Gem of the water

Page 1

ไข่มุก

อั ญ มณี แ ห่ ง ผื น น�้ ำ หทัยชนก เนียมวดี

Gem of the Water





ไข่มุก

อัญมณี แห่งผืนน�้ำ

Gem Of the Water



คำ�นำ� ไข่มุก หนึ่งในอัญมณีท่ีได้รับความนิยมมาโดยตลอด ความงดงามของอัญมณี

ไข่มกุ ทีด่ ภู ายนอกถึงแม้จะเรียบง่าย แต่กโ็ ดดเด่นได้ภายในตัวของมันเอง ไข่มกุ เป็นอัญมณี ที่ได้รับการรังสรรค์จากธรรมชาติโดยแท้จริง เป็นอัญมณีที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เป็นบ่อเกิด ความอัศจรรย์จากธรรมชาติทสี่ ามารถสร้างสิง่ สวยงามเช่นไข่มกุ นีอ้ อกมาให้ทกุ คนได้ครอบ ครองกัน

ไข่มุก อัญมณีแห่งผืนน�้ำ เล่มนี้ได้เรียบเรียงและเขียนขึ้น เพื่อน�ำ

เสนอความรูเ้ กีย่ วกับไข่มกุ ให้บคุ คลทีส่ นใจสามารถเข้าใจเกีย่ วกับอัญมณีประเภทนีไ้ ด้ โดย มีเนื้อหาครอบคลุม ตั้งแต่ความเชื่อเกี่ยวกับไข่มุก ต้นก�ำเนิดของการเพาะเลี้ยง และการ เลือกซื้อ ไปจนถึงการดูแลรักษาไข่มุก ขอขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมในความส�ำเร็จครั้งนี้ ทั้งคณาจารย์ พี่ๆน้องๆที่น่ารัก ที่คอยรับฟังและให้ค�ำปรึกษา ที่ส�ำคัญคือ ก�ำลังใจจากคุณพ่อคุณแม่ ที่คอยสนับสนุนจน เกิดเป็นหนังสือเล่มนี้ขึ้น

ไข่มกุ อัญมณีแห่งผืนน�ำ้ เล่มนีจ้ ะมีประโยชน์

ดิฉนั หวังว่า หนังสือ และมีคุณค่าต่อผู้อ่านทุกท่าน

หทัยชนก เนียมวดี


สารบัญ 11 บทนำ�

14 Chapter 1 ไข่มุก...ตำ�นานความเชื่อ

22 Chapter 2 ไข่มุก...มหัศจรรย์จากมือมนุษย์

30 Chapter 3 ไข่มุก...กว่าจะเป็นไข่มุกเลี้ยง


42 Chapter 4 ไข่มุกแท้ไข่มุกเทียมตรวจสอบได้

54 Chapter 5 การดูและรักษาให้ทรงคุณค่าตลอดไป

64 Chapter 6 ท่องเที่ยวชมฟาร์มในประเทศไทย


10 บทนำ�


บทนำ PEARL I PILULA I MAGARITIFERA ไข่มกุ เกิดขึน้ ได้อย่างไร ท�าไมไข่มกุ กลมๆ เหล่านี้จึงไปเกิดในหอยมุก ค�าถามเหล่านี้อาจ ก่อให้เกิดข้อสงสัยแก่ใครหลายๆคน ว่าอัญมณี สีขาว ทีส่ อ่ งประกายแวววาวอยูน่ นั้ เกิดขึน้ มาได้ อย่างไร เพราะอัญมณีชิ้นนี้ไม่ได้จะพบเจอได้ ง่ายตามแหล่งหินอย่างพวกเพชรหรือพลอย หากแต่พบได้ในหอยมุกตามแหล่งน�า้ ธรรมชาติ ต่างๆ ทั้งในล�าธาร สายน�้า และมหาสมุทร ไข่มุกเป็นอัญมณีที่สวยงามในตัวของ มันเอง โดยไม่ต้องผ่านการเจียระไนเหมือนกับ อัญมณีประเภทอื่นๆ ในอดีตกาลไข่มุกมักจะ ถูกพบด้วยความบังเอิญจากการที่ชาวทะเลไป จับสัตว์น�้าขึ้นมาเป็นอาหาร แล้วบังเอิญไปเจอ

กับไข่มกุ ในตัวของหอยมุกเข้าขณะทีเ่ ปิดเปลือก หอยออกมา เมื่อได้พบเห็นไข่มุกที่อยู่ด้านใน เปลือกหอยก็เห็นถึงความสวยงาม แวววาว ของมัน จึงท�าให้ใครๆที่ได้พบเจอต่างก็พากัน หลงใหล ปราถนาที่จะได้ไข่มุกมาไว้ในครอบ ครอง ไข่มุกจึงกลายเป็นส่ิงที่มีค่า มีราคา มี การน�าเอาไข่มกุ เหล่านีม้ าท�าเป็นเครือ่ งประดับ และเป็นเครื่องบรรณาการส�าหรับผู้ที่มีอ�านาจ ในขณะนั้น ตั้งแต่นั้นจนถึงปัจจุบันไข่มุกจึงยัง คงเป็ นอั ญ มณี ที่ ไ ด้ รับ ความนิ ย มอั น ดั บ ต้ น ๆ ของคุณสุภาพสตรี ที่หมายมั่นจะต้องมีเครื่อง ประดับไข่มุกสักชิ้นมาไว้ในครอบครอง

บทน�า 11


ไข่มุก หรือ PEARL มาจากรากศัพท์เดิมของคำ�ว่า PILULA ในภาษาละตินที่แปลว่าลูกบอล อสันนิษฐานว่าเป็นเพราะไข่มุกมีลักษณะกลมรูปร่างคล้ายลูกบอลจึงได้รับชื่อนี้มา

ไข่

มุกจัดอยูใ่ นอัญมณีประเภทอินทรีย์ ซึง่ หมายถึง อัญมณีทไี่ ด้มาจากสิง่ มีชวี ติ ซึง่ ไข่มกุ นัน้ เกิดจาก หอยมุกน�้ำจืดและหอยมุกน�้ำเค็ม ซึ่งมีทั้งที่เกิดตาม ธรรมชาติ และการเพาะเลี้ยง โดยจะเป็นหอยประเภท หอยนางรมและหอย 2 ฝาชนิดอื่นๆ หอยมุกจะมี ลักษณะที่แตกต่างพิเศษกว่าหอยชนิดอื่นๆตรงที่ หอย มุกจะมีแคลเซียมคาร์บอเนต ลักษณะเป็น “มุก” (NUCREOUS) ท�ำให้ฝาหอยด้านในและไข่มุกที่อยู่ภายในมี ลักษณะแวววาวงดงาม หอยมุกทุกชนิดจะผลิตไข่มกุ ได้กต็ อ่ เมือ่ มีวตั ถุสงิ่ ใดสิง่ หนึง่ เช่น กรวด ทราย เศษหิน ฯลฯ พลัดหลงเข้าไป ในตัวหอยมุก ท�ำให้เนื้อหอยเกิดการระคายเคือง หอย มุกจึงขับ “น�้ำมุก” (NACRE) ออกมาเคลือบสิ่งแปลก ปลอมเพือ่ ลดการระคายเคือง หอยมุกจะขับน�ำ้ มุกออก

12 บทนำ�

มาเคลือบอยู่ตลอดเวลา ท�ำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นมี ขนาดหนาหรื อ โตขึ้ น เรื่ อ ยๆ จนกลายเป็ น ไข่ มุ ก ที่ แวววาวงดงาม ไข่มกุ ทีเ่ กิดขึน้ ตามธรรมชาติจะมีรปู ร่างคล้ายกับ สิ่งแปลกปลอมที่ถูกพัดให้เข้าไปติดด้านในตัวหอยมุก บางครั้งเราอาจจะเห็นว่าภายในฝาหอยได้ในจะพบ ลักษณะรูปลอยนูนคล้ายรูปปลา หรือใกล้เคียง ถ้าหาก เราเจียตัดออกมาจากเปลือกเราก็จะได้ไข่มุกซีกที่มีรูป ร่างคล้ายกับปลา แต่​่โดยส่วนมากแล้วจะเก็บเปลือก หอยให้คงลักษณะอย่างนัน้ ไม่เจียระไนออกมาเนือ่ งจาก ว่าเป็นสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ และหาได้ยาก ซึง่ รูปร่างของไข่มกุ จะ มีได้หลายหลายรูปแบบ ได้แก่ กลม รูปไข่ หยดน�้ำ กระดุม หรือมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน เป็นต้น


บทนำ� 13 บทนำ�


14 Chapter 1


1

Chapter

ไข่มุก

ตำนานความเชื่อ อัญมณีสีขาว สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ และ ความสมบูรณ์ ทีเ่ รียกว่า “ไข่มกุ ” ถูกค้นพบมาตัง้ แต่ยคุ ก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งถูกพบโดยความบังเอิญในขณะ ที่มนุษย์ออกไปหาอาหาร และด้วยความงามของไข่มุก ที่มีลักษณะแวววาว ดูแล้วเป็นของสวยงามมีค่า ท�าให้ ใครๆต่างพากันหลงใหล ปราถนาที่อยากจะได้ไข่มุกมา ไว้ในครอบครอง ซึ่งในขณะนั้นไข่มุกจะเป็นสิ่งที่ถูกน�า เอามาเป็นเครื่องบรรณาการให้กับเจ้านายชั้นสูง ผู้มี ยศฐาบรรดาศักดิ์ หรือผู้ที่มีอ�านาจเท่านั้น เชื่อกันว่าไข่มุกถูกค้นพบครั้งแรกในบริเวณ ตะวันออกกลาง โดยในบันทึกโบราณได้มีการกล่าวถึง การงมหาไข่มกุ ของชาวบาบิโลเนียนในอ่าวเปอร์เซียเอา ไว้ จากความงดงามของไข่มุก ท�าให้มีต�านานเล่า ขานถึงความเชื่อเกี่ยวกับไข่มุกไว้อย่างหลากหลาย ซึ่ง

ต่างสถานที่ก็ต่างความเชื่อกันออกไป อย่างในชาว ตะวันออกกลางบางกลุม่ บอกไว้วา่ ไข่มกุ เป็นอัญมณีแห่ง สายน�า้ มีพลังทีข่ อ้ งเกีย่ วกับดวงจันทร์ หรือเป็นเทพีแห่ง แสงจันทร์ อาจเป็นเพราะความแวววาว เปล่งประกาย ของไข่มุกที่เหมือนกับดวงจันทร์สะท้อนแสงในยาม ค�่าคืน บ้างก็ว่าไข่มุกคือน�้าตาของเทพเจ้า และหากใคร ได้สวมใส่ไข่มุก จะมีพลังช่วยให้ผู้ที่ส่วมใส มีวิสัยทัศน์ที่ ชัดเจน เกิดปัญญามีความรู้ความเข้าใจ หรือแม้กระทั่ง เป็นอัญมณีที่ท�าให้ผู้ส่วมใส่หลับสบาย ฝันถึงแต่สิ่งที่ งดงาม จากทีเ่ ขียนเล่ามาข้างต้นไปเป็นเพียงความเชือ่ และต�านานบางส่วนเท่านัน้ หากอยากรูถ้ งึ ความเชือ่ และ ต�านานอื่นๆเกี่ยวกับไข่มุกอีก ให้พลิกไปหน้าถัดไปแล้ว คุณจะเพลิดเพลินไปกับความเชือ่ และต�านานของไข่มกุ ว่าไข่มุกเม็ดกลมๆมันมีความอัศจรรย์มากมายเพียงใด

Chapter 1 15


จีนโบราณ ประเทศจีน จากวัฒนธรรมอันเก่าแก่ ชาวจีนมองว่า ไข่มกุ นัน้ เป็นสิง่ ทีล่ ำ�้ ค่า มีราคา ค่างวดสูงเทียบเท่ากับความ ลึกลับเวทมนตร์ เคยได้รบั ยกย่องว่าเป็น ‘ราชินขี องอัญมณี’ โดยแต่เดิมนัน้ ไข่มกุ เคยเป็นสิง่ ทีใ่ ช้เป็นเครือ่ งบูชาและเป็น สัญลักษณ์ทางศาสนา ต่อมาภายหลังไข่มุกได้กลายเป็นสิ่ง ที่ มี ค ่ า คู ่ ค วรแก่ ก ารครอบครองของชนชั้ น สู ง หรื อ ผู ้ ที่ มี อ�ำนาจเท่านั้น ต�ำนานจีนเล่าขานกันว่า ไข่มุกมีแสงสว่างไสวสดใส สามารถทีจ่ ะมองเห็นไข่มกุ ในทีม่ ดื ได้ แม้จะอยูใ่ นระยะไกล หลายร้อยกิโลเมตร ชาวจีนมีความเชื่อว่า มังกรซึ่งเป็นสัตว์แห่งสรวง สวรรค์เป็นผู้พิทักษ์ไข่มุกอันเป็นสัญลักษณ์ของสติปัญญา เอาไว้ ซึ่งมังกรจะเก็บรักษาไข่มุกไว้โดยการคาบไว้ในปาก อันทรงพลัง ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถที่จะแย่งชิงเอามาได้ เว้น แต่ว่ามังกรมีความพึงพอใจที่จะมอบให้เอง เมื่อนั้นมันก็จะ คายมุกออกจากปากมอบให้คนทีม่ นั พึงพอใจไว้ครอบครอง เท่านั้น

16 Chapter 1


อินเดียโบราณ

มุกในหน้าประวัติศาสตร์อินเดียนั้น ได้ถูกค้น พบว่ า กล่ า วถึ ง ในคั ม ภี ร ์ เวดาของพราหมณ์ ใ นช่ ว ง ประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล ปัจจุบนั เจ้าสาวชาวอินเดียยังคงวัฒนธรรมในการ สวมใส่ไข่มกุ ในวันแต่งงานอยู่ เนือ่ งจากต�ำนานของชาวฮินดูทถี่ กู เล่าขานมาตั้งแต่สมัยก่อนว่า มีการอ้างว่าพบไข่มุกครั้งแรกในท้อง มหาสมุทรทีล่ กึ ทีส่ ดุ และได้ถวายให้แก่พระกฤษณะไว้ ผูซ้ งึ่ เป็นเทพเจ้า ที่ชาวฮินดูนิยม และพระกฤษณะเองนั้นได้มอบไข่มุกเม็ดนั้นให้เป็นของขวัญวันแต่งงานแก่ ลูกสาวที่ชื่อพานดาอา อีกต�ำนานทีเ่ ล่าขานกันมาของชาวอินเดีย ว่ามีเจ้าหญิงองค์หนึง่ ถูกบิดาบังคับให้แต่งงาน กับพระราชาอีกเมืองซึ่งมีอายุมากกว่า แต่เจ้าหญิงนั้นทรงมีเจ้าชายจากเบนารัสเป็นคนรักอยู่ แล้ว ท�ำให้เจ้าหญิงถูกพระราชบิดากักขังไว้ในพระราชวังใกล้กับชายทะเล ต่อมาเจ้าชายตาย ในสงคราม เมื่อเจ้าหญิงทรงทราบข่าวท�ำให้พระองค์เสียใจมาก พระองค์ร้องไห้ด้วยความ ตรอมตรมจนสิ้นพระชนม์ในที่สุด เทพแห่งความรักจึงแปรแปลี่ยนน�้ำตาของเจ้าหญิงให้เป็น ไข่มุก นับแต่นั้นมาชาวอินเดียจึงเชื่อมโยงให้ไข่มุกเป็นสัญลักษณ์ของความรักและน�้ำตา

