิธีการก่อสร้างที่ ต้องใช้งบเพิ่มขึ้นมา ลูกค้าแก้แบบ หากลูกค้าต้องการแก้แบบจะมีการคิดค่าบริการวิชาชีพเพิ่มเติม ตามที่ระบุไว้ในสัญญา

ตารางงาน

-

/ศักราวุธ สุมา, 2559

-

/ศักราวุธ สุมา, 2559

ตารางควบคุมงานก่อสร้าง

การประชาสัมพันธ์ ลูกค้ารู้จักผ่านการบอกปากต่อปากประมาณ 50% และเว็บไซต์ของบริษัท http://www.a49.co.th อีก 50 % (คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกการณ์และคุณกิตติธัช นิลสุวรรณ, การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 26 ตุลาคม 2559)

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 13


/ศักราวุธ สุมา, 2559

DESIGN STYLE

3

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 14


แนวทางการออกแบบ รูปแบบของงาน : พยายามที่จะไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน เพราะได้รับนโยบายว่าควรทําให้ได้ทุกรูปแบบ ถ้าไม่ถนัดจริงๆก็จะ ปฏิเสธ ปรัชญาการออกแบบ : “Smart . Sensitive . Creative . Professional” Smart ฉลาดคิด คิดอย่างชาญฉลาด มีลูกเล่น สร้างจุดขายที่ไม่เคยมี Sensitive คิดถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก Creative สร้างสรรค์รูปแบบหรือวิธีการใหม่ Professional มีความเป็นมืออาชีพ ตรงเวลา ถูกต้อง มีวินัยในการทํางาน

วิธีการสร้างแนวคิดในการออกแบบ 1. มองหาจุดเด่นของพื้นที่ตั้ง 2. มองหาปัญหาของงานแล้วสร้างเป็นโอกาสและจุดขายของงาน 3. ออกแบบจากกิจกรรม อย่างเช่น ลูกค้ามีครอบครัวที่มีหลากหลายวัย ก็ออกแบบบ้านเป็นบ้านที่เชื่อมโยงหลายๆ วัยเข้าด้วยกันมาเป็นแนวความคิด 4. สร้างจากความเป็นมาของลูกค้า สถานที่ หรือองค์กร อย่างเช่น ลูกค้าทําธุรกิจเกี่ยวกับจิวเวอรี่ ก็ได้นําฟอร์มของ แหวนที่เรียงซ้อนกันไปมามาสร้างเป็นแนวความคิด

ขั้นตอนและจุดยืนในการรับงาน 1. อ่านลูกค้า อ่านอารมณ์ อ่านสถานการณ์ ถามความต้องการจากลูกค้า โดยจากประสบการณ์นั้นเป็นส่วนน้อย มากที่ลูกค้าจะรู้ว่าต้องการอะไรจริงๆ จึงต้องนําเสนอว่าบริษัททําอะไรได้บ้างจากให้ลูกค้าดูงานที่บริษัทเคยทํา 2. พิจารณารับ/ไม่รับงาน พิจารณาจากข้อมูลลูกค้า ดังนี้ 1.ความฝันและความหวังของลูกค้า 2.โปรแกรม 3.งบประมาณ 4.ระยะเวลา 5.งานในบริษัทไม่แน่น ซึ่งเมื่อพิจารณาทั้ง 5 ข้อ ก็จะรับงานต่อเมื่อ “ลูกค้าและบริษัทต้องการสร้างงานสถาปัตยกรรมที่ดีเหมือนกัน”

/Chakrit Suwannachot, 2016

วิธีการนําเสนองานลูกค้า

การนําเสนอจะเน้นการนําเสนอด้วยโมเดลจริง เนื่องจากลูกค้าจะ เข้าใจได้ง่ายกว่าภาพทัศนียภาพหรือแบบ การทําให้ลูกค้าเข้าใจ Space ใน อาคารทําโดยการทําโมเดล 1:1 วัดให้ดูจริง เสก็ตให้ดู หรือเทียบกับส่วน ต่างๆในสํานักงาน การนําเสนอห้ามบ่นกับลูกค้าว่าไม่ได้นอนหรือทํางานมาหนัก เด็ดขาด การโน้มน้าวให้ลูกค้ายอมรับงานทําโดยการเน้นสิ่งที่ต้องการ นําเสนอ เช่น เพิ่มบอร์ดพรีเซนต์ในส่วนนั้นมากขึ้น และการพูดก็ต้องมี วาทศิลป์อยากที่จะนําเสนองาน

