แสงธรรมปริทัศน์ ฉบับเดือนภฤษภาคม-สิงหาคม 2010

Page 1


โรงเรียนคาทอลิกเปนสนามประกาศขาวดี 3

Content 1

Saengtham Journal ปที่ 34 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2010/2553

1 :

27 :

27

42 : 52 : 61 :

52 83 : 101 :

บทบรรณาธิการ แนวทางการพัฒนาชีวิตจิตและคุณธรรม จริยธรรมคริสตชน บาทหลวงสมชัย พิทยาพงศพร ความรักเมตตา : คุณธรรมในการดำเนินชีวิต ของคริสตชน บาทหลวงวสันต พิรุฬวงศ คุณธรรมความรอบคอบ บาทหลวงฟรังซิส ไกส การหวนคืนของคุณธรรม ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ แนวความคิดสวนหนึ่งของพระสันตะปาปา ยอหน ปอล ที่ 2 เกี่ยวกับเพศจริยศาสตร บาทหลวงสิรนนท สรรเพ็ชร ถอมตน เรียบงาย…หนทางสูความศักดิ์สิทธิ์ วีณา โกวิทวานิชย วิถีแหงการให วิถีแหงความสุข พีรพัฒน ถวิลรัตน


4

วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

62

84

101

123

110 : โรงเรียนคาทอลิกเปนสนามประกาศขาวดี บาทหลวงเคลาดิโอ เบรตุชอร 123 : ปรัชญาความสุข ศาสตราจารยกีรติ บุญเจือ 143 : แนะนำหนังสือ บาทหลวงสมชัย พิทยาพงศพร


ความรักเมตตา : คุณธรรม ในการดำเนินชีวิตของคริสตชน 27

หมวดจริยธรรม

¤ÇÒÁÃÑ¡àÁµµÒ : ¤Ø³¸ÃÃÁ 㹡ÒôÓà¹Ô¹ªÕÇÔµ¢Í§¤ÃÔʵª¹ บาทหลวงวสันต พิรุฬหวงศ CSS.1 แม ม นุ ษ ย จ ะถู ก สร า งมาตามภาพลักษณของพระเจา ใหเปนเหมือนกับพระเจา และถูกเรียกใหกลับไปสูจุดหมายสุดทายใน พระเจา แตมนุษยกย็ งั มีความออนแอและโนม เอียงไปในทางบาป มนุษยเอนเอียงทีจ่ ะปฏิเสธ ขอเสนอทีเ่ ปย มดวยความรักของพระเจา บาป จึงเปนสิ่งที่มีอยูจริงในประสบการณมนุษ ย เชนเดียวกับการมีอยูจริงของพระหรรษทาน มนุษยจงึ ตองการ “ความเมตตา” จากพระเจา

1

เพราะมนุษ ยตกอยูในสภาพของการเปนคน บาปและหมดหวัง มนุษยไมสามารถชวยเหลือ ตนเองใหพนจากอำนาจของบาปได สถานการณ ในสังคมปจจุบันที่เต็ม ไปดวยชองวางระหวางคนจนกับคนรวย มี ความเกลียดชังและการไมไววางใจกันระหวาง ประชาชนที่ตางกันทางดานเชื้อชาติและเผา พันธุ มีการตอสูกันอยางไมสิ้นสุดของคนใน ชาติแตตางอุดมการณทางการเมือง ทั้งหมด

อธิการเจาคณะแขวงคณะรอยแผลศักดิส์ ทิ ธิ์ (สติกมาติน), อาจารยสาขาวิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร วิทยาลัยแสงธรม


28 วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

เปนเครื่องหมายที่แสดงใหเห็นอยางชัดเจน ว า มนุ ษ ย ใ นสั ง คมป จ จุ บั น นี้ ก ำลั ง ร อ งหา ความเมตตาอย า งเงี ย บๆ ทั้ ง จากฝ า ยของ พระเจาและจากฝายของมนุษยดวยกันเอง บทความนี้เปนการนำเสนอแนวคิด เรือ่ งคุณธรรมความรักเมตตา โดยมีจดุ เริม่ ตน จากความรั ก เมตตาของพระเยซู เ จ า ที่ ท รง แสดงออกผานทางพันธกิจตางๆ ที่พระองค ไดทรงกระทำ จากนัน้ จะพิจารณาความสำคัญ ของพันธกิจดังกลาววามีผลเกี่ยวเนื่องมาถึง พวกเราคริสตชนในสังคมปจจุบันอยางไร

ผูที่ไดรับการเชื้อเชิญใหเขาในพระอาณาจักร ของพระเจา ซึ่งไดมาถึงโลกมนุษยนี้แลว ผาน ทางพระบุคคลของพระองคเอง ในที่นี้ เราจะพิจารณาพระพันธกิจ แหงความรักเมตตาของพระเยซูเจาผานทาง เหตุการณสำคัญ 3 เหตุการณ คือ การรักษา คนปวยใหหายจากโรค การแสดงพระองคเอง ในฐานะอาจารยสอนความเมตตาของพระเจา และใหการอภัยบาป

1. พันธกิจของพระเยซูเจา:พันธกิจแหงความ รักเมตตา การประกอบพันธกิจแหงความเมตตา ของพระเยซูเจาเปนการยืนยันถึงการเทศนา สั่ ง สอนของพระองค ที่ ว า คนยากจนคนถู ก กดขีข่ มเหง คนบาปและคนที่ถูกทอดทิ้ง เปน

บทความนี้ เปนการนำเสนอแนวคิดเรื่องคุณธรรมความรักเมตตา โดยมีจุดเริ่มตนจากความรักเมตตาของพระเยซูเจาที่ทรงแสดงออก ผานทางพันธกิจตางๆ ที่พระองคไดทรงกระทำ


ความรักเมตตา : คุณธรรม ในการดำเนินชีวิตของคริสตชน 29

1.1 การแสดงความรักเมตตาของ พระเจาผานทางการรักษาคนปวย เราพบเรื่องการรักษาโรคภัยไขเจ็บ ตางๆ ของพระเยซูเจาไดในพระวรสารทั้งสี่ ฉบับ2 พระเยซูเจาทรงรักษาคนปวยเพราะทรง รูสึกสงสารพวกเขา แตแมเราจะมองเห็นการ รักษาโรคของพระเยซูเจาไดจากการที่ผูปวย หายโรคทางฝายกายก็ตาม พระเยซูเจาก็ยงั ได เนนถึงสภาพทางจิตของคนที่ไดรับการรักษา ดวยเสมอ โดยพระองคทรงเนนถึง “ความ เชื่อ” ซึ่งเปนเงื่อนไขสำคัญที่พระเยซูเจาเรียก รองจากคนที่ตองการใหพระองครักษา3 ในการรักษาหญิงคนหนึ่งที่ถูกปศาจ สิงและเจ็บปวยมาสิบแปดปแลว (ลก 13:1113) ซึ่งเปนการแสดงถึงความมีเมตตาสงสาร ของพระเยซูเจาตอคนที่เปนทุกขทรมาน แต การกระทำของพระองคกลับไดรับการวิพากษ วิจารณอยางหนักจากหัวหนาศาลาธรรม เนือ่ ง จากพระองค ท รงรั ก ษาโรคในวั น สั บ บาโต 4 แตคำตอบของพระเยซูเจาก็ ไดทำใหพวกที่

2

ตอตานพระองค ไดอับอาย การเสด็จมาของ พระเยซูเจาจึงเปนการแสดงใหเห็นวา ความ มีเมตตาที่แทจริงนั้น เมื่อนำมาสูการปฏิบัติ มี เ พี ย งประชาชนที่ ป ราศจากอคติ เ ท า นั้ น ที่ ยกยองสรรเสริญ แมบรรดาผูนำจะวิพากษ วิจารณพระองค แตประชาชนกลับ “ชื่นชม ยินดีเมื่อเห็นการอัศจรรยทั้งหลายที่พระองค ทรงกระทำ” (ลก 13:17) เรื่ อ งการรั ก ษาคนโรคเรื้ อ นสิ บ คน (ลก 17:11-19) เปนอีกตัวอยางหนึง่ ทีน่ ำเสนอ ภาพของพระเยซูเจาวา ทรงพอใจและเลือกที่ จะทำงานกับคนทีถ่ กู สังคมทอดทิง้ พระเยซูเจา ทรงรักษาคนโรคเรือ้ นทัง้ สิบคน แตทรงชมเชย เพียงคนเดียวที่กลับมาขอบคุณพระองคที่ได รักษาเขาใหหาย เราทราบวาชายคนนั้นเปน ชาวสะมาเรียเพียงคนเดียวในกลุม และเปนคน ตางชาติ เหตุการณนี้ผูเขียนพระวรสารตอง การบอกเราวาการรักษาโรคของพระเยซูเจา เปนพระคุณที่ใหเปลา ไมเกีย่ วของกับคุณงาม ความดีหรือเงื่อนไขใดๆ จากฝายมนุษย จาก

H.W.Beyer, “Therapeia”, Theological Dictionary of the New Testament, vol.III, p.128-131. 3 R.K.Harrison, “Healing”, Interpreter’s Dictionary of the Bible, vol.II, p.547. 4 หัวหนาศาลาธรรมคิดวา การรักษาโรคเปนงานที่ตองหามในวันสับบาโต ตามขอกำหนดของธรรมบัญญัติ


