วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2018/2561

Page 1



วารสารแสงธรรมปริทัศน์

วารสาร ราย 4 เดือน ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 เจ้าของ วิทยาลัยแสงธรรม คณะที่ปรึกษา อธิการบดี  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ  คณบดีคณะมนุษยศาสตร์  คณบดีคณะศาสนศาสตร์ ผู้อำ�นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ ผู้อำ�นวยการศูนย์วิจัยค้นคว้าศาสนาและวัฒนธรรม คณะผู้ทรงคุณวุฒิ หมวดกฎหมายพระศาสนจักร บาทหลวง ผศ.ดร.ไพยง มนิราช หมวดกระแสเรียก บาทหลวงอดิศักดิ์ พรงาม หมวดคำ�สอน มุขนายกวีระ อาภรณ์รัตน์ บาทหลวง ผศ.ดร.วัชศิลป์ กฤษเจริญ หมวดจริยธรรม บาทหลวง ดร.เชิดชัย เลิศจิตรเลขา, M.I. หมวดชีวิตด้านจิตใจ บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกลู หมวดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร บาทหลวงธีรพล กอบวิทยากุล บาทหลวง ดร.สุรชัย ชุ่มศรีพันธุ์ หมวดปรัชญา บาทหลวง ดร.ออกัสติน สุกีโย ปิโตโย, S.J. บาทหลวง ดร.วีรศักดิ์ วนาโรจน์สุวิช หมวดพระคัมภีร ์ มุขนายก ดร.ลือชัย ธาตุวิสัย บาทหลวง ผศ.ทัศไนย์ คมกฤส บาทหลวงสมเกียรติ ตรีนิกร หมวดพระสัจธรรม บาทหลวงวิรัช นารินรักษ์ บาทหลวงชาย ขันทะโฮม, C.Ss.R. บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B. หมวดพิธีกรรม บาทหลวงเคลาดิโอ เบร์ตุชอร์, O.M.I. บาทหลวงอนุสรณ์ แก้วขจร บาทหลวงเชษฐา ไชยเดช หมวดศาสนสัมพันธ์และคริสตสัมพันธ์ มุขนายกชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ บาทหลวงซิกมูนด์ แลส์เช็นสกี้, S.J. บรรณาธิการบริหาร บาทหลวงเจริญ ว่องประชานุกูล บรรณาธิการสร้างสรรค์ อาจารย์พีรพัฒน์ ถวิลรัตน์ กองบรรณาธิการ อาจารย์สุจิตตรา จันทร์ลอย  นางสาวสุกานดา วงศ์เพ็ญ นางสาวพิมพ์ฤทัย วิชัยธรรมคุณ จัดพิมพ์โดย ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการในด้านเทววิทยาและปรัชญา 2. เพื่อเป็นสื่อกลางความรู้ และความสัมพันธ์อันดีทางด้านศาสนา กำ�หนดออก ปีละ 3 ฉบับ ประจำ�เดือนมกราคม-เมษายน, พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม ค่าบำ�รุงสมาชิก สมาชิกรายปี ปีละ 300 บาท (จำ�นวน 3 ฉบับ/ปี) จำ�หน่ายปลีก ราคาฉบับละ 120 บาท สำ�หรับสมาชิกรายปี สามารถส่งเงินค่าบำ�รุงสมาชิกเป็นเงินสดหรือโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำ�กัด (มหาชน) สาขาเทสโก้ โลตัส สามพราน นครปฐม ชื่อบัญชี นายอภิสิทธิ์ กฤษเจริญ เลขที่บัญชี 403-613134-4 โดยกรุณาส่งสำ�เนาใบนำ�เข้าบัญชี (Pay-in-Slip) พร้อมระบุ ชื่อ-ชื่อสกุลและหมายเลขสมาชิก (ถ้ามี) มาทางโทรสาร หรือ โทร.แจ้งการนำ�เงินเข้าบัญชีมาที่ ฝ่ายจัดทำ�วารสารแสงธรรมปริทัศน์ โทร. 0-2429-0100 ต่อ 624 โทรสาร 0-2429-0819


บ ท บ ร ร ณ า ธิ ก า ร เมื่อพูดถึงความยุติธรรม เรานึกถึงอะไรกันครับ.... อาจจะมีค�ำตอบมากมายที่ปรากฏขึ้น ในใจของเรา ค�ำตอบเหล่านั้นส่งผลต่อความคิดความรู้สึกของเราหรือไม่ หรือชวนให้เรานึกถึง เหตุการณ์ในอดีต ที่ท�ำให้เรารู้สึกถึงความอยุติธรรมบ้างหรือเปล่า ถ้ามี เราอาจจะมีบางค�ำถาม ที่ยังค้างคาใจ เช่น “ความยุติธรรมคืออะไร” “ความยุติธรรมมีจริงหรือไม่” ฯลฯ ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และให้ความส�ำคัญกับผลประโยชน์ ความคุ้มค่า ทางเศรษฐกิจ จนดูเหมือนความรวดเร็ว ความคุม้ ค่าจะส�ำคัญกว่าความดีงาม ในโลกทีค่ นท�ำไม่ดี กลับได้ดี คนท�ำดีกลับถูกกลั่นแกล้ง ในโลกที่คนสงสัยในความดีงาม ในความยุติธรรมที่แท้จริง ในโลกที่อาจจะไม่ได้ดั่งใจของใครหลายคน วันนี้ วารสารแสงธรรมปริทัศน์อยากจะเชิญชวน ทุกท่านกลับมามองถึงคุณค่า ถึงความดีงามในชีวิต โดยเฉพาะประเด็นความยุติธรรม ร่วมกับ นักเขียนผูท้ รงคุณวุฒปิ ระจ�ำฉบับ ทีอ่ าจช่วยให้ทกุ ท่านได้กลับมาทบทวน ไตร่ตรอง ท�ำความเข้าใจ ประสบการณ์ชีวิตของตน เพื่อจะได้ก้าวข้ามความขัดแย้งต่างๆ ในใจ ไปสู่ความยุติธรรมที่แท้จริง เพราะความยุตธิ รรมจะเกิดขึน้ ไม่ได้ ถ้าใจของท่านยังวุน่ วาย และความยุตธิ รรมจะเกิดขึน้ ในโลกไม่ได้ ถ้าท่านไม่เป็นส่วนหนึ่งของการเริ่มสร้างความยุติธรรม เพราะความยุติธรรม... เริ่มต้น...จากภายในใจของเราแต่ละคน

บรรณาธิการสร้างสรรค์

ข่าวประชาสัมพันธ์... ขอเชิญชวนส่งบทความเพือ่ ตีพมิ พ์ลงในวารสารแสงธรรมปริทศั น์ ฉบับต่อไปเดือนกันยายน - ธันวาคม 2561 ในหัวข้อ “ชีวิตหลังความตาย” ส่งต้นฉบับได้ท ี่ E-mail: pi_santo@yahoo.com หรือ E-mail: sukanda.1984@gmail.com ภายในวันที 30 ตุลาคม 2561 และขอขอบคุณล่วงหน้าสำ�หรับทุกบทความทีส่ ง่ มาร่วมแบ่งปัน

บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารแสงธรรมปริทัศน์ ขอสงวนสิทธิ์ตามกฎหมาย ในกรณีที่ต้องการบทความไปเผยแพร่ กรุณาแจ้งขออนุญาตอย่างเป็นทางการ


Content

ปีท ี่ 42 ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 S a e n g t h a m  J o u r n a l

4 15 29 41 55

ความยุติธรรม พระสังฆราชกิตติคุณ ลอเลนซ์ เทียนชัย สมานจิต

ชีวิตกับความยุติธรรม

ศาสตราจารย์ ดร.สมภาร พรมทา

“จงสวมความชอบธรรมเป็นเสื้อเกราะ” (อฟ 6:14) บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B.

ความยุติธรรม

ศาสตราจารย์ กีรติ บุญเจือ, ราชบัณฑิต

กางเขนของพระคริสตเจ้า คือความเมตตาและความยุติธรรมของพระเจ้า บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์, C.S.S.

63 70 78 91 100

ความยุติธรรมแท้ไม่ก้มหัวให้กับความรุนแรง บาทหลวงปรีชา ธรรมนิยม

Justice: Starting on The Ground Floor The Dialogues of Michael. Rev. Patrick A Connaughton

ความยุติธรรมกับความเอื้ออาทร ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์

เสียงเรียกให้เป็นผู้เพียบพร้อม/ผู้ศักดิ์สิทธิ์ บาทหลวงปรีชา ธรรมนิยม

15 สิงหาคม สมโภชพระนางมารีย ์ รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ บาทหลวงเชษฐา ไชยเดช

106

แนะน�ำหนังสือ

บาทหลวง ผศ.สมชัย พิทยาพงศ์พร และ บาทหลวงเชษฐา ไชยเดช


ความ

พระสังฆราชกิตติคุณ ลอเรนซ์ เทียนชัย สมานจิต

สถานการณ์ในโลก คนจ�ำนวนมากใน โลกยังเชื่อเรื่อง “กฎแห่งกรรม” หรือ “กรรม สนองกรรม” คือ ท�ำดีได้ดี ท�ำชั่วได้ชั่ว แต่ก็ มีบางคนค้านว่า “ท�ำดีได้ดมี ที ไี่ หน ท�ำชัว่ ได้ดี มีถมไป” เลยไม่อยากท�ำดี ปล่อยตัวท�ำชั่ว ตามเขา ศาลได้ชื่อว่าสถิตยุติธรรม บางครั้ง บางกรณีก็เอียงไม่เป็นท่าเหมือนกัน ไม่มี ความยุตธิ รรม เป็นทีพ่ งึ่ ไม่ได้ ในโลกของเรา ยังมีขโมยมีปล้น ไม่เคารพสิทธิของบุคคล และกรร มสิ ท ธิ์ ใ นทรั พ ย์ สิ น ของผู ้ อื่ น มีคอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง ซึ่งรัฐบาล ก็พยายามปราบและก�ำจัดให้สิ้น ไม่ทราบ อดีตประมุขสังฆมณฑลจันทบุรี

จะได้ผลแค่ไหน ? เหมือนหนึง่ ว่ามนุษย์เราก็ ไม่กลัวบาป ! พระคุณเจ้าสงวน สุวรรณศรี เคยเล่า ให้ฟงั ว่า เมือ่ ครัง้ เป็นเจ้าอาวาสวัดปราจีนบุรี ถูกต�ำรวจกล่าวหาว่าเป็นแนวที่ห้า ฉายไฟ ให้เรือบิน ฝรั่งเศสมาทิ้งระเบิดที่ค่ายทหาร จั ง หวั ด ปราจี น บุ รี ร ะหว่ า งกรณี พิ พ าท อินโดจีน ก็ถูกจ�ำคุกสองปี ระหว่างที่อยู่ใน คุ ก  มี นั ก โทษคนหนึ่ ง ถามว่ า  “บาทหลวง สมมุติว่าท่านจะไปเยี่ยมบ้านคนๆ หนึ่ง ไป ถึงห้องรับแขก เจ้าของบ้านยังไม่มา ก็เห็นมี ธนบัตรปึกหนึง่ อยูท่ โี่ ต๊ะรับแขก บาทหลวงจะ

(หมวดคำ�สอน)

ยุติธรรม


ความยุติธรรม

ท�ำอย่างไร?” บาทหลวงก็ตอบว่า “เงินไม่ใช่ ของฉั น ฉั นไม่มีสิทธิ์แ ตะต้อ งเอาไปไหน” นักโทษคนนัน้ ตอบว่า “บาทหลวงโง่ ! ถ้าเป็น เขา เขาจะคว้ า ธนบั ต รปึ ก นั้ น หนี ไ ปเลย” นี่แหละ มโนธรรมของนักโทษ ! เมื่อมีการ ปล่อยนักโทษแต่ละครั้ง ไม่ทราบว่านักโทษ เหล่านั้นกลับตัวกลับใจ เปลี่ยนแปลงชีวิต ใหม่เป็นคนดีเพียงใด ! คงจะต้องมีมาตรการ กวดขันกันมากๆ มิฉะนั้นออกมาก็น�ำความ เดือดร้อนมาให้สังคมต่อไป คนญีป่ นุ่ ได้ชอื่ ว่าเป็นคนมีระเบียบวินยั ยืนเข้าแถวขึ้นรถไม่แย่งกัน เคารพสิทธิของ กันและกัน เรื่องนี้ต้องมีการอบรมบ่มนิสัย ตั้งแต่เล็กๆ ที่บ้าน ในเยอรมัน เคยยืนรอ รถไฟก็คอยดูกระเป๋าด้วยความระแวงว่าจะมี ใครมาฉวยไปหรือเปล่า แต่พลเมืองของเขา บอกว่า ไม่ต้องกลัวหรอก บ้านเมืองของเขา ไม่มีขโมย เขาอบรมกันดีในครอบครัว ที่กล่าวกันว่า “ท�ำดีได้ดี ท�ำชั่วได้ชั่ว” เป็นจริงแค่ไหน ? ในโลกนี้หรือในโลกหน้า พระเจ้ า ซึ่ ง เป็ น องค์ ค วามดี   ความเมตตา กรุณาหาที่สุดมิได้ ก็เป็นองค์ความยุติธรรม หาที่ สุ ด มิ ไ ด้ เ ช่ น กั น  ทรงเป็ น ผู ้ ต อบแทน การกระท�ำของแต่ละคน ตามที่มีกล่าวไว้ใน พระคั ม ภี ร ์ ว ่ า  “พระเจ้ า ทรงตอบแทนแต่ ละคนตามการกระท�ำของแต่ละคน” และ ค� ำ สอนของพระศาสนจักรในเอกสารของ สภาสังคายนาวาติกันที่สอง “GAUDIUM ET SPES (ความชื่ น ชมและความหวั ง ):

5

พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้” (7 ธันวาคม 1965) และค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (18 สิงหาคม 1997) I พระคัมภีร์ – พันธสัญญาเดิม ก. ความยุติธรรมของมนุษย์ - อสย 32:1: “กษั ต ริ ย ์ พ ระองค์ หนึง่ จะครองราชย์ดว้ ยความชอบธรรม และเจ้ า นายจะปกครองด้ ว ยความ ยุติธรรม” - อสค 18:5: “ถ้าคนหนึ่งเป็น ผู้ชอบ ธรรม ปฏิบัติความถูกต้องและความ ยุติธรรม ไม่ล่วงเกินภรรยาของเพื่อน บ้าน ไม่ขม่ เหงผูอ้ นื่ ไม่ลกั ทรัพย์คนนัน้ ก็เป็นผู้ชอบธรรม” - อสค 18:20: “ผู้ชอบธรรมจะได้รับ รางวัลความชอบธรรมของตน คนชั่ว ร้ายจะได้รับผลร้ายจากความชั่วร้าย ของตน” - อสค 18:21: “แต่ ถ ้ า คนชั่ ว ร้ า ย กลั บ ใจไม่ ท� ำ บาปทุ กอย่ า งที่ เ คยท� ำ และกลับมาปฏิบัติความถูกต้องและ ยุตธิ รรม เขาจะมีชวี ติ เพราะความชอบ ธรรม” - สดด 143:2: “เพราะไม่มีผู้มีชีวิต คนใด เป็นผู้ชอบธรรม” - ลนต 19:15, 16: “ความยุติธรรม เรียกร้องให้ผู้พิพากษาปฏิบัติหน้าที่ อย่างครบครัน หลีกหนีการเบียดเบียน


6

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

คนจน ท่านจะต้องไม่ตัดสินคดีอย่าง อยุ ติ ธ รรม ท่ า นจะต้ อ งไม่ ล� ำ เอี ย ง เข้ า ข้ า งคนยากจนหรื อ คนมี อ� ำ นาจ แต่จงตัดสินคดีของเพื่อนบ้านอย่าง ยุติธรรม” - สภษ 8:20: “ดิ ฉั น เดิ น ในหนทาง ความชอบธรรมในวิ ถี ท างความ ยุติธรรม” ข้อสังเกต พระคัมภีร:์  ใช้ความยุตริ รม เป็นความชอบธรรม หรือเป็นความถูกต้อง เป็นความซื่อสัตย์ต่อกฎหมาย, ไม่มีที่ติ เป็น บ�ำเหน็จตอบแทน เป็นความศักดิ์สิทธิ์ ตรง กันข้ามกับบาป เป็นสิทธิแ์ ละความเสมอภาค เป็นความประพฤติที่สบพระทัยพระเจ้า ข. ความยุตธิ รรมของพระเจ้า พระเจ้า ใช้ ก ฎธรรมชาติกับ คนต่า งชาติ  และพันธสัญญากับชาติอิสราเอล • ลงโทษศัตรูของอิสราเอล - อสย 56:1: พระยาเวห์ ต รั ส ดั ง นี้ ว่า “จงรักษาความถูกต้องและปฏิบัติ ความชอบธรรม เพราะความรอดของ เราใกล้ เ ข้ า มาแล้ ว  และความชอบ ธรรมของเราก�ำลังจะถูกเปิดเผย” • ลงโทษอิสราเอลเมื่อท�ำบาป - ปฐก 4:14: ใครฆ่ากาอินจะถูกแก้ แค้นเป็นเจ็ดเท่า และพระเจ้าทรงท�ำ เครื่องหมายไว้ที่ตัวกาอิน เพื่อคนที่ พบไม่ให้ฆ่าเขา ความยุติธรรมของ พระเจ้ากลายเป็นความเมตตาและ การให้อภัย

- ปฐก 18:25-32: อับราฮัมทูลถาม พระยาเวห์วา่  “พระองค์จะทรงท�ำลาย ผูช้ อบธรรมพร้อมกับคนอธรรมทีเดียว หรือ ถ้ามีคนชอบธรรมอยู่ห้าสิบคน ในเมืองนั้น พระองค์จะทรงท�ำลาย เมืองนั้นหรือ...” อับราฮัมต่อรองกับ พระเจ้าจากห้าสิบคนจนเหลือสิบคน... พระองค์ตรัสตอบว่า “เราจะไม่ทำ� ลาย เมืองนั้น เพราะเห็นแก่สิบคน” - สดด 37:17, 18, 28: พระยาเวห์ ย่อมทรงค�้ำจุนคนชอบธรรม, ทรงเอา พระทัยใส่ชีวิตของผู้ชอบธรรม, พระ ยาเวห์ทรงรักความยุติธรรม - สดด 51:16-17 : บางครั้งความ ยุติธรรมของพระเจ้ามีต่อมนุษย์โดยที่ มนุษย์ไม่สมจะได้รับ นั่นคือ พระเจ้า ให้อภัยบาปของมนุษย์ “พระองค์ไม่ พอพระทัยเครื่องบูชา ถ้าข้าพเจ้าจะ ถวายเครือ่ งบูชา พระองค์จะไม่ทรงรับ ข้าแต่พระเจ้า เครื่องบูชาของข้าพเจ้า คือดวงจิตทีเ่ ป็นทุกข์... พระองค์ไม่ทรง รังเกียจใจที่เป็นทุกข์และถ่อมตน” - อสย 61:3, 10-11 : ความยุตธิ รรม ของพระเจ้ า ยั ง หมายถึ ง ความรอด “องค์พระผู้เป็นเจ้าประทานเสื้อผ้า ชุดวันฉลองแทนเสื้อผ้าไว้ทุกข์แทน จิตใจที่เศร้าโศก เขาทั้งหลายจะได้ ชือ่ ว่า “ผูช้ อบธรรม” พระองค์ประทาน ความรอดแก่ขา้ พเจ้า... ประทานความ ชอบธรรมให้ข้าพเจ้า”


ความยุติธรรม

- ฉธบ 33:21 : “เมื่ อ บรรดาผู ้ น� ำ ประชากรมาชุมนุมกัน เขาปฏิบตั ติ าม ความชอบธรรมของพระยาเวห์ และ ตามข้ อ ก� ำ หนดของพระองค์ ต ่ อ อิสราเอล” พระคัมภีร์ – พันธสัญญาใหม่ ก. ความยุติธรรมของมนุษย์ - มธ 5:20: “เราบอกท่านทัง้ หลายว่า ถ้าความชอบธรรมของท่านไม่ดไี ปกว่า ความชอบธรรมของบรรดาธรรมาจารย์ และชาวฟาริสีแล้ว ท่านจะเข้าอาณาจักรสวรรค์มิได้เลย” - มธ 20:28: “ท่ า นก็ เ ช่ น เดี ย วกั น ภายนอกปรากฏแก่มนุษย์ว่าเป็นคน ชอบธรรม แต่ภายในเต็มไปด้วยความ หน้าซื่อใจคดและความอธรรม” - ลก 1:5-6: “สมณะผู้หนึ่งชื่อเศคาริยาห์ มีภรรยาชื่อเอลีซาเบธ ทั้งสอง คนเป็น ผู้ชอบธรรมเฉพาะพระพักตร์ พระเจ้า ปฏิบตั ติ ามบทบัญญัตแิ ละข้อ ก�ำหนดทุกข้อขององค์พระผู้เป็นเจ้า โดยไม่มีข้อต�ำหนิ” (บรรดาประกาศก ถือว่าเป็นผู้ชอบธรรม) - กท 2:16, 21: “เรารู้ว่ามนุษย์มิได้ เป็น ผู้ชอบธรรมจากการปฏิบัติตาม ธรรมบัญญัติ แต่เป็นผู้ชอบธรรมจาก ความเชื่อในพระคริสตเยซูเท่านั้น... เพราะไม่ มี ม นุ ษ ย์ ค นใดเป็ น ผู ้ ช อบ

7

ธรรมจากการปฏิบตั ติ ามพระบัญญัต.ิ .. ถ้าเรารับความชอบธรรมโดยปฏิบัติ ตามพระบัญญัติ พระคริสตเจ้าคงสิ้น พระชนม์โดยเปล่าประโยชน์” ข. ความยุติธรรมของพระเจ้า -   ม ธ   6:33:  “ จ ง แส วง ห า พระ อาณาจักรของพระเจ้าและความชอบ ธรรมของพระองค์ก่อน แล้วพระองค์ จะเพิ่มทุกสิ่งเหล่านี้ให้” - มธ 22:20: “ของของซีซาร์จงคืนให้ ซีซาร์ และของของพระเจ้าจงคืนให้ พระเจ้าเถิด” (อย่าคิดว่าเรามาลบล้าง ธรรมบัญญัติหรือค�ำสอนของบรรดา ประกาศก เรามิได้มาเพื่อลบล้างพระ บั ญ ญั ติ   แต่ ม าปรั บ ปรุ ง ให้ ส มบู ร ณ์ พระองค์ไม่ทรงพอพระทัยในความ ยุ ติ ธ รรม แต่ พ อพระทั ย ในความรั ก ความเมตตา การให้อภัย บัญญัติใหม่ สั่ ง ให้ เ รารั ก ผู ้ อื่ น เหมื อ นรั ก ตนเอง พระองค์ทรงประทานบัญญัติใหม่แก่ เรา “จงรักกันเหมือนที่พระทรงรักเรา หรือรักเขา”) - ลก 16:15 : “ท่านทั้งหลายคิดว่า ท่านเป็น ผู้ชอบธรรมต่อหน้ามนุษย์ แต่พระเจ้าทรงล่วงรู้ใจของท่าน สิ่งที่ มนุ ษ ย์ ย กย่ อ งเป็ น สิ่ ง ที่ น ่ า รั ง เกี ย จ เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า” - รม 1:1-17: เพราะความเทีย่ งธรรม ที่พระเจ้าช่วยให้รอดได้ถูกเปิดเผยใน


8

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ข่าวดีนี้ ความเที่ยงธรรมดังกล่าวขึ้น อยูก่ บั ความเชือ่  และน�ำไปสูค่ วามเชือ่ ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า “ผู้ชอบ ธรรมจะมีชีวิตอาศัยความเชื่อ” - รม 1:18: “พระเจ้าจากสวรรค์ทรง แสดงให้มนุษย์เห็นการลงโทษ ความ ไม่เคารพนับถือพระเจ้า และความ อธรรมทุกชนิดของพวกเขาที่ปิดบัง ความจริงในความอธรรมของตน” - รม 2:5: “ความดือ้ ดึงไม่ยอมกลับใจ ของท่าน มีแต่จะสะสมโทษส�ำหรับตน ในวันพิพากษาลงโทษ เมื่อพระเจ้า ทรงประกาศค�ำตัดสินเที่ยงธรรมของ พระองค์” - รม 3:25-26: “พระเจ้าทรงสถาปนา พระเยซูเจ้าเป็นเครือ่ งบูชาชดเชยบาป โดยอาศัยความเชื่อและโดยอาศัยการ หลั่งโลหิต เพื่อจะได้แสดงความเที่ยง ธรรมของพระองค์ โดยทรงอดกลัน้ ไม่ ทรงลงโทษบาปในอดีต (ตามความ ยุตธิ รรม) ในเวลาแห่งความพากเพียร ของพระองค์ พระองค์ทรงแสดงความ เที่ ย งธรรมในปัจ จุบัน เพื่อ ทรงเป็น ผู ้ ที่ เ ที่ ย งธรรม และทรงบั น ดาลให้ ผู้มีความเชื่อในพระเยซูเจ้ากลับเป็น ผู้ชอบธรรม” - รม 10:3: “พวกเขาไม่รู้ว่าพระเจ้า เป็ น ผู ้ ป ระทานความชอบธรรม จึ ง พยายามสร้ า งความชอบธรรมของ

ตนเอง ไม่ยอมรับความชอบธรรมที่ พระเจ้าประทานให้ - ทุกคนทีม่ คี วาม เชื่อจะได้รับความชอบธรรม” - วว 22:11-12: เพราะเวลาใกล้เข้า มาแล้ว ให้คนอธรรมท�ำความอธรรม ต่อไป ให้คนชัว่ ท�ำชัว่ ต่อไป ให้คนชอบ ธรรมปฏิบตั คิ วามชอบธรรมต่อไปและ ให้ผู้ศักดิ์สิทธิ์บ�ำเพ็ญความศักดิ์สิทธิ์ ต่อไป พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราจะมา ในเร็วๆ นี้ และจะน�ำบ�ำเหน็จรางวัล ของเรามาด้วย เพือ่ ตอบแทนแต่ละคน ตามกิจการของเขา” II เอกสารสภาสังคายนาวาติกนั ทีส่ อง “GAUDIUM ET SPES – ความชื่นชมและความ หวัง” พระศาสนจักรในโลกสมัยนี ้ (8 ธันวาคม 1965) สภาสังคายนาวาติกนั ทีส่ อง ถือว่าเป็น เหตุการณ์ที่มีความหมายและส�ำคัญที่สุดใน พระศาสนจักร นับตั้งแต่พระจิตเจ้าเสด็จลง มายังบรรดาอัครสาวก เพื่อฟื้นฟู ปรับปรุง เปลี่ ย นแปลงพระศาสนจั ก รครั้ ง ยิ่ ง ใหญ่ ทัง้ ภายในและภายนอก จากหน้ามือเป็นหลัง มื อ  เปลี่ ย นทิ ศ ทางของพระศาสนจั ก รซึ่ ง มีอายุเกือบ 2000 ปี ล้าสมัยไม่เป็นปัจจุบนั ให้ เ ป็ น ปั จ จุ บั น  ดั ง ที่ นั ก บุ ญ ยอห์ น ที่   23 สมเด็จพระสันตะปาปา ทรงเรียกว่า “AGGIORNAMENTO” ขณะที่โลกก�ำลังเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็ว


ความยุติธรรม

1. เพื่อปฏิบัติภารกิจนี้ให้ส�ำเร็จลุล่วง ไป ทุกๆ ขณะพระศาสนจักรมีหน้าที่ต้อง สอดส่องเฝ้าสังเกตดูและตีความเครือ่ งหมาย ส�ำคัญบอกเวลา 2. ทุกวันนี้ชาติมนุษย์ก�ำลังอยู่ในยุค ใหม่ ข องประวั ติ ศ าสตร์   เป็ น ยุ ค ซึ่ ง มี ก าร เปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง รวดเร็วและค่อยๆ ขยายไปทั่วพื้นพิภพ 4. ไม่มสี มัยใดทีช่ าติมนุษย์มโี ชคทรัพย์ ช่ อ งทางความสามารถและอ� ำ นาจทาง เศรษฐกิ จ เท่ า ในสมัยนี้  แต่ถึงกระนั้นยังมี ชาวโลกเป็นจ�ำนวนมากที่อดอยากยากแค้น และยั ง มี ค นนั บ ไม่ ถ ้ ว นที่ ไ ม่ รู ้ ห นั ง สื อ เลย มีการเป็นทาสทางสังคมและจิตใจแบบใหม่ๆ โลกยังแตกแยกกันอย่างรุนแรง ด้วยก�ำลังที่ รบพุง่ กัน ความร้าวฉานอย่างฉกรรจ์ทางการ เมือง ทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ทางเชื้อชาติ ทางลัทธิและความเชื่อยังคงมีอยู่ 9. มนุษยชาติมีความใฝ่ฝันที่ยิ่งขยาย กว้างออกไป -คนเป็ น จ� ำ นวนมากได้ เ รี ย กร้ อ ง ทวงถามผลประโยชน์ ซึง่ เขาเชือ่ โดยสุจริตใจ ว่าตนไม่ได้รบั อย่างยุตธิ รรม เพราะไม่ได้แบ่ง ปันอย่างเที่ยงธรรม ชาติที่หิวโหยร้องขอให้ ชาติที่ร�่ำรวยกว่าช่วย ที่ใดสตรียังไม่ได้รับ สิทธิเขาก็เรียกร้องและได้รับการปฏิบัติเท่า เทียมกับชาย คนงานและชาวนาก็เรียกร้อง สิทธิเช่นเดียวกัน

9

27. ความเคารพต่อบุคคลมนุษย์ เรา มีพันธะต้องน�ำตัวของเราเป็นเพื่อนมนุษย์ ของคนทุกคน และถ้าเขามาหาเรา ก็ต้องรับ ใช้เขาอย่างแข็งขัน ไม่วา่ จะเป็นคนชราทีใ่ ครๆ ทอดทิง้  ไม่วา่ จะเป็นกรรมกรต่างชาติทถี่ กู คน ดู ห มิ่ น อย่ า งอยุ ติ ธ รรม ไม่ ว ่ า จะเป็ น คน หิวโหย 28. ความเคารพและรั ก ศั ต รู   พระ คริสตเจ้าทรงสอนให้เราถึงกับอภัยความผิด ของผู้อื่น และทรงสั่งให้เรารักแม้กระทั่งศัตรู ของทุกคน ซึ่งนับเป็นค�ำสั่งแห่งบัญญัติใหม่ ตามที่พระองค์ตรัสว่า “พวกท่านได้ยินเขา พู ด ว่ า  จงรั ก เพื่ อ นมนุ ษ ย์ แ ละเกลี ย ดศั ต รู แต่เราขอบอกพวกท่านว่า จงรักศัตรู จงท�ำดี ต่อผู้ที่เกลียดท่าน และจงภาวนาอุทิศแก่ผู้ ที่ข่มเหงและใส่ความท่าน” (มธ 5: 43-44) 29. มนุษย์ทุกคนเท่าเสมอกันอย่าง แท้จริง – ความยุติธรรมในสังคม - แม้ว่ามนุษย์จะมีความแตกต่างกัน แต่ศกั ดิศ์ รีของบุคคลเรียกร้องให้มสี ภาพชีวติ ที่ ยุ ติ ธ รรมและเหมาะสมแก่ ม นุ ษ ย์ ยิ่ ง ขึ้ น เพราะการที่ บ รรดาสมาชิ ก หรื อ ชนชาติ ใ น ครอบครัวมนุษย์ครอบครัวเดียวกัน มีความ ไม่เสมอกันทางเศรษฐกิจและสังคมจนเกินไป นัน้  เป็นเรือ่ งน่าอับอายอดสู และขัดต่อความ ยุติธรรมในสังคม ความเที่ยงธรรม ศักดิ์ศรี ของบุคคลมนุษย์ตลอดจนสันติสุขในสังคม และในระหว่างชาติ


10

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

- มนุ ษ ย์ นั้ น มี ค ่ า เพราะเป็ น อะไร มากกว่าเพราะมีอะไรๆ ที่มนุษย์ท�ำ เพื่อให้ มีความยุตธิ รรมมากขึน้  เพือ่ ให้มภี ราดรภาพ มากขึ้น หรือเพื่อให้มีความเป็นระเบียบที่ สมกับมนุษย์มากขึ้น ในการติดต่อกันทาง สังคมย่อมมีค่ามากกว่าความก้าวหน้าทาง วิชาการ 39. แผ่นดินใหม่และฟ้าใหม่ ในแผ่น ดินใหม่นคี้ วามยุตธิ รรมจะสถิตอยู ่ และความ สุขจะมีเกินกว่าทีใ่ จมนุษย์จะนึกคิดปรารถนา ได้   เมื่ อ พระคริ ส ตเจ้ า จะเสด็ จ กลั บ มา พระองค์จะมอบแด่พระบิดา “ซึ่งอาณาจักร นิรันดรและสากล เป็นอาณาจักรแห่งความ จริ ง และชี วิ ต  เป็ น อาณาจั ก รแห่ ง ความ ศักดิ์สิทธิ์และพระหรรษทาน เป็นอาณาจักร แห่งความยุติธรรม ความรักและสันติสุข” อาณาจักรสวรรค์หรืออาณาจักรของพระเจ้า นี้   พระเยซู เ จ้ า เป็ น ผู ้ ตั้ ง และทรงประกาศ “เวลาที่ทรงก�ำหนดไว้มาถึงแล้ว พระอาณาจั ก รของพระเจ้ า อยู ่ ใ กล้ แ ล้ ว  จงกลั บ ใจ และเชื่อข่าวดีเถิด” (มก 1:15; มธ 4:17) พระเยซู เ จ้ า ทรงสอนเราให้ ส วดบทข้ า แต่ พระบิดา “พระอาณาจักรจงมาถึง...” (มธ 6:10; ลก 11:2-4) 40. ความสัมพันธ์ระหว่างพระศาสนจั ก รกั บ โลก: บทบาทของพระศาสนจั ก ร ในโลกสมัยนี้ พระศาสนจักรนั้นเกิดจากความรัก ของพระบิดาผู้สถิตนิรันดร พระคริสตเจ้า

พระผูไ้ ถ่เป็นผูต้ งั้ ขึน้ ในโลก หลังจากพระองค์ ตรัสถามบรรดาศิษย์ว่า “ท่านล่ะ คิดว่าเรา เป็นใคร” ซีมอนเปโตรทูลตอบว่า “พระองค์ คือพระคริสตเจ้า พระบุตรของพระเจ้าผูท้ รง ชีวิต” พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “ซีโมนบุตร ของยอห์น ท่านเป็นสุข เพราะไม่ใช่มนุษย์ ที่เปิดเผยให้ท่านรู้ แต่พระบิดาเจ้าของเรา ผู้สถิตในสวรรค์ทรงเปิดเผย เราบอกท่านว่า ท่านเป็นศิลา และบนศิลานี ้ เราจะสร้างพระ ศาสนจักรของเรา ประตูนรกจะไม่มีวันชนะ พระศาสนจักรได้ เราจะมอบกุญแจอาณาจักรสวรรค์ให้ ทุกสิ่งที่ท่านจะผูกบนแผ่นดิน นี้ จะผูกไว้ในสวรรค์ด้วย ทุกสิ่งที่ท่านจะแก้ ในโลกนี ้ ก็จะแก้ในสวรรค์ดว้ ย” (มธ 16:1519) พระศาสนจั ก รเป็ น เครื่ อ งหมายและ เครือ่ งมือของพระอาณาจักร ใครอยากดูพระ อาณาจักรก็ดูพระศาสนจักร พระคริสตเจ้า ทรงตั้งพระศาสนจักรไว้เพื่อแผ่ขยายพระ อาณาจักรของพระเจ้า ท�ำอย่างไรให้โลกนี้ เป็นพระอาณาจักรของพระเจ้า ท�ำอย่างไรให้ ศาสนาต่างๆ เป็นพระอาณาจักรของพระเจ้า ท�ำอย่างไรให้ศาสนิกในศาสนาต่างๆ แม้ไม่ ได้ล้างบาป ก็เป็นสมาชิกของพระอาณาจักร ของพระเจ้า ตายแล้วมีสิทธิ์เข้าสวรรค์ พระ ศาสนจักรต้องถามตัวเองว่าได้ช่วยคนต่าง ศาสนาเหล่านั้นมากน้อยเพียงไร หรือเอาใจ ใส่ค�ำสอนเฉพาะสมาชิกคาทอลิกเท่านั้น ! พระศาสนจักรอยูใ่ นโลก มิใช่อยูน่ อก โลก ต้องมี SOLIDARITY (เป็นปึกแผ่นมีนำ�้


ความยุติธรรม

หนึ่งใจเดียวกัน) กับโลก ต้องรับผิดชอบต่อ โลก ต้องท�ำให้โลกดีขึ้น มี SUPERIORITY (อยูเ่ หนือโลก) ต้อง TRANSFORM, TRANSFIGURE (เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนโฉมหน้า) มิใช่ CONFORM (ตามอย่าง) โลก 42. พระศาสนจักรพยายามหาทาง ช่วยสังคมมนุษย์ พระศาสนจักรสามารถและ ต้องสนับสนุนให้เกิดสถาบันส�ำหรับรับใช้ชว่ ย เหลือมนุษย์ทกุ คน เฉพาะอย่างยิง่ คนยากจน ขัดสน เช่น สถาบันเมตตาสงเคราะห์ ไม่ว่า สิ่งใดซึ่งจริง ดี และยุติธรรม และพบอยู่ใน สถาบันต่างๆ มากมายอันมนุษย์ได้ตั้งขึ้น แล้ว พระศาสนจักรยินดีช่วยเหลือและส่ง เสริมสถาบันเช่นนี้ทั้งหมด 43. พระศาสนจั ก รพยายามให้ คริ ส ตชนช่ ว ยการปฏิ บั ติ ง านของมนุ ษ ย์ ฆราวาสต้ อ งมี ส ่ ว นร่ ว มในชี วิ ต ทั่ ว ไปของ พระศาสนจั ก รอย่ า งแข็ ง ขั น  ได้ รั บ เรี ย ก ให้มาเป็นองค์พยานประกาศพระคริสตเจ้า ในท่ามกลางประชาคมมนุษย์ 66. ต้องขจัดความเหลื่อมล�้ำต�่ำสูง อย่างใหญ่หลวง ทางเศรษฐกิจและสังคม เพือ่ ให้เป็นไปตามทีค่ วามยุตธิ รรมและความ เที่ยงธรรมเรียกร้อง ต้องพยายามอย่างเต็ม ก�ำลัง โดยไม่ละเมิดสิทธิสว่ นบุคคล นอกนัน้ ผู ้ ที่ มี ค วามทุ ก ข์ ย ากล� ำ บากเพราะโรคภั ย ไข้เจ็บหรือความชรา ควรได้รบั การประกันให้ มี ค วามเป็ น อยู ่ แ ละมี ศั ก ดิ์ ศ รี อั น คู ่ ค วรแก่ มนุษย์ เป็นการอยุตธิ รรมและผิดมนุษยธรรม

11

ที่จะจัดการเศรษฐกิจในลักษณะที่ท�ำความ เสียหายแก่คนงานคนใด 69. ทรัพย์สนิ ในโลกนีส้ ำ� หรับมนุษย์ ทุกคน พระเป็นเจ้าทรงสร้างโลกและสิ่งของ ต่างๆ ที่อยู่ในโลกส�ำหรับมนุษย์ทุกคนและ ชาติทุกชาติใช้ สิ่งทั้งปวงจึงควรไหลเปลี่ยน มื อ ถึ ง ทุ ก คนดั ง ที่ พึ ง เป็ น ตามหลั ก ความ ยุติธรรมและความรัก ฉะนั้นเมื่อใช้ส่ิงของ เหล่านี้ มนุษย์ต้องไม่ถือว่าตนเป็นเจ้าของ โดยชอบธรรม เป็นของตนเท่านั้น แต่ควร ถือเป็นของมูล บรรดาพระปิตาจารย์และ นักปราชญ์ของพระศาสนจักรเข้าใจเช่นนี้ เมื่อสอนว่า เรามนุษย์มีพันธะต้องช่วยคน ยากจน “จงให้อาหารแก่ผู้ที่ก�ำลังหิวจะตาย เถิด เพราะถ้าไม่ให้เขากินก็เท่ากับฆ่าเขา ตาย” (แต่ ป รากฏว่ า คนร�่ ำ รวย 20% ใช้ ทรัพย์สิน 80% ขณะที่คนยากจน 80% ใช้ ทรัพย์สินเพียง 20% ซึ่งแสดงถึงความไม่ ยุติธรรมหรือความไม่เป็นธรรมในสังคม) 70. การจ่ า ยแจกทรั พ ย์ สิ น และ ปัญหาเรื่องเงิน ต้องมุ่งที่จะหาหนทางให้ ประชาชนในวันนีแ้ ละในวันหน้ามีงานท�ำและ มีรายได้อย่างเพียงพอ ส่วนในเรื่องการเงิน นัน้  ต้องระวังอย่าท�ำการสิง่ ใดเป็นผลร้ายต่อ ประโยชน์ ข องชาติ ตนเองหรื อ ของชาติ อื่ น ต้องด�ำเนินการอย่าให้ประเทศที่อ่อนแอทาง เศรษฐกิจได้รบั ความเสียหายอย่างอยุตธิ รรม จากการเปลี่ยนค่าของเงิน


12

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

การโอนทรัพย์สินของเอกชนให้เป็น กรรมสิทธิข์ องรัฐนัน้ จะกระท�ำมิได้ นอกจาก โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอ�ำนาจ กับต้องให้ค่าชดใช้ อันเที่ยงธรรมด้วย 72. งานเศรษฐกิ จ และสั ง คมกั บ อาณาจักรของพระคริสตเจ้า คริสตชนนั้นมี ส่วนร่วมแข็งขันในการพัฒนาเศรษฐกิจและ สั ง คมในปั จ จุ บั น  กั บ การรบสู ้ เ พื่ อ ความ ยุติธรรมและความรัก ตนสามารถท�ำการได้ มากเพื่ อ ความเจริ ญ ของชาติ ม นุ ษ ย์ แ ละ สันติภาพของโลก บุคคลใดปฏิบตั ติ ามทีพ่ ระ คริ ส ตเจ้ า สั่ ง  ย่ อ มแสวงหาอาณาจั ก รของ พระเจ้าก่อน และย่อมพบความรักที่เข้มแข็ง และบริสุทธิ์กว่า เพื่อช่วยเหลือพี่น้องของ ตนและปฏิบัติการแห่งความยุติธรรม ตามที่ ความรักจะดลใจให้ท�ำ 78. งานสร้างโลกให้มมี นุษยธรรมดี ขึ้นอย่างแท้จริง ต้องให้มนุษย์ทุกคนรื้อฟื้น จิ ต ใจใหม่   หั น ไปหาสั น ติ ภ าพที่ แ ท้ จ ริ ง สันติภาพไม่ใช่เป็นภาวะไม่มีสงครามอย่าง เดียว หรือเป็นเพียงการจัดให้ปรปักษ์สอง ฝ่ายมีก�ำลังสมดุลเท่ากัน สันติภาพมิใช่เกิด จากการปกครองแบบบังคับกดขี่ แต่เรียกได้ โดยถูกต้องเหมาะเจาะว่า เป็น “งานที่เกิด จากความยุตธิ รรม” (อสย 32:17) สันติภาพ เป็น ผลที่เกิดจากระเบียบอันพระผู้สร้างได้ ทรงจารึกไว้ในสังคมมนุษย์ และซึ่งมนุษย์ ผู้กระหายให้มีความยุติธรรมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะต้องท�ำให้ส�ำเร็จไป สันติภาพยังเป็น ผล

ของความรักที่ท�ำเกินกว่าความยุติธรรมจะ ท�ำได้ III ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (18 ส.ค. 1997) ห นั ง สื อ ค� ำ ส อ น พ ร ะ ศ า ส น จั ก ร คาทอลิกฉบับนี้ เป็น ผลจากความร่วมมือ ของคณะพระสั ง ฆราชคาทอลิ ก ทั่ ว โลก เป็ น การยื น ยั น ถึ ง ความเป็ น คาทอลิ ก หรื อ ความเป็ น สากลของพระศาสนจั ก ร ซึ่ ง ประกอบด้วยความเก่าและใหม่ (มธ 13:52) - ความยุติธรรม ถือเป็นคุณธรรม หนึ่งในคุณธรรมหลัก 4 ประการ คือ ความ รอบคอบ, ความยุติธรรม, ความกล้าหาญ และความมัธยัสถ์ ความยุ ติ ธ รรม เป็ น คุ ณธรรมทาง ศีลธรรม ซึ่งประกอบด้วยน�้ำใจมั่นคงและ คงที่ที่จะให้สิ่งที่ต้องให้แก่พระเจ้าและเพื่อน มนุษย์ ความยุติธรรมต่อพระเจ้า เรียกว่า “คุณธรรมทางศาสนา” ความยุตธิ รรมต่อเพือ่ นมนุษย์ พร้อม ที่จะให้ความเคารพนับถือสิทธิของแต่ละคน และที่สร้างความกลมกลืนในมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งช่วยสนับสนุนความเท่าเทียมกันในเรื่อง บุคคลต่างๆ และความดีงามส่วนรวม - คุณธรรม เป็นความพร้อมทีเ่ ป็นกิจ นิสัยและมั่นคงที่จะท�ำสิ่งดีงาม


ความยุติธรรม

คุ ณ ธรรมทางศี ล ธรรม ได้ ม าโดย ความพยายามของมนุษย์ เจริญงอกงามโดย อาศัยการศึกษาอบรม การกระท�ำโดยเจตนา และความพากเพียรในความพยายาม พระ หรรษทานของพระเจ้ า ช� ำ ระคุ ณ ธรรมให้ บริสุทธิ์ และยกระดับให้สูงขึ้น คุณธรรมแบบมนุษย์ ได้แก่ ความ พร้อมที่มั่นคงของสติปัญญา และน�้ำใจซึ่ง ควบคุมการกระท�ำของเรา จัดระเบียบความ ปรารถนาของเรา และก�ำหนดความประพฤติ ของเรา ให้สอดคล้องกับเหตุผลและความ เชือ่  เราสามารถจัดกลุม่ คุณธรรมหลักส�ำคัญ ออกเป็ น  4 ประการ คื อ  ความรอบคอบ ความยุติธรรม ความกล้าหาญ และความ มัธยัสถ์ คุณธรรมทางเทววิทยา นัน้ สัมพันธ์ กับพระเจ้าโดยตรง จัดเตรียมคริสตชนให้ เจริญชีวติ ในความสัมพันธ์กบั พระตรีเอกภาพ พระเจ้าทรงเป็นบ่อเกิดแรงจูงใจ และเป้า หมายของคุณธรรมเหล่านี้ : เป็นพืน้ ฐานการกระท�ำทางศีลธรรม ของคริสตชน ชี้แนะและท�ำให้คุณธรรมทาง ศีลธรรมมีชีวิตชีวา : มี   3 ประการ ได้ แ ก่   ความเชื่ อ ความหวัง และความรัก (1 คร 13:13) บทสรุป ผู้เขียนเชื่อว่า บทความเรื่อง “ความ ยุติธรรม” นี้ ซึ่งมีข้อพิสูจน์จากพระคัมภีร์

13

จากค�ำสอนของพระศาสนจักร จากเอกสาร ของสภาสั ง คายนาวาติ กั น ที่   2 “พระ ศาสนจักรในโลกสมัยนี้: ความชื่นชมและ ความหวัง” และจาก “ค�ำสอนพระศาสนจักร คาทอลิก” ซึ่งเป็นคลังค�ำสั่งสอนของบรรดา อัครสาวก ซึ่งมีทั้งเก่าและใหม่  คงจะช่วย ท่านผูอ้ า่ นไม่หลงผิดคิดว่า ท�ำดีไม่ได้ด ี ท�ำชัว่ ไม่ได้ชั่ว ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า แต่แน่ แก่ใจว่า ท�ำดีอาจจะไม่ได้ดี ท�ำชั่วอาจจะไม่ ได้ชั่วในโลกนี้  แต่ในโลกหน้า ท�ำดีจะได้ดี ท�ำชั่วจะได้ชั่วแน่นอน เพราะพระเจ้าผู้ทรง ความดี  ความรักและความเมตตาหาที่สุด มิได้ ก็ทรงความยุตธิ รรมหาทีส่ ดุ มิได้แน่นอน เช่นกัน อนึ่ ง  พระคริ ส ตเจ้ า ทรงประกาศตั้ ง พระอาณาจั ก รของพระเจ้ า  ซึ่ ง มี ลั ก ษณะ หลายประการ คือ พระอาณาจักรแห่งความ จริ ง และชี วิ ต  พระอาณาจั ก รแห่ ง ความ ศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละพระหรรษทาน พระอาณาจักร แห่งความยุติธรรม ความรักและสันติ คือ นอกจากพระอาณาจักรแห่งความยุติธรรม แล้ว ยังมีพระอาณาจักรอื่นๆ อีก 6 อย่าง พระคริสตเจ้ายังทรงตั้งพระศาสนจักรขึ้นอีก โดยมี เ ปโตรเป็ น หั ว หน้ า เพื่ อ ขยายพระ อาณาจักรของพระเจ้า หรือเพื่อพัฒนาพระ อาณาจักรของพระเจ้าให้มีลักษณะสมบูรณ์ อีก 6 อย่าง อาศัยพระจิตเจ้าซึ่งพระองค์ ทรงส่งมาเพื่อเนรมิตฟ้าใหม่  แผ่นดินใหม่ พระอาณาจักรใหม่ เพือ่ ถวายแด่พระบิดาใน


14

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

วั น สุ ด ท้ า ย พระองค์ ท รงสอนเราภาวนา ให้ “พระอาณาจักรจงมาถึง” ให้เราภาวนา และท�ำงานให้พระอาณาจักรจงมาถึงตาม พระประสงค์ของพระเจ้า

บรรณานุกรม สังฆมณฑลกรุงเทพฯ. (2542). ค�ำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก. กรุงเทพฯ: แผนกค�ำสอน อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส. (2557). เอกสารสภาสังคยนาวาติกนั ที ่ 2, พระศาสนจักรใน โลกสมัยนี:้  ความชืน่ ชมและความหวัง. กรุงเทพฯ: สภาประมุขบาทหลวงโมันคาทอลิก แห่งประเทศไทย. Leon-Dufour Xavier. (1992). Vocabulaire de Théologie Biblique. French: CERF. Bernard Gillieron. (1999). Dictionnaire Biblique. French: Desclee de Brouwer.


ความยุติธรรม ศ.ดร.สมภาร พรมทา

จั ก รวาลนี้ ก ว้ า งใหญ่   ในท่ า มกลาง จักรวาลที่กว้างใหญ่ มีดาวดวงหนึ่งเรียกว่า โลก ในโลกมีสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งเรียกว่า คน เรามองคนได้หลายแง่  ในแง่ชีววิทยา คนเป็นสัตว์ประเภทหนึง่  นอกจากสัตว์ ยังมี สิ่งมีชีวิตอีกประเภทหนึ่งคือพืช นักชีววิทยา (ซึ่งก็เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทที่เรียกว่าคนซึ่งก็ คือสัตว์ชนิดหนึ่ง) เชื่อว่า สิ่งมีชีวิตในโลกมี อยู ่ ส องประเภทหลั ก ๆ นี้ เ ท่ า นั้ น  คื อ หาก ไม่ใช่สัตว์ก็ต้องเป็นพืช เราใช้เกณฑ์เรื่อง การปรากฏต่ออายตนะส�ำหรับแยกสิ่งมีชีวิต อย่างนั้น คือเท่าที่เห็นหรือสังเกตได้ มีเท่านี้

แต่ปัญหาว่า มีไหมที่เราสังเกตไม่เห็น แต่มี อยู ่ ในทางตรรกวิทยา เป็นไปได้ เรือ่ งนีจ้ งึ ยัง เป็นปริศนาอยูว่ า่  ในโลกหรือไกลออกไปกว่า นัน้  มีสงิ่ มีชวี ติ บางอย่างทีไ่ ม่ใช่สตั ว์ ไม่ใช่พชื ตามทีเ่ ราจัดแบ่งกันในหมูช่ าวโลก สามารถมี ได้ไหม ค�ำตอบ ณ เวลานีค้ อื  เรายังไม่ทราบ คนนัน้ เป็นสิง่ มีชวี ติ ทีค่ ดิ เป็น สิง่ มีชวี ติ อื่นก็คงคิดเป็นเช่นกัน หากเราเข้าใจว่าการ คิดหมายถึงอาการกระเพื่อมของพลังชีวิตที่ เป็นไปเพื่อความอยู่รอดของตนเอง ต้นไม้ก็ พยายามทีจ่ ะให้ตนอยูร่ อด สังเกตจากความ พยายามของมัน เช่นเอนล�ำต้นหนีชายคา

ศาสตราจารย์สาขาวิชาปรัชญา, อดีตอาจารย์ประจ�ำภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปัจจุบันผู้อ�ำนวยการศูนย์ศึกษาพุทธปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

(หมวดจริยธรรม)

ชีวิตกับ


16

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

บ้าน เพือ่ ให้กงิ่ ก้านและใบออกไปรับแสงแดด ที่จ�ำเป็นต่อการมีชีวิตอยู่ของสัตว์เช่น หมา แมว วัว ควาย คิดเป็นแน่ๆ หมานั้นเจ้าของ ไม่อยู่บ้านก็ซึมเศร้า นี่คือตัวอย่างการที่หมา คิ ด เป็ น  คนเรานั้ น เท่ า ที่ เ ราสั ง เกตตั ว เอง มีบางสิง่ แล่นไปแล่นมาอยูใ่ นหัวของเรา สิง่ นี้ เป็นอะไรไม่แน่ชัด แต่เราสัม ผัสได้ รับรู้ได้ ขอเรียกสิ่งนี้รวมๆ ว่าความคิด ความคิดมี หลายแบบ บางแบบมีลักษณะเป็นความคิด ล้วนๆ คือมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ไม่มอี าการไหวตัวเตลิดเลยไปกว่านัน้  เช่น เห็นดอกกุหลาบในสวน ก็มคี วามคิดว่า “นัน่ ดอกกุหลาบ” ดูบอลในโทรทัศน์ ก็มคี วามคิด ว่า “เขาก�ำลังเตะบอลกัน” แต่ความคิดบาง อย่างเมือ่ รับรูแ้ ล้วไม่หยุดเท่านัน้  แต่เดินหน้า ต่อไปอีก ก้าวต่อมาของความคิดที่พ้นออก มาจากการรั บ รู ้ นี้ ข อเรี ย กว่ า อารมณ์   เช่ น ดูบอลแล้วทีมที่เชียร์แพ้ก็เศร้า ความเศร้า เป็ น ความคิ ด อย่ า งหนึ่ ง  จั ด อยู ่ ใ นหมวด อารมณ์ ชีวติ มนุษย์ในวันหนึง่ ๆ (ตัง้ แต่ตนื่ นอน ไปจนหลับอีกหน) เกี่ยวข้องกับความคิดอยู่ ตลอดเวลา โดยทัว่ ไป ธรรมชาติออกแบบให้ เราเกี่ยวข้องกับความคิดในปริมาณที่ไม่มาก หรือน้อยเกินไป เรียกว่าพอดีก็คงได้ แต่คน บางคน ชีวิตเขาต่างจากคนอื่นในหลายเรื่อง (เช่น ผ่านเรื่องเลวร้ายในชีวิตมามาก) ท�ำให้ เขาต้องวนเวียนเกี่ยวข้องกับความคิดมาก กว่ า คนทั่ ว ไป บางคนที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การ คิด มากกว่าคนทั่วไปนี้ก็อาจกลายมาเป็น

คนที่มีประโยชน์ต่อโลก เช่นเป็นนักปรัชญา นั ก วิ ท ยาศาสตร์   นั ก ศิ ล ปะ นั ก ประดิ ษ ฐ์ คิดค้น หรือแม้แต่เป็นพระศาสดาของศาสนา แต่ก็มีบางคนในกลุ่มนี้ที่ไม่สามารถจัดการ กับจิตใจที่ถูกกระทบโจมตีอย่างหนักหน่วง ด้วยรายละเอียดชีวิตที่เป็นเฉพาะรายของ พวกเขา (ที่ไม่เหมือนกันและไม่เหมือนคน ทั่วไป) ท�ำให้ไม่อาจทานทนต่อการมีชีวิตอยู่ ในโลกนีไ้ ด้ บางคนเป็นบ้า บางคนฆ่าตัวตาย เราอาจมองว่าการเป็นบ้าหรือการฆ่าตัวตาย เป็นทางออกตามธรรมชาติทธี่ รรมชาติ (หรือ พระเจ้า—ผมไม่อาจทราบได้) ออกแบบไว้ให้ ส�ำหรับชีวติ พิเศษเหล่านี ้ อย่างน้อยการทีเ่ รา ถูกสร้างมาให้ตายได้ก็นับว่าเป็นความใจ กว้าง เมตตากรุณา หรือ goodwill ผูท้ สี่ ร้าง ระบบจั ก รวาล หากเกิ ด มาแล้ ว ตายไม่ ไ ด้ ชีวติ เราจะน่าสมเพชเวทนาขนาดไหน เราคง นึกออก ชีวิตมนุษย์ทุกประเภท (ไม่ว่าจะผ่าน สงครามชี วิ ต มาหนั ก หนาสาหั ส ต่ า งกั น มากมายขนาดไหนก็ตาม) เหมือนกันอย่าง หนึง่ คือ สามารถรูส้ กึ ว่าบางเรือ่ งทีผ่ า่ นเข้ามา ในชีวิตเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่บางเรื่อง เป็นปัญหา หากเห็นว่าเป็นเรือ่ งปกติธรรมดา เราก็จะรับได้ หรือไม่อยากรับแต่ก็จะต้อง ยอมรับ เพราะรู้ว่ามันเป็นเรื่องที่ต้องเป็น อย่ า งนั้ น  เช่ น  คนในเมื อ งใหญ่ อ ย่ า ง กรุ ง เทพมหานครยามนี้ น ่ า จะรั บ ได้ ว ่ า รถติดเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้ว เมื่อรู้สึก อย่างนัน้  ก็ไม่คาดฝันว่าวันหนึง่ จะได้มโี อกาส


ชีวิตกับความยุติธรรม

นั่งรถเมล์โล่งๆ หลวมๆ ใหม่เอี่ยม ติดแอร์ เย็นฉ�่ำ โลดลิ่วไปบนถนนสายงามเขียวขจี สองข้ า งทาง (ที่ โ ล่ ง ๆ หลวมๆ เฉกเช่ น เดียวกันกับภายในรถ) อย่างสบายอารมณ์ จนไม่อยากลงเมือ่ ถึงปลายทางแล้ว ร้อนและ เหม็นตัวเองและเพื่อนสรรพสัตว์ท่ีห้อยโหน ปานค้างคาวผีในนิทานเวตาลบนรถเมล์รอ้ น ที่ติดแหง็กอยู่ท่ามกลางแสงแดดและฝุ่น ผง อย่างนั้นก็ไม่คิดอะไร เพราะชินชาแล้ว แต่บางเรื่องมนุษย์เราไม่รับ พยายาม คิดหาทางแก้ สิง่ ทีเ่ ราไม่รบั และคิดหาทางแก้ นี้คือปัญหา การทีม่ นุษย์เรามองว่าอะไรเป็น ปัญหาส่วนหนึง่  (ซึง่ ส�ำคัญมาก) เกีย่ วข้องกับ ความคาดหวังของเราที่ว่าเรื่องนั้นยังแก้ได้ การแก้ปญ ั หามีหลายแบบ ขอพูดถึงสองแบบ (อาจมี ม ากกว่ า นี้   แต่ ข อพู ด ถึ ง สองแบบนี้ เท่ า นั้ น ) แบบหนึ่ ง คื อ การแก้ ป ั ญ หาที่ ตั ว ปั ญ หา อี ก แบบคื อ การแก้ ป ั ญ หาที่ เ รา ตั ว อย่ า งการแก้ ป ั ญ หาที่ ตั ว ปั ญ หาก็ เ ช่ น คอมพิ ว เตอร์ จ อแตก ยกไปร้ า นซ่ อ มเพื่ อ เปลี่ ย นจอ เปลี่ ย นแล้ ว ปั ญ หาก็ จ บ คื อ มี คอมพิ ว เตอร์ ใ ช้ ง านต่ อ  ตั ว อย่ า งการแก้ ปัญหาที่การท�ำใจ ก็เช่นยกไปแล้ว ร้านบอก หาอะไหล่ ไ ม่ ไ ด้ ใ นสากลโลกนี้ เ พราะ คอมพิวเตอร์รุ่นนี้โบราณมาก ปัญหานี้แก้ ที่ตัวปัญหาไม่ได้ แก้ได้เพียงปลงว่าสรรพสิ่ง ทั้ ง หลายย่ อ มเป็นอนิจ จังฉันนี้แ ล อย่า ว่า แต่คอมพิวเตอร์เลย คนใช้คอมพิวเตอร์ที่นั่ง หน้าเครียดอยู่นี้ (เพราะไฟล์งานในนั้นไม่ได้

17

เซฟใส่อะไรข้างนอกไว้เลย วิบัติล้มตายไป พร้อมเครื่องทั้งหมดทั้งสิ้น) ก็จะมีอาการ ป่วยไข้และซ่อมไม่ได้เหมือนกัน มี ป ั ญ หาอย่ า งหนึ่ ง ในบรรดาปั ญ หา ทั้ ง หลายแหล่ ข องมนุ ษ ย์ ที่ จ ะขอพู ด ถึ ง ใน ข้ อ เขี ย นนี้   ปั ญ หานี้ เ ป็ น แบบต้ อ งแก้ ที่ ตัวปัญหาหรือว่าต้องแก้ดว้ ยการท�ำใจ จะขอ ยังไม่พดู  ลักษณะของปัญหาทีว่ า่ นีค้ อื  คนเรา เมื่อเกิดมาแล้ว เนื่องจากเป็นสิ่งที่รู้จักคิด ก็ท�ำให้คิดเมื่อต้องปะทะกับสิ่งต่างๆ ในโลก หรื อ เมื่ อ ยามที่ สิ่ ง ต่ า งๆ ในโลกวิ่ ง เข้ า มา ปะทะชี วิ ต  อาการคิ ด นั้ น มี ไ ด้ ห ลายอย่ า ง อย่างหนึ่งคือสงสัย ความสงสัยนี้บางวงการ เช่นปรัชญาให้ค่าให้ราคามาก แต่บางวงการ เช่นศาสนาอาจเห็นว่าเป็นสิ่งบั่นทอนให้ชีวิต ไม่ก้าวไปหาความดีงามประเภทที่ต้องเชื่อ ต้องศรัทธาจึงจะเข้าถึง ไม่วา่ เราจะพิจารณา ความสงสัยว่ามีค่าหรือมีโทษอย่างไร มนุษย์ เราก็จำ� ต้องอยูก่ บั สิง่ นี ้ ชีวติ เราจึงเต็มไปด้วย ความสงสั ย นานั ป การ นั ก ปรั ช ญานั้ น ใช้ ประโยชน์จากสิ่งนี้มาก จนอาจเรียกได้ว่า จุ ด เริ่ ม ต้ น ของปรั ช ญา คื อ  ความสงสั ย เนื้อหาของปรัชญาที่พัฒนามาหลากหลาย (มากกว่าศาสนา) ก็เพราะความสงสัย ขอพู ด ถึ ง ความสงสั ย ในคนทั่ ว ไป นายเขียวเป็นลูกคนทีส่ ามของครอบครัวหนึง่ เขามีพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกันจ�ำนวน ๕ คน (รวมเขาด้ ว ย) คนอื่ น ๆ เกิ ด มา สมบู ร ณ์ เ ป็ น ปกติ ห มด มี แ ต่ เ ขาเท่ า นั้ น


