แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560) 2560) รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ
)
เสนอต่อ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
จัดทําโดย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายงานฉบับสมบูรณ์
แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2556-2560) ภายใต้โครงการจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ
เสนอต่อ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
จัดทําโดย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คํานํา โครงการจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสํานักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทําแผน แม่บทการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสร้างกลไกการบูรณาการการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศให้เป็นไปในทิศทาง เดียวกัน รายงานการวิจัยฉบับนี้ เนื้อหากล่าวถึงกระบวนการจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ผลการ ทบทวนองค์ความรู้ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนผล การวิเคราะห์สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค และสาระสําคัญของแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ อนึ่ง การดํ า เนิน การวิ จัย ครั้งนี้ สํ า เร็จ ลุล่ว งได้ โ ดยความร่ว มมือของบุคคลหลายฝ่า ย ได้แ ก่ สํา นักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คณะที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนเครือข่ายคุ้มครอง ผู้บริโภคในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
คณะผู้วิจัย เมษายน 2556
บทสรุปผู้บริหาร แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560) ฉบับนี้ จัดทําขึ้นภายใต้โครงการจัดทํา แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ โดยความร่วมมือระหว่างสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กับ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศให้ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนเป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศให้บรรลุ เป้าหมายที่กําหนด แผนแม่ บ ทการคุ้ม ครองผู้บ ริ โ ภคแห่ง ชาติ ฉบับ นี้ จัด ทํ า ขึ้ น โดยกระบวนการมี ส่ ว นร่ ว มของภาคส่ ว นที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ทั้ ง หน่ ว ยงานภาครั ฐ ภาคประชาชน ภาควิ ช าการ ภาคเอกชน และภาค สื่อสารมวลชน กระบวนการศึกษาประกอบด้วยการศึกษาองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับประเทศและ ต่างประเทศ การทบทวนสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค สถิติเรื่องร้องเรียน ตลอดจนการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การสํ า รวจความคิ ด เห็ น โดยใช้ แ บบสอบถาม การจั ด ประชุ ม เชิ ง ปฏิ บั ติ ก ารในระดั บ ภู มิ ภ าค 4 ภู มิ ภ าค และ กรุงเทพมหานคร แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับนี้ มีวิสัยทัศน์ที่ว่า “บูรณาการการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ของทุกภาคส่วน เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศที่มีความเป็นธรรม สมดุล และยั่งยืน” มีเป้าหมายเพื่อให้ เกิดแนวทางการการบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมี การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับการสนับสนุนให้ดําเนินงานอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้รับประโยชน์อย่างสมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเ ป้า หมายดังกล่า ว แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บ ริโ ภคได้กําหนดประเด็นยุทธศาสตร์ 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากลไก และระบบการคุ้มครองผู้บริโภค มีกลยุทธ์การดําเนินงานประกอบด้วย ♦ ♦
พัฒนาระบบการป้องกัน ควบคุม กํากับดูแลสินค้าและบริการให้มีความปลอดภัย พัฒนาระบบการเรียกคืนสินค้า การยกเลิกการใช้ การชดเชย และเยียวยาความเสียหายให้กับ ผู้บริโภค
♦
พัฒนานโยบาย และปรับปรุงมาตรการ มาตรฐาน และกฎหมายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
♦
พัฒนามาตรการสนับสนุน และการบังคับใช้ต่าง ๆ ในการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน
♦
ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการคุ้มครองผู้บริโภค มีกลยุทธ์ประกอบด้วย ♦
รวบรวม และเชื่อมโยงข้อมูลการร้องเรียน และสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภค
♦
พัฒนาฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียนสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาองค์ความรู้ และการสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มีกลยุทธ์ประกอบด้วย ♦
เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้สอดคล้องกับสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค
♦
การให้ความรู้ผ่านช่องทาง และวิธีการที่หลากหลาย
♦
การติดตามตรวจสอบ และสนับสนุนการทํางานของสื่อ
♦
เสริมสร้างความรู้แก่ผู้บริโภค ในการบริโภคอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างและการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค มีกลยุทธ์ประกอบด้วย ♦
การสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
♦
การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการบูรณาการการคุ้มครองผู้บริโภค มีกลยุทธ์ประกอบด้วย ♦ ♦
การส่งเสริม และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายระหว่างกลุ่มผู้ผลิต ผู้บริโภค ภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการ คุ้มครองบริโภคอย่างยั่งยืน
เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556 - 2560) ให้บรรลุ ตามวิสัยทัศน์ และสามารถติดตามประเมินผลสําเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กําหนดแนวทางการขับเคลื่อน และ ติดตามไว้ ดังนี้ 1. ให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกํากับการดําเนินงานตามแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ และปรับปรุงแผนแม่บทดังกล่าวร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้แผนแม่บทการ คุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ มีประสิทธิผล และสอดคล้องกับสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง น้อยทุก 1 ปี 2. ให้สํา นัก งานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคเป็น หน่ว ยงานหลั กในการนํา แผนแม่ บ ทการคุ้มครอง ผู้บริโภคแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยให้มีการจัดทําแผนปฏิบัติการซึ่งประกอบด้ว ยแผนงาน โครงการ กิจกรรม หน่วยงานที่รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ ตัวชี้วัด และแนวทางการติดตามและประเมินผลที่สอดคล้องกับแผน แม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคฉบับนี้ พร้อมทั้งจัดสรรทรัพยากรที่จําเป็นสําหรับการดําเนินงานอย่างพอเพียง และ ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจนเครือข่าย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง
สารบัญ
บทที่ 1 บทนํา
1
บทที่ 2 กระบวนการจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ♦ การทบทวนองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ♦ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ♦ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับภูมิภาค 4 ภูมิภาค และ กรุงเทพมหานคร ♦ การสํารวจความคิดเห็นต่อแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภค ♦ สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย
3 8 33 48 59 67
บทที่ 3 หลักการและสาระสําคัญของแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ♦ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค ♦ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการคุ้มครองผู้บริโภค ♦ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาองค์ความรู้ และการสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ♦ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างและการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ♦ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการบูรณาการการคุ้มครองผู้บริโภค ♦ การขับเคลื่อนและติดตามแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ
73 76 84 88 93 97 117
บรรณานุกรม
118
ภาคผนวก ก การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ ข บทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานในประเทศไทย ค สถิติเรื่องร้องเรียนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย ง แผนแม่บทและแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค จ รายนามคณะผู้มีส่วนร่วมจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1
122 123 166 184 195 274
นิยามศัพท์ ♦
การบูรณาการ (Integration)
หมายถึง การเชื่อมโยงทุกภาคส่ว น องค์ป ระกอบเข้ามาสู่ความเป็นหนึ่งเดียวหรือผนึกกํา ลัง (Synergy) เพื่อให้กลไกต่าง ๆ ทํางานร่วมกันในลักษณะที่เป็นองค์รวมและสมดุล ♦
ความสมดุล (Balance)
หมายถึง การที่ภ าคี ทุกภาคส่ ว นมี การประสานความร่ว มมือ มีส่ว นร่ ว มเพื่อขั บ เคลื่อ นการทํา งานให้ มี ประสิทธิภาพ และเพื่อป้องกันความขัดแย้ง ความสมดุลยึดหลักสมดุลทางอํานาจ เศรษฐกิจ และสังคม ให้ทุกฝ่าย ได้รับการเฉลี่ยอํานาจ ผลประโยชน์ และมีที่ยืนทางสังคมอย่างเหมาะสม ♦
ความเป็นธรรม
หมายถึง ความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค หมายถึง ความถูกต้องที่พึงปฏิบัติต่อผู้บริโภค ดังนี้ มีความเป็นธรรม ด้านราคา ด้านคุณภาพ ด้านการบริการ ด้านการโฆษณาชวนเชื่อ ♦
การเยียวยา
หมายถึง การบรรเทาความทุกข์ให้กับผู้บริโภคที่ประสบปัญหา หรือได้รับผลกระทบจากสินค้าและบริการ เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือ ฟื้นฟูให้ได้รับความยุติธรรม โดยใช้กระบวนการของการเจรจาไกล่เกลี่ย ตลอดจนการใช้ มาตรการในการซ่ อ มแซม (Repair) การเปลี่ ย นสิ น ค้ า (Replace) การรั บ ส่ ว นลด (Reduction) การรั บ เงิ น คื น (Refund) ทั้งนี้ หากสินค้าได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีอันตรายต่อผู้บริโภคก็จะนําไปสู่การห้ามจําหน่าย ห้ามผลิต ห้าม นําเข้า และยกเลิกการใช้ ♦
การบริโภคอย่างยั่งยืน (Sustainable consumption)
หมายถึง การบริโภคอย่างพอดี พอประมาณ ตามความจําเป็นพื้นฐาน และนํามาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดย คํานึงถึงความสามารถที่ร องรับ ได้ของระบบนิเวศ ซึ่งก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความสุขในการดําเนินชีวิต ที่ สามารถพึ่งตนเองได้ มีการแบ่งปันให้สังคมรอบข้าง และสามารถใช้ทรัพยากรในการผลิตและบริการต่อเนื่องไปถึงคน ในรุ่นอนาคต ♦
กิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE)
หมายถึง ธุรกิจที่ยึดถือการตอบแทนประโยชน์สู่สังคม เน้นการกระจายรายได้ คํานึงถึงความรับผิดชอบต่อ สังคม ความเป็นธรรม การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน การกระจายข้อมูลข่าวสาร ความรู้ วิทยาการ และนําเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาเป็นส่วนประกอบในการลดต้นทุนการผลิต
♦
ความรับผิดชอบต่อสังคม (Coporate Social Responsibility : CSR)
หมายถึง พันธะสัญญาที่ธุรกิจ มีส่ว นร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ และการปรับ ปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้ แรงงาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และสังคม โดยการทํากิจกรรมที่เ ป็นประโยชน์ต่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่า การบริจาค หรือ การให้ทุนการศึกษา เป็นต้น ♦
ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency)
หมายถึ ง เครื่ องมือ สํ า หรับ จั ด การให้ภ าคธุ ร กิ จ มี ศั กยภาพในการแข่ งขั น ควบคู่ กั บ ความรับ ผิด ชอบต่ อ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการสําคัญ 3 ข้อ คือ ลดการใช้ทรัพยากรตามหลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle) ลดการปล่อยของเสีย (Zero Waste) การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการ ♦
โครงการฉลากเขียว (Green Label)
หมายถึง โครงการพัฒนาเกณฑ์และข้อกําหนดสินค้าที่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ผลักดันให้ผู้ผลิตพัฒนา ผลิตภัณฑ์ และให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่จะใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ♦
หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย (Polluter pays principle : PPP)
หมายถึ ง หลัก การที่ คิด ขึ้ น เพื่อ นํ า มาใช้ แ ก้ปั ญ หาสิ่ งแวดล้ อม โดยผู้ก่ อ มลพิ ษเป็น ผู้ รับ ผิ ด ชอบ ซึ่ งมี 2 ลักษณะได้แก่ PPP1 คือ ผู้ไม่ก่อมลพิษจะได้รับผลประโยชน์ เช่น การยกเว้นภาษีและ PPP2 คือ ผู้ก่อมลพิษจะต้อง เสียเงินเพื่อบําบัดในรูปภาษีหรือค่าธรรมเนียมพิเศษ ♦
ISO14000
หมายถึง มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ลดปริมาณของเสียภายในโรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพในประบวนการผลิต เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน สร้าง ความตระหนักแก่ผู้ประกอบการในการมีส่วนร่วมรักษาสภาพแวดล้อม ขจัดปัญหาและข้อเรียกร้องจากชุมชน และ กรณีพิพาทด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อม ♦
ISO 26000
หมายถึง มาตรฐานองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน การปฏิบัติการด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม การปฏิบัติที่เป็นธรรม ด้านการบริโภค และ การมีส่วนร่วมของชุมชน ในส่วนด้านการบริโภค ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรมีการบริหารจัดการ ดังนี้ การตลาดที่เป็นธรรม การ ปกป้องข้อมูลของผู้บริโภค การคุ้มครองด้านสุขภาพและความปลอดภัยผู้บริโภค การบริโภคอย่างยั่งยืน การยุติข้อ ร้องเรียน การเข้าถึงบริการที่จําเป็น การให้ความรู้และสร้างความตระหนัก เป็นต้น
♦
มาตรฐาน 9999
หมายถึง มาตรฐานเศรษฐกิจพอเพียงภาคการผลิตอุตสาหกรรม เป็นมาตรฐานให้องค์กรภาคอุตสาหกรรม นําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ซึ่งจะมุ่งเน้นการผลิตที่พอเพียง ตั้งแต่การใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ และพลังงานที่ไม่ ฟุ่มเฟือย รวมถึงการขยายการลงทุนที่ไม่เกินความสามารถของผู้ประกอบการ และเป็นประโยชน์ในแง่การอยู่ร่วมกับ ชุมชนอย่างสมดุล ยั่งยืนในมิติของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ♦
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หมายถึง แนวทางที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลาง คํานึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้าง ภูมิคุ้มกัน ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดําเนินชีวิตที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราช ดํารัสแก่พสกนิกร เพื่อให้สามารถดํารงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
บทที่ 1 บทนํา 1. หลักการและเหตุผล สิทธิเรื่องการบริโภค ถือเป็นหนึ่งในสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทยทุกคนที่พึงได้รับการคุ้มครอง ใน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 61 วรรคที่ 1 ได้ ระบุถึงสิทธิของประชาชนคนไทยในการที่จะต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิในฐานะผู้บริโภค ดังนี้ “สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูล ที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้ง มีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค” ทั้งนี้ นับตั้งแต่ ปี พ.ศ.2522 ได้มีการจัดตั้งสํ านักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สังกัดสํ านัก เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ.2541) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นองค์กรของภาครัฐ ทําหน้าที่หลักในการคุ้มครอง ผูบ้ ริโภคทีถ่ กู ละเมิดสิทธิดา้ นการบริโภค เป็นหน่วยงานกลางในการดําเนินการคุม้ ครองสิทธิผบู้ ริโภค เป็นศูนย์กลางข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพ และประโยชน์สูงสุดอย่างโปร่งใส เป็นธรรมแก่ประชาชนชาวไทยในฐานะผูบ้ ริโภคทุกคน นอกจากนี้ ใน ปัจจุบันภาคส่วนอื่น ๆ อาทิ หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ภาคเอกชน สื่อสารมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาสังคม ต่างมีบทบาทและการดําเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์ และคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในระดับต่าง ๆ มากขึ้น หลายหน่วยงานเข้ามาเป็นภาคีเครือข่ายที่สําคัญในการสร้างพื้นที่ ในการรับเรื่องร้องเรียน ให้ข้อมูลข่าวสาร และช่วยเหลือผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น อย่ า งไรก็ ต าม ปั จ จุ บั น สถานการณ์ ด้ า นการบริ โ ภคในประเทศไทยมี ก ารเปลี่ ย นแปลงไปตามกระแส โลกาภิวัฒน์และการค้าเสรี ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิผู้บริโภคที่หลากหลายและ รุนแรงมากยิ่งขึ้น ขณะที่ประเทศไทยแม้จะมีหน่วยงานและองค์กรที่ดําเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่จํานวน ไม่น้อย แต่เนื่องจากหน่วยงานและองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคเหล่านั้น ยังมีลักษณะการดําเนินงานอย่างแยกส่วน และ ดําเนินงานตามนโยบายของหน่วยงานหรือองค์กรของตนเองเป็นหลัก ทําให้การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคยังขาด ทิศทางที่ชัดเจน ดังนั้น เพื่อให้การทํางานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงจําเป็นต้อง ประสานพลังและศักยภาพของหน่วยงานและองค์กรการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ ในการดําเนินงานเพื่อขจัด ปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคอย่างเข้มแข็งภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์
1
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดให้มีการ พัฒนาแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย เพื่อกําหนดทิศทางการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของภาคี เครือข่ายต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคในประเทศไทยต่อไป
2. วัตถุประสงค์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560) มีวัตถุประสงค์เพื่อการบูรณาการการ คุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนเป็นกรอบแนวทางในการขับเคลื่อนงาน คุ้มครองผู้บริโภคของประเทศให้บรรลุเป้าหมายที่กําหนด
2
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
บทที่ 2 กระบวนการจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ
การจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริ โภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560) จัดดํา เนิน การขึ้นด้ว ย กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคสื่อสารมวลชน ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค โดยกระบวนการจัดทําแผน แม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ มีรายละเอียดการดําเนินงานที่สําคัญ ได้แก่
1. การศึกษาองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 1.1 แนวคิด และรูปแบบการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค 1.2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับประเทศ ได้แก่ ♦
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
♦
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
♦
นโยบายรัฐบาล
♦
ธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติ
♦
บทบาท ภารกิจ กฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
♦
แผนแม่บท/แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
1.3 เอกสารการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในระดับนานาชาติ ได้แก่ ♦
แนวทางการคุ้มครองผู้บ ริโ ภคของสหประชาชาติ (United Nation Guideline for Consumer Protection)
♦
ข้อมูลองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคสากล (Consumer International: CI)
♦
ข้ อ มู ล คณะกรรมการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคอาเซี ย น (ASEAN Committee on Consumer Protection: ACCP)
♦
ข้อมูลสภาผู้บริโภคอาเซียน (Southeast Asian Consumer Council: SEACC) 3
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
1.4 การทบทวนสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย ได้แก่ ♦
สถิติเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคจากหน่วยงานต่าง ๆ
♦
การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม
2. การรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งมีรายละเอียด ที่สําคัญ ได้แก่ 2.1 การสั ม ภาษณ์ และสนทนากลุ่ ม กั บ ผู้ เ ชี่ ย วชาญด้ า นการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ทั้ ง จากภาครั ฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคสื่อสารมวลชน โดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ดังกล่าว ดําเนินการขึ้นเพื่อศึกษาแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ ไทย และรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ 2.1.1 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่สัมภาษณ์ ได้แก่ 2.1.1.1 นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 2.1.1.2 นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. 2.1.1.3 นางรัศมี วิศทเวทย์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 2.1.1.4 รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 2.1.1.5 นางสุ ว รรณา จิ ต ประภั ส สร์ อดี ต ประธานอนุ ก รรมการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสทช.) 2.1.1.6 นายนิมิต เทียนอุดม ผู้อํานวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ 2.1.1.7 ดร.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ผู้อํานวยการสถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2.1.1.8 นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจรจาทางการค้า 2.1.2 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้าร่วมสนทนากลุ่ม ในวันที่ 5 มีนาคม 2556 จํานวน 9 คน ได้แก่ 2.1.2.1 รศ.ดร.ภญ.พรเพ็ญ เปรมโยธิน 2.1.2.2 รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ 2.1.2.3 รศ.ภญ.ดร.นุศราพร เกษสมบูรณ์
4
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2.1.2.4 . . . 2.1.2.5 ผศ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ 2.1.2.6 ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข 2.1.2.7 . 2.1.2.8 ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร 2.1.2.9 ภก.จิระ วิภาสวงศ์ 2.1.2.10 ภญ.สรีรโรจน์ สุกมลสันต์ 2.1.2.11 นายพิฆเนศ ต๊ะปวง 2.2 การสํารวจความคิดเห็นต่อแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ เป็นกระบวนการรับฟังความ คิดเห็น และข้อเสนอแนะต่อร่างแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ทั้งนี้ ผู้ดําเนินงานวิจัยได้จัดส่งแบบสํารวจ ความคิดเห็นไปยังหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจําจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.3 การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ จากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ดังนี้ 2.3.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการส่วนภูมิภาค 2.3.1.1 ภาคเหนือ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็น ในวันที่ 8 มกราคม 2556 ณ โรงแรมธั น ยาอิ น น์ จั ง หวั ด เชี ย งราย ผู้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม ประกอบด้ ว ยผู้ แ ทนจากหน่ ว ยงานภาครั ฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงราย และจังหวัด พะเยา จํานวน 21 คน 2.3.1.2 ภาคใต้ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็น ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 ณ โรงแรมสิงห์ โกลเด้นเพลส จังหวัด สงขลา ผู้เข้า ร่วมประชุม ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครั ฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสงขลา จํานวน 29 คน 2.3.1.3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็น ในวันที่ 7 กุมภาพัน ธ์ 2556 ณ โรงแรมเพชรรัต น์ การ์เ ด้น จังหวัด ร้อยเอ็ด ผู้เ ข้า ร่ว มประชุม ประกอบด้ว ยผู้แทนจาก หน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์ จํานวน 20 คน 5
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2.3.1.4 ภาคกลาง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็น ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ณ โรงแรมวาสิฏฐีซิตี้ โฮเทล จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาควิ ช าการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคสื่อ สารมวลชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่ ว นท้ องถิ่น ในจั งหวั ด สุพรรณบุรี จํานวน 25 คน 2.3.2 การประชุมเชิงปฏิบัติการส่วนกลาง การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดในส่วนกลาง จัดขึ้นในวันที่ 4 เมษายน 2556 ณ โรงแรมรามาการ์ เ ด้ น ส์ ผู้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม ประกอบด้ ว ยผู้ แ ทนจากหน่ ว ยงานภาครั ฐ ภาควิ ช าการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคสือ่ สารมวลชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ รวม 140 คน
6
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
รูปที่ 1 แผนผังกระบวนการจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1
1 ( . . 2556-2560)
7
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
การทบทวนองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การทบทวนองค์ ความรู้ ด้า นการคุ้ม ครองผู้ บ ริ โ ภคเป็น การศึ กษาค้น คว้ า ข้อ มู ล แนวคิด และเอกสารที่ เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้การจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภค แห่งชาติมีความชัดเจน และครอบคลุมบริบทในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ ผลการทบทวนองค์ความรู้ด้านการ คุ้มครองผู้บริโภค สรุปได้ดังนี้
1. แนวความคิดเรื่องสิทธิผู้บริโภค แนวคิดเรื่องการคุ้มครองผู้บ ริโ ภคเป็นแนวคิด ที่เ กี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ บริโภค 3 กลุ่ม ได้แก่ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค โดยในส่วนของภาครัฐในฐานะที่เป็นตัวกลางจะทําหน้าที่ เป็นผู้อํานวยให้เกิดการจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค รูปแบบการดําเนินงาน คุ้มครองผู้บริโภคของแต่ละประเทศจะเกี่ยวข้องกับบริบทความสัมพันธ์ รูปแบบการปกครองและระบบเศรษฐกิจของ ประเทศนั้น ๆ รวมถึงการนิยามและให้ความหมาย “ผู้บริโภค” ภายในสังคมดังกล่าว กล่าวโดยสรุปงานคุ้มครอง ผู้บริโภคมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องลักษณะความสัมพันธ์และประชันแข่งขัน (Contest) ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สองฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้บริโภค (Consumer) และผู้ผลิต (Produce) เป็นหลัก Gunnar Trumbull (2000) นักวิชาการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เสนอว่าการคุ้มครองผู้บริโภคมีรูปแบบที่ สําคัญ 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 การเจรจาต่อรองระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภค (Agreement Must be Kept : Negotiation Model) รูปแบบการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในลักษณะนี้ ผู้บริโภคจะถูกระบุว่ามีฐานะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ หนึ่งที่มีสถานะเท่าเทียมกับผู้ผลิต ปัญหาของผู้บริโภคในสังคมจะถูกวิเคราะห์ว่าเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดการพูดคุย สื่อสารระหว่างกลุ่มผู้บริโภค และผู้ผลิต แนวทางการแก้ไขปัญหาในประเทศที่ใช้รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคใน ลักษณะนี้ คือ การจัดเวทีต่อรองที่เป็นธรรมและเท่าเทียมของทั้งฝ่ายผู้ผลิตและผู้บริโภค ในขณะที่ภาครัฐจะต้องทํา หน้าที่บังคับใช้ข้อตกลงหรือผลการเจรจาให้ได้ครบถ้วน ในลักษณะการคุ้มครองผู้บริโภคของรูปแบบการคุ้มครอง ผู้บริโภคลักษณะนี้ ได้แก่ ข้อตกลงเรื่องมาตรฐานของความเป็นธรรม และความเป็นกลาง เป็นต้น เมื่อวิเ คราะห์ถึงลักษณะความสัมพัน ธ์ร ะหว่า งพลังของผู้ผ ลิต และผู้บริ โภค พบว่า รูปแบบการคุ้มครอง ผู้บริโภคในรูปแบบการเจรจานี้จะที่เกิดขึ้นในสังคมที่ผู้บริโภค (Consumer) มีพลังต่อรองและมีการเคลื่อนไหวทาง สังคมสูง มีการรวมกลุ่มอย่างเข้มข้น มีประสบการณ์การทํางานที่เข้มแข็ง มีประสบการณ์การเข้าร่วมกับภาคีประชา สังคมอื่น ๆ ในการขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผู้ผลิต (Producer) ในสังคมเองก็มี การรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง มีการเชื่อมร้อยอย่างเข้มข้นและมีพลังขับเคลื่อนนโยบายของประเทศสูงเช่นเดียวกัน การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในสังคมที่มีลักษณะเช่นนี้ จึงอาศัยการเจรจาระหว่างสองฝ่ายเพื่อหาข้อตกลงใน 8
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ประเด็นที่เกี่ยวข้องร่วมกัน ในขณะที่รัฐจะทําหน้าที่เป็นตัวกลางรักษากฎเกณฑ์ และบังคับให้เกิดการใช้ผลของการ เจรจาอย่างครบถ้วนและเป็นธรรม ประเทศที่ใช้รูปแบบการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบ Negotiation Model ได้แก่ ประเทศสวีเดน และ ประเทศอื่น ๆ ในแถบสแกนดิเนเวีย รูปแบบที่ 2 การให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (Buyer Beware : Information Model) เป็นรูปแบบการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคที่เห็นว่า “ผู้บริโภค” มีฐานะเป็นผู้กระทําการ (Actor) หรือเป็นส่วน หนึ่ ง ของระบบเศรษฐกิ จ ของประเทศ มี ส ถานะเป็ น องค์ ป ระกอบหนึ่ ง ของระบบเช่ น เดี ย วกั บ ภาคี อื่ น ๆ เช่ น ผู้ประกอบการ โรงงาน ผู้ขายส่ง หรือแรงงาน ปัญหาของการบริโภคถูกวิเคราะห์ว่าเกิดขึ้นจากความล้มเหลวของ ระบบตลาด เนื่องจากข้อมูลข่าวสารที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภค ดังนั้น แนวทางการแก้ไขปัญหา ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในรูปแบบนี้ จึงต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารที่มีความเท่าเทียมกันระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการบริโภคสินค้าและบริการในตลาดได้อย่างเสรีและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เมื่อวิเคราะห์ถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างพลังผู้ผลิตและผู้บริโภคพบว่า ในสังคมที่มีการใช้รูปแบบการ คุ้มครองผู้บริโภคลักษณะนี้จะเป็นสังคมที่ผู้บริโภคมีการรวมกลุ่มน้อย มีพลังในการเคลื่อนไหวทางสังคมน้อยกว่าพลัง ของผู้ผลิตภายในสังคมของตนเอง ในขณะที่ผู้ผลิตมีการรวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง มีการเชื่อมร้อยอย่างเข้มข้นและมี พลังเชื่อมโยงกับการเมืองของประเทศ และมีอํานาจในการขับเคลื่อนและกําหนดนโยบาย ด้วยเหตุดังกล่าว การ คุ้มครองผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้มีลักษณะการให้ข้อมูลข่าวสาร ให้ความรู้กับผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคได้มีข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับสินค้าและบริการ และเป็นผู้ตัดสินใจเลือกบริโภคด้วยตัวเอง ประเทศที่ใช้รูปแบบการ ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบ Information Model ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น รูปแบบที่ 3 สิทธิผู้บริโภค คือ สิทธิพลเมือง (Seller Beware: Protection Model) รูปแบบการคุ้มครอง ผู้บริโภคในลักษณะนี้ จะเห็นว่าผู้บริโภคมีฐานะเป็นพลเมือง สิทธิผู้บริโภคถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคน พึงมี แนวทางการดําเนินงานในรูปแบบนี้ คือ การสร้างสิทธิผู้บริโภค และกฎระเบียบใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้บริโภคมีความ ปลอดภัยและได้รับประโยชน์สูงสุด และมีการส่งเสริมให้เกิดแนวทางทางกฎหมายเพื่อพิทักษ์สิทธิของปัจเจกหรือ ผู้บริโภค รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคในลักษณะนี้เกิดขึ้นในบริบทสังคมที่ผู้บริโภคมีพลังในการเคลื่อนไหวทางสังคม สูง มีการรวมกลุ่มอย่า งเข้มข้น มีป ระสบการณ์ในการเคลื่อนไหวและต่อสู้ร่วมกับ กลุ่มประชาสังคมอื่น ๆ อย่า ง ยาวนาน ในขณะที่ผู้ผลิตจะมีการรวมตัวกันน้อยกว่า การผลักดันนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคจึงเกิดจากพลังการ ผลักดันของกลุ่มผู้บริโภคเป็นหลัก การดําเนินกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศเหล่านี้จึงมุ่งที่จะให้สิทธิกับ ผู้บริโภคเป็นสําคัญ รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคในลักษณะนี้จึงเป็นรูปแบบที่มอบภาระความรับผิดชอบในการ คุ้มครองผู้บริโภคให้กับผู้ผลิต ประเทศที่ ใ ช้รูป แบบการดํา เนิน งานคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคแบบ Protection Model ตัว อย่ า งเช่ น ประเทศ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส 9
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
นอกจากรูป แบบการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคทั้ง สามรู ป แบบแล้ว ในหลายประเทศยังมี ลักษณะการคุ้ มครอง ผู้บริโภคที่ Trumbull เห็นว่าเป็นลักษณะการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีรูปแบบที่เรียกว่า Low level of Protection* หรือ รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับต่ํา ซึ่งเป็นรูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในประเทศที่ขบวนการ ผู้บริโภคไม่มีพลังขับเคลื่อนทางสังคม ผู้บริโภคไม่รู้สิทธิของตนเอง ในขณะที่ผู้ผลิตเองก็ไม่มีการรวมกลุ่ม หรือไม่ สนใจในประเด็นสิทธิผู้บริโภค เป็นต้น
รูปที่ 2 ลักษณะของ “พลัง” ของผู้ผลิต และผู้บริโภคใน 4 รูปแบบ
*
โมเดลการคุ้มครองผู้บริโภคในแต่ละรูปแบบจะมีน้ําหนักการรับภาระความเสี่ยงที่แตกต่างกัน โมเดลการ คุ้มครองผู้บริโภคแบบ Protection model จะให้น้ําหนักความรับผิดชอบในเรื่องการลดความเสี่ยงไปที่ผู้ผลิตเป็น หลัก ในขณะที่โมเดลการคุ้มครองผู้บริโภคแบบ Information model น้ําหนักภาระในความเสี่ยงจะอยู่ที่ผู้บริโภค เป็นหลัก ในขณะที่โมเดลการคุ้มครองผู้บริโภคแบบการเจราจาต่อรอง หรือ Negotiation model นั้น จะเป็นโมเดล ที่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างต้องร่วมกันรับความเสี่ยงในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในอัตราที่มีความเสมอกัน
10
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
รูปที่ 3 ลักษณะการรับภาระของผู้ผลิต และผู้บริโภคในแต่ละรูปแบบ Risk reduction (burden on producers)
Protection model Negotiation model (Shared burden) Information model
Information provision (Burden on consumer) (ที่มา: Gunner Trumbull, 2000: 8)
กล่าวโดยสรุป จะเห็นว่า รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโ ภคของแต่ล ะสังคม เป็นประเด็นเรื่องที่เ กี่ยวข้องกับ ความสัมพันธ์รวมทั้งการประชันต่อรองของภาคีหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกันสามภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคผู้ผลิต และ ภาคผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่ภาครัฐจะทําหน้าที่เป็นตัวกลาง รักษาระเบียบ กฎเกณฑ์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ภาคีที่เกี่ยวข้องอีกสองภาคส่วน คือ ผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ในกรณีของประเทศไทยนั้น เมื่อพิจารณาถึงการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศที่ผ่านมา จะเห็นได้ ว่าการทํางานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเครือข่ายผู้บริโภคต่างดําเนินงานเพื่อการ “คุ้มครอง” ผู้บริโภคเป็นหลัก กิจกรรมที่ดําเนินการมีทั้งการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคและการเตือนภัย เรื่องความไม่ปลอดภัยของสินค้าและบริการ และการดําเนินงานด้านการรับเรื่องร้องเรียนเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับ ผู้บริโภคเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในโครงการนี้ พบว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคใน ประเทศไทย เห็นว่ารูปแบบการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสมในประเทศไทย จะต้องเป็นรูปแบบที่มีการ ผสมผสานลักษณะการดําเนินงานระหว่างรูปแบบการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบ Protection Model และ รูป แบบ Information Model เป็น หลัก โดยการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริ โภคในประเทศไทยควรจะดําเนินการ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคผ่านกลไก และการบังคับใช้มาตรการที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับ ผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง นอกจากนี้ ควรมี ก ารเสริ ม สร้ า งศั ก ยภาพให้ กั บ ผู้ บ ริ โ ภค ผู้ ผ ลิ ต และภาครั ฐ ให้ มี พ ลั ง และขี ด ความสามารถในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศให้มีความเป็นธรรม และสมดุลสืบไป
11
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2. การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย 2.1 ความเป็นมาและพัฒนาการ การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย เกิดขึ้นครั้งแรกเนื่องจากรัฐต้องการที่จะคุ้มครองผู้บริโภค จากการ ประกอบกิจการผลิต และการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยในครั้งแรกรัฐได้ใช้มาตรการทางกฎหมาย โดยการออก พระราชบัญญัติหางน้ํานม พ.ศ.2470 เพื่อป้องกันความเสียหายกับผู้บริโภคอันเกิดจากการบริโภคหางน้ํานม จากนั้น มีการออกกฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ องกับ การคุ้ มครองผู้บ ริ โ ภคในลัก ษณะเป็ น กฎหมายมหาชน เช่น พระราชบั ญ ญั ติ สาธารณสุข พ.ศ.2484 พระราชบัญญัติควบคุมอาหาร พ.ศ.2484 พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหาร พ.ศ.2507 พระราชบัญญัติควบคุมการขายยา พ.ศ.2479 พระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ.2517 เป็นต้น กฎหมายเหล่านี้ กําหนดอํานาจหน้าที่ของรัฐให้สามารถควบคุมผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องอุปโภคบริโภคให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่ กําหนดไว้ แต่ไม่มีการบัญญัติถึงการชดเชยเยียวยา หากเกิดความเสียหายเนื่องจากการบริ โภค (สุษม ศุภ นิตย์, อ้างจาก ทัศนีย์ วีระกันต์, 2541) ในปี พ.ศ.2512 Dr.Colster Wanne ตัวแทนของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคระหว่างประเทศ (International Organization of Consumers Union: IOCU) ได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อชักชวนให้สภาสตรีแห่งชาติ ในพระ บรมราชินูปถัมภ์ ก่อตั้งสมาคมผู้บริโภคแห่งประเทศไทย แต่ในช่วงนั้นสภาสตรีแห่งชาติฯ ยังไม่พร้อมที่จะดําเนินการ จึงเพียงแต่รับหลักการไว้เท่านั้น หลังจากนั้น 2 ปี จึงได้จัดตั้งกรรมการศึกษาและส่งเสริมผู้บริโภค (ศ.ษ.บ.) ขึ้น ซึ่งมี บทบาทในการศึกษาปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคเท่านั้น จนถึงปี พ.ศ.2516 สภาสตรีแห่งชาติฯ ได้เริ่มขยายบทบาท ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น โดยได้จัดตั้งโครงการสภาสตรีส่งเสริมผู้บริโภค (ส.ส.บ.) ขึ้น ในช่วงเดียวกันกับที่สภาสตรีแห่งชาติฯ เริ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2515 องค์กร เอกชนอีก 2 องค์กรก็เริ่มงานกิจกรรมด้านการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นด้วยเช่นกัน ได้แก่ (1) องค์กรพิทักษ์ประโยชน์ ผู้บริโภคแห่งประเทศไทย ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของข้าราชการ นักศึกษา ประชาชน รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ คือ กระทรวงสาธารณสุขที่เห็น ว่าประชาชนไทยกําลังประสบกับปัญหาสําคัญในเรื่องอนามัยและโภชนาการจึงต้อง รวมกลุ่มกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ ไขปัญหาดังกล่าว ต่อมาองค์กรพิทักษ์ประโยชน์ผู้บ ริโภคนี้จึงได้จัดตั้งเป็น สมาคมขึ้น คือ สมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค (2) สมาคมผู้บริโภคแห่งประเทศไทย เป็นการรวมตัวของประชาชน หลากหลายอาชีพเข้ามาร่วมทํางานคุ้มครองผู้บริโภคในหลากหลายกิจกรรม โดยสมาคมฯ มีบทบาทสําคัญในการ ผลักดัน เรียกร้อง และสนับ สนุน รั ฐ บาลมาทุกสมัย ให้มีการจัด ตั้งหน่ว ยงานของรั ฐ ที่ทํา หน้า ที่ ให้ความคุ้มครอง ผู้บริโภค ท่ามกลางการทํางานคุ้มครองผู้บริโภคขององค์กรเอกชน รัฐเองก็เริ่มให้ความสนใจงานด้านนี้ด้วย ในช่วง เริ่มแรกได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งโครงการศึกษาเกี่ยวกับอนามัยและโภชนาการขึ้น อย่างไรก็ตาม บทบาทสําคัญของโครงการดังกล่าวยังเป็นเพียงการศึกษาปัญหา จนกระทั่งในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2520 โครงการ สภาสตรีส่งเสริมผู้บริโภคของสภาสตรีแห่งชาติฯ ได้ยื่นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของผู้บริโภคให้กับรัฐบาล เพื่อกระตุ้นให้ รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้ในปีต่อมา ในวันที่ 8 12
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กุมภาพันธ์ พ.ศ.2521 รัฐบาลได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นโดยให้สังกัดสํานักนายกรัฐมนตรี และ ให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีบทบาทสําคัญ คือ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ได้ตราขึ้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2522 หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ในส่วนภาคเอกชนมีการก่อตั้งกลุ่มองค์กร เพื่อทํา งานปกป้องสิทธิของผู้บ ริ โภคเพิ่มมากขึ้น และองค์กรหนึ่งซึ่งมีบทบาทในการเคลื่อนไหวที่สํา คัญ ต่องาน คุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย คือ กลุ่มอาสาสมัครเพื่อผู้บริโภค (กอบ.) ซึ่งให้ความสําคัญกับงานด้านการรณรงค์ และให้ความรู้เพื่อการคุ้มครองผู้บ ริโภคในระดับกว้างอย่างต่อเนื่อง และมีบ ทบาทสํา คัญในการกระตุ้น เตือนให้ ผู้บริโภคได้ตื่นตัวในสิทธิเรื่องการบริโภคของตนเองมากกว่าการคุ้มครองผู้บริโภค มีจุดมุ่งหมายที่จะแก้ปัญหาใน ระดับนโยบายมากกว่าการทํา งานเพื่อแก้ ไขปัญ หาให้กับปัจ เจกบุคคล องค์กรภาคเอกชนที่ ได้มีการทํา งานเพื่อ คุ้มครองผู้บริโภคภายหลังจากการประกาศพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครเพื่อ ผู้บริโภค (2523) โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง (2523) มูลนิธิหมอชาวบ้าน (2524) กลุ่มพลังผู้บริโภคแห่ง ประเทศไทย (2525) กลุ่มเยาวชนเพื่อผู้บริโภค (2525) ชมรมผู้บริโภคแห่งสยาม (2525) คณะกรรมการประสานงาน องค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน (2526)ฯลฯ (สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2550) 2.2 ทิศทางการคุ้มครองผู้บริโภค 2.2.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หลักการเพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคของประเทศไทยที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ.2550 ให้ความสําคัญของการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบัญญัติไว้ใน มาตรา 61 ความว่า “สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูล ที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่ง ประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทําหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของ หน่ว ยงานของรั ฐในการตราและการบังคับ ใช้กฎหมาย และให้ความเห็น ในการ กําหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบและรายงานการ กระทําหรือละเลยการกระทําอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ให้รัฐสนับสนุน งบประมาณในการดําเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย” 2.2.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ได้กําหนดวิสัยทัศน์ และพันธกิจ ดังนี้ 13
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
р╕зр╕┤р╕кр╕▒р╕вр╕Чр╕▒р╕ир╕Щр╣М тАЬ ! " #$ % ! & ' ( $ ') * ( % тАЭ р╕Юр╕▒р╕Щр╕Шр╕Бр╕┤р╕И 1. р╕кр╕гр╣Йр╕▓р╕Зр╕кр╕▒р╕Зр╕Др╕бр╣Ар╕Ыр╣Зр╕Щр╕Шр╕гр╕гр╕бр╣Бр╕ер╕░р╣Ар╕Ыр╣Зр╕Щр╕кр╕▒р╕Зр╕Др╕бр╕Чр╕╡р╣Ир╕бр╕╡р╕Др╕╕р╕Ур╕ар╕▓р╕Ю р╕Чр╕╕р╕Бр╕Др╕Щр╕бр╕╡р╕Др╕зр╕▓р╕бр╕бр╕▒р╣Ир╕Щр╕Др╕Зр╣Гр╕Щр╕Кр╕╡р╕зр╕┤р╕Х р╣Др╕Фр╣Йр╕гр╕▒р╕Ър╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕З р╕Чр╕▓р╕Зр╕кр╕▒р╕Зр╕Др╕бр╕Чр╕╡р╣Ир╕бр╕╡р╕Др╕╕р╕Ур╕ар╕▓р╕Юр╕нр╕вр╣Ир╕▓р╕Зр╕Чр╕▒р╣Ир╕зр╕Цр╕╢р╕Зр╣Бр╕ер╕░р╣Ар╕Чр╣Ир╕▓р╣Ар╕Чр╕╡р╕вр╕б р╕бр╕╡р╣Вр╕нр╕Бр╕▓р╕кр╣Ар╕Вр╣Йр╕▓р╕Цр╕╢р╕Зр╕Чр╕гр╕▒р╕Юр╕вр╕▓р╕Бр╕гр╣Бр╕ер╕░р╕Бр╕гр╕░р╕Ър╕зр╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕вр╕╕р╕Хр╕┤р╕Шр╕гр╕гр╕бр╕нр╕вр╣Ир╕▓р╕Зр╣Ар╕кр╕бр╕нр╕ар╕▓р╕Д р╕Чр╕╕р╕Б р╕ар╕▓р╕Др╕кр╣Ир╕зр╕Щр╣Др╕Фр╣Йр╕гр╕▒р╕Ър╕Бр╕▓р╕гр╣Ар╕кр╕гр╕┤р╕бр╕Юр╕ер╕▒р╕Зр╣Гр╕лр╣Йр╕кр╕▓р╕бр╕▓р╕гр╕Цр╕бр╕╡р╕кр╣Ир╕зр╕Щр╕гр╣Ир╕зр╕бр╣Гр╕Щр╕Бр╕гр╕░р╕Ър╕зр╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕Юр╕▒р╕Тр╕Щр╕▓ р╕ар╕▓р╕вр╣Гр╕Хр╣Йр╕гр╕░р╕Ър╕Ър╕Ър╕гр╕┤р╕лр╕▓р╕гр╕Ир╕▒р╕Фр╕Бр╕▓р╕гр╕ар╕▓р╕Др╕гр╕▒р╕Рр╕Чр╕╡р╣Ир╣Вр╕Ыр╕гр╣Ир╕Зр╣Гр╕к р╣Ар╕Ыр╣Зр╕Щр╕Шр╕гр╕гр╕б 2. р╕Юр╕▒р╕Тр╕Щр╕▓р╕Др╕╕р╕Ур╕ар╕▓р╕Юр╕Др╕Щр╣Др╕Чр╕вр╣Гр╕лр╣Йр╕бр╕╡р╕Др╕╕р╕Ур╕Шр╕гр╕гр╕б р╣Ар╕гр╕╡р╕вр╕Щр╕гр╕╣р╣Йр╕Хр╕ер╕нр╕Фр╕Кр╕╡р╕зр╕┤р╕Х р╕бр╕╡р╕Чр╕▒р╕Бр╕йр╕░р╣Бр╕ер╕░р╕Бр╕▓р╕гр╕Фр╣Нр╕▓р╕гр╕Зр╕Кр╕╡р╕зр╕┤р╕Хр╕нр╕вр╣Ир╕▓р╕Зр╣Ар╕лр╕бр╕▓р╕░р╕кр╕б р╣Гр╕Щр╣Бр╕Хр╣Ир╕ер╕░р╕Кр╣Ир╕зр╕Зр╕зр╕▒р╕в р╕кр╕Цр╕▓р╕Ър╕▒р╕Щр╕Чр╕▓р╕Зр╕кр╕▒р╕Зр╕Др╕бр╣Бр╕ер╕░р╕Кр╕╕р╕бр╕Кр╕Щр╕Чр╣Йр╕нр╕Зр╕Цр╕┤р╣Ир╕Щр╕бр╕╡р╕Др╕зр╕▓р╕бр╣Ар╕Вр╣Йр╕бр╣Бр╕Вр╣Зр╕З р╕кр╕▓р╕бр╕▓р╕гр╕Цр╕Ыр╕гр╕▒р╕Ър╕Хр╕▒р╕зр╕гр╕╣р╣Йр╣Ар╕Чр╣Ир╕▓р╕Чр╕▒р╕Щр╕Бр╕▒р╕Ър╕Бр╕▓р╕гр╣Ар╕Ыр╕ер╕╡р╣Ир╕вр╕Щр╣Бр╕Ыр╕ер╕З 3. р╕Юр╕▒р╕Тр╕Щр╕▓р╕Рр╕▓р╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕Ьр╕ер╕┤р╕Хр╣Бр╕ер╕░р╕Ър╕гр╕┤р╕Бр╕▓р╕гр╣Гр╕лр╣Йр╣Ар╕Вр╣Йр╕бр╣Бр╕Вр╣Зр╕Зр╣Бр╕ер╕░р╕бр╕╡р╕Др╕╕р╕Ур╕ар╕▓р╕Юр╕Ър╕Щр╕Рр╕▓р╕Щр╕Др╕зр╕▓р╕бр╕гр╕╣р╣Йр╕Др╕зр╕▓р╕бр╕Др╕┤р╕Фр╕кр╕гр╣Йр╕▓р╕Зр╕кр╕гр╕гр╕Др╣М р╣Бр╕ер╕░ р╕ар╕╣ р╕бр╕┤ р╕Ыр╕▒ р╕Н р╕Нр╕▓ р╕кр╕гр╣Й р╕▓ р╕Зр╕Др╕зр╕▓р╕бр╕бр╕▒р╣И р╕Щ р╕Др╕Зр╕Фр╣Й р╕▓ р╕Щр╕нр╕▓р╕лр╕▓р╕гр╣Бр╕ер╕░р╕Юр╕ер╕▒ р╕З р╕Зр╕▓р╕Щ р╕Ыр╕гр╕▒ р╕Ъ р╣Вр╕Др╕гр╕Зр╕кр╕гр╣Й р╕▓ р╕Зр╕Бр╕▓р╕гр╕Ьр╕ер╕┤ р╕Х р╣Бр╕ер╕░р╕Бр╕▓р╕гр╕Ър╕гр╕┤ р╣В р╕ар╕Др╣Гр╕лр╣Й р╣А р╕Ыр╣З р╕Щ р╕бр╕┤ р╕Х р╕гр╕Бр╕▒ р╕Ъ р╕кр╕┤р╣Ир╕Зр╣Бр╕зр╕Фр╕ер╣Йр╕нр╕б р╕Юр╕гр╣Йр╕нр╕бр╕кр╕гр╣Йр╕▓р╕Зр╕Др╕зр╕▓р╕бр╣Ар╕Кр╕╖р╣Ир╕нр╕бр╣Вр╕вр╕Зр╕Бр╕▒р╕Ър╕Ыр╕гр╕░р╣Ар╕Чр╕ир╣Гр╕Щр╕ар╕╣р╕бр╕┤р╕ар╕▓р╕Др╣Ар╕Юр╕╖р╣Ир╕нр╕Др╕зр╕▓р╕бр╕бр╕▒р╣Ир╕Щр╕Др╕Зр╕Чр╕▓р╕Зр╣Ар╕ир╕гр╕йр╕Рр╕Бр╕┤р╕Ир╣Бр╕ер╕░р╕кр╕▒р╕Зр╕Др╕б 4. р╕кр╕гр╣Йр╕▓р╕Зр╕Др╕зр╕▓р╕бр╕бр╕▒р╣Ир╕Щр╕Др╕Зр╕Вр╕нр╕Зр╕Рр╕▓р╕Щр╕Чр╕гр╕▒р╕Юр╕вр╕▓р╕Бр╕гр╕Шр╕гр╕гр╕бр╕Кр╕▓р╕Хр╕┤р╣Бр╕ер╕░р╕кр╕┤р╣Ир╕Зр╣Бр╕зр╕Фр╕ер╣Йр╕нр╕б р╕кр╕Щр╕▒р╕Ър╕кр╕Щр╕╕р╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕бр╕╡р╕кр╣Ир╕зр╕Щр╕гр╣Ир╕зр╕бр╕Вр╕нр╕Зр╕Кр╕╕р╕бр╕Кр╕Щ р╕гр╕зр╕бр╕Чр╕▒р╣Йр╕Зр╕кр╕гр╣Йр╕▓р╕Зр╕ар╕╣р╕бр╕┤р╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Бр╕▒р╕Щр╣Ар╕Юр╕╖р╣Ир╕нр╕гр╕нр╕Зр╕гр╕▒р╕Ър╕Ьр╕ер╕Бр╕гр╕░р╕Чр╕Ър╕Ир╕▓р╕Бр╕Бр╕▓р╕гр╣Ар╕Ыр╕ер╕╡р╣Ир╕вр╕Щр╣Бр╕Ыр╕ер╕Зр╕кр╕ар╕▓р╕Юр╕ар╕╣р╕бр╕┤р╕нр╕▓р╕Бр╕▓р╕ир╣Бр╕ер╕░р╕ар╕▒р╕вр╕Юр╕┤р╕Ър╕▒р╕Хр╕┤р╕Чр╕▓р╕Зр╕Шр╕гр╕гр╕бр╕Кр╕▓р╕Хр╕┤ р╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣Мр╕Бр╕▓р╕гр╕Юр╕▒р╕Тр╕Щр╕▓ р╣Бр╕Ьр╕Щр╕Юр╕▒р╕Т р╕Щр╕▓р╣Ар╕ир╕гр╕йр╕Рр╕Бр╕┤р╕И р╣Бр╕ер╕░р╕кр╕▒р╕Зр╕Др╕бр╣Бр╕лр╣Ир╕Зр╕Кр╕▓р╕Хр╕┤ р╣Др╕Фр╣Йр╕Бр╣Нр╕▓ р╕лр╕Щр╕Фр╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣Мр╕Бр╕▓р╕гр╕Юр╕▒р╕Т р╕Щр╕▓р╕Ыр╕гр╕░р╣Ар╕Чр╕ир╕нр╕нр╕Бр╣Ар╕Ыр╣Зр╕Щ 6 р╕Ыр╕гр╕░р╣Ар╕Фр╣Зр╕Щ р╣Вр╕Фр╕вр╕Ыр╕гр╕░р╣Ар╕Фр╣Зр╕Щр╕Чр╕╡р╣Ир╣Ар╕Бр╕╡р╣Ир╕вр╕зр╕Вр╣Йр╕нр╕Зр╣Вр╕Фр╕вр╕Хр╕гр╕Зр╕Бр╕▒р╕Ър╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Д р╕Др╕╖р╕н р╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣Мр╕Чр╕╡р╣И 1 р╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣Мр╕Бр╕▓р╕гр╕кр╕гр╣Йр╕▓р╕Зр╕Др╕зр╕▓р╕бр╣Ар╕Ыр╣Зр╕Щр╕Шр╕гр╕гр╕бр╣Гр╕Щр╕кр╕▒р╕Зр╕Др╕б р╣Вр╕Фр╕вр╕гр╕░р╕Ър╕╕р╕зр╣Ир╕▓ тАЬр╕Бр╕▓р╕гр╣Ар╕кр╕гр╕┤р╕бр╕кр╕гр╣Йр╕▓р╕Зр╕Юр╕ер╕▒р╕Зр╣Гр╕лр╣Йр╕Чр╕╕р╕Бр╕ар╕▓р╕Др╕кр╣Ир╕зр╕Щр╕кр╕▓р╕бр╕▓р╕гр╕Цр╣Ар╕Юр╕┤р╣Ир╕бр╕Чр╕▓р╕Зр╣Ар╕ер╕╖р╕нр╕Бр╕Бр╕▓р╕гр╣Гр╕Кр╣Йр╕Кр╕╡р╕зр╕┤р╕Хр╣Гр╕Щр╕кр╕▒р╕Зр╕Др╕б р╣Бр╕ер╕░р╕бр╕╡р╕кр╣Ир╕зр╕Щр╕гр╣Ир╕зр╕бр╣Гр╕Щр╣Ар╕Кр╕┤р╕Зр╣Ар╕ир╕гр╕йр╕Рр╕Бр╕┤р╕И р╕кр╕▒р╕Зр╕Др╕б р╣Бр╕ер╕░р╕Бр╕▓р╕гр╣Ар╕бр╕╖р╕нр╕Зр╣Др╕Фр╣Йр╕нр╕вр╣Ир╕▓р╕Зр╕бр╕╡р╕Др╕╕р╕Ур╕Др╣Ир╕▓р╣Бр╕ер╕░р╕ир╕▒р╕Бр╕Фр╕┤р╣Мр╕ир╕гр╕╡ р╣Гр╕лр╣Й р╕Чр╕╕ р╕Б р╕Др╕Щр╕кр╕▓р╕бр╕▓р╕гр╕Цр╣Бр╕кр╕Фр╕Зр╕нр╕нр╕Бр╕Чр╕▓р╕Зр╕Др╕зр╕▓р╕бр╕Др╕┤ р╕Ф р╕нр╕вр╣И р╕▓ р╕Зр╕кр╕гр╣Й р╕▓ р╕Зр╕кр╕гр╕гр╕Др╣М р╣А р╕Юр╕┤р╣И р╕б р╕ир╕▒ р╕Б р╕вр╕ар╕▓р╕Юр╣Бр╕ер╕░р╕Вр╕╡ р╕Ф р╕Др╕зр╕▓р╕бр╕кр╕▓р╕бр╕▓р╕гр╕Цр╕Вр╕нр╕Зр╕Кр╕╕р╕бр╕Кр╕Щр╣Гр╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕Ир╕▒р╕Фр╕Бр╕▓р╕гр╕Ыр╕▒р╕Нр╕лр╕▓р╕Вр╕нр╕Зр╕Кр╕╕р╕бр╕Кр╕Щр╕Фр╣Йр╕зр╕вр╕Хр╕Щр╣Ар╕нр╕З р╕кр╕Щр╕▒р╕Ър╕кр╕Щр╕╕р╕Щр╕Бр╕▓р╕г р╕гр╕зр╕бр╕Бр╕ер╕╕р╣Ир╕бр╕нр╕▓р╕Кр╕╡р╕Юр╕Чр╕╡р╣Ир╕кр╕нр╕Фр╕Др╕ер╣Йр╕нр╕Зр╕Бр╕▒р╕Ър╕ир╕▒р╕Бр╕вр╕ар╕▓р╕Юр╕Вр╕нр╕Зр╕Юр╕╖р╣Йр╕Щр╕Чр╕╡р╣И р╕кр╣Ир╕Зр╣Ар╕кр╕гр╕┤р╕бр╣Гр╕лр╣Йр╕ар╕▓р╕Др╣Ар╕нр╕Бр╕Кр╕Щ р╕ар╕▓р╕Др╕Ыр╕гр╕░р╕Кр╕▓ р╕кр╕▒р╕Зр╕Др╕б р╣Бр╕ер╕░р╕нр╕Зр╕Др╣Мр╕Бр╕гр╕Ыр╕Бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕кр╣Ир╕з р╕Щр╕Чр╣Йр╕нр╕Зр╕Цр╕┤р╣Ир╕Щ р╣Ар╕Ыр╣Зр╕Щ р╕Юр╕ер╕▒р╕Зр╕гр╣Ир╕з р╕бр╣Гр╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕Юр╕▒р╕Т р╕Щр╕▓р╕кр╕▒р╕Зр╕Др╕б р╕Юр╕▒р╕Т р╕Щр╕▓ р╕бр╕▓р╕Хр╕гр╕Рр╕▓р╕Щр╕гр╕░р╕Ър╕Ър╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╣Ар╕Юр╕┤р╣Ир╕бр╕Кр╣Ир╕нр╕Зр╕Чр╕▓р╕Зр╕Бр╕▓р╕гр╣Ар╕Вр╣Йр╕▓р╕Цр╕╢р╕Зр╕Вр╣Йр╕нр╕бр╕╣р╕ер╣Бр╕ер╕░р╕нр╕Зр╕Др╣Мр╕Др╕зр╕▓р╕бр╕гр╕╣р╣Й р╣Ар╕Бр╕╡р╣Ир╕вр╕зр╕Бр╕▒р╕Ър╕кр╕┤р╕Чр╕Шр╕┤р╕Вр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Д р╕кр╣Ир╕Зр╣Ар╕кр╕гр╕┤р╕бр╕Ър╕Чр╕Ър╕▓р╕Чр╕кр╕Хр╕гр╕╡р╣Гр╕Щр╕гр╕░р╕Фр╕▒р╕Ър╕Бр╕▓р╕гр╕Ър╕гр╕┤р╕лр╕▓р╕гр╣Бр╕ер╕░р╕Бр╕▓р╕гр╕Хр╕▒р╕Фр╕кр╕┤р╕Щр╣Гр╕И р╕Чр╕▒р╣Йр╕Зр╣Гр╕Щр╕гр╕░р╕Фр╕▒р╕Ър╕Кр╕▓р╕Хр╕┤р╣Бр╕ер╕░р╕гр╕░р╕Фр╕▒р╕Ър╕Чр╣Йр╕нр╕Зр╕Цр╕┤р╣Ир╕Щ р╣Ар╕Юр╕╖р╣Ир╕нр╕кр╕Щр╕▒р╕Ър╕кр╕Щр╕╕р╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕Вр╕▒р╕Ър╣Ар╕Др╕ер╕╖р╣Ир╕нр╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕Юр╕▒р╕Тр╕Щр╕▓р╕Ыр╕гр╕░р╣Ар╕Чр╕итАЭ 14
р╕гр╕▓р╕вр╕Зр╕▓р╕Щр╕Йр╕Ър╕▒р╕Ър╕кр╕бр╕Ър╕╣р╕гр╕Ур╣М р╣Бр╕Ьр╕Щр╣Бр╕бр╣Ир╕Ър╕Чр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╣Бр╕лр╣Ир╕Зр╕Кр╕▓р╕Хр╕┤ р╕Йр╕Ър╕▒р╕Ър╕Чр╕╡р╣И 1 (р╕Ю.р╕и.2556-2560)
“พั ฒ นามาตรฐานระบบการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคเพื่ อ การคุ้ ม ครอง ภายในประเทศและรองรับการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และข้อมูลข่าวสารอย่าง เสรีในประชาคมอาเซียน โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎระเบียบด้าน มาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าและบริการ การปรับปรุงกฎหมาย ระเบีย บและข้อบังคับ ที่เ กี่ ย วข้องโดยที่ ครอบคลุ มถึง คุณภาพการให้บ ริการของ หน่วยงานภาครัฐ การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและ การคุ้มครองสิทธิรวมถึงช่องทางการรับข้อร้องเรีย น พร้อมทั้งปรับปรุงกลไกเฝ้า ระวังคุณภาพมาตรฐาน การตรวจสอบและติดตามความคืบหน้าของการดําเนินการ จากการร้องเรียน การเพิ่มสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการมีส่วน ร่วมของประชาชนในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค สร้างความตระหนักของผู้บริโภคใน การรักษาสิทธิ และดูแลผลกระทบจากการใช้สินค้าและบริการ ควบคู่ไปกับการ กระตุ้นจิตสํานึกความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจเอกชน” ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพยั่งยืน ระบุว่า “ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน โดยการปรับปรุงกฎหมาย ภาษี กฎระเบี ย บ การกํา กั บ ดู แ ล และการบั น ทึก บั ญ ชี ใ ห้ร องรั บ บรรยากาศของการ แข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล เช่น ปรับปรุงระบบ ภาษีให้มีความเป็นธรรม และสนับสนุนการพัฒนาตลาดทุนปฏิรูประบบกํากับดูแล ให้มีความชัดเจน โปร่งใส ครอบคลุมความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต่อระบบการเงินและ ระบบเศรษฐกิจโดยรวม และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล โดยคํานึงถึงความพร้อม ของสถาบันการเงิน และระบบการเงินในประเทศ” ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ระบุว่า “ปรับพฤติกรรมการบริโภคสู่สังคมคาร์บอนต่ําที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเสริมสร้า งกลไกคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมเครือข่า ย สื่อ โฆษณา และ ประชาสัมพันธ์ให้เข้ามามีบทบาทในการปรับเปลี่ยนสังคมไปสู่การบริโภคที่ยั่งยืน โดยสร้างความเข้มแข็งของกลไกการคุ้มครองสิทธิ ผู้บ ริโ ภค ปรับปรุงกฎหมาย ควบคุมและกํากับดูแลสื่อ ให้เผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้บริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ และจัดให้มีเครือข่ายให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจ ด้า นการผลิต สื่อและโฆษณา เกิด ความรู้ความเข้า ใจ มีจิต สํา นึก และสามารถ ปรับเปลี่ยนแนวทางการผลิต สื่อเผยแพร่โฆษณาที่เอื้อต่อรูปแบบการบริโ ภคที่ ยั่งยืน” 15
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
“ลดความเสี่ยงอันตราย การรั่วไหล และการเกิดอุบัติภัยจากสารเคมีโดยให้ ความสําคัญกับการจัดการสารเคมีอย่างครบวงจร พิจารณาจํากัด หรือยกเลิกการ นําเข้า และการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ มีความเสี่ยงสูง ส่งเสริมการใช้สาร ทดแทนสารเคมี พัฒนาและเชื่อมโยงฐานข้อมูลสารเคมีของแต่ละหน่วยงานตั้งแต่ ต้นน้ําถึงปลายน้ํา ทั้งบัญชีการนําเข้า การผลิต การดําเนินการกับสารเคมีที่มีอยู่ ตลอดจนถึ ง การกํ า จั ด จั ด ทํ า ระบบข้ อ มู ล การใช้ ส ารเคมี ก ารเกษตรและวั ต ถุ อันตรายตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน โดยการมีส่ว นร่ว มของประชาชนในพื้น ที่ สื่อสาร ความเสี่ยงให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจเพื่อลดการใช้สารเคมีที่มีอันตราย ในกระบวนการผลิต และให้ความรู้แก่ประชาชนและกลุ่ มเสี่ยงเพื่อให้เ กิดการ ป้องกัน ตนเองได้อย่า งถูกต้อง รวมทั้งส่งเสริ มการคุ้ มครองผู้บ ริโ ภค โดยสร้า ง ระบบเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบด้านความปลอดภัยสารเคมี และสินค้าที่อาจ เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค พัฒนาผลักดันระบบการจําแนกความ อันตราย และระบบการติดฉลาก ตลอดจนสร้า งเครือข่ายทางสังคมในการเฝ้า ระวังและจัดการสารเคมี” 2.2.3 นโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค นโยบายของรัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (นายวราเทพ รัตนากร) มีรายละเอียดดังนี้ (สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, 2555) “ในฐานะรัฐมนตรีที่กํากับดูแล สคบ. ก็พร้อมที่จะผลักดันวิสัยทัศน์ และ พันธกิจของ สคบ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลสิทธิของประชาชนผู้บริโภคทั่วประเทศ เมื่อรับฟังรายงานปัญหาและอุปสรรคแล้ว พร้อมที่จะร่วมแก้ปัญหาและสนับสนุน แนวทางการทํางาน เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการทํางานของ สคบ. หมดไป ซึ่งขณะนี้ ได้ให้ สคบ. เร่งแก้ไขเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ที่ปัจจุบันเป็นธุรกิจที่ได้รับการร้องเรียนมาเป็นอันดับต้น ๆ จาก ผู้บ ริโ ภค เช่น เกิด การชํา รุด เสีย หาย ไม่ได้ มาตรฐาน และสร้า งผิด รูป แบบตาม สัญญาที่กําหนดไว้” “ที่ผ่านมาได้มอบแนวทางการปฏิบัติงานให้กับ สคบ. โดยให้มีการทํางาน ในหลากหลายมิติทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ ที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนส่วนใหญ่ ให้ตระหนักรู้ว่าสิทธิผู้บริโภคนั้นเป็นเรื่องสําคัญ ทั้งกฎหมายยังบัญญัติบทลงโทษ เอาไว้ชัดเจน ผู้ประกอบการเองก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ละเมิดสิทธิผู้บริโภค ไม่ว่าจะ โดยจงใจหรืออาศัยความได้เปรียบทางการค้าก็ตาม สําหรับในส่วนเชิงรุก คือ การ 16
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ออกตรวจสินค้าและบริการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ รวมไปถึงการปฏิบัติงานตามแนวทางการป้องปรามต่าง ๆ ทั้งโดยบุคลากรของ สคบ. เอง และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือไปยังมูลนิธิ สมาคมต่าง ๆ และที่เน้นย้ํา ก็คือ ภาคประชาสังคม ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคเอง ซึ่งทั้งหมดจะต้องผนึกกําลังกันให้เป็น เครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่พร้อมในการเฝ้าระวังและคอยตรวจสอบ ใน ขั้นตอนก่อนที่ปัญหาจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคและกระจายไปยังวงกว้าง ในส่วนการ ทํางานเชิงรับนั้น ให้พิจารณาเพิ่มช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้มี การตอบสนองและจัดการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และให้เสร็จสิ้นด้วย ความพึงพอใจ” ด้า นวิ สัย ทั ศน์ พั น ธกิ จ ยุท ธศาสตร์ และเป้า ประสงค์ข องสํา นักงานคณะกรรมการคุ้ม ครองผู้บ ริ โ ภคมี รายละเอียดดังนี้ (สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, 2556) วิสัยทัศน์ : เป็นองค์กรกลางในการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับสากล พันธกิจ 1. บังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมและโปร่งใสเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค 2. พัฒนากฎหมายและนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้ทันต่อเหตุการณ์ 3. สร้างเครือข่ายผู้บริโภค และประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและ เอกชน 4. เผยแพร่ความรู้เพื่อสร้างจิตสํานึกให้ผู้บริโภครู้จักปกป้องและรักษาสิทธิของตนเอง ยุทธศาสตร์ การทํางานของ สคบ. ยุทธศาสตร์ที่ 1. การพัฒนากลไกงานคุ้มครองผู้บริโภคสู่สากล ยุทธศาสตร์ที่ 2. การบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภค ยุทธศาสตร์ที่ 3. ส่งเสริมศักยภาพผู้บริโภค ยุทธศาสตร์ที่ 4. การบริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ เป้าประสงค์ 1. กลไกการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพ
17
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2. กฎหมายเกี่ยวการคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพ 3. ภาคีเครือข่ายมีการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในสิทธิของผู้บริโภค 5. ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเลือกซื้อสินค้า หรือบริการได้อย่างเพียงพอ 6. การบริหารองค์กรมีป ระสิทธิภาพ และใช้เทคโนโลยีส ารสนเทศด้า นการคุ้มครองผู้บ ริโ ภคที่ ทันสมัย 7. บุคลากรมีความรู้ความสามารถทันต่อเหตุการณ์ 2.2.4 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552 ในหมวด 8 การคุ้มครองผู้บริโภค ระบุหลักการ ของระบบคุ้มครองผู้บริโภคว่าต้องเป็นไปเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการปกป้องและคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยมุ่งเน้น 1. การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมศักยภาพของผู้บริโภค 2. การให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงและครบถ้วน เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้อย่างรู้เท่าทัน 3. การจัดให้มีกลไกในการเฝ้าระวังติดตาม และตรวจสอบสินค้าและบริการในแต่ละระดับ 4. การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภค และเครือข่ายเพื่อให้ได้รับสินค้าและ บริการที่มีมาตรฐานคุณภาพปลอดภัยเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ตลอดจนมีระบบการชดเชยเยียวยาที่มี ประสิทธิภาพและเหมาะสมเมื่อได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ต้องเป็นไปโดยปลอดจากการแทรกแซงจากอํานาจทาง การเมือง ราชการ ธุรกิจ หรือการแทรกแซงอื่นใด เป้าหมายของการคุ้มครองผู้บริโภค ระบุว่า 1. ผู้บริโภคต้องได้รับการปกป้องและคุ้มครองสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ ตลอดจนได้รับการพัฒนา ศักยภาพให้สามารถปกป้องคุ้มครองตนเองและสังคม รวมถึงได้รับความรู้และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนสม ประโยชน์ และทราบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการบริโภค ตลอดจนสามารถนําความรู้และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมา ใช้ในการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและเท่าทัน ผู้บ ริ โ ภคที่ ได้รับ ความเสีย หายจากการบริ โ ภคสิน ค้า หรือการบริการ ต้องได้รับ การชดเชยและ เยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมและรวดเร็ว 2. เด็ ก เยาวชน สตรี ผู้สูง อายุ ผู้พิ การหรือทุ พพลภาพ ผู้ด้อ ยโอกาสในสั งคมต้ องได้รับ ความ คุ้มครองเป็นพิเศษตามสิทธิที่กฎหมายบัญญัติ และต้องได้รับโอกาสในการพัฒนาทักษะชีวิตรู้เท่าทันสื่อมีส่วนร่วมใน 18
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
การคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ การสื่อสารให้ข้อมูลต้องมีความเหมาะสมตามวัยและสภาพของบุคคล เข้าถึงได้ง่ายเข้าใจ ง่าย และสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ มาตรการในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค มาตรการโดยรัฐ 1. เร่งรัดการจัดตั้งองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย และออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการชดเชยเยียวยาผู้เสียหายจากสินค้าและบริการกฎหมายที่ทันต่อสถานการณ์ และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านสินค้าและบริการ ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมี ประสิทธิภาพ และให้มีกองทุนที่เป็นอิสระในการทํางานคุ้มครองผู้บริโภคโดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐ อย่างเพียงพอ 2. ส่ งเสริ มและสนับ สนุน การรวมตั ว ของประชาชนในรู ป แบบของกลุ่ ม ชมรม สมาคม มู ล นิ ธิ เครือข่าย และอื่น ๆ ในการดําเนินงานเพื่อผู้บริ โภคและเสริมสร้า งความเข้มแข็งและกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่ ผู้บ ริ โ ภค ตลอดจนส่งเสริมและสนับ สนุน ให้มีกลไกการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคภาคประชาชนในทุกจังหวัด และต้อง สนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจและสื่อมวลชนมีความรับผิดชอบต่อสังคม และร่วมดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค 3. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการกําหนดนโยบายวางแผนติดตาม และ ตรวจสอบการดําเนินงานเพื่อผู้บริโภคทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น 4. ควบคุมการจัด บริการสาธารณะให้เ ด็ก เยาวชน ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส และ ผู้สูงอายุได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ในการดํารงชีวิต และติดต่อสัมพันธ์กับสังคมภายนอกอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 5. สนับสนุนให้มีระบบการทดสอบมาตรฐานสินค้าและบริการที่ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อประเมิน ประสิทธิภาพความคุ้มค่าความปลอดภัยและผลกระทบ รวมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณชนอย่างทั่วถึง 6. ส่ ง เสริ ม นโยบายและบูร ณาการแนวคิ ด การบริ โ ภคที่ ยั่ ง ยืน เข้ า ไปในนโยบายสาธารณะอื่ น ตลอดจนมีมาตรการที่ส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน 7. สนั บ สนุ น และส่ ง เสริ ม องค์ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ในการเฝ้า ระวั งติ ด ตามตรวจสอบและ ประเมินผลสินค้าและการให้บริการ 8. สนับสนุนให้มีการตรวจสอบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพต่อสาธารณะเพื่อให้มีความ ถูกต้อง เที่ยงตรง และจัดให้มีสัดส่วนของพื้นที่ในการให้ความรู้แก่ผู้บริโภคอย่างเหมาะสม รวมทั้งเน้นการปลูกฝัง จริยธรรมของการเป็นสื่อมวลชนที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อการโฆษณาและการส่งเสริมการขายที่ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพ
19
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกําหนดนโยบาย และจัดให้มีแผนงบประมาณ ข้อบัญญัติท้องถิ่น และกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภค โดยบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคเข้าไปเป็นภารกิจหลักของแผนโดยการมีส่วน ร่วมของผู้บริโภค มาตรการโดยสถาบันวิชาการ ให้สถาบันวิชาการ สภาวิชาชีพ และคณะกรรมการวิชาชีพด้านสาธารณสุขร่วมกันสร้างและพัฒนา ระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็งและเป็นธรรม ร่วมตรวจสอบประเมินและพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภค โดย ส่งเสริมให้มีตัวแทนผู้บริโภคจํานวนพอเพียงร่วมเป็นกรรมการในองค์กร มาตรการโดยผู้ประกอบธุรกิจ และ สื่อมวลชนต่าง ๆ ให้ผู้ประกอบธุรกิจ และ สื่อมวลชนต่าง ๆ ดําเนินงานโดยต้องคํานึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค และมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสําคัญ มุ่งสนับสนุนการบริโภคที่ยั่งยืนโดยร่วมกันกําหนดและปฏิบัติตามแนว ปฏิบัติที่ดีในการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ หลักเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการประกอบธุรกิจและการส่งเสริม การขายและควบคุมกันเองให้เ ป็นไปตามข้อกําหนด รวมทั้งป้องกันและเยีย วยาความเสีย หายที่เ กิด ขึ้นจากการ ประกอบธุรกิจโดยเร็ว มาตรการในการจัดทําสัญญาระหว่างประเทศ ในการจัดทําหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวพันมาจากหนังสือสัญญาระหว่าง ประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องดําเนินการดังต่อไปนี้ 1. พิ จ ารณาผลกระทบต่ อ ผู้ บ ริ โ ภคด้ า นสุ ข ภาพและสุ ข ภาวะอย่ า งรอบคอบและถี่ ถ้ ว นตาม กระบวนการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ต้องดําเนินการขอความเห็นจากองค์กรผู้บริโภคและภาคประชาสังคม อย่างกว้างขวาง 2. สร้างหลักประกันเพื่อปกป้องผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการทําหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาและปรับปรุงกลไกรองรับผลกระทบที่เอื้ออํานวย และไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการพัฒนาด้าน สุขภาพและการพัฒนาสาธารณสุขของประเทศ 3. เปิด โอกาสให้มีการพิจ ารณาผลกระทบต่อผู้บ ริ โ ภคโดยเฉพาะด้า นสุขภาพที่เ กี่ย วเนื่องจาก หนังสือสัญญาระหว่างประเทศภายหลังที่มีการบังคับใช้ เพื่อหาแนวทางและกลไกในการชดเชยความเสียหายจาก ข้อตกลง ตลอดจนมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อตกลงในกรณีที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวาง
20
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2.3 โครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค โครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย ในปัจจุบันนี้ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักที่สําคัญ ได้แก่ ภาครัฐ ภาคผู้ผลิต และภาคประชาชน โดยในแต่ละ ภาคส่วนมีภารกิจในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคที่สําคัญ ได้แก่ 2.3.1 หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของภาครัฐ หน่ว ยงานคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคของภาครั ฐ มีทั้ง ในส่ว นกลางและส่ว นภูมิภ าค หน่ว ยงานภาครั ฐ ที่ ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคที่สําคัญ ได้แก่ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมการท่องเที่ย ว กระทรวงการ ท่องเที่ย วและกีฬา กรมพัฒ นาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิช ย์ " # ( $ กรม ควบคุมมลพิษ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย กรมที่ดิน กรมโยธาธิการและผังเมือง กองบังคับการปราบปรามการกระทําผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานตํารวจ แห่งชาติ กองบังคับการตํารวจท่องเที่ยว สํานักงานตํารวจแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สํา นักนายกรั ฐ มนตรี สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข สํา นักงานมาตรฐาน ผลิต ภัณ ฑ์อุต สาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุต สาหกรรม สํา นักงานมาตรฐานสิ น ค้ า เกษตรและอาหารแห่ง ชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สํานักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุข สํานักส่งเสริม และสนับสนุนอาหารปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุข สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย สํานักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ *+# ' ( , สถาบันคุ้มครองเงินฝาก รวมทั้ง ศาลผู้บริโภคในกระบวนการศาลยุติธรรม และศาลปกครอง นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ในระดับภูมิภาคและท้องถิ่นยังมี กลไกการทํ า งานคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคที่ สํ า คั ญ ได้ แ ก่ คณะอนุ ก รรมการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคระดั บ จั ง หวั ด และ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประจําเทศบาล และคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับตําบล เป็นต้น 2.3.2 องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคของภาคประชาชน องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนในประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นที่ใกล้ชิดกับองค์กรเครือข่ายด้าน สาธารณสุ ข โดยองค์ ก รคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคพั ฒ นาแรก ๆ ของประเทศไทยมี ร ากฐานมาจากประเด็ น ทางด้ า น สาธารณสุข และกลุ่มคณะทํา งานจะเป็น กลุ่มที่มีป ระสบการณ์และความสนใจทางสาธารณสุข องค์กรคุ้มครอง ผู้บริโภคที่สําคัญในประเทศไทย ได้แก่ 1) กลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.) ซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรแรกๆ ที่เริ่มบทบาทในการพัฒนางานคุ้มครอง ผู้บริโภค ในประเทศไทย กศย. เริ่มต้นจากการเป็นกลุ่มศึกษาวิจัยทางด้านยาในมหาวิทยาลัย กศย. มีวัตถุประสงค์ 21
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
หลักเพื่อศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อาหาร และเครื่องสําอาง รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องเพื่อเป็น แนวทางในการพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศ กศย. ได้นําเสนอสภาพปัญหา ข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะแก่ องค์กร/หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหากิจกรรมการดําเนินงานที่สําคัญของ กศย. ได้แก่ การ จัดทําศูนย์ข้อมูลยาเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค จดหมายข่าว “ยาวิพากษ์” รณรงค์เผยแพร่เพื่อพัฒนาระบบยาใน ประเด็นต่าง ๆ เช่น การใช้ยา ผลกระทบของระบบทรัพย์สินทางปัญญาและองค์กรการค้าโลกต่อระบบยา การทุจริต จัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ การร่วมจัดทําและรณรงค์ร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับประชาชน (อมรา พงศาพิชญ์ และ จันทิมา ไทรงาม, 2545) 2) มูล นิธิเ พื่อผู้บ ริ โ ภค (มพบ.) เป็น องค์กรพัฒ นาเอกชนสาธารณประโยชน์ มพบ. เริ่มดํา เนิ น กิจกรรมเป็นครั้งแรกใน ปี พ.ศ.2526 ในนามคณะกรรมการประสานงานองค์กรเอกชนเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน (คปอส.) ซึ่งบทบาทสําคัญของ คปอส. ได้แก่ การผลักดันนโยบายห้ามผสมสารคาเฟอีนในยาแก้ปวดลดไข้ การ รณรงค์ให้ชื่อสามัญทางยาในฉลากเอกสารกํากับยา การรณรงค์ให้มีนโยบายลดใช้สารเคมีในการเกษตร ฯลฯ จาก บทเรียนการทํางานในนาม คปอส. ทําให้คณะทํางานเห็นความสําคัญของการทํางานสุขภาพแบบองค์รวมว่าการ คุ้มครองผู้บริโภคต้องดํา เนินการอย่างรอบด้าน ในปี พ.ศ.2539 คปอส. จึงจดทะเบียนจัดตั้งมูล นิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดย มพบ. มีวัตถุประสงค์หลัก คือ ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามสิทธิอันพึง มีพึงได้ สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้บริโภคและองค์กรผู้บริโภคต่าง ๆ ได้มีส่วนในการคุ้มครองผู้บริโภค และ ส่งเสริม การศึกษา วิจัย และเผยแพร่ค วามรู้ที่เ กี่ ย วข้องกับ การคุ้มครองผู้บ ริ โ ภค และเผยแพร่ข้อมู ล ความรู้ต่ า ง ๆ เพื่ อ สนับสนุนให้ผู้บริโภค “ฉลาดและเท่าทันต่อสถานการณ์ปัญหาในสังคมบริโภคนิยม” กิจกรรมที่สําคัญของ มพบ. ได้แก่ วารสาร “ฉลาดซื้อ สื่อเพื่อผู้บริโภค” ซึ่งเป็นวารสารรายสองเดือนที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและประเด็นที่ สํ า คั ญ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การบริ โ ภค เพื่ อ ให้ ข้ อ มู ล แก่ ผู้ บ ริ โ ภคในการตั ด สิ น ใจเลื อ กซื้ อ เลื อ กใช้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ บริ ก าร นอกจากนี้ มพบ. ยังเผยแพร่หนังสือ และคู่มือเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคอื่น ๆ รวมทั้งมีการจัดตั้งศูนย์พิทักษ์สิทธิ ผู้บริโภคที่ทําหน้าที่บริการให้คําปรึกษา และรับเรื่องราวร้องทุกข์ของผู้บริโภค มีการทํางานสร้างความเข้มแข็งให้กับ องค์กรผู้บริโภค ทําหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ และที่สําคัญที่สุด มพบ. ยังทําหน้า ที่สําคัญในการร่วมกับภาคีเครือข่ายผลักดันกฎหมายและมาตรการต่าง ๆ ในการดําเนินงานคุ้มครอง ผู้บริโภคของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีองค์กรภาคประชาชนอื่น ๆ เช่น สหพันธ์องค์กรเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายองค์กร ผู้บริโภคในจังหวัดต่าง ๆ และสภาวิชาชีพ เป็นต้น 2.3.3 หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของภาคธุรกิจ องค์กรภาคธุร กิ จ ในประเทศไทยมีการรวมกลุ่ม ในรูป แบบต่า ง ๆ เช่น สภาหอการค้า ไทยแห่ ง ประเทศไทย สภาอุต สาหกรรมแห่ง ประเทศไทย และสมาคมต่า ง ๆ โดยภาพรวมกิจ กรรมที่องค์กรภาคธุร กิ จ ดําเนินงานเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจะเป็นการตอบสนองนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ เช่น การร่วมมือ ของสภาหอการค้าไทย และสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กระทรวงเกษตร เพื่อ ผลักดันให้มีการนํามาตรฐานสินค้าเกษตรไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (ข่าวสารการเกษตร, 2555) นอกจากนี้ สภา
22
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
อุตสาหกรรม สมาชิกสภาหอการค้า กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง และหน่วยงานภาครัฐ ร่วมกันผลักดันมติคณะรัฐมนตรี เพื่อให้สังคมไทยปราศจากแร่ใยหิน (ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวลา, 2555) เป็นต้น 2.3.4 องค์การอิสระตามรัฐธรรมนูญ ในประเทศไทยยังมีองค์กรอิสระอื่น ๆ ที่มีส่วนสําคัญในการดํา เนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดิน สํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น หน่วยงานเหล่านี้มีดําเนินการคุ้มครองผู้บริโภคในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และดําเนินคดี แพ่งกับผู้กระทําการละเมิดสิทธิผู้บริโภค ทั้งนี้ คณะผู้วิจัย ได้ทํา การศึกษาบทบาทหน้า ที่ และกฎหมายของหน่ว ยงานที่เ กี่ย วข้องในการ ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยนําเสนอข้อมูลดังกล่าวในภาคผนวก ข
23
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
' 4 ! . $" !
