เกย์กับเสรีภาพ ฐานคิดปรัชญาและอุดมการณ์

Page 1

เกยกับเสรีภาพ : ฐานคิดปรัชญาและอุดมการณ กับการเคลือ่ นไหวทางสังคมของชาวเกย ดร.นฤพนธ ดวงวิเศษ การเรียกรองสิทธิของชาวเกยอาจดูไดจากประวัติศาสตรความเปนมาของสังคมและวัฒนธรรมของชาย รักชาย ซึ่งปรากฎชัดเจนในสังคมยุโรปในชวงกลางคริสตศตวรรษที่ 19 สํานึกหรือการตระหนักถึงตัวตนทาง สังคมของชายรักชายเปนปรากฎการณทางวัฒนธรรมที่สําคัญในยุคที่ปรัชญา ความรู อุดมการณทางวิทยาศาสตร และสังคมกําลังขยายตัว การอธิบายเรื่องเพศในมิติชีววิทยา จิตวิทยา และการแพทยทําใหเกิดความเขาใจใหม เกี่ยวกับตัวตนทางเพศของมนุษย ความรูวิทยาศาสตรไดแยกวาอะไรคือเพศชาย เพศหญิง หรือเพศอื่นๆ เชน ความผิดปกติของอวัยวะเพศที่บุคคลมีทั้งองคชาตและโยนีอยูในคนๆเดียว ความผิดปกติดังกลาวนี้นําไปสูการ แบงแยกมนุษยโดยถือเรื่องเพศเปนเกณฑ ในขณะที่อุดมการณทางสังคมที่เกิดขึ้นในกลุมโฮโมเซ็กชวลก็มีสวน ทําใหการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกรองสิทธิเสรีภาพดําเนินไปอยางมีเปาหมาย ทั้งอุดมการณแบบสังคมนิยม คอมมิวนิสต เสรีนิยม ประชาธิปไตย ทุนนิยม สิทธิมนุษยชน และความเปนพลเมือง เมื่อปรัชญาวิทยาศาสตรมีอิทธิพลตอการนิยามตัวตนของมนุษย สงผลใหชายรักชาย หรือโฮโมเซ็กชวล พยายามหาสาเหตุวาอะไรคือบอเกิดของความรูสึกชอบเพศเดียวกัน จึงหันมาศึกษาปจจัยทางชีววิทยา และ จิตวิทยาเพื่อหาความมั่นใจที่จะตอบกับสังคมวาการรักเพศเดียวกันเปนเรื่องธรรมชาติ มิใชความผิดปกติหรือเปน อันตรายตอศีลธรรม ทามกลางคริสตศาสนาซึ่งประณามและลงโทษบุคคลที่แสดงพฤติกรรมทางเพศแบบวิตถาร ไดแก การรวมเพศกับสัตว หรือการรวมเพศทางทวารหนักระหวางชายกับชาย มีบทลงโทษในขอหากระทําการ แบบโซโดมี ผูชายที่ถูกจับในขอหาดังกลาวจะไดรับความเสื่อมเสียและถูกลงโทษดวยความรุนแรง นับตั้งแตเกิดศาสนาคริสต สังคมตะวันตกมีการทํารายและลงโทษผูชายที่รวมรักกับชายอื่นทางทวาร หนักเปนเวลานานนับพันป และผูที่ถูกกลาวหาวามีพฤติกรรมแบบโซโดมีก็จะถูกสังคมรังเกียจ เมื่อ วิทยาศาสตรเขามาชวยอธิบายสาเหตุของการเปนโฮโมเซ็กชวล ก็ทําใหผูชายที่มีจิตใจแบบนี้กลาที่จะเปดเผย ตัวเองและเรียกรองใหสังคมยอมรับพวกเขา อยางไรก็ตาม วิทยาศาสตรก็เหมือนกับดาบสองคม กลาวคือ ในขณะที่ความรูวิทยาศาสตรชวยสรางเหตุผลและความรูเกี่ยวกับเพศ แตวิทยาศาสตรก็ยังทําใหเกิดการแบงแยก กีดกันโฮโมเซ็กชวลออกจากคนสวนใหญ โดยอธิบายวาโฮโมเซ็กชวลคือความผิดปกติของยีนส ฮอรโมน หรือ ระบบประสาท ถือเปนคนที่มีจิตใจผิดปกติ หรือผิดธรรมชาติ เทากับวิทยาศาสตรกําลังทําหนาที่ลงโทษคนเหลานี้ เฉกเชนเดียวกันศาสนาเคยทํามากอนหนานั้น ในขณะที่วิทยาศาสตรกลับยอมรับการมีเพศสัมพันธระหวางชาย กับหญิง และเชื่อวาเปนความตองการทางเพศที่ถูกตอง1 แตความรูทางวิทยาศาสตร ไมสามารถอธิบายตัวตนทางเพศที่เกิดจากอารมณและความรูสึกได เนื่องจากความสุขและความพึงพอใจตอเพศเดียวกันอาจขึ้นอยูกับเงื่อนไขทางสังคมและวัฒนธรรม ประสบการณ ทางสังคมของมนุษยที่เปดโอกาสใหผูชายสามารถมีเพศสัมพันธกับชายอื่นไดพบเห็นไดในหลายวัฒนธรรม และ 1

ดูเพิ่มเติมใน Rudi C.Bleys. The Geography of Perversion. New York

University Press, New York. 1995. Pp.63-99.


มีมาชานานแลว ไมวาจะเปนสังคมชนเผาในแอฟริกา หมูเกาะในมหาสมุทรแปซิฟก ชนพื้นเมืองในอเมริกา หรือ สังคมเกษตรกรรมหลายแหงในเอเชีย การมีเพศสัมพันธกับคนเพศเดียวกันมิใชความผิดปกติ หากแตเปนการ แสดงบทบาททางสังคม เปนการเรียนรูฐานะของความเปนชาย และการแสดงความพรอมที่จะมีครอบครัว ดังนั้น การมองวาโฮโมเซ็กชวลเปนความผิดปกติจึงเปนทัศนะเฉพาะสังคมตะวันตก มิใชเปนทัศนะ สากลที่เหมือนกันทุกแหง บทความนี้จะชี้ใหเห็นวาการมีอคติตอชายรักชายในวัฒนธรรมตะวันตก ไดสรางแรง กดดันใหกับคนกลุมนี้อยางไรบาง การเกิดสํานึกรวมของเกยในระยะเวลาตอมานําไปสูการเรียกรองเรื่องสิทธิ เสรีภาพอยางไร และใชอุดมการณทางสังคมเพื่อตอสูกับการกดขี่ขมเหงจากสังคมอยางไร นอกจากนั้น บทความนี้จะชี้วาทามกลางบรรยากาศทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจในคริสตศตวรรษ ที่ 20 กลุมเกยไดสรางนิยามตัวตนทางเพศอยางไร มีกิจกรรมเพื่อสรางสํานึก สรางกลุมเพื่อนและชุมชน และ สรางวัฒนธรรมของตัวเองอยางไร การสรางตัวตนและชุมชนของชาวเกยอาศัยฐานคิดทางปรัชญาอะไรบาง ปรัชญาความคิดแบบไหนที่ชาวเกยใชอางเพื่อการเรียกรองสิทธิและเสรีภาพ ความคิดทางปรัชญาทําใหชาวเกย ตระหนักถึงตัวตนทางสังคมอยางไร ทั้งการอาศัยอยูในสังคมอยางเทาเทียมและการมีศักดิ์ศรีความเปนมนุษย อยางไรก็ตาม เมื่อเกิดสถานการณแพรระบาดของเชื้อเอชไอวี และโรคเอดสในทศวรรษที่ 1980 เปน ตนมา ยุครุงเรื่องของเกยก็คอยๆหายไป กลุมองคกรเกยหลายแหงออกมาเคลื่อนไหวใหเกยมีเซ็กซอยางปลอดภัย เชน สวมถุงยางอนามัย ไมเปลี่ยนคูนอน รักเดียวใจเดียว เหตุการณนี้ทําใหเกยจํานวนมากหวาดระแวง ซึมเศรา และไมกลาที่จะออกสังคม ในขณะเดียวกัน ความรูทางดานการแพทยก็ทําใหสังคมคิดวาโรคเอดส มีสาเหตุมา จากเกย สงผลใหเกยไมไดรับการยอมรับและถูกกีดกัน องคกรเกย ซึ่งเปรียบเสมือนนายหนาหรือตัวแทนของชาวเกย จึงปรับวิธีคิดเพื่อที่จะทําใหสังคมเกิด ความเขาใจ และทําใหเกยมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสถานการณการแพรระบาดของเชื้อเอชไอวี องคกรเกยใน ปจจุบันจึงทําหนาที่เหมือนเปนที่ปรึกษาทางอารมณ ใหคําแนะนําในการใชชีวิตแกผูปวยเอดส และใหความรู เรื่องสุขภาพแกบุคคลที่เปนเกย บทบาทหนาที่ดังกลาวนี้ตางไปจากการทํางานในระยะแรกๆที่เนนเรื่องการ ปลดปลอยตัวตนทางเพศ การเรียกรองสิทธิเสรีภาพ เปลี่ยนไปสูเรื่องสุขภาพทางเพศและการเปนพลเมืองในยุค หลังๆ บทความนี้จะฉายภาพความเปลี่ยนแปลงดังกลาว และชี้ใหเห็นวาอุดมการณทางสังคม และความรู ทางการแพทยมีอิทธิพลตอการนิยามพฤติกรรมและตัวตนทางเพศของเกย โดยที่เกยไดนําความรูเหลานั้นมาใช เพราะเชื่อวาจะปลดปลอยใหตนเองไดรับการยอมรับมากขึ้น สิ่งที่บทความนี้ตองการอธิบายจึงมิใชเพียงเลาประวัติศาสตรการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดขององคกรเกย เทานั้น หากแตยังเปนการวิพากษวิจารณ “ความรู” ทางปรัชญาและอุดมการณที่ครอบงําอยูในองคกรเกยสมัยใหม ผูเขียนตองการใหองคกรเกยหรือชาวเกยเห็นขอจํากัดของความรูเหลานั้น และเสาะหาทางเลือกอื่นๆที่จะใช อธิบายชีวิตและการทํางานขององคกรเกยตอไป

ตนตอของการเรียกรองสิทธิของโฮโมเซ็กชวล กอนที่จะมีคําวา “โฮโมเซ็กชวล” สังคมตะวันตกรูจักพฤติกรรมชายรักชายในชื่อที่เรียกวา “โซโดไมต” คําๆนี้มีนัยยะในเชิงลบ เพราะเปนคําประณามผูชายที่ชอบรวมรักทางทวารหนักของชายอื่น ซึ่งชาวยุโรปในชวง


คริสตศตวรรษที่ 13 มองวาการรวมรักทางทวารหนักระหวางชายกับชายถือเปนบาปและเปนอาชญากรรม2

ผูที่

3

แตพฤติกรรมดังกลาวมิใชอัตลักษณทางเพศ หรือเปน มีพฤติกรรมดังกลาวอาจถูกลงโทษตามกฎโซโดมี จิตสํานึกของการแสดงตัวตนทางเพศอยางที่เขาใจกันในเวลาตอมา กฎหมายโซโดมีถือปฏิบัติกันในหมูชาวยิว ชาวคริสต และชาวอิสลาม ซึ่งการกลาวโทษคนรักเพศเดียวกันคอยๆกลายเปนสวนหนึ่งของระบบศีลธรรม โดยเฉพาะในชวงยุคกลางของยุโรป นักบวชในศาสนายิวเชื่อวาความรูสึกทางเพศเปนบาป การมีเพศสัมพันธที่ ถูกตองตามธรรมชาติคือเพศสัมพันธเพื่อการมีบุตรเทานั้น4 การมีเพศสัมพันธแบบอื่นๆเปนสิ่งผิดและไมถูกตอง ตามธรรมชาติ หนึ่งในนั้นคือเพศสัมพันธระหวางชายกับชาย เพราะคําสอนของคริสตศาสนายุคแรกๆเชื่อวาชาย รักชายคือพฤติกรรมที่สกปรกไมตางอะไรกับสัตวปา5 ในยุคกลางหรือยุคฟวดัลของยุโรป6

บุคคลที่ถูกกลาววากระทําการแบบโซโดมีถูกลงโทษจํานวนมาก

และหลายคนถูกลงโทษอยางรุนแรงถึงประหารชีวิต เผาหรือถูกฝงทั้งเปน7 ยิ่งศาสนาคริสตมีอํานาจมากเทาใด บุคคลที่มีพฤติกรรมโซโดมีก็ยิ่งถูกปราบปรามมากเทานั้น เพราะคริสตศาสนาเชื่อวาโซโดมีเปนศัตรูของศาสนา ทําใหศาสนาออนแอ ในชวงคริสตศตวรรษที่ 15 เมืองฟลอเรนซและเมืองเวนิซของอิตาลีไดแตงตั้งเจาหนาที่เพื่อ สอดสองผูกระทําผิดขอหาโซโดมี ในชวงป ค.ศ.1432-1502 ผูชายประมาณ 17,000 คนถูกกลาวหาวากระทําผิด กฎหมายโซโดมี และประมาณ 3,000 คน ถูกจําคุก ทางการของอิตาลีออกระเบียบใหผูชายที่มีอายุระหวาง 30-50

2

Francis Mark Mondimore. A Natural History of Homosexuality. The John Hopkins

University Press, Baltimore. 1996.p.22. 3

โซโดมี (Sodomy) เปนคําที่คิดขึ้นโดยเซนตปเตอร เดเมียน ในคริสตศตวรรษที่ 11 ซึ่งเปนคําที่อางมาจากการทําบาปของ ชาวเมืองโซดอมซึ่งปรากฎในเจเนซีสบที่ 18-19 ซึ่งชาวเมืองโซดอมเปนคนที่ชั่วราย พระเจาจึงรับสั่งกับอับบราฮัมวาพระองคจะทําลาย เมืองโซดอม แตอับบราฮัมขอรองใหพระองคทรงเมตตา โดยพระเจาจะยินยอมถาเมืองโซดอมยังมีคนดีหลงเหลืออยู เพื่อพิสูจนดังกลาว พระเจาไดสงเทพบุตร 2 องคลงไปยังเมืองโซดอม เทพบุตรไดพบล็อตที่เปนคนดี ล็อตไดตอ นรับเทพบุตรอยางดี แตบรรดาผูชายในเมือง เขามาปดลอมบานของล็อตและขอใหนําเทพบุตรมาใหพวกเขาเพื่อที่จะ “ขมขื่น” เทพบุตรบอกใหลอ็ ตหนีไปเพราะพระเจาจะทําลายเมือง หลังจากที่ล็อตหนีไป พระเจาก็เผาเมืองโซดอม 4

William Naphy. Born to Be Gay: A History of Homosexuality. Tempus, Brimscombe Port.

2004, p.33. การเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับเพศสัมพันธจากเรือ่ งความสุขทางใจไปสูการใหกําเนิดบุตร เกิดขึ้นในชวงที่ตะวันตกกําลังเปลี่ยน

การนับถือพระเจาหลายองคไปสูการนับถือพระเจาองคเดียว พรอมกับการแสวงหาอํานาจของคริสตศาสนาซึ่งตองการสรางความชอบ ธรรมเหนือศาสนาอืน่ ๆที่มีมากอน และพฤติกรรมทางเพศทีศ่ าสนาอื่นยอมรับในยุคกรีก คริสตศาสนาจะปฏิเสธเพราะเชื่อวาเปนสิ่ง สกปรก ชั่วราย 5

William Naphy. 2004. อางแลว หนา 67.

6

ยุคฟวดัล ครอบครัวคือศูนยกลางทางสังคมและเศรษฐกิจ สมาชิกของครอบครัวตองเอาใจใสและดูแลซึ่งกันและกัน แตละคน ตองเคารพกฎของครอบครัว การแตงงานจะตองอยูภ ายใตการยินยอมของครอบครัวเพื่อความอยูร อดทางเศรษฐกิจ ความรักมิใชทางเลือก สวนบุคคล สามีภรรยามิไดผูกพันกันดวยความรักแตยึดโยงเขาหากันบนเงื่อนไขของการทําใหครอบครัวอยูร อดปลอดภัย ความรัก ระหวางคนเพศเดียวกันจึงกลายเปนสิ่งอันตรายตอโครงสรางครอบครัวแบบรักตางเพศ 7

Francis Mark Mondimore.1996. อางแลว หนา 24.

และ David F. Greenberg. The Construction of Homosexuality. The University of Chicago Press, Chicago. 1988. p.302.


ปตองแตงงานเพื่อมิใหเกี่ยวของกับพฤติกรรมโซโดมี8

ในชวงทศวรรษที่ 1800-1830 ในลอนดอนมีการ 9

ประหารชีวิตผูชายที่กระทําผิดขอหาโซโดมีมากกวา 50 คน อยางไรก็ตาม พฤติกรรมแบบโซโดมีมักจะเกิดขึ้นระหวางคนในครอบครัว เพื่อนบาน กลุมคนงานขา ทาส กลุมขุนนาง หรือในสถาบันทางสังคมที่มีคนเพศเดียวกัน เชน กองทหาร หรือโรงเรียนชายลวน นอกจากนั้นคนเหลานี้รวมกลุมกันแบบลับๆและมีเครือขายทางสังคมของตัวเอง ซึ่งมีหลักฐานตั้งแต คริสตศตวรรษที่ 18 เปนตนมา รวมทั้งมีแหลงรวมตัวของโสเภณีชายในเมืองใหญๆ เชน ในยานถนนคลีฟแลนด ถนนออกซฟอรด ถนนรีเจนทของลอนดอน และยานเวสตเอ็น10 โสเภณีชายมักจะเปนเด็กหนุมๆที่ขายบริการ ทางเพศใหกับชายอื่น กอนคริสตศตวรรษที่ 18 ซองโสเภณีเปนสิ่งถูกกฎหมาย พบเห็นไดทั่วไป นอกจากนั้นยัง มีโรงอาบน้ําสาธารณะ ซึ่งมีหองบริการสําหรับผูที่มาซื้อบริการทางเพศ สวนใหญมักจะเปนชายหนุมที่ยังไม แตงงานจะมาซื้อบริการทางเพศจากโสเภณีหญิงหรือเด็กชาย11 ป ค.ศ. 1709 เอ็ดเวิรด วอรดเขียนหนังสือเรื่อง The Secret History of London Clubs ระบุถึงแหลงรวมตัวของชายรักชายที่เรียกวา “มอลลีเฮาส” และในป ค.ศ.1813 ริชารด ฮอลโลเวย เขียนหนังสือเรื่อง The Phoenix of Sodom เปดโปง “มอลลีเฮาส” (Molly House)12 ฮอลโลเวยเลาถึงพฤติกรรมของผูชายในสถานที่นี้ ซึ่งนิยมจับคูและแตงงานกัน กอดจูบกัน มีเพศสัมพันธ เลียนแบบกิริยาอาการและเสียงของสตรี ผูชายสวนใหญมาจากชนชั้นแรงงานและมีภรรยาแลว13 อยางไรก็ตาม นักประวัติศาสตรในระยะหลังเชื่อวาตัวตนทางเพศของชายรักชายในอังกฤษมิไดมาจากการนิยามทางกฎหมาย หากแตมาจากลักษณะพฤติกรรมซึ่งยังไมมีการนิยามอยางชัดเจน14 โรงละครในอังกฤษเปนสถานที่ที่ผูชายจะมาพบเจอกันและสรางมิตรภาพตอกันมาชานานแลว โรง ละครที่ผูชายมักนิยมมาหาคู ไดแก โรงละคร Alhambra , Pavilion, Empire และ St. James’ Theatre ออสการไวด กับคนรักอัลเฟร็ด ดักกลาส ก็เคยมานัดพบกันที่โรงละครเอ็มไพร ในเขตเวสตเอ็นของลอนดอนคือสถานที่ พบปะของโฮโมเซ็กชวลที่มีฐานะ มีตระกูล15 สนามกีฬาและสระวายน้ําก็เปนที่พบปะกันของโฮโมเซ็กชวล กิจกรรมของโฮโมเซ็กชวลจึงถูกมองวาเกิดขึ้นในชุมชนเมืองและมีลักษณะสมัยใหม โฮโมเซ็กชวลในชวงปลาย

8

William Naphy. 2004. อางแลว หนา 98.

9

David F. Greenberg. 1988 อางแลว หนา 354.

10

Florence Tamagne. “The Homosexual Age,1870-1940” in Robert Aldrich (ed.). Gay Life

and Culture. Thames & Hudson, London. 2006. p.179. 11

William Naphy. 2004. อางแลว หนา 96.

12

David F. Greenberg. 1988. อางแลว หนา 349.

13

William Naphy. 2004. อางแลว หนา 197.

14

Sean Brady. Masculinity and Male Homosexuality in Britain, 1861-1913. Palgrave

MacMillan, New York. 2006 p. 210. 15

Matt Cook. London and the Culture of Homosexuality, 1885-1914. Cambridge University

Press, Cambridge. 2003. หนา 28-29.