18

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ที่ เ กิ ด มาพิ ก าร ตาบอดมาตั้ ง แต่ เ กิ ด และ แขนด้วนไปข้างหนึ่ง นายเขียวแม้จะพิการ ตามที่ว่ามานั้น แต่เป็นคนสมองดี เขาเรียน จบปริญญาตรีสาขาปรัชญาจากมหาวิทยาลัย มีชื่อที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ การได้เรียน ปรั ช ญาท� ำ ให้ เ ขารู ้ จั ก คิ ด  บางวั น  เขาเคย สงสั ย ว่ า ท� ำ ไมหนอพี่ น ้ อ งคนอื่ น ๆ ก็ เ กิ ด มาปกติ ห มด พ่ อ แม่ ก็ เ ป็ น ชาวนาแข็ ง แรง แต่ไฉนตัวเราจึงเกิดมาไม่สมประกอบอย่าง นั้ น  นายเขี ย วเคยอ่ า น (ตาบอดแต่ อ ่ า น หนั ง สื อ บางประเภทที่ ท� ำ เพื่ อ คนตาบอด) หนังสือทางการแพทย์ พบข้อมูลว่า ทารกที่ เกิดมาพิการแบบเขาเป็นเพราะตอนที่แม่ ตั้งท้องในระยะสามเดือนแรก มีจุลินทรีย์ ที่ เ รี ย กว่ า ไวรั ส บางชนิ ด เข้ า สู ่ ร ่ า งกายแม่ จุลนิ ทรียน์ น้ั ไม่ทำ� อันตรายแม่ แต่ทำ� อันตราย แก่ เ ขาที่ อ ยู ่ ใ นท้ อ งแม่ ไ ด้   เขาจึ ง เกิ ด มาไม่ สมประกอบอย่างที่เห็นนั้น นี่คือข้อมูลที่อธิบายว่า “ความพิการ เกิดแก่ฉันได้อย่างไร” ข้อมูลนี้ก็ท�ำให้นาย เขียวเข้าใจว่าท�ำไมชีวิตตนจึงแตกต่างจาก พี่น้อง แต่กระนั้นก็ตาม ความที่มนุษย์เป็น สัตว์ที่ช่างคิด นายเขียวก็ยังสงสัยว่า “อะไร หนอเป็นเหตุปจั จัยทีท่ ำ� ให้ไวรัสนัน้ เจาะจงมา ลงที่ชีวิตเราเท่านั้น ผู้อื่นมันละเว้น ท�ำไม หนอ... ท�ำไมหนอ...” ค�ำถามนี้รบกวนความ รูส้ กึ ของนายเขียวอยูน่ าน เวลานีก้ ย็ งั รบกวน อยู่

การถามค�ำถามโดยคิดโยงปัญหาทีต่ น ประสบอยู ่ เ ปรี ย บเที ย บไปยั ง คนอื่ น นี้ เ ป็ น ธรรมดาอย่ า งหนึ่ ง ของชี วิ ต มนุ ษ ย์   และ ค�ำถามนี้ท�ำให้เกิดค�ำบางค�ำที่เป็นค�ำส�ำคัญ ในประวัตศิ าสตร์ความคิดและอารยธรรมของ มนุษยชาติ คือค�ำว่า “ยุติธรรม” หรือ “เป็น ธรรม” (หรือไม่ อย่างไร) โดยทั่วไป มนุษย์ (น่ า จะรวมสั ต ว์ ด ้ ว ย ผมมี ป ระสบการณ์ ส่วนตัวในการเลี้ยงและดูแลสัตว์ เช่น หมา) จะรับสิง่ ทีเ่ กิดแก่ตนในทางร้ายได้ หากเข้าใจ ว่าสิง่ ทีต่ นได้รบั มานัน้  “ยุตธิ รรม” (หมาทีผ่ ม เลี้ยงบางตัวจะแสดงอาการเศร้าหากคิดว่า ผมดูแลมันน้อยกว่าตัวอื่น) ในแง่นี้  ค�ำว่า “ยุติธรรม” ย่อมเป็นค�ำที่มีความหมายมาก ในชีวติ มนุษย์ (และสัตว์) ผมอยากสรุปอย่าง รวบรัดในเบื้องต้นนี้ก่อน (จากข้อมูลที่ผม ศึกษามาก่อนหน้านี้ในทางประวัติศาสตร์ อารยธรรมของมนุ ษ ย์ )  ว่ า  อารยธรรมที่ มนุษย์สร้างสมขึ้นบางประเภทนั้นเกี่ยวข้อง กั บ แนวคิ ด เรื่ อ งความยุ ติ ธ รรมที่ ค ่ อ ยๆ วิวัฒนาการขึ้นในหัวหรือในจิตใจของมนุษย์ เรา เพื่อแสดงรายละเอียดสนับสนุนข้อสรุป เบื้องต้นที่ว่านี้ ผมอยากขอพูดถึงกิจกรรม ทางปัญญาที่มนุษย์เราสร้างขึ้นที่ผมเชื่อว่า เกีย่ วข้องอย่างแนบแน่นกับความคิดอ่านเรือ่ ง ความยุ ติ ธ รรม มี ส ามเรื่ อ งที่ ผ มจะพู ด คื อ ปรัชญาธรรมชาติ ศาสนา และกฎหมาย


ชีวิตกับความยุติธรรม

ปรัชญาธรรมชาติ คือ แขนงหนึ่งของ ปรัชญาที่สนใจศึกษาธรรมชาติ ซึ่งธรรมชาติ ทีว่ า่ นีก้ แ็ บ่งออกเป็นสองส่วนคือ มนุษย์และ สิ่งอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ สองสิ่งนี้เรียก รวมๆ ในทางปรัชญาธรรมชาติว่า “มนุษย์ และโลก” สมมุติเราเอาปัญหาที่นายเขียว ประสบข้างต้นเป็นตัวด�ำเนินเรื่อง ถามว่า ทีน่ ายเขียวสงสัยว่าท�ำไมไวรัสร้ายนัน้ จึงเลือก ที่จะมาลงในชีวิตเขาตอนที่เขาอยู่ในท้องแม่ ระยะสามเดือนแรก ท�ำให้เขาต้องเกิดมา พิการอย่างที่เห็น ทีพี่น้องคนอื่นๆ ไม่เห็น ไวรัสชั่วนี้มันมาลงบ้าง ปรัชญาธรรมชาติจะ ตอบว่าอย่างไร ในสมัยพุทธกาล มีปรัชญา ธรรมชาติส�ำนักหนึ่งแสดงความเชื่อว่า อะไร ก็ตามแต่ที่ปรากฏแก่ชีวิตเราและโลกไม่มี สาเหตุ ในคัมภีรพ์ ทุ ธศาสนาทีบ่ นั ทึกแนวคิด ของส�ำนักปรัชญาธรรมชาตินี้เอาไว้เขียนว่า ตามทัศนะของปรัชญาส�ำนักนี้ สิ่งที่เกิดแก่ นายเขียวไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยมันเกิดของมัน อย่างนั้นแหละ อย่าได้สงสัยใคร่รู้เลย ความเชื่อว่าทุกอย่างที่เกิดกับเราไม่มี เหตุ  ไม่มีปัจจัยนี้  ยังก�ำกวม เราต้องเสาะ หาความหมายที่ชัดกว่านั้น สมมุตินายแดง เดินไปตลาด เท้าไปเหยียบเอากระดาษแผ่น หนึ่ง มองดูปรากฏว่าเป็นธนบัตรใบละร้อย เขาหยิบขึน้ มา มองซ้ายขวาเพือ่ ดูวา่ ใครท�ำตก ไม่มีคนอยู่แถวนั้น เขาเลยใส่ลงกระเป๋าเสื้อ เดินมาได้หน่อยหนึ่งเจอคนขายล็อตเตอรี่ ปกติเขาไม่ซื้อ แต่วันนั้นเห็นว่าเงินร้อยบาท

19

ที่ได้มาฟรีๆ เอามาซื้อล็อตเตอรี่เล่นคงไม่ เป็นไร คนขายให้เลือก เขาบอกไม่เลือกครับ ช่วยเด็ดมาให้สักใบสองใบตามจ�ำนวนเงิน หากเหลือนิดหน่อยก็ไม่ต้องทอน หลายวัน ผ่านไป หวยออก ปรากฏว่าเขาถูกรางวัลที่ หนึ่ง ได้มาหลายล้าน ถามว่า เหตุการณ์นี้เป็นตัวอย่างของ การที่ โ ลกและชี วิ ต ไม่ มี เ หตุ   ไม่ มี ป ั จ จั ย ตามปรัชญาธรรมชาติสำ� นักนีใ้ ช่ไหม ค�ำตอบ ขึ้ น อยู ่ กั บ การที่ เ ราลองหยอดค� ำ ถามต่ อ สั ก หน่ อ ยแล้ ว จะทราบ สมมุ ติ พ ระบอกที่ โยมแดงถูกหวยคราวนี้เพราะบุญเก่าในชาติ ปางก่อนที่โยมบริจาคเงินให้วัด อย่ากระนั้น เลย ทีถ่ กู หวยมานัน้ โยมควรแบ่งส่วนหนึง่ มา ท�ำบุญต่อ เพื่อว่าชาติหน้าจะได้รวยแบบนี้ ได้ อี ก ไม่ รู ้ จ บสิ้ น  ท� ำ นองท� ำ บุ ญ ต่ อ ทุ น ไป เรื่อยๆ ถ้าเจ้าส�ำนักปรัชญาธรรมชาติที่เรา ก�ำลังพิจารณาความคิดของเขาอยู่นี้ได้ยิน พระท่ า นพู ด อย่ า งนั้ น  เขาจะตอบทั น ที ว่า “เหลวไหลไร้สาระ การถูกหวยของนาย แดงครั้งนี้ไม่ไ ด้มาจากบุ ญเก่าอะไรทั้งสิ้น ที่ ถู ก เพราะใบที่ เ ขาซื้ อ กั บ ใบที่ เ ครื่ อ งปั ่ น ปั่นออกมามันตรงกันเท่านั้น” หากตอบอย่างนี้ ค�ำว่าไม่มีเหตุ ไม่มี ปั จ จั ย  คงไม่ ไ ด้ แ ปลว่ า ไม่ ต ้ อ งเดิ น ตาม กฎธรรมชาติ ใ ดๆทั้ ง สิ้ น  ไม่ ใ ช่ อ ย่ า งนั้ น การปั่นหวยด้วยมือคนแล้วท�ำให้ได้ใบนั้น ออกมาอธิ บ ายได้ ด ้ ว ยหลั ก กลศาสตร์ การที่ น ายแดงเดิ น ไปพบเงิ น ที่ ห ล่ น อยู ่ ก็


20

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

อธิบายได้วา่ มีคนควักเงินออกจากกระเป๋าจะ ซื้อของตรงนั้น แล้วใบละร้อยใบนั้นร่วงลง เขาไม่รู้ตัว คนที่อยู่แถวนั้นก็ไม่รู้ เงินจึงวาง อยู่ตรงนั้น นายแดงมาพบ เขารู้ว่านั่นเงิน จึงหยิบไป นี่คือล�ำดับเหตุการณ์ที่ด�ำเนินไป ตามกฎธรรมชาติ การทีน่ ายแดงถูกหวยก็ไม่ ต่างจากการที่วันนี้ฝนตก เครื่องบินของสาย การบิ น หนึ่ ง แฉลบออกจากรั น เวย์ เ พราะ เครื่ อ งขั ด ข้ อ ง หรื อ เกิ ด การท� ำ รั ฐ ประหาร ที่ประเทศหนึ่งในแอฟริกา เป็นต้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ในความหมายว่า ไม่มีอ�ำนาจ ลึ ก ลั บ เหนื อ ธรรมชาติ ใ ดชั ก โยงให้ เ กิ ด เหตุ ก ารณ์ เ หล่ า นี้ ใ นฐานะผู ้ รู ้ แ ละผู ้ ส ร้ า ง ปรากฏการณ์เหล่านี้ให้เกิดขึ้น ถามว่าทัศนะนี้ฟังได้ไหม ส�ำหรับผม ฟังได้ แต่ถา้ ไปถามนายเขียวว่าคิดอย่างไรกับ ทัศนะนี้ เขาอาจบอกว่าก็ฟังได้ครับ แต่ไม่ ช่ ว ยตอบค� ำ ถามเรื่ อ งความยุ ติ ธ รรมที่ ผ ม ก� ำ ลั ง ถาม พระพุ ท ธเจ้ า ไม่ ท รงเห็ น ด้ ว ย กับความคิดของปรัชญาธรรมชาติส�ำนักนี้ แต่ คัม ภี ร ์ ก็ ไ ม่ ได้อ ธิบ ายไว้ว ่า ท�ำไมจึงทรง ไม่ เ ห็ น ด้ ว ย ในบางแห่ ง ในพระไตรปิ ฎ ก พระพุ ท ธเจ้ า ตรั ส ว่ า  พระองค์ เ ชื่ อว่ า โลก และชีวิตมนุษย์มีเหตุ  มีปัจจัย ทัศนะนี้ยัง ต้องการค�ำอธิบายว่าหมายความว่าอย่างไร ในคั ม ภี ร ์ พุ ท ธศาสนาที่ แ ต่ ง หลั ง จากที่ พระพุ ท ธเจ้ า ปริ นิ พ พาน (สิ้ น ชี วิ ต ) แล้ ว ท่านผู้แต่ง (ที่เราเรียกรวมๆ ว่าพระอรรถกถาจารย์ ซึ่งมีหลายคน แต่ท่านที่เรารู้จัก

กั น ดี คื อ พระพุ ท ธโฆสาจารย์   ชาวอิ น เดี ย มีชวี ติ หลังจากทีพ่ ระพุทธเจ้าปรินพิ พานแล้ว ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี )  อธิ บ ายว่ า สิ่ ง ที่ พระพุทธเจ้าทรงค้นพบจากการตรัสรู้แล้ว เอามาสอนชาวโลกนั้ น อยู ่ ใ นรู ป ของกฎ ธรรมชาติ ในคัมภีร์ ท่านเรียกกฎธรรมชาติ นี้ว่า “นิยาม” แล้วท่านผู้แต่งก็อธิบายต่อไป ว่า กฎธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ และเอามาสอนคนมี อ ยู ่   ๕  ลั ก ษณะ (หมายความว่ากฎธรรมชาติจะเข้าใจรวม ว่ า เป็ น อ� ำ นาจทางธรรมชาติ อั น เดี ยวก็ ไ ด้ แต่ เ วลาที่ อ� ำ นาจนี้ ท� ำ งาน เราจะสั ง เกต กระบวนการท� ำ งานของกฎธรรมชาติ ไ ด้ ๕ ทาง) เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ สี ย เวลา ผมขออธิ บ าย ก ฎ ธ ร ร ม ช า ติ ห ้ า อ ย ่ า ง นั้ น สั้ น ๆ   ว ่ า กฎธรรมชาติ ข ้ อ แรก (อุ ตุ นิ ย าม) คื อ กฎ ที่ปรากฏในสิ่งไร้ชีวิต กฎข้อนี้หากเทียบกับ วิ ท ยาศาสตร์ ส มั ย นี้ ค งเที ย บได้ กั บ กฎทาง ฟิสิกส์ เคมี และดาราศาสตร์ กฎประการ ที่สอง (พีชนิยาม) คือที่ปรากฏในสิ่งมีชีวิต เทียบได้กับกฎทางชีววิทยา กฎที่สาม (จิต นิยาม) คือกฎที่ปรากฏในการท�ำงานของจิต มนุษย์และสัตว์ (ตลอดจนพืชหากเชื่อว่าพืช มี จิ ตคื อมี   consciousness) กฎข้ อนี้ บ าง ส่วนอาจเทียบได้กบั กฎทางจิตวิทยาสมัยใหม่ แต่ จิ ต วิ ท ยาของพุ ท ธศาสนามี ส ่ ว นหนึ่ ง ที่ เชื่อมโยงไปหาอภิปรัชญาของพุทธศาสนา ด้วย กฎที่สี่ (กรรมนิยาม) คือกฎแห่งกรรม


ชีวิตกับความยุติธรรม

กฎทีห่ า้  (ธรรมนิยาม) คือกฎแห่งธรรม สอง กฎนีเ้ กีย่ วข้องกัน กฎแห่งธรรมเป็นกฎใหญ่ที่ ท�ำหน้าทีจ่ ดั การให้จกั รวาลทัง้ หมดอยูภ่ ายใต้ ความเป็นระเบียบทางศีลธรรมโดยรวม ข้อนี้ สะท้อนความเชือ่ ว่าจักiวาลในทัศนะของพุทธ ศาสนา (หรือของพระอรรถกถาจารย์) ไม่ได้ มี ส ภาพเป็ น  physical and biological world เท่านัน้  แต่เป็น physical, biological, and moral world (ทัศนะนีส้ ว่ นตัวผมคิดว่า ส�ำคัญและน่าสนใจมาก สามารถคิดขยาย ความต่อไปได้มาก) ธรรมนิยามนัน้ อาจเรียก ได้ว่าเป็น general moral theory of man and the universe ส่วนกฎแห่งกรรมอาจ เรียกได้ว่าเป็น special moral theory of man and the universe หรือกล่าวให้ตรง กว่ า นั้ น คื อ เป็ น  special moral theory of being’s action คนเป็น being ชนิดหนึง่  เทวดา (หากมี) ก็เป็น being ชนิดหนึ่ง สัตว์เดรัจฉานก็เป็น being ชนิดหนึง่  ส่วนพืชนัน้ ปรัชญาและศาสนา อินเดียบางระบบเช่นศาสนาเชนถือว่าเป็น being เหมือนคนและสัตว์ (พุทธศาสนายัง ถกเถียงกันเรื่องนี้อยู่ แต่โดยส่วนตัว ผมคิด ว่าพืชบางชนิดที่มี consciousness ชัดและ แรงพอ เราต้ อ งจั ด ให้ เ ป็ น  being ด้ ว ย) being ทุกชนิดตามความเชือ่ ของพุทธศาสนา สามารถทีจ่ ะท�ำดีทำ� ชัว่ ได้ (ทีพ่ ทุ ธศาสนาเชือ่ ว่าจักรวาลนี้เป็น moral universe ด้วยก็ เพราะเหตุนี้) กฎแห่งกรรมคือกฎธรรมชาติ

21

ทีท่ ำ� หน้าทีด่ แู ลจัดสรรผลแห่งกรรมแก่ being ทั้งหลาย ตามความเชื่อเรื่องกรรม ที่นายเขียว เกิ ด มาพิ ก ารไม่ ไ ด้ ไ ร้ เ หตุ   ไร้ ป ั จ จั ย  ดั ง ที่ ปรัชญาธรรมชาติส�ำนักหนึ่งในอินเดียเชื่อ ตรงกั น ข้ า ม กรรมอั น ได้ แ ก่ ก ารกระท� ำ ที่ ประกอบด้วยเจตนาและมีค่าทางจริยธรรม (คือพูดได้วา่ ดีหรือชัว่ ) นัน่ เองทีเ่ ป็นเหตุ เป็น ปัจจัย ของการที่ชีวิตนายเขียวและพวกเรา จะเป็นอย่างไร ความเชือ่ เรือ่ งกรรมเนือ่ งจาก บางส่วนอยู่พ้นการตรวจสอบด้วยอายตนะ จึงย่อมเป็นธรรมดาที่จะมีคนบางคนในโลก ไม่เชือ่  เพราะทดสอบไม่ได้วา่ ทีก่ ล่าวว่ากรรม เก่าส่งเรามาให้เป็นอย่างที่เป็นนั้นจริงนะ ขอรับ ไม่เชือ่ ท่านลองท�ำกรรม ก. ดูแล้วคอย ดู ผ ลนะครั บ  อี ก สามวั น เจ็ ด วั น จะเกิ ด ผล ข. แก่ทา่ นพีแ่ น่นอน วิทยาศาสตร์นนั้ เมือ่ อ้าง ว่านี่คือกฎธรรมชาติ  ก็จะท้าทายให้ตรวจ สอบดู เช่นกาลิเลโอบอกว่าของหนักเบาต่าง กั น ไม่ ส� ำ คั ญ  หากปล่ อ ยลงพื้ น พร้ อ มกั น (โดยมีเงื่อนไขว่าให้หักแรงต้านจากอากาศ ออกด้ ว ยนะครั บ ) จะตกถึ ง พื้ น พร้ อ มกั น เสมอ กล่าวแล้วกาลิเลโอก็ท้าว่าไม่เชื่อลอง ท� ำ ดู   สมั ย นี้ อิ น เตอร์ เ น็ ต ดี   เราจึ ง เห็ น เขา ทดลองทิง้ ขนนกและลูกปืนใหญ่ลงพืน้ พร้อม กัน โดยทดลองในห้องไร้อากาศ เราจะเห็น สองสิ่งนี้ตกถึงพื้นพร้อมกันตามที่กาลิเลโอ พูดไว้ ชัดเจน แจ่มแจ้ง ไร้ข้อกังขา แต่เรื่อง กรรมที่พระพุทธศาสนาสอนส่วนที่อ้างว่า


22

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

กรรมเก่าที่ไม่ดีนั่นเองที่ส่งผลให้นายเขียว เกิดมาชาตินตี้ อ้ งพิการ ไล่ตามตรวจสอบเช่น นั้นไม่ได้ จึงเป็นธรรมดาที่จะมีคนบางคน (โดยเฉพาะคนที่เลื่อมใสวิทยาศาสตร์) ไม่ เชื่อไม่ถือว่านี่เป็นความรู้ การที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งใครบางคนเห็นว่า ไม่ใช่ความรู้ก็ไม่เกี่ยวกับว่าสิ่งนั้นคนอีกส่วน หนึ่ง (ซึ่งอาจมากกว่าพวกแรก) ยินดีเอามา ใช้งานในชีวิต หรือยึดเหนี่ยวว่าเป็นที่พึ่งพิง ทางใจ ในยามปกติทั่วไป หรือในยามคับขัน เพราะเหตุนี้ แม้ในโรงพยาบาลที่รักษาด้วย วิธกี ารทางวิทยาศาสตร์ ทีเ่ ราถือว่าเป็นความ รู้ ก็ยังมีคนไม่น้อยสวดมนต์ หรือเชิญหมอผี มาท�ำพิธีเพื่อช่วยให้พ่อแม่ญาติมิตรตนหาย จากโรคาพาธ ขณะทีผ่ มก�ำลังเขียนบทความ นี้   บ้ า นเรามี ข ่ า วใหญ่ เ รื่ อ งที่ เ ยาวชนเรา จ�ำนวน 13 ชีวิตเข้าไปติดอยู่ในถ�้ำแล้วออก มาไม่ได้เพราะน�้ำหลากปิดถ�้ำ รัฐบาลและ เอกชนระดมคนและเครื่องจักรช่วยเหลือกัน สุดความสามารถ ส่วนนี้คือการใช้ความรู้แก้ วิ ก ฤติ   แต่ ใ นขณะเดี ย วกั น  พระสงฆ์ ใ น พระพุทธศาสนา บาทหลวงในศาสนาคริสต์ และอิหม่ามในศาสนาอิสลาม พร้อมผูน้ บั ถือ ศาสนานั้ น ๆจ� ำ นวนมหาศาลก็ ท� ำ พิ ธี ส วด มนต์ภาวนาเพื่อให้เยาวชนของเราเหล่านั้น รอดกลับมาสู่อ้อมอกพ่อแม่ครอบครัว นี่คือ การใช้ศรัทธาความเชือ่  ทีไ่ ม่ใช่ความรู ้ มนุษย์ นั้นน่าจะเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาให้เป็น believing beings (หรือ creatures) คือ

เป็นสัตว์ทมี่ คี วามสามารถหรือแนวโน้มในตัว ทีแ่ ก้ไม่ได้ทจี่ ะเชือ่ สิง่ ทีไ่ ม่ใช่ความรูใ้ นบางกรณี โดยเฉพาะในกรณีที่ความรู้น่าจะหมดหวัง ส�ำหรับใช้แก้ปัญหาแล้ว เพราะมนุษย์เราเป็นดังที่ผมกล่าวมา ข้างต้น ย่อมเป็นไปได้ทนี่ ายเขียวหลังจากฟัง พระอาจารย์ ที่ ต นนั บ ถื อ มากๆ กล่ า วว่ า “ท�ำใจเสียนะโยมเขียว ถือเสียว่าเป็นกรรม เก่า อาตมาก็พิสูจน์เรื่องนี้ไม่ได้ดอก แต่คิด ว่าหากโยมรับแล้วคงสบายใจอะไรทีเ่ กิดแล้ว ก็ปล่อยให้เป็นไป เราแก้ไม่ได้แล้ว แต่เรา ท�ำกรรมใหม่ที่ดีได้” นายเขียวปลงตก น้อม รับ โดยเชื่อว่า “เอาล่ะ ความพิการที่เกิดแก่ กู นี้ กู แ ก้ ไ ม่ ไ ด้ แ ล้ ว  อาจเป็ น กรรมเก่ า ดั ง ที่ พระพุทธศาสนาสอน หากใช่กถ็ อื ว่ากูสมควร รั บ สิ่ ง ที่ กู เ คยท� ำ ไว้   ต่ อ ไปนี้ กู จ ะเป็ น คนดี ท�ำแต่เรื่องดี ทั้งแก่ตนและคนอื่น” หากเป็น เช่นนี้ ความเชื่อเรื่องกรรมเก่าก็มีประโยชน์ โปรดสังเกตนะครับ ประโยชน์ทเี่ ราจะพึงพบ ในโลกนี้ บ างอย่ า งมาจากความรู ้   แต่ บ าง อย่างไม่จำ� เป็นต้องมาจากความรู ้ เช่นกรณีที่ เกิดแก่นายเขียวทีเ่ ราสมมุตเิ พือ่ การอภิปราย นี้ ผมอยากให้ข้อสังเกตว่า สิ่งที่ท�ำให้ นายเขียวรับชีวิตตนตามที่เป็นได้คือความ รูส้ กึ ในเรือ่ งความยุตธิ รรม แรกนายเขียวเป็น ทุกข์เพราะรู้สึกว่าการที่ตนเกิดมาพิการไม่ ยุติธรรม ต่อมาทุกข์นั้นก็จางลงเมื่อท�ำใจรับ ได้ว่าสิ่งที่เกิดแก่ตนนี้ยุติธรรมแล้ว ปรัชญา


ชีวิตกับความยุติธรรม

ธรรมชาติในโลกนัน้ ตามปกติมอี ำ� นาจในการ ท�ำให้คนเอาไปใช้เพราะเชื่อหรือศรัทธาน้อย กว่าศาสนา เรื่องกรรมข้างต้นนั้นหากไม่ได้ สอนโดยพระพุทธเจ้า แต่สอนโดยนักปรัชญา คนใดคนหนึ่ง ก็อาจไม่มีอ�ำนาจโน้มน้าวใจ คนได้เพียงปานนี้ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงอยากขอ กล่าวเข้ามาถึงสิ่งที่สองที่ผมเสนอข้างต้นว่า เกี่ยวข้องกับแนวคิดเรื่องความยุติธรรมใน สังคมมนุษย์ สิ่งนี้คือศาสนา ศาสนาที่เชือ่ ว่ามีพระเจ้ามักเชือ่ ต่อไป ว่ า พระเจ้ า ทรงเป็ น ผู ้ ใ ห้ ก� ำ เนิ ด เราทุ ก คน ในแง่ นี้ ก็ ท รงเป็ น  “พระบิ ด า” ของเรา ใน ฐานะพระบิดา เรามักเชื่อกันต่อไปอีก (โดย คิดเทียบเคียงอุปมากับพ่อของเราทีเ่ ราสัมผัส ได้จริงในชีวติ ) ว่า พ่อย่อมหวังดีตอ่ เราเสมอ พ่ อ ไม่ เ คยหวั ง ร้ า ย มี ข ้ อ ความบางแห่ ง ใน ไบเบิล (ทีผ่ มอ่านนานแล้ว จ�ำได้รางๆ แต่ไม่ น่าผิด) ว่า “เมือ่ ลูกขอขนมปัง มีหรือทีพ่ อ่ จะ ให้ก้อนหิน เมื่อลูกขอปลา มีหรือที่พ่อจะให้ งูรา้ ยแก่ลกู ” ข้อความนีก้ นิ ใจ ไม่ตอ้ งอธิบาย แต่นายเขียวที่เกิดมาพิการ เขาอาจสงสัยว่า ลูกคนอื่นที่สมบูรณ์นั้นเปรียบได้กับลูกที่พ่อ ให้ขนมปังและปลา แต่เราทีเ่ กิดมาพิการเช่น นี้ สิ่งที่เราได้นี่ไม่ใช่ก้อนหินและงูร้ายดอก หรือ ส�ำหรับผม ข้อสงสัยนี้มีมูล และเป็น หน้าทีข่ องใครก็ตามทีศ่ รัทธาในพระผูเ้ ป็นเจ้า จะต้องตอบ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับความ ยุติธรรม และความยุติธรรมที่ว่านี้เกี่ยวโยง ไปหาพระผู้เป็นเจ้า

23

โดยส่วนตัว ผมคิดว่าการอธิบายความ ยุติธรรมแบบเกี่ยวโยงไปหาพระผู้เป็นเจ้า ยากกว่าการอธิบายแบบอ้างกลับมาหาคน ผู้นั้นว่า สิ่งที่เกิดแก่เขามาจากกรรมของเขา เอง ในแง่ที่เป็นความเชื่อ การเชื่อพระเจ้า หรือกรรมน่าจะไม่ตา่ งกัน หากพิจารณาจาก มุมมองของวิทยาศาสตร์ หรือปรัชญาแบบที่ ถื อ ว่ า ความรู ้ จ ะต้ อ งตรวจสอบได้ ด ้ ว ย อายตนะ แต่การเชื่อพระเจ้าสร้างความยุ่ง ยากมากกว่าการเชื่อกรรมตรงที่  สมมุติว่า นายเขียวไม่สงสัยเรื่องว่าพระเจ้าทรงมีอยู่ จริงไหม เขาเชื่อว่าพระเจ้าทรงมีจริง และ พระเจ้านีแ่ หละทีส่ ร้างเขามาให้พกิ ารอย่างนี้ เขาก็อาจสงสัยว่า ท�ำไมจึงทรงเจาะจงสร้าง เขามาอย่างนั้น ในขณะที่คนอื่นๆ ทรงสร้าง มาให้ปกติ สมมุตเิ ราตอบว่า ทรงประสงค์จะ ทดสอบเขา เขาก็คงสงสัยไม่จบอีกแหละครับ ว่าท�ำไมจึงเลือกที่จะทดสอบเขาเท่านั้น ไม่ เลือกคนอื่น เรื่องนี้หากโยงไปหาเรื่องกรรม จะได้ค�ำตอบอีกแบบ กรรมต่างจากพระเจ้า คือ กรรมไม่ได้เลือกอะไรให้ใคร สิ่งที่เกิดแก่ เขาคือสิง่ ทีเ่ ขาเลือกเอง กรรมเพียงแต่จดั สรร ให้ เ กิ ด ผลที่ เ หมาะสมแก่ ก ารกระท� ำ ที่ เ ขา เลือกแล้ว เช่นส่งเขาที่เลือกชั่วไปนรก หรือ ส่งเธอที่เลือกดีไปสวรรค์ ความยุตธิ รรมในนามพระเจ้าต้องการ ศรัทธาทีล่ กึ ซึง้ มากๆ ซึง่ จุดนีอ้ าจพิจารณาว่า เป็นลักษณะดีของค�ำสอนเรื่องพระเจ้าก็ได้ หมายความว่า การที่ใครจะเชื่อว่าพระเจ้า


24

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ทรงมีจริง และพระเจ้าทรงเทีย่ งธรรมแก่บตุ ร ของพระองค์ทุกคนรวมทั้งเขาที่ก�ำลังจะตาย อย่างทรมานเพราะมะเร็งระยะสุดท้าย ไม่ใช่ เรื่องง่าย แต่ถ้าใครผ่านมาถึงจุดนี้ได้ ผมคิด ว่าเขาเป็นคนที่สูงส่งในทางจิตวิญญาณมาก หากเทียบกับทางพุทธก็คงไม่ต่างจากอริย บุคคลระดับสูงสุด แต่ถา้ คิดในทางทีว่ า่  ชีวติ เราแต่ละคน ใครนับถือหรือไม่นบั ถือศาสนาไม่ใช่ประเด็น หากนับถือศาสนานับถือศาสนาอะไร ก็ไม่ใช่ ประเด็น แต่ประเด็นทีอ่ ยูท่ ใี่ ครบ้างทีจ่ ะล่วงรู้ ได้วา่ สักวันหนึง่ ชีวติ ตนจะประสบทุกข์โศกอัน แสนสาหัสหรือไม่ ค�ำตอบคือไม่มใี ครรู ้ ในแง่ นีช้ วี ติ เราล้วนแขวนอยูบ่ นเส้นด้ายบางๆ แห่ง โชคชะตา ศาสนาที่ ส อนเรื่ อ งกรรมเช่ น พระพุทธศาสนาก็ไม่อาจให้หลักประกันได้วา่ หากเราท�ำดีอยู่เสมอในแต่ละวัน เราจะไม่มี ทางถูกปล้นฆ่าแล้วทิง้ ศพไว้ขา้ งทาง หรือเรา ที่ท�ำบุญมามาก ใส่บาตรเสมอทุกเช้าด้วยใจ ที่เลื่อมใสศรัทธาในบวรพุทธศาสนา เราจะ ไม่มที างป่วยเป็นโรคทีท่ รมานอย่างทีส่ ดุ ก่อน ตาย ค�ำตอบคือไม่มีใครให้หลักประกันได้ ในทางศาสนาที่เชื่อเรื่องพระเจ้าก็เช่นกัน ต่อให้เราศรัทธาในพระเจ้าอย่างที่สุด เราก็รู้ ว่าบั้นปลายชีวิตเราอาจตายอย่างโดดเดี่ยว เพียงล�ำพังก็ได้ สิง่ ทีก่ ล่าวมานีเ้ กิดได้กบั พวก ทีบ่ อกว่าฉันไม่มศี าสนา นีค่ อื ภาวะสากลของ การมี ชี วิ ต ที่ แ ขวนอยู ่ บ นเส้ น ด้ า ยแห่ ง โชค ชะตา

Albert Camus เรี ย กสภาพชี วิ ต ที่ ไม่มีอะไรแน่นอนนี้ว่าความไร้สาระของชีวิต ปัญหามีวา่ หากเราเกลียดสิง่ นีม้ าก เราจะหนี จากมันได้อย่างไร เขาตอบว่า ทางหนึ่งที่ ท�ำได้กค็ อื  ฆ่าตัวตาย ใครไม่อยากเป็นมะเร็ง แล้วทรมานก่อนตายก็เลี่ยงได้ด้วยการยิง ตั ว ตายหรื อ กิ น ยาตายเสี ย แต่ ต อนนี้   แต่ Camus ก็พูดว่าเขาไม่เลือกทางที่จะฆ่าตัว ตายหรอก เขาพูดเรื่องนี้ไว้ละเอียดว่าหาก ไม่ เ ลื อ กฆ่ า ตั ว ตาย มี อ ะไรให้ เ ลื อ กบ้ า ง ในหนังสือเล่มหนึ่งของเขาที่ชื่อ The Myth of Sisyphus ผมรับว่าสิ่งที่ Camus ยกมา พูดและพูดต่อว่าเราท�ำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับ ชีวติ นีเ้ ป็นเรือ่ งทีเ่ ราไม่มที างหนีพน้  ดังนัน้ เรา ทุกคนควรเตรียมชีวิตและความคิดของตน ให้พร้อม (ส่วนตัวผมเชือ่ ว่าผมเตรียมรับเรือ่ ง นี้ ม าพอสมควร แต่ เ อาจริ ง ท� ำ ได้ แ ค่ ไ หน ยังสงสัยอยู)่  ศาสนานัน้ มีประโยชน์มากในแง่ เป็นอุปกรณ์ช่วยให้เราเผชิญหน้ากับความ ไร้สาระของชีวติ  คนทีบ่ อกไม่ตอ้ งการศาสนา นั้ น อาจพู ด ไปโดยไม่ ท ราบว่ า ที่ พู ด นั้ น หมายความกว้างยาวลึกแคบเพียงใด เมือ่ เรา ติดอยู่ในลิฟต์ที่ทึบแน่นสนิทคนเดียวในคืน วันศุกร์ บนตึกสูงที่เขาตัดไฟทิ้งทั้งตึก และ ก�ำลังจะตายเพราะหมดอากาศหายใจในคืน วันอังคารทีเ่ ป็นวันหยุดต่อเนือ่ งสีว่ นั  เราตาย อย่างคนมีศาสนาก็ได้ ไม่มีก็ได้ เราเลือกได้ อยูแ่ ล้ว แต่คนมีศาสนาอย่างน้อยก็มอี ะไรให้ คิดถึงหรือยึดโยงตนเองไปหามากกว่าคนที่


ชีวิตกับความยุติธรรม

ไม่ มี ศ าสนาที่ ย ่ อ มต้ อ งตายคนเดี ยว สิ่ ง ที่ Camus เสนอในหนังสือเขานั้นไม่เรียกว่า ศาสนาก็ เ หมื อ นศาสนา ผมรู ้ สึ กอย่ า งนั้ น และผมก็เชือ่ ต่อไปด้วยว่า คนมีศาสนายิง่ ลึก เท่าใด เขาจะเห็นว่าจักรวาลนีย้ ตุ ธิ รรมเสมอ ส�ำหรับเขาและเพื่อนร่วมโลก (อันรวมไปถึง สัตว์ทดี่ เู หมือนทุกข์มากกว่าเราทีเ่ ป็นมนุษย์) มากเท่านั้น สถาบันสุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับความ ยุติธรรมคือกฎหมาย ผมจะไม่พูดอะไรมาก เกี่ ย วกั บ สิ่ ง นี้   เพราะมั น ตื้ น กว่ า ปรั ช ญา ธรรมชาติและศาสนาที่เราพูดกันมาข้างต้น จะอย่างไรก็ตาม ในแง่ความเป็นสิง่ ทีจ่ บั ต้อง ได้ กฎหมายเป็นสิ่งที่สามารถอ�ำนวยความ ยุ ติ ธ รรมให้ เ กิ ด แก่ ชี วิ ต มนุ ษ ย์ ม ากที่ สุ ด ปรัชญาการเมืองบางส�ำนักในโลก (เช่นของ หานเฟย) จึงเสนอความคิดว่ากฎหมายคือ กติกาสูงสุดของมนุษย์ด้วยกันส�ำหรับใช้เพื่อ ท�ำให้การอยู่ร่วมกันเป็นชาติบ้านเมืองของ สัตว์โลกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าคนเป็นไปอย่างที่ ใครจะเอาเปรียบใครไม่ได้ ส�ำหรับนักปรัชญา ที่เชื่อเช่นนี้ กฎหมายต้องเป็นหลักของบ้าน เมือง ไม่ใช่ศาสนา ไม่ใช่ปรัชญาธรรมชาติ การบอกว่ากฎหมายต้องเป็นหลักของ บ้านเมืองเข้าใจได้ แต่ก็ต้องเข้าใจว่าการให้ กฎหมายเป็นหลักนั้นหมายความว่าอย่างไร มนุ ษ ย์ นั้ น มี ชี วิ ต ที่ เ ป็ น ผลผลิ ต มาตาม ธรรมชาติ (หรือจะเรียกว่าพระเจ้าสร้างมาให้ เป็นอย่างนั้นก็ได้) เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง

25

เช่นเดียวกับที่สัตว์และพืชแต่ละอย่างก็เป็น ของมั น อย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง  ขอเรี ย กชี วิ ต ที่ ส�ำเร็จมาตามกระบวนการทางธรรมชาตินวี้ า่ biological life ถามกันมากในวงการปรัชญา ว่า biological life ที่ว่านั้นเป็นอะไรระหว่าง เลวกับดี พูดง่ายๆ ก็คือเราถามกันว่าคนเรา เกิ ด มานั้ น มี ธ รรมชาติ ข ้ า งในชั่ ว หรื อ ดี นั ก ปรั ช ญาบางพวกเชื่ อ ว่ า มนุ ษ ย์ มี ค วาม เลวร้ า ยเป็ น ธรรมชาติ ข้ า งใน หรื ออย่ า งที่ ภาษาไทยโบราณเรี ย กว่ า มี ค วามชั่ ว เป็ น เจ้าเรือน ใครก็ตามหากเห็นอย่างนี้ก็ย่อม ต้องเห็นว่ามาตรการเพื่อจัดการให้มนุษย์ อันเป็นสัตว์ทมี่ คี วามชัว่ เป็นเจ้าเรือนอยูห่ มัด ต้องแรง ซึ่งย่อมไม่มีอะไรเกินกว่ากฎหมาย แต่นักปรัชญาบางพวกกลับเห็นไปในทางที่ ตรงข้ามว่ามนุษย์แรกเกิดเหมือนผ้าขาว ทีช่ วั่ นั้นเพราะไม่มีระบบรักษาความดีไว้ได้ เช่น อาจเพราะเกิดในครอบครัวยากจน ท�ำให้ไร้ การศึกษา หากรัฐดูแลดี มีหรือทีค่ นเราจะชัว่ ไม่มีใครอยากชั่ว เพราะรู้ว่าชั่วแล้วชีวิตไม่มี ความสุข ฝ่ายที่เห็นอย่างนี้ก็อาจเห็นด้วยว่า กฎหมายเป็ น หลั ก น่ ะ ถู ก แล้ ว  แต่ ไ ม่ พ อ กฎหมายเป็นมาตรการเบื้องต้นเพื่อก�ำราบ ความชั่ ว ร้ า ยอย่ า งหยาบที่ อ าจเกิ ด เพราะ ความจ�ำเป็นตามที่กล่าว เรายังต้องการการ ศึ ก ษา จารี ต ประเพณี   ศาสนา เป็ น ต้ น เพื่อกล่อมเกลาให้พลเมืองเราเป็น “คนสุก” ไม่ใช่  “คนดิบ” ที่ไม่ท�ำชั่วเพราะเกรงกลัว กฎหมายเท่านั้น หาใช่คนที่ข้างในได้รับการ


26

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

บ่ ม จนแห้ ง สนิ ท ในทางธรรม ไม่ มี ท างก่ อ กรรมท�ำชัว่ ได้ เพราะเข้าใจว่าชีวติ ทีป่ ระเสริฐ คืออะไร ผมเป็นพุทธศาสนิกชน เชื่ออย่างหลัง แต่ก็เห็นประโยชน์ของกฎหมาย พระพุทธ ศาสนาสอนให้ ผ มมองโลกตามที่ เ ป็ น จริ ง ไม่ได้สอนให้มองอย่างที่อยากให้เป็น คนท�ำ ชัว่ มีไหมในโลกนี ้ ต้องตอบว่ามีมากเหลือเกิน ถามต่อว่าควรจัดการพวกเขาอย่างไร ก็ต้อง ตอบว่าใช้กฎหมายก่อนเลย กฎหมายนัน้ เป็น ปฐมโอสถ ท�ำนองคนก�ำลังท้องร่วงจูด้ ๆ อยู่ จะให้กินข้าวกินน�้ำไม่ได้ ต้องให้กินยาเพื่อ หยุดอาการนั้นก่อน เมื่อร่างกายค่อยๆ ฟื้น แล้วจึงให้อาหารอ่อนๆ และน�้ำ ข้อนี้ฉันใด การเยียวยาโลกที่คลาคล�่ำด้วยอาชญากรก็ ต้ อ งอย่ า งนั้ น  แต่ จั บ เข้ า คุ ก หรื อ ประหาร เท่านัน้ ไม่พอ เราต้องคิดหาหนทางปรับคนที่ ปรั บ ได้ เ พื่ อ ให้ เ ป็ น คนมี คุ ณ ภาพ ศาสนา วัฒนธรรม การศึกษา คือเครื่องมือปรับคน กฎหมายไม่ มี ค วามสามารถท� ำ ได้   แต่ กฎหมายก็เป็นเครือ่ งมือส�ำคัญเพือ่ ให้ศาสนา ศี ล ธรรม และการศึ ก ษา เป็ น ต้ น ที่ เ รา ต้องการท�ำงานได้ ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าตรัสว่า อาชญากรรมเชื่ อ มโยงกั บ เศรษฐกิ จ  บ้ า น เมืองใดหากินล�ำบาก สุจริตชนที่ล�ำบากเกิน ขอบเขตก็ ย ่ อ มอาจกลายเป็ น ทุ จริ ต ชนได้ จึงทรงสอนบรรดาเจ้านครทั้งหลายสมัยนั้น ว่าให้ท�ำท้องประชาชนให้อิ่มก่อน แล้วอย่าง

อืน่ จะง่าย คงไม่มใี ครสงสัยเรือ่ งนีก้ ระมังครับ เมื่อเป็นอย่างนั้น กฎหมายก็มีหน้าที่ส�ำคัญ มากอย่ า งหนึ่ ง คื อ อ� ำ นวยให้ เ กิ ด ความ ยุติธรรมในทางเศรษฐกิจ ชาวนาที่ปลูกข้าว ขายควรมีชวี ติ ทีไ่ ม่ตำ�่ ต้อยกว่าพ่อค้าขายข้าว จนน่าเกลียด ผมเชื่อว่าศาสนาทุกศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิง่ ศาสนาทีส่ อนเรือ่ งพระเจ้า เช่น ศาสนาคริสต์และอิสลาม มีพลังทาง สังคมในเรื่องที่จะเอาค�ำสอนและวัฒนธรรม ทางศาสนามาช่ ว ยผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด ความ ยุติธรรมทางเศรษฐกิจ ที่ดินนั้นพระเจ้าทรง สร้างให้บตุ รของพระองค์ทกุ คน บุตรคนใดมี มากเกินจะอธิบายได้เราต้องมีกฎหมายบีบ บังคับ (ด้วยเหตุผลนะครับ) เอาคืนมาเจือ จานคนที่เขาไม่มี ว่าไม่ถูกหรอกที่คุณสะสม ทรัพยากรธรรมชาติมากกว่าคนอื่นๆ อย่าง นั้นเพราะคุณไม่ได้สร้างผืนแผ่นดิน พ่อคุณ ปูค่ ณ ุ  บรรพบุรษุ คุณ... ก็ไม่ได้สร้าง หากเป็น ชาวพุทธ แม้ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้าเราก็ยังอ้าง เรื่องธรรมชาติได้ว่า คุณสร้างแผ่นดินนี้หรือ ไม่ใช่คุณเลย ธรรมชาติต่างหาก แล้วคุณมี สิ ท ธิ อ ะไรที่ จ ะครอบครองของส่ ว นรวม มากกว่าคนอื่น เห็นไหมครับว่า ศาสนามี พลั ง ในการอธิ บ ายความเป็ น ธรรมทาง เศรษฐกิจอย่างไร ทีส่ ดุ แล้ว ศาสนาก็ยงั มีอำ� นาจทีล่ กึ ซึง้ กว่ากฎหมายในแง่ที่ว่า หากศาสนาท�ำงาน ส�ำเร็จ คนจะเข้าใจด้วยตัวเขาเองว่า โลกก็ เท่านี้ ชีวิตก็เท่านี้ จะสะสมอะไรกันนักหนา


ชีวิตกับความยุติธรรม

Adam Smith เขียนไว้ในหนังสือเล่มหนึ่ง ของเขาที่ชื่อ The Theory of Moral Sentiments ว่า ลึกๆ คนรวยทุกคนรู้ดีว่าความ รวยนั้นไม่ช่วยให้เขาได้ใช้ทรัพยากรของโลก มากเกินกว่าคนทั่วไปสักเท่าใดดอก Smith เขียนว่า ท้องคนรวยก็ยงั เท่าเดิมต่อให้รวยขึน้ มากปานใดก็ตาม เมือ่ ท้องเท่าเดิม ข้าวทีเ่ ขา กินมือ้ หนึง่ ก็ไม่ตา่ งจากทีช่ าวนากินสักกีม่ าก น้อย คนรวยนั้นตามความเห็นของ Smith ดูเหมือนก่อกรรมชั่วแก่คนอื่นได้มาก เช่น ครอบครองที่ดินไว้มาก ท�ำให้คนอื่นไม่มีที่ ดินใช้สอยอยู่อาศัย และเอาเข้าจริงที่ครอบครองไว้ นั้ น ก็ ไ ม่ ไ ด้ ใ ช้   เพราะคนเรามั น จะ สร้ า งบ้ า นใหญ่ สั ก ปานใดเชี ย วต่ อ ให้ เ ป็ น อัครอภิมหาเศรษฐี สิ่งที่เป็นปัญหาอันเนื่อง มาจากคนรวยจึ ง อยู ่ ที่ ชี วิ ต เขากลายเป็ น จระเข้ขวางคลองไม่ให้น�้ำไหลไปหาคนที่เขา ต้องการเท่านัน้ เอง ตัวจระเข้นนั้ ก็ไม่ได้กนิ น�ำ้ ที่ตนขวางเขาอยู่นั้น คนรวยก็ไม่ได้อายุยืน อย่างเป็นพิเศษกว่าคนอื่น สรุปคือวันหนึ่ง พวกนี้ก็ต้องตาย สมบัติพัสถานที่มีอยู่อเนก อนันต์นั้นก็ไม่ได้กินใช้สักเท่าไหร่ คนรวยที่ สร้ า งงานนั้ น Smith ถือว่า เป็นประโยชน์ ต่อสังคม ผมเห็นด้วย และคิดว่าศาสนาทั้ง หลายรวมทั้ ง พระพุ ท ธศาสนาด้ ว ยไม่ ค วร รังเกียจใครเพียงเพราะว่าเขารวย คนรวยที่ เป็นสาวกสาวิกาของพระพุทธเจ้ามีไม่น้อย และคนเหล่านี้ก็ท�ำประโยชน์แก่สังคมรวม และศาสนามาก เงินนัน้ เป็นอุปกรณ์ให้เราท�ำ

27

ดีก็ได้ท�ำชั่วก็ได้ ปัญหามีว่าท�ำอย่างไรเราจึง จะท�ำให้บรรดาเศรษฐีทั้งหลายหันมาใช้เงิน เพื่อท�ำความดี นี่ต่างหากคือโจทย์ที่ศาสนา ทั้งหลายจะต้องช่วยกันคิด ศาสนานัน้ มีประสบการณ์และค�ำสอน ที่ลึกซึ้งอันเหมาะแก่การชักชวนคนรวยให้ใช้ เงินในทางสร้างสรรค์อยู่แล้ว ประกอบกับ หากเราเชือ่ เหมือน Smith ว่าคนรวยเขาก็คดิ เป็นนะครับ เขารูว้ า่ จริงๆ เขาก็กนิ ใช้ทรัพยากร ของโลกไม่ต่างจากคนอื่นหรอก ที่หาเงินไม่ หยุดเพราะมันเป็นงาน ไม่ใช่เพราะรูส้ กึ ว่ายัง ไม่พอ เศรษฐีบางคนนั้น แค่เงินที่เขาหาได้ วันเดียวเขาก็รู้ว่าสามารถกินใช้ไปได้ทั้งชาติ ที่เขาไม่หยุด เพราะเขาท�ำงาน เหมือนที่เรา ต้องหายใจ เดินไปเดินมา เป็นต้นนั่นแหละ ครับ หากเป็นอย่างนี้ ศาสนาย่อมง่ายที่จะ ชักชวนให้คนเหล่านี้แปรทุนให้เป็นงาน แล้ว จ้างงานอย่างยุติธรรม ก�ำไรมหาศาลที่ยัง ไหลมาอยู่แม้จะจ่ายคนงานอย่างยุติธรรม แล้วอย่างไรก็กนิ ใช้ไม่หมด เอามาท�ำสาธารณ ประโยชน์ทเี่ รียกว่าบุญกุศลดีไหม สังคมแบบ นี้น่าอยู่มากใช่ไหมครับ ที่ สุ ด แล้ ว  โลกหรื อ จั ก รวาลนี้ ก็ ยั ง ยุตธิ รรมเสมอทีใ่ ห้ชว่ งชีวติ คนเราและสัตว์พชื ทั้งหลายทั้งปวงมาใกล้เคียงกันในหมู่พวก กันเอง เต่าอาจอายุยนื กว่าคน ในหมูเ่ ต่าอายุ โดยเฉลี่ยของพวกเขาก็ใกล้เคียงกัน ในหมู่ พวกเราก็ดังนั้น เป็นกษัตริย์ นายกรัฐมนตรี มหาเศรษฐี   จั บ กั ง  หมอนวด อาจารย์


28

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

มหาวิทยาลัย พระเณร บาทหลวง อิหม่าม เป็ น ต้ น  ไม่ ต ่ า งกั น  คื อ ได้ รั บ อนุ ญ าตโดย ธรรมชาติหรือพระเจ้าให้พ�ำนักในโรงแรม นามว่า “โลก” นีเ้ ท่าๆ กัน ถึงเวลาก็ตอ้ งเช็ค เอาท์ ไม่อาจต่อรอง มีเงินมีอ�ำนาจก็เช็คอิน ต่อไม่ได้ โลกนี้ช่างยุติธรรมเสียเหลือเกิน...


เป็นเสื้อเกราะ” (อฟ 6:14) บาทหลวง ผศ.ดร.ฟรังซิส ไก้ส์, S.D.B.

ในจดหมายถึ ง ชาวเอเฟซั ส  นั ก บุ ญ เปาโลประกาศว่าพระคริสตเจ้าทรงเป็นจุด มุ ่ ง หมายของโลกและศู น ย์ ก ลางของพระ ศาสนจักร เขายังเสนอบทบาทของพระเยซู เจ้าในประวัติศาสตร์มนุษย์ ในชุมชนและ ในหัวใจของผูม้ คี วามเชือ่  ซึง่ มีสว่ นร่วมส�ำคัญ ในประวัตศิ าสตร์แห่งความรอดพ้น เพราะใน พระคริสตเจ้าทุกอย่างจะกลับคืนดีกัน ต่อจากวิสัยทัศน์สูงส่งและทรงคุณค่า ของประวัติศาสตร์มนุษย์ที่มีศูนย์กลางใน พระคริสตเจ้าแล้ว นักบุญเปาโลอธิบายชีวิต

ใหม่ของพระศาสนจักรคือ ชีวิตความเป็น หนึง่ เดียวกัน ชีวติ ใหม่นลี้ ะทิง้ ทุกสิง่ ทุกอย่าง ที่ล้าสมัย หลอกลวงและโกหก กลับมาเป็น ชีวิตบุตรของพระเจ้าที่สามารถชดเชยและ ช�ำระทุกเครือข่ายและโครงสร้างการด�ำรงอยู่ ของมนุ ษ ย์   ไม่ ว ่ า จะเป็ น ความสั ม พั น ธ์ ใ น ครอบครัว ในสังคมและในสิ่งสร้างทั้งมวล แผนการของพระเจ้ายิ่งใหญ่มาก จน กระทั่งเมื่อเราพยายามเข้าใจทั้งหมด เราก็ สับสน ยิ่งกว่านั้น เมื่อเราพยายามน�ำความ คิ ด ดั ง กล่ า วมาปฏิ บั ติ ใ นชี วิ ต ประจ� ำ วั น

บาทหลวงสังกัดคณะซาเลเซียน S.D.B., อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

(หมวดสัจธรรม)

ความชอบธรรม

“จงสวม


30

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ศักดิ์ศรีและกระแสเรียกยิ่งใหญ่ของเราอาจ ท�ำให้รู้สึกว่าปฏิบัติได้ยาก ในตอนท้ายของ จดหมาย นั ก บุ ญ เปาโลจึ ง ตั ก เตื อ นผู ้ อ ่ า น ว่า “สุดท้ายนี้ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้เข้มแข็ง ในองค์ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า  จงตั กตวงพลั ง จาก พระพลานุภาพของพระองค์ จงสวมใส่อาวุธ ครบชุดของพระเจ้า เพื่อท่านจะยืนหยัดต่อ ต้านเล่ห์กลของปีศาจได้... จงยืนหยัดมั่นคง จงคาดสะเอวด้วยความจริง จงสวมความ ชอบธรรมเป็ น เสื้ อ เกราะ จงสวมความ กระตื อ รื อ ร้ น ที่ จ ะประกาศข่ า วดี แ ห่ ง สั น ติ เป็นรองเท้า จงถือความเชื่อเป็นโล่ไว้เสมอ เพื่อใช้ดับธนูไฟของมาร” (อฟ 6:10-11, 13-16) ดั ง นั้ น  ถ้ า คริ ส ตชนเข้ ม แข็ ง ในพระ คริสตเจ้า ความยากล�ำบากที่เขาทั้งหลาย จินตนาการไว้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องเฟ้อฝัน แต่เป็น ความจริง อย่างไรก็ตาม เขาต้องเตรียมตัว ด้ ว ยใจสงบ อาวุ ธ ครบชุ ด ของพระเจ้ า จะ ปกป้องเขา แม้การด�ำเนินชีวิตตามแผนการ ของพระเจ้าไม่ใช่เรื่องง่ายก็จริง แต่มีพระ อานุภาพของพระคริสตเจ้าและมีอาวุธครบ ชุดของพระองค์ ในข้อความนี้ ผู้เขียนเชิญชวนผู้อ่าน ให้ พิ จ ารณาอาวุ ธ ประการที่   2 ซึ่ ง นั ก บุ ญ เปาโลเสนอให้สวมใส่ เมื่อเขากล่าวว่า “จง สวมความชอบธรรมเป็นเสื้อ เกราะ” (อฟ 6:14) ประโยคนีห้ มายถึงอะไร นักบุญเปาโล ต้องการแนะน�ำผู้มีความเชื่อให้มีท่าทีเช่นใด

1. ความหมายของ “ความชอบธรรม” ใน พระคัมภีร์ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะก�ำหนดว่า นักบุญ เปาโลหมายถึงอะไร เมื่อเขาพูดถึง “ความ ชอบธรรม” เพราะในพระคั ม ภี ร ์ ค� ำ นี้ มี ความหมายแตกต่ า งกั น ขึ้ น อยู ่ กั บ บริ บ ท ที่ ใ ช้ นั ก บุ ญ เปาโลคงจะระลึ ก ถึ ง ข้ อ ความ บางตอนในพันธสัญญาเดิม เช่น บทที่ 11 ของหนั ง สื อ ประกาศกอิ ส ยาห์ ที่ ก ล่ า วถึ ง พระเมสสิยาห์ในอนาคตว่า “ความชอบธรรม จะเป็นดังผ้าคาดสะเอว ความซือ่ สัตย์จะเป็น เหมื อ นเข็ ม ขั ด คาดบั้ น เอวของเขา” (อสย 11:5) แม้นักบุญเปาโลไม่ได้อ้างข้อความนี้ ค�ำต่อค�ำ แต่คงจะได้รบั ความคิดข้อนีม้ าจาก พระคัมภีร์ ประโยคที่ว่า “ความชอบธรรมจะเป็น ดังผ้าคาดสะเอว” กล่าวถึง “ความยุติธรรม ของกษัตริย์” กษัตริย์ผู้ปฏิบัติความยุติธรรม คื อ ผู ้ ท่ี ป ระหารชี วิ ต คนอธรรม โจมตี ผู ้ ใ ช้ ความรุนแรงและปกป้องผู้ยากจน ในกรณีนี้ ประกาศกอิสยาห์หมายถึง ความยุติธรรม เฉพาะเจาะจงของกษัตริย์ ของผู้พิพากษา ในสถานการณ์ ที่ ไ ร้ ค วามยุ ติ ธ รรม เป็ น สถานการณ์ที่ผู้ยากจนถูกเบียดเบียนข่มเหง ส่วนผูใ้ ช้ความรุนแรงและคนอธรรมมีชยั ชนะ และมีอำ� นาจปกครอง อย่างไรก็ตาม ยังมีอกี ข้อความหนึง่ ในพันธสัญญาเดิมทีก่ ล่าวอย่าง ชัดเจนถึง “ความชอบธรรมเป็นเสื้อเกราะ” คือเพลงสดุดีขอสมาโทษที่เราพบในหนังสือ


“จงสวมความชอบธรรมเป็นเสื้อเกราะ” (อฟ 6:14)

ประกาศกอิสยาห์บทที่ 59 ข้อ 1-20 เป็น เพลงสดุดีใช้โทษบาปที่กล่าวถึงสถานการณ์ ความทุ ก ข์ ท รมานของประชากรในเวลา นั้น “ข้าแต่พระยาห์เวห์ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้ลว่ งละเมิดพระองค์หลายครัง้  บาปก็กล่าว โทษข้าพเจ้าทั้งหลาย เพราะการล่วงละเมิด อยู ่ ต ่ อ หน้ า ” (อสย 59:12) ประชากรได้ ละเลยที่จะปฏิบัติความถูกต้อง ความชอบ ธรรมอยู ่ ห ่ า งไกลจากเขา และพระเจ้ า พระองค์ เ องจะเสด็ จ มาช่ ว ยเหลื อ เขา “พระองค์ทรงเห็นว่าไม่มีผู้ใด ทรงประหลาด พระทัยที่ไม่มีผู้ใดวอนขอแทนผู้อื่น ดังนั้น พระองค์เสด็จมาช่วยเหลือด้วยพระอานุภาพ ความเที่ ย งธรรมผลั ก ดั น พระองค์ ใ ห้ ท รง กระท�ำเช่นนี ้ พระองค์ทรงสวมความยุตธิ รรม เป็นเสมือนเสือ้ เกราะ ทรงสวมความรอดพ้น เป็นเสมือนเกราะป้องกันพระเศียร” (อสย 59:16-17) มี ค วามเป็ น ไปได้ สู ง ที่ นั ก บุ ญ เปาโล คงคิดถึงค�ำเหล่านี้อยู่ในใจ เพราะต่อจากนี้ เขากล่าวถึง “เกราะป้องกันศีรษะ” เช่นกัน ดังนัน้  ข้อความนีจ้ ากประกาศกอิสยาห์กล่าว ถึงความเที่ยงธรรมของพระเจ้า คือพระองค์ เสด็จมาเพื่อจัดให้สถานการณ์ของโลกกลับ เป็นระเบียบเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง “จากทิศ ตะวันตก เขาทั้งหลายจะย�ำเกรงพระนาม พระยาห์เวห์ จากทิศตะวันออกเขาจะย�ำเกรง พระสิริรุ่งโรจน์ของพระองค์ เพราะพระองค์ จะเสด็จอย่างแม่น�้ำที่ไหลเชี่ยว ที่พระปราณ

31

ของพระยาห์เวห์ผลักดัน” (อสย 59:19) ในที่นี้จึงอ้างถึงความเที่ยงธรรมหรือความ ชอบธรรมโดยตรงในฐานะเป็นกิจการของ พระเจ้ า  ผู ้ ท รงบั น ดาลให้ ทุ ก สิ่ ง กลั บ เป็ น ระเบียบ อย่างไรก็ตาม แม้ในกรณีนี้ไม่ใช่เรื่อง ง่ า ยที่ จ ะเข้ า ใจความหมายของความชอบ ธรรม เพราะนักบุญเปาโลเตือนกลุม่ คริสตชน ให้สวมความชอบธรรมเป็นเสือ้ เกราะ เขาคง ไม่ เ ชิ ญ ชวนคริ ส ตชนให้ ป ฏิ บั ติ ค วามเที่ ย ง ธรรมแทนพระเจ้ า  แต่ ต ้ อ งเป็ น ท่ า ที ข อง มนุษย์ ดังนัน้  ค�ำว่า “ความชอบธรรม” คงจะ ไม่ ห มายถึ ง ความชอบธรรมของกษั ต ริ ย ์ และความเที่ยงธรรมของพระเจ้า ผู้ทรงจัด ทุกอย่างให้เรียบร้อย แต่ต้องหมายถึงความ ชอบธรรมทีเ่ ป็นลักษณะเฉพาะของคริสตชน แต่ละคน ดังที่นักบุญเปาโลอ้างถึงก่อนหน้า นี้ในจดหมายเดียวกันว่า “จงสวมใส่สภาพ มนุษย์ใหม่ ซึ่งพระเจ้าทรงเนรมิตให้เหมือน พระองค์   มี ค วามชอบธรรมและความ ศักดิ์สิทธิ์ที่มาจากความจริง” (อฟ 4:24) เมื่อนักบุญเปาโลเชิญชวนคริสตชนให้ สวมความชอบธรรมเป็นเสื้อเกราะ เขาอาจ หมายถึงท่าทีเฉพาะของมนุษย์ใหม่  ดังนั้น พฤติ ก รรมของมนุ ษ ย์ ใ หม่ ที่ ถู ก สร้ า งให้ มี ความชอบธรรมเป็นอย่างไร โดยแท้จริงแล้ว ค�ำนามในพระคัมภีร์ ทีว่ า่  “ความชอบธรรม” แปลเป็นภาษาใหม่ๆ ได้ยาก เพราะเป็นการแสดงวิธีด�ำเนินชีวิต