30 วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

เรื่องการรักษาคนโรคเรื้อนสิบคนนี้ เราจึงพอ สรุปความจริงพื้นฐานประการหนึ่งที่พระเปน เจาทรงเปดเผยใหเรารูผานทางพระเยซูเจา คือ ความรักเมตตาของพระเจาเปนพระคุณ ใหเปลาที่ทรงมอบใหกับใครก็ได ที่ไหนก็ได เมื่อไรก็ได ตามแตพระประสงคของพระองค ไมมี ใครและมนุษ ยคนใดสามารถเรียกรอง สิทธิทจ่ี ะไดรบั ความเมตตานี้ได แตเปนพระเจา เองที่ทรงเสนอและมอบพระคุณนี้แกมนุษ ย ผานทางพระเยซูคริสตเจา พระบุตรองคเดียว ของพระองค 1.2 พระเยซูเจาในฐานะเปนอาจารย สอนความรักเมตตาของพระเจา แมพันธกิจการเทศนสอนของพระเยซูเจาเปนเรื่องที่พบไดในพระวรสารทุกฉบับ แตเปนลูกาที่ไดบรรยายเรื่องนี้ไวอยางงดงาม และมีเนื้อหายาวกวาผูนิพนธพระวรสารคน อื่น5 และที่สำคัญคือเราพบวาหัวขอหลักที่พบ อยู ทั่ ว ไปในการประกอบพระพั น ธกิ จ ต า งๆ ของพระเยซูเจา และเปนหัวขอที่ทำใหเนื้อหา

5

ทั้งหมดรวมเขาเปนหนึ่งเดียวกันก็คือ เรื่อง ความรักเมตตาของพระเจาและการใหอภัย ดวยความรักนั่นเอง ในที่นี้ เราจะพิจารณา เรื่องชาวสะมาเรียใจดีและเรื่องลูกลางผลาญ ทัง้ สองเรือ่ งนีเ้ ปนตัวอยางทีแ่ สดงใหเห็นอยาง ชัดเจนที่สุดของคำสอนเรื่องความเมตตาและ ความรักของพระเจา โดยเฉพาะอยางยิ่ง ตอ คนที่โชครายและคนที่ประพฤติผิดไป

แมจะยังไมเปนที่ยอมรับกันอยางเอกฉันทในระหวางพวกนักวิชาการ เกี่ยวกับเรื่องการแบงพระวรสารของ ลูกาออกเปนตอนๆ แตที่พอจะเปนความเห็นรวมกันได ไมมากก็นอย ก็คือ เนื้อหาของลูกาตั้งแต ลก 9:51 ถึง ลก 19:27 นั้น เปาหมายหลักของพระเยซูเจาในที่นี้คือ ตองการสอนบรรดาศิษยของพระองค


ความรักเมตตา : คุณธรรม ในการดำเนินชีวิตของคริสตชน 31

1.2.1 ชาวสะมาเรียใจดี: ความรัก เมตตาตอเพื่อนพี่นองที่ตองการความชวยเหลือ ด ว ยภู มิ ห ลั ง ของเนื้ อ เรื่ อ งที่ เ กิ ด ขึ้ น ในปาเลสไตน ทำใหเราพอจะแนใจไดวาลูกา (10:29-37) ไม ไดแตงเรื่องนี้ขึ้นมาเอง แต ท า นนำเรื่ อ งนี้ ม าจากแหล ง อื่ น ที่ มี อ ยู ก อ น แลว6 ที่นาสนใจในที่นี้คือ ผานทางอุปมาเรื่อง นี้ พระเยซูเจาไดประกาศอยางชัดเจนวา ใคร ก็ตามที่ตกอยูในยามตองการความชวยเหลือ ก็ถอื วาเปนเพือ่ นบานของเราทัง้ สิน้ ความหมาย ของคำว า “เพื่ อ นบ า น” ไม ค วรจำกั ด อยู ที่ ศาสนา ชนชั้น หรือเชื้อชาติ ดังนั้น ตัวอยาง ของชายชาวสะมาเรียในอุปมาซึ่งเปนชาติที่ พวกยิวเกลียดชัง จึงเปนแบบอยางในเรื่อง ความรักเมตตาที่พระเยซูเจาตองการสอน

6

พวกยิวและพวกเราวา ในสายพระเนตรของ พระเจา คุณคาของคนไมใชอยูที่เชื้อชาติหรือ เผาพันธุ แตอยูที่ความรักเมตตาที่แตละคน แสดงออกตอเพื่อนพี่นองที่อยูรอบขาง7 เรื่องความมีเมตตาของชาวสะมาเรีย ตอเพื่อนบานขางถนน จึงชี้แสดงความจริง ประการหนึ่งวา ความเมตตาที่แทจริงนั้นเปน การมีทัศนะคติอยาง “บูรณาการ” ทั้งในดาน ความรัก ความเมตตาสงสาร ความออนหวาน ความเอาใจใส และการดูแลทุกคนที่ตกอยูใน ความยากลำบากและตองการความชวยเหลือ ดังคำกลาวของ เจ. ลัมเบรจท ที่วา “ความรักตอเพื่อนบาน การมีความ เมตตาสงสาร การชวยเหลือคนที่อยูในความ ตองการดวยวิธีการที่เห็นผล โดยการสละสิ่ง ที่ตนมีใหกับพวกเขานั้น ทั้งหมดนี้ เปนองค

I.H.Marshall, The Gospel of Luke (New International Greek Testsment Commentary), Exeter: Parenoster Press, 1978, p.446 7 พระเยซูเจาทรงยกอุปมาเพื่อสอนเรื่องความรักเมตตานี้ เพื่อกระตุนบรรดาศิษยของพระองคใหปฏิบัติตาม ในสิ่งที่พระองคสอน คำวา “ทำ” ในตอนจบของคำอุปมาจึงเปนเหมือนกุญแจของคำอุปมานี้ และเรายัง พบคำนี้อีกหลายครั้งในพระวรสารของลูกา เชน ลก 10:37, 3:10-14, 8:21, กจ 2:37 ดูเรื่องนี้เพิ่มเติมใน H. Braun, “Poiein” Theological Dictionary of the New Testament, vol. VI, p.473f.


32 วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

ประกอบของหัวขอหลักเรื่องความรักเมตตา ของลูกา ซึง่ เปนเรือ่ งทีล่ กู าเนนอยางหนักแนน และไมมีใครสงสัยในเรื่องนี้อีกตอไป”8 ดังนั้น การเปนผูเมตตากรุณาเหมือน พระบิดาเจาสวรรค (ลก 6:36) จึงเปนอุดมคติ ของคริสตชนทุกคน ไมใชเปนเพียงแคทัศนคติในการดำเนินชีวิตเทานั้น แตเปนแนวทาง การดำเนินชีวิตแบบบูรณาการของคริสตชน ทุกคน 1.2.2 ลู ก ล า งผลาญ : ความรั ก เมตตาของพระเจา เรื่องลูกลางผลาญตามการเลาของ ลูกานั้น9 ชี้แสดงคำสอนเรื่องความรักเมตตา ของพระเจาตอคนบาปที่กลับใจ อุปมานี้พบ ในพระวรสารของลูกาบทที่ 15 ซึ่งประกอบ ดวยอุปมาสามเรื่องดวยกันและทั้งหมดก็เปน

8

เรื่องเกี่ยวกับ “การสูญเสียไปและไดรับกลับ มาใหม” อุปมาทั้งสามเรื่องตางมีเปาหมาย เดียวรวมกัน คือ ความยินดีเปนสิ่งที่สามารถ มีประสบการณและแบงปนรวมกันกับผูอื่นได แต เ รื่ อ งลู ก ล า งผลาญให ภ าพความเมตตา กรุณาของพระเจาตอคนบาปที่กลับใจ และ ความปติยินดีในการกลับใจไดโดดเดนมากที่ สุด ในอุปมานี้ พระเยซูเจายกตัวอยาง บุตรชายคนโตขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบกับพวก ยิ ว ที่ ก ำลั ง ฟ ง พระองค แ ละตั้ ง ตั ว เป น ศั ต รู กับพระองคเปาหมายที่พระองคตองการจะ สอนพวกเขาเปนเรื่องที่ ใหมและทิ่มแทงใจ พวกฟาริสีและธรรมาจารยอยางมาก นั่นคือ พระองคทรงสอนใหรูจักใหอภัยและมีความ รักอยางคงทน เหมือนดังบิดาที่พรอมจะให

J. Lambrecht, Parable of Jesus: Insight and Challenge, Bangalore: Theological Publications in India, 1978 p.125. 9 ลก 15:11-32, Sanders มีความเห็นวา สวนที่สองของอุปมาเรื่องนี้ (ขอ 25-32) มีลักษณะเฉพาะที่เปนลูกา มากกวา (J.J. Sanders, “Tradition and Redaction in Lk.15:11-32,” New Testament Studies 15 (19681969), p.433f.) แต Manson โตแยงวา อุปมาทั้งเรื่องมีเนื้อหาเปนเอกภาพกัน (T.W.Manson, The Sayings of Jesus, London: SCM, 1977. p.285.)


