Eeeeeeee

Page 1

ASST.EDITOR

ART DIRECTOR

EDITOR

CONTENTS ART DIRECTOR EDITOR



นิตยสารศิลปะ

x บันเทิงรายสองเดือน



นิตยสารศิลปะบันเทิง รายสองเดือน Happening Magazine นิตยสารศิลปะ – บันเทิง รายเดือน ที่รวบรวมสาระเนื้อหาต่างๆ ที่เน้นไป ทางสายบันเทิง แนวเพลง หนัง ภาพยนตร์ เรื่อง สั้น รวมไปถึงข่าวสารสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจน เป็นกระแส เนื้อหาเหล่านี้ได้ถูกนำมาเรียบเรียงผ่าน ปลายปากกาผู้ที่มีความรู้ความชื่นชอบในด้านศิลปะ โดยเฉพาะ ทุกสิ่งทุกอย่างในหนังสือเล่มนี้แทบทั้งหมด มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นศิลปะทั้งนั้น เปรียบดั่ง เช่นลอดช่องที่ขาดน้ำกะทิ ก็เหมือน happening ที่ ขาดความเป็นศิลปะ(เกี่ยวอะไรกันฟระ) ในทุกๆเล่ม จะจะสลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเนื้อหาที่ฮ็อต

ในทุกๆเล่มจะจะสลับผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเนื้อหาที่ ฮ็อตฮิตในขณะนั้นดึงเอาดาราคนดังมานั่งสัมภาษณ์ ประเด็นที่เป็นกระแสอยู่ตอนนั้น เพลงฮิตติดหูที่ หนั ง สื อ เล่ ม นี้ นำ า เสนอแทบจะเป็ น แนวเพลงอิ น ดี้ ทั้ ง นั้น หนังและภาพยนตร์ที่น่าติดตามกำลังจะมา จน สามารถพูดเต็มปากได้ว่า ทุกความแนว ทุกกระแส ที่กำลังบูม ทุกข่าวคราวความเคลื่อนไหว ไม่พลาดที่ Happening จะนำเสนอผ่านตัวอักษรผสมกลิ่นอาย ความเป็นศิลปะจนกลายเป็นอีกหนึ่งผลงานทางสื่อ สิ่งพิมพ์ที่พร้อมนำเสนอให้ผู้ที่สนใจได้รับชมกันอย่าง เต็มอรรถรส


INTERVIEW วิภว์ บูรพาเดชะ

อนิรุทร์ เอื้อวิทยา

กีรติ เงินมี

บรรณาธิการ happening

กองบรรณาธิการ happening

บรรณาธิการฝ่ายศิลป์


วิภว์ บูรพาเดชะ บรรณาธิการ happening


HISTORY ประวัติ แฮปเพนนิ่ง

แฮปเพนนิ่งเป็นหนังสือที่เหมือนกับเป็น ความฝันของพี่ พี่อยากทำหนังสือที่เป็นหนังสือ บันเทิง ที่เชื่อมโยงกับศิลปะเข้ามาด้วย เพราะด้วย ส่วนตัวเป็นคนชอบทั้งสองอย่าง มันเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวโยงกันได้ เพราะเราฟังเพลงดูหนัง เราก็ มองไปแค่ เ รื่ อ งบั น เทิ ง ๆมั น ก็ จ ะเป็ น เรื่ อ งที่ เ สี ย บ ละก็ผ่านไป แต่ถ้ามองในแง่ศิลปะมันก็จะมีเรื่อง ความรู้ มีเรื่องความรู้สึก มีเรื่องประวัติศาสตร์

ที่เราสามารถเรียนรู้จากมันได้ พูดตรงๆพี่ก็เป็น พวกเนิร์ดๆ หน่อย พี่ชอบติดตามข้อมูลเรื่อง หนัง เรื่องเพลง อ่านสัมภาษณ์นู้นนี้ ก็เลยชอบ การทำสื่อประมาณนี้ ละก็ก่อนหน้านี้พี่ทำหนังสือ ที่ชื่อแฮมเบอร์เกอร์มาก่อน ก็ใกล้เคียงกันคือ เป็นหนังสือบันเทิงเหมือนกัน ค่อนข้างมีสาระ บางคนบอกเป็นหนังสือเด็กแนวตอนทำหนังสือ แฮมเบอร์เกอร์นะ แต่พอมาเป็นแฮปเพนนิ่งเนี้ย จะเพิ่มความเป็นศิลปะมากขึ้น ละก็สิ่งที่ถูกหยิบมา แนะนำก็ถูกมองว่าเป็นแนวอินดี้

มากกว่าตอนอยู่แฮมเบอร์- เกอร์ซะอีกก็เริ่มๆ ทำมาตอนแรกเป็นหนังสือแจกฟรีก่อนเพราะคิด ว่าจะเป็นโมเดลที่ค่อนข้างใหม่ในช่วงนั้นละก็น่าจะ หาสปอร์นเซอร์ได้ง่ายกว่า แต่ทำไปทำมาพบว่า ทำเป็นหนังสือขายเลยดีกว่า เพราะว่าโลเซอร์ไม่ ได้ง่ายมากละก็เหมือนมีคนอยากซื้อ ซักปีนึงก็ทำ ขาย ทำมาเรื่อยๆ ปรับเปลี่ยนบ้างเป็นระยะ จน มาปรับอย่างรุนแรงฉบับที่ 111 หลังจากทำมา 8 ปีกว่าๆ ทำหนังสือออกมาประมาณ100เล่ม ตรงประมาณเล่มที่80กว่า ก็ค้นพบการเปลี่ยน แปลงหลายๆอย่างรอบตัวเราตั้งแต่สภาพของ หนังสือเองที่ยอดขายน้อยลง ยอดโฆษณาก็น้อย ลง ส่วนนึงเป็นเพราะคนน่าจะอ่าน หนังสือน้อย ลงขนาดตัวพี่ท่ีเป็นบรรณาธิการก็ยังซื้อหนังสือ น้อยลงเลย เราไปอ่านข่าวในมือถือมากขึ้น ดูเฟส มากขึ้น และพี่ก็พบว่าคนทำหนังสือเอง แฮปเพน นิ่งก็ใกล้จะ 100 เล่มละ มันเริ่มมีความเบื่อๆบาง อย่างเกิดขึ้น เพราะหนังสือเราไปโฟกัสเรื่องการ อัพเดตว่าตอนนี้มีหนังอะไรเข้า มีศิลปินคนไหน น่าสนใจ ต้องมีการมาเติมเต็มคอลัมป์ของเรา เหมือนเช่น คอลัมน์สัมภาษณ์ สัมภาษณ์ใครดี เริ่มล้าๆอยู่บ้างละก็มีความเปลี่ยนแปลงยอดขาย ที่น้อยลง ตอนหลังมาพี่ค้นพบว่า เป็นทุกเล่ม เลยไม่ใช่แค่แฮปเพนนิ่ง คือเราไม่ตกใจ คือมันเป็นกันถ้วน หน้า คิดว่าต้องมีการปรับปรุงบาง อย่าง เลยมองว่าลกความถี่ในการ ออก เป็นหนทางการหนึ่งเพราะว่า ในเมื่อคนอ่าน หนังสือน้อยลง เรา ก็น่าจะให้เค้าได้มีเวลาอ่านมากขึ้น เลยมองว่ า ลกความถี่ ใ นการออก เป็นหนทางการหนึ่งเพราะว่าในเมื่อ คนอ่านหนังสือน้อยลง