คริสตศตวรรษที่ 19 มีบุคลิกเปนคนหัวกาวหนา เปนนักเคลื่อนไหว ชอบแฟชั่น และไมนาไววางใจ แตกตาง จากสังคมของโซโดไมตในยุคฟวดัล การศึกษาของแบรรี อดัม (1987) อธิบายวาในยุคฟวดัล ความสัมพันธระหวางชายรักชายเกิดขึ้นใน ระบบเครือญาติที่เปนรักตางเพศ แตเมื่อพนยุคฟวดัลไปแลวและเขาสูยุคการคาและอุตสาหกรรม16 ความสัมพันธ แบบนี้จะเกิดขึ้นนอกพรมแดนเครือญาติและครอบครัว และกลายเปน “ทางเลือก” ของบุคคลที่ตองการแสวงหา ความรักกับคนที่ถูกใจซึ่งมีพื้นฐานจากความรัก ความสัมพันธระหวางคนเพศเดียวกันกลายเปนสิ่งที่อยูนอก กฎเกณฑของอายุและเพศ บุคคลสามารถพึ่งตนเองไดจากการเปนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ไมจําเปนตองพึ่ง ครอบครัว ชายรักชายมีโอกาสพบกับคนที่ถูกใจมากขึ้นเมื่อยายมาอยูในเมือง เชน การหาคูในสวนสาธารณะ สถานีรถไฟ รานกาแฟ หรือรานเหลา ทําใหคอยๆเพิ่มจิตสํานึกของการมีตัวตนทางสังคมและการสรางอัตลักษณ ทางเพศ17 จากเงื่อนไขดังกลาวนี้คือองคประกอบที่ทําใหการเคลื่อนไหวเรื่องสิทธิของโฮโมเซ็กชวลเปนรูปธรรม ที่ชัดเจน ความคิดแบบสังคมนิยมมีความสัมพันธกับการเรียกรองสิทธิของโฮโมเซ็กชวล เพราะสังคมนิยมเชื่อวา สังคมควรมีความเทาเทียม ดวยเหตุนี้ผูปกครองที่เปนอนุรักษนิยมจึงพยายามปราบปรามโฮโมเซ็กชวลเพราะกลัว อํานาจของตัวเองถูกทําลาย เชน ผูปกครองอังกฤษปราบปรามบารของชายรักชายในชวงคริสตศตวรรษที่ 19 ในประเทศสหรัฐอเมริกาคําวา “โซโดมี” ถูกแทนที่ดวยคําวา “ประเวณีที่ผิดธรรมชาติ” ในประเทศ อังกฤษใชคําวา “บักเกอรี” ซึ่งมีความหมายใกลเคียงกับโซโดมี ในประเทศฝรั่งเศส มีการลงโทษผูมีพฤติกรรม ชายรักชายโดยการประหารชีวิต แขวนคอ ตัดศรีษะ เผาทั้งเปน กดน้ําตาย บางรายถูกเนรเทศ และถูกจองจําในคุก สังคมฝรั่งเศสในคริสตศตวรรษที่ 19 มองวาผูชายที่มีเพศสัมพันธกับชายอื่นเปนอันตรายตอสถาบันครอบครัว ถา ถูกจับตามกฎหมายอาญามาตรา 330 เขาจะตองจําคุกเปนเวลา 3 เดือนถึง 12 เดือน และเสียคาปรับจํานวน 16200 ฟรังส18 ผูชายที่ถูกจับสวนใหญมักจะกําลังมีความสัมพันธกับโสเภณีชาย นักวิทยาศาสตรชื่อทารดิเย อธิบายวาชายรักชายเปนเหยื่อของการถูกฉอฉลจากบรรดาโสเภณีชาย ผูชายที่ถูกจับในขอหาโซโดมีมักจะถูกนําไปทดสอบทางการแพทยวาเขาจะเปนโซโดไมตที่แทจริงหรือไม ทําให โซโดไมตกลายเปนหนูทดลองทางการแพทย สําหรับทารดิเยเองไดทดลองกับโซโดไมตมากกวา 300 คน และ พบวาผูที่เปนฝายรับการสอดใสทางทวารหนัก จะมีทวารหนักที่หยอนยาน สวนผูที่เปนฝายรุกจะมีองคชาตเรียว ยาวเหมือนของสุนัข สวนหัวขององคชาตมีขนาดใหญ19 ในทัศนะของทารดิเย เชื่อวาโซโดไมตมิใชคนปวยทาง จิตหรือเปนโรคราย แตมีลักษณะพิเศษทางอารมณ คือมีลักษณะเหมือนผูหญิง ชอบแตงหนา แตงกายเหมือน 16

ยุคนี้เปนยุคที่มีอุดมการณแบบเสรีนิยมและสังคมนิยม กลุม คนที่เคยถูกกดขี่ขมเหงภายใตระบบศาสนาและศักดินา จะออกมา

เรียกรองสิทธิและความเทาเทียมทางสังคม เชน ชาวยิว ชนกลุมนอย และโฮโมเซ็กชวล 17

Barry D. Adam. The Rise of a Gay and Lesbian Movement. Twayne Publishers, Boston.

1987. p.6. 18

William A. Peniston. “Love and Death in Gay Paris” in Jeffrey Merrick and Bryant T. Ragan,

Jr. (ed.) Homosexuality in Modern France. Oxford, Oxford University Press. 1996. p.130. 19

Vernon A. Rosario II. “Pointy Penises, Fashion Crime, and Hysterical Mollies” in Jeffrey

Merrick and Bryant T. Ragan, Jr. (ed.). 1996. อางแลว หนา 149-150.


ผูหญิง20 นอกจากนั้นทารดิเยยังแบงโฮโมเซ็กชวลเปน 2 ประเภท คือ ประเภทรุกและประเทภรับ โดยสังเกตจาก ทวารหนัก ในป ค.ศ.1875 นายแพทยชื่อพอล เฟเบอรอธิบายเพิ่มเติมวาชายที่มีจิตใจเปนหญิงจะมีองคชาต ขนาดเล็ก ชอบสําเร็จความใครและไมสนใจอวัยวะเพศสตรี เฟเบอรเชื่อวาสิ่งนี้เกิดจากสาเหตุทางรางกายและ ระบบประสาทที่ผิดปกติ21 ซึ่งเปนเหตุผลสําคัญที่ทําใหสังคมเขาใจวาโฮโมเซ็กชวลเปน “ความเสื่อม” และ “ความ ตกต่ํา” ของมนุษย ผูที่ทําใหชาวฝรั่งเศสรูจักคําวา “โฮโมเซ็กชวล” คือ ราฟฟาโลวิช ซึ่งมีความคิดตางไปจากทารดิเย เนื่องจากราฟฟาโลวิชเชื่อวาโฮโมเซ็กชวลคือผูชายปกติ มิไดมีจิตใจเปนหญิง และไมสามารถแบงแยกวาใครเปน ฝายรุกหรือฝายรับ โฮโมเซ็กชวลแตกตางจากผูชายที่มีจิตใจเปนหญิง โฮโมเซ็กชวลยังคงความเปนชายทั้งรางกาย และจิตใจ สวนผูชายที่มีจิตใจเปนหญิงเปนความเบี่ยงเบนทางพฤติกรรม ราฟฟาโลวิชเรียกผูชายที่รักเพศเดียวกัน วา “ยูนิเซ็กชวล” (Unisexual) แตคําอธิบายของราฟฟาโลวิชไดรับการโตแยงจากวงการแพทยในเวลานั้น ในยุคอาณานิคม ชาวตะวันตกที่เขาไปปกครองคนพื้นเมืองก็ประหารชีวิตบุคคลที่มีพฤติกรรมรักเพศ 22 เดียวกัน ในกฎหมายของเยอรมันมีบทลงโทษบัญญัติไวในมาตรา 175 ซึ่งใชลงโทษผูชายที่มีพฤติกรรมรักเพศ เดียวกันในชวงป ค.ศ.1871 ถึง ค.ศ.1994 และการลงโทษมีความเขมขนมากในยุคของนาซี คาดวาในยุคนี้มีผูชาย ที่มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกันถูกทารุณในคายกักกันประมาณ 15,000 คน การลงโทษชายรักชายในเยอรมันเปนการลงโทษที่รุนแรง ทําใหเกิดความตึงเครียดในหมูชายรักชาย จํานวนมาก มาตรา 175 ที่ลงโทษชายรักชายเกิดขึ้นในป ค.ศ.1871 กอนหนานั้นอาณาจักรปรัสเซียมีกฎหมาย ในมาตรา 143 ระบุวาการลวงประเวณีผิดธรรมชาติระหวางชายกับชาย หรือระหวางมนุษยกับสัตว บุคคลจะตอง ถูกลงโทษโดยการจําคุกเปนเวลา 6 เดือนถึง 4 ป และจะไมไดรับสิทธิของพลเมือง จนกระทั่งถึงป ค.ศ.1935 พรรคนาซีไดขยายขอบเขตของมาตรา175 โดยระบุวาผูชายที่มีเพศสัมพันธกับชายอื่น หรือ อนุญาติใหชายอื่นมี เพศสัมพันธกับตนจะตองถูกลงโทษโดยการจําคุก แตถาบุคคลนั้นมีอายุไมถึง 21 ป ศาลจะลดโทษให การมี เพศสัมพันธในที่นี้รวมถึงการสําเร็จความใครใหกับชายอื่น นาซียังออกกฎหมายเกี่ยวกับการปองกันลูกหลานมิ ใหติดโรคทางกรรมพันธุ ซึ่งอนุญาตใหมีการทําหมันในผูชายที่ถูกลงโทษดวยมาตรา175 กฎหมายใหมนี้อธิบาย วาโฮโมเซ็กชวลคือคนที่สังคมรังเกียจและตองถูกกําจัดเพื่อทําใหชาวเยอรมันและอาณาจักรไรชบริสุทธิ์ ชวงทศวรรษที่ 1860 ความไมยุติธรรมของกฎหมายทําใหบุคคลที่มีพฤติกรรมชายรักชายออกมา เรียกรองสิทธิและพยายามแกกฎหมาย บุคคลที่มีบทบาทในการตอตานกฎหมาย คือคารล เฮนริช อุลริชส และ คารล มาเรีย เคิรตเบนนีย ในป ค.ศ.1862 อุลริชสบอกกับคนในครอบครัววาเขามีจิตใจแบบ “เยอรนิ่ง” (Urning) หรือยูเรเนียน และเขียนบทความ 5 เรื่อง23 เกี่ยวกับความรักระหวางชายกับชายโดยใชนามแฝงวา “นูมา นูแมนติอุส” (Numa Numantius) บทความนี้อธิบายวาความรักระหวางชายกับชายเปนเรื่องธรรมชาติและมีสาเหตุ

20

Florence Tamagne. 2006. อางแลว หนา.167.

21

Vernon A. Rosario II. 1996. อางแลว หนา 155.

22

Francis Mark Mondimore.1996. อางแลว หนา 200.

23

บทความ 5 เรื่องรวมอยูใ นเอกสารชื่อ Researches on the Riddle of Male-Male Love


ทางชีววิทยา24 ผูชายที่รักผูชายจะมีจิตใจเหมือนผูหญิง และการแสดงตัวตนของผูชายที่มีจิตใจเปนหญิงจะเรียกวา “เยอรนิ่ง” ทั้งนี้ความรูทางวิทยาศาสตรที่อุลริชสนํามาใชมาจากนักพยาธิวิทยาชื่อรูดอลฟ เวอรโชว จิตแพทยชื่อ คารล เวสฟาล และริชารด ฟอน คราฟท-เอบบิง บทความของอุลริชสพยายามเรียกรองใหแกกฎหมายและความ ถูกตองทางศีลธรรมที่ลงโทษบุคคลที่มีพฤติกรรมชายรักชาย ขอเขียนและหนังสือของอุลริชสถูกสั่งหาม เผยแพร และในป ค.ศ.1866 เขาก็ถูกจับขอหาตอตานกฎระเบียบของอาณาจักรปรัสเซีย25 ในป ค.ศ.1867 อุลริชส แถลงตอสภาตุลาการของเยอรมันในเมืองมิวนิค เพื่อเรียกรองใหเลิกกฎหมายลงโทษชายรักชาย แตสภาตุลาการ ไมรับฟง26 ในป ค.ศ.1870 อุลริชสเขียนบทความเรื่อง Araxes: a Call to Free the Nature of the Urning from Penal Law โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่จิตใจแบบ “เยอรนิ่ง” ซึ่งอุลริชสเชื่อวาคนที่มีจิตใจแบบนี้เปนมนุษย คนหนึ่งที่ธรรมชาติสรางมา กลาวคือในระยะที่มนุษยพัฒนาตัวเองในครรภ อวัยวะเพศชายและหญิงพัฒนามาจาก เซลลเดียวกัน27 จิตใจของมนุษยจะคอยๆพัฒนาขึ้นและเปนไปไดที่เพศชายจะพัฒนาจิตใจเปนผูหญิง คําอธิบายนี้ เปนทฤษฎีเพศที่สามของอุลริชส ดังนั้นไมควรมีกฎหมายที่ลงโทษคนเหลานี้ สังคมควรยอมรับเขาในฐานะเปน พลเมืองที่มีสิทธิเหมือนกับคนอื่นๆ การหามบุคคลมิใหแสดงออกถึงความตองการทางเพศเปนเรื่องที่อยู นอกเหนือกฎหมาย ยกเวนหากบุคคลนั้นละเมิดสิทธิของผูอื่น ทําใหสังคมเสื่อมเสีย และลวงเกินทางเพศตอ เยาวชน บุคคลที่เปนเยอรนิ่งที่มีความรักตอกันจึงมิใชอาชญากร ไมใชคนชั่วราย ไมใชความอับอาย เพราะความ รักเปนเรื่องธรรมชาติ ดังนั้นการทําใหเยอรนิ่งเปนอาชญกรเทากับเปนการสรางความไมยุติธรรม

ปรัชญาวิทยาศาสตรและการอธิบายสิทธิของชายรักชาย คารล ปอปเปอรอธิบายวาการศึกษาปรัชญาวิทยาศาสตร คือการอธิบายความแตกตางระหวางสิ่งที่เปน วิทยาศาสตร และไมเปนวิทยาศาสตร28 การศึกษาทางวิทยาศาสตรคือการหาสาเหตุและการสังเกตโลกธรรมชาติ ความจริงพิสูจนไดในโลกของวัตถุ อะไรที่พิสูจนไมได หรือจับตองไมไดถือวาไมเปนวิทยาศาสตร สิ่งที่พิสูจน แลววาเปนจริงจะเปนทฤษฎีที่เชื่อถือได วิทยาศาสตรที่มีผลตอความรูของโฮโมเซ็กชวลในชวงกลาง คริสตศตวรรษที่ 19 คือวิทยาศาสตรสายชีววิทยาและการแพทย การคนควาทางการแพทยเพื่อพิสูจนรางกายของ มนุษยในมิติตางๆ เชน ฮอรโมน พันธุกรรม ระบบประสาทและระบบสมองทําใหเกิดความเขาใจวามนุษยมีตัวตน เปนอยางไร ดังนั้นการที่จะใหสังคมยอมรับตัวตนของโฮโมเซ็กชวลจําเปนตองอธิบายวาสาเหตุของโฮโม เซ็กชวลมีสาเหตุจากธรรมชาติ 24

David F. Greenberg. The Construction of Homosexuality. The University of Chicago Press,

Chicago. 1988. p.409. 25

Barry D. Adam. 1987. อางแลว หนา 14.

26

Francis Mark Mondimore.1996. อางแลว หนา 31.

27

David F. Greenberg. 1988. อางแลว หนา 408.

28

Samir Okasha. Philosophy of Science. Oxford University Press, Oxford. 2002. p.15.


การอธิบายของอุลริชสคือตัวอยางแรกที่อธิบายวาความรักระหวางชายกับชายมีสาเหตุจากชีววิทยา โดย ในชวงเวลานั้นทฤษฎีวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตของดารวินกําลังไดรับความสนใจในวงวิชาการ ทําใหอุลริชส อธิบายวาจิตใจแบบชายรักชายเปนมาตั้งแตกําเนิด29 (congenital theory) หรือตั้งแตอยูในครรภมารดา ทารกอยูใน ครรภจะมีจิตใจเปนผูหญิงทําใหเติบโตเปนชายรักชาย ซึ่งอุลริชสเรียกวา “เยอรนิ่ง” บุคคลเหลานี้มีความปกติทาง จิต มิใชอาชญากร คําอธิบายดังกลาวทําใหผูชายที่รักเพศเดียวกันในเวลานั้นรูสึกมั่นใจในตัวเอง การศึกษา สาเหตุของโฮโมเซ็กชวลจึงเปนการศึกษาในมิติทางจิตวิทยาและชีววิทยาทางการแพทย ในรายงานทางการแพทย จึงมักจะมีการพูดถึงผูที่เปนโฮโมเซ็กชวลในเชิงลบ โดยกลาววาเปน “ความผิดปกติ” ในชวงปลายคริสตศตวรรษ ที่ 19 ผูชายที่มีจิตใจแบบโฮโมเซ็กชวลจึงเขาไปรับการรักษาเพื่อแกความความผิดปกติใหเปนชายตามธรรมชาติ ในป ค.ศ.1869 คารล มาเรีย เคิรตเบนนีย ไดคิดคําวา “โฮโมเซ็กชวล” เพื่ออธิบายพฤติกรรมของชายรัก ชายและลักษณะการแสดงอารมณทางเพศของบุคคล เคิรตเบนนียมีความคิดเหมือนกับอุลริชตที่ตองการใหแก กฎหมายที่ลงโทษชายรักชาย เพราะเห็นวาเปนการละเมิดสิทธิความเปนมนุษย เคิรตเบนนียอธิบายวาโฮโม เซ็กชวลเปนสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเปลี่ยนแปลงไมได แมวาเคิรตเบนนียจะเปนผูสรางคําวาโฮโม เซ็กชวล แตผูที่ทําใหคําๆนี้แพรหลายคือริชารด ฟอน คราฟท-เอบบิง ซึ่งคําวาโฮโมเซ็กชวลปรากฎในหนังสือของ คราฟท-เอบบิงเรื่อง Psychopathia Sexualis ในป ค.ศ.1886 แมวาเอบบิงจะทําใหคําวาโฮโมเซ็กชวลแพรหลาย แต เปนไปในทางลบ เนื่องจากเอบบิงเชื่อวาโฮโมเซ็กชวลเปนอาการของโรคจิต หรือความผิดปกติทางพยาธิสภาพ มี แพทยอีกหลายคนที่เชื่อวาโฮโมเซ็กชวลเปนสภาวะเสื่อมถอยที่เกิดจากชีววิทยา ซึ่งเปนกรอบแนวคิดแบบ 30 Degeneracy Theory แนวคิดนี้คือการควบคุมทางสังคมรูปแบบใหม ในหนังสือของเอบบิง มีกรณีศึกษาบุคคลที่เปนโฮโมเซ็กชวล 46 คน เอบบิงอธิบายวาคนเหลานี้ ตองการบําบัดอาการปวยทางจิตโดยการบังคับตัวเองใหมีเพศสัมพันธกับสตรี และแตงงานมีครอบครัวเหมือน ผูชายปกติ ทฤษฎีเกี่ยวกับโฮโมเซ็กชวลของเอบบิง อธิบายวาอาการผิดปกติของความรูสึกทางเพศทําใหเกิด ลักษณะโฮโมเซ็กชวลซึ่งเปนความเสื่อมถอยของมนุษย เอบบบิงสันนิษฐานวาบุคคลที่เปนโฮโมเซ็กชวลมีความ ตองการทางเพศมากกวาปกติ นอกจากนั้น เอบบิงยังเชื่อวาบุคคลที่ชอบการสําเร็จความใครดวยตัวเองเปนอาการ ของผูที่เบี่ยงเบนทางเพศซึ่งมีความผิดปกติของระบบประสาท31 ในชวงกลางคริสตศตวรรษที่ 19 ยุโรปเชื่อวา การกําจัดคนที่มีความผิดปกติทางจิต เชน โฮโมเซ็กชวล จะทําใหอาชญกรรมลดลง หนังสือของเอบบิงไดรับ ความนิยมแพรหลาย และเปนหลักฐานที่ยืนยันวาความรูวิทยาศาสตรประณามโฮโมเซ็กชวลวาเปนคนผิดปกติทาง จิตที่ตองไดรับการบําบัดรักษา32 ทฤษฎีของเอบบิงและทฤษฎีเสื่อมถอย ไดรับการสนับสนุนจากชนชั้นกลาง โดยเฉพาะในยุคที่ผลผลิต ทางการเกษตรตกต่ํา เมืองกําลังขยายตัว คนชนบทอพยพเขาไปเปนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม ชนชั้นกลางใน 29

Barry D. Adam. 1987. อางแลว หนา 15.

30

David F.Greenberg. 1988. อางแลว หนา 411.

31

ผูที่ไมเห็นดวยกับเอบบิงในเรื่องนี้ คืออัลเบิรต มอลล (1891) โดยแยงวาการสําเร็จความใครดวยตัวเองไมทําใหเปนโฮโม

เซ็กชวล และมิไดเกิดจากสาเหตุความผิดปกติของระบบประสาท 32

Francis Mark Mondimore.1996. อางแลว หนา 39.