ความรักเมตตา : คุณธรรม ในการดำเนินชีวิตของคริสตชน 33

อภั ย และมี ค วามรั ก ต อ บุ ต รชายของตอน เสมอ10 ผูอานคงเห็นจริงในอุปมาเรื่องนี้วา นับแตเริ่มตนของเรื่องจนถึงตอนจบ บิดาไม เคยกลาวรายโกรธหรือกลาวโทษลูกชายคน เล็กเลย แตเปนลูกชายเองที่ไรเหตุผลในสมัย นั้น การรองขอแบงทรัพยสมบัติตามสิทธิที่ พึ งได ใ นขณะที่ บิ ด ายั ง มี ชี วิ ต อยู เ ป น เรื่ อ งที่ ฝาฝนและผิดกฎธรรมประเพณีอยางมาก แต ดวยที่เขาเปนเด็กหนุมและยังขาดประสบการณชีวิต บุตรชายคนเล็กจึงไดทำ ในการปฏิ บั ติ ด ว ยความเมตตาต อ บุตรทั้งสองนี้ บิดาไดแสดงใหเห็นวาความรัก ที่บิดามีตอพวกเขานั้นเปนความรักที่เปยม ดวยความเมตตาและไม เคยเรียกรองอะไรตอบ แทนเปนบิดาที่ไดแสดง ความรักออกมากอน แม

10

พวกลูกจะออกนอกลูนอกทางไป ความรัก เมตตาของบิดาจึงเปนสิ่งที่ใหเปลา เปนบิดาที่ หยิบยื่นใหโดยที่บุตรทั้งสองไมอาจเรียกรอง เอาได อุปมาเรื่องนี้จึงเปนตัวอยางที่สมบูรณ ที่ สุ ด ที่ แ สดงถึ ง ความรั ก เมตตาและความ พร อ มที่ จ ะให อ ภั ย ของพระเจ า แก ม นุ ษ ย ทุกคนและเปนความรักเมตตาของพระเจา นี้ เ องที่ พ ระเยซู เ จ า เสด็ จ มาเพื่ อ ทรงเป ด เผยให โ ลกได รู จั ก เราจึ ง อาจสรุ ป เรื่ อ งนี้ ไดดวยคำพูดของ เจ. เจเรไมอาส ที่วา “เรื่องอุปมานี้พูดถึงและทำใหเราได สั ม ผั ส กั บ คุ ณ ลั ก ษณะของพระเจ า ในความ ดีงาม พระคุณความเมตตาไมมีสิ้นสุด และ คว ความรักอยางอุดมของพระองค พพระองคทรงยินดีตอการกลับมา ขอ  ที่ ห ลงทางไป เหมื อ นกั บ ของผู บิดาที่ตระเตรียมงานฉลองเพื่อ ตอนรับการกลับมาของลูกชาย”11

R.T.Osbern, “The Father and His Two Sons: A Parable of Liberation (Lk.15:11-32)”, Dialogue 19, (1980), p.204f. 11 J. Jeremias, The Parable of Jesus, English translation by S. H. Hook, London: SCM, 1981, p. 131.


34 วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

1.3 การอภั ย บาปของพระเยซู เ จ า เปนการแสดงความรักเมตตาของพระเจาตอ มนุษย ในการเผชิ ญ หน า กั บ คนที่ ย อมรั บ ในความบาปผิดของตน พระเยซูเจาไดแสดง ความรักเมตตาของพระเจา ผานทางการยก บาปใหกับพวกเขา เรามีตัวอยาง 2 เหตุการณ ที่สามารถนำมาเปนสนับสนุนและยืนยันถึง ความจริงเรื่องนี้ได คือ เรื่องการอภัยบาปให กั บ หญิ ง คนบาปที่ บ า น ของซีโมนที่เปนชาวฟาริสี และเรื่ อ งการเป ด เผย ความเมตตาของพระเจา ผานทางการพบปะกับ ศักเคียส

12

1.3.1 ความรักเมตตาของพระเจา ในการอภัยบาปใหกับหญิงคนบาป พระเยซูเจาทรงปรากฏองค ในฐานะเปนเพื่อนของคนบาปและคนที่ถูก ทอดทิ้งเสมอ ในเหตุการณที่เกิดขึ้นตอนนี้ (ลก 7:36-50) เจ. ฟตซมายเยอร แสดงความ เห็นวาลูกานำเรือ่ งนีม้ าเลาเพือ่ ตองการอธิบาย เรื่องการรวมทุกขรวมสุขของพระเยซูเจากับ บรรดาคนบาป12 และผานทางการเลาอุปมา เรื่องลูกหนี้สองคน พระเยซูเจาทรงตองการใหเรา เอาใจใส ว า มี ค วามเกี่ ย ว ข อ งกั น และแยกจากกั น ไม ไ ด ร ะหว า งการให อ ภั ย และความรัก13

J. Fitzmyer, The Gospel According to Luke I, New York: Doubleday 1981, p.681. 13 ขอความที่วา “เพราะเหตุนี้ เราบอกทานวา บาปมากมายของนางไดรับการอภัยแลว เพราะนางมีความรัก มาก” (ลก 7:47) ไดรับการตีความใหมโดย Creed วาหมายถึง “เพราะการทำเชนนี้ (เราบอกทานวา) บาปมากมายของนางไดรับการอภัยแลว กลาวคือ เพราะนางรักมาก” (J. M. Creed, The Gospel According to St. Luke, London: MacMillan, 1957, p.110 f.) สวน Jeremias มีความเห็นวาการใหอภัยบาป เปนสิ่งที่มากอน สวนความรักเปนผลตามมาของการไดรับการอภัย ดังนั้น ขอความในขอ 47 นี้นาจะมี ความหมายวา “เพราะการทำเชนนี้ เราบอกทาน (วา) บาปมากมายไดรับการอภัยแลว ดังที่เห็นไดจากความ จริงที่วานางไดรักมาก” (J.Jeremias, The Parables of Jesus, p.127.)


ความรักเมตตา : คุณธรรม ในการดำเนินชีวิตของคริสตชน 35

พระเจ า ของพวกฟาริ สี ต อ งรั บ ประกันในที่นั่งหรือสถานภาพพิเศษใหกับคน ชอบธรรมและคนที่เครงครัดในศาสนา แต พระเจาของพระเยซูทรงรักประชาชนทุกคน และมองมนุษ ยทุกคนในฐานะเปนบุตรของ พระองค การเนนปฏิกิริยาของพวกฟาริสีใน ที่นี้ ลูกาตองการนำเสนอภาพธรรมล้ำลึกใน พระบุคคลของพระเยซูเจาแกผูอานของทาน วา ผานทางพระบุคคลของเยซูผูนี้ พระเจาได ทรงเปดเผยความรักตอคนบาป และเสนอการ ใหอภัยและความรอดใหกับพวกเขา นี่เปน อะไรที่พวกฟาริสีไมอาจเขาใจได สำหรั บ ลู ก า พระเยซู เ จ า มิ ไ ด ปรากฏองค ในฐานะนักเทศนถึงพระอาณาจักรสวรรคแตเพียงอยางเดียว แตพระองค ยังทรงเปนตัวแทนในการประกาศเรื่องการ ใหอภัยดวยใจเมตตาของพระเจา ตอมนุษย ที่เปนคนบาปดวย ดังนั้น โดยการอภัยบาปให กับหญิงคนบาปคนนั้น ทามกลางการวิพากษ วิ จ ารณ ข องคนที่ เ ฝ า ดู พ ระเยซู เ จ า ก็ ไ ด เ ป ด

14

เผยให เ ห็ น ว า ทุ ก คนที่ เ ป น คนบาปสามารถ หวังที่จะไดรับการอภัยจากพระเจาได เพราะ พระเจาทรงพรอมและรอคอยที่จะประทาน การอภั ย แก ค นบาปทุ ก คนที่ ก ลั บ ใจ สิ่ ง ที่ พระเจ า เกลี ย ดชั ง คื อ บาป ไม ใ ช ค นบาป พระองคพรอมที่จะใหอภัยใครก็ ไดที่หันกลับ มาหาพระองค ดวยความวางใจและดวยการ กลับใจอยางแทจริง 1.3.2 ความรักเมตตาของพระเจา ในเหตุการณการพบปะกับศักเคียส เรือ่ งการพบกับศักเคียสของ พระเยซูเจา (ลก 19:1-10) เปนอีกเหตุการณ หนึ่งที่เปนลักษณะพิเศษของพระวรสารของ ลูกา14 ภาพทั่วๆ ไปของคนเก็บภาษีคือเปนคน ไมมีความชอบธรรมและเปนคนบาป พวกยิว จึงรังเกียจคนมีอาชีพเก็บภาษีนี้ การตอบรับ คำเชิญไปพักบานของศักเคียสซึ่งเปนหัวหนา คนเก็ บ ภาษี ข องพระเยซู เ จ า จึ ง ทำให พ วก ฟาริสยี ง่ิ เพิม่ ความไมพอใจและวิพากษวจิ ารณ พระองคอยางหนัก แตการที่ศักเคียสยืนขึ้น

I. H. Marshall, The Gospel of Luke, p.965; Cf. J. O’Hanlon, “The Story of Zacchaeus and the Lucan Ethics”, Journal for the Study of the New Testament 12, (1981), p.2f.


36 วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

และประกาศที่จะคืนทรัพยสินใหแกคนที่เขา โกงมา และยินยอมที่จะแบงทรัพยสินของตน มอบใหกับคนยากจนนั้น เปนเครื่องหมายที่ ชัดเจนของการกลับใจจากบาปที่ตนไดทำ ดังนี้ พระเยซูเจาจึงประทานความ ชอบธรรมแกคนเก็บภาษีและคนบาป เขาได เตรียมตัวสำหรับการกลับใจซึ่งถือเปนเงื่อน ไขสำคัญในการรับการอภัยบาป คำพูดของ พระเยซู เ จ า กั บ ศั ก เคี ย สจึ ง เป น พระวาจาที่ ชอบธรรมแลว15 ในสายตาของชาวยิ ว ที่ ถื อ กฎ บัญญัติอยางเครงครัด ศักเคียสเปนคนบาป และไมมีสิทธิที่จะไดรับความรอดพนอีกตอไป แตการกระทำของพระเยซูเจาเทากับเปนการ ประกาศวา “ความรอดเปนของมนุษยทุกคน” ไมมีมนุษยคนใดหมดสิทธิจากการไดรับความ รอด หากเขาหรือเธอไดเตรียมตัวเพื่อจะกลับ ใจ ดังนัน้ จึงสมเหตุสมผลแลวทีล่ กู าวางเรือ่ ง ของศักเคียสไวในเหตุการณซ่งึ เปนตอนทายๆ ของการเดินทางเทศนาสั่งสอนของพระเยซูเจา เพื่อใหเรื่องนี้เปนจุดสุดยอดของการเลา เรื่องมิตรภาพระหวางพระเยซูเจากับคนบาป

15

คนที่หลงผิด และคนที่ถูกสังคมทอดทิ้ง ในการพบกับศักเคียสของพระเยซู เ จ า นี้ เราได เ ห็ น ความเมตตาของ พระเจ า เข า มาสั ม ผั ส หั ว ใจของคนเก็ บ ภาษี ซึ่ ง เป น สั ญ ลั ก ษณ ข องคนบาปและคนหมด ความชอบธรรมในสายตาของสังคมชาวยิว ผลของการเข า มาสั ม ผั ส นี้ ไ ด เ ปลี่ ย นหั ว ใจ ของเขาใหมและไดกลายเปนผูติดตามพระเยซูเจา ความเมตตาในที่นี้จึงทำงานเสมือน เปน “เครื่องมือ” นำมาสูการกลับใจ เปนการ กลับใจจากชีวิตแหงความบาปในอดีตมาสู ปจจุบนั ที่ไดรบั การไถกแู ลว และรอคอยความ สมบูรณครบครันอีกครั้งหนึ่งเมื่อความรอด สุดทายมาถึง 2. ความรักเมตตาเปนพันธกิจและแนวทาง ในการดำเนินชีวิตของคริสตชน จากการพิจารณาพันธกิจแหงการ ประกาศความรักเมตตาและการใหอภัยของ พระเยซูเจา เราสามารถพิจารณาไดตอ ไปวา พั น ธกิ จ ของพระเยซู เ จ า นี้ ก็ คื อ พั น ธกิ จ และ แนวทางการดำเนินชีวติ ของเราคริสตชนทุกคน

Richard C.White, “A Good Word for Zacchaeus”, Lexington Theological Quarterly 14, (1979), p.89.


