เข้าใจจิบลิ exam p 1 20

Page 1

อริสา พิสิฐโสธรานนท์ deepfilm.net

1


หมวดจิตวิทยาประยุกต์ .................................

เข้าใจจิบลิ

เขียน อริสา พิสิฐโสธรานนท์ ลิขสิทธิ์ © 2560 สำานักพิมพ์สวนเงินมีมา และ BLACK & WHITE รูปเล่ม ธีระพงษ์ เงินถม ออกแบบปก วรพร พรหมบุตร พิสูจน์อักษร วีรพงษ์ เวชมาลีนนท์ พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม 2560 ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำานักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data อริสา พิสิฐโสธรานนท์. เข้าใจจิบลิ.-- กรุงเทพฯ : สวนเงินมีมา, 2560. 336 หน้า.

1. ภาพยนตร์การ์ตูน--ญี่ปุ่น--ประวัติและวิจารณ์. I. ชื่อเรื่อง.

791.433 ISBN 978-616-7368-88-7

ที่ปรึกษา บรรณาธิการบริหาร ฝ่ายสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์ จัดพิมพ์ อีเมล เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก โรงพิมพ์ จัดจำาหน่าย ราคา 2 เข้าใจจิบลิ

วัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด และ ฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด วรนุช ชูเรืองสุข พิชญ์นันท์ พุ่มสวัสดิ์ บริษัท สวนเงินมีมา จำากัด 77, 79 ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0 2622 2495-6, 0 2622 0955, 0 2622 0966 โทรสาร 0 2622 3228 publishers@suan-spirit.com suan-spirit.com www.facebook.com/SuanSpirit2001, facebook.com/SuanNguenMeeMaPublishers หจก. ภาพพิมพ์ โทรศัพท์ 0 2433 0026-7 สายส่งศึกษิต บริษทั เคล็ดไทย จำากัด โทรศัพท์ 0 2225 9536-40 350 บาท


คณะกรรมการบริษัทสวนเงินมีมา 1. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ 7. นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง 8. นายสมบูรณ์ จึงเปรมปรีดิ์ 2. นายปรีดา เตียสุวรรณ์ 3. นายประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข 4. นายสัจจา รัตนโฉมศรี 5. นายอนันต์ วิริยะพินิจ 6. นายฮันส์ แวนวิลเลียนส์วาร์ด 9. นางวัลลภา แวนวิลเลียนส์วาร์ด

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ประธานกรรมการ ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

รายนามผู้ถือหุ้น 1. นายสมเกียรติ ์ อภิญญาชน 2. นายธีรพล นิยม 3. นายวินัย ชาติอนันต์ 4. นายเสถียร เศรษฐสิทธิ์ 5. นางอภิสิรี จรัลชวนะเพท 6. นายมาซากิ ซาโต้ 7. นายศิโรช อังสุวัฒนะ 8. นายเลิศ ตันติสุกฤต 9. นางสาววรรณา ประยุกต์วงศ์ 10. นางสาวปารีณา ประยุกต์วงศ์ 11. นายกษิดิศ อื้อเชี่ยวชาญกิจ 12. นายวัลลภ พิชญ์พงศ์ศา 13. นางดารณี เรียนศรีวิไล 14. นางสุวรรณา หลั่งนำ้าสังข์ 15. นายวีระเดช สมบูรณ์เวชชการ 16. อาศรมวงศ์สนิท 17. เสมสิกขาลัย 18. บริษัทแพรนด้า โฮลดิ้ง จำากัด 19. โครงการสุขภาพคนจน สำานักพิมพ์สวนเงินมีมา เป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท สวนเงินมีมา จำากัด อันเป็นองค์กรธุรกิจอย่างใหม่ ประกอบด้วยองค์กรพัฒนาสังคม และนักธุรกิจที่ตระหนักถึงปัญหาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และ ศักยภาพด้านในของมนุษย์ ตั้งขึ้นเพื่อดำาเนินงานทั้งด้านธุรกิจและสังคมไปพร้อมกัน ด้วยค่านิยม อย่างใหม่ที่มิได้หวังกำาไรเป็นที่ตั้ง และผลกำาไรที่มีขึ้นจะนำากลับไปส่งเสริมสนับสนุนองค์กรพัฒนา สังคมและชุมชนเป็นหลัก