24
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2.4 ลักษณะการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย บทบาท และภารกิจการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทยมี ลักษณะสําคัญ ดังนี้ 2.4.1 การบังคับใช้ก ฎหมาย (Enforcement) หน่ว ยงานของรัฐ ในประเทศไทยมีการดํา เนิน กิจกรรมหลักในลักษณะการบังคับใช้กฎหมายเป็นสําคัญ การบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับ การคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบไปด้วย มาตรการก่อนที่สินค้าจะเข้าสู่ตลาด (Pre-market Control Measure) กับ มาตรการหลังจากที่สินค้าเข้าสู่ตลาดแล้ว (Post-market Control Measure) มาตรการก่อนที่สินค้าจะเข้าสู่ตลาด หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะกําหนดมาตรฐานจริยธรรม (Code of Conduct) ของผู้ ป ระกอบการ และการกํ า หนดมาตรฐาน (Standard) ของกระบวนการผลิ ต และ มาตรฐานของสินค้าที่จะผลิตขึ้น ซึ่งจะบังคับให้ผู้ผลิตจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กําหนด เช่น มาตรฐานของยา/ อาหาร/วัตถุอันตราย มาตรฐานของสินค้าอุตสาหกรรม มาตรฐานของรถยนต์สาธารณะ มาตรฐานมาตรวัด เป็นต้น หลังจากสินค้าเข้าสู่ตลาดแล้ว (Post-market Control Measure) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะยังคง ดําเนินการบังคับใช้กฎหมายในหลายลักษณะ เช่น การตรวจสอบคุณภาพของสินค้า (Product Quality Control) การตรวจฉลากกํากับให้ข้อมูลเกี่ย วกับสินค้าอย่างถูกต้องและพอเพีย ง (Product Information, Labeling) การ ควบคุ ม การโฆษณา การคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคในการเรี ย กค่ า เสี ย หายอั น เกิ ด จากความชํ า รุ ด บกพร่ อ งของสิ น ค้ า (Compensation) การเรียกคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัยคืนจากผู้บริโภค (Product Recall Measure) และการบริการที่ ไม่ได้มาตรฐานหรือเป็นไปตามสัญญาหรือข้อตกลงในการซื้อสินค้าหรือบริการ การประกาศยกเลิกวัตถุอันตรายทาง การเกษตร การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ คุณภาพยาสัตว์ และผลผลิตจากสัตว์ โดยกรมปศุสัตว์ การตรวจสอบ รับรองสินค้าเกษตรและอาหาร โดยสํานักงานมาตรฐานสิน ค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ การออกตรวจสอบป้ายแสดงราคา เครื่องชั่งตวงวัด การกักตุน และหีบห่อสินค้า และแก้ไขเรื่องร้องเรียนใน กรณีที่ผู้บริโภคไม่ได้รับความเป็นธรรมของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ การกํากับดูแลผลิตภัณฑ์มาตรฐาน อุตสาหกรรมจํานวน 99 รายการ เช่น เหล็กเส้น ของเล่นเด็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของ ประชาชน และพวกที่มีสารตะกั่วแคดเมียม ของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ กองบังคับการปราบปรามการกระทําผิด เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น ในปัจ จุบัน นี้ หน่ว ยงานของภาครัฐ หลายหน่ว ยงานจะมีศูนย์รับ เรื่องร้องทุกข์ของผู้บ ริ โภคเพื่อ พิ จ ารณาให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ผู้ บ ริ โ ภคจากการซื้ อ สิ น ค้ า และการบริ ก าร เช่ น ศู น ย์ รั บ เรื่ อ งร้ อ งทุ ก ข์ สํ า นั ก งาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ สํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยา ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ศูนย์ดํารงธรรม กระทรวงมหาดไทย ศูนย์รับเรื่องทุกข์ กรมขนส่งทางบก ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นต้น 2.4.2 การให้การศึกษาแก่ผู้บริโภค (Education) กิจกรรมที่ดําเนินการเป็นเรื่องการให้ข้อมูล ข่า วสาร ความรู้ที่ เ กี่ย วข้องกับ สิน ค้า และบริการต่า ง ๆ หน่ว ยงานต่า ง ๆ ส่ว นใหญ่มีกิจ กรรมการให้ความรู้กั บ 25
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ประชาชนในเรื่องสินค้าและบริการที่หน่วยงานของตนเองรับผิดชอบ โดยหน่ว ยงานที่ทํางานด้านการให้ความรู้ ผู้บริโภคเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคและสินค้าที่เป็นอันตราย ได้แก่ ♦
♦
♦
♦
♦ ♦
สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งทํางานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการจัดทํา หลักสูตรคุ้มครองผู้บริโภคบูรณาการในการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ให้กับนักเรียนในทุก ระดับชั้นรวมทั้งสําหรับนักเรียนในหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข ดําเนินกิจกรรม อย.น้อย ใน สถานศึกษา และจัดทําหลักสูตร อย.น้อย รายวิชาที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้สอนได้นําไปบูรณาการใน รายวิชาของตนเอง สํานักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จัดการฝึกอบรมให้ความรู้กับนักเรียน และผู้ประกอบการ สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดฝึกอบรมให้ความรู้กับ ผู้ประกอบการ นักวิเคราะห์ และนักวิจัยในห้องปฏิบัติการ และภาคอุตสาหกรรม กรมปศุสัตว์ จัดฝึกอบรมหลักสูตร “ปศุสัตว์น้อยเตือนภัย ใส่ใจผู้บริโภค” มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นําเสนอข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค การเตือนภัยให้กับ ผู้บริโภคผ่านนิตยสารฉลาดซื้อ รวมทั้งเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรึกษาปัญหาผ่าน ทางเว็บไซต์ www.consumerthai.org เป็นต้น
นอกจากนี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบยังดําเนินการเกี่ยวกับเรื่องการเตือนภัยเรื่องสินค้าและบริการที่ ไม่ปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค เช่น กรมปศุสัตว์ประกาศเตือนภัยโรคระบาดสัตว์ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภคประกาศเตือนภัยสินค้าและบริการ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงพาณิชย์ กระทรวง อุตสาหกรรม เป็นต้น 2.4.3 กิจกรรมการเสริมแรง (Encouragement) เป็นกิจกรรมที่หน่วยงานภาครัฐดําเนินการเพื่อ ส่งเสริมให้ผู้ป ระกอบการ และผู้ผ ลิต มีกํา ลัง ใจในการเข้า มามีส่วนร่ว มในการดํา เนิน งานคุ้มครองผู้บ ริโ ภค เช่น สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา มอบรางวัล “อย.ควอลิตี้ อวอร์ด” ให้แก่สถานประกอบการที่โดดเด่นด้าน กระบวนการผลิ ต และจริ ย ธรรม สํ า นั ก งานคณะกรรมการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค (สคบ.) จั ด โครงการคั ด เลื อ ก ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ดี “บ้านติดดาว สคบ.” เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมผู้ประกอบการให้ ดําเนินการอย่างมีมาตรฐาน และรับผิดชอบต่อผู้บริโภค เช่น การรับประกันคุณภาพสินค้า ตลาดสดดีเด่น ร้านก๊าซ หุงต้น ชั้ น ดี การลดภาระค่ า ครองชีพของกรมการค้า ภายใน กระทรวงพาณิช ย์ สํา นั กสุขาภิบ าลอาหารและน้ํ า กรมอนามัย ออกเครื่องหมายรับรองความปลอดภัยด้านอาหารและน้ํา เช่น เครื่องหมายตลาดสดน่าซื้อ เครื่องหมาย Clean Food Good Taste และเครื่องหมายการพัฒนาคุณภาพน้ําบริโภคให้กับผู้ประกอบการ เป็นต้น 26
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2.4.4 กิ จ กรรมเสริ ม ศั ก ยภาพ (Empowerment) เป็ น กิ จ กรรมที่ ห น่ ว ยงานดํ า เนิ น การเพื่ อ เสริม สร้า งความเข้มแข็ง ในการดํ า เนิ น งานคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคให้กับ ภาคีที่ เ กี่ย วข้อง กิจ กรรมที่ ห น่ว ยงานต่ า ง ๆ ดําเนินการ เช่นกิจกรรมการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานขององค์กรต่าง ๆ กิจ กรรมการจัดอบรม ความรู้เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคให้กับศูนย์ประสานงานคุ้มครองผู้บริโภคประจําสํานักงานองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นของสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และกิจกรรมการอบรมให้กับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง การจัด เวที “สภาผู้บริโภค” ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่มีผลกระทบกับผู้บริโภคในวงกว้าง เป็นต้น
3. การดําเนินงานขององค์กร และหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ 3.1 แนวทางการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคของสหประชาชาติ ฉบั บ แก้ ไ ขเพิ่ ม เติ ม พ.ศ.2542 หรื อ UN Guidelines for Consumer Protection : as expanded in 1999 ด้วยความตระหนักถึงความสนใจ และความ ต้องการของผู้บริโภคในทุกประเทศ โดยเฉพาะประเทศกําลังพัฒนาซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าผู้บริโภคมักจะเผชิญกับความ ไม่สมดุลในด้านเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา และอํานาจในการต่อรอง ตลอดจนต้องตระหนักว่าผู้บริโภคควรจะมีสิทธิ ที่จะเข้าถึงผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีอันตราย เช่นเดียวกับสิทธิในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรม เท่าเทียมและ ยั่งยืน และการอนุรักษ์ปกป้องสิ่งแวดล้อม แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคของสหประชาชาติ มีวัตถุประสงค์หลักที่ สําคัญ ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อช่วยให้ประเทศต่าง ๆ ประสบความสําเร็จ หรือรักษาระดับการคุ้มครองอย่างพอเพียงให้แก่ ประชากรของตนในฐานะผู้บริโภค 2. เพื่อสนับสนุนแบบแผนการผลิต และการกระจายที่สามารถตอบสนองต่อความจําเป็นและความ ต้องการของผู้บริโภค 3. เพื่อกระตุ้นให้มีการปฏิบัติตามจริยธรรมในระดับสูงในกระบวนการผลิต และการกระจายของ สินค้าและการให้บริการแก่ผู้บริโภค 4. เพื่อช่วยให้ประเทศต่าง ๆ สามารถต่อสู้กับการดําเนินธุรกิจที่ไม่เหมาะสมของบริษัทธุรกิจทั้งใน ระดับชาติ และระดับนานาชาติที่ส่งผลเสียต่อผู้บริโภค 5. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาของกลุ่มผู้บริโภคที่เป็นอิสระ 6. เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศในการคุ้มครองผู้บริโภค 7. เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาสภาวะตลาดที่ทําให้ผู้บริโภคมีทางเลือกหลากหลายในราคาที่ต่ํา 8. เพื่อส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน 3.2 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน (ASEAN Committee on Consumer Protection: ACCP) (สารี อ่องสมหวัง, 2555) คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน ประกอบด้วยสมาชิกจากสํานักงานคณะกรรมการ 27
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
คุ้มครองผู้บริโภคหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน ปัจจุบันประเทศฟิลิปปินส์ดํารง ตําแหน่งประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน แผนงานของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน ประจําปี ค.ศ.2012–2015 ประกอบด้วย 1. ระบบการเตือน และการเรียกคืนสินค้า และยกเลิกสินค้าอันตราย 2. กลไกการแก้ปัญหา และเยียวยาความเสียหายผู้บริโภค 3. งานฝึกอบรมและการศึกษา 1) การสร้ า งความเข้ มแข็ง ของกลไก เช่น การพัฒ นากลไกต้ น แบบการเยีย วยาความ เสียหาย 2) การสร้างความตื่นตัว และพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค 3) กิจกรรมอื่น ๆ เช่น การพัฒนาศักยภาพประเทศสมาชิก 4. การแลกเปลี่ย น และร่ ว มมื อในการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคกับ หน่ว ยงานอื่น ๆ เพื่อ การคุ้มครอง ผู้บริโภค 3.3 สภาองค์กรผู้บริโภคอาเซียน (Southeast Asian Consumer Council : SEACC) (สารี อ่องสมหวัง, 2555) สภาองค์กรผู้บริโภคอาเซียน ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกที่เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในปี พ.ศ.2549 โดยมีสมาชิก ร่วมก่อตั้ง คือ องค์กรภาคประชาชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคจากประเทศสมาชิกในอาเซียน จํานวน 7 ประเทศ ได้แก่ สมาคมผู้บริโภค ประเทศบรูไน (Consumer Association of Brunei Darussalam: CAB) สมาคมผู้บริโภค อิ น โดนี เ ซี ย (Yayasan Lembaga Kosuman Indonesia : YLKI) สมาพั น ธ์ อ งค์ ก รผู้ บ ริ โ ภค (Federation of Malaysia Consumer Association : FOMCA) อีบ อน ฟิ ลิป ปิ น ส์ (IBON Foundation Philippines) มูล นิ ธิเ พื่ อ ผู้ บ ริ โ ภค (Foundation for Consumer: FFC, Thailand) สมาคมผู้ บ ริ โ ภคประเทศสิ ง คโปร์ (Consumer Association of Singapore: CASE) สมาคมผู้บริโภคและมาตรฐาน ประเทศเวียดนาม (Vietnam Standards and Consumer Association: VINASTAS) โดยในการต่อตั้งสภาองค์กรผู้บริ โ ภคอาเซีย นนั้นได้รับการสนับ สนุน จาก สหพันธ์ผู้บริโภคสากล Consumer International) หรือ CI สภาองค์กรผู้บริ โภคอาเซีย น มีวัต ถุป ระสงค์ห ลักเพื่อเป็นกระบอกเสียงแสดงถึงสภาพปัญหาและความ ต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวสภาองค์กรผู้บริโภค อาเซียนจึงมีพันธกิจที่สําคัญ ได้แก่ 1. การเป็นตัวแทน และส่งเสริมการเคารพสิทธิของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2. การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภคในภูมิภาค
28
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
3. การส่งเสริมให้เกิดนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และเสนอความเห็นเพื่อการตัดสินใจของ ASEAN ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค 4. การทํางานร่วมกับองค์กรภาคประชาชนทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และระดับโลก เพื่อประโยชน์ ของผู้บริโภค ในปี พ.ศ.2555 สภาผู้บ ริ โ ภคอาเซีย น (SEACC) ได้ยื่น ข้อเรีย กร้องต่อ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภค อาเซียน (ACCP) มีรายละเอียด ดังนี้ 1. ให้ มี ก ารพั ฒ นาและสนั บ สนุ น ให้ มี ก ฎหมายคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคที่ ค รอบคลุ ม สิ ท ธิ ผู้ บ ริ โ ภค 8 ประการ และมีผลบังคับใช้ที่เข้มแข็งภายใน 3 ปี 2. ขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคอาเซีย น สนับสนุน ให้ส ภาผู้บ ริโ ภคอาเซียนได้รับ การ ยอมรับจากอาเซียน และเป็นองค์กรที่จะต้องขอความเห็นเมื่อมีการดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค 3. สนับสนุนและประสานงานกับหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคอื่น ๆ ในอาเซียน 1) พัฒนาความร่วมมือและการทํางานระหว่างคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียน และสภาผู้บริโภคอาเซียน 2) สนับสนุนให้มีการจัดเวทีปรึกษาหารือ และรับฟังความคิดเห็นระหว่างหน่วยงานรัฐ และองค์กรผู้บริโภคก่อนการประชุมคณะกรรมการภูมิภาค 3) พัฒนากลไกการติดตาม และการทํางานร่วมมือกันเพื่อปรับปรุงการคุ้มครองผู้บริโภค ของประเทศสมาชิกในอาเซียน 4) สนับสนุนเวทีคู่ขนานของสภาผู้บริโภคอาเซียน ในการประชุมคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภคอาเซียน 5) สนับสนุนความรู้ เทคนิค และงบประมาณกับสภาผู้บริโภคอาเซียน 6) สนับสนุน และส่งเสริมความร่วมมือในการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เช่น ด้านอาหารและยา การบริโภคที่ยั่งยืน 4. ความปลอดภัยของสินค้า 1) การรายงานความไม่ปลอดภัยของสิน ค้า และรวมทั้งฐานข้อมูล ร่วมในการรายงาน สินค้าไม่ปลอดภัย 2) การเข้าถึงห้องทดลอง
29
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
3) การพัฒนามาตรฐานที่ยอมรับได้ร่วมกัน 5. กลไกการเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภคในประเทศสมาชิกที่ดี 1) การเข้าถึงการใช้สิทธิร้องเรียน และเยียวยาความเสียหายทั้งในระดับบุคคล และระดับ กลุ่ม 2) การพัฒนากลไกทางเลือกในการเยียวยาผู้เสียหาย 3) สนับสนุนเครือข่ายในการรับเรื่องร้องเรียน 6. พัฒนาระบบการเรียกคืนสินค้า และการยกเลิกการใช้ การผลิตสินค้าอันตราย 1) กลไกการติดตาม และรายงานผลิตภัณฑ์ การเรียกคืนสินค้า และสินค้าอันตราย 2) การรายงานผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตราย และยกเลิกการใช้ผลิตภัณฑ์ขององค์กรผู้บริโภค ข้อมูลนับเป็นส่วนหนึ่งของระบบรายงานผลิตภัณฑ์ 3) กลไกที่ดีในการเตือนสาธารณะถึงสินค้าที่เป็นอันตราย 4) กลไกที่ดี และรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ถูกยกเลิก และเรียกคืนจากตลาด ของผู้บริโภค 5) การปรับแบบลงโทษต่อผู้ผลิตสินค้าอันตราย 7. การประสานงานให้เกิดการบริโภคที่ยั่งยืน 1) คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียนควรประสานงาน และร่วมมือกับหน่วยงานอืน่ ใน การบริโภคยัง่ ยืน 8. การเจรจาข้อตกลงเขตการค้า เสรีกับ สหภาพยุ โ รป และประเทศต่า ง ๆ ต้องมีกระบวนการ ปรึกษาหารือที่โปร่งใส และมีส่วนร่วม 9. การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องมีหลักประกันในการเข้าถึงสินค้าที่จําเป็นต่อผู้บริโภค 10. การบริการธนาคาร และการเงินที่เกี่ยวข้อง 1) ส่งเสริมการแข่งขัน และทางเลือกของผู้บริโภค 2) สั ญ ญาบริ ก ารทางการเงิ น ที่ ชั ด เจน แนวปฏิ บั ติ ที่ โ ปร่ ง ใส เป็น ธรรม และสามารถ เปรียบเทียบได้ง่ายกับผู้บริโภค 3) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภค 30
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
4) มีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 5) การเข้าถึงจากทุกกลุ่มในการบริการการเงินพื้นฐาน นอกจากนี้ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2555 สภาผู้บริโภคอาเซียน ได้ประกาศ “ปฏิญญา SEACC กรุงเทพฯ 2555” เรียกร้องให้เกิดความร่วมมือในการทํางานคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐบาลในอาเซียน เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้กับ องค์กรผู้บ ริ โภค นอกจากนี้ ตัวแทนองค์กรผู้บ ริ โภคต่า งยืน ยัน ที่จ ะร่ว มมือกัน คุ้มครองผลประโยชน์ ของ ผู้บริโภคในทุกภาคส่วน และเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในกระบวนการตัดสิน ใจในเรื่องมาตรการและนโยบายที่มี ผลกระทบต่อผู้บริโภคในอาเซียนให้มีมาตรฐานเดียวกัน ปฏิญญาสภาผู้บริโภคอาเซียน กรุงเทพฯ 2555 มีสาระที่สําคัญ ได้แก่ (มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, 2555) 1. ขณะนี้ มีความจําเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องร่วมกันทํางานกับรัฐบาลในอาเซียน เพื่อสร้าง ความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้บริโภคในภูมิภาคนี้ และก่อตั้งองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระในทุกประเทศของ อาเซีย น ซึ่งขณะนี้บางประเทศยังไม่มี และจะเกิด ขึ้น ได้ด้วยการสนับ สนุน จากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บ ริโ ภค อาเซียน (ACCP) 2. ให้ความสํา คัญกับความร่ว มมือและการประสานงานระหว่างรั ฐบาลของประเทศใน อาเซียน ทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาค 3. พวกเราสนับสนุนให้ปรับปรุงการประสานงานและทํางานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน องค์กรของรัฐในแต่ละประเทศอาเซียน 4. เรายืนยันที่จะร่วมมือกันคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภคในทุกภาคส่วน และเราจะไป เป็นตัวแทนของผู้บริโภคในขบวนการตัดสินใจเรื่องมาตรการและนโยบายที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคในอาเซียน 5. เราจะร่ ว มมื อ กั น ในการพั ฒ นา โดยมี จุ ด มุ่ ง หมายที่ จ ะสร้ า งความเข้ ม แข็ ง และมี ประสิทธิภาพของกลไกการรับเรื่องร้องเรียนและชดเชยเยียวยา เราขอเสนอการปฏิบัติการ ดังต่อไปนี้ 1. ให้ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนในการจัดการและกําจัดสินค้าที่เป็นอันตรายและไม่ปลอดภัย ออกไปจากประเทศ เช่น การสั่งห้ามใช้วัสดุแอสเบสทอสหรือแร่ใยหิน (Asbestos) และ บิสฟีนอล เอ (Bisphenol A หรือ BPA) ในผลิตภัณฑ์ขวดนมเด็ก ซึ่งห้ามใช้ในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียแล้ว 2. ให้มีการปรับปรุงมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคจากผลิตภัณฑ์อันตราย และกฎเกณฑ์ที่ ใกล้เคียงกันในการคุ้มครองผู้บริโภคของภูมิภาคอาเซียน และเราขอเสนอให้มีการปรับปรุงมาตรฐานและกฎระเบียบ ที่ใกล้เ คีย งกัน เพื่อคุ้มครองผู้บ ริ โ ภค โดยหากประเทศใดประเทศหนึ่ง ในอาเซีย น ได้สั่งยกเลิกการใช้สิน ค้า และ
31
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ผลิตภัณฑ์อันตรายชนิดใด ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศต้องยกเลิกการใช้สินค้าและผลิตภัณฑ์อันตรายนั้น เช่นเดียวกันโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันมิให้ประเทศสมาชิก กลายเป็นที่รองรับสินค้าและผลิตภัณฑ์อันตรายเหล่านั้น 3. การทําข้อตกลงการค้าเสรีระดับทวิภาคี จะต้องไม่ให้เกิดทริปส์พลัส และไม่นําสินค้าที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น เหล้าและบุหรี่ มาเป็นสินค้าในการเจรจา โดยให้คํานึงถึงการคุกคามและความไม่สมดุล ของข้อตกลงเขตการค้าเสรี
32
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และผู้มสี ่วนได้ส่วนเสียในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค โครงการจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ได้รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินงานคุ้มครอง ผู้บริโภคในประเทศไทย และแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย จากผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องกับการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งประชาชนทั่วไป โดยมีรายละเอียดที่สําคัญ ดังนี้ การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งจากภาครัฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคสื่อสารมวลชน จํานวนทั้งสิ้น 8 ท่าน มีรายละเอียด ดังนี้ 1. นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สัมภาษณ์วันที่ 13 มีนาคม 2556 มีข้อเสนอแนะ มีรายละเอียด ดังนี้ รูปแบบการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย เห็นว่า การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย ควรเป็นแบบผสมผสานรูปแบบทั้งด้าน รูปแบบการให้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (Buyer Beware: Information Model) และรูปแบบสิทธิ ผู้บริโภค คือ สิทธิพลเมือง (Seller Beware: Protection Model) เนื่องจากเห็นว่าการดําเนินงานทั้งสองรูปแบบมี ความสําคัญและจําเป็นต่อการพัฒนาการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ อย่างไรก็ตาม เลขาธิการ สคบ. มี ความชื่นชมรูป แบบที่ดําเนินการในประเทศญี่ปุ่นเป็นพิเศษ เนื่องจากเห็นว่าการดํา เนินงานคุ้มครองผู้บริโภคใน ประเทศญี่ปุ่นเป็นการดําเนินงานในทุกส่วนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการและกลุ่มผู้บริโภคซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญ ในกิ จ กรรมคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ตั ว อย่ า งที่ น่ า สนใจของการดํ า เนิ น งานคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคในประเทศญี่ ปุ่ น คื อ ผู้ประกอบการมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคม ทํางานร่วมกันเพื่อดูแลผู้บริโภค เมื่อเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจะมี คณะกรรมการดํา เนินการไกล่เ กลี่ย ทั้ง ในระดับชั้น เจ้าหน้า ที่และในระดับ คณะอนุกรรมการเพื่อแก้ ไขปัญ หาข้อ ร้องเรียน ในขณะที่ภาคประชาชนมีการรวมกลุ่มในระดับท้องถิ่นเพื่อรับรู้ปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกับ ผู้ประกอบการ ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐทําหน้าที่ในระดับกว้าง ได้แก่ 1) เก็บข้อมูลเรื่องร้องเรียน 2) ทดสอบ สินค้า Product Safety และ 3) การให้ความรู้ประชาชน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศไทยในปัจจุบันอยู่ในระยะของการพัฒนาประเทศ ภาคธุรกิจและ บริการมีความเจริญเติบโตและแข่งขันเพื่อให้เกิดสินค้าและบริการที่หลากหลายแก่ผู้บริโภค ในขณะที่ผู้บริโภคมี ทางเลือกในการบริโภคหลากหลายช่องทาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศ มีจํานวนมากกลุ่มองค์กรประชาชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคมีการดําเนินงานที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น แต่การดําเนินงาน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศยังมีลักษณะต่างคนต่างทํา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะให้ความสําคัญกับงานของ ตนเองเป็นหลักและต่างทํางานในความรับผิดชอบของตนเอง และหลายครั้งยังทํางานที่ซ้ําซ้อนและสร้างความสับสน
33
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ให้กับผู้บริโภค จึงเห็นว่ากิจกรรมการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคต้องให้ความสําคัญกับวิธีการบูรณาการการทํางาน ของหน่วยงาน ตัวอย่างของงานบูรณาการที่ทาง สคบ. ได้ดําเนินการแล้ว ได้แก่ การบูรณาการการทํางานระหว่าง สคบ. กับ มูล นิธิเ พื่อผู้บ ริโ ภค (มพบ.) ในการจัด ทํา แผนงานร่ว มกัน ได้แก่ 1) งานรับ เรื่องราวร้องทุกข์ 2) งาน ประชาสัมพันธ์นําความรู้สู่ประชาชน 3) งานร่วมกันตรวจสอบผู้ประกอบการ เป็นต้น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภค เลขาธิการ สคบ. เห็นว่า วิสัยทัศน์ของแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภค ควรเน้นเรื่องการบูรณาการ ทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดการทํางานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคให้ยั่งยืน มั่นคง และสมดุล โดยเห็นว่าการคุ้มครองผู้บริโภค ให้ยั่งยืน คือ การสนับสนุนให้ภาคประชาชนมีการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ความสมดุล หมายถึง การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยต้องดําเนินการเพื่อประโยชน์ที่เป็นธรรมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง คือ ผู้บริโภค และ ผู้ประกอบการ นอกจากนี้ ยังเห็นว่าแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติต้องดําเนินการเพื่อเป็น หลักการให้เกิดการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และต้องเป็นแผนที่ทําให้ เกิดการทํางานอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ ยังเห็นว่าการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย จะต้องมีลักษณะที่สําคัญ ได้แก่ 1. การบังคับใช้กฎหมาย เห็นว่ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ ควรให้ น้ําหนักกับเจตนาของผู้ประกอบการ หากผู้ประกอบการกระทําโดยเจตนาต้องการเอาเปรียบหรือคดโกงผู้บริโภค การบังคับใช้กฎหมายต้องทันทีและเฉียบขาด แต่หากเกิดจากความประมาท เลินเล่อ ขาดความรอบคอบ จะให้ โอกาสในการทบทวน และแก้ไขให้ถูกต้อง 2. การพัฒนากฎหมาย เห็นว่าเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ของการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ควรมีการ พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีใช้มานานและไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน เช่น กฎหมายใน ความรับผิดชอบของ สคบ. จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่สําคัญอยู่ 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541) พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 และ พระราชบัญญัติ ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ซึ่งเห็นว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2541) ใช้มานาน ที่ผ่านมา มีการปรับปรุงกฎหมายเป็นเพียงการปรับปรุงเพิ่มเติม ช่องว่างของกฎหมายยังไม่เคยมีการพิจารณากฎหมายทั้งฉบับเพื่อทบทวนการใช้ประโยชน์ของกฎหมาย จึงควร กําหนดให้มีการพัฒนากฎหมายดังกล่าว เป็นต้น ในขณะที่พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 มีการบังคับใช้ครบ 10 ปี แล้วจึง ควรมีการพัฒนากฎหมายให้ทันกับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลง 3. การเผยแพร่ความรู้ เห็นว่าการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคควรให้ความสําคัญกับการให้ความรู้ กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ทุกภาคส่วนยังไม่มีความรู้ นอกจากนี้ หน่วยงาน ต่าง ๆ ก็ต้องให้ความรู้แก่ผู้บริโภคในงานของตนเอง 34
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
4. การสร้างเครือข่าย ต้องดําเนินงานสร้างเครือข่ายการทํางานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งสามภาค ส่วน เช่น การร่วมกันแก้ไขปัญหาการร้องทุกข์ ให้ความรู้ การตรวจสอบ
2. นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ สัมภาษณ์วันที่ 4 มีนาคม 2556 มีข้อเสนอแนะที่สําคัญซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. เห็นว่าวิสัยทัศน์ มีความครอบคลุมดีแล้ว 2. (ร่าง) แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภค มีการวิเคราะห์ถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเสรีอาเซียน อย่างไรก็ตาม เห็นว่า (ร่าง) แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภค ควรวิเคราะห์ให้ไกลกว่าขอบเขตของอาเซียน ซึ่งได้แก่ ประเด็นการซื้อขายข้ามพรมแดน ประเด็นโลกาภิวัฒน์ เป็นต้น 3. สถานการณ์ปัญ หาการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคในปั จ จุบัน มีมิติที่เ กี่ย วกับ เทคโนโลยี โ ดยเฉพาะวิ ถี ดิจิตอลเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น (ร่าง) แผนแม่บทฯ ควรตระหนักถึงความสําคัญของสถานการณ์และหาแนวทางในการที่ จะแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนนี้ เช่น ปัญหาเรื่องการขโมย Identity ทางธนาคารออนไลน์ การหลอกลวงทางโลกออนไลน์ เป็นต้น 4. ควรเพิ่มเติมการวิเคราะห์สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค (SWOT Analysis) ให้ละเอียดมาก ยิ่งขึ้น เช่น ปัญหาของกฎหมายที่บังคับใช้ในประเทศไทยด้านกิจการโทรคมนาคม จะเห็นว่าการละเมิดสิทธิผู้บริโภค ดังที่ ป รากฏในปัจ จุบัน เกิ ด ขึ้น เนื่อ งจากกฎหมายที่ เ กี่ย วข้อ งกับ เรื่อ งโทรคมนาคมยั ง ไม่ มีบ ทลงโทษทางอาญา เช่นเดียวกับกฎหมายของสํานักงานอาหารและยาที่มีช่องว่างทางกฎหมาย เช่น ในกฎหมายมีการให้อํานาจ อย. ใน การควบคุมสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาระบบการแจ้งเตือนข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าที่ไม่ปลอดภัยยังมี อุปสรรคในระดับปฏิบัติการ ทําให้ผู้บริโภคในประเทศไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่มีปัญหา เป็นต้น 5. ประเด็น เกี่ ย วกับ รู ป แบบของการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคที่เ หมาะสมสํา หรับ ประเทศไทย เห็น ว่ า รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสมในประเทศไทย ได้แก่ รูปแบบสิทธิผู้บริโภค คือ สิทธิพลเมือง (Protection Model) โดยเห็นว่ารูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคแบบเจรจาต่อรอง (Negotiation Model) ยังไม่สามารถดําเนินการ ได้ในประเทศไทยเนื่องจากผู้บริโภคในประเทศยังมีอํานาจต่อรองไม่เท่าเทียมกับอํานาจของผู้ประกอบการ ในขณะที่ รูปแบบการให้ข้อมูลข่าวสาร (Information Model) จะเป็นการเสริมพลังให้ผู้บริโภคมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น 6. เห็นว่าการคุ้มครองผู้บริโภคต้องดําเนินการเพื่อทําให้ผู้บริโภคมีความเข้มแข็ง และรัฐจะทําหน้าที่ ป้องกันและคุ้มครองผู้บริโภค ทําหน้าที่เป็นคนกลางติดตามเรื่องการเปลี่ยนแปลง และดําเนินการแทนผู้บริโภค 7. การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภค รัฐต้องทําหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคมี ความเข็มแข็ง อย่างไรก็ตาม รัฐยังต้องทําหน้าที่ให้การคุ้มครองผู้บริโภค ในรูปแบบกระบวนการมีส่วนร่วม โดยให้ ผู้บริโภคและผู้ผลิตในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งทําหน้าที่เสนอและรายงานสถานการณ์ปัญหา และให้รัฐทําหน้าที่ 35
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ดําเนินการแก้ไขให้เหมาะสม การทํางานในลักษณะนี้ รัฐต้องสร้างความสัมพันธ์ทุกภาคส่วนและให้ความสําคัญกับ การมีส่วนร่วม ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรรัฐไม่มีความจําเป็นต้องมีขนาดใหญ่อีกต่อไป 8. ระบบการคุ้มครองผู้บริโภค ต้องมีครบถ้วนและมีกลไกการทํางานที่ชัดเจน ได้แก่ การตรวจสอบ สินค้าให้มีความปลอดภัย และมีคุณภาพ การเรียกคืนสินค้า และการชดเชยความเสียหาย 9. (ร่าง) แผนแม่บทฯ ควรระบุถึงเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนแผนฯ และหน่วยงานที่ดําเนินงาน ในแต่ละยุทธศาสตร์ 10. ยุทธศาสตร์ที่ 1 (ด้านกฎหมาย) เกิดขึ้นจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น เนื่องจากเครื่องมือ กลไก และการบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ การขับเคลื่อนแผนฯ ควรมีแนวทางเพื่อให้เกิด การขับเคลื่อนแผนได้อย่างแท้จริง 11. ควรแยกยุทธศาสตร์เรื่องการพัฒนาเครือข่าย และการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเนื้อหาสาระของงานแต่ละประเด็น 12. การพัฒนาความรู้ และการสื่อสารสาธารณะ มีความสําคัญเท่ากัน ดังนั้น ควรแยกเป็นคนละ ยุทธศาสตร์ 13. ยุทธศาสตร์ 5 (การบริโภคเพื่อความยั่งยืน) มีความน่าสนใจเพราะเป็นประเด็นที่ชี้ทิศทางการ ดําเนินงานในประเทศ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากยุทธศาสตร์ 5 ยังเป็นยุทธศาสตร์ที่ใหญ่ เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์อื่น ๆ เช่น การให้ความรู้ การสร้างเครือข่าย 14. ยุทธศาสตร์ที่ 5 ควรเพิ่มบทบาทของผู้ประกอบการในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อ ความยั่งยืน เช่น ฉลากเขียว ผลิตสินค้าสีเขียว
3. นางรัศมี วิศทเวทย์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สัมภาษณ์วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 ข้อเสนอแนะที่ได้รับมีรายละเอียด ดังนี้ 1. เห็นว่าในกระบวนการทําแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภค มีกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่ เกี่ยวข้อง 2. รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภค เห็นว่ารูปแบบที่น่าสนใจ คือ รูปแบบ Protection Model ซึ่งเป็น รูปแบบที่ให้ความสําคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค ในขณะที่สามารถนํารูปแบบอื่น ๆ ไปบรรจุในแผนย่อยได้เนื่องจาก มีความสําคัญ 3. เห็นว่ากระบวนการจัดทําแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภค จะเกิดประโยชน์หากมีการใช้ข้อมูลจาก กลุ่มวิชาการและกลุ่มผู้ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ในขณะที่กลุ่มประชาชนทั่วไปยังให้ข้อมูลได้น้อย เนื่องจาก 36
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศยังไม่มีความตระหนักรู้ในเรื่องสิทธิการคุ้มครองผู้บริโภคของตนเอง เช่น กรณีปัญหา เรื่อ งแร่ ใ ยหิน ผู้ที่ ได้ รับ ผลกระทบมากที่สุ ด คือ กลุ่ มผู้ ใช้ แรงงาน แต่ข้ อเท็จ จริง คื อ กลุ่ มผู้ ใ ช้แ รงงานไม่ เ ข้ า ใจ ข้อเท็จจริงของปัญหา และไม่เรียกร้องที่จะใช้สิทธิของตนเองเนื่องจากยังไม่ตระหนักในสิทธิตนเอง 4. เห็นว่ารูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคแบบให้ข้อมูลข่าวสาร (Information Model) ที่รัฐทําหน้าที่ เป็นผู้สนับสนุน และให้ความรู้กับผู้บริโภคและประชาชน อาจจะยังไม่เหมาะสมในประเทศไทย 5. หลักการ วิสัยทัศน์ของแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภค เห็นว่าไม่มีปัญหา ในขณะที่ประเด็นเรื่อง พันธกิจควรเติมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและประโยชน์ของผู้บริโภค 6. ยุทธศาสตร์ที่สําคัญ คือ ยุทธศาสตร์การพัฒ นาระบบฐานข้อมูล และยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบการเฝ้าระวัง ควรจัดให้แยกเป็นยุทธศาสตร์เฉพาะเนื่องจากเป็นยุทธศาสตร์ที่สําคัญเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ ใน ยุทธศาสตร์การพัฒนาฐานข้อมูล ควรเพิ่มพันธกิจการประเมินผลข้อมูล พร้อมทั้งมีพันธกิจที่จัดให้ข้อมูลมีความ ทันสมัยตลอดเวลา 7. กลไกการเฝ้าระวัง ต้องมีบุคลากรจากภาครัฐ และภาคประชาชนที่มีการดําเนินงานที่เข้มแข็ง ต้องพัฒนาระบบการเฝ้าระวังทั้งภาครัฐและประชาชน ซึ่งอาจจะดําเนินงานด้วยระบบฐานข้อมูล นอกจากนี้ ยังต้อง เพิ่มพันธกิจที่เป็นการเสริมศักยภาพภาครัฐและบุคลากรภาครัฐ ซึ่งมีการดําเนินกิจกรรมจัดทําระบบฐานข้อมูลเพื่อ การเฝ้าระวัง ในประเด็นความรู้ กฎหมาย งบประมาณ และเพิ่มพันธกิจทางกฎหมายเพื่อเชื่อมโยงการเฝ้าระวังให้ทัน กับเหตุการณ์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 8. ยุทธศาสตร์ที่ 3 เดิม (หรือยุทธศาสตร์ที่ 4 ใหม่) ต้องพัฒนาความรู้ ให้แก่ภาครัฐ ผู้บริโภค และ ผู้ประกอบการด้วย นอกจากนี้ การสื่อสารสาธารณะจะเป็นเครื่องมือในการกระจายความรู้ให้กว้างขวางขึ้น 9. ยุทธศาสตร์ที่ 5 (การบริโภคเพื่อความยั่งยืน) ต้องระบุความหมายของศัพท์ต่าง ๆ ให้ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่อง Social Enterprise (SE), Corporate Social Responsibility (CSR) อย่างไรก็ตาม เห็นว่าในระยะ 5 ปีของการดําเนินงานแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติฉบับแรก พันธกิจ Social Enterprise (SE) จะทําได้ยาก จึงเสนอว่าให้มีเฉพาะพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับ CSR ก่อน โดยการเสนอให้ภาคการผลิตต้องดําเนินกิจกรรมของตนเอง อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 10. ควรกําหนดผู้รับผิดชอบหลักในแต่ละยุทธศาสตร์ เช่น กระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการ อาหารและยา (อย). กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น
37
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
4. รศ.ดร.จิ ร าพร ลิ้ ม ปานานนท์ ประธานมู ล นิ ธิ เ พื่ อ ผู้ บ ริ โ ภค สั ม ภาษณ์ วั น ที่ 20 กุ ม ภาพั น ธ์ 2556 ข้อเสนอแนะที่ได้รับมีรายละเอียด ดังนี้ 1. เห็น ว่าในฐานะที่แผนฉบับ นี้เป็นแผนแม่บ ทแห่งชาติ ยังขาดภารกิจของภาครั ฐ (Sector) ใน (ร่าง) แผนระบุถึงการพัฒนาศักยภาพของผู้บริโภค การสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วน แต่ยังขาดยุทธศาสตร์ที่ เน้นเกี่ยวกับภาครัฐโดยตรง ทั้งในสถานการณ์ปัญหาจริงของประเทศ ภาครัฐของไทยยังมีข้อจํากัดในการทํางาน หลายประการ ดังนั้น แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ จะต้องระบุถึงบทบาทของภาครัฐว่าจะมีบทบาทอย่างไร ในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเป็นกรอบในการทํางานตามแผนฯ 2. ยุทธศาสตร์ พันธกิจ ของแผนแม่บทฯ ต้องครอบคลุมทุกส่วน ทุกเรื่องของการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ มาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคมี 2 อย่าง คือ มาตรการทางกฎหมาย และมาตรการทางสังคม การคุ้มครอง ผู้บริโภคด้วยมาตรการด้านกฎหมาย จะเห็นว่าประเทศไทยมีกฎหมาย กฎระเบียบดีค่อนข้างครบถ้วน แต่มีปัญหา เรื่องการบังคับใช้ไม่มีประสิทธิภาพ ในขณะที่มาตรการทางสังคมดําเนินการโดยหน่วยงานภาคเอกชน เช่น มูลนิธิ หรือกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคม (Social movement) รูปแบบต่าง ๆ 3. ยุทธศาสตร์ 5 (การบริโภคเพื่อความยั่งยืน) มีลักษณะเป็นเป้าหมายของแผนฯ ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ ซึ่งในที่นี้เห็นว่าแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคมีเป้าหมายสําคัญ คือ เพื่อการบริโภคที่ยั่งยืน และเป็นธรรม 4. ควรเพิ่มประเด็นเรื่องการเรียกคืนสินค้า (Recall) ซึ่งยังไม่มีการกล่าวถึงในแผนแม่บทคุ้มครอง ผู้บริโภคแห่งชาติฉบับนี้ 5. ไม่ควรระบุคําว่า “มาตรฐานระดับสากล” ไว้ในแผนแม่บทฯ แต่ควรระบุเรื่องความปลอดภัย มี ความยั่งยืน และเป็นธรรม 6. บทนํา หลักการและเหตุผล ต้องบอกเหตุผลของการจัดดําเนินแผนแม่บทให้มีความชัดเจนมาก ยิ่งขึ้น 7. ควรอธิ บ ายถึ ง ที่มี ข องการดํ า เนิ น งานคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคในประเทศไทยให้ มี ค วามครบถ้ ว น โดยเฉพาะกรณีกลุ่มศึกษาปัญหายา และการดําเนินงานขององค์กรภาคประชาชนที่ทํางานคุ้มครองผู้บริโภคในยุค แรก ๆ ของประเทศ เพื่อให้เห็นพัฒนาการการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศที่มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น 8. ในประเด็นการวิเคราะห์สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค เห็นว่าการเข้าเป็นสมาชิกประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community หรือ AEC) ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558 นั้น เป็นโอกาส ด้านการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค แต่อาจจะเป็นภาวะคุกคามได้ เนื่องจากจะทําให้เกิดภาวการณ์เคลื่อนไหวอย่าง เสรี (Free flow) ของสินค้า ซึ่งจะทํา ให้มีสินค้าประเภทต่าง ๆ หลั่ง ไหลเข้า ประเทศเป็นจํานวนมาก ซึ่งจะเป็น อุป สรรคต่ อการทํา งานคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ดั ง นั้น ต้ องกํ า หนดแนวทางการปฏิ บั ติเ พื่ อ เตรี ย มพร้ อ มสํ า หรับ การ ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การกําหนดมาตรฐาน (Standard) ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม แม้จะเริ่มมีการเจรจา 38
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
เรื่องมาตรฐานร่วมกันแต่ปัญหาสําคัญ คือ จะทําอย่างไรให้การใช้ (Implement) มาตรฐานร่วมดังกล่าวดําเนินการ ได้จริงในประเทศสมาชิก 9. เขียนกลยุทธ์ในส่วนของยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย และยุทธศาสตร์การส่งเสริม การมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนให้ชัดเจน 10. ยุทธศาสตร์ที่ 1 (ด้านกฎหมาย) ให้ระบุผู้รับผิดชอบ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่ต้องร่วมกัน ทํางาน 11. แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภค ยังไม่มีการอธิบายองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค ว่าจะเป็นประโยชน์ อย่างไร จะทําหน้าที่เป็นกลไกผลักดันงานคุ้มครองผู้บริโภคได้หรือไม่ 12. การสนับสนุนเพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็งในทุกภาคส่วน ต้องการการสนับสนุน อย่างต่อเนื่องทั้งด้านงบประมาณ และกําลังคน ในปัจจุบันหน่วยงานรัฐที่ทํางานด้านคุ้มครองผู้บริโภคถูกคิดว่าเป็น งานฝากเนื่องจากไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรงในระดับภูมิภาคและจากงบประมาณที่มีจํากัด ในขณะที่การเสริมสร้าง ความเข้มแข็งให้กับภาคประชาชนก็ต้องการการสนับสนุนเช่นกัน เช่น กรณีของสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการ โทรคมนาคม ที่สนับสนุนงบประมาณให้ภาคประชาชนดําเนินงานรับเรื่องร้องเรียน ทําให้ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้น ทํางานรับเรื่องร้องเรียนได้ต่อเนื่อง มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคจํานวนมาก การดําเนินงานในลักษณะให้มีการรวมกลุ่มแต่ ไม่มี พันธกิจหลักให้รับผิดชอบ ไม่สนับ สนุนการทํางาน องค์กรจะไม่เข้มแข็งและไม่เกิดประโยชน์ต่อประชาชน โดยรวม 13. แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคยังมีการกล่าวถึงภาคส่วนผู้ประกอบการน้อย
5. นางสุวรรณา จิตประภัสสร์ อดีตประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ สัมภาษณ์วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ข้อเสนอแนะที่ได้รับมีรายละเอียด ดังนี้ 1. การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อ มีประเด็นปัญหาที่สําคัญ คือ การที่สื่อละเมิดสิทธิผู้บริโภคเอง ทั้ง โดยการหลอกลวง ชักจูง ชี้นํา ผู้บริโภคด้วยสินค้าที่ตนเองได้ประโยชน์ จึงเสนอให้แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคแสดง พันธกิจเพื่อแก้ไขปัญหานี้ 2. สื่อ ทางเลื อ ก เช่ น วิ ท ยุชุ มชน เคเบิ้ ล ที วี ที วีด าวเทีย ม เปิด ช่ องให้มี ต ลาดขายตรง (Direct Marketing) ซึ่งทําให้ผู้ประกอบการสามารถใช้สื่อกระจายข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าถึงประชาชนโดยตรง อย่างไรก็ตาม สินค้าขายตรงดังกล่าวเกือบทั้งหมดเป็นสินค้าที่ไม่มีประโยชน์ โฆษณาเกินจริง และหลอกลวง เช่น ยาเทวดา อุปกรณ์ ลดน้ํา หนัก เป็นต้น นอกจากนี้ สื่อเหล่า นี้ยังเข้า ถึงประชาชนได้ตลอด 24 ชั่ว โมง ซึ่ง ในปัจจุบันนี้ยัง ไม่ส ามารถ ดําเนินการแก้ไขปัญหาได้
39
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
3. ประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่ตื่นตัวต่อปัญหาเรื่องการโฆษณาเกิน จริงของสินค้าในสื่อทางเลือก ประชาชนกลุ่มนี้จะเป็นเหยื่อของสินค้าโฆษณาเกินจริงเนื่องจากเห็นว่าสินค้าเหล่านี้ ออกรายการทางโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อสาธารณะที่น่าจะเชื่อถือได้ 4. แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคฯ ต้องระบุให้มีการสร้างและสนับสนุนกลไกภาคประชาชนให้มี ความเข้มแข็ง และเป็นแรงสําคัญในการกดดันสถานการณ์ปัญหาการบริโภคที่เกิดขึ้นจากสื่อมวลชน 5. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคม (กสทช.) มีงบประมาณ ในการทํางานคุ้มครองผู้บริโภคด้านการสื่อสารจํานวนน้อย เมื่อเทียบกับจํานวนกลุ่มผลประโยชน์ที่มีพลังเศรษฐกิจ และผลประโยชน์จํา นวนมหาศาล ทําให้มีข้อจํากัด ด้านการทํา งานเพื่อสร้า งความเข้มแข็งและตระหนักรู้ให้กับ ประชาชน จํานวน 65 ล้านคน 6. เกือบทุกครัวเรือนในประเทศไทย หรือประมาณ 99.99% รับข้อมูลจากสื่อทางโทรทัศน์ วิทยุ เคเบิ้ล ซึ่งเป็นผลให้สื่อมวลชนเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจําวันของคนไทย ทั้งประชาชนที่รับข้อมูลยังเชื่อมั่น ว่า สื่อได้รับการกํากับดูแลโดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ทําให้สื่อต้องเสนอข้อมูลจริง อย่างไรก็ตาม สื่อในปัจจุบันเกือบ ทั้งหมดเป็นสื่อเพื่อการค้า สื่อได้อาศัยความเชื่อของประชาชน ขายสิน ค้าอย่า งไม่มีคุณธรรม ดังนั้น แผนแม่บ ท คุ้มครองผู้บริโภคจะต้องให้ความสํา คัญกับกระบวนการจัดการปัญ หาเรื่องสื่อโดยมีแผนการดําเนินงานด้า นการ คุ้มครองผู้บริโภคด้านการสื่อสาร 7. แผนแม่บ ทคุ้มครองผู้บริ โ ภค ควรสนับ สนุน และเปิดโอกาสให้เครือข่า ยการทํา งานคุ้มครอง ผู้บริโภคต่าง ๆ เข้ามาร่วมทํางาน เช่น เครือข่าย Social Venture Network (SVN) ซึ่งเป็นเครือข่ายธุรกิจเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 8. สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค (SWOT Analysis) ควรเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ข้อ 3.2.1 ควรเติม ขาดข้อมูล เข้าไม่ถึงข้อมูล หรือได้รับข้อมูล ข่าวสารโฆษณาแฝง หลอกลวง ไม่เป็นจริงจากสื่อต่าง ๆ เช่น วิทยุชุมชน เคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม ซึ่งให้ข้อมูลเพื่อการหลอกลวง เอาเปรียบ โดยที่ผู้บริโภคไม่มีความรู้เท่าทัน ไม่สามารถป้องกันตนเองได้ ไม่มีกลไก หรือข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อ ทําให้ มีการตัดสินใจที่ผิดพลาด 2) ผู้บริโภคไม่อยากยุ่งยาก เสียเวลา เพราะการเข้าถึงกลไกการร้องเรียนยากลําบาก 3) สื่อขาดจิตสํานึก จริยธรรม ขาดการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง สื่อมีแต่ให้ข้อมูลด้านเดียว คนตั้ง รับไม่ทัน ครอบงําความคิด ผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคตามที่สื่อชักจูง ซึ่งปัจจุบันมีสื่อสร้างภาพพจน์ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น การพาครอบครัวเข้าร้านสุกี้ 4) หน่วยงานรัฐที่รับเรื่องร้องเรียนและแก้ไข เยียวยา ขาดประสิทธิภาพ ศักยภาพในการ ทํางาน การผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหา ดังนั้น ผู้ทํางานต้องทํางานจริงจัง เพราะงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นงานจุกจิก 40
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ต้องตาม และเกาะติด นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐบางแห่งมีความกังวลว่าจะโดนผู้ประกอบการฟ้องกลับ ชี้ให้เห็นความ ล้มเหลวในการทํางานอย่างสิ้นเชิง 9. ต้องพัฒนาศักยภาพและจิตสํานึกของคนทํางานที่เกี่ยวกับเรื่องการรับเรื่องร้องเรียน เพื่อให้ สามารถทํางานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 10. ด้านกฎหมาย ต้องมีการผลักดันพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อที่ชัดเจน 11. กิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อ ได้แก่ การให้ความรู้และเสริมศักยภาพให้ผู้บริโภครู้เท่า ทันสื่อ การเผยแพร่ข้อมูลโดยสื่อมวลชน การพัฒนามาตรฐานสื่อสาธารณะ การพัฒนาศักยภาพของศาลเพื่อให้เท่า ทันการเปลี่ยนแปลงของตลาด และกลลวงของการตลาด 12. การสร้างศักยภาพประชาชน กระทรวงศึกษาต้องส่งเสริมให้เยาวชนรู้เท่าทันสื่อ มีการบรรจุใน หลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อในการศึกษาระดับประถมศึกษาจนถึงมหาวิทยาลัย ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องของภาคประชาชน 13. การพั ฒ นาศั ก ยภาพผู้ บ ริ โ ภคเพื่ อ ให้ รู้ เ ท่ า ทั น สื่ อ ที่ ใ ห้ ข้ อ มู ล ข่ า วสารที่ มี ลั ก ษณะการโกหก หลอกลวง เอาเปรียบ และละเมิดสิทธิผู้บริโภค โดยมีกลยุทธ์ติดตาม เฝ้าระวัง ตรวจสอบสื่อ 14. ยุทธศาสตร์ 3 (องค์ความรู)้ กลยุทธ์ที่ 2 ผลักดันให้สื่อมีความรับผิดชอบต่อสังคม 15. ต้องมีการให้รางวัลสื่อที่ดี มีคุณภาพที่ทํางานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค หรือสื่อที่เป็นมืออาชีพ ที่แท้จริง รวมทั้งสร้างสื่อทางเลือก 16. ประสานทุก ภาคส่ว นที่เ กี่ย วข้อ งกั บ สื่อ เพื่ อ ร่ว มกั น ทํา งาน เพื่อ ปรับ ปรุ ง และพั ฒ นาสื่อ ใน ประเทศให้เป็นสื่อที่มีคุณภาพ โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ทํา หน้า ที่ห ลักจั ด ให้มี กลไกรั บ เรื่องร้อ งเรีย น แก้ปั ญ หาผู้บ ริ โ ภค สร้ า งเทคโนโลยี การเสริมศั กยภาพ ประชาชน 17. ในด้ า นรู ป แบบการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค เห็ น ว่ า รู ป แบบสิ ท ธิ ผู้ บ ริ โ ภค คื อ สิ ท ธิ พ ลเมื อ ง (Protection model) เป็นรูปแบบที่มีความสําคัญที่สุด ยุทธศาสตร์ที่ต้องดําเนินการที่สําคัญ คือ การสร้างเสริม ศักยภาพผู้บริโภคให้มีความเข้มแข็งเพื่อติดตามการดําเนินงานรู้เท่าทันสื่อ และเมื่อผู้บริโภคมีความรู้มีความตระหนัก ในขณะที่กลไกกฎหมายของประเทศมีความเข้มแข็ง ผู้บริโภคจะเป็นผู้ตรวจตราเฝ้าระวังงานคุ้มครองผู้บริโภคด้วย ตนเอง
41
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
6. นายนิมิต เทียนอุดม ผู้อํานวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ สัมภาษณ์วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 ข้อเสนอแนะที่ ได้รับมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์ 1 (ด้านกฎหมาย) ควรต้องพิจารณานโยบายการพัฒนาประเทศ เช่น การค้าเสรี (Free Trade) และ เขตการค้า เสรี (Free Trade Area) อาจจะมีผ ลกระทบกับ กฎหมาย เนื่องจากนโยบายการ คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อผู้บริโภคในประเทศ จะมีแนวทางที่สวนทางกับนโยบายการค้าที่เป็นธรรม การจัดการทรัพย์สิน ทางปัญญา ดังนั้น การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคต้องเข้าใจสถานการณ์ของประเทศ เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง ของโลก เพื่อไม่ให้ผู้กําหนดนโยบายละเมิดสิทธิผู้บริโภคของประชาชนในประเทศตนเอง 2. หน่ ว ยงานและองค์ ก รที่ ดํ า เนิ น งานด้ า นการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคต่ า งมี แ ผนยุ ท ธศาสตร์ ก าร ดําเนินงานของตนเอง แต่ปัญหาสําคัญ คือ ยังไม่มีการปฏิบัติงานอย่างจริงจัง ทําให้ประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึง สินค้าและบริการที่มีมาตรฐาน 3. ผู้ รั บ ผิ ด ชอบหลั ก ในการดํ า เนิ น ตามแผนแม่ บ ทคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคควรเป็ น ใคร สํ า นั ก งาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หรือองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคใน ประเทศยังไม่จัดตั้ง ในขณะที่ สคบ. ซึ่งเป็นองค์กรภาครัฐอาจจะมีข้อจํากัดเรื่องความไม่คล่องตัวในการดําเนินงาน หากมีการผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค องค์การอิสระฯ จะช่วยหนุนเสริมทําให้การดําเนินงานตามแผน แม่บทคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 4. แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภค ขาดการระบุถึงการทํางานของภาคผู้ประกอบการ เนื้อหาสาระที่ สําคัญประการหนึ่งของแผนแม่บทฯ ควรจะระบุถึงแนวทางการพัฒนาผู้ประกอบการไม่ให้เอาเปรียบผู้บริโภค ผลิต สินค้ามีคุณภาพ มีกระบวนการผลิตที่ดี ภาคผู้ประกอบการต้องเน้นการทําธุรกิจที่เป็นธรรม มีคุณธรรม และมีความ รับผิดชอบต่อผู้บริโภค 5. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในยุทธศาสตร์ที่ 2 เพื่อการเฝ้าระวังสื่อ ยังไม่ชัดเจน มีการระบุถึงการ เก็บข้อมูลแต่ยังไม่มีรายละเอียดถึงประเภทของสินค้า นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ยังไม่ได้ระบุถึงการเผยแพร่ข้อมูลต่อ สาธารณะและผู้บริโภค ซึ่งเห็นว่าสามารถที่จะดําเนินการได้ โดยนําข้อมูลมาเผยแพร่ต่อสาธารณะ ว่ามีการกระทํา ความผิดซ้ําซ้อน และในภายหลังข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถนําไปกําหนดกรอบ นโยบาย หรือวางแนวทางป้องกันและ แก้ไขปัญหาเพื่อผู้ที่เกี่ยวข้องจะสามารถจัดการได้อย่างรวดเร็วเมื่อผู้บริโภคเกิดปัญหาการถูกละเมิดสิทธิ นอกจากนี้ ข้อมูลสาธารณะเหล่านี้ยังจะช่ว ยกระตุ้นให้ผู้บริ โภคมีความตื่น ตัวและเป็น ผู้บริ โภคที่มีข้อมูลและมีศักยภาพ ใน อนาคตจะทํา ให้สถานการณ์การเผชิญและต่อรองระหว่างผู้ผ ลิต และผู้บ ริโ ภคดีขึ้น และอาจจะนํา ประเทศไปสู่ รูปแบบการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบการเจรจาต่อรองได้ในที่สุด 6. ต้องมียุทธศาสตร์ที่แสดงถึงกลไกการคลี่คลายปัญหาผู้บริโภค เช่น การจัดการเรื่องร้องเรียน อย่างเป็นธรรม ปัญหาเรื่องการละเมิดสัญญา หากผู้บริโภคเห็นว่าสัญญาไม่เป็นธรรมจะมีวิธีการแก้ไขหรือปรับปรุงได้ อย่างไร ควรจะมีกลยุทธ์ที่แสดงว่าผู้บริโภคที่ประสบปัญหาและร้องเรียน จะมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ 42
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
7. ยุทธศาสตร์ที่ 3 (องค์ความรู้) จะเป็นยุทธ์ที่ประเมินผลยากที่สุด แต่เป็นงานที่สําคัญต้องวางกล ยุทธ์ให้ละเอียด เช่น ต้องมีกลยุทธ์ที่นําไปสู่ข้อตกลงเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่ต้องการเผยแพร่สู่ผู้บริโภค กระบวนการ สื่อสารจะเป็นในลักษณะใด ในกลุ่มเป้าหมายใด เช่น กลุ่มผู้บริโภคด้านยา อาหาร บริการ กิจการสาธารณะ เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบโดยตรง 8. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคทุกภาคส่วนต้องชัดเจนเรื่องเครือข่าย ผู้บริโภคว่ามีอยู่ที่ไหน มีเป้าหมายการพัฒนาเครือข่ายเพื่ออะไร จะเป็นไปในทิศทางไหน ให้มีการรวมตัวกัน ทํา หน้าที่รับเรื่องร้องเรียน คลี่คลายปัญหาภายในชุมชน เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและกําหนดทิศทางการเข้ามามีส่วนร่วม การดําเนินงานของกลุ่มเครือข่ายดังกล่าว 9. ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 5 (การบริ โ ภคยั่ ง ยื น ) คล้ า ยกั บ ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 3 (การพั ฒ นาองค์ ค วามรู้ ) ยุทธศาสตร์ที่ 5 เป็นยุทธศาสตร์ที่ดี แต่ต้องระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนว่าเป็นการดําเนินงานกับกลุ่มใดผู้ผลิต หรือ ผู้บริโภค ในขณะที่กลยุทธ์ต้องมีรายละเอียดว่าต้องมีการดําเนินการอย่างไร ผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคต่อ สังคมมีลักษณะอย่างไร
7. ดร.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ผู้อํานวยการสถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์วันที่ 14 มีนาคม 2556 ข้อเสนอแนะที่ได้รับมีรายละเอียด ดังนี้ 1. แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภค ควรให้ความสําคัญกับการให้ความรู้แก่เยาวชนโดยเฉพาะเยาวชน ในการศึกษาภาคบังคับเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องสิทธิของตนเอง 2. ในปัจจุบัน การคุ้มครองผู้บ ริโ ภคมีกลไกการร้องเรีย น มีช่องทางกฎหมายหลากหลาย เช่น พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค (พ.ศ.2551) แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ยังไม่มีการเผยแพร่ อย่างกว้างขวาง สื่อเองยังมีข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. น้อย นอกจากนี้ การละเมิดสิทธิผู้บริโภคโดยสื่อยังคง เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 3. กลไกภาคประชาชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมีการดําเนินงานเข้มแข็งขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ภาคประชาชนยังถูกวิเคราะห์ว่าเป็นฝ่ายต่อต้าน และเรียกร้องเกินจริง ทํา ความเดือดร้อนให้กับผู้ป ระกอบการ มากกว่าถูกมองว่าพยายามรักษาคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค 4. กลไกภาครั ฐ ต้ อ งได้ รั บ การปรั บ ปรุ ง เพื่ อ ให้ ทั น กั บ สภาพปั ญ หาด้ า นการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค เนื่องจากที่ผ่านมาหน่วยงานที่ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง เช่น สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ยังมีบุคลากรคนทํางานจํานวนน้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากรัฐบาลไม่ให้ความสําคัญกับการดําเนินงานคุ้มครอง ผู้บริโภคในประเทศเท่าที่ควร ซึ่งประเด็นนี้จะทําให้ประเทศไทยไม่สามารถดําเนินกิจกรรมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม ได้อย่างทันสถานการณ์ 43
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
5. ต้องมีการพัฒนาศักยภาพการทํางานของบุคลากรภาครัฐด้านการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคที่ประสบปัญหา เจ้าหน้าที่ต้องสามารถให้คําปรึกษาได้ทันท่วงที และถูกต้อง แม่นยํา 6. เสนอให้ภาครัฐมีการทํางานแบบบูรณาการเพื่อการทํางานด้านคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น เช่น ศูนย์รวมรับเรื่องร้องเรียน และแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค เป็นต้น
8. นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจรจาทางการค้า สัมภาษณ์วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 ข้อเสนอแนะที่ได้รับมีรายละเอียด ดังนี้ 1. แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภค มีความพยายามที่จะมองผู้บริโภคให้มากกว่าคนซื้อ/ขายของ หรือ ซื้อสินค้า/บริการ แต่ต้องการเห็นแนวทางการทํางานเพื่อให้ผู้บริโภคเป็นพลเมือง เป็น Active Citizen มากขึ้น 2. สถานการณ์ปัจจุบัน เครือข่า ยผู้บ ริ โ ภคมีการเจริญ เติบ โตมากขึ้น แต่ผู้ป ระกอบการก็มีการ รวมตัวกันแข็งแกร่งมาก รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคคงไม่จําเป็นต้องเน้นแบบใดแบบหนึ่ง บางส่วนก็ยังคงต้องเน้น Information และเน้นการผสมผสานระหว่าง Protection และ Negotiation 3. ยุทธศาสตร์ 1 (ด้านกฎหมาย) การพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคต้องไม่มองแค่กฎหมายที่ เน้นการคุ้มครองอย่างเดียว แต่ควรเน้นเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น เขตการเจรจาทาง การค้าเสรี ( FTA) ที่อาจจะมีผลกระทบกับผู้บริโ ภคในระยะยาว เนื่องจากการเจรจามักอ้างว่าผู้บริโภคจะได้รับ ประโยชน์เนื่องจากได้รับสินค้าที่มีราคาถูก ผู้ค้าและผู้ให้บริการมีมากขึ้น ได้เลือกของที่ดีที่สุด แต่ในความเป็นจริงมี บางประเด็นไม่ถูกเปิดเผยให้ผู้บริโภคได้รับทราบ เช่น เรื่องการเข้าถึงยา เข้าถึงองค์ความรู้ การอนุญาตให้ต่างชาติ เข้ามาถือหุ้นในบริการสาธารณสุข เป็นต้น ประเด็นดังกล่าวจะมีผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนในฐานะผู้ได้รับ บริการ แต่ประชาชนหรือผู้บริโภคกลับไม่ได้รับฟังความคิดเห็น ไม่ได้แสดงความคิดเห็น ดังนั้น การพัฒนามาตรการ กฎหมาย ต้องให้ความสําคัญกับการรับฟังความคิดเห็นของผู้บริโภค และนําความคิดเห็น ความต้องการของผู้บริโภค พัฒนาเป็นมาตรการ และกฎหมาย 4. ยุทธศาสตร์ 1 (กฎหมาย) ในปัจจุบันมีความพยายามในการแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ หรือการเจรจา ทางการค้าที่มีผลกระทบต่อกฎหมาย ซึ่งมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่ต้องการความเห็น หรือมุมมองของผู้บริโภค ซึ่งถ้ามี องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคก็จะช่วยให้สะท้อนความคิดเห็นของผู้บริโภคอย่างมีน้ําหนักมากขึ้น แต่ใน กรณีที่ยังไม่มีองค์การอิสระ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ต้องถูกติดตาม และเฝ้าระวัง เช่น การเจรจา FTA และ AEC 5. การแก้ไขกฎหมายในประเทศ ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานมีความพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายให้ เกินความจํา เป็นต่อการพัฒ นาประเทศ เช่น กฎหมายปรับปรุงพันธุ์พืช กฎหมายสิทธิบัต ร เพื่อเอาใจนักลงทุน ต่างประเทศ นอกจากนี้ การแก้กฎหมายต้องมีการติดตาม และตรวจทานจากองค์กรผู้บริโภคด้วย 44
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
6. ยุทธศาสตร์ 1 (กฎหมาย) และ ยุทธศาสตร์ 4 (พัฒนาศักยภาพ) ต้องเชื่อมโยงกัน กล่า วคือ นอกจากพั ฒ นาศั ก ยภาพเครื อ ข่ า ยผู้ บ ริ โ ภคแล้ ว ต้ อ งส่ ง เสริ ม ให้ ส ถานะของผู้ บ ริ โ ภคเท่ า เที ย มกั บ สถานะของ ผู้ประกอบการ ภาครัฐต้องให้ความสําคัญกับความคิดเห็นของทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียม 7. ยุทธศาสตร์ 2 (ฐานข้อมูล) ควรมองถึงสถานการณ์ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เนื่องจาก บางครั้งสถานการณ์ปัญหาและความเสี่ยงไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับประเทศอื่นก่อนทั้งในภูมิภาค และนอกภูมิภาคอาเซียน เพื่อให้ประเทศไทยได้มองสถานการณ์ไปข้างหน้าและเตรียมความพร้อมได้ทันสถานการณ์ 8. แนวคิดเสรีนิยมใหม่มีผลต่อการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การผ่อนคลายกฎระเบียบให้หน้าที่ของ หน่วยงานรัฐที่ต้องตรวจสอบมีความอ่อนแอ ลดความสามารถ เพื่อส่งเสริมให้มีการค้า และการลงทุนที่เสรี ดังนั้น แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติต้องไม่ลดอํานาจรัฐ และไปให้อํานาจกับภาคประชาชนแต่เพียงอย่างเดียว แต่ ควรสนับสนุนให้มีการทํางานร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ 9. ยุทธศาสตร์ 3 (องค์ความรู้) มีความสําคัญ แต่ควรเพิ่มการพัฒนาและเชื่อมโยงองค์ความรู้จาก สถานการณ์ในระดับประเทศ ภูมิภาค และต่างประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภค และเครือข่ายผู้บริโภคมีความรู้เท่าทันต่อ สถานการณ์ในประเทศ และต่างประเทศ 10. การให้ ค วามรู้ ใ นเชิ ง ปั จ เจกมี ค วามจํ า เป็ น แต่ ค วรให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ การให้ ค วามรู้ ใ นเชิ ง โครงสร้างด้วย ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพในการติดตามเชิงระบบ และแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างจําเป็นต้องมีด้วย 11. ยุทธศาสตร์ 4 (พัฒนาศักยภาพ) ต้องยกระดับความคิดเห็นขององค์กรผู้บริโภค ให้เท่าเทียมกับ ภาคธุรกิจ ตลอดจนส่งเสริมให้องค์กรผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการแก้ไขกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ ด้วยความเท่าเทียม 12. ยุทธศาสตร์ 5 (บริโภคอย่างยั่งยืน) มีความน่าสนใจ แต่อยากให้คํานึงถึงบริบทโลกด้วย ว่าการ บริโภคของประเทศเราไปสร้างปัญหาให้กับประเทศอื่น ๆ หรือไม่ การผลิตและการบริโภคของประเทศเราต้องไม่ ทําลาย หรือทําร้ายประเทศอื่นให้ประชาชนหรือผู้บริโภคในประเทศอื่นได้รับผลกระทบ 13. ในระหว่างที่ยังไม่มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภคต้องช่วยเหลือกัน และต้องได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ หรือผู้ให้ทุนต่าง ๆ เช่น สคบ. อย. สสส. เพื่อให้ประชาชนเกิดความ ตื่นตัว องค์กรผู้บริโภคในระดับพื้นที่ได้มีศักยภาพ คอยติดตามและเฝ้าระวัง ไม่ใช่แค่สนับสนุนองค์กรต้นแบบ 14. การกํ า กั บ และติ ด ตามแผน ควรเป็ น ความร่ ว มมื อ ของทุ ก ภาคส่ ว น ทั้ ง หน่ ว ยงานภาครั ฐ ภาคเอกชน องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และภาคประชาชน นอกจากนี้ ในการสนับสนุนการทํางาน ติดตามตรวจสอบ และดําเนินงานในทุกยุทธศาสตร์ ควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานทุกภาคส่วน
45
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
การประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (Expert Meeting) วันที่ 5 มีนาคม 2556 ณ คณะ เภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเด็นการประชุม 1. รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสมสําหรับประเทศไทย จากการศึกษาเอกสาร พบว่ารูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคมี 3 รูปแบบที่สําคัญ ได้แก่ 1) รูปแบบ การคุ้มครองผู้บริโภคแบบ Protection Model หรือรูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่เน้นการทํางานเพื่อให้เกิดการ คุ้มครองผู้บริโภคที่ให้ความสําคัญกับผู้บริโภคเป็นหลัก ผู้ประกอบการต้องดําเนินการโดยมีความรับผิดชอบต่อสินค้า ของตนเองเป็นสําคัญ ในรูปแบบนี้ถือว่าผู้ผลิตต้องเป็นผู้ที่ต้องรับความเสี่ยงเป็นหลัก ประเทศที่มีการใช้รูปแบบการ คุ้มครองผู้บริโภคในรูปแบบนี้ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา 2) รูปแบบ Negotiation Model หรือรูปแบบการเจรจา ต่อรองเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคลักษณะนี้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีการเจรจาตกลงในการ ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกัน และข้อตกลงของการเจรจาถือว่ามีความสําคัญและเป็นอันสิ้นสุด รูปแบบการ คุ้มครองผู้บ ริโ ภคลักษณะนี้เ กิด ขึ้น ในประเทศที่พลังของผู้ผ ลิตและผู้บ ริ โ ภคมีความสมดุล และทัด เทีย มกัน เช่น ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย 3) รูปแบบ Information Model คือ รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้วยการให้ข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้องและเพีย งพอ ในขณะที่ผู้บ ริโภคเป็นผู้รับความเสี่ยงในการตัดสิน ใจเลือกบริโ ภคสินค้า ที่ตนเอง ต้องการ ประเทศที่ใช้รูปแบบการคุ้มครองผู้บริ โภคในลักษณะนี้ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศอังกฤษ ประเทศ ออสเตรเลีย ที่ประชุม ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ย วกับรูป แบบการคุ้มครองผู้บริ โภคที่เ หมาะสมสําหรับบริบ ท ประเทศไทย สรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการคุ้มครองผู้บ ริโ ภคของประเทศไทยในปัจ จุบัน ผู้เชี่ยวชาญเห็น ว่า การดํา เนิน งาน คุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยกลุ่มผู้บริโภคยังมีความอ่อนแอ ในขณะที่ผู้ประกอบการยังไม่สนใจกิจกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคแต่มีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ในขณะที่ภาครัฐมีการดําเนินกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค และบทบาทการ ทํ า งานมี ค วามชั ด เจนมากขึ้ น เรื่ อ ย ๆ โดยเฉพาะสํ า นั ก งานคณะกรรมการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค และ สํ า นั ก งาน คณะกรรมการอาหารและยา 2. รูปแบบการคุ้มครองผู้บ ริโ ภคในประเทศที่พึงปรารถนา ผู้เ ชี่ย วชาญเห็น ว่า ในระดับ อุด มคติ รูปแบบการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีที่สุดน่าจะเป็นรูปแบบการเจรจาต่อรอง หรือ Negotiation Model ซึ่ง เป็นรูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีการเจรจาเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม ในรูปแบบ การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบเจรจาต่อรอง ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคในประเทศจะต้องมีศักยภาพและมีการ ดําเนินงานที่ความเข้มแข็ง ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ถึงลักษณะการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า กลุ่มผู้บริโภคในประเทศไทยยังมีการรวมกลุ่มอย่างไม่เข้มแข็ง มีประสบการณ์ในการดําเนินกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภค น้อย โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการซึ่งมีการรวมตัวการเข้มข้นและมีอํานาจทางสังคมสูงกว่ากลุ่มผู้บริโภคมาก ดังนั้น รูปแบบการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคแบบการเจรจาต่อรองจึงไม่เหมาะสมสําหรับประเทศไทยในปัจจุบัน
46
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ เห็นว่ารูปแบบการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคที่เหมาะสมในการขับเคลื่อน แผนแม่บ ทคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคฉบับ ที่ 1 (พ.ศ.2556-2560) คือ รูปแบบที่ผ สมผสานระหว่า งรูป แบบการคุ้มครอง ผู้บริโภคแบบ Protection Model และแบบ Information Model ทั้งนี้ เนื่องจากรูป แบบการคุ้มครองผู้บริโภค แบบ Protection Model จะเป็นการเปิดโอกาสให้ภาครัฐในฐานะผู้ปฏิบัติงาน และมีเครื่องมือในการดําเนินงานทํา หน้าที่เป็นผู้คุ้มครองผู้บริโภค ในขณะเดียวกันยังสามารถทํางานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภค และ เครือข่ายผู้ผลิตให้มีความเข้มแข็งเพื่อสามารถดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโ ภคได้ด้วยตนเองได้ ในอนาคต ในขณะที่ รูปแบบ Information Model ยังมีความสําคัญในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย เนื่องจากผู้บริโภค และเครือข่ายผู้บริโภคในประเทศไทยยังไม่เข้มแข็ง ในขณะที่ผู้ผลิตมีการรวมกลุ่มกันมากกว่าทั้งยังมีพลังอํานาจ มากกว่า แต่ผู้ผลิตส่วนหนึ่งยังไม่มีแนวคิดเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้น จึงต้องมีการดําเนินงานให้ความรู้และ ข้อมูลข่าวสารทั้งในเรื่องสินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการแก่ผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการเลือกบริโภคได้ อย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันสามารถใช้รูปแบบการทํางานเรื่องความรู้และข้อมูลข่าวสารนี้ สร้างความตระหนักใน เรื่องสิทธิผู้บริ โภคให้แก่ผู้ผ ลิต ผู้บ ริโ ภค และภาคส่วนอื่น เพื่อให้เ ป็น ภาคส่ว นสําคัญ ในการดํา เนินงานคุ้มครอง ผู้บริโภคในประเทศต่อไป 3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่าการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยอาจมี ลักษณะผสมผสานมีการพัฒนาในทุก ๆ ด้านไปพร้อมกัน เช่น การพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สามารถดําเนินการ ได้จริง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพัฒนาจุดอ่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดําเนินงานของหน่วยงานตนเอง ในขณะ ที่ผู้ผลิตจะต้องมีการปรับตัวเพื่อดําเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สําคัญในการยกระดับ มาตรฐานและพัฒนาธุรกิจนั้น ๆ ให้สามารถต่อสู้กับคู่แข่งทางธุรกิจได้ ในขณะที่ผู้บริโภคควรจะมีการพัฒนาตนเองให้ มีความสนใจที่จะคุ้มครองสิทธิของตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการพัฒนาระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ ให้มีพลังมากยิ่งขึ้น
47
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
การจัดประชุมเชิงปฏิบตั ิการในระดับภูมิภาค 4 ภูมิภาค และ กรุงเทพมหานคร
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับภูมิภาค 4 ภูมิภาค การจัด ประชุ มเชิ งปฏิ บัติ ก ารในระดั บ ภู มิ ภ าค 4 ภูมิ ภ าค มีวั ต ถุป ระสงค์ เ พื่ อ รับ ฟั งความคิ ด เห็ น และ ข้อเสนอแนะด้านสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็นต่อแผน แม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ มีรายละเอียดการประชุม และผลการจัดประชุม ดังนี้ 1. ภาคเหนือ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในวันที่ 8 มกราคม 2556 ณ โรงแรมธันยาอินน์ จังหวัดเชียงราย มี ผู้เ ข้า ร่ว มประชุม ประกอบด้ว ย ผู้แทนจากหน่ว ยงานภาครั ฐ ภาควิช าการ ภาคประชาชน ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ในจังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา รวม 21 คน ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุม มีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค 1.1 มีส ถานการณ์ห ลอกลวงขายสิน ค้า ที่ ไม่มีการพิสูจ น์มาตรฐาน และโฆษณาเกิน จริงทางสื่ อ ท้องถิ่น ทั้งวิทยุชุมชน และเคเบิลทีวีอย่างแพร่หลาย 1.2 ผู้บริโภคมีความกังวล มีทัศนคติในเชิงลบในการร้องเรียน และกังวลกับปัญหาคดีความ การขึ้น ศาล และการติดต่อหน่วยงานราชการ 2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ 2.1 ควรเพิ่มบทบาทให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะการ ออกข้อบังคับท้องถิ่น หรือเทศบัญญัติ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคในพื้นที่ 2.2 แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติควรสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกองทุนชดเชย และเยียวยา ความเสียหาย ตลอดจนพัฒนาระบบการเรียกคืนสินค้า และยกเลิกการใช้ให้เป็นรูปธรรม 2.3 ควรเสริมความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้กับนักเรียน นักศึกษาในสถานศึกษา ในรูปแบบ ของการจัดทําหลักสูตรการคุ้มครองผู้บริโภค 2.4 ควรมีนิยามศัพท์เฉพาะอธิบายคําต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เช่น ความ เป็นธรรม การบริโภคอย่างยั่งยืน
48
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2.5 ควรผลักดันให้เกิดองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค เพื่อสนับสนุนให้การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคมี ประสิทธิภาพ
2. ภาคใต้ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556 ณ โรงแรมสิงห์โกลเด้นเพลส จังหวัดสงขลา มี ผู้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม ประกอบด้ ว ย ผู้ แ ทนจากหน่ ว ยงานภาครั ฐ ภาควิ ช าการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสงขลา รวม 29 คน ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุม มีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค 1.1 ผู้บริโภคขาดความรู้เรื่องการร้องเรียนการฟ้องร้อง และเรื่องสิทธิผู้บริโภคในกรอบกฎหมาย ของประเทศไทย จึงจําเป็นต้องส่งเสริมความรู้ให้แก่ผู้บริโภค 1.2 สื่อสารมวลชนสามารถช่วยเผยแพร่ความรู้แก่ผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากในปัจจุบัน ผู้บริโภคจํานวนมากยังขาดความรู้ในเรื่องสินค้าอันตรายต่าง ๆ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายย่อยก็ยังไม่มีความรู้เชิง กฎหมาย ระเบียบ มาตรฐานความปลอดภัย และข้อบังคับต่าง ๆ
49
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
1.3 การให้การศึกษาควรให้ความรู้เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคกับเด็กและเยาวชน เพื่อให้สามารถ พัฒนาเป็นผู้ประกอบการ และผู้บริโภคที่มีคุณภาพ 1.4 การเปลี่ยนรัฐบาล มีส่วนทําให้การทํางานการคุ้มครองผู้บริโภคไม่มีความต่อเนื่อง ดังนั้น จึง ควรมีเป้าหมายการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในระยะยาว 1.5 เจ้าหน้าที่รัฐยังดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคไม่เข้มแข็ง และไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการ เรียกคืนสินค้า การสั่งห้ามจําหน่าย 1.6 คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัด ควรเป็นแกนหลักสําคัญในการคุ้มครองผู้บริโภค ในระดับ พื้นที่เนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิด กับประชาชน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเจ้าหน้าที่มีจํา นวนจํากัดทํา ให้มี ข้อจํากัดในภารกิจการคุ้มครองผู้บริโภค 1.7 กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค เกิดขึ้นและพัฒนาตามสภาพปัญหา ทําให้การดําเนินงานไม่ทัน สถานการณ์ปัญหาที่มีความซับซ้อน เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ 2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ 2.1 วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย ยังเน้นที่ผู้บริโภคเป็นหลัก ยังขาดมิติของภาคผู้ประกอบการ มี เฉพาะยุทธศาสตร์ที่ 5 เท่านั้นที่ระบุถึงผู้ประกอบการไว้ 2.2 ควรมีนิยามศัพท์อธิบายคําต่าง ๆ เช่น ความเป็นธรรม การบริโภคอย่างยั่งยืน ตลอดจนอธิบาย วิธีไปถึงเป้าหมายของการสนับสนุนให้เกิดกิจการเพื่อสังคม การสร้างความตระหนักรู้ การส่งเสริมให้เกิดความเป็น ธรรมได้อย่างไร 2.3 การให้ความรู้กับผู้บริโภค ควรเน้นให้ความรู้ ความคิด และมีความตระหนัก ตลอดจนเน้น พฤติกรรมให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิ และหน้าที่ที่ต้องทําในการคุ้มครองผู้บริโภค 2.4 ควรผลักดันองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค เพื่อให้มีระบบและกลไกการประสานงาน มีการกํากับ ดูแล และควบคุม ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 2.5 ควรมีการติดตาม ประเมินผล การใช้แผนฯ และบังคับใช้กฎหมาย 2.6 รายละเอีย ดในแผนแม่บ ทคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคยังขาดข้อมูล ด้า นสถิติ ตัว เลขที่ ใช้ ในการระบุ สถานการณ์ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค และสะท้อนระดับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย 2.7 ควรมีการพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคประจํา จังหวัด ในความรู้เชิงกฎหมาย การตรวจฉลากสินค้า การตรวจเครื่องชั่ง ตวง วัด และความชัดเจนกับนโยบายของ รัฐบาล
50
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2.8 แผนแม่บทคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคควรระบุหน่ว ยงานที่ต้องรับ ผิด ชอบแผนแม่บ ท และในแต่ล ะ ยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน
3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 ณ โรงแรมเพชรรัตน์ การ์เด้น จังหวัดร้อยเอ็ด มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และ จังหวัดกาฬสินธุ์ รวม 20 คน ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุม มีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค 1.1 ผู้บริโภคเข้าไม่ถึงความรู้ และข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะผู้บริโภคในพื้นที่ชนบท ทําให้ผู้บริโภค ไม่รู้สิทธิ ไม่รักษาสิทธิ และถูกเอารัดเอาเปรียบ 1.2 การดํา เนิ น งานคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคในระดับ ท้องถิ่น ควรมี ความร่ว มมือ กัน ของภาครั ฐ และ ผู้ประกอบการ เช่น หอการค้า เพื่อป้องกัน เฝ้าระวัง และให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าอันตรายกับประชาชน 2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ 2.1 แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ควรระบุบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การออกเทศบัญญัติ หรือข้อบัญญัติของท้องถิ่นในพื้นที่ 51
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2.2 ควรมีการเพิ่มโทษทางกฎหมายแก่ผู้กระทําผิด หรือละเมิดสิทธิผู้บริโภค 2.3 ควรผลักดันให้เกิดองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้เกิดการประสานงานในการทํางาน คุ้มครองผู้บริโภคกับหน่วยงานต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกัน นอกจากนี้ องค์กรอิสระยังช่วยสะท้อนการติดตาม ตรวจสอบการทํางานคุ้มครองผู้บริโภค 2.4 ควรระบุหน่วยงานที่เป็นผู้ดําเนินการ และควบคุมกํากับติดตามแผนฯ 2.5 ควรนิยามความหมายของคําศัพท์ต่าง ๆ เช่น ความเป็นธรรม เพื่อให้การปฏิบัติมีแนวทางที่ ชัดเจน 2.6 รายละเอียดในบางยุทธศาสตร์มีความใกล้เคียงกัน เช่น ยุทธศาสตร์ที่ 5 กลยุทธ์ที่ 3 คล้ายกับ ยุทธศาสตร์ที่ 4 2.7 ยุทธศาสตร์ที่ 4 (การพัฒนาศักยภาพ) กลยุทธ์ที่ 2 ควรเติมคําว่าผู้ประกอบการเข้าไปด้วย เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเสนอความเห็น และให้มีความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
52
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
4. ภาคกลาง จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ณ โรงแรมวาสิฏฐีซิตี้ โฮเทล จังหวัด สุพรรณบุรี มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสุพรรณบุรี รวม 25 คน ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุม มีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค 1.1 วิถี การบริ โ ภคของคนไทยเปลี่ย นแปลงไปตามสถานการณ์ การกํ า หนดของทุน ขนาดใหญ่ ประเทศมีปัญหาเรื่องความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการมากขึ้น 1.2 สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น สื่ออิเลคทรอนิคส์การซื้อขาย สินค้าออนไลน์ การบริการของรถตู้สาธารณะ การโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร 1.3 แรงงานพม่าในเมืองไทยมีจํานวนมาก และมีปัญหาอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ทําให้บางส่วนได้รับ ผลกระทบจากการบริโภค 2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ 2.1 แผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ควรเพิ่มคําสําคัญ เรื่อง “ความปลอดภัย” ซึ่งเป็นสิ่งที่ ผู้บ ริ โ ภคต้ อ งการ นอกจากนี้ ในแผนแม่ บ ทคุ้ มครองผู้ บ ริ โ ภคแห่ ง ชาติ ไม่ ควรเน้ น ที่ “มาตรฐานระดับ สากล” เนื่องจากมาตรฐานบางอย่างเกินความจําเป็นของประเทศ นอกจากนี้ มาตรฐานบางประการยังเป็นเครื่องมือในการ กีดกันของต่างประเทศอีกด้วย 2.2 ควรปรั บ ปรุ งพั น ธกิ จ และเป้ า หมายของแผนแม่ บ ทคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคแห่ง ชาติ ให้ มี ค วาม สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ที่ 5 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสําคัญและเป็นหัวใจของแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริ โภค แห่งชาติฉบับนี้ 2.3 การดํา เนิน การตามแผนแม่ บ ทคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคแห่ ง ชาติ ควรเป็ น การประสานงานและ บูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน สื่อสารมวลชน เพื่อให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัย ในการดําเนินชีวิต 2.4 ควรผลักดันให้เกิดองค์กรอิสระ เพื่อทําหน้าที่ช่วยเหลือผู้บริโภค รับเรื่องร้องเรียน ติดตามการ ดําเนินงานของหน่วยงานรัฐ 2.5 ควรผลักดันให้มีการปรับปรุงกฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ ให้ใช้ได้จริง เช่น การผลักดันการ เรียกคืนสินค้า การเยียวยาความเสียหาย มาตรการส่งเสริม เชิดชูนําจับ ลงโทษ หรือเพิกถอนใบอนุญาตสินค้าที่ไม่ ปลอดภัยไม่ได้มาตรฐาน ตลอดจนป้องกันและแก้ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคข้ามแดน
53
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2.6 ยุทธศาสตร์ที่ 3 (องค์ความรู้) ควรระบุว่าเนื้อหาความรู้ที่ต้องการให้กับผู้บริโภคได้รับทราบ ตลอดจนระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบ 2.7 ควรส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความปลอดภัย มี เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการคุ้มครองผู้บริโภค 2.8 ควรผลักดัน ให้ผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ตลอดจนรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม 2.9 การให้ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ต้องส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรการเรียน การสอนให้ บรรจุไว้ในหลักสูตร
54
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในกรุงเทพมหานคร การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอและรับฟังความคิดเห็นต่อแผน แม่บ ทการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคแห่งชาติ จัด ขึ้น ในวัน ที่ 4 เมษายน 2556 ณ โรงแรมรามาการ์เ ด้น ส์ กรุงเทพฯ มี ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ รวม 140 คน ทั้งนี้ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ มีกิจกรรมสําคัญ ประกอบด้วย 1. การปาฐกถา เรื่อง นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคและแนวทางการขับเคลื่อนแผนแม่บทการคุ้มครอง ผู้บริโภคแห่งชาติ โดย นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 2. การนําเสนอร่างแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ โดย นางสาววิชยา โกมินทร์ หัวหน้าโครงการ และนักวิจัย สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. การเปิด เวทีอภิปราย และรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ โดยมี ผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเข้าร่วม ประกอบด้วย ♦
นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
♦
นายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
♦
ภญ.ศรีนวล กรกชกร รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
♦
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช.
