Boudsaba No.37

Page 1

ชมรมสต

ร�ไทยในฝ

���� ��

������

�����

รั่งเศส

�����

�������

���

ฉบับที่ 37 เดือนมกราคม-มีนาคม 2554 N°37 janvier-mars 2011 15 janvier 2011 Revue trimestrielle



ชมรมสตรีไทยในฝรัง่ เศส 83 avenue de Ségur 75015 Paris France L’Association Solidarité Thaïe en France Tél: 01 42 73 38 09 / 06 89 35 81 37 Tél: 06 24 11 41 19 / 06 45 51 49 47 Site web:

http://satreethai.eu http://satreethai.eu.free.fr

ประธานชมรมสตรีไทยในฝรัง่ เศสและผูอ้ ำนวยการผลิต : ปณิธาน TABOUREL บรรณาธิการ : เบญจมา FEISTHAUER กองบรรณาธิการ : ประไพ VINCENT, บุปผา De Rendinger, วิมลรักษณ์ THULSTRUP, ภัทั รินทร์ FONTAINE, Chatchalapa JOYON, พนิตา บุษปภาชน์-DECROIX, มาลินี Eludut นักเขียนในเล่ม : อำนวย สมตัว, ปณิธาน TABOUREL, ดร.สุนสิ า BUOT, โสภาพร KURZ, ณัฐ-กิตมิ า VIGNAUD, ชุภาพันธุ์ จารุวณ ั ณ์ , อุณากรณ์ ศิลปี, ผ่องพรรณ LEGRAND, นวพรรณ GALLEZ นักแปลในเล่ม : ชุภาพันธุ์ จารุวณ ั ณ์ ประชาสัมพันธ์ : เทพวิไลย สโรบล จัดหาโฆษณา : ประไพ VINCENT จัดทำเว็บไซต์ : อุไรวรรณ ROGER มือพิมพ์หลัก : อุไรวรรณ ROGER, บุปผา De Rendinger จัดวางรูปเล่ม : เบญจมา FEISTHAUER ออกแบบปก: อรวิล DIXNEUF

e-mail ของชมรมสตรี ไทย:

solidaritethai@hotmail.fr

กองบรรณาธิการบุษบา / Comité de rédaction de BOUDSABA: e-mail: boudsaba.edito@yahoo.fr Présidente de L’Association et Direction de la publication: Panithane TABOUREL Rédactrice en chef : Benjama FEISTHAUER Comité de rédaction : Prapaï VINCENT, Buppa de RENDINGER,

Vimolrak THULSTRUP, Pattarine FONTAINE, Chatchalapa JOYON, Panita BUSSAPAPACH-DECROIX,

Malinie ELUDUT

Auteurs ayant participé à ce numéro : Amnuay SOMTOA, Panithane TABOUREL, Dr.Sunisa BUOT, Sopaporn KURZ, Nat-Kittima VIGNAUD, Chupaphan JARUWAN,

Unakorn SILPI, Pongpan LEGRAND Nawaphan GALLEZ, Traductrice : Chupaphan JARUWAN,

Relations publiques : Theppwilail SAROPALA Responsable publicité : Prapaï VINCENT Responsable site web: Uraiwan ROGER Dactylo principal : Uraiwan ROGER, Buppa de RENDINGER Mise en page : Benjama FEISTHAUER Couverture : Orawil DIXNEUF

Boudsaba est un bulletin à parution trimestrielle. ISSN : 1768-1189 Commission paritaire : 0907 G 82316 Impression : Accent tonic 45-47 rue de Buzenval 75020 Paris Bulletin d’adhésion à l’ASTF et /ou à la revue de l’ASTF 1 อัตราค่าบำรุงสมาชิกรายบุคคลท่​่านละ 11 ยูโร Cotisation annuelle par personne 11 € 2 อัตราค่าบำรุงวารสาร บุษบา 14 ยูโร Abonnement à la revue Boudsaba 14 €

ต่อปี par an ตอปี ่ par an

4

จดหมายจากผูอ ้ า่ น / de nos lecteurs

12 กิจกรรมของชมรม / activités de l’association

6

ครบรอบ 10 ปี ชมรมสตรีไทย / 10e Anniversaire de l’ASTF

21 ข่าวประชาสัมพันธ์ / informations de l’ASTF

8

สถิตข ิ องชมรมสตรีไทย /Statistiques des activités

27 เทใจใส่เมนู / mes recettes préferées

9

สาส์นจากอดีตประธานชมรมสตรีไทยคนแรก / message du

31. สุขภาพดีมส ี ข ุ / pleine vie - mieux vivre

premier président

34 หนังและหนังสือ / livres et films

10 บทสัมภาษณ์ พิเศษ/ interview exclusive

35 หนึง่ หน้าของ โสภาพร ควร์ซ / la page de Sopaporn Kurz


บทบรรณาธิการ Edito สวัสดีค่ะท่านผู้อ่านบุษบาที่รัก ในที่สุดบุษบาเล่มที่ 37 ฉบับครบรอบ 10 ปีก็ได้ฤกษ์ ออกมาให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามเสียที บุษบาฉบับนี้จะเน้นการฉลองครบรอบ 10ปี ของการก่อตั้ง ชมรมสตรีไทย (และวารสารบุษบา) ดิฉันต้องขออภัยในความล่าช้า สำหรับบุษบาฉบับนี้ เนื่องจากการกลับไปเรียนหนังสือ ฝึกงาน ดูแลครอบครัว ของดิฉันในช่วงนี้แล้ว ดิฉันมีเวลาในการจัดทำบุษบาน้อย ลง แต่จะพยายามทำให้เต็มที่ตามความสามารถค่ะ ทำให้สมาชิกและผู้อ่านอาจพลาดการร่วมกิจกรรมในวันข้าง หน้า หากท่​่านต้องการทราบข่าวสารเกี่ยวกับการจัด กิจกรรมโดยชมรมสตรีไทย รายละเอียด วัน และ เวลา ขอความกรุณาเขียนอีเมลมาหากองบรรณาธิการที่

boudsaba.edito@yahoo.fr

ดิฉันจะช่วยประสานงานให้กับชมรมสตรีไทยค่ะ นอกจากนี้สมาชิกและบุคคลทั่วไปสามารถติดตาม ข่าวสารการจัดงานและกิจกรรมของชมรมทางเฟซบุ๊ก

http://www.facebook.com/group. php?gid=38697977629 หรือ ทางเว็บไซต์ http://satreethai.eu

ได้ตลอดเวลา หากท่านมีข้อเสนอแนะ เขียนมาหากอง บรรณาธิการได้เสมอค่ะฉบับนี้บทความอาจจะน้อยลง กว่าฉบับปกติแต่เนื้อหายังเข้มข้นเช่นเดิมค่ะ ขอขอบคุณท่านผู้อ่าน ผู้เขียนและผู้ร่วมงาน ผู้สนับสนุน และสปอนเซอร์ทุกท่านค่ะ หากขาดการสนับสนุนจากทุก ท่านชมรมสตรีไทยบุษบาคงไม่มีวันนี้แล้วพบกันใหม่ ฉบับหน้านะคะ ขอแสดงความนับถือ เบญจมา Feisthauer Bonjour à tous, J’ai le plaisir de vous annoncer le dixième anniversaire de notre Association Solidarité Thaïe. Celui-ci est le 37ème numéro de Boudsaba depuis la création de l’association. . Dans ce numéro, nous vous présentons nos activités en perspective depuis 10 dernières années ainsi que les articles habituels. L’Association Solidarité Thaïe en France et la revue Boudsaba continuent à grandir ensemble. Je tiens à remercier tous nos lecteurs et nos contributeurs pour leur soutien. A bientôt. Cordialement,

Benjame Feisthauer

23 / 12 / 2010 สวัสดีค่ะ ชาวบุษบาทุกท่าน ดิฉันขอโทษนะคะที่ส่งค่าสมาชิกช้าไปหน่อย ดิฉันกลับไป เมืองไทยหลายเดือนเพิ่งกลับมา ได้รับหนังสือบุษบาฉบับปีใหม่พอดี และเสียดายที่กงสุลสัญจรมาทำเอกสารที่ Cannes ดิฉันไม่อยู่ แต่ก็มีเพื่อน ๆ หลายคนไปทำเอกสารกัน ก็ดีใจด้วยที่พวกเราไม่ต้องขึ้นไปทำเอกสารถึง ปารีส ถ้ามีทุกปีก็ดี หรือทุก 2 ปีก็ดี เพราะบางคนอยู่ที่นี่มีรายได้น้อย และ บางคนมาแต่ไม่ได้กลับไปเมืองไทยเลยเป็นเวลานาน ๆ เพราะไม่มีบัตร ถ้ากลับไปก็มาไม่ได้อีก ในกรณีนี้ดิฉันอยากถามว่า ชาวบุ ษ บามี ข้ อ แนะนำอะไรบ้ า งที่ จ ะอยู่ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งนอกจาก แต่งงาน แต่ก็ลำบาก เพราะคงต้องยุ่งยากมากเรื่องเอกสารส่วนดิฉันไม่มีปัญหา เพราะดิฉันแต่งงานมาอยู่ที่นี่มากกว่า 15 ปีแล้ว ความเป็นอยู่ก็ปานกลาง ไม่เดือดร้อนอะไร แต่ก็มีเพื่อน ๆ อีกหลายคน ดิฉันเห็นแล้วก็สงสาร เป็นห่วง แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก สุดท้ายนี้ขอให้หนังสือบุษบาและชาวบุษบาทุกคน จงมีความสุข มีสุขภาพแข็งแรง เป็นกำลังและผลิตหนังสือดี ให้เราสมาชิกทุกคนต่อไปนะคะ โชคดีในวันคริสต์มาสและปีใหม่ทุกคนนะคะ ขอบคุณที่ทำหนังสือดี ๆ จากอัมพร DELAYRE

a

บุษบา สวัสดีค่ะคุณอัมพร ขอบคุณมากค่ะสำหรับค่าสมาชิก และแรงใจในการสนับสนุนวารสารบุษบามา โดยตลอด เรื่องกงสุลสัญจร ทางชมรมฯจะบอกต่อไปถึงท่านกงสุลให้นะคะ สำหรับคำแนะนำในการใช้ชีวิตอยู่ที่ฝรั่งเศส คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการอยู่อย่างมี เอกสารที่ถูกต้อง ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เรื่องการแต่งงานนั้นดิฉัน เชื่อว่าควรจะเกิดจากความรักความผูกพันของคนสองคนเป็นปัจจัยสำคัญ นะคะ ขอพรนั้นคืนกลับสู่คุณอัมพรและครอบครัวเช่นกันค่ะ ..... สวัสดีค่ะ ดิฉันได้รับบุษบาเล่มที่ 36 แล้ว ปกสวยงามมากค่ะ ขอขอบคุณคุณหมอสุนิสา ที่เขียนเรื่อง “ปวดเข่า” ดิฉันกำลังปวดอยู่พอดีก็เลยลองทำตามคำแนะนำ สังคมลมโชยก็ไม่เห็น อยากให้มีอีก ขอบคุณมากค่ะ. จาก บุญรับ

a

บุษบา สวัสดีค่ะคุณบุญรับ ดีใจที่วารสารบุษบาถูกใจคุณบุญรับนะคะ คุณหมอสุนิสายินดีที่บทความนี้ เป็นประโยชน์กับผู้อ่านหลายๆท่านค่ะ ถ้ามีเรื่องปัญหาสุขภาพเชิญส่งคำถามถึง คุณหมอได้นะคะ คอลัมน์สังคมลมโชยอาจจะพัดพาอีกถ้ามีผู้อ่านเรียกร้องขอ มานะคะ Joyeux Noël et Bonnes fêtes de fin d’année.


ติดตามข่าวกิจกรรมของชมรมได้ตลอดเวลาที่ Website / เว็บไซต์ชมรมสตรีไทย satreethai.eu เฟซบุ๊กชมรมสตรีไทย FACEBOOK: http://www.facebook.com/group.php?gid=38697977629

สวัสดีค่ะคุณปณิธาน เปียได้รับบุษบาเล่มใหม่แล้ว หน้าปกสวยมาก ๆ ค่ะ ไม่ทราบว่าใคร มีไอเดียอย่างยอดเยี่ยม พอดีเปียเปิดต่อไป เห็นชื่ออรวิล DIXNEUF ออกแบบปก ฝากชื่นชมน้องอรวิลด้วยนะคะ ว่าเป็นคนเก่งจัง ไม่ทราบว่า ลูกน้อยอายุเท่าไรแล้ว เปียยอมรับว่าวันเวลาผ่านไปเร็วมาก 4 ปีผ่านไป อย่างรวดเร็วเหมือนกับ TGV เปียรู้ดีว่าเวลาทำงาน ทุกคนต้องยุ่งอยู่กับ ครอบครัวและงานนอกบ้านทุกวัน เปียเห็นใจผู้หญิงเราทุกคนที่มีหน้าที่รับผิด ชอบทุก ๆ อย่าง สุ ด ท้ า ย นี้ เ ปี ย ข อ ใ ห้ ค ร อ บ ค รั ว คุ ณ ป ณิ ธ า น แ ล ะ ทุ ก ค น จงมีความสุขความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น ในปี 2554และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บนะคะ บุญรักษา จากเปียค่ะ

aสวัสดีค่ะคุณเปีย

บุษบา

คุ ณ อ ร วิ ล ป ลื้ ม ใ จ ค่ ะ ที่ ผู้ อ่ า น ว า ร ส า ร บุ ษ บ า ชื่ น ช อ บ ผ ล ง า น ชิ้ น นี้ ลูกชายคุณอรวิลกำลังน่ารัก เลยล่ะค่ะ คุณปณิธานและกองบรรณาธิการฯขอบคุณสำหรับความปรารถนา ดี และขอพรนั้นคืนกลับสู่คุณเปียเช่นกันนะคะ

15 มกราคม 2554 เรียน คุณปณิธาน TABOUREL ประธานชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส และผู้อำนวยการผลิต คุณเบญจมา FEISTHAUER บรรณาธิการวารสารบุษบา ดิฉัน พรทิพย์ REMY ได้ส่งเช็คสำหรับค่าบำรุงสมาชิกและค่าบำรุงวาร สารบุษบามาให้ค่ะ 25 ยูโร สำหรับปี 2554 นะคะ ดีใจมาก ทีม่ หี นังสือดีๆอย่างนี้คอยเป็นเพือ่ นแนะนำ รวมทัง้ การให้คำปรึกษาจากชมรม ทำให้เราชาวไทยในต่างแดนได้รับความอุ่นใจ ขอขอบ คุณทุก ๆ ท่านที่ร่วมกันทำงานเพื่อส่วนรวมค่ะ คำถาม ดิฉันมีความสงสัย หลังจากอ่านบทความ “บทรำพึงท้ายซอย : เรื่องจาก Capbreton ถึงสุสาน Lavan” โดย ตะวันทอแสง แล้ว ทำให้อยากทราบกฎเกณฑ์ในการรับเงินเกษียณน่ะค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง ขอเรียนปรึกษาท่านผู้รู้ให้รายละเอียดด้วยค่ะ ขอบคุณนะคะ คำแนะนำ อาจจะเป็นเพราะดิฉันไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับทางชมรมเลย ทำให้ไม่ได้รับทราบข่าวการจัดกิจกรรมที่จะมีขึ้น ทุกครั้งที่อ่าน หนังสือ เห็นแต่กิจกรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดิฉันอยากให้มีมุมเล็ก ๆ แจ้งข่าวการ

จัดกิจกรรมล่วงหน้าไว้หน่อย จะดีไหมคะ เผื่อมีใคร อยากจะไปร่วมสนับสนุนเพิ่มขึ้นอีกน่ะค่ะ ขอแสดงความนับถือ พรทิพย์ ไชยานุกูล REMY

aสวัสดีค่ะคุณพรทิพย์

บุษบา

ขอบคุณสำหรับคำถามและคำแนะนำค่ะกองบรรณาธิการฯรับทราบ และจะจัดหารายละเอียดเรื่องกฎเกณฑ์ในการรับเงินเกษียณมานำ เสนอในอนาคตอันใกล้นะคะ ส่ ว นเรื่ อ งการแจ้ ง ข่ า วกิ จ กรรมทางที ม งานบุ ษ บาจะพยายามแจ้ ง ให้ทราบล่วงหน้าที่ผ่านมาอาจจะแจ้งช้าไปต้องขออภัยด้วยนะคะ บางทีกำหนดการออกหนังสือกับกิจกรรมไม่ตรงกัน ถ้าจะให้แน่นอน คุณพรทิพย์โทรมาสอบถามกับ คุณปณิธานที่เบอร์ชมรมสตรีไทย 01 42 73 38 09 ได้เช่นกันค่ะ คุณปณิธานคงจะยินดีอย่างยิ่งที่มีผู้สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมชมรมสตรีไทย

AIX LES BAINS สวัสดีค่ะ คณะผู้จัดทำวารสารบุษบาทุกท่าน ดิฉันได้ส่งค่าบำรุงสมาชิกหนังสือบุษบามา ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำหนังสือทุกท่าน ที่ได้ทำหนังสือดีๆอย่างนี้ และขอขอบคุณสำหรับปฏิทิน “เรารักในหลวง” สวยงามและ มีประโยชน์มากๆเลยค่ะในโอกาสนี้ ขอฝากขอบพระคุณอย่างสูงไปยัง อ.ประไพ และคุณต้นปฎิพัทธ์ ที่ให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ อย่างมาก ๆ ในคราวที่ดิฉันมาติดต่อทำพาสปอร์ตที่กงสุล กรุงปารีส ขอบพระคุณอีกครั้งหนึ่งค่ะ ขอแสดงความนับถือ สมจิตร อุตโรกุล

a

บุษบา สวัสดีค่ะคุณสมจิตร ขอบคุณสำหรับค่าสมาชิกนะคะ รับคำฝากขอบคุณส่งต่อไปถึง อ.ประไพ และคุณต้น ปฎิพัทธ์ เป็นที่เรียบร้อยค่ะ

janvier-mars 2011  °37

5


บุษบาฉบับครบรอบ10 ปี ขอให้เกียรติและขอบคุณคณะผู้จัดทำบุษบาทุกท่าน BOUDSABA fête ses 10 Ans (2001- 2011) อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนไทยในต่างแดน กับความภูมิใจ ของชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส ดุจดั่งนํ้าใจ... วลีหนึ่ง...ที่ท่านเคยกล่าวไว้ในบุษบา

ทีมงานบุษบาประกอบไปด้วยอาสาสมัครที่เข้ามาช่วยทำงานด้วยใจล้วนๆทำให้บุษบาเจริญเติบโตมาจนทุกวันนี้ ในนามชมรมสตรีไทย ขอขอบพระคุณ บรรณาธิการหนังสือบุษบา และคณะกองบรรณาธิการ นักออกแบบปก รูปเล่ม มือพิมพ์ นักเขียน ช่างภาพ ผู้ตรวจอักษร ผู้หาทุน อาสาสมัครนักศึกษาและสมาชิกชมรมฯผู้สนับสนุนทุนทุกท่าน Au nom de l'Association Solidarité Thaïe en France, je tenais à remercier l'ensemble des équipes rédactionnelles et toutes nos rédactrices en chefs depuis 2001. Nous aimerions également remercier nos contributeurs et nos aimables sponsors de leur soutien. Sans ces personnes, nos revues Boudsaba n’auraient pu voir le jour. ปณิธาน ตาบูเรล / Panithane TABOUREL ประธานชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส / Présidente de l’ASTF

2001

บ.ก. คุณปริมวรา ศกุนตาภัย 2001-2002 วารสาร “บุษบา” เป็นการรวมตัวของบุคคลหลากหลาย มีที่มาที่ไปต่างกัน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ อยากทำหนังสือให้เป็นสื่อที่มีความหลากหลาย และแตกต่าง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่สร้างสรรและจิตสำนึกต่อส่วนรวม ยังไม่สายเกินไปถ้าเราจะช่วยกัน อย่างน้อยก็จะเป็นพลังใจให้กับคนเล็กๆที่มีความ ตั้งใจ อยากทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมบ้างและวลีที่ว่า “ ถ้าไม่ใช่คุณ แล้วใคร ถ้าไม่ใช่เดี๋ยวนี้ แล้วเมื่อไร” คงไม่ใช่วลีที่พูดลอยๆของคนใดคนหนึ่ง...