Chapter 1 17


อียิปต์โบราณ

ในอียิปต์มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับไข่มุกอันโด่งดังที่ถูก กล่าวถึงคือ ครัง้ เมือ่ มีการเฉลิมฉลองความส�ำเร็จจากการ ท�ำสงคราม โดยพระนางคลีโอพัตราได้จัดงานเลี้ยงให้แก่ มาร์ค แอนโทนี่ผู้ซึ่งเป็นแม่ทัพแห่งกรุงโรม พระนางได้มีการ พนันกับมาร์คแอนโทนี่ว่าพระนางสามารถรับประทานอาหาร เพียงมื้อเดียวในราคาสูงสุด 6.5 ล้านอเมริกันดอลล่าร์ หรือเทียบ เท่ากับเงินหนัก 45,000 กิโลกรัม โดยการที่พระนางได้รับสั่งให้คนใช้ น�ำเอาแก้วใส่นำ�้ ส้มสายชูเข้ามา และได้ถอดเอาต่างหูมกุ ทีท่ รงอยูใ่ ส่ลงไปในแก้ว จากนัน้ เมือ่ ไข่มุกละลายพระนางจึงทรงยกขึ้นดื่ม นอกจากนีพ้ ระนางคลีโอพัตรา มักจะน�ำเอาต่างหูมกุ ทีต่ นสวมใส่อยูล่ งไปแกว่งในเหล้า องุน่ ทุกครัง้ ก่อนดืม่ เพราะพระนางมีความเชือ่ ว่าไข่มกุ นัน้ มีพลังทีจ่ ะรักษาความหนุม่ สาวเอา ไว้ได้

18 Chapter 1


กรีกโบราณ

ชาวกรีกโบราณมีความเชื่อว่าไข่มุกมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเทพเจ้า แห่งความรัก หรือเทพเจ้าอะโฟไดต์นนั่ เอง เนือ่ งจากว่าเทพอะโฟไดต์พระองค์ เกิดจากทะเล ออกมาจากเปลือกหอยจึงท�ำให้เทียบเท่ากับว่าพระองค์เปรียบ เหมือนดั่งไข่มุก ทั้งนี้ชาวกรีกเชื่อกันว่าหยดน�้ำตาของเทพอะโฟไดต์ จะแปร เปลี่ยนเป็นไข่มุกเมื่อสัมผัสกับน�้ำทะเล นอกจากนี้ชาวกรีกยังมีความเชื่อเรื่องการเกิดไข่มุกอีกว่า ไข่มุกนั้นเกิด จากการที่ฟ้าผ่าลงไปในท้องทะเล

Chapter 1 19


20 Chapter 1


Chapter 1 21


22 Chapter 2


Chapter

2

ไข่มุก

มหัศจรรย์จากมือมนุษย์

ในอดีตไข่มุกถูกพบด้วยความบังเอิญจากการที่ มนุษย์ออกไปหาอาหารแล้วไปพบไข่มุกเข้าครั้งเมื่อเปิด ฝาหอยออกมา และด้วยความที่ไข่มุกมีลักษณะแวววาว เปล่งประกาย จึงกลายเป็นของที่มีค่าไปในที่สุด โดยไข่มุกเป็นสิ่งมหัศจรรรย์ที่ถูกรังสรรค์โดย ธรรมชาติ ผูค้ นต่างหมายปอง ปราถนาอยากจะได้ไข่มกุ มาไว้ครอบครองกันทั้งสิ้น หากแต่เมื่อวันเวลาผ่านเลย ไปความนิยมในไข่มุกก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ จนไข่มุกที่ได้รับ การรังสรรค์จากธรรมชาติก็มิอาจเพียงพอต่อความ ต้องการและความนิยมของมนุษย์ จึงท�าให้เหล่ามนุษย์ ทัง้ หลายต่างพยายามหาค�าตอบว่าไข่มกุ นัน้ เกิดขึน้ มาได้ อย่างไร เหตุใดจึงพบเจอของมีค่าในหอยตัวเล็กๆเพียง ตัวเดียวและหอยตัวเล็กๆเหล่านั้นสามารถสร้างสิ่งที่ งดงาม มีค่าอย่างไข่มุกได้อย่างไร และเมื่อมนุษย์ได้ค้น พบถึงข้อเท็จจริงที่ว่า การเกิดไข่มุก ในหอยมุกตามธรรมชาติหรือที่เรา

เรียกว่าไข่มุกธรรมชาตินั้น เกิดจากการที่มีสิ่งแปลก ปลอมอย่าง เศษกรวด หิน ดิน ทรายหลุดเข้าไปภายใน ตัวหอย จากนัน้ หอยจึงเกิดอาการระคายเคืองจึงขับเอา น�้ามุกออกมาเคลือบสิ่งแปลกปลอมนั้นไว้ เมื่อเวลาผ่าน ไปหอยมุ ก ก็ ป ล่ อ ยสารมาเคลื อ บสิ่ ง แปลกปลอมนั้ น เรื่อยๆ จนในที่สุดก็เกิดเป็นไข่มุก และจากหลักการการ เกิดเกิดไข่มุกที่กล่าวมาข้างต้นนี้ท�าให้มนุษย์น�าเอาไป คิดค้นทดลองจนในทีส่ ดุ ก็ได้กรรมวิธกี ารผลิตไข่มกุ เลีย้ ง ขึ้นมา มาถึงตอนนี้หลายคนคงอยากจะรู้แล้วว่าไข่มุก เลีย้ งมีตน้ ก�าเนิดมาจากทีใ่ ด ภายในบททีส่ องนีจ้ ะพาคุณ ผู้อ่านไปสัมผัสรับรู้เรื่องราวการก�าเนิดไข่มุกเลี้ยง แล้ว คุณจะรู้ว่าไม่ใช่เพียงธรรมชาติเท่านั้นที่รังสรรค์สิ่งที่ งดงามได้ มนุษย์เราเองก็มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไป กว่าธรรมชาติเลย

Chapter 2 23


ต้นกำ�เนิดไข่มุกเลี้ยง

ความงามสร้างได้จากน้ำ�มือของมนุษย์ เมื่อเวลาแปรเปลี่ยน ไข่มุกธรรมชาติก็หา ยากขึน้ และความต้องการไข่มกุ ก็มมี ากขึน้ ใครๆ ต่างพากันอยากจะได้และครอบครองไข่มกุ อย่าง ไม่มที ส่ี นิ้ สุด ในขณะเดียวกันการทีจ่ ะหาไข่มกุ มา ตอบสนองความต้องการของมนุษย์กแ็ ทบจะเป็น ไปไม่ได้ เพราะเราไม่สามารถจะคาดเดาได้เลยว่า ในหอยมุกตัวไหนจะมีไข่มุกหรือไม่ และผลจาก การทีไ่ ข่มกุ เป็นทีต่ อ้ งการท�ำให้ไข่มกุ ธรรมชาติยงิ่ หายากขึน้ ไปอีก จนในทีส่ ดุ ไข่มกุ ธรรมชาติกลาย เป็นของหายาก จึงได้มกี ารศึกษา ค้นคว้าทดลอง

24 Chapter 2

การเพาะเลี้ยงหอยมุกขึ้นมาเพื่อผลิตไข่มุกให้มี มากพอต่อความต้องการ โดยปรากฎหลักฐานที่แสดงถึงการท�ำมุก เลี้ยงส�ำเร็จคือชาวจีน ซึ่งมีการท�ำมุกเลี้ยง โดย ย้อนไปในยุคต้นศตวรรศที่13 ชาวจีนจะน�ำเอา วัสดุขนาดเล็กที่มีความแตกต่างกันไปติดบริเวณ เปลือกหอย ซึ่งในสมัยนั้นจะท�ำในหอยมุกน�้ำจืด หลังจากนั้นจึงน�ำเอาหอยที่ใส่วัสดุเสร็จแล้วไป ปล่อยลงในน�้ำ เลี้ยงไว้เป็นเวลา1ปีหรือนานกว่า นั้น เมื่อครบเวลาที่ก�ำหนดไว้จึงน�ำหอยกลับมา

ผลปรากฏว่าเกิดเหลือบสีรุ้งขึ้นที่วัสดุที่ติดใน เปลือกหอย ซึ่งถือว่าเป็นมุกเลี้ยงชนิดแรกที่เกิด ขึ้น เรียกว่ามุกครึ่งซีก หรือมุกบริสเตอร์ (Blister Pearl) ซึง่ วัสดุทสี่ อดใส่ลงไปจะเป็นวัสดุทที่ ำ� จาก งาช้าง เซรามิค และเปลือกหอย โดยสามารถ ท�ำได้หลายรูปทรงทั้งทรงกลม ครึ่งเม็ด รูปหัวใจ รูปพระ หรือรูปอื่นๆก็ได้ จากนัน้ จึงมีการท�ำมุกเลีย้ งอย่างจริงจังใน ศตวรรษที่18 โดยการทดลองของนักธรรมชาติ วิทยาชาวสวีเดน ซึ่งเขาสามารถเพาะเลี้ยงไข่มุก


ทรงกลมในหอยมุกน�ำ้ จืดได้สำ� เร็จ โดยเขาน�ำเอา ก้อ นหิ นปู น เล็ก ๆใส่ลงไปในเปลือกหอยที่เขา ท�ำการเจาะรู้ไว้แล้ว ซึ่งหินปูนเล็กๆนั้นจะเข้าไป อยู่ระหว่างเนื้อเยื่อและเปลือกหอย ด้วยความที่ เขาต้องการผลิตไข่มุกกลมทั้งเม็ดเขาจึงใช้ลวดที่ ดัดเป็นตัวทีใส่เข้าไปในรูของเปลือกหอยทีเ่ จาะไว้ เพื่ อ ดั น ให้ เ ม็ ด หิ น ปู น ออกไปห่ า งจากผิ ว ของ เปลือกหอย และหลังจากทีเ่ ข้าทิง้ หอยไว้ในแม่นำ� เป็ น เวลา 6 ปี เขาก็ พ บกั บ มุ ก เลี้ ย งกลมที่ มี คุณภาพ จาการทดลองของเขาเอง ขณะเดี ย วกั น ในช่ ว งศตวรรษที่ 1 8 ใน ประเทศญี่ปุ่น โคคิชิ มิกิโมโตะ ก็เริ่มท�ำการ ทดลองเพาะเลี้ยงไข่มุกโดยการใช้หอยมุกอะโค ย่า ซึ่งมุกเลี้ยงที่เขาท�ำขึ้นตอนนั้นเป็นมุกเลี้ยง ครึ่งซีก โดยในขณะนั้นมิกิโมโตะไม่รู้เลยว่ามีมุก เลีย้ งครึง่ ซีกนีไ้ ด้เกิดขึน้ แล้วในประเทศจีน แต่วธิ ี การของเขาค่อนข้างยุ่งยาก โดยวิธีการนี้เขาได้ คิดค้นท�ำงานร่วมกับโอโตโคชิ คูวาบารา คือการ ม้วนหรือห่อหุ้มแกนนิวเคลียสลงในเนื้อเยือให้ เกิดเป็นถุงไข่มกุ ก่อนทีส่ อดใส่ลงไปในตัวหอยมุก เมื่อส�ำเร็จมิกิโมโตจึงจดสิทธิบัตรเทคนิคนี้ไว้ จากนั้นมิกิโมโตะก็ได้พบกับ ทัตซูโอะ มิ เสะ และโทกิชิ นิชิกาวา ชาวญี่ปุ่นสองคน และ เขาทั้งสามคนก็ได้ร่วมมือกันคิดค้นวิธีการเพาะ เลี้ยงไข่มุกกลมในหอยมุกอะโคย่าจนส�ำเร็จ โดย การทีน่ ำ� เอาลูกปัดทรงกลมซึง่ ตัดกลึงจากเปลือก หอยน�้ำจืด โดยน�ำเอาลูกปัดนี้มาหุ้มด้วยเนื้อเยื่อ ของหอยมุกก่อนจากนัน้ จึงน�ำไปใส่ในตัวหอยมุก จนได้ไข่มุกคุณภาพสมบูรณ์ในที่สุด ซึ่งมิกิโมโตะ ได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการเพาะเลี้ยง ไข่มุกเชิงอุตสาหกรรม” การท�ำมุกเลีย้ งในประเทศญีป่ นุ่ แต่เดิมจะ

ต้องท�ำการหาแหล่งหอยมุก โดยการว่าจ้างนักด�ำ น�ำ้ ผูห้ ญิงทีเ่ รียกว่า อะมา ให้ไปงมหาหอยทีจ่ ะน�ำ มาใส่แกน เมื่ออะมางมหอยที่สมบูรณ์ตามที่ ต้องการมาได้แล้ว ก็จะน�ำหอยนัน้ ไปฝัง่ แกนแล้ว น�ำกลับไปเลี้ยงต่อจนครบก�ำหนดการเก็บเกี่ยว ไข่มุก แต่เนื่องด้วยเวลาผ่านไปมีการงมหาหอย มาท�ำมุกเลี้ยงเพียงอย่างเดียวท�ำให้จ�ำนวน หอยในทะเลลดน้อยลง จึงมีการคิดพัฒนา ท�ำการเพาะเลี้ยงหอยขึ้นเพื่อให้มีจ�ำนวนที่เพียง พอ จวบจนปัจจุบันนี้การท�ำมุกเลี้ยงก็จะใช้หอย ที่เพาะเลี้ยงเองมาท�ำการผลิตไข่มุกแทนการงม หาหอยในท้องทะเลเหมือนแต่ก่อน จากที่ครั้งหนึ่งไข่มุกเป็นอัญมณีที่หายาก และมีราคาสูงมาก อัญมณีที่คนทั่วไปไม่สามารถ หามาครอบครองได้ กลายมาเป็นอัญมณีที่ตอน

นี้คนทั่วไปก็สามารถหามาครอบครองได้อย่าง แพร่หลาย แต่กว่าไข่มุกเลี้ยงจะได้รับความนิยม เช่นทุกวันนี้ ในสมั ย ก่ อ นไข่ มุ ก เลี้ ย งก็ เ คยได้ รั บ การ ปฏิเสธมาก่อนในช่วงแรก แต่ด้วยการสนับสนุน และการให้ข้อมูลที่ถูกต้องว่าไข่มุกเลี้ยงก็เป็น ไข่มุกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพียงมีมนุษย์เป็นผู้ เข้าไปมีส่วนร่วมในช่วงต้นและช่วงเก็บเกี่ยว เท่านั้น ไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวระหว่างกระบวนการ ผลิตไข่มุกของหอยแต่อย่างใดหอยเป็นผู้กระท�ำ การผลิตไข่มกุ ด้วยตัวเองตามธรรมชาติของมันทัง้ สิ้น จึงท�ำให้ไข่มุกเลี้ยงเป็นที่ยอมรับและแพร่ หลายในที่สุด

Chapter 2 25


หอยมุกมาเบที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง ไข่มุกครึ่งซีก โดยทำ�การนำ�มาแข วนร้อยด้วยเชือก ก่อนนำ�ลงไป เลี้ยงใต้น้ำ�ทะเล ในระยะความลึก 1เมตร

26 Chapter 2


การทำ�ฟาร์มไข่มุกเลี้ยง ในประเทศไทย ฟาร์มมุกเลี้ยงในประเทศไทยแห่งแรกก่อ ตั้งในปี ค.ศ.1965 เป็นฟาร์มมุกเลี้ยงน�้ำเค็ม บน เกาะนาคาน้อย ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของ ทะเลอันดามัน ไม่ไกลจากเกาะภูเก็ตมากหนัก ซึง่ เจ้าของคือคนไทย ชื่อคุณสุจิต หิรัญพฤกษ์ ซึ่งได้ ซื้อเกาะและตั้งบริษัทมุกนาคา โดยมีการลงทุน ร่วมกับชาวญี่ปุ่น ในระยะแรกการท�ำมุกเลี้ยงจะใช้ช่างชาว ญี่ปุ่น โดยหอยที่ใช้ก็จะเป็นหอยมุกพันธุ์ Pinctada Maxima ซึ่งได้จากการให้ชาวประมงงมหา มาให้จากในทะเล โดยหอยมุกทีจ่ ะใช้ในการเพาะ เลี้ยงไข่มุกนั้นจะต้องเป็นหอยที่มีอายุ 3 ปี โดย จะน�ำหอยที่ต้องการผ่าตัดมาวางไว้บนพื้นน�้ำ ทะเลก่ อ นเพื่ อ ให้ ห อยอ้ า ฝาออก จากนั้ น จึ ง ท�ำการผ่าตัดใส่แกนนิวเคลียสและเนือ้ เยือ่ ลง เมือ่ ท�ำการผ่าตัดเสร็จแล้วจึงน�ำหอยมุกนี้ไปเลี้ยงไว้ เป็นเวลา 1ปีกว่าจึงท�ำการเก็บเกี่ยวไข่มุก ปั จ จุ บั น นี้ ก ารท� ำ ฟาร์ ม มุ ก เลี้ ย งใน ประเทศไทยลดน้อยลงมาก เนื่องด้วยจากสภาพ แวดล้อมทางธรรมชาติ และไข่มุกที่ผลิตได้ใน ประเทศไทยคุณภาพอาจจะยังสู้ไข่มุกเลี้ยงจาก ประเทศอื่ น แต่ ก ารท� ำ ฟาร์ ม มุ ก เลี้ ย งใน ประเทศไทยก็ยังพอมีอยู่ อย่างในจังหวัดภูเก็ต

