Decfacshow2013

Page 1



70 ปีแห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจ�ำปี 2556 15-27 กันยายน 2556 ณ หอศิลป์และการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ


70 ปีแห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจ�ำปี 2556 ออกแบบปกและจัดวางรูปเล่ม ถ่ายภาพผลงาน ประสานงาน พิสูจน์อักษร พิมพ์ที่

2

อาจารย์อนุชา แสงสุขเอี่ยม ผู้ช่วยศาสตราจารย์อาวิน อินทรังษี ผู้ช่วยศาสตราจารย์อติวรรธน์ วิรุฬห์เพชร อาจารย์ ดร.วรนันท์ โสวรรณี ศุภฤกษ์ ทับเสน ภาวนา ใจประสาท บริษัท โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จ�ำกัด

สงวนลิขสิทธิ์ © พ.ศ. 2556 โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ห้ามคัดลอก ลอกเลียน ดัดแปลง ท�ำซ้ำ จัดพิมพ์ หรือกระท�ำอื่นใด โดยวิธีการใดๆ ในรูปแบบใดๆ ไม่ว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้ เพื่อเผยแพร่ในสื่อทุกประเภท หรือเพื่อวัตถุประสงค์ใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาต Copyright © 2013 by Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University, Thailand All rights reserved. No part of this publication may be reproduced, distributed, or transmitted in any form or by any means, including photocopying, recording, or other electronic or mechanical methods, without the prior written permission of the publisher.

ขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาบทคัดย่อขนาดยาวประกอบผลงานสร้างสรรค์

ศาสตราจารย์ศักดิ์ชัย สายสิงห์ รองศาสตราจารย์ชัยนันท์ ชะอุ่มงาม


สารจากคณบดี การแสดงผลงานคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีนี้ เนื่องในงานวันศิลป์ พีระศรี ที่จัดขึ้นทุกปี ในวันที่ 15 กันยายน โดยในปีนี้เป็นปีครบรอบ 70 ปี ของการสถาปนามหาวิทยาลัยศิลปากร พลังแห่งศิลปะการออกแบบและการสร้างสรรค์ของคณาจารย์ อันก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจสู่ลูกศิษย์ของ 7 ภาควิชา และระดับบัณฑิตศึกษาของคณะ สะท้อนให้เห็นถึงความลึกล้ำของวิชาการ ที่ส่งผลต่อวิชาชีพ ออกแบบในแต่ละแขนงสาขาเชี่ยวชาญ ในปีนี้หลายผลงานสะท้อนตัวตนความเป็นมัณฑนศิลป์ของอาจารย์ แต่ละท่าน และมีความหลากหลายแห่งองค์ความรู้อันประกอบร่างสร้างคณะมัณฑนศิลป์ให้สง่างาม พร้อม ผลิตบัณฑิตคุณภาพรับใช้สังคม บทสะท้อนอีกอย่างหนึ่งคือการบูรณาการศาสตร์และศิลป์ ตลอดจนการบูรณาการกันในคณะที่ผลักดัน ให้มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่พัฒนาสู่สังคม เพื่อพัฒนา ประเทศให้เจริญอย่างสร้างสรรค์ต่อไป มัณฑนศิลป์ ศาสตร์สำ� คัญทีจ่ ะขับเคลือ่ นประเทศด้วยปัญญา ศาสตร์ทผี่ ลิตคนคุณภาพ อันมีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว ศาสตร์ที่มีการบูรณาการศิลปะและนวัตกรรม และพร้อมจะเป็นผู้น�ำแห่งการสร้างสรรค์ของประเทศ ไทยและเอเชียอาคเนย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกพงษ์ ตรีตรง คณบดีคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : Design Factor 360 ํ ชื่อผู้สร้างสรรค์ Artist | Designer : ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง | Asst.Prof.Akekapong Treetrong

4

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานออกแบบที่ประสบความส�ำเร็จไม่ใช่เพียงแค่ “งานออกแบบ” ได้รับความส�ำเร็จชื่นชอบเท่านั้น แต่จะต้องมีส่วนในการส่งเสริมให้โครงการ ผลงานออกแบบ สินค้า ผลิตภัณฑ์ สถานที่ ผู้ลงทุน ได้รับความส�ำเร็จไปพร้อมกันด้วยการออกแบบที่มีคุณภาพจะต้องไม่ท�ำให้เกิดภาระและปัญหาหลังจากผลงานการออกแบบได้เผยแพร่ออกไป นักออกแบบที่คิดไม่ครบ ไม่ละเอียดรอบคอบ ไม่คิดรอบด้าน ก็อาจจะส่งผลต่อความล้มเหลวของผลงานที่ออกแบบ และอาจกลายเป็นความไม่คุ้มค่าในการลงทุนจนเกิดความ เสียหายตามมา เช่น การออกแบบบางชิ้นงานดูแลรักษายุ่งยาก เสียค่าใช้จ่ายสูงหรือการออกแบบสินค้าบางประเภท มีปัญหาในการขนส่งเกิดการแตกร้าวหลังจากบรรจุอยู่ในหีบห่อ เพื่อส่งออก การออกแบบสินค้าบางประเภทอาจขาดการไตร่ตรองและวิเคราะห์ผู้ซื้อ ก็อาจจะท�ำให้สินค้าที่ออกแบบ ไม่สามารถประสบความส�ำเร็จในการขายได้ สินค้าค้างสต็อกมหาศาล ร้านค้าบางประเภท ก็อาจจะพบกับปัญหาด้านยอดขาย เช่น อาจจะเกิดจากการที่ไม่มีการออกแบบเหมาะสมกับลักษณะของสินค้า การจัดวาง ไม่สอดคล้องในหลักของกิจการด้าน การออกแบบ และพฤติกรรมผู้บริโภค ร้านจ�ำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่ขาดผลการส�ำรวจความต้องการของ ผู้ซื้อผู้ใช้บริการ อาจก่อให้เกิด ความผิดพลาดในการจัดหามุมมองและบรรยากาศที่ดี ส่งผลต่อความล้มเหลวของ ร้านค้า แทนที่จะกลายเป็นการส่งเสริมให้เกิดความส�ำเร็จ ปัจจัยแห่งความส�ำเร็จของการออกแบบ จะประกอบด้วยแนวคิด 360 องศา หมายถึงการน�ำเอาทุกปัจจัย แวดล้อมของโครงการผลิตภัณฑ์สินค้ามาวิเคราะห์ประมวลรวบรวมสู่การก�ำหนดแนวความคิดอย่างเป็นหนึ่ง เดียว และสามารถก�ำหนดแนวคิดหลักที่สามารถน�ำไปใช้ในการสร้างสรรค์โครงการ ตลอดจนการก�ำหนด ออกมาเป็นนโยบายขององค์กรเป้าหมายองค์กร และสามารถสร้างเสริมให้เกิดเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึน้ อย่างเป็น

เอกภาพ ส่งผลสู่การเพิ่มมูลค่าสินค้า มูลค่าโครงการและที่ดิน สืบสานวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ในรูปแบบสมัยใหม่ได้ดว้ ย การออกแบบที่ค�ำนึงถึงปัจจัยรอบด้าน 360 องศา จะมี เอกลักษณ์แตกต่างกันในแต่ละโครงการ โดยมีจุดเน้นบางเรื่อง ที่ ไ ม่ เ หมื อ นกั น ตามลั ก ษณะเฉพาะตั ว และจุ ด เด่ น ของแต่ ล ะ โครงการ เช่น โครงการมีจดุ เด่นทีว่ ฒ ั นธรรมจากรากเหง้าพืน้ ฐาน มาเป็นตัวชูโรง บางโครงการมีจุดเด่นเรื่องวัสดุ น�ำเอานวัตกรรม


มาเป็นจุดเด่นในการน�ำเสนอสู่ตลาด บางโครงการมีจุดเด่นเรื่องการประหยัดพลังงาน น�ำมาใช้ในการก�ำหนดนโยบาย เป็นต้น โดยมีปัจจัยใหญ่ๆ ในองค์ประกอบของวงกลม 360 องศา มีดังนี้ 1. สถานที่ตั้งโครงการ ปัจจัยนี้ประกอบด้วยลักษณะที่ดิน รูปลักษณ์ ขนาดสัดส่วน รูปร่างของที่ดินกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริเวณที่ตั้ง โครงการ ผังเมือง บริบทสภาพแวดล้อมโดยรอบปัจจัยที่ตั้งเป็นส่วนส�ำคัญที่มีค่าน้ําหนักในการก�ำหนดแนวทางหา รูปแบบเฉพาะตัวได้ลงตัวที่สุด 2. สังคมประเพณีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา การกลั่นกรองจากรากเหง้าชุมชนในแต่ละสังคมจึงเกิดเป็นพลังสร้างสรรค์ที่มีจุดเด่นเฉพาะตัวมากที่สุด เสน่ห์ ที่เกิดขึ้น จากความงดงามจากความจริงใจใสบริสุทธิ์ของชุมชนเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการที่ส�ำเร็จอย่างยิ่งต่อไป เป็นส่วนหนึ่งขององศาความคิดที่ส�ำเร็จท�ำให้สามารถค้นพบแนวคิดหลักได้อย่างง่ายดายที่สุดองศาหนึ่ง 3. พฤติกรรมมนุษย์ ประกอบด้วยพฤติกรรมผู้บริโภค พฤติกรรมผู้ใช้งาน พฤติกรรมของคนที่ใช้งานใช้บริการ ให้บริการทั้งในส่วน ของลูกค้าส่วนหน้าหรือพนักงานส่วนหลังในกรณีโครงการทีม่ กี ารแบ่งแยกชัดเจน เช่น โรงแรม ห้องอาหาร โรงพยาบาล ทัง้ หมดเหล่านีผ้ อู้ อกแบบควรมีแนวทางในการออกแบบทีท่ ำ� ให้คนมีประสิทธิภาพ สะดวก ปลอดภัย และมีความสุขทีส่ ดุ ในการใช้งาน สัมผัส รับรู้ องศาส�ำคัญที่มีค่าน้ําหนักในเชิงลึกที่มีรายละเอียดสลับซับซ้อน อีกทั้งสามารถผันแปร ได้โดยการออกแบบที่ส�ำเร็จจะตัดเน้นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่สุด ในส่วนหนึ่งของ 360 องศา เช่นกัน ซึ่งสามารถก�ำหนด องศามาเป็นการใช้สอยที่ละเอียดและส่งผลต่อองศาด้านอื่นๆ ต่อไป 4. การวิเคราะห์ข้อมูลการตลาด ต่อเนื่องจากพฤติกรรมมนุษย์คือข้อสรุปที่ส่งผลต่อข้อมูลทางการตลาดที่สามารถเจาะกลุ่มเฉพาะขึ้นมาได้ หรือประเภทที่ครอบคลุมไปทุกตลาดก็ตาม ก็ควรจะสรุปออกมาให้ชัดเจนก่อนที่จะเริ่มด�ำเนินโครงการ โดยหา ข้อสรุปจากบนกระดาษแล้วน�ำมาก�ำหนดแนวทางต่างๆ ต่อไป เช่น แนวทางกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ แนวทาง การประชาสัมพันธ์ แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์และการให้บริการ แนวทางการก�ำหนดลักษณะการใช้สอย แนวทาง

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

การก�ำหนดลักษณะเฉพาะให้โดนใจ แนวทางการตัง้ ราคาเพือ่ ความ ส�ำเร็จในการจัดจ�ำหน่าย เป็นต้น 5. การวิเคราะห์ด้านประโยชน์ใช้สอยและการก�ำหนด ประโยชน์ใช้สอย จากข้อมูลทั้งข้อ 3 และข้อ 4 ส่งผลต่อองศาความคิดในข้อ นี้หลายโครงการ หลายผลิตภัณฑ์มีจุดเด่น เช่น การออกแบบใหั เกิดประโยชน์ใช้สอยมากกว่าปกติหรือมากกว่าเรื่องเดียว หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีการใช้สอยหลายอย่างในชิ้นเดียว กันขยายความสู่การออกแบบพื้นที่ซึ่งสามารถก�ำหนดขอบเขต ของผัง การออกแบบลักษณะทางสัญจร การเรียงล�ำดับการใช้งาน ของพื้นที่ต่างๆ การเข้าถึงตลอดจนขนาดพื้นที่ใช้สอยที่เหมาะสม ต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ผู้ใช้งาน เป็นองศาที่จะละเลยมิได้ 6. สุนทรียภาพ องศาความคิดแห่งความงาม แห่งความลึกซึ้งทางจิตใจ มิติ ด้านนี้มีความส�ำคัญมาก อันเกิดจากรสนิยม ประสบการณ์การ เข้าใจในศาสตร์แห่งศิลปะ ความสมดุล ลงตัว ความมีเอกภาพ และกาลเทศะ สุนทรียภาพอยู่เคียงคู่มนุษย์มาช้านานจะบอกได้ว่า ขาดไม่ได้เลยก็ว่าได้ โครงการใด ผลิตภัณฑ์ใดมีความลงตัวด้วย ความงาม ก็จะเป็นโครงการที่มีพลังแห่งความสุข เมื่อได้เห็น ได้สัมผัสนั่นเอง


7. นวัตกรรม วัสดุศาสตร์ เทคโนโลยี องศาแห่งความก้าวหน้าที่ขาดไม่ได้ในยุคนี้ เป็นสิ่งที่ทุกผลงานการออกแบบต้องมีต้องคิดค้น แล้วหา จุดแข็งจากเรื่องนี้ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการใช้งาน ตลอดจนสามารถสอดคล้องกับวิถีแห่งสังคมปัจจุบัน และบ่งบอกถึงอนาคต และยิง่ ผลงานออกแบบใดก็ตาม มีนวัตกรรมที่มองไกลถึงอนาคต ก็ยิ่งส่งผลสู่ทางสว่าง แห่งความส�ำเร็จที่ปิดประตูความล้มเหลวได้ทันที 8. งบประมาณ การลงทุน การคืนทุน น้ําหนักแห่งความเป็นไปได้และเป็นปัจจัยที่ท�ำให้ความคิดไม่เพ้อเจ้อ ต้องตอบโจทย์ข้อนี้อย่างชัดเจน คือ งบประมาณในการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุด ผู้ที่ฉลาดคือ ผู้ที่ใช้งบน้อยแต่ได้พลังมหาศาล และควรก�ำหนดการใช้จ่าย อย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบ ในขณะเดียวกันก็ควรวิเคราะห์ถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อโครงการแล้วเสร็จ ว่า ผลก�ำไรที่เกิดขึ้นเป็นที่พอใจหรือไม่ แต่ในขณะเดียวกัน การเล็งผลสัมฤทธิ์ในเรื่องนี้ก็ต้องสมดุลกับจริยธรรม และองศาเรื่องอื่นไปพร้อมกัน

6

องศาทั้งหมดเหล่านี้ คือ “วงใน” วงแรกแห่งองศา 360 องศา ยังมีวงนอกที่กระจายกว้างเข้าไปอีก ในแต่ละโครงการอาจมีจุดเด่นจุดเน้นค่าน้ําหนักที่แตกต่างกันได้  เปรียบเสมือนลายมือของมนุษย์ที่ แตกต่างกันนั่นก็หมายความว่า โครงการต่างๆ ที่มีการวางแผน 360 องศา สามารถหาค่า X ค่าเฉพาะ ของโครงการขึ้นมาจนเกิดรูปแบบเฉพาะตัวที่ไม่เหมือน ไม่ซ�้ำแบบใคร อยู่ที่ว่าจะเน้นองศาใดขึ้นมาเป็น พิเศษ ทั้งในขนาดความกว้างของแต่ละองศา หรือความลึกละเอียดของแต่ละองศาติดตามการหาค่า X ใน โครงการต่างๆ เพื่อจะได้ก�ำหนดค่า X จนเปิดแนวทางที่ชัดเจนไม่คดเคี้ยวเสียเวลาอีกต่อไป


ชื่อ | Artist/Designer : : ผศ.เอกพงษ์ ตรีตรง | Asst.Prof.Akekapong Treetrong ผลงานสร้างสรรค์ | Title : Design Factor 360 ํ เทคนิค | Technic : สื่อผสม ขนาด | Size : 120 x 240 ซม. แนวความคิด | Concept : การออกแบบที่มีองค์ประกอบและปัจจัย 360 องศา จากประสบการณ์บ่มเพาะในมหาวิทยาลัยศิลปากร

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : ราชพฤกษ์ 2013 | Golden shower 2013 ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : ผศ.ชัยณรงค์ อริยะประเสริฐ | Asst.Prof.Chainarong Ariyaprasert

8

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน เมื่อเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาให้เรียนรู้และประกอบอาชีพมัณฑนากร ตามหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบัน ท�ำให้ข้าพเจ้าจะต้องบริหารโอกาสให้ตนเองได้มีโอกาสปฏิบัติงาน สร้างสรรค์ทางศิลปะไปพร้อมๆ กับการปฏิบัติงานสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการ และงานอาชีพ ซึ่งในช่วงต้นปี 2555 ที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้มีโอกาสตอบรับค�ำเชิญให้สร้างสรรค์ งานศิลปกรรมกับบริษัทสยามมอร์ตาร์ (อ้างถึงหนังสือเชิญสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม จากศูนย์เทคโนโลยีการฉาบปูน แก่งคอย สระบุรี เมื่อ มกราคม 2555) ซึ่งเป็นโอกาสที่ดี ที่ข้าพเจ้าจะได้ใช้ทักษะที่ใช้ในการสอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในรายวิชาแกนของมัณฑนศิลป์ อาทิ รายวิชาออกแบบ 1-2 วิชาวาดเส้น 1-2 รวมถึงประสบการณ์ในงานวิจัย งาน อบรมปฏิบัติการณ์ภาคสนาม งานอาชีพมัณฑนากรที่เกี่ยวข้องกับวัสดุก่อสร้าง และวัสดุในการตกแต่งภายใน เพื่อมาบูรณาการสู่การสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมที่สอดคล้องกับ ช่วงเวลาเฉลิมฉลองหลายๆ เหตุการณ์ส�ำคัญของประเทศไทย ระหว่างปี 2555 และ 2556 อาทิ การเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถ ที่ทรงเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งประเทศทุกหมู่เหล่า รวมถึงการแสดงกตเวทิตาคุณ จัด สร้างภาพพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส�ำหรับการจัดประมูล เพือ่ ระดมทุน ในงานมุทติ าจิตเกษียณอายุราชการอาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยฯ ซึง่ เป็นโรงเรียนเก่าอันเป็นทีร่ กั ยิง่ ของ ข้าพเจ้า และเพื่อเป็นการบูรณาการทักษะเทคนิคและความรู้ประสบการณ์ในหลายๆด้านของข้าพเจ้าที่มีในการ ถ่ายทอดสู่ผลงานสร้างสรรค์จิตรกรรม ด้วยวัสดุก่อสร้างประเภทซีเมนต์ฉาบสีนี้เป็นตัวแทนในผลงานจิตรกรรม เพื่อสะท้อนภาพรวมของการประมวลทักษะ “เฉพาะตน” ตามแนวความคิดหลักของการจัดแสดงผลงานคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ ประจ�ำปี 2556 โดยในการจัดแสดงครั้งนี้ได้น�ำภาพ “ราชพฤกษ์ 2013” มาน�ำเสนอต่อสาธารณชน

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระคุณของครูอาจารย์ของ โรงเรียนเก่าสวนกุหลาบวิทยาลัยฯอันเป็นที่รักยิ่งด้วยผลงาน จิตรกรรมสร้างสรรค์


2. เพื่อสะท้อนคุณภาพของทักษะเฉพาะตนด้วยการประมวล เรียบเรียง ทักษะและประสบการณ์ความเข้าใจ วัสดุ เพื่อสร้างผลงานจิตรกรรมด้วยวัสดุก่อสร้างประเภทปูนฉาบสี 3. เพื่อให้เกียรติจัดแสดงผลงานสร้างสรรค์ศิลปะการออกแบบประจ�ำปีร่วมกับเพื่อนคณาจารย์ประจ�ำคณะ มัณฑนศิลป์ แนวความคิด น�ำเสนอความเป็นไปได้ของการบูรณาการวัสดุก่อสร้างต่อยอดสู่ผลงานจิตรกรรมที่แสดงแรงบันดาลใจจาก ดอกราชพฤกษ์ โดยน�ำเสนอสีสัน และการจัดองค์ประกอบ ผ่านความประทับใจจากพื้นผิวเฉพาะตัวที่ได้จากทักษะและ เทคนิคของงานฉาบซีเมนต์สีเพื่อการตกแต่ง กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เรียบเรียงความคิดในการน�ำเสนอผลงาน โดยเน้นทักษะเฉพาะตัวที่ได้จากรายวิชาแกนของมัณฑนศิลป์ 2. ค้นหาและร่างภาพบนกระดาษแล้วปรับปรุงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้เป็นต้นแบบ 3. จัดเตรียมกรอบเฟรมท�ำงาน โดยตัดแผ่นยิปซั่ม 9 มม. กรุโครงเคร่าไม้สนจอยท์ 1.5 นิ้ว x 3 นิ้ว 4. จัดเตรียมซีเมนต์สี และผสมสีเพิ่มเติมให้พอดีในการใช้งาน 5. ทาน�้ำยารองพื้นแผ่นยิปซั่ม เพื่อให้ซีเมนต์สีมีคุณสมบัติเกาะกับแผ่นยิปซั่มได้ดีไม่หลุดร่อน 6. จัดเตรียมเครื่องพ่นซีเมนต์ฉาบ เพื่อน�ำซีเมนต์สีที่ผสมจัดท�ำรองพื้นบนแผ่นยิปซั่ม 7. เริ่มต้นร่างภาพจากต้นฉบับที่เตรียมไว้ เมื่อซีเมนต์รองพื้นแห้ง 8. ใช้ทักษะประสบการณ์ทางศิลปะการออกแบบจากรายวิชาพื้นฐานและประสบการณ์อาชีพมัณฑนากร บูรณาการเพื่อประมวลสร้างสรรค์ผลงาน 9. เมื่อเสร็จสิ้น และแห้งแล้ว ใช้ยูเรเทนผสมเรซิน เคลือบชิ้นงาน วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ต้นฉบับภาพร่าง ภาพเสก็ตซ์ที่ด�ำเนินการสร้างสรรค์เบื้องต้น 2 ซีเมนต์ฉาบ ที่เป็นซีเมนต์สี (ในที่นี้ได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทสยามมอร์ตาร์) 70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

3. แผ่นยิปซั่ม 9 มม. และไม้สนจอยท์ 1.5 นิ้ว x 3 นิ้ว 4. น้ํายาผสม และน้ํายาเคลือบ 5. เครื่องมือฉาบ ได้แก่ เกรียงฉาบปูนประเภทต่างๆ ถังน้ํา แผ่นพลาสติคและกระดาษหนังสือพิมพ์รอง เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน การลอกเลียนเทคนิคการสร้างผลงานจิตรกรรมสีน้ํามัน ด้วยเกรียงฉาบซีเมนต์โลหะขนาดใหญ่และสีซเี มนต์ บนแผ่นเฟรม โดยทั้งหมดเป็นวัสดุก่อสร้าง ที่หาได้ทั่วไป ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 120 x 120 ซม. จ�ำนวน 1 ภาพ

ภาพแบบร่าง

ภาพที่ 1-2 : การรองพื้นและร่างภาพ ที่มา https://www.facebook.com/photo.php ?fbid=10150594923932144&set=a.10150594923202144.386931.584302143&ty pe=3&theater (ออนไลน์,เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฎาคม 2556, 16.25 น.)


10

ภาพที่ 3-8 : การรองพื้นและร่างภาพ ที่มา https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150594923932144&set=a.10150594923202144 .386931.584302143&type=3&theater (ออนไลน์,เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฎาคม 2556, 16.30 น.)


บรรณานุกรม ดอกราชพฤกษ์ , available at : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0% B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C ดอกราชพฤกษ์สีเหลืองตัดกับท้องฟ้า, available at : http://travel.gongzstudio.com/wp-content/uploads/2012/05/ck101.jpg รูปภาพที่1-9 available at : https://www.facebook.com/uddee/media_set?set=a.101505949 23202144.386931.584302143&type=1

ภาพที่ 9 : ภาพผลงานส�ำเร็จ ราชพฤกษ์ 2013 https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10150594923932144&set=a.10150 594923202144.386931.584302143&type=3&theater (ออนไลน์,เข้าถึงเมื่อ 27 กรกฎาคม 2556, 16.35 น.)

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : ร่างจังหวะ | Rhythms Sketch ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ ณัฐรฐนนท์ ทองสุทธิพีรภาส | Nathrathanon Thongsuthipheerapas

12

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยข้าพเจ้ามีโอกาสได้เป็นมัณฑนากรผู้ท�ำการออกแบบภายใน สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ในส่วนอาคารอนุรักษ์ (อาคารอ�ำนวยการโรงงานสุราบางยี่ขัน) ซึ่งเป็นอาคาร โบราณเก่าแก่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน จึงได้เริ่มท�ำการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อการสร้างผลงานการออกแบบภายในที่สามารถตอบสนองต่อ หลักสูตรการศึกษา ความงาม และการรักษาคุณค่าของงานสถาปัตยกรรม ในระหว่างการท�ำงานออกแบบที่จะต้องมีการร่างแบบ เขียนแบบ ก�ำหนดสัดส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นปกติที่ในงานออกแบบภายในจะต้องท�ำเพื่อการพัฒนางานออกแบบ แต่ส�ำหรับ งานออกแบบสถาบันดนตรีฯ การร่างแบบเพื่อคิดงานออกแบบภายในกลับแตกต่างและมีความพิเศษจากผลงานชิ้นอื่น ๆ ที่เคยท�ำมา ด้วยแนวคิด “จังหวะดนตรีคลาสสิกในท่วงท�ำนอง แห่งความเป็นไทย” โดยการแทนค่าของอาคารอนุรักษ์ที่มีช่องเปิดอาคารเป็นจังหวะที่เสมือนเทมโป (Tempo)1 ที่เป็นตัวก�ำหนดความเร็วของจังหวะในทางดนตรี ในทางการออกแบบ ภายในโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมก็เป็นตัวควบคุมจังหวะ โดยเฉพาะในการออกแบบภายในที่มีรูปแบบย้อน ยุคในแบบโคโลเนียล (Colonial)2 ประมาณปลายรัชกาลที่ 5 ที่จังหวะและความสมมาตรมีความส�ำคัญอย่าง มากในการออกแบบ การแทนค่าความเป็นไทยทีจ่ ะผสานกลมกลืนไปกับโครงสร้างงานสถาปัตยกรรมนัน้ ผูอ้ อกแบบได้รา่ งงาน ออกแบบ ควบคุมจังหวะและสร้างจังหวะรองด้วยกรอบซุม้ ประตู ลูกฟัก และใส่รายละเอียดทีม่ ลี กั ษณะไทยเข้าไป เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อให้จังหวะที่ถูกออกแบบในลักษณะนูนต่ําท�ำให้มีแสงเงาที่ชัดเจน ผสานไปกับลักษณะ ของช่องเปิดทีเ่ กิดจากงานสถาปัตยกรรมโคโลเนียลโดยผูร้ ว่ มออกแบบ บรรจงลักษณ์ กัญหาชาลี ได้ให้ความเห็น

1 เทมโป (อิตาลี: tempo แปลว่า time) หมายถึงความเร็วในการเล่นเครื่องดนตรี เป็นองค์ ประกอบส�ำคัญของการประพันธ์งานดนตรี ซึ่งมีผลต่ออารมณ์และความยากง่ายในการเล่น ผลงานชิน้ นัน้ ๆ งานประพันธ์ดนตรีแต่ละชิน้ จะระบุเทมโปไว้ทตี่ อนต้น ในปัจจุบนั จะระบุเป็นค่า ครั้งต่อวินาที (beats per minute ใช้ตัวย่อ BPM) หมายความว่าโน้ตแต่ละตัวจะต้องถูกเล่น ด้วยเป็นจ�ำนวนกีค่ รัง้ ต่อนาที หากงานประพันธ์ชนิ้ ใดมีคา่ เทมโปสูง โน้ตตัวนัน้ ก็จะต้องเล่นด้วย ความเร็วสูงขึ้นด้วยจ�ำนวนครั้งมากขึ้นในหนึ่งนาที (ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/ เทมโป) 2 วงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์, สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี, 2556), 83.


ว่า “การร่างรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนจะต้องควบคุมรายละเอียด (Detail) เสียก่อนเพื่อมิให้มีรายละเอียดมาก เกินความจ�ำเป็น และน�ำรายละเอียดเหล่านั้นมาเรียบเรียงเพื่อให้เข้ากับองค์ประกอบรวม เปรียบเสมือนนักประพันธ์ เพลงที่เรียบเรียงตัวโน๊ตให้ออกมาเป็นจังหวะเป็นบทเพลง” ดังนั้นการให้รายละเอียดในส่วนต่างๆ นั้น ผู้ออกแบบได้ ร่างรายละเอียดองค์ประกอบต่างๆ เพื่อควบคุมงานออกแบบให้เกิดทิศทางเดียวกันและได้พบว่า การร่าง การเขียน ด้วยดินสอหรือปากกาลงบนกระดาษไขเพื่อการหาสัดส่วนที่เหมาะสมนั้นมีเสน่ห์ มีความงาม มีความคิดที่แฝงตัวอยู่ใน การร่างโดยเฉพาะงานออกแบบภายในชิ้นนี้ที่มี “จังหวะ”(Rhythms) เป็นหัวใจในการออกแบบด้วยความที่เป็นสถาบัน ดนตรีฯ ที่สอนในหลักสูตรดนตรีคลาสสิก ผู้ออกแบบจึงเน้นย้ำถึงจังหวะที่จะต้องลงตัวสวยงาม ในการหาจังหวะด้วย การร่าง การก�ำหนดสัดส่วน การให้มาตราส่วน ทั้งการเขียนทัศนียภาพการเขียนภาพด้าน รูปตัด แบบขยาย ด้วยขนาด เท่าจริง (1:1) และการย่อด้วยสเกลในขนาดต่างๆ ตามความเหมาะสมการล�ำดับจังหวะที่ต้องดูทั้งภาพรวม และ มุมมองต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจริงในระยะต่างๆ การเขียนแบบร่างจึงมิใช่แค่การพัฒนาแบบเพื่อน�ำไปเขียนแบบก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังคงเป็นงานที่ผู้เขียนได้ ถ่ายทอดลงมาผ่านเส้นที่ต้องจินตนาการถึงการสร้างจริง สถานที่จริง บรรยากาศที่เกิดขึ้นจริง และการรักษาสมดุล ของความงามทางการมอง (Visual Harmony)3 เป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบอยากที่จะสื่อสารออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้ถึงความ รู้สึกระหว่างการค้นหาและการค้นพบ ซึ่งเป็นกระบวนการต้นก�ำเนิดงานออกแบบภายในที่มีเสน่ห์และความงาม ก่อน ที่จะน�ำไปสู่การเขียนแบบจริงและน�ำไปก่อสร้างในขั้นตอนต่อไป วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพือ่ แสดงให้เห็นถึงกระบวนการในการออกแบบ โดยเฉพาะการร่างแบบ การเขียนแบบ ทีเ่ ป็นการถ่ายทอด ความคิดออกมาก่อนที่จะท�ำการเขียนแบบก่อสร้างงานออกแบบภายใน 2. เพื่อแสดงให้เห็นถึงเทคนิคการร่างในลักษณะต่างๆ ที่ผสมผสานทั้งการวาดเส้น การเขียนแบบ และองค์ประกอบศิลป์ เพื่อพัฒนาผลงาน 3. เพื่อค้นหามุมมอง มิติ แนวคิดใหม่ๆ จากการพัฒนาแบบด้วยการร่างการเขียนในลักษณะรูปแบบต่างๆ ที่ผสานไปกับความคิดจังหวะเวลา บรรยากาศและมิติที่จะเกิดขึ้น

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

แนวความคิด การร่างจังหวะ กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อการออกแบบ 2. ศึกษาประวัติและลักษณะทางสถาปัตยกรรมของ อาคารที่จะท�ำการออกแบบ 3. ก�ำหนดแนวความคิดในการออกแบบ 4. การพัฒนารูปแบบของผลงาน วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน กระดาษไข ดินสอและปากกา เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน ดินสอและปากกาบนกระดาษไข ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ กว้าง 80 ซม. x สูง 120 ซม. 3 เมธา บุนนาค, “สถาปัตยกรรม คือ ศิลปกรรม” ปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 17 ประจ�ำปี 2555 (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555), 26.


1

2

3

4

14

5

6

7


8

9

ภาพที่ 1 รูปแบบผังพื้นของอาคารแสดงที่ว่าง ที่เป็นตัวควบคุมจังหวะ • ภาพที่ 2 แบบร่างทัศนียภาพโถงทางเดินชั้น 1 เพื่อให้เห็นภาพรวมของที่ว่างในงาน ออกแบบภายใน • ภาพที่ 3 แบบร่างทัศนียภาพห้องเรียน 1 เพื่อให้เห็นภาพรวมของ ที่ว่างในงานออก แบบภายใน • ภาพที่ 4 แบบร่างทัศนียภาพห้องเรียน 2 เพื่อให้เห็นภาพรวมของที่ว่างในงานออกแบบภายใน • ภาพที่ 5 แบบผังเพดานห้องเรียนที่จังหวะจะต้องผสานไปกับงานระบบไฟฟ้า แสงสว่าง และระบบปรับ อากาศ • ภาพที่ 6 แบบร่างรูปด้านห้องเรียนเป็นการก�ำกับจังหวะด้วยสเกล เพื่อพัฒนางาน • ภาพที่ 7 แบบร่างรูปด้านห้องประชุมแสดงให้เห็นถึงรายละเอียด และภาพรวมของจังหวะที่ว่างที่ผสานกลมกลืนกัน • ภาพที่ 8 แบบร่างรูปตัดฝ้าเพดานเพื่อหาจังหวะและสัดส่วนที่ลงตัว • ภาพที่ 9 และ 10 แบบร่างรายละเอียด (Detail) ในส่วนต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบส�ำคัญในการเข้าไปสร้างจังหวะ ผสานส่วนต่างๆให้มีความกลมกลืนกัน

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

10

องคความรูที่ไดจากการปฏิบัติงานสรางสรรค ในกระบวนการท�ำงานออกแบบภายในนัน้ หลังจากทีม่ คี วาม ชัดเจนในส่วนของการเขียนทัศนียภาพเพื่อสร้างที่ว่าง  และ บรรยากาศที่ถ่ายทอดแนวความคิดออกมาแล้ว  การร่างแบบ รูปด้าน รูปตัด แบบขยาย และใส่รายละเอียดในไปในงานก่อน การเขียนแบบก่อสร้างให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มีความจ�ำเป็น อย่างมาก  ด้วยขนาดสัดส่วนที่เข้ามาตราส่วนของแบบร่างจะ ท�ำให้งานออกแบบนั้นมีความผิดพลาดน้อย โดยเฉพาะในงานที่ ต้องการความถูกต้องของจังหวะ ระยะ สัดส่วน ซึ่งในงานชิ้นนี้ ได้เข้ามาตราส่วน1:25 ในทุกรูปด้าน และรายละเอียดมาตราส่วน 1:1 เพื่อหาจังหวะ ระยะ สัดส่วนของงานที่สัมพันธ์กับที่ว่าง ท�ำให้ งานชิ้นนี้ มีความคาดเคลื่อนน้อย ช่วยท�ำให้การก่อสร้างมีความ สวยงาม สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

บรรณานุกรม ชะลูด นิ่มเสมอ. วาดเส้นสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2553. บุญเสริม เปรมธาดา. การศึกษารูปแบบทางสถาปัตยกรรมภายในอาคารที่ได้รับ อิทธิพลตะวันตกสมัยรัชกาลที่ 5. กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543. เมธา บุนนาค. “สถาปัตยกรรม คือ ศิลปกรรม” ปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 17 ประจ�ำปี 2555. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555. วงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์. สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี, 2556.


ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

16

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : สัตตภัณฑ์ | Candle Holder ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ พัฒนา เจริญสุข | Patana Charoensook

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างสรรค์ผลงานภายใต้ค�ำว่า “แก่” ผลงานต่อเนื่องจากแรงบันดาลใจ ในเรื่อง “เกิด แก่ เจ็บ ตาย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา แก่ ตามความหมายในพจนานุกรมของราชบัณฑิตยสถานนั้น หมายถึง ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่ จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน ; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ1 โดยนิยามศัพท์ ของค�ำว่า แก่ คือ การเป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ ซึ่งสามารถเข้าถึงของการแสดงออกด้วยสติปัญญาอันแก่กล้า ในที่นี้หมายถึง องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ที่ตรัสรู้ด้วยตนเอง และสอนให้ ผู้อื่นรู้ตามด้วยธรรมะที่พระพุทธองค์บัญญัติขึ้น สร้างความศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ยังคงสืบทอดประเพณีความเชื่อความ ศรัทธาในพระพุทธศาสนานี้อยู่อย่างเหนี่ยวแน่น ด้วยบริบทของวัฒนธรรมล้านนา ซึ่งยังคงพบเห็นกันอยู่ในความศรัทธานั้น ชาวล้านนานิยมประดิษฐ์สร้างสรรค์เชิงเทียนเพื่อถวาย เป็นพุทธบูชา  อันเป็นการบูชาพุทธปัญญาอันแก่กล้าขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีชื่อเฉพาะที่ใช้เรียก เชิงเทียนลักษณะนีว้ า่ สัตตภัณฑ์ อันหมายถึง เชิงเทียนทีใ่ ช้ในการบูชาพระประธานในวิหาร 2 โดยสะท้อน แนวคิด และความเชื่อที่เป็นแก่นสาระส�ำคัญอยู่ 2 ประการ คือ แนวคิด และความเชื่อที่เกี่ยวกับภูมิจักรวาลใน ไตรภูมิกถา ซึ่งสัตตภัณฑ์ได้แฝงนัยยะของสัญลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างจักรวาล กับโลกมนุษย์ โดยสมมติให้สณ ั ฐานของจักรวาลอยูใ่ นแนวตัง้ ซึง่ มีรปู แบบเช่นเดียวกับทีป่ รากฏอยูใ่ นภาพจิตรกรรม ฝาผนังเขาพระสุเมรุ ตรงกับภาษาของล้านนาที่เรียกว่า สิเนรุ ที่ล้อมรอบด้วยสัตตบริภัณฑ์คีรีทั้ง 7 เป็นวงกลม ลดหลั่นกันลงมาประกอบด้วย ยุคันธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินันตกะ และอัสสกัณณ์ ส่วนอีกแนวคิด

และความเชื่อที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็คือ สัตตภัณฑ์นั้นสร้าง ขึ้นโดยสอดแทรกหลักธรรมค�ำสอน และหลักปฏิบัติทางพุทธ ศาสนาที่เกี่ยวข้องกับเลข 7 หลัก ได้แก่ หลักโพชฌงค์ 7 คือธรรม ที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หลักสัทธัมมะ 7 ธรรมของสัตบุรุษ ใช้ หลักสัปปุริสธัมมะ 7 ธรรมที่ท�ำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของ คนดี ธรรมของผู้ดี เป็นต้น


รูปแบบสัตตภัณฑ์งานประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์โดยช่างสลักไม้ล้านนา ที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันแบ่งออกได้ตาม ลักษณะรูปทรงเฉพาะได้ 3 รูปแบบ ได้แก่ สัตตภัณฑ์รูปสามเหลี่ยม แกะสลักไม้ลวดลายพรรณไม้เถาเลื้อย สานสลับ มีมติ ทิ วั่ ทัง้ แผ่นไม้ ส่วนริมขอบด้านนอกนิยมแกะสลักไม้ตกแต่งเป็นลวดลายพญานาคทอดตัวไล่ระดับลงมา จัดสร้าง ให้มีหลายขนาดส่วนมากจะมีนิยมประดิษฐ์ให้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ประกอบด้วยยอดเสา 7 เสาสูงลดหลั่นกันลงมา ตกแต่งด้วยการเขียนสีพร้อมกับประดับกระจกสี สัตตภัณฑ์ในรูปแบบนี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดเชียงใหม่ ส่วน สัตตภัณฑ์รูปวงโค้ง (รูปครึ่งวงกลม) มีลักษณะคล้ายสัตตภัณฑ์รูปสามเหลี่ยม แต่จะเป็นวงโค้งคล้ายพระจันทร์ 8 ค�่ำ ซึ่งเป็นรูปร่างครึ่งวงกลม มียอดเสา 7 เสาอยู่ในกรอบ ด้านข้างไม่นิยมแกะสลักไม้ตกแต่งเป็นลวดลายพญานาค แต่นิยมแกะสลักไม้ลวดลายพญานาคไว้ภายในเป็นลักษณะนาคเกี้ยว หรือนาคขดพันกันแน่น สัตตภัณฑ์ ในรูปแบบ นี้ พบมากในจังหวัดล�ำพูน จังหวัดล�ำปาง และสัตตภัณฑ์แบบสุดท้ายเป็น สัตตภัณฑ์ขั้นบันได หรือเรียกอีกชื่อว่า บันไดแก้ว มีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร และมียอดเสา 7 เสาประดับอยู่ด้านข้างของบันไดทั้งสองข้างๆ ละ 3 เสา และที่กลางบันไดด้านหลังอีกหนึ่งเสา ไม่มีการแกะสลักไม้มากนัก แต่จะตกแต่งด้วยการลงรักปิดทอง หรือทาสีด้วย เทคนิคกระดาษฉลุลาย สัตตภัณฑ์รูปแบบนี้เป็นงานศิลปกรรมของช่างฝีมือของชาวไทลื้อในจังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน ปัจจุบันยังพบเห็นได้ที่วัดของชาวไทลื้อ เป็นของเก่าดั่งเดิม จากแนวคิดในรูปแบบศิลปะประเพณีได้น�ำมาถ่ายทอดประยุกต์สู่งานออกแบบเชิงเทียนเพื่อเป็นพุทธบูชาแด่ หลักธรรมอันแก่กล้าทีอ่ งค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัตไิ ว้ ด้วยการน�ำกรอบของรูปทรงสามเหลีย่ ม ทีเ่ ป็นรูปแบบ ดั้งเดิมแบบหนึ่งของเชิงเทียนสัตตภัณฑ์ของชาวล้านนา โดยลดหลั่นลงมาเป็นล�ำดับขั้นบันได ข้างละ 3 ขั้นจากแกน กลางของเชิงเทียนทีเ่ ป็นต�ำแหน่งส�ำคัญของ เขาสิเนรุ หรือเขาพระสุเมรุ จุดศูนย์กลางของโลก รวมเป็นสัตตบริภณ ั ฑ์ครี ี ทั้ง 7 เชิงเทียนท�ำด้วยธาตุโลหะ โดยน�ำแผ่นเหล็ก กว้าง 120 มม. ยาว 1560 มม.หนา 4 มม. ขึ้นรูปขั้นบันได แทนค่า นาคสะดุ้งเป็นกรอบอยู่ทั้งสองด้าน พ่นสีบรอนซ์ทอง สีที่เป็นมงคลกับผู้ที่เกิดวันพุธกลางวัน ตัวเทียนสีขาวหล่อขึ้น รูปล้อไปกับเชิงเทียนต่อเนื่องกันไปเป็นชิ้นเดียวตามสันฐานของโลก ซึ่งในงานออกแบบจะลดรูปส่วนที่เป็นเขาสิเนรุ หรือเขาพระสุเมรุ ที่มีกายภาพเป็นเนื้อละเอียดมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต�ำแหน่งขั้นบันไดมีไส้เทียนส�ำหรับจุดเพื่อเป็น พุทธบูชา

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ภาพที่ 1 จิตรกรรมฝาผนัง เขาพระสุเมรุ

ภาพที่ 2 การจ�ำลองภาพสันนิษฐานจักรวาลตามคติไตรภูมิในพุทธศาสนา 1 ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์. 2 เครื่องมือของใช้ล้านนา - สัตตภัณฑ์ [Online}, accessed 15 June 2013. Available from http://www.openbase.in.th/node/6843


18

สัตตภัณฑ์ สัญลักษณ์ของบริบทแห่งจักรวาล และโลก อันเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นบ่อเกิดแห่งสรรพชีวิต สรรพปัญญา ที่เปรียบได้กับเปลวเทียนที่ส่องสว่าง เป็นหนทางสู่การแก้ปัญหาเพื่อการสร้างสรรค์ของมนุษยชาติ อันประเสริฐบนโลกใบนี้ แนวคิดของผลงานสร้างสรรค์โดยตัดทอนเพื่อประโยชน์ใช้สอยที่พองามพอเพียง วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษารูปแบบศิลปะประเพณี สัตตภัณฑ์ (เชิงเทียนล้านนา) ที่เกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง แก่ เป็นส่วนหนึ่ง ของความเชื่อเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย 2. ถ่ายทอดผลงานสร้างสรรค์อันเป็นอัตตลักษณ์เฉพาะตัวในสายอาชีพในหัวข้อ   70  ปี  แห่งความ เชี่ยวชาญเฉพาะตน (70 Years of Expertise) แนวความคิด สัตตภัณฑ์ กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษาค้นคว้าที่มาที่เกี่ยวกับ สัตตภัณฑ์ (เชิงเทียนล้านนา) ในหมวดของการแก่ เป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง ความเชื่อในพุทธศาสนา เกิด แก่ เจ็บ ตาย 2. เพื่อน�ำผลการศึกษามาวิเคราะห์สรุปสร้างสรรค์ผลงาน 3. ออกแบบภาพร่าง 4. เขียนแบบ ก�ำหนดขนาด และรายละเอียดของวัสดุ 5. ท�ำพิมพ์หล่อเทียน 6. พับเหล็ก พ่นสี 7. ประกอบเทียน เข้ากับเชิงเทียน วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน กระดาษส�ำหรับท�ำต้นแบบ ปูนปลาสเตอร์ท�ำพิมพ์ พาลาฟินแท่งสีขาว ส�ำหรับหล่อเทียน ไส้เทียน แผ่น เหล็กขนาด กว้าง 120 มม. ยาว 1,560 มม. หนา 4 มม. สีสเปรย์ สีเงินบรอนซ์ เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน สื่อผสม 3 มิติ ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 12 x 57 x 40 ซม.

