มีดอรัญญิก
หมู่บ้านหัตถกรรมท�ำมีด ชุมชนที่ตีมีดได้คมที่สุด
ดู ต�ำนานมีดคมอันเลื่องชื่อ ตี เคล็ด(ไม่ลับ)วิชาตีดาบ
ฟัง
เปิดใจช่างตีดาบหัวใจเหล็ก
ต า ม ไ ป ดู
ท่ามกลางการวิวัฒนาการของโลกที่เทคโนโลยีก�ำลังเข้า มาแทนที่แรงงานมนุษย์ แม้จะสร้างความสะดวกสบายให้ กับอุตสาหกรรมหลาย ๆ ด้าน แต่ทว่าก็ยังมีกลุ่มคนบาง ส่ ว นที่ พ ยายามจะด� ำ รงคุ ณ ค่ า งานหั ต ถกรรมจากฝี มื อ มนุษย์เอาไว้เฉกเช่น “หมู่บ้านหัตถกรรมท�ำมีด” ณ หมู่บ้าน ต้นโพธิ์ ต�ำบลท่าช้าง อ�ำเภอนครหลวง จังหวัดอยุธยา หากได้แวะมาเยี่ยมเยียนหมู่บ้านแห่งนี้จะได้พบกับร้าน ขายมีดเรียงรายเต็ม 2 ข้างทางถนน นั่นเพราะว่าที่แห่งนี้ ขึ้ น ชื่ อ ว่ า ตี มี ด ได้ ค มที่ สุ ด จนผู ้ ค นต้ อ งหลั่ ง ไหลมาซื้ อ ว่ า แล้ ว เราก็ ต ามไปดู ที่ ม าของหมู ่ บ ้ า นนี้ กั น เลย
จุดเริ่มต้นของหมู่บ้านนักท�ำมีด อรัญญิก นั้นมาจากหมู่บ้านไผ่หนอง และบ้านต้นโพธิ์ ที่มีเชื้อสายมาจาก ชาวเวียงจันทน์ ซึ่งอพยบมาหลาย ร้อยปีและได้น�ำวิชาตีมีดติดตัวมา ด้วย มาสุดหนทางที่อยุธยา แต่ละคนก็ต่างมองหาแหล่งตั้งที่ อยู่อาศัยก็ได้แยกย้ายไปกันคนละ ทาง ไปสิงห์บุรีบ้าง สุพรรณบุรีบ้าง หมู่บ้านอรัญญิกบ้าง เมื่อเห็นว่ามีพื้นที่ตรงนี้เหมาะแก่ การตั้ ง ที่ อ ยู ่ อ าศั ย มี ด งไม้ ไ ผ่ ห นา เเน่น มีหนองน�้ำ ไร่นาให้ท�ำกิน อยู่ ใกล้วัด จึงเกิดหมู่บ้านไผ่หนองและ บ้านต้นโพธิ์ขึ้นมา หลังมีแหล่งที่อยู่อาศัยแน่นอน แล้วก็เริ่มมองหาวัตถุดิบที่จะน�ำมาตี มีด เริ่มแรกก็ไปขอจากวัด พวก เหล็ ก ก่ อ สร้ า งที่ เ หลื อ บ้ า งเล็ ก ๆ น้อยๆ ใช้แกลบมาปั้นเป็นเตา เอา ไม้ไผ่มาเผาเป็นถ่านสร้างเครื่องไม้ เครื่องมือใช้ในครัวเรือนกันเอง เช่น จอบ เคียวเกี่ยวข้าว เสียม เป็นต้น
เมื่อท�ำมีดที่มีคุณภาพขึ้นมาได้แต่ ขาดรายได้ แ ละไม่ มี ต ลาดขาย จึงน�ำไปขายที่หมู่บ้านใกล้ ๆ คือ หมู่ บ้ า นอรั ญ ญิ ก เหมื อ นเป็ น แหล่ ง สัญจรของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ หลายจังหวัด คนที่ซื้อมีดจากบ้าน อรัญญิกไปก็ไปบอกต่อเป็นทอดๆ ว่ามีดอรัญญิกดีมีความคม คงทน ท�ำให้เกิดกิตติศัพท์มีดอรัญญิก ขึ้นมา
หากมีความต้องการมีด ดาบ ประเภทใด ก็สามารถตามหา ทั้งหมดได้ในหมู่บ้านนี้
ไม่ว่าจะซื้อเอาไปใช้ประกอบ การแสดง หรือสะสม ก็จะได้งานที่ละเอียด และสวยงาม
หรือจะซื้อไปใช้ในงานครัว งานเกษตร ก็จะได้มีด ที่มีคุณภาพ คมกริบ ที่ใช้งานได้นาน
หากแวะผ่านมาก็ซื้อมีดปากกา เป็นเครื่องราง ของฝากได้ เป็นมีดทรงสวย ไม่มีคม ที่สลักลายยันต์ไว้สวยๆ แต่ไม่ได้ลงอาคมเอาไว้นะ เพื่อขายให้หลายศาสนา เป็นมีดเก๋ๆ ไม่ใช่ของขลังนะจ๊ะ
หมู่บ้านต้นโพธิ์นี้ไม่เพียงจะขายมีดอย่าง เดียวเท่านั้น แต่ทว่ายังเปิดให้ชมการตีมีดฟรี อีกด้วยที่ “ส.อรัญญิก” อย่างไม่มีการหวงวิชา ใด ๆ ทั้งสิ้น โดยจะเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00น.