2002 2003 6

บ.ก. ดร.งามพิศ SIX 2002-2003 ถ้าคุณมีไฟ..มีใจ มีเวลาเล็กน้อย มาช่วยกันแบ่งปัน... ด้วยเหตุผลที่แตกต่าง ด้วยทางเลือกของชีวิตที่หลากหลาย แม้ต้องเผชิญกับ ความยากลำบากหรือโชคชะตาเล่นตลก แต่หญิงไทยก็ยังคงความแข็งแกร่ง มีบ้างที่ต้องล้มลงแต่ก็เพื่อที่จะลุกขึ้นและก้าวไปใหม่อย่างมั่นคง...

บ.ก. คุณกิ่งดาว BELLAIR 2003-2004 Solidarité…ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อยากทำอะไรให้คนไทย โดยเน้นจุดประสงค์ของชมรมสตรีไทย คือ เป็น อาสาสมัครโดยไม่หวังผลประโยนช์ตอบแทน นึกถึงส่วนรวมเป็นหลัก ช่วงที่เป็นบรรณาธิการของบุษบา ก็ทำงานกันเป็นทีมทุกคนช่วยกัน ปัญหาและอุปสรรคผ่านพ้นไปด้วยดี ทุมเทด้วย ใจรัก ถึงแม้ว่างานที่ออกมาไม่ สมบูรณ์แบบ นั่นคือประสบการณ์ ที่หวังว่าเราคงทำให้ดีขึ้นกว่าเมื่อวาน ขอบคุณทีมงานบุษบาและคนไทยทุกคนที่ให้กำลังใจค่ะ

°37 janvier-mars 2011


2004 2005 2007 2010

บ.ก. คุณณุชชดา BUCIUNI 2004- 2005 “บุษบา”อาจจะเป็นเพียงเศษเสี้ยวของกระจกใส ที่สะท้อนให้คุณหยุดคิดสักนิด ระหว่างเดินทางของชีวิตที่เร่งรีบ เพื่อไปให้ถึงจุดหมาย ระหว่างทางนั้นขอ อย่าได้ละเลยกับทุกวินาทีที่คุณมีโอกาสจะเรียนรู้ ตักตวงความสุขของชีวิต ตลอดจนความสุขให้กับผู้อื่น เมื่อใดก็ตามที่คุณเกิดทดท้อกับชีวิต อย่าลืมพรอัน ประเสริฐที่เราทุกคนมีอยู่ในตัว คือ “ความหวัง” ซึ่งจะช่วยพยุงคุณให้เดินทางต่อไป. ..”

บ.ก. คุณวลัยมาศ CANTOS 2005-2007 ขอแสดงความยินดีกับนิตยสารบุษบา ครบรอบ 10 ปีค่ะ บุษบา เป็นหลักฐานแสดงถึง ความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงของเหล่าสมาชิก กรรมการ และอาสาสมัครชมรม สตรีไทยที่รวมตัวกันเป็นสื่อกลาง ให้ความรู้และแลกเปลี่ยนข่าวสาร และที่สำคัญ¬ มากคือเป็นแรงสนับสนุนช่วยเหลือและสานสัมพันธ์คนไทยทั้งในฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆในยุโรป ให้ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น

บ.ก. คุณภัทรินทร์ FONTAINE 2007-2009 Ensemble C’est tout !!! ชีวิตเปรียบดังสายธารมนุษย์ ต่างคนต่างมีที่มาที่แตกต่าง เมื่อต่างต้องมา อยู่ไกลบ้านไกลเมือง ด้วยภาษาและวัฒนธรรมไทยที่อยู่ในสายเลือดของเรา เราต่างเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน แบ่งปันจุดเด่น เพื่อช่วยเหลือลบเลือนจุดด้อยของกัน และกัน ความเอื้ออาทรที่เรามีต่อกันแบบไทยๆ ทำให้วารสารบุษบาได้อยู่เป็น อีกทางเลือกสำหรับผู้อ่านจนย่างเข้าปีที่ 6 แล้ว ดิฉันยังจำได้ วันแรกที่ได้ร่วมสร้าง สรรค์จนหนูน้อยบุษบาคลอดออกมาฉบับแรกได้อย่างดี ตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้คอยเป็นกำลังใจอยู่ห่างๆมาตลอด ภูมิใจที่เธอเติบโตเป็นสาวน้อยในวันนี้ ด้วยความร่วมมือของพี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ที่สละเวลาเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม...

บ.ก. คุณเบญจมา FEISTHAUER 2010 -ปัจจุบัน บุษบาและชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส เป็นการรวมตัวกันของหญิงไทย และ ชาวไทยในฝรั่งเศสที่มีอุดมการณ์ มีน้ำใจ และ มีเจตนาที่จะร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีๆใ ห้กับสังคมไทยในต่างแดน ณ วันนี้ ดิฉันรู้สึกยินดีและภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขอ งชมรม ได้ช่วยเหลือชมรมสตรีไทยขอขอบคุณอาสาสมัครชมรมสตรีไทยทุกๆท่าน ขอขอบพระคุณผู้เขียน ผู้ร่วมงานทุกๆท่าน ผู้อยู่ เบื้องหลังความสำเร็จ ผุ้ประกอบการองค์กรผู้ให้การสนับสนุนการจัดทำ วารสารบุษบา และสมาชิกวารสารบุษบาทุกๆท่าน ที่ทำให้บุษบามีวันนี้ En tant que rédactrice en chef, je souhaiterais remercier tous les auteurs, contributeurs, membres bénévoles et nos lecteurs pour leur soutien. La revue Boudsaba est le fruit de la synergie et la volonté de partager le savoir et la connaissance. Merci Beaucoup! janvier-mars 2011  °37

7


สรุปสถิติการปฏิบัติงานของอาสาสมัครชมรมสตรีไทยฯ เพื่อช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหา ตลอด10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี ค.ศ 2001 ถึง ปัจจุบัน

Statistiques des nos activités bénévoles de 2001 à 2010

การปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัคร ช่วยเหลือผู้มาติดต่อแผนกกงสุลสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ทุกวันจันทร์ และวันพุธ เวลา 14.30น ถึง 17.00 น. เริ่มปฏิบัติการ ตั้งแต่เดือนเมษายนปี ค.ศ 2001 จนถึงปัจจุบัน (ช่วยผู้ที่มาติดต่อตรวจเช็คเอกสาร ช่วยกรอกแบบฟอร์ม คำร้อง และรับแปลเอกสาร) รวมสถิติการช่วยเหลือบริการ 5883 ครั้ง ช่วยให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่คนไทยที่ประสบปัญหาต่างๆ ในฐานะอาสาสมัคร ทุกวันจันทร์ และวันพุธ เวลา 14.30น ถึง 17.00 น. ที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส รวมสถิติให้คำปรึกษาแนะนำ 4370 ครั้ง การเป็นล่ามอาสาสมัครให้คนไทยที่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านภาษา ตามสถานที่ทางราชการและสำนักงานต่างๆของฝรั่งเศส เช่น โรงพยาบาล ศาล เทศบาล อนามัย คลีนิค สถานีตำรวจ สำนักงานทนายความ ธนาคาร ไปรษณีย์ สำนักงานเสียภาษี สวัสดิการ หน่วยสังคมสงเคราะห์ สำนักงานประกันสุขภาพ เยี่ยมคนไทยในสถานที่กักกัน ฌาปนกิจศพ สำนักงานทรัพย์สิน ฯลฯ หมายเหตุ การพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลหรืออนามัย แต่ละรายไม่ได้ไปครั้งเดียวต้องไปหลายครั้งติดต่อกันปีๆ การไปแต่ละครั้งอาจ ต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง หรือ 1วันเต็ม รวมสถิติการปฎิบัติงานนอกพื้นที่ 1873 ครั้ง อาสาสมัครรับฟังปัญหาและให้คำปรึกษาแนะนำต่างๆทางโทรศัพท์สำหรับคนไทยที่ประสบปัญหาหรือผู้สนใจต้องการสอบถาม ข้อมูลอื่นๆ เช่นเรื่องครอบครัว การหย่าร้าง การเสียชีวิต มรดก ถูกจับ เจ็บป่วย การงาน เรื่องทำเอกสารต่างๆ การหางานทำ การดำรงชีวิต เหตุด่วนเหตุร้าย การหาที่อยู่อาศัย การแปลเอกสารต่างๆ ต้องการให้ดูเอกสาร ฯลฯ รวมสถิติการให้คำแนะนำปรึกษาต่างๆทางโทรศัพท์ 5109 ครั้ง ชาวฝรั่งเศสสอบถามข้อมูลอื่นๆทางโทรศัพท์ เช่น - เรื่องการขอวีซ่าให้หญิงไทยที่เมืองไทย 35 ครั้ง - เรื่องการต่อวีซ่าให้หญิงไทยอยู่ต่อในฝรั่งเศสได้อย่างไร 48 ครั้ง - เป็นล่ามแปลทางโทรศัพท์ให้ทางโรงพยาบาล 6 ครั้ง - เป็นล่ามแปลทางโทรศัพท์ให้บ้านสังคมสงเคราะห์ 5 ครั้ง - เป็นล่ามแปลให้ชาวฝรั่งเศสกับหญิงไทยที่เมืองไทย 3 ครั้ง - แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว หาไกด์ 24 ครั้ง - ต้องการไปเกษียณอายุที่มืองไทย ระยะสั้นและระยะยาว 130 ครั้ง - กฏหมายการแต่งงานกับหญิงไทย 60 ครั้ง - ขอรับบุตรบุญธรรมจากประเทศไทย 25 ครั้ง - แปลเอกสารต่างๆ 184 ครั้ง - ทำข่าวเมืองไทย ทีวี ภาพยนตร์ วัฒนธรรรม อาหาร 12 ครั้ง - บริษัทสร้างภาพยนตร์ที่ต้องการหาคนไทยแสดงภาพยนตร์ แปลบทภาพยนตร์ สัมภาษณ์วิทย และุ ออกรายการทำอาหารไทยทางทีวี 16 ครั้ง - ชาวฝรั่งเศสประสบอุบัติเหตุที่เมืองไทย 5 ครั้ง - ชาวฝรั่งเศสขอให้ช่วยโทรศัพท์ไปเมืองไทย 25 ครั้ง - ชาวฝรั่งเศสเสียชีวิตที่เมืองไทย 5 ครั้ง - เรื่องการเรียนภาษาไทย 138 ครั้ง - ต้องการแปลจดหมายเป็นภาษาไทยให้คนไทย 30 ครั้ง - ชาวฝรั่งเศสต้องการติดตามหาญาติที่เมืองไทยเด็กลูกครึ่งที่ขาดการติดต่อ และรับมรดกต่างๆ 5 ครั้ง - รวมสถิติที่ชาวฝรั่งเศสโทรศัพท์เข้ามาติดต่อสอบถามขอคำแนะนำและต้องการความช่วยเหลือ 756 ครั้ง หมายเหตุ สถิติการปฏิบัติงานของอาสามัครทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ได้ลงบันทึกไว้เท่านั้น ข้อมูล ชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส - ขอสงวนลิขสิทธิ์ - 20 มกราคม 2011

8

°37 janvier-mars 2011


Message de Nat – Kitima, la première présidente de l Association จากคุณณัฐ-กิติมา ประธานคนแรกของชมรมสตรีไทย ฯ Au Conseil d’administration, bénévoles et adhérents de l Association Je regrette vraiment de ne pas pouvoir fêter avec vous les10 ans de l’Association. Le 3 mars de chaque année me fait immanquablement penser à l’Association, puisque nous avions choisi « La journée de la femme » pour déclarer officiellement la naissance de l’Association, ayant pour maman une dizaine de Thaïes (le Conseil d’Administration et les bénévoles ). Et cette année est réellement une année exceptionnelle ! L’Association Solidarité Thaïe en France est la première association d’entraide pour les Thaïs vivant en France. Khun Panithane a pris l’initiative de nous réunir pour en discuter. Les personnes présentes se connaissant peu, pourtant nous avons pu collaborer, définir le but, les objectifs, le fonctionnement etc. d’une manière rapide et homogène. Cela venait du fait que nous aidions déjà nos compatriotes, chacune dans son coin, et qu’il apparaissait évident qu’ensemble, nos actions seraient plus efficaces. La constitution du premier Conseil d’Administration était risqué, comme nous nous connaissions peu : alors on demandait les préférences, les compétences et la disponibilité de chacune (tout le monde était bénévole et novice !). Résultat de cette démarche pour constituer le premier conseil d’administration : j’ai eu une équipe extraordinaire ! Chacune assumait admirablement sa responsabilité. Nous démarrions avec rien : ni argent (à part quelques cotisations), ni matériel ( à part un appareil téléphonique offert par une personne généreuse), et c’est ainsi que l’Association a pris son envol…. Dans un premier temps, la rumeur disait que « notre association n’irait pas loin ! »Nous avons réussi parce que nous le faisons avec notre cœur Le fruit du travail durant ces 10 ans en est le principal témoin. Toute personne qui vient aider

l’Association donne beaucoup de son temps, de son énergie ou de soutien moral ou financier, lorsque la personne habite loin, par exemple, et ne peut se déplacer. Mais ce qui nous lie comme une base solide c’est notre cœur… Même si je ne peux pas participer aux activités de l’Association, à part ma rubrique « Puzzles de la langue française » dans « Boudsaba », je n’en demeure pas moins attentive à tout ce que vous faites. « Boudsaba » représente le sourire de notre Association, et j’en profite pour féliciter la rédactrice et l’équipe éditoriale de chaque période successive . Recevez mes compliments, mon encouragement et toute mon affection. Nat-Kitima VIGNAUD

ถึงคณะกรรมการ อาสาสมัคร สมาชิกของชมรมสตรีไทย ฯ พี่เสียดายจริง ๆ ที่มาร่วมงานฉลอง 10 ปี กับน้อง ๆ ไม่ได้ ทุกวันที่ 8 มีนาคมของแต่ละปี พี่จะคิดถึงชมรม ฯ เสมอ เพราะเราได้เลือก “วันสตรีสากล ”วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันไปแจ้งเกิดของชมรม ฯ มีสตรีไทยสิบกว่าคนเป็นแม่ ( คณะกรรมการชุดแรก และน้อง ๆ อาสาสมัคร ) ปีนี้ เป็นปีพิเศษจริงๆ สมาคมชมรมสตรีไทย เป็นสมาคมแรกที่ตั้งขึ้นเพื่อ ช่วยเหลือคนไทยในฝรั่งเศส คุณปณิธาน ตาบูเรล เป็นคนชักชวนให้มาคุยกัน ต่างคนก็ต่างไม่รู้จักกันดีนัก แต่เราก็สามารถ จัดตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ การปฏิบัติงาน ฯ ล ฯ ของชมรม ฯ ได้อย่างรวดเร็ว และพร้อมเพรียงกัน ทั้งนี้ คงจะเป็นเพราะว่าต่างคน ก็ช่วยเหลือคนไทยอยู่แล้ว มาร่วมมือกัน จะทำประโยชน์ได้มากกว่า การตั้งคณะกรรมการชุดแรก ก็เสี่ยงไม่น้อย เพราะเราไม่รู้จักกันดี แต่เราก็ถามกันว่าใครถนัดทางไหน มีเวลาให้ชมรมฯ มากแค่ไหน ( ทุกคนเป็นอาสาสมัครใหม่ ) ผลปรากฏว่า พี่มีทีมทำงานที่ดีที่สุด แต่ละคนทำหน้าที่ที่รับผิดชอบอย่างดีเยี่ยม เราเริ่มจากไม่มีอะไรเลย ไม่มีเงิน ( นอกจากค่าสมาชิก ) ไม่มีอุปกรณ์ ( นอกจากเครื่อง โทรศัพท์ที่มีคนใจดีซื้อให้ ) ชมรม ฯ จึงตั้งตัวอย่างรวดเร็ว ระยะแรกมีเสียงแว่วมาว่า เราจะไปได้ไม่กี่น้ำ.......แต่เราประสบผลสำเร็จ เพราะเราทำด้วยน้ำใจ........ ผลงานในตลอดเวลา 10 ปี เป็นพยานได้ดี ทุกคนที่เข้ามาช่วยชมรม ฯ ต้องให้เวลา และทุ่มเท เหนื่อยกับงานของเรามาก ๆ สมาชิกบางคน อยู่ไกล ไม่มีเวลา ก็เอาใจช่วยและช่วยทุนทรัพย์ แต่สิ่งที่เชื่อมรากฐานอันแข็งแรง ของเรา คือ น้ำใจ ถึงพี่จะไม่มีโอกาสเข้ามาช่วยงาน นอกจากที่เขียน “ เศษ ๆ ภาษาฝรั่งเศส” ลงใน “บุษบา ” พี่ก็ติดตามผลงานของน้องๆ สม่ำเสมอ “บุษบา “ คือ รอยยิ้มของชมรมฯ พี่ขอปรบมือให้บ.ก และคณะบ.ก ทุกวาระ ด้วยรัก ชื่นชม ปราถนาดี แด่น้อง ๆ พี่ณัฐ janvier-mars 2011  °37

9


ครบรอบ 10ปี ของชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส สัมภาษณ์พิเศษ คุณปณิธาน ตาบูเรล ประธานชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส

โดยทีมงานบุษบา

คุ ณ ป ณิ ธ า น ช่ ว ย เ ล่ า ถึ ง ค ว า ม เป็นมาของชมรมสตรีไทยใน ฝรั่งเศสได้ไหมคะ จากการเข้ า ร่ ว มประชุ ม กั บ คณะ ท ำ ง า น ช า ว ไ ท ย ที่ ท ำ ง า น ใ ห้ ความช่ ว ยเหลื อ คนไทยและหญิ ง ไ ท ย ใ น ยุ โ ร ป ที่ ก รุ ง เ บ อ ร์ ลิ น จัดโดย สมาคมธาราในเยอรมนี เมื่อปี2000 ดิฉันได้ตระหนัก ว่าในฝรั่งเศส ก็ยังไม่มีองค์กรไทย ที่ช่วยเหลือคนไทย นอกจากจะทำ การช่ ว ยเหลื อ กั น เป็ น การส่ ว นตั ว ดิ ฉั น มองเห็ น การช่ ว ยเหลื อ เพื่ อ น ร่วมชาติเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง จ า ก ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ที่ เ ค ย ย้ า ย ไ ป อ ยู่ ห ล า ย ป ร ะ เ ท ศ ดิ ฉั น เข้ า ใจและเห็ น ใจความรู้ สึ ก ของคนไทยที่ ม าอยู่ ต่ า งบ้ า นต่ า งเมื อ ง ตัวดิฉันเองตอนมาอยู่ฝรั่งเศสใหม่ๆพูดภาษาไม่ได้ ไม่รู้จักใครไม่มีที่ปรึกษา จะถามอะไรใครก็ยากลำบาก การที่คนไทยมาอยู่ต่างบ้านต่างเมืองถ้ามีใครสัก คนที่พูดภาษาเดียวกันคอยแนะนำช่วยเหลือก็จะทำให้เขาเหล่านั้นรู้สึกอบอุ่น ขึ้นบ้าง การจัดตั้งสมาคมหรือชมรมช่วยเหลือคนไทย ก็น่าจะเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับสังคมเล็กๆของคนไทยในฝรั่งเศส ได้ไม่มากก็น้อย ดิฉันได้ชวน ดร.พรพนา วัฒนเสรี เพื่อนสนิทมาช่วยกันเขียนร่าง โครงการจัดตั้งองค์หญิงไทยเพื่อช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาในฝรั่งเศส จนได้เป็นรูปของโครงการแล้ว จึงได้ไปชักชวนเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ กลุ่มหนึ่งมา ประชุมร่วมกันครั้งแรกที่บ้าน เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2001 ทุกคนเห็นพ้อง และสนับสนุนการก่อตั้ง“ชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส” (Association Solidarité Thaïe en France )โดยมี คุณณัฐ-กิติมา สีบุญเรือง VIGNAUD เป็นหัวเรือใหญ่ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2001 “ ชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส ” ได้จดทะเบียน เป็นสมาคมถูกต้องตามกฎหมายของฝรั่งเศส ที่ปารีสเขต1 ชมรมสตรีไทยใน ฝรั่งเศสมีวัตถุประสงค์และมีเป้าหมายเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน คือ ช่วย เหลือหญิงไทยคนไทยที่ประสบปัญหาโดยการให้คำแนะนำเบื้องต้น เพื่อที่จะ ให้เขาเหล่านั้นช่วยเหลือตนเองได้ต่อไปในระยะยาว (เนื่องจากเราไม่สามารถ ที่จะช่วยเหลือทุกคนได้หมด เราช่วยเหลือตามกำลังและการช่วยเหลือต้องอยู่ ภายใต้กฎหมาย) คุณณัฐ-กิติมา สีบุญเรือง VIGNAUD ได้ให้เกียรติรับ เป็นประธานคนแรกของชมรมสตรีไทยฯ โดยมีคุณนิตยา ธนาดาบุตร์ และดิฉันร่วมเป็นรองประธาน ในสมัยแรก