32

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

โดยรวมของมนุษย์ ไม่ใช่ลักษณะใดลักษณะ หนึง่  เป็นความคิดในความหมายกว้างๆ เช่น เดียวกับค�ำที่ว่า “ความซื่อสัตย์สุจริต” เมื่อ เราพูดถึงความซื่อสัตย์สุจริต เราอาจเข้าใจ ความหมายแตกต่างกัน เช่น อาจหมายถึง ท่ า ที ข องผู ้ ที่ ป ฏิ บั ติ ห น้ า ที่ อ ย่ า งสมเกี ย รติ เป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ใ นสายตาของทุ ก คน หรื อ อาจจะพูดถึงความซือ่ สัตย์สจุ ริตในด้านธุรกิจ คือผู้ที่ซื่อตรงในการด�ำเนินกิจการ ค้าขาย ยั ง มี ค วามซื่ อ สั ต ย์ สุ จ ริ ต ในชี วิ ต สมรส ซึง่ หมายถึงความซือ่ สัตย์ในการปฏิบตั หิ น้าที่ ชี วิ ต คู ่   ดั ง นั้ น  ค� ำ ๆ เดี ย วกั น อาจมี ค วาม หมายหลายอย่าง ค�ำในภาษาฮีบรู “เอเมด” ที่เรามักจะ แปลว่ า  “ความชอบธรรม” เป็ น ค� ำ ที่ มี ลั ก ษณะเช่ น นี้   คื อ หมายถึ ง ความสั ม พั น ธ์ ถูกต้องกับพระเจ้าและกับผู้อื่น ส�ำหรับชาว ยิว ความสัมพันธ์ทถี่ กู ต้อง แสดงออกในการ ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกข้อ เช่น พระวรสาร เรียกนางเอลีซาเบธและเศคาริยาห์ว่า “เป็น ผู้ชอบธรรม” (ลก 4:24) เพราะเขาทั้งสอง คนปฏิ บั ติ ต ามข้ อ ก� ำ หนดทุ ก ข้ อ ของธรรม บัญญัติคือ วันสับบาโต การจ�ำศีลอดอาหาร เทศกาลประจ�ำปี การเดินทางแสวงบุญไปยัง พระวิหารทีก่ รุงเยรูซาเล็ม ฯลฯ นักบุญโยเซฟ ก็เป็น “ผูช้ อบธรรม” (มธ 1:19) ด้วยเช่นกัน เพราะเขาค�ำนึงถึงธรรมบัญญัติและจิตตารมณ์ ข องธรรมบั ญ ญั ติ ทุ ก ข้ อ  ความคิ ด นี้ กว้างขวางมาก เพราะ “ความชอบธรรม”

ยังเป็นการยอมรับว่าต้องมีความสัมพันธ์ที่ โปร่งใสและสมดุล ความหมายนี้คล้ายกับ หัวข้อในพระคัมภีร์เกี่ยวกับความจริง ดังนั้น ความชอบธรรมและความจริงจึงอยู่ด้วยกัน เสมอในพระคัมภีร์ “การยอมรับความสัมพันธ์ที่ถูกต้อง” คือ “การปฏิบัติความจริง” และ “การท�ำให้ ความสัมพันธ์ที่ถูกต้องประสบความส�ำเร็จ” คือ “การกลายเป็น ผู้ชอบธรรม” ในความ สัมพันธ์ส่วนบุคคล “การสร้างความสัมพันธ์ ที่ถูกท�ำลายให้กลับคืนมาใหม่ยัง” เป็นงาน ของความชอบธรรมอี ก ด้ ว ย เช่ น  ความ ยุติธรรมของผู้พิพากษา ความยุติธรรมของ กษั ต ริ ย ์ คื อ  การสร้ า งความเป็ น ธรรมที่ ถู ก ท� ำ ลายให้ ก ลั บ คื น มาใหม่   เมื่ อ ความ สั ม พั น ธ์ นั้ น ได้ รั บ บาดแผลหรื อ แตกหั ก พระเจ้าพระองค์เองทรงเที่ยงธรรมเพราะ ทรงจั ด สิ่ ง ผิ ด พลาดระหว่ า งมนุ ษ ย์ กั บ พระองค์ให้เป็นระเบียบใหม่ ในจดหมายถึงชาวโรมัน นักบุญเปาโล เทศน์สอนเรื่องความเที่ยงธรรมของพระเจ้า นี้   ซึ่ ง เป็ น พระเมตตากรุ ณ าของพระองค์ พระองค์ ท รงให้ อ ภั ย มนุ ษ ย์ ที่ ท� ำ บาปและ ประทานความรอดพ้นแก่เขา โดยสร้างความ สัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ให้กลับมีระเบียบคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ความ เที่ยงธรรมของพระองค์จึงแสดงพระเมตตา ที่ จั ด ให้ ทุ ก อย่ า งเรี ย บร้ อ ย ไม่ ใ ช่ ด ้ ว ยการ แก้ แ ค้ น แต่ ด ้ ว ยการให้ อ ภั ย บาป ดั ง นั้ น


“จงสวมความชอบธรรมเป็นเสื้อเกราะ” (อฟ 6:14)

ค�ำว่า “ชอบธรรม” หรือ “ยุติธรรม” ในพระ คัมภีร์ มีความหมายหลายอย่างที่ใกล้เคียง กัน 2. ความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระเจ้า นักบุญเปาโลต้องการเน้นอะไรเมื่อ เชิญชวนคริสตชนให้ “สวมความชอบธรรม เป็นเสื้อเกราะ” ก่อนอื่นหมด เขาชี้ประเด็น บางอย่างที่ปกป้องความอ่อนแอของเรา คือ ปกป้องเราจากความคิดผิดและหลอกลวง ปกป้องเราจากเล่ห์กลของปีศาจผู้ต้องการ ท� ำ ให้ เ ราไม่ มี ค วามไว้ ว างใจ มี ค วามกลั ว ความวิตกกังวล และมีความทุกข์ใจ การสวม ความชอบธรรมเป็นเสื้อเกราะกีดกั้นกิเลสที่ มี อ ยู ่ ใ นตั ว เรามิ ใ ห้ ร ่ ว มมื อ กั บ การถู ก ผจญ ภายนอก เราอาจเข้าใจว่าท่าทีที่นักบุญเปาโล แนะน�ำจากบรรดาคริสตชนคือ ความสัมพันธ์ ถูกต้องของเรากับพระเจ้าและกับผู้อื่น ดังที่ เขาได้ อ ธิ บ ายก่ อ นหน้ า นั้ น ในตั ว บทของ จดหมาย ความสัมพันธ์ที่ถูกต้องท�ำให้เรา มองตนเองเฉพาะพระพักตร์พระองค์ว่าตน เป็น ผู้ที่พระเจ้า “ทรงส�ำแดงความรัก” เป็น ผู้ “ได้รับความรอดพ้นเพราะพระหรรษทาน มิได้มาจากการกระท�ำใดๆ” ของตน ดังที่ นั ก บุ ญ เปาโลอธิ บ ายในจดหมายถึ ง ชาว เอเฟซัสตั้งแต่บทที่  2 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 10 ดังนั้น “จงสวมความ ชอบธรรมเป็ น เสื้ อ เกราะ” หมายถึ ง  จงมี

33

ความสัมพันธ์ทถี่ กู ต้องกับพระเจ้า ผูท้ รงพระ กรุณาต่อเราและต่อบาปของเรา จงตัง้ ตนอยู่ เฉพาะพระพักตร์พระเจ้าอย่างถูกต้อง ท่าทีนี้เรียกว่าเสื้อเกราะ เพราะความ ถ่ อ มตน ความส� ำ นึ ก ที่ ว ่ า เราขึ้ น อยู ่ กั บ พระเจ้าโดยสิ้นเชิงปกป้องเราจากการถูก ผจญมากมาย ไม่ ว ่ า จะเป็ น ความท้ อ แท้ ความหยิ่ ง จองหอง ความทะเยอทะยาน ท่าทีนี้ท�ำให้ชีวิตของเราอยู่ในมิติที่ถูกต้อง ต่อหน้าความยิ่งใหญ่ของพระเจ้า มีความ สัมพันธ์กบั ความจริง เพราะท�ำให้เรากลับอยู่ ในสภาพถูกต้องดังที่ควรเป็นอยู่ตลอดเวลา ต่อหน้าแผนการของพระเจ้า โดยตระหนักว่า ตนเป็นคนบาปผู้ได้รับพระเมตตากรุณาและ มีชวี ติ อยูเ่ พราะพระทัยดีและพระเมตตาของ พระเจ้าเท่านั้น เสื้อเกราะนี้ยังช่วยเราให้รักษาความ สัมพันธ์ที่ถูกต้องกับผู้อื่น คือมีท่าทีแสดง ความสนิ ท สั ม พั น ธ์ เ ป็ น หนึ่ ง เดี ย วที่ ไ ด้ รั บ ความรอดพ้นพร้อมกัน มีความผูกพันซึ่งกัน และกั น ในจุ ด มุ ่ ง หมายเดี ย วกั น  เป็ น เสื้ อ เกราะที่กลายเป็นวิธีแสดงความสมานฉันท์ ซึ่ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด พฤติ ก รรมที่ ดี แ ละมี ชี วิ ต ชี ว า เป็นวิธีแสดงความรักต่อเพื่อนพี่น้อง ดังที่ นักบุญเปาโลอธิบายในบทที ่ 4 ตัง้ แต่ขอ้  25 เมื่อเราอ่านข้อความทั้งสองตอนนี้ คือความ สั ม พั น ธ์ กั บ พระเจ้ า  (เที ยบ อฟ 2:1-10) และความสัมพันธ์กบั ผูอ้ นื่  (เทียบ อฟ 4:2532) จะเห็นว่าท่าทีนี้สอดคล้องกับจิตส�ำนึก


34

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ที่ดีของตนเอง ซึ่งไม่เป็นความจองหอง แต่ เป็นความถ่อมตนลึกซึ้งที่ท�ำให้เราตั้งตนอยู่ อย่างสงบต่อหน้าการผจญใดๆ หรือต่อความ ทุกข์ยากทีม่ าจากภายนอก นักบุญเปาโลต้อง การให้คริสตชนมีความมั่นใจภายใน ไม่มี ความกังวล ความอับอายและความลังเลใจ แต่ตอ้ งเป็นความมัน่ ใจทีถ่ กู ต้องคือมีพนื้ ฐาน ในการตีคุณค่าทุกสิ่งอย่างถูกต้อง และยังมี พืน้ ฐานในความสัมพันธ์กบั ผูอ้ นื่  ซึง่ ท�ำให้เรา มี สั นติ ใ นจิ ต ใจและช่ว ยเราให้มีความสงบ มีใจราบคาบในการอธิษฐานภาวนาและใน การถวายชีวิตประจ�ำวันของเราแด่พระเจ้า สั น ติ สุ ข ภายในจิ ต ใจเป็ น เสื้ อ เกราะที่ ค อย ป้องกันเราจากการถูกผจญที่จะไม่ไว้ใจใน พระเจ้ า และมี ค วามกลั ว  ซึ่ ง สร้ า งความ วุ่นวายภายในจิตใจ ดังนั้น เราจะพิจารณาบางประโยคใน บทที่ 2 ตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อ 10 อย่างสั้นๆ ซึ่ ง ให้ ค� ำ นิ ย ามความสั ม พั น ธ์ ข องเรากั บ พระเจ้าอย่างถูกต้อง 2.1 เราเป็นผู้ใด นักบุญเปาโลบรรยายสภาพของมนุษย์ ก่ อ นการเสด็ จ มาของพระคริ ส ตเจ้ า ด้ ว ย ถ้อยค�ำเหล่านี้ว่า “ท่านทั้งหลายตายแล้ว เพราะการล่ ว งละเมิ ด และเพราะบาป ครั้งหนึ่งท่านเคยด�ำเนินชีวิตตามโลกียวิสัย อยู ่ ใ ต้ อ� ำ นาจเทพนิ ก รเจ้ า ผู ้ ป กครองชั้ น บรรยากาศ คือจิตที่ท�ำงานอยู่ในมนุษย์ที่ไม่ ยอมเชื่อฟัง (อฟ 2:1-2)

ในที่ นี้   นั ก บุ ญ เปาโลอ้ า งถึ ง ทั้ ง ประสบการณ์ ข องประชากรผู ้ ไ ด้ รั บ การ เลือกสรรและคนต่างชาติที่ได้รับเรียกให้มี ความเชื่อ ดังนั้น เขาจึงรวมมนุษย์ทุกคนไว้ ในความไม่สามารถทีจ่ ะเข้าถึงพระหรรษทาน ของพระเจ้าได้ “ในจ�ำนวนของผู้ก่อการกบฏ นัน้ เป็นเรือ่ งทีเ่ ราทุกคนอาศัยอยู”่  (อฟ 2:3) นั ก บุ ญ เปาโลต้ อ งการบอกว่ า  เรา แต่ละคนต้องพิจารณาว่า พระเจ้าทรงดึงตน ออกมาจากความยากจน ความยากจนนี้ ไม่จ�ำเป็นต้องเป็นชีวิตส่วนตัวซึ่งอาจจะมี ความเชื่อ ได้รับศีลล้างบาปและอยู่ในพระ ศาสนจักร แต่เป็นความยากจนของชะตา กรรมมนุ ษ ย์   ซึ่ ง เราทุ ก คนมี ส ่ ว นร่ ว มและ พระเจ้าทรงดึงเราออกมา เราต้องจดจ�ำไว้วา่ แม้แต่ละคนได้รับศีลล้างบาป ก็ล้วนมาจาก สถานการณ์ที่ว่า ถ้าพระเจ้าไม่ทรงเปิดเผย พระองค์แก่มนุษย์ เราคงจะจมอยูใ่ นสภาพที่ ไม่ มี ค วามรอดพ้ น เลยตลอดไป คื อ อยู ่ ใ น สภาพมืดมิดและถูกผจญอย่างไม่สามารถ เอาชนะได้ ยิ่งกวานั้น เรารู้ว่าเราคงไม่อาจ บรรลุความรูส้ มบูรณ์เกีย่ วกับพระเจ้า เพือ่ จะ ช่วยเราให้รักพระองค์ เด็กๆ ที่เกิดมาและเติบโตในสภาพ แวดล้อมเสือ่ มโทรมอย่างมาก เขาไม่สามารถ ออกจากสภาพนี้ เพราะตั้งแต่เด็ก เขาเหล่า นั้นจมอยู่ในโลกที่เสื่อมโทรม มีแต่ความคิด วาจาและกิจการชัว่ ร้าย จนกระทัง่ ไม่มโี อกาส ที่จะมีความคิดดีๆ นี่คือสถานการณ์ที่เรา


“จงสวมความชอบธรรมเป็นเสื้อเกราะ” (อฟ 6:14)

ทุ ก คนถู ก ดึ ง ออกมา ศี ล ล้ า งบาป พระ ศาสนจักร การอบรมให้เป็นคริสตชน ช่วยเรา ให้พ้นจากสภาพที่เราอาจจมอยู่ใน “ความ ปรารถนาของเนื้อหนังของเรา” ดังที่นักบุญ เปาโล กล่าวว่า “ปล่อยตนตามราคะตัณหา ปฏิบัติตนตามความต้องการและความคิด โดยธรรมชาติฝา่ ยต�ำ  ่ เราจึงน่าจะถูกพระเจ้า ลงโทษเช่นเดียวกับคนอื่น” (อฟ 2:3) นี่คือเหตุผลที่เราต้องรู้สึกเป็นน�้ำหนึ่ง ใจเดี ย วกั น กั บ บุ ค คลทั้ ง หลายที่ ไ ม่ รู ้ จั ก พระเจ้า ผูด้ ำ� เนินชีวติ ผิดศีลธรรม เป็นชีวติ ที่ เต็มไปด้วยความชั่วร้ายและความเกลียดชัง เราเป็นหนึง่ เดียวกันกับบุคคลเหล่านี ้ เพราะ นี่เป็นสภาพมนุษย์ในโลกที่เต็มไปด้วยบาป ซึ่งพระองค์ทรงพระกรุณาช่วยเราให้รอดพ้น เราจะต้องรูส้ กึ มีความสมานฉันท์กบั สภาพนี้ อย่างต่อเนือ่ ง โดยอาศัยการอธิษฐานภาวนา การถวายเครื่องบูชา การมอบถวายตนเอง อย่างที่จะไม่สูญเสียการสัม ผัสกับสภาพน่า กลัวและทุกข์ทรมาน คนจ�ำนวนมากด�ำเนิน ชีวติ อยูแ่ ละพยายามต่อสูเ้ พือ่ ออกจากสภาพ นี้แต่ท�ำไม่ส�ำเร็จ นี่คือค�ำตอบที่ว่า “เราเป็น ผู้ใด” 2.2 พระเจ้าทรงเป็นผู้ใด “แต่พระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา ทรงส�ำแดงความรักยิ่งใหญ่ต่อเรา เมื่อเรา ตายไปแล้วเพราะการล่วงละเมิด พระองค์ก็ ทรงบันดาลให้เรากลับมีชวี ติ กับพระคริสตเจ้า ท่านได้รับความรอดพ้นก็เพราะพระหรรษ-

35

ทาน พระเจ้าโปรดให้เรากลับคืนชีพพร้อมกับ พระคริสตเยซู โปรดให้เรามีที่นั่งในสวรรค์ พร้อมกับพระคริสตเจ้า” (อฟ 2:4-6) สิ่ ง ที่ พ ระเจ้ า ทรงกระท� ำ ต่ อ ต้ า น สถานการณ์ยากจนแรกเริม่ ของเรา “พระเจ้า ทรงเปี ่ ย มด้ ว ยพระเมตตา” จึ ง ทรงริ เ ริ่ ม สร้างสรรค์ สามารถฟื้นฟูสถานการณ์ของ มนุษย์อย่างต่อเนือ่ ง ทรงยิง่ ใหญ่กว่าความชัว่ ร้ายทั้งหมดของมนุษย์ พระองค์ทรงส�ำแดงความรักยิ่งใหญ่ ต่อเรา “เมื่อเราตายไปแล้วเพราะการล่วง ละเมิด พระองค์ก็ทรงบันดาลให้เรากลับมี ชีวิตกับพระคริสตเจ้า” ปัจจุบัน ชีวิตทั้งหมด ของเราได้รับความรอดพ้นซึ่งมาถึงเราอาศัย พระชนมชีพ การสิ้นพระชนม์และการกลับ คืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า เรามีชวี ติ อยู่ ในพระองค์เพราะพระหรรษทาน ประโยค ส�ำคัญของข้อความนี้ที่นักบุญเปาโลพูดซ�้ำๆ คือ “เพราะพระหรรษทาน” เช่น ในข้อ 5 เขาเขียนว่า “ท่านได้รบั ความรอดพ้นก็เพราะ พระหรรษทาน” และในข้อ 8-10 เขาเขียน อีกต่อไปว่า “ท่านได้รับความรอดพ้นเพราะ พระหรรษทานอาศัยความเชือ่  ความรอดพ้น นี้มิได้มาจากท่าน แต่เป็นของประทานจาก พระเจ้า มิได้มาจากการกระท�ำใดๆ ของ ท่ า น เพื่ อ มิ ใ ห้ ใ ครโอ้ อ วดตนได้   เราเป็ น ผลงานของพระองค์” ดังนั้น ความสัมพันธ์ที่ถูกต้องของเรา กับพระเจ้าประกอบไปด้วยความสัมพันธ์


36

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

รู้คุณอย่างสม�่ำเสมอต่อของประทานที่ได้รับ จากพระองค์ ไม่เป็นความสัมพันธ์ที่ท�ำให้ เราต้องอับอายและพูดกับตนเองบ่อยๆ ว่า “เราเป็นคนไร้ค่า ไม่มีประโยชน์ใดๆ เลย” แต่เป็นความสัมพันธ์ที่รู้คุณ พูดว่า “ข้าแต่ พระเจ้า ลูกขอขอบพระคุณพระองค์ เพราะ ทรงท�ำให้ลูกผู้เป็นคนยากจนกลับเป็นสิ่ง ยิ่ ง ใหญ่   ข้ า แต่ พ ระเจ้ า  ลู ก ขอขอบคุ ณ พระองค์เพราะทรงฟืน้ ฟูโลกในพระคริสตเจ้า และทรงฟืน้ ฟูพระศาสนจักรในพระคริสตเจ้า” ความสั ม พั น ธ์ ที่ ถู กต้ อ งคื อ  การรู ้ คุ ณ ด้ ว ย ความยินดีซงึ่ รวมความถ่อมตน ความรูส้ กึ ว่า ตนมีขอบเขตจ�ำกัด การรับรู้ว่ากิจการงาน ของพระเจ้าช่างยิง่ ใหญ่ และความไว้วางใจว่า พระองค์จะทรงบันดาลให้งานส�ำเร็จสมบูรณ์ อย่างถาวร นักบุญเปาโลเน้นย�้ำประเด็นการรับรู้ บทบาทส�ำคัญของเราในแผนการแห่งความ รอดพ้นอย่างมากจนเชิญชวนให้ยอมรับว่า กิจการดีที่เรากระท�ำอาศัยพระหรรษทาน ของพระเจ้ า  เป็ น กิ จ การที่ พ ระเจ้ า ทรง ก� ำ หนดไว้ ล ่ ว งหน้ า ให้ เ ราปฏิ บั ติ   เราเป็ น ผลงานของพระองค์ ถูกสร้างในพระคริสตเยซู ดังนั้น ผู้ที่ถูกสร้างก็ไม่มีสิ่งใดเป็นของ ตนเองเลยคือ เราถูกสร้างจากพระเจ้าโดย สิ้นเชิง “ถูกสร้างมาในพระคริสตเยซูเพื่อให้ ประกอบกิจการดี ซึ่งพระเจ้าทรงก�ำหนดไว้ ล่วงหน้าให้เราปฏิบัติ” (อฟ 2:10)

นั ก บุ ญ เปาโลเป็ น ผู ้ ที่ ม องสิ่ ง ต่ า งๆ ตามความเป็ น จริ ง และอย่ า งเป็ น รู ป ธรรม เขาต้องการกิจการที่ดี ดังนั้น เราต้องปฏิบัติ กิจการที่ดีและด�ำเนินชีวิตประจ�ำวันที่เปี่ยม ด้ ว ยกิ จ การ แต่ ก ารเลื อ กและกิ จ การของ เรานี้ ต้องไม่มีเจตนาท�ำเพื่อโอ้อวดตนเอง แต่ ต ้ อ งเป็ น แรงบั น ดาลให้ ข อบพระคุ ณ พระเจ้า พระองค์ทรงสร้างเรามาเพือ่ กิจการ ดีเหล่านี ้ และทรงก�ำหนดให้เราปฏิบตั เิ หมือน เป็นของประทานจากพระองค์ นี่คือท่าทีส�ำคัญที่สุดที่ช่วยปกป้องเรา จากความคิดที่แสดงความไม่ไว้วางใจ ความ กลัว ความโอ้อวดตนเอง ความทะเยอทะยาน และความเย่อหยิ่ง เราต้องต่อต้านความคิด ทั้งหมดนี้โดยคิดถึงความจริงแห่งแผนของ พระเจ้าอยู่เสมอ และโดยยอมรับบทบาทที่ เรามีในแผนการนัน้  ในฐานะเป็นผูถ้ กู สร้างไว้ และผู ้ ไ ด้ รั บ พระหรรษทานมากมายจาก พระองค์ 3. ความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับผู้อื่นและกับ พระศาสนจักร ท่าทีตอ่ พระเจ้าจะต้องน�ำเราไปสูท่ า่ ที ที่ ถู ก ต้ อ งต่ อ ผู ้ อื่ น และต่ อ สมาชิ ก ในพระ ศาสนจักร นักบุญเปาโลกล่าวอย่างยืดยาวใน จดหมายฉบับนี้  เราจะพิจารณาเพียงบาง ตอนเท่านั้น ผู้มีความเชื่อได้รับพระหรรษทานจากพระเจ้ามาเป็นกายเดียวเพื่อพระ สิรริ งุ่ โรจน์ของพระองค์ ดังนัน้  ความสัมพันธ์


“จงสวมความชอบธรรมเป็นเสื้อเกราะ” (อฟ 6:14)

ทีถ่ กู ต้องระหว่างกันและกันซึง่ เป็นผลตามมา คือ ทุกคนเป็นหนึง่ เดียวกันด้วยสายสัมพันธ์ แห่งสันติ  จากการรับรู้ว่าทุกคนได้รับพระ หรรษทานจากพระเจ้า จึงเกิดความรูส้ กึ ถ่อม ตนและความสมานฉันท์ระหว่างกัน นักบุญ เปาโลเขียนไว้วา่  “ข้าพเจ้าผูถ้ กู จองจ�ำเพราะ องค์ พ ระผู ้ เ ป็ น เจ้ า  วอนขอท่ า นทั้ ง หลาย ให้ด�ำเนินชีวิตสมกับการที่ท่านได้รับเรียก จงถ่ อ มตนอยู ่ เ สมอ จงมี ค วามอ่ อ นโยน พากเพี ย รอดทนต่ อ กั น ด้ ว ยความรั ก พยายามรักษาเอกภาพแห่งพระจิตเจ้าด้วย สายสัมพันธ์แห่งสันติ” (อฟ 4:1-3) ถ้าเราทุกคนได้รับพระหรรษทานและ เป็นหนึง่ เดียวกันในพระคริสตเจ้าเพราะพระ หรรษทานของพระองค์ ท่าทีตอ่ ผูอ้ นื่ ต้องเป็น ความถ่ อ มตน ความอ่ อ นโยน ความ พากเพียร ความอดทนต่อกันด้วยความรัก ความปรารถนาที่จะรักษาเอกภาพ ความ สั ม พั น ธ์ ที่ ถู กต้ อ งต่ อ ผู ้ อื่ น เป็ น เหมื อ นเสื้ อ เกราะที่ป้องกันเราอย่างแท้จริง เพราะสร้าง ภูมิคุ้มกันต่อความยากล�ำบากในชีวิตประจ�ำ วั น  ความขมขื่ น  ความโกรธแค้ น  ความ แตกแยก การทะเลาะวิวาทคือ ทุกสิ่งที่อาจ ท�ำให้ชีวิตมีความทุกข์ รวมทั้งท�ำลายชีวิต การอธิษฐานภาวนา โดยแท้จริงแล้ว เราไม่ สามารถมี ชี วิ ต แห่ ง การภาวนาเมื่ อ มี ก าร ทะเลาะเบาะแว้ง มีความขมขื่น กังวลถึง บุคคลที่ได้ท�ำร้ายเราหรือมีบางสิ่งบางอย่าง ค้างคาในใจ

37

เราต้องปกป้องตนเองอย่างเข้มแข็ง จากสิง่ เหล่านี ้ และการป้องกันตนเองยังเป็น พื้นฐานอยู่ในการพิจารณาความสัมพันธ์ที่ ถูกต้องกับผูอ้ นื่  คือเราทุกคนได้รบั การช่วยให้ รอดพ้นจากพระคริสตเจ้าเพื่อจะร่วมเป็น พระกายเดียวกับพระองค์ นักบุญเปาโลยังให้ ค� ำ แนะน� ำ ในด้ า นปฏิ บั ติ   เมื่ อ เขาบรรยาย ลั ก ษณะบางประการที่ เ ป็ น ประโยชน์ เ พื่ อ พิจารณามโนธรรม เราพบข้อความในบทที่ 4 ตั้งแต่ข้อ 25 ถึงข้อ 32 เขาแนะน�ำท่าที เจ็ดประการคือ สถานการณ์เจ็ดอย่างทีเ่ ราจะ พบท่าทีถูกต้องอีกครั้งหนึ่งกับเพื่อนพี่น้อง โดยหลีกเลี่ยงบางสิ่งบางอย่างและปฏิบัติสิ่ง อืน่ แทน นักบุญเปาโลคิดถึงชีวติ จริงของกลุม่ ที่รวมบุคคลหลายรูปแบบไว้ด้วยกัน ท่าทีเหล่านีค้ อื  การพูดความจริง การ ให้อภัย การท�ำงาน การพูดแต่ค�ำดีงามเพื่อ ช่วยกันเสริมสร้างผู้อื่น การขจัดความขมขื่น ใดๆ ความสุภาพอ่อนโยน การมีใจโอบอ้อม อารีดงั ทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงพระทัยดีตอ่ เรา และ ดังที่พระเจ้าทรงให้อภัยแก่เราในพระคริสตเจ้า ท่าทีเหล่านีเ้ กีย่ วข้องกับความสัมพันธ์ซงึ่ กันและกันระหว่างบุคคล • พูดความจริง “แต่ละคนจงพูดความจริงแก่พี่น้อง ของตนเพราะเราต่างเป็นเสมือนอวัยวะของ กันและกัน” (อฟ 4:25) ดังนั้น จงเลิกพูดเท็จ ความเป็นหนึ่ง เดียวกันในพระคริสตเจ้าท�ำให้เรารู้สึกว่า


38

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ตนเป็ น อวั ย วะส่ ว นต่ า งๆ ของกายเดี ย ว จึ ง ต้ อ งมี ค วามไว้ ว างใจซึ่ ง กั น และกั น  เรา แสดงความไว้วางใจกัน โดยไม่หลอกลวง ผู้อื่นเลย เป็นคนพูดความจริง เราจะพูดปด กับผูท้ เี่ ป็นส่วนหนึง่ กับตัวเราไม่ได้แม้ในเรือ่ ง เล็กน้อย เรามีความสมานฉันท์กันในพระ คริ ส ตเจ้ า  จึ ง สามารถสื่ อ สารกั น แม้ ข ้ อ บกพร่องและสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างโปร่งใส และจริงใจ เพราะเห็นแก่การเจริญเติบโตฝ่าย จิตของส่วนรวม สิ่งนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมี ความไว้วางใจกัน มีจิตส�ำนึกว่าทุกคนได้รับ พระหรรษทานและได้รบั เรียกให้รว่ มเป็นกาย เดียวกัน • ควบคุมความรู้สึกเชิงลบ “แม้ท่านจะโกรธ ก็อย่าให้เป็นบาป จงเลิ ก โกรธก่ อ นดวงอาทิ ต ย์ ต ก อย่ า ให้ โอกาสแก่มาร” (อฟ 4:26-27) นักบุญเปาโลมองธรรมชาติมนุษย์ตาม ความเป็นจริง และอ้างข้อความในพันธสัญญา เดิมเพือ่ ยืนยันว่า ทุกคนไม่สามารถหลีกเลีย่ ง ความโกรธ บางคนโกรธง่ายหายเร็ว บางคน โกรธแค้น และอีกบางคนมีความรูส้ กึ ร�ำคาญ อยู ่ ต ลอดเวลา นี่ เ ป็ น สภาพของจิ ต ใจที่ มี ความวุ ่ นวายอยู ่ เ สมอ เราไม่ ส ามารถสั่ ง ตนเองโดยตรงว่า “บัดนี้ จงอยู่นิ่งเฉย” แต่ เราสามารถท�ำบางสิ่งบางอย่างทางอ้อมได้ เพื่อให้ใจของเราสงบ เราไม่สามารถกีดกั้น ความรู้สึกเกลียดชัง ความรู้สึกไม่ชอบ และ ความหงุดหงิดที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันกับ

คนใดคนหนึง่  แต่นกั บุญเปาโลเน้นว่า แม้เรา ไม่สามารถกีดกัน้ ความรูส้ กึ เหล่านีท้ มี่ าจูโ่ จม ก็จริง แต่อย่างน้อยเราควรพยายามควบคุม และเปลี่ยนความรู้สึกเชิงลบบ้าง เขาจึงเชิญ ชวนว่า “จงเลิกโกรธก่อนดวงอาทิตย์ตก” เราต้องพยายามระงับความวุน่ วายจนกระทัง่ ใจของเราสงบลง อย่างน้อยก่อนดวงอาทิตย์ ตก ถ้าเป็นไปได้ให้ใจสงบทันที ถ้ามีความ วุ่นวายที่ทรมานใจอย่างมากซึ่งยากที่เราจะ ระงับได้ เพราะเราไม่สามารถสั่งความรู้สึก ของตน อย่างน้อยเราจงเรียนรู้ที่จะท�ำให้ จิตใจสงบลงอย่างรวดเร็ว สิ่งวุ่นวายจะได้ สูญสลายไปและไม่ถว่ งจิตใจให้ตำ�่ ลง เพือ่ จะ อธิษฐานได้ นักบุญเปาโลยังแนะน�ำว่า “อย่าให้ โอกาสแก่มาร” วิธีดีที่สุดเพื่อเปิดประตูให้ การผจญอื่นเข้ามาในตัวเราคือ การรักษา อารมณ์ไม่ดีและความไม่พอใจไว้ในตนเอง เมื่อมโนธรรมของเราวุ่นวาย เพราะสูญเสีย เสื้อเกราะที่ปกป้องความสงบ เราจะได้รับ บาดเจ็ บ อย่ า งง่ า ยดาย คื อ เราจะถู ก ผจญ ให้วนุ่ วายใจและท้อแท้มากยิง่ ขึน้  จากสภาพ จิ ต ใจเช่ น นี้ ก็ จ ะเกิ ด ความสั บ สนวุ ่ น วาย เพราะเราไม่ ไ ด้ ต ่ อ ต้ า นความโกรธและ อารมณ์ไม่ดีตั้งแต่แรกเริ่ม เราทุกคนอยู่ภาย ใต้อารมณ์ร้อน เราต้องเรียนรู้ที่จะควบคุม เพือ่ มีจติ ใจสงบ และความวุน่ วายจะพ่ายแพ้ และสูญหายไป


“จงสวมความชอบธรรมเป็นเสื้อเกราะ” (อฟ 6:14)

• ท�ำงานอย่างสุจริต “คนที่ เ คยขโมย จงเลิ ก ขโมย ใช้ มื อ ท�ำงานอย่างสุจริตจะดีกว่าเพือ่ จะได้มบี างสิง่ มาแบ่งปันแก่ผู้ขัดสน” (อฟ 4:28) นักบุญเปาโลแสดงความส�ำคัญของ การใช้มือท�ำงานอย่างสุจริตในกลุ่มคริสตชน มีความกล้าหาญอย่างมาก จนกระทั่งกล้า เสนอว่า เราไม่เพียงจะต้องท�ำงานเท่านั้น แต่ถ้าเป็นไปได้ ยังต้องท�ำงานเพื่อช่วยเหลือ ผู้ที่อยู่ในความขัดสน • ใช้ค�ำพูดที่ดี “จงอย่าพูดค�ำเลวร้ายใดๆ เลย จงพูด แต่ค�ำดีงามเพื่อช่วยกันเสริมสร้างผู้อื่นตาม โอกาสและเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่บรรดา ผู้ได้ยินได้ฟัง” (อฟ 4:29) ค�ำพูดของเรามีไว้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ท� ำ ให้ คื น ดี กั น และสร้ า งความเป็ น หนึ่ ง เดียวกัน ข้อสังเกตต่างๆ แม้เพียงเล็กน้อยที่ อาจจะท� ำ ให้ ใ จขมขื่ น และเศร้ า หมองเป็ น ความอยุตธิ รรมต่อคนอืน่  เพราะไม่ชว่ ยสร้าง ความสมานฉั น ท์ ที่ เ ราทุ ก คนได้ รั บ เรี ย ก แต่ ต รงกั น ข้ า ม กลั บ ท� ำ ลายกิ จ การของ พระเจ้า ผู้ทรงสร้างสันติและความรัก • จงอย่าท�ำให้พระจิตเจ้าต้องเศร้า หมอง “จงอย่าท�ำให้พระจิตของพระเจ้าต้อง เศร้าหมอง พระเจ้าประทานพระองค์เป็น ตราประทับให้ท่านแล้วส�ำหรับวันแห่งการ ไถ่กู้” (อฟ 4:30)

39

ข้อนี้บอกเราว่า ข้อบกพร่องทั้งหมด ไม่เพียงท�ำให้ผู้อื่นเศร้าหมอง แต่ยังท�ำให้ พระจิตของพระเจ้าทรงเศร้าหมองอีกด้วย พระจิ ต เจ้ า ประทั บ ในตั ว เรา เหมื อ นตรา ประทับเพื่อวันที่เราจะได้เห็นองค์พระผู้เป็น เจ้า และพระจิตเจ้าพอพระทัยท�ำงานในเรา เพือ่ สร้างความสงบและสันติ ท�ำให้ชมุ ชนเป็น รูปเป็นร่างขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต่อต้านสันติ และความปรองดองก็ท�ำให้พระจิตเจ้าทรง เศร้าหมอง นักบุญเปาโลแสดงความสัมพันธ์ แน่นแฟ้นซึง่ รวมการด�ำเนินชีวติ ทีเ่ ป็นน�ำ้ หนึง่ ใจเดี ยวกั น กั บ การประทั บ อยู ่ ข องพระเจ้ า ความหยิ่ ง จองหองที่ ต ่ อ ต้ า นชี วิ ต กลุ ่ ม ก็ เป็นการโจมตีกิจการงานของพระเจ้า ผู้ทรง สร้างสันติและความเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน • จงขจัดความขมขื่น “ท่ า นทั้ ง หลายจงขจั ด ความขมขื่ น ความขุ ่ น เคื อ ง ความโกรธ การขู ่ ต ะคอก การนินทาว่าร้าย และความไม่ดีไม่งามทั้ง หลาย” (อฟ 4:31) จิตใจที่มีความขมขื่นก็เป็นจิตใจแห่ง การถู ก ผจญ ความขมขื่ น  ความขุ ่ น เคื อ ง ความโกรธ การขู่ตะคอก การนินทาว่าร้าย” ล้ ว นเป็ น ลั ก ษณะที่ มี แ นวโน้ ม สร้ า งความ ขมขื่น ถ้าเรามองปีหลังๆ ในชีวิตของพระ ศาสนจักร จะเห็นว่าคริสตชนมีความขมขื่น อย่างมาก เขาบ่นว่าหลายสิ่งหลายย่างและ มองสถานการณ์ในแง่ลบ ขาดความไว้วางใจ ไม่มีความหวัง ไม่มีสิ่งใดดีและสร้างสรรค์


40

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ส�ำหรับเขา นี่เป็นจิตอยุติธรรม เพราะไม่ ยอมรับความจริงในการกระท�ำของพระเจ้า • จงมีใจโอบอ้อมอารี “แต่จงมีใจโอบอ้อมอารี มีเมตตาต่อ กัน ให้อภัยกันดังที่พระเจ้าทรงให้อภัยท่าน ในองค์พระคริสตเจ้าเถิด” (อฟ 4:32) ดังนัน้  ทุกอย่างจะกลับสูแ่ ผนการของ พระเจ้า และเราต้องด�ำเนินชีวติ ตามแผนการ นี้ด้วยความจริงและยุติธรรม พระเจ้าทรง ส�ำแดงแผนการของพระองค์ในตัวเรา และ เราต้ อ งยอมรั บ สถานที่ ข องตนเฉพาะ พระพักตร์พระเจ้าและต่อหน้าผู้อื่น นี่เป็น ชีวิตรุ่งเรืองที่นักบุญเปาโลเสนอแก่เราว่า

เป็ น การป้ อ งกั น ที่ ดี ที่ สุ ด จากการผจญทั้ ง หลาย “สถานที่ถูกต้อง เฉพาะพระพักตร์ พระเจ้า” มาตรการถูกต้องในการอยูก่ บั ผูอ้ นื่ นีเ่ ป็นสถานการณ์ใจสงบทีป่ กป้องเราการถูก ทดลองต่างๆ ผูม้ คี วามเชือ่ จึงต้องวอนขอพระเจ้าให้ ทรงช่ ว ยเขาด� ำ เนิ น ชี วิ ต ในสภาพเช่ น นี้ ที่ มี สมดุลและความชอบธรรม โดยส�ำนึกว่าตน ได้รับทุกอย่างจากพระองค์แล้ว จึงต้องมอบ ทุกอย่างแก่ผู้อ่ืน แก่บุคคลที่เราด�ำเนินชีวิต ด้วยกัน เพือ่ คืนพระพรต่างๆ ทีไ่ ด้รบั มาจาก พระองค์

บรรณานุกรม คณะกรรมการคาทอลิกเพือ่ พระคัมภีร.์ (2557). พระคัมภีรค์ าทอลิก ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพระคัมภีร์. Hahn, Scott and Mitch, Curtis. (2005). The Letters of Saint Paul to the Galatians & Ephesians. San Francisco: Ignatius Press. Leon-Dufour, Xavier. (1967). Dictionary of Biblical Theology. New York: Desclee Company. MacDonald, Margaret Y. (2000). Colossians and Ephesians. Sacra Pagina 17. Collegeville, MN: Liturgical Press. Martini, Carlo Maria. (2016). Il Sole dentro. Milano: Edizioni Piemme. McKenzie, John L., S.J., (1976). Dictionary of the Bible. London: Geoffrey Chapman. Schnackenburg, Rudolf. (1991). The Epistle to the Ephesians. Edinburgh: Clark.


ความ

ศาสตราจารย์ กีรติ บุญเจือ

อารัมภบท การที่ ค ณะบรรณาธิ ก ารวารสาร แสงธรรมปริ ทั ศ น์ เ ลื อ กศึ ก ษาประเด็ น ยุ ติ ธ รรมส� ำ หรั บ ฉบั บ นี้   นั บ ว่ า เหมาะสม และถูกต้องตามกาลเทศะอย่างยิง่  (dignum et justum est) เพราะเป็นประเด็นที่บ้าน เมืองของเราต้องการความกระจ่างในความ

หมายของความยุตธิ รรมอยูม่ าก เพราะมีการ อ้างถึงค�ำนี้กันมากในกระแสโซเชียลมีเดีย และคงจะทวีคูณขึ้นไปอีกหากยังหาจุดยุติ กันไม่ได้ และคงจะหาจุดนั้นไม่มีวันจะพบ หากคู่กรณีใช้ค�ำค�ำเดียวกันแต่มีความหมาย ตามความเข้าใจของคู่กรณีไม่ตรงกัน และ

ศาสตราจารย์และราชบัณฑิต เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขาจริยศาสตร์ อดีต สนช. อดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตคณบดีคณะปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญและมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ประธาน โครงการปริญญาเอกปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประธานบรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรมปรัชญา ของราชบัณฑิตยสถาน บรรณาธิการจัดท�ำสารานุกรมวิสามานยนามศาสนาสากลของราชบัณฑิตยสถาน กรรมการสหวิทยาการ ในสมเด็จพระเทพฯ ออกอากาศวิทยุศึกษาเรื่องราชปรัชญาเพื่อความสุขของมหาประชาชนชาวสยาม วันจันทร์เวลา 9.10 น. สัปดาห์แรกและสัปดาห์ท ี่ 4 ของทุกเดือน FM92, AM1161, www.moeradiothai.net กรรมการต�ำแหน่งวิชาการของวิทยาลัย แสงธรรม, มหาวิทยาลัยคริสเตียน, มหาวิทยาลัยมิชชั่น ประธานกิติมศักดิ์องค์การศาสนาเพื่อสันติภาพแห่งเอเชีย สอบถาม เรื่องปรัชญา โทร.08 6045 5299.

(หมวดปรัชญา)

ยุติธรรม


42

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

คู ่ ก รณี ทุ ก ฝ่ า ยต่ า งก็ ใ ช้ ค วามหมายที่ ต น ต้องการเป็นหลักเพื่อหวังชัยชนะ (ซึ่งจริงๆ ในเรือ่ งนีม้ มี ากกว่า 2 ฝ่ายและนับไม่ถว้ นว่า มี กี่ ฝ ่ า ยที่ ใ ช้ ค� ำ เดี ยวกั น นี้ โ ดยยึ ด เอาความ หมายที่ตนเองชอบโดยที่ตัวเองก็ไม่แน่ใจว่า กรอบความหมายของตนอยู่ตรงไหนกันแน่ คงปล่อยให้เลื่อนไหลไปตามความพอใจใน แต่ละกรณีที่ใช้ แล้วก็พอใจที่จะออกความ เห็ น หรื อ เรี ย กร้ อ งสิ ท ธิ ต ามความหมายที่ เลื่อนไหลของตนอย่างนั้นแหละ และคู่กรณี ก็อยู่ในสภาพเลื่อนไหลเช่นกัน แต่ก็โต้เถียง กันได้เป็นวรรคเป็นเวร) กรณีพิพาทอย่างนี้ ภาษาปรัชญาเรียกว่า Verbal Dispute คือ ประเด็นแท้ของพิพาทมิได้อยู่ที่ข้อเรียกร้อง แต่อยูท่ นี่ ยิ ามค�ำทีร่ ว่ มกันใช้ไม่ตรงกัน พูดกัน ไปถึงไหนก็ไม่มีทางจะรู้เรื่อง เพราะที่จริง พูดกันคนละเรื่อง แต่คิดว่าพูดเรื่องเดียวกัน โดยต่างฝ่ายต่างคิดว่าที่ตนพูดไปนั้นรู้เรื่อง เป็นเรื่องเป็นราวเต็มที่ คู่กรณีสิพูดไม่รู้เรื่อง ส่วนคู่กรณีก็คิดแบบเดียวกันว่าที่ตนพูดนั้น ได้เรือ่ งเต็มที ่ คูก่ รณีตา่ งหากทีไ่ ม่รเู้ รือ่ ง ทาง แก้มีอยู่ทางเดียว คือ หาโอกาสให้คู่กรณี วิ เ คราะห์ ค วามหมายของค�ำที่ใช้ให้เข้า ใจ ตรงกันให้ได้เสียก่อน แล้วจึงค่อยวิจักษ์ว่า ความต้องการของแต่ละฝ่ายเข้าข่ายความ หมายข้อใดกันแน่  สิทธิอันพึงมีพึงได้ของ แต่ละฝ่ายก็จะประจักษ์เป็นที่ยอมรับของ ทุก ฝ่ายได้อย่างไม่ยาก หากยังไม่ยอมรับ อีกก็หมายความว่ามีความบกพร่องทาง EQ

ซึ่งรัฐมีหน้าที่ต้องจัดให้มีการบ�ำบัดปัดเป่า อย่างถูกวิธี ประเทศชาติจึงจะเดินหน้าได้ กรณี ศึ ก ษาของเรา ณ ที่ นี้ จึ ง ได้ แ ก่ ความหมายของค�ำ “ความยุติธรรม” ซึ่งแปล เป็นภาษาอังกฤษได้ว่า justice ซึ่งแผลงมา จากภาษาละตินว่า justitia ซึ่งแปลมาจาก ภาษากรีกว่า dikaiosyne และปัญหาใหญ่ หลวงก็คอื  4 ค�ำใน 4 ภาษาดังกล่าวหาได้มี ความหมายตรงกันอย่างทีเ่ ราอยากให้ตรงไม่ ความหมายในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมาย “ยุต”ิ  ไว้ 2 ความ หมาย ความหมายหนึ่ ง เป็ น ภาษาไทยแท้ มี ค วามหมายว่ า  “ตกลง จบ เลิ ก  ไม่ ต้ อง พิจารณาอีกต่อไป” ดังนั้น “ยุติธรรม” จึง หมายถึ ง ธรรมที่ ยุ ติ แ ล้ ว  ตกลงกั น ได้ แ ล้ ว ไม่มปี ระเด็นใดต้องท�ำความเข้าใจกันอีกแล้ว เช่น ข้อพิพาทดินแดนยุติแล้ว สงครามยุติ แล้ว การฟ้องร้องยุตแิ ล้ว ครูยตุ กิ ารสอนแล้ว อาการป่วยยุตแิ ล้ว การสร้างทางเข้าหมูบ่ า้ น ยุติแล้ว อีกความหมายหนึ่งมาจากภาษาบาลี ว่ายุตติ และภาษาสันสกฤตว่ายุกติ และให้ ความหมายไว้ว่าชอบ (appropriate ตาม สามัญส�ำนึก), ถูกต้อง (right, valid ตาม เหตุผล) และให้ความหมายของค�ำ “ความ ยุติธรรมไว้ว่าได้แก่ความเที่ยงธรรม ความ ชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล”


ความยุติธรรม

พจนานุ ก รมศั พ ท์ ป รั ช ญา ฉบั บ ราช บั ณ ฑิ ต ยสภา พิ ม พ์ ค รั้ ง ที่   5 พ.ศ.2560 ขยายความความยุตธิ รรม (justice) ออกเป็น 2 ภาค คือ ภาคจริยศาสตร์ เรียกว่าความ ยุติธรรมตามธรรมชาติ  (natural justice) ได้แก่ความยุติธรรมที่แท้จริงที่มีอยู่เองตาม ธรรมชาติ เช่น ความยุติธรรมที่เกิดจากกฎ แห่งกรรมที่ว่าท�ำดีได้ดีท�ำชั่วได้ชั่ว กับภาค กฎหมายเรียกว่าความยุติธรรมตามสัญนิยม (conventional justice) ได้แก่ที่มนุษย์ใน สังคมก�ำหนดขึน้  เช่น ความเสมอภาคในสิทธิ และหน้าที่ตามกฎหมายบัญญัติ เรียกได้อีก อย่างว่าความเท่าเทียมกัน ความเสมอภาค (equity) สั ง เกตได้ ว ่ า พจนานุ ก รมเน้ น ความ หมายจากภาษาบาลี สั น สกฤต  ส่ ว น พจนานุ ก รมศั พท์ปรัช ญาเน้นความหมาย จากภาษาอังกฤษ ค�ำอังกฤษ justice มา จากค�ำละติน justitia ซึ่งแปลมาจากภาษา กรี ก ว่ า  Dikaiosyne ซึ่ ง เป็ น ค� ำ ธรรมดา สามัญทีช่ าวบ้านใช้ในความหมายหลายอย่าง ในบริบทต่างๆ ความหมายในภาษากรีก ค�ำภาษากรีก dikaios ให้ความหมาย ไว้หลายอย่าง เช่น observant of right, righteous, just, equal, even, strict, exact, lawful, fair, moderate, bound to do, having right to do ค�ำ dikaiosyne เป็นอาการนามของค�ำ dikaios จึงมีความ

43

หมายทุกอย่างของ dikaios ได้ทุกค�ำของ อาการนาม แอร์เริสทาทเถิ้ลเป็นคนแรกที่ใช้ เป็นศัพท์บัญญัติใน 2 วิชา ในวิชากฎหมาย dikaiosyne คือความยุติธรรมที่ต้องบริการ ด้วยความเท่าเทียมกันจึงจะเป็นกฎหมายที่ ยุติธรรม (nomos dikaios) อย่างไรก็ตาม ในการบริ ก ารจริ ง ๆ หากไม่ ยื ด หยุ ่ น เมื่ อ จ�ำเป็นต้องยืดหยุ่นก็อาจจะไม่ยุติธรรมจริง จึ ง ต้ อ งยื ด หยุ ่ น ตามควร ไม่ ข าดไม่ เ กิ น จึงจะยุติธรรม ความยุติธรรมทางกฎหมาย จ�ำต้องมีความยืดหยุ่น (epieikeia) จึงจะ ยุติธรรมอย่างแท้จริง ส่วนในวิชาจริยศาสตร์ dikaiosyne เป็นคุณธรรม (arete) ที่ส�ำคัญ ข้อ 1 ที่ท�ำให้คนคนหนึ่งเป็นคนดี ค�ำ arete ในภาษากรีกโบราณ เป็น ค�ำสามัญทีม่ คี วามหมายหลากหลายในบริบท ต่างๆ กัน เช่น goodness, excellence, manhood, prowess, valor, manly beauty, dignity, aesthetic, technic, skill, good character, reputation, merit แอร์เริสทาท เถิ้ลเลือกเอาค�ำนี้มาใช้เป็นศัพท์บัญญัติใน วิชาจริยศาสตร์เพือ่ หมายถึงหลักการ (hexis) หรือความพร้อม (charakteras= character, disposition, readiness, habit) (ดู Aristotle 1106b36-1107a2) ความหมายแรก hexis เป็นความหมายเชิงทฤษฎี (theoretical) อีก ความหมายหนึง่ เข้าข่ายเชิงปฏิบตั  ิ (practical) จึงต้องอ่านและเข้าใจด้วยความระมัดระวัง ถี่ถ้วน


44

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

คุณธรรมทีแ่ อร์เริสทาทเถิล้ อธิบายเป็น พิ เ ศษคื อ ความยุ ติ ธ รรม ถ้ า ต้ อ งการให้ กฎหมายมี ค วามยุ ติ ธ รรมในขอบข่ า ยของ กฎหมายเท่านั้น ก็ให้ใช้อย่างเสมอหน้าเท่า เทียมกันก็ชอบธรรมแล้ว แต่ถ้าให้กฎหมาย มีคุณธรรมเชิงจริยธรรมด้วย ก็ต้องมีความ เท่าทัน (epieikeia) ร่วมเป็นสหชาติด้วย จึ ง จะชอบธรรมทั้ ง ด้ า นนิ ติ ธ รรมและ จริยธรรม เมื่อกล่าวถึงความยุติธรรมแล้ว แอร์เริสทาทเถิล้ ก็กล่าวถึงคุณธรรมอีกหลาย ข้อทีจ่ ำ� เป็นต้องเป็นสหชาติกบั ความยุตธิ รรม เชิงจริยศาสตร์เพื่อให้การกระท�ำของมนุษย์ ชอบธรรมจริง เช่น Phronesis (ความรอบรู้ รอบคอบ), Tharros (ความกล้ามุ่งมั่นที่จะ ท� ำ ให้ ไ ด้ ต ามที่ รู ้ ) , sophrosyne (ความ พอเพียงไม่ขาดไม่เกิน), megalopsychia (ความหยิง่ ในศักดิศ์ รี), kalokayathia (ความ เป็นสุภาพบุรษุ ), philia (มิตรภาพ, จิตอาสา) และกล่าวถึง hybris (ความเย่อหยิ่งทะนง ตน) เป็นคุณธรรมเทียม นักบุญโทมัสอไควนัสสรุปเป็นเจตนา ของแอร์เริสทาทเถิ้ลว่า ความรอบรู้ ความ กล้าท�ำ ความพอเพียง และความยุติธรรมที่ พ่วงด้วยความเท่าทัน เป็นชือ่ ทีไ่ ม่ใช่คณ ุ ธรรม ธรรมดา แต่เป็นองค์ประกอบรวมกันท�ำให้ ทั้ง 4 มีฐานะเป็นคุณธรรม และเมื่อทั้ง 4 เข้าเป็นองค์ประกอบของอุปนิสัยเคยชินใด อุ ป นิ สั ย นั้ น จึ ง มี สิ ท ธิ์ ไ ด้ ชื่ อ ว่ า คุ ณ ธรรม อไควนัสเรียกองค์ประกอบ 4 ข้อนีร้ วมกันว่า คุณธรรมบานพับ (the 4 cardinal virtues)

โดยสร้างเป็นศัพท์บญ ั ญัตจิ ากค�ำภาษาละติน ว่า cardo, cardinis (เพศหญิง = บานพับ ประดูคอกสัตว์) กลายเป็นหลักการส�ำคัญ ของเทววิ ท ยาศี ล ธรรมคาทอลิ ก  ซึ่ ง ต้ องมี คุณธรรมเทววิทยา 3 (the 3 theological virtues) คือความเชือ่  ความวางใจ และความ รักเป็นฐาน ความยุติธรรมในภาษาละติน นักกฎหมายโรมันสร้างกฎหมายโรมัน โดยเริ่ ม ด้ ว ยการแปลจากภาษากรี ก และ พัฒนาต่อจากกฎหมายกรีก พวกเขาแปลค�ำ dikaiosyne ด้วยค�ำ justitia โดยเก็บรักษา ความหมาย equitas ความชอบธรรมโดย ไม่สนใจเอา epieikeia ความเท่าทันพ่วงมา ด้วย ความยุติธรรมตามกฎหมายโรมันจึงมี แต่ความเสมอภาคโดยปราศจากความเท่า ทันเป็นความชอบธรรมทัง้ ด้านกฎหมายและ จริยธรรม นักเทววิทยาคริสต์แม้จะรู้เรื่อง ความเท่ า ทั น ซึ่ ง อไควนั ส ใช้ พ ่ ว งกั บ ความ ยุตธรรมเป็นความชอบธรรม จึงได้เน้นค�ำ สอนว่าพระเจ้าทรงความรักอย่างหาทีส่ ดุ มิได้ แต่กท็ รงความยุตธิ รรมอย่างหาทีส่ ดุ มิได้ดว้ ย (อไควนัสเรียก epicheia) และดูเหมือนจะมี แนวโน้ ม ที่ จ ะตี ค วามว่ า พระเจ้ า ทรงรั ก ได้ เฉพาะผู้ด�ำรงชีวิตอย่างยุติธรรมตามพระ บัญญัติของพระองค์ทุกข้อและข้อก�ำหนด ทุกข้อของพระศาสนจักร มิฉะนัน้ ก็ไม่มสี ทิ ธิ์ ได้ มี ส ่ ว นในความรั ก อั น หาที่ สุ ด มิ ไ ด้ ข อง พระองค์ สังคายนา 19 ครั้งแรกของพระ


ความยุติธรรม

ศาสนจักรคาทอลิกจึงเต็มไปด้วย anathema sit ซึ่ง Denzinger รวบรวมได้กว่า 6,000 ข้อ ซึ่งแต่ละข้อแม้ข้อเดียวก็ท�ำให้วิญญาณ หมดสิ ท ธิ์ ใ นความรั ก ของพระเจ้ า  เพราะ พระองค์ทรงความยุตธิ รรมอย่างหาทีส่ ดุ มิได้ ก่ อ นจะทรงรั ก มนุ ษ ย์ ค นใดได้   สั ง คายนา วาติกันที่ 2 (สังคายนาครั้งที่ 20) ไม่มีค�ำ anathema sit หลุดออกมาแม้แต่ครั้งเดียว นอกจากนั้นค�ำประกาศทั้งหลายล้วนแต่ชี้ ช่องทางให้กลับใจ คืนดี ความชอบธรรมที่ มิใช่ใช้ความยุตธิ รรมตามกฎหมายเพียงอย่าง เดียว แต่เป็นความชอบธรรมที่ยังคงรักษา dikaiosyne ประกอบกับ epieikeia, eleison พระเยซูเจ้าทรงเล่านิทานเปรียบเทียบว่าพระ บิดาทรงรักลูกล้างผลาญแม้ก่อนที่ลูกล้าง ผลาญคิดกลับใจ คนเลีย้ งแกะออกหาแกะตัว ที่พลัดจากฝูงแม้ก่อนที่แกะหลงฝูงนั้นจะคิด กลับเข้าฝูง ความยุติธรรมในกฎหมายตะวันตก ภาษาอังกฤษ justice และค�ำเหมือน หรือคล้ายกันนี้ในภาษาตะวันตกที่แปลเป็น ภาษาไทยได้ว่าความยุติธรรม แน่นอนว่ามา จากค�ำละติน justitia อย่างแน่นอน แต่มปี ญ ั หา ต้องถกเถียงกันอยู่ว่าจะเอาความหมายแค่ ความเท่ า เที ย ม (equity) เท่ า นั้ น  หรื อ จะเอาความเท่าทัน (epieikeia) พ่วงเข้ามา ด้วย ซึง่ ในทางปฏิบตั มิ จี ดุ ดีจดุ เสียทัง้  2 แบบ ลัทธิสังคมนิยมใช้ความเท่าเทียมกันเท่านั้น เป็ น นโยบายการใช้ ก ฎหมาย ผลก็ คื อ

45

ประชาชนไม่สมู้ คี วามสุขและไม่สกู้ ล้าเปิดเผย ความเก่งเพราะกลัวถูกเก็บด้วยการใส่ร้ายที่ เข้าข่ายถูกโทษและแก้ไม่หลุด โลกเสรีใช้ ความเท่าทันร่วมกับความเท่าเทียมเป็นความ ยุ ติธ รรมทางกฎหมาย บางประเทศมี ก าร อบรมผู้ดูแลกฎหมายให้เข้าถึง spirit of law จนเป็นคุณธรรมทั้งในหลักการและอุปนิสัย การตั ด สิ น จึ ง มี น�้ ำ หนั ก น่ า เชื่ อ ถื อ  แต่ บ าง ประเทศเอาแต่สตู รไม่มนี โยบายอบรมให้เป็น คุณธรรมแห่งการใช้ความเท่าทัน การตัดสิน จึงไม่น่าไว้ใจว่าจะไม่มีการล�ำเอียงเล่นพวก และรับสินบน ประชาธิปไตยไทยมีเหตุให้ เคลือบแคลงในเรื่องนี้เรื่อยมาจนทุกวันนี้ ความยุติธรรมตามปรัชญากฎหมาย นักปรัชญาทีเ่ ขียนเรือ่ งนีไ้ ว้อย่างน่าเชือ่ ถือที่สุดในปัจจุบัน คือ จอห์น รอลส์ (John Rawls 1921-2002) ในหนังสือ A Theory of Justice (1971) กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า เพลโทว์  (Plato ก.ค.ศ. 427-347) ในบทสนทนา The Laws เน้นความเสมอ ภาค (ในการออกกฎหมายและใช้กฎหมาย ความเสมอภาคหมายถึงความเท่าเทียมกัน (equity) ไม่วา่ ในด้านค่าตอบแทน (retributive justice) ไม่วา่ ในด้านการจัดสรรผลประโยชน์ อั น ได้ แก่   ต� ำ แหน่ ง หน้ า ที่   เกี ยรติ ย ศ และ ศักดิ์ศรี (distributive justice) หรือในด้าน การลงโทษอันได้แก่การถอดยศ การปรับ หรือการจ�ำคุก (corrective justice) ท�ำให้ เกิดปัญหาปรัชญากฎหมายขึ้นมาว่าจะใช้


46

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

เกณฑ์ ใ ดมาชี้ ข าดความยุ ติ ธ รรมดั ง กล่ า ว ซึ่งเป็นเรื่องที่เปิดโอกาสให้ถกเถียงกันเรื่อย มาจนทุกวันนี ้ ในทางปฏิบตั จิ ริงจึงต้องตัดสิน ใจเลือกทางใดทางหนึ่งใน 3 สายนี้คือ สาย ส�ำนึกในหน้าที่หรือพันธนิยม (deontologism), สายประโยชน์นิยม (utilitarianism) และสายพอเพียง (Middle Way, sufficientism) สายพันธนิยม มีเพลโทว์ คานท์ และ บรรดาศาสนนิยมทั้งหลายที่เชื่อว่ากฎหมาย เป็ น สิ่ ง ประทานจากเบื้ อ งบน จึ ง มี ค วาม ศักดิ์สิทธิ์และอ�ำนาจบังคับเสมอกับศาสน บัญญัติ ความยุติธรรมคือกฎนิรันดรในพระ มนั ส ของพระเจ้ า  ตายตั ว  ไม่ อ าจเปลี่ ย น แปลงได้แม้แต่นิดเดียว ซึ่งมหาปุรุษะได้ทรง ประทานแก่พระมนู สุรยิ เทพฮามาช (Hamash) ได้ทรงประทานแก่กษัตริยฮ์ มั มูราบี พระยาห์เวห์ ได้ทรงประทานแก่โมเสส พระอัลเลาะห์ได้ ทรงประทานแก่ศาสดามุฮัมมัด สายประโยชน์นยิ ม มีเบนเธิม, มิลแล นักปฏิบัตินิยมทั้งหลายที่เชื่อว่า พันธะเป็น สิ่งที่อ้างง่ายแต่เชื่อยากและพิสูจน์ไม่ได้เลย ใครๆก็อ้างได้แต่หาเกณฑ์กลางให้ทุกฝ่าย พอใจยาก ตัดสินกันด้วยผลประโยชน์ที่เห็น ได้และค�ำนวณได้แหละสะดวกที่สุด หากใช้ เกณฑ์ให้เคร่งครัดที่สุดก็ยากที่จะคัดค้านได้ ว่าไม่ยตุ ธิ รรม นัน่ คือสามารถให้ความสุขมาก ทีส่ ดุ แก่คนจ�ำนวนมากทีส่ ดุ แล้ว จะเอาอะไร กันอีก ค้านเท่าไรก็ไม่ขึ้น แต่จริงๆ แล้วไม่ ชอบธรรมก็เยอะ

