RaksThai Mag

Page 1


Content 4 4

11

18

Cover story

หากได้ติดตามสื่อต่างๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนคงดีใจกับ เกษตรกรอย่างชาวนาไทย ที่ขายข้าวได้ราคาสูงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ผู้บริโภคอย่างเราๆ คงพร่ำบ่นกันได้ไม่เต็มปากนักกับการต้องควักเงินใน กระเป๋าเพื่อซื้อข้าวที่มีราคาสูงขึ้นมาก เพราะเชื่อว่าส่วนต่างของราคาที่เกิด ขึ้นนั้น จะตกไปอยู่ในยุ้ง ในฉางของชาวนาบ้าง... วิกฤตข้าวราคาแพงใน ช่วงนี้ เป็นโอกาสทองของชาวนาไทยจริงๆ หรือ ?

Project scoop

เมื่อวิถีชีวิตของผู้คนในชนบท โดยเฉพาะในภาคอีสาน ยังคงวนเวียนอยู่กับ ปัญหาเดิมๆ โดยเฉพาะปัญหาการเป็นหนี้ซ้ำซาก บางคนหลงอยู่ในวงจรของ การเป็นหนี้ตลอดช่วงอายุขัย ทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่ไม่คิดอพยพย้าย ถิ่นฐานเพราะไม่สามารถฝากอนาคตไว้กับบ้านเกิดของตัวเองได้ หนึ่งใน ความพยายามของมูลนิธิรักษ์ไทยคือ การพยายามสร้างงาน สร้างทางเลือก และสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น...

Interview

พบกับ เครือซิเมนต์ไทย (SCG) หนึ่งในพันธมิตรจากภาคธุรกิจที่มุ่งมั่นใน การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยถือเป็นนโยบายและหัวใจสำคัญใน การดำเนินธุรกิจ

รายชื่อคณะกรรมการมูลนิธิรักษ์ไทย ประธานมูลนิธิรักษ์ไทย รองประธานมูลนิธิรักษ์ไทย กรรมการ กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและเลขาธิการ กรรมการที่ปรึกษา

11

18

3 Editor Talk 4 Cover story ข้าวแพง ฤาความหวังของชาวนาไทย 8 Dream Chaser ซิ่งล่าฝัน ปี 2 10 เรียนรู้จัดการ เสียงที่รอคอยการรับฟัง 11 Project Scoop คืนถิ่น...อีสาน 14 ธรรมะเพื่อน้อง 16 Short Film Competition Project โลกร้อน...นาฏกรรมแห่งชีวิต...หลังสึนามิ 18 Interview SCG กับการพัฒนาสังคมไทย

ศ.ดร.กระแส ชนะวงศ์ ธรงวิท ทุมมานนท์ วิภาวี เจริญสิทธิ,์ ดร.ธนศักดิ์ วหาวิศาล, ผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ, พิภพ พฤกษมาศน์, ดร.แกรี่ สุวรรณรัตน์, ดร.อัศวิน จินตกานนท์, สุพรทิพย์ ช่วงรังษี, ดวงใจ อมาตยกุล, อริสรา กำธรเจริญ, อัจฉรา บัวสมบูรณ์ ดร.พรชัย ศรีประไพ พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ รศ.ดร.จุรี วิจิตรวาทการ