อังกฤษเริ่มหวั่นวิตกการเติบโตของชนชั้นแรงงาน เพราะเกรงวาจะมาทําลายระบบชนชั้น ในป ค.ศ.1903 เมื่อ บทความเรื่อง The Social Problem of Sexual Inversion33 ออกเผยแพร ชนชั้นกลางจึงสนับสนุนทฤษฎีเสื่อมถอย เพื่อควบคุมโฮโมเซ็กชวลใหอยูในซอกหลืบ และมิใหแตงงานเพราะจะทําใหลูกที่เกิดมามีจิตใจที่ผิดปกติ บางคน เสนอวาควรทําหมั้นโฮโมเซ็กชวล ผนวกกับความคิดแบบเฮเกลเลียนที่ตองการใหสังคมมั่งคั่งสมบูรณ ซึ่งตอง ขจัดคนที่ขัดตอศีลธรรมและกฎหมายใหหมดไป ในอังกฤษเกิดลัทธิ Eugenicism34 ที่ตองการใหรัฐบาลออกกฎวา ใครที่ไมควรแตงงานเพราะไมอยากใหโฮโมเซ็กชวลทําใหสังคมเสื่อมทราม ในประเทศอังกฤษมีผูที่พยายามใชความรูทางการแพทยมาอธิบายความชอบธรรมของโฮโมเซ็กชวล และตอบโตทฤษฎีเสื่อมถอย คือจอหน แอดดิงตัน ไซมอนดส ซึ่งเขียนหนังสือเรื่อง A Problem in Modern Ethics ในป ค.ศ.1891 โดยวิจารณทฤษฎีตางๆที่พูดถึงสาเหตุของโฮโมเซ็กชวลในชวงเวลานั้น ไซมอนดสประทับใจ การศึกษาของอุลริชสมากที่สุด และไดมีโอกาสพบกับอุลริชสในป ค.ศ.1891 ที่ประเทศอิตาลี สิ่งนี้ทําใหไซมอนด ไดรับความคิดเรื่องเพศจากภาคพื้นยุโรป และเขาตองการเปลี่ยนทัศนะเรื่อง “ความเปนชาย” และการยึดสถาบัน ครอบครัวของชาวอังกฤษซึ่งเปนอุปสรรคตอการมีชีวิตของชายรักชาย ไซมอนดสทํางานรวมกับนายแพทยชื่อ เฮนรี เฮฟล็อค เอลลิส ซึ่งทั้งคูรวมกันเขียนหนังสือเรื่อง Sexual Inversion ในป ค.ศ.1897 เอลลิสยังเขียน หนังสืออีกหลายเลมเกี่ยวกับจิตวิทยาของเซ็กซ แตหนังสือเรื่อง Sexual Inversion ถูกตํารวจทําลายในป ค.ศ.1898 ขอหาเปนหนังสือลามกอนาจาร หนังสือ Sexual Inversion ไดศึกษาบุคคล 31 คนที่มารับการรักษาอาการทางจิตกับจิตแพทย ซึ่งมีทั้ง ผูหญิงและผูชาย เอลลิสอธิบายวาบุคคลเหลานี้มิใชคนปวยทางจิต และโฮโมเซ็กชวลก็คือคนปกติธรรมดา คําอธิบายดังกลาวแตกตางจากคําอธิบายและทฤษฎีความเสื่อมถอยของมนุษยของเอบบิง เอลลิสเปนผูหนึ่งที่ ตอตานการลงโทษโฮโมเซ็กชวล สังคมอังกฤษในชวงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 รับรูพฤติกรรมชายรักชาย แตการ ลงโทษจะไมจริงจังเหมือนกับประเทศในภาคพื้นยุโรป การศึกษาของเบรดี้(2005) ชี้วาสาเหตุที่อังกฤษปฏิบัติตอ ชายรักชายตางไปจากประเทศยุโรปอื่นๆ เพราะทัศนคติเกี่ยวกับ “ความเปนชาย” ในสมัยวิคตอเรียความเปนชาย คือเครื่องบงบอกถึงสถานะทางสังคม กลาวคือผูชายตองแตงงานกับสตรีเพื่อแสดงความเปนชาย และแสดงความ เปนพอเมื่อมีลูก หนาที่ของผูชายจึงเปนทั้งพอและสามีที่ดีเพื่อทําใหครอบครัวดํารงอยูได ชายคนใดไมทําหนาที่ ดังกลาวจะถูกสังคมประณาม35 การแสดงออกทางเพศของชายในอังกฤษ จึงมีเปาหมายเพื่อการแตงงานกับสตรี สังคมมีการควบคุม พฤติกรรมของผูชายเพื่อปองกันมิใหผูชายลวงละเมิดทางเพศแกหญิงอื่นที่มีอายุต่ํากวา 16 ป สําหรับพฤติกรรม ชายรักชายในความคิดของชาวอังกฤษเชื่อวาเปนสิ่งที่ทําลายสถาบันครอบครัว สื่อในอังกฤษในชวงทศวรรษที่ 1870-1880 จึงไมพยายามเสนอขาวเกี่ยวกับโซโดมีเพราะอาจทําใหสังคมเสื่อมเสีย แตหลังทศวรรษที่ 1880 เปน ตนมา สื่อของอังกฤษนิยมเสนอเรื่องราวของชายรักชาย และเรื่องเซ็กซระหวางชายวัยผูใหญกับเด็กชายวัยรุน ใน ป ค.ศ.1885 อังกฤษออกกฎหมายอาญามาตรา 11 เพื่อควบคุมการทําผิดของชายรักชายและปองกันการลวงละเมิด 33

David F. Greenberg. 1988. อางแลว หนา 419.

34

David F. Greenberg. 1988. อางแลว หนา 420.

35

Sean Brady. 2005 อางแลว หนา 213.


เด็กชาย36 มีผลทําใหรูปแบบความสัมพันธของโฮโมเซ็กชวลเกิดขึ้นเฉพาะในหมูคนอายุใกลเคียงกัน ความสัมพันธแบบตางวัยคอยๆพบนอยลงและเริ่มกลายเปนเรื่องอันตราย ในชวงทศวรรษที่ 1880-1920 การรวมกลุมของโฮโมเซ็กชวลในอังกฤษ เกิดขึ้นในหมูปญญาชนและ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ และตอมาเกิดการกอตั้งสมาคมนักปฏิรูป (The Apostles) และชมรมบลูมส เบอรรี (Bloomsbury) ชมรมบลูมเบอรรีเปนที่พบปะสังสรรคของกลุมปญญาชนที่ตองการตอสูกับคานิยมแบบ วิคตอเรีย37 ชวงเวลานี้ มหาวิทยาลัยเคมบริดจกลายเปนสัญลักษณของการแสดงออกของโฮโมเซ็กชวล อาจารย หลายคนสงเสริมความสัมพันธระหวางชายกับชาย มีการแตงบทกวีเกี่ยวกับความรักของชายกับชาย บุคคลที่มี บทบาทสําคัญไดแก ออสการ บราวนนิ่ง อาจารยสาขาประวัติศาสตร เบอรทรันด รัสเซลล อี เอ็ม ฟอรสเตอร เปนตน กลุมคนในสมาคมนักปฏิรูปมีความชื่นชอบในเด็กผูชายเหมือนกัน และนักศึกษาชายที่หนาตาดีก็จะถูก เลือกใหเขาเปนสมาชิกในสมาคมนี้ สมาชิกในกลุมบลูมเบอรรี ไดรับความคิดเรื่องเพศมาจากเอลลิส และเชื่อวาความรักระหวางชายกับชาย เปนสิ่งที่ดีงามและติดตัวคนๆนั้นมาตั้งแตเกิด สมาชิกทุกคนจึงมีคูรักเปนชายอยางเปดเผย และนวนิยายเรื่องมอ ริซ ซึ่งเขียนโดยอี เอ็ม ฟอรสเตอร ในป ค.ศ.1914 กลายเปนสัญลักษณของการประกาศตัวตนของโฮโมเซ็กชวล38 นวนิยายเรื่องมอริซถูกเผยแพรในกลุมของโฮโมเซ็กชวลเพื่อแสดงถึงความอิสระเสรีในการแสดงความรักระหวาง ชายกับชาย นวนิยายเรื่องนี้มีอิทธิพลตอคริสโตเฟอร อิสเชอรวูด นักเขียนที่ยกยองฟอรสเตอรเปนอยางมาก ในชวงสมัยของอิสเชอรวูด หรือชวงทศวรรษที่ 1920-1940 โฮโมเซ็กชวลกลายเปนสัญลักษณของคนที่ถูกสังคม รังแก และเปนจุดเริ่มตนที่ทําใหโฮโมเซ็กชวลเปนประเด็นการเมืองและนําไปสูการเรียกรองสิทธิเสรีภาพ39 อิส เชอรวูดยายจากอังกฤษไปอยูเยอรมันในชวงทศวรรษที่ 1920 ซึ่งทําใหเขามีโอกาสเปดเผยความตองการทางเพศ กับผูชายอยางเต็มที่ ตอมาเขา อพยพไปอยูอเมริกาในป ค.ศ.1939 และกลายเปนคนสําคัญในขบวนการ เคลื่อนไหวเรียกรองสิทธิของโฮโมเซ็กชวลในอเมริกาในชวงทศวรรษที่ 1970 ในป ค.ศ.1908 เอ็ดเวิรด คารเพนเตอร เปนนักเคลื่อนไหวทางสังคมและนักคิดสังคมนิยมที่ปฏิรูปเรื่อง เพศในอังกฤษ เขียนหนังสือเรื่อง Intermediate Sex หรือเพศตรงกลาง40 ซึ่งไดรับแนวคิดมาจากอุลริชส และเฮิรช เฟลด คารเพนเตอรเชื่อวาโฮโมเซ็กชวลมิใชความเสื่อมถอย และเรียกรองใหมีการปลดปลอยการแสดงออกทาง เพศ คารเพนเตอรอธิบายวาชายรักชายเปรียบเสมือนมิตรภาพของนักรบ41 (Heroic Friendship) ในป ค.ศ.1914 เมื่อมีการตั้งสมาคมเพื่อการศึกษาจิตวิทยาทางเพศ หรือ British Society for the Study of Sex Psychology 42 คาร 36 37

David F. Greenberg. 1988. อางแลว หนา 399. Florence Tamagne. A History of Homosexuality in Europe. Algora Publishing, New York.

2006. p.125. 38

Florence Tamagne. 2006 อางแลว หนา 129.

39

Florence Tamagne. 2006. อางแลว.หนา 131

40

Florence Tamagne. 2006. อางแลว หนา 86.

41

Barry Adam. 1987. อางแลว หนา 36.

42

Matt Cook. 2003. อางแลว หนา 76.


เพนเตอรก็มีบทบาทในการวิจัย สมาคมนี้มีสายสัมพันธกับแม็กนัส เฮิรชเฟลดในเยอรมัน หนังสือของคารเพน เตอรไดรับการตีพิมพภายใตสํานักพิมพเลเบอรเพลสของนักสังคมนิยม ตั้งแตกลางคริสตศตวรรษที่ 19 เปนตนมา ความรูเกี่ยวกับเพศของตะวันตกมาจากความรูทางการแพทย นักประวัติศาสตรชื่อเจฟฟรีย วีคส ตั้งขอสังเกตวาความรูเรื่องเพศถูกสรางมาจากนักชีววิทยา นักจิตวิทยา นักเพศ ศาสตร และนักมานุษยวิทยา ซึ่งทําใหเกิดการนิยามและคําอธิบายเกี่ยวกับโฮโมเซ็กชวลในลักษณะที่เปน “ธรรมชาติ” ที่มีแกนแท43 จิตแพทยมักอธิบายวาโฮโมเซ็กชวลเปนความผิดปกติของระบบประสาท ซึ่งเปนการ อธิบายที่มีอคติ และไมมีขอพิสูจนทางวิทยาศาสตร ปญหาที่เกิดขึ้นก็คือ โฮโมเซ็กชวลจะไมถูกมองในฐานะ “บุคคล” แตอยูในฐานะของ “โรค” บุคคลที่เปนโฮโมเซ็กชวลจึงถูกควบคุม เดวิด กรีนเบิรก (1988) กลาววาการ เติบโตของวิทยาศาสตรในชวงคริสตศตวรรษที่ 18 ทําใหเกิดการคนควาสาเหตุของโฮโมเซ็กชวลพรอมกับทําให พฤติกรรมของมนุษยกลายเปนเรื่องทางวัตถุ44 การกดขี่โฮโมเซ็กชวลในอังกฤษมีรากฐานมาจากชนชั้นและระบบขุนนางขาราชการ รัฐบาลมีอํานาจ ปกครองแบบเบ็ดเสร็จ โดยยึดหลักการเติบโตทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยม รัฐบาลจะออกกฎระเบียบเกี่ยวกับ ครอบครัว และสงเสริมการเปนแรงงานในระบบอุตสาหกรรม รัฐบาลจะออกกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานเพื่อ คุมครองผูหญิงและเด็ก สังคมยึดคานิยมผูชายเปนใหญ เปนหัวหนาครอบครัว คนแตละคนตองทําหนาที่ผูชาย และผูหญิงตามที่สังคมคาดหวัง ผูชายตองแสดงความเปนชาย อยาแสดงความเปนหญิง หามออนแอ ตองอยูใน กฎระเบียบวินัย อดทน แข็งแรง เปนแรงงานในโรงงาน ผูชายจะถูกเปรียบเหมือนเครื่องจักร โฮโมเซ็กชวลจึงเปน คนชายขอบที่อยูนอกจารีตประเพณี เพราะแสดงความออนหวานไมสมกับชายชาตรี สังคมมองวาเปนคนที่ ลมเหลว45 ป ค.ศ.1897 ในเยอรมัน เกิดกลุมบุคคลที่รวมตัวในนามกรรมการผูรักเพื่อนมนุษยในเชิงวิทยาศาสตร หรือ Scientific-Humanitarian Committee46 ซึ่งพยายามใชความรูทางวิทยาศาสตรมาอธิบายวาโฮโมเซ็กชวลเปน สิ่งที่ธรรมชาติสรางมา ผูมีบทบาทสําคัญคือแม็กนัส เฮิรชเฟลด นายแพทยที่ออกมาตอตานกฎหมายและตองการ ลมลางมาตรา 175 บทบาทของกรรมการผูรักเพื่อนมนุษยฯ คือการคนควาวิจัยทางวิทยาศาสตรเพื่อพิสูจนวาโฮ โมเซ็กชวลเปนเรื่องธรรมชาติและทวงถามสิทธิของคนเหลานี้ เฮิรชเฟลดเชื่อวาความยุติธรรมตองมาจากความรู ทางวิทยาศาสตร กลาวคือ ถามีการศึกษาสาเหตุของโฮโมเซ็กชวลดวยหลักฐานทางวิทยาศาสตรมากเทาใด ก็จะทํา ใหสังคมยอมรับโฮโมเซ็กชวลมากขึ้นเทานั้น เฮิชรชเฟลดเขียนหนังสือเรื่อง Sappho and Sokrates ซึ่งไดรับ แนวคิดแบบวิวัฒนาการของอุลริชสมาใช พรอมกับการใชขอมูลของนักมานุษยวิทยา โดยกลาววาโฮโมเซ็กชวล

43

Sean Brady.2005 อางแลว หนา 5.

44

David F.Greenberg. 1988 อางแลว หนา 349.

45

Barry D.Adam. 1987. อางแลว หนา 37.

46

Harry Ooosterhuis and Hubert Kennedy (ed.) Homosexuality and Male Bonding in Pre-

Nazi Germany. The Haworth Press, New York. 1991. p.1.


เปนสวนหนึ่งของมนุษยชาติ มีสัญชาตญาณตามธรรมชาติที่เก็บไวภายในทําใหมีการแสดงบทบาทตรงกลาง ระหวางความเปนชายและหญิง หรือเพศที่สาม รูจักในนาม Uranism47 ในป ค.ศ.1898 เฮิรชเฟลดไดรับความชวยเหลือจากผูนําพรรคสังคมประชาธิปไตย คือ ออกัสต บาเบล เพื่อผลักดันใหเกิดการแกกฎหมาย ป.ค.ศ.1903 เฮิรชเฟลดผลิตวารสารชื่อ Yearbook for Sexual Intermediates ซึ่งมีการสํารวจเรื่องราวเกี่ยวกับเพศพบวา ชาวเยอรมัน 2.2 เปอรเซ็นตเปนโฮโมเซ็กชวล เฮิรชเฟลดพยายามลา รายชื่อคนกวา 5,000 คนที่เห็นดวยกับการลมลางมาตรา 175 หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 เฮิรชเฟลด 48 ประกาศวาเขาตองการระบอบสังคมนิยมเพื่อใหทุกคนเทาเทียมกัน ในป ค.ศ.1919 เฮิรชเฟลดกอตั้งสถาบันวิจัย เรื่องเพศในกรุงเบอรลิน49 (Institute for Sexual Research) ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการเก็บรวบรวมเอกสารและ หนังสือเกี่ยวกับเรื่องเพศไวจํานวนมาก รวมทั้งยังทําหนาที่ใหคําปรึกษาเกี่ยวกับครอบครัว การตรวจและรักษา โรคทางเพศสัมพันธ การวางแผนครอบครัว การใหความรูเรื่องเพศศึกษา และรักษาอาการทางจิต ในป ค.ศ.1921 เฮิรชเฟลดไดจัดการประชุมเพื่อปฏิรูปเรื่องเพศ ในชวงเวลาเดียวกันเกิดกลุมที่ชื่อ German Friendship Association กอตั้งโดยฮันส คาฮเนิรต ซึ่งเคยทํางานกับเฮิรชเฟลดระยะหนึ่ง แตกลุมของคาฮ เนิรตไมไดเนนเรื่องวิทยาศาสตร กลุมนี้ใหความสําคัญตอกิจกรรมสังคม เชนเตนรํา งานเลี้ยงสังสรรค และผลิต หนุงสือพิมพรายสัปดาหชื่อ Friendship ในเดือนมกราคม ป ค.ศ.1921 กลุมของคาฮเนิรตชักชวนใหโฮโม เซ็กชวลปฏิรูปกฎหมายเพื่อสิทธิ อิสรภาพและความยุติธรรมทางสังคม ในชวงเวลาดังกลาวถือเปนชวงที่สื่อ เยอรมันมีเสรีภาพ ทําใหเกิดสื่อของโฮโมเซ็กชวลจํานวนมากประมาณ 30 สื่อ ไมวาจะเปนนิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ นวนิยาย ภาพยนตร รวมถึงละครเวที ในชวงทศวรรษที่ 1920 เยอรมันปกครองโดยพรรคสังคมประชาธิปไตย เปนชวงที่โฮโมเซ็กชวลมี เสรีภาพในการแสดงออก เชนเกิดกลุมแนวหนาของเคิรต ฮิลเลอร ซึ่งเปนนักสังคมนิยมและรวมมือกับ คณะกรรมการในสถาบันวิจัยเรื่องเพศของเฮิรชเฟลดเพื่อจัดการประชุมเกี่ยวกับสิทธิของโฮโมเซ็กชวล ในชวงนี้ อดอลฟ แบรนด ไดตั้งกลุมชื่อ Community of Self Owner และผลิตวารสารเลมแรกของโฮโมเซ็กชวลชื่อ Der Eigene หรือ The Self Owner เผยแพรอยูในชวงป ค.ศ.1896-1931 เนื้อหาและรูปภาพในวารสารเลมนี้ถูกมองวา เปนการละเมิดศีลธรรมทางสังคม เพราะนําเสนอความรักระหวางชายกับชาย และภาพนูดของผูชาย กลุมของ แบรนดเปนพวกศิลปนที่คิดนอกกรอบ มีแนวคิดตางไปจากเฮิรชเฟลดเพราะเชื่อในอุดมการณแบบอนารยะ (Anarchism) ไมตองการอยูใตอํานาจใดๆ ไมวาจะเปนรัฐบาล ศาสนา และวิทยาศาสตร แบรนดปฏิเสธเพศ ศาสตรแบบเฮิรชเฟลด และตอมาไดพยายามรื้อฟนระบบคิดแบบกรีกเพื่อเชิดชูคุณคาความงามของเพศชาย และ ความรักระหวางชายอาวุโสกับเด็กหนุม ซึ่งถือเปนความรักที่สูงสง50 แบรนดไดผลิตนิตยสารฉบับพิเศษชื่อ Journal for Nudism และ Race and Beauty เพื่อเผยแพรภาพเปลือยของผูชายซึ่งแบรนดคิดวาเปนงานศิลปะ

47

Barry D.Adam. 1987. อางแลว หนา 18.

48

Barry D.Adam. 1987. อางแลว หนา 23.

49

Barry D.Adam. 1987. อางแลว หนา 23.

