หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์

Page 1



‫كتاب‬

‫قواعد العقائد‬ ‫لحجة اإلسالم اإلمام الغزالي‬ แปลและอธิบายโดย

อาริฟีน แสงวิมาน

หลักอะกีดะฮ์ อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ อิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์

Book 1.indb 1

29/03/2018 09:52:45


‫كتاب قواعد العقائد‬ ‫المام الغز يال‬ ‫السالم إ‬ ‫لحجة إ‬

หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ แปลและอธิบาย อาริฟีน แสงวิมาน พิสูจน์อักษร นัจจวา แสงวิมาน และทีมงาน แบบปก Haris Jaru จัดพิมพ์โดย อาริฟีน แสงวิมาน พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2561 จ�ำนวน 2,000 เล่ม สัง่ ซื้อได้ที่ สถาบันอัลกุดวะฮ์ เพื่อการศึกษาแนวทางซูฟีย์อิสลามอันบริสุทธิ์ 184 ซอย ลาดพร้าว 124 แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทรศัพท์ 084-6639644 ร้าน ส.วงศ์เสงี่ยม 8 ซอย โภคี ถนนกรุงเกษม แขวงคลองมหานาค เขตป้อมปราบ กรุงเทพฯ 10100 โทรศัพท์ 02-222-7997 โทรสาร 02-621-7365 Website: www.ransorbookshop.com

Book 1.indb 2

29/03/2018 09:52:45


อัลลอฮฺตะอาลา ทรงตรัสว่า

َ ْ ُ ْ ‫الل َو ْاس َت ْغف ْر ل َذ ْنب َك َول ْ ُل ْؤمن نَ� َو‬ ُ َّ ‫َف ْاع َ ْل َأ َّن ُه َل إ َ َل إ َّل‬ ‫ات‬ ِ ‫الؤ ِمن‬ ‫ِ ِ ِ ِ ِ​ِي‬ ِ ِ ُ َّ ‫َو‬ ْ‫ك َو َم ْث َو ُاك‬ ْ ُ ‫الل َي ْع َ ُل ُم َت َق َّل َب‬

“ฉะนั้นพึ่งรู้เถิดว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก อัลลอฮฺ และจงขออภัยโทษ(ต่ออัลลอฮฺ)เนื่องจาก ความผิดของเจ้าและ(จงขออภัยโทษให้กับความ ผิด)ของบรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธา หญิง และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่งถึงพฤติกรรมของพวก เจ้าและที่พ�ำนักของพวกเจ้า”[มุฮัมมัด: 19]

Book 1.indb 3

29/03/2018 09:52:45


ค�ำน�ำ ْ َّ ‫الر ْح ِن‬ َّ ِ‫س هللا‬ �ِ ‫الر ِح ْي‬ ِ ‫ِب‬ َ ْ َ َ َ ْ ‫َ ْ َ ْ ُ َ ّ ْ َ َ ْ نَ َ َ ْ َ ْ ُ َ ّ ْ َ َ َ ْ َ غ‬ �ِ ‫�ك َوِل َع ِظ ْي‬ ِ ‫ لك المد ر ِب ي� كا ينب ِ ي� ِ جلال ِل و ج‬،�‫المد هللِ ر ِب الع ِال ي‬ َ َ ً َّ ً ْ َ َ َ ْ ُ ‫َ َ ف‬ ْ َ ،‫طا ِه ًرا ُم َب َار ًاك ِف ْي ِه‬ ْ ‫ح ًدا ُي َو ِ ف ي‬ ‫ حدا ط ِيبا‬،‫سلطا ِنك‬ .‫ا� ِن َع َمك َو ُيك ِ ي� ُء َم ِز ْي َدك‬ َ ْ ً َ ْ َ ْ ُ ْ َ ْ َّ َ ُ َ‫َ َّ َ ُ َ َّ َ ُ َ َ َ ّ ن‬ َ ْ َ ‫آل َو‬ ‫ص ِب ِه‬ ‫والصالة والسالم عل س ِي ِد� مم ٍد البعو ِث ر‬ ِ ِ ‫حة ِلل َع ِال ْ ي نَ� َو َعل‬ ً َ ً َ َّ .‫َو َس َل ت ْس ِل ْي� ك ِث ْي�ا‬

นี่คือหนังสือ ก่อวาอิดุลอะกออิด ของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ฉบับแปลไทย เป็นต�ำราที่กล่าวถึงหลักอะกีดะฮ์ อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ที่กลั่นกรองมาจากตัวบทกิตาบุลลอฮฺ และซุนนะฮ์ของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพื่อ สะดวกในการยึดมั่นที่ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวไว้ในต�ำรา อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน ที่โด่งดังของท่าน และเพื่อมีส่วนร่วมในการ ฟื้นฟูและเผยแผ่หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์แก่ ประชาชาติอิสลาม อนึ่ง ต�ำรา อัลก่อวาอิดุลอะกออิด ฉบับภาษาอาหรับนั้นผู้เขียน ได้ท�ำการสอนจบถึงสองครั้งและได้แปลเป็นภาษาไทยเพื่อเป็นของ ก�ำนัลให้แก่บรรดาผู้เรียนเมื่อได้สอนจบ ผู้เขียนจึงตระหนักว่า ต�ำราอะกีดะฮ์เล่มนี้มีบะร่อกะฮ์เพราะให้คุณประโยชน์และความ เข้าใจแก่ผู้คนที่ร�่ำเรียนมากมาย ดังนั้นผู้เขียนจึงมีกระแสความคิด วนเวียนเข้ามาตลอดว่า ต�ำราที่มีความบะร่อกะฮ์ของท่านอิหม่าม

Book 1.indb 4

29/03/2018 09:52:45


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 5

อัลฆ่อซาลีย์เล่มนี้สมควรจัดตีพิมพ์อย่างเป็นทางการ เพื่อเผยแผ่ หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์และยังคุณประโยชน์แก่ พี่น้องมุสลิมทั่วไป ในบทน�ำของหนังสือเล่มนี้ ผูเ้ ขียนได้นำ� เสนอเกีย่ วกับชีวประวัติ ของท่ า นอิ ห ม่ า มอั ล ฆ่ อ ซาลี ย ์ พ ร้ อ มท� ำ การวิ เ คราะห์ เ พื่ อ เป็ น บทเรียนสอนใจและปลุกปณิธานในการท�ำงานศาสนาและสร้าง ความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺตะอาลา และผู้เขียนจะน�ำตัวบทภาษา อาหรับไว้ด้านบนเพื่อสะดวกในการท่องจ�ำพร้อมค�ำแปลภาษา ไทยด้านล่าง ส่วนหัวข้อเรื่องนั้นมาจากการเพิ่มของผู้เขียนเอง และท�ำการอธิบายในเชิงอรรถแบบพอสังเขปเพื่อให้ผู้อ่านมีความ เข้าใจมากยิ่งขึ้น อัลลอฮฺเท่านั้นที่ผู้เขียนวอนขอต่อพระองค์ให้หนังสือเล่มนี้มี ประโยชน์แก่ตัวผู้เขียนเองและพี่น้องมุสลิมทั้งหลายในทั้งดุนยา และอาคิเราะฮ์ด้วยเถิด อามีน ยาร็อบ อาริฟีน แสงวิมาน ผู้รับใช้แนวทางอะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

Book 1.indb 5

29/03/2018 09:52:45


สารบัญ ค�ำน�ำ ���������������������������������������������������������������������������������������������������4 บทน�ำ: ชีวประวัติของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย ์ ������������������������������������ 8 ชีวิตช่วงเยาว์วัย ����������������������������������������������������������������������������������8 ความอัจฉริยะในการร�่ำเรียนของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย ์������������������������10 สาเหตุที่ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เข้ามาอยู่ในแนวทางตะเซาวุฟ ��������14 การเดินทางออกจากนครแบกแดด ���������������������������������������������������17 วิเคราะห์บทเรียนจากชีวประวัติของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย ์ �����������19 ค�ำยกย่องของปราชญ์เกี่ยวกับอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย ์����������������������������26 อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์กับการปฏิรูปสังคม ���������������������������������������������28 ความเป็นมาของต�ำราก่อวาอิดุลอะกออิด �����������������������������������������42 ต�ำรา ก่อวาอิดุลอะกออิด ������������������������������������������������������������ 47 ศิฟัตอัลวุญูด-อัลลอฮฺทรงมี ���������������������������������������������������������������48 ศิฟัตซัลบียะฮ์ ������������������������������������������������������������������������������������51 ศิฟัตอัลวะหฺดานียะฮ์-ทรงหนึ่งเดียว ������������������������������������������������51 ศิฟัตอัลกิดัม-ทรงเดิม �����������������������������������������������������������������������51 ศิฟัตอัลบะกออฺ-ทรงถาวร �����������������������������������������������������������������52 ศิฟัตอัลกิยามุบินนัฟซิ-ทรงด�ำรงด้วยพระองค์เอง �����������������������������52 ศิฟัตอัลมุคอละฟะฮ์ ลิลหะวาดิษ-ทรงแตกต่างกับสิ่งบังเกิดใหม่ �������53 ปฏิเสธการมีสถานที่ให้กับอัลลอฮฺ �����������������������������������������������������55 ความหมายการอิสติวาอฺของอัลลอฮฺเหนือบัลลังก์ �����������������������������55 ปฏิเสธการเข้าไปอยู่หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอัลลอฮฺ �������������������58 การเห็นอัลลอฮฺ ���������������������������������������������������������������������������������60

Book 1.indb 6

29/03/2018 09:52:45


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 7

ศิฟัตมะอานี ��������������������������������������������������������������������������������������61 ศิฟัตอัลหะยาฮ์-ทรงเป็นและอัลกุดเราะฮ์-ทรงเดชานุภาพ ����������������61 ศิฟัตอัลอิลมุ้-ทรงรอบรู ้ ���������������������������������������������������������������������63 ศิฟัตอัลอิรอดะฮ์-ทรงเจตนา �������������������������������������������������������������65 ศิฟัตอัสสัมอุ้-ทรงได้ยินและอัลบะศ็อร-ทรงเห็น ��������������������������������68 ศิฟัตอัลกะลาม-การทรงพูด ���������������������������������������������������������������69 มุอฺมินได้เห็นอัลลอฮฺในโลกหน้า ��������������������������������������������������������71 เตาฮีดอัฟอาล-หนึ่งเดียวในการกระท�ำของอัลลอฮฺ ���������������������������72 การสร้างทุกสิ่งที่มุมกินหรือไม่สร้างในสิทธิของอัลลอฮฺ ���������������������74 เรื่องการเป็นนะบีย์และสิ่งที่เกี่ยวข้อง �����������������������������������������������76 การแต่งตั้งท่านนะบีย์มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ��������������77 อัซซัมอีย้าต (บรรดาหลักความเชื่อที่ได้ยินจากตัวบท) ����������������������78 อะลั่มบัรซักและการลงโทษที่กุบูร �����������������������������������������������������78 การอีหม่านต่อตราชั่ง ������������������������������������������������������������������������79 สะพานศิร้อฏ ������������������������������������������������������������������������������������80 บ่อน�้ำของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในสวรรค์ �������������80 การสอบสวน �������������������������������������������������������������������������������������81 ผู้มีเตาฮีดออกจากนรก ����������������������������������������������������������������������82 การชะฟาอะฮ์ �����������������������������������������������������������������������������������82 เรียบเรียงความประเสริฐของศ่อฮาบะฮ์ ��������������������������������������������83 คิดในแง่ดงี ามกับศ่อฮาบะฮ์และงดเอ่ยถึงพวกเขาในทางทีไ่ ม่ด ี �������������83 บรรณานุกรม ������������������������������������������������������������������������������������85

Book 1.indb 7

29/03/2018 09:52:45


บทน�ำ ชีวประวัติของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ชีวิตช่วงเยาว์วัย ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ มีนามว่า มุฮัมมัด บุตร มุฮัมมัด บุตร มุฮัมมัด บุตร อะหฺมัด เกิดที่เมืองฏูส ปี ฮ.ศ. 450 บิดามีฐานะ ยากจน มีอาชีพปั่นเส้นด้ายที่ท�ำมาจากขนสัตว์และน�ำไปขายที่ร้าน ในเมืองฏูส เขาจะไม่รับประทานและไม่ให้ครอบครัวรับประทาน อาหารใดนอกจากอาหารที่ได้มาจากการท�ำงานจากน�้ำมือของเขา เท่านั้น บิดาของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ชอบเรื่องศาสนา ชอบนั่ง เรียนกับปราชญ์ฟิกฮ์และนักวิชาการศาสนา เขาชอบบริการรับใช้ พวกเขาเหล่านั้น และเขาเอาจริงเอาจังในการบริการสิ่งดีงามให้ แก่พวกเขาสุดความสามารถ เขาจะร้องไห้เมื่อรู้สึกกินใจกับค�ำพูด และค�ำเตือนใจของนักปราชญ์เหล่านั้น หลังจากนั้นเขาก็วิงวอน ขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺให้พระองค์ทรงประทานบุตรสักคนหนึ่งที่เป็น ปราชญ์คอยปกป้องศาสนา อัลลอฮฺตะอาลาให้เขาก�ำเนิดบุตรสองคน คนหนึ่งชื่อมุฮัมมัด และอีกคนหนึ่งชื่ออะหฺมัด เขาเห็นว่าบุตรทั้งสองนี้เป็นผลสัมฤทธิ์ มาจากความหวังและดุอาอ์ของเขาพร้อมหวังว่าอัลลอฮฺจะท�ำให้ บุตรทั้งสองเป็นนักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮ์) ที่ทรงความ

Book 1.indb 8

29/03/2018 09:52:45


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 9

รู้แต่เขากลับเสียชีวิตไปก่อนในขณะที่บุตรทั้งสองยังเยาว์วัย ก่อน ตายผู้เป็นบิดาจึงฝากฝังกับเพื่อนที่เป็นคนตะเซาวุฟที่มีคุณธรรม เขาได้กล่าวกับเพื่อนของเขาว่า ฉันรู้สึกเสียใจมากที่ฉันไม่ได้รับ ความรู้ศาสนามากนัก แต่ฉันหวังว่า บุตรสองคนนี้จะเก็บตกในสิ่ง ที่ฉันขาดไป... ดังนั้นท่านจงสั่งสอนพวกเขาให้สุดความสามารถ เถิด และจงให้พวกเขามีความสะดวกในการร�่ำเรียนความรู้ และ ไม่จ�ำเป็นที่ท่านจะต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูจากทรัพย์สินทั้งหมดที่ฉันได้ ทิ้งเป็นมรดกไว้ให้แก่ทั้งสองก็ได้1 เมื่อเขาได้เสียชีวิต ชายผู้มีคุณธรรมจึงท�ำการสั่งสอนทั้งสอง สุดความสามารถที่จะกระท�ำได้ แต่ทรัพย์สินอันน้อยนิดที่บิดา ได้ทิ้งไว้ให้ทั้งสองช่างหมดลงอย่างรวดเร็วเหลือเกิน และชายผู้มี คุณธรรมก็เป็นคนยากจนที่อดมื้อกินมื้อ เขาจึงกล่าวกับทั้งสองว่า เจ้าทั้งสองจงรู้ว่าฉันได้จ่ายค่าเลี้ยงดูแก่เจ้าทั้งสองจากทรัพย์สินที่ เป็นของเจ้าทั้งสองหมดแล้ว ฉันเป็นคนยากจนตามที่พวกเจ้าได้ เห็น ดังนั้นฉันจึงไม่มีทรัพย์สินหลงเหลืออยู่เพื่อจะจุนเจือเจ้าทั้ง สองแล้ว...แต่ฉันเห็นว่า เจ้าทั้งสองสมควรเข้าเรียนที่โรงเรียนใน ฐานะนักศึกษาแล้วเจ้าทั้งสองก็จะมีปัจจัยยังชีพในช่วงเวลาศึกษา ร�่ำเรียน...ดังนั้นทั้งสองจึงน้อมรับสิ่งดังกล่าว2 อัลฆ่อซาลีย์ มุ่งหน้าทุ่มเทในการร�่ำเรียนเกี่ยวกับวิชาฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) ด้วยความอดทนและความฉลาดเฉียบแหลม 1 หมายถึง ให้เขาน�ำมรดกไปเป็นค่าเลี้ยงชีพตนเองและเป็นค่าตอบแทนในการเลี้ยงดู และอบรมสั่งสอนบุตรทั้งสองได้. 2 อัซซุบกีย์ อับดุลวะฮ์ฮาบ บิน อะลีย์, ฏ่อบะก้อตอัชชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ, ตะห์กีก: มะหฺมู้ดอัฏฏ่อนาฮีย์และอับดุลฟัตตาห์ มุฮัมมัด อัลหิลวฺ (ไคโร: ฮิจญฺร์, ฮ.ศ. 1413), เล่ม 6, หน้า 193-194.

Book 1.indb 9

29/03/2018 09:52:45


 10

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

และมีความโดดเด่นเหนือเพื่อนคนอื่นอย่างรวดเร็วและกลายเป็น ที่ชื่นชมของเพื่อนๆ ทั้งหมด ส่วนอะหฺมัดผู้เป็นน้อง มุ่งเรียนเกี่ยวกับวิชาการขัดเกลาจิตใจ และมุ ่ ง เน้ น ปฏิ บั ติ อิ บ าดะฮ์ จ นกระทั่ ง เป็ น ที่ เ ลื่ อ งลื อ ถึ ง ความมี คุณธรรมและมีความช�ำนาญในการบรรยายธรรมและเป็นที่รู้จัก ถึงความฉะฉานในการพูดและอธิบายอย่างลึกซึ้งน่าประทับใจ3 ความอัจฉริยะในการร�่ำเรียนของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ เรื่องราวของอัลฆ่อซาลีย์ในช่วงแรกนั้น ในปี ฮ.ศ. 465 ท่าน ได้มุ่งหน้าเดินทางไปยังเมืองญุรญานซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ใกล้กับ เมืองฏูส เพื่อร�่ำเรียนกับท่านอิหม่ามอะบูนัศรฺ อัลอิสมาอีลีย์ 4 และได้รับวิทยาการและความรู้แขนงต่างๆ มากมายจากผู้เป็น อาจารย์ ซึ่งอัลฆ่อซาลีย์ได้บันทึกมันเอาไว้ในแผ่นกระดาษบันทึก 3 อิบนุอิม้าด, อับดุลหัยยฺ บิน อะหฺมัด, ชะษะร้อตอัซซะฮับ, ตะห์กีก: มะหฺมู้ด อัลอัรนะอูฏ, พิมพ์ครั้งที่ 1 (ดิมัช,เบรุต: ดารุอิบนุกะษีร, ค.ศ. 1989/ฮ.ศ.1410), เล่ม 6, หน้า 99, 101. 4 หมายถึง ได้บันทึกความรู้ต่างๆ ของท่านอิหม่ามอะบูนัศรฺ อัลอิสมาอีลีย์ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 405) ปราชญ์หะดีษระดับแนวหน้าของเมืองญุรญาณ โดยที่มิได้ท่องจ�ำและได้ยิน โดยตรง แต่ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เป็นลูกศิษย์ของอิหม่ามอะบุลกอเซ็ม อิสมาอีล บิน มัสอะดะฮ์ อัลอิสมาอีลีย์ ผู้เป็นหลานของอิหม่ามอะบูนัศรฺอัลอิสมาอีลีย์ เกิดปี ฮ.ศ. 407 เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 477 ซึ่งท่านเป็นนักปราชญ์ฟิกฮ์(มัซฮับชาฟิอีย์) เป็นนักปราชญ์หะดีษ มีความนอบน้อมถ่อมตน สติปัญญาฉลาดสมบูรณ์ มีบุคลิกภาพที่งดงาม ท�ำการฟัตวา และสอน และท�ำการบอกรายงานหะดีษด้วยความเข้าใจในตัวบท ซึ่งบ้านของท่าน อิหม่ามอะบุลกอเซ็มอิสมาอีล เป็นศูนย์รวมของเหล่าปราชญ์ บรรดาผู้มีคุณธรรม และ ปราชญ์ที่ได้เดินทางมาร�่ำเรียนกับท่านมากมาย. ดู อิบนุนุ้กเฏาะฮ์ มุฮัมมัด บิน อับดุล ฆ่อนีย์ อัลบัฆดาดีย์, อัตตักยี้ด ลิมะอฺริฟะติ รุวาฮ์อัซซุนันวัลมะซานี้ด, ตะห์กีก: กามาล ยูซุฟ อัลหู้ต, พิมพ์ครั้งที่ 1 (เบรุต: ดารุลกุตุบ อัลอิลมียะฮ์, ปี ค.ศ. 1988 – ฮ.ศ. 1408), หน้า 205, อัซซุบกีย์, ฏ่อบะก้อตอัชชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ, เล่ม 4, หน้า 294.

Book 1.indb 10

29/03/2018 09:52:45


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 11

ช่วยจ�ำ วันหนึ่งในขณะเดินทางกลับเมืองฏูส มีหมู่โจรดักปล้น สะดมระหว่างทางได้ออกมา แล้วท�ำการค้นตัวอัลฆ่อซาลีย์ท้ังหมด หลังจากนั้นก็ปล่อยตัวไป แต่อัลฆ่อซาลีย์ได้เล่าว่า “ฉันกลับเดิน ติดตามพวกเขาไปเพื่อขอต�ำราจดบันทึกคืน แล้วหัวหน้าโจรก็หัน มาพูดกับฉันว่า เจ้าเอ๋ย จงกลับไปเถิด มิเช่นนั้น เจ้าจะต้องตาย น่ะ! ฉันจึงกล่าวกับเขาว่า ฉันขอให้ท่านส่งบรรดาเล่มสมุดบันทึก ของฉันคืนเท่านั้น เพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์อะไรกับพวก ท่านเลย ดังนั้นเขาจึงกล่าวกับฉันว่า อะไรคือสมุดบันทึกของเจ้า? ฉันตอบว่า มันคือบรรดาต�ำราที่อยู่ในถุงย่ามนั้นไง ฉันได้เดินทาง เพื่อจะได้รับฟัง จดบันทึก และได้รับข้อมูลความรู้จากมัน เขาจึง หัวเราะพร้อมกล่าวว่า เจ้าแอบอ้างได้อย่างไรว่าเจ้ามีความรู้ เมื่อ พวกเราได้ยึดมันมา เจ้าก็สูญสิ้นซึ่งความรู้และคงอยู่ในสภาพที่ ปราศจากความรู้กระนั้นหรือ?! หลังจากนั้นเขาก็ใช้ให้ลูกน้องส่ง ถุงย่ามให้แก่ฉัน อัลฆ่อซาลีย์จึงกล่าวว่า นี่คือค�ำพูดที่อัลลอฮฺทรง ท�ำให้เขาพูดออกมาเพื่อชี้น�ำเกี่ยวกับภารกิจการศึกษาความรู้ของ ฉัน เมื่อฉันเดินทางถึงเมืองฏูส ฉันก็มุ่งให้ความสนใจอยู่กับมันถึง สามปี (ฮ.ศ. 470-473) จนกระทั่งท่องจ�ำทั้งหมดในสิ่งที่จดบันทึก ไว้และหากมีการดักปล้นสะดมระหว่างทาง แน่นอนความรู้ของฉัน ก็จะไม่หายไป”5 ต่ อ มาในปี ฮ.ศ. 473 อั ล ฆ่ อ ซาลี ย ์ ไ ด้ เ ดิ น ทางไปยั ง เมื อ ง นัยซาบูร และอยู่ร�่ำเรียนกับท่านอิหม่ามอัลหะร่อมัยน์ อับดุลมาลิก อั ล ญุ วั ย นี ย ์ ซึ่ ง เป็ น หั ว หน้ า ปราชญ์ ฟ ิ ก ฮ์ มั ซ ฮั บ ชาฟิ อี ย ์ แ ละเป็ น ผู้อ�ำนวยการส�ำนักอันนิซอมียะฮ์ในยุคนั้น อัลฆ่อซาลีย์ร�่ำเรียน อย่างขยันหมั่นเพียรจนกระทั่งแตกฉานในวิชาฟิกฮ์ วิชาเกี่ยวกับ 5 อัซซุบกีย์, ฏ่อบะก้อตอัชชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ, เล่ม 6, หน้า 195.

Book 1.indb 11

29/03/2018 09:52:45


 12

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

การขัดแย้ง หลักวิชาโต้แย้ง วิชาอะกีดะฮ์ และวิชารากฐานของ ฟิ ก ฮ์ แ ละท่ า นมี ค วามช� ำ นาญในตรรกศาสตร์ และปรั ช ญาจน กระทั่งรอบรู้ถึงส�ำนักคิดต่างๆ ดังนั้นเกียรติศักดิ์ของท่านขจรไป ไกลในฐานะศิษย์ของอิหม่ามอัลหะรอมัยน์กล่าวกันว่า อิหม่าม อัลหะร่อมัยน์นั้นมีความภาคภูมิใจในอัลฆ่อซาลีย์เป็นอย่างมาก และกล่าวว่า อัลฆ่อซาลีย์นั้นคือทะเลที่ไร้ฝั่ง แต่มีบางคนกล่าวว่า ท่านอิหม่ามอัลหะร่อมัยน์แสร้งแสดงความภูมิใจทางภายนอกแต่ ภายในนั้นมีความอึดอัดเนื่องจากความพิเศษของอัลฆ่อซาลีย์ ในช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงหัวใจส�ำคัญที่ความรู้ของอัลฆ่อซาลีย์มี ความโดดเด่นสูงสุด ท่านจึงท�ำการประพันธ์ต�ำราต่างๆ ทั้งในหลัก วิชาการด้านเหตุผลทางสติปัญญาและตัวบทหลักฐานซึ่งเป็นปัจจัย ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ที่ ท� ำ ให้ ดุ น ยาหั น มาสนใจและท� ำการเรี ย กร้ อ งผู ้ ค น ทั้งหลายให้หันเข้ามาศึกษาเรียนรู้จากต�ำราที่ได้ประพันธ์ขึ้นมา ซึ่งท่านอิหม่ามอัซซุบกีย์ได้กล่าวว่า มันมาจากความฉลาดปราด เปรื่ อ งอย่ า งที่ สุ ด มี มุ ม มองที่ ถู ก ต้ อ งปลอดภั ย รอบรู ้ ไ ด้ อ ย่ า ง กระจ่าง มีความจ�ำเป็นเลิศ มีความคิดที่ลึกซึ้ง ดื่มด�่ำในความ หมายที่ละเอียดอ่อน มีความโดดเด่นในการถกเสวนา และมีความ ประณีตในการอ้างอิงหลักฐาน6 เมือ่ อิหม่ามอัลหะร่อมัยน์เสียชีวติ (ฮ.ศ. 478) อัลฆ่อซาลียจ์ งึ เดิน ทางออกไปที่เมืองนัยซาบูร โดยมุ่งหน้าไปที่อัลมะอัสกัร (สถานที่ อยู่ใกล้กับเมืองนัยซาบูร) เพื่อไปพบนิซอมอัลมุลกฺรัฐมนตรีของ กษัตริย์ซัลจูกีย์ในขณะนั้น และเข้าไปที่ส�ำนักราชวังที่เป็นศูนย์ รวมของนั ก วิ ช าการทั้ ง หลาย อั ล ฆ่ อ ซาลี ย ์ จึ ง ท� ำ การถกเสวนา 6 อัซซุบกีย์, ฏ่อบะก้อตอัชชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ, เล่ม 6, หน้า 196.

Book 1.indb 12

29/03/2018 09:52:45


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 13

กั บ บรรดาผู ้ รู ้ ม ากมายและสามารถเอาชนะพวกเขาได้ และ นักวิชาการทั้งหมดต่างให้การยอมรับว่า อัลฆ่อซาลีย์มีพลังในการ โต้แย้ง มีหลักฐานตอบโต้ที่ชัดเจน และมีความลึกซึ้งในข้อมูลความ รู้ รัฐมนตรีนิซอมอัลมุลกฺจึงแต่งตั้งให้อัลฆ่อซาลีย์ท�ำการสอนที่ ส�ำนักอันนิซอมียะฮ์ (ปี ฮ.ศ. 484) ที่เสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่ง แรกของโลกอิสลาม ณ กรุงแบกแดดในยุคนั้น อัลฆ่อซาลีย์ได้ท�ำการสอนที่ส�ำนักอันนิซอมียะฮ์ในช่วงระยะ เวลาหนึ่ง ปรากฏว่าเกียรติและฐานันดรของท่านมีความยิ่งใหญ่ ในหัวใจของผู้คนทั่วไปและชนชั้นน�ำ ท่านเป็นตัวอย่างของความ แตกฉานในด้ า นความรู ้ ผู ้ ค นจากทุ ก หั ว เมื อ งต่ า งเดิ น ทางมา แสวงหาความรู้ และต�ำราต่างๆ ที่ท่านประพันธ์ได้แพร่หลายทั่ว ทุกสารทิศ7 ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ อัลฆ่อซาลีย์ถูกผลักให้ไปอยู่ในการ ขับเคลือ่ นทางวิชาการมากมาย เช่น การประพันธ์ตำ� รา การโต้ตอบ เสวนา การสอนและการตรวจสอบส�ำนักต่างๆ ของพวกปรัชญา ที่ก�ำลังแพร่หลายอยู่ในขณะนั้นด้วยแรงผลักดันของอารมณ์ใฝ่ต�่ำ (นัฟซูอัมมาเราะฮ์) ที่ชื่นชอบความโด่งดัง แสวงหาชื่อเสียง และ ชอบเอาชนะคู่ถกเสวนา ยิ่งกว่านั้นอัลฆ่อซาลีย์มีความรู้สึกล�ำพอง ตนเอง เหยียดหยามฝ่ายตรงข้ามและยังดูถูกดูแคลนผู้อื่นอีกด้วย แต่พร้อมกันนั้น อัลฆ่อซาลีย์ก็เป็นผู้ช่วยเหลือสัจธรรม ปกป้อง ศาสนาอิสลาม และขจัดบรรดาความคลุมเครือด้วยหลักฐานที่ เด็ดขาดชัดเจน 7 อัซซุบกีย์, ฏ่อบะก้อตอัชชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ, เล่ม 6, หน้า 196.

Book 1.indb 13

29/03/2018 09:52:45


 14

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

สาเหตุที่ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เข้ามาอยู่ในแนวทางตะเซาวุฟ ท่ า นอิ ห ม่ า มอั ล ฆ่ อ ซาลี ย ์ เ ห็ น ว่ า การมี วิ ช าความรู ้ เ พี ย ง อย่ า งเดี ย วนั้ น อ่ อ นแอเกิ น กว่ า ที่ จ ะมาพิ ชิ ต ความมั ว หมองของ จิตใจได้ และท่านได้ประจักษ์แล้วว่า มุสลิมนั้นจะไม่สามารถ บรรลุถึงความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺตะอาลาและเข้าถึงความพึงพอ พระทัยของพระองค์ด้วยสติปัญญาที่มีข้อมูลความรู้ด้านศาสนา เพียงอย่างเดียวได้หรอก แต่มุสลิมจะบรรลุถึงเป้าหมายที่ดีงาม ดังกล่าวก็ด้วยหนทางของการอบรม บ่มเพาะ และขัดเกลาจิตใจ ให้สะอาดที่สอดคล้องกับความรู้ระดับสูงที่สติปัญญาได้รับมา เพื่อ ปกป้องสัจธรรมกับความรู้สึกของอารมณ์ใฝ่ต�่ำที่ชอบแสวงหาชื่อ เสียงเกียรติยศของดุนยา และความโดดเด่นเหนือผู้อื่น ฉะนั้นท่าน อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึงรู้ว่า ไม่มีการเยียวยาใดที่จะท�ำให้รอดพ้น จากสิ่งดังกล่าวได้นอกจากการอบรม บ่มเพาะและขัดเกลาจิตใจ เท่านั้น ดังนั้นภายในจิตใจของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึงมีความรู้สึกไม่ พอใจในสิ่งที่ตนเองเป็นอยู่ ความรู้สึกเบื่อหน่ายได้ซึมซับเข้ามาใน หัวใจท�ำให้ท่านรังเกียจในการสานต่อภารกิจที่ก�ำลังจะไปถึงจุด สูงสุดทั้งที่บรรดาหัวใจของคนทั่วไปและกลุ่มชนชั้นน�ำต่างก็แสดง ความภาคภูมิใจและยกย่องให้เกียรติ แล้วอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ จึงสละต�ำแหน่งนักวิชาการระดับแนวหน้าและสลัดความศิวิไลซ์ ทั้งหมดออกไป ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้สารภาพว่า “ฉันคิดใคร่ครวญเกี่ยว กับเจตนา(เหนียต)ของฉันในการสอนวิชาความรู้ ปรากฏว่าเจตนา ของฉั น นั้ น มิ ไ ด้ มี ค วามอิ ค ลาศ(บริ สุ ท ธิ์ ใจ)เพื่ อ อั ล ลอฮฺ แต่ แรง

Book 1.indb 14

29/03/2018 09:52:45


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 15

ผลักดันและตัวขับเคลื่อนของฉันก็เพื่อต้องการยศต�ำแหน่งและ ชื่อเสียง ดังนั้นฉันจึงมั่นใจว่า ฉันก�ำลังอยู่บนขอบเหวที่จะพังทลาย ลงมา แล้วฉันก็ใกล้จะตกลงไปในไฟนรกเป็นแน่แท้แล้วหากฉันไม่ ท�ำการปรับปรุงสภาวะจิตใจของฉัน”8 ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ยังคงคิดใคร่ครวญอยู่เช่นนั้นถึงหก เดือนด้วยกันโดยเริ่มจากเดือนร่อญับปี ฮ.ศ. 488 จนกระทั่งมี ความมั่นใจว่าจะต้องเดินทางออกไปจากนครแบกแดดเพื่อให้พ้น จากสภาวะดังกล่าว แต่บางครั้งความปรารถนาในดุนยา เกียรติยศ และความมีชื่อเสียงได้ฉุดรั้งเอาไว้เพื่อไม่ให้เดินทางออกไป จน กระทั่ง “เสียงเรียกของอีหม่าน ได้เรียกฉันว่า ท่านต้องเดินทาง ท่านต้องเดินทาง อายุไขไม่คงเหลืออยู่แล้วนอกจากเพียงน้อยนิด เท่านั้น เบื้องหน้าของท่านยังต้องเดินทางอีกยาวไกล ความรู้และ การปฏิบัติของท่านทั้งหมดนั้นล้วนโอ้อวดและจินตนาการไปเอง (ว่าดีแล้ว) หากตอนนี้ท่านไม่เตรียมตัวเพื่ออาคิเราะฮ์แล้วเมื่อไหร่ ท่านจะพร้อม และหากท่านไม่ฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านี้ไป แล้วเมื่อ ไหร่ท่านจะผ่านพ้นไปได้?”9 แรงผลักดันดังกล่าวจึงท�ำให้ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์มีความ มั่ น ใจว่ า จะต้ อ งเดิ น ทางออกไปจากกรุ ง แบกแดดเพื่ อ ขั ด เกลา ตนเองและฝึกฝนจิต ใจให้มีความบริสุทธิ์ ซึ่งก่อนที่อิหม่ามอัล ฆ่อซาลีย์จะเดินทางนั้น วันหนึ่งท่านได้ท�ำการสอนผู้คนทั้งหลาย เพื่อปลอบใจพวกเขา แต่อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์กล่าวว่า “ลิ้นของ ฉันไม่สามารถที่จะพูดออกมาได้เลยแม้สักค�ำเดียวและฉันก็ไม่ 8 อัลฆ่อซาลีย์, อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, ตะห์กีก: ญะมีลศ่อลีบาและกามิลกัยย้าด, พิมพ์ ครั้งที่ 7 (เบรุต: ดารุลอันดะลุส, ปี ค.ศ. 1967), หน้า 103. 9 อัลฆ่อซาลีย,์ อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, หน้า 103.

