วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559

Page 1


วารสารวิชาการ

วิทยาลัยแสงธรรม

Saengtham College Journal

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2016/2559

วัตถุประสงค์

1. เป็นเวทีเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ทั้งในและนอก วิทยาลัย ตลอดจนนักวิชาการอิสระ 2. เชื่อมโยงโลกแห่งวิชาการ และเผยแพร่องค์ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมส่วนรวม 3. ส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา เพิ่มมากขึ้น

เจ้าของ บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศริ ิ บาทหลวง เดชา อาภรณ์รัตน์ บรรณาธิการ บาทหลวง ผศ.ดร.อภิสทิ ธิ์ กฤษเจริญ

ในนามอธิการบดีวิทยาลัยแสงธรรม ในนามประธานสภาการศึกษาคาทอลิก แห่งประเทศไทย

กองบรรณาธิการ รศ.ดร.ไพศาล หวังพานิช รศ.ดร.สมเจตน์ ไวยาการณ์ ดร.อาทิพย์ สอนสุจิตรา ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ อาจารย์ทิพอนงค์ รัชนีลัดดาจิต นางสาวจิตรา กิจเจริญ นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ

มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล โรงเรียนเซนต์เทเรซา มูลนิธิเซนต์คาเบรียล อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ อาจารย์ศรัญญู พงศ์ประเสริฐสิน อาจารย์สุดหทัย นิยมธรรม

ในนามรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ

ก�ำหนดเผยแพร่ : ปีละ 2 ฉบับๆ ละ 100 บาท (ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค.) สถานที่ออกแบบและจัดพิมพ์ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม ออกแบบปก/รูปเล่ม : นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ พิสูจน์อักษร : อาจารย์สุดหทัย นิยมธรรม

วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม

ได้ผ่านการประเมินคุณภาพวารสาร จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) รอบที่ 3 (ปีพ.ศ.2558-2562)

โดยจัดอยู่ในกลุ่ม 1

เป็นวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพของ TCI และอยู่ในฐานข้อมูล TCI และจะถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป


รายนามคณะที่ปรึกษากองบรรณาธิการ

Editorial Advisory Board

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. บาทหลวง ศ.ดร.วชิระ น�ำ้ เพชร, S.J. 2. ศ.กีรติ บุญเจือ 3. ศ.ดร.เดือน ค�ำดี 4. ศ.ดร.สมภาร พรมทา 5. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ 6. ผศ.ดร.มณฑา เก่งการพาณิชย์ 7. ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน 8. ผศ.ดร.วรยุทธ ศรีวรกุล

Sophia University, Japan ราชบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย 3. บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. 5. บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. 7. บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ 9. ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

2. บาทหลวง ผศ.ดร.ชาติชาย พงษ์ศริ ิ 4. บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไกส์, S.D.B. 6. บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช 8. ภคินี ดร.ชวาลา เวชยันต์

ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม  ถือเป็นกรรมสิทธิข์ องวิทยาลัย แสงธรรม ห้ามน�ำข้อความทัง้ หมดไปตีพมิ พ์ซำ  �้ ยกเว้นได้รบั อนุญาตจากวิทยาลัยแสงธรรม ความรับผิดชอบ เนือ้ หาและข้อคิดเห็นใดๆ ทีต่ พี มิ พ์ในวารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม  ถือเป็นความรับผิดชอบ ของผูเ้ ขียนเท่านัน้


รายนามผู้ทรงคุณวุฒิผู้ประเมินบทความ

(Peer Review) ประจำ�ฉบับ

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2016/2559

ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก 1. ศ.กีรติ บุญเจือ 2. รศ.ดร.สุมาลี จันทร์ชะลอ 3. รศ.ดร.พิทักษ์ ศิรวิ งศ์ 4. รศ.ดร.ประเวศ อินทองปาน 5. รศ.ลิขิต กาญาจนภรณ์

ราชบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้ทรงคุณวุฒิภายใน 1. บาทหลวง ผศ.ดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ 2. บาทหลวง ผศ.ดร.วุฒิชัย อ่องนาวา 3. ผศ.ดร.ลัดดาวรรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์

คณะมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศาสนศาสตร์

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม มีความยินดีรับบทความวิจัย บทความวิชาการ บทวิจารณ์หนังสือ และบทความปริทัศน์ด้านปรัชญา ศาสนา เทววิทยา และการศึกษา คาทอลิก ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ในเอกสารใดๆ โดยส่งบทความมาที่ ผู้อ�ำนวยการศูนย์วิจัย ค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม เลขที่ 20 ม.6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม จะส่งบทความให้แก่ผทู้ รงคุณวุฒิ ทางวิชาการเพื่อประเมินคุณภาพบทความว่าเหมาะสมส�ำหรับการตีพิมพ์หรือไม่ หากท่าน สนใจกรุณาดูรายละเอียดรูปแบบการส่งต้นฉบับได้ที่ www.saengtham.ac.th/journal


บทบรรณาธิ ก าร Saengtham college Journal วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - มิถุนายน 2016/2559 วารสารวิช าการวิท ยาลั ย แสงธรรมฉบั บ นี้   ขอน� ำ เสนอบทความในด้ า นปรั ช ญา ศาสนา  เทววิทยาและการศึกษา  ประกอบไปด้วย บทความวิจัยพิเศษ  เรื่อง  บทบาทของนักบุญเปาโลในปรัชญาหลังนวยุค  โดย ได้รับความกรุณาพิเศษจาก  ศ.กีรติ  บุญเจือ  ราชบัณฑิต  บทความวิจัยจากบุคคล ภายนอกจ�ำนวน  4  เรือ่ ง  ได้แก่  งานวิจยั เรือ่ ง  เส้นทางอาชีพของผูบ้ ริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน  โดย  เขมพัต  แสงทอง  งานวิจัยเรื่อง  แนวทางการส่งเสริมบุคลากรของ โรงเรียนในเครือภคินคี ณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ในประเทศไทย  ให้เกิดความผูกพัน ต่อองค์การ  โดย  ภคินีกาญจนา  เดชาเลิศ  งานวิจัยเรื่อง  ภาวะผู้น�ำท้องถิ่นเข้มแข็ง อัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน อย่างยั่งยืนสู่อนาคต  :  ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนตามโครงการพระราชด�ำริใน จังหวัดเพชรบุรี  ประเทศไทย  โดย  พิเชฐ  ปานช้าง  งานวิจัยเรื่อง  บทบาทของผู้ บริ ห ารสถานศึ ก ษาในการส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ในชั้ น เรี ย นของโรงเรี ย นคาทอลิ ก สังฆมณฑล  อุบลราชธานี  โดย  ศรีสดุ า  ประผะลา  และบทความวิจยั จากภายในจ�ำนวน 2  เรื่องได้แก่  เสรีภาพทางเพศในมุมมองพระสันตะปาปา  ยอห์น  ปอล  ที่  2  โดย บาทหลวงกิตติคุณ  เสมามอญ  และ  แนวทางการอภิบาลเรื่องการอยู่ก่อนแต่ง  โดย บาทหลวงอาทิตย์  มิ่งขวัญเจริญกิจ กองบรรณาธิการ  วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม  ขอขอบพระคุณผูท้ รงคุณวุฒิ ทุกท่าน  ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ประเมินบทความต่างๆ  ท�ำให้วารสารของเราเป็นเวที เผยแพร่ผลงานทีไ่ ด้คณ ุ ภาพ  และหวังว่า  บทความต่างๆ  ภายในเล่มนีจ้ ะก่อเกิดประโยชน์ ส�ำหรับผู้อ่านทุกท่าน



บทบาทของนักบุญเปาโลในปรัชญาหลังนวยุคล่าสุด  St'Paul Role in the Attest Postmodern Philosophy.

ศ.กีรติ บุญเจือ * ศาตราจารย์และราชบัณฑิต

* ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา * ประธานบรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน

ProFessor Kirti Bunchua

* Professor and Member of Royal Institute. * Chairmanof the Ph.D. Program in Philosophy and Ethics, Suan Sunandha Rajabhat University.

* Editor in Chief of the Encyclopedia of philosophy, Royal Institute.


บทบาทของนักบุญเปาโลในปรัชญาหลังนวยุค

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้  คือ  เพื่อศึกษา  1)  ปรัชญาของ นักบุญเปาโลอัครสาวก  2)  บทบาทของปรัชญาของนักบุญเปาโลใน กระแสล่าสุด  คือ  ปรัชญาหลังนวยุคสายกลางระดับโลก  และ  3) บทบาทของไตรภาคีนกั คิด  3  คนทีย่ กย่องปรัชญาของนักบุญเปาโลใน กระแสปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง  งานวิจัยได้พบว่า  ไตรภาคีมาจาก 3  ส�ำนักความคิดที่มีขนบแข็งแกร่งที่แตกต่างขัดแย้งกันมาก่อน  คือ ลัทธิมากซ์เข้มข้น  นิกายคาทอลิกที่เน้นโทมัส  อไควนัส  และนิกาย โปรเตสแตนท์ที่เน้นพันธกิจส่วนบุคคล  ที่แสวงหาความเข้าใจค�ำสอน เรือ่ งการลดองค์และความชอบธรรมของนักบุญเปาโล  จนได้ความเข้าใจ ร่วมกันโดยมิได้นัดแนะและต่างก็เขียนหนังสือเรื่องนักบุญเปาโลพิมพ์ เผยแผ่ได้คนละเล่ม  จึงประเมินได้ว่า  จุดนัดพบนี้มีความหมายมาก ส�ำหรับกระแสปรัชญาของโลกปัจจุบัน  จนอาจจะเป็นค�ำตอบส�ำหรับ พหุนยิ มทีจ่ ะปฏิบตั ไิ ด้จริง  ส�ำหรับการเสวนานานาศรัทธาของผูม้ คี วาม เชือ่ ทางศาสนาต่างกันแม้ลทั ธิอเทวนิยม  เทพนิยมและวิญญาณนิยมด้วย

Abstract

The objective of this research was to study 1)  the  philosophy  of  Saint  Paul  the  Apostle,  2)  the role of Saint Paul’s philosophy in the latest trend of the World Philosophy – Moderate Postmodernism, and  3)  the  role  of  triumvirate  who  are  promoting Saint Paul’s philosophy in the moderate postmodern trend.  The  research  finds  out  that  the  triumvirate came  automatically  from  3  different  and  conflicting 3  strong  traditional  schools  of  thought  –  hard  Marxism, Thomistic Catholicism – and Evangelical Protestantism – who found their congruency in the Pauline Theology of Kenoesis and Dikaiosune: each of them

2

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ศ.กีรติ บุญเจือ

wrote  separately  1  book  on  Saint  Paul.  This  congruency is valued as the important starting point for the most up-to-date trend of the World Philosophy that may be the solution of the authentic pluralism for Interfaith Dialogue of all religious faiths including the  Atheism,  Deism  and  Animism. ความน�ำ แรงบันดาลใจทีก่ ระตุน้ ให้อยากวิจยั เรือ่ ง นี้   มาจาการได้ อ ่ า นค� ำ นิ ย มของ  David Fitch  ส�ำหรับหนังสือ  Paul’s  New  Moment  (John  Milbank,  2010)  ว่ า “บางทีในประวัตศิ าสตร์คริสตจักร  พีน่ อ้ งต่าง ศาสนาดูจะเข้าใจคริสตศาสนาดีกว่าชาวคริสต์ เองเสียอีก  ปิตาจารย์ของพระศาสนจักรมักจะ สร้างเทววิทยาขึ้นมาอย่างคมคายเป็นพิเศษ เพราะได้ตระหนักถึงคุณค่าของปรัชญาและ ค�ำสอนของศาสนาอื่น  มหาตมะคานธีชาว ฮินดูได้มองเห็นและได้ปฏิบัติเป็นพยานถึงบาง แง่ของพระคริสต์  ซึ่งชาวคริสต์เองคิดไม่ถึง ในปั จ จุ บั น นี้ ก็ ยั ง มี นั ก คิ ด ชั้ น น� ำ นอกพระ ศาสนจักรที่เห็นค�ำสอนของนักบุญเปาโลว่ามี คุณค่าน่าพิศวง  การค้นพบปรัชญาอันทรง คุณค่าของนักบุญเปาโลโดยนักปรัชญาทีอ่ า้ งว่า เป็นนักอเทวนิยม  และนักอจินไตยนิยม  นับ ได้ว่าเป็นการพัฒนาก้าวขั้นส�ำคัญเด่นชัดที่สุด ของปรัชญาปัจจุบัน  ซึ่งพระศาสนจักรน่าจะ จับตาดูเป็นพิเศษ

ผู้วิจัยได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งของนัก ปรัชญาดาวรุ่งของประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบัน ชื่ อ ว่ า   อแลง  บาดี อู   (Alain  Badiou) นักปรัชญามาร์กซิสต์ใหม่ที่เขียนปรัชญาของ นักบุญเปาโล  โดยอ้างถึงคุณพ่อสตานิลาส์ เบรอตง  (Stanislas  Breton)  แห่งคณะ พระมหาทรมาน  และศาสตราจารย์บอร์นคาม (Bornkamm)  อาจารย์ ส อนพระคริ ส ตธรรมโปรเตสแตนท์ ซึ่ ง ต่ า งก็ เขี ย นเรื่ อ งของ เปาโลว่ามีความคิดลึกซึ้งระดับนักคิดของโลก ปัจจุบัน  จึงอยากวิจัยเอาปรากฏการณ์แปลก ใหม่นี้มาเสนอต่อนักอ่านภาษาไทยบ้าง รู้ปรัชญาฝรั่งเศสเพื่อเข้าใจบาดีอู ระหว่าง  ค.ศ.1939-1968  เป็นช่วง เวลาประวั ติศาสตร์ ที่ ช าวฝรั่ ง เศสทั้ ง ชาติ ไ ด้ เผชิญชะตาชีวิตร่วมกันอย่างถึงพริกถึงขิงขั้นชี้ ชะตาชีวิตของชาติเลยทีเดียว  มีทั้งวิกฤติและ โอกาสสลับกันอย่างน่าใจหายใจคว�่ำ

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

3


บทบาทของนักบุญเปาโลในปรัชญาหลังนวยุค

1930-39  ฮิตเลอร์ได้รับความไว้วางใจ ให้เป็นผู้น�ำประเทศเยอรมนีที่บอบช�้ำจากการ เป็นฝ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่  1  ที่ต้องการ ขวัญ  ก�ำลังใจ  และความมั่นใจว่าจะสามารถ ฟื้นตัวจนถึงขั้นแก้ตัว  ล้างอาย  และล้างแค้น ได้ในที่สุด  ซึ่งฮิตเลอร์ก็พยายามท�ำได้อย่างดี ที่สุด  และนั่นก็หมายถึงโอกาสของฮิตเลอร์ที่ จะเป็นเจ้าโลกถ้าปักใจมุง่ มัน่   และฮิตเลอร์กม็ งุ่ มั่นพร้อมกับบรรดาเพื่อนนาซีท้ังหลายที่ยินดี สละชีพเพื่อความยิ่งใหญ่ของฮิตเลอร์และของ ตัวเองไปในตัว 1940  เยอรมนี ภ ายใต้ ก ารน� ำ ของ ฮิตเลอร์เริ่มแผนการขว้างหินถามทางชิมลาง โดยยกกองทัพลุยโปแลนด์  กลุ่ม  3  พี่เบิ้มที่ เป็นพันธมิตรชนะสงครามโลกครั้งที่  1  ร่วม กั น ยื่ น ค� ำ ขาดให้ เ ยอรมั น ถอนทั พ ออกจาก โปแลนด์อย่างไม่มีเงื่อนไขทันที  มิฉะนั้นจะ ต้องเจอดีครัน้ เยอรมันซึง่ รูอ้ ยูเ่ ต็มอกว่าอะไรจะ ต้ อ งเกิ ด ขึ้ น และพร้ อ มรั บ สถานการณ์ อ ย่ า ง มั่นใจ  เอาหูทวนลมราวกับไม่มีอะไรในกอไผ่ พั น ธมิ ต รอั น ได้ แ ก่ ฝ รั่ ง เศส  อั ง กฤษ  และ รั ส เซี ย   จึ ง ต้ อ งรั ก ษาศั ก ดิ์ ศ รี โ ดยประกาศ สงครามกับเยอรมนีอย่างไม่เต็มใจและไม่รู้สึก ว่าพร้อมรบนอกจากฝรั่งเศสที่คิดว่าตนเองมี กองทัพอันเกรียงไกรระดับเจ้าโลกและป้อมมา จีโน  (Maginot)  อันแข็งแรงทันสมัยของตนที่ สร้ า งไว้ ป ้ อ งกั น การรุ ก รานตลอดชายแดน

4

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เยอรมนี  แต่เอาจริงเข้าประลองฝีมือกันได้ เพียงเดือนเดียวกองทัพนาซีก็ยึดกรุงปารีสได้ โดยฝ่ายฝรั่งเศสสังเวยชีวิตทหารหาญไปราว 100,000  นาย  เริ่มวิกฤติแห่งการเสียขวัญ และความมัน่ ใจของคนทัง้ ประเทศตัง้ แต่บดั นัน้ สภาวการณ์ แ ปรผั น เหมื อ นราชิ นี แ ห่ ง มหา อาณาจักรทรอยแปรสภาพกลายเป็นนางทาส ชั่วข้ามคืน  ชาวฝรั่งเศสทั่วประเทศรู้สึกช็อค รับสภาพไม่ได้  แต่มันก็คือความเป็นจริงที่ทุก คนต้องยอมรับสภาพร่วมกันอย่างไม่มที างเลีย่ ง เพราะมองไปทางไหนก็เห็นแต่เครื่องแบบและ เครือ่ งหมายนาซี  ในระหว่างสับสนวุน่ วายหน้า สิว่ หน้าขวานนัน้ เอง  จอมพลเปแตง  (Pétain) วีรบุรษุ แห่งสมรภูมแิ วร์เดิง  (Verdun)  แสดง ความรับผิดชอบเสียสละโดยประกาศตัวเป็น ผู้น�ำคณะปฏิวัติแห่งชาติ  (Révolution  Nationale)  เพื่อแก้วิกฤติของชาติด้วยการยุบ สภาและตั้ ง รั ฐ บาลเฉพาะกาลขึ้ น ที่ เ มื อ งวิ ชี (Vichy)  ประกาศนโยบายเจรจากั บ ฝ่ า ย เยอรมั น โดยยอมตอบสนองความต้ อ งการ ทุกอย่างของกองทัพนาซี  โดยให้เจ้าหน้าที่ ฝรัง่ เศสจัดการให้  แทนทีจ่ ะให้เยอรมันจัดการ ทุกอย่างตามความพอใจ ในตอนแรกๆ  ชาวฝรั่งเศสส่วนมากพอ จะเห็ น ความส� ำ คั ญ ของเปแตงว่ า มาช้ อ น สถานการณ์ไว้มิให้เลวร้ายจนเกินทน  แต่อยู่ๆ ไปก็เริ่มมีผู้รู้สึกว่ายอมอ่อนข้อต่อชาวเยอรมัน


ศ.กีรติ บุญเจือ

เกินจ�ำเป็น  จนดูเหมือนเป็นผู้กดขี่แทนชาว เยอรมันมากกว่าเป็นผูค้ านอ�ำนาจ  ทางฝ่ายรัฐ บาลเปแตงก็ได้แต่แก้ว่าท�ำดีกว่านี้ไม่ได้แล้ว โปรดเห็นใจเถอะ  สถานการณ์เลวร้ายมากขึน้ เมือ่ นายพลเดอโกล  (De  Gaulle)  ประกาศ ตั้ ง รั ฐ บาลพลั ด ถิ่ น ในประเทศอั ง กฤษและ ชักชวนให้ชาวฝรัง่ เศสเสียสละเพือ่ ชาติดว้ ยการ เข้ากองทัพใต้ดินของขบวนการฝรั่งเศสเสรี ท� ำ ให้ เ ดอโกลกลายเป็ น วี ร บุ รุ ษ ขึ้ น มาแทน เปแตงขบวนการฝรั่ ง เศสเสรี ข ยายตั ว อย่ า ง รวดเร็วทั่วประเทศฝรั่งเศส  ท�ำการใต้ดินต่อ ต้านการปกครองของชาวเยอรมันและรัฐบาล หุ ่ น ขายชาติ ข องจอมพลเปแตง  ด้ ว ยการ ก่อการร้าย  หาข่าวกรองและโฆษณาชวนเชื่อ ให้เกลียดชังชาวเยอรมันและรัฐบาลเปแตง หนั ก ข้ อ ขึ้ น ทุ ก วั น   ในช่ ว งนี้ แ หละที่ ซ าตร์ (Sean  Paul  Sartre)  ซึ่งสมัครเป็นทหาร ต่ อต้ า นกองทัพ นาซีและถูก จับเป็นเชลยศึก ใช้ เวลาในค่ า ยเชลยทหารเขี ย นปลุ ก ใจชาว ฝรั่งเศสให้ลุกฮือขึ้นปฏิบัติ  3  กล้า  (Voir, Juger, Agir)เพื่ อ พ้ น จากโรคเบื่ อ   เซ็ ง เหงา  เฉาในอารมณ์อย่างได้ผล  เพราะชาว เยอรมันตีบทไม่แตกช่วยให้ซาตร์รอดพ้นจาก การถู ก ลงโทษในฐานยุ ย งให้ ต ่ อ ต้ า นการ ปกครอง  ขบวนการนีม้ สี ว่ นช่วยอย่างส�ำคัญใน การช่วยกองทัพพันธมิตรขับไล่บดขยี้กองทัพ นาซีจนถึงขั้นเผด็จศึกสงครามโลกครั้งที่  2 ไม่วา่ ทีใ่ ดทีข่ จัดอ�ำนาจของนาซีลงได้  ก็จะเกิด

กระบวนการแค้นนีต้ อ้ งช�ำระขึน้ มาทันทีดว้ ยวิธี การศาลเตี้ย 6  มิ ถุ น ายน  ค.ศ.1944  ดี เ ดย์ กองทัพพันธมิตรยึดหัวหาดนอร์มองดี  (Normandy)  เพื่อขับไล่อ�ำนาจนาซีจากกรุงปารีส กองทัพฝรั่งเศสเสรีใต้ดินลุกฮือขึ้นทั่วประเทศ เพือ่ ขับไล่พลพรรคนาซีและไล่ลา่ ชาวฝรัง่ เศสที่ รับใช้พลพรรคนาซี  จับใครได้ก็ตั้งศาลเตี้ยขึ้น ตั ด สิ น ความผิ ด และลงโทษกั น ตามอั ธ ยาศั ย อย่างสนุกสนาน  มีผู้หญิงฝรั่งเศสไม่น้อยกว่า 20,000  คนถู ก กล้ อ นหั ว ประจานต่ อ หน้ า ธารก�ำนัล  ชายหญิงไม่ตำ�่ กว่า  9,000  คนถูก ประหารชีวติ   ในขณะทีใ่ นกรุงปารีสเดอโกลได้ รั บ ฉั น ทานุ มั ติ ใ ห้ จั ด การเลื อ กตั้ ง   สมาชิ ก ขบวนการฝรั่งเศสเสรีแข่งกันหาคะแนนนิยม เพือ่ มีตำ� แหน่ง  ในชนบท  ศาลเตีย้ ยังคงไล่ลา่ ล้ า งแค้ น ต่ อ ไป  ในที่ สุ ด เดอโกลก็ ส ามารถ จัดการเลือกตั้งประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4  ได้ส�ำเร็จซึ่งไม่ให้ประธานาธิบดีมีอ�ำนาจ อะไรเหนือรัฐสภาเลย  เดอโกลจึงลาออกจาก ต�ำแหน่งประธานาธิบดี  ต่อจากนั้นการเมือง ฝรั่งเศสก็วุ่นวายจนทุกคนเบื่อหน่าย  จึงเรียก ร้องให้เดอโกลเข้ามาจัดการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบั บ ที่   5  ให้ ป ระชาชนลงมติ รั บ รอง  ให้ ประชาชนเลือกประธานาธิบดีโดยตรง  และให้ ประธานาธิบดีควบคุมรัฐสภาได้  เดอโกลจึง ยอมรั บ หน้ า ที่ ป ฏิ รู ป การเมื อ งการปกครอง ประเทศฝรั่งเศสอยู่  10  ปี

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

5


บทบาทของนักบุญเปาโลในปรัชญาหลังนวยุค

1959-69  การปฏิรูปโดยเดอโกล  ให้ เลิกศาลเตี้ยทั่วประเทศ  การลงโทษทุกอย่าง ให้ ผ ่ า นกระบวนการยุ ติ ธ รรม  ส่ ง เสริ ม การ ศึกษาปรัชญาทุกระบบเพือ่ หาแนวทางทีด่ ที สี่ ดุ ส�ำหรับชาวฝรั่งเศส  ลงเอยด้วยวิกฤติการเดิน ขบวนของฝายซ้ายทัว่ ประเทศในปี  1968  ซึง่ เดอโกลแก้ ป ั ญ หาได้ อ ย่ า งยอดเยี่ ย มเป็ น แนวทางให้ปฏิบัติการต่อไป  หมดวาระแล้วก็ เกษียณอายุตัวเองเพื่อเป็นรัฐบุรุษต้นแบบให้ คนรุ่นหลังเดินหน้ากันต่อไป  ซึ่งบาดีอูเป็นคน หนึ่งที่ตั้งใจหาทางดีที่สุดให้แก่มนุษยชาติ ปรัชญาของซาตร์ ฌองปอล  ซาตร์  (Jean-Paul  Sartre 1905-80)  เสนอปรั ช ญาอั ต ถิ ภ าวนิ ย ม (existentialism)  ถูกใจชาวฝรั่งเศสขณะถูก นาซี เ ยอรมั น ยึ ด ครอง  โดยซาตร์ เ สนอคติ ต้ น แบบว่ า   existence  precedes  essence  ความมีอยูม่ มี าก่อนสารัตถะ  หรือพูด ให้เข้าใจง่ายๆ  ได้วา่   แม้มนุษยชาติหรือความ เป็นมนุษย์สว่ นรวมจะมีความส�ำคัญกว่าปัจเจก เพียงใดก็ตาม  แม้สงั คมส่วนรวมและประโยชน์ ส่วนรวมมีคุณค่าส�ำคัญกว่าประโยชน์ส่วนตน เพียงไรก็ตาม  แต่ในระดับความเป็นจริงนั้น คนแต่ละคนต้องมาก่อน  เมื่อมีปัญญาแล้วจึง ค่อยๆรู้จักถอดสิ่งสากลออกมาศึกษากันได้ใน ภายหลัง  มนุษยชาติท�ำอะไรให้ตัวเองไม่ได้

6

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

นอกจากคนที่มีอยู่จริงแต่ละคนจะตัดสินใจ ท� ำ ให้   เพราะฉะนั้ น ให้ แ ต่ ล ะคนมุ ่ ง พั ฒ นา ตัวเองเป็นคนๆ  ให้มีคุณภาพจริงๆ  เสียก่อน มนุษยชาติโดยรวมจะดีขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ภาวะความเป็นอยู่  (being)  จึงแบ่ง ออกได้เป็น  2  ระดับ  คือ  ภาวะส�ำหรับตัว เอง  (being-for-itself)  เพราะท� ำ อะไร ส�ำหรับตัวเองได้  ไม่ว่าจะพัฒนาหรือเสื่อม กับภาวะในตัวเอง  (being-in-itself)  อันได้ แก่สงิ่ อืน่ ทุกสิง่ นอกจากมนุษย์ซงึ่ ไม่สามารถท�ำ อะไรให้พัฒนาตัวเองได้  เป็นไปอย่างไรก็ต้อง ยอมอย่างนั้น  ช่วยอะไรไม่ได้ ภาวะแท้  (authentic  being)  ได้แก่ มนุษย์ทรี่ จู้ กั ตัดสินใจปฏิบตั หิ ลัก  3  กล้า  คือ กล้าเผชิญปัญหา  กล้าประเมินวิธปี ฏิบตั  ิ และ กล้าลงมือท�ำการตามที่ประเมินว่าดีที่สุด บาดี อู ช อบค� ำ สอนเรื่ อ งภาวะแท้ แ ละ การกล้าตัดสินใจของซาตร์  และรับเอาไปท�ำ เป็นทฤษฎีตัวประธาน  (subject)  ของตน ตัวประธานคืออัตถิภาวะแท้  (authentic  existence)  หรือบุคลิกภาพทีม่ อี ดุ มการณ์เฉพาะ ตัวและมุ่งมั่นท�ำจริงตามอุดมการณ์ที่เลือกไว้ ตัวประธานทีม่ อี ตั ถิภาวะแท้จงึ เป็นตัวประธาน แท้  มีชวี ติ สดชืน่ เบิกบาน  มีความสุข  ไม่เบือ่ เซ็ง  เหงา  เฉา  ชืด


ศ.กีรติ บุญเจือ

ท�ำอย่างไรจึงจะเป็นตัวประธานแท้ ซารตร์บอกว่าแต่ละคนต้องแสวงหาเอง ช่วยกันไม่ได้  วิธีการของซาตร์ก็คือฝึกเป็นตัว ของตัวเองด้วยการตัดสินใจเลือกท�ำอะไรสัก อย่ า งในสภาวการณ์ เ ฉพาะหน้ า จนครบ  3 กล้าแล้วให้ภูมิใจมีความสุขกับการเป็นตัวของ ตัวเองตามคติว่ามนุษย์ถูกสาบให้มีเสรีภาพ (Man  is  condemned  to  be  free) ท�ำตัวให้เป็นอิสระเสรีมากเท่าไรก็ยงิ่ มีความสุข มากเท่านั้น  บาดีอูเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2  อยู่  4  ปีและหลังซาตร์  32  ปี  ได้เรียน รู้ปรัชญาของซาตร์และบทบาทปรัชญาของ ซาตร์ตอ่ การกอบกู้เอกราชของชนชาติฝรั่งเศส และรูว้ า่ เมือ่ ชาวฝรัง่ เศสได้เอกราชแล้วปรัชญา ของซาตร์ก็หมดมนต์ขลัง  แต่ชาวฝรั่งเศสก็ยัง อ่านกันอยูเ่ พือ่ เข้าใจอดีตของตนเอง  บาดีอใู น ขณะสอนและแสวงหาปรัชญาที่เหมะสมกับ สถานการณ์ ร ่ ว มสมั ย อยู ่ นั้ น   ก็ เ ห็ น ด้ ว ยกั บ อาจารย์อัลตุสเซร์  (Althusser)  ของตนว่า ต้องเอาเป้าหมายปรัชญาตามความคิดของ มากซ์มาเสริมซาตร์ในเรือ่ งเรียกร้องความเสมอ ภาคทางจริยธรรมที่เรียกได้ว่าควาชอบธรรม ระดับสากล(universal  equity)  อัลตุสเซร์ไ ม่ได้สนใจซาตร์และอัตถิภาวนิยม  เพราะคิด อยูแ่ ค่วา่ ชาวฝรัง่ เศสเป็นต้นแบบเรียกร้องความ เสมอภาคตามกฎหมาย  แต่ ก็ อ อกล่ า อาณานิคมด้วยเหตุผลว่าดินแดนในโลกที่  3

ไม่มีความเสมอภาคเพราะไร้การศึกษา  ชาว ฝรัง่ เศสจึงมีหน้าทีเ่ ข้าไปจัดระเบียบใหม่ให้  แต่ ดินแดนเหล่านั้นมิได้ต้องการความเสมอภาค ของฝรั่งเศสซึ่งเป็นเพียงข้ออ้างเข้าไปหาผล ประโยชน์  ผู้เห็นประเด็นนี้คือ  คาร์ล  มากซ์ ซึ่งได้เสนอปรัชญาใหม่ขึ้นมาแก้จุดอ่อนของ ชาวฝรั่งเศสอย่างตรงไปตรงมา  คือ  บอกว่า ความเสมอภาคทางกฎหมาย  (equality) นั้นไม่พอ  ต้องจัดการให้เกิดความชอบธรรม (equity)  ขึน้ อย่างเป็นสากลอย่างจริงจังไม่วา่ ด้วยวิธใี ดถือว่าใช้ได้ทงั้ สิน้   อัลตุสาซร์ชใี้ ห้เห็น ว่าลัทธิคอมมิวนิสต์นำ� เอาไปใช้โดยเน้นเงือ่ นไข ว่า  "ด้วยวิธใี ดถือว่าใช้ได้ทงั้ สิน้ "  จนท�ำให้เกิด ความไม่ชอบธรรมอย่างรุนแรงขึ้นในทุกแห่งที่ อ้างว่าจะช่วยผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับความชอบ ธรรม  อัลตุสเซร์จงึ คิดว่าตนจะช่วยแก้ปญ ั หานี้ ได้โดยจะชักชวนให้ชาวฝรั่งเศสช่วยกันสร้าง พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายขึ้นที่เดินตามค�ำสอน และเจตนาของมากซ์อย่างเคร่งครัดที่สุดเป็น แบบอย่ า งให้ ช าติ อื่ น ๆทั่ ว โลกเดิ น ตามเยี่ ย ง อย่างต่อไป  ก็จะช่วยให้ความชอบธรรมสากล แก่ผู้ด้อยโอกาสทั้งโลกได้ในที่สุด  ขณะนั้น สงครามเย็นด�ำเนินไปอย่างเข้มข้น  แผนการ ของอัลตุสเซร์ถกู ต่อต้านอย่างหนักจากฝ่ายขวา ที่สหรัฐฯสนับสนุน  ส่วนฝ่ายซ้ายจัดก็ให้การ สนับสนุนอย่างเต็มที่  การเมืองฝรั่งเศสล้มลุก คลุกคลานอยู่พักหนึ่งจนชาวบ้านเบื่อหน่าย

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

7


บทบาทของนักบุญเปาโลในปรัชญาหลังนวยุค

ความขัดแย้ง  ประชาชนแก้ปัญหาโดยการ เทคะแนนให้เ ดอโกลวีร บุรุษแห่งขบวนการ ฝรัง่ เศสเสรีกชู้ าติจากเผด็จการนาซีมากูช้ าติอกี ครั้งหนึ่งจากความขัดแย้ง  เดอโกลใช้วิธีส่ง เสริมให้ศึกษาค้นคว้าทางปรัชญากันอย่างเต็ม ที่และเผยแพร่ผลงานกันอย่างเต็มที่เช่นกันจน ชาวฝรั่งเศสกลายเป็นนักคิดปรัชญาชั้นน�ำของ โลกมาถึ ง ขณะนี้   ความคิ ด ใหม่ ๆ   ของนั ก ปรัชญาฝรั่งเศสมีผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษและ ภาษาอืน่ ๆ  ทัว่ โลก  อาจารย์สอนปรัชญาชาว ฝรั่งเศสจ�ำนวนมากถูกซื้อตัวไปสอนในสหรัฐฯ และหลายคนแปลงสัญชาติเป็นอเมริกัน  วิชา ปรัชญาฝรั่งเศสเป็นวิชาฮิตในหลักสูตรปรัชญา ของสหรัฐฯ  ขณะนัน้ ผูว้ จิ ยั ก�ำลังศึกษาปรัชญา อยู่ที่กรุงโรมและชอบอ่านต�ำราภาษาฝรั่งเศส เสริมความรู้อยู่เป็นประจ�ำ  อาจารย์คนหนึ่งที่ ผมชอบเป็นชาวฝรั่งเศสซึ่งต่อมาจะเป็นเพื่อน ของบาดี อู   ท่ า นคื อ อาจารย์   Stanislas Breton  ซึ่ ง ภายหลั ง ย้ า ยไปสอนที่ ม หาวิทยาลัยปารีส  8 นโยบายเปิดโอกาสให้คิดอย่างเสรีและ เผยแพร่ความคิดอย่างเสรีก็ใช่ว่าจะราบรื่น เดอโกลสามารถวางแผนอบรมคนในชาติได้ แต่ไม่สามารถห้ามการแทรกแซงจากภายนอก ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งค�ำยุแหย่จาก  2  ค่าย สงครามเย็นซึง่ โหมยุแหย่หนักหน่วงตลอดเวลา ในที่สุดก็ถึงวันแตกหัก  ฝ่ายซ้ายก�ำหนดดีเดย์

8

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เดือนพฤษภาคม  1968  ให้ทุกภาคส่วนแบ่ง หน้าที่กันท�ำอย่างละเมียดละไม  ลุกฮือขึ้น พร้อมกันทั่วประเทศเข้ายึดส�ำนักงานบริหาร ราชการทุ ก แห่ ง   เพื่ อ เปลี่ ย นระบอบการ ปกครองเป็นคอมมิวนิสต์แบบฝรัง่ เศส  เดอโกล ด�ำเนินการเกลี้ยกล่อมได้ยอดเยี่ยมจนวิกฤติ คลี่คลายลงได้อย่างไม่เสียเลือดเนื้อ  ทุกฝ่าย ยอมความด้วยหลักการแบบฝรั่งเศสว่า  คิด ต่างได้  แต่รนุ แรงไม่ได้  กฎหมายคือกฎหมาย ใครผิ ด ต้ อ งยอมรั บ โทษตามกฎหมายที่ ยุติธรรมเสมอภาค  แต่ทุกคนต้องได้รับการ ดูแลอย่างชอบธรรมสากล  ครั้นแก้วิกฤติได้ เรียบร้อยแล้วเดอโกลก็ลาชีวติ การเมือง  ปล่อย ให้นักการเมืองรุ่นใหม่รับผิดชอบประเทศชาติ และประชาชนต่อไปตามกติกาทีว่ างไว้  แม้ไม่มี เสถียรภาพไม่เป็นไร  ขอให้มีผู้รับผิดชอบและ ไม่ใช้ความรุนแรงเป็นใช้ใด้  ในสถานการณ์ใหม่ นี ้ บาดีอคู ดิ ได้วา่ ไม่มวี ธิ คี ดิ ใดดีไปกว่าคิดแบบ พหุนิยม  คือ  ตั้งเป้าหมายไว้ที่การบริการ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ทั้ ง โลกให้ มี ค วามสุ ข ตาม มโนธรรมของแต่ละคน  โดยพยายามแก้จุด อ่อนเสริมจุดแก่ตามสภาพทีเ่ ป็นจริงเฉพาะหน้า นั่นคือพยายามหาวิธีให้มนุษย์ทุกคนเป็นตัว ประธานในความจริงแห่งชีวิตของแต่ละคนให้ ได้  ถึงขั้นนั้นแล้วให้ทุกคนช่วยดูแลกันให้มี ความชอบธรรมสากล  ตั้ ง แต่ นั้ น มาบาดี อู พยายามหาความเข้าใจเกีย่ วกับความชอบธรรม


ศ.กีรติ บุญเจือ

สากล  ก็พบว่าเปาโลหรือเซนต์ปอลได้สอน เรื่องนี้ไว้ดีมาก  นักปรัชญาคริสต์ในอดีตได้ ศึกษาไว้อย่างดีแล้วในมิติหนึ่งคือมิติศาสนา คริ ส ต์ เ พื่ อ เข้ า ใจค� ำ สอนของพระเยซู ใ นการ ด�ำเนินชีวติ แบบคริสต์เพือ่ บรรลุถงึ ชีวติ นิรนั ดร ในโลกหน้าซึ่งก็นับว่าถูกต้องในระดับหนึ่งตาม เจตนาของการรับนับถือศาสนาคริสต์  แต่บาดีอู มองอี ก มิ ติ ห นึ่ ง   คื อ มิ ติ ข องชี วิ ต ในโลกนี้ ซึ่ ง ปรัชญาความชอบธรรมของเปาโลมีส่วนให้ ความกระจ่างได้เป็นอย่างดีว่าในความเป็น มนุ ษ ย์ นั้ น มนุ ษ ย์ ทุ ก คนต้ อ งการ  (need) ความสุขแท้ตามความเป็นจริง  อย่างที่ซาตร์ บอกว่าต้องท�ำ  3  กล้าเพื่อมีอัตถิภาวะแท้ แต่บาดีอคู ดิ ว่าซาตร์อา้ งไว้กว้างเกินไป  คือเน้น การตัดสินใจเสรีอย่างบริสุทธ์  ซึ่งจริงๆ  แล้ว ไม่ใช่ว่าตัดสินใจท�ำอะไรก็ได้แล้วจะมีความสุข แท้ด้วยอัตถิภาวะแท้แต่ทว่าต้องตัดสินใจให้ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ตามความเป็ น จริ ง ของ ปัญญา  บาดีอพู บว่าปรัชญาความชอบธรรม ของเปาโลแหละที่เสริมจุดอ่อนของซาตร์ใน เรือ่ งนีไ้ ด้  แต่กพ็ บว่ามโนภาพความชอบธรรม ของเปาโลเหวี่ยงแหคลุมทั้งมิติโลกนี้และโลก หน้า  บาดีอเู ลือกเอาเฉพาะมิตใิ นโลกนีเ้ ท่านัน้ เพราะไม่เชื่อว่ามีโลกหน้า  แต่ก็ไม่ขัดข้องหาก ใครจะสนใจทั้ง  2  มิติหากเชื่อว่ามีโลกหน้า และเมื่อใช้หลักการความชอบธรรมเป็นกรอบ ของการตัดสินใจแล้วการพัฒนาคุณภาพชีวติ จะ

ตามมาโดยอัตโนมัติบุคคลนั้นจะมีความสุขกับ การสร้ า งสรรค์   ปรั บ ตั ว   ร่ ว มมื อ   และ แสวงหา  ตามความคาดหวังของนักหลังนวยุค บาดีอจู งึ ผสมผสานมากซ์ซาตร์  เบามัน  (Zigmunt  Bauman)  และเปาโลเข้ า ด้ ว ยกั น อย่างแนบเนียน  เป้าหมายก็คือเพื่อความสุข แท้ตามความเห็นจริงของอัตถิภาวะแท้ของ ความเป็นมนุษย์  เราจะค่อยๆขยายความไป ตามขั้นตอนเพื่อความเข้าใจอย่างละเอียดสุขุม การกลับใจของเปาโลเป็นเหตุการณ์ระทึก เปาโลไม่ได้คดิ จะปิดบังเหตุการณ์ระทึก ของตน  แต่พร้อมเปิดเผยแก่ทุกคนที่อยากรู้ ดั ง ที่ ไ ด้ บ อกแก่ ช าวกาลาเที ย   (Galatians เชื้อสายโกลในเอเชียไมเนอร์)  ว่า  "ท่านทั้ง หลายต้ อ งเคยได้ ยิ น เรื่ อ งชี วิ ต ในอดี ต ของ ข้าพเจ้า  เมือ่ ยังยึดถือประเพณีของชาวยิวทีว่ า่ ข้ า พเจ้ า เคยเบี ย ดเบี ย นพระศาสนจั ก รของ พระเจ้าอย่างรุนแรง  และพยายามท�ำลายด้วย" (กาลาเที ย   1:12-13)  ซึ่ ง แสดงว่ า ผู ้ อ ่ า น จดหมายรู้รายละเอียดดีอยู่แล้ว  ซึ่งลูกาลูก ศิษย์จะบันทึกไว้ในภายหลังว่า  ขณะที่เปาโล เดินทางใกล้ถึงเมืองดามัสกัส  ทันใดนั้นมีแสง สว่างจากท้องฟ้าล้อมรอบตัวเขาไว้  เขาล้มลง ที่ พื้ น ดิ น และได้ ยิ น เสี ย งกล่ า วว่ า   ท่ า น เบียดเบียนเราท�ำไม  เปาโลจึงย้อนถามกลับไป ว่า  ท่านเป็นใคร  เสียงตอบว่า  เราคือเยซู