เองก็ยังมีฟาร์มไข่มุกให้ได้ไปเที่ยวชม และยังมี การท�ำมุกเลี้ยงเพื่อส่งขายอยู่อีกด้วยเช่นกัน ในส่ ว นของฟาร์ ม มุ ก เลี้ ย งน�้ ำ จื ด ใน ประเทศไทยนั้ น ยั ง อยู ่ ใ นระยะทดลองของ ศู น ย์ วิ จั ย และพั ฒ นาประมงน�้ ำ จื ด ซึ่ ง ขณะนี้ ประสบความส�ำเร็จเป็นทีเ่ รียบร้อย และมุง่ เน้นที่ จะสนับสนุนให้ชาวประมงหันมาท�ำฟาร์มมุกน�้ำ จืดต่อไป ชนิดของหอยมุกทีใ่ ช้เพาะเลีย้ งเพือ่ ผลิต ไข่มกุ ในปะเทศไทยมีดว้ ยกันหลายชนิด และให้ ผลผลิตต่างๆดังนี้ หอยมุกน�้ำเค็ม Pinctada Maxima หรือที่คนไทยเรียก กันทั่วไปว่าหอยจาน จะผลิตไข่มุก South Sea ให้ไข่มุกกลมสีขาว สีเงิน สีครีม สีเหลือง สีทอง ฯลฯ Pinctada Magaritifera เรียกหอยจาน เช่นเดียวกัน ผลิตไข่มกุ South Sea ให้ไข่มกุ กลม สีเทา สีด�ำ สีเขียว Pinctada Fucata ชาวบ้านเรียกกันว่า หอยแกลบ หอยมุกกระจิ หรือหอยมุกกระแจะ จะผลิตไข่มุก Akoya ให้ไข่มุกสีขาว สีครีม ชมพู คล้ายไข่มุกเซ้าท์ ซี แต่มีขนาดเล็กกว่า

Pteria Penguin หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า หอยปีกนก หอยมุกกวาง หรือหอยมุกกัลปังหา ผลิตไข่มุก Mabe หรือไข่มุกครึ่งซีก หอยมุกน�้ำจืด มีด้วยกันทั้งหมด3ชนิดคือ หอยกาบใหญ่ มี ชื่ อ ทางวิ ท ยาศาสตร์ ว ่ า Chamberlainia hainesiana, หอยกาบ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hyriopsis (Limnoscapha) myersiana และ หอยขาว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hyriopsis (Limnoscapha) desowitzi โดยหอยทั้งสาม ชนิดนี้ ให้ผลผลิตไข่มกุ ทีม่ รี ปู ร่างแตกต่างกันออก ไป ส่วนมากจะเป็นรูปร่างทีไ่ ม่แน่นอน และสีของ ไข่มุกจะขึ้นอยู่กับเปลือกของหอยมุกด้านใน ไข่ มุ ก เลี้ ย ง ไข่ มุ ก จากน�้ ำ มื อ มนุ ษ ย์ ที่ รังสรรค์ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการและ ความใฝ่ฝันของผู้ที่ต้องการได้ไข่มุกมาในครอบ ครอง ถึ ง แม้ จ ะเป็ น อั ญ มณี ที่ ม นุ ษ ย์ ก� ำ หนด กระบวนการสร้างขึ้น แต่คุณค่าของไข่มุกเลี้ยง เหล่านี้ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากไข่มุกธรรมชาติแต่ อย่างใดเลย มุกเลีย้ งเหล่านีอ้ าจจะสวยงามถูกตา ต้องใจใครหลายคนกว่ามุกธรรมชาติเสียอีก ซึ่ง ไข่มุกเลี้ยงนี้ก็ถือเป็นความอัศจรรย์ที่มนุษย์ได้ สร้างขึ้นไม่ต่างจากธรรมชาติเลยแม้แต่น้อย

Chapter 2 27


28 Chapter 2


Chapter Chapter 2 29


30 Chapter 3


Chapter

3

ไข่มุก กว่าจะเป็นไข่มุกเลี้ยง เมือ่ ไข่มกุ เลีย้ งได้รบั ความนิยม ได้รบั การเผยแพร่ ง่ายมากขึ้น

ออกสูต่ ลาด จนกลายเป็นทีน่ ยิ ม และเป็นทีร่ จู้ กั โดยทัว่ ไป ของทุกคน จากไข่มกุ เลีย้ งทีเ่ กิดจากการคิดค้นของมนุษย์ ได้กลายมาเป็นผลผลิตอันน่าอัศจรรย์เป็นอัญมณีไข่มุก อีกประเภทที่สามารถน�ามาทดแทน หรือเทียบเคียงกับ ไข่มกุ ธรรมชาติทม่ี อี ยูเ่ ดิมได้โดยไม่ตอ้ งไปพึง่ หวังกับการ งมหาไข่มกุ ในหอยเหมือนอย่างในอดีต ทัง้ นีไ้ ข่มกุ เลีย้ งที่ ได้ยงั ท�าให้เป็นการเพิม่ ผลผลิตไข่มกุ ในตลาดให้มมี ากขึน้ จนเพียงพอต่อความต้องการของผู้ซื้อที่ปัจจุบันที่นับวัน จะยิ่งมีมากขึ้น และมากขึ้นเรื่อย อีกอย่างไข่มุกเลี้ยงนี้ก็ ท�าให้คนทั่วไปสามารถที่จะหามาเป็นเจ้าของได้อย่าง

ถึงแม้วา่ ไข่มกุ เลีย้ งจะเป็นไข่มกุ ทีเ่ กิดจากการมี การกระท�าของมนุษย์เข้าไปเกีย่ วข้อง หรือก็คอื เป็นไข่มกุ ทีไ่ ม่ได้เกิดขึน้ เองตามธรรมชาติ คือมีสงิ่ แปลกปลอมหลุด เข้าไปในตัวหอยท�าให้หอยเกิดการระคายเคืองจึงขับน�า้ มุกออกมาเคลือบสิ่งแปลกปลอมนั้นไว้ เมื่อเวลาผ่านไป นานๆเข้าสิ่งแปลกปลอมนั้นก็จะถูกเคลือบด้วยชั้นมุก เลรือ่ ยๆจนกลายเป็นไข่มกุ เมือ่ มนุษย์ไปหาอาหารมากิน จึงพบกับไข่มุกในทีสุด และจากหลักการการเกิดไข่มุก ธรรมชาติข้างต้น จึงท�าให้มนุษย์คิดค้นที่จะเพาะเลี้ยง ไข่มุกขึ้นมาเอง จนได้มาเป็นวิธีที่ใช้มาจวบจนปัจจุบันนี้

Chapter 3 31


หลายๆคนอาจไม่เคยรู้เลยว่าไข่มุกนั้น สามารถเกิดได้ทั้งในน�้ำจืดและในน�้ำเค็ม ซึ่งขึ้น อยู่กับหอยมุกแต่ละชนิดที่มีอยู่แหล่งน�้ำนั้นๆ ใน ประเทศไทยจึงมีการเพาะเลีย้ งไข่มกุ ทัง้ สองชนิด คือ ไข่มุกเลี้ยงน�้ำจืดและไข่มุกเลี้ยงน�้ำเค็ม ซึ่ง ไข่มกุ เลีย้ งแต่ละประเภทก็จะมีขนั้ ตอนการเพาะ เลี้ยงที่แตกต่างกันออกไป ในประเทศไทยไข่มกุ ถูกน�ำมาเป็นเครือ่ ง ประดับอย่างแท้จริงในช่วงเริ่มตั้นสัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งในขณะนั้นบรรดาเจ้านายสตรีทั้งหลายต่าง นิยมเสื้อผ้าตามแบบอย่างฝรั่งมากขึ้น และได้มี การน�ำไข่มุกมาประยุกต์ใส่กับเสื้อผ้าแบบไทย

32 Chapter 3

เดิม ยิง่ เพิม่ ความงดงามให้แก่ผทู้ สี่ วมใสเป็นอย่าง ยิง่ และความนิยมประดับเครือ่ งประดับไข่มกุ ก็ได้ สืบทอดยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน โดยไข่ มุ ก เลี้ ย งน�้ ำ จื ด จะมี ก ารท� ำ การ เพาะเลี้ยงอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี ส่วนเพาะการ เพาะเลี้ยงไข่มุกน�้ำเค็มจะพบที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่ง แต่เดิมพบการท�ำฟาร์มเพาะเลี้ยงไข่มุกอีกหลาย จังหวัด อาทิเช่นตราด สตูล ระนอง แต่เนื่องด้วย เศรฐกิจ และทรัพยากรในประเทศไทยท�ำให้ ฟาร์มในจังหวัดที่กล่าวมาข้างต้นก็ล้มหายตาย จากกันไป ปัจจุบันจึงยังคงเหลือให้เห็นแค่ที่ จังหวัดภูเก็ตเท่านั้น


มุกน้ำ�จืด จากเมืองกาญจนบุรี ไข่มกุ เลีย้ งน�ำ้ จืดในประเทศไทย เกิดขึน้ ได้ จ ากการที่ ส มั ย ก่ อ นนั้ น ความนิ ย มของชาว ประมงในเขตน�้ำจืดจังหวัดกาญจนบุรีที่ออกหา และจับหอยกาบใหญ่ในแม่น�้ำขึ้นมา เพื่อน�ำไป ขายต่อให้กับชาวญี่ปุ่นที่มารับซื้อเปลือกหอย ชนิดนี้ ไปท�ำนิวเคลียสหรือแกนกลางในการเพาะ เลีย้ งไข่มกุ น�ำ้ เค็ม จากค�ำบอกเล่าของนักวิชาการ ประมงช�ำนาญการ ประจ�ำศูนยวิจยั ประมงน�ำ้ จืด กาญจนบุรี บอกว่าในขณะนั้นการจับหอยกาบ ใหญ่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจาหอยกาบใหญ่ นั้นเป็นหอยที่มีขนาดเปลือกที่ใหญ่ ถือได้ว่าเป็น หอยน�ำ้ จืดทีม่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ดุ ในประเทศไทยเลย ก็ว่าได้ จึงเป็นที่นิยมน�ำไปท�ำนิวเคลียสหรือแกน กลางนั่นเอง ซึ่งราคาขายของเปลือกหอยกาบ ใหญ่นี้ในอดีตอยู่ที่ราวๆกิโลกรัมละ 150 บาท ชาวประมงจึงนิยมออกหาและจับหอยชนิดนีเพือ่ น�ำเปลือกไปขาย ซึ่งยิ่งหอยมีขนาดใหญ่ก็ยิ่งดี เพราะสามารถที่จะน�ำไปกลึงเป็นนิวเเคลียสที่มี ขนาดใหญ่ได้ และนานวันเข้ามีการรวบรวมน�ำ

เปลือกไปขายมากขึ้น จึงส่งผลหอยหอยชนิดนี้ เกิดการสูญพันธ์ุ ด้วยเหตุนี้เองท�ำให้หน่วยงานศูนย์วิจัย ประมงน�ำ้ จืดจังหวัดกาญจนบุรเี ล่งเห็นถึงปัญหา นี้ จึงคิดเพาพันธ์ุหอยกาบใหญ่ขึ้นมาเพื่อนน�ำไป ปล่อยทดแทนกับหอยที่ก�ำลงัจะสูญพันธุ์ไป เพื่อ เป็นการอนุรักษ์ให้หอยสายพันธ์ุนี้ยังคงมีต่อไป ชั่วลูกชั่วหลาน และเนื่องจากทางศูนย์วิจัยฯก็ ต้องเพาะเลี้ยงพันธุ์หอยชนิดนี้อยู่แล้ว ประกอบ กับหอยพันธุน์ สี้ ามารถทีจ่ ะน�ำมาเพาะเลีย้ งไข่มกุ ได้ การเพาะเลี้ยงไข่มุกจึงเกิดขึ้น ปัจจุบนั นีห้ อยมุกทีใ่ ช้เพาะเลีย้ งไข่มกุ ใน ศูนย์วจิ ยั แห่งนี้ มีทงั้ หมดด้วยกัน 3ชนิด คือ หอย กาบใหญ่, หอยกาบ และหอยขาว ซึ่งผลผลิต ไข่มุกที่ได้จากหอยทั้งสามชนิดนี้ จะได้ไข่มุกที่มี รูปร่างที่หลากหลาย และมีสีสันที่แตกต่างกัน ออกไปตามแต่ชนิดของหอยมุกทีน่ ำ� มาเพาะเลีย้ ง ไข่มุก

Chapter 3 33


ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงไข่มุกน้ำ�จืด การเพาะเลีย้ งไข่มกุ ของทีศ่ นู ย์วจิ ยั ประมง น�้ำจืดจังหวัดกาญจนบุรีนั้น จากการสอบถาม ข้อมูลจากคุณอ้อมเดือน มีจยุ้ นักวิชาการประมง ช�ำนาญการประจ�ำศูนย์วิจัยฯ ท�ำให้เราได้ทราบ ว่าการเพาะเลี้ยงไข่มุกน�้ำจืดของที่นี่นั้นจะแตก ต่างกันกับการเพาะเลี้ยงไข่มุกน�้ำเค็ม ทั้งเทคนิค การเพาะเลีย้ งไข่มกุ น�ำ้ จืดของก็ยงั แตกต่างกันกับ การเพาะเลี้ยงไข่มุกน�้ำจืดในประเทศจีนอีกด้วย การเพาะเลี้ยงไข่มุกของที่นี่จะเริ่มตั้งแต่ ขั้นตอนเพาะพันธุ์ตัวหอยมุก เมื่อเพาะพันธุ์หอย ได้จนอายุครบ 2 ปี จึงน�ำหอยนัน้ มาท�ำการผ่าตัด ฝั่งชิ้นเนื้อเยื่อ ซึ่งจะได้ไข่มุกเดี่ยว หรือที่เรียกว่า ไข่มุกแบบไม่มีแกน การเพาะเลี้ยงไข่มุกวิธีนี้จะ เป็ น การใช้ ห อยมุ ก สองตั ว ในการผ่ า ตั ด ฝั ง ชิ้ น เนือ้ เยือ่ ซึง่ เป็นการฝังแบบตัวต่อตัว คือจะมีหอย

34 Chapter 3

ตัวนึงเป็นผูใ้ ห้ ในทีน่ คี้ อื เป็นผูใ้ ห้ชนิ้ เนือ้ เยือ่ ไปฝัง ในหอยอีกตัวหนึ่งที่ผู้รับ โดยในการผ่าตัดฝังชิ้น เนื้อเยื่อแต่ละครั้งจะสามารถฝั่งชิ้นเนื้อเยื่อได้ 20-30 ชิ้น ต่อหอยมุกหนึ่งตัว การผ่าตัดฝังชิ้นเนื้อเยื่อนี้ จะเป็นการน�ำ เอาชิ้นเนื้อเยื่อในส่วน mantleของหอยผู้ให้ ใส่ ลงไประหว่างชั้น inner กับ outer epidermis ของหอยผู้รับ ซึ่งชิ้น mantle ที่ใส่ลงไปในหอย ผู้รับจะท�ำการขยายเซลล์เพิ่มขึ้นและกลายเป็น ถุงไข่มกุ จากนัน้ สารมุกจะถูกขับออกมาสะสมกัน อยู่ภายในถุงไข่มุกจนกลายเป็นไข่มุกในที่สุด ซึ่ง ไข่มุกที่ได้นั้นจะมีรูปร่างหลากหลายแบบ