บทบรรณาธิการ

วารสารรักษ์ไทยฉบับนี้มอบให้กับภาคอีสาน แผ่นดินที่ราบสูง หรือที่เรียกทางการว่า ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ด้วยประชากรกว่า 20 ล้านคน วัฒนธรรมความเป็นอยู่ที่เก่าแก่ โดยมีพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 160 ล้านตารางกิโลเมตร จาก 19 จังหวัด แต่หากนับภาพรวม ภาคอีสานมีอัตราความยากจนสูง กว่าทุกภาค พี่น้องเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณร้อยละ 85 มีพื้นที่ทำกินไม่เพียงพอที่ จะเลี้ยงครอบครัว และยังมีแนวโน้มของพื้นที่ทำการเพาะปลูกที่เล็กลงเรื่อยๆ เมื่อที่ดินที่ถูกจำนอง หลุดบ้าง ต้องขายบ้าง หรือแบ่งให้ลูกหลาน ยิ่งกว่านั้นสภาพของดินไม่ได้เอื้อต่อการเพาะปลูก รวมทั้งเรื่องภัยแล้งที่มีซ้ำซากทุกปี น่าชื่นชมคนอีสานที่ยังรักษาความเป็นอีสานไม่ตกหล่น ไม่ว่าจะเป็นด้านอาชีพ วัฒนธรรม องค์ความรู้ ท้องถิ่นจำนวนมาก แม้ว่าระดับการย้ายถิ่นของคนอีสาน เพื่อทำงานต่างภาคหรือต่างประเทศสูงกว่า ภาคอื่น แต่คนอีสานเป็นคนสู้ชะตากรรม เรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานอย่างต่อเนื่อง มูลนิธิรักษ์ไทยมีประวัติการทำงานภาคอีสานตั้งแต่ปี 2529 โดยมีพื้นที่การทำงานในภาคอีสานทั้งหมด 14 จังหวัด งานส่วนใหญ่จะเป็นการส่งเสริมอาชีพ ตั้งแต่กลุ่มอาชีพหม่อนไหม ผ้าฝ้าย จักรสาน การทำกลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มรวมทุนเพื่อการผลิตและการตลาด การส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน นอกจากนั้นมูลนิธิรักษ์ไทยยังส่งเสริมภาวะผู้นำเยาวชน ห้องสมุดเคลื่อนที่ และโครงการเสริมสร้าง สุขภาพป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี องค์กรประกอบร่วมของการทำงานคือ เน้นชุมชน การทำงานเป็นกลุ่ม เสริมสร้างเครือข่าย และเน้นการพัฒนาคนเพื่อขยายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นด้านอาชีพ การศึกษา หรือสุขภาพที่ดี พร้อมบุญ พานิชภักดิ์

บรรณาธิการบริหาร กองบรรณาธิการ ออกแบบรูปเล่ม ภาพปก มูลนิธิรักษ์ไทย สำนักงานกรุงเทพฯ

พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ ยุวลักษณ์ เหมะวิบูลย์, ป้อมปราณณ์ เนตยวิจิตร์, กศิณา ลิ้มสมานพันธ์, ศิริพร แท้สูงเนิน, ชูชาติ ตรีรัถยานนท์, วรีรัตน์ ทานตะวิริยะ, ณัฐนันท์ หวังดี วิโรจน์ ควงยุตมงคล, วรานุช สุทธิจันทร์นภา Photo Group 232 ซอยตากสิน 19 ถนนตากสิน เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทร. 081 920 2017, 089 488 1498 Photo Group 185 ซอยประดิพัทธ์ 6 ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02 265 6888 โทรสาร 02 271 4467 www.raksthai.org


Cover Story ข้าวแพง...ฤาความหวังของชาวนาไทย เรียบเรียง : ทีมรักษ์ไทยอีสาน, กศิณา ลิ้มสมานพันธ์, วรานุช สุทธิจันทร์นภา ภาพ : วิโรจน์ ควงยุตมงคล

ข้าวแพง...

ฤาความหวังของชาวนาไทย

โลกกำลังเผชิญวิกฤตด้านอาหาร อันเป็นผลจากกำลังการผลิตข้าวทั่วโลกลดปริมาณลงอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ในระยะที่ผ่านมาเกษตรกรทั่วโลกหันไปปลูกพืชพลังงานทดแทน ประเภทปาล์มน้ำมัน ยางพารา อ้อย มากขึ้น ประกอบกับทั่วโลกต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติ ที่กระหน่ำอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร


ราคาข้ า วในตลาดโลกที่ พุ่ ง สู ง ขึ้ น ทำให้หลายคนมองว่าเป็นโอกาสทองของ ชาวนาไทย ในฐานะผู้ ผ ลิ ต ข้ า วส่ ง ออก อั น ดั บ หนึ่ ง ของโลก ในขณะที่ ห ลาย ประเทศซึ่งเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่งด หรื อ ชะลอการส่ ง ออก เพื่ อ ให้ แ น่ ใ จว่ า มี เพียงพอสำหรับประชากรภายในประเทศ ก่อ น ทำให้ป ระเทศนำเข้าข้าวพุ่งความ สนใจมายังประเทศไทยที่ยังคงประกาศ ส่งออกข้าวเหมือนเดิม