ความรักเมตตา : คุณธรรม ในการดำเนินชีวิตของคริสตชน 37

ดวย เพราะเปนการตอเนื่องมาจากชีวิตและ พันธกิจของพระเยซูเจาเอง 2.1 ชี วิ ต คริ ส ตชนคื อ ชี วิ ต แห ง การ เปนศิษยติดตามพระเยซูเจา คำวา “คริสตชน” ตามที่เราเขาใจ และคุน เคยในปจจุบนั เปนคำทีม่ ีใช ไมบอ ยนัก ในพระคั ม ภี ร พั น ธสั ญ ญาใหม 16 ในหนั ง สื อ กิจการอัครสาวก (กจ 11:26) มีเลาไววา บรรดาศิษ ยของพระเยซูเจาไดรับชื่อวาเปน “คริ ส ตชน” ครั้ ง แรกที่ เ มื อ งอั น ทิ โ อก 17 นอกจากนี้ พวกเขายังไดรับการเรียกดวยชื่อ ตางๆ อีกหลายชื่อ เชน สานุศิษย พี่นอง นักบุญ ผูมีความเชื่อ หรือผูติดตาม คำทีค่ ลายกับคำคริสตชนทีล่ กู าใชอยู บอยๆ ในงานเขียนของทานคือคำวา “ศิษย” ซึ่งสำหรับลูกา ศิษยคือผูที่ “ติดตาม” พระคริสตเจา หนังสือกิจการอัครสาวกไดแยกแยะ ไวอยางชัดเจนระหวางอัครสาวกสิบสองคน

16

กับบรรดาศิษ ยที่ติดตามคำแนะนำสั่งสอน ของบรรดาอัครสาวก18 แตในพระวรสาร ดู เหมือนบรรดาอัครสาวกเหลานี้เองที่เปนศิษย ของพระเยซูเจา ธรรมประเพณีคริสตชนยอมรับสืบ ตอกันมาวา พระเยซูคริสตเจาคือแหลงและ ศู น ย ก ลางของชี วิ ต คริ ส ตชน การพบปะ สวนตัวกับพระเยซูคริสตเจาในความเชื่อคือ ตนกำเนิดของชีวิตคริสตชนนั้นเอง ผานทาง พระเยซูคริสตเจาในฐานะเปนพระบุตรของ พระเจ า พระเจ า ทรงหั น พระพั ก ตร ม าหา มนุษ ยและเปดเผยพระพักตรแหงความรัก และความเมตตาของพระองค แ ก พ วกเขา ดังนั้น ศิษยที่ติดตามพระคริสตเจาจึงหมาย ถึงศิษยที่ติดตามองคพระบิดาเจานั่นเอง19 แตความคิดเรื่องการเปนศิษ ยของ ลูกาคอนขางเรียกรองใหมีการตัดสินใจอยาง ถอนรากถอนโคน20 กลาวคือ ศิษยของพระ-

เราพบวามีเพียง 3 ครั้งเทานั้นในพันธสัญญาใหม คือ ใน กจ 11:26, 26:28 และใน 1 ปต 4:16 F. D. Gealy, “Christian”, Interpreter’s Dictionary of the Bible, vol. I, p.571-572. 18 M. Sheridan, “Disciples and Discipleship”, The Bible Today 3, (1973), p.252. 19 J. Ratzinger, Introduction to Christianity, English translation by J. R. Foster, New York: Seabury Press, 1969, p.142. 20 I. H. Marshall, The Gospel of Luke, p. 199-200. 17


38 วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

เยซูเจาจะตองตัดสินใจอยางแนนอนวาเขา จะเลือกติดตามพระเยซูเจาหรือไม เชน ใน กรณีของเปโตร เปนตน และการตัดสินใจนี้ มักเกี่ยวพันกับความลอแหลมในทางศีลธรรม อยางลึกซึ้งดวย21 ดังนั้น ขอผูกมัดของผูที่ปรารถนา และตั ด สิ น ใจเป น ศิ ษ ย ติ ด ตามพระเยซู เ จ า ก็คือ การเรียกรองใหเขาหรือเธอตัดขาดจาก ความพึงพอใจในชีวิตและความสนใจแตตัว เองในอดีต การเปนศิษยของพระเยซูเจาจึง เปนการตายตอตนเอง เพื่อเขาจะไดมีชีวิตอยู เพื่อพระเจาของเขาแตเพียงผูเดียว รูปแบบ ของการปฏิเสธตนเองอยางสิ้นเชิงซึ่งเปนขอ เรี ย กร อ งสำหรั บ ผู ที่ ติ ด ตามพระเยซู เ จ า จึ ง เปน “Conditiosinequanon” (เงือ่ นไขจำเปน ที่ ห ลี ก เลี่ ย งไม ไ ด แ ต ใ นการตั ด สิ น ใจครั้ ง สำคัญนี้ จะทำใหเขากลายเปนผู ไดรับพระหรรษทานของพระเจา การเลาเรื่องการเรียก ศิษ ยกลุมแรกของลูกายืนยันถึงความจริงขอ นี้22

21

2.2 ความรักเมตตาเปนคุณธรรมที่ คริสตชนจะตองถือปฏิบัติตลอดชีวิต นักบุญลูกานำเสนอหลักการในการ ดำเนินชีวติ ของคริสตชนวา มีรากและพืน้ ฐาน อยูที่รูปแบบการดำเนินชีวิตของพระเยซูเจา โดยลูกาไดนำเสนอเหตุการณตางๆ ที่เกิดขึ้น ในชีวิตของพระเยซูเจาผานทางการบรรยาย เรื่อง “ทาง” ในเชิงภูมิศาสตร โดยนับแต เริ่ ม ต น ของพระวรสารของลู ก า เราพบว า เศคาริยาห ไดขับรองสรรเสริญความรอดวา เปน “ทางแหงสันติสุข” (ลก 1:79) การเทศน ของยอหน บัปติสตก็เปนเรื่องเกี่ยวกับการ “เตรียมทาง” ตามที่มีกลาวลวงหนาไวในคำ ทำนายของประกาศกอิสยาห (ดู อสย 40:3-5 และ ลก 3:4) ลูกายังไดพรรณนาพันธกิจ ทั้งหมดของพระเยซูเจาวาเปนเสมือน “ทาง” ดวย ดังนี้ สำหรับลูกา “ทาง” จึงเปนคำที่ มุงหมายถึงพันธกิจแหงการกอบกูใหรอดของ พระเยซูเจา23 และในการบรรยายโดยใชแนว คิดเรือ่ งทางนีก้ ม็ เี รือ่ ง “ความรักเมตตา ” เปน

G. E. Rice, “Luke’s Thematic Use of the Call to Discipleship”, Andrew University Seminary Studies 19, (1981), p.56. 22 J. Drury, Luke, (J.B. Philips Commentaries), New York: MacMillan, 1973, p.62. 23 J. Fitzmyer, The Gospel According to Luke I, p.169.


ความรักเมตตา : คุณธรรม ในการดำเนินชีวิตของคริสตชน 39

หลักและศูนยกลางของเนื้อหาทั้งหมด พูดอีก อยางก็คือ สำหรับลูกาแลว ความรักเมตตา เปน “หัวใจ” ของชีวิตและพันธกิจของพระเยซูเจา ดังนั้น ลูกาจึงนำเสนอหัวขอเรื่อง ความรักเมตตาเสมือนเปนบรรทัดฐานและ คุ ณ ธรรมที่ ค ริ ส ตชนจะต อ งถื อ ปฏิ บั ติ ต าม แบบอยางของพระเยซูเจา ในการเลาของลูกาเกี่ยวกับเรื่องการ เดินทางของพระเยซูเจา เราพบวาในการเดิน ทางทั้งสามชวง (ลก 9:51-13:21, 13:2217:10, 17:11-19:27) เพื่อมุงหนาไปยังกรุง เยรูซาเล็มของพระเยซูเจานัน้ ทุกชวงลวนเต็ม ไปดวยเหตุการณหรือการเลาอุปมาที่แสดง ถึงความรักเมตตาของพระเยซูเจา นี่แสดงให เห็นอยางชัดเจนวาหนทางของพระเยซูเจา คือ หนทางแหงความรักเมตตา ดังนี้ เราจึงอาจ กลาวไดวา ตามความเขาใจของลูกาแลว “การ เดินทางของพระเยซูเจา” มีความหมายเดียว กับ “การประกอบพันธกิจแหงความรักเมตตา ของพระเยซูเจา” นั่นเอง ซึ่งบรรลุจุดสมบูรณ บนไมกางเขน เพราะเปนที่ที่ความรักเมตตา