50

Harry Ooosterhuis and Hubert Kennedy (ed) 1991 อางแลว หนา 3


ในป ค.ศ.1903 แบรนดและเพื่อนๆไดตั้งสมาคม Freedom and Friendship สมาคมนี้ไมมีเปาหมายทาง การเมืองแตเนนสันทนาการในกลุมผูชายที่มีการศึกษา สมาชิกของสมาคมจะมาพบปะกันเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับงาน วรรณกรรม และการวิพากวิจารณนักการเมืองหรือคนราชวงศที่มีพฤติกรรมโฮโมเซ็กชวล ในป ค.ศ.1929 แบรนดเขียนประกาศในวารสาร Der Eigene วาโฮโมเซ็กชวลตองการมีชีวิตที่รื่นรมยมากกวาการตอสูทาง การเมือง ในชวงตนคริสตศตวรรษที่ 20 ความรูกระแสหลักที่ใชอธิบายพฤติกรมทางเพศของมนุษยมาจากทฤษฎี วิวัฒนาการของดารวิน และทฤษฎีจิตวิทยาของฟรอยด ซึ่งเปนความรูที่ครอบงําสังคมตะวันตก และทําใหโฮโม เซ็กชวลถูกมองวาเปนความเสื่อมถอยของธรรมชาติ และเปนอาการปวยทางจิต นักวิทยาศาสตร แพทย นัก ชีววิทยา จิตแพทย และนักพฤติกรรมศาสตร ตางเชื่อไปในทํานองเดียวกัน ประกอบกับความคิดแบบทุนนิยมที่ ตองการสรางครอบครัวใหเขมแข็ง นักคิดทางสังคมก็เชื่อวาโฮโมเซ็กชวลเปนอุปสรรคตอการพัฒนาสังคม อาจ กลาวไดวาทั้งปรัชญาวิทยาศาสตรและสังคมทุนนิยมในชวงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 ถึงตนคริสตศตวรรษที่ 20 ปดกั้นสิทธิเสรีภาพของโฮโมเซ็กชวล

สังคมนิยมกับสิทธิโฮโมเซ็กชวล ในชวงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 ถึงตนคริสตศตวรรษที่ 20 ผูนําเคลื่อนไหวสิทธิโฮโมเซ็กชวลลวน ไดรับอิทธิพลความคิดแบบสังคมนิยม ไมวาจะเปน อุลริชส, เฮิรชเฟลด ในเยอรมัน คารเพนเตอร และออสการ ไวล ในอังกฤษ ในป ค.ศ.1890 ไวลเคยเขียนบทความเรื่อง The Soul of Man under Socialism51 เพื่ออธิบายวาโฮ โมเซ็กชวลถูกลงโทษเพราะสังคมไมมีความยุติธรรม ความคิดแบบสังคมนิยมหรือฝายซายที่เห็นความเทาเทียม ของคนทุกคนในสังคมมาจากความคิดของชารลส ฟูเรียร และอองรี เดอ เซนต-ไซมอนด52 ฟูเรียรเคยกลาววาคน รักเพศเดียวกันมีสิทธิที่จะดําเนินชีวิตของตัวเองเชนเดียวกับชายหญิงทั่วไป ความคิดแบบนี้บางครั้งเรียกวา Utopian Socialism มารกซไมเห็นดวยกับความคิดของฟูเรียรเพราะไมตองการใหมนุษยมีอิสระทางเพศ ซึ่ง อาจจะทําใหสังคมเสื่อมลง นอกจากนั้นมารกซยังเคยเขียนหนังสือตําหนิความรักระหวางชายกับชายในสังคมกรี กวาเปนความเสื่อมเสียทางศีลธรรม ในชวงทศวรรษที่ 1860 อุลริชสเคยเขียนจดหมายและสงหนังสือเกี่ยวกับโฮโมเซ็กชวลถึงมารกซ แต มารกซไมใหความสนใจและยังดูหมิ่นวาโฮโมเซ็กชวลทําลายกฎธรรมชาติ มารกซและเองเกลสวิจารณวาเปนไป ไมไดที่จะทําใหทุกคนมีความเทาเทียม และมองโฮโมเซ็กชวลในแงลบ เพราะเชื่อวาความรักของคนเพศเดียวกัน ผิดธรรมชาติ ทําลายสถาบันครอบครัวและเกิดจากระบบทุนนิยม53 ความคิดแบบมารกซเปนสังคมนิยมแบบ วิทยาศาสตร (Scientific Socialism) ซึ่งเปนปฏิปกษกับกระแส “ความรักที่เปนอิสระ”

51 52 53

Barry D. Adam. 1987. อางแลว หนา 35. http://en.wikipedia.org/wiki/Socialism_and_LGBT_rights http://en.wikipedia.org/wiki/Socialism_and_LGBT_rights


นักเคลื่อนไหวเพื่ออิสระทางความรักตอสูกับอุดมการณแบบวิคตอเรียที่เชิดชูสถาบันครอบครัวและรัก ตางเพศ นักเคลื่อนไหวเหลานี้รับแนวคิดแบบสังคมนิยมแบบฟูเรียรและมักจะเปนพวกอนารยะ (Anarchist) ที่ไม ตองการใหรัฐบาลเขามาแทรกแซงเรื่องสวนตัว กลุมโฮโมเซ็กชวลแบบอนารยะ ( Homosexual Anarchist) รวมตัวกันในหลายประเทศ เชน ฝรั่งเศส อิตาลี และเยอรมัน กลุมเหลานี้ลวนเชิดชูความรักของคนเพศเดียวกัน ตัวอยางกลุมโฮโมเซ็กชวลแบบอนารยะของอดอลฟ แบรนดในเยอรมัน เชื่อวาความรักของชายกับชายเปนความ รักที่กลาหาญและเชิดชูความเปนชายชาตรี ปฏิเสธความเปนหญิงในโฮโมเซ็กชวล พรรคคอมมิวนิสตใน เยอรมันเห็นดวยที่จะใหอิสระภาพแกโฮโมเซ็กชวล และสนับสนุนการแกกฎหมายมาตรา 17554 ความคิดของฟูเรอรเห็นเปนรูปธรรมชัดเจนหลังการปฏิวัติรัสเซียในป ค.ศ.1917 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต ประกาศวาโฮโมเซ็กชวลไมมีอันตรายตอสังคมและเปนเรื่องธรรมชาติ คําประกาศนี้รูจักในนาม The Sexual Revolution of Russia55 ซึ่งทําใหโฮโมเซ็กชวลในยุโรปชวงทศวรรษที่ 1920 ไดรับการยอมรับและถือเปนยุค รุงเรืองของโฮโมเซ็กชวล ทศวรรษที่ 1920 คือชวงเวลาที่โฮโมเซ็กชวลออกมาเคลื่อนไหวเพื่อใหมีการแก กฎหมาย และเรียกรองสิทธิเสรีภาพ เมืองศูนยกลางเสรีภาพของโฮโมเซ็กชวลในเวลานี้ ไดแก เบอรลิน มอสโคว เซนต ปเตอรสเบิรก และปารีส สถานบันเทิงและสมาคมของโฮโมเซ็กชวลเกิดขึ้นมากมายในเมืองเหลานี้ ดวย ความคิดเรื่องเสรีภาพทางเพศ ทําใหโฮโมเซ็กชวลถูกมองวาเปนพวก Anarchist ที่ไมตองการอยูใตอํานาจการ ปกครองแบบใด และตอตานความคิดเชิงอนุรักษนิยม โดยเฉพาะในยุควิคตอเรีย โฮโมเซ็กชวลไมตองการใหรัฐ เขามาแทรกแซงเรื่องสวนตัว ไมวาจะเปนความรัก และความใคร คําวา “เสรีภาพแหงรัก” กลายเปนคําขวัญ สําหรับนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิโฮโมเซ็กชวลในยุโรปและอเมริกา เชนการตั้งกลุม New Life Socialism ของคาร เพนเตอรในป ค.ศ.1883 แตหลังจากที่นาซีครองอํานาจในเยอรมัน และสตาลินครองอํานาจในรัสเซีย สิทธิของโฮโมเซ็กชวลก็ ถูกทําลายอีกครั้งภายใตระบอบเผด็จการของฮิตเลอรและสตาลิน โฮโมเซ็กชวลในรัสเซียถูกปราบปรามอยาง หนักในชวงที่สตาลินมีอํานาจ เพราะโฮโมเซ็กชวลสนับสนุนความคิดสังคมนิยมที่สวนทางกับการพัฒนา อุตสาหกรรมของสตาลิน ในป ค.ศ.1934 สตาลินจึงออกกฎหมายลงโทษโฮโมเซ็กชวล และเชื่อตามความคิด มารกซที่วาโฮโมเซ็กชวลเปนความเสื่อมถอยของมนุษย

นาซีกับการปราบปรามโฮโมเซ็กชวล ในป ค.ศ.1933 เมื่อนาซีเขามาปกครองเยอรมัน มาตรการจัดระเบียบสังคมก็เริ่มอยางเขมขน เริ่มจากการ กําจัดโสเภณี กามโรค ปดบารสถานเริงรมยและสถานที่มั่วสุม และปดสิ่งพิมพตางๆที่นําเสนอภาพโปเปลือย อนาจาร56 ดวยมาตรการนี้ทําใหสถาบันของเฮิรชเฟลดถูกทําลาย เอกสารและหนังสือถูกเผามากกวา 12,000 เลม 54

Bob McCubbin. The Roots of Lesbian & Gay Oppression: A Marxist View. W W.

Publishers, New York. 1976. หนา 45. 55

Barry D. Adam. 1987. อางแลว หนา 46.

56

Gunter Grau.(ed.) Hidden Holocaust?. Cassell, London. 1993. หนา 26.


ภาพถายถูกเผามากกวา 35,000 ภาพ57 เจาหนาที่ในสถาบันหลายคนถูกจับเขาคุก หนังสือพิมพของเกยถูกปด เฮิรช เฟลดและคนรักตองหนีไปอยูฝรั่งเศสจนกระทั่งเสียชีวิตในป ค.ศ.1935 บารเกยหลายแหงถูกกวาดลางและตอง ปดตัวเอง58 ศิลปน นักคิด นักเขียนที่เปนโฮโมเซ็กชวลตองหนีออกจากเยอรมัน มีการขยายบทลงโทษโฮโม เซ็กชวลจากการจําคุก 6 เดือนเปน 5 ป นาซีคิดวาศัตรูของเยอรมันคือโฮโมเซ็กชวล เพราะโฮโมเซ็กชวลคือ งานวิจัยของ พฤติกรรมส่ําสอนทางเพศ59 และเปนผูทําลายเผาพันธุบริสุทธิ์แบบอารยันของชาวเยอรมัน60 รูดอลฟ แคลร เรื่อง Homosexuality and Penal Law ในป ค.ศ.1935 ระบุวาโฮโมเซ็กชวลเปนคนที่ลอลวงทางเพศ ตอผูชายและเปนโรครายที่แพรระบาดทั่วสังคมหรือถูกมองวาเปนคนชั่ว61 โฮโมเซ็กชวลกลายเปนกลุมคนที่ถูก นาซีกําจัดเชนเดียวกับชาวยิว สลาฟ ยิปซี พวกฝายซายและอาชญากร62 ความคิดแบบสังคมนิยม(Socialism) และ คอมมิวนิสตยังเปนปฏิปกษตอพรรคนาซี ซึ่งโฮโมเซ็กชวลหลายคนก็มีความคิดแบบสังคมนิยม เพราะตองการให สังคมมีความเทาเทียมและยอมรับคนรักเพศเดียวกัน พรรคนาซีไดรับการสนุบสนุนจากนายธนาคารและนายทุน รายใหญซึ่งตองการโคนลมพรรคฝายซายและสหภาพแรงงาน63 นาซีจึงเปนพวกฟาสซิสมที่เปนศัตรูกับพวก สังคมนิยม ในป ค.ศ.1934 นาซีจัดตั้งศูนยตอตานโฮโมเซ็กชวลภายใตชื่อ Reich Center to Combat Homosexuality ซึ่งทําใหเกิดมาตรการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลอยางเขมขน ไมวาจะเปนการหามจับมือถือ แขน การจูบ การโอบไหลระหวางชายกับชาย การกระทําเหลานี้ถือเปนอาชญากรรม64 ระหวางป ค.ศ. 1936-1939 มีการจับกุมโฮโมเซ็กชวลประมาณ 30,000 คน ใขณะเดียวกันเกสตาโปก็พยายามตรวจสอบตํารวจที่มีพฤติกรรม โฮโมเซ็กชวลเชนกัน ในปเดียวกันนั้น นาซีไดสังหารพวกฝายซายไปหลายรอยคน ผูนําสําคัญในพรรคนาซีที่มีการตอตานโฮโมเซ็กชวล คือเฮนริช ฮิมมเลอร เขาเชื่อในทฤษฎีเผาพันธุที่ บริสุทธิ์ และชี้นําใหมีการลงโทษโฮโมเซ็กชวลดวยการฆา ในหนวยงานของรัฐตองไมมีโฮโมเซ็กชวล เพราะเชื่อ พรรคนาซีเคยประกาศวาโฮโมเซ็กชวลคือศัตรูของ วาโฮโมเซ็กชวลจะทําใหอาณาจักรเยอรมันลมสลาย65 เยอรมัน เมื่อมีการจับกุมโฮโมเซ็กชวล ตํารวจจะบังคับขูเข็ญใหคนๆบอกชื่อคนอื่นๆที่เปนโฮโมเซ็กชวลเพื่อที่จะ ปราบปรามใหสิ้น การบังคับใหบอกชื่ออาจแลกเปลี่ยนดวยการลดโทษใหคนๆนั้น ซึ่งบุคคลอาจเอยชื่อเพื่อนๆ 57

James Steakley. The Homosexual Emancipation Movement in Germany. Arno, New

York. 1975. p.105. 58

Christopher Isherwood. Christopher and His Kind, 1929-1939. Farrar, Straus & Giroux,

New York. 1976. p.124. 59 60

Francis Mark Mondimore.1996. อางแลว หนา 214. Harry Oosterhuis. “Male Bonding and Homosexuality in German Nationalism” in Harry

Ooosterhuis and Hubert Kennedy (ed) 1991 อางแลว หนา 248. 61

Harry Oosterhuis. 1991 อางแลว หนา 249.

62

Barry D. Adam. 1987. อางแลว หนา 49.

63

Bob McCubbin. 1976. อางแลว หนา 46.

64

Bob McCubbin. 1976. อางแลว หนา 50.

65

David F. Greenberg. 1988. อางแลว หนา 438.


หรือคนรักที่เปนโฮโมเซ็กชวล โฮโมเซ็กชวลที่ถูกจับจะถูกสงตัวไปยังแคมป(Concentration Camp) จะกลายเปน เครื่องมือทดลองทางการแพทย พวกเขาจะมีเครื่องหมายสามเหลี่ยมสีชมพูซึ่งเปนสัญลักษณของโฮโมเซ็กชวล ถูกแชแข็ง ถูกตัดอัวยวะเพศ ถูกฉีดฮอรโมนเพศชายเพื่อทดสอบวาเขาจะกลายเปนผูชายปกติหรือไม โดยเฉพาะโฮ โมเซ็กชวลที่ไมไดเปนมาตั้งแตกําเนิด (pseudo-homosexual)66 โฮโมเซ็กชวลในแคมปมีคุณภาพชีวิตที่ต่ํา อด อยาก ขาดอาหาร ทํางานหนักในสภาพแวดลอมที่สกปรก คาดวาจํานวนโฮโมเซ็กชวลที่เสียชีวิตในคายมีประมาณ 220,000 คน และมีอัตราลมปวยและเสียชีวิตสูงกวานักโทษกลุมอื่นๆ67 เดิวด กรีนเบิรก68 อธิบายวาการเมืองแบบ Bureaucratic เชนการปกครองแบบนาซีเปนอุปสรรคตอสิทธิ ของชาวเกย เนื่องจากรัฐแบบทหารไมยอมรับพฤติกรรมที่ทําลายความเปนชายชาตรี เพราะพฤติกรรมของเกย มักจะถูกมองวาไมใชผูชาย หากมีการแสดงพฤติกรรมโฮโมเซ็กชวลในกองทหารก็จะถูกลงโทษ ในประเทศ รัสเซีย สตาลินสังหารโฮโมเซ็กชวลไปจํานวนมากเพราะเปนพวกที่ตอตานระบบ ในป ค.ศ.1934 โฮโม เซ็กชวลจํานวนมากถูกจับในขอหามีพฤติกรรมไมเหมาะสม สวนใหญจะเปนศิลปน นักแสดง และนักดนตรี พวก เขาถูกจองจําในคุกหรือถูกเนรเทศไปไซบีเรีย69

ขบวนการโฮโมไฟล กับความคิดแบบฝายซาย เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดกลุมของโฮโมเซ็กชวลรวมตัวกันในเมืองใหญๆในหลายประเทศ ทั้ง อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอรแลนด เดนมารก เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา ในประเทศเนเธอรแลนดและเดนมารกมี กลุมที่เรียกวา ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อความรักระหวางชาย หรือ Homophile Movement70 คําวา “โฮโมไฟล” จะไดรับความนิยมในหมูชายรักชายมากกวาคําวา “โฮโมเซ็กชวล” เพราะโฮโมไฟลเนนเรื่องความรักและมิตรภาพ มากกวาเรื่องกามารมณและความใคร71 ขบวนการเคลื่อนไหวนี้ไดเปลี่ยนชื่อไปในชวงทศวรรษที่ 1960 เพื่อที่จะ ใชคําวา “เกย” สําหรับเรียกชื่อกลุมหรือองคกรเพื่อเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ในป ค.ศ.1943 เมืองซูริค ประเทศสวิสเซอรแลนดมีนิตยสารรายเดือนชื่อ เดอะ เซอรเคิล เผยแพรในหมู โฮโมเซ็กชวลซึ่งมีฐานะดี นิตยสารนี้มีบทความ เรื่องสั้นและบทกวีของชายรักชาย และมีการใหความรูทางการ

66

โจฮันส เฮนริค ชูลต จิตแพทยชาวเยอรมันที่ทํางานใหกับนาซี เชื่อวาโฮโมเซ็กชวลที่ไมไดเปนมาตั้งแตกําเนิดมีสาเหตุมาจาก

ปญหาจิตใจในวัยเด็ก หรือมีประสบการณถูกลวงเกินทางเพศในชวงวัยรุน โฮโมเซ็กชวลที่มีสาเหตุดังกลาวสามารถบําบัดได 67 68

Barry D. Adam. 1987. อางแลว หนา 53. Tamsin Wilton. Sexualities in Health and Social Care. Open University Press,

Buckingham. 2000. หนา.138. 69

Barry D. Adam. 1987. อางแลว หนา 48.

70

คําวา Homophile มาจากคําของคารล กันเธอร ไฮมซอธ นักจิตวิทยาชาวเยอรมันซึ่งคิดคํานี้ในป ค.ศ.1924

71

Domenico Rizzo. “Public Spheres and Gay Politics Since the Second World War” in Robert

Aldrich (ed.) Gay Life and Culture. Thames & Hudson, London. 2006. p.206.


แพทยเกี่ยวกับเรื่องเพศที่แตกตาง หรือ เพศสลับราง (sexual inversion)72 และบทความในนิตยสารเซอรเคิลที่มี อิทธิพลตอผูอานมากที่สุด คือบทความในฉบับเดือนตุลาคม ป ค.ศ.1943 ซึ่งอธิบายวิธีการรักษาผูชายใหหายจาก อาการโฮโมเซ็กชวล วิธีการรักษา คือ การใชไฟฟากระตุน การสะกดจิต และการใหดูภาพกระตุนอารมณทาง เพศ วิธีการนี้เรียกวาการรักษาแบบ “ใหเกลียด” ตัวเอง โดยทําใหคนๆนั้นหลีกเลี่ยงการเบี่ยงเบนทางเพศ และ ประพฤติตัวใหถูกตองตามเพศ ทําใหผูชายตองงานกับผูหญิงและมีบุตร เรื่องราวนี้สะทอนใหเห็นวาความรู ทางการแพทยมีอิทธิพลตอความคิดเรื่องเพศ และตัวตนทางเพศของบุคคล ซึ่งบางคนเชื่อวาการรักษาจะชวยใหเขา ใชชีวิตไดปกติ แตบางคนเชื่อวาการรักษามิใชการแกปญหา แตควรยอมรับความรูสึกของตัวเอง ผูอานนิตยสาร เซอรเคิลมีการรวมตัวกันและพยายามที่จะเรียกรองใหสังคมยอมรับ ในป ค.ศ.1946 ประเทศเนเธอรแลนดมีกลุมโฮโมเซ็กชวลรวมตัวกันชื่อ “ซีโอซี” กลุมนี้พัฒนามาจาก กลุมที่ชื่นชอบละครของเช็คสเปยร หัวหนากลุมคือบ็อบ แองเจโล เปาหมายของซีโอซีมีสองประการ ประการแรก คือการทําใหโฮโมเซ็กชวลไดรับการยอมรับจากสังคม ประการที่สองคือการสรางกิจกรรมทางวัฒนธรรมใหกับโฮ โมเซ็กชวล ในสวนของการทําใหสังคมยอมรับ ซีโอซีพยายามเรียกรองใหแกกฎหมายที่ลงโทษโฮโมเซ็กชวล ซี โอซีขยายสาขาไปทั่วประเทศตามเมืองสําคัญๆ ในชวงทศวรรษที่ 1950 เกิดบารและแหลงเริงรมยของโฮโม เซ็กชวลจํานวนมาก หลังจากเปลี่ยนหัวหนากลุมไปเปนเบ็นโน เพรมซิลา ในป ค.ศ.1962 ซีโอซีก็เปนที่รูจักอยาง กวางขวาง และเปลี่ยนชื่อกลุมเปน Dutch Association for Homophile COC ในชวงทศวรรษที่ 1970 กลุมนี้ไดรับ การยอมรับจากทางการมากขึ้น กิจกรรมหลักของกลุมคือการทําใหโฮโมเซ็กชวลอยูรวมในสังคมได ในประเทศเดนมารก มีการตั้งกลุมชื่อสมาคม1948 (League of 1948) โดยการนําของเอ็กเซล เอ็กซกิล กลุมนี้ไดแรงบันดาลใจมาจากการประกาศสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ในป ค.ศ.194873 กลุมนี้มีการผลิต นิตยสารชื่อ Vennen (แปลเปนภาษาอังกฤษหมายถึง เพื่อน) ตอมากลุมนี้ไดขยายสาขาไปยังประเทศสวีเดนและ นอรเวย ในประเทศสวีเดน กลุม1948ไดตั้งชื่อใหมในป ค.ศ.1950 เปน สมาพันธเพื่อความเทาเทียมทางเพศ โดย มีผูนําคือ อลัน เฮลลแมน ในปเดียวกันที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเกิดสมาคมแม็ตตาชิน ในป ค.ศ.1954 เกิดกลุมอาร คาดีในประเทศฝรั่งเศส และป ค.ศ.1958 เกิดสมาคมเพื่อแกกฎหมายสําหรับโฮโมเซ็กชวลในอังกฤษ ในชวงทศวรรษที่ 1950 อังกฤษมีการบังคับใชกฎหมายที่หามผูชายมีเพศสัมพันธกับชายอื่น เปน ชวงเวลาที่มีการจับกุมโฮโมเซ็กชวลจํานวนมาก ซึ่งทําใหทางการอังกฤษจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบ กฎหมายที่ลงโทษโฮโมเซ็กชวล ตอมาในป ค.ศ.1957 คณะกรรมการไดเขียนรายงานออกมาซึ่งรูจักในนาม “รายงานโวลเฟนเด็น” (Wolfenden Report) และประกาศวาพฤติกรรมชายรักชายของผูที่บรรลุนิติภาวะแลวมิใช อาชญากรรม และโฮโมเซ็กชวลก็มิใชอาการของโรคทางจิตแตอยางใด แตกลุมแพทยและจิตแพทยไมเห็นดวย กับรายงานโวลเฟนเด็น รายงานของโวลเฟนเด็นทําใหเกิดการตั้งสมาคมเพื่อแกกฎหมายสําหรับโฮโมเซ็กชวล (Homosexual Law Reform Society) กอตั้งโดย เอ อี ไดสัน และรีเวอเร็นด ฮัลลาดี สมิธ74 สมาคมมีเปาหมายเพื่อระดมทุนและ 72

Domenico Rizzo. 2006. อางแลว หนา 197.