3


คำนิยม “การ์ตูนจิบลิเป็นการ์ตูนที่ดิฉันสะสมไว้ครบชุด นอกจากเพื่อตอบสนองความรักของตัว เองที่มีให้แก่ตัวละครทุกตัวตั้งแต่คนไปยังภูติผีสิ่งประหลาดและสรรพชีวิตในอีกสารพัด รูปร่างซึ่งปรากฏในทุกเรื่องแล้ว ยังด้วยความมุ่งหมายจะส่งทอดเรื่องราวที่งดงามนี้แก่ ลูกๆ ต่อไป ความรู้สึกอ่อนโยน หลงใหล ลุ่มลึก ทั้งชวนยิ้มและชวนนํ้าตาคลอที่ดิฉันมี ต่อจิบลิเสมอนี้ เกิดขึ้นซํ้าแล้วซํ้าอีกตลอดทางของการอ่านหนังสือเล่มนี้ของอริสา ค่าที่ เธอไม่เพียงสามารถบอกเล่าทุกรายละเอียดได้ราวกับเรากําลังย้อนดูหนังด้วยตนเอง แต่ยงั วิเคราะห์หลากหลายแง่มมุ ทีย่ ง่ิ เติมความรูแ้ ละความรักของเราให้เต็มเปีย่ ม อ่านจบ แล้วได้แต่บอกตัวเองว่า นอกจากการ์ตูนจิบลิ หนังสือสํารวจจิบลิอย่างลึกซึ้งเล่มนี้ก็จะ เป็นอีกสิ่งที่ดิฉันจะแนบมอบให้แก่ลูกๆ ของดิฉันด้วยเช่นกันในอนาคตอันใกล้” ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ “ใครทีเ่ คยดูผลงานของสตูดโิ อจิบลิยอ่ มประทับใจกับเรือ่ งราวแสนอัศจรรย์ รายละเอียด และความอ่อนโยน หนังสือเล่มนี้จากแฟนพันธุ์แท้จิบลิ พาเราดําดิ่งไปค้นหาเบื้องหลัง ความประทับใจ เชือ่ มโยงให้เห็นภาพว่าความอัศจรรย์ทป่ี รากฏบนจอนัน้ มีทม่ี าจากอะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และความ สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ดว้ ยกัน อ่านจบแล้วจะทําให้อยากกลับไปดูผลงานจิบลิดว้ ยสายตา คู่ใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม” สฤณี อาชวานันทกุล “ดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่ชื่นชอบการ์ตูนของสตูดิโอจิบลิ เพราะนอกจากรูปจะสวยสะอาด น่ารัก เนือ้ หายังเน้นไปในแนวธรรมชาติ ความรัก และความเข้าใจในเพือ่ นร่วมโลก ไม่วา่ จะเป็นคนหรือสัตว์ และก็เคยคิดว่าเป็นการ์ตนู ทีเ่ ข้าใจยาก ผูท้ จ่ี ะดูให้เข้าใจอาจต้องเป็น ผู้ที่ผ่านชีวิตมาสักช่วงหนึ่งแล้ว เมือ่ คุณจิด๊ ได้นาํ เรือ่ งราวผลงานของสตูดโิ อจิบลิมาวิจารณ์ในเชิงสัญลักษณ์ จึงเป็น เรือ่ งทีน่ า่ สนใจ และเชือ่ ว่าจะช่วยผูช้ มให้สามารถทําความเข้าใจกับการ์ตนู ได้มากขึน้ ใน การชมรอบที่สองและสาม อ่านแล้วทําให้เข้าใจปรัชญาของสตูดิโอจิบลิ และทําให้การชมภาพยนตร์เป็น ความบันเทิงที่แฝงด้วยข้อคิด ความรักในธรรมชาติ และความสวยงามของโลกมนุษย์ ต้องขอบคุณคุณจิ๊ดที่ช่วยทําหนังสือดีๆ มาให้อ่านค่ะ” วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

4 เข้าใจจิบลิ

คอลัมนิสต์การเงิน อดีตนายกสมาคมนักวางแผนการเงินไทย


“อ่านต้นฉบับเล่มนี้แล้วทําให้ต้องไปซึมซับผลงานของจิบลิที่เราไม่คุ้นเคยมาก่อน ส่วนหนึ่งเพราะชีวิตเราห่างหายจากโลกจินตนาการและงานศิลปะดีๆ มานานมากแล้ว เมื่อได้ย้อนดูงานและอ่านบทวิเคราะห์ก็พบว่าเราเสมือนได้บังเอิญพบเจอกับตัวตนบาง อย่างภายในตนเองที่หายไป คู่ขนานกับการอ่านสิ่งที่คุณอริสาพยายามทําความเข้าใจ มิติของสรรพชีวิตบนโลกนี้ผ่านงานศิลปะร่วมสมัยของสตูดิโอจิบลิที่เป็นเอกลักษณ์แต่ สะท้อนคุณค่าสากล ดูภาพ ฟังเพลง แล้วมาอ่านหนังสือประกอบ เรายิ่งได้ความรู้สึก ละมุนละไม ทวนความทรงจํา ความฝัน ความหวังวัยเยาว์ มองมุมมืดมุมสว่างของชีวิต และพลังของธรรมชาติจากเรือ่ งราวสมมุตทิ ม่ี คี วามหมายให้เราพินจิ ตัวหนังสือทีผ่ เู้ ขียน พยายามจะอ่านความคิดของจิบลิ ทําให้เราคล้อยตาม แต่กต็ ง้ั คําถามได้ตอ่ หลายประการ สัมผัสได้เลยว่าผู้เขียนรักงานของจิบลิและตั้งใจเปี่ยมล้นมาก อ่านแล้วได้ครบทั้งงาน วรรณกรรม ปรัชญาชีวิต จิตวิทยา ธรรมะ และเกร็ดความรู้เสริมชวนเพลิน เป็นหนังสือ แนะนําสําหรับคนรักการ์ตูนสร้างสรรค์ ดื่มดํ่าความเป็นญี่ปุ่น ชอบอ่านความคิดคนอื่น และคุยเรือ่ งชีวติ กับตัวเองบ่อยๆ อ่านแล้วช่วยรักษาแง่งามของความรูส้ กึ ในยามเราอาจ กําลังหม่นหมองกับบรรยากาศรอบตัว แล้วเติมพลังแห่งศรัทธาในโลกอันแสนกว้างใหญ่ แต่ทางเดินอาจแคบลงไปทุกขณะ” สุภิญญา กลางณรงค์ อดีตคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

“ในฐานะที่เป็นแฟนผลงานของ Ghibli คนหนึ่งที่หลงรักผลงานแทบทุกเรื่องของ Studio นี้ หนังสือเล่มนี้จะพาเราให้ย้อนกลับมามองผลงานขึ้นชื่อของ Studio Ghibli อีกครั้ง และมากกว่านั้นด้วยการพาเราจมลึกลงไปในรายละเอียดด้วยมุมมองใหม่ๆ ซึ่ง อาจทําให้เราได้เห็นแง่มุมที่น่าสนใจอีกมากมายที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน” รัฐ จําปามูล กรรมการผู้จัดการ Sputnik Tales: Social Animation Agency