สายพอเพียงและหลังนวยุคสายกลาง เป็นความคิดของแอร์เริสทาทเถิ้ล, รอลส์, และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเดิน สายกลางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ ส รุ ป ได้ จ ากพระราชด� ำ รั ส ของในหลวง รัชกาลที ่ 9 ทีว่ า่  “เราจะปกครองแผ่นดินโดย ธรรม” อันประกอบด้วยนิติธรรม คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม และ อารยธรรม ผสม ผสานกันอย่างกลมกลืนด้วยการอบรมบ่ม นิสัย คืออบรมให้ทุกคนมั่นใจว่าตนมีความ สุขแท้ตามความเป็นจริงของมนุษย์ คือ ตาม สัญชาตญาณปัญญาทีส่ นใจอยากรูแ้ ละอยาก เสี ย สละอุ ทิ ศ ตนให้ แ ก่ ค วามจริ ง ที่ มี ค วาม หมายสูงสุด ยุติธรรมตามกฎหมายของแอร์เริสทาทเถิ้ล แอร์ เ ริ ส ทาทเถิ้ ล กล่ า วถึ ง ความ ยุติธรรม (dikaiosyne) ในหนังสือ Nichomachean Ethics ว่ามี 2 ความหมาย คือ ถ้าหมายถึงคุณภาพของบุคคลก็เป็นคุณธรรม ส�ำคัญที่สุด ที่ท�ำให้บุคคลหนึ่งๆ มีความสุข ตามสัญชาตญาณปัญญา ถ้าหมายถึงคุณภาพ ของกฎหมายก็ท�ำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข กฎหมายดังกล่าวจะต้องมีคณ ุ สมบัติ ครบ 3 ประการคือ 1. ความทัว่ ไป (generality) กฎหมายจะต้องเป็นข้อความสากลที่ใช้ได้ กั บ พลเมื อ งทุ ก คนในปั จ จุ บั น และอนาคต 2. ความเสมอภาค (equity) มีขอบข่ายการ ประยุกต์ใช้กบั ทุกคนในสังคมอย่างเสมอหน้า กันโดยไม่มกี ารยกเว้นรวมถึงผูอ้ อกกฎหมาย


ความยุติธรรม

และรักษากฎหมายเองด้วย 3. การมีชอ่ งโหว่ (fallibility) เนื่องจากในการออกกฎหมายแต่ ละครัง้  ผูอ้ อกกฎหมายมีความรอบคอบในวง จ�ำกัด ไม่อาจรู้กรณีที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้ แต่กฎหมายเมื่อออกไปแล้วก็จ�ำเป็นต้องให้ มี อ� ำ นาจครอบคลุ ม ทุ ก กรณี ที่ เ ป็ น ไปได้ มิฉะนั้นก็จะไม่เรียกว่ากฎหมาย แต่เป็นแค่ ข้อก�ำหนด (decree)  ดังนัน้ จึงต้องให้ความ เท่าทัน (กร, epieikeia, ลต, epicheia) ช่ว ยท�ำการด้วยอย่างมากเท่าที่ผู้ใช้กฎหมายจะ สามารถท�ำได้ ตรงนี้กลายเป็นจุดอ่อนของ ความยุติธรรมตามกฎหมายที่ต้องยอมรับ เพราะถ้าไม่รับไว้ใช้เลย กฎหมายก็จะกลาย เป็นเครื่องมือสร้างความอยุติธรรมในสังคม อย่างโจ่งแจ้งเกินไป แต่ถ้าใช้พร�่ำเพรื่อนัก ก็จะเปิดโอกาสให้มีความล�ำเอียงในการใช้ กฎหมายอย่างโจ่งแจ้งเกินไปอีก แอร์เริสทาทเถิล้ ให้นยิ ามความเท่าทัน ไว้ว่า ได้แก่ชนิดหนึ่งของความยุติธรรมตาม กฎหมาย แต่อยู่ในระดับสูงกว่าส่วนอื่นและ มักจะให้ผลขัดแย้งกับส่วนอื่นที่เป็นความ ยุติธรรมตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด กล่าว ได้ว่าความเท่าทันดูผิวเผินแล้วก็ไม่ต่างจาก ส่วนอื่นๆ ของความยุติธรรม แต่เป็นส่วน อุ ด มการณ์ คื อ ความยุ ติ ธ รรมอุ ด มการณ์ โดยเก็บเอาเงือ่ นไขทุกข้อทีเ่ กีย่ วข้องกับกรณี ทีจ่ ะตัดสินมาพิจารณาอย่างถีถ่ ว้ น ซึง่ ในการ พิจารณาตัดสินความยุติธรรมตามกฎหมาย โดยทั่ ว ไปจริ ง ๆ ไม่ ส นใจเอามาพิ จ ารณา จะรูส้ กึ ต้องเอาความเท่าทันมาร่วมพิจารณา

47

ก็เพราะเกิดความรูส้ กึ ว่ากฎหมายตามปรกติ ตราขึน้ ตามกฎระเบียบทัว่ ไปด้วยทัศนวิสยั ให้ ใช้ได้กบั สถานการณ์สมมุตทิ อี่ าจจะเกิดขึน้ ใน อนาคตอย่างกว้างขวางที่สุดเท่าที่จะมอง ออกจากลักษณะทั่วไปของสังคมของคนใน ขณะร่างกฎหมาย ลักษณะทั่วไปดังกล่าวมา นีเ้ ท่านัน้ ทีเ่ ป็นกรอบของกิจกรรมทีก่ ฎหมาย ตัง้ ใจควบคุม กิจกรรมเหล่านีท้ เี่ ป็นเนือ้ หาข้อ เท็ จ จริ ง พร้ อ มให้ ใ ช้ ก ฎหมายตั ด สิ น อย่ า ง ยุ ติ ธ รรม ข้ อ เท็ จ จริ ง อื่ น ๆ ถื อว่ า อยู ่ น อก กรอบไม่รับพิจารณา แต่เมื่อปฏิบัติไปแล้ว ในกรอบของสถานการณ์ที่ก�ำหนดไว้ตายตัว ดังกล่าวผูใ้ ช้กฎหมายบางทีรสู้ กึ ว่าไม่ยตุ ธิ รรม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะว่า 1. กฎทั่วไปครอบคลุมไม่ถึงสถานการณ์เฉพาะการณ์ท�ำให้ รู้สึกว่าตอบไม่ถูกโจทย์หรือเกาไม่ถูกที่คัน 2.ผลการตัดสินบ่งบอกความอยุติธรรมชัดๆ เมือ่ เกิดผลลัพธ์ออกมาตรงข้ามกับเป้าหมาย ของการใช้กฎหมายเช่นนี ้ จะเอาผิดกับผูอ้ อก กฎหมายก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นผลมาจากการ ที่ สิ่ ง แวดล้ อ มในชี วิ ต มนุ ษ ย์ นั้ น มิ ไ ด้ ต ่ า งๆ กั น จนสุ ด ที่ จ ะจาระไนได้ ถี่ถ้ วนทุ ก กระทง จะเรี ย กร้ อ งให้ ค วามรอบคอบของปั ญ ญา มนุษย์ให้ท�ำงานจนรอบรู้ถึงขนาดไหนก็ไม่มี วันจะพอให้คำ�้ ประกันการตัดสินโดยอัตโนมัติ ให้ปลอดจากความผิดพลาดได้ เมื่อเป็นเช่นนี่้จึงต้องยอมให้ความเท่า ทันเข้ามารับผิดชอบให้สามารถยกเว้นความ ตายตัวตามตัวอักษรของกฎหมายได้โดยอ้าง ว่ามีเป้าหมายหรือความตั้งใจที่ไม่ควรมอง


48

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ข้ามจึงจะได้ความยุตธิ รรมตามเป้าหมายของ การออกกฎหมาย ความเท่ า ทั น จึ ง เป็ น มาตรการทีล่ นื่ ไหลอยูร่ ะหว่างระหว่างตัวบท กฎหมายกับความยุติธรรมโดยสอดแทรก ความยืดหยุน่  (flexibility) หรือความรูส้ กึ ตาม บริบท (context-sensitivity) เพื่อพร้อมช่วย ให้ ก ารตั ด สิ น มี ค วามยุ ติ ธ รรม สรุ ป ได้ ว ่ า บทบาทของความเท่ า เที ย มก็ คื อ เติ ม เต็ ม (rectification) กฎหมายเมื่อมีจุดอ่อนจาก ความจ�ำเป็นต้องมีความหมายกว้างตามตัว บท (ดู Nicomachean Ethics 1137b265-27 และ The Art of Rhetoric 1374a27-8) ต่อมามีผไู้ ม่เห็นด้วยกับแอร์เริสทาทเถิล้ มากมายในแง่ที่ให้ความส�ำคัญแก่ความเท่า เทียม ซึ่งก�ำหนดยากว่าเป็นอะไร มาจาก ไหน และใช้ได้แค่ไหน จึงมีผู้เสนอทางออก ให้มากมายเพื่อให้กฎหมายมีความยุติธรรม ที่น่าเชื่อถือเพื่อให้สังคมเดินหน้าต่อไปได้ ความยุ ติ ธ รรมตามกฎหมายแบบชดใช้ (retributive or corrective or vindicative justice) เมื่อผู้ใดท�ำกิจกรรมใดที่ประทับความ เสียหายแก่สังคมเป็นตราบาป (negative desert) ฝากไว้ในสังคม กฎหมายมีหน้าที่ บังคับให้เขาผู้นั้นต้องชดใช้จนกว่าจะหมด ตราบาป มิฉะนั้นสังคมจะเสื่อมคุณภาพลง และเมื่ อ สะสมถึ ง จุ ด หนึ่ ง เมื่ อ ใด ฟางเส้ น เดียวก็อาจจะท�ำให้สังคมนั้นล่มสลาย

ความยุติธรรมแบบผลลัพธ์ (consequential justice) เห็นด้วยกับแบบชดใช้แต่คิดว่ายังไม่ ยุติธรรมพอ เพราะหากตราบาปต้องชดใช้ ตราบุญก็ต้องได้รับการตอบสนอง (contribution) ด้ ว ยในท� ำ นองเดี ยวกั น  ตราบุ ญ (positive desert) ในทิศทางปฎิฐาน คือ เมื่อผู้ใดได้กระท�ำกิจกรรมใดที่เป็นคุณแก่ สังคม ก็เป็นตราบุญที่สังคมต้องตอบแทน อย่างเหมาะสม มิฉะนั้นจะไม่ยุติธรรม ผู้คิด เช่นนีม้  ี A. von Hirsch แต่กถ็ กู วิจารณ์ได้วา่ เป็นอุดมการณ์เกินไปจนไม่อาจจะท�ำได้ อันที่จริงทุกศาสนาก็รับรองเป็นหลัก ความยุติธรรมที่จะเป็นจริงในโลกหน้า เพื่อ ค�้ำประกันหลักการ “ท�ำดีได้ดี ท�ำชั่วได้ชั่ว ซึ่งจะเป็นจริงในโลกหน้า” ทั้งนี้เพราะยืนยัน ว่ า ความเป็ น จริ ง สู ง สุ ด ของศาสนามี สมรรถภาพอย่างคอมพิวเตอร์ที่บันทึกได้ อย่างสมบูรณ์แบบ 100 % ความยุติธรรมแบบพร้อมใจ (conventional justice) ความคิ ด เช่ น นี้ พ บได้ แ รกสุ ด ในบท สนทนา Republic ของเพลโทว์   โดย Polemarchus เสนอความคิดว่าความยุตธิ รรม เป็นเรื่องสัมพัทธ์เฉพาะสังคม นิยามรวมๆ ไม่ได้  เพราะอะไรจะยุติธรรมส�ำหรับนคร รัฐเอเธนส์ในสมัยนั้นก็คือมติส่วนใหญ่ของ ชาวเอเธนส์ ป ระชาธิ ป ไตย อย่ า งไรจึ ง ยุตธิ รรมจึงปรับเปลีย่ นได้เรือ่ ยไปตามมติของ


ความยุติธรรม

สภาเอเธนส์ แน่นอนว่าเป็นความคิดของลัทธิ โซฟิสม์ซึ่งเพลโทว์ต้องการจะหักล้างเพื่อ เสนอคติของตนว่าความยุติธรรมต้องเป็นไป ตามมโนคตินิรันดรในโลกแห่งมโนคติ ผู้คิด แบบพร้อมใจเช่นนีต้ อ่ มามี Michael Walzer (1983): Spheres of Justice, A Defence of Pluralism and Equality, London: Blackwell ทีก่ ล่าวว่า “ไม่ควรทีป่ ระชาคมใด เมื่อคิดว่าอะไรดีมีประโยชน์ในชุมชนของตน รวมทั้ ง วิ จ ารณญาณอั น เป็ น ที่ พ ร้ อ มใจกั น ยอมรับในชุมชนของตน ไม่พึง ยัดเยียดให้ ประชาคมอื่นคิดเหมือนตน แต่พึงปล่อยให้ แต่ละประชาคมมีมติตามกลไกของแต่ละ สังคม” ซึง่  Brian Barry วิจารณ์วา่  “ตามข้อ เท็จจริงแล้วน่าสงสัยว่าจะมีสงั คมใดสักสังคม หนึง่ ไหมทีต่ กลงกันได้เป็นเอกฉันท์วา่ อะไรดี ส�ำหรับสังคมของตน จริงๆ แล้วก็มีแต่เสียง ข้างมากซึง่ อาจะห่างจากกึง่ หนึง่ อยูม่ ากก็ได้” (ดู Routledge Encyclopedia of Philosophy, vol.3, p.142) ความยุติธรรมแบบส�ำนึกในหน้าที่ (deontological or teleological justice) ความยุติธรรมแบบนี้เชื่อว่าปัญญาทุก ปัญญาย่อมมีจติ ส�ำนึกทีเ่ รียกว่ามโนธรรมอัน เป็น ผลสรุปจากปัญญาว่าต้องท�ำอะไรและ ต้องไม่ทำ� อะไร ชาวพุทธเรียกว่าหิรโิ อตตัปปะ ความแตกต่างอยู่ที่ค�ำชี้แจงว่าความส�ำนึกดี ชั่วที่เชื่อว่ามีนี้ มีต้นก�ำเนิดมาจากไหน

49

ซี เ สอโรว์ ตั ว แทนของลั ท ธิ ส โทว์ อิ ค กล่าวไว้วา่  “กฎหมายทีถ่ กู ต้องก็คอื กฎหมาย ที่ อ อกมาจากปั ญ ญา ใช้ ไ ด้ อ ย่ า งสากล เปลี่ยนแปลงไม่ได้ตลอดกาล เพราะพระเจ้า ทรงเป็นบ่อเกิดของกฎหมาย เป็นผู้ประกาศ ให้ ใ ช้ เ ป็ น กฎหมาย และเป็ น ผู ้ บั ง คั บ ใช้ ” (ดู Routledge Encyclopedia of Philosophy, vol.3, p.143) โทมัส อไควนัสเอามา วิเคราะห์ออกเป็นกฎนิรันดร (eternal law) ในพระมนัสของพระเจ้า กฎธรรมชาติ (natural law) ซึง่ แฝงอยูเ่ บือ้ งหลังสิง่ สร้างทัง้ หลายใน ฐานะเป็นเป้าหมาย (teleology) ของการ สร้างซึง่ แต่ละสิง่ ให้ความร่วมมือด้วยการเดิน ตามกฎเกณฑ์ ข องตนที่ เ รี ย กว่ า กฎของ ธรรมชาติ   (law of nature) เมื่ อ มี ก าร ประกาศใช้ เ ป็ น เกณฑ์ ป ฏิ บั ติ ข องมนุ ษ ย์ ก็ เรียกว่ากฎปฏิฐาน (positive law) และหาก มนุษย์ประกาศเพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่าง เหมาะสม (fairness) ก็ได้ชื่อว่ากฎหมาย บ้านเมือง (civil law) แต่ถา้ ประกาศใช้สำ� หรับ สมาชิกของพระศาสนจักรเท่านัน้ ก็มชี อื่ เรียก โดยเฉพาะว่ากฎหมายพระศาสนจักร (ecclesiastical law) กฎหมายทุกประเภทต้อง สอดคล้องกับกฎนิรันดรจึงมีความยุติธรรม อิมมานุเอล คานท์ ชาวโปรเตสแตนต์ เยอรมั น  คิ ด ว่ า พระเจ้ า ได้ ป ระทานความ ส�ำนึกไว้ในปัญญาของมนุษย์ทุกคนเรียกว่า เหตุผลปฏิบัติ (Practical Reason) ให้เป็น เสียงเตือนอย่างที่ถูกต้องอยู่เสมอว่าอะไร


50

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ต้องท�ำและอะไรต้องหลีกเลี่ยง เป็นความ รู ้ สึ ก ระดั บ ค� ำ สั่ ง เด็ ด ขาด (categorical imperative) หากท� ำ ตามนั้ น จะยุ ติ ธ รรม เสมอ จุดอ่อนของความยุติธรรมแบบนี้ก็คือ หากไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า ระบบความคิดอัน สวยงามยิ่งนี้ก็กลายเป็นเพียงจินตนาการ สวยหรู หรือผูเ้ ชือ่ ในพระเจ้าแต่อาจจะคิดว่า พระเจ้าไม่น่าจะยุ่งเกี่ยวกับมนุษย์มากอย่าง นี้ อย่างลัทธิเทวัสนิยม (Deism) สอนอยู่ ความยุติธรรมแบบประโยชน์นิยม ประโยชน์นยิ ม (utilitarianism) มาจาก ค�ำ utility ซึง่ หมายถึงประโยชน์ใช้สอย มาจาก ค�ำสอนของเยเรมี เบนเธิ่ม ที่สอนว่ามนุษย์ ทุ ก คนมี ค วามโลภ หากยุ ใ ห้ ก อบโกยหา ผลประโยชน์ ใ ช้ ส อยใส่ ต นให้ ม ากที่ สุ ด ใน ทุกโอกาส ประเทศชาติจะร�่ำรวย เพียงแต่ ผู ้ ป กครองประเทศจะรู ้ จั ก ออกกฎหมาย กระตุ้นให้กอบโกยแต่ขณะเดียวกันก็ป้องกัน อย่างได้ผลมิให้ก้าวก่ายผลประโยชน์ของกัน และกัน กฎหมายที่ท�ำได้ดีที่สุดอย่างนี้เรียก ได้วา่ ยุตธิ รรมทีส่ ดุ  โทมัสฮอบส์เขียนหนังสือ Leviathan ออกความเห็ นว่ า ระบอบการ ปกตรองแบบเผด็จการแหละจะสามารถสร้าง กฎหมายยุ ติ ธ รรมที่ สุ ด ดั ง กล่ า วข้ า งต้ น นี้ ได้เพราะให้ผลประโยชน์แก่ทุกคนให้สมหวัง ได้มากที่สุด มีผู้คิดว่าระบอบประชาธิปไตย ก็ยงั ใช้นโยบายนีไ้ ด้ (ดู D. Gauthier, 1986:

Morals by Agreement และ B. Barry, 1995: Treatise on Social Justice) จุดอ่อนของความคิดแบบนี้ก็คือ หาก กระตุ้นให้ตวามโลภเป็นพลังผลักดันและ ตัดสินความพึงพอใจแล้ว ได้เท่าไรก็ไม่รู้จัก พอ ใครมีพลังต่อรองสูงก็จะหาช่องทางเอา เปรียบอยู่ตลอดเวลาโดยไม่ให้จับได้ว่าผิด กฎหมาย โดยธรรมชาติ ข องกฎหมายนั้ น จะออกให้รอบคอบเพียงไรก็ยังมีช่องโหว่ให้ คนฉลาดมองเห็นและใช้ช่องโหว่นั้นได้อยู่ เสมอ ดั ง ที่   Matt Matravers กล่ า วไว้ ว่ า “ครอบครัวที่สามีภรรยาเอาแต่นั่งค�ำนวณ เปรี ย บเที ย บความได้ เ ปรี ย บเสี ย เปรี ย บ ระหว่างกันอยู่ทั้งวัน ย่อมมีความสุขสู้คู่ที่ มุง่ ฟักฟูมความรักต่อกันจนอะไรก็ยอมรับกัน ได้ไม่ได้เป็นแน่” (Routledge Encyclopedia of Philosophy, vol. 3, p.146) ความยุติธรรมตามหลักดีพร้อม (justice as fairness)  ความดีพร้อม (integrity คือสภาพ ของจิ ต ใจที่ มี อุ ป นิ สั ย  (character) ท� ำ ดี ทุกอย่างอย่างมีความสุข เป็นความดีพร้อม ภายในของแต่ละบุคคล อุปนิสัยท�ำดีแต่ละ อย่ า งๆ ตามหลั ก การประจ� ำ ใจ เรี ย กว่ า คุ ณ ธรรม (virtue) การปฏิ บั ติ คุ ณ ธรรม ส�ำเร็จแต่ละครัง้ เรียกว่าจริยธรรม (practical virtue or virtue in practice) ชุดหนึ่งของ คุณธรรมทีท่ ำ� ให้บคุ คลหนึง่ หรือสังคมหนึง่ ได้


ความยุติธรรม

ชื่อว่าดีเรียกว่าคุณธรรมจริยธรรม (ethic, morality) หากเป็นค�ำสอนของศาสนาก็เรียก โดยเฉพาะว่ า ศี ล ธรรม (religious ethic, religious morality) ความยุติธรรมตามหลักความดีพร้อม เกิดขึน้ จากความต้องการของนักประชาธิปไตย ในปัจจุบันที่ต้องการนิยามความยุติธรรมให้ ทั น สมั ย เหมาะกั บ การออกกฎหมายใน ระบอบประชาธิ ป ไตย ดั ง ถ้ อ ยแถลงของ แมทท์   แมทเทรอเวอส์ ว ่ า  “บรรดาทฤษฎี ต่างๆ ว่าด้วยความยุตธิ รรมตามหลักความดี พร้อมนั้นก่อหวอดมาจากความต้องการให้ ความยุตธิ รรมมีบทบาทส�ำคัญในการก�ำหนด กรอบ (framework) ให้กลุม่ มวลชนทัง้ หลาย ที่ มี ค วามเข้ า ใจเรื่ อ งความดี ที่ แ ข่ ง ขั น กั น (competing ideas of the good) สามารถ อยู่ร่วมกันในสังคมโดยไม่ขัดแย้งกัน (without conflict) ก็ ค วามยุ ติ ธ รรมตามหลั ก ความดีพร้อมนี่แหละที่เชื่อว่าน่าจะเป็นที่ ยอมรับได้จากทุกฝ่าย เพราะมันมีเป้าหมาย เปิดโอกาสพร้อมให้แต่ละบุคคลได้มุ่งมั่นท�ำ ดีตามอุดมการณ์ชีวิตของตน” (Routledge Encyclopedia of Philosophy, vol.3, p.144) อาจจะมีผู้ข้องใจว่า อุดมการณ์ความ ดีมที มี่ าจากร้อยพ่อพันแม่ จะไม่ขดั แย้งกันได้ อยู่หรือ คิมลิคคา (W. Kymlicka) ปลอบใจ ด้ ว ยข้ อ คิ ด ว่ า  เนื่ อ งจากมนุ ษ ย์ คื อ สั ต ว์ มี ปัญญา อุดมการณ์แห่งความดีแสดงให้เห็น

51

ความหลากหลายก็จริง ในเมื่ออุดมการณ์ ล้วนแต่เป็นผลจากการใช้ปญ ั ญา จึงเชือ่ ได้วา่ เบื้องหลังของความหลากหลายนั้นย่อมต้อง มีอดุ มการณ์รว่ มอยู ่ ให้ชว่ ยกันหาเถิด มีแน่ๆ สักวันหนึ่งจะพบ” แต่คิมสิคคาเองก็ยังไม่ กล้าบอกว่ามันคืออะไร (ดู W. Kymlicka: 1990, Contemporary Political Philosophy) ยังคงเป็นประเด็นขวัญใจของนักคิดทัว่ โลกว่า ความยุตธิ รรมคืออะไรในสังคมประชาธิปไตย ในปัจจุบัน ที่น่าสนใจคือความคิดของจอห์น รอลส์  (John Rawl 1921-2002) เขียน A Theory of Justice, Cambridge, MA: Harvard University Press, 1975) เพือ่ แก้ จุดอ่อนของแอร์เริสทาทเถิ้ลและปรับให้เข้า กับระบอบประชาธิปไตยแบบหลังนวยุคสาย กลาง รอลส์ เ ริ่ ม หนั ง สื อ ของตนว่ า  “มี เ ป้ า หมายทีจ่ ะจัดให้มฐี านทางจริยธรรมทีเ่ หมาะ สมที่สุดส�ำหรับสังคมประชาธิปไตย” (John Rawls:1971, A Theory of Justice, preface) เพื่อเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น รอลส์พบว่า จุดร่วมที่ต้องเน้นคือความหวังอันพึงได้จาก ประชาธิ ป ไตยอั น เป็ น จุ ด ที่ พึ ง ยกขึ้ น ชู เ พื่ อ เรียกร้องความร่วมมือ ส่วนจุดต่างทีพ่ งึ สังวร และท�ำให้เห็นจริงให้ได้ก็คือความเป็นบุคคล ที่ต้องการเสรีภาพ ความเสมอภาค ความมี เหตุผลของตนเอง และความมีปัญญาเข้าใจ ความยุ ติ ธ รรมตามระบอบประชาธิ ป ไตย (sense of democratic justice) บนฐานของ


52

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

การมีสว่ นร่วมอย่างเหมาะสมในผลประโยชน์ (distribution) และการแบ่งเบาภาระร่วม (retribution) พวกเขาต้องมีส่วนร่วมลงมติ ในรั ฐ ธรรมนู ญ  ในกฎหมายควบคุ ม การมี กรรมสิทธิ์ ในการจัดการการตลาดและชีวิต ครอบครั ว  เมื่ อ ท� ำ ได้ เ ช่ น นี้ พ วกเขาต้ อ งมี ความรู้พอเพียงที่จะประเมินขีดขั้นความรู้ ความสามารถของตนเมื่ อ เที ย บกั บ ผู ้ อื่ น รู้สถานภาพของตนเมื่อเทียบกับผู้อื่นและ เข้าใจเกณฑ์ความดีของตนเมือ่ เทียบกับผูอ้ นื่ ทั้งนี้มิเพียงแต่รู้ว่าตนรู้อะไรบ้างเท่านั้น แต่ พึงประเมินได้ว่าความรู้ของตนจนกลั่นออก เป็ น อุ ด มการณ์   ความดี ข องตนนั้ น อยู ่ ใ น กรอบเช่นไร และคนอื่นอยู่ในกรอบเช่นไร (ให้รู้กระบวนทรรศน์ของกันและกันนั่นเอง) เพือ่ สามารถประเมินได้วา่ ท�ำไมจึงคิดเหมือน หรือต่างกัน จะได้ประเมินได้อย่างมีเหตุผล ว่าเรื่องใดควรยอมความกันได้และเรื่องได้ ควรต้องเรียกร้องสิทธิได้…. ทัง้ หมดนีต้ อ้ งการ ระบบการศึกษาที่เหมาะสม เพราะเป็นฐาน ส�ำคัญให้เข้าใจเสรีภาพอันพึงมีในระบอบ ประชาธิปไตย มิฉะนั้นประชาชนจะอยู่ใน สภาพลวงตา (illusion) ไม่ชดั เจนในพืน้ ฐาน ความสัมพันธ์สังคมประชาธิปไตยและกลาย เป็นเหยือ่ ถูกชักจูงโดยพลังทีพ่ วกเขาไม่เข้าใจ หลั ก การของเสรี ภ าพและเสมอภาคของ ระบอบประชาธิปไตยน้​้น รัฐไม่พึงมีอะไร ซ่อนเร้นปิดบังเลยไม่วา่ อะไรทีเ่ กีย่ วกับความ มั่นคงของสังคม”

สรุปความได้วา่ รอลส์เสนอความคิดใน บรรยากาศของการเมื องสหรั ฐ อเมริ ก าซึ่ ง รอลส์เองรูส้ กึ ว่ายังไม่ยตุ ธิ รรมพอ แม้จะเป็น ความคิ ด ที่ น ่ า สนใจ แต่ ก็ มี เ สี ย งวิ พ ากษ์ วิจารณ์มากมายว่าท�ำจริงไม่ได้ คาทอลิกไทยจะไปทางไหนดี นั ก บุ ญ โทมั ส  อไควนั ส จั ด ให้ ค วาม ยุตธิ รรมมี 2 ความหมาย คือ ความยุตธิ รรม ที่เป็นคุณภาพของจิตใจกับความยุติธรรมที่ เป็นคุณภาพหนึ่งของกฎหมาย จิตใจจะมีคุณภาพต้องมีชุดหนึ่งของ คุ ณ ธรรมที่ เ หมาะกั บ สถานภาพของชี วิ ต อไควนัสวิเคราะห์ให้เห็นว่าคุณธรรมอันได้แก่ อุปนิสัยท�ำดีจนเคยชินนั้น ทุกคุณธรรมต้อง มี คุ ณ สมบั ติ ค รบ 4 ข้ อ  คื อ  prudence, fortitude, temperance, justice ซึง่ ต่างก็ไม่ ใช่คณ ุ ธรรมหากไม่มอี กี  3 อย่างมาประกอบ ด้ ว ย 4 ข้ อ นี้ ร วมกั น เรี ย กว่ า  4 คุ ณ ธรรม บานพับ (4 cardinal virtues) ซึ่งเป็นศัพท์ ภาษาละตินของอไควนัสเอง ไม่มีในภาษา กรีก แอร์เริสทาทเถิ้ลกล่าวถึง คุณธรรม 4 ข้อนี้ในฐานะคุณธรรมส�ำคัญที่ท�ำให้บุคคลมี ความสุข และเมื่อรวมตัวกันเป็นสังคมก็จะ ท�ำให้สังคมมีความสุข เพราะกฎหมายจะ ยุติธรรมทุกขั้นตอนโดยได้รับความร่วมมือ จากพลเมืองที่มีความสุขและอยากให้สังคม สงบสุข


ความยุติธรรม

แอร์ เ ริ ส ทาทเถิ ล ใช้ ค วามยุ ติ ธ รรม (dikaiosyne) ค�ำเดียวโดดๆ เป็นคุณสมบัติ ของกฎหมายที่ดี แต่ส�ำหรับคุณภาพชีวิตที่ดี นั้นใช้ค�ำ dikakosyne และ philia ซึ่งกูธริ (Guthrie) ในหนังสือ Aristotle An Encounter ตัง้ ใจแปลด้วยค�ำ friendship มิตรภาพทีห่ วัง ดีและเสียสละต่อกันอย่างมีความสุข ซึง่ พระ ธรรมใหม่ นิ ย มใช้ ค� ำ  dikaiosune และ agape แทน dikaiosune และ philia ซึ่งนักบุญเยโรมแปลเป็นละตินว่า justitia และ caritas (หมายเหตุ ค�ำ agape ไม่มีใช้ ในภาษากรี ก คลาสสิ ก  เป็ น ค� ำ ของพระ ศาสนจักรดัง้ เดิมโดยเฉพาะ แอร์เริสทาทเถิล้ จึงต้องใช้ค�ำ philia เพื่อหมายถึงความรักแท้ เสียสละอย่าง amicitia = friendship) ค�ำ justitia, justice ความยุตธิ รรมรับ ความหมายด้านกฎหมายของค�ำ dikaiosyne เข้ามาเป็นทางการอย่างเต็มตัวโดยลืมความ หมาย dikaiosune เดิมของแอร์เริสทาทเถิล้ และของภาษากรีกดั้งเดิม “justus ex fide vivit” จึงมีความหมายว่า ผูย้ ตุ ธิ รรมด้วยความ เชือ่ จึงจะเอาวิญญาณรอด ความเชือ่ นัน้ ได้แก่ ข้ อ ความที่ พ ระศาสนจั ก รประกาศเป็ น ข้อความเชือ่ ทุกข้อซึง่ พระสังคายนาประกาศ เพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ (ยกเว้นครัง้ เดียวคือสังคายนา วาติกันที่ 2 ที่ไม่มีค�ำ anathema sit แม้แต่ ครั้งเดียว มาร์ติน ลูเธอร์ ตีความขยายผล เป็นว่า ผูย้ ตุ ธิ รรมด้วยความเชือ่ ไนซีนเท่านัน้

53

ก็เอาวิญญาณรอดได้แล้ว ไม่ตอ้ งสนใจความ เชื่อใดๆที่พระศาสนจักรคาทอลิกประกาศ เพิ่มเติมต่อจากนั้น ค�ำ  “เท่านั้น”เพียงค�ำ เดียวท�ำให้พนี่ อ้ งต้องเป็นปรปักษ์ตอ่ กันอย่าง น่าเศร้าใจ เมื่อเห็นประเด็นชัดเจนเช่นนี้จึงมีการ เสนอให้ปรับความหมายของค�ำ dikaiosyne เป็น justificatio, justification และแปลค�ำ dikaionimos เป็น justificatus, justified, ผู้มีความชอบธรรม ส่วน philia ให้แปลเป็น caritas, charity, mercy, merciful love ตามความหมายในภาษากรีกของแอร์เริส ทาทเถิ้ล ณ บัดนี้บรรยากาศดีๆ เกิดขึ้นแล้ว เมือ่ ชาวคริสต์ทกุ นิกายเน้นตรงกันว่าพระเจ้า ทรงพระเมตตาอย่างหาที่สุดมิได้ และพระ เมตตาอันยิง่ ใหญ่นเี้ องพระองค์ยอ่ มทรงมีวธิ ี ของพระองค์ที่จะช่วยวิญญาณที่หลงผิดได้ อย่างชอบธรรมโดยไม่ละเลยความยุติธรรม และด้วยวิธีนี้พระองค์ก็จะทรงมีวิธีเอาคนที่ ช่ ว ยผู ้ ด ้ อ ยโอกาสโดยไม่ เ คยคิ ด ว่ า ท� ำ เพื่ อ พระองค์เลยในขณะมีชีวิตในโลกนี้ พระองค์ มีวิธีลึกลับของพระองค์ที่จะให้คนเหล่านี้ บรรลุความรอดได้อย่างชอบธรรม มิฉะนั้น พระองค์คงไม่รับรองไว้อย่างโจ่งแจ้งในพระ คัมภีร์ “จงเข้ามาเถิด” ทั้งๆ ที่ถูกประท้วง ว่า “พวกเราไม่รู้จักพระองค์”


54

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ส�ำหรับประเทศไทยจะเอาอย่างไร เมื่ อ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว รัชกาลที่  9 ได้ขึ้นครองราชย์  และยังต้อง เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างทางที่พระองค์เสด็จสู่สนามบินทรง ตอบประชาชนว่า “หากประชาชนไม่ท้ิงเรา เราจะทิง้ ประชาชนได้อย่างไร” และเมือ่ วันขึน้ ครองราชย์กไ็ ด้ขยายผลพระราชปณิธานเป็น ว่ า  “เราจะครองแผ่ น ดิ น โดยธรรมเพื่ อ ประโยชน์ สุ ข แห่ ง มหาชนชาวสยาม” ซึ่ ง จะเป็ นอะไรไปไม่ได้นอกจากจะหมายถึง

ความยุติธรรมที่ท�ำให้พสกนิกรของพระองค์ ทุกคนมีความสุข และท้ายสุดเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 ได้ประทานพระราช วินิจฉัยลงมาให้น�ำปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียงออกเผยแพร่แก่มวลชนทุกภาคส่วน เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่รู้เรื่องปรัชญา จะต้องท�ำความเข้าใจปรัชญาของพระองค์ ที่ธ�ำรงความยุติธรรมอันบันดาลความสุขแท้ ตามความเป็ น จริ ง และเผยแพร่ สู ่ ม วลชน ประเทศไทยเป็นประเทศของผูม้ คี วามสุขตาม ปรัชญาความสุขของพระองค์

บรรณานุกรม Borchert, Donald. (2006). Encyclopedia of Philosophy. New York: Macmillan. Craig, Edward. (1998). Routledge Encyclopedia of Philosophy. London: Routledge. Eliade, Mircea, ed. (1987). The Encyclopedia of Religion. New York: Macmillan. Guthrie, W.K.C. (1989). A History of Greek Philosophy. Cambridge: Cambridge University Press. Hastings, James, ed. (1959). Encyclopedia of Religion and Ethics. New York: Scribner. Rawls, John (1971). A Theory of Justice. Cambridge, M.A.: Havard University Press. Walzer, Michael (1983). Spheres of Justice. London: Blackwell.


กางเขนของพระคริสตเจ้าคือความเมตตาและ บาทหลวง ผศ.วสันต์ พิรุฬห์วงศ์ C.S.S

ความยุติธรรมและความเมตตาเป็น สองเรื่องที่ดูเหมือนไปด้วยกันไม่ได้  เพราะ ในทีส่ ดุ แล้ว ความยุตธิ รรมย่อมเรียกร้องการ ลงโทษทีเ่ หมาะสมกับความผิดทีไ่ ด้กระท�ำลง ไป ส่วนความเมตตาเป็นเรื่องของการเห็น อกเห็นใจและการให้อภัยผู้กระท�ำความผิด แต่อย่างไรก็ตาม เราสามารถพบคุณลักษณะ ทั้งสองประการนี้ได้ใน “พระเจ้า” และใน พระองค์ นั้ น คุ ณ ลั ก ษณะสองประการนี้

ยังด�ำรงอยู่ร่วมกันและด�ำเนินงานร่วมกัน อย่างเป็นเอกภาพ และเป็นคุณลักษณะที่ไม่ อาจขาดไปจากพระเจ้าได้ ในระหว่างการให้โอวาทแก่ผู้ที่เข้าเฝ้า ทัว่ ไปเมือ่ วันพุธที ่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงตรัสถึงเรือ่ งความ เมตตาและความยุ ติ ธ รรมของพระเจ้ า ว่ า ไม่ ใ ช่ ค วามจริ ง สองประการที่ ขั ด แย้ ง หรื อ ไปด้วยกันไม่ได้  แต่เป็นสองมิติของความ

บาทหลวงสังกัดคณะรอยแผลศักดิ์สิทธิ์ C.S.S., อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม

(หมวดสัจธรรม)

ความยุติธรรมของพระเจ้า


56

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

เป็นจริงเดียวกันที่ค่อยๆ เผยออกจนกระทั่ง บรรลุความสมบูรณ์ในความรัก ในพระคัมภีร์ เอง แม้แสดงให้เห็นว่าพระเจ้าทรงเปีย่ มด้วย ความเมตตาอย่างหาที่สุดมิได้ก็จริง แต่ใน เวลาเดียวกัน พระคัมภีร์ก็แสดงให้เห็นถึง ความยุติธรรมอย่างที่สุดของพระเจ้าด้วย 1. พระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา (อฟ 2:4) นั ก บุ ญ เปาโลได้กล่า วยืนยันแก่ช าว เอเฟซั ส ว่ า  “พระเจ้ า ทรงเปี ่ ย มด้ ว ยพระ เมตตา” (อฟ 2:4) ค�ำว่า “เมตตา” (misericordia) ในที่นี้หมายถึงการเปิดใจต่อความ ทุกข์เวทนาหรือความเคราะห์ร้ายของคนอื่น ความเมตตาจึงเป็นโฉมหน้าของความรักของ พระเจ้าที่ทรงเปิดใจหรือหันเข้าหาคนบาป และประทานการอภัยและความรอดแก่เขา ความเมตตาจึงเป็นท่าทีของการต้อนรับและ อภัยโทษให้มนุษย์คนบาป แต่ความเมตตา ของพระเจ้านีไ้ ม่ได้หมายความว่าเป็นการลด ทอนความจริงเรื่องพระพิโรธของพระเจ้า เพราะพระพิโรธของพระเจ้าเป็นการตอบ สนองบาปของมนุษย์ พระพิโรธของพระเจ้า เป็นการแสดงออกถึงความไม่ทรงพอพระทัย ในบาปของมนุษย์ เพราะบาปท�ำลายความ สัมพันธ์หนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า พระพิ โ รธจึ ง เป็ น การแสดงออกของความ ยุ ติ ธ รรม ความชอบธรรม และความ ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า

ในพระคัมภีร์มีกล่าวถึงความเมตตา ของพระเจ้าไว้มากทีเดียว พบว่ามีกว่า 290 ครัง้ ในพันธสัญญาเดิมและประมาณ 70 ครัง้ ในพั น ธสั ญ ญาใหม่ ที่ พูด ถึ ง โดยตรงเลยว่ า พระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยความเมตตากรุณา และพระเจ้าก็ทรงส�ำแดงความเมตตากรุณา ของพระองค์นี้แก่มนุษย์เป็นผู้เป็นประชากร ของพระองค์   เราพบการยื น ยั น เรื่ อ งนี้ ใ น หนั ง สื อ ประกาศกโยนาห์ ที่ ก ล่ า วถึ ง ความ เมตตาของพระเจ้าต่อชาวนีนะเวห์ที่กลับใจ ว่า “พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้เมตตากรุณา ไม่โกรธง่าย เปี่ยมด้วยความรักมั่นคงและ กลับพระทัยไม่ลงโทษ” (ยนา 4:2) กษัตริย์ ดาวิ ด ก็ พู ด ถึ ง พระเจ้ า ในลั ก ษณะเดี ยวกั น ว่า “ทรงโปรดปรานและทรงเมตตากรุณา กริว้ ช้าและทรงความรักมัน่ คงอย่างเต็มเปีย่ ม พระยาเวห์ทรงพระทัยดีแก่ทกุ คน ความอ่อน โยนของพระองค์ครอบคลุมสิ่งสร้างทั้งมวล” (สดด 145:8-9) แต่การแสดงความเมตตา ทีย่ งิ่ ใหญ่ทสี่ ดุ ของพระเจ้าคือการยอมให้พระ บุ ต รเพี ย งพระองค์ เ ดี ย วของพระองค์ สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน เพื่อชดเชยบาป ของมนุษย์และน�ำความยุติธรรมกลับคืนสู่ พระเจ้า นักบุญเปโตรยืนยันถึงความจริงเรือ่ ง นีเ้ มือ่ กล่าวว่า “พระองค์ทรงแบกบาปของเรา ไว้ในพระวรกายบนไม้กางเขน เพื่อเราจะได้ ตายจากบาปและมี ชี วิตอยู ่ เพื่ อความชอบ ธรรม รอยแผลของพระองค์รักษาท่านให้ หาย” (1 ปต 2:24)


กางเขนของพระคริสตเจ้า คือ ความเมตตาและความยุติธรรมของพระเจ้า

แต่ด้วยพระหรรษทานของพระองค์ พระเจ้ า จึ ง ไม่ เ พี ย งแต่ เ ป็ น พระเจ้ า ที่ ท รง เมตตาเท่านั้น พระองค์ยังทรงเป็นพระเจ้าที่ ยุติธรรมอย่างที่สุดด้วย 2. พระเจ้าทรงความเทีย่ งธรรมและยุตธิ รรม (ฉธบ 32:4) เรื่องความยุติธรรมของพระเจ้าเป็น ค� ำ สอนที่ เ กี่ ยวข้ อ งกั บ เรื่ อ งความรอดของ มนุษย์ ในพระคัมภีร์มีพูดถึงความยุติธรรม ของพระเจ้าและพระพิโรธของพระองค์ที่มี ต่อบาปอยู่หลายครั้ง ค�ำสอนเรื่องนี้แม้จะ เกี่ยวข้องโดยตรงกับ “การชดเชยบาป” แทน มนุษย์ของพระเยซูคริสตเจ้า แต่กเ็ ป็นค�ำสอน ที่ตั้งอยู่บนรากฐานของความยุติธรรมของ พระเจ้ า  กล่ า วคื อ  เพราะพระเจ้ า ทรง ยุติธรรมอย่างที่สุด พระองค์จึงไม่อาจมองดู บาปหรือปล่อยให้มีบาปในความเป็นอยู่ของ พระองค์ได้ เมือ่ บาปเข้ามาในโลก มนุษย์เริม่ ฝ่ า ฝื น กฎบั ญ ญั ติ แ ละการปกครองของ พระเจ้า มนุษย์เลือกท�ำตามความต้องการ ของตัวเองและวางใจในความสามารถของ ตัวเอง เพือ่ หวังจะมีชวี ติ ยืนยาวและเป็นใหญ่ ทัดเทียมพระเจ้า ความไม่ซอื่ สัตย์ของมนุษย์ จึงสมควรได้รับการลงโทษ เพราะบาปของ มนุ ษ ย์ ขั ด ต่ อ พระเจ้ า ผู ้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ แ ละไร้ ขอบเขต เมื่อพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าแห่ง ความยุติธรรม พระองค์จึงต้องส�ำแดงความ ยุติธรรมของพระองค์  เพื่อบาปของมนุษย์ จะได้รับการลงโทษอย่างเหมาะสม

57

พระคัมภีรพ์ นั ธสัญญาเดิมพูดถึงความ ยุติธรรมของพระเจ้าว่า เป็นพระเจ้าเองที่ ตรั ส ยื น ยั น ผ่ า นทางประกาศกอิ ส ยาห์ ว่ า  “นอกจากเรา ไม่ มี พ ระเจ้ า อื่ น ใดเลย นอกจากเรา ไม่มีพระเจ้าเที่ยงธรรมผู้ช่วย ให้รอดพ้น” (อสย 45:21) โมเสสก็กล่าว ยื น ยั น ถึ ง ความยุ ติ ธ รรมของพระเจ้ า นี้ ว ่ า “พระองค์ ท รงเป็ น ศิ ล า พระราชกิ จ ของ พระองค์ ก็ ดี พ ร้ อ ม หนทางทั้ ง หลายของ พระองค์ล้วนเที่ยงธรรม พระองค์ทรงเป็น พระเจ้าผูซ้ อื่ สัตย์ ไม่ทรงหลอกลวง พระองค์ ทรงความเที่ ยงธรรมและยุ ติธ รรม” (ฉธบ 32:4) ส่วนในพันธสัญญาใหม่ นักบุญเปาโล ให้ ร ายละเอี ย ดแก่ ช าวโคโลสี ว ่ า ท� ำไมการ พิพากษาของพระเจ้าถึงใกล้มาถึงแล้ว “ท่าน ทั้งหลายจงปราบโลกียวิสัยในตัวท่าน คือ การผิดประเวณี  ความลามก กิเลสตัณหา ความปรารถนาในทางชัว่ ร้าย และความโลภ ซึ่งเป็นเหมือนการกราบไหว้รูปเคารพอย่าง หนึ่ง โลกียวิสัยเหล่านี้น�ำการตัดสินลงโทษ ของพระเจ้าลงมายังผู้ดื้อรั้น” (คส 3:5-6) การไม่ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าของมนุษย์จึงต้อง ได้รบั การลงโทษ เพราะบาปของมนุษย์ขดั ต่อ พระเจ้ า ผู ้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   เมื่ อ พระเจ้ า ทรงเป็ น พระเจ้าทีท่ รงยุตธิ รรม พระเจ้าจึงต้องส�ำแดง ความยุตธิ รรมของพระองค์ เพือ่ บาปจะได้รบั การลงโทษอย่างเหมาะสม


58

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

3. กางเขนของพระคริ ส ตเจ้ า คื อ ความ เมตตาและความยุติธรรมของพระเจ้า ศาสนาที่นับถือพระเจ้ามีความเชื่อว่า พระเจ้าทรงส�ำแดงความเมตตาของพระองค์ ต่อมนุษย์เสมอ แต่การส�ำแดงความเมตตา ของพระเจ้าของศาสนาและลัทธิความเชื่อ อื่นๆ ที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนาจะเป็นการส�ำแดง ความเมตตาด้วยการยกเลิกการลงโทษความ ผิด เพื่อจะได้สามารถแสดงความเมตตาต่อ ผู ้ นั้ น ได้   แต่ นี่ ดู เ หมื อ นเป็ น  “การท� ำ ลาย” ความยุติธรรมเสียมากกว่า ความเมตตาจึง เป็นเรื่องที่ไปด้วยกันไม่ได้กับความยุติธรรม หากผูพ้ พิ ากษาทีเ่ ป็นมนุษย์คนใดยกเลิกการ ลงโทษผู้กระท�ำความผิด ผู้คนในสังคมคง กังขาและต�ำหนิติเตียนกันอย่างมากทีเดียว เพราะถือเป็นความรับผิดชอบอย่างมากที่ ผู้พิพากษาจะต้องดูแลให้กฎหมายได้รับการ ถือปฏิบัติอย่างถูกต้องและเป็นธรรมส�ำหรับ ทุ ก คน ใครที่ ท� ำ ความผิ ด ก็ ต ้ อ งได้ รั บ โทษ อย่างเหมาะสมและอย่างยุตธิ รรม ผูพ้ พิ ากษา ที่ไม่เอาใจใส่ในข้อกฎหมายและไม่บังคับให้ เป็นไปตามที่กฎหมายก�ำหนดก็เสี่ยงต่อการ ถูกมองว่าเป็น ผู้ที่ทรยศต่อหน้าที่ของตัวเอง ได้ แต่คริสต์ศาสนาเชือ่ และสอนว่า “พระ เมตตาของพระเจ้าส�ำแดงออกผ่านทางพระ ยุตธิ รรมของพระองค์” พระเจ้าของชาวคริสต์ ไม่ได้ทรงยกเลิกหรือท�ำลายความยุติธรรม เพื่อจะได้มีที่ส�ำหรับแสดงความเมตตาต่อ

มนุษย์ ค�ำสอนของคริสตชนเรื่องการชดเชย ความบาปผิดหรือโทษได้แสดงให้เห็นอย่าง ชัดเจนว่า บาปและความอยุตธิ รรมได้รบั การ ลงโทษโดย “กางเขน” ของพระคริ ส ตเจ้ า และโทษของบาปก็ได้รับการชดเชยโดยการ พลี ชี พ เป็ น บู ช าของพระคริ ส ตเจ้ า  ดั ง นี้ พระเจ้าจึงส�ำแดงความเมตตาของพระองค์ ต่อคนบาปหากเขามองดูพระคริสตเจ้าด้วย ความเชื่อและความหวังที่จะได้รับความรอด การสิ้นพระชนม์เพื่อคนบาปทั้งหลายของ พระเยซูคริสตเจ้าจึงแสดงให้เห็นถึงความ ยุติธรรมอย่างที่สุดของพระเจ้า และนี่เป็น สิ่งที่นักบุญเปาโลกล่าวยืนยันไว้เมื่อกล่าว ว่า “แล้วทุกคนก็ได้รับความชอบธรรมเป็น ของประทาน โดยทางพระหรรษทาน อาศัย การไถ่กู้เราให้เป็นอิสระในพระคริสตเยซู พระเจ้าทรงสถาปนาพระเยซูเจ้าเป็นเครื่อง บูชาชดเชยบาป โดยอาศัยความเชื่อและโดย อาศัยการหลั่งโลหิต เพื่อจะได้ส�ำแดงความ เที่ ย งธรรมของพระองค์   โดยอดกลั้ น ไม่ ลงโทษบาปในอดี ต  ในเวลาแห่ ง ความ พากเพียรของพระองค์ พระองค์สำ� แดงความ เที่ยงธรรมในปัจจุบัน เพื่อทรงเป็น ผู้ท่ีเที่ยง ธรรม และเพือ่ ทรงบันดาลให้ผมู้ คี วามเชือ่ ใน พระเยซูเจ้ากลับเป็นผูช้ อบธรรม” (รม 3:2426) ความยุ ติ ธ รรมของพระเจ้ า จึ ง เป็ น ความเมตตาของพระองค์ทมี่ ตี อ่ มนุษย์ทกุ คน ที่เป็นคนบาป ความยุติธรรมเป็นพระหรรษ


กางเขนของพระคริสตเจ้า คือ ความเมตตาและความยุติธรรมของพระเจ้า

ทานที่หลั่งไหลมาจากการสิ้นพระชนม์และ การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูคริสตเจ้า ความยุติธรรมของพระเจ้ายังส่งผลให้พระ เยซูคริสตเจ้ายอมรับเอาโทษบาปและความ อยุติธรรมทั้งหมดของเรามนุษย์เข้ามาไว้ใน พระองค์และทรงช�ำระเราให้พ้นจากโทษผิด ทั้งมวล พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงตรัสถึง เรื่องนี้ว่า “กางเขนของพระคริสตเจ้าเป็น ความยุติธรรมของพระเจ้าที่มีต่อเรามนุษย์ และต่อทุกคนในโลก” (MV, 21) ซึง่ สอดคล้อง กับค�ำสอนของพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที ่ 2 ทีเ่ คยตรัสสอนไว้วา่  “พระเจ้าทรงแสดง ความยุติธรรมและความเมตตาของพระองค์ ให้เราเห็นผ่านทางกางเขนของพระคริสตเจ้า เพราะบนกางเขนนั้น พระบุตรผู้ซึ่งมีพระ สาระเดี ย วกั บ พระบิ ด าได้ ท รงน� ำ ความ ยุตธิ รรมทีค่ รบสมบูรณ์กลับคืนสูพ่ ระเจ้า การ สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนของพระบุตรจึง เป็นการเปิดเผยความรักที่ต่อต้านสิ่งที่เป็น รากฐานของความชั่วในประวัติศาสตร์ของ มนุษย์ ต่อต้านบาปและความตาย” (DM, 8) การปฏิ บั ติ พ ระพั น ธกิ จ จนส� ำ เร็ จ สมบูรณ์ของพระเยซูคริสตเจ้า จึงเป็นเหตุ เพียงพอและสมบูรณ์ในการบันดาลความ รอดให้แก่มนุษย์ พระองค์ทรงเผชิญหน้ากับ ไม้กางเขนเพราะบาปของเรา ทรงไถ่กู้เรา จากความตาย ทรงรักษาเราจากรอยแผลลึก ของบาปก�ำเนิดและผลทีต่ ามมาจากบาปนัน้ และทรงน�ำเรากลับคืนดีกบั พระเจ้าพระบิดา ด้วยพลังของพระจิตเจ้า นักบุญเปาโลยืนยัน

59

เช่นนี้เมื่อกล่าวว่า “พระเจ้าทรงท�ำให้โลก คืนดีกับพระองค์ในพระคริสตเจ้า พระองค์ มิได้ทรงเอาผิดกับมนุษย์ แต่ทรงมอบให้เรา ประกาศสารแห่งการคืนดีนี้” (2 คร 5:19) การไถ่ โ ทษบาปของพระเยซู ค ริ ส ตเจ้ า ยั ง เป็นการก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของความ ยุตธิ รรมอีกด้วย เนือ่ งจากบาปของเรามนุษย์ ได้รับการชดเชยโดยการพลีชีพเป็นบูชาของ พระบุ ต รพระเจ้ า  กล่ า วคื อ  บาปในอดี ต ปัจจุบนั  และอนาคตล้วนได้รบั การชดเชยโดย การสิ้ น พระชนม์ บ นกางเขนของพระเยซู คริสตเจ้า “ถ้าเรากลับคืนดีกับพระเจ้า เดชะ การสิ้ น พระชนม์ ข องพระบุ ต ร ขณะที่ เ รา ยั ง เป็ น ศั ต รู อ ยู ่   ยิ่ ง กว่ า นั้ น  เมื่ อ กลั บ คื น ดี แล้วเราก็จะรอดพ้นเดชะพระชนมชีพของ พระองค์ด้วย” (รม 5:10) ด้วยเหตุนี้ พระ สันตะปาปาฟรังซิสจึงตรัสว่า “ความรอดมา ถึงเรามนุษย์ผ่านทางความเชื่อในพระเยซู คริสตเจ้า ซึ่งโดยการสิ้นพระชนม์และการ กลับคืนพระชนมชีพของพระองค์ ได้นำ� ความ รอดพ้นพร้อมกับความเมตตาทีจ่ ะบันดาลให้ เกิดความชอบธรรมมาให้มนุษย์” (DV, 21) ดังนัน้  ความยุตธิ รรมและความเมตตา ของพระเจ้ า  พระพิ โ รธและการอภั ย ของ พระเจ้า จึงมีความสัมพันธ์ตอ่ กันและกันโดย ผ่านทางกางเขนของพระเยซูคริสตเจ้า และ นี่เป็นการแสดงออกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ของความรั ก ของพระเจ้ า  และเป็ น กุ ญ แจ ส�ำคัญต่อความเข้าใจเรือ่ งวิธกี ารของพระเจ้า ในการเข้าหาคนบาป


60

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

4. ความยุติธรรมและความเมตตาเป็นสอง มิติของความรักของพระเจ้า ความยุ ติ ธ รรมและความเมตตามี ต้ น ก� ำ เนิ ด มาจากความรั ก ของพระเจ้ า พระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 เคยตรัส ไว้วา่  “มิตสิ องประการนีพ้ วยพุง่ มาจากความ รัก กล่าวคือ เกิดจากความรักของพระบิดา และของพระบุ ต ร ซึ่ ง ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลอย่ า ง สมบูรณ์ในความรัก” (DV, 7) พระสันตะปาปา ฟรังซิสก็ทรงอธิบายเรื่องนี้ด้วยเช่นกันเมื่อ ตรัสว่า “ความยุตธิ รรมและความเมตตาไม่ใช่ ความจริงสองประการที่ขัดแย้งหรือไปด้วย กันไม่ได้ แต่เป็นสองมิติของความเป็นจริง เดียวกันที่ค่อยๆ เผยออกจนกระทั่งบรรลุ ความสมบูรณ์ในความรัก” (MV, 20) ความ รักของพระเจ้าเป็นความจริงเดียวที่ค่อยๆ เผยออกอย่ า งมี ขั้ น ตอนผ่ า นทางประวั ติ ศาสตร์แห่งความรอดในรูปแบบของความ ยุติธรรมและความเมตตา และมิติทั้งสอง ประการที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนนี้ก็ได้ แสดงออกอย่างสมบูรณ์สูงสุดใน “กางเขน ของพระคริสตเจ้า” โดยทางกางเขนของพระคริ ส ตเจ้ า บาปจึงถูกท�ำลายลง เพราะกางเขนเป็นการ กระท�ำที่เกิดจากความยุติธรรมของพระเจ้า ต่อพระเยซูคริสตเจ้าเพือ่ ก่อให้เกิดผลดีแก่เรา มนุษย์ ดังค�ำกล่าวของนักบุญเปาโลแก่ชาว โครินธ์ที่ว่า “เพราะเห็นแก่เรา พระเจ้าทรง ท�ำให้พระองค์ผู้ไม่รู้จักบาปเป็น ผู้รับบาป เพือ่ ว่า ในพระองค์ เราจะได้กลายเป็นผูช้ อบ

ธรรมของพระเจ้า” (2 คร 5:21) พื้นฐาน ของการกระท� ำ เช่ น นี้ ข องพระเจ้ า มาจาก ความรักของพระองค์นั่นเอง นักบุญยอห์น ยืนยันเรื่องนี้แก่เราเมื่อกล่าว่า “ความรักอยู่ ที่ว่าพระเจ้าทรงรักเรา และทรงส่งพระบุตร ของพระองค์ ม าเพื่ อ ชดเชยบาปของเรา มิใช่อยู่ที่เรารักพระเจ้า” (1 ยน 4:10) และ “พระเจ้าทรงรักโลกอย่างมาก จึงประทาน พระบุตรเพียงพระองค์เดียวของพระองค์ เพื่ อ ทุ ก คนที่ มี ค วามเชื่ อ ในพระบุ ต รจะไม่ พิ น าศ แต่ จ ะมี ชี วิ ต นิ รั น ดร” (ยน 3:16) เช่ น เดี ย วกั บ การยื น ยั น ของนั ก บุ ญ เปาโล เมื่อกล่าวว่า “แต่พระเจ้าทรงพิสูจน์ว่าทรง รักเรา เพราะพระคริสตเจ้าสิ้นพระชนม์เพื่อ เราขณะที่ เ รายั ง เป็ น คนบาป” (รม 5:8) และ “แต่พระเจ้าทรงเปี่ยมด้วยพระเมตตา ทรงส�ำแดงความรักยิ่งใหญ่ต่อเรา เมื่อเรา ตายไปแล้วเพราะการล่วงละเมิด พระองค์ก็ ทรงบันดาลให้เรากลับมีชวี ติ กับพระคริสตเจ้า ท่านได้รับความรอดพ้นก็เพราะพระหรรษทาน” (อฟ 2:4-5) การช่วยมนุษย์ให้รอดจึงเกิดจากพระ ประสงค์ของพระบิดาและพระบุตร กล่าว คือ “อาศัยการนบนอบเชื่อฟังจนถึงมรณา พระเยซูเจ้าได้ทรงบรรลุถงึ ความส�ำเร็จในการ เป็ น ตั วแทนผู ้ รับ ใช้ ที่ ท นทุ ก ข์ ท รมาน โดย ถวายชีวิตของตนเป็นเครื่องบูชาไถ่บาป ใน ขณะที่ พ ระองค์ ท รงแบกบาปของคนเป็ น จ�ำนวนมาก “ซึ่งพระองค์ทรงกระท�ำให้เป็น ผู้ชอบธรรม โดยทรงรับแบกความบาปผิด


กางเขนของพระคริสตเจ้า คือ ความเมตตาและความยุติธรรมของพระเจ้า

ของเขาทั้งหลาย” (อสย 53:10-12) พระ เยซูเจ้าก็ได้ทรงชดเชยความผิดของเราทั้ง หลาย รวมทัง้ ความบาปของเราด้วย และทรง ท�ำให้พระบิดาพอพระทัยด้วยประการฉะนี้” (ค�ำสอน ข้อ 615) นักบุญเปาโลก็กล่าวใน ท�ำนองเดียวกันว่า “บัดนี ้ เมือ่ เราได้รบั ความ ชอบธรรมโดยอาศัยพระโลหิตของพระองค์ แล้ว เดชะพระองค์ เราก็ยิ่งจะได้รับความ รอดพ้นจากการถูกพระเจ้าลงโทษ ถ้าเรา กลับคืนดีกับพระเจ้า เดชะการสิ้นพระชนม์ ของพระบุตร ขณะที่เรายังเป็นศัตรูอยู่ ยิ่ง กว่านั้น เมื่อกลับคืนดีแล้ว เราก็จะรอดพ้น เดชะพระชนมชี พ ของพระองค์ ด ้ ว ย” (รม 5:9-10) 5. บทสรุป: ทุกคนที่เชื่อในพระคริสตเยซูก็ จะได้รับพระหรรษทานแห่งความรอด วิธีที่ผู้มีความเชื่อได้รับพระหรรษทาน แห่งการไถ่กู้ของพระคริสตเจ้าและพระคุณ แห่งความเมตตาของพระองค์ก็คือโดยทาง ความเชื่ อ  ดั ง ค� ำ สอนของนั ก บุ ญ เปาโลที่ ว่า “ความเที่ยงธรรมที่พระเจ้าทรงช่วยให้ รอดพ้น ซึ่งพระองค์ประทานให้ทุกคนที่มี ความเชื่อในพระเยซูคริสตเจ้า” (รม 3:22) และ “แล้วทุกคนก็ได้รับความชอบธรรมเป็น ของประทาน โดยทางพระหรรษทานอาศัย การไถ่กู้เราให้เป็นอิสระในพระคริสตเยซู พระเจ้าทรงสถาปนาพระเยซูเจ้าเป็นเครื่อง บูชาชดเชยบาป โดยอาศัยความเชื่อและโดย อาศัยการหลั่งโลหิต เพื่อจะได้ส�ำแดงความ

61

เที่ ย งธรรมของพระองค์   โดยอดกลั้ น ไม่ ลงโทษบาปในอดีต” (รม 3:24-25) และ “ท่านได้รบั ความรอดพ้นเพราะพระหรรษทาน อาศัยความเชื่อ ความรอดพ้นนี้มิได้มาจาก ท่าน แต่เป็นของประทานจากพระเจ้า มิได้ มาจากการกระท�ำใดๆ ของท่าน เพื่อมิให้ ใครโอ้อวดตนได้” (อฟ 2:8-9) ดังนัน้  จึงจ�ำเป็นทีเ่ ราแต่ละคนจะต้อง ระลึกถึงความว่างเปล่าและความน่าเวทนา ของเรา จ�ำเป็นที่เราจะต้องระลึกถึงความ ต้ อ งการการอภั ย และความเมตตาจาก พระเจ้า พูดง่ายๆ ก็คือ โดยอาศัยความเชื่อ ในพระคริสตเยซู ความทุกข์ยากล�ำบากและ บาปของเราก็ จ ะได้ รั บ ความเมตตาจาก พระเจ้า บาปไม่ใช่เป็นเพียงรอยต�ำหนิบน วิญญาณของเรา แต่เป็นบาดแผลลึกทีจ่ ำ� เป็น จะต้องได้รับการรักษา การเข้าใกล้องค์พระ ผูเ้ ป็นเจ้าแห่งความเมตตาด้วยความไว้วางใจ เรี ย กร้ อ งเราให้ มี หั ว ใจที่ ต ระหนั ก รู ้ แ ละ ยอมรับรู้ถึงบาปของตน ยอมรับรู้ถึงความ ชั่วร้ายที่เราได้กระท�ำลงไป และยอมรับรู้ ถึงความน่าเวทนาสงสารของเราและความ จ�ำเป็นที่เราจะต้องได้รับการอภัยและความ เมตตาจากพระเจ้า เพราะ “พระองค์ทรง ซื่อสัตย์และทรงเที่ยงธรรม ถ้าเราสารภาพ บาป พระองค์จะทรงอภัยบาปของเรา และ จะทรงช�ำระเราให้สะอาดจากความอธรรมทัง้ ปวง” (1 ยน 1:9) นี่คือความยุติธรรมของ พระเจ้า


62

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

บรรณานุกรม Pope Francis. (2016) The Name of God is Mercy: A Conversation with Andrea Tornielli. New York: Random House. Pope Francis. Misericordiae Vultus: Bull of indication of the Extraordinary Jubilee of Mercy. from https://w2.vatican.va/content/francesco/en/apost_ letters/ documents/papa-francesco_bolla_20150411_misericordiae-vultus.html Pope John Paul II. Dives Misericordia. from http://w2.vatican.va/content/john-paul-ii/ en/encyclicals/documents/hf_jp-ii_enc_30111980_dives-in-misericordia.html Xaiver Leon-Dufour, ed. (1972). “Cross”, in Dictionary of Biblical Theology. (pp.83-85). London: Geoffrey Chapman. Xaiver Leon-Dufour, ed. (1972). “Justice”, in Dictionary of Biblical Theology. (pp.244-248). London: Geoffrey Chapman.