ภาพที่ 3 สัตตภัณฑ์รูปสามเหลี่ยม และสัตตภัณฑ์รูปวงโค้ง

ภาพแบบร่าง

ภาพที่ 4 แสดงภาพเสมือนจริง สิเนรุ ที่ล้อมรอบด้วยสัตตบริภัณฑ์คีรีทั้ง 7 ภาพที่ 5 แบบ สัตตภัณฑ์


ภาพที่ 6 แบบร่าง สัตตภัณฑ์

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ ผลลัพธ์ที่ได้จากการสร้างสรรค์เป็นการทดลองการน�ำองค์ความรู้ในปรัชญาตะวันออก ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา มาประยุกต์ใช้เป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์สงิ่ ใหม่ให้ตอบสนองการใช้งานได้อย่างร่วมสมัย เน้นรูปแบบทีเ่ รียบง่าย เข้าใจในปรัชญา ได้งา่ ย  ตอบสนองการใช้งานอย่างง่าย  ซึง่ คาดหวังให้เป็นส่วนหนึง่ ของเครือ่ งมือในการโน้มน้าวให้คนรุน่ ใหม่เข้าถึงปรัชญาค�ำสอน ต่างๆ ในพระพุทธศาสนาได้มากขึ้น และน�ำแนวทางต่างๆ นั้นมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดความเจริญแก่ตัว และประเทศชาติ บรรณานุกรม มาณพ มานะแซม, “สัตตภัณฑ์” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, 2542 เล่ม 13 หน้า 6758-6761 ธเนศวร์ เจริญเมือง, “ตั๋วเมือง” คนเมือง: ประวัติศาสตร์ล้านนาสมัยใหม่, พ.ศ. 2317-2551. เชียงใหม่, 2552 ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์, วิไลรัตน์ ยังรอด. ท่องเที่ยว-เรียนรู้ อยุธยา. (กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2550), หน้า 80. สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์อมรินทร์, 2539 หน้า 363 อุดม รุ่งเรืองศรี และเกื้อพันธุ์ นาคบุปผา, “นาค” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. เพิ่งอ้าง, เล่ม 6 หน้า 3089-3094 เขาพระสุเมรุ [Online}, accessed 15 June 2013. Available from http://www.baanmaha.com/community/thread36233.html พุทธลักษณ์ล้านนา [Online}, accessed 15 June 2013. Available from http://www.sri.cmu.ac.th/~elanna/symbollanna/study_page04.html สัตตภัณฑ์ [Online}, accessed 15 June 2013. Available from http://www.openbase.in.th/node/6843

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : พึมพ�ำ | murmur ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ ดร.วรนันท์ โสวรรณี | Waranan Sowannee (Ph.D.)

20

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน “--- - - มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานผลการเรียนรู้ --- - - บันทึกข้อความ --- - -- มคอ.2 มคอ.3 - - - มคอ.5 - - - รายละเอียดของหลักสูตร - - -- -- - หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 .........................หมวดที่ 1 ข้อมูลทั่วไป วิชาเอก ไม่มี รูปแบบของหลักสูตร - - -- - -- ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร --- - ผลการเรียนรู้ วาระการประชุม..........” ค�ำ และข้อความเหล่านี้เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นบ่อยที่สุดในการท�ำงานในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา สิ่งนี้ใช่หน้าที่ของอาจารย์ตาม 4 พันธกิจหลัก อันประกอบด้วย การสอน การ วิจัย บริการวิชาการแก่สังคม ท�ำนุบ�ำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือไม่ เหตุใดช่างดูห่างไกลจากเป้าหมายของอาชีพที่วางแผนไว้ การท�ำงานบริหารท�ำให้ต้องละมือจากการท�ำงานวิชาการ วิจัย การค้นคว้า เขียนบทความวิชาการ หรือแม้กระทั่งการสอนและการเตรียมการสอน จนหลายครั้งเกิดค�ำถามว่า “ก�ำลังท�ำอะไรอยู่” เป้าหมายของการท�ำงาน ใช่สิ่งนี้แล้วหรือ งานสร้างสรรค์ “พึม พ�ำ” นี้ ต้องการแสดงถึงความรู้สึกขณะท�ำงานในช่วงที่ผ่านมา ที่มีทั้งความสับสน ความเบื่อหน่าย ไร้เป้าหมาย หงุดหงิดใจ เมื่อต้องท�ำงานเอกสาร และความรู้สึกย้อนแย้ง ทั้งยินดี ดีใจ ภูมิใจ เมื่อ ท�ำงานส�ำเร็จ โดยผ่านงานศิลปะจากเอกสารที่ใช้ท�ำงาน เลือกตัดค�ำ ประโยค และข้อความ เช่น มาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มาตรฐานผลการเรียนรู้ มคอ.2 มคอ.3 มคอ.5 รวมทั้งหัวเอกสารบันทึกข้อความ ขนาดต่างๆ มาจัดวางองค์ประกอบ และลอกข้อความต่างๆ ลงบนแผ่นกระดาษสีหม่น เพื่อแสดงถึงความรู้สึก ขัดแย้งในตนเองขณะท�ำงาน

ตัวหนังสือทั้งหมดที่ปรากฏ มีลักษณะกลับหลังหัน ทับซ้อน ไม่ชดั เจน และมีขนาดเล็กบ้างใหญ่บา้ ง เพือ่ แสดงความรูส้ กึ สับสน ไม่ชัดเจน ขณะท�ำงาน อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีการบ่นพึมพ�ำ แต่ก็ ยังเต็มใจอย่างยิง่ ทีจ่ ะท�ำงานนัน้ ต่อไปให้สำ� เร็จ ก็ได้แต่หวังว่า บางที การท�ำงานในวันนี้อาจกลายเป็น “ความเชี่ยวชาญเฉพาะตน” ในอนาคตก็เป็นได้


วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน แสดงการบ่นพึมพ�ำ แสดงความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะท�ำงานเป็นผลงานศิลปะ จากเอกสาร ค�ำ และข้อความที่ พบเห็นเป็นประจ�ำในการท�ำงาน แนวความคิด การบ่น “พึมพ�ำ” เมื่อต้องท�ำงานด้วยความรู้สึกสับสน และความรู้สึกขัดแย้งในตนเอง กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน น�ำข้อความจากกระดาษเอกสารการประชุมหลักสูตร มาจัดวางองค์ประกอบให้ทับซ้อนกัน ลอกข้อความต่างๆ ลงบนแผ่นกระดาษสีน�้ำตาลปนเทา ตัวหนังสือมีลักษณะกลับหลังหัน ทับซ้อน ไม่ชัดเจน และมีขนาดเล็กบ้างใหญ่ บ้าง เพื่อแสดงถึงความรู้สึกสับสน ขัดแย้ง และความกดดันที่อยู่ในใจ วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน กระดาษ กระดาษสี เอกสารประชุมหลักสูตร กรรไกร คัตเตอร์ แผ่นรองตัด ทินเนอร์ กาว เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน ปะติด ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 60 x 85 ซม. องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ ทั้งการท�ำงานศิลปะและการเขียนอธิบายผลงานที่ต้องการสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึก ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความสับสน ความดีใจ ต้องอาศัยความช�ำนาญและรสนิยมในการเขียนและการจัดองค์ประกอบศิลปะ การเลือกวัสดุ พื้นผิว มิติ ฯลฯ เพื่อสร้างบรรยากาศของสี น้ําหนัก ฯลฯ ให้สะท้อนความรู้สึกที่อยู่ในใจ ผ่านทั้งการเขียนและตัวผลงาน

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ภาพผลงานที่เสร็จสมบูรณ์


22


70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : งานภาพถ่ายเป็นงานสร้างสรรค์1 ชื่อภาพคือ เงาสะท้อนเก่าบนพื้นที่ใหม่ : Becoming Modern ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ สุคนธรส คงเจริญ | Sukontaroat Kongcharoen ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

24

งานสมัยใหม่หรือโมเดิร์นนิซึ่ม Modernism คืองานศิลปะและการออกแบบในศตวรรษที่ 20 (โดยเฉพาะในช่วงสิบปีของต้นศตวรรษ)เป็นการขานรับการเติบโตของความเป็น ระบบอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ และเป็นการเริ่มต้นของระบบความคิดแนวโมเดิร์นนิซึ่ม การเริ่มต้นแนวคิดโมเดิร์นนิซึ่มท�ำให้ก่อก�ำเนิดกลุ่มเคลื่อนไหวศิลปะในช่วงนี้ ว่า Modernism (1920-1930) งานดังกล่าวเริ่มต้นด้วยการสร้างโรงเรียนทางงานออกแบบที่มีแนวความคิดตอบสนอง 4 เรื่องหลัก ดังต่อไปนี้ คือ 1. Manufacturing คือมีระบบการผลิตด้วยเครื่องกลแบบมาตรฐานแต่คงรูปแบบความเป็นสุนทรียภาพ ในระบบหัตถกรรมควบคู่ไปด้วย 2. Functional ค�ำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นอันดับแรก 3. Material (Mass production) การออกแบบงานตกแต่งและเครื่องเรือนต่างๆเน้นในเรื่องของโครงสร้างเป็นเรื่องส�ำคัญ 4. Standard เน้นความเรียบง่ายในการใช้แนวความคิดในการออกแบบตกแต่งภายในและเครื่องเรือน2 1 งานภาพถ่าย ได้แก่งานสร้างสรรค์ภาพที่เกิดจากการใช้เครื่องมือบันทึกภาพโดยให้แสงผ่านเลนซ์ไปยังฟิล์มหรือกระจก และล้างด้วยน�้ำยาซึ่งมีสูตร เฉพาะหรือด้วยกรรมวิธีใด ๆ อันท�ำให้เกิดภาพขึ้น หรือการบันทึกภาพโดยเครื่องมือหรือวิธีการอย่างอื่น และ งานภาพประกอบหมายถึง ภาพร่าง หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสองมิติ สามมิติ โดยงานถ่ายภาพและงานภาพประกอบ เป็นศาสตร์หนึ่งของงานศิลปกรรม (ที่มา : http://www.pub-law. net/library/act_copyright.html ) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 2 บทที่ 4 Bauhaus I WW I และ บทที่ 5 Bauhaus II WW II (ที่มา : ต�ำรางานสมัยใหม่ ชื่อรายวิชา ประวัติการออกแบบตกแต่งภายในเครื่องเรีือน ตะวันตก II, อ.สุคนธรส คงเจริญ (อยู่ในขั้นด�ำเนินงาน)) 3 วอลเตอร์ โกรเปียส (อังกฤษ: Walter Gropius) (18 พ.ค. 1883 - 5 ก.ค. 1969) เป็นสถาปนิกชาวเยอรมันและผู้ก่อตั้งเบาเฮาส์ เขาร่วมกับ ลุด วิก มีส ฟาน เดอ โรห์ (Ludwig Mies van der Rohe) เขาได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้บุกเบิกสถาปัตยกรรมสมัยใหม่. (ที่มา : http:// th.wikipedia.org/wiki/วอลเตอร์_โกรเปียส) ภาพประกอบที่ 1 การศึกษาและเก็บข้อมูลแบบSurvey significance of history : ถ่ายถาพโดย สุคนธรส


ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี 1914-1918 ท�ำให้สังคมและเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนแปลง ผนวกกับ หลักการดังกล่าวของโมเดิร์นนิซึมข้างต้นจึงเกิดกลุ่มนักออกแบบ Bauhaus รวมตัวกันที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีผอู้ ำ� นวยการคือวอลเตอร์ โกรเปียส (Walter Gropius) 3 ผลิตผลงานสร้างสรรค์ประเภทงานจิตรกรรม งานประยุกต์ ศิลป์งานเซรามิคงาน กราฟฟิกดีไซด์งานออกแบบตัวอักษร งานโปสเตอร์ งานออกแบบตกแต่งภายใน งานเครือ่ งเรือน งานสถาปัตยกรรม งานระบบอุตสาหกรรมและอื่นๆ มีจุดเริ่มที่ประเทศเยอรมันอย่างเป็นเอกภาพและสร้างสรรค์ผล งานแนวเรียบง่าย ตอบสนองการใช้งานที่แข็งแรงลดทอนลวดลายประดับตกแต่งที่ฟุ่มเฟือย รวมถึงมีการผลิตครั้งละ มากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนชาวเยอรมัน ในราคาที่ไม่แพง โรงเรียนเบาวเฮาว์มีด้วยกัน 3 ที่ อย่างต่อเนื่องในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 1919-1933 เป็นเวลา 14 ปี ก่อนจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1939-1945 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่างานสมัยใหม่หรือโมเดิร์นนิซึ่ม Modernism มีจุดเริ่มที่สาธารณรัฐเยอรมนีและมีผลงานด้าน งานสมัยใหม่เป็นที่ประจักษ์มากมายปรากฏที่สถาบันเบาเฮาว์ 3 แห่งดังนี้ 1. สถาบันBauhaus เมืองไวมาร์จากปี 1919-1925 ผู้อ�ำนวยการคือ วอลเตอร์ โกรเปียส 2. สถาบันBauhaus เมืองเดสโซจากปี1925-1932 ผู้อ�ำนวยการคือ ฮานส์ เมเยอร์ 3. สถาบันBauhaus เมืองเบอร์ลินจากปี 1932-1933 ผู้อ�ำนวยการคือ ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ จุดจบของสถาบันเบาเฮาว์เกิดจากผลของระบอบการปกครองนาซี ท�ำให้ต้องปิดโรงเรียนอย่างถาวรและคงไว้ ซึ่งการสะท้อนผลงานออกแบบโมเดิร์นนิซึ่มมากมายที่เมืองเบอร์ลินสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ปัจจุบันเมืองเบอร์ลินมีความหลากหลายที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว  คือ  ความเก่าและความใหม่ในงาน สถาปัตยกรรมงานนิทรรศการงานออกแบบตกแต่งภายใน (งานคลาสสิคผสมกับงานสมัยใหม่) งานกราฟฟิกดีไซน์ และงานออกแบบอื่นๆ ในทางนามธรรมเบอร์ลินจึงเป็นเสมือนเมืองที่มีความเก่าและใหม่ปะปนกันอยู่ในงานออกแบบ อย่างลงตัว และทางรูปธรรมเบอร์ลินเป็นเมืองที่มีประวัติถึงการเป็นจุดจบอย่างถาวรของสถาบันเบาเฮาว์ ดังนั้นในผู้สร้างงานสร้างสรรค์จึงท�ำการถ่ายภาพที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกจากความรู้ที่ศึกษาจากเอกสาร การสอนต�ำราทางประวัติศาสตร์ งานออกแบบและท�ำการส�ำรวจทางประวัติศาสตร์งานออกแบบ Survey significance

of history (Location Values-Values Survey) ของโรงเรียน เบาเฮาว์ที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ภาพชุดงานสร้างสรรค์ ดังกล่าวมีด้วยกันหลายภาพและได้น�ำส่งเพื่อประกวดในงาน สถาปนิกปี 2013 ในหัวข้อ ”Borderless” โดยมีค�ำแนะน�ำจาก คณะกรรมการดังภาพประกอบที่ 1 โดยเจตนาของการสร้างงาน เป็นไปทางทางศิลปะแบบถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกลักษณะ นามธรรมอีกทั้งได้น�ำความรู้จากการ Survey มาเขียนต�ำราทาง วิชาการ เพื่อประกอบการสอนเรื่องงานสมัยใหม่ ให้เสร็จสมบูรณ์ วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพื่อเรียนรู้เรือ่ งงานสมัยใหม่และน�ำมาเขียนบรรยายประกอบ ต�ำราทางวิชาการทางประวัติศาสตร์งานออกแบบตกแต่งใน บทที่ 4 และ 5 โดยการเก็บข้อมูลแบบ Survey significance of history (Location Values-Values Survey) ในรายวิชา ประวัติ การออกแบบตกแต่งภายในและเครื่องเรือนตะวันตก II (History of western Interior and furniture II ) ชื่อต�ำรางานสมัยใหม่ 2. เพือ่ ศึกษางานออกแบบร่วมสมัยทีเ่ กิดขึน้ ณ ปัจจุบนั ทีโ่ รงเรียน บาวเฮาว์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในแบบแนวคิดโมเดิรน์ นิซมึ่ จากแหล่งก�ำเนิดดั้งเดิมและน�ำความรู้ดังกล่าวมาสรุปประมวล เพือ่ ท�ำการสอนนักศึกษาในรายวิชาทีเ่ กีย่ วข้อง และน�ำไปประยุกต์ ใช้ในงานออกแบบโครงการงานออกแบบต่างๆ 3. เพือ่ พัฒนาความรูท้ างทฤษฎีโดยใช้แนวทางแบบเก็บข้อมูลแบบ Survey significance of history (Location Values-Values Survey)


26

แนวความคิด คือ ‘’ความเหงา ความเศร้า และ ความเข้าใจ’’ ทฤษฎีที่ใช้คือ การสะท้อน โดยอาศัย “น้ำ” โดย .... ความเหงามาจาก..การได้รับรู้เรื่องของบริบทสังคมของเยอรมันและเรียนรู้สภาวะแรงกดดันที่ต้องได้รับ จากผลกระทบของสงคราม แต่ในทางกลับกันกลับมีการสร้าง จุดเริ่มที่ยิ่งใหญ่ของโลก นั่นคือ งานสมัยใหม่ ณ ที่แห่งนี้ ความเศร้ามาจาก..การได้ศึกษาผลงานของนักออกแบบที่ต้องมาจากความเพียรพยายามสร้างสรรค์ผล งานหลายศาสตร์ของโมเดิร์นนิซึม เป็นนักออกแบบในสภาวะช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ยิ่งใหญ่ ความเข้าใจมาจาก..การได้ประมวลความรู้จากการ Survey Values ท�ำให้สามารถน�ำมาปรับเนื้อหา ในต�ำราเอกสารการสอนให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อนักศึกษาได้น�ำประวัติศาสตร์ทางงานออกแบบ ไปประยุกต์ใช้ กับโครงการต่างๆ ต่อไปอย่างถูกต้อง กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษาข้อมูลทางต�ำรา Millenium สหัสวรรษ 4 และเอกสารการสอนรวมถึงต�ำราเรื่องงานสมัยใหม่ ในราย วิชาประวัติการออกแบบตกแต่งภายใน และเครื่องเรือนตะวันตก II (History of western Interior and furniture II ) 2. เก็บข้อมูลแบบ Survey significance of history (Location Values-Values Survey) ที่สถาบันเบาเฮาว์ 3 แห่งดังนี้ 1) สถาบันBauhaus เมืองไวมาร์ 2) สถาบันBauhaus เมืองเดสโซ 3) สถาบันBauhaus เมืองเบอร์ลิน 3. ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกโดยการถ่ายภาพ

วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน ต�ำรา ภาพร่าง เอกสาร กล้อง เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เทคนิคคือการศึกษาจากเอกสารสรุปประมวลผลต�ำราจาก จุดเริ่มต้นที่เมืองแรกและมาสู่จุดสุดท้ายที่เมืองเบอร์ลิน ซึ่งเป็นที่สุดท้าย 2. การร่างภาพ ถ่ายภาพ และเขียนค�ำประกอบตลอดการเดิน ทางเพื่อน�ำมาคัดเลือกกลุ่มภาพที่ตรงแนวความคิดเมื่อถึง เมืองเบอร์ลินเป็นที่สุดท้าย ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ ขนาด A3

ภาพประกอบที่ 2 ภาพลายเซนต์การย้ายโรงเรียนของวอลเตอร์ โกรเปียส, เก้าอี้ แนว Functional ของอาจารย์มาเซลบรอยเออร์, ภาพห้องสตูดิโอที่เบาเฮาว์ เดส โซ อาคารเบาเฮาว์ เดสโซ และอาคาร Work Shop โชว์โครงสร้างที่เบาเฮาว์เดสโซ ทุกภาพตอบโจทย์โมเดร์นิซึมเรื่อง หลักคิด Functional Standard Manufacturing and Conceptions : ถ่ายภาพโดย สุคนธรส

2


องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ สรุปดังนี้ 1) เรื่องจุดเริ่มต้นของงาน “สมัยใหม่” 2) เรื่อง “ความร่วมสมัยของงานสมัยใหม่และงานสไตล์” 3) เรียนรู้ “เรือ่ งจุดจบ” แห่งงานออกแบบเชิงศิลปะทีส่ ถาบันเบาเฮาว์ สูโ่ ลกแห่งสถาปัตยกรรม ยุคต่อไปที่ประเทศทางตะวันตกอื่นๆ ข้อแนะน�ำทีข่ า้ พเจ้าได้พบจากการสร้างสรรค์ผลงานแบบ Survey Values Significance LocationofHistory และถ่ายทอดออกเป็นภาพถ่ายคือ ข้าพเจ้าพบว่ามียังมีผลงานออกแบบ ของศิลปินหญิง ซึง่ มีผลงานเป็นทีป่ ระจักษ์มากมายทีโ่ รงเรียนเบาเฮาว์ ทีเ่ ดสโซ และทีเ่ บอร์ลนิ มีกรรมวิธีการสร้างงานที่ดีเป็นล�ำดับขั้นตอนแบบหัตกรรมเชิงศิลปะการสร้างผลงานจริง ของนักเรียนหญิงท�ำด้วยตนเอง  มีการอธิบายเรื่องกรรมวิธีที่ละเอียด กรรมวิธกี ารคัดสี การแยกสี  เพื่อท�ำเป็นต้นแบบ  และมีทั้งข้อดีและปัญหาที่พวกเธอพบระหว่างการท�ำงาน แต่ข้าพเจ้าไม่ค่อยได้พบเห็นงานของนักเรียนหญิงเหล่านี้ที่เอกสารหรือต�ำราในประเทศ ไทย  จึงสะท้อนเรือ่ งราวทางประวัติศาสตร์เรื่องหนึ่ง คือ นักเรียนหญิงกับโอกาสทางการ สร้างงานอาจจะเป็นรองมากกว่านักเรียนชาย และการสนับสนุนจากวอลเตอร์ โกรเปียส ผู้อ�ำนวยการสถาบันนั้น  น้อยเกินกว่าจะผลักดันให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมนอกสหพันธ์ สาธารณรัฐเยอรมนี อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้าสนใจในเรื่องงานออกแบบของนักเรียนหญิง ในช่วง “งานสมัยใหม่” เป็นอย่างมาก แต่เอกสารสืบค้นค่อนข้างน้อยมาก ท�ำให้วิเคราะห์ ได้ไม่ดีเท่าที่ควร สิ่งหนึ่งที่ท�ำให้ข้าพเจ้าสนใจงานของนักเรียนหญิงยุคโมเดิร์นต่อเนื่องจากการ ศึกษางานโมเดิร์น หรืองานสมัยใหม่ในครั้งนี้ ผิดจากการศึกษาทางต�ำรา เพราะก่อนการ เดินทางข้าพเจ้าเข้าใจว่างานออกแบบยุคนี้ เป็นลักษณะแบบสากล หรือเป็นแบบองค์รวม คือ Unisex (ไม่แยกเพศหญิงเพศชาย)

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ดังนั้นข้าพเจ้าขอสะท้อนองค์ความรู้ใหม่ที่ได้รับ จากเรื่องของ  “งานสมัยใหม่” คืองานออกแบบของ นักเรียนหญิงนัน้ เป็นงานออกแบบทีน่ า่ สนใจ โดยเฉพาะ นักเรียนหญิงที่มีกระบวนการสร้างสรรค์งานด้วยตนเอง คนเดียวไปจนจบการสร้างงานผลิต นับเป็นเรือ่ งทีน่ า่ ศึกษา เป็นอย่างยิ่ง และเป็นโอกาสครั้งหน้า ที่ข้าพเจ้าจะศึกษา เพิ่มขึ้นและน�ำมาประมวล เพื่อเป็นความรู้เชิงวิชาการ ในล�ำดับต่อไป

ภาพประกอบที่ 3 ชื่อภาพเงาสะท้อนเก่าบนพื้นที่ใหม่ รางวัลชมเชยระดับสมาชิกวิชาชีพ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ น�ำแสดงในงานสถาปนิกปี 2013 ชื่องาน “แข่งขัน แบ่งปัน”:


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : เส้นใยธรรมชาติภายในประเทศ ในการออกแบบเครื่องเรือนและผลิตภัณฑ์ เพื่อลดภาวะโลกร้อน

The Domestic Natural Fiber, which is Appropriate for Furniture and Product Design in the Reduction of Global Warming ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : รศ.ร.ต.อ.ดร.อนุชา แพ่งเกษร | Assoc. Prof. Pol. Capt. Anucha Pangkesorn (Ph.D.)

28

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน สภาวะโลกร้อน เป็นผลพวงมาจากกระบวนการผลิตที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่รู้คุณค่าและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็วจึงท�ำให้เกิด ปัญหาสภาวะโลกร้อน ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ตระหนักถึงสภาพอากาศที่แปรปรวน ฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปว่าเป็นภัยคุกคามโลกอยู่ในขณะนี้ ดังนั้นภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมการก่อสร้าง ฯลฯ จึงได้ขานรับแนวความคิดการผลิตที่เน้นการใช้วัสดุที่ได้มาจากพืชและธรรมชาติมากขึ้นและก้าวสู่การด�ำเนินธุรกิจภายใต้ แนวคิดสีเขียว (Green Concept) เส้นใยธรรมชาติ (Natural Fibers) เป็นเส้นใยที่มีคุณสมบัติที่ดีหลายประการ โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม สามารถหาได้ง่ายภายในประเทศ ต้นทุนการผลิตต่ํา และราคา ถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นใยสังเคราะห์ รวมทั้งเส้นใยธรรมชาติยังลดการขีดข่วนและลดความเสียหายของเครื่องจักรที่ใช้ในการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ท�ำให้เกิดความสนใจน�ำเส้นใยจาก ธรรมชาติมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ทั้งนี้เส้นใยธรรมชาติสามารถหาได้จากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ไผ่ ปอป่านศร นารายณ์ มะพร้าว และกล้วย (มณฑา ไก่หิรัญ 2550) การเลือกใช้วสั ดุเส้นใยธรรมชาติภายในประเทศ ทีเ่ หมาะสมต่อการผลิตเครือ่ งเรือนและผลิตภัณฑ์ภายใน บ้าน เป็นอีกทางเลือกหนึง่ ทีจ่ ะแก้และลดปัญหาโลกร้อนได้ ซึง่ จะพิจารณาจากปริมาณเส้นใยธรรมชาติทมี่ อี ยู่ และ คุณสมบัตขิ องวัสดุเส้นใยธรรมชาติ ทีค่ าดว่าจะลดภาวะโลกร้อน โดยศึกษาขัน้ ตอนการผลิต วัสดุเส้นใยธรรมชาติ ที่ได้ท�ำการเลือกใช้ กรรมวิธีผลิต และส่งเสริมการผลิตวัสดุเส้นใยธรรมชาติภายในประเทศที่เหมาะสม เพื่อ ทดแทนวัสดุเส้นใยน�ำเข้าจากต่างประเทศ  นอกจากนี้ยังท�ำให้เกิดแนวคิดในการอยู่อาศัยและพึ่งพิงกันของ

ชุมชนและทรัพยากรซึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างงาน  และ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน  อนึ่งวงจรของการผลิตสินค้าประเภท ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่การส่งเสริมให้มีการผลิต การปลูกวัตถุดิบซึ่งถือเป็นต้นน�้ำของกระบวนการผลิต  และถูก ส่งต่อวัสดุและวัตถุดิบไปยังผู้ผลิตด้วยการคิดสร้างสรรค์  และ ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ สวยงาม และประโยชน์ใช้สอย ซึ่งถือเป็น กระบวนการกลางน้ํา และสิ้นสุดที่ปลายน้ำ คือการที่ผลิตภัณฑ์


หรือสินค้านั้นได้ถูกกระจายและน�ำออกไปจ�ำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค หมุนเวียนกันเป็นวัฏจักรการผลิตที่สมบูรณ์และยัง ประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนอย่างแท้จริง วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้สร้างสรรค์ ก�ำหนดวัตถุประสงค์ในความคิดสร้างสรรค์ผลงาน ในประเด็นดังต่อไปนี้ 1. ระดับทัศนคติของผู้บริโภคที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ และการลดภาวะโลกร้อน 2. อิทธิพลของความคิดสร้างสรรค์ที่มีผลต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติภายในประเทศ 3. การออกแบบและรูปแบบทีเ่ หมาะสมของผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติภายในประเทศ ทีม่ ตี อ่ การลดภาวะโลกร้อน แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน ความคิดสร้างสรรค์จากเส้นใยธรรมชาติในประเทศเรื่องเอกลักษณ์ไทย เรื่องภูมิปัญญาพื้นถิ่น เรื่องวัสดุอุปกรณ์ ทีน่ ยิ ม และคุณสมบัตขิ องเส้นใยธรรมชาติทเี่ หมาะสมกับการจักสาน แล้วน�ำความรูท้ ไี่ ด้ศกึ ษามาเป็นแรงบันดาลใจในการ ออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ โดยผลิตภัณฑ์เครื่องเรือน และเครื่องใช้ภายในบ้าน จะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้ กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้สร้างสรรค์ ก�ำหนดขั้นตอน และกระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงานดังนี้ 1. ออกแบบการวิจัยเชิงส�ำรวจเพื่อให้ทราบถึงระดับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อผลิตภัณฑ์ซึ่งท�ำจากวัสดุและเส้นใย ธรรมชาติเพื่อลดภาวะโลกร้อน 2. วิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการผลิตผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ เพื่อลดภาวะโลกร้อน 3. น�ำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการส�ำรวจภาคสนามในข้อ 1 และ 2 มาประมวลเพื่อให้ทราบถึงระดับของ ความคิดเห็นของผู้บริโภคโดยทั่วไปที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่ท�ำจากวัสดุธรรมชาติ แล้วน�ำข้อสรุปดังกล่าวไปวางแผนเพื่อ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในส่วนของผู้ผลิต 4. ท�ำการส�ำรวจผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมในพื้นที่เป้าหมาย และในเอกสาร ต�ำราเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วย เส้นใยธรรมชาติและวัสดุธรรมชาติ 5. ท�ำการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ และคัดเลือกเพื่อใช้เป็นต้นแบบส�ำหรับการผลิต

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

6. ด�ำเนินการถ่ายทอดความรูแ้ ละเทคโนโลยีให้แก่กลุม่ เป้าหมาย 7. ประสานงานกับพัฒนาชุมชนจังหวัดเพือ่ การพัฒนาและส่งเสริม ด้านการตลาด โดยขั้นตอนการวิจัยจะได้น�ำเสนอ ดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 การวิจัย : การส�ำรวจทัศนคติและวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัย ที่มีอิทธิพล ต่อความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ จากเส้นใยธรรมชาติ และการลดภาวะโลกร้อน ขั้นที่ 2 การยืนยันข้อมูล : การประชุมกลุม่ และการสัมภาษณ์เจาะลึกบุคคลทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้อง ทั้งภาครัฐ และผู้ผลิต ขั้นที่ 3 กระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ : แนวคิดและวิธีการในการออกแบบโดย นักศึกษา (การประกวด การสอนในชั้นเรียน) และ กลุ่มอาชีพท�ำการคัดเลือกแบบที่สนใจ ขั้นที่ 4 การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี : 1. วิธกี าร (การน�ำเสนอ การทบทวน การวิพากษ์ เอกสารประกอบ ค�ำบรรยายของวิทยากร) 2. บุคคล (นักศึกษา ประชาชน กลุ่มอาชีพชุมชนและคณะผู้วิจัย) ขั้นที่ 5 การเผยแพร่ผลการวิจัย : รายงานการวิจัย เอกสารเผยแพร่ต้นแบบผลิตภัณฑ์ บทความ นิทรรศการ การน�ำเสนอผลการวิจัยในงานสัมมนาทางวิชาการ ระดับชาติ


วัสดุ อุปกรณ์การสร้างสรรค์ผลงาน วัสดุธรรมชาติ: เครื่องจักสานไม้ไผ่ เครื่องปั้นดินเผา และผ้าฝ้าย เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะการติดตั้ง (Installation Arts) และโปสเตอร์พร้อมเอกสารโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ พื้นที่ 2.00 x 2.00 x 2.00 เมตร ประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างสรรค์ การออกแบบและรูปแบบที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติภายในประเทศ ที่สะท้อนถึง ศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของไทย เป็นวัฏจักรการผลิตที่สมบูรณ์และยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่ชุมชนอย่าง แท้จริง จะสามารถลดภาวะโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน 30

บรรณานุกรม วรธรรม อุ่นจิตติชัย. ผลิตภัณฑ์วัสดุทนแทนไม้จากเศษไม้และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550. Torrance, E. P. Guiding creative talent. NJ: Prentice-Hall, 1962.


70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : ภาพประกอบเพลงกล่อมเด็กไทย “แม่ศรีสวยสะ” | Thai Lullaby “Mae Sri Suay Sa” ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ชนิศา ชงัดเวช | Chanisa Changadvech

32

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน บทกล่อมเด็กนั้นเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาติ เป็นกาพย์กลอนประเภทแรกที่เด็กได้ยิน แสดงถึงรากเหง้าชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาตินั้นๆ จัดเป็นคติ ชาวบ้าน คือเรื่องที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมดั้งเดิมทั้งหมดของประเทศชาติที่สืบต่อเป็นประเพณีกันมาหลายชั่วอายุคน การศึกษาเรื่องพื้นบ้านนี้เป็นเครื่องร�ำลึกชาติ ก�ำเนิดของชนชาติ บทกล่อมเด็กร้องโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน นอนหลับง่าย อารมณ์ดีหายขุ่นมัว และอบอุ่นใจว่าไม่ได้นอนอยู่คนเดียว มีท�ำนองร้องช้าๆ เพื่อสร้างบรรยากาศ ให้สงบชวนนอน บทกล่อมเด็กจัดเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะแบบหนึ่งที่ยากจะระบุได้ว่า เริ่มร้องตั้งแต่สมัยใดหรือเริ่มร้องด้วยเนื้อหาใจความอย่างไรเพราะร้องต่อๆ กันมา เนื้อหาของ เพลงมีทั้งสาระที่สอดแทรกการอบรมสั่งสอน บอกเล่าวิถีชีวิตท้องถิ่น ความเชื่อ ศีลธรรมและประเพณี เป็นที่สังเกตว่าบทกล่อมเด็กของไทยจะมีจินตนาการอันน่าอัศจรรย์และมี เนื้อหาที่เปรียบเปรยได้อย่างน่าสนใจ ปัจจุบันบทกล่อมเด็กดั้งเดิมของไทยจ�ำนวนมากได้เลิกร้องกันไปแล้ว ครอบครัวสมัยใหม่บางครอบครัว เปิดเพลงของผู้ใหญ่ตามสมัยนิยมให้เด็กฟังกล่อมนอน หรือบางครอบครัวน�ำหนังสือนิทานภาพและเพลงกล่อม เด็กต่างชาติมาใช้อา่ นและกล่อมลูกหลานแทน (lullaby) ซึง่ อาจเป็นด้วยภาพประกอบทีน่ า่ รักทันสมัยและบทเพลง ท�ำนองสากล จึงท�ำให้เข้าถึงเด็กและครอบครัวได้ง่ายกว่า การน�ำเสนอผลงานสร้างสรรค์เรื่องแม่ศรีสวยสะนี้ จะเป็นการสร้างสรรค์ภาพประกอบส�ำหรับเด็กและครอบครัว ที่น�ำเรื่องราววีถีชีวิตตามวัฒนธรรมของไทย มา น�ำเสนอด้วยรูปแบบทีส่ วยงามร่วมสมัย ประกอบการสร้างภาพเคลือ่ นไหวและการสร้างสรรค์ดนตรีในท่วงท�ำนอง ไทยอย่างเป็นสากล เพื่อเสริมสร้างเอกลักษณ์ในการสื่อสารเนื้อหาให้ชัดเจนน่าสนใจ ให้เยาวชนรุนใหม่เข้าถึง

บทกล่อมเด็กของไทยได้ง่ายขึ้น และเกิดความซาบซึ้งประทับใจ อนึ่งบทกล่อมเด็ก แม่ศรีสวยสะ ที่คัดมานี้ มีรากเหง้ามา จากการร�ำแม่ศรีแบบพื้นบ้าน ตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่อง ของการเข้าทรง ท�ำในพิธีเชิญผีปู่ย่าตายาย หรือเทพ มาลงทรง ในวันส�ำคัญ เช่น วันรับตายายของชาวใต้ชว่ งเดือนเก้าในภาคเหนือ หรือในเทศกาลปีใหม่สงกรานต์ของภาคกลาง เป็นต้น การลงทรง นี้เรียกว่า ”เชิญองค์” ผู้ที่จะลงทรงมักมีการร่ายร�ำก่อนและหลัง


จากที่ลงทรงแล้ว บางถิ่นมีการเอาผ้าปิดตา บางแห่งมีการเหนี่ยวผ้าบนขื่อ บางแห่งเอาผ้าพาดคอไว้เฉยๆ คล้ายผ้าสไบ โดยคัดเลือกผูร้ ำ� แม่ศรีจากหญิงสาวทีม่ หี น้าตาสวยงามและร�ำสวย ผูร้ ำ� แม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธปู เทียนนัง่ อยูก่ ลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีซ้ำไปมา จนแม่ศรีเข้าร่างทรงวางดอกไม้และลุกขึ้นมาร�ำ ผลงานสร้างสรรค์แม่ศรี สวยสะนี้ นอกจากจะน�ำเสนอเนื้อหาตามความหมายดั้งเดิม คือการเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงมาสิงสู่เพื่อสร้างความเป็นสิริ มงคล ยังมีวัตถุประสงค์ที่จะน�ำเสนอให้เยาวชนปัจจุบันได้เห็นภาพลักษณ์อันเป็นแบบอย่างที่ดี จากบทร้องที่กล่าวชม ความสวยงามของหญิงสาวที่แต่งกายดี มีกริยาอ่อนช้อย งดงามน่ารักตามแบบกุลสตรีในวิถีไทยด้วย วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพื่อสร้างสรรค์ภาพประกอบเพลงจากบทกล่อมเด็กที่ข้ามยุคสมัย ให้เยาวชนและคนรุ่นใหม่เข้าถึงได้ง่าย มีความน่ารักสนุกสนานเป็นสากล เกิดความประทับใจและเห็นคุณค่าในมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ 2. เพื่อเป็นการเตือนสติแก่เยาวชนในสังคมปัจจุบันที่ลุ่มหลงและวิ่งไล่ตามวัฒนธรรมต่างชาติ  จนขาดความ เข้าใจและความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตแบบไทย 3. เพื่อส่งเสริมความรักความผูกพันและความอบอุ่นในครอบครัว 4. เพื่ออนุรักษ์เพลงกล่อมเด็กเป็นสมบัติทางวัฒนธรรม และเผยแพร่ให้เป็นประโยชน์ และอาจเป็นทางหนึ่งที่ ช่วยแก้ปัญหาทางอารมณ์และสังคมให้แก่เด็กและเยาวชนได้ แนวความคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน การละเล่นพื้นบ้านร�ำแม่ศรี และความงดงามของกุลสตรีตามวิถีไทย กระบวนการของการสร้างผลงาน 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูล ความรู้ ในเรื่องคติชาวบ้านและบทกล่อมเด็กต่างๆ จากหนังสือ วีดีทัศน์ ซีดีเสียง และผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณกรรม 2. คัดเลือกบทกล่อมเด็ก “แม่ศรีสวยสะ” ตีความหมาย หาข้อมูลอ้างอิง และออกแบบร่างลายเส้น 3. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลการร�ำแม่ศรี ท่าร�ำ เครื่องแต่งกาย ปรับปรุงสัดส่วนของภาพ และคาแรคเตอร์ ให้ งดงามอ่อนช้อย พัฒนาลายเส้นให้มีเอกลักษณ์ สื่อสารเรื่องราว และมีความงดงามตามธรรมชาติในแบบพื้นบ้านไทย