นอกจากช่วยเหลือคนไทยชมรมสตรีไทยทำอะไรอีกค่ะ

ชมรมสตรี ไ ทยประกอบไปด้ ว ยอาสาสมั ค รที่ ต้ อ งการช่ ว ยเหลื อ คนไทยที่ประสบปัญหา อาสาสมัครเหล่านี้ได้ออกพื้นที่ ช่วยเป็นล่าม ช่วยพา คนไทยไปติดต่อสถานที่ราชการ ช่วยรับฟังปัญหาและให้คำแนะนำ

10

°37 janvier-mars 2011

ต อ บ ค ำ ถ า ม แ ล ะ ใ ห้ ค ำ ป รึ ก ษ า ท า ง โ ท ร ศั พ ท์ สอนภาษาฝรั่งเศสแก่คนไทย นอกจากนั้นเรายังเสนอให้มี อ า ส า ส มั ค ร เ ข้ า ไ ป ช่ ว ย เ ห ลื อ ค น ไ ท ย ที่ แ ผ น ก ก ง สุ ล สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ทุกวันจันทร์และวันพุธ ในช่วงบ่ายเวลา 14.00น-17.00น. ซึ่งได้รับการตอบรับและสนับสนุน จากสถานเอกอัครราชทูตเป็นอย่างดี มีอาจารย์ประไพ แว็งซอง อาสาสมัครชมรมฯคนสำคัญ ซึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ ตั้งแต่ปี2004 มาจน ถึงปัจุบันโดยมีอาสาสมัครน้องใหม่ๆเข้ามาช่วยผลัดเปลี่ยนกันไป

และที่มาของหนังสือบุษบาละค่ะ

เนื่องจากชมรมสตรีไทยต้องการส่งเสริมให้คนไทยได้รับ ข่าวสารข้อมูล ความรู้ กฎหมาย ในการดำรงชีวิตในฝรั่งเศส พวก เราจึงจัดทำหนังสือวารสารภาษาไทย “บุษบา” พร้อมๆกันกับการ ตั้งชมรมฯโดยมีคุณปริมวรา ศกุนตภัย เป็นบรรณาธิการคนแรก หลังจากนั้นบรรณาธิการท่านอื่น เข้ามารับหน้าที่ตามวาระ มีอาสา สมัครและสมาชิกท่านอื่นเข้ามาช่วยกองบรรณาธิการ สำหรับ บทความต่างๆบรรณาธิการในแต่ละวาระเป็นผู้ดูแลประสานงาน กับนักเขียน นอกจากนี้ยังมี ผู้อ่านและสมาชิกร่วมส่งบทความที่ ให้ความรู้ ความบันเทิง และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นมาให้ลงในบุษบา อีกด้วย หนังสือบุษบาจึงเป็นเสมือนสื่อกลางระหว่างชมรมฯ และ ชาวไทยในฝรั่งเศสเนื่องจากผู้จัดทำบุษบาทุกท่านเป็นอาสาสมัคร ที่มีหน้าที่ส่วนตัวนอกเหนือจากการทำหนังสือ บุษบา บางครั้ง หนังสือบุษบาจึงออกช้า คลาดเคลื่อนไปบ้าง แต่ทางทีมงานก็ทำกัน อย่างเต็มที่ตามความสามารถของแต่ละคน

อะไรคื อ ปั ญ หาหลั ก ของคนไทยในฝรั่ ง เศสและทาง ชมรมฯช่วยเหลืออย่างไรคะ

ปั ญ หาส่ ว นหนึ่ ง ของคนไทยคื อ อุ ป สรรคด้ า นภาษา หลายคนยังไม่สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาฝรั่งเศสได้ สาเหตุส่วน ใหญ่คนไทยที่ทำงานไม่ได้มีเวลาไปรํ่าเรียน เพราะทุกคนต้องทำงาน ทำให้มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตอยู่ พวกเขาต้องการล่ามไปหาหมอ หรือทำความเข้าใจกับการทำ เอกสารต่างๆอยู่เสมอ ชมรมสตรีไทยจึงได้เปิดสอนภาษาฝรั่งเศส ให้กับสมาชิกและผู้สนใจทั่วไป สอนโดย ดร.ผ่องพรรณ LEGRAND ปัจจุบันเปิดมีการสอน 4 วันต่อสัปดาห์ ทั้งภาคเช้าและภาคบ่าย ส่วนปัญหาอื่นที่พบบ่อยครั้ง คือ ปัญหาทางครอบครัว ปัญหาการหย่าร้าง จำนวนหญิงไทยที่แต่งงานกับชายฝรั่งเศสเพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัญหาการหย่าร้างก็มีจำนวนเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน หญิงไทยโทรศัพท์เข้ามาปรึกษาเรื่องครอบครัว ต้องการหาทนาย ต้องการหย่า มีหลายสาเหตุ เช่น สามีตบตี สามีติดยา สามีไปมีผู้หญิงอื่น สามีไล่ออกจากบ้าน เป็นต้น ชมรมสตรีไทย ก็ช่วยรับฟัง ให้คำแนะนำเบื้องต้น ช่วยแนะนำหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ทางชมรมฯได้จัดสัมนาอบรมให้ความรู้โดยมีวิทยากร ด้านกฎหมาย จิตวิทยา และอื่นๆ มาให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม


(ติดตามข่าวสารได้ในบุษบาและทาง สตรีไทยนะคะ)

Facebook

ของชมรม

ถ้าคุณปณิธานสามารถแนะนำหญิงไทยทีจ่ ะมาอยูฝ่ รัง่ เศสได้ ?

ดิ ฉั น คิ ด ว่ า ก า ร เ ลื อ ก คู่ ค ร อ ง ที่ เ ป็ น ค น ต่ า ง ช า ติ ต่างภาษาต่างวัฒนธรรม ต้องมาอยู่ในต่างแดนที่ไม่รู้จักใคร การที่จะ เลือกแต่งงานกับใครสักคนหนึ่ง ต้องดูที่อุปนิสัยใจคอและพฤติกรรมของ คนคนนั้นให้มากๆ ต้องใช้เวลาดูใจกันด้วย จิตใจของมนุษย์นั้นยาก แท้หยั่งถึง ไม่ว่าชาติใดภาษาใด รู้จักกันใหม่ๆอะไรก็ดีหมด การคิดแบบ เสี่ยงโชคหาคู่ในต่างแดน ควรคำนึงถึงว่า ฝรั่งไม่ได้รํ่ารวยไปหมดทุกคน บางคนคิดว่าอยู่เมืองนอกชีวิตสวยหรู สุขสบาย อย่าลืมว่าต่างแดนไม่ ได้เป็นแดนสวรรค์อย่างที่คิดเสมอไป ยิ่งถ้าเราไม่รู้ภาษาเขาด้วยแล้ว อาจตกเป็นเบี้ยล่างโดยไม่รู้ตัว ดิ ฉั น ขอเป็ น กำลั ง ใจให้ กั บ หญิ ง ไทยทุ ก คนที่ ป ระสบ ปัญหา ดิฉันเชื่อมั่นว่าหญิงไทยทุกคนมีศักยภาพ มีความสามารถ ทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรี มีสิทธิเสรีภาพที่จะดำเนินชีวิตของตนเอง อย่างมีคุณค่าในต่างแดนนี้ ได้อย่างเท่าเทียมกัน และในทางเดียวกัน ก็ต้องกลับมามองย้อนดูตัวเราเองบ้างว่า เราได้ พ ยายามพั ฒ นาตนเองให้ เ ข้ า กั บ สั ง คมนั้ น ๆและอย่ า งน้ อ ยได้ ประพฤติตนให้สมศักดิ์ศรีของความเป็นสตรีไทยในต่างแดนอย่างครบ ถ้วนหรือเป็นแบบอย่างแล้วหรือยัง คนที่จะตอบได้คือตัวเรานั้นเอง

เคยมีวันที่ท้อแท้ใจจนอยากจะเลิกช่วยเหลือคนไหมคะ

ก็มีบ้างค่ะ แต่ก็ไม่ได้หนักหนา การที่พวกเราออกมาช่วยเหลือ เพื่อนคนไทยด้วยกันเอง เราจะถูกมองจากคนไทยบางกลุ่มด้วยกันเอง ในอีกแง่หนึ่ง อาสาสมัครบางคนถึงกับตกใจ หัวเราะไม่ออกเหมือนกัน เมื่อได้รับคำบอกกล่าวของบางคนว่า “ อ้อ ชมรมสตรีไทย เป็นแค่พวกแม่บ้านที่ไม่มีงานทำ มีเวลาว่างมากไม่รู้จะทำอะไร เลยอยากเด่น อยากดัง อยากได้หน้า เลยต้องออกมาทำอย่างนี้” ฯลฯ ได้หน้าได้ตาคงไม่ได้แน่นอน แต่อาจจะเสียหน้ามากกว่าถ้าช่วยเหลือ เขาไม่ได้ดี มีคนติแบบนี้อยู่เสมอ ดิฉันเคยยํ้าบอกอาสาสมัครเพื่อนร่วม งานทุกคนอยู่เสมอว่า “เราทำงานกันแบบพี่น้อง เป็นงานจิตอาสา ทำได้เท่าไรก็ทำแค่นั้น นอกจากเราจะไม่ได้เงินเดือนเงินดาวอะไรแล้ว เรายังจะต้องเสียเงิน เสียเวลาส่วนตัว และยังจะต้องถูกกล่าวหา จากเพื่ อ นร่ ว มชาติ ด้ ว ยกั น อี ก เช่ น กั น การที่ เ ข้ า มาทำหน้ า ที่ ต รงนี้ ถ้าเรามีความมุ่งมั่น และทำงานอย่างมีความสุขใจ บริสุทธิ์ใจไม่ทำให้ ครอบครัวของเราเดือดร้อน ก็ไม่ต้องหวั่นไหว จะไม่มีใครรู้ดีไปกว่าตัว เราว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ ถ้าเราปล่อยให้คำพูดของคนบางคนมามี อิทธิพลเหนือกว่าความเป็นตัวตนของตัวเอง จนเกิดความไม่มั่นใจ ไม่มี ความเข้มแข็งเพียงพอ เราก็จะเป็นผู้แพ้ตลอดการ และในที่สุดก็จะไม่ สามารถที่จะเข้าไปช่วยเหลือบุคคลที่อ่อนแอกว่าและมีปัญหาได้เลย

ในโอกาสครบรอบ 10 ปีชมรมฯมีโครงการทำอะไรบ้าง

ชมรมสตรีไทยตั้งใจที่จะทำคู่มือ “อยู่อย่างไรในฝรั่งเศส” เป็นโครงการเผยแพร่ ข้อมูล ความรู้ กฎหมาย สวัสดิการสังคม หน้าที่พลเรือน วัฒนธรรม กับวิถีทางการดำเนินชีวิตในฝรั่งเศส หนังสือเล่มนี้อาสาสมัครของชมรมฯได้ค้นคว้า จัดแปล รวบรวมข้อมูล จากประสบการณ์ ใ นการช่ ว ยเหลื อ แก้ ไ ขปั ญ หาต่ า งๆของคนไทยใน ฝรั่งเศส โครงการคู่มือ “อยู่อย่างไรในฝรั่งเศส” ได้รับการสนับสนุนและ ความอนุเคราะห์ จาก สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส และมูลนิธิ บ้านเกร็ดตระการของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ มนุษย์ ชมรมสตรีไทยจะเปิดตัวหนังสือในเร็วๆนี้ค่ะ

ชมรมสตรีไทยจัดงานฉลองครบรอบ 10 ปีในวันที่ 8 มีนาคม 2011 ซึ่งตรงกับวันสตรีสากล มีการจัดนิทรรศการเรื่อง “บทบาทสตรีไทย ในการรักษาสืบสานวัฒนธรรมไทยในฝรั่งเศส ” Exposition « Le rôle des femmes dans la transmission culturelle thaïlandaise en France » ที่ยูเนสโก ร่วมกับสำนักงานผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส เป็นการนำนักศิลปินต่างๆ ของชมรมฯมาร่วมแสดงนิทรรศการครั้งนี้ เช่น สปา อาหาร งานฝีมือต่างๆ ดิฉันมีความภูมิใจขอเรียนเชิญทุกท่านเข้าร่วมงานในวันที่ 8 -9 มีนาคม 2011 ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก ใ น ช่ ว ง ฤ ดู ใ บ ไ ม้ ผ ลิ ปี นี้ ช ม ส ต รี ไ ท ย มี โ ค ร ง ก า ร “น้อมเกล้าชาวไทย-ฝรั่งเศส ถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว“ แสดงถึงความจงรักภักดีของเราชาวไทยในฝรั่งเศสและเยาวชน ไทย-ฝรั่งเศส ด้วยค่ะ

สุ ด ท้ า ยนี้ ท างที ม งานอยากให้ คุ ณ ปณิ ธ านกล่ า วอะไรเป็ น พิเศษสำหรับผู้อ่านบุษบา

ชมรมสตรี ไ ทยในฝรั่ ง เศสยื น หยั ด ได้ ด้ ว ยอาสาสมั ค รและ ผู้สนับสนุนทุกท่านที่ทำงานช่วยเหลือคนไทย ดิฉันขอชื่นชมและขอ สรรเสริญความมีนํ้าใจ ความพยายาม และการช่วยเหลือจากทุกๆท่าน ทั้งผู้ที่คอยช่วยเหลืออยู่เบื้องหลัง ทุกคนได้ช่วยกันสร้างสังคมเล็กๆ ของคนไทยในต่างแดนให้ยืนหยัดมาได้ยาวนานถึง10 ปีโดยไม่มีคำว่า เหน็ดเหนื่อย และท้อแท้ ชมรมสตรีไทย จะอยู่ไม่ได้เลยถ้าปราศจาก บุคคลเหล่านี้ ดิฉันอยากจะขอบคุณ อาจารย์ประไพ แว็งซอง เป็นพิเศษ ดิฉันขอสรรเสริญ ความดี และความเสียสละของอาจารย์ประไพซึ่งเป็น อาสามัครคนสำคัญของชมรมสตรีไทย ผู้มีหัวใจเต็มร้อย ทุ่มเทกำลังใจ กำลังกายรวมทั้งกำลังทรัพย์ในการช่วยเหลือหญิงไทยคนไทยที่ประสบ ปัญหาในฝรั่งเศสอยู่อย่างสมํ่าเสมอ โดยไม่เคยบ่นหรือท้อแท้แต่อย่าง ใด ดิฉันซาบซึ้งความมีนํ้าใจ สำหรับดิฉัน เธอคือแม่พระของเราชาวไทย ในฝรั่งเศส ดิฉันในนามของชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศสขอให้เกียรติและ ขอขอบพระคุณเป็นพิเศษแด่คณะผู้ร่วมก่อตั้งชมรมฯและอาสาสมัคร ทุกรุ่นทุกท่าน บรรณาธิการหนังสือบุษบา และคณะกองบรรณาธิการ นักออกแบบปก รูปเล่ม มือพิมพ์ นักเขียน นักตรวจอักษร ช่างภาพ ผู้จัดทำเว็บไซต์ชมรมสตรีไทย ล่าม นักแปล ครู อาจารย์สอนภาษา ของโรงเรียน ขอขอบพระคุณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส มูลนิธิบ้านเกร็ดตระการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ แห่งประเทศไทย สำนักงานผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก บริษัทการบินไทย(มหาชน) ณ กรุงปารีส สำนักงานส่งเสริมการท่อง เที่ยวไทย ณ กรุงปารีส บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานภาครัฐบาลฝรั่งเศส ผู้มีอุปการะคุณทุกท่าน และพิเศษสุดสมาชิกชมรมสตรีไทยฯ ทั้งในฝรั่งเศสและในประเทศไทย ที่ให้การสนับสนุนอย่างดีเยี่ยม เสมอมา ทำให้ชมรมสตรีไทยฯได้ทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และดำเนินงานมาได้จนทุกวันนี้ ***************************************

janvier-mars 2011  °37

11


กิจกรรมชมรมสตรีไทย ตั้งแต่ปี 2001 ถึง ปัจจุบัน

Nos activités depuis 2001

2001

2001 -ชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ “ปฐมจิตวิทยา” ให้ความรู้เรื่องจิตวิทยา เบื้องต้นกับอาสาสมัครที่จะออกปฏิบัติการในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา โดย จิตแพทย์นายวัชรพล กำเนิดสิริ

2002

2002จัดงาน “ใส ใส...นํ้าใจบุษบา” ครบรอบ1ปีชมรม สัมนาเรื่อง ”อยู่ฝรั่งเศส อย่างไรให้มีความสุข”

12

°37 janvier-mars 2011


2003

วันที่ 22-23 มีนาคม2003 ชมรมสตรีไทยฯ เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะผู้แทน หญิงไทยในยุโรปที่กรุงปารีส จาก 5 ประเทศ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ใน เพื่อ เตรียมร่างการบันทึกแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement)ระหว่างภาครัฐไทย และคณะทำงานช่วยคนไทย

2003 วันที่ 13-15 มิถุนายน โดยการสนับสนุนทางภาครัฐ ชมรมสตรีไทยฯเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงาน หญิงไทย ในยุโรป 5ประเทศ กับภาครัฐบาลไทยเพื่อจัดตั้ง คณะทำงานหญิงไทยฯเป็น“ เครือข่ายหญิงไทยในยุโรป” อย่างเป็นรูปธรรม และทำบันทึกแถลงการร่วมกันเพื่อ “ดำเนินการให้การพิทักษ์คุ้มครองและช่วยเหลือ เด็กไทย หญิงไทยและคนไทยที่ตกทุกข์ได้ยากในภาคพื้นยุโรป” โดยมี ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและ สวัสดิการ ผู้อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้า หญิงและเด็ก และกระทรวงการตต่างประเทศ รองอธิบดีกรมการกงสุล รองอธิบดีกรมยุโรป ที่สถาบันคนตาบอด Institut le Val Mandé ชานกรุงปารีส

2004

2004 ประชุมสามัญประจำปีชมรมสตรีไทย janvier-mars 2011  °37

13


2005

ประชุมสามัญประจำปี เรื่อง ความรุนแรง ในครอบครัวโดยเชิญเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทนายความมาให้คำแนะนำ

ชมรมสตรีไทยฯจัดงาน “พลบคํ่าวัฒนธรรมไทย” ที่ASIEM

2005ชมรมสตรีไทยฯจัดงานหัตถศิลป์ของสมาชิก

2006

2006 ชมรมสตรีไทยฯร่วมกับเครือข่ายหญิงไทยในยุโรปจัดอบรม ครูสอนภาษาไทย ในยุโรปครั้งที่1 ที่กรุงปารีส สนับสนุนโครงการ โดยสำนักงานคณะผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ณ กรุงปารีส

14

°37 janvier-mars 2011


2007

2007 : ชมรมฯจัดงาน พลบคํ่าวัฒนธรรมไทยที่ASIEM ปารีส

2007ประชุมสามัญประจำปีชมรมฯ เรื่อง “อยู่อย่างไรให้สุขใจในฝรั่งเศส"

ชมรมสตรีไทยฯ งานฝีมือสอนทำกรอบรูป ให้กับสมาชิก

janvier-mars 2011  °37

15


2008

2008 ประชุมสามัญประจำปีชมรมฯเรื่องสอนลูกรักให้รู้จักภาษาไทย

2009

ชมรมสตรีไทยได้รับเชิญร่วมรายการทีวี Cuisine.TV แสดงอาหารไทยโชว์ในรายการ “ครัวเพื่อนบ้าน ”

ประชุมสามัญประจำปีชมรม 2009 สัมมนาเรื่อง “ เลี้ยงลูกอย่างมีความสุขในสองวัฒนธรรม”

16

°37 janvier-mars 2011


2010

ประชุมสามัญประจำปีเรื่อง “ครองรักครองเรือนในสองวัฒนธรรม ”