Book 1.indb 15

29/03/2018 09:52:45


 16

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

สามารถที่จะพูดออกไปได้เลยจนกระทั่งลิ้นที่ถูกพันธนาการเอาไว้ นี้ท�ำให้ฉันรู้สึกโศกเศร้าในหัวใจ...”10 ความโศกเศร้าในหัวใจนี้ท�ำให้ระบบการย่อยอาหารมีปัญหา และกินดื่มไม่ได้ แพทย์หมดปัญญาที่จะเยียวยารักษา ร่างกาย ของอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึงมีความทรุดโทรมและอ่อนแอ ในขณะ ที่ท่านมีความรู้สึกอ่อนแอเช่นนั้น ท่านจึงเข้าหาอัลลอฮฺ ท�ำการ วิงวอนและขอการพึ่งพาต่อพระองค์ จนกระทั่งอัลลอฮฺได้ท�ำให้ หัวใจของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์มีความสะดวกง่ายดายในการ ผินหลังให้กับเรื่องของเกียรติยศและทรัพย์สินเงินทอง หลังจาก นั้นท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ จึงตัดสินใจเดินทางออกจากเมือง แบกแดด เพื่อฝึกฝนและขัดเกลาจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งท่าน ได้ฝึกฝนเช่นนั้นถึงสิบปี แม้ว่าท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เป็นปราชญ์ ที่มีสติปัญญาที่ชาญฉลาดและทรงความรู้แต่ท่านก็ต้องฝากตัว เป็นศิษย์กับปราชญ์ซูฟีย์นามว่า ชัยค์อะบูอะลีย์ อัลฟาร่อมะษีย์11 ศิษย์ของท่านอิหม่ามอะบุลกอเซ็ม อัลกุชัยรีย์ ซึ่งท่านอิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวว่า “ฉันได้รับฏ่อรีเกาะฮ์(แนวทางตะเซาวุฟ) จากอะบูอะลีย์ อัลฟาร่อมะษีย์12 และฉันได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ท่าน 10 อัลฆ่อซาลีย,์ อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, หน้า 104. 11 ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวว่า อัลฟาร่อมะซีย์ คือ อิหม่ามผู้ยิ่งใหญ่ เป็นบรมครูของเหล่า ซูฟีย์มีนามว่า อัลฟัฎล์ บุตร มุฮัมมัด อัลฟาร่อมะษีย์ เกิดปี ฮ.ศ. 407 และเสียชีวิตปี ฮ.ศ. 477. ดู อัซซะฮะบีย์, ซิยัรอะลามอันนุบะลาอฺ, ตะห์กีก: ชุอัยบ์ อัลอัรนะอูฏและ มุฮัมมัดนุอัยม์, พิมพ์ครั้งที่ 11 (เบรุต: มุอัซซะซะฮ์ อัรริซาละฮ์, ค.ศ. 1996/ ฮ.ศ. 1417), เล่ม 18, หน้า 565. 12 ดังนั้นสะนัดฏ่อรีเกาะฮ์ (แนวทางตะเซาวุฟ) ของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ก็คือ ท่าน รับมาจาก ชัยค์อะบูอะลีย์ อัลฟาร่อมะษีย์ จากอิหม่ามอะบุลกอเซ็ม อัลกุชัยรีย์ จาก อะบิลกอเซ็ม อับดุลลอฮฺ บิน อะลีย์ บิน อับดิลลาฮฺ อัฏฏูซีย์ จากอะบีอุษมาน บิน สะลาม อัลมัฆริบีย์ จากอะบีอัมรฺ บิน มุฮัมมัด บิน อิบรอฮีม อัซซัจญาญีย์ จากอิหม่ามอัลญุนัยด์

Book 1.indb 16

29/03/2018 09:52:45


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 17

อะบูอะลีย์ได้ชี้แนะแก่ฉันเกี่ยวกับกิจวัตรต่างๆ ในการท�ำอิบาดะฮ์ และหมั่นซิกรุลลอฮฺอย่างสม�่ำเสมอจนกระทั่งฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ทางด้านจิตใจ และแบกรับความยากล�ำบากเหล่านั้น”13 การเดินทางออกจากนครแบกแดด ในปี ฮ.ศ. 488 นั้นท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้เริ่มเดินทางไป ยังดิมัชก์เพื่อท�ำอิบาดะฮ์ ฝึกฝนตนเอง และขัดเกลาหัวใจด้วยการ หมั่นในการซิกรุลลอฮฺและเริ่มประพันธ์หนังสืออิหฺยาอ์อุลูมิดดีน ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์อยู่ที่นั่นสองปี หลังจากนั้นก็เดินทางไป ที่อัลกุดซฺเพื่อท�ำอิบาดะฮ์และฝึกฝนจิตใจและเยี่ยมกุบูรของท่าน นะบีย์อิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม จากนั้นก็เดินทางไปท�ำฮัจญฺเพื่อรับ บะร่อกะฮ์ต่างๆ จากนครมักกะฮ์และมะดีนะฮ์พร้อมเยี่ยมกุบูร ท่านนะบีย์มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม14 สุดท้ายท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้สารภาพและยอมรับว่า “ฉันยังคงอยู่เช่นนั้น(ในการฝึกฝนตนเองให้จิตใจสะอาดบริสุทธิ์) ถึงสิบปี ในระหว่างที่ฉันอยู่ในบรรดาการค็อลวะฮ์(วิเวกตนเองใน การท�ำอิบาดะฮ์และซิกรุลลอฮฺในชั่วระยะเวลาหนึ่ง)นี้ ฉันถูกเปิด ให้เห็นสิ่งต่างๆ มากมายที่ไม่สามารถคณานับได้”15 อัลบัฆดาดีย์ จากอิหม่ามอัซซะรีย์ อัซซักฏีย์ จากอิหม่ามมะอฺรูฟ อัลกัรคีย์ จากอิหม่าม ดาวูดอัฏฏออีย์ จากอิหม่ามหะบีบ อัลอัจญฺมีย์ จากอิหม่ามอัลหะซัน อัลบัศรีย์ จาก อิหม่ามอะลีย์ บิน อะบีฏอลิบจากท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม. 13 อิบนุอัลเญาซีย์, อัลมุนตะซ็อม ฟีตารีคอัลมุลูกวัลอุมัม, ตะห์กีก: อับดุลกอดิร อะฏอ, พิมพ์ครั้งที่ 2 (เบรุต: ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์, พิมพ์ ค.ศ. 1995/ฮ.ศ 1415), เล่ม 17, หน้า 125-126. 14 อัลฆ่อซาลีย์, อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, หน้า 115-116. และอิบนุอิม้าด, ชะษะร้อต อัซซะฮับ,เล่ม 5, หน้า 379. 15 อัลฆ่อซาลีย์, เรื่องเดียวกัน, หน้า 116.

Book 1.indb 17

29/03/2018 09:52:45


 18

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “แท้จริงฉันรู้อย่างมั่นใจ แล้วว่า บรรดาซูฟีย์นั้น พวกเขาคือผู้ที่เดินอยู่ในทางของอัลลอฮฺ ตะอาลาเป็ น การเฉพาะ วิ ถี ชี วิ ต ของพวกเขานั้ น เป็ น วิ ถี ชี วิ ต ที่ งดงามยิ่ง บรรดาแนวทางของพวกเขานั้นเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ที่สุด จรรยามารยาทของพวกเขาเป็นจรรยามารยาทที่งดงาม ยิ่ง กว่านั้น หากได้รวมบรรดาผู้ที่มีสติปัญญาและความฉลาด และรวม ความรู้ของบรรดาผู้รู้ถึงความเร้นลับต่างๆ ในหลักการของศาสนา (ได้มาอยู่แนวทางของซูฟีย์) แน่นอนว่าพวกเขาเหล่านั้นก็จะมีการ เปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างจากวิถีการด�ำเนินชีวิตและจรรยา มารยาทของพวกเขา และพวกเขาเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนแปลงใน ทางที่ดีกว่าเดิมอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น เพราะบรรดาการหยุดนิ่ง และเคลื่อนไหวของซูฟีย์นั้น ไม่ว่าภายนอกหรือภายในจิตใจของ พวกเขา ล้วนได้ถอดแบบมาจากรัศมี(ทางน�ำ)แห่งนะบีย์และไม่มี เบื้องหลังจากรัศมีทางน�ำแห่งนะบีย์บนผืนแผ่นดินนี้ที่จะเป็นรัศมี เจิดจรัสส่องทางอีกแล้ว”16 เมื่ออิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้พบว่าตนเองได้หลุดพ้นจากความ เสียหายต่างๆ ที่มาท�ำให้ภารกิจในด้านวิชาการที่แบกแดดมีความ เสียหายแล้วนั้น ท่านก็ได้เดินทางกลับไปยังส�ำนักอันนิซอมียะฮ์ที่ นัยซาบูรด้วยจิตใจที่สงบมั่นในอัลลอฮฺมิใช่ด้วยจิตอารมณ์ใฝ่ต�่ำที่ ท่านเคยทนทุกข์อยู่กับมัน และท�ำการสอนที่นั่นอีกครั้งในปี ฮ.ศ. 499 หลังจากนั้นไม่กี่เดือนท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้เดินทาง ไปสู่เมืองฏูส มาตุภูมิของท่านโดยใช้เวลาหมดไปกับการปฏิบัติ อิ บ าดะฮ์ อ่ า นอั ล กุ ร อาน ท่ อ งจ� ำ อั ล หะดี ษ และท� ำ การสอน สานุศิษย์ในสถาบันที่สร้างขึ้นใกล้บ้านของท่าน 16 อัลฆ่อซาลีย,์ อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, หน้า 116.

Book 1.indb 18

29/03/2018 09:52:45


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 19

ในวันจันทร์ที่ 14 เดือนญะมาดุลอาคิร ปี ฮ.ศ. 505 ท่านอิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์ได้เสียชีวิตที่เมืองฏูสและฝังที่นั่น ซึ่งก่อนเสียชีวิตนั้น สานุศิษย์บางส่วนได้ขอให้ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ท�ำการสั่งเสีย โดยกล่าวกับท่านว่า ท่านจงสั่งเสียแก่ฉันเถิด ดังนั้นท่านอิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์จึงกล่าวว่า “ท่านจงมีความอิคลาศ ท่านจงมีความ อิคลาศ ท่านจงมีความอิคลาศ” อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวซ�้ำไป ซ�้ำมาจากระทั่งลมหายใจสุดท้าย...17 วิเคราะห์บทเรียนจากชีวประวัติของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ค�ำสอนที่ได้รับจากประวัติของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ คือ: 1. ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เป็นอัจฉริยะบุคคลที่มีสติปัญญา ปราดเปรื่อง ประพันธ์หนังสือเก่ง สอนเก่ง เฉียบคมในการโต้แย้ง แต่หัวใจของท่านไม่มีตะเซาวุฟ ไม่มีความอิคลาศต่ออัลลอฮฺใน ขณะนั้น เพราะฉะนั้นคนที่มีความฉลาดปราดเปรื่อง และเก่งกล้า ในวิชาความรู้แต่ถูกอารมณ์ใฝ่ต�่ำครอบง�ำและไม่มีความบริสุทธิ์ใจ ต่ออัลลอฮฺ แม้ความรู้จะสร้างประโยชน์ให้แก่ศาสนาอิสลามแต่ อัลลอฮฺไม่ทรงตอบรับ ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวว่า “ชัยฏอนมันพยายาม ชักน�ำผู้รู้ให้ท�ำงานเกี่ยวกับการบรรยายสอนผู้คนทั้งหลาย หลัง จากนั้นมันก็ชักน�ำให้ผู้รู้นั้นสร้างภาพให้ดูดี พูดถ้อยค�ำดูดี และ แสดงให้เห็นซึ่งความดีงาม แล้วชัยฏอนก็พูดกับเขาว่า หากท่าน ไม่กระท�ำสิ่งดังกล่าว ค�ำพูดของท่านก็จะไม่เข้าไปอยู่ในหัวใจ ของผู้คนทั้งหลายและพวกเขาก็จะไม่ได้รับทางน�ำไปสู่สัจธรรม 17 อิบนุอัลเญาซีย์, อัลมุนตะซ็อม, เล่ม 17, หน้า 127.

Book 1.indb 19

29/03/2018 09:52:45


 20

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ดังนั้นในขณะที่เขาได้สอนบรรยาย ชัยฏอนมันพยายามให้เขามี ความโอ้อวด ต้องการให้ผู้คนทั้งหลายยอมรับ ต้องการเกียรติยศ ต�ำแหน่ง มีความภาคภูมิใจที่มีผู้ติดตามมากมาย มองผู้คนทั้งหลาย ด้วยการดูถูกเหยียดหยาม ชัยฏอนพยายามหว่านล้อมให้เขาไปสู่ ความหายนะ ฉะนั้นเมื่อเขาท�ำการพูด ก็คิดว่ามีเจตนาดี แต่ใน ความเป็นจริงแล้วเขามีเจตนาเพื่อมีเกียรติและให้ผู้คนทั้งหลาย ยอมรับ เขาจึงประสบความหายนะโดยที่เขาคิดว่ามีเกียรติ ณ ที่ อัลลอฮฺตะอาลา และกลับกลายเป็นส่วนหนึ่งจากบุคคลที่ท่าน ร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า َْ ّ َ َ ُ َ َ َ َّ ‫إ َّن‬ ‫الد ي نَ� ِب� َّلر ُج ِل الف ِاج ِر‬ ِ ‫الل ل ُيؤ ِّيد هذا‬ ِ

“แท้จริงอัลลอฮฺจะท�ำการช่วยเหลือศาสนานี้ด้วยชายชั่ว”18 ดังนั้นการหลอกลวงของชัยฏอนนี้ ยังท�ำให้เกิดความเสียหาย กับบรรดาผู้รู้ นักท�ำอิบาดะฮ์ บรรดาผู้มีสมถะ คนยากจน คน ร�่ำรวย และผู้คนทั้งหลายที่ไม่ชอบเปิดเผยความชั่ว(ที่เป็นเจตนา ไม่ดีอยู่ในจิตใจ)แต่กลับมีความพอใจในการกระท�ำของตนเอง19 2. ผู้รู้หรือผู้ที่ต้องการท�ำงานศาสนานั้น จ�ำเป็นต้องบ่มเพาะ อบรม และขัดเกลาหัวใจให้สะอาดเสียก่อน เพื่องานศาสนานั้นจะ ได้เป็นที่ตอบรับจากอัลลอฮฺตะอาลา เนื่องจากการมีความรู้เพียง อย่างเดียวนั้นถือว่ายังไม่เพียงพอในการท�ำงานศาสนา เพราะ บางครั้งเขาอาจจะท�ำไปเพื่อต้องการชื่อเสียง ทรัพย์สินเงินทอง 18 รายงานโดยอัลบุคอรีย์, หะดีษเลขที่ 2897, มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล อัลบุคอรีย์, ศ่อฮีหฺอัลบุคอรีย,์ ตะห์กีก: มุศฏอฟา ดี้บ อัลบุฆอ, พิมพ์ครั้งที่ 3 (เบรุต: ดารุอิบนิกะษีร, 1987 ค.ศ./1407 ฮ.ศ.), เล่ม 3, หน้า 1114. 19 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, พิมพ์ครั้งที่ 1 (เบรุต: ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์, ค.ศ. 1998/ฮ.ศ. 1419), เล่ม 3, หน้า 28.

Book 1.indb 20

29/03/2018 09:52:45


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 21

เกียรติยศ ต�ำแหน่ง และการยอมรับจากผู้คนทั้งหลาย ท่านอิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์จึงละทิ้งการสอนโดยออกจากกรุงแบกแดดเพื่อเดิน ทางไปบ่มเพาะและขัดเกลาหัวใจยังแผ่นดินที่ไม่มีใครรู้จักท่าน ถึงสิบปีด้วยกัน หลังจากนั้นท่านก็กลับมาสอนต่อไป ซึ่งวิถีชีวิต และแบบอย่างของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์นี้ ท่านอิหม่ามอิบนุ อะฏออิลลาฮฺ (ฮ.ศ. 658-709) ได้น�ำมากล่าวไว้เป็นค�ำสอนใน บทหิกัมของท่านว่า َ َ َ َ َ ُ‫إ ْد ِف ْن ُو ُج ْو َد َك ف� َأ ْرض خ‬ ‫ال ُم ْو ِل ف َ�ا ن َب َت ِ َّما ْل ُي ْدف ْن ال َي تِ ُّ� ِن َت ُاج ُه‬ ِ ‫ِي‬ ِ

ท่านจงฝังการมีอยู่ของท่านในแผ่นดินที่ไร้ชื่อเสียง เพราะ สิ่ ง ที่ ง อกเงยขึ้ น มาจากเมล็ ด พั น ธุ ์ ที่ มิ ไ ด้ ถู ก ฝั ง (ในดิ น ) ผลผลิตของมันจะไม่สมบูรณ์”20 ท่านอิบนุอะฏออิลลาฮฺได้เปรียบเทียบกฎแห่งการขัดเกลา อบรมบ่มจิตใจในตัวของมนุษย์ ด้วยกฎเกณฑ์เดียวกันกับโลกของ ต้นไม้! เมล็ดพืชที่ท่านต้องการจะน�ำมันไปเพาะปลูกนั้น หากท่าน โยนมันไว้บนพื้นดินโดยไม่ได้ฝัง ปล่อยมันทิ้งไว้ท่ามกลางดินและ กรวดทราย ภายใต้แสงอาทิตย์อันร้อนระอุที่สาดส่องลงมา และ หมู่เมฆฝนได้แวะเวียนผ่านมาไม่เว้นแต่ละวันแล้วละก็ แน่นอน เมล็ดพืชนั้นย่อมเน่าเสียและตายไปในที่สุด แต่หนทางที่จะให้เมล็ดพืชเจริญงอกงามได้นั้น ก็คือการน�ำไป ฝังในดินที่ชื้นและปล่อยทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง มันก็จะเกิดปฏิกิริยา และเจริญงอกงาม หลังจากนั้นอัลลอฮฺตะอะลาก็ให้มันผลิหน่อ แตกใบ มีล�ำต้นชูตระหง่านที่สามารถฝ่าขึ้นมาสู่ภาคพื้นดิน แทรก 20 อิบนุอะฏออิลลาฮฺ, อัลหิกัมอัลอะฏออียะฮ์, พิมพ์ครั้งที่ 1 (ไคโร: ดารุสลาม, 2006 ค.ศ./1427 ฮ.ศ.), หน้า 8.

Book 1.indb 21

29/03/2018 09:52:45


 22

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

กรวดหินขึ้นมาสัมผัสบรรยากาศและรับอาหารจากแสงอาทิตย์ที่ ส่องแสงเจิดจ้าหลังจากนั้นอัลลอฮฺก็ให้มันออกผลผลิตมากมาย เป็นประโยชน์แก่ผู้คนทั้งหลาย ดังนั้นหากผู้รู้หรือคนท�ำงานศาสนาไม่บ่มเพาะหัวใจให้สะอาด และผูกพันอยู่กับอัลลอฮฺ แต่เขากลับมุ่งหน้าสู่ภารกิจต่างๆ ทาง สังคมเข้าไปฟันฝ่ากระแสต่างๆ ที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าชะตากรรม ของเขาก็จะไม่ต่างอะไรกับชะตากรรมของเมล็ดพืชที่ถูกโยนลง บนพื้นดินท่ามกลางกรวดทราย รอวันที่มันจะเน่าเสียเท่านั้นเอง! ฉะนั้นการที่ผู้รู้คนหนึ่งได้ปฏิบัติภารกิจของเขาบนเวทีแห่งความ โด่งดัง อยู่ภายใต้แสงสีแห่งความมีชื่อเสียง บั้นปลายของเขาคือ ความล้มเหลวและความเสียหาย ถ้าหากเขาพูดก็จะไม่พูดออก มาด้วยวิชาความรู้ที่ดีมีประโยชน์ ยิ่งไปกว่านั้นอารมณ์ใฝ่ต�่ำของ เขาก็จะเข้ามาเป็นตัวชี้น�ำในงานศาสนาให้เขามีความอยากโด่งดัง อยากมี ย ศต� ำ แหน่ ง อยากได้ ใ นทรั พ ย์ สิ น และอยากให้ ผู ้ ค น ทั้งหลายยอมรับก็จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ดังกล่าวก็เพราะว่าเขา ไม่เปิดโอกาสให้ตนเองได้ขัดเกลาจิตใจด้วยการปลีกวิเวกตนเอง (ค็อลวะฮ์) และไม่บ่มเพาะจิตใจให้บริสุทธิ์ เจริญงอกงามเสมือน กับเมล็ดพืชที่ถูกฝังอยู่ในดินรอคอยที่จะเจริญงอกงามเขียวชอุ่ม และออกดอกออกผลอย่างงดงาม ผลสุดท้ายเขากลายเป็นคนชั่ว ที่ช่วยเหลือศาสนาของอัลลอฮฺตะอาลาและพระองค์ก็ไม่ตอบรับ งานศาสนาที่กระท�ำจนเป็นเหตุให้เขาต้องตกลงไปในขุมนรกในวัน กิยามะฮ์ วัลอิยาซุบิลลาฮฺ ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “ความต้องการมีชื่อเสียง คือ ชอบมีเกียรติและยศต�ำแหน่งในหัวใจของผูค้ นทัง้ หลายและการ ชอบในเกียรติยศและต�ำแหน่งนั้นเป็นบ่อเกิดของความเสื่อมเสีย

Book 1.indb 22

29/03/2018 09:52:45


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 23

ทั้งหลาย”21 แต่หากอัลลอฮฺให้เขามีชื่อเสียงในศาสนาโดยที่เขามิได้ ปรารถนาต้องการ เช่น การมีชื่อเสียงของบรรดานะบีย์ บรรดา ค่อลีฟะฮ์ทั้งสี่ และบรรดาวะลียุลลอฮฺ ก็ถือว่าไม่เป็นไร22 3. การเรียนตะเซาวุฟนั้นต้องมีครู เพราะอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ นั้น แม้ท่านจะเป็นปราชญ์ที่อัจฉริยะ แต่ท่านต้องพึ่งพาและมีครู ผู้ชี้น�ำ ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวถึงความส�ำคัญของการมี ครูผู้ชี้น�ำว่า “ผู้มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเดินทางเข้าหาอัลลอฮฺนั้น หลีกเลี่ยงไม่พ้นว่าเขาจะต้องมีครูที่เขาเจริญรอยตามเพื่อชี้น�ำเขา ไปสู่หนทางที่เที่ยงตรง เพราะหนทางในศาสนานั้นลึกลับซับซ้อน แต่ทางของชัยฏอนนั้นมีมากมายชัดเจน ดังนั้นผู้ใดที่ไม่มีครูคอย ชี้น�ำเขา แน่นอนชัยฏอนก็จะชักน�ำเขาไปสู่หนทางต่างๆ ของมัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ฉะนั้นผู้ใดที่เดินอยู่ในหุบเขาที่อันตรายโดย ปราศจากผู้คอยคุ้มกันดูแล แน่นอนตัวเขาก�ำลังตกอยู่ในอันตราย และก�ำลังท�ำลายตัวเอง และผู้เดินทางเข้าหาอัลลอฮฺด้วยตนเอง อย่างเอกเทศก็เสมือนกับต้นไม้ที่งอกขึ้นมาเอง(โดยไม่มีผู้ใดคอย ดูแลใส่ปุ๋ยและรดน�้ำพรวนดิน) มันก็จะเหี่ยวเฉาในเวลาอันใกล้ หรือหากต้นไม้อยู่ได้ในช่วงเวลาหนึ่งและออกใบแต่ก็ไม่ออกผล”23 ท่านอิหม่ามอัชชะอฺรอนีย์ (ฮ.ศ. 898-973) ได้กล่าวว่า “ท่าน อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ยังมีครูคอยชี้น�ำ ทั้งที่ท่านเป็นหุจญตุลอิสลาม (หลักฐานของศาสนาอิสลามในการตอบโต้พวกนักปรัชญาและ 21 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 3, หน้า 246. 22 อัลฆ่อซาลีย์, อัลอัรบะอีน ฟีอุศูลิดดีน, ตะห์กีก: บูญุมอะฮ์ อับดุลกอดิร, พิมพ์ครั้งที่ 1 (เบรุต: ดารุลมันฮาจญฺ, ค.ศ. 2006/ฮ.ศ. 1426), หน้า 173. 23 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 3, หน้า 68-69.

Book 1.indb 23

29/03/2018 09:52:46


 24

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

พวกกุฟฟาร)24 และท่านชัยค์อิซซุดดีน อิบนุอับดิสลาม ก็มีครูเฉก เช่นเดียวกันทั้งที่ท่านได้รับฉายาว่า ซุลฏอนุลอุละมาอฺ(กษัตริย์ของ เหล่าปราชญ์)25 ดังนั้นความรู้ของท่านนั้นเหมือนกับปราชญ์ทั้ง สองนี้หรือไม่? แต่กลุ่มชนยุคแรกนั้นไม่ต้องการครูเพราะโรคของ พวกเขามีน้อย เมื่อพวกเขาจากไป บรรดาโรคมากมายก็เกิดขึ้น ดังนั้นนักปราชญ์ฟิกฮ์จึงมีความต้องการครูผู้ชี้น�ำอย่างหลีกเลี่ยง ไม่พ้นเพื่อให้สะดวกง่ายดายต่อแนวทางในการปฏิบัติสิ่งที่เขารู้”26 4. ไม่มีแนวทางใดที่จะท�ำให้หัวใจมีความอิคลาศอย่างแท้จริง ท�ำให้หัวใจมีความใกล้ชิดอัลลอฮฺ และได้รับการเปิดจากพระองค์ นอกจากวิชาตะเซาวุฟหรือหลักอิหฺซาน เพราะมนุษย์เป็นศัตรู กับสิ่งที่เขาไม่รู้ “ผู้ใดไม่ได้ลิ้มรสเขาย่อมไม่รู้” แต่เมื่ออิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์ได้ลิ้มรสและประจักษ์แล้ว จึงเป็นเหตุให้ท่านยอมรับ ในสิ่งดังกล่าว ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวว่า “ผู้คนส่วนใหญ่ขาดการ รับรู้ถึงความสุขของความรู้27 บางครั้งเพราะไม่เคยลิ้มรส ดังนั้นผู้ ใดไม่เคยลิ้มรส เขาย่อมไม่รู้จักและไม่คะนึงหาเนื่องจากการคะนึง หานั้ น จะเป็ น ผลมาจากการได้ รั บ การลิ้ ม รสแล้ ว บางที เ พราะ อุปนิสัยเสื่อมโทรมและหัวใจเป็นโรคเนื่องจากตามอารมณ์ใฝ่ต�่ำ ซึ่งเหมือนกับคนป่วยที่ไม่สามารถรับรู้ถึงความหวานของน�้ำผึ้งและ 24 ครูตะเซาวุฟของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ คือ ชัยค์อะบูอะลีย์ อัลฟาร่อมะษีย์. 25 ครูตะเซาวุฟของท่านอิหม่ามอิซซุดดีน อิบนุ อับดิสลาม คือ ท่านอิหม่ามอะบุล หะซัน อัชาซิลีย์. 26 อัชชะอฺรอนีย์, อัลอันวารอัลกุดซียะฮ์ ฟีบะยานิ ก่อวาอิดอัศศูฟียะฮ์, ตะห์กีก: คณะ กรรมการของดารุศอดิร, พิมพ์ครั้งที่ 1 (เบรุต: ดารุศอดิร, ค.ศ. 1999), หน้า 259. 27 เช่น ความรู้เกี่ยวกับวิชาตะเซาวุฟ เป็นต้น.

Book 1.indb 24

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 25

เขาเห็นว่ามันมีรสขม”28 ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวเช่นกันว่า “ความหวานชื่น ของการมะอฺริฟะฮ์(รู้จักอัลลอฮฺอย่างลึกซึ้ง)นั้น รับรู้ได้เฉพาะ บรรดาบุรุษ(ที่ดุนยาไม่ท�ำให้พวกเขาลืมอัลลอฮฺ)เท่านั้น อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสว่า َ ٌ ‫ت‬ ُْ َ ٌ َّ ْ ‫الل‬ ِ ‫ِر َجال ل تل ِه ي ِ� ْم ِ ج َ� َارة َول َب ْي ٌع َع ْن ِذ ك ِر‬

“บรรดาบุรุษที่การค้าและการขายไม่ท�ำให้พวกเขาหันห่าง จากการซิกรุลลอฮฺ” [อันนูร: 37] และบุคคลอื่นจากพวกเขาจะไม่มีความคะนึงหาความสุขนี้ เพราะความคะนึงหาจะเกิดขึ้นหลังจากได้ลิ้มรสแล้ว ผู้ใดไม่เคย ลิ้มรส เขาก็จะไม่รู้จัก และผู้ใดไม่รู้จัก เขาก็จะไม่คะนึงหา และผู้ ใดไม่คะนึงหา เขาก็จะไม่แสวงหา และไม่ผู้ใดไม่แสวงหา เขาก็จะ ไม่ประจักษ์รู้ และผู้ใดไม่เคยประจักษ์รู้ เขาก็จะคงอยู่กับบรรดาผู้ ถูกห้ามจากความดีงามโดยไปอยู่ในกลุ่มชนชั้นต�่ำสุด อัลลอฮฺทรงตรัสว่า َ َ َ‫َ َ َ ف‬ َ ُ َ ْ َّ ْ ْ َ ُ ْ َ ْ َ َ ‫ومن يعش عن ِذ ك ِر الر‬ �ٌ‫ح ِن نق ِّي ْض ُل ش ْيط نًا� ُ� َو ُل ق ِر ي ن‬

“และผู้ใดเหินห่างจากการร�ำลึกถึง(อัลลอฮฺ)ผู้ทรงเมตตา เราจะให้ชัยฏอนมาครอบง�ำเขา แล้วมันก็จะเป็นสหายของ เขา” [อัซซุครุฟ: 36]29 ท่านผู้อ่านโปรดสังเกตในปัจจุบันว่า บรรดาผู้รู้หรือคนท�ำงาน 28 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 4, หน้า 89. 29 เรื่องเดียวกัน, เล่ม 3, หน้า 175.

Book 1.indb 25

29/03/2018 09:52:46


 26

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ศาสนาตามสื่อต่างๆ นั้นเอาศาสนามาแสวงหาประโยชน์เรื่อง ดุนยาและทรัพย์สินเงินทอง ต้องการความมีเกียรติ ต้องการยศ ต�ำแหน่งแม้จะได้มาด้วยวิธีที่ไม่ต้องถูกต้องตามหลักการอิสลาม ก็ตาม ยิ่งกว่านั้นการท�ำลายเกียรติและต้องการชนะฝ่ายตรงข้าม ในเรื่องศาสนาต่างก็มีให้เห็นในสังคมและสื่อต่างๆ มากมาย ซึ่งดัง กล่าวนี้เป็นโรคร้ายที่ก�ำลังระบาดแพร่หลายในสังคมมุสลิมเว้นแต่ แนวทางตะเซาวุฟที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะคอยเยียวยาสิ่งดังกล่าวได้ ค�ำยกย่องของปราชญ์เกี่ยวกับอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ท่านอิหม่ามอับดุลฆอฟิร บิน อิสมาอีล อัลฟาริซีย์ (ฮ.ศ. 451529) ได้กล่าวว่า “อะบูฮามิด อัลฆ่อซาลีย์นั้น เป็นหลักฐานของ อิ ส ลามและบรรดามุ ส ลิ มี น เป็ น ผู ้ น� ำ ของเหล่ า ปราชญ์ ศ าสนา อิสลาม บรรดาดวงตาไม่เคยเห็นผู้ใดเสมือนท่านเลยในด้านของ การพูด การอธิบาย ความคิด ความชาญฉลาด และมารยาท”30 ท่านอิหม่ามอัซซะฮะบีย์ (ฮ.ศ. 673-748) ได้กล่าวว่า “อิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์ คือบรมครู เป็นผู้น�ำด้านวิชาการ เป็นทะเลแห่งความรู้ เป็ น หลั ก ฐานของอิ ส ลาม เป็ น อั จ ฉริ ย ะแห่ ง ยุ ค สมั ย ท่ า นคื อ ซัยนุดดีนอะบูฮามิด มุฮมั มัด บุตร มุฮมั มัด บุตร มุฮมั มัด บุตร อะหฺมดั อั ล ฆ่ อ ซาลี ย ์ สั ง กั ด มั ซ ฮั บ ชาฟิ อี ย ์ เป็ น เจ้ า ของต� ำ ราประพั น ธ์ มากมาย และมีความฉลาดอย่างน่ามหัศจรรย์”31 ท่านอิหม่ามอิบนุกะษีร (ฮ.ศ. 701-774) ได้กล่าวว่า “อิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้มีความฉลาดปราดเปรื่อง 30 อิบนุอะซากิร, ตับยีนกัษบิลมุฟตะรี, ตะห์กีก: มุฮัมมัด ซาฮิด อัลเกาษะรีย์, พิมพ์ครั้ง ที่ 1 (ไคโร: อัลมักตะบะฮ์อัลอัซฮะรียะฮ์, ค.ศ. 2010), หน้า 223. 31 อัซซะฮะบีย์, ซิยัรอะลามอันนุบะลาอฺ, เล่ม 19, หน้า 322-323.

Book 1.indb 26

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 27

ของโลกในทุกสิ่งที่เขาพูด และอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เป็นปราชญ์ อยู่ในระดับแนวหน้าตั้งแต่ยังวัยหนุ่มจนกระทั่งได้ท�ำการสอนที่ ส�ำนักอันนิซอมียะฮ์แห่งนครแบกแดดเมื่อท่านอายุ 34 ปี มีบรรดา อุลามาอฺมากมายมาร�่ำเรียนกับท่าน ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ ท่าน อะบุลค็อฏฏ้อบและท่านอิบนุอะกีล ซึ่งทั้งสองเป็นแกนน�ำของ ปราชญ์มัซฮับฮัมบาลีย์ พวกเขามีความทึ่งในความฉะฉานและ ความรอบรู้ของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ และท่านอิบนุอัลเญาซีย์ ได้กล่าวว่า พวกเขาเหล่านั้นได้ท�ำการบันทึกค�ำพูดของอิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์ไว้ในต�ำราของพวกเขา”32 ท่านอิหม่ามอิบนุอันนัจญาร ได้กล่าวว่า “ท่านอะบูฮามิด อัลฆ่อซาลีย์ เป็นผู้น�ำของเหล่าปราชญ์ฟิกฮ์โดยไม่มีข้อแม้ เป็น ปราชญ์ร็อบบานีย์แห่งประชาชาติโดยมติเอกฉันท์ เป็นปราชญ์ นั ก วิ นิจฉัยในยุคนั้น เป็น ปราชญ์ระดับแนวหน้าในยุคสมัยนั้น ท่านมีความแตกฉานในฟิกฮ์มัซฮับชาฟิอีย์ แตกฉานเกี่ยวกับวิชา รากฐานนิติศาสตร์อิสลาม(อุศูลฟิกฮ์) วิชาขัดแย้งระหว่างปวง ปราชญ์ วิชาหลักการโต้แย้ง วิชาตรรกศาสตร์ และท่านได้อ่าน เกี่ยวกับปรัชญาพร้อมเข้าใจค�ำพูดของพวกเขาและท�ำการตอบโต้ ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เป็นบุคคลที่มีความฉลาดอย่างมาก มีพลัง ในความเข้าใจ มีความฉลาดเฉียบแหลม และลึกซึ้งในบรรดาความ หมายทางวิชาการ”33 ท่านอิหม่ามอะบุลอับบาส อัลมุรซีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าว ถึงท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ว่า “แท้จริงเราขอยืนยันอย่างมั่นใจว่า 32 อิบนุกะษีร, อัลบิดายะฮ์วันนิฮายะฮ์, (เบรุต: มักตะบะฮ์อัลมะอาริฟ, ค.ศ. 1990/ ฮ.ศ. 1410), เล่ม 12, หน้า 173-174. 33 อัซซะฮะบีย์, ซิยัรอะลามอันนุบะลาอฺ, เล่ม 19, หน้า 335.