♦
นายสุชาติ สินรัตน์ ผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบและปฏิบัติการ กรมการค้าภายใน
♦
นายสิทธิชัย จินดาหลวง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
♦
นางสุวรรณา จิตประภัสสร์ อดีตประธานอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสทช.)
♦
นางสาวกชนุช แสงแถลง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
♦
นายชัยนันท์ อุโฆษกุล รองประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่ง ประเทศไทย
♦
นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ดําเนินรายการ
55
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
4. แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม ระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่อร่างแผนแม่บทการ คุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุม มีสาระสําคัญ ดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะโดยภาพรวม 1.1 ข้อสังเกตต่อที่มาของแผนว่ามาจากทุกภาคส่วนหรือไม่ 1.2 เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน /หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.3 ความเชื่อมโยงในเนื้อหาของแผนฯ กับหลักการที่นํารัฐธรรมนูญมาอ้างไว้ 1.4 มีการศึกษาข้อมูลในต่างประเทศ ควรมีการศึกษาลงลึกในระดับประเทศไทยมากขึ้น ควรชี้รูปแบบ และวิเคราะห์จุดแข็ง/จุดอ่อนที่ชัดเจน 1.5 หลักการ/วิสัยทัศน์ กับแนวปฏิบัติ (จะเกิดได้จริงอย่างไร?) 1.6 การกําหนดแนวทางที่เสริมอํานาจให้ผู้บริโภคพึ่งตนเองในการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับการสร้าง ความชัดเจน และประสิทธิภาพของระบบการคุ้มครอง ป้องกันการละเมิด และแก้ปัญหา 1.7 เพิ่มคํานิยามศัพท์ต่าง ๆ มีการยกตัวอย่างประกอบ 1.8 เพิ่มตัวชี้วัดความสําเร็จของแผน และยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน 1.9 การเพิ่มหลักการ/แนวทางที่สร้างสมดุล ระหว่างคําว่า “สิทธิ” กับ “ความรับผิดชอบ” และ “การ เรียกร้อง” กับ “ความตระหนักรู”้ 1.10 นโยบายและกฎหมายควรเน้นการเสริมสร้างระบบความรับผิดชอบของสื่อ การคุ้มครองผู้บริโภค สื่อ การให้สื่อเข้ามามีส่วนร่วมการคุ้มครองผู้บริโภค 1.11 การเพิ่มพื้นที่ของผู้ประกอบการในการคุ้มครองผู้บริโภค ควรมีไว้ในแผนฯ ด้วย 1.12 การเน้นการกระจายบทบาทไปสู่ทุกส่วน การเพิ่มศักยภาพให้ส่วนต่าง ๆ ในสังคม เช่น อปท. หอการค้า สถานศึกษา เยาวชน ผู้ประกอบการ ฯลฯ 2. ข้อเสนอแนะในแต่ละยุทธศาสตร์ 2.1 ด้านการพัฒนากลไก นโยบาย มาตรการ และกฎหมายที่เป็นเครื่องมือคุ้มครองผู้บริโภค 2.1.1 การพั ฒ นากลไก ควรมี กํ า หนดและแบ่ ง ประเภทของกลไกให้ ชั ด เจน ระหว่ า ง หน่วยงานภาครัฐ (บังคับใช้กฎหมาย) กับหน่วยงานเอกชน (หน่วยสนับสนุน) เพื่อให้เห็นงานที่จะเชื่อมต่อกันหรือ บูรณาการร่วมกัน แต่ควรไม่ซ้ําซ้อนกัน รวมทั้งควรกําหนดประเภทและประเด็นของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจน ลด 56
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
การซ้ําซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น งานรับเรื่องร้องเรียนมีหลายส่วนควรกําหนดประเด็น/ระบบส่งต่อที่ชัดเจน เป็นระบบ หรือมีจุดรับเรื่องร้องเรียนที่จุดเดียวเลย (one stop service) 2.1.2 คณะกรรมการ/กลไกการคุ้มครองผู้ บ ริ โ ภคมีองค์ป ระกอบของหลายฝ่า ยและมี ความรู้ครอบคลุมการคุ้มครองผู้บริโภค 2.1.3 บทบาทและกลไกขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องที่ชัดเจน 2.1.4 เพิ่มกลไกของส่วนของทนายอาสา สภาทนายความคุ้มครองผู้บริโภค 2.1.5 มีกองทุนคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อต่อสู้คดีร้องเรียนต่าง ๆ 2.1.6 ระบบฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน เพื่อส่งต่ออย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ 2.1.7 มีแผนปฏิบัติการที่เน้นเรื่องการบูรณาการการทํางานร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้การบูรณาการคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพ 2.1.8 การบูรณาการควรมีความชัด เจนในหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ควรบูรณาการการใช้ ทรัพยากรร่วมกันระหว่างหน่วยงานราชการ (ที่มีงบประมาณพร้อม) ลดบทบาทด้านการประสานงานหรือการบังคับ ใช้กฎหมายของหน่วยงานสนับสนุน (เช่น สคบ.) เพื่อเน้นให้ทําบทบาทด้านการให้ความรู้ การสื่อสาร และการสร้าง การเข้าถึงของประชาชนหรือผู้บริโภคมากขึ้น 2.2 ด้านการพัฒนาองค์ความรูก้ ารคุม้ ครองผูบ้ ริโภค และการสือ่ สารสาธารณะ 2.2.1 กลยุทธ์การพัฒนาองค์ความรู้ ควรเพิ่มการพัฒนาศักยภาพแกนนําชุมชน แกนนํา ชมรมคุ้มครองผู้บริโภคให้เป็นวิทยากร สามารถให้ความรู้ ให้คําปรึกษา และสามารถสร้างความตระหนักในสิทธิและ การคุ้มครองผู้บริโภค และเพิ่มการพัฒนาศักยภาพมากกว่าในสถานศึกษา ควรไปสู่กลุ่มหน่วยงานต่าง ๆ ที่สามารถ พัฒนาองค์ความรู้ได้ด้วย 2.2.2 เน้นกระบวนการแลกเปลี่ยน พัฒนาให้เกิดศูนย์เรียนรู้การคุ้มครองผู้บริโภค 2.2.3 กลยุทธ์สื่อสารสาธารณะ เพิ่มช่องทางสื่อสาธารณะการคุ้มครองผู้บริโภค (ไม่เสียเงิน ออกสื่อ)/ ช่องทางสื่อกับชุมชน 2.2.4 พื้นที่สาธารณะต่าง ๆ แหล่งท่องเที่ยว ตลาด ร้านค้า ควรพัฒนาให้เกิดสื่อคุ้มครอง ผู้บริโภค (ฉลาก/ประกาศบอกตามร้านค้า) 2.2.5 กลไกการจัดการตรวจสอบสื่อ มาตรการตรวจสอบสื่อ? ชัดเจน เป็นจริง ประชาชน ตรวจสอบสื่อได้
57
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2.3 ด้านการสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ทุกภาคส่วน 2.3.1 ให้ความสําคัญกับท้องถิ่นมากขึ้น โดยเฉพาะ อปท. ซึ่งมีบทบาทในเรื่องคุ้มครอง ผู้บริโภคด้วย (มีคู่มือ/การพัฒนาศักยภาพให้ อปท.) 2.3.2 มีกิจกรรมการเชื่อมร้อยเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง เช่น วันคุ้มครองผู้บริโภค เป็นวัน เชื่อมร้อยเครือข่ายฯ กับกลุ่มต่าง ๆ 2.3.3 เน้นการสร้างเครือข่ายระดับชุมชน ท้องถิ่น เขต 2.3.4 เน้นการถอดบทเรียน ให้เกิดต้นแบบ 2.3.5 มีกจิ กรรมเชือ่ มร้อยเครือข่ายระดับประเทศปีละครัง้ เน้นการแลกเปลีย่ นเพิม่ พลัง 2.4 ด้านการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน และเป็นธรรม 2.4.1 การรณรงค์/กําหนดมาตรการ /สร้างกระแสต่อเนื่อง ในเรื่องสิ่งแวดล้อม พลังงาน และสิทธิต่าง ๆ ทําให้ทุกส่วนมีส่วนร่วม เช่น เยาวชน ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น 2.4.2 สร้างเครือข่ายความร่วมมือจะทําให้การทํางานคุ้มครองผู้บริโภคยั่งยืน 2.4.3 ผู้ประกอบการเป็นส่วนสําคัญ ต้องทํางานรณรงค์และมีมาตรการกับผู้ประกอบการ ด้วย
58
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ผลการสํารวจความคิดเห็นต่อแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภค การสํารวจความคิดเห็นต่อแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ด้วยวิธีการจัดส่งแบบสํารวจความคิดเห็นไปยังหน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจําจังหวัด และองค์กรปกครองส่ว น ท้องถิ่น ซึ่งได้รับแบบสํารวจกลับคืนมา 2,088 ชุด มีผลการสํารวจความคิดเห็น สรุปได้ ดังนี้ ประเภทหน่วยงานที่ท่านสังกัด ผู้ตอบแบบสํารวจ ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ (ร้อยละ 88.51) รองลงมาเป็นหน่วยงานภาค ประชาชน/องค์กรพัฒนาเอกชน (ร้อยละ 4.79) ภาคเอกชน (ร้อยละ 4.60) และภาครัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 2.11) ตามลําดับ จํานวน ภาครัฐ
ร้อยละ
1,848
88.51
ภาครัฐวิสาหกิจ
44
2.11
ภาคเอกชน
96
4.60
100
4.79
ภาคประชาชน/องค์กรพัฒนาเอกชน
2,088
59
100.00
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ประเภทสินค้าและบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน / องค์กร (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ) ผู้ต อบแบบสํ า รวจส่ว นใหญ่ มีค วามรับ ผิด ชอบในด้ า นสิน ค้า และบริก ารทั่ ว ไป (ร้อ ยละ 32.97) บริก าร สาธารณะ (ร้อยละ 25.12) ผลิตภัณฑ์สุขภาพและบริการสุขภาพ (ร้อยละ 15.10) ตามลําดับ
จํานวน
ร้อยละ
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ/บริการสุขภาพ
196
15.10
สื่อสารโทรคมนาคม พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์
150
11.56
ธนาคาร การเงิน องค์กรที่ให้สินเชื่อ
100
7.70
บริการสาธารณะ
326
25.12
สินค้าและบริการทั่วไป
428
32.97
98
7.55
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เช่น ศาล อัยการ
1,298
60
100.00
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงาน / องค์กร ผู้ ต อบแบบสํ า รวจส่ ว นใหญ่ ไ ม่ พ บปั ญ หาที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สิ น ค้ า และบริ ก ารที่ อ ยู่ ใ นความรั บ ผิ ด ชอบ (ร้อยละ 61.34) มีผู้ต อบแบบสํารวจบางส่ว นพบปัญ หาที่เ กี่ย วข้องกับสินค้าและบริการที่อยู่ในความรับ ผิด ชอบ (ร้ อ ยละ 38.66) เช่ น ปั ญ หาสิ น ค้ า และบริ ก ารไม่ ไ ด้ ม าตรฐาน, ปั ญ หาการบริ ก ารสาธารณะ การบริ ก ารด้ า น สาธารณสุข, สัญญาที่ไม่เป็นธรรมในการเช่าซื้อที่ดิน ที่อยู่อาศัย รถยนต์, ฉลาก และการไม่ติดป้ายราคาสินค้า, การ โฆษณาเกินจริง, บุคลากรน้อย ไม่มีความรู้ความชํานาญ และงบประมาณมีจํากัด เป็นต้น จํานวน พบปัญหา ไม่พบปัญหา
61
ร้อยละ
764
38.66
1,212
61.34
1,976
100.00
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
บทบาท หน้าที่ขององค์กรท่านในการคุ้มครองผู้บริโภค (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ) ผู้ต อบแบบสํ า รวจส่ ว นใหญ่มี ห น้า ที่ ในการรณรงค์ ประชาสั มพั น ธ์ (ร้ อ ยละ 19.91) รั บ เรื่ อ งร้ อ งเรี ย น (ร้อยละ 16.20) ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง (ร้อยละ 14.46) ตามลําดับ
จํานวน
ร้อยละ
การขึ้นทะเบียน/ใบอนุญาต
188
5.13
การถอนทะเบียน/ใบอนุญาต
130
3.55
96
2.62
ติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวัง
530
14.46
การรับเรื่องร้องเรียน
594
16.20
การเจรจาไกล่เกลี่ย
398
10.86
การจับกุม
146
3.98
การดําเนินคดี
226
6.16
34
0.93
การรณรงค์ประชาสัมพันธ์
730
19.91
การเสริมพลังผู้บริโภค
210
5.73
การเสริมพลังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
178
4.86
การให้รางวัลให้กําลังใจภาคธุรกิจ
90
2.45
116
3.16
3,666
100.00
การออกมาตรฐาน/ มาตรการ/ ระเบียบ
การชดเชย เยียวยาความเสียหาย
การจัดทําความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
62
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ทิศทางการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย ควรมีแนวทางอย่างไร (เลือกเพียง 1 ข้อ) ผู้ตอบแบบสํารวจส่วนใหญ่มีความต้องการให้มีทิศทางการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเน้นรูปแบบสิทธิผู้บริโภค คือ สิทธิพลเมือง (Seller Beware: Protection Model) (ร้อยละ 48.18) รองลงมาต้องการให้เน้นรูปแบบการให้ข้อมูล ข่าวสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (Buyer Beware: Information Model) (ร้อยละ 33.83) และรูปแบบการเจรจา ต่ อ รองระหว่ า งผู้ ผ ลิ ต และผู้ บ ริ โ ภค (Agreement Must be Kept: Negotiation Model) (ร้ อ ยละ 15.84) ตามลําดับ จํานวน
ร้อยละ
Information Model
615
33.83
Negotiation Model
288
15.84
Protection Model
876
48.18
1,818
100.00
63
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ข้อเสนอแนะต่อแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ (พ.ศ.2556-2560) 2560) ผู้ ต อบแบบสํ า รวจส่ ว นใหญ่ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ แผนแม่ บ ทการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค โดยเห็ น ด้ ว ยกั บ วิ สั ย ทั ศ น์ (ร้อยละ 94.25) เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ที่ 1 (ร้อยละ93.49) เห็นด้วยกับยุทธศาสตร์ที่ 2 (ร้อยละ 95.40) เห็นด้วยกับ ยุทธศาสตร์ที่ 3 (ร้อยละ 93.30) เห็น ด้ว ยกับยุทธศาสตร์ที่ 4 (ร้อยละ 94.44) และเห็นด้วยกับ ยุทธศาสตร์ที่ 5 (ร้อยละ 92.15)
ร้อยละ วิสัยทัศน์
94.25
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนากลไก นโยบาย มาตรการ และกฎหมายที่เป็นเครื่องมือใน การคุ้มครองผู้บริโภค
93.49
ยุทธศาสตร์ 2 พัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหา การคุ้มครองผู้บริโภค
95.40
ยุทธศาสตร์ 3 การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และการสื่อสาร สาธารณะ เพื่อสร้างความตระหนักให้กับผู้บริโภค ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
93.30
ยุทธศาสตร์ 4 การสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค และ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
94.44
ยุทธศาสตร์ 5 การส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
92.15
ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสํารวจมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อให้แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภค มีความสมบูรณ์มาก ขึ้น ดังนี้ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ♦
วิสัยทัศน์ควรเป็นข้อความสั้น ๆ เข้าใจง่าย และปฏิบัติได้
♦
วิสัยทัศน์ไม่ควรเน้นที่การต้องตามมาตรฐานระดับสากลควรเน้นที่การให้ความรู้กับผู้บริโภค
♦
ควรเน้นเรื่องมาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้าและบริการ 64
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
♦
ควรเน้นให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าและบริการอย่างเสรี เป็นธรรม และมีความพึงพอใจ
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนากลไก นโยบาย มาตรการ และกฎหมายที่เป็นเครื่องมือในการคุ้มครอง ผู้บริโภค ♦
กฎหมายที่เกี่ยวข้องมีความเหมาะสม แต่การบังคับใช้กฎหมายยังไม่ดีพอ
♦
ควรมีการบังคับใช้กฎหมาย และพัฒนากลไกการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ
♦
ควรเน้นการกํากับดูแลสินค้า ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้ผลิตผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน
♦
ควรเพิ่มบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ และทรัพยากรในการติดตามตรวจสอบ
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการคุ้มครอง ผู้บริโภค ♦
ควรมีการติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และหากผู้บริโภคได้รับผลกระทบหรือถูกเอาเปรียบควรมี การแจ้งข้อมูลให้ผู้บริโภคทุกคนได้รับทราบข้อมูล
♦
การเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญ หาต้องมีการดํา เนินการร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการที่มี ความรู้เฉพาะด้าน ตลอดจนบูรณาการการทํางานระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้การป้องกันและแก้ไข ปัญหามีความรวดเร็ว และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้าง ความตระหนักให้กับผู้บริโภค ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ♦
การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เนื้อหาต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และลักษณะของพื้นที่
♦
ควรสนับสนุนทรัพยากร องค์ความรู้ และบุคลากรในการประชาสัมพันธ์ลงไปในระดับพื้นที่
♦
ควรเพิ่มการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อชุมชน สื่อในสถานศึกษา ตลอดจนจัดทําหลักสูตรการ คุ้มครองผู้บริโภคสําหรับใช้ในสถานศึกษา
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วน ♦
ควรมีการพัฒนาศักยภาพเพื่อพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนเครือข่ายผู้บริโภคที่ช่วย สนับสนุนงานคุ้มครองผู้บริโภค 65
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
♦
ควรมีการบูรณาการการคุ้มครองผู้บริโภคให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการ ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ♦
ควรเน้นให้ผู้ประกอบการ มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยรัฐต้องมีมาตรการ สนับสนุนผู้ประกอบธุรกิจ และผู้บริโภคก็ควรสนับสนุนสินค้าและบริการของผู้ประกอบการที่ปฏิบัติ ดี
66
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย
จากการวิเ คราะห์ โครงสร้างการดํา เนินงานของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การคุ้มครองผู้บ ริโ ภคใน ประเทศไทย ตลอดจนสถานการณ์ปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภค สามารถสรุปสถานการณ์ปัญหาการคุ้มครอง ผู้บริโภคในประเทศได้ รายละเอียดดังต่อไปนี้
1. จุดแข็ง 1.1 ด้านการบังคับใช้กฎหมาย 1.1.1 หน่วยงานภาครัฐ หลายหน่ว ยงาน มีการจัดตั้งหน่ว ยงานเพื่อรับ เรื่องร้องเรีย นและแก้ ไข ปัญหาให้กับผู้บริโภค ในรูปแบบของศูนย์ Hotline หรือจุดบริการเบ็ดเสร็จ ตลอดจนมีการส่งต่อเรื่องร้องเรียนของ ผู้บริโภคไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1.1.2 หน่วยงานระดับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภคใน ระดับพื้นที่มากขึ้น โดยมีคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับจังหวัด คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับ เทศบาล และคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1.1.3 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ ช่วยให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่น และเลือกซื้อสินค้าได้อย่างมั่นใจ โดย สํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มีกิจกรรมการกําหนดมาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานระดับประเทศ คื อ มาตรฐานผลิ ต ภั ณ ฑ์ อุ ต สาหกรรม (มอก.) มาตรฐานระดั บ สากล ได้ แ ก่ International Organization for standardization (ISO), International Electrotechnical Commission (IEC) และมาตรฐานอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีเครื่องหมายการรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ การรับรองฉลากเขียว การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน 1.1.4 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 เอื้อต่อการใช้สิทธิของผู้บริโภคให้เป็นไป อย่างสะดวกรวดเร็ว เที่ยงธรรม ผู้บริโภคสามารถฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียม และภาระการพิสูจน์เป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการ 1.2 ด้านการให้ความรู้ และข้อมูล 1.2.1 มีการบรรจุกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคไว้ในในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษาทั้งในรูปแบบการสอดแทรกในเนื้อหาวิชา ในสาระการเรียนรู้ต่าง และในรูปแบบของกิจกรรม เช่น กิจกรรม ยุว อสคบ. และ กิจกรรม อย.น้อย เป็นต้น
67
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
1.2.2 จังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งด้าน การให้ความรู้กับประชาชน ผู้ประกอบการ และผู้ปฏิบัติงานในฐานะที่เป็นคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคระดับ จังหวัด เทศบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนการดําเนินกิจกรรมตามภารกิจหลักของหน่วยงาน เช่น กรมการขนส่งทางบก กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นต้น 1.2.3 ประเทศไทยมีหน่วยงานภาครัฐ ที่ทําหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารทั้งในระดับจังหวัด และระดับ ประเทศให้กับผู้บ ริ โ ภค และผู้ป ระกอบการเป็น จํานวนมาก ตลอดจนมีกลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มองค์กร เครือข่ายที่เข้มแข็งช่วยรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้แก่ผู้บริโภค 1.2.4 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค มีทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และจังหวัด มีการให้ความรู้ผู้บริโภคผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น นิตยสารฉลาดซื้อ เว็บไซต์ และเครือข่ายในระดับ จังหวัด ตลอดจนให้ข้อมูลผ่านการช่วยเหลือรับเรื่องร้องเรียนความไม่ปลอดภัยในสินค้า และบริการด้านต่าง ๆ 1.2.5 เครือข่ายนักวิชาการ เช่น แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้ และนักวิชาการอื่น ๆ ช่วย สร้างฐานความรู้ด้านวิชาการ พัฒนาศักยภาพ และถ่ายทอดความรู้สู่ผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภค และผู้ปฏิบัติงาน 1.2.6 ภาคธุรกิจมีการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแก่สาธารณะ และการให้ความรู้ ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมแก่ผู้บริโภค โดยมีเป้าประสงค์หลัก คือ การสร้างภาพลักษณ์สีเขียว (Green Image) ซึ่งช่วยให้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจมากขึ้น 1.2.7 ภาคธุรกิจมีการจัดตั้งเครือข่าย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ตลอดจน ประสบการณ์ ก ารดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ เพื่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม เช่ น คณะกรรมการนั ก ธุ ร กิ จ เพื่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มไทย (Thailand Business Council for Sustainable Development) หรื อ TBCSD และเครื อ ข่ า ยการดํ า เนิ น งานด้ า นนิ เ วศ เศรษฐกิจและการผลิตที่สะอาด (Thailand Network of Eco-efficiency and Cleaner Production) หรือ TNEC ซึ่ง ช่ ว ยให้ผู้ ผ ลิ ต มี เ วที แ ลกเปลี่ย นข้ อ มู ล ข่า วสารให้ค วามรู้ เ กี่ย วกั บ เรื่ องการดํ า เนิ น ธุ ร กิ จ เพื่ อ สิ่ ง แวดล้ อ ม การ ดําเนินงานด้านนิเวศเศรษฐกิจ และการผลิตที่สะอาด เพื่อการผลิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน 1.3 ด้านการพัฒนาศักยภาพ 1.3.1 หน่ว ยงานภาครั ฐ ต่า ง ๆ มี โ ครงการให้ ความรู้ และเสริม ศัก ยภาพผู้ ป ฏิบั ติง านในแต่ล ะ หน่วยงาน เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในประเด็นคุ้มครองผู้บริโภค ที่รับผิดชอบ 1.3.2 ภาคธุร กิจมีการอบรม และเสริมศักยภาพผู้ประกอบการในการดําเนินธุรกิจ และการให้ ความรู้ด้านกฎหมาย มาตรฐานสินค้าและบริการ
68
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
1.3.3 ภาคประชาชนมีความพยายามในการพัฒนาศักยภาพภาคประชาชน เช่น โครงการพัฒนา ศักยภาพชมรมคุ้มครองผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร การจัดทําคู่มือปฏิบัติงานของชมรมคุ้มครองผู้บริโภค และการ ติดตามประเมินผลการดําเนินงานของชมรมคุ้มครองผู้บริโภค 1.4 ด้านการเสริมแรงและให้รางวัล 1.4.1 ภาครัฐมีการให้รางวัลผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์ และโฆษณาที่ดี เช่น รางวัล สคบ.อวอร์ด บ้านติดดาว ป้ายประกาศอาหารปลอดภัย ป้ายประกาศร้านยาคุณภาพ ป้ายประกาศหม้อไม่มีตะกั่วเป็นตัวเชื่อม ประสาน โฆษณาดีเด่น เป็นต้น ตลอดจนมีนโยบายสนับสนุนการการผลิตและการบริโภคสินค้าที่ดี และการส่งเสริม ผู้ประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility) หรือ CSR เช่น การลดภาษีให้กับ ภาคธุรกิจ และการส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกบริโภคสินค้าที่ดี ปลอดภัย และไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม 1.4.2 การให้รางวัลกับองค์กรผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภค หรือผู้บริโภคที่สนับสนุนการดําเนินงาน คุ้มครองผู้บริโภค 1.4.3 พระราชบัญ ญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ภาครัฐ ได้ปรับ เปลี่ย น แนวคิดในการจัดการภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจาก “การสั่งการและควบคุม” เป็น “การกํากับและดูแล” และ “การ ป้องกันการเกิดมลพิษ” ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีมุมมองใหม่ต่อสิ่งแวดล้อม พยายามผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม และพยายามสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการเพิ่มขึ้น 1.5 ด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 1.5.1 ภาครัฐมีการใช้เทคโนโลยีในการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ระบบการรับเรื่องทางอินเทอร์เน็ต ของสํ า นัก งานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภค สํา นักงานเลขาธิ การสภาผู้แทนราษฎร มีตู้รั บ เรื่ องร้ องเรีย นที่ หน่วยงานราชการทุกระดับ มีการรวบรวมข้อมูล ฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ และเรื่องร้องเรียนของหน่วยงานภาครัฐที่มี ระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ที่ทันสมัย
2. โอกาส 2.1 การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ช่วยให้มีการปรับปรุง กฎหมาย ข้อบังคับ มาตรฐานต่าง ๆ เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศมีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของการเปลี่ยนแปลงในสังคม และมี ประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การปรับปรุงพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 2.2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซีย น จะทําให้ประเทศไทยต้องปรับรูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความ ทันสมัย และมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น 2.3 การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทําให้ผู้ประกอบการต้องเร่งพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการให้ได้ มาตรฐาน รวมถึงมีมาตรการป้องกัน และเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภค เช่น การใช้เครื่องหมาย สคบ. ในการ รับประกันคุณภาพสินค้าที่จะนําเข้ามาจําหน่ายในประเทศไทย หรือส่งออกไปจําหน่ายในอาเซียน 69
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
3. จุดอ่อน 3.1 ด้านการบังคับใช้กฎหมาย 3.1.1 ขาดนโยบายหลักเพื่อประสานความร่วมมือและบูรณาการการทํางานในภาครัฐ ด้านบุคลากร บทบาทหน้ า ที่ และงบประมาณการดํ า เนิ น งานคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ตลอดจนขาดการติ ด ตามประเมิ น ผลด้ า น ประสิทธิภาพการทํางานของเจ้าหน้าที่และการใช้งบประมาณ 3.1.2 กระบวนการในการเสนอกฎหมายและปรับปรุงกฎหมายมีการแทรกแซงทางการเมือง ส่งผล ให้การจัดทํา หรือปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของประเทศมีความยากลําบาก เช่น ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 3.1.3 การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคมีข้อจํากัด ตัวอย่างเช่น การยกเลิก การนําเข้าและการผลิตสินค้าที่มีแร่ใยหิน ยังไม่สามารถดําเนินการได้จริง นอกจากนี้ กฎหมายยังไม่ครอบคลุมใน ประเด็นเรื่องการเรียกคืนสินค้า การชดเชย และเยียวยาความเสียหาย เช่น ในกรณีการเรียกคืนรถยนต์ที่มีปัญหา หรือการเรียกคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัยออกจากตลาด 3.1.4 กฎหมายบางฉบับมีความล้าสมัย ไม่เหมาะสม ไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงบริบทของ ประเทศ เช่น พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้บริษัทที่ได้รับสัมปทานมากเกินไป ส่งผลให้พลังงานมี ราคาแพง และสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม 3.1.5 การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังไม่มีแนวทางการทํางานที่ ชัดเจน เนื่องจากเจ้าหน้าที่ผู้ป ฏิบัติงานในเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบลส่วนใหญ่มีความเชี่ย วชาญใน ประเด็นเฉพาะด้าน เช่น ด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ด้านโยธา และด้านสาธารณูปโภค ซึ่งยังไม่ครอบคลุมใน ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีความซับซ้อน 3.1.6 กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคของไทยยังไม่ครอบคลุมถึงปัญหาในยุคปัจจุบัน เช่น การทํา ธุรกรรมทางอิเลคทรอนิกส์ ในรูปการฉ้อฉลการซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต ความปลอดภัยในการชําระเงินด้วย บัตรเครดิต ปัญหาความรับผิดชอบเมื่อสินค้าที่ส่งชํารุด ปัญหาการระงับข้อพิพาท และการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ จาก ผู้ประกอบการ 3.1.7 หน่วยงานภาครัฐขาดการบูรณาการในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ส่งผลให้มีการทํางาน ซ้ําซ้อน ทั้งนี้ สถานการณ์ปัญหาสินค้าและบริการปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย และบทบาทหน้าที่ของหลาย หน่ว ยงาน ส่ง ผลให้ผู้บ ริ โ ภคเข้า ถึงยาก เกิด ความสับ สนในการใช้บ ริ การ และการแก้ ไขปัญ หาเกิด ความล่า ช้ า นอกจากนี้ หน่วยงานต่า ง ๆ ที่เ กี่ยวข้องกับ การดําเนิน งานคุ้มครองผู้บริ โภคทั้งภาครัฐ วิชาการ ภาคประชาชน เอกชน และสื่อสารมวลชน ยังขาดการบูรณาการ และการประสานความร่วมมือกัน
70
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
3.1.8 สิทธิของผู้บริ โ ภคของประเทศไทยที่ร ะบุในพระราชบัญ ญัติคุ้มครองผู้บ ริโ ภค พ.ศ.2522 (ปรับปรุง พ.ศ.2541) ยังไม่เท่าเทียมกับสิทธิผู้บริโภคสากล 8 ประการ ที่ระบุเพิ่มเติมถึงสิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าและ บริการจากผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการมากกว่า 1 ราย สิทธิในการแสดงความเห็นในฐานะตัวแทนผู้บริโภค และสิทธิที่จะ ดํารงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี 3.1.9 ภาครั ฐให้ความสําคัญกับมูลค่าทางธุรกิจ มากกว่าความปลอดภัย ของผู้บริโภค เช่น กรณี สารเคมีอันตรายทางการเกษตรซึ่งหลายประเทศเลิกใช้แล้วแต่ประเทศไทยยังคงใช้อยู่ 3.1.10 การกําหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ และมาตรฐานต่าง ๆ ขาดการมีส่วนร่วมในการแสดงความ คิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเครือข่ายผู้บริโภค ส่งผลให้สถานะของผู้บริโภคต่ํากว่าสถานะของผู้ประกอบการ 3.1.11 ผู้บริโภคหรือองค์กรผู้บริโภคขาดโอกาสมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการของหน่วยงาน รั ฐ นอกจากนี้ ประเทศไทยยัง ไม่มี องค์การอิ ส ระเพื่ อการคุ้ มครองผู้บ ริ โ ภค ซึ่งจะช่ ว ยทํ า หน้า ที่ ต รวจสอบการ ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนช่วยให้ผู้บริโภคสามารถร้องเรียน เข้าถึงข้อมูลที่แท้จริง และได้รับการชดเชยเยียวยาที่เป็นธรรม 3.1.12 การรวมกลุ่มของผู้ประกอบธุรกิจในรูปแบบสมาคม ผู้ประกอบธุรกิจ สภาหอการค้าไทย สมาคมโรงแรม สมาคมพ่อค้าไทย ยังมีบทบาทในการดําเนินงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคน้อย 3.2 ด้านการให้ความรู้ และข้อมูล 3.2.1 ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ที่ถูกต้องเพื่อนําไปสู่การตัดสินใจในการ ซื้อสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยได้ลําบาก 3.2.2 ผู้บริโภคมีทัศนคติในเชิงลบต่อการร้องเรียนเมื่อถูกละเมิดสิทธิผู้บริโภค โดยผู้บริโภคมีทัศนะ ว่าการร้องเรียนผู้ประกอบการเป็นเรื่องเสียเวลา และเสียค่าใช้จ่าย มีความกังวลในการร้องเรียนและปัญหาคดีความ ว่าจะทําให้เกิดผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว 3.2.3 เครือข่ายทํางานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมีความเชี่ยวชาญในการคุ้มครองผู้บริโภคในบาง ประเด็น ในขณะที่ปัญหาเรื่องสิน ค้าและบริการมีความหลากหลาย เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหลายภาคส่วน และ กฎหมายหลายฉบับทําให้การทํางานมีความลําบากและประสบความสําเร็จล่าช้า 3.2.4 ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ส่งผลให้ผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิในรูปแบบที่มี ความหลากหลาย อาทิ สินค้าและบริการบางอย่างยังไม่สามารถพิสูจน์ความปลอดภัยได้อย่างชัดเจน การตัดต่อทาง พันธุกรรม ธุรกิจข้ามชาติ ธุรกิจผูกขาดผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคมีความรู้ไม่เท่าทัน ตรวจสอบยาก 3.2.5 ประชาชนไทยส่วนมากยังขาดความตระหนักและจิตสํานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและรักษา สิ่งแวดล้อม ในขณะที่ภาครัฐขาดการสนับสนุน และให้คุณค่ากับผู้ประกอบธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม ธุรกิจเพื่อสังคม
71
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นผลให้ตลาดสีเขียวและธุรกิจที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมีการเจริญเติบโต น้อยกว่าประเทศอื่น ๆ 3.3 ด้านการพัฒนาศักยภาพ 3.3.1 การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น ตลอดจนเครือข่าย ภาคประชาชนน้อย 3.3.2 องค์กร/เครือข่ายคุ้มครองผู้บ ริโภคภาคประชาชน แม้จะมีจํานวนเพิ่มมากขึ้น แต่ยังขาด ความเข็มแข็งในการทํางานคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ ความเข้มแข็งของเครือข่ายผู้บริโภคควรมีองค์ประกอบ ได้แก่ การ จัดตั้งองค์กรที่ชัดเจน มีการทํางานเชิงรับ-รุก มีภารกิจชัดเจน พึ่งตนเองได้ มีรายได้ และงบประมาณ ได้รับการ ยอมรับจากภายในประเทศและต่างประเทศ 3.4 ด้านการเสริมแรงและให้รางวัล 3.4.1 ระบบการให้รางวัลกับผู้บริหารและพนักงานในองค์กรภาคธุรกิจ มีการสนับสนุนส่งเสริม ธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อม และธุรกิจเพื่อสังคม ที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนน้อย 3.5 ด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 3.5.1 ภาครัฐแต่ละหน่วยงานมีฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการ รวมถึงเรื่องร้องเรียนของ ตนเอง แต่ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลซึ่งกันและกัน ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหา ตลอดจนขาดการรับส่ง ข้อมูลในการรับเรื่องร้องเรียน ติดตามเรื่องร้องเรียน และการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนที่อํานวยความสะดวกให้ ผู้บริโภค
4. ภาวะคุกคาม 4.1 ปัญหาการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้การจัดทํากฎหมาย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นไป อย่างล่าช้า เช่น ร่างพระราชบัญญัติองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 4.2 การเปิดเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) แม้จะทําให้เกิดการสร้างระเบียบ กฎเกณฑ์การ ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกันในระหว่างประเทศสมาชิก แต่อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศจะมีมาตรการการ ตีความเรื่องการบังคับใช้ระเบียบ กฎเกณฑ์ดังกล่าวที่แตกต่างกัน ส่งผลให้กระบวนการคุ้มครองผู้บริโภค การยกเลิก การใช้ การชดเชย การเยียวยาความเสียหายระหว่างประเทศมีความยากลําบากมากขึ้น นอกจากนี้ สถานการณ์ ปัญหาสินค้าไม่ได้คุณภาพ สินค้าไม่ปลอดภัย และการละเมิดลิขสิทธิ์จะมีปัญหามากขึ้นบริเวณชายแดน
72
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
บทที่ 3 หลักการ และสาระสําคัญของแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ
วิสัยทัศน์ ! " #$ % ! & ' ( $ ') * ( %
เป้าหมาย แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดแนวทางการบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภค ในประเทศที่เป็นระบบ มีมาตรฐาน เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีความต่อเนื่อง มั่นคง และยั่งยืน ผู้ที่มีส่วนได้ ส่วนเสียได้รับประโยชน์อย่างสมดุลและเป็นธรรม
พันธกิจ 1. พัฒนาระบบและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อป้องกันอันตรายจากสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย โดย อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 2. พัฒนาระบบฐานข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ตลอดจนใช้ข้อมูลในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค 3. พัฒนาองค์ความรู้ และการสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ผ่านช่องทางที่หลากหลายสู่ทุกภาคส่วนที่มี ส่วนเกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้บริโภค 4. ส่ง เสริ มการรวมกลุ่ม และพั ฒ นาศัก ยภาพองค์ ก รผู้ บ ริ โ ภค และภาคี เ ครื อข่ า ยทุ กภาคส่ ว นที่ มีส่ ว น เกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้บริโภค 5. ส่งเสริมการบูรณาการการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเน้นการประสานความร่วมมือ และสร้างกระบวนการมี ส่วนร่วมในทุกระดับจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้บริโภค
73
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กรอบแนวคิดของแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ สรุปบทเรียน องค์ความรู้ / อบรมให้ความรู้ และ
รวบรวมเรื่องร้องเรียน สถานการณ์ปัญหาของ
พัฒนาศักยภาพ
ผู้บริโภค เฝ้าระวังปัญหา (ในประเทศ และ ต่างประเทศ) กลุ่มผู้บริโภค
พัฒนาและปรับปรุงกฎหมาย
การจัดตั้งและพัฒนาศักยภาพกลุ่ม
ภาครัฐ
ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และภาครัฐให้
มาตรการ มาตรฐานต่าง ๆ
เป็นกลุ่ม Active เพื่อร่วมดําเนินงาน ผู้ประกอบการ
แก้ปัญหา เจรจาไล่เกลี่ย การ ชดเชย เยียวยาความเสียหาย (รัฐเป็น
74
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ประเด็นยุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ (พ.ศ.2556-2560) 2560) ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบ กลยุทธ์ 1 พัฒนาระบบการป้องกัน ควบคุม กํากับดูแลสินค้าและบริการให้ และกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค มีความปลอดภัย กลยุทธ์ 2 พัฒนาระบบการเรียกคืนสินค้า การยกเลิกการใช้ การชดเชย และเยียวยาความเสียหายให้กับผูบ้ ริโภค กลยุทธ์ 3 พัฒนานโยบาย และปรับปรุงมาตรการ มาตรฐาน และกฎหมาย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กลยุทธ์ 4 พัฒนามาตรการสนับสนุน และการบังคับใช้ต่างๆ ในการส่งเสริม การบริโภคอย่างยั่งยืน กลยุทธ์ 5 ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบ กลยุทธ์ 1 พัฒนาระบบรวบรวม และเชื่อมโยงข้อมูลการร้องเรียน และ ฐ า น ข้ อ มู ล ใ น ก า ร คุ้ ม ค ร อ ง สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภค ผู้บริโภค กลยุทธ์ 2 พัฒนาฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียนสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหา ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาองค์ กลยุทธ์ 1 เสริมสร้างองค์ความรูด้ า้ นการคุ้มครองผู้บริโภคสอดคล้องกับ ความรู้ และการสื่อสารเพื่อการ สถานการณ์การคุม้ ครองผูบ้ ริโภค กลยุทธ์ 2 การให้ความรู้ผ่านช่องทาง และวิธีการที่หลากหลาย คุ้มครองผู้บริโภค กลยุทธ์ 3 การติดตามตรวจสอบ และสนับสนุนการทํางานของสื่อ กลยุทธ์ 4 เสริมสร้างความรู้แก่ผู้บริโภค ในการบริโภคอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างและ การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย คุ้มครองผู้บริโภค
กลยุทธ์ 1 การสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค กลยุทธ์ 2 การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริม การบูรณาการการคุ้มครอง ผู้บริโภค
กลยุทธ์ 1 การส่งเสริม และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการ คุ้มครองผู้บริโภค กลยุทธ์ 2 ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายระหว่างกลุ่มผู้ผลิต ผู้บริโภค ภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างยั่งยืน
75
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
р╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣Мр╕Чр╕╡р╣И 1 р╕Бр╕▓р╕гр╕Юр╕▒р╕Тр╕Щр╕▓р╕гр╕░р╕Ър╕Ъ р╣Бр╕ер╕░р╕Бр╕ер╣Др╕Бр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Д р╣Ар╕Ыр╣Йр╕▓р╕лр╕бр╕▓р╕вр╕Вр╕нр╕Зр╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣М р╕Бр╕ер╣Др╕Бр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╕Вр╕нр╕Зр╕Ыр╕гр╕░р╣Ар╕Чр╕ир╣Др╕Чр╕в р╕бр╕╡р╕Др╕зр╕▓р╕бр╣Ар╕Бр╕╡р╣Ир╕вр╕зр╕Вр╣Йр╕нр╕Зр╕Бр╕▒р╕Ър╕лр╕Щр╣Ир╕зр╕вр╕Зр╕▓р╕Щр╕ар╕▓р╕Др╕гр╕▒р╕Рр╕лр╕ер╕▓р╕вр╕лр╕Щр╣Ир╕зр╕вр╕Зр╕▓р╕Щ р╕Хр╕ер╕нр╕Фр╕Ир╕Щ р╕бр╕╡р╕бр╕▓р╕Хр╕гр╕Бр╕▓р╕г р╕Бр╕Ор╕лр╕бр╕▓р╕в р╣Бр╕ер╕░р╕гр╕░р╣Ар╕Ър╕╡р╕вр╕Ър╕Вр╣Йр╕нр╕Ър╕▒р╕Зр╕Др╕▒р╕Ър╕лр╕ер╕▓р╕вр╕Фр╣Йр╕▓р╕Щ р╕кр╣Ир╕Зр╕Ьр╕ер╣Гр╕лр╣Йр╕Бр╕▓р╕гр╕Ыр╣Йр╕нр╕Зр╕Бр╕▒р╕Щ р╕Др╕зр╕Ър╕Др╕╕р╕б р╕Бр╣Нр╕▓р╕Бр╕▒р╕Ър╕Фр╕╣р╣Бр╕ер╕кр╕┤р╕Щр╕Др╣Йр╕▓р╣Бр╕ер╕░р╕Ър╕гр╕┤р╕Бр╕▓р╕гр╣Гр╕лр╣Йр╕бр╕╡ р╕Др╕зр╕▓р╕бр╕Ыр╕ер╕нр╕Фр╕ар╕▒р╕в р╕гр╕зр╕бр╕Цр╕╢р╕Зр╕Бр╕▓р╕гр╣Ар╕гр╕╡р╕вр╕Бр╕Др╕╖р╕Щр╕кр╕┤р╕Щр╕Др╣Йр╕▓ р╕Бр╕▓р╕гр╕вр╕Бр╣Ар╕ер╕┤р╕Бр╕Бр╕▓р╕гр╣Гр╕Кр╣Й р╕Бр╕▓р╕гр╕Кр╕Фр╣Ар╕Кр╕в р╣Ар╕вр╕╡р╕вр╕зр╕вр╕▓р╕Др╕зр╕▓р╕бр╣Ар╕кр╕╡р╕вр╕лр╕▓р╕вр╣Бр╕ер╕░р╕Бр╕▓р╕гр╕кр╣Ир╕Зр╣Ар╕кр╕гр╕┤р╕бр╕Бр╕▓р╕г р╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╕нр╕вр╣Ир╕▓р╕Зр╕вр╕▒р╣Ир╕Зр╕вр╕╖р╕Щр╕вр╕▒р╕Зр╕Фр╣Нр╕▓р╣Ар╕Щр╕┤р╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╣Др╕Фр╣Йр╕нр╕вр╣Ир╕▓р╕Зр╕Ир╣Нр╕▓р╕Бр╕▒р╕Ф р╣Бр╕ер╕░р╣Др╕бр╣Ир╕Ыр╕гр╕░р╕кр╕Ър╕Др╕зр╕▓р╕бр╕кр╣Нр╕▓р╣Ар╕гр╣Зр╕Ир╣Ар╕Чр╣Ир╕▓р╕Чр╕╡р╣Ир╕Др╕зр╕г р╕Чр╕▒р╣Йр╕Зр╕Щр╕╡р╣Й р╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣Мр╕Бр╕▓р╕гр╕Юр╕▒р╕Тр╕Щр╕▓р╕гр╕░р╕Ър╕Ъ р╣Бр╕ер╕░р╕Бр╕ер╣Др╕Бр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╕Ир╕╢р╕Зр╕бр╕╡р╣Ар╕Ыр╣Йр╕▓р╕лр╕бр╕▓р╕вр╣Ар╕Юр╕╖р╣Ир╕нр╕Юр╕▒р╕Тр╕Щр╕▓р╕гр╕░р╕Ър╕Ър╣Бр╕ер╕░р╕Бр╕ер╣Др╕Бр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╣Гр╕Щр╕гр╕░р╕Фр╕▒р╕Ър╕Чр╣Йр╕нр╕Зр╕Цр╕┤р╣Ир╕Щ р╕гр╕░р╕Фр╕▒р╕Ъ р╕Ир╕▒р╕Зр╕лр╕зр╕▒р╕Ф р╕гр╕░р╕Фр╕▒р╕Ър╕ар╕▓р╕Д р╕гр╕░р╕Фр╕▒р╕Ър╕Ыр╕гр╕░р╣Ар╕Чр╕и р╣Бр╕ер╕░р╕гр╕░р╕лр╕зр╣Ир╕▓р╕Зр╕Ыр╕гр╕░р╣Ар╕Чр╕и р╣Ар╕Юр╕╖р╣Ир╕нр╕Ыр╣Йр╕нр╕Зр╕Бр╕▒р╕Щр╕нр╕▒р╕Щр╕Хр╕гр╕▓р╕вр╕Ир╕▓р╕Бр╕кр╕┤р╕Щр╕Др╣Йр╕▓р╣Бр╕ер╕░р╕Ър╕гр╕┤р╕Бр╕▓р╕гр╕Чр╕╡р╣Ир╣Др╕бр╣Ир╕Ыр╕ер╕нр╕Фр╕ар╕▒р╕в р╕Бр╕▓р╕г р╣Ар╕гр╕╡р╕в р╕Бр╕Др╕╖р╕Щр╕кр╕┤р╕Щр╕Др╣Йр╕▓ р╕Бр╕▓р╕гр╕вр╕Бр╣Ар╕ер╕┤р╕Бр╕Бр╕▓р╕гр╣Гр╕Кр╣Й р╕Бр╕▓р╕гр╕Кр╕Фр╣Ар╕Кр╕в р╣Бр╕ер╕░р╣Ар╕вр╕╡р╕вр╕зр╕вр╕▓р╕Др╕зр╕▓р╕бр╣Ар╕кр╕╡р╕в р╕лр╕▓р╕в р╕Хр╕ер╕нр╕Фр╕Ир╕Щр╕Юр╕▒р╕Тр╕Щр╕▓р╣Бр╕ер╕░р╕Ыр╕гр╕▒р╕Ъ р╕Ыр╕гр╕╕р╕Зр╕Щр╣Вр╕вр╕Ър╕▓р╕в р╕бр╕▓р╕Хр╕гр╕Бр╕▓р╕г р╣Бр╕ер╕░р╕Бр╕Ор╕лр╕бр╕▓р╕вр╕Чр╕╡р╣Ир╣Ар╕Ыр╣Зр╕Щр╣Ар╕Др╕гр╕╖р╣Ир╕нр╕Зр╕бр╕╖р╕н р╣Гр╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╣Гр╕лр╣Йр╕бр╕╡р╕Ыр╕гр╕░р╕кр╕┤р╕Чр╕Шр╕┤р╕ар╕▓р╕Ю р╣Вр╕Фр╕вр╕нр╕▓р╕ир╕▒р╕вр╕Бр╕гр╕░р╕Ър╕зр╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕бр╕╡р╕кр╣Ир╕зр╕Щр╕гр╣Ир╕зр╕б р╕Вр╕нр╕Зр╕Чр╕╕р╕Бр╕ар╕▓р╕Др╕кр╣Ир╕зр╕Щ
р╕Хр╕▒р╕зр╕Кр╕╡р╣Йр╕зр╕▒р╕Фр╕Ыр╕гр╕░р╣Ар╕Фр╣Зр╕Щр╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣М
1.р╕Ьр╕╣р╣Й р╕Ъ р╕гр╕┤ р╣В р╕ар╕Др╣Др╕Фр╣Й р╕гр╕▒ р╕Ъ р╕кр╕┤ р╕Щ р╕Др╣Й р╕▓ р╕лр╕гр╕╖ р╕н 1.1 р╕Ир╣Н р╕▓ р╕Щр╕зр╕Щр╕Вр╕нр╕Зр╕кр╕┤ р╕Щ р╕Др╣Й р╕▓ р╣Бр╕ер╕░р╕Ър╕гр╕┤ р╕Б р╕▓р╕гр╕Чр╕╡р╣И р╣Д р╕Фр╣Й р╕гр╕▒ р╕Ъ р╕Бр╕▓р╕г р╕Ър╕гр╕┤ р╕Б р╕▓р╕гр╕Чр╕╡р╣И р╕бр╕╡ р╕б р╕▓р╕Хр╕гр╕Рр╕▓р╕Щ р╣Бр╕ер╕░ р╕Хр╕гр╕зр╕Ир╕кр╕нр╕Ър╕Др╕╕р╕Ур╕ар╕▓р╕Ю р╕Др╕зр╕▓р╕бр╕Ыр╕ер╕нр╕Фр╕ар╕▒р╕в р╣Др╕Фр╣Йр╕гр╕▒р╕Ъ р╕Бр╕▓р╕гр╕Ыр╣Йр╕нр╕Зр╕Бр╕▒р╕Щ р╣Ар╕вр╕╡р╕в р╕зр╕вр╕▓р╣Гр╕Щ р╣Ар╕гр╕╖р╣И р╕нр╕Зр╕Вр╕нр╕Зр╕Др╕зр╕▓р╕бр╕Ыр╕ер╕нр╕Фр╕ар╕▒ р╕в р╕Вр╕нр╕З р╕кр╕┤р╕Щр╕Др╣Йр╕▓р╣Бр╕ер╕░р╕Ър╕гр╕┤р╕Бр╕▓р╕г 1.2 р╕гр╣Йр╕нр╕вр╕ер╕░р╕Вр╕нр╕Зр╕Ир╣Нр╕▓р╕Щр╕зр╕Щр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣В р╕ар╕Др╕Чр╕╡р╣Ир╣Др╕Фр╣Йр╕гр╕▒р╕Ър╕Ыр╕гр╕░р╣Вр╕вр╕Кр╕Щр╣М р╕Ир╕▓р╕Бр╕Бр╕▓р╕гр╕Кр╕Фр╣Ар╕Кр╕в р╣Бр╕ер╕░р╣Ар╕вр╕╡р╕вр╕зр╕вр╕▓р╕Др╕зр╕▓р╕бр╣Ар╕кр╕╡р╕вр╕лр╕▓р╕в
р╕гр╕зр╕Ър╕гр╕зр╕бр╕Ир╣Н р╕▓ р╕Щр╕зр╕Щр╕кр╕┤ р╕Щ р╕Др╣Й р╕▓ р╣Бр╕ер╕░р╕Ър╕гр╕┤ р╕Б р╕▓р╕гр╕Чр╕╡р╣И р╣Д р╕Фр╣Й р╕Фр╣Н р╕▓ р╣Ар╕Щр╕┤ р╕Щ р╕Бр╕▓р╕г р╕Хр╕гр╕зр╕Ир╕кр╕нр╕Ър╕Др╕╕р╕Ур╕ар╕▓р╕Ю р╕Др╕зр╕▓р╕бр╕Ыр╕ер╕нр╕Фр╕ар╕▒р╕вр╣Гр╕Щр╕гр╕нр╕Ъ 1 р╕Ыр╕╡
р╕Др╣Н р╕▓ р╕Щр╕зр╕Ур╕лр╕▓р╕Др╣И р╕▓ р╕гр╣Й р╕н р╕вр╕ер╕░р╕Вр╕нр╕Зр╕Ир╣Н р╕▓ р╕Щр╕зр╕Щр╕Ьр╕╣р╣Й р╕Ъ р╕гр╕┤ р╣В р╕ар╕Др╕Чр╕╡р╣И р╣Д р╕Фр╣Й р╕гр╕▒ р╕Ъ р╕Ыр╕гр╕░р╣Вр╕вр╕Кр╕Щр╣Мр╕Ир╕▓р╕Бр╕Бр╕▓р╕гр╕Кр╕Фр╣Ар╕Кр╕в р╣Бр╕ер╕░р╣Ар╕вр╕╡р╕вр╕зр╕вр╕▓р╕Др╕зр╕▓р╕бр╣Ар╕кр╕╡р╕вр╕лр╕▓р╕в р╣Гр╕Щр╕гр╕нр╕Ъ1 р╕Ыр╕╡ р╣Ар╕Ыр╕гр╕╡ р╕в р╕Ър╣Ар╕Чр╕╡ р╕в р╕Ър╕Бр╕▒ р╕Ъ р╕Ир╣Н р╕▓ р╕Щр╕зр╕Щр╕Ьр╕╣р╣Й р╕Ъ р╕гр╕┤ р╣В р╕ар╕Др╕Чр╕╡р╣И р╕гр╣Йр╕нр╕Зр╣Ар╕гр╕╡р╕вр╕Щр╕Чр╕▒р╣Йр╕Зр╕лр╕бр╕Фр╣Гр╕Щр╕гр╕нр╕Ъ 1 р╕Ыр╕╡ 2 . р╕Щ р╣В р╕в р╕Ъ р╕▓ р╕в р╕б р╕▓ р╕Х р╕г р╕Р р╕▓ р╕Щ 2.1 р╕Ир╣Н р╕▓ р╕Щр╕зр╕Щр╕бр╕▓р╕Хр╕гр╕Рр╕▓р╕Щ р╕бр╕▓р╕Хр╕гр╕Бр╕▓р╕г р╕Бр╕Ор╕лр╕бр╕▓р╕в р╕гр╕зр╕Ър╕гр╕зр╕бр╕Ир╣Н р╕▓ р╕Щр╕зр╕Щр╕бр╕▓р╕Хр╕гр╕Рр╕▓р╕Щ р╕бр╕▓р╕Хр╕гр╕Бр╕▓р╕г р╕Бр╕Ор╕лр╕бр╕▓р╕в р╕Бр╕Ор╕лр╕бр╕▓р╕в р╕Хр╕ер╕нр╕Фр╕Ир╕Щр╕гр╕░р╣Ар╕Ър╕╡ р╕в р╕Ъ р╕Хр╕ер╕нр╕Фр╕Ир╕Щр╕гр╕░р╣Ар╕Ър╕╡ р╕в р╕Ър╕Вр╣Й р╕н р╕Ър╕▒ р╕З р╕Др╕▒ р╕Ъ р╕Хр╣И р╕▓ р╕З р╣Ж р╕Чр╕╡р╣И р╣Д р╕Фр╣Й р╕гр╕▒ р╕Ъ р╕Бр╕▓р╕г р╕гр╕░р╣Ар╕Ър╕╡р╕вр╕Ър╕Вр╣Йр╕нр╕Ър╕▒р╕Зр╕Др╕▒р╕Ър╕Хр╣Ир╕▓р╕З р╣Ж р╕Чр╕╡р╣Ир╣Др╕Фр╣Йр╕гр╕▒р╕Ър╕Бр╕▓р╕гр╕Юр╕┤р╕Ир╕▓р╕гр╕Ур╕▓р╣Бр╕ер╕░р╕бр╕╡ р╕Вр╣Й р╕н р╕Ър╕▒ р╕З р╕Др╕▒ р╕Ъ р╕Хр╣И р╕▓ р╕З р╣Ж р╣Г р╕Щ р╕Б р╕▓ р╕г р╕Юр╕┤р╕Ир╕▓р╕гр╕Ур╕▓ р╣Бр╕ер╕░р╕бр╕╡р╕Вр╣Йр╕нр╕кр╕гр╕╕р╕Ы р╕Вр╣Йр╕нр╕кр╕гр╕╕р╕Ы р╣Гр╕Щр╕гр╕нр╕Ъ 1 р╕Ыр╕╡ р╕Др╕╕р╣Й р╕б р╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Й р╕Ъ р╕гр╕┤ р╣В р╕ар╕Др╣Др╕Фр╣Й р╕гр╕▒ р╕Ъ р╕Бр╕▓р╕г р╕Чр╕Ър╕Чр╕зр╕Щ р╕Ыр╕гр╕▒р╕Ър╕Ыр╕гр╕╕р╕З р╣Гр╕лр╣Йр╕кр╕▓р╕бр╕▓р╕гр╕Ц р╕Ър╕▒р╕Зр╕Др╕▒р╕Ър╣Гр╕Кр╣Йр╣Др╕Фр╣Йр╕нр╕вр╣Ир╕▓р╕Зр╕бр╕╡р╕Ыр╕гр╕░р╕кр╕┤р╕Чр╕Шр╕┤р╕Ьр╕е
76
р╕гр╕▓р╕вр╕Зр╕▓р╕Щр╕Йр╕Ър╕▒р╕Ър╕кр╕бр╕Ър╕╣р╕гр╕Ур╣М р╣Бр╕Ьр╕Щр╣Бр╕бр╣Ир╕Ър╕Чр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╣Бр╕лр╣Ир╕Зр╕Кр╕▓р╕Хр╕┤ р╕Йр╕Ър╕▒р╕Ър╕Чр╕╡р╣И 1 (р╕Ю.р╕и.2556-2560)
หน่วยงานกํากับการดําเนินงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงาน (1) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (3) กระทรวงพาณิชย์ (4) กระทรวงอุตสาหกรรม (5) กระทรวงสาธารณสุข (6) กระทรวงคมนาคม (7) กระทรวงมหาดไทย (8) กระทรวงยุติธรรม (9) กระทรวงการคลัง (10) กระทรวงพลังงาน (11) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (12) กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (13) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (14) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (15) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (16) หน่วยงานอิสระ องค์กรอิสระ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กสทช. คปภ. คณะกรรมการสิทธิฯ สภาที่ปรึกษาฯ (17) องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ได้แก่ กลุ่ม/ชมรม/มูลนิธิ/ศูนย์คุ้มครอง ผู้บริโภค (18) ภาคธุรกิจ สมาคม และกลุ่มผู้ประกอบการ ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (19) สภาวิชาชีพ ได้แก่ แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาการพยาบาล สัตวแพทยสภา สภาเทคนิ ค การแพทย์ สภากายภาพบํ า บั ด สภาวิ ศ วกร สภาสถาปนิ ก สภาวิ ช าชี พ บั ญ ชี สภาทนายความ เนติ บั ณ ฑิ ต ยสภา สภาวิ ช าชี พ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี สภาวิ ช าชี พ ข่ า ววิ ท ยุ แ ละโทรทั ศ น์ ไ ทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กลยุทธ์ 1 พัฒนาระบบการป้องกัน ควบคุม กํากับดูแลสินค้า และบริการให้มีความปลอดภัย เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการควบคุม กํากับดูแลสินค้าและบริการ ทั้งก่อนและหลังการออกสู่ ตลาด ทั้งด้านการผลิต การนําเข้า การครอบครอง การจําหน่าย การโฆษณา การใช้ การกําจัด และการบําบัดทําลาย ให้เป็นตามระเบียบหลักเกณฑ์อย่างจริงจัง 77
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) การพัฒนาระบบการควบคุม กํา กับดูแล ตลอดจนมาตรฐานสินค้าและบริการของหน่วยงานต่า ง ๆ เพื่อให้มีแนวทางการกําหนด รับรอง และส่งเสริมสนับสนุนให้สินค้าและบริการมีความปลอดภัย และมีมาตรฐานที่ ยอมรับได้ร่วมกันทั้งประเทศ (2) การพัฒนาเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบ ควบคุม กํากับดูแลสินค้าและบริการเพื่อให้การผลิต การ นําเข้า การครอบครอง การจําหน่าย การโฆษณา การใช้ การกํา จัด และการบําบัดทําลายมีประสิทธิภ าพ ทั้งนี้ ตัวอย่างเครื่องมือในการควบคุม และกํากับดูแลสินค้าและบริการ ได้แก่ การเทียบเคียงกับมาตรฐานสากล การ รายงานสถานการณ์ต่อสาธารณะ การประเมินความเสี่ยง และผลกระทบ การทดสอบสินค้า และพัฒนามาตรฐาน หลักเกณฑ์ การนําวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการติดตามตรวจสอบ (3) การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวบรวมองค์ความรู้ ทดสอบสินค้า หรือค้นคว้านวัตกรรม เพื่อนํามาใช้ ในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค (4) การให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุม กํากับดูแล มาตรฐานสินค้ากับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาค ประชาชน และองค์กรผู้บริโภค (5) การพัฒนาระบบการป้องกันอันตรายจากสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย เช่น การจัดทําแผนปฏิบัติการ ฉุกเฉิน และการฝึกซ้อมเพื่อเตรียมรับมือสําหรับสินค้าและบริการที่เป็นอันตราย การเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบ สินค้าและบริการโดยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง การทดสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้า การส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมและ สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน ตัวชี้วัด (1) รายงานแนวทางการพัฒนาระบบการควบคุม กํากับดูแล มาตรฐานสินค้าและบริการ / แนวทางการ พัฒนาเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบ ควบคุม กํา กับ ดูแลสิน ค้า และบริการ / แนวทางการพัฒนาระบบการ ป้องกันอันตรายจากสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย (2) รายงานสรุปผลการควบคุม กํากับดูแล มาตรฐานสินค้าและบริการ / ผลการติดตามตรวจสอบ ควบคุม กํากับดูแลสินค้าและบริการ / ผลการป้องกันอันตรายจากสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย กลยุทธ์ 2 พัฒนาระบบการเรียกคืนสินค้า การยกเลิกการใช้ การชดเชย และเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภค เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนาระบบการเรียกคืนสินค้า การยกเลิกการใช้ การชดเชย และ เยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภคในประเทศ และผู้บริโภคข้ามแดน 78
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) การศึกษาแนวทางการพัฒนาการเรียกคืนสินค้า การยกเลิกการใช้ การชดเชย และเยียวยาความเสียหาย ให้กับผู้บริโภค (2) พัฒนาระบบการเรียกคืนสินค้า และยกเลิกการใช้ ได้แก่ การปรับปรุงมาตรฐาน และกฎหมาย การ เทียบเคียงแนวทางการเรียกคืนสินค้า ยกเลิกการใช้ ชดเชยและเยียวยาความเสียหายร่วมกับต่างประเทศ เช่น มาตรการ “ห้ามใช้สินค้าใด ต้องห้ามใช้ทุกประเทศ” (One Ban All Ban) การกําหนดบทลงโทษภาคธุรกิจ และ หน่วยงาน (3) การให้ความรู้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรผู้บริโภค (4) การพัฒนาระบบการเรียกคืนสิน ค้า การยกเลิกการใช้ การชดเชย และเยียวยาความเสีย หายให้กับ ผู้บริโภคโดยการรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง (5) การพัฒนาระบบการชดเชย และเยียวยาความเสียหาย โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชย ฟื้นฟู และ เยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพกาย และจิตใจ ด้านสังคม ด้าน สิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัด (1) รายงานแนวทางการพัฒนาการเรียกคืนสินค้า การยกเลิกการใช้ การชดเชย และเยียวยาความเสียหาย ให้กับผู้บริโภค (2) รายงานสรุป ผลการเรีย กคืน สิน ค้า การยกเลิกการใช้ การชดเชย และเยีย วยาความเสีย หายให้กับ ผู้บริโภค กลยุทธ์ 3 พัฒนานโยบาย และปรับปรุงมาตรการ มาตรฐาน และกฎหมายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อศึกษา พัฒนา และปรับปรุงนโยบาย มาตรการ มาตรฐาน กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ในการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) การศึกษา ทบทวนสถานการณ์ และเฝ้าระวังปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระหว่างประเทศในประเด็นด้านกฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบ หรืออาจส่งผลกระทบ ต่อผู้บริโภค 79
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
(2) การผลักดันให้มีการปรับปรุง และพัฒนานโยบาย มาตรการ มาตรฐาน กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ต่าง ๆ ที่เกิดประโยชน์กับผู้บริโภค เช่น กฎหมาย พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามมาตรา 61 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 (3) การสนับสนุนกระบวนการพัฒนา และการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ด้านการ คุ้มครองผู้บริโภคในประเทศจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคม เช่น ฉันทามติจากสมัชชาสุขภาพ เวที สาธารณะ การเข้าชื่อเพื่อเสนอกฎหมาย เป็นต้น (4) การสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติเพื่อเป็นกติกาในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่ของตนเอง (5) ปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในการคุ้มครองผู้บริโภค (6) การให้ความรู้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน องค์กรผู้บริโภค ภาคผู้ประกอบการ และ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อตกลง ระเบียบหลักเกณฑ์ และกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้บริโภค ตัวชี้วัด (1) กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข หรือถูกบัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ของ ผู้บริโภค กลยุทธ์ 4 พัฒนามาตรการสนับสนุน และการบังคับใช้ต่าง ๆ ในการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนามาตรการ และแนวทางการสนับสนุน ให้รางวัล และการบังคับใช้กฎหมายในการ ส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) สร้างกลไกการสนับสนุนการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน อาทิ ♦
♦
การใช้กลไกราคา (Price Mechanism) ช่วยเหลือผู้ผลิตเนื่องจากสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะ มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าสินค้าทั่วไป การใช้นโยบายการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ให้ประโยชน์กับผู้ผลิตที่มีฉลากสินค้า Eco-label
80
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
♦
♦
การกํ า หนดนโยบายลดหย่อ นภาษีข องกระทรวงการคลัง แก่ ผู้ผ ลิต ที่ผ ลิต สิน ค้ า ที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่งแวดล้อม หรืออุตสาหกรรม หรือธุรกิจสีเขียว การปรับ ปรุงกฎระเบีย บให้ห น่วยงานภาครั ฐ ต้องจัดซื้อจัด จ้า งสิน ค้า หรือบริการที่ ใช้มาตรฐาน โครงการสีเขียว หรือฉลากเขียว เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีการเลือกซื้อและใช้สินค้า หรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น
(2) กําหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อการกํากับดูธุรกิจ ♦
♦
♦
♦
มาตรการ PPP (Polluter Pays Principle) ผู้ ก่ อ มลพิ ษ เป็ น ผู้ รั บ ผิ ด ชอบเพื่ อ แก้ ไ ขสิ่ ง แวดล้ อ ม (PPP1-ผู้ไม่ก่อมลพิษจะได้รับประโยชน์ เช่น ได้รับการยกเว้นภาษี PPP2-ผู้ที่ก่อมลพิษจะต้องเสีย เงินบําบัด มีการจัดเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมพิเศษ) มาตรฐาน ISO 14000 การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ โดยมีโครงสร้างองค์กร ระเบียบ ปฏิบัติ กระบวนการ และการจัดการทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพ มาตรฐาน ISO 26000 ว่า ด้วยมาตรฐานความรับ ผิด ชอบต่อสังคม สํา หรับ เป็น แนวทางในการ บริหารงาน ประกอบด้ว ย หลักธรรมาภิบ าลองค์กร สิทธิมนุษยชนสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติด้า น แรงงาน การปฏิบัติที่เป็นธรรม ประเด็นด้านผู้บริโภค การมีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาชุมชน มาตรฐาน 9999 มาตรฐานให้องค์กรภาคอุตสาหกรรมนําแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ซึ่งจะ มุ่งเน้นกระบวนการผลิตที่พอเพียง ตั้งแต่การใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ พลังงานที่ไม่ฟุ่มเฟือย รวมถึง การขยายการลงทุนที่ไม่ควรเกินความสามารถของผู้ประกอบการ และเป็นประโยชน์ในแง่การอยู่ ร่วมกันกับชุมชนอย่างสมดุลยั่งยืนในมิติของสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม แนวทางประกอบด้วย หลัก ทางสายกลาง เน้นสมดุลเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม, คุณธรรม มุ่งที่ปลุกจิตสํานึกให้ ผู้ประกอบการไม่เบียดเบียนชุมชนและพึ่งตนเองได้, รอบรู้ในบริบทรอบข้าง, พอประมาณ สร้าง ความมั่นคงให้ตนเอง แต่ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม ชุมชนรอบข้าง, หลักการมีเหตุมีผล ใช้สภาพความ เป็นจริงเป็นตัวกําหนดการดําเนินงาน และคํานึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น, ภูมิคุ้มกัน บริหารแบบ พัฒนาให้ยั่งยืนเพื่อต้านทานความไม่แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต, การคิดแบบองค์รวม ไม่มุ่งไปที่ตัวเงินเพียงอย่างเดียว, การพัฒนาแบบเป็นขั้นเป็นตอน และท้ายสุดคือการพัฒนาคนให้มี ศักยภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงรอบข้าง
(3) ผลั ก ดั น การจั ด ทํ า แผนพั ฒ นาธุ ร กิ จ แห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 1 เพื่ อ พั ฒ นาโครงการ งานของภาคธุ ร กิ จ อุตสาหกรรมให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งให้สอดคล้องกับแผนแม่บท คุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 1 อันจะทําให้ประเทศมีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันสู่อนาคตไปในแนวทางเดียวกัน และผลักดันการก่อตั้งการพัฒนาองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม (Office of the Third Sector) หรือ OTS เพื่อทําหน้าที่
81
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
สนับสนุนธุรกิจเพื่อสังคมที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยทั้งด้านข้อมูล และให้คําปรึกษาการเข้าถึงแหล่งทุน การลด อุปสรรคในการทํางานร่วมกับภาคธุรกิจเอกชน ตัวชี้วัด (1) รายงานผลแนวทาง/กิจกรรมการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน กลยุทธ์ 5 ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Enterprise) Enterprise) เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิตคํานึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และความเป็นธรรม รวมทั้ง เป็น ธุร กิจ ที่นํ า เทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ (Innovation) เข้ า มาเป็น ส่ ว นประกอบในการลดต้น ทุน การผลิต แก้ปั ญ หา ผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในการผลิตให้คุ้มค่ามากที่สุด มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) จัดให้มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ต่อผู้ประกอบการอย่างกว้างขวาง จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องธุรกิจเพื่อสังคม และการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแก่องค์กรธุรกิจ รวมทั้งสนับสนุน ให้ภาคธุรกิจดําเนินการปลูกฝังพนักงานในองค์กรธุรกิจเห็นความสําคัญของการปฏิบัติงานโดยคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม และเลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจําวัน (2) ปรับกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานระดับสากล และส่งผล กระทบต่อ ทรั พยากรธรรมชาติ สิ่ง แวดล้อ มน้ อยที่สุ ด การใช้ ทรั พยากรอย่ า งมีป ระสิท ธิภ าพตามหลั กการของ ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ได้แก่ ♦
การเน้นหลัก 3R คือ การลดการใช้ทรัพยากร (Reduce) การส่งเสริมการใช้ซ้ํา (Reuse) และการ นํากลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
♦
การลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และกําจัดขยะส่วนเกินให้หมด (Zero waste)
♦
การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด
(3) ส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการรวมตัวเป็นเครือข่ายดําเนินธุรกิจเพื่อสังคมและเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้ กว้ า งขวาง สนั บ สนุ น องค์ ก รต้ น แบบที่ ดํ า เนิ น กิ จ กรรมโดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ การบริ โ ภคอย่ า งยั่ ง ยื น เช่ น คณะกรรมการนั ก ธุ ร กิ จ เพื่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มไทย (Thailand Business Council for Sustainable Development) หรื อ TBCSD และเครื อ ข่ า ยการดํ า เนิ น งานด้ า นนิ เ วศเศรษฐกิ จ และการผลิ ต ที่ ส ะอาด (Thailand Network of
82
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Eco-efficiency and Cleaner Production) หรือ TNEC ให้เป็นแกนนําในการขยายแนวคิดและการทํางานสู่ภาค ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมอย่างกว้างขวาง (4) สนับ สนุน ให้ผู้ ผ ลิต ใช้ กลไกการตลาด ผลักดั น การผลิ ต อย่า งยั่งยืน ไปสู่การบริ โ ภคอย่า งยั่ง ยืน อาทิ โครงการตลาดสีเขียว (Green Market) ผลิตสินค้าสีเขียว (Green Products) และโครงการฉลากสีเขียว (Green Label) เพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการมากขึ้น (5) สนับสนุนให้มีการให้รางวัล และเสริมกําลังใจแก่ผู้ผลิตที่เน้นการผลิตตามแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม เช่น การให้เครดิตทางภาษีกับกิจการเพื่อสังคม กิจการเพื่อสิ่งแวดล้อม กิจการสีเขียว เป็นต้น (6) ส่งเสริมการนํานวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่มาสนับสนุนแนวคิดการผลิตเพื่อยั่งยืน เช่น การส่งเสริม การใช้เทคโนโลยีสะอาดในภาคการผลิต (Cleaner Technology) (7) การให้ข้อมูล ข่าวสารเพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตมีความใส่ใจต่อผลกระทบของการผลิตที่ใช้ทรัพยากรฟุ่มเฟือย และการผลิตที่ไม่ยั่งยืน ส่งเสริมการปฏิบัติที่ดีในการบริหารสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัด (1) รายงานผลแนวทาง/กิจกรรมการส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อสังคม
83
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการคุม้ ครองผู้บริโภค เป้าหมายของยุทธศาสตร์ ฐานข้อมูลการคุ้มครองผู้บริโภคมีความสําคัญอย่างยิ่ง ในการวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาการคุ้มครอง ผู้บริโภค ทั้งนี้ ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคต่างมีการเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ ปัญหา และเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคในประเด็นที่หน่วยงานรับผิดชอบแต่ยังขาดการเชื่อมโยงข้อมูล และนําข้อมูล มาใช้การวางแผน กําหนดมาตรการ พัฒนาและปรับปรุงกฎหมายระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพทันต่อ เหตุการณ์ นอกจากนี้ กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล และการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องร้องเรียนของหน่วยงานภาครัฐยัง ดําเนินการจํากัดอยู่เฉพาะภายในหน่วยงาน ขาดการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลและ เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการพัฒนา และปรับปรุงนโยบาย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ รวมถึงการป้องกัน และแก้ไข ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัดประเด็นยุทธศาสตร์
1. ระ บบ ฐา นข้ อมู ล เรื่ อง ร้ อ งเ รี ย นแ ล ะ 1.1 ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน และ สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภค สถานการณ์ ปั ญ หาของผู้ บ ริ โ ภค ของหน่ว ยงานต่ าง ๆ โดยจํา แนก ตามประเด็นปัญหา ช่วงเวลา และ พื้นที่ 2. การนํ า ฐานข้ อ มู ล เรื่ อ งร้ อ งเรี ย นและ 2.1 ฐานข้อ มูลเรื่ องร้อ งเรีย นและ สถานการณ์ ปั ญ หาของผู้ บ ริ โ ภคไปใช้ ใ นการ สถานการณ์ ปั ญ หาของผู้ บ ริ โ ภค กําหนดนโยบาย มาตรการ กฎหมาย เพื่อการ ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ถูกนํามาใช้ ป้องกันและแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค อ้ า ง อิ ง เ พื่ อ กํ า ห น ดน โ ย บ า ย มาตรการ กฎหมาย
84
การมีฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน และสถานการณ์ ปั ญ หาของผู้ บ ริ โ ภคของหน่ ว ยงานต่ า ง ๆ ที่ สามารถเข้าถึงและนําไปใช้ประโยชน์ได้
การมีฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน และสถานการณ์ ปัญหาของผู้บริโ ภคของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ถูก นํามาใช้อ้างอิง เพื่อกําหนดนโยบาย มาตรการ กฎหมายสํา หรั บ ป้อ งกั นและแก้ไ ขปั ญหาของ ผู้บริโภค
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
หน่วยงานกํากับการดําเนินงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงาน (1) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (3) กระทรวงพาณิชย์ (4) กระทรวงอุตสาหกรรม (5) กระทรวงสาธารณสุข (6) กระทรวงคมนาคม (7) กระทรวงมหาดไทย (8) กระทรวงยุติธรรม (9) กระทรวงการคลัง (10) กระทรวงพลังงาน (11) กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (12) กระทรวงศึกษาธิการ (13) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (14) สถาบันการศึกษา และองค์กรด้านวิชาการ (15) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (16) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (17) หน่วยงานอิสระ องค์กรอิสระ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กสทช. คปภ. คณะกรรมการสิทธิฯ สภาที่ปรึกษาฯ (18) องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ได้แก่ กลุ่ม/ชมรม/มูลนิธิ/ศูนย์คุ้มครอง ผู้บริโภค (19) ภาคธุรกิจ สมาคม และกลุ่มผู้ประกอบการ ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (20) สภาวิชาชีพ ได้แก่ แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาการพยาบาล สัตวแพทยสภา สภาเทคนิ ค การแพทย์ สภากายภาพบํ า บั ด สภาวิ ศ วกร สภาสถาปนิ ก สภาวิ ช าชี พ บั ญ ชี สภาทนายความ เนติ บั ณ ฑิ ต ยสภา สภาวิ ช าชี พ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี สภาวิ ช าชี พ ข่ า ววิ ท ยุ แ ละโทรทั ศ น์ ไ ทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กลยุทธ์ 1 พัฒนาระบบรวบรวม และเชื่อมโยงข้อมูลการร้องเรียน และสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภค เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบข้อมูล สถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคได้รับผลกระทบ ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และจังหวัด ตลอดจนต่างประเทศ จากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนปรับปรุงระบบการเก็บ รวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพ 85
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) การพัฒนารวบรวมข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียน สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น ระดับ จังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้เก็บรวบรวมไว้ (2) การพัฒนาฐานข้อมูล กลางและระบบการเชื่อมโยงข้อมูล ในการคุ้มครองผู้บริโ ภค ซึ่ง ได้จากการเก็บ รวบรวมและวิเ คราะห์ข้อมูล จากการร้องเรีย น สถานการณ์ปัญ หาของผู้บริ โ ภค อัน ตรายจากสิน ค้า และบริการ จําแนกตามประเด็นปัญหา ช่วงเวลา และพื้นที่ (3) การสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูล ติดตาม และเฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค (4) การพัฒนาแนวทางการรับเรื่องร้องเรียน และการติดตามเรื่องร้องเรียนที่ให้ความสะดวกกับผู้บริโภค ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด (1) ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียนและสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคที่จําแนกตามประเด็นปัญหา ช่วงเวลา และ พื้นที่ (2) รายงานสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค กลยุทธ์ 2 พัฒนาฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียนสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหา เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อจัดทําฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียน และสถานการณ์ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อนําไปพัฒนา และปรับปรุงเป็นนโยบาย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ รวมถึงการป้องกัน และแก้ ไขปัญ หาการคุ้มครอง ผู้บริโภค มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางให้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ทันต่อเหตุการณ์ และเผยแพร่ข้อมูลให้ภาค ส่วนที่เกี่ยวข้องนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทันท่วงที (2) การสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถเข้าถึงข้อมูลจากฐานข้อมูล และสามารถนําข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผน กําหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา พัฒนา และปรับปรุง มาตรการ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ จัดทําคู่มือการปฏิบัติงานสําหรับเจ้าหน้าที่ วางแผนพัฒนาองค์ความรู้และเสริม
86
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ศักยภาพให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดทําสื่อประชาสัมพันธ์ การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ระหว่างภาค ส่วนในการทํางาน เป็นต้น (3) การผลักดันให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนในการติดตาม ตรวจสอบ และ ประเมินผลการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคของหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยการใช้ประโยชน์ ฐานข้อมูล ได้แก่ ผลการดําเนินงานของรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหา ของผู้บริโภค การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน การใช้งบประมาณ และการป้องกันและแก้ไข ปัญหาสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัด (1) จํานวนครั้งในการเข้าใช้ฐานข้อมูล (2) รูปแบบเครื่องมือ กิจกรรม หรือนวัตกรรมที่ได้จากการนําข้อมูลไปใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหา
87
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาองค์ความรู้ และการสือ่ สารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เป้าหมายของยุทธศาสตร์ องค์ความรู้ และ กระบวนการสื่อสารความรู้สู่ผู้บริโภค ช่วยให้ผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ สถานการณ์ เตรียมการป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้ทันการณ์ แม้ในปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ มีการสื่อสารองค์ความรู้ สู่ผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย แต่กระบวนการพัฒนาองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสารที่มีความถูกต้อง ผ่านช่องทางที่หลากหลายเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ สถานการณ์ ปัญหาของสื่อวิทยุชุมชน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ การโฆษณาแฝง ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และลัทธิ บริโภคนิยม ยิ่งทําให้การติดตามตรวจสอบสื่อ และสินค้าต่าง ๆ มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การ พัฒนาองค์ความรู้ และการสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจึงมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความรู้ สร้างความตระหนัก และ ความตื่นตัวให้กับผู้บริโภค ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ ให้ ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ผ่านช่องทางที่หลากหลาย สามารถเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่มีความปลอดภัย รู้เท่าทันสื่อ เฝ้าระวัง และตรวจสอบการทํางานของสื่อ ตลอดจนผลักดันให้สื่อมีคุณธรรม จริยธรรม และความ รับผิดชอบต่อสังคม
ตัวชี้วัดประเด็นยุทธศาสตร์ 1. ประชาชนมี ค วามรู้ และสามารถเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ข่ า ว ส า ร ที่ เ ป็ น ป ร ะ โ ย ช น์ เ พื่ อ ประกอบการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าหรือ บริการ
1.1 จํ า นวนกิ จ กรรม สื่ อ บทความ องค์ ค วามรู้ บทเรี ย น คู่ มื อ หรื อ เนื้อหาด้านการคุ้มครองผู้บริโ ภคใน ประเด็ น ต่ า ง ๆ ที่ มี ก ารเผยแพร่ สู่ สังคม
รวบรวมจํานวนสื่อ บทความ องค์ความรู้ บทเรียน คู่ มื อ หรื อ เนื้ อ หาด้ า นการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคใน ประเด็นต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในรอบ 1 ปี
1.2 ระดั บ การรั บ รู้ จ ากสื่ อ เกี่ ย วกั บ คํานวณหาค่าระดับการรั บรู้จ ากสื่อต่าง ๆ ที่ได้ มี การคุ้มครองผู้บริโภคของประชาชน การเผยแพร่ค วามรู้ ข้ อมู ล ข่ า วสารการคุ้ ม ครอง ผู้บริโภค
88
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
หน่วยงานกํากับการดําเนินงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงาน (1) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (3) กระทรวงพาณิชย์ (4) กระทรวงอุตสาหกรรม (5) กระทรวงสาธารณสุข (6) กระทรวงคมนาคม (7) กระทรวงมหาดไทย (8) กระทรวงยุติธรรม (9) กระทรวงการคลัง (10) กระทรวงพลังงาน (11) กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (12) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (13) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (14) กระทรวงวัฒนธรรม (15) กระทรวงศึกษาธิการ (16) สถาบันการศึกษา และองค์กรด้านวิชาการ (17) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (18) หน่วยงานอิสระ องค์กรอิสระ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กสทช. คปภ. คณะกรรมการสิทธิฯ สภาที่ปรึกษาฯ (19) องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ได้แก่ กลุ่ม/ชมรม/มูลนิธิ/ศูนย์คุ้มครอง ผู้บริโภค (20) ภาคธุรกิจ สมาคม และกลุ่มผู้ประกอบการ ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (21) สภาวิชาชีพ ได้แก่ แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาการพยาบาล สัตวแพทยสภา สภาเทคนิ ค การแพทย์ สภากายภาพบํ า บั ด สภาวิ ศ วกร สภาสถาปนิ ก สภาวิ ช าชี พ บั ญ ชี สภาทนายความ เนติ บั ณ ฑิ ต ยสภา สภาวิ ช าชี พ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี สภาวิ ช าชี พ ข่ า ววิ ท ยุ แ ละโทรทั ศ น์ ไ ทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ (22) สื่อสารมวลชน สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ กลยุทธ์ 1 เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสอดคล้องกับสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภค เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเ ป้า หมายเพื่อให้ ผู้บ ริ โ ภคได้ รับ องค์ความรู้ ข้ อมูล ข่า วสารที่มีความถูก ต้องแม่น ยํา เพื่อ ประกอบการ ตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้าและบริการ ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย 89
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) สนั บ สนุน การศึ ก ษาวิจั ย และรวบรวมฐานข้ อมู ล ความรู้ ผลการวิจั ย ด้ า นการคุ้ ม ครองผู้บ ริ โ ภคทั้ ง ภายในประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับสากล เพื่อประยุกต์องค์ความรู้ งานวิจัย งานวิชาการด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคสู่การสื่อสารสาธารณะ ผ่านช่องทางและวิธีการที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง เข้าใจ และนําไปปฏิบัติได้โดยง่าย (2) สนับสนุนการถอดบทเรียนของหน่วยงานหรือองค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ ภาคีเครือข่ายผู้บริโภคสามารถนําบทเรียนไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน (3) ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในสถานศึกษา ในรูปแบบของ การผลักดัน ให้ส ถานศึกษามีเ นื้อหาการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคที่ส อดแทรกอยู่ ในวิช าพื้น ฐาน และสนับ สนุน ให้มีการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการสอน ข้อมูลความรู้ สื่อการสอน และนวัตกรรมในการเรียนการสอน ตัวชี้วัด (1) องค์ความรู้ หลักสูตร คู่มือ หรือเนื้อหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในประเด็นต่าง ๆ ซึ่งได้รับจากการ ศึกษาวิจัยหรือถอดบทเรียน กลยุทธ์ 2 การให้ความรู้ผ่านช่องทาง และวิธีการที่หลากหลาย เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย สะดวกรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วน เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย เช่น ในกลุ่มเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา คนทํางาน ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ นักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ เป็นต้น มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพเนื้อหาของสื่อด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความน่าสนใจ และเท่าทันกับ สถานการณ์การคุ้มครองบริโภคทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ และต่างประเทศ (2) พัฒนารูปแบบการให้ความรู้ การรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เหมาะสม กับบริบทของพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย เช่น สื่อกระแสหลัก : โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ, สื่อท้องถิ่น : โทรทัศน์ ท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วิทยุชุมชน, สื่อชุมชน : หอกระจายข่าว และเสียงตามสาย, สื่อบุคคล : เจ้าหน้าที่รัฐ แกนนํา และอาสาสมัคร, สื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ : หนังสือ เอกสาร แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ และบอร์ดนิทรรศการ, สื่อ อิเลคทรอนิกส์ และสังคมออนไลน์ (Social Media), การจัดฝึกอบรม ศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น
90
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
(3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภค และหน่วยงานมีส่วนเกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในระดับ ท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ผ่านรูปแบบที่หลากหลาย (4) ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคธุรกิจ และสื่อสารมวลชนในการเผยแพร่ข้อมูลสินค้าและบริการที่ถูกต้อง เป็นความจริง ตัวชี้วัด (1) รายงานผลการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้ กลยุทธ์ 3 การติดตามตรวจสอบ และสนับสนุนการทํางานของสื่อ เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภครู้เท่าทัน ติดตาม เฝ้าระวังการทํางานของสื่อ ตลอดจนสนับสนุนให้สื่อมี ความรับผิดชอบต่อสังคม มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภครู้เท่าทันสื่อ โดยมีความรู้และทักษะในการตีความเนื้อหา ตั้งคําถาม วิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินค่าสื่อ หรือโฆษณาที่ได้รับ (2) การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการกระบวนการมีส่วนร่วมในการติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังสื่อ ละเมิดสิทธิผู้บริโภคของเครือข่ายผู้บริโภค และผู้บริโภคที่มีความรู้และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (3) การผลักดันให้มีมาตรการป้องกัน และปราบปรามสื่อที่กระทําความผิดด้านการละเมิดสิทธิผู้บริโภค เช่น การให้ความรู้ด้านกฎหมายกับสื่อ การใช้มาตรการทางด้านกฎหมายในการควบคุมสื่อ การผลักดันให้สื่อควบคุม กันเอง การผลักดันสื่อต้องมีจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น (4) การสนับ สนุน สื่ อคุ้ม ครองผู้บ ริ โ ภค เช่น การให้ร างวั ล กับ สื่อ หรือ โฆษณาที่ มีคุณ ภาพ และมีค วาม รับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น ตัวชี้วัด (1) รายงานผลแนวทาง / กิจ กรรมในการส่งเสริม สนับ สนุน ป้องกัน และปราบปรามสื่อที่ล ะเมิดสิทธิ ผู้บริโภค
91
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กลยุทธ์ 4 เสริมสร้างความรู้แก่ผู้บริโภค ในการบริโภคอย่างยั่งยืน เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้บริโภค โดยการเสริมสร้างความรู้แก่ผู้บริโภคให้มีบทบาทที่สําคัญ ในการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยการเลือกสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ มีผลกระทบน้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อม มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคอย่างยั่งยืนแก่ผู้บริโภคทุกกลุ่ม เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจในชีวิตประจําวันของผู้บริโภค (Ecological Intelligence) และหันมาใส่ใจสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ♦
การให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับผลกระทบของสินค้าต่อสิ่งแวดล้อมตลอดช่วงวัฏจักรชีวิตสินค้า อันจะนําไปสู่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ปลูกฝังจิตสํานึกด้านความรับผิดชอบ ต่อสังคมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
♦
ภาครัฐจัดทําหลักสูตรปลูกฝังจิตสํานึกด้านสิ่งแวดล้อม การบริโภคอย่างยั่งยืนในการศึกษาภาค บังคับ และหลักสูตรท้องถิ่นศึกษา เกี่ยวกับการดําเนินโครงการบริโภคอย่างยั่งยืนในระดับท้องถิ่น
(2) สร้างกลไกการกระตุ้นกระแสผู้บริโภคอย่างยั่งยืน กระตุ้นความต้องการสินค้าที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม เป็นกลไกผลักดันให้ผู้ผลิตต้องผลิตสินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสุขภาวะของผู้บริโภค (3) สร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้บริโภค ด้วยการให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน และการจัดเวทีเพื่อการ แลกเปลี่ยนความรู้ขององค์กรผู้บริโภค องค์กรสิ่งแวดล้อม และภาคธุรกิจ เป็นการเปิดประเด็นถกเถียงแนวทางการ บริโภคที่เหมาะสมกับสังคม หรือแนวทางการบริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้สู่กลุ่มคนในวงกว้าง (4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัยรูปแบบการบริโภคของคนในสังคม และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการ ทํา ลายสิ่งแวดล้อมในทุกภาคพื้นที่ และทุกกลุ่มอาชีพ เพื่อรับ รู้ปัญ หา สถานการณ์ของการบริ โภค และเพื่อหา แนวทาง แบบแผนการบริโภคที่เหมาะสม รวมถึงการขยายผลการบริโภคอย่างยั่งยืนแก่บุคคลทั่วไป อันนําไปสู่การ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคมโดยรวม ตัวชี้วัด (1) รายงานผลแนวทาง / กิจกรรมการเสริมสร้างความรู้แก่ผู้บริโภคในการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน
92
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างและการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เป้าหมายของยุทธศาสตร์ การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในปัจจุบัน มีการสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคให้กับ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐส่ว นกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก ในขณะที่เครือข่า ย ผู้ประกอบการ และเครือข่ายผู้บริโภคยังขาดโอกาสในการรวมกลุ่มขาดการพัฒนาความรู้ ทักษะ และความชํานาญ ในการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนขาดการส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่ม องค์กร และเครือข่ายต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมใน การดํา เนิน งานคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคร่ว มกัน ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การสร้างและการพัฒ นาศักยภาพเครือข่า ยคุ้มครอง ผู้บ ริ โ ภค จึงมีเ ป้า หมายเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่ม และยกระดับ องค์กรผู้บ ริ โ ภค หน่ว ยงานภาครั ฐ ภาคเอกชน สื่อสารมวลชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีศักยภาพ มีประสิทธิภาพในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัดประเด็นยุทธศาสตร์