73

Domenico Rizzo. 2006. อางแลว หนา 200.

74

Stephen M. Engel. The Unfinished Revolution. Social Movement Theory and the Gay

and Lesbian Movement. Cambridge University Press, Cambridge. 2001. p.71.


ผลักดันกฎหมายที่คุมครองโฮโมเซ็กชวล และสมาคมนี้ไดจัดประชุมครั้งแรกในป ค.ศ.1960 ซึ่งมีคนมาประชุม มากกวา 1 พันคน จนถึงป ค.ศ.1970 สมาคมไดเปลี่ยนชื่อใหมเปนสมาคมปฏิรูปกฎหมายทางเพศเพื่อที่จะแก กฎหมายและการกําหนดอายุขั้นต่ําของบุคคลในการมีเพศสสัมพันธ หลังจากที่อังกฤษไดผานกฎหมายการกระทําผิดทางเพศ (Sexual Offence Act)75 ในป ค.ศ.1967 ทําใหมี การจํากัดการลงโทษชายรักชาย โดยอนุญาตใหชายที่มีอายุ 21 ขึ้นไปสามารถมีเพศสัมพันธกับชายอื่นได และ จะตองกระทําในพื้นที่สวนตัวเทานั้น76 กฎหมายการกระทําผิดทางเพศป ค.ศ.1967 ยังทําใหเกิดกลุมเพื่อความเทา เทียมของโฮโมเซ็กชวลในป ค.ศ.1969 กลุมนี้ทํางานเชิงรุกเพื่อตอสูการเอารัดเอาเปรียบและการกดขี่ขมเหง เกย รณรงคเรื่องสุขภาพ การศึกษา การแกกฎหมายและใหคําปรึกษาปญหาทางสังคมตางๆ กลุมนี้ไดจัดประชุม เรื่องสิทธิสําหรับเกยครั้งแรกในอังกฤษในป ค.ศ.1973 ในประเทศสหรัฐอเมริกา สมาคมแม็ตตาชิน เปนองคกรเกยที่จัดตั้งโดยแฮรรี เฮย ในป ค.ศ.1950 เฮย และเพื่อนๆไดมารวมตัวกันในลอสแองเจลีส เพื่อตั้งกลุมสําหรับโฮโมเซ็กชวล เปาหมายของสมาคมแม็ตตาชิน คือ 1) เพื่อทําใหโฮโมเซ็กชวลเกิดการรวมตัวกัน 2) เพื่อใหความรูแกสังคมเกี่ยวกับวัฒนธรรมของโฮโม เซ็กชวลซึ่งเทียบไดกับวัฒนธรรมคนผิวดํา ชาวเม็กซิกันและชาวยิว 3) เพื่อสรางสํานึกความเปนผูนําของโฮโม เซ็กชวลเพื่อเปนตัวแทนของกลุมคนที่สังคมกีดกัน และ 4) เพื่อชวยเหลือโฮโมเซ็กชวลที่ถูกสังคมรังแกและกดขี่ ขมเหง รวมทั้งตอสูเพื่อใหมีการแกกฎหมายที่ลงโทษโฮโมเซ็กชวลดวย เปาหมายดังกลาวมีลักษณะเปนการทํา ใหโฮโมเซ็กชวลอยูอยางกลมกลืน(assimilation)กับคนอื่นๆในสังคม ไมทําตัวแปลกประหลาดและไมใชการตอสู แบบรุนแรงหรือกาวราว กอนที่เฮยและเพื่อนๆจะตั้งสมาคมนี้ เฮยเคยประกาศเจตนารมยในป ค.ศ.1948 วา “พวกเราซึ่งมีทั้งเพศ ชายและเพศหญิงอยูในราง ตองการที่จะพัฒนาสังคมมนุษยใหกาวหนาตอไป” ตามทัศนะของเฮยเชื่อวาเกย แตกตางจากผูชายทั้งอารมณ จิตใจ และจิตวิญญาณ รวมทั้งเกยจะมีความเปนชายและหญิงอยูในตัวเองซึ่งเปน แนวคิดเดียวกับ “เยอรนิ่ง” ของอุลริชส เฮยคือคนแรกที่กลาววาโฮโมเซ็กชวลเปน “คนกลุมนอย”77 โดยใชคํา วา Androgynous Minority เฮยรูวาตั้งแตเด็กเขามีจิตใจตางไปจากคนอื่นและสนใจคนเพศเดียวกัน และสิ่งที่ตอก ย้ําความรูสึกนี้คือการไดอานบทความของเอ็ดเวิรด คารเพนเตอรเรื่อง Homogenic Love รวมทั้งการศึกษาคนควา สวนตัวเกี่ยวกับโฮโมเซ็กชวลในมิติประวัติศาสตรและมานุษยวิทยา ทําใหเฮยสรางทฤษฎีเรื่อง “จิตสํานึกเกย” (Gay Consciousness) เพื่อที่จะทําใหเกยรูวาตนเองตางจากผูชายอยางไร และคําวา “เกย” ก็ถูกใชเพื่อเปนสรรพ คําวาเกยมีนัยยะของรูปแบบการดําเนินชีวิต แตคําวาโฮโม นามในหมูคนที่เปนโฮโมเซ็กชวลเหมือนกัน78 เซ็กชวลมีนัยยะของการเปนอาการปวยทางจิต ดังนั้นคําวาเกยจึงเขามาแทนที่

75

David F.Greenberg. 1988. อางแลว หนา 456.

76

Domenico Rizzo. 2006. อางแลว หนา 201.

77

Stuart Timmons. “He paved the way for modern gay activism” in CounterPunch, October

2002. 78

Stephen M. Engel. 2001. อางแลว หนา 43.


เนื่องจากเฮยไดรับอิทธิพลความคิดจากมารซิสต เขาจึงเรียกรองใหโฮโมเซ็กชวลออกมาเดินขบวนเพื่อ เรียกรองสิทธิของตัวเองและทําใหสังคมตระหนักวาเกยถูกกดขี่ขมเหงเชนดัยวกับชนชั้นแรงงาน79 อยางไรเฮยจะ เกี่ยวของกับลัทธิคอมมิวนิสต และทํางานภายใตพรรคคอมมิวนิสตในสหรัฐอเมริกา เฮยเปนสมาชิกพรรค คอมมิวนิสตในชวงป ค.ศ.1933-1951 แตหลังจากเฮยลาออกจากตําแหนงหัวหนาสมาคม แม็ตตาชินก็ไมไดยุง เดียวกับคอมมิวนิสตอีกตอไป แม็ตตาชินมีเครือขายอยูในเมืองใหญๆทั่วสหรัฐ ไดแก ซานฟรานซิสโก นิวยอรค วอชิงตันดีซี และชิคาโก ในชวงทศวรรษที่ 1960 สมาชิกของแม็ตตาชินในนิวยอรคและซานฟรานซิสโกเริ่มมี ความคิดแตกตางไปจากผูนํารุนแรกๆ สมาชิกรุนใหมๆตองการเรียกรองสิทธิทางสังคมและตอตานการกดขี่ขม เหงอยางจริงจัง ขบวนการเคลื่อนไหวของเกย ไดแรงบันดาลใจมาจากกลุมคนผิวดําและกลุมฝายซายที่ตองการปฏิรูป สังคม และตอตานลัทธิเหยีดสีผิว ระบบทุนนิยม จักรวรรดินิยม อํานาจเผด็จการทหาร และการบริหารของภาครัฐ กลุมคนเหลานี้เปนหนุมสาวที่กําลังเรียนอยูในวิทยาลัยตางๆ รวมถึงกลุมผูหญิงที่เรียกรองความเทาเทียมทางเพศ และสิทธิสตรีในชวงทศวรรษที่ 196080 ในชวงยุคแม็คคารธีในสหรัฐอเมริกา กลุมโฮโมเซ็กชวลและคอมมิวนิสต ลวนเปนกลุมลับๆที่ไมเปดเผยตัว กลุมเหลานี้จะมีสถานที่ลับเพื่อนัดประชุมหารือ ผลิตสิ่งพิมพของตัวเอง และ สมาชิกมีความจงรักภักดีตอกัน รวมทั้งแยกตัวเองออกจากสังคมบันเทิง สถานเริงรมย บาร ไนทคลับ ซาวนา และ อื่นๆที่เกี่ยวของกับการพาณิชย เนื่องจากในชวงทศวรรษที่ 1950 เปนตนมากลุมโฮโมเซ็กชวลชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในยุโรปและ อเมริกาที่อยูในสถานเริงรมยมักจะแสดงออกดวยกิริยาอาการของผูหญิง และมักจะสนใจเรื่องเซ็กซโดยนําผูชาย จากชนชั้นแรงงานมาปรนเปรออารมณทางเพศ ซึ่งตรงขามกับกลุมองคกรและขบวนการเคลื่อนไหวของกลุม เกยที่ตองการตอสูกับการถูกกดขี่ขมเหง และทําใหสังคมยอมรับเกยมากขึ้น81 เนื่องจากในป ค.ศ.1950 รัฐบาล สหรัฐมีรายงานเกี่ยวกับโฮโมเซ็กชวล และโจมตีวาคนเหลานี้เปนคนที่อันตรายตอความมั่นคงของชาติ เปนโรคที่ นารังเกียจและเปนคนที่ไรศีลธรรม ทําใหเกิดบรรยากาศหวาดระแวงโฮโมเซ็กชวลไปทั่ว82 รายงานครั้งนี้ทําใหโฮโมเซ็กชวลจํานวนมากตกงาน และถูกปฏิเสธการเขาทํางานในหนวยงานของรัฐ ในชวงทศวรรษที่ 1950 คาดวามีโฮโมเซ็กชวลถูกออกจากงานประมาณเดือนละ 40-60 คน ในชวงป ค.ศ.19471950 มีผูสมัครงานประมาณ 1,700 คนถูกปฏิเสธเขาทํางาน และคนประมาณ 4,380 คนถูกใหออกจากหนวยงาน ทหารเพราะวาเปนโฮโมเซ็กชวล นอกจากนั้นยังมีโฮโมเซ็กชวลจํานวนมากถูกตํารวจจับในสถานเริงรมย และมี การลอบฆาโฮโมเซ็กชวล83 นอกจากการตอสูกับสังคมแลว องคกรเกยยังตอสูกับการสรางอัตลักษณทางเพศในชุมชนเกยดวย กันเอง กลาวคือ สมาชิกในองคกรปฏิเสธอัตลักษณแบบออนหวานที่เลียนแบบสตรีเพศ ทาทีและการแสดงออก 79

Stephen M. Engel. 2001. อางแลว หนา 30.

80

David F. Greenberg. 1988. อางแลว หนา 459.

81

Domenico Rizzo. 2006. อางแลว หนา 211.

82

Stephen M. Engel. 2001.อางแลว หนา 27.

83

Stephen M. Engel. 2001. อางแลว หนา 28.


ของสมาชิกจึงเครงขรึมจริงจัง แตในระยะเวลาตอมา ในชวงทศวรรษที่ 1970 อัตลักษณที่ประสบความสําเร็จ และไดรับการยอมรับคือ ทาทีแบบผูชายที่แข็งแรง ไวหนวดเครา มีกลาม รูปรางเหมือนนักกีฬา และเนนความ ออนเยาว ชองวางระหวางโฮโมเซ็กชวลรุนเกากับรุนใหมสะทอนออกมาชัดเจนในเรื่องการแสดงตัวตน โฮโม เซ็กชวลที่เติบโตในทศวรรษที่ 1950 เห็นวาโฮโมเซ็กชวลรุนหลังเปนพวกที่รักอิสระเสรีและไมจริงจัง เพราะใช ชีวิตอยูตามบารและอยูใตระบบทุนนิยม84 ในป ค.ศ.1953 นักสัตววิทยาชื่ออัลเฟร็ด คินซียเขียนหนังสือเรื่อง Sexual Behavior in Human Male สง อิทธิพลตอวิธีคิดเรื่องเพศในชุนชนชายรักชายในชวงเวลานั้น ซึ่งสังคมอเมริกันยังมองวาโฮโมเซ็กชวลเปน อาชญากรรมและเปนโรคทางจิต และบุคคลที่เปนโฮโมเซ็กชวลตองไดรับการรักษา แตงานวิจัยของคินซียซึ่งใช วิธีการสัมภาษณ ใหขอมูลเชิงสถิติวามีผูชายประมาณ 4 เปอรเซ็นตที่มีจิตใจเปนโฮโมเซ็กชวลอยางสมบูรณ โฮ โมเซ็กชวลสามารถพบไดในคนทุกเพศทุกวัย ทุกสภาพสังคมไมวาจะเปนเมืองหรือชนบท85 ชวยทําใหบุคลที่เปน โฮโมเซ็กชวลเขาใจตัวเองมากขึ้นและกลาที่จะแสดงตัวตนตอสังคม ซึ่งเปนชวงของการบมเพาะ และสรางกลุม และองคกรเกย บุคคลที่รูสึกวามีจิตใจแบบโฮโมเซ็กชวลจะแสวงหาชองทางเพื่อพบปะกับคนที่มีความรูสึก เดียวกัน แนวคิดสังคมนิยมยังคงมีอิทธิพลตอการเคลื่อนไหวของโฮโมเซ็กชวลเกือบทุกยุคสมัย หลังสิ้น สงครามโลกครั้งที่สอง พรคคคอมมิวนิสตในอิตาลีและฝรั่งเศสก็ยอมรับสิทธิของเกย และออกมาเคลื่อนไหวเรื่อง สิทธิของชาวเกย เชน เรียกรองใหมีการแกกฎหมายเพื่อใหผูชายอายุ 15 ปสามารถมีเพศสัมพันธได มีการจัดตั้ง สถานีวิทยุของชาวเกยในฝรั่งเศสในป ค.ศ.1982 ในสเปนมีการแกกฎหมายใหโฮโมเซ็กชวลเปนคนปกติ พรรค คอมมิวนิสตในหลายประเทศในยุโรปมีสวนชวยใหเกยไดรับสิทธิในเรื่องตางๆมากขึ้น

แนวคิดเสรีนิยมกับสิทธิเกย ในป ค.ศ.1969 เกิดองคกรเกยในนิวยอรค ชื่อ Gay Liberation Front (GLF) เปนองคกรที่มีความคิด แบบฝายซายและสังคมนิยม ซึ่งไมพอใจตํารวจที่บุกบารสโตนวอลล ซึ่งเปนแหลงชุมนุมของเกย องคกรนี้ กลายเปนองคกรเกยที่ทํางานเชิงการเมือง และเปนแมแบบใหองคกรเกยในลอนดอน ปารีส และเบอรลิน ประเด็น หลักที่องคกรเกยในยุคคนี้สนใจคือเรื่อง “เสรีภาพ” การกดขี่ขมเหง รวมถึงการโคนลมอํานาจผูชายเปนใหญใน ระบบทุนนิยมแบบผิวขาว86 องคกรจีแอลเอฟพยายามยืนอยูเคียงขางกลุมคนที่ถูกกดขี่ ไมวาจะเปนผูหญิง คนผิว ดํา หรือชนกลุมนอย ในขณะที่ขบวนการโฮโมไฟลในทศวรรษที่ 1950 สนใจเรื่องการรวมพลังของโฮโมเซ็กชวล เทานั้น ประเด็นเรื่องเสรีภาพทําใหชาวเกยออกมาเปดเผยตัวเองตอสังคม เพราะเชื่อวาชีวิตสวนตัวเปนเรื่องทาง

84

Domenico Rizzo. 2006. อางแลว หนา 212.

85

Stephen M. Engel. 2001.อางแลว หนา.26.

86

Stephen M. Engel. 2001.อางแลว หนา.42.


การเมือง ถาตองการเปลี่ยนแปลงสังคมก็ตองแสดงตัวตนที่แทจริงออกมา (Coming Out)87 การเปดเผยตัวในยุค แสวงหาเสรีภาพ ทําใหเกยตองกลาแสดงตัวตนในพื้นที่สาธารณะที่กวางกวาเดิม คารล วิตตแมน อธิบายใน บทความเรื่อง Gay Manifesto (1969) วาการปกปดตัวเองควรจะจบสิ้นไป เพราะการปกปดเทากับยอมรับการกดขี่ และการถูกรังเกียจ การเอาชนะสิ่งนี้ตองเปดเผยตัวเองเทานั้น88 เกยที่ปกปดตัวเองจะไมไดรับการยอมรับ และถูก เรียกวา closet queen ปรากฎการณเคลื่อนไหวขององคกรเกย แผขยายไปทั่วโลกหลังจากเหตุการณสโตนวอลลในอเมริกา เกิดกลุมเกยในเมืองใหญๆทั่วสหรัฐ แคนาดา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด ฝรั่งเศส เนเอรแลนด เยอรมัน อิตาลี และอารเจนตินา กลุมเกยเหลานี้มีความหลากหลายทั้งความคิดและการแสดงออก และเกี่ยวของกับบริบท ทางสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตรของแตละประเทศ การเรียกรองเสรีภาพของเกย มีนัยยะทางการเมือง กลาวคือ เกยตองการที่จะปฏิวัติวิธีคิดเรื่องเพศ และ ความเปนชายที่เคยเชื่อกันมา ทําใหสังคมเห็นวาความเปนชายของเกยตางไปจากความเปนชายแบบจารีตที่ให ความสําคัญกับการเปนพอและเปนสามี และปฏิเสธอารมณความรูสึกแบบสตรีเพศ แตความเปนชายที่เกย นําเสนอเปนรูปแบบใหมของความสัมพันธที่ชายสามารถออนไหวและรักเพศเดียวกันได ความพยายามใดๆที่จะ เยียวยารักษาผูที่เปนโฮโมเซ็กชวลจึงถูกตอตานจากเกย องคกรเกยจึงเรียกรองใหเกยมีความสุขกับสิ่งที่ตนเองเปน สมาชิกในองคกรจีแอลเอฟ คิดไมตางจากแฮรรี เฮย ที่เชื่อวาบุคคลเกิดขึ้นมาดวยความเปนชายและหญิงอยูในตัว ซึ่งธรรมชาติมอบไวให ผูชายรักผูชายจึงมิใชอาชญากรรม หรืออาการปวยทางจิต แตความมุงมั่นที่จะปฏิรูปสังคมขององคกรเกยก็มีพลังอยูไมนาน เพราะสมาชิกในองคกรมีอุดมการณ และเปาหมายที่แตกตางกัน บางกลุมเนนการเมืองและวิชาการ แตบางกลุมเนนการใชชีวิตและความสนุกสนาน การทํางานดวยอุดมการณตางกันอาจไมไดรับการยอมรับ ทําใหเกิดการแตกกลุม และเกิดกลุมยอยๆมากมาย ในชวงปลายทศวรรษที่ 1970 จึงเปนชวงตกต่ําขององคกรเกยที่คิดแบบฝาบซาย สมาชิกกลุมหนึ่งซึ่งเปนเกยผิว ขาวที่แยกตัวออกจากจีแอลเอฟในป ค.ศ.1974 มารวมตัวภายใตชื่อสหพันธนักเคลื่อนไหวเกย หรือ Gay Activist’s Alliance (GAA) ซึ่งเนนเรื่องสิทธิ ศักดิ์ศรี และอิสรภาพของเกยโดยเฉพาะ ไมยุงเกี่ยวกับกลุมคนผิวดํา หรือ ผูหญิง89 กลุมจีเอเอมีแนวคิดแบบประชาธิปไตย และจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อทํางานดานการเมือง สิทธิ พลเมือง กฎหมาย การออกสิ่งพิมพ ทํางานเชิงสังคม จัดกิจกรรมหารายได และจัดหาสมาชิก ผลงานที่สําคัญของ จีเอเอคือผลักดันใหสมาคมจิตเวชแหงอเมริกายอมรับวาโฮโมเซ็กชวลเปนคนปกติ ความคิดแบบเสรีนิยมทําใหเกิดกลุมเชิงพาณิชยเพื่อตอบสนองตัวตนของเกย เชน บาร ไนทคลับ โรง อาบน้ํา ยิม ฟตเนส ฯลฯ ซึ่งเจริฐรุงเรืองและขยายตัวมากในทศวรรษที่ 1970 ธุรกิจเกยทําใหเกิดรูปแบบการใช ชีวิตที่พึ่งพิงการบริโภค และทําใหเกยกลายเปน “ผูบริโภค”ที่มีความสําคัญ บรรยากาศที่ไมเครงขรึมอาจเห็นได จากการเดินพาเหรดของเกย ซึ่งรูจักในนาม “Gay Pride” เปนกิจกรรมทางสังคมของกลุมเกยที่มีไวเพื่อบอกตัวเอง

87

Domenico Rizzo. 2006. อางแลว หนา 214.

88

Domenico Rizzo. 2006. อางแลว หนา 215.

89

Stephen M. Engel. 2001.อางแลว หนา.44.