ไม่ก้มหัวให้กับความรุนแรง บาทหลวงปรีชา ธรรมนิยม, O.M.I.

“ท่านเคยได้ยนิ ว่า ‘ตาต่อตาฟันต่อฟัน’ แต่เรากล่าวแก่ท่านว่า ‘อย่าโต้ตอบ คนชั่ว ผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน จงหันแก้มซ้ายให้ เขาด้วย...’ … ‘จงรัก ศัตรู…’ ถ้าท่านรักแต่คน ที่ รั ก ท่ า น ท่ า นจะได้ บ� ำ เหน็ จรางวั ล อะไร เล่า…” (มัทธิว 5:38-48) บทถอดความบทเรี ย บเรี ย งฉบั บ นี้ ขอใช้เนื้อความข้างบนนี้พระวรสารตามค�ำ เล่าของนักบุญมัทธิวเป็น Background ก็ เป็นเพียงต้องการจะน�ำเสนอแนวความคิดอีก ด้านหนึ่งเท่านั้น ขออนุญาตไม่ลงไปลึกใน รายละเอียดลึกๆ เกี่ยวกับตัวบทกฎหมาย บาทหลวงสังกัดคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (O.M.I.)

ความยุ ติ ธ รรมเป็ น แนวคิ ด เกี่ ย วกั บ ความถูกต้องตามศีลธรรมบนพื้นฐานของ จริ ย ธรรม ความสมเหตุ ส มผล กฎหมาย กฎหมายธรรมชาติ ศาสนา ความเที่ยง จึง ธรรม และความเป็ น ธรรม การบั ง คั บ ใช้ กฎหมายจึงต้องค�ำนึงถึงสิทธิที่ไม่สามารถ โอนให้ แ ก่ กั น ได้   โดยปราศจากการเลื อ ก ปฏิบตั เิ หตุเพราะเชือ้ ชาติ เพศ อัตลักษณ์ทาง เพศ แหล่งก�ำเนิด ชาติพันธุ์ ศาสนา ความ พิการ อายุ ความยากดีมีจน

(หมวดจริยธรรม)

ความยุติธรรมแท้


64

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ความยุติธรรมในสังคม มนุษย์เป็นสัตว์ที่อยู่ในสังคม ย่อมมี การประพฤติปฏิบัติต่อกัน รวมทั้งแต่ละคน ย่ อ มมี แ นวปฏิ บั ติ ข องตน โดยธรรมชาติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะใฝ่หาความสุข ความสบาย หลีกหนีความทุกข์ยากล�ำบาก และโดยธรรมชาติอาจปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่าง เลวร้าย หรืออย่างเอารัดเอาเปรียบเพื่อผล ประโยชน์หรือความพึงพอใจที่ตนมี ดังนั้น จึงจ�ำเป็นตัองมีกฏเกณฑ์ร่วมกัน เพื่อเคารพ สิทธิของตนเองและของผู้อื่น และหลีกเลี่ยง การเบียดเบียนกัน อยากให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อ ตนเองอย่างไร ก็ตอ้ งปฏิบตั อิ ย่างนัน้ ต่อผูอ้ นื่ ความยุติธรรมนั้น เป็นเรื่องละเอียด อ่อน เพราะการที่คนเราจะก�ำหนดว่าอะไร คือความดีและอะไรคือความเลวร้ายอย่าง ชัดเจน คงต้องวิเคราะห์กันอย่างละเอียด ความยุ ติ ธ รรมนั้ น  เมื่ อ เราแยกจาก หมวดหมู่ของค�ำก็รู้ว่าเป็นนามธรรม ไม่มี ตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่มจี ริงจะสัมผัสได้ดว้ ย ใจ จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน “ความยุติธรรมอาจหมายถึง ความ สุ จ ริ ต  ความเป็ น ธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยกฎหมาย ความถูกต้องตาม กฎหมาย สิทธิตามกฎหมาย การปฏิบตั ติ าม ระเบียบแบบแผนประเพณีและตามหน้าที่ ความยุตธิ รรมคลุมถึงความประพฤติทงั้ หมด ของคนเรา แต่หลักความยุติธรรมนั้นกว้าง กว่ า หลั ก กฎหมาย ความยุ ติ ธ รรมตาม

กฎหมายแคบกว่าความยุตธิ รรมโดยทัว่ ๆ ไป กล่ า วคื อ  เป็ น ความยุ ติ ธ รรมที่ มี อ ยู ่ ใ น ขอบเขตของกฎหมายหรือการใช้กฎหมาย ความยุติธรรมหรือความอยุติธรรมเกิดขึ้น เมือ่ มีการใช้กฎหรือระเบียบข้อบังคับอย่างไม่ เป็นธรรม (เทียบ โสภณ รัตนาการ) ศ.นพ. ประเวศ วะสี ได้เคยย�้ำเตือนว่า “หากสังคม ไร้ซึ่งความยุติธรรมจะก่อให้เกิดความทุกข์ ความขัดแย้ง การเสียก�ำลังใจ และน�ำไปสู่ วิ ก ฤติ ด ้ า นต่ า งๆ รวมทั้ ง วิ ก ฤติ ก ารณ์ ท าง เศรษฐกิจ ฉะนั้นความยุติธรรมในสังคมจึง เป็นเรื่องส�ำคัญ แต่เท่าที่ผ่านมาสังคมไทย ยั ง ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ เรื่ อ งนี้ น ้ อ ยเกิ น ไป” ความยุติธรรมในพระพุทธศาสนา “ความยุ ติ ธ รรม” ในมุ ม มองของ พระพุทธศาสนาจัดได้ว่าเป็น “คุณธรรม” ประการหนึ่ ง ที่ สั ม พั น ธ์ กั บ ประเด็ น เรื่ อ ง “อารมณ์” เมื่อน�ำค�ำว่า “ยุติธรรม” ไปเทียบ เคียงกับค�ำศัพท์ในภาษาบาลี โดยศัพท์นั้น ไม่ มี ค� ำ ว่ า ยุ ติ ธ รรมปรากฏในคั ม ภี ร ์ ท าง พระพุทธศาสนาแบบตรงตัว อย่างไรก็ด ี เมือ่ วิเคราะห์คำ� ว่า “ยุตธิ รรม” ในคัมภีร์ได้อธิบาย เอาไว้อย่าง น่าสนใจว่า “ยุ ติ ”  มาจากค� ำ ว่ า  “ยุ ต ติ ”  ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า “ชอบ” หากน�ำไป ผสมกับค�ำว่า “ธรรม” สามารถแปลได้วา่  “ความชอบธรรม” หรือ แปลว่า “ข้อสรุปหรือข้อตกลง” หมาย ถึง “ข้อสรุปหรือข้อตกลงทีเ่ ป็นธรรมหรือโดย


ความยุติธรรมแท้ไม่ก้มหัวให้กับความรุนแรง

ชอบ” จะเห็นว่า “ยุติ” มีนัยที่ครอบคลุมถึง ความหมายที่ว่า “เลิกแล้วต่อกัน” หรือ “จบ ถ้วนกระบวนความ” ดังนั้นค�ำว่า “ยุติธรรม” สามารถแปลได้ว่า “ธรรมที่น�ำไปสู่ข้อสรุป หรือข้อตกลง ซึง่ จะก่อให้เกิดบรรยากาศของ การเลิ ก แล้ ว ต่ อ กั น  หรื อจบถ้ ว นกระบวน ความ” หรืออาจจะแปลความว่า “การตกลง โดยอาศัยธรรม หรือยุติโดยอิงอาศัยธรรม” คงสรุ ป ได้ ว ่ า  “ความยุ ติ ธ รรม” ใน โลกทัศน์ของพระพุทธศาสนา ในความหมาย ใหญ่ๆ คือ “ยุตธิ รรมในความหมายของวินยั ” หมายถึง “ความชอบธรรม” หรือ “ประกอบ ด้ ว ยธรรม” “ยุ ติ ธ รรมในความหมายของ พระสูตร” หมายถึง “ความเที่ยงธรรม” หรือ “ความไม่คลาดเคลื่อนจากธรรม” โดยหลัก ธรรมชุ ด นี้ เ ป็ น หลั ก การส� ำ คั ญ ส� ำ หรั บ นักปกครองที่มีหน้าที่ส�ำคัญ ในการท�ำให้ บุคคลอื่นหรือผู้ใต้ปกครองพึงพอใจ ความ เที่ยงธรรมในบริบทนี้ หมายถึง ความหนัก แน่น ถือความถูกต้อง ไม่เอนเอียงหวั่นไหว ด้วยค�ำพูด อารมณ์ หรือลาภสักการะใดๆ ด้ ว ยความอคติ   จะเห็ นว่ า การขาดความ ยุติธรรม สรุปแล้ว เป้าหมายของการน�ำเสนอ หลักการเรือ่ ง “ความยุตธิ รรม” ในกรอบของ ความเที่ยงธรรมและไร้อคตินั้น จะน�ำไปสู่ การสร้างชีวติ และสังคมทีเ่ ป็นธรรมมากยิง่ ขึน้ จึ ง ชอบแล้ ว ที่ พ ระพุ ท ธเจ้ า พยายามจะย�้ ำ เตือนว่า “ธรรมนั่นแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติ ธรรม”

65

ความยุติธรรมแท้มิใช่การล้างแค้น/แก้แค้น ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ แต่เรากล่าวแก่ ท่ า นทั้ ง หลายว่ า  ‘อย่ า โต้ ต อบคนชั่ ว  ผู ้ ใ ด ตบแก้มขวาของท่าน จงหันแก้มซ้ายให้เขา ด้วย...’ ท่านทัง้ หลายได้ยนิ ค�ำกล่าวว่า ‘จงรัก เพื่อนบ้านจงเกลียดศัตรู’ แต่เรากล่าวแก่ ท่านว่า ‘จงรักศัตรู จงอธิษฐาน ภาวนาให้ ผู้ที่เบียดเบียนท่าน เพื่อท่านจะได้เป็นบุตร ของพระบิดาเจ้าสวรรค์’ ถ้าท่านรักแต่คน ที่รักท่าน ท่านจะได้บ�ำเหน็จรางวัลอะไรเล่า ถ้ า ท่ า นทั ก ทายแต่ พี่ น ้ อ งของท่ า นเท่ า นั้ น ท่านท�ำอะไรพิเศษเล่า (มัทธิว 5:38-48) ‘ตาต่อตา ฟันต่อฟัน’ คือกฎการล้าง แค้ น แก้ แ ค้ น  เป็ น กฎที่ มี ม าแต่ โ บราณ ซึ่ ง จริงๆ แล้วเป็นอารมณ์สะใจที่ผู้ที่ท�ำผิดหรือ ผู ้ ที่ ท� ำ ให้ ตนเองไม่ พ อใจได้ รั บ โทษ อย่ า ง สาสมดั ง ที่ ใ จนึ ก  องค์ พ ระเยซู ไ ด้ น� ำ เสนอ แนวทางของความคิดใหม่ของการปฏิบตั ใิ หม่ ในปฏิบตั คิ วามยุตธิ รรม ซึง่ สอดรับกับการได้ มาซึ่งความสุขเที่ยงแท้ ว่าไปแล้วองค์พระเยซูก็ไม่ได้หันแก้ม ขวาให้ผู้ที่จะประหารพระองค์อันเป็นการ ท้าทายความรุนแรงมากกว่า แต่พระองค์ ได้ ใ ช้ ค วามสงบราบคาบ เพื่ อ ท� ำ ให้ ผู ้ ที่ ต้องการจะเอาชีวิตพระองค์นั้น ต้องอยู่ใน สถานการณ์ ที่ ต ้ อ งปฏิ บั ติ  ก็ แ ค่ ท� ำ ตามกฎ บั ญ ญั ติ เ ท่ า นั้ น  ค� ำ สอนขององค์ พ ระเยซู เตือนสติให้รู้ว่านอกจากบทลงโทษแล้วยังมี อีกสิ่งหนึ่งที่ประเสริฐ นั่นคือความเมตตา


66

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

กรุณา ความยุติธรรมจะเป็นความยุติธรรม ทีเ่ ทีย่ งตรงเทีย่ งแท้ไม่ได้ ถ้าในการปฏิบตั นิ นั้ ขาดเสียซึ่งความเมตตากรุณา กฎหมายไม่ล้างแค้นระงับโอกาสที่จะ ล้างแค้น แค้นนีต้ อ้ งช�ำระ ต้องฆ่าเจ็ดชัว่ โคตร แรงดังเราจะได้ยินพูดเล่นจากเรื่องเล่าของ หนังจีนและของประเทศหลายประเทศ แต่ การล้างแค้นนี้เป็นอันตรายแก่คนอื่นซึ่งไม่ เกี่ยวข้อง สั ง คมที่ เ ลิ ก กฎหมายล้ า งแค้ น ย่ อ ม สามารถสร้ า งมาตรฐานการลงโทษขึ้ น ได้ ซึ่งจะเป็นที่ชัดเจนแก่ทุกคน ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับ มติของที่ประชุมของผู้ใหญ่ของเผ่าใด หรือ กลุ ่ ม ใด ทั้ ง โจทก์ แ ละจ� ำ เลยต้ อ งยอมรั บ และพอใจกับค�ำตัดสินหรือถึงไม่พอใจก็ไม่ ถื อ เป็ น เหตุ ไ ปลงโทษเขาเพิ่ ม ขึ้ น กว่ า ที่ กฎหมายก� ำ หนดไว้   ท� ำ ดั ง นี้ สั ง คมจะได้ รั บ คุ ณ ประโยชน์ ม ากขึ้ น  ท� ำ ให้ สั ง คมมี สมรรถภาพในการท�ำอะไรได้มากขึ้น หากมองข้อเสียของกฎหมายไม่ล้าง แค้นก็มีเหมือนกัน เราต้องจ�ำยอมยกการ พิจารณาตัดสินให้ใครก็ไม่รู้ ผู้ไม่เคยเข้าใจ ความเสียหายของเราได้ลึกซึ้งจริง เหมือน ตัวเรา เช่น ไม่รู้ว่าสังคมไหนๆ ก็เต็มไปด้วย โครงสร้างอันอยุติธรรม เพราะคนบางกลุ่ม ส่วนใหญ่ไม่รู้จักความยากจนจริงเพราะไม่ เคยได้สัม ผัส หลายคนไม่รู้หรอกว่าความ แค้นทีม่ นั ฝังอกเป็นอย่างไร อาจไม่รไู้ ม่เข้าใจ ความเป็นมนุษย์อันหลากหลายซับซ้อน

แต่เราไม่ควรถอยหลังกลับไปสู่สังคม ที่ใช้กฎหมายล้างแค้น หากเราเข้าใจ โทษ ประหาร เป็นกฎทีส่ งั คมหรือส่วนรวมก�ำหนด ขึ้นด้วย เชื่อว่าจะช่วยประกันความมั่นคง ปลอดภัยแก่ทุกคน แท้จริงแล้วโทษประหาร เป็นความรุนแรงชนิดโทษประหารไม่ท�ำให้ บรรลุ เ ป้ า หมายที่ จ ะอ� ำ นวยความมั่ น คง ปลอดภัยแก่ทุกคนได้ เป็นการฆ่าโดยเปล่า ประโยชน์   เป็ น การล้ า งแค้ น ที่ ซ ่ อ นตั ว อยู ่ ในความรุนแรง กฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน บัญญัติขึ้นเพื่อสังคมโดยรวม ไม่ใช่เพื่อตอบ สนองอารมณ์ความรู้สึกของบุคคลหรือกลุ่ม บุคคลที่เป็นเหยื่อ จ�ำเป็นที่เราจะต้องค�ำนึงถึงเงื่อนไข ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม เราควรมองโทษประหารว่าเด็ดขาดเกินไป ส�ำหรับมนุษย์  เด็ดขาดเพราะท�ำให้สังคม ทัง้ หมดละเลยทีจ่ ะพยายามเข้าไปแก้สภาวะ ภายนอกทีก่ ดดันให้มนุษย์เสีย่ งต่อการตัดสิน ใจพลาด คุ้นชินกับการใช้ความรุนแรงแก้ ปัญหาต่างๆ เคยชินและอาจเห็นชอบกับการ ใช้ความรุนแรง ไม่สนใจวิธีแก้ปัญหาด้วยวิธี อื่น เป็นที่ยอมรับโดยสถิติว่าในหลายสังคม โทษประหารไม่ชว่ ยยับยัง้ อาชญากรรมรุนแรง ได้ การลดเงื่อนไขที่บังคับชี้น�ำให้คนเลือก ตัดสินใจละเมิดกฎหมายต่างหากได้พสิ จู น์แก่ หลายสังคมว่าเกิดผลในการลดอาชญากรรม ได้มากกว่า (เทียบ นิธิ เอียวศรีวงศ์)


ความยุติธรรมแท้ไม่ก้มหัวให้กับความรุนแรง

องค์พระสันตะปาปาฟรานซิสได้ตรัส และเชื้ อ เชิ ญ ให้ เ ราอย่ า ได้ สั บ สนระหว่ า ง “ความยุติธรรม”กับ “การล้างแค้น” ความ ยุ ติ ธ รรมที่ แ ท้ จริ ง ไม่ ยิ น ยอม หรื อ สมยอม หรื อ พอใจกั บ การลงโทษเท่ า นั้ น  แต่ ต ้ อ ง เป็นการพยายามหาวิธเี ท่าทีส่ ามารถจะท�ำได้ เพื่ อ แก้ ไ ขท� ำ ให้ ดี ขึ้ น  และสอนชี วิ ต จาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พระองค์ยังตรัสอีกว่า ความยุติธรรมต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิ ของมนุ ษ ย์   โดยไม่ เ ลื อ กที่ รั ก มั ก ที่ ชั ง ต้ อ ง คุ้มครองผู้ที่ด้อยโอกาสกว่า พระองค์ทรง กั ง วลต่ อ ปั ญ หาอั น ยิ่ ง ใหญ่ ข องสั ง คมจาก การสังเกตว่ามีคนติดคุกมากขึ้นทุกที มีคนที่ ถูกอันเกิดจากกฎหมายพระศาสนจักรและ กฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) อีกด้วย กั ก ขั ง จ� ำ นวนไม่ น ้ อ ยที่ ไ ม่ ไ ด้ รั บ การตั ด สิ น มี เ ด็ ก เร่ ร ่ อ นมากมายทั่ ว ไปในสั ง คมที่ เศรษฐกิจไม่มั่นคง ความยุติธรรมในพระคัมภีร์ พระธรรมเดิมพูดถึง “ความยุติธรรม” หลายประเด็ น ซึ่ ง พอสรุ ป ได้ ดั ง นี้   พระเจ้ า ทรงให้ คุณ ค่ า และทรงชื่นชมยินดีในความ ยุตธิ รรม รวมถึงทรงประทานปรีชาญาณเพือ่ ให้เรามีความยุติธรรมด้วย ผู้ที่จะเป็นแบบ อย่างแห่งความยุติธรรมอย่างครบสมบูรณ์ นั่นคือ พระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบุตรของ พระเจ้า มีการเน้นย�้ำให้ผู้ปกครองมีความ ยุติธรรม รางวัลของผู้มีความยุติธรรม คือ

67

ความอยูเ่ ย็นเป็นสุข แผ่นดินแห่งพระสัญญา อาหาร น�้ำ และความมั่นคงในชีวิต สิ่งที่คน ดี ค วรปฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ ความยุ ติ ธ รรม เช่ น รับฟัง ศึกษา ใคร่ครวญ ชื่นชอบ สอน และ วอนขอความยุติธรรมเป็นนิจ ตัวอย่างของ ผู้รักษาความยุติธรรม เช่น โมเสส ซามูแอล ดาวิด โซโลมอน โยเซฟชาวอาริมาเธีย และ เปาโล เป็นต้น ส่วนพระธรรมใหม่ นอกจากเน้นว่า พระเจ้าทรงยุติธรรมแล้ว ในนิทาน เปรียบ เทียบเรื่อง “คนงานในสวนองุ่น” (มธ 20:116) ความรู้สึกแรกของผู้อ่าน เกือบทุกคน คือ “ยุติ-ธรรม” จริงๆ (ความเป็นธรรมได้ ยุติลงแล้ว) แต่ก่อนที่เราจะตัดสินว่าเจ้าของ สวนหรือพระเจ้าไม่ยุติธรรม เราจ�ำเป็นต้อง แยกแยะความแตกต่ า งระหว่ า ง “ความ ยุ ติ ธ รรม ความเสมอภาค และความรั ก ” ออกจากกันให้ได้ เราจึงจะสามารถมองเห็น “ความรัก” และ “ความยุตธิ รรม” อันยิง่ ใหญ่ ที่พระเจ้าทรงมีต่อเรามนุษย์ ค�ำอธิบายอุปมาเรื่องคนงานในสวน องุ ่ น  ยกเว้ นวิ ธี ก ารจ่ า ยค่ า ตอบแทนแล้ ว นิทานเปรียบเทียบเรื่องนี้น�ำมาจากชีวิตจริง ทีพ่ บเห็นได้เป็นประจ�ำในปาเลสไตน์ ค่าจ้าง หนึ่ ง เหรี ย ญในสมั ย นั้ น  เพี ย งพอส� ำ หรั บ ประทังชีวิตไปวันๆ หนึ่งส�ำหรับครอบครัว ขนาดเล็กเท่านัน้  ไม่มเี หลือส�ำหรับเก็บสะสม ไว้ ใ ช้ ย ามเจ็ บ ไข้ ไ ด้ ป ่ ว ยหรื อ ตกงานเลย โชคชะตาอิงอยู่กับโอกาสได้งานท�ำ คนที่รอ


68

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

งานจนถึงห้าโมงเย็นย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ ได้อย่างดีว่าพวกเขาต้องการงานท�ำมากสัก เพียงใด! นิทานเปรียบเทียบเรือ่ งนีบ้ รรจุคำ� สอน อันเป็นหัวใจของศาสนาคริสต์ ดูเหมือนองค์ พระเยซูทรงเตือนบรรดาอัครสาวกว่า “พวก ท่านได้รับอภิสิทธิ์ แต่พวกท่านจะอ้างสิทธิ พิเศษเหนือผูอ้ นื่ ไม่ได้ เพราะว่ามนุษย์ทกุ คน ล้วนมีค่าเท่าเทียมกันในสายพระเนตรของ พระองค์” มีสัตบุรุษบางคนที่เป็นลูกวัดเก่าแก่ และเคยมีบทบาทส�ำคัญในวัดมาก่อน จน รู ้ สึ ก รั บ พระสงฆ์ ที่ ม าใหม่   หรื อ ลู กวั ด สาย เลือดพันธุ์ใหม่ที่คิดแตกต่างไปจากตนเอง ไม่ได้ ความคิดของพระเยซูเจ้า คือ “อาวุโส ไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง การมี เ กี ย รติ ห รื อ มี อ ภิ สิ ท ธิ์ เหนือผู้อื่น” องค์พระเยซูเจ้าทรงเตือนชาวยิวอย่า ลื ม ว่ า ตามแผนการแห่งความรอดพ้นของ พระเจ้าไม่มีชนชาติใดอยู่เหนือชนชาติอื่น และไม่มีคริสตศาสนิกชนคนใดมี  อภิสิทธิ์ เหนื อ คนอื่ น  แม้ ว ่ า เขาจะมี ค วามเชื่ อ และ รับศีลล้างบาปก่อนก็ตาม พระเจ้าคือองค์ความเมตตา ความ เมตตาของพระเจ้าท�ำให้พระองค์ทนเห็น คนงานว่างงานไม่ได้ “มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่ จะท�ำงาน และได้รับค่าจ้างเพื่อยังชีพ จาก ผลงานของเขา” พระเจ้าทรงมีพระทัยกว้าง ขวาง แต่ทแี่ น่ชดั คือคนงานได้รบั ค่าตอบแทน

เดียวกัน จึงไม่ใช่ “ค่าจ้าง” ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับ ผลงาน แต่เป็น “ของประทาน” จากพระทัย ดีและกว้างขวางของพระองค์เอง พื้นฐานส�ำคัญที่สุดของความยุติธรรม คือ “ศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์” พระเจ้าทรง สร้างมนุษย์ตามพระฉายาของพระองค์ (ปฐก 1:26) คือมีสติปัญญาและน�้ำใจ จึงมีความ ปรารถนาทีจ่ ะ “รูจ้ กั  รัก และนมัสการ” พระ ผู้สร้างของตนมี  “หน้าที่” แล้วพระเจ้าจึง ประทาน “สิทธิ” ให้แก่มนุษย์ทุกคน “สิทธิ” จึงเป็นสิ่งแรกที่ทุกคนมีและเป็นเจ้าของใน ฐานะที่เป็นมนุษย์และมีศักดิ์ศรี อาจพูดให้ แคบเข้ามาได้ว่า ความยุติธรรมจึงหมายถึง การคืนสิทธิของผูห้ นึง่ ผูใ้ ดให้แก่ผเู้ ป็นเจ้าของ การเรียกร้อง “ความยุตธิ รรม” จึงเป็น เรื่องเดียวกันกับ “การเรียกร้องสิทธิ” หมาย ถึง “ความสามารถตามกฎหมายทีจ่ ะกระท�ำ เป็นเจ้าของหรือบังคับเอาสิทธิที่เป็นของตน คืนมา” สิทธิอันเกิดจาก “ธรรมชาติมนุษย์” ตามที่พระเจ้าทรงประทานให้ เราเรียกว่า “สิทธิตามกฎธรรมชาติ” แต่เนื่องจากมนุษย์ ต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะหรือเป็นสังคม จึ ง ต้ อ งมี ก ฎหมายพระศาสนจั ก รและ กฎหมายบ้านเมืองอีกด้วย ขอยกตัวอย่าง เรื่องคนจนและคนว่างงาน สิทธิท่ีจะได้รับ ความช่วยเหลือหรือสิทธิที่จะได้รับการจ้าง งานไม่ใช่แก่นแท้ของความเป็นมนุษย์ตาม กฎธรรมชาติ คนจนหรือคนว่างงานจึงไม่อาจ


ความยุติธรรมแท้ไม่ก้มหัวให้กับความรุนแรง

อ้างความยุติธรรมเพื่อเรียกร้องสิทธิเหล่านี้ ได้ แต่พวกเขาสามารถเรียกร้องสิทธินี้ตาม “ความรัก” แต่ถ้ากฎหมายบ้านเมืองก�ำหนด ให้พลเมืองทุกคนต้องช่วยเหลือคนยากจน และจ้างงานผูว้ า่ งงาน สิทธิดงั กล่าวจะกลาย เป็ น สิ ท ธิ ต ามความยุ ติ ธ รรมทั น ที   (เที ย บ คุ ณ พ่ อ  ชั ย ยะ กิ จ สวั ส ดิ์   เรื่ อ ง “ความ ยุติธรรม”) คนงานของพระเจ้าจึงต้องอยู่ใน ท่าทีของผู้ที่รู้คุณ (ไม่ใช่ทวงบุญคุณ) เสมอ ความยุตธิ รรมต้องค�ำนึงถึงศักดิศ์ รีของ มนุษย์ ศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์นเี้ ป็นพระพร ของพระเจ้าที่พระองค์ทรงประทานให้เอา เปล่าๆ ดังที่นักบุญเปาโลได้กล่าวไว้ในบท จดหมายถึงชาวโรมัน พระพรที่ได้มาเปล่าๆ นีพ้ ระเจ้าต้องการจะบอกให้มนุษย์รวู้ า่ เป็นสิง่ ที่มนุษย์ควรได้รับ เป็นพระหรรษทานพาให้ เกิดความเทีย่ งธรรมมากยิง่ ขึน้  กฎหมายใหม่ ขององค์ พ ระเยซู ค ริ ส ต์ ป ั ก รากฐานอยู ่ บ น ความเที่ยงธรรมในความรักของพระเจ้าและ พระองค์   ทรงปรารถนาให้ เ ติ บ โตขึ้ น ใน มนุ ษ ยชาติ   พระคั ม ภี ร ์ น อกจากน� ำ เสนอ พระเจ้าว่าเป็น ผู้ด้วยความเมตตากรุณาอัน สุดจะกล่าว ยังน�ำเสนอพระองค์วา่ เป็นความ ยุติธรรมสมบูรณ์แบบ เหตุก็เพราะว่า ความ เมตตากรุณาน�ำการปฏิบตั คิ วามยุตธิ รรมเข้า ในความส�ำเร็จบริบรู ณ์ เพือ่ ให้ความยุตธิ รรม สัมฤทธิผ์ ล ผูต้ อ้ งหา/ผูก้ ระท�ำผิดต้องยอมรับ เสียก่อนว่าตนได้ท�ำผิด และยอมที่จะหยุด การกระท�ำนั้น ความยุติธรรมแท้ก็คือการที่ องค์เจ้าเหนือหัวเยซูคริสต์ทรงน�ำการอภัยมา

69

มอบให้มวลมนุษย์ ช่วยมนุษย์ให้สามารถเปิด ใจรั บ และส� ำ นึ ก ในความผิ ด  เพื่ อ จะได้ สามารถผ่านตัวสู่อิสรภาพ พระเจ้ามิได้ทรงต้องการลงโทษ แต่ พระองค์มพี ระประสงค์ให้มนุษย์ได้พบความ รอดพ้ น เป็ น อิ ส ระ หทั ย ของพระเจ้ า  คื อ ดวงใจของผู้เป็นพ่อที่ข้ามผ่านแนวความคิด เกี่ยวกับความยุติธรรมของมนุษย์ เพื่อเปิด ขอบฟ้ า อั น สุ ด สายตาไปพบเจอกั บ ความ เมตตากรุณาของพระองค์ ในองค์พระเยซู พระเมตตากรุณาของพระเจ้า ได้เข้ามารับ สถานภาพมนุษย์ และความยุตธิ รรมเทีย่ งแท้ ได้ลุความส�ำเร็จโดยแสดงให้เห็นและเข้าใจ ว่าพลังแห่งการได้รับการหลุดรอดพ้นอยู่ใน การให้อภัยนั่นเอง พลังนี้สามารถชนะความ เลวร้ายได้ สามารถเปลี่ยนแปรให้เกิดสิ่งดีๆ ได้ ความยุติธรรมของพระเจ้า คือการให้ อภัย และเราทุกคนได้รับเรียกให้เปิดใจรับ การให้อภัยของพระองค์ เพือ่ สามารถให้อภัย เพื่อนพี่น้องผู้อื่นได้ ประสบการณ์ชีวิตของ ชาวฮีบรูทรี่ อดพ้นจากความเป็นทาสของชาว อียิปต์  ท�ำให้พวกเขาเข้าใจว่า พวกเขาไม่ สามารถท� ำ อะไรได้ เ ลย ถ้ า ไม่ เ ชื่ อ ในพระ เมตตาของพระเจ้ า  ในเมื่ อ พระเจ้ า ทรง ประพฤติตนเป็นแบบอย่างเช่นนี้  พวกเขา ต้องปฏิบัติตนเช่นเดียวกันกับผู้อื่นด้วย กับ คนยากจน กับคนแปลกหน้า กับคนย้ายถิน่   กับคนคุกและทาส….


The Dialogues of Michael Sandel Rev. Patrick A Connaughton Writers on moral philosophy, especially those who belong the  virtue ethics’ school, often point to 1958 as a very important year. It was then that English philosopher Elizabeth Anscombe published an article with the title Modern Moral Philosophy in the journal Philosophy. Here she analyzed the reason for its decline and indicated a road for recovery. Her writing had an influence on a philosopher who laid down a later milestone, Alasdair

Macintyre. His After Virtue1 is generally regarded as one of the most significant books on ethics of the past 50 years. It sold over one hundred thousand copies; extraordinary sales for a fairly dense philosophy book. ‘Newsweek magazine called it “a stunning new study of ethics by one of the foremost moral philosophers in the Englishspeaking world.”’ MacIntyre published an equally significant work Whose Justice? Which Rationality? in 1988.2

Alasdair MacIntyre. After Virtue. University of Notre Dame 1981  Alasdair MacIntyre. Whose Justice, Which Rationality? University of Notre Dame 1988.

1 2

Rev. Patrick A Connaughton, SCC. Lectures in Saengtham College.

(หมวดปรัชญา)

Justice: Starting on the Ground Floor


Justice: Starting on the Ground Floor The Dialogues of Michael Sandel

Here he more or less suggests to those who had not read either book should just read the later one. In Whose Justice? Which Rationality He gets to the point on the first page where he writes; Begin by considering the intimidating range of questions about what justice requires and permits, to which alternative and incompatible answers are offered by contending individuals and groups within contemporary societies. Does justice permit gross inequality of income and ownership? Does justice require compensatory action to remedy inequalities which are the result of past injustice even if those who pay the costs of such compensation had no part in that injustice? Does justice permit or require the imposition of the death penalty and, if so, for what offences? Is it just to permit legalized abortion? When is it just to go to war? The list of such questions is a long one.

71

Finding solutions to these conflicts is not just a matter of giving better information to the parties in disagreement. The cause does not lie there. MacIntyre explains: Attention to the reasons which are adduced for offering different and rival answers to such questions makes it clear that underlying this wide diversity of judgment upon particular types of issue are a set of conflicting conceptions of justice, conceptions which are strikingly at odds with one another in a number of ways. Some conceptions of justice make the concept of desert central, while others deny it any relevance at all. Some conceptions appeal to inalienable human rights, others to some  notion of social contract and others again to a standard of utility. The disagreement about the answers to the kind of moral questions asked above are directly related to the answer one gives to the question


72

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

raised many centuries ago by people like Socrates, Aristotle and Aquinas – What is the good life? MacIntyre, like Anscombe, has profound insights on questions like that but he is not always easy to read, especially if English is not the first language of the reader. In an age when not too many people get involved in philosophical questions at a deeper level one might ask if there is any effective way to get people, especially young people, to return to the question of the ancient philosophers. One man who appears to have a found a way is Michael Sandel who has been a professor of philosophy in Harvard University for almost 40 years; a man who has been influenced by MacIntyre. In one of his interviews he stated what his goal in life is: “I’ve always wanted to connect philosophy to the world, to use philosophy as a way of illuminating and making sense of the debates and dilemmas we confront — in politics and in our everyday lives.” This is an echo of Ludwig

Wittgenstein’s ‘What is the use of philosophy if all it does is enable you to talk … about some abstruse questions of logic etc., and it does not improve your thinking about the important questions of everyday life? In this short articles article I am presuming that many readers of Saengtham Journal are probably familiar with the writings of Sandel since some of his books are now available in Thai translations. If, however, people don’t know him these few lines may encourage them to investigate a bit more.  Sandel is the author of several books, the latest Encountering China has just been published. 3  He has written many other well-received books such as What Money Can’t Buy: The Moral Limits of Markets. Public Philosophy: Essays on Morality in Politics. Liberalism and the Limits of Justice and others. His best-known book by far is Justice: What is the Right Thing to Do?4 Within the first four years of its publication 1.5 million copies were sold

Michael Sandel and Paul J. D’Ambrosio. Michael Sandel and Chinese Philosophy. Harvard University Press  Penguin; 1st Edition. edition (2009)

3 4


Justice: Starting on the Ground Floor The Dialogues of Michael Sandel

and it was translated into 15 languages. The Japanese translation sold half a million copies in a year. Sales in Chinese language were also high. This volume of interest would appear to support Sandel’s statement that there is: “a tremendous hunger around the world to engage in reasoned public debate about moral and spiritual questions.” In Justice: What is the Right Thing do Do? he gets down to business on the first page with an example which clearly shows the competing ‘value systems’ that MacIntyre talks about in the passage already quoted. Sandel starts with a concrete example, the aftermath of Hurricane Charley which did enormous damage to Florida in the USA in 2004. Many people were left in desperate need. In the worst hit areas a $250 dollar electric generator was now on sale for $2,000. Hotel rooms that normally cost $40 now went up to $160. Even the $2 dollar bag of ice went up to $10. Homeowners were asked to pay ten times the normal price to have fallen trees removed from

73

their houses. The national newspaper USA Today ran the heading After Storm Come the Vultures. The attorney general of Florida said he was astounded by the level of greed in evidence. Many people in Florida agreed with him. But there were some who saw things differently. A free-market economist, Thomas Sowell defended the price rises in the Tampa Tribune (a Florida newspaper). He insisted that people had just become used to the lower prices, but there was nothing sacred about these prices. The following paragraph sums up his view: Higher prices for ice, bottled water, roof repairs, generators, and motel rooms have the advantage Sowell argued, of limiting the use of such things by consumers and increasing incentives for suppliers in far-off places to provide the goods and services most needed in the hurricane’s aftermath. If ice fetches ten dollars a bag when Floridians are facing power outages in August heat, ice manufacturers will find it worth their while to produce and


74

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ship more of it. There is nothing unjust about these prices he explained; they simply reflect the value that buyers and sellers choose to place on the things they exchange.5 Here Sandel confronts the anger of the hurricane victims with the rationalization of the free-market economist. This is a very concrete case where everyone can have a say; no abstract speculation. His lectures usually begin with case histories like this and then the  floor. The key to Sandel’s success is that he is also a skilled facilitator and communicator who can guide the discussion in such a way that underlying presumptions and value systems become clear. Over the years he has taken his ethics courses on tour. Readers might be interested to watch how he communicated recently (2018) with an audience in Australia. 6 He opened the  Quotes by Sandel in Justice. p 2  https://www.youtube.com/watch?v=msGcROOcieE 7  https://www.youtube.com/watch?v=yMRYMaCPhg8 5 6

debate with one of the big issues of the day, migrants. He presents the case of a small wealthy town in Switzerland that opted to pay a very large fine rather than accept ten Syrian refugees. There is an older YouTube video where he dialogues with his young audiences in China, a country where US style capitalism is now embraced with enthusiasm although always with the official qualifier that it is ‘with Chinese characteristics.’7 In one of his lectures he takes up a burning issue – train tickets. On big holidays, such as the early days of October, up to 700 million people are on the move in China; many of these travel by train. What is referred to as scalping was common. Some individuals would buy as many tickets as possible long before the travel date and then re-sell them at exorbitant prices to would-be travellers. ‘What’ he asks a packed auditorium in Peking ‘do you think


Justice: Starting on the Ground Floor The Dialogues of Michael Sandel

about this?’ Most thought poorly of it, but the scalpers were also defended as people with a good nose for business. It is a perfectly natural and good thing to make money when an opportunity presents itself, some students thought. The pros and cons are teased out and the underlying values are exposed. (Note: in recent years in China tickets must be bought with an ID and this must be produced by the traveller when taking the train). In his longer courses like those given at Harvard8 Sandel goes through the main ethical systems in dialogue form – Virtue ethics of Aristotle; Kantian duty; Utilitarianism etc. using a similar dialogue system. In his book Public Philosophy he outlines the broad backdrop to moral discourse today; much of what he says is relevant to Thailand. The field can be divided roughly into two groups. On one side are the communtarians who underline the preeminence of the common good when decisions are to be taken that

affect the lives of citizens. On the other had are the liberals for whom individual rights are the most important thing. He writes: Liberals often argue that a politics of the common good, drawing as it must on particular loyalties, obligations and traditions, opens the way to prejudice and intolerance. The modern nation-state is not the Athenian polis, they point out; the scale and diversity of modern life have rendered the Aristotelian political ethic nostalgic at best and dangerous at worst. Any attempt to govern by a vision of the good is likely to lead to a slippery slope of totalitarian temptations. Comunitarians reply, rightly in my view, that intolerance flourishes most where forms of life are dislocated, roots unsettled, traditions undone. In our day, the totalitarian impulse has sprung up less from convictions

For example see: https://www.youtube.com/watch?v=kBdfcR-8hEY

8

75


76

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

of confidently situated selves than from the confusions of atomized, dislocated, frustrated selves, at sea in a world where common meanings have lost their force. As Hannah Arendt has written, “What makes mass society so difficult t to bear is not the number of people involved, or at least not primarily, but the fact that the world between them has lost its power to gather them together, to relate and separate them.’ Insofar as our public life has withered, our sense of common involvement diminished, we lie vulnerable to the mass politics of totalitarian solutions. So responds the party of the common good to the party of rights. If the part of the common good is right, our most pressing moral and political project is to revitalize

those civic republican possibilities implicit in our tradition but fading in our time.9 In general, most commentators recognize Sandel’s skill as a facilitator of intelligent dialogue. As might be expected some liberal authors have undertaken to show that his method and conclusions are either unworkable or mistaken.10 There are others who think that the final product of these dialogues remains too much at the surface level.11 This, they say, results from the limited ability of his interlocutors to dig a bit deeper into the issues. The point some of these writers are making is that Sandel’s books or lectures alone would not be sufficient, for example, for a course on moral philosophy aimed at Christian participants.

P 154-55 Public Philosophy Harvard University Press. 2006  Wes Alwan. The Incoherence of Michael Sandel’s Critique of Liberalism. 2015. Amazon publications 11  See for example Thomas Massaro in America magazine 21 December 2009 or https://www.americamagazine.org/ issue/720/television/what-justice 9

10


Justice: Starting on the Ground Floor The Dialogues of Michael Sandel

If some of these comments are valid they do not take away from the fact that the courses still have great value. Sandel probably would not be offended by such comments either. In a world where it is so necessary to develop the capacity for critical thinking, and promote some basic reflection in the area of ethics he offers a way to begin. His aim is to get the discussion started again and to familiarize his hearers with the ways philosophers have tried or are trying to answer the basic questions. He does that extremely well.

77


กับความเอื้ออาทรขัดแย้งกันหรือไม่ ดร.สุภาวดี นัมคณิสรณ์ บทน�ำ แนวคิดเรือ่ งความยุตธิ รรม เป็นแนวคิด ที่นักปรัชญาให้ความสนใจและมีการโต้แย้ง กันมาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความยุตธิ รรมตามแนวคิดของนักปรัชญากรีก ซึง่ ได้มกี ารโต้แย้งกันมาตัง้ แต่สมัยกรีกโบราณ จนถึงปัจจุบัน และในการโต้แย้งกันในเรื่อง ของความยุติธรรมนี้ส่วนใหญ่ก็จะมีรากฐาน ความคิดมาจากแนวคิดของนักปรัชญากรีก และบางส่วนก็จะมาจากการพัฒนาของนัก คิดในรุ่นหลังๆ

เมือ่ กล่าวถึงความยุตธิ รรม เราก็มกั จะ นึ ก ถึ ง กฎหมายเพราะถ้ า เราวางกฎและ ระเบียบอย่างเข้มงวดและบัญญัติขึ้นมาเป็น กฎหมายและทุกคนก็ปฏิบัติตามที่กฎหมาย บังคับไว้และถ้าเราปฏิบัติตามกฎหมายเราก็ จะได้รับหรือไม่ได้รับอะไรก็จะเป็นเรื่องที่ ชัดเจนโดยไม่มีเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก และอคติใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งถือได้ว่า เป็ น ความยุ ติ ธ รรมที่ สุ ด  และถ้ า เราจะไป หาความยุตธิ รรมจากหลักเกณฑ์อนื่ ก็จะต้อง มีการโต้แย้งกันอีก แต่กระนั้นก็ตาม ก็ยังมี

อาจารย์อาวุโสประจ�ำศูนย์จริยธรรมวิชาชีพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

(หมวดสัจธรรม)

ความยุติธรรม


ความยุติธรรมกับความเอื้ออาทรขัดแย้งกันหรือไม่

ผู้โต้แย้งว่า ถ้าหากเราถือว่าการบังคับใช้ กฎหมายเป็นที่สุดแห่งความยุติธรรมแล้ว ก็จะไม่มีอะไรที่เป็นหลักประกันหรือหลักใน การตรวจสอบว่ากฎหมายนั้นเป็นกฎหมาย ที่ยุติธรรมหรือไม่  เพราะกฎหมายอาจจะ ไม่ได้ออกมาจากเหตุผลที่รอบคอบเสมอไป แต่อาจจะออกมาจาก อคติ ความล�ำเอียง หรือผลประโยชน์ได้เช่นกัน จะเห็ น ได้ ว ่ า  แนวคิ ด เรื่ อ งความ ยุตธิ รรมนีส้ ามารถมองได้หลายมิต ิ และไม่วา่ จะมองจากมิ ติ ใ ดก็ ต ามก็ จ ะสามารถมี ข ้ อ โต้แย้งและการเห็นต่างกันได้เสมอ ความหมายของความยุติธรรม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ได้ ใ ห้ ค วามหมายของ “ความ ยุติธรรม” เอาไว้ว่า ยุติธรรม น. ความเที่ยง ธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล เช่น ศาลย่อมทรงไว้ซงึ่ ความยุตธิ รรม (https: //dict.longdo.com/search/-ยุติธรรม-) ในยุคเริ่มแรกของวิชาปรัชญา นักคิด ส�ำนักไพธากอรัส(Pythagoras) ได้อธิบาย ความยุติธรรมไว้ว่า ความยุติธรรมก่อให้เกิด ความเสมอภาคด้วยหลักความเท่าเทียม เช่น ภายใต้ ห ลั ก ความยุ ติ ธ รรมนั้ น  บุ ค คลใด ท�ำร้ายผู้อื่น บุคคลนั้นย่อมต้องได้รับผลร้าย สนองตอบอย่างเท่าเทียมผลร้ายที่ตนได้ก่อ ให้เกิดแก่ผู้อื่น

79

ส่วนโสเกรตีส (Socrates) กล่าวว่า ความยุติธรรมเป็นคุณธรรมทางการเมืองที่ จ�ำเป็นส�ำหรับมนุษย์ในสังคมการเมือง และ มนุษย์กม็ ธี รรมชาติทสี่ ำ� คัญประการหนึง่ ก็คอื การเป็นสัตว์การเมือง ดังนั้น ชีวิตที่สมบูรณ์ ของมนุษย์จึงต้องมีคุณธรรมทางสังคม และ คุ ณ ธรรมทางสั ง คมที่ สู ง สุ ด ก็ คื อ  ความ ยุติธรรม โสเกรตีสเชื่อว่า กฎหมายและความ ยุติธรรมเป็นเรื่องเดียวกัน ดังนั้น บุคคลที่ เกิดมาในบ้านเมืองใด ย่อมต้องปฏิบัติตาม กฎหมายอย่างไม่มีเงื่อนไข เพราะกฎหมาย คือ ขนบธรรมเนียมและวิถีปฏิบัติของบ้าน เมื อ งนั้ น  เราจึ ง ไม่ ส ามารถที่ จ ะอ้ า งได้ ว ่ า กฎหมายไม่มีความเป็นธรรมและจะไม่ยอม ปฏิบตั ติ ามกฎหมายนัน้  ซึง่ การยอมรับเช่นนี้ ท�ำให้โสเกรตีสยอมตายแทนที่จะหนี ทั้งๆ ที่ มี พ รรคพวกที่ ส ามารถจะช่ ว ยเหลื อ ได้ ดังนัน้  การตายของโสเกรตีสจึงท�ำให้ เพลโต มองเห็นว่า ถ้ากฎหมายอยู่ในมือของคนที่ ไม่รู้จักความยุติธรรมที่แท้จริงก็จะสามารถ ท�ำลายคนที่ดีได้  ด้วยเหตุนี้เอง ในทฤษฎี การเมืองของเพลโตจึงเน้นการปกครองโดย บุคคลซึ่งเป็นนักปราชญ์มากกว่าที่จะยึดที่ ตัวบทกฎหมาย เพลโต (Plato) กล่าวว่า ผูท้ ที่ ำ� หน้าที่ ปกครองต้องรูว้ า่ ความยุตธิ รรมคืออะไรจึงจะ เป็นผู้ปกครองที่ดี และในหนังสือของเพลโต เรื่องอุตมรัฐ (Republic) หรือทฤษฎีว่าด้วย


80

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ความยุติธรรม เพลโตยังได้ชี้ให้เห็นอีกว่า จริยศาสตร์กับการเมืองเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ ออกอีกทั้งยังมีความสอดคล้องกัน และยัง วางอยู ่ บ นรากฐานทางเมตาฟิ สิ ก ส์   หรื อ ทฤษฎีวา่ ด้วยความจริงอันเดียวกัน นอกจาก นีเ้ พลโตยังได้ขยายขอบเขตของการอภิปราย ไปถึงเรื่องการสร้างคนและสังคมให้ได้ผล ตามจุดหมายทางจริยศาสตร์และการเมือง อีกด้วย โดยเพลโตได้กล่าวถึงทฤษฎีทางการ ศึกษา การจัดการปกครอง เศรษฐกิจและ สั ง คม เพลโตมี โ ลกทั ศ น์ ว ่ า  วิ ช าเหล่ า นี้ มี ความสั ม พั น ธ์ กั น และจะต้ อ งศึ ก ษาอย่ า ง สอดคล้องกันโดยไม่อาจแบ่งแยกเป็นแต่ละ วิชาได้ โดยเพลโตได้แสดงให้เห็นถึงความ สัมพันธ์ของวิชาในแต่ละแขนงไว้อย่างชัดเจน โดยการเสนอเป็นปัญหาใหญ่ๆ ไว้ 4 ปัญหา ดังนี้คือ 1. คนดีคืออะไรและจะสร้างคนดีได้ อย่างไร ปัญหานี้เป็นปัญหาทางจริยศาสตร์ และส�ำหรับเพลโตหรือชาวกรีกโดยทัว่ ไปแล้ว จะเห็นตรงกันว่า คนเราจะเป็นคนดีได้กด็ ว้ ย การเป็นสมาชิกของรัฐ นัน่ ก็คอื  เป็นคนดีโดย ผ่านกระบวนการของรัฐ 2. รัฐที่ดีคืออะไรและจะสร้างรัฐที่ดี ได้อย่างไร ปัญหานีเ้ ป็นการโยงความสัมพันธ์ ระหว่างจริยศาสตร์กับการเมือง 3. ความรูท้ สี่ งู ทีส่ ดุ ซึง่ คนทีจ่ ะเป็นคน ดีตอ้ งมีคอื อะไร ปัญหานีเ้ กิดจากความเชือ่ ที่ ว่าคนดีต้องรู้จักความดี และความดีนั้นเป็น

ความรู้ที่สูงที่สุด เพราะจุดหมายของชีวิตคือ การเป็ น คนดี   ในแง่ นี้ จ ริ ย ศาสตร์ แ ละ การเมืองจึงเข้าไปผูกพันกับญาณวิทยาหรือ ทฤษฎีความรู้ และการที่จะตอบปัญหาเกี่ยว กับความรูไ้ ด้นนั้  ก็จะต้องมีทรรศนะเกีย่ วกับ ความจริงว่าเป็นอย่างไร เพราะส�ำหรับเพลโต แล้ว ความรูท้ แี่ ท้กค็ อื การรูส้ งิ่ ทีเ่ ป็นจริง และ ทรรศนะทีเ่ กีย่ วข้องกับความจริงก็ได้แก่ความ รู้แขนงเมตาฟิสิกส์ 4. รัฐจะน�ำพลเมืองไปสูค่ วามเป็นคน ที่มีความรู้สูงสุด ซึ่งได้แก่ความดีได้อย่างไร ในการตอบปัญหานีเ้ พลโตเสนอว่าต้องอาศัย การศึกษา และเนื่องจากการศึกษานั้นเป็น เกณฑ์ที่ส�ำคัญจึงต้องมีเกณฑ์ที่เข้มงวดใน การควบคุม เพลโตมี ค วามเห็ นว่ า  รั ฐ ที่ ยุ ติ ธ รรม ที่สุดและดีที่สุดนั้นจะต้องมีองค์ประกอบที่ ส�ำคัญ 3 ประการคือ 1. องค์ประกอบทาง เศรษฐกิจ 2.องค์ประกอบทางทหาร 3.องค์ ประกอบทางปัญญาของเหล่าทหาร ส�ำหรับเพลโตแล้ว ความมั่งคั่งและ เกียรติยศนั้นแม้จะมีความจ�ำเป็นและส�ำคัญ ส�ำหรับมนุษย์ แต่กต็ อ้ งอาศัยปัญญาควบคุม ให้ พ อเหมาะพอดี   ดั ง นั้ น  เพลโตจึ ง ถื อว่ า ปัญญาเป็นสิ่งที่ส�ำคัญที่สุด ในส่วนของพลเมืองในรัฐนั้นก็จะต้อง ประกอบไปด้วยคุณธรรม 4 ประการ ได้แก่ ความฉลาด (wisdom) ความกล้ า หาญ (courage) ความพอดีหรือการรูจ้ กั ประมาณ


ความยุติธรรมกับความเอื้ออาทรขัดแย้งกันหรือไม่

(temperance) และความยุ ติ ธ รรม หรื อ ความเที่ยงธรรม (justice) เพลโตใช้สูตรว่า “ท�ำสิ่งที่เป็นหน้าที่ ของตน และได้รับสิ่งที่ตนควรได้รับตามที่ เหมาะแก่ธรรมชาติของตน” โดยถือว่าถ้า พลเมืองและรัฐเป็นไปตามสูตรนีแ้ ล้ว ทุกคน ก็ จ ะมี ค วามสุ ข  (happiness) และเจริ ญ สูงสุด ในแง่นี้ ความสุขจึงเกิดได้จากการได้ สิ่งที่รัฐก�ำหนดว่าควรได้ มากกว่าเกิดจาก การได้สิ่งที่เราอยากได้  สูตรดังกล่าวนี้จึง เป็นการก�ำหนดสิทธิ (right) ของบุคคล โดย ถือว่าสิทธิตามธรรมชาติของแต่ละบุคคลต่าง กั น คนที่ เ ป็ นนักปราชญ์มีสิทธิ์ที่จ ะศึกษา สูงๆ แต่ไม่มสี ทิ ธิจ์ ะมีความสุขทางวัตถุ และ เมื่อถูกก�ำหนดลงไปว่าเป็นคนในชนชั้นใด แล้ว ก็ไม่มีโอกาสเปลี่ยนแปลง คงต้องท�ำ หน้าที่เดิมและใช้สิทธิเดิมตลอดไป ดังนั้น การก� ำ หนดชนชั้ น จึ ง แสดงถึ ง การยอมรั บ ความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ และปฏิบัติ ต่ อ บุ ค คลแตกต่ า งกั น  ส� ำ หรั บ เพลโตแล้ ว การปฏิบัติต่อคนซึ่งไม่เท่ากันอย่างเท่ากัน ปฏิบัติต่อคนซึ่งต่างกันเหมือนกันนั้นเป็น คนล�ำเอียง และเพลโตเองก็ให้ความเท่า เทียมกัน (equality) ในแง่ของการรับพิจารณา ทุกคนด้วยเกณฑ์เดียวกันตัง้ แต่ตน้  (equality of consideration) การให้โอกาสเท่าเทียม กันตั้งแต่ต้น (equality of opportunity) และการให้ความเท่าเทียมกันในเรื่องของ ความจ�ำเป็นขั้นต�่ำของชีวิต (equality of

81

basic need) แต่ทว่าเมื่อพัฒนาต่อไปแล้ว เพลโตเห็นว่าความเท่าเทียมกันมิใช่หมาย ถึงการทีท่ กุ คนได้เท่ากัน แต่หมายถึงทุกคน ท�ำตามความสามารถและได้ในสิ่งที่เหมาะ แก่ธรรมชาติของตน อริสโตเติล (Aristotle) ซึง่ เป็นลูกศิษย์ ของเพลโตถือว่าความยุติธรรมเป็นคุณธรรม ที่พิเศษที่สุดในบรรดาคุณธรรมทางสังคม และมุ่งไปที่ 1. การแบ่งสรรความยุติธรรม อย่างเหมาะสม โดยค�ำนึงถึงทรัพย์ คุณธรรม และจ�ำนวนประชากร และต้องตกลงกันให้ได้ ว่าใครควรด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองเพื่อ ประโยชน์ทางด้านความยุติธรรม 2. เมื่อมุ่ง ความยุตธิ รรมส�ำหรับชนชัน้ ต่างๆ แล้ว วิธที ี่ ดีที่สุดคือให้พวกชนชั้นกลางด�ำรงต�ำแหน่ง ทางการเมือง เพราะส�ำหรับอริสโตเติลแล้ว ชนชั้นกลางคือคนที่ไม่ได้เป็นเศรษฐีมีทรัพย์ มากหรื อ อภิ ช นที่ มี แ วดวงทางสกุ ล ที่ ต ้ อ ง ปกป้องผลประโยชน์ของตน ชนชั้นกลางที่ กล่าวถึงนี้คือกลุ่มชนที่มีมากพอควร และ เป็นที่ยอมรับทั้งฝ่ายคนรวยและคนจน และ สามารถหาทางออกได้ในกรณีที่เกิดความ ขัดแย้งของชนชั้นทั้งสองเพราะชนชั้นกลาง สามารถใช้เหตุผลได้ดีกว่าชนชั้นอื่น คนรวย จะชอบปกครองโดยกดขี่ผู้อื่นอย่างไม่รู้ตัว ส่ ว นคนจนมั ก ชอบเชื่ อ ฟั ง นาย ในขณะที่ ชนชัน้ กลางจะมีความเข้าใจปัญหาเรือ่ งความ เสมอภาพ ภราดรภาพ และความยุตธิ รรมได้ ดีกว่า 3. รัฐที่มีการแบ่งสรรปันส่วนอ�ำนาจ


82

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

หน้าที่ในการปกครองโดยขาดความยุติธรรม อาจน�ำมาซึง่ การแยกดินแดนออกจากรัฐหรือ ยึ ด อ� ำ นาจรั ฐ  การแก้ ไ ขก็ คื อ ต้ อ งให้ มี รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยมวลสมาชิก ในรัฐ และผู้ปกครองไม่ว่าจะเป็นคนจ�ำนวน มากหรือน้อยต้องค�ำนึงถึงประโยชน์สว่ นรวม พร้ อ มทั้ ง เปิ ด โอกาสให้ ฝ ่ า ยค้ า นแสดง ทรรศนะได้อย่างเต็มที่ ส�ำหรับอริสโตเติล ความสุขของมนุษย์ จะขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตที่สามารถท�ำคุณความดี ได้โดยที่คุณความดีที่ดีที่สุดก็คือการรับใช้รัฐ เพื่อความสุขของรัฐ ดังเหตุผลต่อไปนี้ 1. เพราะรัฐเป็นเช่นปัจเจกบุคคล จึง ย่อมต้องแสดงคุณธรรมดังที่มนุษย์แต่ละคน แสดง เช่น ความกลัว ความสามารถในการ ควบคุมตนเองและความยุติธรรม 2. มนุษย์แต่ละคนจะบังเกิดความสุข ตามอัตราส่วนของคุณความดีทเี่ ขาได้กระท�ำ ดังนัน้  รัฐทีม่ คี วามสุขก็คอื รัฐทีแ่ สดงออกทาง คุณธรรมตามอัตราส่วน นั่นก็คือ “รัฐยิ่งมี คุ ณ ธรรมมากเท่ า ไร ย่ อ มมี ค วามสุ ข มาก เท่านั้น” กล่าวโดยสรุปก็คอื  ส�ำหรับอริสโตเติล แล้ว ความสุขหรือชีวิตที่ดีที่สุดของบุคคล หรือของรัฐจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการ ประกอบคุณธรรมให้ได้มากที่สุด เท่าทีก่ ล่าวมาแล้วนีจ้ ะเห็นได้วา่ ความ ยุติธรรมนั้น เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับชีวิต มนุษย์และสังคม อีกทั้งยังมีความเกี่ยวข้อง

กับปัญหาอื่นๆ เช่น ความดี ความสุข สิทธิ ความเสมอภาค อ� ำ นาจของรั ฐ  กฎหมาย จริยธรรม เป็นต้น ทรรศนะของนักปรัชญา ทีไ่ ด้กล่าวมาข้างตันนี ้ เป็นตัวอย่างของความ คิดที่เกี่ยวกับ ความยุติธรรม ในยุคแรกๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ส�ำคัญเพราะก่อให้เกิดการ พัฒนาทรรศนะอื่นๆ ตามมา ส่วนการตีความ “ความยุติธรรม” นั้น ก็สามารถท�ำได้หลายลักษณะเพราะมีหลัก การและหลักเกณฑ์มากมายที่ใช้ในการสร้าง ความเข้าใจจึงมักจะเกิดประเด็นอภิปราย และถกเถียงกันอย่างมากมายโดยสามารถ แยกออกได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้ 1. ความยุ ติ ธ รรมในความหมายที่ เป็นความถูกต้อง เที่ยงตรง ตรงไปตรงมา เป็นการให้ความหมายในแง่ของการให้และ การรับในสิง่ ทีค่ วรจะได้อย่างเท่าเทียม ไม่เอา เปรียบซึ่งกันและกัน จึง เป็นการให้ความ หมายของความยุติธรรมที่ไม่ได้น�ำประเด็น ของความดีเข้ามาพิจารณาร่วมด้วย ความ ยุติธรรมในความหมายนี้จึงเป็นการให้ความ ส�ำคัญกับการพูดความจริงหรือการคืน หรือ การให้ในสิ่งที่บุคคลควรจะได้รับเท่านั้น 2. ความยุติธรรมที่มีลักษณะของตา ต่อตา ฟันต่อฟัน ซึ่งเป็นความยุติธรรมแบบ เลือกปฏิบัติ รับผล หรือเป็นการตอบแทน การกระท�ำด้วยสิ่งเดียวกัน กล่าวคือ ท�ำเช่น ใดก็ได้รบั ผลเช่นนัน้ จึงเป็นการท�ำดีตอบแทน ต่อมิตรทีท่ ำ� ดีตอ่ เรา และท�ำร้ายศัตรูหรือผูท้ ี่


