บทที่ 11 ศาสนาคริสต์
ขอบเขตเนื้อหา 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 11.8
ความเป็นมา ศาสดา คัมภีร์ในศาสนา หลักคาสอนสาคัญ นิกายในศาสนา พิธีกรรมสาคัญ สัญลักษณ์ของศาสนา ฐานะปัจจุบันของศาสนา
แนวคิด 1. ศาสนาคริสต์เกิดในประเทศปาเลสไตน์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 543 โดยคิดตาม ปีเกิดของพระเยซูผู้เป็นศาสดา เป็นศาสนาที่วิวัฒนาการมาจากศาสนายิว เพราะทั้งสองศาสนา ต่างนับถือพระเจ้าองค์เดียวคือพระเยโฮวาห์ (Yehowah) และยอมรับนับถือคัมภีร์พันธสัญญา เดิม (Old testament) ของศาสนายิว 2. ศาสดาของศาสนาคริสต์ ทรงมีนามว่า "เยซู" หรือ "จีซัส" ถือกาเนิดในหมู่ ชนชาติอิสราเอล (ยิว) พระมารดาชื่อ มารีย์ และบิดาชื่อ โยเซฟ มีอาชีพเป็นช่างไม้ ตั้งถิ่นฐาน อยู่ ณ บ้านกาลิลี (Callilee) เมืองนาซาเรธ (Nazareth) 3. คัมภีร์ของศาสนาคริสต์ คือ คัมภีร์ไบเบิล (Holy Bible) แบ่งออกเป็น 2 ตอนใหญ่ๆ คือ พระคัมภีร์เก่า หรือ พันธสัญญาเดิม (Old Testament) และพระคัมภีร์ใหม่ หรือพันธสัญญาใหม่ (New Testament) 4. ศาสนาคริ สต์ มีห ลักคาสอนที่ สาคัญ คือ หลั กตรีเ อกานุภาพ หลั กความรั ก อาณาจักรของพระเจ้า พระเจ้าทรงเป็นความจริงสูงสุด และคาเทศนาบนภูเขา 5. นิกายสาคัญของศาสนาคริสต์ มี 3 นิกาย คือ นิกายโรมันคาทอลิก นิกายออร์ธอดอกซ์ นิกายโปรเตสแตนต์ และนิกายย่อยๆอีก 16 นิกาย 6. พิธีกรรมของศาสนาคริสต์ ได้แก่ ศีลล้างบาปหรือศีลจุ่ม ศีลกาลัง ศีลมหาสนิท ศีลแก้บาปหรืออภัยบาป ศีลเจิมคนป่วย ศีลบวชเป็นบาทหวง ศีลสมรส และพิธีกรรมอื่นๆ เช่น การไปโบสถ์ในวันอาทิตย์ การเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส เป็นต้น
7. สัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ ได้แก่ ไม้กางเขน เพราะพระเยซูสิ้นพระชนม์บน ไม้กางเขนเช่นนั้น คริสต์ศาสนาจึงถือว่า ไม้กางเขนเป็นสัญลักษณ์แห่งการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของ พระเจ้า อันแสดงถึงความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์ 8. ฐานะปัจจุบันของศาสนาคริสต์ ศาสนาคริสต์ในปัจจุบันมีผู้นับถือมากที่ สุด ในโลก มีคริสตศาสนิกชนกระจายไปทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปยุโรป อเมริกา และออสเตรเลี ย แม้ ศาสนาคริ ส ต์จ ะเป็นศาสนาใหญ่แ ต่ก็อยู่ ใ นฐานะที่ ร วมกันได้แ ค่เ พี ย ง หลวมๆ หรือรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ตลอดทั้งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและ เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ก็มีการขัดแย้งกับคาสอนในศาสนาคริสต์ จึงทาให้ชาวคริสต์รุ่นใหม่ ไม่สนใจศาสนาถึงกับประกาศตัวไม่มีศาสนาและหันไปนับถือศาสนาอื่น ก็มีมากขึ้นตามลาดับ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อได้ศึกษาเนื้อหาในบทนี้แล้ว ผู้ศึกษาสามารถ 1. อธิบายความเป็นมาของศาสนาคริสต์ได้ 2. อธิบายคัมภีร์สาคัญของศาสนาคริสต์ได้ 3. อธิบายหลักคาสอนสาคัญของศาสนาคริสต์ได้ 4. อธิบายนิกายสาคัญของศาสนาคริสต์ได้ 5. อธิบายพิธีกรรมสาคัญของศาสนาคริสต์ได้ 6. อธิบายสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ได้ 7. อธิบายฐานะปัจจุบันของศาสนาคริสต์ได้
กิจกรรมการเรียน 1. การบรรยาย 2. การอภิปรายกลุม่ ย่อย 3. การบันทึกการเรียนรู้ในแฟ้มสะสมผลงาน
สื่อการสอน 1. 2. 3. 4.
เอกสารประกอบการสอน ใบสรุปการเรียนรู้ประจาบทที่ 11 แฟ้มสะสมผลงาน สื่ออิเล็กทรอนิคทุกประเภท
236 | ศาสนาคริสต์
การประเมินผล 1. ประเมินจากการร่วมทากิจกรรมกลุ่ม 2. ประเมินจากการสรุปการอภิปราย 3. ประเมินจากใบสรุปการเรียนรู้และแฟ้มสะสมผลงาน
ศาสนาขั้นแนะนา | 237
11.1 ความเป็นมา คาว่าคริสต์หรือไครสต์ ( Christ) มาจากภาษาโรมันว่า คริสตุส (Christus) ซึ่ง คานี้มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Christos ซึ่งแปลมาจากคาว่า เมสสิอาห์หรือเมสไซอา (Messiah) ในภาษาฮิบรู คาว่า เมสสิอาห์ หรือเมสไซอา แปลว่า พระผู้ปลดเปลื้องทุกข์ภัย หรือพระผู้ช่วย ให้รอดพ้น ไม่ตกนรกจากคาพิพากษาในวันตัดสินโลก ซึ่งพระเจ้าจะส่งบุคคลนั้นลงมารับทุกข์ ทรมานแทนมนุ ษ ย์ ทั้ ง หลาย เมสสิ อ าห์ จ ะเป็น ผู้ ช่ ว ยเหลื อ มวลมนุ ษ ย์ ใ ห้ พ้ น จากความทุ ก ข์ ทรมาน1 ศาสนาคริสต์เกิดในประเทศปาเลสไตน์ เมื่อประมาณ พ.ศ. 543 โดยคิดตาม ปีเกิดของพระเยซูผู้เป็นศาสดา เป็นศาสนาที่วิวัฒนาการมาจากศาสนายิว เพราะทั้งสองศาสนา ต่างนับถือพระเจ้าองค์เดียวคือพระเยโฮวาห์ (Yehowah) และยอมรับนับถือคัมภีร์พันธสัญญา เดิม (Old testament) ของศาสนายิว แม้พระเยซูเองก็ไม่เคยประกาศตั้งศาสนาคริสต์ มีแต่บอก ว่าท่านนับถือศาสนายิว การที่ท่านเที่ยวสั่งสอนธรรมต่างๆ ก็เพื่อทาให้ศาสนายิวมีความสมบูรณ์ ขึ้นเท่านั้น คาว่า ศาสนาคริสต์ เพิ่งเกิดขึ้นและนามาใช้หลังจากพระเยซูสิ้นชีพแล้ว มีสาเหตุ จากเนื่องจากความโกรธแค้นของเหล่าพระสาวกที่ศรัทธาในพระเยซูที่เห็นท่านถูกใส่ร้ายจาก พวกหัวเก่าที่นับถือศาสนายิว จนเสียชีวิตทั้งๆที่ไม่มีความผิด รวมกับความศรัทธาที่เกิดมาจาก การได้ฟังข่าวการฟื้นคืนชีพของพระเยซูจึงพากันแยกตัวออกจากศาสนายิว โดยตั้งชื่อศาสนา ใหม่ว่า ศาสนาคริสต์ โดยนักบวชเซนต์ปอล เป็นผู้ตั้งขึ้น2 ในสมัยที่พระเยซูยังมีชีวิตอยู่ ศาสนาคริสต์เจริญเติบโตแพร่หลายไปได้น้อยมาก เพราะมีผู้คอยขัดขวางทาลายล้าง พระเยซูเองก็มีเวลาเป็นศาสดาเพียง 3 ปีเท่านั้นก็สิ้นชีพโดย การถูกตรึงไม้กางเขน ศาสนาคริสต์มีเจริญเติบโตหลังจากพระเยซูสิ้นชีพแล้ว โดยการเผยแผ่ ศาสนาอย่างจริงจังของเหล่าพระสาวกและผู้นับถือ ศาสนาคริสต์มีความเจริญแพร่หลายมาก ที่สุดในสมัยของพระเจ้าคอนสแตนตินที่ทรงเลื่อมใสและอุปถัมภ์ค้าชูศาสนาคริสต์ทุกอย่าง ไม่ ว่ า จะเป็ น การก่ อ สร้ า งศาสนสถาน การออกกฎหมายมิ ล านในปี ค.ศ.313 ให้ ส านั ก วาติ กั น เป็ น รั ฐ อิ ส ระปกครองตนเอง ไม่ ต้ อ งขึ้ น กั บ การปกครองของฝ่ ายอาณาจั ก ร ฝ่ายอาณาจักรจะเข้าไปแทรกแซงกิจการในศาสนจักรไม่ได้ ให้สันตะปาปามีอานาจเท่าราชา มีอานาจปกครองศาสนจักรทั้งปวง ทรงนาไม้กางเขนมาเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ 1
หลวงวิจิตรวาทการ, ศาสนาสากล เล่มที่ 1 (กรุงเทพมหานคร : อุษาการพิมพ์, 2546), หน้า 104. 2 มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย, DF 404 ศาสนศึกษา (ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย, 2550), หน้า 319. 238 | ศาสนาคริสต์
และสิ่งที่ทาให้ศาสนาคริสต์ได้รับความนับถือมากที่สุด คือ ในปี ค.ศ. 325 ทรงออกกฎหมาย ให้ทุกคนนับถือศาสนาคริสต์เท่านั้น ที่เรียกว่า ศรัทธาทางการ 3 ดังนั้น ตั้งแต่ ค.ศ. 325-1054 ศาสนาคริสต์จึงได้เจริญเติบโตขนานใหญ่ จากศาสนาประจาชาติของประเทศอิตาลีกลายมาเป็น ศาสนาประจาชาติของทุกประเทศในทวีปยุโรป และต่อมาได้ขยายไปยังประเทศต่างๆ ในทวีป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และทวีปออสเตรเลียด้วย4