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

9


บทบาทของนักบุญเปาโลในปรัชญาหลังนวยุค

เหตุการณ์ระทึกนี้ได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของ เปาโลเป็นคนละคน  จากภาวะไม่แท้เป็นภาวะ แท้  เขามุง่ มัน่ ด�ำเนินชีวติ ามอัตถิภาวะของตน และมีความสุขแท้ตามความเป็นจริงของมนุษย์ แท้โดยตัดสินใจท�ำสิง่ ทีต่ นเองคิดว่าให้ความสุข แก่ตนอย่างถูกต้องที่สุด  บาดีอูคิดว่ามนุษย์ แต่ละคนย่อมมีวาระที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ เฉพาะตั ว   หากแต่ ไ ม่ ฉ วยโอกาสตั ด สิ น ใจ พัฒนาคุณภาพชีวิต  ก็เลยพลาดโอกาสที่จะมี ความสุ ข แท้ ต ามความเป็ น จริ ง อย่ า งเปาโล เหตุการณ์ระทึกเป็นเรื่องเฉพาะตัว  ของใคร ของมัน  ไม่เหมือนกัน  ตีความก็ไม่เหมือนกัน โอกาสปฏิบัติก็ไม่เหมือนกัน  ทุกขั้นตอนเป็น เรื่องเฉพาะตัวอย่างที่นักอัตถิภาวนิยมว่า  จึง ไม่ต้องหวังว่าจะลอกเลียนวิถีพัฒนาชีวิตของ กันและกันได้  เอาอย่างสูตร  3  กล้าได้  แต่ เอาอย่างการปฏิบัติกันทุกกระเบียดนิ้วไม่ได้ เพราะโครงร่างไม่ซ�้ำแบบกันได้เลย เราจะวิเคราะห์ความคิดของเปาโลเชิง เปรี ย บเที ย บต่ อ ไปตามข้ อ เสนอของบาดี อู นั ก ปรั ช ญาอเทวะ  เบรอตงนั ก ปรั ช ญา คาทอลิ ก และบอร์ น คามม์ นั ก ปรั ช ญา โปรเตสแตนต์ บาดีอูมาแปลก บาดีอูสารภาพตรงๆ  ในค�ำน�ำหนังสือ Saint  Paul  ของตนว่า  ตนเป็นนักปรัชญา

10

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

อเทวะ  ไม่ได้สนใจอะไรในด้านศาสนาของ เปาโลเลย  ในแง่ขา่ วดีนนั้ สนใจข่าวดีของคาร์ล มากซ์มากกว่าของเปาโล  แต่กไ็ ม่มเี หตุผลอะไร ที่จะรังเกียจศาสนาคริสต์เหมือนบรรพบุรุษทั้ง 4  สายคือปู่ย่าตายายที่ร่ายยาวว่าร้ายศาสนา คริสต์กรอกหูให้ฟังทุกวันจนเอียน  ตัวเองวาง เฉยในเรื่องศาสนา  ใครจะศรัทธาอย่างไรหรือ ไม่เป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพตามใจแต่ละคน  ไม่ ควรก้าวก่ายกัน  ตนจึงคบทั้งคาทอลิกและ โปรเตสแตนต์ได้อย่างไม่มอี ะไรตะขิดตะขวงใจ ตนชอบความคิดปรัชญาของเปาโลและชอบ ความจริงใจที่เปาโลแสดงปรัชญาของตนออก อย่างตรงไปตรงมา  ไม่ใช่คดิ อย่างท�ำอย่าง  ใน แง่นี้เปาโลแสดงออกเป็นตัวอย่างอย่างดีที่สุด บาดีออู า่ นจดหมายของเปาโลในฐานะที่ เป็นวรรณกรรมปรัชญาดีเยีย่ มโดยคนทัว่ ไปไม่สู้ จะตระหนักถึง  ส่วนเนื้อหานั้นบาดีอูคิดว่าตน พบประเด็นปรัชญาดีเยี่ยมโดยคนทั่วไปไม่สู้จะ มีใครพูดถึงเช่นกัน  คือประเด็นว่าเปาโลเป็น ผู้วางพื้นฐานลัทธิสากลนิยม  (foundation of  universalism)  ให้แก่ปรัชญาตะวันตก และคิดว่าชาวฝรั่งเศสพากันรับประเด็นนี้มา รับผิดชอบด�ำเนินงานต่อในประวัติศาสตร์โดย ไม่รู้ตัว  ตนเองเป็นนักคิดฝรั่งเศสที่ส�ำนึกเรื่อง นี้ขึ้นมาได้  จึงอดไม่ได้ที่จะต้องแถลงให้ชาว โลกทั้งหลายได้รับรู้และหาผู้ร่วมใจมาช่วยกัน ต่ อ ยอด  ทั้ ง นี้ โ ดยไม่ เ กี่ ย วกั บ คริ ส ตศาสนา


ศ.กีรติ บุญเจือ

เพราะตนเองไม่นบั ถือศาสนา  เพราะไม่เชือ่ ว่า มี วิ ญ ญาณอมตะ  แต่ ใ ครจะเอาไปโยงกั บ ศาสนาใดก็ตามใจใคร  ไม่ว่ากัน  แต่เชื่อว่า ความดี มี ส ่ ว นช่ ว ยเพิ่ ม ความสมบู ร ณ์ ใ ห้ แ ก่ อนันตภาพของมนุษยชาติ บาดี อู ใ นฐานะนั ก ปรั ช ญาหลั ง นวยุ ค วิเคราะห์ความคิดปรัชญาของเปาโลออกเป็น 2  มิติ  คือ  มิติอภิปรัชญาว่าด้วยความเป็น จริง  กับมิติปรัชญาศาสนาว่าด้วยเทวะหรือ เทววิทยา  ชาวฝรัง่ เศสอาจจะเชือ่ ปรัชญาเทวะ ของเปาโลหรือไม่ก็ได้  ไม่ว่ากัน  เช่น  สหาย เบรอตง  (Stanislas  Breton)  เป็นคาทอลิก และสหายกืนเธอร์  บอร์นคามม์  (Günther Bornkamm)  เชื่อแต่ตัวท่านไม่เชื่อ  ยังเป็น เพือ่ นสนิทกันได้และเป็นชาวฝรัง่ เศสด้วยกันได้ เป็นอย่างดีไม่มีปัญหา  แต่ชาวฝรั่งเศสโดย ทัว่ ไปเชือ่ อภิปรัชญาความเป็นมนุษย์ของเปาโล ในสันดาน  ไม่เชื่อก็ลองย้อนอ่านแนวคิดของ ชาวฝรั่งเศสในประวัติศาสตร์ความคิดดูก็ได้ ไม่ว่ากัน สากลนิยมในความคิดของชาวฝรั่งเศส บรรพบุรุษของชาวฝรั่งเศษคือชาวเผ่า ฟรังก์  (Franc)  อันเป็นที่มาของค�ำ  Français  และ  French  อันเป็นสาขาหนึ่งของ เผ่าเยอร์แมนนิค  (Germanic)  ซึ่งบุกเข้ามา รุกรานมหาอาณาจักรโรมันช่วงหลังขณะทีไ่ ม่มี

อะไรจะปล้นแล้ว  จึงเลือกท�ำเลตั้งหลักแหล่ง บริเวณทีเ่ ป็นกรุงปารีสขณะนีโ้ ดยแบ่งเนือ้ ทีก่ นั เป็นหลายรัฐและสามัคคีกันแบบบ้านพี่เมือง น้อง  ประวัติศาสตร์บันทึกว่า  เมื่อค.ศ.496 หลังจากการล่มสลายของมหาอาณาจักรโรมัน ตะวั น ตก  20  ปี   กษั ต ริ ย ์ โ กลวี   (Clovis อ่าน  กะโลวี)  หัวหน้าของชาวฟรังก์สว่ นใหญ่ น�ำครอบครัวและประชากรฟรังก์ของตนเข้ารับ นั บ ถื อ ศาสนาคริ ส ต์ แ ละปฏิ ญ าณตนรั บ สั น ตะปาปา  ณ  กรุ ง โรมเป็ น ผู ้ น� ำ ฝ่ า ยจิ ต วิญญาณ  ท�ำให้บรรพบุรุษของชาวฝรั่งเศสได้ เริ่มรู้จักเปาโลและสัมผัสปรัชญาของเปาโล ตัง้ แต่บดั นัน้ เป็นต้นมาจนถึงบัดนีแ้ ละทุกคนได้ สัมผัสปรัชญาของท่านมากน้อยตามโอกาสและ เข้าใจตามอัธยาศัย  ทีแ่ น่ๆ  ก็คอื ได้ซมึ ซับลัทธิ สากลนิยมของท่านและพัฒนาให้ก้าวหน้ามา ตามล�ำดับตามครรลองของประวัติศาสตร์ ราชส�ำนักฝรั่งเศสอุปัฏฐากสันตะส�ำนัก อย่างดีเรื่อยมา  จนสันตะส�ำนักกล่าวยกย่อง ราชส�ำนักฝรั่งเศสว่าเป็นเหมือนดาบปกป้อง คริสตศาสนา  คือเมื่อใดก็ตามที่มีผู้ใช้ก�ำลัง ทหารหรืออิทธิพลการเมืองข่มขู่สันตะส�ำนัก ราชส�ำนักฝรัง่ เศสก็จะรีบออกรับหน้าปกป้องให้ ปลอดภัย  และชนชาติฝรั่งเศสจึงได้รับการ ยกย่องเปรียบได้กับลูกสาวหัวปีของคริสตจักร คาทอลิก  เพราะชนชาติฝรั่งเศสผลิตนักบวช นักพรตนักการศาสนาทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถ

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

11


บทบาทของนักบุญเปาโลในปรัชญาหลังนวยุค

ในทุ ก ด้ า นที่ ส ร้ า งความเป็ น ปึ ก แผ่ น แก่ ศาสนจักรเรือ่ ยมา  ผลก็คอื กษัตริยฝ์ รัง่ เศสทรง รั บ อุ ป ถั ม ภ์ ศ าสนาอย่ า งเต็ ม ที่ แ ละในขณะ เดียวกันก็ทรงใช้บุคลากรของศาสนาในการ บริหารบ้านเมืองอย่างเต็มที่เช่นกัน  นักบวช นั ก พรตได้ รั บ เงิ น เดื อ นและมี ต� ำ แหน่ ง ใน ราชการ  สภาแห่งชาติจงึ มี  3  ฐานันดร  คือ ขุนนาง  นักบวช  และเศรษฐีที่ดิน  จึงไม่ต้อง แปลกใจว่ า ท� ำ ไมในช่ ว งนั้ น เยาวชนฝรั่ ง เศส จ�ำนวนหนึง่ สมัครเข้าเป็นนักบวชนักพรตเพือ่ มี โอกาสเรียนและมีความก้าวหน้าในทางการ เมือง  ส่วนในด้านการศาสนาก็จะมีสถิติของ ศาสนบุคคลที่สนใจประโยชน์ทางโลกจนออก หน้าออกตา  ท�ำให้ผสู้ นใจศาสนาจริงๆ  พากัน แปลกใจว่าค�ำสอนของพระเยซูถกู บิดเบือนและ ปรัชญาสากลนิยมของเปาโลถูกมองข้ามโดย นั ก เทววิ ท ยาคริ ส ต์ แ ต่ ไ ม่ ข าดหายไปจาก จิตส�ำนึกของชาวฝรั่งเศสทั่วไป  ดังปรากฏให้ เห็ น ชั ด เจนในการปฏิ วั ติ ฝ รั่ ง เศสแห่ ง ปี ค .ศ. 1789  ว่ า ประชาชนทั่ ว ไปไม่ ย อมให้   3 ฐานันดรรวมหัวกันกินแรงประชาชนแทนที่จะ รวมหัวกันท�ำตามค�ำสอนของพระเยซูบริการ คนด้อยโอกาสและเอาปรัชญาสากลนิยมหรือ ความเท่าเทียมกันสากลของเปาโลมาตีความ ค�ำสอนของพระเยซูและปฏิบตั อิ ย่างจริงจังตาม ตัวอย่างของท่าน  จึงเห็นได้ชัดว่าประชาชนชู ค�ำขวัญปฏิวัติว่าเสรีภาพ  เสมอภาค  และ

12

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ภราดรภาพ  อันเป็นอุดมการณ์ที่ประชาชน ชาวฝรั่งเศสอยากได้เห็นว่าทั้ง  3  ฐานันดรที่ เป็นคริสต์ได้ปฏิบัติด้วยศรัทธาต่อค�ำสอนของ พระเยซูผา่ นการตีความด้วยปรัชญาของเปาโล ครัน้ รอนานอย่างผิดหวังจึงคิดจะยึดอ�ำนาจเอา มาท�ำเสียเอง  บาดีอูให้ข้อสังเกตว่าประชาชน ชาวอเมริกันชูอุดมการณ์  3  ข้อเดียวกันเพื่อ ปฏิวตั กิ อ่ นชาวฝรัง่ เศส  13  ปีคอื   ค.ศ.1776 โดยมีเจตนาให้มผี ลต่อชาวอเมริกนั ด้วยกันเป็น ส� ำ คั ญ   ผิ ด กั บ ชาวฝรั่ ง เศสที่ ตั้ ง ใจให้ เ ป็ น นโยบายสากลตามความหมายของลัทธิสากล นิยม  คือต้องการให้มนุษย์ทุกคนไม่เลือกหน้า จริงๆ  มีเสรีภาพอย่างทัดเทียมกัน  (parity) ด้วยจิตารมณ์แห่งภราดรภาพ  บาดีอูให้ข้อ สังเกตว่า  ชาวฝรั่งเศสโดยทั่วไปมีความส�ำนึก ดีอย่างน่าพอใจดีกว่าทุกชาติ  แต่การปฏิบัติ บ่อยๆมิได้เป็นไปอย่างทีส่ ำ� นึก  เช่นการปฏิบตั ิ ต่ อ คนในอาณานิ ค มอย่ า งเลื อ ดตกยางออก และไม่ยอมปล่อยให้เป็นเอกราชตามเวลาที่ เหมาะสมเป็นต้น  ความผิดคาดและผิดหวังใน สงครามโลกครั้งที่  2  ได้ช่วยปรับความเข้าใจ และทัศนะคติของชาวฝรั่งเศสได้มาก  ปัญญา ชนชาวฝรั่งเศสจึงพึงช่วยกันวิเคราะห์และวิจัย ให้ได้ความหมายที่มนุษยชาติต้องการจริงๆ บาดีอูเองคิดว่าเปาโลได้ริเริ่มแนวทางที่ถูกต้อง ไว้ แ ละมากซ์ ม าเสริ ม ให้ ส มบู ร ณ์   แต่ ท ว่ า นักการเมืองรัสเซียน�ำเอาไปบิดเบือนจนเสียรูป


ศ.กีรติ บุญเจือ

จึงควรที่ชาวฝรั่งเศสจะช่วยกันสร้างระบอบ ปกครองคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสที่สมบูรณ์แบบที่ แก้จุดเสียทั้งของคอมมิวนิสต์โซเวียตและของ คอมมิวนิสต์จนี   เพือ่ ให้ใช้ได้กบั ทุกศาสนาและ ผู้ไม่นับถือศาสนาให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความ สุขด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักการ หลังนวยุคสายกลาง บทเรียนจากสงครามโลกสองครั้ง ฝ รั่ ง เ ศ ส เ ป ็ น พ ร ะ เ อ ก ใ น ส ม ร ภู มิ สงครามโลกครั้ ง ที่   1  โดยเป็ น สนามรบ โชกโชนที่สุด  เสียหายมากที่สุด  คือ  ทหาร เสียชีวิต  1,385,000  นาย  บาดเจ็บพิการ 700,000  นาย  ถูกจับเป็นเชลย  446,000 นาย  พลเรือนตายราวครึ่งประเทศ  บาดเจ็บ พิ ก าร  2,344,000  คน  บ้ า นเรื อ นพั ง 300,000  หลัง  สถานที่ราชการพัง  6,000 หลัง  ได้รบั การยกย่องว่าเป็นผูน้ ำ� ของฝ่ายชนะ ได้รบั ค่าปรับปฏิกรรมสงครามจ�ำนวนมากทีส่ ดุ ได้รับมอบหมายให้ดูแลอาณานิคมเพิ่มจ�ำนวน มาก  เป็นปัจจัยให้ฝรั่งเศสปรับตัวฟื้นฟูได้เร็ว มาก  จนกลายเป็ น ผู ้ น� ำ ด้ า นเศรษฐกิ จ การเมื อ ง  การศึ ก ษา  และความสั ม พั น ธ์ นานาชาติอย่างรวดเร็ว  ภาษาฝรั่งเศสกลาย เ ป ็ น ภ า ษ า โ ล ก โ ด ย อั ต โ น มั ติ จ น ถึ ง สิ้ น สงครามโลกครั้งที่  2  อะไรเกิดขึ้นระหว่าง สงครามโลกครั้ ง ที่   2  ที่ กิ น เวลา  5  ปี

ระหว่าง  ค.ศ.1939-44  ที่ท�ำให้ฝรั่งเศสตก อันดับทั้งๆ  ที่ยังรักษาต�ำแหน่งผู้ชนะสงคราม ไว้ได้  แต่ไม่งามสง่าอย่างตอนหลังสงครามโลก ครั้ ง ที่   1  อย่ า งไรก็ ต ามในเชิ ง ปรั ช ญานั้ น ฝรั่งเศสยังคงครองต�ำแหน่งผู้น�ำความคิดของ โลกไว้ได้  ไม่ตกอันดับอย่างในด้านอื่นๆ  นั่น คือเป็นผูน้ ำ� ปรัชญาอัตถิภาวนิยม  และปรัชญา หลังนวนวยุคอยู่ในทุกวันนี้  เกิดอะไรขึ้นกับ ประเทศฝรั่งเศส  เชิญส�ำรวจดู วั น ที่   10  พฤษภาคม  ค.ศ.1940 กองทั พ เยอรมั น เริ่ ม บุ ก เนเธอร์ แ ลนด์ เบลเยี่ยม  และลักแซมเบิร์กพร้อมกัน วั น ที่   12  พฤษภาคม  ค.ศ.1940 เริ่มบุกชายแดนฝรั่งเศสด้านเซดอง  (Sedan) วั น ที่   14  มิ ถุ น ายน  ค.ศ.1940 เยอรมันยึดกรุงปารีส วั น ที่   22  มิ ถุ น ายน  ค.ศ.1940 ฝรัง่ เศสยอมแพ้อย่างไม่มเี งือ่ นไข  นายพลเดอโกลตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในกรุงลอนดอน Patrick  French  ใน  Encyclopedia of  Modern  French  Thought  ให้ข้อคิด เกี่ ย วกั บ ชาวฝรั่ ง เศสช่ ว งนี้ ว ่ า   น้ อ ยครั้ ง ใน ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสที่จะได้เห็นความขัดแย้ง สวนกันไปมาเหมือนช่วง  ค.ศ.1939-1968 ชาวฝรัง่ เศสต้องประสบวิกฤติทบั ซ้อนเป็นชุดๆ เริ่มตั้งแต่ถูกข้าศึกยึดครองอย่างตั้งตัวไม่ติด ตั้งแต่เริ่มสงครามโลกครั้งที่  2  และถูกยึด

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

13


บทบาทของนักบุญเปาโลในปรัชญาหลังนวยุค

ครองอยู่จนปลายสงครามและกลายเป็นฝ่าย ชนะสงครามโดยอานิสงค์ของหน่วยกูช้ าติใต้ดนิ ตามติดด้วยการสูญเสียอาณานิคมจนหมดตัว สู ญ เสี ย ฐานะผู ้ น� ำ โลกให้ แ ก่ ส หรั ฐ อเมริ ก า การเมืองง่อนแง่นจนถึงปี  ค.ศ.1950  แต่ทว่า ทั้งหมดนี้กลับเป็นปัจจัยให้ฝรั่งเศสเติบโตทาง ด้านเศรษฐกิจและก้าวน�ำหน้าชาติอื่นๆ  ไปสู่ ความทันสมัยต่างๆ  การปรับเปลี่ยนรวดเร็ว กลายเป็นเอกลักษณ์ของฝรัง่ เศส  ยังผลให้การ ไร้เสถียรภาพทางการเมืองเป็นเรื่องปรกติใน การเมืองฝรั่งเศส  ซึ่งให้ทั้งการได้เปรียบและ โอกาสที่ท้าทาย  การชุมนุมใหญ่แห่งเดือน พฤษภาคม  1968  ไม่ว่ากลุ่มนักศึกษาหรือ กลุ่มชาวนา  ต่างก็ได้ทิ้งบทเรียนทรงคุณค่าให้ คนรุ่นหลังได้ศึกษา ปัญหาเรื่องการหาบุคคลต้นแบบ บาดีอูคิดว่าชนเผ่าฟรังก์ของตนชอบหา บุคคลต้นแบบและได้ดีเรื่อยมา  ในช่วงที่เป็น อนารยชนเร่ร่อนไร้ที่ตั้งหลักแหล่งถาวรและ หากิ น ด้ ว ยวิ ธี ป ล้ น ระดมทางอยู ่ นั้ น   บุ ค คล ต้นแบบก็คือนักรบผู้กล้าได้กล้าเสียกล้าตัดสิน ใจ  ได้ผู้น�ำอย่างนี้ไปไหนไปด้วยจนม้วยมรณา ไปด้วยกันก็ยอมอย่างว่าง่าย  พวกเขาดั้นด้น ตามผู้น�ำอย่างโกลวีมาจนถึงท้องทุ่งที่เป็นกรุง ปารีสอยู่  ณ  ขณะนี้  ด้วยความเชื่อใจและ วางใจผูน้ ำ  � โกลวีสงั่ ให้หยุดตัง้ หลักแหล่ง  พวก

14

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เขาก็หยุดตั้งหลักแหล่งเลือกจองท�ำเลท�ำกิน พวกเขาปักหลักเลือกจองท�ำเลหาเลีย้ งชีพทันที โดยไม่อิดออดรีรอ  พอโกลวีประกาศชักชวน ว่า  เรารับนับถือศาสนาคริสต์กันเถอะ  จะได้ ไม่ มี ปั ญ หากั บคนท้ อ งถิ่ น  จะแต่ ง งานกั นก็ จูงมือกันเข้าโบสถ์สะดวกโยธิน  เท่านั้นแหละ ทุกคนก็กลายเป็นคริสต์อย่างว่าง่าย  ไม่ใช่ เพราะมีอำ� นาจเผด็จการ  แต่เพราะเป็นไอดอล บุคคลต้นแบบ  และชาวฟรังก์ก็กลายเป็นชาว ฝรั่งเศสคาทอลิกอย่างง่ายดายพร้อมเพรียงกัน โกลวีกไ็ ด้รบั การแต่งตัง้ เป็นกษัตริยข์ องชาวฟรัง ก์คาทอลิกและผู้พิทักษ์ศาสนจักรของพระเจ้า ต่อมากษัตริยช์ าลมาญของชาวฟรังก์กไ็ ด้รบั การ สวมมงกุ ฎ โดยพระสั น ตะปาปาเป็ น ปฐม จั ก รพรรดิ ข องจั ก รวรรดิ โรมั น อั น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ (the  Holy  Roman  Empire)  ไม่ใช่เพราะ สืบเชื้อสายจากโกลวี  แต่เพราะเป็นบุคคลต้น แบบของคริสตจักรและของชาวฟรังก์ซึ่งขณะ นั้นถือกันว่าเป็นคริสตชนต้นแบบ  จนถึงจุด หนึ่ ง ที่ ช าวฝรั่ ง เศสส่ ว นใหญ่ รู ้ สึ ก กั น ว่ า ผู ้ ที่ สันตะปาปาส่งมาดูแลพวกเขาจ�ำนวนมากให้ทำ� หน้าที่เป็นต้นแบบในนามของพระเจ้าตามที่ อ้างเป็นทฤษฎี  แต่กลายเป็นพวกถือโอกาส กอบโกยหาประโยชน์สว่ นตัวและอารักขาแทน จึงปฏิวัติใหญ่ที่เรียกว่าปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อค.ศ. 1789  และหาคนทีเ่ ป็นต้นแบบมามอบอ�ำนาจ ให้ เ ป็ น ประธานาธิ บ ดี แ ละคณะผู ้ บ ริ ห าร


ศ.กีรติ บุญเจือ

ประเทศในนามของประชาธิปไตย  ผลปรากฏ ว่าล้มเหลวและเสียหายหนักในสงครามโลกครัง้ ที่  2  ครั้นสงครามโลกสิ้นสุดลงในปี  ค.ศ. 1944  ปัญญาชนฝรั่งเศสพร้อมใจกันยกย่อง คาร์ล  มากซ์ตัวจริงค�ำสอนจริงขึ้นเป็นบุคคล ต้นแบบซึ่งบาดีอูก็เอากับเขาด้วยอย่างจริงจัง ช่ ว ยกั น ปลุ ก ระดมความคิ ด ทุ ก ภาคส่ ว นให้ พร้ อ มใจกั น สร้ า งวั ฒ นธรรมใหม่ ใ ห้ แ ก่ ช าว ฝรั่งเศสรุ่นใหม่เหมือนกับที่โกลวีได้ท�ำไว้เป็น ตั ว อย่ า ง  แต่ ค ราวนี้ เ อามากซ์ เ ป็ น บุ ค คล ต้นแบบ  ก�ำหนดดีเดย์เดือนพฤษภาคม  ค.ศ. 1968  นัดชุมนุมทุกภาคส่วนทั่วประเทศ  ขอ ความร่วมมือจากนักการเมืองฝ่ายซ้ายทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีต�ำแหน่งในรัฐบาลขณะ นั้น  ปรากฏว่าทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือ อย่างพร้อมเพรียงกันจริงๆนอกจากนักการ เมืองฝ่ายซ้ายที่ก�ำลังมีอ�ำนาจเกิดเสียดายผล ประโยชน์เฉพาะหน้าเป็นส�ำคัญกลับไปร่วมมือ กับฝ่ายขวาลงมติให้รัฐบาลปราบปรามอย่าง เด็ดขาด  เป็นผลให้ประเทศฝรั่งเศสไม่กลาย เป็นประเทศคอมมิวนิสต์  นักวิชาการส�ำนึกได้ ว่ามากซ์ไม่ใช่ต้นแบบแท้เพราะได้แต่พูดแต่ไม่ ได้ท�ำให้เห็นจริง  หันมาสนับสนุนแนวคิดหลัง นวยุคสายกลางโดยผสมผสานกับลัทธิอตั ถิภาว นิยมและมาร์กซิสม์บริสุทธิ์  แล้วก็หาบุคคล ต้นแบบกันใหม่  ซึ่งบาดีอูคิดว่าแซงโปลหรือ เปาโลน่าจะท�ำหน้าทีไ่ ด้ดที สี่ ดุ   เรือ่ งนีน้ า่ สนใจ

โดยไม่จ�ำเป็นต้องเห็นด้วยทุกประการเพียงแต่ น่าสนใจรู้และติดตามผลความคิดก็พอแล้ว ชีวประวัติ อแลง  บาดีอู  (Alain  Badiou)  เกิด เมือ่ วันที ่ 17  มกราคม  ค.ศ.1937  ทีจ่ งั หวัด Rabat  ประเทศโมรอคโคขณะเป็นประเทศใน อารักขาของฝรั่งเศส  เมื่อขึ้นชั้นมัธยมศึกษา ครอบครัวย้ายไปอยู่ที่  Toulouse  ประเทศ ฝรั่งเศส  และในปี  ค.ศ.1956  อายุ  19  ปี ก็เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย  École  Normale Supérieure  จนจบปริญญาเอกหลักสูตรการ สอนปรั ช ญาก็ ไ ด้ รั บ การบรรจุ เข้ า สอนวิ ช า ปรั ช ญาในมหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง แรง  (Reims) ค.ศ.1968  อายุ   31  ปี ไ ด้ ต� ำ แหน่ ง สอน ปรัชญาทีม่ หาวิทยาลัยปารีส  8  ร่วมกับ  Deleuze  จนถึ ง ค.ศ.1998  จึ ง ได้ ต� ำ แหน่ ง หัวหน้าภาควิชาปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ได้ เรียนปรัชญา  สอนอยู่จนถึงเกษียณอายุในปี ค.ศ.2002  มีชื่อเสียง  3  ด้านผสมผสานกัน อย่ า งแนบแน่ น   คื อ   นั ก ปรั ช ญา  (ทั้ ง คิ ด เขียน  และสอน)  นักเขียนนวนิยายและบท ละครโทรทัศน์  และนักการเมืองฝ่ายซ้าย บาดีอูนักการเมือง ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย เอกอลนอร์ ม าลซ์ เ ปรี เออร์  บาดีอูเรียนปรัชญาจากอัลตุสเซร์  (Al-

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

15


บทบาทของนักบุญเปาโลในปรัชญาหลังนวยุค

thusser)  และตั้งใจช่วยอัลตุสเซร์ปรับความ เข้าใจความคิดของมากซ์ให้ถูกต้องมากกว่าที่ ลั ท ธิ ค อมมิ ว นิ ส ต์ ทั้ ง หลายยกขึ้ น มาอ้ า งเพื่ อ แสวงหาอ� ำ นาจ  โดยทุ่มเทสนับสนุนพรรค คอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสให้เป็นแม่แบบ  ภายหลัง ค่อยๆรูส้ กึ ว่าอุดมการณ์ของอัลตุสเซร์เป็นไปได้ ยาก  จึงแยกตัวและคิดสร้างอุดมการณ์ของตน ขึ้นเองตั้งแต่ค.ศ.1975  เป็นต้นมา  โดยตั้ง อุดมการณ์ของมากซ์เป็นเป้าหมาย  ส่วนวิถนี นั้ เริม่ จากวิธอี ตั ถิภาวะนิยมของซาตร์ลงท้ายด้วย การพัฒนาคุณภาพชีวติ ของลัทธิหลังนวยุคสาย กลาง  บาดีอูถือนโยบาายการเมืองเอียงซ้าย อย่างคงเส้นคงวา บาดีอูนักเขียน บาดี อู มี พ รสวรรค์ ใ นการเขี ย นให้ ค น ทัว่ ไปอ่าน  มีลลี าให้ผอู้ า่ นติดใจ  จึงใช้วธิ เี สนอ อุดมการณ์ของตนด้วยวรรณกรรมรูปแบบต่างๆ ทั้ ง นวนิ ย าย  บทละครโทรทั ศ น์   และเรี ย ง ความ  ส�ำนวนปรัชญาของท่านจึงมีภาษาชาว บ้านแทรกอยูท่ วั่ ไปซึง่ แปลเป็นภาษาอืน่ ได้ยาก แปลแล้วต้องตีความหรือมิฉะนั้นก็ต้องตีความ ขณะแปลไปเสียเลย สรุป ค.ศ.1956  ขณะที่บาดีอูก�ำลังศึก ษา ปรัชญาจากอัลตุสเซร์อยู่นั้น  ก็พยายามขยาย

16

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ผลความคิดของอัลตูสเซร์ในเรือ่ ง  Epistemology  คือส่งเสริมปรัชญาบริสุทธิ์ของมากซ์ ตามหลักการ  dialectic  สนใจ  anthropological  structuralism  ของ  Lévi-Strausse และ  psychoanalytivcal  structuralism ของ  Lacan  ในส่วนของบาดีอูเองสังเกตว่า ชาวฝรั่งเศสโดยทั่วไปยังนิยมอ่านหนังสือของ ซาตร์ อ ยู ่   บาดี อู จึ ง มั ก จะเข้ า ใจมากซ์ ล อด แว่นตาของซาตร์เป็นส�ำคัญ  จะสังเกตได้จาก ค�ำกุญแจของบาดีอู  เช่น  free  subject, universal parity, event, plurality of being,  eventual  truth  เหตุการณ์ชุมนุม ใหญ่ของฝ่ายซ้ายทั่วประเทศในปี  ค.ศ.1968 ท� ำ ใ ห ้ บ า ดี อู เริ่ ม รู ้ สึ ก ผิ ด ห วั ง กั บ พ ร ร ค คอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส ค.ศ.1975  เริ่มรู้สึกผิดหวังกับเจตนา ของอาจารย์อลั ตุสเซร์จงึ เริม่ คิดหาแนวทางของ ตนเอง  จึ ง หั น ไปศึ ก ษาตรรกวิ ท ยา  คณิ ต ศาสตร์  และเทคนิคการจูงใจมวลชนด้วยการ ใช้ภาษาอย่างมีเทคนิค ค.ศ.1980  เริ่ ม เขี ย นความคิ ด ของ ตนเอง  เผยแพร่   Théorie du sujet (1982); L'être et l'événement (1988); Conditions (1992)  ระบุว่าความจริงคือการ ได้ พั ฒ นาคุ ณ ภาพในด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ , การเมือง,  ศิลปะ,  ความรักเสียสละจากจิตใต้ ส�ำนึกที่ปิ๊งขึ้นมาเหมือนทอดลูกเต๋า  (coup


ศ.กีรติ บุญเจือ

de  dés)  และแทงเบอร์ถูกอันยังผลต่อการ พัฒนาคุณภาพชีวิต;  ต่อจากนั้นก็พยายาม เขียนปลุกใจให้คนรุ่นใหม่หันมาสนใจศึกษา ปรัชญาหลังนวยุคแบบสายกลางเพื่อความสุข แท้ตามความเป็นจริง  เช่น  Manifeste pour la  philosophie  (1989);  L'éthique (1993);  Gilles  Deleuze  (1997);  Saint Paul  (1997)  ซึง่ ส่งเสริมพหุนยิ มทางศาสนา ครบวงจรโดยรวมอเทวนิยมและศาสนาดั้งเดิม ด้วย;  Court  traité  d'ontologie  transitoire  (1998);  Petit  manuel  d'inesthétique  (1998);  Abrégé  de  métaphysique  (1998);

บรรณานุกรม Badiou,  Alain  (2003).  Saint  Paul:  The  Foundation  of  Universal  ism. California: Stanford Uni versity Press. Bornkamm,  Gunther  (1995).  Paul.  Minneapolis: Fortress Press. Breton,  Stanislas  (2011).  A  Radical  Philosophy  of  Saint  Paul.  New  York:  Columbia  University Press. Crossan,  John  (2005).  In  Research  of  Paul.  New  York:  HarperCol lins Publishers.

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

17


ภาวะผู้น�ำท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์

ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต  :  ศึกษาเฉพาะกรณีของ ชุมชนตามโครงการพระราชด�ำริในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

Tand he Self-Sufficient  Intelligent  Strong  Local  Leadership Economic  Philosophy

Strategy For The Future Sustainable Community Development  Enterprises  :  A  Case  Study  of The  Royal  Development  Community Projects In Phetchaburi  Province, Thailand, 2013 AD. พิเชฐ  ปานช้าง * บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต รศ.ดร.ธัญยธรณ์/กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ *บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต Pichet Panchang * Graduate School Suan Dusit Rajabhat University. Assoc.Prof.Dr.Thanyathorne/Kanala Sukhabanij-Khantaprab * Graduate School Susit Rajabhat University.


พิเชฐ ปานช้าง และธัญยธรณ์ กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ

บทคัดย่อ

ดุ ษ ฎี นิ พ นธ์ นี้ ชื่ อ   “ภาวะผู ้ น� ำ ท้ อ งถิ่ น เข้ ม แข็ ง อั จ ฉริ ย ะและ ยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน อย่างยั่งยืนสู่อนาคต  ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนตามโครงการพัฒนา พระราชด�ำริของจังหวัดเพชรบุร”ี คือการศึกษาเชิงวิชาการเกีย่ วกับภาวะ ผูน้ ำ� เชิงยุทธศาสตร์ของโครงการพัฒนาชุมชนตามแนวพระราชด�ำริ  ซึง่ เป็นชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ห้วยทรายและหุบกะพง  ของจังหวัดเพชรบุรี โดยเน้นที่การศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพและศักยภาพในด้านการ บริหารจัดการเพื่อการพัฒนาด้านวิสาหกิจชุมชน  ดังนั้น  ดุษฎีนิพนธ์ เรือ่ งนีจ้ งึ มุง่ วิจยั ว่าผูน้ ำ� ท้องถิน่ ของโครงการพัฒนาตามพระราชด�ำริของ พื้นที่ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านการบริหารงานและมี ศักยภาพทีเ่ ฉลียวฉลาดมากพอในการน�ำเอายุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงมาใช้อย่างส�ำเร็จผลในฐานที่เป็นอาวุธด้านการพัฒนาที่แสน วิเศษในการบรรลุถงึ เป้าหมายเชิงวิสยั ทัศน์  เพือ่ สร้างความยัง่ ยืน  เจริญ รุ่งเรือง  ให้กับวิสาหกิจชุมชน  โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน  คือการ วิจัยเชิงคุณภาพ  วิธีการศึกษาเป็นการจัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เชิงลึกเฉพาะเจาะจง  จากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์  โดย เฉพาะผู้น�ำตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ  ได้แก่ผู้น�ำภาครัฐ  ผู้น�ำภาค รัฐวิสาหกิจ  ผู้น�ำภาคการเมือง  ผู้น�ำภาควิชาการ  ผู้น�ำภาคธุรกิจและ ผูน้ ำ� ภาคอืน่   ๆทีเ่ กีย่ วข้องกับภาวะผูน้ ำ� ปัญญาชนกับยุทธศาสตร์ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนา  จ�ำนวน  38  คน  ส่วนการวิจัยเชิง ปริมาณ  เป็นการวิจัยเชิงส�ำรวจ  วิธีการศึกษาเป็นเก็บข้อมูลการได้ใช้ แบบสอบถามความคิดเห็นของผูน้ ำ� ชุมชน  ผูน้ ำ� ท้องถิน่   สมาชิกชุมชน ข้าราชการ  นักธุรกิจและประชาชน  ที่อยู่เขตต�ำบลเขาใหญ่  อ�ำเภอ ชะอ�ำ  จังหวัดเพชรบุรีและในเขตต�ำบลศิลาลอย  อ�ำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์  เป็นกลุม่ ตัวอย่าง  จ�ำนวน  299  คน  ผลการ ศึกษาพบว่า

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

19


ภาวะผู้นำ�ท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต : ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนตามโครงการพระราชดำ�ริในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

1.  ประเด็นเกีย่ วกับภาวะผูน้ ำ� ท้องถิน่ เข้มแข็งอัจฉริยะของชุมชน ตามโครงการพัฒนาพระราชด�ำริ  จังหวัดเพชรบุร ี ผลการศึกษา  สรุป ได้ว่า  ผู้น�ำท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะ  จะต้องมีความรู้ความสามารถ  มี วิสัยทัศน์ที่ดี  มีธรรมภิบาล  ยึดมั่นในกฎกติกา  มีความเชี่ยวชาญ  มี ความประพฤติดี  มีวินัย  มนุษย์สัมพันธ์  เสียสละเวลาเพื่อส่วนรวม กล้าหาญ  กล้าชี้น�ำ  อ่อนโยนและรักมั่นในองค์กร  รู้จักเชื่อมโยงสิ่ง ต่างๆ  เข้าด้วยกัน  รู้จักมองส่วนย่อยๆ  มองภาพรวมให้เป็น  เพราะ ปัญหาทุกปัญหาล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวข้อง  เกี่ยวพันกับปัจจัยต่างๆ มากมาย  ต้องมีมุมมองในการแก้ไขปัญหาครบถ้วน  รอบด้าน  คอย ประสานความร่วมมือต่างๆ  ให้เข้ากัน  คอยชี้แนะและแก้ปัญหาช่วย เหลือสมาชิกชุมชนส�ำหรับคุณลักษณะทีส่ ำ� คัญของผูน้ ำ  � ต้องมีความเชือ่ มั่นในความสามารถของตนเอง  และต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และต้องมีความสามารถในกระบวนการคิดและประยุกต์อย่างชาญฉลาด ผูน้ ำ� ควรต้องมีความรู ้ โดยเฉพาะความรูใ้ นงานในหน้าทีท่ ตี่ นท�ำ  อีกทัง้ ยังต้องสามารถพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวได้และเสียสละเพื่อส่วนรวม เสมอ 2.  ประเด็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองของ ชุมชนตามโครงการพัฒนาพระราชด�ำริจังหวัดเพชรบุรี  ในการค้นหา ค�ำตอบที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองของชุมชนตาม โครงการพั ฒ นาพระราชด� ำ ริ ข องจั ง หวั ด เพชรบุ รี   สรุ ป ได้ ดั ง นี้ คื อ ยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองของโครงการพัฒนาตามพระ ราชด�ำริ  ของชุมชนหุบกะพงและชุมชนห้วยทรายสามารถพัฒนาได้ อย่างยั่งยืนเพราะสามารถอธิบายให้ความรู้แก่ชุมชน  ให้ทราบถึงพระ ราชกรณียกิจของโครงการพระราชด�ำริ  และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพึ่ง ตนเองที่ได้เกิดผลด้านการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและการแก้ปัญหา ความยากจนเพราะมีการวางแผนในการด�ำเนินชีวิตตามทางสายกลาง อาศัยความอดทน  ความเพียร  ความมีสติปัญญา  และความซื่อสัตย์

20

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


พิเชฐ ปานช้าง และธัญยธรณ์ กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ

สุจริต  ในการวางแผนและตัดสินใจในการกระท�ำต่างๆ  โดยการปลูก ฝั ง ภู มิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ที่ ต นเองมี อ ยู ่ ใ ห้ กั บ เยาวชน  ถื อ เป็ น การน� ำ ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพึง่ ตนเองมาใช้ในการพัฒนาสังคมให้เกิดความเข้ม แข็งได้อย่างยั่งยืน 3.  ประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนสู่ อนาคตของชุมชนตามโครงการพัฒนาพระราชด�ำริของจังหวัดเพชรบุรี ในการค้นหาค�ำตอบทีม่ ตี อ่ การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยัง่ ยืนสูอ่ นาคต ของชุ ม ชนตามโครงการพั ฒ นาพระราชด� ำ ริ ข องจั ง หวั ด เพชรบุ รี ประเทศไทย  สรุปได้ดังนี้คือ 3.1  การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน  เพือ่ เอาชนะบรรษัทค้าปลีก ข้ามชาติ  ผู้น�ำชุมชน  ควรจัดกิจกรรมในชุมชนท้องถิ่น  เพื่อส่งเสริม การตลาดให้กับสมาชิกชุมชน  สามารถน�ำสินค้าที่ผลิตในชุมชนและใช้ วัตถุดบิ ของชุมชนเองออกมาจ�ำหน่าย  เพือ่ เอาชนะบรรษัทค้าปลีกข้าม ชาติ 3.2  ในความพยายามเพือ่ การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยัง่ ยืน สู่อนาคตนั้นผู้น�ำชุมชนควรมีมาตรการในการจัดเก็บค่าสาธารณูปโภค จากธุรกิจของต่างชาติที่ตั้งอยู่ในชุมชนให้เท่ากับหรือมากกว่าวิสาหกิจ ชุมชนของผู้ประกอบการรายย่อย  เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความเป็น ธรรมแก่ชุมชน 3.3  รัฐบาลควรสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจชุมชนอย่าง ยัง่ ยืนสูอ่ นาคตโดยการจัดตัง้ สหกรณ์ออมทรัพย์และเพิม่ การเรียนรูใ้ ห้กบั กลุม่ ผูน้ ำ� ในชุมชนอย่างมีบรู ณการและสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนาทีม่ ี ประสิทธิภาพ 3.4  การที่สินค้าและผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนจะสามารถ ขายในตลาดได้และสามารถก้าวสูท่ อ้ งตลาดของประเทศเพือ่ นบ้านได้นนั้ ประชาชนในชุมชนและสังคมไทยจะต้องให้การสนับสนุนมากกว่าสินค้า ราคาแพงจากต่างประเทศเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของตลาดผู้บริโภค ภายในประเทศ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

21


ภาวะผู้นำ�ท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต : ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนตามโครงการพระราชดำ�ริในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