เราก็น่าจะให้เค้าได้มีเวลาอ่านมากขึ้น ดังนั้นจาก ราย 1 เดือน มาเป็นราย 2 เดือนดีกว่า เนื้อหา ก็เปลี่ยนเพราะพี่ค้นพบว่าพี่ยังไม่อ่านอัพเดตจาก หนังสือเลย พี่ไปอ่านในมือถือ เลยตัดเรื่องอัพเดต ทั้งหมดเลย เพราะสื่อออนไลน์ดีกว่า เลยมาโฟกัส เนื้อหาเรื่องที่ต้องลงลึก และปรับเป็นชื่อเล่มไป ด้วย สิ่งที่ยังเหมือนเดิมคือกรอบของคอนเทนด์ ยังเป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องบันเทิงกับศิลปะ

นอกจากการเป็นแมกกาซีนแล้วแฮป เพนนิ่ ง เป็ น แบรนด์ ที่ แ ข็ ง แกร่ ง พอสมควร เรามีอีเว้นท์เรื่อยๆ และทำแฮปเพนนิ่งช็อป ทั้ ง หมดเป็ น สิ่ ง ที่ บ อกความเป็ น แฮปเพนนิ่ ง ไม่ใช่สิ่งที่เป็นเล่มๆแค่อย่างเดียว พี่คิดว่านอก จากเป็นหนังสือแล้วมันน่าจะเป็นโปรเจคบางอ ย่าง เรียกคล้ายๆอาร์ทโปรเจค ทุกๆเดือน เราจะออกหนั ง สื อ เล่ ม นึ ง ที่ เ กี่ ย วโยงกั บ บาง อย่าง เช่น เกี่ยวโยงกับอินดี้ กับศิลปะทำมือ เป็นคล้ายๆโปรเจคไปเรื่อยๆ คิดว่าน่าสนุกดี


พี่ชอบมานั่งคุยกับน้องๆแบบนี้อะครับ แบบได้คุยคนรุ่นใหม่ๆ ในมุมของคนที่ต้องตอบ คำถามเยอะๆ ก็อยากรู้ว่าน้องจะถามอะไรเหมือน กัน ฝากถึงกลุ่มนักศึกษาช่วงชีวิตวัยเรียนเป็นวัย ที่สบายที่สุด แต่พอจบแล้วเหมือนเริ่มนับ 1 ใหม่ใน ชีวิตจริง มันมีปัญหาอะไรหลายๆอย่างที่ตอบ บาง คนก็เริ่มนับ 1 จริงจังอยากทำงานในสายนี้ บางคน ก็เรียนต่อดีกว่าทำใจไม่ได้ ไม่ช้าก็เร็วต้องตอบว่าเรา อยากทำอะไรกับชีวิต ยิ่งตอบเร็วๆก็ยิ่งดี

ทำไมถึงเริ่มต้นด้วยแนวอินดี้ เพราะว่าทีมงานของเราคุ้นเคย ทีมงานหลาย คนฟังเพลงอินดี้ เราจึงเห็นว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่น่าจะ พูดถึงตอนนี้แหละ รู้สึกว่าน่าสนใจ มันสะท้อน ความเป็นแฮปเพนนิ่งบางอย่างด้วยเหมือนกัน เป็นหนังสือที่ให้โอกาสคนรุ่นใหม่ เป็นการเปิด ศักราชใหม่ที่น่าสนใจ

มีความคิดจะจัดเกี่ยวกับหนังไหม มี อาจเปลี่ยนนิดนึง เคยมีการจัดฉากหนัง และ เคยจัดงานหนังสือเล็กๆ มีอีเว้นท์สัมภาษณ์นัก เขียน อันนี้คือโมเดลเก่า โมเดลใหม่พี่ต้องเอาเป็น แคมเปญละ

แนวคิดที่เอาอีเว้นท์มาควบคู่กับหนังสือ มันสนุกดี เคยทำอีเว้นท์มาแล้ว เคยทำหนังสือ มาแล้ว แต่ถ้าเอามาเชื่อมกันทำให้เม็ดเซลล์ที่ เรานำเสนอแข็งแกร่งขึ้น


คิดว่านิตยสารของท่านมีลักษณะเด่น หรือแตกต่างจากนิตยสารฉบับอื่น ในประเภทเดียวกันอย่างไร นิต ยสารเราอาจจะไปโดนกับเล่มอื่น บ้าง คล้าย A day มั่งแต่ A day เค้าจะกว้าง กว่าของเราเยอะ บางคนก็บอกเหมือนกี ตาร์แม็ก แต่กีตาร์แม็กก็จะเป็นเพลงจ๋า แต่เราก็จะพูดเรื่องอื่นด้วย แล้วแต่คนมอง แต่ในแง่คนทำเราก็สื่อสารสิ่งที่เราชอบ


EDITOR แฮปเพนนิ่งมีฝ่ายอะไรบ้าง หลักๆก้มีพี่เป็นบรรณาธิการ ก็จะดูเกี่ยวกับภาพรวมทั้งหมด ก็ จะมีฝ่ายโปรดักชั่น ก็คือกองบก. ตอนนี้มี 2 คน ก็มีฝ่ายอาร์ท มีเป็นผู้จัดการจะดูแลเรื่องพิสูจน์อักษรด้วย ก็จะมีคนช่วยไปรับ ไปส่งของการวางบิล จะมีอีกทีมที่เรียกว่าทีมมาเก็ตติ้ง จะมีคน นึงดูเรื่องการถ่ายโฆษณาทั้งหมด จะมีอาร์ตอีกคนนึง ดูแลเรื่อง การสื่อสารทั้งหลายในเรื่องออนไลน์ด้วย เรื่องอีเว้นท์ด้วยจะ ส่งข่าวไปให้สื่อต่างๆด้วย อีกคนนึงก็คือผู้ช่วยพี่ จะเน้นหนักไป ด้านทางอีเว้นท์ ให้ดูแลงานด้านอีเว้นท์ โดยที่พี่จะเป็นตนดูภาพ โดยรวม อีกส่วนนึงแฮปเพนนิ่งช็อป ก็จะดูร้าน และก็มีภรรยา พี่จะดูแลฝั่งคอฟฟี่ช็อป ก็จะมีผู้จัดการร้าน และก็มีทีมที่เป็น พนักงานขาย และก็มีเป็นฟรีแลนซ์อยู่ประมาณ 4-5 คน

