โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 1
วารสารแสงธรรมปริทัศน์
วารสาร ราย 4 เดือน ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2016/2559 เจ้าของ วิทยาลัยแสงธรรม คณะที่ปรึกษา อธิการบดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ผู้อำ�นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ คณบดีคณะศาสนศาสตร์ คณะผู้ทรงคุณวุฒิ หมวดกฎหมายพระศาสนจักร บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช หมวดกระแสเรียก บาทหลวงอดิศักดิ์ พรงาม หมวดคำ�สอน มุขนายกวีระ อาภรณ์รัตน์ บาทหลวง ผศ.วัชศิลป์ กฤษเจริญ หมวดจริยธรรม บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I หมวดชีวิตด้านจิตใจ บาทหลวงสมชัย พิทยาพงศ์พร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกลู หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร บาทหลวงธีรพล กอบวิทยากุล บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ หมวดปรัชญา บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. บาทหลวง ดร.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช หมวดพระคัมภีร์ มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร หมวดพระสัจธรรม บาทหลวงวิรัช นารินรักษ์ บาทหลวงชาย ขันทะโฮม, C.Ss.R. บาทหลวง ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. หมวดพิธีกรรม บาทหลวงเคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, O.M.I. บาทหลวงอนุสรณ์ แก้วขจร หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ มุขนายกชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ บาทหลวงซิกมูนด์ แลส์เช็นสกี้, S.J. บรรณาธิการบริหาร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล บรรณาธิการสร้างสรรค์ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ กองบรรณาธิการ อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย อาจารย์ชวนชม อาจณรงค์ นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ จัดพิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2. เพื่อเป็นสื่อกลางความรู้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้านศาสนา กำ�หนดออก ปีละ 3 ฉบับ ประจำ�เดือนมกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม ค่าบำ�รุงสมาชิก สมาชิกรายปี 300 บาท จำ�หน่ายปลีก ฉบับละ 120 บาท สำ�หรับสมาชิกรายปี สามารถส่งเงินค่าบำ�รุงสมาชิกเป็นเงินสด, ตัว๋ แลกเงินไปรษณีย,์ ธนาณัติ สั่งจ่าย “บาทหลวงอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ” ปณ.อ้อมใหญ่ 73160 หรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขาเทสโก้ โลตัส สามพราน นครปฐม ชื่อบัญชี นายอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ เลขที่บัญชี 403-613134-4
2
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553
บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร
สวัสดีปีใหม่และสุขสันต์วันปัสกาแด่ผู้อ่านทุกท่านครับ ในท่วงท�ำนองของชีวิตมนุษย์ย่อมมีขึ้นมีลง มีทุกข์มีสุข รอบปีที่ผ่านมาเชื่อแน่ว่า ทุกท่านย่อมผ่านประสบการณ์ดงั กล่าว และดูเหมือนว่า เป็นหน้าทีข่ องเราทีจ่ ะต้องเรียนรู ้ เพือ่ ปรับตัวให้เข้าได้กับสภาพการณ์ต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตของเรา ในกระบวนการเรียนรู ้ เราแต่ละคนคือปัจจัยส�ำคัญต่อการเรียนรู ้ ถึงกระนัน้ บุคคลหนึง่ ที่จะช่วยให้เรามีกระบวนการเรียนรู้ที่ดี คือ คุณครูหรืออาจารย์ ที่คอยอบรมสั่งสอนให้เรา พัฒนาในทุกๆ ด้าน จนเราสามารถด�ำรงชีวิตในสังคม ในโลกใบนี้ได้อย่างมีความสุข เมื่อเอ่ยถึงคุณครู ในโลกของเรานี้มีคุณครูผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง เท่าที่โลกเคยมี คือ พระเยซูเจ้า พระองค์ทรงเป็นคุณครูหรืออาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับคุณครู รวมถึงพวกเราทุกคน ตัวอย่างเช่น พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างของความดี ทรงมีใจทีจ่ ะสอน ลูกศิษย์ในทุกๆ ที่ ไม่ว่าจะเป็นริมทะเล บนเรือ ในบ้านหรือแม้กระทั่งระหว่างการเดินทาง พระองค์ทรงสอนด้วยความรัก ความใส่ใจ นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงพูดคุยและรับฟังศิษย์ ของพระองค์ สอนให้เขารู้จักความจริงและไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง แสงธรรมปริทัศน์ฉบับนี้ จึงอยากจะเชิญชวนทุกท่านน้อมร�ำลึกถึงพระคุณของครูบา อาจารย์ และช่วยกันพัฒนาตนเองให้เป็นครูของกันและกัน ด้วยการด�ำเนินชีวติ เป็นแบบอย่าง ที่ดีต่อกัน ประดุจแสงสว่างที่ช่วยกันส่องแสงให้โลกนี้ สว่างไสวด้วยความรัก ความดีและ ความจริง ตลอดไป
บรรณาธิการสร้างสรรค์
ข่าวประชาพันธ์... ขอเชิญชวนส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ฉบับต่อไป เดือนมกราคม-เมษายน 2559 ในหัวข้อ “ปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม” หรือ “หัวข้อที่เกี่ยวกับ ความเมตตาธรรม”ส่งต้นฉบับได้ท่ี อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ E-mail : pi_santo@yahoo.com หรือคุณสุกานดา วงศ์เพ็ญ E-mail : sukanda.1984@gmail.com ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2559 และขอขอบคุณล่วงหน้าสำ�หรับทุกบทความที่ส่งมาร่วมแบ่งปัน บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ ขอสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ในกรณีที่ต้องการบทความไปเผยแพร่ กรุณาแจ้งขออนุญาตอย่างเป็นทางการ
โรงเรียนคาทอลิกเป็นสนามประกาศข่าวดี 3
Content
SaengthamJournal
5
5
ปีที่ 40 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559
อาจารย์ในพระคัมภีร์ บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B.
20
20
28
28
36
36
ครูคริสต์นั้นเป็นฉันใด ศ.กีรติ บุญเจือ
ครูคือผู้ถ่ายทอด อบรม และแบ่งปันความรู้แห่งชีวิต บาทหลวง ปรีชา ธรรมนิยม
วิถีสู่จิตวิญญาณครูคาทอลิก ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์
55
คุณครู.. ประตูสู่การเรียนรู้ อ.พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์
55
63
การแสวงบุญโอกาสปีศักดิ์สิทธิ์แห่งเมตตาธรรม บาทหลวง เชษฐา ไชยเดช
4
69
วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบัับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2010/2553
69
การอบรมศิษย์ของพระเยซูเจ้า ตามพระวรสารนักบุญลูกาและหนังสือกิจการอัครสาวก
บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร
80
80
88
88
95
102
ครูคำ�สอนกับการประกาศข่าวดีในยุคปัจจุบัน อ.สุดหทัย นิยมธรรม
กระแสเรียกท่ามกลางกระแสโลกของพันธกิจ ครูคาทอลิกมุมมองของบาทหลวงดร.อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ บร.ขวัญชัย นาอุดม (ผู้สัมภาษณ์)
95
มีวันนี้.. เพราะมีครู บร.พิสิทธิ์ ยอแซฟ
100
วิศรุต ราฟาแอล ปัญจลาภสกุล
102
มงซินญอร์ อันดรูว์ วิษณุ ธัญญอนันต์
ประสบการณ์ที่ได้รับจาก การฝึกสอนคริสตศาสนธรรม
แนะนำ�หนังสือ บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร และ
บาทหลวง ผศ.ดร.ฟังซิส ไก้ส์, S.D.B.
ภาพลักษณ์ของ “อาจารย์” ทั้งใน พระคัมภีร์พันธสัญญาเดิมและพันธสัญญา ใหม่มีความส�ำคัญมาก ในที่นี้ตั้งแต่แรกเรา ควรเข้าใจว่าค�ำศัพท์ “อาจารย์” และภาพ ลั ก ษณ์ ข องอาจารย์ อ าจมี อ งค์ ป ระกอบ ภายในที่ มี ค วามเสี่ ย ง เพราะอาจชวนให้ คิดถึงความหมายไม่ตรงกับจุดประสงค์ของ พระคัมภีร์ เช่น ค�ำภาษาฮีบรู “รับบี” ที่ ใช้เรียก “อาจารย์” เป็นค�ำที่มีความหมาย ค่อนข้างคลุมเครือ เพราะถ้าแปลตามตัว
อั ก ษรหมายถึ ง “ผู ้ ยิ่ ง ใหญ่ ข องข้ า พเจ้ า ” เป็นการบ่งบอกถึงศักดิ์ศรีของผู้นั้น เรายัง พบลักษณะดังกล่าวนี้แม้ในค�ำภาษาอื่นๆ เช่น “อาจารย์” ในภาษาละตินว่า “Magister” ซึ่ ง ถ้ า แปลตามตั ว อั ก ษรหมายถึ ง “ผู ้ ยิ่ ง ใหญ่ กว่ า หรื อ ผู ้ อ ยู ่ เ หนื อ กว่ า ” ใน ภาษาฝรั่ ง เศสค� ำ ว่ า “Maître” หมายถึ ง “เจ้านาย” อีกด้วย ซึง่ เป็นบุคคลทีอ่ ยูเ่ หนือ ผู้อื่น ดังนั้น เราจึงเข้าใจเหตุผลที่พระเยซู เจ้าตรัสตักเตือนบรรดาศิษย์ว่า “ส่วนท่าน
บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน S.D.B., อาจารย์สาขาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม
( หมวดพระสัจธรรม )
“อาจารย์” ในพระคัมภีร์
6 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 ทั้งหลายอย่าให้ผู้ใดเรียกว่า ‘รับบี’ เพราะ อาจารย์ของท่านมีเพียงผูเ้ ดียวและทุกคนเป็น พี่น้องกัน ในโลกนี้อย่าเรียกผู้ใดว่า ‘บิดา’ เพราะว่าพระบิดาของท่านมีเพียงพระองค์ เดียวคือพระบิดาในสวรรค์ อย่าให้ผใู้ ดเรียก ท่านว่า ‘อาจารย์’ เพราะพระอาจารย์ของ ท่านมีเพียงพระองค์เดียวคือพระคริสตเจ้า” (มธ 23:8-10) ตั้ ง แ ต ่ แ ร ก เ ร า จึ ง ค ว ร ค� ำ นึ ง ถึ ง คุ ณ ลั ก ษณะ 2 ประการของการเป็ น อาจารย์ ในแง่หนึ่ง กิจกรรมของอาจารย์ เป็นการกระท�ำทีม่ คี วามเสีย่ ง เพราะอาจน�ำ ไปสู่ความทะเยอทะยานของผู้มีอ�ำนาจและ ดูหมิ่น ผู้อื่น นี่เป็นคุณลักษณะของธรรมา จารย์ซึ่งดูหมิ่นประชากรที่ไม่รู้ธรรมบัญญัติ และข้อเขียนของบรรดาประกาศก การเป็น อาจารย์เช่นนี้เป็นรูปแบบของการเป็นเจ้า นายเหนือผู้อื่น แต่ อี ก แง่ ห นึ่ ง การเป็ น อาจารย์ มี คุณค่าและมีบทบาทส�ำคัญมาก เป็นพระ คริสตเจ้าผู้ทรงสอนเราให้เป็นอาจารย์อย่าง แท้จริง ดังที่พระวาจาของพระเยซูเจ้าใน พระวรสารตามค�ำบอกเล่าของนักบุญยอห์น เป็ น พยานว่ า “ท่ า นทั้ ง หลายเรี ย กเราว่ า อาจารย์และองค์พระผู้เป็นเจ้า ก็ถูกแล้ว เพราะเราเป็นอย่างนัน้ จริงๆ” (ยน 13:13) พระคริสตเจ้าจึงทรงยอมรับต�ำแหน่งทั้งสอง ประการเพือ่ พระองค์ ซึง่ เป็นมิตทิ งั้ สองของ ค�ำว่า “รับบี” คือทรงเป็นทั้งอาจารย์และ
เจ้ า นาย แล้ ว ทั น ที ทั น ใดพระองค์ ท รง บรรยายวิธกี ารเป็นอาจารย์และเจ้านายอย่าง แท้จริงว่า “ในเมื่อเราซึ่งเป็นทั้งองค์พระผู้ เป็นเจ้าและอาจารย์ยงั ล้างเท้าให้ทา่ น ท่าน ก็ตอ้ งล้างเท้าให้กนั และกันด้วย เราวางแบบ อย่างไว้ให้แล้ว ท่านจะได้ทำ� เหมือนกับทีเ่ รา ท� ำ กั บ ท่ า น” (ยน 13:14-15) วิ ถี ท าง แท้จริงของการเป็นอาจารย์ผู้สั่งสอนและมี อ�ำนาจในการสั่งสอนคือ วิถีทางการรับใช้ และการอุทิศตน พระเยซูเจ้าจึงจงพระทัยเชื่อมโยงการ ล้างเท้ากับการเป็นเจ้านายและการมีอำ� นาจ สั่งสอน ธรรมเนียมชาวยิวก�ำหนดว่า การ ล้างเท้าเป็นกิจการที่ต้องท�ำเอง ห้ามบังคับ แม้กระทัง่ ทาสท�ำให้เจ้านาย ในหนังสือนอก สารบบพระคั ม ภี ร ์ ชื่ อ ว่ า “โยเซฟและ อเซเนท” (Joseph and Aseneth) ซึ่ง เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมชมชอบอย่าง มาก เพราะขยายเรื่องเล่าของหนังสือปฐม กาลเกี่ยวกับโยเซฟในแผ่นดินอียิปต์ เล่าว่า โยเซฟได้แต่งงานกับอเซเนสผูย้ นื ยันความรัก ต่อเขาโดยกล่าวว่า “ดิฉันรักคุณจนพร้อมที่ จะล้างเท้าให้คณ ุ ” การล้างเท้าจึงเป็นอากัป กริยาสูงสุดและมากที่สุดของความรัก ยอม แม้ ท� ำ ตนเหมื อ นทาสและอุ ทิ ศ ตนแก่ เ ขา พระเยซูเจ้าจึงตรัสว่า อาจารย์และเจ้านาย ที่แท้จริงคือผู้ที่ท�ำตนเป็น ผู้รับใช้ คือมอบ ปรีชาญาณของตนและไม่ใช้ปรีชาญาณนั้น เป็นเครื่องมือของอ�ำนาจ
อาจารย์ในพระคัมภีร์
1. อาจารย์ในพันธสัญญาเดิม เมื่ อ แรกเริ่ ม นั้ น พระวาจาของ พระเจ้าท�ำลายความเงียบแห่งความว่างเปล่า และความโง่เขลาของมนุษย์ “พระเจ้าตรัส ว่า ‘จงมีความสว่าง’ และความสว่างก็อบุ ตั ิ ขึ้น” (ปฐก 1:3) ตอนแรกมีพระวาจาพื้น ฐานนี้ และถ้าปราศจากพระวาจานี้คงมีแต่ ความว่ า งเปล่ า จะไม่ มี ค� ำ พู ด อื่ น ใดดั ง กึกก้อง เมื่อแรกเริ่มนั้นจึงมีแต่องค์พระผู้ เป็นเจ้าและพระอาจารย์เพียงพระองค์เดียว คือพระเจ้า นักบุญเปาโลประทับใจข้อความ ของประกาศกอิสยาห์ผู้บันทึกพระวาจาที่ พระยาห์เวห์ตรัสกับเขาว่า ‘คนที่ไม่เสาะ แสวงหาเรา เราก็จะให้พบ คนที่ไม่ถามถึง เรา เราก็ แ สดงตนให้ รู ้ ’ ” (รม 10:20) มนุษย์เดินตามทางของตนและอาจจะเดิน ออกห่างจากพระเจ้าไปเรื่อยๆ ถ้าหากว่าที่ บริเวณสี่แยกแห่งหนึ่งพระเจ้าไม่ทรงส�ำแดง องค์คอื พระวาจาแก่เขา ดังนัน้ เมือ่ แรกเริม่ นั้นมีพระปรีชาญาณของพระเจ้า หนังสือ ปฐมกาลบันทึกประโยคนี้คือ “พระเจ้าตรัส ว่ า (ปฐก 1:3) และพั น ธสั ญ ญาใหม่ บันทึกว่า “เมื่อแรกเริ่มนั้น พระวจนาตถ์ ทรงด� ำ รงอยู ่ แ ล้ว ” (ยน 1:1) นี่คือ การ แสดงองค์ ค รั้ ง แรกที่ ยิ่ ง ใหญ่ ข องพระเจ้ า ปราศจากการเปิดเผยนี้จะไม่มีการเรียนการ สอนใดๆ ปราศจากพระหรรษทานจะไม่มี ค� ำ พู ด ของเรา ปราศจากพระวาจาของ พระองค์จะไม่มีถ้อยค�ำของเรา