“ปีนี้ข้าวราคาดี ชาวนาคงได้มี โอกาสลืมตาอ้าปากกับเขาบ้าง”

หลายคนเชื่ อ ว่ า การที่ ข้ า วราคาดี ในปี นี้ จ ะทำให้ ช าวนาไทยที่ มี อ ยู่ ร าว 4 ล้านครัวเรือน มีรายได้เพิ่มขึ้น และช่วย ขั บ เคลื่ อ นเศรษฐกิ จ รากหญ้ า ให้ ดี ขึ้ น ได้ แต่ ใ นทั ศ นะของชาวนาแล้ ว กลั บ ไม่ เ ห็ น เช่นนั้น

“ตอนนี้ข้าวราคาสูง แต่ชาวนาไม่มี ข้าวจะขายแล้ว” เคน สามิโร ชาวนาใน จั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี ก ล่ า ว “ตอนที่ เ ก็ บ เกี่ยวผลผลิต (ข้าวนาปี) เสร็จ ราคายัง ไม่ สู ง ชาวนาขายข้ า วไปตั้ ง แต่ ต อนนั้ น บางคนยังไม่ทันขนข้าวขึ้นเล้า (หมายถึง ยุ้งข้าว) ก็ขายคาลานเลย เพราะมีความ จำเป็นต้องเอาเงินไปใช้หนี้ ธ.ก.ส. บ้าง หนี้ค่าปุ๋ยบ้าง ค่าใช้จ่ายมันรออยู่ข้างหน้า มันก็จำเป็น” “ เ ค น ” คิ ด ว่ า ค น ที่ น่ า จ ะ ไ ด้ ประโยชน์ คื อ กลุ่ ม นายทุ น โรงสี และ ชาวนาที่ทำนาปรัง ซึ่งกำลังจะเก็บเกี่ยว ในช่วงที่ข้าวราคาดี ชาวนาอย่างเคนที่ทำ นาปีได้แต่หวังว่าข้าวจะราคาดีไปจนถึง ช่วงการเก็บเกี่ยวหน้า เพราะตั้งแต่เกิด มาก็ยังไม่เคยเจอราคาขนาดนี้มาก่อน แต่ มานพ สายเมฆ ชาวนาใน อำเภอบุ ณ ฑริ ก จั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี

ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติม “ข้ า วแพงมั น ก็ ส มกั บ ค่ า ปุ ย ค่ า ย า ที่ ขึ้ น ม า ก่ อ น ข้ า ว จ ะ ขึ้ น อี ก ชาวนายั ง ไม่ ทั น ได้ ข ายข้ า วแพง แต่ ลงทุ น แพงแล้ ว ” เขากล่ า วว่ า ยิ่ ง น้ำ มั น แพง ปั จ จั ย การผลิ ต ก็ แ พงตามเป็ น เงาตามตัว ถ้าปลูกข้าวได้ 450 กิโลกรัม ต่ อ ไร่ ข้ า วหนึ่ ง ตั น จะมี ต้ น ทุ น 6,233 บาท แต่หากผลผลิตตกต่ำได้เพียง 350 กิโลกรัมต่อไร่ ข้าวหนึ่งตันจะมีต้นทุนสูง ถึง 8,014 บาท ภาคอีสานมีพื้นที่ในการทำนามาก กว่าภาคอื่ นๆ อาชี พหลั กของเกษตรกร อีสานคือ การทำนา ถึงแม้ว่าปีนี้ข้าวจะมี ราคาสูง แต่ชาวนาภาคอีสานยังคงต้อง เผชิญกับปัญหาการเป็นหนี้ซ้ำซาก จาก ต้ น ทุ น การผลิ ต ที่ พุ่ ง ขึ้ น สู ง ไปก่ อ นหน้ า นี้ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง หรื อ ค่ า แรงงานในการผลิ ต ประกอบ