Book 1.indb 27

29/03/2018 09:52:46


 28

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ท่านอิหม่ามฆ่อซาลีย์นั้นอยู่ในต�ำแหน่ง ซิดดีกียะฮ์อัลอุซมา (การ เป็นผู้สัจจริงที่ยิ่งใหญ่)”34 แต่มีอุลามาอฺส่วนน้อยที่ท�ำการวิจารณ์อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด เนื่องจากอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ เป็นผู้รู้ที่ย่ิงใหญ่และผู้รู้นั้นมิได้มีเงื่อนไขว่าต้องปราศจากความ ผิ ด พลาด 35แต่ คุ ณ งามความดี ข องอิ ห ม่ า มอั ล ฆ่ อ ซาลี ย ์ ที่ มี ต ่ อ ประชาชาติอิสลามนั้นมากมายดังมหาสมุทรย่อมมาลบล้างความ ผิดพลาดอันเล็กน้อยที่อาจจะเกิดขึ้นกับท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้นั่นเอง อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์กับการปฏิรูปสังคม ต้องยอมรับความจริงว่า สังคมมุสลิมปัจจุบันอยู่ท่ามกลางพหุ อะกีดะฮ์หรือพหุหลักความเชื่อ และมีองค์กรมุสลิมพยายามปฏิรูป สังคมมุสลิมโดยใช้สโลแกนต่างๆ มากมายท่ามกลางความหลาก หลายทางอะกีดะฮ์และไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการบ่มเพาะและ ขัดเกลาหัวใจที่เป็นเสมือนวิญญาณของศาสนาอิสลาม จึงท�ำให้ดู เหมือนว่าเป็นเรือนร่างที่ไร้ชีวิต ดังนั้นผู้เขียนคิดว่าสมควรน�ำเสนอ เกี่ยวกับการปฏิรูปสังคมของท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์พอสังเขป เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถมองเห็นโครงสร้างการปฏิรูปสังคมแบบ องค์รวมและเรียงล�ำดับความส�ำคัญ อนึ่ง ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์นั้นอยู่ในยุคที่สังคมเสื่อมถอย เพราะเต็มไปด้วยบรรดาแนวคิดบิดเบือนต่างๆ มากมาย ดังนั้น 34 อิบนุอะฏออิลลาฮฺ, ละฏออิฟุลมินัน, ตะห์กีก: ดร.อับดุลหะลีม มะหฺมู้ด, พิมพ์ครั้งที่ 2 (อัลกอฮิเราะฮ์: ดารุลมะอาริฟ, ม.ป.ป), หน้า 97. 35 อัซซะฮะบีย์, ซิยัรอะลามอันนุบะลาอฺ, เล่ม 19, หน้า 339.

Book 1.indb 28

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 29

ท่านจึงมีความต้องการที่จะแบกรับภารกิจในการฟื้นฟูและปฏิรูป สั งคมในขณะที่พ วกครูเ สดก�ำลัง วางแผนที่จ ะโจมตีโลกอิส ลาม เนื่องจากอาณาจักรอับบาซียะฮ์ (ค.ศ. 750-1517) นั้นก�ำลัง อ่อนแอ ดังนั้นท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึงต้องการเตรียมพร้อม ที่จะเยียวยารากเหง้าของปัญหาและบรรดาสาเหตุของโรคที่คืบ คลานเข้ามาในเรือนร่างของประชาชาติอิสลาม หมายถึง ในขณะ นั้นบรรดามุสลิมต่างแตกแยกเป็นหลายกลุ่ม จึงต้องหาทางแก้ ปัญหาให้บรรดามุสลิมมีแนวคิดและการเมืองที่เป็นเอกภาพ ซึ่ง ทั้งหมดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยการกลับไปสู่อิสลามฉบับดั้งเดิม ท่านอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวสั่งเสียแก่ไพร่พลทหารของ ท่านว่า “หากพวกเราไม่ชนะศัตรูด้วยความดีงามของเรา แน่นอน พวกเราก็ไม่สามารถชนะศัตรูด้วยก�ำลังของพวกเราได้หรอก และ พวกท่านอย่าพูดว่า ศัตรูของพวกเรานั้นเลวกว่าพวกเราจึงไม่ สามารถพิชิตพวกเราได้หรอก เพราะบางครั้งชนกลุ่มหนึ่งอาจจะ ถูกคนชั่วปกครองเหมือนกับพวกบะนีอิสรออีลถูกปกครองในขณะ ที่พวกเขาได้กระท�ำการฝ่าฝืนอัลลอฮฺ”36 ด้วยมุมมองที่ล�้ำลึกและความคิดที่ปราดเปรื่อง ท่านอิหม่าม อั ล ฆ่ อ ซาลี ย ์ เ ห็ น ว่ า การปฏิ รู ป สั ง คมนั้ น ต้ อ งอยู ่ บ นรากฐานสี่ ประการ คือ มีอหี ม่านหรือหลักอะกีดะฮ์ทถี่ กู ต้อง มีความรู้ มีการบ่ม เพาะขัดเกลาหัวใจให้สะอาด และมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก ในสั ง คม เพื่อสามารถน�ำมาเป็นหลักประกันให้เกิดการปฏิรูป ในด้านอื่นๆ ของสังคมตามมาได้ และท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ถือว่าหลักอะกีดะฮ์ที่ถูกต้องและหลักตะเซาวุฟที่จะมาขัดเกลา 36 อัสอัด อัลค่อฏีบ, อัลบุฏูละฮ์วัลฟิดาอฺ อินดะอัศศูฟียะฮ์ (ดิมัชก์: ดารุลฟิกร์), หน้า 168.

Book 1.indb 29

29/03/2018 09:52:46


 30

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

หัวใจให้สะอาดนั้นเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นต่อสังคมโดยไม่มีสิ่งใดที่จะมา แทนที่ได้ เนื่องจากอัลลอฮฺทรงตรัสสัจธรรมดังกล่าวไว้ว่า ُ ْ َ‫َّ َّ َ َ ُ َ ّ ُ َ َ ْ َ تَّ ُ َ ّ ُ َ أ‬ ‫س ْم‬ ‫ف‬ ِ ِ ‫ِإن الل ل يغ ِي� ما ِبقو ٍم ح� يغ ِي�وا ما ِب�ن‬

“แท้ จริง อัลลอฮฺจะไม่เ ปลี่ยนแปลงชนกลุ่มหนึ่งจนกว่า พวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่อยู่ในจิตใจของพวกเขาเอง” [อัรเราะอฺดุ้: 11] ดังนั้นท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้ท�ำการประพันธ์ตำ� ราอิหฺยาอ์ อุลูมิดดีนขึ้นมาเพื่อปฏิรูปสังคมและประชาชาติอิสลามในยุคนั้น ด้วยรากฐานสี่ประการด้วยกัน: 1. รากฐานของอีหม่านหรืออะกีดะฮ์ที่ถูกต้อง ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์มองว่า หลักอีหม่านหรือหลักอะกีดะฮ์ คือเป้าหมายแรกในการพัฒนาจิตใจและปฏิรูปสังคม เพราะวิถี ของจิตใจของคนและสังคมนั้นจะสะท้อนออกมาจากหลักอะกีดะฮ์ ดังนั้นเป้าหมายแรกในการปฏิรูปสังคมก็คือ การสอนและศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับหลักอะกีดะฮ์และท�ำการปกป้องหลักอะกีดะฮ์ใน ขณะเดียวกันด้วย ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “ดังกล่าว ก็เพื่อรักษาไว้ซึ่งอะกีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์และป้องกัน จากการก่อกวนของพวกอะกีดะฮ์บิดอะฮ์”37 ดังนั้นหากสังคมถูก ก่อกวนด้วยหลักอะกีดะฮ์ที่บิดอะฮ์ ก็จะท�ำให้เกิดความวุ่นวาย และขาดความเสถียรภาพ ส่งผลให้เกิดความถดถอยในการปฏิบัติ อิบาดะฮ์ เพราะหลักอะกีดะฮ์เป็นรากฐานของอิบาดะฮ์ เมื่อหลัก อะกีดะฮ์มีความถูกต้อง ก็จะท�ำให้อีหม่านมีความเข้มแข็ง ซึ่งจะ 37 อัลฆ่อซาลีย์, อัลมุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล, หน้า 116.

Book 1.indb 30

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 31

เป็นสื่อท�ำให้อิบาดะฮ์มีความเข้มแข็งเช่นเดียวกัน 2. รากฐานวิชาความรู้ อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์มีความเห็นว่า ความรู้เป็นรากฐานของ สังคม และผู้มีความรู้จะเป็นผู้มีบทบาทในการขับเคลื่อนรากฐาน ดังกล่าว ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “ท่านอัลหะซัน อัลบัศรีย์กล่าวว่า หากไม่มีบรรดาผู้รู้ แน่นอนบรรดาผู้คนทั้ง หลายก็เป็นเสมือนกับปศุสัตว์ หมายถึง บรรดาผู้รู้จะท�ำการสอน ผู้คนทั้งหลายเพื่อให้พวกเขาออกจากลักษณะของปศุสัตว์ไปสู่ ความเป็นมนุษย์”38 ดังนั้นผู้รู้จึงเป็นนายแพทย์ที่คอยท�ำหน้าที่ เยียวยาผู้คนทั้งหลายให้อยู่ในหลักการของศาสนา ขจัดโรคของ การฝ่าฝืนอัลลอฮฺ และโรคหลงดุนยาให้หมดไปจากผู้คนในสังคม แต่หากบรรดาผู้มีความรู้กลับเป็นโรคเสียเอง ก็จะท�ำให้เกิดความ ระส�่ำระสายในสังคม ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “บรรดา นายแพทย์นั้น ก็คือบรรดาผู้รู้ ซึ่งพวกเขาในยุคสมัยนี้มีโรคที่เจ็บ ป่วยอย่างรุนแรงที่พวกเขาไม่สามารถเยียวยาได้ จนกระทั่งพวกเขา จ�ำเป็นต้องสร้างความหลงผิดให้แก่ผู้คนทั้งหลายและชี้แนะพวก เขาด้วยสิ่งที่ท�ำให้เพิ่มโรค นั่นก็คือโรคหลงดุนยา ซึ่งโรคนี้ได้มา ครอบง�ำบรรดานายแพทย์เสียเองจนกระทั่งไม่สามารถตักเตือน ให้ผู้คนระมัดระวังได้...ด้วยสาเหตุนี้ จึงท�ำให้โรคได้แผ่คลุมผู้คน ทั้งหลาย”39 ดังนั้น สิ่งดังกล่าวจะท�ำให้เกิดผลที่เป็นอันตรายตามมาสอง ประการ คือ 38 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 1, หน้า 19. 39 เรื่องเดียวกัน, เล่ม 4, หน้า 45.

Book 1.indb 31

29/03/2018 09:52:46


 32

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

1. บรรดาผู้รู้มีความหวั่นกลัวเกี่ยวกับผลประโยชน์เรื่องดุนยา จึง จ�ำเป็นต้องประจบประแจงผู้คนทั้งหลายและไม่ยอมก�ำชับให้ กระท�ำความดีงามหรือยับยั้งจากการกระท�ำความชั่ว 2. พวกเขามีความบกพร่องในการท�ำความดีงามพร้อมกับกระท�ำ การฝ่าฝืนและกระท�ำสิ่งที่น่ารังเกียจเสียเองเนื่องจากมีความ ลุ่มหลงในเรื่องของดุนยา ดังนั้น การปฏิรูปและเยียวยาสังคมจึงต้องมีผู้รู้ที่ร็อบบานีย์ (ผู้มีจิตผูกพันอยู่กับอัลลอฮฺ) มิใช่ผู้รู้ดุนยะวีย์(ผู้ที่หลงดุนยา) ซึ่งใน ปัจจุบันเราจะเห็นว่า บรรดาผู้รู้หรือผู้เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อน การศึกษาศาสนานั้นจะมีดุนยาเข้ามาเกี่ยวข้อง จนกระทั่งท�ำให้ ความรู้ศาสนาถดถอยลงไป เราจะสังเกตได้ว่า สถาบันปอเนาะใน อดีตนั้นสามารถผลิตผู้รู้ได้อย่างมากมายแต่ปัจจุบันกลับน้อยลง มาก นั่นก็เพราะว่าดุนยามาเปลี่ยนวิถีในการขับเคลื่อนการท�ำงาน ศาสนาของพวกเขาและขาดการบ่มเพาะขัดเกลาหัวใจ 3. รากฐานการบ่มเพาะและช�ำระหัวใจให้มีความสะอาด อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์เห็นว่า การขัดเกลาหัวใจให้สะอาดนั้นเป็น รากฐานหนึ่งในการสร้างสังคม เนื่องจากสังคมที่ดีนั้นจะด�ำรงอยู่ ไม่ได้นอกจากต้องมีสมาชิกในสังคมที่เป็นคนดีมีคุณธรรม และ ความมี คุ ณ ธรรมจะไม่ เ กิ ด ขึ้ น นอกจากด้ ว ยการมี หั ว ใจที่ ดี แ ละ ขัดเกลาจิตใจให้สะอาด ท่ า นอิ หม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึง ตัด สินว่า การขัดเกลาหัวใจให้ สะอาดนั้นเป็นฟัรดูอีนที่มีความจ�ำเป็นบนผู้บรรลุศาสนภาวะทุก คน ท่านได้กล่าวว่า “การเยียวยา(โรคหัวใจ)ประเภทนี้ คือสิ่งที่ จ�ำเป็นส�ำหรับทุกคนที่มีสติปัญญาที่จะต้องศึกษาร�่ำเรียน เนื่องจาก

Book 1.indb 32

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 33

หัวใจนั้นจะไม่พ้นจากโรคทั้งหลาย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ ก็จะท�ำให้ โรคเพิ่มทวีคูณและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งแพร่หลาย”40 ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์จึงให้ค�ำนิยาม การขัดเกลาจิตใจ ว่า “เป็นการขัดเกลาหัวใจให้สะอาดจากสิ่งที่อัลลอฮฺไม่ทรงรักและ ประดับประดาหัวใจด้วยกับสิ่งที่พระองค์ทรงรัก”41 ดังนั้นการ ขัดเกลาหัวใจนี้จึงเป็นครึ่งหนึ่งของอีหม่าน ที่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ْ َ ُّ َ ‫الط ُه ْو ُر شط ُر ِإال ْي َ� ِان‬

“ความสะอาด เป็นครึ่งหนึ่งของอีหม่าน”42 ท่ า นอิ ห ม่ า มอั ล ฆ่ อ ซาลี ย ์ มิ ไ ด้ เข้ า ใจเป้ า หมายหะดี ษ บทนี้ เพี ย งแค่ ก ารท� ำ ความสะอาดร่ า งกายทางภายนอกโดยการรด ด้วยน�้ำพร้อมกับปล่อยให้หัวใจมีความเสื่อมโทรมและคงอยู่กับ คุณลักษณะที่สกปรกและโสมมทั้งหลาย แต่อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ เข้าใจว่าเป้าหมายของความสะอาดในหะดีษบทนี้ ครอบคลุมถึงสี่ ระดับด้วยกัน 1. อวัยวะภายนอกสะอาดจากหะดัษ43และสิ่งที่สกปรกทั้งหลาย 2. บรรดาอวัยวะสะอาดจากการกระท�ำบาปต่างๆ 3. หัวใจสะอาดจากคุณลักษณะที่น่าต�ำหนิ 4. จิตสะอาดจากสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ ซึ่งเป็นความสะอาดของ 40 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 3, หน้า 45. 41 อัลฆ่อซาลีย์, อัลอัรบะอีน ฟีอุศูลิดดีน, หน้า 135. 42 รายงานโดยมุสลิม, หะดีษเลขที่ 556. 43 การมีญุนุบและการไม่มีน�้ำละหมาด เป็นต้น.

Book 1.indb 33

29/03/2018 09:52:46


 34

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

บรรดานะบีย์และเหล่าผู้สัจจริง44 ดังนั้นการละหมาดจึงใช้ไม่ได้เว้นแต่ต้องมีความสะอาดทาง อวัยวะภายนอก และบรรดาอวัยวะภายนอกจะไม่มีความจ�ำเริญ ด้ ว ยมารยาทที่ ดี ง ามเว้ น แต่ บ รรดาอวั ย วะต้ อ งสะอาดจากการ กระท�ำบาปทั้งหลาย และหัวใจจะยังไม่ถูกประดับประดาด้วย ความตั ก วาเว้ น แต่ ต ้ อ งขั ด เกลาหั ว ใจให้ ส ะอาดจากลั ก ษณะที่ น่าต�ำหนิเสียก่อน และความรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺจะไม่ เกิดขึ้นที่หัวใจนอกจากจิตใจต้องสะอาดจากสิ่งอื่นจากอัลลอฮฺ 4. รากฐานการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การสร้างสังคมที่ดีนั้น ต้องการการปฏิสัมพันธ์ที่มีความหลาก หลาย เพื่อให้สมาชิกในสังคมนั้นเป็นประภาคารที่ยึดเหนี่ยวซึ่งกัน และกันอย่างมั่นคง ซึ่งการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมในสังคมที่ท่าน อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวไว้แบบพอสังเขปนั้น มีดังนี้ • มีการตักเตือนซึ่งกันและกัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องมุสลิมนั้น คือการสร้างความ ผู ก พั น เนื่ อ งจากความเป็ น พี่ น ้ อ งในศาสนาของอั ล ลอฮฺ ดั ง นั้ น การตักเตือนซึ่งกันและกันจึงเป็นปรากฏการณ์แรกในการสร้าง สัมพันธไมตรีต่อกัน ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวถ่ายทอดค�ำพูดของท่าน ซุลนูน อัลมิศรีย์ว่า “ท่านอย่าเป็นมิตรกับอัลลอฮฺนอกจากด้วยการ ปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์ทรงสั่งใช้ และท่านอย่าเป็นมิตรกับผู้คน ทั้งหลายนอกจากด้วยการตักเตือนซึ่งกันและกัน และท่านอย่า 44 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 1, หน้า 126.

Book 1.indb 34

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 35

เป็นมิตรกับอารมณ์ใฝ่ต�่ำนอกจากด้วยการขัดแย้งกับมันและอย่า เป็นมิตรกับชัยฏอนเว้นแต่ด้วยการเป็นศัตรูกับมัน”45 ดังนั้นวิถีทางนี้จึงมิได้เป็นสิ่งที่จะมาสร้างความรังเกียจให้เกิด ขึ้นในหัวใจ แต่เป็นการแสดงถึงความเมตตาและรักห่วงซึ่งกันและ กัน ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “ผู้ที่เตือนให้รู้ถึงข้อต�ำหนิ ที่มีอยู่ที่ท่านเพื่อจะให้ท่านบริสุทธิ์จากมันนั้น เขาก็เปรียบเสมือน กับผู้ที่บอกให้ท่านรู้ว่ามีงูและแมลงป่องอยู่ที่ชายผ้าของท่านซึ่ง มันก�ำลังจะท�ำให้ท่านเกิดอันตราย ดังนั้นหากท่านรังเกียจการ ตักเตือนดังกล่าว ก็ช่างเป็นความโง่เขลาส�ำหรับท่านเหลือเกิน”46 การตักเตือนนั้นไม่สมควรท�ำการเปิดเผยความลับของคนอื่น แต่ให้ท�ำการปกปิดเอาไว้ และหากต้องการตักเตือนอย่างเปิดเผย ก็จ�ำเป็นต้องตักเตือนอย่างนิ่มนวล ซึ่งบางครั้งอาจจะพูดตักเตือน แบบอ้ อ มๆ และบางครั้ ง พู ด ตั ก เตื อ นแบบชั ด เจนโดยให้ อ ยู ่ ใ น ขอบเขตทีไ่ ม่ทำ� ให้เกิดความรังเกียจและตัดขาดสัมพันธ์ตอ่ กัน ท่าน อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “การพูดต�ำหนิติเตือนในที่ลับนั้น ย่อมดีกว่าการตัดขาดสัมพันธ์ การพูดตักเตือนแบบอ้อมๆ ย่อมดี กว่าการพูดแบบชัดเจน และการเขียนตักเตือนย่อมดีกว่าการพูด โดยตรง”47 อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ถ่ายทอดค�ำพูดของอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ความว่า “ผู้ใดพูดตักเตือนพี่น้องของเขาในที่ลับ แท้จริงเขาได้ ตักเตือนด้วยความหวังดีและต้องการให้เขาได้รับความดีงาม และ ผู้ใดพูดตักเตือนในที่เปิดเผย แท้จริงเขาได้ท�ำการเปิดโปงและสร้าง 45 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 163. 46 เรื่องเดียวกัน, หน้า 164. 47 เรื่องเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.

Book 1.indb 35

29/03/2018 09:52:46


 36

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ความอับอายแก่พี่น้องของเขา”48 • สร้างความรักกลมเกลียวต่อกัน บางครั้งเราต้องพูดตักเตือนพี่น้อง แต่บางครั้งก็สมควรหยุดนิ่ง หมายถึง หยุดนิ่งจากการกล่าวถึงข้อต�ำหนิของพี่น้องทั้งต่อหน้า และลับหลัง โดยให้แกล้งท�ำเป็นไม่รู้ นิ่งเฉยจากการสืบเสาะหา ข้อต�ำหนิของพี่น้องในสิ่งที่เขาไม่ชอบ ปกปิดความลับต่างๆ ที่ได้ ถูกแพร่งพรายมายังเขาและอย่าเปิดเผยให้คนอื่นได้รับรู้ และให้ หยุดนิ่งจากการต�ำหนิเกี่ยวกับบรรดาเพื่อนรัก ครอบครัว และลูกๆ ของเขา และหยุดนิ่งจากการบอกเล่าค�ำพูดของคนอื่นที่มาต�ำหนิ เกี่ยวกับพวกเขา49 พยายามแสวงหาสิ่งที่มาสร้างความรักกลมเกลียวต่อกัน เช่น การบอกรักกับพี่น้องมุสลิม ดังที่ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า َ َ َْ َ َ ُ َ ‫ِإذا أ َح َّب أ َح ُد ْك أخ ُاه فل ُي ْع ِ ْل ُه ِإ َّ ي� ُه‬

“เมื่อคนใดจากพวกท่านรักพี่น้องของเขา ดังนั้นเขาก็จง บอกให้เขาได้รู้เถิด”50 ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลียไ์ ด้อธิบายหะดีษนีว้ า่ “ท่านร่อซูลลุ ลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้บอกให้เราท�ำการบอกรักผู้อื่น เพราะสิ่งดังกล่าวนั้นจะท�ำให้เพิ่มพูนความรัก เพราะเมื่อเขารู้ว่า 48 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 163. 49 ดู เรื่องเดียวกัน, หน้า 158. 50 รายงานโดยอัตติรมีซีย์, หะดีษเลขที่ 2392, อัตติรมีซีย์, อัลญามิอฺอัศศ่อฮีหฺ สุนันอัต ติรมีซีย์, ตะห์กีก: มุฮัมมัด อะหฺมัด ชากิร (เบรุต: ดารุอิหฺยาอ์ อัตตุร็อษ อัลอะร่อบีย์), เล่ม 4, หน้า 599.

Book 1.indb 36

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 37

ท่านรักเขา เขาก็จะรักท่านโดยธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น และเมื่อท่านรู้ว่าเขารักท่าน ท่านก็จะรักเขาเช่นเดียวกัน ดังนั้น ความรักก็จะยังคงเพิ่มพูนทั้งสองฝ่ายนั่นเอง”51 นอกจากนี้ ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ มีความเห็นว่า ความ บริสุทธิ์ใจในการเป็นมิตรสหายนั้น ย่อมมีความหมายที่ครอบคลุม และส�ำคัญที่สุด ท่านได้กล่าวว่า “ความบริสุทธิ์ใจนั้น คือลับหลัง กับต่อหน้านั้นต้องเหมือนกัน ลิ้นกับใจต้องตรงกัน ที่ลับกับที่ แจ้งต้องเท่ากัน และไม่ว่าจะอยู่ตามล�ำพังหรืออยู่เป็นกลุ่มก็เท่า กัน...เพราะสิทธิของความเป็นมิตรสหายนั้นเป็นสิ่งที่หนักอึ้ง ไม่มี ผู้ใดสามารถแบกรับได้หรอกเว้นแต่ผู้ที่จริงใจเท่านั้น ดังนั้นผล การตอบแทนของเขา(ที่มีความจริงใจนั้น)จะได้รับมากมายอย่าง แน่นอน ซึ่งจะไม่ได้รับมันนอกจากผู้ที่ได้รับการชี้น�ำจากอัลลอฮฺ เท่านั้น”52 ส่วนหนึ่งจากเครื่องหมายที่บ่งชี้ว่ามีความรักต่อพี่น้องมุสลิม ก็คือ การขอดุอาอ์ให้แก่เขาในขณะที่มีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตไป แล้ว ซึ่งท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ถ่ายทอดค�ำพูดอิหม่ามมุฮัมมัด อัลอัศบะฮานีย์ เกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่สวยงามของมิตรสหายที่ เป็นมุอฺมิน ว่า “คนไหนกันที่จะเหมือนกับพี่น้องที่ศอลิหฺ? ในเมื่อ ครอบครัวท่านจะท�ำการแบ่งมรดกของท่านและพวกเขามีความสุข กับสิ่งที่ท่านได้ทิ้งไว้ข้างหลัง แต่มิตรสหายกลับมีความโศกเศร้า กับท่านอย่างเดียวดาย เขาจะให้ความส�ำคัญกับอดีตที่ท่านได้ท�ำ มาก่อนหน้าและสิ่งที่ท่านต้องประสบ(หลังความตาย) เขาจึงขอ 51 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 162. 52 เรื่องเดียวกัน, หน้า 163.

Book 1.indb 37

29/03/2018 09:52:46


 38

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ดุอาอ์ให้แก่ท่านในยามค�่ำคืนในขณะที่ท่านอยู่ภายใต้ผืนดิน”53 • ผ่อนปรนและอะลุ่มอล่วยต่อกัน ความเป็นพี่น้องในอีหม่านเดียวกันนั้นจะอยู่ได้ด้วยการตัก เตือนซึ่งกันและกัน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องนั้น จะท�ำให้ เกิดความรักและความกลมเกลียวกัน ดังนั้นการคงมั่นไว้ซึ่งความ เป็นพี่น้องจะท�ำให้เกิดการผ่อนปรน อะลุ่มอล่วยต่อกัน อภัยให้กัน และมีความใจกว้างต่อกัน ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้วางสองมาตรฐานไว้เพื่อให้บรรลุ ถึงความอะลุ่มอล่วยระหว่างพี่น้องมุสลิม คือ 1. การตีความในแง่ดี มีจิตใจกว้าง พยายามหาทางออกที่จะให้ อภัย ซึ่งท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ถ่ายทอดค�ำพูดของนักปราชญ์ ตะเซาวุฟบางส่วนไว้ว่า “สมควรให้ท่านท�ำการวิเคราะห์ความผิด พลาดของพีน่ อ้ งของท่านให้ถงึ เจ็ดสิบทางออกเพือ่ จะให้อภัย ดังนัน้ หากหัวใจท่านไม่ตอบรับ ก็จงกลับมาต�ำหนิหัวใจของท่านโดย กล่าวกับหัวใจของท่านว่า เจ้าช่างแข็งกระด้างเหลือเกินที่พี่น้อง ของเจ้ามีเจ็ดสิบทางออกที่อภัยกันได้แต่เจ้าไม่ตอบรับ ฉะนั้นท่าน นั่นแหละคือผู้ถูกต�ำหนิมิใช่พี่น้องของท่าน”54 2. ตอบรั บ การขออภั ย จากพี่ น ้ อ งโดยไม่ แ สดงความรุ น แรง เพราะหากไม่ตอบรับ แสดงว่าหัวใจยิ่งทวีคูณความแข็งกระด้าง ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ตอกย�้ำความหมายของการปฏิรูป สังคมด้วยการผ่อนปรนและอะลุ่มอล่วยว่า คนกระท�ำชั่วนั้นเมื่อ 53 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 167. 54 เรื่องเดียวกัน, หน้า 166.

Book 1.indb 38

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 39

ได้อยู่ร่วมกับคนที่มีความย�ำเกรง(ตักวา)นั้น คนกระท�ำชั่วก็จะ พิจารณามองไปยังความกลัวของเขาที่มีต่ออัลลอฮฺและมองไปยัง การปฏิบัติของเขา ดังกล่าวจะท�ำให้มีอิทธิพลกับคนกระท�ำชั่วและ ท�ำให้เขามีความละอายต่อการกระท�ำบาป ด้วยเหตุนี้ อิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์จึงมีความเห็นว่า ไม่ควรห้ามผู้มีความย�ำเกรงอยู่ร่วม กับคนกระท�ำชั่วและไม่ควรสร้างความแตกแยกระหว่างพี่น้อง มุสลิมด้วยสาเหตุดังกล่าว แต่ให้แสดงความนิ่มนวลอะลุ่มอล่วยแก่ เขาเท่าที่สามารถกระท�ำได้ ซึ่งท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้อ้างอิง หลักฐานจากค�ำพูดของท่านอะบูอัดดัรดาอฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ 55 ความว่า “เมื่อพี่น้องของท่านเปลี่ยนไปจากสิ่งที่เขาเคยเป็นอยู่ ดังนั้นท่านก็อย่าละทิ้งเขาเพราะสาเหตุดังกล่าว เนื่องจากพี่น้อง ของท่านนั้นบางครั้งเขาอาจจะงอแต่บางครั้งเขาจะตรง”56 อิ ห ม่ า มอั ล ฆ่ อ ซาลี ย ์ ยั ง หยิ บ ยกอายะฮ์ อั ล กุ ร อานเพื่ อ มา สนั บ สนุ น ทั ศ นะของท่ า นว่ า ความรั ง เกี ย จที่ อั ล ลอฮฺ สั่ ง ใช้ นั้ น เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของคนชั่วไม่ใช่ตัวตนของคนชั่ว เนื่องจาก 55 แต่ท่านอะบูซัรริน อัลฆิฟารีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ มีทัศนะว่า ให้ตัดขาดจากคนที่ฝ่าฝืน โดยท่านอะบูซัรริน ได้กล่าวว่า “เมื่อพี่น้องของท่านเปลี่ยนไปจากสิ่งที่เขาเคยเป็นอยู่ ท่านก็จงโกรธเขาเหมือนกับที่ท่านเคยรักเขา” หมายถึง รักเพื่ออัลลอฮฺและโกรธเพื่อ อัลลอฮฺ, ดู อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 164. ส่วนตัวผู้เขียนมีความเห็นว่า การอยู่ร่วมเป็นมิตรสหายของพวกอะกีดะฮ์บิดอะฮ์ที่ไม่สามารถเยียวยาได้นั้น การหลีก ห่างย่อมเป็นสิ่งที่ดียิ่งกว่า เพราะจะท�ำให้เกิดความเสียหายแก่เรา ซึ่งท่านอัลบัรบะฮารีย์ ได้กล่าวว่า “อุปมาพวกอะกีดะฮ์บิดอะฮ์นั้นอุปมัยดังแมลงป่องที่หัวและร่างกายของมัน ฝังอยู่ในดิน เมื่อพวกมันมีความสามารถ พวกมันก็จะต่อย เช่นเดียวกันกับพวกบิดอะฮ์ ซึ่งพวกเขาซ่อนอ�ำพรางตนเองท่ามกลางผู้คนทั้งหลาย เมื่อพวกเขามีความศักยภาพ พวกเขาก็ลงมือท�ำให้ลุล่วงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการ” อิบนุอะบียะอฺลา, ฏ่อบะก้อตอัล หะนาบิละฮ์, ตะห์กีก: มุฮัมมัด ฮามิด อัลฟิกกีย์, พิมพ์ครั้งที่ 2 (เบรุต: ดารุลมะอฺริฟะฮ์), เล่ม 2, หน้า 44. 56 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 164.

Book 1.indb 39

29/03/2018 09:52:46


 40

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

อัลลอฮฺตะอาลาทรงตรัสว่า

َ ُ َ ٌ َ ّ‫َ ْ َ َ ْ َ َ ُ ْ ن‬ �ِ ‫ف ِإن عصوك فقل ِإ ِ ي� ب‬ ‫يء ِ َّما ت ْع َملون‬

“หากพวกเขาฝ่าฝืนเจ้า ก็จงกล่าวเถิดแท้จริงฉันขอปลีกตัว ให้พ้นจากสิ่งที่พวกท่านปฏิบัติกันอยู่”[อัชชุอะรออฺ: 216] อัลลอฮฺมิทรงใช้ให้กล่าวว่า แท้จริงขอปลีกตัวให้พ้นจากพวก ท่าน นั่นก็เพื่อรักษาเอาไว้ซึ่งสิทธิของเครือญาติและวงศ์ตระกูล57 • การอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน การอุปถัมภ์และช่วยเหลือซึ่งกันและกันนั้น เป็นข้อพิสูจน์ถึง ความจริงใจในความเป็นพี่น้องมุสลิม ซึ่งท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ มิ ไ ด้ จ�ำ กั ดเพียงแค่การอุปถัมภ์ในด้านทรัพย์สินเท่านั้น แต่ยัง รวมไปถึ ง จิ ต ส� ำ นึ ก ในภาระหน้ า ที่ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบในการ ปลดเปลื้องความทุกข์ร้อนของพี่น้องมุสลิม ไม่ว่าความทุกข์ร้อน นั้นจะมากหรือน้อยก็ตาม อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ถ่ายทอดแบบอย่างของสะลัฟศอลิหฺบาง ส่วนไว้ว่า “สะลัฟนั้น มีผู้ที่คอยสอดส่องดูแลครอบครัวและลูกๆ ของพี่น้องของเขาที่เสียชีวิตไปแล้วถึงสี่สิบปี เขาได้ปลดเปลื้อง ความทุกข์ร้อนของพวกเขา ในทุกวันเขาจะคอยแวะเวียนไปหา พวกเขาและให้ค่าเลี้ยงดูจากทรัพย์สินของเขา ดังนั้นพวกเขาจึง ไม่เคยขาด(ผู้ท�ำหน้าที่แทน)พ่อเว้นแต่ขาดตัวตนของพ่อ(ที่เสียชีวิต ไปแล้ว)เท่านั้นเอง...และมีสะลัฟบางส่วนได้เดินแวะเวียนไปมาที่ ประตูบ้านพี่น้องของเขาและถามว่า ท่านยังมีน�้ำมันพอไหม ท่าน ยังมีเกลือพอไหม และท่านมีความเดือดร้อนอะไรให้ช่วยไหม?58 57 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 165. 58 เรื่องเดียวกัน, หน้า 157.

Book 1.indb 40

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 41

บทสรุ ป คื อ สมควรให้ ค วามทุ ก ข์ ร ้ อ นของพี่ น ้ อ งมุ ส ลิ ม นั้ น เหมือนกับความทุกข์ร้อนของท่านหรือส�ำคัญยิ่งกว่าความทุกข์ ร้อนของท่านนั่นเอง • การเชื่อมสัมพันธไมตรี ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์มีความเห็นว่า การเชื่อมสัมพันธไมตรี ระหว่ า งพี่ น ้ อ งมุ ส ลิ ม และการอยู ่ ร ่ ว มเป็ น มิ ต รสหายที่ ดี ง ามกั บ พวกเขานั้น ถือว่าเป็นรุกุ่น(องค์ประกอบหลัก)ของศาสนาที่จะขาด เสียมิได้ เพราะศาสนาคือการเดินทางไปสูอ่ ลั ลอฮฺ และองค์ประกอบ หลั ก ของการเดิ น ทางนั้ น ต้ อ งอยู ่ ร ่ ว มเป็ น มิ ต รสหายที่ ดี ง ามกั บ บรรดามิตรสหายผู้ร่วมเดินทาง59 การอยู่ร่วมกันนั้น ศาสนาได้แบ่งเอาไว้หลายระดับด้วยกันใน ด้านของการแสดงถึงความรักและการปฏิบัติ อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ ได้กล่าวว่า “ผู้คนทั้งหมดจะอยู่ร่วมปะปนกับคนอื่น ดังนั้นการ อยู่ร่วมกันนั้นต้องมีมารยาท และมารยาทต้องอยู่ตามระดับสิทธิ ของเขาที่พึงได้รับ และสิทธิของเขาที่พึงได้รับนั้นก็จะได้รับตาม ระดั บของความผูกพัน ” 60 ซึ่ง ครอบคลุมถึงสิทธิของเครือญาติ สิทธิของพ่อแม่ที่มีต่อลูก สิทธิของลูกที่มีต่อพ่อแม่ สิทธิของสามี ภรรยา สิทธิของเพื่อนบ้าน และสิทธิต่อพี่น้องมุสลิมทั่วไป การ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาเหล่านี้จะท�ำให้ความเป็นพี่น้องมุสลิม มีความมั่นคง และท�ำให้สังคมอิสลามมีความสมบูรณ์ เข้มแข็ง และ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นี่ก็คือบรรดารากฐานในการปฏิรูปและสร้างสังคมที่ดี ซึ่งเป็น รากฐานที่ต้องเริ่มจากคนคนเดียวก่อนเหมือนกับอิฐก้อนหนึ่งที่วาง 59 อัลฆ่อซาลีย์, อัลบัรบะอีน ฟิอุศูลิดดีน, หน้า 104. 60 อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 2, หน้า 173.