1. เครือ ข่ายคุ้มครองผู้บ ริโภคมีความรู้ และทราบ 1.1 ร้อยละของจํานวนสมาชิกเครือข่าย คํานวณหาค่าร้อยละของจํานวนสมาชิกเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองสิท ธิ ที่มีความรู้ผ่านตามเกณฑ์ที่กําหนด คุม้ ครองผู้บริโภคที่เข้ารับการอบรม และมีความรู้ ผู้บริโภค ผ่านตามเกณฑ์ที่กําหนด เปรียบเทียบกับจํานวน สมาชิกเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคทั้งหมดที่เข้า รับการอบรม (กําหนดเกณฑ์ความรู้ ร้อยละ 70) 2. เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคมีจํานวนที่เพิ่มขึ้น และ 2.1 ร้ อ ยละที่ เ พิ่ ม ขึ้ น ของจํ า นว น คํ า นวณหาค่ า ร้ อ ยละของจํ า นวนเครื อ ข่ า ย สามารถแสดงศั ก ยภาพในการดํ า เนิ น งานของ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองผู้บริโภค ในปีปัจจุบัน เปรียบเทียบกับ เครือข่ายคุ้มรองผู้บริโภคได้อย่างเป็นรูปธรรม จํานวนเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในปีที่ผ่านมา 2.2 ร้ อ ย ละควา มสํ า เร็ จ ของกา ร ดํ า เนิ น งานของเครื อ ข่ า ยคุ้ ม ครอง ผู้ บ ริ โ ภ ค ที่ ไ ด้ รั บ ก า ร ส นั บ ส นุ น งบประมาณจากหน่ ว ยงานต่า ง ๆ ใน การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
คํ า นวณหาค่ า ร้ อ ยละของจํ า นวนเครื อ ข่ า ย คุ้มครองผู้บริโภค ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุน จากหน่วยงานต่าง ๆ ในการดําเนินงานคุ้มครอง ผู้บริโภค และสามารถดํา เนิน การได้สําเร็จตาม แผนการปฏิ บั ติ ง าน เปรี ย บเที ย บกั บ จํ า นวน เครือข่ายทั้งหมดได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก หน่ ว ยงานต่ า ง ๆ ในการดํ า เนิ น งานคุ้ ม ครอง ผู้บริโภค 2.3 ร้อยละของจํานวนเครือข่ายที่มีผล คํ า นวณหาค่ า ร้ อ ยละของจํ า นวนเครื อ ข่ า ย การประเมินผลตนเองผ่านตามเกณฑ์ที่ คุ้มครองผู้บริโภคที่มีผลการประเมินตนเองผ่าน กําหนด ตามเกณฑ์ ที่ กํ า หนด เปรี ย บเที ย บกั บ จํ า นวน เครื อ ข่ า ยคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคทั้ ง หมด (กํ า หนด เกณฑ์การประเมินตนเอง ร้อยละ 100)
93
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
หน่วยงานกํากับการดําเนินงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงาน (1) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (3) กระทรวงพาณิชย์ (4) กระทรวงอุตสาหกรรม (5) กระทรวงสาธารณสุข (6) กระทรวงคมนาคม (7) กระทรวงมหาดไทย (8) กระทรวงยุติธรรม (9) กระทรวงการคลัง (10) กระทรวงพลังงาน (11) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (12) กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (13) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (14) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (15) กระทรวงวัฒนธรรม (16) กระทรวงศึกษาธิการ (17) สถาบันการศึกษา และองค์กรด้านวิชาการ (18) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (19) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบ พิเศษ (20) หน่วยงานอิสระ องค์กรอิสระ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กสทช. คปภ. คณะกรรมการสิทธิฯ สภาที่ปรึกษาฯ (21) องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ได้แก่ กลุ่ม/ชมรม/มูลนิธิ/ศูนย์คุ้มครอง ผู้บริโภค (22) ภาคธุรกิจ สมาคม และกลุ่มผู้ประกอบการ ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (23) สภาวิชาชีพ ได้แก่ แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาการพยาบาล สัตวแพทยสภา สภาเทคนิ ค การแพทย์ สภากายภาพบํ า บั ด สภาวิ ศ วกร สภาสถาปนิ ก สภาวิ ช าชี พ บั ญ ชี สภาทนายความ เนติ บั ณ ฑิ ต ยสภา สภาวิ ช าชี พ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี สภาวิ ช าชี พ ข่ า ววิ ท ยุ แ ละโทรทั ศ น์ ไ ทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ (24) สื่อสารมวลชน สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
94
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กลยุทธ์ 1 การสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อสร้าง และขยายเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งจากภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาค ประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน ในส่วนกลาง ภูมิภาค จังหวัด และท้องถิ่น ให้มีความครอบคลุม มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภคได้รวมกลุ่ม และดําเนินกิจกรรมในการปกป้อง คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และดําเนินกิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามความสนใจ ตลอดจนขยายเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคให้ครอบคลุมมาก ขึ้น (2) ส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน ภาควิชาการ กลุ่มวิชาชีพ และเครือข่ายทางสังคม ต่าง ๆ ในส่วนกลาง ภูมิภาค จังหวัด และท้องถิ่น รวมกลุ่มในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ตัวชี้วัด (1) รายงานผลการสํารวจสถานะเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (2) รายงานผลแนวทาง / กิจกรรมการสร้าง และขยายเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค กลยุทธ์ 2 การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่ม และพัฒนาศักยภาพองค์กร เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคทุกภาคส่วนทั้ง จากภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน ในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่นให้มี ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) การศึกษา และวิเคราะห์ศักยภาพขององค์กร เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาค วิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน ในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น เพื่อใช้วางแผน และ จัดกิจกรรมให้ความรู้ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคมีประสิทธิภาพ ตลอดจนมีการติดตาม และทบทวนการสร้างและพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
95
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
(2) ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ด้านกฎหมาย ระเบียบวิธีการปฏิบัติ ข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ปัญหาให้กับ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (3) ส่งเสริมและพัฒนาทักษะ ด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน การติดตามตรวจสอบ การสื่อสาร การรับเรื่อง ร้องเรียน การเจรจาไกล่เกลี่ย การช่วยเหลือ เยียวยาความเสียหายให้กับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (4) ส่งเสริมและพัฒ นาทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรมในการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคให้กับ ผู้ป ระกอบการ และ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (5) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเฉพาะด้านที่ตรงตามต้องการ และความจําเป็นให้กับเครือข่ายคุ้มครอง ผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม องค์กร หรือพื้นที่ เช่น ศักยภาพด้านภาษา การบริหารจัดการกลุ่มและเครือข่าย การเก็บและ รวบรวมข้อมูล (6) ส่งเสริมและสนับ สนุน ให้กลุ่ม องค์กร และเครื อข่า ยผู้บ ริ โ ภคในส่ว นกลาง ภูมิภ าค และท้องถิ่น มี ศักยภาพ งบประมาณ และได้รับการให้มีส่วนร่วมในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ (7) ส่งเสริมให้มีการจัดทําหลักสูตรคุ้มครองผู้บริโภค คู่มือการปฏิบัติงาน ที่รวบรวมเนื้อหาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค สําหรับให้เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้ารับการพัฒนาศักยภาพ ตัวชี้วัด (1) รายงานผลการสํารวจความรู้ ทักษะ ข้อจํากัด และความต้องการของเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (2) รายงานผลแนวทาง / กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพองค์กร เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
96
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
р╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣Мр╕Чр╕╡р╣И 5 р╕Бр╕▓р╕гр╕кр╣Ир╕Зр╣Ар╕кр╕гр╕┤р╕бр╕Бр╕▓р╕гр╕Ър╕╣р╕гр╕Ур╕▓р╕Бр╕▓р╕гр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Д р╣Ар╕Ыр╣Йр╕▓р╕лр╕бр╕▓р╕вр╕Вр╕нр╕Зр╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣М р╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╕Цр╕╖р╕нр╣Ар╕Ыр╣Зр╕Щр╕ар╕▓р╕гр╕Бр╕┤р╕Ир╕гр╣Ир╕зр╕бр╕Бр╕▒р╕Щр╕Вр╕нр╕Зр╕Чр╕╕р╕Бр╕ар╕▓р╕Др╕кр╣Ир╕зр╕Щ р╣Бр╕Хр╣Ир╕Ыр╕▒р╕Ир╕Ир╕╕р╕Ър╕▒р╕Щр╕Ър╕Чр╕Ър╕▓р╕Чр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╕Цр╕╣р╕Бр╕бр╕нр╕Ъ р╣Др╕зр╣Йр╕Бр╕▒р╕Ър╕лр╕Щр╣Ир╕зр╕вр╕Зр╕▓р╕Щр╕ар╕▓р╕Др╕гр╕▒р╕Р р╕Лр╕╢р╣Ир╕Зр╕бр╕╡р╕лр╕Щр╣Йр╕▓р╕Чр╕╡р╣Ир╕Др╕зр╕▓р╕бр╕гр╕▒р╕Ър╕Ьр╕┤р╕Фр╕Кр╕нр╕Ър╕Хр╕▓р╕бр╕Ыр╕гр╕░р╣Ар╕Фр╣Зр╕Щ р╣Бр╕ер╕░р╕Юр╕╖р╣Йр╕Щр╕Чр╕╡р╣Ир╣Ар╕Йр╕Юр╕▓р╕░ р╕гр╕зр╕бр╕Чр╕▒р╣Йр╕Зр╕бр╕╡р╕Вр╣Йр╕нр╕Ир╣Нр╕▓р╕Бр╕▒р╕Фр╣Гр╕Щр╕Фр╣Йр╕▓р╕Щр╕Ър╕╕р╕Др╕ер╕▓р╕Бр╕г р╣Бр╕ер╕░р╕Зр╕Ър╕Ыр╕гр╕░р╕бр╕▓р╕Ур╣Гр╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Д р╕Чр╕▒р╣Йр╕Зр╕Щр╕╡р╣Й р╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣Мр╕Бр╕▓р╕гр╕кр╣Ир╕Зр╣Ар╕кр╕гр╕┤р╕бр╕Бр╕▓р╕гр╕Ър╕╣р╕гр╕Ур╕▓р╕Бр╕▓р╕гр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Д р╕Ир╕╢р╕Зр╕бр╕╡ р╣Ар╕Ыр╣Й р╕▓ р╕лр╕бр╕▓р╕вр╣Ар╕Юр╕╖р╣Ир╕н р╕кр╣Ир╕З р╣Ар╕кр╕гр╕┤р╕б р╣Гр╕лр╣Йр╣А р╕Др╕гр╕╖ р╕нр╕Вр╣И р╕▓ р╕вр╕Др╕╕р╣Йр╕б р╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Й р╕Ъ р╕гр╕┤ р╣В р╕ар╕Д р╕Чр╕▒р╣Йр╕З р╕Ир╕▓р╕Бр╕ар╕▓р╕Др╕гр╕▒ р╕Р р╕ар╕▓р╕Др╕зр╕┤ р╕К р╕▓р╕Бр╕▓р╕г р╕ар╕▓р╕Др╣Ар╕нр╕Бр╕Кр╕Щ р╕ар╕▓р╕Др╕Ыр╕гр╕░р╕Кр╕▓р╕Кр╕Щ р╕ар╕▓р╕Др╕кр╕╖р╣Ир╕нр╕кр╕▓р╕гр╕бр╕зр╕ер╕Кр╕Щ р╣Бр╕ер╕░р╕Ьр╕╣р╣Йр╕бр╕╡р╕кр╣Ир╕зр╕Щр╣Др╕Фр╣Йр╕кр╣Ир╕зр╕Щр╣Ар╕кр╕╡р╕в р╣Гр╕Щр╕кр╣Ир╕зр╕Щр╕Бр╕ер╕▓р╕З р╕ар╕╣р╕бр╕┤р╕ар╕▓р╕Д р╣Бр╕ер╕░р╕Чр╣Йр╕нр╕Зр╕Цр╕┤р╣Ир╕Щр╕бр╕╡р╕Бр╕▓р╕гр╕Ыр╕гр╕░р╕кр╕▓р╕Щр╕Др╕зр╕▓р╕бр╕гр╣Ир╕зр╕бр╕бр╕╖р╕нр╣Гр╕Щр╕Бр╕▓р╕г р╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Д
р╕Хр╕▒р╕зр╕Кр╕╡р╣Йр╕зр╕▒р╕Фр╕Ыр╕гр╕░р╣Ар╕Фр╣Зр╕Щр╕вр╕╕р╕Чр╕Шр╕ир╕▓р╕кр╕Хр╕гр╣М
1. р╕Б р╕▓р╕г р╕Ър╕╣ р╕г р╕Ур╕▓ р╕Бр╕▓ р╕гр╕Бр╕▓ р╕гр╕Фр╣Н р╕▓р╣А р╕Щр╕┤ р╕Щ р╕Зр╕▓ р╕Щ 1.1 р╕гр╣Й р╕н р╕вр╕ер╕░р╕Др╕зр╕▓р╕бр╕кр╣Н р╕▓ р╣Ар╕гр╣З р╕И р╕Вр╕нр╕Зр╕Бр╕▓р╕г р╕Др╕╕р╣Й р╕б р╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Й р╕Ъ р╕гр╕┤ р╣В р╕ар╕Д р╕Чр╕▒р╣Й р╕З р╣Гр╕Щр╕кр╣И р╕з р╕Щр╕Вр╕нр╕Зр╕Бр╕ер╣Др╕Б р╕Фр╣Н р╕▓ р╣Ар╕Щр╕┤ р╕Щ р╕Бр╕┤ р╕И р╕Бр╕гр╕гр╕бр╕Хр╕▓р╕бр╣Бр╕Ьр╕Щр╕Ыр╕Пр╕┤ р╕Ър╕▒ р╕Хр╕┤ р╕Бр╕▓р╕гр╕Чр╣Нр╕▓р╕Зр╕▓р╕Щ р╕Рр╕▓р╕Щр╕Вр╣Йр╕нр╕бр╕╣р╕е р╕нр╕Зр╕Др╣Мр╕Др╕зр╕▓р╕бр╕гр╕╣р╣Йр╣Б р╕ер╕░ р╕Бр╕▓р╕гр╕Ър╕╣р╕гр╕Ур╕▓р╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Д р╕Бр╕▓р╕гр╕кр╕╖р╣И р╕н р╕кр╕▓р╕г р╕гр╕зр╕бр╕Чр╕▒р╣Й р╕З р╣Ар╕Др╕гр╕╖ р╕н р╕Вр╣И р╕▓ р╕вр╕Фр╣Й р╕▓ р╕Щр╕Бр╕▓р╕г р╕Др╕╕р╣Й р╕б р╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Й р╕Ъ р╕гр╕┤ р╣В р╕ар╕Др╕нр╕вр╣И р╕▓ р╕Зр╕бр╕╡ р╕Ы р╕гр╕░р╕кр╕┤ р╕Ч р╕Шр╕┤ р╕а р╕▓р╕Ю р╣Бр╕ер╕░р╕Ыр╕гр╕░р╕кр╕┤р╕Чр╕Шр╕┤р╕Ьр╕е 1.2 р╕гр╣Йр╕нр╕вр╕ер╕░р╕Вр╕нр╕Зр╕Ир╣Нр╕▓р╕Щр╕зр╕Щр╕Бр╕┤р╕Ир╕Бр╕гр╕гр╕бр╕Чр╕╡р╣Ир╕бр╕╡ р╕Бр╕▓р╕гр╕Ър╕╣р╕гр╕Ур╕▓р╕Бр╕▓р╕гр╕гр╕░р╕лр╕зр╣Ир╕▓р╕Зр╕лр╕Щр╣Ир╕зр╕вр╕Зр╕▓р╕Щ
97
р╕Др╣Н р╕▓ р╕Щр╕з р╕Ур╕л р╕▓ р╕Др╣И р╕▓ р╕гр╣Й р╕н р╕вр╕е р╕░ р╕Вр╕н р╕Зр╕Ир╣Н р╕▓р╕Щр╕з р╕Щр╕Бр╕┤ р╕Ир╕Б р╕гр╕г р╕б р╕Чр╕╡р╣И р╕Фр╣Нр╕▓р╣Ар╕Щр╕┤р╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╣Бр╕ер╣Йр╕зр╣Ар╕кр╕гр╣Зр╕И р╣Ар╕Ыр╕гр╕╡р╕вр╕Ър╣Ар╕Чр╕╡р╕вр╕Ър╕Бр╕▒р╕Ър╕Ир╣Нр╕▓р╕Щр╕зр╕Щр╕Бр╕┤р╕Ир╕Бр╕гр╕гр╕б р╕Чр╕▒р╣Й р╕З р╕лр╕бр╕Фр╕Хр╕▓р╕бр╣Бр╕Ьр╕Щр╕Ыр╕Пр╕┤ р╕Ър╕▒ р╕Хр╕┤ р╕Б р╕▓р╕гр╕Ър╕╣ р╕г р╕Ур╕▓р╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Й р╕б р╕Др╕гр╕нр╕З р╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Д
р╕Др╣Нр╕▓р╕Щр╕зр╕Ур╕лр╕▓р╕Др╣Ир╕▓р╕гр╣Йр╕нр╕вр╕ер╕░р╕Вр╕нр╕Зр╕Ир╣Нр╕▓р╕Щр╕зр╕Щр╕Бр╕┤р╕Ир╕Бр╕гр╕гр╕бр╕Чр╕╡р╣Ир╕бр╕╡р╕Бр╕▓р╕гр╕Ър╕╣р╕г р╕Ур╕▓р╕Бр╕▓р╕гр╕гр╕░р╕лр╕зр╣Ир╕▓р╕Зр╕лр╕Щр╣Ир╕зр╕вр╕Зр╕▓р╕Щ р╣Ар╕Ыр╕гр╕╡р╕в р╕Ър╣Ар╕Чр╕╡р╕в р╕Ър╕Бр╕▒р╕Ър╕Ир╣Нр╕▓р╕Щр╕зр╕Щ р╕Бр╕┤р╕Ир╕Бр╕гр╕гр╕бр╕Фр╣Йр╕▓р╕Щр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╕Чр╕▒р╣Йр╕Зр╕лр╕бр╕Ф
р╕гр╕▓р╕вр╕Зр╕▓р╕Щр╕Йр╕Ър╕▒р╕Ър╕кр╕бр╕Ър╕╣р╕гр╕Ур╣М р╣Бр╕Ьр╕Щр╣Бр╕бр╣Ир╕Ър╕Чр╕Бр╕▓р╕гр╕Др╕╕р╣Йр╕бр╕Др╕гр╕нр╕Зр╕Ьр╕╣р╣Йр╕Ър╕гр╕┤р╣Вр╕ар╕Др╣Бр╕лр╣Ир╕Зр╕Кр╕▓р╕Хр╕┤ р╕Йр╕Ър╕▒р╕Ър╕Чр╕╡р╣И 1 (р╕Ю.р╕и.2556-2560)
หน่วยงานกํากับการดําเนินงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดําเนินงาน (1) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (2) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (3) กระทรวงพาณิชย์ (4) กระทรวงอุตสาหกรรม (5) กระทรวงสาธารณสุข (6) กระทรวงคมนาคม (7) กระทรวงมหาดไทย (8) กระทรวงยุติธรรม (9) กระทรวงการคลัง (10) กระทรวงพลังงาน (11) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (12) กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา (13) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (14) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (15) กระทรวงวัฒนธรรม (16) กระทรวงศึกษาธิการ (17) สถาบันการศึกษา และองค์กรด้านวิชาการ (18) สํานักงานตํารวจแห่งชาติ (19) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบ พิเศษ (20) หน่วยงานอิสระ องค์กรอิสระ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กสทช. คปภ. คณะกรรมการสิทธิฯ สภาที่ปรึกษาฯ (21) องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ได้แก่ กลุ่ม/ชมรม/มูลนิธิ/ศูนย์คุ้มครอง ผู้บริโภค (22) ภาคธุรกิจ สมาคม และกลุ่มผู้ประกอบการ ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (23) สภาวิชาชีพ ได้แก่ แพทยสภา ทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาการพยาบาล สัตวแพทยสภา สภาเทคนิ ค การแพทย์ สภากายภาพบํ า บั ด สภาวิ ศ วกร สภาสถาปนิ ก สภาวิ ช าชี พ บั ญ ชี สภาทนายความ เนติ บั ณ ฑิ ต ยสภา สภาวิ ช าชี พ วิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี สภาวิ ช าชี พ ข่ า ววิ ท ยุ แ ละโทรทั ศ น์ ไ ทย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ (24) สื่อสารมวลชน สถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ กลยุทธ์ 1 การส่งเสริม และสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค เป้าหมายของกลยุทธ์ 98
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มี เ ป้ า หมายเพื่ อ ผลั ก ดั น ให้ เ ครื อ ข่ า ยคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ทั้ ง จากภาครั ฐ ภาควิ ช าการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน ในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น มีการประสานความร่วมมือ และมีส่วน ร่วมในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในทุกระดับอย่างเข็มแข็ง และยั่งยืน มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) เชื่อมร้อยเครือข่า ยคุ้มครองผู้บริ โ ภคทั้งจากภาครั ฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และ ภาคสื่อสารมวลชน ในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่นเข้าด้วยกัน โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้เครือข่ายคุ้มครอง ผู้บริโภคทุกภาคส่วนมีการประชุม แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคระหว่างภายใน และ ภายนอกเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง (2) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคจากภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคสื่อสารมวลชน มีส่วนร่วมในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการ ให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และแสดงความคิดเห็น เพื่อประกอบการตัดสินใจในการดําเนินการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจน มีส่วนร่วมในการผลักดันข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค (3) ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาความร่ ว มมื อ การคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ระหว่ า งหน่ ว ยงานภาครั ฐ ภาควิ ช าการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับสากล (4) ผลักดันให้เกิดแผนปฏิบัติการบูรณาการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้มีส่วน เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ตัวชี้วัด (1) รายงานผลแนวทาง / กิจกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครอง ผู้บริโภค กลยุทธ์ 2 ส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายระหว่างกลุ่มผู้ผลิต ผู้บริโภค ภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการคุ้มครองบริโภค อย่างยั่งยืน เป้าหมายของกลยุทธ์ มีเป้าหมายเพื่อสร้าง ส่งเสริม และพัฒนาเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิต ผู้บริโภค ภาครัฐ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้มี การประสานความร่วมมือในแนวทางการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน อันเป็นการยกระดับพัฒนาการคุ้มครอง ผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพ
99
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการและวิธีการปฏิบัติ (1) สร้างเครือข่ายความร่วมมือของกลุ่มผู้ผลิต ผู้บริโภค และภาครัฐ มีการอบรมตัวแทนผู้นํากลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่ละภาคส่วนที่มีจิตสํานึกสาธารณะ กล้าหาญ มีความรู้และความสามารถในการประสานความร่วมมือ และเป็นผู้นํา ในการนํามาใช้ซึ่งหลักการปฏิบัติที่ยั่งยืนในการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในองค์กรของตน โดยเฉพาะผ่านทางนโยบาย การจัดซื้อจัดหา ซึ่งจะเน้นการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม (2) พัฒนา และขยายภาคีเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดขึ้นในทุกภาคพื้นที่ภายในประเทศ (3) พัฒนาการประสานความร่วมมือของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และการทํางาน ร่วมกัน โดยเฉพาะการดําเนินกิจการเพื่อสังคม ซึ่งเป็นการดําเนินงานแบบอาศัยความร่วมมืออย่างกว้างขวางจาก เครือข่าย ตัวชี้วัด (1) รายงานผลแนวทาง / กิจกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายระหว่างทุกภาคส่วนในการคุ้มครอง ผู้บริโภค
100
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
101
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการ
กลยุทธ์ 1 พัฒนาระบบการป้องกัน ควบคุม (1) การพัฒนาระบบการควบคุม กํากับดูแล ตลอดจนมาตรฐานสินค้าและบริการของ หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้มีแนวทางการกําหนด รับรอง และส่งเสริมสนับสนุนให้สินค้า กํากับดูแลสินค้าและบริการให้มีความ และบริการมีความปลอดภัย และมีมาตรฐานที่ยอมรับได้ร่วมกันทั้งประเทศ ปลอดภัย (2) การพัฒนาเครื่องมือในการติดตามตรวจสอบ ควบคุม กํากับดูแลสินค้าและบริการ เป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการ เพื่อให้การผลิต การนําเข้า การครอบครอง การจําหน่าย การโฆษณา การใช้ การ กําจัด และการบําบัดทําลายมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ตัวอย่างเครื่องมือในการควบคุม ควบคุม กํากับดูแลสินค้าและบริการ ทั้ง ก่อนและหลังการออกสู่ตลาด ทั้งด้านการ และกํ า กั บ ดู แ ลสิ น ค้ า และบริ ก าร ได้ แ ก่ การเที ย บเคี ย งกั บ มาตรฐานสากล การ รายงานสถานการณ์ ต่ อ สาธารณะ การประเมิ น ความเสี่ ย ง และผลกระทบ การ ผลิต การนําเข้า การครอบครอง การ จําหน่าย การโฆษณา การใช้ การกําจัด ทดสอบสินค้า และพัฒนามาตรฐานหลักเกณฑ์ การนําวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบําบัดทําลาย ให้เป็นตามระเบียบ สารสนเทศมาใช้ในการติดตามตรวจสอบ (3) การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา รวบรวมองค์ความรู้ ทดสอบสินค้า หรือค้นคว้า หลักเกณฑ์อย่างจริงจัง นวัตกรรม เพื่อนํามาใช้ในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค (4) การให้ค วามรู้เ กี่ย วกับ การควบคุ ม กํากั บดู แล มาตรฐานสินค้ ากั บภาคส่ วนที่ เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรผู้บริโภค
กลยุทธ์
มาตรฐานสินค้าและบริการ / แนวทางการพัฒนาเครื่องมือในการ ติดตามตรวจสอบ ควบคุม กํากับดูแลสินค้าและบริการ / แนว ทางการพัฒนาระบบการป้องกันอันตรายจากสินค้าและบริการทีไ่ ม่ ปลอดภัย (2) รายงานสรุปผลการควบคุม กํากับดูแล มาตรฐานสินค้าและ บริการ / ผลการติดตามตรวจสอบ ควบคุม กํากับดูแลสินค้าและ บริการ / ผลการป้องกันอันตรายจากสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย
(1) รายงานแนวทางการพัฒนาระบบการควบคุม กํากับดูแล
ตัวชี้วัด
เป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบและกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ และระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันอันตรายจากสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย การเรียกคืนสินค้า การยกเลิกการใช้ การชดเชย และเยียวยาความเสียหาย ตลอดจนพัฒนาและปรับปรุงนโยบาย มาตรการ และกฎหมายที่เป็นเครื่องมือ ในการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ โดย อาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบ และกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค
102
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
(5) การพัฒนาระบบการป้องกันอันตรายจากสินค้าและบริการทีไ่ ม่ปลอดภัย เช่น การจัดทํา แผนปฏิบัติการฉุกเฉิน และการฝึกซ้อมเพื่อเตรียมรับมือสําหรับสินค้าและบริการที่เป็น อันตราย การเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบสินค้าและบริการโดยผูท้ ี่มีส่วนเกี่ยวข้อง การ ทดสอบคุณภาพและมาตรฐานสินค้า การส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การ ส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน
มาตรการ
กลยุทธ์ 2 พัฒนาระบบการเรียกคืนสินค้า (1) การศึกษาแนวทางการพัฒนาการเรียกคืนสินค้า การยกเลิกการใช้ การชดเชย และ การยกเลิกการใช้ การชดเชย และเยียวยา เยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภค ความเสียหายให้กับผู้บริโภค (2) พัฒนาระบบการเรียกคืนสินค้า และยกเลิกการใช้ ได้แก่ การปรับปรุงมาตรฐาน และ กฎหมาย การเทียบเคียงแนวทางการเรียกคืนสินค้า ยกเลิกการใช้ ชดเชยและเยียวยาความ เป้าหมายเพื่อแสวงหาแนวทางในการ เสี ย หายร่ ว มกั บ ต่ า งประเทศ เช่ น มาตรการ “ห้ า มใช้ สิ น ค้ า ใด ต้ อ งห้ า มใช้ ทุ ก พัฒนาระบบการเรียกคืนสินค้า การ ประเทศ” (One Ban All Ban) การกําหนดบทลงโทษภาคธุรกิจ และหน่วยงาน ยกเลิกการใช้ การชดเชย และเยียวยา (3) การให้ความรู้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน และองค์กรผู้บริโภค ความเสียหายให้กับผู้บริโภคในประเทศ (4) การพัฒนาระบบการเรียกคืนสินค้า การยกเลิกการใช้ การชดเชย และเยียวยาความ เสียหายให้กับผู้บริโภคโดยการรับฟังความคิดเห็นของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และผูบ้ ริโภคข้ามแดน (5) การพัฒนาระบบการชดเชย และเยียวยาความเสียหาย โดยการจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชย ฟื้นฟู และเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ ด้าน สุขภาพกาย และจิตใจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์
(1) รายงานแนวทางการพัฒนาการเรียกคืนสินค้า การยกเลิก การใช้ การชดเชย และเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภค (2) รายงานสรุปผลการเรียกคืนสินค้า การยกเลิกการใช้ การ ชดเชย และเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภค
ตัวชี้วัด
103
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการ
ตัวชี้วัด
กลยุ ท ธ์ 3 พั ฒ นานโยบาย และปรั บ ปรุ ง (1) การศึกษา ทบทวนสถานการณ์ และเฝ้าระวังปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคใน (1) กฎหมาย มาตรการ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข มาตรการ มาตรฐาน และกฎหมายด้านการ ระดั บ ท้ อ งถิ่ น ระดั บ ประเทศ และระหว่ า งประเทศในประเด็ น ด้ า นกฎหมาย หรือถูกบัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค มาตรการ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบ หรืออาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค คุ้มครองผู้บริโภค (2) การผลักดันให้มีการปรับปรุง และพัฒนานโยบาย มาตรการ มาตรฐาน กฎหมาย เป้าหมายเพื่อศึกษา พัฒนา และปรับปรุง ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกิดประโยชน์กับผู้บริโภค เช่น กฎหมาย พ.ร.บ.องค์การ นโยบาย มาตรการ มาตรฐาน กฎหมาย อิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ตามมาตรา 61 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ในการคุ้มครอง ไทย พ.ศ.2550 ผู้บริโภคในระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด (3) การสนับสนุนกระบวนการพัฒนา และการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบและ ข้อบังคับต่าง ๆ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศจากการมีส่วนร่วมของผู้มสี ่วน ระดับภาค ระดับประเทศ และระหว่าง ประเทศ ได้เสียในสังคม เช่น ฉันทามติจากสมัชชาสุขภาพ เวทีสาธารณะ การเข้าชื่อเพื่อ เสนอกฎหมาย เป็นต้น (4) การสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติ เพื่อ เป็นกติกาในการป้องกันและแก้ ไขปั ญหาด้ านการคุ้ม ครองผู้บริ โภคในพื้น ที่ของ ตนเอง (5) ปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ โดยกระบวนการมี ส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการคุ้มครองผู้บริโภค (6) การให้ความรู้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน องค์กรผู้บริโภค ภาคผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ข้อตกลง ระเบียบหลักเกณฑ์ และกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
กลยุทธ์
104
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการ
ตัวชี้วัด
กลยุ ท ธ์ 4 พั ฒ นามาตรการสนั บ สนุ น (1) สร้างกลไกการสนับสนุนการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน อาทิ (1) รายงานผลแนวทาง/กิจกรรมการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน และการบังคับใช้ต่างๆ ในการส่งเสริมการ ♦ การใช้กลไกราคา (Price Mechanism) ช่วยเหลือผู้ผลิตเนื่องจากการสินค้า บริโภคอย่างยั่งยืน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าสินค้าทั่วไป ♦ การใช้นโยบายการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ให้ประโยชน์กับผู้ผลิตที่มีฉลากสินค้า เป้าหมายเพื่อพัฒนามาตรการ และ Eco-label แนวทางการสนับสนุน ให้รางวัล และการ ♦ การกําหนดนโยบายลดหย่อนภาษีของกระทรวงการคลัง แก่ผู้ผลิตที่ผลิต บังคับใช้กฎหมาย ในการส่งเสริมการ สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรืออุตสาหกรรม หรือธุรกิจสีเขียว บริโภคอย่างยั่งยืน ♦ การปรั บปรุง กฎระเบียบให้หน่วยงานภาครัฐต้ องจัด ซื้อจัดจ้ างสิน ค้าหรื อ บริการที่ใช้มาตรฐานโครงการสีเขียว หรือฉลากเขียว เพื่อลดผลกระทบต่อ สิ่ง แวดล้ อ ม เพื่ อ ให้ มี ก ารเลื อกซื้ อ และใช้สิ น ค้ าหรื อ บริ ก ารที่ เ ป็ นมิ ต รกั บ สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น (2) กําหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อการกํากับดูธุรกิจ ♦ มาตรการ PPP (Polluter Pays Principle) ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบเพื่อ แก้ไขสิ่งแวดล้อม (PPP1-ผู้ไม่ก่อมลพิษจะได้รับประโยชน์ เช่น ได้รับการ ยกเว้นภาษี PPP2-ผู้ที่ก่อมลพิษจะต้องเสียเงินบําบัด มีการจัดเก็บภาษีหรือ ค่าธรรมเนียมพิเศษ) ♦ มาตรฐาน ISO 14000 การจั ด การสิ่ ง แวดล้ อ มอย่ า งเป็ น ระบบ โดยมี โครงสร้างองค์กร ระเบียบปฏิบัติ กระบวนการ และการจัดการทรัพยากรให้ เกิดประสิทธิภาพ
กลยุทธ์
105
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กลยุทธ์
♦
♦
มาตรฐาน ISO 26000 ว่าด้วยมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม สําหรับ เป็นแนวทางในการบริหารงาน ประกอบด้วย หลักธรรมาภิบาลองค์กร สิทธิ มนุษยชนสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติด้านแรงงาน การปฏิบัติที่เป็นธรรม ประเด็น ด้านผู้บริโภค การมีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาชุมชน มาตรฐาน 9999 มาตรฐานให้องค์กรภาคอุตสาหกรรมนําแนวคิดเศรษฐกิจ พอเพี ย งไปใช้ ซึ่ ง จะมุ่ ง เน้ น กระบวนการผลิ ต ที่ พ อเพี ย ง ตั้ ง แต่ ก ารใช้ ทรัพยากร วัตถุดิบ พลังงานที่ไม่ฟุ่มเฟือย รวมถึงการขยายการลงทุนที่ไม่ควร เกินความสามารถของผู้ประกอบการ และเป็นประโยชน์ในแง่การอยู่ร่วมกัน กับชุมชนอย่างสมดุลยั่งยืนในมิติของสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม แนวทาง ประกอบด้วย หลักทางสายกลาง เน้นสมดุลเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม, คุณธรรม มุ่งที่ปลุกจิตสํานึกให้ผู้ประกอบการไม่เบียดเบียนชุมชน และพึ่งตนเองได้, รอบรู้ในบริบทรอบข้าง, พอประมาณ สร้างความมั่นคงให้ ตนเอง แต่ไม่ทําลายสิ่งแวดล้อม ชุมชนรอบข้าง, หลักการมีเหตุมีผล ใช้สภาพ ความเป็นจริงเป็นตัวกําหนดการดํา เนินงาน และคํานึงถึงผลกระทบที่จ ะ เกิดขึ้น, ภูมิคุ้มกัน บริหารแบบพัฒนาให้ยั่งยืนเพื่อต้านทานความไม่แน่นอน ของการเปลี่ยนแปลงในอนาคต, การคิดแบบองค์รวม ไม่มุ่งไปที่ตัวเงินเพียง อย่างเดียว, การพัฒนาแบบเป็นขั้นเป็นตอน และท้ายสุดคือการพัฒนาคนให้ มีศักยภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงรอบข้าง
มาตรการ
ตัวชี้วัด
106
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
เป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้ผลิตคํานึงถึง ความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และ ความเป็นธรรม รวมทั้งเป็นธุรกิจทีน่ ํา เทคโนโลยีสมัยใหม่ (Innovation) เข้ามา เป็นส่วนประกอบในการลดต้นทุนการผลิต แก้ปัญหาผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และ การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ในการผลิตให้คุ้มค่า มากที่สุด
กลยุทธ์ 5 ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการ เพื่อสังคม (Social Enterprise)
กลยุทธ์
ตัวชี้วัด
(1) จั ด ให้ มี ก ารเผยแพร่ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ การผลิ ต และการบริ โ ภคอย่ า งยั่ ง ยื น ต่ อ (1) รายงานผลแนวทาง/กิ จกรรมการส่ง เสริมผู้ ประกอบการเพื่ อ ผู้ประกอบการอย่างกว้างขวาง จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องธุรกิจเพื่อสังคม และการ สังคม พั ฒ นาที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มแก่ อ งค์ ก รธุ ร กิ จ รวมทั้ ง สนั บ สนุ น ให้ ภ าคธุ ร กิ จ ดําเนินการปลูกฝังพนักงานในองค์กรธุรกิจเห็นความสําคัญของการปฏิบัติงานโดย คํ า นึ ง ถึ ง สิ่ ง แวดล้ อ ม และเลื อ กใช้ สิ น ค้ า และบริ ก ารที่ เ ป็ น มิ ต รต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มใน ชีวิตประจําวัน (2) ปรับกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ระดับสากล และส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด การใช้ ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักการของประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco -efficiency) ได้แก่ ♦ การเน้นหลัก 3R คือ การลดการใช้ทรัพยากร (Reduce) การส่งเสริมการ ใช้ซ้ํา (Reuse) และการนํากลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ♦ การลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และกําจัดขยะส่วนเกินให้หมด (Zero waste) ♦ การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์สูงสุด
(3) ผลักดันการจัดทําแผนพัฒนาธุรกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เพื่อพัฒนาโครงการ งาน ของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ รวมทั้งให้สอดคล้องกับแผนแม่บทคุ้มครองผู้บริโภค ฉบับที่ 1 อันจะทําให้ ประเทศมีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงจากปัจจุบันสู่อนาคตไปในแนวทางเดียวกัน และ ผลักดันการก่อตั้งการพัฒนาองค์กรธุรกิจเพื่อสังคม (Office of the Third Sector) หรือ OTS เพื่อทําหน้าที่สนับสนุนธุรกิจเพื่อสังคมที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยทั้งด้าน ข้อมูล และให้คาํ ปรึกษาการเข้าถึงแหล่งทุน การลดอุปสรรคในการทํางานร่วมกับภาค ธุรกิจเอกชน
มาตรการ
107
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการ
ตัวชี้วัด
กลยุ ท ธ์ 2 พั ฒ นาฐานข้ อ มู ล เรื่ อ ง (1) การพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางให้เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์ที่ทันต่อเหตุการณ์ และ (1) จํานวนครั้งในการเข้าใช้ฐานข้อมูล ร้องเรียนสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหา เผยแพร่ข้อมูลให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างทันท่วงที (2) รูปแบบเครื่องมือ กิจกรรม หรือนวัตกรรมที่ได้จากการนําข้อมูลไป (2) การสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถเข้าถึง ใช้ป้องกันและแก้ไขปัญหา ข้ อ มู ล จากฐานข้ อ มู ล และสามารถนํ า ข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วไปใช้ ใ นการวางแผน กํ า หนด มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา พัฒนา และปรับปรุงมาตรการ ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ จัด ทําคู่มื อการปฏิบัติ งานสํ าหรับ เจ้าหน้าที่ วางแผนพัฒ นาองค์ความรู้และเสริ ม ศักยภาพให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การจัดทําสื่อประชาสัมพันธ์ การสร้างความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงาน ระหว่างภาคส่วนในการทํางาน เป็นต้น
กลยุ ท ธ์ 1 พั ฒ นาระบบรวบรวม และ (1) การพัฒนารวบรวมข้อมูลสถิติเรื่องร้องเรียน สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคใน (1) ฐานข้อมูลเรื่องร้องเรียนและสถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภคที่ เชื่ อ มโยงข้ อ มู ล การร้ อ งเรี ย น และ ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งหน่วยงาน จําแนกตามประเด็นปัญหา ช่วงเวลา และพื้นที่ สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภค (2) รายงานสถานการณ์การคุม้ ครองผู้บริโภค และองค์กรต่าง ๆ ได้เก็บรวบรวมไว้ (2) การพัฒนาฐานข้อมูลกลางและระบบการเชื่อมโยงข้อมูลในการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่ง เป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบข้อมูล ได้จากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากการร้องเรียน สถานการณ์ปัญหาของ สถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคได้รับ ผู้บริโภค อันตรายจากสินค้าและบริการ จําแนกตามประเด็นปัญหา ช่วงเวลา และพื้นที่ ผลกระทบ ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมภิ าค (3) การสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการ และจังหวัด ตลอดจนต่างประเทศ จาก เก็บรวบรวมข้อมูล ติดตาม และเฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง (4) การพัฒนาแนวทางการรับเรื่องร้องเรียน และการติดตามเรื่องร้องเรียนที่ให้ความ ตลอดจนปรับปรุงระบบการเก็บรวบรวม สะดวกกับผู้บริโภค ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหา ข้อมูล และการวิเคราะห์ให้มี ให้กับผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพ
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการคุ้มครองผู้บริโภค เป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการพัฒนา และปรับปรุงนโยบาย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ รวมถึงการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการคุม้ ครองผู้บริโภคอย่างมี ประสิทธิภาพ
108
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการ
(3) การผลักดันให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของมีผมู้ ีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคของหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดย การใช้ประโยชน์ฐานข้อมูล ได้แก่ ผลการดําเนินงานของรัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ ป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาของผู้บริโภค การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการ ปฏิบัติงาน การใช้งบประมาณ และการป้องกันและแก้ไขปัญหาสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย รวมถึงการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์
เป้าหมายเพื่อจัดทําฐานข้อมูลเรื่อง ร้องเรียน และสถานการณ์ปัญหาการ คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อนําไปพัฒนา และ ปรับปรุงเป็นนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ รวมถึงการป้องกัน และ แก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค
ตัวชี้วัด
109
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการ
ตัวชี้วัด
กลยุทธ์ 2 การให้ความรู้ผ่านช่องทาง และวิธีการที่หลากหลาย
(1) ส่ง เสริม และพัฒนาคุณภาพเนื้ อหาของสื่ อด้านการคุ้มครองผู้บ ริโภคให้มี ความ (1) รายงานผลการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ความรู้ น่าสนใจ และเท่าทันกับสถานการณ์การคุ้มครองบริโภคทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับ จังหวัด ระดับภาค ระดับประเทศ และต่างประเทศ
กลยุทธ์ 1 เสริมสร้างองค์ความรูด้ า้ นการ (1) สนั บ สนุ น การศึ ก ษาวิ จั ย และรวบรวมฐานข้ อ มู ล ความรู้ ผลการวิ จั ย ด้ า นการ (1) องค์ความรู้ หลักสูตร คู่มือ หรือเนื้อหาด้านการคุม้ ครองผู้บริโภค คุ้มครองผู้บริโภคทั้งภายในประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับสากล เพื่อประยุกต์องค์ ในประเด็นต่างๆ ซึ่งได้รับจากการศึกษาวิจัยหรือถอดบทเรียน คุ้มครองผู้บริโภคสอดคล้องกับ สถานการณ์การคุม้ ครองผูบ้ ริโภค ความรู้ งานวิจัย งานวิชาการด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสู่การสื่อสารสาธารณะ ผ่าน ช่องทางและวิธีการที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึง เข้าใจ และนําไปปฏิบัติได้โดยง่าย เป้าหมายเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับองค์ความรู้ (2) สนับสนุนการถอดบทเรียนของหน่วยงานหรือองค์กรด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่มี ประสิทธิภาพ เพื่อให้ภาคีเครือข่ายผู้บริโภคสามารถนําบทเรียนไปใช้เป็นแนวทางการ ข้อมูลข่าวสารที่มีความถูกต้องแม่นยํา เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกบริโภค ปฏิบัติงาน สินค้าและบริการ ได้อย่างเหมาะสมและ (3) ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านการคุ้มครองผูบ้ ริโภคใน ปลอดภัย สถานศึกษา ในรูปแบบของการผลักดันให้สถานศึกษามีเนื้อหาการคุม้ ครองผู้บริโภคที่ สอดแทรกอยู่ในวิชาพื้นฐาน และสนับสนุนให้มีการแลกเปลีย่ นเรียนรู้เทคนิคการสอน ข้อมูลความรู้ สื่อการสอน และนวัตกรรมในการเรียนการสอน
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาองค์ความรู้ และการสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เป้าหมายเพื่อให้เกิดความรู้ สร้างความตระหนัก และความตื่นตัวให้กับผู้บริโภค ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ ให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ ถูกต้อง ผ่านช่องทางที่หลากหลาย สามารถเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่มีความปลอดภัย รู้เท่าทันสื่อ เฝ้าระวัง และตรวจสอบการทํางานของสือ่ ตลอดจนผลักดันให้สื่อมีคุณธรรม จริยธรรม และความ รับผิดชอบต่อสังคม
110
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
(2) พัฒนารูปแบบการให้ความรู้ การรณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ผ่าน ช่องทางที่หลากหลาย เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย เช่น สื่อกระแสหลัก : โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ, สื่อท้องถิ่น : โทรทัศน์ ท้องถิ่น หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วิทยุชุมชน, สื่อชุมชน : หอกระจายข่าว และ เสียงตามสาย, สื่อบุคคล : เจ้าหน้าที่รัฐ แกนนํา และอาสาสมัคร, สื่อสิ่งพิมพ์ อื่น ๆ : หนังสือ เอกสาร แผ่นพับ ป้ายประชาสัมพันธ์ และบอร์ดนิทรรศการ, สื่ออิ เลคทรอนิ กส์ และสัง คมออนไลน์ (Social Media), การจัดฝึ กอบรม ศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นต้น (3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภค และหน่วยงานมีส่วนเกี่ยวข้องในการ คุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ทั้ ง ในระดั บ ท้ อ งถิ่ น ระดั บ จั ง หวั ด ระดั บ ภาค ระดั บ ประเทศ มี ส่ ว นร่ ว มในการเผยแพร่ ข้ อ มู ล ข่ า วสาร การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ผ่านรูปแบบที่หลากหลาย (4) ส่งเสริมความร่วมมือกับภาคธุรกิจ และสื่อสารมวลชนในการเผยแพร่ ข้อมูลสินค้าและบริการที่ถูกต้องเป็นความจริง
เป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคสามารถ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ได้รับข้อมูล ข่าวสารที่ถูกต้องครบถ้วน เหมาะสมกับ บริบทของพื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย เช่น ในกลุ่มเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา คนทํางาน ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ นักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ เป็นต้น
ตัวชี้วัด
(1) การส่ งเสริ มและสนั บ สนุ นให้ผู้ บริ โภครู้ เท่ าทั น สื่อ โดยมีค วามรู้ และ (1) รายงานผลแนวทาง/กิ จ กรรมในการส่ ง เสริ ม สนั บ สนุ น ป้ อ งกั น และ ทักษะในการตีความเนื้อหา ตั้งคําถาม วิเคราะห์ วิจารณ์ และประเมินค่าสื่อ ปราบปรามสื่อที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค หรือโฆษณาที่ได้รับ เป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภครูเ้ ท่าทัน (2) การส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด การกระบวนการมี ส่ ว นร่ ว มในการ ติดตาม เฝ้าระวังการทํางานของสือ่ ติ ด ตาม ตรวจสอบ และเฝ้ า ระวั ง สื่ อ ละเมิ ด สิ ท ธิ ผู้ บ ริ โ ภคของเครื อ ข่ า ย ตลอดจนสนับสนุนให้สื่อมีความรับผิดชอบ ผู้บริโภค และผู้บริโภคที่มีความรู้และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ต่อสังคม
กลยุทธ์ 3 การติดตามตรวจสอบ และ สนับสนุนการทํางานของสื่อ
มาตรการ
กลยุทธ์
111
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
เป้าหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ ผู้บริโภค โดยการเสริมสร้างความรู้แก่ ผู้บริโภคให้มีบทบาทที่สาํ คัญในการ ส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน โดยการ เลือกสินค้าและบริการทีม่ ีคุณภาพ มี ผลกระทบน้อยที่สดุ ต่อสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ 4 เสริมสร้างความรู้แก่ผู้บริโภค ในการบริโภคอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์
ตัวชี้วัด
(1) การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคอย่างยั่งยืนแก่ผู้บริโภคทุก (1) รายงานผลแนวทาง/กิ จ กรรมการเสริ ม สร้ า งความรู้ แ ก่ ผู้ บ ริ โ ภคในการ กลุ่ม เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจและตระหนักถึง ส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการตัดสินใจในชีวิตประจําวันของผู้บริโภค และหันมาใส่ใจสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ♦ การให้ ค วามรู้ แ ก่ ผู้ บ ริ โ ภคเกี่ ย วกั บ ผลกระทบของสิ น ค้ า ต่ อ สิ่งแวดล้อมตลอดช่วงวัฏจักรชีวิตสินค้า อันจะนําไปสู่การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมในระยะยาวอย่างยั่งยืน ปลูกฝังจิตสํานึกด้านความ รับผิดชอบต่อสังคมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ♦ ภาครั ฐ จั ด ทํ า หลั ก สู ต รปลู ก ฝั ง จิ ต สํ า นึ ก ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ ม การ บริโภคอย่างยั่งยืนในการศึกษาภาคบังคับ และหลักสูตรท้องถิ่น ศึกษา เกี่ยวกับการดําเนินโครงการบริโภคอย่างยั่งยืนในระดับ ท้องถิ่น (2) สร้างกลไกการกระตุ้นกระแสผู้บริโภคอย่างยั่งยืน กระตุ้นความต้องการ สินค้าที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม เป็นกลไกผลักดันให้ผู้ผลิตต้องผลิตสินค้าที่ ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และสุขภาวะของผู้บริโภค
(3) การผลักดันให้มีมาตรการป้องกัน และปราบปรามสื่อที่กระทําความผิด ด้านการละเมิดสิทธิผู้บริโภค เช่น การให้ความรู้ด้านกฎหมายกับสื่อ การใช้ มาตรการทางด้ า นกฎหมายในการควบคุ ม สื่ อ การผลั ก ดั นให้ สื่ อควบคุ ม กันเอง การผลักดันสื่อต้องมีจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบต่อสังคม เป็น ต้น (4) การสนับสนุนสื่อคุ้มครองผู้บริโภค เช่น การให้รางวัลกับสื่อ หรือโฆษณา ที่มีคุณภาพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นต้น
มาตรการ
112
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กลยุทธ์
(3) สร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้บริโภค ด้วยการให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในทุก ภาคส่วน และการจัดเวทีเพื่ อการแลกเปลี่ ยนความรู้ขององค์กรผู้บริโภค องค์กรสิ่งแวดล้อม และภาคธุรกิจ เป็นการเปิดประเด็นถกเถียงแนวทางการ บริโภคที่เหมาะสมกับสังคม หรือแนวทางการบริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการ เผยแพร่ความรู้สู่กลุ่มคนในวงกว้าง (4) ส่งเสริมการศึกษาวิจัยรูปแบบการบริโภคของคนในสังคม และพฤติกรรม ผู้บริโภคที่เกี่ยวข้องกับการทําลายสิ่งแวดล้อมในทุกภาคพื้นที่ และทุกกลุ่ม อาชีพ เพื่อรับรู้ปัญหา สถานการณ์ของการบริโภค และเพื่อหาแนวทาง แบบ แผนการบริโภคที่เหมาะสม รวมถึงการขยายผลการบริโภคอย่างยั่งยืนแก่ บุคคลทั่วไป อันนําไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในการ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคมโดยรวม
มาตรการ
ตัวชี้วัด
113
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการ
ตัวชี้วัด
เป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่ม และ พัฒนาศักยภาพองค์กร เครือข่ายคุ้มครอง ผู้บริโภคทุกภาคส่วน ทั้งจากภาครัฐ ภาค วิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และ ภาคสื่อสารมวลชน ในส่วนกลาง ภูมิภาค
กลยุทธ์ 2 การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย คุ้มครองผู้บริโภค
(1) การศึกษา และวิเคราะห์ศักยภาพขององค์กร เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาค สื่อสารมวลชน ในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น เพื่อใช้วางแผน และจัด กิจกรรมให้ความรู้ ทักษะ และพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคมี ประสิ ท ธิ ภ าพ ตลอดจนมี ก ารติ ด ตาม และทบทวนการสร้ า งและพั ฒ นา ศักยภาพอย่างต่อเนื่อง (2) ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ด้านกฎหมาย ระเบียบวิธีการปฏิบัติ ข้อมูล ข่าวสาร สถานการณ์ปัญหา ให้กับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค
(1) รายงานผลการสํ า รวจความรู้ ทั กษะ ข้ อ จํ า กั ด และความต้ อ งการของ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (2) รายงานผลแนวทาง/กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพองค์กร เครือข่ายคุ้มครอง ผู้บริโภค
(1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภคได้รวมกลุ่ม และดําเนินกิจกรรมในการ (1) รายงานผลการสํารวจสถานะเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้อง คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และดําเนินกิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตาม (2) รายงานผลแนวทาง/กิจกรรมการสร้าง และขยายเครือข่ายคุ้มครอง ความสนใจ ตลอดจนขยายเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคให้ครอบคลุมมากขึ้น ผู้บริโภค เป้าหมายเพื่อสร้าง และขยายเครือข่าย (2) ส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสื่อสารมวลชน ภาควิชาการ กลุ่ม วิชาชีพ และเครือข่ายทางสังคมต่าง ๆ ในส่วนกลาง ภูมิภาค จังหวัด และ คุ้มครองผู้บริโภค ทั้งจากภาครัฐ ภาค วิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และ ท้องถิ่น รวมกลุ่มในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ภาคสื่อสารมวลชน ในส่วนกลาง ภูมิภาค จังหวัด และท้องถิ่น ให้มีความครอบคลุม
กลยุทธ์ 1 การสร้างเครือข่ายคุ้มครอง ผู้บริโภค
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างและการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เป้าหมายเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่ม และยกระดับองค์กรผู้บริโภค หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สื่อสารมวลชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้มีศักยภาพ มีประสิทธิภาพในการดําเนินงานคุ้มครอง ผู้บริโภค
114
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการ
(3) ส่ ง เสริ ม และพั ฒ นาทั ก ษะ ด้ า นการเฝ้ า ระวั ง ป้ อ งกั น การติ ด ตาม ตรวจสอบ การสื่ อ สาร การรั บ เรื่ อ งร้ อ งเรี ย น การเจรจาไกล่ เ กลี่ ย การ ช่วยเหลือ เยียวยาความเสียหายให้กับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (4) ส่งเสริมและพัฒนาทัศนคติ คุณธรรม จริยธรรมในการคุ้มครองผู้บริโภค ให้กับผู้ประกอบการ และเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค (5) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเฉพาะด้านที่ตรงตามต้องการ และความ จําเป็นให้กับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม องค์กร หรือพื้นที่ เช่น ศัก ยภาพด้ า นภาษา การบริ ห ารจั ด การกลุ่ ม และเครื อข่ า ย การเก็ บ และ รวบรวมข้อมูล (6) ส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่ม องค์กร และเครือข่ายผู้บริโภคในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น มีศักยภาพ งบประมาณ และได้รับการให้มีส่วนร่วมใน การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับหน่วยงานต่างๆ (7) ส่งเสริมให้มีการจัดทําหลักสูตรคุ้มครองผู้บริโภค คู่มือการปฏิบตั ิงาน ที่ รวบรวมเนื้อหาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์การดําเนินงานคุม้ ครอง ผู้บริโภค สําหรับให้เจ้าหน้าที่รัฐ องค์กรผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้ารับการพัฒนาศักยภาพ
กลยุทธ์
และท้องถิ่น ให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการดําเนินงานคุ้มครอง ผู้บริโภค
ตัวชี้วัด
115
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการ
ตัวชี้วัด
กลยุทธ์ 1 การส่งเสริม และสนับสนุนให้ (1) เชื่ อ มร้ อ ยเครื อ ข่ า ยคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ทั้ ง จากภาครั ฐ ภาควิ ช าการ (1) รายงานผลแนวทาง/กิจกรรมการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนเข้า ทุ ก ภาคส่ ว นเข้ า มามี ส่ ว นร่ ว มในการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคสื่อสารมวลชน ในส่วนกลาง ภูมิภาค มามีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองผู้บริโภค และท้ อ งถิ่ น เข้ า ด้ ว ยกั น โดยส่ ง เสริม และสนั บ สนุ น ให้ เ ครื อ ข่ า ยคุ้ ม ครอง ผู้บริโภคทุกภาคส่วนมีการประชุม แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สถานการณ์ เป้าหมายเพื่อ ผลักดันให้เครือข่าย การคุ้มครองผู้บริโภคระหว่างภายใน และภายนอกเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง คุ้มครองผู้บริโภค ทั้งจากภาครัฐ ภาค (2) ส่งเสริมและสนับสนุน ให้เครื อข่ายคุ้ม ครองผู้ บริโภคจากภาครัฐ ภาค วิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และ วิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคสื่อสารมวลชน มีส่วนร่วมในการ ภาคสื่อสารมวลชน ในส่วนกลาง ภูมิภาค ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในด้าน และท้องถิ่น มีการประสานความร่วมมือ การให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง และแสดงความคิดเห็น เพื่อประกอบการตัดสินใจ และมีส่วนร่วมในการดําเนินงานคุม้ ครอง ในการดํ า เนิ น การคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภค ตลอดจนมี ส่ ว นร่ ว มในการผลั ก ดั น ผู้บริโภคในทุกระดับอย่างเข็มแข็ง และ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ยั่งยืน (3) ส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือการคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับสากล (4) ผลักดันให้เกิดแผนปฏิบตั ิการบูรณาการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมให้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผูม้ ีส่วนเกีย่ วข้องทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการ ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการบูรณาการการคุ้มครองผู้บริโภค เป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งจากภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคสื่อสารมวลชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่นมีการ ประสานความร่วมมือในการคุ้มครองผู้บริโภค
116
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มาตรการ
ตัวชี้วัด
(1) สร้างเครือข่ายความร่วมมือของกลุ่มผู้ผลิต ผู้บริโภค และภาครัฐ มีการ (1) รายงานผลแนวทาง/กิจกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายระหว่างทุก อบรมตัวแทนผู้นํากลุ่มคนรุ่นใหม่แต่ละภาคส่วนที่มีจิตสํานึกสาธารณะ กล้า ภาคส่วนในการคุ้มครองผู้บริโภค หาญ มีความรู้และความสามารถในการประสานความร่วมมือ และเป็นผู้นํา ในการนํามาใช้ซึ่งหลักการปฏิบัติที่ยั่งยืนในการดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ใน องค์กรของตน โดยเฉพาะผ่านทางนโยบายการจัดซื้อจัดหา ซึ่งจะเน้นการใช้ เป้าหมายเพื่อสร้าง ส่งเสริม และพัฒนา ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม เครือข่ายกลุ่มผูผ้ ลิต ผู้บริโภค ภาครัฐ (2) พัฒนา และขยายภาคีเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภคให้เกิดขึ้นในทุกภาค และผูม้ ีส่วนได้ส่วนเสีย ให้มีการประสาน พื้นที่ภายในประเทศ ความร่วมมือในแนวทางการผลิตและการ (3) พัฒนาการประสานความร่วมมือของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการ บริโภคอย่างยั่งยืน อันเป็นการยกระดับ แลกเปลีย่ นข้อมูล และการทํางานร่วมกัน โดยเฉพาะการดําเนินกิจการเพื่อ พัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคที่มี สังคม ซึ่งเป็นการดําเนินงานแบบอาศัยความร่วมมืออย่างกว้างขวางจาก เครือข่าย ประสิทธิภาพ
กลยุ ท ธ์ 2 ส่ งเสริ มการพั ฒนาเครื อ ข่ า ย ระหว่างกลุ่มผู้ผลิต ผู้บริโภค ภาครัฐ และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการคุ้มครองบริโภค อย่างยั่งยืน
กลยุทธ์
การขับเคลื่อนและติดตามแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ
การขับ เคลื่ อ นแผนแม่ บ ทการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคแห่ ง ชาติ ฉบั บ ที่ 1 (พ.ศ.2556 - 2560) ให้บ รรลุ ต าม วิสัยทัศน์ และสามารถติดตามประเมินผลสําเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้กําหนดแนวทางการขับเคลื่อน และ ติดตามไว้ ดังนี้ 1. ให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกํากับการดําเนินงานตามแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ และปรับปรุงแผนแม่บทดังกล่าวร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้แผนแม่บทการ คุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ มีประสิทธิผล และสอดคล้องกับสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง น้อยทุก 1 ปี 2. ให้สํา นัก งานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคเป็น หน่ว ยงานหลั กในการนํา แผนแม่ บ ทการคุ้มครอง ผู้บริโภคแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยให้มีการจัดทําแผนปฏิบัติการซึ่งประกอบด้ว ยแผนงาน โครงการ กิจกรรม หน่วยงานที่รับผิดชอบ ระยะเวลาดําเนินการ ตัวชี้วัด และแนวทางการติดตามและประเมินผลที่สอดคล้องกับแผน แม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคฉบับนี้ พร้อมทั้งจัดสรรทรัพยากรที่จําเป็นสําหรับการดําเนินงานอย่างพอเพียง และ ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคสื่อสารมวลชน ตลอดจนเครือข่าย และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง
117
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
บรรณานุกรม ภาษาไทย กระทรวงอุตสาหกรรม. แผนแม่บทการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พ.ศ.2555-2574. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.industry.go.th/5/. (วันที่ค้นข้อมูล: 3 มกราคม 2556). กระทรวงมหาดไทย. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2555-2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.ppb.moi.go.th/midev01/strategy-mt/data/pa-yut-final.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 18 พฤศจิกายน 2555). กรมการขนส่งทางบก. แผนยุทธศาสตร์กรมการขนส่งทางบก พ.ศ.2554-2558. [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก: http://www.dlt.go.th/th/index. (วันที่ค้นข้อมูล: 8 ธันวาคม 2555). กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์. แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2555-2558. [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก : http://www2.moc.go.th/ewtadmin/ewt/moc_web/ewt_dl_link.php?nid=5657. (วันที่ ค้นข้อมูล: 18 พฤศจิกายน 2555). กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ.2555-2558 กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://bps.ops.moph.go.th/plan4year2/. (วันที่ค้นข้อมูล: 13 ธันวาคม 2555). กลุ่มงานนโยบายแห่งชาติด้านยา กลุ่มงานพัฒนาระบบ สํานักยา. นโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ.2554 และ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.nlem.in.th/archive/5113. (วันที่ค้นข้อมูล: 25 ธันวาคม 2555). ทัศนีย์ วีระกันต์. (2541). การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค: การศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย. แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ.2555-2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bot.or.th/Thai/AboutBOT/strategicPlan/Pages/strategicplan.aspx. (วันที่ค้นข้อมูล: 18 พฤศจิกายน 2555). แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. (2551). การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ : บทเรียน จากชุมชน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.pharm.chula.ac.th/thaihealth/book/ pdf/lesson.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 6 ตุลาคม 2555). แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. (มปป.) การสังเคราะห์ความรู้เพื่อสนับสนุนการยกร่างธรรมนูญ ว่าด้วยระบบสุขภาพ “การคุ้มครองผู้บริโภคตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ”. สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. (2550). แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคของสหประชาชาติ. (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2542). สัมมนาเรื่องรัฐธรรมนูญกับการปฏิรูประบบคุ้มครองผู้บริโภค 15 มีนาคม 2550 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ 118
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. (2554). บันทึกเจตนารมณ์ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2552 (หมวด 8 การคุ้มครองผู้บริโภค). แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. (2555). เอกสารโครงการจัดทําดัชนีชี้วัดการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสุขภาพระดับชาติ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.thaihealthconsumer.org. (วันที่ค้นข้อมูล: 12 ตุลาคม 2555). แผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. ยุทธศาสตร์ระยะ 3 ปี (1 เมษายน 2555–31 มีนาคม 2558). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealthconsumer.org/. (วันที่ค้นข้อมูล: 4 ตุลาคม 2555). มีชัย ฤชุพันธ์. (2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 24 สิงหาคม 2550. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.ombudsman.go.th/10/documents/law/constitution.2550.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 15 พฤศจิกายน 2555). มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. (2555). สภาผู้บริโภคอาเซียน ประกาศปฏิญญา SEACC เรียกร้องยกเลิกแร่ใยหิน. [ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก www.consumerthai.org. (วันที่ค้นข้อมูล: 10 ตุลาคม 2555). วิทยา กุลสมบูรณ์ และคณะ. (2548). “รายงานวิจัยเรื่อง แนวทางการจัดตั้งองค์กรอิสระคุ้มครองผู้บริโภค ตาม มาตรา ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2540” แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. ศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แผนยุทธศาสตร์การจัดการ สารเคมีแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2555-2564). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://ipcs.fda.moph.go.th/ csnetNEW/. (วันที่ค้นข้อมูล: 15 พฤศจิกายน 2555). สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2541). โครงการแผนแม่บทกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2540-2549 ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553). รายงานการศึกษาการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). รายงานการวิจัยการพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภค ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สารี อ่องสมหวัง. (2554). ไปเห็นมากับตา...ทํามากับมือ เปิดเบื้องหลัง พลังผู้บริโภค. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สารี อ่องสมหวัง. (2555). เอกสารประกอบการประชุมสภาผู้บริโภคอาเซียน. ระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2555 โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11พ.ศ.2555-2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nesdb.go.th/Default.aspx? tabid=395. (วันที่ค้นข้อมูล: 12 พฤศจิกายน 2555). สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. แผน แม่บทการบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ. 2555). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nbtc.go.th/wps/ 119
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
portal/NTC/Plan/Masterplan. (วันที่ค้นข้อมูล: 15 พฤศจิกายน2555). สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. แผนยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์สํานักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค (2555-2558). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ocpb.go.th/ main_plan_2555.asp. (วันที่ค้นข้อมูล: 4 พฤศจิกายน 2555). สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2552. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nationalhealth.or.th/. (วันที่ค้นข้อมูล: 13 พฤศจิกายน 2555). สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคด้าน ผลิตภัณฑ์สุขภาพในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.fda.moph.go.th/project/fdastrategy/StrategyPlan55-59.pdf. (วันที่ค้น ข้อมูล: 18 พฤศจิกายน 2555). สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง. แผนยุทธศาสตร์สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง พ.ศ.2555-2558. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.palad.mof.go.th/?page_id=261. (วันที่ค้นข้อมูล: 30 พฤศจิกายน 2555). สํานักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. แผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2555-2558. [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก: http://www.nesdb.go.th/gov_policy/2555-2558/GovPlan2555-2558_final.pdf. (วันที่ค้น ข้อมูล: 18 พฤศจิกายน 2555). สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2555). สคบ.สาร ปีที่ 34 ฉบับที่ 298 ประจําเดือน ต.ค. - พ.ย. 2555. สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2556). นโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของ สคบ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.ocpb.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล: 11 เมษายน 2556) สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สํานักนายกรัฐมนตรี. (2552). สคบ.กับการคุ้มครองผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที1่ 1 (พ.ศ.2555-2559). [ออนไลน์]. เข้าถึง ได้จาก: http://www.nesdb.go.th/Portals/0/ne8hows/plan/p11/plan11.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล: 15 ตุลาคม2555). สุษม ศุภมิตย์. (2545). ร่างพระราชบัญญัติกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค พศ... กรณีศึกษากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ของประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรอังกฤษ. สถาบันพระปกเกล้า อัครพงษ์ เวชยานนท์. การคุ้มครองผู้บริโภค : กรณีในประเทศญี่ปุ่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow.org /blogs/posts/162690. (วันที่ค้นข้อมูล: 4 ตุลาคม 2555). อัครพงษ์ เวชยานนท์. ชมรมผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http:// www.gotoknow.org. /blogs/posts/14519. (วันที่ค้นข้อมูล: 7 ตุลาคม 2555). อัครพงษ์ เวชยานนท์. ลักษณะงานของศูนย์ผู้บริโภคแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http:// www.gotoknow.org /blogs/posts/168278. (วันที่ค้นข้อมูล: 4 ตุลาคม 2555). อัครพงษ์ เวชยานนท์. สมาคมผู้บริโภคของญี่ปุ่น (National Liaison Committee of Consumers’ 120
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
organizations :Shodanren Consumers Japan). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http:// www.gotoknow.org./blogs/posts/150571 (วันที่ค้นข้อมูล: 4 ตุลาคม 2555). อมรา พงศาพิชญ์ และ จันทิมา ไทรงาม. (2545). โครงการวิจัยสภาองค์กรสาธารณประโยชน์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาษาอังกฤษ Asean Australia Development Cooperation Program Phase II (AADCP II). (2011). Roadmapping Capacity Building needs in Consumer Protection in ASEAN (Online). Retrived: http:// www.aadcp2.org, September (2012, 4) Asean Committee on Consumer Protection. (2007). Pre-ASEAN Coordinating Committee on Consumer Protection ACCCP. (Online). Retrived: http://aseanconsumer.org/misc/ downloads/preasean-1.pdf, September (2012,6) ASEAN Committee on Consumer Protection. (2012). Administrative Organizations for Consumer Protection (Lao PDR). (0nline). Retrived: http://www.aseanconsumer.org/downloads. Association of Southeast Asian Nations. (2011). Master Plan on ASEAN Connectivity (Online). Retrived: http://www.asean.org/resources/publications/asean-publications/item/masterplan-on-asean-connectivity-2, September (2012,15) Board of Governors of the Federal Reserve System Bureau of Consumer Financial Protection. (2011). Office of Inspector General Strategic plan 2011-2015. (Online). Retrived: http:// www.federalreserve.gov/oig/files/OIG_strategic_Plan_2011_2015.pdf, September (2012, 6) CUTS International (Consumer Unity & Trust Society). (2012) . Citizens’ report on the state of com petition law in the world –LAO people s’ democratic republic. (Online). Retrived: www.cuts-international.org. Federal Trade Commission. (2003). Federal Trade Commission Strategic plan 2003-2008 (Online). Retrived: http://www.ftc.gov/opp/gpra/strategic/spfy03fy08.pdf, September (2012,6) Gunner Trumbull. (2000). Contested Ideas of the Consumer: National Strategies of Product Marketing Regulation in France and Germany.European University Institution. Kyoto City. (2001). Outline of the Master Plan of Kyoto City 2001-2010. (Online). Retrived: http://www.scribd.com/doc/21945418/Master-Plan-of-Kyoto-City, September (2012, 4) United States Department of Agriculture Food Safety and Inspection Service. (2011). Strategic plan FY 2011-2016 (Online). Retrived: http://www.fsis.usda.gov/PDF/ Strategic_Plan_2011- 2016.pdf, September (2012, 15)
121
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ภาคผนวก
122
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ภาคผนวก ก การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ
123
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ ประสบการณ์การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ในการศึกษาครั้งนี้ ทางโครงการได้ศึกษาประสบการณ์การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในหน่วยงาน ภาครัฐ และภาคเอกชนของประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักรอังกฤษ ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเปรียบเทียบและเป็นประสบการณ์ในการจัดทําร่างแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติฉบับนี้ รายละเอียด ของการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ มีรายละเอียดที่สําคัญ ดังนี้
1. สหรัฐอเมริกา 1.1 ความเป็นมา และพัฒนาการ ประเทศสหรัฐอเมริกามีการปกครองแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลแห่งมลรัฐเป็นผู้ทําหน้าที่ปกครองใน ระดับรัฐ และมีรัฐบาลกลางทําหน้าที่ปกครองประเทศ แนวคิดและนโยบายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จึงมีทั้งใน ระดับมลรัฐ และระดับสหพันธรัฐ แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกามีพัฒนาการเกี่ยวข้องกับ “สิทธิ” ของประชาชนเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ ประชาชนในประเทศมีความเข้าใจใน “สิทธิและหน้าที่” ของตนอย่างชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากประวัติศาสตร์การได้มาซึ่งเอกราชและเสรีภาพของชาวอเมริกันเป็นไปอย่างลําบากและมีความยาวนาน ส่งผลให้มีการจัดระบบการเมือง และการปกครองที่ประชาชนที่มีส่วนร่วมในการปกครองทั้งในระดับมลรัฐ และ สหพันธรัฐ เพื่อจรรโลงหลักความเสมอภาค และความมีสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวอเมริกันไว้ สิ่งนี้เป็น ปัจจัยที่สําคัญอย่างยิ่งที่ส่งผลให้ประเทศประสบความสําเร็จในการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง กลายเป็น มหาอํานาจซึ่งเป็นแบบอย่างของหลายประเทศในเวลาต่อมา (สุษม ศุภมิตย์, 2545) นอกจากนี้ สิทธิของผู้บริโภคในความเข้าใจของชาวอเมริกัน แสดงออกทางรูปธรรมโดยการรวมตัว กันเพื่อเรียกร้องแบบพลเมืองกระตือรือร้น (Active Citizen) ให้ผู้มีส่วนรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการ บริโ ภคแก้ปัญหา มิได้เป็นการรอคอยฝ่า ยเดียวโดยถือว่า เป็นหน้าที่ของรัฐ ทั้งหมด (Passive) กฎหมายคุ้มครอง ผู้บริโภคที่เป็นกฎหมายเฉพาะในแต่ละมลรัฐมีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่ในใจความไม่มีความแตกต่างกันใน แง่ของการกําหนดแนวนโยบายในการให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ปัญหาใดที่จําเป็นต้องใช้มาตรการทาง กฎหมายระดับสหพันธรัฐ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในทุกกรณี ในทุกรัฐก็มีกฎหมายสหพันธรัฐบัญญัติในเรื่องนั้นไว้ ข้อที่ ควรสังเกต ก็คือ แนวคิดในการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ยึดโยงอยู่กับระบบการค้าเสรี และการ แข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม ดังนั้น ในภาพรวมของนโยบายจึงแสดงออกให้เห็นผ่านทางกฎหมายสหพันธรัฐ ซึ่ง กําหนดให้รัฐบาลกลางดําเนินการให้เกิดการค้าที่มีความเป็นธรรมต่อทั้งคู่แข่งทางธุรกิจ และเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ใน เรื่องความปลอดภัยก็เช่นกัน ปัญหาใดเป็นปัญหาระดับชาติก็จะมีกฎหมายสหพันธรัฐออกใช้บังคับเพื่อคุ้มครองทุก คนในทุกรัฐเท่าเทียมกัน (สุษม ศุภมิตย์, 2545) 124
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
พั ฒ นาการของการคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคในประเทศสหรั ฐ อเมริ ก าเกิ ด ขึ้ น จากระบบเศรษฐกิ จ ได้ เปลี่ยนแปลงไปสู่กระบวนการผลิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น ในสังคมเศรษฐกิจทุนนิยมและบริโภคนิยม ผู้ผลิตที่ไม่มี จริยธรรมต่างพยายามทุกวิถีทางที่จะลดต้นทุนในการผลิต และเพิ่มผลกําไรให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ ไม่ว่าจะเป็น การลดคุณภาพของวัตถุดิบ กระบวนการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน การโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่เกินจริง รวมทั้งการใช้ กลไกตลาด หรือ “มือที่มองไม่เห็น” มาเป็นประโยชน์ในการสร้างผลกําไรสูงสุดแบบขาดความเป็นธรรม ซึ่งอาจทําให้ ผู้บริโภคได้รับความไม่เป็นธรรม ได้รับผลเสียจากการกระทําดังกล่าวจากสถานการณ์ดังกล่าวความพยายามคุ้มครอง สิทธิผู้บริ โภคจึงเริ่มขึ้น (ทัศนีย์ วีร ะกันต์, 2541) และเชื่อกัน ว่าการคุ้มครองผู้บริโภคเริ่มต้นอย่างเป็นทางการที่ สหรัฐอเมริกา เพราะเป็นประเทศที่มีระบบการค้าเสรีแบบทุนนิยมก้าวหน้ามากที่สุด และในขณะเดียวกันผู้บริโภคก็ ได้รับผลกระทบมากที่สุด กล่าวคือ เมื่อค่าครองชีพสูงขึ้นในปี ค.ศ.1897 ทําให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับมีการรวมกลุ่มของพ่อค้าเพื่อควบคุมการผลิต และกําหนดราคาสินค้า ทั้งประชาชน และรัฐบาลเริ่มคิดว่า ควรมีกฎหมายออกมาเพื่อควบคุมธุรกิจต่าง ๆ ให้เป็นไปโดยยุติธรรมสําหรับทุกฝ่าย กฎหมายฉบับแรกที่ออกมาเพื่อ ประโยชน์ของผู้บ ริ โ ภคในอเมริกา คือ Interstate Commerce Act of 1887 และก็มีกฎหมายห้า มการผูกขาด ออกมา คื อ Sherman Antitrust Act, Clayton Antitrust Act of 1914 และตั้ ง คณะกรรมาธิ ก ารการค้ า ของ สหพันธรัฐ ซึ่งมีอํานาจในการสอบสวนเรื่องราวเกี่ยวกับการค้าที่ไม่ยุติธรรม และการละเมิดกฎหมายห้ามการผูกขาด ต่าง ๆ แต่คงเน้น หนักไปทางด้านการควบคุมให้มีการแข่งขันทางการค้า มากกว่าการคุ้มครองผู้บ ริโ ภคโดยตรง (สถาบันวิจัยสังคม, 2553) ค.ศ.1930 ผู้ บ ริ โ ภคได้ ร วมตั ว กั น ในฐานะพลั ง อิ ส ระเป็ น ครั้ ง แรก ตั้ ง เป็ น สหพั น ธ์ ผู้ บ ริ โ ภค (Consumer Union) ขึ้ น เพื่ อ ให้ ข่ า วสารแก่ ผู้ บ ริ โ ภคให้ ไ ด้ รู้ ถึ ง คุ ณ ภาพของสิ น ค้ า และในปี ต่ อ มา มี ก ารตั้ ง คณะกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับผู้บริโภคในชื่อว่า Consumer Advisor Board เพื่อเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในคณะ รัฐบาล และในปี ค.ศ.1938 มีการแก้ไข Federal Trade Commission Act ให้มีอํานาจที่สามารถดําเนินการต่อ ธุรกิจต่าง ๆ ที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค และมีอํานาจในการควบคุมการโฆษณาด้วย ค.ศ.1960 ราฟ เนเดอร์ (Ralph Nader) ซึ่งเป็นผู้ริเ ริ่มในการรณรงค์เพื่อพิทักษ์ป ระโยชน์ของ ผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา ได้จัดตั้งกลุ่มนักกฎหมายขึ้นชื่อว่า Public Citizen Inc. เพื่อต่อสู้และปกป้องสิทธิผู้บริโภค ไม่ให้ถูกละเมิด ตั้ง Agency for Consumer Advocacy และหลังจากนั้น สมาคมผู้บริโภคตามเมืองใหญ่ ๆ ในหลาย ๆ รัฐก็ทยอยเกิดขึ้น ค.ศ.1962 ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี้ (John F. Kennedy) ได้ประกาศสิทธิพื้นฐานของ ผู้บริโภค (Consumer Bill of Rights) ขึ้น ซึ่งถือกันว่าเป็นการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของการคุ้มครองผู้บริโภคใน สหรัฐอเมริกา และหลังจากนั้นทั้งประชาชน และรัฐบาลก็เริ่มมองเห็นว่าสินค้าต่าง ๆ ก็มีอันตรายด้วยกันทั้งนั้น ถ้าไม่ มีหน่วยงานควบคุมที่ดีพอ ในปี ค.ศ.1973 จึงได้จัดตั้ง Consumer Product Safety Commission ขึ้นเพื่อควบคุม สินค้าต่าง ๆ ให้ป ลอดภัย จากการใช้ส อย ปี ค.ศ.1977 Consumer Federation of America ก็ถูกตั้งขึ้น และมี สมาคมมากกว่า 200 สมาคมอยู่ทั่วประเทศ นอกจากในสหรัฐอเมริกาแล้ว ในระยะต้นของทศวรรษที่ 1960 ขบวนการคุ้มครองผู้บริโภคได้ขยาย 125
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ไปยังประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ทั้งนี้ โดยการสนับสนุนเงินทุนแรกเริ่มจากองค์กรผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา ในด้าน ประชาชนก็ให้การสนับสนุนแก่องค์กรเหล่านี้มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ขบวนการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศกําลัง พัฒนา ก็เริ่มหยั่งรากลงเป็นพลังหนึ่งที่คอยถ่วงดุลการแผ่อิทธิพลไปทั่วโลกของบรรษัทข้ามชาติ ขบวนการคุ้มครอง ผู้บริโ ภคจึงเป็นการขยายจากการมองสิทธิผู้บริโภคว่า เป็นสิทธิส่ว นบุคคลไปสู่การมีพลังทางสังคมที่มีผลต่อการ กําหนดการผลิต การจําหน่าย และการบริโภคสินค้า หรือบริการทุกชนิดในสังคมนั้น (สารี อ่องสมหวัง, 2554) 1.2 โครงสร้าง และระบบการคุ้มครองผู้บริโภค โครงสร้าง และระบบการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศสหรัฐอเมริกา เกี่ยวข้องอยู่กับระบบการค้า เสรี การแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม สิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกทางรูปธรรมโดยการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ผู้ มีส่วนรับผิดชอบต่อความเสียหาย ส่งผลให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ต่างมีส่วนร่วมในการ คุ้มครองผู้บริโภค (สุษม ศุภมิตย์, 2545) ภาครัฐบาล ระบบการปกครองของสหรัฐอเมริกาเป็นแบบสหพันธรัฐ ดังนั้น ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้ มาตรการทางกฎหมายจึงมีทั้งในระดับสหพันธรัฐ และระดับมลรัฐหรือการปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายคุ้มครอง ผู้บริโภคระดับมลรัฐย่อมมีรายละเอียดในเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในมลรัฐนั้น ๆ เป็นการเฉพาะ แต่ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้เพื่อผู้บริโภคทุกคนในประเทศนั้น มีลักษณะกว้างกว่า เราจะไม่พบ กฎหมายระดับ สหพัน ธรั ฐ ที่มีชื่อว่า Federal Consumer Protection Act แต่จ ะมีกฎหมายที่กํา กับดูแลกิจ การ พาณิชย์ของประเทศเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ชื่อ The Federal Trade Commission Act และกฎหมายเกี่ยวกับ ความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ ชื่อ The Consumer Product Safety Act รวมทั้ง The Federal Food, Drug and Cosmetic Act เป็นต้น กฎหมายเหล่านี้ล้วนเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในระดับสหพันธรัฐ นอกจากนี้ ยังมี กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอื่น ๆ ที่ใช้บังคับทั่วประเทศ เช่น The Fair Packaging and Labeling Act, The Fair Debt Collection Practices Act, The Consumer Leasing Act, Federal Truth in Lending Law, Federal Cool-off Rule ซึ่งบังคับให้กับการทําธุรกิจแบบขายตรง เป็นต้น กฎหมายว่า ด้ว ยการค้า แห่งสหพันธรั ฐ เป็น กฎหมายซึ่งประกาศบังคับ ใช้ ในระดับ สหพัน ธรั ฐ ที่ เกี่ย วกับ การคุ้มครองผู้บ ริ โภคนั้น ส่ว นใหญ่เป็น กฎหมายที่คณะกรรมาธิการว่า ด้ว ยการค้า แห่งสหพัน ธรั ฐ หรือ Federal Trade Commission (FTC) เป็ น ผู้ บั ง คั บ ใช้ และกํ า กั บ การให้ เ ป็ น ไปตามกฎหมาย โดยมี Bureau of Consumer Protection ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ FTC ดูแลรับผิดชอบเรื่องการโฆษณา และการกระทําทางการค้าที่ ไม่เป็นธรรม นอกเหนือจากเรื่อง Product Safety ทั้งนี้ สาเหตุที่ FTC มีอํานาจครอบคลุมกว้างขวางมากเพราะเหตุ ที่ในกฎหมาย FTC Section 5 กําหนดว่าการกระทําทางการค้าใดที่ไม่เป็นธรรม และมีผลต่อการประกอบธุรกิจเป็น การต้องห้าม FTC จึงมีอํานาจเสนอกฎหมายและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการกระทําทางการค้าที่เห็นว่าไม่เป็นธรรม ได้ ทั้งนี้ การควบคุมการโฆษณาเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคนั้น อยู่ภายใต้การกํากับของ FTC ด้วย เพราะการโฆษณาเป็น พฤติกรรมทางการค้าที่อาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในตลาด และกระทบถึงผู้บริโภคโดยตรง FTC จึงมีบทบาท 126
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
สําคัญในการกํากับการโฆษณาธุรกิจทุกประเภททั่วประเทศ อาจกล่าวได้ว่าระบบการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ สหรัฐอเมริกา FTC มีบทบาทสําคัญในระดับชาติในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค นอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัยใน เรื่องอาหาร ยา เครื่องสําอาง และสินค้าบริโภคอื่น ๆ กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยเกี่ยวกับสินค้า ความปลอดภัยเกี่ยวกับสินค้ามีกฎหมายเฉพาะคือ The Consumer Protection Safety Act ซึ่งครอบคลุมสินค้าทุกชนิดเพื่อความปลอดภัย โดยมีกรรมาธิการว่าด้วย ความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ คือ The Consumer Product Safety Commission (CPSC) เป็นผู้กําหนดนโยบาย มาตรฐาน และตรวจติดตามให้มีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่จําหน่ายใน ตลาดทั่วประเทศ โดยกฎหมายกําหนดอํานาจในการสั่งห้ามจําหน่าย เรียกเก็บจากตลาด และมีโทษทางอาญาเป็น บทบังคับ ตลอดจนผู้บริโภคมีสิทธิฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายได้ตามกฎหมายนี้ อนึ่ง ความปลอดภัยเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ บางประเภทที่อยู่ในการกํากับขององค์กรของรัฐ และมีกฎหมายให้อํานาจไว้เป็นการเฉพาะ เช่น FDA ดูแลเรื่อง อาหารและยา และ FFA ดูแลเรื่องอากาศยานจะไม่อยู่ในการดูแลของกรรมาธิการว่าด้วยความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ โดยภาพรวมแล้วระบบการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายของสหพันธรั ฐ Federal Law มีบทบาทมากในการควบคุมสภาพตลาดให้มีการแข่งขันที่แท้จริงและเป็นธรรม ตลาดของสหรัฐเป็น ตลาดขนาดใหญ่ คู่แข่งในตลาดมีมากราย การดูแลให้สภาวะตลาดเป็นปกติตามกลไกของตลาดตามธรรมชาติ ทําให้ ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองโดยอัตโนมัติ องค์กรของรัฐทําหน้าที่กํากับดูแล ติดตาม และออกกฎหมายบังคับใช้ และ เป็นโจทก์และจําเลยในศาลหากมีการโต้แย้งมติหรือคําวินิจฉัยของกรรมาธิการ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทําที่ กระทบถึงตลาด การแข่งขัน และผู้บริโภค ส่วนในระดับมลรัฐต้องพิจารณากฎหมายที่ใช้ภายในรัฐนั้น ๆ ว่ากําหนด รายละเอียดในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคไว้อย่างใด เช่น อาจมีหน่วยงานของรัฐดูแล รับเรื่องราวร้องทุกข์ หรือฟ้อง คดีให้ เป็นต้น นอกจากนี้ ระบบการฟ้องร้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายนั้นเป็นเรื่องของผู้บริโภคจะใช้สิทธิของตน โดยผ่านหน่วยงานภาครัฐ โดยอาศัยหลักกฎหมายลักษณะกฎหมายละเมิดตามแนว Common Law หรือระบบ กฎหมายที่พัฒนามากขึ้น เช่น Product Liability และการฟ้องคดีเป็นกลุ่มเพื่อประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย เมื่อความ เสียหายเป็นอย่างเดียวกันและเกิดจากเหตุเดียวกันที่เรียกว่า Class Action ซึ่งมีอยู่ในระบบของสหรัฐอเมริกา ภาคเอกชน ภาคเอกชนจะมีบทบาทควบคุมกันเองในระดับหนึ่ง เช่น Better Business Bureau (BBB) ก็มีส่วน ในการคุ้มครองผู้บริโภคในแง่ของการรับเรื่องราวที่ผู้บริโภคร้องเรียน และดําเนินการประสานกับธุรกิจที่ถูกร้องเรียน เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาก่อนถึงขั้นฟ้องร้องคดีกัน BBB มีบทบาทสําคัญในการตรวจสอบพฤติกรรมของธุรกิจด้วยกัน และเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขเพื่อดํารงความเป็นธรรมในตลาดที่มีการแข่งขัน ส่วนในเรื่องการโฆษณา สมาคมนัก โฆษณา The Association of National Advertisers และสมาคมธุรกิจโฆษณา The American Association of Advertising Agencies สองสมาคมนี้ร่ว มกันจัด ตั้งกรรมการตรวจสอบและปรับ ปรุงเนื้อหาในโฆษณาที่เ รีย กว่า Committee for The Improvement of Advertising Content ซึ่งการตรวจสอบนี้มีผลบังคับให้ผู้โฆษณาปรับแก้ หรืองดเว้นการใช้เนื้อหาที่ไม่ถูกต้อง หากผู้โฆษณายอมรับปฏิบัติ แต่ผลบังคับดังกล่าวไม่ใช่กฎหมาย จึงมีความ แตกต่ า งจากการบัง คั บ ของ FTC อย่ า งไร ก็ดี ก็ ถือ ได้ ว่ า เป็ น ตัว อย่ า งของการมีส่ ว นร่ว มคุ้ มครองผู้ บ ริ โ ภคโดย 127