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

4. วางโครงสีของภาพให้สดใสน่ารักและอ่อนหวาน ใช้วิธี การลงสีแบบ 2 มิติ แยกระยะของภาพด้วยน้าํ หนักสีและลวดลาย 5. ลงสีภาพประกอบต้นฉบับบนกระดาษ ด้วยสีอะครีลิค ผสมวิธกี ารตัดกระดาษปะติด (paper collage) เพือ่ สร้างลวดลาย และพื้นผิว 6. บันทึกเสียงร้องและตัดต่อท�ำเพลง 7. น�ำภาพประกอบต้นฉบับมาสร้างภาพเคลื่อนไหวตัดต่อ ผสมเสียงเพลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน สีอะครีลิค พู่กัน ปากกา กระดาษสาชนิดต่างๆ เครื่อง คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน สร้างภาพประกอบด้วย สีอะครีลิคผสมวิธีการตัดกระดาษ ปะติด (paper collage) สร้างภาพเคลื่อนไหวประกอบเพลงด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ ภาพประกอบขนาด 39 x 52 ซม. ภาพเคลื่อนไหวประกอบเพลง ความยาวประมาณ 240 วินาที


34

บรรณานุกรม รองศาสตราจารย์กุหลาบ มัลลิกะมาส. คติชาวบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์ พต. เพลงกล่อมเด็กและเพลงประกอบการละเล่นของเด็ก ภาคกลาง 16. ส�ำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ: คุรุสภา พรพิไล เลิศวิชา. ไม้อ่อนย่อมดัดได้ ดั่งใจ. ฉบับพิมพ์สี : บริษัท ธารปัญญา จ�ำกัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์สน สีมาตรัง และคณะ. ช่างทอ ร้อยใจ เทิดไท้ 72 พรรษา. วุฒิสภาจัดพิมพ์เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ


แม่ศรีสวยสะ แม่ศรีเอย แม่ศรีสวยสะ ยกมือไหว้พระ ว่าจะมีคนชม ขนคิ้วเจ้าต่อ ล�ำคอเจ้ากลม ยกมือประนม ชมแม่ศรีเอย (บทนี้ได้เรียบเรียงใหม่โดยเปลี่ยนค�ำว่า “ชักผ้าปิดนม” เป็น “ยกมือประนม” เพื่อให้เหมาะสมกับเยาวชนปัจจุบัน)

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : การออกแบบตัวอักษรสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา | Princess Galyani Vadhana Institute of Music Typeface Design ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : ผศ.อาวิน อินทรังษี | Asst.Prof.Arwin Intrungsi

36

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน การจัดตัง้ สถาบันดนตรีกลั ยาณิวฒ ั นา(สกว.) เป็นความร่วมมือของกระทรวงวัฒนธรรมและมหาวิทยาลัยศิลปากร เพือ่ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในฐานะองค์อปุ ถัมภ์วงการดนตรีคลาสสิกของประเทศไทย โดยมีวตั ถุประสงค์หลักทีส่ ำ� คัญคือ ให้เป็นสถาบันการศึกษาเพือ่ พัฒนาศักยภาพและทักษะ ด้านดนตรีคลาสสิกส�ำหรับผูม้ คี วามสามารถพิเศษและบุคคลทัว่ ไปในระดับปริญญา รวมทัง้ ท�ำหน้าทีเ่ ผยแพร่ดนตรีคลาสสิกแก่สาธารณชนในลักษณะของการแสดงดนตรี การฝึกอบรม และกิจกรรมเสริมทักษะอืน่ ๆ เพือ่ การบริการทางวิชาการแก่สงั คมและการท�ำนุบำ� รุงศิลปะและวัฒนธรรม นอกจากนีส้ ถาบันฯ ยังท�ำหน้าทีใ่ นการพัฒนามาตรฐานและก�ำหนดเกณฑ์ การประเมินมาตรฐาน ความรูค้ วามสามารถและทักษะด้านดนตรีคลาสสิกของนักดนตรีในประเทศเพือ่ เทียบเคียงมาตรฐานสากล สมเด็จพระเจ้าพีน่ างเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวฒ ั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสถาบันดนตรีแห่งนี้ว่า “สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา” เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2550 ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นองค์ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของคณะกรรมการจัด ตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา แรกเริ่มในระยะการจัดตั้งสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ศาสตราจารย์ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ นายกสภา มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้มอบหมายให้ข้าพเจ้าท�ำการออกแบบตราสัญลักษณ์ประจ�ำสถาบันฯ ซึ่งข้าพเจ้าได้ท�ำ แบบร่างทูลเกล้าถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัย และได้ทรง

เลือกแบบตราสัญลักษณ์แบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตราสัญลักษณ์ นี้มีลักษณะที่เรียกว่า Combination Mark คือประกอบด้วย สัญลักษณ์ภาพ (Symbol) และสัญลักษณ์ตัวอักษร (Logo Type) ดังภาพประกอบที่ 1 สัญลักษณ์ภาพนีเ้ ป็นรูปทรงลายใบเทศสีฟา้ ซึง่ เป็นสีประจ�ำ พระองค์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯ ภายใน ประกอบด้วยตัวอักษรย่อ “สกว” ประกอบกับสัญลักษณ์ทางดนตรี


คือ กุญแจซอล กุญแจประจ�ำหลัก G ด้านล่างเป็นสัญลักษณ์ตัวอักษรสีทอง แสดงถึงความรู้สึกสูงค่า ความ สร้างสรรค์ ความเจริญรุ่งเรือง ความคลาสสิก ตัวอักษรชื่อภาษาไทย “สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา” ข้าพเจ้าได้ ท�ำการออกแบบขึ้นใหม่เป็นเฉพาะโดยได้แรงบันดาลใจจากตัวอักษรภาษาอังกฤษชื่อ “Timeless1” ซึ่งเป็นตัวอักษร ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษ “PRINCESS GALYANI VADHANA INSTITUTE OF MUSIC” ด้วย ดังภาพประกอบที่ 2 หลังจากที่ข้าพเจ้าได้ท�ำการออกแบบตราสัญลักษณ์ รวมทั้งสิ่งพิมพ์อื่นๆ อาทิ นามบัตร กระดาษจดหมาย ซองจดหมาย และแฟ้มเอกสาร ให้กับทางสถาบันฯ เพื่อใช้ประโยชน์แล้ว ข้าพเจ้ามีแนวคิดว่าจะท�ำการออกแบบชุด ตัวอักษรภาษาไทยที่เป็นอัตลักษณ์ของสถาบันฯ เพื่อใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ ของสถาบันฯ ต่อไป ซึ่งจะท�ำให้การ ออกแบบอัตลักษณ์องค์กรมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยจะท�ำการต่อยอดจากแบบตัวอักษรที่ข้าพเจ้าได้ออกแบบไว้ใน ตราสัญลักษณ์เป็นตัวตัง้ ต้นในการออกแบบ โดยมีความมุง่ หวังว่าจะได้ตวั อักษรทีม่ เี อกลักษณ์ มีความงาม และสะท้อน บุคลิกภาพของสถาบันฯ ได้ดี วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน เพือ่ ออกแบบชุดตัวอักษรภาษาไทยทีม่ เี อกลักษณ์ มีความงาม และสะท้อนบุคลิกภาพของสถาบันฯ ได้ แนวความคิด ความงดงามของดนตรีคลาสสิคที่ถ่ายทอดลงในการการออกแบบตัวอักษรไทยร่วมสมัย กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เลือกแบบตัวอักษรภาษาอังกฤษที่แสดงบุคลิกภาพของสถาบันฯ คือ ความสง่างาม ความคลาสสิค ความ น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ อาศัยค�ำส�ำคัญ (Key words) จากการวิเคราะห์ภาพรวมขององค์กร ได้แก่ Princess, Classic, Institute ในที่นี้ได้เลือกแบบตัวอักษร “Timeless” ซึ่งเป็นตัวอักษรมีเชิง (Serif) มีเส้นโค้งอ่อนช้อย คล้ายเครื่องดนตรีคลาสสิค มีสัดส่วนงดงาม และยังให้ความรู้สึกที่น่าเชื่อถือ 2. ศึกษาลักษณะเฉพาะของตัวอักษรต้นแบบภาษาอังกฤษ เช่น ลักษณะของเส้นที่มีความหนาบางไม่เท่ากัน เชิง (Serif) ของตัวอักษร ปลายหางของเส้น ดังภาพประกอบที่ 3

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ภาพประกอบที่ 1 ตราสัญลักษณ์สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

ภาพประกอบที่ 2 ตัวอักษรชื่อสถาบันฯ ภาษาไทย และตัวอักษร “Timeless” ที่ใช้เป็น ชื่อภาษาอังกฤษ

ภาพประกอบที่ 3 ลักษณะเฉพาะของตัวอักษร 1 ฟอนต์ Timeless ออกแบบโดย Manfred Klein เกิดในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1932. เขาศึกษาด้านธุรกิจโฆษณา และการออกแบบตัวอักษร (Typography) ที่ Meisterschule fuer Graphik und Buchgewerbe ในกรุงเบอร์ลิน หลังจากนั้นเขาได้ท�ำงานเป็นนักเขียนข้อความ โฆษณา และผู้ก�ำกับความคิดสร้างสรรค์ ที่บริษัท โอกิลวี่ และบริษัทตัวแทนโฆษณาของตนเองใน ภายหลัง หลังจากประสบอุบัติเหตุร้ายแรง เขาได้ออกจากธุรกิจโฆษณา และเริ่มออกแบบตัวอักษร มากมาย แบบตัวอักษรที่เป็นที่รู้จักได้แก่ FF Spontan, FF JohannesG, และฟอนต์ที่ไม่คิดค่าใช้จ่าย อีกนับร้อย (ที่มา: http://www.identifont.com/show?166)


38

3. ท�ำการร่างแบบตัวอักษรภาษาไทยในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยร่างแบบพยัญชนะที่มีลักษณะร่วม กันในโครงสร้างทีละชุด เช่น ก ถ ภ ฎ ฏ ฤ ฦ ญ ณ ฌ ดังภาพประกอบที่ 4 ส�ำหรับชุดอื่นๆ ที่มีลักษณะร่วมกัน ในโครงสร้าง ได้แก่ บ ป ษ / ผ ฝ พ ฟ ฬ / ร ธ ฐ จ / ข ฃ ช ซ / ล ส / ด ต ค ฅ ศ ฒ / ฆ ม น / อ ฮ รวมทั้งตัวที่ไม่ค่อยมีลักษณะร่วมกับตัวอักษรอื่นๆ เช่น ห ว ง ย 4. ร่างแบบวรรณยุกต์ สระ ตัวอักษรไทย และเครื่องหมายพิเศษต่างๆ 5. น�ำแบบตัวอักษรทีเ่ ป็นเวคเตอร์กราฟิกส์ (Vector Graphics) ทีป่ รับแก้ไขแล้ว เข้าไปสร้างตัวอักษรใน โปรแกรมออกแบบตัวอักษร 6. ท�ำการทดสอบการใช้งาน 7. สร้างเป็นฟอนต์ (Font) ส�ำหรับใช้ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Adobe Illustrator และ Fontographer ขนาดหรือความยาวของผลงานสร้างสรรค์ ตัวอักษรภาษาไทยประกอบด้วย พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ตัวเลข และเครื่องหมายพิเศษอื่นๆ 1 ชุด

ภาพประกอบที่ 4การร่างแบบพยัญชนะที่มีความสัมพันธ์กันในโครงสร้าง

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ จากการปฏิบตั งิ านออกแบบ ข้าพเจ้าได้พบปัญหาและแนวทางใน การออกแบบที่เป็นประเด็นส�ำคัญคือการออกแบบตัวอักษรแต่ละตัว จะต้องค�ำนึงถึงความสวยงามและความหมาะสมของระยะห่างระหว่าง ตัวอักษรแต่ละตัว (ช่องไฟ) เช่น การออกแบบหางของตัวอักษร หาก ออกแบบให้มีความยาว หรือชี้ไปด้านหลังมากเกินไป อาจเกิดปัญหา ว่าหางของตัวอักษรจะไปชนกับตัวอักษรอื่นๆ เช่น ช ซ ฐ ศ ส ซึ่งข้าพเจ้าออกแบบให้ม้วนไปด้านหลัง ซึ่งเมื่อทดสอบการใช้งานแล้ว พบว่าหางที่ม้วนไปด้านหลังจะไปชนกับตัวสระที่มีความสูง เช่น ไ ใ โ อีกทั้งตัวสระเหล่านี้ก็ต้องมีความสูงพอสมควร และไม่มีส่วนที่ยื่น ออกมาด้านหน้ามากนัก เพื่อไม่ให้ชนกับตัวอักษรตัวหน้าที่มีสระอิ สระอี ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา เช่น ค�ำว่า “ชี้ไป” และจากการ ศึกษาแบบตัวอักษรมาตรฐานอื่นๆพบว่าส่วนใหญ่มีการออกแบบหาง ให้คอ่ นข้างสัน้ และไม่ชหี้ รือยืน่ ออกไปจากเส้นหลังของตัวอักษรมากนัก ซึ่งจะแก้ปัญหาดังที่กล่าวไว้ได้ดี แต่ถือก็เป็นข้อจ�ำกัดอย่างหนึ่งที่อาจ ปิดกั้นแนวทางการออกแบบตัวอักษรที่มีลักษณะพิเศษได้ อย่างไร ก็ตามแม้การออกแบบหางของตัวอักษรให้มีลักษณะเช่นนี้ จะก่อให้ เกิดปัญหาในการใช้งานในเบื้องต้น แต่ก็เป็นลักษณะพิเศษที่สร้าง เอกลักษณ์ให้ตัวชุดตัวอักษรชุดนี้ได้ดี อีกทั้งยังมีรูปแบบที่สอดคล้อง กั บ ตั ว อั ก ษรที่ เ ป็ น ตราสั ญ ลั ก ษณ์ ข องสถาบั น ฯที่ ไ ด้ อ อกแบบ ไว้เดิม จึงยังต้องการเก็บลักษณะพิเศษนีไ้ ว้ โดยมีแนวทางแก้ปญ ั หาด้วย การเพิ่มระยะห่างระหว่างตัวอักษรให้มากขึ้น และปรับส่วนที่ม้วนให้ เลื่อนมาด้านหน้าเล็กน้อยก็จะช่วยแก้ปัญหาได้พอสมควร


70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : การออกแบบพัฒนาเครื่องขึ้นรูปพลาสติกแผ่นระบบสุญญากาศ เพื่อใช้สาธิตและการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์

The Design and Development of the Vacuum Forming Model Products One Building and for the Demonstration ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : ผศ.ดร.จิรวัฒน์ วงศ์พันธุเศรษฐ์ ร่วมกับ ผศ.ดร.รัฐไท พรเจริญ Asst.Prof.Jirawat Vongphantuset (Ph.D.) and Asst.Prof.Ratthai Porncharoen (Ph.D.)

40

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ปัจจุบันพลาสติกเข้ามามีบทบาทที่ส�ำคัญอย่างมากต่อชีวิตประจ�ำวัน ไม่ว่าจะเป็นการอุปโภคและบริโภค โดยสินค้าที่มีขายอยู่ในท้องตลาดแทบทั้งหมดจะมีพลาสติกเป็นส่วนประกอบ รวมอยู่ด้วย ซึ่งกระบวนการในการน�ำพลาสติกมาใช้นั้นมีอยู่หลายวิธีการในการผลิตด้วยกัน แต่วิธีการของงานวิจัยนี้จะเป็นการน�ำแผ่นพลาสติกส�ำเร็จรูปมาแปลเปลี่ยนสภาพ โดยใช้ความ ร้อนให้อ่อนตัวแล้วน�ำมาผ่านกระบวนการดูดขึ้นรูป ซึ่งจะได้รูปทรงใหม่เกิดขึ้นไปตามแม่แบบที่เตรียมไว้ Ronald J. Baird, 1971 : 155-172 ปัจจุบันมีการสร้างเครื่องประเภทนี้ผลิต ออกมาขายอยู่หลายรุ่นด้วยกัน ซึ่งจะเหมาะกับการน�ำมาใช้ในการผลิตสินค้าทางภาคอุตสาหกรรมมากกว่าใช้ทางการศึกษา เพราะจะต้องใช้แผ่นพลาสติกขนาดใหญ่ ที่ต้องการผลิตที ละมากๆ เหมือนๆ กัน อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนพลังงานไฟฟ้า ท�ำให้ไม่เหมาะสมกับการน�ำมาใช้งานกับการทดลองทดสอบ ที่ต้องการออกแบบสร้างไปทีละชิ้นๆ งาน เพื่อศึกษาข้อดีและข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น โดยการแก้ปัญหาส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ นักศึกษาจะท�ำการขึ้นรูปไปพร้อมๆ กัน ทีละหลายๆ ชิ้น บางครั้งจะเกิดความสูญเสียขึ้น เพราะแต่ละ ชิ้นงานมีขนาดสัดส่วนที่แตกต่างกัน ท�ำให้เกิดการหดตัวและการดึงตัวของแผ่นพลาสติกที่สูงต่ําลงสู่โมลแม่แบบ ไม่เท่ากัน จึงเกิดการสูญเสียขึ้นของชิ้นงานในบางครั้ง จากข้อมูลดังกล่าว ทีมผู้วิจัยต้องการออกแบบเครื่องให้มีความเหมาะสมกับการใช้สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ จริงๆ โดยจะออกแบบเครื่องให้สามารถลดขนาดของการใช้วัสดุลง ให้เหมาะสมไปตามขนาดของชิ้นงานโมล แม่แบบ เพื่อให้เกิดการประหยัดวัสดุรวมถึงการลดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางตรงกับการสร้างงาน ออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ส่งผลให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานจริงกันมากขึ้น รวมทั้งการสร้างเครื่องครั้งนี้

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพื่ อ ศึ ก ษาและออกแบบเครื่ อ งขึ้ น รู ป พลาสติ ก ระบบ สุญญากาศที่เหมาะสมกับการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถ ปรับขนาดวัสดุให้เล็กลงตามขนาดของชิ้นงานได้รวมทั้งสร้าง ความสะดวกต่อการใช้งานและการเคลื่อนย้ายได้โดยล�ำพัง 2. เพื่ อ สร้ า งเครื่ อ งขึ้ น รู ป พลาสติ ก ระบบสุ ญ ญากาศ ระบบกึ่งอัตโนมัติเพื่อการเรียนรู้


3. เพื่อน�ำเครื่องมาท�ำการทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพในการขึ้นรูปของแผ่นพลาสติกในขนาด ความหนาของ พลาสติกชนิดต่าง ๆ กัน

กระบวนการของสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษาข้อมูลทางทุติยภูมิในเรื่อง หลักการท�ำงานของเครื่อง และองค์ประกอบของอุปกรณ์ที่ต้องน�ำมาใช้ ในการสร้างเครื่อง 2. ศึกษาข้อมูลทางปฐมภูมิในเรื่อง สภาพปัญหา และความต้องการของนักศึกษา ในภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ก�ำลังศึกษาทั้งหมด 4 ชั้นปีรวมทั้งนักศึกษาปริญญาโท รวมทั้งสิ้น จ�ำนวน 166 คน 3. ท�ำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างแนวทางการออกแบบ (ตามกรอบแนวคิดที่วางไว้) 4. ท�ำการออกแบบและคัดเลือกแบบโดยทีมงานของผู้วิจัยและผ่านที่ปรึกษางานวิจัย รวมทั้งท�ำการสร้างเครื่อง ทดสอบต้นแบบนี้ขึ้น จ�ำนวน 1 เครื่อง 5. ท�ำการทดสอบการขึ้นรูปของแผ่นพลาสติกในขนาดและความหนาของพลาสติกชนิดต่าง ๆ ในการขึ้นรูป 3 มิติ โดยผ่านโมลแม่แบบทดสอบรูปทรงเหลี่ยมลบมุมมนเฉพาะพื้นผิวส่วนบน 2 มม. และปรับระดับความสูงขึ้นไปที ละชั้นโดยใช้ความสูงชั้นละ 4.5 ซม. เป็นเกณฑ์ เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน โปสเตอร์ ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 85 x 105 ซม.

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

แนวความคิด แสดงสื่อการใช้กระบวนการวิจัยทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทางการออกแบบเพื่อใช้พัฒนาการ เรียนการสอนในสาขาการออกแบบผลิตภัณฑ์


42

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ ผลการทดสอบในภาพรวมที่ได้ ผู้วิจัยได้ท�ำการทดสอบกับแท่งฮีตเตอร์ความร้อนที่ 2000 วัตต์ กับแผ่น พลาสติกขนาดเล็กที่ขนาด 22 x 22 ซม. และฮีตเตอร์ความร้อนที่ 4000 วัตต์ กับแผ่นพลาสติกขนาดกลาง 32 x 32 ซม. รวมทั้งฮีตเตอร์ความร้อนที่ 6000 วัตต์ กับแผ่นพลาสติกขนาดใหญ่ 32 x 41 ซม. ที่เป็นตัวแทนจาก แบบเฟรมจับแผ่นพลาสติกทั้ง 8 ขนาด โดยการขึ้นรูป ได้น�ำพลาสติกแผ่นพีวีซี ขนาดความหนาที่ 0.6, 1.0, 2.0 และ 3.0 มม. และแผ่นพลาสติกเอบีเอส ความหนาที่ 1.0, 2.0 และ 3.0 มม. รวมทั้งพลาสติกอะคริลิค ที่ ความหนา 1.0, 2.0 และ 3.0 มม. มาท�ำการทดสอบ ผลการทดลองพบว่า แผ่นพลาสติกขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพในการขึ้นรูปสูงสุดที่ความร้อนฮีตเตอร์ 2000 วัตต์ อุณหภูมิที่ใช้ 60 Cํ ได้พลาสติกแผ่นพีวีซีความหนาที่ 0.6 มม. สามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้ที่ขนาด 7.5 x 9 x 9 ซม. และแผ่นพลาสติกขนาดกลาง ที่ใช้ฮีตเตอร์ความร้อนที่ 4000 วัตต์ อุณหภูมิที่ใช้ 46 Cํ ได้พลาสติกพีวีซี ความหนาที่ 1.0 มม. สามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้สูงสุดที่ขนาด 17 x 17.5 x 9 ซม. รวมทั้งฮีตเตอร์ที่ 6000 วัตต์ อุณหภูมิที่ใช้ 47 Cํ ได้พลาสติกพีวีซีความหนาที่ 1.0 มม. โดยได้ขนาดชิ้นงานขึ้นรูปสูงสุดคือ 17 x 27.5 x 18 ซม. ส่วนในภาพรวมกับพลาสติกที่หนา 3 มม. ทั้ง 3 ชนิด ผลการทดสอบไม่สามารถขึ้นรูปได้เต็มแบบแม่พิมพ์ แต่ ถ้าจะน�ำมาใช้งานจริงควรมีอุปกรณ์ช่วยในการกดรอบพิมพ์ซึ่งต้องท�ำในช่วงของการดูดขึ้นรูปด้วย

ภาพที่ 1 ตัวอย่างรูปทรงของแผ่นพลาสติก ที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ


ภาพที่ 2 ต้นแบบเครื่องขึ้นรูปพลาสติกแผ่นระบบสุญญากาศที่สร้างขึ้น 70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : วิจัยสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์น�้ำตาลล�ำไยสกัด | Longan Essence Package Design ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ ดร.ชลฤทธิ์ เหลืองจินดา | Cholrit Luangjinda (Ph.D.)

44

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ในการวิจยั ศึกษาครัง้ นี้ ผูว้ จิ ยั จะศึกษาองค์ประกอบของการออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์สำ� หรับผลิตภัณฑ์นา้ํ ตาลล�ำไยสกัด โดยอาศัยหลักการทีม่ ผี ลต่อการรับรู้ (Perceptual Selection) และหลักการการออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์ทสี่ อดคล้องกับการใช้ชวี ติ ประจ�ำวันของผูบ้ ริโภค โดยเบือ้ งต้นการวิจยั จะมีสว่ นประกอบทีต่ อ้ งค�ำนึงถึง ดังนี้ 1. คุณสมบัตผิ ลิตภัณฑ์ เกีย่ วข้องกับลักษณะตัวผลิตภัณฑ์ ข้อเด่น ข้อจ�ำกัดต่างๆ เช่น เป็นผลิตภัณฑ์ทเี่ ป็นของเหลว แสง UV มีผลโดยตรงกับสภาพของผลิตภัณฑ์ 2. พฤติกรรมการใช้งานของผูบ้ ริโภค เกีย่ วข้องกับลักษณะการใช้งาน รูปแบบ เช่น การฉีกซอง การจัดเก็บ ขนาดเล็กใหญ่ การดูแลรักษา 3. ความเหมาะสมในงานออกแบบ เกีย่ วข้องกับทฤษฎีการออกแบบความงาม เช่น รูปแบบการออกแบบทีส่ วยงามสอดคล้องกับตัวบรรจุภณ ั ฑ์ ผลิตภัณฑ์นา้ํ ตาลล�ำไยเป็นความร่วมมือระหว่างกลุม่ งานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ส�ำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม การออกแบบบรรจุภัณฑ์ก็เป็นหนึ่งในการ เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และสร้างความจูงใจให้กับตัวสินค้า สามารถตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไป ของผู้บริโภคได้ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีจะช่วยให้สินค้าหรือตัวผลิตภัณฑ์โดดเด่น น่าสนใจ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ อย่างหนึ่งในการน�ำสินค้าใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ก่อให้เกิดการรับรู้ของ ผู้บริโภคความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคและเกิดความอยากได้ในตัวผลิตภัณฑ์โดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ควรจะ มีลกั ษณะเด่นที่มองเห็นได้จากภายนอกและมีคุณประโยชน์ภายในตัวสินค้าเอง

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน เพือ่ วิจยั ออกแบบบรรจุภณ ั ฑ์ของผลิตภัณฑ์น้ําตาลล�ำไยให้ สามารถดึ ง ดู ด   และเพิ่ ม มู ล ค่ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ โ ดยสอดคล้ อ งกั บ คุณลักษณะการตลาดเชิงนวัตกรรม


กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์และศึกษาความเป็นไปได้ในการออกแบบ 2. เลือกวัสดุ และเทคโนโลยีทเี่ หมาะสม การร่างภาพต้นแบบ 3. ส�ำรวจความคิดเห็นของผูบ้ ริโภคต่อบรรจุภณ ั ฑ์ 4. พัฒนาปรับปรุง 5. เลือกตัวต้นแบบเพื่อจัดท�ำตัวต้นแบบ 6. ทดสอบและปรับปรุง 7. ส่งมอบชิ้นงาน พร้อมสรุปข้อมูลด้านเอกสาร แนวความคิด น�ำเอารูปทรง และ การสื่อสารของตัวล�ำไยมาเป็นแรงบันดาลใจการออกแบบ ลักษณะการออกแบบ ความ ประณีตที่สะท้อนความหรูหราของตัวผลิตภัณฑ์ (Premium class design) สีและรูปทรง เลือกน�ำเอาสีทอง สีนา้ํ ตาล เข้ม และ ใช้รูปทรงกลม มาใช้ในงานออกแบบ การใช้งาน ผสมผสานกับวัสดุที่มีความมันเงาสะท้อนความใสและ การใช้งานที่ง่ายมีความแปลกใหม่ที่เฉพาะตัว เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงาน Liquid blister Packing ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 10 ซม.

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

กระบวนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับสารสกัดจากล�ำไย มีองค์ ประกอบและปัจจัยที่น�ำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบหลายส่วน เช่น ข้อมูลทางการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค รูปแบบเทคนิควิธี การ กระบวนการความคิดสร้างสรรค์ และการวิจัยผลิตภัณฑ์ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ คุณสมบัติภายนอก แบ่งเป็นสองสถานะคือ ของเหลวและ เกล็ดน้าํ ตาล (ผง) ของเหลวมีลักษณะเป็นของเหลวหนืด (คล้าย น้าํ เชื่อมเข้มข้น) สีนํ้าตาลอมทอง หากทิ้งไว้นานมีการตกตะกอน มีการจับตัวในรูปแบบผง แต่สามารถพัฒนาให้ไม่จับตัวเป็นก้อนได้ คุณสมบัติภายใน ทั้งสองสถานะมีสารส�ำคัญ คือ สาร แกลลิคและสารแอลเจลิค ซึ่งเป็นคุณสมบัติเด่นที่ชัดเจนในด้าน สารต่อต้านเซลมะเร็ง มีกลิ่นเฉพาะตัวของตัวผลิตภัณฑ์ อากาศ และแสงอาจมีผลต่อสีของผลิตภัณฑ์ได้


46

วิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด เพื่อการสร้างอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นในแง่สารส�ำคัญและสร้างมูลค่าของล�ำไยทั่วไป ให้มากขึ้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์จะต้องสะท้อนมุมมองดังกล่าวให้ชัดเจน กลุ่มคนรักสุขภาพ โดยอาจแบ่ง เป็น บริโภคเพื่อป้องกัน บริโภคเพื่อรักษา และบริโภคเพื่อการทดแทน สถานที่ของบรรจุภัณฑ์คือ ชั้นวางที่ อยู่ในหมวดอาหารเสริม สินค้าเฉพาะทาง หรือแม้กระทั่งร้านขายเวชเภสัช จุดประสงค์การออกแบบเพื่อการ สื่อสารถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ในแง่คุณประโยชน์และนวัตกรรมทางโภชนาการศาสตร์ เพราะเป็นสินค้าที่ยังไม่มี ในตลาดมาก่อน เรียกอีกนัยหนึ่งว่า การออกแบบเพื่อการแนะน�ำครั้งแรกแก่ผู้บริโภค การน�ำเสนอภาพลักษณ์ ที่จะเป็นภาพจ�ำของผลิตภัณฑ์สารสกัดล�ำไย ระยะเวลาการพัฒนาการออกแบบ 120 วัน ระดับของผลิตภัณฑ์ อยู่ในประเภทสินค้าระดับกลางบนถึงสูง ท�ำให้ต้นทุนราคาส�ำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์สามารถท�ำให้อยู่ใน สัดส่วนประมาณ 7-10% ของราคาต้นทุนการผลิตได้ ผลการวิเคราะห์แบบผง การออกแบบอยู่ในข้อจ�ำกัดด้านการผลิตบรรจุภัณฑ์ ท�ำให้รูปแบบยังคงต้องพัฒนาต่อให้มีความน่าสนใจ มากยิ่งขึ้น การสื่อความหมายในด้านนวัตกรรมยังไม่ชัดเจน แม้ว่าความสะอาดและความน่าเชื่อถือในการแสดง ลักษณ์บรรจุภัณฑ์อาจจะสะท้อนมาจากวัสดุที่เลือกมาใช้ แต่ความโดดเด่นหากวางเทียบเคียงกับสินค้าอื่นยัง ต้องมีการพัฒนาต่ออีกหลายๆ ประเด็น เช่น รูปร่าง สีสัน เป็นต้น ผลการวิเคราะห์แบบน้ํา การออกแบบมีการพัฒนาที่ผสมผสานจากแนวความคิดก่อนหน้า โดยมีการสื่อสารใช้สัญลักษณ์ของรูป ทรงล�ำไยเข้ามาเป็นแนวความคิดการออกแบบหลัก การออกแบบการใช้งานที่เน้นง่ายและสะดวก ประกอบกับ ความน่าสนใจและแปลกใหม่หากมีการวางเปรียบเทียบกับสินค้าอื่นๆ ความรู้สึกทางด้านความเป็นนวัตกรรม เทคโนโลยีเมื่อสังเกตจากรูปร่างและวัสดุที่เสนอแล้ว สามารถถ่ายทอดมุมมองดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิผล

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับผลิตภัณฑ์ล�ำไยสกัดใน การศึกษาครัง้ นี้ ยังต้องมีการพัฒนาต่อในเรือ่ งของเทคนิควิธกี าร และวั ส ดุ ที่ ส ามารถรั ก ษาคุ ณ สมบั ติ ข องตั ว ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ ห้ มี ประสิทธิภาพที่สมบูรณ์ อีกทั้งในแง่ของการสื่อสารและแสดง ลักษณะของผลิตภัณฑ์ เพือ่ ความสมบูรณ์ของการรับรูข้ องผูบ้ ริโภค อาจจะต้องมีส่วนประกอบการออกแบบด้านอื่นๆ เสริม เช่น สื่อ ประชาสัมพันธ์ สื่อสิ่งพิมพ์ การโฆษณา การออกแบบโครงสร้าง ร้าน เป็นต้น ส�ำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ก็สามารถต่อยอดในเรื่อง ของการออกแบบ ขนาดที่หลากหลาย การออกแบบเพื่อการค้า ปลีกหรือแบบจ�ำนวนมาก การออกแบบบรรจุภณั ฑ์สำ� หรับเทศกาล พิเศษ การค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ในที่นี้หมายถึงการย่อยสลาย ของบรรจุภัณฑ์ หรือการน�ำกลับมาใช้ใหม่ การออกแบบเพื่อการ ใช้ร่วมกับสินค้าและบริการอื่นๆ


70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : พรุ่งนี้รวย | Be a Millionaire by Tomorrow ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ ปนท ปลื้มชูศักดิ์ | Panot Pluemchusak

48

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ในอดีต สังคมไทยเป็นสังคมที่มีลักษณะทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสังคม วิถีทางในการด�ำเนินชีวิตของผู้คนมีความเป็นอยู่ในลักษณะรูปแบบที่เรียบง่าย เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ มีน้ำใจ สมถะ พอเพียง ความสุข ความอิ่มเอมใจ เกิดจากการปรับตัวและมองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น และมีอยู่ จากสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัว ปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในสังคมไทย มีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งความก้าวหน้าทางการติดต่อสื่อสาร ที่สามารถเชื่อมโยงกันอย่างอิสระและ รวดเร็ว ท�ำให้เกิดการเปิดรับและเรียนรู้สิ่งใหม่มาสู่สังคมไทยอย่างไม่มีจ�ำกัด สภาพแวดล้อมของสังคมเมืองใหญ่ในปัจจุบันเต็มไปด้วยความศิวิไลซ์ ความเจริญก้าวหน้าและพัฒนาการ ทั้งทางด้านเทคโนโลยีด้านวิทยาการต่างๆ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบโดยตรงกับผู้คนที่ด�ำรงชีวิตอาศัยอยู่ในสังคมเมืองใหญ่ มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้าน วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ รวมทั้งลักษณะรูปแบบของการด�ำเนินชีวิต จากความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย กลายเป็น ความยุ่งเหยิง ซับซ้อน วุ่นวายมากขึ้น เพื่อความอยู่รอดท่ามกลางความเจริญที่ รวดเร็ว ความจ�ำเป็นในการอยู่รอดในสังคมปัจจุบัน มีผลให้เกิดการ ดิ้นรน แข่งขันต่อสู้เพื่อการด�ำรงอยู่ใน เมืองใหญ่ โชค ลาภ การเสี่ยงดวง เป็นความสุขทางด้านจิตใจอีกหนทางหนึ่งที่เป็นน�้ำหล่อเลี้ยง สร้างความ หวังของชีวิตให้มีพลังต่อสู้ต่อไป จากความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ ในวิถชี วี ติ ของสังคมไทยส่งผลต่อแนวทางในการด�ำเนินชีวติ ของผูค้ น การที่ ได้สัมผัสรับรู้สิ่งที่ได้กล่าวมาแล้ว ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ ที่สะท้อนให้เห็นถึง ความสุขของวิถีชีวิตธรรมดา ในอีกแง่มุมหนึ่ง ท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าของสังคมเมืองใหญ่

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพื่อสะท้อนให้เห็นถึง ความหวัง ความสุข จากวิถีชีวิตธรรมดา ในอีกแง่มุมหนึ่งของสังคม 2. สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยแนวประเพณี  ถ่ายทอด เรือ่ งราววิถีชีวิตจากสภาพสังคมปัจจุบัน 3. สร้างสรรค์งานผลงานจิตรกรรมไทยแนวประเพณี  โดยมี แรงบันดาลใจด้านเนื้อหารูปแบบและวิธีการจากภาพชาวบ้าน


จากภาพชาวบ้านหรือตัวกาก ในงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี แนวความคิด แสดงออกในเรือ่ งราวของวิถชี วี ติ คนไทยในสังคมปัจจุบนั ผ่านแง่มมุ ชีวติ ธรรมดา เพือ่ สะท้อนให้เห็นถึงความหวัง ความปราถนา การรอคอย โชค ลาภ ความสุขทางด้านจิตใจแบบง่ายๆ คือหนทางหนึง่ ทีเ่ ป็นน้ำหล่อเลีย้ งสร้างความหวัง ของชีวิตให้มีพลังในการด�ำรงอยู่ท่ามกลางความเจริญของสังคมเมืองใหญ่ กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อให้การสร้างสรรค์ผลงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และแนวความคิด จึงจ�ำเป็นที่จะต้องมีการ ด�ำเนินงานสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง นับตั้งแต่การวางแผนในการด�ำเนินงาน กระบวนการ ของการสร้างสรรค์ผลงาน และผลงานสร้างสรรค์ที่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ศึกษา และรวบรวมข้อมูลจากวิถีชีวิตในแง่มุมต่างๆที่ได้สัมผัสโดยตรงและจากสถานที่และบรรยากาศ สภาพแวดล้อมจริง 2. ศึกษาข้อมูลภาพถ่าย เอกสาร หนังสือต่างๆ ที่ได้จากบรรยากาศและสภาพแวดล้อมจริง ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่ สอดคล้องกับการแสดงออกทางความคิดรวมทัง้ ผลงานทีเ่ คยสร้างสรรค์ (ภาพที่ 3,4) และผลงานศิลปกรรมต่างๆ 3. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลผลงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณี จากจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถต่างๆ โดยศึกษา ในส่วนของเนื้อหาเรื่องราว การน�ำเสนอรูปแบบในการแสดงออก และเทคนิควิธีการในการถ่ายทอด (ภาพที่ 1,2) 3. เก็บข้อมูล ด้วยการบันทึกภาพถ่าย และภาพลายเส้น 4. น�ำข้อมูลทีไ่ ด้จากการศึกษาในส่วนของวิถชี วี ติ ในสภาพแวดล้อมจริงกับส่วนของผลงานจิตกรรมไทยแบบประเพณี โดยใช้ การบันทึกด้วยภาพถ่าย และภาพลายเส้นมาประกอบกับข้อมูลที่ได้เพื่อพัฒนาสู่การสร้างภาพร่างผลงาน 5. สร้างภาพร่างผลงานที่สะท้อน ความคิด และความรู้สึก ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ (ภาพที่ 5) 6. ขั้นตอนการสร้างสรรค์ผลงาน 7. วิเคราะห์ผลงานปรับปรุงแก้ไขพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ให้สมบูรณ์ตามวัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์จนเสร็จ สมบูรณ์ 70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

8. สรุปและประเมินผลของผลงานสร้างสรรค์โดยน�ำผลงานและ กระบวนการสร้างสรรค์ทั้งหมดมาเขียเรียบเรียงเป็นเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน เฟรมผ้าใบ สีอะคริลิก ขาตั้งเขียนรูป แปรง พู่กัน ดินสอ สมุดสเก็ตช์ กล้องถ่ายภาพ เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน สีอะคริลิก และทองค�ำเปลว บนผ้าใบ ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 60 x 80 ซม.