3.5  ผูน้ ำ� ชุมชน  ควรจัดกิจกรรมในชุมชนท้องถิน่   เพือ่ ส่งเสริม การตลาดให้กับสมาชิกชุมชน  สามารถน�ำสินค้าที่ผลิตในชุมชนและใช้ วัตถุดิบของชุมชนเองออกมาจ�ำหน่าย  เพื่อเอาชนะการแข่งขันบรรษัท ค้าปลีกข้ามชาติ ดังนั้นการสร้างความเข้มแข็งแก่วิสาหกิจชุมชนตามโครงการ พระราชด�ำริจงั หวัดเพชรบุรปี ระเทศไทยให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยัง่ ยืน ผลการศึกษาวิจัย  พบว่า 1.  การทีก่ ฎหมายวิสาหกิจชุมชนทีอ่ อกโดยรัฐได้มกี ารปฏิรปู เพือ่ เพิ่มมาตรการในการช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถสร้างและยกระดับ คุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่โครงการได้ส่งผลให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง ยั่งยืนได้ในอนาคต 2.  ผูน้ ำ� ชุมชน  ควรกระตุน้ ให้วสิ าหกิจชุมชน  สร้างภาพลักษณ์ ที่ดี  มีจรรยาบรรณในการจ�ำหน่ายสินค้าและบริการที่เป็นธรรมแก่ สมาชิกชุมชน 3.  รัฐบาลควรสร้างความเข้มแข็งให้กบั วิสาหกิจชุมชนอย่างยัง่ ยืน สู่อนาคตโดยการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์และเพิ่มการเรียนรู้ให้กับกลุ่ม ผู้น�ำในชุมชนอย่างมีบรูณการและสร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนาที่มี ประสิทธิภาพ 4.  เพือ่ น�ำเสนอรูปแบบของ“ภาวะผู้น�ำท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะ และยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึง่ ตนเองเพือ่ การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน อย่ า งยั่ ง ยื น สู ่ อ นาคต:  ศึ ก ษาเฉพาะกรณี ข องชุ ม ชนตามโครงการ พระราชด�ำริในจังหวัดเพชรบุรีประเทศไทย จากผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณน�ำมาวิเคราะห์ แบบผสมผสานแล้ว  ท�ำให้มองเห็นภาพรวมของรูปแบบ  รูปแบบภาวะ ผูน้ ำ� ท้องถิน่ เข้มแข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึง่ ตนเอง เพือ่ การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยัง่ ยืนสูอ่ นาคต  :  ศึกษาเฉพาะกรณี ของชุมชนตามโครงการพระราชด�ำริในจังหวัดเพชรบุรีประเทศไทย

22

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


พิเชฐ ปานช้าง และธัญยธรณ์ กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ

“การเป็นผูป้ ระกอบการแนวสมัยใหม่แบบ  ทวิวถิ  ี ทีผ่ สมผสาน โลกาภิวตั น์เข้ากับท้องถิน่ นิยม”  (The  Modern  Dual-Track  Globalization  Entrepreneur)  ซึ่งสามารถอธิบายผลการศึกษาวิเคราะ ห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้ในรูปแบบ  From  “The  Traditional  Subsistence  Agricultural  Developers”  To  “The  Modern  Dual -Track  Glocalization  Entrepreneurs” ผลการวิจยั ชีใ้ ห้เห็นข้อเท็จจริงทีว่ า่ ผูน้ ำ� ของโครงการพัฒนาชุมชน ตามพระราชด�ำริโดยเฉพาะจังหวัดเพชรบุรี  จะสามารถบรรลุผลส�ำเร็จ ของยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถเติมเต็มภารกิจ แห่งชีวติ ในการกอบกูแ้ ละเสริมสร้างวิสาหกิจชุมชนและโครงการพัฒนา ชุมชนได้นั้น  พวกเขาย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องรังสรรค์  ผู้น�ำชุมชนเสีย ใหม่  เพื่อให้ครอบคลุมถึงการผสมผสานรูปแบบการบริหารจัดการให้ ครอบคลุมทั้งโลกาภิวัตน์และท้องถิ่นนิยม  ในการเสริมสร้างความ เก่งกาจแบบผูน้ ำ� ยุคใหม่ให้เข้มแข็งรวมทัง้ จะต้องบริหารจัดการด้วยองค์ ความรูเ้ ป็นพืน้ ฐานและตัง้ เป้าหมายทีจ่ ะแบ่งปันอ�ำนาจเพือ่ ให้มสี ว่ นร่วม ได้อย่างชาญฉลาด  โดยหวังว่าจะสามารถบรรลุได้ถึงความยั่งยืนและ ความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนพัฒนาตามโครงการพระราชด�ำริและ วิสาหกิจชุมชนได้ในอนาคต ดังนัน้ โมเดลของงานวิจยั ดุษฎีนพิ นธ์เรือ่ งนีท้ จี่ ะสามารถขับเคลือ่ น ยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน อย่างยั่งยืนได้  เป็นดังนี้จาก  “การเป็นนักพัฒนาเกษตรกรรมแนว ดั้ ง เดิ ม ที่ ใช้ ชี วิ ต แบบพอมี พ อกิ น ”  ไปสู ่   “ลั ก ษณะของการเป็ น ผู ้ ประกอบการแนวสมัยใหม่แบบ  ทวิ-วิถี  ที่ผสมผสานโลกาภิวัตน์  เข้า กับท้องถิ่นนิยม” ค�ำส�ำคัญ:

1)  ภาวะผู้น�ำท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะ 2)  ยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเอง 3)  การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

23


ภาวะผู้นำ�ท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต : ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนตามโครงการพระราชดำ�ริในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

Abstract

24

​ The major principle of this doctoral dissertation, e ntitled  “The  Intelligent  Strong  Local  Leadership  And S elf-Sufficient  Economic  Philosophy  Strategy  For  The Future Sustainable Community Development Enterprises :   A  Case  Study  of  the  Royal  Development  Commun ity  Projects  In  Petchaburi  Province,  Thailand,  2013 A.D.,  is  to  academically  study  the  strategic  leadership of the Royal Development Community Projects of the local communities in the areas of Huasai and Hoopkrapong, located in Petchaburi Province, essentially in terms  of  its  efficiency  and  potentiality  in  the  management  of  community  development  enterprises.  Accordi ngly, this doctoral research endeavors to certify t hat the local leaders of the Royal Development Community Projects,focusing in the regional areas matt ered, are administratively competent and potentially intelligent  enough  to  successfully  utilize  the  self-suffic ient economic philosophy strategy as the fascinating d evelopment weapon to reach its visionary target of sustainabilty and prosperity for the community enterprises by and large ​ In conclusion, in order for the leaders of the Royal Development Community Projects, particularly in Petchaburi Province, to be able to effectively accomplish  their  self-sufficient  economic  philosophy  strategy, and  to  ably  fulfill  their  life  mission  in  the  restructuri ng of the communities’ development projects and

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


พิเชฐ ปานช้าง และธัญยธรณ์ กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ

l ocal enterprises, they inescapably have to reinvent t heir  strategic  leadership  to  incorporate  the  mixture o f globalization-localization management styles, to h eighten the neo-elitist calibres, as well as to embrace with knowledge-based manipulation, as well as t argeting more in terms of intellectually participative empowerment, anticipating to achieve the future sust ainability and prosperity of the community’s Royal Development projects and enterprises. Therefore,  the  “Research  Model”  of  this  doct oral dissertation can be summed up as the following:  From  “The  Traditional  Subsistence  Agricultural  Developpers”  To  “The  Modern  Dual  Track  Glo-calization Entrepreneurs” Key  words: 1)  Intelligent  Strong  Local  Leadership 2)  Self-Sufficient  Economic  Philosophy Strategy 3)  Future  Sustainable  Community  Devel opment  Enterprises

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

25


ภาวะผู้นำ�ท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต : ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนตามโครงการพระราชดำ�ริในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

บทน�ำ การเปลี่ ย นแปลงของโลกยุ ค กระแส โ ลกาภิ วั ต น์   (Globalization)  ในยุ ค ปั จ จุ บั น   ซึ่ ง เราทุ ก คนไม่ อ าจหลี ก เลี่ ย งได้ เ พราะเป็นวงจรในการด�ำรงชีวิตที่มีคุณค่าใน ปั จ จุ บั น ต่ า งจาก  การอยู ่ ร วมกั น ในอดี ต ที่ มนุษย์โลกไม่ได้อาศัยอยูร่ ว่ มกันอย่างเสมอภาค คนในยุคนัน้ จึงถูกควบคุมดูแลจากคนทีเ่ ก่งกว่า ซึ่งมักจะได้เป็นหัวหน้าหรือผู้น�ำต่อมาได้มีการ พั ฒ นาขึ้ น จาก  เจ้ า นคร  กษั ต ริ ย ์   หรื อ ชนชัน้ ปกครอง  มีศกั ดินา  ดังนัน้ การทีม่ นุษย์ ต้องมีสภาพที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างฝ่าย หนึง่ มีฐานะเป็นผูด้ แู ลและอีกฝ่ายหนึง่ เป็นผูถ้ กู ดูแล  เกิดความได้เปรียบและเสียเปรียบจึง อุบตั ขิ นึ้   อย่างไรก็ตามมนุษย์อยูบ่ นโลกใบนีไ้ ด้ อ ย่ า งต่ อ เนื่ อ งยาวนานจึ ง มี ส ถานะเปรี ย บ เ สมือนกับการใช้ชีวิตของสัตว์โลกต่างๆ  ที่ ด�ำรงชีพก็อาศัยอยู่ร่วมกันในฐานะผู้ล่าและผู้ ถูกล่าสัตว์โลกที่แข็งแรงกว่าก็จะสามารถอยู่ รอดได้โดยไม่สูญพันธุ์  จากการวิเคราะห์ดัง กล่าวนี้ในทางตรงกันข้ามวงจรชีวิตเช่นว่านี้ ท�ำให้ระบบนิเวศวิทยามีความอุดมสมบรูณแ์ ละ มีสมดุลอย่างไม่น่าเชื่อบางกลุ่มอาจมองว่าเป็น ท�ำให้เกิดมุมมองทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ  ทั้ง ที่มองว่าความสอดคล้องที่ดีหรือว่าร้าย  บาง กลุม่ มองว่าเป็นโอกาสหรือบางกลุม่ อาจมองว่า เป็นอุปสรรค  อย่างไรก็ตามการทีม่ นุษย์เราจะ

26

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

มองเห็นถึงโอกาสหรือไม่นนั้ ขึน้ อยูก่ บั วิสยั ทัศน์ ของคนทัว่ ไปส�ำหรับในกรณีประเทศไทยของสิง่ ทีผ่ นู้ ำ  � หรือผูบ้ ริหารประเทศ  หรือผูน้ ำ� องค์กร ต่างๆ  ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบในการบริหาร และพัฒนาประเทศ  คือ  ต้องมียุทธ์ศาสตร์/ ยุทธวิธใี นการพัฒนาเศรษฐกิจ  สังคมและต้อง มีการก�ำหนดวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนมีการวิเคราะห์ อย่างรอบด้าน  และรอบคอบมากขึ้นอีกทั้ง ต้องเปิดกว้างทางการเมืองเศรษฐกิจเพื่อให้ สังคมอยู่อาศัยได้อย่างเป็นสุข การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ได้เริม่ ขึน้ ทีละน้อย  ค่อยเป็นค่อยไป  นับตัง้ แต่ การท� ำ สนธิ สั ญ ญาเบาริ ง ในปี   พ.ศ.2398 เป็นต้นมา  และในระยะเวลา  50  กว่าปีที่ ผ่านมา  นับตัง้ แต่ประเทศไทยได้ใช้แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรอบ  ในการ พั ฒ นาประเทศ  ก็ ไ ด้ เร่ ง ความเร็ ว ในการ เปลีย่ นแปลงขึน้ เรือ่ ยๆ  จนกระทัง่ ในช่วงระยะ เวลา  20  ปีที่ผ่านมาซึ่งจะเห็นได้ว่า  การ เปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ นัน้ รวดเร็วมาก  อันเนือ่ ง มาจากการเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจตั้งแต่ ปลายปี  พ.ศ.2539  ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่คน ส่ ว นใหญ่ ค าดไม่ ถึ ง และยั ง มิ ไ ด้ เ ตรี ย มความ พร้อมในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์ดงั กล่าว จึงถือว่าเป็นวิกฤติเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดและ ส่งผลกระทบไปถึงทุกภาคส่วนของสังคม  จน เป็นเหตุให้สังคมไทยมีความพยายามที่จะต้อง


พิเชฐ ปานช้าง และธัญยธรณ์ กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ

แสวงหาแนวทางเลือกอืน่ ทีน่ า่ จะเหมาะสมกว่า แนวทางที่ใช้มาแล้วในอดีต  เพื่อแก้ไขปัญหา วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศอย่างเร่งด่วน  โดย แนวความคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นและได้จุดประกาย ความหวังทีเ่ ป็นไปได้แก่สงั คมไทยในขณะนัน้ ก็ คือ  พระราชด�ำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวฯ  ได้พระราชทานไว้ในเรื่อง  “เศรษฐกิจพอเพียง”  นัน่ เองจากกระแสโลกาภิวตั น์ใน ปี  พ.ศ.2538-2540  ที่เราเรียกว่าเศรษฐกิจ แบบฟองสบู่แตกส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจ  โดย เฉพาะสถาบันการเงินปิดตัวลงหรือบางส่วนที่ ขายให้ กั บ ต่ า งประเทศ  เช่ น   สิ ง คโปร์ สหรัฐอเมริการวมถึงการเลิกจ้างท�ำให้เกิดการ ตกงานเกิดขึ้นเมื่อสังคมได้รับผลกระทบชุมชน หรือรากหญ้าของประเทศไทยได้รบั ผลกระทบ ตามกระแสโลกาภิวัตน์จึงท�ำให้เกิดการเรียนรู้ ว่าการพึง่ พาเศรษฐกิจระดับประเทศเพียงอย่าง เดียว  ไม่สามารถน�ำประเทศไปสู่การพัฒนาที่ ยัง่ ยืนอย่างแท้จริงได้รฐั บาลยุคต่อมาจึงน้อมน�ำ เอาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับปรุงประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจสังคมการเมือง ของประเทศได้ผนู้ ำ� ในยุคกระแสโลกาภิวตั น์จะ ต้องเป็นผู้น�ำที่สามารถน�ำพาประเทศชาติทุก ภาคเศรษฐกิ จ   สั ง คม  การเมื อ ง  รวมทั้ ง ประชาชนทุกคนตั้งระดับประเทศ  ภูมิภาค สังคม  ชุมชน  สามารถเลี้ยงตัวเองไม่จ�ำเป็น ต้องพึ่งระบบทุนนิยม  แบบตะวันตก

ดังนัน้ จะเห็นว่าการพัฒนาประเทศให้เกิดความ เข้มแข็งอย่างยั่งยืนนั้นผู้น�ำชุมชนต้องมีมีวิสัย ทัศน์กว้างไกลอย่างแท้จริง  ต้องเปิดโอกาสให้ ประชาชนเข้ า มามี ส ่ ว นร่ ว มในการบริ ห าร จัดการและสามารถตรวจสอบถึงความโปร่งใส ผู ้ น� ำ จะต้ อ งมี คุ ณ ธรรมจริ ย ธรรมใช้ ห ลั ก ธรรมภิบาลในขณะเดียวกันผูน้ ำ� ชุมชนจะต้องมี ความเสียสละ  และพร้อมที่จะสละแรงกาย สติปญ ั ญาในการน�ำการเปลีย่ นแปลงมาสูช่ มุ ชน ได้อย่างแท้จริง  โดยการน�ำยุทธศาสตร์การ พัฒนาชุมชนมาใช้ใน  การพัฒนาคนในชุมชน โดยเฉพาะการให้ความรู้การศึกษาแก่ชุมชน เช่น  โครงการพระราชด�ำริตา่ งๆ  ใช้ภมู ปิ ญ ั ญา ท้องถิ่นของมาเพื่อพัฒนาโดยมีการจัดตั้งเป็น องค์กรเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนในชุมชน อย่างแท้จริงทีเ่ ราเรียกว่า  ภาคีในการให้ความ รู้  เช่น  สถาบันการศึกษา  ภาคประชาชน และภาครั ฐ บาลเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ ชุ ม ชน  ผู ้ น� ำ ชุมชนจะต้องสนับสนุนให้มีการน�ำยุทธศาสตร์ การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นพัฒนาในลักษณะที่ เป็นเอกภาพเพียงแนวทางเดียวโดย  (ประเวศ วะสี,  2534)  ได้เสนอยุทธศาสตร์ชุมชนท้อง ถิ่ น พั ฒ นาไว้   4  ประการ  คื อ   การเลื อ ก ยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นสิทธิพื้นฐานของ ประชาชนหรื อ กล่ า วอี ก นั ย หนึ่ ง คื อ   หลั ก การ  “ทางใคร  ใครเลือก”

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

27


ภาวะผู้นำ�ท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต : ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนตามโครงการพระราชดำ�ริในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

วัตถุประสงค์การวิจัย 1.  เพื่อศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะ ผู้น�ำท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะของชุมชนตาม โครงการพั ฒ นาพระราชด� ำ ริ   ในจั ง หวั ด เพชรบุรี 2.  เพื่ อ ศึ ก ษาวิ เ คราะห์ ยุ ท ธศาสตร์ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พึ่ ง ตนเองของชุ ม ชนตาม โครงการพั ฒ นาพระราชด� ำ ริ   ในจั ง หวั ด เพชรบุรี 3.  เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้น�ำท้องถิ่นเข้ม แข็งอัจฉริยะ  ในการใช้ยุทธศาสตร์ปรัชญา เศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ของชุมชนตามโครงการพัฒนาพระราชด�ำริ ในจังหวัดเพชรบุรี 4.  เพื่อน�ำเสนอรูปแบบของภาวะผู้น�ำ ท้องถิน่ เข้มแข็งอัจฉริยะ  ในการใช้ยทุ ธศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐกิจพึง่ ตนเองเพือ่ พัฒนาวิสาหกิจ ชุ ม ชนของชุ ม ชนตามโครงก ารพั ฒ นา พระราชด�ำริ  ในจังหวัดเพชรบุรี ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.  สามารถน�ำเสนอรูปแบบของภาวะ ผู ้ น� ำ ท้ อ งถิ่ น เข้ ม แข็ ง อั จ ฉริ ย ะของชุ ม ชน หุบกะพงและชุมชนห้วยทรายตามโครงการ พัฒนาพระราชด�ำริในจังหวัดเพชรบุรี 2.  สามารถน� ำ เสนอแนวคิ ด เชิ ง ยุ ท ธศาสตร์ ต ามหลั ก ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พึ่ ง

28

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ตนเองของชุมชนหุบกะพงและชุมชนห้วยทราย ตามโครงการพั ฒ นาพระราชด� ำ ริ   จั ง หวั ด เพชรบุรี 3.  สามารถน�ำเสนอแนวทางการพัฒนา วิสาหกิจชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนสู่อนาคต ของชุมชนหุบกะพงและชุมชนห้วยทราย  ตาม โครงการพัฒนาพระราชด�ำริจังหวัดเพชรบุรี 4.  หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชน ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศสามารถ น� ำ ข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ รั บ จากการศึ ก ษาวิ จั ย ไปใช้ ประโยชน์ในการออกนโยบายสาธารณะในการ พัฒนาสังคมแบบองค์รวมอย่างยั่งยืนได้ 5.  หน่ ว ยงานทางวิ ช าการและ สถาบันวิจัยต่างๆ  สามารถน�ำผลที่ได้จากการ วิ จั ย ไปใช้ ป ระโยชน์ ใ นการศึ ก ษาด้ า นอื่ น ๆ และประโยชน์ดา้ นธุรกิจชุมชนทีเ่ กีย่ วข้องได้ใน อนาคต ขอบเขตการวิจัย การศึกษาเรื่อง  ภาวะผู้น�ำท้องถิ่นเข้ม แข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจ พึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่าง ยัง่ ยืนสูอ่ นาคต  :  ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชน ตามโครงการพระราชด�ำริในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทยจะเน้นท�ำการศึกษาแนวคิด  วิสยั ทัศน์  และข้อเสนอแนะของผู้น�ำตัวแทนจาก ภาคส่วนต่างๆ  ได้แก่  ผูน้ ำ� ภาครัฐ  ผูน้ ำ� ภาค


พิเชฐ ปานช้าง และธัญยธรณ์ กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ

รั ฐ วิ ส าหกิ จ   ผู ้ น� ำ ภาคการเมื อ ง  ผู ้ น� ำ ภาค วิชาการ  ผูน้ ำ� ภาคธุรกิจและผูน้ ำ� ภาคอืน่ ๆ  ที่ เกี่ยวข้องกับภาวะผู้น�ำปัญญาชนกับแนวทาง การพั ฒ นาชุ ม ชนอย่ า งยั่ ง ยื น   โดยได้ มี ก าร น้อมน�ำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็น ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน  ซึง่ เป็นการศึกษา วิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง  และ มีการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลส�ำคัญที่มีความ เกี่ ย วข้ อ งกั บ โครงการพระราชด� ำ ริ   เพื่ อ ก� ำ ห น ด ก ร อ บ แ น ว คิ ด ใ น ก า ร จั ด ท� ำ แบบสอบถามการวิ จั ย ภาคสนาม  โดยจะ ครอบคลุมห้วงระยะเวลาระหว่างเดือน  พ.ย. 2553  ถึงเดือน  ต.ค.  2555 วิธีการด�ำเนินการวิจัย ส่ ว นที่   1  การวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ (Qualitative  Research) กลุ ่ ม ผู ้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล   คื อ   1)  กลุ ่ ม ผู ้ ใ ห้ ข้ อมู ลเกี่ ย วกั บ  ภาวะผู้น�ำและยุท ธศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพือ่ การพัฒนาชุมชน อย่างยัง่ ยืน  ตามโครงการพระราชด�ำริ  ได้มา ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง  (Purposive  sampling)  จาก  5  กลุ่มดังนี้คือ กลุ่มผู้แทนผู้น�ำนักบริหารภาคการเมืองระดับ ชาติและระดับท้องถิ่น  จ�ำนวน  11  ท่าน กลุม่ ผูแ้ ทนผูน้ ำ� นักบริหารภาครัฐ  จ�ำนวน  10 ท่าน  กลุม่ ผูแ้ ทนผูน้ ำ� ภาคเอกชน,  องค์กรภาค

วิสาหกิจ  จ�ำนวน  7  ท่าน  และ  กลุม่ ผูแ้ ทน ผู ้ น� ำ นั ก วิ ช าการ,  ผู ้ น� ำ ชุ ม ชน,  พระสงฆ์ , ปราชญ์ ช าวบ้ า นและกลุ ่ ม วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน หุ บ กะพงและชุ ม ชนห้ ว ยทรายจ� ำ นวน  10 ท่าน  รวมทั้งสิ้น  38  ท่าน แหล่งที่มาข้อมูล  มี  2  ประเภท  คือ 1)  แหล่งข้อมูลประเภทเอกสารที่เกี่ยวข้อง (Secondary  sources)  จากการค้นคว้าเอกสาร หนังสือ  รายงาน  วารสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ  ที่ เกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้ทั้งภาษาไทยและภาษา ต่ า งประเทศและการสื บ ค้ บ ข้ อ มู ล ทาง อินเทอร์เน็ต  2)  แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ  (Primary  sources)  โดยการสั ม ภาษณ์ แ บบ เจาะลึก  (In-depth  Interview)  เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่แบบสัมภาษณ์ เจาะลึก  เพือ่ ตอบค�ำถามตามวัตถุประสงค์ของ การวิจัยดังนี้คือ 1.  เพื่อศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะ ผู้น�ำท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะของชุมชนตาม โครงการพั ฒ นาพระราชด� ำ ริ   ในจั ง หวั ด เพชรบุรี 2.  เพื่ อ ศึ ก ษาวิ เ คราะห์ ยุ ท ธศาสตร์ ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ พึ่ ง ตนเองของชุ ม ชนตาม โครงการพั ฒ นาพระราชด� ำ ริ   ในจั ง หวั ด เพชรบุรี 3.  เพื่อวิเคราะห์ภาวะผู้น�ำท้องถิ่นเข้ม แข็งอัจฉริยะ  ในการใช้ยุทธศาสตร์ปรัชญา

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

29


ภาวะผู้นำ�ท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต : ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนตามโครงการพระราชดำ�ริในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

เศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ของชุมชนตามโครงการพัฒนาพระราชด�ำริ ในจังหวัดเพชรบุรี 4.  เพื่อน�ำเสนอรูปแบบภาวะผู้น�ำท้อง ถิ่ น เข้ ม แข็ ง อั จ ฉริ ย ะ  ในการใช้ ยุ ท ธศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐกิจพึง่ ตนเองเพือ่ พัฒนาวิสาหกิจ ชุ ม ชนของชุ ม ชนตามโครงการพั ฒ นาพระ ราชด�ำริ  ในจังหวัดเพชรบุรี ส่ ว นที่   2  การวิ จั ย เชิ ง ปริ ม าณ (Quantitative  Research) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงส�ำรวจ (Survey  research)  โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire)  เป็นเครื่องมือในการรวบ รวมข้อมูล  ข้อค�ำถาม  ส�ำหรับตัวแปรหลัก ของการวิจยั   มีลกั ษณะมาตรส่วนประมาณค่า แบบไลเกิรท์   (Likert  scale)  5  ระดับ  ท�ำ การตรวจสอบคุ ณ ภาพเครื่ อ งมื อ วิ จั ย โดยมี เนื้ อ หาที่ เ กี่ ย วกั บ ภาวะผู ้ น� ำ ,  ยุ ท ธศาสตร์ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาชุมชน อย่างยั่งยืน  โดยการตรวจสอบความตรงตาม เนือ้ หา  (Content  validity)  โดยผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านเนือ้ หา  และตรวจสอบความเทีย่ ง  (Reliability)  โดยใช้ สู ต รสั ม ประสิ ท ธิ์ แ อลฟา ของ  Cronbach  (Cronbach’s  alpha coefficient)  ของตัวแปรของข้อค�ำถามพบ ว่ามีค่า  .962  หมายถึงเครื่องมือมีความเชื่อ มั่นในระดับสูง  และค�ำนวณกลุ่มตัวอย่างโดย

30

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ใช้ สู ต รของ  Taro  Yamane  (ธานิ น ทร์ ศิลป์จารุ,  2552)  เลือกตามทฤษฏีความน่าจะ เป็ น   (Probability  sampling)  จาก ประชากร  21,690  คน  และตัวอย่างจาก ผู ้ น� ำ ชุ ม ชน  ผู ้ น� ำ ท้ อ งถิ่ น   สมาชิ ก ชุ ม ชน ข้าราชการ  นักธุรกิจและประชาชน  ทีอ่ ยูเ่ ขต ต�ำบลเขาใหญ่  อ�ำเภอชะอ�ำ  จังหวัดเพชรบุรี และเขตต� ำ บลศิ ล าลอย  อ� ำ เภอปราณบุ รี จั ง หวั ด ประจวบคี รี ขั น ธ์   ได้ ก ลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง จ�ำนวน  440  คน  โดยใช้วธิ กี ารสุม่ แบบอย่าง ง่าย  (Simple  Random  Sampling)  และ การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล ครั้ ง นี้ ไ ด้ ใช้ โ ปรแกรม ส�ำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัย 1.  ประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดและทัศนะ ของภาวะผู ้ น�ำ ท้ อ งถิ่ นเข้ ม แข็ ง อั จฉริ ย ะของ ชุ ม ชนตามโครงการพั ฒ นาพระราชด� ำ ริ จั ง หวั ด เพชรบุ รี   ผลการศึ ก ษา  สรุ ป ได้ ว ่ า ผู้น�ำท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะ  จะต้องมีความรู้ ความสามารถ  มีวิสัยทัศน์ที่ดี  มีธรรมภิบาล ยึดมั่นในกฎกติกา  มีความเชี่ยวชาญ  มีความ ประพฤติดี  มีวินัย  มนุษย์สัมพันธ์  เสียสละ เวลาเพื่อส่วนรวม  กล้าหาญ  กล้าชี้น�ำ  อ่อน โยนและรักมัน่ ในองค์กร  รูจ้ กั เชือ่ มโยงสิง่ ต่างๆ เข้าด้วยกัน  รูจ้ กั มองส่วนย่อยๆ  มองภาพรวม ให้เป็น  เพราะปัญหาทุกปัญหาล้วนแล้วแต่มี


พิเชฐ ปานช้าง และธัญยธรณ์ กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ

ความเกี่ ย วข้ อ ง  เกี่ ย วพั น กั บ ปั จ จั ย ต่ า งๆ มากมาย  ต้องมีมมุ มองในการแก้ไขปัญหาครบ ถ้วน  รอบด้าน  คอยประสานความร่วมมือ ต่างๆ  ให้เข้ากัน  คอยชี้แนะและแก้ปัญหา ช่วยเหลือสมาชิกชุมชนส�ำหรับคุณลักษณะที่ ส�ำคัญของผู้น�ำ  ต้องมีความเชื่อมั่นในความ สามารถของตนเอง  และต้องมีความคิดริเริ่ม สร้ า งสรรค์   และต้ อ งมี ค วามสามารถใน กระบวนการคิดและประยุกต์อย่างชาญฉลาด ผู้น�ำควรต้องมีความรู้  โดยเฉพาะความรู้ใน งานในหน้าที่ที่ตนท�ำ  อีกทั้งยังต้องสามารถ พัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวได้และเสียสละเพื่อ ส่วนรวมเสมอ  สอดคล้องกับแนวความคิดของ นงภนัส  เที่ยงกมล  (2550)  ที่เห็นว่าการ บริหารเชิงบูรณการนั้น  ต้องการผู้น�ำที่มีวิสัย ทัศน์อันกว้างไกล  แสวงหาการมีส่วนร่วมของ ประชาชน  และเห็นว่าองค์ประกอบทีส่ ำ� คัญที่ น�ำไปสู่การบริหารอย่างบูรณการ  คือ  ผู้น�ำที่ มีคุณธรรม  การบริหารที่ดี  และการมีส่วน ร่วมของประชาชน  มุ่งเน้นการบริหารจัดการ โดยน�ำหลักยุทธศาสตร์มาใช้ในการวางแผน ยุทธศาสตร์เชิงบูรณการที่เป็นการแก้ปัญหา โดยพิจารณาปัจจัยอืน่ ๆ  ทีเ่ กีย่ วข้องอย่างรอบ ด้ า นและสอดคล้ อ งกั บ แนวความคิ ด ของ เวลลิ ช และคู น   (Weihrich,  H.  and Koontz,  H.,  2005)  ที่มองธรรมชาติของ ภาวะผูน้ ำ� ว่าต้องมีความตัง้ ใจในการท�ำงาน  มี

ความขยันขันแข็ง  มีความศรัทธาที่แรงกล้า อย่างจริงจัง  กระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน ส่ ว นแนวความคิ ด ของ  เชอร์ ม าฮอน (Schermerhorn  Jr,  J.  R.  2008)  ที่เห็น ว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้น�ำที่ประสบ ความส�ำเร็จ  จะต้องมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีความสามารถใน กระบวนการคิ ด   มี ค วามซื่ อ สั ต ย์   และ คุณธรรม  เป็นที่น่าไว้วางใจนั้น  เห็นได้จาก แนวทางที่น�ำมาใช้ปฏิบัติจริง  และสอดคล้อง กับแนวความคิดของเดสเล่อร์  (Dessler,  G., 1998)  ที่ เ ห็ น ว่ า ลั ก ษณะเด่ น เช่ น   ความ ซื่ อ สั ต ย์   คุ ณ ธรรม  ความเชื่ อ มั่ น ในตนเอง เป็นคุณลักษณะทีส่ ำ� คัญของผูน้ ำ  � และทีส่ ำ� คัญ ต้องรูจ้ กั คิดอย่างผูน้ ำ  � การคิดอย่างผูน้ ำ� เป็นสิง่ ส�ำคัญ  ในการน�ำความรู้มาใช้คิดหาเหตุผล 2.  ประเด็นเกีย่ วกับยุทธศาสตร์ปรัชญา เศรษฐกิจพึ่งตนเองของชุมชนตามโครงการ พัฒนาพระราชด�ำริจังหวัดเพชรบุรี  ในการ ค้นหาค�ำตอบที่เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ปรัชญา เศรษฐกิจพึ่งตนเองของชุมชนตามโครงการ พัฒนาพระราชด�ำริของจังหวัดเพชรบุรี  สรุป ได้ดังนี้คือ  ยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่ง ตนเองของโครงการพัฒนาตามพระราชด�ำริ ของชุ ม ชนหุ บ กะพงและชุ ม ชนห้ ว ยทราย สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืนเพราะสามารถ อธิ บ ายให้ ค วามรู ้ แ ก่ ชุ ม ชน  ให้ ท ราบถึ ง

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

31


ภาวะผู้นำ�ท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต : ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนตามโครงการพระราชดำ�ริในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

พระราชกรณียะกิจของโครงการพระราชด�ำริ และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพึง่ ตนเองทีไ่ ด้เกิดผล ด้านการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและการแก้ ปัญหา  ความยากจนเพราะมีการวางแผนใน การด�ำเนินชีวติ ตามทางสายกลาง  อาศัยความ อดทน  ความเพียร  ความมีสติปัญญา  และ ความซือ่ สัตย์สจุ ริต  ในการวางแผนและตัดสิน ใจในการกระท� ำ ต่ า งๆ  โดยการปลู ก ฝั ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตนเองมีอยู่ให้กับเยาวชน ถือเป็นการน�ำยุทธศาสตร์เศรษฐกิจพึ่งตนเอง มาใช้ในการพัฒนาสังคมให้เกิดความเข้มแข็งได้ อย่ า งยั่ ง ยื น สอดคล้ อ งกั บ แนวความคิ ด ของ รุ ่ ง ทิ พ   ว่ อ งปฏิ ก าร  (2545)  ที่ เ ห็ น ว่ า ทรัพยากรทางธรรมชาติมีอยู่อย่างจ�ำกัด  ส่ง ผลให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรและน�ำไปสู่การ เผชิญหน้าระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้าน  ชาว บ้านกับรัฐ  ชาวบ้านกับนายทุน  รัฐกับนายทุน และที่ ส� ำ คั ญ คื อ ระหว่ า งนั ก อนุ รั ก ษ์ กั บ นั ก พัฒนา  แต่ละฝ่ายต่างพยายามที่จะผลักดัน แนวความคิดของตน  ให้ไปสูร่ ะดับนโยบาย  ที่ ต้องการมุง่ เน้นการใช้ทรัพยากรทีม่ อี ยูใ่ นชุมชน ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสมทีส่ ดุ   ยาวนาน ที่สุด 3.  ประเด็นเกีย่ วกับการพัฒนาวิสาหกิจ ชุ ม ชนอย่ า งยั่ ง ยื น สู ่ อ นาคตของชุ ม ชนตาม โครงการพั ฒ นาพระราชด� ำ ริ ข องจั ง หวั ด เพชรบุ รี   ในการค้ น หาค� ำ ตอบที่ มี ต ่ อ การ

32

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

พัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคตของ ชุมชนตามโครงการพัฒนาพระราชด�ำริของ จังหวัดเพชรบุรีประเทศไทย  สรุปได้ดังนี้คือ 3.1  การสนั บ สนุ น วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน เพื่อเอาชนะบรรษัทค้าปลีก  ข้ามชาติ  ผู้น�ำ ชุมชน  ควรจัดกิจกรรมในชุมชนท้องถิน่   เพือ่ ส่งเสริมการตลาดให้กบั สมาชิกชุมชน  สามารถ น� ำ สิ น ค้ า ที่ ผ ลิ ต ในชุ ม ชนและใช้ วั ต ถุ ดิ บ ของ ชุ ม ชนเองออกมาจ� ำ หน่ า ย  เพื่ อ เอาชนะ บรรษัท  ค้าปลีกข้ามชาติ 3.2  ในความพยายามเพือ่ การพัฒนา วิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคตนั้นผู้น�ำ ชุ ม ชนควรมี ม าตรการในการจั ด เก็ บ ค่ า สาธารณูปโภค  จากธุรกิจของต่างชาติที่ตั้งอยู่ ในชุมชนให้เท่ากับหรือมากกว่าวิสาหกิจชุมชน ของผู้ประกอบการรายย่อย  เพื่อเพิ่มรายได้ และสร้างความเป็นธรรมแก่ชุมชน 3.3  รัฐบาลควรสร้างความเข้มแข็งให้ กับวิสาหกิจชุมชนอย่างยัง่ ยืนสูอ่ นาคตโดยการ จัดตัง้ สหกรณ์ออมทรัพย์และเพิม่ การเรียนรูใ้ ห้ กับกลุม่ ผูน้ ำ� ในชุมชนอย่างมีบรูณการและสร้าง เครือข่ายภาคีการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ 3.4  การที่สินค้าและผลิตภัณฑ์ของ วิสาหกิจชุมชนจะสามารถขายในตลาดได้และ สามารถก้าวสูท่ อ้ งตลาดของประเทศเพือ่ นบ้าน ได้นนั้ ประชาชนในชุมชนและสังคมไทยจะต้อง ให้การสนับสนุนมากกว่าสินค้าราคาแพงจาก


พิเชฐ ปานช้าง และธัญยธรณ์ กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ

ต่างประเทศเพือ่ ให้เกิดความเข้มแข็งของตลาด ผู้บริโภคภายในประเทศ 3.5  ผู้น�ำชุมชน  ควรจัดกิจกรรมใน ชุมชนท้องถิ่น  เพื่อส่งเสริมการตลาดให้กับ สมาชิ ก ชุ ม ชน  สามารถน� ำ สิ น ค้ า ที่ ผ ลิ ต ใน ชุ ม ชนและใช้ วั ต ถุ ดิ บ ของชุ ม ชนเองออกมา จ�ำหน่าย  เพื่อเอาชนะการแข่งขันบรรษัทค้า ปลีกข้ามชาติ ดังนัน้ การสร้างความเข้มแข็งแก่วสิ าหกิจ ชุมชนตามโครงการพระราชด�ำริจงั หวัดเพชรบุรี ประเทศไทยให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาวิจัย  พบว่า 1.  การทีก่ ฎหมายวิสาหกิจชุมชนทีอ่ อก โดยรัฐได้มีการปฏิรูปเพื่อเพิ่มมาตรการในการ ช่วยให้ชมุ ชนท้องถิน่ สามารถสร้างและยกระดับ คุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่โครงการได้ส่ง ผลให้เกิดชุมชนเข้มแข็งยั่งยืนได้ในอนาคต 2.  ผูน้ ำ� ชุมชน  ควรกระตุน้ ให้วสิ าหกิจ ชุมชน  สร้างภาพลักษณ์ทดี่  ี มีจรรยาบรรณใน การจ�ำหน่ายสินค้าและบริการที่เป็นธรรมแก่ สมาชิกชุมชน 3.  รัฐบาลควรสร้างความเข้มแข็งให้กบั วิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคตโดยการจัด ตัง้ สหกรณ์ออมทรัพย์และเพิม่ การเรียนรูใ้ ห้กบั กลุ่มผู้น�ำในชุมชนอย่างมีบูรณการและสร้าง เครื อ ข่ า ยภาคี ก ารพั ฒ นาที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ สอดคล้ อ งกั บ แนวความคิ ด ของ  ชนะศั ก ดิ์

ยุวบูรณ์  (2543)  ที่เห็นว่า  ความโปร่งใส เป็นการสร้างความไว้วางใจซึง่ กันและกัน  โดย กลไกการท�ำงานทุกวงการต้องมีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก  และ สอดคล้ อ งกั บ แนวความคิ ด ของ  ฟาเกน (Fagence,  1977)  ที่ให้ความส�ำคัญกับการ มี ส ่ ว นร่ ว มที่ แ ท้ จ ริ ง   หรื อ การมี ส ่ ว นร่ ว มที่ อ�ำนาจเป็นของประชาชน  เป็นระดับการมี ส่ ว นร่ ว มที่ ใ ห้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ ประชาชนใน ลักษณะที่เป็นหุ้นส่วนของการพัฒนา จากผลการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและ เชิ ง ปริ ม าณดั ง กล่ า วข้ า งต้ น   ผู ้ วิ จั ย ได้ น� ำ ลักษณะดังกล่าวมาผสมผสานกันแล้ว  ท�ำให้ มองเห็นภาพรวมของ  “ภาวะผูน้ �ำท้องถิ่นเข้ม แข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจ พึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่าง ยั่งยืนสู่อนาคต  :  ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชน ตามโครงการพัฒนาพระราชด�ำริของจังหวัด เพชรบุรีประเทศไทย”  ทั้งที่ผ่านมาในอดีต ปัจจุบันและท�ำให้มองเห็นภาพในอนาคต  ซึ่ง พบว่า  ลักษณะของภาวะผู้น�ำการท้องถิ่นเข้ม แข็งอัจฉริยะที่ผ่านมาในอดีตและปัจจุบัน  มี ลั ก ษณะที่ เ ป็ น แบบ  “การเป็ น นั ก พั ฒ นา เกษตรกรรมแนวดั่งเดิมที่ใช้ชีวิตแบบพอมีพอ กิ น ”  (The  Traditional  Subsistence Agricultural  Developers)  ในขณะทีร่ ปู แบบ

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

33


ภาวะผู้นำ�ท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะและยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึ่งตนเองเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจ ชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต : ศึกษาเฉพาะกรณีของชุมชนตามโครงการพระราชดำ�ริในจังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย

ของยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึง่ ตนเองเพือ่ การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต ที่ เ หมาะสมนั้ น ควรมี ลั ก ษณะ  “การเป็ น ผู ้ ประกอบการแนวสมัยใหม่แบบทวิวิถี  ที่ผสม ผสานโลกาภิวัตน์เข้ากับท้องถิ่นนิยม”  (The Modern  Dual-Track  Globalization  Entrepreneur)  ซึง่ สามารถอธิบายผลการศึกษา วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล เชิ ง คุ ณ ภาพได้ ใ นรู ป แบบ From “The Traditional Subsistence Agricultural  Developers”  To  “The Modern  Dual-Track  Glocalization  Entrepreneurs” กล่าวโดยสรุป  เพือ่ ให้การปรับบทบาท ของ  “ภาวะผู้น�ำท้องถิ่นเข้มแข็งอัจฉริยะและ ยุทธศาสตร์ปรัชญาเศรษฐกิจพึง่ ตนเองเพือ่ การ พั ฒ นาวิ สาหกิจ ชุมชนอย่างยั่งยืนสู่อนาคต: ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนตามโครงการพัฒนา พระราชด�ำริของจังหวัดเพชรบุรีประเทศไทย” ด� ำ เนิ น อย่ า งถู ก ต้ อ งตรงจุ ด จึ ง ควรต้ อ งปรั บ เปลี่ยนบทบาทจากลักษณะที่เป็นแบบ  “การ เป็นนักพัฒนาเกษตรกรรมแนวดั่งเดิมที่ใช้ชีวิต แบบพอมีพอกิน”  (The  Traditional  Subsistence  Agricultural  Developer)  ไปสู่ ลักษณะของ  “การเป็นผู้ประกอบการแนว

34

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

สมัยใหม่แบบทวิวิถี  ที่ผสมผสานโลกาภิวัตน์ เข้ากับท้องถิน่ นิยม”  (The  Modern  DualTrack  Globalization  Entrepreneur) ข้อเสนอแนะ 1.  ในด้ า นงบประมาณ  รั ฐ ควรให้ ส� ำ นั ก งานส่ ง เสริ ม วิ ส าหกิ จ ชุ ม ชน  รวมทั้ ง มี ห น้ า ที่ ในการติ ด ตามงบประมาณและแจ้ ง ปัญหาการของบประมาณทีไ่ ด้รบั ในแต่ละปีนนั้ ไม่เพียงพอ  และไม่ต่อเนื่อง  ท�ำให้โครงการ สนับสนุน  ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน  ไม่เติบโต อย่างต่อเนือ่ ง  ในด้านการขอรับการสนับสนุน จากภาครัฐ  เสนอให้รัฐบาลส่งเสริมสนับสนุน ให้วิสาหกิจชุมชน  โดยเชิญชวนให้คนไทยซื้อ สินค้าและบริการของไทย 2.  ในด้านการให้เงินสนับสนุนรัฐหรือ หน่วยงานของรัฐที่สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน ควรมีการจัดล�ำดับวิสาหกิจชุมชนที่สมควรได้ รับการสนับสนุน  โดยมีเกณฑ์การพิจารณา จากคุณภาพของสินค้าทีม่ ผี ลงาน  และผลงาน เป็นที่ประจักษ์  เพื่อเป็นอนาคตของวิสาหกิจ ชุมชนของประเทศไทยในอนาคตเพื่อเป็นการ แข่งขันในการพัฒนาสินค้าและบริการสู่ระดับ โลก


พิเชฐ ปานช้าง และธัญยธรณ์ กนลา สุขพานิช-ขันทปราบ

บรรณานุกรม ชัช  กิตตินพภดล.  2547.  ความหมายของ  ค�ำว่าบูรณาการ.  กรุงเทพฯ:  ซีอีโอ นิวส์. นงภนัส  เที่ยงกมล.  2550.  การบริหารยุค  โลกาภิ วั ต น์ .   กรุ ง เทพฯ:  โรงพิ ม พ์ แสงชัยการพิมพ์. ประเวศ  วะสี .   2540.  ภาวะผู ้ น� ำความ  ส� ำ คั ญ ต่ อ อนาคตไทย.  กรุ ง เทพฯ: ส�ำนักพิมพ์มิติชน. ธานิ น ทร์   ศิ ล ป์ จ ารุ ,   รองศาสตราจารย์ . 2552.  การวิจยั และวิเคราะข้อมูลด้วย  สถิติด้วย  SPSS.  กรุงเทพฯ:  บริษัท ซีเอ็ด  ยูเคชั่น  จ�ำกัด  (มหาชน).