5


Cover Story

ข้าวแพง...ฤาความหวังของชาวนาไทย

Top 10 ประเทศผู้ผลิตข้าวโลกที่มีพื้นที่และผลผลิตสูงสุด ปี 2007-2008 ประเทศ โลก 1. อินเดีย 2. จีน 3. อินโดนีเซีย 4. บังคลาเทศ 5. ไทย 6. เวียดนาม 7. พมèา 8. ฟิลิปปินส์ 9. บราซิล 10. ปากีสถาน

พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตต่อไร่ (ล้านไร่)

964.19 275.00 185.00 74.38 68.75 65.19 45.31 43.75 26.25 18.63 15.94

ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ, เม.ย. 2008

กับชาวนาที่ได้รับผลประโยชน์จากราคา ข้ า วที่ สู ง ขึ้ น ในช่ ว งนี้ นั้ น เป็ น ชาวนาที่ มี พื้นที่การทำนาปรัง ซึ่งการทำนาปรังได้ นั้นต้องเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำเพียงพอ และมีระบบชลประทานที่ดี แต่สำหรับ ภาคอีสานนั้น เกษตรกรต้องอาศัยพึ่งพิง น้ำจากธรรมชาติเป็นหลัก ซึ่งไม่เพียงพอ ต่อการทำเกษตรในหน้าแล้ง พื้นที่ที่จะทำ นาปรั ง ได้ จึ ง มี อ ยู่ เ พี ย ง 10% ของพื้ น ที่ นาทั้งหมด ท่ามกลางวิกฤตอาหารโลกในขณะ นี้ นับเป็นโอกาสดีที่ประเทศไทยจะกลับ มาให้ ค วามสำคั ญ กั บ ชาวนา ช่ ว ยกั น พั ฒ นาศั ก ยภาพการผลิ ต ทุ ก ด้ า นอย่ า ง ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการ น้ำ เพื่ อ ให้ มี น้ำ ไว้ ใ ช้ ใ นการเกษตรได้ ตลอดทั้งปี การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ข้ า วให้ ไ ด้ ผ ลผลิ ต ต่ อ ไร่ ม ากขึ้ น การลด ต้ น ทุ น การผลิ ต ให้ กั บ เกษตรกร รวมถึ ง พัฒนาระบบการผลิตและระบบการบริหาร จัดการ ในระดั บ ชาวนาเอง นอกจาก รอการจั ด การจากภาครั ฐ ให้ เ กิ ด ผล

(กิโลกรัม)

658 512 1,000 741 619 430 778 445 610 648 509

ผลผลิต

(ล้านตันข้าวเปลือก)

634.05 140.80 185.00 55.10 42.57 28.06 35.24 19.46 16.00 12.07 8.11

ผลผลิต

(ล้านตันข้าวสาร)

425.29 94.0

129.5 35.5 28.4 18.5 23.26 11.3 10.4 8.2 5.4

ปริมาณการส่งออก (ล้านตันข้าวสาร)

27.49 3.0 1.0 - - 9.0 4.0 0.4 0.10 0.28 2.9


ข้าวหอมมะลิชั้น

ปี 2550

1

26 มีนาคม 2551

ต้นทุนการปลูกข้าวเฉลี่ย

ต้นทุนการปลูกข้าวเฉลี่ย

ชาวนาได้ 8,000 บาท

ชาวนาได้ 9,910 บาท

ราคา 12,000 บาท

15,600 บาทต่อตัน

4,000 บาทต่อตัน

ชาวนาขายข้าวเปลือกได้

คนกลาง/โรงสี/ผู้ส่งออก 16,520 บาท ราคาข้าวสารส่งออก

28,520 บาท/ตัน

5,690 บาทต่อตัน

ราคาขายข้าวเปลือก

คนกลาง/โรงสี/ผู้ส่งออก 18,400 บาท ราคาข้าวสารส่งออก

34,000 บาท/ตัน

ที่มา...สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (ต้นทุนการปลูกข้าว) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย (ราคาข้าวเปลือก ราคาข้าวส่งออก)