ความยุติธรรมกับความเอื้ออาทรขัดแย้งกันหรือไม่

เป็นภัยต่อเราตอบแทนในลักษณะเดียวกับที่ เขาท�ำไม่ดีกับผู้อ่ืน การให้ความหมายของ ความยุ ติ ธ รรมแบบนี้ จึ ง เป็ น การให้ ค วาม หมายของความยุตธิ รรมในแง่ของการกระท�ำ และความเป็นพวกเดียวกันเป็นตัวตัดสิน 3. ความยุ ติ ธ รรมที่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กับสถานะทางสังคมและอ�ำนาจที่มีเหนือ กว่าซึ่งอ�ำนาจในที่น้ีหมายถึงอ�ำนาจทางการ เมืองการปกครอง สังคม วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจ ความยุติธรรมในความหมายนี้ เป็นการให้ความหมายภายใต้ระบบของการ ให้คุณค่าความสูงต�่ำของคนในสังคมซึ่งเป็น ไปตามสถานะทางสั ง คมและเงื่ อ นไขเชิ ง อ�ำนาจที่ท�ำให้ผู้มีอ�ำนาจเหนือกว่า มีความ ชอบธรรมในการก�ำหนดความยุติธรรมให้ แก่ ผู ้ ที่ ด ้ อ ยอ� ำ นาจกว่ า  (ไชยั น ต์   ไชยพร, 2541:79-80) ความเท่าเทียมและความเสมอภาค ความเข้ า ใจในเรื่ อ งของ “ความ ยุตธิ รรม” (justice) นัน้ จะมีความสลับซับซ้อน อยู่พอสมควร ทั้งนี้เพราะจะมีค�ำศัพท์ที่มี ความหมายและมีความเกี่ยวข้องกับความ ยุตธิ รรมอยูบ่ างค�ำได้แก่ ความเท่าเทียม และ ความเสมอภาค ความเท่าเทียม (Equality) เป็นมุมมอง ที่ ถื อว่ า บุ ค คลทุ ก คนต้ อ งได้ รั บ การปฏิ บั ติ อย่างเท่าเทียมกันโดยมิได้พจิ ารณาหรือค�ำนึง ถึงข้อแตกต่างของแต่ละบุคคล

83

ความเสมอภาค (Equity) นัน้  มีนยั ยะ ทีแ่ ตกต่างกับความเท่าเทียมกันโดยเฉพาะใน มุมมองทางกฎหมาย ความเสมอภาคมีความ หมายว่า หากกรณีที่สิ่งสองสิ่งมีสาระส�ำคัญ ทีเ่ หมือนกัน จึงควรจะได้รบั การปฏิบตั อิ ย่าง เท่าเทียมกัน และในกรณีที่สิ่งสองสิ่งมีสาระ ที่ต่างกันก็จะต้องได้รับการปฏิบัติที่แตกต่าง กันด้วย กล่าวคือ มิได้หมายความว่าบุคคล ทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน โดยมิได้ค�ำนึงถึงข้อแตกต่างใดๆ เลย ยก ตัวอย่างเช่น หากให้ทกุ คนเสียภาษีอย่างเท่า เที ย มกั น หมดโดยมิ ไ ด้ ค� ำ นึ ง ถึ ง รายได้ ของ บุคคลนัน้ ๆ หรือการให้ทกุ คนได้รบั สิทธิทจี่ ะ เรียกร้องในการได้รบั การสงเคราะห์อย่างเท่า เทียมกันโดยมิได้ค�ำนึงถึงความจ�ำเป็นของ บุ ค คลนั้ น ๆ แล้ ว  ในที่ สุ ด ก็ จ ะน� ำ ไปสู ่ ก าร ปฏิบัติอย่างไม่เสมอภาคต่อบุคคลบางกลุ่ม ดังนั้น ความเสมอภาคจึงต้องเป็นเรื่องของ การเปรียบเทียบกันระหว่างข้อเท็จจริงสอง ข้ อ เท็ จ จริ ง  หรื อ บุ ค คลสองคน หรื อ กลุ ่ ม บุ ค คลสองกลุ ่ ม  โดยจะต้ อ งค� ำ นึ ง ว่ า ไม่ มี ข้ อ เท็ จ จริ ง ใดๆ หรื อ บุ ค คลใด หรื อ กลุ ่ ม บุ ค คลใด จะเหมื อนกั น ทุ ก ประการกั บ อี ก ข้อเท็จจริงหนึ่ง หรืออีกบุคคลหนึ่ง หรืออีก กลุ่มบุคคลหนึ่ง แม้ว่าการบัญญัติกฎหมายจะได้ค�ำนึง ถึ ง ความเท่ า เที ย มและความเสมอภาคซึ่ ง ถือว่ามีความยุติธรรมในทางกฎหมาย แต่ก็ อาจไม่ ไ ด้ ท� ำ ให้ สั ง คมเกิ ด ความเป็ น ธรรม


84

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

อย่ า งทั่ ว ถึ ง กั น เสมอไป ทั้ ง นี้ ก็ เ พราะว่ า อุปสรรคหรือต้นเหตุทกี่ อ่ ให้เกิดความไม่เป็น ธรรมยังด�ำรงอยู่ ยกตัวอย่างเช่น การที่รัฐ ออกกฎหมายก� ำ หนดให้ ป ระชาชนมี สิ ท ธิ อย่ า งเท่ า เที ย มกั น ในการใช้ ห ลั ก ประกั น สุขภาพถัวนหน้าเพื่อรับบริการสาธารณสุข ณ สถานพยาบาลทีก่ ำ� หนดให้ แต่หากผูป้ ว่ ย คนนั้นไม่มีญาติ หรือไม่สามารถเดินทางไป สถานพยาบาลได้ นัน่ ก็หมายความว่า บุคคล คนนั้นก็จะไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการ สาธารณสุขนั้นได้เลยซึ่งก็ก่อให้เกิดความไม่ เป็นธรรมขึ้นได้เช่นกัน ความเป็นธรรมในสังคมถือเป็นองค์ ประกอบที่ ส� ำ คั ญของสิ ท ธิ พ ลเมื อ ง (Civil Right)และสะท้อนให้เห็นถึงความยุติธรรม ส�ำหรับคนในสังคม กล่าวคือ คนทุกคนใน สังคมควรจะได้รบั สิทธิพนื้ ฐาน (Basic Rights) การคุม้ ครอง (Protection) โอกาส (Opportunities) และสิทธิประโยชน์ทางสังคม (Social Benefits) ซึง่ ถือเป็นข้อผูกมัดทางสังคม ในการจัดสรรทรัพยากรและการจัดบริการ สวัสดิการสังคมให้กับสมาชิกในสังคม ประเด็นที่เป็นปัญหาที่ส�ำคัญประเด็น หนึ่งของความยุติธรรมก็คือ หลักที่ใช้ในการ พิจารณาความยุติธรรมถ้ามีหลายหลักควร จะต้องมีการผสมผสานกันอย่างไรและด้วย วิธีการใด

จริยศาสตร์แห่งความเอื้ออาทร ในจริยศาสตร์สตรีนยิ ม (feminist ethics) แนวคิดที่เกี่ยวกับ การดูแลหรือการเอาใจใส่ (care) นับว่าเป็นประเด็นทีส่ ำ� คัญเป็นอย่างยิง่ และมีหลายทรรศนะทีเ่ กีย่ วกับจริยธรรมแห่ง ความเอือ้ อาทร (ethic of care) ทีไ่ ด้รบั การ เสนอขึ้ น มาอย่ า งหลากหลายโดยเฉพาะ การน�ำเข้าไปเกีย่ วข้องกับจริยธรรมแห่งความ ยุตธิ รรม (ethic of justice) ซึง่ ทรรศนะเหล่านี้ ก็ มี ทั้ ง ที่ ค ล้ า ยกั น และแตกต่ า งกั น จนถึ ง มี ความขัดแย้งกัน แต่ในบทความนี้ ผู้เขียนจะ ได้น�ำเสนอถึงความสัมพันธ์ท่ีเชื่อมโยงกัน (interrelationship) ระหว่างความเอื้ออาทร กับความยุติธรรม โดยที่ทั้งสองต่างก็เป็น มุ ม มองหนึ่ ง ของการท� ำ ความเข้ า ใจใน ประสบการณ์ ท างศี ล ธรรมของมนุ ษ ย์ ที่ มี ส่วนส่งเสริมกันในภาคปฏิบตั ทิ งั้ ในส่วนทีเ่ ป็น เรือ่ งส่วนตัว (private) และเป็นเรือ่ งส่วนรวม (public) ความเอื้ออาทรคืออะไร แนวคิ ด ของความเอื้ อ อาทรนี้ ถู ก น� ำ เสนอขึ้นมาเพื่อแก้ไขความไม่เป็นธรรมของ สังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาจากการที่ ผู้หญิงถูกกดขี่และถูกเอารัดเอาเปรียบ ด้วย เหตุ ท่ี สั ง คมและการเมื อ งเป็ น สั ง คมและ การเมืองที่มีผู้ชายเป็นใหญ่ ดังนั้น งานหรือ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเอื้ออาทรจึงอยู่


ความยุติธรรมกับความเอื้ออาทรขัดแย้งกันหรือไม่

ในวงแคบเฉพาะชีวิตส่วนตัว อีกทั้งยังจ�ำกัด วงอยู่เฉพาะเป็นหน้าที่ของผู้หญิง ทาสหรือ คนผิวด�ำและเห็นว่าเป็นเรื่องของคนชั้นต�่ำ แนวคิดเรื่องความเอื้ออาทรจึงไม่ได้รับความ สนใจจากสังคมอีกทั้งผู้หญิงก็ถูกกดขี่และ ไม่ มี บ ทบาทในชี วิ ต ส่ ว นรวมหรื อ ที่ เ ป็ น ขอบเขตสาธารณะ (public sphere) นักสตรี นิยมอย่าง แครอล กิลลิแกน (Carol Gilligan) จึงเห็นว่า ความเอือ้ อาทรเป็นเรือ่ งเฉพาะ ของผู้หญิงโดยมีความเอื้ออาทรของผู้เป็น มารดาเป็ น แบบอย่ า ง จึ ง ท� ำ ให้ ค วามเอื้ อ อาทรในความหมายนี้ถูกจ�ำกัดวงให้แคบลง ไป กิลลิแกนจึงเห็นว่า ความเอื้ออาทรกับ ความยุตธิ รรมไปด้วยกันไม่ได้ แต่กม็ นี กั สตรี นิยมบางคนซึ่งเห็นต่างจากกิลลิแกนและได้ ขยายความหมายของความเอือ้ อาทรให้กว้าง ขึ้น แนวคิดของกิลลิแกนจึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ นักสตรีนิยมคนอื่นเกิดความพยายามที่จะ สร้ า งแนวคิ ด ทางจริ ย ศาสตร์ แ บบใหม่ ที่ สะท้ อ นประสบการณ์ ข องผู ้ ห ญิ ง และมอง ปัญหาทางจริยศาสตร์ในแบบที่ผู้หญิงมอง ดังนั้น จริยศาสตร์แห่งความเอื้ออาทรจึง เป็นความพยายามที่จะให้พื้นที่แก่ความรัก และความสั ม พั น ธ์ ข องมนุ ษ ย์ แ ละขยาย พื้นที่ส่วนตัวออกไปยังพื้นที่สาธารณะ เนล นอดดิงส์  (Nel Noddings) มี ความเชือ่ ว่า ความรูส้ กึ อ่อนโยนเอือ้ อาทรต่อ ผู้อื่นและการที่เราสามารถระลึกได้ถึงความ เอือ้ อาทรทีผ่ อู้ นื่ มีตอ่ เรานัน้ เป็นประสบการณ์

85

พื้ น ฐานของมนุ ษ ย์ แ ละเป็ นวิ ธี ที่ ม นุ ษ ย์ จ ะ สามารถด�ำรงอยูไ่ ด้ ดังนัน้  ทฤษฎีจริยศาสตร์ จึงต้องสะท้อนความจริงในเรื่องนี้ ทฤษฎีจริยศาสตร์ของ นอดดิงส์นั้น เริ่มต้นที่ความเป็นจริงที่เกี่ยวกับความมีอยู่ ของมนุษย์ (ontological truth) ว่า มนุษย์ นั้ น เกิ ด และเป็ น อยู ่ ใ นความสั ม พั น ธ์   และ ลักษณะทางชีวภาพของมนุษย์กท็ ำ� ให้มนุษย์ ไม่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ได้โดยปราศจาก ความเอือ้ อาทรดูแลจากคนอืน่  เมือ่ เริม่ ความ จริงจากข้อนี้ นอดดิงส์จึงให้เหตุผลต่อไปว่า มนุษย์จงึ เกิดมาโดยมีความรูส้ กึ ว่า ความเอือ้ อาทรโดยธรรมชาติ (natural caring) เป็น สิ่งที่ดี และเนื่องจากว่าเราเห็นว่าความเอื้อ อาทรเป็นสิ่งที่ดี ดังนั้น การกระท�ำที่ดีก็คือ การสะท้ อ นตั ว ตนของเราออกมาเป็ น ผู ้ ที่ อาทร (the one-caring) จริ ย ศาสตร์ แห่ ง ความเอื้ออาทรจึ ง แตกต่ า งจากความ เอื้ออาทรตามธรรมชาติ ตัวอย่างเช่น ความ เอื้ อ อาทรที่ แ ม่ มี ต ่ อ ลู ก  ทั้ ง นี้ ก็ เ พราะว่ า จริยศาสตร์แห่งความเอื้ออาทรนั้นมีความ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การตั ด สิ น ใจที่ จ ะเห็ น ตั ว เอง เป็น ผู้ที่อาทร ซึ่งเป็นสิ่งที่มากไปกว่าความ รู ้ สึ ก เอื้ อ อาทรที่ เ กิ ด ขึ้ น มาเองในบาง สถานการณ์  นอดดิงส์กล่าวว่า ความเอื้อ อาทรตามธรรมชาติ ไ ม่ ส ามารถเกิ ด ขึ้ น ได้ เสมอไปและก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด เวลา ในสถานการณ์จริงผู้เอื้ออาทรย่อมจะ อยู ่ ใ นสถานการณ์ ที่ ท� ำ ให้ เ กิ ด ความรู ้ สึ ก


86

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

เหนื่อยหรือความรู้สึกเบื่อหน่าย หรืออยู่ใน สถานการณ์ที่ความเอื้ออาทรเป็นไปได้ยาก ในกรณีเหล่านี้ผู้เอื้ออาทรย่อมจะระลึกได้ ถึงความสัมพันธ์ทตี่ นเองมีตอ่ ผูท้ ไี่ ด้รบั ความ เอือ้ อาทร (the cared-for) และนอกจากนัน้ ก็ยังระลึกได้ถึงความสัมพันธ์ที่ตนเองเคยได้ รับมาก่อน (one’s best remembrance of caring and being cared-for) ดังนั้น ความอือ้ อาทรทีเ่ กิดขึน้ จึงเป็นความเอือ้ อาทร ที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้เอื้ออาทรตัดสินใจที่จะ ด�ำรงตนไว้ในฐานะของผู้ที่เอื้ออาทร จริยศาสตร์แห่งความเอื้ออาทรจึงมีที่ ให้กบั ความเข้าใจและความเห็นใจ (sympathy and empathy) มีล�ำดับชั้นแห่งความ เอือ้ อาทรทีเ่ ริม่ จากคนใกล้ตวั และขยายความ เอื้ออาทรออกไปยังวงที่กว้างขึ้น ปฏิบัติการช่วยชีวิตเด็ก 12 คนกับ โค้ช 1 คน ที่ถ�้ำหลวงเป็นตัวอย่างที่แสดง ให้เห็นถึงการใส่ใจดูแลและเอือ้ อาทรซึง่ กัน และกันของมนุษยชาติ ทุกคนรู้ดีว่าเด็กทุก คนและโค้ชมีความส�ำคัญกับครอบครัวของ พวกเขามากแค่ไหน ความเจ็บปวดของการ พลัดพรากระหว่างพ่อแม่กับลูก เป็นความ เจ็บปวดที่ยากจะทนทาน การรวมทีมกู้ภัยจากนานาชาติไม่ว่า จะเป็ น นั ก ด� ำ น�้ ำ ญี่ ปุ ่ น  อเมริ กั น  อั ง กฤษ ออสเตรเลีย และไทยและยังไม่รวมกับอีก หลายประเทศที่ เ สริ ม ความเชี่ ยวชาญของ ตนเข้ า มาในการผนึ ก ก� ำ ลั ง ครั้ ง นี้ จึ ง เป็ น

สัญลักษณ์ที่สะท้อนให้โลกเห็นว่า การร่วม มือร่วมใจกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายร่วมกันนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ปฏิบตั กิ ารภายในถ�ำ้ จึงเป็นการปฏิบตั ิ การที่ไม่มีความแตกต่างของสีผิว ศาสนา หรืออัตลักษณ์ทางเพศ แต่เป็นช่วงเวลาทีท่ กุ คนร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกันโดยปราศจาก ความเห็นแก่ตัวเพื่อเป้าหมายที่ส�ำคัญอัน เดียวกัน นัน่ ก็คอื เพือ่ ช่วยชีวติ คนทัง้  13 คน ไม่มใี ครสนใจถึงจ�ำนวนเงินทีใ่ ช้ในการปฏิบตั ิ การครั้งนี้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าทุกคนรู้ว่าคุณค่า ของชีวิตไม่อาจวัดเป็นตัวเงินได้ ริตา แมนนิง (Rita Manning) มีความ เห็นว่า จริยธรรมแห่งความเอื้ออาทร (ethic of caring) จะมีองค์ประกอบที่ส�ำคัญอยู่ 2 ประการ คือ 1. ความโน้มเอียงทีจ่ ะเอือ้ อาทร (disposition to care) คือความตั้งใจที่จะให้ ความใส่ใจต่อความต้องการของผู้อื่น 2. พันธะที่จะต้องเอื้ออาทร (obligation to care for) คือ เรามีพันธะที่จะต้อง ให้ความเอื้ออาทรต่อผู้อื่นซึ่งท�ำให้ความเอื้อ อาทรของเราเป็นการกระท�ำทีอ่ ยูใ่ นวิถที างที่ เหมาะสมในการตอบสนองต่อความต้องการ ของบุคคลต่างๆ และชุมชนรวมถึงสัตว์ด้วย (Manning,1992:45) จากองค์ ป ระกอบสองประการของ ความเอื้ อ อาทรซึ่ ง ได้ แ ก่ ก ารรั บ รู ้ ค วาม ต้องการของผู้อื่นและการมีความตั้งใจที่จะ


ความยุติธรรมกับความเอื้ออาทรขัดแย้งกันหรือไม่

ตอบสนองต่อความต้องการนั้นรวมถึงการ กระท�ำความเอื้ออาทรซึ่งสามารถมีลักษณะ เป็นพันธะเช่น พันธะต่อบุตรของบิดามารดา พันธะต่อศิษย์ของครู  ซึ่งพันธะดังกล่าวนี้ ก็ต้องอิงอยู่บนความรับผิดชอบต่อบทบาท ของแต่ละคน (role responsibility) ลักษณะ เช่นนีจ้ งึ ท�ำให้ความเอือ้ อาทรเข้าไปเกีย่ วข้อง กับเรื่องของหน้าที่ (duty) ในจริยธรรมแห่ง ความยุตธิ รรมด้วย ทัง้ นีก้ เ็ พราะว่าผูท้ มี่ คี วาม สัมพันธ์บางอย่างกับผู้อื่นก็จะต้องมีความ รับผิดชอบที่เป็นหน้าที่ที่ต้องท�ำตามมาด้วย หน้ า ที่ ก ารเอื้ อ อาทรหรื อ ดู แ ลเลี้ ย งดู บุ ต ร ถือว่าเป็นหน้าที่ของบิดามารดา การที่บิดา มารดาบกพร่ อ งต่ อ หน้ า ที่ ห รื อ ไม่ ท� ำ ตาม หน้าที่ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมต่อบุตร ซึ่ง จุ ด นี้ เ องที่ เ ราสามารถเห็ น ความเชื่ อ มโยง ระหว่างความยุติธรรมกับความเอื้ออาทร ความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรม กับความเอื้ออาทร ความยุติธรรมไม่ได้ขัดแยังกับความ เอื้ออาทรแต่มีความสัมพันธ์กับความเอื้อ อาทร ทั้งนี้ก็ เพราะว่าทฤษฎีเกี่ยวกับความ ยุติธรรมก็คือทรรศนะที่พยายามเสนอการ ตี ค วามและหลั ก การที่ ค วรใช้ ส� ำ หรั บ การ มีปฏิสัมพันธ์กันของมนุษย์ ที่เห็นได้ชัดก็คือ ในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับการแลกเปลีย่ นและการ แบ่ ง ปั น ทรั พ ย์ สิ น สิ่ ง ของและสิ ท ธิ พื้ น ฐาน ต่างๆ ดังนั้น ความยุติธรรมจึงเป็นส่วนหนึ่ง ของการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์และเป็น

87

มุมมองหนึ่งในการเข้าใจประสบการณ์ของ ชี วิ ต ทางศี ล ธรรม เช่ น เดี ย วกั บ ความเอื้ อ อาทรเพราะเป็ น เรื่ อ งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เรื่ อ ง คุณค่าของพฤติกรรมมนุษย์ เนื่องจากความ ยุ ติ ธ รรมก็ เ ป็ น มโนทั ศ น์ ที่ พ ยายามจะ พิจารณาว่า ใครควรท�ำอะไรแก่ใครและควร ได้รับอะไรจากใคร ความยุตธิ รรมจึงหมายถึงการทีม่ นุษย์ มีปฏิสมั พันธ์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในการ แลกเปลี่ยนและการกระท�ำต่อกันอันเกี่ยว เนื่ อ งกั บ เรื่ อ งสิ ท ธิ แ ละหน้ า ที่ ต ่ า งๆ ของ มนุษย์ในสังคมอย่างเป็นธรรมหรืออย่างไม่ ได้ เ ปรี ย บเสี ย เปรี ย บกั น  เมื่ อ บุ ค คลแลก เปลี่ยนสินค้าหรือทรัพย์สินสิ่งของกันก็ต้อง ไม่ มี ใ ครในสองฝ่ า ยที่ แ ลกเปลี่ ย นกั น นั้ น ได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง หรือเมื่อบุคคลท�ำการ สิ่งใดลงไปก็ควรที่จะได้รับการตอบแทนที่ เหมาะสมแก่การกระท�ำของเขาทั้งในแง่บวก และลบ ตัวอย่างเช่น เมื่อท�ำให้เกิดผลผลิต อย่างใดอย่างหนึ่งแก่ผู้อื่นหรือสังคม เขาก็ ควรได้รับผลตอบแทนบางอย่างเป็นรางวัล แต่ถา้ บุคคลใดท�ำร้ายผูอ้ นื่ เขาก็ตอ้ งได้รบั การ ลงโทษที่สาสมกับความผิดของเขา ดังนั้น ความยุติธรรมจึงเกี่ยวข้องกับการชดเชยทาง สังคม (social compensation) นอกจากนี้ ความยุติธรรมก็ยังเกี่ยวข้องกับการจัดสรร หรือการแบ่งปัน (distribution) ที่เป็นธรรม เช่น คนงานควรได้รับส่วนแบ่งจากผลก�ำไร อย่างเหมาะสมกับผลงานของตน หรือลูกๆ


88

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

ควรได้รับการเอาใจใส่และเลี้ยงดูอย่างเท่า เทียมกัน การเอาใจใส่และปฏิบัติต่อลูกด้วย ความล� ำ เอี ย งถื อ เป็ น ความไม่ ยุ ติ ธ รรม ตัวอย่างดังกล่าวนี้เป็นประเด็นของความ ยุตธิ รรมในเรือ่ งส่วนตัว (private realm) เป็น ความยุตธิ รรมในครอบครัว ดังนัน้  จะเห็นได้ ว่ า  เราก็ ส ามารถพบประเด็ น ของความ ยุติธรรมในเรื่องส่วนตัวได้  เช่นเดียวกับที่ เราพบในความเอื้ออาทร ความยุ ติ ธ รรมและความเอื้ อ อาทร นั้ นมี ความสั ม พันธ์กันแต่ในขณะเดียวกัน ทั้ ง สองก็ มี ลั ก ษณะเฉพาะตั ว ซึ่ ง แสดงถึ ง ประสบการณ์ที่มีลักษณะที่ต่างกัน กล่าวคือ แนวคิ ด เรื่ อ งความยุ ติ ธ รรมนั้ น เน้ น ที่ ห ลั ก การทั่วไปอันเป็นสากลของความเป็นธรรม สิทธิและหน้าที่ (general, universal principles of fairness, rights and duties) ส่วนแนวคิดเรือ่ งความเอือ้ อาทรนัน้ จะเน้นไป ที่ ค วามสั ม พั น ธ์ แ ละความรั บ ผิ ด ชอบส่ ว น บุ ค คล (personal relationship and responsibilities) รวมทั้งพันธะกรณี (obligations) และทั้งสองแนวความคิดนี้ต่างก็มี ความจ�ำเป็นส�ำหรับการเข้าใจประสบการณ์ ทางศีลธรรมและต่างก็มขี อบเขตของตนทีอ่ ยู่ นอกขอบเขตของอีกฝ่ายหนึง่  บางสิง่ ทีค่ วาม เอื้ออาทรเกี่ยวข้องด้วยแต่ความยุติธรรมไม่ ได้เข้าไปเกีย่ วข้อง เช่น ความสามารถในการ เข้าใจผู้อื่น และบางสิ่งที่ความยุติธรรมมีแต่ ความเอื้ออาทรจะไม่เกี่ยว เช่น รูปแบบหรือ

ระเบียบที่มีเหตุผลส�ำหรับการติดต่อค้าขาย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เป็นต้น ดังนั้น ในเรื่องเดียวกัน ความเอื้ออาทรกับความ ยุติธรรมจะมีความเกี่ยวข้องกันคนละด้าน เช่น ในกรณีของการดูแลคนไข้  ความเอื้อ อาทรจะท�ำหน้าที่พิจารณาว่าควรจะแสดง ความเอือ้ อาทรอย่างไรจึงจะเหมาะกับความ ต้ อ งการของคนไข้ แ ละเหมาะกั บ ความ สามารถของผู้ให้ความเอื้ออาทร ในขณะที่ ความยุติธรรมจะท�ำหน้าที่ในการพิจารณา ในแง่ทวี่ า่ ในการดูแลคนไข้คนหนึง่ นัน้ จะต้อง ไม่ลมื ทีจ่ ะดูแลคนไข้รายอืน่ ทีก่ ำ� ลังรออยูด่ ว้ ย ความเอื้ออาทรจึงเป็นสิ่งที่ช่วยเสริม มุมมองของความยุตธิ รรมให้มคี วามสมบูรณ์ ขึ้ น  เช่ น  ช่ ว ยให้ ค นหั น มาสนใจในคุ ณ ค่ า ของชี วิ ต และตั ว บุ ค คล ให้ ค วามสนใจต่ อ ความรูส้ กึ และความสัมพันธ์ทมี่ นุษย์มตี อ่ กัน และมีความใส่ใจในรายละเอียดของแต่ละ สถานการณ์ไม่ใช่ใช้แต่กฎระเบียบ หรือหลัก การทีม่ อี ยูเ่ ป็นเครือ่ งตัดสิน เท่านัน้  ตัวอย่าง เช่ น  ในสั ง คมของอรรถประโยชน์ นิ ย มที่ มี แนวคิดว่า ความยุตธิ รรมก็คอื การสร้างความ สุขร่วมสูงสุดให้กับคนในสังคม และถ้าหาก คนในสังคมนั้นส่วนใหญ่ไม่ต้องการศาสนา ความยุ ติธ รรมตามแนวคิ ด นี้ ก็ คื อสามารถ ยกเลิกศาสนาในสังคมนั้นเพื่อความสุขของ คนส่วนใหญ่โดยไม่ต้องสนใจถึงความรู้สึก ของคนส่วนน้อยทีต่ อ้ งการศาสนา ส่วนความ เอื้ออาทรก็จะมองว่าควรจะเห็นใจคนส่วน


ความยุติธรรมกับความเอื้ออาทรขัดแย้งกันหรือไม่

น้อยทีเ่ ขานับถือศาสนาทีจ่ ะต้องมีความทุกข์ จากการยกเลิกศาสนา ในขณะเดี ย วกั น  ความยุ ติ ธ รรมก็ ช่ ว ยให้ ค วามเอื้ อ อาทรเป็ น ไปได้ อ ย่ า งมี ประสิ ท ธิ ภ าพมากขึ้ น  ทั้ ง นี้ ก็ เ พราะว่ า กฎเกณฑ์ แ ละสิ ท ธิ ที่ ก� ำ หนดไว้ จ ะช่ ว ย สะท้อนให้เห็นว่าอะไรคือความต้องการที่ ความเอื้ อ อาทรควรจะให้ ก ารตอบสนอง อีกทั้ง ยังช่วยชี้น�ำวิธีการในการตอบสนอง ที่ เ หมาะสมให้ แ ก่ ค วามเอื้ อ อาทรอี ก ด้ ว ย ตัวอย่างเช่น หากพิจารณาแล้วพบว่าเบี้ย ยังชีพส�ำหรับผู้สูงอายุมีความไม่เพียงพอต่อ การด�ำรงชีพของผู้สูงอายุท�ำให้ผู้สูงอายุต้อง ตกอยู ่ ใ นสภาวะที่ ย ากจนและด้ อ ยโอกาส ชุมชนในพื้นที่ก็อาจจะช่วยกันจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมอาชีพหรือรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ หรื อ เปิ ด โอกาสให้ ภ าคเอกชนในพื้ น ที่ ไ ด้ มี ส ่ ว นร่ ว มในการสนั บ สนุ น งบประมาณ ทรัพยากร หรือองค์ความรู้ต่างๆ ที่สามารถ จะสร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ กั บ ชุ ม ชนในการ ช่วยกันดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดั ง นั้ น  กฎเกณฑ์ แ ละหลั ก การของ ความยุติธรรมที่ถูกต้องจะช่วยเสริมมุมมอง ของความเอื้ออาทรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะ การมองปัญหาเฉพาะในแง่มมุ ของความรูส้ กึ และความสัมพันธ์ในระดับส่วนบุคคลนัน้ บาง ครั้ง บางกรณีอาจแคบเกินไปและยังไม่มาก เพี ย งพอซึ่ ง อาจจะส่ ง ผลท� ำ ให้ เ กิ ด ความ ล�ำเอียงขึ้นได้

89

จึ ง เห็ น ได้ ว ่ า ทั้ ง ความยุ ติ ธ รรมและ ความเอื้ออาทรนั้นต่างก็เป็นสิ่งที่ช่วยเสริม ซึง่ กันและกันและช่วยให้การมองปัญหานัน้ ๆ มีความสมบูรณ์และก่อให้เกิดการกระท�ำที่ดี และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น บทสรุป ผู ้ เ ขี ย นขอจบบทความนี้ ด ้ ว ยการ อั ญ เชิ ญ พระบรมราโชวาทของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช รัชกาล ที่   9 ที่ พ ระราชทานในพิ ธี พ ระราชทาน ประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้วิชาความรู้ เนติบัณฑิต สมัยที่ 33 ณ อาคารใหม่สวน อัมพร ในวันพฤหัสบดีท ี่ 29 ตุลาคม 2524 ความว่า .....มีคำ� พูดถึงนักกฎหมายอยูต่ อนหนึง่ ว่า คนทีท่ ำ� งานกับกฎหมายมากๆ มักจะติด อยู่กับตัวบทกฎหมาย พูดอย่างนี้ ดูจะไม่ใช่ ค�ำชม หากเป็นค�ำติติงนักกฎหมายบางคนที่ ยังติดกับตัวบทกฎหมายเป็นหลักการธ�ำรง รักษาความยุติธรรม ซึ่งดูจะคับแคบเกินไป และอาจท� ำ ให้ รั ก ษาความยุ ติ ธ รรมได้ ไ ม่ เต็ ม ที่   ผู ้ ท่ี ท� ำ หน้ า ที่ พิ ทั ก ษ์ ค วามยุ ติ ธ รรม ความเป็นธรรมจึงควรระมัดระวัง คือควรจะ ได้ท�ำความเข้าใจให้แน่ชัดว่ากฎหมายนั้น ไม่ใช่ตวั ความยุตธิ รรม เป็นแต่เพียงเครือ่ งมือ อย่ า งหนึ่ ง ในการรั ก ษาและอ� ำ นวยความ ยุติธรรมเท่านั้น


การที่กฎหมายต้องมุ่งหมายใช้เพื่อ รักษา ความยุติธรรม ไม่ใช่เพื่อรักษาตัวบท กฎหมายเอง และการรักษาความยุติธรรม อั น ดี ก็ มิ ไ ด้ มี ว งแคบอยู ่ เ พี ย งแค่ ข อบเขต ของกฎหมาย หากต้องขยายให้ออกไปถึง ศีลธรรมจรรยา ตลอดจนเหตุผลตามความ เป็นจริงด้วย......

บรรณานุกรม ไชยันต์ ไชยพร. (2541). ความยุติธรรม ตอนที่หนึ่ง. รัฐศาสตร์สาร, 20(2).หน้า 57-96. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. ความหมายของความยุติธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 จาก https://dict.longdo.com/search/-ยุติธรรมพระบรมราโชวาท. สืบค้นเมือ่  วันที ่ 26 กรกฎาคม 2561, จาก https://www.isranews.org/ component/content/article/13538--qq-html สุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัย. (2529). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาปรัชญาการเมือง หน่วยที่1-5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์. Gilligan, Carol. (2003). In a Different Voice: Psychological Theory and Women’s Development. Massachusetts: Harvard University Press. Manning, Rita. (1992). Just Caring, Explorations in Feminist Ethics: Theory and Practice. Indianapolis: Indiana University Press. Noddings, Nel. (2003). Caring: A Feminine Approach to Ethics and Moral Educa tion. Berkeley: University of California Press. Tong, Rosmarie. (1993). Feminine and Feminist Ethics. Belmont: Wadsworth Publishing Company.


เสียงเรียกให้เป็น บาทหลวงปรีชา ธรรมนิยม, O.M.I.

อ่านเจอบทวิเคราะห์หลายฉบับเกี่ยว กับสมณสาส์นเตือนใจของพระสันตะปาปา ฟรานซิส รู้สึกว่าน่าสนใจต่อการด�ำเนินชีวิต ของพวกเราคริสตศาสนิกชนเป็นอย่างมาก เป็นแก่นแท้เลยก็ว่าได้ จึงใคร่ขอน�ำมาแบ่ง ปัน “Gaudete et Exsultate” เป็นหัวข้อ ของสมณสาส์นเตือนใจ ดึงมาจากพระวรสาร ตาม ค� ำ เล่ า ของนั ก บุ ญ มั ท ธิ ว  5:12 “จง ชื่นชมยินดีเถิด” แต่ผู้เขียนใคร่ถอดความว่า “จงปลาบปลื้มยินดี และจงอิ่มเอิบใจเถิด” เนื้ อ ความนี้ ม าบวกตอนท้ า ยของค� ำ เทศน์ บาทหลวงสังกัดคณะธรรมทูตแห่งมารีนิรมล (O.M.I.)

ณ ภูเขาเรือ่ ง “ความสุขเทีย่ งแท้” อันเป็นข้อ เรียกร้องของการด�ำเนินชีวิตตามแบบองค์ พระเยซู เป็นการด�ำเนินชีวิตในความรักเผื่อ แผ่ การรู้จักให้อภัย ความจงรักภักดี การมี น�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ซึ่งเป็นทีทัศน์ตรงข้ามกับ ความรุนแรง และการครอบง�ำอย่างมีอำ� นาจ เหนือผู้อื่น เป็นสมณสาส์นเตือนใจที่พระสันตะ ปาปาฟรานซิส ทรงลิขติ ในแบบทีม่ สี สี นั และ อย่างเป็นส่วนตัว อันบ่งบอกถึงผลจากการ ไตร่ตรองและจากการเชื่อมั่นของพระองค์ ท่าน เป็นความคิดสังเคราะห์อนั โดดเด่นของ

(หมวดคำ�สอน)

ผูเ้ พียบพร้อม/ผูศ ้ กั ดิส ์ ทิ ธิ์


92

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

สองหัวข้อเรือ่ ง คือ “การประกาศพระวรสาร ใหม่/อีกครัง้ ” และ “การปฏิรปู พระศาสนจักร” พระสมณสาส์นนี้เชิญชวนให้ทุกคน ด�ำเนินชีวิตไปสู่ความเพียบพร้อม/ความ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   แบ่ ง ออกเป็ น  177 ย่ อ หน้ า พระองค์ทรงกล่าวว่า การเป็นผู้เพียบพร้อม นั้น พวกเราทุกคนสามารถกระท�ำได้ ไม่ว่า จะอยู่ ณ วรรณะใด สถานที่ใด สถานการณ์ ใดก็ตาม มิได้สงวนไว้แก่ชนชัน้ สูง/ปัญญาชน เท่านั้น พระองค์ทรงเน้นย�้ำพระด�ำรัสของ นักบุญยอห์นปอลที่ 2 ว่า “จงอย่ากลัวที่จะ ใฝ่สูง อย่ากลัวที่จะพยายามท�ำให้พระเจ้า ทรงรักเราและทรงปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระ จงอย่ากลัวที่จะให้ องค์พระจิตน�ำชีวิตของ ท่าน” บรรดานักบุญผูป้ ฏิรปู  หลังสังคายนา วาติกันที่ 2 นักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอลที ่ 2 ได้ทรงบอกว่า พวกเราทุกคนได้รบั เรียกให้มงุ่ ด�ำเนินชีวติ ไปสูค่ วามเพียบพร้อม/ ความศักดิ์สิทธิ์ เป็นภารกิจอภิบาลหลักของ พระศาสนจักรในสหัสทีส่ ามนี ้ (เทียบ Novo millennio ineunte) เป็นสาระแก่แท้ทสี่ ดุ ของ พระศาสนจักร เพราะว่าเป็นการบอกถึงการ ให้ชีวิตที่เข้มข้นขององค์พระจิตแด่สมาชิก ของพระศาสนจักร พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ ที ่ 16 ได้ทรงสานต่อความคิดนี ้ โดยทรงสอน หลักความเชื่อหลายประการเกี่ยวกับบรรดา นักบุญในปฏิทนิ ของพระศาสนจักรทุกวันพุธ ตลอดปี ค.ศ. 2006 ถึง ค.ศ. 2011 พระองค์

ได้ ท รงให้ สั ม ภาษณ์ ว ่ า  “ผู ้ ป ฏิ รู ป พระ ศาสนจักรทุกท่านผู้เอื้อให้พระศาสนจักรดู เรียบง่ายขึ้น ดูเปิดใจกว้างขึ้น ในการท�ำให้ มีหนทางใหม่ไปสูก่ ารรับความเชือ่  ท่านเหล่า นั้นเป็น ผู้เพียบพร้อม/นักบุญ/ผู้ศักดิ์สิทธิ์” (เทียบพระวรสาร “ท่านเป็นเกลือและแสง สว่าง....” มัทธิว 5:13-16) สมณสาส์ น เตื อ นใจ “Gaudete et Exsultate” เป็นหัวใจของการปฏิรูปทั้งมวล เพราะได้ให้พระเจ้าเป็นศูนย์กลาง “องค์เจ้า เหนือหัวได้ทรงขอร้องทุกอย่าง พระองค์ได้ ทรงมอบชีวติ จริง เมือ่ พระองค์ทรงสร้างพวก เรา พระองค์ได้ทรงให้ความสุขเทีย่ งแท้แก่เรา แล้ว พระองค์มีพระประสงค์ให้พวกเราเป็น นักบุญ/ผู้เพียบพร้อม โดยมิได้ทรงรอคอย หรือทิ้งความหวังว่าการด�ำเนินชีวิตของพวก เราจะดีจะเลวอย่างไร” พระสันตะปาปาฟรานซิสได้ทรงบอก ล่วงหน้าว่า สมณสาส์นฉบับนี้หาใช่หนังสือ ต�ำราเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์/ความเพียบ พร้อม เป้าประสงค์ของพระองค์คอื  “ส่งเสียง เรียกร้องให้ดำ� เนินชีวติ สูค่ วามเพียบพร้อมให้ ดังกังวานอีกครั้งหนึ่ง ให้เสียงนี้แทรกเข้าสู่ สภาพแวดล้อมของโลกปัจจุบันที่มีทั้งความ เสี่ยง การท้าทายเรียกร้อง และโอกาสเอื้อ อ�ำนวย” พระองค์ทรงเชื้อเชิญให้ประชากร ของพระเจ้าก้าวหน้าไปสูค่ วามเพียบพร้อม/ ความศักดิ์สิทธิ์ ด�ำเนินชีวิตสอดรับกับการที่ จะได้มาซึ่งความสุขเที่ยงแท้ (บุญลาภ) โดย


เสียงเรียกให้เป็นผู้เพียบพร้อม/ผู้ศักดิ์สิทธิ์

ปฏิ บั ติ ก ารตามแบบขององค์ พ ระเยซู   คื อ ต่อต้านและทวนกระแสสังคมปัจจุบัน ในโอกาสนี ้ พระสันตะปาปาฟรานซิส ได้ทรงเอ่ยชื่อนักบุญผู้ปฏิรูปและเปลี่ยนแปร พระศาสนจักร พระองค์ทรงเรียกบุคคลเหล่า นี้ ทั้ ง หญิ ง และชายว่ า  “คนบ้ า ผู ้ น ่ า นั บ ถื อ ชมเชย” อาทิ แบร์นาร์ด de Clairvaux นักบุญ ฟรานซิสแห่งอัสซิสซี นักบุญอิกญาซีโอแห่ง โลโยลา นักบุญยอห์นแห่งไม้กางเขน นักบุญ ฟรานซิสแห่งซาลส์ เป็นต้น พระองค์ได้เอ่ย เช่นกันถึง “อัจฉริยะสตรี” ทีม่ สี ว่ นช่วยในการ ปฏิรปู พระศาสนจักร พระองค์ได้ทรงลิขติ ว่า “แม้ในสมัยทีส่ ตรียงั ถือว่าเป็นคนละระดับกับ บุรุษ องค์พระจิตก็ได้ทรงผลักดันให้มีสตรี นักบุญหลายท่านมาเสริมพลวัตรใหม่ในการ ปฏิรูปพระศาสนจักร อาทิ นักบุญ Hildegarde de Bingen นักบุญบิจริต นักบุญ คาทารีนาแห่งเชียนนา นักบุญเทเรซาแห่ง อาวิ ล า นั ก บุ ญ เทเรซาแห่ ง พระกุ ม ารเยซู แต่พอ่ ขอกล่าวเน้นถึงสตรีหลายท่านผูไ้ ม่เป็น ที่รู้จักหรือผู้ถูกลืม แต่ท่านเหล่านั้นได้มีส่วน ช่วยตามแบบของท่านในการจรรโลง และ เปลีย่ นแปรครอบครัวและกลุม่ คริสตศาสนิกชน มากมาย อาศัยพยานชีวติ ของท่านเหล่านัน้ ” สรุปโดยรวม - สมณลิขิต “Gaudete et Exultate” เป็นสมณลิขิตเตือนใจในรูปของค�ำสั่ง สอนของพระศาสนจักร ทีต่ อ้ งการสือ่ เป็นพิเศษถึงคริสตศาสนิกชนทุกระดับ

93

- สิง่ แปลกใหม่ คือ หัวข้อเรือ่ งทีเ่ ตือน สติ  ว่าทุกคริสตศาสนิกชนสามารถ และต้องกระหายปรารถนานักบุญ/ ผู้เพียบพร้อม - ในสมณสาส์นฯ ฉบับนี้ พระสันตะ ปาปาฟรานซิ ส หวนระลึ ก ถึ ง ธรรม ประเพณีทปี่ รากฏออกมาจากศตวรรษ ที่ 20 และสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้ ยอมรับรู้ ทั้งยังเชิญชวนให้ก้าวต่อไป อีกก้าวหนึง่  โดยอธิบายว่าควรด�ำเนิน ชีวิตอย่างไรให้สอดรับข้อเสนอแบบ คริสตชนในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน - สมณสาส์นฯ บอกว่า “เพื่อจะเป็นผู้ ศักดิ์สิทธิ์/ผู้เพียบพร้อม/นักบุญ ไม่ จ�ำเป็นต้องเป็นนักบวช พระสงฆ์ หรือ สังฆราชเลย เราทุกคนได้รับเรียกให้ เป็นนักบุญ/ผู้เพียบพร้อม ด้วยการ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ในความรั ก และโดยการ มอบพยานชีวิตส่วนตัวของเราแต่ละ คน ในอาชีพการงานของชีวติ ประจ�ำวัน ในที่ที่ตนเจริญชีวิตอยู่” - สมณสาส์นฯ เตือน ว่าเราแต่ละคน มี “หนทางเฉพาะของตน” ทีช่ ว่ ยน�ำไป สู่ความศักดิ์สิทธิ์/ความเพียบพร้อม โดยทุม่ เทชีวติ และปฏิบตั กิ ารให้ดที สี่ ดุ ตามความสามารถ สถานภาพ และ สถานการณ์ ข องตน โดยไม่ ต ้ อ งไป ลอกเลียนแบบอย่างที่มิใช่ตัวตนของ เรา


94

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

- พระสันตะปาปาฟรานซิสเสนอให้ พวกเรา “เพ่ ง มองนั ก บุ ญ /ผู ้ เ พี ย บ พร้อมรอบข้าง/ใกล้ตัวเรา ตัวอย่าง ผู ้ ป กครอง พ่ อ แม่ ผู ้ เ ลี้ ย งลู ก ด้ ว ย ความรักอย่างแท้จริง สตรีและบุรุษ ผู ้ ต รากตร� ำ  ท� ำ งานเพื่ อ หาเลี้ ย ง ครอบครัว คนเจ็บป่วย คนชราที่ยิ้ม อยู่ตลอดเวลา” หรือไม่ก็ดูสตรีผู้ไม่ นินทาใครเลย ผู้คอยฟังลูกๆ อย่าง อดทนและอย่างอ่อนละมุน ผู้ภาวนา เมื่อต้องเผชิญกับปัญหา ผู้กระท�ำตน ด้วยความเมตตาต่อคนยากจน - พระสั น ตะปาปายั ง ทรงเตื อ นให้ ระลึกถึงวิถกี ารด�ำเนินชีวติ ในความสุข เที่ ย งแท้ ที่ เ ป็ น หนทางน� ำ สู ่ ค วาม ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ / ความเพี ย บพร้ อ ม ถึ ง มาตรฐานที่เราจะถูกตัดสินในวาระ สุดท้าย “เมือ่ เราหิว ท่านให้เรากิน เรา กระหาย ท่านให้เราดื่ม เราเป็นแขก แปลกหน้ า  ท่ า นก็ ต ้ อ นรั บ  เราไม่ มี เสือ้ ผ้า ท่านก็ให้ผา้ เราใส่ เราเจ็บป่วย ท่านก็มาเยี่ยม เราอยู่ในคุก ท่านก็มา หา” - พระสันตะปาปาฟรานซิส ได้ทรง บอกกล่าวล่วงหน้าถึงอันตรายในการ ถือข้อเรียกร้องของพระวรสารอย่าง เคร่งคัด โดยปราศจากการด�ำเนินชีวติ ที่สัมพันธ์กับพระเจ้า

- พระองค์ทรงเตือนว่าการเบียดเบียน ศาสนา หาใช่ความเป็นจริงของอดีต ดั ง ที่ ห ลายคนอ้ า งเย้ ย หยั น พวกเรา โดยพยายามบิดเบือนความเชื่อของ พวกเรา แล้วท�ำให้พวกเราเป็นพวก น่าข�ำไป ท�ำให้คริสตศาสนาเป็นองค์ อิสระองค์กรหนึ่ง (NGO) - พระสันตะปาปาฟรานซิส จบสมณลิขิตของพระองค์  โดยทรงน�ำเสนอ การแสดงออก 5 ประการของความ รักต่อพระเจ้าและเพือ่ นมนุษย์ นัน่ คือ ความเพียรทน ความอดกลั้น ความ อ่อนหวาน ความปีติยินดีและความ อาจหาญ พระองค์ยังทรงกล่าวอย่าง รันทดใจที่ทรงเห็นคริสตศาสนิกชน ยังจมอยู่กับความรุนแรงทางวาจาใน โลกของอินเทอร์เน็ต หรือในโลกของ social media ที่ พ ร้ อ มจะใส่ ร ้ า ย นินทาป้ายสีกัน - ในบทสุ ด ท้ า ย พระองค์ ท รงเตื อ น อย่างชัดแจ้งว่า ปีศาจมีจริงและมิใช่ อะไรที่เป็นเทพนิยาย “มันท�ำให้เรา เหมื อ นนั ก มวยการ์ ด ตก ขาดความ ระมัดระวัง มันมอมและวางยาเบื่อ พวกเราผ่านทางความเกลียดชัง ความ เศร้าซึม ความอิจฉาริษยา ความชั่ว ร้ายนานา เมื่อเราไม่ระวัง (การ์ดตก) มันก็ฉวยโอกาสท�ำลายชีวิตของเรา ครอบครัวของเรา กลุ่มคริสตชนของ


เสียงเรียกให้เป็นผู้เพียบพร้อม/ผู้ศักดิ์สิทธิ์

เราเหมือนสิงโตหิวกระหายที่จ้องจะ ขย�้ำพวกเรา” - พระสันตะปาปาทรงสรุปโดยเตือน ว่า “ความศักดิส์ ทิ ธิ/์ ความเพียบพร้อม นั้ น  ขึ้ น อยู ่ กั บ ชี วิ ต ของเราต่ อ พระ พักตร์พระเจ้า ผู้ทรงรู้จักเรา ผู้ทรงรัก เรา อย่างที่ไม่มีใครจะรู้จักและรักเรา เท่าได้” สมณสาส์นเตือนใจ Gaudete et Exultate” โต้ตอบข้อติติงในสมณสาส์นเตือนใจฉบับนี ้ พระสันตะปาปา ฟรานซิ ส ได้ ท รงตอบโต้ ข ้ อ ติ ติ ง จาก บุ ค คลหลายร้ อ ยคนที่ ชุ ม นุ ม กั น ที่ กรุ ง โรมในวั น เสาร์ ที่   7 เมษายน ค.ศ.2016 ไม่เห็นด้วยกับแนวความ คิ ด และค� ำ สอนอั น เปี ่ ย มล้ น ด้ ว ย ความเมตตาของสมณสาส์ น เตื อ น ใจ “Amoris Laetitia” พระองค์ทรง ลิขิตว่า “ชีวิตของพระศาสนจักรอาจ กลายเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ หรื อ เป็ น ชิ้ น ส่ ว นที่ มี บ างกลุ ่ ม เป็ น เจ้าของ พฤติกรรมนี้อาจเกิดขึ้นได้ใน กลุ ่ ม คริ ส ตศาสนิ ก ชนบางกลุ ่ ม ที่ ใ ห้ ความส�ำคัญจนเกินเหตุกับกฎเกณฑ์ บางกฎ ประเพณีบางประเพณี หรือ วิธีการบางวิธีการ จึงเป็นเสมือนการ ลดทอนคุณค่าของพระวรสาร จนไม่ เหลื อ ความเรี ย บง่ า ยและอรรถรส อันควรเป็น ปรากฏการณ์นี้สามารถ กระทบต่อกลุ่มหรือขบวนการที่เริ่ม

95

ด้วยแรงจูงใจอันอัดแน่นในองค์พระ จิต แต่จบลงเหมือนซากในหิน หรือ เสือ่ มตัวลง” พระสันตะปาปาทรงลิขติ โต้ ต อบรู ป แบบความคิ ด  prolife ที่ มุ่งเน้นพูดแต่การท�ำแท้ง แต่ไม่ใยดี ต่ อ เรื่ อ งอื่ น ๆ ที่ เ กี่ ยวกั บ คุ ณ ค่ า ของ ชีวิต อาทิ ผู้อพยพ เป็นต้น แม้สมณสาส์นเตือนใจ “Gaudete et Exultate” จะสัน้ กว่าเกือบ 5 เท่าของสมณสาส์นเตือนใจ “Amoris Laetitia” แต่ สมณสาส์น “Gaudete et Exultate” ได้กระแทกแนวความคิด สองแนวของ โลกปัจจุบนั ทีพ่ ระสันตะปาปาฟรานซิส ทรงเห็นว่าเป็นการบิดเบือนภาพแนว ความคิด pro-life พระองค์ตรัสถึงการ ต่อสูเ้ พือ่ ศักดิศ์ รีของบรรดาผูย้ งั ไม่เกิด ที่ ต ้ อ งชั ด เจนและแน่ ว แน่   เพราะ ศักดิ์ศรีตรงนี้ศักดิ์สิทธิ์และต้องการ ความรักจากทุกคน แต่ก็มิใช่แค่ผู้ที่ ก�ำลังจะเกิดเท่านั้น “เพราะชีวิตของ คนจน คนด้อยโอกาส คนถูกทอดทิ้ง คนที่สิ้นแล้วซึ่งอภิสิทธิ์และเอกสิทธิ์ คนเปราะบาง คนพิ ก าร คนอาวุ โ ส คนที่ เ ป็ น เหยื่ อ ของการค้ า มนุ ษ ย์ รูปแบบใหม่ของการเป็นทาส รูปแบบ ทุ ก ชนิ ด ของการไม่ ย อมรั บ บุ ค คล คนเหล่านี้ ศักดิ์สิทธิ์เทียบเท่ากับทุก คน” เราไม่สามารถยอมรับแนวความ คิดของความศักดิ์สิทธิ์/ความเพียบ


96

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

พร้อมที่ไม่ใยดีต่อความยุติธรรมใน โลกกว้ า ง ที่ บ างคนได้ เ จริ ญ ชี วิ ต ใน เครื่องอุปโภคและบริโภคอันสมบูรณ์ แบบ ในขณะที่คนจ�ำนวนอีกไม่น้อย ต้องเจริญชีวติ ในความค้นแค้นยากจน พระองค์ทรงเน้นย�้ำถึงประเด็นของ สถานการณ์ของผู้อพยพ ซึ่งบ่อยครั้ง ถูกน�ำเสนอเป็นเรื่องรอง แม้จากกลุ่ม คาทอลิ ก บางกลุ ่ ม  พระองค์ ท รงให้ เหตุผลว่า เราควรเข้าใจอย่างถ่องแท้ ว่า นี่คือสิ่งที่องค์พระเยซูทรงขอร้อง เรา เมื่ อ พระองค์ ต รั ส ว่ า  “ใครที่ ต้อนรับคนแปลกหน้า ก็คอื ต้อนรับเรา เอง” (เทียบมัทธิว 25:31-36) เสียงเรียกให้เป็นนักบุญ/ผูเ้ พียบพร้อมแบบ ธรรมดา พระสั น ตะปาปาฟรานซิ ส ทรงดึ ง ข้ อ ความเชื่ อ ของ “ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ / ความ เพียบพร้อมสากล” จากธรรมนูญ Lumen Gentium ของสังคายนาวาติกันที่  2 โดย สรุปว่าประวัติศาสตร์อันเที่ยงแท้ของความ ศักดิส์ ทิ ธิ/์ ความเพียบพร้อมครบครันมาจาก พยานในองค์พระเยซูของสมาชิกผู้ต�่ำต้อย ของประชากรของพระเจ้ า นั่ น เอง คริ ส ตศาสนิกชนจึงไม่ควรท้อแท้ต่อแบบอย่างของ ความศักดิส์ ทิ ธิ/์ ความเพียบพร้อมครบครันที่ ดูสดุ เอือ้ ม แต่ตอ้ งรับรูว้ า่ มีหนทางและวิธกี าร หลากหลายในการเป็นพยานนีจ้ ากพฤติกรรม

ของทัง้ สตรีและบุรษุ  มีคนไม่นอ้ ยทีอ่ าจพูดได้ อย่างถึงพริกถึงขิงเรื่องพระหรรษทานของ พระเจ้า แต่กลับเชื่อมั่นไว้ใจในตัวเอง ใน ความสามารถของตนเอง รู้สึกอยู่เหนือชั้น เพราะสามารถคงตั ว อย่ า งสั ต ย์ ซื่ อ ในการ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต แบบคาทอลิ ก เฉพาะ(กิ จ /ตั ว ) เมื่ อ พวกเขาบอกคนอ่ อ นแอว่ า ทุ ก อย่ า ง สามารถท�ำให้สำ� เร็จลุลว่ งได้อาศัยพระหรรษทานของพระเจ้า พวกเขาหมายความว่าเรา สามารถไปสู่ความส�ำเร็จได้อาศัยความตั้งใจ ของมนุษย์เท่านัน้  อันน�ำมาซึง่ ความพอใจใน การน�ำตัวเองมาเป็นศูนย์กลางชีวิต แสดง ออกในวิธกี ารและความคิดทีห่ ลงกับกฎเกณฑ์ ถู ก กลื น กิ น เข้ า ไปในประโยชน์ สั ง คมและ การเมือง ถีย่ บิ  ละเมียดละมัย เกีย่ วกับหลัก ความเชื่อและพิธีกรรมของพระศาสนจักร สาละวนจนเกิ น กว่ า เหตุ ใ นโปรแกรมการ เยียวยาตนเอง สมณสาส์นเตือนใจ Gaudete et Exultate เขียนถึงความสุขเที่ยงแท้จากพระ วรสารตามค�ำเล่าของนักบุญมัทธิวและของ นักบุญลูกา และทรงเรียกว่า “บัตรประจ�ำตัว คริสตศาสนิกชน” หมายความถึงการตอบ ค�ำถามที่ว่า “ต้องท�ำอย่างไรเพื่อเป็นคริสตศาสนิกชนทีด่ ”ี  ทรงเตือนว่าองค์พระเยซูทรง ยอมรับรูก้ ารตามพระองค์ หมายถึงการต้าน กระแสโลกาภิวัฒน์  หมายถึงการเห็นและ ยอมรับคนยากจน คนทีต่ อ้ งทนทุกข์ ช่วยคน ทีห่ วิ กระหาย ต้อนรับคนแปลกหน้า เยีย่ มคน ที่อยู่ในคุก เยียวยาคนเจ็บป่วย ปฏิบัติเช่นนี้


เสียงเรียกให้เป็นผู้เพียบพร้อม/ผู้ศักดิ์สิทธิ์

อย่างไม่มขี อ้ แม้ ไม่มคี ำ� ว่า “ถ้า” ไม่มคี ำ� ว่า “แต่” การสรรเสริญบูชา การภาวนา หรือการท�ำ ตามกฎศีลธรรม เมตตาธรรมบางประการ ไม่เพียงพอในการถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่ พระเจ้า เหตุวา่ ความสัมพันธ์กบั พระเจ้าเป็น เอก แต่ก็ไม่ควรลืมว่ากฎเกณฑ์ที่ใช้ในการ ตัดสินชีวิตของพวกเรา หนีไม่พ้นการปฏิบัติ ตนของเราต่อผู้อื่น ข้อคิด 10 ข้อจากสมณสาส์นฯ เรื่องความ ศักดิ์สิทธิ์/ความเพียบพร้อมครบครัน - “ทุ ก คนได้ รั บ เรี ย กให้ เ ป็ น นั ก บุ ญ / ผู้เพียบพร้อมครบครัน” จงพยายาม ท�ำให้ได้ ความศักดิ์สิทธิ์/ความครบ ครันมิได้สงวนไว้ให้กลุม่ คริสตศาสนิกชน กลุม่ ใดเป็นพิเศษ แต่ทกุ คนถูกเรียกให้ เป็นนักบุญ โดยปฏิบัติตนตามภารกิจ และสถานการณ์ทแ่ี ต่ละคนได้รบั มอบ หมายให้ท�ำในชีวิตประจ�ำวัน - “บรรดานักบุญ/ผู้ศักดิ์สิทธิ์ใกล้ตัว เรา” จงรูจ้ กั ขอบคุณ พระสันตะปาปา ฟรานซิสเชื้อเชิญให้เราดูรอบตัวเรา ดูพยานชีวิตที่สัตย์ซื่อและอดทนรอบ ตั ว เรา ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งเพ่ ง มองแบบ อย่างอันดีงามทีเ่ ป็นทีย่ อมรับจากพระ ศาสนจักรเท่านั้น - “อย่ากลัวที่จะกระโดดให้สูงขึ้น” จง พยายามย�ำ้ ท�ำ ความศักดิส์ ทิ ธิ/์ ความ เพี ย บพร้อ มครบครัน ต้อ งน�ำมาซึ่ง

97

ชีวิตและความปีติยินดี จงอย่ากลัว ที่ จะใฝ่สงู /ทะเยอทะยาน เพือ่ ปล่อยให้ พระเจ้าทรงรักเราและน�ำเราทางองค์ พระจิต - “กองทัพของผู้ได้รับการอภัย” จง สมัครเข้าในกองทัพนี้ พวกเราได้รับ คุณประโยชน์จากความเมตตาสงสาร ของพระเจ้ า  เราจึ ง ต้ อ งมี ใ จเมตตา สงสารกันและกัน เข้าใจและให้อภัย กัน - “พลังจากภายใน” จงวอนขอ จ�ำเป็น ต้ อ งพิ ง อิ ง แอบกั บ องค์ พ ระคริ ส ต์ พระเจ้า ทรงรักเราและทรงบรรเทาใจ พวกเรา จงปล่อยให้พระองค์เสริมเติม พลังภายในใจในตัวเรา ให้เราสามารถ อดทนและอดกลั้นทุกอย่างที่มันย้อน แย้งและเปลี่ยนแปลงชีวิตเรา -“สิ่งเล็กๆ น้อยๆ” จงให้ความส�ำคัญ ให้ความสนใจในสิง่ เล็กๆ น้อยๆ เป็น ส่ ว นเล็ ก ๆ ของความรั ก ที่ เ ราควร จรรโลงและรักษาไว้  อันจะท�ำให้ใจ เราเปิดกว้างเพื่อสร้างสนามแห่งการ ประกาศพระวรสาร - “ความอาจหาญแบบธรรมทูต” จง วอนขอให้มีในใจ การวอนขอนี้ ท�ำให้ คริสตศาสนิกชนกล้าประกาศพระวรสาร ไปในที่น�้ำลึกเพื่อสามารถลงอวนได้ นั่ น คื อ  ถวายชี วิ ต ของเราเพื่ อ รั บ ใช้ พระองค์


98

วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561

- “อัจฉริยะสตรี” จงให้เกียรติ  แบบ อย่างของสตรีมากมายทั้งที่เราไม่รู้จัก และที่พระศาสนจักรยอมรับ สะท้อน ความศักดิส์ ทิ ธิ/์ ความเพียบพร้อมครบ ครันของพระเจ้าในโลก เธอเหล่านั้น มีส่วนช่วยจรรโลงและเปลี่ยนแปร/ ปฏิรปู ครอบครัวในพระศาสนจักรด้วย พยานชีวิตตามสไตล์ของตน - “แนวความคิ ด ที่ ฟุ ่ ม เฟื อ ยและไร้ ความหมาย” จงหลี ก เลี่ ย ง แยกข้ อ เรี ย กร้ อ งของพระวรสารจากความ สัมพันธ์กับพระเจ้าเป็นความคิดที่ผิด ปรีชาญาณแบบคริสตชนไม่ควรแยก จากความเมตตาปรานีต่อผู้อื่น - “อาวุธในการต่อกรกับปีศาจ/พญา มาร” จงรูจ้ กั ใช้มนั  ในความศักดิส์ ทิ ธิ/์ ความเพียบพร้อมครบครัน ต้องมีการ ภาวนาเป็นอาวุธส�ำคัญทีอ่ งค์เจ้าเหนือ หัวเยซูคริสต์ได้ทรงมอบไว้ให้พวกเรา ด้ ว ยความเชื่ อ  คริ ส ตศาสนิ ก ชน สามารถชนะพญามารได้ผ่านทางการ ภาวนา การร� ำ พึ ง เพ่ ง พิ ศ พระวาจา การเฉลิมฉลองบูชาขอบพระคุณ ศีล แห่ ง การคื น ดี   กิ จ เมตตาธรรม ชี วิ ต กลุ่มและภารกิจธรรมทูต ทั้งหมดนี้คือเนื้อความโดยสรุปจาก สมณสาส์นเตือนใจ Gaudete et Exultate ที่ เ ชื้ อ เชิ ญ ว่ า ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ / ความเพี ย บ พร้อมครบครันอยู่แค่เอื้อมของทุกคน