5


จากสำนักพิมพ์ หากดูแค่ชื่อ สําหรับเราแล้ว “จิบลิ” ออกจะเป็นชื่อที่ประหลาด เรียกยาก ออกเสียงยาก เอาการ แต่หากดูที่ผลงาน เราไม่เคยผิดหวัง เสียความรู้สึก หรือมีอาการไม่ได้ดั่งใจกับ แอนิเมชันเรื่องไหนของสตูดิโอแห่งนี้เลย แอนิเมะราว 20 เรื่องตลอดช่วง 30 กว่าปีนับจาก วันก่อตั้ง (15 มิถุนายน 1985) การันตีความเป็นมืออาชีพและความสมํ่าเสมอของผลงาน ควบคูไ่ ปกับคุณภาพทีไ่ ม่เคยหลุดมาตรฐานตัวเอง และ 12 เรือ่ งทีผ่ เู้ ขียนคัดสรรมานําเสนอ ในหนังสือเล่มนี้ ก็สามารถฉายให้เห็นภาพความยิง่ ใหญ่ระดับปรมาจารย์ได้อย่างไร้ขอ้ กังขา เข้าใจจิบลิ เป็นหนังสือรวมบทวิเคราะห์ภาพยนตร์ลาํ ดับที่ 2 ของอริสา พิสฐิ โสธรานนท์ ต่อจาก เข้าใจหนัง เข้าใจจิต (2559) ทีส่ าํ นักพิมพ์สวนเงินมีมาทํางานร่วมกับ Black & White ในฐานะสํานักพิมพ์ เราโชคดีที่มีโอกาสได้ “คลุกวงใน” กับงานทั้ง 12 เรื่องที่ผู้เขียนบรรจง นํามาร้อยเรียงไว้อย่างลงตัวก่อนใครหลายๆ คน และในฐานะผูอ้ า่ น ความช่างคิดช่างสังเกต ความพิถีพิถัน และมุมมองอันลึกซึ้งที่ผู้เขียนถ่ายทอดผ่านภาษาที่กระชับชัดเจน ช่วยปลุก หลายฉาก หลายตอน ที่เคยเข้าใจว่าถูกลบหายไปจากความทรงจํา ให้ลุกโชนมีชีวิตขึ้น อีกครั้ง ความละเมียดละไมของผูเ้ ขียนทีข่ ยันหยิบจุดเล็กๆ ขึน้ มาพูดถึง วิเคราะห์อย่างเข้มข้น ตามแนวยุงเกียนทีต่ นถนัด มีสว่ นช่วยเพิม่ ความเข้าใจ กระตุน้ เร้าให้เราดิง่ ลึกลงไปในเรือ่ งราว ของหนัง และบางที อาจช่วยนําพาใครบางคนไปค้นพบตัวตนทีเ่ คยหล่นหายไประหว่างทาง ได้อีกครั้ง แม้จะเคยดูเรื่องนั้นๆ มาแล้ว แต่การได้อ่านมุมมองที่ต่างออกไป ก็ช่วยให้เรา ขบคิดกับเรื่องนั้นละเอียดขึ้น เชื่อมโยงกับชีวิตจริงได้มากขึ้น เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น อย่างที่หลายๆ คนมักพูดตรงกันว่า งานของจิบลิช่วยให้เราเติบโต เข้มแข็ง และ อ่อนโยนกับชีวิต ที่แน่ๆ คือ ช่วยกระตุ้นให้เราอยากย้อนกลับไปดู ไปทำาความเข้าใจ ไปมองหนังบางเรื่องด้วยสายตาคู่ใหม่ซำ้าอีกครั้ง หรืออีกหลายครั้ง หากคุณยังไม่เคยชมผลงานของสามผู้เฒ่าแห่งสตูดิโอจิบลิมาก่อน การเริ่มต้น ทำาความรู้จักงานของพวกเขาผ่านหนังสือเล่มนี้ก็ไม่เลวทีเดียว หรือแม้คุณจะเป็นแฟน พันธุ์แท้ของพวกเขา หนังสือเล่มนี้ก็อาจเผยมุมมองใหม่ที่ต่างออกไป...ความเป็นไปได้ มีอยู่เสมอบนเส้นทางสายชีวิต

6 เข้าใจจิบลิ


“แด่มิตรแท้ที่อยู่เคียงข้างทั้งยามทุกข์และยามสุข”