ต า ม ไ ป ตี
ติดต่อสอบถาม คุณบุญสม ศรีสุข โทรศัพท์ 098-2536584 , 084-0869863 , 084-3407082 โทรสาร 035-909241 E-mail : sor_arungig@hotmail.com
การเดินทางด้วยรถยนต์จากกรุงเทพ ฯ ใช้เส้น ทางถนนสายเอเชีย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 โดยไม่เข้าตัวเมืองอยุธยาไปทางจังหวัดนครสวรรค์ ระยะห่างจากโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช ฯ ไป ประมาณ 100 เมตร เลี้ยวซ้ายกลับรถใต้สะพาน ข้ามแม่น้ำ�ป่าสัก มุ่งเข้าสู่ถนนหมายเลข 347 ตลอดทางมีป้ายบอกที่ตั้งชุมชนท�ำมีด
เคล็ด(ไม่ลับ)วิชาตีดาบ ขั้นที่ 1 ตัดเหล็กให้ได้ขนาดตามความต้องการเผาไฟให้แดง แล้วน�ำออกมาจากเตาตีให้ได้รูป ขั้นที่ 2 เมื่อเหล็กได้รูปแล้ว เอาเข้าเตาเผาไฟอีกครั้ง น�ำออก มาตีด้วยค้อนเพื่อขึ้นรูปมีดให้ได้ตามความต้องการ ขั้นที่ 3 เมื่อตีซ�้ำจนได้รูปแล้ว ต้ อ งทิ้ ง ไว้ ใ ห้ เ ย็ น แล้ ว ใช้ ค ้ อ นตี จนเนื้อเหล็กเรียบเป็นมันเพื่อให้ เนื้อเหล็กเหนียวแน่น คมบาง ขั้นที่ 4 เมื่อไห่จนได้รูปมีดพอ สมควรแล้ว น�ำมาตะไบเพื่อให้ ได้รูปเล่มสวยงามยิ่งขึ้น ขั้นที่ 5 เมื่อแต่งตะไบได้รูปตาม ที่ต้องการแล้ว น�ำมาขูดคมให้ บางโดยใช้เหล็กขูดเพื่อท�ำให้ตัว มีดขาวและบาง ขั้นที่ 6 ใช้ตะไบหยาบและตะไบ ละเอียดโสกตามตัวมีดเพื่อให้ มีดขาวและคมจะบางยิ่งขึ้น ขั้นที่ 7 น�ำมาพานคมโดยใช้ตะไบ ขั้นที่ 8 เมื่อพานคมเสร็จ ก็จะน�ำ มาชุบน�้ำ คมของมีดจะกล้าแข็ง ไม่อ่อนและไม่บิ่น
ขั้นที่ 9 ชุบแล้วน�ำมา ฝน หรือ ลับ โดยใช้หินหยาบและหิน ละเอียดให้คมได้ที่ ขั้นที่ 10 น�ำเหล็กมาเข้าด้าม มีด แล้วใช้น้ำ�มันทาตัวมีดเพื่อ กันสนิม
ต า ม ไ ป ฟั ง
“ เราตีมีดตั้งแต่ตี 4 ตี 5 ยันเลิก 5 - 6 โมงเย็น เหนื่อยสายเอ็นแทบขาด ได้ไม่กี่บาท ทนดูไม่ได้ มันต้องมีวิวัฒนาการ ”
บุญสม ศรีสุข
คุณลุง “บุญสม ศรีสุข” วัย 71 ปี ช่างตีมีด และเจ้าของ ส.อรัญญิก อันเป็นศูนย์กลางของชุมชนคนท�ำมีด เมื่อเราเข้ามา คุณลุงก็ละจากงานมาต้อนรับทันที ดูจากมือแล้วคุณลุงน่าจะ ช�ำนาญการตีมีดมาหลายปี ว่าแล้วคุณลุงก็ยินดีเล่าประวัติความเป็น มา และเรื่องน่าสนใจหลาย ๆ เรื่องให้ฟัง แล้วคุณลุงเป็นใคร มาตีมีด ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน ลุงเล่าว่าตั้งแต่เกิดทั้งหมู่บ้านนี้ก็ตีมีดกันมาอยู่แล้ว รวมทั้ง ครอบครัวคุณลุงด้วย