จากหอยที่เป็นผู้ให้ ซึ่งชิ้นเนื้อเยื่อส่วนนี้นี่แหละ คือตัวก�ำหนดสีของไข่มุกที่จะเกิดขึ้น จากนั้น ท�ำการตัดแต่งชิ้นเนื้อเยื่อนี้ โดยลอกเนื้อเยื่อชั้น โปรตีนและแคลเซียมออก ให้เหลือแต่ชนั้ เนือ้ เยือ่ แนวกลางอันเป็นส่วนทีใ่ ช้สร้างชัน้ ไข่มกุ เมือ่ ลอก เนื้อเยื่อจนเหลือแต่ชั้นแนวกลางแล้วท�ำการตัด แบ่งชิ้นเนื้อเยื่อออกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด ประมาณ 3-4 มิลลิเมตร โดยขั้นตอนการตัดแต่ง เนื้อเยื่อนี้จะต้องท�ำอย่างรวดเร็ว เพราะหากท�ำ ช้าเนื้อเยื่อที่เราจะน�ำไปฝังในหอยผู้รับอาจจะ ตายท�ำให้ไม่สามารถสร้างไข่มุกขึ้นมาได้ ขั้นตอนต่อมาน�ำเอาชิ้นเนื้อที่ท�ำการตัด แต่งเรียบร้อยแล้วสอดใส่เข้าไปในหอยอีกตัวทีท่ ำ� เริ่มจากการตัดชิ้นเนื้อเยื่อเมนเทิลส่วน หน้าที่เป็นผู้รับ ซึ่งหอยที่เป็นผู้รับจะถูกท�ำให้อ้า ขอบ หรือเนือ้ เยือ่ หลักในการสร้างเปลือกออกมา ออกโดยการใช้ลิ่มเรซิ่นสอดเอาไว้ โดยขั้นตอนนี้


ต้องระมัดระวังอย่างมากเนื่องจากว่าถ้าหอยอ้า ออกมาเกินไปเอ็นที่ยึดระหว่างฝาหอยอาจเกิด การฉีกขาดซึ่งนั่นก็จะท�ำให้หอยตัวนั้นตายไม่ สามารถน�ำมาฝั่งชิ้นเนื้อเยื่อได้ โดยการฝั่งชิ้น เนือ้ เยือ่ นัน้ จะฝังระหว่างชัน้ เปลือกกับชัน้ เนือ้ เยือ่ ด้านใน เมือ่ ท�ำการฝังเนือ้ เยือ่ จนครบเสร็จสิน้ แล้ว ก็นำ� เอาลิม่ ทีง่ า้ งฝาหอยยอก น�ำหอยมุกทีท่ ำ� การ ผ่า ตั ด ฝั ง ชิ้ น เนื้ อเยื่อเสร็จแล้วกลับไปเลี้ยงใน กระชังเช่นเดิม โดยจะท�ำการเลี้ยงหอยมุกนี้ใน ระยะเวลา 1-2 ปีก่อนที่จะน�ำมาท�ำการเก็บ ผลผลิตไข่มุกได้

Chapter 3 35 Chapter


หอยมุกของที่ศูนย์วิจัยฯแห่งนี้ หลังจาก การเก็บเกีย่ วไข่มกุ แล้ว จะไม่สามารถน�ำไปฝังชิน้ เนือ้ เยือ่ ได้อกี เรียกได้วา่ สามารถเพาะเลีย้ งไข่มกุ ได้เพียงครั้งเดียว เพราะเวลาท�ำการเก็บเกี่ยว ไข่มุก จะท�ำการเปิดฝาหอยออกซึ่งหอยมุกก็จะ ตายในทันที จากนั้นจึงใช้ที่หนีบ หนีบเอาไข่มุก ออกมาจากตัวหอย แต่ใช่ว่าหอยที่ตายแล้วนี้จะ น�ำไปประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ จากการสอบถาม ดูเล่นๆกับนักวิชาการประมงว่าเนือ้ หอยมุกนีก้ นิ ได้รเึ ปล่า เพราะจากการสังเกตหอยมุกมีเนือ้ หอย เยอะมาก เชื่อว่าหลายคนอาจไม่เคยเห็นหอยที่ ตัวใหญ่ขนาดนี้ ค�ำตอบคือเนือ้ หอยสามารถทาน ได้ นักวิชาการให้ตอบทีต่ ดิ ตลกว่า “ช่วงเวลาเก็บ ไข่มุกกัน พี่จะชอบเอาเนื้อนี่แหละมาผัดกินกัน แต่ต้องสับให้ละเอียดหน่อยนะเพราะเนื้อมัน เหนียว หรือถ้าพวกพี่ไม่กินก็ปลาในกระชังเนี่ย แหละได้กินกัน” นอกจากจะเป็นหอยที่สร้าง ไข่มกุ อันเป็นสิง่ สวยงามแล้ว ยังจะสามารถน�ำไป ทานได้อีก

36 Chapter 3

นอกจากนี้ เ ปลื อ กหอยมุ ก พวกนี้ ยั ง สามารถน�ำเอาไปท�ำเครื่องประดับมุก อย่าง เฟอร์นิเจอร์ต่างๆได้อีกด้วย เรียกได้ว่าหอยตัว เดียวท�ำประโยชน์ได้เยอะมากจริงๆ ผลผลิตไข่มุกน�้ำจืดจากศูนย์วิจัยฯแห่งนี้ แต่ละตัวจะให้ผลผลิตรูปร่างและสีทไี่ ม่เหมือนกัน และถึงแม้ว่าจะเป็นไข่มุกจากหอยตัวเดียวกันก็ สามารถมีสแี ละรูปร่างทีแ่ ตกต่างกันได้ โดยสีของ ไข่มุกนั้นจะขึ้นอยู่กับสีของเปลือกด้านในของ หอยผูใ้ ห้ชนิ้ เนือ้ เยือ่ กล่าวคือฝาหอยด้านในของ หอยผูใ้ ห้ชนิ เนือ้ เยือ่ มีสใี ด ไข่มกุ ทีเ่ กิดขึน้ จากการ ฝังชิ้นเนื้อเยื่อนั้นก็จะมีสีตามนั้น ส่วนรูปร่างที่ ของไข่มกุ ทีแ่ ตกต่างกันจะเกิดจากขัน้ ตอนฝังหรือ สอดชิ้นเนื้อเยื่อลงไปในหอยมุก และการตกแต่ง ชิ้นเนื้อเยื่อนั้นขณะสอดใส่ลงไปในตัวหอยซึ่งมี ผลท�ำให้เกิดรูปร่างที่แตกต่างกันออกไป


มุกน�้ำเค็มจากท้องทะเลอันดามัน ท้องทะเลอันดามันเป็นที่ยอมรับทั่วโลก อยู่แล้วว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และใช่วา่ จะมีเพียงแต่สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทีส่ วยงาม เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ท้องทะเลอันดามันของ ประเทศไทยเรานั้นยังเป็นแหล่งผลิตไข่มุกอีก หลายชนิดทัง้ ยังได้ผลผลิตอัญมณีอนั งดงามไม่แพ้ ไข่มุกงามจากแหล่งอื่นๆเลย โดยไข่มุกที่ท�ำการเพาะเลี้ยงในที่นี้มีด้วย กันหลายชนิด ได้แก่ 1. ไข่มุกเซ้าท์ซี ที่ได้จากหอยที่มีชื่อว่า Pinctada Maxima และ Pinctada Magaritifera ซึ่งหอยสองชนิดนี้จะมีรูปร่างคล้ายกับจาน แบนๆขนาดใหญ่ จึงมีชื่อเรียกทั่วไปว่า หอยจาน เมือ่ หอยโตเต็มทีโ่ ดยมีอายุประมาณ 5 ปี ตัวหอย อาจมี ข นาดใหญ่ ถึ ง 30 เซนติ เ มตรซึ่ ง ท� ำ ให้ สามารถที่จะฝั่งนิวเคลียสหรือแกนกลางขนาด ใหญ่ หรืออาจท�ำการฝั่งนิวเคลียสได้มากที่สุดถึง 2 เม็ด และเมือ่ มีการเก็บเกีย่ วไข่มกุ ไปครัง้ นึงแล้ว หอยชนิดนี้ยังสามารถที่จะเลี้ยงไข่มุกได้อีก 2-3 ครั้ง ซึ่งจะต่างจากหอยชนิดอื่นที่สามารถเลี้ยง

ไข่มุกได้เพียงแค่ครั้งเดียว 2. ไข่มุกอะโคย่า มีชื่อว่า Pinctada Fucata เรียกกันง่ายๆในวงการอัญมณีว่า ไข่มุก ญี่ปุ่น ผลผลิตที่ได้เป็นไข่มุกกลมคล้ายเซ้าท์ซีแต่ มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งชาวบ้านจะเรียกกันว่าหอย แกลบ หอยมุกกระจิ หรือหอยมุกกระแจะ เมื่อ โตเต็มที่จะมีขนาด 2-3 นิ้ว นิวเคลียสหรือแกน กลางที่ ใช้ ฝ ั ง ในตั ว หอยจะมี ข นาดเส้ น ผ่ า น ศูนย์กลาง2-9มิลลิเมตร และถ้าใช้นวิ เคลียสขนาด เล็ ก ก็ ส ามารถฝั ง นิ ว เคลี ย สได้ ตั ว ละ2เม็ ด เช่ น เดียวกัน 3. ไข่มุกมาเบ หรือไข่มุกซีก ใช้หอยมุก ทีช่ อื่ ว่า Pteria Penguin หรือทีช่ าวบ้านเรียกกัน ว่าหอยปีกนก หอยมุกกวางหรือหอยมุกกัลปังหา ซึง่ หอยชนิดนีเ้ มือ่ โตเต็มทีจ่ ะมีขนาดราวๆ 5-6 นิว้ สามรถที่จะติดนิวเคลียสหรือแกนลงไปที่ฝาด้าน ในของเปลือกหอยทั้ง2ฝา ได้คราวละหลายเม็ด จึงได้ผลผลิตจ�ำนวนมาก ซึง่ มีราคาทีถ่ กู กว่าไข่มกุ กลมมาก

Chapter 3 37


ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงไข่มุกน�้ำ เค็ม การเพาะเลีย้ งไข่มกุ น�ำ้ เค็มนัน้ จะแตกต่าง

จากการเพาะเลี้ยงไข่มุกน�้ำจืดตรงที่จะเป็นการ ฝังนิวเคลียสหรือแกนกลางลงไปในตัวหอยมุก ด้วย จากการสอบถามข้อมูลจากเทคนิคเชียนผู้ ช� ำ นาญในการฝั ่ ง นิ ว เคลี ย สท� ำ ให้ ไ ด้ ท ราบว่ า กรรมวิธีการฝังนิวเคลียสในการเพาะเลี้ยงไข่มุก ของหอยมุกแต่ละชนิดนั้นไม่มีความแตกต่างกัน การเพาะเลี้ยงไข่มุกจะเริ่มต้นตั้งแต่การ หาสถานที่ ส� ำ หรั บ เลี้ ย งหอยมุ ก ซึ่ ง สถานที่ ที่ เหมาะสมต่อการเลี​ี้ยงหอยมุกนั้นจะต้องเป็นที่ที่ มีการขึน้ ลงของน�ำ้ วันละ 2 ครัง้ เพราะการขึน้ ลง

38 Chapter 3

ของน�ำ้ มีผลต่อแพลงตอนอันเป็นอาหารของหอย มุก และอุณหภูมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของหอยมุกนัน่ คือ 26-29 องศาเซลเซียส เหมือน ได้ ส ถานที่ เ หมาะสมแล้ ว ก็ จ ะมี ก ารดั ก จั บ ตั ว อ่อนของหอยทีม่ อี ยูใ่ นทะเลมาเลีย้ งไว้ใน บางครัง้ อาจจะมีการรับซื้อหอยที่โตแล้วจากชาวประมง ที่จับมาขายก็ได้ แต่ถ้ายังมีปริมาณตัวอ่อนหอย น้อยอยูก่ จ็ ะมีการท�ำการเพาะตัวอ่อนหอยในห้อง ปฏิบัติการ จากนั้นก็ท�ำการเลี้ยงตัวอ่อนหอยมุกไป เรื่อยๆ ซึ่งหอยมุกก็จะเจริญเติบโตขึ้นตามล�ำดับ ในระหว่างนีผ้ ดู้ แู ลก็จะต้องคอยตรวจสอบสภาพ น�้ำ อุณหภูมิ ปริมาณอาหารเสมอ รวมทั้งจะต้อง

น� ำ หอยขึ้ น มาขั ด ท� ำ ความสะอาดและเปลี่ ย น ภาชนะให้เหมาะสมกับขนาดของหอยมุกด้วย จน กระทั่งสามารถที่จะน�ำหอยไปเลี้ยงในกระชังใต้ น�้ ำ ทะเลได้ โดยเลี้ ย งอยู ่ ใ นระดั บ ความลึ ก ประมาณ 1 เมตร เลีย้ งจนกว่าหอยมุกจะมีขนาด โตตามที่ต้องการ หอยมุ ก ที่ เ หมาะจะน� ำ มาท� ำ การฝั ง นิวเคลียสหรือแกนกลางนั้น จะต้องเป็นหอยมุก ทีม่ อี ายุประมาณ 2 ปี โดยเทคนิคเชียนจะท�ำการ ผ่าตัดฝังนิวเคลียสให้หอยมุกแต่ละตัว ซึง่ ผลของ การผ่าตัดจะเป็นอย่างไรก็ขนึ้ อยูก่ บั ประสบการณ์​์ และความช�ำนาญของเทคนิคเชียนแต่ละคน


วิธีการฝังนิวเคลียสในหอยมุก ก่อนการผ่าตัดฝังนิวเคลียสลงไปในหอย นัน้ จะต้องเตรียมเนือ้ เยือ่ เมนเทิลก่อนเพือ่ ท�ำการ ฟติง ซึง่ เป็นหัวใจส�ำคัญในการผลิตไข่มกุ ทรงกลม นี้ โดยขั้นตอนเริ่มต้นจะท�ำการคัดหอยมุก มาหนึ่งตัวเพื่อท�ำการตัดแต่งเนื้อเยื่อเมนเทิลใน ส่วนทีเ่ ป็นชัน้ สังเคราะห์นำ�้ มุก น�ำมาตัดแต่งเป็น รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสชิ้นเล็กๆขนาดประมาณ 2-3