Book 1.indb 41

29/03/2018 09:52:46


 42

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

รากฐานในสังคม หลังจากนั้นก็จะสรรสร้างผู้คนทั้งหลายให้มีความ เข้มแข็งและมีคุณธรรมให้อยู่ในสังคมที่ดีและมีคุณธรรม ความเป็นมาของต�ำราก่อวาอิดุลอะกออิด ต� ำ รา “ก่ อ วาอิ ดุ ล อะกออิ ด ” อะกี ด ะฮ์ ข องท่ า นอิ ห ม่ า ม อัลฆ่อซาลีย์คือบรรดาหลักความเชื่อต่างๆ ของอะกีดะฮ์อะฮฺลิซ ซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ที่ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ประพันธ์ไว้ และ ท่านก็น�ำต�ำราเล่มนี้เข้าไปบรรจุไว้ในต�ำรา “อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน” ที่ โด่งดังของท่าน61 ท่านอิบนุอิม้าดได้กล่าวว่า “ในปี ฮ.ศ. 488 นั้น ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้เริ่มเดินทางไปยังดิมัชก์เพื่อท�ำอิบาดะฮ์ ฝึกฝนตนเอง และขัดเกลาหัวใจด้วยการหมั่นในการซิกรุลลอฮฺและ เริ่มประพันธ์หนังสืออิหฺยาอ์อุลูมิดดีน ท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์อยู่ ที่นั่นสองปี”62 ต� ำ ราอะกี ด ะฮ์ ข องท่ า นอิ ห ม่ า มอั ล ฆ่ อ ซาลี ย ์ เ ล่ ม นี้ ท่ า นได้ ประพันธ์ในขณะที่ออกเดินทางไปเพื่อบ่มเพาะ ฝึกฝน และขัดเกลา จิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นหลักอะกีดะฮ์พื้นฐานในการเดินทาง เข้าหาอัลลอฮฺตะอาลา ดังนั้นหลักอะกีดะฮ์ที่ถูกต้องจึงเป็นผล ท�ำให้แนวทางของตะเซาวุฟมีความถูกต้องเช่นเดียวกัน ท่านอิหม่ามอิบนุอะซากิร ได้กล่าวรายงานไว้ในต�ำรา ตับยีน กัษบิลมุฟตะรี อะลา อะบิลหะซันอัลอัชอะรีย์ ความว่า “ฉันได้ยิน ท่านอิหม่ามอะบุลกอเซ็ม สะอัด บิน อะลีย์ บิน อะบิลก่อซัม บิน อะบีฮุร็อยเราะฮ์ อัลอิสฟิรอยินีย์ อัชชาฟิอีย์ ณ เมืองดิมัชก์ เขา ได้กล่าวว่า ฉันได้ยินอิหม่ามอะบุลฟัตหฺ บิน นะหฺฮาม บิน อามิร 61 ดู อัลฆ่อซาลีย์, อิหฺยาอ์อุลูมิดดีน, เล่ม 1, หน้า 88-91. 62 อิบนุอิม้าด, ชะษะร้อตอัซซะฮับ, เล่ม 5, หน้า 371.

Book 1.indb 42

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 43

อัลอะร่อบีย์ อัซซาวีย์ ณ นครมักกะฮ์ ได้กล่าวว่า ฉันได้เข้าไปที่ มัสยิดอัลหะรอมในวันอาทิตย์ช่วงเวลาระหว่างซุฮ์ริกับอัสริในวันที่ 14 เดือนเชาวาล ปี ฮ.ศ. 545 ฉันมีอาการเจ็บขาและเวียนศีรษะ โดยไม่สามารถที่จะยืนหรือนั่งได้... และฉันก็หาสถานที่เพื่อนอน พักสักครู่หนึ่ง แล้วฉันจึงเห็นประตูบ้านของกลุ่มคนที่ใช้เป็นที่พัก ของคนเดินทาง ณ ประตูอัลหะซูเราะฮ์(ที่มัสยิดอัลหะรอม)เปิด อยู่ ฉันจึงมุ่งเดินไปและผ่านเข้าไปทางประตูนั้น และฉันก็นอน ตะแคงขวาอยู่ข้างหน้ากะอฺบะฮ์โดยมือของฉันเท้าแก้มเอาไว้เพื่อ ไม่ให้นอนหลับเพราะเกรงว่าจะเสียน�้ำละหมาด จึงมีชายคนหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ามาจากพวกบิดอะฮ์ได้เข้ามาและท�ำการปูสถานที่ ละหมาดของเขาบนประตูบ้านดังกล่าวและเขาก็น�ำแผ่นหินออก มาจากกระเป๋าเสื้อซึ่งบนแผ่นหินนั้นจะมีรอยเขียนอยู่ด้วย แล้วเขา ท�ำการจูบมันและเอาไปวางข้างหน้า แล้วท�ำการละหมาดใช้เวลา นานโดยปล่อยมือทั้งสองข้างตามธรรมเนียมของพวกเขา เขาจะ ท�ำการสุญูดบนแผ่นหินนั้นทุกครั้ง เมื่อเสร็จสิ้นจากละหมาด เขาก็ ท�ำการสุญูดบนแผ่นหินนั้น เขาสุญูดนาน และเขาก็ให้แก้มของเขา ทั้งสองข้างถูบนแผ่นหินนั้น แล้วเขาก็วิงวอนขอดุอาอ์ หลังจากนั้น เขาก็เงยศีรษะขึ้นมา แล้วท�ำการจูบแผ่นหินนั้นและน�ำมันมาวาง ประกบไว้บนสองตา หลังจากนั้นเขาก็จูบแผ่นหินเป็นครั้งที่สอง และน�ำเข้าไว้ในกระเป๋าเสื้อดังเดิม ดังนั้นทุกครั้งที่ฉันเห็นเขาฉัน จะรังเกียจการกระท�ำดังกล่าว ฉันจึงพูดในใจว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ น่าจะมีชีวิตอยู่ท่ามกลางพวกเขาเพื่อจะได้บอกพวกเขาถึงการ กระท�ำที่ไม่ดีและสิ่งบิดอะฮ์ที่พวกเขาด�ำเนินอยู่ ในขณะที่ก�ำลังคิด ในใจอยู่นี้ ฉันก็พยายามฝืนไม่ให้หลับเพื่อไม่ให้เสียน�้ำละหมาด ใน ขณะนั้นฉันรู้สึกง่วงนอนมากเหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น แล้วฉันก็เห็น

Book 1.indb 43

29/03/2018 09:52:46


 44

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ลานกว้างซึ่งมีผู้คนยืนอยู่มากมายและในมือทุกคนจะมีต�ำราเล่ม หนึ่งโดยที่พวกเขาทั้งหมดได้ยืนล้อมบุรุษคนหนึ่ง ฉันจึงถามเกี่ยว กับพวกเขาและผู้ที่อยู่ในวง พวกเขากล่าวว่า เขาคือร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และพวกเขาเหล่านั้นก็คือบรรดา เจ้ า ของมั ซ ฮั บ ต่ า งๆ พวกเขาต้ อ งการที่ จ ะอ่ า นแนวทางและ อะกี ด ะฮ์ ข องพวกเขาให้ ท ่ า นร่ อ ซู ลุ ล ลอฮฺ ฟ ั ง และให้ ท ่ า น ร่อซูลุลลอฮฺแก้ไขให้ถูกต้อง ขณะดังกล่าวนั้นฉันจึงมองไปยังกลุ่ม ชนดังกล่าว ทันใดนั้นก็มีชายคนหนึ่งที่ยืนล้อมวงอยู่ได้เดินออกมา โดยในมือถือต�ำราอยู่เล่มหนึ่ง จึงถูกกล่าวขึ้นว่า นี่คืออัชชาฟิอีย์ (ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ) แล้วก็เดินเข้ามากลางวงและให้สะลามกับท่าน ร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ฉันเห็นท่านร่อซูลุลลอฮฺ มีความงดงามและสมบูรณ์โดยสวมเสื้อผ้าสีขาวสะอาดทั้งผ้าโพก สาระบัน่ เสือ้ ข้างใน และเสือ้ อืน่ ๆ ในชุดของชาวตะเซาวุฟ แล้วท่าน ร่อซูลุลลอฮฺก็รับสะลามและกล่าวต้อนรับ แล้วอิหม่ามอัชชาฟิอีย์ ก็นั่งลงข้างหน้าท่านร่อซูลุลลอฮฺและท�ำการอ่านต�ำราเกี่ยวกับ มัซฮับและหลักอะกีดะฮ์ของท่าน หลังจากนั้นก็มีชายอีกคนหนึ่ง เข้ามา ถูกเรียกชื่อว่า อะบูหะนีฟะฮ์ (ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ) ซึ่งในมือ ของเขามีต�ำราเล่มหนึ่ง แล้วก็ท�ำการให้สะลามและนั่งข้างอิหม่าม อัชชาฟิอีย์และท�ำการอ่านต�ำราเกี่ยวกับมัซฮับและหลักอะกีดะฮ์ ของเขา หลังจากนั้นเจ้าของทุกมัซฮับเข้ามาทีละคนจนกระทั่งไม่ เหลือผู้ใดเว้นแต่ส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งทุกคนจะท�ำการอ่านต�ำราและ นั่งข้างคนอื่นๆ เมื่อพวกเขาได้เสร็จสิ้นเรียบร้อย ก็มีชายคนหนึ่ง จากพวกบิดอะฮ์ที่มีฉายาว่า อัรรอฟิเฎาะฮ์ ได้เข้ามาโดยในมือมี แผ่นกระดาษ ในนั้นได้กล่าวถึงอะกีดะฮ์ของพวกเขาที่เสียหาย และเขาก็ตั้งใจจะเข้ามาในวงและท�ำการอ่านให้ร่อซูลุลลอฮฺฟัง จึง

Book 1.indb 44

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 45

มีชายคนหนึ่งที่อยู่พร้อมกับท่านร่อซูลลอฮฺได้ออกมาขัดขวางเขา ไว้และเอาแผ่นกระดาษในมือของเขาโยนทิ้งไปนอกวงและขับไล่ เขาออกไป เมื่อฉันเห็นกลุ่มชนเหล่านั้นได้อ่านเสร็จเรียบร้อยโดยไม่หลง เหลือคนใดอยู่เลย ฉันจึงก้าวมาข้างหน้าเล็กน้อยโดยในมือของ ฉันมีต�ำราเล่มหนึ่ง แล้วฉันก็กล่าวว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ต�ำรา เล่มนี้คือหลักยึดมั่นของฉันและเป็นหลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์ หากท่านอนุญาตให้ฉันอ่าน ฉันก็จะอ่านให้ท่านฟัง ดังนั้นท่าน ร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า ต�ำรานี้คือ ต�ำราอะไร? ฉันตอบว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ มันคือต�ำราก่อวาอิดุล อะกออิดที่อัลฆ่อซาลีย์ได้ประพันธ์ไว้ ดังนั้นท่านร่อซูลุลลอฮฺจึง อนุญาตให้ฉันอ่าน ฉันจึงนั่งและเริ่มอ่าน: “บิสมิลลาฮิรเราะหฺมา นิรร่อฮีม นี่คือต�ำรา ก่อวาอิดุลอะกออิดในการอธิบายถึงอะกีดะฮ์ อะฮฺ ลิ ซ ซุ น นะฮ์ เ กี่ ย วกั บ สองกะลิ ม ะฮ์ ช ะฮาดะฮ์ ที่ เ ป็ น หนึ่ ง ใน โครงสร้างของศาสนาอิสลาม...จนกระทั่งถึง...แท้จริงอัลลอฮฺทรง แต่งตั้งท่านนะบีย์ ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นคนในตระกูลกุเรช นามว่ามุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม พร้อมกับสารจาก อัลลอฮฺสู่ชาวอาหรับ ผู้ไม่ใช่อาหรับ ญิน และมนุษย์ทั้งหมด...” เมื่อ ฉันอ่านถึงตรงนี้ ฉันจึงเห็นใบหน้าที่ยิ้มแย้มและรอยยิ้มบนใบหน้า ของท่าน ขณะที่ฉันได้อ่านไปถึงคุณลักษณะของท่านนั้น ท่าน ร่อซูลุลลอฮฺจึงหันมายังฉันและกล่าวว่า อัลฆ่อซาลีย์อยู่ไหน ทัน ใดนั้นอัลฆ่อซาลีย์ก็ถูกเชิญมายืนอยู่ในวงต่อหน้าท่านร่อซูลุลลอฮฺ แล้วกล่าวว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ฉันนี่แหละคืออัลฆ่อซาลีย์ และ ก้าวเท้าเข้ามาและสะลามกับท่านร่อซูลลุ ลอฮฺ แล้วท่านร่อซูลลุ ลอฮฺ ก็ตอบรับสะลาม และเขาก็จับมืออันมีเกียรติของท่านร่อซูลุลลอฮฺ

Book 1.indb 45

29/03/2018 09:52:46


 46

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

พร้ อมจู บ มือและเอาสองแก้มาวางบนมือของท่านร่อซูลุล ลอฮฺ เพื่อเอาบะร่อกะฮ์จากท่านร่อซูลุลลอฮฺและจากมืออันมีเกียรตินั้น ต่อมาอัลฆ่อซาลีย์ก็นั่งลง ดังนั้นฉันไม่เคยเห็นท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะมีความเบิกบานแจ่มใสกับการ อ่านของคนหนึ่งคนใดที่จะมากไปกว่าฉันได้อ่านต�ำราก่อวาอิดุล อะกออิดให้ท่านร่อซูลุลลอฮฺฟัง หลังจากนั้นฉันก็ตื่นในสภาพที่สองตาของฉันมีร่องรอยของ น�้ำตาจากสิ่งที่ฉันได้ฝันเห็น ซึ่งมันเป็นนิอฺมัตที่ยิ่งใหญ่จากอัลลอฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสุดท้ายที่มีแนวทางที่ตามอารมณ์มากมาย ดังนั้นเราวอนขอต่ออัลลอฮฺตะอาลาโปรดประทานให้เรามีความ มั่นคงบนหลักอะกีดะฮ์ของผู้อยู่ในสัจธรรมด้วยเถิด ขอให้พระองค์ ทรงท�ำให้เรามีชีวิตและให้เราตายบนหลักอะกีดะฮ์ดังกล่าว และ ทรงท�ำให้เราฟื้นคืนชีพมาพร้อมกับพวกเขา พร้อมกับบรรดานะบีย์ บรรดาร่อซูล บรรดาผู้สัจจริง บรรดาคนตายชะฮีด และเหล่าผู้ มีคุณธรรม และพวกเขาได้อยู่ร่วมอย่างสวยงาม (ในสวรรค์ชั้น สูงสุด) ด้วยเถิด แท้จริงพระองค์นั้นคู่ควรยิ่งในการประทานความ โปรดปรานและผู้ทรงเดชานุภาพเหนือทุกสิ่ง63 ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า “ฝัน ดีมาจากอัลลอฮฺ”64 ดังนั้นความฝันที่ดีข้างต้นบ่งชี้ว่า ต�ำราก่อวา อิดุลอะกออิด เป็นต�ำราที่อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้ท�ำการอธิบายอะ กีดะฮ์อะฮฺลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ซึ่งเป็นหลักอะกีดะฮ์แนวทาง ผู้อยู่ในสัจธรรมนั่นเอง 63 อิบนุอะซากิร, ตับยีนกัษบิลมุฟตะรี, หน้า 226-231. 64 รายงานโดยอัลบุคอรีย์, หะดีษเลขที่ 6594. อัลบุคอรีย์, ศ่อฮีหฺอัลบุคอรีย์, เล่ม 6, หน้า 2568.

Book 1.indb 46

29/03/2018 09:52:46


‫كتاب‬

‫قواعد العقائد‬ ‫لحجة اإلسالم اإلمام الغزايل‬ ‫‪ต�ำรา ก่อวาอิดุลอะกออิด‬‬

‫‪29/03/2018 09:52:46‬‬

‫‪Book 1.indb 47‬‬


 48

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ْ َّ ‫الر ْح ِن‬ َّ ِ‫س هللا‬ �ِ ‫الر ِح ْي‬ ِ ‫ِب‬ َ ُ ‫ِك َت‬ ُّ ‫� ِة َع ِق ْي َد ِة أ ْهل‬ َ َ‫اب َق َو ِاع ِد ْال َع َقا ِئ ِد ِ ف ْ� تَ ْ� ج‬ َ ِ َ �ْ ‫الس َّن ِة ِ ف ي‬ َ َّ‫ك تَ� ش‬ ‫ال� َاد ِة‬ ‫ي‬ ِ ‫ِي‬ ُ ْ ُ َ َ َ ْ ‫َّ ت ْ َ َ َ ُ َ َ ن‬ ُ َّ َ ْ ْ : ‫ فنقول و ِب�هللِ التو ِفيق‬، ‫ا� ِإالسالِم‬ ‫ال ِ ي� ِ يه أحد مب ِ ي‬ ْ ْ َ ُ ‫ىء‬ ُ ْ ِ‫َا ْ َل ْم ُد هلل‬ ...،‫ الف َّع ِال ِ َلا ُ ي ِ� ْي ُد‬،‫ال ِع ْي ِد‬ ِ ‫ال ْب ِد‬

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงกรุณาปรานีเสมอ นีค่ อื ต�ำรา ก่อวาอิดลุ อะกออิด ในการอธิบายถึงอะกีดะฮ์อะฮฺลซิ ซุนนะฮ์เกี่ยวกับสองกะลิมะฮ์ชะฮาดะฮ์ที่เป็นหนึ่งในโครงสร้าง ของศาสนาอิสลาม ดังนั้น ด้วยอัลลอฮฺเท่านั้นผู้ทรงชี้น�ำ เรา1ขอ กล่าวว่า: [ศิฟัตอัลวุญูด-อัลลอฮฺทรงมี] มวลการสรรเสริ ญ เป็ น กรรมสิ ท ธิ์ ข องอั ล ลอฮฺ ผู ้ ท รงท� ำ ให้ สรรพสิ่งทั้งหลายปรากฏมีข้ึนมา2 ผู้ทรงท�ำให้ทุกสิ่งหวนกลับไป3 ผู้ทรงกระท�ำอย่างลุล่วงกับสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์4 1 คือท่านอิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์. 2 เนื่องจากอัลลอฮฺทรงมี ดังนั้นพระองค์ทรงสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายให้ปรากฏมีขึ้นมา เพื่อบ่งชี้ถึงการมีอยู่ของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างนั่นเอง. 3 หมายถึง สิ่งถูกสร้างทั้งหลายจะหวนกลับไปพึ่งพาพระองค์เพื่อให้มันด�ำรงอยู่ได้ต่อ ไปหรือพระองค์ทรงท�ำให้หวนกลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกในวันกิยามะฮ์. ดู ซัรรู้ก, ชัรหฺ อะกีดะฮ์อัลอิมามอัลฆ่อซาลีย์, ตะห์กีก: มุฮัมมัด อับดุลกอดิร อันนัศศ้อร, พิมพ์ครั้งที่ 1 (ไคโร: ดาร่อตุลกุรซฺ, ค.ศ. 2007/ฮ.ศ. 1427), หน้า 33-34. 4 โดยพระองค์ไม่ถูกกีดกัน ไม่มีการลังเล ไม่มีการหยุดกระท�ำเพื่อขอความช่วยเหลือ จากผู้อื่น และไม่มีความอ่อนแอ ดังนั้นเมื่อพระองค์ทรงประสงค์สิ่งใด พระองค์ท�ำให้ บังเกิดขึ้นมาทันที. เรื่องเดียวกัน, หน้า 34.

Book 1.indb 48

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 49

ْ َ ْ ْ ْ ْ َّ َ َ ْ ‫ ِذي ْال َع ْرش‬... ‫ َال ِاد ْي َصف َوة ال َع ِب ْي ِد ِإل‬،‫ال ِج� ْي ِد َوال َبط ِش الش ِد ْي ِد‬ ِ َ ْ ْ َ َ َ ْ ُ ،‫السد ْيد‬ َّ ‫� َادة‬ َ ‫الر ِش ْي ِد َو‬ َْ َّ ‫ال نْ َ�ج‬ ‫الت ْو ِح ْي ِد‬ ِ ِ َّ ‫ال ْسل ِك‬ ِ َ ‫الن ِع ِم َعل يْ ِ� ْم َب ْعد ش‬ ِ ُ ْ ُ َ ْ َ َّ َّ َ َ ْ ‫ت‬ َّ ،‫ال� ِد ْي ِد‬ ْ ‫ات التش ِك ْي ِك َو‬ ‫السا ِل ِك ِب ِ�م ِإل‬ ِ ‫ِب ِ� َر َاس ِة عقا ِئ ِد ِ ْه عن ظ َل‬

ผู้ทรงสร้างอะรัช(บัลลังก์)ที่มีเกียรติ5 ผู้ทรงจัดการอย่างเฉียบขาด6 ผู้ทรงชี้น�ำบรรดาปวงบ่าว7 ที่ถูกเลือกเฟ้น8ให้ไปสู่แนวทางที่เที่ยง ตรงและหนทางที่ถูกต้อง9 ผู้ทรงประทานนิอฺมัตแก่พวกเขาหลัง จาก(กล่าวถ้อยค�ำ)ชะฮาดะฮ์เตาฮีดแล้ว10 ด้วยการ(ประทานอีก นิอฺมัตหนึ่งในการ)ปกปักษ์รักษาหลักอะกีดะฮ์ของพวกเขาให้พ้น จากความมืดมน11ของการสร้างความสงสัยและลังเล ผู้ทรงชักน�ำ พวกเขาไปสู่... 5 อะรัชหรือบัลลังก์เป็นสิ่งถูกสร้างที่ใหญ่ที่สุดครอบจักรวาล ถูกสร้างจากนูรรัศมี ซึ่ง ไม่มีผู้ใดรู้ถึงแก่นแท้ของมันได้นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น. อัลบาญูรีย์, ตุหฺฟะตุลมุรี้ด, ตะห์กีก: อะลีย์ญุมุอะฮ์, พิมพ์ครั้งที่ 1 (ไคโร: ดารุสลาม, ค.ศ. 2002/ฮ.ศ. 1422), หน้า 296. และพระองค์ทรงสร้างบัลลังก์เพื่อแสดงถึงความเดชานุภาพและความยิ่งใหญ่ของ พระองค์ มิใช่สร้างเพื่อมานั่ง ประทับ สถิต และอาศัยอยู่แต่อย่างใด. 6 ด้วยการลงโทษผู้อธรรมทั้งหลาย. 7 ชี้น�ำปวงบ่าวด้วยการประทานค�ำสั่งใช้ที่เป็นความดีงามให้พวกเขาน�ำไปปฏิบัติและ สร้างพลังอีหม่านให้เกิดขึ้นแก่พวกเขา. ดู ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์, หน้า 36. 8 หมายถึงพวกเราถูกอัลลอฮฺทรงเลือกให้เป็นผู้ที่มีอีหม่านต่อพระองค์เพราะยังมีมนุษย์ อีกมากมายที่ปฏิเสธต่ออัลลอฮฺ. 9 ด้วยการท�ำให้มีความแน่นแฟ้นในการรู้จักอย่างลึกซึ้ง ผูกพัน และมั่นคงอยู่กับอัลลอฮฺ หลังจากที่เขาได้มีอีหม่านต่อพระองค์เป็นเบื้องต้นแล้ว. 10 หมายถึง ทรงประทานนิอฺมัตให้พวกเขาได้รับอิสลามและยอมรับในกะลิมะฮ์เตาฮีด “อัชฮะดุ อัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะ อัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัรร่อซูลุลลอฮฺ” 11 หมายถึง ความคลุมเครือ. มุรตะฎออัซซะบีดีย์, อิตห้าฟอัซซาดะฮ์อัลมุตตะกีน (เบรุต: มุอัซซะซะฮ์อัตตารีคอัลอะร่อบีย์, ค.ศ. 1994/ฮ.ศ. 1414), เล่ม 2, หน้า 18.

Book 1.indb 49

29/03/2018 09:52:46


 50

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ْ َ ‫ْ َ َ ُ ْ ْ ُ ْ َ فَ َ ْ َ ث‬ ْ ُ ْ َ‫أَ ْ َ ْ ن‬ ْ َ ‫آ�ر‬ ‫الك َر ِم ْ ي نَ� ِب� َّلتأ ِي ْي ِد‬ �‫ص ِب ِه ال كر ِم ي‬ ِ ‫ِإتب ِاع رسوِ ِل الصط� واق ِتف ِاء‬ َ ْ َ َ َ ‫َ َّ ْ ْ ْ ُ َ َ ّ َ ُ ْ ف‬ َ َ‫ال ِب َ� َح ِاسن أ ْو َص ِاف ِه َّال ِ ت� َال ُي ْد ِر ُكا‬ ِ ِ ‫ التج ِ يل لم ِ ي� ذا ِت ِه وأفع‬،‫والتس ِدي ِد‬ ِ ‫ي‬ َ‫َّ َ ْ َ ْ قَ َّ ْ َ َ ُ َ ش‬ .‫� ْي ٌد‬ ِ ‫ِإال من أل� السمع وهو‬

...การเจริญรอยตามร่อซูลของพระองค์ที่ถูกคัดเลือก [ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม] และตามร่องรอยต่างๆ ของศ่อฮาบะฮ์ผู้ที่มี เกียรติที่สุด12 ทั้งยังได้รับเกียรติด้วยการช่วยเหลือจากอัลลอฮฺและ ได้รับการชี้น�ำจากพระองค์ ผู้ทรงส�ำแดงให้ปรากฏเกิดขึ้นแก่(หัวใจ ของ)พวกเขา(ในการอีหม่านอย่างมั่นคงและรู้จัก)เกี่ยวกับซาตของ พระองค์13 และบรรดาการกระท�ำ14 ของพระองค์ด้วย(การบ่งชี้ และรู้จักถึง)ความงดงามของบรรดาคุณลักษณะ(คือบรรดาศิฟัต) ของพระองค์ที่ไม่มีผู้ใดตระหนักรู้มันได้นอกจากผู้ที่สดับฟังโดยที่ เขานั้นมีหัวใจประจักษ์อย่างชัดแจ้ง15

12 ศ่อฮาบะฮ์มีเกียรติที่สุดหลังจากท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เนื่องจาก อัลลอฮฺตะอาลาทรงประทานนิอฺมัตให้พวกเขาอยู่ร่วม เป็นมิตรสหาย ท�ำการช่วยเหลือ ศาสนาของอัลลอฮฺ ปกปักษ์รักษาศาสนาของพระองค์ และส่งต่อค�ำสอนต่างๆ ไปยัง ประชาชาติของท่านนะบีย์ พร้อมกับมีความเคร่งครัดในการฏออัตภักดีต่ออัลลอฮฺและ เสียสละทุ่มเทชีวิตเพื่อสิ่งดังกล่าวทั้งหมด. ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อิมามอัลฆ่อซาลีย์, หน้า 40. 13 หมายถึง รู้จักว่าซาตของอัลลอฮฺนั้นมีคุณลักษณะต่างๆ ที่วิจิตรงดงามและยิ่งใหญ่ ส่วนค�ำว่าซาตนั้น หมายถึง แก่นแท้(การมีอยู่)ของอัลลอฮฺ. 14 หมายถึงการสรรสร้างของพระองค์ในจักรวาลแห่งนี้. 15 ประจักษ์แจ้งในหัวใจของพวกเขาโดยปราศจากความลังเลและสงสัย.

Book 1.indb 50

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 51

َ َ َ ُ َ َ ْ َ َ ٌ ْ َ ُ َ َ ْ َ‫َ ْ ُ َ ّ َّ ُ ْ َ َّ ُ ف ْ َ َ ٌ َ ش‬ ،‫ فرد ال م ِثيل ل‬،‫� يك ل‬ ‫ص ٌد ال‬ ِ ‫الع ِر ِف ِإ ي�ه أنه ِ ي� ذا ِت ِه و ِاحد ال‬ َ َ َ َّ َ ٌ ْ َ ٌ َ ُ َّ َ َ ُ َ َّ َ ٌ َ ْ ُ ُ َ َّ ُ ... ،‫احد ق ِد ي� ال أول ل‬ ِ ‫ وأنه و‬.‫ منف ِرد ال ِند ل‬،‫ِضد ل‬

ศิฟัตซัลบียะฮ์16 [ศิฟัตอัลวะหฺดานียะฮ์-ทรงหนึ่งเดียว] (อั ล ลอฮฺ ) ผู ้ ท รงท� ำ ให้ พ วกเขารู ้ จั ก เกี่ ย วกั บ ซาตของพระองค์ ว ่ า แท้จริงพระองค์นั้นหนึ่งเดียวไม่มีภาคีใดๆ ให้กับพระองค์ อีกทั้ง พระองค์ทรงหนึ่งเดียวไม่มีผู้ใดมาเสมอเหมือนพระองค์17 ทรงเป็น ที่พึ่งพาไม่มีผู้เป็นปรปักษ์ให้กับพระองค์18 ทรงหนึ่งเดียวไม่มีผู้ใด มาเสมอเหมือนเทียบเท่ากับพระองค์ [ศิฟัตอัลกิดัม-ทรงเดิม] แท้จริงอัลลอฮฺทรงหนึ่งเดียวที่ทรงมีมาตั้งแต่เดิมโดยไม่มีจุดเริ่มต้น 16 ศิฟัตซัลบียะฮ์ คือ ศิฟัตเชิงปฏิเสธ หมายถึง ปฏิเสธคุณลักษณะที่ไม่บังควรส�ำหรับ อัลลอฮฺ เช่น ปฏิเสธการมีจุดเริ่มต้นของพระองค์ ปฏิเสธการดับสูญของพระองค์ ปฏิเสธการคล้ายเหมือนระหว่างอัลลอฮฺกับสิ่งถูกสร้าง ปฏิเสธการที่อัลลอฮฺไปพึ่งพา อาศัยสิ่งอื่น และปฏิเสธการที่อัลลอฮฺมีจ�ำนวนมากกว่าหนึ่ง. 17 หมายถึง อัลลอฮฺทรงมีซาตเดียว ไม่ถูกประกอบขึ้นจากอวัยวะหลายส่วนแล้วมา ประกอบรวมกันเป็นซาต และไม่มีสิ่งใดจะมาเหมือนกับซาตพระองค์, อัลลอฮฺทรงหนึ่ง เดียวในด้านของศิฟัต คือ แต่ละศิฟัตของอัลลอฮฺนั้นมีหนึ่งเดียว เช่น อัลลอฮฺมีศิฟัต กุดเราะฮ์เดียวที่สร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย พระองค์มีศิฟัตอิลมุ้เดียวที่รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง และไม่มีศิฟัตของผู้อื่นมาเหมือนกับศิฟัตของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงหนึ่งเดียวใน การกระท�ำหรือสร้างสรรพสิง่ ทัง้ หลาย ไม่มผี ใู้ ดมาช่วยเหลือในการบันดาลหรือสรรสร้าง สิ่งใดให้บังเกิดขึ้นมานอกจากอัลลอฮฺหนึ่งเดียวเท่านั้นผู้ทรงกระท�ำและบันดาลให้ บังเกิดขึ้นมา. ดู อัลบาญูรีย์, ตะหฺกีกอัลมะกอม อะลากิฟายะตุลเอาวาม, พิมพ์ครั้งที่ 1 (ไคโร: ดารุลบะศออิร, ค.ศ. 2015/ฮ.ศ. 1436), หน้า 95-100. 18 หมายถึง อัลลอฮฺทรงเป็นที่พึ่งพาและทุกคนต้องมุ่งไปขอการพึ่งพาจากพระองค์ โดยไม่มีผู้อื่นใดจากอัลลอฮฺมาเป็นคู่ปรปักษ์ที่ผู้คนทั้งหลายมุ่งขอการพึ่งพา. ดู ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์, หน้า 42.

Book 1.indb 51

29/03/2018 09:52:46


 52

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

َ َ ْ َ َ َ َ َ َ َ​َ َ َ ‫ ق ُّي ْو ٌم‬.‫ أ َب ِد ٌّي ال ِن َ� َاية ُل‬،‫آخ َر ُل‬ ِ ‫ ُم ْس َت ِم ُّر ال ُو ُج ْو ِد ال‬.‫ أز ِ ٌّيل ال ِب َد َاية ُل‬... َ َ ْ َ ٌ‫َ ْ َ َ َُ َ ئ‬ .‫ص َام ُل‬ ِ ‫ د ِا� ال ان‬،‫ال ان ِقطاع ل‬ ُ َ ْ َ ً َ َْ ...،‫الال ِل‬ ‫ْل َ ي زَ�ل َوال َ ي زَ�ال َم ْو ُص ْوفا ِب ُن ُع ْو ِت ج‬

ผู้ทรงคงมีอยู่ตั้งแต่เดิมโดยไม่มีจุดเริ่มให้แก่พระองค์19 [ศิฟัตอัลบะกออฺ-ทรงถาวร] พระองค์ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดไปโดยไม่มีการสิ้นสุด ผู้ทรง มีตลอดไปโดยไม่มีจุดจบให้กับพระองค์20 [ศิฟัตอัลกิยามุบินนัฟซิ-ทรงด�ำรงด้วยพระองค์เอง] พระองค์ทรงด�ำรงอยู21่ โดยไม่มีการขาดตอน ผู้ทรงมีเสมอไม่มีการ สิ้นสุด พระองค์ยังคงมี(บรรดาคุณลักษณะมาตั้งแต่เดิม)แล้ว และ ปั จ จุ บั น ยั ง คงมี คุ ณ ลั ก ษณะ(ด� ำ รงอยู ่ ที่ พ ระองค์ ต ลอดไป)ด้ ว ย บรรดาคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่22 19 ดังนั้นโลกและจักรวาลแห่งนี้มิได้มีมาตั้งแต่เดิม แต่ล้วนมีจุดเริ่มต้นทั้งสิ้นด้วยการ สร้างของอัลลอฮฺให้บังเกิดขึ้นมา. 20 เพราะสิ่งที่มีการสิ้นสุดและดับสูญสลายนั้น เป็นคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างหรือ สิ่งที่บังเกิดขึ้นมาใหม่ แต่อัลลอฮฺทรงมีมาตั้งแต่เดิมโดยไม่มีจุดเริ่มต้น ดังนั้นจึงเป็นไป ไม่ได้ที่พระองค์จะทรงดับสูญ. 21 หมายถึง อัลลอฮฺทรงด�ำรงอยู่โดยไม่พ่ึงพาอาศัยสิ่งใด ไม่พึ่งพาอาศัยฟากฟ้ามาเป็น สถานที่อยู่ ไม่ทรงพึ่งพาบัลลังก์มาเป็นสถานที่อาศัยอยู่ และพระองค์ทรงด�ำรงบริหาร จัดการสรรพสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลาย. 22 หมายถึง อัลลอฮฺนั้นทรงมีคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่ กล่าวคือทรงมีมาตั้งแต่เดิมโดยไม่มี จุดเริ่มต้นและไม่ดับสูญสลาย ไม่ทรงคล้ายเหมือนสิ่งใด ทรงด�ำรงอยู่ด้วยพระองค์เอง โดยไม่พึ่งพาสิ่งใด และทรงหนึ่งเดียว ดังนั้นหากอัลลอฮฺเป็นสิ่งบังเกิดขึ้นมาใหม่ มีการ ดับสูญสลาย มีลักษณะเหมือนกับสิ่งถูกสร้าง พึ่งพาสิ่งอื่น และมีมากกว่าหนึ่ง แน่นอน ย่อมมิได้บ่งชี้ถึงความยิ่งใหญ่ที่แท้จริง. ดู มุรตะฎอ อัซซะบีดีย์, อิตห้าฟอัซซาดะฮ์ อัลมุตตะกีน, เล่ม 2, หน้า 23.