7
1.1 สถานที่ซึ่งพระเจ้าทรงส�ำแดง พระองค์ พระเจ้าทรงส�ำแดงพระองค์ทไี่ หนและ อย่างไร พระเจ้าทรง “สัง่ สอน” มนุษย์โดย เฉพาะในสถานที่ 3 แห่งหรือโดย 3 วิธี การคือ 1.1.1 พระวาจาหรื อ บทสอนของ พระเจ้าแสดงออกอย่างเฉพาะเจาะจงใน ธรรมบั ญ ญั ติ (Torah) ซึ่ ง เป็ น ค� ำ สอน ดีเลิศของพระเจ้า เราจึงต้องฟังบทสอนแรก นีโ้ ดยตัง้ ใจฟังธรรมบัญญัต ิ เพลงสดุด ี 119 ทั้งหมดเป็นบทเพลงยิ่งใหญ่สรรเสริญพระ วาจาของพระเจ้า ทุกเช้าเบลส ปาสกาล เคยสวดบทเพลงนี้ ซึ่ ง เป็ น บทสรรเสริ ญ พระเจ้ า อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เสมื อ นการ เคลื่อนไหวที่ไม่เคยหยุดหย่อน เพลงสดุดี บทนี้มี 22 ตอน แต่งเป็นค�ำประพันธ์กล บทอั ก ษรตามล� ำ ดั บ อั ก ษรภาษาฮี บ รู ซึ่ ง มี พยัญชนะ 22 ตัว บทประพันธ์แต่ละตอน มี 8 ข้อ แต่ละข้อเริ่มต้นด้วยอักษรตัว เดียวกัน ใช้ค�ำศัพท์ที่มีความหมายคล้ายๆ กัน ได้แก่ “ธรรมบัญญัติ กฤษฎีกา ข้อ บังคับ ข้อก�ำหนด บทบัญญัต ิ พระสัญญา พระวาจา พระด�ำรัส พระวินจิ ฉัย หนทาง” ค�ำศัพท์เหล่านี้ล้วนหมายถึง พระวาจาของ พระเจ้า หรือ “ธรรมบัญญัติ” เพลงสดุดี บทนี้เป็นการเฉลิมฉลองบทเรียนแรกซึ่งเป็น พื้นฐานที่เราต้องฟัง ไม่เพียงเพื่อรู้จักพระ ธรรมล�ำ้ ลึกของพระเจ้าเท่านัน้ แต่เพือ่ เรียน รู้วิถีทางการด�ำเนินชีวิตอีกด้วย
8 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 เพลงสดุด ี 25 (ข้อ 4, 5, 8, 9, 10 และ 12) วอนขอพระเจ้าอย่างต่อ เนื่องเพื่อทรงเปิดเผยพระวาจาของพระองค์ ทรงชี้ ห นทางแก่ เ รา เช่ น “ข้ า แต่ พ ระ ยาห์ เ วห์ โปรดให้ ข ้ า พเจ้ า รู ้ จั ก ทางของ พระองค์ โปรดทรงสอนมรรคาของพระองค์ แก่ข้าพเจ้า” (ข้อ 4) พระเยซูเจ้าจะตรัส ว่า “เราเป็นหนทาง ความจริงและชีวิต” (ยน 14:6) ในทุกวัฒนธรรม หนทางเป็น สัญลักษณ์ส�ำคัญของชีวิต ในแง่นี้ ธรรม บัญญัตหิ รือพระวาจาของพระเจ้าเป็นเสมือน โคมไฟส่องทางของมนุษย์และเป็นแสงสว่าง ส่องทางเดินให้เขา (เทียบ สดด 119:105) ในเพลงสดุ ดี 143 เราวอนขอ พระเจ้าว่า “โปรดทรงสอนข้าพเจ้าให้ปฏิบตั ิ ตามพระประสงค์ เพราะพระองค์ เ ป็ น พระเจ้าของข้าพเจ้า ขอให้พระจิตเอื้ออารี ของพระองค์น�ำข้าพเจ้าไปยังแผ่นดินราบ เรียบ” (สดด 143:10) ในข้อนี้ เราพบ องค์ประกอบทัง้ สองของการสอนคือ “โปรด ทรงสอนข้าพเจ้าให้ปฏิบตั ติ ามพระประสงค์” หมายถึงไม่เพียงสอนพระธรรมล�้ำลึกของ พระองค์เท่านัน้ แต่พระธรรมล�ำ้ ลึกนีท้ ำ� งาน ในตัวเราจนเกิดผลอีกด้วย แล้วพระองค์ จะ “ทรงน�ำข้าพเจ้าไปยังแผ่นดินราบเรียบ” ในทางเดินแห่งชีวิต 1.1.2 พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์ ว่าเป็นพระอาจารย์ในพระราชกิจน�ำความ รอดพ้นแก่มนุษย์ ดังทีเ่ ราอ่านในเพลงสดุดี
103 ว่า “ทรงส�ำแดงให้โมเสสรู้ทางของ พระองค์ ทรงส� ำ แดงให้ บ รรดาบุ ต รของ อิ ส ราเอลเห็ น พระราชกิ จ ของพระองค์ ” (สดด 103:7) ประโยคทัง้ สองนีม้ คี วามคิด คล้ อ งจองกั น ว่ า “ทางของพระองค์ ” เป็น “พระราชกิจของพระองค์” คือกิจการ ที่น�ำความรอดพ้นในชีวิตของมนุษย์ พระ คัมภีรเ์ ล่าเรือ่ งเกีย่ วกับพระเจ้าและการเฉลิม ฉลองพระเจ้าในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ดังนั้น พระคัมภีร์จึงเป็นประวัติศาสตร์แห่ง ความรอดพ้น ให้ เ รามาพิ จ ารณาผลตามมาสอง ประการของความจริงพื้นฐานนี้ ประการ แรก ชาวยิวเคยเรียกโมเสสเป็นเวลานาน ว่า “อาจารย์ของเรา” เพราะในพระคัมภีร์ พระเจ้าตรัสกับโมเสสว่า ‘บัดนี้ จงไปเถิด เราจะช่วยท่านพูด เราจะสอนท่านว่า จะ ต้ อ งพู ด อะไรบ้ า ง’” (อพย 4:12) แล้ ว โมเสสได้ท�ำอะไรบ้าง เขาก็ได้พูดและช่วย ประชากรให้ ร อดพ้ น พระเจ้ า จึ ง ทรงใช้ อาจารย์ทเี่ ป็นมนุษย์อกี ด้วย พระเจ้าทรงใช้ มนุษย์แม้เป็นผู้อ่อนแอเพื่อน�ำความรอดพ้น ในประวัติศาสตร์ โดยแท้จริงแล้ว โมเสส คงจะเป็นคนสุดท้ายทีส่ มควรได้รบั เลือกเป็น อาจารย์ เขาพูดติดอ่าง ไม่เชีย่ วชาญในการ พูด เป็นข้อบกพร่องตั้งแต่ก�ำเนิด จึงทูล แย้งว่า “ขอทรงอภัยข้าพเจ้าด้วยเถิดพระเจ้า ข้า โปรดส่งผู้อื่นไปเถิด” (อพย 4:13)
อาจารย์ในพระคัมภีร์
ประการที่ ส อง เราต้ อ งถ่ า ยทอด เนื้อหาอะไรในการสอนค�ำสอน เราพบค�ำ ตอบในเพลงสดุดี 78 ซึ่งอาจจะเรียกว่า เป็ น “บทเรี ย นจากประวั ติ ศ าสตร์ ข อง อิ ส ราเอล” สิ่ ง ที่ เ ราต้ อ งถ่ า ยทอดและ ประกาศไม่ใช่เรื่องพระเจ้าผู้เป็นนามธรรม และทรงอยู่ห่างไกล ไม่ใช่ “พระเจ้าของ บรรดานักปรัชญา” ตามวลีที่ เบลส ปาส กาลนิยมใช้ ไม่ใช่พระเจ้าของผูม้ ปี รีชาฉลาด แต่ เ ป็ น พระเจ้ า ของอั บ ราฮั ม อิ ส อั ค และ ยาโคบ เป็ น พระเจ้ า ผู ้ ท รงช่ ว ยมนุ ษ ย์ ใ ห้ รอดพ้น 1.1.3 นอกจากพระเจ้าทรงเปิดเผย พระองค์ในธรรมบัญญัติ (โตราห์) และใน ประวัติศาสตร์มนุษย์แล้ว พระองค์ยังทรง ส�ำแดงองค์ในความมืดของการทดลอง ใน ความอั บ แสงและในความเงี ย บ หนั ง สื อ ปัญญาจารย์และโยบเป็นหนังสือพันธสัญญา เดิ ม สองเล่ ม ที่ น ่ า สนใจและมี ค วามหมาย พิเศษในเรื่องนี้ มีความคิดต่างจากหนังสือ เฉลยธรรมบัญญัติที่กล่าวว่า “พระยาห์เวห์ พระเจ้าของท่านทรงตีสอนท่านเช่นเดียวกับ บิดาตีสอนบุตรของตน” (ฉธบ 8:5) ใน หนังสือ 2 เล่มนี้ พระเจ้า พระอาจารย์ ทรงรู ้ จั กวิ ถีทางแห่งความแข็งแกร่ง เป็น หนทางที่ศิษย์เข้าใจไม่ได้ “ความคิดของเรา ไม่ใช่ความคิดของท่าน ทางของท่านก็ไม่ใช่ ทางของเรา” (อสย 55:8) ดังนั้น ยังมี พระวาจาของพระเจ้าทีท่ ำ� ให้มนุษย์สบั สนไม่ ว่าในความดีและความความชั่ว
9
ปั ญ ญาจารย์ เ ป็ น หนั ง สื อ เกี่ ย วกั บ วิกฤตการณ์คือวิกฤตการณ์ของพระปรีชา ญาณ เป็นเรื่องของอาจารย์ที่ไม่เชื่อในสิ่งที่ เขาสอนอีกต่อไป อาจจะไม่หวังสิ่งใดอีก แต่ยังไตร่ตรองถึงค�ำสั่งสอนที่พระเจ้าทรง ตรั ส อย่ า งลึ ก ลั บ โดยอาศั ยความเงี ยบของ พระองค์ ประกาศกโฮเชยาแสดงความอ่อน โยนแบบบิดาแม้ในความเข้มงวด “เราสอน เอฟราอิมให้เดิน เราอุม้ เขาทัง้ หลายไว้ แต่ เขาไม่รู้ว่าเราเอาใจใส่เขา เราใช้เชือกแห่ง มนุษยธรรม และใช้สายสะพายแห่งความรัก จูงเขา เราเป็นเหมือนผูท้ ยี่ กทารกมาจูบแก้ม และก้มลงป้อนอาหารให้เขา” (อชย 11:34) เอฟราอิ ม ยั ง คงเป็ น กบฏต่ อ ไป แต่ พระเจ้ า ผู ้ ท รงเป็ น บิ ด ายั ง ทรงรั ก ษาความ สัมพันธ์แห่งความรักอยู่เสมอแม้ขณะที่ทรง ลงโทษและลูกไม่เข้าใจ อย่างไรก็ตาม ค�ำ สอนของพระเจ้ า พระอาจารย์ ผ ่ า นทาง ความเงียบและการทดลองแสดงว่า พระเจ้า ไม่ทรงหยุดนิ่งที่จะเป็นพระอาจารย์ผู้ทรงรับ ใช้และทรงอยูใ่ กล้ชดิ กับมนุษย์มากกว่าทีท่ รง เปิดเผยพระองค์ด้วยพระวาจาและพระราช กิจอีกด้วย 1.2 อาจารย์ที่เป็นมนุษย์ มนุษย์ที่ได้รับค�ำสั่งสอนจากพระเจ้า กลับเป็นอาจารย์อกี ด้วย พระองค์ทรงส่งเขา ให้เป็นอาจารย์สอนผูอ้ นื่ เราจะพิจารณา 3 ประเด็นเกี่ยวกับเรื่องนี้
10 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 1.2.1 บิดากับบุตร การสอนพื้ น ฐานคื อ การสอนผ่ า น ทางการสื่อสารระหว่างบุคคล การสอนใน ครอบครัวและความสัมพันธ์ด้วยความรัก เรามีตัวอย่างมากมายในพระคัมภีร์เกี่ยวกับ การสอนในลักษณะเช่นนี้ เช่น ในหนังสือ สุภาษิต บิดาพูดบ่อยๆ ว่า “ลูกเอ๋ย...” และให้ความปรีชาฉลาดของตนแก่ลูก ใน กรณีนี้อาจารย์ซึ่งเป็นบิดาปรารถนาอย่างยิ่ง ที่จะให้ศิษย์เจริญรุ่งเรือง แต่อาจารย์ที่เป็น เจ้ า นายไม่ ต ้ อ งการเช่ น นั้ น เพราะเขา หวงแหนภูมิปัญญาที่ตนมีเหนือผู้อื่น ส่วน บิดาคิดเช่นเดียวกับนักบุญยอหน์ ผู้ท�ำพิธี ล้ า งว่ า เขาจะต้ อ ง “ยิ่ ง ใหญ่ ขึ้ น ส่ ว น ข้าพเจ้าจะต้องด้อยลง” (ยน 3:30) บท สุดท้ายของหนังสือสุภาษิตซึ่งสรรเสริญสตรี ที่ปรีชาฉลาดอาจจะเป็นบทสรุปของหลัก สู ต รการเรี ย นการสอน เมื่ อ บิ ด าที่ เ ป็ น อาจารย์สอบจบบทเรียนแล้ว ก็แสดงความ ชื่นชมยินดีกับบุตรที่ได้พบภรรยา ซึ่งเป็น สตรีตามอุดมการณ์ มีคุณธรรม และเป็น แม่บา้ นทีด่ พี ร้อม แต่ยงั เป็นภาพลักษณ์ของ พระปรีชาญาณ หมายความว่าบุตรได้กลาย เป็ น อาจารย์ ที่ ป รี ช าฉลาดสื บ ต่ อ ไป จุ ด ประสงค์ของอาจารย์ทุกคนในการสั่งสอนผู้ อื่นเขาจะต้องยอมลดทอนบทบาทของตน ท�ำให้ศิษย์สามารถเติบโตในความเชื่อและ ความรู้ แล้วผู้เป็นอาจารย์จะค่อยๆ ถอย ออกไป
1.2.2 บรรดาสมณะ ผู้มีปรีชาและ ประกาศก พันธสัญญาเดิมยังเสนอบรรดาสมณะ ผู้มีปรีชาและประกาศกเป็นอาจารย์อีกด้วย เราพบตัวอย่างชัดเจนของค�ำสอนเช่นนีใ้ นบท ที่ 3 ของหนังสือซามูแอล ฉบับที่ 1 ที่ แสดงว่า สมณะเอลี อาจารย์ของซามูแอล เป็นวิญญาณรักษ์ที่ดีเลิศ เพราะไม่ได้ท�ำ หน้าทีแ่ ทนศิษย์ แต่สอนให้รวู้ ธิ คี น้ หากระแส เรียกของตนคือ เสียงที่เรียกซามูลแอลใน เวลากลางคื น นั้ น เป็ น เสี ย งของผู ้ ใ ด อี ก ตัวอย่างที่น่าสนใจส�ำหรับปัญหาเรื่องการ ประสานความเชือ่ กับวัฒนธรรมคือ อาจารย์ คนหนึง่ ทีไ่ ด้เขียนหนังสือปรีชาญาณในปี 30 ก่อนคริสตกาล เขาแนะน�ำตนเองว่าเป็นซา โลมอนผู้มีปรีชาญาณสูงสุด หนังสือปรีชา ญาณเป็นความพยายามทีจ่ ะใช้แนวความคิด ของปรัชญากรีกมาเขียนบทเรียนยิ่งใหญ่ของ อิ ส ราเอลอี ก ครั้ ง หนึ่ ง ให้ มี ทั ศ นคติ ที่ สอดคล้องกับวัฒนธรรมกรีก ในบทที่ 8 ของหนั ง สื อ ประกาศก เนหะมีห ์ พระเอกคือสมณะเอสราซึง่ สัง่ สอน เกี่ ย วกั บ พระวาจาของพระเจ้ า เขาเป็ น อาจารย์สำ� คัญเพราะแสดงให้เราเห็นว่า ทุก คนจะเป็นอาจารย์สอนพระวาจาของพระเจ้า ได้อย่างไร ในบทที่ 8 นี้เราพบความคิด 7 ประการซึ่งเปรียบได้กับกลุ่มดาวที่แสดง การสอนพระวาจาของพระเจ้าคือ
อาจารย์ในพระคัมภีร์
»» ก. “เอสราอ่านหนังสือที่ลานหน้า ประตูน�้ำตั้งแต่เช้าตรู่จนถึงเที่ยง ต่อ หน้าชายหญิงและเด็กที่มีวัยพอจะฟัง เข้าใจได้” (นหม 8:3) การอ่านเป็น ลั ก ษณะที่ ส� ำ คั ญ มาก โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในสมัยของเราทีด่ เู หมือนว่า เยาวชนชอบดูห รือ ฟังมากกว่า อ่า น ชาวยิวเรียกพระคัมภีรว์ า่ “การเขียน” »» ข. “ชนเลวี แ ปลข้ อ ความจาก หนังสือธรรมบัญญัติของพระเจ้าเป็น ตอนๆ และอธิ บ ายความหมาย” (นหม:8) ถ้าเราไม่เข้าใจความหมาย ของแต่ละค�ำที่เขียนไว้ เราจะเข้าใจ พระวาจาของพระเจ้าได้อย่างไร ดัง นั้น จะต้องมีการอธิบายพระวาจา ด้วย »» ค. “ให้ประชากรเข้าใจ” (นหม 8:8) ในพระคัมภีร์ “ความเข้าใจ” เป็นความรูท้ มี่ รี สชาติ ดังที ่ มารีแต็ง เคย เรียกอย่างถูกต้อง (Connaissance savoureuse) »» ง. “ประชากรทั้ ง ปวงตั้ ง ใจฟั ง ข้ อ ความที่ อ ่ า นจากหนั ง สื อ ธรรม บัญญัต”ิ (นหม 8:3) ในพระคัมภีร์ ค�ำกริยา Shama หมายถึงทั้งการ ฟังและการเชือ่ ฟัง ดังนัน้ ค�ำภาวนา ทีว่ า่ “อิสราเอลเอ๋ย จงฟังเถิด พระ ยาห์ เ วห์ ทรงเป็ น พระเจ้ า ของเรา พระยาห์ เ วห์ มี เ พี ย งพระองค์ เ ดี ย ว
11
ท่านจะต้องรักพระยาห์เวห์ พระเจ้า ของท่าน สุดจิตใจ สุดวิญญาณและ สุ ด ก� ำ ลั ง ของท่ า น” (ฉธบ 6:4-5) วลี “จงฟั ง เถิ ด ” มี ค วามหมายทั้ ง สองอย่ า งคื อ ทั้ ง ตั้ ง ใจฟั ง และยึ ด มั่ น ปฏิบัติตามสิ่งที่ได้ฟัง ไม่เป็นเพียง ความรู ้ ท างสติ ป ั ญ ญาเท่ า นั้ น แต่ เป็ น การค้ น พบความสั ม พั น ธ์ กั บ พระเจ้ า ดั ง นั้ น จึ ง มี ค� ำ สั่ ง ต่ อ ไป ว่ า “ท่ า นจะต้ อ งรั ก พระยาห์ เ วห์ พระเจ้ า ของท่ า น สุ ด จิ ต ใจ ฯลฯ” การรักปฏิกิริยาต่อจากการฟัง »» จ. “ประชากรทุกคนที่ฟังถ้อยค�ำ ของธรรมบั ญ ญั ติ ก็ ร ้ อ งไห้ ” (นหม 8:9) แสดงว่ า เขาได้ ก ลั บ ใจ พระ วาจาของพระเจ้าท�ำให้เขาเป็นทุกข์ เสียใจส�ำหรับบาปที่ได้กระท�ำ นี่เป็น ผลตามมาอี ก ประการหนึ่ ง ของการ สอนทีแ่ ท้จริงจะต้องท�ำให้มโมธรรมไม่ สบายใจ พระวาจาของพระเจ้าจะ ต้องฝังลึกลงในจิตใจ มิฉะนัน้ แล้วจะ เป็นเพียงการสื่อสารอย่างเดียว »» ฉ. “จงกลับไปบ้าน เลี้ยงอาหาร เลิศรส ดื่มเหล้าองุ่นอย่างดี และ แบ่งปันอาหารให้คนที่ไม่มี” (นหม 8:10) บทเรียนที่เราได้รับจากพระ วาจาของพระเจ้าบังคับเราให้เข้าหา คนยากจน เพื่อมอบทั้งอาหารของ พระวาจาและอาหารเลี้ยงร่างกายอีก ด้วย
»» ช. “เขาฉลองเทศกาลอยูเ่ พิงนีเ้ ป็น เวลาเจ็ดวัน และในวันที่แปดก็มีการ ชุมนุมกันอย่างสง่าตามพิธีที่ก�ำหนด ไว้” (นหม 8:18) เราพบการสอน ยิ่งใหญ่สุดท้ายในพิธีกรรม ดังนั้น ดาว 7 ดวง สรุปได้โดยค�ำ ศั พ ท์ 7 ค� ำ ดั ง ต่ อ ไปนี้ การอ่ า น การ อธิ บ าย การเข้า ใจ การฟัง การร้อ งไห้ การมอบให้ และการเฉลิ ม ฉลอง นี่ คื อ หลักสูตรที่ศาสนบริการผู้ประกาศพระวาจา ต้องใช้ในการสั่งสอนกลุ่มคริสตชน 1.2.3 วิชาครูทั่วไป เราอาจสรุปเนื้อหาเรื่องการเรียนการ สอนในพันธสัญญาเดิมโดยใช้ปฏิทรรศน์ทวี่ า่ จุ ด ประสงค์ ข องอาจารย์ คื อ ท� ำ ให้ ต นเอง ค่อยๆ ไร้ประโยชน์ พันธสัญญาใหม่จะเน้น ความคิดนี้เป็นพิเศษคือ ในยุคสุดท้ายจะ ไม่มีอาจารย์อีกแล้ว เพราะทุกคนจะมีพระ จิตเจ้าผูท้ รงเป็นพระอาจารย์ภายใน ในพระ วรสารตามค�ำบอกเล่าของนักบุญยอห์นพระ เยซู เ จ้ า ตรั ส ว่ า “มีเขียนไว้ในหนังสือ ของ บรรดาประกาศกว่า ‘ทุกคนจะได้รบั ค�ำสอน จากพระเจ้า‘ ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดาและ เรียนรูจ้ ากพระองค์กม็ าหาเรา” (ยน 6:45) ระหว่างมนุษย์กบั พระเจ้าจะไม่มคี นกลางอีก แล้ว นักบุญยอห์นอ้างข้อความจากหนังสือ ประกาศกอิ ส ยาห์ ฉ บั บ ภาษากรี ก ซึ่ ง เป็ น การแปลจากต้ น ฉบั บ ภาษาฮี บ รู ที่