มิลลิเมตร ก่อนที่จะท�ำการผ่าตัดจะต้องน�ำหอยมุก มาท�ำให้ฝาหอยอ้าปาก โดยจะน�ำหอยมาตัง้ เรียง ในพืน้ ทีม่ นี ำ�้ ขังเล็กน้อยทิง้ ไว้สกั ครูใ่ ห้หอยอ้าปาก แล้วจึงน�ำเอาลิ่มที่ท�ำจากเรซิ่นไปง้างฝาหอยให้ อ้ า ค้ า งไว้ จากนั้ น เทคนิ ค เชี ย นจะผ่ า อวั ย วะ สืบพันธุ์แล้วสอดชิ้นเนื้อเยื่อเมนเทิลเข้าไปและ ตามด้วยเม็ดนิวเคลียส ซึ่งเม็ดนิวเคลียสนี้จ�ำท�ำ มากจากเปลื อ กหอยน�้ ำ จื ด โดยการกลึ ง ให้ มี ลักษณะเป็นทรงกลมขนาดต่างๆกัน เมือ่ ท�ำการ ฝั ง ชิ้ น เนื้ อ เยื่ อ กั บ นิ ว เคลี ย สเสร็ จ เรียบร้อยแล้วจึงน�ำเอาลิม่ เรซิน่ ออก เสร็จแล้วน�ำหอยที่ได้รับ การพาตัดแล้วไปลงบ่ออนุบาล ต่อเพือ่ ให้หอยได้พกั ฟืน้ โดยให้ อยู่ลึกลงไปใต้ผิวน�้ำประมาณ 1 เมตรเป็นเวลา 1เดือน เมื่อ เวลาผ่านไปจึงน�ำเอาหอยมุก ขึ้นมาตรวจสอบดูว่าหอยมุกมี การคายเม็ดนิวเคลียสออกมาหรือ ไม่ หากมีการคายเม็ดนิวเคลียสออก มาแล้วหอยยังั แข็งแรงดีอยูก่ น็ ำ� กลับไปฝัง นิวเคลียสใหม่ ส่วนหอยที่ตายก็ท�ำการคัดทิ้งไป ในส่วนของหอยมุกที่พักฟื้นครบก�ำหนด แล้ว ก็น�ำไปเลี้ยงต่อในกระชังใต้ผิวน�้ำทะเลลึก ลงไป1เมตรเพื่อรอเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตต่อไป ซึง่ ในช่วงเวลานีเ้ องจะเป็นช่วงทีห่ อยมุกขับน�ำ้ มุก ออกมาเคลือบผิวของนิวเคลียส ระยะเวลาในการ เลี้ยงก็ขึ้นอยู่กับชนิดของหอย อย่างหอยมุกมุก เซ้าท์ซีจะเลี้ยงนานที่สุดอยู่ที่ 2-3 ปี หอยมุกอะ โคยาเลีย้ งนานประมาณ 1-2 ปี และหอยมุกมาเบ หรือมุกครึ่งซีก จะใช้เวลาหลังการติดนิวเคลียส

กับฝาหอยด้านใน 1ปี จากสถิติการฝังนิวเคลียสในหอยมุกนั้น ถ้าฝังนิวเคลียสในหอย 100 ตัว พบว่าหอยมุก อาจตายขณะทีเ่ ลีย้ งหลังจากท�ำการฝังนิวเคลียส คิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ หอยมุกจะท�ำการคาย นิวเคลียสออกมาอีก 25 เปอร์เซ็นต์ และหอยมุก ที่เหลือจะถูกเลี้ยงต่อไปโดยเลี้ยงทิ้งไว้ตามระยะ เวลาของชนิดหอยนัน้ ๆอีก 1-3 ปี ผลทีไ่ ด้คอื อาจ จะได้ ไ ข่ มุ ก ที่ มี คุ ณ ภาพดี เ ยี่ ย มเพี ย ง 0-5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ในขณะที่ท�ำการเพาะเลี้ยงไข่มุกอยู่นั้น ผู้ ดูแลก็ต้องคอยน�ำหอยขึ้นมาท�ำความสะอาดอยู่ เสมอ เพราะเมื่อหอยมุกอยู่ในทะเลจะมีเพรียง มาเกาะท�ำให้หอยมุกกินอาหารไม่สะดวกและ อาจตายในที่สุด เพราะฉะนั้ น ไข่ มุ ก ที่ มี คุ ณ ภาพจึ ง มั ก มี ราคาสูงเป็นพิเศษ ส่วนคุณภาพทีร่ องลงมา ราคา ก็ลดหย่อนน้อยลงมาตามล�ำดับ จากสถิติเหล่านี้ ก็คงท�ำให้รู้แล้วว่าเหตุใดไข่มุกที่มีคุณภาพที่ดีจึง มีราคาที่สูงมากๆ เพราะกว่าที่เราจะได้ไข่มุกมา แต่ละเม็ดนั้นจะต้องผ่านหลายกรรมวิธี ต้องใช้ ความดูแลเอาใจใส่กับมันมากกว่าจะได้ออกมา เป็นผลผลิตที่มีคุณภาพอย่างที่เห็นๆกัน ส่วนหอยมุกที่เก็บเกี่ยวไข่มุกแล้ว และไม่ สามารถน�ำไปฝั่งนิวเคลียสได้ ก็ยังสามารถน�ำมา ท�ำประโยชน์ได้อีกมากมาย เนื้อหอยก็น�ำไปปรุง เป็นอาหารจานเด็ด เปลือกหอยก็อาจจะน�ำไป ท�ำช้อน หรือกล่องใส่ของเล็กๆ เป็นเครือ่ งประดับ ต่างๆก็ได้

Chapter 3 39


40 Chapter 3


Chapter 3 41


42 Chapter 4


Chapter

4

ไข่มุก

ไข่มุกแท้ไข่มุกเทียมตรวจสอบได้ ทุกวันนี้ในท้องตลาดมีไข่มุกออกมาให้เลือกซื้อกัน มากมาย แล้วผู้ที่ต้องการจะซื้อไข่มุกจะรู้ได้อย่างไรว่า ไข่มกุ ทีต่ นก�าลังจะเสียเงิน ซือ้ เพือ่ ให้ได้มาครอบครองเป็น ของแท้ ไม่ใช่ของปลอม เพราะปัจจุบันนี้ไข่มุกนั้นมีด้วย กันหลายประเภท ไข่มุกปลอมที่มีวางขายในท้องตลาด บ้างก็ท�าออกมาคล้ายไข่มุกแท้มาก จนบางครั้งหากมอง แค่เพียงผิวเผินอาจจะท�าให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพื่อไม่ ให้ถกู หลอก หรือต้องเสียเงินในราคาสูงให้กบั ไข่มกุ ปลอม การรู้วิธีการตรวจสอบไข่มุกเบื้องต้นก็เป็นอีกทางที่จะ

ท�าให้ไม่โดนหลอกได้ง่ายๆ หลายๆคนอาจจะส่งสัยว่าแล้วเราจะสามารถรู้ได้ อย่างไรว่าไข่มุกเม็ดนั้นเป็นของจริง ของแท้ ไม่ใช่ของ ปลอม ซึ่งการตรวจสอบนั้นมีตั้งแต่การสังเกตจากราคา การตรวจสอบได้ดว้ ยตนเองของผูซ้ อื้ และการใช้เครือ่ งมือ ต่างๆในการตรวจสอบ แต่ถา้ จะเพิม่ ความมัน่ ใจในการซือ้ ของผูซ้ อื้ การได้ซอื้ จากร้านค้าทีม่ คี วามน่าเชือ่ ถือ และเปิด บริการ ด้านการค้าขายไข่มุกมานานก็เป็นอีกทางที่จะ เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ซื้อได้เป็นอย่างดี

Chapter 4 43


ปัจจุบันนี้ไข่มุกจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือไข่มุกธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นเองได้ใน ธรรมชาติโดยไม่ได้มีมนุษย์เข้าไปข้องเกี่ยวถือว่าเป็นไข่มุกแท้ อีกประเภทหนึ่ง คือไข่มุกเลี้ยงก็เป็น ไข่มุกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพียงแต่เป็นไข่มุกที่มนุษย์เป็นคนเข้าไปกระตุ้นหอยมุกท�ำให้หอยสร้าง ไข่มุกขึ้นมา ซึ่งถือว่าไข่มุกประเภทนี้ก็เป็นไข่มุกแท้เช่นเดียวกัน และสุดท้ายไข่มุกเทียมหรือไข่มุก ปลอม ที่ถูกท�ำเลียนแบบไข่มุกแท้ขึ้นมา มีลักษณะแวววาวเช่นเดียวกับไข่มุกแท้ มีจุดประสงค์ก็เพื่อ ที่จะให้ผู้คนได้ซื้อไข่มุกในราคาที่ถูกได้ โดยการตรวจสอบไข่มุกนั้นจะสามารถตรวจสอบเปรียบเทียบได้ทั้ง ไข่มุกธรรมชาติกับ ไข่มุกเลี้ยง และไข่มุกเลี้ยงกับไข่มุกเทียม

การตรวจสอบแยกแยะไข่มุกธรรมชาติและไข่มุกเลี้ยง เนื่องจากไข่มุกธรรมชาติและไข่มุกเลี้ยง เกิดขึ้นตามธรรมชาติทั้งคู่ ท�ำให้เมื่อมองจากผิว ด้านนอกของไข่มุก ไข่มุกทั้งสองประเภทจึงมีผิว หน้าที่คล้ายกัน คือมีลักษณะเป็นลายคล้ายลาย นิ้วมือ หรือคล้ายลายคลื่น ซึ่งลวดลายที่ปรากฎ นี้ ห ากมองด้ ว ยตาเปล่ า อาจจะยั ง มองไม่ เ ห็ น จ�ำเป็นจะต้องใช้กล้องส่งขยายดู ซึง่ จะปรากฎให้ เห็นได้ชัดเจนที่ระดับก�ำลังขยาย 20-40 เท่า เพราะฉะนั้ น การดู แ ต่ ภ ายนอกอาจจะยั ง ไม่ สามารถแยกแยะไข่มุกธรรมชาติ และไข่มุกเลี้ยง ออกจากกันได้ แต่จะสามารถดูได้จากรอยเจาะตรงกลาง ทรงกลมของไข่มุก ซึ่งในไข่มุกเลี้ยงรูเจาะนั้นจะ มีขนาดใหญ่กว่าในมุกธรรมชาติและมักจะไม่ตรง เนือ่ งจากว่าไข่มกุ เลีย้ งนัน้ ภายในมีเม็ดนิวเคลียส อยู่ซึ่งท�ำให้เวลาเจาะรูที่ไข่มุกจึงมีลักษณะเอียง นอกจากนีย้ งั สามารถแยกแยะได้จากการ ส่องกล้องไมโครสโคป โดยส่งดูจากรอยเจาะ พบ

44 Chapter 4

ว่าในมุกเลี้ยงจะเห็นรอยต่อของแกนกลาง หรือ นิวเคลียสกับชัน้ เคลือบของมุกอย่าชัดเจนและมัก จะเห็นเส้นสีด�ำของคอนไคอะลินด้วย ในขณะที่ มุกแท้เมื่อส่องกล้องดูจะเห็นลักษณะเป็นชั้นๆ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ไข่มุกธรรมชาติ เป็นทีห่ าได้ยาก และมีนอ้ ยมากๆอยูแ่ ล้ว ซึง่ ไข่มกุ ที่ท�ำการซื้อขายในตลาดปัจจุบันนี้มักเป็นไข่มุก เลีย้ งแทบทัง้ สิน้ แต่ถา้ หากคุณผูอ้ า่ นบังเอิญได้รบั ไข่มุกมาสักเม็ดนึงแล้วผู้ให้บอกว่าเป็นมุกธรม ชาตินะ หากอยากรู้ให้แน่ชัดว่ามุกเม็ดนั้นเป็น ไข่มกุ ธรรมชาติจริงๆใช่มยั้ แนะน�ำว่าให้ใช้วธิ กี าร ข้างต้นในการตรวจสอบเบื้องต้นก่อน ก็พอจะ สามารถบอกได้ บ ้ า ง แต่ ถ ้ า อยากมั่ น ใจร้ อ ย เปอร์เซ็นต์แล้วละก็ ขอแนะน�ำว่าให้ส่งไข่มุกนั้น ไปตรวจสอบโดยการใช้เครื่องเอ็กซเรย์ เรดิโอ กราฟี ผลการตรวจจะยิง่ แน่ชดั และสามารถบอก ได้ว่าไข่มุกเม็ดนั้นเป็นไข่มุกธรรมชาติจริงๆใช่ หรือไม่


การตรวจสอบแยกแยะไข่มุกแท้และไข่มุกเทียม เมือ่ ไข่มกุ ได้รบั ความนิยมอย่างมาก ส่งผล ให้เกิดไข่มุกเลี้ยงขึ้น แต่กระนั้นไข่มุกเลี้ยงเองก็ ถือว่าเป็นไข่มุกแท้ เพราะกว่าจะได้ไข่มุกเลี้ยง แต่ละเม็ดก็ต้องอาศัยการเกิดจากธรรมชาติเช่น กัน และแม้ว่าจะเป็นไข่มุกเลี้ยงราคาของมันก็มี ค่าสูงมากไม่ได้ต่างจากไข่มุกธรรมชาติเลย ด้วย ราคาไข่มกุ ทีส่ งู มากเช่นนีจ้ งึ ท�ำให้เกิดไข่มกุ ปลอม หรือไข่มุกเทียมขึ้น ซึ่งเป็นไข่มุกที่ท�ำเลียนแบบ ไข่มุกแท้ ถูกสร้างขึ้นโดยการน�ำลูกปัดไปเคลือบ สารที่ท�ำให้มีความเงา ซึ่งแลคเกอร์เป็นสารตัว หนึ่งที่มักถูกใช้ในการสร้างความเงาให้กับไข่มุก เทียม เพือ่ ให้ดคู ล้ายไข่มกุ จากธรรมชาติทพี่ บโดย บังเอิญในตัวหอย ไม่วา่ วัสดุทอี่ ยูภ่ ายในตัวเคลือบ จะท�ำจากสิ่งใด แก้ว พลาสติก หรือเปลือกหอย ไข่มุกที่ได้ก็จะถูกเรียกว่าไข่มุกเทียม ผู้ผลิตไข่มุก เทียมใช้ความพยายามอย่างมากเพื่อที่จะท�ำให้ ไข่มุกเทียมนั้นเหมือนไข่มุกที่ได้จากธรรมชาติให้ มากที่สุด และมักจะน�ำมาจ�ำหน่ายภายใต้ชื่อที่ดู คล้ายไข่มุกแท้เช่น มาจอริก้า และ เชลเพิร์ล โดยมีมกุ เลียนแบบประเภทแรกเกิดขึน้ ใน ศตวรรษที่ 17 ถูกค้นพบโดยชาวฝรั่งเศษ แต่เดิม เรียกมุกเลียนแบบนีว้ า่ มุกปลาสีเงิน โดยมุกเลีย่ น แบบชนิดนี้มีลักษณะเป็นแก้วที่มีรูกลวง ภายใน ฉาบด้วยสารสกัดที่เรียกว่า เพิร์ล เอสเสนซ์ ก่อน ที่จะใส่เทียนไขลงไปภายใน มุกมาจาริกา้ เป็นชือ่ เรียกไข่มกุ เลียนแบบ ผลิตที่เกาะมาจอร์กาทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ ปั จุ บั น ย้ า ยไปผลิ ต ที่ ป ระเทศสเปนแล้ ว โดย การน�ำเอาลูกปัดแก้วมาเคลือบด้วยสารละลายที่ ท�ำจากเกล็ดปลาเรียกว่า เพิร์ลเอสเสนซ์ วิธีการง่ายๆที่จะสามารถแยกแยะไข่มุก

แท้และไข่มกุ เทียมได้กค็ อื การใช้ฟนั ถูทดสอบผิว ของมุกที่เรียกว่า ทีท เทสต์ (Teeth test) ซึ่งวิธี นี้เป็นวิธีที่ง่ายและสามารถท�ำได้ด้วยตัวเองนั่น คือการน�ำเอาไข่มุกมาถูกับฟันด้านหน้าของเรา ไข่มุกแท้จะให้ความรู้สึกสากไม่เรียบลื่น ส่วน ไข่มกุ เลียนแบบหรือมุกปลอมจะให้ความรูส้ กึ ลืน่ เนื่องจากผิวภายนอกที่มีความละเอียดแตกต่าง กัน หรือจะใช้การน�ำไข่มกุ สองเม็ดมาถูกกันได้ ซึง่ จะให้ความรู้สึกเดียวกันคือถ้าเป็นไข่มุกแท้เมื่อถู กันแล้วจะรู้สึกสาก แต่ถ้าเป็นของปลอมจะให้ ความรู้สึกลื่นๆ ผิ ว ของไข่ มุ ก ก็ เ ป็ น อี ก สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ท� ำ ให้