ชอบฉบับไหนมากที่สุด ตั้งแต่ทำมาใน 100 ฉบับ เพราะเหตุใด ตอบยากนะ ส่วนทาทำก็คือชอบ แต่ถ้าให้เลือกลำดันต้นๆเลย ก็เลือกฉบับที่ 100 แต่ใจงาของพี่คือพอใจหลายฉบับ แต่ที่เป็น ฉบับที่ 100 เพราะเราทำแมคกาซีนมาถึงเล่มที่100 คือค่อน ข้างน่าภูมิใจ และเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่ได้ขายเรื่องกลอซซิป เรื่อง SEXY อะไรแบบนี้มันค่อนข้างยากที่เราพยายามขายอะไรแบบ นั้นค่อนข้างเป็นสาระหน่อย พอมาอยู่เล่มที่ 100 ก็ค่อนข้างภาค ภูมิใจ และเล่มที่100 เป็นเล่มที่รวบรวมความเห็นจากเพื่อนๆในแวดวงให้เค้า พูดถึงชิ้นงานบันเทิงที่ประทับใจในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา และก็มีอีกหลายๆ อย่างที่ภูมิใจ

คุณสมบัติในการคัดเลือกบุคลากร ของนิตยสาร Happening ในขั้นแรกพี่ว่า ต้องเป็นบุคลากรที่รู้จักแฮปเพนนิ่งบ้าง มันแสดง ว่าเค้ามี passion บางอย่างที่อยากทำงานกับเรา อีกข้อนึงคือ เป็นคนที่มีคุณสมบัติเหมาะกับงานนั้นๆ เลือกคนที่สอดคล้อง ตามจังหวะ

อยากให้อธิบายถึงแรงจูงใจ แนวคิด และความพิเศษของ การปรับเปลี่ยนรูปแบบนิตยสาร Happening ในฉบับที่ 101 เป็นต้นไป เปลี่ยนมากเลยครับ เรียกว่าเปลี่ยนไปทุกมิติเลย ในเรื่องคอน เทนด์ แ ต่ ก่ อ นมั น มี เ กี่ ย วกั บ เรื่ อ งเติ ม เต็ ม คอลั ม ป์ ว่ า คอลั ม ป์ หนังสือมีคอลัมป์กี่หน้า สมัภาษณ์กี่หน้า เราก็ต้องหาคนมา เติมเต็ม หาคอนเทนด์มาเติมอะ พอเป็นธีมขึ้นมารูปเล่มมันจะ เปลี่ยนหมดนะ รูปเล่มมันจะไม่มีคอลัมป์ประจำ ดังนั้นมันจะไม่มี ภาพตายตัว มันจะเปลี่ยนกระบวนท่าทุกเล่ม ต้องเป็นเรื่องที่ทีม งานสนใจแล้วมันสนุก มันถึงขั้นที่ว่าเราเปลี่ยนกระดาษทุกเล่มละ ก็อาจเปลี่ยนไซส์ด้วย แล้วแต่ความประสงค์ของตอนเทนด์เลย คิดไปไกลถึงว่าจะเปลี่ยนวิธีการขายด้วย แม้กระทั้งส่วนการขาย โฆษณาก็จะเปลี่ยนเยอะเพราะว่าแต่ก่อนแฮปเพนนิ่งจะกำหนด ช่วงโฆษณารอลูกค้ามาเต็ม แต่อันนี้ไม่เหมือนกันละ แต่ยอมรับ ว่าโฆษณาจะขายออกยากขึ้นในมุมนึงนะ แต่ในอีกมุมนึงเราก็จะรู้ ว่าเราจะขายใคร เช่นอินดี้ เราก็ขายได้กับคนแนวนี้ เรามุ่งขาย ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ต้องมีการวิเคาะห์มากขึ้นว่า เราจะไปขายใคร

อยากให้ฝากข้อคิดถึงนักศึกษาที่กำลังมอง หาที่ฝึกงานและนักศึกษาที่จบใหม่ นักศึกษาที่มองหาที่ฝึกงานนะครับ พี่อยากให้เลือกที่ที่เราสน ใจจริงๆ อยากให้เลือกที่ที่น้องอยากมีคอนเน็คชั่นกับมัน การ ฝึกงานเป็นช่วงชีวิตนึงที่น้องจะได้ประสบการณ์ที่ในชีวิตหาไม่ ค่อยได้ เพราะได้โอกาสที่ได้ทดลองงานจริง ได้โอกาสทดลอง ใช้ชีวิตจริง และบางคนได้โอกาสมากกว่านี้ ตอนพี่ฝึกงานพี่ก็ไม่ ค่อยรู้แน่ชัดว่าพี่อยากเป็นอะไร บางคนจบไปก็ยังไม่รู้ แต่ว่าการ ฝึกงานมันเป็นช่วงนึงที่ได้ลอง อย่างน้อยลองละรู้ว่าไม่ชอบก็ยัง ดีนะ ซึ่งตอนลองอะอยากให้เราเต็มที่ ให้เราจอบให้ได้ว่าไม่ชอบ เพราะอะไร ไม่ชอบเพราะงานหรือบรรยากาศของสถานที่ หรือ คนอะไรแบบนี้ อย่างพึ่งไปปฏิเสธมันเพราะว่าเราแค่ไม่ถูกชะตา กับมัน พี่แนะนำว่าฝึกงานตามเกรดพี่ว่าก็ดีนะ แบบมาลองฝึก ช่วงปิดเทอม มาลองดู พี่ว่าดี


อนิรุทร์ เอื้อวิทยา กองบรรณาธิการ happening

ASST.