Book 1.indb 52

29/03/2018 09:52:46


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 53

َ ْ ْ َ َ ‫َ َ ُّ آ‬ ْ ْ ‫اض‬ ‫ ال ُيق ضَ� َعل ْي ِه ِب� ِالن ِق َض ِاء َو ِاالن ِف َص ِال ِبت‬... ِ ‫ص ِم ال ب� ِد وان ِق َر‬ َ‫آ َ َ ْ ُ َ أَ َّ ُ َ آ ُ َ َّ ُ َ ْ َ ُ َ ُ َ ُ ّ ش‬ َ ْ ْ ٌ �‫� ٍء ع ِل ي‬ ِ ‫هو الول وال ِخر والظ ِاهر والب ِاطن وهو ِب‬ ‫ بل‬،‫الج ِال‬ ‫ك ي‬ .)3 :‫(احلديد‬ َ َ َ َ ْ َ ُ َّ َ ُ ْ ‫َ َّ نْ ز‬ ْ ...،‫ َوال َج ْو َه ٍر ْم ُد ْو ٍد َمق َّد ٍر‬،‫س ُم َص َّو ٍر‬ ٍ �‫ وأنه لي َس ِب ِج‬:‫الت ِ� يه‬

พระองค์ ไ ม่ ถู ก ตั ด สิ น ให้ มี ก ารสิ้ น สุ ด และดั บ สู ญ ด้ ว ยการสิ้ น สุ ด ของกาลเวลา23 แต่ “พระองค์ทรงแรกสุด(ไม่มีจุดเริ่มต้น) ทรง ท้ายสุด(ไม่ดับสูญ) ทรงปรากฏ24 ทรงลี้ลับ25 และพระองค์ทรงรอบรู้ ทุกๆ สิ่ง” [อัลหะดีด: 3] [ศิฟตั อัลมุคอละฟะฮ์ ลิลหะวาดิษ-ทรงแตกต่างกับสิง่ บังเกิดใหม่] การยึดมั่นในความบริสุทธิ์26ของอัลลอฮฺ: คือแท้จริงพระองค์ไม่ เป็นรูปร่าง ไม่เป็นรูปทรง ไม่เป็นสสาร27ไม่มีขอบเขตและขนาด28 23 แต่มนุษย์ถูกอัลลอฮฺตะอาลาก�ำหนดให้มีการสิ้นสุด ก็คือเวลาตายนั่นเอง. 24 หมายถึง ทรงปรากฏให้เราได้รู้จักพระองค์ผ่านทางบรรดาศิฟัตและพระนามของ พระองค์ที่ส�ำแดงผ่านทางบรรดาสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหลาย. 25 ลี้ลับโดยไม่สามารถเข้าถึงแก่นแท้ของอัลลอฮฺและศิฟัตของพระองค์ได้. 26 หมายถึง อัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์จากการมีสิ่งที่ไม่บังควรส�ำหรับความเป็นพระเจ้า บริสุทธิ์จากการไปเหมือนหรือคล้ายกับสิ่งถูกสร้าง ทรงบริสุทธิ์จากการเป็นรูปทรง เป็นรูปร่าง มีขอบเขต และมีขนาด เป็นต้น เพราะสิ่งดังกล่าวนั้นเป็นลักษณะของสิ่งถูก สร้างที่เป็นรูปร่าง และผลคล้อยตามจากการเป็นรูปร่างก็คือเป็นรูปทรง ดังนั้นอัลลอฮฺ ทรงบริสุทธิ์จากสิ่งดังกล่าว. ดู ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อัลฆ่อซาลีย์, หน้า 48, 52. 27 สสาร คือ สิ่งที่ต้องการอาศัยอยู่ในที่ว่าง ผลคล้อยตามจากการอาศัยอยู่ในที่ว่าง คือ ถูกจ�ำกัดขอบเขตและขนาด และเมื่อสสารมากกว่าหนึ่งขึ้นไปได้ประกอบกันขึ้นก็จะ เป็นรูปร่าง ซึ่งผลคล้อยตามจากการเป็นรูปร่างก็คือ การเป็นรูปทรง ดังนั้นอัลลอฮฺทรง บริสุทธิ์จากคุณลักษณะดังกล่าว. ดู ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อัลฆ่อซาลีย์, หน้า 52. 28 หมายถึง อัลลอฮฺมิได้เป็นรูปร่าง ไม่เป็นรูปทรงสัณฐาน จึงไม่มีลักษณะของขนาด เล็กและใหญ่ กว้างและยาว สูงและต�่ำ เพราะสิ่งดังกล่าวเป็นลักษณะของสิ่งถูกสร้าง ไม่ใช่ลักษณะของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้าง.

Book 1.indb 53

29/03/2018 09:52:47


 54

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

َ ‫َ ف‬ ْ َّ ‫َ َ َّ ُ َ ُ َ ُ ْ أَ ْ َ َ َ َ ف‬ َّ َ ْ �‫ وال ِ ي‬،‫ وأنه ال ي�ا ِثل الجسام‬... ‫ َوأن ُه‬،‫التق ِد ْ ي ِ� َوال ِ ي ْ� ق ُب ْو ِل ِاالن ِق َس ِام‬ َ َ ْ ُ َ ْ ‫َ ْ َ َ ْ َ َ َ تَ ُ ُّ ُ ْ َ َ ُ َ َ َ َ َ َ تَ ُ ُّ ُ أ‬ ‫ َبل ال‬،‫اض‬ ‫ وال ِبعر ٍض وال �ل العر‬،‫الو ِاهر‬ ‫ليس ِب ج�وه ٍر وال �ل ج‬ َ َ ٌْ ُ ْ َ ُ​ُ َُ َ َ ً ْ ُ ْ َ ُ َُ ْ‫ل ْي َس ِك ْث ِ ِل شَ ي‬ )11 :‫ (الشورى‬‫� ٌء‬ :‫ي�ا ِثل موجودا وال ي�ا ِثل موجود‬ ْ‫َو َال ُه َو ِم ْث ُل شَ ي‬ ،‫� ٍء‬

และแท้จริงพระองค์ไม่เหมือนกับรูปร่างทั้งหลาย ไม่มีขนาดและ ไม่รับการแบ่งส่วน29 และแท้จริงพระองค์ไม่ใช่สสาร30 และไม่มี บรรดาสสารใดเข้ามาอยู่กับอัลลอฮฺ และพระองค์ไม่ใช่คุณลักษณะ อุบัติ31และไม่มีคุณลักษณะอุบัติใดเข้ามาอยู่ที่พระองค์32 ยิ่งกว่า นั้นพระองค์ทรงไม่เหมือนกับสิ่งที่มีและไม่มีสิ่งที่มีใดนั้นเหมือน กับพระองค์ “ไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนกับพระองค์” [อัชชูรอ: 11] และพระองค์ไม่เหมือนสิ่งใด33และไม่มีขนาดมาจ�ำกัดพระองค์34 29 หมายถึงการเป็นรูปร่างนั้นจะรับการมีสัดส่วนและถูกก�ำหนดให้มีขนาด เพราะการ ประกอบจากสัดส่วนต่างๆ และถูกก�ำหนดให้เป็นขนาดนั้น เป็นคุณลักษณะของสิ่ง ที่บังเกิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เป็นไปไม่ได้ส�ำหรับอัลลอฮฺตะอาลา. ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อัลฆ่อซาลีย์, หน้า 52. 30 เพราะสสารคือ สิ่งที่ต้องการที่ว่างเพื่ออาศัยอยู่ และหลายสสารรวมกันนั้นจะเป็น รูปร่าง. َْ 31 คุณลักษณะอุบตั ิ [‫“ ]ال َع َر ُض‬อะร็อฎ” คือลักษณะทีต่ อ้ งการอาศัยอยูท่ ส่ี สารหรือรูปร่าง เช่น ลักษณะความใหญ่ เล็ก สูง ต�่ำ กว้าง ยาว อ้วน ผอม หนา บาง การหยุดนิ่ง การ เคลื่อนไหว การง่วงนอน การหลับ การเคลื่อนย้าย การมีสีต่างๆ เป็นต้น ที่ต้องอาศัยอยู่ ที่สสารหรือสิ่งที่เป็นรูปร่าง ดังนั้นอัลลอฮฺจึงไม่มีคุณลักษณะเช่นนั้น. 32 ดังนั้นอัลลอฮฺทรงมีแน่นอนโดยไม่มีลักษณะใหญ่ ไม่เล็ก ไม่สูง ไม่ต�่ำ ไม่สั้น ไม่ยาว ไม่หยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ไม่เคลื่อนย้าย ไม่ง่วงนอน ไม่หลับ และไม่มีสี ณ ที่อัลลอฮฺ เพราะพระองค์มิใช่เป็นรูปร่าง และเราไม่สามารถรู้ถึงแก่นแท้ของอัลลอฮฺตะอาลาได้. 33 อัลวาซิฏีย์กล่าวว่า “เว้นแต่สอดคล้องในด้านถ้อยค�ำเท่านั้น (เช่น อัลลอฮฺทรงรู้ เราก็ รู้ อัลลอฮฺทรงเห็น เราก็เห็น และอัลลอฮฺทรงได้ยิน เราก็ได้ยิน ซึ่งเหมือนเพียงแค่ถ้อยค�ำ แปลแต่ไม่เหมือนในด้านความหมาย)” ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อัลฆ่อซาลีย์, หน้า 55. 34 เพราะอัลลอฮฺมิใช่เป็นรูปร่าง จึงเป็นไปไม่ได้ที่พระองค์จะมีขนาด.

Book 1.indb 54

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 55

ُ ْ ‫َ َ َّ ُ َ َ ُ ُّ ُ ْ ْ َ ُ َ َ َت ْ ْ أَ ْ َ ُ َ َ ُت‬ َ ُ َْ ‫ات َوال‬ ‫اله‬ ‫ه‬ ‫ب‬ ‫ط‬ ‫ وال ِ�ي ِ ِ ِج‬،‫ وال � ِوي ِه القطار‬.‫وأنه ال ي�ده ِالقدار‬ ْ َ َ ْ َ ْ َ َ َ ْ ُ ُ َّ َ َ ُ َ َّ َ َ َ ْ ُ ْ َ‫َ ْ َ ُ ُ أ‬ ْ َ ‫ وأنه مست ٍو عل العر ِش عل الوج ِه‬.‫تكت ِنفه الرضون وال السموات‬

[ปฏิเสธการมีสถานที่ให้กับอัลลอฮฺ] ไม่มีอาณาเขตมาห้อมล้อมอัลลอฮฺ และไม่มีบรรดาทิศ(ทั้งหก) มาห้อมล้อมพระองค์35 และไม่มีบรรดาแผ่นฟ้าและแผ่นดินมา ครอบล้อมพระองค์36 [ความหมายการอิสติวาอฺของอัลลอฮฺเหนือบัลลังก์] แท้จริงอัลลอฮฺทรงอิสติวาอฺ37เหนือบัลลังก์ตามหนทางที่พระองค์ 35 ทิศทั้งหกคือ บน ล่าง ซ้าย ขวา หน้า และหลัง เพราะทิศเหล่านี้เป็นสิ่งที่บังเกิดขึ้น มาใหม่ ดังนั้นอัลลอฮฺจึงไม่อยู่ในบรรดาสิ่งที่บังเกิดขึ้นมาใหม่. 36 แม้กระทั่งอะรัช(บัลลังก์)ก็มิได้มาครอบล้อมอัลลอฮฺไว้ ดังนั้นหากมีบางกลุ่มกล่าว ว่า อัลลอฮฺลงมาจากบัลลังก์สู่ฟ้าชั้นที่หนึ่งแบบเคลื่อนย้ายลงมานั้น ก็แสดงว่าอัลลอฮฺ เคลื่อนย้ายลงมาอยู่ใต้บัลลังก์และอยู่ในฟ้าชั้นเจ็ด ชั้นหก ชั้นห้า ชั้นสี่ ชั้นสาม ชั้นสอง และชั้นที่หนึ่ง –ขอต่ออัลลอฮฺให้เราพ้นจากหลักความเชื่อหลงทางเช่นนี้ด้วยเถิด- ซึ่ง เป็นสิ่งที่มุสตะหี้ล(เป็นไปไม่ได้)ส�ำหรับอัลลอฮฺตะอาลาผู้ทรงสูงส่ง เพราะบัลลังก์และ บรรดาชั้นฟ้าทั้งหมดนั้นเป็นสถานที่ที่ถูกสร้างขึ้นมา และพระองค์นั้นเป็นผู้ทรงสร้าง สถานที่และก�ำหนดกาลเวลา ฉะนั้นพระองค์จึงไม่มาอยู่ในสิ่งถูกสร้างที่เป็นสถานที่และ กาลเวลา. 37 อัลอิสติวาอฺ นั้นเป็นคุณลักษณะหนึ่งของอัลลอฮฺที่มีความหมายหลายนัยตามหลัก ภาษาอาหรับ เช่น สูงส่ง ปกครอง ประทับนั่ง สถิตอาศัยอยู่ เป็นต้น ซึ่งท่านอิหม่าม อัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า แนวทางของสะลัฟศอลิหฺนั้น “ให้พูดทับศัพท์ภาษาอาหรับตาม ที่ระบุไว้ในตัวบทโดยไม่แปลเป็นภาษาอื่นพร้อมท�ำการมอบหมายการรู้ความหมาย ที่แท้จริงไปยังอัลลอฮฺตะอาลา” ดู อัลฆ่อซาลีย์, อิลญามุลเอาวาม อันอิลมิลกะลาม, ตะห์กีก: ศ่อฟะวัต ญูดะฮ์ อะหฺมัด, พิมพ์ครั้งที่ 1 (ไคโร: ดารุลหะร็อม, ฮ.ศ. 1423), หน้า 41. แต่มีปราชญ์สะลัฟบางส่วน เช่น ท่านอิหม่ามอิบนุญะรีร อัฏฏ่อบะรีย์ (ฮ.ศ. 224-310) ได้กล่าวว่า อิสติวาอฺหมายถึง อัลลอฮฺทรงสูงส่งในอ�ำนาจและการปกครอง เหนือบัลลังก์. ดู อัฏฏ่อบะรีย์, ตัฟซีรอัฏฏ่อบะรีย์, ตะห์กีก: อะหฺมัด มุฮัมมัด ชากิร, พิมพ์ครั้งที่ 1 (เบรุต: มุอัซซะซะฮ์ อัรริซาละฮ์, ฮ.ศ. 1420), เล่ม 1, หน้า 192.

Book 1.indb 55

29/03/2018 09:52:47


 56

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

َ ْ ُ َ ‫َّال ِذ ْي َق‬ ُ ‫ اِ ْس ِت َو ًاء ُم نَ زَّ� ًها َعن‬،‫ال َو ب� ْ َل ْع نَ� َّال ِذ ْي أ َر َاد ُه‬ ‫امل َم َّاس ِة َو ِاال ْس ِتق َر ِار‬ ِ ِ ُ‫ح َل ُته‬ َّ ‫َو‬ ُ ْ ‫الت َم ُّكن َو‬ َ َ ‫ َال ي َ ْ� ِم ُ ُل ْال َع ْر ُش َبل ْال َع ْر ُش َو‬،‫ال ُل ْو ِل َو ِاال ْن ِت َق ِال‬ ِ ِ َّ ‫َ ْم ُم ْوُل ْو َن ب ُل ْط ِف ُق ْد َرِت ِه َو َم قْ ُ� ْو ُر ْو َن ِ ف ْ� َق ْب َض ِت ِه َو ُه َو َف ْو َق ْال َع ْرش َو‬ ‫الس َم ِاء‬ ِ ‫ي‬ ِ َّ​َ ‫َ َ ْ َ ُ ّ شَ ْ َ تُ خُ ْ ث‬ ...،‫� ٍء ِإل �و ِم ال�ى‬ ‫وفوق ِك ي‬

ได้ทรงตรัสไว้(ในอัลกุรอาน)และด้วยความหมายที่พระองค์ทรง ประสงค์ 38 ซึ่ ง เป็ น การอิ ส ติ ว าอฺ ที่ บ ริ สุ ท ธิ์ จ ากการ(ที่ อั ล ลอฮฺ ) ไปสัมผัส(กับบัลลังก์) ปราศจากการสถิต(อาศัยอยู่บนบัลลังก์) ปราศจากการแนบติด(โดยนั่งประทับบนบัลลังก์) ปราศจากการ เข้าไปอยู่(ที่บัลลังก์) และปราศจากการเคลื่อนย้าย(จากสถานที่ หนึ่งไปสู่บัลลังก์หรือจากบัลลังก์ไปสู่อีกสถานที่หนึ่ง) บัลลังก์ไม่ ได้แบกพระองค์ไว้ แต่บัลลังก์และบรรดามะลาอิกะฮ์ที่ท�ำหน้าที่ แบกบัลลังก์ของพระองค์นั้น39 พวกเขาถูกแบกด้วยความเมตตา ของความเดชานุภาพของพระองค์ และพวกเขาถูกควบคุมอยู่ใน อ�ำนาจของพระองค์ และพระองค์ทรงเหนือบัลลังก์40 ทรงเหนือ ฟากฟ้า และทรงเหนือทุกสิ่งจนกระทั่งไปถึงใต้ผืนดินต�่ำสุด 38 หมายถึง ตามแนวทางของสะลัฟศอลิหฺนั้นไม่เจาะจงความหมายของอิสติวาอฺและ ไม่ยึดมั่นในความหมายที่ไม่บังควรส�ำหรับอัลลอฮฺ เช่น ความหมายนั่งประทับ สถิต และอาศัยอยู่ เป็นต้น แต่ให้มอบหมายการรู้ความหมายที่แท้จริงไปยังอัลลอฮฺตะอาลา. ดู อัซซะบีดีย์, อิตห้าฟอัซซาดะฮ์อัลมุตตะกีน, เล่ม 2, หน้า 25. 39 ปัจจุบันมีมะลาอิกะฮ์ท�ำหน้าที่แบกบัลลังก์ 4 ท่าน แต่ในวันกิยามะฮ์จะเป็น 8 ท่าน. 40 ทรงเหนือ ณ ที่นี้ คือในด้านของนามธรรม ที่หมายถึงการทรงเหนือในด้านอ�ำนาจ และการปกครอง เช่น กษัตริย์อยู่เหนือรัฐมนตรีและเจ้านายอยู่เหนือทาส เป็นต้น มิใช่ เหนือแบบรูปธรรมที่มีสถานที่อยู่ข้างบนที่เรียกว่าบัลลังก์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่บังควรส�ำหรับ อัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่. ดู ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์, หน้า 66.

Book 1.indb 56

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 57

َ‫أ‬ ً َ َ َ َّ َ ْ َ ْ َ ً ْ ُ ُ ُ ْ ‫َ ْ َّ ً َ تَ ز‬ ‫الس ِء َكا ال تَ ز ِ� ْي ُد ُه ُب ْعدا َع ِن ال ْر ِض‬ ‫ فو ِقية ال ِ� يده قر ب� ِإل العر ِش و‬... َ َّ َّ ‫ َب ْل ُه َو َرف ْي ُع‬،‫ال�ى‬ ُ َّ َ َّ ‫الد َر َجات َعن ْال َع ْرش َو‬ َ َّ‫َو ث‬ ‫ات‬ ِ ِ ‫الس َم ِاء َكا أنه َر ِف ْي ُع الد َر َج‬ ِ ِ ِ َ‫َ أ‬ ُ‫ َو ُه َو َم ْع َذ ِل َك َقر ْي ٌب ِم ْن ُ ّك َم ْو ُج ْو ٍد َو ُه َو َأ ْق َرب‬.‫ال�ى‬ َ َّ‫ال ْرض َو ث‬ ‫ع ِن‬ ِ ِ ِ َ‫َ ْ َ ْ ْ َ ْ ْ َ ْ َ ُ َ َ َ ُ ّ شَ ْ ش‬ ،)47 :‫ (سبأ‬‫� ْي ٌد‬ ِ ‫� ٍء‬ ‫وهو عل ِك ي‬ ‫ِإل العب ِد ِمن حب ِل الو ِر ي ِد‬

ซึ่ งเป็นการทรงเหนือ41ที่ไม่ท�ำให้พระองค์เพิ่มความใกล้ชิดกับ บัลลังก์และฟากฟ้าแต่อย่างใด42 เสมือนกับการทรงเหนือที่ไม่ ท�ำให้พระองค์เพิ่มความห่างไกลจากแผ่นดินและผืนดินต�่ำสุด แต่ พระองค์ทรงสูงส่งในเกียรติฐานันดร(โดยบริสุทธิ์จากการไปสัมผัส ไปอยู่บนและอยู่ใกล้)จากบัลลังก์และฟากฟ้าเสมือนกับที่พระองค์ ทรงสูงส่งในเกียรติฐานันดร(โดยปราศจากการมีระยะทางและอยู่ ใกล้)จากแผ่นดินและผืนดินชั้นต�่ำสุด [ความหมายความใกล้ชิดของอัลลอฮฺกับบ่าวของพระองค์] พร้อมกับ(ที่อัลลอฮฺทรงเหนือบัลลังก์)ดังกล่าวนั้น อัลลอฮฺทรงใกล้ ชิดทุกสิ่งที่มี43 โดยที่พระองค์ทรงใกล้ชิดยังบ่าวยิ่งกว่าเส้นโลหิต ที่ต้นคอ “และพระองค์ทรงประจักษ์เห็นทุกๆ สิ่ง” [สะบะอฺ: 47] 41 หมายถึง ทรงเหนือในด้านของอ�ำนาจและการปกครอง. 42 เนื่องจากอัลลอฮฺทรงเหนือฟากฟ้าและบัลลังก์ในด้านอ�ำนาจและการปกครองและ พระองค์มิใช่เป็นรูปร่าง. 43 หมายถึง ใกล้ชิดอย่างครอบคลุมด้วยการทรงรอบรู้แจ้ง ทรงเห็นแจ้ง ทรงได้ยินแจ้ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่มี และใกล้ชิดด้วยกุดเราะฮ์(ความเดชาสามารถ)ของพระองค์ในการ ขับเคลื่อนสรรพสิ่งทั้งหลายให้หยุดนิ่งหรือเคลื่อนไหวและท�ำให้สรรพสิ่งทั้งหลายด�ำรง อยู่ เป็นต้น.

Book 1.indb 57

29/03/2018 09:52:47


 58

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

َ‫َ َ ُ ُ َ ُ ُ َ َ أ‬ َ‫أ‬ ُ ُ ُ َ ْ .‫ات ال ْج َس ِام‬ ‫ِإذ ال ُي َ�ا ِثل ق ْر ُب ُه ق ْر َب ال ْج َس ِام َكا ال ت َ�ا ِثل ذاته ذ‬ ٌ َ َ ُ َ ْ َ ْ َ ْ َ َ َ َ ٌ ْ َ‫َ َ َّ ُ َ َ ُ ُّ ف ْ شَ ْ َ َ َ ُ ُّ ْ ش‬ �‫وأنه ال ي�ل ِ ي‬ ‫ تعال عن أن ي� ِويه ماكن‬،‫�ء‬ ‫� ٍء وال ي�ل ِفي ِه‬ ‫ي‬ ‫ي‬ َ َ َ ْ َ َ َ َّ َ َ َ ْ َ َ ْ َ َ َ ْ َ ٌ َ َ ُ َّ ُ َ ْ َ ْ َ َ َّ َ َ َ َ ،‫الكن‬ ‫ بل كن قبل أن خلق الزمان و‬،‫كا تقدس عن أن ي�ده زمان‬ َْ َ َ‫آ‬ َّ َ َ َ َ ...‫ َوأن ُه َ ب� ئِ نٌ� َع ْن خل ِق ِه‬.‫َو ُه َو الن َعل َما َعل ْي ِه كن‬

เนื่องจากการใกล้ชิดของพระองค์นั้นไม่เหมือนการใกล้ชิดของ บรรดาสิ่งที่เป็นรูปร่าง44 ดังเช่นที่ซาตของอัลลอฮฺก็ไม่เสมือนกับ ซาตของสิ่งที่เป็นรูปร่างทั้งหลาย [ปฏิเสธการเข้าไปอยู่หรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอัลลอฮฺ] แท้ จ ริ ง อั ล ลอฮฺ ไ ม่ เข้ า ไปอยู ่ ใ นสิ่ ง ใดและไม่ มี สิ่ ง ใดอยู ่ ใ น พระองค์ 45 อั ล ลอฮฺ ท รงบริ สุ ท ธิ์ จ ากการมี ส ถานที่ ม าห้ อ มล้ อ ม พระองค์ไว้46เสมือนกับที่พระองค์ทรงบริสุทธิ์จากการมีกาลเวลา มาจ�ำกัดพระองค์47 ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ทรงมีก่อนที่พระองค์ จะสร้างกาลเวลาและสถานที่เสียอีก 48โดยปัจจุบันนี้พระองค์อยู่ บนคุณลักษณะที่พระองค์ทรงเคยเป็นอยู่ และแท้จริงพระองค์ ทรงแตกต่างจากบรรดาสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย(ซึ่งเป็นการแตกต่าง) 44 เพราะการใกล้ชิดของสิ่งที่เป็นรูปร่างนั้น คือ ใกล้แบบมีระยะทางและใกล้ชิดแบบ รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน. 45 หมายถึง พระองค์ไม่เข้าไปสิงสถิตอยู่ในสิ่งใดและพระองค์ไม่เป็นสถานที่ให้สิ่งใดมา อยู่เพราะพระองค์ไม่ใช่รูปร่าง. 46 เพราะหากอัลลอฮฺถูกห้อมล้อมแสดงว่าพระองค์ทรงมีขนาดที่ถูกจ�ำกัด ซึ่งเป็นไปไม่ ได้เนื่องจากพระองค์มิใช่เป็นรูปร่าง 47 เพราะอัลลอฮฺทรงสร้างสถานที่และกาลเวลา ดังนั้นพระองค์ทรงมีอย่างเอกเทศน์ไม่ ไปผูกพันอยู่กับสถานที่และกาลเวลา. 48 กล่าวคือ อัลลอฮฺทรงมีมาก่อนที่พระองค์จะสร้างบัลลังก์ เก้าอี้(กุรซีย์) บรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดินเสียอีก. ดู อัซซะบีดีย์, อิตห้าฟอัซซาดะฮ์อัลมุตตะกีน, เล่ม 2, หน้า 25.

Book 1.indb 58

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 59

َ َ َ ‫ف‬ َ َّ َ ُ َ ‫َ ف‬ ‫ َوأن ُه ُمق َّد ٌس َع ِن‬،‫ َوال ِ ي ْ� ِس َو ُاه ذات ُه‬،‫ ل ْي َس ِ ي ْ� ذا ِت ِه ِس َو ُاه‬،‫ ِب ِصفا ِت ِه‬... َ ْ َ َّ َ ْ َ َ ُ َ ْ ُ ُّ ُ َ‫َ ت‬ ‫ْ َ ُ ف‬ ‫ ال �ل‬،‫التغ ُّي ِ� َو ِاالن ِتق ِال‬ �ْ ‫ َبل ال َ ي زَ�ال ِ ي‬،‫ال َو ِادث َوال ت ْع تَ ِ� ْي ِه ال َعوا ِر ُض‬ َّ ‫ُن ُع ْو ِت َج َال ِ ِل ُم نَ زَّ� ًها َعن‬ ... ،‫الز َو ِال‬ ِ

ด้วยบรรดาคุณลักษณะของพระองค์49 คือ ในซาตของอัลลอฮฺ นั้ น ไม่มีสิ่ง อื่นจากอัลลอฮฺแ ละในสิ่งอื่นจากอัล ลอฮฺนั้นไม่มีซาต ของพระองค์ อ าศั ย อยู ่ 50 และแท้ จ ริ ง อั ล ลอฮฺ ท รงบริ สุ ท ธิ์ จ าก การเปลี่ ย นแปลงและเคลื่ อ นย้ า ย51 ไม่ มี บ รรดาสิ่ ง บั ง เกิ ด ใหม่ อยู่ที่อัลลอฮฺ และไม่มีคุณลักษณะที่บกพร่องทั้งหลายเกิดขึ้นที่ พระองค์52แต่พระองค์ยังคงอยู่ในบรรดาคุณลักษณะที่ยิ่งใหญ่53 ทรงบริสุทธิ์จากการดับสูญหายไป54

49 เพราะคุณลักษณะ(ศิฟัต)ของพระองค์นั้นทรงก่อดีมมีมาตั้งแต่เดิมส่วนคุณลักษณะ ของสิ่งที่ถูกสร้างนั้น บังเกิดขึ้นมาใหม่. 50 หมายถึง ในซาตของอัลลอฮฺนั้นไม่มีสิ่งใดอาศัยอยู่และในสรรพสิ่งทั้งหลายนั้นไม่มี ซาตของอัลลอฮฺอาศัยอยู่เช่นกัน. 51 หมายถึง อัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์จากการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง และทรงบริสทุ ธิจ์ ากการเคลือ่ นย้ายจากสถานทีห่ นึง่ ไปยังอีกสถานทีห่ นึง่ . ดู อัซซะบีดยี ,์ อิตห้าฟอัซซาดะฮ์อัลมุตตะกีน, เล่ม 2, หน้า 25. 52 เช่น ความอ่อนแอ การง่วงนอน การนอนหลับ การดับสูญ และการตาย เป็นต้น. 53 หมายถึง พระองค์ทรงมีคุณลักษณะยิ่งใหญ่ที่มีมาตั้งแต่เดิม(ก่อดีม)โดยปราศจาก คุณลักษณะที่บกพร่องและเพิ่งบังเกิดขึ้นมาใหม่เพราะคุณลักษณะที่บกพร่องและ บังเกิดขึ้นมาใหม่นั้นถือว่าไม่ยิ่งใหญ่. 54 เนื่องจากอัลลอฮฺทรงมีตลอดไปโดยไม่เกี่ยวข้องกับกาลเวลา.

Book 1.indb 59

29/03/2018 09:52:47


 60

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

َ ‫َ َّ ف‬ َ َ ‫ف‬ َ ْ ‫ال ُم ْس َت ْغ ِن ًيا َع ْن ز َ ي� َد ِة ِاال ْس ِت‬ ‫ َوأن ُه ِ ي ْ� ذا ِت ِه‬،‫ك ِال‬ ِ ِ ‫ات َك‬ ِ ‫ َو ِ ي ْ� ِصف‬... ِ َ‫ْ ً ْ ُ ُ ْ ً أ‬ َ‫أ‬ َّ ْ ُ ُ ْ ْ َ َ َ ْ َ ‫ات ِب�لبص ِار ِنعمة ِمنه ولطفا ِب� بل� ِار‬ ِ ‫ َم ْر ِ ئ ٌّ ي� الذ‬.‫َم ْعل ْو ُم ال ُو ُج ْو ِد ِب�ل ُعق ْو ِل‬ َ ْ ْ َ َ َ َّ ْ َّ ُ ْ ً َ ْ‫ف ْ َ ْ َ َ َ ت‬ .�ِ ْ‫� ِه الك ِر ي‬ ِ ‫ و ِإ�اما ِمنه ِللن ِع ي ِ� ِب�لنظ ِر ِإل و ج‬.‫ِ ي� د ِار القر ِار‬

และในบรรดาคุณลักษณะที่สมบูรณ์ของพระองค์นั้น ไม่ต้องการ เพิ่มความสมบูรณ์อีกแล้ว55และในซาตของพระองค์เป็นสิ่งที่รู้กัน อย่างดีว่ามีด้วย(การพิจารณาของ)สติปัญญา [การเห็นอัลลอฮฺ] ซาตของอัลลอฮฺจะถูกเห็นได้ด้วยตา56เพื่อเป็นความอ�ำนวยสุข และความเมตตาจากอัลลอฮฺแก่บรรดาคนดี57ใน(สวรรค์)ที่พ�ำนัก อันนิรันดร์และเพื่อท�ำให้สมบูรณ์ซึ่งความสุขด้วยการมองซาตของ พระองค์ที่ทรงเกียรติ58 55 เพราะหากเพิ่มความสมบูรณ์ แสดงว่าก่อนหน้านั้นมีความบกพร่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่ มุสตะหี้ลเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นความรู้ของอัลลอฮฺจึงสมบูรณ์และความเดชานุภาพของ พระองค์นั้นสมบูรณ์ ไม่มีเพิ่มและไม่มีลด และพระองค์ไม่ต้องการเพิ่มความสมบูรณ์ ด้วยการฏออัตภักดีของปวงบ่าว และการที่พวกเขาฝ่าฝืนพระองค์ก็ไม่ท�ำให้พระองค์ ทรงถูกลดเกียรติแต่อย่างใด. 56 ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวว่า “อัลลอฮฺตะอาลาจะทรงสร้างพลังการเห็นไว้ ในปวงบ่าวเพื่อจะได้เห็นพระองค์ และไม่ถูกวางเงื่อนไขในการเห็นว่าจะต้องเกี่ยวพัน กับแสงที่สะท้อนกลับมาที่ตา และไม่มีเงื่อนไขว่าต้องเผชิญหน้ากับผู้ที่ถูกเห็นและอื่นๆ ที่เป็นกฎเกณฑ์การเห็นของสิ่งที่ถูกสร้าง...และไม่จ�ำเป็นว่าการเห็นอัลลอฮฺนั้นจะต้องมี ทิศแต่บรรดาผู้ศรัทธาจะเห็นอัลลอฮฺโดยปราศจากทิศเสมือนกับที่พวกเขารู้ว่าอัลลอฮฺ มิได้อยู่ในทิศใด วัลลอฮุอะลัม. อันนะวาวีย์, ชัรหฺศ่อฮีหฺมุสลิม, เล่ม 3, หน้า 15-16. 57 เนื่องจากการเห็นอัลลอฮฺนั้นเป็นเกียรติ(กะรอมะฮ์)ที่คู่ควรแก่เหล่าผู้มีคุณธรรม ส่วนกาเฟรนั้นถูกท�ำให้ห่างไกลจากเกียรตินั้น. ซัรรู้ก, ชัรหฺอะกีดะฮ์อิหม่ามอัล ฆ่อซาลีย์, หน้า 82. 58 ถูกกล่าวว่า มีสามสิ่งในสวรรค์ดีกว่าสวรรค์ คือ ความสุขในสวรรค์ การเห็นอัลลอฮฺ และความพึงพอพระทัยของพระองค์ที่มีต่อชาวสวรรค์ตลอดไป, เรือ่ งเดียวกัน, หน้า 84.

Book 1.indb 60

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 61

َ َ ٌّ َ َ َ َ ُ َّ َ َ ُ َ ْ ُ ْ َ ُ َ َ ْ َ ُ َ َ ‫ح ق ِاد ٌر َج َّب ٌار ق ِاه ٌر ال َي ْع تَ ِ� ْي ِه ق ُص ْو ٌر َوال‬ ‫ وأنه تعال ي‬: ‫الي ْاة والقدرة‬ ُ ُ‫َ َ أ‬ ٌ ... ‫ج ْع ٌز َوال تَ�خذ ُه ِس َنة‬

ศิฟัตมะอานี59 [ศิฟตั อัลหะยาฮ์-ทรงเป็น60และอัลกุดเราะฮ์-ทรงเดชานุภาพ]61 การทรงเป็นและทรงเดชานุภาพ: แท้จริงอัลลอฮฺตะอาลาทรง เป็น ทรงเดชานุภาพ ทรงควบคุมบังคับ ผู้ทรงอ�ำนาจ ไม่มีความ บกพร่องและความอ่อนแอเกิดขึ้นกับพระองค์62 ไม่มีการง่วงนอน 59 ศิฟัตมะอานี คือ ศิฟัตแห่งการมีอยู่(วุญูดียะฮ์) หมายถึง ศิฟัตที่มีอยู่ที่ซาตของ อัลลอฮฺ เช่น อัลลอฮฺทรงเดชาสามารถ, ทรงเจตนา, ทรงรอบรู้, ทรงเป็น, ทรงได้ยิน, ทรงเห็น, และทรงพูด ดังนั้นหากพระองค์ทรงเปิดให้เรา ก็อนุญาตให้เห็นได้ เช่น อัลลอฮฺทรงเปิดศิฟัตการทรงเห็นให้แก่เรา แน่นอนเราก็จะเห็นทุกสิ่ง หากพระองค์ทรง เปิดศิฟัตการได้ยินให้แก่เรา แน่นอนเราก็จะได้ยินทุกสิ่ง หากพระองค์ทรงเปิดศิฟัตการ รอบรู้ให้แก่เรา แน่นอนเราก็จะรอบรู้ทุกสิ่ง และหากพระองค์ทรงเปิดศิฟัตทรงพูดให้ แก่เรา แน่นอนเราก็จะได้ยินการพูดของอัลลอฮฺโดยไม่มีเสียงและอักษร เป็นต้น. 60 ศิฟัตอัลหะยาฮ์ คือ “คุณลักษณะที่มีมาตั้งแต่เดิม ด�ำรงหรือประจ�ำอยู่ที่ซาตของ อัลลอฮฺ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ท�ำให้จ�ำเป็นต้องมีบรรดาคุณลักษณะของการรอบรู้ การ เจตนา ความเดชานุภาพ และคุณลักษณะอืน่ ๆ. ดู อัลบาญูรยี ,์ ฮาชียะฮ์อลั บาญูรยี ์ อะลา อัซซะนูซียะฮ์, พิมพ์ครั้งที่ 1 (ไคโร: มักตะบะฮ์ อัลมุญัลลัด อัลอะร่อบีย์, ฮ.ศ. 1436), หน้า 142. 61 ศิฟัตอัลกุดเราะฮ์ คือ “คุณลักษณะหนึ่งที่มีมาตั้งแต่เดิม ด�ำรงหรือประจ�ำอยู่ที่ซาต ของอัลลอฮฺ ที่ท�ำให้ง่ายดายในการสร้างให้มีขึ้นหรือไม่ให้มีก็ได้กับทุกสิ่งที่มุมกิน(สิ่งที่ สติปัญญายอมรับว่ามีก็ได้หรือไม่มีก็ได้)เท่านั้นโดยสอดคล้องกับอิรอดะฮ์(เจตนาของ อัลลอฮฺที่ทรงเลือกให้สิ่งหนึ่งมีขึ้นมาหรือไม่)” (ดู อัลบาญูรีย์, ตุหฺฟะตุลมุรี้ด, หน้า 120) เช่น สร้างคนหนึ่งให้เกิดเป็นชายหรือเป็นหญิงก็ได้ ให้เกิดมาสูงหรือเตี้ยก็ได้ ให้เกิดมา ในสถานที่นั้นหรือสถานที่นี้ก็ได้ ให้เกิดขึ้นมาในช่วงเวลานั้นหรือช่วงเวลานี้ก็ได้ เป็นต้น. 62 หมายถึง ความบกพร่องและความอ่อนแอนั้น เป็นคุณลักษณะที่เป็นไปไม่ได้และไม่ บังควรส�ำหรับอัลลอฮฺผู้ทรงเดชานุภาพ ดังนั้นเมื่ออัลลอฮฺทรงประสงค์ที่จะสร้างสิ่งใด พระองค์ก็ทรงสามารถท�ำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นมาได้โดยไม่มีการลังเล ไม่หยุดชะงัก ไม่ถูก กีดกัน และไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใด.