7


คำนำ มีเพื่อนคนหนึ่งให้หนังสือ Princess Mononoke: The First Story โดย Hayao Miyazaki มาเมื่อหลายปีก่อน มันไม่เหมือนกับเวอร์ชันที่สร้าง เป็นแอนิเมชัน เปิดดูแต่ภาพไม่ได้อ่านเนื้อหา แล้วความรู้สึกท่วมท้นแปลก ประหลาดก็เกิดขึ้น ฉันพูดกับเพื่อนทั้งนํ้าตา “อยากเขียนวิเคราะห์การ์ตูน จิบลิ” ถ้ากล่าวถึงการใช้สัญลักษณ์ในภาพยนตร์/แอนิเมชันแถบเอเชีย งานของสตูดิโอจิบลิเป็นที่ 1 ในใจเรา การ์ตูนน่ารัก สนุก และให้แง่คิด ดู รอบแรกหลงรัก แต่เมื่อดูซํ้าก็ได้แง่มุมใหม่ๆ ในวันที่เหนื่อย รู้สึกมีความหวัง มีเรี่ยวแรงเหมือนกินยาชูกําลัง บางเรื่องดูแล้วรู้สึกมีความรัก ความรักใสๆ ความไร้เดียงสาที่ยังคงมีอยู่ในใจของแต่ละคนถูกกระตุ้นกลับขึ้นมาอีกครั้ง แต่แง่มุมอื่น อารมณ์หม่นมืดก็มีเช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่าหยิบเรื่องไหนมาดู ในเล่มนี้เราคัดแอนิเมชัน 12 เรื่องมาวิเคราะห์ ขยายความ ทําความ เข้าใจเนื้อหา โดยส่วนใหญ่จะเป็นผลงานของฮายาโอะ มิยาซากิ แต่ก็มีเรื่อง เด็ดของอิซาโอะ ทาคาฮาตะ และฮิโรมาสะ โยเนะบายาชิ รวมอยู่ด้วย แน่นอนว่าวิเคราะห์จากมุมมองของตัวผู้เขียนเป็นหลัก โดยมีแนวคิดทาง จิตวิทยาสายยุงเกียนกับความเป็นชาวเอเชียในยุคโลกาภิวัตน์ผสมผสาน สําหรับคําภาษาญี่ปุ่น เราสืบค้นจากพจนานุกรม เมื่อเขียนต้นฉบับเสร็จแล้ว ได้ปรึกษาเรื่องคําศัพท์กับเพื่อนชาวญี่ปุ่นถึงความสมเหตุสมผลของความ หมายที่เราเลือกใช้ จึงต้องขอขอบคุณ Mr. Yasushi Odahara มา ณ โอกาส นี้ด้วย และตอนนี้ถ้าคุณพร้อมจะท่องเข้าไปในดินแดนแห่งจิบลิ อุโมงค์รอ อยู่ตรงหน้าแล้ว 24 มกราคม 2560 อริสา พิสิฐโสธรานนท์ Deepfilm.net

8 เข้าใจจิบลิ


สารบัญ คํานิยม จากสํานักพิมพ์ คํานํา ตอนที่ 1 มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม 1. โทโทโรเพื่อนรัก 2. เนาซิกะ มหาสงครามหุบเขาแห่งสายลม 3. ลาพิวตา พลิกตํานานเหนือเวหา 4. เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร ตอนที่ 2 ตัวตน 5. ปงโปโกะ ทานูกิป่วนโลก 6. มิติวิญญาณมหัศจรรย์ 7. แม่มดน้อยกิกิ 8. ปราสาทเวทมนตร์ของฮาวล์ 9. พอร์โค รอสโซ ตอนที่ 3 ฝันและสิ่งที่เกินพ้น 10. ปีกแห่งฝัน วันแห่งรัก 11. ฝันของฉันต้องมีเธอ 12. ตํานานเจ้าหญิงคางุยะ ธีมสุดท้าย อธิบายศัพท์ บรรณานุกรม แอนิเมชันเครดิต

4 6 8 10 12 21 47 69 102 105 121 160 179 207 224 226 256 281 312 318 325 333

9


ตอนที่

1

มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

10 เข้าใจจิบลิ


ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมเป็นเนื้อหาที่ค่อน ข้างเด่นในแอนิเมชันของสตูดิโอจิบลิ การดํารงอยู่ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยและ เกื้อกูล ไม่แยกขาด เป็นข้อความที่มีการสื่อสารยํ้าๆ ให้มันซึมเข้าถึงใจผู้ชม สี่เรื่องที่คัดมาไว้ในบทนี้ ล้วนเป็นงานเขียนและกํากับของฮายาโอะ มิยาซากิ ได้แก่ โทโทโร เนาซิกะ ลาพิวตา และ โมโนโนเกะ จริงอยู่ว่าไม่ได้นําเสนอ เฉพาะประเด็นสิ่งแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว มีแง่มุมอื่นๆ ที่น่าสนใจรวมอยู่ ด้วย แต่ทุกเรื่องได้ปลูกฝังความคิดความรู้สึกรักธรรมชาติอยู่ในเนื้อหา เรียง ไปตามดีกรีความเข้มข้น จะจัดให้ โทโทโร เผ็ดระดับ 1 เนาซิกะระดับ 2 ลาพิวตา ระดับ 3 และ โมโนโนเกะ ระดับ 4 กลายเป็นข้าวหน้าแกงกะหรี่ ตํารับสตูดิโอจิบลิ ที่เนื้อหาตอบโจทย์รสนิยมอันแตกต่างกันไป แต่ถ้าไม่ลอง ชิมทั้ง 4 รส จะรู้ได้อย่างไรว่าชอบแบบไหน

11


1 โทโทโร เพื่อนรัก

My Neighbor Totoro (1988)

แอนิเมชันเรื่อง โทโทโร ได้ปลูกเมล็ดพันธุ์ความรักธรรมชาติ ในใจของผูช้ มทัว่ โลกแบบละมุนละไม หากมีเด็ก (หรือผูใ้ หญ่) ที่ได้ดูเรื่องนี้ตั้งแต่ปี 1988 (พ.ศ. 2531) แล้วนึกสนุกปลูก ต้นไม้ ป่านนี้มันจะโตแค่ไหนแล้ว? หากในแต่ละเมืองมีคน ปลูก 1 ต้น โลกนี้จะมีต้นไม้เพิ่มขึ้นเท่าไรแล้วนะ? เนื้อหา เรื่อง โทโทโร เพื่อนรัก เข้าใจง่าย ไม่ได้มีแง่มุมเชิงสัญลักษณ์ มากมายให้ต้องกระเทาะเปลือกลงไปทีละชั้น เราจะเขียน ถึงเพียงสั้นๆ จากความประทับใจที่มีต่อเนื้อหาเป็นหลัก ความประทับใจแรกคือความใสของเด็กๆ ซัทสึกิ และเมย์ที่เพิ่งย้ายมาอยู่ชนบท เห็นบ้านเก่าโทรมเหมือน บ้านผีสิง แต่ก็สนุกสนาน วิ่งเล่น หัวเราะไล่ความกลัว หาก เป็นผู้ใหญ่อาจจะคิดว่า โอย อันตราย จะซ่อมอย่างไร? ค่า 12 เข้าใจจิบลิ