24

J. Fitzmyer, The Gospel According to Luke I, p.241

ของพระเจ า ต อ มนุ ษ ย ทุ ก คนได รั บ การเป ด เผยอยางสมบูรณสูงสุด หนทางแหงความรักเมตตาที่ ไดรับ การเปดเผยจากพระเยซูเจานี้ เปนหนทางที่ นำเสนอใหเปนคุณธรรมประจำชีวิตของเรา คริสตชนทุกคน เพราะ “คริสตชนคือศิษย” ผู ติ ด ตามพระเยซู เ จ า ศิ ษ ย จึ ง ย อ มจะต อ ง ดำเนิ น ตามแบบอย า งของผู ที่ เ ป น อาจารย ของตน พระเยซูเจาคือภาพสมบูรณสูงสุด ของความรักเมตตาของพระเจา การเปนศิษย ติ ด ตามพระเยซู เ จ า ของคริ ส ตชนจึ ง ไม ใ ช เพียงแคการตอบรับคำสอนของพระองคเทา นั้น แตจะตอง “ทำตัวเอง” ใหเปนเหมือนกับ ผูที่เปนอาจารยของตนดวย ผานทางการติด ตามแบบอยางชีวิตและพันธกิจของพระองค อยางใกลชิด24 และเปนภาพสมบูรณของ ความรักเมตตาของพระเจาเหมือนกับที่พระเยซูเจาทรงเปน ความคิ ด ที่ ว า หนทางแห ง ความรั ก เมตตาของพระเยซูเจาเปนคุณธรรมประจำ ชีวิตของคริสตชนนั้น เห็นไดชัดจากถอยคำ


40 วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

ของพระเยซูเจาที่ทรงตรัสสั่งและเรียกรอง จากศิษ ยของพระองคขณะกำลังเทศนาสั่ง สอนบนภูเขาพระวาจาของพระเยซูเจาที่ตรัส วา “จงเปนผูเมตตากรุณา ดังที่พระบิดาของ ทานทรงพระเมตตากรุณาเถิด” (ลก 6:36) จึงเปนเสมือน “หัวใจ” ในการนำเสนอเรื่อง ความดีบริบูรณ และการเปนผูเมตตากรุณา เหมือนที่พระบิดาเจาสวรรคทรงพระเมตตา กรุณาก็เปนบรรทัดฐานหรือมาตรการทดสอบ สำหรับคริสตชนทุกคน เรื่ อ งการมี ค วามเมตตากรุ ณานี้ ยั ง เห็นไดชัดในการภาวนาที่พระเยซูเจาทรงสอน บรรดาศิษยของพระองค ครั้งเมื่อพวกเขารอง ขอพระองค ใ ห ส อนการอธิ ษ ฐานภาวนาให (ลก 11:1-4) การที่คนทำบาปวิงวอนขอการ อภัยบาปจากพระบิดาเจานั้น มีความหมาย รวมถึงเงื่อนไขที่คนที่รองขอนั้นจะตองยกโทษ ผิดใหกับผูที่ไดทำกับเขาดวย (ลก 11:4) พูด อีกนัยก็คือ ในสวนของคริสตชนนั้น การรอง ขอความเมตตากรุณาและการอภัยจากพระเจา โดยที่ ชี วิ ต ของตั ว เองไม ไ ด เ ป น ชีวิตที่เปยม ดวยความเมตตากรุณาและพรอมที่จะใหอภัย ผูอื่นที่ทำผิดตอตน ก็ไมถือเปนการวิงวอนขอ

ทีถ่ กู ตอง คริสตชนไมสามารถกลาววาพระเจา เปนพระบิดาของตนได หากเขาไม ไดเปนผู เมตตากรุณาเหมือนที่พระบิดาเจาทรงพระ เมตตากรุณา บทสรุป พระเยซูเจาทรงทำใหความรักเมตตา ของพระบิ ด าเป น ที่ ป รากฏแก ม นุ ษ ย ทุ ก คน และพระองค ยั ง ทรงแสดงออกถึ ง ความรั ก เมตตานี้ผานทางชีวิตและพันธกิจ ผานทาง พระวาจาและการปฏิบตั ขิ องพระองคเอง ถอย คำตางๆ ที่พระคัมภีรใชเพื่อหมายถึงความรัก เมตตาของพระเจา โดยเฉพาะอยางยิ่งพระ วรสารของนักบุญลูกาและหนังสือกิจการอัครสาวก ไดเปนประจักษพยานยืนยันความเขาใจ ของเราวาพระพันธกิจทัง้ หมดของพระเยซูเจา ลวนเปนพันธกิจทีเ่ ปดเผยใหเห็นภาพความรัก เมตตาของพระเยซูเจาที่มีตอมนุษย พันธกิจแหงความรักเมตตาของพระ เยซูเจานีย้ งั คงไดรบั การเปดเผยอยางตอเนือ่ ง ในพระะศาสนจักร ซึ่งนอกจากจะทำใหพระศาสนจั ก รเป น พยานและเครื่ อ งหมายของ ความรักเมตตาของพระเจาแลว พระศาสน-


ความรักเมตตา : คุณธรรม ในการดำเนินชีวิตของคริสตชน 41

จักรในระยะเริ่มแรกยังไดรับการสงเสริมให ดำเนินชีวิตในหนทางแหงความรักและความ เมตตาสงสารในกันและกัน และกับผูที่ตอง การความชวยเหลือดวย ดังนั้น พันธกิจแหงความรักเมตตา ซึ่ งได ก ลายเป น แนวทางในการดำเนิ น ชี วิ ต

ของคริสตชนกลุมแรก จึงเปนสิ่งที่แนะนำให คริสตชนทุกคนทุกยุคทุกสมัยถือปฏิบัติตาม ดวย ซึ่งเปนไปตามพระดำรัสของพระเยซูเจา ที่มีตอทุกคนที่ติดตามพระองควา “จงเปนผู เมตตากรุณา ดังที่พระบิดาของทานทรงพระ เมตตากรุณา”


42 วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

หมวดพระสัจธรรม

คุ ณ ธรรมความรอบคอบ คุณธรรมความรอบคอบ รอบคอบ อ

คคุณธรรมความรอบคอบ

คุณธรรมความรอบคอบ

ณธรรมความรอบคอบ

คุณธรรมความรอบคอบ

คุณธรรมความรอบคอบ

คุณธรรมความรอบคอบ

ความรอบคอบ

คุณธรรมความรอบคอบ

บาทหลวงฟรังซิส ไกส1 1. คุณธรรมหลัก กอนที่จะศึกษาคุณธรรมความรอบคอบ เราควรทำความเขาใจความหมายของ คำวา “คุณธรรม” คุณธรรมเปนคุณลักษณะ ถาวรและทาทีมั่นคงของสติปญญาและเจตจำนงของมนุษย คุณลักษณะดังกลาวนี้ควบ คุมกิจการของเราใหมุงทำความดี เราเรียก คุ ณ ธรรมวาเปนคุณลักษณะถาวรเพราะไม เปนผลของความกระตือรือรนที่เกิดขึ้นอยาง ฉับพลันในบางโอกาส แตเปนความโนมเอียง

1

นำไปสูความดีที่มนุษ ย ไดมาโดยการฝกฝน เป น เวลานาน คุ ณ ลั ก ษณะนี้ จึ ง เรี ย กว า “คุณธรรมทางศีลธรรม” ซึ่งแตกตางจาก อุปนิสัยที่มนุษ ย ไดมาจากสมรรถภาพดาน ชีวภาพตั้งแตกำเนิด คุณธรรมทางศีลธรรม ทำใหมนุษยรูจักจัดระเบียบกิเลส นำความ ประพฤติของตนไปตามเหตุผล ชวยมนุษยให ทำความดีอยางความสะดวกสบายเปนเจานาย ตนเอง และมีความชื่นชมในการดำเนินชีวิต ที่ดี ผูมีคุณธรรมจึงเปนผูที่ปฏิบัติสิ่งดีงาม

นักบวชสังกัดคณะซาเลเซียน, อาจารยประจำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร วิทยาลัยแสงธรรม


คุณธรรมความรอบคอบ 43

ด ว ยใจอิสระ (เทียบคำสอนพระศาสนจักร คาทอลิก 1804) “คุณธรรมหลัก” (Cardinal Virtues) สี่ประการที่เปนพื้นฐานของคุณธรรมอื่น ๆ คือ ความรอบคอบ ความยุตธิ รรม ความกลาหาญ และความรูประมาณ เราพบคุณธรรมหลัก ทั้งสี่ประการในขอความของพระคัมภีรที่วา “คุณธรรมตางๆ เปนผลงานของปรีชาญาณ ปรีชาญาณสอนความรู ประมาณและความ รอบคอบสอนความยุติธรรมและความกลาหาญ ไมมีสิ่งใดมีประโยชน ในชีวิตแกมนุษ ย มากกวาคุณธรรมเหลานี้” (ปชญ 8:7) คุณธรรมดังกลาวจึงเปนคุณธรรมที่มนุษย ได มาจากการฝกฝน แตกตางโดยสิ้นเชิงจาก คุณธรรมความเชื่อ ความหวังและความรัก ซึ่ง มนุษ ย ไดรับจากพระเจาเมื่อรับศีลลางบาป และชวยมนุษยใหมุงไปสูพระเจา พระจิตเจา ทรงชวยมนุษ ย ใหพัฒนาคุณธรรมทางจริยธรรมก็จริง แตมนุษ ย ไดมาโดยการตัดสินใจ อยางอิสระของตนเอง 2. คุณธรรมความรอบคอบ ตามความคิดของนักบุญโทมัส อไควนัส คุณธรรมความรอบคอบเปนคุณธรรมเอก ในคุณธรรมหลักทั้งสี่ เพราะเปนมาตรการ ของกิจการทั้งหลายของมนุษย หมายความวา