วาการเปนเกยคือสิ่งที่นาภูมิใจและเขาก็ควรมีสิทธิเชนเดียวกับผูชายและผูหญิง พาเหรดเกยไพรดจัดขึ้นครั้งแรก ในนิวยอรค ในป ค.ศ.1970 หลังจากครบวาระหนึ่งปของการจราจลที่สโตนวอลล90 อยางไรก็ตาม ตอมาการเดินพาเหรดมิไดมุงไปที่เรื่องสิทธิเสรีภาพเทานั้น แตยังเปนการเปดเผยอารมณ ความรูสึกของเกยตอสิ่งที่ตนเองเปน อารมณดังกลาวนี้กลายเปนเรื่องความสนุกสนาน ความบันเทิง แฟชั่น เสียงเพลง ปารตี้ และการเตนรํา พาเหรดในระยะหลังจึงกลายเปนกิจกรรมเพื่อความบันเทิงมากกวาจะเปนการ แสดงออกถึงสิทธิเสรีภาพ ทําใหเกยพาเหรดกลมกลืนไปกับวัฒนธรรมปอปและการบริโภคสินคา สิ่งทาทาย ใหมสําหรับองคกรเกยคือความคิดแบบทุนนิยมของเกย (Gay Capitalism)91 ซึ่งพยายามสรางคําอธิบายใหม เกี่ยวกับศักดิ์ศรีของเกย กลาวคือทุนนิยมเกยมักจะพูดถึงตัวตน การใชชีวิต ความภาคภูมิใจ รสนิยม ความรูสึก และความเปนชาย ซึ่งสิ่งเหลานี้มักจะมาพรอมกับการบริโภคสินคาและการใชชีวิตในสถานเริงรมย ระบบทุนนิยมจึงมีอิทธิพลตอการนิยามชีวิตแบบเกยตั้งแตทศวรรษที่ 1970 เปนตนมา นอกจากนั้นยังทํา ใหเกิดชุมชนเกยเกิดขึ้นมากมาย นายทุนที่เปนเกยเริ่มมีบทบาทสําคัญมากกวาเกยที่เปนนักเคลื่อนไหว ทุนนิยม ทําใหความสัมพันธของเกยเปลี่ยนจากความรักไปเปนความใคร เนนกามารมณมากกวาความสัมพันธระยะยาว ทุนนิยมทําใหเซ็กกลายเปนสินคา แลกเปลี่ยนดวยเงินตรา เกิดปรากฎการณที่เรียกวา Fast-Food Sex92 ในสังคม เกย เกยสามารถหาเซ็กซไดงาย เปลี่ยนคูไดตลอดเวลา ดังนั้นความสัมพันธแบบดูใจกันนานๆไมคอยเกิดขึ้นมาก นัก อยางไรก็ตามเมื่อเกิดสถานการณเอดสแพรหลายในชุมชนเกย สงผลใหเกยตองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทาง เพศในชวงทศวรรษที่ 1980 เปนตนมา ในสวนของขบวนการเคลื่อนไหวของกลุมเกยเริ่มมีกลยุทธทางการเมืองที่ชัดเจนขึ้น ในยุคเสรีนิยม ประชาธิปไตยชวงทศวรรษ 1980 เกยในโลกตะวันตกจะมีการจัดประชุมสัมมนาของสมาคมเกยนานาชาติ หรือ International Gay Association ซึ่งจัดตั้งขึ้นในอังกฤษในป ค.ศ.1979 การประชุมนี้ทําใหเกิดเครือขายเกยจาก หลายประเทศซึ่งมาพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณทํางาน และรวมคิดหาแนวทางพัฒนาชีวิตของเกยใหดีขึ้น ประเด็นที่ไดรับความสนใจในชวงนี้คือเรื่องสิทธิมนุษยชน ในปเดียวกันมีการเดินขบวนของกลุมเกย เลสเบี้ยน ไบเซ็กชวลในกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผูรวมเดินขบวนมากกวา 100,000 คน และในป ค.ศ.1987 มีการ เดินขบวนครั้งที่สอง มีผูเขารวมประมาณ 600,000 คน กลุมเกยพยายามที่จะทําใหเรื่องเพศเปนเรื่องของสิทธิเพื่อ ปองกันมิใหเกยถูกกดขี่และลวงละเมินจากสังคม ในยุคประชาธิปไตยนี้ องคกรเกยไดเปลี่ยนวิธีคิดและการปฏิบัติ จากเรื่องเสรีภาพไปสูเรื่องสิทธิการเปนพลเมือง (Citizenship) ตัวอยางขอเรียกรองสิทธิการเปนพลเมืองของเกย เชน สิทธิของการทํางาน องคกรเกยในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรปออกมาเคลื่อนไหวในกรณีที่บริษัทและหนวยงานกีดกันเกยหรือปฏิเสธการเขาทํางานของเกย เกยหลายคนเขามาสูวงการเมืองและสมัครเขารับเลือกตั้ง ในยุคเสรีประชาธิปไตยนี้ เกยออกมามีบทบาทในวงการ ตางๆและพยายามวิพากษวิจารณการเคลื่อนไหวแบบเดิมๆที่ทําใหเกยเปนเพียงชนกลุมนอย หรือตองปรับตัวเขา หาคนสวนใหญ เกยยุคประชาธิปไตยตองการมีพื้นที่ทางสังคมและใชชีวิตไดเหมือนคนทั่วไป ไมวาจะเปนเรื่อง 90

Gert Hekma. “The Gay World: 1980 to the Present” in Robert Aldrich (ed.) 2006 อางแลว หนา

333. 91

Barry D. Adam. 1987. อางแลว หนา 97.

92

Barry D. Adam. 1987. อางแลว หนา 100.


อาชีพ การแตงงาน หรือการมีบุตร ปรากฎการณนี้เปนสวนหนึ่งของระบบทุนนิยมตะวันตก ดีดี เฮอรแมน (1993) อธิบายวาในระบบทุนนิยมประชาธิปไตย วาทกรรมเรื่อง “ความเทาเทียม” (equality) คือเครื่องมือที่ทําให มนุษยรูสึกมีตัวตน การพูดถึงสิทธิมนุษยชนจึงมีความสําคัญ93 เฮอรแมนยังตั้งขอสังเกตวาการเรียกรองกฎหมายเพื่อใหสิทธิกับเกยเปนการตอกย้ําอุดมการณและ บรรทัดฐานสังคมที่ผูชายเปนใหญ คือ ทําใหการแบงแยกวาใครคือคนดอยโอกาสกับคนที่มีโอกาสเหนือกวา ทํา ใหเกยยังคงถูกมองวาเปนผูดอยโอกาสและถูกกดขี่ขมเหง ในขณะที่ทําใหผูชายที่เปนรักตางเพศเปนผูมีอํานาจ ฟูโกก็ชี้ใหเห็นในประเด็นนี้วากฎหมายเปนเรื่องของอํานาจ และทําใหตัวตนทางเพศของมนุษยกลายเปนสิ่งที่ตอง ผานการพิสูจน นอกจากนั้นกฎหมายที่ใหสิทธิกับเกยยังบดบังความหลากหลายของความเปนเกยที่ปรากฎอยูใน ชีวิตประจําวัน อาจกลาวไดวากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเกยเปนวาทกรรมของอุดมการณเสรีนิยมที่สรางมาจาก ผูนําเกยที่มีบทบาทเปนนักเคลื่อนไหวทางสังคม และวาทกรรมนี้ก็ทําให “ความโนมนาวใจทางเพศ” (Sexual Orientation) มีตัวตนที่ชัดเจน อัตลักษณแบบเกยจึงมีพลังมากในการผลักดันเรื่องสิทธิ แตสิ่งที่ขาดหายไปคือการ สํารวจและตั้งคําถามวาอะไรคือความโนมนาวใจทางเพศ94

เกยกับเอดส ในป ค.ศ.1981 หนังสือพิมพนิวยอรคไทม รายงานเรื่องเกย 5 คน ปวยดวยโรคมะเร็ง หนังสือพิมพเกย ในนิวยอรครายงานวาพบโรคประหลาดชนิดใหม ซึ่งทําใหเกยหันมาสนใจ95 เดือนพฤษภาคม ป ค.ศ.1981 นายแพทยชื่อลอวเรนซ เมสส เขียนบทความลงในสื่อของเกยโดยใหขอมูลเกี่ยวกับโรคประหลาดของเกยและทํา ใหเกยเกิดความหวั่นวิตก ในชวงป ค.ศ.1981 ถึง 1998 คาดวามีเกยในสหรัฐเสียชีวิตดวยเอดสประมาณ 210,000 คน สถานการณดังกลาวทําใหขบวนการเคลื่อนไหวของเกยเปลี่ยนไปจากเดิม ขบวนการเกี่ยวกับเอดสเกิดขึ้น มากมายและดึงคนหลายประเภทเขามาเกี่ยวของไมวาจะเปน คนผิวดํา คนลาตินอเมริกัน เอเชีย ผูหญิงและผูชาย เกยและเลสเบี้ยน กลุมสําคัญๆ ไดแก Gay Men’s Health Crisis (GMHC), The National Gay and Lesbian Task Force และ กลุม ACT UP (The Aids Coalition to Unleash Power) ชวงเวลาของการแพรระบาดของเอดส ทําให เกยตกเปนเปาหมายของสังคม โดยเฉพาะนักการเมืองฝายขวาออกมาระบุวาเอดสเปนโรคของเกย เกยถูก ธรรมชาติลงโทษเพราะเกยฝาฝนกฎธรรมชาติ96 องคกรเกยในทศวรรษที่ 1980 เปนตนมาจึงพยายามตอสูเพื่อทําใหสังคมมีความเขาใจวาเอดสมิใชโรค ของเกยแตอยางใด กลุมเกยที่มีฐานะจะเขามามีสวนรวมในกิจกรรมทางสังคมจํานวนมาก มีผลทําใหการ 93

Didi Herman. “The Politics of Law Reform: Lesbian and Gay Rights Struggles into the

1990s.” in Joseph Bristow and Angelia R. Wilson. (ed.) Activating Theory: Lesbian, Gay, Bisexual Politics. Lawrence& Wishart, London. 1993. p.249. 94 95

Didi Herman. 1993. อางแลว. หนา.256-257. Roger Streitmatter. Unspeakable The Rise of the Gay and Lesbian Press in America.

Faber and Faber, Boston. 1995. หนา.243. 96

Stephen M. Engel. 2001.อางแลว หนา.50.


เคลื่อนไหวของเกยตองเกี่ยวกับกับหนวยงานภาครัฐ เปนการหันเหออกจากประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพไปสูการตั้ง คําถามเกี่ยวกับเซ็กซ ทําใหเกยตองหันมารับผิดชอบเรื่องปญหาสุขภาพ เกยที่เปนนักเคลื่อนไหวออกมาโจมตี และเรียกรองใหปดโรงอาบน้ําของเกย ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกมองวาเปนสัญสักษณเสรีภาพทางเพศของชาวเกย97 อยางไรก็ตาม ชีวิตเกยที่เกี่ยวของกับเอดส สะทอนใหเห็นขอวิพากษที่สําคัญขององคกรเกยแบบฝายซาย ซึ่งเคยอธิบายวา เมื่อทุนนิยมเขามาครอบงําชีวิตของเกย ไมวาจะเปนบารหรือโรงอาบน้ํา จะทําใหความสัมพันธ ของเกยกลายเปนเพียงการแลกเปลี่ยนทางวัตถุ กลาวคือ สถานเริงรมยของเกยทําใหเกยลดความเปนมนุษยลงไป เพราะเกยสนใจแตเพียงความใครและกามารมณ บารเกยทําใหความสัมพันธของเกยเปลี่ยนจากเรื่องความรักไปสู เรื่องเซ็กซ 98 การแพรระบาดของเอดสในหมูเกยก็เปนผลมาจากความสัมพันธที่เนนเรื่องเซ็กซเปนสําคัญ องคกรเกยในยุคของเอดส จะทํางานกับหนวยงานดานสุขภาพ และสวัสดิการทางสังคม กลุมที่เรียก ตัวเองวาวิกฤตสุขภาพของเกย กอตั้งขึ้นโดยเกย 4 คน ในป ค.ศ.1982 มีเปาหมายเพื่อใหบริการดานสุขภาพตอชาว เกยและตอสูกับโรคเอดส ผูนําคนสําคัญไดแก แลรรี เครเมอร และพอล ปอปแฮม หลังจากมีการรายงานวาพบ โรคชนิดใหมที่เกิดขึ้นในเกย ในเวลานั้นโรคนี้ถูกเรียกวา “มะเร็งของเกย”99 หนังสือพิมพของเกยชื่อ New York Native ลงขาวพาดหัววา “มะเร็งในชุมชนเกย”100 และลงบทความที่อธิบายวาสาเหตุของการแพรเชื้อของโรค ประหลาดนี้คือการมีเพศสัมพันธทางทวารหนัก กลุมของเครเมอรไดระดมทุนเพื่อการคนควาวิจัยโรคดังกลาว และเงินทุนบางสวนสงไปชวยเหลือเกยที่ปวยดวยโรคนี้ นอกจากนั้นยังทําสื่อเพื่อใหความรูแกสาธารณะเพื่อให เขาใจโรคนี้ ตอมาในป ค.ศ.1984 เครเมอรมีความคิดตางไปจากผูรวมกอตั้งกลุม จึงแยกตัวไปจัดตั้งกลุมใหมชื่อ ACT UP โดยเนนการทํางานเชิงการเมืองมากขึ้น และยึดอุดมการณใหมแบบ Separatist ที่ตองการแยกตัวเองออก จากกฎเกณฑทางเพศแบบเดิมๆ ซึ่งทําใหกลุมของเครเมอรเปนพวกหัวรุนแรง แองเจเลีย วิลสัน(1993) ตั้ง ขอสังเกตวาการเมืองแบบแยกตัวพิสูจนใหเห็นวาชาวเกยไมตองการใชบรรทัดฐานเดียวกับรักตางเพศ ไมวาจะ เปนวิถีชีวิต คานิยม และศีลธรรม แอ็คอัพมีความคิดเชิง Queer Politics101 ที่วิพากวิจารณการจัดประเภทเซ็ก ของมนุษย ที่แบงแยกวาแบบไหนถูกหรือผิด การแบงแบบนี้เกี่ยวของกับการใชอํานาจของสถาบันตางๆ ไมวาจะ เปนการแพทย วิทยาศาสตร การเมือง การศึกษา และศาสนา แตแอ็คอัพเชื่อวาเพศจัดแบงไมได และอัตลักษณทาง เพศก็เปนสิ่งที่ไมตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลงได

97

Roger Streitmatter. 1995. อางแลว หนา 245.

98

Ken Plummer. Modern Homosexualities. Routledge, London. 1992. หนา.177.

99

ในชวงปลายทศวรรษ 1970 อาการปวยของเกยซึ่งเกิดอาการบวมติดเชือ้ และอักเสบบริเวณเหยือ่ บุผิวหนัง เชน ในปาก จมูก

ลําคอ และอวัยวะอืน่ ๆ ซึ่งรูจักในนามโรค Kaposi’s Sarcoma หรือเปนอาการของมะเร็งชนิดหนึ่ง โรคดังกลาวนีไ้ มคอยพบบอยนัก เมื่อมาเกิดกับเกยทําใหสังคมใหฉายาวาเปน “มะเร็งเกย” กอนหนานั้นโรคนี้พบบอยในกลุมคนผิวดําในทวีปแอฟริกา นักวิทยาศาสตรยัง ไมทราบสาเหตุวาทําไมเชือ้ ไวรัสที่ทําใหเกิดโรคนี้จึงแพรมาถึงทวีปอเมริกาได อยางไรก็ตามอาการของโรค Kaposi’s Sarcoma ตาง จากอาการปวยของเอดส และมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสตางชนิดกัน 100 101

Roger Streitmatter. 1995. อางแลว หนา 249. http://en.wikipedia.org/wiki/Queer_theory


การเคลื่อนไหวของแอ็คอัพ เปนการกระตุนใหรัฐมีนโยบายเกี่ยวกับคนควาวิจัยโรคเอดสและการตัวยา มารักษา การเคลื่อนไหวดังกลาวจึงแสดงออกดวยการเดินขบวนประทวง ซึ่งทําใหสมาชิกของกลุมตองถูกจับไป ดําเนินคดี ประเด็นการประทวงของกลุมแอ็คอัพ ไดแก ราคายารักษาโรคเอดสที่แพงเกินไป การที่ศาสนาตอตาน การใหความรูเรื่องเอดสและการสวมถุงยางอนามัย การที่รัฐใหเงินเพื่อสงครามมากกวาใหเงินสําหรับการพัฒนา ยารักษาโรคเอดส เปนตน การประทวงเหลานี้สะทอนวิธีคิดของแอ็คอัพที่ตองการผลักดันนโยบายเกี่ยวกับการ รักษาและใหความรูเกี่ยวกับโรคเอดสแกสาธารณะ รวมทั้งสรางคําขวัญเพื่อการตอสูวา “เงียบเทากับความตาย” (Silence = Death) เพื่อเตือนชาวเกยใหออกมาตอสูเพื่อสิทธิดานสุขภาพ102 ความสัมพันธระหวางเกยกับโรคเอดสเปนสิ่งที่มีเงื่อนงํา จากรายงานของ The Virus Cancer Program ซึ่งดําเนินงานโดยรัฐบาลสหรัฐ พบวาในชวงป ค.ศ.1978-1981 นักวิทยาศาสตรของรัฐบาลสหรัฐไดนําเกยจาก คลีนิคตางๆมาทดสอบวัคซีนที่ใชปองกันไวรัสที่เปนสาเหตุของไวรัสตับอักเสบชนิด บี การที่เกยถูกใชเปนหนู ทดลองทางการแพทย แสดงใหเห็นวาสังคมอเมริกันเปรียบเกยเหมือนสัตวชนิดหนึ่ง ในโครงการดังกลาวนี้มี การฉีดไวรัสอันตรายใหกับเกยหลายชนิด ซึ่งหากวัควีนไมไดผลก็อาจทําใหเกยคนนั้นติดโรคและเสียชีวิต และ อาจเปนไปไดที่เชื้อไวรัสที่เปนสาเหตุของโรคเอดส ซึ่งมาจากลิงอาจปนอยูในการทดลอง เกยที่มีพาหะไวรัสตับ อักเสบบีจํานวน 30 คน เขามาอยูในโครงการดังกลาวในป ค.ศ.1978 และเลือดของพวกเขาก็ถูกนําไปใชเปนวัคซีน อยางไรก็ตาม เมื่อมีการพบอาการปวยของเกยในเวลาตอมา ทําใหโครงการนี้ปดตัวลงในป ค.ศ.1980 แต การทดลองวัคซีนในกลุมเกยยังดําเนินตอไปในเมืองสําคัญๆ เชน ซานฟรานซิสโก และลอสแองเจลีส หลังจากที่ เกยเริ่มปวยจากการติดเชื้อไวรัส อัตราการเสียชีวิตของเกยมีมากขึ้นเปนลําดับ เกยที่อยูในแมนฮัตตันซึ่งเคยอยูใน โครงการวัคซีนตานไวรัสตับอักเสบบีลวนมีอาการปวยดวยโรคมะเร็งที่ตอมน้ําเหลืองและเหยื่อบุในอวัยวะตางๆ หลังจากมีการคนพบไวรัสเอชไอวี ศูนยโลหิตในนิวยอรคซึ่งเก็บตัวอยางเลือดของเกยที่รวมในโครงการวัคซีนได นําเลือดเหลานั้นมาตรวจสอบเพื่อหาไวรัสเอชไอวี สิ่งที่พบก็คือมีตัวอยางเลือดประมาณ 20 % ที่มีไวรัสชนิดนี้ ปนอยู เปนการย้ําใหรูวาโครงการวัคซีนเปนแหลงแพรเชื้อเอดสที่สําคัญ แตทางการสหรัฐปกปดขอมูลนี้เปน ความลับ103 ในชวงทศวรรษที่ 1970 รัฐบาลสหรัฐเริ่มหันมาสนใจสุขภาพของกลุมเกย โดยเฉพาะโรคติดตอทาง เพศสัมพันธและการแพรเชื้อไวรัสตับอักเสบบีผานการมีเพศสัมพันธ ในชวงเวลานี้รัฐบาลตั้งคลีนิคเพื่อรักษา โรคใหกับชาวเกย ขณะเดียวกันกลุมสุขภาพของเกย หรือ Gay Men’s Health Project ซึ่งเปนกลุมทํางานที่รณรงค ปองกันโรคติดตอทางเพศในหมูเกย ไดเชิญชวนใหเกยที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนคูนอนบอยๆ มาตรวจสอบเชื้อไวรัส ตักอักเสบบี เพื่อพัฒนาเปนวัคซีน โครงการนี้ไดรับการสนับสนุนจากองคกรเมิรค และสถาบันสุขภาพแหงชาติ ในป ค.ศ.1977 มีเกยจํานวน 13,000 คนในแมนฮัตตันมาบริจาคเลือดเพื่อใชเปนตัวอยางสําหรับพัฒนาวัคซีน และในป ค.ศ.1978 มีการทดลองฉีดวัคซีนในลิงชิมแพนซีและเกยอาสาสมัครในนิวยอรคเปนครั้งแรก โครงการผลิตวัคซีนดังกลาวนํามาซึ่งโรคติดตอรายแรง คาดวามีการปนเปอนเชื้อไวรัสเอชไอวีที่มีอยูใน ลิงระหวางการทดลองกับมนุษย เกยจึงไดรับเชื้อดังกลาวและมีรายงานอยางเปนทางการในป ค.ศ.1981 แต อาการปวยของเกยไมไดรับความสนใจจากทางการสหรัฐ เกยจึงกลายเปนเหยื่อที่ถูกทอดทิ้งและถูกสังคม 102 103

Gert Hekma. 2006. อางแลว หนา 343. Alan Cantwell. AIDS and the Doctors of Death. Aries Rising Press, Los Angeles. 1988.