ภาพที่ 1 และภาพที่ 2 : ภาพตัวกากในจิตรกรรมฝาผนัง แรงบัลดาลใจในการสร้างสรรค์(วัดบางแคใหญ่)


4

ภาพที่ 3 ผลงานที่เคยสร้างสรรค์ชื่อภาพ “บ่ายวันอาทิตย์” เทคนิคสีอะคริลิก และทองค�ำเปลวบนผ้าใบ ขนาด 120 x 180 ซม. ภาพที่ 4 ผลงานที่เคยสร้างสรรค์ ชื่อภาพ “วิถีที่เปลี่ยนแปลงไป” เทคนิคสีอะคริลิก และทองค�ำเปลวบนผ้าใบ ขนาด 120 x 180 ซม. ภาพที่ 5 แบบร่างผลงาน ภาพที่ 6 วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน

50

3

6


บรรณานุกรม ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2531 ชลูด นิ่มเสมอ. การเข้าถึงศิลปะในงานจิตรกรรมไทย. กรุงเทพ : อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ, 2532 ผ่องพันธุ์ มณีรัตน์. การเปลี่ยนแปลงทางสังคม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2521 วิโชค มุกดามณี และคณะ. ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2540 วิโชค มุกดามณี และคณะ. ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-8. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2541 สมชาติ มณีโชติ. จิตรกรรมไทย. กรุงเทพ : โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์, 2529 สมศักดิ์ แตงพันธ์ และวีระชัย วีระสุขสวัสดิ์.จิตรกรรมฝาผนังในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2533 สันติ เล็กสุขุม. สังเขปความเป็นมาของศิลปกรรมในดินแดนไทยใน บัวหลวงระบายสี. หน้า 6-73. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง, 2539 อิทธิพล ตั้งโฉลก. แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พลับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน), 2550

5 70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : การสร้างเฟรมจักรยานส�ำหรับแข่งขันด้วยเหล็กโครโมลี่

Bicycle Frame Building for Road Race, Made from Chromoly Steel ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ ปิติ คุปตะวาทิน | Piti Khuptawathin

52

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน รถจักรยานเป็นยานพาหนะทางบกที่ขับเคลื่อนไปโดยก�ำลังของกล้ามเนื้อมนุษย์ แรกเริ่มจักรยานเพื่อการใช้งานเพื่อเป็นพาหนะ และถูกพัฒนาแยกย่อยไปอีกหลายประเภท ตามเป้าประสงค์ของผู้ใช้งานรวมไปถึงจักรยานที่ใช้เพื่อการแข่งขันที่นอกจากผู้ขี่จะต้องมีความพร้อมของร่างกายและจิตใจแล้ว  จักรยานเองก็มีส่วนส�ำคัญที่จะดึงศักยภาพของผู้ขี่ ออกมาให้ได้มากที่สุด ซึ่งหมายถึงการควบคุมรถที่ดีผนวกกับความเร็วที่ต้องไปถึงเส้นชัยเป็นอันดับแรก แต่หากจักรยานโดยเฉพาะส่วนประกอบหลักโดยเฉพาะเฟรมไม่เหมาะสมกับ ตัวผูข้ บั ขีแ่ ล้วนัน้ การได้มาซึง่ ชัยชนะหรือความส�ำเร็จก็คงเป็นไปได้ยาก จากปัจจัยดังทีก่ ล่าวมาข้างต้นจึงเชือ่ ได้วา่ การสร้างเฟรมจักรยานทีด่ ี โดยเฉพาะขนาดของเฟรมทีจ่ ะต้องเหมาะเจาะ กับผู้ขับขี่ เพื่อสร้างความได้เปรียบทั้งในด้านการทรงตัว การเลี้ยว และการส่งแรงจากการหมุน (ถีบ) เฟืองเพื่อหมุนล้อและให้ตัวรถพุ่งทะยานไปข้างหน้า จากการศึกษาหรือค้นหารูปแบบของจักรยานที่นิยมใช้ในการแข่งขันตั้งแต่อดีตมาจนถึงประมาณช่วง ปี 1980 โดยเฉพาะการแข่งขันจักรยานทางไกลรายการใหญ่ที่จัดขึ้นใน ช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี อย่าง ตูร์ เดอ ฟร็องซ์ (tour de france) ที่ผู้เข้าแข่งขันจะต้องขี่จักรยานรอบประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เป็นการแข่งขันจักรยานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดรายการหนึ่งเป็นการแข่งขันจักรยานทางไกลหนึ่งในสามรายการ ใหญ่ ที่จัดการแข่งขันในยุโรป รวมเรียกว่า แกรนด์ทัวร์ โดยอีกสองรายการคือ จีโรดีตาเลีย (Giro d’Italia) จัดในอิตาลี ช่วงเดือนพฤษภาคม - ต้นมิถุนายน และวูเอลตา อา เอสปันญ่า (Vuelta a Espana) จัดในสเปน ช่วงเดือนกันยายน

เทคนิคที่ใช้ในการผลิตเฟรมจักรยานที่นิยมน�ำเข้ามาใช้ใน การแข่งขันคือ การต่อเหล็กแบบใช้ข้อต่อเหล็กหล่อ (Lugs) โดย เหล็กที่ใช้ในการท�ำเฟรมจะเป็นเหล็กที่มีส่วนผสมของโครเมี่ยม (Chromium) และ โมลิบดินั่ม (Molybdenum) เป็นหลัก ซึ่งจะเรียก สั้นๆ ว่า ท่อเหล็กโครโม (CrMO) หรือ โครโมลี่ (Chromoly) ท่อเหล็กโครโมลี่(Chromoly)มีคุณสมบัติที่ทนทานต่อแรง กระแทกสูง และการเติมโมลิบดินั่ม (Molybdenum) ลงไปใน


เหล็กท�ำให้เหล็กเหนียวอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่นและแนวรอยเชื่อมจะไม่เปราะเหมือนเหล็กทั่วไป ปัจจุบันท่อเหล็กโครโมลี่ ได้มกี ารพัฒนาไปมาก มีการผสมแร่ธาตุตวั อืน่ ๆ ลงไปเพือ่ เพิม่ คุณสมบัตอิ นื่ ๆ แต่กย็ งั คงเรียกติดปากกันอยูว่ า่ “โครโมลี“่ บริษัทผู้ผลิตเหล็กโครโมลี่ที่ยังเป็นที่ยอมรับ ในการท�ำจักรยาน มีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น โคลัมบัส (Columbus) จาก ประเทศอิตาลี เรย์โนลด์ (Reynold) จากประเทศอังกฤษ แท็งค์ หรือ ทันเกะ (Tange) ของประเทศญี่ปุ่น และ ทรู เทมเพอร์ (True Temper) ของประเทศสหรัฐฯ เพราะฉะนั้นการต่อเฟรมจักรยานเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ขับขี่จึงต้องมีกระบวนการวัดตัวเพื่อ ให้ได้ลักษณะทาง กายภาพเหมาะสมกับขนาดสัดส่วนของผู้ขับขี่โดยเฉพาะ เช่น ความกว้างหัวไหล่ ความยาวของช่วงแขนและขา ความยาวช่วงหลัง และความยาวของฝ่าเท้า และขนาดของระยางส่วนต่างๆ ของร่างกายเสมือนการวัดตัวตัดเสื้อผ้า เพื่อให้ได้ชุดที่มีขนาดเหมาะสมกับการสวมใส่และใช้งาน อย่างไรก็ดถี งึ แม้จกั รยานจะสมบูรณ์เพียงใด แต่หากสภาพร่างกายและจิตใจของนักกีฬาไม่พร้อม การขับขีก่ ค็ ง ไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าใดนัก

4

ภาพที่ 1 : เส้นทางการแข่งขัน ตูร์ เดอ ฟร็องซ์(Tour de France) ที่มา : http://www.letour.fr/le-tour/2013/us/ • ภาพที่ 2 : ข้อต่อเหล็กหล่อ (Lugs) ของ ซีเนลลี่ (Cinelli) ภาพที่ 3 : การประกอบ Lugs ส่วนกระโหลก (Bottom Bracket Shell) เข้ากับท่อล่าง (Down Tube) • ภาพที่ 4 : ตะเกียบหน้า (Fork) เมื่อเชื่อมและขัดผิวเสร็จ ก�ำลังรอท�ำเกลีบวก่อนน�ำไปชุบ • ภาพที่ 5 : หางปลา (Drop out) เมื่อเชื่อมและขัดตกแต่งผิวแล้ว • ภาพที่ 6 : Logo ของผลิตภัณฑ์ Columbus ที่มา : http://www.columbustubi.com

1

2

3

5

6


54

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพื่อศึกษาประวัติและทดลองท�ำจักรยานเพื่อการแข่งขันประเภทหนึ่ง 2. เพื่อให้ได้จักรยาน ที่ใช้งานได้จริงและรูปแบบร่วมสมัย แนวความคิด รณรงค์ให้คนหันมาขี่จักรยานกันมากขึ้น กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษารูปแบบเฟรมจักรยาน โดยการค้นคว้าข้อมูลด้านเอกสารและสืบค้นออนไลน์ 2. ศึกษาวัสดุและเทคนิคการผลิตจากต�ำราและการบอกเล่าจากผู้รู้ 3. สรุปข้อมูล เป็นแนวทางในการออกแบบ 4. สรุปแบบ ก�ำหนดขนาดของชิ้นงาน 5. ผลิตชิ้นงาน เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน กลึง เชื่อมแก๊ส (Oxygen-Acetylene) ขัด ชุบ และตกแต่งผิว วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน เหล็ก Columbus รุ่น SL และข้อต่อเหล็กหล่อ (Lugs) ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ กว้าง 145 ซม. สูง 100 ซม.


องค์ความรู้ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ บทสรุปจากการลงมือปฏิบัติจริงท�ำให้ค้นพบรายละเอียดมากมายที่ซ่อนอยู่ภายใต้ความเรียบง่ายของ จักรยาน โดยเฉพาะการหาความพอดีของผลิตภัณฑ์กับผู้ใช้งานที่ต้องค�ำนึงถึงมนุษยปัจจัยในด้านต่างๆ โดย เฉพาะขนาดสัดส่วน ที่ต้องเหมาะสมกับการขับขี่ในแต่ละคน การย้อนรอยการออกแบบและผลิตจักรยาน รูปแบบร่วมสมัยนี้ เพื่อศึกษาข้อดีและข้อด้อย ของการท�ำจักรยานแฮนด์เมดในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่น�ำมาประกอบเป็นแนวทางการออกแบบจักรยานรูปแบบใหม่ในอนาคต

ภาพที่ 7 : เฟรมและตะเกียบหน้า(Frame and Folk) เมื่อเชื่อมและขัดตกแต่งผิวแล้ว

บรรณานุกรม Paterlek, Tim 2002, ThePeterek Manual for Bicycle Framebuilders, Kermese Distribution Inc., Pennsylvania. SL Niobium. Steel triple butted tubes for competition frames. Product(online). Access on 20 July 2013. Available from http://www.columbustubi.com/eng /4_4_4.htm

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : การอออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากผือวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น

The Design and Development of Prototypes for Products Made of Giant Bulrush “Pue” Local Natural Materials ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : ผศ.ดร.ลุ้ย กานต์สมเกียรติ | Asst.Prof.Lui Kansomkrait (Ph.D.)

56

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ผลิตภัณฑ์ทจี่ กั สานจากผือมีมานานแล้ว  เป็นวัฒนธรรมและภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ในเขตอีสาน  ซึง่ ผูค้ นในชุมชนได้นำ� วัสดุพนื้ บ้านชนิดนีม้ าจักสานเป็นผลิตภัณฑ์เพือ่ ใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน ได้แก่ การจักสานให้เป็นเสือ่ และได้พฒ ั นามาเป็นหมวกและกระเป๋า ตามล�ำดับ ล้วนเป็นภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ชุมชนทีอ่ ยูใ่ นเขตอีสานได้รวมตัวกันตัง้ เป็นกลุม่ ผลิตงานจักสานจากผือ ซึง่ มีมาก ในท้องถิน่ โดยใช้เวลาว่างจากการท�ำนามารวมตัวกันจักสานงานออกขายกับชุมชนอืน่ ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เป็นการหารายได้ให้กบั ครัวเรือน และสืบทอดภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ทีม่ พี นื้ ฐาน มาจากบรรพบุรษุ และสืบทอดอาชีพให้ลกู หลาน แต่ปญ ั หาส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากทักษะในการจักสาน เนือ่ งจากชุมชนมีทกั ษะและความช�ำนาญ ซึง่ ถ่ายทอดมาจากบรรพบุรษุ ในอดีต แต่เกิดจากผลิตภัณฑ์ทจี่ กั สานขาดความหลากหลาย ในผลิตภัณฑ์ ไม่ตอบสนองกับความต้องการตลาดภายในประเทศ และเป็นการเติมเต็มช่องว่างระหว่างนักออกแบบ/นักวิชาการทีไ่ ด้รบั ความรู้ ในการออกแบบจากวิทยาการสมัยใหม่/สากล กับช่างหัตถกรรมพืน้ บ้านทีย่ งั ต้องการความรูแ้ ละวิทยาการสมัยใหม่ เพือ่ ให้พฒ ั นาไปพร้อมๆ กัน โดยไม่ทงิ้ ภูมปิ ญ ั ญาดัง้ เดิม เพือ่ ให้เกิดการสร้างมูลค่าให้กบั ชุมชน โดยใช้หลักเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ ทีเ่ ห็นชุมชนมีภมู ปิ ญ ั ญาทีเ่ ข้มแข็ง มีอตั ลักษณ์ทโี่ ดดเด่น แนวทางการวิจยั จึงใช้การวิจยั เชิงปฏิบตั กิ าร อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน โดยจัดให้มีการสัมภาษณ์ผู้รู้ (key Informants) เพื่อก�ำหนดแนวทางในการออกแบบ และจัดให้มีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) เพื่อการตัดสินใจเลือกแบบเพื่อน�ำไปสู่การท�ำต้นแบบ ที่สอดคล้องกับภูมิปัญญาของชุมชนและการตลาด ก่อให้เครือข่ายการท�ำงานร่วมกันในชุมชนเพื่อการออกแบบ และพัฒนา

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาและสืบทอดงานหัตถกรรมของ ท้องถิน่ ด้านศิลปะและหัตถกรรม 2. ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผือ   ให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการตลาดภายในประเทศ 3. ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผือ เพื่อสร้างมูลค่า (value added) ให้กับผลิตภัณฑ์จักสานในแนวทาง TREND DESIGN ในอนาคต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค และตลาดภายในประเทศ


ขอบเขตการวิจัย 1. ศึกษากระบวนการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์จากผือ 2. ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการบูรณาการ ด้วยวัสดุท้องถิ่นและวัสดุในท้องตลาดเพื่อน�ำมา ประยุกต์ร่วมกับผือ เพื่อการตอบสนองความต้องการตลาด 3. ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผือไม่นอ้ ยกว่า 15 แบบ จากกลุม่ ผลิตภัณฑ์ ซึง่ อยูภ่ ายใต้ผลิตภัณฑ์ เพือ่ การ ตกแต่งผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและเครื่องเรือน และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจ�ำวัน วิธีด�ำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1. ขั้นตอนการส�ำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล 1.1 ศึกษาแหล่งก�ำเนิดผือที่มีอยู่ในธรรมชาติและเกิดจากการปลูก คุณสมบัติของผือ การจัดเตรียมผือ เพื่อน�ำมา จักสานผลิตภัณฑ์ และเครื่องมืออุปกรณ์ที่น�ำมาใช้ในการจักสาน 1.2 ศึกษาองค์ความรู้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ เอกลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อน�ำมาใช้ในการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ให้มีความสากล แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ท้องถิ่น 1.3 ศึกษาแนวโน้มผลิตภัณฑ์จากผือ และผลิตภัณฑ์ข้างเคียง ด้านความต้องการรูปแบบ ประโยชน์ใช้สอย การจัด จ�ำหน่ายภายในท้องถิ่นและศูนย์การจ�ำหน่ายสินค้าที่ส�ำคัญ 2. ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ 2.1 แจกแจงประเภทของผลิตภัณฑ์ที่ท�ำจากผือ ข้อก�ำหนด ปัญหาผลิตภัณฑ์แต่ละกลุ่ม 2.2 ก�ำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อตอบสนองความเป็นจริงด้านการตลาด และให้ได้รูปแบบความต้องการใช้สอยที่ เข้ากับวิถีชีวิตในปัจจุบัน 3. ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนา 3.1 ก�ำหนดแนวคิดในการออกแบบ 3.2 ร่างแบบและพัฒนาต้นแบบ 3.3 จัดท�ำต้นแบบและทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายตลาดภายในประเทศ

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

3.4 พัฒนาต้นแบบสุดท้ายจากผลการทดสอบ เพื่อให้ได้ผลงาน ใกล้เคียงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตลาดภายในประเทศ มากที่สุด 3.5 ออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่ได้เพือ่ ส่งเสริม การตลาด และสร้างภาพลักษณ์ทดี่ กี บั ชุมชน 4. ขั้นตอนการเผยแพร่และส่งมอบงาน 4.1 จัดแสดงงาน 4.2 จัดท�ำเอกสารเพื่อการเผยแพร่ 4.3 จัดท�ำรูปเล่มพร้อมส่งผลงาน ผลการด�ำเนินการโครงการวิจัยตามวัตถุประสงค์โดยสรุป 1. ได้รวบรวมวิถีชีวิตผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก ทั้งด้านประวัติ ความเป็นมาภูมิปัญญาชุมชน การเตรียมวัสดุท�ำเสื่อกก การทอ เสื่อกก 2. ได้รูปแบบการจัดการด้านท�ำเสื่อกก การตลาดของชุมชน ทอเสื่อกกและผลิตภัณฑ์จากเสื่อกก 3. ได้ต้นแบบผลิตภัณฑ์จากเสื่อกกจ�ำนวน 16 แบบ ที่ได้ แนวคิดในการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้วัสดุธรรมชาติมา แปรรูปให้สวยงามน่าใช้ เน้นการออกแบบให้มีเอกลักษณ์มีความ รู้สึกที่เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่มีความร่วมสมัย สอดคล้องกับ ความต้องการตลาดที่หลากหลายมากขึ้นและใช้ภูมิปัญญาท้อง ถิ่นในด้านการผลิตที่สามารถท�ำได้จริง


แนวทางการน�ำผลการด�ำเนินการโครงการไปใช้ประโยชน์ 1. สามารถน�ำรูปแบบการด�ำเนินการวิจัย เพื่อใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยการ ต่อยอดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของผู้วิจัยและชุมชนในขั้นตอนของการวิจัยเพื่อออกแบบและ พัฒนาผลิตภัณฑ์ 2. ชุมชนสามารถน�ำต้นแบบผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับจากการออกแบบและพัฒนา ไปต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่า ให้กับผลิตภัณฑ์จากผือ ที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการสร้างเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน

58

บรรณานุกรม นวลน้อย บุญวงค์. หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 ดร.นิรัช สุดสังข์. การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2548 สวเรศ เกตุสุวรรณ. เอกสารค�ำสอนรายวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2539 ดร.รัฐไท พรเจริญ. เส้นและแนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 จันทนา จันทโร, ศิริจันทร์ ทองประเสริฐ. การศึกษาความเป็นไปได้โครงการด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 ผือ. tex. สุดยอดผลิตภัณฑ์ OTOP .ผลิตภัณฑ์จากกกและผือ : จ.อุบลราชธานี ยุพาดี น้อยวังคลัง และพิทักษ์ น้อยวังคลัง. กระบวนการยอมสีเส้นกกด้วยสีธรรมชาติกับสีเคมีและกระบวกการทอรวมทั้งการแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากกก. จ.มหาสารคาม, 2542 Mike Baxter. Product design, London : Chapman & Hall, 1995 Bruce Hanwah. Becoming a product Designer, New Jersey : John Wiley & Sons, 2004 Laura Slacn. What is product Design. Singgapore : Provision Pte. 2006 Edward Steinfeld and Jordana L. Maisel. Universal Design, USA: John Wiley & Sons Inc. 2012 Oliver Heiss and Johann Ebe. Barrier – Free Design, UK : Firmengruppe APPL. 2010 Rob Imrie and Peter Holl. Inclusive Design. New York : Spon Press. 2001


70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ : โครงการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี (ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ป่านศรนารายณ์) ชื่อผู้สร้างสรรค์ : อาจารย์ ศรีนาฏ ไพโรหกุล

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

60

จังหวัดเพชรบุรีมีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่โดดเด่น ขึ้นชื่อ และมีคุณภาพดีอยู่เป็น จ�ำนวนไม่น้อย เช่น ผลิตภัณฑ์จักสานป่านศรนารายณ์ที่ต�ำบลหุบกระพง ผลิตภัณฑ์ตกแต่งและ ประติมากรรมจากไม้ไผ่ โดย คุณกรกช อารมย์ดี1 ที่ได้รับความนิยมในระดับสากล เป็นต้น อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตชุมชนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นรายย่อย ก�ำลังประสบกับ ปัญหาอันเกิดจากการที่ทักษะในการออกแบบไม่ตอบสนองกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน และรวมไปถึงตลาดสากล ในที่นี้จึงได้เลือกกลุ่มของผลิตภัณฑ์มาสองกลุ่มในการ พัฒนา ซึ่งคัดเลือกจากรายชื่อผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ที่ลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ปี 2555 จังหวัดเพชรบุรี

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ผลิตชุมชน จังหวัดเพชรบุรี ให้ทันสมัย โดดเด่น มี เอกลักษณ์ สอดคล้องกับความต้องการตลาด 2. เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไปสู่ตลาดสากลให้เป็นที่รู้จักและยอมรับสินค้ามากขึ้น 3. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนกับนักวิชาการในด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ 4. เพื่อพัฒนาอบรม และสร้างกระบวนการการออกแบบให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนเข้าใจ วิธีการออกแบบ เบื้องต้น และมีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตัวเอง

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษากระบวนการผลิต การแปรรูปผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ ของกลุ่มผู้ผลิตชุมชน จังหวัดเพชรบุรี 2. ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่เกิดจากการบูรณาการ ด้วยวัสดุ เอกลักษณ์ท้องถิ่น และการตอบสนองความต้องการตลาด 3. ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นชุดของผลิตภัณฑ์ จ�ำนวน 3 กลุ่ม ซึ่งอยู่ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้


ผลิตภัณฑ์ประเภทของที่ระลึก (Souvenirs) ผลิตภัณฑ์ประเภทตกแต่ง (Decorative Items) ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องเรือน (Furniture) จากการศึกษาข้อมูลผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ปี 25552 และเงื่อนไขในการคัดเลือกกลุ่มชุมชน เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ จึงสรุปเลือกกลุ่มผู้ประกอบการสองกลุ่ม ที่มีความต้องการในการส่งเสริม และพัฒนาผลิตภัณฑ์และ บรรจุภัณฑ์แตกต่างกันคือ กลุ่มอาชีพสตรีจักสานป่านศรนารายณ์ และกลุ่มสืบสานตาลเมืองเพชร

แนวความคิด สร้างสรรค์ความงามให้ผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความงามที่แตกต่างไปจากเดิมให้แก่สินค้า เพื่อพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ชัดเจน สามารถพัฒนาแบบสู่สากลและ ส่งเสริมการส่งออก ด้วยการออกแบบวิธีการ การเลือกใช้โทนสีและคิดค้นเทคนิคในการสร้างลวดลายใหม่ๆ โดยอ้างอิงจากวิธีการเดิมในการสร้างและขึ้นรูปผลิตภัณฑ์จากป่านศรนารายณ์ รวมถึงการท�ำบรรจุภัณฑ์ถุง และป้ายสินค้า เพื่อการโปรโมทในอนาคต เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน งานออกแบบกราฟิคบนบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับกลุ่มอาชีพสตรีจักสานป่านศรนารายณ์ จังหวัดเพชรบุรี และ การเย็บและสร้างลวดลายขึ้นรูปกระเป๋าป่านศรนารายณ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและการส่งออก ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 30 x 40 ซม.

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ภาพที่ 1 ต้นป่านและวัสดุป่านศรนารายณ์ ใยป่าน เปียป่าน เตาส�ำหรับย้อมสี และเปียป่านแซกคู่

ภาพที่ 2 ตัวอย่างวัสดุท้องถิ่นจากต้นตาลโตนด คือ เปลือกตาล จั่นตาล เมล็ดตาล เป็นต้น และวัสดุธรรมชาติ 1 ข้อมูลจาก http://www.creativemove.com/design/korakot/ บทความ “Korakot ขับเคลื่อนชุมชนด้วยงานออกแบบ แฝงภูมิปัญญาไทย”, วันที่ 24 มีนาคม 2555 2 ข้อมูลจากศูนย์พัฒนาจังหวัดเพรชบุรี “รายงาย รายชื่อผู้ผลิต ผู้ประกอบการที่ ลงทะเบียนผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ปี 2555”


ชุดผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ป่านศรนารายณ์ การออกแบบแยกท�ำเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของการพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ โดยยังเน้นทักษะงานช่างฝีมือท้องถิ่นเดิมอยู่ แล้วเน้นที่การ พลิกแพลงวิธีการท�ำเดิมที่สามารถสร้างความงามที่แตกต่างออกไปได้ ส่วนของบรรจุภัณฑ์เพื่อการขาย และสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจ�ำ โดยเลือกเน้นที่ความเรียบง่าย ให้ ตราสินค้าเด่น แล้วเลือกใช้สีที่ให้ความรู้สึกของธรรมชาติ และป่านศรนารายณ์ คือสีเขียวและน้ําตาล ได้ ผลงานในชุดเดียวกันประกอบด้วย ถุงใบใหญ่ส�ำหรับใส่สินค้าประเภทกระเป๋า กล่องใส่กระเป๋าเหรียญ ขนาดเล็ก จัดเป็นรูปแบบการขายแบบหลายชิ้น ป้ายสินค้า บอกวิธีดูและรักษา และความเป็นมาของ ผลิตภัณฑ์

62

ชุดของที่ระลึกพร้อมบรรจุภัณฑ์จากตาลโตนด แยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของการจัดรูปแบบการขาย คือ มีการน�ำสินค้ามาจัดรวมกลุ่มขายเพื่อเพิ่ม มูลค่าสินค้า เช่น ดอกไม้จากใบตาลขายชิ้นเดียวราคาต่ํา เมื่อน�ำมาจัดรวมเป็นชุด ของแต่งบ้านท�ำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่ม โดยมีการแยกกลุ่มของราคา สูง กลาง ต่ํา เพื่อการเลือกสินค้าที่มีอยู่ แล้วน�ำมาจัดร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ให้เหมาะสม ส่วนของบรรจุภัณฑ์เพื่อส่งเสริมการขายสินค้าและเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ที่มีการจัดรูปแบบการ ขายใหม่และสินค้าที่มีความน่าสนใจ เป็นการเน้นการเป็นของขวัญ และของที่ระลึกท้องถิ่น จังหวัด เพชรบุรี ที่เหมาะสม โดยค�ำนึงถึงต้นทุนการผลิตที่ไม่สูง เลือกออกแบบลวดลายโดยการพิมพ์สีเดียวเพื่อ ลดต้นทุนและให้เหมาะกับราคาในการขายผลิตภัณฑ์ท�ำมือ


70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : โรลลี่ พัฟฟี่ | ROLLY-PUFFY ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ อินทรธนู ฟ้าร่มขาว | Inthanu Faromkao

64

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน วิถีชีวิตและความต้องการของมนุษย์มีความเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยด้วยปัจจัยหลายๆ ด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ หรือ ด้านเทคโนโลยี ส่งผลต่อรูปแบบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทีก่ ารใช้งาน หรือรูปลักษณ์ ถูกออกแบบตามความเหมาะสมของช่วงเวลาเหล่านัน้ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ตอ้ งปรับตัว ท�ำความเข้าใจและวิเคราะห์ถงึ รูปแบบผลิตภัณฑ์ทสี่ ามารถตอบสนอง ต่อความต้องการของผู้บริโภค และสอดคล้องกับวิถีการด�ำเนินชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันรวมถึงอนาคต จากข้อมูลการวิเคราะห์เทรนด์ (Trend) ของหลากหลายบริษัท มีเนื้อหาที่สอดคล้องกันถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ที่ว่า อนาคตแนวโน้มของครอบครัวจะมีขนาดเล็กลง เป็นโครงสร้าง ของครอบครัวเดี่ยวซึ่งเกี่ยวพันกับพื้นที่อยู่อาศัยที่ย่อมมีขนาดเล็กและอยู่รวมกันในคอนโดมิเนียมใจกลางเมือง รูปแบบการใช้ชีวิตจะมีอิสระมากขึ้น ความคิด ความชอบจะถูกสื่อผ่าน การแสดงออกถึงตัวตนอย่างชัดเจน ชอบในสิ่งที่ไม่เหมือนใคร ไม่ชอบความจ�ำเจ และชอบในการมีส่วนร่วมต่อสภาพแวดล้อมรอบตัว เช่น ชอบสินค้าแบบ Do It Yourselves (DIY.) ในขณะเดียวกันความสนใจและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติ ก็มีแนวโน้มที่สูงและจริงจังขึ้น การออกแบบยั่งยืน (Sustainable Design) จะมีบทบาทส�ำคัญต่อการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ซึ่งเทรนด์ที่กล่าวมา ข้างต้นนี้เองที่ผู้สร้างสรรค์จะน�ำมาเป็นกรอบความคิดที่จะพัฒนาเฟอร์นิเจอร์ในที่พักอาศัยที่มีรูปแบบที่เป็น เอกลักษณ์ สะท้อนกับความอิสระทางความคิด ผู้บริโภคมีส่วนร่วมต่อการสร้างเฟอร์นิเจอร์ สะท้อนกับความชอบ ในสินค้า DIY. และใช้วัสดุรวมถึงกรรมวิธีผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อ้างอิงจาก “NEXT DWELLING 2012/13 by SCG Building Material” ที่วิเคราะห์วิถีชีวิตคนโดยแบ่งออก เป็น 5 กลุ่ม คือ ‘Re’Treats, Dynamique, Smartchic, Harmonious and Paradox ซึ่งแต่ละกลุ่มมีรูปแบบ

ความคิดอยู่บนพื้นฐานร่วมที่เหมือนกัน ตามที่กล่าวมาข้างต้นและ จะมีความสนใจรวมทั้งวิถีชีวิตย่อยๆ ที่แตกต่างกัน ผู้สร้างสรรค์ ให้ความสนใจกับกลุ่ม ‘Re’Treats ซึ่งมีลักษณะดังนี้คือ เป็นกลุ่มที่ ค้นหาความสงบ เป็นส่วนตัว ชอบความเรียบง่าย ชัดเจน ตรงไป ตรงมา ผ่อนคลาย ชอบที่จะอยู่กับตัวเองและธรรมชาติ ทั้งนี้ ผู้สร้างสรรค์มีความสนใจในวัสดุ “กระดาษลูกฟูก ลอนเดี่ยว (Single Face)” เนื่องด้วย “วัสดุกระดาษ” มีกรรมวิธี


รูปที่ 1: Mood & Tone ของกลุ่ม‘Re’Treats, Next Dwelling 2012/13 by SCG Building Material

การผลิตมาจากต้นไม้ เมื่อตัดมาใช้ก็มีการปลูกทดแทนต้นไม้ที่ตัดไป กล่าวคือเป็นการออกแบบที่ยั่งยืน (Sustainable) ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปถึงการย่อยสลายได้ และน�ำกลับมารีไซเคิลได้ใหม่อีก นอกจากนั้นผู้สร้างสรรค์ ยังประทับใจในพื้นผิว (Surface) ของกระดาษลูกฟูกลอนเดี่ยวที่มีลักษณะเป็นคลื่นเล็กๆ และมีความนุ่ม ให้ความ รู้สึกถึงพื้นผิววัสดุจากธรรมชาติ รวมทั้งโครงสร้าง (Construction) ของกระดาษที่สามารถม้วนหรือดัดโค้ง สร้าง เส้นสายอิสระไม่เหลี่ยมแข็ง ทั้งยังก่อให้เกิดความยืดหยุ่นของม้วนกระดาษที่สามารถน�ำมาใช้ประโยชน์ในส่วนของที่ รองนั่ง แตกต่างจากการใช้กระดาษลังผิวเรียบในเฟอร์นิเจอร์กระดาษที่พบเห็นมา ที่ผิวสัมผัสราบเรียบใช้การพับเกิด เหลี่ยมสันออกมาเป็นรูปทรงที่อาจดูแข็งกระด้าง จากปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้สร้างสรรค์เชื่อว่าจะสร้างผลงานเฟอร์นิเจอร์ กระดาษจากกระดาษลูกฟูกลอนเดีย่ ว ทีจ่ ะให้ความรูส้ กึ เป็นธรรมชาติมากขึน้ ด้วยพืน้ ผิวและเส้นสายทีโ่ ค้งมนให้ความรูส้ กึ เคลื่อนไหวมีชีวิตชีวา และให้ความนุ่มยืดหยุ่นเมื่อนั่งหรือพิง โดยออกแบบให้ผู้บริโภคเข้าใจที่มาได้ง่าย ตรงไปตรง มา สามารถน�ำไปประกอบขึ้นรูปเองได้ เพื่อให้มีความเหมาะสมตรงกับความต้องการและวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งยังเป็นผลงานที่มีส่วนช่วยกระตุ้นความคิดของการใช้วัสดุยั่งยืน คือกระดาษ ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพื่อศึกษาและค้นหาแนวทางการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ด้วยกระดาษ 2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานตอบความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่ก�ำหนด แนวความคิด แรงยืดหยุ่น พื้นผิว และการม้วนให้เกิดรูปทรงที่สวยงาม และตรงไปตรงมา

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษารูปแบบเฟอร์นิเจอร์กระดาษที่มีอยู่ โดยการออกส�ำรวจ และค้นคว้าข้อมูลด้านเอกสาร 2. ศึกษาวัสดุกระดาษชนิดต่างๆ และกรรมวิธกี ารผลิตเฟอร์นเิ จอร์กระดาษ และผลิตภัณฑ์อนื่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น งานบรรจุภัณฑ์ 3. ศึกษาแนวโน้มความต้องการและวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมายที่ก�ำหนด 4. สรุปข้อมูล เป็นแนวทางในการออกแบบ 5. จัดท�ำแบบร่าง ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ โดยเทคนิคร่างภาพด้วยมือ และใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ 6. สรุปแบบ ก�ำหนดขนาดของชิ้นงาน 7. ผลิตชิ้นงาน เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน การม้วนกระดาษลูกฟูกลอนเดี่ยวให้เป็นเฟอร์นิเจอร์ วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน กระดาษลูกฟูกลอนเดี่ยว (Single Face) 66 รูปที่ 2: กระดาษลูกฟูกลอนเดี่ยว (Single Face)

บรรณานุกรม Miller, J 2005, Furniture: World styles from classical to contemporary, Dorling Kindersley Limited, London. Next Dwelling 2012/13 by SCG Building Material, 2012


70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title การออกแบบบรรจุภัณฑ์สีอะคริลิก (ส่วนของการออกแบบโครงสร้าง) ในโครงการอนุรักษ์และส่งเสริม “โทนสีของไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : ผศ.อินทิรา นาควัชระ | Asst.Prof.Indrira Narkwatchara

68

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน บรรจุภณ ั ฑ์สอี ะคริลกิ เป็นหนึง่ ในผลงานออกแบบในโครงการอนุรกั ษ์และส่งเสริม “โทนสีของไทย” โครงการนีจ้ ดั ท�ำขึน้ เนือ่ งในโอกาสครบรอบ 70 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึง่ ทาง โครงการ ฯ มีความประสงค์จะน�ำชุดโทนสีของไทยที่จัดท�ำขึ้น ออกจัดจ�ำหน่ายในรูปแบบของสีอะคริลิกก่อน (ส่วนรูปแบบของสีน้ำ สีฝุ่น ฯลฯ จะจัดท�ำในโครงการถัดไป) โดยจะ จัดจ�ำหน่ายเป็นชุด ชุดละ 12 สี โดยก�ำหนดการส�ำหรับการวางจัดจ�ำหน่ายครั้งแรกคือ วันศิลป์ พีระศรี วันที่ 15 กันยายน 2556 วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถบรรจุผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัด และสวยงามมีเอกลักษณ์ แนวความคิดออกแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อบรรจุสีอะคริลิก จ�ำนวน 12 สี โดยมีโครงสร้าง บรรจุภัณฑ์ เป็นดังนี้ โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิ : กระปุกแก้ว ขนาด 20 มิลลิลิตร พร้อมฝาปิดพลาสติกแบบเกลียว โครงสร้าง บรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ : โครงสร้างกระดาษแบบพับแบนราบได้ (Folding Carton) และไม่ใช้กาว ในการขึ้นรูปจากกระดาษกล่อง 500 แกรม

กระบวนการของสร้างสรรค์ผลงาน 1. ส�ำรวจสีอะคริลิคที่จัดจ�ำหน่ายในท้องตลาด ได้ข้อสรุปในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 รูปแบบการจัดจ�ำหน่ายสี มีการจัดจ�ำหน่ายอยู่ 2 รูปแบบ คือจัดจ�ำหน่ายแยกสี ในรูปแบบขวด กระปุก หลอดหรือ ปากกา เพื่อให้ลูกค้าแยกซื้อได้เฉพาะสีที่ต้องการ เหมาะส�ำหรับผู้ใช้งานระดับนักศึกษา กึ่ง มืออาชีพ มืออาชีพ หรือผู้ที่ใช้งานเป็นประจ�ำ ซึ่งมีปริมาณการใช้สีที่มากกว่าระดับผู้เริ่มต้นใช้งาน (หรือระดับนักเรียน) และการจัดจ�ำหน่ายเป็นชุด ที่นิยมจัดจ�ำหน่ายมีดังนี้ คือ 5 สี / 6 สี / 9 สี / 12 สี / 18 สี เหมาะส�ำหรับระดับนักเรียน ผู้เริ่มต้นทดลองใช้งาน หรือผู้ที่ใช้สีอะคริลิกไม่บ่อย โดยจ�ำนวนสีที่


นิยมจัดเป็นชุดมากที่สุดคือ ชุดแบบ 12 สี 1.2 รูปแบบบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับจัดจ�ำหน่ายแยกสี (ขายเดี่ยว) และปริมาณบรรจุ มีทั้งรูปแบบ ขวด กระปุก หลอด หรือ แบบด้ามปากกา ซึ่งปริมาณบรรจุต่อสีมีตั้งแต่ 10 ML / 15 ML / 19 ML / 20 ML / 22 ML 30 ML / 60 ML / 75 ML / 80 ML / 118 ML / 120 ML / 200 ML / 240 ML / 250 ML / 500 ML การจัดจ�ำหน่ายแยกสี ในปริมาณที่น้อย (ไม่เกิน 30 ML) มักใช้กับสีที่มีความพิเศษที่ไม่ถูกใช้บ่อย (เช่น สีที่ผสมความวาว กลิสเตอร์) หรือเป็นปริมาณที่เหมาะส�ำหรับระดับนักเรียน นักศึกษาหรือกึ่งมืออาชีพ ส่วนการจัดจ�ำหน่ายแยกสีตั้งแต่ 60 ML ขึ้นไป เหมาะส�ำหรับ นักศึกษา กึ่งมืออาชีพ มืออาชีพ ที่มีความต้องการใช้งานในปริมาณมากกว่า การจัดจ�ำหน่ายแยกสี (ขายเดี่ยว) ที่นิยมได้แก่ แบบกระปุกแก้วทรงกระบอกกลม แบบกระปุกพลาสติก ทรงกระบอกกลม แบบหลอดพลาสติกที่ปลายหลอดเจาะรูเพื่อแขวนได้ และรูปแบบหลอดโลหะ(พบเฉพาะใน สินค้าน�ำเข้า) โดยบรรจุภณ ั ฑ์เกือบทัง้ หมด (ยกเว้นหลอดโลหะ) ท�ำจากวัสดุใส เพือ่ ให้ผบู้ ริโภคเห็นเนือ้ สีได้ ชัดเจนเพื่อความง่ายในการเลือกซื้อ ส่วนรูปแบบด้ามปากกา เหมาะส�ำหรับการใช้งานรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ การระบายสีรูป เช่น ใช้เขียนเพื่อตกแต่งชิ้นงาน 1.3 รูปแบบบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับจัดจ�ำหน่ายเป็นชุด จะแบ่งบรรจุภัณฑ์ออกเป็น 2 ชั้น คือ บรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิ (บรรจุภัณฑ์ชั้นในส�ำหรับบรรจุเนื้อสี) และ บรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ (บรรจุภัณฑ์ที่ใช้รวมชุด) บรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิ มีรูปแบบดังนี้ 1) รูปแบบกระปุกพลาสติกใสทรงกระบอกกลม ฝาพลาสติกเกลียว ปริมาณบรรจุ 10 ML / 20 ML 2) รูปแบบหลอดพลาสติกใส ฝาพลาสติกเกลียว ปริมาณบรรจุ 10 ML / 12 ML / 20 ML 3) รูปแบบหลอดพลาสติกใส ปลายหลอดเจาะรูเพื่อแขวนได้ ฝาพลาสติกเกลียว ด้านบนฝาเป็นฝาเปิดแบบ ฟลิปท็อป (Flip – top) ปริมาณบรรจุ 75 ML / 80 ML 4) รูปแบบหลอดโลหะ ฝาพลาสติกเกลียว ปริมาณบรรจุ 10 ML 5) รูปแบบด้ามปากกา 19 ML การจัดจ�ำหน่ายเป็นชุด ที่มีปริมาณบรรจุต่อสี 10 ML / 12 ML เหมาะส�ำหรับระดับนักเรียน ผู้เริ่มต้นทดลองใช้งาน ส่วนการจัดจ�ำหน่ายเป็นชุด ที่มีปริมาณบรรจุต่อสี 20 ML ขึ้นไป เหมาะส�ำหรับระดับนักศึกษา กึ่งมืออาชีพ หรือมืออาชีพที่มีการใช้งานในปริมาณที่มากกว่า ระดับนักเรียน รูปแบบบรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิส�ำหรับจัดจ�ำหน่ายเป็นชุด นิยมรูปแบบหลอดพลาสติกใสมากที่สุด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

รองลงมาคือ แบบหลอดโลหะและกระปุกพลาสติกใสหรือแก้วใส บรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ มีรูปแบบดังนี้ 1) บลิสเตอร์แพค (Blister Pack) บรรจุหลอดพลาสติกใสหรือ โลหะ 5 สี 2) กล่องพลาสติกทรงกระบอกท�ำจากแผ่นพลาสติกใส (ทั้งส่วน ฝาและส่วนตัว) บรรจุกระปุกพลาสติกใสทรงกระบอกกลม6 สี 3) แบบซองพลาสติกติดซิป บรรจุเป็นด้ามปากกา 6-12 สี 4) แบบกล่องกระดาษแบบพับแบบราบได้ (Folding Carton) รูปแบบถาดมีฝาปิด ภายในมีถาดที่มีทั้งแบบถาดพลาสติก แวคคัม (Vacuum) และถาดกระดาษแบบพับแบนราบได้ (Folding Carton) บรรจุหลอดพลาสติกใสหรือโลหะ 10 /12/ 18 สี 5) แบบกล่องกระดาษ (หรือแผ่นพลาสติก) แบบพับแบบราบ ได้ (Folding Carton) รูปแบบกล่อง 6 ด้านมีฝาปิดบนล่าง (Standard Reverse tuck) ด้านบนกล่องมีลิ้นกระดาษยื่นออก มาและเจาะรูไว้สำ� หรับแขวนเพือ่ จัดจ�ำหน่ายได้ ภายในมีถาดที่ มีทั้งแบบถาดพลาสติกแวคคัม (Vacuum) และถาดกระดาษ แบบพับแบนราบได ้ (Folding Carton) บรรจุหลอดพลาสติก ใสหรือหลอดโลหะ 4 / 5 / 6 /12 / 18 / 24 สี 6) แบบกล่องกระดาษแบบพับแบบราบได้ (Folding Carton) รูปแบบปลอกไม่มีฝาปิดหัวท้ายกล่องภายในมีถาดที่มีทั้งแบบ ถาดพลาสติกแวคคัม (Vacuum) และถาดกระดาษแบบพับ


70

แบนราบได้ (Folding Carton) บรรจุหลอดพลาสติกใสหรือหลอดโลหะ 12 สี 7) แบบกล่องกระดาษแบบพับแบบราบได้ (Folding Carton) รูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ทรงสี่เหลี่ยมหรือรูปแบบ พิเศษเฉพาะของยี่ห้อนั้น ๆ บรรจุกระปุกพลาสติกใสทรงกระบอกกลม 9 สี 8) แบบกล่องกระดาษแบบ ล้มพับแบนราบไม่ได้ (Setup Box) กล่องไม้ หรือ วัสดุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กระดาษ (หรือแผ่นพลาสติก) บรรจุหลอด พลาสติกใสหรือหลอดโลหะ และมักจัดจ�ำหน่ายคู่กับอุปกรณ์วาดรูปอื่น ๆ เช่น พู่กัน จานสี มากกว่า 24 สี รูปแบบบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิส�ำหรับจัดจ�ำหน่ายเป็นชุด ที่นิยมมากที่สุดมีอยู่ 3 แบบ คือแบบกล่องกระดาษ แบบถาดมีฝาปิด แบบกล่องกระดาษ 6 ด้านมีฝาปิดบนล่างพร้อมที่แขวน และแบบปลอกไม่มีฝาปิดหัวท้าย กล่อง 2. สรุปแนวทางกว้าง ๆ เพื่อเป็นขอบเขตของงานออกแบบได้ ดังนี้ 2.1 จัดท�ำเพื่อจัดจ�ำหน่ายเป็นชุด ชุดละ 12 สี โดยมีปริมาณบรรจุต่อสี 20 ML เนื่องจากเป็นการเปิดตัวผลิต ภัณฑ์สู่ตลาดเป็นครั้งแรก จึงจัดท�ำในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ขนาดทดลอง ใช้เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทดลอง ซื้อไปใช้ก่อน โดยกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ที่วางไว้คือ ระดับนักศึกษา กึ่งมืออาชีพ หรือ มืออาชีพ 2.2 ใช้บรรจุภัณฑ์ส�ำเร็จรูปที่มีขายในท้องตลาดในบางส่วน เนื่องจากงบประมาณในการจัดท�ำมีจ�ำกัด และ จะเปิดตัวสินค้าเพื่อจัดจ�ำหน่ายครั้งแรกไม่เกิน 1,000 ชุด ราคาแม่พิมพ์ของขวด (ขวดแก้วหรือขวด พลาสติก) จะมีต้นทุนที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับแม่พิมพ์ของงานสิ่งพิมพ์กระดาษ 3. จัดหาขวดแก้วหรือขวดพลาสติกส�ำเร็จรูปในท้องตลาด เพื่อน�ำมาใช้บรรจุสีที่ใกล้เคียงกับความต้องการ โดยค�ำนึงถึงด้านงบประมาณ การปิดผนึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปริมาณบรรจุที่เหมาะสมกับการใช้ งานของกลุ่มเป้าหมาย ทางคณะท�ำงานในโครงการ ฯ ได้เลือกรูปแบบที่เป็นไปได้ไว้ 2 รูปแบบส�ำหรับ เป็นบรรจุภัณฑ์ปฐมภูมิ คือ ขวดแก้วทรงกระบอกกลมใส ฝาปิดพลาสติกเกลียวสีขาว ขนาดบรรจุ 22 ML โดยใช้ส�ำหรับขายในโอกาสทั่วไป และขวดแก้วทรงกระบอกกลมใส ฝาปิดโลหะเกลียว ขนาดบรรจุ 22 ML ใช้ส�ำหรับเป็นบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิส�ำหรับชุดของขวัญหรือชุดโอกาสพิเศษ (Premium Set)

4. การออกแบบและพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์ทุติยภูมิ ซึ่งได้ข้อสรุป แนวทางของการออกแบบในประเด็นต่างๆ ดังนี้ 4.1 เรือ่ งของการน�ำพาและขนส่ง ต้องสามารถปกป้องบรรจุ ภัณฑ์ปฐมภูมิ(กระปุกสีภายในกล่องทั้ง12 สี) ให้อยู่อย่าง เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เลื่อนหลุดจากกล่องขณะน�ำพา หรือขนส่งในทิศทางทีไ่ ม่ปกติได้ (เช่นวางตะแคง) มีขนาด กระชับท�ำให้พกพาได้ง่าย 4.2 เรื่องของการใช้งาน เมื่อเริ่มใช้งานให้ เปิดใช้งานได้ไม่ เกิน 1 ถึง 2 ขั้นตอน ขณะใช้งานผู้ใช้สามารถน�ำพาสีทั้ง กล่องไปพร้อมกันได้อย่างง่าย ตามต�ำแหน่งต่างๆ ที่ ต้องการ และสามารถหยิบเลือกใช้สีที่ต้องการได้ง่ายให้ ชิ้นส่วนกล่องอยู่อย่างครบถ้วนไม่มีส่วนใด ส่วนหนึ่งเสี่ยง ต่อการหาย วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน กระดาษแข็งชนิดต่างๆ เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน การท�ำแบบร่างด้วยมือ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ขนาดหรือความยาาวของผลงานสร้างสรรค์ 15 x 11.5 x 5.7 ซม.