Book 1.indb 61

29/03/2018 09:52:47


 62

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ْ ُ َ َ ْ َ ْ ُ ْ ُ ُ َّ َ َ ٌ ْ َ َ َ ٌ َ َ ُ ُ َ ُ َ َ ٌ ْ َ َ َ ‫اللك ْو ِت َوال ِع َّز ِة‬ ‫ ول نوم وال يع ِارضه فناء وال موت وأنه ذو الل ِك و‬... ْ َ ُ َ َّ َ ُ ْ َ‫َ ْ َ ْ ُ ْ َ ُ ُّ ْ َ ُ َ ْ قَ ْ ُ َ ْ خَ ْ ُ َ أ‬ ٌ َّ ْ َ ‫ال ب�و ِت ل السلطان وال�ر واللق والمر والسموات مط ِو ي�ت ِبي ِمي ِن ِه‬ ‫و ج‬ َ ْ َ ْ ْ ْ َ‫َو ْ خ‬ َ‫ال ْن َفر ُد ب� خ‬ ُ ‫ َوأ َّن ُه‬،‫ال َال ِئ ُق َم قْ ُ� ْو ُر ْو َن ِ ف ْ� ق ْب َض ِت ِه‬ ُ ‫للق َو ِاال ْخ تِ َ�اع‬ ‫ال َت َو ِ ّح ُد‬ ‫ي‬ ِ ِ ِ ِ َ َ ْ ْ َ ْ َ َ َ ‫ َخلق خ‬.‫ب� إل ي ْ ج َ� ِاد َوا إ ْلب َداع‬ ... ‫اللق َوأ َع ُال ْم‬ ِ ِ ِ ِ

หรือการหลับเข้ามาครอบง�ำพระองค์ได้63 ไม่มีการดับสูญและการ ตายมาเผชิญกับพระองค์64 และแท้จริงพระองค์ทรงเป็นเจ้าของ แห่งการปกครองโลกที่เห็นด้วยตา ทรงปกครองโลกเร้นลับ65 ทรง แข็งแกร่งเและทรงยิ่งใหญ่ พระองค์ทรงพลัง ทรงพิชิต ทรงสิทธิ์ ในการสรรสร้างและบัญชา66 และบรรดาชั้นฟ้านั้นจะถูกม้วน ด้วยความเดชานุภาพของพระองค์ และบรรดาสิ่งถูกสร้างนั้นถูก ควบคุมอยู่ในอ�ำนาจของอัลลอฮฺ และแท้จริงพระองค์คือผู้ทรง หนึ่งเดียวในการสร้างและการประดิษฐ์ข้ึนมา ผู้ทรงหนึ่งเดียวใน การบันดาลและสรรสร้างโดยไม่มีแบบมาก่อน พระองค์ทรงสร้าง บรรดามัคโลคทั้งหลายและทรงสร้างการกระท�ำของพวกเขา 67 63 หมายถึง การง่วงและการหลับนอน เป็นคุณลักษณะที่เป็นไปไม่ได้และไม่บังควร ส�ำหรับอัลลอฮฺผู้มีคุณลักษณะทรงเป็น. 64 หมายถึง การดับสูญและการตายนั้น เป็นคุณลักษณะที่บกพร่อง ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ ได้และไม่บังควรส�ำหรับอัลลอฮฺผู้ทรงมีอยู่จริง. 65 คือโลกที่เรายังไม่เคยเห็นด้วยตา เช่น โลกของบรรดาวิญญาณ เป็นต้น. 66 หมายถึง อัลลอฮฺทรงบริหารจัดการบรรดาสิ่งที่ถูกสร้างอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีผู้ใดมา คัดค้านและไม่มีผู้ใดมาช่วยเหลือ เพราะสรรพสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหมดเป็นของอัลลอฮฺเพียง ผู้เดียว ค�ำบัญชาให้เป็นไปนั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ อ�ำนาจการปกครองก็เป็นของ พระองค์เพียงผู้เดียว และทุกสิ่งด�ำเนินไปตามประสงค์ของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว เท่านั้น. 67 หมายถึง อัลลอฮฺทรงสร้างมนุษย์มา ทรงสร้างการหยุดนิ่งหรือการเคลื่อนไหวในการ กระท�ำดีหรือกระท�ำชั่วของมนุษย์ แต่พระองค์ได้เปิดโอกาสให้พวกเขาเลือกเฟ้นและ

Book 1.indb 62

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 63

ُّ ُ َ َ َ َ ْ ُ َ‫َ َ َّ َ َ ْ َ ق‬ َ َ ْ ‫آج ُال ْم ال َيشذ َع ْن ق ْب َض ِت ِه َمق ُد ْو ٌر َوال َي ْع ُز ُب َع ْن‬ ‫ وقدر أرزا�م و‬... ُ‫ُ أ‬ ُ.‫ َال تُ ْ� َص َم ْق ُد ْو َر ُات ُه َو َال َت َت َناه َم ْع ُل ْو َم ُاته‬،‫ال ُم ْور‬ ْ ‫ُق ْد َرِت ِه َت َصار‬ ‫ف‬ ‫ي‬ ِ‫ي‬ ِ ِ َ ٌ ْ ُ َّ َ ُ ُ َ ْ ْ ْ َ َ ‫ال ِب ج� ِم ْيع‬ ٌ ِ ‫ َوأنه ع‬:‫َا ْل ِع ْ ُل‬ ...‫ات ِم ْيط ِب َ�ا ي ج� ِر ْي ِمن‬ ِ ‫العل ْو َم‬ ِ

พระองค์ทรงก�ำหนดริสกีและเวลาตายของพวกเขา สิ่งถูกสร้างใดที่ ถูกก�ำหนดให้บังเกิดขึ้นมานั้นจะไม่สามารถออกพ้นไปจากอ�ำนาจ ของพระองค์ได้หรอก และไม่มีการบริหารกิจการใด(ในจักรวาล แห่งนี้)ที่จะหายไปจากความเดชานุภาพของพระองค์ได้ บรรดาสิ่ง ที่ถูกสร้างให้เกิดขึ้นมาด้วยกุดเราะฮ์(ความสามารถ)ของพระองค์ นั้นมีมากมายคณานับไม่ได้68และสิ่งต่างๆ ที่พระองค์ทรงรอบรู้นั้น ก็ไม่สิ้นสุด(เช่นเดียวกัน) [ศิฟัตอัลอิลมุ้-ทรงรอบรู้]69 อัลลอฮฺทรงรอบรู้: แท้จริงพระองค์ทรงรอบรู้ทั้งหมดจากสิ่งที่ ถูกรอบรู้ได้70 (ความรอบรู้ของ)พระองค์ครอบคลุมสิ่งที่ด�ำเนินอยู่ เจตนาตัดสินใจได้ ดังนั้นพระองค์จะให้ผลบุญหรือลงโทษโดยตัดสินที่เจตนาหรือความ ตั้งใจของพวกเขา หากคนหนึ่งท�ำการละหมาดโดยมีเจตนาที่บริสุทธิ์ใจ อัลลอฮฺก็จะให้ ผลบุญ แต่หากเขาละหมาดโดยมีเจตนาเพื่อโอ้อวด อัลลอฮฺก็จะลงโทษ หรือบุคคลหนึ่ง ดื่มเหล้าโดยไม่มีเจตนาเนื่องจากถูกบังคับ แน่นอนอัลลอฮฺก็จะไม่เอาโทษ เป็นต้น. 68 ดังนั้นนรกและสวรรค์ยังคงมีอยู่ตลอดไปด้วยกุดเราะฮ์(ความเดชาสามารถ)ของ อัลลอฮฺมิใช่ด้วยตัวของมันเอง และสิ่งอ�ำนวยสุขในสวรรค์ก็ยังเกิดขึ้นมาใหม่อยู่ตลอด เวลาด้วยกุดเราะฮ์ของพระองค์. 69 ศิฟัตอัลอิลมุ้ คือ “คุณลักษณะที่มีมาตั้งแต่เดิม ด�ำรงหรือประจ�ำอยู่ที่ซาตของ อัลลอฮฺท�ำหน้าที่แจ้งประจักษ์รู้ทุกสิ่งอย่างครอบคลุม” (อัลบาญูรีย์, ฮาชียะฮ์อัลอิมาม อัลบาญูรีย์, หน้า 134) เช่น ทรงรอบรู้ถึงแก่นแท้ของซาตและบรรดาศิฟัตของอัลลอฮฺ ทรงรอบรู้ว่าภรรยา บุตร และพระเจ้าอีกองค์หนึ่งนั้นไม่มี และทรงรอบรู้สิ่งที่ถูกสร้าง ทั้งหลาย. 70 สิ่งที่ถูกรอบรู้ได้ เช่น อัลลอฮฺทรงรอบรู้ถึงแก่นแท้ของพระองค์และแก่นแท้ของ

Book 1.indb 63

29/03/2018 09:52:47


 64

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

َ ٌ َ ُ َّ َ َ َ َّ َ ْ َ َ َ‫تُ خُ ْ أَ ْ ْ ن‬ ْ ‫ال ال َي ْع ُز ُب َع ْن ِع ِل ِه‬ ِ ‫ات وأنه ع‬ ِ ‫ �و ِم الر ِض ي� ِإل أعل السمو‬... َ َ َ ْ َّ ‫ْ َ ُ َ َّ ف أَ ْ َ َ ف َّ َ َ ْ َ ْ َ ُ َ ْ َ َّ ْ َ ة‬ ‫ِمثقال ذر ٍة ِ ي� الر ِض وال ِ ي� السم ِاء بل يعل د ِبيب النم ِل السود ِاء عل‬ ْ ُ ْ َّ َ َّ ‫ف‬ ‫َ َ َّ ف‬ َّ ‫الص ْخ َر ِة‬ َّ ‫الص َّم ِاء ِ ي� الل ْي ةِل الظ َل ِاء َو ُي ْد ِرك َح َركة الذ ِّر ِ ي ْ� َج ِّو َال َو ِاء‬ َ َّ‫ض‬ َ ‫الس َوَأ ْخ فَ� َو َي َّطل ُع َع َل‬ َ‫ال� ئ� َو َح َر َكت ْ خ‬ َ َّ ِّ ‫َو َي ْع َ ُل‬ ‫ال َو ِاط ِر‬ ‫س‬ ‫اج‬ ‫و‬ ‫ه‬ ِ ِ ِ ِ ِ ِ َ ‫ً ف َ​َ آ‬ ْ َ َ َ َ ْ ‫َّ َ ئ‬ َ ... ‫ا� ِب ِع ٍل ق ِد يْ ٍ� أز ِ ٍّيل ْل َ ي زَ�ل َم ْو ُص ْوفا ِب ِه ِ ي ْ� أز ِل الزا ِل‬ ِ ‫َوخ ِف َّي‬ ِ​ِ ‫ات الس‬

จากบรรดาแผ่น ดิน ชั้น ต�่ำสุด จนถึง บรรดาชั้นฟ้าสูงสุด แท้จ ริง อัลลอฮฺ คือ ผู้ทรงรอบรู้ โดยไม่มีสิ่งใดเลยแม้จะมีน�้ำหนักเท่าธุลี ในผืนแผ่นดินและฟากฟ้าที่จะหายไปจากการรอบรู้ของพระองค์ ยิ่งกว่านั้นพระองค์ทรงรอบรู้การเคลื่อนไหวของมดสีด�ำบนหินแข็ง ในยามค�่ำคืนที่มืดมิด และพระองค์ทรงรอบรู้ถึงการเคลื่อนไหวของธุลีในลมอากาศและ ทรงรอบรู้เสียงกระซิบและสิ่งที่ค่อยกว่านั้น และพระองค์ทรง รอบรู้ถึงบรรดาความนึกคิดที่เข้ามาในจิตใจ71และรอบรู้ถึงกระแส ความคิดต่างๆ ที่วนเวียนอยู่ในจิตใจ(ไม่หายไปไหน) และทรงรู้ ถึงบรรดาสิ่งซ่อนเร้นต่างๆ ในหัวใจทั้งหลาย ด้วยความรอบรู้ที่มี มาตั้งแต่เดิมไม่มีจุดเริ่มต้น พระองค์ยังคงมีคุณลักษณะการรอบรู้ ตั้งแต่บรรพกาลมาแล้วโดยไม่มีจุดเริ่มต้น

บรรดาคุณลักษณะของพระองค์ ทรงรอบรู้สรรพสิ่งทั้งหลายและทรงรอบรู้ว่าไม่มีภาคี ใดๆ ส�ำหรับพระองค์ เป็นต้น. 71 หมายถึง ความนึกคิดที่มิได้มั่นคงอยู่ในจิตใจ คือ เข้ามาแล้วหายไป.

Book 1.indb 64

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 65

َ ‫ف‬ ُْ َ ْ ّ َ ْ َ .‫اص ٍل ِ ي ْ� ذا ِت ِه ِب� ُلل ْو ِل َو ِاالن ِتق ِال‬ ِ ‫ ال ِب ِع ٍل ُمت َج ِد ٍد َح‬... ‫َ َ َ ُ َ َ َّ ُ َ َ َ ُ ْ ٌ ْ َ َ ُ َ ّ ٌ ْ َ ثَ َ َ ي َ ْ ْ ف‬ �‫ات مد ِب� ِللح ِاد� ِت فال ج� ِري ِ ي‬ ِ ‫ وأنه تعال مر يد ِللك ِئن‬:‫ا ِإلرادة‬ َْ ٌ ْ َ َ‫َ ٌ َ ْ ِ َ ْ َ ْ َ ْ َ ْ َ ْ َ ْ ش‬ َ ْ ‫ال ْل ِك َو‬ ُْ ٌّ ‫ خ ي ٌ� أو‬،�ٌ ‫ ص ِغ ي ٌ� أو ك ِب ي‬،�ٌ ‫ال َل ُك ْو ِت ق ِل ْيل أو ك ِث ي‬ ‫ نفع أو‬،� ٌ ُْ َ ٌ ٌ َ ْ ُ ْ َ ٌ ْ َ ٌ َ ْ َ ٌ َ ْ ٌ ْ ُ ْ َ ٌ َ ْ ٌّ َ‫ض‬ ،‫ ِز َ ي� َدة أ ْو نق َصان‬،‫سان‬ ‫ فوز أو خ‬،‫ ِعرفان أو ن ِكر‬،‫ ِإ ي�ان أو كفر‬،� َ ٌ َ ٌ ... ،‫ط َاعة أ ْو ِع ْص َيان‬

มิใช่เป็นความรอบรู้ที่เพิ่งบังเกิดขึ้นมาใหม่ในซาตของอัลลอฮฺด้วย (การที่มีความรู้ใหม่ๆ)เข้ามาอยู่และเคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่72 [ศิฟัตอัลอิรอดะฮ์-ทรงเจตนา]73 อัลลอฮฺทรงเจตนา(หรือทรงประสงค์): แท้จริงพระองค์น้ัน ผู้ทรงเจตนา(ผู้ทรงประสงค์ในการสร้าง)บรรดาสิ่งที่มีทั้งหลายให้ บังเกิดขึ้นมา เป็นผู้ทรงบริหารบรรดาสิ่งบังเกิดใหม่(ในจักรวาล แห่งนี้) ดังนั้นในอาณาจักรการปกครองของอัลลอฮฺนั้น จึงไม่มีสิ่ง ใดที่น้อยหรือมาก ไม่มีสิ่งที่เล็กหรือใหญ่ ไม่มีความดีหรือความ ชั่วใด ไม่มีคุณประโยชน์หรือโทษใด ไม่มีอีหม่านหรือกุฟุรใด ไม่มี ความรู ้ ห รื อ ความโง่ เขลาใด ไม่ มี ค วามส� ำ เร็ จ หรื อ การขาดทุ น ใด ไม่มีการเพิ่มหรือการลดใด ไม่มีการฏออัตหรือการฝ่าฝืนใด 72 เพราะการมีความรู้ใหม่ๆ เกิดขึ้น และมีความรู้เพิ่มเข้ามานั้น เป็นคุณลักษณะของ สิ่งถูกสร้าง มิใช่คุณลักษณะของอัลลอฮฺ. 73 ศิฟัตอัลอิรอดะฮ์ คือ “คุณลักษณะหนึ่งที่มีมาตั้งแต่เดิม ด�ำรงหรือประจ�ำอยู่ที่ซาต ของอัลลอฮฺ ที่ท�ำการให้น�้ำหนักกับทุกสิ่งที่มุมกิน(สิ่งที่สติปัญญายอมรับว่ามีก็ได้ ไม่มี ก็ได้)เท่านั้นโดยสอดคล้องกับอิลมุ้(การรอบรู้ของอัลลอฮฺ)” (ดู อัลบาญูรีย์, ตุหฺฟะตุล มุรี้ด, หน้า 122) เช่น เจตนา(ให้น�้ำหนักเจาะจง)ให้บุคคลหนึ่งเป็นชายหรือเป็นหญิง ก็ได้ เจตนาให้บุคคลหนึ่งเกิดมาสูงหรือเตี้ยก็ได้ เจตนาให้บุคคลหนึ่งเกิดมาในสถานที่ นั้นหรือสถานที่นี้ก็ได้ สร้างให้บุคคลหนึ่งเกิดขึ้นมาในช่วงเวลานั้นหรือช่วงเวลานี้ก็ได้ เป็นต้น.

Book 1.indb 65

29/03/2018 09:52:47


 66

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ُ ََْ َ َ َ َ َ َ ْ ‫ ِإ َّل ِب َق َضا ِئ ِه َو َق ْدر ِه َو ِح‬... ،‫ ف َ�ا ش َاء كن َو َما ْل َيشأ ْل َيك ْن‬،‫ك ِت ِه َو َم ِش ْي َئ ِت ِه‬ ِ َ ُ َ ُ َ ْ ْ ْ ْ ْ ُ ‫ال ْب ِد‬ ُ ‫ىء‬ ُ ‫َال ي َ خْ� ُر ُج َع ْن َم ِش ْي َئ ِت ِه لف َتة نَ� ِظر َوال فل َتة َخ ِاطر َبل ُه َو‬ ‫ال ِع ْي ُد‬ ٍ ٍ َ َ َ ّ َ ُ َ َ ْ َ‫ْ َ َّ ُ َ ُ ْ ُ َ َ َّ أ‬ ْ‫ َو َال َ ْم َر َب ِل َع ْب ٍد َعن‬،‫ضا ِئ ِه‬ ‫الفعال ِلا ي ِ� يد ال رآد ِلم ِر ِه وال مع ِقب ِلق‬ َ َ َ َ ُ َ َّ َ َ ْ ‫َم ْع ِص َي ِت ِه إ َّال ب َت ْو ِف ْي ِق ِه َو َر‬ ،‫ َوال ق َّوة ُل َعل ط َاع ِت ِه ِإال ِب َ� ِش ْيئ ِت ِه َو ِإ َر َاد ِت ِه‬،‫ح ِت ِه‬ ِ ِ

เว้นแต่ด้วยการก�ำหนด การท�ำให้บังเกิดขึ้น การบัญชา และด้วย พระประสงค์ของอัลลอฮฺทั้งสิ้น ดังนั้นสิ่งใดที่พระองค์ทรงประสงค์ สิ่งนั้นก็มีขึ้นมา และสิ่งใดที่พระองค์ไม่ทรงประสงค์สิ่งนั้นก็จะไม่ เกิดขึ้น ดังนั้นการเหลือบมองของผู้ที่มองและกระแสความคิดกระทันด่วน ที่เข้ามาก็ไม่ออกไปจากพระประสงค์ของอัลลอฮฺตะอาลาเลย ยิ่ง กว่านั้นพระองค์คือผู้ทรงท�ำให้ปรากฏ(สรรพสิ่งทั้งหลาย) ผู้ทรง ท�ำให้(สรรพสิ่งทั้งหลาย)หวนกลับไป(พึ่งพาต่อพระองค์) ผู้ทรง กระท�ำอย่างลุล่วงในสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์ ไม่มีผู้ใดมายับยั้ง ค�ำบัญชาของพระองค์ได้ และไม่มีผู้ใดมาคัดค้านการก�ำหนดของ พระองค์ได้ และไม่มีบ่าวคนใดหลีกหนีจากการฝ่าฝืนได้เว้นแต่ด้วย การชี้น�ำ(เตาฟี้ก)74และความเมตตาของพระองค์ และไม่มีพลังใด แก่บ่าวในการฏออัตได้เว้นแต่ด้วยพระประสงค์ของพระองค์ 74 เตาฟี้ก คือ อัลลอฮฺสร้างพลังการฏออัตให้เกิดขึ้นแก่บ่าวและพระองค์ได้ท�ำให้บ่าวมี ความสะดวกง่ายดายในการท�ำความดีงามทีอ่ ลั ลอฮฺทรงรักและทรงพึงพอพระทัย ดังนัน้ หากอัลลอฮฺทรงปล่อยให้บ่าวตัดสินใจกระท�ำโดยไม่ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ ด้วยเตาฟี้กจากพระองค์ แน่นอนเราอาจจะอ่อนแอและมีความบกพร่องในการท�ำ อิบาดะฮ์และพ่ายแพ้นฟั ซูจนกระทัง่ ตกไปอยูใ่ นการฝ่าฝืน. ดู อัลญุรญานีย,์ อัตตะรีฟา้ ต, ตะห์กีก: อิบรอฮีมอัลอับยารีย์, พิมพ์ครั้งที่ 1 (เบรุต: ดารุลกิตาบอัลอะร่อบีย์, ฮ.ศ. 1405), หน้า 97; และอัชชัรกอวีย์, ฮาชียะฮ์อัชชัรกอวีย์ อะลัลฮุดฮุดีย์ (ไคโร: มุศฏอฟาอัลหะละบีย์, ฮ.ศ. 1338), หน้า 144.

Book 1.indb 66

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 67

َ ْ ‫َ َْ ُ ُ ف‬ َّ ُ َ َ َ ْ َ ُّ ْ َ ُ ْ َ َ َ ْ ْ َ َ ‫الن و‬ ‫الال ِئكة َوالش َي ِاط ْ ي نُ� َعل أن ي َ� ّ ِرك ْوا ِ ي� ال َع ِال‬ ‫فلو اِ جتمع ِإالنس و ِج‬ َ ُ‫ َوأ َّن إ َر َاد َته‬.‫َذ َّر ًة َأ ْو ُي َس ّك ُن ْو َها ُد ْو َن إ َر َادته َو َمش ْي َئته َل َع َج ُز ْوا َع ْن َذل َك‬ ِ​ِ ِ ِ​ِ ِ ِ ِ ِ َ​َ ‫َ ئ ٌ َ ف ُ َ ة َ َ َ ْ َ َ َ َ ُ ً ُ ْ ً ف‬ ْ ‫ا�ة بذا ِت ِه ِ ْ� ج‬ ‫� ِل ِصفا ِت ِه ْل َ ي ز�ل كذ ِلك م ْوص ْوفا ِب َ�ا م ِر يدا ِ ي ْ� أز ِ ِل‬ ‫قَِ ِ َ ي‬ َ َ َ َ ْ َ ‫َّ َ َّ َ َ َ ْ ف‬ ‫ُ​ُْ أ‬ ‫ف‬ َ ‫ال ْش َي ِاء ِ ف ي ْ� أ ْو َق ِت‬ َ ‫ا�ا ال ِ ت ْ� قد َرها ف ُو ِجدت ِ ي ْ� أوق ِت‬ ‫ِلوجو ِد‬ �ْ ‫ا�ا َكا أ َر َاد ُه ِ ي‬ ‫َ ي‬ َ َ ْ ُّ ‫َ أ‬ ْ ْ َ َ​َ َ َ​َ �ِ ‫أز ِ ِل ِم ْن غ ْي ِ� تق ُّد ٍم َوال تَ�خ ٍر َبل َوق َع ْت َعل َوف ِق ِع ِل ِه َو ِإ َر َاد ِت ِه ِم ْن غ ْي‬ ُ‫َ َ َ ُّ َ أ‬ َ ُ َ ْ ... ‫ د َّ ب َ� المور‬،�ٍ ‫ت َب ُّد ٍل َوال تغ ي‬

ดังนั้นหากมนุษย์ ญิน บรรดามะลาอิกะฮ์ และชัยฏอนทั้งหลาย ต่างรวมตัวกันท�ำให้เคลื่อนไหวหรือท�ำให้หยุดนิ่งกับธุลีหนึ่งในโลก นี้โดยมิได้มาจากพระประสงค์ของอัลลอฮฺ แน่นอนพวกเขาก็ไม่มี ความสามารถที่จะกระท�ำสิ่งดังกล่าวได้หรอก แท้จริงคุณลักษณะอิรอดะฮ์(พระประสงค์)ของอัลลอฮฺนั้น ด�ำรง อยู่ที่ซาตของพระองค์ อยู่ในหมวดของบรรดาศิฟัตของพระองค์75 ดังนั้นเฉกเช่นดังกล่าว76 พระองค์ยังคงมีคุณลักษณะทรงเจตนา มาตั้งแต่เดิม พระองค์เป็นผู้ทรงเจตนามาตั้งแต่เดิมแล้วที่จะให้มี สรรพสิ่งต่างๆ ขึ้นมาในช่วงเวลาต่างๆ ของมันที่พระองค์ได้ทรง ก�ำหนดไว้ แล้วมันก็มีขึ้นมาในช่วงเวลาต่างๆ ของมันตามที่พระองค์ ทรงประสงค์มาตั้งแต่เดิมแล้วโดยไม่เกิดขึ้นล่วงหน้าก่อนเวลา ไม่ ได้เกิดขึ้นแบบล่าช้า แต่สรรพสิ่งทั้งหลายจะเกิดขึ้นมาตรงกับการ รอบรู้และพระประสงค์(เจตนา)ของพระองค์โดยไม่มีการเปลี่ยน ผันและไม่มีการเปลี่ยนแปลง พระองค์ทรงบริหารกิจการต่างๆ 75 หมายถึง เราจะปฏิเสธว่า อิรอดะฮ์ นัน้ มิใช่ศฟิ ตั ของอัลลอฮฺยอ่ มไม่ได้ เพราะอิรอดะฮ์ (ทรงเจตนา)เป็นคุณลักษณะของอัลลอฮฺเหมือนกับคุณลักษณะการทรงรอบรู้ ทรง เดชานุภาพ ทรงได้ยิน ทรงเห็น และทรงพูดของพระองค์. 76 เฉกเช่นที่อิรอดะฮ์ของอัลลอฮฺทรงด�ำรงที่ซาตของพระองค์นั้น.

Book 1.indb 67

29/03/2018 09:52:47


 68

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ْ َ ٌْ َ َْ ْ َ َ َ َ َ ُّ َ َ‫َ تَ ْ ْ َ ْ َ َ َ ت‬ .‫ص ز َم ٍان ف ِلذ ِلك ْل َيشغ ُل شأن َع ْن شأ ٍن‬ ِ ‫ ال ِب�ِتي ِب أفك ٍر وال � ب‬... ْ‫ َوَأ َّن ُه َت َع َال َ ِس ْي ٌع َبص ْي ٌ� َي ْس َم ُع َوَ َ�ى َو َال َي ْع ُز ُب َعن‬:‫ص‬ ُ َ ‫َا َّلس ْم ُع َو ْال َب‬ ِ ‫ي‬ َّ ْ َ َ َ ْ ‫ َوال‬.‫ َوال َي ِغ ْي ُب َع ْن ُر ْؤ َي ِت ِه َم ْر ِ ئ ٌّ ي� َو ِإن َدق‬،�َ‫َ ْس ِع ِه َم ْس ُم ْو ٌع َو ِإن خ ِف ي‬ َ َ َ َ َ ... ‫ي ْ� ُج ُب َ ْس َع ُه ُب ْع ٌد َوال َي ْدف ُع ُر ْؤ َي َت ُه ظال ٌم‬

โดยไม่ต้องวางแผนเรียบเรียงความคิด และไม่ต้องรอคอยเวลา77 ดังนั้นด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงไม่มีภารกิจใดที่ท�ำให้พระองค์ทรง สับสนกับอีกภารกิจหนึ่ง [ศิฟัตอัสสัมอุ้-ทรงได้ยินและอัลบะศ็อร-ทรงเห็น]78 ศิ ฟ ั ต การทรงได้ ยิ น และทรงเห็ น: แท้จริงอัลลอฮฺตะอาลา เป็นผู้ทรงได้ยินยิ่ง เป็นผู้ทรงเห็นยิ่ง อัลลอฮฺทรงได้ยินและทรง เห็น โดยไม่มีสิ่งใดที่ถูกได้ยินหายไปจากการได้ยินของอัลลอฮฺ เลย หากแม้ว่ามันจะค่อยสักเพียงใดก็ตาม และสิ่งที่ถูกเห็นได้นั้น ไม่หายไปจากการเห็นของอัลลอฮฺเลยแม้ว่าสิ่งนั้นจะละเอียดสัก เพียงใดก็ตาม และความห่างไกลไม่สามารถมาปิดกั้นการได้ยิน ของพระองค์ได้ และความมืดไม่สามารถมากั้นขวางการเห็นของ พระองค์ได้ 77 เพราะการเรียบเรียงวางแผนและรอคอยเวลาในการกระท�ำสิ่งที่ตั้งใจไว้นั้น เป็น ลักษณะของมนุษย์มิใช่ลักษณะของอัลลอฮฺ. 78 ศิฟัตอัสสัมอุ้และอัลบะศ็อร คือ “คุณลักษณะที่มีมาตั้งแต่เดิม ท�ำหน้าที่ในการแจ้ง ประจักษ์ได้ยินและแจ้งประจักษ์เห็นให้กับอัลลอฮฺในทุกสิ่งที่มีอย่างครอบคลุม” (ดู อัล บาญูรีย์, ฮาชียะฮ์อัลอิมามอัลบาญูรีย์, หน้า 142) ซึ่งการแจ้งประจักษ์ของการทรง ได้ยินและการทรงเห็นนั้นมีความแตกต่างกัน ซึ่งไม่มีผู้ใดรู้ถึงแก่นแท้ของข้อแตกต่าง นี้ได้นอกจากอัลลอฮฺตะอาลาเท่านั้น ดังนั้นอัลลอฮฺทรงได้ยินและทรงเห็นทุกๆ สิ่งที่มี พระองค์ทรงได้ยินและเห็นซาตและศิฟัตของพระองค์ ทรงได้ยินและทรงเห็นสรรพสิ่ง ทั้งหลายที่ถูกสร้างให้มีขึ้นมา.

Book 1.indb 68

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 69

َ َ ِْ ‫ َ َ�ى ِم ْن َغ ْي� َح َد َق ٍة َوَأ ْج َفان َو َي ْس َم ُع ِم ْن َغ ْي� َأ‬... ‫ص َخ ٍة َوآذ ٍان َكا‬ ٍ ‫ي‬ ِ ِ ْ َ ُ َ ْ ْ ُ َ َ َ َ َ َ ُ ُ ُ َْ ‫آل ِإذ ال تش ِب ُه ِصفات ُه‬ ٍ‫َي ْع ُل ِبغ ْي ِ� قل ٍب َو َي ْب ِطش ِبغ ْي ِ� َج ِار َح ٍة َ يو خ�لق ِبغ ْي ِ� ة‬ َ ُ ُ َ ُ ْ ُ َ َ ْ َ‫ْ خ‬ ْ َ‫ْ خ‬ َ .‫الل ِق‬ ‫ات‬ ‫ات‬ ِ ‫الل ِق َكا ال تش ِبه ذاته ذ َو‬ ِ ‫ِصف‬ َ َ َ َْ ٌ ّ ِ َ ‫ َوأ َّن ُه َت َع َال ُم َت‬:‫ك ُم‬ ‫ال‬ ... ‫ك ِآم ٌر نَ� ٍه َو ِاع ٌد ُم َت َو ِّع ٌد‬

อัลลอฮฺทรงเห็นโดยไม่มีลูกตาและเปลือกตา79 พระองค์ทรงได้ยิน โดยไม่มีรูหูและหู เช่นเดียวกับพระองค์ทรงรอบรู้โดยไม่มีหัวใจ 80 พระองค์ทรงยึดกุมโดยไม่ใช้อวัยวะ81และพระองค์ทรงสร้างโดย ไม่ใช้เครื่องมือ82 เนื่องจากบรรดาคุณลักษณะ(ศิฟัต)ของอัลลอฮฺ นั้น ไม่คล้ายเหมือนกับบรรดาคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้าง เช่น เดียวกันกับซาตของพระองค์นั้นไม่คล้ายเหมือนกับตัวตนของสิ่ง ที่ถูกสร้างทั้งหลาย [ศิฟัตอัลกะลาม-การทรงพูด]83 การทรงพู ด : แท้ จ ริ ง อั ล ลอฮฺ ต ะอาลานั้ น พระองค์ ท รงพู ด ทรงบัญชาใช้ ทรงสัญญาให้ผลบุญ และทรงสัญ ญาจะลงโทษ 79 เพราะการเห็นด้วยลูกตาและเปลือกตานั้น เป็นคุณลักษณะของสิ่งถูกสร้างและเป็น รูปแบบการเห็นของสิ่งที่เป็นรูปร่าง ซึ่งอัลลอฮฺทรงบริสุทธิ์จากสิ่งดังกล่าว. 80 และทรงรอบรู้โดยไม่ใช้สมอง. ดู อัซซะบีดีย์, เล่ม 2, หน้า 29. 81 แต่อัลลอฮฺทรงยึดกุมฟากฟ้าและแผ่นดินไว้มั่นคงอยู่ด้วยกุดเราะฮ์(ความเดชา สามารถ)ของพระองค์มิใช่ด้วยอวัยวะมือ. 82 เพราะการใช้เครื่องมือมาช่วยในการสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น เป็นลักษณะความอ่อนแอ ของมนุษย์ที่ต้องการเครื่องทุ่นแรง. 83 ศิฟัตอัลกะลาม คือ “คุณลักษณะที่มีตั้งแต่เดิมด�ำรงอยู่ที่ซาตของอัลลอฮฺ โดย ปราศจากเสียงและอักษร ซึ่งด้วยคุณลักษณะนี้พระองค์จึงเป็นผู้ทรงบัญชาใช้ ผู้บัญชา ห้าม และผูบ้ อกเล่า” (ดู อัลบาญูรยี ,์ ตุหฟฺ ะตุลมุรดี้ , หน้า 129) เช่น อัลลอฮฺทรงพูดบัญชา ใช้ให้ท�ำละหมาด ทรงบัญชาห้ามท�ำซินา และทรงบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของบรรดา นะบีย์ในอัลกุรอานเป็นต้น.