ใช้จ่ายเท่าไร? จะทําความสะอาดไหวไหม? หนูเมย์เดินตามโทโทโรน้อยเข้า ป่าไปเจอโทโทโรตัวใหญ่กย็ งั ซ่า นอกจากสัญชาตญาณตามธรรมชาติแล้ว เด็ก จะไม่ค่อยกลัวอะไรนักจนกว่าจะถูกสอนให้กลัว หรือมีประสบการณ์เจ็บตัว โลกของเด็กจึงสดใสไม่คดิ มาก ต่างจากโลกของผูใ้ หญ่ทม่ี กี รอบแคบกว่า เพราะ เราเรียนรูห้ รือถูกสอนว่าอะไรได้ อะไรไม่ได้ สิง่ ทีค่ ดิ ว่าไม่ได้ ไม่ดี หรืออันตราย บางครั้งก็เป็นแค่ความกังวล ความกลัวบนความว่างเปล่า พยายามปกป้องตัว เองมากเกินไป หากไม่คดิ มากจนรูส้ กึ ต่อต้านมัน แม้แต่งานบ้านอันเหน็ดเหนือ่ ย ก็กลายเป็นเรือ่ งสนุกได้ นึกถึงแนวคิดเซนเรือ่ งจิตเดิมแท้ ปรับใช้ในชีวติ ประจํา วัน หากใจเราใสบริสุทธิ์เหมือนเด็กๆ ความสุขนั้นก็อยู่รอบๆ ตัว เช่นเวลาที่ได้ เห็นผีเสื้อ เจอลูกโอ๊ก หรือเวลาแช่นํ้าป๋อมแป๋ม บ้านที่ครอบครัวคุซาคาเบะย้ายเข้ามาเป็นบ้านไม้แบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ที่ต่อเติมด้านหน้าเพิ่มออกมาเป็นแบบตะวันตก แต่สภาพเก่ามาก เสาข้าง หนึ่งผุกร่อน เราเห็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่พยายามจะรับเอาความเป็นตะวันตก เข้ามา ก้าวสู่ความทันสมัย แต่ความเก่าของบ้านบอกให้รู้ว่า ยุคที่รุ่งเรือง นั้นได้ล่วงเลยมาพักใหญ่ๆ แล้ว บ้านหลังนี้ผ่านช่วงเวลาอันยากลําบากของ สงคราม และมีสภาพทรุดโทรมแต่ยังคงยืนหยัด ครอบครัวคุซาคาเบะเองก็ คงไม่ตา่ งกัน เสาไม้หน้าบ้านต้นหนึง่ ผุกร่อนและต้องได้รบั การซ่อมแซม ทําให้ นึกถึงคุณแม่ของซัทสึกิและเมย์ เสาหลักหนึ่งของบ้านที่กําลังป่วยนอนรักษา ตัวอยู่ที่โรงพยาบาล จุดนี้สะท้อนประวัติส่วนตัวของฮายาโอะ มิยาซากิ ที่มี คุณแม่ปว่ ยต้องรักษาตัวเช่นกัน แต่เสาต้นทีอ่ ยูข่ า้ งเตียงโรงพยาบาลของคุณนาย คุซาคาเบะดูแข็งแรงดี สุขภาพของเธอน่าจะฟื้นฟูและดูมีอนาคต ซัทซึกอิ ายุเพียงแปดขวบเท่านัน้ แต่เพราะแม่ปว่ ยอยูโ่ รงพยาบาลจึง ต้องเร่งโตเกินวัย เธอทําอาหาร ทําความสะอาดบ้าน ดูแลน้อง และต้องไป โรงเรียนด้วย นึกถึงตัวเองตอนอายุเท่ากัน ทําไม่ได้ขนาดนี้ ซัทสึกิเป็นเด็กที่ โทโทโร เพื่อนรัก 13


บ้านคุซาคาเบะ

คันตะส่งร่มให้ซัทสึกิและเมย์

เมย์และซัทสึกิกับเสาหน้าบ้าน

คุณแม่ของเมย์และซัทสึกิที่สถานพยาบาล

เก่ง เข้มแข็ง และอดทนมาก ส่วนหนูเมย์เป็นเด็กสี่ขวบที่ทําตัวเหมือนเด็กสี่ ขวบ ร่าเริง ซน ดื้อ งอแงเป็นครั้งคราวและติดพี่สาว ฉากอาบนํ้าด้วยกันสาม พ่อลูก แสดงให้เห็นความใกล้ชิด เป็นครอบครัวที่สนิทสนมและรักกันมาก ชื่อซัทสึกิหมายถึงเดือนพฤษภาคม (May) ชื่อของน้องเมย์ก็ออก เสียงเหมือนชื่อเดือนพฤษภาคมในภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ในภาษาญี่ปุ่นพบ คําว่าเมย์ 姪 Mei หมายถึงหลานสาว (niece) ฟังแล้วนึกถึงคําว่าเม่ย์/เม่ย/ หมวย 妹 Mèi ภาษาจีนแปลว่าน้องสาว มักใช้เรียกเด็กผูห้ ญิง มีความน่าเอ็นดู อยู่ในเสียงของคํา พฤษภาคมเป็นปลายฤดูใบไม้ผลิย่างเข้าฤดูร้อน ฝนเริ่มตก สนับสนุนการเพาะปลูก (แล้วแต่ท้องที่) พฤษภาคมจึงให้ความหมายถึงการ เริ่มต้นปลูกสิ่งที่กําลังจะเติบโตงอกงาม มีความสําคัญต่อวิถีเกษตรกรรม 14 เข้าใจจิบลิ