11.2 ศาสดา 11.2.1 ชาติภูมิ ศาสดาของคริสต์ศาสนา ทรงมีนามว่า "เยซู" หรือ "จีซัส" ถือกาเนิดในหมู่ชน ชาติอิสราเอล (ยิว) พระมารดาชื่อ มารีย์ และบิดาชื่อ โยเซฟ มีอาชีพเป็นช่างไม้ ตั้งถิ่นฐานอยู่ ณ บ้านกาลิลี (Callilee) เมืองนาซาเรธ (Nazareth) ข้อความในพระคัมภีร์ไบเบิลแสดงไว้ว่า พระนางมารีย์ ผู้เป็นมารดาของพระเยซู นั้นมีครรภ์ด้วยอานาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์ตั้งแต่ยังไม่ได้แต่งงานกับโยเซฟ การที่โยเซฟรับ นางเป็นภรรยาเพราะทูตสวรรค์กาเบรียลของพระเจ้ามาปรากฏแก่โยเซฟในความฝันโดยให้เขา รั บ นางมารี ย์ เ ป็ น ภรรยา เนื่ อ งจากผู้ ที่ ป ฏิ ส นธิ ใ นครรภ์ ข องนางนั้ น เป็ น เพราะอ านาจของ พระวิญญาณบริสุทธิ์ นางจะประสูติบุตรชาย แล้วให้ตั้งชื่อว่า เยซู พระเยซู ประสูติเมื่อปีที่ 1 แห่งคริสตศักราช (นับตั้งแต่พระเยซูประสูติ) ที่เมือง เบธเลเฮม (Bethlehem) แขวงยูดาย กรุงเยรูซาเลม ชาวคริสต์ในยุคแรกเชื่อว่า พระเยซูเกิดที่ เบธเลเฮม สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์เดวิด (ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวอิสราเอล) เพื่อเชื่อมโยง กับพระคัมภีร์เก่า ในเรื่องของเมสิอาห์ (Messiah) แต่ผู้เขียนพระวรสารทั้งหมดเห็นตรงกันว่า ครอบครัวของพระเยซูอาศัยอยู่ที่นาซาเรธ5 11.2.2 การรับศีลจุ่ม พระเยซู ท รงสนใจในการศึ ก ษาศาสนาเป็ น อย่ า งยิ่ ง โดยเฉพาะพระคั ม ภี ร์ เ ก่ า (Old Testament) จนมีความรู้แตกฉานในพระคัมภีร์ พระเยซูได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของยอห์น (John the Baptist) และได้รับศีลจุ่มโดยวิธีลงไปอาบน้าในเเม่น้าจอร์แดน ซึ่งพิธีล้างบาป (Baptism) นี้เป็นการแสดงถึงพระเจ้าทรงให้อภัยคนบาป โดยการใช้น้าเป็นสัญลักษณ์6 3
เรื่องเดียวกัน, หน้า 320. 4 เรื่องเดียวกัน, หน้า 333. 5 เสถียร พันธรังสี , ศาสนาเปรียบเทียบ, พิมพ์ครั้งที่ 8 (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์สุขภาพใจ, 2542), หน้า 328. 6 เรื่องเดียวกัน, หน้า 344. ศาสนาขั้นแนะนา | 239
11.2.3 การเผยแผ่ศาสนา ในการเผยแผ่ศาสนาของพระเยซูคริสต์ นอกจากพระองค์จะสอนธรรมง่ายๆ แต่ ลึกซึ้งและกินใจแล้ว พระองค์มีคุณลักษณะพิเศษ คือ มีความสามารถในการรักษาโรค พระเยซู จะรักษาโรคควบคู่ไปกับการสอนธรรมทุกครั้ง จึงปรากฏว่าการเผยแผ่ธรรมของพระเยซู ได้ผลเร็ว พระองค์ออกเดินทางท่องเที่ยวประกาศพระธรรมคาสอนบริเวณชายฝั่งแม่น้า จอร์แดน ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสในคาสอนของพระองค์ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนยากจน เช่น เป็นชาวประมง ช่างไม้ ซึ่งอาศัยอยู่ในชนบทที่ทุรกันดาร เพราะพระองค์ไม่สามารถจะเข้าไป เผยแผ่ในเมืองใหญ่ได้ พระองค์ไม่พยายามประกาศธรรมอันลึกซึ้ง แต่พยายามให้คนทั่วไป เข้าใจคาสอน ซึ่งเป็นคาสอนที่ฟังแล้วเข้าใจง่ายๆ คาสอนของพระองค์บางครั้งก็ขัดแย้งกับความเชื่อเก่า จึงทาให้พระองค์มีทั้งคนรัก เลื่อมใส และมีศัตรูมากเช่นเดียวกัน ศัตรูก็คือพวกศาสนายิวหรือยูดาห์ ซึ่งเห็นว่าคาสอนของ พระองค์ผิดแผกแตกต่างจากหลักคาสอนของโมเสส ทั้งๆ ที่พระเยซูรับรองว่าไม่มีเจตนาจะ ลบล้างทาลายบัญญัติหรือคาสอนของศาสนายิวเดิม แต่จริงๆ แล้วคาสอนของพระเยซูก็ขัดแย้ง กับหลักคาสอนของโมเสสหลายข้อ เช่นโมเสส สอนให้สามีภรรยาหย่าขาดจากกันได้ แต่พระเยซูไม่สอนให้มีการหย่าขาดจากความเป็นสามีภรรยากัน โดยพระเยซูให้เหตุผลว่า เมื่อพระเจ้าสร้างอาดัมกับอีวาให้เป็นเพื่อนชีวิตอยู่ด้วยกันได้ ไม่ได้ทรงอนุญาตว่าจะให้เลิกใช้ ชีวิตร่วมกันได้ เมื่อใดพระเจ้าสร้างอีวาโดยดึงเอาซี่โครงซี่หนึ่งของอาดัมมาสร้าง จึงถือว่าผัวเมีย เป็นคนคนเดียวกัน ผัวเมียจะแยกกันไม่ได้ เป็นต้น7 11.2.4 สาวกสาคัญ ในการประกาศศาสนาของพระเยซูนั้น มีพระสาวกที่เป็นกาลังสาคัญ 12 คน คือ 1) ซีมอน หรือเปโตร 2) อันเดรอา หรืออังดรูว์ เป็นน้องชายของเปโตร 3) ยาโคโบ 4) โยฮัน น้องชายยาโคโบ 5) ฟิลิปส์ 6) บาร์โธโลมาย 7) โธมัส 7) มัทธาย 8) ยาโคโบ บุตรของอาละฟาย 9) เลบบายส์ หรือ ธาดาย 10) ซีมอน ชาวคานาอัน 7
มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย, DF 404 ศาสนศึกษา, หน้า 325.
240 | ศาสนาคริสต์
11) ยูดาห์ อิสการิโอด8 ในบรรดาสาวกทั้งหมดนี้ โยฮัน กับมัทธาย เป็นบุคคลที่มีความสาคัญในการ เขียนคัมภีร์ไบเบิล (คัมภีร์ใหม่) และเขียนประวัติต่างๆ ของพระเยซู ส่วนสาวกคนสุดท้ายที่ชื่อ ว่า ยูดาห์ อิสการิโอด นั้น เป็นผู้ทรยศต่อพระเยซู โดยการรับสินบน และเป็นผู้ชี้องค์พระเยซูให้ โรมันจับ สุดท้าย ยูดาห์ อิสการิโอด อดสูต่อพฤติกรรมอันเลวร้ายของตัวเอง จึงแขวนคอตาย9 12.2.5 การสิ้นพระชนม์ พระเยซูถู กตรึงบนไม้กางเขนในเวลาเที่ยงและสิ้นพระชนม์ในเวลาบ่ายวันนั้น ที่ภูเขาเหนือเมืองเยรูซาเลม คาวิงวอนสุดท้ายที่พระเยซูตรัสต่อพระเจ้าซึ่งพระเยซูเรียกว่า พระบิดาเสมอนั้น มีว่า "ขอพระบิดาได้โปรดประทานอภัยให้แก่คนที่ทาร้ายครั้งนี้ เพระเขาไม่รู้ ว่าเขาทาอะไรลงไป" พระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า หลังจากพระเยซูได้สิ้นพระชนม์แล้ว 3 วัน พระองค์ ได้ทรงกลับคืนชีพและเสด็จสู่สวรรค์10
11.3 คัมภีร์ในศาสนา คัมภีร์ของศาสนาคริสต์ คือ คัมภีร์ไบเบิล (Holy Bible) คาว่า Bible มาจากภาษา ละตินและภาษากรีกว่า Biblia แปลว่า หนังสือหลายเล่ม (The Books) เป็นคาพหูพจน์ของ คาว่า Biblion คัมภีร์ไบเบิลเป็นการเขียนขึ้นของมนุษย์โดยการดลใจจากพระเจ้า ชาวคริสต์ ถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพราะเป็นพระวาจาของพระเจ้า แบ่งออกเป็น 2 ตอนใหญ่ๆ คือ 11.3.1 พระคัมภีร์เก่า หรือ พันธสัญญาเดิม (Old Testament) พระคัมภีร์เก่าได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ร่วมกันทั้งศาสนายิว และศาสนาคริสต์ บันทึกเป็นภาษาเฮบรูโบราณ ภายหลังได้แปลเป็นภาษาละตินและ ภาษาอังกฤษ แบ่งเป็น 3 ตอน คือ (1) เพนทาทุก (Pentateuch) แปลว่า "หนังสือ 5 เล่ม" บางครั้งเรียกว่า คัมภีร์โตราห์ (Torah) แปลว่า "กฎหมาย" เป็นคัมภีร์ส่วนที่ได้บันทึกไว้ถึงการกระทาและ กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่พระเจ้าได้ทรงกาหนดให้ชาวยิวยึดถือปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่า เพนทาทุกเป็น หนังสือที่มีเนื้อหาเกียวกับการเริ่มต้นของชาวยิว แบ่งออกเป็น 5 เล่ม คือ (1.1) ปฐมกาล (Genesis) มีเนื้อหากล่าวถึงความเป็นมาของ จักรวาลและมนุษยชาติรวมทั้งเรื่องราวของมนุษย์คู่แรก คือ อาดัมและอีวา เรื่อยมาจนถึง 8
หลวงวิจิตรวาทการ, ศาสนาสากล เล่มที่ 1, หน้า 122. 9 มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย, DF 404 ศาสนศึกษา, หน้า 327. 10 หลวงวิจิตรวาทการ, ศาสนาสากล เล่มที่ 1, หน้า 135. ศาสนาขั้นแนะนา | 241
อับราฮัมได้ทาสัญญาพิเศษต่อพระเจ้า สัญญานี้ได้สืบทอดต่อมาในบรรดาลูกหลานของอับราฮัม ซึ่งเป็นต้นตระกูลของชาวอิสราเอลนั่นเอง (1.2) อพยพ (Exodus) มีเนื้อหากล่าวถึงเรื่องที่พระเจ้าได้ช่วย ชาวอิสราเอลให้รอดพ้นจากการเป็นทาสในประเทศอียิปต์ โดยทรงมอบหมายให้โมเสสเป็นผู้นา ชาวอิสราเอล ออกมาสู่ความเป็นอิสระ นอกจากนั้นพระเจ้ายังทรงสาแดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏ แก่สายตาของชาวอิสราเอลด้วย เช่น การช่วยให้ชาวอิสราเอลรอดพ้นจากเงื้อมมือของพวก อียิปต์ที่ทะเลแดง เป็นต้น จากนั้นก็กล่าวถึงพันธสัญญาที่พระเจ้ามอบหมายให้แก่ชาวอิสราเอล ผ่านโมเสสที่ภูเขาซิไน เรียกว่า "บัญญัติ 10 ประการ" (1.3) เลวีนิติ (Leviticus) มีเนื้อหากล่าวถึงวิธีประกอบศาสนพิธี ในกรณีต่างๆ รวมทั้งกฎข้อห้าม โดยเฉพาะกฎที่พระต้องถือปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่าคัมภีร์อพยพ และเลวีนิติเป็นรากฐานแห่งกฎเกณฑ์ที่จะรักษาไว้ซึ่งพันธสัญญาที่ชาวอิสราเอลได้ถวายไว้แก่ พระเจ้า (1.4-1.5) กันดารวิถี (Numbers) และเฉลยธรรมบัญญัติ (Deuteronomy) ทั้งสองเล่มมีเนื้อหากล่าวถึงประวัติของชาวอิสราเอลที่ เร่ร่อนอยู่นานถึง 40 ปี จนได้เข้าไปสู่ที่ราบโมอับ และในที่สุดก็จะได้เข้าสู่ดินแดนคานาอันซึ่งถือเป็นดินแดนแห่ง พันธสัญญา (Promised Land) (2) ศาสดาพยากรณ์ (Prophets) เป็นบันทึกเรื่องราวคาสอน และคาทานาย ของศาสดาพยากรณ์ ข องชาวยิ ว ซึ่ง เกิ ด ขึ้ น ในสมั ย ต่ า งๆ กั น แบ่ ง เป็ น บทย่ อ ยได้ ถึ ง 21 ตอน โดยเนื้อหาสาระแล้วอาจแบ่งเป็นภาคใหญ่ ๆ ได้ 3 ภาค คือ ภาคประวัติศาสตร์ ภาคศาสดาพยากรณ์ และภาคศาสดาพยากรณ์ย่อย (เพราะเรื่องราวของศาสดาพยากรณ์เหล่านี้ มีน้อยกว่า) (3) ฮาจิโอกราฟา (Hagiographa) เป็นส่วนที่ไม่อาจจัดอยู่ในประเภทที่กล่าว มาแล้วข้างต้นเป็นเรื่องทั่วไป เช่น เป็นวรรณคดีหลักของพันธสัญญาเดิม ที่มีความไพเราะใน เชิงกวีสูง ได้แก่ เพลงสดุดี สุภาษิต เพลงคร่าครวญ และเป็นพงศาวดาร เป็นต้น11 11.3.2 พระคัมภีร์ใหม่ หรือพันธสัญญาใหม่ (New Testament) พระคัมภีร์ใหม่นี้เป็นที่ยอมรับนับถือกันเฉพาะในศาสนาชาวคริสต์เท่านั้น ส่วน ศาสนายิวจะไม่ยอมรับพระคัมภีร์ใหม่นี้ โดยพระคัมภีร์ใหม่แบ่งเป็น 4 ตอน ดังต่อไปนี้ (1) พระวรสาร (The Gospels) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเทศน์สอนของ เหล่าพระสาวกเพื่อยืนยันสิ่งที่พวกเขาได้ประสบมาในขณะมีชีวิตอยู่ร่วมกับพระเยซู และยืนยัน ว่า พระเยซูเ ป็ นพระเมสสิ อาห์ แ ละเป็น บุ ตรของพระเจ้ า ดั ง นั้ น พระวรสารจึ ง เป็นหนัง สื อ 11
เสรี พงศ์พิศ, ศาสนาคริสต์ (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เอดิสัน, 2529), หน้า
134-136. 242 | ศาสนาคริสต์
ที่เกี่ยวกับชีวิต และคาสอนของพระเยซู เป็นหนังสือที่เป็นหลักฐานยืนยันและพิสูจน์ว่าพระเยซู เป็นบุตรของพระเจ้า แบ่งออกเป็น 4 คัมภีร์ คือ (1.1) พระวรสารของนั ก บุ ญ มั ท ธิ ว (มธ.) มี จ านวน 28 บท กล่าวถึงกาเนิดของพระเยซู การเทศนาสั่งสอนโดยเฉพาะ "การเทศนาบนภูเขา" ซึ่งถือเป็น คาสอนเกี่ยวกับการปฏิรูปแนวทางดาเนินชีวิตของมนุษย์ครั้งแรกของพระเยซู เทศนาบทนี้ นับเป็นตอนที่มีเนื้อหาไพเราะที่สุดในงานนิพนธ์ของนักบุญมัทธิว (1.2) พระวรสารของนักบุญมาระโก (มก.) หรือมาร์ค (Mark) มี จานวน 16 บท มีเนื้อหาที่เน้นเฉพาะการเป็นพระเมสสิอาห์ของพระเยซูมากกว่าเน้นเสนอ คาสอน (1.3) พระวรสารของนักบุญลูกา (ลก.) หรือลูค (Luke) มีจานวน 24 บทเน้นเฉพาะในเรื่องคาสอนของพระเยซู แต่มีการจัดลาดับเหตุการณ์ต่างๆ ตามแบบ พระวรสารของนักบุญมัทธิว (1.4) พระวรสารของนักบุญยอห์น (ยน.) มีจานวน 21 บท เน้น การประกาศว่า พระเยซูเป็นพระเมสสิอาห์หรือพระคริสต์ เพื่อมาไถ่บาปมนุษย์ด้วยการรับ ทรมานต่างๆ จนต่อมาได้กลับคืนชีพ และได้ส่งสาวกออกไปประกาศคาสอนพร้อมด้วยพระจิต ของพระเจ้าและอานาจในการยกบาป นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงพิธีกรรมและศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งในภารกิจของพระเยซู เช่น ศีลล้างบาป ศีลมหาสนิท และศีลอภัยบาป ซึ่งต่อมาได้ กลายเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาคริสต์ พระวรสารทั้ง 3 เล่มข้างต้นมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกันมาก แตกต่างจากพระวรสาร ของนักบุญยอห์นซึ่งเนื้อหาบางส่วนที่มีลักษณะเฉพาะตนและไม่ปรากฏในพระวรสารเล่มอื่นๆ เพราะท่านผู้ที่ใกล้ชิดและใช้ชีวิตร่วมกับพระเยซูมากที่สุด จึงรู้หลักคาสอนต่างๆ มากมาย12 (2) หนังสือกิจการของอัครทูต (The Acts of the Apostles) มีเนื้อหา กล่าวถึงการเผยแผ่ศาสนาธรรมของอัครสาวก หลังจากพระเยซูสิ้นพระชนม์แล้ว โดยการเผยแผ่ ธรรมนี้อัครสาวกได้ทาเหตุอัศจรรย์หลายอย่างให้ปรากฏแก่หมู่ประชาชน เพราะพวกท่านได้รับ มอบอานาจจากพระเจ้าและพระบุตรของพระองค์ ทาให้มีผู้นับถือเลื่อมใสเป็นจานวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเผยแผ่ศาสนธรรมของท่านเซนต์ปอลและเซนต์ปีเตอร์ มีส่วนทาให้ คริสตศาสนาได้แพร่หลายออกไปจนถึงต่างแดน ไม่ได้จากัดเฉพาะชนชาติยิวเท่านั้น13 (3) จดหมายของบรรดาสาวก (The Pauline and Catholic Epistles) เป็นจดหมายของบรรดาสาวกต่างๆ ที่ส่งไปถึงชาวคริสต์ในที่ต่างๆ มีทั้งหมด 21 เล่ม ตัวอย่างเช่น 12 13
เรื่องเดียวกัน, หน้า 153-156. เรื่องเดียวกัน, หน้า 158. ศาสนาขั้นแนะนา | 243
(3.1) จดหมายของนักบุญเปาโล (The Pauline Epistles) ที่เขียน ถึงชาวคริสต์ในที่ต่างๆ เช่น ชาวคริสต์ในกรุงโรม คริสตจักรในเมืองโครินธ์ คริสตจักรในแคว้น กาลาเทีย และศิษย์ชื่อทิโมธี เป็นต้น มีทั้งสิ้นรวม 13 ฉบับ มีเนื้อหาแสดงความคิดเห็นและ ตีความคาสอนของพระเยซู (3.2) จดหมายของนักบุญยาโคบ (James หรือ Jacob) ผู้เป็น ญาติผู้น้องของพระเยซูเขียนถึงชาวยิวในดินแดนต่างๆ เช่น ซีเรีย และอียิปต์ แสดงแนวทาง ปฏิบัติต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ (3.3) จดหมายของนักบุญยอห์น (John) ที่เขียนขึ้นโดยมิได้ระบุ ผู้รับจดหมาย มีเนื้อหาแสดงประสบการณ์ทางศาสนาของท่าน (3.4) จดหมายของยูดา (Jude) ที่เขียนขึ้นเพื่อเตือนชาวคริสต์ให้ ตระหนักถึงความหลงผิดและการถูกชักจูงโดยนักเทศน์จอมปลอม และกล่าวถึงการลงโทษของ พระเจ้า (3.5) จดหมายของนักบุญเปโตร (Peter) ที่เขียนถึงชาวคริสต์ เชื้อสายยิว ที่มีอยู่ตามแคว้นต่างๆ นอกดินแดนปาเลสไตน์เพื่อให้อดทนต่อการถูกเบียดเบียน และความทุกข์ทรมานโดยยึดแนวทางของพระเยซูเป็นแบบอย่าง14 (4) หนังสือวิวรณ์ (Revelation) เป็นหนังสือที่กล่าวถึงการเปิดเผยของ พระเจ้าผ่านทางบรรดาประกาศก โดยได้กล่าวถึงชัยชนะของพระเจ้าและการสถาปนาอาณาจักร สวรรค์ โดยพระองค์ทรงเลือกนักบุญยอห์นให้เป็นพยานในพระวจนะของพระเจ้าและเป็นพยาน ของพระเยซูคริสต์ในทุกเหตุการณ์ที่ท่านได้พบเห็น และมีเนื้อหาเกี่ยวกับการพยากรณ์เรื่องราว ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เมื่อถึงวันที่โลกถึงเวลาแตกดับ พระเจ้าจะเสด็จมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อ พิพากษาโลก ผู้ทาตามพระบัญญัติเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์อยู่ในอาณาจักรพระเจ้า ผู้ทาลายโลกและ ผู้อยู่นอกคาสอนของพระเจ้าจะต้องถูกทาลายล้าง หนังสือวิวรณ์มีลักษณะเป็นวรรณกรรมที่มุ่ง สร้างศรัทธาให้ทาความดีและเว้นการทาความชั่ว15 จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้
14
เรื่องเดียวกัน, หน้า 160-165. Robert E. Van Voorst, Anthology of World Scriptures (Canada : Wadsworth Thomson Learning, 2003), p.246-248. 15
244 | ศาสนาคริสต์
คัมภีร์
พระคัมภีร์เก่า
พระคัมภีร์ใหม่
เพนทาทุก
พระวรสาร
ศาสดาพยากรณ์
หนังสือกิจการของอัครทูต
จดหมายของบรรดาสาวก ฮาจิโอกราฟา หนังสือวิวรณ์ แผนภูมิภาพที่ 11-1 คัมภีร์ในศาสนาคริสต์
11.4 หลักคาสอนสาคัญ หลักคาสอนของศาสนาคริสต์เป็นคาสอนที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับ มนุษย์และจริยธรรมทางสังคม โดยมีหลักคาสอนสาคัญ ดังต่อไปนี้ 11.4.1 หลักตรีเอกานุภาพ (Trinity) คาว่า "ตรีเอกานุภาพ" ได้แก่ ความเชื่อว่าพระเจ้าทรงมี 3 ภาค ในองค์เดียวกัน ได้แก่ พระบิดา (The Father) พระบุตร (The Son) และพระจิต หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ (The Holy Spirit) โดยมีความหมาย ดังต่อไปนี้ (1) พระบิดา หมายถึง พระเจ้าผู้สถิตอยู่ในสวรรค์ ทรงสร้างโลก มนุษย์ และสรรพสิ่ง ทรงรักมนุษย์มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เปรียบเหมือนบิดาที่มีความรักในบุตร (2) พระบุตร หมายถึง พระเยซูคริสต์ซึ่งมีฐานะเป็นพระบุตรของ พระเจ้า ผู้เสด็จลงมาเกิดในโลกเพื่อไถ่บาปแก่มนุษย์ผู้หลงผิดให้กลับคืนไปหาพระเจ้า ทรงมี ธรรมชาติแท้จริงเป็นพระเจ้า แต่เมื่อทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ก็ทรงทนทุกข์ทรมานเช่นมนุษย์ ศาสนาขั้นแนะนา | 245