ชมรมสตรีไทยฯรวมพลัง เพื่อให้เกิดสันติภาพและ ต่อต้านการใช้ความ รุนแรงทางการเมือง ในประเทศไทย เมื่อ เดือนเมษายน 2010

ชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส นิมนต์ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ท่าน ว.วชิรเมธี ) มาแสดงธรรมะ เพื่อคนไทยไกลบ้าน โดย การสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีสและ สำนักงานคณะผู้แทน ถาวรไทยประจำยูเนสโก

janvier-mars 2011  °37

17


บทบาทชมรมสตรีไทยฯ ในยุโรป และต่างประเทศ

ประชุมคณะทำงานช่วยเหลือชาวไทย กรุงเบอร์ลิน 2002

ประชุมเครือข่ายหญิงไทยในยุโรปที่กรุงเบิร์น สวิตฯ 2005 ประชุมผู้แทนชาวไทยในยุโรปที่กรุงบรัสเซล 2006

ประชุมเครือข่ายหญิงไทยในยุโรป ซอเรนโต อิตาลี 2006

อบรมครูสอนภาษาไทยที่กรุงเบิร์น สวิตฯ 2010

18

°37 janvier-mars 2011

อบรมครูแม่ไก่ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม 2008

อบรมครูภาษาไทยที่กรุงบรัสเซล 2008


บทบาทชมรมสตรีไทยฯ ในยุโรป และต่างประเทศ

คณะชมรมสตรีไทยไป ประชุมเครือข่ายหญิง ไทยในยุโรปฯที่ กรุงบรัสเซล 2007

คณะผู้แทนชมรมสตรีไทยฯเข้าร่วมประชุมเครือข่าย หญิงไทยในยุโรปที่ กรุงลอนดอน 2008

2007 ผู้แทนชมรมสตรีไทยฯเข้าร่วม “การประชุมเชิงปฎิบัติการเครือข่ายช่วยเหลือ หญิงไทยในต่างประเทศ”ที่จังหวัดอุดรธานี และร่วมรายการสนทนา “เรื่องสุภาพสตรีอำเภอหนองวัวซอกับค่านิยมในการแต่งงานกับชาวต่างชาติ”

คณะผู้แทนชมรมสตรีไทยฯเข้าร่วมประชุมสมาพันธ์ครู ภาษาไทยและวัฒธรรมไทยในยุโรป ที่ กรุงลอนดอน 2010

คณะผู้แทนชมรมตรีไทยฯเข้าร่วมงาน วันสตรีไทย ของสภาสตรี แห่งชาติในพระบรมราชินูปถั​ัมภ์​์ ที่กรุงเทพฯ2010 janvier-mars 2011  °37

19


“โรงเรียนสอนภาษาฝรั่งเศสของชมรมสตรีไทย” จาก อาจารย์ผ่องพรรณ เลอกรองด์

ในโอกาสครบรอบ 10 ปี ของชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส เราได้มีโครงการสอนภาษาฝรั่งเศส จากความคิดของท่านประธานชมรม สตรีไทย คุณปณิธาน ตาบูเรล และคุณประไพ แว็งซอง ดิฉันได้มาช่วยสอน ภาษาฝรั่งเศสเริ่มปีแรกเดือน มกราคม ค.ศ.2009 โดยทางชมรมสตรีไทย ได้เช่าห้องเรียนที่ Maison Paroissiale ปารีสเขตที่ 15 ใกล้สถานีรถไฟ ใต้ดิน Félix Faure สอนพร้อมกับครูสุริยาหรือรู้จักกันในนาม ครูดีดี้ ตั้งแต่เวลา 9.00-12.00 น. ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี แต่ด้วยค่าเช่า สถานที่แพง เราจึงได้ย้ายมาสอนที่บ้านของประธานชมรมสตรีไทยฯ ในย่าน Ségur และ Cambronne บางครั้งก็ไปสอนที่บ้านนักเรียน ต่อมาก็ย้ายมา สอนที่บ้านของดิฉันเองที่ เมืองโบบีญี จนปัจจุบันนี้เราได้รับความกรุณา จาก คุณจิตตินิ วังสินธุ์ และคุณ Maxime Werndorfer จากร้าน Mme Shawn ย่าน Jacques Bonsergent ปารีสเขตที่ 10 เราได้ห้องเรียนใหม่ ก็ขอขอบพระคุณมาณที่นี้ และจากปากต่อปากว่าชมรมสตรีไทยได้เปิดสอน ภาษาฝรั่งเศสให้กับคนไทยทั้งรอบเช้าเวลา 9.00-12.00 น. รอบบ่ายเวลา 15.30-17.30 น. เราก็มีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น ดิฉันมาช่วยสอนภาษาฝรั่งเศสให้กับชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศสมี เหตุผลอยู่หลายประการ 1. เพราะเห็นว่าเป็นกิจกรรมช่วยคนไทยให้สามารถใช้ภาษา ฝรั่งเศสในการพูด ติดต่อสื่อสาร หรือเขียนได้อย่างถูกต้อง 2. เพราะความที่เป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศสอยู่ในประเทศไทยมา ก่อน และเป็นงานที่ถนัด รู้หลักสูตร รู้จักวิธีเรียน วิธีสอนและการวัดผลมี ประสบการณ์มากับนักเรียน นักศึกษาไทยอยู่แล้ว ผ่านการศึกษาและการ อบรมจากหลายหน่วยงาน จากหน่วยศึกษานิเทศก์ สมาคมครูภาษาฝรั่งเศส แห่งประเทศไทยศูนย์ปฏิบัติการทางภาษา ของสถานฑูตฝรั่งเศสและสมาคม ฝรั่งเศส ตลอด จนอบรมการสอนที่ฝรั่งเศสโดยตรง รู้จักปัญหาการใช้ภาษา ฝรั่งเศสของคนไทยอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการออกเสียง สำเนียงการใช้กฎ ไวยากรณ์ สำนวนต่าง ๆ ในการสื่อสารและวัฒนธรรมฝรั่งเศส การสอนภาษาฝรั่งเศสที่ปารีสเป็นความท้าทายใหม่ๆ โดยเฉพาะ สอนผู้ที่มาแต่งงานกับชาวฝรั่งเศส และมาทำงานในฝรั่งเศส ตามกฎหมาย ฝรั่งเศสเขาเหล่านั้นต้องสามารถพูด และเขียนภาษาฝรั่งเศสได้ตามเกณฑ์

มาตรฐานภาษาตามกรอบอ้างอิงของสภายุโรปในระดับพื้นฐานหรือ เบื้องต้น A1.1หรือ A1 ถ้าดิฉันทำให้พวกเขาสามารถมีทักษะในการ สื่อสารพูดและเขียนได้ ก็จะเป็นผลดีในหมู่คนไทย เพราะหลายๆ ชาติ ก็ช่วยเหลือคนของพวกเขา เช่น จีน อาหรับ ฯลฯ และผลดีอีกประการ หนึ่งก็คือ ทำให้สังคมในหมู่คนไทยเป็นปึกแผ่นมีความสามัคคี รักใคร่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการเรียนรู้ภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส นั บ เป็ น ข้ อ ได้ เ ปรี ย บเพราะอยู่ ใ นสิ่ ง แวดล้ อ มที่ ใ ช้ ภ าษาฝรั่ ง เศส ได้ยินได้ฟังได้เห็นอยู่บ่อยๆ ก็น่าจะพูดจะเขียนได้อย่างรวดเร็วครูให้ ผู้เรียนไป 50% ผู้เรียนไปต่ออีก 50% ผู้เรียนต้องช่วย ตัวเองด้วยหมั่นหาเวลาว่างท่องศัพท์ ผันกริยา พยายามใช้ภาษากับ เจ้าของภาษาหรือคนต่างชาติอื่น ๆบ่อย ๆ ถ้าผู้เรียนมาเรียน 2 วัน และหายไป 2-3 อาทิตย์ การเรียนย่อมไม่ได้ผล การเรียนรู้ถ้า จะให้สำเร็จต้องอาศัยหลักทางพระพุทธศาสนาเหมือนกัน ทางไปสู่ ความสำเร็จต้องมี สุ. จิ.ปุ.ลิ ต้องฟัง คิด พูด ไต่ถามเขียนจดหรือบันทึก ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งความเป็นผู้รู้ย่อมห่างไกล

อาจารย์ผ่องพรรรณ เลอกรองด์ กับนักเรียนส่วนหนึ่ง

ชมรมสตรีไทยได้เปิดสอนภาษาฝรั่งเศส ให้กับคนไทย รอบเช้าเวลา 9.00-12.00 น. รอบบ่ายเวลา 15.30-17.30 น. ติดต่อสอบถามเรียนภาษาฝรั่งเศสได้ที่

อาจารย์ประไพ แว็งซอง และ อาจารย์ผ่องพรรณ เลอกรองด์

20

°37 janvier-mars 2011

ชมรมสตรีไทยฯ โทร 01 42 73 38 09 หรือ 06 60 27 74 98


ข่าวประชาสัมพันธ์ à Paris

โครงการสอนลูกรักให้รู้จักภาษาไทย ชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส เปิดสอนภาษาไทยให้เยาวชนไทยและ ลูกครึ่งไทยในฝรั่งเศส (อายุ 5-12ปี) ทุกวันพุธ (ตามตารางการศึกษาเขตปารีส) เวลา 14:00-15:00น. เริ่มเปิดสอนตั้งแต่ วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2554 สถานที่เรียน : 32 rue Yves Toudic 75010 Paris (Mme Shawn Boutique) โทรติดต่อได้ที่ชมรมสตรีไทยฯ 01 42 73 38 09 06 89 35 81 37 ใช้หลักสูตรภาษาไทยพื้นฐานสำหรับคนไทยในต่างประเทศ ของกระทรวงศึกษาธิการ สอนโดย อาจารย์ปิยมาภรณ์ สุดสงวน-Bonneton à Clermont-Ferrand

ประชาสัมพันธ์โครงการสอนภาษาไทย ชมรมสตรีไทยในฝรัง่ เศส เปิดสอนภาษาไทยแก่บตุ รหลานไทย ในแคว้นโอแวร์ญ ทีเ่ มือง แคลร์มงต์ แฟร์รอ็ งด์ ผูป้ กครองทีส่ นใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิม่ เติมได้ท่ี คุณพนิตา บุษปภาชน์ Decroix โทรศัพท์ 04 73 37 22 36 หรือ 06 29 85 09 63 อีเมล์ bussapapach@hotmail.com

โปรดติดตามข้อมูลและข่าวสารของชมรมสตรีไทย ที่เว็บไซต์

http://satreethai.eu

janvier-mars 2011  °37

21


โรงเรียนภาษาไทยที่แคลร์มงต์แฟร็อง เล่าโดย คุณแม่หนูลอร์ ภาพโดย คุณแม่น้องจอร์แดน

วันพุธ เป็นวันที่หนูลอร์ ลูกสาววัยห้าขวบครึ่งของดิฉันตื่นขึ้นมา อย่างมีอย่างมีความสุขวันหนึ่ง ไม่ใช่เพราะว่าวันนี้ไม่มีโรงเรียนสามารถนอน ตื่นสายได้นิดหน่อย แต่เป็นเพราะเราตกลงกันว่า วันพุธเป็นวันของหนูกับแม่ สายๆแม่พาไปเล่นกีฬาที่หนูชอบ ส่วนช่วงบ่ายหนูไปโรงเรียนภาษาไทยที่ แคลร์มงต์แฟร็อง หนูจะได้เจอเพื่อนๆพี่ๆที่เป็นเด็กลูกครึ่งไทย-ฝรั่งเศส เหมือนกับหนู ส่วนแม่ก็จะได้พบปะพูดคุยกับแม่ๆเพื่อนคนไทยด้วยเช่นกัน โรงเรียนภาษาไทยที่แคลร์มงต์ฯ มีที่มาที่ไปอย่างไร ย้อนหลังไปเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2552 (2009) ครูบุ๋ม พนิตา บุษปภาชน์-Decroix ส่งข่าวดีมาว่าจะจัดปฐมนิเทศเพื่อเปิดสอน ภาษาไทยให้กับเด็กๆที่เมืองแคลร์มงต์แฟร์ร็อง เรื่องโรงเรียนภาษาไทยนี้ ครูบุ๋ม คุยให้ดิฉันฟังหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ลูกๆของเรายังอยู่ในวัยเตาะแตะ ดิฉันคอย ติดตามข่าวเป็นระยะๆ ตั้งคำถามกับตัวเองว่า โครงการนี้จะเป็นรูป

ดิฉันเองก็มีภาระเพิ่มขึ้น และความที่ย่ามใจว่าลูกฟังและพูดเข้าใจแล้ว ทำให้ความกระตือรือร้นที่จะขับเคี่ยวให้เขาอ่านออกเขียนได้ลดลงเป็น ลำดับ เมื่อครูบุ๋มมาส่งข่าวเรื่องโรงเรียน จึงเหมือนฟ้ามาโปรด ดิฉัน ตั้งใจว่าจะขอมีส่วนร่วมกับการเรียนการสอนให้มากที่สุดเท่าที่โอกาส อำนวย แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ครูบุ๋มจะหานักเรียนได้สักกี่คนกันหนอ เมื่อ le jour-J มาถึง กลับปรากฏว่า มีคุณพ่อคุณแม่ที่สนใจ ส่งลูกมาเรียนถึง 7 ครอบครัว เด็กๆทั้งหญิงและชายมีอายุระหว่าง 3 – 7 ขวบ บางคนพูดไทยคล่องแคล่ว บางคนฟังเข้าใจแต่ไม่ยอมพูด ที่พูดไม่ได้และฟังไม่เข้าใจเลยก็มี เด็กๆส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมือง แคลร์มงต์ฯหรือเมืองในละแวกใกล้ๆ แต่ก็มีบางคนที่บ้านอยู่ในเขตภูเขา ไกลออกไปพอสมควร คุณแม่ต้องขับรถเป็นชั่วโมงเพื่อพาลูกมาเรียน

สถานที่เรียนที่ครูบุ๋มจัดหาไว้ให้ เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ กะดูด้วยสายตาคร่าวๆ น่าจะไม่ต่ำกว่า 60 ตารางเมตร สามารถใช้ เป็นห้องเรียนและทำกิจกรรมได้หลากหลายอย่างไม่อึดอัด อาคารที่ ตั้งของโรงเรียนภาษาไทยนี้คือ Maison des Associations ของเมืองแคลร์มงต์ฯ ซึ่งครูบุ๋มทำจดหมายขอใช้สถานที่ไว้โดยไม่ มีค่าใช้จ่าย ตัวห้องเรียนอยู่ชั้นล่าง มีประตูเปิดเข้าออกได้สามทาง เมื่อเปิดประตูหลักเข้ามาในห้อง จะเห็นประตูกระจกโค้งทั้งซ้ายและขวา ประตูกระจกด้านหนึ่งเมื่อเปิดออกไปจะเป็นลานหินโล่ง มุมหนึ่งของ ลานนี้เป็นบันไดหินซึ่งใช้เดินออกจากตัวตึกขึ้นไปยังลานจอดรถและ สนามกว้างด้านหลังอาคาร สนามนี้เป็นที่โปรดปรานของเด็กๆ ตัวสนาม มีลักษณะเป็นเนินลาดชันเล็กน้อยเช่นเดียวกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของเมือง แคลร์มงต์ฯ กลางสนามมีต้นไม้ใหญ่ซึ่งออกดอกสวยสะพรั่งสีชมพูให้เรา เป็นร่างได้จริงหรือ ดิฉันได้รับทราบเรื่องโครงการสอนภาษาไทยของชมรมสตรี ชื่นชมในฤดูใบไม้ผลิ ไทยในฝรั่งเศสจากครูบุ๋ม และรู้สึกดีใจแทนลูกที่จะมีโอกาสได้เรียนภาษาไทย อย่างเป็นเรื่องเป็นราว เมื่อไม่มีค่าใช้จ่ายเรื่องสถานที่ ดังนั้นค่าสมัครเรียนจึงเก็บ เพียง 25 ยูโรในปีแรกซึ่งเปิดเรียนภาคปลายเพียงเทอมเดียว และ สมั ย ที่ ตั้ ง ท้ อ งหนู ล อร์ แ ละรู้ แ น่ ๆ ว่ า จะต้ อ งอพยพตั ว เองมาอยู่ 50 ยูโร ในปีต่อๆมา โรงเรียนเปิดและปิดตามปฎิทินการศึกษาของ ประเทศฝรั่งเศส ความกังวลของแม่มือใหม่อย่างดิฉันมีเพียงอย่างเดียว นั่นคือกลัวว่าลูกจะพูดไทยไม่ได้ และตัวเองจะไม่สามารถพูดคุยสั่งสอนลูก แบบเปิดอกได้ในทุกๆเรื่อง และเมื่อชั่งใจดูระหว่างการเคี่ยวเข็นตัวเองให้ พูดภาษาฝรั่งเศสจนคล่องแคล่วเช่นเดียวกับภาษาไทย กับการลงมือสอนลูก ให้เข้าใจภาษาไทย พูดไทยได้เหมือนเด็กไทยคนอื่นๆ อย่างหลังดูจะมองเห็น หนทางแห่งความสำเร็จได้แน่นอนกว่า และผลดีนั้นยังเผื่อแผ่ให้กับครอบครัว เพื่อนฝูงทางเมืองไทยอีกด้วย เมื่อตั้งใจไว้อย่างนั้น ดิฉันก็ตั้งหน้าตั้งตาพูด พูด พูดกับลูกมาเรื่อยๆ และเรียนรู้ไปกับลูกด้วยความทึ่งในความสามารถของ เด็กเล็กๆ ที่สามารถเข้าใจได้ทั้งสองภาษาอย่างง่ายดายแม้แต่เมื่อเขายังพูด ไม่ได้ ดิฉันพยายามจัดหา “ตัวช่วย” เพื่อให้เขามีโอกาสได้ยินได้ฟังภาษา ไทยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ คิดเอาว่าน่าจะช่วยให้เขาพูด “เหน่อ” น้อยลง เมื่อลูกเริ่มหัดพูด และลูกพูดได้ทั้งสองภาษา เวลากลับเมืองไทยก็พูดคุยกับ คุณตาคุณยาย พี่ป้าน้าอาได้ทุกคน หนำซ้ำยังทำหน้าที่เป็นล่ามตัวน้อย ทำให้ ญาติๆออกจะทึ่งและชื่นชมในตัวเขา ตัวดิฉันเองเริ่มโล่งใจ เบาใจว่างาน ชิ้นสำคัญในหน้าที่แม่ได้สำเร็จไปแล้วหนึ่งอย่าง นั่นคือลูกรู้ภาษาของแม่ โรงเรียนฝรั่งเศส เวลาเรียนที่ตกลงกัน คือ ระหว่างบ่ายสามโมงถึงสี่โมง ลูกพูดภาษาของแม่ได้แล้ว ขั้นต่อไป คือทำอย่างไรให้ลูก “รู้หนังสือ” หนทาง เย็นโดยประมาณ หลังเลิกเรียน เด็กๆจะอยู่รับประทานของว่างพร้อมกัน นี้เห็นความสำเร็จเพียงแสงริบหรี่ เพราะเรื่องอ่านและเขียน ต้องการทักษะ รอผู้ปกครองมารับตามเวลาที่นัดหมายกันไว้ คือ สี่โมงครึ่ง ในการสอนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนและต่อเนื่อง เราต้องจัดเวลามานั่งเรียน นั่งสอนกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ลูกเริ่มโตขึ้น มีสังคมอื่นนอกจากบ้าน