ประณามวาเปนตนเหตุของการแพรเชื้อเอดส และที่รายกวานั้นคือสังคมมองวาความสัมพันธของเกยเปน สัญลักษณของความตาย และมีคานอยกวาความสัมพันธระหวางชายหญิง104 อาจกลาวไดวาสาเหตุที่เกยปวยเปน เอดสมิไดมาจากพฤติกรรมส่ําสอนทางเพศ หากแตมาจากการเปนอาสาสมัครในโครงการผลิตวัคซีน กลุมเกยจึง กลายเปนกลุมเสี่ยงโดยมิไดตั้งใจ และเมื่อเชื้อเอชไอวีเขาไปอยูในเลือดของเกย ทั้งๆที่เขาไมมีความรูเกี่ยวกับ อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ เกยก็ยังคงใชชีวิตทางเพศไปตามปกติ ทามกลางบรรยากาศที่เกยลมปวยและเสียชีวิตจากโรคเอดสจํานวนมาก รัฐบาลไมเคยมีนโยบายที่ชัดเจน เกี่ยวกับปญหาสุขภาพของเกย กลุมแอ็คอัพจึงหันมารณรงคเรื่องสิทธิของเกยควบคูไปกับเรื่องสุขภาพ105 มีการ เรียกรองใหรัฐตั้งกองทุนเพื่อคนควาวิจัยยารักษาโรคเอดส การดูแลรักษาผูปวยเอดส และการใหความรูเกี่ยวกับ เอดส ในชวงปลายทศวรรษที่ 1980 รัฐจึงเริ่มตั้งกองทุนและใหงบประมาณเพื่อการวิจัยนี้ องคกรเกยหลายแหง ออกมารณรงคเรื่องการมีเซ็กซแบบปลอดภัย และชวยเหลือดูแลเกยที่ปวยดวยโรคเอดส องคกรเกยจึงทํางาน คลายหนวยสาธารณสุข ในขณะเดียวกันเกยแตละคนก็หันมาใสใจซึ่งกันและกันมากขึ้น106 นักเคลื่อนไหวใน องคกรเกยไดใชโอกาสนี้รณรงคเรื่องเพศเชิงอุดมคติ โดยเนนความสําคัญเรื่องเซ็กซที่ปลอดภัย รักเดียวใจเดียว เนนความรัก และความผูกพัน ซึ่งเคยจางหายไปในชวงทศวรรษที่ 1970 เมื่อบารและสถานเริงรมยทําใหเกยสนใจ แตเพียงกามารมณเทานั้น สถานการณเอดสจึงเปนโอกาสที่ดีที่องคกรเกยจะตอกย้ําเรื่องความรัก และเปลี่ยน ภาพลักษณของเกยจากคนที่ส่ําสอนไปสูคนที่มั่นคงในรัก อยางไรก็ตาม การมีเซ็กซแบบปลอดภัยใน สายตาของสาธารณะตางไปจากความคิดของเกย เพราะสาธารณะไมอยากพูดถึงการมีเพศสัมพันธทางทวารหนัก ที่ปฏิบัติในหมูเกย องคกรเกยในสถานการณเอดส เปดโอกาสใหผูมีความรูและผูเชี่ยวชาญสาขาตางๆเขามาทํางาน และทํา ใหองคกรไดรับการยอมรับ ไมวาจะเปน แพทย เจาหนาที่สาธารณสุข เภสัชกร นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห เปนตน การยอมรับเปนที่มาของแหลงเงินทุนซึ่งนําไปใชเพื่อการดูแลรักษาผูปวย การใหความรูเรื่องเพศและ เซ็กซที่ปลอดภัย เกยที่เปนนักเคลื่อนไหวทั้งหลายตระหนักวาเสรีภาพที่มาพรอมกับการมีเซ็กซแบบไมยับยั้งชั่ง ใจ นํามาซึ่งความตาย และเกิดคําถามวาเสรีภาพทางเพศ ควรคาตอการถึงจุดจบของชีวิตหรือไม107

เมื่อความรูวิทยาศาสตรปะทะความรูทางสังคม ทางเดินขององคกรเกยจากยุคของอุลริชส มาจนถึงยุคเอดส เปนทางเดินที่มีลักษณะสําคัญ 2 ประการ ประแรก เปนการตอสูกับสังคมเพื่อใหมีการแกกฎหมายที่ลงโทษโฮโมเซ็กชวล และปลดปลอยโฮโมเซ็กชวลออก จากการเปนคนบาป อาชญากร และคนโรคจิต ประการที่สอง เปนการสรางนิยามเกี่ยวกับตัวตนหรืออัตลักษณ ทางเพศ เพื่อทําใหโฮโมเซ็กชวลมีสถานภาพเปนบุคคล ทั้งสองประการนี้วางอยูบนสมมติฐานและความรูทาง 104

Ken Plummer. 1992. อางแลว หนา 182.

105

Ken Plummer. 1992. อางแลว หนา 179.

106

Ken Plummer. 1992. อางแลว หนา 181.

107

Roger Streitmatter. 1995. อางแลว หนา 245.


วิทยาศาสตร ซึ่งมีทั้งการอางเหตุผลทางชีววิทยาเพื่อบอกวาโฮโมเซ็กชวลเกิดมาจากธรรมชาติ และการปฏิเสธ คําอธิบายทางการแพทยเพื่อที่จะไมใหสังคมมองวาโฮโมเซ็กชวลเปนคนปวย หรือเปนความบกพรองของรางกาย ที่นําไปสูความเสื่อมถอยของมนุษย องคเกรเกยในโลกตะวันตก เกิดขึ้นทามกลางสังคมที่เกลียดชังและกดขี่ขมเหงคนรักเพศเดียวกัน ประวัติศาสตรของการขมเหงนี้ คือแรงพลักดันที่สําคัญที่ทําใหนักคิดและนักเคลื่อนไหวออกมาเปดเผยตัวเอง และ ตอสูเพื่อเรียกรองความยุติธรรมดังที่ไดกลาวมาแลว องคกรเกยที่เปนแมแบบทางดานการเรียกรองสิทธิและ เสรีภาพ และการเคลื่อนไหวทางการเมืองเกิดมาจากเยอรมัน โดยมีแม็กนัส เฮิรชเฟลดเปนผูปูทางเอาไว แมแบบ ของเฮิรชเฟลดซึ่งเปนการตอสูเพื่อสิทธิ คือภาพสะทอนของเกยที่เปนนักเคลื่อนไหวและนักตอสูเพื่อสังคม ซึ่ง มักจะถูกวิจารณวาทําใหเกยกลายเปนพวกหัวรุนแรงและกาวราว108 แตในเวลาเดียวกันกลุมเกยที่ไมไดมี เปาหมายเชิงการเมืองหรือเปนนักตอสู ก็ออกมาแสดงตัวผานการตั้งชมรม ผลิตสื่อ และจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม เชนกลุมที่ชื่อ “ชุมชนของคนพิเศษ”(Community of Special People) กอตั้งโดยอดอลฟ แบรนดและเบเนดิกต ฟรีดแลนเดอร ในเยอรมัน หรือชมรมบลูมสเบอรรีในอังกฤษ ซึ่งสนใจเรื่องศิลปะ และวรรณกรรม อยางไรก็ตาม คําถามที่สําคัญคือ ความรูวิทยาศาสตรที่เกยนํามาใชเพื่ออธิบายตัวตนทางเพศนั้น เปน ความรูที่กลายเปนดาบสองคมหรือไม ในขณะที่เกยใชความรูนี้เพื่อบอกวาธรรมชาติสรางใหมาเปนเชนนี้ เกยก็ กําลังเดินไปสูปญหาทางสังคม การเมือง และจริยธรรมที่ตามมา ไมวาจะเปนเรื่องสิทธิเสรีภาพ และการแสดงออก ทางเพศ หรือการเปดเผยตัวตอสาธารณะ เรื่องราวการตอสูขององคกรเกย จึงเปนเรื่องราวของการเปดเผย ขอจํากัดของความรูเรื่องเพศซึ่งยังเต็มไปดวยคําถามมากมาย เชน เกยยีนสมีจริงหรือไม จะพบวาในปจจุบัน องคกรเกยที่มีความคิดเชิงอนุรักษนิยมยังเชื่อมั่นวาการเปนเกย มาจากพันธุกรรม ปญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมทาง เพศกับการบงชี้อัตลักษณ ซึ่งผูชายที่มีพฤติกรรมโฮโมเซ็กชวลอาจไมไดนิยามวาตัวเองเปนเกยเสมอไป เกยเปน พฤติกรรมเบี่ยงเบนหรือไม ปญหาเรื่องอัตลักษณทางเพศเปนปญหาทางการแพทย หรือเปนเรื่องทางสังคมและ วัฒนธรรม109 เมื่อมองจากภายในชุมชนเกยเองจะพบวา ตั้งแตทศวรรษที่ 1970 เปนตนมา สิ่งที่เรียกวา “ชุมชน” หรือ “วัฒนธรรม” เกย มีความหลากหลายทั้งในแงพื้นที่ กลุมคน เชื้อชาติ รูปแบบการดําเนินชีวิต ฐานะทางเศรษฐกิจ การศึกษา และโลกทัศนความเชื่อ ทําใหองคกรเกยไมสามารถสรางมาตรฐานไดงายเหมือนในอดีต กระแสทุน นิยมและบริโภคนิยมเขามาอยูในชุมชนเกยอยางรวดเร็ว สิ่งที่ทาทายองคกรเกยสมัยใหม มิใชเพียงขอจํากัดของ ความรูเทานั้น หากแตยังเปนเรื่องการทําความเขาใจวิธีการใชชีวิตของเกยทั้งในเรื่องเซ็กซ ความรัก มิตรภาพ การ เปลี่ยนคูนอน สุขภาพ ความรุนแรง และศีลธรรมในยุคโลกาภิวัตนที่เกยสามารถติดตอเชื่อมโยงกันผานไซเบอร สเปซ ทําใหเกยตางถิ่นเหมือนอยูในบานหลังเดียวกัน ไซเบอรสเปซ เปนทั้งชองทางสื่อสารใหกับเกย และยังเปน เครื่องมือหลอหลอมใหเกยคิดเหมือนกันและทําอะไรเหมือนกัน เพราะเว็บไซตของเกยอาจมีโฆษณาสินคาและ บริการที่เชิญชวนใหเกยทําสิ่งตางๆ และการกระทําหลายอยางก็ถูกกําหนดไวแลว เกยในไซเบอรสเปซจึงพบ เรื่องราวแบบเดียวกัน แตเกยที่ไมไดยุงเกี่ยวกับไซเบอรสเปซก็ยังคงมีการดําเนินชีวิตที่ตางไป และการแสดงออก ทางเพศก็มีเงื่อนไขที่ตางไปจากเกยกระแสหลัก เชน ผูชายที่อยูในสังคมชายหญิงและสามารถมีเพศสัมพันธกับ 108

Florence Tamagne. 2006. อางแลว หนา 69,71.

109

David F. Greenberg. 1988. อางแลว หนา 464.


ชายอื่นได โดยไมเรียกตัวเองวาเกย เปนตน ความเปนเกยมิไดมีเพียงนิยามเดียว แตมีความหลากหลาย ซับซอน และมีความขัดแยงในตัวเอง 110 แตสื่อสมัยใหมพยายามที่จะสราง “สูตรสําเร็จ” ใหกับเกย โดยทําให สังคมคิดวาเกยคือผูชายที่มีรสนิยม บาแฟชั่น เจาสําอาง ชอบแตงตัว หนาตาหลอ มีฐานะ และชอบเรื่องเซ็กซ111 องคกรเกยปจจุบันไดเห็นบทบาทของสื่อตอการนิยามตัวตนใหกับเกย ซึ่งสวนใหญมักจะบิดเบือนและไมตรงกับ ความเปนจริง องคกรเกยปจจุบันสนใจประเด็นที่หลากหลายมากขึ้น ไมวาจะเปนเรื่องสิทธิการเปนพลเมือง การอยู อาศัย การเสียภาษี การศึกษา การอพยพยายถิ่น สิทธิทางการเมือง สิทธิการเปนทหาร สิทธิการแตงงาน และการ รับเด็กมาเปนบุตรบุญธรรม ความสนใจในเรื่องเหลานี้สะทอนใหเห็นวาเกยพยายามที่จะเขาไปอยูรวมกับคน อื่นๆมากขึ้น และไมเปนเพียงนักตอตานสังคมเหมือนผูนําเกยในรุนกอนๆ กลุมเควียร เนชั่น (Queer Nation) กอตั้งขึ้นในนิวยอรคในป ค.ศ.1990 เปนองคกรเกยที่พยายามนําทฤษฎีเควียรมาสูชุมชนเกยเพื่อทําใหเกยตระหนัก วา ความหมายเกี่ยวกับอัตลักษณทางเพศมิใชสิ่งที่ถาวร รวมทั้งตอตานการใชความรุนแรงและการปดกั้นการ แสดงออกทางศิลปะ อยางไรก็ตาม องคกรเกยอื่นๆยังคงทํางานในลักษณะเดิมๆและไมเห็นดวยกับการทํางาน ของกลุมเควียร เนชั่น112 ในประเทศอังกฤษ มีกลุมทํางานคลายกับเควียรเนชั่น คือกลุมเอาทเรจ (Outrage)113 กอตั้งในป ค.ศ.1990 มีการทํางานเชิงการเมืองที่ตอตานการคุกคามเกยไมวาจะเปนเรื่องใดก็ตาม รวมทั้งเปดเผยบุคคลสาธารณะวาเปน เกย ไมวาจะเปน นักรอง นักแสดง นักบวช หรือนักการเมือง กลุมเอาทเรจตองการปฎิวัติสังคมเพื่อทําใหเกยได แสดงตัวอยางเต็มที่ ตอตานอํานาจรัฐและระบบศีลธรรมที่กดขี่ขมเหงเกย การอยูในสังคมของเกยควรจะไดรับ ความเชื่อมั่น แนวคิดนี้เปนการเมืองของความแตกตาง และอุดมการณแบบความเทาเทียม(Egalitarian)114 กลาวคือ บุคคลจะมีฐานะเทาเทียมกันถึงแมจะมีความแตกตางทางสีผิว เพศ และชาติพันธุ การอยูดวยความ แตกตางและเทาเทียมเปนเปนอุดมการณที่เชื่อวาสังคมประกอบดวยคนที่หลากหลายที่สามารถอยูรวมกันได คน แตละกลุมจะมีวัฒนธรรมของตัวเองและไมควรทําลายวัฒนธรรมเหลานั้น ซึ่งไอริส เมเรียน ยังเรียกวา การเมือง ของความแตกตาง(Politics of Difference)115 อยางไรก็ตามอุดมการณแบบความเทาเทียมก็ยังถูกมองวาเปนอุดม คติเกินไป และเกิดขึ้นไดยาก

110

Gert Hekma. 2006. อางแลว หนา 336-338.

111

Gert Hekma. 2006. อางแลว หนา 360.

112

Gert Hekma. 2006. อางแลว หนา 356.

113

Angelia R. Wilson. “Which Equality? Toleration, Difference of Respect.” In Joseph Bristow

and Angelia R. Wilson. (ed.) 1993. อางแลว หนา176. 114 115

Angelia R. Wilson. 1993 อางแลว หนา 177. Iris Marion Young. Justice and the Politics of Difference. Princeton University Press,

Princeton, NJ. 1990.


ในป ค.ศ.1993 หลังจากที่ดีน เฮเมอร เชื่อวาคนพบยีนสที่ทําใหคนกลายเปนเกย116 ทําใหผูนําศาสนายิว ชื่อเอ็มมานูแอล โจโคโบวิตสออกมาประกาศวาจะทําลายยีนสที่ทําใหบุคคลกลายเปนเกย ซึ่งสรางความไมพอใจ ใหกับกลุมเอาทเรจ ประเด็นเกี่ยวกับเกยยีนส ในทัศนะของปเตอร แท็ตเชลล หนึ่งในผูกอตั้งเอาทเรจ เชื่อวา ฮอรโมนมีสวนทําใหบุคคลกลายเปนเกย ซึ่งอาจเกิดขึ้นในชวงตั้งครรภ แตฮอรโมนมิใชตัวกําหนดอยางเดียว การ เปนเกยอาจเกิดจากปจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม หรือประสบการณชีวิตของคนๆนั้น ในชวงทศวรรษที่ 1980-1990 เกิดความไมแนนอนของการนิยามอัตลักษณทางเพศ เพราะความรูทาง วิทยาศาสตรมีขอจํากัดในการอธิบาย ในขณะที่นักสังคมศาสตรก็เริ่มอธิบายวา “เกย” เปนสิ่งที่สังคมสรางขึ้นมา นักวิชาการสายสังคมเชื่อวา “เกย” มิใชสิ่งที่ถาวรหรือมีแกนแท แตมีกระบวนการเปลี่ยนผานไปตามยุคสมัย ดังเชนมิเชล ฟูโก อธิบายวาความรูเรื่องเพศในตะวันตกสัมพันธกับอํานาจของวิทยาศาสตรซึ่งสราง “วาทกรรม” เกี่ยวกับตัวตนและอัตลักษณ กอนคริสตศตวรรษที่ 19 พฤติกรรมทางเพศมิใชสิ่งบงบอกตัวตนของมนุษย แตใช บอกวาใครทําดีหรือทําบาป117 แตการแพทยในคริสตศตวรรษที่ 19 ทําใหเพศกลายเปนเรื่องอัตลักษณ เดวิด เฮลเพอริน118 อธิบายวาอัตลักษณเกยมีดานที่อันตราย เพราะดํารงอยูในวิธีคิดเรื่องเพศวิถี (Sexuality) ที่ชวยให ความเปนรักตางเพศแจมชัดมากยิ่งขึ้น เฮลเพอรินเชื่อวาอัตลักษณเกย คืออัตลักษณของการเกลียดเกย (Homophobic Identity) ซึ่งเปนทั้งการตอตานรักตางเพศและเปนภาพที่นาเกลียดนากลัวที่รักตางเพศจะมองเห็น ไดชัดขึ้น อยางไรก็ตาม ภายในชุมชนเกยมีทั้งผูที่สนับสนุนและตอตานอัตลักษณดังกลาว ฟูโก เชื่อวาการแสดงออกถึงอัตลักษณเกย มิใชแคการเปดเผยตัวเอง แตควรจะเปนการใชอัตลักษณเกย เพื่อสรางความสัมพันธที่หลากหลาย เพราะตัวตนทางเพศมิใชมีไวเพื่อการเฉลิมฉลอง หากแตมีไวเพื่อการทําลาย กฎเกณฑทางเพศ ขอสังเกตของฟูโกในเรื่องนี้ทาทายการทํางานขององคกรเกยทั้งหลาย โดยมีคําถามสําคัญคือ องคกรเกยใช “อัตลักษณเกย” ในฐานะเปนของสําเร็จรูป หรือเปนสิ่งที่พรอมจะเปลี่ยนไปสูการนิยามใหมๆ ในป ค.ศ.1972 กาย ฮ็อคเคว็นเฮม119 ผูนําองคกรเกยในฝรั่งเศส เขียนหนังสือเรื่อง Homosexual Desire อธิบายวาสังคมชายเปนใหญคือสิ่งที่ถูกสรางขึ้น และการเรียกรองเสรีภาพของเกยก็เปนเพียงการจรรโลงให อํานาจของผูชายดํารงอยูตอไป ฟูโกก็เปนอีกคนหนึ่งที่ไมเห็นดวยกับการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกรองเสรีภาพของ ชาวเกย เพราะการเรียกรองเทากับเปนการตอกย้ําการแบงประเภทของคนตามเพศสภาพและเพศวิถี 120

116

N.J. Peters. Conundrum The Evolution of Homosexuality. Author House, Blommington,

Indiana. 2006. p.86-88.

117

David M. Halperin. How to do the History of Homosexuality. The University of Chicago

Press, Chicago. 2002. p.28. 118

David M. Halperin. “Gay Identity after Foucault” in Lucille Cairns. (ed.) Gay and Lesbian

Cultures in France. Oxford/Bern: Peter Lang, 2002, p.17-24. 119

Guy Hocquenghem. “Capitalism, the Family, and the Anus” in Mark Blasius and Shane

Phelan (ed.) We Are Everywhere. Routledge, New York. 1997. Pp.412-419. 120

David Halperin. Saint Foucault. Towards a Gay Hagiography. Oxford University Press,

New York. 1995.