ไมเพียงพอที่การกระทำของมนุษยเปนกิจการ ที่ดี แตยังตองมีความสมดุล เชน พระเยซูเจา ทรงสอนคริสตชนใหรูจักทั้งรับและใหคำตักเตือนแก ไข คำตักเตือนแก ไขฉันพีน่ อ งจึงเปน กิจการที่ดีซึ่งพระเจาพอพระทัย แตถาผูตักเตือนแก ไขผูอ น่ื ไมมคี วามรอบคอบ เขาอาจจะ สรางความขัดแยงและการแตกแยกแทนที่จะ นำแสงสวางและกำลังใจใหเขา แตคุณธรรม ความรอบคอบอาจแนะนำผูท ก่ี ำลังจะตักเตือน ผูอื่นวา “เวลานี้ ไมเปนเวลาที่เหมาะที่ควร” “อยาใชถอ ยคำเหลานี”้ “อยามีนำ้ เสียงทีแ่ สดง อารมณไมพอใจ” “ผูฟ ง ยังไมพรอมทีจ่ ะสนทนา ดวยใจสงบ รอใหความวุนวายใจผานพนไป จากเขากอน แลวจึงคอยพูดคุยกัน” ฯลฯ ถา ผูใหคำตักเตือนมีความรอบคอบการกระทำ ของเขาจะเกิดผลที่พึงประสงค แตถาเขาไมมี

นักบุญโทมัส อไควนัส


44 วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

ความรอบคอบเขาอาจจะทำใหคุณธรรมอื่นๆ ที่เขามีไรประโยชนเพราะเขาปฏิบัติคุณธรรม ดั ง กล า วอย า งไม มี ค วามสมดุ ล “คุ ณ ธรรม ความรอบคอบชวยเราใหรูจักประยุกตหลัก การทางศีลธรรมกับกรณีเฉพาะโดยปราศจาก ขอผิดพลาด ชวยเราใหชนะความสงสัยวา กิจการที่จะกระทำดีหรือไม เพื่อกระทำความ ดีและหลีกเลี่ยงความชั่วราย” (คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก 1806) พระคัมภีรเสนอคุณธรรมความรอบ คอบหลายแงหลายมุม แมความรอบคอบเปน คุณธรรมที่มนุษย ไดมาโดยการฝกฝนของตน เอง แตความรอบคอบของคริสตชนยังตองการ แสงสวางพิเศษจากพระจิตเจา เชน ถาคน หนึ่งขับรถโดยไมเกินความเร็วที่กำหนด หรือ ในฤดูหนาวเขาออกจากบานโดยใสเสื้อคลุม เสมอ เราบอกไดวา ผูน เ้ี ปนคนรอบคอบ แตเปน ความรอบคอบตามประสามนุษยเทานั้น สวน ความรอบคอบของคริสตชนคือคุณธรรมที่ผู ไดรบั ศีลลางบาปตองการใชในยามยากลำบาก ของชีวิตทางความเชื่อ คือ เปนคุณธรรมที่ไม รักษาชีวิตฝายกาย แตรักษาชีวิตฝายจิตใหมี ความสมดุล ความรอบคอบเชนนีเ้ ปนของประทาน จากพระเจาผูท รงชวยเราใหรจู กั ตัดสินวิถชี วี ติ

อยางถูกตองดังทีห่ นังสือโยบยืนยันวา “ปรีชาญาณและอานุภาพอยูกับพระเจา พระองค ทรงมีคำแนะนำและความรอบคอบ” (โยบ 12:13) ปรีชาญาณของมนุษยซึ่งแสดงใหเห็น ในคำพังเพยหรือคำแนะนำจะนำมาเปรียบกับ พระปรีชาของพระเจาไมได เพราะพระปรีชา ของพระเจาปรากฏชัดในพระราชกิจยิ่งใหญ ของพระองค ซึ่งทำใหมนุษยตองพิศวง เรา พบความคิดเดียวกันนี้ ในหนังสือปรีชาญาณ ว า “ข า พเจ า อธิ ษ ฐานขอความรอบรู แล ว พระเจาก็ประทาน ขาพเจาวอนขอ แลวจิตแหง ปรีชาญาณก็มาหาขาพเจา” (ปชญ 7:7) 3. ความรอบคอบในการใชคำพูด วิธีแรกที่พระคัมภีรเสนอแนะในการ ปฏิ บั ติ คุ ณ ธรรมความรอบคอบ คื อ ความ รอบคอบในการใช ค ำพู ด ทั้ ง หนั ง สื อ พั น ธสั ญ ญาเดิ ม และพั น ธสั ญ ญาใหม อ ธิ บ ายว า ผูม คี วามรอบคอบเปน ผู ที่ ใช ค ำพู ด เท า ที่


คุณธรรมความรอบคอบ 45

จำเปน หนังสือดังกลาวไมเพียงสอนใหรูจัก หลีกเลี่ยงการใสราย นินทาเทานั้น แตยังสอน ใหรูจักใชคำพูดอยางพอประมาณ ผูมีความ รอบคอบไมใชคำพูดในทางที่ผิด ทั้งไมใชสิ่ง อืน่ ใดในทางทีผ่ ดิ เชนกัน เพราะใชทกุ สิง่ เทาที่ เปนประโยชน หนังสือปญญาจารยอธิบายความ รอบคอบในการพูดวา เปนความสามารถที่จะ แยกแยะเวลาตามกาลเทศะ มี “เวลานิ่งเงียบ และเวลาพูด” (ปญจ 3:7) แลวยังเสริมอีกวา “อยาดวนพูดกอนคิด อยาใหจติ ใจของทานรีบ สัญญาเฉพาะพระพักตรพระเจา… จงพูดแต นอย เมือ่ มีงานยากลำบากมากก็มฝี น รายและ เมื่อพูดมาก ก็เปนเสียงของผูโงเขลา” (ปญจ 5:1-2) คำสอนเรือ่ งความรอบคอบในการพูด เช น นี้ ยั ง พบได อี กในหนั ง สื อ บุ ต รสิ ร า “จง พรอมที่จะฟง จงคิดใหรอบคอบกอนจะตอบ… คำพูดใหทง้ั เกียรติยศและอัปยศ ลิน้ ของมนุษย อาจนำความพินาศมาสูเขา” (บสร 5:11,13) หนังสือเลมนี้ยังชี้แจงกรณีบางอยางที่ควรพูด สั้นๆ คือ เมื่อมีผูใดถาม และเราไมรูคำตอบ เชน “ถาทานมีความรู จงตอบผูอื่น ถาไมรู ก็ จงปดปาก” (บสร 5:12) แตความรอบคอบใน การพูดไมหมายความวาตองเงียบอยูเสมอ “อยาเงียบเมือ่ จำเปนตองพูด อยาซอนปรีชา-

ญาณของทานไว” (บสร 4:23) ถึงกระนั้น เรา ควรพูดสั้นๆ เมื่อเราอยูตอหนาบุคคลสำคัญ หรือผูทรงอำนาจ เชน “อยาพูดพลามในที่ ประชุมกับผูอาวุโส อยากลาวซ้ำซาก เมื่อ อธิษฐานภาวนา” (บสร 7:14) “อยาอวดฉลาด เฉพาะพระพักตรพระราชา” (บสร 7:5) กรณี อื่นๆ ที่เราตองควบคุมคำพูดคือ เมื่อเรากำลัง โตเถียงกับคนโมโหรายหรือกับบุคคลที่เรายัง ไมรจู กั เขาดี “อยาโตเถียงกับคนอารมณรา ย… อย า เป ด ใจกั บ ทุ ก คนที่ ท า นพบ” (บสร 8:16.18) อีกกรณีหนึ่งที่ควรควบคุม คำพูดคือ เมื่อเราตองรักษาความลับที่เพื่อน เลาใหเราฟง “คนที่เก็บความลับไมไดยอมไม มีผใู ดเชือ่ ถือ เขาจะหาเพือ่ นสนิทไมไดอกี เลย” (บสร 27:16) 4. พระฉบับของพระคริสตเจา ในหนังสือพันธสัญญาใหมความรอบคอบในการใช ค ำพู ด ชวนให เ ราคิ ด ถึ ง พระ ฉบับของพระคริสตเจา และเปนคุณลักษณะที่ แสดงความสมบูรณแบบคริสตชน “ถาผูใ ดไม ผิดพลาดดวยวาจา ผูนั้นยอมเปนคนดีอยาง สมบูรณ” (ยก 3:2) การประกาศขาวดีเรียก รองใหใชคำพูดของมนุษ ย ทำใหคำพูดนี้มี คุณคามากกวาแตกอน ดังที่ นักบุญเปาโล เขียนวา “ความเชื่อจึงมาจากการฟง สิ่งที่ได


46 วารสารแสงธรรมปริทัทศั น ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สสิ​ิงหาคม หาาคม 2010 2010/2553

ฟงก็มาจากพระวาจาของพระคริสตเจา” (รม 10:17) และ “พระเจาจึงพอพระทัยชวยผูมี ความเชื่ อ ให ร อดพ น โดยการ เทศนสอนเรื่องโงเขลา” (1 คร 1:21) คำพู ด ของมนุ ษ ย จึ ง มี บทบาทสำคัญในแผนการของ พระเจาทีจ่ ะชวยมนุษยใหรอดพน เพราะพระวาจาของพระเจาสามารถอยู ในถอยคำของ มนุษย ซึ่งจะรับพลังจากพระเจาที่ชวยมนุษย ใหรอดพน แตพระวาจาของพระเจาอยูไมได ในบุ ค คลที่ ใ ช ค ำพู ดในทางที่ ผิ ด หรื อ ใช ค ำ ธรรมดาสามัญอยางซ้ำซาก ตัง้ แตพระวจนาตถ นิ รั น ดรทรงรั บ ธรรมชาติ ม นุ ษ ย วาจาของ มนุษยตองไดรับความเคารพอยางสุดขีด ทั้ง ในดานคุณคาและในการใช พระคริสตเจาทรง ประยุกตถอ ยคำของปญญาจารยอยางสมบูรณ วามีเวลานิ่งเงียบ และเวลาพูด หลายครั้ง พระองคผูทรงเปนพระวจนาตถ ทรงรักษา ความเงียบเปนเวลานาน พระเยซูเจาทรงปลีก พระองค ไปในที่สงบโดยลำพัง กอนที่พระเยซูเจาจะทรงเริ่มปฏิบัติ ภารกิจ “พระจิตเจาทรงนำพระเยซูเจาไปใน ถิ่นทุรกันดาร เพื่อใหปศาจมาผจญพระองค”