เวลาที่บางอย่างขาดหายไป เราจะเห็นคุณค่าความสําคัญ แม่ไม่อยู่ ทุกคนก็คิดถึงและดีใจมากเวลาได้เจอ แต่ถ้าแม่อยู่บ้านด้วยตลอด เอาแต่บ่น ด่า ก็อาจจะเบื่อ รําคาญ ต้องรอให้ไม่อยู่ถึงจะเข้าใจ อย่างตอนที่เมย์หายไป ทุกคนตามหากันทั้งหมู่บ้าน สงสารซัทสึกิ อายุแค่นี้แต่ต้องแบกความรู้สึกไว้ ทําตัวเป็นผู้ใหญ่ต่อหน้าน้อง เมย์ยังเล็กพูดไม่รู้ฟัง มันเกินความสามารถของ เด็กแปดขวบจะรับมือ พอทะเลาะกันแล้วน้องหายไป ซัทสึกิก็รู้สึกผิดอีก การ เป็นพี่มันไม่ง่ายเลย ในสมัยที่โทรศัพท์ยังมีไม่ครบทุกบ้าน ต้องใช้โทรเลข สื่อสารเรื่องด่วน เราอาจคิดว่า การไม่มีโทรศัพท์คือสาเหตุของปัญหา แต่ลอง มองมาสมัยนี้ที่มีโทรศัพท์มือถือใช้กันแล้ว กลับไม่ค่อยได้โทรติดต่อหาคน ในครอบครัวถามสารทุกข์สุกดิบ สําหรับเรื่องนี้ปัญหาเกิดจากความกังวลจน เกินเหตุของเด็ก เพราะความรักและความกลัวทีจ่ ะเสียแม่ไป เลยทําให้คดิ มาก ไปเอง เรื่องเล็กจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ พวกเธอต้องทําความรู้จักกับความผิด หวัง ความเศร้า เตรียมรับมือกับความสูญเสีย และการอดทนเฝ้ารอ นี่เป็นขั้น ตอนหนึ่งที่ค่อยๆ เปลี่ยนเด็กให้กลายเป็นผู้ใหญ่ จากโลกที่มีแต่สีขาว ก็ค่อยๆ มีสีเทาๆ ลอยเข้ามา โลกไม่ได้สนุก สดใสทุกวัน แต่ก็ไม่ได้เศร้าและน่าผิดหวัง ไปเสียทุกวันเช่นกัน การทีช่ าวบ้านออกตามหาเมย์ ยังเห็นถึงวัฒนธรรมดัง้ เดิม ที่คนช่วยเหลือพึ่งพากัน ซึ่งต่างจากสังคมแบบต่างคนต่างอยู่ในเมืองใหญ่ยุค ปัจจุบัน ที่เด็กหายก็ไปแจ้งตํารวจ เพื่อนบ้านคงไม่ได้ออกมาช่วยกันขนาดนี้ คันตะเป็นเด็กชายชาวชนบท ใส่กางเกงปะก้น ถือร่มรั่วๆ สะท้อน วิถีชีวิตแบบคนสมัยก่อนที่ไม่ได้รํ่ารวย ใช้ของอย่างคุ้มค่า ขาดก็ปะ พังก็ซ่อม ขยะจึงน้อย บุคลิกของตัวเอกฝ่ายชายในแอนิเมชันของมิยาซากิจะต้องเป็น สุภาพบุรุษ ปลูกฝังค่านิยมที่ดี และอีกลักษณะเด่นหนึ่งคือ จะต้องเป็นเด็ก ชายที่ชอบเครื่องบิน เหมือนมิยาซากิที่พ่อทําบริษัทผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน คันตะจะขี้อายมากแต่ก็ชอบทําเท่ เห็นสองพี่น้องตากฝน เขายอมเปียกส่งร่ม โทโทโร เพื่อนรัก 15


ให้พวกเธอ ตอนที่เมย์หายไป คันตะรีบไปเข็นจักรยานมาช่วย ตัวสูงไม่ถึงยัง ใช้เท้าถีบๆ ไถๆ จักรยาน เพิ่มความเร็วในการตามหา เป็นภาพที่เราไม่เคย เห็นและคงจะหาดูไม่ได้แล้ว จักรยานสมัยก่อนเน้นความแข็งแรง และเป็น งานออกแบบของฝรั่ง ไม่ได้ถูกสร้างมาสําหรับรูปร่างชาวเอเชียและเด็ก ฉาก นี้คันตะก็พยายามจะเป็นผู้ใหญ่เช่นกัน แต่ก็ยิ่งทําให้เห็นว่าเขาเป็นแค่เด็กที่ ยังถีบจักรยานไม่ถึงด้วยซํ้า คันตะมีนํ้าใจมาก การได้รับสิ่งดีๆ ทําให้คนเรามี แนวโน้มที่อยากจะส่งต่อ เผื่อแผ่ไปยังผู้อื่นด้วย (pay it forward) เพราะหลัง จากนัน้ วันฝนตกทีซ่ ทั สึกแิ ละเมย์ยนื รอคุณพ่อทีป่ า้ ยรถประจําทาง เห็นโทโทโร ทั้งตัวเอาแค่ใบบัวมาปิด ซัทสึกิจึงส่งร่มให้กับโทโทโรอย่างที่คันตะเคยส่งให้ กับเธอ สิ่งดีๆ กระตุ้นสิ่งดีๆ และส่งต่อกันได้ ฉากกินแตงกวาเป็นอีกฉากที่ประทับใจ พืชผักที่ปลูกเองกินเองดู สะอาดปลอดภัย เด็ดจากต้น เอาไปใส่ตะกร้าล้างนํ้าลําธารใสเย็น เด็กๆ หยิบ ขึ้นมากัด กร๊อบ..กรอบ ดูเอร็ดอร่อย เราคิด...ทําไมจึงเลือกนําเสนอภาพเด็ก กินแตงกวา ไม่ใช่มะเขือเทศ? คงเพราะแตงกวาไม่ใช่ผักที่สีสวยน่ารัก เด็กคง ไม่ชอบกินนัก แต่พอเห็นซัทสึกิกับเมย์กินแตงกวาสดๆ กรอบๆ น่าจะช่วยให้ เด็กที่ดูมีทัศนคติที่ดีกับผักที่ไม่น่ากิน ไม่น่าอร่อย และอยากกินผักมากขึ้น สําหรับข้าวโพดนั้นต้องนําไปปรุงก่อนจึงจะกินได้ และข้าวโพดยังมีความ หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ในหลายวัฒนธรรม เช่นในตํานานนอร์สแถบสแกนดิเนเวีย หรือแม้แต่ชาวมายาในอเมริกาใต้ ข้าวโพดมีเมล็ดสีทองมากมาย เหมือนลูกๆ ซัทสึกิและเมย์จึงเก็บข้าวโพดไปฝากแม่ของพวกเธอ เป็นการ อวยพรให้แข็งแรงและอุดมสมบูรณ์เจริญพันธุ์ (fertility) ในเพลงตอนจบเห็น มีเด็กทารกด้วย อาจเป็นน้องใหม่ของพวกเขา ความประทับใจสุดท้ายคือ ตัวละครตัวแรกๆ ทีท่ าํ ให้รจู้ กั สตูดโิ อจิบลิ... โทโทโรและรถแมว เจ้าสองตัวนีท้ าํ ให้กรีด๊ แตกอยากไปญีป่ นุ่ โลกของเราเปลีย่ น 16 เข้าใจจิบลิ