สามารถแยกแยะไข่มกุ แท้และไข่มกุ เทียมได้ โดย ท�ำการขยายดูทผี่ วิ ของไข่มกุ ก็จะสามารถเห็นถึง ความแตกต่างได้อย่างชัดเจน โดยการใช้กล่อง ส่องดู ซึ่งกล้องจะต้องมีก�ำลังขยายตั้งแต่ 10เท่า ขึ้นไป ถ้าเป็นมุกแท้จะเห็นภาพเป็นลักษณะ คล้ายลายนิ้วมือหรือลายคลื่น ส่วนมุกปลอมนั้น จะมีผวิ ทีเ่ รียบไปทัง้ หมดเช่นเดียวกับภาพด้านบน นอกจากนี้ผู้ที่สนใจในไข่มุกอาจจะมีข้อ

สงสัยอีกว่า ในเมื่อไข่มุกมีทั้งไข่มุกน�้ำจืดและ ไข่มุกน�้ำเค็ม แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า ไข่มุกที่ ก�ำลังจะซื้ออยู่นั้นเป็นไข่มุกชนิดไหน เพราะหาก มองเผินๆแล้ว ไข่มุกก็มีลักษณะคล้ายกันหมด ทั้งนี้ไข่มุกน�้ำเค็มยังมีราคาสูงกว่าไข่มุกน�้ำจืดอีก ด้วย ก็กลัวว่าอาจจะถูกหลอกให้ซ้ือไข่มุกน�้ำจืด ในราคาไข่มุกน�้ำเค็มก็เป็นได้ ซึ่งข้อนี้จากการ สอบถาม คุณฐานันดร ทิพย์สงครามพนักงานขาย ไข่มุกร้านไข่มุกภูเก็ตก็ได้บอกมาว่า ไข่มุกน�้ำจืด และไข่มุกน�้ำเค็มอย่างแรกที่จะเห็นได้ถึงความ แตกต่างของมุกทัง้ สองชนิดนีคอื ความแวววาว ซึง่ จะเห็นได้เมือ่ น�ำเอาไข่มกุ ทัง้ สองชนิดมาเทียบกัน จะปรากฏให้ เ ห็ น ว่ า ไข่ มุ ก น�้ ำ เค็ ม นั้ น มี ค วาม แวววาวกว่าไข่มุกน�้ำจืดมาก ทั้งรูปร่างของไข่มุก น�้ำจืดและไข่มุกน�้ำเค็มก็มีความแตกต่างกัน เมื่อ น�ำมาเปรียบเทียบกันแล้วมุกน�้ำเค็มจะเห็นชัด เลยว่าเป็นทรงกลมอย่างแท้จริงเพราะเป็นการ เพาะเลีย้ งโดยการฝังนิวเคลีย หรือแกนกลาง แต่ ไข่มุกน�้ำจืดนั้นจะไม่กลมเท่า ยังมีความป้านอยู่ แต่การมองเองด้วยตาเปล่าหากไม่ใช่ผู้ ช�ำนาญบางครั้งก็ไม่สามารถที่จะแยกออกได้ ถึง แม้จะเป็นผูท้ อี่ ยูใ่ นวงการไข่มกุ นานๆเองบางครัง้ ก็ยังแยกไม่ออก เพราะว่าไข่มุกน�ำจืดในบางครั้ง ก็ถกู ท�ำให้คล้ายกับไข่มกุ น�ำ้ เค็มมาก เพราะฉะนัน้ คุณฐานันดร ทิพย์สงคราม แนะน�ำว่าการจะซื้อ หาเครื่องประดับไข่มุกมาครอบครองสักชิ้นหนึ่ง ก็ควรทีจ่ ะเลือกซือ้ จากร้านทีเ่ ชือ่ ถือได้ เพราะบาง ครั้งเราไม่รู้เลยว่าไข่มุกที่น�ำมาขายนั้นเป็นไข่มุก อะไร ซึ่งจะท�ำให้เรานั้นถูกหลอกได้

Chapter 4 45


46 Chapter 4


การประเมินคุณภาพไข่มุก เมื่อเราได้ทราบถึงการแยกแยะไข่มุกแท้ และไข่มกุ เทียมแล้ว อีกสิง่ ทีเ่ วลาไปเลือกซือ้ ไข่มกุ แล้วต้องพิจารณา นั่นก็คือคุณภาพของไข่มุก เพราะไข่มุกก็มีเรทราคาที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่ กับคุณภาพของไข่มุกที่เลี้ยงได้ แน่นอนว่าการ เพาะเลี้ยงไข่มุกครั้งหนึ่งๆ ย่อมมีผลผลิตไข่มุกที่ หลายหลาย ทั้งที่มีคุณภาพและไม่มีคุณภาพ ไข่มกุ เป็นผลผลิตจากหอยหลายชนิด โดย ทั่วไปไข่มุกที่ซื้อขายในตลาดส่วนใหญ่เป็นไข่มุก เลี้ยง คือไข่มุกน�้ำจืดและไข่มุกน�้ำเค็ม ซึ่งราคา ของไข่มุกก็จะขึ้นอยูกับชั้นมุกที่เคลือบเป็นผิว

ของไข่มกุ ซึง่ เรียกว่าชัน้ เนเคอร์นนั่ เอง โดยไข่มกุ ที่เกิดในธรรมชาติจะมีชั้นเนเคอร์ที่หนากว่า แต่ รูปร่างของไข่มุกจะไม่กลม หรือที่เรียกว่าไม่ แน่นอน ซึ่งจะต่างกับมุกเลี้ยงตรงที่มีรูปทรงที่ แน่นอนกว่า อย่างทรงกลมที่มักจะได้รับความ นิยมอยู่เสมอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังไงก็ตามแต่ไข่มุก ธรรมชาติย่อมมีราคาที่สูงกว่าอยู่แล้ว แต่ถ้าหาก เที ย บกั น ระหว่ า งไข่ มุ ก จากน�้ ำ จื ด และน�้ ำ เค็ ม ไข่มุกน�้ำเค็มจะมีราคาที่แพงกว่า เพราะไข่มุกน�้ำ เค็มนั้นเวลาเพาะเลี้ยงครั้งหนึ่งๆจะได้ผลผลิต ไข่มกุ เพียง 1-2 เม็ดเท่านัน้ แต่ไข่มกุ น�ำ้ จืดจะผลิต

ได้มาก 20-30 เม็ดในหนึ่งครั้ง และนี่ก็คือความ แตกต่างของไข่มุกน�้ำจืดและน�้ำเค็ม จึงไม่ต้อง สงสัยเลยว่า ท�ำไมไข่มุกน�้ำจืดจึงมีราคาที่ถูกกว่า ซึ่งเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพไข่มุก ว่าไข่มุกที่เราก�ำลังเลือกซื้ออยู่นั้นมีคุณภาพ หรือไม่ ดูได้จากองค์ประกอบหลายๆอย่างของ ไข่มกุ และไม่วา่ จะไข่มกุ ชนิดใดทัง้ มุกธรมมชาติ และมุกเลีย้ งก็มแี นวทางการประเมินเหมือนกัน คือ

Chapter 4 47


สีของไข่มุกน�้ำเค็ม

สีของไข่มุกน�้ำจืด

สี (Color)

สีของไข่มุกจะขึ้นอยู่กับชนิดของหอยมุกที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง โดยไข่มุกจะประกอบไปด้วย สีหลัก (body color) และสีเหลือบ (overtone) ซึ่งสีหลักจะเป็นสีโดยรวมของไข่มุกที่เรามองเห็น และสีเหลือบจะเป็นสีที่แสดงอยู่ตรงกลางของไข่มุกเป็นพื้นผิวที่มีสีเข้มเมื่อแสงตกกระทบถึง โดยไข่มุกที่มีสีหลักเป็นสีขาวและมีสีเหลือบเป็นสีชมพูจะเป็นมุกที่หาได้ยากและมีราคาสูง ไข่มุก ที่ยิ่งมีสีครีมมากเท่าไรก็จะมีราคาลดลงมากเท่านั้น ไข่มุกที่มีราคาสูงอีกประเภทหนึ่งคือไข่มุก สีด�ำที่มีสีเหลือบเป็นสีเขียวคล้ายหางนกยูง ส่วนไข่มกุ เลีย้ งน�ำ้ จืดจะมีสเี นือ้ มุกทีห่ ลากหลาย ทัง้ สีขาว ชมพู ส้ม เหลือง ม่วง ลาเวนเดอร์ เทา ฯลฯ มุกบางเม็ดมีสองสี ซึ่งสีของมุกน�้ำจืดไม่มีผลต่อราคาเท่ากับ มุกน�้ำเค็ม การที่มุกมีเหลือบสีจะท�ำให้มุกมีราคาเพิ่มขึ้น คือโอเรียนท์ เป็นตัวเพิ่ม มูลค่ามุก ซึ่งทั้งความวาวและโอเรียนท์จะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

48 Chapter 4


ความวาว (Luster) และโอเรียนท์ (Orient)

คือความวาวหรือเงาสะท้อนที่ออกมาจากผิวหน้าของไข่มุก ซึ่งจะไล่ระดับตั้งแต่ วาวมาก ปานกลาง น้อย ถึงไม่วาวหรือขุ่นด้าน ซึ่งไข่มุกยิ่งมี ความวาวมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีคุณภาพและราคาสูงขึ้นเท่านั้น

ความสะอาด (Cleanliness)

คือ ลักษณะผิวหน้าของไข่มุก ยิ่งไข่มุกเม็ดนั้นมีผิวหน้าที่ปราศจากต�ำหนิ ริ้วรอยมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีคุณภาพ และราคาสูงมากขึ้นเท่านั้น ต�ำหนิ ที่สามารถพบได้บนผิวหน้าไข่มุกคือ ตุ่มหรือรอยปูดจากผิว สีไม่สม�่ำเสมอ บริเวณที่มีสีเป็นจุด เกิดรอยเหว่งหรือเนเคอร์เคลือบนิวเคลียสไม่เต็ม รูเล็กๆ ที่เห็นได้บนผิวไข่มุก รอยบุ๋ม จุดด้านที่ไม่มีความแววาว รอยแตก และรอยขูดขีดเป็นต้น

Chapter 4 49


รูปร่าง (Shape) แน่นอนว่าในไข่มกุ เลีย้ งถ้าเป็นไข่มกุ ทีย่ งิ่ กลมก็ยงิ่ มีคณ ุ ภาพและราคาแพง ซึง่ ทรงกลมนีจ้ ะเป็นทรงทีห่ าได้ยากทีส่ ดุ นอกเหนือจากทรงกลมนีแ้ ล้ว ไข่มุกยังแบ่งได้เป็นอีก2รูปทรงคือ สมมาตร (symmetry) และรูปร่างไม่แน่นอน (baroque) โดยทรงสมมาตรจะดูว่ามีคุณภาพที่ดีนั้นจะต้องเป็นไข่มุก ทีม่ คี วามสมมาตรตามรูปทรงนัน้ ๆ แต่ราคาและคุณภาพก็ยงั เป็นรองจากไข่มกุ ทรงกลม และไข่มกุ ทีร่ ปู ร่างไม่แน่นอนจะมีราคาและคุณภาพทีต่ ำ�่ ทีส่ ดุ แต่ ดีไซเนอร์จิลเวอรี่ต่างก็ชอบในรูปทรงแบบนี้เพราะแปลกตาสามารถน�ำไปดีไซน์ให้เกิดความสวยงามได้อีก นอกจากมุกรูปทรงกลมแล้วมุกยังมีรูปทรงอื่นๆอีก ได้แก่ ค่อนข้างกลม (off-round) รูปหยดน�้ำ รูปกระดุม บาโรกหรือรูปทรงไม่แน่นอน ในกรณี ที่จะประเมินรูปร่างมุกจะต้องทราบว่าเป็นมุกประเภทใด เพราะมุกแต่ละประเภทมีรูปร่างและคุณสมบัติต่างกัน

รูปทรงกลม รูปทรงเกือบกลม

รูปหยดน�้ำ รูปทรงบาโร๊ค

รูปกระดุม

50 Chapter 4


ขนาด (Size)

โดยมุกธรรมชาตืจะขายกันตามน�้ำหนักโดยมีหน่วยวัดเป็นเกรน 1 เกรน = 0.25 กะรัต ส่วนมุกเลี้ยง จะซื้อขายกันเป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง วันเป็นหน่วยมิลลิเมตร หากมุกเลี้ยงมีรูปทรงอื่นๆจะวัดขนาดตามความกว้างและความยาว ยิ่งมีขนาดใหญ่ราคาจะยิ่งสูงตามไปด้วย ส่วนในมุกเลี้ยงน�้ำ จืดจะซื้อขายกันโดยใช้น�้ำหนักเป็นกรัม หรือในบางครั้งเป็นกะรัต

ความหนาของเนเคอร์

ความหนาของเนเคอร์นี้ มีความส�ำคัญต่อความวาวและความสวยงามของมุก ซึ่งไข่มุกเลี้ยงน�้ำเค็มจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี ในการผลิตชั้น เนเคอร์ที่มีคุณภาพ ยิ่งเลี้ยงไว้นานมากเท่าไหร่ชั้นเนเคอร์ที่เกิดห่อหุ้มแกนเคลียสก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ส่วนไข่มกุ ทีใ่ ช้เวลาในการเลีย้ งไม่มากพอจะท�ำให้มผี วิ บาง มีความคงทนน้อย ซึง่ ท�ำให้ผวิ อาจเกิดการแตกลายและกระเทาะได้งา่ ย ชัน้ เนเคอร์ควร มีความหนาอย่างน้อย 0.3 มม. และที่ดีควรมีความหนา 0.5 มม.ขึ้นไป ยิ่งไข่มุกที่มีชั้นเนเคอร์หนาก็จะยิ่งท�ำให้ไข่มุกนั้นๆมีคุณภาพและมีราคาสูงตาม ไปด้วย ต่อจากนี้ไปหากต้องการจะเลือก ซื้อหาอัญมณี หรือเครื่องประดับไข่มุกมาไว้ในครอบครองสักชิ้น น�ำเอาหลักการและข้อแนะน�ำจากบทนี้ไปใช้ รับรองได้ว่าคุณจะได้ไข่มุกที่มีคุณภาพ และไม่ถูกหลอกให้ซื้อไข่มุกที่มีราคาสูงเกินไปอย่างแน่นอน

Chapter 4 51


52 Chapter 4


Chapter 4 53


54 Chapter 5


Chapter

5

ไข่มุก

การดูแลรักษาให้ทรงคุณค่าตลอดไป เมื่อเราได้ทราบแล้วว่าไข่มุกต้องผ่านกระบวนการ อะไรมาบ้างกว่าจะได้มาเป็นไข่มุกอันทรงคุณค่างดงาม ที่ เป็นทีห่ มายปอง เป็นทีต่ อ้ งการครอบครองของใครหลายๆ คน แล้วเราจะรักษาหรือคงความงามของไข่มกุ นีไ้ ด้อย่างไร เพราะว่าไข่มกุ เป็นอัญมณีทเี่ กิดจากสิง่ มีชวี ติ โดยไข่มกุ นัน้ จะมี ส วรประกอบหลั ก เป็ น สารจ� ำ พวกแคลเซี ย ม คาร์บอเนตซึ่งท�ำให้มีค่าความแข็งน้อย มีความเปราะบาง ท�ำให้เมื่อไข่มุกได้รับความกระทบกระเทือนหรือไปโดน

ของแข็งเข้าก็อาจจะท�ำให้เกิดเป็นรอยขีดข่วนที่ผิวไข่มุก ได้ง่ายเพราะฉะนั้นผู้ส่วมใส่เครื่องประดับไข่มุกจึงต้องมี ความระมัดระวังมากในการส่วมใส่ เพราะมิฉะนั้นแล้วก็ อาจท�ำให้ความงดงามที่มีคู่กับไข่มุกนั้นลดเลือนลงไปก็ เป็นได้ ดังนั้นไข่มุกจึงต้องการที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งส�ำคัญที่จะท�ำให้อัญมณีไข่มุกอยู่คู่กับผู้ที่ได้ ครอบครองไปอีกนานเท่านาน