EDITOR


ความมั่น ความก้าวหน้าของอาชีพ ความมั่นคง พี่ว่ามันมีความมั่นคงอยู่นะ คือ ระบบเงินเดือนแหละนึกออกป้ะ และก็ถามว่า ความก้าวหน้าของวิชาชีพนี้มันอยู่ที่ 1 ตัว นิตยสารที่เราทำ 2 ผลงานเขียนของเรา คือ มันเป็นงานที่มันต้องผ่านคนอ่าน ว่าคนอ่าน เป็นตัวตัดสินว่างานเราดีไหม และถ้ามันดีจริง มันก็จะถูกส่งต่อไปว่า เขาต้องการงานเขียนเรา นี่คือความก้าวหน้า ซึ่งมันเกิดจากตัวเราเองว่า เราทำดีกับมันรึเปล่า

ลักษณะหรือคุณสมบัตที่เหมาะสม ในการทำงานด้านนิตยสาร ฟังชั่นของนิตยสารมันมีฟังชั่นนึง เขาเรียกว่า ความนำ นำแฟชั่น คือเราต้องมีความรู้บาง อย่างที่แบบว่าสามารถบอกต่อคนอื่นได้ ซึ่ง ความรู้ชนิดนี้ ถ้าจะให้ดี คนอ่านเขาอาจจะไม่ เคยอ่านมาก่อนไม่เคยเห็นมาก่อน ต้องเป็น ความรู้ที่นำกระแสไปอีกทีนึง ซึ่งพอเป็นอย่า งงี้ คุณสมบัติของเรา กับสิ่งที่เราสนใจเราต้อง ขวนขวายให้มากกว่าเดิม ไม่ใช่ว่าแต่ในภาษา ไทยอย่างเดียว เราต้องมองเห็นกระแสโลกแล้ว อ่านข่าวโลกที่เป็นภาษาอังกฤษด้วย ฉะนั้น คุณสมบัติก็คือต้องขวนขวายมองเห็นกระแส แล้วก็ ศึกษาความรู้จากต่างประเทศด้วย

สำหรับตัวพี่เองพี่ศึกษาทาง ด้านไหนมันอยู่ที่ความสนใจ ของพี่ก็คือพวกโครงการศิลปะ ดนตรี ภาพยนต์ หนังสือ อะไรพวกเนี้ย สำหรับตัวพี่มันไม่เรียกว่าศึกษา มันเหมือนเป็น งานอดิเรก คือพี่ก็อ่าน ฟัง อะไรของพี่อยู่แล้ว แล้วพอเราฟัง เราชอบ อันไหน มันก็เหมือน ต่อยอดไปว่า เฮ้ย แล้วเขาทำงานกันยังไง เป็น ยังไง มันเลยแบบไม่เชิงศึกษาข้อมูลเท่าไหร่

อาจจะเปรียบเทียบกับต่างประเทศบ้างก็ได้ หรือ ให้พี่วิภดูว่าโอเคไหม จนถึงกระบวนการจัด เปรียบเทียบกับตลาดในประเทศไทยว่าเขามา อาร์ต แล้วก็มาถึงฝ่ายปรู๊ฟ ฝ่ายพิสูจน์ตัว เติมเต็มอะไร อักษรเขาจะดูว่าความถูกต้องของประโยคคำพูด แล้วก็จัดส่งโรงพิมพ์ ก็ภายใน2เดือน ถ้าไม่เลท ก็คือยังไงก็ให้ทันภายใน2เดือนนิดๆ แต่จะไม่ให้ ปัญหาในอุปสรรคในการทำงานด้านนี้ อุปสรรคส่วนใหญ่ของวงการสื่อสิ่งพิมพ์ คือ เลทเกินเป็นเดือน Deathlineนึกออกไหมคือเราจะมีเวลาเฉพาะที่แ บบเจาะจงอยู่แล้วว่า เราต้องออกหนังสือช่วง หน้าที่กองบรรณาธิการ เดือนนี้ บางครั้งมันจะมีอุปสรรคแบบว่าคนที่ กองบรรณาธิ ก ารจริ ง ๆมั น ก็ คื อ นั ก เขี ย นใน เรา ติอต่อสัมภาษณ์อยู่ดีๆไม่ว่างหรือผิดนัด นิตยสารเล่มนึง ทุกอย่างที่เกี่ยวกับเขียน เรื่อง ขึ้นมา เราก็ต้องมาแก้ปัญญาในส่วนนี้ว่าเราจื ข้อมูลก็จะเป็นหน้าที่ของเราที่ไปหาแล้วก็ไปเขียน ทำยังไง จะคิดยังไงให้ทัน หรือแบบอัดเสียงแล้ว กลับมา ไฟล์หาย จะทำยังไง

แล้วโดนส่วนตัวพี่แก้ปัญหาอย่างไร ถ้าจำได้ หรือว่าถ้ารู้ตัวว่าไฟล์หายเลยอะ ลอง เรียบเขียนถ้าเราจำได้ว่าเขาตอบอะไรบ้าง เอา ประเด็นสำคัญที่เขาตอบมา ที่เราจะเขียนลงให้ รีบเขียน แต่ถ้าจำไม่ได้จริงๆก็ให้พูดตรงๆกับ เขาว่า “พี่ไฟล์หายขอสัมภาษณ์ใหม่ได้ไหม”

พี่รู้ได้ว่างานอดิเรกที่พี่ศึกษามันนำแฟชั่น ยังไง มีความรู้ที่มันมากกว่าคนอื่นอย่างไร

กว่าจะออกมาเป็นนิตยสารสักเล่ม มีกระบวนการในการทำงานอย่างไร ต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่

หมายถึงว่าความเป็นงานอดิเรกอะ คือเราไม่ ได้ฟังแค่วงใดวงนึงตลอด ถ้ามีใหม่มาเราก็ฟัง แล้วทุกครั้งที่ฟังมันก็มีความเป็นศิลปะบางอย่าง อยู่ เหมือนกับว่าเป็นผลงานชิ้นนึง พอมีผล งานใหม่ๆออกมา เราก็ไม่จำกัดแล้วว่าจะต้อง เป็นในกระแส หรือ นอกกระแส ถ้าผลงานมัน ออกมาดี มันมีความแปลก และมันเป็นการก้าว กระโดดไป แล้วถ้าเห็นว่าไม่ค่อยมีคนรู้จักแต่ว่า มันดี เราก็นำตรงนั้นมาเขียนว่ามันดียังไง โดย

จริงๆตอนนี้แฮปเพนนิ่ง มันเปลี่ยนเป็น ราย2เดือน คือปกติถ้าเกิดมันไม่ใช่เล่มที่เนื้อหา ที่ ต้ อ งเก็ บ ข้ อ มู ล เยอะหรื อ ว่ า ต้ อ งติ ด ตามต่ อ เนื่องนานๆ ก็อยู่ในช่วงระหว่าง2เดือน ต้องทำ ยังไงก็ได้ให้ใน2 เดือนเนี้ย สามารถผลิตออกมา เล่มนึงได เริ่มตั้งแต่กระบวนการเปิดเล่มว่า เล่ม นี้จะทำอะไร สัมภาษใครบ้าง มีหัวข้อยังไงบ้าง นำเสนอแบบไหน อาร์ตเป็นยังไง ก็ไล่ไปเรื่อย จนถึงว่าเราออกไสัมภาษณ จนกลับมาเขียน


A S S T.