Dessler  Gary.  1998.  Management  :  Leading  People  and  Orga-  nization.  New  Jersey:  Prentice – Hall International. Graen  ,G.B.,  &  Uhl-Bien.  1995.  The  theory  of  Leader  –  making.  Chicago: Rand Mcnally. Heinz Weihrich, Harold Koontz. 2005.  Management  and  Orga-  nization  series.  New  York: McGraw-Hill. Schermerhorn,  J.R.  2000.  Manage  ment  (7th  ed).  New  York:  Wi ley  &  Sons. Yukl,  G.A.  1989.  Leadership  in  Or-  ganizations.  (4 th  ed).  Engle wood  Clifffs,  New  Jersey: Prentice-Hall International.

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

35


บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการ วิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก สังฆมณฑลอุบลราชธานี

The School Administrators’  Roles in

Promoting Classroom Research in the Catholic Schools in the Ubon Ratchathani Diocese ศรีสุดา ประผะลา * ครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ผศ.ดร.จิณณวัตร ปะโคทัง *  ผศ.ดร. คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี Srisuda  Prapala

* Master  of  Education  Program  in  Education  Administration  Ubon  Ratchathani  Rajabhat  University.

Asst.Prof.Dr.Jinawatara  Pakotang * Assistant Professor, Dr. faculfy of Education Ubon Ratchathani Rajabhat University.


ศรีสุดา ประผะลา และ จิณณวัตร ปะโคทัง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาท ของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน  และศึกษา ปัญหาแนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่ง เสริมการวิจยั ในชัน้ เรียนของโรงเรียนคาทอลิก  สังฆมณฑลอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ  ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียน คาทอลิก  สังฆมณฑลอุบลราชธานีปีการศึกษา  2556  จ�ำนวน  366 คน  จ�ำแนกเป็นผูบ้ ริหาร  92  คน  ครูผสู้ อน  274  คน  ได้มาโดยวิธี การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน  เครื่ อ งมื อ ที่ ใช้ ใ นการเก็ บ รวบรวม ข้ อ มู ล คื อ   แบบสอบถามแบบมาตราส่ ว น  5  ระดั บ   สถิตทิ ใี่ ช้ใน การวิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล   ได้ แ ก่   ค่ า ร้ อ ยละ  ค่ า เฉลี่ ย   ส่ ว นเบี่ ย งเบน มาตรฐาน  การทดสอบค่า  t-test  และค่า  F-test  และการทดสอบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีของ  Scheffe′  วิเคราะห์ บรรยายข้อมูลปัญหาและแนวทางการพัฒนาแต่ละด้าน  วิเคราะห์ เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1.  บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยใน ชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก  สังฆมณฑลอุบลราชธานี  โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก 2.  ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการ ส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน  พบว่า 2.1  ผู้บริหารและครูผู้สอนมี ค วามคิ ด เห็ น ต่ อ บทบาทของ ผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน  โดยภาพรวม และด้านการให้การยอมรับครูผู้ท�ำวิจัยในชั้นเรียน  ด้านการให้ความ ส�ำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน  ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าของครู ผูท้ ำ� วิจยั ไม่แตกต่างกัน  ส่วนด้านการส่งเสริมให้เกิดความส�ำเร็จและด้าน การมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ท�ำวิจัยในชั้นเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัย ส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

37


บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก สังฆมณฑลอุบลราชธานี

2.2  ผูบ้ ริหารและครูผสู้ อนที่มีประสบการณ์การท�ำงานต่างกัน มี ค วามคิ ด เห็ น ต่ อ บทบาทของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาในการส่ ง เสริ ม การวิจัยในชั้นเรียน  โดยภาพรวม  และรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.3  ผู้บริหารและครูผู้สอนในขนาดโรงเรียนต่างกัน  มีความ คิดเห็นต่อบทบาทของผูบ้ ริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจยั ในชัน้ เรียน  โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิตทิ ี่ ระดับ  .05  ยกเว้นด้านการให้ความส�ำคัญของการวิจัยในชั้นเรียนไม่ แตกต่างกัน 3.  ปัญหาและแนวทางการพัฒนาบทบาทของผู้บริหารสถาน ศึกษาในการส่งเสริมการวิจยั ในชัน้ เรียนคือ  1.)  ด้านการส่งเสริมให้เกิด ผลส�ำเร็จ  ปัญหาคืองบประมาณในการด�ำเนินงานวิจยั มีนอ้ ย  แนวทาง การพั ฒ นาคื อ   โรงเรี ย นควรมี น โยบายที่ ชั ด เจนในการสนั บ สนุ น งบประมาณในการด�ำเนินงานวิจัยมากขึ้น  2.)  ด้านการให้การยอมรับ ครูผทู้ ำ� วิจยั   ปัญหาคือ  ครูยงั ขาดความรูค้ วามเข้าใจในกระบวนการท�ำ วิจยั ทีช่ ดั เจน  แนวทางการพัฒนาคือ  ทางโรงเรียนควรเห็นความส�ำคัญ ของงานวิจัยและส่งเสริมสนับสนุนครูให้ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างความรูค้ วามเข้าใจมากยิง่ ขึน้   3.)  ด้านการให้ความส�ำคัญของการ วิจยั   ปัญหาคือ  ครูมภี าระงานทีร่ บั ผิดชอบมาก  ไม่เห็นความส�ำคัญใน การท�ำงานวิจัย  แนวทางการพัฒนาคือ  ทางโรงเรียนควรสร้างความ ตระหนักโดยมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ  เชิญวิทยากรมาบรรยาย  เพื่อ พัฒนาความรูค้ วามเข้าใจ  4.)  ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผทู้ ำ� วิจยั ปั ญ หาที่ พ บคื อ   โรงเรี ย นมี ก ารรั บ บุ ค ลากรใหม่ ข าดประสบการณ์ การสอน  การท�ำวิจยั ในชัน้ เรียน  แนวทางการพัฒนาคือ  ทางโรงเรียน ควรมีนโยบายในการส่งเสริมและการช่วยเหลือครูทยี่ งั ไม่เคยท�ำการวิจยั ให้ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อเนื่อง  5.)  ด้านการส่งเสริมความ ก้าวหน้าของครู  ปัญหาคือ  การสนับสนุนครูในด้านการศึกษาต่อยังมี น้อย  แนวทางการพัฒนาคือ  ทางโรงเรียนควรมีการส่งเสริมสนับสนุน

38

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ศรีสุดา ประผะลา และ จิณณวัตร ปะโคทัง

ทุนให้ครูได้รบั การศึกษาต่อตามความถนัด  และความสามารถทางด้าน งานวิจัยและงานวิชาการให้มากขึ้น ค�ำส�ำคัญ: Abstract

1)  บทบาทผู้บริหารสถานศึกษา 2)  การส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน

The research aimed to study and compare the school administrators’ roles in promoting a classroom research in the Catholic schools in the Ubon Ratchathani  diocese  and  to  find  out  the  guidelines  of  developing the school administrators’ roles in promoting a  classroom  research.  The  total  of  366  samples  included  92  administrators  and  274  teachers  of  the Catholic Schools in Ubon Ratchathani in the academic  year  2013.  The  samples  were  derived  by  a stratified  random  sampling.  The  instrument  was  the five  rating  scale  questionnaire.  Statistics  used  were  the percentage, mean, standard deviation, t-test and F-test. Problems and guidelines were presented by a content analysis.  The  research  findings  were  as  follows. 1.  The  administrators’  roles  in  promoting  a  classroom research were overall at a high level. 2.  As  for  the  comparison  of  the  administrators’ roles were that: 2.1  The  administrators  and  the  teachers  had no different opinion on the roles in terms of recognition, promoting a research progress. There was dif-

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

39


บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก สังฆมณฑลอุบลราชธานี

ference  with  a  statistical  significance  of  .05  in  terms of research success and responsibility of the teachers. 2.2  The  administrators  and  the  teachers  who had  different  working  experiences  held  no  different opinion towards the roles in promoting the classroom research.  2.3  The  administrators  and  the  teachers  from the schools of different sizes held a different opinion towards the roles in promoting the research at a statistical  significance  of  .05. 3.  The  guidelines  for  the  development  of  the roles  of  the  administrators  were  as  follows.  1)  The problems  for  successful  research  were  inadequate budget. The guidelines should be the school should have a clear policy to support and facilitate the research.  2)  On  recognition:  the  teachers  lack  knowledge on how to do research. The teaches should be encouraged to attend the training on the research to  gain  additional  knowledge.  3)  On  priority  of  research:  the  teaches  have  excessive  burden,  so  they do  not  see  the  significance  of  the  research.  It  is necessary for the administrators to make them see the  importance  of  research.  Academic  personnel should be invited to give a training and knowledge on  research.  4)  On  responsibility:  New  personnel  of the  schools  usually  lack  knowledge  and  experiences in doing research. The schools have to provide a

40

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ศรีสุดา ประผะลา และ จิณณวัตร ปะโคทัง

necessary assistance to them to gain more knowledge on  research.  5)  On  progress  of  the  teachers:  the teachers should be encouraged to further their study according to their aptitude and ability. Keywords:

1)  The  School  Administrators’  Roles 2)  Promoting  Classroom  Research

ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา “ ก า ร ศึ ก ษ า ”   ห ม า ย ค ว า ม ว ่ า กระบวนการเรียนรูเ้ พือ่ ความเจริญงอกงามของ บุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู ้ การ ฝึกการอบรม  การสืบสานทางวัฒนธรรม  การ สร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพ แวดล้อมสังคม  การเรียนรูแ้ ละปัจจัยเกือ้ หนุน ให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและ "ครู ”   หมายความว่ า   บุ ค ลากรวิ ช าชี พ ซึ่งท�ำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธี การต่างๆ  ในสถานศึกษาทัง้ ของรัฐและเอกชน ครูเป็นก�ำลังส�ำคัญทีจ่ ะขับเคลือ่ นให้การปฏิรปู การศึกษา  และกระบวนการเรียนรู้ประสบ ความส�ำเร็จได้ในหมวดที่  4  ว่าด้วยแนวการ จัดการศึกษา  มาตรา  24  (5)  มีใจความ ส�ำคัญว่า  สถานศึกษาควรส่งเสริมสนับสนุนให้ ผู้สอน  สามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม

สื่อการเรียนและอ�ำนวยความสะดวกเพื่อให้ ผูเ้ รียนเกิดการเรียนรู ้ และมีความรอบรูร้ วมทัง้ สามารถใช้ ก ารวิ จั ย เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ กระบวนการเรียนรู ้ ทัง้ นีผ้ สู้ อนและผูเ้ รียนอาจ เรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่ ง วิ ท ยาการประเภทต่ า งๆ  และ มาตรา  30  กล่าวว่า  ให้สถานศึกษาพัฒนา กระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทัง้ การส่งเสริมให้ผสู้ อนสามารถวิจยั   เพือ่ พัฒนาการเรียนรูท้ เี่ หมาะสมกับผูเ้ รียนในแต่ละ ระดับการศึกษา  จึงแสดงว่าพระราชบัญญัตใิ ห้ ความส�ำคัญของงานวิจยั ในชัน้ เรียน  ดังนัน้ ผูท้ ี่ ควรท�ำวิจัยในชั้นเรียนมากที่สุดก็คือครูผู้สอน นัน่ เอง  จึงเป็นหน้าทีข่ องสถานศึกษาทีจ่ ะต้อง พัฒนาบุคลากรผู้สอนให้สามารถท�ำวิจัยในชั้น เรียนให้ได้  (รุ่ง  แก้วแดง,  2545) การที่ ค รู ท� ำ การวิ จั ย ในชั้ น เรี ย นจะ เป็นการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการ สอน  เพราะการวิจัยในชั้นเรียนมีจุดประสงค์

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

41


บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก สังฆมณฑลอุบลราชธานี

ส�ำคัญเพื่อการปรับปรุงสภาพการปฏิบัติของ ผู้วิจัย  ดังนั้น  ครูผู้สอนจึงควรได้รับการส่ง เสริมให้มีความรู้ความสามารถ  ในการท�ำวิจัย ในชัน้ เรียน  ซึง่ จะท�ำให้ครูได้เรียนรูแ้ ละพัฒนา ตนเอง  สามารถแก้ ป ั ญ หาที่ มี ผ ลต่ อ การ พัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างเป็นระบบด้วย กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  เพราะครูเป็น บุ ค คลที่ มี ค วามใกล้ ชิ ด กั บ ผู ้ เรี ย นและเข้ า ใจ สภาพการเรียนการสอนที่แท้จริง  การปฏิรูป การศึ ก ษาในทศวรรษที่สอง  จะประสบผล ส�ำเร็จมากน้อยเพียงใดปัจจัยก็อยู่ที่ผู้ปฏิบัติ คือ  “ครู”  และเมือ่   “ครู”  ได้ถกู ก�ำหนดให้ เป็นเสมือนกลในการขับเคลื่อนงานด้านปฏิรูป การศึกษาของชาติ  จึงจ�ำเป็นที่จะต้องได้รับ การขัดเกลาและดูแลเอาใจใส่  รวมทั้งจะต้อง พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา  การอบรมให้ผู้ เรียนเกิดความรู้  คู่คุณธรรมและจัดการศึกษา ให้มีคุณภาพสูง  เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นคน ดี  เป็นคนเก่ง  และมีความสุข  ซึ่งครูเป็น กลไกส�ำคัญของการศึกษาและมีบทบาทต่อการ พั ฒ นาประเทศ  กระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารได้ ก�ำหนดหลักการบริหารและการจัดการศึกษา ของโรงเรียนเอกชน  ให้มคี วามเป็นอิสระโดยมี การก�ำกับ  ติดตาม  การประเมินคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษา  เพื่อให้เอกชนมีส่วนร่วม ในการจั ด การศึ ก ษา  โดยรั ฐ พร้ อ มให้ ก าร สนับสนุนด้านเงินอุดหนุน  และสิทธิประโยชน์

42

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

อย่างอื่น  รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนด้าน วิชาการ  ให้แก่สถานศึกษาเอกชน ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษา  พ.ศ. 2542  มีสาระส�ำคัญทีเ่ น้นการปฏิรปู การศึกษา โดยเฉพาะปฏิรูปการเรียนการสอน  ซึ่งเกี่ยว ข้ อ งกั บ ครู ผู ้ ส อนโดยตรง  ดั ง นั้ น ครู ใ นยุ ค ปั จ จุ บั น จึ ง ต้ อ งปรั บ เปลี่ ย นบทบาทให้ เ ป็ น ผู้รอบรู้และสามารถท�ำวิจัยได้  การวิจัยในชั้น เรียนเป็นนวัตกรรมรูปแบบหนึ่ง  น�ำมาใช้เพื่อ แก้ปัญหาในชั้นเรียน  ประโยชน์ของการท�ำ วิจยั ไม่เพียงแต่จะช่วยพัฒนาการเรียนการสอน ให้มปี ระสิทธิภาพ  แต่ยงั ช่วยพัฒนาวิชาชีพครู ให้เข้มแข็งยิง่ ขึน้   สาเหตุทคี่ รูตอ้ งท�ำวิจยั ในชัน้ เรี ย น  เพราะ  1.  การวิ จั ย เป็ น เครื่ อ งมื อ ส�ำคัญที่จะช่วยให้การปฏิรูปการศึกษา  โดย เฉพาะการจัดการเรียนรู้ประสบความส�ำเร็จ เป็ นอย่ า งดี   2.  การปฏิ รูปการเรี ย นรู ้ ด ้ วย กระบวนการวิจัย  เป็นแนวทางหนึ่งของครู ผู้สอนและผู้บริหารสามารถน�ำไปปฏิรูปการ เรียนรูใ้ นสถานศึกษา  3.  พระราชบัญญัตกิ าร ศึ ก ษาแห่ ง ชาติ   แก้ ไขเพิ่ ม เติ ม   พ.ศ.2545 ได้ให้ความส�ำคัญกับการวิจัยและได้ก�ำหนดไว้ หลายมาตราที่ชี้ให้เห็นว่า  การวิจัยเป็นกระ บวนการที่ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนรู้และ กระบวนการท�ำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการ ศึกษา  ซึ่งเป็นกลไกลที่จะน�ำไปสู่สังคมแห่ง ภูมปิ ญ ั ญาและสังคมแห่งการเรียนรู ้ 4.  เกณฑ์


ศรีสุดา ประผะลา และ จิณณวัตร ปะโคทัง

คุณภาพการศึกษาภายนอก  มาตรฐานที่  6 ของ  สมศ.  ประสิทธิผลของการจัดการเรียน การสอนทีเ่ น้นผูเ้ รียนเป็นส�ำคัญ  โดยมี  ตัวบ่ง ชี้ที่  6.2  กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู ข้อ  8  การศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรูท้ เี่ น้นผูเ้ รียนเป็น ส�ำคัญ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับครูในการท�ำวิจัยใน ชัน้ เรียนส่วนใหญ่เกิดจาก  ครูขาดความรูค้ วาม เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการท�ำวิจัยในชั้นเรียน  ครู ไม่ตระหนักในความส�ำคัญของงานวิจัย  ครู มองเห็นว่างานวิจัยในชั้นเรียนเป็นเรื่องที่ยาก เพราะคิดว่างานวิจัยในชั้นเรียนมีเพียงรูปแบบ เดียวคือ  วิจยั แบบมีแผน  (แบบ  5  บท)  ครู ขาดแนวทางหรือให้คำ� แนะน�ำในการท�ำวิจยั ใน ชั้นเรียน  ครูขาดเอกสารตัวอย่างเกี่ยวกับงาน วิจัยและ  ครูไม่มีเวลาในการท�ำงานวิจัยในชั้น เรียนเพราะแยกงานวิจยั ออกจากการเรียนการ สอน  (สุภาภรณ์  มั่นเกตุวิทย์,  2544)  และ ปัญหาอีกส่วนหนึ่งในองค์กรสถานศึกษาคือ ผู้บริหารไม่เห็นความส�ำคัญของงานวิจัย  ไม่ เข้าใจวิธกี ารแก้ปญ ั หาโดยใช้ผลงานวิจยั   จึงส่ง ผลให้ครูไม่เห็นความส�ำคัญ  ขาดการกระตือรือ ร้นในการท�ำวิจัยในชั้นเรียน  ดังนั้นครูทุกคน จึงจ�ำเป็นต้องศึกษาการท�ำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อ พัฒนาการเรียนการสอน  ท�ำให้ครูเห็นความ ส�ำคัญของการวิจยั ในชัน้ เรียน  และสามารถท�ำ

วิจัยควบคู่ไปกับการปฏิบัติการสอนเพื่อน�ำข้อ ค้นพบจากการท�ำวิจัยของตนเองไปปรับปรุง คุณภาพการเรียนการสอน  หรือแก้ปญ ั หาการ เรียนการสอนทีป่ ระสบอยู ่ (วีรพล  ฉลาดแย้ม 2544:20)  และเพือ่ ตอบสนองเจตนารมณ์ของ พระราชบัญญัติ  พ.ศ.2545  มาตร  25  (5) ใช้การวิจัยเป็นกระบวนหนึ่งของการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการ ต่างๆ  มาตรา  30  ให้ผู้สอนท�ำวิจัยเพื่อจัด กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนใน แต่ละระดับการศึกษาไม่ว่าการศึกษาของภาค รั ฐ หรื อ เอกชนต้ อ งการพั ฒ นาทางด้ า นการ ศึกษาอยู่ตลอดเวลา คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาโรงเรียนใน เครือรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี  และฝ่าย การศึกษาของโรงเรียนคาทอลิกในสังฆมณฑล อุบลราชธานี  ได้กำ� หนดกรอบภารกิจแผนการ บริ ห ารงานของสถานศึ ก ษาในการบริ ห าร ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาในโรงเรี ย นคาทอลิ ก สังฆมณฑลอุบลราชธานี  ได้นำ� แผนการบริหาร งานมาด�ำเนินการบริหารของสถานศึกษา  โดย เฉพาะการบริหารงานฝ่ายวิชาการ  งานส่ง เสริมและพัฒนาวิชาการ  งานวิจัยในชั้นเรียน โดยมีเป้าหมายผลผลิตทีส่ ำ� คัญ  คือ  ครูผสู้ อน ให้ได้รับการพัฒนาทักษะการวิจัยในชั้นเรียน เพือ่ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนในชัน้ เรียน

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

43


บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก สังฆมณฑลอุบลราชธานี

แก้ปญ ั หาการเรียนรูข้ องผูเ้ รียนและมีนวัตกรรม ใหม่ ใ นการจั ด การเรี ย นการสอน  และยั ง เกีย่ วข้องกับมาตรฐานและการประกันคุณภาพ การศึกษาในกระบวนการเรียนรู้ทั้งผู้สอนและ ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ที่ดีมีคุณภาพ  ไปสู่ ความส� ำ เร็ จ ตามเป้ า หมายของสถานศึ ก ษา จากประสบการณ์ในการท�ำงานในโรงเรียน คาทอลิกในสังฆมณฑลอุบลราชธานี  พบว่า ครูมกี ารใช้ทกั ษะกระบวนการของการวิจยั น้อย กว่าเท่าที่ควร  และให้ความส�ำคัญในการท�ำ วิจัยในชั้นเรียนน้อย  จึงมีผลกระทบต่อการ พัฒนาคุณภาพของครู  ทัง้ ในด้านการปรับปรุง ก า ร เรี ย น ก า ร ส อ น   แ ล ะ ก า ร พั ฒ น า กระบวนการวิจยั ในชัน้ เรียน  เพือ่ น�ำไปพัฒนา ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ จากผลดังกล่าว  ท�ำให้ผู้ศึกษาสนใจที่ จะศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาใน การส่งเสริมการท�ำวิจยั ในชัน้ เรียนของโรงเรียน คาทอลิ ก   สั ง ฆมณฑลอุ บ ลราชธานี เ พื่ อ น� ำ ข้อมูลที่ทราบไปพัฒนาบทบาทของผู้บริหาร สถานศึกษาต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน และการจัดท�ำวิจยั ในชัน้ เรียนของครูผสู้ อนให้มี คุณภาพ  และส่งผลต่อการพัฒนาครูให้มคี วาม รู ้ ค วามสามารถท� ำ วิ จั ย ในชั้ น เรี ย น  พั ฒ นา กระบวนการเรียนรูใ้ ห้มปี ระสิทธิภาพเหมาะสม กับสภาพการณ์  และเกิดประโยชน์ต่อการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป

44

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.  เพื่ อ ศึ ก ษาบทบาทของผู ้ บ ริ ห าร ส ถ า น ศึ ก ษ า ใ น ก า ร ส ่ ง เ ส ริ ม ก า ร วิ จั ย ในชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก  สังฆมณฑล อุบลราชธานี 2.  เพื่ อ เปรี ย บเที ย บบทบาทของผู ้ บริ ห ารสถานศึ ก ษาในการส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ในชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก  สังฆมณฑล อุ บ ล ร า ช ธ า นี   จ� ำ แ น ก ต า ม ต� ำ แ ห น ่ ง ประสบการณ์และขนาดของโรงเรียน 3.  เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการ พัฒนาบทบาทของผูบ้ ริหารสถานศึกษาในการ ส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ในชั้ น เรี ย นของโรงเรี ย น คาทอลิก  สังฆมณฑลอุบลราชธานี สมมุติฐานการวิจัย 1.  ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียน คาทอลิก  สังฆมณฑลอุบลราชธานี  มีความ คิดเห็นต่อบทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้น เรียนแตกต่างกัน 2.  ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียน คาทอลิ ก   สั ง ฆมณฑลอุ บ ลราชธานี   ที่ มี ประสบการณ์ทำ� งานต่างกัน  มีความคิดเห็นต่อ บทบาทการส่งเสริมการวิจยั ในชัน้ เรียนแตกต่าง กัน 3.  ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียน คาทอลิก  สังฆมณฑลอุบลราชธานี  ที่ปฏิบัติ


ศรีสุดา ประผะลา และ จิณณวัตร ปะโคทัง

หน้าทีใ่ นโรงเรียนขนาดต่างกัน  มีความคิดเห็น ต่อบทบาทการส่งเสริมการวิจยั ในชัน้ เรียนแตก ต่างกัน ประโยชน์ของการวิจัย 1.  ได้ แ นวทางให้ ผู ้ บ ริ ห ารได้ ท ราบ บทบาทของผูบ้ ริหารสถานศึกษาในการส่งเสริม การวิ จั ย ในชั้ น เรี ย นของโรงเรี ย นคาทอลิ ก สังฆมณฑลอุบลราชธานี 2.  ท�ำให้ผู้บริหารได้ทราบแนวทางใน การส่ ง เสริ ม ครู ใ นการวิ จั ย ในชั้ น เรี ย นของ โรงเรียนคาทอลิก  สังฆมณฑลอุบลราชธานี 3.  ท�ำให้ผู้บริหารและครูผู้สอนทราบ ปัญหาและแนวทางพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียน ของโรงเรี ย นคาทอลิ ก   สั ง ฆมณฑลอุ บ ลราชธานี ขอบเขตของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้ แ ก่ ผู ้ บ ริ ห ารและครู ผู ้ ส อนในโรงเรี ย น คาทอลิก  สังฆมณฑลอุบลราชธานี  ปีการ ศึกษา  2556  จ�ำนวน  366  จ�ำแนกเป็นผู้ บริหาร  92  คน  ครูผสู้ อน  274  คน  ได้มา โดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกนได้จาก การสุ่มแบบแบ่งชั้น  (Stratified  Random Sampling)  ตามต� ำ แหน่ ง   ประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน  ตามสัดส่วนตัวแปรที่ใช้

ตัวแปรอิสระ  คือ  ต�ำแหน่ง  ประสบการณ์ และขนาดโรงเรี ย น  ตั ว แปรตาม  ได้ แ ก่ บทบาทของผูบ้ ริหารสถานศึกษาในการส่งเสริม การวิ จั ย ในชั้ น เรี ย นของโรงเรี ย นคาทอลิ ก สั ง ฆมณฑลอุ บ ลราชธานี   ตามแนวคิ ด ของ บัญชา  อึ๋งสกุล  (2539)  กล่าวคือ  ผู้บริหาร ที่มีบทบาทส�ำคัญต่อการส่งเสริมสนับสนุนครู ผู ้ ส อนในโรงเรี ย นให้ มี ก� ำ ลั ง ใจและสามารถ ท� ำ งานวิ จั ย อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ  ได้ เ สนอ บทบาทของผู ้ บ ริ ห ารในการส่ ง เสริ ม และ สนับสนุนการท�ำวิจัยในชั้นเรียนของครูภายใน โรงเรียน  5  ด้านดังนี้  1).  ด้านการส่งเสริม ให้เกิดผลส�ำเร็จของงานวิจัย  2).  ด้านการ ให้ ก ารยอมรั บ ครู ผู ้ ท� ำ วิ จั ย ในชั้ น เรี ย น  3). ด้านการให้ความส�ำคัญของการวิจยั ในชัน้ เรียน 4).  ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ท�ำวิจัย ในชั้นเรียน  และ  5).  ด้านการส่งเสริมความ ก้าวหน้าของครูผู้ท�ำวิจัย วิธีด�ำเนินการวิจัย ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาบทบาท ของผูบ้ ริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจยั ในชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก  สังฆมณฑล อุบลราชธานี  โดยใช้เครือ่ งมือในการเก็บข้อมูล ชุดที่  1  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหาร สถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

45


บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก สังฆมณฑลอุบลราชธานี

ข อ ง โร ง เรี ย น ค า ท อ ลิ ก   สั ง ฆ ม ณ ฑ ล อุบลราชธานี  มี  2  ตอน  ตอนที่  1  เป็น ข้อมูลภูมิหลังของผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่ ต�ำแหน่งประสบการณ์ในการสอนของครู  และ ขนาดของโรงเรี ย น  ต อนที่   2  เป็ น แบบสอบถามเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหาร สถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน ข อ ง โร ง เรี ย น ค า ท อ ลิ ก   สั ง ฆ ม ณ ฑ ล อุบลราชธานี  โดยจ�ำแนกเป็น  5  ด้าน  ชุด ที่  2  แบบสัมภาษณ์  เพื่อศึกษาปัญหาและ ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการวิจยั ในชัน้ เรียน แนวการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาในการ ส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ในชั้ น เรี ย นของโรงเรี ย น คาทอลิกสังฆมณฑลอุบลราชธานีมี  2  ตอน ตอนที่   1  การสนทนาสร้ า งความคุ ้ น เคย ตอนที ่ 2  เพือ่ ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ ในการส่งเสริมการวิจยั ในชัน้ เรียน  5  ด้านคือ 1).  ด้านการส่งเสริมให้เกิดผลส�ำเร็จของงาน วิจัย  2).  ด้านการให้การยอมรับครูผู้ท�ำวิจัย ในชั้นเรียน  3).  ด้านการให้ความส�ำคัญของ การวิจัยในชั้นเรียน  4).  ด้านการมีความรับ ผิ ด ชอบต่ อ ครู ผู ้ ท� ำ วิ จั ย ในชั้ น เรี ย นและ  5). ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าของครูผทู้ ำ� วิจยั ส�ำหรับการสร้างเครื่องมือผู้วิจัยได้ด�ำเนินการ ตามขั้นตอนดังนี้ 1.  ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทของผู้ บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยใน ชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก  สังฆมณฑล 46

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

อุบลราชธานี  จากต�ำรา  เอกสาร  วารสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.  ผู ้ วิ จั ย ศึ ก ษาหลั ก การสร้ า งแบบ สอบถาม  แล้วสร้างแบบสอบถามตามกรอบ แนวคิด  ให้ครอบคลุมนิยามศัพท์เฉพาะ  แล้ว เสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบ แล้วแก้ไขตามข้อเสนอแนะ 3.  ผู ้ วิ จั ย ศึ ก ษาหลั ก การสร้ า งแบบ สั ม ภาษณ์   แล้ ว สร้ า งแบบสั ม ภาษณ์ เ สนอ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ตรวจสอบ  แล้ว แก้ไขตามข้อเสนอแนะ 4.  ผู้วิจัยน�ำแบบสอบถาม  และแบบ สัมภาษณ์ทแี่ ก้ไขตามข้อเสนอแนะจากอาจารย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์  เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณา  แล้วแก้ไขตามข้อเสนอแนะ 5.  น� ำ แบบทดสอบถามและแบบ สัมภาษณ์ที่แก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรง คุ ณ วุ ฒิ   เสนอต่ อ คณะกรรมการที่ ป รึ ก ษา วิทยานิพนธ์  แล้วปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอ แนะ 6.  น�ำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไข แล้ ว   ไปทดลองใช้ กั บ ผู ้ บ ริ ห ารและครู ใ น โรงเรียนคาทอลิก  ในสังฆมณฑลอุบลราชธานี จ� ำ นวน  50  คน  เก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล มา วิเคราะห์หาความเชือ่ ในของเครือ่ งมือ  โดยวิธี หาค่าสัมประสิทธิแ์ อลฟาของครอนบาค  ได้คา่ ความเชื่อมั่นเท่ากับ  .97


ศรีสุดา ประผะลา และ จิณณวัตร ปะโคทัง

ผลการวิจัย จากการศึ ก ษาบทบาทของผู ้ บ ริ ห าร สถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน ข อ ง โร ง เรี ย น ค า ท อ ลิ ก   สั ง ฆ ม ณ ฑ ล อุบลราชธานี  สรุปผลได้ดังนี้ 1.  บทบาทของผูบ้ ริหารสถานศึกษาใน การส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียน คาทอลิก  สังฆมณฑลอุบลราชธานี  โดยภาพ รวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2.  ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้ บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยใน ชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก  สังฆมณฑล อุ บ ล ร า ช ธ า นี   จ� ำ แ น ก ต า ม ต� ำ แ ห น ่ ง ประสบการณ์ท�ำงานและขนาดของโรงเรียน พบว่า 2.1  ผูบ้ ริหารและครูผสู้ อนมีความคิด เห็นต่อบทบาทของผูบ้ ริหารสถานศึกษาในการ ส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ในชั้ น เรี ย นของโรงเรี ย น คาทอลิก  สังฆมณฑลอุบลราชธานี  โดยภาพ รวมและด้านการให้การยอมรับครูผู้ท�ำวิจัยใน ชั้นเรียน  ด้านการให้ความส�ำคัญของการวิจัย ในชั้นเรียน  ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้า ของครูผู้ท�ำวิจัยในชั้นเรียน  ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการส่งเสริมให้เกิดความส�ำเร็จของงาน วิจัยและด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ท�ำ วิจัยในชั้นเรียน  แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ  .05

2 . 2  ผู ้ บ ริ ห ารและครู ผู ้ ส อนมี ประสบการณ์การท�ำงานต่างกัน  มีความคิด เห็นต่อบทบาทของผูบ้ ริหารสถานศึกษาในการ ส่ ง เสริ ม การวิ จั ย ในชั้ น เรี ย นของโรงเรี ย น คาทอลิก  สังฆมณฑลอุบลราชธานี  โดยภาพ รวม  และรายด้านไม่แตกต่างกัน 2.3  ผู้บริหารและครูผู้สอนขนาดใน โรงเรียนต่างกัน  มีความคิดเห็นต่อบทบาทของ ผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยใน ชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก  สังฆมณฑล อุบลราชธานี  โดยภาพรวมและรายด้านแตก ต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 ยกเว้นด้านการให้ความส�ำคัญของการวิจัยใน ชั้นเรียนไม่แตกต่างกัน 3.  ปั ญ หาและแนวทางการพั ฒ นา บทบาทของผูบ้ ริหารสถานศึกษาในการส่งเสริม การวิ จั ย ในชั้ น เรี ย นของโรงเรี ย นคาทอลิ ก สังฆมณฑลอุบลราชธานี 3.1.  ด้านการส่งเสริมให้เกิดผลส�ำเร็จ ของานวิ จั ย   พบว่ า มี ป ั ญ หาการสนั บ สนุ น งบประมาณในการด� ำ เนิ น งานวิ จั ย มี น ้ อ ย แนวทางการพั ฒ นาคื อ   ทางโรงเรี ย นควรมี นโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนงบประมาณ ในการด�ำเนินงานวิจัยมากขึ้น  เพื่อส่งเสริม และอ�ำนวยความสะดวกในการจัดท�ำวิจัยให้ดี ขึ้น

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

47


บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนคาทอลิก สังฆมณฑลอุบลราชธานี

3.2.  ด้านการให้การยอมรับครูผู้ท�ำ วิจยั ในชัน้ เรียน  พบว่ามีปญ ั หาครูยงั ขาดความ รู้ความเข้าใจในกระบวนการท�ำวิจัยที่ชัดเจน แนวทางการพัฒนาคือ  ทางโรงเรียนควรเห็น ความส�ำคัญของงานวิจยั และส่งเสริมสนับสนุน ครูให้ได้รบั การอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารของงานวิจยั อย่างต่อเนื่อง  สร้างความรู้ความเข้า  เพื่อครู จะได้มคี วามรูแ้ ละตระหนักถึงความรับผิดชอบ ต่องานวิจัยได้ดียิ่งขึ้น 3.3.  ด้านการให้ความส�ำคัญของการ วิจัยในชั้นเรียน  ปัญหาคือ  ภาระงานที่รับผิด ชอบมากจึงขาดความตระหนักและไม่เห็นความ ส�ำคัญในการท�ำงานวิจัยในชั้นเรียน  แนวทาง การพัฒนาคือ  ทางโรงเรียนควรสร้างความ ตระหนักโดยมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ  เชิญ วิทยากรมาบรรยาย  เพื่อพัฒนาความรู้ความ เข้าใจในการวิจัยและน�ำผลการวิจัยในสถาน ศึกษามาแบ่งปันและวิเคราะห์เพื่อหาแนวทาง และวางแผนการก�ำหนดนโยบายของโรงเรียน ต่อไป 3.4.  ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครู ผูท้ ำ� วิจยั ในชัน้ เรียน  ปัญหาทีพ่ บคือ  โรงเรียน มีการรับบุคลากรใหม่ในแต่ละปีมาเป็นครูใน โรงเรียน  ซึ่งยังขาดประสบการณ์ในการสอน และขาดประสบการณ์ในการท�ำวิจยั ในชัน้ เรียน แนวทางการพั ฒ นาคื อ   ทางโรงเรี ย นควรมี นโยบายในการส่งเสริมและการช่วยเหลือครูที่

48

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ยั ง ไม่ เ คยท� ำ การวิ จั ย ให้ ไ ด้ รั บ การอบรมเชิ ง ปฏิบตั กิ ารอย่างต่อเนือ่ ง  และมีครูพเี่ ลีย้ งคอย ช่วยเหลือให้ค�ำแนะน�ำ 3.5.  ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้า ของครูผู้ท�ำการวิจัย  มีปัญหาคือ  การสนับ สนุนครูในด้านการศึกษาต่อยังมีนอ้ ย  แนวทาง การพัฒนาคือ  ทางโรงเรียนควรมีการส่งเสริม สนับสนุนทุน  ให้ครูได้รับการศึกษาต่อ  ตาม ความถนัดและความสามารถทางด้านงานวิจัย และงานวิชาการให้มากขึ้น ข้อเสนอแนะ 1.  โรงเรี ย นควรมี ก ารสนั บ สนุ น งบ ประมาณ  อุปกรณ์  เอกสาร  ต�ำรา  ในการ ด�ำเนินงานวิจัยของครูในการท�ำวิจัย 2.  โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูนำ� ผลวิจยั เผยแพร่ตอ่ สารณชนและน�ำไปใช้ประโยชน์ตาม สภาพจริงให้เกิดการยอมรับในผลงานวิจัย 3.  โรงเรียนควรมีการสร้างแรงจูงใจ กระตุน้ ให้ครูเห็นความส�ำคัญและประโยชน์การ ท�ำวิจัยในชั้นเรียน 4.  โรงเรียนควรจัดอบรมเชิงปฏิบตั กิ าร เกี่ยวกับงานวิจัยที่ตรงตามความต้องการของ ครูเพื่อน�ำไปพัฒนากระบวนการเรียนการสอน


ศรีสุดา ประผะลา และ จิณณวัตร ปะโคทัง

บรรณานุกรม กรมวิ ช าการกระทรวงศึ ก ษาธิ ก าร.  2542.  การวิ จั ย เพื่ อ พั ฒ นาการเรี ย นรู ้ . กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์การศาสนา. บัญชา  อึง๋ สกุล.  2539.  บทบาทของผูบ้ ริหาร ที่มีต่อการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน. สารพัฒนาหลักสูตร  15(125):61-75; เมษายน–มิถุนายน. รุ่ง  แก้วแดง.  2545.  ปฏิวัติการศึกษาไทย.  กรุงเทพฯ:  มติชน.

วีรพล  ฉลาดแย้ม.  2544.  การวิจัยในชั้น  เรี ย นของครู ป ระถมศึ ก ษา  สั ง กั ด  ส� ำ นั ก งานการประถมศึ ก ษาจั ง หวั ด  หนองบัวล�ำภู.  วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการ บริ ห ารการศึ ก ษา  บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาวิทยาลัยของแก่น. สุภาภรณ์  มั่งเกตุวิทย์.  2544.  การวิจัยใน  ชั้ น เรี ย นประสบการณ์ ต รงของครู  ต้นแบบ.  กรุงเทพฯ:  ธารอักษร.

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

49


แนวทางการส่งเสริมบุคลากรของโรงเรียนในเครือ ภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย ให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

The Guidelines for Promoting Personnel’s

Commitment in the Daughters of Mary Help of Christians Schools in Thailand. ภคินีกาญจนา เดชาเลิศ

* จิตตาภิบาลฝ่ายอภิบาลเยาวชน โรงเรียนนารีวุฒิ

ผศ.ดร.ประเสริฐ อินทร์รักษ์

* อาจารย์ประจำ�ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Miss.Kanchana Dechalert

* Youth Chaplain Narivooth School.

Asst.Prof.Dr.Prasert Intarak

* Assistant Professor, Lecture at Education Administration Faculty of Education, Silpalorn University.


ภคินีกาญจนา เดชาเลิศ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ  1)  ความผูกพันต่อ องค์การของบุคลากรโรงเรียนในเครือภคินคี ณะธิดาแม่พระองค์อปุ ถัมภ์ ในประเทศไทย  2)  ผลการเปรียบเทียบความเห็นเกีย่ วกับความผูกพัน ต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ใ นประเทศไทย  เมื่ อ จ� ำ แนกตามคุ ณ ลั ก ษณะ  และ  3) แนวทางการส่งเสริมบุคลากรโรงเรียนในเครือภคินคี ณะธิดาแม่พระองค์ อุปถัมภ์ในประเทศไทยให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ  เป็นการวิจัยเชิง พรรณนา  กลุ่มตัวอย่าง  คือ  บุคลากรของโรงเรียนในเครือภคินีคณะ ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย  จ�ำนวน  205  คน  ประกอบ ด้วย  ผู้บริหาร  จ�ำนวน  37  คน  และครูผู้สอน  จ�ำนวน  168  คน เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการวิจยั   คือ  แบบสอบถาม  สถิตทิ ใี่ ช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล  ได้แก่  ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่ามัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน  การวิเคราะห์ความแปรปรวน  และการวิเคราะห์เนือ้ หา ผลการวิจัยพบว่า 1.  ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรของโรงเรียนในเครือภคินี คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย  อยู่ในระดับมาก  โดยมี ระดับความผูกพันต่อองค์การในด้านจิตใจมากทีส่ ดุ   รองลงมาคือ  ด้าน บรรทัดฐาน  และด้านการคงอยู่กับองค์การ 2.  ความเห็นเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรของ โรงเรียนในเครือภคินคี ณะธิดา  แม่พระองค์อปุ ถัมภ์ในประเทศไทย  เมือ่ จ�ำแนกตามต�ำแหน่งหน้าที่  ศาสนา  ระดับการศึกษา  และรายได้ ความแตกต่างไม่มีนัยส�ำคัญทางสถิติ  แต่เมื่อจ�ำแนกตามประสบการณ์ ในการท�ำงาน  พบว่า  บุคลากรในกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการท�ำงาน 6-10  ปี  กับกลุม่ ทีม่ ปี ระสบการณ์ในการท�ำงาน  16  ปีขนึ้ ไป  มีความ ผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐานแตกต่างกัน  อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ ระดับ  0.05

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

51


แนวทางการส่งเสริมบุคลากรของโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย ให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

3.  แนวทางการส่งเสริมบุคลากรของโรงโรงเรียนในเครือภคินี คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทยให้เกิดความผูกพันต่อ องค์การ  ได้แก่  1)  การวางแผนพัฒนาบุคลากรควรมีความชัดเจนและ ต่อเนื่องมากขึ้น  2)  ให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการพัฒนา องค์การในทุกด้าน  และ  3)  การเสริมขวัญก�ำลังใจแก่บุคลากรอย่าง ยุติธรรมและสม�่ำเสมอ ค�ำส�ำคัญ: Abstract

52

1)  ความผูกพันต่อองค์การ 2)  คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย.