Chapter Chapter 5 555 55


ไข่มุกเป็นอัญมณีที่มีความเปราะบางมากเมื่อน�ำไปเทียบกับอัญมณีชนิดอื่นๆ ไข่มุกนั้นเป็นอัญมณีที่มีค่าความแข็ง(Hardness) เพียง 3 ซึ่งเป็น ความแข็งของสารน�้ำมุกที่ห่อหุ้มเคลือกนิวเคลียสอยู่ ดังนั้นผิวของไข่มุกจึงสามารถที่จะเป็นรอยขูดขีดได้ง่าย อีกทั้งตัวแกนกลางและน�้ำมุกที่เคลือบหุ้มนิวเคลียสหรือแกนกลางอยู่ก็ไม่ได้ประสานเป็นเนื้อเดียวกัน จึงอาจจะท�ำให้ไข่มุกนั้นแตกออกมาเป็น ชิ้นเมื่อได้รับการกระทบกระแทก ในส่วนของสีและความแวววาวของมุกนั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมสภาพไปได้ตามเวลาที่แปรเปลี่ยนไป เนื่องจากไข่มุกเป็นอัญมณีท่ีมี น�้ำเป็นส่วนประกอบด้วย เมื่อเวลาผ่านพ้นไปจึงท�ำให้​้ความชื้นที่มีอยู่ค่อยๆสูญหายไปท�ำให้ผิวด้านนนอกของไข่มุกเริ่มด้าน ไม่แวววาว เกิดเป็นรอยประ แบะแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ แต่กว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจะต้องใช้ระยะเวลาเฉลี่ยประมาณ 100-150 ปี เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ต้องห่วงว่าวันใดวันนึง ไข่มุกเราจะแตกออกเป็นเสี่ยงๆหรือไหม เพราะหากไข่มุกนั้นไม่ได้ไปกระทบกับของแข็ง หรือโลหะแล้วยังไงๆไข่มุกก็ยังอยู่คู่กับเราได้อีกเป็นร้อยปีเลยที เดียว

ข้อควรระวังในการสวมใส่ไข่มุก เมื่อไข่มุกเป็นอัญมณีที่มีความเปราะบาง การระมัดระวังเวลาส่วมใส่ไข่มุกที่ส�ำคัญอันดับ ต้นๆ เพราะฉะนั้นขอแนะน�ำว่าไม่ควรสวมใส่ ขณะท� ำ กิ จ กรรมที่ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด การกระทบ กระแทก เพราะจะท�ำให้ไข่มุกแตก หรือเกิดริ้ว รอยบนผิวของไข่มุกได้ และเพราะไข่มุกเป็น อัญมณีที่มีความอ่อนไหวและไม่ทนต่อสภาพ เป็นกรด เหงื่อของมนุษย์ ผู้ที่สวมใส่ไข่มุกจึงควร

56 Chapter 5

หลีกเลี่ยงไม่ให้ไข่มุกโดนเครื่องส�ำอาง น�้ำหอม หรือสารจัดแต่งทรงผม หรือหากจ�ำเป็นต้องการ ใช้สิ่งของเหล่านี้ก็ควรที่จะท�ำให้เสร็จสิ้นก่อนที่ จะส่วมใส่เครื่องประดับไข่มุก หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องประดับไข่มุกขณะ ลงเล่นน�ำ้ หรือสระน�ำ้ ทีม่ คี ลอรีน เพราะจะท�ำให้ ไข่มกุ มีความเงางามผิวน้อยลง และเชือกทีใ่ ช้รอ้ ย ไข่มกุ เปียกชืน้ ได้สง่ ผลให้เมือ่ ขึน้ จากน�ำ้ แล้วเชือก

น้อยไข่มุกแห้งไม่สนิท อาจท�ำให้เชือกร้อยเกิด การเสื่อมสภาพได้ ทั้งนี้ถ้าสายสร้อยหรือเชือก ร้อยมีความเปียกชื้นก็ไม่ควรน�ำมาส่วมใส่เช่น เดียวกันเพราะจะท�ำให้สายร้อยยืดและดูดซับ ความสกปรกไว้ ท�ำให้ยากต่อการท�ำความสะอาด และอาจท�ำให้สายสร้อยและชือกร้อยเสือ่ มสภาพ จนขาดในที่สุด


Chapter 5 57


การดูแลทำ�ความสะอาดเครื่องประดับไข่มุก หลังจากการส่วมใส่ไข่มกุ แล้วนอกจากข้อ ควรระวังต่างๆข้างต้น การดูแลท�ำความสะอาด ไข่มุกก็เป็นอีกวิธีในการดูแลรักษาไข่มุกให้คง ความสวยงามอยู่เสมอ โดยการท�ำความสะอาด ไข่มกุ ก็มวี ธิ กี ารทีท่ ำ� ได้โดยง่าย สามารถทีจ่ ะท�ำได้ ด้วยตัวเอง เพียงแค่ใช้ผ้านุ่มแห้ง หรือผ้านุ่มชุบ น�้ำสะอาดๆ หรือผ้าชามัวส์ เช็ดท�ำความสะอาด ผิวไข่มุก ห้ามน�ำไข่มุกไปล้างโดยเด็ดขาดเพราะ น�้ำจะเข้าไปซึมในส่วนของเชือกร้อยอาจท�ำให้มี การเปื่อยและขาดได้ โดยการเช็ดนี้จะเป็นการ เอาคราบเหงื่อไคลหรือสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่ผิว ไข่มุกออก เพื่อช่วยรักษาผิวของไข่มุกให้มีความ ชุ่มชื่นเงางามอยู่เสมอ แต่ในบางครั้งหากเครื่องประดับไข่มุกมี ความสกปรกทีเ่ กิดจากผูท้ สี่ วมใสมีเหงือ่ มากเกิน

58 Chapter 5

ไป ก็สามารถทีจ่ ะท�ำความสะอาดด้วยการล้างได้ โดยการน�ำท�ำความสะอาดในน�ำ้ ทีผ่ สมสบูอ่ อ่ นๆ แล้วล้างด้วยน�้ำสะอาด หลังจากนั้นจึงค่อยใช้ผ้า นุม่ สะอาด ซับให้แห้ง จากนัน้ จึงน�ำเครือ่ งประดับ มาวางแผ่ลงบนผ้าสะอาด ซึ่งการท�ำในลักษณะ แบบนี้จะท�ำให้น�้ำที่ค้างอยู่ในรูไข่มุกซึมสู่ผ้า ทิ้ง ไว้จนกว่าผ้าจะแห้งสนิทดี เพราะไข่มกุ และเชือก ร้อยก็น่าจะแห้งด้วย อีกข้อหนึ่งส�ำคัญคือห้าม แขวนสร้อยหรือเครือ่ งประดับให้แห้งโดยเด็ดขาด เพราะหารท�ำแบบนีจ้ ะท�ำให้สายสร้อย หรือเชือก ร้อยเสื่อมสภาพได้ อาจจะใช้นำ�้ มันมะกอกหยดใส่ผา้ และเช็ด ผิวไข่มุก ทุกๆ 2-3 ปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ คงรักษาให้ผิวของไข่มุกความแวววาวเงางามอยู่ เสมอ

ทัง้ นีก้ ารท�ำความสะอาดไข่มกุ ยังมีขอ้ ห้าม อย่างอื่นอีกด้วย ดังนี้ ห้ามใช้แปรงมาขัดท�ำความสะอาดโดย เด็ดขาดเพราะจะท�ำให้ไข่มุกเป็นรอยได้ ห้ามใช้ผงซักฟอก น�ำ้ ยาท�ำความสะอาดที่ มีส่วนผสมของแอมโมเนีย หรือผงฟูเพราะจะ เป็นการท�ำลายผิวของไข่มุก ห้ามท�ำความสะอาดด้วยหัวไอน�้ำร้อน (Stream-clean) และห้ามล้างท�ำความสะอาด ไข่มุกด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิค เพราะน�ำ้ยาจะ ท�ำร้ายมุกได้ หรืออาจเกิดการกระทบกระแทก ท�ำให้ไข่มุกเกิดการแตกร้าว


Chapter 5 59


60 Chapter 5


การจัดเก็บเครื่องประดับไข่มุก เมือ่ ท�ำการท�ำความสะอาดไข่มกุ หลังสวม ใส่เรียบร้อยแล้ว การจัดเก็บไข่มุกให้อยู่ในที่ที่ เหมาะสมก็เป็นการช่วยคงความสวยงามให้ไข่มกุ อยู่กับผู้ที่ได้ครอบครองไปอีกนานเท่านาน ไข่มุกควรจะท�ำกาจัดเก็บในกล่องที่มีการ บุ ด ้ ว ยผ้ า ที่ อ ่ อ นนุ ่ ม เพื่ อ ป้ อ งกั น การเสี ย ดสี กระทบกระแทกกับวัตถุที่แข็งหรือมีความคม ห้ามจัดเก็บไข่มกุ ในถุงพลาสติกปิดผนึกแน่น หรือ ถึงซิปล็อคเพราะจะท�ำให้ไข่มกุ คายความชืน้ ออก มา ท�ำมห้เกิดการแห้งและเสือ่ มสภาพไปเร็วก่อน เวลาอันควร เพราะไข่มุกมีส่วนประกอบของน�้ำ 2-4 เปอร์เซ็นต์ จึงควรจัดเก็บเครื่องประดับไข่มุกใน ที่ที่เย็นและมีความชื้นเล็กน้อย หลีกเลี่ยงสถาน ทีจ่ ดั เก็บทีถ่ กู แสงโดยตรง หรือในทีท่ มี่ คี วามร้อน

สูง เพราะจะท�ำให้ไข่มกุ แห้งและเกิดการแตกร้าว ได้ ทัง้ นีย้ งั ท�ำให้ไข่มกุ อาจมีการเปลีย่ นสีได้ถา้ ถูก แสงหรือความร้อนทีม่ คี วามเข้ม และไข่มกุ สัมผัส กับแสงและความร้อนนั้นเป็นระยะเวลานานๆ และข้อแนะน�ำสุดท้ายคือ ควรหมั่นที่จะ ตรวจสอบเครื่องประดับไข่มุกอยู่เสมอ อย่างถ้า เป็นสร้อคอหรือสร้อข้อมือก็ควรท�ำการตรวจใน ส่วนของสายสร้อย หรือเชือกร้อยไข่มุก โดย การน�ำไปให้รา้ นทีท่ ำ� การขายเครือ่ งประดับเพชร พลอยตรวจสอบทุก 2-3 ปี ว่าสายสร้อยหรือ เชือกร้อยยังมีความเหนียวแน่นดีอยู่หรือไม่ หรือ เปือ่ ยยุย่ จนเกือบจะขาดแล้ว ควรท�ำการร้อยใหม่ หรือไม่ เพื่อไม่ให้สร้อยไข่มุกขาดขณะทีส่วมใส่ ส่วนเครื่องประดับไข่มุกอื่นๆ อย่างแหวน ต่างหู เข็มกลัด ฯลฯ ก็ควรตรวจสอบความหนา

แน่นของการยึดติดด้วยเช่นกัน เพราะมิเช่นนั้น มุกอาจหลุด และหล่นหายได้ เหลือเพียงแต่เรือน ว่างเปล่าให้ผู้ที่พบเห็นสับสนกับดีไซน์เครื่อง ประดับรูปแบบใหม่โดยไม่รู้ตัว จากค�ำแนะน�ำง่ายๆเหล่านี้ ก็จะท�ำให้ได้ ครอบครองไข่มกุ ทีย่ งั คงความสวยงามแววาว อยู่ เสมอ และความงามของไข่มุกก็จะยังอยู่คู่ผู้ที่ ครอบครองอีกยาวนาน เพียงแค่คณ ุ ใส่ใจดูแล มอบความรัก ความ ทะนุถนอม และห่วงใยในอัญมณีที่คุณครอบ ครองอยู่ เพียงเท่านีอ้ ญ ั มณีเหล่านัน้ ก็จะยังคงอยู่ เคียงข้างคุณ มอบความสวยงาม เสริมบุคลิกให้ คุณได้ตลอดไป

Chapter 5 61


62 Chapter 5


Chapter 5 63


64 Chapter 6


Chapter

6

ไข่มุก

ท่องเที่ยวชมฟาร์มในประเทศไทย หลังจากได้เรียนรู้ทั้งประวัติความเป็น มากว่าจะเป็นไข่มุก จวบจนการแยกแยกแยะ ไข่มุกแท้ปละไข่มุกเทียม ทั้งยังได้รับรู้ถึงการคง ความสวยงามของไข่มุกให้อยู่คู่กับเจ้าของไป นานๆแล้ว ถ้าหากท่านผู้อ่านอยากจะเห็นและ ไปสัมผัมฟาร์มไข่มกุ และรับรูก้ บั บรรยากาศการ เพาะเลี้ยงไข่มุกด้วยตัวเองก็คงท�าให้รู้สึกสนุก และตื่นตาตื่นใจไม่น้อย

ทั้งนี้ในประเทศไทยก็มีฟาร์มไข่มุกที่ เปิดให้ผู้สนใจในอัญมณีไข่มุกเข้าไปศึกษาเยี่ยม ชมได้ นอกจากจะได้เห็นถึงความมหัศจรรย์ใน การสร้างอัญมณีชนิดนีข้ นึ้ มาแล้ว ยังจะได้ดมื่ ด�า่ ไปกั บ บรรยากาศอั น สวยสดงดงามของที่ ตั้ ง ฟาร์มไข่มกุ อีกด้วย ไม่แน่หากการได้ไปเทีย่ วชม ฟาร์มในครั้งนี้อาจท�าให้คุณได้อัญมณีไข่มุกติด ไม่ติดมือกลับบ้านไปก็เป็นได้

Chapter 6 65


สถานทีแ่ รกทีเ่ ราจะพาไปชืน่ ชมกับบรรยาการฟาร์มไข่มกุ คงหนีไม่พน้ จังหวัดทีเ่ ปรียบเสมือน ว่าเป็นไข่มุกแห่งท้องทะเลอันดามัน อัญมณีที่งดงามอีกเม็ดหนึ่งของเมืองไทย นั่นคือจังหวัดภูเก็ต ซึ่งจังหวัดภูเก็ตนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงในเรื่องเป็นสถานที่ที่มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวติดอันดับโลกแล้ว ภูเก็ตเองยังเป็นแหล่งผลิตไข่มุกหลากหลายชนิด ซึ่งถือได้ว่ามีการท�ำ ฟาร์มไข่มุกมานานมากแล้ว และไข่มุกจากภูเก็ตก็เป็นไข่มุกที่มีความสวยงามไม่แพ้ไข่มุกจากแหล่ง อื่นๆในโลกนี้เลย ฟาร์มไข่มุกในจังหวัดภูเก็ตที่โดเด่น ไครไปใครมาก็ต้องแวะดูแวะซื้อไข่มุกติดไม่ติดมือ กลับบ้านไปก็มีอยู่ด้วยกัน 2 แห่งคือ

ร้านไข่มุกภูเก็ต

ภายใต้บริษัทภูเก็ตเพิร์ล กรุ๊ปหรือที่ชาวภูเก็ตมักเรียกกันติดปากว่า ร้านมุกสะปำ� ร้านมุกแห่งนีถ้ อื ได้วา่ เป็นร้านมุกที่ ธุรกิจแบบครบวงจร คือทั้งการท�ำฟาร์มเลี้ยงมุก ได้ รั บ ความนิ ย มมากเป็ น อั น ดั บ ต้ น ๆใน โรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงโชว์รูมแสดง จังหวัดภูเก็ตเลยก็วา่ ได้ โดยแต่เดิมร้านมุกแห่งนี้ สินค้า ท� ำ ก า ร เ พ า ะ เ ลี้ ย ง ไข ่ มุ ก กั น ใ น ลั ก ษ ณ ะ เมื่อเราย่างก้าวเข้าไปในส่วนของโชว์รูม อุตสาหกรรมครัวเรือน แต่เมื่อเวลาผ่านไปร่นสู่ เราจะรู ้ สึ ก เหมื อ นอยู ่ ใ ต้ ท ้ อ งทะเลเลยที เ ดี ย ว รุน่ ก็ได้มกี ารเปลีย่ นแปลงเข้าสูร่ ะบบอุตสหกรรม เพราะการตกแต่งของทางร้านให้ความรู้สึกแบบ