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ภาคเอกชนได้ระดับหนึ่ง ภาคประชาชน และองค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคที่มีลักษณะเป็นสมาคม หรือสมาพันธ์ระดับชาติต่างมีส่วนในการคุ้มครอง ผู้บริโภค และมีอยู่ทั่วประเทศในทุกมลรัฐ แต่ไม่มีวัตถุประสงค์ในการฟ้องคดีเพื่อผู้บริโภค เพราะคดีเหล่านี้หากไม่ ฟ้องโดยผู้เสียหายก็อาจให้ Attorney General หรืออัยการของรัฐ หรือสหพันธ์รัฐฟ้องร้องให้ได้ กิจกรรมหลักของ องค์กรผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อชนิดต่าง ๆ การนําเสนอแนวทางต่อพรรคการเมือง หรือรัฐสภา เพื่อออกกฎหมายและเป็น ศูนย์ร วมของผู้บริ โภคเพื่อเรีย กร้องสิทธิ เช่น การจัด ตั้งองค์กรผู้บ ริโภคในชื่อสหพัน ธ์ ผู้บริโ ภค (Consumer Union) ซึ่งมีบทบาทในการรณรงค์นโยบายผู้บริโภคที่สําคัญหลายด้าน เช่น ด้านสุขภาพ อาหาร ความปลอดภัย มาตรฐานสินค้า รวมถึงการสนับสนุนการทํางานของสหพันธ์ผู้บริโภคสากลที่เป็นเครือข่าย ขององค์กรผู้บริโภคจากทั่วโลก การจัดทํานิตยสารผู้บริโภค “Consumer Report” เพื่อให้ข้อมูล และความรู้เพื่อ เป็นเกราะป้องกันและช่วยกระตุ้นให้ผู้บริโภคตื่นตัว การจัดทํานิตยสารเพื่อเป็นข้อมูลเฉพาะสําหรับผู้บริโภคที่เป็น ผู้หญิง หรือจดหมายข่าวสําหรับผู้บริโภคเฉพาะด้านสุขภาพ และด้านการเงิน เป็นต้น
2. สหราชอาณาจักร 2.1 ความเป็นมา และพัฒนาการ แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศอังกฤษ เกิดขึ้นเนื่องจากรัฐบาลมองเห็น ความจําเป็นในการคุ้มครองผู้บริโภคเนื่องจากประเทศอยู่ในสถานการณ์ที่สําคัญ ได้แก่ 1) สถานการณ์การแข่งขัน ทางธุรกิจ ทั้งการผลิตและการจําหน่ายเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้นโยบายทางการตลาดและโฆษณามากขึ้น 2) สินค้า ในตลาดมีวิธีการผลิตที่ซับซ้อนใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ผู้บริโภคไม่สามารถหยั่งรู้ได้ถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสินค้าได้ด้วย ตัวเอง แนวคิดพื้นฐานทั้งสองประการทําให้เกิดการวางแนวคําพิพากษาที่ช่วยให้เกิดความเป็นธรรมในการบริโภค เป็นต้น ในด้านการบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร เริ่มเป็นที่ยอมรับว่ามีความจําเป็นที่ต้องบัญญัติกฎหมายเพื่อให้ เกิดการปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรมและคุ้มครองผู้บริโภค อันมีผลทําให้รัฐบาลมีหน้าที่กํากับการและบังคับการตาม กฎหมายต่าง ๆ มากขึ้น (สุษม ศุภมิตย์, 2545) 2.2 โครงสร้าง และระบบการคุ้มครองผู้บริโภค ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศอังกฤษ (สุษม ศุภมิตย์, 2545) พัฒนาขึ้นในกลางศตวรรษที่ 20 มีการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการบริโภคที่เป็นที่มาของการออกกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในเวลาต่อมา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาปัญหาเพื่อเสนอแนวทางแก้ไข ชื่อ The Melony Committee on Consumer Protection ในปี ค.ศ.1961 ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้ได้จัดทํารายงานและเหตุผล รวมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับ การคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้นว่ามีการจัดตั้ง Consumer Council ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น The National Consumer Council อันเป็นหน่วยงานอิสระซึ่งได้งบประมาณจากรัฐบาลมีบทบาทด้านการเฝ้าระวังประโยชน์ของผู้บริโภค และ เป็นสภาที่ปรึกษาให้แก่หน่วยงานด้านนี้ของภาครัฐอีกประมาณ 60 แห่ง บทบาทของ NCC ในปัจจุบันโดดเด่นมาก มี 128
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
การออกเอกสารรายงานประจําปี และวารสารรายเดือนที่มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา ถือได้ว่า เป็นองค์กรอิสระที่มีบทบาทเสริมหน่วยงานภาครัฐซึ่งมีอํานาจหน้าที่ตามกฎหมายอีกมากมายในเรื่องการคุ้มครอง ผู้บริโภค ซึ่งประกอบด้วย Department of Prices and Affairs ปัจจุบันยุบรวมกับ Department of Trade and Industry หน่วยงานนี้มีอํานาจตามกฎหมายสําคัญหลายฉบับที่เกี่ยวกับการบริโภค อาทิเช่น ออกข้อกําหนดตาม กฎหมาย Consumer Credit Act 1974 และ Consumer Protection Act 1987 (ส่ ว นที่ 2) และมี ค วาม รับผิดชอบโดยประสานกันกับ Office of Fair Trading ซึ่งเกิดขึ้นตามกฎหมาย Fair Trading Act 1973 เพื่อดูแลให้ เกิดการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรม ป้องกันพฤติกรรมการผูกขาดและการควบรวมกิจการอันมีผลต่อผู้บริโภค มี ผู้อํานวยการของสํานักงานทางการค้าที่เป็นธรรม (Director General of Fair Trading) ซึ่งแต่งตั้งโดย Secretary of State ตามกฎหมาย Fair Trading Act 1973 Direction General มีอํา นาจกว้างขวางภายใต้กฎหมายหลาย ฉบับ เป็นต้นว่า มีอํานาจตาม Consumer Credit Act 1974 ในการควบคุม เสนอแนะธุรกิจการให้ Credit การ ควบคุมเริ่มตั้งแต่การออกใบอนุญาตให้มีการดําเนินธุรกิจให้ Credit การให้เช่าซื้อ การเพิกถอนใบอนุญาตมีอํานาจ ตาม The Unfair Terms in Consumer Contracts Regulations 1994 ในการที่จะชี้ว่าข้อตกลงส่วนหนึ่งส่วนใด ในสัญญาไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคและไม่มีผลบังคับ การปฏิบัติหน้าที่ของ Director ขึ้นตรงต่อ Secretary of State Department of Trade and Industry ยังมีบทบาทในการสนับสนุนให้ทุนแก่ British Standards Institute (BSI) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นมานานถึง 75 ปี ในการดําเนินการให้มีมาตรฐานในสินค้าหลายประเภท สินค้าที่ได้รับการทดสอบผ่านมาตรฐานจะได้รับสัญลักษณ์รูปว่าว (Kite mark) จาก BSI นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ รับ ผิด ชอบด้ า นความปลอดภั ย เฉพาะ เช่ น Home Office ดูแ ลในเรื่อ งการควบคุม วัต ถุร ะเบิ ด สิน ค้า อัน ตราย ใบอนุญาตจําหน่ายสุรา กระทรวงเกษตรการประมงและอาหาร มีอํานาจภายใต้กฎหมาย Food Safety Act 1990 กล่าวโดยสรุป ในระดับรัฐบาลกลางนั้นเริ่มมีกลไกที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชัดเจน ตั้งแต่ปี ค.ศ.1973 โดยให้อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม และมีองค์กรอิสระภาคประชาชนมี ส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภคด้วย องค์กรภาครั ฐ ในระดับ รั ฐ บาลกลาง หน่ว ยงานที่มีห น้า ที่ห ลักและสํา คัญ เกี่ย วกั บ การคุ้มครอง ผู้บ ริ โ ภคในภาครั ฐ ได้ แ ก่ Office of Fair Trading ซึ่ งอยู่ ภ ายใต้ ก ารกํ า กั บ ดูแ ลของ Director General of Fair Trading ซึ่งแต่งตั้งโดย Secretary of State ตาม Fair Trading Act 1973 Part I (1) มีระยะเวลาดํารงตําแหน่ง 5 ปี มีอํานาจหน้าที่กํากับดูแลกิจกรรมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อบริโภคทุกประเภทในสหราชอาณาจักร ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกัน นี้ กําหนดให้มีกรรมการที่ปรึกษาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บ ริโภคที่ เรียกว่า The Consumer Protection Advisory Committee ประกอบด้วยบุคคลไม่น้อยกว่า 10 คน ไม่เกินกว่า 15 คน ซึ่งแต่งตั้งโดย Secretary of State ซึ่งต้องมีคุณสมบัติตรงตามที่กําหนดไว้ กล่าวคือ มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้าบริโภค หรือเกี่ยวกับการทํางานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรเอกชน อํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการคุ้มครองผู้บริโภคดังกล่าวปรากฏอยู่ใน Part II ข้อ 14 ของกฎหมาย Fair Trading Act 1973 กล่าวคือ เป็นที่ปรึกษาให้รัฐมนตรี และ Secretary of State รวมทั้ง 129
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กรณีที่ Director General ขอคําปรึกษาในเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับหรือที่อาจมีผลกระทบต่อผู้บริโภคในประเทศหรือ ประโยชน์ ส าธารณชนในแง่ เ ศรษฐกิ จ คณะกรรมการต้อ งจัด ทํา รายงานเสนอต่ อผู้ ขอคํ า ปรึก ษา และในการนี้ คณะกรรมการอาจขอให้ Director General สั่งให้มีการสํารวจหรือสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดทํา รายงานของคณะกรรมการได้ นอกจากนี้ คณะกรรมการยังมีอํานาจรับ ฟังข้อมูล จากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก่อนทํา รายงานได้ ในกรณีที่ Secretary of State เห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษาในเรื่องหนึ่งเรื่อง ใดว่า สมควรดําเนินการเพื่อออกกฎหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคและสาธารณชนทั่วไปSecretary of State มีอํานาจออกข้อกําหนด Order ให้มีผลบังคับใช้ภายใต้เงื่อนไขว่าได้รับการรับรองจากสภาผู้แทนราษฎร ระบบคุ้มครองผู้บริโภคดังกล่าวข้างต้นในกฎหมายฉบับนี้ ช่วยทําให้กระบวนการออกกฎหมายมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น องค์กรหรือหน่วยงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคท้องถิ่น สภาท้องถิ่นที่เรียกว่า Country Councils และ เขตปกครองใน London มีบทบาทในด้านคุ้มครองผู้บริโภค 2 ประการด้วยกัน กล่าวคือ 1. ในแง่ที่จัดให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการตรวจสอบปริมาณและน้ําหนักของสินค้าตามที่ The Trade Descriptions Act 1968 ให้อํานาจไว้ และมีอํานาจติดตามพฤติกรรมผิดปกติทางการค้าเพื่อรายงานต่อ Director General of Fair Trading ตามกฎหมาย Fair Trading Act 1973 2. จัดให้มี Consumer Advice Centres ภายใต้กฎหมาย Local Government Act 1972 การ ให้คําแนะนํากระทําทั้งก่อนและหลังการบริโภค รวมทั้งรับเรื่องราวร้องทุกข์ ตลอดถึงการเจรจายุติปัญหาพิพาท ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคด้วย แต่ไม่มีการฟ้องคดีแทนผู้บริโภค องค์ ก รภาคเอกชน สมาคมคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคที่ เ ป็ น ของเอกชนมี บ ทบาทในด้ า นการให้ ข้ อ มู ล เปรียบเทียบของสินค้าหรือบริการแก่ผู้บริโภค Consumer Association มีเอกสารเผยแพร่ชื่อ Which ซึ่งเป็นที่รู้จัก แพร่หลายในหมู่ผู้บริโภค เพราะให้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคอย่างมาก สมาคมเอกชนมีบทบาทในการผลัดดันกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคหลายฉบับ รวมทั้ง เสนอแนะให้การแก้ ไขที่มีข้อบกพร่องจนมีการแก้ ไขตามข้อเสนอ เช่น การแก้ ไขบทบัญ ญัติ ใน The Sale and Supply of Goods Act 1994 การดํา เนิน งานของสมาคมเอกชนทํา เป็น ระบบเครือข่า ยระหว่า งองค์กรเอกชน ด้ว ยกัน โดยมี National Federation of Consumer Groups ซึ่งเป็น หน่ว ยรวมสมาชิกองค์กรเอกชนประมาณ 2,000 องค์กรเข้าด้วยกัน เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย ภาคธุรกิจ องค์กรธุรกิจ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การจัดตั้ง Retail Motor Industry Federation หรือ Association of British Travel Agent ซึ่งทํากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการระงับ ข้อพิพาทที่มีขึ้นระหว่างผู้ประกอบธุรกิจกับผู้บริโภคหรือการใช้ระบบ Ombudsman ในกิจการเฉพาะ เช่น The Insurance Ombudsman’s Bureau ซึ่งจัดขึ้นตามความสมัครใจของผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้เป็นคนกลางในการ 130
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ควบคุมการดําเนินกิจการประกันภัยในหมู่ผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยด้วยกัน มิให้ก่อความเสียหายต่อผู้บริโภค เป็น ต้น
3. ญี่ปุ่น ความเป็นมาของการคุ้มครองผู้บริโภค การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศญี่ปุ่น เริ่มต้นโดยรัฐบาลได้ตรากฎหมายต่าง ๆ ขึ้นเพื่อ คุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค เช่น กฎหมายสุขอนามัยของอาหาร (Food Hygiene law) ค.ศ.1947 กฎหมาย ควบคุมการใช้สารเคมีในการเกษตร ค.ศ.1948 และกฎหมายมาตรการพิเศษเพื่อป้องกันการเป็นพิษในอาหารใน กระบวนการจัดจําหน่าย ค.ศ.1957 ในช่วง ค.ศ.1950 ถึง 1960 ปัญหาของผู้บริโภคได้เริ่มเป็นประเด็นที่สําคัญในทางเศรษฐกิจและ สังคมได้รับความสําคัญและสนใจจากประชาชนและรัฐบาล เนื่องจากประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ การผลิต สินค้ามีความซับซ้อนมากขึ้น ผู้บริโภคไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังมีการพัฒนาทักษะเชิง การตลาดและความสามารถทางธุรกิจขึ้นเรื่อย ๆ สินค้าบางรายการมีการผูกขาดทางธุรกิจในขณะที่กฎหมายการ คุ้มครองผู้บริโภคยังมีจํานวนน้อย ผู้บริโภคจึงต้องรับภาระความเสี่ยงในการที่จะเลือกซื้อสินค้าด้วยตนเอง ผู้บริโภค ขาดอํานาจต่อรองทางการบริโภคอย่างแท้จริง ในปี ค.ศ.1968 จึงมีการออกกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภค The Consumer Protection Fundamental Act,1968 ขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นแนวทางในการคุ้มครองสิทธิและ ผลประโยชน์ ข องผู้ บ ริ โ ภคในประเทศญี่ ป่ น สาระสํ า คั ญ ของ The Consumer Protection Fundamental Act,1968 สรุปได้ดังนี้ 1. รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นจะต้องวางแผน และปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนและ นโยบายเกี่ยวกับผู้บริโภคตามพัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคม 2. ผู้ป ระกอบธุร กิจ จะต้องคุ้มครองผู้บ ริ โ ภค และดํา เนิน การตามนโยบายต่า ง ๆ ของ รัฐบาล 3. ผู้บริโภคจะต้องมีบทบาทสําคัญในการพัฒนาชีวิตของตนเองในฐานะผู้บริโภค ด้วยการ มีความคิดริเริ่มและพยายามที่จะใช้เหตุผลของตนเองด้วยความเชื่อมั่น โครงสร้างองค์กรทางนโยบายเกี่ยวกับผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น องค์กรต่าง ๆ ในภาครัฐที่เกี่ยวกับผู้บริโภคได้ก่อตั้งขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1960 ถึง 1969 ได้แก่ Social Policy Bureau แห่ ง Economic Planning Agency (EPA) กรมต่ า ง ๆ ในกระทรวงอุ ต สาหกรรมและการค้ า ระหว่างประเทศและกระทรวงเกษตรและป่าไม้ และ The Consumer Protection Fundamental Act,1968 ได้ วางนโยบายไว้ให้แก่รัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่นเกี่ยวกับการดําเนินงานและการพัฒนาด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ที่สําคัญ ดังนี้ (อัครพงษ์ เวชยานนท์) 131
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
โครงสร้างขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ภาครัฐบาล 1 . ค ณ ะ ก ร ร ม ก า ร คุ้ ม ค ร อ ง ผู้ บ ริ โ ภ ค (The Consumer Protection Council) คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย รัฐมนตรีในกระทรวงที่เกี่ยวข้อง 15 คน เป็นคณะกรรมการ และมี นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่นทําหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทําหน้าที่วางแผน และกําหนดทิศทางด้านนโยบาย และมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐบาล อนึ่ง คณะกรรมการฯ มีการประชุม ร่วมกันหลายครั้งต่อปี เพื่อการประสานงาน และติดตามผลเกี่ยวกับมาตรการตามมติที่คณะกรรมการได้พิจารณา แล้ว 2. คณะกรรมการนโยบายเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต (Quality of life Bureau) เป็นองค์กร ด้านการให้คําแนะนําปรึกษาต่อนายกรัฐมนตรี ตั้งขึ้นและอยู่ภายใต้ Economic Planning Agency (EPA) คณะ กรรมการฯ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในสาขาการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ นักวิชาการ ตัวแทนองค์กรผู้บริโภค และ ตัวแทนด้านอุตสาหกรรมหลักของประเทศ 3. สํานักงานคณะรัฐมนตรี (Cabinet Office) และกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กระทรวงต่าง ๆ จะมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคในขอบเขตอํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย สําหรับสํานักงานคณะรัฐมนตรีนั้น (เดิมคือ EPA) ทําหน้าที่ประสานงานมาตรการหรือนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้บริ โภคในกระทรวงต่าง ๆ และทําหน้าที่เป็น สํานักงานเลขาธิการให้แก่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และคณะกรรมการนโยบายเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต 4 . รั ฐ บ า ล ท้ อ ง ถิ่ น (Local Government) ต า ม The Consumer Protection Fundamental Act,1968 รัฐ บาลท้องถิ่นต้องวางแผน และนําแผนไปปฏิบัติตามนโยบายของตนเอง ทั้งนี้ ต้อง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่นจะทําหน้าที่ออกข้อบัญญัติของตนเองในเรื่องที่ เกี่ยวกับผู้บริโภค และต้องทําหน้าที่แก้ไขปัญหาระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบการ 5. ศู น ย์ กิ จ การเกี่ ย วกั บ ผู้ บ ริ โ ภคแห่ ง ชาติ (National Consumer Affair Center หรื อ NCAC) ในระดับท้องถิ่น NCAC เป็นองค์การของรัฐบาลซึ่งก่อตั้งขึ้นตามกฎหมาย โดยมีหน้าที่สําคัญ คือ เป็นศูนย์รับ เรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับสินค้าและบริการของผู้บริโภค นําข้อมูลจากข้อร้องเรียนมารวบรวมเก็บเป็นสถิติวิเคราะห์ ข้อมูลในข้อมูลเชิงบริหารให้คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย และทิศ ทางการคุ้มครองผู้บริโภคให้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้บริโภค ให้คําปรึกษากับผู้บริโภคเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ของผู้บริโภค ทดสอบผลิตภัณฑ์ เป็นศูนย์กลางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้กับศูนย์ในระดับท้องถิ่น เป็นต้น ขอบเขตการบริหารงานเกี่ยวกับผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น 1. มาตรการหลักในการคุ้มครองผู้บริโภคของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีประเด็น ดังนี้ 1.1 การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสารสนเทศ 132
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
1.2 การพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 1.3 สนับสนุนเรื่องสัญญาที่เป็นธรรม ระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบกิจการ 1.4 มาตรการความปลอดภัยด้านอาหาร 1.5 สนับสนุนการแข่งขันที่เป็นธรรม 1.6 สนับสนุนกระบวนการร้องทุกข์ที่เรียบง่ายในระดับท้องถิ่น 2. ปรับปรุงข้อมูลข่าวสารและช่องทางการสื่อสารเพื่อให้ความรู้ผู้บริโภค การบังคับใช้ The Consumer Contract Act,2000 เมื่อวัน ที่ 1 เมษายน ค.ศ.2001 ระบุ ให้สํา นักงานคณะรั ฐ มนตรีทํา หน้า ที่ ให้การศึกษาแก่ ผู้บริโภคในประเด็นผู้บริโภคผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2003 เป็นต้นมา 3. สนับสนุนมาตรการความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์โดยการบังคับใช้กฎหมาย Product Liability ในปี ค.ศ.1994 ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ.1995 สํานักงานคณะรัฐมนตรีได้ปรับปรุงมาตรการเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่าง ผู้บริโภคกับผู้ประกอบการนอกเหนือจากการดําเนินการทางศาล (Alternative Dispute Resolution : ADR) 4. ให้ข้อมูลข่าวสารและการศึกษาแก่ผู้บริโภค 4.1 ก่ อ ตั้ ง สถาบั น ให้ ก ารศึ ก ษาแก่ ผู้ บ ริ โ ภคแห่ ง ชาติ ภายใต้ ก ารดู แ ลของ EPA และ กระทรวงศึกษาธิการ 4.2 จัดตั้งโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับผู้บริโภค เช่น มีมติคณะรัฐมนตรีให้เดือนพฤษภาคมเป็นเดือน แห่งผู้บริโภค เป็นต้น 5. การร่วมมือระหว่างประเทศ 5.1 สํ า นั ก งานคณะรั ฐ มนตรี ไ ด้ มี ส่ ว นร่ ว มในการกํ า หนดขอบเขตมาตรการด้ า นพาณิ ช ย์ อิเล็กทรอนิกส์ ในมิติของการคุ้มครองผู้บริโภคให้สอดคล้องกับแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development - OECD) Consumer Affair Agency (CAA) CAA ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.2009 ภายใต้กรอบแนวคิดในการเสริมสร้างสังคม และ สนับสนุนให้กลุ่มผู้บริโภคและประชากรทั่วไปมีบทบาทเป็นผู้นําสังคม การบริหารงานเน้นประโยชน์สูงสุดกับผู้บริโภค คณะทํางานมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และประกอบไปด้วยสํานักงานคณะรัฐมนตรี (Cabinet Office) รัฐมนตรี กระทรวงที่เกี่ยวกับผู้บริโภค และรองรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ
133
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
อํานาจหน้าที่หลักของ CAA 1. ป้องกันอันตรายหรือความเสียหายของผู้บริโภค 2. กดดันให้มีกฎหมาย ภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการ CAA 3. ให้การสนับสนุนการบริหารจัดการของกลุ่มผู้บริโภคท้องถิ่น 4. ตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะปัจจุบัน 5. จัดการกับสถานการณ์ปัญหาหลากหลาย ทั้งในระดับประเทศแต่ละประเทศ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับ CAA 1. Consumer Commission: คณะกรรมการผู้บริโภค 2. National Consumer Affair Center of Japan: NCAC นอกจากนี้ CAA ได้จัดเตรียมกองทุนสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มผู้บริโภคระดับท้องถิ่น เพื่อให้รัฐบาล ท้องถิ่นสามารถพัฒนาศูนย์ผู้บริโภคและอบรมพนักงานที่ให้คําปรึกษา CAA ได้ก่อตั้ง “Consumer Hotline” เมื่อ วันที่ 12 มกราคม 2010 ขึ้น 1 หมายเลข คือ “0570-064-370” เพื่อให้ผู้บริโภคที่ประสบปัญหาสามารถติดต่อ โดยตรง CAA เริ่มโครงการ “Protect Children from Injuries” เพื่อป้องกันอันตรายอันไม่คาดคิดที่จะเกิดกับ เด็ก ในลักษณะการให้ข้อมูลข่าวสาร เช่น ผ่านทาง e-mail จดหมายข่าว โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ กลุ่มให้ ความรู้เคลื่อนที่
134
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
(ที่มา: WWW. KOKUSEN.GO.JP/E_HELLO/JPN_CAS.HTML) องค์กรภาคเอกชน ในช่ว งวิกฤตเศรษฐกิจ ของประเทศญี่ปุ่นในช่ว งทศวรรษ 1990 ส่ว นหนึ่งเป็น ผลมาจากการทุจ ริต คอรัปชั่นและระบบราชการที่ล้มเหลว ชาวญี่ปุ่นในชุมชนขาดความเชื่อมั่นราชการ จึงได้หันไปใช้บริการขององค์กรที่ ไม่ แ สวงหากํ า ไรมากขึ้ น และออกกฎหมายส่ ง เสริ ม กิ จ กรรมที่ ไ ม่ แ สวงหาผลกํ า ไร (Law for the Promotion Nonprofit Activities) ขึ้นในปี ค.ศ.1998 เพื่อสนับสนุนการดําเนินกิจกรรมของประชาสังคมหรือกลุ่มองค์กรขนาด เล็ก นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวนี้ได้ให้อํานาจของฝ่ายบริหารในการใช้ดุลยพินิจจัดตั้งประชาสังคมและสนับสนุน การดําเนินกิจกรรม จะเห็นได้ว่าแม้ว่ากฎหมายฉบับนี้จะมิได้ระบุวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค แต่สนับสนุน องค์กรที่ดําเนินกิจกรรมเกี่ยวโยงไปถึงสิทธิของผู้บริโภค เช่น ด้านสุขภาพและการประกันสังคม ความปลอดภัยใน ชุมชน การอบรมเลี้ยงดูเยาวชน การพัฒนาชุมชน เป็นต้น
135
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
จากกฎหมายดังกล่าว ทําให้การรวมตัวกันจัดตั้งชมรมทั้งในส่วนกลางและระดับท้องถิ่นมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปีค.ศ.2000 ทั่วประเทศญี่ปุ่นมีชมรมทั้งสิ้นประมาณ 4,821 ชมรม โดยแบ่งออกเป็นชมรมในส่วนกลาง 27 ชมรม ชมรมในระดับจังหวัด 412 ชมรม และชมรมในระดับท้องถิ่นหรือชุมชน 4,382 ชมรม นอกจากนี้ ยังมีการ รวมตัวกันในลักษณะของกลุ่มอาชีพ ซึ่งได้แก่ กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มคุณภาพชีวิตหรือโรงเรียนสอนอาชีพ จํานวนมากถึง 7,206 กลุ่ม สมาชิกกลุ่มชมรมเหล่านี้มีการประชุมร่วมกันแก้ปัญหาเกี่ยวกับคําร้องเรียน การรณรงค์ให้ความรู้แก่ ผู้บ ริ โ ภคในชุมชน หากมีความจํา เป็น ต้องทดสอบผลิต ภัณฑ์จ ะส่งต่อไปให้ทางราชการที่เ กี่ย วข้องดํา เนิน ต่อไป (อัครพงษ์ เวชยานนท์) ยกตัวอย่างกลุ่มองค์กรผู้บริโภคภาคเอกชน เช่น 1. สมาคมผู้ บ ริ โ ภคของญี่ ปุ่ น (National Liasion Committee of Consumer’s Organization : Shodanren Consumer Japan) จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1956 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดําเนินกิจกรรมด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภค ให้ความรู้ผู้บริโภคให้สามารถรับทราบถึงสิทธิต่าง ๆ สามารถปกป้องสิทธิและพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนได้ Shodanren ประกอบด้วยองค์กรและสมาชิกทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น แต่ละองค์กรสมาชิกจะมีการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การทํางาน ปัญหาและอุปสรรคผ่านการประชุมและสัมมนาทั้งในและต่างประเทศ บทบาทสมาคมในการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศที่สําคัญ ได้แก่ การผลักดันให้มีกฎหมายสัญญา กฎหมายเกี่ยวกับการรับผิดในผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ Shodanren ยังมีบทบาทให้ความร่วมมือในระดับสากล ใน ฐานะเป็นสมาชิกขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภคระหว่างประเทศ (Consumers International: CI) มีส่วนร่วมในการ ประชุม World Congresses ในการกําหนดโครงการเกี่ยวกับวันคุ้มครองผู้บริโภคสากล และคณะกรรมการ Codex Alimentarius Commission เป็นต้น (อัครพงษ์ เวชยานนท์) 2. Consumer Union of Japan (CUJ) CUJ ถู ก ตั้ ง ขึ้ น ในปี ค.ศ.1969 เป็ น องค์ ก รเอกชน (NonGovernment Organization) ที่ไม่แสวงหาผลกําไรและไม่ขึ้นต่อรัฐบาล งบประมาณการดําเนินงานของกลุ่มได้จาก ค่าสมาชิก การบริจาค และการจําหน่ายนิตยสารหรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ CUJ ถือเป็นองค์กรรากหญ้าองค์กรแรกของ ประเทศญี่ปุ่น CUJ จัดพิมพ์จดหมายข่าว “รายงานผู้บริโภค: Consumer Report” ให้แก่สมาชิกองค์กร และมีการ บริการข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตให้แก่บุคคลทั่วไป 3. Japan offspring Fund (JOF) ได้ ถู ก ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น ในปี ค.ศ.1984 เป็ น NPO (Non Political Organization) กิจกรรมขององค์กรรวมถึงการทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร และการรณรงค์เกี่ยวกับ ความปลอดภัย แนวคิดขององค์กรเน้น “kurashi” หรือการดํารงชีวิตในสังคม งบประมาณขององค์กรได้มาจากค่า สมาชิก การเป็นสมาชิกนิตยสารรายเดือน “Safety to our Food and life” และจัดจําหน่ายสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ.2004 เป็นต้นมา มีการพิมพ์และจําหน่าย “Anzen style” ซึ่งรณรงค์เรื่องผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพและความ ปลอดภัยทั่วประเทศ [(en.wikipedia.org/wiki/Japan-offspring) Wikipedia,thefreeencyclopedia] นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น New Japan Women Associaition, Japan specified Non-profit Corporation, Japanese Consumer co-operative Union (JCCU) 136
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กลุ่มสหกรณ์ในประเทศญี่ปุ่น สหกรณ์ในประเทศญี่ปุ่นได้รับการสนับสนุนและผลักดันอย่างจริงจังจากรัฐบาล ทําให้สามารถปรับตัว เข้ากับสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ได้ดี และกลายเป็นองค์กรที่แข็งแกร่งสามารถพึ่งพาตนเองได้ จนมีบทบาทสําคัญในการกําหนดทิศทางสหกรณ์การเกษตรภายใต้ขอบเขตตนเองและตอบสนองนโยบายรัฐบาล ประเภทของสหกรณ์ เช่น สหกรณ์ผู้บริโภค สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์ป่าไม้ สหกรณ์ ประกันภัย แรงงาน การธนาคาร สหกรณ์โรงงาน องค์การสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ 1. JCCU
สหกรณ์ผู้บริโภคในญี่ปุ่น
2. Zenrosai
สหกรณ์การประกันภัยในญี่ปุ่น
3. JA
สหกรณ์การเกษตรในญี่ปุ่น
4. JF
สหกรณ์การประมงในญี่ปุ่น
5. NFUCA
สหกรณ์มหาวิทยาลัยในญี่ปุ่น
องค์กรอิสระ ศูนย์ผู้บริโภคแห่งชาติประเทศญี่ปุ่น (National Consumer Affair Center of Japan: NCAC) ชื่อเดิม คือ Japan Consumer Information Center (JCIC) NCAC เป็นองค์กรรัฐ ต่อมาได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นองค์กร ของรัฐที่เป็นอิสระตามกฎหมาย ฉบับที่ 123 ค.ศ.2002 และเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบบริหารราชการญี่ปุ่น พั น ธกิ จ ของ NCAC หรื อ Kokusen คื อ การปรั บ ปรุ ง และเสริ ม คุ ณ ภาพชี วิ ต ของประชาชนโดย NCAC ได้ รั บ งบประมาณการดําเนินงานจากรัฐบาลและรายได้จากการจัดกิจกรรมอื่น ได้แก่ 1. การรวบรวมข้อมูลจากผู้บริโภค และการให้คําปรึกษา 2. การเผยแพร่ข้อมูลของผู้บริโภคผ่านสื่อต่าง ๆ 3. งานวิจัยและสํารวจความคิดเห็น 4. การทดสอบผลิตภัณฑ์ 5. การฝึกอบรม 6. การประสานงานต่างประเทศ เมื่อพิจารณาในภาพรวมจะเห็นว่า kokusen มีความรับผิดชอบในด้านการเผยแพร่ความรู้ให้ผู้บริโภค 137
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
การให้คํา ปรึกษา การดํา เนิน งานศึกษาวิจัย และพัฒ นา kokusen มิ ใช่เ ป็น องค์กรที่ทํา หน้า ที่บังคับ ใช้กฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น กรณีการทดสอบผลิตภัณฑ์ เมื่อได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคที่ประสบปัญหาจาก การใช้สินค้า (เรื่องความปลอดภัยและอุบัติเหตุ) หรือจากหน่วยงานของรัฐอื่น kokusen จะส่งผลการทดสอบไป เผยแพร่ยังสื่อมวลชนต่าง ๆ ปัจจุบัน kokusen มีกรรมการบริหาร 6 คน พนักงานราว 120 คน โครงสร้างองค์กร ประกอบด้วย 7 แผนก มีศูนย์บริโภคที่เป็นเครือข่ายทั่วประเทศกว่า 490 แห่ง (วิทยา กุลสมบูรณ์ และคณะ, 2548) ความสัมพันธ์ของ kokusen กับหน่วยงานอื่น 1. องค์กรผู้บริโภค สามารถแสดงความคิดเห็นเสนอต่อ kokusen หรือร้องเรียนในกรณีที่ ผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากการบริโภคสินค้าและบริการ 2. kokusen จะส่งเสริมการดําเนินงานขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภค 3. ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคประจําท้องถิ่น เป็นหน่วยงานของรัฐที่กระจายอยู่ทั่วประเทศทํา หน้าที่เป็นหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค และประสานงานกับ kokusen 4. Quality of life Policy Bureau ในสังกัดสํานักงานคณะรัฐมนตรี (Cabinet Office) จะสั่งการให้ kokusen จัดทําแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคในระยะ 5 ปี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีประกาศเป็นแผนงาน ของประเทศ (วิทยา กุลสมบูรณ์ และคณะ, 2548) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภค 5 ปี มีดังนี้ 1. จัดทําแผนบริหารงบประมาณในระยะ 5 ปี โดยพิจารณาประเมินผลงานในแต่ละปี โดย คณะกรรมการประเมินผลซึ่งเป็นองค์กรภายนอกขึ้นอยู่กับสํานักงานคณะรัฐมนตรี และในทุก 3–5 ปี จะจัดให้มีการ ทบทวนแผนงานเพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพของสังคม 2. กําหนดนโยบายในการลดค่าใช้จ่ายและลดบุคลากร 3. การบริหารการจัดเก็บข้อมูลในระบบ PIO - NET 4. ปรับปรุง Home page ให้มีความน่าสนใจ และมีประสิทธิภาพ 5. ประสานงานกับกลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนให้มากขึ้น ส่งเสริมให้องค์กรดังกล่าวมีส่วน ร่วมในการให้คําปรึกษาและช่วยเหลือผู้บริโภค 6. นโยบายพัฒนาบุคลากรของศูนย์ฯ โดยการสอบ 7. เน้นให้ความรู้ในสถานศึกษา โดยประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการในการจัดทํา หลักสูตรเนื้อหาการเรียนการสอนเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ จัดให้มีการอบรมบุคลากรซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ด้านการบริหารกิจการผู้บริโภคของรัฐ ผู้นํากลุ่มผู้บริโภคในท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของภาคเอกชน รวมทั้งการรับรอง 138
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
คุณสมบัติผู้เชี่ยวชาญการให้คําปรึกษาเรื่องกิจการผู้บริโภค (การให้คําปรึกษาแก่ผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่นจะต้องมี ใบอนุญาต ซึ่งจะต้องสอบผ่านจาก NCAC) 8. ผลการวิจัยต่าง ๆ จะต้องผ่านการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลภายนอกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย และคณะรัฐมนตรีก่อนการเผยแพร่ (อัครพงษ์ เวชยานนท์) ระบบเครือข่ายข้อมูลผู้บริโภค (Practical Living Information Online Network System: PIO -NET) และระบบการสะสมข้อมูลอันตรายของศูนย์กิจการผู้บริโภคแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น PIO - NET เป็นการรวบรวมกรณีตัวอย่างของผู้ที่ได้รับอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตจากการบริโภค สินค้าหรือบริการ ระบบนี้ได้ถูกนํามาใช้เมื่อ 1 เมษายน ค.ศ.1975 โดยมีวัตถุประสงค์ในการนําข้อมูลไปวิเคราะห์ และเผยแพร่เพื่อป้องกันภัยอันจะเกิดแก่ผู้บริโภค หรือระงับมิให้ขยายวงกว้างออกไป ระบบการสะสมข้อมูลอันตราย มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ และการเผยแพร่ข้อมูล (อัครพงษ์ เวชยานนท์) การร้องทุกข์และการแก้ไขปัญหา พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ค.ศ.1968 ได้บัญญัติบทบาทหน้าที่ของผู้ประกอบการเกี่ยวกับ การจัดให้มีระบบการรับเรื่องราวร้องทุกข์และการแก้ปัญหาไว้ใน มาตรา 15 วรรค 1 โดยผู้ประกอบการจะต้องมี ระบบที่จําเป็นในการจัดการกับเรื่องราวร้องทุกข์อย่างรวดเร็วและเหมาะสม เมื่อมีการค้าขายและให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงส่วนมากจะมีหน่วยงานโดยเฉพาะด้านนี้อยู่ หรือที่เรียกกันว่า “ศูนย์ PL” นอกจากนี้ องค์กรสมาคมของแต่ละธุรกิจจะมีแผนกให้คําปรึกษาแก่ลูกค้า และจัดการเรื่องราวร้องทุกข์มีระบบให้เงิน ช่วยเหลือสําหรับผู้ที่มีอาการข้างเคียงจากการใช้ยาและเวชภัณฑ์ มาตรการป้องกันอุบัติเหตุทางการรักษาพยาบาล ศูนย์การให้คําปรึกษาเรื่องความรับผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ศูนย์การให้คําปรึกษาเรื่องความรับผิด เกี่ยวผลิตภัณฑ์รถยนต์ ศูนย์การให้คําปรึกษาเรื่องความรับผิดเกี่ยวกับเคมีภัณฑ์ มีการรวมตัวกันของภาคธุรกิจเป็น องค์กรตรวจสอบการโฆษณาแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Advertising Review Organization : JARO) สมาคมความ ปลอดภั ย ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ (Safety Good Mark Organization : SG) สมาพั น ธ์ อ งค์ ก รผู้ บ ริ โ ภคทั่ ว ประเทศ (Shodanren Consumer Japan) สภาตรวจสอบการบริหารอิสระเรื่องความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ และระบบการ ประกันความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์ เป็นต้น (อัครพงษ์ เวชยานนท์) รัฐบาลกําหนดวิธีการแก้ปัญหาไว้ 2 ระดับ ได้แก่ 1. การเจรจาไกล่เกลี่ย 2. การดําเนินคดีฟ้องร้อง โดยใช้สิทธิทางศาล ผู้บริโภคต้องใช้สิทธิทางศาลเองหากกรณีตก ลงกันไม่ได้ ศูนย์ผู้บริโภคมหานครโตเกียว โตเกียวได้จัดตั้งระบบออนไลน์ข้อมูลคําปรึกษาเรื่องการบริโภค คือ Metropolitian Consumer 139
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Online Information System (MECONIS) เป็น ระบบออนไลน์ที่ร วบรวมข้อมูล ปัญ หาของผู้บริ โ ภคในมหานคร โตเกียว และให้คําปรึกษาแก่ผู้บริโภคทางโทรศัพท์ มีอาสาสมัครคอยให้คําปรึกษา 24 คน สรุปข้อมูลของผู้บริโภคที่ ขอรับคําปรึกษา และส่งข้อมูลให้ศูนย์ข้อมูลผู้บริโภคแห่งชาติ NCAC เพื่อเก็บไว้ในระบบ PIO - NET วัตถุประสงค์ 1. ป้องกันความเสียหายที่เกิดกับผู้บริโภคไม่ให้เกิดขึ้นอีก หรือไม่ให้ขยายวงกว้าง 2. ช่วยเหลือให้คําปรึกษาได้รวดเร็ว 3. วิเ คราะห์ปัญ หาที่เกิดกับ ผู้บ ริ โภค และเผยแพร่ข้อมูล แก่เ จ้า หน้า ที่ที่เ กี่ย วข้อง เพื่อ สามารถจัดการปัญหาของผู้บริโภคชาวเมืองโตเกียวไม่ให้ขยายวงต่อไป 4. เพื่ อสร้า งความเข้ า ใจแก่ผู้ บ ริ โ ภคในการแก้ปั ญ หา ปลู กจิ ต สํ า นึก แก่ ผู้บ ริ โ ภค และ บริหารงานด้านความเป็นอยู่แก่ผู้บริโภค
4. กลุ่มประเทศอาเซียน 4.1 ประเทศบรูไน ประเทศบรู ไ นยั ง ไม่ มี ก ารกํ า หนดข้ อ บั ง คั บ หรื อ กฎหมายที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การผู้ บ ริ โ ภคเป็ น กิจ จะลัก ษณะ อย่า งไรก็ ต าม มี การจัด เตรีย มหน่ว ยงานเฉพาะที่ทํา งานเกี่ย วกั บ การคุ้ มครองผู้ บ ริ โ ภค และกฎ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ money lander Acts, Price Control Acts, etc. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง 1. การเยียวยาผู้บริโภค (Consumer Redress) 2. ความปลอดภัย และน่า เชื่ อถือของผลิต ภัณฑ์ (Product safety and Liability) รวม ผลิตภัณฑ์อาหารและยา อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ยาพื้นบ้าน เครื่องสําอาง อุปกรณ์การแพทย์ 3. อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ (Electonic Commerce) 4. การแข่งขัน (Competition) 5. การติ ด ฉลาก (Labelling) Price Control Act กํ า หนดให้ ผู้ ข ายติ ด ฉลากสิ น ค้ า ให้ ชัดเจน 6. การบริการแบบมืออาชีพ (Professional services) 7. โฆษณา (Advertising) 140
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
8. เครดิตของผู้บริโภค (Consumer Credit) 9 . ก า ร ธ น า ค า ร (Banking) ร ว ม Banking Act, Islamic banking Act, and international Banking Order and Banking Order 10. การประกันภัย (Insurance) รวม Motor Vehicles Insurance (Third party Risks) Act , international Insurance, Takaful Order and Insurance Order 11. สาธารณูปโภค เช่น น้ํา อุปกรณ์สื่อสาร (Provision and regulation Utilities such as water, telecommunications, etc.) 12. การบริโภคแบบยั่งยืน (Sustainable consumption) ถึงแม้ว่ารัฐบาลยังไม่มีนโยบายและบทบาทที่แน่ชัดในการคุ้มครองผู้บริโภค แต่โดยความร่วมมือใน ระดับประเทศ กฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่ในกระบวนการก่อตั้งเพื่อรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในสังคมปัจจุบัน เช่น ผู้ประกอบการขึ้นราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงเกินกําลังซื้อของผู้บริโภค โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้ ในชีวิตประจําวัน พวกน้ํามันพืช แป้งผสมอาหาร บะหมี่สําเร็จรูป เป็นต้น The Consumer Association Brunei Darussalam (CAB) เ ป็ น อ ง ค์ ก ร ที่ ก่ อ ตั้ ง เ มื่ อ 2 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2001 ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 300 คน วัตถุประสงค์หลักขององค์กร คือ การทํางานที่เน้นความ รับผิดชอบต่อผู้บริโภคเพื่อการเป็นผู้บริโภคของประเทศฉลาดซื้อ ลักษณะการทํางานขององค์กรจะให้ความสําคัญกับ การศึกษาเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภค กระจายข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับคุณภาพสินค้าและราคา เพื่อให้ผู้บริโภคมีโอกาส ในการเลือกซื้อ ในสื่อสาธารณะ เช่น รายการข่าวทางโทรทัศน์เวลา 08.00 น. และ 10.00 น. และรายงานข่าวสั้น ทางวิทยุ จะมีการแทรกประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคอยู่เสมอ ผู้บริโภคจะได้รับความรู้และช่องทางในการแก้ไข ปัญหาเมื่อไม่ได้รับความยุติธรรม นอกจากนี้ สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ ก็เป็นแหล่งความรู้ที่สําคัญในการกระจายข่าว Small Claim Tribunals (SCT) เป็ น หน่ ว ยงานที่ ก่ อ ตั้ ง เมื่ อ 23 สิ ง หาคม ค.ศ.2006 ดํ า เนิ น กิจกรรมหลักด้านการรับฟังปัญหาของผู้บริโภคและตัดสินใจในเรื่องดังต่อไปนี้ 1. การร้ องทุ กข์ซึ่ งเกี่ ย วกั บ ข้อ พิพาทจากสั ญ ญาต่า ง ๆ ในการขายสิ น ค้า หรื อการจั ด เตรียมการบริการ 2. การร้องทุกข์ซึ่งเกี่ยวกับความเสียหายของทรัพย์สิน หน่วยงานหลักที่ทํางานด้านความปลอดภัยของสินค้าในประเทศ ได้แก่ 1. Halal Control Division Department of Syariah Affair, Ministry of Religious Affair with regards to meet assesible to and sold in the country 141
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2 . Ministry of Health through its quality control unit, Food safety and quality control division, department of Health services, for food and medicines entering the country หน่วยงานทําหน้าที่ให้การรับรองสินค้าประเภทอาหาร ยารักษาโรค และเนื้อสัตว์ หากสินค้าชิ้นใด ที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐานจะถูกสั่งห้ามจําหน่ายและมีการกระจายข่าวทางสื่อมวลชน การดํา เนิน งานการทํา งานร่ว มกัน ระหว่า งรั ฐ และองค์กรเอกชน ที่ผ่ า นการดํ า เนิน งานร่ว มกั น ระหว่างรัฐและองค์กรเอกชนเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคยังมีไม่มาก ยกเว้นการวิเคราะห์ปัญหาการคุ้มครอง ผู้บริโภคด้านการตระหนักรู้ในสิทธิของผู้บริโภคต่อการขึ้นราคาสินค้าของผู้ประกอบการ ระหว่าง The Economic Planning and Development Department กับ Consumer Association of Brunei The Ministry of Industry and Primary sources through its Entrepreneurial Development Center ได้ให้ความช่วยเหลือธุรกิจที่เริ่มต้นดําเนินการด้านการเกษตร การประมง และการบริการ เพื่อพัฒ นาคุณภาพ และยกระดั บ สิน ค้า สู่ต่า งประเทศอีกทั้งเป็ น การยกระดับ สิ น ค้า ท้องถิ่น ด้ว ยพัฒ นาการทาง เทคโนโลยี และการบริ ห ารจัด การ โดยรวมภาคธุ ร กิ จ ต้ อ งตระหนั ก ถึง Codes of Advertising practice and codes of business behavior
4.2 ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย มีการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในส่วนของภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และมีองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค การดําเนินกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคอินโดนีเซียดําเนินการภายใต้รัฐธรรมนูญ 1954 และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศอินโดนีเซีย มาตรา 8 ปี 1999 (2542) กิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของภาครัฐ กิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศอินโดนีเซีย ดําเนินการภายใต้กระทรวงการค้า สาธารณรัฐ อินโดนีเซีย ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่สําคัญได้แก่ 1) สํานักงานสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภค และ 2) สํานัก มาตรฐานและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภค กระทรวงการค้า ประเทศอินโดนีเซีย โครงสร้างของการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้แก่ 1. รัฐมนตรีกระทรวงการค้า 2. ผู้อํานวยการทั่วไปเรื่องมาตรฐาน และสร้างความเข้มแข็งผู้บริโภค 3. ผู้ อํ า นวยการด้ า นการสร้ า งความเข็ ม แข็ ง ผู้ บ ริ โ ภค ผู้ อํ า นวยการด้ า นมาตรฐาน ผู้อํานวยการด้านการตรวจสอบการกระจายสินค้า 4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ BPOM LPPOM-MUI 142
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
วิสัย ทัศ น์ หน่ ว ยงานคุ้ มครองผู้ บ ริ โ ภคของอิ น โดนี เ ซี ย มี วิสั ย ทั ศน์ที่ สํา คัญ ได้แ ก่ การคุ้ มครอง ผู้บริโภคด้วยหลักสร้างความเป็นธรรมทางผลประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ยุทธศาสตร์ สนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด ความคิ ด ทางสาธารณะผ่ า นการสร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ กั บ ผู้ บ ริ โ ภค ด้ ว ยการ ดําเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค ปัญหางานคุ้มครองผู้บริโภค ของประเทศอินโดนีเซียที่สําคัญ ได้แก่ 1. สินค้าในประเทศหลายรายการยังไม่ได้มาตรฐาน 2. ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ให้ความสําคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค 3. ขาดบุคลากรที่เกี่ยวข้องที่มีความชํานาญและประสบการณ์ในงานคุ้มครองผู้บริโภค 4. งบประมาณมีจํากัด นโยบายการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศ 1. แนวทางการจัดทําข้อบังคับ 1.1 การออกกฎระเบียบและข้อนโยบายหลังจากประกาศใช้เป็นกฎหมาย 1.2 สร้างวิถีปฏิบัติ ค่านิยมในการดําเนินงาน 1.3 ผสานหลักกฎหมายและวิธีการปฏิบัติให้สอดคล้องกัน 2. แนวทางการบังคับทางสังคม 2.1 การเผยแพร่ความรู้และเอกสาร 2.2 การสร้างความร่วมมืออย่างเข้มแข็งให้กับองค์กรที่ทํางานด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคทั้งด้านบุคลากรและด้านทรัพยากรอื่น ๆ 2.3 พัฒนาแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เช่น จัด เวทีแลกเปลี่ยน สัมมนาเรียนรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภค สื่อมวลชน นักวิชาการ และอื่น ๆ 2.4 พัฒ นาความสามารถในการทํา งานของบุคลากรที่เ กี่ย วข้อง ทั้งผู้รับ เรื่อ ง ร้องเรียน ผู้ดําเนินงานไกล่เกลี่ย เป็นต้น 3. แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย 3.1 ให้การช่วยเหลือในการตรวจสอบและติดตามหลังจากการขายสินค้า 143
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
3.2 เตรียมความพร้อมผู้ปฏิบัติงานด้านการบังคับใช้กฎหมาย 3.3 ดําเนินการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของผู้บริโภค (ผ่านการเจรจาและ กระบวนการทางศาล) 3.4 การวิเคราะห์กรณีศึกษา ผลการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศอินโดนีเซีย 1. จั ด ทํ า /เตรี ย มการข้ อ กํ า หนดที่ เ กี่ ย วข้ อ งต่ า ง ๆ ได้ แ ก่ NCPB Development Supervision CDSB CP NGO ออกข้อบังคับกระทรวงเรื่องสินค้าที่เป็นอันตราย ฉลาก และการรับผิดชอบต่อความ เสียหาย ร่างระเบียบ เรื่องหน้าที่ของรัฐที่จะเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายให้กับผู้บริโภค หน้าที่ของผู้ประกอบการ ในการรับผิดชอบต่อสินค้าที่เป็นอันตราย การขายสินค้า การโฆษณา และหน้าที่หลังการขาย 2. การให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน ได้แก่ 2.1 การรวบรวมความรู้ ข้ อ มู ล ข่ า วสารจากหนั ง สื อ พิ ม พ์ โทรทั ศ น์ สื่ อ และ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ 2.2 อํานวยให้เกิดการจัดตั้ง คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ (National Consumer Protection Board) และ คณะกรรมการระงับข้อพิพาท Consumer Dispute Settlement Board 2.3 ให้ คํ า แนะนํ า และพั ฒ นาองค์ ก รพั ฒ นาเอกชนด้ า นการทํ า งานคุ้ ม ครอง ผู้บริโภค 2.4 จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรื่องเกี่ยวกับการพิทักษ์สิทธิ การใช้บริการสายการบิน น้ํา อาหาร และอื่น ๆ และเป็นเครือข่ายกับภาคีหุ้นส่วนอื่น ๆ เช่น สื่อมวลชน หน่วยงานราชการ และเจ้าหน้าที่ทาง กฎหมาย 3. จัดตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยและการบังคับใช้ทางกฎหมาย 3.1 เป็นตัวกลางในการรับเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค 3.2 จัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนในระดับอําเภอ 3.3 จัดฝึกอบรมให้กับกลไกการไกล่เกลี่ยใน 5 จังหวัด 3.4 ให้แนวทางกับกลไกในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะเรื่อง การ จัดการเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค 4. ประเด็นที่เกี่ยวข้องในการดําเนินกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศอินโดนีเซีย มี 6 144
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ประเด็น ได้แก่ 4.1 มาตรฐาน lbo8hk 4.2 ฉลาก 4.3 กฎหมายมาตรฐาน 4.4 การบริการหลังการขาย 4.5 การโฆษณา 4.6 กลไกการขายสินค้า 5. การจัดตั้งศูนย์ร้องเรียนผู้บริโภค ทั้งในศาลและนอกศาล 6. การสื บ สวนและการวิ จั ย ภายใต้ ร ะเบี ย บกระทรวงการค้ า No 20/2009 ในเรื่ อ ง บทบาทและหน้าที่ของการควบคุมการหมุนเวียนของสินค้าและบริการในตลาด 7. นโยบายเรื่องความปลอดภัย มีการใช้ข้อบังคับและแบบสมัครใจของหลักมาตรฐาน อินโดนีเซียและ ISO และใช้กลไกการบังคับ เช่น กฎหมายเรื่องสินค้าไม่ปลอดภัย เป็นต้น 8. ความร่ว มมือด้านการคุ้มครองผู้บ ริโ ภคระหว่างประเทศ เป็นเครือข่าย Consumer International และจัดดําเนินการประชุมเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคระดับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภคประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย มีองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภคชื่อองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (National Consumer Protection Agency Republic of Indonesia) หรื อ NCPA RI ที่ ไ ด้ รั บ การสนั บ สนุ น งบประมาณจากรัฐบาล และขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย NCPA RI เป็ น องค์ ก รที่ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น มาตามมาตรา 8 ในกฎหมายคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคปี 2542 และ ประกาศข้อบังคับปี 2544 ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ บทบาท และสมาชิก NCPA RI วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรชั้นนําที่ผลักดันให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบ และทําให้ผู้บริโภครู้ถึง สิทธิของตนเอง พันธกิจ 1. เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางกฎหมาย และกรอบนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของ รัฐ
145
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2. เพื่อยกระดับการเข้าถึงการแก้ไขข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค 3. เพื่อขยายการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสําหรับผู้บริโภค และส่งเสริมการให้ความรู้และข้อมูล ข่าวสาร โครงสร้างขององค์กร ประธานาธิบดีอินโดนิเซีย รัฐมนตรีกระทรวงการค้า และกระทรวงอื่น ๆ
หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภครัฐ
ผู้ว่าการรัฐ
สถาบันจัดการข้อพิพาท
สถาบัน หน่วยงานคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
องค์กรระหว่างประเทศ
มหาวิทยาลัย
องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ
ภาคธุรกิจ
ภาคประชาสังคมที่ทํางานคุ้มครอง ผู้บริโภค
บทบาทหน้าที่ 1. ให้คํา แนะนํา แก่รั ฐ บาลในการร่า งนโยบายที่ เ กี่ย วข้ องกับ การคุ้มครองผู้บ ริ โ ภค ใน ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคงของผู้บริโภค 2. ศึกษาวิจัยและประเมินเกี่ยวกับกฎระเบียบต่าง ๆ ในเรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภค 3. วิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าและบริการ 4. สนับสนุน ให้เกิดการดํา เนินงานคุ้มครองผู้บริ โภคของภาคประชาชนและหน่ว ยงาน พัฒนาเอกชน 5. เผยแพร่ ข้ อ มู ล เรื่ อ งเกี่ ย วกั บ การดํ า เนิ น งานคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคและความสนใจของ ผู้บริโภคผ่านสื่อสารมวลชน 6. รั บ เรื่ อ งร้ อ งเรี ย นการละเมิ ด สิ ท ธิ ผู้ บ ริ โ ภคจากสื่ อ องค์ ก รพั ฒ นาเอกชน และภาค ประชาชน 7. สํารวจความต้องการของผู้บริโภค โครงสร้างการดําเนินงาน BPKN RI/NCPA มีโครงสร้างการดําเนินงาน ดังนี้ 1. ฝ่ายวิจัยและพัฒนาทํา หน้า ที่ศึกษากฎหมายและระเบีย บต่า ง ๆ ที่เกี่ย วข้องกับ การ 146
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
คุ้มครองผู้บริโภค ศึกษาเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภค ศึกษาเกี่ยวกับความ ต้องการสินค้าและบริการของผู้บริโภค 2. ฝ่ า ยให้ ก ารศึ ก ษาและสื่ อ สารสั ง คมเพื่ อ เผยแพร่ ข้ อ มูล ข่ า วสารของการดํ า เนิ น งาน คุ้มครองผู้บริโภคผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ จัดดําเนินการให้ความรู้และฝึกอบรมแก่ผู้บริโภค 3. ฝ่ายรับเรื่องร้องทุกข์เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค และผู้ที่เกี่ยวข้อง 4. ฝ่ายประสานงานและร่วมมือเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อให้การสนับสนุนองค์กรพัฒนาเอกชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การดําเนินงานของ BPKN RI/NCPA 1. งานศึกษาและวิจัย 1.1 ศึกษามาตรฐานขั้นต่ําของการบริการของสายการบิน 1.2 ศึกษามาตรฐานของสัญญา 1.3 ศึกษาเพื่อทบทวนกฎหมายด้านมาตรวิทยา 1.4 ทบทวนกฎหมายเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค 2. การรับเรื่องร้องเรียน
4.3 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แนวคิดเรื่องสิทธิผู้บริโภคเพิ่งเป็นที่ยอมรับ เมื่อประเทศลาวมีความเกี่ยวพันกับต่างประเทศในฐานะ เป็นประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน จึงถือได้ว่าเรื่องสิทธิผู้บริโภคเป็นเรื่องใหม่สําหรับสภานิติบัญญัติประเทศลาวที่จะมี การบังคับใช้กฎหมาย ประเทศลาว มีพระราชกําหนดของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการควบคุมราคาสินค้า (ตุลาคม 2011) โดยกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดําเนินการควบคุมราคาสินค้า ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการผลิตและต่อชีวิตของประชาชนใน ประเทศลาว เป้าหมายของกฎหมายดังกล่าวเป็นไปเพื่อส่งเสริมการดําเนินธุรกิจ ส่งเสริมผลผลิตและส่งเสริมการค้า ภายในประเทศ พร้อมทั้งเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยการกําหนดควบคุมราคาสินค้าในราคาที่เหมาะสม พระราชกําหนดดังกล่าวให้ความสําคัญที่ระบบการจัดการกับราคาสินค้า ซึ่งถูกกําหนดโดยกลไก การตลาดภายใต้ ก ารควบคุ ม ของรั ฐ บาล สิ น ค้ า ต่ า ง ๆ รวมทั้ ง สิ น ค้ า นํ า เข้ า ผลผลิ ต ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการส่งออก เป็นต้น ล้วนอยู่ภายใต้ การควบคุมราคาของรัฐ
147
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
นอกจากนี้ พระราชกําหนดยังชี้ให้เห็นถึง สิทธิและหน้าที่ของภาคธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและการค้า ตามกฎหมายโดยผู้ ป ระกอบธุ ร กิ จ จะต้ อ งถื อ ครองบั ญ ชี (book-keeping) ติ ด ฉลากสิ น ค้ า ให้ ค วามร่ ว มมื อ กั บ เจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบราคาสินค้า และผู้ประกอบการยังได้รับสิทธิเป็นตัวแทนจากผู้บริโภคในการร้องเรียน หรือ ยื่นอุทธรณ์คัดค้านผู้ตรวจการและการประพฤติมิชอบ กล่าวได้ว่ากระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง ใน การควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและราคาวัตถุดิบ กระทรวงพาณิชย์จะแสดงรายการสินค้าภายใต้การควบคุม ของรั ฐในแต่ล ะช่ว ง และประสานงานกับผู้ ให้บ ริการและหน่ว ยงานที่เ กี่ยวข้องเพื่อให้แน่ ใจว่า สิน ค้าในประเทศ เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค กระทรวงฯ จะตรวจตราข้อร้องเรียนของผู้บริโภคและดูแล กิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการ การบริหารสินค้าเชิงพาณิชย์ในเขตจังหวัด เขตเทศบาล และย่านการค้า โดย หน่ว ยงานที่รับผิด ชอบในการควบคุมราคาสิน ค้านี้ จะแต่งตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะภายในกระทรวงพาณิช ย์ และมี เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของจังหวัด เทศบาลและย่านการค้าพิเศษธุรกิจที่ละเมิดกฎระเบียบการควบคุม ราคา รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องในการขึ้นราคาสินค้าอันก่อให้เกิดความวุ่นวาย และการผลิตสินค้าปลอม จะถูกเพิกถอน ใบอนุญาตในการดําเนินธุรกิจ และถูกลงโทษดําเนินคดีตามกฎหมาย การให้ความรู้ประชาชนจะดําเนินการโดยกระทรวงพาณิชย์ โดยการกระจายข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อ ที่เป็นที่นิยมเพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการดําเนินธุรกิจที่ไม่เป็นธรรมและอาจเป็น อันตรายแก่ผู้บริโภค หน่วยงานการจัดการควบคุมราคาจะถูกแต่งตั้งขึ้นภายในกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งตัวแทนของ เจ้าหน้าที่ดังกล่าวทําหน้าที่ดูแลประเด็นสําคัญ ๆ อยู่ภายใต้กรมการค้าภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคจะ สามารถได้รับข้อมูลที่เพียงพอและเข้าใจในสิทธิผู้บริโภคของตน รวมทั้งมีการจัดที่สาธารณะสําหรับการร้องเรียน และการแสวงหาการเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงานที่ดําเนินงานด้านมาตรฐาน คุณภาพ การทดสอบและมาตรวิทยา ซึ่งอยู่ ภายใต้กรมทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานและมาตรวิทยา สังกัดภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1993 มีอํานาจในการจัดระเบียบกําหนดมาตรฐานแห่งชาติ เตรียม และดําเนินการควบคุมคุณภาพและการรับรองผลิตภัณฑ์ การทดสอบ และตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของ สินค้า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (National Assembly) ได้นํากฎหมายอาหาร (The Food Law) ไปบังคับ ใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2004 จากแนวคิดพื้น ฐานของ Codex Alimentarius Commission เรื่องการผลิต สินค้าที่ดีได้มาตรฐาน และสินค้าบริโภคที่จําเป็นบางอย่างควรได้รับการยอมรับ เช่น น้ําดื่ม หรือน้ําแร่ไอศกรีม ซอส มะเขือเทศ เกลือไอโอดีน และน้ําแข็ง ประเทศลาวมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค (The New Consumer Protection Law) ซึ่งนําไปใช้ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในเดือนมิถุนายน 2010 และมีผลบังคับใช้ในปี 2011หรือ 90 วันนับจากวันที่พระราช กําหนดได้รับการประกาศจากประธานาธิบดี
148
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
โครงสร้าง และระบบการคุ้มครองผู้บริโภค (CUTS International. 2012, ACCP. 2012) ผู้บริโภคในประเทศลาวมีการร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าเลียนแบบหรือของปลอม เช่น ผลิตภัณฑ์ยา ที่ ผลิตไม่ได้มาตรฐานและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ในประเทศลาว ยังไม่มีการรับประกันความเสียหาย และความไม่คุ้มค่าในกรณีที่ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าปลอม สินค้าที่วางขายในตลาดมักมีคุณภาพต่ํามีการโฆษณาชวน เชื่อ มีสินค้าหมดอายุ และผู้ขายโกงผู้บริโภคเรื่องน้ําหนักและปริมาณของผลิตภัณฑ์ ข้อร้องเรียนหลักเกี่ยวกับการบริการในประเทศลาว ได้แก่ การร้องเรียนการใช้อินเตอร์เน็ตที่มี ปัญหาทางเทคนิค ค่าใช้จ่ายที่สูงของบริการทางการแพทย์ ยารักษาโรค โรงงานทิ้งของเสียในแหล่งน้ํา มลพิษทาง อากาศ กลิ่นอันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ด้า นโครงสร้า ง และระบบการคุ้มครองผู้บ ริ โ ภค พบว่า ประเทศลาวมีห น่ว ยงานภาครั ฐ หลาย กระทรวงทํา หน้า ที่ส นับสนุนการดํา เนิน งานคุ้มครองผู้บริ โ ภค ตลอดจนมีระดับการดํา เนิน งานครอบคลุมทั้ง ใน ส่วนกลาง ระดับจังหวัด และท้องถิ่น ในขณะที่การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของภาคประชาชน ดําเนินงานโดย สมาคมคุ้มครองผู้บริโภค โครงสร้างและบทบาทหน้าที่ ดังนี้ หน่วยงานภาครัฐ โครงสร้างหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคแบ่งออก ได้เป็น 3 ระดับดังนี้ ส่ว นกลางประกอบด้ว ย 4 หน่ ว ยงาน ได้ แก่ กระทรวงอุ ต สาหกรรมและการพาณิช ย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงป่าไม้และการเกษตร สํานักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนจังหวัดประกอบด้วย 4 หน่วยงาน ได้แก่ อุตสาหกรรมจังหวัดและพาณิชย์จังหวัด สาธารณสุขจังหวัด ป่าไม้จังหวัดและเกษตรจังหวัด วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจังหวัด ส่ว นอําเภอประกอบด้วย 4 หน่วยงาน ได้แก่ สํานักงานเขตอุต สาหกรรมและพาณิช ย์ สํานักงานเขตสาธารณสุข สํานักงานเขตป่าไม้และการเกษตร สํานักงานเขตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิทธิและหน้าที่ขององค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย 1. ดําเนินการตามนโยบายและตามระเบียบเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างเคร่งครัด 2. ระงั บ ข้ อ พิ พ าทระหว่ า งผู้ บ ริ โ ภคและผู้ ข าย ให้ คํ า ปรึ ก ษาเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค 3. ตรวจสอบเนื้อหาและรูปแบบของการโฆษณา ป้า ยบรรจุภัณฑ์ มาตรการและราคา สินค้าที่ผลิตนําเข้าและจัดจําหน่ายในตลาด
149
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
4. ตรวจสอบใบรับ รองคุณภาพมาตรฐานของสิน ค้า และบริการ และเอกสารอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ 5. เก็บตัวอย่างของผลิตภัณฑ์หรือสินค้าหรือวัตถุที่นําเข้าเพื่อการผลิต (มาตรวจสอบ) 6. ยึดหรืออายัดสินค้าพัสดุหรือแพ็คเกจของสินค้า ฉลากหรืออื่น ๆ ที่ไม่ถูกต้อง และทํา ประวัติไว้เป็นหลักฐานเพื่อดําเนินการตามกฎหมายต่อไป 7. ตรวจสอบสถานที่อาคารสิ่งปลูกสร้างในขั้นตอนการผลิตหรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และสินค้าที่ขายร้านค้า และสถานที่ให้บริการ 8. สัมภาษณ์บุคคล ผู้แทนหน่วยงานหรือองค์กรทางกฎหมายมาตรฐานของสินค้าและ บริการ และสิ่งแวดล้อม 9. การนําเสนอให้ถอนใบอนุญาตหรือใบรับรองขององค์กรใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและ บริการที่เห็นว่ามีการฝ่าฝืนกฎหมาย 10. ให้ความร่ว มมือและประสานงานกับ หน่ว ยงานที่เกี่ยวข้องในหน่ว ยงานท้องถิ่นทุก ระดับ ในการดําเนินงานกิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 11. การให้ความร่วมมือประสานงานกับต่างประเทศกับกิจกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 12. การสรุปประเมินผล และรายงานการดําเนินงานของการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ประเทศลาวมีสมาคมคุ้มครองผู้บริโภค มีลักษณะเป็นองค์กรภาคเอกชน และไม่ แสวงหากําไร ก่อตั้งขึ้นภายใต้กฎหมาย มีหน้าที่และบทบาทที่จะช่วยเหลือให้คําแนะนําและข้อเสนอแนะและปกป้อง สิทธิถูกต้องตามกฎหมายและความสนใจของผู้บริโภค สิทธิและหน้าที่ของสมาคมคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย 1. การรับเรื่อง การศึกษา และพิจารณาคําขอของผู้บริโภค และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างผู้บริโภค และผู้ประกอบการ 2. การเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในการแก้ไขปัญหา และข้อร้องเรียนของผู้บริโภค 3. การแจ้งให้หน่วยงานรัฐรับทราบในกรณีที่ผู้ประกอบการละเมิดกฎหมายผู้บริโภค 4. การแจ้งพฤติกรรมที่ ไม่เ หมาะสมของเจ้า หน้าที่ ต่อหน่ว ยงานที่รับ ผิด ชอบด้า นการ คุ้มครองผู้บริโภค 5. การให้ความเห็นกับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค เกี่ยวกับมาตรการ การจัดทํากฎหมาย 150
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
และระเบียบเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค 6. การให้คําแนะนํา และความช่วยเหลือผู้บริโภคที่มีปัญหาการใช้สินค้าและบริการให้ ได้รับความเป็นธรรม และเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในการระงับข้อพิพาท 7. การดําเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับตามที่ได้รับมอบหมาย จากหน่วยงานภาครัฐ
4.4 ประเทศพม่า สหภาพพม่ายังไม่มีกฎหมายหรือหน่วยงานเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง แต่การคุ้มครอง ผู้บริโภคถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชน ในด้านต่าง ๆ รวมทั้งด้านสุขภาพ ข้อกําหนดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค 1. Consumer Redress ระบุในกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. Product Safety and Liability: The National Food Law (1997), The National Drug Law (1992), The Traditional Drug Law (1996) ให้การรับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารและยา ข้อกําหนดนี้อยู่ภายใต้การควบคุมของ Yangon City Development committee 3. Electronic Commerce: Electronic Transaction Law (2004) ปกป้อ งสิ ทธิ ของ ผู้บริโภคซึ่งใช้เครื่องอิเล็คทรอนิคส์ 4. Competition: Myanmar Constitution (section 36 b) ระบุเป็นกฎพื้นฐานในเรื่อง การป้องกันไม่ให้มีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม การผูกขาดทางการค้าโดยกลุ่มหรือบุคคล 5. Labelling: The National Food Law (1997), The National Drug Law (1992), and the Traditional Drug Law (1996) บุคคลที่ได้รับ อนุญาตด้านอาหารและยา หรือผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพ จะต้องทําตามกฎระเบียบ 6. Professional Services: ระบุไว้ในกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 7 . Advertisting: The National Food Law (1 9 9 7 ), The National Drug Law (1992), and the Traditional drug law (1996) บุคคลหรือกลุ่มต้องปฏิบัติตามกฎว่า ด้วยการโฆษณาเพื่อการ ปกป้องผู้บริโภค 8. Consumer Credit: Financial Institution of Myanmar law (1990) 9. Banking: Financial Institution of Myanmar law (1990) and Central Bank of Myanmar Law 151
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
10. Insurance: Insurance Business Law, Provision and regulation of Utilities such as water, telecommunications, etc. ได้รับ การปกป้องโดย Section 33 A of the Rules for Health (1999) under Yangon City Development Law (1990) 11. Sustainable Consumption กระทรวงต่าง ๆ เช่น กระทรวงป่าไม้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษา และกระทรวงปศุสัตว์ ได้พัฒนาแผนการศึกษาการคุ้มครองผู้บริโภคในแต่ละหน่วยงานของตนเอง นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดให้ประเด็นเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในการศึกษาระดับระดับปริญญาตรีและปริญญา โท (หลักสูตร Business Ethnics and Social Responsibility, Environmental Laws and Sect oral Laws) สํ า นั ก งานอาหารและยา (Food and Drug Administration) หรื อ (FDA) ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น ภายใต้ กระทรวงสาธารณสุข รับผิดชอบการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านอาหารและยา รวมทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องสําอาง อุปกรณ์ การแพทย์และเครื่องใช้ในบ้าน การบังคับใช้กฎหมายอยู่ภายใต้อํานาจของกระทรวงสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ด้าน อาหารและยาแห่งสหภาพพม่า (Myanmar Food and Drug Board) และได้รับการสนับสนุนจากสภาส่วนกลาง อาหารและยา (Central Food and Drug Supervisory Committee) สินค้าที่ไม่ผ่านการรับรองโดย FDA จะถูกระงับห้ามจําหน่าย และยังมีการประชาสัมพันธ์ให้กับ ประชาชนรู้ผ่านหนังสือพิมพ์ และสื่ออื่น ๆ นอกจากนี้ FDA จะทําหน้าที่ตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของผู้บริโภค และเพื่อการแข่งขัน ที่เป็นธรรมในตลาดการค้าในสินค้าที่นําเข้าจากต่างประเทศด้วย สินค้าใดที่ไม่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยจะถูกกําจัดเรียกคืน หรือระงับ ในส่วนของภาคธุรกิจมี องค์กรกลุ่มธุรกิจ เช่น สมาคมเภสัช ประเทศพม่า (Myanmar Pharmaceutical Association) Myanmar Fishery Association (สมาคมการประมงพม่า) และอื่น ๆ ระบุถึงการคุ้มครองผู้บริโภคในหน่วยงานของตนเอง รัฐบาลจะทําหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นทั้งองค์การเอกชน นักวิชาการ และผู้ประกอบการ เพื่อส่งเสริมให้ มีการทํางานเพื่อผู้บริโภค ให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิของตนเอง และเพื่อให้สินค้านําเข้ามีความปลอดภัย
4.5 ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศฟิลิปปินส์ มีการดําเนิน งานคุ้มครองผู้บริ โภคทั้งในส่วนของภาครัฐ ภาคองค์กรพัฒนา เอกชน และมี อ งค์ ก ารอิ ส ระเพื่ อ ผู้ บ ริ โ ภค การดํ า เนิ น กิ จ กรรมคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคฟิ ลิ ป ปิ น ส์ ดํ า เนิ น การภายใต้ รัฐธรรมนูญ 1987 และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศฟิลิปปินส์ มาตรา 7394 (ปี 1992) สาระสําคัญของรัฐธรรมนูญประเทศฟิลิปปินส์ ค.ศ.1987 ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ระบุ ว่า“รัฐจะต้องปกป้องผู้บริโภคจากการค้าที่ปฏิบัติบกพร่อง และสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือสินค้าอันตราย”กฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 7394 (ปี 1992) มีสาระที่สําคัญ ได้แก่ 152
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
หลักการสําคัญ 1. เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค 2. เพื่อปกป้องสวัสดิภาพของผู้บริโภค 3. เพื่อสร้างมาตรฐานการดําเนินงานของธุรกิจและอุตสาหกรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อปกป้องผู้บริโภคจากสินค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 2. เพื่อปกป้องผู้บริโภคจากการขายที่หลอกลวง ไม่ยุติธรรม และทําให้ผู้บริโภคหลงผิด 3. เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้กับผู้บริโภคเพื่อให้สามารถใช้สิทธิผู้บริโภคได้อย่า ง เต็มที่และถูกต้อง 4. เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงสิทธิ และช่องทางการได้รับการชดเชย 5. เพื่อนําสถานการณ์และข้อมูลของผู้บริโภคไปใช้ในการจัดทํานโยบายด้านสังคมและ เศรษฐกิจของประเทศ ประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ 1. การมีสินค้าคุณภาพและปลอดภัย 2. อาหารปลอดภัย 3. ยา 4. เครื่องสําอาง 5. สินค้าเลียนแบบ 6. กฎหมายและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการค้าไม่มีคุณธรรมและหลอกลวง 7. บรรจุภัณฑ์ที่ดีและฉลาก 8. ความเชื่อถือได้ของสินค้าและบริการ 9. การโฆษณาและโปรโมชั่น 10. ระเบียบเกี่ยวกับการซ่อมบํารุงและบริการ 11. การโอนชําระเงินของผู้บริโภค 153
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
12. การร้องเรียนของผู้บริโภค 13. การจัดตั้งคณะกรรมการผู้บริโภคแห่งชาติ นอกจากนี้ ประเทศฟิลิปปินส์ยังมีกฎหมายอื่น ๆ ที่รับผิดชอบโดยหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมาย การแข่งขัน กฎหมายการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายการบริการวิชาชีพ กฎหมายการประกันภัย และแนวทาง การบริโภคแบบอรรถประโยชน์และยั่งยืน เป็นต้น หน่วยงานการดําเนินงาน 1. สํานักงานเกษตร 2. สํานักงานสาธารณสุข 3. สํานักงานพาณิชย์และอุตสาหกรรม 4. สํานักงานการศึกษา 5. ธนาคารแห่งชาติฟิลิปปินส์ 6. การปกครองส่วนท้องถิ่น หน่ว ยงานที่เ กี่ย วข้องทั้งหมด มีการจัด ตั้ง Consumernet เพื่อเป็น ช่องทางในการแลกเปลี่ย น ข้อมูลข่าวสารและนโยบาย ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติเพื่อทํางานที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคภายในประเทศฟิลิปปินส์ กิจกรรมที่ดําเนินการ 1. การให้ความรู้และการสร้างความตระหนักให้กับผู้บริโ ภค หน่ว ยงานที่รับ ผิดชอบได้ ดําเนินกิจกรรม/การรณรงค์ให้การศึกษา ให้ความรู้และตระหนักรู้ให้กับผู้บริโภคผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้แก่ การจัด อบรมสัมมนา การสอน การจัดทําสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดรายการวิทยุ การจัดรายการโทรทัศน์ มีการจัดการหลักสูตรการ เรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค ได้แก่ สิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภค มาตรฐาน และความปลอดภัยของสินค้า ความสําคัญของสิ่งแวดล้อม โดยสํานักงานการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ร่วมกันทําหลักสูตรดังกล่าว 2. ความปลอดภัย ของสิน ค้า หน่ว ยงานที่รับ ผิด ชอบในการควบคุมและเตือนภัย ความ ปลอดภัยของสินค้า ได้แก่ 2.1 สํานักงานการเกษตร ดูแลผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร 2.2 สํ า นั ก งานสาธารณสุ ข ดู แ ลผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เรื่ อ งอาหาร ยา เครื่องสําอาง และวัตถุที่เป็นอันตราย 154
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2.3 สํานักงานพาณิชย์และอุตสาหกรรมดูเรื่องสินค้าประเภทอื่น ๆ บทบาทและภาระหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดํ า เนิ น การภายใต้ก ฎหมาย 7394 ที่ เ กี่ ย วข้ องกับ ความปลอดภั ย ของสิ น ค้ า ได้ ใ ห้ บทบาทและภาระหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในการที่จะเรียกคืน ห้ามจําหน่าย หรือยึดสินค้าจากการจําหน่าย เมื่อพบว่า สินค้าดังกล่าวทําให้เกิดการบาดเจ็บ ไม่ปลอดภัย หรืออาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ หน่วยงานดังกล่าว ยังต้องมีการประกาศต่อสาธารณะชนถึงความอาจจะเป็นอันตรายของสินค้าดังกล่าวด้วย กฎหมายดังกล่าวนี้ ยังครอบคลุมถึงสินค้าที่มีการนําเข้าจากต่างประเทศที่ห้ามมีการนําเข้า สินค้าที่อาจจะเป็นอันตรายดังกล่าว โดยเฉพาะในสินค้าที่เคยมีประกาศถึงความเป็นอันตรายภายในประเทศมาก่อน 3. กลไกการชดเชยผู้บ ริโ ภค ให้มีการสืบสวนเมื่อมีการร้องเรีย นหรือมีคํา ร้องเป็นลาย ลักษณ์อักษรจากผู้บริโภค มีเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนทําหน้าที่เป็นผู้ดําเนินการไกล่เกลี่ย และตัดสิน องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคเอกชนของประเทศฟิลิปปินส์ IBON FOUNDATION PHILIPPINES มูลนิธิ IBON เป็นองค์กรไม่แสวงหากําไรที่จัดตั้งขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1978 วิสั ย ทั ศ น์ ทํ า หน้ า ที่ ส ร้ า งความเข้ า ใจเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ เศรษฐกิจ และสั งคมในเรื่อ งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผลประโยชน์ของชาวฟิลิปปินส์ ทําการศึกษาเรื่องเร่งด่วน ปัญหาทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่จะมีผลกระทบ ต่อประเทศและโลก ภารกิจ ทําหน้าที่อธิบายประเด็นปัญหาและประเด็นต่าง ๆ ผ่านการให้ความรู้และข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการผลิตและแจกจ่ายเอกสาร และมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ผ่านการทําหนังสือแบบเรียน วารสารและการจัดสัมมนา แนวทางการดําเนินงาน สร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งกับภาค ประชาชน หน่วยงานพัฒนาเอกชน และองค์กรอื่น ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ในการทํางานคล้ายกัน ร่วมมือกับรัฐและผู้ วางแผนนโยบายและหน่วยงานอื่น ๆ ในการขับเคลื่อนประเด็นที่สําคัญของประเทศ การดําเนินงาน 1. ศึกษาและวิจัยในประเด็นเพื่อสร้างการตระหนักในประเด็นที่เกี่ยวข้องในกลุ่มคนยากจน และกลุ่มชายขอบ 2. เผยแพร่ งานวิจัย ด้ ว ยลักษณะการเขีย นที่น่า สนใจในลักษณะต่ า ง ๆ เช่ น บทความ หนังสือ
155
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
3. นําเสนอข้อมูลผ่านสื่อมวลชนในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงประชาชนส่วนใหญ่ของ ประเทศ เช่น สื่อวิทยุ โทรทัศน์ หรือ สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) 4. ดําเนินการให้ข้อมูลข่าวสารผ่านระบบการศึกษา โดยการผลิตหนังสือแบบเรียน ข้อมูล การฝึกอบรมให้ ครูแ ละผู้ ส อน จั ด การอบรมสั มมนาให้กับ นักเรีย นในชั้น ประถมศึ กษา มัธ ยมศึ กษา และระดั บ มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ 5. จัดทําหนังสือและวีดีโอเพื่อจําหน่ายและเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป 6. สร้างเครือข่ายและร่วมดําเนินกิจกรรมเคลื่อนไหวร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งในระดับ ท้องถิ่น ประเทศและต่างประเทศ 7. จัดทําข้อเสนอในการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในระดับการวางนโยบาย 8. จัดบริการให้ความรู้ จัดฝึกอบรม และให้คําปรึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ และสังคมให้กับองค์กรภาคประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
4.6 ประเทศสิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์มีองค์กรเอกชนที่ ไม่แสวงหากํา ไร คือ สมาคมผู้บ ริ โภคสิงคโปร์ (Consumers Association of Singapore (CASE)) เป็น องค์กรหลักในการดํา เนิน งานคุ้มครองผู้บ ริ โภคในประเทศ กิจ กรรมที่ สําคัญ ได้แก่ การผลักดันให้เกิดพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (เทรดดิ้งแฟร์) (CPFTA) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.2004 วิสัยทัศน์ เป็นมิตรกับผู้บริโภคสิงคโปร์ ภารกิจ สนับสนุน ดูแลผู้บริโภค และส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรม การบรรลุเป้าหมาย ได้ดําเนินกิจกรรมโดยวิธีการที่สําคัญ ได้แก่ 1. การศึกษาเพื่อผู้บริโภค เพื่อให้ชาวสิงคโปร์เป็นผู้บริโภคที่ชาญฉลาด สมาคมผู้บริโภค สิงคโปร์มีการทําวิจัย สํารวจข้อมูลตลอดจนนําเสนอผลงานวิจัยและผลการสํารวจข้อมูลต่อผู้บริโภค ผ่านช่องทาง ต่าง ๆ 2. การทํางานกับร้านค้าปลีก สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ทํางานอย่างใกล้ชิดกับภาคธุรกิจเพื่อ สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการดําเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม 3. ผลักดันการออกกฎหมาย สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์พยายามทําให้รัฐบาลประกาศใช้ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค 156
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ผลงานของสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ (CASE) ปี 1972 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศของ สหภาพผู้บริโภค (International Organization of Consumers Unions (IOCU)) ปี 1973 : สมาคมผู้ บ ริ โ ภคสิ ง คโปร์ ก่ อ ตั้ ง Advertising Standards Authority of Singapore (ASAS) เพื่อส่งเสริมการโฆษณาอย่างมีจริยธรรม และก่อตั้งหน่วยทดสอบผลิตภัณฑ์ ปี 1974 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาเอเชียแปซิฟิกเป็นครั้งแรก ในชื่อ "การศึกษาชุมชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค" ปี 1975 : สมาคมผู้ บ ริ โ ภคสิ ง คโปร์ เ ริ่ ม ต้ น ทํ า งานร่ ว มกั บ ศู น ย์ ก ระจายเสี ย งสิ ง คโปร์ (Singapore Broadcasting Centre) ในการทํารายการวิทยุและรายการโทรทัศน์เพื่อผู้บริโภค ปี 1975 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์มีส่วนร่วมในการจัดทําร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค (The Consumer Protection Act) ปี 1980 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ล็อบบี้ให้กระทรวงสิ่งแวดล้อม (The Environment Ministry) กําหนดเครื่องหมายวันหมดอายุบนสินค้าบริโภคที่เน่าเสียง่าย ปี 1981 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์เรียกร้องให้มีโครงการฉลากประหยัดพลังงาน ปี 1982 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ก่อตั้ง Toy Safety Authority of Singapore (TSAS) และ Milk for Children Advisory Council (MCAC) ปี 1983 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ จัดสัมมนาการคุ้มครองผู้บริโภคอาเซียนครั้งที่สอง และ เริ่มการจัดสัมมนาให้ความรู้สําหรับประชาชนทั่วไป เพื่อส่งเสริมความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค ปี 1983 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ เริ่มต้นดําเนินการสํารวจราคาสินค้าของใช้ในครัวเรือน ทุก ๆ สามเดือน ปี 2001 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ เปิดตัวรางวัล Case Trust Gold Award ปี 2001 : สมาคมผู้บ ริ โ ภคสิงคโปร์ส นับ สนุน การใช้กฎระเบีย บที่เ ข้มงวดกับ ยาจีน จด ทะเบียน ปี 2003 : สมาคมผู้บ ริโภคสิงคโปร์เสนอแนะร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองผู้บริโภค (เทรดดิ้งแฟร์) ไปยังรัฐสภา ปี 2004 : พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโ ภค (เทรดดิ้งแฟร์) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วัน ที่ 1 มีนาคม 2004 ภายหลังจากการล็อบบี้ของสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ ปี 2004 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน การจัดการข้อร้องเรียนและ บริการสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ และผู้บริโภคสามารถยื่นข้อร้องเรียนออนไลน์ได้ ปี 2004 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับสมาคมธุรกิจ และพันธมิตร เพื่อส่งเสริมพระราชบัญญัติการคุ้มครองผู้บริโภค (เทรดดิ้งแฟร์) ปี 2005 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อความเข้าใจ 157
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
(MOU) กับ Consumer Coordination Council (CCC) ของอินเดียและครั้งที่สองเป็น MOU ระหว่างประเทศ กับ สมาคมผู้บริโภคชาวจีน (Chinese Consumers' Association (CCA)) ปี 2009: พระราชบัญญัติการคุ้มครองผู้บ ริ โภค (เทรดดิ้งแฟร์) ผ่า นการแก้ ไขเพิ่มเติม สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ จัดกิจกรรมเทรดดิ้งแฟร์ที่ Plaza Singapura เพื่อแนะนํากฎหมายใหม่ให้กับผู้บริโภค ปี 2009 : สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ เปิดตัว Facebook และ Twitter ปี 2010: สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์เปิดตัวระบบแจ้งเตือนทาง SMS ฟรีสําหรับผู้บริโภคเพื่อ แจ้งข่าวสาร และกิจกรรมของสมาคมให้ผู้บริโภคทราบ ปี 2010: สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์เปิดตัว "ความรู้คือการป้องกัน" เพื่อเพิ่มการรณรงค์ และ ขยายการทํางานไปยังกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มเยาวชน โครงสร้าง สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์เป็นสมาคมที่จดทะเบียนกับ Registry of Societies โดยใน ทุก ๆ 3 ปี สมาชิกสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์จะจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการกลาง คณะที่ปรึกษา และคณะกรรมการ เพื่อทําหน้าที่บริหารสมาคม และขับเคลื่อนงานคุ้มครองบริโภค โครงสร้างองค์กร
0
' 1 2
(
(
* # 3
การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค การรับเรื่องร้องเรียน สมาคมผู้บ ริ โ ภคสิงคโปร์ทํา หน้า ที่ ในการรับ เรื่องร้องเรีย นจากผู้บ ริ โ ภค โดยผู้บ ริ โ ภคที่มีความ ประสงค์จะร้องเรีย นจะต้องตรวจสอบข้อร้องเรีย นของตนเองว่าอยู่ภายใต้บทบัญญัติที่ส มาคมผู้บริโ ภคสิงคโปร์ กําหนด โดยสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ จะรับเรื่องร้องเรียนในกรณี ดังนี้ 1. เกิดข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ 158
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2. เกิดข้อพิพาทระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจท่องเที่ยว และ สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ จะไม่รับเรื่องร้องเรียนในกรณี ดังนี้ 1. ข้อพิพาทระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ 2. ข้อพิพาทระหว่างเจ้าของบ้านและผู้เช่า 3. ข้อพิพาทจากการเก็งกําไรในหุ้นสินค้า และการลงทุน 4. ข้อพิพาทที่เกิดจากอุบัติเหตุ 5. ข้อพิพาทจากการซื้อสิน ค้า ของบริษัทต่า งประเทศ (ยกเว้น จีน อิน เดีย มาเก๊า และ มาเลเซีย) ช่องทางติดต่อสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์เพื่อขอคําแนะนําและความช่วยเหลือ มีดังต่อไปนี:้ 1. โทรศัพท์สายด่วน หมายเลข 6100-0315 ระหว่างวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น. และวันเสาร์ ระหว่างเวลา 09:00-12:00น. 2. โทรสารหมายเลข 64679055 3 . สํ า นั ก ง า น ใ ห ญ่ 1 7 0 GhimMoh Road, #0 5 -0 1 UluPandan Community Building เวลาทําการ วันจันทร์-วันเสาร์ ระหว่างเวลา 09.00-16.00น. และวันจันทร์-วันศุกร์ ระหว่างเวลา 9.0016.00 น. (สําหรับนักท่องเที่ยว) 4. เว็บไซต์ http://www.case.org.sg/online_complaint.html.