The  purposes  of  this  research  were  to  find :  1)  personnal’s  commitment  in  the  Daughters  of Mary  Help  of  Christians  Schools  in  Thailand,  2)  the comparison on the personnel’s commitment in the Daughters of Mary Help of Christians Schools in Thailand  when  classification  by  characteristics,  and  3)  the guidelines for promoting personnel’s commitment in the Daughters of Mary Help of Christians Schools in  Thailand.  The  respondents  were  37  administrators and  168  teachers  in  the  Daughters  of  Mary  Help  of Christians  Schools  in  Thailand  with  the  total  of  205 respondents.  The  data  collected  by  using  the  questionnaire.  The  data  were  analyzed  by  frequency,  percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, and content analysis.

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


ภคินีกาญจนา เดชาเลิศ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์

The  findings  were  as  follows  : 1.  The  Organizational  commitment  of  personnel’s in the Daughters of Mary Help of Christians Schools in Thailand at a high level was rated when considered in each component, the psychological was the highest,  for  the  next  were  norms  and  Existence respectively. 2.  The  opinion  on  the  personnel’s  commitment in the Daughters of Mary Help of Christians Schools in  Thailand  when  classification  by  positions,  religion, education  and  income  were  not  different.  But  when classified  by  work  experience  there  was  a  significant different  between  the  personnel  with  the  experience of  6-10  years  and  16  years  and  more  in  the  norms of organization commitment. 3.  The  guidelines  for  promoting  personnel’s  commitment in the Daughters of Mary Help of Christians Schools  in  Thailand  were  1)  planning  the  personnel development should be more clearly and continuous, 2)  providing  opportunities  personnel  to  have  participated and responsibility for develop all aspects organization,  and  3)  enhancing  the  morale  of  personnel fairly and consistently. Keywords:  1)  Personnel’s Commitment 2)  The Daughters of Mary Help of Christians Schools in Thailand

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

53


แนวทางการส่งเสริมบุคลากรของโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย ให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เป็นหัวใจ ส�ำคัญในการพัฒนาบุคคล  ชุมชน  ประเทศ ชาติ  และสังคมโลกในทุกๆ  ด้าน  การศึกษา เป็ น กลไกหลั ก ในการขั บ เคลื่ อ นการพั ฒ นา “คน”  ให้มี  “คุณภาพ”  โรงเรียนในเครือ ภคิ นี ค ณะธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ใ น ประเทศไทย  เป็นสถาบันการศึกษาของพระ ศาสนจักรคาทอลิก  มีพันธกิจในการให้การ ศึ ก ษาอบรมผู ้ เรี ย นให้ มี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ที่ สมบูรณ์ทั้งครบทั้งด้านร่างกาย  สติปัญญา และด้านชีวติ ภายใน  ทัง้ นี ้ โดยมีบคุ ลากรของ โรงเรี ย นเป็ น กลไกส� ำ คั ญ ในการสร้ า งสรรค์ พั ฒ นาผู ้ เรี ย นให้ บ รรลุ ต ามวั ต ถุ ป ระสงค์ ที่ ก�ำหนด  โรงเรียนจึงเอาใจใส่  ดูแล  ปลูกฝังให้ ครู เ ป็ น บุ ค คลที่ มี คุ ณ ภาพ  มี ค วามรั ก และ ผูกพันกับโรงเรียน  ร่วมมือร่วมใจในการจัดการ ศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ปัญหาของการวิจัย จากสถิตขิ องแผนกบุคคลฝ่ายการศึกษา ของโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์ อุปถัมภ์  เกี่ยวกับการลาออกจากงานของครู ตั้งแต่ปีการศึกษา  2550-2556  พบว่ามีครู จ�ำนวนหนึ่งลาออก  ซึ่งแม้จะมีจ�ำนวนไม่มาก นัก  แต่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการจัดการ เรียนการสอนระหว่างปี

54

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

บุคลากรที่ตัดสินใจลาออกจากโรงเรียน  ส่วน ใหญ่ มี ส าเหตุ จ ากการขาดความผู ก พั น ต่ อ องค์การ  ซึ่งแนวคิดของ  คอลควิท,  เลไพน์ และเวสสั น   (Colquitt,  Lepine  and Wesson)  ได้อธิบายลักษณะของความผูกพัน ต่อองค์การไว้  3  ด้าน  ดังนีค้ วามผูกพันด้าน จิตใจ  มีฐานอยู่ที่ความรู้สึกที่ต้องการอยู่ใน องค์ ก าร  (affective  commitment/ emotion-based)  ความผูกพันด้านการคง อยูก่ บั องค์การ  มีฐานความคิดอยูท่ ตี่ น้ ทุนหรือ มู ล ค่ า   ซึ่ ง ท� ำ ให้ รู ้ สึ ก ว่ า จ� ำ เป็ น ต้ อ งอยู ่ ใ น องค์การ  (continuance  commitment/ cost-based)  และความผูกพันด้านบรรทัด ฐาน  ซึ่งมีฐานอยู่บนความรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ จึงตัดสินใจว่าตนควรจะอยู่ในองค์การต่อไป (normative  commitment/obligationbased) การศึ ก ษาแนวทางในการส่ ง เสริ ม บุ ค ลากรโรงเรี ย นในเครื อ ภคิ นี ค ณะธิ ด า แม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ใ ห้ เ กิ ด ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารซึ่ ง จะน� ำ สู ่ ก ารเป็ น สมาชิ ก ที่ ดี ข อง องค์การจะเป็นข้อมูลส�ำคัญที่สามารถน�ำไป ประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการองค์การให้มี ประสิทธิภาพสร้างความสุขให้กับบุคลากรต่อ ไป


ภคินีกาญจนา เดชาเลิศ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.  เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรของโรงเรียนในเครือภคินคี ณะธิดา แม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย 2.  เพือ่ ศึกษาผลการเปรียบเทียบความ เห็ น เกี่ ย วกั บ ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารของ บุคลากร  ในโรงเรียนในเครือภคินคี ณะธิดาแม่ พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย  เมื่อจ�ำแนก ตามคุณลักษณะ 3.  เพื่ อ ศึ ก ษาแนวทางการส่ ง เสริ ม บุ ค ลากรโรงเรี ย นในเครื อ ภคิ นี ค ณะธิ ด าแม่ พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทยให้เกิดความ ผูกพันต่อองค์การ

ขอบเขตการวิจัย ได้ศึกษาแนวคิด  ทฤษฎี  และผลงาน วิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง  เพื่ อ เป็ น แนวทางในการ ก�ำหนดขอบเขตของการวิจยั   โดยได้นำ� แนวคิด ของ  คอลควิ ท ,  เลไพน์   และเวสสั น (Colquitt, Lepine and Wesson) เกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การใน  3  ด้าน ได้ แ ก่   ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารด้ า นจิ ต ใจ (affective  commitment/emotionbased)  ความผูกพันต่อองค์การด้านการคง อยู่กับองค์การ  (continuance  commitment/cost-based)  และความผูกพันต่อองค์ การด้านบรรทัดฐาน  (normative  commitment/obligation-based)  ดั ง แสดงใน แผนภูมิที่  1

คุณลักษณะของผู้ให้ข้อมูล

ความผูกพันต่อองค์การ

1. 2. 3. 4. 5.

ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ต�ำแหน่งหน้าที่ ประสบการณ์ในการท�ำงาน ศาสนา

1. 2. 3.

แผนภูมิที่ 1 ขอบเขตของการวิจัย ที่มา: Jason  A.  Colquitt,  Jeffery  A.  Lepine,  and  Michael  J. Wesson,  Organizational  behavior  im-

ความผูกพันด้านจิตใจ ความผูกพันด้านการคงอยูก่ บั องค์การ ความผูกพันด้านบรรทัดฐาน

proving Performance and Commitment  in  the  Workplace,  3rd  ed. (New  York:  McGraw-Hill/Irwin,  2013), 60-81.

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

55


แนวทางการส่งเสริมบุคลากรของโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย ให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

นิยามศัพท์เฉพาะ ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก าร  หมายถึ ง ภาวะทางจิตใจที่แสดงลักษณะความสัมพันธ์ ของบุคคลกับองค์การ  และแสดงให้เห็นถึงการ ตัดสินใจที่จะเป็นสมาชิกอยู่ในองค์การต่อไป ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ  3  ด้าน  คือ ความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ  (affective  commitment)  ความผูกพันด้านการ คงอยูก่ บั องค์การ  (continuance  commitment)  และความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารด้ า น บรรทัดฐาน  (normative  commitment) บุคลากร  หมายถึง  ผูบ้ ริหาร  และครู ในโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์ อุปถัมภ์ในประเทศไทย โรงเรี ย นในเครื อ ภคิ นี ค ณะธิ ด าแม่ พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย  หมายถึง กลุม่ โรงเรียนเอกชนคาทอลิก  สังกัดส�ำนักงาน บริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา เอกชน  กระทรวงศึกษาธิการ  บริหารงานโดย ภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศ ไทย  รวมทั้งสิ้น  5  แห่ง  คือ  โรงเรียนนารี วุฒิ  จังหวัดราชบุรี,  โรงเรียนธิดานุเคราะห์ จังหวัดสงขลา,  โรงเรียนเซนต์เมรี่  จังหวัด อุ ด รธานี ,   โรงเรี ย นมารี ย ์ อุ ป ถั ม ภ์   จั ง หวั ด นครปฐม,  โรงเรียนวิสุทธิวงศ์โพนสูง  จังหวัด อุดรธานี

56

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

การด�ำเนินการวิจัย การด� ำ เนิ น การวิ จั ย   มี   3  ขั้ น ตอน ดังนี้ 1.  การศึ ก ษาวิ เ คราะห์ เ อกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.  การสร้างพัฒนาเครื่องมือ 3.  การเก็ บ รวบรวมข้ อ มู ล จากกลุ ่ ม ตัวอย่าง 4.  การจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 5.  การสรุปรายงานผลการวิจัย แผนแบบการวิจัย การวิ จั ย ครั้ ง นี้ มี แ ผนแบบการวิ จั ย ลักษณะกลุม่ ตัวอย่างเดียว  ศึกษาสภาวการณ์ ไม่มีการทดลอง  (the  one  shot,  non -  experimental  case  study) ประชากร ประชากร  ได้แก่  บุคลากรโรงเรียนใน เครื อ ภคิ นี ค ณะธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ใ น ประเทศไทย  ประกอบด้วย  ผู้บริหาร  74 คน  และครู   350  คน  รวมเป็ น จ� ำ นวน 424  คน


ภคินีกาญจนา เดชาเลิศ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์

กลุ่มตัวอย่าง กลุม่ ตัวอย่าง  ได้แก่  บุคลากรโรงเรียน ในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ใน ประเทศไทย  ประกอบด้วย  ผูบ้ ริหาร  37  คน และครู  168  คน  รวมเป็นจ�ำนวน  205  คน ขนาดกลุ ่ ม ตั ว อย่ า ง  จากตาราง ประมาณการขนาดตัวอย่างของเครจซี่  และ มอร์แกน  (Krejcie  and  Morgan,  1970 :607-610)  ได้ขนาดตัวอย่างจ�ำนวน  205 คน  โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งประเภท/แบ่งชั้น (stratified  random  sampling)  ในแต่ละ โรงเรียน ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรสถานภาพ  ได้แก่  ระดับการ ศึ ก ษา  รายได้ ต ่ อ เดื อ น  ต� ำ แหน่ ง หน้ า ที่ ประสบการณ์ในการท�ำงาน  และศาสนา ตัวแปรทีศ่ กึ ษา  ได้แก่  ตัวแปรทีเ่ กีย่ ว กั บ ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารของครู   ตาม แนวคิดของ  คอลควิท,  เลไพน์  และเวสสัน จ�ำนวน  3  ด้าน  คือ  1)  ความผูกพันด้าน จิ ต ใจ  2)  ความผู ก พั น ด้ า นการคงอยู ่ กั บ องค์ ก าร  และ  3)  ความผู ก พั น ด้ า น บรรทัดฐาน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1.  แบบสอบถาม  (questionnaire) จ�ำนวน  1  ฉบับ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ ผูว้ จิ ยั ได้สร้าง  แบบสอบถาม  (questionnaire)  โดยมีขนั้ ตอนการสร้างและพัฒนา ดังนี้ 1.  สั ง เคราะห์ ห ลั ก การ  แนวคิ ด ทฤษฎี  ตามขอบเขตการวิจัย  จากเอกสาร และงานวิ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง  แล้ ว สร้ า งกระทง ค�ำถามของแบบสอบถาม 2.  สร้ า งแบบสอบถาม  จ� ำ นวน  1 ฉบับ  มี  2  ตอน ต อ น ที่   1   ส อ บ ถ า ม เ กี่ ย ว กั บ คุณลักษณะของผูใ้ ห้ขอ้ มูล  มีลกั ษณะเป็นแบบ ก�ำหนดตัวเลือกไว้  (force  choice)  จ�ำนวน 5  ข้อ  ได้แก่  1)  ระดับการศึกษา  2)  ราย ได้ ต ่ อ เดื อ น  3)  ต� ำ แหน่ ง หน้ า ที่   4) ประสบการณ์ในการท�ำงาน  และ  5)  ศาสนา ตอนที่   2  สอบถามเกี่ ย วกั บ ความ ผูกพันต่อองค์การ  3  ด้าน  คือ  1)  ความ ผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ  2)  ความผูกพัน ต่อองค์การด้านการคงอยู่  และ  3)  ความ ผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐานตามแนวคิด ของของ  คอลควิ ท ,  เลไพน์   และเวสสั น

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

57


แนวทางการส่งเสริมบุคลากรของโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย ให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

(Colquitt,  Lepine  and  Wesson)  แบบ สอบถามมีลกั ษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5  ระดั บ ตามแนวคิ ด ของลิ เ คิ ร ์ ท   (Rensis Likert,  1967:179) 3.  ตรวจสอบคุณภาพของเครือ่ งมือวิจยั โดยน�ำแบบสอบถามเสนอต่อผูเ้ ชีย่ วชาญ  เพือ่ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา  (content  validity)  ด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความ สอดคล้อง  (Index  of  Item  Objective Congruence:IOC)  ได้ค่า  IOC  ระหว่าง 0.60-1.00  แล้ ว คั ด เลื อ กข้ อ ค� ำ ถามที่ มี ค ่ า IOC  มากกว่า  0.5  ตามเกณฑ์การพิจารณา ที่ก�ำหนดไว้  4.  ทดลองใช้เครื่องมือวิจัย  โดยน�ำ แบบสอบถามไปทดลองใช้  (try  out)  กับ บุคลากรโรงเรียนในเครือโรงเรียนในเครือภคินี คณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง  จ�ำนวน  30  คนเพื่อน�ำ มาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น  (reliability) ของแบบสอบถามด้ ว ยการค� ำ นวณค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ แ อลฟา (α-coefficient) ของครอน-บาค  (Cronbach,  Lee  J., 1984:126)  ได้ค่าความเชื่อมั่น  0.967 5.  น�ำแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ไปเก็บ ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง

58

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่  (frequencies)  ค่าร้อยละ (percentage:%)  ค่ามัชฌิมเลขคณิต  (Arithmetic mean: x )  และส่ ว นเบี่ ย งเบน มาตรฐาน  (Standard  Deviation:S.D การวิเคราะห์ค่าที  (t-test)  การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว  (one-way  analysis  of  variance  (ANOVA))  วิ ธี ก าร ทดสอบของเชฟเฟ่  (Scheffe’s  method) และวิธวี เิ คราะห์เนือ้ หา  (content  analysis) สรุปผลการวิจัย 1.  ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร โรงเรี ย นในเครื อ ภคิ นี ค ณะธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุปถัมภ์ในประเทศไทย  โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก  และเมื่อพิจารณาจ�ำแนกตามราย ด้ า น  พบว่ า ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารของ บุคลากรอยู่ในระดับมากทั้ง  3  ด้าน  โดย เรียงล�ำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย  ดังนี้ ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารด้ า นจิ ต ใจ  ( X = 4.41,  S.D.  =  0.516)  ความผูกพันต่อองค์ การด้านบรรทัดฐาน  ( X =  4.32,  S.D.  = 0.539)  และความผูกพันต่อองค์การด้านการ คงอยู่  ( X =  4.03,  S.D.  =  0.591) 2.  การเปรียบเทียบความเห็นเกี่ยวกับ ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารของบุ ค ลากรของ โรงเรี ย นในเครื อ ภคิ นี ค ณะธิ ด าแม่ พ ระองค์


ภคินีกาญจนา เดชาเลิศ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์

อุ ป ถั ม ภ์ ใ นประเทศไทยเมื่ อ จ� ำ แนกตาม คุณลักษณะ  พบว่า  เมือ่ จ�ำแนกตามต�ำแหน่ง หน้าที ่ ศาสนา  ระดับการศึกษา  และรายได้ ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารของบุ ค ลากรของ โรงเรี ย นในเครื อ ภคิ นี ค ณะธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุปถัมภ์ในประเทศไทย  พบว่าความแตกต่าง ไม่มีนัยส�ำคัญทางสถิติ  แต่เมื่อจ�ำแนกตาม ประสบการณ์ในการท�ำงาน  พบว่า  ความ แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  จ�ำนวนหนึง่ คู ่ คือ  บุคลากรในกลุม่ ทีม่ ี ประสบการณ์ในการท�ำงาน  6-10  ปี  ( X =  4.12,  S.D.  =  0.674)  กับกลุ่มที่มีประ สบการณ์ในการท�ำงาน  16  ปีขึ้นไป  ( X =  4.41,  S.D.  =  0.528)  มีความผูกพันต่ อองค์การด้านบรรทัดฐานแตกต่างกัน  ทีร่ ะดับ ความมีนัยส�ำคัญทางสถิติ  0.05 3.  แนวทางการส่ ง เสริ ม บุ ค ลากร โรงเรี ย นในเครื อ ภคิ นี ค ณะธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุปถัมภ์ในประเทศไทย  ให้เกิดความผูกพันต่อ องค์การ  จากการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปได้ดังนี้ 3.1  แนวทางการส่งเสริมความผูกพัน ต่อองค์การด้านจิตใจ  ได้แก่  1)  เอาใจใส่ บุคลากรเป็นรายบุคคล  2)  เปิดโอกาสให้มี ส่วนร่วมในการวางแผน  และมีส่วนในความ ส� ำ เร็ จ   3)  สร้ า งปฏิ สั ม พั น ธ์ ที่ ดี ร ะหว่ า ง

ผู ้ บ ริ ห ารและเพื่ อ นร่ ว มงาน  4)  จั ด อบรม สัมมนา  โดยเน้นถึงเป้าหมายการจัดการศึกษา ของโรงเรียนและวิธกี ารอบรมในรูปแบบเฉพาะ และ  5)  ผู้บริหารเป็นต้นแบบถึงอุดมการณ์ ของโรงเรียน  และเป็นผู้ที่พึ่งพิงได้ 3.2  แนวทางการส่งเสริมความผูกพัน ด้านการคงอยูก่ บั องค์การ  ได้แก่  1)  ส่งเสริม ขวัญและก�ำลังใจแก่บุคลากรในรูปแบบต่างๆ 2)  อ�ำนวยความสะดวกในการด�ำเนินงานและ สถานที่ ท� ำ งาน  3)  สร้ า งบรรยากาศการ ท�ำงานที่ดี  4)  ให้ความชัดเจนในระบบการ บริหารงบประมาณ  และ  5)  ผู้บริหารควร ดูแลติดตามการท�ำงานของบุคลากรแบบกัลยณมิตร  และประเมินผลการปฏิบัติงานอย่าง เป็นธรรม 3.3  แนวทางการส่งเสริมความผูกพัน ด้านบรรทัดฐาน  ได้แก่  1)  ส่งเสริมความ รูส้ กึ มีสว่ นร่วมของบุคลากรทุกคนตามบทบาท หน้าที ่ 2)  ให้บคุ ลากรได้รบั การพัฒนาตนเอง ตามศั ก ยภาพอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง  และ  3)  ให้ บุคลากรได้มีโอกาสก้าวหน้าอย่างสม�่ำเสมอ อภิปรายผล จากผลการวิจยั   สามารถน�ำมาอภิปราย ผลได้ดังนี้

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

59


แนวทางการส่งเสริมบุคลากรของโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย ให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

1.  ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร ของโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ใ นประเทศไทย  ในภาพรวมอยู ่ ใ น ระดับมาก  โดยเรียงล�ำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้  1)  ความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ 2)  ความผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐาน และ  3)  ความผูกพันต่อองค์การด้านการคง อยู ่ ทัง้ นี ้ อาจเนือ่ งมาจากนโยบายการจัดการ ศึกษาอบรมที่ยึด  “ระบบป้องกัน”  ของคุณ พ่อบอสโกเป็นหลัก  (Istituto  Figli  Di  Maria  Ausiliatrice,  1982)  ซึ่งให้ความส�ำคัญ กับบุคลากรเสมือนบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ใช้เหตุผล  ศาสนา  และความรักใจดี  ในการ ติดตาม  เอาใจใส่ทั้งเยาวชน  และบุคลากร ผู้ร่วมงานทุกคน  เป็นการพัฒนาสติปัญญา เสริมสร้างลักษณะนิสยั   และอบรมจิตใจให้ยดึ มั่นในคุณธรรมความดี  อีกทั้งมีความพยายาม จัดตั้งกลุ่มที่เรียกว่า  “หมู่คณะผู้อบรม”  ซึ่ง ประกอบด้วยคณะผู้บริหาร  ตัวแทนครู  ผู้ ปกครอง  ศิษย์เก่า  และนักเรียน  ทัง้ นี ้ เพือ่ ให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมกับคณะซิสเตอร์ใน ด้านงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนใน โรงเรียน  การใช้  “ระบบป้องกัน”  ในการ ดูแลนักเรียนและการประสานงานกับบุคลากร นั้ น   ได้ ก ลั บ เป็ น องค์ ป ระกอบส� ำ คั ญ และมี ความหมายในการน�ำเสนอให้บุคลากรกระท�ำ ในสิ่งที่ดี  มีส่วนร่วมในประสบการณ์ชีวิตที่มี

60

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

คุณค่า  กระตุน้ ให้คน้ พบ  “พลังทีม่ อี ยูภ่ ายใน ตนเอง”  ให้น�ำมาพัฒนาตนด้วยความรับผิด ชอบและด้วยความภาคภูมิใจ  ดังปรัชญาของ โรงเรียน  ที่ว่า  ทุกคนมีส่วนดีที่พัฒนาได้และ มีพันธกิจชีวิตที่ต้องบรรลุเป้าหมาย  (Istituto  Figli  Di  Maria  Ausiliatrice,  2005) สิง่ เหล่านีส้ ง่ เสริมการพัฒนาตัวบุคลากรให้มงุ่ สู่ ค่ า นิ ย มที่ ดี ก ว่ า เสมอ  สร้ า งปฏิ สั ม พั น ธ์ ที่ ดี ระหว่ า งบุ ค คล  มี ก ารประชาสั ม พั น ธ์ แ นว ปฏิ บั ติ ป ระจ� ำ เดื อ นอย่ า งสม�่ ำ เสมอ  ท� ำ ให้ บุคลากรได้รับทราบถึงความเคลื่อนไหวและ นโยบายจากผูบ้ ริหาร  ด้วยเหตุนบี้ คุ ลากรจึงมี ความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจในระดับมาก ขณะเดียวกัน  การทีโ่ รงเรียนมีชอื่ เสียงทีด่ ดี า้ น คุณธรรม  มีกิจการการกุศล  และมีระเบียบ วินัยที่สอดคล้องกับนโยบายขององค์การ  มี ความชัดเจนในเอกลักษณ์  และยังให้โอกาสแก่ บุคลากรได้พัฒนาตนเองในทักษะวิชาชีพ  มี การส่งบุคลากรไปศึกษาต่อต่างประเทศ  (คณะ ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์,  2556)  และเมื่อ บุคลากรมีปัญหา  ผู้บริหารก็ให้ความสนใจ เป็นที่พึ่งพิงทั้งในด้านวัตถุปัจจัย  และการให้ ค� ำ ปรึ ก ษาแนะน� ำ อย่ า งเสมอภาค  ท� ำ ให้ บุคลากรรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณ  มีความกตัญญู ต่อองค์การ  ดังนั้น  บุคลากรอาจรู้สึกผิดหาก ต้องการจะลาออกไปท�ำงานทีอ่ นื่   จึงก่อให้เกิด ความผูกพันกับองค์การในรูปแบบบรรทัดฐาน


ภคินีกาญจนา เดชาเลิศ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์

อีกทั้ง  ในลักษณะที่โรงเรียนเป็นองค์การที่ไม่ แสวงหาผลก�ำไร  มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการ พั ฒ นาคุ ณ ภาพและความเชี่ ย วชาญในการ ท�ำงานท�ำให้บุคลากรมีความกระตือรือร้นใน งานที่ รั บ มอบหมาย  โรงเรี ย นมี ร ะบบการ ติ ด ตามดู แ ล  และประเมิ น ผลงานอย่ า ง สม�่ ำ เสมอ  มี ก ารปรั บ เงิ น เดื อ นด้ ว ยความ ยุตธิ รรม  มีสวัสดิการทีเ่ อือ้ ความสะดวก  แบ่ง เบาภาระของบุคลากร  หากบุคลากรลาออกก็ จะส่งผลให้ไม่ได้รับค่าตอบแทนที่จ�ำเป็นต่อ สภาพสังคม  เศรษฐกิจในยุคปัจจุบนั   ซึง่ มีการ ว่างงานและมีการแข่งขันด้านอาชีพสูง  ด้วย เหตุผลเหล่านี้จึงท�ำให้บุคลากรมีความจ�ำเป็น ต้องอยู่ท�ำงานให้กับโรงเรียน  มีความผูกพัน ด้านการคงอยู่กับองค์การในระดับมาก  ซึ่ง สอดคล้องกับ  แนวความคิดของสุคน  มณีรตั น์ (2554:92)  ที่ได้ท�ำการวิจัยเรื่อง  การบริหาร ทรัพยากรมนุษย์กับรูปแบบความผูกพันต่อ องค์การของบุคลากรโรงเรียนสาธิตในจังหวัด นครปฐม  พบว่า  ความผูกพันต่อองค์การของ บุคลากรอยูใ่ นระดับมากทุกด้านโดยเรียงล�ำดับ จากมากไปหาน้อยเช่นเดียวกันดังนี้  ความ ผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจ  ความผูกพันต่อ องค์การด้านบรรทัดฐาน  และความผูกพันต่อ องค์ ก ารด้ า นการคงอยู ่   และมนต์ สิ ง ห์ ไ กร สมสุข  (2552)  ได้ท�ำการศึกษาเรื่อง  แรง จูงใจในการท�ำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อ

องค์การของครูในโรงเรียนคาทอลิก  สังกัดอัคร สั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ  ผลการวิ จั ย   พบว่ า ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารของครู ใ นโรงเรี ย น คาทอลิก  สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  อยู่ ในระดับมาก 2.  การเปรียบเทียบความเห็นเกี่ยวกับ ความผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารของบุ ค ลากรของ โรงเรี ย นในเครื อ ภคิ นี ค ณะธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ใ นประเทศไทย  เมื่ อ จ� ำ แนกตาม คุณลักษณะ  พบว่า  เมือ่ จ�ำแนกตามต�ำแหน่ง หน้าที ่ ศาสนา  ระดับการศึกษา  และรายได้ ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรของ โรงเรี ย นในเครื อ ภคิ นี ค ณะธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุปถัมภ์ในประเทศไทย  ไม่มคี วามแตกต่างกัน แต่เมื่อจ�ำแนกตามประสบการณ์ในการท�ำงาน พบว่า  มีความแตกต่างกันอย่างมีนยั ส�ำคัญทาง สถิ ติ ที่ ร ะดั บ   0.05  จ� ำ นวนหนึ่ ง คู ่   คื อ บุคลากรในกลุม่ ทีม่ ปี ระสบการณ์ในการท�ำงาน 6-10  ปี  ( X =  4.12,  S.D.  =  0.674) กับกลุม่ ทีม่ ปี ระสบการณ์ในการท�ำงาน  16  ปี ขึ้นไป  ( X =  4.41,  S.D.  =  0.528)  มี ความผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐานแตก ต่างกัน  ทัง้ นีอ้ าจเป็นเพราะระยะเวลาทีป่ ฏิบตั ิ งานและอยู่ร่วมกัน  ส่งผลให้บุคลากรมีระดับ ความผูกพันกับองค์การด้านบรรทัดฐานที่แตก ต่างกัน  ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยของมานะ อยู ่ ท รั พ ย์   (2554:บทคั ด ย่ อ )  ที่ ไ ด้ ท� ำ การ

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

61


แนวทางการส่งเสริมบุคลากรของโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย ให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

ศึกษาเรื่อง  การศึกษาระดับความผูกพันต่อ องค์การของครูสังกัดส�ำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษาชัยภูม ิ เขต  1  ผลของการวิจยั   พบว่า การเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์การ ของครู สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ชัยภูมิ  เขต  1  พบว่า  ระยะเวลาที่ปฏิบัติ งานที่ต่างกัน  ระดับความผูกพันต่อองค์การ ของครู สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ชัยภูมิ  เขต  1  แตกต่างกันอย่างมีนัยส�ำคัญ ทางสถิติที่ระดับ  .05 3.  จากการสนทนากลุ ่ ม   เพื่ อ หา แนวทางการส่งเสริมบุคลากรโรงเรียนในเครือ ภคิ นี ค ณะธิ ด า  แม่ พ ระองค์ อุ ป ถั ม ภ์ ใ น ประเทศไทยให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิให้ความส�ำคัญกับการส่ง เสริ ม ความผู ก พั น ด้ า นจิ ต ใจเป็ น อั น ดั บ แรก แม้วา่ ความผูกพันด้านจิตใจจะอยูใ่ นระดับมาก ทีส่ ดุ แล้วก็ตาม  เนือ่ งจากผูท้ รงคุณวุฒเิ ป็นผูม้ ี อุดมการณ์และเล็งเห็นว่า  สิ่งที่ส�ำคัญที่สุดที่ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้เป็นรากฐานของความ ผูกพัน  นั่นคือ  ความผูกพันด้านจิตใจ  โดย เฉพาะการเอาใจใส่บุคลากรเป็นรายบุคคล เปิดโอกาสให้มสี ว่ นร่วมในการวางแผน  และมี ส่ ว นในความส� ำ เร็ จ   สร้ า งปฏิ สั ม พั น ธ์ ที่ ดี ระหว่างผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน  มีการจัด อบรม  สั ม มนา  โดยเน้ น ถึ ง เป้ า หมายการ จัดการศึกษาของโรงเรียนและวิธีการอบรมใน

62

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

รูปแบบเฉพาะ  และให้ผบู้ ริหารเป็นต้นแบบถึง อุดมการณ์ของโรงเรียน  และเป็นผู้ที่พึ่งพิงได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของ  คอลควิท เลไพน์  และเวสสัน  (Colquitt,  Lepine and  Wesson)  ที่ให้ความส�ำคัญกับความ ผูกพันด้านนี้เป็นพิเศษในเรื่องการเสริมสร้าง ปฏิสมั พันธ์ระหว่างผูบ้ ริหารกับผูร้ ว่ มงาน  และ ระหว่างผู้ร่วมงานเอง  ซึ่งจะเป็นดังกุญแจที่ เชื่อมบุคลากรให้มีความผูกพัน  มีความรู้สึก นึกคิดในแนวเดียวกันตามนโยบายที่องค์การ ก�ำหนด ข้อเสนอแนะ ข้อเสนอแนะในการน�ำผลการวิจัยไป ใช้ 1.  โรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่ พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย  ควรน�ำผล การวิจัยไปใช้ในการวางแผนบริหารทรัพยากร บุ ค คล  โดยให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ การส่ ง เสริ ม ความผูกพันด้านจิตใจ  และด้านการคงอยูข่ อง บุคลากรให้มากยิ่งขึ้น  ให้การดูแลเอาใจใส่ พัฒนาบุคลากรในด้านต่างๆ  เป็นรายบุคคลให้ มากขึน้   ให้บคุ ลากรมีสว่ นร่วมในกิจกรรมของ องค์กร  มีเป้าหมายและค่านิยมเดียวกันกับ องค์กร  มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างเพื่อน ร่วมงานและผูบ้ ริหาร  มีสถานทีแ่ ละสิง่ อ�ำนวย ความสะดวกในการปฏิ บั ติ ง าน  มี ก ารดู แ ล


ภคินีกาญจนา เดชาเลิศ และ ประเสริฐ อินทร์รักษ์

ความเป็นอยู ่ การติดตามประเมินและมอบผล ประโยชน์ตอบแทนในรูปแบบต่างๆ  ด้วยความ เป็นธรรม  ทั้งเงินเดือน  สวัสดิการ  รางวัล การเลือ่ นต�ำแหน่ง  และสถานะทางครอบครัว อย่างเหมาะสม 2.  โรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่ พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย  ควรน�ำผล การวิจัยไปใช้ในการวางแผนบริหารทรัพยากร บุคคล  ในด้านบรรทัดฐานให้มากขึ้น  ทั้งเป็น รายบุคคลและรายกลุม่   เช่นในกลุม่ บุคลากรที่ มีประสบการณ์ในการท�ำงานในระยะเวลาที่ แตกต่างกัน  ให้บคุ ลากรปรารถนาทีจ่ ะอยูเ่ ป็น สมาชิกขององค์กรอย่างภาคภูมิใจ  ตระหนัก ถึงคุณค่าในบทบาทหน้าที่ของตนและองค์กร พัฒนาบุคลากรตามศักยภาพอย่างต่อเนือ่ ง  ส่ง เสริมให้มีความก้าวหน้าในชีวิตการท�ำงานและ ชีวิตส่วนตน ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1.  ควรศึกษาวิจยั เกีย่ วกับ  แนวทางส่ง เสริมการมีส่วนร่วมในการท�ำงานของบุคลากร โรงเรี ย นในเครื อ ภคิ นี ค ณะธิ ด าแม่ พ ระองค์ อุปถัมภ์ในประเทศไทย 2.  ควรศึกษาวิจยั เกีย่ วกับ  การพัฒนา คุ ณ ภาพชี วิ ต ของบุ ค ลากร  ที่ มี ผ ลต่ อ ความ ผูกพันต่อองค์การในโรงเรียนในเครือภคินคี ณะ ธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย

3.  ควรศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกลยุทธ์การ บริ ห าร  และการพั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต ของ บุคลากรในโรงเรียนคาทอลิก บรรณานุกรม มานะ  อยู่ทรัพย์.  “การศึกษาระดับความ  ผู ก พั น ต่ อ องค์ ก ารของครู สั ง กั ด  ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูม ิ เขต  1.”  วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา ศาสตร์ ม หาบั ณ ฑิ ต   สาขาวิ ช าการ บริ ห ารการศึ ก ษา  บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ,  2554. มนต์ สิ ง ห์   ไกรสมสุ ข .  “แรงจู ง ใจในการ  ท� ำ งานที่ ส ่ ง ผลต่ อ ความผู ก พั น ต่ อ  องค์การของครูในโรงเรียนคาทอลิก  สั ง กั ด อั ค รสั ง ฆมณฑลกรุ ง เทพฯ” วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริ ญ ญาศึ ก ษาศาสตร์ มหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการ ศึกษา  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัย ศิลปากร,  2552. สุ ค น  มณี รั ต น์ .   “การบริ ห ารทรั พ ยากร  มนุ ษ ย์ กั บ รู ป แบบความผู ก พั น ต่ อ  องค์การของบุคลากรโรงเรียนสาธิตใน  จั ง หวั ด นครปฐม”  วิ ท ยานิ พ นธ์ ปริ ญ ญาศึ ก ษาศาสตร์ ม หาบั ณ ฑิ ต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  บัณฑิต วิ ท ยาลั ย   มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร, 2554.

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

63


แนวทางการส่งเสริมบุคลากรของโรงเรียนในเครือภคินีคณะธิดาแม่พระองค์อุปถัมภ์ในประเทศไทย ให้เกิดความผูกพันต่อองค์การ

Jason  A.  Colquitt,  Jeffery  A.  Lepine, and Michael J. Wesson. (2013).  Organizational  be-  havior  improving  Performance  and  Commitment  in  the  Workplace.  3rd  ed.  New  York :  McGraw-Hill/Irwin. Cronbach,  Lee  J.  (1984).  Essentials  of  psychological  Testing.  4  th  ed.  New  York:  Harper  & Row Publishers. Krejcie,  R.V.,  and  P.W.  Morgan. (1970).  Educational  and  Psychological  Measurement.  New  York:  Harper  &  Row Publishers.

64

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

Likert,  Rensis.  (1967).  The  Human  Organization  :  Its  Manage-  ment  and  Values.  New  York: McGraw  –  Hill. Istituto  Figli  Di  Maria  Ausiliatrice. Linee  orientative  della  mis  sione  educative  delle  FMA:  Perche’  Abbiano  Vita  e  Vita  in  Abbondanza.  Torino:  Ages Arti  Grafiche,  2005.   . Costituzione e Regolamenti. Roma:Scuola  tipografiche private  FMA,  1982.


แนวทางการอภิบาลเรื่องการอยู่ก่อนแต่งของ

คริสตชนคาทอลิกในสังฆมณฑลเชียงใหม่

Pastoral Guideline for Cohabitation of Catholics in Chiang Mai Diocese.

บาทหลวงอาทิตย์ มิ่งขวัญเจริญกิจ * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก  สังกัดสังฆมณฑลเชียงใหม่ * มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม  วิทยาลัยแสงธรรม บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก  สังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต  สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวง วีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก  สังกัดสังฆมณฑลเชียงใหม่

* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต  สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

Rev.Artit Mingkhancharoenkit

* Reverend in Roman Catholic Church, Chiang Mai Diocese * Master  of  Arts  Program  in  Moral  Theology,  Saengtham  College.

Rev.Dr.Surachai Chumsriphan

* Reverend  in  Roman  Catholic  Church,  Bangkok Archdiocese * Lecturer  of  The  Master  of  Arts  Program  in  Moral  Theology,  Saengtham  College.

Rev.Werasak Yongsripanithan

* Reverend in Roman Catholic Church, Chiang Mai Diocese * Lecturer  of  The  Master  of  Arts  Program  in  Moral  Theology,  Saengtham  College.