EDITOR กองบรรณาธิการ

วิธีการหรือขั้นตอนสำหรับกลุ่มเป้าหมาย อย่างไร เพื่อที่จะทำนิตยสารออกมาให้ ตรงตามความต้องการกลุ่มเป้าหมาย มั น เป็ น เล่ ม เฉพาะๆอย่ า งงงี้ มั น จะมี อ ย่ า งเล่ ม 101เรา ทำ new indyแน่นอนว่ากลุ่มเป้าหมายมันก็ชัดอยู่แล้ว ว่า อ๋อ มันก็ต้องเป็นคนที่ฟังเพลงแนวอินดี้ ซึ่งคือเรา ก็คลุกคีอยู่แล้ว เวลาเราไปดูคอนเสริทหรือไปอะไรอย่า งงี้ หรือเพื่อเราที่มีวง เราก็จะรู้กระแสอยู่พอสมควรอยู่ แล้วว่า มันมีคนที่ชอบกระแสอินดี้อยู่ หรืออย่าง แฮ นมูท เราก็เห็นว่าอย่างเดี๋ยวนี้ ก็มีร้านเบรนต่างๆที่เปิด สินค้า แฮนเมทขึ้นมาอีกเยอะแยะ หรือแม้แต่ตัวศิลปิน ดารา ก็มีมาทำงานฝีมือเยอะเหมือนกัน ก็เหมือน เป็นการชั่งกระแสไปในตัว ก็คือการแบบมองจากสภาพ แวดล้อมสังคมรอบด้านเนี่ยแหละ

อยากให้พี่อธิบายแรงจูงใจ ความคิด ความพิเศษ สำหรับการปรับเปลี่ยนครั้งใหม่

ก่อนหน้าที่จะมาเป็นการปรับเปลี่ยน มีวิธีการทำอย่างไร ก็เหมือนนิตยสารทั่วไป เราจะดูว่าช่วงนี้มีประเด็นไหนกำลังมาบ้าง แค่นั้นเลยจริงๆ ก็คือถ้า มันมาเราก็จะทำในแบบกระบวนการนิตยสารที่ต่างกับหนังสือพิมพ์คือ เราไม่ได้รายงานข่าว นิตยสารไปลึกกว่านั้น เราสัมภาษณ์แนวคิดที่เขาทำงานนี้ กระบวนการ ว่าเขาทำอย่างไร

แรงจูงใจอะไรถึงเลือกมาทำงานด้านนี้ ตอนแรก สมัยเรียนมัธยมพี่ชอบพวกศิลปะ แต่ว่าตอนแรกพี่อยากเข้าสถาปัตย์ แต่ว่าเรียนไป เรียนมาแบบว่ามันไม่น่าใช่ เพราะตั้งแต่พี่เรียนอนุบาลมา ไม่เคยผ่านวิชาคณิตศาตร์เลย คิด ว่าสถาปัตคงไม่ใช่กูละ ช่วงนั้นก็เคว้งนะว่าแบบแล้วจะยังไงวะ ชีวิตนี้อย่างเงี้ย อยู่ดีๆก็นั่งดูรอบ ข้างตัวเองว่ัวันๆนึงตัวเองทำอะไรบ้าง แล้วก็เห็นว่า ฟังเพลง วาดรูป อ่านหนังสือ ดูหนัง เที่ยว อะไรอย่างงี้ แล้วอะไรมันจะแบบรวบทั้งหมดนั้นหน่ะ ที่เราชอบลงไปได้ แล้วอยู่ดีๆวันนึงก็ อ่านนิตยสารอยู่แล้วก็เลยแบบ อ่าว นี่ไง ก็ไอ้นี่ไงที่แบบว่ารวบได้ คือนิตยสารมันแบบว่า ถ่าย ภาพ แล้วก็สามารถเอารูปลงได้นะ งานเขียนก็มี วาดรูปก็ได้ แล้วที่เหลือก็เป็นแบบของชอบ เราและ เพลง หนัง ศิลปะ ที่นี่พอรู้ปุ๊บก็เลย หาเลยว่า ในประเทศนี้ มีคณะไหนเปิดสอนสาขา นิตยสารบ้าง พี่ก็เลยได้ไปเรียนที่คณะการสื่อมวชของมหาลัยเชียงใหม่ แล้วก็จบออกมา

สำหรับพี่นะคือ นิตยสารมันจะมีฟังชั่นนึงคือการรายง งานข่าว ข่าวสาร ซิ่งไอ้ข่าวสารเนี่ยมันถูกสื่อออนไลน์ แย่งไปแล้ว เพราะว่าเดี๋ยวนี้ เอาง่ายๆเราลองถามตัว เองดูว่าทุกวันนี้ เราซื้อนิตยสารเยอะขึ้นหรือว่าน้อยลง แล้วซื้อกี่เล่ม อ่านกี่เล่ม อ่านตรงไหน เราก็เห็นว่าเอ้ย ไอ้ส่วนข่าวสาร เราไม่ได้ยุ่งกับมันแล้ว เพราะมันช้าไปอะ มันมีเว็บตั้งหลายเว็บที่แบบนำ าข่าวสารนี้มาเผยแพร่ หมดแล้ว ที่นี้ก็เลยตั้งถามว่าแล้วงั้นนิตยสารจะต้องเป็น ยังไงต่อไป เราก็จะเก็บสิ่งที่เราเป็นจุดเด่นของนิตยสารที่ เรายังอ่านอยู่ก็คือแบบข้อมูลเชิงลึก บทสัมภาษณ์ดีๆ แล้วก็จะเน้นเพิ่มในแง่ของว่า การดีไซส์

ฟังเพลง วาดรูป อ่านหนังสือ ดูหนัง เที่ยว


ทั้งตัวเจ้าของอินนี้นั้นด้วย แล้วคนที่ติดตามด้วย มันเหมือนเป็น ครอบครัวนึง พูดไม่ถูกอะ มันเล็กๆ แต่มันเน้นแฟ้น พอเราเห็น มัน ก็คงจะเป็นลักษณะนี้ต่อไป หมายถึงว่า พอเป็นนิวอินดี้ก็จะได้กลุ่มนิ วอินดี้กลุ่มเฉพาะมาร่วมอีเว้น มันจะเป็นเฉพาะกลุ่มๆมากกว่า