การยื่นเรื่องร้องเรียน ขั้นตอนที่หนึ่ง ผู้บริโภคเข้าปรึกษาข้อร้องเรียนที่สํานักงานใหญ่ เอกสารที่ต้องนํามา 1. บัตรประจําตัวประชาชน /ใบอนุญาตทํางาน /บัตรนักศึกษา 2. เอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาท เช่น ♦
หลักฐานการซื้อ/ ใบเสร็จรับเงิน/ใบแจ้งหนี้
♦
หนังสือสัญญา 159
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
♦
เอกสารอื่น ๆ
เมื่อเจ้าหน้าที่สมาคมได้ตรวจเอกสารแล้วจะดําเนินการในลําดับต่อไป ได้แก่ ♦
อธิบายวิธีการแก้ปัญหาของสมาคมที่สามารถช่วยผู้บริโภคได้
ขั้นตอนที่สอง การแก้ไขข้อร้องเรียนของผู้บริโภคผ่านสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ เมื่อผู้บริโภคตัดสินใจที่จะแก้ไขปัญหาข้อพิพาท ผู้บริโภคสามารถเลือกที่จะฟ้องคดีด้วยตนเอง หรือ ให้สมาคมช่วยเหลือได้ตามความสมัครใจ โดยสมาคมจะให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคแบ่งเป็นสองกรณี กรณีที่ 1 สําหรับผู้บริโภคที่สมัครเป็นสมาชิกของสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์เท่านั้น ซึ่งสมาคมจะรับ เรื่องร้องเรียน และแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแทนผู้บริโภค หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในนาม ของสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์โดยตรง ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับความสะดวกในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทกับผู้ประกอบการ แต่ผู้บริโภคจะต้องเสียค่าสมัครสมาชิก และเสียค่าธรรมเนียมในระหว่างการดําเนินการแก้ไขปัญหา ตามระเบียบที่ สมาคมกําหนดไว้ สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ต้องการให้ผู้บริโภคสมัครเป็นสมาชิกของสมาคม ภายใต้เหตุผลที่ว่า "การ เป็นสมาชิกสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาคมกับผู้บริโภค เพื่อให้สมาคมสามารถ ติดตามข้อพิพาทในนามของผู้บริโภคได้" โดยมีค่าสมัครสมาชิก ดังนี้ ค่าสมาชิก ประเภทของการเป็นสมาชิก
จํานวน
ตลอดชีพ
$ 400
สามัญ
$ 25 ต่อปี
สมทบ (ครอบครัว*)
$ 30 ต่อปี
สมทบ (นักเรียน**)
$ 8 ต่อปี
* คนในครอบครัวของสมาชิกสมาคมผู้บริโภคมีสิทธิ์สมัครเป็นสมาชิกสามัญก่อน ** นักเรียนต้องอายุไม่ต่ํากว่า 12 ปี
นอกเหนือจากค่าสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์เมื่อผู้บริโภคที่เป็นสมาชิกสมาคม ต้องการร้องเรียนและเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ประกอบธุรกิจ ผ่านการดําเนินการในนามสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ ทางสมาคมจะเก็บค่าธรรมเนียมในการดําเนินการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมตามลําดับขั้น ในการเรียกร้องค่าเสียหาย ดังนี้ 160
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ค่าธรรมเนียม ค่าธรรมเนียม $ 10 $ 20 $ 50 $ 50
ช่วงของการเรียกร้อง (ค่าเสียหาย) ต่ํากว่า $ 5,000 $ 5000 -$ 10,000 $ 10,001 - $ 20,000 มากกว่า $20000
สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์อธิบายถึงเหตุผลที่ต้องเก็บค่าสมาชิก และค่าธรรมเนียมจากการปฏิบัติงาน โดยให้เหตุผลว่าแม้สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์จะเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากําไร แต่ในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ย่อมมีต้น ทุน ขณะเดีย วกัน ในการดํา เนิน งานคุ้มครองผู้บ ริ โ ภคของสมาคมผู้บ ริ โ ภคสิงคโปร์ ในบางกรณีก็ทํา ให้ ผู้บริโภคได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เช่น การผลักดันการออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค การทดสอบ ผลิตภัณฑ์ และการสํารวจสินค้า การให้คําแนะนําสําหรับผู้บริโภคผ่านโทรศัพท์ โทรสาร เว็บไซต์ และด้วยตนเอง กรณีที่ 2 ผู้บริโภคที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ กรณีนี้สมาคมจะให้การช่วยเหลือ ในระดับเบื้องต้น เท่านั้น คือ เจ้า หน้าที่สมาคมจะให้คําปรึกษาเกี่ย วกับปัญหาข้อพิพาท และเสนอแนะแนวทาง แก้ปัญหา ถ้าผู้บริโภคต้องการเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ประกอบธุรกิจ เจ้าหน้าที่สมาคมจะช่วยร่างจดหมาย หรือ เอกสารให้กับผู้บริโภคเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย หลังจากนั้นผู้บริโภคจะต้องส่งมอบจดหมายให้คู่กรณีด้วยตนเอง สมาคมไม่สามารถที่จะติดตามข้อพิพาทในนามของผู้บริโภคได้ ซึ่งในการดําเนินการดังกล่าวสมาคมจะเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม$ 10 ต่อกรณี การเจรจาไกล่เกลี่ย สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ใช้วิธีการแก้ปัญหาข้อพิพาทให้กับผู้บริโภคด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อให้ การแก้ปัญหาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และลดความขัดแย้งระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ โดยศูนย์ไกล่เกลี่ยของ สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ จัดตั้งขึ้นในเดือนมิถุนายนปี ค.ศ.1999 ในกระบวนการไกล่เกลี่ยจะใช้อาสาสมัครของ สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ซึ่งมาจากหลากหลายอาชีพ เพื่อให้ผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจมั่นใจว่าผู้ไกล่เกลี่ยของ สมาคมไม่มีส่วนได้เสียในกระบวนการระงับข้อพิพาท ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าอัตราความสําเร็จของแก้ไขข้อพิพาทผ่านทาง ศูนย์ไกล่เกลี่ย อยู่ที่ประมาณ 70-80% และมีสถิติการไกล่เกลี่ยจนถึงปี ค.ศ.2008 อยู่ที่ 188 ราย ซึ่งกระบวนการ ไกล่ เ กลี่ ย โดยสมาคมผู้ บ ริ โ ภคสิ ง คโปร์ จะคิ ด ค่ า ธรรมเนี ย มในการไกล่ เ กลี่ ย ข้ อ พิ พ าทระหว่ า งผู้ บ ริ โ ภคกั บ ผู้ประกอบการ ดังนี้
161
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ตารางอัตราค่าธรรมเนียมสําหรับการไกล่เกลี่ย – อุตสาหกรรมทั้งหมดยกเว้นอสังหาริมทรัพย์ ช่วงการเรียกร้อง
สมาชิก
ไม่ใช่สมาชิก
ธุรกิจ CaseTrust ธุรกิจที่ไม่ใช่ CaseTrust
ต่ํากว่า 5,000
15
35
30
35
5,000-10,000
15
50
45
50
10,001-20,000
25
100
90
100
20,001-30,000
125
200
180
200
30,001-40,000
225
300
250
300
40,000 ขึ้นไป
325
400
350
400
ตารางอัตราค่าธรรมเนียมสําหรับการไกล่เกลี่ย -อสังหาริมทรัพย์ ช่วงการเรียกร้อง ต่ํากว่า 5,000 5,001 - 10,000 10,001 - 20,000 20,001 - 30,000 30,001 - 40,000 40,000 ขึ้นไป
โจทก์ สมาชิก ไม่ใช่สมาชิก 35 80 35 80 50 120 125 200 225 300 325 400
สถานประกอบการ 80 80 120 200 300 400
การประชาสัมพันธ์ สมาคมผู้บ ริโ ภคสิงคโปร์ป ระชาสัมพัน ธ์ร ณรงค์ ให้ความรู้การคุ้มครองผู้บ ริ โ ภค ภายใต้แนวคิด "ความรู้ คือ การป้องกัน" ตัวอย่างการประชาสัมพันธ์ที่เห็นได้ชัดเจน คือ การประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ http:// www.case.org.sg ซึ่งภายในเว็บไซต์ประกอบไปด้วยข้อมูลข่าวสารการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งในระดับประเทศ และ ต่างประเทศ การแจ้งเตือนภัยผู้บริโภค ผลการสํารวจราคาสินค้า กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค สถิติการดําเนินงาน และกรณีศึกษา เป็นต้น นอกจากนี้ สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ยังผลิตวีดีโอแนะนําเรื่องราวของธุรกิจขายตรง 2 เรื่อง คือ Cooling-off period for Direct Sales Purchases และ The truth behind Direct Selling ความยาวเรื่ องละ ประมาณ 5 นาที โดยนักแสดงสื่อสารด้วยภาษาจีนกลางแต่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ นําออกเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ 162
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
www.youtube.com และเว็บไซต์ของสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ การผลักดันการออกกฎหมาย สมาคมผู้บ ริ โ ภคสิงคโปร์มีส่ว นร่ว มในการผลัก ดัน ให้มีการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บ ริ โ ภค มาแล้ว 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญ ญัติคุ้มครองผู้บ ริ โ ภค หรือThe Consumer Protection (Fair Trading) Act (CPFTA)) และ Lemon Law 1. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (The Consumer Protection (Fair Trading) Act (CPFTA)) มีผ ลบังคับใช้ส่วนหนึ่งมาจากการล็อบบี้ของสมาคมผู้บริ โ ภคสิงคโปร์ ในฐานะองค์กรผู้บริ โภคที่ทํางานมาอย่า ง ยาวนาน ทําให้มีโอกาสได้ทราบถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค จากการตกเป็นเหยื่อของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่มี จรรยาบรรณ ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ สมาคมเล็งเห็นว่าการแก้ไขปัญหาจะเกิดขึ้นได้ ต้องออกกฎหมายการซื้อขายที่เป็นธรรมเพื่อส่งเสริม ตลาดเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน ซึ่งกฎหมายจะต้องให้ความคุ้มครองทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจ ภายหลังจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.2004 ผู้บริโภคที่มีข้อพิพาทกับผู้ประกอบ ธุรกิจ สามารถดําเนินการทางแพ่งและมีสิทธิที่จะได้รับการชดเชยเยียวยาเมื่อได้รับความเสียหาย รวมทั้งป้องปรามผู้ ประกอบธุรกิจให้ดําเนินธุรกิจภายใต้ความรับผิดชอบ และเป็นธรรม และตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน ค.ศ.2009 CPFTA ถูกแก้ไขเพื่อให้ครอบคลุมไปถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินเพื่อขยายขอบเขตการคุ้มครองให้แก่ผู้บริโภค และ อํานวยความสะดวกโดยไม่ต้องเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายต่อภาคธุรกิจ 2. Lemon Law มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ.2012 บทบัญญัติแห่งกฎหมายนี้เป็น ส่ว นแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญ ญัติคุ้มครองผู้บริ โภค (The Consumer Protection (Fair Trading) Act (CPFTA)) โดยจะเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติเช่าซื้อและพระราชบัญญัติจราจรทาง ถนน Lemon Law เป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ให้การชดเชยเยียวยากรณีที่สินค้าชํารุดเสียหายซึ่งที่ ผ่านมา บ่อยครั้งที่ผู้บริโภคพบว่าเมื่อซื้อสินค้ามาแล้ว สินค้าที่ได้ไม่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพในการทํางานตาม มาตรฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการซ่อมแซมแล้วก็ยังไม่สามารถใช้การได้ดี รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจก็ไม่ปฏิบัติ ตามสัญญาในการบริการหลังการขายให้กับผู้บริโภค กฎหมายฉบับนี้ จึงกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องรับภาระในการซ่อมแซมเปลี่ยนแทนหรือคืน เงิน หรือลดราคาของสินค้าที่ชํารุดนั้นให้กับผู้บริโภค ผลการดําเนินงาน สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ได้รวบรวมสถิติข้อร้องเรียนภายในปี 2011 มีทั้งสิ้น จํานวน 22,240 เรื่อง โดยสมาคมได้ดําเนินการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในนามผู้บริโภค ในปี 2011 จํานวน 1,396 รายเปรียบเทียบกับปี 2010 จํานวน 1,574 ราย แต่กรณีการช่วยเหลือผู้บริโภคในปี 2011 มีจํานวนมากขึ้นอยู่ที่ 2,666 ราย 163
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ตัวอย่างกรณีศึกษา กรณีศึกษาที่ 1 เมื่อวัน ที่ 20 เมษายน 2012 นาย Sin ซื้ออาหารเสริมสุขภาพ จํา นวน 10 ขวดของบริษัทที่มี ชื่อเสียงในประเทศจีน รหัสสินค้า RMB36680 นาย Sin ได้แจ้งแก่บริษัทดังกล่าวว่าเขาเป็นมังสวิรัติและอาหารเสริม ที่สั่งซื้อจะต้องเป็นแบบมังสวิรัติ ภายหลังจากได้รับสินค้า เขาก็พบว่าบางส่วนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีส่วนผสมที่ ไม่ใช่มังสวิรัติ เขาจึงไม่สามารถรับประทานได้ ดังนั้น นาย Sin จึงอยากได้เงินคืนเต็มจํานวน สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับสมาคมผู้บริโภคจีน (CCA) จึง สามารถประสานขอความช่วยเหลือจากสมาคมผู้บริโภคจีน (CCA) เพื่อขอเงินคืนให้กับนาย Sin ได้ สมาคมผู้บริโภค สิงคโปร์และสมาคมผู้บริโภคจีน (CCA) ทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ผ่านทางจดหมายที่เขียนขึ้น ในท้ายที่สุด บริษัท ได้โอนเงินจํานวน $ 7,350 ไปยังบัญชีธนาคารของนาย Sin ในขณะที่ตัวเขาได้ส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวกลับคืนไปที่ บริษัท หมายเหตุ: สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับประเทศต่าง ๆ เช่น จีน มาเลเซียอินเดีย และมาเก๊า จึงสามารถช่วยผู้บริโภคในท้องถิ่นที่มีปัญหากับผู้จําหน่ายสินค้าในประเทศดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ประเทศที่แตกต่างกันย่อมมีกฎระเบียบที่แตกต่างกัน ความไม่เป็นธรรมในสิงคโปร์อาจจะไม่ถือว่าเป็น ความไม่เป็นธรรมในประเทศอื่น ๆ
164
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กรณีศึกษาที่ 2 เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2012 นาง Wong ได้สั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ในครัว จํานวน 2 ชิ้น ผ่านทาง เว็บไซต์ โดยจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตจํานวน $ 981.80 เมื่อเธอได้รับสินค้า ในวันที่ 12 มกราคม เธอสังเกตเห็นว่า สินค้าถุงหนึ่ง ราคา $ 388 เธอจึงติดต่อบริษัททันทีแต่บริษัทปฏิเสธไม่รับผิดชอบใด ๆ และไม่ยอมเปลี่ยนสินค้าหรือ คืนเงิน นาง Wong จึงเข้ามาขอความช่วยเหลือจากสมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ ผ่านการเจรจาระหว่างเจ้าหน้าที่ของ สมาคมกับบริษัทจนในที่สุดบริษัทยอมเปลี่ยนสินค้าให้โดยดี นาง Wong ได้รับสินค้าใหม่ในสภาพที่ดีเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2012 หมายเหตุ: สมาคมผู้บริโภคสิงคโปร์ ให้คําปรึกษาผู้บริโภคในการใช้ความระมัดระวังเมื่อสั่งซื้อ สินค้าออนไลน์ ก่อนชําระเงินที่จะสั่งซื้อสินค้าผู้บริโภคต้องตรวจสอบภูมิหลังของบริษัทให้แน่ใจว่าเชื่อถือได้ ก่อนที่จะ ทําการชําระเงิน
165
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ภาคผนวก ข บทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานในประเทศไทย
166
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
167
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง
- พัฒนาและส่งเสริมระบบตลาดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและขีดความสามารถในการ แข่งขัน - ดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพ และสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรม ดูแล ราคาและปริมาณสินค้าและบริการ ภาระค่าครองชีพให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม - เสริมสร้างมาตรฐานการชั่ง ตวง วัดให้ได้มาตรฐาน
- พ.ร.บ. กําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 มอบภารกิจการ คุ้มครองผู้บริโภคให้เทศบาลและอบต.
กลุ่มกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค - พ.ร.บ.ควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ.2495 - พ.ร.บ.มาตราชั่ง ตวง วัด พ.ศ.2542 - พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 กลุ่มกฎหมายจัดระเบียบการค้า - พ.ร.บ.การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ.2542 - ประกาศของคณะปฏิวัติ (คลังสินค้า ไซโล ห้องเย็น) - พ.ร.บ.การค้าข้าว พ.ศ.2489 - พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542
- พ.ร.บ.มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 - พ.ร.บ.การมาตรฐานแห่งชาติ พ.ศ.2511
สํานักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวง - กําหนดมาตรฐานที่ตรงความต้องการและสอดคล้องกับแนวทางสากล อุตสาหกรรม - กํากับดูแลผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบและรับรองด้านการมาตรฐานให้ได้รับการยอมรับ - ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐานของประเทศ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค - พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 - พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ พ.ศ.2541 - พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค - คุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา โฆษณา ฉลาก และด้านอืน่ ๆ (สินค้าอันตราย) - ช่วยเหลือเยียวยาผู้บริโภคโดยการฟ้องคดีแทน - ประชาสัมพันธ์ขอ้ มูลข่าวสารเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค - ดําเนินการอื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
หน่วยงาน
168
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กรมที่ดิน
บริหารจัดการและคุ้มครองสิทธิการถือครองที่ดินของรัฐและประชาชน เช่น - การออกหนังสือแสดงสิทธิ - ให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิตกิ รรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ - รังวัดออกหนังสือสําคัญสําหรับทีห่ ลวง ในที่ดินสาธารณะประโยชน์ และในที่ราชพัสดุ - การรังวัดและทําแผนที่ - จัดที่ทํากินให้ประชาชนและภารกิจตามกฎหมายอื่น ๆ เช่น ควบคุมการจัดสรรที่ดิน, จดทะเบียนอาคารชุด, ควบคุมช่างรังวัดเอกชน เป็นต้น
- พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ช่วยคุ้มครองสิทธิของผู้ซื้อ มี คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง และคณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นผู้ กํากับดูแล - พ.ร.บ.การดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 หรือ กฎหมาย เอสโครว์แอคเคานท์ (Escrow Account) เพื่อควบคุมและป้องกันมิให้ผู้ ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แสวงหาผลประโยชน์ และช่วยลดปัญหา ข้อพิพาทระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจกับผู้บริโภค - พ.ร.บ.อาคารชุด ฉบับที่ 4 พ.ศ.2551
- พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2478 - พ.ร.บ.การควบคุมโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 - พ.ร.บ.การขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474
- เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ดําเนินงานเกี่ยวกับการรักษาความสงบ เรียบร้อย และความมั่นคง ภายใน การบริหารการปกครองท้องที่ในระดับอําเภอ ตําบล และหมูบ่ ้าน การดําเนินงานและพัฒนาระบบงาน ทะเบียนราษฎร์ และการขออนุญาตต่าง ๆ ตามกฎหมาย
กรมการปกครอง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติเป็นองค์กรหลักของประเทศ ในการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของชาติ ให้เป็นทีย่ อมรับ - พ.ร.บ.พัฒนาระบบมาตรวิทยาแห่งชาติ พ.ศ.2540 ในระดับสากล ที่มีบทบาทสําคัญต่อการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ การ คุ้มครองผู้บริโภคในประเทศ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - พัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล - ถ่ายทอดความถูกต้องด้านการวัดสูก่ ิจกรรมการวัดต่าง ๆ - เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาแก่สังคมไทย - เป็นองค์กรหลักในการดําเนินงานด้านมาตรวิทยาระหว่างประเทศ
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วยงาน
169
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
- พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.ผังเมือง พ.ศ.2518 - มาตรฐานงานช่างของกรมโยธาธิการ เป็นมาตรฐานที่จัดทําขึ้นเพื่อใช้ เป็นข้อกําหนดสําหรับการก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ของส่วนราชการทั้ง ส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย
- พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 - พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2544 -.พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.ปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550
- มีหน้าที่ด้านผังเมือง การออกแบบก่อสร้างและควบคุมภารกิจสร้างอาคาร - ดําเนินการและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาเมือง พื้นที่ และชนบท
- ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
กรมโยธาธิการและผังเมือง
กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พ.ร.บ.ค้าข้าว พ.ศ.2489 - พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ.2478 - พ.ร.บ.เล่นแชร์ พ.ศ.2534 - พ.ร.บ.ควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ.2495 - พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487 - พ.ร.บ.ควบคุมโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ.2493 - พ.ร.บ.ควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ.2474 - พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2547 - พ.ร.บ.โรงรับจํานํา พ.ศ.2505 - พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 - พ.ร.บ.สํารวจการกักตุนโภคภัณฑ์ พ.ศ.2497 - พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- การดูแลทุกข์สุขและรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีการอํานวยความเป็นธรรมตลอดจนส่งเสริมและ พัฒนาการเมืองการปกครอง การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและการพัฒนา ชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย รวมถึงปฏิบตั ิหน้าที่อื่น ๆ ตามที่กฎหมาย กําหนด
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
กระทรวงมหาดไทย
หน่วยงาน
170
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรุงเทพมหานคร
หน่วยงาน - พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ.2518, แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2518 - พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 - พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 - พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 - พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 - พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 - พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 - พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 - พ.ร.ก.กําหนดเขตพื้นที่เพื่ออนุญาตให้จัดตั้งสถานบริการในท้องที่ กรุงเทพมหานคร - พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 - พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2538 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2543 - พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 - พ.ร.บ.โรงแรม พ.ศ.2478 - ระเบียบกรงเทพฯ ว่าด้วยเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2555
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ พันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ชีวภัณฑ์และชีววัตถุสําหรับ - พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์และจําหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2535 สัตว์ ยาสัตว์และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์ ระบบการผลิตปศุสัตว์และสินค้าปศุสัตว์ และกระบวนการอื่นที่ - พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เกี่ยวข้องในด้านการปศุสัตว์ เพือ่ ให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 - พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2499 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542
- การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน - การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย - การผังเมือง การจัดให้มีและบํารุงรักษาทางบกหรือทางน้ํา และทางระบายน้ํา และการวิศวกรรมจราจร การ ขนส่ง การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้ามและที่จอดรถ การดูแลรักษาที่สาธารณะ การควบคุม อาคาร - การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกีย่ วกับที่อยูอ่ าศัย - การจัดให้มีและบํารุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสาธารณูปโภค การ สาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล สาธารณูปโภค และหน้าที่อื่น
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
171
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
- ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอนั ตราย พ.ศ.2535 - พัฒนาคุณภาพสินค้าประมงทุกประเภทให้ได้รับมาตรฐาน
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค - พ.ร.บ.วัตถุอันตรายพ.ศ.2535 - พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2544 -พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.ส่งเสริมและการรักษาคุณภาพสิง่ แวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- ดําเนินการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาต ต่ออายุใบอนุญาต สั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต - พ.ร.บ.นโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2551 - การรับชําระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์รวมทั้งการวางหลักประกันของผู้ประกอบธุรกิจนํา - พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ.2551 เที่ยว - พ.ร.บ.ธุรกิจนําเทีย่ วและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 - มีการจัดตั้งกองทุนคุ้มครองธุรกิจนําเที่ยวเพื่อเป็นเงินทดรองจ่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหาย - เก็บบันทึกและติดตามแก้ไขข้อมูลและประวัติของธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ - ประสานและสนับสนุนหน่วยงานที่เกีย่ วข้อง ตลอดจนหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการธุรกิจนําเที่ยวและ มัคคุเทศก์แต่งตั้ง
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา
- กฎหมายวิธีพจิ ารณาความอาญา - กฎหมายอื่น ๆ ที่เกีย่ วข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค - กฎหมายอื่น ๆ ที่เกีย่ วข้องกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และ อาหารและยา
- ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะปัญหาการถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ผลิต การได้รับสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้ มาตรฐาน ไม่เป็นธรรม
กองบังคับการปราบปรามการกระทําผิด เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค สํานักงาน ตํารวจแห่งชาติ
สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร - เสนอแนะนโยบาย แนวทาง และมาตรการในการกําหนด การตรวจสอบรับรอง การควบคุม การส่งเสริม และการ - พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 แห่งชาติ พัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - กําหนดยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้งกํากับดูแล เฝ้าระวัง และเตือนภัย - เป็นหน่วยรับรองผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานด้านสินค้าเกษตรและอาหารของประเทศ
กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หน่วยงาน
172
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
- สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้แก่นกั ท่องเที่ยว - สร้างความพึงพอใจ ในการบริการและอํานวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว - ขจัดปัญหาการหลอกลวง เอารัดเอาเปรียบ และคุ้มครองผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่นักท่องเที่ยว - ขจัดปัญหาการทําให้แหล่งท่องเที่ยวเสือ่ มโทรม เสียหาย ไร้ระเบียบ - ปกป้อง คุ้มครองวงจรอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว - สร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างองค์กรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ องค์กรตํารวจหรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั้งในและนอกประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครอง ผลประโยชน์ของนักท่องเที่ยว - ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายอื่นอันเกีย่ วกับความผิดทางอาญาทัว่ ราชอาณาจักร ทั้งในกรณีที่ผู้เสียหายหรือผู้ต้องหาเป็นคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชัว่ คราวเพื่อ การท่องเที่ยว หรือเพื่อการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือในกรณีที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยว และความผิดอื่นที่เกีย่ วเนื่อง - ให้ความช่วยเหลือ อํานวยความสะดวก และให้ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
- รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการดําเนินงานการบริการสาธารณสุข จัดให้มที ะเบียนผู้รับบริการ หน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ บริหารกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกําหนด - จ่ายค่าใช้จา่ ยเพื่อบริการสาธารณสุขตามมาตรา 46 - ดําเนินการเพื่อให้ประชาชนมีหน่วยงานบริการประจํา และการขอเปลี่ยนหน่วยงานบริการประจํา - ประชาสัมพันธ์เพือ่ ให้ประชาชนทราบข้อมูลของหน่วยบริการ - การดูแลหน่วยบริการและเครือข่ายบริการในการให้บริการสาธารณสุข ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่คณะกรรมการ กําหนด - อํานวยความสะดวกในการเสนอเรื่องร้องเรียน - จัดทํารายงานประจําปีเกีย่ วกับผลงานและอุปสรรคในการดําเนินงานของคณะกรรมการ และคณะกรรมการ ควบคุม
สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
กองบังคับการตํารวจท่องเที่ยว สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
หน่วยงาน
- พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2547), ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2550) - พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2547)
ไม่มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในหน่วยงานโดยตรง แต่มีกฎหมายที่ นํามาปรับใช้ ได้แก่ - พ.ร.บ.ธุรกิจนําเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2551 - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา - พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง และวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2551
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
173
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
สํานักสถานพยาบาลและการประกอบโรค ศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา
หน่วยงาน
- ส่งเสริม พัฒนา กําหนดมาตรฐานสถานพยาบาล และจรรยาบรรณการประกอบโรคศิลปะ - พัฒนาระบบ และดําเนินการด้านการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้รับบริการด้านสุขภาพ - พัฒนาระบบ และเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้บริการ และผู้รับบริการด้านสุขภาพ
- การควบคุมตัวยา และสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตวัตถุเสพติด - การดําเนินการด้านอาหาร เช่น ดําเนินการขึ้นทะเบียนอาหารพร้อมบริโภคที่เป็นสินค้าเด่นประจําจังหวัดหรือท้องถิ่น การขออนุญาตจาก อย. ซึ่งจะทําให้สินค้าเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค และเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคอีกทาง - พัฒนาเครือข่ายการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ - การพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพให้มีความรวดเร็ว - ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความทันสมัย - ตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ถูกต้อง - การเตรียมความพร้อมการเปิดเขตการค้าเสรีในปี 2558 - การส่งเสริมการเข้าถึงยา - สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กบั ผู้ประกอบการที่มีคุณธรรมในการประกอบการ (ที่มา: แนวทางการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพส่วนกลางและส่วนภูมภิ าคประจําปี งบประมาณ พ.ศ.2555 โดย นายแพทย์พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา)
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
- พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 - พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 - พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2550 - พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 - พ.ร.บ.สถานพยาบาล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547
- พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 - พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2518), ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2522), ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2528), ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2530) - พ.ร.บ.เครื่องสําอาง พ.ศ.2535 - พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 - พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2544 - พ.ร.บ.วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2528), ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2535), ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2543) - พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2528), ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2530), ฉบับที่ 4 (พ.ศ.2543) - พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2531 - พ.ร.ก.ป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ.2533 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 (พ.ศ.2543)
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
174
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพดี โดยมีการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี - พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ และการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพ ดี รวมทั้งการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชนมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชน รวมตลอดจนถึงการสนับสนุนให้หน่วยงานส่วนภูมิภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคี เครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีสว่ นร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริม ให้คนไทยมีสุขภาพดีโดยถ้วนหน้า
- เป็นหน่วยงานภายใต้สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - พ.ร.บ.พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ.2534 มีหน้าที่หลักในการดําเนินการวิจยั ให้ทนุ สนับสนุนการวิจยั ในภาครัฐ รวมถึงการบริการเพื่อพัฒนา เสริมสร้าง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม สารสนเทศ
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ
สํานักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย - เป็นสํานักงานเลขานุการร่วมของกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทาง - พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 กระทรวงสาธารณสุข อาหาร โภชนาการ และอาหารศึกษาเพือ่ สุขภาพที่ดีของประชาชน - ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชนมีความตระหนักรู้ สร้างปัจจัยเอื้อต่อการบริโภคอาหารปลอดภัยและอาหาร สุขภาพ ในระดับชุมชนอย่างยั่งยืน - เป็นศูนย์ประสานงานข้อมูลข่าวสารความปลอดภัยด้านอาหารระหว่างประเทศในนามของ National INFOSAN Emergency Contact Point รวมทั้ง เสนอมาตรการตอบโต้และการจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร ที่มี ผลกระทบระหว่างประเทศตามหลักการกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 (International Health Regulation :IHR, 2005) - จัดทําระบบข้อมูลสารสนเทศด้านอาหารปลอดภัยและที่เกีย่ วข้อง รวมทั้งให้บริการตอบข้อซักถามข้อมูลข่าวสาร แก่เจ้าหน้าที่ ประชาชนทั่วไป และหน่วยงานระหว่างประเทศ
หน่วยงาน
175
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
- แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการให้บริการโทรคมนาคม - กําหนดให้มีการรับเรื่องร้องเรียนและให้คําปรึกษา - การพัฒนากฎ กติกา นโยบายเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม - เผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนทัว่ ทุกภูมิภาค - มี “สภาผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม” ที่เป็นตัวแทนขององค์กรผู้บริโภคจากทุกภูมภิ าค เข้ามามีส่วนร่วมใน กระบวนการกําหนดนโยบาย การเสนอกฎหมาย รวมถึงกฎ ระเบียบ หรือมาตรการต่าง ๆ ที่เกีย่ วข้องกับการ คุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม รวมถึงเป็นผู้แทนผู้บริโภคในการแสดงความคิดเห็นในเรื่องของกิจการ โทรคมนาคม
- เพิ่มศักยภาพการกํากับดูแล และบังคับใช้กฎหมายเพื่อสร้างธรรมภิบาลธุรกิจ - เสริมสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการรายย่อย และยกระดับธุรกิจสู่เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ
หน่วยงาน
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 22 หุ้นส่วนและ บริษัท - พ.ร.บ.กําหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุน้ ส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วน จํากัด บริษัทจํากัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 - พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 - พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจํากัด พ.ศ.2535 - พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 - พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ.2543 - พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 - พ.ร.บ.สมาคมการค้า พ.ศ.2509 - พ.ร.บ.หอการค้า พ.ศ.2509
- พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2549 - พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 - คําสั่ง กสทช. เรื่อง ห้ามมิให้ผู้ประกอบการเรียกเก็บค่าเปิดใช้บริการฯ 107 บาท - หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (MNP Porting Process Manual)
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
176
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์
มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่หลัก - ดูแลรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตลาด - คุ้มครองผู้ลงทุน - เอื้ออํานวยให้เกิดนวัตกรรมในตลาดทุน - ส่งเสริมการแข่งขัน
- ทําหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน การภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกีย่ วกับที่ดินราชพัสดุ
กระทรวงการคลัง
- พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 - พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ.2546
- พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กยู้ ืมของสถาบันการเงิน (ฉบับที3่ ) พ.ศ.2535 - พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 - พ.ร.ก.ให้กยู้ ืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527
- พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 - พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551
- การให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงิน - การบริหารหนี้ - การบริหารสินทรัพย์
ธนาคารแห่งประเทศไทย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- มีคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง/จังหวัด - พ.ร.บ.ขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ทําหน้าที่กาํ หนดและควบคุมลักษณะและราคาค่าขนส่งรถประจําทาง และไม่ประจําทาง - พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2528 - การจัดระเบียบการขนส่งทางบก โดยการกํากับ ดูแล ตรวจสอบ ตรวจตรา ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประสานและวางแผนให้มีการเชื่อมต่อกับระบบการขนส่งอื่น ๆ เพื่อให้ระบบการขนส่งทางบกเกิดความ คล่องตัว สะดวก รวดเร็ว ทัว่ ถึง และปลอดภัย - ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ กฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน และกฎหมาย อื่นที่เกี่ยวข้อง - ดําเนินการแก้ไข ป้องกัน และส่งเสริมสวัสดิภาพการขนส่งทางบก
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม
หน่วยงาน
177
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
- พ.ร.บ.คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ.2550 - พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535/แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2550, (ฉบับที่ 5) 2551
- เสริมสร้างความเชื่อมั่นและการเข้าถึงระบบประกันภัย โดยสร้างสายงานด้านส่งเสริมให้เป็นเอกภาพและเชื่อมโยง ครบวงจร, พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการและความเสี่ยงของประชาชนทุกระดับ, ส่งเสริมและ พัฒนาช่องทางการจําหน่ายและพฤติกรรมทางการตลาด, ผลักดันให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ประกันภัย - เสริมสร้างเสถียรภาพระบบประกันภัย โดยตรวจสอบและกํากับบริษัทประกันภัยตามระดับความเสี่ยงและเพิ่ม มาตรการป้องกันความเสียหายอย่างทันท่วงที, การลดต้นทุนทางการประกันภัยและการเตรียมการรองรับการเปิด เสรีธุรกิจประกันภัย - พัฒนากฎหมาย และระบบการคุ้มครองสิทธิประโยชน์แบบครบวงจร โดยพัฒนาและปรับปรุงกฎหมายแม่บทการ ประกันภัย, สร้างสายงานด้านการให้บริการและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ทั้งระบบ, พัฒนากลไกในการใช้ กฎหมายและระบบการระงับข้อพิพาททั้งระบบ, มีระบบสืบสวนสอบสวนป้องกันการฉ้อฉลในธุรกิจประกันภัย - ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัย โดยการยกระดับและเพิ่มศักยภาพบุคลากรในวิชาชีพประกันภัย, เตรียมความพร้อมการใช้ระบบรายงานทางการเงิน, การสร้างศักยภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ, จัดตั้งสถาบัน วิทยาการประกันภัยระดับสูง
- รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม - พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
สํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริม การประกอบธุรกิจประกันภัย
แพทยสภา
- พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 - พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 - พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 - พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 (ร่าง) พ.ร.บ.ความรับผิดและวิธีพิจารณาความสําหรับการประกอบ วิชาชีพด้านสุขภาพ (ร่าง) พ.ร.บ.ยา
- พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- มีฐานะเป็นนิติบุคคล บริหารงานและกําหนดนโยบาย - คุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงิน - เสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน - ดําเนินการสถาบันการเงินที่ถูกควบคุมและชําระบัญชี สถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมาย
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
หน่วยงาน
178
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
สภากายภาพบําบัด
- พ.ร.บ.เทคนิคการแพทย์ พ.ศ.2547 - พ.ร.บ.วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ.2547 - พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 - พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 - พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2547 ฉบับที่ 3 พ.ศ.2550
- พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 - พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน เพื่อให้เข้าถึงการบริการและความรู้ทางกายภาพบําบัดโดยทั่วถึง อย่างมี - พ.ร.บ.วิชาชีพกายภาพบําบัด พ.ศ.2547 คุณภาพ ตามมาตรฐานวิชาชีพ - ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง กําหนดเครื่องมือกายภาพบําบัด - ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบําบัดให้ถกู ต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพกายภาพบําบัด - พัฒนาระบบ มาตรฐาน / คุณภาพ งานกายภาพบําบัดทั้งด้านการผลิตบุคคลากร และการให้การบริการ - ส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งในการดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างยั่งยืน
- รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม - พ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม พ.ศ.2537 - ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมให้ถกู ต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเภสัชกรรม - ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพเภสัชกรรม ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2546 - ช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการเภสัชกรรมและการ สาธารณสุข
- ส่งเสริมการประกอบวิชาชีพ กําหนดและควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพและควบคุมมิให้มีการแสวงหา ผลประโยชน์ โดยมิชอบจากบุคคลซึ่งไม่มีความรู้ อันก่อให้เกิดภัยและความเสียหายแก่ประชาชน
สภาเทคนิคการแพทย์
สภาเภสัชกรรม
- ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทันตกรรม - ช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนและองค์กรอื่นในเรื่องที่เกี่ยวกับการทันตแพทย์และ การทันตสาธารณสุข - รับขึน้ ทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผขู้ อเป็นผูป้ ระกอบวิชาชีพทันตกรรม
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
ทันตแพทยสภา
หน่วยงาน
179
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
- พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ.2543
- ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม - พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาต - ออกข้อบังคับสภาสถาปนิก
- ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม รวมทั้งพิจารณาพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอน ใบอนุญาต
- กําหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชีและมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกีย่ วกับวิชาชีพบัญชี - กําหนดจรรยาบรรณสําหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี - รับขึ้นทะเบียนการประกอบวิชาชีพบัญชี ออกใบอนุญาต พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
- จดทะเบียนและออกใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 - ควบคุมมรรยาทของทนายความ - ส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
สภาสถาปนิก
สภาวิศวกร
สภาวิชาชีพบัญชีฯ
สภาทนายความฯ
- พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528
- พ.ร.บ.สภาวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547
- พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ.2542
- พ.ร.บ.วิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ.2545
- รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ - ควบคุมความประพฤติและการดําเนินงานของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ ให้ถกู ต้องตามจรรยาบรรณแห่ง วิชาชีพการสัตวแพทย์ - ช่วยเหลือ แนะนํา เผยแพร่ และให้การบริการทางด้านวิชาการแก่สมาชิก รวมทั้งประชาชน และองค์กรอื่นใน เรื่องเกี่ยวกับวิชาชีพการสัตวแพทย์
สัตวแพทยสภา
- พ.ร.บ.วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 และที่แก้ไข เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 - พ.ร.บ.หลักประกันคุณภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 - พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- รับขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ - คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จากบริการการพยาบาลและการผดุงครรภ์ - พัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน ผู้ให้บริการและระบบบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์ - ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ การใช้และการเผยแพร่ เพื่อประโยชน์ในการให้บริการการพยาบาล การผดุงครรภ์ และคุณภาพการศึกษาในวิชาชีพ
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
สภาการพยาบาล
หน่วยงาน
180
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
- ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้บริโภคและองค์กรผู้บริโภค ต่าง ๆ ได้มีส่วนในการคุ้มครองผู้บริโภค และส่งเสริมการศึกษา วิจยั และเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง ผู้บริโภค รวมทั้งการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การที่ผู้บริโภคคุ้มครอง ดูแลตัวเองได้ ดังนั้น ข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ ทีจ่ ะช่วยให้ผู้บริโภค “ฉลาดและเท่าทันต่อสถานการณ์ปัญหาในสังคมบริโภคนิยม” จึงจําเป็นอย่าง ยิ่งต่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ไม่มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในหน่วยงานโดยตรง แต่มีกฎหมายที่ นํามาปรับใช้ ได้แก่ - พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ พ.ศ.2541 - พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 - พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 - พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 - พ.ร.บ.เครื่องสําอาง พ.ศ.2535
- การสืบสวนเกี่ยวกับการกระทําความผิดด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและการคุ้มครองผู้บริโภค - พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 21 - สอบสวนคดีพิเศษเกี่ยวกับการกระทําความผิดด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและการคุ้มครองผู้บริโภค - ป้องกันและปราบปรามเกี่ยวกับการกระทําความผิดด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและการคุ้มครองผู้บริโภค
สํานักคดีคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม กรมสอบสวนคดีพิเศษ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- อนุรักษ์ ฟื้นฟู ควบคุมการจัดสรร และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสร้าง - พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 คุณค่าที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยการเสริมสร้างระบบและกลไกการจัดการภายในให้ - พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 สามารถดําเนินภารกิจประสานกับเครือข่ายภาคี และผู้มีส่วนได้เสียภายนอกอย่างมีพลัง และสอดคล้องกลมกลืน - พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 - นโยบายป้องกันและขจัดมลพิษ ภายใต้นโยบายและแผนการส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2540-2559 - ประกาศควบคุมมลพิษ
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม
หน่วยงาน
181
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ศาลยุติธรรมมีอํานาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีต่าง ๆ เช่น - การอํานวยความยุตธิ รรม ได้แก่ การพิจารณาพิพากษา , การไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทด้วยวิธกี ารอื่น , การ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน - การสนับสนุนการอํานวยความยุติธรรม - การสนับสนุนและพัฒนาความร่วมมือด้านการยุตธิ รรมทั้งในและระหว่างประเทศเพื่อรองรับการดําเนินงานของ กระบวนการยุตธิ รรมไทย และต่างประเทศ - การให้บริการประชาชนและสังคมเพื่อการพัฒนาทีย่ ั่งยืน เพื่อรองรับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- ดําเนินคดีแพ่งแก่ผกู้ ระทําการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาลในฐานะที่พนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครอง ผู้บริโภค - ช่วยเหลือทางอรรถคดีโดยจัดหาทนายความอาสาว่าความแก้ต่างแก่ประชาชนผู้บริโภค - ช่วยเหลือในการทํานิติกรรมต่าง ๆ และให้คําปรึกษาปัญหากฎหมาย และช่วยเหลือประนอมข้อพิพาทแก่ ประชาชนผู้บริโภค - เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ประชาชน - เป็นศูนย์ประสานงานรับเรื่องราวร้องทุกข์จากหน่วยงานอื่นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค
สํานักงานอัยการสูงสุด
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
สํานักงานศาลยุตธิ รรม
หน่วยงาน
ไม่มีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคในหน่วยงานโดยตรง แต่มีกฎหมายที่ นํามาปรับใช้ ได้แก่ - พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และ พ.ศ.2541 - พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ ปลอดภัย พ.ศ.2551 - พระราชบัญญัติวธิ ีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 - พระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 - พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 - พระราชบัญญัติเครื่องสําอาง พ.ศ.2535
- พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 - ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
182
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ มีอํานาจหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ.2551 ข้อ 77 (22) ดังต่อไปนี้ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา - พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่อาจส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ หรือร่างพระราชบัญญัติที่ เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคตามทีว่ ุฒิสภามอบหมาย - พิจารณาเรื่องหรือกิจการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ตาม บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 3 เท่าที่ไม่ขัดแย้งหรือซ้ําซ้อนกับการ ดําเนินงานของหน่วยงานซึ่งมีอํานาจหน้าที่ โดยกรรมาธิการอาจพิจารณาหยิบยกเรื่องร้องเรียนและเรื่องอื่นใดที่มี ความสําคัญต่อสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมในภาพรวมและอยู่ ในความสนใจของประชาชน ทั้งนี้ โดยมีอํานาจตามกฎหมายในการเรียกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชีแ้ จง แสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมาธิการ - ติดตามการทํางานของภาครัฐและภาคประชาชน เกีย่ วกับการเสริมสร้างสิทธิเสรีภาพแก่ชุมชนด้านการพัฒนา ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนการสร้างหลักประกันและความมั่นคงในคุณภาพชีวติ ของคนไทยโดยรวมให้มีความ ปลอดภัยในการบริโภค ทั้งในระดับโครงสร้าง นโยบาย กฎหมาย และการพัฒนาในพื้นที่ - ตรวจสอบการดําเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้านสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย และการคุ้มครอง ผู้บริโภคเพื่อรักษาสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคและความเป็นธรรมในสังคม ตลอดจนสวัสดิภาพชีวิตของพลเมือง ไทย - ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับองค์กรภาคประชาชน ในการทํางานด้าน สิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการแก้ไขปัญหา - ตรวจสอบการกระทํา การละเว้นการกระทํา หรือการประพฤติอันมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และผู้บริโภค - พิจารณาสอบสวนศึกษาเกีย่ วกับปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภค - ติดตามการร่างกฎหมายที่มีความเกีย่ วข้องกับสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ หรือการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อหาแนว ทางแก้ไข ด้วยการให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในการแก้ไขปัญหา - ผลักดันการเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ หรือการคุ้มครองผู้บริโภค - กระทํากิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องอื่น ๆ ที่เกีย่ วข้อง
หน่วยงาน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
183
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
บทบาทการคุ้มครองผู้บริโภค
คณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภา มีอํานาจหน้าที่ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2550 ข้อ 82 (10) กําหนดให้คณะกรรมาธิการการ ผู้แทนราษฎร คุ้มครองผู้บริโภค มีอํานาจหน้าที่กระทํากิจการพิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครอง ผู้บริโภค รวมทั้งปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภค วิธีการดําเนินงาน - จัดประชุมเพือ่ พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่รวมทั้งปัญหาความเดือดร้อนของ ผู้บริโภค - ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาปัญหาอันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ แล้วรายงานผลการพิจารณาต่อ คณะกรรมาธิการ - การศึกษาดูงานทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อการพัฒนาความรู้และโลกทัศน์ ให้การดําเนินงานของ คณะกรรมาธิการ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - การรับรองแขกต่างประเทศ การดําเนินงานเชิงรับ พิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จากเรือ่ งที่คณะกรรมาธิการหยิบยกเรื่อง ร้องเรียน และเรื่องอื่นใดที่มีความสําคัญต่อการคุ้มครองผู้บริโภค และมีผลกระทบในภาพรวมและอยู่ในความสนใจ ของประชาชน การดําเนินงานเชิงรุก - สนับสนุนให้มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ - ผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีบทบาทในการดูแลผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด - กําหนดแนวทางและมาตรการป้องกัน รวมถึงการแก้ปัญหาให้กับผูบ้ ริโภค - การจัดสัมมนาเพื่อให้ประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภครู้ถึงสิทธิและหน้าที่ในการคุ้มครองตนเอง - ดําเนินการร่วมกับคณะอนุกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคประจําจังหวัด และหน่วยงานที่เกีย่ วข้องเพื่อให้ ประชาชนในฐานะผู้บริโภค มีความรู้เกีย่ วกับการคุ้มครองผู้บริโภค และรู้จกั สิทธิของตนเองอันเกี่ยวกับการคุ้มครอง ผู้บริโภคมากขึ้น
หน่วยงาน
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
ภาคผนวก ค สถิติเรือ่ งร้องเรียนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ในประเทศไทย
184
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
1. ตารางแสดงจํานวนเรื่องร้องเรียน ระหว่างปี พ.ศ.2551-2555 จําแนกตามประเด็นปัญหา (จํานวน : เรื่อง) 2551 81
2552 427
ปี 2553 277
2. การคิดค่าบริการผิดพลาด 3. ข้อมูลส่วนบุคคล 4. ยกเลิกการบริการ
73 31 31
456 188 83
686 82 208
370 31 134
234 11 88
5. มาตรฐานการให้บริการที่ดี 6. การให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน 7. ความปลอดภัยต่อสุขภาพ 8. Pre Paid
30 23 16 13
639 82 21 162
536 116 602
347 90 710
152 65 23 184
9. ค่าต่อคู่สายโทรศัพท์ 10. เปลี่ยนเงื่อนไขสัญญา 11. การเข้าถึงบริการ
10 10 8
28
19
8
4
12. ระงับบริการ 13. ขอคืนเงินประกัน 14. คงสิทธิเลขหมาย 15. บริการเสริม
4 2 -
-
9 -
35 250
34 93
2 334
58 2,144
218 2,753
4 1 142 2,184
54 993
ประเด็นเรื่องร้องเรียน 1. คุณภาพการให้บริการ
16. จานแดงทรูวิชั่น 17. บัตรเติมเงินระหว่างประเทศ 18. อื่น ๆ รวม
2554 62
2555*** 51
หมายเหตุ ***ข้อมูลระหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย.55 ที่มา: กลุ่มงานรับเรื่องร้องเรียน และคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม สถิติเรื่องร้องเรียน. รายงานประจําปี. http://www.tci.or.th/complain_stat.php#complain_stat
185
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2. ตารางแสดงผลการรั บ เรื่องร้องเรี ย นระหว่ า งปี พ.ศ.2547-2555 จํ า แนกแต่ล ะด้า นตามที่ห น่ว ยงาน รับผิดชอบ (จํานวน : เรื่อง) เรื่องร้องเรียน
ปี 2547
2548
2549
2550
2551
2552
2553
2554
2555
1. ยา
297
325
274
269
315
263
259
273
288
2. อาหาร
920
1125
881
868
741
741
624
644
586
3. เครื่องสําอาง
113
132
152
146
161
132
120
151
216
4. เครื่องมือแพทย์
19
59
37
45
69
63
51
60
81
5. วัตถุเสพติด
14
4
9
12
2
7
3
7
28
6. วัตถุอันตราย
7
15
13
11
10
11
8
12
13
149
158
111
122
91
77
59
94
81
1,519
1,818
1,477
1,473
1,389
1,294
1,124
1,241
1,293
7. อื่น ๆ รวม
ที่มา: ศูนย์เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา http://newsser.fda.moph.go.th/hpsc/frontend/theme/info_operation.php?Submit=Clear
186
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
187
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
158 26 98 60 26 33 -
11 54 16 13 3 -
9. ผู้ขับรถสูบบุหรี่ก่อให้เกิดความรําคาญแก่ผู้โดยสาร 10. ไม่ดูแลให้ผู้โดยสารได้รับความปลอดภัยในระหว่างการโดยสาร (ประตู หนีบผู้โดยสาร) 11. ใช้รถออกนอกเส้นทางโดยมิได้รับอนุญาต 12. จอดกีดขวางทางจราจร 13. ไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดว่าด้วยความปลอดภัยในการขนส่ง (ไม่ปิด-เปิด ประตูขณะขับรถ) 14. บรรทุกผู้โดยสารเกินจํานวนที่นั่ง 15. ลืมสัมภาระไว้บนรถ 16. ผู้ประจํารถ / ผู้จําหน่ายตัว๋ โดยสารแสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ
451 233 509 30 295
159 66 51 30
4. ผู้เก็บค่าโดยสารแสดงกิริยาวาจาไม่สภุ าพ 5. ผู้ขับรถแสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ 6. เก็บค่าโดยสารเกินอัตราที่กําหนด 7. อุปกรณ์ส่วนควบไม่มั่นคงแข็งแรง 8. ให้ผู้โดยสารลงจากรถก่อนถึงจุดหมายปลายทาง
1,575 906 293
รถเอกชนฯ
518 914 98
ขสมก.
2552
1. ผู้ขับรถประมาท น่าหวาดเสียว 2. ไม่จอดป้ายหยุดรถโดยสารประจําทาง 3. สภาพรถไม่สมบูรณ์ (ควันดํา)
เรื่องร้องเรียน
-
-
-
51
-
231 -
567 869 103
ขสมก.
-
-
-
-
129
927 209 386
1,770 994 -
รถเอกชนฯ
2553
-
-
-
-
-
100 113 89
65 57
รถบขส.
ปี
-
-
-
-
-
2,452 -
-
แท็กซี่
-
-
-
73
-
390 39
712 943 -
ขสมก.