Book 1.indb 69

29/03/2018 09:52:47


 70

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

َ َ َ َ​َ َ َ ُ َ َ َ ْ َ‫َ ُ ْ ُ َ َ َ ْ خ‬ ‫الل ِق فل ْي َس ِب َص ْو ٍت ي ْ� ُدث‬ ‫ ِبكٍم أز ِ ٍّيل ق ِد يْ ٍ� ق ِئ ٍا� ِبذا ِت ِه ال يش ِبه كم‬... َ َ َ ْ َ َ ْ َْ ُ َ َ ْ ْ َ َ ‫اص ِطاك ِك أ ْج َر ٍام َوال ِب َ� ْر ٍف َي ْنق ِط ُع ِب ِإ�ط َب ِاق شف ٍة أ ْو‬ ‫ِمن ان ِسال ِل ه َواه أو‬ َ‫ت‬ َ ُ َ ُ ْ ُ ُ ُ ُ َ ْ ُ َّ َ َ ْ ْ‫َ َ َّ ْ ُ ْ َ َ َّ ْ َ َ َ ن‬ ‫ وأن القرآن والتوراة و ِإال ِج�يل والز بور كتبه‬،‫ْ� ِر ْي ِك ِل َس ٍان‬ ‫ال نَ زَّ� ةل َعل‬ ْ َ‫ُ ُ َ َ ْ ُ َّ َ ُ َ َ َّ ْ ُ ْ َ َ ْ ُ ْ ٌ أ‬ َ ... ‫ وأن القرآن مقروء ِب�لل ِسن ِة‬.‫رس ِ ِل عل ي ِ�م السالم‬

ด้วยการพูดของพระองค์ที่มีมาตั้งแต่เดิม(โดยไม่มีจุดเริ่มต้น) ซึ่ง เป็นการพูดที่ด�ำรงอยู่ที่ซาตของอัลลอฮฺที่ไม่คล้ายเหมือนกับการ พูดของสิ่งที่ถูกสร้าง ดังนั้นการพูดของอัลลอฮฺจึงไม่เป็นเสียงที่เกิด ขึ้นจากการออกลมเบาๆ84 หรือไม่ได้มาจากการกระทบของบรรดา วัตถุ(เช่นลิ้นกระทบกับเพดาน) และ(การพูดของอัลลอฮฺน้ัน)ไม่เป็น อักษรที่มีการขาดตอนด้วยการปิด(เม้ม)ริมฝีปาก85 หรือกระดิกลิ้น (เช่น อักษรรออฺ) แท้จริงคัมภีร์อัลกุรอาน อัตเตารอฮฺ อัลอินญีล และอัซซะบูรนั้น เป็นคัมภีร์86ที่ถูกประทานลงมาแก่บรรดาร่อซูลของอัลลอฮฺ –ขอ อัลลอฮฺทรงประทานความสันติแก่พวกเขา- และแท้จริงอัลกุรอาน ถูกอ่านด้วยลิ้น 84 เพราะเมื่อมนุษย์พูด จะมีลมเบาๆ ออกมาจากปาก ซึ่งนั่นไม่ใช่คุณลักษณะการพูด ของอัลลอฮฺ. 85 คือ [‫ الظاء‬،‫ الطاء‬،‫ الضاد‬،‫ ]الصاد‬เมื่ออ่านอักษรนี้แล้วจะต้องปิดปากหรือเม้มริมฝีปาก ซึ่งหากอ้าปากก็จะอ่านไม่ได้. 86 บรรดาถ้อยค�ำต่างๆ จากบรรดาคัมภีรท์ ถี่ กู ประทานลงมานัน้ บ่งชีถ้ งึ ศิฟตั กะลามของ อัลลอฮฺที่มีมาตั้งแต่เดิมที่ด�ำรงอยู่ที่ซาตซึ่งไม่มีภาษาและอักษร ด้วยเหตุนี้ถ้อยค�ำ ต่างๆ ในเล่มของบรรดาคัมภีร์นั้นจึงมีภาษาที่แตกต่างกันไปตามภาษาที่ประชาชาติ ของนะบีย์แต่ละท่านพูดและเข้าใจกัน ดังนั้นถ้อยค�ำของคัมภีร์ที่ถูกประทานลงมาเป็น ภาษาอาหรับคืออัลกุรอาน และเป็นภาษาอัลอิบรอนีย์คือคัมภีร์อัตเตารอฮฺ และเป็น ภาษาอัซซุรยานีย์คือคัมภีร์อินญีลและซะบูร.

Book 1.indb 70

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 71

ٌ ‫ال َص ِاح ِف َ ْم ُف ْو ٌظ ِ ف� ْال ُق ُل ْوب َوَأ َّن ُه َم َع َذ ِل َك َق ِد يْ ٌ� َق ِئ‬ َ ْ �‫ َم ْك ُت ْو ٌب ِ ف ي‬... �‫ا‬ ِ ‫ي‬ َ َ ْ َ ْ ُ ْ َ َ َ ُ​ُْ َ َ ْ ‫ات هللاِ ت َعال ال َيق َبل ِاالن ِف َصال َو ِاالف تِ َ�اق ِب� ِالن ِتق ِال ِإل القل ْو ِب‬ ِ ‫ِبذ‬ َ‫أ‬ َ ُ َّ َ َ ْ ُ َّ َ َ َّ َ َ ‫ وأن موس صل‬،‫َوال ْو َر ِاق‬ ‫هللا َعل ْي ِه َو َس َل َ ِس َع ك َم هللاِ ِبغ ْي ِ� َص ْو ٍت‬ َ َ ‫َ َ ف آ‬ َ ‫ال َ� ُار َذ‬ ْ‫ َ َكا َ ي َ�ى أ ب‬.‫َو َال َح ْر ٍف‬ ‫ات هللاِ ت َعال ِ ي ْ� ال ِخ َر ِة ِم ْن غ ْي ِ� َج ْو َه ٍر‬

ถูกบันทึกไว้ในมุศหับ(เล่มอัลกุรอาน)87 ถูกจดจ�ำในหัวใจ และพร้อม ดังกล่าวนั้น อัลกุรอาน(ที่เป็นศิฟัตกะลามของอัลลอฮ์)นั้นก่อดีม(มี มาตั้งแต่เดิมไม่มีจุดเริ่มต้นและมิได้บังเกิดขึ้นมาใหม่)และด�ำรงอยู่ ที่ซาตของอัลลอฮฺตะอาลาโดย(ศิฟัตการพูดของพระองค์นั้น) ไม่รับ การแยกออกมาด้วยการเคลื่อนย้ายเข้ามาสู่หัวใจและกระดาษ และแท้จริงนะบีย์มูซา ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ยินการพูด ของอัลลอฮฺโดยไม่มีเสียงและอักษร [มุอฺมินได้เห็นอัลลอฮฺในโลกหน้า] (แท้จริงการที่นะบีย์มูซาได้ยินการพูดของอัลลอฮฺโดยไม่มีเสียง และอักษรนั้น)เสมือนกับการที่บรรดาคนดีทั้งหลายได้เห็นซาตของ อัลลอฮฺในโลกหน้า88โดย(ไม่มีรูปแบบวิธีการ)ไม่เป็นสสาร(รูปร่าง) 87 อัลกุรอานที่อยู่ในเล่มที่เป็นกระดาษ มีน�้ำหมึกและอักษรภาษาอาหรับนั้น ก็เรียก ว่ากะลามุลลอฮฺ(พจนารถของอัลลอฮฺ)เช่นกัน โดยพิจารณาในแง่ที่ว่า ความหมายใน เล่มอัลกุรอานนั้นบ่งชี้ถึงความหมายบางส่วนของศิฟัตกะลามของอัลลอฮฺที่ด�ำรงอยู่ที่ ซาตมาตั้งแต่เดิม(กะลามนัฟซีย์) ดังนั้นเล่มอัลกุรอานจึงเรียกว่ากะลามุลลอฮฺ เหมือน กับเจ้าเมืองได้น�ำค�ำตรัสของกษัตริย์ที่อยู่ในสารมาอ่านให้ฟังต่อหน้าประชาชน ฉะนั้น ข้อความในสาร จึงเรียกว่า ค�ำตรัสของกษัตริย์ เช่นกัน. 88 นักปราชญ์ได้กล่าวว่า เคล็ดลับที่ไม่เห็นอัลลอฮฺในโลกดุนยานั้นก็เพราะว่า หากคน ภักดีได้เห็นอัลลอฮฺในโลกดุนยา แน่นอนคนฝ่าฝืนก็จะพูดได้ว่า หากฉันได้เห็นอัลลอฮฺ ฉันก็จะอิบาดะฮ์ต่อพระองค์ และหากคนฝ่าฝืนได้เห็นอัลลอฮฺด้วย แน่นอนเขาก็มีสภาพ ที่ดีกว่าคนภักดี และหากทั้งสองเห็นอัลลอฮฺพร้อมๆ กัน แน่นอนความพิเศษของการ เห็นอัลลอฮฺก็หมดไป. ซัรรู้ก, อะกีดะฮ์อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์, หน้า 115.

Book 1.indb 71

29/03/2018 09:52:47


 72

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ً َ ً َ ًّ َ َ َ ُ َ ّ َ َُ ْ َ َ َ َ َ ‫الا ق ِادرا ُم ِر ْي ًدا‬ ِ ‫الصفات كن حيا ع‬ ِ ‫ َو ِإذا كنت ل ه ِذ ِه‬،‫َوال ع َر ٍض‬ َّ ‫َ ِس ْي ًعا َب ِص ْي ً�ا ُم َت َ ِّك ًا ب� ْ َل َي ِاة َو ْال ُق ْد َر ِة َو ْال ِع ْل َو إال َر َاد ِة َو‬ َ ‫الس ْمع َو ْال َب‬ ‫ص‬ ِ ِ ِ ِ ِ َّ َ َ َْ .‫ات‬ ِ ‫َوالكِم ال ِب ُ� َج َّر ِد الذ‬ ٌ َّ َ َ َ َ َّ َ ُ ْ َ‫َ أ‬ ‫ َوأن ُه ُس ْب َحان ُه َوت َعال ال َم ْو ُج ْو ٌد ِس َو ُاه ِإال َو ُه َو َح ِادث ِب ِف ْع ِ ِل‬:‫الف َعال‬ َ َ َ ْ ... ‫َوفا ِئ ٌض ِم ْن َع ْد ِ ِل َعل أ ْح َس ِن ال ُو ُج ْو ِه‬

และไม่เป็นคุณลักษณะอุบัต89ิ และเมื่ออัลลอฮฺมีบรรดาคุณลักษณะ เหล่านี้ แน่นอนพระองค์ก็มีกระบวนการของ(ศิฟัตมะอฺนะวียะฮ์ ตามมา คือ)ผู้ทรงเป็น ผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงเดชานุภาพ ผู้ทรงเจตนา ผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงเห็น ผู้ทรงพูด เนื่องด้วยการมี(บรรดาศิฟัตมะอานี คือ)ศิฟัตทรงเป็น ศิฟัตเดชานุภาพ ศิฟัตรู้ ศิฟัตเจตนา ศิฟัตได้ยิน ศิฟัตเห็น ศิฟัตพูด มิใช่มีเพียงแค่ซาตเท่านั้น90 [เตาฮีดอัฟอาล-หนึ่งเดียวในการกระท�ำของอัลลอฮฺ] บรรดากระท� ำ ของอั ล ลอฮฺ : แท้ จ ริ ง อั ล ลอฮฺ ซุ บ ฮานะฮู ว ะ ตะอาลานั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดเว้นแต่สิ่งนั้นบังเกิดขึ้นมาใหม่ด้วยการ สร้างของพระองค์ทั้งสิ้น และหลั่งไหล(ปรากฏสรรพสิ่งทั้งหลาย ออกมา)จากความยุติธรรมของพระองค์บนหนทางที่สวยงามที่สุด 89 อัลลอฮฺไม่มีลักษณะอุบัติอยู่ที่พระองค์ เช่น ความใหญ่ เล็ก สูง ต�่ำ กว้าง ยาว อ้วน ผอม หนา บาง การหยุดนิ่ง การเคลื่อนไหว การง่วงนอน การหลับ การเคลื่อนย้าย การ มีสีต่างๆ เป็นต้น เพราะลักษณะอุบัติเหล่านี้ ต้องอาศัยอยู่ที่สสารหรือสิ่งที่เป็นรูปร่าง แต่อัลลอฮฺมิใช่เป็นรูปร่าง. 90 อิหม่ามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวถ้อยค�ำดังกล่าวเพื่อตอบโต้พวกมุอฺตะซิละฮ์ที่ปฏิเสธ การมีศิฟัตเหล่านั้น เนื่องจากพวกเขากล่าวว่า อัลลอฮฺทรงอิลมุ้(ทรงรู้)ด้วยซาตของ อัลลอฮฺ มิใช่ด้วยศิฟัตทรงรู้ของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงกุดเราะฮ์(เดชาสามารถ)ด้วย ซาตของอัลลอฮฺมิใช่ด้วยศิฟัตเดชาสามารถของพระองค์ ซึ่งการปฏิเสธการมีศิฟัตของ อัลลอฮฺนั้นเป็นแนวทางที่บิดอะฮ์ เนื่องจากอัลลอฮฺและร่อซูลของพระองค์ได้ยืนยัน รับรองไว้ว่า อัลลอฮ์ทรงมีศิฟัตอิลมุ้และกุดเราะฮ์ เป็นต้น.

Book 1.indb 72

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 73

َْ ‫َ ف‬ َْ ‫ٌ ف‬ َ َّ َْ َ َ َ​َ ‫ال َع ِادل ِ ي ْ� أق ِض َي ِت ِه ال‬ ِ​ِ ‫ َوأ َك ِل َها َوأ ت ِّ� َها َوأ ْعد ِ َلا َوأن ُه َحك ْي ٌ� ِ ي ْ� أف َع‬... ْ ْ ‫ْ َ ْ ُ ُ َ َ َّ ُ ْ ُ ُّ ْ ُ َ َ ُّ ف‬ ُ ُ ‫ُي َق‬ ‫ص ِف ِه ِ ي ْ� ُمل ِك‬ ‫اس َع ْد ُل ِب َع ْد ِل ال ِع َب ِاد ِإ ِذ العبد يتصور ِمنه الظل ِبت‬ َ َ َّ َ َ َ َ ً ْ ُْْ َ ُ �َّ‫ َوال ُي َت َص َّو ُر الظ ُل ِم َن هللاِ ت َعال ف ِإن ُه ال ُي َص ِادف ِلغ ْي ِ� ِه ُملاك َح ت‬.‫غ ْي ِ� ِه‬ ُ ُّ َ َ َ ْ ُ َ َ َ َ ُّ ُ َ ً ْ ُ ْ ‫صف ُه ِف ْي ِه ظلا فك َما ِس َو ُاه ِم ْن ِإن ٍس َو ِج ٍّن َو َمل ٍك َوش ْيط ٍان َو َس ٍء‬ ‫يكون ت‬ ٌ َ َ​َ َ​َ َ َ َْ​َ َ َ ‫� ٍاد َو َج ْو َهر‬ َ َ‫ات َو ج‬ َ ‫وع َر ٍض ُوم ْد َر ٍك َو ْم ُس ْو ٍس حا ِدث‬ ‫ب‬ ‫ن‬ ٍ ‫وأر ٍض وحيو ٍان و‬ ٍ

สมบูรณ์ที่สุดและยุติธรรมที่สุด91 และแท้จริงอัลลอฮฺทรงแยบยล ในการกระท�ำของพระองค์ ทรงยุติธรรมในการพิพากษา ซึ่งไม่มี ความยุติธรรมของปวงบ่าวจะมาเทียบเคียงกับความยุติธรรมของ พระองค์ได้เลย เนื่องจากบ่าวนั้น (สติปัญญา)คิดไปได้ว่าความ อธรรมจะเกิดขึ้นจากเขาด้วยเหตุที่เขาได้กระท�ำ(การละเมิด)ใน กรรมสิทธิ์ของผู้อื่น ส่วนความอธรรมจากอัลลอฮฺนั้น(สติปัญญา) ไม่สามารถคิดขึ้นมาได้เลย เพราะอัลลอฮฺนั้นไม่เผชิญหน้ากับ สิทธิครอบครองของผู้อื่นจนกระทั่งการกระท�ำของพระองค์นั้นไป อธรรมแก่ผู้อื่น ดังนั้นทุกสิ่งที่อื่นจากอัลลอฮฺ ไม่ว่าจะมาจากมนุษย์ ญิน มะลาอิกะฮ์ ชัยฏอน ฟากฟ้า แผ่นดิน สัตว์ พืช วัตถุ สสาร คุณลักษณะ อุบัติที่อยู่ที่สสาร92 สิ่งที่รับรู้ได้(ด้วยสติปัญญา) และสิ่งที่สัมผัส ได้ ( ด้ ว ยประสาทสั ม ผั ส ทั้ ง ห้ า ) ล้ ว นเป็ น สิ่ ง บั ง เกิ ด ขึ้ น มาใหม่ 91 หมายถึง การที่อัลลอฮฺทรงสร้างจักรวาลแห่งนี้ สร้างฟากฟ้าและแผ่นดินทั้งเจ็ดชั้น สร้างบัลลังก์(อะรัช) สร้างสวรรค์ และอื่นๆ นั้น สมบูรณ์และปราณีตแล้วโดยไม่มีข้อ บกพร่องแต่อย่างใด. 92 เช่น ความใหญ่ เล็ก สูง ต�่ำ กว้าง ยาว การหยุดนิ่ง การเคลื่อนไหว การง่วงนอน การ หลับการเคลื่อนย้าย การมีสีต่างๆ เป็นต้น.

Book 1.indb 73

29/03/2018 09:52:47


 74

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ْ َْ َ ََْ ً ْ ً َ ُ َ َْ ُ ْ ‫اِ خ تَ َ� َع ُه ِبق ْد َرِت ِه َب ْع َد ال َع َد ِم اِ خ تِ َ�اعا َوأنشأ ُه ِإنش ًاء َب ْع َد أن ْل َيك ْن ش ْيئا‬ َ َ َ ْ َ َ ْ َ‫ْ َ َ َ ْ ُ ْ ً َ ْ َ ُ َ َ ْ َ ُ ْ َ َ ُ َ ْ ُ ُ َ َ ْ َ َ ْ خ‬ ‫ِإذ كن موجودا وحده ول يكن معه غ ي�ه فأحدث اللق بعد ذ ِلك‬ َ‫َّ ف أ‬ ً َ‫ت‬ ُ ً َ ْ‫ظ‬ َ ِ َ ‫ال َز ِل ِم ْن‬ �‫�ارا ِلق ْد َرِت ِه َو ْ� ِق ْيقا ِ َلا َس َب َق ِم ْن ِإ َر َاد ِت ِه َو ِ َلا َحق ِ ي‬ ‫ك ِت ِه‬ ‫ِإ‬ َ َ َ ْ َ ْ َّ َ َ ‫َ ْ َ َ َ َ َّ ُ ُ َ َ ّ ٌ ْ خَ ْ َ ْ ت‬ ‫الت ِك ْي ِف ال‬ ‫ وأنه متف ِضل ِب�لل ِق و ِاالخ ِ� ِاع و‬.‫ال ِ ِلف ِتق ِار ِه ِإلي ِه وحاج ِت ِه‬ ... ‫َع ْن ُو ُج ْو ٍب‬

ที่ อั ล ลอฮฺ ไ ด้ ท รงสร้ า งขึ้ น มาหลั ง จากที่ มั น ไม่ เ คยมี ม าก่ อ นด้ ว ย เดชานุภาพของพระองค์ ซึ่งเป็นการสร้างและบันดาลมันขึ้นมา หลังจากที่มันไม่เคยเป็นสิ่งใด(ที่ถูกเรียกชื่อ)มาก่อนเลย เนื่องจาก พระองค์ ท รงมี ห นึ่ ง เดี ย วเท่ า นั้ น โดยไม่ มี สิ่ ง อื่ น ใดอยู ่ พ ร้ อ มกั บ พระองค์ แล้วพระองค์ก็ทรงบันดาลให้สิ่งถูกสร้างทั้งหลายบังเกิด ขึ้นมาหลังจากนั้น เพื่อส�ำแดงถึงความเดชานุภาพของพระองค์ และเพื่อท�ำให้บรรลุถึงเจตนาของพระองค์ที่อยู่ก่อนหน้าและ(เพื่อ ท� ำ ให้ บ รรลุ ถึ ง )สิ่ ง ที่ ไ ด้ มี อ ยู ่ ตั้ ง แต่ เ ดิ ม มาแล้ ว จาก(พจนารถ)ค� ำ บัญชาของพระองค์ มิใช่เพราะพระองค์ทรงพึ่งพาและต้องการ(ผล ประโยชน์ใดๆ จาก)สิ่งถูกสร้าง [การสร้างทุกสิ่งที่มุมกินหรือไม่สร้างในสิทธิของอัลลอฮฺ] แท้จริงอัลลอฮฺทรงประทานความโปรดปราน(แก่ปวงบ่าว)ด้วยการ สร้าง ประดิษฐ์ และวางบทบัญญัตินั้น มิใช่เพราะวาญิบ(จ�ำเป็นบน พระองค์ แต่เป็นสิ่งที่มุมกินที่อัลลอฮฺจะกระท�ำก็ได้หรือไม่ท�ำก็ได้)93 93 ไม่มีสิ่งใดวาญิบส�ำหรับอัลลอฮฺเพราะพระองค์มิได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขใดที่มาบังคับ เนื่องจากพระองค์เป็นพระเจ้าผู้ปกครองและทรงสิทธิ์ทุกสรรพสิ่ง ดังนั้นพระองค์จะ ทรงกระท�ำสิ่งมุมกินแบบใดก็ได้ตามที่พระองค์ประสงค์ เช่น การเข้านรกและสวรรค์ เป็นสิ่งมุมกิน ดังนั้นพระองค์จะให้ใครเข้าสวรรค์หรือลงนรกก็ได้ พระองค์จะให้คนที่ ฏออัตเข้านรกก็ได้และให้คนชั่วเข้าสวรรค์ก็ได้ โดยไม่วาญิบบนอัลลอฮฺจะต้องให้คน

Book 1.indb 74

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 75

ُ َ َ ٌ َ ُ َْ َ​َ ُ ْ ‫ َو ُم َتط ِّول ِب� ِإلن َع ِام َو ِإال ْصال ِح ال َع ْن ل ُز ْو ٍم ف ُل الف ْضل َو ِإال ْح َسان‬... َ َ ْ َ َ ْ َ َ َ َ َّ ُ َ ْ َ َ َ ً َ َ َ ْ ُ َ ْ َ ُ َ ْ ّ َ ‫النعمة و ِاالم ِتنان ِإذ كن ق ِادرا عل أن يصب عل ِعب ِاد ِه أنواع العذا ِب‬ ِ ‫و‬ َ‫آ َ أ‬ َْ َ ً ْ َ ُ ْ َ َ َ َ َ َ َ َ ْ َ َ َ ْ َ ْ ُ َ ََْ َ ‫ ولو فعل ذ ِلك لكن ِمنه عدال ول‬،‫اب‬ ِ ‫ويبت ِل ي ُ� ْم ِب�ض ُ و ِب الالِم والوص‬ ُ ً ُْ َ ً َ .‫َيك ْن ِم ْن ُه ق ِب ْيحا َوال ظلا‬

และพระองค์ ท รงประทานความโปรดปรานด้ ว ยการประทาน ปัจจัยอ�ำนวยสุขและประทานความดีงาม(แก่ปวงบ่าว)นั้น มิใช่มา จากความจ�ำเป็น (บนพระองค์ที่จ�ำต้องกระท�ำ) ดังนั้นส�ำหรับ พระองค์แล้วทรงโปรดปราน(ด้วยการสร้างเราให้บังเกิดมาและ ทรงหยิบยื่นปัจจัยอ�ำนวยสุขทั้งหลายแก่เรา) ทรงประทานความ ดีงาม(โดยไม่ต้องมีสาเหตุ) ทรงประทานปัจจัยอ�ำนวยสุข(ทั้งหมด ไม่ว่าจะสร้างเราให้บังเกิดขึ้น หยิบยื่นอ�ำนวยสุขทั้งหลาย ป้องกัน เราให้พ้นจากอันตราย และประทานสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์แก่เรา) และทรงประทานความโปรดปราน(ให้แก่เราก่อนที่เราจะขอเสีย อีก) เนื่องจากพระองค์มีความสามารถที่จะประทานการลงโทษ ประเภทต่างๆ ลงมาบนบ่าว และทรงท�ำการทดสอบพวกเขาด้วย การให้มีความเจ็บปวดและความเจ็บป่วยประเภทต่างๆ และหาก พระองค์ได้กระท�ำสิ่งดังกล่าว แน่นอนว่าสิ่งดังกล่าวนั้นก็เป็นความ ยุติธรรมจากพระองค์โดยไม่เคยมีสิ่งใดที่น่ารังเกียจและเป็นความ อธรรมจากพระองค์เลย94 ฏออัตเข้าสวรรค์และคนท�ำชั่วลงนรก แต่พระองค์จะให้คนฏออัตเข้าสวรรค์ด้วยความ โปรดปรานและเมตตา และจะให้คนชั่วตกนรกด้วยความยุติธรรมของพระองค์. 94 เพราะปวงบ่าวนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ จึงไม่มีค�ำว่าอธรรมให้กับพระองค์ เนื่องจากความอธรรมคือการไปละเมิดสิ่งที่มิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของเขา และอัลลอฮฺทรง ท�ำให้เกิดความเจ็บปวดหรือเจ็บป่วยแก่ปวงบ่าวนั้น ล้วนมีเคล็ดลับซ่อนเร้นอยู่ เช่น

Book 1.indb 75

29/03/2018 09:52:47


 76

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ْ َّ َ َ َ‫َ َ َّ ُ َ َّ َ َ َّ ُ ْ ُ َ َ ُ ْ ُ ْ ْ ن‬ َْ ْ َ ‫ات ِب ُ� ِك الك َر ِم َوال َو ْع ِد‬ ‫اع‬ ‫الط‬ ‫وأنه عز وجل ي ِثيب ِعباده الؤ ِم ِن ي� عل‬ ِ َ َ ٌ ‫َ أ‬ َ ْ َ َ َ ْ َ ُّ ‫ال ِب ُ� ِك ِاال ْس ِت ْحقا ِق َوالل ُز ْو ِم ُل ِإذ ال ي ِج� ُب َعل ْي ِه ِل َح ٍد ِف ْعل َوال ُي َت َص َّو ُر‬ َ‫أ‬ َّ ‫ٌّ َ َّ َّ ُ ف‬ َ َ َ َ ُْ ُْ ‫ات َو َج َب َعل‬ ِ ‫ َوأن َحقه ِ ي� الط َاع‬.‫ِمنه ظ ٌل َوال ي ِج� ُب ِل َح ٍد َعل ْي ِه َحق‬ َ ْ ْ َ َ َّ ُ ْ َ َ َ ْ َ َ ْ َ َ َ َ ْ ْ َ‫ْ خ‬ ‫السال ُم ال ِب ُ� َج َّر ِد ال َعق ِل َول ِك َّن ُه‬ ‫الل ِق ِب ِإ� ي ج� ِاب ِه عل أل ِسن ِة أن ِبيا ِئ ِه عل ي ِ�م‬ َّ ْ ْ ُ َ‫َ َ َ ُّ ُ َ َ َ ظْ َ َ ْ ق‬ َ ْ ُ ... ،‫ات الظ ِاه َر ِة‬ ‫ز‬ ‫ج‬ ‫ع‬ ‫ل‬ ِ ِ �‫بعث الرسل وأ�ر ِصد�م ِب‬

และแท้จริงพระองค์จะให้ผลบุญแก่ปวงบ่าวผู้มีศรัทธาเนื่องจาก พวกเขาฏออัตด้วยหลักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และสัญญาที่จะให้ผล บุญ มิใช่ด้วยหลักการที่จ�ำเป็นต้องกระท�ำส�ำหรับพระองค์ เพราะ ไม่มีความจ�ำเป็นใดๆ บนอัลลอฮฺที่จะกระท�ำให้แก่ผู้ใด และจะไม่ ถูกคิดจินตนาการว่ามีการอธรรมจากพระองค์เลย และไม่มีหน้าที่ ใดๆ ที่จ�ำเป็นบนอัลลอฮฺที่จะต้องกระท�ำให้แก่ผู้ใด เรื่องการเป็นนะบีย์และสิ่งที่เกี่ยวข้อง แท้จริงสิทธิของอัลลอฮฺในเรื่องการฏออัตที่จ�ำเป็นแก่ปวงบ่าวนั้น ด้วยการก�ำหนด(บทบัญญัติ)ของพระองค์ขึ้นมาโดยผ่านบนลิ้น(ค�ำ พูด)ของบรรดานะบีย์ของพระองค์ -ขออัลลอฮฺทรงประทานความ สันติแก่พวกเขาด้วยเถิด- มิใช่เพียงแค่มีสติปัญญาเท่านั้น95 แต่ พระองค์ทรงแต่งตั้งบรรดาร่อซูลและทรงเปิดเผยความสัจจะของ พวกเขาด้วยอภินิหารที่ชัดเจน อัลลอฮฺทรงประสงค์จะให้คนป่วยได้รับการลบล้างบาปและยกฐานะของเขาให้สูงด้วย ความอดทนและยินดีต่อการก�ำหนดของพระองค์ เป็นต้น. 95 หมายถึง มิใช่มนุษย์มีเพียงแค่สติปัญญาเท่านั้นที่อัลลอฮฺจะเอาโทษ เพราะต้องมี บทบัญญัติจากอัลลอฮฺมาสั่งใช้และสั่งห้ามก่อน ดังนั้นผู้ที่การเรียกร้องอิสลามยังไม่ไป ถึงเขา เช่น ผู้ที่อยู่ในยุคสมัยที่ว่างเว้นจากร่อซูล (อะฮฺลุลฟัตเราะฮ์) และชาวป่าชาวเขา ที่ห่างไกล เป็นต้น พวกเขาก็จะไม่ถูกลงโทษจากอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า "และ เราจะไม่ลงโทษจนกว่าเราจะส่งศาสนทูตมา" (อัลอิสรออฺ: 15)

Book 1.indb 76

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 77

ُ َ ْ َ‫َ َ َّ ُ ْ َ ْ َ ُ َ نَ ْ َ ُ َ َ ْ َ ُ َ َ ْ َ ُ َ َ َ َ َ َ ْ خ‬ ‫الل ِق ت ْص ِد ْي ق ُ� ْم ِف يْ� َما‬ ‫ فبلغوا أمره و�يه ووعده وو ِعيده فوجب عل‬... َ .‫جا ُء ْوا ِب ِه‬ َ ُ َ َّ‫َ ْ نَ ْ َ َ َّ َّ َ َ ش‬ َّ ‫ َوَأ َّن ُه َب َع َث‬.‫ال‬ ‫ و ِ يه‬:‫مع� ال ِك ِة الثا ِني ِة‬ �َّ‫الن ِب ي‬ ِ‫ال� َادة ِل ُّلر ُس ِل ِب� ّ ِلر َس ة‬ ْ ْ َّ َ َ َ َ ُ َّ َ ً َّ َ ُ َّ ‫أَ ّ َّ ْ ُ َ ش‬ َّ ‫هللا َعل ْي ِه َو َس َل ِب ِ� َسال ِت ِه ِإل كف ِة ال َع َر ِب َوال َع َج ِم‬ ‫� ممدا صل‬ ‫ال ِ ي‬ ‫م القر ِ ي‬ َ َّ َ‫َ ْ ّ َ ْ َ َ َ َ ش‬ َ َ َ َ َّ‫� ْي َع ِت ِه ش‬ ‫ َوف َّض ُل َعل‬.‫ال�ا ِئ َع ِإال َما ق َّر َر ُه ِم نْ َ�ا‬ ‫و ِج‬ ِ ‫ال ِن َو ِإالن ِس فنسخ ِب‬ ‫َ ئ أ‬ َّ ‫ َو َم َن َع َ َك َال إال ْ َ�ان ب شَ� َا َدة‬.�َ‫ال ْنب َياء َو َج َع َ ُل َس ّي َد ْال َب ش‬ ‫الت ْو ِح ْي ِد‬ ِ ِ ِ ‫ِي‬ ِ ِ �ِ ‫س ِا‬ ِ ِ َ َّ َ ْ َْ ُ ‫َو ُه َو َق ْو ُل ((ال إ َهل إال‬ .. ‫هللا)) َما ْل تق تَ ِ�ن ِب َ�ا‬ ِ ِ

แล้วพวกเขาก็ท�ำการเผยแผ่ค�ำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ ค�ำสั่งห้าม สัญญา ที่จะให้คุณ และสัญญาที่จะลงโทษของพระองค์ ดังนั้นจ�ำเป็นบน ปวงบ่าวจะต้องเชื่อในสิ่งที่บรรดานะบีย์น�ำมา ความหมายถ้อยค�ำ(ชะฮาดะฮ์)ที่สอง คือ การปฏิญาณยืนยัน แก่บรรดาศาสนทูตว่าเป็นผู้น�ำสารจากอัลลอฮฺมาเผยแผ่ [การแต่งตั้งท่านนะบีย์มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม] แท้จริงอัลลอฮฺทรงแต่งตั้งท่านนะบีย์ ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็น คนในตระกูลกุเรช นามว่ามุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม พร้อมกับสารจากอัลลอฮฺสู่ชาวอาหรับ ผู้ไม่ใช่อาหรับ ญินและ มนุษย์ทั้งหมด ดังนั้นอัลลอฮฺจึงยกเลิกบรรดาบทบัญญัติ(ก่อนหน้า) ด้วยบทบัญญัติของนะบีย์มุฮัมมัดเว้นแต่ส่ิงที่ท่านนะบีย์ได้ยอมรับ ไว้จากบทบัญญัติก่อนหน้านั้น และอัลลอฮฺทรงท�ำให้ท่านนะบีย์ มีความประเสริฐเหนือบรรดานะบีย์ทั้งหลายและทรงท�ำให้ท่าน นะบีย์เป็นนาย(หัวหน้า)แห่งมนุษยชาติ และอัลลอฮฺทรงห้ามความ สมบูรณ์ของอีหม่านด้วยการปฏิญาณตนในเอกภาพของอัลลอฮฺซึ่ง ก็คือค�ำกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ ตราบใดที่ไม่อยู่พร้อมกับการ

Book 1.indb 77

29/03/2018 09:52:47


 78

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ُ َ َ ْ َ‫َ َ ْ َ َ ْ خ‬ ُ َ َ َ‫ش‬ َ ُ ‫الر ُس ْول َو ُه َو َق ْوُل َك‬ ... ‫الل َق ت ْص ِد ْيق ُه‬ ‫ وألزم‬.)) ِ‫((م َّم ٌد َر ُس ْول هللا‬ ِ َّ ‫�ادة‬ َ ُ ‫آ‬ ْ ُّ ْ ُ ْ ُ ْ َ َ َ ْ َ ْ َ‫ف ْ ج‬ .‫الدن َيا َوال ِخ َر ِة‬ ‫ِ ي� ِ�يع ما أخ ب� عنه ِمن أمو ِر‬ ُ​ُ َّ َ َ ْ َ ْ َ ْ َ َ َ ْ َ َ َ ْ ُ َّ‫َ َ َّ ِ ُ َ َ َ َ َّ ُ ْ َ َ َ ْ َ ت‬ :‫وأنه ال يتقبل ِإ ي�ان عب ٍد ح� يؤ ِمن ِب�ا أخ ب� ِب ِه بعد الو ِت وأول‬ َ ‫ْ ف‬ ْ َ ْ‫ُ َ ُ ُ ْ َ َ َ ْ َ ُ َ ش َ خ‬ ‫سؤال منك ٍر ون ِك ي ٍ� وها‬ �‫� َص ِان ُ ِم ْي َب ِان َها ِئال ِن ُيق ِع َد ِان ال َع ْب َد ِ ي ْ� ق ْب ِ� ِه َس ِو ًّ ي‬ َ َ ُ ‫َ ُ ْ َ َ َ َ َ ْ َ َ َ َّ ْ ْ َ ّ َ َ ة‬ َ ‫ َم ْن َر ُّبك؟‬:‫ال َو َيق ْوال ِن ُل‬ ِ ‫الرس‬ ِ ‫ذا رو ٍح وجس ٍد فيسأال ِن ِه ع ِن التو ِحي ِد و‬ َ َ ْ ‫ َو ُس َؤ ُ َال َما أ َّو ُل ِف ْت َن ٍة َب ْع َد‬،�‫َو َما ِد ْي ُن َك؟ َو َم ْن َنب ُّي َك؟ َو ُ َها َف َّت نَا� ْال َق ْب‬ .‫ال ْو ِت‬ ِ ِ

ปฏิญาณตนในความเป็นศาสนทูต คือ ค�ำกล่าวของท่านที่ว่า มุฮัมมัด ร่อซูลุลลอฮฺ อัซซัมอีย้าต(บรรดาหลักความเชื่อที่ได้ยินจากตัวบท)96 [อะลั่มบัรซักและการลงโทษที่กุบูร] อัลลอฮฺทรงบัญญัติให้ปวงบ่าวท�ำการเชื่อนะบีย์ในทั้งหมดจากสิ่ง ที่ท่านได้น�ำมาบอกจากเรื่องราวของดุนยาและอาคิเราะฮ์ และ แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ตอบรับอีหม่านของบ่าวคนหนึ่งจนกว่าเขาจะ อีหม่านต่อสิ่งที่ท่านนะบีย์ได้น�ำมาบอกเล่าถึงเรื่องราวหลังจาก ความตาย ประการแรก คือ การสอบถามของมุงกัรและนะกีร ซึ่ง ทั้งสองเป็นบุคคลที่น่าเกรงขามและใหญ่โต ทั้งสองจะท�ำให้บ่าวนั่ง ตัวตรงในกุบูรโดยมีวิญญาณและร่างกาย ทั้งสองจะถามเขาจาก เรื่องของเตาฮีดและการเป็นร่อซูล โดยทั้งสองจะกล่าวกับบ่าวว่า ใครคือพระเจ้าของท่าน? อะไรคือศาสนาของท่าน? และใครคือ นะบีย์ของท่าน? และทั้งสองนั้นจะท�ำหน้าที่เป็นผู้คอยสอบถามใน กุบูรและค�ำถามของทั้งสองเป็นบททดสอบแรกหลังจากความตาย 96 หมายถึง หลักความเชื่อต่างๆ ที่ต้องได้ยินมาจากตัวบทอัลกุรอานและหะดีษเท่านั้น โดยไม่มีสติปัญญาเข้ามาเกี่ยวข้องและจินตนาการ.