ว่า “บรรดาบุตรของเจ้าจะได้รับค�ำสั่งสอน จากพระยาห์เวห์” (อสย 54:13) ชุมชน ในยุ ค สุ ด ท้ า ยทุ ก คนจะได้ เ ป็ น ศิ ษ ย์ ข อง พระเจ้า ค� ำ พยากรณ์ ข องประกาศกเยเรมี ย ์ เกี่ ย วกั บ พั น ธสั ญ ญาใหม่ (เที ย บ ยรม 31:31-34) ยิ่งมีความส�ำคัญมากขึ้น เป็น ค� ำ ท� ำ นายที่ รู ้ จั ก กั น มากที่ สุ ด และเป็ น ข้อความยาวที่สุดที่พันธสัญญาใหม่อ้างถึง จากพันธสัญญาเดิมคือในจดหมายถึงชาว ฮี บ รู บทที่ 8:8-12 ประกาศกเยเรมี ห ์ ตอบค�ำถามทีว่ า่ พันธสัญญาสมบูรณ์ทภี่ เู ขา ซีนายใหม่จะเป็นอย่างไร เมื่อชุมชนมนุษย์ จะมี ค วามสนิ ท สั ม พั น ธ์ เ ป็ น หนึ่ ง เดี ย วกั บ พระเจ้าโดยสิน้ เชิงจะเป็นอย่างไร ประกาศก เยเรมีหบ์ นั ทึกค�ำตอบทีพ่ ระยาห์เวห์ทรงเปิด เผยให้ตนรูว้ า่ “นีจ่ ะเป็นพันธสัญญาทีเ่ ราจะ ท�ำกับพงศ์พันธุ์อิสราเอลเมื่อเวลานั้นมาถึง” พระยาห์เวห์ตรัส “เราจะใส่ธรรมบัญญัติ ของเราไว้ ภ ายในเขา เราจะเขี ย นธรรม บัญญัติไว้ในใจของเขา เราจะเป็นพระเจ้า ของเขา และเขาจะเป็นประชากรของเรา” (ยรม 31:33) จะไม่ มี บ รรดาอาจารย์ สมณะ ประกาศก หรือผู้มีปรีชาที่จะต้อง พู ด กั บ ผู ้ อื่ นว่ า “จงรู ้ จั ก พระยาห์ เ วห์ เ ถิ ด เพราะทุกคนจะรู้จักเรา ตั้งแต่คนเล็กน้อย ที่สุดจนถึงคนใหญ่ที่สุด” (ยรม 31:34)
2. พระเยซูเจ้า พระอาจารย์ พันธสัญญาใหม่ โดยเฉพาะหนังสือ พระวรสารแสดงภาพลักษณ์ของพระเยซูเจ้า ในฐานะอาจารย์ (didàskalos) เราจะพิจารณา ภาพของพระเยซู เ จ้ า พระอาจารย์ ดั ง ที่ ปรากฏในประวัติศาสตร์ แล้วจะวิเคราะห์ คุณลักษณะ 7 ประการของพระคริสตเจ้า พระอาจารย์ ตามความเชื่อของคริสตชน 2.1 ภาพของพระเยซู เ จ้ า พระ อาจารย์ในประวัติศาสตร์ พันธสัญญาใหม่ใช้คำ� ศัพท์วา่ “didàskalos” ทั้งหมด 58 ครั้ง ในจ�ำนวนนี้ม ี 48 ครั้งในหนังสือพระวรสาร ส่วนใหญ่ ประยุกต์ใช้กับพระเยซูเจ้า ท�ำนองเดียวกัน เราพบค�ำกริยา “didaskein” (สอน) ถึง 95 ครั้ง ซึ่งมีสองในสามของจ�ำนวนนี้ใน พระวรสาร และส่วนใหญ่ประยุกต์ใช้กบั พระ เยซู เ จ้ า เช่ น กั น ดั ง นั้ น พระเยซู เ จ้ า เป็ น “พระอาจารย์” ยอดเยีย่ มของชุมชนคริสตชน เราอาจวาดภาพนี้ โดยมี คุ ณ ลั ก ษณะ 3 ประการ 2.1.1 ประชาชนเรี ย กพระเยซู เ จ้ า ว่า “รับบี” หรือ “รับโบนี” ค�ำภาษาอารา เมอิ ก ทั้ ง สองนี้ ห มายถึง “อาจารย์” เช่น “เปโตรจึงทูลพระเยซูเจ้าว่า “พระอาจารย์ เจ้าข้า (รับบี) ทีน่ สี่ บายน่าอยูจ่ ริงๆ เราจง สร้างเพิงขึ้นสามหลังเถิด หลังหนึ่งส�ำหรับ พระองค์ หลังหนึ่งส�ำหรับโมเสส อีกหลัง หนึ่งส�ำหรับประกาศกเอลียาห์” (มก 9:5)
และคนตาบอดทูลว่า “รับโบนี ให้ข้าพเจ้า แลเห็นเถิด” (มก 10:51) พระเยซูเจ้าเป็น พระอาจารย์ผตู้ รัสปราศรัยในทีส่ าธารณะเช่น เดียวกับบรรดาอาจารย์ในอิสราเอลคือ ใน ศาลาธรรม ในลานสาธารณะและในพระ วิหาร พระองค์ทรงเป็นอาจารย์คนหนึ่งที่มี บรรดาล้อมรอบและมีผู้ติดตามอยู่เสมอ พระเยซู เ จ้ า ยั ง ทรงใช้ เ ทคนิ ค ของ บรรดาอาจารย์คือ มีทักษะการเรียนการ สอน และมีเอกลักษณ์ไม่ซำ�้ แบบใครคือต่าง จากบรรดาอาจารย์ในอิสราเอล พระองค์ ทรงเลือกบรรดาศิษย์ ส่วนอาจารย์อื่นๆ เริม่ พูดในลานสาธารณะและผูฟ้ งั ทีป่ ระทับใจ ก็ตดิ ตามอาจารย์ แต่พระเยซูเจ้าทรงปฏิบตั ิ ตรงกันข้าม ต่างจากขนบธรรมเนียมของชาว ยิ ว พระองค์ ต รั ส กั บ บรรดาศิ ษ ย์ ข ณะที่ เสวยพระกระยาหารมือ้ สุดท้ายว่า “มิใช่ทา่ น ทั้งหลายได้เลือกเรา แต่เราได้เลือกท่าน มอบภารกิจให้ท่านไปท�ำจนเกิดผล” (ยน 15:16) 2.1.2 พระเยซูเจ้าเป็นพระอาจารย์ ผูท้ รงอ�ำนาจ นักบุญมาระโกบันทึกเกีย่ วกับ พระเยซู เ จ้ า ว่ า “ค� ำ สั่ ง สอนของพระองค์ ท�ำให้ผู้ฟังรู้สึกประทับใจอย่างมาก เพราะ ทรงสอนเขาอย่างทรงอ�ำนาจไม่เหมือนกับ บรรดาธรรมาจารย์ ” (มก 1:22) และ “คนเหล่านั้นทูลว่า ‘พระอาจารย์ พวกเรา รู ้ ว ่ า ท่ า นเป็ น คนเที่ ย งตรง ไม่ ล� ำ เอี ย ง ท่านไม่เห็นแก่หน้าใคร แต่สั่งสอนวิถีทาง
14 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 ของพระเจ้าตามความจริง’” (มก 12:14) นีเ่ ป็นภาพลักษณ์ทงี่ ดงามของอาจารย์แท้จริง ทีไ่ ม่สอนเพือ่ แสวงหาผลประโยชน์ของตนเอง 2.1.3 รากฐานของการเรียนการสอน มาจากเบื้องบน ตัวอย่างเช่น พระเยซูเจ้า ตรัสว่า “เราไม่ท�ำอะไรตามใจตนเอง แต่ พูดอย่างที่พระบิดาทรงสั่งสอนเราไว้” (ยน 8:28) และ “พระบิดาทรงมอบทุกสิ่งแก่ ข้าพเจ้า ไม่มีใครรู้จักพระบุตร นอกจาก พระบิ ด า และไม่ มี ใ ครรู ้ จั ก พระบิ ด า นอกจากพระบุตรและผูท้ พี่ ระบุตรเปิดเผยให้ รู้” (มธ 11:27) ค�ำสอนของพระเยซูเจ้า จึงเป็นค�ำสอนเรื่องพระธรรมล�้ำลึกของพระ บิดาเจ้าเป็นค�ำสอนที่มาจากเบื้องบน นี่คือคุณลักษณะส�ำคัญบางประการ ของภาพลักษณ์พระเยซูเจ้า พระอาจารย์ดงั ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ ในฐานะมนุษย์ พระเยซูเจ้าทรงใช้เทคนิคการสอนที่มาจาก วัฒนธรรมยิว เช่น ทรงใช้อปุ มาเรือ่ งต่างๆ แต่ พ ระองค์ ยั ง ทรงมี ค วามแตกต่ า งและ ลั ก ษณะไม่ เ หมื อ นใคร เช่ น การเลื อ ก บรรดาศิ ษ ย์ ทรงสั่ ง สอนด้ ว ยอ�ำ นาจของ พระองค์เอง ทรงเป็นอิสระไม่ผูกมัดตนเอง กั บ ผู ้ ใ ด และทรงสั่ ง สอนความจริ ง ที่ เ กิ น ความรู้ของมนุษย์ เพราะมาจากเบื้องบน เป็นค�ำสอนทีพ่ ระเจ้าทรงเปิดเผยแก่พระองค์ 2.2 คุณลักษณะ 7 ประการของ พระเยซูเจ้า พระอาจารย์
เราจะพิจารณาคุณลักษณะของพระ เยซูเจ้า พระอาจารย์ ในการสั่งสอน โดย อธิบายคุณลักษณะส�ำคัญ 7 ประการดังต่อ ไปนี้ 2.2.1 พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์ที่ ประกาศข่าวดีเรือ่ งพระอาณาจักรเป็นอันดับ แรก ทรงเป็นผู้ดีเลิศในการแจ้งแก่นแท้ของ ข่าวดีเรื่องความรอดพ้น ตัวอย่างเช่น บท เทศน์แรกของพระเยซูเจ้าตามข้อเขียนในพระ วรสาร สหทรรศน์และในการสอนของกลุ่ม คริ ส ตชนสมั ย แรกๆ สรุ ป ในหั ว ข้ อ ที่ ว่ า “เวลาที่ ก� ำ หนดไว้ ม าถึ ง แล้ ว พระ อาณาจักรของพระเจ้าอยู่ใกล้แล้ว จงกลับ ใจ และเชื่อข่าวดีเถิด” (มก 1:15) น่า สังเกตว่า เนื้อหาการประกาศของพระเยซู เจ้ามีองค์ประกอบ 4 ประโยค แยกเป็น สองประโยคตามมิติเทววิทยา และอีกสอง ประโยคตามมิติมานุษยวิทยา »» ก. “เวลาที่ก�ำหนดไว้มาถึงแล้ว” พระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ทรงยื น ยั น ว่ า พระองค์เสด็จมาเพื่อประทานความ หมายแก่ประวัติศาสตร์มนุษย์ ทรง เป็นจุดศูนย์กลางและหลักหมุนของ กาลเวลา เมื่ อ พระเยซู เ จ้ า ตรั ส ว่า “เวลาที่ก�ำหนดไว้มาถึงแล้ว” ก็ เท่ากับตรัสว่า “โดยอาศัยค�ำพูดและ กิ จ การ เราให้ ค วามหมายแก่ เหตุ ก ารณ์ ทั้ ง หมดของกิ จ การช่ ว ย มนุษย์ให้รอดพ้นจากพระเจ้าตลอด
อาจารย์ในพระคัมภีร์
เวลาหลายศตวรรษ” กาลเวลาซึ่ ง ประกอบด้ ว ยกิ จ การมากมายที่ กระจัดกระจายมารวมเป็นหนึ่งเดียว เหมือนปมทองทีผ่ กู มัดไว้จากพระองค์ ผู้ทรงให้ความหมาย »» ข. “พระอาณาจักรของพระเจ้าอยู่ ใกล้แล้ว” กริยาในต้นฉบับภาษากรีก ที่พระคัมภีร์ภาษาไทยแปลว่า “อยู่ ใกล้แล้ว” เป็นกาลสมบูรณ์ จึงเน้น กิ จ ก า ร ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใ น อ ดี ต พ ร ะ อาณาจั ก รของพระเจ้ า จึ ง เป็ น จริ ง เกิดขึ้นและเริ่มต้นแล้วในพระคริสตเจ้า แต่กาลสมบูรณ์ในภาษากรีกยัง หมายถึง กิจการในอดีตซึง่ ยังมีผลคง อยูใ่ นปัจจุบนั ดังนัน้ พระอาณาจักร ของพระเจ้ายังเป็นกิจการที่จะเกิดขึ้น ทุกวัน “การอยู่ใกล้” หมายความว่า เราจะยอมเข้าสูพ่ ระอาณาจักรหรือไม่ ขึ้ น อ ยู ่ กั บ ก า ร ตั ด สิ น ใ จ ข อ ง เ ร า พระเจ้ า ทรงมี แ ผนการน� ำ ความ รอดพ้นแก่มนุษย์ทุกคน แต่การเข้า พระอาณาจักรไม่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ดังนั้น พระเยซูเจ้าตรัสต่อไปว่า »» ค. “จงกลับใจ” (Metanoéite) นี่คือปฏิกิริยาที่บรรดาศิษย์ผู้มีความ เชื่อต้องมี คือเมื่อได้ฟังค�ำสอนจาก พระองค์แล้วเขาต้องเปลีย่ นแนวความ คิดและวิถีชีวิต
15
»» ง. “เชื่อข่าวดีเถิด” (Pistéuete to euanghelìo) ในภาษาฮี บ รู ค�ำกริยาว่า “เชื่อ” มีรากฐานค�ำที่ หมายถึงพักพิงหรือมีพื้นฐาน ดังนั้น ค�ำสอนแรกที่ยิ่งใหญ่ของพระคริสต เจ้า พระอาจารย์คือ จงตั้งชีวิตของ ตนอยู่บนรากฐานข่าวดีเถิด เราต้อง ประกาศข่าวดีตามพระฉบับของพระ เยซู เ จ้ า คื อ ต้ อ งประกาศพระ อาณาจักรของพระเจ้าเพื่อผู้ฟังจะได้ กลับใจและมีความเชื่อ 2.2.2 พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์ ผูม้ ปี รีชา ทรงใช้คำ� อุปมา สัญลักษณ์ การ เล่าเรือ่ ง ปฏิทรรศน์ และภาพน่าประทับใจ ผู้อ่านหนังสือพระวรสารก็เห็นคุณลักษณะนี้ ของพระเยซูเจ้าอย่างชัดเจน พระเยซูเจ้าไม่ ทรงเล่าเรื่องเหมือนนักวิชาการ แต่ทรงสั่ง สอนเรื่ อ งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การด� ำ เนิ น ชี วิ ต ประจ�ำวัน เช่น พระองค์ตรัสว่า “ท่านที่ เป็นพ่อ ถ้าลูกขอปลา จะให้งแู ทนปลาหรือ ถ้าลูกขอไข่ จะให้แมงป่องหรือ” (ลก 11: 11-12) พระเยซูเจ้าตรัสจากสถานการณ์ จริงในปาเลสไตน์ซึ่งมีงูพิษล�ำตัวดูเหมือน ปลา และมีแมงป่องสีขาว พิษร้าย ตัวใหญ่ เหมือนไข่มกั ซ่อนตัวอยูร่ ะหว่างก้อนหินในถิน่ ทุรกันดาร จากภาพนี้พระเยซูเจ้าทรงสร้าง ค�ำสัง่ สอนเรือ่ งความรักของพระบิดา ถ้าขอ ปลาหรือไข่ พระบิดาจะไม่ประทานงูหรือ แมงป่องพ่นพิษร้าย อีกตัวอย่างหนึ่ง เมื่อ
16 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 พระเยซู เ จ้ า ทรงต้ อ งการบรรยายการ สิ้นพระชนม์ของพระองค์ที่น�ำความรอดพ้น แก่ ม นุ ษ ย์ ก็ ท รงใช้ ภ าพของเมล็ ด ข้ า ว สาลี “ถ้าเมล็ดข้าวไม่ได้ตกลงในดินและตาย ไป มันก็จะเป็นเพียงเมล็ดเดียวเท่านัน้ แต่ ถ้ า มั น ตาย มั น ก็ จ ะบั ง เกิ ด ผลมากมาย” (ยน 12:24) พระเยซูเจ้าทรงเปรียบเทียบ การสิน้ พระชนม์และการถูกฝังไว้ในพระคูหา กับความเน่าเปื่อยของเมล็ดข้าวสาลี ที่ต่อ มาจะมีล�ำต้นและรวงที่มีผลมากมาย เพื่อ แสดงความอุดมสมบูรณ์ของการสิน้ พระชนม์ ของพระคริสตเจ้าและของความตายของผู้มี ความเชื่ออีกด้วย อุ ป มาหลายเรื่ อ งยั ง เป็ น ตั ว อย่ า ง ชัดเจนของพระปรีชาญาณพระเยซูเจ้า เช่น จะมีผใู้ ดใช้วธิ กี ารสอนความรักดีไปกว่าอุปมา เรื่องชาวสะมาเรียผู้ใจดี ดังที่พระเยซูเจ้า ทรงใช้ (เทียบ ลก 10:29-37) น่าสังเกต ว่า พระเยซูเจ้าทรงเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับ การเป็นเพื่อนมนุษย์ ผู้ทูลถามพระเยซูเจ้า กล่ า วว่ า “ใครเล่ า เป็ น เพื่ อ นมนุ ษ ย์ ข อง ข้าพเจ้า” ค�ำถามนีแ้ สดงมุมมองเชิงวัตถุวสิ ยั แต่เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเล่าอุปมาเรื่องนี้แล้ว ตรัสถามผู้นั้นว่า “ท่านคิดว่าใน 3 คนนี้ ใครเป็นเพื่อนมนุษย์ของคนที่ถูกโจรปล้น” ค�ำถามของพระองค์จงึ แสดงมุมองเชิงอัตวิสยั เพราะตรัสถามว่า ใครท�ำตนเองเป็นเพื่อน มนุษย์
ในท�ำนองเดียวกัน อุปมาเรื่องหญิง สาวสิบคน (เทียบ มธ 25:1-13) เน้น ลักษณะเฉพาะทางอันตวิทยาของชีวติ คริสตชนอุปมาทัง้ หลายของพระเยซูเจ้าเริม่ ต้นจาก ชีวิตจริงอยู่เสมอ เช่น บุตรที่อยู่ในภาวะ วิกฤตการณ์ ยามเฝ้าประตูในเวลากลางคืน ค่ า แรงงานของลู ก จ้ า ง ผู ้ พิ พ ากษาที่ กิ น สินบน การพยากรณ์อากาศ แม่บา้ น ชาว ประมง เกษตรกร ตัวขมวน นกในอากาศ ดอกลิลลี่ ฯลฯ การเล่าเช่นนี้น�ำพระวาจา ของพระเจ้าเข้ามาในชีวติ ประจ�ำวันและท�ำให้ เกิ ด ผล พระเยซู เ จ้ า ทรงสอนเราให้ รู ้ จั ก สื่อสารอย่างมีอรรถรสและน่าประทับใจ 2.2.3 พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์ ผู้พากเพียร อดทนต่อบรรดาศิษย์ที่เข้าใจ ช้า พระวรสารตามค�ำบอกเล่าของนักบุญ มาระโกเสนอภาพของพระเยซูเจ้าว่าทรงเป็น อาจารย์ ที่ ส อน “อย่ า งค่ อ ยเป็ น ค่ อ ยไป” ทรงบันดาลให้บรรดาศิษย์เห็นแสงสว่างอย่าง ช้าๆ โดยผ่านความมืดของการต้านทาน ตามประสามนุษย์ อันดับแรก พระเยซูเจ้า ทรงน�ำเขาให้ยอมรับว่าพระองค์เป็นพระเมส สิ ย าห์ เช่ น นั ก บุ ญ เปโตรยื น ยั น ว่ า “พระองค์คือพระคริสตเจ้า” (มก 8:29) ต่อมา พระองค์ทรงเปิดเผยว่า เป็นพระ เมสสิยาห์ที่จะต้องทรงรับทรมาน และใน ตอนสุดท้ายของหนังสือพระวรสาร ทรงเปิด เผยพระองค์อย่างสมบูรณ์ เมือ่ นายร้อยชาว โรมันบรรลุถึงความเชื่อ กล่าวว่า “ชายคน