แนวทางการอภิบาลเรื่องการอยู่ก่อนแต่งของตริสตชนคาทอลิกในสังฆมณฑลเชียงใหม่

บทคัดย่อ

66

การวิจัยเรื่องแนวทางการอภิบาลเรื่องการอยู่ก่อนแต่งของคริสต ชนคาทอลิกในสังฆมณฑลเชียงใหม่  มีวตั ถุประสงค์ของการวิจยั คือ  1) เพื่อศึกษาสภาพจริงเรื่องการอยู่ก่อนแต่งของคริสตชนคาทอลิก  2) เพือ่ หาแนวทางป้องกันและอภิบาลการอยูก่ อ่ นแต่ง  รวมทัง้ การส่งเสริม คริ ส ตชนคาทอลิ ก ให้ ต ระหนั ก ถึ ง คุ ณ ค่ า ของการแต่ ง งานและชี วิ ต ครอบครัว  โดยมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลกลุ่มแรกคือ  คริสตชนที่อยู่ก่อนแต่ง หรือเคยอยู่ก่อนแต่ง  จ�ำนวน  10   คู่  และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สองคือ บาทหลวง  4  ท่าน  และบุคลากรฝ่ายส่งเสริมชีวิตและครอบครัว  2 ท่าน  โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบ  ทบทวน  ความครบ ถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลที่ได้รับ  แล้วน�ำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์และ สังเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1.  สภาพชีวติ จริงของคริสตชนทีอ่ ยูก่ อ่ นแต่งคือ  ความไม่พร้อม ทางด้านจิตใจและสภาพแวดล้อมภายนอก  รวมทั้งปัญหาอื่นๆ  พวก เขามีความปรารถนาที่จะเข้าสู่การแต่งงานที่ถูกต้องตามหลักคาทอลิก เพือ่ ท�ำให้เกิดความถูกต้องและความดีตอ่ ชีวติ   โดยมีหลักการด�ำเนินชีวติ คือ  มีความรักต่อกัน  ปรับตัวเข้าหากัน  สร้างความสัมพันธ์ที่ดี  ช่วย เหลือซึง่ กันและกัน  พูดคุยกันด้วยเหตุผล  แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มคี วาม เด่นชัดในความเป็นคริสตชนมากนัก 2.  แนวทางการป้องกันและอภิบาลคริสตชนทีอ่ ยูก่ อ่ นแต่ง  รวม ทัง้ แนวทางการส่งเสริมคุณค่าการแต่งงานและชีวติ ครอบครัว  แนวทาง ในการป้องกันการอยู่ก่อนแต่งของคริสตชนคาทอลิก  ควรจัดให้มีการ เรียนค�ำสอน  การอบรม  การจัดค่ายคุณธรรมจริยธรรม  ตามช่วงวัย ต่างๆ  อย่างสม�่ำเสมอ  และส่งเสริมกิจกรรมที่มีคุณค่าต่อคริสตชน ผู้อภิบาลต้องมีทัศนะที่ดี  มีความเห็นอกเห็นใจต่อพวกเขา  โดยการใช้ งานอภิบาลต่างๆ  ช่วยให้พวกเขาเข้าสู่แต่งงานที่ถูกต้องตามหลัก คาทอลิกและเข้าใจถึงคุณค่าของการแต่งงานและชีวิตครอบครัว  รวม

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


อาทิตย์ มิ่งขวัญเจริญกิจ, สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ และวีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน

ทัง้ การส่งเสริมให้จดั ท�ำสือ่ และเทคโนโลยี  ซึง่ มีความทันสมัยและเข้าถึง ได้ง่ายและสามารถเผยแพร่ให้แก่คริสตชนคาทอลิก ค�ำส�ำคัญ: Abstract

1)  การอภิบาล 2)  การอยู่ก่อนแต่ง 3)  คริสตชนคาทอลิก 4)  สังฆมณฑลเชียงใหม่

The  purposes  of  this  research  were:  (1)  to  study the real status of cohabitation of Catholics in Chiang Mai.  (2)  to  find  identify  research  suggestion  for  pastoral attention, including the way to encourage them to be aware of the value of marriage and family  life.  Groups  Studied  are:  ten  cohabiting  couples, and four priests and two lay trainers of Family Life  Movement.  The  methodology  consists  of  reviewing the data received from an investigation, checking the details and the validity of data, and then analyzing. Summary  of  their  Results 1.  The  real  life  status  of  the  cohabiting  couples shows that they are not happy with their status either  spiritually  or  personally;  a  hich  many  problems follow. They long for a chance to have their marriage legalized by the Church, believing that this is the right way to live. They wish to continue living with one another, to improve their relation-

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

67


แนวทางการอภิบาลเรื่องการอยู่ก่อนแต่งของตริสตชนคาทอลิกในสังฆมณฑลเชียงใหม่

ship and to be able to discuss problems together. However, the data show that they do not offer much how to improve their Catholic life. 2.  There  is  a  need  to  find  ways  to  offer  some pastoral attention and support the cohabiting couples. This would include an effort to support the value of marriage and family life. The cohabiting couples could be encouraged to study catechism and learn about the value of virtues and morality. This could be done regularly with programmes suitable for different age groups. We should promote worthwhile activities for Catholic. Pastors to have a good attitude towards these couples and try to help appreciate the value of Catholic married life. We should promote understanding of the values of marriage and family life. We should encourage modern media to do this role and we ourselves should use technology  to  promote  our  message.  Any  materials we can produce could be a valuable resource for other Christian groups. Keywords:

68

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

1)  Pastoral 2)  Cohabitation 3)  Catholics 4)  Chiang Mai Diocese


อาทิตย์ มิ่งขวัญเจริญกิจ, สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ และวีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน

ที่มาและความส�ำคัญของปัญหา ในสภาพของสั ง คมปั จ จุ บั น ที่ มี ก าร เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  มีความเจริญทาง ด้านวัตถุและวัฒนธรรมสมัยใหม่  อันส่งผลให้ สภาพครอบครัวมีวิถีชีวิตเปลี่ยนไปจากเดิม ดั ง นั้ น ความเปลี่ ย นแปลงที่ เ กิ ด ขึ้ น จึ ง ท� ำ ให้ บรรดาพ่อแม่มุ่งแต่ท�ำงานหาเงินเพื่อจุนเจือ ครอบครัว  ไม่มีเวลาอบรมลูกหลานในเรื่อง คุณธรรมและจริยธรรม  เมือ่ ครอบครัวต้องการ ความมั่นคั่ง  เยาวชนจ�ำนวนมากต้องย้ายเข้า มาศึกษาในตัวเมืองหรือมาท�ำงานในตัวเมืองที่ มีความเจริญและเศรษฐกิจที่ดี  ท�ำให้มีโอกาส ได้พบกับเพศตรงข้ามมากขึน้   มีอสิ ระในการใช้ ชีวิตมากขึ้น  ไม่อยู่ในการควบคุมของพ่อแม่ ท�ำให้เยาวชนมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะใช้ชีวิตนอก ลู่นอกทาง  ดังนั้นจึงพบว่ามีการอยู่กันก่อน แต่งของเยาวชนในเขตเมืองใหญ่ๆ  มากขึ้น ดังนั้น  ปัญหาการอยู่ก่อนแต่งจึงกลาย เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในสังคม  ซึ่งท�ำให้ เกิดผลกระทบต่อสังคมต่างๆ  ตามมามากมาย เช่น  ปัญหาการท�ำแท้ง  ปัญหาการตั้งครรภ์ โดยไม่พร้อม  เป็นต้น  ซึ่งส่งผลเสียต่อตัวของ เยาวชนเองและต่อครอบครัว  หากมีการศึกษา ถึงแนวทางการอภิบาลเรื่องการอยู่ก่อนแต่ง ของคริสตชนคาทอลิก  ก็จะเกิดแนวทางใน การป้องกันปัญหาและมีแนวทางในการอบรม คริสตชนคาทอลิก  เพือ่ สร้างความรูแ้ ละความ

เข้ า ใจที่ ถู ก ต้ อ งให้ แ ก่ ค ริ ส ตชน  รวมทั้ ง มี แนวทางในการเสริมสร้างให้คริสตชนตระหนัก ถึ ง ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น   ซึ่ ง จะเป็ น การช่ ว ยลด ปัญหาต่างๆ  ที่จะตามมาได้มาก ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาแนวทางการ อภิ บ าลเรื่ อ งการอยู ่ ก ่ อ นแต่ ง ของคริ ส ตชน คาทอลิ ก ในสั ง ฆมณฑลเชี ย งใหม่   เพื่ อ เป็ น ประโยชน์ในการอภิบาลคริสตชนคาทอลิกต่อ ไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.  เพื่ อ ศึ ก ษาสภาพจริ ง เรื่ อ งการอยู ่ ก่อนแต่งของคริสตชนคาทอลิก 2.  เพือ่ หาแนวทางป้องกันและอภิบาล การอยู่ก่อนแต่ง  รวมทั้งการส่งเสริมคริสตชน คาทอลิกให้ตระหนักถึงคุณค่าของการแต่งงาน และชีวิตครอบครัว ขอบเขตของการวิจัย 1  กรอบแนวคิดของการวิจัย 1.1  ค� ำ สอนของพระศาสนจั ก ร คาทอลิกเกี่ยวกับการแต่งงานและครอบครัว 1.2  แนวทางการอภิ บ าลของ พระศาสนจักรเกี่ยวกับครอบครัว 1.3  งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ ก่อนแต่ง

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

69


แนวทางการอภิบาลเรื่องการอยู่ก่อนแต่งของตริสตชนคาทอลิกในสังฆมณฑลเชียงใหม่

2  กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 2.1  กลุม่ ผูใ้ ห้ขอ้ มูล  คือ  คริสตชนที่ อยูก่ อ่ นแต่งหรือเคยอยูก่ อ่ นแต่ง  จ�ำนวน  10 คู่ 2.2  กลุม่ ผูใ้ ห้ขอ้ มูล  คือ  บาทหลวง 4  ท่ า น  และบุ ค ลากรฝ่ า ยส่ ง เสริ ม ชี วิ ต ครอบครัว  2  ท่าน นิยามศัพท์เฉพาะ การอภิบาล  หมายถึง  การดูแลเอาใจ ใส่ต่อชีวิตของบุคคล  ทั้งทางด้านร่างกายและ จิตใจ  เพือ่ ท�ำให้บคุ คลเจริญเติบโตและด�ำเนิน ชีวิตได้อย่างถูกต้อง การอยู่ก่อนแต่ง  หมายถึง  การที่ชาย หญิ ง อยู ่ ร ่ ว มกันฉันสามีภรรยา  โดยที่ยังไม่ ประกอบพิ ธี แ ต่ ง งานอย่ า งถู ก ต้ อ งตามหลั ก ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก คริสตชนคาทอลิก  หมายถึง  บุคคลที่ นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก สังฆมณฑลเชียงใหม่  หมายถึง  เขต การปกครองหนึ่ ง ของพระศาสนจั ก รใน ประเทศไทย  โดยผู้วิจัยศึกษาเฉพาะในเขตวัด พระหฤทัยเชียงใหม่ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.  มีแนวทางในการอภิบาลคริสตชน คาทอลิกที่อยู่ก่อนแต่งงาน

70

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

2.  มีแนวทางในการส่งเสริมให้คริสตชน คาทอลิกตระหนักถึงคุณค่าของการแต่งงาน และชีวิตครอบครัว 3.  เป็นข้อมูลในการพัฒนาและเพิม่ เติม หลักสูตรการอบรมคู่แต่งงานในสังฆมณฑล เชียงใหม่ วิธีด�ำเนินการวิจัย การวิจยั เรือ่ ง  แนวทางการอภิบาลเรือ่ ง การอยู่ก่อนแต่งของคริสตชนในสังฆมณฑล เชียงใหม่น ี้ เป็นการวิจยั เชิงคุณภาพ  (Qualitative  Research)  การมีขั้นตอนการวิจัย และรายละเอียดต่างๆ  ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการวิจัย 1)  การจัดเตรียมโครงร่างการวิจัย  โดยผู้วิจัยท�ำการศึกษา  ที่มาและความส�ำคัญ ของปัญหา  ศึกษา  วิเคราะห์  สังเคราะห์ หลั ก การ  แนวคิ ด   ทฤษฎี ต ่ า งๆ  น� ำ เสนอ อาจารย์ที่ปรึกษา  และเสนอขออนุมัติหัวข้อ การค้นคว้าอิสระและด�ำเนินการต่อไปตาม ขั้นตอนที่ก�ำหนด 2)  การด� ำ เนิ น การวิ จั ย   วิ เ คราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อน�ำไปใช้ เป็นกรอบในการสร้างเครือ่ งมือ  การสร้างและ พัฒนาเครื่องมือ  น�ำเครื่องมือที่พัฒนาแล้วไป เก็บข้อมูล  และการน�ำข้อมูลที่ได้มาทดสอบ


อาทิตย์ มิ่งขวัญเจริญกิจ, สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ และวีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน

ความถูกต้อง  วิเคราะห์ข้อมูล  แปลผลข้อมูล และสรุปผลการศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็น  2  กลุ่ม  คือ คริสตชนที่อยู่กันก่อนแต่งงานหรือเคยอยู่ก่อน แต่งงานจ�ำนวน  10  คู่  และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่  บาทหลวง  4  ท่าน  และบุคลากรฝ่าย ส่งเสริมชีวิตครอบครัว  2  ท่าน เครื่องมือที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  คือ  แบบ สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสร้างเครื่องมือ 1)  ศึกษาวิเคราะห์เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง  2)  น�ำข้อมูลที่สังเคราะห์ได้มา สร้างเป็นประเด็น  3)  สร้างแบบสัมภาษณ์ 4)  น�ำแบบสัมภาษณ์ทสี่ ร้างขึน้ เสนอทีป่ รึกษา และแก้ไขตามค�ำแนะน�ำของทีป่ รึกษา  5)  น�ำ แบบสัมภาษณ์เสนอผู้เชี่ยวชาญ  จ�ำนวน  3 คน  และแก้ไขตามค�ำแนะน�ำของผู้เชี่ยวชาญ การเก็บรวบรวมข้อมูล 1)  ผู ้ วิ จั ย น� ำ หนั ง สื อ   เพื่ อ ขอความ อนุเคราะห์รว่ มมือในการเก็บข้อมูล  2)  ผูว้ จิ ยั นัดหมายวันเวลาที่จะสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้ให้

ข้อมูลล่วงหน้า  3)  ผู้วิจัยท�ำการสัมภาษณ์ กลุม่ ผูใ้ ห้ขอ้ มูล  โดยมีการจดบันทึกหรือบันทึก เสียง การวิเคราะห์ข้อมูล 1)  การวิเคราะห์ขอ้ มูลส่วนตัวของกลุม่ ผูใ้ ห้ขอ้ มูลใช้สถิตริ อ้ ยละ  2)  น�ำข้อมูลทีไ่ ด้รบั จากการสั ม ภาษณ์ โ ดยการวิ เ คราะห์ เ นื้ อ หา น�ำข้อมูลมาสังเคราะห์  และเรียบเรียงอย่าง เป็นระบบ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่  1  ข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับผู้ให้ข้อมูล 1.1  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นคริสตชนที่ อยู่ก่อนแต่ง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นเพศชาย  6  คน คิดเป็นร้อยละ  60  และเป็นเพศหญิง  4  คน คิดเป็นร้อยละ  40  มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 28-34  ปี  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีสถานะอยู่ก่อน แต่ง  9  คน  คิดเป็นร้อยละ  90  และเคยอยู่ ก่อนแต่ง  1  คน  คิดเป็นร้อยละ  10 1.2  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นบาทหลวง และบุคลากรฝ่ายส่งเสริมชีวิตและครอบครัว กลุ ่ ม ผู ้ ใ ห้ ข ้ อ มู ล เป็ น เพศชายทุ ก คนมี ทัง้ หมด  6  คน  คิดเป็นร้อยละ100  ซึง่ มีอายุ อยู่ในช่วงระหว่าง  34-60  ปี

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

71


แนวทางการอภิบาลเรื่องการอยู่ก่อนแต่งของตริสตชนคาทอลิกในสังฆมณฑลเชียงใหม่

ตอนที่  2  ผลการศึกษาสภาพชีวิตจริงของ คริสตชนที่อยู่ก่อนแต่ง 2.1  สาเหตุทที่ ำ� ให้ใช้ชวี ติ คู ่ โดยทีย่ งั ไม่ได้ประกอบพิธีตามหลักคาทอลิก สรุปได้วา่ สาเหตุทที่ ำ� ให้ผใู้ ห้ขอ้ มูลใช้ชวี ติ คู่  โดยยังไม่ประกอบพิธีตามหลักคาทอลิกมี ดังต่อไปนี ้ ประการแรกคือ  สาเหตุทเี่ กิดจาก ปัจจัยภายใน  กล่าวคือ  ความไม่พร้อมทาง จิตใจ  ยังไม่มีความสมัครใจในการที่จะเข้าสู่ การแต่งงานที่ถูกต้อง  ยังอยู่ในช่วงของการ คบหาดูใจกันอยู่  ประการที่สองคือ  สาเหตุที่ เกิดจากปัจจัยภายนอก  กล่าวคือ  ผู้ให้ข้อมูล มีความสมัครใจในการใช้ชีวิตคู่ของตน  และมี ความต้องการทีช่ ดั เจนในการเข้าสูก่ ารแต่งงาน ที่ถูกต้อง  แต่ติดปัญหาจากสภาพแวดล้อม ภายนอก  จึ ง ท� ำ ให้ พ วกเขายั ง ไม่ ส ามารถ ด�ำเนินการแต่งงาน 2.2  หลักการในการด�ำเนินชีวิตคู่ สรุปได้วา่ ผูใ้ ห้ขอ้ มูลส่วนใหญ่มหี ลักการ ในการใช้ ชี วิ ต คู ่ ที่ เ ป็ น ไปในทิ ศ ทางเดี ย วกั น กล่าวคือ  การใช้ชีวิตคู่ต้องมีความรักต่อกัน ปรับตัวเข้าหากัน  สร้างความสัมพันธ์ทดี่ ตี อ่ กัน ให้ความช่วยเหลือซึง่ กันและกัน  ช่วยกันท�ำมา หากิน  ช่วยกันเลีย้ งดูบตุ รอย่างดี  เมือ่ พบเจอ อุปสรรคปัญหา  ก็อาศัยการปรึกษาช่วยเหลือ กัน  การพูดคุยกันด้วยเหตุผล  หรือการขอ ความช่วยเหลือจากญาติผู้ใหญ่

72

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

2.3  การแต่งงานอย่างถูกต้องตาม หลักคาทอลิก สรุปได้ว่า  ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีความ ปรารถนาท�ำให้เกิดความถูกต้องและความดี ต่ อ ชี วิ ต การแต่ ง งานของตน  ในด้ า นต่ า งๆ ดังต่อไปนี้  ประการแรกคือ  ด้านหลักของ ศาสนาเพื่ อ ท� ำ ให้ ถู ก ต้ อ งตามหลั ก คาทอลิ ก สามารถที่จะกลับมารับศีลมหาสนิทและศีล ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ  ได้  ประการที่สองคือ  ด้าน ของสังคมเพื่อท�ำให้การแต่งงานของตนได้รับ การยอมรับจากสังคม  ท�ำให้สามารถเข้าร่วม กิจกรรมกับสังคมได้  ประการสุดท้ายคือ  ด้าน จิตใจ  เพื่อท�ำให้เกิดความสุขและความสงบ ทางจิตใจ  ซึง่ ท�ำให้ครอบครัวเกิดความสันติสขุ ตอนที ่ 3  ผลการศึกษาแนวทางการป้องกัน และอภิบาลคริสตชนที่อยู่ก่อนแต่ง  รวมทั้ง แนวทางการส่งเสริมคุณค่าการแต่งงานและ ชีวิตครอบครัว 3.1  แนวทางในการป้องกันการอยู่ ก่อนแต่งของคริสตชนคาทอลิก จั ด ให้ มี ก ารเรี ย นค� ำ สอนตามหลั ก คาทอลิกอย่างเป็นประจ�ำและสม�่ำเสมอ  ตาม ช่ ว งวั ย ต่ า งๆ  ของคริ ส ตชน  ทั้ ง ในวั ย เด็ ก วัยเยาวชน  และวัยผู้ใหญ่  เพื่อท�ำให้พวกเขา มีแนวทางในการด�ำเนินชีวิต  เข้าใจความเป็น คริสตชนและรู้จักค�ำสอนคาทอลิกเป็นอย่างดี


อาทิตย์ มิ่งขวัญเจริญกิจ, สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ และวีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน

จัดกิจกรรม  การอบรมหรือค่ายต่างๆ เพือ่ ปลูกฝังและเสริมสร้างความเชือ่   คุณธรรม และจริยธรรมตามหลักคาทอลิก  โดยการเน้น คุณค่าของความเป็นมนุษย์  ความเคารพซึง่ กัน และกัน  ความรักซึ่งกันและกัน  และความ ซื่อสัตย์ต่อกัน จัดให้คริสตชนได้เข้าร่วมกิจกรรม  การ สั ม มนา  หรื อ การอบรมอย่ า งต่ อ เนื่ อ งจาก หน่ ว ยงานของพระศาสนจั ก ร  โดยเฉพาะ หน่ ว ยงานส่ ง เสริ ม ชี วิ ต ครอบครั ว ของ สังฆมณฑลที่เน้นการอบรมด้านการแต่งงาน และชีวิตครอบครัว จัดให้ผอู้ ภิบาลและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง ใช้งานอภิบาลในด้านต่างๆ  เช่น  การสอน ค� ำ สอน  การอบรม  พิ ธี บู ช าขอบพระคุ ณ การเทศน์สอน  เป็นต้น  มีการสอดแทรกมี คุณธรรมและจริยธรรม  เพื่อเสริมสร้างให้ค ริ ส ตชนมี ค วามประพฤติ อั น ดี ง าม  ในการ ด�ำเนินชีวิตตามหลักคาทอลิก 3.2  แนวทางอภิ บ าลคริ ส ตชน คาทอลิกที่อยู่ก่อนแต่ง ผู้อภิบาลหรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องใน การอภิบาลจะต้องมีทัศนะที่ถูกต้องต่อคริสต ชนที่อยู่ก่อนแต่ง  ต้องมีความเห็นอกเห็นใจ รับฟังพวกเขาด้วยความเข้าใจ ผู้อภิบาลจ�ำเป็นต้องร่วมมือกับกลุ่มค ริสตชนต่างๆ  ในการอภิบาล  เช่น  กลุ่มพล

มารี  กลุม่ คริสตชนทีม่ คี วามเชือ่ ดี  เพือ่ ทีจ่ ะได้ ติดตาม  พูดคุย  ให้กำ� ลังใจ  และชักชวนพวก เขาให้มาติดต่อกับพระสงฆ์ ผูอ้ ภิบาลควรอุทศิ เวลาในการพบปะกับ บุคคลเป้าหมาย  เพื่อพูดคุย  สอบถาม  รับรู้ ถึงปัญหาต่างๆ  และอบรมคู่แต่งงาน  เพื่อ เตรียมให้พวกเขาเข้าการแต่งงานทีถ่ กู ต้องตาม หลั ก คาทอลิ ก และเข้ า ใจถึ ง คุ ณ ค่ า ของการ แต่งงานและชีวิตครอบครัว ผู้อภิบาลควรจัดเตรียมและประกอบ จารี ต พิ ธี ส มรสอย่ า งสมเกี ย รติ แ ก่ บุ ค คล เป้ า หมายพิ ธี ง านแต่ ง งานควรเกิ ด ขึ้ น อย่ า ง เหมาะสมและเตรียมอย่างดี  เพือ่ ให้คแู่ ต่งงาน ได้รับการยอมรับจากสังคม  มีเกียรติในการ แต่งงานมีความภูมิใจในการแต่งงาน ผู ้ อ ภิ บ าลควรติ ด ตามกลุ ่ ม บุ ค คล เป้ า หมายอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง  แม้ จ ะผ่ า นการ แต่งงานตามหลักคาทอลิกแล้ว  พระสงฆ์ยงั คง ต้องดูแลและให้การอบรมคู่แต่งงานอย่างต่อ เนื่อง  หรือส่งเสริมให้พวกเขาได้รับการอบรม จากหน่วยงานส่งเสริมชีวติ และครอบครับอย่าง สม�่ำเสมอ 3.3  แนวทางส่ ง เสริ ม ให้ ค ริ ส ตชน คาทอลิกตระหนักถึงคุณค่าของการแต่งงาน และชีวิตครอบครับ ส่งเสริมให้มกี ารสร้างครอบครัวคริสตชน ทีด่  ี เพือ่ พ่อแม่จะได้อบรมสมาชิกในครอบครัว

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

73


แนวทางการอภิบาลเรื่องการอยู่ก่อนแต่งของตริสตชนคาทอลิกในสังฆมณฑลเชียงใหม่

ให้ตระหนักถึงคุณค่าของการแต่งงานและชีวิต ครอบครัว  และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อ ส่งเสริมให้มกี ารสอนค�ำสอน  การอบรบ การจัดค่ายคุณธรรมจริยธรรมอย่างสม�่ำเสมอ โดยเน้นความเป็นคาทอลิก  การปลูกฝังคุณค่า ของศักดิศ์ รีของความเป็นมนุษย์  ความเคารพ ต่อตัวเองและผู้อื่น ส่ ง เสริ ม ให้ เ ด็ ก และเยาวชนเข้ า สู ่ กระบวนการอบรมตามโครงการของหน่วยงาน ส่งเสริมชีวิตและครอบครัว  (สชค.)  เพื่อให้ พวกเขาได้เรียนรู้  มีประสบการณ์  มีความ สัมพันธ์ทดี่ ตี อ่ ผูอ้ นื่   ซึง่ จะเป็นท�ำให้พวกเขาได้ เห็ น ความส� ำ คั ญ ของการแต่ ง งานและชี วิ ต ครอบครัว ส่งเสริมให้มีการอบรมคู่แต่งงานอย่าง เพียงพอและเหมาะสม  เพื่อให้คริสตชนที่จะ เข้าสู่การแต่งงานและชีวิตครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจ  และรับทราบถึงบทบาทหน้าที่ ของตนเอง ส่ ง เสริ ม ให้ จั ด ท� ำ สื่ อ และเทคโนโลยี อาทิ เช่ น   หนั ง สื อ   ภาพยนตร์   ซี ดี   สื่ อ ออนไลน์ที่ส่งเสริมคุณค่าการแต่งงานและชีวิต ครอบครัว  ซึ่งมีความทันสมัยและเข้าถึงได้ สรุป 1.  สภาพชีวิตจริงของคริสตชนที่อยู่ ก่อนแต่ง

74

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

สภาพปัญหาของคริสตชนคาทอลิกที่ เกิดขึ้น  ท�ำให้พบว่าคริสตชนเหล่านี้  ยังไม่มี ความเชื่อที่มั่นคงทางศาสนา  ยังไม่มีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการแต่งงาน ที่ถูกต้องตามหลักศาสนา  รวมทั้งยังไม่เห็น ความส�ำคัญถึงคุณค่าของการแต่งงานและชีวติ ครอบครั ว มากนั ก   ซึ่ ง เป็ น ผลมาจากความ ขาดแคลนทางฐานะ  การศึกษา  การอบรม และการปลูกฝังทางศาสนา  ซึ่งมีส่วนส่งผลให้ พวกเขาตัดสินเข้าสู่การอยู่ก่อนแต่ง  เพราะ ฉะนั้นจึงเป็นหน้าที่ของศาสนบริกรของพระ ศาสนจักรที่จะต้องศึกษา  เรียนรู้  และเข้าใจ สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น  เพื่อหาแนวทางในการ ช่วยเหลือและป้องกันคริสตชนคาทอลิก  ปลูก ฝังคุณค่าของการแต่งงานและชีวิตครอบครัว และเสริมสร้างให้คริสตชนมีความเชือ่ และความ ประพฤติอันดีงาม 2.  แนวทางการป้องกันและอภิบาล  คริสตชนที่อยู่ก่อนแต่ง  รวมทั้งการส่งเสริม คุณค่าการแต่งงานและชีวิตครอบครัว แนวทางการป้องกันการอยู่ก่อนแต่ง เป็นกระบวนการระยะยาวในการให้การศึกษา แก่คริสตชนคาทอลิก  เป็นแนวทางที่เน้นการ ให้ความรู ้ การอบรบ  การปลูกฝังหลักศาสนา โดยเน้นการสอนค�ำสอน  การอบรมเกี่ยวกับ คุ ณ ค่ า ของหลั ก ศาสนา  และหลั ก ศี ล ธรรม จริยธรรม  เพือ่ เสริมสร้างความเชือ่ ทีม่ นั่ คงและ


อาทิตย์ มิ่งขวัญเจริญกิจ, สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ และวีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน

เข้มแข็งแก่คริสตชนคาทอลิก  ท�ำให้คริสตชน มีความประพฤติอันดีงาม แนวทางการอภิบาลคริสตชนที่อยู่ก่อน แต่ง  เป็นแนวทางระยะสั้น  เป็นการแก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้า  อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ไม่ ได้เป็นเพียงการช่วยเหลือเพียงภายนอกเท่านัน้ แต่เป็นการเน้นความสัมพันธ์ที่ผู้อภิบาลเสริม สร้างต่อพวกเขา  ในฐานะที่คริสตชนทุกคน ต่างเป็นพี่น้องกันในความเชื่อ  ผู้อภิบาลต้อง ท�ำให้พวกเขามีก�ำลังใจ  มีความกล้าหาญใน ชีวิตที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง  รู้จักคุณค่าของ ชีวิตในด้านต่างๆ  เพื่อท�ำให้ชีวิตของตนและ ครอบครัวสมบูรณ์ แนวทางในการส่งเสริมให้คริสตชนตะ หนักถึงคุณค่าของการแต่งงาน  เป็นแนวทางที่ ท�ำให้คริสตชนเห็นความส�ำคัญของการแต่งงาน และครอบครัว  โดยสามารถส่งเสริมคุณค่า เหล่ า นี้ ผ ่ า นกระบวนการต่ า งๆ  เช่ น   การ อบรม  กิจกรรม  การสัมมนา  หรือโครงการ ต่างๆ  ซึง่ การส่งเสริมเหล่านีจ้ ะท�ำให้คริสตชน คาทอลิก  ได้ซึมซับและเรียนรู้ถึงคุณค่าของ การแต่งงานและชีวิตครอบครัว ข้อเสนอแนะ 1.  ผลการศึกษาแนวทางการอภิบาล เรื่องการอยู่ก่อนแต่งของคริสตชนคาทอลิกใน สังฆมณฑลเชียงใหม่  ซึ่งกลุ่มเป้าหมายอยู่ใน

เขตอ�ำเภอเมืองเชียงใหม่  จึงมีเหมาะสมที่จะ เป็นแนวทางกับผูอ้ ภิบาลทีท่ ำ� งานในเขตอ�ำเภอ เมืองเชียงใหม่  โดยสามารถน�ำผลการศึกษาไป ใช้ เ พื่ อ ป้ อ งกั น  อภิ บาล  และส่ ง เสริ ม กลุ ่ ม คริ ส ตชนที่ อ ยู ่ ใ นความรั บ ผิ ด ชอบของตน อย่ า งไรก็ ดี ผ ลการศึ ก ษานี้ ก็ ยั ง สามารถเป็ น แนวทางไปประยุ ก ต์ ใช้ ใ นเขตอื่ น ที่ อ ยู ่ ใ น สังฆมณฑลเชียงใหม่ได้ 2.  ผลการศึ ก ษาแบ่ ง ออกเป็ น   3 แนวทางคือ  การป้องกัน  การอภิบาล  และ การส่งเสริม  คริสตชน  ดังนัน้ ผูอ้ ภิบาลควรน�ำ ทั้งสามแนวทางนี้ไปใช้ในงานอภิบาลส�ำหรับ คริสตชน  โดยไม่ปล่อยปละเลยแนวทางใด แนวทางหนึง่   เพือ่ ท�ำให้เกิดความต่อเนือ่ งและ การเสริมสร้างกันและกัน  อันจะเกิดประโยชน์ อย่างสูงสุดต่อชีวิตของคริสตชนคาทอลิก 3.  งานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาปัญหาการอยู่ ก่ อ นแต่ ง ของคริ ส ตชนคาทอลิ ก   ดั ง นั้ น แนวทางและผลสรุปที่ได้จากการศึกษา  จึง เหมาะสมกับการน�ำไปเพือ่ เป็นแนวทางกับกลุม่ คริสตชนคาทอลิกเท่านั้น 4.  ผลของการวิ จั ย นี้ ส ามารถเป็ น แนวทางส�ำหรับสังฆมณฑลอื่นๆ  ในการน�ำไป ประยุกต์หรือต่อยอด  เพื่อใช้ในงานอภิบาล และส่งเสริมชีวิตครอบครัวได้

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

75


แนวทางการอภิบาลเรื่องการอยู่ก่อนแต่งของตริสตชนคาทอลิกในสังฆมณฑลเชียงใหม่

ข้อเสนอแนะส�ำหรับการวิจัยครั้งต่อไป 1.  ควรศึกษาแนวทางการสร้างความ ร่วมมือคริสตชนกับผูอ้ ภิบาลในการส่งเสริมชีวติ การแต่งงานและชีวิตครอบครัว 2.  ควรศึกษาแนวทางการประยุกต์การ แต่งงานคาทอลิกกับวัฒนธรรม  ประเพณีของ ชนเผ่าต่างๆ  ในสังฆมณฑลเชียงใหม่ 3.  ควรศึ ก ษาแนวทางการอภิ บ าล คริ ส ตชนที่ อ ยู ่ ก ่ อ นแต่ ง ในสั ง ฆมณฑลต่ า งๆ เพือ่ เป็นแบบแผนส�ำหรับการอภิบาลครอบครัว ในสังฆมณฑลนั้นๆ บรรณานุกรม โกศล  วงส์สวรรค์  และสถิต  วงศ์สวรรค์. ปัญหาสังคมไทย.  กรุงเทพฯ:  บริษัท รวมสาส์นจ�ำกัด,  2546. คณะภคิ นี พ ระหฤทั ย ของพระเยซู เจ้ า แห่ ง กรุงเทพฯ.  ผู้แปล.  ครอบครัวเอเชีย  มุ่งสู่วัฒนธรรมแห่งชีวิต.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพิมพ์อัญสัมชัญ,  2549. เฉลียว  บุญยงค์.  การศึกษาชีวิตครอบครัว. ครั้งที่  7.  กรุงเทพฯ:  มหาวิทยาลัย รามค�ำแหง,  2546. ปฐม  ทรัพย์เจริญ.  ปัญหาสังคม.  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยค�ำแหง,  2546.

76

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ฝ่ายงานอภิบาลและธรรมทูตอัครสังฆมณฑล ก รุ ง เ ท พ ค� ำ ส อ น .   ค� ำ ส อ น พ ร ะ  ศาสนจั ก รคาทอลิ ก .  กรุ ง เทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ,  2542. ฟรังซิส.  ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร. กรุงเทพฯ:  โรงพิมพ์อสั สัมชัญ,  2014. ฟรังซิส.  แสงสว่างแห่งความเชือ่ .  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อัสสัมชัญ,  2013. มนู ญ   เกื้ อ กู ล .  การวิ เ คราะห์ ป ั ญ หา  พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นไทยใน  ปั จ จุ บั น .  สารนิ พ นธ์   สาขาวิ ช า ปรัชญาและศาสนา  คณะมนุษย์ศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม,  2548. ยอห์น  ปอลที ่ 2.  สารถึงบรรดาครอบครัว. กรุ ง เทพฯ:  สุ ข ส� ำ ราญการพิ ม พ์ , 2538. วิสตู ร  ปัญญาวชิราสูตร.  ผูแ้ ปล.  กฎบัตรว่า  ด้วยสิทธิครอบครัว.  กรุงเทพฯ:  คณะ กรรมการยุ ติ ธ รรมและสั น ติ แ ห่ ง ประเทศไทย,  2546. วัลลภ  จ�ำหน่ายผล.  ได้เสียกันก่อนแต่งงาน  ผิดไหม.  1979. สุเทพ  วนพงศ์ทพพากร.  สัญญาที่เป็นยิ่ง  กว่าสัญญา.  กรุงเทพฯ:  ปิติพานิช, 2553. โสพิ น   หมู แ ก้ ว .  การอยู ่ ร ่ ว มกั น โดยไม่


อาทิตย์ มิ่งขวัญเจริญกิจ, สุรชัย ชุ่มศรีพันธ์ุ และวีรศักดิ์ ยงศรีปณิธาน

แต่งงานของนักศึกษา.  วิทยานิพนธ์ ป ริ ญ ญ า ม ห า บั ณ ฑิ ต   ส า ข า วิ ช า สั ง ค ม วิ ท ย า แ ล ะ ม นุ ษ ย วิ ท ย า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,  2545 Buckley,  Timothy  J.  What  Binds  Marriage.  London:  Biddles, Guildford  and  King’s  Lynn, 1997. Dominian, Jack. Marriage,  Faith  and  Love.  London:  The  Anchor press,  1981. Evdokomov, Paul. The  Sacrament  of  Love.  New  York:  St  Vlad imimir’s  Seminary  Press,  1995. Lawler  Michael  G.,  and  William  P. Robert.  Christian  Marriage  and  Family. Minnesota: The Liturgical  Press,  1993. Thatcher,  Andrian.  Marrige  after  Modernity.  New  York:  New York  University  Press,  1999.

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

77


เส้นทางอาชีพของผูบ้ ริหารสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน Career Path of Basic Education School Administrators.

เขมพัต แสงทอง

* ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนวัดแหลมทอง

ผศ.ว่าที่พันตรี ดร.นพดล เจนอักษร

* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ�ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Khemaphat Sangtong

* Director of Watleamtong School.

Asst.Prof.Maj.Nopadol Chenaksara, RTAR.

* Assistant Professor, Lecturer of Education Administration, Faculty of Education, Silapakorn University.


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ  1)  องค์ประกอบเส้น ทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  2)  เส้นทางอาชีพของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  วิธีการด�ำเนินการวิจัย  ประกอบด้วย 3  ขัน้ ตอน  คือ  1)  การศึกษาตัวแปรเส้นทางอาชีพของผูบ้ ริหารสถาน ศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  2)  การวิเคราะห์องค์ประกอบและเส้นทางอาชีพของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  และ  3)  การสรุปผลการวิจัย  การ วิเคราะห์องค์ประกอบ  ใช้วธิ วี จิ ยั เชิงปริมาณ  เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการเก็บ ข้อมูลได้แก่  แบบสอบถาม  กลุม่ ตัวอย่าง  คือ  สถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน จ�ำนวน  379  โรง  ผู้ให้ข้อมูลได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา  จ�ำนวน 379  คน  สถิตทิ ใี่ ช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลได้แก่  ค่าความถี ่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์องค์ ประกอบเชิงส�ำรวจ  การวิเคราะห์เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถาน ศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  ใช้เทคนิคการวิจยั แบบ  EDFR  เครือ่ งมือทีใ่ ช้ในการ เก็บข้อมูล  ได้แก่  แบบสัมภาษณ์แบบกึง่ โครงสร้าง  และแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลได้แก่  ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ  จ�ำนวน  21  คน  สถิติที่ ใช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล  ได้แก่  ค่ามัธยฐาน  ค่าฐานนิยม  และค่าพิสยั ระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1.  องค์ประกอบเส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้น ฐานมี  11  องค์ประกอบ  คือ  1)  คุณลักษณะของผู้บริหาร  2) การสร้างแรงจูงใจและบ�ำรุงรักษาบุคลากร  3)  การก�ำหนดต�ำแหน่ง 4)  สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร  5)  การวางแผนอาชีพ  6)  การ วางแผนอัตราก�ำลังขององค์กร  7)  คุณสมบัติในการด�ำรงต�ำแหน่ง 8)  ประสบการณ์ในอดีต  9)  ความต้องการส่วนบุคคล  10)  การ วิเคราะห์งาน  และ  11)  คุณภาพของบุคลากรและสถานศึกษา 2.  เส้นทางอาชีพของผูบ้ ริหารสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  ตามความ คิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ  มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

79


เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

แบ่งออกได้เป็น  4  เส้นทาง  คือ  1)  เส้นทางอาชีพของผูบ้ ริหารสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่มีต�ำแหน่งก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครูและบุ ค ลากรทางการศึ ก ษา  2)  เส้ นทางอาชี พ ของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่ไม่มีต�ำแหน่งก�ำหนดไว้ในพระราช บัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  3)  เส้นทาง อาชีพของผูบ้ ริหารสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  ในฐานะทีเ่ ป็นข้าราชการครู และ4)  เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในฐานะที่ ไม่ได้เป็นข้าราชการครู ค�ำส�ำคัญ: Abstract

80

1)  เส้นทางอาชีพ 2)  ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

The purposes of this research were to determine:  1)  the  components  of  the  career  path  of  basic educational  school  administrators  2)  career path of basic educational school administrators. The research  procedures  consisted  of  3  steps  as  follows  : 1)  study  of  the  variable  concerning  the  career path of basic educational school administrators 2)  analysis  the  components  and  career  path  of  basic educational  school  administrators  and  3)  summary  of the  research  findings.  The  components  analysis  used quantitative  research  methodology.  The  instruments for  collecting  the  data  were  questionnaires.  The  samples  were  379  basic  educational  schools.  The  respondents  were  administrators  with  the  total  of  379 respondents. The statistics for analyzing the data were

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

frequency,  percentage,  arithmetic  mean,  standard deviation  and  exploratory  factor  analysis.  The  career path of basic educational school administrators analysis  by  EDFR  research  techniques.  The  instruments for collecting the data were semi - structural interview  and  questionnaires,  the  respondents  were  21  experts. The statistics for analyzing the data were median  mode  and  interquartile  range. The  research  findings  revealed  that  : 1.  The  career  path  of  basic  educational school  administrators  were  11  components  namely: 1)  characteristics  of  administrators  2)  creating  incentives and  maintenance  personnel  3)  placement  4)  external  environment  5)  career  planning  6)  planning  manpower  of  the  organization  7)  properties  of  position  8)  historical  experience  9)  individual  needs  10) job  analysis  and  11)  quality  of  personnel  and  school. 2.  The  career  path  of  basic  educational  school administrators  based  on  the  expert  opinions  have consensus  that  can  be  divided  into  4  routes:  1)  the career path of basic educational school administrators  were  location  defined  in  the  government  teacher  and  education  personnel  act  2)  the  career path of basic educational school administrators were  not  location  defined  in  the  government  teacher and  education  personnel  act  3)  the  career path of basic educational school administra-

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

81


เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

tors  as  a  government  teacher  and  4)  the  career path of basic educational school administrators as not a government teacher. Keywords:

1)  Career  path 2)  Basic  Educational  School  Admin istrators

ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นอาชีพหนึ่งที่มี คุณค่าต่อการศึกษา  โดยจะเห็นได้จากการ ประกาศใช้ พ ระราชบั ญ ญั ติ ส ภาครู   และ บุ ค ลากรทางการศึ ก ษา  พ.ศ.2546  เนื่ อ ง จากรั ฐ บาลเล็ ง เห็ น ถึ ง ความส� ำ คั ญ ของครู ผู้บริหารสถานศึกษา  และบุคลากรทางการ ศึกษาที่มีบทบาทส�ำคัญต่อการจัดการศึกษา ของชาติ   ซึ่ ง จะต้ อ งเป็ น ผู ้ มี ค วามรู ้   ความ สามารถ  และทักษะอย่างสูงในการประกอบ อาชี พ   รวมทั้ ง มี คุ ณ ภาพ  และมาตรฐาน เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชัน้ สูง  จึงก�ำหนด ให้มีคุรุสภาขึ้นเพื่อท�ำหน้าที่ในการดูแลการ ประกอบวิชาชีพควบคุมทางการศึกษา  ตั้งแต่ การก�ำหนดมาตรฐานวิชาชีพออก  และเพิก ถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพก�ำกับดูแลการ ปฏิ บั ติ ต ามมาตรฐาน  และจรรยาบรรณ วิชาชีพ  และการพัฒนาวิชาชีพ

82

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ปั จ จุ บั น พบว่ า   มี ก ารซื้ อ ขายใบ ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูและวิชาชีพผู้ บริหารสถานศึกษา  เพื่อใช้เป็นใบผ่านทางไป สู่การประกอบวิชาชีพครู  และผู้บริหารสถาน ศึกษา  อีกทั้งในกระบวนการของการบรรจุ และคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาเป็นข้าราชการ ครู  และผู้บริหารสถานศึกษา  โดยเฉพาะใน ต� ำ แหน่ ง ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาเท่ า ที่ ผ ่ า นมา กระบวนการคัดเลือกผู้บริหารนั้น  พิจารณาที่ การสอบข้อเขียน  การสอบสัมภาษณ์  และ อาศั ย เส้ น สายมากกว่ า การดู ที่ อุ ป นิ สั ย คุณภาพและผลงาน  จึงท�ำให้ได้ผบู้ ริหารสถาน ศึกษาทีไ่ ม่มคี ณ ุ ภาพเท่าทีค่ วรสะท้อนให้เห็นถึง ข้อบกพร่องด้านการเข้าสู่ต�ำแหน่งในสายงาน วิชาชีพ  และขาดความพร้อมในการเตรียมตัว เพื่อให้ตนเองมีคุณสมบัติตรงตามต�ำแหน่งใน สายงานวิชาชีพทีต่ นเองต้องการด�ำรงต�ำแหน่ง


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

ดังนั้น  ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยว กับ  เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน  เพื่อทราบถึงเส้นทางในการก้าว เข้าสู่ต�ำแหน่งของผู้บริหารสถานศึกษา  และ เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในการ ก้าวไปสู่ต�ำแหน่งที่สูงขึ้นไปในสายงานอาชีพ ของตนเอง  อันเป็นการวางแผน  และเตรียม ตั ว ให้ พ ร้ อ มส� ำ หรั บ เป้ า หมายสู ง สุ ด ในการ ประกอบอาชีพของตนเองต่อไปในอนาคต   วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.  เพื่ อ ทราบองค์ ป ระกอบเส้ น ทาง อาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

แผนภูมิที่ 1 แสดงกรอบแนวคิดของการวิจัย

2.  เพื่ อ ทราบเส้ น ทางอาชี พ ของผู ้ บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรอบแนวคิดของการวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัยเรื่อง  เส้นทาง อาชี พ ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ประกอบด้วย  แนวคิดและทฤษฎีการก�ำหนด เส้นทางอาชีพ  กฎ  ระเบียบ  กฎหมาย  ใน การบรรจุและแต่งตัง้   ผนวกกับข้อมูลจากการ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ  และงาน วิจัยที่เกี่ยวข้อง  รายละเอียดดังแผนภูมิต่อไป นี้

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

83


เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

นิยามศัพท์เฉพาะ เส้นทางอาชีพ  หมายถึง  เส้นทางที่ แสดงถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของ บุคลากรแต่ละต�ำแหน่งภายในองค์กร  โดยจะ แสดงถึ ง การเจริ ญ เติ บ โตในสายอาชี พ ของ บุคลากรเมื่อเข้ามาปฏิบัติงานในองค์กร  จาก ต�ำแหน่งในระดับล่างสุดไปจนถึงต�ำแหน่งสูงสุด ท�ำให้บุคลากรได้รบั รูถ้ ึงความเจริญก้าวหน้าใน อาชี พ ของตน  อั น เป็ น การจู ง ใจและสร้ า ง เป้ า หมายความก้ า วหน้ า ด้ า นอาชี พ ให้ กั บ บุคลากร ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน หมายถึ ง   ผู ้ อ� ำ นวยการสถานศึ ก ษาที่ ด� ำ รง ต� ำ แหน่ ง ในโรงเรี ย นสั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะ กรรมการการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  ส�ำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เส้ น ทางอาชี พ ของผู ้ บ ริ ห ารสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน  หมายถึง  เส้นทางความ ก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน  ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษา  โดยจะแสดงถึงการเจริญเติบโตในสาย อาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาและโอกาสการ ก้าวเข้าไปสูต่ ำ� แหน่งต่างๆ  ทีส่ งู ขึน้ ในสายงาน อาชีพของตนเอง  ท�ำให้ผู้บริหารสถานศึกษา ได้รบั ทราบถึงความเจริญก้าวหน้าในอาชีพของ ตนเอง  อันเป็นการสร้างแรงจูงใจ  และสร้าง เป้ า หมายความก้ า วหน้ า ด้ า นอาชี พ ให้ กั บ ผู้บริหารสถานศึกษา 84