โทโทโรได้ร่มจากซัทสึกิ

ผักสด

โทโทโรและรถแมว

ไป เพราะเวลามองโซฟาที่บ้าน มองรถที่ขับ หรือมองเจ้าเหมียวสุดเลิฟ ก็อด จินตนาการไม่ได้ว่า ถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนรถแมว มันจะเป็นอย่างไร? คง นุ่มดีแท้ คิดแล้วก็ยิ้มๆ เพี้ยนแบบมีความสุข น้องเมย์เป็นคนตั้งชื่อให้โทโทโร (トトロ) คําว่าโท หรือโต พ้องเสียงกับโอโตซัง หมายถึงพ่อ โทโท (とと) เป็น คําที่เด็กเรียกพ่อ คงคล้ายกับป๊ะป๋า เสียงคําว่าโทโท (トト, とと) ยังหมายถึง เสียงดนตรี เช่นใช้เขียนเป็นเสียงซาวด์เอฟเฟคในการ์ตูนมังงะ ในกรณีนี้จะ นึกถึงเสียงคํารามของโทโทโร เสียงเวลาหมุนตัวเป็นลูกข่างด้วยความเร็วเหมือน เสียงลม...ฟิ้ว! และเสียงเป่าสิ่งที่คล้ายๆ ออคารินา ที่โทโทโรไปยืนเป่าบน ยอดไม้ โทโทโรในความหมายนี้คือเสียงดนตรีที่เกิดจากลม เป็นเสียงเพลง แห่งธรรมชาติ ฉากที่เมย์เดินตามโทโทโรตัวเล็กสีขาว แล้วตกลงไปในโพรงต้นไม้ ไปเจอกับโทโทโรยักษ์ เห็นอิทธิพลจากเรื่อง อลิซผจญภัยในแดนมหัศจรรย์ โทโทโร เพื่อนรัก 17


เมย์เดินตามโทโทโรน้อย

ลูกโอ๊ก acorn

วัฏฏะ

ถ่าน

และรถเมล์แมวฉีกยิ้ม ก็ทําให้นึกถึงแมวเชสเชอร์ (Cheshire) แต่ใส่ความเป็น ญี่ปุ่นเข้าไปเพิ่มความน่ารัก เด็กเล็กสามารถมองเห็นสัตว์-ภูติพวกนี้ได้ รวม ถึงภูติฝุ่นจิ๋วๆ ด้วย เมย์เห็นโทโทโรตอนกลางวันหลังจากวิ่งเล่นจนเหนื่อย ก่อนจะเคลิ้มหลับไปบนพุงโทโทโร ซัทสึกิยืนรอพ่อที่ป้ายรถประจําทางมาพัก ใหญ่ๆ แบกเมย์ไว้บนหลัง คงกําลังเหนื่อยๆ เคลิ้มๆ จึงเห็นโทโทโรเดินมายืน ข้างๆ เธอมีนํ้าใจให้ร่มโทโทโรกันฝน เขาชอบใจใหญ่ จึงยื่นห่อเมล็ดลูกโอ๊กให้ เป็นการตอบแทน เห็นโทโทโรครัง้ ต่อมาตอนกลางดึกหลังจากเข้านอนไปแล้ว คลุมเครือว่าฝันไป หรือว่าตืน่ ขึน้ มาทําพิธกี รรมปลูกต้นไม้กบั โทโทโรด้วยจริงๆ 18 เข้าใจจิบลิ