ขอจบบทถอดความและเรียบเรียงนี้ ด้วยตอนหนึง่ ของบทเทศน์ของพระสันตะปาปา ฟรานซิส เมื่อวันอาทิตย์ที่สามในเทศกาล ปัสกา - 14 เมษายน ค.ศ. 2013 (2556) “เราวางแบบอย่างไว้ให้แล้ว ท่านจะ ได้ท�ำเหมือนกับที่เราท�ำกับท่าน” (ยอห์น 13:15) หลังจากล้างเท้าบรรดาอัครธรรมทูต องค์พระเยซูได้ชี้วิถีสู่ความดีบริบูรณ์/ความ ศักดิ์สิทธิ์ในกิจวัตรเล็กๆ น้อยๆ ประจ�ำวัน ความดีบริบรู ณ์/ความศักดิส์ ทิ ธิ ์ มิได้ขนึ้ ก่อน อื่นหมด ที่การกระท�ำอันใหญ่โต น่าทึ่ง มิได้ สงวนไว้แก่คนบางคนเท่านัน้  มิได้เจาะจงอยู่ กั บ ศั ก ยภาพของบรรดานั ก บุ ญ ที่ มี ชื่ อ ใน ปฏิทินพิธีกรรมเท่านั้น ความศักดิส์ ทิ ธิ/์ ความเพียบพร้อมครบ ครัน (เหมือนความเชื่อ-ผู้เรียบเรียง) เป็นพร จากพระเจ้า เป็นพระหรรษทานจากความรัก ของพระองค์ในองค์พระเยซู เพราะว่าอาศัย องค์พระคริสต์ เราจะสามารถรักได้เหมือน พระองค์ คือรักเพือ่ นมนุษย์ เป็นการเรียกให้ เดินตามทางทีอ่ งค์พระคริสต์ได้วาดไว้ให้พวก เรา เป็นวิถีที่น�ำเราไปสู่ชีวิตและสู่ความสุข เทีย่ งแท้ นักบุญผูย้ งิ่ ใหญ่แม้เมือ่ ได้สละทุกสิง่ ทุกอย่าง ก็หาได้เป็นพยานเด่นชัดแห่งความ สุขเที่ยงแท้นี้ทุกท่านไม่ แต่ท่านเหล่านั้นให้ ก�ำลังใจพวกเรา อยูก่ บั พวกเรา และในความ เป็นหนึ่งเดียว พวกเราได้สร้างสายใยแห่ง ความรักเพื่อนพี่น้อง รวมทั้งให้บริการรับใช้ ผู ้ ด ้ อ ยโอกาสเพื่ อ พั ฒ นาการของพระ ศาสนจักร เป็นเรื่องของพวกเราทุกคน


เสียงเรียกให้เป็นผู้เพียบพร้อม/ผู้ศักดิ์สิทธิ์

เราทุ ก คนได้ รั บ เรี ย กให้ เ ป็ น คน ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ / คนเพี ย บพร้ อ มครบครั น  ใน แผนการอันยิง่ ใหญ่ของพระเจ้า รายละเอียด ทุกอย่างส�ำคัญหมด พยานชีวติ ของท่านและ ของพ่อ แม้จะน้อยนิด แม้มองไม่เห็นในชีวติ ประจ�ำวัน ในความเรียบง่ายของความเชื่อ โยงใยกันระหว่างครอบครัว การงาน มิตร สัมพันธ์  มีนักบุญเกิดขึ้นทุกวัน มีนักบุญที่ ยัง ‘ไม่มีใครมองเห็น’... ซึ่งพวกเรารวมอยู่ ในนั้น”

99


15 สิงหาคม

รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ บาทหลวงเชษฐา ไชยเดช

บทน�ำ ในวันเสาร์ใกล้กับวันที่ 15 สิงหาคม ของทุ ก ปี   สถาบั น แสงธรรมจะจั ด พิ ธี บวช สังฆานุกร พิธีแต่งตั้งผู้อ่านพระคัมภีร์และ ผู ้ ช ่ ว ยพิ ธี ก รรม โดยใช้ บ ทมิ ส ซาสมโภช พระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกาย และวิญญาณ ผูเ้ ขียนเห็นว่าเป็นโอกาสดีทจี่ ะ เขียนถึงประวัติความเป็นมาของวันสมโภชนี้ รวมทั้ ง ความหมายและข้ อ คิ ด ที่ ไ ด้ รั บจาก พิธกี รรมของวันสมโภชนี ้ เพือ่ พีน่ อ้ งทีม่ าร่วม พิธจี ะได้มสี ว่ นร่วมในพิธกี รรม และน�ำข้อคิด

พร้อมทั้งค�ำสอนที่ได้รับจากพิธีกรรมของ วันสมโภชนี้ไปประยุกต์ใช้ในการด�ำเนินชีวิต ของพี่น้อง ข้ อ ความเชื่ อ เรื่ อ งแม่ พ ระรั บ เกี ย รติ เ ข้ า สู ่ สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1950 พระสันตะปาปาปีโอที่ 12 หลังจากได้ทรง สอบถามบรรดาพระสังฆราชทั่วโลก (ค.ศ. 1946) และได้รับการตอบรับแล้ว พระองค์

บาทหลวงสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม

(หมวดพิธีกรรม)

สมโภชพระนางมารีย์


15 สิงหาคม สมโภชพระนางมารีย์ รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ

ทรงประกาศอย่ า งเป็ น ทางการโดยสมณ โองการ “Munificentissimus Deus” ถึง ข้อความเชื่อเรื่อง “พระนางพรหมจารีมารีย์ รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ” ประวัติความเป็นมาของวันฉลองนี้ แม้ข้อความเชื่อเรื่องพระนางพรหมจารีมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและ วิญญาณได้รบั การประกาศเป็นทางการเพียง ในปี ค.ศ.1950 เท่านัน้  ทีจ่ ริงพระศาสนจักร ได้ เ ฉลิ ม ฉลองข้ อ ความเชื่ อ นี้ น านมาแล้ ว อาจกล่าวได้ว่าการฉลองนี้เป็นการฉลอง พระนางมารียท์ เี่ ก่าแก่ทสี่ ดุ ในพระศาสนจักร ก็ว่าได้ คริสตชนให้ความเคารพและวอนขอ พระนางมารี ย ์ ตั้ ง แต่ ยุ ค แรกของพระ ศาสนจักร ออริเจนเรียกพระนางมารีย์ว่า “พระมารดาของพระเจ้ า ” (ภาษากรี ก คื อ Theotokos) ในงานเขียนของท่าน (ค.ศ.250) สังคายนาที่เอเฟซัส (ค.ศ.431) ได้ประกาศ ข้อความเชื่อเรื่อง “แม่พระเป็นพระมารดา พระเจ้า” ต่อจากนั้นไม่นาน เราพบหลักฐาน ทางพิธีกรรมเกี่ยวกับการฉลองแม่พระเป็น ครัง้ แรกจากหนังสือบทอ่านของกรุงเยรูซาเล็ม (ค.ศ.451) ซึ่งกล่าวถึงการฉลองพระนาง มารียใ์ นฐานะพระมารดาพระเจ้าในวันที ่ 15 สิงหาคม ณ สถานที่แห่งหนึ่งระหว่างทาง จากกรุงเยรูซาเล็มไปเมืองเบธเลเฮม ซึง่ ตาม

101

ธรรมประเพณี (กลางศตวรรษที่ 2) เล่าว่า เป็นสถานที่พระนางมารีย์หยุดพักระหว่าง การเดินทางไปเบธเลเฮมเพือ่ คลอดพระเยซูเจ้า และเรียกวันฉลองนีใ้ นภาษากรีกว่า “koimesis” (การบรรทม) ราวต้นศตวรรษที ่ 5 สุภาพสตรี ชือ่ ไอเคเลียได้สร้างวัดน้อยหรือสักการสถาน ถวายแด่แม่พระ ณ สถานที่แห่งนี้ ต่อมาราวปลายศตวรรษที่ 5 นั้นเอง คริ ส ตชนย้ า ยสถานที่ ฉ ลอง “koimesis” (หรือที่ภาษาลาตินใช้ว่า “dormitio”) ไปยัง มหาวิหารซึ่งตามธรรมประเพณีเชื่อว่าสร้าง ณ ที่ฝังพระศพของพระนางมารีย์ซึ่งอยู่ใกล้ กับสวนเกธเสมนี การฉลอง “พระนางมารีย์ พระมารดาพระเจ้ า ” ถู ก เปลี่ ย นเป็ น การ ฉลอง “การบรรทมของพระนางมารีย์” เพื่อ ระลึกถึงการสิ้นพระชนม์และการเข้าสวรรค์ อย่ า งรุ ่ ง เรื อ งของพระนาง (“การบรรทม” หรือการสิ้นพระชนม์ของแม่พระถือเป็นการ เริ่มชีวิตนิรันดรอันรุ่งเรืองในสวรรค์) ต่อมา ราวปลายศตวรรษที่ 6 พระจักรพรรดิโมริส (ค.ศ.582-602) ทรงประกาศพระราชกฤษฏีกา ให้เฉลิมฉลองการบรรทมของพระนางมารีย์ นี้ทั่วจักรวรรดิโรมันตะวันออก การฉลองนี้ได้เริ่มฉลองที่กรุงโรมใน สมัยของพระสันตะปาปาแซร์จิอุสที่ 1 (ค.ศ. 687-701) ชือ่ ของการฉลองคือ “การบรรทม ของพระนางมารีย”์  (Dormitio Mariae) และ เฉลิมฉลองในวันที่ 15 สิงหาคม (ที่กรุงโรม มีการฉลอง “พระนางมารีย์พระมารดาของ


102 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 พระเจ้า” ในวันที ่ 1 มกราคม ก่อนทีจ่ ะมีวนั ฉลองนี)้  จนกระทัง่ ในศตวรรษที ่ 8 วันฉลอง นี้จึงมีชื่อว่า “พระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่ สวรรค์” ระหว่างศตวรรษที่ 16 การสมโภช พระนางมารีย์รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกาย และวิญญาณนับว่าเป็นวันฉลองทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ในบรรดาวันฉลองของแม่พระ และเป็นวัน ฉลองที่ส�ำคัญมากวันหนึ่งในปีพิธีกรรมของ พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก พิ ธี ก รรมสมโภชแม่ พ ระรั บ เกี ย รติ เ ข้ า สู ่ สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณในปัจจุบัน วั น สมโภชแม่ พ ระรั บ เกี ย รติ เ ข้ า สู ่ สวรรค์ ทั้ ง กายและวิ ญ ญาณเป็ น เพี ย งวั น สมโภชเดียวในวันฉลองของพระนางมารีย์ ในปั จ จุ บั น ที่ มี พิ ธี มิ ส ซาวั น เตรี ย มสมโภช ซึ่ ง ถวายตอนเย็ น หรื อ หั ว ค�่ ำ ของวั น ที่   14 สิงหาคม ก่อนหรือหลังพิธีท�ำวัตรเย็นที่ 1 ของวันสมโภชนี้ พิธีมิสซาวันเตรียมสมโภช พระวรสารตามค�ำบอกเล่าของนักบุญ ลูกา (ลก 11:27-28) พระเยซูเจ้าทรงสอน เราว่าพระเกียรติที่แท้จริงของแม่พระ คือ การฟังพระวาจาของพระเจ้าและปฏิบตั ติ าม มากกว่าการที่พระนางเป็นพระมารดาของ พระองค์ บทอ่านที่ 1 จากหนังสือพงศาวดาร ฉบับที ่ 1 (1 พศด 15:3-4, 15-16,; 16:12) กล่าวถึงกษัตริย์ดาวิดทรงสั่งให้อัญเชิญ หีบพันธสัญญา (เครือ่ งหมายของการประทับ

อยู่ของพระเจ้ากับประชากรของพระองค์) เข้าไปยังกระโจม ณ กรุงเยรูซาเล็ม สะท้อน ให้ เ ห็ น ภาพของพระนางมารี ย ์ ซึ่ ง เปรี ย บ เสมื อ น “หี บ พั น ธสั ญ ญาใหม่ ”  ที่ โ อบอุ ้ ม พระวจนาถต์คือพระเยซูเจ้าไว้ในครรภ์ของ พระนาง ทรงเข้าสูพ่ ระอาณาจักรสวรรค์ของ พระเจ้า บทอ่ า นที่   2 จากจดหมายนั ก บุ ญ เปาโลอัครสาวกถึงชาวโครินทร์ฉบับที่ 1 (1 คร 15:54-57) กล่าวว่าร่างกายที่เสื่อม สลายได้จะสวมความไม่เสื่อมสลายอันเป็น เครื่องหมายแห่งชัยชนะต่อบาปซึ่งน�ำความ ตายมาสู่มนุษยชาติ  พระเจ้าทรงประทาน ชัยชนะต่อบาปและความตายให้แก่เราอาศัย พระเยซูเจ้า ชี้ให้เราเห็นว่าพระนางมารีย์มี ส่วนในชัยชนะของพระเยซูเจ้าเหนือบาปและ ความตาย โดยการรับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้ง กาย (ร่างกายไม่เสื่อมสลาย) และวิญญาณ นอกจากนั้น บทภาวนาของประธาน พิธี กล่าวถึงพระนางมารีย์เป็นพระมารดา ของพระเจ้าและทรงได้รบั เกียรติเข้าสูส่ วรรค์ เราวอนขอพระเจ้าผ่านทางค�ำภาวนาวอน ขอของพระนาง โปรดให้เราได้รับเกียรตินี้ (บทภาวนาของประธาน) ขอพระเจ้าทรง โปรดให้เราที่มาฉลองแม่พระในโอกาสนี้ได้ รับการอภัยบาปและขอบคุณพระองค์ตลอด ไป (บทภาวนาเตรียมเครื่องบูชา) และขอ พระองค์ทรงโปรดให้เราพ้นจากภยันตราย ทั้งสิ้น (บทภาวนาหลังรับศีล)


15 สิงหาคม สมโภชพระนางมารีย์ รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ

พิธีมิสซาวันสมโภช พระวรสารตามค�ำบอกเล่าของนัก บุญลูกา (ลก 1:39-56) เป็นพระวรสารตอน เดียวกันกับพระวรสารของวันฉลองพระนาง มารีย์เสด็จเยี่ยมเยียน กล่าวถึงแม่พระทรง เป็น ผู้มีใจเมตตาและรักเพื่อนพี่น้อง ทรง เสด็จไปเยีย่ มและช่วยเหลือนางเอลีซาเบธซึง่ ชราและตัง้ ครรภ์ได้หกเดือน พร้อมทัง้ ทรงน�ำ พระเยซูเจ้าไปอวยพรนางและบุตรในครรภ์ ของนาง เราร่วมใจกับพระนางถวายเกียรติแด่ พระเจ้าในบทสดุดขี องแม่พระ (Magnificat) เพราะพระองค์ทรงยกย่องพระนางให้มีส่วน ในงานกอบกู ้ ข องพระองค์   และประทาน เกียรติให้พระนางเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและ วิญญาณอย่างรุ่งโรจน์ บทอ่านที่ 1 จากหนังสือวิวรณ์ (วว 11,19ก และ 12:1-6ก, 10ก) พูดถึงภาพ นิมิตรของหญิงผู้หนึ่งกับบุตรและมังกรที่จะ มากินบุตรของนาง เป็นการชีใ้ ห้เห็นถึงความ ขัดแย้งระหว่างประชากรของพระเจ้าและ อาณาจักรของปีศาจ แต่สุดท้ายแล้วผู้ที่อยู่ ฝ่ายพระเจ้าจะได้รับชัยชนะ “บัดนี้  ความ รอด ฤทธิ์ อ� ำ นาจ และราชอาณาจั ก รของ พระเจ้าของเรา และอ�ำนาจอาญาสิทธิ์ของ พระคริสต์ของพระองค์ มาถึงแล้ว” บทอ่านทีห่ นึง่ แสดงให้เราเห็นถึงความ สัมพันธ์ของแม่พระกับพระศาสนจักร การ ด�ำเนินชีวติ ของพระนางและการทีพ่ ระนางได้

103

รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์  เป็นรูปแบบของการ ด�ำเนินชีวิตของพระศาสนจักรและคริสตชน ทุกคน เราจึงวอนขอพระเจ้าโปรดให้เรามีใจ ฝักใฝ่แต่เรื่องเกี่ยวกับสวรรค์อยู่เสมอ จะได้ มี ส ่ ว นในเกี ย รติ รุ ่ ง เรื อ งของพระนาง (บท ภาวนาของประธาน) เรายังวอนขอพระเจ้า ผ่านทางค�ำภาวนาวอนขอของพระนาง โปรด ให้จิตใจของเรามีความรักต่อพระองค์อย่าง แรงกล้า คอยเฝ้าค�ำนึงใฝ่ฝันหาพระองค์อยู่ เสมอ (บทภาวนาเตรียมเครื่องบูชา) และ โปรดให้ เ ราได้ ก ลั บ คื น ชี พ อย่ า งมี เ กี ย รติ รุ่งโรจน์ (บทภาวนาหลังรับศีล) บทอ่านที่ 2 บทอ่านจากจดหมาย นั ก บุ ญ เปาโลอั ค รสาวกถึ ง ชาวโคริ น ทร์ ฉบับที ่ 1 (1 คร 15:20-26, 27ก) กล่าวถึง พระเยซูเจ้าทรงกลับคืนชีพเป็นคนแรกใน บรรดาผู้ตาย เป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ เหนือความตายและบาป ผู้ท่ีเป็นของพระ คริสตเจ้าก็จะกลับคืนชีพด้วยในล�ำดับต่อมา เราเห็ น ได้ อ ย่ า งชั ด เจนว่ า พระนางมารี ย ์ พระมารดาของพระองค์ซึ่งร่วมงานกอบกู้ ของพระคริ ส ตเจ้ า อย่ า งใกล้ ชิ ด จะได้ รั บ ศักดิ์ศรีนี้ด้วย เราพบความหมายของการฉลองใน วั น นี้ ชั ด เจนมากในค� ำ ภาวนาของบท ขอบพระคุณ “วันนี ้ พระชนนีพรหมจารีได้รบั เกียรติ เข้าสูส่ วรรค์ นับเป็นการประเดิมชัย และเป็น แบบอย่างการเข้าสูส่ วรรค์แห่งพระศาสนจักร


104 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 ของพระองค์ ก่อให้เกิดความหวังและความ บรรเทาใจแก่บรรดาสัตบุรุษที่เดินทางอยู่ใน โลกนี้ พระองค์โปรดให้พระชนนีพรหมจารี รับเกียรติเป็นพระมารดาของพระบุตร ผูท้ รง เป็ น เจ้ า แห่ ง สรรพสิ่ ง ที่ มี ชี วิ ต ทั้ ง หลาย พระองค์จงึ มิได้พอพระทัยให้พระวรกายของ พระนางเปื่อยเน่าเสื่อมสลายไป” บทเสริม: การถวายมิสซังไทยเป็นสิทธิข์ าด แก่พระนางมารีอา “ในวันสมโภชแม่พระรับเกียรติเข้าสู่ สวรรค์ ทั้ ง กายและวิ ญ ญาณ มี ธ รรมเนี ย ม ป ฏิ บั ติ ที่ พ ร ะ ศ า ส น จั ก ร ค า ท อ ลิ ก ใ น ประเทศไทยจะกระท�ำคือ การสวดบทถวาย ประเทศไทยแด่ แ ม่ พ ระ โดยที่ ม าของ ธรรมเนี ย มนี้ มี ส ่ ว นมาจากเรื่ อ งราวใน ประวัติศาสตร์ของมิสซังสยาม กล่าวคือ ในปี ที่ ส ถาปนามิ ส ซั ง สยาม ภายใต้ เอกสารที่ชื่อว่า Universis christi fidelibus ลงวันที ่ 13 กันยายน ค.ศ.1669 โดยสมเด็จ พระสันตะปาปาเคลเมนต์ท ี่ 9 ทรงประทาน พระคุณการุญแด่คริสตชนในสยาม โดยจะได้ รับในทุกๆ วันสมโภชแม่พระรับเกียรติเข้า สู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ ต่อมาในสมัย ของพระสั ง ฆราชหลุ ย ส์   ลาโน มิ ส ชั น นารี ชาวฝรั่งเศสทุกคนได้รับการปล่อยตัวจาก การถู ก คุ ม ขั ง มานานตามพระบั ญ ชาของ สมเด็จพระเพทราชาในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ.1690 ปี ถั ด มาในวั น ที่   18 สิ ง หาคม ค.ศ.1691 ณ บ้ า นเณรนั ก บุ ญ ยอแซฟ

อยุ ธ ยา พระสั ง ฆราชลาโนจึ ง ได้ ป ระพั น ธ์ บทภาวนาส� ำ หรั บ สวดขอบคุ ณ แม่ พ ระที่ บรรดามิสชันนารีได้รับอิสรภาพซึ่งตรงกับ วันสมโภชของพระนาง ในสมัยของพระสังฆราชเรอเน แปร์รอส ในการเข้าเงียบประจ�ำปี  ค.ศ.1924 พระ สั ง ฆราชและพระสงฆ์ ทุ ก ท่ า นในมิ ส ซั ง สยามได้ ย กถวายมิ ส ซั ง เป็ น สิ ท ธิ์ ข าดแก่ แม่พระ โดยยกให้แม่พระเป็น “นางพญาเจ้า แห่ ง เมื อ งไทย” และประกาศให้ ทุ ก ๆ วั น สมโภช 15 สิงหาคมของทุกปีสืบไปเบื้อง หน้า ให้พระสงฆ์และสัตบุรุษทุกวัดสวดบท ถวายมิ ส ซั ง สยามต่ อ หน้ า รู ป ของแม่ พ ระ ดังนั้นจึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเราจน กระทั่งถึงปัจจุบัน เป็นปีที่ 94 แล้ว ในค�ำประกาศของพระสังฆราชแปร์รอส มี ส ่ ว นหนึ่ ง ที่ อ ธิ บ ายถึ ง แม่ พ ระได้ น ่ า รั ก ดี ความว่ า  ในสวรรค์ มี อยู ่   2 กระทรวง คื อ กระทรวงยุติธรรม มีพระเยซูเจ้าเป็นพระ มหาตุลาการเจ้ากระทรวง และกระทรวง กรุ ณ า มี แ ม่ พ ระเป็ น ผู ้ ส� ำ เร็ จ ราชการใน กระทรวงนี ้ ส�ำหรับบทภาวนาส�ำนวนปัจจุบนั มีท่านผู้ใหญ่ท่านหนึ่งบอกว่า หนึ่งในผู้ร่วม แต่งบทนี้คือพระสังฆราชยอด พิมพิสาร” (อ้ า งอิ ง ข้ อ มู ล จาก facebook ของ อาจารย์พุฒิพงศ์ พุฒตาลศรี อาจารย์วิชา ประวั ติ ศ าสตร์ พ ระศาสนจั ก ร วิ ท ยาลั ย แสงธรรม เข้ า ถึ ง เมื่ อ วั น ที่   19 สิ ง หาคม ค.ศ. 2018)


บทสรุป ความหมายของการสมโภชแม่พระ รับเกียรติเข้าสู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ กับชีวิตคริสตชน 1. พิธีกรรมในวันนี้เชิญชวนคริสตชน ให้คดิ ถึงศักดิศ์ รีอนั ยิง่ ใหญ่ทพี่ ระเจ้าประทาน แก่พระนางพรหมจารีมารียโ์ ดยให้พระนางได้ รับเกียรติเข้าสูส่ วรรค์ ในฐานะทีพ่ ระนางร่วม งานกอบกูก้ บั พระคริสตเจ้าอย่างใกล้ชดิ  พระ เยซูเจ้าทรงเป็นความสุขและเกียรติมงคลของ พระนางมารีย์และของพวกเราทุกคน เราจึง ด�ำเนินชีวิตตามพระกระแสเรียกที่เราได้รับ จากพระองค์อย่างดี ด้วยความเชื่อ ความ วางใจ และความรั ก ต่ อ พระองค์   เพื่ อว่ า สั ก วั น หนึ่ ง เราก็ จ ะได้ ก ลั บ คื น ชี พ และได้ รับเกียรติในสวรรค์เหมือนกับพระนางมารีย์ 2. แม่ พ ระเป็ น รู ป แบบของพระ ศาสนจักรและเป็นแบบฉบับของคริสตชน ทุกคนทีก่ ำ� ลังมุง่ หน้าไปรับศักดิศ์ รีและความ

รุ ่ ง เรื อ งในสวรรค์   บ้ า นเที่ ย งแท้ นิ รั น ดร ที่พระเจ้าทรงเตรียมไว้ให้เราแต่ละคนด้วย เราจึงต้องยึดแบบฉบับของแม่พระในการ ด� ำ เนิ น ชี วิตของเรา แบบฉบั บ ของแม่ พระ ที่ฟังพระวาจาของพระเจ้าและปฏิบัติตาม อยูเ่ สมอ แบบฉบับของพระนางในการปฏิบตั ิ ตามพระประสงค์ของพระเจ้า มีความพร้อม และปฏิบัติกิจการแห่งความรักต่อพระเจ้า และเพือ่ นมนุษย์อย่างสม�ำ่ เสมอ ความสุภาพ ความย�ำเกรงพระเจ้า ความวางใจในพระองค์ พระนางภาวนาสรรเสริญและขอบคุณพระเจ้า เสมอในชีวิตของพระนาง 3. เราเชื่ อและมั่ น ใจว่ า แม่ พระเป็ น พรหมจารี ผู ้ ป ฏิ ส นธิ นิ ร มล พระมารดา พระเจ้ า  และพระเจ้ า ทรงรั บ พระแม่ เ ข้ า สู่สวรรค์ทั้งกายและวิญญาณ เราจึงภาวนา ต่อพระแม่ ขอพระแม่โปรดภาวนาเพื่อเรา คนบาป บัดนี ้ และเมือ่ จะตายเทอญ อาแมน


แนะนำ�หนังสือ บาทหลวง ผศ.สมชัย  พิทยาพงศ์พร

ชื่อหนังสือ ผู้เขียน ผู้จัดพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก จ�ำนวนหน้า

ประมวลหลักค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร (Compendium of the social doctrine of the Church) (เล่ม1 ภาค1 เล่ม2 ภาค 2-3) สมณสภาว่าด้วยความยุติธรรมและสันติแห่งสันตะส�ำนัก แผนกยุติธรรมและสันติ คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อการพัฒนา ตุลาคม 2016/2559 เล่ม1 207 หน้า เล่ม2 393 หน้า

บาทหลวงสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี, อาจารย์สาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


ประมวลหลักคำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักร (เล่ม1 ภาค1 เล่ม2 ภาค 2-3)

ค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร เป็นการประยุกต์พระวาจาของพระเจ้ากับ ชี วิ ต ของประชาชนและชี วิ ต สั ง คม รวมทั้ ง ประยุกต์เข้ากับความเป็นจริงของโลกที่เกี่ยว กับชีวิตของประชาชน โดยเสนอหลักเกณฑ์ เพื่อพิจารณาไตร่ตรอง หลักเกณฑ์เพื่อการ วินิจฉัย ตลอดจนการแนะแนวในเชิงปฏิบัติ ที่มุ่งยังความประพฤติด้านศีลธรรม (สมเด็จ พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2,พระสมณสาสน์ความห่วงใยเรื่องสังคม ข้อ 8) คริสตชนตัง้ แต่สมัยแรกเริม่ ปฏิบตั ติ าม พระวรสารซึง่ ได้ให้แนวทางค�ำสอนด้านสังคม ต่อมาค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรได้ พัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 เมื่อพระวรสาร ต้องเผชิญหน้ากับสังคมอุตสาหกรรมสมัย ใหม่ที่มีโครงสร้างมุ่งผลิตผลเพื่อการบริโภค ซึง่ มีความคิดแบบใหม่เกีย่ วกับสังคม รัฐ และ อ� ำ นาจปกครอง รวมทั้ ง รู ป แบบใหม่ ข อง แรงงาน และการถือกรรมสิทธิ์ พัฒนาการ ความรู้ของพระศาสนจักรในเรื่องเศรษฐกิจ และสังคม เป็นพยานว่าค�ำสอนของพระศาสนจักร รวมทั้งความหมายแท้จริงของ ธรรมประเพณีนั้น ยังทรงคุณค่าถาวรและ ทันสมัยใช้ได้อยูเ่ สมอ (ค�ำสอนพระศาสนจักร คาทอลิก ข้อ 2421) สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงมอบหมายให้สมณสภาว่าด้วยความ ยุติธรรมและสันติแห่งสันตะส�ำนักรวบรวม “ประมวลหลั ก ค� ำ สอนด้ า นสั ง คมของ

107

พระศาสนจักร” “ในรูปแบบที่สมบูรณ์และ เป็นระบบ น�ำเสนอภาพรวมของเนือ้ หาสาระ ของค� ำ สอนด้ า นสั ง คมของพระศาสนจั ก ร อย่างครบถ้วน เพื่อช่วยแก้ปัญหาสังคมใน ยุคของเราอย่างเหมาะสม ด้วยความห่วงใย ต่อครอบครัวมนุษยชาติทงั้ มวล” เพือ่ ร่วมกัน แก้ ป ั ญ หาสั ง คมปั จ จุ บั น  สงคราม การใช้ ความรุนแรง ความยากจน ความไม่เท่าเทียม ทางเศรษฐกิ จ  ความอยุ ติ ธ รรม ปั ญ หา สิ่ ง แวดล้ อ ม ฯลฯ และช่ ว ยกั น เสริ ม สร้ า ง สังคมใหม่ทมี่ อี ารยธรรมแห่งความรักร่วมกัน ประมวลหลักค�ำสอนด้านสังคมของ พระศาสนจักรมีเนื้อหาประกอบด้วย ค�ำน�ำ เนื้อหา 3 ภาค ภาคแรก มิติทางเทววิทยา ภาคสอง เนื้ อ หาค� ำ สอนด้ า นสั ง คมของ พระศาสนจักร 7 บท 1. ครอบครัวเซลล์ ส�ำคัญของสังคม 2. การท�ำงานของมนุษย์ 3. ชีวติ เศรษฐกิจ 4. ประชาคมทางการเมือง 5. ประชาคมระหว่างประเทศ 6. การพิทกั ษ์ สิ่งแวดล้อม 7. การส่งเสริมสันติภาพ ภาค สาม การน� ำ ค� ำ สอนด้ า นสั ง คมของพระ ศาสนจักรสูภ่ าคปฏิบตั ใิ นงานอภิบาลและใน ชีวิตคริสตชน บทสรุป เพื่อสร้างอารยธรรม แห่งความรัก โดยมีเนือ้ หารายละเอียดโดยย่อ มีดังนี้ ค� ำ น� ำ  มนุ ษ ยนิ ย มครบทุ ก มิ ติ แ ละ ความเป็นปึกแผ่นเดียวกัน ก. ในวาระเริ่มต้นสหัสวรรษที่สาม พระศาสนจักรในฐานะประชาชนผู้เดินทาง


108 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 แสวงบุญได้รับการชี้น�ำจากพระคริสต์ผู้เป็น หนทาง ความจริงและชีวิต ผู้ทรงมอบความ รอดทัง้ ครบแก่มนุษย์ทกุ คน ความรอดในทุก มิ ติ ร วมทั้ ง ด้ า นสั ง คมด้ ว ย พระศาสนจั ก ร ประกาศข่ า วดี แ ห่ ง ความรั ก ของพระเจ้ า ความรักที่น�ำการเปลี่ยนแปลง สู่การกระท�ำ ร่วมกันเพื่อความดีแท้จริงของมนุษยชาติ ข. ความส�ำคัญของเอกสารนี ้ ค�ำสอน ด้ า นสั ง คมของพระศาสนจั ก รให้ ห ลั ก การ ไตร่ตรอง การพิจารณาแยกแยะ การวินจิ ฉัย และการตั ด สิ น ใจสู ่ แ นวทางปฏิ บั ติ เ พื่ อ แก้ปัญหาสังคมอย่างเหมาะสมเป็นรูปธรรม เท่าทันกับการเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็วของ สังคม เพื่อเสริมสร้างมนุษย์ใหม่และสังคม ใหม่   การประกาศข่ า วดี ใ หม่   ผู ้ อ ่ า นควร ตระหนักถึงอ�ำนาจการสัง่ สอนในระดับต่างๆ ด้วย เอกสารนี้เสนอให้สมาชิกทุกคนของ พระศาสนจั ก ร พระสั ง ฆราช พระสงฆ์ นักบวชชายหญิง และฆราวาส รวมทัง้ พีน่ อ้ ง คริสตชนต่างนิกาย ผู้นับถือศาสนาอื่น และ ผูม้ นี ำ�้ ใจดีทกุ คนทีอ่ ทุ ศิ ตนท�ำงานเพือ่ ความดี ส่วนรวมของมนุษย์ทั้งมวล ค. การท�ำงานเพือ่ สัจธรรมทีส่ มบูรณ์ เกี่ยวกับมนุษย์  พระเจ้าโดยทางพระบุตร แต่ อ งค์ เ ดี ย วผู ้ ท รงมาบั ง เกิ ด เป็ น มนุ ษ ย์ “ทรงถื อว่ า มนุ ษ ย์ เ ป็ น สหายของพระองค์ (ยน 15:14-15: อพย 33:11) และทรง ด�ำเนินอยู่ท่ามกลางพวกเขา”(บรค 3:38: ยน 1:14) มนุ ษ ย์ มี ก าย วิ ญ ญาณ หั ว ใจ

และมโนธรรม ความคิดอ่านและเจตจ�ำนง พระศาสนจักรท�ำพันธกิจที่ได้รับจากพระคริสต์เพื่อรับใช้มนุษย์ทุกคน พระศาสนจักร มุ่งให้ความจริงเรื่องสถานภาพของมนุษย์ ในธรรมชาติ แ ละในสั ง คม ทิ ศ ทางที่ ชี วิ ต มนุษย์ สังคม และประวัติศาสตร์ควรด�ำเนิน ไป เมื่ อ พบกั บ การท้ า ทายใหม่ ๆ  ความ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งธรรมชาติ   เทคโนโลยี ศีลธรรม ความหลากหลาย โลกาภิวตั น์ ฯลฯ ง. ในสัญญาณของความเป็นปึกแผ่น หนึ่งเดียว ความเคารพ และความรัก พระ ศาสนจักรเดินบนเส้นทางแห่งประวัตศิ าสตร์ ร่วมกับมนุษยชาติทั้งมวล พระศาสนจักร รั บ ใช้ โ ลกตามกระแสเรี ย กของตน เสวนา กั บ มนุ ษ ยชาติ ถึ ง ปั ญ หาต่ า งๆ โดยอาศั ย แสงสว่างแห่งพระวรสาร ภายใต้การทรงน�ำ ของพระจิตเจ้า อาศัยพระหรรษาทานของ พระเจ้า เพื่อร่วมเสริมสร้างมนุษย์ใหม่และ สั ง คมใหม่   บนพื้ น ฐานของศั ก ดิ์ ศ รี แ ละ เสรี ภ าพของมนุ ษ ย์   ให้ สั ง คมมี สั น ติ ภ าพ ความยุติธรรม ความรักและเป็นน�้ำหนึ่งใจ เดียวกัน ภาคที ่ 1 มิตทิ างเทววิทยามีความส�ำคัญต่อ การท�ำความเข้าใจ และการแก้ไขปัญหาของ มนุษยชาติในสังคมปัจจุบัน บทที่ 1 แผนการแห่งความรักของ พระเจ้าส�ำหรับมนุษยชาติ  (God’s Plan of Love for Humanity)


ประมวลหลักคำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักร (เล่ม1 ภาค1 เล่ม2 ภาค 2-3)

1. กิ จ การการไถ่ กู ้ ข องพระเจ้ า ใน ประวัติศาสตร์ของอิสราเอล ก. การประทั บ อยู ่ ข องพระเจ้ า เป็ น สิ่งประทานให้เปล่า ข.หลักค�ำสอนว่าด้วยการสร้างและ การกระท�ำโดยให้เปล่าของพระเจ้า 2. พระเยซูคริสต์ ผูท้ รงท�ำให้แผนการ แห่งความรักของพระบิดาเจ้าส�ำเร็จลุล่วง ก. เหตุการณ์สำ� คัญของประวัตศิ าสตร์ ของพระเจ้ากับมนุษยชาติสำ� เร็จลุลว่ ง ไปในพระคริสต์ ข. การเผยแสดงความรักของพระตรี เอกภาพ 3. มนุษย์ในแผนการแห่งความรักของ พระเจ้า ก. ความรักแบบพระตรีเอกภาพบ่อ เกิดและเป้าหมายของมนุษย์ ข. ความรอดของคริสตชนเพื่อมนุษย์ ทั้งปวงและมนุษย์แต่ละคนในทุกด้าน ค. ศิษย์พระคริสต์ในฐานะสิง่ สร้างใหม่ ง. ความเหนือธรรมชาติของความรอด และความเป็นอิสระของสิ่งสร้างใน โลก 4. แผนการของพระเจ้าและพันธกิจ ของพระศาสนจักร ก. พระศาสนจักรเป็นที่ประทับของ พระเจ้าท่ามกลางมนุษย์ทั้งชายและ หญิง

109

ข. พระศาสนจักร พระอาณาจักรของ พระเจ้า และการฟื้นฟูความสัมพันธ์ ทางสังคมขึ้นใหม่ ค. สวรรค์ใหม่และแผ่นดินใหม่ ง. พระนางมารีย์และ “การนอบน้อม ถ่อมตนยอมรับ” แผนการแห่งความ รักของพระเจ้า บทที่ 2 พันธกิจของพระศาสนจักร และค�ำสอนด้านสังคม (The Church’s Mission and Social Doctrine) 1. การประกาศพระวรสารและค�ำสอน ด้านสังคม ก. พระศาสนจักรเป็นที่ประทับของ พระเจ้าท่ามกลางมนุษย์ทั้งชายและ หญิง ข. สร้ า งความอุ ด มสมบู ร ณ์ แ ละแผ่ กระจายไปทั่วสังคมด้วยพระวรสาร ค. ค� ำ สอนด้ า นสั ง คม การประกาศ พระวรสาร และการส่งเสริมความเป็น มนุษย์ ง.สิทธิและหน้าที่ของพระศาสนจักร 2. ธรรมชาติของค�ำสอนด้านสังคม ของพระศาสนจักร ก. ความรู้ที่ได้รับแสงสว่างจากความ เชื่อ ข. ในการเสวนาฉันมิตรกับความรู้ทุก สาขา


110 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 ค. การแสดงออกของภารกิจการสั่ง สอนของพระศาสนจักร ง. ส� ำ หรั บ สั ง คมที่ คื น ดี กั น ในความ ยุติธรรมและความรัก จ. สารส� ำ หรั บ บุ ต รชายหญิ ง ของ พระศาสนจักรและมนุษยชาติ ฉ. ภายใต้เครื่องหมายของความต่อ เนื่องและการฟื้นฟูใหม่ 3 .   ค� ำ สอนด ้ า นสั ง คมของพระ ศาสนจั ก รในยุ ค ของเรา: บั น ทึ ก ทาง ประวัติศาสตร์ ก. จุดเริ่มต้นของหนทางใหม่ ข. จาก สมณสาสน์ “สิง่ ใหม่” มาสูย่ คุ สมัยของเรา ค. ด้วยแสงสว่างและแรงกระตุ้นของ พระวรสาร

ก. เอกภาพของบุคคล ข. การเปิดกว้างต่อภาวะเหนือธรรมชาติ และต่อคุณลักษณะเฉพาะของบุคคล (ก) การเปิดรับภาวะเหนือธรรมชาติ (ข) คุณลักษณะเฉพาะและไม่อาจท�ำ ซ�้ำได้ (ค) การเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์ ค. เสรีภาพของบุคคลมนุษย์ (ก) คุณค่าและข้อจ�ำกัดของเสรีภาพ (ข) ข้อผูกพันทีเ่ ชือ่ มเสรีภาพกับความ จริ ง และกฎธรรมชาติ ใ ห้ เ ป็ น หนี่ ง เดียวกัน ง. ศักดิศ์ รีทเ่ี ท่าเทียมกันของประชาชน ทุกคน จ. ธรรมชาติทางสังคมของมนุษย์ 4. สิทธิมนุษยชน ก. คุณค่าสิทธิมนุษยชน ข. รายละเอียดของสิทธิต่างๆ ค. สิทธิและหน้าที่ ง. สิทธิของประชาชนและประเทศชาติ จ. การเติ ม เต็ ม ช่ อ งว่ า งระหว่ า งตั ว อักษรและจิตตารมณ์

บทที่   3 มนุ ษ ย์ แ ละสิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน (The Human Person and Human Right) 1. ค�ำสอนด้านสังคม และหลักการ เกี่ยวกับตัวมนุษย์ 2. บุคคลมนุษย์เป็น “ภาพลักษณ์ของ พระเจ้า” ก. สิ่ ง สร้ า งตามภาพลั ก ษณ์ ข อง พระเจ้า ข. โศกนาฏกรรมของบาป ค. ลักษณะสากลของบาปและลักษณะ สากลของความรอด 3. มิติๆ ของมนุษย์

บทที่ 4 หลักการค�ำสอนด้านสังคม ของพระศาสนจั ก ร (Principles of the Church’s social doctrine) 1. ความหมายและความเป็นเอกภาพ (The principles of the dignity of the human person)


ประมวลหลักคำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักร (เล่ม1 ภาค1 เล่ม2 ภาค 2-3)

2. หลักการว่าด้วยความดีส่วนรวม (The principle of the common good) ก. ความหมายและความเกี่ยวข้องที่ ส�ำคัญ ข. ความรับผิดชอบของมนุษย์แต่ละ คนเพื่อความดีส่วนรวม ค. หน้าที่ของประชาคมทางการเมือง 3. จุดมุ่งหมายสากลของทรัพยากร (The universal destination of goods) ก. จุดเริ่มต้นและความหมาย ข. จุดมุ่งหมายสากลของทรัพยากร และกรรมสิทธิ์ส่วนตัว ค. จุดมุ่งหมายสากลของทรัพยากร และการเลือกอยู่เคียงข้างคนจน 4. หลักการว่าด้วยการอุดหนุนช่วย เหลือ (The principle of subsidiarity) ก. จุดเริ่มต้นและความหมาย ข. ตัวบ่งชี้ที่เป็นรูปธรรม 5. การมีส่วนร่วม (Participation in democracy) ก. ความหมายและคุณค่า ข. การมีส่วนร่วมและประชาธิปไตย 6. หลักการว่าด้วยการเป็นปึกแผ่น หนึ่งเดียวกัน (The principle of solidarity) ก. ความหมายและคุณค่า ข. การเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวกันคือ หลักการของสังคมและเป็นคุณธรรม ความดี

111

ค. การเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวกันและ การเจริญเติบโตร่วมกันของมนุษยชาติ ง. การเป็นปึกแผ่นหนึง่ เดียวกันในชีวติ และสารของพระเยซูคริสต์ 7. คุณค่าพื้นฐานของชีวิตทางสังคม ก. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักการและ คุณค่า ข. ความจริง ค. เสรีภาพ ง. ความยุติธรรม 8. วิถีแห่งความรักเมตตา

ภาคที่ 2 ค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักรเป็น เครื่ อ งมื อ ในการประกาศพระวรสาร ประกาศถึงพระเจ้า และธรรมล�้ำลึกแห่ง การไถ่กู้ในองค์พระคริสต์แก่มนุษย์ทุกคน เปิดเผยให้มนุษย์เข้าใจถึงสิทธิมนุษยชน สิทธิของผู้ใช้แรงงาน ครอบครัว การศึกษา หน้าที่ของรัฐ การจัดระเบียบสังคมทั้งใน และระหว่ า งประเทศ ชี วิ ต ทางเศรษฐกิ จ วัฒนธรรม สงคราม สันติภาพ สิง่ แวดล้อม การเคารพต่อชีวิตตั้งแต่ปฏิสนธิถึงการสิ้น สุดชีวิต เนื้อหาค�ำสอนด้านสังคมของพระ ศาสนจั ก ร 7 บทคื อ  1. ครอบครั ว เซลล์ ส�ำคัญของสังคม 2. การท�ำงานของมนุษย์ 3. ชีวติ เศรษฐกิจ 4. ประชาคมทางการเมือง 5. ประชาคมระหว่ า งประเทศ 6. การ พิทกั ษ์สงิ่ แวดล้อม 7. การส่งเสริมสันติภาพ


112 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 บทที่ 5 ครอบครัวเซลล์ส�ำคัญของ สังคม (The family,the vital cell of society) 1. ครอบครัว เป็นสังคมตามธรรมชาติ แห่งแรกของมนุษย์ ก. ความส�ำคัญของครอบครัวต่อตัว บุคคล ข. ความส�ำคัญของครอบครัวส�ำหรับ สังคม 2. การสมรสเป็นรากฐานของครอบครัว ก. คุณค่าของการสมรส ข. ศีลสมรส 3. ครอบครั ว ในฐานะผู ้ ก ระท� ำ ทาง สังคม ก. ความรักและการสร้างชุมชนของ บุคคล ข. ครอบครัวเป็นสถานทีศ่ กั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่ง ชีวิต ค. งานด้านการศึกษา ง. ศักดิ์ศรีและสิทธิของเด็ก 4. ครอบครัวในฐานะเป็นผูม้ สี ว่ นร่วม ในชีวิตทางสังคม ก. ความเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวกันใน ครอบครัว ข. ครอบครัวชีวิตทางเศรษฐกิจและ การท�ำงาน 5. สังคมเพื่อการรับใช้ครอบครัว

บทที ่ 6 การท�ำงานของมนุษย์ (Human work) 1. มุมมองด้านพระคัมภีร์ ก. หน้าที่ในการสร้างสรรค์และดูแล โลก ข. พระเยซูเจ้าคือมนุษย์ที่ท�ำงาน ค. หน้าที่ในการท�ำงาน 2. คุณค่าแห่งการเป็นประกาศกของ สมณสาสน์ สิ่งใหม่ว่าด้วยทุนและแรงงาน (Rorum Novarum) 3. ศักดิ์ศรีของการท�ำงาน ก. การท�ำงานในมิติเชิงตัวมนุษย์และ วัตถุประสงค์ ข. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานและทุน ค. การท�ำงานคือสิทธิของการมีส่วน ร่วม ง. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานและ ทรัพย์สินส่วนตัว 4. สิทธิในการท�ำงาน ก. การท�ำงานเป็นสิ่งจ�ำเป็น ข. บทบาทของรัฐและประชาสังคมใน การส่งเสริมสิทธิในการท�ำงาน ค. ครอบครั ว และสิ ท ธิ ใ นการมี ง าน ท�ำงาน ง. ผู้หญิงและสิทธิในการท�ำงาน จ. แรงงานเด็ก ฉ. การอพยพและการท�ำงาน ช. โลกของเกษตรกรรมและสิ ท ธิ ในการท�ำงาน


ประมวลหลักคำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักร (เล่ม1 ภาค1 เล่ม2 ภาค 2-3)

5. สิทธิของคนงาน ก. ศักดิ์ศรีของคนงานและการเคารพ สิทธิของพวกเขา ข. สิ ท ธิ ที่ จ ะได้ รั บ ค่ า จ้ า งและการ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ค. สิทธิในการนัดหยุดงาน 6. ความเป็ น ปึ ก แผ่ น หนึ่ ง เดี ย วกั น ระหว่างคนงาน ก. ความส�ำคัญของสหภาพแรงงาน ข. ความเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวกันรูป แบบใหม่ 7. “สิ่งใหม่”ของโลกแห่งการท�ำงาน ก. การเปลี่ ย นแปลงเพื่ อ ก้ า วไปสู ่ ศักราชใหม่ ข. ค�ำสอนด้านสังคม และ “สิ่งใหม่” บทที่ 7 ชีวิตเศรษฐกิจ (Economic Life) 1. มุมมองด้านพระคัมภีร์ ก. มนุษย์: ความยากจนและความมัง่ มี ข. ความมั่งมี มีไว้เพื่อแบ่งปัน 2. ศีลธรรมและเศรษฐกิจ 3. ความริเริ่มส่ว นบุคคลและความ ริเริ่มทางธุรกิจ ก. ธุรกิจและเป้าหมายของธุรกิจ ข. บทบาทของเจ้าของธุรกิจและการ บริหารจัดการ 4. สถาบันทางเศรษฐกิจ เพื่อรับใช้ มนุษย์

113

ก. บทบาทของตลาดเสรี ข. กิจกรรมของรัฐ ค. บทบาทขององค์กรกลาง (Intermediate bodies) ง. การออมและสินค้าบริโภค 5. “สิ่งใหม่ๆ” ในภาคเศรษฐกิจ ก. โลกาภิวตั น์: โอกาสและความเสีย่ ง ข. ระบบการเงินระหว่างประเทศ ค. บทบาทของประชาคมนานาชาติ ในยุคเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ ง. การพัฒนาการแบบบูรณาการใน การเป็นปึกแผ่นเดียวกัน จ. ความจ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ก ารอบรม สั่งสอนด้านการศึกษาและวัฒนธรรม มากขึ้น

บทที่   8 ประชาคมทางการเมื อ ง (The Political community) 1. มุมมองด้านพระคัมภีร์ ก. การปกครองของพระเจ้า ข. พระเยซูกบั ผูม้ อี ำ� นาจทางการเมือง ค. หมู่คณะคริสตชนเริ่มแรก 2. รากฐานและจุ ด มุ ่ ง หมายของ ประชาคมทางการเมือง ก. ประชาคมทางการเมื อ ง บุ ค คล มนุษย์และประชาชน ข. การปกป้องและการส่งเสริมสิทธิ มนุษยชน


114 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 ค. ชี วิ ต ทางสั ง คม ที่ มี พื้ น ฐานจาก มิตรภาพของพลเมือง 3. อ�ำนาจทางการเมือง ก. รากฐานของอ�ำนาจทางการเมือง ข. อ� ำ นาจในฐานะเป็ น พลั ง ทางศี ล ธรรม ค. สิ ท ธิ ใ นการคั ด ค้ า นโดยอาศั ย มโนธรรม ง. สิทธิในการต่อต้าน จ. การตัดสินลงโทษ 4. ระบอบประชาธิปไตย ก. คุณค่าและประชาธิปไตย ข. สถาบันต่างๆ และประชาธิปไตย ค. องค์ประกอบทางศีลธรรมของการ เป็นตัวแทนทางการเมือง ง. เครื่ อ งมื อ ส� ำ หรั บ การมี ส ่ ว นร่ ว ม ทางการเมือง จ. ข้อมูลข่าวสารและประชาธิปไตย 5. ประชาคมทางการเมือ งเพื่อ การ รับใช้ประชาสังคม ก. คุณค่าของประชาสังคม ข. ประชาสังคมเป็นความส�ำคัญล�ำดับ แรก ค. การใช้หลักการว่าด้วยการอุดหนุน ช่วยเหลือ 6. รัฐกับหมู่คณะทางศาสนา ก. เสรีภาพทางศาสนาเป็นสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน

ข. พระศาสนจักรคาทอลิกกับประชาคม ทางการเมือง (ก) ความเป็ น อิ ส ระและการไม่ ขึ้ น ต่อกัน (ข) การร่วมมือกัน บทที่ 9 ประชาคมระหว่างประเทศ (The International Community) 1. มุมมองด้านพระคัมภีร์ ก. เอกภาพของครอบครัวมนุษยชาติ ข. พระเยซูคริสต์แบบฉบับและรากฐาน ของมนุษยชาติใหม่ ค. กระแสเรียกสากลของศาสนาคริสต์ 2. กฎพื้นฐานของประชาคมระหว่าง ประเทศ ก. ประชาคมระหว่ า งประเทศและ คุณค่า ข. ความสัมพันธ์บนพืน้ ฐานของความ ประสานกลมกลื น ระหว่ า งระเบี ย บ ทางกฎหมายและศีลธรรม 3. องค์การประชาคมระหว่างประเทศ ก. คุณค่าขององค์การระหว่างประเทศ ข. สถานะทางกฎหมายของสั น ตะ ส�ำนัก 4. ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อ การพัฒนา ก. ความร่ ว มมื อ ในการสร้ า งหลั ก ประกันสิทธิในการพัฒนา ข. การต่อสู้กับความยากจน ค. หนี้สินระหว่างประเทศ


ประมวลหลักคำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักร (เล่ม1 ภาค1 เล่ม2 ภาค 2-3)

บทที่   10 การพิ ทั ก ษ์ สิ่ ง แวดล้ อ ม (Safeguarding The Environment) 1. มุมมองด้านพระคัมภีร์ 2. มนุ ษ ย์แ ละจักรวาลแห่งสิ่งสร้า ง ทั้งมวล 3. วิกฤติความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับสิ่งแวดล้อม 4. ความรับผิดชอบร่วมกัน ก. สิ่งแวดล้อมคือความผาสุขร่วมกัน ข. การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ ค. สิง่ แวดล้อมและการแบ่งปันผลผลิต ง. การใช้ชีวิตแบบใหม่ๆ บทที ่ 11 การส่งเสริมสันติภาพ (The Promotion of Peace) 1. มุมมองด้านพระคัมภีร์ 2. สันติภาพ: ผลแห่งความยุติธรรม และความรัก 3. ความล้ ม เหลวของสั น ติ ภ าพ: สงคราม ก. การป้องกันที่ชอบธรรม ข. การปกป้องสันติภาพ ค. หน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริสุทธิ์ ง.  มาตร การต่ อ ต้ า น ผู ้ คุ ก คาม สันติภาพ จ. การลดอาวุธ ฉ. การประณามลัทธิการก่อการร้าย 4. บทบาทสนับสนุนของพระศาสนจักรในด้านสันติภาพ

115

ภาคที่ 3 ส�ำหรับพระศาสนจักรค�ำสอนด้านสังคม มิใช่เป็นเพียงทฤษฎี แต่เป็นพื้นฐานและ แรงจูงใจเพื่อการปฏิบัติ บทที ่ 12 ค�ำสอนด้านสังคมและการ ท�ำงานของพระศาสนจักร (Social Doctrine and Ecclesial Action) 1. งานอภิบาลด้านสังคม ก. ค� ำ สอนด้ า นสั ง คมและการปรั บ ความเชื่อให้เข้ากับวัฒนธรรม ข. ค� ำ สอนด้ า นสั ง คมและกิ จ กรรม อภิบาลด้านสังคม ค. ค�ำสอนด้านสังคมและการอบรม ง. การส่งเสริมการเสวนา จ. กลุม่ เป้าหมายของงานอภิบาลด้าน สังคม 2. ค�ำสอนด้านสังคมและการอุทิศตน ของฆราวาสผู้มีความเชื่อ ก. ฆราวาสผู้มีความเชื่อ ข. ชีวิตจิตของฆราวาสผู้มีความเชื่อ ค. กระท�ำด้วยความสุขุมรอบครอบ ง. ค� ำ สอนด้ า นสั ง คมและองค์ ก ร ฆราวาส จ. งานรับใช้ช่วยเหลือในภาคต่างๆ ของชี วิ ต สั ง คม 1. การรั บ ใช้ บุ ค คล มนุษย์ 2. การรับใช้วฒ ั นธรรม 3. การ รับใช้เศรษฐกิจ 4. การรับใช้การเมือง


116 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 บทสรุ ป : เพื่ อ อารยธรรมแห่ ง ความรั ก (For A Civilization of Love) ก. ความช่วยเหลือที่พระศาสนจักร มอบให้แก่มนุษย์ในยุคสมัยใหม่ ข. เริ่มต้นจากความเชื่อในพระคริสต์ ความหวังมั่นคง ง. สร้าง “อารยธรรมแห่งความรัก” คริสตชนได้รับประการณ์ทางศาสนา คือ ประสบการณ์การพบปะกับพระเจ้าผ่าน ทางพระเยซูคริสต์ผู้สิ้นพระชนม์และกลับ คืนชีพ ผู้ทรงเปิดเผยพระเจ้าทรงเป็นองค์ ความรัก ความรักที่ให้เปล่า ก่อให้เกิดชีวิต ใหม่และวิถีชีวิตจิตใหม่แก่มนุษย์โดยเฉพาะ บรรดาศิษย์ของพระองค์ให้มี “จิตแห่งการ เป็นบุตรบุญธรรม” (รม 8:15) จิตแห่งการ เป็นพีน่ อ้ งกัน “ถ้าเรารักกัน พระเจ้าย่อมทรง ด�ำรงอยูใ่ นเรา ความรักของพระองค์ในเราจะ ก็จะสมบูรณ์”(1 ยน 4:11-12) มนุษย์ได้รบั การเรียกให้ค้นพบบ่อเกิดและเป้าหมายของ ชีวิตของตนและประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะ ประวัตศิ าสตร์แห่งความรอดพ้นทางพระเยซู คริสต์ เป็นความรอดส�ำหรับทุกคน ครบถ้วน ทุกมิติทั้งส่วนตัว กาย ใจ จิตวิญญาณ และ สังคม ศิษย์พระคริสต์ได้รับการเรียกอาศัย พระจิตเจ้าให้ผ่านรหัสธรรมปัสกาคือการ ตายและการกลับมีชวี ติ ใหม่ การเปลีย่ นแปลง การกลั บ ใจจากภายใน ตายต่ อ บาปและ ความโน้มเอียงในทางความชั่ว ด�ำเนินชีวิต ใหม่ แ ห่ ง ความรั ก  และมี ส ่ ว นร่ ว มในการ

เปลีย่ นแปลงทางสังคมร่วมกับพระศาสนจักร เป็นการรับใช้มนุษย์อย่างแท้จริง คริสตชนทุกคนโดยเฉพาะฆราวาสควร ได้รบั การอบรมให้เติบโตด้านชีวติ จิตคริสตชน อาศัยการหล่อเลี้ยงชีวิตจิตด้วย พระวาจา พิ ธี ก รรม การอธิ ษ ฐานภาวนาส่ ว นตั ว มีกระบวนการ 1. การไตร่ตรองและปรึกษา หาทางเลือกต่างๆ 2. ประเมินผล วิเคราะห์ และวินิจฉัยด้วยแสงสว่างแห่งพระวรสาร ตามแผนการของพระเจ้า 3. การตัดสินใจ เพื่อการปฏิบัติ ในขณะเดียวกันก็ได้รับการ อบรมให้ ด� ำ เนิ น ชี วิ ต ทางสั ง คมคื อ  ชี วิ ต ครอบครัว การงาน ความสัมพันธ์ดา้ นสังคม ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ชี วิ ต ส่ ว นรวมและ วัฒนธรรม เพราะฉะนั้น ค�ำสอนด้านสังคม ของพระศาสนจักรเป็นข้ออ้างอิงที่ขาดไม่ได้ ส�ำหรับการประกาศข่าวดีและการอภิบาล การเสวนา และส�ำหรับการอบรมคริสตชน อย่างสมบูรณ์ครบครัน โดยเฉพาะส�ำหรับ ฆราวาส พระสงฆ์ นักบวช และผู้เตรียมตัว เป็นพระสงฆ์และนักบวช เป้ า หมายค� ำ สอนด้ า นสั ง คมของ พระศาสนจั ก รคื อ การร่ ว มกั น เพื่ อ เสริ ม สร้าง “อารยธรรมแห่งความรัก” เริ่มต้นจาก ความเชื่อในพระคริสต์  มีความหวังมั่นคง และด�ำเนินชีวิตในความรักเมตตาต่อเพื่อน มนุ ษ ย์   และความรั ก ต่ อ พระเจ้ า  นั ก บุ ญ สมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 กล่ า วว่ า  “ค� ำ สอนด้ า นสั ง คมของพระ-


ประมวลหลักคำ�สอนด้านสังคมของพระศาสนจักร (เล่ม1 ภาค1 เล่ม2 ภาค 2-3)

ศาสนจั ก รมี ทั้ ง ของพระศาสนจั ก รสากล และพระศาสนจักรส่วนภูมิภาค และพระศาสนจักรท้องถิน่ ทีช่ แี้ นะให้เห็นสถานการณ์ และปัญหาใหม่ๆ รวมทั้งให้แนวทางปฏิบัติ เช่ น  ความยากจนและความด้ อ ยพั ฒ นา การแบ่ ง ปั น ที่ ข าดสมดุ ล ของปั จ จั ย ในการ ครองชีพ  การท�ำงานในสมัยปัจ จุบัน การ

117

พั ฒนาจนเกิ น เลยเกิ น ความต้ อ งการ จน กลายเป็ น อารยธรรมแห่ ง การบริ โ ภคหรื อ บริ โ ภคนิ ย ม ปั ญ หามลภาวะที่ ท� ำ ลาย สิ่ ง แวดล้ อ ม ปั ญ หานิ เ วศวิ ท ยา เป็ น ต้ น “การไม่รับรู้และช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ของสั ง คมปั จ จุ บั น  ก็ เ หมื อ นเศรษฐี ที่ ไ ม่ สนใจลาซารัส” (ลก 16: 19-31)


แนะนำ�หนังสือ บาทหลวง ผศ.สมชัย  พิทยาพงศ์พร

ชื่อหนังสือ ผู้เขียน ผู้จัดพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก จ�ำนวนหน้า

ค�ำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักร ค.ศ.1891-1991 เล่ม1 ก่อนสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ค.ศ.1891-1961 เล่ม 2 สังคายนาวาติกันที่ 2 ค.ศ.1962-1978 เล่ม 3 หลังสังคายนาวาติกันที่ 2 ค.ศ.1978-1991 เล่ม 4 ภาคอ้างอิง 10 บท 1. ศักดิ์ศรีของมนุษย์ 2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม 3. ความเป็นพี่น้อง 4. สิทธิมนุษยชน 5. ทรัพย์สิน 6. งาน 7. การพัฒนา 8. สันติภาพ 9. การเมือง 10. การประกาศพระวรสาร คุณพ่อสีลม ไชยเผือก การพิมพ์คาทอลิกประเทศไทย มิถุนายน 2002/2545 เล่ม1 155 หน้า, เล่ม 2 151 หน้า, เล่ม 3 177 หน้า, เล่ม 4 240 หน้า

บาทหลวงสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี, อาจารย์สาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม



แนะนำ�หนังสือ บาทหลวง ผศ.สมชัย  พิทยาพงศ์พร

ชื่อหนังสือ ผู้เขียน ส�ำนักพิมพ์ พิมพ์ครั้งแรก

DOCAT What to do? The Social Teaching of the Catholic Church Arnd kuppers & Peter Schallenberg, a Foreword by Pope Francis Ignatius press, San Francisco, USA&Youcat Foundation Germany & Asian Trading Corporation Bengaluru, India 2016

DOCAT Social doctrine of the Catholic Church DOCAT is an excellent source of information on social justice for young people, helping them to get to know and live the social doctrine of the Church. He is the great practical successor to YOUCAT, the very popular youth catechism based on the Catechism of the Catholic Church. บาทหลวงสังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี, อาจารย์สาขาวิชาเทววิทยา คณะศาสนศาสตร์ วิทยาลัยแสงธรรม


แนะนำ�หนังสือ “

บาทหลวง เชษฐา ไชยเดช

“สมณลิขิตเตือนใจ จงชื่นชมยินดีเถิด” GAUDETE ET EXSULTATE ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส เกี่ยวกับการเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน แปลโดย จัดพิมพ์โดย จ�ำนวน ปีที่พิมพ์

บาทหลวงภฤศ ทิพย์ทอง สื่อมวลชนคาทอลิกแห่งประเทศไทย 107 หน้า สิงหาคม 2561

สมเด็ จ พระสันตะปาปาฟรังซิสทรง ออกสมณลิ ขิ ต เตื อ นใจ จงชื่ น ชมยิ น ดี เ ถิ ด (GAUDETE ET EXSULTATE) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2018 และประกาศเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2018 โดยสมณลิขิตเตือนใจ ฉบั บ นี้ เ น้ น เรื่ อ ง “กระแสเรี ย กไปสู ่ ค วาม ศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน” กล่าวได้ว่าสมณลิขิตเตือนใจฉบับนี้มีพื้นฐานมาจากค�ำสอน ของสั ง คายนาวาติ กั น ครั้ ง ที่   2 ที่ ส อนเรา ว่ า  “สั ต บุ รุ ษ ผู ้ มี ค วามเชื่ อ ทุ ก คน... ไม่ ว ่ า ทุกคนจะอยูใ่ นฐานะและชนชัน้ ใด องค์พระ