ทั้งหลาย ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไถ่บาปแก่มนุษย์และทรงฟื้นขึ้นจากความตาย เช่นเดียวกับพระเจ้าผู้ทรงอยู่เหนือความตาย (3) พระจิต หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ หมายถึง พลังอานาจของ พระเจ้า อันเป็นพลังแห่งความรักที่เชื่อมระหว่างพระบิดากับพระบุตรเข้าด้วยกัน และเป็นพลัง อานาจของพระเจ้าที่ทรงแสดงต่อมนุษย์เพื่อดลใจให้มนุษย์ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางของ พระเจ้า พระคริสต์ธรรมใหม่ได้กล่าวถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่หลายตอน เช่น ตอนที่ทูต สวรรค์ได้แ จ้งให้ มารีย์ ทราบว่า นางจะตั้งครรภ์ด้วยอานาจของพระเจ้า เป็นต้น หลั งจากที่ พระเยซูทรงฟื้นคืนพระชนม์และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว พระวิญญาณบริสุทธิ์ยังคงมีบทบาทอยู่ใน โลกนี้เพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์และนาทางมนุษย์ให้ประจักษ์ในอานาจของพระเจ้า16 11.4.2 หลักความรัก (Love หรือ Agape) หลั ก ความรั ก เป็ น หลั ก ค าสอนทางจริ ย ธรรมที่ ส าคั ญ ที่ สุ ด ของศาสนาคริ ส ต์ หมายถึง ความเป็นมิตรและความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พระคริสต์ธรรมเก่าและ พระคริสต์ธรรมใหม่ กล่าวถึงความรัก 2 ประเภท ได้แก่ ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ในพระคริสต์ธรรมเก่า ความรักเป็นเรื่องของความผูกพันระหว่างพระเจ้ากับ ชนชาติอิสราเอลโดยที่พระเจ้าทรงเป็นผู้ให้ความรักแก่ชนชาติอิสราเอลก่อน จากนั้น ชาวอิส ราเอลจึ ง สนองตอบความรั กของพระเจ้ า โดยการศรั ท ธาต่อ พระเจ้ า และปฏิ บั ติตาม แนวทางที่พระเจ้าทรงวางไว้ ส่วนในพระคริสต์ธรรมใหม่ คาสอนเรื่องหลักความรักนั้นกาหนดให้พระเยซูเป็น สัญลักษณ์ของความรักสูงสุดที่พระเจ้าทรงมีต่อมนุษย์ เห็นได้จากการที่พระเยซูทรงยอม สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อให้ผู้มีศรัทธาในพระองค์จะได้พ้นจากความผิดบาป โดยพระเยซู ทรงสอนให้มนุษย์เผื่อแผ่ความรักไปรอบด้าน ไม่เ ลือกที่รักผลักที่ชัง หลักคาสอนสาคัญนี้มีอยู่ ในบทเทศนาบนภูเขาแสดงถึงความรักระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ซึ่งแสดงออกได้โดยความเมตตา กรุณาและความเสียสละ ส่วนความรักที่มนุษย์มีต่อพระเจ้าแสดงออกโดยความศรัทธาที่มีต่อ พระเจ้า เช่น ศรัทธาว่าพระเจ้าคือพระเยโฮวาห์เป็นพระเจ้า สูงสุดเพียงองค์เดียว ศรัทธาว่า พระเจ้าทรงรักมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ศรัทธาว่าพระเยซูเป็นพระบุตรของพระเจ้า ศรัทธาว่า พระเยซูเป็นพระผู้ช่วยให้รอด และศรัทธาในอาณาจักรของพระเจ้าที่กาลังจะมาถึง17
16
เสรี พงศ์พิศ, ศาสนาคริสต์, หน้า 247-248. 17 ภัทรพร สิริกาญจน, ความรู้พื้นฐานทางศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2546), หน้า 70-71. 246 | ศาสนาคริสต์
11.4.3 อาณาจักรของพระเจ้า อาณาจักรของพระเจ้าหมายถึง หลักการดาเนินชีวิตที่แทรกซึมเข้าไปในจิตใจ และ ช่วยยกระดับจิตของผู้ที่ยอมรับคาสอนและปฏิบัติตามให้สูงขึ้น คาสอนของพระเยซูทรงเน้นให้ มนุษย์มุ่งหวังชีวิตที่ดีกว่า คือ ชีวิตในอาณาจักรของพระเจ้าหรือแผ่นดินสวรรค์ โดยอาณาจักร ของพระเจ้ามีความหมาย 2 ประการ คือ (1) อาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้ หมายถึง อาณาจักรของพระเจ้าที่ มนุษ ย์ส ามารถเข้า ถึง ได้ในชีวิตนี้ เป็นรากฐานส าหรับ อาณาจักรของพระเจ้ าในโลกหน้าซึ่ง เรียกว่า แผ่นดินสวรรค์ การที่มนุษย์จะเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้ได้นั้น จะต้อง ดาเนินชีวิตให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักคาสอนที่พระเยซูทรงแสดงไว้ โดยมีความรักในพระเจ้า อย่างสุดจิตสุดใจ และ รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง ต้องรู้จักสละทรัพย์สมบัติภายนอกและ มีความมานะพากเพียร เพราะอาณาจักรแห่งพระเจ้าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางวิญญาณ ผู้ที่ยังไม่ สามารถสละสมบัติทางโลกได้ย่อมไม่อาจเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าได้ (2) อาณาจักรของพระเจ้าในโลกหน้า หมายถึง การเข้าถึงชีวิตนิรันดร หลังจากตายแล้วโดยพระเจ้าจะเป็นผู้ทรงตัดสิน ผู้ใดปฏิบัติตามพระบัญญัติของพระองค์อย่าง ครบถ้วน และเชื่อในพระองค์ จะได้เข้าแผ่นดินสวรรค์ หรืออาณาจักรของพระเจ้า จะมีชีวิต นิรันดร ไม่มีความทุกข์ใดๆ ตลอดไป ส่วนผู้ฝ่าฝืนบัญญัติจะถูกตัดสินให้ลงนรก ได้รับ ความทุกข์อย่างสาหัสจากไฟเผาผลาญ18 11.4.4 พระเจ้าทรงเป็นความจริงสูงสุด ศาสนาคริสต์และศาสนายิวมีความเชื่ออย่างเดียวกันว่า พระเจ้า คือ พระเยโฮวาห์ เป็นผู้ทรงอานุภาพยิ่งใหญ่ในจักรวาล ไม่มีผู้ใดจะยิ่งใหญ่กว่าพระองค์ มีคาสอนมากมายที่ พรรณนาลักษณะของพระเจ้าไว้ในฐานะทรงเป็นความจริงสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น ทรงมี คุณลักษณะพิเศษต่างๆ ดังต่อไปนี้ (1) ทรงเป็นจิตบริสุทธ์ ไม่มีรูปร่าง (2) ทรงมีอยู่นิรันดร ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย (3) ทรงสถิตอยู่ทุกหนทุกแห่ง (4) ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง (5) ทรงมีพลังอานาจทุกอย่าง (6) ทรงมีอยู่ตลอดกาล ไม่มีเบื้องต้น ไม่มีที่สุด (7) ทรงบริสุทธิ์ทุกประการ ไม่มีบาปเลย
18
เสถียร พันธรังสี , ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 398. ศาสนาขั้นแนะนา | 247
(8) ทรงมี 3 ภาค เรียกว่า ตรีเอกานุภาพ คือ พระบิดา พระบุตร และ พระจิตหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์19 ลักษณะพิเศษของพระเจ้าต่างๆที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น เป็นลักษณะเดียวกัน กับ ศาสนาที่มีพระเจ้าสูงสุดทุกศาสนา เช่น พระเจ้าในศาสนาอิสลาม และศาสนาซิกข์ เป็นต้น อาจจะต่างกันตรงชื่อเรียกพระเจ้าสูงสุดเท่านั้น แต่คุณลักษณะพิเศษไม่แตกต่างกัน 11.4.5 คาเทศนาบนภูเขา คาสอนของพระเยซูที่เทศนาบนภูเขา (Sermon on the Mount) นั้น เป็นคาสอนที่ มีระบบมากที่สุด เป็นหลักจริยธรรมที่พระเยซูทรงวางไว้แก่มนุษย์ได้ปฏิบัติเพื่อความสุข เป็น หลักคาสอนที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางในการดาเนินชีวิตของชาวคริสต์ มีรายละเอียดโดยย่อ ดังต่อไปนี้ (1) การเป็นผู้มีสุข คาสอนในตอนนี้ (มัทธิวบทที่ 4 ข้อ 3-12) กล่าวถึงลักษณะของบุคคลผู้จะมี ความสุข 8 ประการ โดยแสดงไว้ว่า บุคคลใดก็ตามมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ บุคคลที่รู้สึกว่า ตนเองยังมีความบกพร่องและยังไม่ดีพอ เป็นคนมีความโศกเศร้า เป็นคนจิตอ่อนโยน เป็นคน รักความชอบธรรม เป็นคนจิตใจกรุณา เป็นคนจิตใจบริสุทธิ์ เป็นคนสร้างสันติภาพ และเป็นคน ที่ถูกกลั่นแกล้งข่มเหงเพราะเหตุแห่งความชอบธรรม บุคคลเหล่านี้เรียกได้ว่า ผู้ เป็นสุข เนื่องจากได้ยึดพระคริสตธรรมเป็นหลักในการดาเนินชีวิต (2) การเป็นเกลือของโลก คาสอนนี้มุ่ง ให้มนุษย์ดารงรั กษาความดีงามเหมือนเกลื อรักษาความเค็ม เพราะถ้ามนุษย์ทิ้งความดีงามไปแล้วก็ไม่ต่างไปจากเกลือที่หมดรสเค็ม ไม่มีประโยชน์และไม่มี คุณค่าใดๆ (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 13) (3) บุคคลผู้เป็นความสว่างของโลก คาสอนนี้เป็นการให้กาลังใจแก่ผู้ทาความดี และปฏิบัติตามธรรมบัญญัติ อย่างมั่นคง ความดีที่ทาไว้นั้นจะมีผลต่อโลกและผู้อื่น ทาให้ผู้ที่เห็นความดีนั้นสรรเสริญ พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบิดา เปรียบเหมือนกับเมื่อลูกดี บิดาย่อมได้รับการยกย่องเพราะความดีของ ลูกนั้น (มัทธิวตอนที่ 5 ข้อ 14-16)
19
มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย, DF 404 ศาสนศึกษา, หน้า 356-357.