อาจารย์ในพระคัมภีร์
นี้เป็นพระบุตรของพระเจ้าแน่ทีเดียว” (มก 15:39) ดังนั้น พระเยซูเจ้าเป็นพระอาจารย์ ผู้สอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทรงช่วยเราให้ ผ่านจากความมืดไปสู่แสงสว่าง ไม่ใช่แบบ กะทั น หั น ที่ ท� ำ ให้ สั บ สน แต่ ด ้ ว ยความ พากเพียรและอย่างช้าๆ ในพระวรสารตาม ค�ำบอกเล่าของนักบุญยอห์น อัศจรรย์การ รั ก ษาคนตาบอดแต่ ก� ำ เนิ ด (เที ย บ ยน 9:1-41) แสดงกระบวนการค่อยเป็นค่อยไป เช่นนี้ โดยเรียกพระนามของพระองค์ คน ตาบอดเริ่มเรียกพระองค์ว่า “พระเยซูเจ้า” ต่ อ มาเขาเรี ย กพระองค์ ว ่ า “ประกาศก” เมื่อพระเยซูเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์ว่าทรง เป็ น “บุ ต รแห่ ง มนุ ษ ย์ ” เขาจึ ง ทู ล ว่ า “ข้าพเจ้าเชื่อ พระเจ้าข้า” แล้วกราบลง นมัสการพระองค์ เขาค้นพบว่า พระเยซู เจ้ า เป็ น “องค์ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า ” (Kyrios) และ “พระเจ้า” 2.2.4 พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์ผู้ ช�ำนาญโต้วาที จุดประกายให้ผู้ฟังคิดและ ปฏิบตั ิ กล้าแสดงอารมณ์และประณามผูท้ ำ� ผิด ยอมเสีย่ งทีจ่ ะสูญเสียความนิยมชมชอบ เช่น เมื่อพระองค์ตรัส “วิบัติ” หรือ “ค�ำ สาปแช่ง 7 ประการ” ทรงประณามบรรดา ธรรมาจารย์ แ ละชาวฟาริ สี (เที ย บ ลก 11:37-54; มธ 23:13-32) พระเยซูเจ้า ทรงเปิดเผยข่าวสารด้วยพระวาจาที่ลุกเป็น ไฟ ดังที่ตรัสว่า “เรามาเพื่อแยกบุตรชาย
17
จากบิดา แยกบุตรหญิงจากมารดา แยก บุ ต รสะใภ้ จ ากมารดาของสามี ” (มธ 10:35) เราต้องรักษายึดคุณลักษณะนี้ใน การสือ่ สารทางศาสนาคือ เราจะต้องมีความ พากเพียร แต่เมื่อมีความจ�ำเป็น เราก็ต้อง กล้าใช้ค�ำพูดที่อาจสร้างความสับสนให้กับผู้ ฟัง ดังที่บรรดาประกาศกเคยท�ำ 2.2.5 พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์ ผู ้ ท� ำ นาย ในพระคั ม ภี ร ์ ค� ำ ศั พ ท์ ว ่ า ผู ้ ท� ำ นายหรื อ ประกาศกไม่ ห มายถึ ง ผู ้ เ ห็ น เหตุการณ์ล่วงหน้าโดยคาดเดาอนาคต แต่ หมายถึงผูต้ คี วามหมายเครือ่ งหมายแห่งกาล เวลา เป็นคนมองเวลาปัจจุบนั และเป็นผูน้ ำ� พระวาจาให้เป็นจริงในปัจจุบัน ดังที่เกิดขึ้น ในศาลาธรรมที่เมืองนาซาเร็ธ เมื่อพระเยซู เจ้าทรงอ่านพระวาจาจากหนังสือประกาศก อิ ส ยาห์ แ ล้ ว ก็ ท รงอธิ บ ายว่ า “ในวั น นี้ ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่านได้ยินกับหูอยู่ นีเ้ ป็นความจริงแล้ว” (ลก 4:21) ประกาศก สอนเราว่าชีวิตปัจจุบันเราต้องเดินไปในทาง ใด เราจึงเข้าใจว่า ศิษย์สองคนทีเ่ ดินทางไป หมู่บ้านเอมมาอูสนิยามพระเยซูเจ้าอย่างถูก ต้องว่าเป็น “ประกาศกทรงอ�ำนาจในกิจการ และค�ำพูดเฉพาะพระพักตร์พระเจ้าและต่อ หน้าประชาชนทัง้ ปวง” (ลก 24:19) นีค่ อื พระเยซู เ จ้ า ในฐานะพระอาจารย์ ผู ้ ท รง ท�ำนาย 2.2.6 พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์ เหมือนโมเสส พระวรสารตามค�ำบอกเล่า
18 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 ของนักบุญมัทธิวเน้นคุณลักษณะนีเ้ ป็นพิเศษ เช่น ค�ำปราศรัยของพระเยซูเจ้าบนภูเขา ท� ำ ให้ ธ รรมบั ญ ญั ติ ข องโมเสสสมบู ร ณ์ ขึ้น “พระเยซูเจ้าทอดพระเนตรเห็นประชาชนมากมาย จึงเสด็จขึ้นไปบนภูเขา เมื่อ ประทับแล้ว บรรดาศิษย์เข้ามาห้อมล้อม พระองค์ พระองค์ทรงเริ่มตรัสสอนว่า...” (มธ 5:1-2) นักบุญมัทธิวเปรียบเทียบภูเขา นี้ที่ไม่มีชื่อกับภูเขาซีนาย เพื่อแสดงว่าพระ เยซูเจ้าทรงเป็นโมเสสคนใหม่ผู้สอนบรรดา ศิษย์ให้ปฏิบัติธรรมบัญญัติอย่างถึงรากถึง โคนจนสมบูรณ์แบบ “ท่านจงเป็นคนดีอย่าง สมบูรณ์ ดังที่พระบิดาเจ้าสวรรค์ของท่าน ทรงความดีอย่างสมบูรณ์เถิด” (มธ 5:48) นีค่ อื ข่าวดีของคริสตชน การเดินทางไม่มสี นิ้ สุดในพระธรรมล�้ำลึกไร้ขอบเขตของพระเจ้า ไม่มีเส้นปลายทาง เราต้องเดินต่อไปอยู่ เสมอจนเข้าในพระเจ้า ค�ำสอนของพระเยซู เจ้ า ไม่ มี พื้ น ฐานเพี ย งในสามั ญ ส� ำ นึ ก ของ มนุษย์ที่พอใจประพฤติตามหลักศีลธรรมข้อ ที่ จ� ำ เป็ น เท่ า นั้ น แต่ เ รี ย กร้ อ งการปฏิ บั ติ อย่างมากที่สุดจนสมบูรณ์ ในเรื่องนี้ นัก บุญเทเรซาแห่งอาเวลาเคยให้ข้อสังเกต 2 ประการว่า “ทุกวันนี้ นักเทศน์ทั้งหลายไม่ สามารถท�ำให้ผฟู้ งั กลับใจอีกแล้ว เพราะเขา มีความส�ำนึกมากเกินไป จึงไม่มีเปลวไฟ ของพระคริสตเจ้าแล้ว” และเกี่ยวกับการ อธิษฐานภาวนานักบุญเทเรซากล่าวว่า “ข้า
แต่พระเจ้าโปรดทรงช่วยลูกให้พ้นจากกิจ ศรัทธาไร้สาระต่อบรรดานักบุญที่มีใบหน้า โศกเศร้า” 2.2.7 พระเยซูเจ้าทรงเป็นอาจารย์ สูงสุด เพราะอาจารย์นี้ไม่เป็นเพียงมนุษย์ แต่เป็นพระเจ้า ในพันธสัญญาเดิมบรรดา ประกาศกประกาศพระวาจาโดยยืนยันว่า “องค์พระผูเ้ ป็นเจ้าตรัสดังนี”้ หมายความว่า ตนเป็ น เพี ย งกระบอกเสี ย งของพระเจ้ า แต่พระเยซูเจ้าทรงเปลี่ยนวลีนี้ว่า “เราบอก ความจริงแก่ทา่ นทัง้ หลายว่า...” หรือ “ท่าน ได้ยนิ ค�ำกล่าวแก่โบราณว่า... แต่เรากล่าวแก่ ท่านว่า...” (มธ 5:21-22) เป็นวาจาที่มี ประสิ ท ธิ ผ ล เป็ น ค� ำ สั่ ง ขั้ น เด็ ด ขาด เป็ น ค�ำพูดที่ท้าทายกาลเวลาและด�ำรงอยู่ตลอด ไป นีค่ อื ความหมายของพระวาจาทีว่ า่ “เรา เป็ น หนทาง ความจริ ง และชี วิ ต ” (ยน 14:6) พระวรสารตามค� ำ บอกเล่ า ของ นักบุญยอห์น บันทึกพระวาจาทีพ่ ระเยซูเจ้า ตรั ส เมื่ อ เสวยพระกระยาหารครั้ ง สุ ด ท้ า ย ว่า “พระจิตเจ้าที่พระบิดาจะทรงส่งมาใน นามของเรานั้น จะทรงสอนท่านทุกสิ่งและ จะทรงให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่เราเคยบอก ท่าน” (ยน 14:26) ในพระคัมภีร์ “การ ระลึกถึง”ไม่เป็นเพียงการจดจ�ำเรื่องราวใน อดีตเท่านั้น แต่เป็นความทรงจ�ำที่มีชีวิต ชี ว าก่ อ ให้ เ กิ ด การกระท� ำ และเฉลิ ม ฉลอง เหตุการณ์ในอดีตที่ยังเกิดขึ้นในปัจจุบัน
อาจารย์ในพระคัมภีร์
3. สรุป พระศาสนจักรในฐานะอาจารย์ พระคริสตเจ้าทรงมอบภารกิจจ�ำเป็น แก่พระศาสนจักรให้สั่งสอนมนุษย์ ก่อนที่ พระเยซู เ จ้ า ผู ้ ท รงกลั บ คื น พระชนมชี พจะ เสด็จสู่สวรรค์ พระองค์ทรงก�ำชับบรรดา ศิ ษ ย์ ป ระดุ จ เป็ น พิ นั ย กรรมว่ า “ท่ า นทั้ ง หลายจงไปสั่งสอนนานาชาติให้มาเป็นศิษย์ ของเรา ท�ำพิธลี า้ งบาปให้เขาเดชะพระนาม พระบิดา พระบุตร และพระจิต จงสอน
19
เขาให้ปฏิบัติตามค�ำสั่งทุกข้อที่เราให้แก่ท่าน แล้วจงรู้เถิดว่าเราอยู่กับท่านทุกวันตลอดไป ตราบจนสิ้นพิภพ” (มธ 28:19-20) จุด ประสงค์ของค�ำสอนนี้คือ สอนมนุษย์ทุก คน “ให้ปฏิบัติตามค�ำสั่งทุกข้อที่เราให้แก่ ท่าน” ดังนั้น คริสตชนจึงต้องสอนไม่เพียง ลักษณะใดลักษณะหนึ่งของข่าวดี แต่ต้อง สอนข่ า วดี ทั้ ง หมดที่ เ ป็ น เหมื อ นเชื้ อ แป้ ง เกลือและเมล็ดพืช
บรรณานุกรม
พระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์, 2014. AA.VV. Gesù, il Maestro. Ieri, Oggi e Sempre. La spiritualità del Paolino comunicatore. Atti del Seminario internazionale su “Gesù, il Maestro” (Ariccia, 14-24 ottobre1996). Roma: San Paolo, 1997. Dodd, Charles Harold. The Founder of Christianity. Santa Barbara, Ca.: Shoreline Books, 1993. Fabris, Rinaldo. Gesù di Nazareth. Storia e interpretazione. Assisi: Citt adella Editrice,1983. Jeremias, Joachim. New Testament Theology: The Proclamation of Jesus. New York: Charles Scribner’s Sons, 1971. Lemaire, André. Le Scuole e la Formazione della Bibbia nell’Israele An tico. Brescia: Paideia, 1981. Leon-Dufour, Xavier. Dictionary of Biblical Theology. New York: Desclee Company, 1967. McKenzie, John L., S.J., Dictionary of the Bible. London: Geoffrey Chap man, 1976. Sanders, Ed Parish. The Historical Figure of Jesus. London: Penguin Books, 1996.
ครูคริสเป็ต์นนฉัั้นนใด ...
ความน�ำ ค�ำว่า “ครู” ภาษาไทย มาจาค�ำบาลี /สันสกฤต ว่า คุร,ุ ครุ อย่างเช่นในค�ำว่า ครุศาสตร์, คุรุสภา, คุรุภัณฑ์ ค�ำบาลี/ สั น ส ก ฤ ต เ ขี ย น เ ป ็ น อั ก ษ ร โ ร มั น ว ่ า guru เสี ย งสั้ น ทั้ ง 2 พยางค์ จึ ง ควร
ทับศัพท์ดว้ ยอักษรไทยว่าคุร ุ แต่ไม่ทราบว่า ใครเป็นผูน้ ำ� ผิดทาง ทับศัพท์เป็น “กูร”ู ซึง่ ผิดหลักภาษาอย่างสิน้ เชิง และนิยมใช้กนั จน ผิดกลายเป็นถูกไปอย่างถอนตัวไม่ขนึ้ เอาเสีย แล้ว ท�ำให้คนไทยจ�ำนวนมากคิดว่าเป็น คนละค�ำกับ “คุรุ” ไปเสียเลยก็มี
ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต, อดีต สนช. อดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตคณบดีคณะปรัชญา และศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, ประธานโครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ประธานบรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรมปรัชญาของราชบัณฑิตยสถาน, บรรณาธิการจัดท�ำ สารานุกรมวิสามานยนามศาสนาสากลของราชบัณฑิตยสถาน, กรรมการสหวิทยาการในสมเด็จพระเทพฯ ออกอากาศวิทยุ ศึกษาเรื่องราชปรัชญาเพื่อความสุขของมหาประชาชนชาวสยาม วันจันทร์ เวลา 9.10 น. สัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่ 4 ของทุกเดือน FM92, AM1161, www.moeradiothai.net, กรรมการต�ำแหน่งทางวิชาการของวิทยาลัยแสงธรรม, มหาวิทยาลัยคริสเตียน, มหาวิทยาลัยมิชชัน่ ประธานกิตมิ ศักดิอ์ งค์การศาสนาเพือ่ สันติภาพแห่งเอเชีย สอบถามเรือ่ งปรัชญา โทร. 086-0455299.
( หมวดปรัชญา )
ศ.กีรติ บุญเจือ
ครูคริสต์นั้นเป็นฉันใด
เราหวนกลับมาดูความหมายกันดีกว่า ครุ, คุรุ, ครู มีความหมายว่าผู้สอน ผู้ให้ ความรู้ ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชา มีความ หมายเหมือนกันกับอาจารย์, อาจารยะ, อาจาริยะ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า teacher, instructor ภาษาละตินว่า docens, instructor ต่างกับค�ำว่า educatio, educator ซึ่งมาจากค�ำ educere, educens, educatum ซึ่ ง มาจากรากศั พ ท์ ว ่ า e แปลว่าจาก + ducere แปลว่า น�ำ พา จูง จูงมือ educatio จึงแปลว่าการจูงมือ ศิ ษ ย์ จ ากความไม่ รู ้ ม าสู ่ ค วามฉลาดและ educator หมายถึง ผูจ้ งู มือศิษย์จากความ ไม่รมู้ าสูค่ วามฉลาด จากความมืดออกมาสู่ ความสว่ า ง จึ ง มี ก ารสร้ า ง schools of education กันทั่วบ้านทั่วเมือง เพื่อ เตรียมสู่อนาคตด้วยการสร้างผู้พร้อมที่จะ อบรม บ่ม เพาะ ให้พลเมืองเป็นสมาชิก ที่ มี คุ ณ ภาพของสั ง คมในอนาคต ใน ประเทศไทยไม่ทราบว่าสถาบันดังกล่าวมานี้ มีบ้างไหม ณ ที่ใด เรามีแต่สถาบันสร้าง ผูส้ อนวิชาการ (คณะครุศาสตร์) ทีม่ งุ่ มัน่ ที่ จะสอนให้ความรู้จนท่วมหัว (เอาตัวรอดได้ หรื อไม่ เ ป็ นเรื่ อ งที่ผู้เรียนต้อ งดูแ ลตัว เอง) และมีสถาบันที่สร้างผู้เรียน (คณะศึกษา ศาสตร์) เพื่อเตรียมให้เป็นนักวิจัย มุ่งมั่น แสวงหาข้อมูลใหม่และองค์ความรู้ใหม่เพื่อ บันทึกเก็บไว้ในแฟ้มน�ำไปเก็บไว้บนหิ้งรอ เวลาให้มนั กลายเป็นวัตถุโบราณไปพร้อมกับ
21
หิ้ง รวมความว่าประเทศไทยขณะนี้มีแต่ อาจารย์ ผู ้ เ ก่ ง ในการท� ำ วิ จั ย ตามสู ต รและ โครงสร้างที่ก�ำหนดไว้ล่วงหน้าตายตัวและ ถ่ า ยถอดความรู ้ อ ย่ า งช�่ ำ ชองตามสู ต รที่ วางแผนจากเบื้องบนลงมา หากฉีกตัวเอง ออกนอกกรอบก็ จ ะเสี ย คะแนนประเมิ น อาจมีผลถึงขั้นเสียงานและเสียเงินได้โดย ง่าย ไม่ควรเสี่ยง น่าสงสารเด็กไทยที่หา ผู้มีจิตตารมณ์ครู หรือ educator แท้มา ช่วยจูงมือออกจากความไม่รมู้ าสูค่ วามฉลาด ปรีชาญาณ ความรอบรู้ ตามความหมาย ของครู ค ริ ส ต์ ใ นทรรศนะของเปาโล คื อ mathesis ทีใ่ ช้เป็นส่วนประกอบของศรัทธา แท้ (pistis) และคุณธรรม (aretè) ใครคือครูคริสต์ ครูคริสต์แท้อาจแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทตามกระบวนทรรศน์ ที่ แ ต่ ล ะคน สังกัด ไม่ว่าจะสังกัดอยู่ในกระบวนทรรศน์ ใดตามแต่ที่พระเป็นเจ้าจะทรงวางไว้ตาม กระแสเรียก ณ ที่ตรงนั้น หากได้ปฏิบัติ ตนอย่างซื่อสัตย์และภักดี ก็ถือว่าเป็นครู คริสต์ทด่ี แี ละมีสทิ ธิเ์ ป็นนักบุญด้วยกันทุกคน 1. ครู ค ริ ส ต์ ก ระบวนทรรศน์ ที่ 1 ครูคริสต์ประเภทนี้จะเชื่อเฉพาะน�้ำ พระทัยของพระเป็นเจ้าเท่านั้น จะ เชื่อผู้อื่นก็เฉพาะที่แน่ใจว่าเป็นทาง ผ่านของน�้ำพระทัยเท่านั้น ส�ำนวนที่