22

°37 janvier-mars 2011


เมื่อได้เห็นเด็กๆสนใจมาสมัครเรียนกันมาก แต่พวกเขามี ความแตกต่างทั้งอายุและพื้นฐานความรู้เช่นนี้ดิฉันก็สนใจอยากรู้ต่อ ไปว่า ครูบุ๋มจะจัดการเรียนการสอนแบบไหนกัน มิถุนายน 2009 – ปิดภาคเรียนปีที่หนึ่งเด็กๆเรียนอะไรไปบ้าง เด็กๆที่เรียนจนครบเทอมในปีนี้มีทั้งหมด 7 คน หลักสูตร การสอนในปี แ รกดู จ ะเน้ น ทั ก ษะการฟั ง และฝึ ก ออกเสี ย งเป็ น หลั ก เด็กๆได้รู้จักตัวอักษรไทย ฝึกออกเสียงและรู้จักคำศัพท์ง่ายๆ เกี่ยวกับเรื่องใกล้ตัว เช่น บุคคลในครอบครัว อุปกรณ์ในห้องเรียน ส่วนต่างๆของร่างกาย สี สัตว์ คำกริยาง่ายๆ เช่น นั่ง เดิน ยืน วิ่ง ฝึกนับเลข 1 ถึง 10 ที่ขาดไม่ได้คือ เพลง และเกมส์ และเล่านิทานหลัง เลิกเรียนซึ่งต้องใช้วิธีเล่าทั้งสองภาษาไปพร้อมๆกัน การเรียนการสอน ค่อยเป็นค่อยไปอย่างช้าๆ เริ่มต้นชั่วโมงเรียนด้วยการทบทวนบทเรียน ที่ผ่านมา หลังจากเรียนสักพัก ก็จะพักยืดเส้นยืดสาย เล่นเกมส์ เช่นเกมส์ ครูบุ๋มบอกว่า.... (เด็กๆชอบมาก) ร้องเพลงไทย คัดลายมือ ทบทวน เล่านิทาน วาดรูปบรรยายภาพตามคำบอก เช่น เรียนเรื่องสัตว์ ครูบุ๋มอาจจะบอกให้เด็กๆวาดรูปสิงโตกำลังไล่จับนก เป็นต้น

กันยายน 2009 – ปีที่สอง หลังจากห่างหายกันไปช่วงปิดเทอมใหญ่ เด็กๆก็ได้กลับมา เจอกันอีกครั้ง ปีนี้มีนักเรียนเพียง 6 คน การเรียนการสอนเริ่มเข้มข้น ขึ้น ครูบุ๋มนำแบบเรียนของ อาจารย์สาลี่ ศิลปสธรรมมาเป็นแนวทาง ในการจัดสอน เด็กๆมีหนังสือแบบฝึกหัดของตนเองคนละชุด เริ่มหัด เขียนตัวอักษร โดยเริ่มจากหัดเขียนชื่อตัวเอง ครูบุ๋มสอนร้องเพลงสวัสดี สีนี้มีไหม กิ่งก้านใบ เล่นเกมส์ มอญซ่อนผ้า กระต่ายขาเดียว น้ำเต้าปูปลา วันไหนแดดออกสดใส เราจะออกไปเรียนและเล่นกันที่ สนามมหญ้าข้างหลังอาคาร เมื่อเรียนเสร็จก็ถึงเวลาที่เด็กๆต่างคน ต่างนำขนมของว่างของตัวเองออกมาแบ่งกันทาน และบางครั้ง ก็มีของว่างพิเศษ เช่นปอเปี๊ยะทอดใหม่ๆฝีมือคุณแม่น้องมาเอวาที่ นำมาฝากให้ทุกคนแบ่งกันทาน ส่วนใหญ่แล้ว ผู้ปกครองจะเตรียมของ ว่างเผื่อแผ่มาให้เด็กคนอื่นๆและคุณครูทานด้วย ครูบุ๋มเองก็หอบหิ้วขน มผลไม้มาฝากเด็กๆเสมอ จึงอิ่มแปล้กันทุกคน เด็กโตๆจะรีบทานเพื่อ จะได้ไปเล่น เด็กๆนี้เมื่อมาอยู่รวมกันแล้วผู้ใหญ่บอกว่า พักได้ จากที่ นั่งกันสงบเรียบร้อยเมื่อห้านาทีที่แล้ว ก็กลับกลายเป็นลิงฝูงใหญ่ขึ้น มาเดี๋ยวนั้น ห้องเรียนและลานหินข้างๆก็เปลี่ยนเป็นสนามเด็กเล่น และ ประตู ทั้ ง สามด้ า นก็ จ ะโดนบรรดาตั ว แสบแก้ ม ใสเปิ ด เข้ า เปิ ด ออก วิ่งไล่กันเป็นที่สนุกสนาน ผู้ดูแลอาคารรู้จักพวกเราเป็นอย่างดี คงจะ ไม่มีห้องไหนส่งเสียงได้เจี๊ยวจ๊าวไปกว่าห้องเราอีกแล้ว ปกติเมื่อครูบุ๋มสอน ดิฉันจะนั่งเรียนอยู่กับเด็กๆด้วยเพื่อช่วย ดูเด็กๆและอยากรู้ว่าหนูลอร์เรียนอะไรบ้าง บางครั้งเมื่อครูบุ๋มติด ภารกิจ ก็จะฝากดิฉันและคุณแม่ของน้องจอร์แดนให้ช่วยกันสอนแทน

กันยายน 2010 –ปีที่สาม ย่างเข้าปีที่สาม เด็กๆยังอยู่กันครบเหมือนเดิม และมีเด็กใหม่เพิ่มมา อีกสองคน หนึง่ ในนัน้ ก็คอื หนูมนี าลูกสาวคนเล็กของครูบมุ๋ นัน่ เอง เมือ่ เด็กมากขึน้ และมีพื้นฐานที่แตกต่างกันมากอย่างชัดเจน ดิฉันจึงรับอาสาครูบุ๋มช่วยสอน เด็กที่ตามเพื่อนๆไม่ทัน การแบ่งเด็กเป็นสองกลุ่มในปีนี้ ทำให้ครูบุ๋มสามารถ สอนเด็กกลุ่มใหญ่ที่มีความพร้อมสำหรับการอ่านและเขียนได้อย่างเต็มที่ และให้ ผลลัพธ์รวดเร็วทันใจคุณแม่อย่างดิฉัน เพราะว่าหนูลอร์เริ่มอ่านหนังสือออก แล้วค่ะ ครูบุ๋มสอนเด็กๆอ่านและสะกดคำง่ายๆ ที่ประกอบด้วยพยัญชนะ และสระ ทั้งเสียงสั้น เสียงยาว น่าตื่นเต้นจริงๆ เมื่อได้ยินเสียงหนูลอร์อ่าน ประโยคง่ายๆอย่าง มีนาดูทีวี ตามาดูปลา หนูลอร์เริ่มพูดถึง สระ เอะ สระ เอ ..... เมื่อไม่นานมานี้ หนูลอร์ต้อง ทำพาสปอร์ตไทยเล่มใหม่ คุณลุง เจ้ า หน้ า ที่ ข องสถานทู ต ฯถามว่ า หนู เขียนชื่อตัวเองได้ไหมคะ หนูพยักหน้า แบบเขินๆ ตอบว่าได้ค่ะ และตั้งอกตั้งใจ เขียนชื่อตัวเองตัวเท่าหม้อแกงตามต้น แบบ หลายสัปดาห์ผ่านมาเมื่อ พาสปอร์ตเล่มใหม่ส่งมาถึงบ้าน และ ได้เห็นตัวหนังสือไทยตัวอ้วนๆที่บรรจง เขียนอย่างตั้งใจของลูกอยู่ในช่องลาย เซ็นต์เจ้าของพาสปอร์ต คุณแม่ของหนู ลอร์ก็เกิดอาการตื้นตัน และแอบฝันต่อว่า สักวันหนึ่ง ... ในฐานะคุณแม่ที่ส่งลูกมาเรียนกับครูบุ๋มเป็นเวลาเกือบสามปีต้อง บอกว่าชื่นใจที่เห็นความก้าวหน้าของลูก ดิฉันเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คนอื่นคง คิดไม่ต่างกัน นั่นคือ อยากขอบคุณครูบุ๋มที่ช่วยสอนลูกๆของเรา ขอบคุณ ในความเสียสละและตั้งใจแน่วแน่ ขณะเดียวกัน ดิฉันอยากขอบคุณผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านด้วยเช่นกัน ที่พาเด็กๆมาเรียนอย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด ที่มองเห็นคุณค่าของการเรียนภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติของพวกเขา

เช่นเดียวกับภาษาฝรั่งเศส ดิฉันเชื่อว่า คนเราจะก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืนไม่ได้ หากไม่รู้ที่มาที่ไปของตนเอง เด็กๆในครอบครัวสองวัฒนธรรมควรมีสิทธิ์รู้จัก รากเหง้าของตัวเขาเองทั้งสองด้านอยางเท่าเทียม การที่พวกเขาไม่ได้เกิดและโต ที่เมืองไทย ไม่ควรจะเป็นอุปสรรคกีดกั้นมิให้เขา “รู้ภาษาไทย” ใครจะรู้ว่า ในวันข้างหน้า หนูๆคนหนึ่งคนใดอาจจะกลับไปตั้งรกรากที่เมืองไทย อาจจะ ถูกส่งไปประจำตำแหน่ง หรือทำงานอาสาสมัครเพื่อให้เกิดสิ่งดีๆ แก่ประเทศ ของเรา หรือแม้แต่เพียงกลับไปเยี่ยมบ้าน ไปเที่ยวเมืองไทย บ้านเกิดอีกแห่งหนึ่ง ของเขา เด็กๆทุกคนมีศักยภาพที่จะไปได้ไกลเท่าที่เขาฝัน เมื่อถึงวันนั้น พวกเรา บรรดาคุณพ่อคุณแม่คงจะมีความสุขกับอนาคตของลูกๆและภูมิใจที่ได้มีส่วน ช่วยแผ้วถางเส้นทางชีวิตของพวกเขาให้ง่ายขึ้น นั่นคือช่วยให้พวกเขา “รู้หนังสือ” เช่นเดียวกับเด็กอื่นๆที่อยู่เมืองไทย

janvier-mars 2011  °37

23


ความรู้สึกของอาสาสมัคร ชมรมสตรีไทยฯ โดย นวพรรรณ ฉันอยู่ปารีสได้ 2 ปีแล้ว เป็นนักเรียน ดำเนินชีวิตตามปกติ พอดีได้ทราบว่าชมรมสตรีไทยฯ ได้ส่ง อาสาสมั ค รไปช่ ว ยเหลื อ คนไทยที่ มี ปั ญ หาในการเขี ย นหนั ง สื อ คำร้ อ ง ต่ า งๆที่ ส ถานทู ต ไทยฉั น จึ ง ขอไป เป็นอาสาสมัครในช่วงฤดูร้อน วั น แ ร ก ฉั น สั ง เ ก ต เ ห็ น ว่ า มี คุ ณ ป้ า ค น ห นึ่ ง ดู ท่ า ท า ง จ ะ สั บ ส น กั บ แ บ บ ฟ อ ร์ ม คุ ณ ป้ า นั่ ง อ่ า น แ บ บ ฟ อ ร์ ม อ ยู่ น า น แล้วจึงเดินมาหาฉันและพูดว่า “ช่วยป้าดูหน่อยเถอะป้าอ่านไม่ค่อยออก ถ้าเขียนคงลำบาก” ฉันรีบช่วยกรอกเอกสารให้หลายใบ หลังจากยื่น เอกสารให้เจ้าหน้าที่สถานทูตฯแล้ว คุณป้ากลับมาไหว้ขอบคุณฉันใหญ่ ทำให้ฉันรู้สึกเขิน พร้อมกันนั้นก็ดีใจที่ได้ช่วยเหลือคุณป้า แล้วคุณป้ายังยื่น สตางค์ให้ฉันอีก “ป้าไว้ให้หนูกินขนมนะ” ฉันรีบปฏิเสธแต่คุณป้ายังยืนยัน “รับไปเถอะหนู ป้าไปทำธุระที่ไหน ป้าก็ต้องจ้างเขาไปทำให้ทั้งนั้นแหล่ะ” นอกจากนั้นยังมีอีกหลายๆคนที่ฉันช่วยกรอกเอกสารให้แล้วก็แอบมาถาม ฉันว่า “ต้องจ่ายเงินอะไรไหมนี่” ฉันตอบว่า “เรากรอกให้ ไม่คิดเงินหรอกค่ะ” เขาคงแปลกใจว่าเรามาทำอะไรกันอยู่ตรงนี้ ตอนแรกฉั น คิ ด ว่ า ทุ ก คนคงอ่ า นออกเขี ย นได้ แ ต่ จ ริ ง ๆแล้ ว ยั ง มี ค นจำนวนมากที่ ยั ง อ่ า นไม่ ค่ อ ยออกเขี ย นไม่ ค่ อ ยได้ ห รื อ อาจ ไม่ได้อ่าน-เขียนภาษาไทยนานแล้วหรืออาจจะอะไรก็แล้วแต่ ฉันรู้สึกดีใจที่ทำให้การมาติดต่อของเขาสะดวกและรวดเร็วขึ้น และฉันเชื่อว่าเขาคงดีใจด้วยเช่นกัน บางวันมีผู้หญิงไทยที่แต่งงานกับชาวฝรั่งเศสมาขอรับคำปรึกษา กับเจ้าหน้าที่ของชมรมฯ เนื่องจากมีปัญหากับสามี เช่น ความไม่เข้าใจทาง ภาษาหรือวัฒนธรรม บางครั้งทะเลาะวิวาทหรือไม่ได้รับความเป็นธรรม จากสามี ยกตัวอย่างเช่น ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ฝ่ายหญิงต้องการ ส่งเงินกลับบ้านช่วยเหลือญาติพี่น้อง แสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา แต่บางครั้งฝ่ายชายไม่เข้าใจ หลายรายมาทั้งคู่เพื่อปรับความเข้าใจ มีผู้หญิงคนหนึ่ง สามีเสียชีวิตกระทันหัน เธออยู่ตัวคนเดียว ยังไม่สามารถพูด หรือเขียนภาษาฝรั่งเศสได้ การสูญเสียอย่างกระทันหันทำให้เธอทำอะไรไม่

24

°37 janvier-mars 2011

ถูก เหมือนคนหลงทาง ฉันรู้สึกเศร้าไปกับเธอด้วย เจ้าหน้าที่ของชมรมฯได้ ให้คำแนะนำเรื่องเอกสารและการติตต่อทนายวันนี้ฉันยังนึกถึงเธอว่า เธอ ยังอยู่ที่นี่หรือกลับเมืองไทยไปแล้ว นอกจากนั้นฉันยังได้ไปเป็นล่ามให้กับคนไทยที่โรงพยาบาล เทศบาลเมืองและสถานีตำรวจ เนื่องจากคนไทยที่มาทำงานส่วนมาก จะพูดฝรั่งเศสไม่ได้ ปัญญาของคนไทยกลุ่มนี้คือ ภาษา ซึ่งเมื่อมีปัญหา เรื่องภาษาแล้วจะเกี่ยวโยงไปทุกด้านในการดำเนินชีวิต เช่น ไม่สามารถ ไปติตต่อกับเจ้าหน้าที่ทางการฝรั่งเศส จำเป็นต้องจ้างคนลาวหรือ เขมรที่รู้ภาษาไปเป็นล่ามหรือทำธุระให้ และต้องจ่ายเงินให้คนเหล่านี้เป็น จำนวนมาก บางครั้งฉันมีความรู้สึกว่าคนไทยพวกนี้ถูกเอารัดเอาเปรียบ มาก เช่น ถูกนายจ้างเอาเปรียบ แต่พวกเขาก็ไม่สามารถจะไปเรียกร้อง ได้ที่ไหน เนื่องจากความไม่รู้ภาษาและคนส่วนหนึ่งจะไม่มีบัตรพำนัก คนไทยที่ตั้งใจมาทำงานที่นี่ ส่วนมากจะผ่านนายหน้า มาแบบนักท่องเที่ยว หลังจาก 3 เดือนแล้ว จะอยู่อย่างไม่มีบัตรพำนัก ด้วยเหตุนี้ นายจ้างจึง สามารถที่จะกดขี่ข่มเหงเขาได้เช่น จ่ายค่าแรงน้อยกว่ากำหนด พวกเขา ไม่มีสิทธิไปฟ้องร้องหรือประท้วง หากพวกเขาประท้วงจะถูกไล่ออกจาก งานทันที แน่ น อนว่ า พวกเขาต้ อ งทำงานหาเลี้ ย งครอบครั ว ทั้ ง ที่ นี่ แ ละ ที่เมืองไทย เรื่องภาษาคงจะไม่ใช่ปัญหาที่เขาจะต้องแก้ไข การไปเรียน ต้องใช้เวลา บางคนเล่าว่า กว่าจะมาที่นี่ได้ ต้องเสียค่านายหน้า หลายแสนบาท เมื่อมาถึงแล้ว จำเป็นต้องทำงานให้มากที่สุดเพื่อบรรเทา หนี้สินและส่งเงินไปให้ทางบ้านมากที่สุด สุดท้ายนี้ ฉันขอขอบคุณชมรมสตรีไทยที่ได้ให้โอกาสให้ฉันมา ทำงานตรงนี้ ทำให้ฉันได้รับประสบการณ์ ได้มีโอกาสช่วยเหลือเพื่อนคน ไทยที่ทุกข์ยากซึ่งเป็นเพื่อนร่วมชาติของเรานั่นเอง นวพรรณ อาสาสมัครชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส


กงสุลสัญจรโพรวองซ์ โก๊ตดาซูร์ ( Provence - Côte d ’Azur ) 15-16 มกราคม พศ. 2554

พ.ศ 2554 ปีทอง สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ยกกองกงสุล สัญจรมาถึงที่ให้บริการทำหนังสือเอกสารสำคัญต่างๆให้ชาวไทยแบบ รวดเร็วทันใจ เป็นที่ประทับใจแก่ชาวไทยที่อยู่ห่างไกลจากปารีสเป็น อย่างยิ่ง คณะของคุณดามพ์ บุญธรรม อัครราชทูตที่ปรึกษา และคุณธิดา สุขีลาภ กงสุลไทยพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ประจำสถานเอกอัครราชทูต ไทย ณ กรุงปารีส ได้เดินทางออกกงสุลสัญจรเยี่ยมเยียนและอำนวยความ สะดวกแก่ชาวไทยในเขตโพรวองซ์ โก๊ตดาซูร์ ที่เมืองเตอูลล์ ซูร์ แมร์ Théoule S / Mer เมื่อวันที่ 15 มกราคม และวันที่ 16 มกราคม ที่ เมือง อูโช Uchaud ในการนี้ชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศสได้ให้ความ ร่วมมือช่วยเหลือโดยจัดหาสถานที่ทำการชั่วคราว และส่งข่าวบอก ชาวไทยท้องถิ่นในแถบนั้นให้มาใช้บริการ มี ช า ว ไ ท ย ม า ติ ด ต่ อ รั บ บ ริ ก า ร เ ป็ น จ ำ น ว น ม า ก เ ช่ น ข อ ท ำ ห นั ง สื อ เ ดิ น ท า ง แ ล ะ ข อ ใ บ สู ติ บั ต ร ใ น โ อ ก า ส นี้ ชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศสเขตโพรวองซ์ โก๊ตดาซูร์ ได้ถือโอกาสเชิญชวน เพื่ อ นชาวไทยให้ น ำอาหารคาวหวานและเครื่ อ งดื่ ม มาร่ ว มสมทบ

สั ง สรรค์ รั บ ประทานอาหารร่ ว มกั น เพื่ อ ทำความรู้ จั ก กั น และเชื่ อ ม สัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นสำหรับผู้ที่รู้จักกันอยู่แล้ว มีการแลกเปลี่ยน ข่าวสาร ความรู้เทคนิคการประกอบและก่อตั้งธุรกิจฯ ลฯ งานนี้ทุกคน ได้แสดง ฝีมอื ในการทำอาหารอย่าง เต็มที่ ทำให้ประจักษ์ แล้วว่าสาวไทย ในแถบนี้ต่าง ก็มีเสน่ห์ปลายจวักกันทุกคน นอกจากนี้ คุณดารณี Cobham และคณะชาว ไทย 4 คน จากโมนาโคประเทศใกล้ เคียงได้เดินทางมาร่วมสังสรรค์และติดต่อทำเอกสารด้วย ทางชมรมสตรีไทยฯขอขอบคุณ คุณ Carla เมือง Théoule S/Mer (06590) และคุณสม หญิง Ginoux เมืองUchaud (30620) ที่ให้ความ กรุณาต้อนรับเอื้อเฟื้อให้ยืมสถานที่ทำการกงสุลสัญจร ในครั้งนี้ รายงานโดย มาลินี เอลูดู ตัวแทนชมรมสตรีไทยใน ฝรั่งเศสเขตโพรวองซ์โก๊ตดาร์ซูร์

janvier-mars 2011  °37

25


เมื่อวันที่ 25 พ.ย 2553 คุณณัฐ-กิติมา Vignaud คุณประไพและคุณปอล Vincent ได้มอบเงินจำนวน 5000 บาทในนามของชมรมสตรีไทยให้แก่ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านรามอินทรา ซึ่งเป็นโรงเรียนและบ้านพัก สำหรับเด็กตาบอดและพิการซ้ำซ้อนจากโรคร้ายต่างๆที่ ไม่สามารถช่วยตัวเองได้เป็นส่วนใหญ่