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

การด�ำเนินการวิจัย 1.  ศึกษา  ค้นคว้า  ตัวแปรเกี่ยวกับ เส้ น ทางอาชี พ ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้นฐาน 2.  การวิเคราะห์องค์ประกอบเส้นทาง อาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3.  การวิ เ คราะห์ เ ส้ น ทางอาชี พ ของ ผูบ้ ริหารสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  โดยใช้เทคนิค การวิจัยแบบ  EDFR  (ethnographic  delphi  futures  research) แผนแบบการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เทคนิคการวิจัยอนาคต  EDFR  และ วิจยั เชิงปริมาณ  (descriptive  &  quantitative  research)  ที่มีการศึกษากลุ่มตัวแปร เดี ย ว  โดยศึ ก ษาจากทฤษฎี แ ละงานวิ จั ย ที่ เกีย่ วข้อง  การสัมภาษณ์  และสอบถามระดับ ความคิดเห็น  แบบสองกลุ่มตัวอย่างที่เปรียบ เทียบสภาวการณ์โดยไม่มีการทดลอง  (the two  groups,  non-experimental  comparison  design) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร  คือ  สถานศึกษาในความรับ ผิ ด ชอบของส� ำ นั ก งานเขตพื้ น ที่ ก ารศึ ก ษา ประถมศึกษา  สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน  จ�ำนวน  28,660  โรง


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

กลุม่ ตัวอย่าง  คือ  สถานศึกษาในความ รับผิดชอบของ  ส�ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา  สังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการ การศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน  จ� ำ นวน  379  โรง โดยก�ำหนดขนาดของกลุม่ ตัวอย่าง  จากตาราง ประมาณการกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์ แกน  (Krejcie  and  Morgan.  1970:608) และใช้เทคนิคการเลือกกลุม่ ตัวอย่างตามโอกาส ทางสถิติ  (probability  sampling)  แบบ หลายขั้นตอน  (multi-stage  sampling) ผู้ให้ข้อมูล  เป็นผู้บริหารสถานศึกษา แห่งละ  1  คน  รวมผู้ให้ข้อมูล  379  คน ตัวแปรที่ศึกษา 1.  ตัวแปรพืน้ ฐาน  คือ  ตัวแปรทีเ่ กีย่ ว กับสถานภาพส่วนตัวของผู้ให้ข้อมูล 2.  ตั ว แปรที่ ศึ ก ษา  คื อ   ตั ว แปรที่ เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบเส้นทางอาชีพของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จากการสรุป ผลการวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในแต่ละขั้นตอน ขัน้ ที ่ 1  การศึกษาค้นคว้าตัวแปรเกีย่ ว กับ  เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้ น พื้ น ฐาน  ใช้ แ บบสั ม ภาษณ์ แ บบไม่ มี โครงสร้าง  (unstructured  interview)

ขั้นที่  2  การวิเคราะห์องค์ประกอบ เส้ น ทางอาชี พ ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้นฐาน  ใช้แบบสอบถาม  (questionnaire) สอบถามความคิดเห็นของผูบ้ ริหารสถานศึกษา ขั้นที่  3  การวิเคราะห์เส้นทางอาชีพ ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน  ด้ ว ย เทคนิคการวิจัยแบบ  EDFR  (ethnographic  delphi  futures  research)  ใช้เครื่อง มือส�ำหรับรวบรวมข้อมูล  คือ 3.1  เทคนิค  EDFR รอบที ่ 1  สัมภาษณ์ผเู้ ชีย่ วชาญ/ผูท้ รง คุ ณ วุ ฒิ   จ� ำ นวน  21  คน  โดยใช้ แ บบ สัมภาษณ์แบบกึง่ โครงสร้าง  (semi  -  structured  interview)  ไม่ถามชี้น�ำ  เปิดกว้าง (non-directive,  open  ended) 3.2  เทคนิค  EDFR รอบที่  2  สอบถามความคิดเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมกับในรอบที่ 1  โดยใช้ แ บบสอบถามปลายปิ ด   ชนิ ด มาตราส่ ว นประมาณค่ า   5  ระดั บ   ของ ลิเคิร์ท  (Likert’s  rating  scale) 3.3  เทคนิค  EDFR รอบที่   3  ยื น ยั น ความคิ ด เห็ น ของ ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ  ใช้แบบสอบถาม ความคิ ด เห็ น   ซึ่ ง เป็ น ข้ อ ความเดิ ม กั บ แบบสอบถามความคิดเห็นในรอบที่  2  โดย เพิ่มต�ำแหน่งของค่ามัธยฐาน  ค่าพิสัยระหว่าง

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

85


เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ควอไทล์  และต�ำแหน่งของผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรง คุ ณ วุ ฒิ   เพื่ อ ให้ ผู ้ เชี่ ย วชาญ/ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ แต่ละคนพิจารณาค�ำตอบใหม่แล้วตอบกลับมา อีกครั้งหนึ่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าความถี่  (frequency)  ค่าร้อยละ  (percentage)  ค่ามัชฌิมเลขคณิต  ( X ) ส่วน เบี่ ย งเบนมาตรฐาน  (S.D.)  การวิ เ คราะห์ องค์ประกอบเชิงส�ำรวจ  (exploratory  factor  analysis:EFA)  ค่ามัธยฐาน  (median) ค่าฐานนิยม  (mode)  และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์  (interquartile  range)

ผลการวิจัย 1.  องค์ประกอบเส้นทางอาชีพของ  ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์ประกอบเส้นทางอาชีพของผูบ้ ริหาร สถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน  ประกอบด้ ว ย 11  องค์ ป ระกอบ  เรี ย งตามน�้ ำ หนั ก องค์ ประกอบที่ ไ ด้ จ ากมากไปน้ อ ย  คื อ   1) คุณลักษณะของผู้บริหาร  2)  การสร้างแรง จูงใจและบ�ำรุงรักษาบุคลากร  3)  การก�ำหนด ต�ำแหน่ง  4)  สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร 5)  การวางแผนอาชีพ  6)การวางแผนอัตรา ก�ำ ลังขององค์กร  7)คุณสมบัติในการด�ำรง ต�ำแหน่ง  8)ประสบการณ์ในอดีต  9)  ความ ต้ อ งการส่ ว นบุ ค คล  10)การวิ เ คราะห์ ง าน และ  11)  คุณภาพของบุคลากรและสถาน ศึ ก ษา  ซึ่ ง ในแต่ ล ะองค์ ป ระกอบมี ตั ว แปร และน�้ำหนักองค์ประกอบ  ดังตารางที่  1-11

ตารางที่  1  องค์ประกอบที่  1 ที่

ข้อความ

1 2 3 4

ผู้บริหารสถานศึกษามีความกระตือรือร้นในการท�ำงานตามหน้าที่ ผู้บริหารสถานศึกษามีความซื่อสัตย์ในการบริหารงาน ผู้บริหารสถานศึกษามีความมุ่งมั่น  และความพยายามในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสถานศึกษามีความเสียสละในการบริหารงาน

5 6

ผู้บริหารสถานศึกษามีความรับผิดชอบในการบริหารงาน ผู้บริหารสถานศึกษามีเป้าหมายในการปฏิบัติงาน

86

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

น�้ำหนัก องค์ประกอบ 3796 .789 .784 .766 .765 .764


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

ที่

ข้อความ

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .763

7

ผู้บริหารสถานศึกษามีวิสัยทัศน์ที่ดีในการบริหารงาน

8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18

ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณลักษณะของภาวะผู้น�ำ ผู้บริหารสถานศึกษามีคุณลักษณะของความเป็นผู้น�ำในการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะ  และเทคนิคในการท�ำงานที่หลากหลาย ผู้บริหารสถานศึกษามีความพร้อมในการปฏิบัติงานทางด้านการบริหาร ผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะในการสื่อสาร  และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ผู้บริหารสถานศึกษามีการปฏิบัติตนตามมาตรฐานการปฏิบัติตน ผู้บริหารสถานศึกษามีสติปัญญา  และความรอบรู้ในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสถานศึกษามีวุฒิภาวะทางอารมณ์  สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะในการใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะ  และวิจารณญาณในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องตาม สถานการณ์ ผู้บริหารสถานศึกษามีการปฏิบัติตนตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้  ความสามารถในการบริหารงานในหน้าที่ ผู้บริหารสถานศึกษามีความประพฤติด้านวินัย  คุณธรรม  จริยธรรม  ที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับของบุคคลภายในและภายนอกสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามีลักษณะบุคลิกภาพที่ดี  เหมาะส�ำหรับการเป็นผู้บริหาร ผูบ้ ริหารสถานศึกษามีความสามารถในการปรับตัวให้ทนั กับสถานการณ์ทเี่ ปลีย่ นแปลง ผู้บริหารสถานศึกษามีความสามารถในการบริหารงานบุคคล ผู้บริหารสถานศึกษามีความน่าเชื่อถือทางด้านการบริหารงานวิชาการ

19 20 21 22 23 24 25

จากตารางที่   1  พบว่ า   มี ตั ว แปร ส� ำ คั ญ บรรยายจ� ำ นวน  25  ตั ว แปร  มี ค ่ า น�้ำหนักตัวแปรอยู่ระหว่าง  .595-.796  เมื่อ พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมด  ตั ว แปรส่ ว นใหญ่

.747 .714 .708 .689 .684 .667 .663 .653 .649 .646 .644 .639 .635 .625 .624 .624 .618 .595

เกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหาร  ผู้วิจัยจึง ตั้งชื่อองค์ประกอบนี้ว่า  “คุณลักษณะของ ผู้บริหาร”

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

87


เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตารางที่  2  องค์ประกอบที่  2 ที่

ข้อความ

1 2 3

หน่วยงานต้นสังกัดมีระบบในการให้รางวัลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการสนับสนุนในด้านการปฏิบัติงานจากหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานต้นสังกัดมีการสรรหาบุคคล  โดยยึดหลักความเสมอภาค  คุณธรรมจริยธรรม และประโยชน์ขององค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการสนับสนุน  และการแนะน�ำจากผู้บังคับบัญชา ในการปฏิบัติงาน หน่วยงานต้นสังกัดมีการวางแผนอนาคตให้แก่บคุ ลากรรุน่ ใหม่  หรือระดับพนักงานแรก เข้าไปจนถึงผู้บริหารระดับกลาง องค์กรมีการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างยุติธรรม หน่วยงานต้นสังกัดมีการส่งเสริมให้มีการถ่ายโอนทักษะ  และแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างบุคลากรที่อยู่ภายในองค์กรและภายนอกองค์กร หน่วยงานต้นสังกัดมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องการวางแผนอัตราก�ำลังคนภายใน องค์กร หน่วยงานต้นสังกัดมีความชัดเจนในการก�ำหนดบทบาท  และหน้าที ่ ความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดให้ความส�ำคัญในการจัดท�ำเส้นทางอาชีพในต�ำแหน่งงานที่สร้าง ผลสัมฤทธิ์หลักให้กับส่วนราชการ หน่วยงานต้นสังกัดให้ความส�ำคัญในการจัดท�ำเส้นทางอาชีพในต�ำแหน่งงานที่จ�ำเป็น ต้องสั่งสมประสบการณ์ในหลายหน้างาน หน่วยงานต้นสังกัดให้ความส�ำคัญในการจัดท�ำเส้นทางอาชีพส�ำหรับต�ำแหน่งที่อยู่ใน สายงานหลักของส่วนราชการ หน่วยงานต้นสังกัดเปิดโอกาสให้มีการโอนย้าย  หรือสับเปลี่ยนต�ำแหน่งงานอย่าง โปร่งใสเป็นธรรม หน่วยงานต้นสังกัดมีความชัดเจนในการก�ำหนดเกณฑ์ส�ำหรับการเลื่อนระดับต�ำแหน่ง หน่วยงานต้นสังกัดมีการน�ำระบบสมรรถนะมาใช้กำ� หนดภาระงาน  และก�ำหนดความ สามารถรายต�ำแหน่งงาน หน่วยงานต้นสังกัดให้ความส�ำคัญในการจัดท�ำเส้นทางอาชีพในต�ำแหน่งงานทีห่ าได้ยาก จากแหล่งภายนอกส่วนราชการ

4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16

88

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .828 .789 .772 .765 .762 .730 .726 .723 .698 .669 .638 .632 .581 .580 .572 .569


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

จากตารางที่   2  พบว่ า   มี ตั ว แปร ส� ำ คั ญ บรรยายจ� ำ นวน  16  ตั ว แปร  มี ค ่ า น�้ำหนักตัวแปรอยู่ระหว่าง  .569-.828  เมื่อ พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมด  ตั ว แปรส่ ว นใหญ่

เกี่ ย วกั บ การสร้ า งแรงจู ง ใจและบ� ำ รุ ง รั ก ษา บุ ค ลากร  ผู ้ วิ จั ย จึ ง ตั้ ง ชื่ อ องค์ ป ระกอบนี้ ว่ า   “การสร้ า งแรงจู ง ใจและบ� ำ รุ ง รั ก ษา บุคลากร”

ตารางที่  3  องค์ประกอบที่  3 ที่

ข้อความ

1 2 3 4

หน่วยงานต้นสังกัดมีการระบุต�ำแหน่งงานทั้งหมดที่มีอยู่ภายในหน่วยงาน หน่วยงานต้นสังกัดมีการก�ำหนด  และการจัดท�ำมาตรฐานส�ำหรับแต่ละต�ำแหน่งงาน หน่วยงานต้นสังกัดมีการด�ำเนินการก�ำหนดคุณสมบัติเฉพาะของต�ำแหน่งงาน หน่วยงานต้นสังกัดมีการก�ำหนดตัวชี้วัดพฤติกรรมของแต่ละต�ำแหน่งงาน

5 6 7

หน่วยงานต้นสังกัดมีการก�ำหนดผลสัมฤทธิ์หลักของแต่ละต�ำแหน่งงาน หน่วยงานต้นสังกัดมีการจัดระดับต�ำแหน่งงานในปัจจุบันขององค์กรที่อยู่ภายในสังกัด หน่วยงานต้นสังกัดมีการก�ำหนดตัวชีว้ ดั ความส�ำเร็จในการก้าวเข้าสูต่ ำ� แหน่งงานในแต่ละ ต�ำแหน่ง หน่วยงานต้นสังกัดมีการจ�ำแนกต�ำแหน่งงานในสายงานภายในองค์กรทีอ่ ยูภ่ ายในสังกัด

.732 .647 .588

หน่วยงานต้นสังกัดมีการประเมินค่างานของแต่ละต�ำแหน่งงานภายในองค์กรทีอ่ ยูภ่ ายใน สังกัด

.554

8 9

จากตารางที่   3  พบว่ า   มี ตั ว แปร ส� ำ คั ญ บรรยายจ� ำ นวน  9  ตั ว แปร  มี ค ่ า น�้ำหนักตัวแปรอยู่ระหว่าง  .554-.785  เมื่อ

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .785 .753 .744 .737

.588

พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมด  ตั ว แปรส่ ว นใหญ่ เกี่ยวกับการก�ำหนดต�ำแหน่ง  ผู้วิจัยจึงตั้งชื่อ องค์ประกอบนี้ว่า  “การก�ำหนดต�ำแหน่ง”

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

89


เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตารางที่  4  องค์ประกอบที่  4 ที่

ข้อความ

1

นโยบายของหน่วยงานต้นสังกัดที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน  และเส้นทางอาชีพ ของผู้บริหารสถานศึกษา นโยบายของรัฐบาลในการบริหารประเทศ  ที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน และเส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อเส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ปัจจัยด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทสี่ ง่ ผลกระทบต่อการปฏิบตั งิ านของสถานศึกษา ปัจจัยด้านระเบียบและกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อเส้นทางอาชีพของผู้บริหาร สถานศึกษา ปัจจัยด้านลูกค้า  หรือผู้รับบริการที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ปัจจัยด้านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  เช่น  คณะกรรมการสถานศึกษาชุมชน และหน่วยงานอื่นๆ

2 3 4 5 6 7

จากตารางที่   4  พบว่ า   มี ตั ว แปร ส� ำ คั ญ บรรยายจ� ำ นวน  7  ตั ว แปร  มี ค ่ า น�้ำหนักตัวแปรอยู่ระหว่าง  .557-.784  เมื่อ พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมด  ตั ว แปรส่ ว นใหญ่

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .784 .780 .736 .732 .706 .662 .557

เกีย่ วกับสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร  ผูว้ จิ ยั จึงตั้งชื่อองค์ประกอบนี้ว่า  “สภาพแวดล้อม ภายนอกองค์กร”

ตารางที่  5  องค์ประกอบที่  5 ที่

ข้อความ

1 2

ผู้บริหารสถานศึกษามีการส�ำรวจและประเมินความต้องการของตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษามีการก�ำหนดเส้นทางอาชีพโดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเส้นทางอาชีพ ที่สืบต่อกันมา ผู้บริหารสถานศึกษามีการศึกษาเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงและความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับอาชีพของตน ปัจจัยด้านล�ำดับขั้นพัฒนาการชีวิตของผู้บริหารสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัดมีการก�ำหนดข้อมูล  และการวางแผนงานอาชีพส�ำหรับผู้บริหาร สถานศึกษา

3 4 5

90

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .682 .658 .642 .609 .573


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

จากตารางที่   5  พบว่ า   มี ตั ว แปร ส� ำ คั ญ บรรยายจ� ำ นวน  5  ตั ว แปร  มี ค ่ า น�้ำหนักตัวแปรอยู่ระหว่าง  .573-.682  เมื่อ

พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมด  ตั ว แปรส่ ว นใหญ่ เกี่ยวกับการวางแผนอาชีพ  ผู้วิจัยจึงตั้งชื่อ องค์ประกอบนี้ว่า  “การวางแผนอาชีพ”

ตารางที่  6  องค์ประกอบที่  6 ที่

ข้อความ

1 2 3 4 5 6

สถานศึกษามีการวางแผนก�ำหนดกรอบอัตราก�ำลังของหน่วยงาน สถานศึกษามีการจัดวางล�ำดับขั้นของต�ำแหน่งงานภายในองค์กร สถานศึกษามีการจัดแบ่งกลุ่มงานย่อยของแต่ละกลุ่มงานภายในองค์กร สถานศึกษามีการจัดโครงสร้างต�ำแหน่งงานภายในองค์กรที่ชัดเจน สถานศึกษามีระบบโครงสร้างในการบริหารงานขององค์กรที่เป็นระบบ สถานศึกษามีการก�ำหนดทิศทาง  และศักยภาพของบุคลากรทีอ่ งค์กรต้องการในอนาคต

จากตารางที่   6  พบว่ า   มี ตั ว แปร ส� ำ คั ญ บรรยายจ� ำ นวน  6  ตั ว แปร  มี ค ่ า น�้ำหนักตัวแปรอยู่ระหว่าง  .551-.636  เมื่อ พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมด  ตั ว แปรส่ ว นใหญ่

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .636 .623 .615 .559 .555 .551

เกี่ยวกับการวางแผนอัตราก�ำลังขององค์กร ผูว้ จิ ยั จึงตัง้ ชือ่ องค์ประกอบนีว้ า่   “การวางแผน อัตราก�ำลังขององค์กร”

ตารางที่  7  องค์ประกอบที่  7 ที่

ข้อความ

1 2

ผู้บริหารสถานศึกษามีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพส�ำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษามีวิทยฐานะ  ตรงตามคุณสมบัติในการสอบแข่งขันและบรรจุ แต่งตั้ง ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการอบรม  และพัฒนาก่อนแต่งตั้งให้ด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษามีการปฏิบัติตนตามมาตรฐานต�ำแหน่ง

3 4

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .835 .784 .640 .617

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

91


เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

จากตารางที่   7  พบว่ า   มี ตั ว แปร ส� ำ คั ญ บรรยายจ� ำ นวน  4  ตั ว แปร  มี ค ่ า น�้ำหนักตัวแปรอยู่ระหว่าง  .617-.835  เมื่อ พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมด  ตั ว แปรส่ ว นใหญ่

เกีย่ วกับคุณสมบัตใิ นการด�ำรงต�ำแหน่ง  ผูว้ จิ ยั จึ ง ตั้ ง ชื่ อ องค์ ป ระกอบนี้ ว ่ า   “คุ ณ สมบั ติ ในการด�ำรงต�ำแหน่ง”

ตารางที่  8  องค์ประกอบที่  8 ที่

ข้อความ

1

ความคิดของผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับจากการปลูกฝัง  และสิ่งที่เคยเรียนรู้จาก ชีวิตจริง การเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้รับจากเหตุการณ์ที่ตนเผชิญในอดีตซ�้ำๆ ผู้บริหารสถานศึกษามีองค์ความรู้ที่ได้รับจากประสบการณ์ในการท�ำงานที่หลากหลาย

2 3

จากตารางที่   8  พบว่ า   มี ตั ว แปร ส� ำ คั ญ บรรยายจ� ำ นวน  3  ตั ว แปร  มี ค ่ า น�้ำหนักตัวแปรอยู่ระหว่าง  .571-.619  เมื่อ

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .619 .579 .571

พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมด  ตั ว แปรส่ ว นใหญ่ เกี่ยวกับประสบการณ์ในอดีต  ผู้วิจัยจึงตั้งชื่อ องค์ประกอบนี้ว่า  “ประสบการณ์ในอดีต”

ตารางที่  9  องค์ประกอบที่  9 ที่ 1 2 3

ข้อความ ผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสังคม ผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการมีอิสระในการท�ำงาน  และการประกอบอาชีพ ผู้บริหารสถานศึกษามีความต้องการประกอบอาชีพที่เป็นผู้น�ำมากกว่าเป็นผู้ตาม

จากตารางที่   9  พบว่ า   มี ตั ว แปร ส� ำ คั ญ บรรยายจ� ำ นวน  3  ตั ว แปร  มี ค ่ า น�้ำหนักตัวแปรอยู่ระหว่าง  .564-.665  เมื่อ พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมด  ตั ว แปรส่ ว นใหญ่ 92

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .665 .599 .564

เกี่ยวกับความต้องการส่วนบุคคล  ผู้วิจัยจึง ตั้ ง ชื่ อ องค์ ป ระกอบนี้ ว ่ า   “ความต้ อ งการ ส่วนบุคคล”


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

ตารางที่  10  องค์ประกอบที่  10 ที่

ข้อความ

1 2

ผู้บริหารสถานศึกษามีการวิเคราะห์หมวดหมู่งานเพื่อให้การปฏิบัติงานมีคุณภาพ ผู้บริหารสถานศึกษามีการวิเคราะห์งาน  และประเมินค่างานในแต่ละต�ำแหน่งงานที่ ต้องการด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษามีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ

3

จากตารางที่   10  พบว่ า   มี ตั ว แปร ส� ำ คั ญ บรรยายจ� ำ นวน  3  ตั ว แปร  มี ค ่ า น�้ำหนักตัวแปรอยู่ระหว่าง  .595-.633  เมื่อ

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .633 .611 .595

พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมด  ตั ว แปรส่ ว นใหญ่ เกี่ ย วกั บ การวิ เ คราะห์ ง าน  ผู ้ วิ จั ย จึ ง ตั้ ง ชื่ อ องค์ประกอบนี้ว่า  “การวิเคราะห์งาน”

ตารางที่  11  องค์ประกอบที่  11 ที่

ข้อความ

1 2 3

สถานศึกษามีบุคลากรที่มีคุณภาพในการปฏิบัติงานภายในองค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับการสนับสนุนส่งเสริมด้านการปฏิบัติงานจากเพื่อนร่วมงาน สถานศึ ก ษามี คุ ณ ภาพและประสบความส� ำ เร็ จ ในการด� ำ เนิ น งานต่ า งๆ  ภายใน สถานศึกษา

จากตารางที่   11  พบว่ า   มี ตั ว แปร ส� ำ คั ญ บรรยายจ� ำ นวน  3  ตั ว แปร  มี ค ่ า น�้ำหนักตัวแปรอยู่ระหว่าง  .579-.650  เมื่อ พิ จ ารณาตั ว แปรทั้ ง หมด  ตั ว แปรส่ ว นใหญ่

น�้ำหนัก องค์ประกอบ .650 .649 .579

เกี่ยวกับคุณภาพของบุคลากรและสถานศึกษา ผู้วิจัยจึงตั้งชื่อองค์ประกอบนี้ว่า  “คุณภาพ ของบุคลากรและสถานศึกษา”

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

93


เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ขัน้ พืน้ ฐาน  สามารถสรุปได้  4  เส้นทาง  ราย ละเอียดดังแผนภูมทิ  ี่ 2  -  5  (หน้าที  ่ 95-98) จากแผนภูมิที่  2  เส้นทางอาชีพของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่มีต�ำแหน่ง ก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัตริ ะเบียบข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา  มีองค์ประกอบ เส้ น ทางอาชี พ ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พืน้ ฐาน  จ�ำนวน  11  องค์ประกอบ  ทีส่ ง่ ผล โดยเส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน  ที่มีต�ำแหน่งก�ำหนดไว้ในพระราช บั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากร ทางการศึกษา  แบ่งออกเป็นเส้นทางอาชีพใน ต� ำ แหน่ ง บริ ห ารที่ สู ง ขึ้ น   เส้ น ทางอาชี พ ใน การย้าย  การโอน  หรือ  การสอบ  และเส้น ทางอาชีพในต�ำแหน่งที่ได้มาจากการเลือกตั้ง จากแผนภูมิที่  3  เส้นทางอาชีพของ ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน  ที่ ไ ม่ มี ต�ำแหน่งก�ำหนดไว้ใน  พระราชบัญญัตริ ะเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  มี องค์ประกอบเส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถาน ศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  จ�ำนวน  11  องค์ประกอบ  ที่ส่งผล  โดยเส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถาน

94

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ศึกษา  ขั้นพื้นฐาน  ที่ไม่มีต�ำแหน่งก�ำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา  แบ่งออกเป็นเส้นทาง อาชีพในสายของภาครัฐ  และเส้นทางอาชีพใน สายอื่นๆ จากแผนภูมิที่  4  เส้นทางอาชีพของ ผูบ้ ริหารสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  ในฐานะทีเ่ ป็น ข้าราชการครู  มีองค์ประกอบเส้นทางอาชีพ ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  จ�ำนวน 11  องค์ประกอบ  ทีส่ ง่ ผล  โดยเส้นทางอาชีพ ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในฐานะ ที่เป็นข้าราชการครู  แบ่งออกเป็นเส้นทาง อาชี พ ในต� ำ แหน่ ง บริ ห ารที่ สู ง ขึ้ น   เส้ น ทาง อาชีพในการย้ายการโอน  หรือการสอบ  และ เส้นทางอาชีพในต�ำแหน่งที่ได้มาจากการเลือก ตั้ง จากแผนภูมิที่  5  เส้นทางอาชีพของผู้ บริหารสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  ในฐานะทีไ่ ม่ได้ เป็นข้าราชการครู  มีองค์ประกอบเส้นทาง อาชี พ ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน จ�ำนวน  11  องค์ประกอบที่ส่งผล  โดยเส้น ทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะที่ไม่ได้เป็นข้าราชการครู  แบ่งออก เป็นเส้นทางอาชีพในต�ำแหน่งทีเ่ ป็นข้าราชการ พลเรือน  และเส้นทางอาชีพในสายอื่นๆ


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เส้นทางอาชีพที่มีต�ำแหน่งก�ำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

องค์ประกอบ คุณลักษณะของ ผู้บริหาร การสร้างแรงจูงใจ และบ�ำรุงรักษาบุคลากร

เส้นทางอาชีพใน ต�ำแหน่งที่สูงขึ้น

สภาพแวดล้อมภายนอก องค์กร

การวางแผนอาชีพ

คุณสมบัติในการ ด�ำรงต�ำแหน่ง

เส้นทางอาชีพในการ ย้าย/โอน/สอบ

ความต้องการส่วนบุคคล

คุณภาพของบุคลากร และสถานศึกษา

ผอ.สถานศึกษา - สังกัด สพม. - สังกัด สศศ. - สังกัดส�ำนักงาน กศน. - สังกัด สอศ.

ต�ำแหน่งผู้สอนในหน่วยงาน การศึกษาที่สอนระดับปริญญาตรี

ประสบการณ์ในอดีต

การวิเคราะห์งาน

รอง ผอ. เขตพื้นที่

ผอ. เขตพื้นที่

วิทยฐานะ : ช�ำนาญการ, ช�ำนาญการพิเศษ, เชี่ยวชาญ, เชี่ยวชาญพิเศษ

การก�ำหนดต�ำแหน่ง

การวางแผนอัตรา ก�ำลังขององค์กร

ผอ.สถานศึกษา สังกัด สพฐ.

เส้นทางอาชีพใน ต�ำแหน่งที่ได้มาจาก การเลือกตั้ง

ต�ำแหน่งบุคลากรทางการ ศึกษาอื่น - ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอน ต�ำแหน่งบุคลากร ทางการศึกษาอื่น - ผอ.กลุ่มต่างๆ ใน ส�ำนักงานเขตพื้นที่

เป็นตัวแทนอยู่ในรูปคณะกรรมการ ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ - เป็นตัวแทนผู้บริหารใน ก.ค.ศ. - เป็นคณะกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่

แผนภูมิที่  2  แสดงเส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต�ำแหน่งก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

95


เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เส้นทางอาชีพที่ไม่มีต�ำแหน่งก�ำหนดไว้ใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

องค์ประกอบ คุณลักษณะของ ผู้บริหาร การสร้างแรงจูงใจ และบ�ำรุงรักษาบุคลากร

เส้นทางอาชีพ ในสายของภาครัฐ

การก�ำหนดต�ำแหน่ง สภาพแวดล้อมภายนอก องค์กร

การวางแผนอาชีพ

โอนหรือย้ายไปเป็นข้าราชการ กพ. ในกระทรวง ศธ. หรือใน สพฐ. - ต�ำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ เลขาฯ ผู้ตรวจราชการ กระทรวง รองเลขาฯ ที่ปรึกษาฯ และผู้ช่วยเลขาฯ - ต�ำแหน่งประเภทอ�ำนวยการ ได้แก่ ผู้อ�ำนวยการส�ำนัก - ต�ำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ นักวิชาการเชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ โอนไปด�ำรงต�ำแหน่งในกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานราชการอื่นๆ

การวางแผนอัตรา ก�ำลังขององค์กร

เป็นตัวแทนอยู่ในรูปคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับ  การศึกษา ได้แก่ - คณะกรรมการคุรุสภา - คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

คุณสมบัติในการ ด�ำรงต�ำแหน่ง

ประสบการณ์ในอดีต

โอกาสโอนย้ายต�ำแหน่งตามมติของคณะรัฐมนตรี

ความต้องการส่วนบุคคล

การวิเคราะห์งาน คุณภาพของบุคลากร และสถานศึกษา

โอกาสโอนย้ายต�ำแหน่งตามนโยบายของรัฐบาล เส้นทางอาชีพ ในสายอื่นๆ

เส้นทางในสายของ ภาคเอกชน

เส้นทางในสายของ อาชีพอิสระ

แผนภูมิที่  3  แสดงเส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ไม่มีต�ำแหน่งก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

96

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะที่เป็นข้าราชการครู

องค์ประกอบ คุณลักษณะของ ผู้บริหาร การสร้างแรงจูงใจ และบ�ำรุงรักษาบุคลากร

เส้นทางอาชีพใน ต�ำแหน่งที่สูงขึ้น

สภาพแวดล้อมภายนอก องค์กร

การวางแผนอัตรา ก�ำลังขององค์กร

รอง ผอ. เขตพื้นที่

ผอ. เขตพื้นที่

วิทยฐานะ : ช�ำนาญการ, ช�ำนาญการพิเศษ, เชี่ยวชาญ, เชี่ยวชาญพิเศษ

การก�ำหนดต�ำแหน่ง

การวางแผนอาชีพ

ผอ.สถานศึกษา สังกัด สพฐ.

เส้นทางอาชีพในการ ย้าย/โอน/สอบ

ผอ.สถานศึกษา - สังกัด สพม. - สังกัด สศศ. - สังกัดส�ำนักงาน กศน. - สังกัด สอศ.

ต�ำแหน่งบุคลากรทางการ ศึกษาอื่น - ศึกษานิเทศก์ ครูผู้สอน

คุณสมบัติในการ ด�ำรงต�ำแหน่ง

ประสบการณ์ในอดีต ความต้องการส่วนบุคคล

การวิเคราะห์งาน คุณภาพของบุคลากร และสถานศึกษา

เส้นทางอาชีพใน ต�ำแหน่งที่ได้มาจาก การเลือกตั้ง

เป็นตัวแทนอยู่ในรูปคณะกรรมการ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา - ตัวแทนผู้บริหารใน ก.ค.ศ. - อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่ - สกสค.จังหวัด/ชาติ - คณะกรรมการคุรุสภา - คณะกรรมการมาจรฐานวิชาชีพ

แผนภูมิที่  4  เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในฐานะที่เป็นข้าราชการครู

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

97


เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะที่ไม่ได้เป็นข้าราชการครู

องค์ประกอบ คุณลักษณะของ ผู้บริหาร การสร้างแรงจูงใจ และบ�ำรุงรักษาบุคลากร

ต�ำแหน่งที่ เกี่ยวข้องกับ การศึกษา

การก�ำหนดต�ำแหน่ง สภาพแวดล้อมภายนอก องค์กร

การวางแผนอาชีพ การวางแผนอัตรา ก�ำลังขององค์กร

เส้นทางอาชีพใน ต�ำแหน่งที่เป็น ข้าราชการพลเรือน

คุณสมบัติในการ ด�ำรงต�ำแหน่ง

ประสบการณ์ในอดีต ความต้องการส่วนบุคคล

การวิเคราะห์งาน คุณภาพของบุคลากร และสถานศึกษา

โอนหรือย้ายไปเป็นข้าราชการ กพ. ในกระทรวง ศธ. หรือใน สพฐ. - ต�ำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ เลขาฯ ผู้ตรวจราชการ กระทรวง รองเลขาฯ ที่ปรึกษาฯ และผู้ช่วยเลขาฯ - ต�ำแหน่งประเภทอ�ำนวยการ ได้แก่ ผู้อ�ำนวยการส�ำนัก - ต�ำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ นักวิชาการเชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ โอนไปเป็นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษาที่สอนระดับ ปริญญา ย้ายไปด�ำรงต�ำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ได้แก่ - ผอ. กลุ่มต่างๆ ในส�ำนักงานเขตพื้นที่ โอกาสโอนย้ายต�ำแหน่งตามมติของคณะรัฐมนตรี

ต�ำแหน่งที่ไม่ เกี่ยวข้องกับ การศึกษา เส้นทางอาชีพ ในสายอื่นๆ

โอกาสโอนย้ายต�ำแหน่งตามนโยบายของรัฐบาล โอนไปด�ำรงต�ำแหน่งในกระทรวง ทบวง กรม หรือ หน่วยงานราชการอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เส้นทางในสายของ ภาคเอกชน

เส้นทางในสายของ อาชีพอิสระ

แผนภูมิที่  5  เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในฐานะที่ไม่ได้เป็นข้าราชการครู

98

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

สรุปผลการวิจัย 1.  องค์ประกอบเส้นทางอาชีพของผู้ บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ประกอบด้วย 11  องค์ ป ระกอบ  คื อ   คุ ณ ลั ก ษณะของ ผู้บริหาร  การสร้างแรงจูงใจและบ�ำรุงรักษา บุ ค ลากร  การก� ำ หนดต� ำ แหน่ ง   สภาพ แวดล้อมภายนอกองค์กร  การวางแผนอาชีพ การวางแผนอัตราก�ำลังขององค์กร  คุณสมบัติ ในการด�ำรงต�ำแหน่ง  ประสบการณ์ในอดีต ความต้องการส่วนบุคคล  การวิเคราะห์งาน และคุณภาพของบุคลากรและสถานศึกษา 2.  เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า  เส้นทางอาชีพของ ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน  แบ่ ง ออก ได้เป็น  4  เส้นทาง  คือ  1)  เส้นทางอาชีพ ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน  ที่ มี ต�ำแหน่งก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  2) เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้น ฐาน  ที่ ไ ม่ มี ต� ำ แหน่ ง ก� ำ หนดไว้ ใ นพระราช บั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากร ทางการศึกษา  3)  เส้นทางอาชีพของผูบ้ ริหาร สถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน  ในฐานะที่ เ ป็ น ข้ า ราชการครู แ ละ  4)  เส้ น ทางอาชี พ ของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในฐานะที่ ไม่ได้เป็นข้าราชการครู

อภิปรายผล 1.  องค์ ป ระกอบเส้ น ทางอาชี พ ของ ผูบ้ ริหารสถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  ประกอบด้วย 11  องค์ประกอบ  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย ข อ ง   ว ลั ย พ ร   ศิ ริ ภิ ร ม ย ์   ( 2 5 5 0 : บทคัดย่อ)  ทีพ่ บว่า  ปัจจัยทีส่ ง่ ผลทางบวกต่อ ความส�ำเร็จในวิชาชีพของผูบ้ ริหารสตรีในสถาน ศึ ก ษา  สั ง กั ด ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีจ�ำนวน  4  กลุ่มปัจจัย คือ  ปัจจัยด้านจิตสังคม  ปัจจัยด้านภูมิหลัง ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากองค์กรและปัจจัย ด้านสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรนอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับผลการศึกษาวิจยั ของ  เลธเธอส์ (Leathers.  2011:180)  ที่พบว่า  ปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อเส้นทางอาชีพของผู้บริหารโรงเรียน สตรีชาวแอฟริกนั   คือ  1)  ปัจจัยด้านรูปแบบ ประสบการณ์  2)สถาบัน  สิ่งแวดล้อม  และ ปัจจัยความเป็นมืออาชีพ  และ  3)  กลไกลใน การเผชิญหน้ากับปัญหา 2.  เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐาน  แบ่งออกได้เป็น  4  เส้น ทาง  คื อ   1)  เส้ น ทางอาชี พ ของผู ้ บ ริ ห าร สถานศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  ทีม่ ตี ำ� แหน่งก�ำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษา  2)  เส้นทางอาชีพของ ผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน  ที่ ไ ม่ มี ต�ำแหน่งก�ำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบ

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559

99


เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  3) เส้นทางอาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้น ฐาน  ในฐานะที่เป็นข้าราชการครู  และ  4) เส้ น ทางอาชี พ ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้นฐาน  ในฐานะที่ไม่ได้เป็นข้าราชการครู ทั้งนี้เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ  ได้ แสดงความคิดเห็นตามกรอบของต�ำแหน่งที่ ก� ำ หนดไว้ ใ น  มาตรา  38  แห่ ง พระราช บั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บข้ า ราชการครู แ ละบุ ค ลากร ทางการศึกษา  พ.ศ.2547  และที่แก้ไขเพิ่ม เติม  (ฉบับที่  2)  พ.ศ.2551  และ  (ฉบับที่ 3)  พ.ศ.2553  โดยโอกาสที่ผู้บริหารสถาน ศึกษาขั้นพื้นฐานจะก้าวขึ้นไปสู่เส้นทางอาชีพ ในต�ำแหน่งที่สูงขึ้นได้นั้นจ�ำเป็นต้องอาศัยองค์ ประกอบหลายประการช่วยสนับสนุน  ที่เป็น ทั้งปัจจัยภายใน  และปัจจัยภายนอก ข้อเสนอแนะเพื่อน�ำผลวิจัยไปใช้ ควรน�ำข้อมูลรายละเอียดของเส้นทาง อาชี พ ของผู ้ บ ริ ห ารสถานศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ไปใช้เป็นกรอบในการวางแผน  และพัฒนา เส้นทางอาชีพของตนเอง  เพือ่ เป็นการก�ำหนด เป้าหมายความส�ำเร็จในเส้นทางอาชีพของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องการก้าว เข้าไปสู่ต�ำแหน่งที่สูงขึ้นในอนาคตต่อไป

100 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ควรมี ก ารศึ ก ษาวิ จั ย เกี่ ย วกั บ   องค์ ประกอบเส้นทางอาชีพของ  ผู้บริหารสถาน ศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน  ในแต่ละองค์ประกอบ  และ ในภาพรวม  ทั้ ง ในเชิ ง ปริ ม าณ  และเชิ ง คุณภาพ  เพือ่ ให้ได้ขอ้ ค้นพบใหม่ๆ  ทีจ่ ะน�ำไป ใช้ในการสร้าง  และพัฒนาเส้นทางอาชีพของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บรรณานุกรม เกรียงศักดิ์  เขียวยิ่ง.  (2550).  การบริหาร  ท รั พ ย า ก ร ม นุ ษ ย ์ .   ก รุ ง เ ท พ ฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท. คริสมาส  ศุภทนต์  และคณะ.  (2553).  การ  บริ ห ารเส้ น ทางสายอาชี พ :  กุ ญ แจ  ความก้าวหน้าฉบับองค์กร.  นนทบุรี: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด. เพ็ญวดี  ไมยวงษ์.  ความก้าวหน้าในสาย  อาชีพ.  เข้าถึงเมื่อ  19  กุมภาพันธ์ 2555.  เข้าถึงได้จาก  http://elib.coj. go.th/Ebook/data/ojoc/v.1/ doc/071.ppt วลัยพร  ศิริภิรมย์.  (2550).  “การวิเคราะห์  เส้นทางสู่ความส�ำเร็จในวิชาชีพของ  ผู้บริหารสตรีในสถานศึกษา  สังกัด  ส� ำ นั ก งานคณะกรรมการการศึ ก ษา  ขั้นพื้นฐาน.”  วิทยานิพนธ์  ปริญญา


เขมพัต แสงทอง และนพดล เจนอักษร

ครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการ บริ ห ารการศึ ก ษา  บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ส�ำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, ส�ำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล. HR  Success  Stories  in  Public  Sector  แบบอย่างปฏิบัติการบริหาร  คน.  เข้ า ถึ ง เมื่ อ   19  กุ ม ภาพั น ธ์ 2555.  เข้าถึงได้จาก  http://www. ocsc.go.th/ocssccms/upload/.../ hrcham51-5careerpath.pdf Dessler,  Gary,  and  Tan  Chwee  Huat. (2550).  การจัดการทรัพยากรมนุษย์.  แปลโดย  จุ ฑ ามาศ  ทวี ไ พบู ล ย์ ว งษ์ และสุ วรรธนา  เทพจิต.  กรุงเทพฯ: เพียร์สัน  เอ็ดดูเคชั่นอินโดไชน่า. Holland,  John  L.  (1985).  Making  vocational  choices:  a  theory  of  vocational  personalities  and  work  environments.  2nd ed.  New  Jersey:Prentice-Hall. Krejcie,  Robert  V.,  and  Daryle  W. Morgan.  (1970).  “Determining Sampling Size for Research Activities.”  Journal  for  Educa  tion  and  Psychological  Mea  surement  30,30.  (November).