ฝากข้อคิดถึงนักศึกษามองหาที่ฝึกงานในสารอาชีพนิตยสาร

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้กระบวนการ เปลี่ยนแปลอะไรบ้างในการทำงาน จริงๆมันก็ไม่เชิงเปลี่ยนแปลงมาก หมายถึงว่ามันจะดีมากด้วยซ้ำ เรา มีธีมชัดเจนแล้ว เราก็ตัดข่าวสารออกไป ที่นี้จุดที่เรโฟกัส มันก็เป็นแค่ จุดเดียวแต่ว่า เราจะตีโจทย์ตรงนี้ให้แตกยังไง มันเหมือนมีเป้าหมาย ชัดเจนอยู่แล้ แค่ไปให้ถึงเท่านั้นเอง แต่ในแง่ของการตลาด แง่ของ ฝ่าaeที่ต้องไปหาสปอนเซอร์ อันนี้อาจจะยากหน่อยตรงที่ว่า มันไม่ เหมือนสมัยก่อน เขาสามารถไปหาบริษัทใหม่ก็ได้ แต่พอเป็นอย่างงี้ปุ๊บ มันจะเป็นทั้งแง่ดีและแง่เสีย แง่เสียคือ บางบริษัทที่ไม่ตรงกับธีมอะ เขา ก็อาจจะไม่สนใจลงกับเรา แต่ในอีกแง่นึง พอเรามีธีมปุ๊บกลุ่มเป้าหมาย มันชัดเจน ก็จะมีบริษัทที่สนใจว่า เอ้ย เล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ เขา ก็อยากมาลง

ทำไมฉบับที่ 101 ถึงมาในธีม New Indy พี่วิภว์คิดมาตั้งนานแล้วว่าอยากทำเป็นอินดี้ แต่ถามว่าส่วนนึงที่เดาๆ นะ แน่นอนว่ากระแสอินดี้ตอนนี้มันกำลังมา ด้วยเฟสบุ๊คด้วยนั้นแหละ และหลายๆอย่าง วงดนตรีสมัยนี้ทำเพลงแบบไม่ต้องพึ่งค่ายเพลงก็ได้ ทำปุ๊บก็ปล่อยของตัวเอง การเข้ามาของเว็บฟังใจอะไรต่างๆ มันเลย เหมือนว่ากระแสช่วงนี้ แม้ว่ายอดขายมันจะสวนทางก็เหอะ แต่ว่าใน แง่ของการเติบโตถือว่ายุคนี้น่าจะเป็นอีกยุคทองของวงการอินดี้เลยนะ เพราะแบบมีวงใหม่มาตลอดเลย ก็เลยว่ามันน่าสนใจนะ ก็เลยไปถามว่า เขาทำงานกันอย่างไร

กระแสตอบรับ อย่างตอนนี้ที่ทำไปล่าสุดเป็นงานเปิดเล่ม new in dyตอนแรกก็ไม่คิดเหมือนกันว่าคนจะมาเยอะ ขนาดนั้น ที่มันก็แคบ จัดที่หอศิลป์หน้าร้าน คนเขาก็มากัน เราก็เลยเห็นว่า จริงๆแล้ว มันมีคนเฉพาะกลุ่มที่สนใจในแต่ละเรื่องกันอยู่ เยอะมาก มันเป็นเหมือนกลุ่มก้อนที่แข็งแรง

สายอาชีพนิตยสารอะ ถ้าสังเกตุ เวลารับสมัครงาน เขาจะรับครั้ง ละ 1 คนต่อตำแหน่ง หรืออย่างมากก็4 คน ใหม่ๆอย่างนักศึกษา ใหม่อะไรอย่างงี้ ที่นี้ คำถามคือว่า เขาจะรับเด็กจบใหม่หรือว่าคนที่ ทำงานแต่เก่าจากที่อื่นมาที่มีประสบการณ์มากกว่า อันนี้เป็นแบบ ปัญหาโลกแตกของเด็กจบใหม่ในสาขานี้เลยว่า จะทำยังไง สุดท้าย มันก็เหมือนกับคำตอบของคำถามว่า ความก้าวหน้าของวิชาชีพนี้ มันขึ้นอยู่กับอะไร มันก็คือความก้าวหน้าจากการจบเป็นนักศึกษา ก็ คือผลงานที่ดี ถ้าผลงานเราดี ยังมันก็ได้อยู่แล้ว ทัศนคติก็สำคัญ คือ งานเขียนมันสามารถบอกคนอ่านได้ว่า เราคนเขียนอะมีทัศนคติ ยังไง มีข้อมูลที่เขาศึกษาขนาดไหน เพราะงั้นในเมื่อตอนเป็นนักศึกษา ก็ควรเก็บเกี่ยวความรู้ ให้ก้าว ให้เยอะ และก็ให้ลึกที่สุด ส่วนเรื่อง งานเขียนอะ มันฝึกได้ พยายามฝึกพยายามทำผลงานโดนที่ไม่ต้อง รออาจารย์สั่ง เก็บพอตไว้เยอะๆโดนส่วนตัวพี่นะ วงการเนี่ยเกรด ไม่มีผลหรอก เค้าดูที่พอตมากกว่า ว่าเราทำอะไรมาบ้าง ส่วนจบ มาใหม่ควรทำยังไง ให้เราตั้งคำถามและหาคำตอบเองว่าเราอะ ชอบ อะไร ชอบนิตยสารหัวไหน เริ่มจากลองไปฝึกงานดูก่อนก็ได้ ส่วน ใหญ่ก็รับอะ ก็ไปฝึกในที่ๆเราชอบก่อนแล้วดูว่าเราโอเครึป่าวแล้วก็ ลองถามเพื่อนว่านิตยสารหัวนี้เป็นยังไงเพื่อที่จะได้เห็นภาพรวม ตอน สมัครงานจะได้รู้ว่า เราควรไปที่ไหน


ART ฝ่ายศิลป์มีตำแหน่งอะไรบ้าง ฝ่ายศิลป์ตอนนี้มี2ตําแหน่ง Art director กับ Graphic design

แต่ละตำแหน่งทำหน้าที่อะไรบ้าง ก็อย่างพี่เป็นArt directorก็จะเป็นดูภาพรวมของทั้งหมดเลยของหนังสือทั้งเล่ม และก็ในส่วนของHappeningก็จะมีส่วนของอีเวนท์magazine และพ็อกเก็ตบุ๊ค หลักๆ3อย่าง ก็จะดูทุกอย่างเลย และก็แจกแจงงานให้น้องGraphic ซึ่งก็จะมี น้องอีกคนหนึ่งที่เฉพาะแจกแจงให้งานอีกส่วนหนึ่งไปว่าน้องจะต้องทําอะไรบ้าง