A

B

C

A ออกแบบให้กล่องเปิดใช้งานได้ง่าย โดยออกแบบให้เปิดได้ในขั้นตอนเดียว ออกแบบให้มีการปิดฝา 2 แบบ ถ้าเป็นการปิดเปิดระหว่างการใช้งาน จะมีระบบล็อคแบบชั่วคราว ถ้าเลิกใช้งานจะมีลิ้นล็อคอีกชั้นหนึ่งที่ท�ำให้การปิดแน่นขึ้น เพื่อให้กระปุกสีภายในอยู่ได้อย่างแน่นหนาไม่เลื่อนไปมาระหว่างการน�ำพาหรือขนส่ง B ออกแบบให้มีช่องแบ่งเพื่อวางกระปุกสีเรียงกันได้อย่างเป็นระเบียบ ท�ำให้หยิบเพื่อเลือกใช้แต่ละสีได้ง่าย ออกแบบให้ขนาดกล่องฟิตพอดีกับกระปุกสี 12 สี (โดยสีทั้ง 12 กระปุกวางชิดกันพอดี) เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างที่ท�ำให้กระปุกสีเลื่อนไปมาระหว่างการน�ำพา หรือขนส่งได้ การจัดเรียงกระปุกสีภายในกล่องเรียงแบบ 4 ขวด 3 แถว เพื่อให้มิติของกล่องมีขนาดที่กระชับมือ และน�ำพาได้ง่าย C ออกแบบให้ส่วนฝาและตัวกล่อง และถาดที่เป็นช่องเพื่อวางกระปุกสีให้เรียงกัน เป็นกระดาษชิ้นเดียวกัน เพื่อให้สามารถน�ำพาทั้งกล่องไปใช้งานที่ต่าง ๆ ได้โดยไม่มีชิ้นส่วนใดส่วนหนึ่งของกล่องหายไปได้ จากการทดสอบความหนาของกระดาษที่สามารถรับน�้ำหนักกระปุกแก้วพร้อมเนื้อสี 22 ML ต่อกระปุก รวมจ�ำนวนทั้งสิ้น 12 กระปุก ต้องใช้กระดาษที่มีความหนา 500 แกรม

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : 1=2 | One equal Two ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : ผศ.ประภากร สุคนธมณี | Asst.Prof.Prapakorn Sukonthamanee

72

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ผ้ามัดหมี่ไหม จากผืนผ้าแปรเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ พลันมูลค่าเพิ่มขึ้นทั้งแง่ศิลปะและความงามเพิ่มเติมเป็นงานสร้างสรรค์เชิงศิลปกรรม โดยกระบวนการทอได้รวบรวมความ เป็นสัจจะวัสดุของเส้นใยไหม น�ำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานให้มีคุณค่าที่มากขึ้น พัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์หมอนเอนกประสงค์ นับได้ว่าเป็นการถ่ายทอดความเป็นงานทอที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัวให้มีความชัดเจน เป็นการสืบทอดงานมัดหมี่ศิลปะดั้งเดิมของไทยให้คงอยู่ และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไป มัดหมี่ เป็นเทคนิคหนึ่งในกระบวนการทอที่มีลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว กล่าวคือ ลวดลายที่เกิดจากการมัดเส้นใยทั้งเส้นทางพุ่งและเส้นทางยืน แล้วน�ำไปต้มย้อมสี รอยซึมของสีที่เกิดจากการมัดจะวิ่งเข้าหากันเกิดเป็นรอยเหลื่อมล�้ำกันบนเส้นใยในระหว่างการทอ เส้นใยที่ใช้ในการทอผ้ามัดหมี่นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมเลือกใช้เส้นใย จากธรรมชาติได้แก่ เส้นใยไหมและเส้นใยฝ้าย ลวดลายบนผ้ามัดหมี่ ลวดลายดั้งเดิมเกิดจากการทอที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ ลวดลายใหม่เกิดจาก การออกแบบ โดยประยุกต์และพัฒนา โดยคิดขึ้นใหม่แตกต่างไปจากลวดลายดั้งเดิมเพื่อให้เข้าหรือสอดคล้อง กับสภาพสังคมกับยุคสมัย ส�ำหรับหลักของการออกแบบลวดลายใหม่นนั้ ต้องค�ำนึงถึงความเป็นไปได้ในการน�ำไป ทอเป็นผืนผ้าด้วย ดังนัน้ เพือ่ ความแม่นย�ำลงตัว จึงคิดค้นหาวิธกี ารหรือสูตรการค�ำนวณจ�ำนวนเส้นใยไหม เฉพาะ เส้นพุ่งส�ำหรับการทอ โดยวิธีการค�ำนวณหาจ�ำนวน “ล�ำ” (หน่วยนับของจ�ำนวนเส้นพุ่งที่เข้าหลักค้นหมี่) เป็นสูตร ง่ายๆ ซึง่ สามารถถ่ายทอดลวดลายทีอ่ อกแบบลงบนผืนผ้าด้วยเทคนิคการทอมัดหมีไ่ ด้จริง เป็นการพัฒนาต่อยอด คิดย้อนจากของเดิมทีม่ อี ยูแ่ ล้ว โดยทีเ่ ชือ่ และมัน่ ใจว่าจะเป็นสูตรส�ำเร็จทีน่ า่ เป็นไปได้มากทีส่ ดุ เป็นสูตรทีต่ ายตัว

การค�ำนวณโดยสูตรดังกล่าว ท�ำให้ทราบจ�ำนวนล�ำและจ�ำนวนเส้น ใยไหมเส้นพุ่งตามล�ำดับ เป็นการค�ำนวณที่ถือได้ว่าตรงกับความ เป็นจริงประมาณ 95% ภายหลังการทออาจกล่าวได้วา่ มีความคลาด เคลื่อนเล็กน้อย ซึ่งผลที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนก็คือ ความยาว ผ้าทอทีไ่ ด้ไม่เป็นไปตามทีต่ อ้ งการ ความคลาดเคลือ่ นดังกล่าวอาจ เกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น เกิดจากฝีมือและความช�ำนาญการทอ ของช่างทอแต่ละคน ระหว่างการทอช่างทอกระตุกฟืมมือหนัก


เบาไม่เท่ากัน ถ้ากระตุกแน่นจ�ำนวนเส้นไหมที่ใช้ในการทอให้ได้ผ้า 1 เซนติเมตรจะมากขึ้น หรืออาจเกิดจากความหนา บางของเส้นใยไหม เฉพาะอย่างยิง่ เส้นใยไหมจากไหมเปลือกซึง่ เส้นใยไหมแต่ละเส้น มีความไม่คงที/่ ไม่เสถียร เป็นต้น สูตรการค�ำนวณ : จ�ำนวนล�ำ = ความกว้างของลวดลายที่ต้องการ × เส้นพุ่ง จ�ำนวนเส้นต่อ 1 ล�ำ ที่มา : (ประภากร สุคนธมณี, 2555 ก. 53) ความกว้างของลวดลายที่ต้องการ ก�ำหนดเป็นเซนติเมตร การค�ำนวณให้พิจารณาจากแบบร่างที่ออกแบบไว้ คิดค�ำนวณลวดลายจากความกว้างของผืนผ้า เช่น ต้องการทอผ้าขนาด100x200 เซนติเมตร โดยที่ต้องการทอลวดลาย ปีกผีเสื้อ ให้มีขนาด 50 เซนติเมตรต่อ 1 ข้าง และต้องการทอปีกผีเสื้อเพิ่มอีก 1 ข้าง โดยการมัดหมี่เพียงครั้งเดียว เป็นต้น ไหมที่ใช้เป็นเส้นพุ่งคือ ไหมน้อย ได้น�ำตัวเลข 24 มาเป็นตัวคูณ (หากใช้ไหมเปลือกจะน�ำตัวเลข15 มาเป็นตัวคูณ) เนื่องจากการทอด้วยไหมน้อยจะต้องทอ24 เส้นจึงจะได้ผ้า1 เซนติเมตร ส่วนไหมเปลือกจะต้องทอ15-16 เส้น เนื่องจาก ไหมเปลือกมีขนาดเส้นที่ใหญ่และหยาบหนากว่าไหมน้อย การใช้จ�ำนวนเส้นใยไหมเส้นพุ่งต่อ 1 ล�ำ อาจใช้ได้ตั้งแต่ 4 6 8 ถึง 10 เส้น หรือมากกว่านั้นทั้งนี้ต้องเป็น จ�ำนวนเส้นคู่เสมอ หากใช้จ�ำนวนเส้นใยไหมเส้นพุ่งต่อล�ำน้อยก็จะท�ำให้ลวดลายมีความละเอียดมากยิ่งขึ้น การซ�ำ้ กันของลวดลายจะเกิดขึน้ ในขัน้ ตอนของการค้นไหมเส้นพุง่ ทีเ่ รียกว่า “ขีน” การค้นไหมเส้นพุง่ โดยลวดลาย ผ้าปกติแบบเดิม จะมีจ�ำนวนล�ำอยู่ที่ 70-80 ล�ำ ล�ำละ 10 เส้น ลวดลายจะกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร 1 ขีน จะทอ ได้ 2 ลาย ที่เหมือนๆ กัน วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพี่อพัฒนารูปแบบของผืนผ้าทอให้มีความร่วมสมัยตามสภาพสังคมและยุคสมัยปัจจุบัน 2. เพื่อพัฒนาลวดลายงานทอมัดหมี่ให้มีความหลากหลายในรูปแบบของงานศิลปะสิ่งทอศิลปะประยุกต์สู่ ลวดลายใหม่ โดยกระบวนการทอมัดหมี่ซ้อน

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

แนวความคิด เพียงหนึ่ง...เท่ากับสอง จากลวดลายทอ ออกแบบให้เป็นปีกผีเสื้อ เพียงปีกข้างเดียว จากกระบวนการทอ ออกแบบให้เป็นปีกผีเสื้อเต็มปีกทั้งสองข้าง จากกระบวนการคิดออกแบบให้เป็นปีกผีเสือ้ ทีม่ าจากกระบวนการ มัดหมี่เพียงครั้งเดียว จากกระบวนการพัฒนา ออกแบบให้ปีกผีเสื้อกลายเป็นหมอน หนุนนอน ที่ต้องการให้ลวดลายกลายเป็นส่วนหนึ่งกับตัวลูกน้อย ได้ออกมาเป็นผีเสื้อตัวใหญ่...สยายปีกเตรียมบิน กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน กระบวนการเส้นทางยืน : ไหมน้อยหรือไหมจุล 1. น�ำไหมน้อยมาต้มฟอก เพื่อท�ำความสะอาดเส้นไหม 2. กวักเส้นไหมใส่กี้หรืออัก ให้เส้นไหมเรียงเส้นเดี่ยวเพื่อสะดวก ต่อการน�ำไปค้น 3. โยงเส้นไหมเข้ากับหลักค้นเส้นยืน 4. มัดหมี่หรือย้อมสีเส้นยืนตามแบบร่าง 5. สืบหรือผูกเส้นยืนเข้าตะกอแล้วร้อยเข้ารูฟืม 6. โยงเส้นยืนเข้ากับโครงกีท่ อผ้า ผูกโยงไม้เหยียบหูกและไม้คาน เพื่อเตรียมทอ 7. ตรวจสอบความเรียบร้อย/ครบถ้วนของเส้นยืน เพื่อทราบเส้น ใดขาดหรือหายไปจากรูฟืม 8. ใช้แปรงจุม่ น้ำแป้งแล้วทาสางลงบนเส้นยืนให้ทวั่ น�ำ้ แป้งจะช่วยให้


74

เส้นไหมแข็งตัว เรียบ ไม่ยงุ่ ไม่ฟู และไม่ขาดง่ายเวลากระตุกฟืม (วิธกี ารท�ำน้ําแป้ง ให้เทน้ําร้อนผสมกับแป้ง มันส�ำปะหลัง คนเข้าด้วยกัน พอลื่นๆ ไม่ต้องข้นหรือเหนียว) กระบวนการเส้นทางพุ่ง : ไหมน้อยหรือไหมจุล 9. ต้มไหมน้อย เพื่อฟอกกาวไหมหรือน้ําลายของตัวหนอนไหมที่เคลือบอยู่บนเส้นไหมออก 10. กระตุกเส้นไหม ให้เส้นไหมเรียงตัวง่ายต่อการกวัก 11. กวักเส้นไหมเข้ากี้หรืออัก 12. โยงเส้นไหมเข้าหลักค้นเส้นพุ่ง ค้นเส้นพุ่งตามแบบร่างตามจ�ำนวนล�ำที่ค�ำนวณไว้ แต่ละล�ำใช้เชือกมัดเพื่อ แยกล�ำ และใช้เชือกมัดคล้องหัวกับท้ายของปอยไหม 13. จัดเรียง (แผ่) เส้นพุ่งเข้าหลักมัดหมี่ และมัดลายตามแบบร่าง 14. ย้อม(หมี่) สี เมื่อต้องการย้อมสีมากกว่า 1 สี หลังจากย้อมสีแรกแล้วให้โอบหมี่ โดยมัดด้วยเชือกฟางหุ้มทับ ส่วนที่ย้อมสีแรกแล้วจึงย้อมสีที่ 2 15. เมื่อต้องการย้อมสีมากกว่า 2 สี หลังจากย้อมสีที่ 2 แล้วให้โอบหมี่โดยมัดสีแรก กับสีที่ 2 ไว้ แล้วย้อมสีที่ 3 16. ย้อมสี แล้วโอบหมี่ ย้อมสี แล้วโอบหมี่ ท�ำแบบนี้จนกว่าจะได้สีครบตามแบบร่าง ต้องวางแผนการย้อมแต่ละ สีให้ดี โดยเริ่มจากสีอ่อนสุดก่อน 17. แก้หรือแกะปอยหมี่ โดยแกะเชือกฟางที่มัดหมี่ออกให้หมด 18. น�ำไหมที่มัดย้อมเรียบร้อยแล้วคล้องใส่เข้ากง 19. กวักไหมเข้ากี้ 20. ปั่นหรือกรอไหมเข้าหลอด 21. เรียงล�ำดับหลอดโดยใช้เชือกร้อยส�ำหรับทอก่อนหรือ 22. น�ำเถาหลอดอันแรกเสียบหลอดเข้ากระสวย พร้อมทอ

วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน กี่ทอผ้า, ไหมน้อย/ไหมจุล, สีย้อม เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน การทอมัดหมี่ซ้อน ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 100 x 200 เซนติเมตร องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ ได้น�ำเสนอองค์ความรู้ใหม่ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากการคิด พัฒนารูปแบบของผืนผ้าทอให้มีความร่วมสมัยตามสภาพสังคม และยุคสมัยปัจจุบัน เป็นการพัฒนาลวดลายงานทอมัดหมี่ให้มี ความหลากหลายในรู ป แบบของงานศิ ล ปะสิ่ ง ทอเพิ่ ม ศิ ล ปะ ประยุกต์สลู่ วดลายใหม่ เพิม่ ความเป็นชิน้ งานผลิตภัณฑ์ทมี่ ากกว่า การเป็นผืนผ้าทอธรรมดา โดยกระบวนการทอมัดหมี่ซ้อนแบบดั้ง เดิมแต่เพิ่มทักษะของการแสดงออกทางเทคนิคที่สมบูรณ์และลง ตัวตามยุคสมัยมากยิ่งขึ้น จากผลงานสร้างสรรค์ผืนผ้าทอมัดหมี่ ลายปีกผีเสื้อ น�ำมาพัฒนาต่อยอดจากผืนผ้ากลายเป็นผลิตภัณฑ์ หมอนเอนกประสงค์ส�ำหรับหนุนนอนใบใหญ่ บรรณานุกรม ประภากร สุคนธมณี . (2555ก). มัด หมี่ ไหมนครปฐม : ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. --------.(2555ข). รายงานการวิจัยเรื่อง “การสร้างสรรค์งานทอมัดหมี่ร่วมสมัย” นครปฐม : ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,



ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : ยมกปาฏิหาริย์ | Yamakapatihara: The Magical Power of Buddha ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ พรพรม ชาววัง | Pornprom Chawwang

76

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เติบโตบนแผ่นดินไทยมาช้านาน วิถีชีวิต วัฒนธรรมไทยผูกพันใกล้ชิดกับพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ความเชื่อและความศรัทธาในหลักธรรมค�ำสอนใน พระพุทธศาสนา ได้หล่อหลอม กล่อมเกลาให้คนไทยมีอุดมคติที่ดีงาม รักสงบ มีความพอเพียงในการใช้ชีวิต เมืองไทยจึงเป็นเมืองพุทธที่ร่ำรวยทางจิตวิญญาณ มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรม และประเพณีที่คนไทยภาคภูมิ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นพื้นฐานให้เกิดการปฏิบัติสิ่งที่ชอบ ดีงาม ชาวพุทธเชื่อว่ากุศลกรรม ล้วนบังเกิดแต่เจตนาดีในการปฏิบัติ การปฏิบัติบูชาไม่ว่าเล็กน้อยหรือ ยิ่งใหญ่ หากกระท�ำโดยมีเจตนาอันบริสุทธิ์เป็นที่ตั้งแล้วนั้น พลังแห่งกุศลจิตของผู้ปฏิบัติย่อมส่งผลให้เกิดความปีติสุขและเบิกบาน การท�ำนุบ�ำรุง จรรโลงพระศาสนา นั้นถือเป็น กุศลกรรมที่ชาวพุทธได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เช่น การบวชเรียน เพื่อศึกษาปฏิบัติธรรม การท�ำบุญให้ทาน รักษาศีล นอกจากนี้ความศรัทธายังถูกถ่ายทอดมา ในรูปของวัตถุธรรม ต่างๆ ที่ชาวพุทธสร้างขึ้นไว้เพื่อเป็นพุทธบูชา เช่น การสร้างพระพุทธรูป การสร้างวัด การวาดจิตรกรรมฝาผนัง ภาพพุทธประวัติ หรือชาดก ในสมุดคัมภีร์ หรือ งานหัตถศิลป์ เครื่องสมณะบริขารต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น สิ่ง เหล่านี้จะเรียกว่าเป็นอามิสบูชาก็ได้ (การถวายสิ่งของต่อสิ่งส�ำคัญทางศาสนา) “พระบฏ”(หรือภาพพระบฏ) ในพระพุทธศาสนา เป็นผ้าที่เขียนภาพพระพุทธเจ้าส�ำหรับแขวนไว้บูชาซึ่งค�ำ ว่า “บฏ” นั้นโดยความหมายก็คือผ้าทอหรือผืนผ้านั่นเอง ภาพพระบฏส่วนใหญ่มักวาดภาพพระพุทธเจ้าหรือเรื่อง ราวพุทธประวัตลิ งบนพืน้ ผ้าสีขาว เพือ่ เป็นสิง่ บูชาแทนองค์พระพุทธเจ้าโดยใช้แขวนประดับไว้ในอาคารทางศาสนา สันนิษฐานว่า พระบฏน่าจะเป็นรูปแบบของการสร้างงานจิตรกรรมเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในพระพุทธศาสนาใน

ระยะแรกๆ ก่อนจะมีการวาดภาพจิตรกรรมลงบนฝาผนังในเวลา ต่อมา (กรมศิลปากร, 2537) พระบฏนี้สร้างสรรค์ขึ้นจากพลัง ศรัทธาของชาวพุทธ ช่างเขียนได้สอดแทรกความรู้สึกและ จินตนาการ ของตนไว้อย่างประณีตบรรจง แสดงออกเป็นงาน ศิลปะที่งดงาม ด้วยทักษะฝีมือที่ท�ำขึ้นอย่างตั้งใจ โดยมีรูปแบบ เทคนิควิธีการที่แตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมท้องถิ่นในแต่ละ ชุมชน สิ่งเหล่านี้ให้คุณค่าความหมายทั้งทางโลกและทางธรรม


เพราะนอกจากจะมีความสวยงามเป็นศิลปะแล้ว ยังเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนหมู่มาก ท�ำให้เกิดเป็นประเพณีการ ปฏิบัติอันอบอุ่นดีงามของชาวพุทธที่ควรอนุรักษ์ไว้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่สิ่งมีค่าและความรู้สึกเช่นนี้ก�ำลังจะจางหาย ไปจากสังคมไทยในปัจจุบัน ผลงานศิลปะชิ้นนี้ ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นในลักษณะเป็นผ้าแขวนยาวแนวตั้ง เช่นเดียวกับลักษณะของผ้าพระบฏ พุทธศิลป์ไทย โดยน�ำเสนอเรือ่ งราวของพุทธประวัตติ อน “ยมกปาฏิหาริย”์ ทีป่ รากฏอยูใ่ นพระไตรปิฏก ซึง่ พระพรหม คุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต), 2550 : 328) ได้ให้ความหมายของ ยมกปาฏิหาริย์ ไว้ดังนี้ “ยมกปาฏิหาริย์ เป็นปาฏิหาริย์พิเศษที่เฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงกระท�ำได้ ไม่สาธารณะกับพระสาวก ทั้งหลาย เช่น ให้เปลวไฟกับสายน้ําพวยพุ่งออกไปจากพระวรกายต่างส่วนต่างด้านพร้อมกันเป็นคู่ๆ ให้ล�ำเพลิงพวยพุ่ง ออกจากพระวรกายข้างขวา พร้อมกับอุทกธาราพวยพุ่งจากพระวรกายข้างซ้ายและสลับกันบ้าง จากพระโสต พระนาสิก พระอังสา พระหัตถ์ พระบาทขวา ซ้ายตลอดจนช่องพระองคุลี และขุมพระโลมาก็เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ในท่ามกลางพระฉัพพรรณรังสี พระผู้มีพระภาคกับพระพุทธนิมิต(พระพุทธรูปที่ทรงเนรมิตขึ้น) ก็ส�ำเร็จพระอิริยาบถ ที่แตกต่างกัน เช่น ขณะที่พระผู้มีพระภาคทรงจงกรม พระพุทธนิมิตประทับยืนบ้าง ประทับนั่งบ้าง ดังนี้เป็นต้น ยมก ปาฏิหาริย์นั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่ใกล้ประตูเมืองสาวัตถี เพื่อก�ำราบหรือระงับความปรารถนาร้ายของเหล่า เดียรถีย์ที่กล่าวท้าทายจะแข่งฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า ดังมีเรื่องเป็นมาว่า เศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ได้กลึงบาตรที่ท�ำ ด้วยไม้แก่นจันทร์ให้เป็นทาน โดยใส่สาแหรกแขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่สูง 60 ศอก ประกาศว่าสมณะพราหมณ์ผู้ใดเป็น พระอรหันต์และมีฤทธิ์จงปลดบาตรแล้วน�ำไปเสีย ในครั้งนั้นพระปิณโฑลภารทวาชะ เห็นว่าถ้าปล่อยไว้คนจะดูหมิ่น พระศาสนาจึงเหาะขึ้นไปปลดบาตรนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงสดับแล้ว ทรงให้ประชุมสงฆ์ และทรงต�ำหนิว่า การที่ถือ เอาบาตรไม้เป็นเหตุมาแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ไม่สมควรแก่สมณะ เป็นอุตตริมนุสสธรรม ทรงบัญญัติสิกขาบทห้าม ภิกษุมิให้แสดงอิทธิปฏิหาริย์แก่คฤหัสถ์ทั้งหลาย และรับสั่งให้ท�ำลายบาตรนั้น บดจนละเอียดแล้วผสมเป็นยาหยอดตา ของภิกษุทั้งหลาย ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุมิให้ใช้บาตรไม้ ฝ่ายเดียรถีย์เห็นเป็นโอกาสที่พระสงฆ์ในพุทธศาสนา หมดโอกาสแสดงฤทธิ์ จึงท้าทายจะแข่งฤทธิ์กับพระพุทธเจ้า ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงห่วงใยว่า เมื่อ พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้ามพระสงฆ์แสดงฤทธิแ์ ล้วจะท�ำอย่างไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พระเจ้าพิมพิสารว่าจะทรงแสดง

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ฤทธิ์เองในอีก 4 เดือนข้างหน้า ในวันเพ็ญเดือน 8 ที่โคนต้นมะม่วง ของนายคัณฑ์ คนเฝ้าพระราชอุทยาน ฝ่ายเดียรถีย์ได้ข่าวดังนั้น ก็ เที่ยวไปถอนท�ำลายต้นมะม่วงจนสิ้นเว้นเสียแต่ต้นมะม่วงในเขต พระราชอุทยานเท่านั้น ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน 8 นายคัณฑ์คนเฝ้า พระราชอุทยานเก็บมะม่วงผลโตรสดี จะน�ำไปถวายพระราชา ระหว่างทางได้พบพระพุทธเจ้า ก็เกิดเปลี่ยนใจ จึงน�ำถวาย พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงรับแล้วพระอานนท์คั้นท�ำน้ําปานะ ถวาย พระองค์เสวยอัมพปานะแล้ว รับสั่งให้นายคัณฑ์รับเม็ด มะม่วงไปคุ้ยดินปลูกที่ตรงนั้นเอง ทรงล้างพระหัตถ์รดน้ําลงไป ต้นมะม่วงก็งอกโตขึ้นมาสูง 15 ศอก ออกดอกผลพรั่งพร้อม ขณะนัน้ เกิดพายุใหญ่ฝนตกหนัก เหล่าเดียรถียห์ นีกระจัดกระจาย เมื่อถึงวาระแล้วพระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ และแสดง ธรรมแก่ประชาชน เมื่อเสร็จสิ้นพุทธกิจนี้แล้วเสด็จขึ้นไปทรง จ�ำพรรษา ณ ดาวดึงสเทวโลก ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธ มารดาและเหล่าเทวดา ถ้วนไตรมาสแล้วในวันเพ็ญเดือน 11 เสด็จเทโวโรหณะ คืนสู่พุทธกิจในการโปรดมนุษย์” ในวัฒนธรรมประเพณีไทย พุทธศิลป์ต่างๆ ล้วนเกิดจาก ความต้องการของช่างทีจ่ ะสืบทอดเรือ่ งราวค�ำสอนทางพุทธศาสนา และถือเป็นพุทธบูชา และผลงานศิลปะเรื่องยมกปาฏิหาริย์นี้ก็มี แรงบันดาลใจจากความรู้สึกศรัทธาในพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน แต่ผู้สร้างสรรค์ได้ขยายผลวัตถุประสงค์ ด้านประโยชน์ใช้สอย ให้ตอบสนองกับวิถีชีวิต และรสนิยมของผู้คนในยุคปัจจุบัน โดย


78

ออกแบบให้เป็นลักษณะศิลปะไทยประยุกต์ที่ใช้เทคนิคทางงานหัตถกรรมผ้าสมัยใหม่ แทนการวาดภาพด้วยสี แบบประเพณีดั้งเดิม จุดเด่นของผลงานจะอยู่ที่บรรยากาศของสี ลวดลาย และพื้นผิวสัมผัสของเนื้อผ้าที่เกิด จากกระบวนการ การตัด ต่อ เย็บ ปะ ตะกุยผ้าให้ฟู การปักด้วยเส้นด้ายเส้นใยที่ซับซ้อน กระบวนการทาง เทคนิคทางหัตถกรรมผ้าที่น�ำมาประยุกต์ใช้นี้ เป็นวิธีการที่ใช้สร้างสรรค์งานศิลปะได้สวยงามไม่แพ้เทคนิคอื่นๆ และสามารถพัฒนาต่อยอดให้เป็นงานสร้างสรรค์ได้อกี หลากหลายรูปแบบ ผลงานชิน้ นีจ้ งึ มีสนุ ทรียลักษณะแบบ ศิลปะร่วมสมัย ที่ให้คุณค่าทั้งนัยแห่งรูปเคารพ และนัยแห่งศิลปะที่สวยงาม สามารถแขวนติดตั้งๆ ได้ทั้งภายใน อาคารทั่วไปและพุทธสถาน นัยว่าเป็นการประยุกต์พุทธศิลป์ให้เหมาะสมกับยุคสมัยสะท้อนจิตวิญญาณของ คนไทยหรือชาวพุทธทั่วไป ที่แม้วิถีชีวิตในปัจจุบันจะไม่เหมือนเก่าก่อน ตามความจ�ำเป็นของสภาพชีวิตที่รีบเร่ง ดิ้นรนเคร่งเครียดไปกับการท�ำงาน และการแข่งขันสูง ยากจะหาความสุขสงบทางใจได้ง่ายๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในมิติหนึ่งของความรู้สึกคนไทยนั้น ความศรัทธาในพุทธศาสนาก็ยังเป็นสิ่งส�ำคัญในชีวิต และธรรมะยังเป็นที่ พึ่งทางใจได้เสมอ วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพื่อค้นหาแนวทางการประยุกต์ศิลปะไทยแบบประเพณีให้เป็นแนวประยุกตศิลป์ร่วมสมัยที่ตอบ สนองกับรสนิยมผู้คนในปัจจุบัน 2. เพื่อถ่ายทอด เผยแพร่เรื่องราวเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนาและส่งเสริมคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรม ไทยให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่อีกหนึ่งแนวทาง แนวความคิด ประยุกต์คุณค่าของสิ่งเก่าเข้ากับสิ่งใหม่ น�ำภูมิปัญญาไทยมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประโยชน์และหน้าที่ ตามวาระโอกาส กระบวนการสร้างสรรค์ 1. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพุทธประวัติและพระบฏ 2. จัดระเบียบข้อมูลและคัดสรรสาระส�ำคัญ เพื่อสร้างแนวความคิดในการออกแบบผลงานศิลปกรรม

ผ้าแขวน โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผลงานแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับความ ศรัทธาในพุทธศาสนา 3. สร้างภาพร่างในรูปแบบที่ประยุกต์ขึ้นตามแนวคิดส่วน ตัวของผู้สร้างสรรค์ 4. ทดลองสร้างเทคนิคทางศิลปกรรมผ้าที่เหมาะสม 5. สร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมผ้าแขวน 6. เผยแพร่งานสร้างสรรค์ต่อสาธารณะชนโดยการจัด นิทรรศการศิลปกรรม วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 1. จักรเย็บ และ จักรตะกุยผ้า 2. อุปกรณ์ตัดเย็บ เช่น ด้าย เข็ม กรรไกร 3. ผ้าไหมหลากสี ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 180 x 270 ซม. บรรณานุกรม กรมศิลปากร. (2537) มรดกสิ่งทอในพระพุทธศาสนา. กรมศิลปากรจัดพิมพ์ในโอกาส สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จเป็น ประธานในพิธีเปิดนิทรรศการพิเศษเนื่องในเทศกาลบุริมพรรษา ประจ�ำปี 2537 ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร วันที่ 20 กรกฎาคม ถึง 20 ตุลาคม 2537. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550).พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับ ประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: จันทร์เพ็ญ. หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2547). “วิถีไทยในภาพพระบฏ” สูจิบัตรนิทรรศการวิถีไทยในภาพพระบฏ 11 ตุลาคม-10 พฤศจิกายน 2547.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ แอนด์พลับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน).


70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : รูปลักษณ์แห่งรัตติกาล | Night’s Pattern

ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ เสาวลักษณ์ กบิลสิงห์ | Saowalak Kabilsingh

80

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยชีวิตสังคมในปัจจุบันเป็นไปอย่างเร่งรีบ และ ประสานเข้ากับเทคโนโลยีโซเชียลมีเดียอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ข้าพเจ้ามองเห็นตนเองและผู้คนทั่วไปถูกกลืนเข้าสู่บริบทเหล่านี้ โดยไม่รู้ตัว ถ้ามิได้มีช่วงเวลาหรือความรู้สึกที่มองย้อนมาสู่ตนเองแล้วอาจด�ำเนินชีวิตด้วยครรลองแบบนั้นไปโดยปริยาย ผู้คนส่วนหนึ่งวิ่งหาธรรมชาติเมื่อมีโอกาสเพื่อเป็นการปรับ สมดุลของร่างกายและจิตใจ ข้าพเจ้าเห็นความส�ำคัญของการเกี่ยวเนื่องเหล่านี้ซึ่งส่งผลกับเราโดยตรงทั้งเรื่องของสภาวะจิตใจ แง่มุมมองของตนสู่ภายนอก ด้วยสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ล้วนเกี่ยวโยงกันและอยู่ได้ด้วยธรรมชาติ เทคโนโลยีน่าจะเป็นเพียงส่วนประกอบเพื่อพัฒนาและเอื้อต่อการด�ำรงชีวิตเท่านั้น ท�ำให้ข้าพเจ้ามองย้อนกลับไปถึงความงามของธรรมชาติ จากการได้พบเห็นสิ่งมีชีวิตในยามค่ำคืน การมีอยู่ที่ยังด�ำเนินไปตามระบบของธรรมชาติเมื่อได้ไปศึกษาที่ต่างประเทศ การมีอยู่ที่ยังด�ำเนินไปตามระบบของธรรมชาติเมื่อได้ไปศึกษา ที่ต่างประเทศ (มหาวิทยาลัยวิศวะภารตี ประเทศอินเดีย) เป็นความประทับใจที่เห็นชีวิตยามค่ำคืนของนกฮูก เนื่องด้วยสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้นยังคงอุดมสมบูรณ์ระบบนิเวศน์ที่ ข้าพเจ้าไม่ได้พบเห็นนั้นเข้ามาใกล้กับชีวิตประจ�ำวัน คือการได้เห็นนกฮูกออกมาหากินยามค่ำคืนบ่อยครัง้ หลาย ช่วงเวลาในระหว่างเดินทางกลับทีพ่ กั แต่ไม่สามารถบันทึกภาพเหล่านั้นไว้ได้ จึงน�ำมาสร้างสรรค์เป็นผลงานด้วย เทคนิคการทอกี่ เป็นศิลปะสิ่งทอสองมิติ 3 ชิ้น แล้วน�ำมาจัดเข้าเป็นชิ้นเดียว วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ต้องการส่งเสริมให้ผู้คนหันมาสู่ธรรมชาติมากขึ้นและเห็นความส�ำคัญ 2. ต้องการบันทึกความประทับใจของตัวข้าพเจ้าเองที่มีต่อธรรมชาติ 3. เป็นการส่งเสริมงานศิลปะการทอโดยเลือกใช้เทคนิคการทอกี่

4. เป็นการสร้างความสมดุลทางจิตใจ แง่คิด มุมมองต่อสังคม 5. เป็นการทดลองการทอและการใช้ลวดลายที่ต่อเนื่องกัน แนวความคิด “Night’s pattern” เป็นการน�ำเอาภาพลักษณ์ของนกฮูก ที่เกาะบนต้นไม้ในลักษณะต่างๆ กัน และช่วงเวลาต่างกัน ตั้งแต่ พลบค่ำ กลางคืน และรุ่งสาง มาสร้างเป็นลวดลายด้วยการสร้าง พื้นผิวจากการทอ มีการแบ่งพื้นที่ระหว่างเงาของต้นไม้และพื้นที่


ว่าง ท้องฟ้าด้วยการทอและสีของวัสดุ น�ำเอารูปทรงบางส่วนของนกฮูกและพระจันทร์ทมี่ รี ปู ทรงกลมสอดคล้องกัน คือ ลักษณะรูปทรงกลมให้ดเู ด่นขึน้ พระจันทร์มกี ารเคลือ่ นตัวไปในแต่ละชิ้นงาน และคู่ดวงตากลมโตของนกฮูกก็เคลื่อน ไปเป็นจังหวะในแต่ละภาพด้วยเช่นกัน ท�ำให้เกิดมิติที่ต่อเนื่องกันทั้งสามภาพ แสดงให้เห็นความสงบแต่ยังแฝงไว้ด้วย ชีวิตการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของรูปทรง เป็นการเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่จะให้แรงบันดาลใจ เอกภาพที่ได้ จากจังหวะแบบนี้เรียกว่า เอกภาพแบบเคลื่อนไหว (Dynamic Unity) กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. สร้างภาพร่างของงานโดยอิงจากรูปภาพบางส่วน โดยน�ำจุดเด่นของลวดลายที่ต้องการน�ำเสนอ เช่น กิ่งก้าน สาขาของต้นไม้ ดวงตาของนกฮูกมาจัดองค์ประกอบคร่าวๆ 2. จัดองค์ประกอบทั้งสามชิ้นให้เกี่ยวเนื่องกันแบบ (Dynamic Unity) เลือกใช้สีสันของเส้นใยที่น�ำมาสร้าง บรรยากาศ ด้วยการทอลักษณะเดียวกันทั้งสามชิ้นโดยสลับสีเส้นใย 3. ท�ำการทอตามแบบที่ร่างไว้ด้วยเส้นใยเลือกสีตามที่เตรียมไว้จนแล้วเสร็จทั้งสามชิ้น 4. เพิ่มเติมรายละเอียดของสีในงานแต่ละชิ้นด้วยการเย็บเพิ่มเติม 5. จัดวางแสดงในลักษณะเรียงต่อกันเพื่อให้เรื่องราวมีความเกี่ยวเนื่องและองค์ประกอบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นใน ภาพรวม วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน กี่ตะกอ เชือก ไหมพรม ด้าย เข็ม เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน ใช้การทอกี่ตะกอตามภาพร่างด้วยเส้นใยไหมพรม เพิ่มรายละเอียดของสีในรูปทรงด้วยการเย็บ ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 40 x100 ซม.