66 Chapter 6


นัน้ เป็นการตกแต่งส่วนของโชว์รมู เน้นสีหลักเป็น สีน�้ำเงินให้ความรู้สึกว่าเรามาเยือนใต้ท้องทะเล รวมทั้งมีการจัดเป็นนิทรรศการย่อมๆให้เราได้รู้ ทุกกระบวนการผลิตตไข่มุกของทางร้าน ว่ากว่า จะได้ไข่มุกแต่ละเม็ดมานั้นต้องท�ำอย่างไรบ้าง เรียกได้ว่ามาที่นี่ก็จะได้เรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ ไข่มุกไปในตัวด้วย ตั้งแต่ทางเข้าเราจะพบกับวิทยากรที่จะ คอยบรรยายให้เราฟังถึงขัน้ ตอนๆต่าง ว่ากว่าจะ ได้ออกมาเป็นไข่มกุ แต่ละเม็ดของทางร้านต้องท�ำ อย่างไรบ้าง ซึ่งในส่วนนี้จะมีวิทยากรคอยพาเรา เดินชมรอบๆนิทรรศการตลอดทางเดินยาวด้าน ในของร้านทีจ่ ำ� ลองฟาร์มขนาดย่อมๆมาให้เราได้ เห็นกัน เมื่อเดินชมรอบๆนิทรรศการเรียบร้อย แล้ว ก็จะน�ำพาทุกคนเข้าไปสู่ในส่วนของโชว์รูม แสดงสินค้าของทางร้าน ซึ่งทางร้านเองก็มีการ

แบ่งโชว์รมู ไว้สองรูปแบบ ในส่วนแรกจะเป็น โชว์รูมที่ตั้งอยู่บริเวณชั้น1 ของร้าน จะ ขายผลิตภัณฑ์ สินค้าเครื่องประดับ ไข่มุกแบบธรรมดา ดั้งเดิมของร้าน ภูเก็ตไข่มุก ส่วนอีกโชว์รูมจะอยู่ ด้านบนชั้นสอง ภายในโชว์รูมจะ ตกแต่ ง อย่ า งหรู ห รา เพราะ เป็นการตั้งโชว์ผลิตภัณฑ์เครื่อง ประดับไข่มุกของแบรนด์อมร อัน เป็นแบรนด์ของทางร้านเองที่ยก ระดับขึ้นมาจากองเดิม โดยมีความ โดดเด่นตรงทีช่ นิ้ งานจะมีเพียงชิน้ เดียว ในโลก มี ค วามหรู ห รา และมี ร าคาสู ง มากกว่าโชว์รูมด้านล่าง

Chapter 6 67


นอกเหนือจาการเที่ยวชมในโชว์รูม แสดงสิ นค้ า ที่ มี ข ้ อ มู ล เกี่ ย วกั บไข่ มุ ก ให้ ผู ้ ที่ สนใจได้เข้าชมแล้ว ทางบริษัทเองก็ได้เปิด ฟาร์มให้ได้เข้าไปเที่ยวชมกันได้อีกด้วย ซึ่ง ฟาร์มของทางร้านจะตั้งอยู่บริเวณ อ่าวสะป�ำ ทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต การเดินทางเราจะเดินทางโดยเรือใช้เวลา เพียงแค่ 10 นาทีก็เดินทางถึงฟาร์ม ที่จะเปิด

68 Chapter 6

ประสบการณ์คุณให้ได้เห็นถึงความมหศัจรรย์ การสรรค์สร้างอัญมณีอันล�้ำค่าจากหอยมุกตัว เล็กๆ เมือ่ ไปถึงฟาร์มจะมีวทิ ยากรรอต้อนรับเรา อยู่และคอยแนะน�ำให้ความรู้เกี่ยวกับการเกิด ไข่มกุ ให้เราได้รบั รูแ้ ละรูส้ กึ ทึง่ ว่าเพียงแค่หอยมุก ตัวเล็กกระจิ๊ดริดก็สามารถสร้างสรรค์สิ่งล�้ำค่า ออกมาได้เหมือนกัน ทั้งนี้เรายังจะได้สัมผัสกับ


บรรยากาศที่มีทะเลล้อมรอบ เพลิดเพลินกับ บรรยากาศรอบตัว เห็นถึงความอุดมสมบูรณของ ผืนน�ำ้ และผืนป่าชายเลนด้านหลังของฟาร์ม เรียก ได้วา่ การมาเทีย่ วชมฟาร์มไข่มกุ ครัง้ นีไ้ ม่เพียงแต่ จะไดรับความรูก้ ลับไปเท่านัน้ หากแต่ยงั ได้ดมื่ ด�ำ่ กับบรรยากาศทีส่ ดุ แสนจะผ่อนคลายทีร่ ายล้อมร อบๆฟาร์มแห่งนีอีกด้วย

Chapter 6 69


70 Chapter 6


ร้านมุกภูเก็ต

ร้านนีก้ เ็ ป็นอีกร้านหนึง่ ทีข่ นึ้ ชือ่ ในจังหวัด ภูเก็ต มีความโดดเด่นตรงที่ร้านมุกภูเก็ตแห่งนี้มี ไข่มุกราคาเม็ดล่ะ 15 ล้านตั้งโชว์อยู่ เรียกได้ว่า เป็นจุดเด่นที่เรียกให้ผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมที่ร้าน อย่างไม่ขาดสายเลยทีเดียว ซึง่ อัญมณีมลู ค่าแปด หลักนี้มีอยู่ด้วยกันสองเม็ดเป็นไข่มุกสีงาช้าง ซึ่ง เป็นไข่มุกธรรมชาติ โดยไข่มุกทั้งสองเม็ดนี้ไดรับ การรับรองเรียบร้อยแล้ว ภายในร้านจะมีโซนที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การเพาะเลี้ยงไข่มุกอยู่ด้วย ซึ่งก็จะมีวิทยากร ประจ�ำอยู่คอยให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่

สนใจด้วย และทางร้านก็เปิดฟาร์มให้นักท่อง เที่ยวและผู้ที่สนใจเข้าไปเยี่ยมชมการเพาะเลี้ยง ไข่มกุ อย่างใกล้ชดิ ซึง่ ทีต่ งั้ ฟาร์มของร้านมุกภูเก็ต จะอยูท่ อี่ า่ วฉลอง ซึง่ เมือ่ ไปถึงฟาร์มไข่มกุ เราก็จะ ได้รับความรู้ความสนุกเพลิดเพลินจากการลอง สัมผัสการเพาะเลี้ยงไข่มุกอย่างใกล้ชิด หากมีโอากาสได้มาเยือนที่จังหวัดภูเก็ต แห่งนี้ลองหาเวลาว่าจากกิจกรรมการท่องเที่ยว อืน่ อย่างด�ำน�ำ้ หรือเดินเล่นตามชายหาด มาแวะ เที่ยวชมฟาร์มไข่มุกทั้งสองแห่งนี้ แล้วคุณจะรู้ ว่ า การมาเที่ ย วภู เ ก็ ต นอกจากได้ รั บ ความ

สนุกสนานเพลิดเพลินจากการพักผ่อนท่องเทีย่ ว แล้ว คุณยังสามารถได้เก็บเกี่ยวความรู้เกี่ยวกับ ไข่มกุ จากการท่องเทีย่ วในครัง้ นีไ้ ด้อกี ด้วย มาเห็น ความมหัศจรรย์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆที่สามารถ สร้างงสิ่งล�้ำค่างดงามออกมาให้ผู้คนต่างพากัน หลงใหลด้วยตาของคุณเอง แล้วคุณจะพบว่า ท� ำ ไมไข่ มุ ก ถึ ง เป็ น อั ญ มณี ที่ ใ ครๆต่ า งก็ พ ากั น อยากได้มาไวในครอบครอง

Chapter 6 71


ฟาร์มไข่มุกน�้ำจืดจังหวัดกาญจนบุรี ในเมือ่ เราไปสัมผัสการเพาะเลีย้ งไข่มกุ น�ำ้ เค็มแล้วไฉนเลยจะพลาดกับการเพาะเลีย้ งไข่มกุ น�ำ้ จืด โดยในประเทศไทยเราเองนัน้ ยังไม่ได้มกี าร ท�ำฟาร์มไข่มกุ ในรูปแบบเชิงพาณิชย์อย่างเช่นกับ ฟาร์มไข่มุกน�้ำเค็ม แต่ก็ใช่ว่าในประเทศไทยไม่มี การท�ำฟาร์มเพาะเลี้ยงไข่มุกน�้ำจืดเลย ซึ่งสถาน ที่ในประเทศไทยที่ท�ำการเพาะเลี้ยงไข่มุกน�้ำจืด นัน้ คือทีศ่ นู ย์วจิ ยั และพัฒนาประมงน�ำ้ จืดจังหวัด กาญจนบุรี โดยทางศูนย์วิจัยแห่งนี้ได้มีการเพาะ เลี้ ย งหอยมุ ก น�้ ำ จื ด และพั ฒ นาการเพาะเลี้ ย ง ไข่มุกมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันนี้มีการวางแผนที่จะ

72 Chapter 6

น�ำการเพาะเลี้ยงทั้งหอยมุกและเพาะเลี้ยงไข่มุก ไปเผยแพร่แก่เกษตรกรไทยเพือ่ เป็นการส่งเสริม รายได้และสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ เหล่านี้ต่อไป โดยหากต้องการเข้าไปชมการเพาะเลี้ยง ไข่มุกในศูนย์วิจัยแห่งนี้จะต้องท�ำการแจ้งไปทาง ศูนย์ลว่ งหน้า เพราะว่าสถานทีน่ เี้ ป็นสถานทีท่ าง ราชการ แต่เจ้าหน้าทีป่ ระจ�ำศูนย์กย็ นิ ดีหากจะมี ผู้คนเข้ามาสนใจในการเพาะเลี้ยงไข่มุกน�้ำจืดนี้ บรรยากาศของฟาร์มเลีย้ งไข่มกุ ของทีน่ ี่ จะตั้งอยู่ริมแม่น�้ำแคว มีสายลมพัดเอื่อยเข้ามา

ท�ำให้อากาศไม่ร้อนเรียกได้ว่าบรรยากาศดี และ ร่มรื่นมาก เจ้าหน้าที่ก็จะคอยอธิบายสาธิตการ เพาะเลีย้ งไข่มกุ ให้ดอู ย่างใกล้ชดิ และถ้าเราอยาก ลองลงมือท�ำดู พี่ๆเจ้าหน้าที่ก็ยื่นอุปกรณ์ให้เรา ได้ทดลองท�ำกันตรงนั้นเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าฟาร์มไข่มุกน�้ำจืดในประเทศไทย ปัจจุบันยังไม่มีฟาร์มที่เป็นฟาร์มเชิงพาณิชย์ แต่ ฟาร์มที่ศูนย์วิจัยฯแห่งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะ ช่วยขับเคลือ่ นให้ประเทศไทยมีฟาร์มไข่มกุ ทีผ่ ลิต ไข่มุกน�้ำจืดออกขายสู่ท้องตลาดได้อย่างแน่นอน


Chapter 6 73


74 Chapter 61


Chapter 61 75


ขอขอบคุณ ศูนย์วิจัยและพัฒนำประมงน�้ำจืดกำญจนบุรี หมู่ 1 ต.ท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี 71110 โทร. 0-3461-1144 โทรสาร. 0-3461-3073 website : http://www.fisheries.go.th/if-kanchanaburi/web2

ภูเก็ต เพิร์ล กรุ๊ป

58/1 หมู่1 ถ.เทพกษัตรี ต.เกาะแก้ว อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทร. 0-7637-7730-1 โทรสาร. 0-7623-8337 E-mail : pearlofphuket@gmail.com website : www.phuketpearl.com


มุกภูเก็ต

65/1 ถ.เจ้าฟ้า ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 83000 โทร. 0-7621-3766, 0-7624-4042 โทรสาร. 0-7622-6125 E-mail : info@mookphuket.com website : www.mookphuket.com

วังไข่มุก

486/119 (ติดสถานีรถไฟฟ้า BTS ราชเทวี ทางออก3) ถนนพญาไท (ใกล้ที่จอดรถโรงแรมเอเชีย) แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทร. 02 611 3300, 02 611 3030 โทรสาร 02 611 0330 website : wangkaimook.com


คำ�ขอบคุณจากใจ หนังสือเล่มนี้จะไม่สามารถออกมาได้เสร็จสมบูรณ์หากขาดบุคคลหล่านี้ที่คอยอยู่เคียงข้างกัน คุณพ่อ คุณแม่ กับการคอยอบรมเลี้ยงดู ดูแลเอาใจใส่ ส่งเสียลูกสาวคนนี้ จนได้มาท�ำหนังสือ เล่มนี้ อันเป็นอีกหนึ่งขั้นของความส�ำเร็จในชีวิตการเรียนของลูก คอยเป็นก�ำลังใจ เป็นแรงผลักดันที่ ท�ำให้หนังสือเล่มนี้ออกมาเสร็จสมบูรณ์ ตลอดจนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการท�ำหนังสือเล่มนี้ ซึ่งทั้งนี้ พ่อและแม่เป็นก�ำลังใจอันยิ่งใหญ่และส�ำคัญที่สุดของลูก เพราะหากไม่มีคนทั้งคู่ที่คอยสนับสนุน ลูกสาวคนนี้อย่างเต็มที่ หนังสือเล่มนี้ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นมาได้ หมูน้อย น้องสาวฝาแฝดผู้คอยเป็นก�ำลังใจให้พี่สาวในการท�ำหนังสือเล่มนี้ อาจารย์สรนัยน์ นนท์ปิยสกุล อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการจุลนิพนธ์ของหนู ขอบคุณที่คอยสั่ง สอน แนะน�ำและดูแลมาตลอดการท�ำหนังสือเล่มนี้ จนในที่สุดหนังสือเล่มนี้ก็ออกมาเสร็จสมบูรณ์ แม็ค ศรายุธท ขอบคุณที่แบ่งปันเวลาท�ำจุลฯของตัวเองมาท�ำหน้าที่ตากล้อง ช่วยถ่ายภาพ แฟชั่นให้ในหนังสือของเราซึ่งเป็นส่วนส�ำคัญหนึ่งในหนังสือเล่มนี้เลย หากไม่มีแม็คก็คงไม่มีภาพสวยๆ ที่ปรากฎอยู่ในหนังสือเล่มนี้ตอนนี้ น�้ำ สริตา ขอบคุณที่มาเป็นนางแบบให้กับภาพถ่ายแฟชั่นในหนังสือของเราเล่มนี้ ยอมเสียสละ เวลาในการท�ำจุลฯของตัวเองมาเป็นแบบให้เรา ขอบคุณมากจริงๆ เพื่อนชาวแก๊งค์โต๊ะไกลทุกคนที่คอยเป็นก�ำลังใจ คอยอยู่เคียงข้างกันมาเสมอไม่ว่าจะตอนสุข หรือทุกข์

จุลนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2555 ลิขสิทธ์ิของมหาวิทยาลัยศิลปากร



ไข่มุก อัญมณีแห่งความบริสุทธิ์ มหัศจรรย์แห่งความงามจากธรรมชาติที่จับต้องได้ ผู้คนพากันหลงใหลโดยไม่รู้ตัว

Gem of the Water


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.