กระบวนการทำงานของฝ่ายศิลป์ เปลี่ยนแปลงไปเยอะเลยเพราะตอนแรกคือมันเป็นรายเดือน magazine จริงๆมัน จะมีแพทเทิลคล้ายๆกันทุกเดือน ก็จะมีเปลี่ยนบ้างนิดหน่อยซึ่งบางเล่มมันก็เป็น ธีม บางเล่มมันก็พูดถึงสถานการณ์อัพเดตในรายเดือนนั้นๆไป แต่ตอนนี้มันก็ เป็นรายสองเดือนมันก็จะเป็นเล่มหนึ่งก็จะเป็นธีมของมันไปเลย เล่าเรื่องเดียวไป เลย ก็จะมีการทําการบ้านเยอะมากขึ้น แบบว่าเตรียมว่าเล่มนี้เราจะทําเรื่องอะไร เล่มนี้ทําเรื่องNew indyพูดถึงเรื่องวงการเพลง เราก็ต้องศึกษาวงการเพลง อินดี้และก็จะเล่าเรื่องราวเป็นภาพartยังไงให้มันสื่อสารกับเรื่องของเพลงอินดี้ อะไรแบบนี้ครับ ส่วนตอนนี้ก็ไปเล่นกับของHand made เราก็ต้องเตรียมเรเฟอร์ เรนต์ เตรียมทําการบ้านเยอะๆ หาข้อมูลเพื่อเล่าเรื่องและก็ทําlay out คร่าวๆ คือก็จะมีสเก็ตก่อนจัด ซึ่งตอนนี้แต่ละเล่มก็จะไม่เหมือนกันเลย คือทําเล่มหนึ่ง อีกสองเดือนก็จะเล่าเรื่องอีกวิธีหนึ่ง เขียนขึ้นมาใหม่ทุกรอบ

ลักษณะหรือคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับงานในด้านนี้ จริงๆก็เหมือนกัน แต่คือว่าต้องสนใจในหลายๆเรื่อง หลักๆถ้าที่นี่ก็จะเป็น เป็น คนมีพื้นฐานเกี่ยวกับดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสืออะไรแบบเนี้ย ก็คือพื้นฐานก็ ต้องสนใจเรื่องพวกนี้และก็สนใจเรื่องอื่นๆด้วย ก็มองทุกอย่างเพราะมันมีศิลปะ อยู่ในตัว ประมาณนั้น มันอยู่รอบๆตัวเรา เราก็ต้องดูทุกอย่างไป ต้องมอง รอบๆ ถ้าเป็นGraphic ก็เหมือนกับArt director แต่Art director ก็จะมองภาพ ที่กว่ากว่า Graphic ก็จะแจกจ่ายงานอีกที

ต้องใช้โปรแกรมอะไรในการทำงานบ้าง หลักๆเลย ถ้าเป็นโปรแกรมจัดหน้าเป็นmagazine และพ็อกเก็ตบุ๊คก็จะ ใช้InDesignและก็ส่วนที่มาประกอบก็จะเป็นIllustrator กับPhotoshop ในเรื่อง ทําภาพประกอบกับพวกGraphicทํา info Graphicอะไรแบบนี้ ก็จะใช้พวกนี้ มาประกอบในInDesign แล้วก็จะมีตัวรองพวกโปรแกรมตัดต่อ เพราะว่าตอน นี้พอเป็นรายสองเดือนก็จะมีเวลาในส่วนของโฆษณาในเล่มนั้นๆ ก็จะมีเป็นภาพ เคลื่อนไหวที่เราทําแล้วอัพลงYouTubeให้คนเห็นภาพด้วย

ในฝ่ายศิลป์ในวงการของArt director มีการแข่งขันกันมากไหม คือไม่ได้มองว่าเป็นการแข่งขันเพราะว่าแต่ละ magazine ก็จะมีคาแรคเตอร์ เฉพาะตัวที่แตกต่างกัน เรากับ A day ก็เหมือนจะใกล้ๆกันจริงๆมันก็ไม่ใช่ซะ ทีเดียวอะไรแบบนี้มันก็ไม่ใช่ ก็จริงๆมันคือ เราต้องมองว่า ต้องคอยอัพเดต มากกว่า มองว่าเราไม่ได้แข่งกัน คือว่า มองว่าตอนนี้หัวข้อที่เขาทําอะไรกัน ไป ถึงไหนแล้วก็ต้องคอยอัพเดท

งานยุ่งเหมือนในภาพยนต์ “ฟรีแลนซ์” รึป่าว ไม่ค่อยยุ่งนะ เพราะว่า คือจริงๆมันมีหลายพาร์ท คือ magazine มันเป็นแค่ ส่วนหนึ่ง คือแบบเอาแค่งานประจํามันก็มีแค่ส่วนหนึ่ง งานส่วนตัวก็มีอะไรแบบเนี่ย ก็จะมีหลายพาร์ทมาก ตอนนั้นก็ยุ่งจริงๆ


DIRECTOR กีรติ เงินมี บรรณาธิการฝ่ายศิลป์

แรงจูงใจในการมาทำงานด้านนิตยสาร และเพราะอะไรถึงเลือกนิตยสาร Happening ตอนแรกไม่ได้คิดจะมาทำเรื่องmagazineเลย ไม่ชอบเลยด้วยซ้ำ ไม่ ชอบจัดหน้า layout อะไรแบบนี้ ตอนแรกไปทำงานที่บ้านและสวน ก่อน ก็คือทำGraphicนั่นแหละ เขาก็ให้ทำพวกภาพประกอบอะไรแบบ เนี้ยและก็มีส่วนที่ต้องlayoutไปด้วยต้องจัดหน้าไปด้วย ก็ทำไปเรื่อยๆ เป็นปี สองปี จากไม่ชอบก็เป็นเฉยๆ และก็มาต่อHappening เพราะ ว่าตอนนั้นเรายังรู้สึกว่าบ้านและสวนมันยังไม่ตรงกับตัวเองเท่าไหร่ จริงๆก็ชอบเกี่ยวกับบ้านแหละ แต่ว่าเราชอบเรื่องดูหนังฟังเพลงไร แบบนี้มากกว่า พวกเรื่องเกี่ยวกับศิลปะบันเทิงเนี่ยก็รู้สึกว่าด้านนี้ก็ หน้าจะตรงตัวแล้วก็มีอะไรให้เล่นเยอะกว่า เพราะถ้าหนังสือบ้านมัน ก็จะมีกฎข้อบังคับมากกว่า ก็นี่แหละพอทำไปเรื่อยๆจาไม่ชอบมันก็ กลายเป็นชอบซะงั้น