22 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 อาจจะได้ยินจากครูคริสต์ประเภทนี ้ ก็ คื อ เชื่ อ อย่ า งตาบอด นบนอบ อย่างตาบอด ถ้าพระเจ้าสั่งให้ฉันด่า พระองค์ฉันก็จะด่าพระองค์ให้ดู ถ้า พระเจ้ า ทรงต้ อ งการให้ ฉั น ตกนรก ตลอดนิ รั น ดรฉั น ก็ ยิ น ดี จ ะตกนรก ตามพระประสงค์ (โดยไม่ต้องค�ำนึง ว่าข้อสมมุตอิ ย่างนีเ้ ป็นไปไม่ได้) ตอน ผมเป็นเด็กและแสดงความจ�ำนงว่า อยากเข้าบ้านเณรเล็กที่บางช้าง (ใน สมั ย นั้ นเณรของทุกมิสซังไปรับ การ อบรมรวมกันที่นั่น) ซึ่งอยู่ริมแม่น�้ำ แม่กลอง ผู้หลักผู้ใหญ่ของหมู่บ้าน เตือนสติวา่ ถ้าพ่อบ้านเณรหอบทีน่ อน โยนลงแม่น�้ำ เอ็งต้องยิ้มรับแล้วกระ โดดลงแม่น�้ำว่ายน�้ำไปเอามาผึ่งแดด ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น เพราะเป็น การทดลองใจจากผู้แทนของพระเยซู เจ้า ผมรับทราบ ขณะนั้นผมยังว่าย น�้ำไม่เป็น เพราะเป็นโรคกลัวน�้ำ ก็ เลยตัดใจเลิกกลัวน�ำ้ รีบหัดว่ายน�ำ้ ให้ แข็ ง เตรี ย มพร้ อ มว่ า ยน�้ ำ ไปเก็ บ ทีน่ อนทีอ่ าจจะถูกโยนลงแม่นำ�้ วันไหน และเวลาไหนก็ได้ ครูคริสต์ในกระบวนทรรศน์นี้จึงได้แก่ ผู ้ ที่ ย�้ ำ คิ ด ย�้ ำ ท� ำ ย�้ ำ สอนให้ แ สวงหาแต่ น�้ ำ พระทัยเท่านั้นและมุ่งหน้าตามที่รู้ว่าเป็นน�้ำ พระทัยเท่านั้น มิฉะนั้นจะรู้สึกว่าเสียเวลา เปล่า ไม่คุ้มกับความเสียสละ
2. ครู ค ริ ส ต์ ก ระบวนทรรศน์ ที่ 2 ครูคริสต์ประเภทนี้เชื่อว่าพระเจ้าคือ องค์ ค วามจริ ง และความจริ ง คื อ กฎ ตายตัว ท่านอาจารย์พุทธทาสก็ยัง อุตส่าห์พยายามพิสูจน์ว่าธรรมะคือ ก ฎ ธ ร ร ม ช า ติ พ ร ะ เ จ ้ า คื อ ก ฎ ธรรมชาติ เพราะฉะนั้นพระเจ้าคือ ธรรมะและธรรมะคือพระเจ้า การ พิสูจน์อย่างนี้ครูผู้ถือกระบวนทรรศน์ ที่ 2 ย่ อ มจะเข้ า ใจได้ ง ่ า ยและ ยอมรั บ และเชื่ อ ได้ ง ่ า ย แต่ ถ ้ า ถื อ กระบวนทรรศน์อื่นก็คงจะมีปัญหา แย้งอยู่ในใจไม่มากก็น้อย ครูคริสต์ ที่ ถื อ กระบวนทรรศน์ นี้ ย ่ อ มสนใจ รู ้ ว ่ า พระเยซู เ จ้ า ทรงสั่ ง สอนอะไรที่ เป็นกฎเป็นเกณฑ์จะได้รับเอาไปสอน อย่างเถรตรงตามตัวอักษร เมือ่ ตัดสิน คนอื่นก็มีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการ ที่เคร่งไว้ดีกว่าหย่อนยานแม้แต่นิด เดียวอย่างที่เคยใช้เป็นเกณฑ์ตัดสิน คั ด เลื อ กเณรออกจากบ้ า นเณรว่ า ตัดสิน ผิดไล่เณรดีๆ ออกจากบ้าน เณร 10 คนยังดีกว่าปล่อยเณรเลว หลุดเข้าไปบวช 1 คน ส�ำหรับตัว เองก็ เคร่ ง ครั ด ไม่ แพ้ กั น เอาความ แน่ใจไว้ก่อน (safety first) เช่น อยากจะเป็นนักบุญที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง อย่างเทวดา คือไม่อยากให้มเี รือ่ งของ พระบัญญัตปิ ระการที ่ 6 ผ่านเข้ามา
ครูคริสต์นั้นเป็นฉันใด
ในตัวเลยแม้แต่ในความคิด อย่างที่ หลายคนเชื่ อว่ า นั ก บุ ญ เทเรซาแห่ ง ลีซีเออเป็นอย่างนั้น และอยากจะ เป็นอย่างท่าน แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ และเป็นความเพ้อฝัน ผิดๆ เพราะ ธรรมชาติ ม นุ ษ ย์ ถึ ง อายุ มั น ก็ ต ้ อ งมี จินตนาการล่องลอยไม่อยู่กับร่องกับ รอย พอรู้ตัวเข้าก็ตกใจ “ตายละวา ป่นปี้หมดแล้ว รู้ตัวน่ะรู้แน่ๆ แต่ เต็มใจหรือเปล่าเนี่ย บาปหนักหรือ เปล่าเนี่ย ถ้ามีบาปหนักรับศีลไม่ได้ ต้องแก้บาปให้ได้ เพราะไม่อยากขาด รับศีลแม้แต่วันเดียว เพื่อให้แน่ใจก็ ต้ อ งกะเสื อ กกะสนไปหาคุ ณ พ่ อ สั ก องค์ ห นี่ ง เพื่ อ แก้ บ าปให้ ไ ด้ แม้ ไ ม่ แน่ ใ จว่ า เป็ น บาป แต่ เ พื่ อ ความ สบายใจก็ให้สารภาพว่าเต็มใจก็แล้ว กั น บาปจะได้ ห ลุ ด แน่ (ซี่ ง เป็ น รายการถล่มตัวเองโดยไม่จำ� เป็น) แก้ บาปเสร็จรู้สึกโล่งอกพรุ่งนี้ไม่ต้องงด รับศีล ครั้นขึ้นหัวกะไดบ้านเท่านั้น ความต้องการความแน่ใจก็โจมตีเข้า มาว่าแน่ใจหรือว่าพูดเสียงดังฟังชัด พอในทีแ่ ก้บาปจนคุณพ่อเข้าใจชัดเจน ว่าเป็นบาปหนัก เป็นความผิดของตัว เองหรือเปล่าทีค่ ณ ุ พ่อฟังแก้บาปเข้าใจ ผิด บาปจะหลุดไหมเนี่ย (ถล่มตัว เองอีกแล้ว) อยากจะกลับไปถามคุณ พ่อว่าได้ยินค�ำสารภาพของลูกชัดเจน
23
เพียงพอตามเงื่อนไขของศีลแก้บาป หรือไม่ แต่กเ็ กรงใจคุณพ่อ ตัดสินใจ งดรั บ ศี ล ในวั น รุ ่ ง ขึ้ น ดี ก ว่ า พอจบ มิ ส ซาวั น รุ ่ ง ขึ้ น รี บ ไปขอคุ ณ พ่ อ ให้ กรุ ณ าลงนั่ ง ฟั ง แก้ บ าปเป็ น รายการ พิเศษ (คุณพ่อคงอดคิดไม่ได้ว่าเฮ้อ! มารบกวนอีกแล้ว แต่ก็ต้องจ�ำใจเข้า นั่ ง ฟั ง รายการถล่ ม ตั ว เองของผู ้ ข อ บริการ เพื่อจะยืนยันว่าได้ยินทุกค�ำ พูดชัดเจนและบาปหลุดไปแล้ว) สรุป ได้วา่ ความยุง่ ยากทัง้ หลายเหล่านีเ้ กิด ขึ้นเพราะมีครูคริสต์บางคนสอนแบบ กระบวนทรรศน์ที่ 2 คนกระบวน ทรรศน์นี้เชื่อและสอนอย่างงมงายว่า พระเจ้าเป็นองค์ความยุติธรรมเต็ม 100 และความรั ก ของพระองค์ แสดงออกทางความยุ ติ ธ รรมเต็ ม 100 เท่านั้น เราจึงต้องเตรียมตัว เต็ ม 100 ไม่ ป ล่ อ ยให้ พ ระองค์ ม ี ช่องทางเอาผิดเราได้จนนิดเดียวนั่น แหละจึ ง จะมี ห วั ง ได้ ไ ปสวรรค์ ข อง พระองค์ ลูกศิษย์ของครูคริสต์เหล่านี้ จึงมีแนวโน้มที่จะกลัวพระยิ่งกว่าจะ รั ก พระ เขาจะรั ก พระแต่ ป ากตาม สูตรแต่ใจจริงนัน้ ไม่กล้ารักพระและไม่ กล้าไว้ใจพระองค์ จึงต้องช่วยตัวเอง ระวังภัยไม่เปิดช่องโหว่ให้พระองค์ เอาผิดตนได้
24 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 3. ครู ค ริ ส ต์ ก ระบวนทรรศน์ ที่ 3 ครูคริสต์กระบวนทรรศน์ที่ 3 ติดใจ พระด� ำ รั ส ข้ อ เดี ย วของพระเยซู เ จ้ า ว่ า “หากท่ า นได้ โ ลกทั้ ง โลกเป็ น กรรมสิ ท ธิ์ ห ากต้ อ งเสี ย วิ ญ ญาณไป จะเป็นประโยชน์อันใด” คนประเภท นี้ อ ยากจะมี โ อกาสเป็ น มรณสั ก ขี เพราะชอบใจค�ำสอนที่ว่า ผู้ที่สละ ชีวิตเพื่อยืนยันความเชื่อนั้นแม้ยังไม่ รั บ ศี ล ล้ า งบาปก็ ยั ง เป็ น นั ก บุ ญ เลย เป็นวิธีง่ายที่จะกระโดดมากกว่า 9 ขัน้ ในพระศาสนจักร เพราะนอกจาก จะได้ได้ขนึ้ สวรรค์ตรงๆ แม้จะมีบาป และโทษบาปสักกี่กระบุง วิญญาณก็ จะสะอาดบริสทุ ธิเ์ หมือนไม่เคยมีบาป มาก่อนเลย ยิ่งกว่านั้นยังได้รับการ สถาปนาเป็นนักบุญอีกด้วย คือสร้าง กองทุ น กองโตไว้ ใ นสหพั น ธ์ นั ก บุ ญ ส�ำหรับช่วยเพือ่ นมนุษย์ได้อกี มากมาย ด้วยเหตุผลทัง้ หลายแหล่ของกระบวน ทรรศน์ ที่ 3 ท� ำ ให้ ผู ้ ถื อ กระบวน ทรรศน์นใี้ ฝ่ฝนั อยากไปอยูใ่ นทีท่ มี่ กี าร เบียดเบียนศาสนา จะได้มีโอกาสได้ เกี ย รติ ดั ง กล่ า วในพระศาสนจั ก ร ตอนผมเป็ น เด็ ก ๆ อยู ่ ไ ด้ ยิ น ญาติ หลายคนทีเ่ สียดายไม่มกี ารเบียดเบียน ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย เ ห มื อ น ใ น ม ห า อาณาจักรโรมัน ผมก็พลอยเพ้อเจ้อ กั บ เขาไปด้ ว ยอยู ่ พั ก หนึ่ ง บางคน
ทรมานตัวเองเพื่อฝึกตัวเองไว้ให้ชิน เพือ่ พร้อมจะเป็นมรณสักขีจะได้ไม่ตก ขบวน ครูคริสต์ประเภทนี้จะพร�่ำสอนแต่แง่ ร้ายของโลกและของสังคม ชอบเล่าประวัติ ของมรณสักขีโดยแจกแจงรายละเอียดของ การทรมาณอันน่าหวาดเสียวราวกับเป็นสิ่ง พึงปราถนาที่สุดในชีวิต 4. ครู ค ริ ส ต์ ก ระบวนทรรศน์ ที่ 4 คนกระบวนทรรศน์นเี้ ป็นพวกมีหวั เชิง วิชาการ จะเชื่อหรือยอมรับเชื่ออะไร ก็ต้องได้ผ่านการพิสูจน์และ/หรือการ ทดสอบจนเป็นทีพ่ อใจเสียก่อน พระ ศาสนจักรได้ตงั้ นักบุญโทมัสอัครสาวก เป็นองค์อุปถัมถ์และบุคคลต้นแบบ ของบุคคลประเภทนี้ พวกนี้ชอบอ้าง ว่า “จงขอเถิดแล้วจะได้รับ, ฉันขอ แล้วได้รับจริงๆ, ฉันเชื่อแล้วได้รับ จริงๆด้วยนะ ไม่เชื่อก็ลองดูซี, ยิ่ง ท� ำ บุ ญ ฉั น ยิ่ ง ได้ . ....” ความเชื่ อ ของ พวกเขาช่างง่อนแง่นอย่างน่าเป็นห่วง หากวั น ไหนเขาไม่ ไ ด้ รั บ ตามที่ ข อ หรือได้แต่ยังไม่พอใจ เขายังจะรัก พระอยู ่ ต ่ อ ไปหรื อ ไม่ ? ครู ค ริ ส ต์ ประเภทนี้จะชอบสอนเรื่องปาฏิหาริย์ ชอบแบ่งปันประสบการณ์ทตี่ นได้หรือ ประสบการณ์ของคนอื่นที่น่าตื่นเต้น ราวกั บว่ า พระศาสนจั ก รเป็ น สนาม
ครูคริสต์นั้นเป็นฉันใด
ของโชคลาภหรือการเสีย่ งทาย ใครได้ ใครอยู่ ใครอับโชคไม่มีที่จะยืน 5. ครู ค ริ ส ต์ ก ระบวนทรรศน์ 5 คนกระบวนทรรศน์ ที่ 5 มี ส ภาพ จิ ต ใ จ เ ห มื อ น นั ก บุ ญ เ ป โ ต ร ใ น เหตุการณ์ที่ผู้คนผิดหวังกับพระเยซู ที่ ไ ม่ ย อมประทานสิ่ ง ที่ พ วกเขายื่ น ค�ำขาดคือให้ยอมรับเป็นหัวหน้ากูช้ าติ และพากั น ละทิ้ ง พระองค์ ไ ปหมด พระเยซูเจ้าจึงหันมาถามบรรดาสาวก ที่ยังอยู่กับพระองค์ว่า “พวกท่านไม่ ไปกั บ พวกนั้ น ด้ ว ยหรื อ ” เปโตร ตอบแทนอัครสาวกว่า “จะให้พวกเรา ไปทางไหนเล่ า ในเมื่ อ พระองค์ เท่านั้นมีพระวาจาแห่งชีวิต” และนี่ คือหัวใจของครูคริสต์กระบวนทรรศน์ 5 พวกเขามั่ น คงในความรั ก ของ พระเยซูเจ้ามิใช่สักแต่เพื่อมั่นใจว่าจะ ไม่บังเอิญผิดน�้ำพระทัยของพระเจ้า โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์แล้วอาจจะต้อง พระพิ โ รธ (กระบวนทรรศน์ ที่ 1 ) มิใช่สักแต่ได้รู้ว่าต้องรักษากฎใดบ้าง เพื่ อ จะเอาตั ว รอดได้ อย่ า งอื่ น ไม่ สนใจ (กระบวนทรรศน์ที่ 2) มิสัก แต่ได้เสียสละต่อพระเจ้าให้สะใจจน พระเจ้ า ไม่ อ าจจะปฏิ เ สธรางวั ล นิรันดรได้ (กระบวนทรรศน์ที่ 3) ไม่สักแต่ว่าฉันพอใจเพราะได้ทดลอง
25
ใจพระเจ้าอย่างเพียงพอจนถูกใจฉัน แล้ ว (กระบวนทรรศน์ ที่ 4) แต่ เข้าใจน�้ำพระทัยเบื้องลึกของพระเป็น เจ้าที่แสดงออกในองค์พระเยซูเจ้าว่า พระองค์มิได้ทรงพระประสงค์สิ่งใด นอกจากความสุ ข ของมวลมนุ ษ ย์ เพราะอั น ที่ จริ ง แล้ ว พระองค์ ท รงมี ความสุขเต็มเปีย่ มบริบรู ณ์หาทีส่ ดุ มิได้ มาแต่นิรันดร พระองค์ทรงหวังดีต่อ มนุษย์และทรงพระประสงค์เพียงให้ มนุษย์ตระหนักรูถ้ งึ ความรักอันเร้นลับ นีท้ มี่ อี ยูใ่ นความสุขของพระองค์มาแต่ นิรนั ดร เพิง่ จะแสดงออกเต็มเปีย่ มใน องค์พระคริสต์ ทุกอย่างที่พระองค์ ทรงแสดงออกด้วยพระวาจาและการ กระท�ำ ล้วนแต่เป็นไปตามความชอบ ธรรมแห่งรหัสธรรมแห่งความสุขใน ความรักนิรนั ดรของพระองค์ซงึ่ มนุษย์ ยังไม่อาจจะเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ใน ชั่ ว ชี วิ ต นี้ เพี ย งแต่ ใ ห้ รู ้ สึ ก เหมื อ น เปโตรขณะกล่าวว่า “จะให้พวกเราไป ทางไหน? พระองค์ทรงมีพระวาจา แห่งชีวิต” ครู ค ริ ส ต์ ที่ แ ท้ จริ ง คื อ ผู ้ มี ค วามรู ้ สึ ก ตลอดเวลาเหมือนเปโตรและอัครสาวกขณะ อยูก่ บั พระเยซูเจ้าขณะว้าเหว่พระทัยดังกล่าว พวกเขาจะเน้ น สอน ย�้ ำ คิ ด ย�้ ำ ท� ำ ย�้ ำ สอน ความรักแท้ของพระเจ้าที่ทรงคอยการตอบ สนองของมนุษย์ไม่ใช่ด้วยการอวดดีว่าฉัน
26 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 รู้ดีหมดแล้วดังเช่นในกระบวนทรรศน์อื่นๆ แต่ตัวครูเองรู้สึกและมุ่งสอนให้ทุกคนรู้สึก ว่า “ถึงมีตาตาดูไม่รู้อิ่ม หูกระหยิ่มฟังแล้ว หนอหาพอไม่” รหัสธรรมของพระวจนาถต์ มิใช่เรือ่ งทีใ่ ครจะพูดได้วา่ “พบแล้ว แต่พบ เพื่อแสวงหาต่อไปจนตลอดชีวิต ครูคริสต์ ไม่ใช่ผู้ที่รู้แล้วจึงสอน แต่รู้เพื่อพัฒนาต่อ และขณะพัฒนานั้นก็สอนไปด้วย แต่มั่นใจ ว่าสอนถูกต้อง เพราะรู้ว่าก�ำลังสอนเรื่อง องค์ความรักอันไม่มขี อบเขต สอนให้ผเู้ รียน รูว้ า่ มีองค์ความรักไม่มขี อบเขต จึงต้องรูเ้ พือ่ รัก รักเพือ่ รูต้ อ่ ไป และต้องสอนเท่าทีร่ เู้ พือ่ จะรู้และรักต่อไปและต่อไป ศาสนาคริสต์ เป็ น ศาสนาแห่ ง พลวั ต ร (dynamic คื อ พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง) ต้องรู้ไปรักไปและ สอนไปเพื่อเดินหน้าต่อไปในความรักไม่มี ขอบเขตขององค์พระผู้เป็นเจ้า การพั ฒนาด� ำ เนิ น ในโลกนี้ ด ้ ว ยการ สร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ และแสวงหา อย่างมีความสุข ครู ค ริ ส ต์ แ ห่ ง กระบวนทรรศน์ ที่ 5 จะเน้นการอบรมสั่งสอนให้พัฒนาคุณภาพ ชีวติ ในทุกด้านเพือ่ มีโอกาสบริการความรักได้ อย่างกว้างขวางที่สุดและลึกซึ้งที่สุดเท่าที่
จะท�ำได้โดยการสร้างสรรค์ (creativity) ผลงานฝากไว้ ใ นประวั ติ ศ าสตร์ แ ห่ ง พระ อาณาจักรของพระเจ้า ครัน้ สังเกตได้วา่ การ สร้างสรรค์ของตนมีผลกระทบต่อผูอ้ นื่ ทีต่ งั้ ใจ สร้ า งสรรค์ เ ช่ น กั น ก็ ช อบที่ จ ะปรั บ ตั ว (adaptivity) เพือ่ ให้ชนะด้วยกันทัง้ คู ่ (winwin) ให้ดีที่สุดคือร่วมมือกัน (collaboration) ให้เกิดผลเป็น 1+1 มากกว่า 2 และสุดท้ายคือแสวงหา (requisivity) คือ แสวงหาอาณาจักรของพระเจ้าตัง้ แต่ในโลกนี้ ถึงโลกหน้า เป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทุกอย่างที่กล่าวมานี้พึงมีความสุขลึกๆ ใน พระเจ้า สรุป ครูคริสต์คือฉันใด ครูคริสต์คือผู้ใช้ ทุกลมหายใจของชีวติ เพือ่ พัฒนาคุณภาพชีวติ อย่างมีความสุข และช่วยแนะน�ำสัง่ สอนทุก คนที่ พ ระเจ้ า ทรงส่ ง มาให้ รั บ ผิ ด ชอบ ได้ พั ฒ นาคุ ณ ภาพชี วิ ต อย่ า งมี ค วามสุ ข ด้ ว ย เพือ่ ให้ผอู้ ยูร่ อบข้างรูส้ กึ ว่าอยูใ่ กล้ชดิ ครูคริสต์ แล้วมีความสุข
บรรณานุกรม กีรติ บุญเจือ. ชุดปรัชญาเซนต์จอห์น, เล่ม 1-8. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, 2545. กีรติ บุญเจือ และคณะ. ประเทศไทยกับธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา, 2559.
คุณครู...
พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ “ครูที่ดีที่สุดสอนจากหัวใจ ไม่ใช่จากหนังสือ” (นิรนาม) คุณครูครับ คุณครูทราบหรือไม่ครับ ว่า คุณครูคือ บุคคลส�ำคัญส�ำหรับการ เรียนรู้ของลูกศิษย์เสมอ คุณครูครับ แม้ยคุ สมัยจะแปรเปลีย่ น จากยุคแห่งการสั่งสอนให้ท่องจ�ำในอดีต ที่ ยังขาดแคลนต�ำรับต�ำราและอุปกรณ์ท่ีส่ง เสริ ม การเรี ย นรู ้ มาสู ่ ยุ ค แห่ ง เทคโนโลยี
ดิจิตอล ซึ่งผู้คนแสวงหาค�ำตอบของความ อยากรู ้ หรือจากความไม่รใู้ นเรือ่ งต่างๆ ได้ ด้วยตนเอง ผ่านทางอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิคส์ ที่ทันสมัย สอนให้คนรู้จักคิด และแสวงหา ค�ำตอบด้วยตนเองมากขึ้น ทว่า สิ่งหนึ่งซึ่ง ยังคงไม่เปลีย่ นแปลงคือ คุณครูยงั คงมีความ ส�ำคัญต่อการเรียนรู้ของบรรดาเด็กๆ และ เยาวชนอยู่เสมอ
นักจิตวิทยาการปรึกษา, รองผูอ้ ำ� นวยการศูนย์สง่ เสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, อาจารย์พเิ ศษด้านจิตวิทยา ในสถาบันอุดมศึกษาล, วิทยากรฝึกอบรมและบรรยายด้าน Counseling Psychology, Family Counseling, Balance of Life, Congruent Communication และ Self-empowerment
( หมวดจิตวิทยา )
ประตูสู่การเรียนรู้
56 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559
“ถ้าลูกศิษย์ได้เรียนรู้จากครูที่ดี จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีและเร็วขึ้น” คุณครูครับ จากข้อมูลของส�ำนักงาน สถิติแห่งชาติ พ.ศ.2557 ประเทศไทยมี จ�ำนวนคุณครูหรืออาจารย์ ในทุกระดับการ ศึ ก ษา ทั้ ง ที่ สั ง กั ด หน่ ว ยงานรั ฐ บาลและ สั ง กั ด หน่ ว ยงานเอกชน จ� ำ นวนทั้ ง สิ้ น 641,793 คน บุคคลเหล่านี้มีส่วนส�ำคัญ อย่างยิง่ ต่อการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพ ชีวิต ให้กับบรรดาเด็กและเยาวชน ที่ก�ำลัง อยู่ในช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ คุณครูคือ ผู้ เปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้ และส่งผลต่อ การด�ำรงอยู่ของสังคมไทย ในโลกอนาคต ซึ่ ง เต็ ม ไปด้ ว ยการแข่ ง ขั น และแสวงหาผล ประโยชน์ นอกจากนี ้ คุณครูยงั เป็นต้นแบบและ ผู้กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ บุคลิกลักษณะ ความรู ้ ตลอดจนเทคนิคการสอนของคุณครู ยังเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการเรียนรู ้ และความ รูส้ กึ ใฝ่รขู้ องลูกศิษย์เสมอ เพราะถ้าลูกศิษย์ ได้เรียนรู้จากครูที่ดี จะช่วยให้เกิดการเรียน รู ้ ไ ด้ ดี แ ละเร็ ว ขึ้ น (วราศิ ริ วงศ์ สุ น ทร, 2543)
คุ ณ ครู ค รั บ พวกเราทุ ก คนเชื่ อ ว่ า คุณครูทุกคนอยากได้ชื่อว่า เป็นครูที่ดี ที่ อบรมสั่งสอนแล้ว ช่วยให้ลูกศิษย์เป็นคนดี มีความรูค้ วบคูก่ บั คุณธรรม เป็นทีช่ นื่ ชมของ ผู้พบเห็น และเป็นความภาคภูมิใจของพ่อ แม่ แต่การจะได้ชอื่ ว่า เป็นครูทดี่ ี ต้องเริม่ จากความดีภายในตน เริม่ จากการมีทศั นคติ ทีด่ ตี อ่ ตนเอง และวิชาชีพครู จนกลายเป็น วิถีชีวิต มิใช่แค่อาชีพหนึ่งในชีวิตเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ การสร้างทัศนคติที่ดีต่อ อาชีพครู จึงมีความส�ำคัญอย่างยิง่ จนอาจ กล่าวได้วา่ คนทีม่ คี วามรูแ้ ต่ขาดทัศนคติทดี่ ี ต่อการสอน ย่อมจะเป็นครูที่ดีไม่ได้ และ การมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ยังจะช่วยให้ บุ ค คลมี ค วามเข้ า ใจในคุ ณ ลั ก ษณะของ วิ ช าชี พ มี ค วามมั่ น คงทางจิ ต ใจ เหตุ ว ่ า เมื่ อบุ ค คลมี ทั ศ นคติ ที่ ดี ต่ อสิ่ ง ใด ย่ อมจะ ท�ำให้บคุ คลนัน้ รับรู ้ ตีความและเข้าใจสิง่ นัน้ ในสภาพแวดล้อมต่างๆ อย่างมีความหมาย ส�ำหรับเขา (ธีระพร อุวรรณโณ, 2533 อ้างถึงใน กิ่งทิพย์ พุฒแก้ว, 2545)
พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รั ช กาลปั จ จุ บั น เคยพระราชทานพระบรม ราโชวาท ในพิธพี ระราชทานปริญญาบัตรแก่ นิสิตและนักศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่ อ วั น ที่ 13 ธั น วาคม พ.ศ.2505 ว่า “การศึกษาเป็นเรือ่ งใหญ่ และส�ำคัญยิง่ ของมนุษย์ คนเราเมื่อเกิดมาก็ได้รับการสั่ง สอนจากบิดามารดา อันเป็นความรูเ้ บือ้ งต้น เมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็เป็นหน้าที่ของครูและ อาจารย์สั่งสอนให้ได้รับความรู้สูงและอบรม จิตใจให้ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม เพื่อจะได้ เป็นพลเมืองดีของชาติสืบไป งานของครูจึง เป็นงานทีส่ ำ� คัญยิง่ ท่านทัง้ หลายซึง่ จะออก ไปท�ำหน้าที่ครู จะต้องยึดมั่นอยู่ในหลักศีล ธรรม และพยายามถ่ายทอดวิชาความรู้แก่ เด็ก ให้ดีที่สุดที่จะท�ำได้ นอกจากนี้ จง วางตนให้สมกับทีเ่ ป็นครู ให้นกั เรียนมีความ เคารพนับถือ และเป็นที่เลื่อมใส ไว้วางใจ ของผูป้ กครองนักเรียนด้วย” (สุปราณี จิรา ณรงค์, 2558) น อ ก จ า ก นี้ พ ร ะ บ า ท ส ม เ ด็ จ พระเจ้าอยู่หัว ยังได้พระราชทานพระบรม ราโชวาทแก่คณะครู โรงเรียนวังไกลกังวล เมื่ อวั น ที่ 7 มิ ถุ น ายน พ.ศ.2521 ว่ า “ส�ำหรับครูนั้น ก็จะต้องท�ำตัวให้เป็นที่รัก เป็นที่เคารพ เป็นที่เชื่อใจของนักเรียน คือ ข้อแรก ต้องฝึกฝนตนเองให้แตกฉาน และ แม่นย�ำช�ำนาญ ทัง้ ในวิชาความรูแ้ ละวิธสี อน เพื่อสามารถสอนวิชาทั้งปวงได้โดยถูกต้อง
กระจ่างชัด และครบถ้วนสมบูรณ์ อีกข้อ หนึ่ง ต้องท�ำตัวให้ดี คือ ต้องมีและแสดง ความเมตตากรุ ณ า ความซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ความสุ ภ าพ ความเข้ ม แข็ ง และอดทนให้ ปรากฏชั ด เจน จนเคยชิ น เป็ น ปรกติ วิ สั ย เด็กๆ จะได้เห็น ได้เข้าใจในคุณ ค่าของ ความรู้ ในความดี และในตัวครูเองอย่าง ซาบซึ้ ง และยึ ด ถื อ เอาเป็ น แบบอย่ า ง ภารกิจของครู คือ การให้การศึกษาก็จะได้ บรรลุตามทีม่ งุ่ หวัง...” (สุปราณี จิราณรงค์, 2558) คุณ ครูครับ จากพระบรมราโชวาท ข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ทรงเล็งเห็นถึงความส�ำคัญของ การศึกษาและคุณครู ในฐานะบุคคลที่ต้อง มีความรู ้ ความเชีย่ วชาญในด้านความรูแ้ ละ วิธีสอน รวมถึงต้องมีคุณธรรมเป็นที่เคารพ นั บ ถื อ น่ า เลื่ อ มใส เพื่ อ จะได้ ถ ่ า ยทอด ความรู้ควบคู่กับคุณธรรมความดี สามารถ เป็นแบบอย่างให้กับลูกศิษย์ ในการน�ำไป ประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจ�ำวันต่อไป ในด้ า นวิ ธี ส อน จิ ต วิ ท ยามี ส ่ ว น เกี่ ย วข้ อ งในการให้ ข ้ อ มู ล ความรู ้ ที่ เ ป็ น ประโยชน์ต่อการสอนหรือการจัดการเรียนรู้ อาทิ เ ช่ น ความรู ้ ด ้ า นพั ฒ นาการและ พฤติกรรมด้านต่างๆ ของมนุษย์ ความ แตกต่ า งระหว่ า งบุ ค คล ความฉลาดทาง อารมณ์ เด็กที่มีลักษณะพิเศษ ทฤษฎีการ เรียนรู ้ แรงจูงใจในการเรียนรู ้ การจัดสภาพ
58 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 แวดล้ อ มเพื่ อ การเรี ย นรู ้ ฯลฯ (ลั ก ขณา สริวัฒน์, 2557) คุ ณ ครู ค รั บ คุ ณ ครู ค งทราบดี ว ่ า ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้จากครู ผูส้ อนไปสูผ่ เู้ รียน มีความส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อ การเรี ย นการสอน ทว่ า การเรี ย นรู ้ ข อง ผูเ้ รียนไม่ได้เกิดจากการถ่ายทอดความรูเ้ พียง อย่ า งเดี ย วเท่ า นั้ น หากเกิ ด จากความ รู้สึก “อยากจะเรียนรู้” ด้วย โดยปัจจัยที่ ส่งเสริมความสามารถในการสอนของครู จน น�ำไปสู่ความรู้สึกอยากจะเรียนรู้ ประกอบ ไปด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ (ลักขณา สริวัฒน์, 2557) กล่าวคือ ประการแรก คุณครูควรมีทัศนคติที่ ดีต่อวิชาชีพ ซึ่งจะน�ำไปสู่ความรู้สึกรักใน การสอน และอยากจะช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษา ให้เกิดความรู้สึกอยากจะเรียนรู้ ต่อไป ประการที่สอง คุณครูควรมีทัศนคติ ที่ ดี ต ่ อ นั ก เรี ย น ทั ศ นคติ ที่ ดี นี้ จ ะท� ำ ให้ นักเรียนสัม ผัสได้ถึงความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดีที่คุณครูมีต่อพวกเขา ประการที่ ส าม คุ ณ ครู ค วรมี ค วาม เข้าใจในหลักสูตร หมายถึง ควรเข้าใจถึง วั ต ถุ ป ระสงค์ แ ละขอบข่ า ยเนื้ อ หาของ หลั ก สู ต รอย่ า งชั ด เจน เพื่ อจะได้ ช ่ ว ยให้ นักเรียนบรรลุถึงวัตถุประสงค์ในการเรียน รวมถึงช่วยให้เราเตรียมเนือ้ หา หรือรูปแบบ การสอน ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ได้อย่างดีและ มีประสิทธิภาพ
ประการทีส่ ี่ คุณครูควรมีความรูค้ วาม เข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการ เพื่อจะได้รู้และ เข้ า ใจถึ ง ธรรมชาติ ข องผู ้ เ รี ย น ทั้ ง ด้ า น ร่างกาย จิตใจ สติปญ ั ญา อารมณ์ สังคม คุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ ประการที่ ห ้ า คุ ณ ครู ค วรมี ค วามรู ้ ความเข้าใจจิตวิทยาการเรียนรูแ้ ละจิตวิทยา การสอน เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการ กระตุ้นการเรียนรู้ ท�ำให้ผู้เรียนเกิดความ สนใจ อยากจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการ เรียนรู้ต่างๆ ที่ผู้สอนน�ำเสนอ ประการที่ ห ก คุ ณ ครู ค วรมี ค วาม สามารถในการสื่อสารความคิดกับนักเรียน ทั้ ง การพู ด การอธิ บ าย และการรั บ ฟั ง ความคิด ความสนใจ รวมถึงความต้องการ ต่างๆ ของนักเรียน ประการที่ เ จ็ ด คุ ณ ครู ค วรมี ค วาม สามารถในการใช้สื่อการสอนต่างๆ เพื่อ ช่วยให้นกั เรียนสามารถเข้าใจถึงสิง่ ทีจ่ ะเรียน รู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว ประการสุดท้าย คุณครูควรมีความ สามารถในการวัดและประเมินผล เพือ่ ช่วย ให้ครูผู้สอนและผู้เรียนทราบว่า การเรียน การสอนนั้ น บรรลุ ถึ ง วั ต ถุ ป ระสงค์ ห รื อ ไม่ อย่างไร อย่ า งไรก็ ดี มี ง านวิ จั ย ที่ ค ้ น พบว่ า คุณครูควรจะรู้ว่าอะไรส�ำคัญต่อคุณครู ใน ฐานะครู ผู ้ ส อน ไม่ ว ่ า จะเป็ น เนื้ อ หา รายวิชาทีส่ อน สือ่ หรืออุปกรณ์ประกอบการ
คุณครู.. ประตูสู่การเรียนรู้
59
สิ่งที่คุณครูคิดว่าส�ำคัญ บางครั้งลูกศิษย์ อาจจะเห็นว่าไม่ส�ำคัญ ความแตกต่างนี้ เกิดจาก “การให้ความหมาย” ของค�ำว่า “ส�ำคัญ” ต่างกัน เรี ย นการสอน ฯลฯ รวมถึ ง รู ้ ว ่ า อะไร ส� ำ คั ญ ต่ อ นั ก เรี ย น ไม่ ว ่ า จะเป็ น เนื้ อ หา รายวิชา สื่อที่คุณ ครูใช้สอน ความสนใจ ส่วนบุคคล การน�ำไปใช้งานในชีวิตประจ�ำ วัน ฯลฯ ความรู้เหล่านี้จะช่วยให้การเรียน การสอนของคุณครูมีความน่าสนใจเพิ่มมาก ขึ้น (Sleigh, McCann, & Kadah-Ammeter, 2012; Kember, Ho, & Hong, 2008) Burns, Ernst, & Sleigh (2011) พบว่า สิ่งที่คุณครูคิดว่า ส�ำคัญ บางครั้ง ลูกศิษย์อาจจะเห็นว่า ไม่สำ� คัญ ความแตก ต่างนี้เกิดจาก “การให้ความหมาย” ของ ค� ำ ว่ า “ส� ำ คั ญ ” ต่ า งกั น กล่ า วคื อ ลู ก ศิษย์ให้ความส�ำคัญตามความสนใจของพวก เขา ขณะที่ คุ ณ ครู ห รื อ อาจารย์ รวมถึ ง นักศึกษารุน่ พีจ่ ะให้ความส�ำคัญกับประโยชน์ ของวิชาความรู้มากกว่าความสนใจ
นอกจากนี้ ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมี ความสุ ข ที่ เ กิ ด จากการรวบรวมแนวคิ ด ทฤษฎี ก ารเรี ย นรู ้ ทั้ ง ของไทยและสากล โดย ผศ.กิตยิ วดี บุญซือ่ และคณะ เมือ่ ปี พ.ศ.2540 ยังพบว่า ในการจัดกระบวน การเรียนการสอน ครูผู้สอนควรค�ำนึงถึง องค์ ป ระกอบ ที่ จ ะช่ ว ยให้ นั ก เรี ย นเรี ย น อย่ า งมี ค วามสุ ข ด้ ว ยแนวคิ ด ส� ำ คั ญ 6 ประการ (วราศิ ริ วงศ์ สุ น ทร, 2543) ได้แก่ 1) เด็กแต่ละคนได้รับการยอมรับ จากเพื่ อ นและครู ในประเด็ น นี้ ครู ค วร ยอมรั บ ว่ า นั ก เรี ย นเป็ น มนุ ษ ย์ ค นหนึ่ ง ที่ มี สมองและหัวใจ เขาจึงควรมีสิทธิ์ที่จะเป็น ตัวของตัวเอง ไม่จ�ำเป็นต้องเหมือนใคร มี ความคิ ด ความสนใจในสิ่ ง ต่ า งๆ ได้ ที่ ส�ำคัญนักเรียนควรมีโอกาสได้เลือกเรียนตาม ความถนัดและความสนใจ เพราะนั่นคือ การเลื อ กอนาคตให้ กั บ ตนเอง ครู ห รื อ ผู ้ ปกครองควรเป็นเพียงผู้ให้ค�ำปรึกษาแนะน�ำ ที่ดีกับเด็ก ไม่ใช่ผู้บงการชีวิตของเด็ก
60 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 2) ครูมีความเมตตา จริงใจ อ่อน โยนต่อเด็กทุกคนโดยทั่วถึง ครูต้องเข้าใจ ถึงพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็ก เข้าถึง ความรู ้ สึ ก ละเอี ย ดอ่ อ น ความคิ ด อั น ไร้ ขอบเขต และความฝันอันกว้างไกลของเด็ก แต่ละคน ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้สาน ความฝัน จนบรรลุเป้าหมายของชีวิต ด้วย เหตุน ี้ ครูจงึ ควรเอาใจใส่ตอ่ เด็กทุกคนอย่าง ทั่วถึง ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง สม�่ำเสมอ มี ส�ำนึกของการเป็นผูใ้ ห้ มีความเสียสละและ อดทน 3) เด็ ก เกิ ด ความรั ก และภู มิ ใ จใน ตนเอง รู ้ จั ก ปรั บ ตั ว ได้ ทุ ก ที่ ทุ ก เวลา ความภาคภูมิใจของเด็กจะเกิดขึ้นได้ เมื่อ เด็กได้แสดงความสามารถบางสิ่งบางอย่าง ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยเฉพาะการได้ท�ำในสิ่งที่ ชอบและถนัด จะช่วยให้เด็กประสบความ ส�ำเร็จ เกิดความรู้สึกอยากจะท�ำให้ดียิ่งๆ ขึ้นต่อไปอีก เมื่อเด็กรักงานนั้นแล้ว ก็จะ เกิดความรู้สึกรักผู้ร่วมงาน แล้วแผ่ขยายไป สู่บุคคลอื่น กลุ่มอื่น อยากให้เขาประสบ ความส�ำเร็จบ้าง ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ภารกิ จ ที่ ส� ำ คั ญ ประการหนึ่ ง ของครู คื อ การช่ ว ยให้ เ ด็ ก ค้ น พบความสามารถของ ตนเอง และเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความ สามารถนั้นๆ ออกมา 4) เด็กแต่ละคนได้เลือกเรียนตาม ความถนัดและความสนใจ เป็นที่ทราบกัน
ดี ว ่ า โรงเรี ย นคื อ สถานที่ ใ นการพั ฒนา ศักยภาพของเด็ก ดังนั้น ถ้าเด็กได้เลือก เรียนตามความถนัดและความสนใจ พวก เขาจะได้ค้นพบความสามารถภายในตน ที่ ซ่อนเร้นและรอการพัฒนา ท�ำให้มีก�ำลังใจ ในการเรียนและสามารถพัฒนาศักยภาพนั้น ให้ ก ลายเป็ น ความสามารถที่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ตอ่ ตนเองและผูอ้ นื่ ต่อไปในอนาคต 5) บทเรียนสนุก แปลกใหม่ จูงใจ ให้ ติ ด ตาม และเร้ า ให้ อ ยากค้ น คว้ า หาความรูเ้ พิม่ เติมด้วยตนเอง ในสิง่ ทีส่ นใจ บทเรียนที่สนุก แปลกใหม่ และเร้าความ สนใจจะท�ำให้เด็กรู้จักคิด เกิดความอยากรู้ อยากเห็น อยากทดลอง รูส้ กึ ภูมใิ จและตืน่ เต้นในการค้นพบใหม่ๆ ส่วนครูตอ้ งมีความ ตืน่ ตัว เปิดใจกว้างรับรูส้ งิ่ ใหม่ๆ ในการจัด บทเรียนต้องค�ำนึงถึงเด็กเป็นส�ำคัญ ต้อง ท� ำ ให้ โ รงเรี ยนเป็ น สถานที่ ไม่ น ่ า กลั ว ไม่ เครี ย ด ท� ำ ให้ ห ้ อ งเรี ย นเป็ น สถานที่ แ ห่ ง ความสุข น่าเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับความ รู้นอกห้องเรียนได้ 6) สิ่งที่เรียนรู้สามารถน�ำไปใช้ใน ชีวติ ประจ�ำวันได้ ความรูท้ เี่ ด็กได้เรียนรูต้ อ้ ง สามารถน�ำไปใช้ประโยชน์ได้ในสภาพความ เป็นจริง และมีความหมายต่อตัวเด็ก ท�ำให้ เด็กรูจ้ กั สืบเสาะหาค�ำตอบต่อข้อสงสัยต่างๆ รู ้ จั กวิ เ คราะห์ เ หตุ ก ารณ์ ห รื อ สภาพการณ์ ต่างๆ ได้อย่างมีเหตุมีผล มีความคิดเป็น ของตนเอง รู้วิธีด�ำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า