Book 1.indb 78

29/03/2018 09:52:47


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 79

َ َ َ ُْ ْ َ​َ ْ َ َ ٌ ْ َ ُ ُ ْ ُ َ ٌّ َ ُ َّ َ َ ْ َ ْ َ ْ ‫ال‬ ُّ ‫س َو‬ ‫الر ْو ِح َعل‬ ‫ل‬ ‫ع‬ ‫ل‬ ‫د‬ ‫ع‬ ‫ه‬ � ‫ق‬ ‫ال‬ ‫اب‬ ‫ذ‬ ‫ك‬ ‫ح‬ ‫و‬ ‫ق‬ ‫ح‬ ‫ه‬ ‫ن‬ ‫أ‬ ‫و‬ ِ ‫ِج‬ ِ ‫وأن يؤ ِمن ِبع ِ ب‬ َ .‫َما َيش ُاء‬ ُ ْ َّ َ َ ْ ‫ْ ْ َّ َ ْ ن َ ّ َ َ َ ُ ُ ف‬ ْ َْ َ ْ ‫العظ ِم أن ُه ِمثل‬ ِ �‫َوأن ُيؤ ِم َن ِب� ِل ْي ز� ِان ِذي ال ِكفت ي ِ� و ِاللس ِان و ِصفته ِ ي‬ َ‫ُ َ ُ أ‬ َ‫أ‬ َ َ َ ِ ‫مو‬ َّ ‫ َو‬،‫ال ْ َع ُال ب ُق ْد َر ِة هللاِ َت َع َال‬ ْ ‫ال ْرض ت‬ َ ‫الس‬ َّ ‫ات‬ ‫الص ْن ُج‬ ‫ن‬ ‫ز‬ ‫و‬ ِ ‫ط َبق‬ ِ ‫ات و‬ ِ َّ ُ ْ َ َ َ ْ َ ْ ً َ‫ت‬ ُ َ َ ُ َْ َُ َ‫الذ ّر َو ْ خ‬ ‫صا ِئف‬ ‫ وتطرح‬،‫ال ْر َد ِل ْ� ِق ْيقا ِل تَ� َم ِام ال َع ْد ِل‬ ِ ‫يوم ِئ ٍذ مث ِاقيل‬ َ َ ُ ْ ُ ُ ْ َ ُّ َّ ْ ‫ْ َ َ َ ف ْ ُ ْ َ َ َ َ ف‬ ‫ات ِ ي� صور ٍة حسن ٍة ِ ي� ِكف ِة‬ ‫الن ْو ِر ف َيثقل ِب َ�ا ِال ْي زَ�ان َعل ق ْد ِر‬ ِ ‫السن‬ ْ َ ‫َ ُ َ ُ َ َ ُ َّ ّ َ ف‬ َ ْ َ ‫َد َر َج ت‬ ْ َ ‫ات ِ ي ْ� ُص ْو َر ٍة ق ِب ْي َح ٍة‬ ِ ‫ا�ا ِعند هللاِ ِبفض ِل هللاِ وتطرح صا ِئف الس ِيئ‬ ِ

และบ่าวต้องอีหม่านเกี่ยวกับการลงโทษในกุบูรและต้องเชื่อว่า มันเป็นเรื่องจริงและการตัดสินของอัลลอฮฺนั้นยุติธรรม(ในการให้ มีความสุขหรือลงโทษ)ต่อร่างกายและวิญญาณตามสิ่งที่พระองค์ ทรงประสงค์ [การอีหม่านต่อตราชั่ง] (อัลลอฮฺจะไม่ตอบรับการอีหม่านของบ่าวคนหนึ่งจนกว่า)เขาต้อง อีหม่านเกี่ยวกับเรื่องของตราชั่ง(ความดีและความชั่ว)ที่มีสองจาน รองตราชั่งและมีลิ้น ลักษณะของมันนั้นใหญ่เหมือนกับบรรดาชั้น แผ่นฟ้าและแผ่นดิน ซึ่งอะมัลจะถูกน�ำมาชั่งด้วยความเดชานุภาพ ของอัลลอฮฺตะอาลา และจานรองตราชั่งในวันนั้นมีน�้ำหนักเท่า ธุลีและเมล็ดผักกาดเพื่อให้บรรลุถึงความยุติธรรมที่สมบูรณ์ และ บรรดาบัญชีบันทึกความดีงามที่อยู่ในรูปที่สวยงามจะถูกวางอยู่ใน ตราชั่งที่มีรัศมี ดังนั้นตราชั่งก็จะหนักด้วยบรรดาความดีงามตาม ขนาดของระดับของอะมัล(ที่ถูกตอบรับ)จากอัลลอฮฺด้วยความ โปรดปรานของพระองค์ และบรรดาบัญชีความชั่วที่อยู่ในรูปที่น่า รังเกียจนั้นจะถูกวาง...

Book 1.indb 79

29/03/2018 09:52:47


 80

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

ُ ْ ُّ َ ْ ُ َّ ‫ف‬ . ِ‫ِ ي ْ� ِكف ِة الظ َل ِة ف َي ِخف ِب َ�ا ِال ْي زَ�ان ِب َع ْد ِل هللا‬ َ َ ْ ‫الص َاط َح ٌّق َو ُه َو ِج‬ َ ‫س َ ْم ُد ْو ٌد َع َل َم تْ ن� َج‬ ّ ِ ‫َوأ ْن ُي ْؤ ِم َن ب أ� َّن‬ ٌ َ َ�َّ‫� ن‬ ِ ِ ْ ُ َ‫َ َ ُّ َ َّ ْ َ َ َ ُّ َ َّ ْ َ تَ ز ُّ َ َ ْ َ ْ َ ُ ْ َ ْ ن‬ ِ‫أحد ِمن السي ِف وأدق ِمن الشعر ِة ِ�ل علي ِه أقدام الك ِف ِر ي� ِب� ِك هللا‬ َ َ َّ َ ْ َ‫ُ ْ َ َ ُ َ ت‬ ُ ْ ‫النار َو َت ْث ُب ُت َع َل ْي ِه أ ْق َدا ُم‬ ِ‫ال ْؤ ِم ِن ْ ي نَ� ِبف ْض ِل هللا‬ ِ ‫سبحانه ف ْ� ِوى ِب ِ� ْم ِإل‬ َ َْ َ َ ُ َ .‫ف ُي َساق ْون ِإل َد ِار القرا ِر‬ ْ َ ُْ ْ َ​َ ْ ُ ‫ال ْو ُر ْو ِد َح ْوض َ َم َّم ٍد َص َّل‬ َ ْ َ َ‫هللا َع َل ْي ِه َو َس َّل‬ ‫وأن يؤ ِمن ِب�لو ِض‬ ِ ْ َ َ ‫ال ْؤ ِم ُن ْو َن ق ْب َل ُد ُخ ْو ِل ج‬ ُ ْ ‫� ُب ِم ْن ُه‬ َ ّ ِ ‫ال َّن ِة َو َب ْع َد َج َو ِاز‬ َ ْ‫َي ش‬ .‫الص ِاط‬

อยู่ในตราชั่งที่มืดมิด ดังนั้นตราชั่งจึงหนักบรรดาความชั่วด้วย ความยุติธรรมของอัลลอฮฺ [สะพานศิร้อฏ] บ่าวจ�ำเป็นต้องศรัทธาว่า สะพานศิร้อฏนั้นเป็นความจริง มัน คือสะพานที่ทอดยาวผ่านนรกญะฮันนัม คมยิ่งกว่ามีดดาบ เล็กยิ่ง กว่าเส้นผม บรรดาเท้าของบรรดาผู้ปฏิเสธจะพลาดตกลงไปด้วย การตัดสินของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้นบรรดาเท้าของ พวกเขาก็จะตกลงไปพร้อมกับพวกเขาในนรก และบรรดาเท้าของ ผู้ศรัทธาจะมั่นคงด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ดังนั้นพวกเขา จะถูกน�ำไปสู่สถานที่พ�ำนักอันนิรันดร์(คือสวรรค์) [บ่อน�้ำของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในสวรรค์] บ่าวต้องศรัทธาต่อบ่อน�้ำที่ประชาชาติของท่านนะบีย์ มุฮัมมัด ศ็ อ ลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ ว ะซั ล ลั ม ต้ อ งเดิ น ผ่ า นมาดื่ ม (นอกจากผู ้ เปลี่ยนแนวทางจะถูกกีดกัน) ซึ่งเป็นบ่อน�้ำของท่านนะบีย์มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บรรดาผู้ศรัทธาจะดื่มน�้ำจากบ่อนั้น ก่อนที่จะได้เข้าสวรรค์และหลังจากที่ได้ผ่านสะพานศิร้อฏแล้ว

Book 1.indb 80

29/03/2018 09:52:48


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 81

َ ْ َ‫َ ْ ش‬ َ​َ ْ َ‫� َب ًة َ ْل َي ْظ َمأ َب ْع َد َها أ َب ًدا َع ْر ُض ُه َم ِس ْي َ� ُة ش‬ ْ ُ‫� َب ِم ْن ُه ش‬ ‫� ٍر َم ُاؤ ُه أش ُّد‬ ِ ‫من‬ ُ‫َ َ ً َ َّ َ ن َ َ ْ َ َ ْ َ َ َ ْ َ ُ َ َ ْ ُ َ َ ُ َ َ َ ن‬ ُ ْ ‫بياضا ِمن الل ب ِ� وأحل ِمن العس ِل حول أ ب� ِر يق عددها ِبعد ِد ج�و ِم‬ َ َّ َ َْ .�ِ ‫ ِف ْي ِه ِم ْي زَ� َ با� ِن َي ُص َّب ِان ِف ْي ِه ِم َن الك ْوث‬.‫الس ِء‬ ْ ‫ْ َ َُ َ ف‬ َّ ‫َوَأ ْن ُي ْؤم َن � ْ ِل َساب َو َت َف ُاوت‬ َ ‫ال‬ � ‫ش‬ ‫اق‬ ‫ن‬ ‫م‬ ‫ل‬ ‫إ‬ ‫ه‬ ‫ي‬ ‫ف‬ ‫اس‬ ‫الن‬ ‫اب‬ ‫س‬ ِ ِ ِ ‫ِ ِب‬ ِ ِ ِ ‫ٍ ِي‬ ِ ِ َ َ ُْ ُ​ُ َ َ ْ َ َ َّ َ ‫َوإ َل ُم َس َام ِف ْي ِه َوإ َل َم ْن َي ْد ُخ ُل ْ ج‬ ‫اب وه‬ ‫الق َّر ُب ْون‬ ٍ ‫النة ِبغ ي ِ� ِحس‬ ِ ِ ٍ َ َ ‫أ‬ ُ َ َ ْ َ ‫َف َي ْسأل‬ ِّ ‫هللا َت َعال َم ْن ش َاء ِم َن الن ِب َي ِاء َع ْن َت ْب ِل ْيغ‬ ‫ال َو َم ْن‬ ِ‫الر َس ة‬ ِ ْ َُ َ َّ‫السن ِة‬ َ َ ُّ ‫ال ْب َت ِدعة عن‬ ُ ‫ال ْر َس ِل ْ ي نَ� َو َي ْسأل‬ ُ ْ ‫َش َاء ِم َن ْال ُك َّفار َع ْن َت ْك ِذ ْيب‬ ِ ِ ِ

ดังนั้นผู้ใดที่ดื่มน�้ำจากบ่อนั้นหนึ่งครั้ง เขาจะไม่กระหายอีกตลอด ไป ความกว้างของบ่อน�้ำเท่ากับระยะการเดินทางหนึ่งเดือน ซึ่ง น�้ำของบ่อนั้นจะขาวยิ่งกว่าน�้ำนม หวานยิ่งกว่าน�้ำผึ้ง รอบบ่อน�้ำ จะมีกาน�้ำ จ�ำนวนของมันเท่ากับจ�ำนวนของดวงดาวในท้องฟ้า ใน บ่อน�้ำจะมีสองล�ำคลองไหลลงในบ่อน�้ำที่มาจากบ่อน�้ำอัลเกาษัร [การสอบสวน] บ่าวต้องศรัทธาเรื่องการสอบสวน และศรัทธาว่ามนุษย์จะ มี ค วามเหลื่ อ มล�้ ำ กั น ในการถู ก สอบสวน(ซึ่ ง แบ่ ง ออกเป็ น )ผู ้ ถู ก เข้มงวดในการสอบสวนและผู้ถูกผ่อนปรนในการสอบสวน และ เหลื่อมล�้ำกันในผู้ที่จะเข้าสวรรค์โดยไม่ต้องถูกสอบสวน ซึ่งพวกเขา เป็นผู้มีความใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ ดังนั้นอัลลอฮฺตะอาลาจะท�ำการ สอบสวนผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์จากบรรดานะบีย์เกี่ยวกับเรื่อง การเผยแผ่สารและสอบถามผู้ที่พระองค์ประสงค์จากบรรดาผู้ ปฏิเสธสืบเนื่องจากพวกเขากล่าวหาโกหกกับบรรดาร่อซูล และ พระองค์จะสอบถามกับพวกบิดอะฮ์เกี่ยวกับเรื่องของซุนนะฮ์(ใน

Book 1.indb 81

29/03/2018 09:52:48


 82

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

َ ْ َ‫أ‬ ُ ْ ‫َو َي ْسأ ُل‬ .‫ال ْس ِ ِل ْ ي نَ� َع ِن ال َع ِال‬ ْ َ ْ َ ُْ ْ َ​َ َّ ‫ال َو ِ ّحد ْ نَ� م َن‬ ُ ْ�‫الن ِار َب ْع َد ِاال ْن ِت َق ِام َح تَّ� َال َي ْب قَ� ِ ف ي‬ ‫وأن يؤ ِمن ِب ِإ�خر ِاج‬ ِ ‫ِي‬ َ َّ َّ �‫� نَّ َ� ُم َو ِ ّح ٌد ب َف ْضل هللاِ َت َع َال ف َال ي ُ خَ�ل ُد ف‬ َ ‫َج‬ .‫الن ِار ُم َو ِ ّح ٌد‬ ِ ‫ِي‬ ِ َ‫َ ْ ْ َ َ َ َ أ‬ ُ ْ �‫ال� َدا ِء ثُ َّ� َس ئ ِا‬ َ ُّ‫ال ْن ِب َي ِاء ثُ َّ� ْال ُع َ َل ِاء ثُ َّ� ش‬ �َ‫ال ْؤ ِم ِن ْ ي ن‬ ‫َوأن ُيؤ ِمن ِبشفاع ِة‬ ِ َ ُ ْ ‫َع َل َح َسب َج ِاه ِه َو َم نْ ز� َل ِت ِه ِع ْن َد هللاِ َت َع َال َو َم ْن َب ِق َ� ِم َن‬ ‫ال ْؤ ِم ِن ْ ي نَ� َو ْل‬ ِ ِ ‫ي‬ ُ َ َّ َ َّ َ َّ �‫َي ُك ْن َ ُل َشف ْي ٌع أ ْخر َج بف ْضل هللاِ َع َّز َو َجل فال ي ُ خَ�ل ُد ف‬ ‫الن ِار ُم ْؤ ِم ٌن‬ ِ ‫ِي‬ ِ ِ ِ

ด้านอะกีดะฮ์ เป็นต้น) และพระองค์ทรงถามบรรดามุสลิมีนใน เรื่องของอะมัล [ผู้มีเตาฮีดออกจากนรก] บ่าวต้องศรัทธาว่า บรรดาผู้มีเตาฮีดนั้นจะถูกน�ำออกจากไฟ นรกหลังจากที่พวกเขาได้รับการลงโทษ จนกระทั่งไม่หลงเหลือผู้ มีเตาฮีดอยู่ในไฟนรกด้วยความโปรดปรานของอัลลอฮฺ ดังนั้นผู้มี เตาฮีดจะไม่ถูกให้อยู่ในนรกตลอดกาล [การชะฟาอะฮ์] บ่าวต้องศรัทธาเกี่ยวกับการชะฟาอะฮ์(การช่วยเหลือให้พ้น จากไฟนรก)ของบรรดานะบีย์ หลังจากนั้นบรรดาอุละมาอฺ หลัง จากนั้นบรรดาคนตายชะฮีด หลังจากนั้นบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ตามเกียรติยศและฐานันดรของพวกเขาตามทัศนะของอัลลอฮฺ ตะอาลา และผู้ใดจากบรรดาผู้ศรัทธาได้หลงเหลืออยู่(ในนรก) โดยไม่มีผู้ใดช่วยเหลือเขา แน่นอนเขาก็จะถูกน�ำออกมาด้วยความ โปรดปรานของอัลลอฮฺ ดังนั้นจึงไม่มีผู้ศรัทธาคนใดถูกอยู่ในนรก ตลอดกาล

Book 1.indb 82

29/03/2018 09:52:48


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 83

َ ُ َْ َْ ‫َ َ ف‬ ُ ْ .‫َبل ي خْ� َر ُج ِم نْ َ�ا َم ْن كن ِ ي ْ� قل ِب ِه ِمثقال ذ َّر ٍة ِم َن ِإال ْي َ� ِان‬ َ َ ْ َ َّ َ َ ْ ُ َ ْ ْ َ‫َ َ ْ َ ْ َ َ َ ْ َ َّ َ َ َ ض َ ُ َ نْ ُ ْ َ ت‬ ‫� هللا ع�م و� ِتي ب�م وأن أفضل‬ ‫وأن يعت ِقد فضل الصحاب ِة ر ِ ي‬ َ ُ ُ ُ ْ َ ُ َّ َ ّ َّ َ ْ َ َّ ْ َّ ُ ُ ‫هللا َعل ْي ِه َو َس َل أ ُب ْو َبك ٍر ث َّ� َع ُر ث َّ� ُع ث� َمان ث َّ� َع ِ ٌّيل‬ ‫اس بعد الن ب ي� صل‬ ِ ‫الن‬ َْ‫ُ َ نْ ُ ْ ِ ِ َ َ ْ ُ ْ َ َّ َّ َ ْ َّ َ َ َ ُ ْ ن َ َ ْ ْ َ َ َ ن‬ َ ‫َر ِ ض ي‬ �‫ وأن ي� ِسن الظن ِب ج� ِمي ِع الصحاب ِة ويث ِ يَ� عل ي ِ�م كا أث‬.‫� هللا ع�م‬ َ ُ ‫هللا َع َّز َو َج َّل َو َر ُس ْو َ ُل َص َّل‬ َ َ ْ‫هللا َع َل ْيه َو َس َّل َع َل يْ� ْم أ ج‬ .�َ‫� ِع ْ ي ن‬ ِ

แต่ผู้ที่ในหัวใจของเขามีอีหม่านน�้ำหนักเท่าธุลี ก็จะถูกน�ำออกมา จากไฟนรก [เรียบเรียงความประเสริฐของศ่อฮาบะฮ์] บ่ า วต้ อ งเชื่ อ มั่ น ถึ ง ความประเสริ ฐ ของบรรดาศ่ อ ฮาบะฮ์ ร่อฎิยลั ลอฮุอันฮุ้ม และเรียบเรียงความประเสริฐของพวกเขา ดังนัน้ มนุ ษ ย์ ที่ ป ระเสริ ฐ สุ ด หลั ง จากท่ า นนะบี ย ์ ศ็ อ ลลั ล ลอฮุ อ ะลั ย ฮิ วะซัลลัม คือท่านอะบูบักร หลังจากนั้นท่านอุมัร หลังจากนั้นท่าน อุษมาน และหลังจากนั้นท่านอะลีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ้ม [คิดในแง่ดีงามกับศ่อฮาบะฮ์และงดเอ่ยถึงพวกเขาในทางที่ไม่ดี] บ่ า วจะต้ อ งมี ค วามคิ ด ในแง่ ที่ ดี ง ามกั บ ศ่ อ ฮาบะฮ์ ทั้ ง หมดและ ท�ำการยกย่องพวกเขาเสมือนกับที่อัลลอฮฺตะอาลาและร่อซูลของ พระองค์ได้ยกย่องพวกเขาทั้งหมด

Book 1.indb 83

29/03/2018 09:52:48


 84

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

َ‫أَ ْ َ ُ َ ش‬ َ َ‫آ‬ َ َ َ َ َّ َ َ ُّ ُ َ ‫� َد ْت ِب ِه ال ث� ُر ف َ� ِن ْاع َتق َد جَ ِ� ْي َع‬ ِ ‫فك ذ ِلك ِما وردت ِب ِه الخبار و‬ َ َّ َ ْ َ َ َ َ َ َّ ُّ َ َ َ ّ َ ْ ْ َ ْ َ َ ً ْ ُ َ َ ‫ذ ِلك مو ِقنا ِب ِه كن ِمن أه ِل ال ِق و ِعصاب ِة السن ِة وفارق رهط الضال ِل‬ َ ّ ‫َ ْ َ ْ ْ َ َ َ ْ َ ُ َ َ َ َ ْ َ ْ ن َ ُ ْ َ َّ َ ف‬ ‫الد ْي ِ ن� ل َنا‬ ِ ‫و ِحزب ال ِبدع ِة فنسأل هللا كال الي ِق ي ِ� وحسن الثب‬ ِ �‫ات ِ ي‬ َ ُ َّ َ َ َ‫َ َ َّ ْ ُ ْ ْ نَ َ ْ َ َّ ُ َ ْ َ ُ َّ ْ ن‬ ُ ‫اح ي� وصل‬ ‫هللا َعل َس ِّي ِد نَ� َم َّم ٍد‬ ِ ِ ‫وِلكف ِة الس ِ ِل ي� ِب�ح ِت ِه ِإنه أرح الر‬ ُّ َ َ​َ .�‫َو َعل ِك َع ْب ٍد ُم ْصط ف‬

ดังนั้น สิ่งดังกล่าวทั้งหมด97มาจากบรรดาหะดีษที่ได้รายงาน มาและมีบรรดาค�ำกล่าวของปราชญ์สะลัฟมาสนับสนุน ดังนั้นผู้ใด ยึดมั่นในทั้งหมดที่ผ่านมาโดยมีความมั่นใจในสิ่งดังกล่าว แน่นอน เขาก็เป็นส่วนหนึ่งจากผู้อยู่ในสัจธรรมและกลุ่มชนของอะฮฺลิซ ซุ น นะฮ์ แ ละเขาได้ แ ยกออกมาจากพวกลุ ่ ม หลงและกลุ ่ ม พวก บิดอะฮ์ ดังนั้นเราวอนขอต่ออัลลอฮฺซึ่งความมั่นใจที่สมบูรณ์และ ความสวยงามของการยืนหยัดในศาสนาให้แก่พวกเราด้วยเถิดและ แก่บรรดามุสลิมีนทั้งหมดด้วยความเมตตาของพระองค์ แท้จริง พระองค์ทรงเมตตายิ่งจากบรรดาผู้เมตตาทั้งหลาย และขออัลลอฮฺ ทรงประทานความเมตตาแด่นายของเรานะบีย์มุฮัมมัดและแด่บ่าว ที่ถูกคัดเลือกทุกคน

 97 จากบรรดาหลักอะกีดะฮ์ต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว.

Book 1.indb 84

29/03/2018 09:52:48


บรรณานุกรม อัลกุรอานอัลกะรีม ซั ร รู ้ ก . (ค.ศ. 2007/ฮ.ศ. 1427). ชั ร หฺ อ ะกี ด ะฮ์ อั ล อิ ม าม อัลฆ่อซาลีย์. ตะห์กีก: มุฮัมมัด อับดุลกอดิร อันนัศศ้อร. พิมพ์ครั้งที่ 1. ไคโร: ดาร่อตุลกุรซฺ. มุรตะฎออัซซะบีดีย์. (ค.ศ. 1994/ฮ.ศ. 1414). อิตห้าฟอัซซาดะฮ์ อัลมุตตะกีน. เบรุต: มุอัซซะซะฮ์อัตตารีคอัลอะร่อบีย์. มุสลิม บิน อัลหัจญาจญฺ. (ฮ.ศ. 1334). ศ่อฮีหฺมุสลิม. พิมพ์ครั้งที่ 1. เบรุต: ดารุลญัยล์, ถ่ายส�ำเนาจาก อิสตัมบูล: อัลมัฏบะอะฮ์ อัตตุรกียะฮ์. อัชชะอฺรอนีย์, อับดุลวะฮฺฮ้าบ. (ค.ศ. 1999). อัลอันวารอัลกุดซียะฮ์ ฟีบะยานิ ก่อวาอิดอัศศูฟียะฮ์. ตะห์กีก: คณะกรรมการของ ดารุศอดิร. พิมพ์ครั้งที่ 1. เบรุต: ดารุศอดิร. อัซซะฮะบีย์, ชัมซุดดีน มุฮัมมัด บิน อะหฺมัด. (ฮ.ศ. 1417). ซิยัร อะลามอันนุบะลาอฺ. ตะห์กกี : ชุอยั บ์อลั อัรนะอูฏและมุฮมั มัด นุอัยม์. พิมพ์ครั้งที่ 11. เบรุต: มุอัซซะซะฮ์ อัรริซาละฮ์. อัซซุบกีย์, อับดุลวะฮ์ฮาบ บิน อะลีย์. (ฮ.ศ. 1413). ฏ่อบะก้อตอัช ชาฟิอียะฮ์อัลกุบรอ. ตะห์กีก: มะหฺมูด อัฏฏ่อนาฮีย์และ อับดุลฟัตตาหฺมุฮัมมัด อัลหิลวฺ. ไคโร: ฮิจญฺร์. อัฏฏ่อบะรีย์, อะบูญะอฺฟัร มุฮัมมัด บิน ญะรีร. (ค.ศ. 2000/ฮ.ศ. 1420). ตัฟซีรอัลฏ่อบะรีย์. ตะห์กีก: อะหฺมัดมุฮัมมัดชากิร. พิมพ์ครั้งที่ 1. เบรุต: มุอัซซะซะฮ์อัรริซาละฮ์.

Book 1.indb 85

29/03/2018 09:52:48


 86

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

อัตติรมีซีย์, มุฮัมมัด บิน อีซา. (ม.ป.ป.). อัลญามิอฺอัศศ่อฮิห์ สุนัน อัตติรมีซยี .์ ตะห์กกี : มุฮมั มัดอะหฺมดั ชากิร. เบรุต: ดารุอหิ ยฺ าอฺ อัตตุร้อษอัลอะร่อบีย์. อันนะวาวีย์, ยะหฺยา บิน ชัรฟฺ. (ค.ศ. 2001). ชัรหฺศ่อฮีหฺมุสลิม. ตะห์กกี : ริฎวานญามิอรฺ ฎิ วาน. พิมพ์ครัง้ ที่ 1. ไคโร: มุอสั สะซะฮ์ อัลมุคต้าร. อัลฆ่อซาลีย์, อะบูฮามิด มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 1967). อัล มุนกิซฺ มินัฎฎ่อล้าล. ตะห์กีก: ญะมีล ศ่อลีบา และกามิล กัยย้าด. พิมพ์ครั้งที่ 7. เบรุต: ดารุลอันดะลุส. อัลฆ่อซาลีย์, อะบูฮามิด มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 1998/ฮ.ศ. 1419). อิหฺยาอฺอุลูมิดดีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. เบรุต: ดารุลกุตุบ อัลอิลมียะฮ์. อัลฆ่อซาลีย์, อะบูฮามิด มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 2006/ฮ.ศ. 1426). อัลอัรบะอีน ฟีอุศูลิดดีน. ตะห์กีก: บูญุมอะฮ์ อับดุล กอดิร. พิมพ์ครั้งที่ 1. เบรุต: ดารุลมันฮาจญฺ. อัลฆ่อซาลีย์, อะบูฮามิด มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 2002/ฮ.ศ. 1423). อิลญามุลเอาวาม อันอิลมิลกะลาม. ตะห์กกี : ศ่อฟะวัต ญูดะฮ์อะหฺมัด. พิมพ์ครั้งที่ 1. ไคโร: ดารุลหะร็อม. อัลบาญูรีย์. อิบรอฮีม บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 2002/ฮ.ศ. 1422). ตุหฺฟะตุลมุรี้ด. ตะห์กีก: อะลีย์ ญุมุอะฮ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ไคโร: ดารุสลาม. อัลบาญูรยี .์ อิบรอฮีม บิน มุฮมั มัด. (ค.ศ. 2015/ฮ.ศ. 1436). ตะหฺกกี อัลมะกอม อะลากิฟายะตุลเอาวาม. พิมพ์ครัง้ ที่ 1. ไคโร: ดารุล บะศออิร.

Book 1.indb 86

29/03/2018 09:52:48


หลักอะกีดะฮ์อะฮฺลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์

 87

อัลบุคอรีย์, มุฮัมมัด บิน อิสมาอีล. (ค.ศ. 1987/ฮ.ศ. 1407). ศ่อฮีหฺ อัลบุคอรีย์. ตะห์กีก: มุศฏอฟา ดี้บ อัลบุฆอ. พิมพ์ครั้งที่ 3. เบรุต: ดารุอิบนิกะษีร. อัสอัด อัลค่อฏีบ. (ม.ป.ป.). อัลบุฏูละฮ์วัลฟิดาอฺ อินดะอัศศูฟียะฮ์. ดิมัชก์: ดารุลฟิกร์. อิบนุกะษีร, อะบุลฟิดาอฺ อิสมาอีล บิน อุมัร. (ค.ศ. 1990/ ฮ.ศ. 1410). อัลบิดายะฮ์วันนิฮายะฮ์. เบรุต: มักตะบะฮ์ อัลมะอาริฟ. อิบนุนุ้กเฏาะฮ์, มุฮัมมัด บิน อับดุลฆ่อนีย์ อัลบัฆดาดีย์. (ค.ศ. 1988/ฮ.ศ. 1408). อัตตักยี้ดลิมะอฺริฟะติ รุวาฮ์อัซซุนันวัล มะซานี้ด. ตะห์กีก: กามาล ยูซุฟ อัลหู้ต. พิมพ์ครั้งที่ 1. เบรุต: ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์. อิบนุอะซากิร, อะบุลกอซิม อะลีย์ บิน หะซัน. (ค.ศ. 2010). ตับยีน กัษบิลมุฟตะรี.ตะห์กีก: มุฮัมมัด ซาฮิด อัลเกาษะรีย์. พิมพ์ ครั้งที่ 1. ไคโร: อัลมักตะบะฮ์อัลอัซฮะรียะฮ์. อิบนุอะฏออิลลาฮฺ, อะบุลฟัฎล์ อะหฺมัด บิน มุฮัมมัด. (ค.ศ. 2006/ ฮ.ศ. 1427). อัลหิกัมอัลอะฏออียะฮ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ไคโร: ดารุสลาม. อิบนุอะฏออิลลาฮฺ, อะบุลฟัฎล์ อะหฺมัด บิน มุฮัมมัด. (ม.ป.ป.). ละฏออิฟุลมินัน. ตะห์กีก: ดร. อับดุลหะลีม มะหฺมู้ด. พิมพ์ ครั้งที่ 2. อัลกอฮิเราะฮ์: ดารุลมะอาริฟ. อิบนุอะบียะอฺลา, อะบุลหุซัยน์ มุฮัมมัด บิน มุฮัมมัด. (ม.ป.ป.). ฏ่อบะก้อตอัลหะนาบิละฮ์. ตะห์กีก: มุฮัมมัดฮามิดอัลฟิกกีย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. เบรุต: ดารุลมะอฺริฟะฮ์.

Book 1.indb 87

29/03/2018 09:52:48


 88

‫قـواعـد الـعـقـائـد‬

อิบนุอัลเญาซีย์, อะบุลฟะร็อจญ์. (ค.ศ. 1995/ฮ.ศ 1415). อัล มุนตะซ็อม ฟีตารีคอัลมุลูกวัลอุมัม. ตะห์กีก: อับดุลกอดิร อะฏอ. พิมพ์ครั้งที่ 2. เบรุต: ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์. อิบนุอิม้าด, อับดุลหั้ยยฺ บิน อะหฺมัด. (ค.ศ. 1989/ฮ.ศ.1410). ชะษะร้อตอัซซะฮับ. ตะห์กีก: มะหฺมู้ดอัลอัรนะอูฏ. พิมพ์ ครั้งที่ 1. ดิมัช,เบรุต: ดารุอิบนุกะษีร.

Book 1.indb 88

29/03/2018 09:52:48


ผลงานของผู้เขียน วิทยโวหาร ฮิกัม อิบนิอะฏออิลลาฮฺ เล่ม 1 พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2552 พิมพ์ครั้งที่ 2 พฤษภาคม 2555

วิทยโวหาร ฮิกัม อิบนิอะฏออิลลาฮฺ เล่ม 2 พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2553 พิมพ์ครั้งที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558

อัตเตาบะฮ์ ก้าวแรกของผู้ศรัทธา ศึกษาเชิงวิเคราะห์ ISBN: 978-974-350-597-3 พิมพ์ครั้งที่ 1 มิถุนายน 2554

Book 1.indb 89

29/03/2018 09:52:48


จดหมายถึงผู้ป่วย... ISBN: 978-616-321-150-7 พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2555

99 พระนามอันวิจิตรของอัลลอฮฺ ศึกษาเชิงวิเคราะห์ ISBN: 978-974-365-448-0 พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤษภาคม 2557

ละหมาดอย่างไรให้คุชูอฺ ศึกษาเชิงวิเคราะห์ตามหลักอิหฺซาน ISBN: 978-616-361-627-2 พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2557 พิมพ์ครั้งที่ 2 สิงหาคม 2560 หลักอะกีดะฮ์แนวทางสะลัฟ ระหว่างอัลอะชาอิเราะฮ์กับวะฮฺฮาบียะฮ์ ISBN: 978-616-382-640-4 พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2558

Book 1.indb 90

29/03/2018 09:52:50




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.