3. ตารางสถิติการรับเรื่องร้องเรียน จําแนกตามประเด็นเรื่องร้องเรียน และประเภทรถสาธารณะ ระหว่างปี พ.ศ.2551 - 2554
114 -
-
23 -
-
132
1,339 336 403
67 -
-
-
-
-
124 120 91
2554 รถบขส รถเอกชนฯ . 2,584 82 1,126 -
-
-
-
-
-
3,410 -
1,652 -
แท็กซี่
(จํานวน: ราย)
188
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
410 5,103
149 2,082
รถเอกชนฯ -
-
ขสมก. -
2552
2,025
204
-
ขสมก. -
2553
5,271
856
-
รถเอกชนฯ -
ที่มา: ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ กรมการขนส่งทางบก สถิติการรับเรื่องร้องเรียนผ่านศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ โทร.1584. http://apps.dlt.go.th/statistics_web/1584.html
22. ไม่ส่งผู้โดยสารตามที่ตกลง 23. พาผู้โดยสารไปตามเส้นทางที่อ้อมเกินควร 24. อื่น ๆ (ไม่ลดราคา, ทําร้ายร่างกาย, นอกเส้นทาง,จอดขวาง, ไม่ทอนค่า โดยสาร, ไม่รับเหรียญ 50 สตางค์) รวม
17. ผิดเงื่อนไขเวลาการเดินรถ 18. ปริมาณรถไม่เพียงพอ 19. พนักงานขับรถแต่งกายไม่สุภาพ 20. ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร 21. มาตรค่าโดยสารผิดปกติ
เรื่องร้องเรียน
744
320
-
รถบขส. -
ปี
12,546
2,171
1,783 1,233
แท็กซี่ 3,027 1,880
2551
394
-
ขสมก. -
7,993
1,936
-
รถเอกชนฯ -
1,036
552
-
รถบขส. -
2554
17,467
3,818
2,161 1,427
แท็กซี่ 4,999 -
189
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
45
34
13
7
2550
2551
2552**
2553***
23
17
157
128
31
ขายตรงแอบแฝง
6
0
112
21
11
FOREX
0
0
2
0
1
SET INDEX
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินฯ
0
0
24
3
1
COMMODITY
2
0
2
4
-
TIME SHARING
หมายเหตุ **ข้อมูลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 51 – 31 มีนาคม 52 ***ข้อมูลตั้งแต่ 1 ตุลาคม 52 – 30 มิถุนายน 53 ที่มา: กลุ่มป้องปรามการเงินนอกระบบ สํานักงานปลัดกระทรวงการคลัง สถิติการรับเรื่องร้องเรียน http://www.1359.in.th/fincrime2004/index.php?option=com_content&task=view&id=21905&Itemid=114
21
แชร์ลูกโซ่
2549
ปี
4. ตารางสถิติการรับเรื่องร้องเรียนระหว่าง ปี พ.ศ.2549-2553 จําแนกตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และประเด็นปัญหา
23
3
31
1
4
อื่นๆ
5
7
18
14
17
พ.ร.บ.แชร์
216 380 40
-
311
86
-
245
รวม
หนี้นอกระบบ
(จํานวน : ครั้ง)
5. ตารางสถิติ การให้ คํา ปรึ กษา และรับ เรื่องราวร้องทุกข์ ผ่ า นคลินิ กยุติธ รรมทั่ว ประเทศ จํา แนกราย ปีงบประมาณ 2546-2554 ผู้รับคําปรึกษา
ปี 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554
เรื่อง 5,087 20,000 36,765 32,602
ราย -
20,608
22,248
ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ เรื่อง ราย 1,868 138 1,812 863 1,574 818 1,285
เรื่อง 1,868 5,225 21,812 37,628 33,420
ราย 1,574 1,285
2,697
23,305
25,644
3,396
รวม
หมายเหตุ:บางเรื่องมีผู้รับคําปรึกษา หรือผู้ร้องทุกข์มากกว่า 1 ราย ที่มา: กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สถิติและกิจกรรมที่สําคัญ รายงานประจําปี พ.ศ.2546 - 2554 http://www.rlpd.moj.go.th/rlpdnew/ index.php/2012-06-25-05-20-17/230-2012-07-18-08-53-05
6. ตารางสถิติข้อมูลที่ประชาชนโทรศัพท์ผ่านศูนย์ กทม.1555 ระหว่างปี พ.ศ.2548 - 2554 (จํานวน : เรื่อง) ปี
ปริมาณสาย
เรื่องร้องทุกข์
ไม่ใช่เรื่องร้องทุกข์
2548 2549 2550 2551
166,100 338,445 231,336 181,563
41,568 39,848 38,745 36,704
124,532 298,597 192,591 144,859
2552 2553 2554 รวม
208,588 330,081 259,008 1,715,121
38,309 39,117 42,332 276,623
170,279 290,964 216,676 1,438,498
ที่มา: ศูนย์ กทม. 1555 ข้อมูลสถิติการดําเนินงาน http://203.155.220.105/rongtook/html/stat_1555.html
190
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
7. ตารางสถิติเชิงเปรียบเทียบข้อมูลการร้องเรียน 8 ประเภทหลัก จําแนกตามปีงบประมาณ พ.ศ.25512555
2551
2552
ปีงบประมาณ 2553 2554
1. บริการ (ยอดรวม) - ฟิตเนส - โทรศัพท์ - Internet
665 159 120 41
1,665 233 343 130
1,935 408 319 211
2,118 434 279 181
2,792 753 471 246
2556** 721 295 72 42
- ผู้ประกอบการทั่วไป - ประกันภัย - อู่ซ่อมรถ - เนอร์สซิ่งโฮม
36 33 30 30
107 95 91 46
98 73 94 73
93 99 92 155
93 157 127 140
12 25 14 17
- ศูนย์บริการ - โรงพยาบาล/คลีนิค - ปั๊มน้ํามัน/LPG/NGV
29 28 21
101 50 22
256 67 17
146 99 39
127 127 33
47 24 4
- ประกันชีวิต - สุขภาพ/ออกกําลังกาย - ห้างสรรพสินค้า - ร้านอาหาร
18 17 14 13
96 111 35 30
49 45 24 31
58 64 59 43
65 62 35 63
15 91 5 12
- ไฟฟ้า - ร้านจําหน่าย/ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า - บริการจัดหางาน
10 7 7
30 6 2
31 9 7
42 4 6
67 8 7
- ร้านสตูดิโอ - สปา
6 5
8 7
7 26
12 22
11 29
- ร้านเสริมสวย - ไปรษณีย์
4 4
13 11
4 7
11 28
20 19
7 4 1 2 6 3
- ร้านแก๊สหุงต้ม - รถเช่า - ประปา - กําจัดปลวก - ร้านสะดวกซื้อ
4 4 3 3 3
9 1 13 13 11
2 4 15 11 2
5 3 34 17 7
3 2 38 9 8
ประเภท
191
2555
4 1 6 1
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ประเภท
ปีงบประมาณ 2553 2554 2 8 13 12
2551 3 2
2552 1 17
- ที่จอดรถ - สนามกอล์ฟ - อุปกรณ์ไฟฟ้า - ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้า
2 2 2 1
11 2 1 12
10 0 1 11
9 5 4 13
13 2 1 16
2
- Internet cafe - ร้านถ่ายเอกสาร - ร้านขายสัตว์เลีย้ ง - ร้านซ่อมเครื่องประดับ
1 1 1 1
4 3 0 0
7 0 1 0
4 1 1 0
5 2 0 0
1
- โรงพิมพ์ - โรงรับจํานํา - บริการขนส่ง 2. อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย(ยอดรวม) - บ้านจัดสรร
0 0 0 658 337
0 0 0 1,601 591
0 0 0 1,791 705
1 4 24 2,020 744
0 3 21 1,952 586
284 74
- อาคารชุด - อพาร์ทเมนต์/หอพัก/ห้องเช่า - เช่าพื้นที/่ เช่าช่วง - ที่ดิน
185 68 30 26
617 130 129 59
627 143 109 88
641 208 169 57
615 223 262 42
102 34 30 6
- ทาวน์เฮ้าส์/อาคารพาณิชย์ - ว่าจ้างก่อสร้าง 3. สินค้าอุปโภคบริโภค(ยอดรวม) - สินค้าและบริการ (ไม่ระบุ) - เครื่องมือด้านการเกษตร - สินค้าบริโภค - เครื่องใช้ไฟฟ้า
12 0 587 198 121 63 44
42 33 1,121 357 15 264 114
40 79 1,554 785 17 139 153
78 123 1,998 975 13 197 147
118 106 1,927 1,014 15 171 171
21 17 313 179 5 27
- อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ - เครื่องมือสื่อสาร
36 34
67 85
82 173
118 279
84 159
- ร้านถ่ายรูป - ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์
192
2555 2 7
2556** 1 4
3
20 16 26
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ประเภท
ปีงบประมาณ 2553 2554 50 59 36 56
2551 16 15
2552 37 49
- อุปกรณ์ไฟฟ้า - วัตถุมงคล - บัตรเติมเงิน - เครื่องสําอาง/เวชสําอาง
13 10 8 7
19 2 2 14
20 3 8 28
21 1 9 32
25 1 5 51
- เครื่องใช้สํานักงาน - วัสดุก่อสร้าง - เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม - หนังสือ/นิตยสาร
5 5 5 4
29 26 16 15
24 9 10 5
14 25 32 10
4 33 51 4
1 4 8 1
- เวชภัณฑ์ยา 4. ยานพาหนะ(ยอดรวม) - รถยนต์
3 416 353
10 1,115 977
12 1,019 886
10 1,300 1,074
10 1,456 1,086
4 261 202
- รถจักรยานยนต์ - รถทัวร์ - รถรับจ้างสาธารณะ (Taxi) - รถรับจ้างสาธารณะ (อื่นๆ)
35 6 6 5
78 14 13 11
70 15 13 12
90 22 42 26
95 29 37 42
8
- รถบรรทุก - รถ บขส. - รถตู้ร่วมบริการ - เรือโดยสาร
4 4 3 0
8 2 3 4
6 1 4 1
13 5 8 2
7 4 17 0
2
- รถ ขสมก. - รถร่วมบริการ
0 0
5 0
8 3
7 3
6 4
- รถยนต์มอื สอง - รถจักรยาน
0 0
0 0
0 0
7 1
128 1
- เครื่องประดับ - เฟอร์นิเจอร์
193
2555 59 70
2556** 7 6 4 1 2 2
1 1
2 1 1 43
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
2551
2552
ปีงบประมาณ 2553 2554
221
531
540
626
622
106
94 70 40 13
228 159 105 17
232 140 116 34
245 193 153 14
204 194 197 12
37 29 33 2
- บริษัทไฟแนนซ์ - หุ้น - ตราสารหนี้ 6. การท่องเทีย่ ว/การเดินทาง(ยอดรวม) - ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว - สายการบิน
3 1 0 126 69 41
14 7 1 265 98 100
11 7 0 291 165 97
19 2 0 416 154 143
8 7 0 409 136 166
5
- โรงแรม - ตัวแทนจําหน่าย - รีสอร์ท
11 4 1
30 21 16
15 5 9
50 36 33
32 30 45
7. สถานศึกษา(ยอดรวม)
25
57
52
48
42
- สถาบัน - โรงเรียน - การศึกษานอกโรงเรียน - มหาวิทยาลัย
22 1 1 1
47 6 2 1
37 9 0 5
31 12 1 4
26 14 0 2
0 0 10 5 4 1 2,708
1 0 13 5 6 2 6,368
0 1 22 12 8 2 7,204
0 0 20 5 12 3 8,547
0 0 19 5 14 0 9,221
ประเภท 5. ธนาคาร/สถาบันการเงิน/เงินทุนหลักทรัพย์ (ยอดรวม) - บัตรเครดิต - สินเชื่อ - ธนาคาร - เช่าซื้อ
- วิทยาลัย - เนอร์สเซอรี่ 8. สิ่งแวดล้อม (ยอดรวม) - มลภาวะทางอากาศ - มลภาวะทางเสียง - มลภาวะทางน้ํา รวม
2555
2556**
97 35 45 6 5 6 2 1 1
1 1 1,785
** ข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2555 - มกราคม 2556 ที่มา : ระบบคุ้มครองผู้บริโภคแบบเบ็ดเสร็จ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2556
:
194
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ภาคผนวก ง แผนแม่บท และ แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
195
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท และแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานในประเทศ และต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง ผู้บริโภคที่รวบรวมไว้ เป็นเครื่องมือหนึ่งของผู้วิจัยที่ใช้รวบรวม วิเคราะห์ และจัดทําร่างแผนแม่บทการคุ้มครอง ผู้บ ริ โ ภคแห่งชาติ เพื่อให้แผนแม่บ ทการคุ้มครองผู้บ ริ โภคแห่งชาติ มีความคลอบคลุมกับ แผนแม่บ ท และแผน ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ทั้งนี้ การวิเ คราะห์แผนแม่ บ ท และแผนยุ ทธศาสตร์ของหน่ ว ยงานต่า งๆ พบว่ า แผนแม่บ ท และแผน ยุทธศาสตร์ของหน่ว ยงานต่า ง ๆ ช่ว ยให้รับทราบแนวคิด และสาระสํา คัญ ในการคุ้มครองผู้บริ โภคในมิติต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น ทั้งทางด้านความเป็นธรรมในสังคม, การสนับสนุนนโยบายทางเศรษฐกิจและการแข่งขันทางการค้า, การ พัฒนาและปรับปรุงกลไก มาตรการ และกฎหมาย, การบริหารงาน และการบูรณาการการดําเนินงานของหน่วยงาน ที่เ กี่ยวข้อง, การพัฒนาความรู้ ทักษะ และศักยภาพของประชาชน, การป้องกัน แก้ ไข สนับ สนุน และส่งเสริม คุณภาพชีวิตของประชาชน ตลอดจนแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ แผนแม่บท และแผนยุทธศาสตร์ของ หน่วยงานต่าง ๆ ยังสามารถเชื่อมโยงและพัฒนาเป็นมาตรการในการวางแผน และดําเนินการป้องกัน และแก้ไข ปัญหาของประชาชนในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ ประเด็นด้านการเงินและธนาคาร, ด้านการบริการสาธารณะ, ด้านที่อยู่อาศัย และอสังหาริมทรัพย์, ด้านการบริการสุขภาพ และผลิตภัณฑ์สุขภาพ, ด้าน สื่อสารและโทรคมนาคม ตลอดจนด้านสินค้าและบริการทั่วไป
196
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์ 1. แผนพัฒนา เศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559 (สํานักงาน คณะกรรมการ พัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม แห่งชาติ)
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
วิสัยทัศน์ สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วย ความเสมอภาค เป็นธรรม และมี ภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง พันธกิจ 1) สร้างสังคมเป็นธรรมและเป็นสังคมที่ มีคุณภาพ ทุกคนมีความมั่นคงในชีวิต ได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม มีโอกาสเข้าถึง ทรัพยากร และกระบวนการยุตธิ รรม อย่างเสมอภาค ทุกภาคส่วนได้รับการ เสริมพลังให้สามารถมีส่วนร่วมใน กระบวนการพัฒนา ภายใต้ระบบบริหาร จัดการภาครัฐที่โปร่งใส เป็นธรรม 2) พัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีคุณธรรม เรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะและการ ดํารงชีวิตอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย สถาบันทางสังคมและชุมชนท้องถิ่นมี ความเข้มแข็ง สามารถปรับตัวรู้เท่าทัน กับการเปลี่ยนแปลง 3) พัฒนาฐานการผลิตและบริการให้ เข้มแข็งและมีคุณภาพบนฐานความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และภูมิปัญญา สร้าง ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ปรับโครงสร้างการผลิตและการบริโภค ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมสร้าง ความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพือ่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม 4) สร้างความมั่นคงของฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การ สร้างความเป็นธรรม ในสังคม
แนวทางการพัฒนา 1) การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมให้ ทุกคนในสังคมไทย และเสริมสร้างขีด ความสามารถในการจัดการความเสี่ยงและสร้าง โอกาสในชีวิตให้แก่ตนเอง 2) การจัดบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิขั้น พื้นฐาน และเน้นการสร้างภูมิคุ้มกันระดับปัจเจก และสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจใน การพัฒนาประเทศ 3) การเสริมสร้างพลังให้ทุกภาคส่วนสามารถเพิ่ม ทางเลือกการดําเนินชีวิตในสังคม และสร้างการมี ส่วนร่วมในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองได้ อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี 4) การเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคนในสังคมให้มี คุณค่าร่วม และตระหนักถึงผลประโยชน์ของสังคม และเสริมสร้างการบริหารราชการแผ่นดินที่มี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และมีระบบการตรวจสอบ และการรับผิดชอบที่รัดกุม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การ พัฒนาคนสู่สังคม แห่งการเรียนรู้ตลอด ชีวิตอย่างยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา 1) การปรับโครงสร้างและการกระจายตัว ประชากรให้เหมาะสม 2) การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการ เปลี่ยนแปลง 3) การส่งเสริมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอย่าง เป็นองค์รวม 4) การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 5) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทาง สังคม
ยุทธศาสตร์ท3ี่ ความเข้มแข็งภาค เกษตร ความมั่นคง ของอาหารและ พลังงาน
แนวทางการพัฒนา 1) การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการ ผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน 2) การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิต ภาคเกษตร 3) การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอด ห่วงโซ่การผลิต
197
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย เป้าหมายหลัก 1) ความอยู่เย็นเป็นสุขและความสงบ สุขของสังคมไทยเพิ่มขึ้น ความเหลื่อม ล้ําในสังคมลดลง สัดส่วนผู้อยู่ใต้เส้น ความยากจนลดลง และดัชนี ภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นไม่ต่ํากว่า 5.0 คะแนน 2) คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มี สุขภาวะดีขึ้น มีคุณธรรม จริยธรรม และสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็ง มากขึ้น 3) เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสม ตามศักยภาพของประเทศ โดยให้ ความสําคัญกับการเพิ่มผลิตภาพรวมไม่ ต่ํากว่าร้อยละ 3.0 ต่อปี เพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันทาง เศรษฐกิจของประเทศ เพิ่มมูลค่า ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศให้มีสัดส่วนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 40.0 4) คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการลดการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเพิ่ม พื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสมดุลของระบบ นิเวศ
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 4) การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่ เกษตรกร 5) การสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และพัฒนา พลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชน 6) การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพเพือ่ สนับสนุนการพัฒนาประเทศ และความเข้มแข็ง ภาคเกษตร 7) การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อ เสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การ ปรับโครงสร้าง เศรษฐกิจสู่การเติบโต อย่างมีคุณภาพและ ยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา 1) การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่มี คุณภาพและยั่งยืน 2) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และ นวัตกรรม 3) การพัฒนาความสามารถในการแข่งขันที่มี ประสิทธิภาพ เท่าเทียม และเป็นธรรม 4) การบริหารจัดการเศรษฐกิจส่วนรวมอย่างมี เสถียรภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การ สร้างความเชื่อมโยง กับประเทศใน ภูมิภาคเพื่อความ มั่นคงทางเศรษฐกิจ และสังคม
แนวทางการพัฒนา 1) การพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและ ระบบโลจิสติกส์ ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุ ภูมิภาคในภูมภิ าคอาเซียน 2) การพัฒนาฐานลงทุนโดยเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันในระดับอนุภูมภิ าคและภูมิภาค อาเซียน 3) การสร้างความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคม อาเซียน 4) การเข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือระหว่าง ประเทศ ระหว่างภูมิภาคโดยมีบทบาททีส่ ร้างสรรค์ เพื่อเป็นทางเลือกในการดําเนินนโยบายระหว่าง ประเทศในเวทีโลก 5) การสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจใน ภูมิภาคด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การ เคลื่อนย้ายแรงงาน และการส่งเสริมแรงงานไทยใน ต่างประเทศ
198
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การ จัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่าง ยั่งยืน
199
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 6) การมีส่วนร่วมอย่างสําคัญในการป้องกันภัยจาก การก่อการร้ายและอาชญากรรม ยาเสพติด ภัยพิบัติ และการแพร่ระบาดของโรคภัย 7) การเสริมสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างประเทศ ใน การสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมี จริยธรรม และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 8) การผลักดันการจัดทําความตกลงการค้าเสรี และ วางแนวทางป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้น 9) การส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติใช้ประเทศไทย เป็นฐานธุรกิจในภูมภิ าคเอเชีย และการสนับสนุน บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศที่ไม่แสวงหากําไร 10) การปรับปรุงและเสริมสร้างความเข้มแข็งของ ภาคีการพัฒนาภายในประเทศ ตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น แนวทางการพัฒนา 1) การอนุรักษ์ฟื้นฟู และสร้างความมั่นคงของฐาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) การปรับกระบวนทัศน์การพัฒนา และขับเคลื่อน ประเทศเพื่อเตรียมพร้อมไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและ สังคมคาร์บอนต่ํา และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3) การยกระดับขีดความสามารถในการรับมือ และ ปรับตัวต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ เพื่อให้ สังคมมีภูมิคุ้มกัน 4) การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยพิบัติทาง ธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง 5) การสร้างภูมิคุ้มกันด้านการค้าจากเงือ่ นไขด้าน สิ่งแวดล้อม และวิกฤตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ 6) การเพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีประชาคมโลก ที่เกี่ยวข้องกับกรอบความตกลงและพันธกรณีด้าน สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ 7) การควบคุมและลดมลพิษ 8) การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรมอย่างบูรณาการ
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์ 2. แผนการบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ.2555-2558
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
วิสัยทัศน์ 1) เพื่อนําประเทศไทยไปสู่โครงสร้าง เศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของ เศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งจะ เป็นพื้นฐานที่สําคัญของการสร้างการ เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน การ พัฒนาคุณภาพและสุขภาพคนไทยใน ทุกช่วงวัย ถือเป็นปัจจัยชีข้ าด ความสามารถในการอยู่รอดและแข่งขัน ได้ของเศรษฐกิจไทย 2) เพื่อนําประเทศไทยสู่สังคมที่มีความ ปรองดองสมานฉันท์และอยู่บนพื้นฐาน ของหลักนิติธรรมที่เป็นมาตรฐานสากล เดียวกัน และมีหลักปฏิบัติที่เท่าเทียม กันต่อประชาชนคนไทยทุกคน 3) เพื่อนําประเทศไทยไปสู่การเป็น ประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่าง สมบูรณ์โดยสร้างความพร้อม และ ความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และการเมืองและ ความมั่นคง
นโยบายที่เกี่ยวข้อง กับการคุ้มครอง ผู้บริโภค นโยบายด้าน เศรษฐกิจและการ แข่งขันทางการค้า
กลยุทธ์ ภาคเกษตร 1) สนับสนุนการดําเนินงานของสภาเกษตรกรใน การกําหนดนโยบายที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาด้าน การเกษตรสู่สภาเกษตรกรแห่งชาติที่เอือ้ อํานวยต่อ การผลิตการตลาดให้สามารถนําไปจัดทํา แผนปฏิบัติการในระดับชุมชนเพื่อให้เกษตรกร นําไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม 2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ผสมผสานกับภูมิ ปัญญาท้องถิ่นผ่านหน่วยงานของรัฐและเอกชน ให้กับเกษตรกรรวมทั้งพัฒนาและเสริมสร้างองค์ ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทางการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าไปเผยแพร่องค์ความรู้และเสริมสร้างความ เข้าใจที่ถูกต้องรวมถึงให้คําปรึกษาและ ข้อเสนอแนะเกีย่ วกับการใช้ปยุ๋ เคมีและผลักดันการ กํากับดูแลและควบคุมการใช้สารเคมีทาง การเกษตรอย่างจริงจังและสารเคมีทางการเกษตร ที่ถูกต้องและเหมาะสมในแต่ละสินค้าเกษตรให้กับ เกษตรกรทุกพื้นที่เพื่อไม่ก่อให้เกิดสารเคมีตกค้าง ในดินและน้ํารวมทั้งสนับสนุนการผลิตปุย๋ หมักปุย๋ น้ําชีวภาพและปุ๋ยพืชสด 4) ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรกรณีที่ปุ๋ยเคมี ปรับราคาสูงขึ้น 5) สนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิต 6) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าปศุ สัตว์รวมถึงสัตว์เลี้ยงให้สามารถแข่งขันได้ สอดคล้องตามความต้องการและกลไกตลาด รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรใน เรื่องเงินทุนอาหารสัตว์พันธุ์สัตว์ความรูแ้ ละ เทคโนโลยีการจัดการฟาร์มและการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้มีความสามารถเพิ่มผลผลิตลดต้นทุนและ สร้างมูลค่าเพิ่ม
200
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 7) พัฒนาระบบการตรวจสอบรับรองคุณภาพ สินค้าปศุสัตว์และกระบวนการผลิตให้มีคุณภาค ปลอดภัยต่อผูบ้ ริโภคและดําเนินการควบคุม ป้องกันและบําบัดโรคสัตว์ให้มีประสิทธิภาพและ สนับสนุนอํานวยความสะดวกในการดําเนินการ ขยายตลาดสินค้าปศุสัตว์ทั้งภายในประเทศและ ส่งออกรวมทั้งส่งเสริมการทําปศุสัตว์อินทรีย์ตาม แนวเกษตรกรรมยั่งยืน 8) ส่งเสริมและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา เศรษฐกิจและเสริมสร้างความสามารถในการ ปรับตัวของผู้ประกอบการประมงในทุกระดับให้ พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาวะโลกร้อน กฎระเบียบข้อกําหนดต่างๆทั้งภายในและระหว่าง ประเทศเกี่ยวกับการป้องกันและยับยั้งและขจัด การทําประมงที่ผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้ การควบคุม (IUU Fishing: Illegal Unreportedand Unregulated Fishing) ให้สามารถทํา ประมงอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อรักษาสมดุลของ การผลิตและการใช้ทรัพยากรประมง อย่างยั่งยืน 9) พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรโดย ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการผลิตให้มี ประสิทธิภาพทุกขั้นตอนโดยผลักดันการดําเนินงาน ยุทธศาสตร์รายสินค้าไปสู่การปฏิบัติโดยใช้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมผสมผสานกับภูมิปัญญา ท้องถิ่นรวมทั้งปัจจัยต่างๆเพื่อการผลิตที่เหมาะสม และตามความสามารถของเกษตรกร 10) สนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรด้านการตลาด 11) สร้างเสถียรภาพรายได้ให้กับเกษตรกรโดยการ ลดความเสี่ยงด้านราคาและผลผลิตสินค้าเกษตร ให้กับครัวเรือนเกษตรกรอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง 12) จัดทําทะเบียนเกษตรกรและเร่งสํารวจรายได้ที่ แน่นอนของเกษตรกรเพื่อให้ความช่วยเหลือกับ เกษตรกรเป็นไปอย่างเหมาะสมและสร้าง ฐานข้อมูลกับชุมชนด้านการเกษตรเพื่อสร้าง เครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชน
201
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 13) ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เข้าสู่ ภาคเกษตรเพื่อปลูกฝังและสร้างแรงจูงใจให้ เยาวชนรักภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรมและเป็นการ ขับเคลื่อนภาคการเกษตรในอนาคต 14) สนับสนุนการดําเนินงานของสถาบันเกษตรกร และองค์กรเกษตรกรโดยสนับสนุนการรวมกลุ่มใน ระบบสหกรณ์วิสาหกิจหรือวิสาหกิจชุมชนกลุ่ม เกษตรกรรูปแบบต่างๆมีส่วนร่วมและการบูรณา การทํางานของทุกภาคส่วนเพือ่ สร้างความมั่นคง ด้านอาหารและพลังงานทั้งในระดับครัวเรือนชุมชน และระดับประเทศอย่างเป็นระบบรวมถึงมุ่งเน้น เป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตรต่อ ผลผลิตมวลรวมของประเทศอย่างต่อเนือ่ งรวมทั้ง สามารถเชื่อมโยงกับกลไกการบริหารจัดการภาครัฐ และองค์กรเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 15) ส่งเสริมและพัฒนาระบบการรวมกลุ่ม เกษตรกรสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนเพือ่ ให้มีขีด ความสามารถในการดําเนินธุรกิจการบริหารจัดการ และเป็นที่พึ่งของสมาชิก 16) ส่งเสริมพัฒนาตลาดระบบตลาดและช่องทาง การจําหน่ายให้มีประสิทธิภาพ 17) สร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาคและ ระหว่างประเทศด้วยการส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือทาง เหลี่ยมเศรษฐกิจต่างๆในภูมิภาคอาเซียนกลุ่ม ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC: ASEAN Economic Community) และกลุ่มอาเซียนบวกสาม (จีนญี่ปุ่นเกาหลี) โดยเฉพาะกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการผลิตการตลาดการวิจยั พัฒนาสินค้าเกษตรที่ เป็นที่ต้องการของตลาดและบริหารจัดการ ทรัพยากรที่มแี นวโน้มได้รับผลกระทบจากสภาพ ภูมิอากาศโลกที่เปลีย่ นแปลงทั้งในระดับพหุภาคี และทวิภาคี 18) ยกระดับคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้า และบริการของไทยสู่ตลาดระดับบน 19) ส่งเสริม/สนับสนุนช่องทางตลาดที่ใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่
202
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 20) 7 7 % ! 28 7 (+$# ' ( $ 9 2 * (' ': ' (! 0 ." ,
21) # &+ 2 < 2 % 2 * 2 =2> &+ # $ 2 2 .* ( 2 0 + ' 0 28 7 ! &+ 2 + 7 ? . # + ( # *$ * ( + ' &0 ! , & $ % * ( ') " $ 9 ' ' + 7 * ( (7 @% &+ $ ') * ( $ * (8 < 0 $ " 2 7 22) # $ 7 23) " % 7 #$ 0 % < &+ 2 0# < 2 ' %0 + * ( %0 * 24) 7 + * ( 0 + ( 7 ! * $ ( 0 < 25) # " % C 2 % 8 2 &+ " *"D * ( % 26) $ " *"D 2 กลยุทธ์ ภาคอุตสาหกรรม 1) ผลักดันการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันผู้ประกอบการและ พัฒนาอุตสาหกรรมครบวงจรโดยเน้นการ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยี 2) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหาร จัดการอุตสาหกรรมโดยเฉพาะระบบโลจิสติกส์ อุตสาหกรรม และโซ่อุปทานรวมทั้งส่งเสริมการใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม 3) ยกระดับการผลิตและการบริหารจัดการโดย พัฒนาทักษะและองค์ความรู้ให้แก่แรงงานและ ผู้ประกอบการโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม
203
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 4) สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ สร้างสรรค์โดยการบ่มเพาะธุรกิจและกําลังคนที่จะ เป็นฐานสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์พร้อมกับการ รณรงค์สร้างความเข้าใจสร้างแรงบันดาลใจให้ ผู้ประกอบการสมัยใหม่สร้างมูลค่าเพิ่มจาก ความคิดสร้างสรรค์ 5) สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาและปรับ โครงสร้างอุตสาหกรรมและ SMEs อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 6) พัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนอุตสาหกรรมแปร รูปเกษตรและอุตสาหกรรมพื้นฐานที่สําคัญเพื่อ พัฒนาอุตสาหกรรมครบวงจร 7) ผลักดันการสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แปรรูปเกษตรโดยให้ความสําคัญอุตสาหกรรมเชิง สร้างสรรค์ 8) ยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาค การผลิตโดยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรวมกลุ่ม และทําการผลิตร่วมกันตั้งแต่ระดับต้นน้าํ จนถึง ปลายน้ําเพือ่ ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการ ดําเนินงาน 9) เสริมสภาพคล่องเพื่อเพิ่มความสามารถในการ แข่งขันโดยสนับสนุนด้านสินเชื่อและพัฒนา ผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ๆให้แก่ผู้ประกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 10) ยกระดับการกําหนดมาตรฐานสินค้า อุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพสินค้าคุ้มครองและพิทักษ์ความเป็นธรรมแก่ผบู้ ริโภค 11) สนับสนุนและดําเนินการจัดพื้นที่อตุ สาหกรรม (Zoning) อย่างเหมาะสม 12) ส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 13) พัฒนากลไกที่มีประสิทธิภาพในการกํากับดูแล คุณภาพสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมสนับสนุนการมี ส่วนร่วมและสร้างความรู้ความเข้าใจทีถ่ กู ต้อง เกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรมให้แก่ชุมชน 14) แก้ไขปัญหามลพิษและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ในพื้นที่มาบตาพุดและบริเวณใกล้เคียงจังหวัด ระยองอย่างยั่งยืน 15) สนับสนุนและผลักดันการพัฒนาและปรับ โครงสร้างทางภาษีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อ เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
204
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 16) พัฒนากลไกที่มีประสิทธิภาพในการกํากับดูแล เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม 17) สนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ และทรัพยากรธรรมชาติโดยการเชื่อมโยงกับภาค การเกษตร กลยุทธ์ การตลาด การค้า และการลงทุน 1) คุ้มครองส่งเสริมและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน ทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ 2) พัฒนาระบบการค้าภายในประเทศให้เกิดการ แข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม 3) มีการวางนโยบายและยุทธศาสตร์การคุ้มครอง ผู้บริโภคในระยะยาวและกําหนดเป้าประสงค์ที่ ต้องการบรรลุไว้เพื่อวัดความก้าวหน้าและ ผลสัมฤทธิ์ 4) สนับสนุนการจัดตั้งและพัฒนาเครือข่ายด้าน การคุ้มครองผู้บริโภค 5) ส่งเสริมให้มีการพัฒนารูปแบบการดําเนินงาน ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการติดตาม ประเมินผลการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค 6) มีการกําหนด/ทบทวน/แก้ไข/ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง ผู้บริโภค 7) ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ 8) ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้เป็นผู้บริโภคที่เข้มแข็งรวมถึงการพัฒนา ศักยภาพโดยการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน 9) ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการองค์ความรู้ และศึกษาวิจัยด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่ หลากหลาย 10) ผลักดันความร่วมมือการดําเนินงานด้านการ คุ้มครองผู้บริโภคภายในกรอบอาเซียน 11) มีการพัฒนาคุณภาพกลไกการรับฟังความ คิดเห็นและการบริการเพือ่ เพิ่มความพึงพอใจของ ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 12) มีการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหาร จัดการ 13) ส่งเสริมการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้มี ความรู้
205
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 14) เจรจาเพื่อเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศรวมทั้งรักษาและปกป้อง ผลประโยชน์ของไทย- ยกระดับคุณภาพการ บริหารจัดการและมาตรฐานธุรกิจในระดับสากล ตลอดจนการส่งเสริมศักยภาพธุรกิจโอกาสทาง การตลาดให้กับผู้ประกอบการ 15) เพิ่มความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจและ ลดอุปสรรคทางการค้าภายในประเทศ 16) ส่งเสริมการส่งออกและการดําเนินธุรกิจของ ผู้ประกอบการไทยในต่างประเทศ 17) ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ เพื่อการพัฒนาทีย่ ั่งยืน 18) ลดต้นทุนทางการเงินค่าธรรมเนียมในการออก หนังสือค้ําประกันที่ใช้ตั้งแต่เริ่มประมูลงาน จนกระทั่งการเข้าไปดําเนินงานหลังจากชนะการ ประมูล 19) กระจายตลาดส่งออกของไทยและการนําธุรกิจ ของไทยในทุกภูมิภาคของโลก 20) ยกระดับคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้า และบริการของไทยสู่ตลาดระดับบน 21) สร้างเครือข่ายธุรกิจกับต่างประเทศ 22) สนับสนุนธุรกิจและสินค้านวัตกรรมแห่ง อนาคต 23) ยกระดับคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้า และบริการของไทยสู่ตลาดระดับบน 24) ยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการและ มาตรฐานธุรกิจในระดับสากลตลอดจนการส่งเสริม ศักยภาพธุรกิจโอกาสทางการตลาดให้กบั ผู้ประกอบการ 25) สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจและ สินค้าที่มิตรต่อสิ่งแวดล้อม 26) เจรจาเพื่อเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศรวมทั้งรักษาและปกป้อง ผลประโยชน์ของไทย 27) เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ 28) ลดปัญหาอุปสรรคทางการค้าและอํานวยความ สะดวกการค้าภูมภิ าคและพื้นที่ชายแดน
206
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ กลยุทธ์ สร้างความสามัคคีและส่งเสริมความ ร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียน 1) ส่งเสริมความร่วมมือและการรวมตัวกันของ อาเซียนทั้งในด้านความร่วมมือเชิงวิชาการการ สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายความร่วมมือการจัด กิจกรรม/การเป็นเจ้าภาพการประชุมในสาขาต่างๆ รวมถึงการหารือในระดับสูง 2) ส่งเสริมการทํางานร่วมกันที่สอดคล้องและไม่ ซ้ําซ้อนระหว่างกลไกความร่วมมือในกรอบอาเซียน กรอบอนุภูมภิ าคต่างๆและกรอบความร่วมมือกับ ประเทศนอกภูมิภาค 3) ใช้คณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติเพือ่ ส่งเสริม การดําเนินงานตามแผนงานการจัดตั้งประชาคม อาเซียน 4) เพิ่มแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานภายในและระหว่างอาเซียน 5) ผลักดันความร่วมมือการดําเนินงานด้านการ คุ้มครองผู้บริโภคภายในกรอบอาเซียน 6) พัฒนาบุคลากรและเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านท่องเที่ยวอุตสาหกรรม การเปิดตลาดการค้าและด้านพลังงาน
207
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
นโยบายทีเ่ กี่ยวข้อง กับการคุ้มครอง ผู้บริโภค นโยบาย พัฒนาสุขภาพของ ประชาชน
กลยุทธ์ 1) พัฒนาระบบบริการสุขภาพ คุณภาพการ ให้บริการ ศักยภาพของสถานพยาบาล และ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการจัดบริการทุกระดับ 2) พัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพ และระบบ สารสนเทศสาธารณสุขให้มีความเชื่อมโยงระหว่าง ระบบหลักประกันสุขภาพในแต่ละระดับบริการ 3) เพิ่มการผลิตและพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากร ทางการแพทย์และสาธารณสุขให้มกี ารกระจาย เพียงพอ และสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ในแต่ละภูมิภาค 4) ปรับปรุงระบบบริหารจัดการ ระบบการพัฒนา บุคลากร และการสร้างระบบส่งเสริม ความก้าวหน้าในอาชีพ เพื่อสร้างขวัญกําลังใจ บุคลากรทางด้านสาธารณสุข 5) พัฒนานโยบายสาธารณะ สิ่งแวดล้อม และ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ 6) พัฒนาระบบและกลไกการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามต่อสุขภาพ และระบบเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข 7) เสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะในการ ดําเนินชีวิต และการสร้างเสริมสุขภาพทีจ่ ะนําไปสู่ การดูแลตนเองด้านสุขภาพ 8) เสริมสร้างความเข้มแข็งและกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่ผู้บริโภค รวมทั้งสนับสนุนให้มีกลไกการ คุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน 9) พัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัคร สาธารณสุข (อสม.) ในการดําเนินกิจกรรมด้าน สุขภาพ และสร้างเสริมเครือข่ายในการพัฒนาและ แก้ไขปัญหาสาธารณสุขชุมชน 10) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยพัฒนา สุขภาพอนามัย พัฒนาเครือข่ายสถานบริการ ระบบบริการ ระบบการฟื้นฟูสุขภาพ โดยเฉพาะใน กลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และคนพิการ
208
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 11) พัฒนาระบบการจัดการความรู้ด้านสุขภาพทั้ง การสร้าง การจัดการ การสื่อสาร และการเผยแพร่ ความรู้ด้านสุขภาพที่หลากหลาย และเหมาะสมใน แต่ละกลุ่มเป้าหมาย 12) พัฒนาเครือข่ายการกีฬากิจกรรมนันทนาการ และการออกกําลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และ การมีสมรรถภาพทางกายที่ดี 13) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการกีฬาโดยการ สร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย และสร้าง ความตระหนักเพือ่ การปรับเปลีย่ นพฤติกรรม สุขภาพของประชาชน 14) พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค วัคซีน สถานประกอบการธุรกิจบริการสุขภาพ บุคลากร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ 15) พัฒนากลไกควบคุมมาตรฐานบริการ/ ผลิตภัณฑ์และส่งเสริมมาตรฐานการผลิต ผลิตภัณฑ์ และการบริการสุขภาพ
นโยบายทีเ่ กี่ยวข้อง กับการคุ้มครอง ผู้บริโภค นโยบาย ความมั่นคงของชีวิต และสังคม
209
กลยุทธ์ 1) พัฒนาศักยภาพครอบครัวให้มีความอบอุ่นและ มั่นคง โดยเพิ่มสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกใน ครอบครัว และพัฒนาความรู้แก่ครอบครัวให้รู้เท่า ทันการเปลี่ยนแปลง 2) ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัด กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างครอบครัว ของประชาชนในชุมชนท้องถิ่น 3) สนับสนุนการทํางานแบบบูรณาการของภาคี การพัฒนาทุกภาคส่วน ในการพัฒนาครอบครัว และสังคมให้มีความมั่นคงของชีวิตโดยใช้พื้นที่เป็น ฐาน 4) การสร้างหลักประกันความมั่นคงในศักดิ์ศรีแห่ง ความเป็นมนุษย์ตามหลักสิทธิมนุษยชน และ คุ้มครองประชาชนมิให้ตกเป็นเหยื่อของขบวน การค้ามนุษย์ การกระทําความรุนแรงต่อเด็กและ สตรี รวมทั้งคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอารัดเอา เปรียบ
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 5) สร้างโอกาสประชาชนที่มีฐานะยากจน มีที่อยู่ อาศัยที่มั่นคง พร้อมกับการสร้างอาชีพเพื่อให้ สามารถดํารงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรีในความเป็น มนุษย์ 6) เตรียมความพร้อมของเด็กและเยาวชนที่จะเป็น พ่อแม่อย่างมีคุณภาพ สนับสนุนการเลี้ยงดูเด็กให้มี พัฒนาการสมวัย มีความฉลาดทางปัญญาและความ ฉลาดทางอารมณ์ มีคุณธรรม มีจิตอาสา พัฒนา ทักษะและพฤติกรรมในการใช้ชีวิตในทางที่ถูกต้อง รวมทั้งเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างคนสามวัย 7) พัฒนาประสิทธิภาพของระบบการคุม้ ครองและ การพิทักษ์สิทธิเด็กและเยาวชน 8) พัฒนาศักยภาพของสตรีให้มีบทบาทในการ พัฒนาครอบครัว ชุมชน สังคม และการเมืองอย่าง เสมอภาคตามหลักสิทธิมนุษยชน และรูเ้ ท่าทันโลก ยุคใหม่ 9) ส่งเสริมให้มีสถานดูแลเด็กในที่ทํางานภาครัฐและ เอกชนจนถึงระดับชุมชน รวมทั้งเพิ่มและพัฒนา ศักยภาพของศูนย์พึ่งได้เพื่อช่วยเหลือเด็กและผู้หญิง ที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว 10) ปรับปรุงและสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งอํานวยความสะดวกที่เหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส 11) จัดบริการ ให้การสงเคราะห์ สวัสดิการ ให้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส ควบคู่กับการ พัฒนาระบบการคุ้มครองสิทธิให้ทุกคนเข้าถึงอย่าง เสมอภาค 12) ส่งเสริมการสร้างรายได้และการมีงานทําใน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส และคนพิการ 13) ส่งเสริมการเรียนรู้การเดินทางและการใช้การ ขนส่งอย่างปลอดภัย 14) น้อมนําหลักการแก้ไขปัญหาจราจรตามแนว พระราชดําริไปสู่การปฏิบัติอย่างเข้มข้นในทุกพื้นที่ ของประเทศ 15) ส่งเสริมและพัฒนาระบบขนส่งให้มีความ ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในระบบขนส่ง
210
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
นโยบายทีเ่ กี่ยวข้อง กับการคุ้มครอง ผู้บริโภค นโยบาย การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี
กลยุทธ์ ด้านกฎหมายและการยุตธิ รรม 1) เร่งรัดปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยลดความ ซ้ําซ้อน สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยหลักนิติ ธรรมและเหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง ทั้งด้านเศรษฐกิจสังคมการเมืองการปกครอง 2) พัฒนาบุคลากรที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายให้มี ความเป็นธรรมซื่อสัตย์สุจริตและตระหนักถึงสิทธิ ของประชาชนภายใต้กฎหมายต่างๆ 3) พัฒนากลไกปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมที่มีภาคี ทุกภาคส่วนร่วมดําเนินการ 4) เปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถ ร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆได้โดยสะดวกและได้รับ การช่วยเหลือเยียวยาอย่างทั่วถึง 5) จัดให้มีระบบการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับ ความเป็นธรรมคนยากจนและผู้ด้อยโอกาสให้เข้าถึง กระบวนการยุตธิ รรม 6) ส่งเสริมการให้ความรู้แก่ประชาชนในการใช้ กระบวนการยุตธิ รรมทางเลือกและยุติธรรมชุมชน 7) พัฒนาศักยภาพบุคลากรภาครัฐในการปฏิบัติ หน้าที่ให้มีความเทีย่ งตรงยึดถือความถูกต้องเป็น หลักในการปฏิบัติงานป้องกันปราบปราม อาชญากรรม 8) สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนเกิดการ ยอมรับผู้กระทําผิดให้กลับเข้าสู่สังคมได้ 9) พัฒนาศักยภาพของหน่วยงานและเสริมสร้าง ความร่วมมือจากชุมชนในการพินิจควบคุมสอดส่อง แก้ไขฟื้นฟูและสงเคราะห์เด็กและเยาวชนผู้กระทํา ผิด 10) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ให้ได้รับการบริการเกีย่ วกับการ อํานวยความยุติธรรมจากรัฐอย่างทั่วถึงและเป็น ธรรม 11) สนับสนุนหน่วยงานภาครัฐเพิ่มช่องทางรับข้อ ร้องเรียนและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้าน อาชญากรรมแก่สาธารณะให้กว้างขวางและฉับไว 12) สนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหาอาชญากรรม 13) จัดให้มีกลไกการบริหารจัดการป้องกันและ ปราบปรามอาชญากรรมแบบครบวงจรที่สอดคล้อง กับความต้องการของประชาชนในพื้นที่
211
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 14) สนับสนุนการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสารที่ทันสมัยมาใช้ในการควบคุมอาชญากรรมให้ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กลยุทธ์ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรูข้ ้อมูล ข่าวสารจากทางราชการสื่อสารมวลชนและสื่อ สาธารณะทุกประเภทได้อย่างกว้างขวางรวดเร็ว ถูกต้องเป็นธรรม 1) ส่งเสริมการนําเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมา ใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ในหน่วยงานภาครัฐอย่างกว้างขวาง 2) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารภายใน ประชาคมอาเซียนและระหว่างประชาคมอาเซียนกับ ประชาคมโลก 3) พัฒนาบุคลากรด้านสือ่ สารมวลชนให้นําเสนอ ข้อมูลข่าวสารที่ตรงกับความเป็นจริงรวดเร็วโดยยึด หลักของความเป็นกลางคํานึงถึงประโยชน์ของ ส่วนรวม 4) ปรับปรุงกฎระเบียบของภาครัฐให้เอื้อต่อการ นําเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ของสื่อต่อ สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5) ส่งเสริมให้สื่อสารมวลชนมีอิสระและเสรีภาพใน การเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างมีความรับผิดชอบต่อ สังคมและตระหนักถึงจรรยาบรรณของสื่อมวลชน
212
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์ 3. แผนยุทธศาสตร์ การจัดการสารเคมี แห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2555-2564) (คณะกรรมการ แห่งชาติวา่ ด้วย การพัฒนา ยุทธศาสตร์การ จัดการสารเคมี)
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
เป้าประสงค์ ภายในปี พ.ศ.2564 สังคมและ สิ่งแวดล้อมปลอดภัยบนพื้นฐานของ การจัดการสารเคมีที่มีประสิทธิภาพมี ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนสอดคล้องกับ การพัฒนาประเทศ วัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้การจัดการสารเคมีของ ประเทศเป็นระบบครอบคลุมทั้งวงจร ชีวิตของสารเคมี และเหมาะสมกับ บริบทการพัฒนาระดับประเทศและ ระดับสากล 2) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือจากทุก ภาคส่วนในการจัดการสารเคมีของ ประเทศ 3) เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและ สิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากสารเคมีให้ เหลือน้อยที่สุด เป้าหมาย 1) มีกลไกและระบบบริหารจัดการ สารเคมีของประเทศที่คุ้มครองสุขภาพ และความปลอดภัยของประชาชนและ สิ่งแวดล้อม 2) ทุกภาคส่วนมีศักยภาพในการ ป้องกันและควบคุมผลกระทบต่อ สุขภาพและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจาก สารเคมี 3) มีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการจัดการ สารเคมีของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาฐานข้อมูล กลไกและเครื่องมือ ในการจัดการสารเคมี อย่างเป็นระบบครบ วงจร
กลวิธีที่ 1 พัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง 1) พัฒนาฐานข้อมูลสารเคมีของแต่ละหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ (กระทรวงอุตฯ, กลาโหม, การคลัง, เกษตรฯ, คมนาคม, ทรัพยากรฯ, พาณิชย์, มหาดไทย, แรงงาน, วิทย์ฯ, สาธารณสุข) 2) เชื่อมโยงระบบข้อมูลสารเคมีของแต่ละ หน่วยงานที่เกีย่ วข้องให้เป็นระบบฐานข้อมูลกลาง ที่ประกอบด้วยข้อมูลการนําเข้าส่งออกการผลิต และการดําเนินการกับสารเคมีที่มีอยู่จนถึงการ บําบัดกําจัดและทําลายเพือ่ ให้ทราบข้อมูลสารเคมี ตั้งแต่ต้นน้ําถึงปลายน้ํา และพัฒนาระบบข้อมูล เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูล และนําข้อมูลไปใช้ ประโยชน์ได้ (กระทรวงอุตฯ, กลาโหม, การคลัง, เกษตรฯ, คมนาคม, ทรัพยากรฯ, พาณิชย์, มหาดไทย, แรงงาน, สาธารณสุข) กลวิธีที่ 2 พัฒนากลไกและเครื่องมือในการจัดการ สารเคมีอย่างเป็นระบบครบวงจร 1) พัฒนาเครื่องมือทางกฎหมาย ดําเนินการพัฒนา เครื่องมือทางกฎหมายเพือ่ ให้มีการควบคุมกํากับ ดูแลสารเคมีจากต้นน้ําถึงปลายน้ําซึ่งครอบคลุม การดําเนินงานที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การ นําเข้าส่งออก, การผลิต, การครอบครอง, การ จําหน่าย, การขนส่ง, การใช้, การบําบัดและกําจัด ทําลาย (มีเพิ่ม) (กระทรวงอุตฯ, กลาโหม, การคลัง, เกษตรฯ, คมนาคม, ทรัพยากรฯ, พาณิชย์, มหาดไทย, แรงงาน, สาธารณสุข) 2) พัฒนาเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ (มีเพิ่ม) (กระทรวงการคลัง, เกษตรฯ, คมนาคม, ทรัพยากรฯ, พาณิชย์, มหาดไทย, แรงงาน, สาธารณสุข) 3) พัฒนาเครื่องมือด้านการประเมิน (มีเพิ่ม) (กระทรวงทรัพยากรฯ, เกษตรฯ, สาธารณสุข, วิทย์ฯ, อุตฯ, สนง.สช.)
213
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 4) เตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยจาก สารเคมีเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น นาโน เทคโนโลยี (กระทรวงวิทย์ฯ, สาธารณสุข, อุตฯ) กลวิธีที่ 3 สร้างกลไกเพื่อขับเคลื่อนการจัดการ สารเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ 1) สร้างกลไกการขับเคลื่อนแผนโดยให้แผน ยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 4 มีการทบทวนผลการ ดําเนินงานทุก 2 ปี เพื่อนําสูก่ ารปรับแผนปฏิบัติ การ (Rolling Plan) และกําหนดตัวชีว้ ดั สําคัญและ ระดับความสําเร็จตามระยะเวลา (milestones) รวมถึงสร้างกลไกการขับเคลื่อนและดําเนินงาน ตามแผนอย่างมีประสิทธิภาพ (คกก.แห่งชาติวา่ ด้วยการพัฒนายุทธฯ การจัดการ สารเคมี) 2) ศึกษาแนวทางการจัดตั้งองค์กรกลางในการ จัดการสารเคมีระดับชาติ (National Chemical Agency: NCA) เพื่อรองรับการดําเนินงานในเรื่อง ของการจัดการระบบข้อมูลสารเคมีกลางใน ระดับชาติ และระบบการประเมินความเสี่ยง สารเคมีตลอดจนการเชื่อมโยงการบริหารจัดการ สารเคมีให้เป็นระบบที่บูรณาการครบวงจร (คกก.แห่งชาติวา่ ด้วยการพัฒนายุทธฯ การจัดการ สารเคมี)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาศักยภาพและ บทบาทในการ บริหารจัดการ สารเคมีของทุกภาค ส่วน
214
กลวิธีที่ 1 พัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารเคมี 1) พัฒนาและสื่อสารองค์ความรู้ (มีเพิ่ม) 2) พัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการสารเคมี (มีเพิ่ม) 3) พัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการด้านสารเคมี (มี เพิ่ม) 4) พัฒนาศักยภาพศูนย์พิษวิทยาและเครือข่ายให้ สามารถดําเนินการได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน กลวิธีที่ 2 พัฒนาศักยภาพการตอบสนองและการ เตรียมความพร้อมต่อพันธกรณีและข้อตกลง ระหว่างประเทศ
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 1) เสริมสร้างประสิทธิภาพการตอบสนองการ ดําเนินการตามอนุสัญญาต่าง ๆ โดยการมีส่วนร่วม ของทุกภาคส่วนและคุ้มครองสิทธิคนไทย 2) เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับกลไกระหว่าง ประเทศที่มีการพัฒนา/ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เช่น IFCS, SAICM, GHS, REACH และ Free Trade Area (FTA) เป็นต้น 3) เสริมสร้างศักยภาพคณะผู้เชี่ยวชาญในการ เจรจาด้านการจัดการสารเคมีระหว่างประเทศ โดย การเสริมสร้างความรู้ในด้านการเจรจาและความรู้ ในด้านการจัดการสารเคมีในเรื่องนั้น ๆ รวมทั้ง หารือหน่วยงานที่เกีย่ วข้องเพื่อกําหนดท่าทีที่ เหมาะสมของประเทศไทยในการเจรจาด้านการ จัดการสารเคมีระหว่างประเทศ 4) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านพันธกรณีและ ข้อตกลงระหว่างประเทศด้านการจัดการสารเคมีสู่ สาธารณะ เพือ่ ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ และให้ความร่วมมือในการดําเนินงานต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้อง กลวิธีที่ 3 ส่งเสริมบทบาท และการมีสว่ นร่วมใน การจัดการสารเคมีของทุกภาคส่วน 1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการ จัดการสารเคมี เสริมสร้างให้ชุมชนมีความสามารถ ในการตรวจสอบการดําเนินงานของภาคเอกชนได้ อย่างเข้มแข็ง เช่น การจัดตั้งคณะที่ปรึกษาระดับ ชุมชน (Community Advisory Panel) การ ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการวางแผนการจัดการสารเคมี การตรวจสอบ สารพิษตกค้างโดยชุมชน 2) เสริมสร้างความเข้มแข็งและบทบาทขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการจัดการสารเคมี ในพื้นที่ 3) ส่งเสริมความร่วมมือของภาคเอกชนในการ จัดการสารเคมี ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการ ดําเนินงานในการจัดการสารเคมีผ่านทางช่องทาง ต่าง ๆ ของภาคเอกชน เช่น คณะกรรมการร่วมรัฐ และเอกชน (กรอ.) สภาอุตสาหกรรมและ หอการค้า เป็นต้น
215
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 4) ส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของกลุม่ วิชาชีพ และเครือข่ายทางสังคมต่าง ๆ ใช้กลไกของกลุ่ม วิชาชีพสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดําเนินงาน ในการจัดการสารเคมีของภาคประชาชน และ ภาคเอกชน ประสานพลังกับเครือข่ายและประสาน พลังกลุ่มยุทธศาสตร์ เช่น สภาวิชาชีพต่าง ๆ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และสื่อมวลชน เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ลด ความเสี่ยงอันตราย จากสารเคมี
216
กลวิธีที่ 1 ป้องกันอันตรายจากสารเคมี 1) ลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีในภาค การเกษตร (มีเพิ่ม) 2) ลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีใน ภาคอุตสาหกรรม (มีเพิ่ม) 3) ลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีในภาค ผู้บริโภค และสาธารณสุข (มีเพิ่ม) 4) ลดความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีในภาคการ ขนส่ง โดยจัดทํามาตรฐานบรรจุภัณฑ์ทใี่ ช้ในการ ขนส่งและทดสอบมาตรฐาน กําหนดให้มีการ ประกันภัยการขนส่งสินค้าอันตราย จัดทํา GIS เส้นทางการขนส่งสินค้าอันตรายและกําหนด เส้นทางการขนส่งสินค้าอันตรายที่เหมาะสม กลวิธีที่ 2 เฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบ ผลกระทบจากสารเคมี 1) เฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบระดับมลพิษอัน เนื่องมาจากสารเคมีจากแหล่งกําเนิดมลพิษใน สิ่งแวดล้อม (น้ํา อากาศและดิน) ตลอดจนใน ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการอุปโภคและบริโภค เช่น อาหารและยา ของเล่นเด็ก เพื่อเฝ้าระวังระดับ ความเป็นอันตรายของสารเคมีที่อาจจะมี ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน 2) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง พัฒนา กลไกเพื่อให้ประชาชนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ของการติดตาม และการเฝ้าระวังผลกระทบจาก สารเคมี
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 3) พัฒนางานด้านระบาดวิทยาสารเคมี เพื่อสร้างระบบเฝ้าระวังติดตาม และ ตรวจสอบด้านความปลอดภัยสารเคมี ต่อสุขอนามัยของประชาชน กลวิธีที่ 3 รับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน และการรักษาเยียวยาและฟื้นฟู 1) พัฒนาระบบการจัดการเหตุฉุกเฉิน รวมถึงการดําเนินงานต่าง ๆ (มีเพิ่ม) 2) เสริมสร้างประสิทธิภาพการรักษา เยียวยาและฟื้นฟู โดยสร้างความ เข้มแข็งให้กับสถานพยาบาลและ โรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงในการ ช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบเหตุ และการ จัดให้มีกองทุนเยียวยาผู้ประสบเหตุและ ฟื้นฟูผลกระทบที่ครอบคลุมในเรื่องการ เยียวยาและฟื้นฟูทั้งทางด้านการเงิน ด้านสุขภาพและจิตใจ ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. แผนยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ สํานักงาน คณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค (2555-2558)
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรกลางในการคุ้มครองผู้บริโภคของชาติ ในระดับสากล พันธกิจ 1) บังคับใช้ก ฎหมายอย่า งเป็น ธรรมและโปร่งใส เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค 2) พัฒนากฎหมายและนโยบายด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคให้ทันต่อเหตุการณ์ 3) สร้ า งเครื อ ข่ า ยผู้ บ ริ โ ภค และประสานความ ร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและ เอกชน 4) เผยแพร่ความรู้เพื่อสร้า งจิตสํา นึก ให้ผู้บริโภค รู้จักปกป้อง และรักษาสิทธิของตนเอง เหตุการณ์
217
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนากลไกงาน คุ้มครองผู้บริโภคสู่ สากล เป้าประสงค์ กลไก การดําเนินงาน คุ้มครองผู้บริโภคมี ประสิทธิภาพ, กฎหมายเกีย่ วกับการ คุ้มครองผู้บริโภคมี ประสิทธิภาพทันต่อ เหตุการณ์
กลวิธีที่ 1.1 ผลักดันนโยบาย/ มาตรการคุ้มครองผู้บริโภค 1) จัดให้มีกลไกในการผลักดันนโยบาย/ มาตรการ โดยกําหนดกิจกรรมเพื่อ ผลักดันให้นโยบาย/ มาตรการแปลงสู่ การปฏิบัติที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) สนับสนุนการดําเนินงานคุ้มครอง ผู้บริโภคตามนโยบาย/ มาตรการ ใน รูปแบบเชิงรุกเพื่อให้ทันต่อสภาวการณ์ ปัจจุบัน กลวิธีที่ 1.2 พัฒนากลไกการตรวจสอบ และเฝ้าระวัง การผลิตและจําหน่าย สินค้าหรือบริการให้มีประสิทธิภาพ 1) พัฒนากลไกในการส่งเสริมให้ผู้ ประกอบธุรกิจมีคุณธรรม จริยธรรม และรับผิดชอบต่อการประกอบธุรกิจทุก ประเภท
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
เป้าประสงค์ 1) กลไกการดํ า เนิ น งานคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคมี ประสิทธิภาพ 2) กฎหมายเกี่ ย วกั บ การคุ้ ม ครองผู้ บ ริ โ ภคมี ประสิทธิภาพ 3) ภาคีเครือข่ายมีการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค อย่างมีประสิทธิภาพ 4) ประชาชนมี ค วามรู้ ค วามเข้ า ใจในสิ ท ธิ ข อง ผู้บริโภค 5) ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ในการเลือกซื้อสินค้า หรือบริการ 6) การบริ ห ารองค์ ก รมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ และใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่ ทันสมัย 7) บุคลากรมีความรู้ความสามารถทันต่อ เหตุการณ์
218
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 2) จั ด ให้ มี ก ลไกการเฝ้ า ระวั ง และ ตรวจสอบมาตรฐานสินค้าและบริก าร ในบริบทของกฎหมายที่อยู่ภายใต้การ กํากับดูแลของสํานักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค 3) ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของ ผู้ ป ระกอบธุ ร กิ จ และจั ด ให้ มี ก าร ทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า หรือบริการใด ๆ ตามที่ เ ห็ น สมควรและจํ า เป็ น เพื่ อ คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค กลวิธีที่ 1.3 พัฒนาคุณภาพการ ให้บริการแก่ผู้บริโภคที่มาร้องเรียน 1) มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการ การรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ ได้รับความเดือดร้อน และลดขั้นตอน ของกระบวนงานที่เกีย่ วข้อง เพื่อ ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ 2) ดําเนินการสํารวจความพึงพอใจของ ประชาชนที่รับบริการของหน่วยงาน และผู้บริโภคเพื่อนําผลการสํารวจมาใช้ ในการพัฒนาปรับปรุง การดําเนินงาน 3) พัฒนาระบบการให้บริการทางสาย ด่วน 1166 ให้เกิดประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล 4) ขยายการให้บริการด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 5) พัฒนากลไกการรับฟังความคิดเห็น เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลวิธีที่ 1.4 พัฒนากลไกการรับรอง สินค้า และบริการสู่ประชาคมอาเซียน 1) มีการจัดมาตรฐานการเยียวยาความ เสียหายแก่ผู้บริโภค ได้แก่ ระบบ ประกันความเสียหาย, ระบบค้ําประกัน ความปลอดภัยของสินค้าหรือบริการ, ระบบรับรองผลิตภัณฑ์
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 2) มีการกําหนดมาตรฐานความ รับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบธุรกิจ โดยอิงหลักเกณฑ์ ISO 26000 กลวิธีที่ 1.5 มีกลไกการพัฒนา ทบทวน ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ต่าง ๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคให้ เหมาะสม และมีความทันสมัย 1) มีการกําหนด ทบทวน หรือแก้ไข ปรับปรุง กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ต่าง ๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค 2) บูรณาการการบังคับใช้กฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ 3) ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภค และสร้างความ ตระหนักในการรับผิดชอบต่อสังคมแก่ผู้ ประกอบธุรกิจ 4) จัดทําประชาพิจารณ์เกี่ยวกับ กฎหมายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 5) นําเสนอร่างกฎหมายต่อ องค์ก รที่มี อํ า น าจ พิ จ ารณาเพื่ อ ผลั ก ดั น ให้ มี กฎหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การบูรณาการงาน คุ้มครองผู้บริโภค เป้าประสงค์ ภาคี เครือข่ายมีการ ดําเนินงานคุ้มครอง ผู้บริโภคอย่างมี ประสิทธิภาพ
219
กลวิธีที่ 2.1 ส่งเสริม สนับสนุนความ ร่วมมือการคุ้มครองผู้บริโภคสู่สากล 1) จัดทําแผนส่งเสริมและพัฒนาการ ดําเนินงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่างประเทศเพื่อรองรับความ ร่วมมือในกรอบอาเซียน และผลักดัน งานคุ้มครองผู้บริโภคสู่สากล 2) ประสานความร่วมมือในการ ดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคระหว่าง ประเทศ 3) ส่งเสริมความรู้งานคุ้มครองผู้บริโภค ในระดับสากลเพื่อรองรับความร่วมมือ ของอาเซียน
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
220
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมศักยภาพ ผู้บริโภค เป้าประสงค์ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในสิทธิ ของผู้บริโภค, ประชาชนสามารถ เข้าถึงข้อมูลที่เป็น ประโยชน์ในการ เลือกซื้อสินค้าหรือ บริการ
กลวิธีที่ 3.1 ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ แก่ ผู้ บ ริ โ ภคเกี่ ย วกั บ ความปลอดภั ย และอันตรายที่อาจได้รับจากสินค้าหรือ บริ ก าร รวมถึ งสิ ท ธิ ข องผู้ บ ริ โ ภคตาม กฎหมาย 1) ดํา เนิ น การรวบรวมข้อ มูล ข่า วสาร และองค์ ค วามรู้ ด้ า นการคุ้ ม ครอง ผู้ บ ริ โ ภคจากแหล่ ง ต่ า ง ๆ เพื่ อ นํ า มา ประมวลและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ 2) ส่ ง เสริ ม แ ละ สนั บ สนุ น ให้ ภ า ค ประชาชนมีส่วนร่วมในดําเนินกิจกรรม ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค 3) ส่ ง เสริ ม ให้ ผู้ บ ริ โ ภคตระหนั ก และ เข้ า ใจถึ ง สิ ท ธิ รั ก ษาสิ ท ธิ ตลอดจน วิ ธี ดํ า เนิ น การเมื่ อ ถู ก ละเมิ ด สิ ท ธิ โ ดย มาตรการทางสังคม และมาตรฐานทาง กฎหมาย 4) สนับ สนุน และอํา นวยความสะดวก ด้านข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครอง ผู้ บ ริ โ ภค และสิ ท ธิ ป ระโยชน์ แ ก่ ภ าค ประชาชน 5) สร้ า งกลไกในการเผยแพร่ และ ประ ช าสั ม พั น ธ์ ด้ า นก า รคุ้ ม ครอ ง ผู้บริโภคที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ 6) ดําเนินกิจกรรมในการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ย วกับ การคุ้มครองสิท ธิ ของผู้บริโภคให้แก่ประชาชน กลวิธีที่ 3.2 สนับ สนุน การศึก ษาและ วิ จั ย ปั ญ หา เกี่ ย วกั บ ก า รคุ้ ม ครอ ง ผู้บริโภค 1) สนับ สนุน งานวิชาการเกี่ย วกับ การ คุ้ม ครองผู้บ ริโ ภค ในด้า นสถานการณ์ ปัญหา สาเหตุและกลไกปัญหา นโยบาย แ ล ะ ม า ต ร ก า ร ดู แ ล เ พื่ อ เ พิ่ ม ประสิทธิภาพในการดําเนินงานคุ้มครอง ผู้บริโภคของประเทศ
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 2) สนับสนุนการสังเคราะห์ความรู้ทาง วิ ช าการ เพื่ อ เป็ น ฐานข้ อ มู ล ในการ สื่ อ สารเผยแพร่ ผ่ า นช่ อ งทางสื่ อ ใน ลักษณะต่าง ๆ 3) ส่ ง เสริ ม ให้ มี ก ารพั ฒ นาฐานข้ อ มู ล ทางวิชาการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารองค์กรสู่ ความเป็นเลิศ เป้าประสงค์ การ บริหารองค์กรมี ประสิทธิภาพ และใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศด้านการ คุ้มครองผู้บริโภคที่ ทันสมัย,บุคลากรมี ความรู้ความสามารถ ทันต่อเหตุการณ์
221
กลวิธีที่ 4.1 ปรับปรุงโครงสร้าง และ พัฒนาการบริหารองค์กรให้เหมาะสม กับภารกิจในการทํางาน 1) พัฒนาคุณภาพการบริหารงาน ภายในองค์กรตามมาตรฐานระดับสากล โดยส่งเสริม สนับสนุนให้นํากลไก เครื่องมือและเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้ให้ เหมาะสมกับงาน 2) ปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรให้ สอดคล้องกับภารกิจ เพื่อการ ดําเนินงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์สูงสุดของ องค์กร 3) ทบทวน ปรับปรุงยุทธศาสตร์ กล ยุทธ์ แผนงานหลัก แผนปฏิบัติราชการ เพื่อให้การดําเนินงานบรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่กําหนดรวมถึงการ จัดการความเสี่ยงขององค์กร 4) ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและ บรรยากาศเพื่อให้บุคลากรมีคุณภาพ ชีวิตที่ดีเอื้อต่อการทํางาน รวมถึงการ พัฒนาระบบการสื่อสารภายในองค์กร และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี 5) จัดทําฐานข้อมูลรวมทั้งระบบ สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหาร จัดการการคุ้มครองผู้บริโภค ของ สํานักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค และเกิดประโยชน์แก่ ประชาชน
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 6) ส่งเสริมให้นําความรู้ทางเทคโนโลยี สารสนเทศสมัยใหม่ให้มาประยุกต์ใช้ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค 7) ส่งเสริมและพัฒนาระบบเทคโนโลยี สารสนเทศ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเป็นกลไกการกระจายอํานาจสู่ หน่วยงานที่เกีย่ วข้อง 8) พัฒนาระบบฐานข้อมูลงานคุ้มครอง ผู้บริโภค และการติดตามประเมินผลให้ เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลอย่าง ต่อเนื่อง 9) พัฒนาโครงสร้างบุคลากรเพื่อรองรับ ภารกิจการดําเนินงานด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ 10) สร้างกลไกความต่อเนื่องในการ บริหารราชการ (Succession Plan) 11) พัฒนาคําบรรยายลักษณะงานให้ ทันสมัย (Job Description) กลวิธีที่ 4.2 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถเทียบเท่าสากล 1) ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ส่งเสริม ความก้าวหน้าในสายงานอาชีพ และ ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทํางาน เช่น การจัดให้มีสวัสดิการหรือกิจกรรม อื่น ๆ ที่เพิ่มคุณภาพชีวิต 2) จัดทําแผนกลยุทธ์การบริหาร ทรัพยากรบุคคลเพื่อตอบสนอง ยุทธศาสตร์ของส่วนราชการทั้งใน ปัจจุบันและอนาคต 3) กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร ผลการปฏิบัติงานที่มีความชัดเจน ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตาม แนวทางที่ ก.พ. กําหนด
222
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 4) กําหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการ ทํางานของข้าราชการสอดคล้อง และ สนับสนุนการบรรลุผลสัมฤทธิ์ของส่วน ราชการ และสามารถจําแนกความ แตกต่างและจัดลําดับผลการปฏิบัติงาน ของข้าราชการได้อย่างชัดเจนและมี ประสิทธิภาพ 5) พั ฒ นาข้ า ราชการให้ เ ป็ น คนดี มี ค ว า ม ซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต มี คุ ณ ธ ร ร ม จริยธรรม และมีวินัย
5. นโยบาย แห่งชาติด้านยา พ.ศ.2554 และ ยุทธศาสตร์การ พัฒนาระบบยา แห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 (คณะกรรมการ พัฒนาระบบยา แห่งชาติ)
วิสัยทัศน์ ประชาชนเข้าถึงยาถ้วนหน้า ใช้ยามีเหตุผล ประเทศพึ่งตนเอง เป้าประสงค์ เพื่อให้ประชาชนได้รับการป้องกันและแก้ไขปัญหา สุขภาพที่ได้มาตรฐานโดยการประกันคุณภาพ ความปลอดภัยและประสิทธิผลของยา การสร้าง เสริมระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผล การส่งเสริม การเข้าถึงยาจําเป็นให้เป็นไปอย่างเสมอภาค ยั่งยืน ทันการณ์ การสร้างกลไกการเฝ้าระวังที่มี ประสิทธิภาพ และอุตสาหกรรมยามีการพัฒนาจน ประเทศสามารถพึ่งตนเองได้
223
ยุทธศาสตร์ดา้ นที่ 1 การเข้าถึงยา วัตถุประสงค์ เพื่อให้ ประชาชนเข้าถึงยา จําเป็นอย่างเสมอ ภาค ทัว่ ถึง และทัน การณ์ในราคาที่ เหมาะสมกับ ความสามารถในการ จ่ายของประชาชน ตลอดจนฐานะ เศรษฐกิจของ ประเทศ
ยุทธศาสตร์ย่อย 1 การประสานความ ร่วมมือเครือข่ายเพื่อการเข้าถึงยา กลยุทธ์ 1) พัฒนากลไกและกระบวนการการมี ส่วนร่วมของเครือข่ายบุคลากรด้าน สุขภาพ นักวิชาการ ผู้ปว่ ย หรือผู้ใช้ยา เพื่อพัฒนานโยบายและกฎหมายให้ ประชาชนเข้าถึงยาและบริการ 2) พัฒนากลไกให้มยี าจําเป็นและแก้ไข ปัญหาการขาดแคลนยาในประเทศ ยุทธศาสตร์ย่อย 2 การสนับสนุนกลุ่ม ผู้ป่วยให้เข้าถึงยาและมีส่วนร่วมสร้าง เสริมสุขภาพ กลยุทธ์ 1) สนับสนุนการรวมตัวของกลุ่มผู้ปว่ ย เพื่อให้มีพลังผลักดันข้อเสนอแนะต่อ หน่วยงานที่เกีย่ วข้อง 2) สนับสนุนการรวมกลุ่มในการดูแล และสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึงการฟื้นฟู ทางด้านร่างกายและจิตใจ
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ย่อย 3 การส่งเสริมราคายา ในประเทศให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ ของประชาชน กลยุทธ์ 1) กําหนดให้มกี ารควบคุมราคายาตาม กฎหมาย 2) กําหนดให้มกี ารแสดงโครงสร้างราคา ยาเพื่อประกอบการตั้งราคายา สําหรับ ยาที่มีสิทธิบัตร 3) ควบคุมการตั้งราคายาที่ขายให้กับ ผู้บริโภคในสถานพยาบาลของรัฐและ เอกชน 4) พิจารณาใช้ข้อยืดหยุ่นทางการค้า ตามความตกลงว่าด้วยการค้าเกีย่ วกับ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (The agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights ; TRIPs) ซึ่งเป็นไปตามหลัก สากลเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงยา 5) กําหนดรายการยาทีป่ ระชาชนมี ปัญหาในการเข้าไม่ถึง และกําหนด หลักเกณฑ์การส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึง ยาดังกล่าว ยุทธศาสตร์ย่อย 4 การใช้ประโยชน์ และลดอุปสรรคของข้อกําหนดทาง กฎหมายเพื่อให้เกิดการเข้าถึงยา กลยุทธ์ 1) การจัดทําหนังสือสัญญาระหว่าง ประเทศต้องไม่ผูกพันประเทศเกินไป กว่าความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สิน ทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า
224
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 2) รณรงค์เพื่อทําความเข้าใจกับ ประชาชน และผู้กําหนดนโยบาย เกี่ยวกับการเจรจาการค้าและการ คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยใช้ รายงานของคณะผู้เชี่ยวชาญจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) สํานักงาน โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) องค์การประชุมสหประชาชาติ ว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) และองค์การการค้าโลก (WTO) 3) จัดทําและปรับปรุงฐานข้อมูล สิทธิบัตรในรหัสสิทธิบัตรสากล A61K ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษให้ สามารถสืบค้นได้ง่ายรวดเร็วครบถ้วน เพื่อให้ทราบสถานะสิทธิบัตรและเอือ้ ต่อการผลิตยาชือ่ สามัญ (generic drug) 4) แก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรเพื่อให้เกิด ความเป็นธรรม 5) ยกเลิกภาษีการนําเข้ายาเฉพาะยา ช่วยชีวิต ยากําพร้า และตัวยาสําคัญ ออกฤทธิ์ที่นํามาผลิตยาในบัญชียาหลัก แห่งชาติ 6) พั ฒ นาช่ อ งทางการสื่ อ สารด้ า น ข้ อ ตกลงทรั พ ย์ สิ น ทางปั ญ ญาฯ กั บ ผู้ ป่ ว ย ผู้ ป ฏิ บั ติ ง า น บุ คค ล แ ล ะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
225
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
226
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ดา้ นที่ 2 การใช้ยาอย่างสม เหตุผล วัตถุประสงค์ เพื่อ ส่งเสริมการใช้ยาของ แพทย์บุคลากรทาง การแพทย์และ ประชาชนเป็นไป อย่างสมเหตุผล ถูกต้องและคุ้มค่า
ยุทธศาสตร์ย่อย 1 การพัฒนาระบบ และกลไกการกํากับดูแลเพื่อให้เกิดการ ใช้ยาอย่างสมเหตุผล กลยุทธ์ 1) พัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนตํารับ ยา และทบทวนทะเบียนตํารับยา 2) ควบคุมการกระจายและการเข้าถึง ยา และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในมนุษย์และสัตว์ 3) พัฒนาระบบและกลไกเพื่อแก้ปัญหา การใช้ยาในทางที่ผิดในสัตว์ และปัญหา ยาและเคมีภัณฑ์ตกค้างที่ใช้ในการเลี้ยง สัตว์ 4) พัฒนาระบบและกลไกเพื่อแก้ปัญหา การใช้ยาในทางที่ผิดในมนุษย์ ยุทธศาสตร์ย่อย 2 การพัฒนาระบบ การผลิตและพัฒนากําลังคนด้าน สุขภาพ กลยุทธ์ 1) ปฏิรูประบบการศึกษาใน สถาบันการศึกษาของทุกวิชาชีพที่ เกี่ยวข้องกับการใช้ยา 2) พัฒนาการศึกษาและการให้ความรู้ ต่อเนื่องแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา ยุทธศาสตร์ย่อย 3 การพัฒนากลไก และเครื่องมือเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่าง สมเหตุผล กลยุทธ์ 1) ปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติให้ ทันสมัย และส่งเสริมการใช้ยาตามบัญชี ยาหลักแห่งชาติ 2) จัดทํามาตรฐานการบําบัดรักษาโรค แห่งชาติให้ทันสมัยเชื่อถือได้ สอดคล้อง กับบริบทของประเทศ
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 3) สร้างความเข้มแข็งให้กับ คณะกรรมการเภสัชกรรม และการ บําบัดของสถานพยาบาลทุกระดับทั้ง ภาครัฐและเอกชน 4) ส่งเสริมให้มีฐานข้อมูลด้านยาและ สุขภาพที่เป็นกลางสําหรับผู้ประกอบ วิชาชีพและประชาชนที่เป็นระบบเข้าถึง ได้ง่ายและเป็นปัจจุบัน 5) จัดตั้งองค์กรระดับชาติที่กํากับดูแล ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 6) พัฒนากลไกกํากับดูแลการสั่งใช้ยา ยุทธศาสตร์ย่อย 4 การสร้างความ เข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยา อย่างสมเหตุผล กลยุทธ์ 1) พัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับภาคประชาชนในการใช้ยาอย่าง สมเหตุผล 2) สร้างค่านิยมของประชาชนในการ สร้างสุขภาพดีโดยไม่ต้องใช้ยาโดยไม่ จําเป็น และองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ ยาอย่างสมเหตุผล 3) สร้างภาคีสื่อมวลชนและสื่อพื้นบ้าน ในการประชาสัมพันธ์ที่ตรงเป้าหมาย เพื่อสร้างค่านิยมการใช้ยาอย่างสม เหตุผลในสังคมไทย ยุทธศาสตร์ย่อย 5 การส่งเสริมการ ผลิตและประกันคุณภาพยาชือ่ สามัญ กลยุทธ์ 1) พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมผลิตยา ในประเทศและหน่วยงานที่เกีย่ วข้อง เพื่อผลิตยาชื่อสามัญทดแทนยาต้นแบบ 2) พัฒนาศักยภาพหน่วยงานและระบบ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรด้านเภสัชภัณฑ์ เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ ง่าย
227
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 3) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพ (quality assurance) ของยาชื่อสามัญ (generic drug) เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ต่อยาชื่อสามัญที่ผลิตในประเทศ 4) ส่งเสริมการใช้ยาชื่อสามัญ (generic drug) ยุทธศาสตร์ย่อย 6 การพัฒนาระบบ และกลไกป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิด จากการใช้ยาต้านจุลชีพ และการดื้อยา ของเชื้อก่อโรค กลยุทธ์ 1) พัฒนาระบบและกลไกเพื่อแก้ปัญหา การดื้อยาต้านจุลชีพในสัตว์ 2 )พัฒนาระบบและกลไกเพื่อแก้ปัญหา เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในมนุษย์ ยุทธศาสตร์ย่อย 7 การส่งเสริม จริยธรรมผู้สั่งใช้ยา และยุตกิ ารส่งเสริม การขายยาที่ขาดจริยธรรม กลยุทธ์ 1) พัฒนากฎเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการ ส่งเสริมการขายตามแนวทางของ องค์การอนามัยโลกเป็นเกณฑ์กลางของ ประเทศและปรับปรุงให้ทันสถานการณ์ อย่างต่อเนื่อง 2) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนนําเกณฑ์ จริยธรรมไปประยุกต์ใช้ และขยาย เพิ่มเติม 3) ควบคุมกํากับการส่งเสริมการขายที่ ขาดจริยธรรมเพื่อให้เกิดการใช้ยาที่ เหมาะสม ลดความสูญเสียทางสุขภาพ และเศรษฐกิจของผู้รับบริการ 4) จัดตั้งองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องเพื่อ รับผิดชอบจัดทํากลไกติดตามตรวจสอบ รวบรวม และรายงานสถานการณ์การ ส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมใน ระดับประเทศ
228
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 5) ประสานผลักดัน ให้มีการขับเคลื่อ น ให้มีจริยธรรมในกลุ่มผู้สั่งใช้ยา
ยุทธศาสตร์ดา้ นที่ 3 การพัฒนา อุตสาหกรรมผลิตยา ชีววัตถุ และสมุนไพร เพื่อการพึ่งพาตนเอง วัตถุประสงค์ เพื่อ พัฒนาศักยภาพของ อุตสาหกรรมยา ชีว วัตถุ และสมุนไพร ภายในประเทศให้ สามารถพึ่งพาตนเอง ได้อย่างมั่นคงและ ยั่งยืน
229
ยุทธศาสตร์ย่อย 1 การพัฒนาและ แก้ไขกฎระเบียบให้เกิดการลงทุน และ การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตยา ภายในประเทศ กลยุทธ์ 1) แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อ การส่งเสริมอุตสาหกรรมผลิตยาใน ประเทศ 2) การจัดการกับมาตรการการค้าที่ ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Barrier) ระหว่างประเทศคู่ค้าด้วยความเสมอ ภาค 3) จัดการปัญหาด้านสิทธิบัตร และการ ผูกขาดทางการค้า 4) สร้างกลไกให้ภาคอุตสาหกรรมยา เข้าถึงข้อมูลจําเป็นต่อการพัฒนาตํารับ ยาสามัญ ยุทธศาสตร์ย่อย 2 การส่งเสริมการวิจัย พัฒนาในอุตสาหกรรมยา และ นวัตกรรมต่อยอดทางยาสู่อุตสาหกรรม เชิงพาณิชย์ กลยุทธ์ 1) ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจยั และ พัฒนาสูตรตํารับยาใหม่ที่สอดคล้องกับ ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ 2) สร้างการมีส่วนร่วมเชิงรุกระหว่าง หน่วยงานของรัฐเกี่ยวกับสาธารณสุข นวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อผลักดันให้มีการวิจัยยาใหม่ ชีววัตถุ ใหม่ และสมุนไพรไทย 3) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาสูตร ตํารับยาทีก่ ําลังจะหมดสิทธิบัตร
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 4) สนับสนุนให้เกิดศูนย์วิจยั ทางคลินิก และศูนย์ศึกษาชีวสมมูลภายในประเทศ ที่ได้มาตรฐานสากล 5) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาต่อ ยอดจากระดับห้องปฏิบัติการสู่ระดับ อุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์ย่อย 3 การสร้างทรัพยากร เพื่อส่งเสริมภาคการผลิต และการตลาด ของอุตสาหกรรมยาในประเทศ กลยุทธ์ 1) สนับสนุนให้เกิดหน่วยงานกลางเพื่อ พัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมผลิตยา 2) สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ภาครัฐ และอุตสาหกรรมยาในประเทศ ในการผลิตวัตถุดิบทางยาและตัวยา สําคัญ 3) สร้างความร่วมมือและพันธมิตรเพื่อ พัฒนาความพร้อมของโครงสร้าง พื้นฐาน และอุตสาหกรรมยาในประเทศ 4) พัฒนาบุคลากรให้พร้อมต่อการ พัฒนาอุตสาหกรรมยา ยุทธศาสตร์ย่อย 4 การสร้างความ เชื่อมั่น และประกันคุณภาพยาที่ผลิตใน ประเทศแก่ผู้สั่งใช้ยา และประชาชน กลยุทธ์ 1) ส่งเสริมกลไกสร้างความเชื่อมั่นต่อ การใช้ยาที่ผลิตภายในประเทศ 2) สร้างระบบและกลไกในการ สนับสนุนให้เกิดมาตรฐาน และคุณภาพ ของอุตสาหกรรมยา 3) มีห้องปฏิบัตกิ ารที่มีมาตรฐานในการ ตรวจสอบและวิเคราะห์ตํารับยา และ สมุนไพรมากขึ้น
230
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 4) จั ด ตั้ ง โรงงานกลาง (Contracting Manufacturer Organization) ที่ ไ ด้ มาตรฐานเพื่อรองรับผู้ผลิตรายย่อยของ ยาสมุนไพรและชีววัตถุจากโรงงานย่อย ที่ ยั ง ไม่ พ ร้ อ ม เพื่ อ ลด ปั ญ ห า เ รื่ อ ง มาตรฐานและคุณภาพของยา
ยุทธศาสตร์ดา้ นที่ 4 การพัฒนาระบบการ ควบคุมยาเพื่อ ประกันคุณภาพ ประสิทธิผลและ ความปลอดภัยของ ยา วัตถุประสงค์ เพื่อ ประกันคุณภาพ ประสิทธิผลและ ความปลอดภัยของ ยาโดยพัฒนา ศักยภาพและ เสริมสร้างความ เข้มแข็งของระบบ การควบคุมยาของ ประเทศ
231
ยุทธศาสตร์ย่อย 1 การพัฒนาศักยภาพ ระบบการควบคุมยาให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล กลยุทธ์ 1) พัฒนาศักยภาพองค์กรในการ ควบคุมยาของประเทศให้มี ประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับใน ระดับสากล 2) พัฒนาระบบการขึ้นทะเบียนตํารับ ยาให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส โดยใช้ หลักฐานเชิงประจักษ์ประกอบการ พิจารณาอย่างรอบด้าน และผนวก ระบบโครงสร้างราคายาที่มีสิทธิบัตรไว้ ในระบบการขึ้นทะเบียน 3) พัฒนากฎหมายและหลักเกณฑ์ใน การกํากับดูแลด้านยาให้มีความทันสมัย ยุทธศาสตร์ย่อย 2 การพัฒนาระบบ การเฝ้าระวังยาหลังออกสู่ตลาด และ สร้างช่องทางการเฝ้าระวังและระบบ การเตือนภัยด้านยา กลยุทธ์ 1) พัฒนาระบบการเฝ้าระวังดูแลหลังยา ออกสู่ตลาดในด้านการเฝ้าระวังความ ปลอดภัย คุณภาพ มาตรฐานยา การ โฆษณา และการส่งเสริมการขายยาการ เฝ้าระวังสถานบริการอย่างมี ประสิทธิภาพ 2) พัฒนาระบบการเตือนภัยด้านยาของ ภาครัฐ และภาคประชาชน เพื่อให้ ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ เป็นกลางอย่างทันท่วงที 3) พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารที่มี ประสิทธิภาพที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 3) พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารที่มี ประสิทธิภาพที่เข้าถึงได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว ยุทธศาสตร์ย่อย 3 การทบทวนทะเบียน ตํารับยาที่มีผลกระทบสูงต่อผู้บริโภค และ สังคม กลยุทธ์ 1) คัดเลือกและทบทวนทะเบียนตํารับยาที่มี ความเสี่ยงสูง โดยให้ผู้รับอนุญาตแสดง หลักฐานพิสูจน์และกําหนดเป็นแผนงาน ชัดเจนในการทบทวนทะเบียนตํารับยาทั้ง ระบบ 2) พัฒนาระบบการทบทวนทะเบียนตํารับ ยาเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการขึ้น ทะเบียนตํารับยาที่สอดคล้องกัน และมีการ สื่อสารสู่สาธารณะ
6. แผนแม่บทการ บริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ.2555)
วิสัยทัศน์ บริหารคลื่นความถี่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อประชาชนระดับชาติ ระดับภูมภิ าค และ ระดับท้องถิ่น โดยคํานึงถึงการแข่งขันโดยเสรี อย่างเป็นธรรม และให้มีการกระจายการใช้ ประโยชน์โดยทั่วถึง ในกิจการด้านต่าง ๆ ทั้ง ในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่งคงของ รัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น ๆ พันธกิจ กําหนด จัดสรร และกํากับดูแลการใช้คลื่น ความถี่ให้มีประสิทธิภาพ โดยคํานึงถึง ประโยชน์สาธารณะ ความจําเป็นของการ ประกอบกิจการ การใช้คลื่นความถี่ และ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยมี หลักเกณฑ์ที่แน่นอน ชัดเจน มีเหตุผล และ กระบวนการที่โปร่งใสและเป็นธรรม
ยุทธศาสตร์ 1 ด้าน การพัฒนาและ ส่งเสริมการแข่งขัน โดยเสรีอย่างเป็น ธรรม ยุทธศาสตร์ 2 ด้าน การอนุญาตให้ใช้ คลื่นความถี่ และการ อนุญาตให้ประกอบ กิจการ ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน การใช้ทรัพยากร โทรคมนาคมอย่างมี ประสิทธิภาพ ยุทธศาสตร์ 4 ด้าน การบริการ โทรคมนาคมพื้นฐาน โดยทั่วถึง
232
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคม มุ่งเน้นการสร้างความตระหนักรู้เพิ่มขึ้น เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของผู้บริโภคในกิจการ โทรคมนาคม ประโยชน์ของการใช้งาน โทรคมนาคมประเภทต่าง ๆ การรู้เท่าทัน ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโทรคมนาคม ประเภทต่าง ๆ เพือ่ ให้สามารถใช้งานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจในสิทธิ และเสรีภาพของผู้บริโภคในการใช้บริการ โทรคมนาคม สามารถเข้าใช้ช่องทางในการ รับเรื่องร้องเรียนจากการใช้บริการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และสร้างมาตรการเพื่อเพิม่ บทบาทผู้ประกอบกิจการในการให้บริการ อย่างมีจริยธรรม และความรับผิดชอบต่อ ผู้บริโภคและสังคม
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กรอบแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ 1) กําหนดให้มแี นวทางการดําเนินการเกี่ยวกับ คลื่นความถี่ระหว่างประเทศ 2) กําหนดให้มแี นวทางการคืนคลื่นความถี่เพื่อ นําไปจัดสรรใหม่ หรือการปรับปรุงการใช้คลื่น ความถี่ 3) กําหนดให้มกี ารใช้งานคลื่นความถี่ด้านความ มั่นคงของรัฐตามความจําเป็น 4) กําหนดให้มกี ารใช้งานคลื่นความถี่ด้าน ภารกิจเพือ่ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน และพิบัตภิ ัย รวมถึงเพื่อประโยชน์สาธารณะ 5) กําหนดเวลาในการเปลี่ยนไปสู่ระบบการ รับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจติ อล 6) กําหนดให้มกี ารจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้ คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียง และกิจการ โทรทัศน์ เป้าหมาย 1) มีกลไกความร่วมมือด้านการบริหารคลื่น ความถี่ระหว่างประเทศ ทั้งในส่วนขององค์กร ระหว่างประเทศ คณะกรรมการประสานงาน การใช้คลื่นความถี่ระหว่างประเทศ หน่วยงาน กํากับดูแล และผู้ประกอบกิจการที่มีส่วน เกี่ยวข้อง 2) มีการกําหนดหลักเกณฑ์ และระยะเวลาที่ แน่นอนในการคืนคลื่นความถี่เพื่อนําไปจัดสรร ใหม่ หรือปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ 3) เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรโทรคมนาคม รวมถึงวิทยุคมนาคมอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งในกรณีปกติ และ กรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติ 4) เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการ โทรคมนาคมพื้นฐานทั้งด้านการให้บริการเสียง และบรอดแบนด์
ยุทธศาสตร์ 5 ด้านการ คุ้มครอง ผู้บริโภคใน กิจการ โทรคมนาคม ยุทธศาสตร์ 6 ด้านการเตรียม ความพร้อมและ การเข้าสู่การ เป็นประชาคม เศรษฐกิจ อาเซียน และ การส่งเสริม ความร่วมมือ ระหว่างประเทศ