คุณครู.. ประตูสู่การเรียนรู้
และมีความเชื่อมั่นในตนเองพอที่จะไม่ตก เป็นเครื่องมือของใคร อย่ า งไรก็ ต าม ไม่ ว ่ า โลกแห่ ง การ ศึกษาจะก้าวหน้าไปมากเพียงใดก็ตาม หาก แต่นักเรียนยังขาดความสนใจหรือใส่ใจใน การเรียนรู ้ การพัฒนาบุคคลให้มคี วามรอบรู้ เพียงพอต่อการด�ำเนินชีวิตในโลกที่มีการ แข่งขันสูง และจริยธรรมลดน้อยลง ย่อม เป็นไปด้วยความยากล�ำบาก ด้ ว ยเหตุ นี้ คุ ณ ครู ที่ เ ปรี ย บประดุ จ ประตูสู่การเรียนรู้ของเด็ก จึงมีความส�ำคัญ
61
อย่างยิง่ ต่อการกระตุน้ และพัฒนาศักยภาพ ด้านต่างๆ โดยเฉพาะศักยภาพด้านการ แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้บรรดา เด็กนักเรียนได้ค้นพบคุณครูที่อยู่รายล้อม ชี วิ ต ของพวกเขา ผ่ า นทางประสบการณ์ ต่างๆ ทีเ่ ข้ามาในชีวติ ซึง่ จะน�ำพาพวกเขา ไปสู ่ ก ารเติ บ โตทั้ ง ด้ า นร่ า งกายและจิ ต ใจ เป็นบุคคลทีป่ ระสบความส�ำเร็จและความสุข ในชีวิต ไม่ว่าจะต้องตกอยู่ในสภาพการณ์ ใดๆ ก็ตาม สุดท้าย บุคคลหนึ่งที่คุณครูไม่ควร ลืม และควรสอนเขาอยู่ตลอดเวลา ก็คือ ตัวคุณครูเองครับ
62 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 บรรณานุกรม กิ่งทิพย์ พุฒแก้ว. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติต่อการเป็น ครู และความเชื่ออ�ำนาจภายในตน กับการปฏิบัติบทบาทของอาจารย์ วิทยาลัย พยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขา วิชาการพยาบาลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาส�ำหรับครู. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. วราศิริ วงศ์สุนทร. (2543). การเรียนรู้อย่างมีความสุข: การวิจัยรายกรณี ครูต้นแบบ ด้านการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าวิ จั ย การศึ ก ษา ภาควิ ช าวิ จั ย การศึ ก ษา บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิจารณ์ พานิช. (2557). ครูเพือ่ ศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. พิมพ์ครัง้ ที ่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล. สุ ป ราณี จิ ร าณรงค์ . (2558). ครู ป ระจ� ำ ชั้ น มื อ อาชี พ . กรุ ง เทพฯ: ส� ำ นั ก พิ ม พ์ แ ห่ ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Burns, M., Ernst, H., & Sleigh, J. (2011, January). Psychology majors’ perceptions of the most important thing they learned in psychology. Paper presented at the National Institute on The Teaching of Psy chology conference, St. Pete’s Beach, FL. Kember, D., Ho, A., & Hong, C. (2008). The importance of establishing relevance in motivating student learning. Active Learning in Higher Education, 9 (3), 249-263. Schommer-Aikins, M., & Easter, M. (2006). Ways of knowing and episte mological beliefs: Combined effect on academic performance, Educa tional Psychology, 26, 411-423. Sleigh, McCann, & Kadah-Ammeter. (2012). Creating student interest. Observer [Online]. Available from: http://www.psychologicalscience.org/ index.php/ publications/observer/2012/april-12/creating-student-interest. html [2016, March 15]
ตามพระวรสารนักบุญลูกาและหนังสือกิจการอัครสาวก บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร. 1. ค�ำน�ำ พันธกิจทีส่ ำ� คัญประการหนึง่ ของพระ เยซูเจ้าคือการอบรมศิษย์ พระเยซูเจ้าทรง เรียกบุคคลทั้งชายและหญิงให้มาเป็นศิษย์ ติดตามพระองค์ ในหนังสือพระคัมภีรพ์ นั ธสั ญ ญาใหม่ โ ดยเฉพาะในพระวรสารและ หนังสือกิจการอัครสาวกกล่าวถึงการเป็นศิษย์ จ�ำนวน 250 ครัง้ ในพระวรสารได้แยกแยะ ศิษย์ของพระเยซูเจ้าคือ อัครสาวกทัง้ สิบสอง บรรดาศิ ษ ย์ ผู ้ ร ่ ว มเดิ น ทางไปกั บ พระองค์
มิตรสหาย ผูส้ นับสนุน (ลก 10:1, 38-42; มก 14:12-16) บรรดาประชาชนที่มาฟัง พระเยซูเจ้าประกาศข่าวดีและบุคคลที่พระ เยซูเจ้าได้ให้ความช่วยเหลือหรือรับใช้พวก เขา (มก 6:34) และบรรดาประชาชนที่มี ความเชือ่ ในพระองค์ (ลก 6:17; 19:37) ในหนังสือกิจการอัครสาวกศิษย์ของพระ เยซูเจ้าหมายถึงบรรดาคริสตชน (กจ 6:1; 9:10-26) ดังนัน้ คริสตชนทุกคนได้รบั การ
บาทหลวงสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี, อาจารย์สาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร วิทยาลัยแสงธรรม
( หมวดชีวิตด้านจิตใจ )
การอบรมศิษย์ของพระเยซูเจ้า
70 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 เรียกให้มาเป็นศิษย์ตดิ ตามและสืบต่อพันธกิจของพระเยซูคริสตเจ้า การเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้ามีลกั ษณะ พิเศษแตกต่างจากการเป็นศิษย์ในศาสนายิว สมัยนั้น ดังนี้ ในศาสนายิวบุคคลจะเลือกสมัครเป็น ศิษย์ของอาจารย์ที่ตนเองต้องการ แต่พระ เยซูเจ้าเป็นผู้เลือกศิษย์(มก 1:17; 2:14; ลก 5:1-11; 6:12-13) พระเยซูเจ้าทรง เรียกผู้ที่พระองค์ทรงต้องการ ให้มาอยู่กับ พระองค์และเพื่อจะทรงส่งเขาออกไปเทศน์ สอน(มก 3:13-14) ในศาสนายิวผูท้ จี่ ะเป็นศิษย์ตอ้ งปฏิบตั ิ ตามกฎเรือ่ งสิง่ ทีเ่ ป็นมลทินและธรรมบัญญัติ ของโมเสส แต่พระเยซูเจ้าทรงเรียกศิษย์บาง คนทีเ่ ป็น “คนเก็บภาษีและคนบาป”(มก 2: 15) และสตรีก็ได้รับการเรียกมาเป็นศิษย์ ของพระองค์ด้วย(ลก 8: 2) พระเยซูเจ้าเรียกร้องบรรดาศิษย์ให้ กลับใจอย่างถึงรากถึงโคน “จงไปขายทุกสิง่ ที่มี แล้วจงตามเรามาเถิด” (มก 10:21) “ให้ ล ะทิ้ ง ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง แล้ ว ติ ด ตาม พระองค์ ไ ปประกาศพระอาณาจั ก รของ พระเจ้า” (ลก 5:11; 9:57-62) ให้ละทิง้ งานอาชีพ (มก 2:14) บิดามารดา ภรรยา บุตร พีน่ อ้ งชายหญิง และชีวติ ของตน (ลก 14:26) บางคนได้รบั การเรียกให้มชี วี ติ โสด เพื่ออาณาจักรพระเจ้า(มธ 19: 11-12)
บรรดาศิษย์ของอาจารย์ในศาสนายิว มีหน้าที่ถ่ายทอดค�ำสอนของอาจารย์ต่อไป แต่บรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้าได้รบั การเรียก ให้มาร่วมพันธกิจแห่งการรับใช้ของพระองค์ คือ การรักษาผู้เจ็บป่วย การขับไล่ปีศาจ และการประกาศพระอาณาจั ก รพระเจ้ า (มก 6:7-13; ลก 10:2-12) บรรดาศิษย์ได้รับการเรียกให้มีความ รักทีเ่ สียสละ รูจ้ กั แบ่งปัน(ลก 6:30) เป็น คนสุ ด ท้ า ยและรั บ ใช้ ทุ ก คน(มก 9:35) โต้ตอบความชัว่ ด้วยความดี (มธ 5:38-42) รักกันและกันเหมือนที่พระเยซูเจ้าทรงรักคือ สละชี วิ ต ของตนเพื่ อ มิ ต รสหาย (ยน15: 12-13) พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่โดยเฉพาะ พระวรสารทั้งสี่ได้ให้มุมมองถึงลักษณะของ การเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าในแง่มุมต่างๆ พระวรสารแต่ละเล่มต่างช่วยส่งเสริมกันให้ เห็นภาพการเป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้าชัดเจน ยิ่งขึ้น บทความนี้พยายามศึกษาถึง “การ อบรมศิษย์ของพระเยซูเจ้าตามพระวรสาร นักบุญลูกาและหนังสือกิจการอัครสาวก” พระวรสารนั ก บุ ญ ลู ก ามี ลั ก ษณะเด่ น บรรยายถึงความอ่อนโยนของพระเยซูเจ้า พระองค์ทรงแสดงความรักต่อคนบาป ทรง กล่าวกับหญิงคนบาปว่า “นางได้รบั การอภัย แล้วเพราะนางรักมาก” (ลก 7:36-50) พระองค์ ท รงเล่ า เรื่ อ งอุ ป มาเรื่ อ งลู ก ล้ า ง ผลาญเพื่อแสดงถึงพระเมตตาของพระเจ้า
การอบรมศิษย์ของพระเยซูเจ้า ตามพระวรสารนักบุญลูกาและหนังสือกิจการอัครสาวก
(ลก 15:11-32) พระเยซูเจ้าทรงน�ำความ รอดมาให้ศักเคียสหัวหน้าคนเก็บภาษี (ลก 19:1-10) บนไม้กางเขนพระองค์ทรงอภัย แก่ ผู ้ ป ระหารพระองค์ (ลก 3:39-43) พระองค์ ท รงรั ก ผู ้ ต�่ ำ ต้ อ ยและยากจน พระองค์กล่าวถึงเวลาแห่งพระเมตตา แต่ พระองค์ไม่ทรงประนีประนอมโดยทรงเน้น ความจ�ำเป็นของการกลับใจและการเจริญ ชี วิ ต ตามข่ า วดี ความจ� ำ เป็ น ของการ อธิษฐานภาวนา และกล่าวถึงบทบาทของ พระจิตเจ้าในชีวติ ของพระเยซูเจ้าและบรรดา ศิษย์ของพระองค์ทั้งในพระวรสารและต่อ เนื่ อ งในกิ จ การอั ค รสาวก บทความนี้ จึ ง พยายามศึกษาในหัวข้อ “การอบรมศิษย์ ของพระเยซูเจ้าตามพระวรสารนักบุญลูกา และหนังสือกิจการอัครสาวก” เพื่อให้เกิด ความรู้ความเข้าใจและเพื่อจะได้สามารถ ปรับปรุงชีวิตการเป็นศิษย์ของพระเยซูคริสต เจ้าให้ดียิ่งขึ้น 2. การอบรมให้เป็นคริสตชน นั ก พระคั ม ภี ร ์ ส ่ ว นใหญ่ ย อมรั บ ว่ า พระวรสารนั ก บุ ญ มาระโกบทที่ 8:2710:52 “จากกาลิ ลี สู ่ ก รุ ง เยรู ซ าเล็ ม ” เป็ น การเดิ น ทางที่ พ ระเยซู เ จ้ า ทรงอบรม บรรดาศิษย์ให้รู้จักก้าวเดินไปสู่หนทางแห่ง ความเชื่อและความหวัง ในพระวรสารนัก 1
Carlo M.Martini, Ministers of the Gospel p.53-64
71
บุญลูกาบทที่ 9:51-18:41 หัวข้อ“การ เดินทางสู่กรุงเยรูซาเล็ม”เป็นการเดินทางที่ พระเยซูเจ้าได้ให้การอบรมบรรดาศิษย์ของ พระองค์ นักบุญลูกาได้ให้ความส�ำคัญกับ กรุงเยรูซาเล็มเพราะการประกาศข่าวดีแก่ โลกจะเริม่ จากกรุงเยรูซาเล็มและแผ่ขยายไป ทัว่ โลก (ลก 24:47; กจ 1:18) นักพระ คัมภีร์และผู้น�ำด้านชีวิตจิต1 ได้แบ่งพระวรสารนักบุญลูกาในหัวข้อการอบรมศิษย์ของ พระเยซูเจ้าอย่างคร่าวๆ ดังนี้ 1. ลก 5-9 การอบรมให้เป็นคริสตชน 2. ลก 9-18 การอบรมให้เป็นผูป้ ระ กาศพระวรสารโดยเฉพาะ การแบ่ ง พระวรสารนั ก บุ ญ ลู ก าใน หัวข้อการอบรมศิษย์ของพระเยซูเจ้าอย่าง คร่าวๆ นี้ไม่ได้ครอบคลุมเนื้อหาของพระ วรสารทั้งหมดในบทเหล่านั้น แต่เป็นการ เลือกบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการ อบรมศิษย์ของพระเยซูเจ้า พระวรสารนัก บุญลูกาบทที ่ 5-6 เริม่ ด้วยพระเยซูเจ้าทรง เรียกศิษย์สี่คนแรกคือซีโมนเปโตร อันดรูว์ ยากอบและยอห์น (ลก 5:1-11) ต่อมา พระเยซู เ จ้ า ทรงเรี ย กเลวี ( ลก 5:27-28) ต่อมาอีกพระเยซูเจ้าทรงเลือกสาวกสิบสอง คน (ลก 6:12-16) การอบรมศิษย์เป็น ภารกิจส�ำคัญของพระเยซูเจ้า พระองค์โปรด ให้ศษิ ย์โดยเฉพาะสาวกสิบสองคนได้อยูใ่ กล้
72 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 ชิด และมีชีวิตร่วมกับพระองค์รวมทั้งเป็น พยานถึงภารกิจของพระองค์ พระเยซูเจ้าทรง อบรมบรรดาศิษย์ให้เป็นคริสตชนทีเ่ ป็นผูใ้ หญ่ คือ 2.1 การอบรมศิษย์ให้เป็นคริสตชน ที่เป็นผู้ใหญ่ พระเยซูเจ้าทรงอบรมบรรดาศิษย์ให้ เป็ น คริ ส ตชนที่ เ ป็ น ผู ้ ใ หญ่ ก ล่ า วคื อ เป็ น ผู ้ สามารถรับรู้และเข้าใจความต้องการและ ความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ และมีใจ เมตตากรุ ณ าต่ อ ผู ้ ต กทุ ก ข์ เ ยี่ ย งพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงประกอบพระภารกิจตามที่ ประกาศกอิสยาห์ได้กล่าวไว้ พระจิตเจ้าทรง น�ำพระองค์ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน น� ำ พระกรุ ณ าของพระเจ้ า มาประทานแก่ มนุษยชาติ (เทียบ ลก 4:18-19) พระ วรสารนักบุญลูกาได้บนั ทึกพระภารกิจทีพ่ ระ เยซูเจ้าทรงกระท�ำการรักษาโรคต่างๆ และ การอัศจรรย์ 14 ครัง้ คือ 1.) ทรงรักษา คนถูกผีสงิ ทีค่ าเปอรนาอุม (4:31-36) 2.) ทรงรักษามารดาของภรรยาซีโมน (4:3839) 3.) ทรงรักษาผู้เป็นโรคเรื้อน (5:1214) 4.) ทรงรักษาคนอัมพาต (5:17-25) 5.) ทรงรักษาชายมือลีบ (6:6-10) 6.) ทรงรักษาผูร้ บั ใช้ของนายร้อย (7:1-10) 7.) ทรงปลุกบุตรของหญิงหม้ายที่เมืองนาอินให้ กลับคืนชีพ (7:11-16) 8.) ทรงท�ำให้พายุ สงบ (8:22-25) 9.) ทรงช่วยชายชาวเกรา ซาที่ถูกปิศาจสิง (8:26-39) 10).,11)...
ทรงรักษาหญิงตกโลหิตและปลุกบุตรสาวของ ไยรัสให้คืนชีพ (8:40-56) 12). ทรงทวี ขนมปัง 13). ทรงส�ำแดงพระองค์อย่าง รุ่งโรจน์ (9:28-36) 14). ทรงช่วยเด็กที่ ถูกปิศาจสิง (9:37-43) พวกสาวกได้เห็น พระเยซูเจ้าทรงประกอบพระภารกิจการ รักษาโรคและการอัศจรรย์ต่างๆ เพื่อขจัด ความเจ็บป่วย โรคภัย ความทุกข์ทั้งกาย และใจ ด้วยความรักความเมตตากรุณาต่อ ผู้ตกทุกข์ นักบุญเปโตรได้สรุปชีวิตของ พระเยซูเจ้าว่า “พระเจ้าทรงเจิมพระเยซูเจ้า ชาวนาซาเร็ธด้วยพระอานุภาพเดชะพระจิต เจ้ า พระเยซู เ จ้ า เสด็ จ ผ่ า นไปที่ ใ ด ทรง กระท�ำความดีและรักษาทุกคนทีอ่ ยูใ่ ต้อำ� นาจ ของปิศาจเพราะพระเจ้าสถิตอยู่กับพระองค์ เราทั้งหลายเป็นพยานยืนยันถึงกิจการทั้ง ปวงที่พระองค์ทรงกระท�ำ” (กจ 10:3839) พร้อมกับการท�ำอัศจรรย์และการรักษา โรค พระเยซูเจ้ายังทรงสอนบรรดาศิษย์ใน สามหัวข้อใหญ่ได้แก่ 1). หน้าที่ของศิษย์ที่ เป็นพี่น้องกันคือ มีความรักแท้ มีความรัก ศัตรู (6:27-35) มีความเมตตากรุณาและ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่แสดงออกอย่างกล้า หาญและเป็นรูปธรรมเพื่อตอบสนองความ ต้องการของเพื่อนมนุษย์ (6:36-49) 2). การขัดแย้งเพราะการขาดความเชื่อและการ ตัง้ กฎเกณฑ์ทไี่ ม่คดิ ถึงความเป็นมนุษย์ (ลก 6:1-11) 3). ค�ำสอนของพระเมสสิยาห์ และการเปลี่ยนค่านิยมใหม่ เช่น ความสุข
การอบรมศิษย์ของพระเยซูเจ้า ตามพระวรสารนักบุญลูกาและหนังสือกิจการอัครสาวก
แท้ จริ ง และค� ำ สาปแช่ ง “ท่ า นทั้ ง หลายที่ ยากจนย่ อ มเป็ น สุ ข เพราะพระอาณาจั ก ร พระเจ้าเป็นของท่าน วิบัติจงเกิดแก่ท่านที่ ร�่ำรวย” (6:20-26) เป็นต้น 2.2 การอบรมศิ ษ ย์ ใ ห้ มี ค วาม สัมพันธ์กับพระองค์ บรรดาศิษย์ได้รบั การอบรมเรียนรูใ้ ห้มี ความเชื่อในพระภารกิจที่พระเยซูเจ้าทรง กระท�ำเป็นภารกิจของพระแมสสิยาห์ “ในวัน นี้ ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่านได้ยินกับหู อยูน่ เี้ ป็นจริงแล้ว” (ลก 4:21) พวกสาวก ทั้งสิบสองได้เป็นพยานถึงชีวิตของพระเยซู เจ้า ท�ำให้พวกสาวกมีใจเปิดกว้างเพื่อรับรู้ และเข้าใจความต้องการและความทุกข์ของผู้ อื่นอีกทั้งมีใจรักเมตตาสงสารผู้ตกทุกข์ทั้ง กายและใจ คนเจ็บป่วย คนหิวโหย คน ว้าเหว่ คนบาป คนที่ถูกสังคมรังเกียจและ ทอดทิ้ ง ฯลฯ เช่ น เดี ย วกั บ พระเยซู เ จ้ า พวกสาวกประทับใจและวางใจในพระเยซู เจ้าและเปิดใจให้พระองค์ได้เป็นผู้น�ำและชี้ ทางให้พวกเขา 2.3 การอบรมให้ศิษย์มองดูปัญหา ของมนุษย์อย่างลึกซึ้งและรอบด้าน พวกสาวกมีประสบการณ์และความรู้ จ�ำกัดจึงไม่สามารถมองปัญหาอย่างลึกซึ้ง และรอบด้ า น พระเยซู เ จ้ า ทรงชี้ ใ ห้ เ ห็ น สาเหตุแห่งปัญหาที่พวกสาวกมองไม่เห็น เช่น พระเยซูเจ้าตรัสกับคนง่อยว่า “บาป ของท่ า นได้ รั บ การอภั ย แล้ ว ”(ลก 5:20,
73
23) “เราไม่ได้มาเพื่อเรียกคนชอบธรรม แต่ ม าเพื่ อ เรี ย กคนบาปให้ ก ลั บ ใจ” (ลก 5:32) “บาปมากมายของนางได้รบั การอภัย แล้วเพราะนางมีความรักมาก” (ลก 7:47) “ทุกคนที่ท�ำบาปก็เป็นทาสของบาป” (ยน 8:34) “สิ่ ง ชั่ ว ร้ า ยทั้ ง หมดนี้ อ อกมาจาก ภายในและท�ำให้มนุษย์มมี ลทิน” (มก 7:23) พระเยซูเจ้าทรงชีใ้ ห้เห็นความสัมพันธ์เชือ่ ม โยงระหว่ า ง กาย จิ ต ใจและวิ ญ ญาณ ปัญหาภายนอกในสังคมและปัญหาภายใน จิตใจของมนุษย์ 3. การอบรมผู ้ ป ระกาศพระวรสารโดย เฉพาะ (ลก 9-18) พระวรสารนักบุญลูกา บทที่ 9-18 กล่าวถึงอัศจรรย์น้อยลง แต่เน้นการอบรม พวกสาวกโดยเฉพาะ “พระเยซูเจ้าทรงเริ่ม ตรั ส กั บ บรรดาศิ ษ ย์ ก ่ อ น” (ลก 12:1) “เรากล่ า วแก่ ท ่ า นที่ เ ป็ น มิ ต รของเราว่ า ” (12:4) “ประชาชนคนหนึง่ ทูลพระเยซูเจ้า” (12:13) “พระองค์ตรัสกับบรรดาศิษย์วา่ ” (12:22) พระเยซูเจ้าได้ให้ความสนใจสอน บรรดาศิ ษ ย์ ใ ห้ เ ป็ น ผู ้ ป ระกาศพระวรสาร โดยการกลับใจและการเจริญชีวติ ใหม่ตามค่า นิยมแห่งพระวรสาร ตัวอย่างพระวรสารบาง ตอนเช่น “ท่านคิดว่าเรามาเพือ่ น�ำสันติภาพ มาสู่โลกหรือ? มิได้ เราบอกท่านทั้งหลาย ว่า เราน�ำความแตกแยกมาต่างหาก” (12: 51) เป็นต้น โดยพระวรสารตอนนีเ้ ป็นพระ