248 | ศาสนาคริสต์
(4) การไม่ได้บัญญัติพระธรรมบัญญัติใหม่ คาสอนตอนนี้ พระเยซูต้องการชี้แจงให้บุคคลทั้งหลาย (ชาวยิว) ในขณะนั้น เข้าใจว่า การเผยแพร่ศาสนาของพระองค์ไม่ได้เป็นไปเพื่อการล้มล้างหรือยกเลิกพระบัญญัติ เดิมที่ชาวยิวได้นับถือสืบกันมา แต่เป็นการปฏิรูปคาสอนเดิมให้มีความเข้มข้นและสมบูรณ์ ยิ่งขึ้น (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 17) (5) การห้ามไม่ให้มีความโกรธ คาสอนตอนนี้ พระเยซูได้อธิบายข้อห้ามในพระบัญญัติเดิมที่ว่า อย่าฆ่าคน ให้ ลึกซึ้งยิ่งขึ้น โดยสอนให้ระวังอารมณ์โกรธที่จะเกิดขึ้นในจิตใจ การฆ่าคนอื่นจะไม่เกิดขึ้น ถ้าไม่มี ความโกรธมากระตุ้น บุคคลจึงต้องระวังไม่ให้เกิดความโกรธขึ้น เพราะเมื่อบุคคลมีความโกรธ เกิดขึ้น ย่อมสามารถจะทาร้ายหรือฆ่าผู้อื่นได้ (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 21-26) (6) การห้ามล่วงประเวณี คาสอนตอนนี้ สอนให้งดเว้น แม้กระมั่งการล่วงประเวณีด้วยใจ (การคิดที่จะ ล่วงประเวณี) ไม่ใช่งดเว้นเพียงการล่วงประเวณีทางกายและทางวาจาเท่านั้น การสูญเสียทาง กายที่เกิดขึ้นก็ไม่รุนแรงเท่ากับการสูญเสียทางจิตวิญญาณ ดังนั้น ถ้าร่างกายของเราส่วนใดส่วน หนึ่งทาผิดทาชั่ว เราควรทาลายร่างกายส่วนนั้นทิ้งเสีย เพราะถึงจะเสียอวัยวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ดีกว่าตัวเราจะต้องลงนรก (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 27-30) (7) การห้ามหย่าร้าง คาสอนตอนนี้ พระเยซูห้ามไม่ให้คนที่แต่งงานกันหย่าร้างกัน เพราะแต่เดิม นั้นมีการอนุญาตให้บุคคลหย่าร้างกันได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่ทาหนังสือหย่ากันก็เป็นการ เพียงพอแล้วนั้น เปรียบเหมือนการเปิดโอกาสให้คนไม่เกรงกลัวต่อบาป การแต่งงานก็จะ เกิดขึ้นเพราะความพอใจ แต่ขาดความรับผิดชอบและการหย่าร้างก็จะมีมากขึ้น (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 31-32) (8) การห้ามสาบาน คาสอนตอนนี้ พระเยซูห้ามไม่ให้บุคคลทาการสาบาน เพราะต้องการสอนให้ บุคคลยึดมั่นในสัจจะและความจริงใจอย่างมั่นคง โดยไม่จาเป็นต้องไปอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่ง อื่นๆ เพื่อเป็นหลักประกันคาพูดของตนเอง คนที่มีจิตใจมั่นคงในคาสอนของศาสนาย่อมไม่ กล่าวคาเท็จ และมีความเชื่อมั่นในตนเองที่จะพูด คิด และกระทาทุกอย่างด้วยความซื่อสัตย์ มั่นคง (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 33-37)
ศาสนาขั้นแนะนา | 249
(9) การไม่โต้ตอบผู้ประทุษร้าย คาสอนตอนนี้ พระเยซูไม่ต้องการให้เป็นคนมีจิต ใจอาฆาตแค้น อย่าต่อสู้คน ชั่ว ถ้าผู้ใดตบแก้ม ขวาของเรา ก็ให้ หันแก้มซ้ายให้เขาตบด้วย เพราะหากบุคคลยังมีความ อาฆาตแค้นก็ไม่สามารถรักผู้อื่นและทาดีต่อผู้อื่นได้ หรือแม้แต่ความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้าก็ไม่ บริสุทธิ์ เพราะจิตใจยังอาฆาตแค้นอยู่ก็ไม่สามารถรักใครได้จริงๆ (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 38-39) (10) การรักศัตรู คาสอนตอนนี้ พระเยซูเน้นให้บุคคลมีความรักความเมตตาต่อผู้อื่น แม้ผู้นั้น จะเป็นศัตรูก็ตาม (มัทธิวบทที่ 5 ข้อ 43-44) (11) การทาความดี คาสอนตอนนี้ พระเยซูต้องการให้บุคคลทาดีโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ให้ ทาความดีเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะไม่ใช่ความดีที่แท้จริง เน้นให้เป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ (มัทธิวบทที่ 6 ข้อ 1-4) (12) การสั่งสมทรัพย์สมบัติในสวรรค์ คาสอนตอนนี้ สอนไม่ให้สั่งสมทรัพย์สมบัติภายนอกกาย แต่ความสั่งสม ความดีซึ่งจะทาให้ได้ทรัพย์สมบัติในสวรรค์ (มัทธิวบทที่ 6 ข้อ 19-21) (13) การไม่กล่าวโทษผู้อื่น คาสอนตอนนี้ สอนไม่ให้กล่าวโทษบุคคลอื่น เรากล่าวโทษผู้อื่นอย่างไร และ เราก็จะถูกกล่าวโทษเช่นนั้นบ้าง คนส่วนมากไม่ชอบมองดูความผิดของตนเอง มักจะมองว่าเป็น ความผิดของบุคคลอื่น จึงมองไม่เห็นความผิดพลาดของตนเอง (มัทธิบทที่ 7 ข้อ 1-6) (14) อยากได้ก็ต้องขอ อยากพบก็ต้องหา (ขอ หา เคาะ) ค าสอนนี้ สอนว่ า พระเจ้ า ย่ อ มมี น้ าพระทั ย เมตตาแก่ ผู้ ทุ ก ข์ ย ากที่ ร้ อ งขอ ความช่วยเหลือ พระเจ้าไม่ทอดทิ้งแต่จะประทานสิ่งที่ดีให้แก่พวกเขา พระองค์ดีต่อพวกเขา อย่างไร พวกเขาก็ควรที่จะดาเนินตามรอยพระองค์ ด้วยการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่เขาปรารถนา จะให้ผู้อื่นปฏิบัติเช่นนั้นต่อพวกเขา (มัทธิวบทที่ 7 ข้อ 7-12) เช่นคากล่าวในข้อที่ 8 ว่า "เพราะว่าทุกคนที่ขอก็ได้ ทุกคนที่แสวงหาก็พบ ทุกคนที่เคาะก็จะเปิดให้เขา"20 จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้
20
เรื่องเดียวกัน, หน้า 357-365.