(มธ (ม 4:1) บอยครั้ง พระองค ทรงหลีก พ เลี เ ่ยงความวุนวาย ของประชาชน เชน ข เมื เ ่ อ พระองค ท รง รักษาคนเปนโรคเรื้อน “เขาก็ปาว ประกาศกระจาย ขาวไปทั่ว จนพระองค ไมอาจเสด็จเขาไปใน เมืองไดอยางเปดเผยอีกตอไป พระองคจึง ประทับอยูนอกเมืองในที่เปลี่ยว แมกระนั้น ประชาชนจากทุ ก ทิ ศ ก็ ยั ง มาเฝ า พระองค ” (มก 1:45) พระองคทรงปฏิบัติศาสนบริการ สลับกับการอธิษฐานภาวนาในทีส่ งบ “พระองค เสด็จไปยังที่สงัดและทรงอธิษ ฐานภาวนา” (ลก 5:16) พระเยซูเจาทรงสอนบรรดาศิษย ใหปฏิบัติเชนเดียวกับพระองค ตรัสกับเขาวา “ทานทั้งหลายจงมาพักผอนกับเราตามลำพัง ในที่สงัดระยะหนึ่งเถิด เพราะมีคนไปมาจน เขาไมมีเวลาแมกระทั่งจะกินอาหาร” (มก 6:31) เมือ่ พระเยซูเจาทรงรับทรมาน พระองค ตรั ส พระวาจาไม กี่ ค ำเพื่ อ ตอบคำถามของ ป ล าตและของมหาสมณะ ยิ่ ง กว า นั้ น เมื่ อ กษัตริยเฮโรดตรัสถามพระเยซูเจา พระองค


คุณธรรมความรอบคอบ 47

ทรงนิ่งเงียบ “กษัตริยเฮโรด ตรัสถามพระเยซูเจาหลายเรื่อง แตพระเยซูเจามิ ไดทรง ตอบแตประการใด” (ลก 23:9) เรายังพบ ถอยคำของพระมารดามารีย ไมกี่ประโยค ซึ่ง ผูนิพนธพระวรสารตัดสินวาจำเปนที่จะตอง บันทึกไว ในทำนองเดียวกัน ผูนิพนธพระ วรสารไมไดบนั ทึกถอยคำใดของนักบุญโยเซฟ เขาเพียงอธิบายวา นักบุญโยเซฟเปนบุคคลที่ วิเคราะหสถานการณอยางรอบคอบ กอนทีจ่ ะ สินใจวาตองปฏิบัติอยางไร 5. คำสอนของนักบุญเปาโล นั ก บุ ญ เปาโลตั ก เตื อ นคริ ส ตชนให รู จั ก ใช ค ำพู ด อย า งพอเหมาะพอควร ใน จดหมายถึ ง ชาวเอเฟซั ส นั ก บุ ญ เปาโลเชิ ญ

ชวนคริสตชนที่ ไดเรียนรูความจริงเกี่ยวกับ พระเยซู เ จ า ให เ ขารู จั กใช ถ อ ยคำที่ แ ท จ ริ ง “ทานไดฟง เรือ่ งราวและรูจ กั องคพระคริสตเจา ตามความจริงที่ปรากฏอยูในพระเยซูเจาแลว ทานจงถอดสภาพมนุษยเกา เลิกประพฤติเลว ทรามตามราคะตัณหาที่หลอกใหหลงไป จง มีจิตใจและความรูสึกนึกคิดอยางใหม” (อฟ 4:21-23) คำพูดของคริสตชนตองเปนจริง และไมมีจุดประสงคอ่ืนใดนอกจากเปนประโยชนสำหรับผูฟงเทานั้น “จงอยาพูดคำเลว รายใดๆ เลย จงพูดแตคำดีงามเพื่อชวยกัน เสริ ม สร า งผู อื่ น ตามโอกาสและเพื่ อ ให เ กิ ด ประโยชนแกบรรดาผู ไดยินไดฟง” (อฟ 4:29) ในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโคโลสี เราพบคำตักเตือนเชนนี้อีกครั้งหนึ่งวา “อยา พูดเท็จตอกัน ทานทัง้ หลายไดปลดเปลือ้ งวิสยั มนุษยเกาๆ และการกระทำตามวิสัยมนุษย เกาๆ นั้นแลว” (คส 3:9) เขายังเตือนคริสตชน ใหสนทนากันเปนประจำในประเด็นที่วา “ขอ พระวาจาของพระคริสตเจาสถิตอยู ในทาน อยางเต็มเปยม จงสอนและตักเตือนกันดวย ปรีชาญาณ จงขอบพระคุณพระเจาโดยการ ขับรองบทเพลงสดุดี เพลงสรรเสริญ และ บทเพลงศักดิส์ ทิ ธิต์ า งๆ จากใจจริง” (คส 3:16) นักบุญเปาโลจึงตองการเตือนคริสตชน ให


48 วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

สนทนากันในเรื่องสำคัญในทุกสถานการณที่ เขาดำเนินชีวิตอยู เพื่อเขาจะไดพัฒนาความ เขาใจเกี่ยวกับพระคริสตเจามากยิ่งขึ้น และ เมื่อเขาอยูดวยกันอยางชื่นชมยินดี เขายอม รองเพลงสรรเสริญพระเจาพรอมกัน เรายังพบเรื่องการใชคำพูดอยางพอ เหมาะพอควรในจดหมายที่นักบุญเปาโลสอน ทิ โมธีและทิตัส ผูดูแลกลุมคริสตชนที่เมือง เอเฟซัสและในเกาะครีตเปนคำแนะนำบาง อยางดานปฏิบัติ เพื่อผูอภิบาลคริสตชนจะ รูจักวิธีควบคุมคำพูดของตน นักบุญเปาโล สอนใหรูจักวิเคราะหวา บุคคลใดเปนครูแท หรือปลอม โดยพิจารณาจากวิธีพูดของเขา ลักษณะของครูปลอมคือ การโตเถียงและการ อางเหตุผลเพื่อพิสูจนวา เขาเปนฝายถูกเสมอ ทิโมธีจะไดรวู า ผูใ ดเปนครูปลอม เมือ่ ผูถ กเถียง “เปลี่ยนไปพูดเรื่องไรสาระ เพราะตองการทำ ตนเปนครูสอนธรรมบัญญัติ ทั้งๆ ที่ไมเขาใจ สิ่งที่พูดและสิ่งที่ตนยืนยันอยางมั่นใจ” (1 ทธ 1:6-7) ครูปลอมจะรูจักไดจากการสังเกต คุณลักษณะ 2 ประการคือ การอางวาตนเอง มีความรูและการใชถอยคำจำนวนมาก ครู ปลอม “เปนคนจองหองและไมเขาใจสิ่งใด เลย เขาคอยแตตั้งปญหาถามและโตเถียง เกี่ยวกับถอยคำซึ่งกอใหเกิดความอิจฉาริษยา

การทะเลาะวิวาท การกลาวรายและความไม ไวใจมุงรายตอกัน” (1 ทธ 6:4) นักบุญเปาโลชวนทิ โมธี ใหยึดความ เชื่อที่ไดรับฝากไวอยางมั่นคง และใหศึกษาขุม ทรัพยนี้เพื่อเขาใจอยางลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นเสมอ จะไดหลอเลี้ยงความเชื่อของกลุมคริสตชน ดวยคำสอนนี้ “จงเอาใจใสอานพระคัมภีรให ประชาชนฟง จงตักเตือนและสั่งสอนพวกเขา จนกวาขาพเจาจะมาถึง” (1 ทธ 4:13) “ทิโมธี ทีร่ กั จงเฝารักษาสิง่ ทีท่ า นไดรบั ฝากไว จงหลีก เลี่ยงการถกเถียงเรื่องไรสาระที่ ไมเกี่ยวกับ พระเจา และจงหลีกเลี่ยงความขัดแยงกันใน “ความรู” ที่ไมใชความรู” (1 ทธ 6:20) ทิโมธี จึงตองศึกษาปนการสวนตัวเรื่องคำสอนของ ความเชื่อ เพื่อจะเขาใจอยางลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยไมถกเถียงกับผูคิดวา เขามีความรูเพราะ รูจ กั ใชถอ ยคำมากมายที่ไรสาระ นักบุญเปาโล ต อ งการสอนว า การโต เ ถี ย งเรื่ อ งความจริ ง เกี่ยวกับพระเจาไมเปน “ความรู” แตเปนคำ พูดเหมือนนกแกวนกขุนทอง “ความรู” แท จริงอยูในการคนควาความจริงดวยใจสงบ ในจดหมายถึงทิโมธีฉบับที่ 2 นักบุญ เปาโลย้ ำ คำสอนนี้ อ ย า งเข ม ข น มากยิ่ ง ขึ้ น ทิ โมธีตองกำชับคริสตชนเฉพาะพระพักตร ของพระเจาวา “อยาโตเถียงกันเรื่องถอยคำ