จำเป็นต้องหาวิธีลดความเสี่ยงให้ตัวเอง รวมตัวรวมกลุ่มกันต้านภัยแล้ง หาแหล่ง น้ำ สำรองให้ เ พี ย งพอในระยะฝนทิ้ ง ช่ ว ง ฟื้นฟูระบบนิเวศน์เพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว ดิน เพิ่มอำนาจต่อรองลดต้นทุนการผลิต และความผันผวนของราคาข้าว มีโรงสี ยุ้งฉางของชุมชน เพิ่มมูลค่าข้าว หาช่อง ทางขายตรงถึงผู้บริโภค และอีกแนวทาง หนึ่ ง ที่ น่ า สนใจไม่ แ พ้ กั น คื อ การปรั บ เปลี่ยนวิถีเกษตร เป็นเกษตรผสมผสาน เกษตรอิ น ทรี ย์ ลดต้ น ทุ น การผลิ ต และ ความเสี่ ย งจากปั จ จั ย ภายนอก ลดผล กระทบจากสารเคมีต่อสุขภาพ มีวิถีชีวิต ที่พอเพียงและสมดุล หากทุ ก ฝ่ า ยจริ ง จั ง และจริ ง ใจ ่ เชื อว่ า จะทำให้ วิ ก ฤตอาหารโลกใน ครั้งนี้ กลายเป็นโอกาสดีของชาวนา และเกษตรกรไทยที่จะได้ลืมตาอ้าปาก อย่างสมศักดิ์ศรีกันจริงๆ เสียที...


Scoop

ดรีมเชสเซอร์ ซิ่งล่าฝัน ปี 2

ดรีมเชสเซอร์ ซิ่งล่าฝัน ปี 2

ชีวิตที่แตกต่างกับความฝันที่เหมือนกัน Raksthai Magazine ฉบับนี้ชวนทุกท่านติดตามชมรายการดรีมเชสเซอร์ ซิ่งล่าฝัน ปี 2 กับการเดินทางตามความฝันของ สุกี้ กมล สุโกศล แคลปป์ ในการเดินทางครั้งนี ้ สุกี้จะเริ่มออกเดินทางทั่วประเทศไทยและอินโดจีน โดยมีการ Charity Challenge ไปด้วย เพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของ มูลนิธิรักษ์ไทย และ CARE International ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ สุกี้ ตั้งเป้าหมายที่จะขี่มอเตอร์ไซค์ให้ได้ระยะทางมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ภายในเวลา 45 วัน โดยเส้นทางในการเดินทางครั้งนี้ครอบคลุม 4 ประเทศ คือ ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา เพื่อบริจาคให้กับ มูลนิธิรักษ์ไทย และ CARE International โดยระยะทางที่ทำได้ทั้งสิ้นคือ 12,000 กิโลเมตร