250 | ศาสนาคริสต์
หลักคาสอน
หลักตรีเอกานุภาพ
อาณาจักรของพระเจ้า
หลักความรัก
พระเจ้าทรงเป็นความจริงสูงสุด สูงสุด คาเทศนาบนภูเขา
แผนภูมิภาพที่ 11-2 หลักคาสอนในศาสนาคริสต์
11.5 นิกายในศาสนา ความแตกแยกของคริสตศาสนาได้ค่อยๆ เริ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4-5 เพราะเหตุผลทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ในยุคนั้นจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชได้ ทรงย้ายราชธานีไปอยู่ในภาคตะวันออกของอาณาจักร ทรงตั้งชื่อราชธานีนี้ว่า คอนสแตน ดิโนเปิล หรือ กรุงโรมตะวันออก อาณาจักรโรมันจึงแบ่งการปกครองออกเป็น 2 เขต คือ (1) โรมั น ตะวั น ตกซึ่ ง มี ศู น ย์ ก ลางที่ ก รุ ง โรม และ (2) โรมั น ตะวั น ออกซึ่ ง มี ศู น ย์ ก ลางที่ กรุงคอนสแตนดิโนเปิล ทั้ง 2 เขตต่างก็มีความสาคัญมากเท่ากัน จึงมีความเป็นตัวของตัวเอง ในทางความคิด ประเพณี และวัฒนธรรม โดยโรมันตะวันตกใช้ภาษาละติน ส่วนโรมัน ตะวันออกใช้ภาษากรีก ดังนั้น จึงเกิดการการแข่งขันกันทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรม ทาให้มี ผลกระทบต่อศาสนจักรด้วย21 เมื่ออาณาจักรโรมันตะวันตกได้เริ่มสลายตัวลงไปในคริสต์ศตวรรษที่ 4-5 นั้น อาณาจักรโรมันตะวันออกซึ่งเรียกว่า ไบแซนไทน์ หรือ ไบแซนทีน ก็ได้เข้มแข็งและเป็นอิสระใน ทุกด้าน และเริ่มแยกอานาจการปกครองของสมเด็จพระสันตะปาปาซึ่งเป็นประมุขสูงสุดของทั้ง 2 ฝ่าย จนกระทั่งการแตกแยกออกเป็น 2 นิกายใหญ่ครั้งแรกคือ นิกายโรมันคาทอลิกฝ่าย ตะวั น ตกมี ศู น ย์ ก ลางที่ ก รุ ง โรม และนิ ก ายออร์ ธ อดอกซ์ ฝ่ า ยตะวั น ออก มี ศู น ย์ ก ลางที่ 21
เสถียร พันธรังสี , ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 370. ศาสนาขั้นแนะนา | 251
กรุงคอนสแตนติโนเปิล และในเวลาต่อมามีการแตกแยกเป็นนิกายต่างๆ ของคริสตศาสนาครั้ง สาคัญครั้งที่ 2 ทาให้คริสตศาสนาเกิดมีนิกายที่สาคัญ 3 นิกาย ดังต่อไปนี22้ คือ 11.5.1 นิกายโรมันคาทอลิก คาว่า "คาทอลิก" แปลว่า "สากล" นิกายนี้มีความเชื่อดั้งเดิมว่า คริสตศาสนาเป็น ศาสนาสากล เพราะผู้นับถือนิกายนี้มีความเชื่อ ปฏิบัติตามคาสอนและประเพณีดั้งเดิม คริสตศาสนาโดยเคร่งครัด ไม่นิยมเปลี่ยนแปลงคาสอนที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นพวกอนุรักษ์นิยมก็ได้ นิกายถือว่า สมเด็จพระสันตะปาปาเป็นประมุขปกครองชาวคาทอลิกทั่วโลก โดยมี ศู น ย์ ก ลางการปกครองที่ น ครรั ฐ วาติ กั น ซึ่ ง เป็ น รั ฐ อิ ส ระตั้ ง อยู่ ใ จกลางกรุ ง โรม ประเทศ สาธารณรัฐอิตาลี สมเด็จพระสันตะปาปาทรงบริหารงานโดยแบ่งหน่วยงานเป็นกระทรวงเหมือน รัฐทั่วไป และปฏิบัติหน้าที่เฉพาะในกิจการเกี่ยวกับคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิกทั่วโลก โดยกระทรวงเหล่ า นั้น มี กระทรวงการปกครอง กระทรวงเผยแผ่ กระทรวงอบรมนักบวช กระทรวงคาสอน และกระทรวงอื่นๆ23 11.5.2 นิกายออร์ธอดอกซ์ นิกายนี้แยกออกจากนิกายโรมันคาทอลิกด้วยเหตุผลทางการเมืองและวัฒนธรรม พระสังฆราชเป็นประมุขสูงสุดของศาสนจักร ประจาอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ส่วนหลักธรรม ที่สาคัญของนิกายนี้แทบไม่แตกต่างจากนิกายโรมันคาทอลิก แต่นิกายนี้ไม่ยอมรับอานาจของ สมเด็จพระสันตะปาปาที่นครรัฐวาติกัน แต่ละประเทศมีประมุขทางศาสนาของตน รูปแบบ พิธีกรรม ภาษา การปกครอง และระเบียบที่เกี่ยวกับนักบวช เปลี่ยนแปลงไป เช่น นักบวชมี สิทธิ์แต่งงานได้ เป็นต้น ปัจจุบัน ผู้นับถือนิกายออร์ธอดอกซ์มีอยู่ในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก เช่น กรีซ บัลแกเรีย โรมาเนีย แอลเบเนีย สหภาพโซเวียต และแอฟริกาเหนือในประเทศเอธิโอเปีย นิกายออร์ธอดอกซ์ มีหลักความเชื่อและหลักคาสอน สรุปโดยย่อ ดังต่อไปนี้ 1) ยอมรับศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ประเภท 2) การรับศีลล้างบาป (Baptism) ให้ใช้วิธีจุ่มลงไปในน้า และมักกระทาขณะที่ ผู้รับศีลยังเป็นทารก 3) เด็กทารกมักถูกนาไปร่วมพิธีศีลมหาสนิท (Communion) 4) พิธีกรรมสาคัญในโบสถ์ใช้ภาษาท้องถิ่น
22
มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย, DF 404 ศาสนศึกษา, หน้า 334. 23 ภัทรพร สิริกาญจน, ความรู้พื้นฐานทางศาสนา, หน้า 75. 252 | ศาสนาคริสต์
5) การเคารพบูชารูปเคารพของพระเยซู แม่ พระและนักบุญต่างๆ มีอยู่อย่าง แพร่หลาย โดยทารูปเคารพบนแผ่นไม้หรือกระเบื้องขั ดที่มีลักษณะแบนไว้สักกระบูชา ทั้งใน บ้านและในโบสถ์ เรียกว่า รูปไอคอน (Icon) 6) นั ก บวชตามโบสถ์ ป ระจ าท้ อ งถิ่ น แต่ ง งานมี ค รอบครั ว ได้ แต่ บ าทหลวง แต่งงานไม่ได้ 7) มีความเชื่อว่าพระเยซู เป็นพระเจ้าในร่างกาย 8) ไม่ยอมรับอานาจสูงสุดของพระสันตะปาปาที่กรุงโรม24 11.5.3 นิกายโปรเตสแตนต์ นิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2063 โดย มาร์ติน ลูเธอร์ ชาวเยอรมัน ซึ่ง ไม่ยอมรับพฤติกรรมของผู้นาทางศาสนาของนิกายโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะการที่พระสังฆราช โลภเห็นแก่เงิน จนถึงมีการเปลี่ยนแปลงพิธีล้างบาปด้วยการเอาเงินไปให้แก่วัดแทนการ สารภาพ จึงคัดค้า นแล้วตั้งนิกายขึ้นใหม่ เพราะการกล้าคัดค้านข้อปฏิบัติของสมเด็จ พระสันตะปาปาที่กรุงโรม จึงทาให้นิกายมีชื่อเรียกว่า "โปรแตสแตนต์" แปลว่า "นิกายคัดค้าน" นิกายโปรแตสแตนต์แพร่หลายอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือและบางส่วนของทวีป ยุโรป เช่นเยอรมนี อังกฤษ และกลุ่มประเทศสแกนดิ เนเวีย เป็นต้น มีหลักความเชื่อและหลัก คาสอนโดยสังเขป คือ 1) มีความเชื่อในเรื่องตรีเอกานุภาพ 2) เชื่อว่า พระเยซูทรงมี ธรรมชาติ 2 ประการ คือ เป็นทั้ง พระเจ้า และมนุษ ย์ ในขณะเดียวกัน 3) เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีบาปกาเนิด (Original sin) อันนาไปสู่ความพินาศ ทาให้มนุษย์ตกต่าและเหินห่างจากพระเจ้า 4) เชื่อว่าบาปกาเนิดและความผิดบาปต่างๆในภายหลังและลบล้างได้โดยการไถ่ บาปของพระเยซู 5) เชื่อว่าพระเยซูทรงคืนพระชนม์และเสด็จกลับสู่สวรรค์ 6) ไม่ยกย่องแม่พระมารีย์และนักบุญต่างๆที่ว่ามีความสาคัญเทียบเท่าพระเยซู ไม่มีการสักการะบูชาแม่พระและนักบุญ 7) ปฏิเสธอานาจสิทธิ์ขาดของศาสนาจักรที่กรุงโรมในการตีความพระคัมภีร์ 8) ปฏิเสธอานาจการปกครองของศาสนจักรที่กรุงโรม
24
เรื่องเดียวกัน, หน้า 77. ศาสนาขั้นแนะนา | 253
9) ถือว่าพระบัญญัติของพระเจ้าเท่านั้นที่มีอานาจบังคับสูงสุด แม้คนแต่ละคนจะ เข้ า ใจพระคั ม ภี ร์ แ ตกต่ า งกั น แต่ ก็ มี ค วามศรั ท ธาต่ อ ค าสอนพื้ น ฐานของศาสนาคริ ส ต์ เช่นเดียวกัน 10) ในด้ า นเกี่ ย วกั บ พิ ธี ก รรม นิ ก ายโปรเตสแตนต์ ใ ห้ ค วามส าคั ญ ต่ อ ศี ล ล้างบาป (Baptism) และศีลมหาสนิท (Mass) มากกว่าพิธีกรรมอื่นๆ25 นอกจากนิกายใหญ่ 3 นิกายนั้นแล้ว ยังมีนิกายอื่นๆ ที่คริสตศาสนิกชนนับถือกัน อยู่ ทั่ ว โลกในปั จ จุ บั น นี้ นิ ก ายเหล่ า นี้ จ ะไม่ ข อกล่ า วโดยรายละเอี ย ด ประมาณ 16 นิ ก าย ดังต่อไปนี้ 1) นิกายเอปิสโคปัล (Church of England) เป็นนิกายของประเทศอังกฤษ 2) นิกายคาทอลิกฝรั่งเศส เรียกว่า คณะเยซูอิต (Jesuit) 3) นิกายเควกเกอร์ (Ouaker) 4) นิกายดีอิสม์ (Deism) 5) นิกายมอร์มอน (Mormonism) 6) นิกายคริสเตียนไซแอนส์ (Christian Science) 7) นิกายยูนิเตเรียน (Unitarianism) 8) นิกายพยานพระเยโฮวาห์ (Jehovah’s Witnesses) 9) นิกายเซเวนต์ตี้เดย์ แอดเวนทิสต์ (Seventy-day Adventists) 10) นิกายอัสสัมชัญ (Assumption) 11) นิกายเซนต์คาเบรียล (Gabriel) 12) นิกายแบปทิสต์ (Baptist) แบ่งแยกออกเป็นแบปทิสต์ย่ อยๆ อีกกว่า 10 นิกาย 13) นิกายคาลวิน 14) นิกายเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) 15) นิกายเมธอดิสต์ (Methodist) 16) นิกายฟรานซิสกันส์ (Franciscans)26 จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้
25
เรื่องเดียวกัน, หน้า 78. 26 อ่านรายละเอียดของนิกายเหล่านี้ได้จาก เสถียร พันธรังสี , ศาสนาเปรียบเทียบ, พิมพ์ครั้งที่ 8 (กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์สุขภาพใจ, 2542), หน้า 404-416.