Leathers,  Sonja.  (2011).  “Career  Path  Processes  As  Perceived  by  African  American  Female  School  Principals.” Ed.D. dis sertation,  Educational  Leader ship,  Graduate  School  of  Edu cation,  University  of  North Carolina at Chapel Hill. Mathis,  R.  L.,  and  J.  H.  Jackson. (1985).  Personnel:  Human  re  source  management.  4th ed. St. Paul: West. Mondy, Wyne R., and Robert M. Noe.  (1996).  Human  Resource  Management.  6th  ed.  New Jersey: Prentice-Hall. Walker,  J.  W.  (1992).  Human  Re  source  Strategy. Maidenhead :McGraw–Hill.

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559 101


เสรีภาพทางเพศในมุมมองพระสันตะปาปา ยอห์น  ปอล ที่  2

Sexual Freedom in  The Perspectives of Pope  John Paul II.

บาทหลวงกิตติคุณ เสมามอญ * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก  สังกัดสังฆมณฑลอุดรธานี * มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม  วิทยาลัยแสงธรรม มุขนายก  ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย * ประมุขแห่งสังฆมณฑลอุดรธานี

* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวง ดร.ออกัสติน  สุกีโย  ปีโตโย * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก  สังกัดคณะเยสุอิต

* อาจารย์ประจ�ำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาเทววิทยาจริยธรรม วิทยาลัยแสงธรรม

บาทหลวงวัยพรต  พุฒสา * บาทหลวงในคริสต์ศาสนจักรโรมันคาทอลิก  สังกัดคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล พีรพัฒน์  ถวิลรัตน์ * รองผู้อ�ำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ  วิทยาลัยแสงธรรม Rev.Kittikun  Semamorn

* Master  of  Arts  in  Moral  Theology,  Saengtham  College.

Bishop Dr.Joseph Luechai Thatwisai

* Bishop  of  Udonthani  Diocese. * Lecturer  of  The  Master  of  Arts  in  Moral  Theology,  Saengtham  College.

Rev.Dr.Agustinus  Sugiyo  Pitoyo, S.J.

* Reverend in Roman Catholic Church, Jesuit. * Lecturer  of  The  Master  of  Arts  in  Moral  Theology,  Saengtham  College.

Rev.Peter  Waiphrot  Phutthasa. O.M.I.

* Reverend  in  Roman  Catholic  Church,  Missionary  Oblates  of  Mary  Immaculate.

Pirapat  Thawinratna

* Deputy  Director  of  Academic  Promotion  and  Development Center,  Saengtham  College.


กิตติคุณ เสมามอญ, ลือชัย ธาตุวิสัย, ออกัสติน สุกีโย ปีโตโย, วัยพรต พุฒสา และ พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์  เพื่อศึกษามุมมองของพระสันตะปาปา ยอห์น  ปอล  ที่  2  เกี่ยวกับเสรีภาพทางเพศ  ผลการวิจัย  พบว่า เสรี ภ าพทางเพศในมุ ม มองพระสั น ตะปาปา  ยอห์ น   ปอลที่   2 สามารถสรุปออกเป็น  4  ประเด็นหลัก  ดังต่อไปนี้  คือ 1)  การเป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้าเรียกร้องความเป็นหนึง่ เดียว ระหว่างชายหญิง  อันน�ำไปสูก่ ารสะท้อนภาพลักษณ์ของพระตรีเอกภาพ ในความสัมพันธ์ของทั้งสามพระบุคคลผ่านทางชีวิตครอบครัว 2)  เสรีภาพของมนุษย์เป็นความสามารถในการเลือกและปฏิเสธ เป็นเสรีภาพทีค่ วบคูก่ บั การท�ำความดี  เสรีภาพทีแ่ ท้จริง  คือ  เสรีภาพ ที่ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า  เพราะพระองค์ทรงเป็นความ สมบูรณ์ครบครันทีม่ นุษย์แสวงหาพระประสงค์ของพระเจ้าจึงเป็นหนทาง ที่จะท�ำให้มนุษย์ได้ใช้เสรีภาพที่ถูกต้องอย่างแท้จริง 3)  เสรีภาพทางเพศเป็นความรักทีม่ อี สิ ระระหว่างชายหญิงซึง่ น�ำ ไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันไม่สามารถแยกออกจากกันได้  อันน�ำไปสู่ การให้ก�ำเนิดบุตรซึ่งมิอาจปฏิเสธได้ 4)  ครอบครัวเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์ของพระเจ้าในความ สัมพันธ์ของพระตรีเอกภาพได้ใกล้เคียงที่สุด  เพราะภายในครอบครัว เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักที่ส่งมอบไปยังบุคคลอื่น  อันน�ำไปสู่การสร้าง ครอบครัวใหม่ ค�ำส�ำคัญ:

1)  เสรีภาพทางเพศ 2)  พระสันตะปาปา  ยอห์น  ปอล  ที่  2

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559 103


เสรีภาพทางเพศในมุมมองพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2

Abstract

The purpose of this research were to study: the  perspectives  of  Pope  John  Paul  II  on  sexual freedom.  This  research  revealed  that  sexual  freedom in the perspectives of Pope John Paul II can be summarized into four main points are as follows. 1)  Being  the  image  of  God  calls  for  unity  between the man and the woman, which leads to a reflection  of  the  image  of  the  Trinity  in  the  relationship among the three persons through family life. 2)  Human  freedom  is  the  ability  to  choose  and reject. It is a freedom that accompanies doing good.  True  freedom  is  fulfilling  God’s  will  because He is the perfection that human beings seek. God’s  will,  therefore,  is  the  path  where  human  beings  could  exercise  their  freedom  authentically. 3)  Sexual  freedom  is  an  expression  of  free  love between a man and a woman that leads to their unity, which may not be separated from the possibility of procreation. 4)  The  family  is  a  closest  reflection  of  the  image  of  God  in  the  relationship  of  the  Trinity  because the  family  is  filled  with  love  given  to  one  another, which leads to creating new families. Keywords:

104 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

1)  Sexual  Freedom 2)  Pope  John  Paul  II


กิตติคุณ เสมามอญ, ลือชัย ธาตุวิสัย, ออกัสติน สุกีโย ปีโตโย, วัยพรต พุฒสา และ พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์

ความเป็นมาและความส�ำคัญของปัญหา ในปัจจุบนั   ปัญหาเรือ่ งเสรีภาพทางเพศ เป็นปัญหาทางสังคมที่เรื้อรังมาเป็นระยะเวลา นาน  เรือ่ งความสัมพันธ์ทางเพศเป็นสิง่ ทีอ่ ยูใ่ น ตัวมนุษย์ทกุ ๆ  คน  ซึง่ เป็นเรือ่ งธรรมชาติของ มนุษย์ที่ต้องสืบทอดเผ่าพันธุ์ของตนเองและ เป็นรากฐานของความเป็นครอบครัว  จากเรือ่ ง เพศสัมพันธ์ทสี่ งวนอยูภ่ ายในครอบครัวส�ำหรับ คู่สมรส  คือ  ชายและหญิงที่เป็นสามีภรรยา กันอย่างถูกต้อง  เพือ่ เอือ้ ต่อการให้กำ� เนิดบุตร ในทุกๆ  ครั้งที่มีการร่วมเพศระหว่างคู่สามี ภรรยากลับกลายเป็นเรื่องของการตอบสนอง ความปรารถนาทางด้านร่างกายเท่านั้น  เพื่อ ให้ เ กิ ด ความสุ ข   ความพึ ง พอใจเพี ย งชั่ ว ครู ่ ชั่วคราวส�ำหรับบุคคลที่ไม่ตระหนักถึงคุณค่า การร่วมเพศแบบคู่สมรสที่มุ่งไปถึงการมีบุตร และการอบรมสั่งสอนบุตรของตน ในสภาพของสังคมไทยในช่วงระยะเวลา ทีผ่ า่ นมา  เรือ่ งการ  “รักนวลสงวนตัว”  เป็น แนวคิดทีเ่ ชือ้ เชิญสตรีไทยให้อดกลัน้ ทีจ่ ะไม่รว่ ม เพศก่อนการแต่งงาน  โดยถือเป็นส่วนหนึง่ ของ วั ฒ นธรรมไทยอั น ดี ง ามที่ สื บ ทอดต่ อ กั น มา เพื่อให้ความส�ำคัญกับชีวิตสมรสที่ต้องรอเวลา อั น สมควร  ไม่ชิงสุก ก่อนห่าม  ผู้ห ญิงต้อง รักษาความบริสุทธิ์ทางเพศจนถึงวันแต่งงาน และผู้หญิงต้องซื่อสัตย์ต่อสามีไม่นอกใจไปมี เพศสัมพันธ์กับชายอื่น

ทว่าปัจจุบนั ความหมายและคุณค่าเรือ่ ง เพศถูกลดคุณค่า  จากเดิมความหมายเรือ่ งเพศ เป็นเรื่องของชายหญิงที่สร้างความสัมพันธ์ ระหว่างกันและกัน  โดยมีจุดประสงค์เพื่อการ มีบุตรพร้อมกับให้การศึกษาอบรม  ซื่อสัตย์ ต่อกันและกัน  และเพือ่ ความดีของกันและกัน ดั ง นั้ น  การมี เ พศสั ม พั นธ์ ภายในครอบครั ว จึงมิใช่เพียงเพื่อการตอบสนองความปรารถนา ของร่างกายจากการกระตุ้นจากภายนอกหรือ สิ่งเร้าจากภายนอก  แต่เป็นการตระหนักถึง คุณค่าของชีวติ ทีจ่ ะเกิดมาใหม่ผา่ นการร่วมเพศ ของคู่สามีภรรยา  เพราะชีวิตทุกชีวิตนั้นเป็น ของขวั ญ จากพระเจ้ า ที่ ล�้ ำ ค่ า น่ า หวงแหนที่ พระเจ้าประทานให้  ในทางตรงกันข้าม  การ ร่วมเพศที่นอกเหนือจากคู่ครองของตนจึงผิด เพี้ ย นจากเป้ า หมายของการสมรสแบบ คาทอลิ ก ซึ่ ง ไม่ ส ามารถมี บุ ค คลที่ ส ามได้ อัตลักษณ์ส�ำคัญของการสมรส  คือ  เป็นคู่ ครองของกันและกันความเป็นหนึ่งเดียวกัน ชายหนึง่ หญิงหนึง่ ไม่มบี คุ คลทีส่ าม  การกระท�ำ เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการฝ่ายร่างกาย โดยปราศจากการรับผิดชอบ  โดยยึดตนเอง เป็นจุดศูนย์กลางจึงเป็นการลดคุณค่าศักดิ์ศรี เรื่ อ งเพศให้ ต�่ ำ ลงเป็ น การลดทอนคุ ณ ค่ า ทีพ่ ระเจ้าทรงก�ำหนดไว้  (Pope  John  Paul II,  1995)

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559 105


เสรีภาพทางเพศในมุมมองพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2

พระสันตะปาปา  ยอห์น  ปอลที่  2 เป็นบุคคลหนึ่งที่เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของ ความเป็นมนุษย์  ดังทีเ่ ห็นได้จากเอกสารหลาย ฉบับที่พระองค์ทรงเขียนถึงบรรดาคริสตชน ทั่วโลก  พระองค์ทรงเน้นย�ำ้ ถึงความศักดิ์สิทธิ์ ของชีวิตมนุษย์ทุกชีวิตที่ถูกเรียกมาอย่างอิสระ ให้มีความสมบรูณ์ในพระเจ้า  เพื่อให้มนุษย์ ดูแลรักษาไว้ด้วยความรับผิดชอบและท�ำให้ ชีวิตมนุษย์สมบรูณ์โดยผ่านทางพระประสงค์ ของพระเจ้า ผู้มีความเชื่อในพระคริสตเจ้ามีหน้าที่ พิ เ ศษที่ จ ะต้ อ งปกป้ อ งคุ ณ ค่ า และศั ก ดิ์ ศ รี ของชีวิตตั้งแต่แรกเริ่มชีวิตจนกระทั่งสิ้นสุด ชี วิ ต   “การที่ ม นุ ษ ย์ ต ้ อ งการหาความสุ ข ทางเพศเพี ย งเพื่ อ มี เ พศสั ม พั น ธ์   โดยไม่ ต้องการรับผิดชอบใดๆ  ยึดเพียงแค่ตนเอง เป็นจุดศูนย์กลางเท่านั้น  โดยถือว่า  การให้ ก�ำเนิดชีวิตใหม่อันเป็นของขวัญจากพระเจ้า เป็นอุปสรรคขัดขวางความสุขส่วนตัว”  (Pope John  Paul  II,  1995)  การกระท�ำดังกล่าว นี้เป็นความเห็นแก่ตัวที่ไม่เปิดรับมิติของเพื่อน มนุษย์  เพราะพระเจ้าทรงมอบเราให้แก่กัน และกัน  ดังนั้น  จุดสุดยอดในการมอบชีวิต ของชายและหญิง  คือ  การแต่งงาน  และการ ให้ ก� ำ เนิ ด บุ ต ร  (Pope  John  Paul  II, 1995)  เป็ น การท� ำ ให้ ม นุ ษ ย์ มี ส ่ ว นในการ ร่ ว มสร้ า งพร้ อ มกั บ พระองค์   พระเจ้ า ตรั ส

106 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

ว่า  “จงมีลกู มาก  และทวีจำ� นวนขึน้ ”  (ปฐม กาล  1:28) ดังนัน้   การมีบตุ รจึงเป็นการเริม่ ต้นของ ครอบครั ว ผ่ า นทางการอวยพรของพระเจ้ า การแต่งงานก่อให้เกิดความรับผิดชอบพิเศษ ต่อความดีส่วนรวมจนถึงครอบครัว  การเป็น บิดามารดาทีร่ บั ผิดชอบจะเป็นเครือ่ งวัดศักดิศ์ รี และคุณค่าของมนุษย์ที่เป็นรูปธรรม  ความ สัมพันธ์ระหว่างเขาทั้งสองและรับใช้ชีวิตใหม่ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้  (Pope  John Paul  II,  1994)  ดังนัน้   การส่งเสริมสถาบัน ครอบครั ว ก่ อ ให้ เ กิ ด พั น ธสั ญ ญาระหว่ า ง ชายและหญิง  การมีส่วนร่วมในชีวิตทั้งครบ ของกันและกัน  เพื่อความดีของคู่สมรส  การ สืบเผ่าพันธุ ์ และการเลีย้ งดูบตุ ร  ในฐานะของ ชุ ม ชนความรั ก และชี วิ ต ครอบครั ว จึ ง เป็ น รากฐานอั น แน่ น แฟ้ น ของสั ง คมที่ ส� ำ คั ญ (Pope  John  Paul  II,  1981) การใช้ เ สรี ภ าพทางเพศเพี ย งเพื่ อ การตอบสนองความปรารถนาทางร่ า งกาย จึงเป็นการลดคุณค่า  และดูเหมือนว่าก่อให้ เกิดความขัดแย้งด้านศีลธรรมในการกระท�ำ ของมนุษย์  ค�ำเชื้อเชิญของพระเยซูเจ้าทรง เชื้อเชิญ  “จงตามเรามาเถิด”  ถือว่าเป็นการ ยกย่องให้เกียรติแก่เสรีภาพของมนุษย์มาก ที่สุด  “เพียงแต่อย่าใช้เสรีภาพของท่านเป็น โอกาสของเนื้ อ หนั ง ”  (กาลาเที ย   5:13)


กิตติคุณ เสมามอญ, ลือชัย ธาตุวิสัย, ออกัสติน สุกีโย ปีโตโย, วัยพรต พุฒสา และ พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์

ความเชื่ อ หรื อ ความนอบน้ อ มเชื่ อ ฟั ง จึ ง แสดงออกมาด้วยความรักมาจากแก่นแท้ของ มนุษย์  คือหัวใจของมนุษย์  (Pope  John P a u l   I I ,   1 9 9 5 )   ซึ่ ง เ อ ก ส า ร ข อ ง พระสั น ตะปาปา  ยอห์ น   ปอล  ที่   2 ที่ ก ล่ า วมาบางส่ ว นนี้ เ ป็ น วิ ถี ข องคริ ส ตชน ที่พึงเดินเพื่อให้มนุษย์มีความละม้ายคล้ายกับ พระเจ้าในฐานะที่เป็นสิ่งสร้างของพระเจ้าตาม ภาพลักษณ์ของพระองค์ ดังนัน้   ผูว้ จิ ยั จึงมีความสนใจทีจ่ ะศึกษา เ รื่ อ ง เ ส รี ภ า พ ท า ง เ พ ศ ใ น มุ ม ม อ ง พระสั น ตะปาปา  ยอห์ น   ปอล  ที่   2 เพือ่ ศึกษามุมมองของพระองค์เกีย่ วกับเสรีภาพ ทางเพศ  ซึ่งจะน�ำไปสู่ความเข้าใจถึงคุณค่า และศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ใ นฐานะภาพ ลักษณ์ของพระเจ้าผ่านทางการค้นคว้าอิสระ ฉบับนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1 .   เ พื่ อ ศึ ก ษ า มุ ม ม อ ง ข อ ง พระสันตะปาปา  ยอห์น  ปอลที ่ 2  เกีย่ วกับ เรื่องเสรีภาพทางเพศ นิยามศัพท์เฉพาะ พระสันตะปาปา  ยอห์น  ปอลที่  2  หมายถึ ง   อดี ต ผู ้ น� ำ พระศาสนจั ก รโรมั น คาทอลิก  เป็นพระสันตะปาปาองค์ที่  264

ระหว่างในช่วงปีคริสตศักราช  1978-2005 (นั บ จากวั น ที่   16  ตุ ล าคม  1978  วั น ที่ 2  เมษายน  2005  รวมเวลาทั้งสิ้น  26  ปี 168  วัน) เสรี ภ าพทางเพศ  (Free  Sex)  หมายถึ ง   การมี เ พศสั ม พั น ธ์ น อกศี ล สมรส ตามมุมมองพระสันตะปาปา  ยอห์น  ปอล ที่   2  เช่ น   การรั ก ร่ ว มเพศ  การร่ ว มเพศ ระหว่างเครือญาติ  การขายบริการ  การข่มขืน การล่ ว งประเวณี   ฯลฯ  โดยปราศจากข้ อ ผู ก มั ด และความรั บ ผิ ด ชอบใดๆ  เป็ น พฤติกรรมเพียงแค่การตอบสนองต่ออารมณ์ ทางเพศของทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1.  ท�ำให้เข้าใจเรื่องเสรีภาพทางเพศใน มุมมองพระสันตะปาปา  ยอห์น  ปอล  ที่  2 มากยิ่งขึ้น 2.  ท�ำให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่า และศั ก ดิ์ ศ รี ข องความเป็ น มนุ ษ ย์   ความ สัมพันธ์ทางเพศในฐานะคู่สมรสและความเป็น ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เอกสารหลักทีใ่ ช้ในการวิจยั ค้นคว้าอิสระ มีดังต่อไปนี้

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559 107


เสรีภาพทางเพศในมุมมองพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2

1.  Familiaris  Consortio.  โดย Pope  John  Paul  II.  ปี  1981. 2.  Letter  to  Families.  โดย Pope  John  Paul  II.  ปี  1994. 3.  Evangelium  Vitae.  โดย Pope  John  Paul  II.  ปี  1995. 4.  The  theology  of  the  body. โดย  Pope  John  Paul  II.  ปี  1997. 5.  Mulieris  Dignitatem.  โดย Pope  John  Paul  II.  ปี  2002. สรุปผลการวิจัย การเป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้าเรียก ร้องความเป็นหนึง่ เดียวระหว่างชายหญิงอันน�ำ ไปสูก่ ารสะท้อนภาพลักษณ์ของพระตรีเอกภาพ ในความสัมพันธ์ของทัง้ สามพระบุคคลผ่านทาง ชีวิตครอบครัว เสรีภาพของมนุษย์เป็นความสามารถใน การเลือกและปฏิเสธ  เป็นเสรีภาพที่ควบคู่กับ การท� ำ ความดี   เสรี ภ าพที่ แ ท้ จ ริ ง   คื อ เสรีภาพที่ปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า เพราะพระองค์ทรงเป็นความสมบูรณ์ครบครัน ที่มนุษย์แสวงหาพระประสงค์ของพระเจ้าจึง เป็นหนทางที่จะท�ำให้มนุษย์ได้ใช้เสรีภาพที่ถูก ต้องอย่างแท้จริง เสรีภาพทางเพศเป็นความรักที่มีอิสระ ระหว่ า งชายหญิ ง ซึ่ ง น� ำ ไปสู ่ ค วามเป็ น หนึ่ ง

108 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

เดียวกันไม่สามารถแยกออกจากกันได้  อันน�ำ ไปสู่การให้ก�ำเนิดบุตรซึ่งมิอาจปฏิเสธได้ ครอบครัวเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์ ของพระเจ้ า ในความสั ม พั น ธ์ ข องพระตรี เอกภาพได้ ใ กล้ เ คี ย งที่ สุ ด   เพราะภายใน ครอบครัวเต็มเปีย่ มไปด้วยความรักทีส่ ง่ มอบไป ยังบุคคลอื่น  อันน�ำไปสู่การสร้างครอบครัว ใหม่ อภิปรายผล จากสถานการณ์ ท างเพศในปั จ จุ บั น พบว่า  เรื่องเพศวิถีก�ำลังเผชิญหน้ากับความ เสื่อมถอยทางด้านศีลธรรม  สถานการณ์ทาง เพศทีเ่ ปลีย่ นแปลงจากอดีตค่อนข้างมาก  จาก เดิ ม บุ ค คลในสั ง คมมองเรื่ อ งเพศเพื่ อ การ สืบพันธุเ์ ป็นการสืบทอดเชือ้ สาย  การขยายเผ่า พั น ธุ ์ ม นุ ษ ยชาติ   การสื บ พั น ธุ ์ จึ ง เป็ น เรื่ อ ง ธรรมชาติ  ณ  ปัจจุบันนี้  ความคิดเรื่องเพศ วิถีแปรเปลี่ยนไปตามสภาพสังคมที่เปิดกว้าง รวมถึงทัศนคติที่ยอมรับเรื่องผิดศีลธรรมทาง เพศมากขึ้น  จนกระทั่ง  เรื่องผิดศีลธรรมทาง เพศเป็นเรื่องปกติที่สังคมสามารถยอมรับได้ จากงานวิจยั ของส�ำนักงานสถิตแิ ห่งชาติ ที่มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์ ทางเพศของสังคมไทย  พบว่า  พฤติกรรมทาง เพศสั ม พั นธ์ ใน  4  หั วข้ อ   คื อ   1)  การมี เพศสั ม พั น ธ์ ก ่ อ นอายุ   15  ปี   2)  หญิ ง มี


กิตติคุณ เสมามอญ, ลือชัย ธาตุวิสัย, ออกัสติน สุกีโย ปีโตโย, วัยพรต พุฒสา และ พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์

เพศสัมพันธ์กอ่ นการแต่งงาน  3)  การอยูด่ ว้ ย กันโดยไม่แต่งงานและ  4)  การมีเพศสัมพันธ์ มากกว่า  1  คน  พบว่า  มีทัศนคติเปิดต่อ เรื่องเพศมากขึ้น  อันน�ำไปสู่มุมมองใหม่ที่เปิด กว้ า งขึ้ น   ยอมรั บ ง่ า ยขึ้ น   และน� ำ ไปสู ่ ก ฎ เกณฑ์ ใ หม่ ท างสั ง คมอั น แปรปรวนและ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  อีกทั้ง  ยังเป็น เรื่องของปัจเจกบุคคล  “การท�ำรักโดยไม่ต้อง ท�ำลูก”  มีอยู่ทั่วๆ  ไปในสังคมปัจจุบัน ความรั ก เป็ น สิ่ ง ที่ ดี แ ละเป็ น สิ่ ง ที่ เหมาะสมกับมนุษย์  แต่การมีความรักที่เกิน ขอบเขตขาดการยับยั้งชั่งใจ  โดยเฉพาะการมี เพศสัมพันธ์จนท�ำให้ตั้งครรภ์ในวัยเรียน  นับ เป็นปัญหาทั้งด้านการเรียน  ครอบครัว  และ สังคมซึ่งมีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ  ทั้งๆ  ที่ วัยเรียนเป็นวัยทีย่ งั ไม่มคี วามพร้อมในเรือ่ งของ การมี บุ ต ร  รวมทั้ ง วุ ฒิ ภ าวะด้ า นความเป็ น ผูใ้ หญ่เพียงพอต่อการรับผิดชอบต่อการเกิดมา ของบุตร  และหน้าทีก่ ารอบรมสัง่ สอนของบิดา มารดาที่ต้องรับผิดชอบในภายหลัง จากสถานการณ์ดังกล่าว  พระสันตะปาปา  ยอห์น  ปอล  ที่  2  ทรงมีมุมมองว่า ความเป็นบุคคลของมนุษย์กลายเป็นของขวัญ ในการใช้เสรีภาพทางความรัก  และมิได้หยุด อยู่เพียงแค่ร่างกายภายนอกเท่านั้น  แต่ลงลึก ไปถึ ง คุ ณ ค่ า ภายในจิ ต ใจ  ตระหนั ก ถึ ง การ ละเว้นจากความปรารถนาทางสัมผัส  เป็น

พิเศษในเรื่องเกี่ยวกับทางเพศ/เพศวิถี  เรื่อง ของการผิดประเวณี  ความมักมากในกาม  อัน น�ำไปสู่ความโน้มเอียงที่ผิดพลาดทางศีลธรรม การควบคุ ม ตนเองจึ ง เป็ น สิ่ ง ส� ำ คั ญ ส�ำหรับมนุษย์ตอ่ การตอบสนองความปรารถนา ของร่ า งกาย  แต่ สิ่ ง ที่ ส� ำ คั ญ   คื อ   ความ สามารถที่ จ ะให้   (Give  One’s  Self) ต่อกันและกันโดยไม่มีสิ่งใดมาปิดกั้น  หรือขัด ขวาง  ทั้งชายและหญิงจึงเป็นของขวัญที่มอบ ให้แก่กนั และกันอย่างอิสระด้วยความรักทีม่ อบ ให้กันด้วยจิตใจที่อิสระ  มากกว่าการท�ำตาม อ� ำ เภอใจที่ ล ดคุ ณ ค่ า เรื่ อ งเพศเป็ น เพี ย งแค่ กิจกรรมที่ให้ความสุขทางร่างกายเท่านั้น การร่ ว มเพศฉั น ท์ ส ามี ภ รรยาจึ ง เป็ น การมอบความรักแก่กันและกัน  เป็นการมอบ ของขวัญที่ล�้ำค่าที่สงวนไว้ส�ำหรับคู่ครองของ ตน  ซึ่งบุคคลอื่นไม่สามารถเข้ามาล่วงล�้ำได้ เปรียบเสมือนเป็นสถานที่ส่วนบุคคลอันมิอาจ ล่วงเกินได้ซึ่งถูกสงวนไว้ให้กับบุคคลที่เหมาะ สมและในเวลาที่เหมาะสม ความรักของคู่สมรสเป็นรหัสธรรมของ พระศาสนจักร  คือ  การเป็นหนึ่งเดียวกันระ หว่างพระคริสตเจ้ากับพระศาสนจักร  และเป็น คุณลักษณะของศีลสมรส  เป็นกระแสเรียกของ คริสตชนที่จะเข้าใจและเป็นประจักษ์พยาน ในความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว มิใช่เพียงแค่ความสัมสัมพันธ์ของสามีภรรยา

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559 109


เสรีภาพทางเพศในมุมมองพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2

เท่านั้น  แต่ยังรวมถึงความสัมพันธ์ของบิดา มารดากับบุตรของตน”  อันน�ำไปสูก่ ารสะท้อน ภาพลักษณ์ของพระตรีเอกภาพผ่านทางความ สัมพันธ์ภายในครอบครัว ในการเลือกอย่างอิสระของชายหญิงที่ มุง่ สูค่ วามเป็นหนึง่ เดียวในศีลศักดิส์ ทิ ธิอ์ นั มิอาจ แยกออกจากกันได้ในความสัมพันธ์ของคูส่ มรส ซึ่งน�ำไปสู่การมีสมาชิกใหม่ภายในครอบครัวที่ มิอาจหลีกเลีย่ งได้  อีกทัง้   ยังน�ำไปสูก่ ารสร้าง ครอบครัวใหม่อนั เป็นบ่อเกิดของชีวติ ต่อๆ  ไป มนุ ษ ย์ จึ ง ได้ รั บ มอบหน้ า ที่ พิ เ ศษในการเป็ น ผู้ร่วมสร้างพร้อมกับพระองค์  “จุดสุดยอด ในการมอบชีวิตของตนให้แก่กันและกัน  โดย การทีม่ นุษย์ชายหญิงแต่งงานกันและให้กำ� เนิด ชีวิตใหม่” ผ่ า นทางความรั ก   ความสั ม พั น ธ์ ที่ ทัง้ สองมอบให้แก่กนั   อันเป็นความรักทีเ่ หมาะ สมจนกระทั่งกล้ายืนยันในความรักผ่านทาง ศีลศักดิ์สิทธิ์ของพระศาสนจักรคาทอลิกเพื่อ ช่ ว ยให้ ชี วิ ต คู ่ รั ก ของทั้ ง สองยื น ยาว  ผ่ า น ทางการให้ ค� ำ มั่ น สั ญ ญาที่ ใ ห้ ต ่ อ กั น ต่ อ หน้ า พระเจ้า  ต่อหน้าพระศาสนจักรคาทอลิก  และ ต ่ อ ห น ้ า กั น แ ล ะ กั น ข อ ง คู ่ รั ก   อี ก ทั้ ง มีพระคัมภีร์ไบเบิ้ลเป็นพื้นฐาน  เป็นแนวทาง ในการด�ำเนินชีวิตอันน�ำไปสู่ความดีสูงสุด บรรดาหนุม่ สาวทัง้ หลายควรมอบความ รักแก่ทกุ คนในแบบของพระเยซูเจ้า  เป็นความ

110 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

รักที่ไม่มีข้อจ�ำกัด  และเพื่อส�ำหรับทุกๆ  คน โดยมิหวังผลตอบแทน  ความรักที่แท้จริงต้อง ไม่นึกถึงผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับในภาย หลัง  ความรักที่แท้จริงต้องเป็นความรักที่ไม่ เห็นแก่ตัว  ตระหนักว่าทุกๆ  คนในสังคมเป็น พีน่ อ้ งเหมือนเราทุกคนอยูใ่ นครอบครัวเดียวกัน มาจากพ่อแม่เดียวกัน  ความรักที่แท้จริงจึง ต้องอุทิศตนเองทั้งครบเพื่อผู้อื่น  เป็นการใช้ พลั ง ความรั ก   พลั ง ทางเพศในหนทางที่ เหมาะสม  จนกระทั่ง  มองข้ามเรื่องของเพศ วิถี  โดยการไม่ยึดติดเพียงแค่ร่างกายเท่านั้น ซึ่งสามารถเห็นได้จากบรรดาผู้ฝึกหัดที่รับใช้ เพือ่ นพีน่ อ้ งทีด่ อ้ ยโอกาสทางสังคม  อุทศิ ตนใน การท�ำงานของพระเจ้าเป็นอันดับแรก ดังนั้น  การใช้เสรีภาพอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะเสรีภาพทางเพศจึงเป็นการส่งเสริม ภาพลั ก ษณ์ ข องพระเจ้ า ที่ อ ยู ่ ภ ายในมนุ ษ ย์ ทุกคนทัง้ นีเ้ พราะการร่วมเพศมิได้หยุดเพียงแค่ ร่ า งกาย  แต่ ยั ง สื บ เนื่ อ งไปยั ง การมี บุ ต ร ด้ ว ยเหตุ นี้   สั ญ ชาตญาณ  ความต้ อ งการ ทางเพศและคุ ณ ค่ า ของชี วิ ต ต้ อ งไปด้ ว ยกั น โดยผ่านทางการแสดงออกในฐานะสามีภรรยา ที่มีหน้าที่ดูแล  และให้เกียรติด้วยความรักที่มี ต่ อ กั น และในฐานะบิ ด ามารดาที่ มี ห น้ า ที่ รับผิดชอบต่อบุตรที่จะก�ำเนิดมาภายหลังการ สมรส


กิตติคุณ เสมามอญ, ลือชัย ธาตุวิสัย, ออกัสติน สุกีโย ปีโตโย, วัยพรต พุฒสา และ พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์

ข้อเสนอแนะ 1.  ควรจัดการอบรมเรื่อง  เสรีภาพ ทางเพศตามมุ ม มองของพระศาสนจั ก ร คาทอลิกเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เหมาะสมส�ำหรับคริสตชน 2 .   ค ว ร จั ด ท� ำ สื่ อ สิ่ ง พิ ม พ ์ แ ล ะ สื่ออิเล็กทรอนิกส์  เพื่อเผยแพร่แนวความคิด ของพระสั น ตะปาปายอห์ น   ปอล  ที่   2 ในประเด็ น ต่ า งๆ  ที่ เ ป็ น ประโยชน์ ต ่ อ การ ด�ำเนินชีวิตในยุคปัจจุบัน ข้อเสนอเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป 1.  ควรศึกษาสภาพความเป็นจริงของ การใช้เสรีภาพทางเพศของคริสตชนไทย 2.  ควรศึ ก ษาแนวทางการส่ ง เสริ ม การใช้เสรีภาพทางเพศทีเ่ หมาะสมแก่คริสตชน ไทยกลุ่มต่างๆ  เช่น  กลุ่มวัยรุ่น  กลุ่มผู้ใหญ่ กลุ่มผู้สูงอายุ  ฯลฯ บรรณานุกรม กฤตยา  อาชวนิ จ กุ ล .  เพศวิ ถี ที่ กํ า ลั ง  เปลี่ ย นแปลงไปในสั ง คมไทย.  Ac cessed  March  7,  2015.  Avail able  from  http://www2.ipsr. mahidol.ac.th/ConferenceVII/ Download/  2011-Article-03.pdf

การุณย์ลักษณ์  พหลโยธิน.  โครงการศึกษา  รวบรวมข้ อ มู ล พื้ น ฐานเกี่ ย วกั บ  สถานภาพทางเพศกับการเมือง.  Ac cessed  March  7,  2558.  Avail able  from  http://www.kpi.ac.th/ kpith/pdf/  ผลงาน/ผลงานวิจยั /สสม/ สถานภาพทางเพศกั บ การเมื อ ง/ r-สถานภาพทางเพศกับการเมือง.pdf กีรติ  บุญเจือ.  แก่นปรัชญายุคกลาง.  พิมพ์ ครัง้ ที ่ 2.  กรุงเทพ:  แอคทีฟ  พริน้ ท์, 2550. _______.  ปรั ช ญาลั ท ธิ อั ต ถิ ภ าวนิ ย ม. กรุงเทพ:  ส�ำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2522. คณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ คริสตศาสนาธรรม แผนกพระคัมภีร.์   พระคัมภีรค์ าทอลิก  ฉบับสมบรูณ์.  ม.ป.ท.,  2014. ชลิ ด าภรณ์   ส่ ง สั ม พั น ธ์ .   เพศวิ ถี :   นิ ย าม  ความหมาย  และกรอบแนวคิด.  Ac cessed  March  7,  2558.  Avail able  from  http://www.teen path.net/data/event/40002/Sex Course01.asp ทัศนีย์  มธุรสสุวรรณ.  ทรรศนะจริยศาสตร์  คริสต์ที่มีต่อปัญหาเพศสัมพันธ์ของ  เด็ ก วั ย รุ ่ น .  วิ ท ยานิ พ นธ์   หลั ก สู ต ร

ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2016/2559 111


เสรีภาพทางเพศในมุมมองพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2

ศึ ก ษาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต   สาขาวิ ช า จริ ย ศาสตร์   มหาวิ ท ยาลั ย มหิ ด ล, 2548. นุชนารถ  ข�ำขยัน.  ความเข้าใจวัฒนธรรม  ทางเพศในการป้องกันเอดส์ของวัยรุน่ :  กรณีศึกษาในวัยรุ่นในชุมชนแห่งหนึ่ง  ในกรุ ง เทพมหานคร.  วิ ท ยานิ พ นธ์ หลั ก สู ต รศึ ก ษาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต (สาธารณสุ ข ศาสตร์ )   สาขาวิ ช า สุ ข ศึ ก ษาและพฤติ ก รรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,  2543. พัชราภา  ตันติชูเวช.  การศึกษาพฤติกรรม  ทางเพศ  และการเห็นคุณค่าในตนเอง  ของนั ก ศึ ก ษาที่ มี ป ระสบการณ์ เ พศ  สั ม พั น ธ์ แ บบข้ า มคื น .  Accessed March  2,  2015.Available  from http://www.ssa.ipsr.mahidol. ac.th/Sexuality/index.php? option=com_docman&task=cat_ view&gid=46&Itemid=58&limitsta rt=15

112 วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม

John  Paul  II,  Pope.  1994.  Letter  to  Families.  London:  Catholic Truth Society. _______________.  1981.  Familiaris Consortio.  Boston:  Pauline Books  &  Media. _______________.  1995.  Evangelium Vitae.  Boston:  Pauline  Books &  Media. _______________.  1997.  The  Theol ogy  of  The  Body.  Boston: Pauline  Books  &  Media. _______________.  2002.  Mulieris  Dignitatem.  London:  Catholic Truth Society.


วารสารวิชาการ

วิทยาลัยแสงธรรม

Saengtham College Journal

ใบสมัครสมาชิก วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม สมาชิกในนาม............................................................................................................................ ที่อยู่ (สำ�หรับจัดส่งวารสารวิชาการ) เลขที่.................................ถนน......................................... แขวง/ตำ�บล......................................เขต/อำ�เภอ......................................................................... จังหวัด..............................................................รหัสไปรษณีย์.................................................... โทรศัพท์........................................................................โทรสาร............................................... มีความประสงค์สมัครเป็นสมาชิก วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 1 ปี (2 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 200 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 2 ปี (4 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 400 บาท วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม 3 ปี (6 ฉบับ) อัตราค่าสมาชิก 500 บาท ชำ�ระเงินโดยวิธี ธนาณัติ (สั่งจ่าย “บาทหลวงอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ”) ปณ.อ้อมใหญ่ 73160 โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย สาขาสามพราน ชื่อบัญชี “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม” เลขที่บัญชี 734-0-27562-2 (พร้อมส่งเอกสารการโอนมาที่ โทรสาร 02-429-0819) ที่อยู่ที่ต้องการให้ออกใบเสร็จรับเงิน ตามที่อยู่ที่จัดส่ง ที่อยู่ใหม่ในนาม........................................................................................................... เลขที่.........................ถนน..............................................แขวง/ตำ�บล........................... เขต/อำ�เภอ.............................จังหวัด................................รหัสไปรษณีย์......................

.............................................(ลงนามผู้สมัคร) วันที่...............................................

ส่งใบสมัครมาที่ : ศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม วิทยาลัยแสงธรรม 20 หมู่ 6 ต.ท่าข้าม อ.สามพราน จ.นครปฐม 73110 หรือที่โทรสาร 02-429-0819


รูปแบบและเงื่อนไขการส่งต้นฉบับบทความ

www.saengtham.ac.th/journal

1. เป็นบทความวิชาการ  บทวิจารณ์หนังสือ  และบทความปริทัศน์  ด้านปรัชญา  ศาสนา  เทววิทยา และการศึกษาคาทอลิก  ที่ยังไม่เคยเผยแพร่ในเอกสารใดๆ 2. การพิมพ์ผลงานทางวิชาการควรจัดพิมพ์ด้วย  Microsoft  Word  for  Windows  หรือซอฟท์แวร์ อื่นที่ใกล้เคียงกัน  พิมพ์บนกระดาษขนาด  A4  หน้าเดียว  ประมาณ  28  บรรทัด  ต่อ  1  หน้า TH  SarabunPSK  ขนาดของตัวอักษรเท่ากับ  16  และใส่เลขหน้าตั้งแต่ต้นจนจบบทความ 3. ต้องมีชื่อเรื่องบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 4. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบทความทุกคน  ได้แก่  ชื่อ-นามสกุลของผู้เขียน  หน่วยงานที่สังกัด  ต�ำแหน่ง ทางวิชาการ  (ถ้ามี)  E-mail  หรือโทรศัพท์  หากเป็นวิทยานิพนธ์  ต้องมีชื่อและสังกัดของอาจารย์ ที่ปรึกษาด้วย  ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 5. ทุ ก บทความจะต้ อ งมี บ ทคั ด ย่ อ ภาษาไทย  และ  Abstract  จะต้ อ งพิ ม พ์ ค� ำ ส� ำ คั ญ ในบทคั ด ย่ อ ภาษาไทย  และพิมพ์  Keywords  ใน  Abstract  ของบทความด้วย 6. บทความวิจัยความยาวไม่เกิน  12  หน้า  บทความวิชาการความยาวไม่เกิน  8  หน้า  (รวมบรรณานุกรม แล้ว) 7. เชิงอรรถอ้างอิง  (ถ้ามี) 8. บรรณานุกรมตามมาตรฐาน  APA  แยกผลงานภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  (เรียงตามล�ำดับตัวอักษร) 9. บทความวิจัยควรมีหัวข้อดังนี้  ชื่อเรื่องบทความวิจัย  (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)  ชื่อผู้เขียนพร้อม ข้อมูลส่วนตัวของทุกคน  (รายละเอียดตามข้อ  4)  บทคัดย่อภาษาไทย  และ  Abstract  ความส�ำคัญ ของเนื้อหา  วัตถุประสงค์  สมมติฐานของการวิจัย  ประโยชน์ที่ได้รับ  ขอบเขตการวิจัย  นิยามศัพท์ (ถ้ามี)  วิธีการด�ำเนินการ  ผลการวิจัย  ข้อเสนอแนะ  และบรรณานุกรรม/References 10. ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการตรวจประเมิ น   จ� ำ นวน  2,400  บาท  โดยโอนเงิ น เข้ า บั ญ ชี อ อมทรั พ ย์   ธนาคาร กรุงไทย  สาขาสามพราน  ชื่อบัญชี  “วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม”  เลขที่บัญชี  734-0-27562-2 (พร้อมส่งเอกสารการโอนมาที่  Fax.  02-429-0819)  หรือที่  E-mail:  rcrc.saengtham2016@ gmail.com)  ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวผู้ส่งบทความเป็นผู้รับผิดชอบ  และจะไม่ได้รับคืนในทุกกรณี 11. กองบรรณาธิ ก ารน� ำ บทความที่ ท ่ า นส่ ง มาเสนอต่ อ ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ เ พื่ อ ประเมิ น คุ ณ ภาพความ เหมาะสมของบทความก่อนการตีพิมพ์  ในกรณีที่ผลการประเมินระบุให้ต้องปรับปรุงหรือแก้ไข  ผู้เขียน จะต้องด�ำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา  15  วัน  นับจากวันที่ได้รับผลการประเมินบทความ หากท่ า นต้ อ งการสอบถามกรุ ณ าติ ด ต่ อ กั บ กองบรรณาธิ ก ารวารสารวิ ช าการ  โทร.  02-429-0100 โทรสาร  02-429-0819  หรือ  E-mail:  rcrc.saengtham2016@gmail.com


ขั้นตอนการจัดทำ�

วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม Saengtham College Journal

เริ่มต้น ประกาศรับบทความต้นฉบับ รับบทความต้นฉบับ แก้ไข กองบก. ตรวจรูปแบบทั่วไป

ไม่ผ่าน

แจ้งผู้เขียน

ผ่าน ส่งผู้ทรงคุณวุฒิ ข

ก้ไ อ้ งแ

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ ผ่าน กองบรรณาธิการแจ้งยืนยัน การรับบทความ จัดพิมพ์เผยแพร่ จบ

ไม่ผ่าน

แจ้งผู้เขียน

ไม่ต

แก้ไ

แจ้งผู้เขียน แก้ไข

จบ



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.