ครั้งสุดท้ายเห็นตอนที่ซัทสึกิตามหาเมย์ไม่เจอ สะเทือนใจมาก แล้วเธอก็ ตกลงไปในโพรงโทโทโร เขาจึงเรียกรถแมวมาช่วยตามหาน้องจนเจอ ความ มีนํ้าใจของซัทสึกิทําให้ได้รับความช่วยเหลือ ผูกมิตรกับพี่ๆ เขาไว้ไม่เสียหาย สังเกตว่าช่วงเวลาที่เด็กๆ เจอกับโทโทโรและรถแมว จะอยู่ในภาวะเหนื่อยๆ เคลิ้มๆ หลับฝัน หรือสติไม่อยู่กับเนื้อกับตัว เป็นช่วงที่สัมปชัญญะอ่อนลง และจิตไร้สํานึก/จินตนาการ/มิติลี้ลับ เชื่อมโยงเข้ามาได้ เจ้าโทโทโรตัวเล็กทําตัวโปร่งแสงได้ ไม่น่าจะเป็นแค่สัตว์ธรรมดา เราจัดให้โทโทโรเป็นสัตว์ในจินตนาการ ที่มีความเป็นเทพารักษ์คอยช่วยทํา พิธีกรรมปลูกต้นไม้ในป่าให้งอกงาม โทโทโรจะถือเมล็ดโอ๊กที่ห่ออยู่ในถุง ใบไม้เดินไปมา ไม่แน่ใจว่าเอาไปกินเป็นบ๊ะจ่าง หรือจะนําไปปลูก แต่เราคิด ว่าน่าจะเอาไปปลูก ลูกโอ๊กหรือเอคอร์น (acorn) มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ เติบโต เจริญพันธุ์ ลูกโอ๊กเก็บแก่นสาร ของต้นไม้เอาไว้ในเมล็ดเล็กๆ แล้วเติบโตไปเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดใหญ่มากๆ และแข็งแรงมาก ลูกโอ๊กจึงเป็นสัญลักษณ์ของความเข้มแข็ง แกร่ง มั่นคง และการเจริญเติบโต ประมาณว่า “เด็กในวันนี้ เป็นผูใ้ หญ่ในวันหน้า” ต้นโอ๊ก ให้ทั้งผล และไม้เนื้อแข็งใช้สร้างบ้าน สร้างเรือ จึงเป็นไม้ที่สําคัญต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจและวัฒนธรรมสําหรับประเทศที่มีโอ๊กเป็นไม้พื้นเมือง ไม้โอ๊กยังใช้ ทําถ่านคุณภาพสูงในญี่ปุ่นด้วย พูดถึงถ่าน ก็นึกถึงตัวฝุ่นขึ้นมา ภูติฝุ่นนั้น ชอบอยู่ในบ้านร้าง ที่มืดๆ ฝุ่นก็มีหน้าที่ของมันเช่นกัน บ้านที่มีคนอยู่ก็ต้อง ทําความสะอาด ดูแลอยู่เสมอ ตัวฝุ่นนั้นช่วยบอกให้รู้ว่า บ้านนั้นได้รับความ เอาใจใส่เท่าที่ควรแล้วหรือยัง หากลองมองจากมุมที่ว่า ฝุ่นและขี้เถ้าจากถ่าน ไม้โอ๊กก็เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทําให้เกิดตัวฝุ่น ในมุมนี้ โทโทโรปลูกลูกโอ๊ก> ไม้โอ๊ก>บ้านไม้>ถ่าน>และตัวฝุ่น ต่างก็มีความเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของกัน และกัน และเห็นถึงวัฏจักรของธรรมชาติ แล้วสุดท้าย ตัวฝุ่นหรือธุลีดินก็จะ โทโทโร เพื่อนรัก 19


กลายเป็นส่วนหนึ่งในการปลูกลูกโอ๊กให้เติบโต เขียนเรื่องลูกโอ๊ก ทําให้นึกถึงทฤษฎีเอคอร์นของนักจิตวิทยาชื่อ เจมส์ ฮิลล์แมน (James Hillman) ในหนังสือ The Soul’s Code: In Search of Character and Calling (1997) เขาว่าแต่ละคนนั้นเกิดมา พร้อมกับศักยภาพและความเป็นตัวตน เสมือนดีเอ็นเอทางจิต เปรียบได้กับ เมล็ดโอ๊กแต่ละลูกที่จะเติบโตโชว์ลายไม้อันมีเอกลักษณ์เฉพาะต้น เราต่างก็มี โชคชะตาที่รอการค้นพบแล้วเดินไปตามเส้นทางนั้น หากเดินไปในทิศที่ไม่ใช่ ก็มีแนวโน้มจะเครียดๆ เป็นโรคประสาท ต้นไม้แคระแกร็น ลายไม้ไม่ออก สําหรับเรามองว่า ถ้าได้ทําสิ่งที่ตรงกับหัวใจ เราจะรู้ว่ามันใช่และมีแรงไปต่อ ไม่ว่าจะมีอุปสรรคแค่ไหน หากทําสิ่งที่ตรงข้ามกับใจ จะไม่สงบ สําหรับคนที่ ยังไม่แน่ใจ เรียนรู้จากสิ่งที่ทําอยู่ปัจจุบัน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปพลางๆ ไม่เสียหาย ความเป็นตัวตนอาจไม่ได้หมายถึงการต้องทําอาชีพเดียวอย่าง เฉพาะเจาะจง เพราะไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน หรือทําอะไร เอกลักษณ์ของแต่ละคน สามารถแสดงออกผ่านการดําเนินชีวิตในภาพรวม สําหรับเรื่อง โทโทโร เพื่อนรัก คงจะเขียนเพียงเท่านี้ ฮายาโอะ มิยาซากิ ได้ปลูกต้นไม้ในใจผู้ชม ปลูกฝังความเอื้อเฟื้อต่อกัน กระตุ้นเด็กๆ ให้กิน ผัก ส่งเสริมความรักและการถนอมนํา้ ใจในครอบครัว มิยาซากิยงั ช่วยสนับสนุน ให้เกิดป่าโทโทโรขึน้ มาจริงๆ ทีเ่ ขาซายามะ ในเขตโตเกียว และไซตามะ ประเทศ ญี่ปุ่น เข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.totoro.or.jp คงจะมีโทโทโรคอย ปลูกต้นไม้อยู่ในป่าแห่งนี้

20 เข้าใจจิบลิ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.