Le jeudi 25 novembre 2010 Khun Nat Kitima Vignaud a accompagné Khun Prapai et khun Paul Vincent pour remettre 5000 bahts, au nom de l Association Solidarité Thaie, au directeur de à l’école Ban Ram Intra. C’est une école et maison pour les enfants aveugles, ayant d’autres maladies graves qui ne leur permettent pas d intégrer à une structure standard pour enfants aveugles. โรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา (บ้านเด็กตาบอดผู้พิการซ้ำซ้อน) เลขที่ 21/13 ซ.รามอินทรา 34 แยก 19 ถ.รามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพ 10230 Ban Ram-Intra School (Home for the Blind with Multiple disabilities) 21/13 Soi Ram-Intra 34, Yaek 19, Ram-Intra Road, Tharaeng, Bangkhen, Bangkok 10230 THAILAND Tel +66(0)2 510 3625 +66(0)2 510 4895 Fax +66(0)2 943 6235 Email: cfbt_bkk@hotmail.com Open 08:00-17:00 everyday

26

°37 janvier-mars 2011


เทใจใส่เมนู

mes recettes

“ขาหมู”อาหารจานโปรดของหลายๆคน ฉบับนี้คุณณัฐ กิติมา

ผู้ร่วมก่อตั้งชมรมสตรีไทย และผู้เขียนคอลัมน์เศษๆภาษาฝรั่งเศส ได้อนุญาตให้วารสารบุษบาเผยแพร่สูตรลับขาหมูรสเด็ดที่เป็นสูตรของครอบครัวของ คุณณัฐ ทางทีมงานบุษบาขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ค่ะ

ขาหมู

โดย ณัฐ กิติมา

เครื่องปรุง

แต่ละครั้งที่มีทานอาหารกัน น้องๆ จะให้ทำขาหมู ซึ่งได้ตำรามาจากคุณยาย อาจจะทำหมูพะโล้ หรือ ไข่พะโล้ โดยไม่ใส่ผักกาดดอง ที่ไม่ใส่อบเชย และโปยกั๊ก เพราะบางคนไม่ชอบ จึงปรุงรสทุกรสให้จัดมาก การใส่ผักกาดดองลงต้มด้วย ทำให้หายเลี่ยนบ้าง

วิธีทำ

- ขาหมู ( jambonneau ) 1 ขา (ขาหมูที่มีขายตามร้านมักทำสะอาดมาอย่างดีแล้ว - กระเทียม 7 กลีบ สับให้ละเอียด (จะใส่มากกว่านี้ก็ได้ ถ้าชอบ) - หัวหอมใหญ่ 1 หัว สับให้ละเอียด - ผักกาดดอง 1 ห่อ / กล่อง หั่นชิ้นใหญ่ ๆ (เก็บน้ำผักกาดดองไว้ปรุงรส) - ซีอิ้วดำหวาน - เกลือ - น้ำตาล - พริกไทย

- ถ้าใช้หม้อ cocotte minute ก็ดี เพราะใช้เวลาเคี่ยวน้อยกว่าหม้อธรรมดา - ใส่น้ำมันนิดหน่อย โรยเกลือ อย่าให้ไฟแรง เอาขาหมูลงทอด ให้เกรียมทุกด้าน - ใส่กระเทียม หอมใหญ่ที่สับไว้ ผัดกับขาหมู เติมเกลือ พริกไทย ซีอิ้วดำ น้ำตาล ( ตอนนี้สำคัญมาก ผัดให้น้ำตาลใหม้นิด ๆ ซีอิ้วดำที่ละนิด ) - พอเกรียม และเริ่มมีสีเข้ม (ระวัง อย่าให้ไหม้ ) เติมน้ำให้ท่วมขาหมู - เมื่อน้ำเดือด ปิดฝาหม้อหรี่ไฟ แล้วเคี่ยวจนขาหมูเปื่อย น้ำจะงวดลงไปมาก - ควรจะเก็บไว้ข้ามคืน ให้รสเข้าเนื้อ และ ไชมันจะลอยขึ้นมา ให้ช้อนไขมันทิ้ง

- นำขาหมูมาตั้งไฟ ใส่ผักกาดดอง ปรุงรสให้ครบ เค็ม หวาน เปรี้ยว ให้พอดีกัน

น้ำจิ้ม

- ตำ พริก กระเทียม เกลือเม็ดใหญ่ พอแหลก - แล้วใส่น้ำตาล น้ำส้มสายชู ผักชี ปรุงรสตามใจชอบ

หมายเหตุ -การโรยเกลือ เวลาทอดอาหาร จะทำให้ไม่ติดก้นหม้อหรือก้นกะทะ - หอมใหญ่และกระเทียม ทำให้รสดี และจะสุกละลายไปหมด -ควรช้อนไขมันออก ให้มากที่สุด เพื่อสุขภาพ และไม่เลี่ยนด้วย - ควรจะทำ 1 วันล่วงหน้า เพื่อจะได้ช้อนไขมันทิ้ง ( ถ้าเป็นหน้าหนาว เอาหม้อวางข้างนอกจะช้อนไขมันที่แข็งตัวได้ง่าย ๆ )

janvier-mars 2011  °37

27


Si on allait au village des potiers de Dan Kwian ?

มาตุภูมิ du pays natal

ชวนกันไปหมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาชาวด่านเกวียน

Cet article s’inscrit dans le cadre de nos recherches de thèse sur le: « Développement d’un didacticiel de français pour le métier de guide touristique », et plus spécialement dans la province de Nakhon Ratchasima. Nous avons le plaisir de vous accueillir ici dans le village des potiers de Dan Kwian: «...le pays à la bonne argile noire». La société thaïlandaise s’est donné pour devoir de préserver les traditions ancestrales de la société agricole. Outre l’agriculture, l’élevage des animaux pour la nourriture ou le travail de la terre, transports, labours, etc., on a besoin également d’autres produits nécessaires à la vie quotidienne. Autrefois les paysans occupaient une part de leur temps libre, après le temps des récoltes, à fabriquer des objets artisanaux en terre cuite. Traditionnellement, ils échangeaient ces produits de la maison. Ces produits étaient transportés en charrettes à bœufs et échangés avec les villages voisins contre des produits de première nécessité comme du riz, du piment, du sel, des œufs, etc.

28

°37 janvier-mars 2011

Par: Amnuay SOMTOA โดย อำนวย สมตัว

บทความนี้เป็นเนื้อหาบางตอนในงานศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาบท เรี ย นบนเครื อ ข่ า ยอิ น เตอร์ เ นตช่ ว ยสอนภาษาฝรั่ ง เศสในฐานะภาษาต่ า ง ประเทศเพื่ออาชีพมัคคุเทศก์สำหรับคนไทย ฉบับนี้ขอเชิญชวนท่านไปเที่ยวชม หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผาอันเรืองชื่อมานานแสนนานของชาวบ้านด่านเกวียน ดินแดนที่อุดมด้วยดินดำดี จังหวัดนครราชสีมา สังคมเกษตรกรรมไทย ถือเป็นสังคมมรดกตกทอดกันมานับบรรพบุรุษ การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค ไว้ใช้แรงงานหว่านไถ หรือแม้ใช้ เป็นพาหนะ แต่กระนั้นก็ดีความต้องการอันเป็นพื้นฐานในด้านอื่น ๆ ต่อการ ดำรงชีวิตประจำวัน ก็ยังมีความจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยจากการผลิตเครื่องใช้ สอยอื่น ๆ อีกเช่นเดียวกัน ในสมัยก่อน เมื่อชาวบ้านด่านเกวียนว่างเว้นจาก การ หว่าน ไถ ปักดำ ทำเทือกสวน ไร่ นา มีเวลาว่างพอเพียงที่จะทำเครื่องปั้น ดินเผาภาชนะต่างๆ เอาไว้ใช้สอยกันเองภายในครัวเรือน และหากมีมากเกิน ความต้องการของครอบครัว ก็จะนำใส่ล้อเกวียนไปแลกเปลี่ยนกับข้าวของ เครื่องใช้ โดยเฉพาะอาหารที่จำเป็นบางประเภท ตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น ข้าวสาร พริก เกลือ และไข่ เป็นต้น ชื่ อ เสี ย งของหมู่ บ้ า นหั ต ถกรรมเครื่ อ งปั้ น ดิ น เผาอั น เรื อ งชื่ อ ลือนามมานานนับศตวรรษ ถึงฝีมือ และความชำนาญที่สืบทอดต่อ ๆ กัน มาจากบรรพบุรุษ รวมถึงคุณภาพของเครื่องปั้นดินเผา หัตถกรรมที่ทำจาก ดินเหนียวแห่งลุ่มน้ำมูลที่อยู่ห่างออกไปจากหมู่บ้านราว 3 กิโลเมตร ทางด้านตะวันออก เป็นดินเหนียวที่มีความเป็นเอกลักษณ์เนื่องจากมีส่วน


Le village de Dan Kwian s’est spécialisé dans la poterie depuis des siècles. Les produits artisanaux en argile village étaient fabriqués selon les besoins de leur vie quotidienne. Il s’agissait par exemple, de jarres, de mortiers, de cuvettes, de pots de fleurs, de cruches, de vases, de lampes à huile, etc. La terre utilisée pour la poterie est de l’argile que l’on trouve au bord de la rivière Mun à environ 3 kilomètres à l’est du village de Dan Kwian. L’argile du village de Dan Kwian est unique car elle est naturellement mélangée à de l’oxyde de fer. Elle deviendra rouge et émaillée après cuisson grâce à l’oxyde. La couleur de l’argile est variable selon la cuisson au four à bois. Le décor est réalisé au moment du façonnage sous l’émail qui protège la céramique ou après la pose de l’émail. Ce décor peut être coloré, gravé, peint, moulé, incisé, estampé, taillé, ajouré, découpé, appliqué, etc. Chaque technique a ses pratiques propres. Le village de potiers de Dan Kwian est

aujourd’hui de plus en plus connu pour ses produits artisanaux en terre cuite. Les produits locaux ont évolué des produits familiaux ou artisanaux vers des productions de niveau industriel et international. Le processus de fabrication, forme et dessin, s’est sans cesse amélioré. La distribution s’oriente de plus en plus vers l’exportation.

ผสมของอ็อกไซด์ของเหล็กตามธรรมชาติ สารธรรมชาติชนิดนี้มีคุณสมบัติ ทำให้เครื่องปั้นดินเผาของชาวด่านเกวียนกลายเป็นสีแดงและสีอื่น ๆ ด้วยเทคนิคในการเผาด้วยเตาฟืน และยังจะทำให้เกิดการเคลือบเงาได้เอง โดยธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติของดินเหนียวประกอบกับฝีมือของชาวบ้าน ที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษจึงทำให้ผลิตภัณธ์หัตถกรรมดินเผาของหมู่ บ้ า นแห่ ง นี้ มี เ อกลั ก ษณ์ โ ดดเด่ น ไม่ เ หมื อ นที่ แ ห่ ง ใดซึ่ ง แท้ จ ริ ง แล้ ว เมื่ อ ครั้งอดีต ผลิตกันขี้นมาเพียงเพื่อสนองปัจจัยอันจำเป็นพื้นฐานในการดำรง ชีวิตประจำวันของชาวบ้านเท่านั้น อาทิ เช่น ครก อ่าง กระถางต้นไม้ คนโท แจกัน ตะเกียงน้ำมัน เป็นต้น กรรมวิ ธี ใ นการตกแต่ ง เครื่ อ งปั้ น ดิ น เผาของชาวด่ า นเกวี ย น

มั ก ท ำ ไ ป พ ร้ อ ม กั บ การปั้ น รู ป ทรงและการเคลื อ บเงาเพื่ อ ให้ เ กิ ด ความ คงทน สวยงาม หรืออาจตกแต่งชิ้นงานหลังการ เคลือบเงา การตกแต่งทำได้หลายวิธี เช่น ทาดัวยสี จารเป็นรอยขูดขีด ชุบสี กดพิมพ์ เจาะ พิมพ์นูน สลัก ชำแหละ หรือด้วยการประยุกต์ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ ในการตบแต่ง ถือเป็นความชำนาญเฉพาะตน ที่จะทำ ให้เกิดความหลากหลายในการรังสรรค์ชิ้นงานแต่ละชิ้น ผลิตภัณธ์เครื่องปั้นดินเผาของชาวหมู่บ้าน หัตถกรรมด่านเกวียนในปัจจุบันนี้ นับวันยิ่งจะเป็นที่รู้จัก กั น อย่ า งกว้ า งขวางในตลาดทั้ ง ในและต่ า งประเทศ ทัว่ โลก ผลิตภัณฑ์พนื้ บ้านแห่งนีไ้ ด้รบั วิวฒ ั นาการมาจาก เครื่องใช้ในครัวเรือน ตราบจนได้พัฒนาให้มาเป็นผลิต ภัณฑ์อุตสาหกรรมได้อย่างโดดเด่นในระดับสากล ขบวนการผลิต รูปแบบ ตลอดถึงการออกแบบทั้งลวดลายและสีสัน ล้วนมีพัฒนาการสืบเนื่องกัน มาโดยมิหยุดหย่อน ปัจจุบันมีระบบซื้อขายสู่ตลาดสากลช่วยให้ผลิตภัณฑ์ ของชาวบ้านแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในตลาดต่าง ประเทศทั่วโลก ช่ า ง ผู้ รั ง ส ร ร ค์ ง า น ปั้ น ข อ ง ห มู่ บ้ า น แ ห่ ง นี้ ส่ ว น ม า ก มั ก

janvier-mars 2011  °37

29


Divers fabricants ont maintenant leur propre atelier. Par leur beauté, ces produits deviennent de plus en plus des objets décoratifs. Les gens les collectionnent pour décorer leur maison à l’intérieur comme à l’extérieur pour le plaisir des yeux.

°°°°°°°°°°

30

°37 janvier-mars 2011

จะประดิ ษ ฐ์ ผ ลงานกั น ในห้ อ งศิ ล ปหรื อ ไม่ ก็ เ ป็ น ที่ บ้ า นของพวกเขาเอง เป็นผลิตผลจากครอบครัว จนได้ผลงานแสนสวยมากมายเหล่านี้มาให้พวกเรา ได้มีโอกาสได้ชื่นชมกัน ซึ่งนับวันจะไม่เป็นเพียงแต่จะเป็นเฉพาะเครื่องใช้สอย ในครัวเรือนเท่านั้น แต่กลับได้รับความนิยมจนกลายมาเป็นของที่ทุกคนต้อง เลือกหามาตกแต่งบ้านเรือน เพื่อเป็นอาหารตาทั้งภายนอกและภายในบ้าน เรือนได้อย่างสวยสดงดงาม ดูมีเอกลักษณ์และรสนิยม °°°°°°°°°°


pleine vie - mieux vivre

พ.ญ. สุนิสา บูโอต์ Sunisa BUOT (M.D)

สุขภาพดีมีสุข

คุณหมอคะ...หนูนอนไม่ค่อยจะหลับ คนเราใช้ เ วลาถึ ง หนึ่ ง ในสามของชี วิ ต เพื่ อ การนอนหลับ การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็น ต่อสุขภาพ เด็กอาศัยช่วงเวลาทีน่ อนหลับในการเจริญเติบโตมนุษย์เรา สามารถปรับตัวที่จะนอนกลางคืนหรือกลางวันก็ได้ เพียงแต่ต้อง การเวลาเพื่อการปรับตัว มักมีความสงสัยกันว่านอนดึกดีหรือไม่ จะมีอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร หรือจะนอนเวลาไหนดีที่สุด ในเรื่อง นี้ตัวผู้เขียนมีความเชื่อในหลักที่ว่าการนอนหลับที่ดี คือการนอนหลับที่ นานพอเพี ย งสำหรั บ ร่ า งกายและเป็ น การนอนหลั บ ที่ มี คุ ณ ภาพ นั่นคือการนอนหลับสนิท ไม่ว่าจะเป็นเวลาใด ช่วงเวลาไหนของวัน แต่อย่างไรก็ตาม เรานอนกลางคืนเนื่องจาก ช่วงกลางวันเป็นช่วงเวลาที่ ร่างกายต้องสร้างวิตามิน ดี จากแสงอาทิตย์ อันจะนำไปสู่การเสริมสร้าง กระดูกให้แข็งแรง และแสงอาทิตย์ยังช่วยให้มีการหลั่งสารเอนโดร์ฟิน ซึ่งทำให้เรามีความสุข สดชื่น กระปรี้กระเปร่า นอกจากนี้เวลากลางคืนเป็น เวลาที่เงียบ ไม่มีเสียงหรือแสงสว่างที่จะมากระตุ้นหรือปลุกให้ตื่นนั่นเอง

เรานอนหลับเพื่อ 1.พักผ่อน

ให้เซลสมองได้จัดเรียงตัวข้อมูลที่ได้มาในแต่ละวัน เหมือน คอมพิวเตอร์ เพื่อจัดเก็บบันทึก เรียบเรียง หาทางแก้ปัญหาและพร้อมที่จะ รับมือในวันใหม่ ระบบหัวใจและหลอดเลือดก็ได้พักผ่อนเช่นกัน ในขณะที่ เรานอนหลับความดันโลหิตและชีพจรจะช้าลงไปประมาณร้อยละ 20 ของ เวลาตื่น 2. บำรุงรักษา ซ่อมแซม ในการนี้ จ ำเป็ น ต้ อ งใช้ พ ลั ง งานอย่ า งมากมายซึ่ ง ในขณะตื่ น พลังงานส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆ ไม่เพียงพอต่อการซ่อมแซม ร่างกายจึงถือโอกาสทีเรานอนหลับ ใช้พลังงานนี้เพื่อการบำรุงรักษาเซลต่างๆ ซ่อมแซมเซลที่มีการบาดเจ็บ กระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อจัดการกับสิ่งแปลกปลอม มีรายงานว่าคนที่มีบาดแผลไฟไหม้และอดนอน บาดแผลจะหายช้า ที่เรา เห็นบ่อยๆคือคนอดนอนมักจะเป็นหวัดเรื้อรัง เป็นนาน เป็นบ่อย และหายช้า เป้นต้น

3.เรียนรู้

เ ว ล า น อ น ห ลั บ เ ป็ น เ ว ล า ที่ ส ม อ ง ไ ด้ มี เ ว ล า จั ด ร ะ เ บี ย บ จัดลำดับความทรงจำ เพื่อจะประมวลออกมาเป็นการแก้ปัญหาในขณะตื่น คนที่นอนไม่พอจะมีปัญหาเรื่องความจำและการแก้ปัญหา "That, if then I had waked after a long sleep, will make me sleep again; and then, in dreaming, the clouds me thought would open and show riches ready to drop upon me; that, when I waked I cried to dream again" William Shakespeare

4.ฝัน

เหตุผลที่มนุษย์เราฝันนั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันด้วยทฤษฎี ต่างๆมากมาย Sigmund Freudเชื่อว่าการฝันเป็นการแสดงออกถึงความ ต้องการ ความคิดและอารมณ์ที่ซ่อนอยู่โดยเราไม่รู้ตัว แต่ทฤษฏีของ ฟรอยด์ก็ยังมีข้อขัดแย้งเนื่องจากมีผู้คนไม่น้อยที่มีฝันที่น่าเบื่อ ฝันร้าย ซึ่ง ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่เราต้องการ Antti Revonsuo ค้นพบว่าในขณะที่เราฝัน สมองส่วนที่ทำงาน มากขึ้ น จะเป็ น สมองส่ ว นที่ จ ะทำงานเมื่ อ คนเรากำลั ง หาวิ ธี ที่ จ ะเอา ตัวรอดจากสภาวะต่างๆ หรือเมื่อเรามีการเคลื่อนไหวเช่นวิ่ง ชกต่อย Revonsuo เชื่อว่าการที่คนเราฝันเป็นการฝึกฝนเพื่อที่จะป้องกันตนเอง เพื่อที่เวลาตื่นจะได้ปฏิบัติได้ดีขึ้น Matt Wilson พบว่าการฝันเป็นการจัดเก็บข้อมูล จำสิ่งที่มี ประโยชน์และแยกส่วนที่ไม่ควรจำออกไป การฝันจะชวยให้เกิดความ ฉลาดโดยทำการประมวลข้อมูลที่มีประโยชน์ ยั ง มี อี ก ห ล า ย ท ฤ ษ ฎี ที่ ไ ม่ ไ ด้ น ำ ม า ก ล่ า ว ไ ว้ ใ น ที่ นี้ มีแม้แต่ทฤษฎีที่บอกว่า การฝันไม่ได้บอกอะไรเลย เกิดจากการทำงาน ของเซลสมองแบบสุ่ม สะเปะสะปะ ไม่มีอะไรในกอไผ่