กิจกรรมการกุศลที่ทางรายการเลือกบริจาคให้กับมูลนิธิ รั ก ษ์ ไ ทย คื อ กิ จ กรรมอนุ รั ก ษ์ ท รั พ ยากรธรรมชาติ แ ละ สิ่ ง แวดล้ อ ม ซึ่ ง สุ กี้ แ ละหุ่ ย ผู้ ร่ ว มตามฝั น คนใหม่ จะขี่ มอเตอร์ ไ ซค์ เ ข้ า พื้ น ที่ ทุ ร กั น ดาร และเข้ า ถึ ง ยากในอำเภอ แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ มีจุดหมายปลายทางอยู่ที่บ้านแม่ละอุป อ.แม่แจ่ม ซึ่งกิจกรรมแรก คือการช่วยชาวบ้านแม่ละอุป “สร้าง ฝายชะลอความชุ่มชื้น” ที่ช่วยเก็บกักน้ำ และคงความชุ่มชื้น ของป่ า ต้ น น้ำ อี ก ทั้ ง ยั ง ได้ ศึ ก ษาวิ ธี ก ารอนุ รั ก ษ์ ธ รรมชาติ ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านที่สนับสนุนโดยมูลนิธิรักษ์ไทย เพื่อให้ ป่าอุดมสมบูรณ์ด้วยพลังของชุมชนเอง และในกิ จ กรรมที่ 2 คื อ กิ จ กรรมห้ อ งสมุ ด เคลื่ อ นที่ “รถลุงฮูก” หนึ่งในโครงการส่งเสริมการศึกษาของมูลนิธิรักษ์ไทย ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ชายแดนไทย-ลาว ของภาคอี ส าน ซึ่ ง สุ กี้ ไ ด้ เข้ า ไปเรี ย นรู้ ชี วิ ต ชุ ม ชนริ ม น้ำ โขง บ้ า นตามุ้ ย อ.โขงเจี ย ม จ.อุบลราชธานี และได้ศึกษาการทำงานของห้องสมุดเคลื่อนที่ ด้วยการนำของ “ลุงฮูก” ประทีป โล่ห์นารายณ์ เจ้าหน้าที่มูลนิธิ รั ก ษ์ ไ ทย ที่ ตั้ ง แคมป์ ลุ ง ฮู ก นำสื่ อ ความรู้ แ ละเทคโนโลยี ก าร เรียนรู้จากเมืองใหญ่ สู่โลกใบเล็กของกลุ่มเยาวชนชายขอบ

ติดตามชมรายการ Dream Chaser ซิ่งล่าฝันปี 2 ได้ ทุกวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ทางไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่ ม ออกอากาศครั้ ง แรกวั น ที่ 2 มิ ถุ น ายน 2551 และ ทุกท่านที่ชมรายการสามารถร่วมบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือ ชุมชนผู้ด้อยโอกาสได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาซอยอารีสัมพันธ์ ชื่อบัญชี ดรีมเชสเซอร์เพื่อมูลนิธิรักษ์ไทย เลขที่บัญชี 056-239616-7 สอบถามข้ อ มู ล เพิ่ ม เติ ม ได้ ที่ ฝ่ า ยสื่ อ สารและ ประชาสัมพันธ์ มูลนิธิรักษ์ไทย 02-265-6833, 02-265-6854 หรือ http://www.dreamchaserthai.com


เรียนรู้จัดการ พร้อมบุญ พานิชภักดิ ิ์

เสียงที่รอคอยการรับฟัง องค์กรและพวกเราทุกคนควรจะต้องนับความสำเร็จ เมื่อเสียงและทางเลือกของกลุ่มเป้าหมาย ได้มีการรับฟัง และมีผลในการกำหนดทิศทางงานพัฒนาอย่างแท้จริง จากการที่ ผ มเข้ า ร่ ว มการประชุ ม กั บ องค์กรหลายแห่ง เริ่มตั้งแต่การประชุมคาแรม (CARAM หรือ Collaboration of Action Research on AIDS and Mobility) ที่ ก รุ ง กั ว ลาลั ม เปอร์ ประเทศมาเลเซี ย ตามด้ ว ยการประชุ ม ยุ ท ธศาสตร์ 5 ปี ด้ า นเอชไอวี / เอดส์ จั ด โดยกระทรวง สาธารณสุ ข นอกจากนั้ น มี ก ารประชุ ม ภู มิ ภ าคของกองทุ น โลกด้ า นเอดส์ วั ณ โรค และมาลาเรีย ที่กรุงเทพฯ และมีโอกาสเข้า ร่วมการประชุมเอ็นจีโอในการเตรียมจัดงาน เอดส์ภาคประชาชน นอกจากการประชุมยัง มี กิ จ กรรมเขี ย นรายงานโครงการเสี ย งและ ทางเลื อ ก และหารื อ กั บ ที ม ต่ า งๆ ในการ ทำงาน สิ่งหนึ่งที่สะท้อนอยู่ในความนึกคิดของ ผมตลอดทั้ ง เดื อ นนี้ คื อ “เสี ย ง” ของคน จำนวนมากหลายกลุ่ม ซึ่งปกติไม่ค่อยได้มี โอกาสเข้ามีส่วนร่วมในการแสดงออก การ ตัดสินใจ การกล่าวปฏิเสธหรือกล่าวรับ คน เหล่ า นี้ คื อ เสี ย งผู้ ห ญิ ง และเด็ ก ที่ ติ ด เชื้ อ เอชไอวี/เอดส์ เสียงแรงงานข้ามชาติ เสียง ผู้หญิงต่างชาติที่ถูกล่อลวงมาขายตัว เสียง ชนกลุ่มน้อยในพื้นที่สึนามิ เสียงผู้ใช้ยาเสพติด เสี ย งของเยาวชนและอี ก หลายเสี ย ง ที่ ถู ก กลบหายไปโดยกลุ่ ม ที่ มี อิ ท ธิ พ ลมากกว่ า เป็ น เหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ทุ ก วั น และเมื่ อ ไม่ มีเสียง ย่อมไม่มีโอกาสเป็นผู้กำหนด “ทาง เลือก” ด้วยตนเอง