คุณธรรมความรอบคอบ 49

เพราะไมมีประโยชน ใดนอกจากความพินาศ ของผูฟง ทานจงขวนขวายที่จะแสดงตนวา พระเจาทรงรับรองทานแลว เปนคนงานที่ไม ตองอายใคร เปนผูส งั่ สอนพระวาจาแหงความ จริงอยางถูกตอง จงหลีกเลี่ยงคำพูดเพอเจอ ไร ส าระ เพราะมี แ ต จ ะทำให ห า งพระเจ า มากขึ้น” (2 ทธ 2:14-16) “ผูรับใชขององค พระผูเปนเจาจะตองไมวิวาทกันแตจะตอง ออนโยนตอทุกคน รูจักสอนและอดทน” (2 ทธ 2:24) นั ก บุ ญ เปาโลให ค ำแนะนำแก ทิ ตั ส แบบเดียวกัน “เขายังตองยึดมัน่ ในหลักคำสอน ที่ถูกตองตามที่ ไดรับสืบทอดตอกันมา เพื่อ เขาจะตักเตือนผูอื่นได ทั้งใหคำแนะนำดวย คำสอนที่ถูกตอง ตอบโตผูที่คัดคานคำสอนนั้ นได” (ทต 1:9) นักบุญเปาโลตักเตือนทิตัสวา “จงหลีกเลี่ยงการถกเถียงปญหาโงเขลา การ ลำดับวงศตระกูล การทะเลาะวิวาทเรื่องบท บัญญัติ สิ่งเหลานี้ลวนไมมีประโยชนและไร คา ถาทานตักเตือนคนที่ยุยงใหผูอื่นแตกแยก ครั้งหนึ่งหรือสองครั้งแลว ถาเขาไมเชื่อฟง จงอยาติดตอกับเขาอีก” (ทต 3:9-10) ผูอภิบาลจึงตองหลีกเลี่ยงการโตเถียงไรสาระ เขา ตองตักเตือนผูอื่นอยางมากเพียง 2 ครั้ง เพราะการตักเตือนหลายครั้งเปนรูปแบบของ การโตเถียงกันไรประโยชน

6. ความรอบคอบในการตัดสินใจ อีกมุมมองหนึง่ ของความรอบคอบอยู ในคุณลักษณะของผูที่รูจักตัดสินใจ ผูที่ ไม ยอมตัดสินใจในชีวิตยอมนำความเสียหาย แกตน เพราะเขาจะตองขึน้ กับผูอ นื่ ทีต่ ดั สินใจ แทนอยูเสมอ หรือยอมใหสถานการณตางๆ ควบคุมเขา ผูที่ตัดสินใจโดยไมคิดใหรอบคอบหรื อ ตั ด สิ น ใจอย า งโง ๆ ก็ จ ะนำความ เสียหายแกตนมากกวาอีก การตัดสินใจของ มนุษยกำหนดวา เขาจะมีความสุขหรือความ ทุกขในชีวติ แลวแตเขาเลือกทีจ่ ะยึดมัน่ ปฏิบตั ิ ตามพระประสงคของพระเจาหรือวิ่งหนีจาก พระองค พระคัมภีรสอนเราใหรูจักตัดสินใจ อยางรอบคอบโดยมีคณ ุ ลักษณะยอมรับฟงคำ แนะนำจากผูอื่น หนังสือสุภาษิตยืนยันอยางชัดเจนวา “ปรีชาญาณอยูกับผูยอมรับคำแนะนำ” (สภษ 13:10) และหนังสือปญญาจารยสอนวา “คน หนุมยากจนและมีปรีชายอมดีกวากษัตริยชรา และโงเขลา ผู ไมทรงยอมรับคำแนะนำอีก” (ปญจ 4:13) ผูต อ งการตัดสินใจในเรือ่ งสำคัญ และไม ย อมรั บ ฟ ง คำแนะนำของผู ที่ อ าจจะ ใหคำแนะนำเขาก็ขาดความรอบคอบ ในแง หนึ่งเราไมควรรับคำแนะนำจากผูที่แนะนำ ผิด หนังสือบุตรสิราเตือนเราในเรื่องนี้อยาง


50 วารสารแสงธรรมปริทัศน ฉบั​ับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553

ชัดเจนวา “ที่ปรึกษายอมใหคำแนะนำ แตมี บางคนใหคำแนะนำเพื่อประโยชนของตน” (บสร 37:7) เราตองระวังคำแนะนำจากบุคคล ประเภทนี้ ดังนั้นกอนที่จะยอมรับคำแนะนำ เราตองแนใจวา ผูที่ใหคำแนะนำจะไดรับผล ประโยชนหรือเปนผูมีความคิดแคบๆ นี่คือ ความหมายของขอความตอไปนี้ “อยาปรึกษา คนที่มองทานในแงราย จงซอนแผนการของ ทานจากคนทีอ่ จิ ฉาทาน อยาปรึกษาหญิงถึงคู แข ง ของนาง อย า ปรึ ก ษาคนขลาดถึ ง เรื่ อ ง สงคราม อยาปรึกษาพอคาเรื่องการคาขาย อยาปรึกษาผูซื้อเรื่องราคา อยาปรึกษาคน อิจฉาเรือ่ งการรูค ณ ุ อยาปรึกษาคนใจรายเรือ่ ง ความเมตตา อยาปรึกษาคนเกียจครานเรื่อง การงานใดๆ อยาปรึกษาลูกจางชั่วคราวเรื่อง ผลเก็บเกี่ยวตลอดป อยาปรึกษาผูรับใชเกียจ ครานถึงงานใหญโต อยาพึ่งคนเหลานี้เพื่อจะ ไดคำปรึกษาใดๆ ” (บสร 37:10-11) เราจึงไมควรรับคำแนะนำจากผูที่ไม หวังดี เพราะคุณลักษณะแรกของผูที่ ใหคำ แนะนำคือ มีความรัก คำแนะนำของผูรัก เพื่อนพี่นอง หลายครั้งไดรับการดลใจจาก พระเจาและนาเชือ่ ถือ เพราะ “เขาจะปรับปรุง คำแนะนำและความรูของตน จะไตรตรองถึง ความลึกลับของพระเจา” (บสร 39:7) พระ-

คัมภีรชมเชยผูใหคำแนะนำที่มีลักษณะดังนี้ “จงคบคากับผูย ำเกรงพระเจา ซึง่ ทานรูว า เปน ผูปฏิบัติตามบทบัญญัติและมีจิตใจเหมือนใจ ของทาน” (บสร 37:12) ผูใหคำแนะนำจึงตอง เปนบุคคลทีย่ อมขึน้ กับพระเจา แสวงหาพระประสงคของพระองค และในเวลาเดียวกัน มี จิตใจเหมือนกับเรา แตพระคัมภีรยังเชิญชวน เราใหพึงรูวา คนประเภทนี้มีจำนวนนอย “มี มิตรมากไวเปนการดี แตจงมีที่ปรึกษาเพียง คนเดียวในพันคน” (บสร 6:6) เราไมตองแยก ความสามารถที่จะฟงคำแนะนำของผูมีปรีชา จากความสามารถทีจ่ ะฟงใจของตน คือ มโนธรรม “แลวทานจงยึดมั่นคำแนะนำจากใจ ของทาน เพราะไมมีผูใดนาวางใจมากกวาคำ แนะนำนัน้ บางครัง้ มโนธรรมของมนุษยเตือน เขา ดีกวายามเจ็ดคนที่เฝาอยูบนหอคอย” (บสร 37:13-14) คำแนะนำใดๆ ถึงแมวา จะดีทสี่ ดุ ทีเ่ รา ไดรับจากภายนอกจะไมมีคุณคา ถาไมกลาย เปนคำแนะนำของเราเอง เพราะมโนธรรมของ เรายอมรับวาเปนความจริง คำแนะนำที่ชี้ทาง ชีวิตของเรา ไมใชคำแนะนำของผูอื่น แมจะดี สักเทาใด แตตอ งเปนมโนธรรมของเราทีต่ รวจ สอบคำแนะนำที่มาจากภายนอก ตัดสินและ เลือกคำแนะนำที่ดูเหมือนสอดคลองกับพระ ประสงคของพระเจามากกวาคำแนะนำอื่น ๆ


คุณธรรมความรอบคอบ 51

สำหรับพระคัมภีรมนุษ ยที่รอบคอบ ไมหวังทีจ่ ะไดผลทันทีทนั ใดจากกิจการของตน หนั ง สื อ สุ ภ าษิ ต แสดงความคิ ด นี้ อ ย า งเป น อุปมาวา “ความร่ำรวยที่ไดมาอยางรวดเร็ว จะลดนอยลงเรื่อยๆ แตผูสะสมทีละเล็กทีละ น อ ยจะได ท รั พ ย ส มบั ติ เ พิ่ ม พู น ขึ้ น ” (สภษ 13:11) และ “ความกระตือรือรนที่ขาดความ รูเปนสิ่งไมดี ผูที่เรงเทามักสะดุดลม” (สภษ 19:2) หนังสือพันธสัญญาใหมมคี วามคิดเดียว กันสอนวา คริสตชนตองใชเวลานานเพื่อจะ ไดเห็นผลของพระจิตเจา “จงดูชาวนาเถิด เขาย อ มรอผลมี ค า จากแผ น ดิ น ด ว ยความ พากเพียร รอจนกระทั่งมีฝนตนฤดูและฝน ปลายฤดู” (ยก 5:7)

ความรอบคอบจึงเปนคุณธรรมของ จิตสำนึก ที่รูจักวิเคราะหสิ่งดีแทจริงในทุก สถานการณ และรูจักเลือกวิธีที่เหมาะสมเพื่อ จะบรรลุสิ่งนั้น นักบุญโทมัส อไควนัส อธิบาย ความรอบคอบตามความคิดของอริสโตเติล ว า ความรอบคอบเป น การใช เ หตุ ผ ลอย า ง ถูกตองในการกระทำ ความรอบคอบแตกตาง จากความขลาดกลัว ความหนาซื่อใจคด หรือ การแกลงทำ นักปราชญมักจะเปรียบเทียบ ความรอบคอบกับ “ผูขบั รถมาของคุณธรรม ตางๆ “หมายความวา ความรอบคอบควบคุม คุณธรรมอื่นๆ โดยวางกฎเกณฑและมาตรวัด เปนความรอบคอบซึง่ ชีน้ ำการตัดสินของมโนธรรม คนรอบคอบยอมปฏิบัติตามการตัดสิน ของมโนธรรม (เทียบคำสอนพระศาสนจักร คาทอลิก 1806)



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.