(คุณวิยะดา เจริญศุข ว่องวิกการณ์และคุณกิตติธัช นิลสุวรรณ, การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล, 26 ตุลาคม 2559)

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 15


4 Sample Works

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 16

/บริษัท สถาปนิก (เชียงใหม่) จํากัด, 2559


/บริษัท สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด, 2559

ผลงานที่ 1

BANN KARAT

รางวัล อาคารสถาปัตยกรรมร่วมสมัยดีเด่น ประจําปี 2552 ประเภทอาคารที่ได้รับการปรับปรุง ซ่อมแซม ต่อเติม หรือ เปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร ประเภท บ้านพักอาศัย เจ้าของ คุณ Chainarong – Sasikarn Rungkagoonnuwat ที่ตั้งโครงการ เชียงใหม่ ขอบเขตงาน ออกแบบสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน (การรีโนเวท) พื้นที่ใช้สอย 940 ตร.ม. ค่าก่อสร้าง 10 ล้านบาท ปีที่ออกแบบ/ก่อสร้าง 2007-2008 โครงสร้างอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก และพื้นคอนกรีตอัดแรง

ผลงานที่ 2

/บริษัท สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด, 2559

GEMORO OFFICE

ที่ตั้งโครงการ ถนนปั้น แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เจ้าของ GEMS PAVILION ขอบเขต ออกแบบสถาปัตยกรรมและตกแต่งภายใน พื้นที่ใช้สอย 5,150 ตรม. ค่าก่อสร้าง 117 ล้านบาท ปี 2555-2558 แนวความคิด STACKING / SHIFTING /INTERWINING ได้รับแรง บันดาลใจมาจากภาพที่ใช้สําหรับสื่อโฆษณาของแบรนด์ GEMS Pavilion ที่เป็นการเหลื่อมซ้อนของแหวนเพชร ตัวแทนธุรกิจ ออกแบบและค้าอัญมณีของเจ้าของโครงการ

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 17


ผลงานที่ 3

/บริษัท สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด, 2559

BANN SANSAI

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 18


รางวัล : รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภทบ้านพักอาศัย จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ ความต้องการ : บ้านชั้นเดียวเพราะมีผู้สูงอายุอยู่ด้วย มีผู้ใช้งานแตกต่างกัน 3 รุ่น มีผู้สูงอายุที่ ต้องการความอบอุ่น และลูกชายที่ต้องการความทันสมัย แนวความคิด : SYMBIOSIS (การอยู่อาศัยร่วมกัน) เริ่มจากการคิดจากกิจกรรมที่มีผู้ใช้งานแตกต่างกัน 3 รุ่นและมีความต้องการที่แตกต่างกัน โดย ออกแบบให้รูปทรงและการใช้วัสดุของอาคารแต่ละหลังแสดงออกถึงผู้ใช้งาน เช่น อาคารที่เป็นที่ พักของคุณยายใช้วัสดุไม้และเหล็กเป็นส่วนประกอบ มีชายคารอบ ให้ความรู้สึกอบอุ่น ส่วนอาคาร ที่เป็นที่พักของลูกชายก็ใช้วัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์และหิน และมีรูปทรงอาคารที่โฉบเฉี่ยวแสดงออกถึง ความทันสมัยแบบสมัยใหม่นิยมตามที่ลูกชายต้องการ การออกแบบให้เป็นไปตามปรัชญาบริษัท : Smart สร้างจุดขายของงานโดยการเชื่อมโยงผู้ใช้งานทั้ง 3 รุ่น Sensitive การออกแบบให้ตอบสนองผู้ใช้งานทั้ง 3 รุ่นโดยไม่ทิ้งความต้องการของผู้ใช้งาน คนใดคนหนึ่งและสร้างสถาปัตยกรรมสัมพันธ์กับพื้นที่ตั้ง Creative ใช้ประโยชน์ของเนินในการสร้างระดับที่ต่างกันเพื่อสร้างมุมมองแทนการสร้าง บ้านหลายๆชั้น Professional การติดต่อทํางานกับผู้รับเหมาจะต้องมีเอกสารบันทึกทุกครั้ง ปัญหาที่เจอ : ต้องเปลี่ยนผู้รับเหมามาแก้งานเพราะบริษัทมี มาตราฐานงานแตกต่างกัน กังวลว่าจะกักเก็บน้ําในส่วนที่เป็นบึงน้ําขนาดใหญ่ไม่อยู่ และพื้นที่ตั้งอยู่บนเขา กังวลว่าจะมีน้ําน้อยแต่สุดท้ายก็เก็บน้ําได้ปกติ การดําเนินการออกแบบ : จะต้องใช้คนออกแบบมากกว่าอาคารแบบอื่นๆ เนื่องจากงานบ้านต้องมีความ ละเอียดอ่อนมากกว่าอาคารแบบอื่นๆ ผลตอบรับจากลูกค้า : เป็นความภูมิใจที่บ้านมีคนมองเห็นคุณค่าและได้รางวัล