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

บรรณานุกรม ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์, 2534 Lucinda Ganderton. PRACTICAL ENCYCLOPEDIA OF NEEDLECRAFT SKILLS AND TECHNIQUES, LONDON: Anness Publishing Limited, 1996 ยุพินศรี สายทอง. งานทอ, กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2528


82

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ เมื่อได้ลงมือทอผลงานจากการเลือกใช้เทคนิคทอกี่ตะกอ แต่ต้องการให้ได้ความรู้สึกเหมือนการทอมือโดยมีการน�ำเส้นใย มาผสม สอดแทรกเส้นด้ายสีอนื่ ๆลงไป ระหว่างทอมีการเกีย่ วไขว้กนั ของเส้นไหม ซึ่งก็ท�ำให้เกิดมิติพื้นผิวที่ดูแปลกตา ในตัวเนื้องานมี การจัดวาง โดยน�ำรูปทรงกลมมาใช้เป็นจุดเด่นและด�ำเนินเรื่องก็ ท�ำให้ทอนความรูส้ กึ ของการทอกีไ่ ด้มากพอสมควร การใช้รปู ร่าง กิ่งไม้ต้นไม้ซ�้ำกัน ก็สามารถโยงเอาเรื่องราวทั้งสามชิ้นได้แม้ว่า พืน้ ผิวทีเ่ กิดจากการทอและการใช้สนี นั้ ถูกปรับเปลีย่ นไปในแต่ละ ชิ้นงานแต่ยังคงอารมณ์ความรู้สึกเดียวกันได้ สามารถเพิ่มเติม รายละเอียด มิติ ได้จากการประดับตกแต่งด้วยเส้นด้าย หรือเลื่อม พรายให้ผลงานมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นการพัฒนานั้นสามารถน�ำ ไปสร้างเป็นผลงานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ในอนาคต โดยเพิ่มราย ละเอียดของเรื่องราวและเทคนิคการทอได้อีก



ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : ความเปลี่ยนแปลงของวิถีไทย | Change of Thai Life-Style ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ อิทธิพล วิมลศิลป์ | Ithipol Vimolsilp

84

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ความเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องปกติของมนุษย์และสังคม คนไทยและประเทศไทยก็เช่นกันได้มีความเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของโลกอยู่หลายครั้ง และคนไทยก็สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นต่างๆ เหล่านั้นได้อย่างดีเสมอมา ไม่ว่าจะเปลี่ยนยุคสมัยของการบริหารประเทศ หรือยามเกิดศึกสงคราม รวมถึงการรับเอาวัฒนธรรมต่างๆ ของชนชาติ อื่นๆ ที่ผ่านมานับแต่บรรพบุรุษคนไทยได้ยึดถืออาชีพเกษตรกรรมในการหาเลี้ยงชีพมาช้านาน จึงเกิดเครื่องใช้ไม้สอยที่ใช้ในการท�ำเกษตรกรรมมากมาย โดยเฉพาะเครื่องจักสาน เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายและท�ำใช้กันเองแต่ในขณะเดียวก็เป็นงานที่ต้องใช้ฝีมือในการท�ำขึ้นมาและกลายเป็นเครื่องใช้ในรูปแบบต่างๆ มากมาย โดยวัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้ก็จะสามารถ หาได้ตามพื้นถิ่น เช่น ไม้ไผ่ หวาย ย่านลิเพา กระจูด ใบไม้ในตระกูลปาล์ม เป็นต้น คนไทยได้น�ำวัสดุเหล่านี้มาสร้างเครื่องมือเครื่องใช้เพื่อการด�ำรงชีวิตและเพื่อการอยู่รอด เมื่อถึงยุคปัจจุบันวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบต่างๆ ของอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่ เครื่องใช้ ที่เคยต้องท�ำเองในแบบท�ำมือก็กลายมาเป็นการซื้อหาและมีให้เลือกใช้มากมาย วิถีชีวิตที่เคยท�ำเองแทบจะทุก อย่างแต่ก็เฉพาะที่ต้องกินต้องใช้ ก็กลายเป็นว่าสามารถเลือกซื้อและมีสิ่งใช้สอยอย่างไม่จ�ำกัด จะเรียกว่าเกิน ความจ�ำเป็นก็ว่าได้ อีกทั้งยังเกิดความจ�ำเป็นที่ต้องใช้มากขึ้น ซึ่งสามารถมีเหตุผลในการใช้สอยตามมาได้ทุก เรื่องเช่นกัน อย่างเช่น จ�ำเป็นต้องใช้กระเป๋าแบรนด์เนมเนื่องจากจะต้องสร้างภาพลักษณ์ในสังคมให้เป็นที่ ยอมรับ เมือ่ สังคมเมืองแผ่ขยายออกไป จึงเกิดความเปลีย่ นแปลงในวิถชี วี ติ รวมไปถึงเครือ่ งใช้ตา่ งๆ ด้วยแนวคิดนี้ จึงได้น�ำมาสร้างงานศิลปะสื่อผสมโดยใช้วัสดุที่เกิดจากธรรมชาติที่คนไทยเคยใช้ผลิตเครื่องใช้แม้ในปัจจุบัน

ก็ยังคงท�ำกันอยู่  รวมเข้ากับวัสดุสมัยใหม่ที่เป็นการผลิตใน กระบวนการอุตสาหกรรม  เพื่อการสร้างงานศิลปะและงาน ประยุกต์ศิลป์ การสร้างงานศิลปะมีวิวัฒนาการมาแต่ละยุคสมัยที่เห็นได้ ชัดเจนถึงการต่อยอดและพัฒนารูปแบบวิธีคิด คือ ศิลปะทาง ตะวันตก ซึ่งเกิดจากผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมการ เมือง การไม่ยึดติดกับรูปแบบและวิธีคิดของชาวตะวันตกท�ำให้


รูปแบบงานศิลปะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประเด็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงนี้เอง ที่ข้าพเจ้าน�ำมาเป็นสาระเพื่อสืบค้น ข้อมูลจากที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้ และน�ำข้อมูลมาใช้ในการสร้างงานศิลปะ โดยข้าพเจ้าให้ความส�ำคัญกับเรื่องราว ความเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตของไทยมองผ่านเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจ�ำวัน รวมถึงวิธีคิดในการด�ำรงอยู่ที่ เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ประกอบกับความนิยมและรสนิยมในการเลือกเครื่องมือเครื่องใช้ บางครั้งดูแปลกแยกระหว่าง ของเก่าและของใหม่บางครั้งเกิดการประสมประสานจนเกิดเป็นรูปแบบใหม่ๆ เครื่องจักสานเป็นงานหัตถกรรมที่มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยและมีรูปร่างต่างๆ ไปตามหน้าที่รวมถึงเครื่องใช้ พื้นบ้านที่ผู้คนในอดีตต่างประดิษฐ์ขึ้นมาใช้เช่น กระต่ายขูดมะพร้าว กระบวยตักน้ํา หรือ เครื่องต�ำข้าว ล้วนเป็น ประดิษฐกรรมที่น�ำมาใช้ในการด�ำรงชีวิตในสังคมเกษตรกรรม สิ่งเหล่านี้สะท้อนชีวิตของผู้คนที่ผูกพันกับธรรมชาติ การประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ก็ท�ำแต่เพียงพอใช้ ทั้งส�ำหรับท�ำมาหากินและใช้ภายในบ้าน ในขณะที่สังคมปัจจุบันเลือก ใช้สิ่งของเครื่องใช้ด้วยปัจจัยที่มีความหลากหลาย การที่มีสิ่งของมากมายให้เลือกซื้อจึงไม่จ�ำเป็นที่ต้องสร้างหรือท�ำ ขึ้นมาใช้เอง มีการแข่งขันในการน�ำเสนอสินค้า การสร้างมูลค่าสินค้าจึงมีความจ�ำเป็นในสังคมแห่งการแข่งขัน มีการ สร้างแบรนด์และทุม่ โฆษณาอย่างมากมาย ข้าพเจ้าจึงได้เรียบเรียงความคิดและจินตนาการถึงรูปทรงทีเ่ กิดจากเครือ่ ง ใช้พื้นบ้านของไทยที่สะท้อนถึงสภาวะความเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยการผสมผสานวัสดุที่ใช้ในการผลิตเครื่องใช้ใน ยุคปัจจุบัน ที่สะท้อนความเป็นอุตสาหกรรมยุคใหม่ เพื่อสะท้อนวิถีชีวิตที่คนไทยต้องเผชิญในยุคปัจจุบัน วิเคราะห์ข้อมูลในการสร้างงาน 1. ข้อมูลจากเครื่องจักสาน เป็นการหารูปทรงโดยสาระอยู่ที่การใช้งานที่ท�ำให้เกิดรูปทรงนั้นๆ เช่น กระจาด กระบุง หรือตะกร้า มีการใช้ที่แตกต่างกันออกไปเครื่องใช้เหล่านี้สะท้อนวิถีชีวิตอย่างไร การสานการมัดการผูกจะเป็น เทคนิคที่น�ำมาใช้ในการสร้างงาน 2. ข้อมูลจากเครื่องใช้ในยุคปัจจุบัน เป็นการหารูปทรงเครื่องใช้ที่มีความสอดคล้องกับเครื่องใช้แบบดั้งเดิม รวมทั้งลักษณะบางอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ของสินค้าในยุคปัจจุบัน รวมถึงศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุ ของเครื่องใช้นั้นๆ

เครื่องจักรสานจากพิพิธภัณฑ์บ้านจ่าทวี

กระเป๋าแบรนด์เนม “Louis Vuitlon 70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ผลงานชื่อ ”ปลาตะเพียน 2013“ เป็นผลงานที่ได้ท�ำไปแล้วก่อนหน้านี้

86

3. วิเคราะห์ขอ้ มูลเพือ่ สังเคราะห์ให้ได้รปู ทรงทีต่ อ้ งการ โดยเกิดจากการผสมผสาน การแยกแยะแจกแจง โครงสร้าง และการเลือกวัสดุที่น�ำมาสร้างผลงาน รวมถึงวิธีการใช้ที่จะสะท้อนวิถีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม 4. ศึกษาเพื่อพัฒนาต่อยอด  จากผลงานที่ได้ท�ำมาแล้วว่ามีความลงตัวมากน้อยเพียงใดในการน�ำเสนอ รวมทั้งในการขึ้นงานและการแสวงหาวัสดุใหม่ๆมาเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดความหลากหลายในการสร้างงานแต่ใน ขณะเดียวกันจะต้องดูแนวทางของแนวคิด (Concept) ที่จะพัฒนาต่อไป กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน ข้าพเจ้าต้องการสร้างผลงานสื่อผสมที่เป็นงานศิลปะและผลงานที่เป็นประยุกต์ศิลป์รวมติดตั้งเข้าไว้ ด้วยกัน เป็นการผสมผสานการสร้างงานศิลปะและงานออกแบบอย่างก้ำกึ่ง และไม่แบ่งแยกประเภทของงาน ที่เป็นทั้งศิลปวัตถุ ( Art Object ) และเป็นงานที่มีประโยชน์ใช้สอย ( Function ) รวมไว้ด้วยกัน โดยมีกระบวนการ สร้างงานดังนี้ 1. กระบวนการเลือกและคัดสรรวัสดุที่ต้องการใช้  โดยค�ำนึงถึงวิธีการสร้างงานที่มีความเป็นไปได้ใน การสร้างงานศิลปะ เพราะวิธีการสร้างเครื่องใช้ทั้งสองชนิดต้องใช้ศักยภาพในการสร้างงานและกระบวนการ ผลิตที่ต้องอาศัยปัจจัยมากมาย  ในขณะเดียวกันในการสร้างงานศิลปะนั้นเราสามารถเลือกใช้กระบวนการที่ สามารถท�ำได้จริง 2. การร่างแบบ(Sketch Idea) เมื่อได้ข้อมูลต่างๆจึงน�ำสิ่งที่เลือกจากข้อมูลมาร่างแบบในการสร้างผลงาน 3. ขึ้นโครงสร้างโดยตั้งใจสร้างงานเป็นชุดย่อยๆจ�ำนวน 5 ชิ้น โดยมีวิธีการขึ้นโครงสร้างที่แตกต่างกันไป 4. ประกอบวัสดุต่างๆเข้ากับโครงสร้างที่เตรียมไว้แล้ว ด้วยการมัด การสาน แปะติด รวมถึงตอกยึดเข้า ด้วยกัน สีที่ใช้ในงานเป็นสีจากเนื้อสี (Pigment )และสีจากวัตถุ (Object Color) วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ไม้อัดและไม้ไผ่ วัสดุประกอบเครื่องใช้ที่ใช้กันในปัจจุบัน หนังเทียม เชือกสีตามต้องการ น็อต ไขควง ตะปู มีดคัตเตอร์ กรรไกร คีม ค้อน อุปกรณ์ในการเย็บต่างๆ สีอคลีลิค พู่กัน

องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ การสร้างงานศิลปะเป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้จากการ ปฏิบัติงาน  ในการสร้างงานแต่ละชุดจะเกิดกรณีศึกษาและ ประเด็นให้ผู้สร้างงานได้คิดวิเคราะห์  เพื่อพัฒนาผลงานและ หาความชัดเจนในการท�ำงานของข้าพเจ้าก็เช่นกัน เนื่องจากผล งานชุดนี้เป็นงานชุดใหม่ทั้งแนวความคิดและแนวทางการสร้าง งาน  ซึ่งเป็นงานที่ข้าพเจ้าหันมาท�ำงานโดยใช้วัสดุเป็นงานสื่อ ผสม  อีกทั้งต้องการพัฒนาแนวทางสร้างงานศิลปะควบคู่ไป กันการสร้างงานประยุกตศิลป์ ข้าพเจ้าจึงตั้งประเด็นศึกษาไว้ ทั้ง 2 แนวทางดังนี้ 1.แนวทางการสร้างผลงานศิลปะ 1.1 แนวความคิดเรื่องราวในการสร้างงาน เป็นการสร้าง องค์ความรู้จากการตั้งประเด็นทางสังคม ในเรื่องของเครื่องใช้ ในชีวติ ประจ�ำวันทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปตามสภาพสังคม โดยมองว่าสิง่ ของที่มีอยู่เดิมมีความเป็นอัตลักษณ์ในความเป็นไทยชัดเจนและ ยังอยู่ในสังคมจนถึงปัจจุบัน แต่เมื่อกระบวนการผลิตเปลีย่ นไป ข้าวของเครือ่ งใช้ในระบบอุตสาหกรรมมาแทนที่ แม้จะมีของเดิมๆ คงอยู่แต่หลายสิ่งสูญหายไปจากชีวิตประจ�ำวัน และกลายเป็น ของหายากและไปเก็บอยู่ในพิพิธภัณฑ์ อีกประเด็นได้สะท้อน ความเป็นสังคมบริโภคในยุคปัจจุบันที่มกี ารเลือกใช้สิ่งของอย่าง ฟุ่มเฟือย ในขณะที่คนในอดีตท�ำขึ้นมาส�ำหรับพอใช้เท่านั้น


1.2 แนวทางการสร้างงาน ข้าพเจ้าได้เริ่มทดลองไปบ้างแล้วและผลงานชุดนี้เป็นเพียงชุดที่ 2 ในแนวความคิด ใหม่นี้ ข้าพเจ้ามีแนวความคิดที่จะทดลองในการสร้างงานเพื่อหาความชัดเจนของรูปแบบคือ - การเลือกรูปทรงที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย ผสมผสานกับวัสดุในยุคใหม่ เหมือนดังที่ได้ท�ำมาแล้วใน ผลงานที่ชื่อว่า “ปลาตะเพียน 2013“ - การน�ำเครื่องใช้ที่มีรูปแบบดั้งเดิมอย่างเครื่องจักสานมาอยู่ร่วมกับเครื่องใช้ในยุคปัจจุบันอย่างเช่นกระเป๋า หนังโดยใช้องค์ประกอบศิลป์ในการจัดวางและจัดการกับวัสดุให้อยู่ร่วมกัน ผสมผสานกับวัสดุต่างๆ รวมทั้งการ ใช้สีระบายลงไป 2. แนวทางการสร้างงานประยุกตศิลป์ การสร้างงานประยุกต์ของข้าพเจ้าเป็นการน�ำรูปแบบและแนวความคิดจากการสร้างงานศิลปะมาสร้างงาน ประยุกตศิลป์ที่มีประโยชน์ใช้สอย โดยน�ำมาจัดวางร่วมกับงานศิลปะซึ่งข้าพเจ้ามีความประสงค์ให้งานที่มีประโยชน์ ใช้สอยนี้มีรูปทรงที่พัฒนามาจากงานศิลปะ และเป็นส่วนหนึ่งในงาน ข้าพเจ้าได้น�ำรูปแบบของกระต่ายขูดมะพร้าว มาท�ำเป็นเก้าอี้ ซึ่งเป็นวิธีคิดการสร้างรูปทรงเช่นเดียวกับการสร้างงานศิลปะโดยคาดหมายให้เกิดค�ำถามว่าตัวงาน ที่มาอยู่ร่วมกับงานสื่อผสมนี้เป็นงานออกแบบหรือเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะ

บรรณานุกรม ศาสตราจารย์ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. มานานุกรม เครื่องจักรสาน. พิมพ์ครั้งที่ 1, กรุงเทพฯ . ด่านสุทธาการพิมพ์, 2553 รองศาสตราจารย์ วัฒนะ จูฑะวิภาต. ศิลปะพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. ส�ำนักพิมพ์สิปประภา, 2545-2550. Mark Rosenthal. Understanding Installation Art. Newyork. Prestel Publishing, 2003. ข้อมูลภาพ http://www.thegloss.com

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : 70 ปี ศิลปากร | 70th years Silpakorn ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ อุณรุท กสิกรกรรม | Unarut Kasikornkam

88

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน การศึกษาเล่าเรียน นับว่ามีบทบาทส�ำคัญต่อการด�ำรงชีวิตและความเจริญของมนุษยชาติ การศึกษาที่แสดงออกด้วยผลงานทางศิลปะย่อมแสดงให้เห็นถึงความดีงามใน จิตใจ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้ก่อตั้งขึ้นในปี พุทธศักราช 2486 โดยท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้วางรากฐาน กล่าวคือท่านได้สอนการเรียนรู้ทั้งทางทฤษฏี และการฝึกฝน ปฏิบัติ เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ที่จะน�ำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าแก่สังคม โดยมีแนวทางเป็นของตนเอง เพื่อก้าวสู่ความเป็นสากล จวบจน ปัจจุบันน�ำพามหาวิทยาลัยศิลปากรสู่ความหลากหลายทางวิชาการ จนวันนี้มหาวิทยาลัยศิลปากร มีอายุครบ 70 ปี ท่านศาตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สร้างคุณูปการแก่ประเทศชาติ ท�ำให้เรามีศิลปะร่วมสมัยที่ทัดเทียมกับชาวโลกท�ำให้คนไทยได้เห็นคุณค่าของศิลปะไทยเกิดการตื่นตัวและ หวงแหนมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ ในฐานะครู อาจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้ทุ่มเทชีวิตและจิตใจตลอดระยะ เวลาการท�ำงาน ท่านจึงมีความส�ำคัญต่อการศึกษาทางด้านศิลปะของประเทศไทยด้วยเหตุฉะนี้ ปัจจุบันสภาพ สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของโลก แต่มหาวิทยาลัยศิลปากร ยังคงท�ำหน้าที่ตามค�ำสอนของท่าน ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คือการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องทางศิลปะแก่สังคม ให้รู้คุณค่าแห่งความงาม ความงามก็คือความดี ควบคู่กันไป แม้ว่าท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีจะไม่อยู่กับพวกเราแล้วแต่ที่ลานหน้า คณะจิตรกรรมฯ รูปประติมากรรมของท่านยืนเด่นเป็นสง่า ช่วยให้เราไม่ลืมเลือนค�ำสอนที่ว่า...พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว

วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงาน ข้าพเจ้าต้องการน�ำเสนอผลงานในรูปแบบเหมือนจริง โดยใช้สัญลักษณ์ คือรูปประติมากรรมท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี  เพื่อระลึกถึงผู้ที่ทุ่มเทอุทิศชีวิตในฐานะครูที่สั่งสอน ศิษย์คนแล้วคนเล่า  เพื่อพัฒนาวงการศิลปะประเทศไทยให้ ก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศ สู่ความเข้าใจในคุณค่าของ ผลงานศิลปะที่ยกระดับปัญญาและจิตใจให้สูงขึ้น


แนวความคิด เพื่อแสดงถึงอาจารย์ผู้มีชีวิตอยู่เพื่อศิลปะโดยแท้ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูล 2. น�ำข้อมูลที่ได้มาสังเคราะห์ผ่านกระบวนการทางศิลปะ โดยท�ำภาพร่าง (SKETCH) เพื่อหาต้นแบบในการ ท�ำงานที่สมบูรณ์ 3. น�ำต้นแบบไปขยายเพื่อร่างภาพลงบนเฟรม 4. ท�ำการสร้างสรรค์ผลงานจริงด้วยเทคนิคจิตรกรรม วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน เฟรมผ้าใบ สีอะครายลิค พู่กันชนิดต่างๆ จานผสมสี ดินสอ กระดาษชนิดต่างๆ กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์ เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน จิตรกรรมสีอะครีลิคบนผ้าใบ ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 100 x 90 ซม. บรรณานุกรม นิตยสารสารคดี. ฉบับที่ 91 ปีที่ 8 เดือนกันยายน, 2535 พิษณุ ศุภนิมิตร. มหัศจรรย์แห่งศิลปะ. กรุงเทพฯ. อมรินทร์, 2549 “รากเหง้า”มหาวิทยาลัยศิลปากร. นิทรรศการผลงาน ”ศิษย์” โรงเรียนประณีตศิลปกรรม-แผนกช่าง. กรุงเทพฯ. อมรินทร์, 2536

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


90



ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : พรางตัว กลัว หลบ | Intangible Acess ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ ทัศน์ฐรสชง ศรีกุลกรณ์ | Tataroschong Sreekullkorn ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

92

“เครื่องประดับ” หนึ่งในวิธี “การพรางตัว” ที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุดวิธีหนึ่งของมนุษย์ วัตถุที่เป็นเสมือนตัวเราเป็นเสมือนเพื่อนแท้ เป็นเสมือนผู้จัดการส่วนตัว ที่มนุษย์ใช้ใน การสือ่ สารในสังคมทัง้ ต่อมนุษย์ดว้ ยกันเองและต่อสิง่ ทีอ่ ยูเ่ หนือความจริง แต่เครือ่ งประดับส�ำหรับนักออกแบบเครือ่ งประดับเช่นข้าพเจ้านัน้ มีอกี สถานะทีเ่ กิดขึน้ ทีก่ อ่ ให้เกิด “ความกลัว” แต่แปลกที่ความกลัวนั้นได้ฉุดรั้งให้ข้าพเจ้ากลับไปหาเครื่องประดับ ในอีกมุมมองหนึ่ง โดย “หลบ” มาใช้การเคี่ยวกร�ำ ฝึกฝน ในทักษะที่เชี่ยวชาญของตน สร้างภูมิคุ้มกันความกลัว และกลับมามีความเข้มแข็งพอ สามารถกลับไปสร้างการพรางตัวได้แนบเนียนยิ่งขึ้น ในฐานะผู้สอนวิชาการออกแบบเครื่องประดับเทียม หรือคอสตูมจิวเวลลี่ เป็นประเภทหนึ่งของเครื่องประดับที่มีความส�ำคัญอย่างยิ่งในการแต่งกายของมนุษย์ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์ และความเปลี่ยนแปลงของการเมืองการปกครองที่เกิดขึ้นในเวลาต่างๆ ที่ส่งผลต่อรูปแบบและวัสดุที่ใช้ในการผลิตเครื่องประดับเทียมของคนในสังคมอย่าง ไม่น่าเชื่อ และทั้งยังมีผลเกี่ยวเนื่องจนถึงรูปแบบเครือ่ งประดับปัจจุบนั ซึง่ อาจจะมีชอื่ เรียกอีกอย่างว่าเครือ่ งประดับแฟชัน่ ได้ทำ� ให้ขา้ พเจ้ามีความคุน้ เคยกับการออกแบบเครือ่ งประดับ ที่มีแนวความคิดมาจากการศึกษาประเด็นทางสังคม และการใช้วัสดุที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน ในความเครียดสะสมของนักออกแบบเครื่องประดับในวิชาชีพ จึงต้องการสร้างงานเครื่องประดับ ที่ช่วย สร้างพื้นที่ที่สามารถจัดการกับความกลัวส่วนตนได้โดยผ่านกระบวนการฝึกฝนทักษะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะ ตนที่ใช้ในการขึ้นรูปเครื่องประดับในรูปทรงเฉพาะตนที่มีความถนัด ร่วมกับวัสดุและแนวความคิดที่ข้าพเจ้า มีความสนใจ โดยเฉพาะในประวัติศาสตร์เครื่องประดับเทียม

แนวความคิด “เครื่องประดับ” หนึ่งในวิธีการพรางตัวที่เป็นที่นิยมใช้มากที่สุด วิธีหนึ่งของมนุษย์ วัตถุที่เป็นเสมือนตัวเรา เป็นเสมือนเพื่อนแท้ เป็นเสมือนผู้จัดการส่วนตัว ที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารในสังคม ทั้ง ต่อมนุษย์ด้วยกันเอง และต่อสิ่งที่อยู่เหนือความจริง ข้าพเจ้าใน ฐานะมนุษย์ที่มีอาชีพนักออกแบบและครูในสาขาการออกแบบ เครื่องประดับ ที่ต้องใช้กระบวนการสร้างสรรค์ มีความซับซ้อน


ในวิธีคิดที่จะจินตนาการถึงสิ่งใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ให้ปรากฏขึ้นเป็นจริงได้อยู่ตลอดเวลานั้น ท�ำให้เผชิญกับ “ความกลัว” อยู่บ่อยๆ ทั้งกลัวผลงานไม่มีความงามความน่าสนใจ กลัวผลงานไม่ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อกลัว ผลงานไม่สามารถผลิตได้จริง กลัวผลงานไม่ได้ออกวางสู่ตลาดอย่างตรงเวลา ดังนั้น เครื่องประดับ ส�ำหรับนักออกแบบเครื่องประดับเช่นข้าพเจ้า จึงมิได้เป็นเพียงวัตถุส�ำหรับการพรางตัว แต่กลับอยู่ในสองสถานะ คือเสมือนวัตถุที่ใช้พรางตัว และในบางเวลาเป็นเสมือนฝ่ายตรงข้าม ที่นักออกแบบอยาก พรางตัวหนีจากเครื่องประดับเสียด้วยซ้ำ การขจัดความกลัว ที่กล่าวมานั้น มีหลายรูปแบบ ทั้งการค้นคว้าที่ไม่หยุดนิ่ง การฝึกฝนตนเองอย่างสม่ำเสมอ และรวมทั้งถึงการเคี่ยวกร�ำตนเองในทักษะที่เป็นเรื่องเฉพาะตัว กิจกรรมเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นการสร้างพื้นที่ หรือก่อให้ บรรยากาศที่มีความปลอดภัย มั่นคงแก่ตัวนักออกแบบเอง และถือเป็นหนึ่งในกระบวนการพักผ่อนของนักออกแบบ ที่จะกลับเข้ามาสู่รังหรือที่พัก เพื่อเติมเต็มพลังชีวิตในการออกไปท�ำงานชิ้นใหม่ที่มีความท้าทายมากขึ้น ความสนใจในกระบวนการฝึกฝนตนเองเชิงทักษะการขึ้นรูปงานเครื่องประดับกลวงปิด ทรงกลม ปลายแหลม ทั้งสองด้านนี้ เป็นรูปทรงที่ข้าพเจ้าใช้ในการสร้างสรรค์งานตั้งแต่เริ่มเรียนในสาขาวิชา เครื่องประดับและโลหะภัณฑ์ ในมหาวิทยาลัยเท็กซัสวูแมนยูนิเวอร์ซิตี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา และทดลองใช้แพทเทิร์นนี้ในการสร้างรูปทรงและ ขนาดที่มีความหลากหลาย กระบวนการขึ้นรูปในรูปทรงนี้ ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการ “หลบเข้ารัง” หรือการ พักผ่อนของข้าพเจ้าโดยไม่รู้ตัว ในอีกภาระหน้าทีท่ เี่ ป็นอาจารย์ผสู้ อนในเรือ่ งเครือ่ งประดับคอสตูม หรือเครือ่ งประดับแฟชัน่ ทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลง ขยับตามสถานการณ์ของสังคมอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ได้ส่งผลให้กระบวนการหลบเข้ารัง ของข้าพเจ้ามีรูปแบบ ที่สะท้อนถึงความสนใจในประวัติศาสตร์ของการใช้เครื่องประดับแฟชั่น และการเลือกใช้วัสดุที่เกิดจากการเปลี่ยน แปลงของสังคมในแต่ละยุค การสร้างสรรค์จงึ เกิดโดยมีความผสมผสานของทักษะความเชีย่ วชาญเดิม และการเปลีย่ น แปลงของเครื่องประดับแฟชั่นที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19-20 ที่ข้าพเจ้ามีความประทับใจ และมีความสนใจใน สถานการณ์ของการปกครองในโลก และการเกิดขึ้นของรูปแบบและการเลือกใช้วัสดุต่างๆ

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ภาพประกอบที่ 1 รูปแพทเทิร์นที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นประจ�ำของข้าพเจ้า

ภาพประกอบที่ 2 และ 3 : The Neckpiece และ The Inlaied Bracelet ผลงานเครื่องประดับที่ใช้แพทเทิร์นที่กล่าวมาในการสร้างสรรค์ ในผลงานการศึกษาระดับ ปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยเท็กซัสวูแมนยูนิเวอร์ซิตี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่าง ปี ค.ศ.1994-1996


94

กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของประวัติศาสตร์เครื่องประดับเทียมหรือเครื่องประดับแฟชั่นที่เกี่ยวเนื่องกับ แง่มุมที่มีผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทั้งการปกครอง สงคราม และเศรษฐกิจในช่วงศตวรรษที่ 20 ศึกษาความนิยมในรูปแบบ วัสดุและแนวความคิดของเครื่องประดับแฟชั่นในปัจจุบันในมุมมองเดียวกับ แนวความคิดข้างต้น ออกแบบและขึ้นรูปผลงานในรูปทรงที่เชี่ยวชาญเป็นทุนเดิม โดยใช้ทักษะเฉพาะตน โดยมี ข้อมูลข้างต้นเป็นแนวทางการออกแบบ และการเลือกใช้วัสดุ วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 1. โลหะทองเหลือง ทองแดง เงิน และทองค�ำ 2. ผ้า เส้นใยธรรมชาติ ไม้ 3. พลาสติก 4. หิน และอัญมณี เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน ขึ้นรูปด้วยมือ เชื่อมบัดกรี กินน�้ำประสาน ติดกาว เย็บ สอย ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ 2 x 250 x 2 ซม. องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ หรือผลลัพธ์ที่ได้จากการสร้างสรรค์ การกลับมาฝึกฝนตนเองในสถานะที่เป็นช่าง ผู้ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะตัวเป็นหลัก ท�ำให้ตัวข้าพเจ้าได้ พบทั้งปัญหา และปัญญา กระบวนการสร้างสรรค์ในวิชาชีพ เป็นกระบวนการที่ท้าทายความสามารถ และทดสอบ สติของนักออกแบบเป็นอย่างยิ่ง การได้กลับมาฝึกฝนตน แบบที่ไม่ต้องใช้การวางแผน แต่ใช้กระบวนการทดลอง ลงมือปฏิบัติ การความเชี่ยวชาญเป็นตัวน�ำนั้น มีหลายครั้งที่สะดุดกับปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า แต่การท�ำซ้ำๆ ได้ฝึกสติให้เกิด และเกิดปัญญาในการแก้ไข เรื่องเฉพาะหน้าได้อย่างมีความสุข ปัญหาที่เกิด ท�ำให้เกิดปัญญา ในการวางแผนในการออกแบบ ในสถานะนักออกแบบในอุตสาหกรรมเครื่องประดับ ท�ำให้การท�ำงานนั้น

มีความสุขมากขึ้น ความกลัวค่อยๆ เลือนหายไป มีความฮึกเหิม เข้ามาแทนที่ ท�ำให้มมี มุ มองใหม่ทสี่ ามารถน�ำศิลปะและการค้าเข้า มาผสมผสานอยู่ด้วยกันได้อย่าประสบความส�ำเร็จ

ภาพประกอบที่ 4 : ผลงานเครื่องประดับที่ใช้แพทเทิร์นที่กล่าวมา และการใช้วัสดุอื่นๆ แสดงในงานนิทรรศการผลงานอาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ปีพ.ศ.2555


ภาพประกอบที่ 5 ผลงานเครื่องประดับ พรางตัว กลัว หลบ ที่เสร็จสมบรูณ์

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : ติดตามตัว | On the Go ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ ดร.ปฐมาภรณ์ ประพิศพงศ์วานิช | Pathamaphorn Praphitphongwanit (Ph.D.)

96

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน เนื่องจากความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้คนในยุคปัจจุบันทั้งทางด้านการท�ำงาน ด้านความสะดวกสบาย และด้านความบันเทิง จึงท�ำให้โทรศัพท์มือถือถูก พัฒนารูปแบบและคุณสมบัติต่างๆ ให้เหมาะสมตามยุคสมัยและก้าวทันเทคโนโลยี โดยมีการพัฒนาให้มีหน้าที่ใช้งานที่หลากหลาย นอกเหนือจากการพูดคุยโทรศัพท์ระหว่างกัน การ ส่งข้อความสั้น (SMS) การส่งข้อความรูปภาพ (MMS) แต่ยังรวมความสามารถทางด้านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเข้าไว้ในโทรศัพท์มือถือด้วย เพื่อท�ำการส่งข้อมูลผ่านทางจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การสนทนาผ่านโปรแกรมสนทนาออนไลน์ (Instant Chat) การเข้าเว็บไซต์ต่างๆ หรือการเข้าเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) และใช้เพื่อ ความบันเทิง เช่น เล่นเกมส์ ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น โดยจะเรียกโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถดังกล่าวนี้ว่า “สมาร์ตโฟน (Smart Phone)”1 ปัจจุบัน “สมาร์ตโฟน” ก�ำลังได้รับความนิยมอย่างเป็นอย่างมากในประเทศไทย เนื่องจากเป็นโทรศัพท์ เคลื่อนที่ที่มีการออกแบบให้เข้ากับเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณ์ภายนอก รูปแบบหน้าจอ และ ฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังสามารถรองรับโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้มากมาย จึง ท�ำให้เกิดการสร้างโปรแกรมหรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ไม่หยุดหย่อน เพื่อสนองตอบต่อความต้องการของผู้คน ทั้งทางด้านการติดต่อสื่อสาร ธุรกรรมด้านต่างๆ และด้านความบันเทิง จึงท�ำให้ผู้คนได้รับความสะดวกสบาย เพราะสามารถใช้ประโยชน์จากสมาร์ตโฟนได้ในทุกๆ ที่และทุกๆ เวลา ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนใดของโลกก็ตาม ซึ่ง สอดคล้องกับชีวิตของคนในยุคปัจจุบันโดยเฉพาะในสังคมเมืองที่มีแต่ความรีบร้อนของผู้คน ต้องท�ำงานแข่งกับ

เวลา และมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสนิยมและเทคโนโลยี ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความแรงของกระแสสมาร์ตโฟนทีม่ คี ณ ุ สมบัตติ า่ งๆ ที่ โดดเด่น ได้มบี ทบาทส�ำคัญในการเปลีย่ นโฉมหน้าตลาดโทรศัพท์ มือถือทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก จึงท�ำให้หลายๆ ค่ายได้มีการ ออกสมาร์ตโฟนมาแข่งขันกัน และแต่ละค่ายก็ได้เน้นทั้งในส่วน ของรูปลักษณ์ รูปแบบหน้าจอ และฟังก์ชั่นการใช้งานให้มีความ


ลํ้าสมัย เพื่อสนองตอบต่อความความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการใช้สมาร์ตโฟน กันอย่างแพร่หลายในทุกรุ่นทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น Blackbeery, iPhone และ Nokia ฯลฯ จึงท�ำให้กระแสสมาร์ทโฟน กลายมาเป็นกระแสที่คนไทยได้ให้ความสนใจทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้นี้2 โดยสิ่งที่น่าจับตามองต่อมาก็คง จะหนีไม่พ้นเรื่องความสวยความงาม เพื่อประดับตกแต่งสมาร์ตโฟนนั่นเอง ซึ่งสมาร์ตโฟนนั้นถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ คนไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศทางฝั่งตะวันตก จนบางครั้งก็อาจจะหลงลืมงานศิลปหัตถกรรมไทยอันลํ้าค่าที่ มีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะตัว เพราะเป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านที่ผสมผสานความงดงามของธรรมชาติ ดังเช่น งานทอผ้าลวดลายต่างๆ งานจักสาน งานเครื่องทองสุโขทัย หรืองานเครื่องทองโบราณของเมืองเพชร ซึ่งชาวต่างชาติ เองกลับชื่นชมและเห็นคุณค่า กอปรกับข้าพเจ้ามีความหลงใหลและชื่นชอบส่วนตัวในเครื่องประดับสกุลช่างเมืองเพชร อยู่ก่อนแล้ว จึงอยากที่จะปรับรูปแบบของงานทองโบราณของเมืองเพชรให้สามารถอยู่ร่วมกับความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีที่ทันสมัยของสมาร์ตโฟนในปัจจุบัน และเพื่อมิให้คนไทยหลงลืมศิลปหัตถกรรมไทยอันล้ำค่าของชาติไป เอกลักษณ์ของทองเพชรบุรี คือ รูปทรงและลวดลายจากธรรมชาติ เช่น ลูกสน ดอกพิกุล ไข่ปลา เป็นต้น โดย การรีดทองเป็นเส้นแล้วดัดลวดลายต่างๆ ต้องท�ำทีละส่วนประกอบด้วยมือผลิตได้ครัง้ ละชิน้ ช่างทองเมืองเพชรโดยทัว่ ไป แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ช่างทองรูปพรรณและช่างท�ำภาชนะต่างๆ ช่างทองเมืองเพชรอยู่ในกลุ่มช่างทองรูปพรรณ รูปแบบทองรูปพรรณของเมืองเพชรมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนิยมท�ำเครื่องประดับประเภท สร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน ต่างหู ลวดลายที่ได้สร้างสรรค์จนเป็นที่นิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีดังนี้ คือ ขัดมัน (สร้อยคอ) สี่เสา หกเสา แปดเสา (การถักห่วงกลมขนาดเล็กๆ จ�ำนวนมากอย่างต่อเนื่อง) สมอเกลียว ลูกสน เต่าร้าง (ต่างหู 1 วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2556. “สมาร์ตโฟน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/สมาร์ตโฟน (24 กรกฎาคม 2556) 2 ธมนวรรณ กัญญาหัตถ์ และ ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. “ความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อประโยชน์ของสมาร์ตโฟน” การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 3 Laikramantique. 2556. “ทองเพชรบุรี.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.laikramantique.com/ทองเพชรบุรี (24 กรกฎาคม 2556). 4 โครงการ “รีเจ้นท์ ชะอ�ำ เพื่อสภาพแวดล้อมและการพัฒนาแบบยั่งยืน”. เพชรบุรี, กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์สารคดี. 2536.

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

มีลักษณะคล้ายพวงของผลเต่าร้าง) ลูกไม้ปลายมือหรือเล็บมือ ดอกพิกุล ดอกมะลิ ก้านบัว บัวสัตตบงกช (กระดุม) บัวจงกล และมณฑป ประจ�ำยาม เสมาหรือปลา ผีเสื้อ งู พญานาค มังกร ตะขาบ พิรอด และ ตะไบ เป็นต้น 3 ปัจจุบันช่างทองโบราณที่ยังมีชีวิตก็ล้วนแล้วจะสูงด้วยอายุ และจะมีลดน้อยลงไปทุกวัน ช่างท�ำทองในเพชรบุรีระยะหลังมานี้ จึงเป็นช่างทองทีเ่ ป็นบุตรหลานทายาทของช่างทองโบราณทีไ่ ด้รบั ถ่ายทอดความรู้ให้สานต่องานฝีมือสกุลช่างราชส�ำนักเอกลักษณ์ ชาติไว้ แต่ผทู้ ฝี่ กึ เป็นช่างทองต้องมีใจรักมีความอดทนในการท�ำงาน เพราะงานท�ำเครื่องทองเป็นงานที่ใช้เวลาในการท�ำงาน ใช้ความ ละเอียด ประณีตอย่างสูงในขณะที่ค่าตอบแทนในการท�ำต�่ำมาก นายชุม่ สุวรรณช่างช่างทองคนสุดท้ายของตระกูลสุวรรณช่างกล่าว ไว้ว่า “เครื่องทองรูปพรรณแบบโบราณนั้นนับวันจะสูญหายไป เพราะไม่มชี า่ งและคนรุน่ ใหม่ให้ความสนใจในการฝึกหัด เนือ่ งจาก รายได้จากการท�ำทองไม่คุ้มกับเวลาและแรงงาน เครื่องทอง รูปพรรณของไทยต้องใช้เวลาและฝีมอื ในการท�ำงาน จึงไม่มชี า่ งรับท�ำ ส่วนเครือ่ งทองรูปพรรณทีม่ ขี ายกันแพร่หลายตามร้านทองนัน้ เป็น งานฝีมือของช่างจีน ซึ่งมีวิธีท�ำและลวดลายแตกต่างไปจากเดิม”4 ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าต้องการหรือมุ่งหวังที่จะ เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยรักษา อนุรักษ์และสืบสานเครื่องประดับ สกุลช่างเพชรบุรีให้คงอยู่สืบไป จึงได้มีแนวคิดที่จะลองพยายาม ผสมผสานทั้งสองสิ่ง คือ สมาร์ตโฟนกับงานเครื่องทองโบราณ


1

ของเมืองเพชร ซึง่ มีความแตกต่างกันโดยสิน้ เชิงให้สามารถอยูร่ ว่ มกันได้อย่างลงตัว จึงเป็นทีม่ าของแนวความคิด เกีย่ วกับเครือ่ งประดับส�ำหรับตกแต่ง (Accessory) สมาร์ตโฟน ซึ่งปัจจุบันก�ำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย และมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ฟิล์มป้องกันจอเป็นรอยแบบที่มีลวดลาย สติกเกอร์ตกแต่งปุ่มมือถือ กรอบมือถือ (Case) สายห้อยมือถือหรือจุกปิดกันฝุ่นของช่องเสียบหูฟัง เป็นต้น โดยข้าพเจ้าก็เป็นผู้หนึ่งที่ใช้ สมาร์ตโฟนเช่นกัน จึงสนใจที่จะเริ่มต้นจากเครื่องประดับสกุลช่างทองเพชรบุรีแบบร่วมสมัยส�ำหรับตกแต่งจุก ปิดกันฝุ่นของช่องเสียบหูฟังสมาร์ตโฟนก่อนเป็นล�ำดับแรก

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 5.1 เพื่อสร้างสรรค์ผลงานเครื่องประดับร่วมสมัย 5.2 เพื่อรักษาและอนุรักษ์เครื่องประดับสกุลช่างเพชรบุรีให้คงอยู่สืบไป 5.3 เพื่อเรียนรู้และฝึกฝนการท�ำเครื่องประดับ

98

แนวความคิด การผสมผสานระหว่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยของโทรศัพท์มือถือที่เรียกว่า “สมาร์ตโฟน” ร่วมกับ งานเครื่องประดับสกุลช่างเพชรบุรี

3

2

4

5 ร้านกรุทอง เครื่องทองโบราณ. 2554. “ทองเพชรบุรี.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.guruthaiantiquejewelry.com/ phetchaburi-gold.html (20 สิงหาคม 2556). 6 Laikramantique. 2556. “ต่างหูปะวะหล่ำ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.laikramantique.com/ต่างหูปะวะหล่ำ (20 สิงหาคม 2556). 7 บลูไดมอนด์ไนล์ดอทคอม. 2555. “กระดุมทองค�ำ” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://bluediamond9.com/product/others/ กระดุมทองค�ำ-4/ (20 สิงหาคม 2556).