ชอบฉบับไหนมากที่สุดตั้งแต่ทำมาใน 100 ฉบับ เพราะเหตุใด ตอนนี้ชอบฉบับล่าสุด เพราะว่ารู้สึกว่ามันเป็นเล่มที่เริ่มแบบว่าตอน แรกคือว่าตัวพี่จะชอบหนังสือพ็อกเก็ตบุ๊คมากกว่า magazine เพราะ ว่าmagazineมันเป็นรายเดือนและก็เวลาทำมันแค่เดือนเดียว เราก็ ต้องรีบทำในเวลาเดือนเดียว มันก็จะอัพเดตและเร็วเกินไป เราไม่ได้ คิดartแบบละเอียด้

คือได้แค่หนึ่งเดือนมันได้แค่เท่าที่เวลากำหนด และ ทีนี้มันเป็นเล่ม ที่101แล้วมันค่อนข้างที่จะเป็นเล่มที่controlได้ทุกส่วนเลย ค่อนข้าง ชอบเพราะมันได้controlทั้งเล่มเลย คือได้controlจริงๆเพราะอันนั้น ตอนเล่มก่อน101มันจะแบ่งเป็นหลายๆพาร์ท เป็นคอลัมน์หลายๆ คอลัมน์ ข้อมูลมันจะกระจายเราก็มาจัดการให้มันเนียนทำตามข้อมูล คือข้อมูลมาก่อนแล้วค่อยfollowทีหลัง พอเป็นเล่มนี้แล้วเรานำเลย แล้วค่อยมาเฉลี่ยไปทีหลังก็เริ่มhappyมากๆ

อะไรคือจุดเด่นของนิตยสาร Happening จุดเด่นของเราคือศิลปะบันเทิงนั่นแหละ เป็นเรื่องการมองเรื่องดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือมันไม่ใช่เป็นการอ่านความบันเทิงอย่างเดียวมัน มีความเป็นศิลปะอยู่ในนั้นในตัวของมันอยู่แล้วซึ่งถ้าพูดถึงหนังสืออื่น พูดเรื่องหนังก็มองไปภาพยนตร์ หนังสือเพลงก็พูดเรื่องเพลงอะไร แบบเนี้ย แต่เราพูดในมุมมองที่มันเป็นศิลปะ

ในฐานะArt director มีเทคนิคในการจัดวางอย่างไร ที่พี่ทำพี่จะรู้สึกว่าชอบเล่าเรื่อง สื่อสารเรื่องออกแบบให้ความสำคัญ กับในเล่มว่าในเล่มเราจะเรียบเรียงการเล่าเรื่องยังไง จากเริ่มไปจนจบ ก็เหมือนกับทำหนังหนึ่งเรื่อง เราก็แบบเลือกสิ่งหนึ่งเข้าไป ตัดส่วน หนึ่งออกอะไรแบบเนี้ย เป็นการเรียบเรียงภาพให้มัน smooth จบแล้ว ให้มันดูโอเค


ในการทำงานต้องยึดสไตล์ของตัวเอง เป็นหลัก หรือดูสไตล์ของนิตยสารเป็นหลัก จริงๆถ้าที่นี่รู้สึกว่าโชคดี คือแบบมัน50-50 ครึ่งๆเลย เหมือนเราไม่ ต้องเปลี่ยนอะไรมาก ที่เราทําๆอยู่มันก็เป็นHappeningแล้วล่ะ ไม่ต้อง ไปปรับเปลี่ยนอะไรมันมากมันก็ค่อนข้างจะใช่แล้ว แต่ถ้าแบบบางเล่มก็ อาจจะเป็นชิ้นๆไป บางเล่มก็อาจจะต้องดูตัวของหนังสือมากกว่าว่า เขาเล่ายังไงแล้วตัวเราต้องมาปรับสภาพไปตามนั้น

อยากให้ฝากข้อคิดถึงนักศึกษา ที่กำลังมองหาที่ฝึกงานและนักศึกษาที่จบใหม่ จริงๆฝึกงานก็รู้สึกว่าควรโฟกัสตั้งแต่ตอนฝึกงานนั้นแหละว่าจริงๆ เราชอบอะไร จริงๆต้องรู้ตัวตั้งแต่ตอนนั้นแล้วนะว่าจริงๆตัวเอง ชอบอะไร ต้องลิสมาให้ได้ว่าแบบอยากทําอะไรมาบ้างก็ไปสมัคร ฝึกงานในที่ที่เราอยากทํา เพราะว่าสมมติเราแบบเอาๆไปเดี๋ยวไม่มี ที่ฝึกแบบนี้พอเราต้องไปทําจริงๆแล้วมันไม่ใช่อย่างที่เราอยากได้มัน เสียเวลาเหมือนกัน

ส่วนตอนที่เป็นเริ่มทำงานรู้สึกมองคนartนะ ทางGraphicก็คือ รู้สึกว่าตอนทำThesisให้เลือกทำใน สิ่งที่ตัวเองสนใจดีกว่าไปทำแบบว่าถ้าทำแบบนี้เข้าทาง อาจารย์ อาจารย์ชอบหรือทำแบบนี้แล้วจะผ่านง่าย อะไรแบบนี้ เอาที่ยึดที่ตัวเองชอบแล้วพอ step ที่มา ทำงานจริงๆมันก็ ถ้าเราทำอะไรมามันก็จะตรงกับที่เรา อยากทำไม่ใช่แบบทำไอ้นั่นมา จริงๆใจอยากทำอีกอย่าง อย่างตอนพี่ทำก็ทำหนังสือแหละไม่ใช่เรื่องlayoutแต่ว่า เป็นเรื่องGraphicและก็ภาพประกอบ แต่สุดท้ายมันก็ที่ เราทำเนี้ยมันก็คือทั้งหมดที่มันเป็นเล่มเนี้ย



นาย ณัฏฐ์พล จิรังคานนท์ 56080500464 นางสาววริศรา นิสสัยสัตย์ 56080500482 นายภีรภาพ มามิ 56080500479

นายณัฐ ถนอมวีระวงศ์ 56080500466


นางสาวกรกนก ถุงสายแก้ว 56080500456 นางสาว สุธาสิณี สุขโข 56080500441

นางสาว ณทิพรดา จานเขื่อง 56080500412




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.