254 | ศาสนาคริสต์
นิกาย
นิกายโรมันคาทอลิก
นิกายออร์ธอดอกซ์
นิกายโปรเตสแตนท์
แผนภูมิภาพที่ 11-3 นิกายในศาสนาคริสต์
11.6 พิธีกรรมสาคัญ พิ ธี ก รรมส าคั ญ ของศาสนาคริ ส ต์ เรี ย กว่ า พิ ธี ศี ล ศั ก ดิ์ สิ ท ธิ์ (Sacraments) 7 ประการ คือ 11.6.1 ศีลล้างบาป หรือศีลจุ่ม (Baptism) คริ ส ตศาสนิกชนทุ กคนต้องผ่า นพิ ธี ศีล ล้ า งบาปเสี ย ก่อนจึ ง จะเป็นชาวคริ ส ต์ที่ สมบูรณ์ แต่นิกายโปรเตสแตนต์เรียกพิธีกรรมนี้ว่า ศีลจุ่ม การรับศีลล้างบาปปรับได้ครั้งเดียว เท่านั้นแล้วไม่ต้องรับอีกจนตลอดชีวิต แม้จะเปลี่ยนไปนับถือศาสนาอื่นแล้ว ในภายหลังกลับมา นั บ ถือ ศาสนาคริ ส ต์ อีกก็ ไ ม่ ต้ องรั บ ศีล ล้ า งบาป การเรี ย กพิ ธี กรรมนี้ ว่า ศี ล ล้ า งบาป เพราะ คริสตศาสนามีความเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีบาปติดตัวมาตั้งแต่เกิด ที่เรียกว่าบาปกาเนิด ตามพระคัมภีร์เก่าแสดงไว้ว่า บาปนี้ติดมาจากบรรพบุรุษได้แก่มนุษย์คู่แรกคืออาดัมและอีฟ การล้างบาปทาได้โดยเอาน้ารดที่หน้าผาก จะให้ผู้ใดเป็นผู้ล้างบาปให้ก็ได้ไม่ จาเป็นต้องเป็นชาวคริสต์ด้วยกัน เมื่อเอาน้าเทรดหน้าผากให้กล่าวว่า "ฉันล้างท่านในนามของ พระบิดา พระบุตร และพระจิต" นอกจากนั้นเป็นพิธีประกอบอาจทาหรือไม่ทาก็ได้ เช่น การสวดมนต์ รับศีล และอดอาหาร เป็นต้น 11.6.2 ศีลกาลัง (Confirmation) พิธีกรรมนี้เป็นพิธีที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ผู้ให้ศีลกาลัง โดยปกติต้องมีตาแหน่งเป็นพระสังฆราช และผู้รับศีลต้องอยู่ในวัยที่รู้เหตุผลแล้ว กล่าวคือ อายุ ระหว่าง 9-14 ปี ในการทาพิธี พระสังฆราชจะเอามือทั้งสองวางที่ศีรษะของผู้รับศีล แล้วเจิม หน้าผากด้วยน้ามันมะกอกเป็นรูปกางเขนและประกาศว่าผู้รับศีลนั้นได้รั บความรอดพ้นในนาม ของพระบิดา พระบุตร และพระจิต
ศาสนาขั้นแนะนา | 255
11.6.3 ศีลมหาสนิท (Holy Communion) นิกายโรมันคาทอลิกเรียกพิธีกรรมนี้ ว่า ศีลมหาสนิท ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์ เรียกพิธีกรรมนี้ว่า มิซซา (Missa) เป็นพิธีกรรมเพื่อน้อมจิตระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ บนไม้ กางเขนของพระเยซู บุคคลที่สมควรได้รับศีลนี้ ต้องเป็นผู้ที่เชื่อหรือยอมรับว่า พระเยซูทรง สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนแทนเขา และแสดงว่าเป็นการร่วมกับฝ่ายจิตและวิญญาณระหว่าง พระเยซูกับชาวคริสต์ เป็นการยอมรับว่าพระเยซูมาสถิตอยู่ในร่างกายตน ก่อนเข้าพิธีต้องมีการ เตรียมจิตใจให้มีความซื่อตรง แต่งกายสุภาพ และต้องอดอาหารเพื่อรับศีล ก่อนรับศีลต้องสวด มนต์ภาวนาโดยสวดบทแสดงความเชื่อ และแสดงความวางใจในศีล บทแสดงความทุกข์ของ บาป และความรักต่อพระองค์ ตลอดจนแสดงความปรารถนาดีที่จะรับศีล พระผู้ทาพิธีจะแจกขนมปังและเหล้าองุ่น ซึ่งมีความหมายถึงเนื้อและเลื อดของ พระเยซู ปัจจุบันแจกแต่ขนมปัง เพราะมีผู้เข้าร่วมพิธีเป็นจานวนมาก ส่วนนิกายโรมันคาทอลิก ถือว่าขนมปังและเหล้าองุ่นเป็นเนื้อและเลือดของพระเยซูจริงๆ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์ถือว่า พระเยซูเสด็จมาประทับท่ามกลางพิธีและขนมปังก็คือขนมปัง ไม่ใช่เนื้อของพระเยซู 11.6.4 ศีลแก้บาปหรืออภัยบาป (Confession) ชาวคริ สต์เ ชื่อว่า พิธี กรรมนี้ เป็น การส านึกว่า ตนได้ท าบาปลงไป จะต้องไปหา บาทหลวง เพื่อสารภาพถึงการทาความผิดนั้น และขออภัยโทษจากพระเจ้า บาทหลวงในฐานะ ผู้แทนของพระเจ้าจะเป็นผู้ยกบาปนั้นให้ แต่การที่จะได้รับอภัยโทษจากพระเจ้าได้ ก็ต่อเมื่อมี ความสานึกผิดอย่างจริงใจ ส่วนโทษของบาปหรือบาปกรรมที่ติดตัวไป หาได้หมดสิ้นไปไม่ จนกว่าจะใช้กรรมให้หมดสิ้นด้วยการทาความดี 11.6.5 ศีลเจิมผู้ป่วย (Holy Unction) พิธีกรรมนี้เป็นพิธีที่ทาเพื่อให้กาลังใจแก่ผู้ป่วย ศีลนี้จะรักษาโรคทางกายให้ บรรเทาเบาบางหรือให้หายได้ หากพระเจ้าทรงเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่วิญญาณของผู้รับ ศีลนั้น ในการทาพิธีนั้นพระผู้ทาพิธีจะให้ศีลด้วยการเจิมน้ามันศักดิ์สิทธิ์ตามร่างกายของผู้ป่วย เช่น ที่ตา หู จมูก ปาก มือ และเท้าของผู้ป่วย พร้อมทั้งสวดอ้อนวอนขอให้พระเจ้าโปรดอภัย บาปอันได้กระทาลงไปแล้วแม้ด้วยอวัยวะดังกล่าว 11.6.6 ศีลบวชเป็นบาทหลวง (Ordination) พิธีกรรมนี้ เป็นพิธีที่เจ้าอาวาสในวัดทาให้แก่ผู้เข้าพิธีบวชเพื่อจะเป็นพระหรือ บาทหลวงในศาสนาคริสต์ และมอบอานาจที่จะทาหน้าที่สงฆ์ต่อไป การเป็นบาทหลวงในศาสนา คริสต์ถือเป็นกิจอันยิ่งใหญ่และเป็นเกียรติอันสูงส่ง เพราะบาทหลวงจะบาเพ็ญกรณียกิจแทน พระเยซูเพื่อเป็นสิริมงคลของพระเจ้าและเพื่อความรอดของวิญญาณ
256 | ศาสนาคริสต์
11.6.7 ศีลสมรส (Matrimony) พิธีนี้เป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงการรวมชายหญิงคู่หนึ่งต่อพระพักตร์พระเจ้าเพื่อจะ ได้สร้างครอบครัวชาวคริสต์ที่สมบูรณ์ต่อไป สามีภรรยาจะอยู่ร่วมกันได้ต้องมีความรักและ ซื่อสัตย์ต่อกัน ยอมรับลูกทุกๆ คนที่พระเจ้าประทานมาให้ พิธีแต่งงานต้องทาต่อหน้าบาทหลวง เจ้าอาวาสหรือผู้แทน และต่อหน้าพยานอีกสองคน ซึ่งพิธีจะทาในโรงสวด โดยคู่บ่าวสาวหมอบ ลงหน้าแท่นบูชารับพรจากพระผู้ทาพิธี เป็นการประกาศความรักและความซื่อสัตย์ระหว่างตน ให้พระเจ้าทรงทราบ27 ศีลทั้ง 7 ประการนี้ ถือปฏิบัติกันทั้งนิกายโรมันคาทอลิก และนิกายออร์ธ อดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนท์นับถือเฉพาะศีลล้างบาป และศีลมหาสนิทเท่านั้น28 11.6.8 พิธีกรรมอื่นๆ นอกจากพิ ธี ก รรมต่ า งๆ ดั ง กล่ า วแล้ ว ชาวคริ ส ต์ ยั ง ท าพิ ธี ก รรมอี ก มากมาย ดังต่อไปนี้ (1) การไปโบสถ์ในวันพระ โดยชาวคริสต์ในสมัยแรกๆ จะถือวันเสาร์เป็น วันพระ และวันเริ่มต้นของสัปดาห์เหมือนอย่างศาสนายิว เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวันอาทิตย์ในสมัย ของเซนต์ปอล และถือกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อถึงวันอาทิตย์ ชาวคริสต์จะไปโบสถ์เพื่อ ปฏิบัติศาสนกิจเป็นการพัฒนาจิตใจ (2) การเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส ชาวคริสต์จะเฉลิมฉลองรื่นเริงเป็นการใหญ่ เพราะถือว่าเป็นวันคล้ายวันเกิดของพระเยซู กล่าวคือ นิกายโรมันคาทอลิกและนิกาย โปรเตสแตนต์ถือว่าวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระเยซู แต่นิกาย ออร์ธอดอกซ์ตะวันออกถือว่า วันเกิดของพระเยซูตกอยู่ในเดือนมกราคม (3) เทศกาลแอดเวนต์ (Advent) ก่อนถึงวันคริสต์มาส 4 สัปดาห์ ชาวคริสต์ จะพากันอ่านคัมภีร์พันธสัญญาเดิม เพื่อเตรียมตัวต้อนรับวันคริสต์มาส (4) การเฉลิมฉลองวันอีปิฟ่านี (Epiphany) หลังจากวันคริสต์มาสผ่านพ้นไป แล้ว 12 วัน ชาวคริสต์จะเฉลิมฉลองเพื่อระลึกถึงวันที่มีนักปราชญ์ตะวันออกมาเยือนพระเยซู ตอนเกิดใหม่ (5) การเฉลิ ม ฉลองเทศกาลอี ส เตอร์ ชาวคริ ส ต์ จ ะเฉลิ ม ฉลองเพราะมี ความเชื่อว่า เป็นวันกลับฟื้นคืนชีพของพระเยซู กล่าวคือ ชาวคริสต์เชื่อว่าพระเยซูถูกตรึง ไม้กางเขนสิ้นชีพในเย็นวันศุกร์ ครั้นรุ่งเช้าวันอาทิตย์ พระเยซู ก็ฟื้นคืนชีพสู่สวรรค์
27
เสรี พงศ์พิศ, ศาสนาคริสต์, หน้า 277-298. 28 ภัทรพร สิริกาญจน, ความรู้พื้นฐานทางศาสนา, หน้า 78. ศาสนาขั้นแนะนา | 257
(6) การเฉลิมฉลองวันเพนตีโคสต์ (Pentecost) หลังจากวันอีสเตอร์ไปอีก 50 เป็นวันที่ชาวคริสต์เฉลิมฉลองถึงวันที่โมเสสได้รับพระบัญญัติ 10 ประการ จากพระเจ้าบน ยอดเขาซีไนย์ เป็นต้น29 จากที่กล่าวมาข้างต้น สรุปเป็นแผนภูมิ เพื่อความเข้าใจง่ายดังนี้
พิธีกรรม
ศีลล้างบาป/ศีลจุ่ม
ศีลเจิมผู้ป่วย
ศีลกาลัง
ศีลบวชเป็นบาทหลวง
ศีลมหาสนิท
ศีลสมรส
ศีลแก้บาป/ศีล อภัยบาป
พิธีกรรมอื่น ๆ
แผนภูมิภาพที่ 11-4 พิธีกรรมในศาสนาคริสต์
29
มหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนีย, DF 404 ศาสนศึกษา, หน้า 371.