ภาพที่ 1 : ลูกสน • ภาพที่ 2 : เต่าร้าง • ภาพที่ 3 : ปะวะหล่ำ • ภาพที่ 4 : กระดุม


กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 7.1 ศึกษาและเลือกรูปแบบเครื่องประดับส�ำหรับตกแต่งสมาร์ตโฟน 7.2 ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบ ลวดลาย และเทคนิค การท�ำเครื่องประดับสกุลช่างเพชรบุรี เช่น ลูกสน (ภาพที่ 1) เต่าร้าง (ภาพที่ 2) ปะวะหล่ำ (ภาพที่ 3) หรือกระดุม (ภาพที่ 4) เป็นต้น 7.3 เลือกรูปแบบ ลวดลาย และเทคนิคพื้นฐานเกี่ยวกับการท�ำเครื่องประดับ สกุลช่างเพชรบุรี 7.4 สรุปประเภทและขนาดเครื่องประดับ พร้อมร่างแบบ 2 มิติ 7.5 เตรียมชิ้นส่วนเครื่องประดับส่วนต่างๆ 7.6 เชื่อมประกอบชิ้นส่วนเครื่องประดับส่วนต่างๆ 7.7 ตรวจสอบและทดลองใช้จริง วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน 8.1 เครื่องมือและอุปกรณ์ในการท�ำเครื่องประดับ 8.2 โลหะเงินบริสุทธิ์ (99.99%) 8.3 โลหะเงินสเตอร์ลิง (92.5%) 8.4 จุกปิดกันฝุ่น (ส�ำหรับเสียบช่องหูฟังสมาร์ทโฟน) เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน การดึง การรีด และการเชื่อม ขนาดผลงาน ประมาณ 1.2 x 1.2 x 2 ซม.

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : เครื่องประดับแห่งคาบสมุทรทองค�ำ | Jewel of Aurea Chersonesus ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : ผศ.ภูวนาท รัตนรังสิกุล | Asst.Prof. Phuvanart Rattanarungsikul

100

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ในระยะเวลาที่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก�ำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นก้าวส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมกลุ่มอุษาคเนย์ อีกครั้งหนึ่ง การแบ่งแยกประเทศอย่างเข้มงวดด้วยเส้นแสดงอาณาเขตตามพิกัดแผนที่ตามมาตรฐานชาวตะวันตก ก�ำลังถูกลดความส�ำคัญ และเกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมด้วย ภูมิศาสตร์ตามระบบเศรษฐกิจ ภาพรวมของอนาคตอันใกล้นี้เทียบเคียงได้กับครั้งหนึ่งในอดีตเมื่อภูมิภาคอุษาคเนย์ได้ถูกขนานนามทั้งจากวรรณกรรมอินเดียโบราณว่า สุวรรณภูมิ หรือปรากฏในแผนที่โลกของ ปโตเลมี (Ptoleme) ว่า คาบสมุทรทองค�ำ (Aurea Chersonesus) หลักฐานทางโบราณคดีมากมายที่ยืนยันถึงการมีอยู่จริงของประชาคมเศรษฐกิจโบราณในคาบสมุทรทองค�ำที่ส�ำคัญประเภทหนึ่งคือ โบราณศิลปวัตถุประเภทงานโลหะภัณฑ์ และเครื่องประดับ ซึ่งปรากฏตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในรูปแบบการผลิตที่เรียบง่าย ใช้วัสดุในท้องถิ่น และสามารถสะท้อนวิถีการด�ำเนินชีวิตและสามารถสะท้อนวิถีการด�ำเนิน ชีวิตและความเชื่อของแต่ละวัฒนธรรมย่อยในอุษาคเนย์ จนกระทั่งรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยพลังผลักดัน จากอู่อารยธรรมใหญ่ๆ ในระยะเวลาต่อมาคืออารยธรรมอินเดียและจีนโบราณ โดยมีระบบเศรษฐกิจเป็นกลไก ขับเคลื่อนที่ส�ำคัญ  ท�ำให้ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์สร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมที่เกิดเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว และเป็นหลักฐานของวัฒนธรรมที่ส�ำคัญ เช่น วัฒนธรรมทวารวดี เป็นต้น การศึกษาโบราณศิลปวัตถุประเภทโลหะภัณฑ์และเครื่องประดับในวัฒนธรรมทวารวดี  ท�ำให้สรุป คุณลักษณะทั่วไปของโบราณศิลปวัตถุกลุ่มดังกล่าวได้ ดังต่อไปนี้ 1. มีการสร้างสรรค์โดยอาศัยรูปแบบและแนวคิดจากอารยธรรมอินเดีย ตัวอย่างเช่น การน�ำลวดลายตกแต่งใน ศิลปะสมัยคุปตะ-วกาฏกะ มาสร้างใหม่ในรสนิยมของท้องถิ่น

2. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดของวัสดุและกรรมวิธีการผลิตโดย ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น 3. มีสัดส่วน (proportion) ที่สะท้อนรสนิยมส่วนตัวอย่างเด่นชัด นิยมการตีคา่ ความงามโดยการเปรียบเทียบกับสรีระของบุคคล 4. หากมีการพัฒนารูปแบบจะพัฒนาโดยการเพิ่มรายละเอียด และทัศนธาตุที่ซับซ้อนมากกว่าการพัฒนาคุณลักษณะด้าน ประโยชน์ใช้สอย รูปทรง คุณภาพวัสดุ และกรรมวิธีการผลิต


บทสรุปดังกล่าวเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์งานหัตถกรรมโลหะเพื่อบันทึกความเปลี่ยนแปลงครั้งส�ำคัญ ของอุษาคเนย์ในปีเริ่มต้นรอบวัฏจักรใหม่แห่งคาบสมุทรทองค�ำและดินแดนสุวรรณภูมิ โดยเชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดเมื่อ กว่าพันปีที่แล้ว แสดงด้วย container ซึ่งสะท้อนคุณลักษณะของเมล็ดพันธุ์พืช เป็น container ที่น�ำเอาวัฒนธรรม ที่สาบสูญกลับมางอกงามอีกครั้ง ชิ้นงานได้รับแรงบันดาลใจจากลวดลายพันธุ์พฤกษาที่ม้วนในลักษณะเลข ๑ ไทย ในเค้าโครงวงกลม ลวดลายใบไม้ม้วนในลักษณะเลข ๑ ไทย ที่มา : กรมศิลปากร โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ นนทบุรี : ส.พิจิตรการพิมพ์ จ�ำกัด, 2548.

การศึกษาลวดลายโดยการปั้นดินน้ํามัน และการขึ้นต้นแบบด้วยขี้ผึ้ง


102

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน เพื่อศึกษาสุนทรียศาสตร์ของวัฒนธรรมสมัยทวารวดีโดยการสร้างสรรค์งานโลหะภัณฑ์ร่วมสมัย แนวความคิด สร้างสรรค์งานโลหะภัณฑ์เพื่อน�ำเสนอแนวคิดในการเชื่อมโยงศิลปวัฒนธรรมยุคสุวรรณภูมิเข้ากับ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน สังเคราะห์อัตลักษณ์ของโบราณวัตถุสมัยทวารวดี และสร้างสรรค์เป็นงานโลหะภัณฑ์โดยร่างแบบ ท�ำหุ่นจ�ำลอง 3 มิติ และทดลองสร้างต้นแบบด้วยเทคนิคต่างๆ วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน โลหะทองแดง ทองเหลือง และเงิน เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน การหล่อแทนที่ขี้ผึ้ง การกัดกรด การดุนลาย ขนาดของผลงาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4.5 ซม. ต่อชิ้น หนาประมาณ 2-3.5 ซม.

บรรณานุกรม กรมศิลปากร, โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์. นนทบุรี: ส.พิจิตรการพิมพ์ จ�ำกัด, 2548. เชษฐ์ ติงสัญชลี, การศึกษาที่มาและการตรวจสอบกับศิลปะอินเดียสมัยคุปตะ-วกาฏกะ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร,2553. ผาสุก อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพ:อักษรสมัย, 2542” ภูวนาท รัตนรังสิกุล, “การศึกษาวิจัยโบราณวัตถุที่มีตะกั่วเป็นองค์ประกอบหลักในวัฒนธรรมทวารวดี”. วิทยานิพนธ์ ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555.


70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : พับ พับ พับ พับ พับ พับ | Fold Six ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ ศิดาลัย ฆโนทัย | Sidalai Kanothai ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน

104

การออกแบบที่เน้นประโยชน์ใช้สอย ไม่ใช่สิ่งที่แปลกใหม่แต่อย่างใด แต่ผลงานที่จะสามารถสร้างความประทับใจต่อผู้บริโภคได้ดีนั้น จ�ำต้องตอบสนองต่อความต้องการของ มนุษย์ ทั้งยามเมื่อพบเห็นที่ต้องมีความสวยงามสร้างแรงดึงดูดใจ ทั้งยามใช้ที่ต้องมีความสะดวกและมีประสิทธิภาพ ซึ่งความต้องการเหล่านี้มักสะท้อนมาจากรูปแบบพฤติกรรมของ ผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์นั้นๆ และปัญหาการใช้งานของผลิตภัณฑ์เดิมที่ผู้บริโภคพบเจอ ผลจากการออกแบบตามพฤติกรรม และการแก้ปัญหาในตัวผลิตภัณฑ์นั้นอาจสร้างประโยชน์ใช้ สอยใหม่ๆ (New Function) หรือเพิ่มเติม (Add Function) ในไปในตัวผลิตภัณฑ์ เช่นสามารถปรับเปลี่ยนการใช้สอยได้ เพิ่มหรือลดขนาดได้ หรือสามารถพกพาได้สะดวก ดังนั้นการออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอยเพียงอย่างดียว ในสมัยนี้เห็นทีจะไม่น่าดึงดูดใจพอ ผู้ออกแบบจึงท�ำการศึกษาและเก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์ “ผ้ากันเปื้อน” ผลิตภัณฑ์ที่ ผู้ออกแบบให้ความสนใจที่จะพัฒนา โดยการสังเกตพฤติกรรมการใช้งานซึ่งพบว่า ประเด็นที่หนึ่ง ส่วนใหญ่ผู้ใช้งานผ้ากันเปื้อนจะเลือกใช้แบบเต็มตัว ช่องใส่ของโดยทั่วไปจะเป็น ช่องกระเป๋าเย็บติดด้านหน้า ปากกระเป๋าเปิดอ้า ไม่มีฝาปิด สิ่งของในกระเป๋าร่วงหล่นง่าย และยังเป็นที่กักเก็บของเศษวัสดุ สิ่งสกปรกจากการปฏิบัติงาน ผู้ออกแบบแก้ปัญหาโดย การออกแบบปากกระเป๋าให้เฉียงลง ก็จะท�ำให้เศษวัสดุนั้นตกลงไปได้ยาก ประเด็นที่สอง หลังการใช้งาน ผู้ใช้ผ้ากันเปื้อนโดยทั่วไปจะหาที่ที่แขวนได้แขวนไว้ หรือพับอย่างหยาบๆ ไว้บนโต๊ะท�ำงานดูเหมือนผ้าขี้ริ้ว ท�ำให้ เข้าใจผิดเผลอหยิบเอาไปเช็ดบ่อยครั้ง บ้างก็ขย�ำยัดในล็อคเกอร์ และจ�ำนวนมากที่จ�ำไม่ได้ว่าวางลืมไว้ที่ไหน เหล่านี้เป็นปัญหาของพฤติกรรมที่แสดงความไม่เป็นระเบียบของผู้ใช้งาน ผู้ออกแบบจึงท�ำการออกแบบอย่าง สร้างสรรค์ให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้งาน เพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้ โดยท�ำการออกแบบเพิ่มเติมในส่วนพื้นที่ จัดเก็บผ้ากันเปื้อนหลังใช้งาน เพื่อช่วยอ�ำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน และในขณะเดียวกันยังสามารถพกพา เป็นกระเป๋าคาดเอวติดตัวไปได้ สะดวกต่อการใช้งานผ้ากันเปื้อนในครั้งต่อไป

นอกจากนี้ ผู้ออกแบบได้ศึกษาถึงประวัติ ลักษณะ และวัสดุ ของผ้ากันเปื้อน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ ผ้ากันเปื้อนถือก�ำเนิด ขึ้นที่ประเทศอังกฤษ ผู้ชายส่วนใหญ่มีหนวดเครายาวรุงรัง เมื่อ รับประทานอาหารหนวดเคราก็ตกลงไปบ่อยครั้ง ท�ำให้เลอะเทอะ เปรอะเปื้อนไปทั้งเคราและเสื้อผ้าที่สวมใส่ จึงมีการน�ำผ้ามาผูกไว้ ที่คอ ผลปรากฏว่า ผ้าผืนนั้นไม่เพียงป้องกันเสื้อผ้าเลอะเท่านั้น แต่ ยังเป็นผ้าเช็ดปากไปในตัว โดยปัจจุบันผ้ากันเปื้อนถูกออกแบบ


เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ผ้ากันเปื้อนแบบครึ่งตัว คือผ้ากันเปื้อนที่ใส่คลุมตั้งแต่บริเวณเอวลงไป ผ้ากันเปื้อนชนิด นี้นิยมใส่เพื่อเน้นให้ดูเป็นระเบียบ สวยงาม มากกว่าใช้เพื่อป้องกันความสกปรก และผ้ากันเปื้อนแบบเต็มตัว (Bib Apron) เป็นผ้ากันเปื้อนที่ถูกใช้กันโดยทั่วไป มีส่วนที่ปกคลุมตั้งแต่ล�ำตัวเหนืออกลงมาจนเกือบถึงเข่า หรือบางชนิด ก็ขนาดเลยเข่า ผ้ากันเปื้อนชนิดนี้ส่วนใหญ่ใส่เพื่อป้องกันความสกปรกและเพื่อป้องกันอันตรายจากการท�ำงานต่างๆ โดยทั่วไปใช้วัสดุ “ผ้า” เป็นหลัก ทั้งนี้แล้วแต่จุดประสงค์ในการใช้งาน เช่น “พลาสติก” นิยมใช้ในงานที่ผู้ใช้งานต้อง เผชิญกับน้ำ หรือผู้ที่ต้องท�ำงานกับสารอันตราย “ตะกั่ว” ใช้เพื่อป้องกันรังสีส�ำหรับผู้ที่ต้องท�ำงานกับรังสี หรือ “ผ้า กันไฟ” ใช้ส�ำหรับผู้ที่ท�ำงานใกล้ไฟ หรือในครัว1 ทั้งนี้ผู้ออกแบบค�ำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน เล็งเห็นว่าผ้ากันเปื้อนแบบเต็มตัวนั้น สร้างความปลอดภัย แก่ผู้ใช้ได้มากกว่า และผ้าร่มก็เป็นวัสดุที่เหมาะสมในการตัดเย็บและใช้งานเมื่อพิจารณาจากประเภทของงานที่ปฏิบัติ วัสดุที่เลือกใช้จะต้องไม่อมฝุ่น ไม่ซึมสี กันเปื้อนได้ดี ท�ำความสะอาดง่าย ผ้าร่มจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการตัดเย็บ เป็นผ้ากันเปื้อน ผ้าร่มไนล่อน ( Nylon Fabric ) ไนล่อนนี้เป็นชื่อของเส้นใย ชื่อเรียกทางการค้าของไน่ลอน คือ เส้นใยพอลิเอไมด์ ผ้าร่มไนล่อนชนิดนี้ มีความถี่ของตาผ้ามากกว่าผ้าร่มชนิดอื่นๆ ส่วนมากจะเอามาท�ำ ร่มพรีเมี่ยม ร่มพับ ร่มเล็ก เป็นส่วนใหญ่2 และด้วยความเหนียว ทนทานของเส้นใย ทอเป็นผ้าที่อ่อนนุ่ม บางเบา น้ําหนักน้อย จึงเหมาะที่จะเป็นวัสดุในการต่อยอดความคิด สร้างสรรค์การออกแบบ ในครั้งนี้ผู้สร้างสรรค์พิจารณาวัสดุที่เหมาะสมกับประเภทงานที่ใช้ เลือกใช้ผ้าร่มเป็นวัสดุในการตัดเย็บ และ ด้วยผ้าร่มเป็นผ้าเนื้อบาง แต่ทนทานจึงเหมาะกับรูปแบบของการพับใช้งาน พิจารณาพฤติกรรมการใช้งานผ้ากันเปื้อน ของกลุ่มผู้ใช้งาน จึงออกแบบให้ด้านหนึ่งของผ้ากันเปื้อนเย็บติดกันเป็นผืนเดียวกับกระเป๋าขนาดเล็ก มีรูสอดสาย คาดเอวที่ปรับขนาดได้ กระเป๋านี้มีช่องใส่ของสองช่องอยู่ด้านหน้า และหนึ่งช่องด้านหลังส�ำหรับใส่ผ้ากันเปื้อนที่พับ เก็บหลังการใช้งาน สร้างความเป็นระเบียบแก่ผู้ใช้ สะดวกต่อการใช้งานในครั้งต่อไป และยังสามารถพกพาติดตัวเป็น กระเป๋าใส่ของคาดเอวได้

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

แนวความคิด การออกแบบผ้ากันเปื้อนแบบเต็มตัวที่พับเก็บง่าย สะดวก พกพา สะดวกใช้งาน กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษาประเภทของการปฏิบัติงาน ความจ�ำเป็นของผ้า กันเปื้อน วัสดุที่เหมาะสมในการผลิต 2. ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้งานผ้ากันเปื้อน 3. ออกแบบ พัฒนาแบบให้สนองตอบการใช้งาน และ พฤติกรรมการใช้งาน 4. สรุปแบบ เลือกวัสดุ และก�ำหนดสัดส่วน 5. ผลิตผลงาน ทดลอง และปรับแก้จนสมบูรณ์

1 วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2556. “ผ้ากันเปื้อน.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ผ้ากันเปื้อน (25 กรกฎาคม 2556) 2 thaiocean. 2554. “นานาน่ารู้เรื่อง ผ้าร่ม.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://thaiocean.wordpress.com/2011/10/08/ (25 กรกฎาคม 2556)


106

แนวความคิด การออกแบบผ้ากันเปื้อนแบบเต็มตัวที่พับเก็บง่าย สะดวกพกพา สะดวกใช้งาน กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษาประเภทของการปฏิบัติงาน ความจ�ำเป็นของผ้ากันเปื้อน วัสดุที่เหมาะสมในการผลิต 2. ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้งานผ้ากันเปื้อน 3. ออกแบบ พัฒนาแบบให้สนองตอบการใช้งาน และพฤติกรรมการใช้งาน 4. สรุปแบบ เลือกวัสดุ และก�ำหนดสัดส่วน 5. ผลิตผลงาน ทดลอง และปรับแก้จนสมบูรณ์ วัสดุ อุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน ผ้าร่ม สายหนัง หมุด กระดุมโลหะ ตีนตุ๊กแก อุปกรณ์งานแพทเทิร์น และงานตัดเย็บ เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างแพทเทิร์น การตัดเย็บ ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ ขนาดผ้ากันเปื้อนเต็มตัว กว้าง 59 ซม. สูง 81 ซม. ขนาดกระเป๋า กว้าง 13 ซม. สูง 18 ซม. ความยาวเข็มขัด 120 ซม. องค์ความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ ในการปฏิบัติงานกับผ้าร่ม ผ้าร่มมีความลื่น และเมื่อเดินจักรเย็บตรงส่วนที่มีความโค้งขอบผ้าที่เย็บจะ บิดตัวเกิดรอยย่น ท�ำให้การท�ำงานในส่วนนี้ไม่สะดวกเท่าที่ควร การแก้ไขคือต้องใช้เตารีด เปิดความร้อนต่ํา รีดบนรอยพับก่อนท�ำการเย็บ จะช่วยให้รอยย่นนั้นเกิดขึ้นน้อยลง บรรณานุกรม Dreyfuss, Henry. Designing for People, Allworth Press; illustrated edition edition, 2003. Richard Morris, 2009, The Fundamentals of Product Design, AVA Publishing, Switzerland.

ภาพร่างงานออกแบบ กระบวนการท�ำงาน และอุปกรณ์สร้างงาน



ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : ชีวิต - ท�ำงาน | The White Collar ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : อาจารย์ ดรุพร เขาจารี | Daruporn Khaocharee

108

ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ในโลกปัจจุบันที่หมุนเร็วขึ้นทุกวันๆ ท�ำให้มนุษย์จ�ำต้องปรับรูปแบบชีวิตให้รับไปกับการวิวัฒน์ของเศรษฐกิจ และสังคมเมือง จากที่เคยมีระบบเศรษฐกิจอ้างอิงกับธรรมชาติ จ�ำต้องแปรเปลี่ยนไปผูกติดกับระบบเศรษฐศาสตร์จุลภาคยันมหภาค จากชีวิตที่เคยเรียบง่าย กลับจ�ำเป็นต้องอยู่กับความเร่งรีบและตึงเครียดอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยงวันเวลาส่วนใหญ่ ในชีวิตของมนุษย์งานในสังคมเมืองล้วนหมดไปกับการท�ำงาน เรียกได้ว่าเรื่องงานเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องความเป็นอยู่รวมถึงเรื่องสุขภาพถูกยกให้เป็นเรื่องรองลงไป บ่อยครั้งที่เราได้ยิน เรื่องราวของผู้คนจ�ำนวนไม่น้อยที่ท�ำงานจนละเลยที่จะดูแลสุขภาพ เมื่อรู้ตัวอีกทีร่างกายก็ส่งสัญญาณปัญหาบอกเสียแล้ว พนักงานออฟฟิศ หรือมนุษย์เงินเดือนล้วนแล้วแต่เป็นค�ำเรียกคนชั้นกลางซึ่งท�ำงานเป็นลูกจ้างในหน่วยงานหรือบริษัท มีเวลาเข้างานก�ำหนด โดยเวลาในแต่ละวันของพวกเขา ส่วนใหญ่ถูกใช้ไปกับการนั่งท�ำงานที่โต๊ะนานหลายชั่วโมง ส่งผลให้เกิดสภาวะผิดปกติแก่ร่างกายและจิตใจในรูปแบบต่างๆ รวมถึงอาการที่เรียกกันว่า “ออฟฟิศซินโดรม” (Office syndrome) หรือ “กลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนท�ำงานออฟฟิศซึ่งมีสภาพแวดล้อมการท�ำงานไม่เหมาะสม ไม่วา่ จะเป็นการนัง่ ท�ำงานตลอดเวลา โดยไม่มกี ารเคลือ่ นไหวร่างกายเพือ่ เปลีย่ นอริยาบถส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามอวัยวะ เช่น หลัง ไหล่” (ไพบูลย์ เลาหสินนุรักษ์, 2556) เป็นต้น นอกจากนี้ ออฟฟิศซินโดรม ยังรวมถึงสภาพสายตา ที่อ่อนล้าและพร่ามัว เนื่องมาจากการจ้องมองจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และความเครียดด้วย จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ก่อให้เกิดแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงาน”ชีวิต-ท�ำงาน” โดยน�ำเสนอผล งานสร้างสรรค์ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของสภาวะออฟฟิศซินโดรมในโลกปัจจุบันของคนวัยท�ำงาน ผ่านการตีความและน�ำเสนอเป็นผลงานเครื่องแต่งกาย

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายส�ำเร็จรูป (Ready-towear)ซึ่ ง สามารถถ่ า ยทอดความหมายและความงามเชิ ง สร้างสรรค์ได้ 2. เพื่ อ เป็ น การสะท้ อ นปั ญ หาแก่ สั ง คมในปั จ จุ บั น ให้ ตระหนักถึงความส�ำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพ


แนวความคิด No Pain, No Gain - ไม่มีใครได้อะไรมาเปล่าๆ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษาปัญหาสุขภาพและโรคต่างๆที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตของพนักงานออฟฟิศ ในสังคมเมืองในยุคปัจจุบัน 2. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อน�ำมาตีความหมายเพื่อใช้ในการออกแบบ 3. ออกแบบร่าง 4. เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน 5. สร้างแพตเทิร์นในกระดาษ 6. ตัดเย็บเป็นชุดผ้าดิบ 7. ปรับแก้ไขแบบแพตเทิร์น ให้ใกล้เคียงแบบร่าง 8. น�ำชิ้นผ้าไปท�ำเทคนิค 9. ตัดชุดโดยใช้วัสดุจริง ตามแบบแพทเทิร์นที่แก้ไขแล้ว 10. น�ำเสนอผลงานส�ำเร็จ วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน อุปกรณ์เครื่องเขียน อุปกรณ์การตัดเย็บ ได้แก่ เข็ม ด้าย กระดาษสร้างแบบ กรรไกร หุ่นเสื้อ จักรเย็บผ้า กล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน การตัดเย็บและการจับจีบผ้า ขนาดของผลงานสร้างสรรค์ ผลงานจัดแสดงใส่หุ่นเสื้อ ขนาดประมาณ 40 x 45 x 175 ซม.

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

บรรณานุกรม ไพบูลย์ เลาหสินนุรักษ์. นพ. Office syndrome คืออะไร? (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/office_s yndrome_%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8 %B0%E0%B9%84%E0%B8%A3_1153/th เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2556. สาทิส อินทรก�ำแหง. ปั้นชีวิตใหม่ ด้วยชีวจิต2. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2544. อาภากร สกุลนรเศรษฐ. สุดยอดวิธีสู้สารพัดโรคอันตราย กรุงเทพฯ : หจก.เพชรประกาย, 2551. Leach, Robert. The Fashion Resource Book, London : Thames & Hudson, 2012. Sato, Hisako. drape drape, London : Laurence King, 2012. “ Solving “White Collar” Pain Problems.” Ergoinc. Egonomics Inc, n.d. Wed 24 Jul. 2013. Wilcox, Claire and Mandes, Valerie D. Twentieth Century Fashion Detail, London : V & A Publishing, 2012.


110

ผลที่ได้รับจากการสร้างสรรค์ ผลงานเครือ่ งแต่งกายส�ำเร็จรูป (Ready-to-wear) สะท้อน แนวคิดและค่านิยมของสังคมการท�ำงานปัจจุบนั ทีเ่ รือ่ งงานเป็นส่วน ใหญ่ของชีวิต เพื่อให้ผู้ชมตระหนักถึงความส�ำคัญของการดูแล รักษาสภาพร่างกาย ผูส้ ร้างสรรค์นำ� เสนอการแทนค่าแนวความคิด ผ่านสัญลักษณ์และองค์ประกอบต่างๆ ได้แก่ การใช้เชิต้ ขาวซึง่ เป็น สัญลักษณ์ของคนชั้นกลางหรือพนักงานออฟฟิศ (White collar worker)  ความไม่สมดุลย์ของสัดส่วน  (Proportion)  ระหว่าง ขนาดล�ำตัวเสือ้ ทีใ่ หญ่เกินตัว (Oversized) และสัดส่วนรายละเอียด เสื้อที่เล็กกว่าปกติซึ่งแสดงถึงสภาวะร่างกายและกล้ามเนื้อที่ ขาดสมดุลย์ โดยนอกจากจะได้รับแนวคิดจากอาการออฟฟิศซิน โดรม ในแง่การใช้สอยยังเป็นชุดที่สวมใส่สบาย ไม่รัดรูป เพื่อให้ เคลือ่ นไหวร่างกายได้อย่างสะดวกและยังดูภมู ฐิ านด้วย จากผลงาน สร้างสรรค์ชิ้นนี้ผู้สร้างสรรค์เห็นว่านักออกแบบเครื่องแต่งกาย จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ในทางแพตเทิร์นควบคู่ไปด้วย เพื่อที่จะสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกแบบ 2 มิติ ขึ้นมาเป็น ชิ้นงาน 3 มิติได้สมบูรณ์แบบอย่างที่ต้องการ


70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title : มิติสีของงานสิ่งทอ การทับซ้อนของเส้นใย “ชุดดอกไม้” | Fibers Illusion in title “Flower” ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer : ผศ.ดร.น�้ำฝน ไล่สัตรูไกล | Asst.Prof.Namfon Laistrooglai (Ph.D.)

112

บทคัดย่อ งานศิลปะสิ่งทอ (Textile Art) หรือศิลปะจากเส้นใย ( Fiber Art ) เป็นงานศิลปะแบบสื่อผสมที่อาศัยเทคนิคหลากหลายชนิด เช่น การเย็บผ้า ถักผ้า ทอผ้า ย้อมสี งานพิมพ์วัสดุ โดยใช้วัสดุหลักจากกระบวนการผลิตสิ่งทอ เช่นเส้นใยธรรมชาติของฝ้าย ไหม ขนสัตว์ หรือเส้นใยประดิษฐ์ เช่น เรยอน โพลีเอสเตอร์ เส้นโลหะ เส้นเอ็น ผลงานสร้างสรรค์ (FibersIllusion) “มิติสีของงานสิ่งทอ การทับซ้อนของเส้นใย” โดยเลือกวัสดุผ้าเนื้อออร์แกนซ่า(Organza) เพราะเป็นการทดลองในคุณสมบัติของเนื้อผ้าบาง โปร่งแสงและการใช้ความต่างในน้ําหนักของสีที่ต่างกันไป โดยเส้นใยที่ใช้ทอเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์ แบบไหมเส้นเล็กแวววาว ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถทรงรูปด้วยตัวเองในระดับหนึ่ง แนวความคิดมิติสีของงานสิ่งทอ ท�ำให้เกิดบรรยากาศและการรับรู้ที่ต่างกัน ยิ่งในวัสดุที่โปร่งแสงและ มันวาว การทับซ้อนเป็นชั้นๆ (Layer) ทั้งสีเดียวกัน หรือต่างสีกัน ท�ำให้เกิดสีและค่าน้ําหนักใหม่ไม่ซ้ำกัน แนวคิด เรื่องมิติของสีการผสมของสี เห็นได้จากงานจิตรกรรม งานภาพพิมพ์จากศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคนแต่ในงาน ศิลปะสิ่งทอยังไม่ปรากฏให้เห็น กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานใช้วธิ กี ารทดลองเชิงปฏิบตั ใิ ช้วสั ดุผา้ เนือ้ ออร์แกนซ่า (Oganza) ตัดรูปร่าง ในแบบต่างๆ และน�ำมาเรียงซ้อนหลายชิ้น การท�ำเทคนิคเลาะเส้นใยของรูปร่างนั้นท�ำให้เกิดประสบการณ์ใหม่ สร้างอารมณ์ ความรู้สีจากที่เปลี่ยนไป หรือรอยต่อที่ทับซ้อนของผ้าในแต่ละชิ้นสร้างความรู้คล้ายการผสมสีน้ํา ทั้งที่เป็นในสีเดียวกัน แต่ค่าน้ําหนักต่างกัน ส่วนสีที่ต่างกันจะท�ำให้เกิดสีใหม่และหลายค่าน้ําหนัก ตัวเส้นใยที่

เป็นเส้นยืนให้ค่าน้ําหนักที่อ่อนกว่าเส้นใยที่เป็นเส้นพุ่ง เพราะเกิด จากโครงสร้างการทอและการเรียงตัวของเส้นใยที่เป็นระเบียบ กว่า ยิ่งเนื้อผ้าของเส้นใยที่มีความมันแวววาว มากเท่าใดยิ่งท�ำให้ การแสดงค่าสีอิ่มมากขึ้น (Saturation) เทคนิควิธีการเรียงผ้าที่ ทับซ้อน ทั้งแบบแนวตั้งและแนวนอนให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ยิ่งการเรียงแบบแนวนอนชนิดเดียวและซ้อนแนวท�ำให้การผสม ของสีดูกลมกลืนและเป็นมิติของสีที่หลากหลาย ทั้งความนุ่มนวล มีน้ําหนัก


ค�ำส�ำคัญ • Transparent • illusion • Fibers • Fabrics • Layer • colors variation Keyword • Layer • Repeat • Colour

แนวความคิด ผลงานศิลปะสิ่งทอของข้าพเจ้าใช้ประสบการณ์จากการท�ำงานสิ่งทอในวิธีการต่างๆ เช่น การทอ การถัก การปัก การเย็บ การพิมพ์ ฯลฯ บนวัสดุหลายชนิด ผสมผสานแรงบันดาลใจจากผลงานจิตรกรรม ของจิตรกร แนว Expressionist ชื่อดัง “Mark Rothko” จุดเด่นของงานอยู่ที่การใช้ค่าของสีต่างกัน ในการแสดงอารมณ์ความรู้สึก เทคนิคการสร้างผลงานของเค้าคือการใช้สสี องสีขนึ้ ไป ทีแ่ ต่ละสีตา่ งมีความอิม่ ตัวต่างกัน และการจัดวางองค์ประกอบ ของรูปทรงสี่เหลี่ยมในมิติต่างกัน รอยต่อของสีแต่ละรูปทรงแสดงการผสมผสานอย่างนิ่มนวลคล้ายความรู้สึกของผ้า ข้าพเจ้าน�ำแนวคิดนีม้ าใช้กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานสิง่ ทอ ใช้วธิ กี ารทดลองปฏิบตั จิ ากวัสดุผา้ เนือ้ ออร์แกนซ่า (Oganza) ตัดรูปแบบร่างในแบบต่างๆ น�ำมาเรียงซ้อนหลายชิ้น การท�ำเทคนิคการเลาะเอาเส้นใยของเส้นด้ายพุ่ง ออก เหลือเส้นด้ายยืนบางส่วน รอยต่อ หรือรอยที่ทับซ้อนของผ้าในแต่ละชิ้นเหมือนสร้างความรู้คล้ายกับการผสมสี ของสีน้ําทั้งในสีเดียวกันแต่ค่าน้ําหนักต่างกัน สีที่ต่างกันจะท�ำให้เกิดสีใหม่และหลายค่าน้ําหนัก ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ในขณะที่ประเทศไทยเป็นแหล่งที่ผลิตสิ่งทอ เสื้อผ้าส�ำเร็จรูป และงานแฟชั่นเครื่องแต่งกาย จ�ำนวนมาก แต่ พื้นฐานส�ำคัญของการพัฒนาในเรื่องเหล่านี้ต้องอาศัย พัฒนาการของศิลปะสิ่งทอเป็นพื้นฐานจากที่ส�ำคัญในการสร้าง แนวความคิดใหม่ ของการท�ำงานศิลปะสิง่ ทอจะถูกดัดแปลง เพือ่ เอาไปใช้งานในการออกแบบสิง่ ทอ แฟชัน่ เครือ่ งแต่งกาย ในอนาคตตลอดจนจ�ำนวนศิลปินสายสิ่งทอ ยังมีจ�ำนวนน้อยท�ำให้ไม่เป็นที่รู้จักทั่วไปเมื่อเปรียบเทียบกับศิลปะในสาย อืน่ ๆ การท�ำงานในครัง้ นีจ้ ะแสดงให้เห็นความต่อเนือ่ งจากแนวคิดผลงานศิลปะสิง่ ทอและการน�ำไปใช้ในงานออกแบบ

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน 1. เพื่อการสร้างผ้าและสิ่งของรูปแบบส�ำหรับสินค้าแฟชั่นและ เครื่องแต่งกาย 2. เพื่อถ่ายทอดความงามของเส้นใยทั้งในลักษณะ 2 มิติ และ 3 มิติ 3. เพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะ ประเภทประดับตกแต่ง กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ศึกษาผลงานสิ่งทอและเครื่องแต่งกายประเภทต่างๆ 2. ศึกษาผลงานของศิลปิน Mark Rothko ในแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านแนวความคิด เทคนิคการสร้างงาน ทฤษฏีศิลปิน ใช้ใน การสร้างสรรค์ 3. สเก็ตซ์แบบร่างของผลงาน 4. คัดสรรวัสดุที่เหมาะสม ทดลองวัสดุหลากหลายประเภท เพื่อให้ได้ผลตามแบบร่างและแนวความคิด 5. ติดชิ้นผ้าในแต่ละสี 6. เลาะเส้นใยของเส้นด้ายพุ่ง 7. การจัดวางเลเยอร์ แต่เลเยอร์ของเนื้อผ้า 8. ปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงาน


เทคนิคและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน วัสดุ ผ้าออร์แกนซ่า กรรไกร จักร เข็มด้ายสีต่างต่าง เทคนิค การเลาะเส้นใย ของเนือ้ ผ้าออร์แกนซ่าโดยเลาะเส้นด้ายพุง่ ออกบางส่วนคงเหลือไว้ซงึ่ เส้นด้ายยืน บางส่วน จากนั้นจัดวางองค์ประกอบของงาน ที่ค�ำนึงถึงรูปทรงน�้ำหนัก และสีของเนื้อผ้าทับซ้อนกันเป็นเลเยอร์ โดยใช้เทคนิคการเย็บและปัก เพื่อการยึดติดของเนื้อผ้า องค์ความรู้ที่ได้รับจากการสร้างสรรค์ผลงาน 1. ทราบถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติของผ้าชนิดต่าง เพื่อน�ำไปใช้ในรูปแบบที่เหมาะสม 2. ทราบถึง คุณลักษณะของพื้นผิวแบบต่างๆ เพื่อใช้ในงานจิตรกรรม และเครื่องแต่งกาย

114

ภาพประกอบ เรื่องของตัวอย่างวัสดุ


ภาพประกอบเทคนิค Deconstruction Weave


116

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title โครงการออกแบบตกแต่งภายในอาสนวิหารแม่พระนิรมลอุบลราชธานี Interior Design Project for the Diocese of Ubon Ratchathani ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer อาจารย์ กศิตินทร ชุมวรานนท์ | Kasitin Chumwaranond ขนาด | Dimension 59.4 x 84.1 cm. แนวความคิด ในพระนิเวศน์พระองค์


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title โครงการออกแบบตกแต่งภายในโรงแรม เอ เอ โฮเต็ล พัทยา Interior Design Project AA. Hotel Pattaya ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer อาจารย์ เฉลิมใจ บัวจันทร์ | Chalermjai Buajan เทคนิค | Tecnique ศิลปะการจัดวางของตกแต่ง ขนาด | Dimension 120 x 60 cm. แนวความคิด การน�ำเสนอผลงานการออกแบบอย่างสไตล์ลิสและการจัดพร้อพเข้ามาช่วย เนื่องด้วยระยะเวลาและการจ�ำกัดของงบประมาณ ซึ่งยังคงกลิ่นอายเดิมของโรงแรมเก่า ที่มีความเป็นเอเชียและการมีส่วนร่วมในการท�ำงานกับเจ้าของโรงแรม

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


118

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension

เฟอร์นิเจอร์ 120 x 240 cm. | Furniture 120 x 240 cm. อาจารย์ ณฤต เลิศอุตสาหกูล | Narita Lert-Utsahakul เฟอร์นิเจอร์แบบถอดประกอบได้จากแผ่นไม้อัดแผ่นเดียว 120 X 240 cm.

แนวความคิด ออกแบบเฟอร์นิเจอร์จากแผ่นไม้อัดแผ่นเดียวไม่ให้เหลือเศษ โดยตัดเป็นชิ้นส่วนต่างๆ น�ำมาเสียบประกอบ ขัดกันโดยไม่ต้องใช้น๊อต และกาวยึด


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

นาคปรก | Nak Prok ผศ.เทิดศักดิ์ เหล็กดี | Asst.Prof. Terdsak Lakedee เทคนิคผสม | Mixed Media 80 x 100 cm. ความสงัดคือความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว ได้รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความส�ำรวม ไม่เบียดเบียนในสัตว์ทั้งหลาย และ ความเป็นผู้ปราศจาก ก�ำหนัดหรือสามารถก้าวล่วงพ้นซึ่งกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขอันประเสริฐในโลก ความขาดจากอัสมิมานะหรือ การถือตัวตนหากกระท�ำให้ (การถือตัว) หมดสิ้นไปได้นั้น เป็นความสุขอย่างยิ่ง” (พุทธวจน)


120

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title เกมเศรษฐี (นาครเขษม) Monopoly Game (Nakornkasem Edition) ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer อาจารย์ ธัชวิทย์ สีบุญเรือง | Tajchavit Sibunruang เทคนิค | Tecnique ศิลปะการจัดวาง สื่อผสม โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Instalation Art, Mixed Media and Computer Application ขนาด | Dimension 80 x 80 cm.

แนวความคิด เกมเศรษฐี ของเล่นสมัยเด็กที่แฝงไว้ด้วยแนวความคิดของการต่อต้าน ระบบเศรษฐกิจแบบผูกขาด โดยการยึดที่ท�ำกินของคู่แข่งจนครอบครอง พื้นที่ทั้งหมด และ เก็บเงินผู้ที่ล�้ำเข้าพื้นที่ของตน สะท้อนภาพสังคม ปัจจุบันของประเทศไทย ที่ชุมชนเก่าแก่ก�ำลังถูกไล่ที่ซื้อที่ดินเพื่อผูกขาด ทางเศรษฐกิจ


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title 3 บุคคลส�ำคัญ | 3 Principles ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer ผศ. พยูร โมสิกรัตน์ Asst. Prof. Payoon Mosikarat เทคนิค | Tecnique ประติมากรรมนูนต่ำ | Bas-relief ขนาด | Dimension ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์ 50 cm. แนวความคิด 3 principles

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


122

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ร่มเงา | Grey Zone ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer อาจารย์ ไพบูลย์ จิรประเสริฐกุล Paiboon Jiraprasertkun เทคนิค | Tecnique สื่อผสม | Mixed Media ขนาด | Dimension 100 x 100 x 100 cm. แนวความคิด ใต้ร่มเงา


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

หลวงพ่อโต (พระพุทธสุวรรณมงคลบพิตร) อาจารย์ ศมประสงค์ ชาวนาไร่ | Somprasong Chaonarai ปั้นหล่อซิลิคอนบรอนซ์ | Silicon bronze 12.50 m. x 20.175 m. หากเชื่อว่าพระพุทธจะบังพระธรรม ก็ควรหาจุดยืนให้เหมาะสมแก่การมอง


124

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension

One day in my life อาจารย์สัญญา สุขพูล | Sunya Sookpool Video Mapping 45 x 45 x 150 cm.