ในยุคโลกาภิวัตน อุดมการณที่แพรหลายในชุมชนเกยตะวันตกคือ สิทธิการเปนพลเมือง (Citizenship) มีการใชเหตุการณจราจล และการสรางตํานานความเชื่อเกี่ยวกับการตอสูและประวัติศาสตรของเกย121 ที่สโตนวอลล (Stonewall Myth) ในนิวยอรคในป ค.ศ.1969 เปนตํานานแหงการตอสูและการเรียกรองสิทธิของ ชาวเกย ซึ่งนักวิชาการบางคนวิจารณวาเปนการนําบรรทัดฐานเกยอเมริกันมากําหนดชะตาชีวิตของเกยในที่อื่นๆ เครือขายเกยขามชาติยังทําใหเกิดการรวมตัวเพื่อสนับสนุนการเรียกรองสิทธิของเกยที่อยูในประเทศเครือขาย โลกาภิวัตนทําใหเกยในแตละประเทศมีจุดรวมเดียวกัน และสรางอัตลักษณแบบเดียวกัน ทําใหเกิดลักษณะอัต ลักษณเกยแบบสากล หรือ Global Gay Identity122

บทสงทาย บทเรียนจากตะวันตกตอองคกรเกยในโลกที่สาม จะเดินไปดวยอุดมการณอะไร ปจจุบัน องคกรเกยเกิดขึ้นมากมายในหลายประเทศ แตที่มาขององคกรเหลานั้นมีประวัติศาสตรตางไป จากองคกรเกยในอเมริกาและยุโรป องคกรเกยในบราซิลชื่อ Grupo Gay da Bahia (GGB) กอตั้งในป ค.ศ. 1980 โดยนักมานุษยวิทยาชื่อหลุยส ม็อตต ม็อตตทําวิจัยเกี่ยวกับโฮโมเซ็กชวลในบราซิลและมีบทบาทสําคัญในการ เรียกรองสิทธิของเกยในบราซิล ปจจุบันองคกรจีจีบีเปนสมาชิกของสมาคมเกยและเลสเบี้ยนนานาชาติ เปน เครือขายขององคกรดานสิทธิมนุษยชน และเปนสมาชิกของหนวยควบคุมเอดสในกระทรวงสาธารณสุขของ บราซิล เปาหมายการทํางานของจีจีบี คือการเรียกรองสิทธิของเกยและเพศที่สาม ตอตานการกดขี่ขมเหงและการ รังเกียจเกย ใหความรูเกี่ยวกับเรื่องเพศในโรงเรียน รวมทั้งใหความรูเกี่ยวกับโรคเอดสและการปองกันการติดเชื้อ เอชไอวีในหมูเกย ในประเทศฟลิปปนส นักศึกษาในมหาวิทยาลัยบาเบยลัน รวมตัวกันจัดตั้งกลุมเกยและเลสเบี้ยนในป ค.ศ.1992 เพื่อใหความรูเกี่ยวกับสิทธิแกชาวเกยและคนในสังคม กิจกรรมของกลุมนี้ไดแก การสนับสนุนและ ชวยเหลือนักศึกษาที่เปนเกยและเลสเบี้ยน จัดประชุมสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด สงเสริมสิทธิเกยและเล สเบี้ยน ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องเพศและการปองกันโรคเอดส และรวมมือกับเครือขายเกยและเล สเบี้ยนนานาชาติ ในประเทศไตหวันมีการจัดตั้งสมาคมสิทธิทางเพศในป ค.ศ.1999 เพื่อสงเสริมสิทธิของเกย และเลสเบี้ยนในไตหวัน ในประเทศฮองกงมีการตั้งกลุมฮอไรซันในป ค.ศ.2001 เปาหมายของกลุมคือการให ความรูเรื่องเพศและสงเสริมความเทาเทียมทางเพศ ในประเทศอิราเอล มีกลุมชื่อ Jerusalem Open House (JOH) กอตั้งในป ค.ศ.1997 มีจุดมุงหมายเพื่อ สรางความเขมแข็งใหกับชุมชนเกยในอิสราเอล และรณรงคใหสังคมยอมรับบุคคลที่เปนเกย ในประเทศ สิงคโปรมีกลุมเกยชื่อ People Like Us กอตั้งในป ค.ศ.1997 ทําหนาที่สงเสริมสิทธิของเกยและเลสเบี้ยนใน สิงคโปร ทําใหสังคมยอมรับบุคคลที่มีเพศสภาพที่แตกตาง และสนับสนุนใหเกิดความเขมแข็งในชุมชนเกยเล สเบี้ยน

121 122

John Binnie. The Globalization of Sexuality. Sage Publication, London. 2004. p.26. John Binnie. 2004. Ibid. p.38.


ในระดับสากล มีการกอตั้งสมาคมเกยและเลสเบี้ยนนานาชาติ (International Lesbian and Gay Association หรือ ILGA) กอตั้งในป ค.ศ.1978 หลังจากที่มีการประชุมเรื่องความเทาเทียมของโฮโมเซ็กชวลใน เมืองโคเวนทรี ประเทศอังกฤษ โดยมีสมาชิกจากองคกรเกยตางๆทั่วโลกกวา 600 องคกร ใน 90 ประเทศ เปาหมายสําคัญของสมาคมอิลกาคือการรณรงคเรื่องสิทธิเกยในฐานะเปนสิทธิมนุษยชนและการเปนพลเมือง123 อิลกามีสวนผลักดันใหองคการอนามัยโลกยกเลิกคําวาโฮโมเซ็กชวลออกจากรายชื่อโรคทางจิต และผลักดันให องคการสหประชาชาติเห็นความสําคัญตอสิทธิของชาวเกย ในป ค.ศ.1993 อิลกาพยายามเรียกรองให สหประชาชาติเห็นความเทาเทียมของกลุมเกยเชนเดียวกับชนกลุมนอยอื่น ความพยายามครั้งนี้ทําใหองคกรเกย ทั่วโลกนําแนวคิดเรื่อง ชนกลุมนอย (Minority) ไปขับเคลื่อนการทํางานดานสิทธิมนุษยชน กลาวคือสิทธิของเกย ไมแตกตางจากสิทธิของคนพื้นเมือง หรือชนกลุมนอยทางสังคม การศึกษาของ ดีดี เฮอรแมน(1994)124 ชี้วากระบวนทัศนเรื่องชนกลุมนอยซึ่งเกิดขึ้นในสังคมเกยเปนวาท กรรมภายใตอุดมการณเสรีนิยม ซึ่งจะมีผูนําเกยบางคนผูกขาดอํานาจชี้นําในการเรียกรองสิทธิ กระบวนทัศน ชนกลุมนอย (Minority Paradigm) คือความคิดที่แยกวาใครคือคนสวนนอย และคนสวนใหญ คนสวนนอยจะมี วิถีชีวิต สังคมและวัฒนธรรมตางจากคนสวนใหญ ซึ่งรัฐจะตองเขาไปปกปองคุมครองคนสวนนอยเอาไวโดยใช กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เรื่องที่นากังวลคือ ภายใตกระบวนทัศนชนกลุมนอยทําใหเกยกลายเปนสูตร สําเร็จแข็งตัว และทําใหความเปนรักตางเพศมีพลังมากขึ้น ดังนั้นกระบวนทัศนชนกลุมนอยจึงมีขอจํากัดในการ อธิบายเรื่องเพศในฐานะเปนสิ่งที่สังคมสรางขึ้นและเปลี่ยนแปลงได รวมทั้งยังทําใหการแยกขั้วระหวางรักตางเพศ และรักแพศเดียวกันยังคงดําเนินตอไป เฮอรแมนวิจารณวาองคกรเกยปจจุบันมุงที่จะเรียกรองใหสังคมยอมรับ เกยในฐานะคนที่มีชีวิตที่ “แตกตาง” มากกวาที่จะรื้อทําลายวิธีคิดแบบรักตางเพศ สิ่งนี้เทากับเปนการยอมรับ บรรทัดฐานที่สังคมกดขี่ขมเหง125 ในประเทศไทย ความเปนมาขององคกรเกยเริ่มจาก ป พ.ศ. 2542 กลุมเพื่อนวันพุธ สภากาชาดไทย และนายกมลเศรษฐ เกงการเรือ ซึ่งเปนผูใหคําปรึกษาคลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย พบวาในบรรดาคนรักเพศ เดียวกัน (ชาย) มีการติดเชื้อเอชไอวีมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีปญหาเกี่ยวกับสื่อที่นําเสนอเรื่องของเกยในดาน ลบมากขึ้น นายกมลเศรษฐจึงจัดเวทีเสวนาปญหาเกย หลังจากนั้นคุณกมลเศรษฐไดเปนตัวแทนของไทยไปรวม ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับโรคเอดสและเพศสภาพที่ประเทศบังคลาเทศ ซึ่งทําใหไดพบกับกลุมและองคกรรัก เพศเดียวของตางประเทศ คุณกมลเศรษฐจึงกลับมาจัดตั้งกลุมเกยชื่อ “ฟาสีรุง” โดยมีเปาหมายการทํางานเรื่อง คุณภาพชีวิตของคนรักเพศเดียวกัน การทําใหสังคมยอมรับเกย และรณรงคใหความรูเรื่องโรคเอดส ซึ่งไดรับการ ชวยเหลือจากองคกรหมอไรพรมแดนและมูลนิธิรักษไทย กลุมฟาสีรุงไดรับการจดทะเบียนเปนสมาคมในป พ.ศ. 2546

123 124

Angela R. Wilson. (ed.) A Simple Matter of Justice?. Cassell, London. 1995. p.4. Didi Herman. Right of Passage Struggles for Lesbian & Gay Legal Equality. University

of Toronto Press, Toronto. 1994. หนา 50. 125

Didi Herman. 1994. อางแลว หนา 52. และ Diane Helene Miller. Freedom to Differ. New York

University Press, New York. 1998. หนา 34.


องคกรเกยอีกแหงหนึ่งคือ องคกรบางกอกเรนโบว (Bangkok Rainbow Organization : BRO) กอตั้งในป พ.ศ. 2545 โดยกลุมคนที่ทํางานดานเอดสและเพศศึกษา มีเปาหมายเพื่อเปนองคกรที่ใหคําปรึกษา เบื้องตนเกี่ยวกับการติดเชื้อเอดส ปญหาเรื่องเพศในกลุมเยาวชนชาย และกลุมเยาวชนชายที่มีพฤติกรรมรักเพศ เดียวกัน รวมทั้งใหความรูแกสังคมเพื่อลดชองวางทางสังคม เปดโอกาสใหกลุมเยาวชนชาย และกลุมคนรักเพศ เดียวกันไดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองในเชิงบวก และทํางานสรางสรรคสังคมกับบุคคลทั่วไปได จะเห็นไดวาองคกรเกยในโลกที่สามเกิดขึ้นทามกลางประเด็นสิทธิและการแพรระบาดของโรคเอดส126 ทําใหองคกรเหลานี้มุงเนนการทํางานดานสุขภาพและสิทธิไปพรอมๆกัน รวมทั้งใชอุดมการณแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตยและความเทาเทียม ซึ่งดําเนินไปในแนวสรางความกลมกลืนกับสังคม และไมปฏิเสธคุณคาแบบรัก ตางเพศ สิ่งที่แตกตางจากองคกรเกยในตะวันตกก็คือ องคกรเหลานี้ไมมีประสบการณของการถูกกดขี่ขมเหง ถูกรังแก หรือถูกสังคมลงโทษรุนแรงเหมือนตะวันตก ไมมีกระบวนการเคลื่อนไหวตอสูกับรัฐ ไมวาจะเปนแง กฎหมาย หรือสุขภาพจิต องคกรเกยในโลกที่สามเกิดขึ้นและเติบโตมาจากผลลัพธที่องคกรเกยในตะวันตกไดปู ทางไวใหแลว และใชแบบจําลองการทํางานผานสมาคมเกยและเลสเบี้ยนนานาชาติ ซึ่งมีวิธีคิดตามแบบองคกร เกยในอเมริกาและยุโรป องคกรเกยในโลกที่สามเปนภาพสะทอนของโลกาภิวัตนเกี่ยวกับ “สิทธิ” และ “ความ เปนพลเมือง” ของเกย ซึ่งความหมายของ “เกย” แบบอเมริกัน กลายเปนตัวแบบที่ประเทศอื่นๆนําไปปฏิบัติ และ ยิ่งทําใหเกิดการบดบังลักษณะเฉพาะทางสังคมวัฒนธรรมที่หลอหลอมใหเกิดวิธีคิดทางเพศที่หลากหลายซึ่งอาจ ไมเหมือนกับตะวันตก องคกรเกยในโลกที่สาม เชื่อวาประวัติศาสตรเกยในทุกหนทุกแหงมีทางเดินเหมือนกัน เห็นไดจากการ จัดงานพาเหรดหรือเกยไพรด ซึ่งเต็มไปดวยการเตนรํา ปารตี้ แฟชั่น งานรื่นเริง และการดื่ม องคกรเกยหลายแหง เปนผูที่ขับเคลื่อนกิจกรรมพาเหรด เมื่อมีหาเหรดเกิดขึ้น ณ ที่ใด เกยจะรับรูไดทันทีและอาจเดินทางไปรวมงาน ตามสถานที่ตางๆ เชน นิวยอรค ลอนดอน ปารีส ลอสแองเจลีส แคลิฟอรเนีย ชิคาโก โตรอนโต บัวโนสไอเรส ซิดนีย อัมสเตอรดัม เปนตน องคกรเกยในสหรัฐที่จัดงานหาเหรดเพื่อรําลึกถึงเหตุการณจราจล ในป ค.ศ.1969 ที่มีตํารวจบุกเขาไปในบารสโตนวอลลของชาวเกย เปนสิ่งที่ไมไดเกิดขึ้นในโลกที่สาม คําถามคือ พาเหรดของเกยในโลกที่สามจัดขึ้นเพื่ออะไร เกยที่เปนนักเคลื่อนไหวในสหรัฐเชื่อวาพาเหรดเกยคือสัญลักษณของความภูมิใจในความเปนเกย ถาเกย ในที่อื่นๆคิดแบบเดียวกันนี้ยอมแสดงใหเห็นวา “สํานึก” การเปนเกยถูกทําใหกลายเปนอารมณรวมของเกยทุกหน ทุกแหง ปจจุบันจึงพบเห็นเกยในขบวนพาเหรดออกมาแสดงตัวผานชุดแตงกาย เสื้อผา แฟชั่น เครื่องประดับ และการเตนรําซึ่งเปนภาพสะทอนวา “ความภูมิใจ” ของเกย หมายถึงการไดแสดงในสิ่งที่ตัวเองตองการ คําถาม คือความภูมิใจของเกยคือการไดแสดงออกในขบวนพาเหรดจริงหรือ ถาไมใช อะไรคือความภูมิใจแบบอื่นๆ ที่องคกรเกยกําลังสรางขึ้น ทั้งสิทธิเรื่องการแตงงาน การรับลูกบุญธรรม การรับมรดก หรือ การมีเสรีภาพทางเพศ สิ่งเหลานี้คือเปาหมายของการเปนเกยใชหรือไม อยางไรก็ตาม ทั้งชุมชนเกยและจากองคกรเกยที่ทํางานเชิงการเมืองอาจไมเห็นดวยกับการเดินพาเหรด ซึ่งเปรียบเสมือนดาบสองคมที่เปนทั้งเสรีภาพการแสดงออก และการสรางภาพดานลบใหกับเกย สิ่งที่องคกรเกย ในโลกที่สามตองตระหนักก็คือ ประวัติศาสตรความเปนมาของเกยในประเทศของตนตางไปจากโลกตะวันตก 126

John Binnie. 2004. Ibid. p.39.


การตระหนักดังกลาวนี้เปนเรื่องสําคัญมาก ทั้งในแงฐานคิดและการนําไปปฏิบัติจริง หากองคกรเกยในโลกที่สาม ตองการเคลื่อนไหวทางสังคม พวกเขาก็ตองวิพากษวิจารณการเคลื่อนไหวเมื่อครั้งอดีตทั้งที่เปนอุดมการณและ กิจกรรม ไมวาจะเปนสังคมนิยม และเสรีนิยม ไมวาจะเปนการปลดปลอยตัวตน การตอสูเพื่อสิทธิเสรีภาพ และ การเรียกรองความเปนพลเมือง เดวิด เฮลเพอรินอธิบายไววาการมองประวัติศาสตรโฮโมเซ็กชวลในอดีตที่ เชื่อมโยงมาถึงพฤติกรรมเกยในปจจุบันเปนการมองที่แคบเกินไป127 เชนเดียวกับการที่องคกรเกยในโลกที่สาม พยายามเชื่อมโยงเกยตะวันตกเขากับพฤติกรรมชายรักชายในประเทศของตน ก็เปนสิ่งที่แคบเกินไปเชนเดียวกัน หากถามวาองคกรเกยในโลกที่สามมีทางเลือกที่จะอธิบายประวัติศาสตรเกี่ยวกับชายรักชายในแบบของ ตัวเองหรือไม คําตอบคือมีทางเลือก องคกรเกยในโลกที่สามไมจําเปนตองใชวาทกรรมเกยแบบตะวันตกเปน มาตรฐาน หากแตควรตั้งคําถามตอนิยามของเกย และการเคลื่อนไหวขององคกรเกยในตะวันตกวาสามารถใชได กับวัฒนธรรมของตัวเองหรือไม เพื่อที่จะชี้ใหไดวา “วาทกรรมเกย” ของตะวันตกกําลังครอบงําคําอธิบายอื่นๆซึ่ง สามารถทําใหเขาใจเรื่องตัวตนทางเพศที่อยูตางวัฒนธรรมได เฮลเพอรินเคยเสนอวา ความหมายของโฮโมเซ็กชวลอาจเกี่ยวของกับแนวคิด 3 แนว คือ หนึ่ง แนวคิด เรื่องตัวตนทางเพศซึ่งอธิบายวา “พฤติกรรม” โฮโมเซ็กชวลเกิดจากสภาพจิตใจ สอง แนวคิดเรื่องความรูสึกทาง เพศซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงตามชวงวัย บางคนอาจมีจิตนาการเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธกับคนเพศเดียวกัน ซึ่ง จินตนาการนี้ไมคงที่ และสาม แนวคิดเรื่องพฤติกรรมเบี่ยงเบน ซึ่งเชื่อวาเปนการกระทําที่มีปญหาสังคม แนวคิดทั้งสามนี้มีสวนที่ทําใหเกิดความหมายของโฮโมเซ็กชวลสมัยใหม คําถาม ก็คือ องคกรเกยในโลกที่สามเชื่อวาพฤติกรรมและตัวตนทางเพศของเกยในประเทศของตน เปนไปตามความหมายของโฮโมเซ็กชวลที่กลาวมาขางตนหรือไม ถาเชื่อเชนนั้นพวกเขาก็ตองยอมรับปญหาที่จะ เกิดขึ้นตามมาเหมือนกับองคกรเกยในตะวันตกประสบอยู ไมวาจะเปน การถูกริดรอนสิทธิ ถูกเอาเปรียบ ถูก ทารุณกรรม หรือถูกกดขี่ขมเหง แตถาองคกรเกยในโลกที่สามพบปญหาที่ตางออกไป เชน ไมเคยมีการทารุณ กรรม หรือไมเคยมีคําเรียกพฤติกรรมชายรักชาย ถาเปนเชนนั้น องคกรเกยในโลกที่สามควรจะหันมาเขาใจ ประวัติศาสตรของตัวเองใหม หรือทําตามอยางตะวันตกโดยไมสนใจบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของตนเลย และปลอยใหความรูทางวิทยาศาสตรชี้นําความคิดเพียงเพื่อใหตนเองอยูในกระแสสากลที่ชาวเกยตองการสิทธิทาง กฎหมาย และสิทธิทางสุขภาพเทานั้น

บรรณานุกรม Alan Cantwell. AIDS and the Doctors of Death. Aries Rising Press, Los Angeles. 1988. Angela R. Wilson. (ed.) A Simple Matter of Justice?. Cassell, London. 1995. Barry D. Adam. The Rise of a Gay and Lesbian Movement. Twayne Publishers, Boston. 1987. Bob McCubbin. The Roots of Lesbian & Gay Oppression: A Marxist View. W W. Publishers, New York. 1976. 127

David Halperin. How to Do the History of Male Homosexuality. University of Chicago

Press, Chicago. 2002.


Christopher Isherwood. Christopher and His Kind, 1929-1939. Farrar, Straus & Giroux, New York. 1976. David F. Greenberg. The Construction of Homosexuality. The University of Chicago Press, Chicago. 1988 David Halperin. How to Do the History of Male Homosexuality. University of Chicago Press, Chicago. 2002. David Halperin. Saint Foucault. Towards a Gay Hagiography. Oxford University Press, New York. 1995. Diane Helene Miller. Freedom to Differ. New York University Press, New York. 1998. Didi Herman. Right of Passage Struggles for Lesbian & Gay Legal Equality. University of Toronto Press, Toronto. 1994. Florence Tamagne. A History of Homosexuality in Europe. Algora Publishing, New York. 2006. Francis Mark Mondimore. A Natural History of Homosexuality. The John Hopkins University Press, Baltimore. 1996. Gunter Grau.(ed.) Hidden Holocaust?. Cassell, London. 1993. Harry Ooosterhuis and Hubert Kennedy (ed.) Homosexuality and Male Bonding in Pre-Nazi Germany. The Haworth Press, New York. 1991. Iris Marion Young. Justice and the Politics of Difference. Princeton University Press, Princeton, NJ. 1990. James Steakley. The Homosexual Emancipation Movement in Germany. Arno, New York. 1975 Jeffrey Merrick and Bryant T. Ragan, Jr. (ed.) Homosexuality in Modern France. Oxford, Oxford University Press. 1996. John Binnie. The Globalization of Sexuality. Sage Publication, London. 2004. Joseph Bristow and Angelia R. Wilson. (ed.) Activating Theory: Lesbian, Gay, Bisexual Politics. Lawrence& Wishart, London. 1993. Ken Plummer. Modern Homosexualities. Routledge, London. 1992. Lucille Cairns.(ed.) Gay and Lesbian Cultures in France. Oxford/Bern: Peter Lang, 2002. Mark Blasius and Shane Phelan (ed.) We Are Everywhere. Routledge, New York.1997. Matt Cook. London and the Culture of Homosexuality, 1885-1914. Cambridge University Press, Cambridge. 2003. N.J. Peters. Conundrum The Evolution of Homosexuality. Author House, Blommington, Indiana. 2006. Robert Aldrich (ed.) Gay Life and Culture. Thames & Hudson, London. 2006. Roger Streitmatter. Unspeakable The Rise of the Gay and Lesbian Press in America. Faber and Faber, Boston. 1995. Rudi C.Bleys. The Geography of Perversion. New York University Press, New York. 1995. Samir Okasha. Philosophy of Science. Oxford University Press, Oxford. 2002. Sean Brady. Masculinity and Male Homosexuality in Britain, 1861-1913. Palgrave MacMillan, New York. 2006 Stephen M. Engel. The Unfinished Revolution. Social Movement Theory and the Gay and Lesbian Movement. Cambridge University Press, Cambridge. 2001. Stuart Timmons. “He paved the way for modern gay activism� in CounterPunch, October 2002. Tamsin Wilton. Sexualities in Health and Social Care. Open University Press, Buckingham. 2000.


William Naphy. Born to Be Gay: A History of Homosexuality. Tempus, Brimscombe Port. 2004

Website http://en.wikipedia.org/wiki/Socialism_and_LGBT_rights http://en.wikipedia.org/wiki/Queer_theory


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.