258 | ศาสนาคริสต์
11.7 สัญลักษณ์ของศาสนา ในคริ ส ตศาสนาทุ ก นิ ก ายใช้ เครื่องหมายเหมือนกันคือ ไม้กางเขน เพราะ พระเยซูสิ้ นพระชนม์ บ นไม้ กางเขนเช่ นนั้ น คริ ส ตศาสนาจึ ง ถื อ ว่ า ไม้ ก างเขนเป็ น สัญลักษณ์แห่งการเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของพระ เจ้ า อั น แสดงถึ ง ความรั ก ที่ พ ระเจ้ า มี ต่ อ มนุษย์ แหล่งที่มา : ภาพสัญลักษณ์ http://religious-studies-mbu.blogspot.com/
11.8 ฐานะปัจจุบันของศาสนา ศาสนาคริสต์ในปัจจุบันมีผู้นับถือมากที่สุดในโลก มี คริสตศาสนิกชนกระจายไป ทั่วโลก แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย ทั้งนี้ก็เพราะศาสนาคริสต์ มีวิธีการเผยแพร่ดี พรั่งพร้อมด้วยบุคลากร ทุนทรัพย์ และอานาจ ศาสนาคริสต์ได้ชื่อว่าศาสนาแห่งความรัก พระเยซูเน้นถึงความรักว่าสาคัญ ที่ สุ ด มี ค วามรั ก อย่ า งเดี ย วก็ เ พี ย งพอแล้ ว รั ก พระเจ้ า รั ก เพื่ อ นมนุ ษ ย์ รั ก เพื่ อ นบ้ า น รักครอบครัว แล้วจะได้ความรักตอบแทนซึ่งมีค่ากว่าสมบัติใด ๆ ให้รักโลก ทาตนเป็นคนของ โลก และก็ด้วยอิทธิพลคาสอนดังกล่าวจึงมีหมอสอนศาสนาคริสต์ออกไปเผยแผ่ศาสนาทั่วโลก ทั้งช่วยจัดตั้งโรงเรียนและโรงพยาบาลควบคู่ไปด้วย เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะดาเนินรอยตาม พระเยซูซึ่งเป็นทั้งหมอกายหมอใจ ช่วยเหลือคนเจ็บป่วยทั้งโรคกายโรคใจ ดังนั้น การช่วยเหลือ กันในรูปแบบต่างๆ จึงมีอยู่ทั่วไปในหมู่ชาวคริสต์ สะท้อนถึงอิทธิพลของศาสนาคริสต์ดังกล่าว มาแล้ว แต่ภายในศาสนาคริสต์เองกลับแตกแยกกันแบ่งเป็นนิกายใหญ่น้อยมากมาย และ แต่ละนิกายต่างก็ยึดมั่นในปรัชญาของตนไม่ปรองดองเข้าหากัน ทั้งยังไม่มีองค์การใดที่คอย ประสานรอยร้าวได้ ดังนั้น ศาสนาคริสต์ถึงแม้จะเป็นศาสนาใหญ่ แต่ก็อยู่ในฐานะที่รวมกันได้ แค่เพียงหลวมๆ หรือรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น ตลอดทั้งความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและ เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ก็มีการขัดแย้งกับคาสอนในศาสนาคริสต์ จึงทาให้ชาวคริสต์รุ่นใหม่ ไม่สนใจศาสนาถึงกับประกาศตัวไม่มีศาสนาและหันไปนับถือศาสนาอื่น ก็มีมากขึ้นตามลาดับ30 30
เรื่องเดียวกัน, หน้า 372.
ศาสนาขั้นแนะนา | 259
แบบฝึกหัดประจาบทที่ 11 ตอนที่ 1 ให้นักศึกษาทาเครื่องหมายกากบาท (X) ลงหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุด 1. คาว่า คริสต์ มีความหมายตรงกันกับข้อใด? ก. พระเยซู ค. พระบุตร
ข. เมสสิอาห์ ง. พระเจ้า
2. ข้อใดคือสาเหตุความเจริญก้าวหน้าของศาสนาคริสต์? ก. คาสอนลึกซึ้ง ข. ความศรัทธา ค. การเผยแพร่ศาสนาของพระเยซู ง. การเผยแพร่ของพระสาวก 3. ศาสนาคริสต์รุ่งเรืองที่สุดในยุคกษัติย์องค์ใด? ก. พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ค. พระเจ้าหลุยที่ 14
ข. เซนต์ปอล ง. พระเจ้าคอนสแตนติน
4. ข้อใดเป็นสาเหตุทาให้มาร์ติน ลูเธอร์ หมดความอดทน แยกตัวออกไปจากศาสนจักรแล้วตั้ง นิกายใหม่? ก. การมีอานาจของโป๊ป ข. การตีความคัมภีร์ของโป๊ป ค. การล้างบาปด้วยการเสียเงิน ง. ความเบื่อหน่ายต่อสานักวาติกัน 5. นิกายออร์ธอดอกซ์ ฝ่ายตะวันออก มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองใด? ก. โรม ข. สานักวาติกัน ค.คอนสแตนติโนเบิล ง. มิลาน 6. นิกายใดมีแนวความคิดเช่นเดียวกับพุทธศาสนานิกายเถรวาท? ก. โรมันคาทอลิก ข. ออร์ธอดอกซ์ ค.โปรเตสแตนต์ ง. เถรวาทาคาทอลิก 7. คาว่า โปรเตสแตนต์ มีคาแปลว่าอย่างไร? ก. สากล ค. คัดค้าน 260 | ศาสนาคริสต์
ข. แตกแยก ง. หวั่นไหว
8. หนังสือชื่อ อพยพ อยู่ในคัมภีร์ตอนใด เล่มใด? ก. เพนทาทุก พระคัมภีร์เก่า ข. ฮาจิโอกราฟา พระคัมภีร์เก่า ค. ศาสดาพยากรณ์ พระคัมภีร์เก่า ง. พระวรสาร พระคัมภีร์ใหม่ 9. คาว่า The Gospels คือชื่อของพระคัมภีร์ใด? ก. หนังสือกิจการของอัครทูต ค.หนังสือวิวรณ์
ข. พระวรสาร ง. จดหมายของบรรดาสาวก
10. ข้อใดคือหลักศรัทธาของศาสนาคริสต์? ก. ศรัทธาในพระยโฮวาห์ ค. ศรัทธาในความรักของพระเจ้า
ข. ศรัทธาในวันสร้างโลก ง. ข้อ ก และ ค ถูก
11. ข้อใดคือหลักปฏิบัติเพื่อเข้าถึงอาณาจักรของพระเจ้าในโลกนี้? ก. ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ ข. รักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง ค. รักพระเจ้าอย่างสุดจิตสุดใจ ง. ข้อ ข และ ค ถูกต้อง 12. พิธีกรรมในข้อใดที่กระทาเพียงครั้งเดียวในชีวิตแล้วไม่ต้องทาอีก? ก. ศีลมหาสนิท ข. ศีลล้างบาป ค. ศีลกาลัง ง. ศีลแก้บาป 13. พิธีกรรมใดที่แสดงถึงสัมพันธภาพระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์? ก. ศีลล้างบาป ข. ศีลมหาสนิท ค. ศีลกาลัง ง. ศีลแก้บาป 14. พิธีมิซซา ตามความเชื่อของนิกายโปเตสแตนต์ เรียกว่า พิธีกรรมอะไรใน นิกายโรมันคาทอลิก? ก. ศีลมหาสนิท ข. ศีลล้างบาปโรมัน ค. ศีลแก้บาป ง. ศีลกาลัง 15. พิธีกรรมในข้อใดที่เป็นการระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู? ก. ศีลมหาสนิท ข. ศีลล้างบาป ค. ศีลกาลัง ง. ศีลแก้บาป ศาสนาขั้นแนะนา | 261
16. พลังอานาจที่พระเจ้าแสดงเพื่อดลบันดาลให้มนุษย์กลับใจมาปฏิบัติตามแนวทางของ พระเจ้าเรียกว่าอะไร? ก. พลังความรัก ข. พระวิญญาณบริสุทธิ์ ค. พระจิต ง. ข้อ ข และ ค ถูก 17. การเจิมหน้าผากด้วยน้ามันมะกอกเป็นรูปไม้กางเขน อยู่ในพิธีกรรมอะไร? ก. ศีลมหาสนิท ข. ศีลล้างบาป ค. ศีลแก้บาป ง. ศีลกาลัง 18. สาวกคนใดที่ทรยศต่อพระเยซู? ก. ซีมอน ค. ยาโกโบ
ข. มัทธาย ง. ยูดาห์ อิสการิดโอด
19. ข้อใดคือข้อขัดแย้งระหว่างคาสอนของโมเสสและพระเยซู? ก. วันสะบาโต ข. พระเจ้า ค. ความรัก ง. บัญญัติ 10 ประการ 20. นักบุญท่านใดได้รับการแต่งตั้งจากพระเยซูให้เป็นหัวหน้าต่อจากพระองค์? ก. เปาโล ข. บักโจ ค. มาริโอ ง. เปโตร
ตอนที่ 2 จงตอบคาถามต่อไปนี้ 1. จงอธิ บ ายความแตกต่ า งระหว่ า งพระคั ม ภี ร์ เ ก่ า และพระคั ม ภี ร์ ใ หม่ มาพอ เข้าใจ? 2. จงยกตัวอย่างหลักคาสอนของศาสนาคริสต์มา 3 ข้อ และนักศึกษาเห็นด้วยกับ หลักคาสอนข้อใดมากที่สุด เพราะเหตุใด? 3. จงอธิบายความแตกต่างของนิกายโรมันคาทอลิก นิกายออร์ธอดอกซ์และนิกาย โปรเตสแตนต์?
262 | ศาสนาคริสต์