นอนเท่าไร่จึงจะพอ

ระยะเวลานอนที่ เ พี ย งพอจะแตกต่ า งกั น ไปในแต่ ล ะคน แต่ละกลุ่มอายุ ดังจะเห็นได้จากตาราง ตารางแสดงเวลานอนที่ร่างกายต้องการเป็นกลุ่มอายุ อายุ

จำนวนชั่วโมง

ทารกเกิดใหม่ถึง 2 เดือน

12-18

2 เดือนถึง 1ปี

14-15

1ปี ถึง 3 ปี

12-14

3 ปีถึง 5 ปี

11-13

5 ถึง 12 ปี

10-11

12 ถึง 18 ปี

8.5-10

อายุ 18 ปีขึ้นไป

7.5-9

ถึงแม้จะมีข้อสังเกตุว่าเมื่ออายุมากขึ้นจะนอนน้อยลง แต่จริงๆ แล้วคนสูงอายุก็ยังต้องนอนอย่างน้อย 7.5 ชั่วโมงต่อวัน แต่เนื่องจาก มีปัญหาในการนอนหลับยาวๆ การงีบหลับช่วงสั้นๆในตอนกลางวันจึง ช่วยให้มีระยะเวลาของการนอนหลับในแต่ละวันที่เพียงพอมากขึ้น ระยะเวลาในการนอนที่กล่าวข้างต้นไม่ได้บอกว่าการนอนนั้นเพียงพอ การตื่นที่สดชื่น รู้สึกกระปรี้กระเปร่า ปฏิบัติภารกิจได้อย่างแข็งขันไปจน janvier-mars 2011  °37

31


ถึงเวลาของการเข้านอนครั้งต่อไป นั่นคือตัวบ่งชี้ว่าการนอนของเรานั้น เพียงพอ

เวลาเข้านอนที่ดีที่สุด

เวลาเข้านอนที่ดีที่สุดในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป ในคนที่ เข้านอนและตื่นนอนเวลาเดิมๆสม่ำเสมอจะรู้สึกสดชื่น รู้สึกดีว่านอน พอเมื่อได้เข้านอนเวลาเดิมๆ นั่นก็คือเวลาที่ดีที่สุดของคนในกลุ่มนี้

อย่างไรก็ตามเรานอนเวลากลางคืนเนื่องจากเวลากลางวันมีแสงอาทิตย์ ซึ่งจำเป็นในการสร้างวิตามินดีเพื่อนำไปเสริมสร้างกระดูกต่อไป นอก จากนี้เวลากลางคืนยังเงียบสงบกว่ากลางวัน มีแสงรบกวนน้อยกว่า ทำให้หลับได้สบายและนาน นอกจากนี้ตัวที่จะกำหนดเวลาเข้านอนใน ปัจจุบันก็คือเวลาเริ่มต้นทำงานในวันรุ่งขึ้น ถ้าเราต้องเริ่มงานเวลาแปด โมงเช้า เราอาจจะกำหนดเวลาตื่นที่เจ็ดโมงเช้า นั่นแสดงว่าเวลาเข้า นอนที่ดีที่สุดเพื่อให้นอนได้พอเพียง 8 ชั่วโมงย่อมไม่ควรเกินกว่าห้าทุ่ม แต่ถ้างานเริ่มเก้าโมงเช้า เวลาเข้านอนอาจเป็นเที่ยงคืนได้ ในปัจจุบันเวลา ทำงานจึงมีส่วนในการหาเวลาที่ดีที่สุดเพื่อการนอนอยู่มาก ไม่ควรลืมว่าการนอนหลับเป็นเรื่องส่วนบุคคลเป็นอย่างมาก บางคนต้องการอย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน บางคนต้องการ 7ชั่วโมงต่อวัน การหาเวลาที่ดีที่สุดนอกจากจะมีเรื่องงาน เรื่องกิจกรรมที่ต้องทำก่อน ทำงานเช่น ส่งลูกไปโรงเรียนแล้ว ยังต้องดูว่าเรารู้สึกว่าได้พักผ่อนเต็มที่ สดชื่น กระปรี้กระเปร่าเมื่อได้นอนกี่ชั่วโมงเข้ามามีส่วนร่วมด้วย

การนอนที่มีคุณภาพ

การนอนที่ พ อไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง จำนวนชั่ ว โมงที่ พ อเพี ย ง อย่างเดียว แต่ยังหมายรวมไปถึงคุณภาพของการนอนด้วย การนอนหลับ ที่ดีควรจะเป็นการนอนหลับที่สนิทร่วมกับระยะเวลาที่พอเพียง เมื่อตื่นจะ รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าที่จะทำกิจกรรมต่างๆได้จนถึงเวลาเข้านอน ครั้งต่อไป

อาการที่บ่งบอกถึงการนอนไม่พอ

32

โดยทั่วไปคนที่นอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อคืนมีแนวโน้มที่จะ

°37 janvier-mars 2011

นอนไม่พอสูงโดยไม่รู้ตัว เนื่องจากอาการแสดงของการนอนไม่พอนั้นมัก จะไม่ชัดเจน ไม่เหมือนกับอาการหิว และยิ่งถ้านอนไม่พอติดต่อกันไป นานๆเราก็จะจำไม่ได้ว่าความรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าแบบเต็ม ที่เมื่อเรานอนเพียงพอนั้นเป็นอย่างไร ด้วยความสดชื่นที่มากกว่าก่อน เข้านอน เราก็มักคิดไปว่านั่นเป็นการนอนที่เพียงพอแล้ว อาการของการนอนไม่พอได้แก่ • ระหว่างการนอนหลับ ถูกรบกวนบ่อยๆ เช่น ผู้อยู่เวรตอนกลางคืน หรือ นอนในที่ๆมีเสียงดังคอยปลุกให้ตื่นตลอดคืน • ตื่นขึ้นมาด้วยความรู้สึกไม่สดชื่น เหนื่อย มีอาการง่วงในตอนบ่าย • ตื่นมาด้วยผ้าปูที่นอนยับย่นยู่ยี่ • งีบหลับโดยไม่รู้ตัวแม้แต่กำลังประชุมเรื่องสำคัญ • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ • หลงลืม สับสน งุนงง สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย ทำงานไม่ได้ตามที่ตั้งใจ • ประสาทหลอน เห็นหรือได้ยินในสิ่งที่ไม่มีตัวตน • มีการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นช้า ทำให้มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย • มีความลำบากในจะเข้าสังคมพูดจาสื่อสารไม่รู้เริ่อง ไม่เข้าใจที่ผู้อื่นพูด • ปวดศีรษะ มือสั่น ตากระตุก หาวบ่อยๆ หรือมีอาการเศร้าซึม • บางรายหมดความอยากอาหารทำให้น้ำหนักลด หรือบางรายกลับรับ ประทานมากขึ้นจนน้ำหนักเพิ่ม หรือบางรายมีอาการทั้งสองแบบแล้ว แต่ระดับการอดนอน • ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น • เมื่ออดนอนอยู่นานๆเรื้อรัง มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะมีโอกาสเป็นโรค เบาหวาน โรคหัวใจ เกิดอุบัติเหตุ เพื่อการมีสุขภาพกายและใจที่ดี จึงควรนอนหลับให้เพียงพอ ทั้งเวลาและคุณภาพ ในแต่ละบุคคลอาจมีเคล็ดลับไม่เหมือนกัน แต่สิ่ง ที่สำคัญที่สุดคือหาว่านอนหลับกี่ชั่วโมงจึงถือว่าพอเพียงสำหรับตัวเอง โดยเฉลี่ยมักจะต้องการอย่างน้อย 8 ชั่วโมงต่อคืน

เคล็ดลับของการนอนหลับที่ดีนั้นได้แก่ 1.ตรงเวลา

ก า ร เ ข้ า น อ น แ ล ะ ตื่ น น อ น เ ว ล า เ ดิ ม จ ะ ท ำ ใ ห้ ตื่ น ขึ้ น มาด้วยความสดชื่นกว่าการใช้เวลานอนที่เท่ากันแต่เปลี่ยนเวลาเข้านอน ไปแค่ 1 หรือ 2 ชั่วโมง • เข้านอนเวลาเดิม โดยเลือกเวลาที่รู้สึกว่าง่วง ควรนอน เวลาเดิมถึงแม้จะเป็นวันหยุด ถ้าอยากเปลี่ยนเวลานอน ควรจะค่อยๆ เปลี่ยนวันละ 15 นาทีเช้าขึ้นหรือดึกกว่าเดิมจนได้เวลาที่ต้องการ • ตื่นเวลาเดิม การนอนหลับที่ดีจะทำให้เราตื่นโดยไม่ต้อง อาศัยอะไรมาปลุก •งีบหลับในช่วงกลางวันจะดีกว่าการนอนชดเชยให้นานขึ้น เพื่อจะได้ไม่เปลี่ยนแปลงเวลาเข้านอนและเวลาตื่น การงีบหลับควรทำ ช่วงบ่ายและไม่ควรเกิน 30 นาที แต่ถา้ การงีบหลับทำให้เกิดอาการนอนไม่ หลับในตอนกลาวคืน ก้ไม่แนะนำให้งีบหลับในตอนกลางวัน • ต่อสู้กับอาการง่วงเหงาหาวนอนหลังรับประทานอาหารเย็น ควรหาอะไรทำเช่น ล้างจาน คุยกับเพื่อนทางโทรศัพท์ หรือเตรียมสิ่งของ


เสื้อผ้าสำหรับวันต่อไป ทำให้ตื่นกลางดึก

การเผลอหลับไปหลังรับประทานอาหารเย็นจะ

2. สภาพห้องนอน

• คนเรามีความอ่อนไหวต่อเสียงไม่เท่ากัน บางคนสามารถ หลับได้แม้จะมีเสียงโหวกเหวก แต่โดยทั่วๆไปเราจะนอนหลับได้ดีในห้อง ที่เงียบสงบ ถ้าเราไม่สามารถกำจัดเสียงเช่นเสียงดังจากเพื่อนบ้าน

12 ชั่วโมง เพื่อการนอนหลับที่ดีขอแนะนำว่าควรงดกาแฟหลังเที่ยงวัน เป็นต้นไป • ดื่มแต่พอควรเพราะถ้าดื่มมากไปจะทำให้ต้องตื่นบ่อยๆ เพื่อเข้าห้องน้ำ โดยเฉพาะสารคาเฟอีนมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะ อ่อนๆ •เลิกบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่มีคุณสมบัติในทางกระตุ้น จะทำให้รบกวนการนอนหลับ นอกจากนี้คนสูบบุหรี่จะมีอาการ ขาดสารนิโคตินยามนอนหลับ ทำให้เกิดอาการเหมือนการลงแดง ต้องตื่นกลางดึก หรือหลับไม่สนิท • ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้หลับได้ดี 20 ถึง 30 นาทีต่อวันก็เพียงพอ โดยอาจจะแบ่งทำทีละ 5 ถึง 10 นาทีก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำรวดเดียว 30 นาที เวลาที่เหมาะสมคือตอนสายหรือบ่าย ถ้าค่ำเกินไปก็อาจจะทำให้นอนหลับยาก ถ้ามีเวลาเฉพาะตอนค่ำ ควรเลือกายบริหารเบาๆ หรือโยคะ

5. กำจัดความเครียดและความกังวลก่อนเข้านอน

เสียงสุนัขเห่า ก็ต้องหาวิธีการเช่นใส่ที่อุดหู หรือหาเสียงพิเศษที่ไม่รบกวน การนอนหลั บ และยั ง ช่ ว ยบล๊ อ กเสี ย งรบกวนจากสิ่ ง แวดล้ อ ม เสียงดังกล่าวภาษาอังกฤษเรียกว่า white noise ซึ่งอาจหาซื้อได้หรือ ผลิตขึ้นเองจากเครื่องจักรกล หรือบางที่เป็นแค่เสียงคลื่นวิทยุ เสียงคลื่น ก็ช่วยกันเสียงรบกวนได้แล้ว •มืด สงบ ควรนอนในที่มืด แสงสว่างเพียงน้อยนิดเช่นจากจอ คอมพิวเตอร์หรือจอทีวี อาจจะไปรบกวนต่อตารางเวลาของร่างกาย ควรมีม่านกันแสงสว่างจากภายนอก หรือใส่หน้ากากปิดตาเพื่อกลบแสง สว่างเมื่อต้องนอนเวลากลางวันเป็นต้น •ขนาดเตียงใหญ่พอที่เราจะเหยียด ตะแคงซ้ายขวา ได้อย่างสบาย ฟูกที่นอนไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป หากว่าตื่นขึ้นมาด้วยอาการ ปวดหลัง ปวดคอก็จำเป็นจะต้องหาฟูกใหม่ที่ไม่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว

3. สร้างบรรยากาศผ่อนคลายก่อนเข้านอน

• ปิดทีวี การดูทีวีเป็นการกระตุ้นสมองและจิตใจ โดยเฉพาะ ถ้าเป็นข่าวหรือภาพยนตร์ที่ตื่นเต้น แม้จะเป็นเรื่องเบาๆก็ยังมีโฆษณาที่ มัก จะล่อตา กระตุ้นใจ แทนที่จะดูทีวีก่อนนอน เปลี่ยนมาเป็นการอ่าน หนังสือบันเทิงหรือนิตยสารที่เนื้อหาไม่หนัก อาบน้ำอุ่น ฟังเพลงเบาๆ ทำงานอดิเรกที่ชอบเช่น ถักนิตติ้ง เป็นต้น • ไม่ใช้เตียงนอนเป็นที่ทำงาน การทำงานจะทำกระตุ้น ความรู้สึกตื่น • เตียงนอนมีเพื่อนอนและกิจกรรมทางเพศเท่านั้น

อาจใช้วิธีสวดมนต์ นั่งสมาธิ แล้วแต่วิธีของแต่ละคน วิธีการ ผ่อนคลายง่ายๆเพื่อให้นอนหลับดีขึ้นได้แก่ หลับตาหายใจเข้าออกยาวๆ ยืดเส้นยืดสายโดยเกร็งกล้ามเนื้อแต่ละส่วนและผ่อนคลายเต็มที่โดยเริ่ม ตั้งแต่หัวแม่เท้าจนถึงศีรษะ หรือหลับตาพร้อมกับจินตนาการถึงสถานที่ หรือสิ่งที่ทำให้ใจสงบ

6. วิธีหลับใหม่เมื่อต้องตื่นกลางดึก

• ไม่ต้องกังวลว่าจะไม่หลับ นอนในท่าที่สบายๆ ไม่ต้องคิด อะไร •ถ้ายังไม่หลับอีก ก็ใช้วิธีที่ทำให้ผ่อนคลาย เช่น หายใจเข้าออกยาวๆ ทำสมาธิโดยไม่จำเป็นต้องลุกจากเตียง • ถ้ายังไม่หลับใน 15 นาที อาจหากิจกรรมที่เงียบๆทำ เช่น อ่านหนังสือ อย่าเปิดไฟสว่างมาก ไม่ควรดูทีวีหรือใช้คอมพิวเตอร์

7. รู้ว่าเมื่อใดควรพบแพทย์

• นอนไม่หลับติดต่อกันนานเกิน 1 สัปดาห์ •มี อ าการเหนื่ อ ยอ่ อ นง่ ว งนอนในเวลากลางวั น เป็ น อย่างมาก • กรนดังร่วมกับมีการหยุดหายใจ ข้อนี้ต้องอาศัยคนใกล้ชิด ช่วยสังเกตุ • ตื่นขึ้นมาด้วยอาการไม่สดชื่น มีอาการปวดศรีษะ • มีอาการละเมอเดิน • นอนหลับโดยไม่รู้ตัวในเวลาและสถานที่ที่ไม่ควรนอนหลับ

4.รับประทานอาหารให้ถูกต้องและออกกำลังกายสม่ำเสมอ

•ควรรับประทานอาหารเย็นแต่หัวค่ำ ถ้าจะต้องนอนหลัง รับประทานอาหารภายในสองชั่วโมงไม่ควรเป็นอาหารที่หนักเกินไป อาหารประเภทไขมันต้องใช้เวลาในการย่อยนานอาหารเผ็ดก็อาจทำให้ ไม่สบายท้อง ไปรบกวนการนอนหลับได้ • แอลกอฮอล์ อาจจะทำให้หลับง่าย แต่ก็จะทำให้ตื่นกลางดึก ได้ง่ายเช่นกัน จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน • ลดการดื่มกาแฟ สารคาเฟอีนในกาแฟจะคงอยู่ได้นาน 10 ถึง janvier-mars 2011  °37

33


คุยกันเรื่องหนัง และ หนังสือ โดย/par CHUPAPHAN Livres & Films

หนัง-สือ ต้นปีใหม่ มักจะเป็นช่วงเวลาของการเฉลิมฉลอง ในช่วงสามเดือนแรก มีทั้งการฉลองปีใหม่สากล ตรุษจีน วันแห่งความรัก วันเด็กของไทย และอื่น ๆ อีก รวมทั้งวันสำคัญทางศาสนาด้วย ผู้เขียนก็เลยถือโอกาสเลือกหนังสือและภาพยนต์ที่เกี่ยวกับค วามรัก การเริ่มต้น การค้นหาตัวเอง มาให้ผู้อ่านลองพิจารณา หลายคน ๆ อาจจะมีนิสัยเหมือนผู้เขียนอย่างหนึ่ง คือ ปีใหม่ทีไร ก็มีปฏิธาณว่า จะเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ บางอย่าง ส่วนจะปฏิบัติได้อย่างที่ตั้งใจไหม นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง หนังสือเรื่องแรกมีต้นฉบับเป็นภาษาฝรั่งเศส และหาซื้อได้ง่าย ส่วนหนังสือเล่มที่สองนั้น เขียนโดยนักเขียนชาวอเมริกัน แต่ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นถึง 29 ภาษา เพราะเป็นหนังสือที่ช่วยในการ ศึกษา หาความสุขในชีวิตต้นเอง ส่วนภาพยนต์ทั้งสองเรื่องนั้น เป็นเรื่องที่ไม่เครียด แต่ก็ชวนให้คิด หวังว่าคงถูกใจคอหนัง(สือ) นะคะ ต้องรีบไปหาข้อ มูลสำหรับฉบับหน้าแล้วคะ

AMOUR, Chocolats, et autres cochonneries par Evelyne Gauthier จะทำอย่างไรเมื่อเราเป็นสาวอายุ ยี่สิบแปดปี ที่มีจินตนาการสูง ค่อนข้างประหลาด บ้าน้อย ๆ แปลก ค่อนข้างชอบกล ทะลึ่งไม่น้อย ไม่เคารพกฏบ้าง ไม่ยำเกรงอะไร แล้วก็ต้องเริ่มปรับปรุงชีวิตก่อนที่จะ สามสิบ? จะทำอย่างไรเมื่อเราเป็นหญิงสาวที่ไม่ พอใจกับสิ่งที่มีในชีวิตและสิ่งที่กำหนดไว้ หาผู้ชายสักคน หรือ ตำแหน่งงานที่ดีกว่านี้ หรือหาที่อยู่อาศัยที่ดีกว่า ตั้งใจเริ่มต้นใหม่หรือหาซื้อสุนัขมาเลี้ยง? กับเพื่อนทั้งหลาย บางทีก็เป็นแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจ และแหล่งปัญหา ต้องเผชิญหน้ากับเจ้า นายผีดูดเลือด พ่อแม่ที่ห่วงใยปกป้องอย่างสุดๆ น้องสาวที่สมบูรณ์แบบและรุมล้อม ด้วยความ สัมพันธ์กับหนุ่ม ๆ Amelie พยายามที่จะค้นหาตัวเอง เธอจะประสบ ความสำเร็จในการหารักแท้ของชีวิตเธอไหม งานในฝัน สุนัขที่ใช่เลย หรือแม้กระ ทั่งสัญญาของการมีชีวิตที่เติมเต็ม และมีความสุขมากขึ้น? อ่านด้วยอารมณ์ขัน, รัก, ช็อคโกแลตและเรื่องงี่เง่าอื่น ๆ คือบทเริ่มต้นของ การเดินทางสู่ภูมิปัญญา ... หรือบางที อาจจะบ้า ...