แนวความคิด My everyday life thru VPM


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

อุทยานพระธาตุ อาจารย์ สมบัติ วงศ์อัศวนฤมล | Sombat Wongarsavanarumon วาดเส้นและเทคนิคคอมพิวเตอร์ | Drawing and Computer 60 x 90 cm. ออกแบบพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดกู่แก้ว ม.3 บ้านโทกหัวช้าง ต.พระบาท อ.เมือง จ.ล�ำปาง จัดสร้างถวายโดยพลเอกยงยุทธ บุณยะวัน


126

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

บ้าน | Home ศ. เอกชาติ จันอุไรรัตน์ | Prof. Eakachat Joneurairatana คอลลาจ | Collage 50 x 70 cm. สะท้อนภาพลักษณ์ของเมืองไทยที่ผ่านมาและเป็นอยู่


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ผจญมาร | The Buddha’s Encounters with Mara ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer ผศ. โชติวัฒน์ ปุณโณปถัมภ์ Asst. Prof. Chotiwat unnopatham เทคนิค | Tecnique วาดเส้น ลงสีในคอมพิวเตอร์ Drawing, Computer ขนาด | Dimension 190 x 230 cm. แนวความคิด ภาพ”ผจรมาญ” เป็นภาพเขียนที่เเสดงช่วงเวลาส�ำคัญ ก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คตินิยมมักเเสดง เรื่องราวที่ละเอียดพิศดารของหมู่มารเเละเหล่าเสนา เป็นกองทัพยกมาพยายามขัดขวางการตรัสรู้ธรรมของ พระพุทธเจ้า ส�ำหรับเเนวคิดของพญามารในงานชุดนี้ เเสดงลักษณะของสภาวะธรรมที่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรง เห็น “ไตรลักษณ์” ด้วยพระญาณก่อนการตรัสรู้ ผ่าน มุมมองของผู้วาด ที่มีปัญญาอันน้อยนี้ เเทนค่าด้วย รูปทรงเรื่องราวเเละพื้นที่ว่างที่เเสดงอนิจลักษณะ ไม่คงที่ กลับค่ากันไปมาระหว่างรูปทรงเเละพื้นที่ว่าง ส่วนพระเเม่ธรณีผู้เป็นพยานเเห่งบารมีธรรมของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ใช้น้ำอันเกิดจากการกรวดน้ำ ในอดีตชาติปริมาณอันนับมิได้ ไหลท่วมเหล่ามารโดยใช้ สัญลักษณ์ “มือบีบมวยผม” เท่านั้น เพื่อให้สอดรับกับ รูปเเบบโดยรวม

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


128

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

Happy Tiny Space อาจารย์กัญชลิกา กัมปนานนท์ | Kanchalika Kampananon สีไม้บนกระดาษ | Pencil Color on paper 37 x 47 cm. Happy Tiny Space


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

การสร้างแบรนด์มหาวิทยาลัยไทย | Thai University Branding อาจารย์ ธนาทร เจียรกุล | Thanatorn Jiarakun สิ่งพิมพ์ | Printing 80 x 100 cm. การศึกษาตัวบ่งชี้ความส�ำเร็จในการสร้างแบรนด์ของมหาวิทยาลัยไทย


130

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ความสัมพันธ์ที่เร้นลับ 27/56 Mysterious Relationship 27/2013 ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer ผศ. สุพจน์ สิงห์สาย | Asst. Prof. Supot Singhasai เทคนิค | Tecnique สีนํ้ามันบนผ้าใบ | Oil on Canvas ขนาด | Dimension 51 x 81 cm. แนวความคิด บัวบูชา พระพุทธ พระสงฆ์ และสังขาร


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ภาพประกอบและการออกแบบเลขนศิลป์ : สมุดบันทึกระดับน้ำตาล “สวัสดีเบาหวาน - D4King” Illustration & Graphic Design : Diabetic Diary - D4King ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer ผศ. สุพิชญา เข็มทอง | Asst. Prof. Supitchaya Khemthong เทคนิค | Tecnique คอมพิวเตอร์กราฟิก | Computer Graphic ขนาด | Dimension 84 x 60 cm.

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

แนวความคิด ออกแบบตัวละครและภาพกราฟิค เพื่อส่งเสริม ประสิทธิภาพการสื่อสารข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบ�ำบัด รักษาโรคเบาหวาน และจูงใจให้เกิดพฤติกรรม ที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก


132

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension

ภาพอดีต | Images in the past อาจารย์ อนุชา โสภาคย์วิจิตร์ | Anucha Sopakvichit คอมพิวเตอร์ตกแต่งภาพ | Computer Retouching 40 x 60 cm.

แนวความคิด ตกแต่งภาพเก่าในอดีตให้มีสีสัน


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

Craspedacusta อาจารย์ อนุชา แสงสุขเอี่ยม | Anucha Sangsukaim สื่อผสม | Mixed Media 27 x 27 x 110 cm. และ 24 x 24 x 110 cm. โปร่งแสง ล่องลอยในความมืด


134

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title “สีไทยศิลปากร” ในวาระครบรอบ 70 ปี “Silpakorn Thai Tone” in the Occasion of 70 Year Anniversary ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer ผศ. ดร. ปฐวี ศรีโสภา | Asst. Prof. Patve Srisopha (Ph.D.) เทคนิค | Tecnique กระดาษพับขึ้นรูป ขนาด | Dimension 13.5 x 29 x 6 cm.

แนวความคิด ใช้เทคนิคพับกระดาษเป็นบรรจุภัณฑ์ส�ำหรับสีอะคลิลิกที่บรรจุลงในขวดแก้วจ�ำนวน 12 สี เน้นให้เปิดใช้งานสะดวก ใช้กระดาษชิ้นเดียวในการพับ และกราฟิกที่สะท้อน ความเป็นเอกลักษณ์ไทยโดยการใช้ตัวอักษรไทยในการออกแบบ ให้มีภาพลักษณ์ของ ความเป็นไทยในแบบร่วมสมัย และสร้างภาพลักษณ์ของการเป็นสินค้าระดับ Premium ส�ำหรับกลุ่มศิลปินมืออาชีพ


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

โคมไฟตั้งพื้น | Floor Lamp ผศ. ภาคภูมิ บุญธรรมช่วย | Asst. Prof. Parckpoom Boonthumchoy สแตนเลส อะคริลิค และอะคริลิคน�ำแสง | Stainless, Acrylic, Cast Acrylic Sheet 50 x 50 x 200 cm. พลังของโลกให้ก�ำเนิดแสงไฟ


136

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ทฤษฎีการเขียนทัศนียภาพเพื่อการออกแบบทางผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน Theoretical a Scenery Perspective for Sustainable Product Design ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer ผศ. ดร. รัฐไท พรเจริญ | Asst. Prof. Ratthai Porncharoen (Ph.D.) เทคนิค | Tecnique ลายเส้นปากกาลงบนพื้นกระดาษ ขนาด | Dimension ประมาณ 81 x 112 cm.

แนวความคิด สื่อแสดงแนวทางการเขียนภาพที่น�ำโครงสร้างเข้ามาช่วยก�ำหนดในการร่างภาพ ทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่แสดงให้เห็นสัดส่วนโครงร่างทั้งภายนอกและภายใน โดยสามารถที่จะน�ำมาถอดค่าสัดส่วนเป็นตัวเลขเพื่อการผลิตจริงได้ รวมทั้งข้อดี การวาดในวิธีการนี้จะส่งผลต่อการสร้างความมั่นใจในการคิดและการเขียนภาพที่ จะท�ำให้ไม่ต้องลบทิ้งเส้นในการร่างภาพเลย ซึ่งน�ำไปสู่การเขียนภาพทางการคิด และออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างยั่งยืน เพราะผู้เขียนได้พิสูจน์มาแล้ว


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

เจติย 2 | Chetiya 2 อาจารย์ เกษร ผลจ�ำนงค์ | Gaysorn Ponjamnong ไม้ไผ่ลอยตัว | Bamboo 30 x 30 x 160 cm. ระลึกถึงครูบาอาจารย์ พื้นบ้านไทย


138

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension

Serenity through Landscapes ผศ. ธีรวัฒน์ งามเชื้อชิต | Asst. Prof. Teerawat Ngarmchuachit สีอะครีลิคบนผ้าใบ | Acrylic on Canvas 100 x 110 cm.


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

OWLET รศ. ปรีชา ปั้นกล่ำ | Assoc. Prof. Preecha Pun-Klum สีอะครีลิค | Acrylic Color 200 x 160 cm. นกฮูก นกแสก นกทึดทือ แท้ที่จริงคือนกเค้าแมวสายพันธุ์ต่างๆ มนุษย์ มีความเชื่อในนกชนิดนี้ ทั้งในด้านดีให้โชคลาภ สติปัญญาและด้านร้าย ที่น�ำพาความโชคร้ายมาเยือนแตกต่างกัน นกเค้าแมวจึงเป็นสื่อ สัญลักษณ์ทางจิตของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติที่มีความลึกลับซ่อนเร้น ท้าทายส่วนลึกของจิตใต้ส�ำนึกในด้านมืดหรือสว่างก็ตาม หากพิจารณา อย่างเป็นธรรมก็จะเกิดปัญญา


140

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title สมบูรณ์พูนสุข 2 999999999/2555 owerfully of Life 2 999999999/2012 ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer ผศ. พิทักษ์ สง่า | Asst. Prof. Pitak Sa-nga เทคนิค | Tecnique เชื่อมโลหะสแตนเลส | Stainless Steel ขนาด | Dimension 81 x 16 x 16 cm.

แนวความคิด ได้ความบันดาลใจจากความเชื่อของคนภาคพื้นอาเซียนที่ว่า การที่จะด�ำเนินชีวิตที่จะต้องก้าวไปสู่ ความส�ำเร็จของชีวิตหรือการกระท�ำใดๆก็ตาม จ�ำเป็นจะต้องอาศัยความเชื่อส่วนบุคคลอย่างตั้งมั่น หลอมรวมกันกับวัฒนธรรมที่สืบทอดกันอย่างต่อเนื่องหลายชั่วชีวิตคน เข้าด้วยกันเป็นพลังอัน พิเศษและยิ่งใหญ่ คอยเฝ้าส่งถ่ายพลังให้กับผู้ที่ศรัทธาเชื่อในพลังนี้เท่านั้น พลังนี้จึงจะสัมแดงฤทธิ์ ปาฎิหาริย์ให้ประจักษ์กับผู้นั้นอย่างน่าอัศจรรย์ ความเชื่อเป็นต้นก�ำเนิดพลังของมนุษย์ชาติ สามารถส่งถ่ายผ่านเวลาได้อย่างต่อเนื่องจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่ง ภายใต้ความเชื่อที่ว่า “เวลา เปลี่ยน-สถานที่เปลี่ยน-ทุกอย่างเปลี่ยน”และมนุษย์อยู่ได้ด้วยจินตนาการหรือจินตนาการที่ท�ำให้ มนุษย์อยู่ได้อย่างไรข้อจ�ำกัด


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title “บัว” และ “ดินแดนแห่งความสุขสงบเย็น”

“Bua” and “Land of Peaceful” ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer ผศ. ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง Asst. Prof. Praiwan Dakliang เทคนิค | Tecnique สีชอล์คบนกระดาษสี และสีอะครีลิคบนผ้าใบ Chalk on Colored Paper and Acrylic on Canvas ขนาด | Dimension 53 x 73 cm. และ 50 x 70 cm.

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

แนวความคิด “บัว” ข้าพเจ้าต้องการแสดงให้เห็นถึงความงามที่อยู่ในจิตวิญญาณของมนุษย์ ที่เป็นฐานการ แสดงออกคือ ดิน น้ํา ลม ไฟ ในภาพเขียนชิ้นนี้ ข้าพเจ้าจะแสดงเรื่องของลมที่เป็นกายภาพภายนอก แล้วกระทบใจ ทําให้เกิดความรู้สึกที่พริ้วไหว จะแสดงตัวตนของคนผู้นั้น เป็นความรู้สึกที่อ่อนละมุน ละไม เมื่อได้รับรู้และสัมผัสโดยตรง “ดินแดนแห่งความสุขสงบเย็น” สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในจิตของข้าพเจ้าที่ถูกกระทบมา โดยตลอดไม่เว้นแต่ละวันนั้น ทําให้เกิดการฟุ้งซ่าน สับสน วุ่นวาย จิตเกิดความไม่สงบ วีธีหนึ่งที่ทํา ให้จิตถูกจัดระเบียบ และเกิดการปล่อยวางนั้นก็คือจะต้องหาสื่อที่ทําให้จิตเกิด ความสงบมีสมาธิอยู่ กับปัจจุบันขณะนั้น จึงเกิดการแสวงหาสถานที่ที่ทําให้จิตเกิดความสุขสงบเย็น


142

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

อารมณ์ | Mood อาจารย์ วรภรรท สิทธิรัตน์ | Vorapat Sithirath สื่อผสม | Mixed Media สูง 280 cm. ขนาดความกว้างและความยาวสามารถปรับเปลี่ยนได้ มนุษย์สามารถแสดงอารมณ์ต่างๆ ได้มากมาย อาจจะเป็นความร่าเริง ความพึงพอใจ ความโกรธ ความเจ็บปวด ความผิดหวัง เพราะ สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นกับมนุษย์นั้น จะอยู่ภายใต้สิ่งเร้า และประสบการณ์ ท�ำให้อารมณ์แปรเปลี่ยนไปมา ซึ่งอารมณ์ในลักษณะ ดังกล่าวนี้ จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลคนนั้น และบุคคลอื่นที่ พบเห็น ก็อาจมีอารมณ์ความรู้สึกคล้อยตามหรือแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ตามแต่สถานการณ์และอุปนิสัย


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ฮูก..ฮูก | Owl..Owl อาจารย์ สหเทพ เทพบุรี | Sahathep Thepburi ส�ำริด | Bronze 19 x 9 x 42 cm. อบอุ่น


144

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ช้างสามตัวก�ำลังเดินขึ้นไปสู่ทางทิศเหนือ ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer รศ. ดร. ไพโรจน์ ชมุนี Assoc. Prof. Pairoj Jumuni (Ed.D.) เทคนิค | Tecnique สื่อผสม กระดาษวาดเขียน สีไม้ หมึกเคมี และสีอะครีลิค Mixed Media and Various Techniques ขนาด | Dimension 60 x 200 x 300 cm.

แนวความคิด ผลงานนี้ เป็นการน�ำภาพวาดสื่อผสม จ�ำนวน 7 ภาพ มาประกอบกัน ให้ผู้ดูเกิดความรู้สึกคล้ายกับ การดูประติมากรรมลอยตัว หรืองานติดตั้งช้าง 3 ตัวก�ำลังเดินขึ้นไปทางทิศเหนือ ภาพนี้ศิลปินน�ำ ภาพเขียน สื่อผสม 2 ภาพ มาจับคู่กันใส่กรอบให้ดูเห็นภาพวิวต่างกัน คือ กรอบที่ 1 ภาพที่ 1 ผู้ดูต้องยืนหันหน้าลงไปทางทิศใต้จะเห็นช้างสามตัว ก�ำลังเดินเข้ามาใกล้ ช้าง พลายตัวหนึ่งก�ำลังชูงวงขึ้นสูง ช้างพังตัวกลาง เดินอยู่ค่อนไปข้างหลัง ภาพที่ 2 มองจากด้านตรง ข้ามเห็นก้นช้าง กรอบที่ 2 ภาพหมายเลข 3 เป็นวิวที่มองไปทางทิศตะวันออก เห็นช้างพลายตัวที่ลดงวงลงต่ำอยู่ ใกล้สุด เห็นดวงอาทิตย์ก�ำลังขึ้น


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ถ้าแมวตื่นขึ้นมาอะไรจะเกิดขึ้น...! | If the cats wake up...! รศ. สน สีมาตรัง | Assoc. Prof. Sone Simatrang สื่อผสม | Mixed Media 80 x 80 x 200 cm. แมวเป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดคนมากที่สุด อย่างไรก็ตามแมวยังเป็นสัตว์ แมวย่อม เข้าไม่ถึงความดีและความชั่ว ด้วยความไม่รู้และความไร้เดียงสา แมวอาจ ท�ำความเสียหายได้เสมอ ในวงการพุทธศาสนามีแมวเหลืองหลายตัวคอยท�ำร้าย พุทธศาสนา ถ้าแมวที่กล่าวถึงก�ำลังนอนหลับอยู่ เมื่อตื่นขึ้นมา อะไรจะเกิดขึ้น... ไม่มีอะไรเกิดขึ้น... มันเป็นเช่นนั้นเอง...!


146

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ด้วยพระทัยอันมุ่งมั่น ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer อาจารย์ สมพงษ์ แสงอร่ามรุ่งโรจน์ Sompong Seangaramroungroj เทคนิค | Tecnique สีอะครีลิคบนแผ่นไม้ | Acrylic on Wood ขนาด | Dimension 60 x 80 cm. แนวความคิด เดิมทีข้าพเจ้าตั้งใจว่า การแสดงผลงานคณาจารย์ของคณะ มัณฑนศิลป์ในปีนี้ จะเปลี่ยนจากการเขียนภาพพระบรมสาทิศลักษณ์ ไปเป็นแนวอื่นบ้างเพราะท�ำมาตั้งแต่ปี 2549 จนถึงบัดนี้ นับได้เป็น ร้อยๆ ภาพ แต่เมื่อวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระเจ้าอยู่หัวปีที่ผ่าน มา ข้าพเจ้าพบภาพนี้ของพระองค์ท่าน จากหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง รู้สึกประทับใจอย่างยิ่งด้วยเห็นพระองค์ทรงมีพระวิริยะ อุตสาหะใน พระราชกรณียกิจ ที่ทรงท�ำเพื่อไพร่ฟ้าประชาชนของท่าน ไม่วายเว้น แม้แต่ในยามวิกาลที่สมควรจะเป็นเวลาพักผ่อนมากกว่า แต่พระองค์ ก็ยังทรงงานอยู่ด้วยพระอากัปกิริยาที่บ่งบอกถึงความมุ่งมั่นในพระทัย อย่างเปี่ยมล้น ข้าพเจ้าจึงเปลี่ยนความตั้งใจด้วยความรู้สึกอยากจะ เขียนภาพนี้มาก ผลงานภาพพระบรมสาทิศลักษณ์ชิ้นนี้ ข้าพเจ้าท�ำขึ้น ด้วยแนวความคิดที่เกิดจากความประทับใจในพระองค์ท่าน ผนวกเข้า กับการน�ำวัสดุที่บ่งบอกถึงกาลเวลาอันผ่านไปอย่างยาวนานมาผสม เข้าด้วยกัน ตามความรู้สึกส่วนตัวของข้าพเจ้า


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

รูปหุ่นหน้าเหลี่ยมขนาดเล็กเพื่อการศึกษา ผศ. กรธนา กองสุข | Asst. Prof. Kornthana Kongsuk ปูนปลาสเตอร์ 8 x 8 x 13.5 cm. รูปหุ่นปูนหน้าเหลี่ยมในชั้นเรียนย่อขนาด 1 ใน 3 ของหุ่นจริงโดยประมาณ จัดท�ำขึ้น เพื่อแจกให้แก่นักศึกษาที่สนใจใช้เป็นแบบเรียนขนาดเล็ก น�ำไปศึกษา สร้างพื้นฐาน ที่ดีสู่การสร้างสรรค์ขั้นต่อไป คุณความดีที่จะบังเกิดขึ้นนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมอุทิศแด่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ครูอาจารย์ และผู้สร้างต้นแบบรูปหุ่นหน้าเหลี่ยม


148

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ต้นแบบแม่พิมพ์ทางเครื่องเคลือบดินเผา โดยเทคโนโลยี CAD : CAM Ceramic Case Mold by CAD : CAM Technology ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer อาจารย์ ชานนท์ ไกรรส | Chanon Kriros เทคนิค | Tecnique โปรแกรมเขียนแบบสามมิติ เครื่องจักร CNC และปูนปลาสเตอร์ Computer-Aided Design (CAD), Computer Numerical Control (CNC) and Plaster ขนาด | Dimension 15 x 20 x 10 cm. VDO 280 sec. แนวความคิด ลดขั้นตอนและระยะเวลาในการสร้างสรรค์ผลงาน เพิ่มความสะดวก เที่ยงตรงต่อคุณภาพ ตามมาตรฐานการผลิตเป็นการบูรณาการเทคโนโลยี ให้เอื้อประโยชน์แก่การออกแบบสร้างสรรค์ตามกรรมวิธีทางอุตสาหกรรม เครื่องเคลือบดินเผา


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ภาชนะรูปแมว | Cat Pottery อาจารย์ ธาตรี เมืองแก้ว | Thatree Muangkaew Hand forming Technique Blue and White 1,200 Cํ 35 x 35 x 50 cm. ภาชนะที่ได้แรงบันดาลใจมาจากการตัดทอนรูปทรงและ ลักษณะของแมว โดยมีการใช้เทคนิคตกแต่งด้วยการวาด ลายครามลงบนภาชนะ


150

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension

“หยุด” หมายเลข 2 | “STOP” NO.2 ผศ. ประเสริฐ พิชยะสุนทร | Asst. Prof. Prasert Phichayasuntorn สื่อผสม | Mixed Media 39 x 29 x 99 cm.


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชามข้าว | Rice Bowl ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer ผศ. วรรณณา ธิธรรมมา Asst. Prof. Wanna Thithamma เทคนิค | Tecnique Stonewear 1250 Cํ ขนาด | Dimension Height 7 cm. Diameter 13 cm. แนวความคิด เชื่อว่าความสุขของการรับประทานนอกจากความหิว รสชาติและความงามของอาหาร หรือกับคนที่ร่วมรับ ประทานแล้ว ถ้วย จาน ชาม ใบโปรดมักท�ำให้เราเกิด รอยยิ้มได้เสมอ

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


152

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension

ชุดน้ำชา | Teapot Set ผศ. ศุภกา ปาลเปรม | Asst. Prof. Supphaka Palprame เซรามิค เคลือบอุณหภูมิ 1250 Cํ | Ceramics 40 x 30 x 30 cm.


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

กระบวยดิน ผศ. สยุมพร กาษรสุวรรณ | Asst. Prof. Sayumporn Kasornsuwan เทคนิคขึ้นรูปด้วยมือ | Hand Forming 35 x 35 x 30 cm.


154

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title แบ่งปัน | Share Out ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer ผศ. สืบพงศ์ เผ่าไทย | Asst. Prof. Suebpong Powthai เทคนิค | Tecnique ขึ้นรูบด้วยวิธีการหล่อแบบ solid เคลือบใส ตกแต่งด้วยทอง / เคลือบที่ไม่สมบูรณ์แบบ เผาที่อุณหภูมิ 1230 Cํ และ 750 Cํ ขนาด | Dimension 15 x 20 x 15 cm. แนวความคิด น�ำเคลือบที่ไม่สมบูรณ์มีรอยแตกเหมือนดินบนท้องนาที่แห้งแล้งมาใช้ ประโยชน์ในการสื่อความหมายของการขาดแคลน การใช้ก๊อกน�้ำเพื่อสื่อถึง การกักเก็บมาใช้ร่วมกับถ้วยกาแฟ


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ก�ำไลถม | Niello Bracelet อาจารย์ ชาติชาย คันธิก | Chartchay Kuntig การสลักดุนและลงยาถม Diameter 7 cm. เทคนิคการลงยาถมคือภูมิปัญญาการสร้างสรรค์เครื่องโลหะของชาติ มานับตั้งแต่อดีตกาล สามารถน�ำมาประยุกต์เพื่อสร้างรูปลักษณ์ที่ ร่วมสมัย สอดคล้องกับรสนิยมของสังคมปัจจุบัน


156

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title เครื่องประดับสัมผัส: ประสบการณ์เครื่องประดับ เทคนิค | Tecnique การหล่อน้ำแข็ง การหายไปของเครื่องประดับ สัมผัสของผู้สวมใส่ When You Cannot See It, Just Feel It: Jewelry Within ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer อาจารย์ ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ | Taweesak Molsawat ขนาด | Dimension 2.5 x 3.25 x1.5 cm. - 3.2 x 4 x 1.5 cm. แนวความคิด เครื่องประดับจ�ำเป็นต้องเป็นวัตถุที่จับต้องได้เท่านั้น หรือเป็นเพียงแนวคิด (Conceptual idea) เกี่ยวกับเครื่องประดับและ/หรือร่างกายได้หรือไม่ ในผลงาน ชิ้นนื้ วัสดุน�้ำแข็งและการสูญหายของรูปทรงทางกายภาพของเครื่องประดับ ก่อให้เกิดการรับรู้ถึงความความรู้สึกและทิ้งร่อยรอยของความทรงจ�ำของชิ้นงานต่อผู้ สวมใส่ได้ โดยศิลปินได้สร้างสภาวะการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้สวมใส่ร่วมกับชิ้นงานที่ก่อให้เกิดความหมายใหม่และภาวะการรับรู้ใหม่ของเครื่องประดับเชิงนามธรรม ในมิติของความเป็นร่วมสมัย กล่าวคือเป็นหยิบยืมรูปทรงเดิมของเครื่องประดับหากแต่แทนที่ด้วยวัสดุใหม่ เพื่อปรับเปลี่ยนประสบการณ์การรับรู้ใหม่ของผู้สวม ใส่และผู้พบเห็น ก่อให้เกิดสร้างภาษาเฉพาะตนในการออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัย จากการตีความหมายใหม่และการตั้งค�ำถามผ่านผลงานเครื่องประดับใน ลักษณะปลายเปิด โดยให้ความส�ำคัญทั้งบริบทของเครื่องประดับ ความหมาย กระบวนการคิด ขั้นตอนการสร้างงาน การใช้วัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการน�ำเสนอ ผลงานผ่านประสบการณ์การรับรู้ใหม่ของผู้สวมใส่ ที่ก้าวข้ามกรอบเดิมของเครื่องประดับ ก่อให้เกิดการสร้างสัญญะใหม่และการแทนค่าสิ่งที่คุ้นเคยด้วยสิ่งใหม่ เพื่อให้เกิดความหมายใหม่ในการสื่อสารในบริบทร่วมสมัยและการขยายขอบเขตของความเป็นไปได้ใหม่ให้กับงานออกแบบเครื่องประดับร่วมสมัย


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

จิบน�้ำชาดื่มกาแฟ ดูการ์ตูน สนทนาประสาคนไทย อาจารย์ ภูษิต รัตนภานพ | Phusit Rattanapanop สื่อผสม | Mixed Media ขนาดผันแปรตามสถานที่

แนวความคิด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้เกิดความขัดแย้งแตกแยก ความสามัคคีกันทางความคิด ข้าพเจ้าต้องการสะท้อนมุมมอง ทางความคิดนั้นผ่านผลงานศิลปะจัดวาง ผสมผสานวัตถุอุปกรณ์ ในชีวิตประจ�ำวัน


158

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique แนวความคิด

สัญญะบริโภค | Consumable อาจารย์ ดร. วรรณวิภา สุเนต์ตา | Vanvipha Suneta (Ph.D.) การอบ เครื่องรางเป็นสัญลักษณ์ทางความเชื่อที่สั่งสมในวัฒนธรรมชาวพุทธมาเป็นเวลายาวนาน อันมีรากฐานมาจากวิถีชีวิตท้องถิ่น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการ ด�ำรงชีวิตในศีลธรรมและสอดคล้องกับธรรมชาติ เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันความนิยมในการบูชาเครื่องรางและวัตถุมงคลในสังคมไทยได้ขยายไปสู่การ ออกแบบ ผลิตและเผยแพร่ อันเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้าและสร้างความหมายใหม่ตามวิถีของสังคมเมือง ผล งานนี้กล่าวถึงแนวโน้มและมุมมองของเครื่องรางและวัตถุมงคลในสังคมไทยที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนแนวคิดของการสร้างสัญญะที่มิได้บ่งบอกเรื่องราวของ ยุคสมัยใดโดยเฉพาะ แต่เป็นการน�ำเสนอแนวคิดในสังคมอันหลากหลายและเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทแวดล้อมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานะของ เครื่องรางและวัตถุมงคลในปัจจุบันคือการสื่อสารและการบริโภคเชิงสัญลักษณ์อันน�ำไปสู่การแสดงตัวตนและพื้นที่ใหม่ทางสังคม


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

ภาระการพิสูจน์ | Burden of Proof อาจารย์ วินิตา คงประดิษฐ์ | Winita Kongpradit หล่อเนื้อเงิน 925 ขึ้นรูป 3 x 3 x 4 cm. การพิจารณาด้วยสติ น�ำมาซึ่งการพิสูจน์ในความเชื่อจากสิ่งที่เห็นและจับต้องได้


160

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

วงแหวนรอบนอก | Outer Ring อาจารย์ ดร.วีรวัฒน์ สิริเวสมาศ | Veerawat Sirivesmas (Ph.D.) สื่อผสม | Mixed Media 30 x 30 x 5 cm. การเล่นกับทัศนคติของเครื่องประดับ ผ่านค�ำที่มีนิยาม ความหมายต่างแต่รูปทรงสัญญะเป็นที่เข้าใจตามประสบการณ์


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด | Concept

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

อนิจจังประดับกาย | An Anicca Jewellery ผศ. ดร. สุภาวี ศิรินคราภรณ์ | Asst. Prof. Supavee Sirinkraporn (Ph.D.) การขึ้นรูปเครื่องประดับ 1.5 x 5 x 2.5 cm. ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการแปรเปลี่ยน All formations are impermanent


162

ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ผีเสื้อ 988+1 ตัว | 988+1 Butterflies ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer อาจารย์ ปิยะวัฒน์ พัฒนภักดี | Piyawat Pattanapuckdee เทคนิค | Tecnique สื่อผสม สีอะครีลิค และพลาสติก Mixed Media, Acrylic Color and Plastic ขนาด | Dimension 90 x 90 cm. แนวความคิด | Concept ธรรมชาติคือสิ่งที่สวยงามซึ่งมนุษย์เรามิอาจปฏิเสธได้ หากแต่เรา ควรเคารพ ให้เกียรติ และซึมซับ รับรู้ความงามโดยไม่ควรท�ำร้าย มัน งานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจในความงามของผีเสื้อผ่านการ ถ่ายทอดโดยการใช้วัสดุ สีสันและจัดวางองค์ประกอบใหม่ในชิ้น งานที่สามารถท�ำให้เราได้รับรู้ถึงความงามของธรรมชาติ โดยมิได้ ท�ำลายมันแม้แต่น้อย


ชื่อผลงานสร้างสรรค์ | Title ชื่อผู้สร้างสรรค์ | Artist/Designer เทคนิค | Tecnique ขนาด | Dimension แนวความคิด

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน

สายชล | Stream อาจารย์ วรุษา อุตระ | Varusa Utara สิ่งทอ | Fabric 40 x 60 cm. สายน้ำรินหลั่งไหลทอประกายระยิบระยับเปรียบดังพลังที่ชโลมจิตใจ


รายละเอียดโครงการบริการวิชาการ ชื่อโครงการ : โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบจากปฏิบัติการสร้างสรรค์สู่สากล หลักการและเหตุผล : คณะมัณฑนศิลป์ ก่อตั้งเมื่อ 18 พฤษภาคม 2499 นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา 56 ปี ที่ได้เปิดทำ�การเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรีใน 7 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาการออกแบบ ภายใน สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา สาขาวิชาการออกแบบเครื่องประดับ และสาขาวิชา การออกแบบเครื่องแต่งกายจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาโท 6 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ สาขาวิชาประยุกตศิลปศึกษา สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา สาขาวิชาการออกแบบภายใน สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ และสาขาวิชาออกแบบเครื่องประดับ และจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาเอก 1 สาขา คือสาขาวิชาศิลปะการออกแบบ (หลักสูตรนานาชาติ) คณาจารย์ประจำ�ของคณะมัณฑนศิลป์มีความเชี่ยวชาญ มีผลงานทางศิลปะปฏิบัติ และผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับในวงวิชาชีพ ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนางานทาง วิชาชีพและวิชาการทั้งในหมู่คณาจารย์และในวงวิชาชีพ คณะฯจึงมีนโยบายจัดแสดงนิทรรศการผลงานอาจารย์ประจำ�คณะมัณฑนศิลป์ โดยจัดแสดงนิทรรศการ ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งนี้ได้กำ�หนดให้วันที่ 15 กันยายน “วันศิลป์ พีระศรี” ของทุกปีเป็นวันเปิดแสดงนิทรรศการ เพื่อถือเป็นเกียรติแด่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ปูชนียบุคคลผู้วางรากฐานการศึกษาศิลปะร่วมสมัยของไทยที่มีคุณค่ายิ่งแก่มหาวิทยาลัยศิลปากร และวงการศิลปะร่วมสมัยไทย การจัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบ จากปฏิบัติการสร้างสรรค์สู่สากล นอกจากจะนำ�เสนอผลงานคณาจารย์ประจำ�คณะมัณฑนศิลป์ดังเช่นทุกปีแล้ว ยังจะจัดให้มีการแสดงนิทรรศการผลงานคณาจารย์ในระดับประเทศเพื่อมุ่งสู่ สากล โดยจะได้เชิญนักวิชาการ นักออกแบบ ศิลปินจากสถาบันต่าง ๆ มาร่วมนำ�เสนอและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบจากปฏิบัติการสร้างสรรค์ของท่านเหล่านั้นในครั้งนี้ 164 ด้วย เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปะและการออกแบบให้ขยายออกสู่สาธารณชนในวงกว้าง เป็นการสื่อสารด้านความคิด ความรู้สึกด้วยปัญญาที่สร้างสรรค์ต่อสังคม ระหว่างคณาจารย์ นักศึกษา ผู้ชมและผู้สนใจทั่วไป เป็นการเสนอแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานโดยอิสระในลักษณะที่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์และเชื่อมโยงความรู้สึกต่อผู้ชมเป็นสำ�คัญ และเป็นการจัดกิจกรรม ร่วมในโอกาสวันศิลป์ พีระศรี ของมหาวิทยาลัยศิลปากร วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักออกแบบ ศิลปินสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานออกแบบทางศิลปะและผลงานทางวิชาการเผยแพร่แก่สาธารณชน 2. เพือ่ เผยแพร่องค์ความรู้ สถานะความรู้ ความเข้าใจและสร้างเสริมรสนิยม มาตรฐานทางศิลปะและการอออกแบบในสาขาวิชามัณฑนศิลป์แก่นกั เรียน นักศึกษา ประชาชนและผูส้ นใจทัว่ ไป เป้าหมายจำ�นวนผู้เข้าร่วมโครงการ 1. คณาจารย์ นักวิชาการ นักออกแบบ มัณฑนากร จำ�นวน 10 คน 2. คณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ นำ�เสนอผลงานนิทรรศการ จำ�นวน 50 คน 3. นักศึกษา นักออกแบบ นักวิชาการ และประชาชนผู้สนใจทั่วไป จำ�นวนประมาณ 240 คน


แผนการดำ�เนินงาน / วิธีดำ�เนินการ แผนงาน

2555 ตค.-ธค.

2556 มค.

กพ.

มีย.

เมย.

พค.

มิย.

กค.

สค.

กย.

1. ขออนุมัติโครงการ 2.แต่งตั้งคณะกรรมการ 3.ประชุมกรรมการเตรียมแผนงาน 4. แจ้งคณาจารย์เข้าร่วม 5. โครงการและประชาสัมพันธ์ 6. เตรียมการจัดสัมมนาและปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงาน 7. จัดท�ำ-ส่งเอกสาร ประชาสัมพันธ์ 8. ประสานงานผู้อ่าน (Peer)ประสานงานผู้เสนอและจัดท�ำสิ่งพิมพ์ 9. ติดตั้งผลงาน/แสดงงาน 10. สรุปค่าใช้จ่าย ประเมินผล และรายงานผลโครงการ ระยะเวลาและสถานที่ดำ�เนินการ 1. การสัมมนาและปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงานต้นแบบ ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2556 ณ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และสถานที่ภายนอกมหาวิทยาลัย 2. จัดแสดงนิทรรศการเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สากล ระหว่างวันที่ 15 – 27 กันยายน 2556 ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


ประมาณการใช้จ่าย 1. จากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำ�ปีงบประมาณ 2556 แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม จำ�นวน 350,000 บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ดังนี้ 1.1 ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์การผลิตผลงานต้นแบบ หรือผลงานศิลปะและการออกแบบ ค่าตอบแทน ใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค รวมจำ�นวน 170,000 บาท - ค่าจัดทำ�เอกสารประชาสัมพันธ์ 5,000 บาท - ค่าอาหารทำ�การนอกเวลา 5,000 บาท - ค่าใช้จ่ายในการจัดสัมมนาและเตรียมการสร้างสรรค์ผลงาน 100,000 บาท (ค่าที่พัก ค่าพาหนะในการเดินทาง ค่าอาหารจัดเลี้ยง) - ค่าใช้จ่ายสนับสนุนผู้สร้างสรรค์ผลงาน 30,000 บาท - ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาผลงานวิชาการ 10,000 บาท - ค่าตอบแทนอื่น ๆ 10,000 บาท - ค่าวัสดุอื่น ๆ 5,000 บาท - ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 5,000 บาท 1.2 ค่าใช้จ่ายในการจัดทำ�สูจิบัตรและวัสดุติดตั้งผลงาน ค่าตอบแทน ใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค รวมจำ�นวน 180,000 บาท 166 - ค่าจัดพิมพ์โปสเตอร์ บัตรเชิญ และจัดส่ง 10,000 บาท - ค่าถ่ายภาพผลงานและประชาสัมพันธ์ 10,000 บาท - ค่าอาหารทำ�การนอกเวลา 1,000 บาท - ค่าตอบแทนอื่น ๆ 2,000 บาท - ค่าใช้จ่ายในการจัดทำ�สูจิบัตรและอาร์ตเวิร์ค 150,000 บาท - ค่าวัสดุอื่น ๆ 4,000 บาท - ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 3,000 บาท หมายเหตุ ขอถัวจ่ายทุกรายการ


ตัวชี้วัดผลสำ�เร็จจากการดำ�เนินงาน

ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ - ผู้เข้ารับบริการน�ำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ - ความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อ ประโยชน์จากการบริการ ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ - จ�ำนวนผู้เข้ารับบริการ ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ - ความพึงพอใจของผู้รับบริการในกระบวนการให้บริการ ตัวชี้วัดเชิงเวลา - งานบริการวิชาการแล้วเสร็จตามระยะเวลา ตัวชี้วัดเชิงต้นทุน - ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร

หน่วยนับ

แผน 2556

ร้อยละ

85

ร้อยละ

85

คน

300

ร้อยละ

85

ร้อยละ

100

บาท

350,000

ผล 2556

หน่วยงานที่รับผิดชอบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้รวบรวมองค์ความรู้ศิลปะการออกแบบ และเผยแพร่เพื่อการใช้ประโยชน์ในวงกว้าง ก่อให้เกิดการพัฒนาผลงานทางศิลปะและวิชาการสาขามัณฑนศิลป์ ทั้งในหมู่อาจารย์ และในวงวิชาชีพ 2. เกิดแนวความคิดและวิธีการเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาวงการศิลปะการออกแบบของประเทศ 3. เป็นกิจกรรมการประชาสัมพันธ์คณะมัณฑนศิลป์ ให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป 4. ได้ร่วมจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาส วันศิลป์ พีระศรี ของมหาวิทยาลัยศิลปากร

70 ปี แห่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตน


หลักเกณฑ์การจัดท�ำบทคัดย่อขนาดยาวเพื่อตีพิมพ์ในสูจิบัตรนิทรรศการผลงาน สร้างสรรค์ของคณาจารย์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

2. การจัดส่งบทคัดย่อขนาดยาว ไฟล์บทคัดย่อที่จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word หรือ Pages บันทึกลง บนแผ่น CD-Rom 1. รูปแบบการพิมพ์บทคัดย่อขนาดยาว จัดส่งตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 1 กรกฎาคม (รอบที่ 1) และ 26 กรกฎาคม (รอบที่ 2) บทคัดย่อขนาดยาวควรมีความยาวประมาณ 4-5 หน้ากระดาษ A4 แต่ไม่ควรเกิน ที่ส�ำนักงานเลขานุการ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ 31 ถนนหน้า 10 หน้า (รวมภาพประกอบ) มีข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (เฉพาะข้อ 1-3) ดังนี้ พระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 02 221 5874 1.1 ชื่อ-นามสกุล และต�ำแหน่งทางวิชาการ หรืออีเมล์ที่ decfacshow@gmail.com 1.2 ภาควิชาที่สังกัด 3. การพิจารณาบทคัดย่อขนาดยาว 1.3 ชื่อผลงานสร้างสรรค์ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จะพิจารณากลั่นกรองบทคัดย่อ 1.4 ที่มาและความส�ำคัญของการสร้างสรรค์ผลงาน ขนาดยาว ในปลายเดือนกรกฎาคม และจัดส่งบทคัดย่อคืนให้ผู้เขียนแก้ไขภายในต้นเดือน 1.5 วัตถุประสงค์ของการสร้างสรรค์ผลงาน สิงหาคม 1.6 แนวความคิด 1.7 กระบวนการของการสร้างสรรค์ผลงาน (มีภาพประกอบได้) 4. ก�ำหนดการด�ำเนินงานนิทรรศการ ก�ำหนดการ มิย กค สค กย 1.8 วัสดุและอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน (มีภาพประกอบได้) ประกาศรั บ บทคั ด ย่ อ และผลงาน 1.9 เทคนิคในการสร้างสรรค์ผลงาน เปิดระบบลงทะเบียนออนไลน์ 1.10 ขนาดหรือความยาวของผลงานสร้างสรรค์ ปิดรับบทคัดย่อและผลงานรอบที่ 1 1.11 ภาพผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ 168 ประชุมคณะกรรมการด�ำเนินงาน 1.12 เอกสารอ้างอิง ปิดรับบทคัดย่อและผลงาน รอบที่ 2 การเว้นขอบหน้ากระดาษ(Margin) ด้านละ1 นิ้ว แบบตัวพิมพ์(Font)THSarabun ประชุมผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทคัดย่อ ขนาด 16 point ส่งคืนบทคัดย่อให้แก้ไข ภาพประกอบ ให้ส่งไฟล์แยกต่างหาก ความละเอียดภาพไม่น้อยกว่า 300 ppi ถ่ายภาพผลงาน ขนาด กว้าง x ยาว เท่าขนาดจริงที่ใช้พิมพ์ในหน้ากระดาษ หรือขนาดไฟล์ไม่ต�่ำกว่า 500 KB ปิดรับทคัดย่อที่แก้ไขแล้วพร้อมภาพผลงาน และต้องมีค�ำบรรยายภาพก�ำกับหมายเลขทุกภาพ (ภาพประกอบที่ฝังในไฟล์ Microsoft ประชุมคณะกรรมการติดตั้ง ท�ำอาร์ตเวิร์คสูจิบัตร และสื่ออื่นๆ Word มีคุณภาพไม่เหมาะสมในการพิมพ์) ส่งบัตรเชิญ ติดโปสเตอร์ และไวนิล การอ้างอิงแทรกปนในเนื้อเรื่องให้ใช้ระบบนาม-ปี (Name-YearSystem) เท่านั้น จัดพิมพ์สูจิบัตร และเอกสารอ้างอิง  ใช้รูปแบบเดียวกันกับการจัดพิมพ์วิทยานิพนธ์ของบัณฑิตวิทยาลัย ติดตั้งผลงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร (http://www2.graduate.su.ac.th/files/thesis/2/2_04.pdf) จัดแสดงผลงาน




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.