233
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
5) เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้ถึงสิทธิ รวมถึง พัฒนาระบบและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการโทรคมนาคมให้เกิดประสิทธิภาพและ เป็นธรรม 6) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศในระดับสากล 7. ธรรมนูญว่าด้วย ระบบสุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ.2552
ปรัชญา และแนวคิดหลักของระบบสุขภาพ ข้อ 4 สุขภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ข้อ 5 ระบบสุขภาพเป็นระบบความสัมพันธ์ทั้ง มวลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยมีระบบการ บริการสาธารณสุขเป็นส่วนหนึ่งของระบบ สุขภาพ ข้อ 6 ระบบสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของระบบ สังคม และเป็นส่วนหนึ่งของระบบความมั่นคง ของประเทศ รัฐ และทุกภาคส่วนในสังคมพึงให้ ความสําคัญอย่างสูงแก่การพัฒนาระบบสุขภาพ ข้อ 7 ระบบสุขภาพจะต้องส่งเสริมคุณค่าและ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และต้องให้ความสําคัญ กับความเป็นธรรมและความเท่าเทียมกันใน สังคม ข้อ 8 ระบบสุขภาพจะต้องคํานึงถึงการพัฒนา อย่างเป็นองค์รวมครอบคลุมภาวะของมนุษย์ที่ สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และ ทางสังคมเชื่อมโยงกันอย่างสมดุล ข้อ 9 ระบบสุขภาพจะต้องให้ความสําคัญสูงกับ การสร้างเสริมสุขภาพอันนําไปสู่สุขภาวะที่ ยั่งยืน และการพึ่งตนเองได้ของประชาชน ข้อ 10 ทุกภาคส่วนมีหน้าที่ร่วมกันในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศจากแนวทาง บริโภคนิยมไปสู่แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง รวมทั้งการดําเนินชีวิตตามหลักศาสนา เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพทางจิต ปัญญาและสังคม
หมวด 5 การ สร้างเสริม สุขภาพ
234
หลักการ ข้อ 19 การสร้างเสริมสุขภาพต้องเป็นไปเพื่อให้ เกิดสุขภาวะอย่างเป็นองค์รวมทั่วทั้งสังคม มุ่ง ไปสู่การลดการเจ็บป่วย การพิการ และการตาย ที่ไม่สมควร และการลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ตามแนวทาง “การสร้างสุขภาพนําการซ่อม สุขภาพ” โดยมีการดําเนินงานในทุกระดับอย่าง ครบวงจรตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึงวาระ สุดท้ายของชีวิต ด้วยยุทธศาสตร์อย่างน้อย 5 ประการ คือ (1) การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอือ้ ต่อ สุขภาพ (2) การพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่ เอื้อต่อสุขภาพ (3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตาม แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้น กระบวนการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม (4) การพัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน (5) การปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขที่เอื้อต่อ การสร้างเสริมสุขภาพ เป้าหมาย ข้อ 20 มีการพัฒนานโยบายสาธารณะทีเ่ อื้อต่อ สุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและเป็นรูปธรรม ข้อ 21 มีการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพอย่าง หลากหลายและเป็นรูปธรรม สร้างเสริมสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และเป้าหมายของ ระบบสุขภาพ ข้อ 11 ระบบสุขภาพจะต้องอยู่บนพื้นฐานของ หลักคุณธรรม จริยธรรม มนุษยธรรม ธรรมาภิ บาล ความรู้ และปัญญา ข้อ 12 ระบบสุขภาพจะต้องสอดคล้องกับวิถี ชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนทั้งระดับท้องถิ่นและ ระดับประเทศ ยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ส่งเสริมการพึ่งตนเองและยึดแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ข้อ 13 การจัดการระบบสุขภาพจะต้องยึดหลัก ธรรมาภิบาล ข้อ 14 ระบบสุขภาพจะต้องเกื้อหนุนส่งเสริม และเอื้ออํานวยให้บรรลุเป้าหมายแห่งสิทธิและ หน้าที่ด้านสุขภาพทุกประการตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัตสิ ุขภาพ แห่งชาติ พ.ศ.2550 และกฎหมายอื่นที่ เกี่ยวข้อง ข้อ 15 กรอบเวลาเป้าหมายของธรรมนูญฉบับนี้ เป็นภาพรวมของระบบสุขภาพที่มองยาวไปถึงปี พ.ศ.2563 การจัดให้มหี ลักประกัน และความคุ้มครองให้ เกิดสุขภาพ ข้อ 16 หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิด สุขภาพจะต้องครอบคลุมประชาชนทุกคนที่อยู่ บนผืนแผ่นดินไทยโดยไม่มีการแบ่งแยกตาม ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม สภาพทางกาย ความ พิการ เพศ อายุ ถิ่นทีอ่ ยู่ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา วัฒนธรรม ความเชื่อ และอุดมการณ์ ทางการเมือง ข้อ 17 การสร้างหลักประกันและความคุ้มครอง ดังกล่าวให้มีการมีส่วนร่วมอย่างสมานฉันท์ เกื้อกูล เอื้ออาทรจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงาน ของรัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ วิชาชีพ และ ประชาสังคม
235
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ ข้อ 22 มีการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคล ครอบครัวชุมชนและสังคมอย่างสมดุล และ เชื่อมโยงกันตามหลักการสร้างเสริมสุขภาพ ข้อ 23 มีชุมชนท้องถิ่นที่มีความเข้มแข็งด้าน สุขภาพครอบคลุมร้อยละ 80 ของตําบลทั่ว ประเทศ มาตรการ ข้อ 24 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของ รัฐทุกระดับและภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมพัฒนา นโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพ ด้วย กระบวนการแบบมีสว่ นร่วมที่ใช้องค์ความรู้เป็น ฐานอย่างเพียงพอ และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม ตลอดกระบวนการเพื่อให้ได้นโยบายสาธารณะ ที่ดี ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีนโยบายและ แผนรองรับการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อ ต่อสุขภาพและดําเนินงานให้เป็นรูปธรรมและ ต่อเนื่อง ข้อ 25 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานของ รัฐทุกระดับและภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมร่วมกัน พัฒนาสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมทีเ่ อื้อต่อ สุขภาพทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ และ สังคม ได้แก่ การจัดการสวนสาธารณะ สวน สุขภาพ ลานกีฬา ลานชุมชน สถานที่ทาํ งานสุข ภาวะ ชุมชน-เมืองสุขภาวะ ระบบผังเมืองสุข ภาวะ ระบบการคมนาคมปลอดภัย ระบบการ จัดการน้ําที่ดี ระบบการเกษตร-อุตสาหกรรมที่ เอื้อต่อสุขภาพ เป็นต้น ข้อ 26 ให้รัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของบุคคล ครอบครัว และชุมชนเพื่อเสริมสร้าง ความรู้และพัฒนาทักษะในการดําเนินชีวิต และ การสร้างเสริมสุขภาพอันจะนําไปสู่การเพิ่มพูน ขีดความสามารถในการดูแลตนเองและการ พึ่งตนเองของบุคคล ครอบครัว และชุมชนอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งการเปิดพื้นที่สาธารณะพัฒนา เครื่องมือและนวัตกรรมภายใต้บริบททางสังคม ภูมินิเวศวัฒนธรรม และภูมิปญ ั ญาท้องถิ่นอย่าง เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
ข้อ 18 หลักประกันและความคุ้มครองให้เกิด สุขภาพจะต้องครอบคลุมการจัดการกับปัจจัย ทั้งหมดที่กระทบต่อสุขภาพ ทั้งปัจจัยส่วน บุคคล ปัจจัยด้านระบบบริการสาธารณสุขซึ่งไม่ จํากัดเฉพาะหลักประกันการเข้าถึงบริการ สาธารณสุขเท่านั้น และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพชีวภาพ เศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งนโยบายสาธารณะ ต่าง ๆ
236
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ ข้อ 27 ให้รัฐและภาคส่วนต่าง ๆ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาความเข้มแข็งของบุคคล ครอบครัว ชุมชน และเครือข่ายตลอดจน ส่งเสริมการกระจายยา เวชภัณฑ์ ความรู้ และ เทคโนโลยีที่จําเป็นอย่างเพียงพอและทัว่ ถึงเพื่อ การดูแลตนเองและการพึ่งตนเองทางด้าน สุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ข้อ 28 ให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา ศักยภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนและ บุคคล ในการดูแลและปกป้อง ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและ สภาพแวดล้อมเพื่อให้เอือ้ ต่อสุขภาพ ข้อ 29 ให้รัฐและภาคส่วนต่าง ๆ พัฒนา มาตรการทางการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก เยาวชน สตรี ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผูส้ ูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในสังคม โดยเน้นการจัดการ ในระดับชุมชนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบ สวัสดิการชุมชน กองทุนชุมชน และกิจกรรม ชุมชนต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการสร้าง เสริมสุขภาพอย่างเป็นองค์รวม ข้อ 30 ให้รัฐและภาคส่วนต่าง ๆ สนับสนุนการ สร้างและการจัดการความรู้ การวิจัย เทคโนโลยี ทุน และการตลาดเพื่อการ พัฒนาการเกษตร การอุตสาหกรรม ธุรกิจ และ การบริการที่เอื้อต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น ส่งเสริม การเกษตรธรรมชาติที่ไร้สารเคมีป้องกันกําจัด ศัตรูพืช ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อ ชุมชนและสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมธุรกิจและ บริการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เป็นต้น ข้ อ 31 ให้ รั ฐ จั ด ให้ มี แ ผนยุ ท ธศาสตร์ ด้ า น สุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์แบบ มีส่ว นร่ว ม และสนับ สนุน การดํา เนิน งานตาม แผนให้เ ป็น รู ป ธรรม ให้รั ฐสนับ สนุน ให้ มีก าร พัฒนากฎหมายที่เกี่ย วข้องกับ การพัฒนางาน ด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ ด้วย
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ หมวด 8 การ คุ้มครอง ผู้บริโภค
237
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ หลักการ ข้อ 68 ระบบคุ้มครองผู้บริโภคต้องเป็นไป เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการปกป้องและคุ้มครอง สิทธิของผู้บริโภคโดยมุ่งเน้น (1) การสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริม ศักยภาพของผู้บริโภค (2) การให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงและครบถ้วน เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้อย่างรู้เท่าทัน (3) การจัดให้มีกลไกในการเฝ้าระวังติดตามและ ตรวจสอบสินค้าและบริการในแต่ละระดับ (4) การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค องค์กรผู้บริโภค และเครือข่ายเพื่อให้ได้รับ สินค้าและบริการที่มีมาตรฐานคุณภาพ ปลอดภัยเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมและทัว่ ถึง ตลอดจนมีระบบการชดเชยเยียวยาที่มี ประสิทธิภาพและเหมาะสมเมื่อได้รับความ เสียหาย ทั้งนี้ ต้องเป็นไปโดยปลอดจากการ แทรกแซงจากอํานาจทางการเมือง ราชการ ธุรกิจ หรือการแทรกแซงอื่นใด เป้าหมาย ข้อ 69 ผู้บริโภคต้องได้รับการปกป้องและ คุ้มครองสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ ตลอดจน ได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถปกป้อง คุ้มครองตนเองและสังคม รวมถึงได้รับความรู้ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วนสม ประโยชน์และทราบผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึ้นจาก การบริโภค ตลอดจนสามารถนําความรู้และ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมาใช้ตัดสินใจได้อย่าง เหมาะสมและเท่าทัน ผู้บริโภคที่ได้รับความ เสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือการบริการ ต้องได้รับการชดเชยและเยียวยาอย่างมี ประสิทธิภาพเหมาะสมและรวดเร็ว
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ ข้อ 70 เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พกิ ารหรือ ทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาสในสังคมต้องได้รับ ความคุ้มครองเป็นพิเศษตามสิทธิที่กฎหมาย บัญญัติ และต้องได้รับโอกาสในการพัฒนา ทักษะชีวิตรู้เท่าทันสื่อ มีส่วนร่วมในการ คุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ การสื่อสารให้ข้อมูลต้อง มีความเหมาะสมตามวัยและสภาพของบุคคล เข้าถึงได้ง่ายเข้าใจง่าย และสามารถนําไปใช้ ประโยชน์ได้ มาตรการ ข้อ 71 ในการคุ้มครองผู้บริโภคให้รัฐดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) เร่งรัดการจัดตั้งองค์การเพื่อการคุ้มครอง ผู้บริโภคที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย และออกกฎหมายที่เกี่ยวกับ การชดเชยเยียวยาผู้เสียหายจากสินค้าและ บริการ กฎหมายที่ทันต่อสถานการณ์และ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านสินค้าและ บริการ ตลอดจนบังคับใช้กฎหมายในการ คุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ และให้มี กองทุนที่เป็นอิสระในการทํางานคุ้มครอง ผู้บริโภคโดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐ อย่างเพียงพอ (2) ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมตัวของ ประชาชนในรูปแบบของกลุ่ม ชมรม สมาคม มูลนิธิ เครือข่าย และอื่น ๆ ในการดําเนินงาน เพื่อผู้บริโภคและเสริมสร้างความเข้มแข็งและ กระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้บริโภค ตลอดจน ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกลไกการคุ้มครอง ผู้บริโภคภาคประชาชนในทุกจังหวัด และต้อง สนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ และสื่อมวลชน มี ความรับผิดชอบต่อสังคมและร่วมดําเนินงาน คุ้มครองผู้บริโภค (3) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการกําหนดนโยบาย วางแผน ติดตามและตรวจสอบการดําเนินงานเพือ่ ผู้บริโภคทั้งในระดับชาติและท้องถิ่น
238
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ (4) ควบคุมการจัดบริการสาธารณะให้เด็ก เยาวชน ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ ได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ในการ ดํารงชีวิตและติดต่อสัมพันธ์กับสังคมภายนอก อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม (5) สนับสนุนให้มีระบบการทดสอบมาตรฐาน สินค้าและบริการที่ประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อ ประเมินประสิทธิภาพความคุ้มค่า ความ ปลอดภัย และผลกระทบรวมทั้งเผยแพร่สู่ สาธารณชนอย่างทั่วถึง (6) ส่งเสริมนโยบายและบูรณาการแนวคิดการ บริโภคที่ยั่งยืนเข้าไปในนโยบายสาธารณะอื่น ตลอดจนมีมาตรการที่ส่งเสริมการบริโภคที่ ยั่งยืน (7) สนับสนุนและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการเฝ้าระวัง ติดตามตรวจสอบ และ ประเมินผลสินค้าและการให้บริการ (8) สนับสนุนให้มีการตรวจสอบการเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพต่อสาธารณะเพื่อให้มี ความถูกต้องเที่ยงตรง และจัดให้มีสัดส่วนของ พื้นที่ในการให้ความรูแ้ ก่ผู้บริโภคอย่าง เหมาะสม รวมทั้งเน้นการปลูกฝังจริยธรรมของ การเป็นสื่อมวลชนที่ดี และมีความรับผิดชอบ ต่อการโฆษณาและการส่งเสริมการขายที่ส่งผล กระทบต่อสุขภาพ ข้อ 72 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกําหนด นโยบายและจัดให้มีแผนงบประมาณข้อบัญญัติ ท้องถิ่นและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภค โดย บูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภคเข้าไปเป็น ภารกิจหลักของแผนโดยการมีส่วนร่วมของ ผู้บริโภค ข้อ 73 ให้สถาบันวิชาการ สภาวิชาชีพ และ คณะกรรมการวิชาชีพด้านสาธารณสุข ร่วมกัน สร้างและพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคที่ เข้มแข็งและเป็นธรรม ร่วมตรวจสอบประเมิน และพัฒนากลไกการคุ้มครองผู้บริโภคโดย ส่งเสริมให้มีตัวแทนผู้บริโภคจํานวนพอเพียง ร่วมเป็นกรรมการในองค์กร
239
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ ข้อ 74 ให้ผู้ประกอบธุรกิจและสื่อมวลชนต่าง ๆ ดําเนินงานโดยต้องคํานึงถึงความปลอดภัยของ ผู้บริโภค และมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็น สําคัญ มุ่งสนับสนุนการบริโภคที่ยั่งยืนโดย ร่วมกันกําหนดและปฏิบัติตามแนวปฏิบตั ิที่ดีใน การผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ หลักเกณฑ์จริยธรรมว่าด้วยการประกอบธุรกิจ และการส่งเสริมการขายและควบคุมกันเองให้ เป็นไปตามข้อกําหนด รวมทั้งป้องกันและ เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการประกอบ ธุรกิจโดยเร็ว ข้อ 75 ในการจัดทําหนังสือสัญญาระหว่าง ประเทศและกฎหมายที่เกีย่ วพันมาจากหนังสือ สัญญาระหว่างประเทศตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ให้หน่วยงานของรัฐที่ เกี่ยวข้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้ (1) พิจารณาผลกระทบต่อผู้บริโภคด้านสุขภาพ และสุขภาวะอย่างรอบคอบและถี่ถว้ นตาม กระบวนการที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ต้องดําเนินการขอความเห็นจากองค์กรผู้บริโภค และภาคประชาสังคมอย่างกว้างขวาง (2) สร้างหลักประกันเพือ่ ปกป้องผลเสียหายที่ จะเกิดขึ้นจากการทําหนังสือสัญญาระหว่าง ประเทศ ตลอดจนพัฒนาและปรับปรุงกลไก รองรับผลกระทบที่เอื้ออํานวยและไม่เป็น อุปสรรคต่อกระบวนการพัฒนาด้านสุขภาพและ การพัฒนาสาธารณสุขของประเทศ (3) เปิดโอกาสให้มกี ารพิจารณาผลกระทบต่อ ผู้บริโภค โดยเฉพาะด้านสุขภาพที่เกีย่ วเนื่อง จากหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ภายหลังที่มี การบังคับใช้เพื่อหาแนวทางและกลไกในการ ชดเชยความเสียหายจากข้อตกลง ตลอดจนมี การพิจารณาเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกข้อตกลง ในกรณีที่มีผลกระทบอย่างกว้างขวาง
240
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์ 8. แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนางาน คุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์ สุขภาพ ในช่วงแผนพัฒนา เศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 11 (พ.ศ.25552559) (สํานักงาน คณะกรรมการ อาหารและยา)
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
วิสัยทัศน์ “องค์กรที่เป็นเลิศด้านการคุ้มครอง และ ส่งเสริมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มี คุณภาพปลอดภัย และสมประโยชน์ มุ่งสู่สังคม สุขภาพดี” พันธกิจ 1) กํากับ ดูแล ส่งเสริมให้มีการนําเสนอ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน 2) ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างปลอดภัยและสม ประโยชน์ เพื่อสุขภาพที่ดี 3) พัฒนาการบริหารจัดการ วิชาการ และ บุคลากร เพื่อความเป็นเลิศด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป้าประสงค์ ระยะสั้น : 1. ผลิตภัณฑ์สุขภาพมีคุณภาพมาตรฐานและ ความปลอดภัย 2. ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพทีถ่ ูกต้อง ระยะยาว : 1. ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มี คุณภาพ ปลอดภัย และสมประโยชน์มุ่งสู่สังคม สุขภาพดี 2. ประชาชนเชื่อมั่นสํานักงานคณะกรรมการ อาหารและยาในการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3. ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพทีถ่ ูกต้อง
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาระบบ การควบคุม กํากับดูแล ผลิตภัณฑ์ สุขภาพให้มี ประสิทธิภาพ ทัดเทียมระดับ สากล
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาและปรับปรุงกฎหมายด้าน การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพให้ ทันต่อสถานการณ์ และสอดคล้องกับสากล 1) พัฒนาทีมเจรจาให้มีศักยภาพและทักษะใน การเจรจาต่อรองเกี่ยวกับข้อตกลงกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกีย่ วกับการดําเนินงาน คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อมิให้ประเทศไทย เสียเปรียบทางการค้า หรือเกิดผลกระทบต่อ ระบบการคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศไทย 2) ศึกษาและพัฒนาระบบการออกกฎหมายให้ เป็นมาตรฐานตามหลักสากล โดยการนํา แนวทางของ Good Regulatory Practice (GRP) มาใช้ในการพัฒนากฎหมาย เพื่อรองรับ การเป็นประชาคมอาเซียน (AEC 2015) 3) ให้มีแผนพัฒนากฎหมายด้านการคุ้มครอง ผู้บริโภคระยะ 5 ปี และรายปี 4) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการ ให้มีความพร้อม รองรับกฎหมายที่สอดรับกับหลักปฏิบัตใิ น ระดับสากล กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบการควบคุมกํากับดูแล ผลิตภัณฑ์สุขภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่ว ประเทศ และสามารถเทียบเคียงได้ในระดับ สากล 1) พัฒนากระบวนการด้านการกํากับดูแลให้ เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยการศึกษา รวบรวมและระดมสมองผู้เชี่ยวชาญพิจารณา คัดเลือก “กระบวนการด้านการควบคุมกํากับ ดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ” เพื่อเป็นต้นแบบ สําหรับประเทศไทย
241
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 2) พัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีการ ปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ โดยการระดมสมองผู้เชี่ยวชาญและผู้เกีย่ วข้อง วิเคราะห์ และพัฒนาปรับปรุง “ระบบการ ควบคุมกํากับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ” ของ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา เทียบเคียงกับต้นแบบ เพือ่ นําไปแก้ไข/ปรับปรุง กฎหมายต่อไป พร้อมทั้งจัดทํามาตรฐานการ ปฏิบัติงาน “ระบบการควบคุมกํากับดูแล ผลิตภัณฑ์สุขภาพ” ให้ทั้งส่วนกลางและส่วน ภูมิภาค 3) สร้างความเข้มแข็งในการควบคุมกํากับดูแล ผลิตภัณฑ์สุขภาพและสถานประกอบการ ทั้ง การผลิต นําเข้า จําหน่ายและควบคุมการ โฆษณาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กาํ หนด รวมถึงมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง 4) พัฒนาระบบการกํากับดูแลเพือ่ ให้เกิดความ ยั่งยืน โดยการกําหนดรูปแบบ “การอบรม/ ฝึกฝน” และติดตามการตรวจสอบ การควบคุม กํากับดูแลฯ อย่างเป็นรูปธรรมได้มาตรฐาน อย่างยั่งยืนทัว่ ประเทศ 5) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรองรับระบบ การควบคุมกํากับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ ให้ ทันสมัยตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ตั้งแต่ ระดับปฏิบัติการจนถึงระดับบริหาร กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงาน ควบคุม กํากับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยการ ถ่ายโอนภารกิจ ให้ภาคเอกชนหรือหน่วยงาน อื่นที่มีศักยภาพ และส่งเสริมให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค 1) ทบทวนบทบาทภารกิจของสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา เพือ่ ถ่ายโอน ภารกิจให้ภาคเอกชนหรือหน่วยงานอื่นที่มี ประสิทธิภาพดําเนินการแทน 2) ผลักดันภารกิจงานคุ้มครองผู้บริโภคให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
242
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบการจัดการด้าน การเงินเพื่อเพิ่มศักยภาพในการคุ้มครอง ผู้บริโภค 1) ศึกษาการดําเนินงานของหน่วยงานอืน่ เพื่อ หาแนวทางปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการ ด้านการเงินของสํานักงานคณะกรรมการอาหาร และยา 2) ศึกษาระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณและ กิจกรรมการปฏิบัติงานของสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา เพือ่ หาแนวทาง ปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการด้าน การเงิน 3) ผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนระบบการ บริหารจัดการด้านการเงินหรือแสวงหาแหล่ง เงินทุนจากภายนอก กลยุทธ์ที่ 5 สร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย และเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามี ส่วนร่วม ในการดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 1) ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามามี ส่วนร่วมเป็นเครือข่ายในการดําเนินงานของ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ พัฒนาให้เกิดความยั่งยืนโดยเสริมสร้างองค์ ความรู้และจัดเวทีเพือ่ สร้างความสัมพันธ์ ระหว่างเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง 2) พัฒนาระบบและช่องทางการประสานงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา ในการดําเนินงาน แบบมีส่วนร่วมทั้งส่วนกลางและส่วนภูมภิ าค 3) ส่งเสริมให้มีการกํากับดูแลตนเองของ ภาคเอกชน (Self Regulation) กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพ งานบริการพิจารณาอนุญาตให้มีความรวดเร็ว โปร่งใส และเป็นธรรม 1) วิเคราะห์ภารกิจและอัตรากําลังด้านงาน บริการให้มีความเหมาะสม และสามารถรองรับ การให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
243
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 2) ลดขั้นตอน และรักษาระยะเวลาการ ให้บริการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กาํ หนด 3) เพิ่มช่องทางการให้บริการที่มีความรวดเร็ว ยิ่งขึ้น โดยนําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมา ช่วยในการปฏิบัติงาน 4) จัดทําองค์ความรู้เกี่ยวกับการยื่นคําขอขึ้น ทะเบียนให้ผู้เกี่ยวข้องรับรู้รับทราบเพื่อปฏิบัติ ได้อย่างถูกต้อง และลดเวลาการมาขอใช้บริการ 5) พัฒนาความรู้ ความสามารถของเจ้าหน้าที่ผู้ ให้บริการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาการบริหารจัดการองค์กร สู่ ความเป็นเลิศ 1) พัฒนาองค์กรตามมาตรฐานที่กาํ หนด โดย เพิ่มประสิทธิภาพและบูรณาการระบบคุณภาพ ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากับ เกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) และการต่อยอดสู่เกณฑ์รางวัล คุณภาพแห่งชาติ (TQA) รวมถึง - เสริมสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ - ปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กร
ยุทธศาสตร์ ที่ 2 พัฒนา ผู้บริโภคให้มี ศักยภาพ เพื่อ การพึ่งพา ตนเองได้ ในการบริโภค ผลิตภัณฑ์ สุขภาพ
244
กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างความรู้ของประชาชน ใน การเลือกซื้อเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ 1) เผยแพร่ความรู้เกีย่ วกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย 2) พัฒนารูปแบบและช่องทางการนําเสนอ ข้อมูล องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพที่ทันต่อสถานการณ์ สอดคล้องกับวิถี ชีวิต และวัฒนธรรม เหมาะสมกับ กลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก 3) พัฒนาองค์ความรู้ เกีย่ วกับกระบวนการ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเนื้อหาด้านผลิตภัณฑ์ สุขภาพ กลยุทธ์ที่ 2 สร้างความตระหนักเพื่อการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพทีถ่ ูกต้อง
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 1) สร้างกระแสการบริโภคเพื่อสุขภาพโดย เผยแพร่ข้อมูลความรู้ผ่านสื่อที่หลากหลาย 2) สร้างความตระหนักในการเลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถกู ต้อง โดยจัดกิจกรรม รณรงค์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลือกบริโภค ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างปลอดภัย กลยุทธ์ที่ 3 สร้างและพัฒนาภาคีเครือข่ายด้าน ผลิตภัณฑ์สุขภาพในทุกระดับอย่างเชื่อมโยง ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม 1) พัฒนาภาคีเครือข่ายการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 2) พัฒนาแกนนําและเครือข่ายต้นแบบเพื่อ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และรูปแบบการ ดําเนินงานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์ สุขภาพ 3) พัฒนาความร่วมมือระหว่างสํานักงาน คณะกรรมการอาหารและยา และหน่วยงาน ภายนอกด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาการบริหารจัดการองค์กร ความเป็นเลิศ 1) พัฒนาองค์กรตามมาตรฐานที่กาํ หนด โดย เพิ่มประสิทธิภาพและบูรณาการระบบคุณภาพ ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากับ เกณฑ์รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) และการต่อยอดสู่เกณฑ์รางวัล คุณภาพแห่งชาติ (TQA) รวมถึง - เสริมสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ - ปรับปรุงวัฒนธรรมองค์กร - จั ด ทํา ระบบฐานข้ อ มูล สารสนเทศด้ า นการ พัฒนาพฤติกรรมการบริโภค
245
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์ 9. แผนยุทธศาสตร์ กรมการขนส่งทาง บก พ.ศ.25542558 (กรมการขนส่งทาง บก)
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
วิสัยทัศน์ "มุ่งมั่นพัฒนาการขนส่งทางถนน เพือ่ คุณภาพ ชีวิตที่ดีของประชาชน" พันธกิจ 1) จัดระเบียบ พัฒนา และส่งเสริมการขนส่ง ทางถนน ให้มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เป็นธรรม คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงกับ การขนส่งรูปแบบอื่น รวมถึงการขนส่งระหว่าง ประเทศ 2) พัฒนามาตรฐานและกํากับดูแลรถให้มีความ ปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ มาตรฐานสากล 3) พัฒนาระบบการป้องกันอุบัติเหตุ และ ส่งเสริมสวัสดิภาพการขนส่งทางถนน 4) กํากับดูแลการขนส่งทางถนนให้เป็นไปตาม กฎหมาย 5) พัฒนาคุณภาพการให้บริการสู่ความเป็นเลิศ 6) ส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป้าประสงค์ 1) ประชาชนได้ใช้ระบบขนส่งด้วยรถโดยสาร สาธารณะที่มีคุณภาพ 2) ผู้ใช้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกได้รับ การบริการที่มีคุณภาพ 3) ประชาชนมีความปลอดภัยในการเดินรถทาง ถนน 4) ประชาชนมีความพึงพอใจ และเชื่อมัน่ ใน องค์กร
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและ ส่งเสริม และ กํากับดูแลระบบ การขนส่งทาง ถนน ให้มี ประสิทธิภาพ และสนับสนุน ความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาและควบคุมมาตรฐานการ ให้บริการขนส่งผู้โดยสารทางถนน เพื่อส่งเสริม การใช้บริการรถสาธารณะเพื่อตอบสนองความ ต้องการและคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้รับบริการ 1) พัฒนาเส้นทางการเดินรถโดยสารประจําทาง ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ และเชื่อมโยงการขนส่ง ทางถนนกับเครือข่ายการขนส่งมวลชนอื่น ๆ เช่น การขนส่งทางราง ทางน้ํา และทางอากาศ 2) พัฒนาสถานีขนส่งผู้โดยสารให้เป็นศูนย์กลาง การเชื่อมต่อการขนส่งที่สะดวกและปลอดภัย รวมถึงการจัดให้มีปา้ ยหยุดรับส่งผู้โดยสารที่ เหมาะสม เพื่ออํานวยความสะดวกในการ เดินทางให้แก่ประชาชน 3) พัฒนารูปแบบการให้บริการที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย เชื่อถือได้ และสร้าง ความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ โดยการส่งเสริม และสนับสนุนผู้ประกอบการขนส่งให้มีการ บริหารจัดการที่ดี รวมถึงการพัฒนาระบบ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่ออํานวยความสะดวก ในการเดินทางให้มากที่สุด 4) ใช้กลไกควบคุม กํากับดูแลจากเครือข่าย หน่วยงานทีก่ ระจายอยู่ทั่วประเทศ ในการ เข้มงวดกวดขันตรวจตราให้มีการรักษาคุณภาพ การให้บริการที่ดี และส่งเสริมให้ประชาชนมี ส่วนร่วมในการตรวจสอบการให้บริการทุก ระดับ กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาและส่งเสริมมาตรฐานการ ให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก เพือ่ สนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของ ประเทศ 1) ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการขนส่งมีการ พัฒนาการให้บริการขนส่งสินค้าที่เป็นมาตรฐาน ทั่วไป ก่อนพัฒนาสู่มาตรฐานขั้นก้าวหน้าจนถึง มีมาตรฐานในรายกลุ่มอุตสาหกรรมขนส่ง เพื่อ พัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนส่งให้ สามารถแข่งขันได้ รวมถึงส่งเสริมให้
246
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ ผู้ประกอบการขนส่งพัฒนาการให้บริการใน ลักษณะครบวงจรโดยคํานึงถึง Supply Chain ให้มากขึ้น 2) สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้เกิดการ เชื่อมการขนส่งระหว่างภูมิภาคในเมืองหลักและ เมืองชายแดน โดยมีสถานีขนส่งสินค้าเป็นศูนย์ รวมและเชื่อมต่อการขนส่งสินค้า รวมทัง้ ให้ ส่งเสริมภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น 3) ประสาน (Harmonize) เกี่ยวกับมาตรฐาน การขนส่งเพื่อส่งเสริมการขนส่งสินค้าทางถนน ระหว่างประเทศ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการค้า บริการในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนา ส่งเสริม และ กํากับดูแลการ ขนส่งทางถนน ให้มีความ ปลอดภัย และ เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม
247
กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างและระบบความ ปลอดภัยในการขนส่งทางถนน รวมถึงการใช้รถ ให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 1) ศึกษา พัฒนา และกํากับดูแลด้านความ ปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมจากรถ โดยพัฒนา ข้อกําหนดด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ของตัวรถให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมถึง การพัฒนาและกํากับดูแลการประกอบตัวรถให้ มีมาตรฐานเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต และประกอบรถภายในประเทศ 2) พัฒนาระบบตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยของรถที่นําไปใช้งานบนท้อง ถนน และกํากับดูแลการดําเนินงานของสถาน ตรวจสภาพรถเอกชนให้มีมาตรฐาน 3) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของผู้ขับรถ และโรงเรียนสอนขับรถเอกชนให้เป็นไปตาม มาตรฐานที่กําหนด 4) เสริมสร้างจิตสํานึกด้านความปลอดภัยแก่ ผู้ใช้รถใช้ถนน รวมถึงการส่งเสริมสวัสดิภาพการ ขนส่งทางถนน เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงอุบัตภิ ัยอันเกิดจากการใช้รถใช้ ถนน อันจะนําไปสู่การใช้รถใช้ถนนร่วมกันอย่าง ถูกต้อง เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 5) การกํากับดูแลและควบคุมการกระทําการฝ่า ฝืน หรือละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้งด้าน ตัวรถ ผู้ขับรถ และผู้ประจํารถ
10. แผนแม่บท การพัฒนา อุตสาหกรรมไทย พ.ศ.2555-2574 (กระทรวง อุตสาหกรรม)
วิสัยทัศน์ มุ่งสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่สมดุลและยั่งยืน เป้าหมายระยะที่ 1 เป็นการสร้างความพร้อม ให้กับประเทศไทยในการก้าวไปสู่การเป็นผู้ผลิต ในระดับภูมิภาค เตรียมความพร้อมสู่ AEC โดย เริ่มจากการสร้างความพร้อมโดยการปรับ แก้ไข กฎระเบียบ ปัญหาคอขวดเพื่ออํานวยความ สะดวก และลดอุปสรรคที่มี พัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานรองรับ พัฒนาคลัสเตอร์ และการเข้า ไปสู่การเป็นผู้ผลิตในภูมิภาคจากการสร้าง ASEAN Supply Chain และพัฒนาการผลิตที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการ บริหารงานและ การบริการสู่ ความเป็นเลิศ
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนางานด้านบริการประชาชน 1) พัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานภายใต้ ทรัพยากรที่มีอยู่จาํ กัด เพือ่ ให้เกิดการบริหาร จัดการที่มีประสิทธิภาพและจิตสํานึกในการ บริการประชาชน 2) ปรับปรุงระบบงานให้สะดวก รวดเร็ว เป็น ธรรม ลดขั้นตอนการติดต่อราชการ มีระบบงาน ที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ คํานึงถึงความพอใจของ ประชาชนเป็นหลัก 3) นําระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยให้การ ทํางานให้รวดเร็ว เป็นระบบ และถูกต้อง 4) พัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ และเพิ่มช่องทางใน การให้บริการประชาชน 5) รวมถึ งการให้ ความสํา คัญ กับ แผนกลยุ ท ธ์ การพัฒนาบุคลากรในองค์กรโดยเน้นการจัดหา กําลังคน และการจัดการความรู้ในสาขาที่ขาด แคลน และแผนแม่บ ทการพั ฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบงานให้มี ประสิทธิภาพและมีเสถียรภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับ โครงสร้าง สนับสนุน อุตสาหกรรม เพื่อการบริหาร จัดการ อุตสาหกรรม อย่างบูรณาการ
กลยุทธ์ที่ 1 การบังคับใช้มาตรฐานการผลิตใน ด้านต่าง ๆ มุ่งเน้นไปที่การสร้างการรับรูข้ อง ตลาดต่างประเทศถึงศักยภาพและความ น่าเชื่อถือของสินค้าที่ผลิตจากประเทศไทยว่า เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ และมีการพัฒนาจากการ ส่งออกในรูปวัตถุดิบไปสู่การส่งออกในรูปของ สินค้าสําเร็จรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อย่างไรก็ดี การ บังคับใช้มาตรฐานการผลิตนั้นจะต้องไม่เป็น อุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรม ภายในประเทศด้วย
248
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
เป้าหมายระยะที่ 2 เป็นช่วงเวลาของการ มุ่งเน้นการพัฒนาต่อจากพัฒนาฐานความรู้เพื่อ นํามาต่อยอดในการพัฒนาภาคการผลิตและ สินค้า เน้นการผลิตสินค้าที่ต้องใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม การปรับบทบาทประเทศไทยให้ เป็นตัวกลางในการบริหารจัดการระบบ ห่วงโซ่ การผลิตในภูมิภาคให้เป็นที่ยอมรับในอาเซียน และภูมภิ าค โดยพัฒนาเป็นศูนย์กลางการค้า และบริหารจัดการการผลิตและจัดการเครือข่าย ในภูมิภาคยกระดับการผลิตวัตถุดิบ เพือ่ สร้างให้ เกิดมูลค่าเพิ่มพร้อมไปถึงการสร้างนวัตกรรม ทรัพย์สินทางปัญญา และภาพลักษณ์ตราสินค้า ไทยให้เป็นที่ยอมรับในอาเซียน/ภูมิภาค เป้าหมายระยะที่ 3 เป็นการสร้างภาพลักษณ์ ของประเทศไทยในด้านตราสินค้าไทยที่ก้าวไกล ในตลาดโลก เป็นผู้บริหารจัดการตราสินค้าที่มี เครือข่ายการผลิตจากในภูมภิ าคที่เป็นทีย่ อมรับ ในตลาดโลก และอุตสาหกรรมไทยเป็นที่ ยอมรับ โดยมีความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรมนุษย์
11. แผน ยุทธศาสตร์ กระทรวงมหาดไท ย พ.ศ.2555-2559 (กระทรวงมหาดไท ย)
วิสัยทัศน์ เป็นกระทรวงหลักในการบริหารจัดการ และ บูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อบําบัดทุกข์ บํารุงสุข ประชาชน พันธกิจ 1) กํากับดูแล จัดระบบการบริหารการปกครอง ส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ และการ ปกครองส่วนท้องถิ่น และส่งเสริมพัฒนา การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 2) รักษาความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงภายใน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ ต่างประเทศ
กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนากฎระเบียบและข้อบังคับที่มี ผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม มุ่งเน้นไปที่ การ ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกฎระเบียบที่ไม่เหมาะสมต่อ สถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปตาม กระแสโลกาภิวัตน์ รวมไปถึงกฎระเบียบในการ ป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม และชุมชน กลยุทธ์ที่ 7 ส่งเสริมการบริหารจัดการ อุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ และสนับสนุน การบูรณาการความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งส่วนราชการ เอกชน และชุมชน โดยการ กระจายอํานาจจากส่วนกลางให้มีหน่วยงาน หรือองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการ อุตสาหกรรมในพื้นที่ และบริหารความสัมพันธ์ ระหว่างอุตสาหกรรมและสังคม รวมไปถึงการ จัดสรรทรัพยากร (ที่ดิน น้ํา ไฟฟ้า วัตถุดิบ ฯลฯ) ที่รองรับการพัฒนาและขยายตัวของ อุตสาหกรรม โดยให้ชุมชนและประชาชนมีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการ เพือ่ มุ่งเน้นการพัฒนา อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ในพื้นที่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุน ส่งเสริมการ บริหารราชการ ส่วนภูมิภาค ท้องที่ และ ท้องถิ่น ให้ เหมาะสมต่อ การพัฒนา ประเทศ และ ส่งเสริมพัฒนา การเมืองการ ปกครองใน ระบอบ ประชาธิปไตย
249
กลยุทธ์ที 1 เตรียมความพร้อมเชิงรุกเพื่อ รองรับการเปลี่ยนแปลงระหว่างราชการบริหาร ส่วนภูมิภาค ท้องที่ และท้องถิ่น กลยุทธ์ที่ 2 สร้างความตระหนักรู้และความ เข้าใจร่วมกันต่อความเปลี่ยนแปลงทางการ บริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมภิ าค และส่วน ท้องถิ่น กลยุทธ์ที่ 3 ส่งเสริมและปลูกฝังวิถีชวี ิตแบบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขไปใช้ในการดําเนินชีวิต กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการพัฒนาจังหวัด/กลุ่ม จังหวัดให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และ ความต้องการในระดับพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาคุณภาพของแผนทุกระดับ
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
3) อํานวยความเป็นธรรมและแก้ไขปัญหาความ เดือดร้อนของประชาชนในระดับพื้นที่ 4) ส่งเสริมการพัฒนาเมือง โครงสร้างกายภาพ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 5) เสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชน และ สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ พัฒนาและแก้ไขปัญหาตามแนวทางปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 6) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเชิงบูรณา การ 7) ให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ และจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการบริหารและ พัฒนาประเทศ
อันมี พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาขีดความสามารถของอําเภอ ให้เป็นศูนย์กลางการบูรณาการ การบริหาร การพัฒนา และการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาบทบาทของคณะกรรมการ หมู่บ้าน และ อปท. ในการจัดทําแผน ยุทธศาสตร์พัฒนาอําเภอ กลยุทธ์ที่ 8 ขับเคลื่อนและบูรณาการแผน ชุมชน และแผนพัฒนาท้องถิ่นสู่การปฏิบัติ กลยุทธ์ที่ 9 สร้างกลไกการจัดทํา และประสาน แผนพัฒนาของ อปท. กลยุทธ์ที่ 10 ส่งเสริมให้ อปท. มีความสามารถ ในการจัดการตนเอง กลยุทธ์ที่ 11 ส่งเสริมความร่วมมือของ อปท. ในการจัดทํากิจกรรมสาธารณะร่วมกัน กลยุทธ์ที่ 12 พัฒนาความร่วมมือและสนับสนุน กลไกการมีส่วนร่วมของภาคี/เครือข่ายการ พัฒนาในระดับพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 13 ส่งเสริมการมีส่วนร่ว มของภาคี ทุกภาคส่วนในการกําหนดนโยบายในทุกระดับ ของการพั ฒ นา เน้ น การเชื่ อ มประสานองค์ ความรู้ ก ารประยุ ก ต์ ใ ช้ ป รั ช ญาเศรษฐกิ จ พอเพียง
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างความ สงบเรียบร้อย การอํานวย ความเป็นธรรม และความมั่นคง
กลยุทธ์ที่ 1 สร้างความตระหนักถึงความสําคัญ ของสถาบันหลักของชาติในระดับพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนากลไกเชิงสถาบันและ มาตรการ เตรียมความพร้อมในระบบเตือนภัย และระบบป้องกันสาธารณภัยและภัยพิบัติต่าง ๆ กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มขีดความสามารถการบริหาร จัดการสาธารณภัยอย่างครบวงจร กลยุทธ์ที่ 4 บูรณาการการป้องกันและ แก้ปัญหายาเสพติดในระดับพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 5 เสริมสร้างขีดความสามารถของ อปท. ในการจัดการปัญหายาเสพติด
250
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 6 เพิ่มประสิทธิภาพฝ่ายปกครองใน การป้องกัน ตรวจ ติดตาม และบังคับใช้ กฎหมายในความรับผิดชอบ กลยุทธ์ที่ 7 เสริมสร้างการจัดระเบียบความ มั่นคงชายแดน กลยุทธ์ที่ 8 เพิ่มประสิทธิภาพด้านการข่าวเพิ่ม ความมั่นคง กลยุทธ์ที่ 9 เสริมสร้างความเข้มแข็งของ หมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลยุทธ์ที่ 10 พัฒนาระบบโครงสร้างพืน้ ฐานใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลยุทธ์ที่ 11 พัฒนากลไกการอํานวยความเป็น ธรรม และการสืบสวนสอบสวนในอํานาจหน้าที่ ของพนักงานฝ่ายปกครองอย่างต่อเนื่องและ เป็นระบบ กลยุทธ์ที่ 12 พัฒนาระบบรับเรื่องราวร้องทุกข์ กลยุทธ์ที่ 13 ส่งเสริมศักยภาพและพัฒนา บทบาทของคณะกรรมการหมูบ่ ้าน ในการไกล่ เกลี่ยประนอมข้อพิพาทในระดับพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 14 พัฒนากระบวนการคุ้มครองที่ดิน ของรัฐ (สาธารณประโยชน์) กลยุทธ์ที่ 15 เร่งรัดการรังวัดและจัดทําแผนที่ เพื่อแสดงแนวเขตที่ดินของรัฐ กลยุทธ์ที่ 16 เร่งรัดการออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้มี สิทธิในการถือครองที่ดินตามกฎหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างให้ ชุมชนเข้มแข็ง เมืองน่าอยู่ และ ประชาชนอยู่ เย็นเป็นสุข ตาม แนวปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียง
251
กลยุทธ์ที่ 1 ขยายผลแนวทางการพัฒนาอัน เนื่องมาจากพระราชดําริ หลักการทรงงาน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเรียนรู้ตาม รอยพระยุคลบาท กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีทุก ภาคส่วนในการกําหนดนโยบายในทุกระดับของ การพัฒนา เน้นการเชื่อมประสานองค์ความรู้ การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาบทบาท กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บา้ นให้เป็นกลไกหลักใน การพัฒนาหมูบ่ ้าน กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนากระบวนการจัดที่ดินให้แก่ ประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน กลยุทธ์ที่ 5 แก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจนแบบ บูรณาการ กลยุทธ์ที่ 6 เสริมสร้างความสุขมวลรวมชุมชน โดยพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ที่ 7 พัฒนาทุนชุมชนให้มั่นคงและมีธรร มาภิบาล กลยุทธ์ที่ 8 บริหารจัดการข้อมูลเพื่อการพัฒนา ชนบทไทย กลยุทธ์ที่ 9 พัฒนาผู้ผลิตและผู้ประกอบการ และการตลาด OTOP กลยุทธ์ที่ 10 ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน กลยุทธ์ที่ 11 ส่งเสริมการบริหารจัดการด้านผัง เมืองทุกระดับ กลยุทธ์ที่ 12 เสริมสร้างสภาพแวดล้อมเมืองที่ดี และปลอดภัย กลยุทธ์ที่ 13 ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดรูป ที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบ บริการ สาธารณะที่มี คุณภาพอย่าง ทั่วถึงและเท่า เทียม
252
กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริการเชิงรุกโดยยึด ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ให้ทันสมัยและทั่วถึง กลยุทธ์ที่ 2 สนับสนุนให้บริการด้านช่างให้แก่ อปท. ชุมชน และส่วนราชการ กลยุทธ์ที่ 3 ขยายระบบจําหน่ายพลังไฟฟ้า เพิ่มเติม และปรับปรุงระบบไฟฟ้าให้มีความ ปลอดภัย กลยุทธ์ที่ 4 ขยายกําลังการผลิตน้ําประปา และ เพิ่มประสิทธิภาพระบบจําหน่ายน้าํ ประปาให้ เพียงพอและทัว่ ถึง
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ อปท. จัดบริการสาธารณะ และสวัสดิการขั้นพืน้ ฐาน ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ กลยุทธ์ที่ 6 พัฒนาระบบการจัดเก็บ การ เชื่อมโยง และการใช้ประโยชน์ข้อมูลพื้นฐาน ทางทะเบียน กลยุทธ์ที่ 7 จัดทําและพัฒนาระบบฐานข้อมูล สารสนเทศการเลือกตั้งท้องถิ่น กลยุทธ์ที่ 8 พัฒนาระบบบริหารจัดการระบบ สารสนเทศที่ดินให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
12. แผนปฏิบัติ ราชการ 4 ปี พ.ศ.2555-2558 (กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์)
วิสัยทัศน์ กรมการค้าภายในเป็นองค์กรนําในการ เสริมสร้างประสิทธิภาพกลไกการตลาด และ ความเป็นธรรมทางการค้า
ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มขีด สมรรถนะ องค์กรให้เท่า ทันการ เปลี่ยนแปลง
กลยุทธ์ที่ 1 เสริมสร้างระบบบริหารจัดการ องค์กรที่โปร่งใสตรวจสอบได้ และมุ่งผลสัมฤทธิ์ สูง กลยุทธ์ที่ 2 เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของ องค์กร กลยุทธ์ที่ 3 ปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างทาง กายภาพ สถานที่ และสภาพแวดล้อมให้ได้ มาตรฐานเอื้อต่อการทํางาน และการให้บริการ ประชาชน กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการภายใน องค์กรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ กลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาระบบบริหารทรัพยากร บุคคลโดยยึดหลักสมรรถนะ คุณธรรม และ ความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทํางาน กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนา ระบบแลกเปลี่ยน/วิจยั และพัฒนาองค์ความรู้ กลยุทธ์ที่ 7 สร้างความพร้อมระดับองค์กรต่อ การเปลี่ยนแปลงในมิติด้านต่าง ๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความ เป็นธรรมด้าน ราคา ปริมาณ และมาตรฐาน การชั่งตวงวัด
ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรม ด้านราคา ปริมาณ และมาตรฐานการชั่งตวงวัด กลยุท ธ์ที่ 1 ส่ง เสริ ม การลดค่ า ครองชีพ โดย จั ด ก ารและสร้ า งความ ร่ ว มมื อ กั บ ก ลไก ภาคเอกชนให้มีสิน ค้า ที่มีราคาเหมาะสมและ เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
253
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
13. แผน ยุทธศาสตร์ กรม สนับสนุนบริการ สุขภาพ พ.ศ.2555 -2558 (กระทรวง สาธารณสุข)
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
พันธกิจ 1) พัฒนาและส่งเสริมระบบตลาด การตลาด และตลาดให้เกิดประสิทธิภาพ เพื่อสร้างโอกาส และให้ความเป็นธรรมแก่เกษตรกร 2) กํากับดูแลการค้าสินค้าและบริการ และการ ชั่งตวงวัด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการซื้อ ขาย รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้บริโภคมี บทบาทในการดูแลราคาและพฤติกรรมทางการ ค้า 3) กํากับดูแลและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ การค้าในประเทศให้มีการแข่งขันทางการค้าที่ เป็นธรรม 4) พัฒนาองค์กรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เป้าประสงค์ ผู้บริโภคได้รับ ความเป็นธรรม ในด้านราคา ปริมาณ คุณภาพ รวมทั้ง มีความเข้มแข็ง ในการพิทักษ์ ประโยชน์ ตนเอง
กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการในการ กํากับดูแลราคาให้เหมาะสม เป็นธรรม ปริมาณ เพียงพอ ครบถ้วน ถูกต้อง กลยุท ธ์ที่ 3 ส่งเสริม และพัฒนาระบบการชั่ง ตวงวัดให้มีมาตรฐาน เป็นกลไกสนับสนุนให้เกิด ความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการ กลยุทธ์ที่ 4 สร้างความเข้มแข็งผู้บ ริโ ภคและ สร้างเครือข่ายพันธมิตร ในการดูแลราคาและ พฤติกรรมทางการค้า กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมการค้าสินค้าและบริการให้ มี ก ารประกอบการที่ ดี มี ม าตรฐาน เพื่ อ เป็ น ทางเลือกแก่ผู้บริโภค กิจกรรม 1) จัดจําหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค 2) การตรึงราคาจําหน่ายข้าวสาร 3) กํากับดูแลสินค้า/บริการ และมาตรฐานการ ชั่งตวงวัด 4) เสริมสร้างธรรมาภิบาล และสร้างเครือข่าย พันธมิตร
วิสัยทัศน์ เป็นองค์หลักด้านระบบบริการสุขภาพ และ ระบบสุขภาพภาคประชาชน พันธกิจ 1) ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบ โรคศิลปะ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และ กฎหมายอื่นที่เกีย่ วข้อง 2) พัฒนาระบบและกลไก เพือ่ ให้มีการบังคับใช้ กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เกิดผล สําเร็จแก่ราชการและประชาชน 3) ส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนการ ดําเนินงานสุขศึกษาและระบบสุขภาพของ ประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และ ควบคุม กํากับ ระบบบริการ สุขภาพให้ได้ คุณภาพ มาตรฐาน
กิจกรรม 1) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาสถานบริการ สุขภาพภาครัฐให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานงาน สุขศึกษา 2) ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และควบคุมกํากับ คุณภาพมาตรฐานด้านอาคารสถานที่ในสถาน บริการสุขภาพภาครัฐทุกระดับ 3) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาคุณภาพตาม มาตรฐานด้ า นวิ ศ วกรรมการแพทย์ ใ นสถาน บริการสุขภาพภาครัฐ 4) ส่งเสริม พัฒนา ควบคุม กํากับสถานบริการ สุขภาพภาคเอกชนให้มีคุณภาพมาตรฐานตามที่ กฎหมายกําหนด
254
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
4) ดําเนินการเกี่ยวกับงานด้านความช่วยเหลือ ความร่วมมือ และการประสานงานกับ หน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ 5) ศึกษา วิเคราะห์ วิจยั พัฒนาและถ่ายทอด องค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านระบบบริการ สุขภาพแก่องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนามาตรฐานด้าน อาคารสถานที่และสถาปัตยกรรมด้าน สาธารณสุข 7) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนามาตรฐาน ครุภัณฑ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข 8) ส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานสถาน ประกอบการเพื่อสุขภาพ เป้าประสงค์ 1) สถานบริการสุขภาพภาครัฐ ภาคเอกชน สถานประกอบการธุรกิจบริการสุขภาพ และผู้ ประกอบโรคศิลปะ มีคุณภาพตามมาตรฐาน 2) ประชาชนสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ และระบบสุขภาพภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์ 5) ส่งเสริม พัฒนา ควบคุม กํากับการประกอบ โรคศิลปะให้มีคุณภาพมาตรฐานตามที่กฎหมาย กําหนด 6) พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีศักยภาพใน การรองรับผู้รับบริการชาวต่างชาติ 7) ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และกํากับธุรกิจ บริการสุขภาพให้มีคุณภาพมาตรฐาน 8) ศึกษาวิเคราะห์ วิจัยเพื่อการพัฒนา 9) ส่งเสริมการคุ้มครองด้านบริการสุขภาพ 10) ส่ งเสริม พั ฒนาให้มีม าตรฐานการบริก าร สร้า งเสริม และบํา บั ดรัก ษาสุข ภาพแบบองค์ รวม 11) พัฒนารูป แบบ Public Private Partnership (PPP) ในสถานบริการสุขภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างการมี ส่วนร่วมในการ พัฒนา พฤติกรรม สุขภาพของ ประชาชน
กิจกรรม 1) ถ่ า ยทอดความรู้ ด้ า นสุ ข ภาพสู่ ป ระชาชน กลุ่มเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้าง ศักยภาพและ พัฒนาเครือข่าย ระบบสุขภาพ ภาคประชาชน
กิจกรรม 1) ส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น องค์ ก รอาสาสมั ค ร สาธารณสุ ข ประจํ า หมู่ บ้ า น (อสม.) องค์ ก ร ปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายสุขภาพภาค ประชาชนในการจัดการระบบสุขภาพชุมชน 2) พั ฒ นาศั ก ยภาพอาสาสมั ค รสาธารณสุ ข ประจําหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และสร้ า งสุข ภาพเชิ ง รุก ในชุ ม ชนทั้ ง ในภาวะ ปกติ ภาวะฉุกเฉิน และภัยพิบัติ
255
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
14. แผน ยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ.2555-2559 (ธนาคารแห่ง ประเทศไทย)
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่มองไกล มีหลักการ และร่วมมือ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของไทย พันธกิจ มุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเงินที่มีเสถียรภาพ และมีพัฒนาการอย่าง ยั่งยืนและทัว่ ถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 7 ด้านการ คุ้มครอง ผู้ใช้บริการ ทางการเงิน
ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ แ ก่ ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 7 ด้ า นการคุ้ ม ครอง ผู้ใช้บริการทางการเงิน ทิศทางยุทธศาสตร์ มุ่งสู่การมีกระบวนการทํางานด้านการคุ้มครอง ผู้ใช้บริการทางการเงินอย่างเป็นระบบ และเอื้อ ต่อการดําเนินงานที่สอดประสานกับหน่วยงาน ภายนอก กิจกรรม จั ด กระบวนการทํ า งานด้ า นการคุ้ ม ครอง ผู้ใช้บริการทางการเงินให้เป็นระบบ รวมศูน ย์ และทํ า งานเชิ ง รุ ก มากขึ้ น โดยจั ด ตั้ ง ศู น ย์ คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) เพื่อทํา หน้าที่กําหนดกลยุทธ์ วิเคราะห์ และติดตามผล การดํ า เนิ น งานด้ า นการคุ้ ม ครองผู้ ใ ช้ บ ริ ก าร ทางการเงิ น ของ ธปท. ในภาพรวม และทํ า หน้ า ที่ ป ระสานงานกั บ หน่ ว ยงานทั้ ง ภายใน ภายนอกอย่างเป็นระบบ พร้อมสื่อสารเพื่อให้ ประชาชนทราบและเข้าใจบทบาทของ ธปท. ด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินมากขึ้น
15. แผน ยุทธศาสตร์ สํานักงานปลัด กระทรวงการคลัง พ.ศ.2555-2558 (สํานักงานปลัด กระทรวงการคลัง)
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรหลักในการบริหารจัดการงานของ กระทรวงการคลังแบบบูรณาการอย่างมืออาชีพ และเป็นผู้นําการเปลีย่ นแปลง พันธกิจ 1) พัฒนายุทธศาสตร์และระบบบริหารจัดการ ให้องค์กรมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล 2) บริหารองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ในด้าน ทรัพยากรบุคคลและระบบข้อมูลสารสนเทศ เป้าประสงค์ 1) ยุทธศาสตร์ที่มีทิศทางชัดเจน และการ บริหารจัดการทีโ่ ปร่งใส มุ่งสู่ประโยชน์สงู สุดต่อ ประชาชน 2) บุคลากร และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของกระทรวงการคลังที่มี ประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างความ เชื่อมั่นต่อการ ดําเนินงานของ กระทรวง การคลัง
ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างความเชื่อมั่น ต่อการดําเนินงานของกระทรวงการคลัง เป้าประสงค์ ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการดําเนินงานของ กระทรวงการคลัง และระบบเศรษฐกิจของ ประเทศ กลยุ ท ธ์ ป้ อ งปรามธุ ร กิ จ การเงิ น นอกระบบ ภายใต้ ก ฎหมายที่ อ ยู่ ในความรั บ ผิ ดชอบของ กระทรวงการคลังอย่างมีประสิทธิภาพ เป้าประสงค์ของกลยุทธ์ ประชาชนได้รับความคุ้มครองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ จากธุรกิจการเงินนอกระบบภายใต้กฎหมายที่ อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลัง
256
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
แผนแม่บท/ แผนยุทธศาสตร์ 16. ยุทธศาสตร์ ระยะ 3 ปี (1 เมษายน 2555 – 31 มีนาคม 2558) (แผนงานพัฒนา วิชาการและกลไก คุ้มครองผู้บริโภค ด้านสุขภาพ (คคส.))
วิสัยทัศน์/ พันธกิจ / เป้าหมาย
ยุทธศาสตร์
กลยุทธ์/รายละเอียดของกลยุทธ์
วิสัยทัศน์ ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และดัชนีชี้วัดการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ระดับชาติ พันธกิจ จุดประกาย กระตุ้น สานและเสริมพลังผู้บริโภค และองค์กรผู้บริโภคทุกภาคส่วนให้มีขีด ความสามารถ และพัฒนาระบบคุ้มครอง ผู้บริโภค ที่เอื้อต่อสุขภาวะ วัตถุประสงค์ 1. เสริมสร้างความเข้มแข็งและคุณภาพของ กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในระดับชาติและ ระดับพื้นที่ ที่ส่งเสริมบทบาทและศักยภาพของ ภาคประชาสังคม 2. พัฒนาและขับเคลื่อนให้เกิดนโยบาย มาตรการ และแนวทางปฏิบัติในการคุ้มครอง ผู้บริโภคจากสินค้าและบริการที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพผู้บริโภคในวงกว้าง 3. พัฒนาต้นแบบความร่วมมือในการบูรณาการ งานคุ้มครอง
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างและจัดการ ความรู้เพื่อ สนับสนุนการ คุ้มครอง ผู้บริโภคด้าน สุขภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริม ประสิทธิภาพ กลไกการ คุ้มครอง ผู้บริโภค ยุทธศาสตร์ที่ 3 ผลักดัน นโยบาย/ กฎหมายและ มาตรการเพื่อ ความปลอดภัย ของสินค้าและ การจัดการ สินค้าไม่ ปลอดภัย ยุทธศาสตร์ที่ 4 สร้างความ ร่วมมือกับ ท้องถิ่น เอกชน และสื่อมวลชน เพื่อการ คุ้มครอง ผู้บริโภค
ตัวชี้วดั ผลลัพธ์ คคส. ได้แก่ 1. องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่จะ เกิดขึ้น สามารถแสดงบทบาทตามอํานาจหน้าที่ ในการคุ้มครองผู้บริโภค ตามที่กําหนดใน พระราชบัญญัติฯ อย่างเข้มแข็ง ตามหลักฐาน และข้อมูลทางวิชาการ 2. เกิดนโยบายระดับชาติ 1 เรื่องต่อปี มาตรการระดับท้องถิ่น 1 เรื่องต่อปี และ แนวทางปฏิบัติที่มีการดําเนินงานในพื้นที่ เป้าหมาย ในการคุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้า และบริการที่อาจไม่ปลอดภัย และ/หรือ มี ผลกระทบต่อสุขภาพ 3. เกิดรูปแบบความร่วมมือในการบูรณาการ งานคุ้มครองผู้บริโภคในเครือข่ายระดับจังหวัด องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในจังหวัดนําร่อง (ต้นแบบ) ที่เป็น แบบอย่าง อย่างน้อย 10 จังหวัด 4. มีองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค (ตามนิยามในร่าง พ.ร.บ.องค์การอิสระฯ) ที่มีคุณภาพ อย่างน้อย 10 องค์กร 5. การสร้างและจัดการองค์ความรู้เพื่อนําไปใช้ ในการคุ้มครองผู้บริโภค อย่างน้อย 3 เรื่อง 6. เกิดรูปแบบความร่วมมือจากภาคธุรกิจ/ สื่อมวลชน ในบทบาท
257
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
258
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Vision
A U.S. Economy characterized by consumer access to accurate information and vigorous competition among producers, yielding high-quality products at low prices and encouraging efficiency, innovation, and consumer choice.
Strategic Plan /Master Plan
Strategic Plan Fiscal Years 2003 -2008 Federal Trade Commission, U.S. -To prevent business practices that are anticompetitive, deceptive, or unfair to consumer; -To enhance informed consumer choice and public understanding of the competitive process; -To accomplish these goals without unduly burdening legitimate business activity.
Mission
Strategic Goal 2: Maintain Competition Objective 1: identify anticompetitive mergers and practices that cause the greatest consumer injury Objective 2: stop anticompetitive mergers and practices through law enforcement Objective 3: prevent consumer injury through education
Strategic Goal 1: Protect consumers Objective 1: Identify fraud, deception, and unfair practices that cause the greatest consumer injury Objective 2: stop fraud, deception, and unfair practices through law enforcement Objective 3: prevent consumer injury through education
Strategic Goals/objectives
259
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan FY 2006-2011 Federal Trade Commission, U.S.
Strategic Plan /Master Plan
A U.S. economy characterized by vigorous competition among producers and consumer access to accurate information, yielding high-quality products at low prices and rewarding efficiency, innovation, and consumer choice.
Vision -To prevent business practices that are anticompetitive or deceptive or unfair to consumers; -To enhance informed consumer choice and public understanding of the competitive process; and -To accomplish these missions without unduly burdening legitimate business activity.
Mission
-Collect and enter more than 1.05 M complaints and inquiries into the consumer database a year by 2008; and more than 1.25 M by 2011 -Determine if at least one-half of consumer protection law enforcement actions each year are responsive to the consumer complaint information gathered by the agency -Stop fraudulent and deceptive practices by obtaining at least 130 orders each year -Stop approximately $400M in economic injury to consumer each year; save consumer a total of at least $2B through law enforcement by 2011
Strategic Goal 1: Protect Consumers Objective 1.1 Identify fraud, deception, and unfair practices that cause the greatest consumer injury.
Strategic Goal 1: Protect Consumers Objective 1.2 Stop fraud, deception, unfairness, and other unlawful practices through law enforcement.
Strategic Goals/objectives
260
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan /Master Plan Vision
Mission Strategic Goal 1: Protect Consumers Objective 1.3 Prevent consumer injury through education
Strategic Goals/objectives -Track if FTC’s consumer protection messages are accessed online or in print a total of more that 50M time a year by 2008, and more that 60M times a year by 2011 -Determine if, included in the total of consumer protection messages accessed, those relating to identity theft are accessed more than 9M times a year by 2008, and more than 11M times a year by 2011 -determine if, included in the total of consumer protection messages accessed, messages in Spanish are accessed more than 3M times a year by 2008, and more than 4M time a year by 2011 -track number of time print media publish articles that refer to FTC consumer protection activities and the circulation of the media that publish those articles each yea r
261
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan /Master Plan Vision
Mission Strategic Goal 1: Protect Consumers Objective 1.4 Enhance consumer welfare through research, reports, advocacy, and international cooperation and exchange.
Strategic Goals/objectives -convene or participate substantially n at least 30 workshops and conferences and issues at least 40 reports on novel or challenging consumer protection problems or issues over five-year period -File at least 30 public and advocacy comments with other federal and state government agencies over fiveyear period -cooperate with foreign government agencies on at least 100 enforcement matters with cross-border components over five-year period -provide policy or technical input to foreign government agencies or international organizations in at least 100 instances involving consumer protection over five-year period
262
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan / Master Plan
Vision
Mission Strategic Goal 2: Maintain competition Objective 2.1 identify anticompetitive mergers and practices that cause the greatest consumer injury.
Strategic Goals/objectives -Track number of enforcement actions for the total mission, and separately for the merger and nonmerger programs -Achieve positive outcome in at least 90% of matters in which HSR requests for additional information issue -Report annual number of second requests, reportable transactions for which premerger notifications were received, HSR investigations that resulted in enforcement action, transaction in which antitrust issues were resolved through voluntary abandonment or restructuring because of FTC concerns, and investigations closed because the evidence indicated that a competitive problem was unlikely
263
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan /Master Plan Vision
Mission
Strategic Goal 2: Maintain competition Objective 2.2 Stop anticompetitive mergers and business practices through law enforcement
Strategic Goals/objectives
-Achieve a positive result in at least 80% of cases in which the FTC takes enforcement action each year -Take action against mergers likely to harm competition in markets with a total of at least $1 25B in sales over 5 year period; $25B in sales each year - Save consumers an estimated $2.5B over 5-year period through merger enforcement; $500M each year
--Achieve a positive outcome in at least 90% of annual significant nonmerger investigations -Track number of significant Nonmerger investigations closed each year, with or without enforcement action
264
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan /Master Plan Vision
Mission
Strategic Goals/objectives -Save consumer at least six times the amount of agency resources allocated to the merger program over 5year period -Take action against nonmerger anticompetitive conduct in markets with a total of at least $40B in annual sales over 5-year period; $8B each year -Save consumers an estimated $400M over 5-year period through nonmerger enforcement; $80M each year -Save consumer at least four times the amount of agency resources allocated to the nonmerger enforcement program over 5-year period
265
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan 2010-2015 Australian Communication Consumer Action Network (ACCAN)
Strategic Plan /Master Plan
Available, accessible and affordable communications that enhance the lives of consumers.
Vision -campaigning for consumers and the public interest. -placing emphasis on the needs if consumers for whom the market is not working. -inspiring, informing, enabling and equipping consumers to act in their own interest. -researching consumer issues to produce sound information and evidence. -building partnerships and working across jurisdictions to optimize positive outcomes
Mission 1. Make the communications market work for consumers. 2. Fight for availability, accessibility and affordability 3. Protect and Promote security, privacy and fair use. 4. Support responsible consumption 5. Sound governance
Strategic Goals/objectives
266
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan 2012-2015 Consumers International
Strategic Plan /Master Plan Mission To built a powerful movement to champion consumer rights and to help protect and empower consumers everywhere.
Vision
A world where people have access to safe and sustainable goods and services, exercising their individual rights as consumers, and using the force of their collective power for the good of consumers everywhere. Leading change for the world’s consumers 1. To lead movement’s international fight for a fairer, safer, more sustainable future for all consumers. Creating a stronger, better connected, global consumer movement 2. To support the development of the consumer movement to articulate, serve and defend consumer rights across the world. Building our operational strenght 3. To develop an innovative, efficient and sustainable membership organization to support a 21st century consumer rights movement.
Strategic Goals/objectives
267
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
United Nations Guidelines For Consumer Protection (as Expanded in 1999)
Strategic Plan /Master Plan Vision Objectives: (a) To assist countries in achieving or maintaining adequate protection for their population as consumers; (b) To facilitate production and distribution patterns responsive to the needs and desires of consumers; (c) To encourage high levels of ethical conduct for those engaged in the production and distribution of goods and services to consumers; (d) To assist countries in curbing abusive business practices by all enterprises at the national and international levels which adversely affect consumers; (e) To facilitate the development of independent consumer groups;
Mission Guidelines A. Physical safety B. Promotion and protection of consumers’ economic interests C. Standards for the safety and quality of consumer goods and services D. Distribution facilities for essential consumers goods and services E. Measures enabling consumers to obtain redress F. Education and information programmes G. Promotion of sustainable consumption H. Measures relating to specific areas
Strategic Goals/objectives
268
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan /Master Plan Vision (f) To further international cooperation in the field of consumer protection; (g) To encourage the development of market conditions which provide consumers with greater choice at lower prices; (h) To promote sustainable consumption.
Mission
Strategic Goals/objectives
269
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
South East Asia Consumer Council (SEACC) / The SEACC Regional Forum/Meeting 4-6 September 2012, Bangkok, Thailand
Strategic Plan /Master Plan
To be the leading voice for consumers in the ASEAN region by being one of the key stakeholders in policy development
Vision 1) To advance the interest of consumers; 2) To empower consumers; 3) To advocate for pro consumer policies and influence ASEAN decisions; 4) To partner and collaborate at country, regional and international level to advance consumers’ interests.
Mission
2) Acknowledge SEACC official status with ACCP and ASEAN and collaboration among stakeholders;
SEACC wants the ACCP and ASEAN governments to adopt below recommendations and support their implementation. 1) Develop, strengthen and implement Consumer Protection Laws in ASEAN countries;
Strategic Goals/objectives a. Develop comprehensive law for countries where there are no existing law – based on best practices in other countries b. Amend existing Consumer Protection Law in countries where laws are weak or needing improvement. c. Establish mandatory consumer protection bodies with full authority to investigate, prevent and remedy violations of consumer protection law. d. Strict enforcement of laws and penalize violators (e.g. removal of business permit; removal of products etc) a.Country Government Consumer Protection bodies should be stakeholders in SEACC b. Partnership and collaboration between ACCP-ASEAN and SEACC should be made official c. SEACC should be stakeholder in ACCP-ASEAN d. Provide funding and technical support to SEACC.
270
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan /Master Plan Vision
Mission
4) Good consumer complaints & redress Mechanism in integrated economies;
3) Give priorities to the following specific consumer issues that currently need urgent attention in line with the ongoing region’s economic integration and one ASEAN community processes;
Strategic Goals/objectives a. Banking and financial services b. Sustainable consumption c. Internet and other information technology applications d. Provision of Safe and affordable Basic Necessities for Consumers – Public transport, Electricity, Water e. Food Safety – Code on the marketing of safe and clean food is needs to guarantee protection of consumers. Availability of food. f. Fair free Trade – No monopoly, no protectionism g. Intellectual Property Right – Protection scheme must ensure the accessibility of essential products e.g. pharmaceuticals and health services in the ASEAN countries. a. Strengthen out-of-court settlement at country and regional level b. Decentralized complaints’ centers that are accessible by masses of consumers c. Ensure consumers have access to adequate individual and collective redress systems.
271
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan /Master Plan Vision
Mission
7) Promote public and civil society participation in consultation pertaining to FTAs, AFTA and other bilateral or multilateral agreements.
6) Improve access to Information at country and regional level and strengthen consumer awareness and education;
5) Strategic and systematic monitoring, alerting and disseminating of flow of recalled and banned products – free flow of goods unmonitored lead to flow of banned, hazardous and unsafe goods between countries and in the region;
Strategic Goals/objectives a. Good collaborative regional mechanism to monitor the flow of recalled and banned products in the borders, from origin countries and destination countries. b. Good mechanism go alert the public of recalled and banned products c. Quick access by the public to list of updated monitored recalled and banned products d. Penalty to producers of banned products. a. Introduce Universal access to IT for all
272
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
The Asian Committee On Consumer Protection (ACCP)
Strategic Plan /Master Plan Vision ACCP was established in August 2007. The ACCP, and its three Working Groups, serve as the focal point for the implementation and monitoring of regional arrangements and mechanisms on, and to foster the sustainable development of , consumer protection in ASEAN.
Mission
(A) Development of notification and information exchange mechanism
Three Working Groups of ACCP : At its 2nd Meeting in August 2009, the ACCP discussed, considered and endorsed the Terms of Reference (TORs) and work programmes of all three ACCP R Working Groups. These work programmes form the basis for the ACCP’s overall work plan for 2010-2011.
Strategic Goals/objectives
(a) the ASEAN-wide exchange of information on the recall of unsafe products officially announced by AMSs; and (b) raising consumer awareness on those unsafe products in AMSs, Indonesia as the Chair of the Working Group on Rapid Alert System & Information Exchange, has submitted the draft guidelines for notification of recalled products to ACCP and is currently consolidating inputs from AMSs.
273
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
Strategic Plan /Master Plan Vision
Mission
(C) Development and implementation of a capacity building roadmap. (aseanconsumer.org/about/)
(B) Development of a cross border consumer redress website.
Strategic Goals/objectives Malaysia, as the Chair of the Working Group on Cross Border Consumer Redress, is in the final stage of developing a comprehensive website on cross border redress for the ASEAN region, including -information on basic cross border redress mechanism (handing complaints); -information on focal point for consumer redress in each AMSs ; -information on online/hotline access to cross border redress mechanism ( handing complaints); -information related to ACCP.
ภาคผนวก จ รายนามคณะผู้มีส่วนร่วมจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1
274
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
รายนามคณะผู้มีส่วนร่วมจัดทําแผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 . 2. (
+ $ (
$ .,0
% "# + < 'Z #$ 7 +$ (
0 . %
. ! 7 +$ 0
D "
. ! 7 +$ 0
7< '[
% "# 0%9 HIV 7 +$ 0
$
. ! 7 +$ 0
$0 . $ .$ .
. ! 7 +$ 0
$, 7 0 7< .
< " 7 +$ 0
$ ! .
% "# 0%9 HIV 7 +$ 0
$ 0 $ .
. ! 7 +$ 0
$ 0 \($ .
. ! 7 +$ 0
@ $ C
( % C
< , $ '] 0
. ! 7 +$ 0
0 . 0 0 (
@ $ % 1 2 + $ 0 ^ 0
0 ? ?_`
. ! 7 +$ 0
. $ .
< * # $
' 0 ')
< " 7 +$ 0
$&+ #
+ $ 0 ^ 0
$ =2> a 'b %
+ $ 0 ^ 0
275
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
a
% "# 0%9 HIV 7 +$ 0
$ C &+ #$ .
. ! 7 +$ 0
0! 7
! 7 +$ "
8 @
< ' 7 +$ "
= .$
+ 7 +$ "
' ( +
. 0 0 < ( # 7 +$
7
< 2 * ( + . 7 +$ "
7 ? :
# ,
$ 7 .
< 0 . 7 +$ "
$7 c "0
! 7 +$ "
$ .
# ,
$ ^8 = 2.
< ( ! ' (7< 7 +$ "
$$ ' 0
+ % . "# $
$$ $ .
< 7 +$ "
$ ( .
< " # 7 +$ "
a * $
D * ( $0 < # "
7 0% 7 .
+ $ " . $ " + &+ #
d 0 +(
< ( ! ' (7< 7 +$ "
< $ +
< ' (0 . 7 +$ "
*7 &7
< " 7 +$ " 276
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
' ( 2. . 9
< 7 +$ "
, .
< + 7 +$ "
# ! 7 . * (
< 7 +$ "
$ $ a
. + #$ < # " 7 +$ "
$ . 7 .0#$
< < 7( (
$ ( 0( 8
< ' 7 +$ "
< $
. ! 7 +$
# *e#
< ' (0 . 7 +$ "
. . .' ( 28. 0 0
@ < $7 7 +$ "
. 0 d 0
< " 7 +$ "
$# + &7
< 7 +$ "
7 *
% "# 2. ! 7 +$ D
' ( < 0
. ! 7 +$ f .
$7< 7
< + 7 +$ D
$7 " #
< 7 +$ +
$ 0 0 . * $
< 7 +$ +
$ $ . # .
. + #$ <
=2> *7# $
. 7 +$ f .
0 "
0 % "# $ 7 +$ +
& ,0 +.
. ! 7 +$ f .
< 0 .7 +$ D
277
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
' ( . ' (
0 ! 7 +$ f .
' .
< 7 +$ D
'
0 ! 7 +$ D
. $ + .
< "7 +$ D
% a ! @
+ 7 +$ D
7 ,
% "# 2. ! 7 +$ D
(*7#
0 % "# $ 7 +$ +
. . .0 ^ $ 2. 7 7
< $7 7 +$ D
. . . . , <
< 7 +$ D
0 d .
< 7 +$
7 . ($ .
< " %9 1 2 1 2 7 +$ " 9
7< . C .
@ $ (7 *+# ' ( ,
' , # !
< " %9 1 2 ' (@ 1 2 7 +$ " 1
8 @ 7 (
< ' <
$ d $ 9
@ $ (7 *+# ' ( ,
$ $ .
< 2 * ( 2 7 +$
$ 0 & (
< + 7 +$
2 . 'b 7
. ! 7 +$
7d 0* $
< " # 7 +$
&7 $ 0
< ' < # 278
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
8 h 2 7
. + #$ 7 +$
0 &
" $"$
^8 $ .
< 7 +$
* (7#
+ $ 0 ^ $ . 1 2 9
#$ +
$ 7 +$
'] &0 iD
< ' < %
< ' 7 +$
, c . # 7
< 7 +$
$ C . 7
< ( ! ' (7< 7 +$
0 . .
< 7 +$
0 $ C
< 0 .7 +$
@ $
< ' (0 .7 +$
< $ $ , 2 .
. ! 7 +$
. . .$ $ . 7 .$
@ < $7 7 +$
. . . D ' !
( 0 . 7 f . + $
. . .$ .
* C $ 0 * ( , ! " ( .)
. . . 2 .
( 0 . 7 f . + $
. . .
* C , j: ($ ( ( .)
. . .$ $
* C $ 0 * ( , ! " ( .) 279
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
ผศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข
* C , j: ($ ( ( .)
.$ $ . $ .
.$ . * . 7 0
.7 ( $ $ .
< "7 +$ <
.
< ( + * (
. ! 7 . .
* C $ 0 * ( , ! " ( .)
นายพิฆเนศ ต๊ะปวง
< ( !
$ . 7 $0
# 1 2 " " ' (0 0
. 7 ' ( "
@ '
.' ($ . @ $
0.
. 7 7 # %
0 ! " $ +
0 . " 0 $
0 ! "
7 'l , .
0 ! " *+
7 . # ! 7 .
0 ! " ('b
. !d
.0 ! .
$ . 7 $ C
0 ! " ' ( $
. a
.0 ! .
$ 0
< ( < + .* ( + .
% ,
0 ! " $
< @ * ( ' ( ! '(
0 + . .
.0 ! .
' (
0 ! " 2> . ( 280
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
@ 0 0(
$ $ $ .
0 ! "
# = j Z
0 ! "
$ $ 2
< ( !
$ (
< ' ( $ 1 2
$ 0
0 ! " $ C
$ $ .
$
&
$ 2.$
< ' ( $ + ,
@
< @ * ( ' ( ! '(
$ 0 0 * *@
% !
$ 'b 0
# $
$ 0 2.
< ( !
$ 0 . D
' $.
$7 &7
< ( + * (
$7 .
# $
$0 .
*+# ' ( ,
$ ^8
$ 2
$ $ 0 0#$
< @ * ( ' ( ! '(
$ ^ % @
0 ! " ': ' #
$ $
$'$ 7
' D 281
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
$ 7 + % !
< 8 2 * ( + *+# 0
$ = 2.
*+# ' ( ,
$ 88. . $
0 ! 7.
$ 0 0$
0.
$ 0
" *$ <
$ # $ . # %9
$$ . 7 .*
@ j
$$ . $
< ( !
$$ 0 D0
< ( !
$$ .
2 7 'b! 7< ( + 0 )
$$ . "$
< ( !
$ . * (
0 ! "
$ . *
# $
$ 2 . (']
0 ! " (!"
$ ! ! $
0 ! " *+
$ . ' ( 8
! * ( %
$ % ' ( 8
0 ! " $ + $
$ 0 ".
# $
$ $" $
0 ! " (!"
$ 7 ' ( .
,
+ 0#$
0 ! " $
< 0 7 7
C 7 282
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
! $ $ 7
2 ! @ 7<
, = 2. .
2 ' e ., 7< ( + 0 )
.
< ( 2 0 *+# 0
. $
( ! * 2>
7 7
" *$ <
7 0 #
' D
7 0 ! #
< ( !
0 0$ . ,
0 ! " $ + $
0 2. "
2 , ' ( 0 $ 7< ( + 0 )
0 . !h2
+ *+# ' ( ,
0 . .
< ( '^ ' >+
0 a
< ( !
8 . +
< ( !
. $
( ! * 2>
.0
0 ! " 7 7
8 . +$ * $
0.
+ .
< ( !
0
< ( < * ( # ' ( 7' (
@$ !
< >+ < ' ( $ + ,
7
< ( !
. d
0 % 0
< 283
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
$ C . 7 . .
2 ! @ 7<
$ $ .
< 28 7 ( $
< + ' ( " *+# 0
$ "$
< ( < * ( # ' ( 7' (
. $ #
< ( !
c 9 ' ( 8
< ( !
'8$ $ 2 .
< ( !
' ($ . $
0 ! "
' ( $ . + .
@ $ *+# 0
' ( 8 * 7 .
0 ! " ': ' #
'$ c
$ 2
'b ( 2.
< ( !
0 * $
< # * ( + '
# <
. 0 *+# ' ( ,
, . ! a <
, ! 7 . $ .
&
00 ! 28
0 ! " ' ( $
+ &
C 7
0^ + %
< 8 c. +
0 = .
+ , * ( + *+# ' ( ,
00 <
$ 0 (
' 284
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
$ *7# (7#
.0 ! .
$ f+. < *+
'
$ ( .
2 , ' ( 0 $ 7< ( + 0 )
a 7
2 ! @ 7<
a 2
< $ %0* ($ 2 $ 0 2
a $ 2
0.
0 .
0 ! "
$ . (! +
< $ %0* ($ 2 $ 0 2
$ *
" #
0 0%9 +
$ 0 0 0 & ( 0 '@ .
0 7 + $
# ' @
0 .
< $7 * ('^ &
. 0#$ 0 +
" #
$ 7 " . .
$
$ . $ 7 !
< ( !
+
< <
. 0
< ( + * (
$ # *
( ! * 2>
0 7 7 .
2 ! @ 7<
7 7 . D
0.
. . . =0
.2 .' .
. . . .!0 . .
. . 285
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)
. . . .
.1 .' .
. . .0 $ C ' (
. .
. $ 0
< ( + * (
. . . . "
0 ! " $ C
$# , $ $
+ *+# ' ( ,
. ' a $ .
' 1 2 28 7* ( *+# 0
286
รายงานฉบับสมบูรณ์ แผนแม่บทการคุ้มครองผู้บริโภคแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2556-2560)