ผู ้ เ ป็ น เจ้ า ได้ ท รงเรี ย กพวกเขาในหนทาง เฉพาะของแต่ ละคนไปสู ่ค วามศักดิ์ สิทธิ์ อันสมบูรณ์ ดังที่พระบิดาเจ้าทรงความดี บริบูรณ์” (LG 11) พระสั น ตะปาปาฟรั ง ซิ ส ทรงหวั ง ว่ า พระศาสนจักรจะมีการปฏิรูปภายใน และ การปฏิ รู ป ภายในต้ อ งเริ่ ม จากการเป็ น ผู ้ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   พระองค์ ท รงย�้ ำ ว่ า  “การเป็ น ผู้ศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้เรียกร้องให้เราต้องมาเป็น พระสังฆราช พระสงฆ์ หรือนักบวช เรามัก คิดผิดไปในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์นี้ว่าเป็น

บาทหลวงสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ, อาจารย์ประจ�ำสาขาวิชาคริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม


122 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 เฉพาะผูท้ ยี่ อมละทิง้ กิจการงานทัว่ ไป เพือ่ จะ ได้สวดภาวนามากขึ้น ซึ่งไม่ใช่เลยส�ำหรับ กรณี อ ย่ า งนี้   เราถู ก เรี ย กให้ ม าเป็ น ผู ้ ศักดิ์สิทธิ์โดยการด�ำเนินชีวิตของเราด้วย ความรั ก และการเป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานใน ทุ ก สิ่ ง ที่ เ รากระท� ำ  ในทุ ก ที่ ที่ เ ราค้ น พบ ตัวตนของเราเอง” (GE 14) สมณลิขิตเตือนใจ จงชื่นชมยินดีเถิดแบ่ง เนื้อหาดังนี้ บทที่   1 การเรี ย กให้ ไ ปสู ่ ค วาม ศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 3-34 บทที่ 2 สองศัตรูตัวฉกาจของความ ศักดิ์สิทธิ์ ข้อ 35-62 บทที่ 3 ในแสงสว่างของพระอาจารย์ เจ้า ข้อ 63-109 บทที่   4 เครื่ อ งหมายของความ ศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน ข้อ 110-157 บทที ่ 5 การต่อสูด้ า้ นชีวติ จิต การเฝ้า ระวัง และการรู้จักไตร่ตรองแยกแยะ 158177 บทที่   1 การเรียกให้ไปสู่ความศัก ดิ์สิทธิ์ ข้อ 3-34 พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงเน้นย�้ำว่า พระองค์ไม่ทรงต้องการจะให้สมณลิขิตฉบับ นี้ เ ป็ น เอกสารต� ำ ราเรื่ อ งความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ อธิบายถึงความความหมายและคุณลักษณะ ที่จะช่วยให้เข้าใจถึงเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ที่ ส� ำ คั ญ นี้   หรื อว่ า จะเป็ น ความคิ ด เห็ น ของ

วิธีการต่างๆ ที่จะท�ำให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ แต่พระองค์ทรงมีจุดมุ่งหมายเพียงเพื่อจะ น�ำเสนอแนวทางใหม่ของการเรียกให้ไปสู่ ความศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถปฏิบัติได้จริงใน ช่วงเวลาปัจจุบันของเรา ที่มีทั้งความเสี่ยง ความท้าทาย และโอกาสมากมาย ด้วยเหตุ ว่าพระเจ้าทรงเลือกสรรเราแต่ละคน “ให้ ศักดิ์สิทธิ์และปราศจากมลทินเฉพาะพระ พั ก ตร์ พ ระองค์ ด ้ ว ยความรั ก ” (อฟ 1:4) (GE 2) “เราทุ ก คนถู ก เรี ย กให้ ม าเป็ น ผู ้ ศักดิ์สิทธิ์โดยการด�ำเนินชีวิตของเราด้วย ความรั ก และการเป็ น ประจั ก ษ์ พ ยานใน ทุ ก สิ่ ง ที่ เ รากระท� ำ  ในทุ ก ที่ ที่ เ ราค้ น พบ ตัวตนของเราเอง” (GE 14) พระสันตะปาปา ทรงน� ำ เราไตร่ ต รองถึ ง ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ที่ เรียบง่ายแต่ลึกซึ้งซึ่งอยู่ในความอดทนของ ประชากรของพระเจ้า ในบรรดาบิดามารดา ที่ เ ลี้ ย งดู ลู ก ของพวกเขาด้ ว ยความรั ก อั น ยิ่งใหญ่ ในบรรดาชายหนุ่มและหญิงสาวที่ ตรากตร� ำ ท� ำ งานอย่ า งหนั ก เพื่ อ เลี้ ย งดู ครอบครัวของพวกเขา ในบรรดาคนเจ็บป่วย และในบรรดานั ก บวชวั ย ชราผู ้ ท่ี ไ ม่ เ คยจะ สูญเสียรอยยิ้มเลย ในความมานะพากเพียร ของพวกเขาในชีวิตประจ�ำวัน บ่อยครั้งเรา พบความศักดิ์สิทธิ์ในบรรดาเพื่อนข้างบ้าน เรา บรรดาผู้ที่มีชีวิตอยู่ท่ามกลางเราโดย แสดงให้เห็นถึงการประทับอยู่ขององค์พระ ผู ้ เ ป็ น เจ้ า  เราสามารถเรี ย กคนเหล่ า นั้ น ว่า “ชนชั้นกลางของความศักดิ์สิทธิ์” (เทียบ


“สมณลิขิตเตือนใจ จงชื่นชมยินดีเถิด” GAUDETE ET EXSULTATE ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเกี่ยวกับการเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน

GE 7) ความศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นสิ่งที่องค์พระผู้ เป็นเจ้าได้ทรงเรียกเราให้เพิ่มพูนขึ้นผ่าน ทางการกระท�ำเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ผูห้ ญิง คนหนึ่งไปซื้อของ เธอพบเพื่อนบ้านของเธอ และทั้งสองเริ่มสนทนากันและการนินทาก็ เริม่ ขึน้  เธอได้พดู ในใจว่า “ไม่เด็ดขาด ฉันจะ ไม่พูดเรื่องไม่ดีของคนอื่น” นี่คืออีกก้าวหนึ่ง ที่น�ำไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ หลังจากนั้นที่บ้าน ลูกของเธอคนหนึ่งต้องการพูดกับเธอเกี่ยว กับความหวังและความฝันของเขา ถึงแม้ว่า เธอจะเหนือ่ ยก็ตามเธอนัง่ และฟังลูกของเธอ ด้วยความตั้งใจและความรัก นี่ก็เป็นความ เสียสละทีน่ ำ� ไปสูค่ วามศักดิส์ ทิ ธิ ์ หลังจากนัน้ เธอรูส้ กึ ว้าวุน่ กังวลในใจแต่เธอได้นกึ ถึงความ รักต่อพระนางมารีย์พรหมจารี เธอจึงหยิบ สายประค�ำขึ้นมาสวดด้วยความเชื่อ นี่ก็เป็น หนทางสู่ความศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาหลังจากนั้น เธอจากบ้ า นเดิ น ไปตามบนถนนพบกั บ คนยากจนและหยุดพูดคุยกับเขาด้วยค�ำพูด ที่ อ ่ อ นโยน นี่ ก็ เ ป็ น อี ก หนึ่ ง ก้ า วสู ่ ค วาม ศักดิ์สิทธิ์ (GE 16) คริสตชนต้องตระหนักว่าพันธกิจที่ พระเจ้าทรงมอบหมายให้แก่พวกเขาบนโลก นี้เป็นหนทางแห่งความศักดิ์สิทธิ์  เพราะ “นี่คือพระประสงค์ของพระเจ้า คือให้ท่าน เป็น ผู้ศักดิ์สิทธิ์” (1 ธส 4:3) นักบุญแต่ละ องค์คอื พันธกิจทีพ่ ระบิดาเจ้าทรงวางแผนไว้ สะท้ อ นและรวบรวม ณ ช่ ว งเวลาเฉพาะ

123

เจาะจงในประวัติศาสตร์ที่ได้แสดงให้เห็น บางแง่มุมของพระวรสาร (เทียบ GE 19) เราไม่ ค วรมองการมุ ่ ง สู ่ ค วาม ศักดิ์สิทธิ์ว่าเป็นความสมบูรณ์แบบ (เทียบ GE 22) แต่บรรดาประจักษ์พยานแห่งความ ศักดิ์สิทธิ์สอนเราด้วยชีวิตของท่านว่า “ชีวิต ของพวกท่านอาจจะไม่ดสี มบูรณ์พร้อม แต่ ท่ามกลางความผิดพลาดและล้มเหลวทีเ่ กิด ขึน้  พวกท่านเหล่านัน้ ยังคงมุง่ เดินหน้าและ ด�ำเนินชีวิตเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าเสมอ มา” (เทียบ GE 3) ความศักดิส์ ทิ ธิค์ อื  โฉมหน้าทีม่ เี สน่ห์ และน่าสนใจทีส่ ดุ ของพระศาสนจักร แม้แต่ ภายนอกพระศาสนจักรคาทอลิกและใน สภาพสังคมที่หลายหลาก (เทียบ GE 9) พระสันตะปาปาทรงสรุปบททีห่ นึง่ ของ สมณลิขิตเตือนใจนี้ว่า “จงอย่ากลัวที่จะยก สายตาของเราให้สูงขึ้น พร้อมกับเปิดตนเอง ให้พระเจ้าทรงรักเรา และทรงปลดปล่อยตัว ตนที่แท้จริงของเราออกมา จงอย่ากลัวที่จะ ให้พระจิตเจ้าทรงน�ำทางชีวิตของเรา ความ ศักดิ์สิทธิ์นั้นไม่ได้ท�ำให้เราเป็นมนุษย์น้อย ลงเลย แต่นนั่ เป็นการเผชิญหน้ากันระหว่าง ความอ่อนแอของเรา และพระหรรษทาน อันทรงพลังของพระเจ้า ดังกับค�ำกล่าวของ รียอง โบลย์ ได้กล่าวเมื่อทุกสิ่งได้จบลงว่า “ความเสียใจครัง้ ยิง่ ใหญ่ทสี่ ดุ ในชีวติ คือไม่ได้ เป็นนักบุญ” (GE 34)


124 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 บทที่   2 สองศั ต รู ตั ว ฉกาจของความ ศักดิ์สิทธิ์ข้อ 35-62 ในบททีส่ องพระสันตะปาปาทรงกล่าว ถึงรูปแบบชีวิตสองประการที่ถือได้ว่าเป็น ศั ต รู ตั ว ฉกาจของความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   มั น เป็ น ความศักดิ์สิทธิ์จอมปลอม และสามารถน�ำ เราหลงผิ ด ได้   นั่ น คื อ  แนวความคิ ด แบบ นอสติกนิยม (Gnosticism) และเพลาเจียน นิยม (Pelagianism) (GE 35) แนวความคิ ด แบบนอสติ ก นิ ย ม (Gnosticism) สอนว่าความคิด ความเข้าใจ ถึ ง ข้ อ ความเชื่ อ อั น สลั บ ซั บ ซ้ อ น และ กระบวนการรูท้ ำ� ให้ศกั ดิส์ ทิ ธิ ์ พวกเขามองว่า ความรู้เป็นสิ่งที่ส�ำคัญมากที่สุด แต่พระสันตะปาปาทรงสอนว่า “เรา ต้ อ งขอบคุ ณ พระเจ้ า  ที่ ต ลอดเวลามานี้ พระศาสนจักรมีค�ำสอนเรื่องความสมบูรณ์ แบบส�ำหรับมนุษย์วา่  ความสมบูรณ์แบบไม่ ได้วดั กันด้วยองค์ความรูห้ รือการครอบครอง ข้อมูล หากแต่เป็นเรื่องของกิจเมตตา ที่จะ มีได้ในแต่ละบุคคล” (GE 37) “เป็นการยากทีม่ นุษย์จะสามารถเข้าใจ ถึงพระสัจธรรมที่องค์พระเจ้ามอบให้แก่เรา ได้อย่างถ่องแท้ และเป็นการยากยิง่ กว่าทีเ่ รา จะสามารถอธิบายพระสัจธรรมเหล่านี้ได้ ชัดเจน ดังนัน้  เราจึงไม่สามารถอ้างได้เลยว่า ฉันเข้าใจในความจริงทุกข้อ และอนุญาตให้ ฉันใช้อิทธิพลหรือบังคับคนอื่นๆ ให้อยู่ใน ความเคร่งครัดได้ แม้แต่ในพระศาสนาเอง ก็มีผู้พยายามอธิบายข้อความเชื่อและความ

หมายของชีวติ คริสตชนในหลายแง่มมุ  แม้จะ มีความหลากหลายแต่ค�ำสอนเหล่านั้นก็ได้ รับการรับรองว่าถูกต้องเช่นเดียวกัน ในความ หลากหลายนี้เอง “มีส่วนช่วยในการแสดง อธิบายถึงความร�่ำรวยมั่งคั่งของพระวาจา ของพระเจ้า” และ “หากใครที่มัวแสวงหา ความเชื่อแต่เพียงด้านเดียว และพยายาม ป้องกันตนเองจากความรู้ที่สามารถเพิ่มเติม ได้  ย่อมไม่เป็นที่ต้องการและยิ่งท�ำให้เรา สับสน” (GE 43) พระสั น ตะปาปาทรงยกตั ว อย่ า งใน ชีวิตของนักบุญสองท่านคือ นักบุญฟรังซิส แห่งอัสซีซี และนักบุญบอนาเวนตูราว่า ครั้ง หนึ่งนักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีเห็นสานุศิษย์ ของท่านต้องไปท�ำงานเกีย่ วข้องกับการเรียน การสอนเทววิทยา ท่านจึงพยายามเตือน พวกเขาไม่ให้ตกสู่การประจญในวิถีทางแห่ง นอสติกนิยม ท่านเขียนจดหมายถึงนักบุญ อันตนแห่งปาดัวไว้ดังนี้ “ข้าพเจ้ามีความ ยินดีอย่างยิง่ ทีท่ า่ นได้สอนวิชาเทววิทยาอัน เป็นศาสตร์อนั ศักดิส์ ทิ ธิใ์ ห้กบั บรรดาภราดา เห็นได้ว่า ท่านไม่ได้ละเลยการสวดภาวนา และกิจศรัทธาในระหว่างการเรียนรู้และ สอนหลักเทววิทยาเหล่านั้น” ท่านนักบุญ ฟรังซิสได้ย�้ำถึงการประจญที่สามารถหันเห ประสบการณ์ของชีวิตคริสตชนให้กลายเป็น เพียงการฝึกฝนด้านสติปัญญา ซึ่งจะน�ำเรา ออกห่างจากพระวรสารที่เป็นเนื้อเป็นหนัง และเป็นรูปธรรมนั่นเอง


“สมณลิขิตเตือนใจ จงชื่นชมยินดีเถิด” GAUDETE ET EXSULTATE ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเกี่ยวกับการเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน

นักบุญโบนาเวนตูราอธิบายว่าปรีชาญาณของคริสตชนไม่สามารถแบ่งแยกไป จากความเมตตาต่อเพือ่ นบ้านได้เลย “ปรีชาญาณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นไปได้ที่สุด คือ การแบ่งปันอย่างผลิดอกออกผลในสิ่งที่เรา ครอบครอง... ความเมตตาเป็ น เพื่ อ นของ ปรีชาญาณ ส่วนความละโมบกลับเป็นศัตรู ตัวฉกาจ” “ยังมีกิจการอีกหลายประการที่ เป็นหนึ่งเดียวกันกับการสวดภาวนา มิได้ขัด แย้งกัน แต่กลับเสริมสร้างกันและกัน อาทิ งานด้านเมตตาจิตและกิจศรัทธา” (เทียบ GE 46) แนวความคิดแบบเพลาเจียนนิยม  (Pelagianism) สอนว่าความศักดิ์สิทธิ์มา จากผลของการกระท�ำของมนุษย์  คือ การ ออกแรงทุม่ เทในการด�ำเนินชีวติ ของพวกเขา อย่างเต็มที่ และไม่เกี่ยวข้องกับพระหรรษทานของพระเจ้า ในเรื่องนี้พระสันตะปาปาทรงเน้นย�้ำ ว่า “พระศาสนจักรสอนเราอยูเ่ สมอว่า การ ด�ำเนินชีวิตอย่างถูกต้องไม่ใช่เป็นเรื่องของ ผลงานหรือความพยายามของมนุษย์เอง หากแต่ โ ดยอาศั ย พระหรรษทานของ พระเจ้า เป็นพระองค์ผู้ทรงริเริ่มในชีวิตเรา อยูเ่ สมอ บรรดาปิตาจารย์ของพระศาสนจักร แม้สมัยก่อนท่านนักบุญออกัสติน ท่านเหล่า นั้นอธิบายอย่างชัดแจ้งในความเชื่อพื้นฐาน ข้ อ นี้   นั ก บุ ญ ยอห์ น คริ ส โซสโตมกล่ า วว่ า “พระเจ้าทรงโปรยปรายพระพรให้เราอย่าง อุดมก่อนที่เราเข้าสู่สมรภูมิ” (GE 52)

125

บทที่ 3 ในแสงสว่างของพระอาจารย์เจ้า ข้อ 63-109 พระสั น ตะปาปาทรงสอนเราว่ า  มี ทฤษฎีมากมายที่น�ำเสนอว่าอะไรคือความ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   แต่ ไม่ มี ท ฤษฎี ใ ดๆ จะให้ ค วาม กระจ่างเท่ากับพระธรรมค�ำสอนของพระเยซู เจ้า และการเข้าใจถึงวิถีทางของพระองค์ใน การสั่งสอนเรื่องความจริง พระเยซูเจ้าทรง อธิบายอย่างธรรมดาที่สุดถึงความหมาย ของค�ำว่าศักดิ์สิทธิ์เมื่อพระองค์ตรัสสอน เรื่อง ความสุขแท้ 8 ประการ (เทียบ มธ 5:3-12; ลก 6:20-23) สิ่งนี้เปรียบเหมือน บัตรประจ�ำตัวประชาชนของคริสตชน ถ้ามี ใครถามว่า “ควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อเป็น คริสตชนที่ดี” ค�ำตอบนั้นย่อมชัดเจน เรา ควรจะปฏิบตั ติ นตามทีพ่ ระเยซูเจ้าทรงสอน เราในบนเทศน์บนภูเขา (เทียบ GE 63) ค�ำว่า “เป็นบุญ” หรือ “ความสุข” นี้ กลายเป็ น ค� ำ ที่ มี ค วามหมายเหมื อ นค� ำ ว่ า “ศักดิส์ ทิ ธิ”์  ซึง่ แสดงว่าผูท้ ซี่ อื่ สัตย์ตอ่ พระเจ้า และพระวาจาของพระองค์โดยการอุทิศตน ของพวกเขาเองจะได้รับความสุขที่แท้จริง (เทียบ GE 64) พระสันตะปาปาทรงอธิบายความสุข แท้ 8 ประการตามค�ำสอนของพระเยซูเจ้า ดังนี้ “ผู ้ มี ใ จยากจนย่ อ มเป็ น สุ ข  เพราะ อาณาจักรสวรรค์เป็นของเขา” พระวรสารได้ เชือ้ เชิญเราให้เพ่งมองเข้าไปยังก้นบึง้ ในหัวใจ ของเรา ให้เรามองไปในที่ที่เราสามารถพบ


126 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 ความปลอดภัยในชีวติ  (GE 67) ทรัพย์สมบัติ ไม่ได้สร้างความมัน่ ใจอะไรเลย แท้ทจี่ ริงแล้ว เมือ่ เราคิดว่าเราเป็นคนร�ำ่ รวย เราสามารถที่ กลายเป็นคนที่คิดถึงแต่ตนเอง จนไม่มีพื้นที่ ให้ กั บ พระวาจาของพระเจ้ า เลย ส� ำ หรั บ ความรักต่อเพือ่ นพีน่ อ้ งชายหญิงของเรา หรือ ส�ำหรับความชื่นชมสิ่งส�ำคัญที่สุดของชีวิต ในหนทางนี้ท�ำให้เราลืมนึกถึงทรัพย์สมบัติ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดกว่าสิ่งอื่นใด และนี่จึงท�ำให้ พระเยซูเจ้าตรัสว่าเป็นบุญของผู้ที่มีจิตใจ ยากจน ผู้ที่มีหัวใจที่ยากจน เพราะว่าองค์ พระผู้เป็นเจ้าสามารถเข้ามาประทับด้วย ความใหม่เอี่ยมอันถาวรของพระองค์ (GE 68) ความยากจนฝ่ายจิตใจนี้ได้เชื่อมโยง อย่างใกล้ชิดกับสิ่งที่นักบุญอิกญาซีโอแห่ง โลโยลาได้กล่าวว่า “การไม่ยดึ ติดอันศักดิส์ ทิ ธิ”์ ซึ่งท�ำให้เรามีความอิสระภายในที่เปี่ยมสุข (เทียบ GE 69) พระสันตะปาปาทรงสรุปว่า เป็นผู้มี จิตใจยากจน นั่นคือความศักดิ์สิทธิ์ “ผู้มีใจอ่อนโยนย่อมเป็นสุข เพราะ เขาจะได้รับแผ่นดินเป็นมรดก” พระคริสต เจ้าตรัสว่า “มาเป็นศิษย์ของเรา เพราะเรามี ใจสุภาพอ่อนโยนและถ่อมตน จิตใจของท่าน จะได้รับการพักผ่อน” (มธ 11:29) นักบุญ เทเรซาแห่ ง พระกุ ม ารเยซู ไ ด้ ก ล่ า วกั บ เรา ว่า “เมตตากิจที่สมบูรณ์แบบประกอบไป ด้วยการแสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดของ ผู ้ อื่ น  และไม่ ไ ด้ ท� ำ ให้ ผู ้ อื่ น ได้ รั บ ความ

อั บ อายด้ ว ยความผิ ด พลาดนั้ น ” นั ก บุ ญ เปาโลบอกว่า ความอ่อนโยนคือผลหนึ่งของ พระจิตเจ้า โดยแนะน�ำว่า “ถ้าพี่น้องชาย หญิงคนใดคนหนึ่งกระท�ำความผิดรบกวน เรา จงตักเตือนแก้ไขเขาด้วยความอ่อนโยน  เนือ่ งจากเราเองก็อาจถูกทดลองด้วย” (กท  6,1) (เทียบ GE 73) บางคนอาจค้านว่า “ถ้าฉันอ่อนโยน พวกเขาจะคิดว่าฉันปัญญาอ่อน โง่เง่า หรือ ใจอ่ อ น” บางครั้ ง อาจเป็ น เช่ น นั้ น  ก็ ต ้ อ ง ยอมรั บ  แต่ อ ่ อ นโยนไว้ ก ่ อ นดี ก ว่ า อย่ า ง แน่นอน เพราะพระเจ้าทรงตรัสว่า “นี่คือผู้ ที่เราจะมองเขา ผู้ที่ถ่อมตนและมีใจส�ำนึก ผิดและฟังค�ำพูดของเราด้วยความย�ำเกรง” (อสย 66:2) (เทียบ GE 74) พระสั น ตะปาปาทรงสรุ ป ว่ า  แสดง ออกด้วยความอ่อนน้อมและถ่อมตน นั่น คือความศักดิ์สิทธิ์ “ผู ้ เ ป็ น ทุ ก ข์ โ ศกเศร้ า ย่ อ มเป็ น สุ ข เพราะเขาจะได้รับการปลอบโยน” โลกได้ กล่ า วตรงกั น ข้ า มกั บ ค� ำ สอนนี้ อ ย่ า ง สิน้ เชิง ไม่วา่ จะเป็นความบันเทิงเริงใจ ความ สนุ ก สนานรื่ น เริ ง  ความเพลิ ด เพลิ น  และ การหลีกหนีความทุกข์จะท�ำให้มชี วี ติ ทีด่  ี โลก ไม่มคี วามปรารถนาทีจ่ ะต้องเศร้าโศก โดยจะ ละเลยไม่ ส นใจต่ อ สถานการณ์ ที่ เ จ็ บ ปวด พยายามที่จะปกปิดซุกซ่อนสิ่งเหล่านั้นไว้ (เทียบ GE 75)


“สมณลิขิตเตือนใจ จงชื่นชมยินดีเถิด” GAUDETE ET EXSULTATE ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเกี่ยวกับการเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน

ใครเห็นสิง่ ทัง้ หลายตามความเป็นจริง และเห็นอกเห็นใจความทุกข์โศกเศร้าได้ ย่อมสามารถหยัง่ รูค้ วามล�ำ้ ลึกของชีวติ  และ พบความสุ ข แท้ จ ริ ง ได้   เขาจะได้ รั บ การ ปลอบโยน มิใช่จากโลก แต่จากพระเยซู คริสต์ คนเช่นนัน้ จะไม่หวัน่ เกรงการร่วมทุกข์ กับผู้อื่น เขาจะไม่หลบเลี่ยงสถานการณ์ยาก ล�ำบาก เขาจะค้นพบความหมายของชีวิต ด้วยการช่วยเหลือผู้ทุกข์ยาก เข้าใจความ ระทมทุกข์ของเขา และหยิบยืน่ ความบรรเทา ให้   รู ้ สึ ก เวทนาสงสารผู ้ อื่ น โดยปราศจาก ความห่างเหิน ด้วยหนทางนีพ้ วกเขาสามารถ โอบรั บ ค� ำ เตื อ นใจของนั ก บุ ญ เปาโลที่ ว ่ า “ร้องไห้ไปกับผูท้ รี่ อ้ งไห้” (รม 12:15) (เทียบ GE 76) พระสันตะปาปาทรงสรุปว่า รู้จักที่จะ ร้ อ งไห้ เ สี ย ใจไปกั บ ผู ้ อื่ น  นั่ น คื อ ความ ศักดิ์สิทธิ์ “ผู้หิวกระหายความชอบธรรม ย่อม เป็นสุข เพราะเขาจะอิ่ม” ความยุติธรรม ที่แท้จริงนั้นเกิดขึ้นในชีวิตของผู้คนได้ เมื่อ พวกเขาเองมีความถูกต้องเทีย่ งธรรมในการ ตัดสินใจ เป็นการแสดงออกในการยืนหยัด เพื่ อ ความยุ ติ ธ รรมเพื่ อ คนยากจนและ คนอ่ อ นแอ “จงเรียนรู้ที่จ ะท�ำความดี  จง แสวงหาความยุ ติ ธ รรม จงช่ ว ยเหลื อ ผู ้ ถู ก ข่มเหง จงให้ความเป็นธรรมแก่ลูกก�ำพร้า จงปกป้องสิทธิของหญิงม่าย” (อสย 1:17) (GE 79)

127

พระสันตะปาปาทรงสรุปว่า มีความ หิ ว และกระหายหาความถู ก ต้ อ ง นั่ น คื อ ความศักดิ์สิทธิ์ “ผู้มีใจเมตตาย่อมเป็นสุข เพราะเขา จะได้รบั พระเมตตา” ความเมตตามีสองมุม มอง คือ มุมมองของการให้ การช่วยเหลือ และการบริการรับใช้ผู้อื่น และมุมมองของ การให้ อ ภั ย และความเข้ า ใจด้ ว ย (เที ย บ GE 80) การให้และการอภัยหมายถึงการถอด แบบในชีวิตเราในขนาดย่อมๆ จากความ สมบูรณ์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทั้งทรงให้ และทรงอภั ย อย่ า งเหลื อ ล้ น  ด้ ว ยเหตุ นี้ ในพระวรสารของนักบุญลูกาจึงไม่มีค�ำว่า “จงเป็นคนดีอย่างสมบูรณ์” (มธ 5:48) แต่ มีค�ำว่า “จงเป็นผู้เมตตากรุณา” ดังที่พระ บิดาของท่านทรงพระเมตตากรุณาเถิด อย่า ตัดสินเขาแล้วพระเจ้าจะไม่ทรงตัดสินท่าน อย่ากล่าวโทษเขา แล้วพระเจ้าจะไม่ทรง กล่าวโทษท่าน จงให้อภัยเขาแล้วพระเจ้าจะ ทรงให้อภัยท่าน ท่านใช้ทะนานใดตวงให้เขา พระเจ้าก็จะทรงใช้ทะนานนั้นตวงตอบแทน ให้ท่านด้วย” (ลก 6:36-38) (GE 81) พระเยซูเจ้าไม่ตรัสว่า “เป็นบุญของ ผูท้ วี่ างแผนการแก้แค้น” พระองค์ทรงเรียก ว่า “ผูม้ บี ญ ุ ” ส�ำหรับผูท้ อี่ ภัยและให้อภัยถึง “เจ็ดคูณเจ็ดสิบครัง้ ” (มธ 18:22) (GE 82)


128 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 พระสันตะปาปาทรงสรุปว่า มองเห็น และแสดงออกด้ ว ยความเมตตา นั่ น คื อ ความศักดิ์สิทธิ์ “ผูม้ ใี จบริสทุ ธิย์ อ่ มเป็นสุข เพราะเขา จะได้เห็นพระเจ้า” ความสุขแท้ประการนี้ กล่ า วถึ ง บรรดาผู ้ ที่ มี ด วงใจที่ ไ ม่ ซั บ ซ้ อ น ใสซื่ อ บริ สุ ท ธิ์   และปราศจากมลทิ น ใดๆ เพราะดวงใจที่สามารถจะรักได้นั้น ไม่มี อะไรที่มาท�ำร้าย มาสั่นคลอน หรือมาท�ำ อั น ตรายความรั ก นั้ น ได้ เ ลย พระคั ม ภี ร ์ ใช้ดวงใจมาอธิบายถึงความตั้งใจที่แท้จริง เป็นสิ่งที่เราแสวงหาและปรารถนาถึง นอก เหนือจากรูปร่างหน้าตาทัง้ หมด “มนุษย์มอง แต่รูปร่างภายนอก แต่พระยาห์เวห์ทรงมอง จิตใจ” (1 ซมอ 16:7) (GE 83) “จงเอาใจใส่รักษาใจของลูกไว้เพราะ บ่อเกิดของชีวิตอยู่ที่ใจ” (สภษ 4:23) (GE 84) ส�ำหรับความสุขแท้ประการนี้เตือนให้ เราเห็นว่าพระเจ้าทรงคาดหวังถึงความตัง้ ใจ ของเราต่อเพื่อนพี่น้องชายหญิงที่ออกมา จากใจ เพราะ “แม้ ข ้ า พเจ้ า จะแจกจ่ า ย ทรัพย์สินทั้งปวงให้แก่คนยากจน หรือยอม มอบตนเองให้น�ำไปเผาไฟเสีย ถ้าไม่มีความ รั ก  ข้ า พเจ้ า ก็ มิ ไ ด้ รั บ ประโยชน์ ใ ด” (1คร 13:3) (GE 85) ดวงใจที่ มี ค วามรั ก ต่ อ พระเจ้ า และ เพื่ อ นพี่ น ้ อ ง (เที ย บ มธ 22:36-40) แสดงออกอย่างแท้จริงและไม่เพียงค�ำพูด เท่านัน้  นัน่ คือดวงใจทีบ่ ริสทุ ธิ ์ สามารถมอง เห็นพระเจ้าได้ (GE 86)

พระสั น ตะปาปาทรงสรุ ป ว่ า  รั ก ษา ดวงใจให้เป็นอิสระจากสิง่ ทัง้ หลายทีท่ ำ� ลาย ความรั ก ให้ เ ปื ้ อ นหมอง นั่ น คื อ ความ ศักดิ์สิทธิ์ “ผู้สร้างสันติย่อมเป็นสุข เพราะเขา จะได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น บุ ต รของพระเจ้ า ” พระ สันตะปาปาทรงสอนว่า โลกแห่งการซุบซิบ นิ น ทาซึ่ ง เป็ น ที่ อ าศั ย ของคนที่ ม องโลกใน แง่ลบและผู้ที่ชอบท�ำลายล้าง ไม่มีวันสงบ สันติได้เลย ผู้คนเหล่านี้เป็นศัตรูของสันติสุข อย่างแท้จริง พวกเขาไม่มีทางที่จะเป็น “ผู้มี ความสุข” ได้เลย (เทียบ GE 87) พระวาจา ของพระเจ้าทรงกระตุน้ ผูม้ คี วามเชือ่ ทุกคนให้ ท�ำงานเพื่อสันติภาพ และถ้าเมื่อถึงเวลาที่ ชุ ม ชนหรื อ หมู ่ ค ณะของเราได้ ถ ามว่ า ควร กระท�ำสิง่ ใด “เราจงพยายามท�ำกิจการทีน่ ำ� ไปสู่สันติและเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่กัน และกัน” (รม 14:19) เพราะความเป็นหนึง่ เดียวกันเป็นที่นิยมกว่าความขัดแย้ง (เทียบ GE 88) การสร้างสันติภาพเป็นงานฝีมอื ทีต่ อ้ ง อาศั ย ความสุ ขุ ม เยื อ กเย็ น   ความคิ ด สร้างสรรค์ การไวต่อความรู้สึก และทักษะ ที่ดี (GE 89) พระสันตะปาปาทรงสรุปว่า หว่ า น สันติสขุ ไปทัว่ ทุกแห่ง นัน่ คือความศักดิส์ ทิ ธิ์ “ผู้ถูกเบียดเบียนข่มเหงเพราะความ ชอบธรรมย่ อ มเป็ น สุ ข  เพราะอาณาจั ก ร สวรรค์เป็นของเขา” พระเยซูเจ้าพระองค์เอง ทรงเตื อ นเราว่ า หนทางที่ พ ระองค์ ท รงน� ำ


“สมณลิขิตเตือนใจ จงชื่นชมยินดีเถิด” GAUDETE ET EXSULTATE ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเกี่ยวกับการเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน

เสนอนั้นได้สวนกระแสของสังคมโลก (GE 90) ในการด�ำเนินชีวติ ตามพระวรสาร เราไม่ สามารถคาดหวังว่าทุกสิง่ ทุกอย่างจะสะดวก สบายง่ายดาย เพราะว่าความกระหายหา อ�ำนาจและความสนใจของโลกมักจะตั้งมั่น อยู่ในหนทางของเรา (GE 91) ไม่ว่าความ เหนื่อยล้าและความเจ็บปวดที่เราอาจพบใน การด�ำรงชีวิตตามพระบัญญัติแห่งความรัก และการปฏิบตั ติ ามวิถที างแห่งความยุตธิ รรม ไม้กางเขนยังคงเป็นขุมพลังของการเจริญ เติบโตและการบันดาลให้เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ของเราอยูเ่ สมอ (GE 92) การถูกเบียดเบียน ไม่ใช่แค่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต แต่เรา ก�ำลังประสบพบเจอในปัจจุบันด้วยเช่นกัน ไม่วา่ จะเป็นการสละเลือดเนือ้ หรือชีวติ  ดังที่ เกิดขึ้นในหลายเหตุการณ์ของบรรดามรณ สักขีในยุคปัจจุบัน หรือโดยวิธีการที่ล�้ำลึก ร้ายกว่า โดยการใส่ร้ายและการโกหก พระ เยซูเจ้าทรงเรียกเราว่า “ผู้มีบุญ” เมื่อผู้คน “ดูหมิน่  ข่มเหงและใส่รา้ ยต่างๆ นานาเพราะ เรา” (มธ 5:11) (GE 94) พระสันตะปาปาทรงสรุปว่า ยอมรับ หนทางแห่งพระวรสารของทุกวัน แม้วา่ มัน อาจจะท�ำให้เกิดปัญหาขึน้ กับตนเอง นัน่ คือ ความศักดิ์สิทธิ์ ค�ำสอนของพระเยซูเจ้าอีกประการ หนึ่ ง ที่ พ ระสั น ตะปาปาทรงเน้ น  คื อ  พระ วรสารตามค� ำ บอกเล่ า ของนั ก บุ ญ มั ท ธิ ว บทที ่ 25 (ข้อที ่ 31-46) พระเยซูเจ้าอธิบาย

129

ขยายความสุขแท้ ซึง่ ยกให้ผมู้ เี มตตากรุณา เป็นสุข ถ้าเราแสวงหาความศักดิส์ ทิ ธิเ์ พือ่ เป็น ที่ พึ ง พอใจในสายพระเนตรของพระเจ้ า พระวรสารในตอนนี้ได้บอกให้เราเข้าใจถึง หลั ก เกณฑ์ ที่ เ ราจะถู ก พระองค์ ตั ด สิ นว่ า “เพราะว่ า  เมื่ อ เราหิ ว  ท่ า นให้ เ รากิ น  เรา กระหาย ท่านให้เราดื่ม เราเป็นแขกแปลก หน้า ท่านก็ตอ้ นรับ เราไม่มเี สือ้ ผ้า ท่านก็ให้ เสื้อผ้าแก่เรา เราเจ็บป่วย ท่านก็มาเยี่ยม เราอยู่ในคุก ท่านก็มาหา” (ข้อที่  35-36) (เทียบ GE 95) พยานหลั ก ฐานขั น แข็ ง ของบรรดา นักบุญ แสดงให้เห็นได้ ชีวิตของพวกเขา ก่ อ ร่ า งขึ้ น ด้ ว ยความสุ ข แท้   (บุ ญ ลาภ 8 ประการ) และมาตรการตั ด สิ น ในวั น พิพากษาสุดท้าย (มธ 25:31-46) พระ วาจาขององค์ พ ระคริ ส ต์ เ จ้ า นั้ น มี ไ ม่ ม าก แต่ตรงไปตรงมา ถึงกระนัน้  ทุกคนก็สามารถ น�ำไปปฏิบัติได้ และให้ผลที่ต้องการ เพราะ คริ ส ต์ ศ าสนามี เ จตนาให้ น� ำ ไปปฏิ บั ติ จริ ง ยิ่งกว่าสิ่งใดหมด พระสันตะปาปาทรงแนะน�ำให้เรา อ่ า นข้ อ ความเหล่ า นี้ ใ นพระคั ม ภี ร ์ ซ�้ ำ ไป ซ�้ ำ มาอยู ่ บ ่ อ ยๆ คิ ด ถึ ง พระวาจาเหล่ า นี้ ภาวนากับพระวาจาเหล่านี้ พยายามเป็น หนึ่งเดียวกับพระวาจาเหล่านี้ ซึ่งพระวาจา เหล่านี้จะให้คุณประโยชน์แก่เรา และจะ ท� ำ ให้ เ รามี ค วามสุ ข ที่ แ ท้ จ ริ ง  (เที ย บ GE 109)


130 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 บทที่ 4 เครื่องหมายของความศักดิ์สิทธิ์ ในโลกปัจจุบัน ข้อ 110-157 ในบทนีพ้ ระสันตะปาปาไม่ทรงอธิบาย ถึงหนทางที่จะน�ำไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ที่พวก เรารู้จักกันแล้ว เช่น วิธีการหลากหลายของ การสวดภาวนา การรับศีลมหาสนิทและศีล อภัยบาปอันล�้ำค่า การมอบตัวเองเพื่อการ เสียสละพลีกรรม กิจศรัทธาในรูปแบบต่างๆ การแนะน�ำชีวิตฝ่ายจิต ฯลฯ (GE 110) พระสั น ตะปาปาทรงสอน 5 แบบ อย่ า งในการแสดงออกของความรั ก ต่ อ พระเจ้ า และเพื่ อ นพี่ น ้ อ ง ที่ พ ระองค์ ท รง พิ จ ารณาจากความส� ำ คั ญ เป็ น พิ เ ศษจาก ความเข้ า ใจในอั น ตรายและข้ อ จ� ำ กั ด ใน วัฒนธรรมของยุคปัจจุบัน (เทียบ GE 111) ดังนี้ 1. ความพากเพียร ความอดทน และ ความถ่ อ มตน เครื่ อ งหมายแรกที่ ยิ่ ง ใหญ่ เหล่านี้คือรากฐานอันมั่นคงในพระเจ้าผู้ทรง รักและทรงช่วยเหลือค�้ำจุนเรา บ่อเกิดแห่ง ความเข้มแข็งภายในนี้ท�ำให้สามารถมีความ พากเพียรท่ามกลางชีวติ ทัง้ ขึน้ และลงของเรา แม้ว่ายังคงเผชิญกับความเกลียดชัง การถูก ทรยศ และความล้มเหลวจากผู้อื่นอยู่ “ถ้า พระเจ้าทรงอยู่ข้างเรา ใครจะสู้เราได้” (รม 8:31) (GE 112) เราจ�ำเป็นต้องตระหนักและต่อสู้กับ ความก้าวร้าวและความชอบเห็นแก่ตัวของ เรา และไม่ให้สิ่งเหล่านี้เข้ามาฝังรากลึกใน

ชีวิตของเราได้ (GE 114) “อย่าให้ความชั่ว เอาชนะท่าน แต่จงชนะความชั่วด้วยความ ดี” (รม 12:21) ความเข้มแข็งภายในอันเป็น ผลจาก พระหรรษทานของพระเจ้าช่วยปกป้องเราให้ พ้นจากการใช้ความรุนแรง ซึง่ กลายเป็นส่วน ใหญ่ของชีวิตทุกวันนี้ พระหรรษทานช่วยลด ความหยิ่งผยองและสร้างความนอบน้อม แก่จิตใจ (เทียบ GE 116) ความอ่อนน้อมถ่อมตนสามารถหยั่ง รากลึกลงในใจเมื่อเราถูกคนอื่นดูถูกดูหมิ่น หากปราศจากประสบการณ์นี้ จะไม่มีความ อ่อนน้อมถ่อมตน หรือความศักดิ์สิทธิ์ หาก ท่านไม่สามารถทนต่อการถูกดูถกู  ท่านจะไม่ ถ่ อ มตนและไม่ อ ยู ่ ใ นเส้ น ทางแห่ ง ความ ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์   การถู ก ลบหลู ่ ดู ห มิ่ น ท� ำ ให้ เ รา ละม้ายคล้ายกับองค์พระเยซูเจ้า ถือว่าเป็น ลั ก ษณะที่ ไ ม่ ส ามารถหลี ก เลี่ ย งได้ ใ นการ เลี ย นแบบพระคริ ส ตเจ้ า  เพราะว่ า  “พระ คริ ส ตเจ้ า ทรงรั บ ทรมานเพื่ อ เรา และ ประทานแบบฉบับไว้ให้เราด�ำเนินตามรอย พระบาท” (1ปต 2:21) (เทียบ GE 118) พระสันตะปาปาทรงกล่าวถึงความ อ่อนน้อมถ่อมตนในชีวติ ประจ�ำวันของบุคคล ที่นิ่งเงียบเพื่อช่วยครอบครัวของตน ผู้เลือก ทีจ่ ะยกย่องผูอ้ นื่ มากกว่าการโอ้อวดเกีย่ วกับ ตนเอง หรือผู้ที่เลือกท�ำงานที่ผู้อื่นไม่ชอบ แม้แต่เลือกที่จะยอมรับความอยุติธรรมเพื่อ ถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้า (GE 119)


“สมณลิขิตเตือนใจ จงชื่นชมยินดีเถิด” GAUDETE ET EXSULTATE ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเกี่ยวกับการเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน

พระคริสตเจ้า “คือสันติของเรา” (อฟ 2:14) พระองค์ ท รง “น� ำ เท้ า ของเราให้ ด�ำเนินไปตามทางแห่งสันติสุข”(ลก 1:79) ตามที่ พ ระองค์ ต รั ส แก่ นั ก บุ ญ โฟสติ น า โควัลสกา ว่า “มวลมนุษย์จะไม่มีสันติสุข จนกระทั่งพวกเขากลับมาไว้วางใจในพระ เมตตาของเรา” (GE 121) 2. ความชืน่ ชมยินดีและมีอารมณ์ขนั บรรดาผูศ้ กั ดิส์ ทิ ธิท์ งั้ หลายเป็นผูม้ คี วามสุข และเต็มด้วยอารมณ์ขันที่ดี แม้ว่าเต็มไป ด้วยความจริงจัง แต่พวกเขาก็เปล่งประกาย ในพลั ง คิ ด บวกและจิ ต ใจที่ มี ค วามหวั ง ชีวติ คริสตชนเป็นชีวติ ทีม่  ี “ความชืน่ ชมยินดี ในพระจิตเจ้า” (รม 14:17) (GE 122) ความชืน่ ชมยินดีของคริสตชนโดยปกติ แล้วจะมาพร้อมกับการมีอารมณ์ขนั  เรามอง เห็นชัดเจนในตัวอย่างของนักบุญโทมัส มอร์ นักบุญวินเซนเดอปอล และนักบุญฟิลปิ  เนรี ดังนัน้ การขาดอารมณ์ขนั ไม่เป็นเครือ่ งหมาย ของความศักดิ์สิทธิ์  “จงขจัดความกังวลใจ ออกไปจากใจของท่าน” (ปญจ 11:10) เรา ได้รับสิ่งเหล่านี้มากมายจากองค์พระผู้เป็น เจ้ า  “เพื่ อ ความสุ ข อย่ า งสมบู ร ณ์ ” (1 ทธ 6:17) (GE 126) ด้ ว ยความรั ก ของพระบิ ด า องค์ พระเจ้าตรัสกับเราว่า “ลูกเอ๋ย จงอยู่ดีกินดี เท่าที่ท�ำได้... อย่าปฏิเสธที่จะให้ความสุขแก่ ตนในวันนี้” (บสร 14:11.14) พระองค์ทรง ต้องการให้คิดบวก กตัญญู และไม่ซับซ้อน...

131

เราควรที่จะมีความยืดหยุ่นในชีวิตและเลียน แบบตามที่นักบุญเปาโลกล่าวว่า “ข้าพเจ้า ได้เรียนรู้ที่จะพอใจในสภาพของตน” (ฟป 4:11) นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีได้ด�ำเนิน ชี วิ ต โดยที่ ท ่ า นอาจจะรู ้ สึ ก ล้ น เอ่ อ กั บ การ ส�ำนึกในบุญคุณของขนมปังแข็งก้อนเล็กๆ และท่านยินดีสรรเสริญพระเจ้าอย่างธรรมดา ส�ำหรับสายลมที่สัม ผัสกับใบหน้าของท่าน (GE 127) พระสันตะปาปาทรงกล่าวถึงความ ชืน่ ชมยินดีในการอยูร่ ว่ มกัน ซึง่ มีการแบ่งปัน และการรับ ความรักต่อพี่น้องของเราเป็น เหตุท�ำให้เรามีความสุขมากขึ้น เพราะท�ำให้ เราสามารถชื่ น ชมในความดี ข องพี่ น ้ อ ง เนื่องจาก “การให้ย่อมเป็นสุขมากกว่าการ รับ” (กจ 20:35 ) และ “พระเจ้าทรงรักผู้ที่ ให้ด้วยใจยินดี” (2คร 9:7) (GE 128) 3. ความกล้าหาญและความ กระตื อ รื อ ร้ น  ความศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ ยั ง หมายถึ ง ความเร่าร้อน (parrhesía) ซึง่ ก็คอื ความกล้า หาญ เป็นการกระตุน้ ให้ไปประกาศข่าวดีและ ทิ้งร่องรอยไว้ให้กับโลกใบนี้ การกระท�ำสิ่งนี้ ได้ องค์พระเยซูเจ้าพระองค์ได้เสด็จมาและ ตรั ส กั บ เราอี ก ครั้ ง อย่ า งสุ ขุ ม แต่ มั่ น คงว่ า “อย่ากลัวเลย” (มก 6:50) “เราอยู่กับท่าน ทุกวันตลอดไปตราบจนสิ้นพิภพ” (มธ 28: 20) (GE 129) บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที ่ 6 ได้กล่าวอธิบายถึงอุปสรรค ของการประกาศข่ า วดี คื อ การขาดความ


132 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 เร่าร้อน (parrhesía) นัน่ เป็น “เรือ่ งทีร่ า้ ยแรง กว่าเพราะว่ามันมาจากภายใน” (GE 130) ให้เรามองไปทีอ่ งค์พระเยซูเจ้า พระองค์มไิ ด้ ทรงลังเล เหนียมอาย หรือประหม่าในการ หยิบยื่นพระเมตตาอันล�้ำลึกของพระองค์ให้ กับทุกคน (เทียบ GE 131) เราต้องการการกระตุ้นเตือนจากพระ จิตเจ้า เพื่อมิให้เราเป็นอัมพาตด้วยความ กลัวและความหวาดระแวงเกินไป เมื่ออัครสาวกถูกประจญให้ปล่อยตนเองทุพพลภาพ ด้วยความกลัวต่ออันตรายและการคุกคาม พวกท่ า นร่ ว มกั น อธิ ษ ฐานภาวนาวอนขอ ความกล้าหาญ และผลที่ตามมาคือ “เมื่อ บรรดาศิษย์อธิษฐานภาวนาจบแล้ว สถานที่ ทีเ่ ขามาชุมนุมกันนัน้ ก็สนั่ สะเทือน ทุกคนได้ รั บ พระจิ ต เจ้ า เต็ ม เปี ่ ย มและเริ่ ม ประกาศ พระวาจาของพระเจ้าอย่างกล้าหาญ” (กจ 4:31) (เทียบ GE 133) เราได้รับแรงบันดาลใจที่จะประพฤติ ปฏิ บั ติ ต ามตั ว อย่ า งของบรรดาพระสงฆ์ นักบวช ฆราวาส ผู้ซึ่งอุทิศตนเพื่อประกาศ ข่ า วดี แ ละรั บ ใช้ เ พื่ อ นพี่ น ้ อ งด้ ว ยความรั ก อันยิ่งใหญ่ มักจะเสี่ยงชีวิต และละทิ้งความ สะดวกสบายของเขา ประจักษ์พยานยืนยัน ของพวกเขาคอยย�้ำเตือนเราว่า พระศาสนจั ก รต้ อ งการธรรมทู ต ที่ มี ค วามร้ อ นรน มีความกระตือรือร้นเกีย่ วกับการแบ่งปันชีวติ ที่ แ ท้ จ ริ ง  มากกว่ า บรรดาผู ้ มี ต� ำ แหน่ ง ข้าราชการและเจ้าหน้าทีพ่ นักงาน (GE 138)

ให้เราวอนขอองค์พระผู้เป็นเจ้าเพื่อ พระหรรษทานที่จะไม่ลังเลเมื่อพระจิตเจ้า ทรงเรียกเราให้ก้าวเดินไปข้างหน้า ให้เรา วอนขอเพื่อความกล้าหาญในการแพร่ธรรม เพื่ อจะได้ แ บ่ ง ปั น พระวรสารร่ ว มกั บ ผู ้ อื่ น และไม่ทำ� ให้ชวี ติ คริสตชนของเราเป็นเสมือน พิพธิ ภัณฑ์แห่งความทรงจ�ำเท่านัน้  (GE 139) 4. ในการอยู่ร่วมกัน เมื่อเราแยกตัว ออกจากผูอ้ นื่  เป็นความยากล�ำบากทีจ่ ะต่อสู้ กับความปรารถนาทางเพศ ตกหลุมพราง และการล่ อลวงของปี ศ าจ และความเห็ น แก่ตัวของโลก เราถูกโจมตีอย่างหนักจาก สิ่งล่อลวงมากมาย เราอาจเติบโตมาอย่าง โดดเดี่ยวเกินไป เสียสมดุล เสียหลัก และ ความชัดเจนเรื่องเป้าหมายชีวิตของตน และ ยอมจ�ำนนได้อย่างง่ายดาย (เทียบ GE 140) การเจริญเติบโตขึน้ ในความศักดิส์ ทิ ธิ์ คือการเดินทางของการอยู่ร่วมกัน อยู่เคียง ข้างกับผูอ้ นื่  (GE 141) ในแต่และหมูค่ ณะ หรือชุมชนถูกเรียกมาเพื่อสร้าง “พื้นที่อัน ส่องสว่างจากพระเจ้าเพือ่ จะมีประสบการณ์ การปรากฏองค์ ที่ ซ ่ อ นอยู ่ ข องพระผู ้ ท รง กลับคืนชีพ” (GE 142) ขอให้เราอย่าลืมว่าพระเยซูเจ้าทรงขอ ให้สานุศิษย์ของพระองค์ให้ความสนใจกับ รายละเอียดเหล่านี ้ รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ  ถึงเหล้าองุ่นที่ก�ำลังจะหมดลง ณ งานเลี้ยง รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ถึงแกะตัวหนึ่งที่ หายไป รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของการ


“สมณลิขิตเตือนใจ จงชื่นชมยินดีเถิด” GAUDETE ET EXSULTATE ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเกี่ยวกับการเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน

สังเกตเห็นแม่ม่ายผู้ซึ่งถวายเงินสองเหรียญ ของเธอ ฯลฯ (GE 144) ชุมชนทีท่ ะนุบำ� รุงและเอาใส่ใจต่อราย ละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของความรัก ชุมชนที่ สมาชิกดูแลกันและกัน และสร้างบรรยากาศ ทีเ่ ปิดกว้างและการเผยแผ่ขา่ วดี เป็นสถานที่ ประทับขององค์พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกลับคืน พระชนมชีพ ท�ำให้ศกั ดิส์ ทิ ธิต์ ามแผนการของ พระบิดาเจ้า (GE 145) ตรงข้ า มความเป็ น ปั จ เจกนิ ย มและ บริโภคนิยมทีไ่ ด้เติบโตขึน้ ได้แยกเราออกเพือ่ การแสวงหาความอยู่ดีมีสุขของตนออกจาก ผู้อื่น หนทางสู่ความศักดิ์สิทธิ์ของพวกเรา ท� ำ ให้ เ ราแยกแยะสิ่งเหล่านั้น ได้ด้ว ยบท ภาวนาของพระเยซูเจ้า “ให้ทุกคนเป็นหนึ่ง เดียวกัน เช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงอยู่ใน ข้าพเจ้า และข้าพเจ้าอยูใ่ นพระองค์ เพือ่ ให้ เขาทั้งหลายอยู่ในพระองค์และในข้าพเจ้า” (ยน 17:21) (GE 146) 5. ในการอธิ ษ ฐานภาวนาอย่ า ง สม�่ำเสมอ แม้อาจดูเหมือนชัดเจนอยู่แล้ว เราควรจ�ำไว้วา่ ความศักดิส์ ทิ ธิป์ ระกอบด้วย นิสัยที่เปิดใจกว้างต่อพระเจ้า ที่แสดงให้ เห็นอย่างชัดเจนในการอธิษฐานภาวนาและ การนมัสการพระเจ้า (เทียบ GE 146) ส� ำ หรั บ สานุ ศิ ษ ย์ แ ต่ ล ะคนจ� ำ เป็ น ที่ จะต้องใช้เวลาอยูก่ บั พระอาจารย์ เพือ่ รับฟัง ค�ำสอน และเรียนรู้จากพระองค์ตลอดเวลา ถ้าเราไม่รับฟัง ค�ำพูดทั้งหลายก็ไร้ประโยชน์

133

แต่ เ ป็ น การพู ด ที่ ไ ร้ ส าระเท่ า นั้ น  (เที ย บ GE 150) การภาวนาวอนขอพระกรุ ณ า มี คุ ณ ค่ า มาก เนื่ อ งจากเป็ น กิ จ ที่ แ สดงถึ ง ความวางใจในพระเจ้ า  ในขณะเดี ย วกั น เป็นการแสดงออกถึงความรักต่อเพือ่ นมนุษย์ (เทียบ GE 155) การอ่านพระวาจาของพระเจ้า ซึ่งมี “ความหวานกว่าน�้ำผึ้ง” (สดด 199:103) แต่ก็เป็นเสมือน “ดาบสองคม” (ฮบ 4:12) ท� ำ ให้ เ ราหยุ ด และรั บ ฟั ง เสี ย งของพระ อาจารย์เจ้า ทั้งยังเป็นตะเกียงส่องย่างทาง เดินของเราและแสงสว่างส่องหนทางของเรา (สดด 119:105) (GE 156) การพบปะกับพระเยซูเจ้าในพระคัมภีร์ น�ำเราไปสู่พิธีบูชาขอบพระคุณ ในพิธีบูชา ขอบพระคุณองค์พระเจ้าผูเ้ ทีย่ งแท้หนึง่ เดียว ได้รับการสรรเสริญอันยิ่งใหญ่ที่โลกสามารถ ถวายแด่พระองค์ได้ เมื่อรับพระองค์ในศีล มหาสนิท เราได้รอื้ ฟืน้ พันธสัญญาของเรากับ พระองค์ และยอมให้พระองค์ดำ� เนินงานของ พระองค์ในการเปลีย่ นแปลงชีวติ ของเราอย่าง เต็มที่ยิ่งขึ้น (GE 157) บทที ่ 5 การต่อสูด้ า้ นชีวติ จิต การเฝ้า ระวัง และการรู้จักไตร่ตรองแยกแยะ 158177 พระคริสตเจ้าทรงปรารถนาให้เราจบ บทสวดของเราด้ ว ยการวอนขอพระ บิ ด า “โปรดช่ ว ยให้ พ ้ น จากความชั่ ว ร้ า ย เทอญ” ค�ำพูดปิดท้ายบทสวดนี ้ มิได้หมายถึง ความชั่วร้ายทั่วไป แต่ความหมายที่แท้จริง คือ “ปีศาจ” (เทียบ GE 160)


134 วารสารแสงธรรมปริทัศน์ ฉบับที ่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2018/2561 ปีศาจไม่จ�ำเป็นจะต้องมาเข้าสิงเรา มันค่อยๆ วางยาพิษเราด้วยความเคียดแค้น แห่งความเกลียดชัง การถูกทอดทิ้ง ความ อิ จ ฉา และราคะตั ณ หา ทั น ที ที่ เ ราเริ่ ม ประมาท ปีศาจจะฉวยโอกาสท�ำลายชีวติ ของ เรา ครอบครัวของเรา และชุมชนของเราทันที (เทียบ GE 161) พระวาจาของพระเจ้าได้เชื้อเชิญเรา อย่างชัดเจนว่า “จงยืนหยัดต่อต้านเล่ห์กล ของปีศาจได้” (อฟ 6:11) และ “จงดับธนูไฟ ของมาร” (อฟ 6:16) ค�ำเชือ้ เชิญเหล่านีไ้ ม่ใช่ เรื่องน่าขบขัน เพราะหนทางน�ำไปสู่ความ ศักดิ์สิทธิ์นั้นเป็นการต่อสู้อยู่ตลอดเวลา อย่างแท้จริง ผู้ที่ไม่ตระหนักถึงสิ่งนี้ก็จะตก เป็นเหยื่อของการล้มเหลวและการไม่สนใจ ใดๆ เลย ส� ำ หรั บ การต่ อ สู ้ ด ้ า นชี วิ ต จิ ต นี้ เราสามารถวางใจในอาวุ ธ ที่ ท รงพลั ง ที่ พระเจ้าประทานให้กับเราได้นั่นคือ การ ภาวนาที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยความเชื่ อ  การ� ำ พึ ง ภาวนาในพระวาจาของพระเจ้า การร่วมพิธี บูชาขอบพระคุณ การเฝ้าศีลมหาสนิท การ รับศีลอภัยบาป การท�ำงานอุทศิ ตนให้ความ ช่วยเหลือผู้อื่น การมีชีวิตกลุ่ม การออกไป เป็นผู้ประกาศข่าวดี ถ้าเกิดว่าเรากลายเป็น ผู้ที่ไม่สนใจอะไรเลย นั่นก็เป็นเครื่องหมาย ของความล้มเหลวที่ความชั่วร้ายสามารถมา ครอบง�ำเราได้อย่างง่ายดาย ดัง่ ทีน่ กั บุญคูรา โบเกโร่ได้ตงั้ ข้อสังเกตว่า “จะดีอะไร เมือ่ จอม ปี ศ าจลู ชี แ ฟร์ ไ ด้ สั ญ ญากั บ เราว่ า จะให้

เสรี ภ าพและมอบผลประโยชน์ ข องมั น ให้ กับเราทั้งหมด ถ้าหากผลประโยชน์เหล่านั้น เป็นเรือ่ งโกหก หลอกลวง และเป็นพิษภัยกับ เรา” (GE 162) เราจะทราบได้อย่างไรว่าแรงบันดาล ใจบางอย่างมาจากพระจิตเจ้า หรืออาจจะ เกิดมาจากกระแสทางโลก หรือแรงดลใจจาก ปีศาจ ค�ำตอบเดียวในทีน่ คี้ อื  การวินจิ ฉัยเพือ่ หาน�ำ้ พระทัยพระเจ้า ซึง่ ต้องอาศัยปัจจัยอืน่ มากกว่ า สติ ป ั ญ ญาหรื อสามั ญ ส� ำ นึ ก  เป็ น พระพรที่เราต้องอ้อนวอนขอ ถ้าเราวอนขอ ด้วยความเชื่อมั่นว่าพระจิตเจ้าจะประทาน พระพรนี้ ใ ห้ กั บ เราแล้ ว  ขอให้ พ ยายามที่ เติบโตขึน้ ด้วยการอธิษฐานภาวนา การร�ำพึง ไตร่ตรอง การอ่านและการให้ค�ำปรึกษาที่ดี ดั ง นั้ น แล้ ว เราจะเติ บ โตขึ้ น ในการรู ้ จั ก ไตร่ ต รองฝ่ า ยจิ ต นี้ อ ย่ า งแน่ น อน (เที ย บ GE 166) พระหรรษทานแห่งการวินิจฉัย เพื่อหาน�้ำพระทัยพระเจ้า นับวันจะมีความ จ�ำเป็นมากขึน้ เรือ่ ยๆ ในชีวติ ปัจจุบนั  (เทียบ GE 167) การวิ นิ จ ฉั ย เพื่ อ หาน�้ ำ พระทั ย พระเจ้ า จะช่ ว ยให้ พ บความหมาย และ วัตถุประสงค์ทแี่ ท้จริงของชีวติ ของเราต่อหน้า พระบิ ด าผู ้ ซึ่ ง ทรงรู ้ จั ก และรั ก เรา (เที ย บ GE 170) ที่สุด พระสันตะปาปาทรงขอให้ภาพ สะท้อนของการไตร่ตรองเหล่านี้ได้รับการ สรรเสริ ญ ขึ้ น ทู ล เกล้ า โดยพระนางมารี ย ์ เพราะพระนางทรงด�ำเนินชีวิตในความสุข


“สมณลิขิตเตือนใจ จงชื่นชมยินดีเถิด” GAUDETE ET EXSULTATE ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเกี่ยวกับการเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ในโลกปัจจุบัน

ที่แท้จริงของพระเยซูเจ้าดังที่ไม่มีผู้ใดเป็นได้ เลย พระนางคือสตรีผู้มีความชื่นชมยินดีใน การประทับอยูข่ องพระเจ้า พระนางทรงเก็บ ทุกอย่างไว้ในใจ พระนางทรงสอนหนทาง แห่งความศักดิ์สิทธิ์ให้กับเราและทรงด�ำเนิน ร่ ว มกั บ เราให้ ห นทางอั น ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ นั้ น พระนางไม่ทรงปล่อยให้เราล้มตกลงไป และ พระนางทรงอุ ้ ม เราไว้ ใ นอ้ อ มแขนของ พระนางโดยปราศจากการตั ด สิ น พวกเรา การสนทนาของเรากับการปลอบประโลม ของแม่พระนั้นปลดปล่อยเราและบันดาลให้ เราศักดิ์สิทธิ์ สิ่งที่เราจ�ำเป็นต้องท�ำคือการ ภาวนาเบาๆ อยู่ทุกครั้งว่า “วันทามารีย์...” (เทียบ GE 176)

135

พระสันตะปาปาทรงมีความหวังว่า สมณลิขิตเตือนใจฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ อย่างยิง่ ทีจ่ ะเปิดหนทางให้พระศาสนจักรทัง้ ครบได้อุทิศตนใหม่อีกครั้ง ในการส่งเสริม ความปรารถนาไปสูค่ วามศักดิส์ ทิ ธิ ์ พระองค์ ทรงเชิญชวนเราให้วอนขอพระจิตเจ้า โปรด หลั่งความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเป็น ผู้ศักดิ์สิทธิ์เพื่อพระเกียรติมงคลของพระเจ้า และสนับสนุนกันและกันในความพยายาม ครั้งนี ้ ด้วยวิถที างนี ้ เราจะร่วมแบ่งปันความ สุ ข ที่ โ ลกไม่ ส ามารถเอาไปจากเราได้ เ ลย (เทียบ GE 177)




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.