74 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 วาจาของพระเยซู เ จ้ า ส� ำ หรั บ ศิ ษ ย์ ที่ ไ ด้ มี ประสบการณ์การติดตามพระเยซูเจ้ามาแล้ว พระองค์ เ ริ่ ม ท้ า ทายให้ พ วกเขาจั ด ล� ำ ดั บ คุณค่าในชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง พระเยซูเจ้า ทรงอบรมบรรดาศิษย์ดังนี้ 3.1 การอบรมบรรดาศิษย์ให้รจู้ กั ตัด สละและมีใจอิสระ อิสระจากบาป แรงกระตุ้นของกิเลส ตัณหา ความโลภ การไม่ตดิ ใจในทรัพย์สนิ การรูจ้ กั แบ่งปัน “ทรัพย์สมบัตขิ องท่านอยูท่ ี่ ใด ใจของท่านก็จะอยู่ที่นั้นด้วย” (12:34) การเป็นผูป้ ระกาศพระวรสารต้องมีใจอิสระ และเรียนรู้ที่จะตัดสละจากการยึดติดกับ ตนเอง บุ ค คล วั ต ถุ สิ่ ง ของ การงาน อาชีพ ความสนใจส่วนตัว ความกังวลใจ ที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติภารกิจของพระ เยซูเจ้า ต้องกลับใจอย่างต่อเนื่องเพื่อจะได้ มีชีวิตใหม่ตามค่านิยมแห่งพระวรสารโดย อาศัยการน�ำของพระจิตเจ้า ต้องรูจ้ กั ใช้เงิน ทองอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างมิตรเพือ่ น�ำสูท่ ี่ พ�ำนักนิรนั ดร (16:9) บรรดาสตรีผตู้ ดิ ตาม พระเยซูเจ้าได้สละทรัพย์ของตนมาช่วยเหลือ พระองค์และบรรดาอัครสาวก (8:3) พระ เยซู เ จ้ า ทรงส่ ง อั ค รสาวกทั้ ง สิ บ สองไป ประกาศข่าวดีโดยไม่ให้กังวลเรื่องเงินทอง (9:3) “จงขายทรัพย์สนิ ของท่านและให้ทาน จงหาถุ ง เงิ น ที่ ไ ม่ มี วั น ช� ำ รุ ด จงหาทรั พ ย์ สมบัตทิ ไี่ ม่มวี นั หมดสิน้ ในสวรรค์ ทีน่ นั่ ขโมย เข้าไม่ถึงและแมลงขมวนไม่ท�ำลาย” (12:
33) “ทุกท่านที่ไม่ยอมสละทุกสิ่งที่ตนมีอยู่ ก็เป็นศิษย์ของเราไม่ได้” (14:33) 3.2. การอบรมบรรดาศิ ษ ย์ ใ ห้ อธิษฐานภาวนาและมอบตนทัง้ หมดแก่พระ บิดา พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนาเสมอ ก่ อ นเลื อ กสาวกสิ บ สองคน “ทรงอธิ ฐ าน ภาวนาต่ อ พระเจ้ า ตลอดทั้ ง คื น ” (6:12) ก่อนที่จะถามเปโตรว่าเราเป็นใคร? ก่อนที่ จะท�ำนายครั้งแรกเรื่องพระทรมาน (9:18) พระเยซูเจ้าทรงอธิษฐานภาวนากับเปโตร ยอห์นและยากอบและทรงส�ำแดงพระองค์ อย่างรุ่งโรจน์ (9:28-29) พระองค์ทรง ปลาบปลื้ ม พระทั ย เดชะพระจิ ต เมื่ อ ทรง ภาวนาถึงพระบิดา (10:21-22) พระองค์ ทรงสอนบรรดาศิษย์ให้ภาวนาบทภาวนาที่ สรุปค�ำสอนของพระองค์คือบทข้าแต่พระ บิ ด าของข้ า พเจ้ า ทั้ ง หลาย (11:1-4) พระองค์ทรงสอนให้บรรดาศิษย์วางใจในพระ บิ ด า “เพราะคนที่ ข อย่ อ มได้ รั บ คนที่ แสวงหาย่อมพบ แม้แต่ท่านทั้งหลายทีเ่ ป็น คนชัว่ ยังรูจ้ กั ให้ของดีๆแก่ลกู แล้วพระบิดาผู้ สถิตในสวรรค์จะไม่ประทานพระจิตเจ้าแก่ผทู้ ี่ ทูลขอพระองค์มากกว่านั้นหรือ?” (11:1013) ท่านอย่ากังวลใจแสวงหาว่าจะกินอะไร หรือดื่มอะไร พระบิดาทรงทราบดีว่าท่าน ต้องการสิ่งเหล่านี้ ฉะนั้นจงแสวงหาพระ อาณาจักรของพระองค์เถิด แล้วพระองค์จะ ทรงเพิ่ ม เติ ม ทุ ก สิ่ ง ให้ (12:22-31) ให้
การอบรมศิษย์ของพระเยซูเจ้า ตามพระวรสารนักบุญลูกาและหนังสือกิจการอัครสาวก
เตรียมพร้อมเมื่อนายกลับมา (12:35-47) ให้ภาวนาเสมอโดยไม่ท้อถ้อย (18:1) ให้ พระจิตเจ้าน�ำชีวิต “เรามาเพื่อจุดไฟในโลก เราปรารถนาอย่างยิง่ ทีจ่ ะให้โลกนีล้ กุ เป็นไฟ” (12: 49) 3.3. การอบรมบรรดาศิษย์ให้เรียนรู้ ที่จะแบกกางเขน พระเยซู เ จ้ า ทรงสอนพวกสาวกให้ เข้ า ใจเรื่ อ งกางเขน พระองค์ ท รงท� ำ นาย ชั ด เจนถึ ง หนทางแห่ ง พระทรมานถึ ง สาม ครั้ง “บุตรแห่งมนุษย์จะต้องรับการทรมาน เป็นอันมาก จะถูกบรรดาผู้อาวุโส มหา สมณะและธรรมาจารย์ ป ฏิ เ สธไม่ ย อมรั บ และจะถูกประหารชีวติ แต่จะกลับคืนชีพใน วันทีส่ าม” (9:22,44,18:31-34) พระองค์ ตรัสอีกว่า “ถ้าผูใ้ ดอยากติดตามเราก็จงเลิก นึกถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขนของตนทุก วันและติดตามเรา” (9:23) พระเยซูเจ้า เชิญชวนให้สาวกมีประสบการณ์ด้วยตนเอง พวกสาวกมีชวี ติ อยูร่ ว่ มกับพระเยซูเจ้า พวก เขาค่อยๆ เรียนรูแ้ ละซึมซาบค�ำสอนและค่า นิยมของพระองค์ แม้หลายครั้งพวกสาวก จะยังไม่เข้าใจโดยเฉพาะเรื่องพระทรมาน การสิ้นพระชนม์และการกลับคืนพระชนม ชีพ “บรรดาอัครสาวกไม่เข้าใจถ้อยค�ำเหล่า นี้เลย พระด�ำรัสนี้ลึกลับส�ำหรับเขา เขาไม่ เข้าใจสิง่ ทีพ่ ระองค์ตรัส” (18:32-34) “เขา ทั้งหลายไม่กล้าทูลถามเรือ่ งนี”้ (9:45) จน ภายหลังการสิ้นพระชนม์และการกลับคืน
75
พระชนมชีพของพระเยซูคริสตเจ้า อาศัย พระจิตเจ้าพวกสาวกจึงเข้าใจรหัสธรรมแห่ง ไม้กางเขน 3.4.การอบรมบรรดาศิษย์ให้ด�ำเนิน ชีวิตภายใต้การน�ำของพระจิตเจ้า พระวรสารนั ก บุ ญ ลู ก าและหนั ง สื อ กิจการอัครสาวกได้กล่าวถึงบทบาทของพระ จิตเจ้าทีท่ ำ� ให้ชวี ติ และการปฏิบตั ภิ ารกิจของ พระเยซูเจ้าด�ำเนินไปและท�ำให้เกิดความต่อ เนื่ องต่ อไปในชี วิตของบรรดาศิ ษย์ ใ นพระ ศาสนจักรแรกเริ่ม พระวรสารนักบุญลูกา กล่าวถึงพระจิตเจ้าจ�ำนวน 17 ครั้งและ หนังสือกิจการอัครสาวกกล่าวถึงพระจิตเจ้า จ�ำนวน 57 ครัง้ พระจิ ต เจ้ า มี บ ทบาทในเหตุ ก ารณ์ ส�ำคัญในทุกช่วงของประวัตศิ าสตร์แห่งความ รอด ตัง้ แต่ทตู สวรรค์แจ้งข่าวการบังเกิดของ ยอห์นผูท้ ำ� พิธลี า้ งและของพระเยซูเจ้า “เขา จะรับพระจิตเจ้าอย่างเต็มเปี่ยมตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์ของมารดา” (1:15) “พระจิตเจ้าจะ เสด็จมาเหนือท่านและพระอานุภาพของพระ ผูส้ งู สุดจะแผ่เงาปกคลุมท่าน” (1:35) “นาง เอลีซาเบทได้รับพระจิตเจ้าเต็มเปี่ยม” (1: 41) “เศคาริยาห์ผเู้ ป็นบิดาได้รบั พระจิตเจ้า เต็ ม เปี ่ ย ม” (1:67) พระจิ ต เจ้ า สถิ ต กั บ สิเมโอน พระจิตเจ้าทรงน�ำสิเมโอนเข้าไปใน พระวิ ห าร (2:25,27) ค� ำ ประกาศของ ยอห์นผูท้ ำ� พิธลี า้ ง “เขาจะท�ำพิธลี า้ งให้ทา่ น เดชะพระจิตเจ้า” (3:16) พระเยซูเจ้าทรง
76 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 รับพิธีล้าง “พระจิตเจ้าได้เสด็จลงมาเหนือ พระองค์ มีรปู ร่างทีเ่ ห็นได้ดจุ นกพิราบ” (3: 22) พระเยซูเจ้าทรงได้รบั พระจิตเจ้า พระ จิตทรงน�ำพระองค์ไปยังถิน่ ทุรกันดาร (4:1) พระเยซูเจ้าเสด็จกลับไปแคว้นกาลิลีพร้อม ด้วยพระอานุภาพของพระจิตทรงเริ่มเทศน์ สอน (4:14) พระจิตเจ้ามีบทบาทในพระ ภารกิ จ ของพระเยซู เ จ้ า “พระจิ ต ของ พระเจ้ า ทรงอยู ่ เ หนื อ ข้ า พเจ้ า เพราะ พระองค์ ท รงเจิ ม ข้ า พเจ้ า ไว้ ให้ ป ระกาศ ข่ า วดี แ ก่ ค นยากจน ทรงส่ ง ข้ า พเจ้ า ไป ประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจ�ำ คืน สายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูก กดขี่ ใ ห้ เ ป็ น อิ ส ระ ประกาศปี แ ห่ ง ความ โปรดปรานจากพระเจ้า” (4:18-19) “ใน วันนี้ข้อความจากพระคัมภีร์ที่ท่านได้ยินกับ หูอยูน่ เี้ ป็นความจริงแล้ว” (4:21) พระเยซู เจ้าทรงปลาบปลื้มพระทัยเดชะพระจิตเจ้า (10:21) ค�ำอธิษฐานภาวนาทีไ่ ด้ผล “พระ บิดาในสวรรค์จะไม่ประทานพระจิตเจ้าแก่ ผู้ที่ทูลขอพระองค์มากกว่านั้นหรือ” (11: 13) “ผูท้ กี่ ล่าวร้ายต่อพระจิตเจ้าจะไม่ได้รบั การอภัยเลย” (12:10) “พระจิตเจ้าจะทรง สอนท่ า นในเวลานั้ นว่ า จะต้ อ งพู ด อะไร” (12:12) ค�ำแนะน�ำสุดท้ายของพระเยซูเจ้า แก่บรรดาอัครสาวกคือให้คอยรับพระจิต เจ้า “บัดนี้เราก�ำลังจะส่งพระผู้ที่พระบิดา ทรงสัญญาไว้มาเหนือท่าน เพราะฉะนั้น ท่านจงคอยอยู่ในกรุงจนกว่าท่านจะได้รับ
พระอานุภาพจากเบื้องบนปกคลุมไว้” (ลก 24:49; กจ 1:4) นักบุญลูกาให้ความส�ำคัญกับบทบาท ของพระจิตเจ้ามาก เพราะโครงสร้างของ หนังสือกิจการอัครสาวกสามารถสรุปได้ใน พระด�ำรัสของพระคริสตเจ้าคือ “พระจิตเจ้า จะเสด็จลงมาเหนือท่าน และท่านจะรับ อานุ ภ าพเพื่ อ จะเป็ น พยานถึ ง เราในกรุ ง เยรูซาเล็ม ทัว่ แคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรีย จนถึงสุดปลายแผ่นดิน” (1:8) การขยาย ตัวของพระศาสนจักรเป็นผลของการกระท�ำ อย่างต่อเนือ่ งของพระจิตเจ้า ดังนัน้ หนังสือ กิจการอัครสาวกจึงได้ชื่อว่า “พระวรสาร ของพระจิตเจ้า” เพราะเล่าถึงกิจการทีพ่ ระ จิตเจ้าทรงบันดาลความชืน่ ชมยินดีและความ พิศวงในกิจการของพระเจ้าอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การเริ่มต้นของพระศาสนจักรเมื่อพระ จิตเจ้าเสด็จมายังบรรดาศิษย์ของพระเยซูเจ้า ในวันเปนเตกอสเต (2:1-13) เปโตรใน ฐานะผูน้ ำ� กลุม่ อัครสาวกได้เริม่ ประกาศข่าวดี กับประชาชนโดยชี้ให้เห็นว่า พระสัญญาที่ พระเจ้ า ท� ำ กั บ ประชากรชาวอิ ส ราเอลได้ ส�ำเร็จสมบูรณ์ในพระเยซูคริสตเจ้า บรรดา อัครสาวกเป็นพยานในเรื่องนี้และมีผู้กลับ ใจมาเชื่ อ และรั บ ศี ล ล้ า งบาปในวั น นั้ น ประมาณสามพั น คน (2:14-41) การ เติ บ โตของกลุ ่ ม คริ ส ตชนแรกเริ่ ม ในกรุ ง เยรูซาเล็มและการปฏิบัติภารกิจของบรรดา อัครสาวกในสมัยแรก การเริม่ ประกาศข่าวดี
การอบรมศิษย์ของพระเยซูเจ้า ตามพระวรสารนักบุญลูกาและหนังสือกิจการอัครสาวก
นอกกรุงเยรูซาเล็ม ฟิลิปประกาศข่าวดีใน แคว้นสะมาเรีย (8:4-25) การประกาศ ข่ า วดี แ ละการท�ำงานธรรมฑูตของบรรดา ศิษย์ของพระเยซูเจ้า เช่น เปโตร เปาโล บารนาบัส เป็นต้น ท�ำให้ข่าวดีได้ประกาศ ไปจน “สุดปลายแผ่นดิน” จึงสามารถสรุป บทบาทของพระจิตเจ้าในการประกาศข่าวดี ได้ดังนี้ 1. พระจิตเจ้าประทานพระพรหลาย ประการ(1 คร 12:4ฯ) ซึ่งเป็นประกันว่า ข่าวสารนั้นมาจากพระเจ้า พระพรเช่นนี้ ได้แก่ การพูดภาษาทีไ่ ม่มใี ครเข้าใจ (กจ 2:1, 4, 6, 11; 10:46) การท� ำ อั ศ จรรย์ (10:38) การกล่าวท�ำนายเหตุการณ์ล่วง หน้า (11:27) ปรีชาญาณ(6: 3, 5, 10) 2. พระจิตเจ้าประทานพละก�ำลังให้ ประกาศว่าพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระเมสสิ ยาห์โดยไม่หวั่นเกรงต่อการเบียดเบียน (4: 8, 31; 5:32; 6:10) ให้ประกาศพระ วาจา(8:29, 39 10:19, 44) ให้เป็น พยานถึงพระองค์ (1: 8) 3. พระจิตเจ้าทรงน�ำพระศาสนจักร ในการตัดสินใจครัง้ ส�ำคัญๆ เช่น การเลือก ผู้แทนที่ยูดาส (1:15-26) การรับชนต่าง ชาติเข้าพระศาสนจักร (8:29, 40; 10:19, 44-47; 11:12-16; 15:8) โดยไม่บังคับ ให้ ป ฏิ บั ติ ต ามธรรมบั ญ ญั ติ (15:28) ภารกิจของนักบุญเปาโลท่ามกลางคนต่าง ศาสนา (13:2ฯ; 16:6-7; 19:1) เป็นต้น
77
มีการรับพระจิตเจ้าในศีลล้างบาปเพือ่ รับการ อภัยบาป (2:38; 8:15-19; 9:17-18) และมี ก ารปกมื อ เพื่ อ เชิ ญ พระจิ ต เจ้ า มา ประทับอยู่กับผู้ที่ได้รับการปกมือ(19:1-6) 4. ตัวอย่างศิษย์ที่ดีของพระเยซูเจ้า บางคนในพระวรสารนั ก บุ ญ ลู ก า และ หนังสือกิจการอัครสาวก นั ก บุ ญ เปโตรได้ ท� ำ หน้ า ที่ ใ นฐานะ เป็น ผู้น�ำของกลุ่มอัครสาวกท่านได้ปราศรัย ต่อหน้าประชาชนมีผู้กลับใจมาเชื่อจ�ำนวน มากและท่านได้ช่วยให้ภารกิจการประกาศ ข่าวดีของพระศาสนจักรด�ำเนินไปด้วยดีภาย ใต้ ก ารน� ำ ของพระจิ ต เจ้ า (กจ 2:1436; 3:12-26; 4:7-12; 10:3447; 11:4-18; 15:7-12) นั ก บุ ญ เปาโลได้รับเลือกให้ “เป็น เครื่องมือเพื่อประกาศข่าวดีแก่นานาชาติ” (กจ 9:15; 22:1 5;26: 17) ท่านมี ประสบการณ์การพบปะกับพระเยซูคริสตเจ้า ผู้กลับคืนพระชนมชีพขณะเดินทางไปเมือง ดามั ส กั ส เพื่ อ ตามจั บ คริ ส ตชน ท่ า นได้ เปลี่ยนแปลงชีวิตของท่านอย่างมาก หลัง จากภาวนาเตรียมตัวสามวัน ท่านได้รับศีล ล้างบาปและรับการปกมือรับพระจิตเจ้าจาก อานาเนี ย หลั ง การกลั บ ใจเปาโลได้ เ ริ่ ม ประกาศเป็นพยานยืนยันถึงพระเยซูคริสต เจ้ า ผู ้ ก ลั บ คื น ชี พ ในที่ ต ่ า งๆ เริ่ ม ที่ เ มื อ ง ดามัสกัส สิบปีต่อมาหลังจากการกลับใจ ท่านได้ไปกรุงเยรูซาเล็มพบปะกับบรรดาอัคร
78 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2016/2559 สาวก (กท 1:17-2:2) ท่ า นได้ รั บ การ ยอมรั บ จากผู ้ น� ำ พระศาสนจั ก รให้ เ ป็ น ผู ้ ประกาศข่าวดีแก่ผทู้ ไี่ ม่ได้เป็นชาวยิว เปาโล ได้เดินทางเพื่อปฏิบัติงานธรรมฑูตประกาศ ข่าวดีสามครัง้ และตัง้ กลุม่ คริสตชนและช่วยให้ กลุ่มคริสตชนเติบโตเข้มแข็ง (14:21-22; 15:30-35; 18:23) ในช่วงสุดท้ายของ ชีวิตท่านได้ประกาศข่าวดีขณะถูกจองจ�ำที่ กรุงโรมสองปี ข่าวดีจึงได้ประกาศไปจนสุด ปลายแผ่นดิน เพราะกรุงโรมคือนครหลวง ของโลกในสมัยนัน้ เปาโลก้าวหน้าด้านชีวติ จิต ท่านสามารถกล่าวได้ว่า “ข้าพเจ้ามี ชีวิตอยู่ มิใช่ตัวข้าพเจ้าอีกต่อไป แต่พระ คริ ส ตเจ้ า ทรงด�ำรงชีวิตอยู่ในตัว ข้า พเจ้า ” (กท 2:20) บั้ น ปลายของชี วิ ต เปาโล สามารถกล่าวได้ว่า “ข้าฯ ได้ต่อสู้มาอย่าง ดีแล้ว ข้าฯ วิ่งมาถึงเส้นชัยแล้ว ข้าฯ ได้ รักษาความเชื่อไว้แล้ว” (2 ทธ 4:7-8) บรรดาสตรีทเ่ี ป็นศิษย์ของพระเยซูเจ้า (ลก 8:1-3) ตามขนบประเพณีของศาสนา ยิวอาจารย์ของศาสนายิวจะไม่รับสตรีเป็น
2
ศิษย์2 แต่พระเยซูเจ้าทรงรับบรรดาสตรีเป็น ศิษย์ของพระองค์ เมือ่ พระเยซูเจ้าทรงถูกตรึง บนไม้กางเขนและสิ้นพระชนม์ เนื่องจาก ความจงรักภักดีต่อพระเยซูเจ้าบรรดาสตรี จากแคว้ น กาลิ ลี ก ลุ ่ ม นี้ ไ ด้ ช ่ ว ยเหลื อ การ ประกอบพระภารกิจของพระองค์ และเป็น พยานถึงการสิ้นพระชนม์ การฝังพระศพ และการกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า บรรดาสตรี ก ลุ ่ ม นี้ จึ ง มี ส ่ ว นส� ำ คั ญ ในการ ถ่ายทอดข่าวดีแห่งรหัสธรรมปัสกา บรรดา สตรีได้มสี ว่ นกับบรรดาอัครสาวกภาวนาเพือ่ เตรี ย มรั บ พระจิ ต “ทุ ก คนร่ ว มอธิ ษ ฐาน ภาวนาสม�่ ำ เสมอเป็ น น�้ ำ หนึ่ ง ใจเดี ย วกั น พร้ อ มกั บ บรรดาสตรี รวมทั้ ง มารี ย ์ พระมารดาของพระเยซูเจ้าและพี่น้องของ พระองค์” (กจ 1:14) พระนางมารี ย ์ เ ป็ น ศิ ษ ย์ ที่ ดี ที่ สุ ด พระนางมารียเ์ ป็นพระมารดาผูใ้ ห้กำ� เนิดพระ เยซูเจ้าและเป็น ผู้ฟังพระวาจาของพระเจ้า และปฏิบัติตามด้วย พระนางจึงเป็นศิษย์ที่ ดีพร้อมเป็นตัวอย่างดีสำ� หรับคริสตชนทุกคน
R. Schnackrg, Jesus in the Gospel, Louisville 1993 p.207.
การอบรมศิษย์ของพระเยซูเจ้า ตามพระวรสารนักบุญลูกาและหนังสือกิจการอัครสาวก
79
บรรณานุกรม Downey, Michael. “The New Dictionary Catholic Spirituality.” Minnesota : the Liturgical Press, 1993. Fitzmyer, Joseph, A. “The Gospel According to Luke I-IX, X-XXIV.” New York: Doubleday, 1985. Martini, Carlo, M. “Ministers of the Gospel” Slough: St. Paul, 1983. Martini, Carlo, M. “The Testinony of St. Paul” Slough: St. Paul, 1983. Munck, Johannes. “The Acts of the Apostles.” New York : Doubleday, 1967. The New Interpreter’s Bible : A Commentary in Twelve Volumes Vol IX, Luke-John. Nashville: Abingdon Prees, 1994. Brown, Raymond E. “The New Jerome Biblical Commentary” London: Groffrey Chapman, 1989. Ryder, Andrew. “Following Christ: Models of Discipleship in the New Testament.” Wisconsin: Sheed & Ward, 1999.