You Can Heal Your Life par Louise L. Hay

Que faire quand on a vingt-huit ans, beaucoup d’imagination, qu’on est un brin cynique, un peu cinglée, plutôt fantasque, pas mal délurée, assez tordue, franchement irrévérencieuse, et qu’on se donne pour défi d’améliorer sa vie, et ce, avant la trentaine ? Que faire quand on est une jeune femme insatisfaite de ce que l’on a dans la vie et qu’on est déterminée ? Est-ce en trouvant un homme, un meilleur emploi ou un meilleur logement ? En prenant des résolutions ou en s’achetant un chien ? En compagnie de ses amis, à la fois source de force, d’inspiration et de problèmes, face à une patronne-vampire abusive, à des parents protecteurs, à une sœur parfaite, et en proie à des relations houleuses avec les hommes, Amélie cherche à trouver sa place. Parviendra-t-elle à trouver l’amour de sa vie, le boulot de ses rêves, le chien idéal, ou même la promesse d’une existence plus satisfaisante ? A prendre avec beaucoup d’humour, Amour, chocolat et autres cochonneries est un voyage initiatique vers la sagesse.…ou peut-être la folie….

หนังสือเยี่ยมสำหรับการปรับ โครงสร้างของชีวิตและการค้น หาความภาคภู มิ ใ จในตนเอง และรักตนเอง “ฉันได้เขียน หนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ พื่ อ แบ่ ง ปั น สิ่ ง ที่ ฉั น รู้ กั บ คุ ณ ผู้ อ่ า น มันรวมเอาบางส่วนของหนังสือเล่มเล็ก ๆ ของฉัน, รักษาร่างกายของคุณ ซึ่งได้กลายเป็นที่ยอมรับอย่าง กว้างขวางว่าเป็นงานที่ใช้เกี่ยวกับรูปแบบทางจิตที่สร้าง โรคในร่างกาย.” Louise Hay เป็นอาจารทางด้าน Metaphysical และครู นอกจากนั้นเธอยังเป็นผู้เขียน หนังสือขายดีที่สุดจำนวนหลายเล่ม ผลงานของเธอได้รับ การแปลเป็นภาษาต่างๆ 29 ภาษา ใน 35 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่เริ่มต้นอาชีพของเธอในฐานะผู้สอนของ Science of Mind ในปี 1981, เธอได้ช่วยผู้คนนับล้านในการค้นพบ และการใช้ศักยภาพสูงสุดของตัวเองเพื่อสร้างสรรค์ การ เจริญเติบโตพัฒนาส่วนบุคคลและการรักษาดูแลตนเอง

34

°37 janvier-mars 2011

Un excellent livre pour une restructuration de vie et trouver l'estime en soi et l'amour-propre. «J'ai écrit ce livre pour partager ce que je sais avec vous, mes lecteurs. Il intègre des parties de mon petit livre, « Heal Your Body », qui est devenu largement accepté comme un travail reconnu sur les conditions psychiques qui créent des mal-aises (dis-eases) dans le corps. " Louise Hay est une conférencière et professeure de métaphysique et auteure à succès de nombreux livres. Ses œuvres ont été traduites en 29 langues différentes dans 35 pays à travers le monde. Depuis le début de sa carrière en tant que figure du « Science of Mind » (science de l’esprit) en 1981, Louise a aidé des millions de gens à découvrir et utiliser pleinement le potentiel de leurs propres pouvoirs créatifs de développement personnel et d'auto-guérison.


คุยกันเรื่องหนัง และ หนังสือ โดย/par CHUPAPHAN Livres & Fillms

หนัง-หนัง DEAR FRANKIE

ก่อนจะเริ่มต้นดูหนัง ขอแนะนำให้ผู้ที่มีอารมณ์อ่อนไหว เตรียมกล่องกระดาษทิชชูไว้ใกล้ๆ มือ ความรักหลายรูปแบบ แต่ความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเห็นจะเป็นความรักของแม่ ที่พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อลูก เพลงประกอบหนังให้อารมณ์ที่ดี มีคำพูดแฝงที่ฃ่อนอารมณ์ และ Emily Mortimer ก็ประกบ Gerard Butler ได้เหมาะสม ด้วยอายุและเรื่องราว Avant de s’asseoir pour regarder ce film, je vous conseille de garder la boite de mouchoirs à côté! L’amour se présente sous plusieurs formes mais le plus grand est celui d’une maman qui est prête à tout faire pour son enfant. Les musiques sont bien choisies. Les dialogues méritent l’attention du cinéphile. Emily Mortimer a fait un excellent travail avec Gerard Butler dans leur rôle respectif.

DEFINITELY, MAY BE

Cette histoire d'amour trouve une nouvelle façon de raconter l'histoire. Le sujet couvre également un fait de société comme quoi les parents ne sont pas obligés de vivre ensemble aujourd'hui, mais une telle situation ne peut rendre un enfant heureux. Pour ceux qui aiment le "Happy Ending", vous ne serez pas déçu. Les fans de Ryan Reynolds se feront un plaisir de le voir et la beauté différente des trois filles dans le film devrait être appréciée par les hommes. C'est un film que les parents et les adolescentes peuvent regarder ensemble. Juste un film pour se détendre, ne le prenez pas trop sérieusement, au moment de se relaxer avant d’aller se coucher! หนังรักเรื่องนี้หาจุดการเดินเรื่องแตกต่างออกไปจากหนังรัก คลาสสิคอื่น ๆ และผสานความเป็นไปของสังคมสมัย ใหม่ ที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกันแต่ก็สามารถทำให้ลูกมีความ สุขได้ สำหรับผู้ที่ชอบ Happy Ending คุณก็จะไม่ผิดหวัง แฟนของหนุ่มหน้าหวาน Ryan Reynolds ก็จะได้ดูเต็มอิ่ม สามสาวในเรื่องก็น่าจะถูกใจคุณผู้ชายเพราะเธอสวยกันคนละแบบ เป็นหนังที่ผู้ใหญ่และเด็กในวัยเริ่มเป็นทีนดูด้วยกันได้ ดูแค่สบาย ๆ นะคะ อย่าจริงจังกับเรื่องราวหรือผลงานมาก อาศัยเป็นเครื่องช่วยผ่อนคลายก่อนเข้านอนก็แล้วกัน janvier-mars 2011  °37

35


หนึง่ หน้าของ โสภาพร ควร์ซ la page de Sopaporn Kurz

facebook กับความทรงจำสมัยยังเป็นเด็กสาว ดิ ฉั น เป็ น คนตุ้ ย นุ้ ย มาแต่ ไ หนแต่ ไ ร แล้ว สมัยเรียนประถม สูงใหญ่ ตัวกลมกว่า ใครเขาหมด เสียงดัง เป็นผู้นำ แถมยังเรียนเก่ง อีกต่างหาก (นึกในใจเองว่า) เป็นมหาอำนาจ ไม่ได้สวยใส เรียบร้อย น่ารัก เหมือนเด็กผู้หญิง คนอื่นๆที่ป๊อบปูล่าร์ในหมู่เด็กผู้ชาย ดิ ฉั น ว่ า เ ด็ ก ทุ ก ค น อ ย า ก ส ว ย อยากหล่อ อยากเป็นที่สนใจ เป็นที่ยอมรับ ชื่นชอบ ชื่นชมของคนอื่นๆ ตัวดิฉันในสมัยเด็กๆ ก็เป็นค่ะ นึกอิจฉาเพื่อนที่สวย น่ารัก ที่ใครๆ ก็แอบชอบ ดังนั้นเมื่อด.ช.สวัสดิสุข สุขสวัสดิ์ หนุ่ ม ร่ า งใหญ่ ตั ว กลมเหมื อ นหมี โ ทรมาหา ที่บ้านตอนปิดเทอมป.๔ ขึ้น ป.๕ จึงเป็น เหตุการณ์ที่ ด.ญ. โสภาพร ไม่เคยลืม จำได้ว่างงที่เขาโทรมา เพราะเราไม่ได้สนิทกัน อั น ที่ จ ริ ง จะไปได้ เ บอร์ กั น มาได้ ยั ง ไงก็ มิ อ าจ จำได้แล้ว ถามว่าโทรมาทำไม (แต่ในใจ ดีใจมากมาย) สวัสดิสุขบอกว่าไม่มีอะไร

ที่บ้านเพิ่งติดโทรศัพท์ เลยลองกดโทรศัพท์ ดูเฉยๆ (แป่ว...) (คุณผูอ้ า่ นลองนึกย้อนไปเมือ่ ซัก

36

°37 janvier-mars 2011

๒๐ ปีที่แล้ว การมีโทรศัพท์ที่บ้านนี่ มันเลิศมากเลยนะคะ โฮะๆๆ แล้วดูทุกวันนี้สิ มีแค่มือถือก็ไม่พอแล้ว ต้องมีไอโฟนสี่ ไม่งั้นก็ต้องบีบี โลกเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วเสีย เหลือเกิน) เราคุยกันนานมาก เป็นชั่วโมง จำได้ ว่าวางสายไปด้วยความรู้สึกหัวใจพองฟู แ ต่ มั น ก็ เ ป็ น เ ห ตุ ก า ร ณ์ ป ร ะ ห ล า ด ที่ เ กิ ด ขึ้ น เ พี ย ง ค รั้ ง เ ดี ย ว สวัสดิสุขไม่เคยโทรมาหาอีก เมื่อเปิดเทอมเรา ไม่ได้เรียนห้องเดียวกัน และดูเหมือนว่าเขาก็จำ ไม่ได้ว่าได้โทรมาหาดิฉัน หรืออย่างน้อย มันก็ไม่ ได้มีความหมายพิเศษอะไรสำหรับเขา เราไม่ได้ สนิทอะไรกันเพิ่มเป็นพิเศษ และเมื่อเราจบป. ๖ ก็ต่างแยกย้ายกันไปเรียนต่อ ไม่ได้ติดต่อกันอีก ****************

ไม่รู้ว่าเป็นด้วยเหตุอันใดทำให้ดิฉัน ไม่เคยลืมเหตุการณ์นี้ แม้ว่ามันจะผ่านไปกว่า ๒๐ ปีแล้ว (โอ้ว มายก้อด ฉันแก่ขนาดนี้แล้ว เหรอ?!) อาจจะเป็นเพราะชื่อสกุลเขามันสลับ กั น ได้ เ หมาะเจาะแถมนามสกุ ล ยั ง เหมื อ นกั บ ดาราหนัง จารุณี สุขสวัสดิ์อีกต่างหาก แ ล ะ ก็ ไ ม่ รู้ ว่ า ตั ว เ อ ง นึ ก ค รึ้ ม ใ จ อ ะ ไ ร ขึ้ น ม า ท ำ ใ ห้ วั น ก่ อ น นึ ก ถึ ง เ ข า และโดยที่ไม่ได้ตั้งใจมาก่อน ก็ลองพิมพ์ชื่อเขา เป็นภาษาอังกฤษลงไปในเฟซบุ๊ค Sawasdisuk มั่วเอานะคะ คุ ณ ๆ ค ะ . . . ชื่ อ แ ร ก ที่ ขึ้ น ม า ก คือ Sawasdisuk Suksawasdi ใจดิฉันเต้นไม่เป็นจังหวะเลยค่ะ มันจะมีคนชื่อนี้ นามสกุลนี้ กี่คนกันนะในประเทศไทย!! รู ป ภาพโพรไฟล์ ข องเขายั ง คงเค้ า โครงของ

เด็กชายตุ้ยนุ้ยคนนั้นไว้ ปกติดิฉันไม่แอ๊ดใคร ที่ไม่รู้จัก แต่มือสั่นๆ ของตัวเองก็กดแอ๊ดไป เ พิ่ ม ข้ อ ค ว า ม ล ง ไ ป ด้ ว ย ว่ า . . . ส วั ส ดี ค่ ะ ไ ม่ รู้ ว่ า ใ ช่ ส วั ส ดิ สุ ข

ที่เคยเรียนประถมที่โรงเรียน... หรือเปล่าคะ ภายในไม่ถึง ๑๐ นาที เขากดรับแอ๊ด ดิฉันเห็นเขาออนไลน์ จึงรีบเข้า ไปทั ก เพื่ อ ให้ แ น่ ใ จว่ า ไม่ ไ ด้ ผิ ด ฝาผิ ด คนแน่ ๆ แล้วมันก็ไม่ผิดค่ะคุณ เป็นเขาจริงๆ เพื่อนที่ไม่ได้เจอกันมา ๒๐ ปี ตอนแรก สวัสดิสุข ออกจะงงๆ ว่าผู้หญิงที่ไหน มาแอ๊ดเขาแต่รับแอ๊ดเพราะว่าเรียน โรงเรียนประถมเดียวกัน คุยไปเรื่อยๆ เขาบอก ว่าชื่อคุ้นๆ หลังจากที่คุยกันสองชั่วโมง เขา เริ่มจำดิฉันได้เลาๆ เขาถามว่า เธอใช่คนที่ สอบไม่ได้ที่หนึ่งแล้วร้องไห้ใช่ไหม? (ฮา – ถ้า คุณผู้อ่านอยากรู้เรื่องชีวิตรันทดของดิฉัน ดิฉันจะเล่าให้ฟังตอนหน้าค่ะ ๕๕๕) แน่นอน ว่าเขาจำไม่ได้เลยที่เขาเคยโทรมาหาดิฉัน แม้จะแอบน้อยใจเล็กๆ แต่ดิฉันว่ามันไม่ได้สลัก สำคัญอะไรเลยเมื่อเทียบกับว่าดิฉันได้มา


ใบสมัครสมาชิกชมรมสตรีไทยในฝรั่งเศส และ/หรือ วารสารบุษบาของชมรมสตรีไทยฯ Bulletin d'adhésion à l'ASTF et /ou à la revue de l'ASTF ชื่อ-นามสกุล (ภาษาไทย)................................................................................วันเดือนปีเกิด / Date de naissance.............................................. Prénom - NOM…………………………………………........................................................................................................................................ ที่อยู่ / Adresse………………………………………………………………………................................................................................................. รหัสไปรษณีย์ / Code Postal………....................……เมือง/Ville……………………………………........................................................................ โทรศัพท์/Tel………………….........…......โทรสาร/Fax……………………E-mail……………................................................................................. ลงวันที่/Le.................................. ลายเซ็นผู้สมัคร /Signature……………………………............. สำหรับเจ้าหน้าที่ / 1. อัตราค่าบำรุงสมาชิกรายบุคคล ท่านละ 11 ยูโร ต่อปี (หรือมากกว่า ตามแต่ท่านจะสนับสนุน ) (Cadre réservé à l’administration) Cotisation annuelle par personne: 11 euros par an (ou plus pour les membres bienfaiteurs) สมาชิกเลขที่/Numéro d'adhésion 2. อัตราค่าบำรุงวารสาร บุษบา 14 ยูโร ต่อปี Abonnement à la revue Boudsaba: 14 euros par an รวมเป็นเงินทั้งสิ้น / Total à payer 11euros 14 euros 25 euros Dons..........euros ................................................................. สภาพสมาชิกเริ่มวันที่/ โปรดส่งใบสมัครไปที่ / A retourner à : Association Solidarité Thaïe en France Début d’adhésion..................................... 83, Avenue de Ségur, สิ้นสุดสภาพสมาชิกวันที่/ 75015 PARIS Fin d'adhésion.......................................... โปรดสั่งจ่ายเช็คในนามของ / Chèque à l’ordre de : “Association Solidarité Thaïe en France”

 เจอเขาอีกครั้ง บนโลกไซเบอร์ มั น เป็ น ความรู้ สึ ก ที่ ดี ม ากจน อธิบายไม่ถูกจริงๆนะคะ กับการที่เราได้ เจอคนรู้ จั ก ที่ ห่ า งหายไปนานแสนนานอี ก ครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนสมัยเด็กๆ นึกย้อนกลับไป ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตอน นั้น มันช่างบริสุทธิ์ ไร้เดียงสาเสียเหลือเกิน เราคุยกันไป ไต่ถามสารทุกข์สุกดิบว่า ยี่สิบปีที่ผ่านไปนี้ ไปทำอะไรที่ไหนกันบ้าง แล้วก็ช่วยกันนั่งนึกถึงเพื่อนสมัยประถมคน อื่นๆ ที่เราพอจะจำได้ มั น เ ห มื อ น กั บ ค ว า ม พยายามแงะลิ้ น ชั ก ที่ ปิ ด ตายไว้ แ สนนาน ต อ น แ ร ก ก็ ล ำ บ า ก ห น่ อ ย นึกอะไรก็ติดขัด มืดตันไปหมด แต่ว่าพอ เริ่มนึกออกแล้วอะไรๆ ก็พร่างพรูออกมา เรื่อยๆหลายๆอย่างที่ลืมไปแล้วหรือเรียกว่า จำไม่ได้ด้วยซ้ำว่าเคยเกิดขึ้นเราก็นึกขึ้นมา ได้ รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่สายตาของเด็ก ประถมตั ว น้ อ ยในตอนนั้ น ได้ เ ห็ น ได้ รั บ รู้ ถูกฝังลึกอยู่ในใจ ไม่น่าเชื่อว่าจะจดจำได้ และเมื่อนึกถึง มันก็ยังคงชัดเจน คมชัด ราว กับว่ามันเพิ่งผ่านไปไม่นานนี้เอง หั ว ใจพองฟู นั่ ง หั ว เราะคนเดี ย ว หน้าคอมพิวเตอร์เบิกบานรู้สึกว่าโลกสวย

งามขึ้ น มากเหลื อ เกิ น ค่ ะ กลั บ เมื อ งไทยรอบหน้ า เราสัญญากันว่า จะมาเจอกันแน่ๆ ที่สำคัญ เรา จะพยายามตามหาเพื่ อ นสมั ย ประถมคนอื่ น ๆ อีกด้วย ต้ อ งขอบคุ ณ เทคโนโลยี อ ย่ า งเฟซบุ๊ ค ที่ทำให้การตามหาเพื่อนเก่าๆ สมัยประถมไม่ได้ ยากจนเป็นไปไม่ได้อีกต่อไป ขอบคุณตัวเองที่ ยังจำชื่อเพื่อนได้ และขอบคุณเพื่อนที่ใช้ชื่อจริง สมัครเฟซบุ๊ค คุณผู้อ่านชาวบุษบาอ่านแล้ว อยากรู้สึกดีๆ เหมือนดิฉัน ลองพิมพ์ชื่อเพื่อนที่ ห่างหายกันไปแสนนานเหมือนดิฉันสิคะ บาง ที คุ ณ อาจจะได้ ม านั่ ง รำลึ ก ความหลั ง อมยิ้ ม หัวใจพองฟู โดยไม่รู้ตัวค่ะ

janvier-mars 2011  °37

37


หากท่านสนใจลงโฆษณาในวารสารบุษบา กรุณาติดต่อที่ ชมรมสตรีไทย Association Solidarité Thaïe en France

83 avenue de Ségur 75015 Paris

หรือ ทางอีเมลของวารสารบุษบา ที่ boudsaba.edito@yahoo.fr

3 rue des Courcelles 75008 Paris lundi - samedi 12h00 - 15h00 et 19h00 - 23h00 fermé le dimanche TEL : 01 45 63 26 63 FAX : 01 45 62 89 52

www.restaurant-suvarnabhum.com

Restaurant

KRUA THAI

Spécialités Thaïlandaises

41 Rue du Montparnasse 75014 PARIS Ouverture de 12h00 - 14h30, 19h00 - 23h

Tél : 01 43 35 38 67 Fermé le dimanche

38

°37 janvier-mars 2011


จากวันนั้นถึงวันนี้ 2001-2011 ผู้อยู่เบื้องหลังผลงานของชมรมสตรีไทย

การประชุมคณะกรรมการชมรมสตรีไทย 8 ม.ค. 2011


Thai-Voyag.Asso.210x297

15/07/08

9:58

Page 1

Source naturelle de chaleur humaine

Notre service vient du cœur Ceux qui voyagent avec THAI, découvrent un monde où les traditions reposent sur le service, le sourire et l’élégance. THAI, plus de 70 destinations sur 5 continents. Paris Bangkok quotidien sans escale en B747-400.

www.thaiairways.fr

*

*THAI, le monde en douceur.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.