แต่เดิมหมู่บ้านนี้ตีแค่มีดในครัวเรือน หรือมีด ที่ใช้ทางการเกษตรเท่านั้น ต่อมาคุณลุงสังเกตว่าครอบครัวต้อง ตื่นมาตั้งแต่เช้ามืดแล้วตีดาบจนค�่ำทุกวัน มีดแต่ละเล่มราคาก็ไม่กี่บาท ไม่พอกิน และเหนื่อย ทนดูไม่ได้ เมื่ออายุได้ 14 ปี ลุงจึงคิดหาวิธีเพิ่ม มูลค่าให้กับมีดที่ตีอยู่ ต้องการวิวัฒนาการ เปลี่ยนรูปแบบที่ตีอยู่ ตอนแรกคนในครอบครัวก็ไม่เห็นด้วยกับไอเดียคุณลุง เพราะไม่มีแบบ เนื่องจากการที่เราจะท�ำแบบนั้นต้องมาจากภูมิปัญญา จึงเริ่มคิดถึง สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงยุทโธปกรณ์ที่ใช้ และเริ่มตีดาบขึ้นมา
ในครั้ ง แรกนั้ น มี ช าวต่ า งชาติ ม าซื้ อ ดาบที่ตีไป 2 เล่ม ในราคา 9,999 บาท จาก มีดที่เคยขายได้เล่มละสิบกว่าบาท จนโด่งดัง คนเริ่มพูดถึง อยากรู้ว่าท�ำยังไง ก็เข้ามาดูที่ หมู่บ้าน ลุงได้โอกาสจึงโปรโมทชุมชนผ่านสื่อ ต่าง ๆ ที่มาท�ำข่าว ให้คนมาเที่ยว มาซื้อของ ห ลั ง จ า ก นั้ น คุ ณ ลุ ง ก็ เ ป ็ น ผู ้ วิวัฒนาการรูปแบบมีดต่าง ๆ ทั้งมีดดาบ มีด พระขรรค์ พระแสงของ้าว ทวนต่าง ๆ ใน สมัยสงคราม ซึ่งในยุคโบราณนั้นลวดลาย ตามอาวุธก็จะเป็นเพียงแบบเรียบ ๆ เท่านั้น แต่ คุ ณ ลุ ง ก็ ไ ด้ พั ฒ นาใส่ ล วดลายให้ มี ค วาม สวยงามมากขึ้น ไม่ว่าจะลายประจ�ำยาม ลาย ดอก ลายรักร้อย โดยสังเกตจากลายโบสถ์ ตามวัดต่าง ๆ แล้วน�ำมาอยู่บนมีดดาบ เป็น ผลให้มีภาพยนตร์หลายเรื่องมาติดต่อให้คุณ ลุงสร้างดาบไปประกอบฉากให้ เมื่อมีงานแต่ละ ครั้ง คุณลุงก็จะเกณฑ์คนในชุมชนมาช่วยกัน สร้าง เป็นการแบ่งปันรายได้ให้ทุกคน ความภาคภูมิใจสูงสุดของคุณลุงคือ ครั้งหนึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จมา ทรง พระราชทานเงินให้ก้อนหนึ่ง ให้คุณลุงเป็น ผู้น�ำแนวทางนี้ เพื่อสืบสานวัฒนธรรมนี้ไว้ให้ อยู่คู่กับหมู่บ้านนี้เป็นมรดกของโลก และทรง รับสั่งให้สร้างพระแสงคู่บารมีให้แก่พระองค์ แทนพระแสงเก่าที่ช�ำรุดเสียหาย และให้น�ำไปไว้ใน พิพิธภัณฑ์ตามรับสั่ง (รูปทางซ้ายมือ) นอกจากนี้คุณลุงยังได้รับเกียรติให้เป็นผู้ตี เคียวเกี่ยวข้าวให้สมเด็จย่า และพระราชวงศ์ ปัจจุบันคุณลุงก็เป็นผู้น�ำชุมชนให้มีที่ อยู่อาศัย มีกินมีใช้ ตามหลักเศรษฐกิจพอ เพียง ถ้ามีโอกาสได้ไปอยุธยา ต้องไม่พลาดที่ จะแวะมาชมการตีดาบ ซื้อมีด หรือมาสนทนา กับคุณลุงได้ ที่ชุมชนคนตีมีดแห่งนี้