/บริษัท สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด, 2559

ความคิดเห็นส่วนตัวที่มีต่อการประกอบวิชาชีพของบริษัท สถาปนิก 49 (เชียงใหม่) จํากัด

1. การแยกเป็นบริษัทออกมา ช่วยให้ลูกค้านั้นสามารถติดต่อกับบริษัทได้สะดวกขึ้น การทํางานภายในบริษัทก็สะดวกขึ้น ไม่ต้องไป ติดต่อไกลถึงที่กรุงเทพฯ สามารถดําเนินงานออกแบบได้รวดเร็ว บริษัทมีขนาดเล็กจึงทําให้คุยปรึกษากันได้สะดวก ทุกคน สามารถเห็นภาพรวมของงานได้ทั้งหมด แทนที่จะนําไปออกแบบที่กรุงเทพฯ 2. คิดว่าสถานที่ทํางานนั้นยังคับแคบไป พื้นที่ในการนําเสนองานและต้อนรับลูกค้าที่มีขนาดเล็กไปอาจมีผลต่อความรู้สึกด้านความ เชื่อมั่นของลูกค้า 3. การคิดค่าบริการตามมาตรฐานและราคาสูงทําให้บริษัท A49 จะได้ตลาดระดับบนเท่านั้นและจะเป็นกลุ่มนักธุรกิจที่เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้ตลาดของนักธุรกิจที่กําลังเกิดใหม่ อาจทําให้ภาพลักษณ์ของบริษัทยังดูเป็นบริษัทที่เก่าแก่ ไม่เข้ากับปัจจุบัน 4. คิดว่าบริษัทยังมีลายเซ็นอยู่ถึงแม้บริษัทจะระบุไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน เช่น ลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นร่วมสมัยระหว่าง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นผสมกับสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ 5. วิธีการออกแบบของบริษัทที่มีการคํานึงถึงผู้ใช้งานและที่ตั้งเป็นอย่างมาก อาจเป็นสิ่งที่ทําให้บริษัท A49 ยังคงมีชื่อเสียงถึง ปัจจุบัน รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 19


บรรณานุกรม นิธิ สถาปิตานนท์. (ม.ป.ป). เส้นสายสู่ปลายฝัน. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.li-zenn.com บริษัท สถาปนิก 49 จํากัด. (ม.ป.ป). Team. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.a49.com/Profile สภาสถาปนิก. (2555). รายชื่อสมาชิกนิติบุคคล. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.act.or.th/th/membership/index.php วิยะดา เจริญศุข ว่องวิกย์การ และกิตติธัช นิลสุวรรณ. (2559, 26 ตุลาคม). [สัมภาษณ์ โดย ศักราวุธ สุมา, นักศึกษาคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. การประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมในรูปแบบบริษัท.

รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 20



รายงานการศึกษาการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม / 21

801481 | Theory in Professional Practice


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.