ขณะที่ ตั ว แทนเอ็ น จี โ อมั ก จะโดน ค่อนขอดว่า “ยกมาแต่ปัญหา” “ทำให้เสีย ภาพลั ก ษณ์ ” หรื อ ผู้ ที่ ทำงานไม่ เ ข้ า ใจงาน เอ็นจีโอกล่าว ตัดพ้อว่า “นี่แหละวัฒนธรรม เอ็นจีโอมองเห็นแต่ปัญหา” คงจะมีส่วนจริง แต่ลึกลงไปผมนึกถึงบทบาทของเอ็นจีโอและ ภารกิ จ ในการส่ ง เสริ ม ให้ เ สี ย งของผู้ ที่ ด้ อ ย โอกาสมี ก ารรั บ ฟั ง การพิ จ ารณา และมี ส่ ว นร่ ว มในการที่ กำหนด ไม่ ใ ช่ ถู ก กำหนด โดยผู้อื่นตลอดเวลา ในที่ ป ระชุ ม คาแรมมี ก ารยกประเด็ น “เสียงของแรงงาน” ว่ายังถูกปกปิด แม้จะ มีเสียงเอ็นจีโอแต่ก็ไม่ใช่เสียงแรงงานที่แท้จริง ซึ่งตอนแรกผมไม่เข้าใจถึงความสำคัญของ เสี ย งที่ แ ท้ จ ริ ง แต่ เ มื่ อ ได้ นั่ ง คิ ด ก็ เ ป็ น เรื่ อ ง ต้องยอมรับและต้องแก้ไข พวกเราที่ทำงาน เอ็นจีโอหลายครั้งลืมตัว และคิดว่าสามารถ พู ด แทนกลุ่ ม เป้ า หมาย เรามุ่ ง พั ฒ นาเสี ย ง ของเอ็นจีโอในเวทีต่างๆ จนลืมเสียงที่แท้จริง ของกลุ่มเป้าหมายคนด้อยโอกาส คนเหล่า นั้นเขามายืนเคียงข้างเราในการสะท้อนความ คิดเห็นของเขาหรือไม่ หรือเราเป็นเพียงแค่ กลุ่ ม อิ ท ธิ พ ลอี ก กลุ่ ม ที่ บ ดบั ง เสี ย งของกลุ่ ม เป้าหมายที่แท้จริง ผมจึ ง ได้ ข้ อ คิ ด ว่ า องค์ ก รพั ฒ นา เอกชน หมายถึ ง เจ้ า หน้ า ที่ ทุ ก คนทุ ก ระดั บ ควรมี ส่ ว นร่ ว มในการผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด เสี ย ง ของกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง ไม่ว่าเสียงนั้นจะ เป็นภาษาใดก็ตาม หรือมีการบันทึกอย่างไร

บทบาทของเจ้าหน้าที่มีสองทาง ทางตรงคือ การจั ด เวที ที่ มี เ สี ย งกลุ่ ม เป้ า หมาย อาจจะ พร้อมๆ กับการอบรมกลุ่มเป้าหมายในเรื่อง การนำเสนอ อบรมเรื่ อ งสิ ท ธิ พื้ น ฐาน ส่วนทางที่สองคือ พัฒนาความเป็น “ผู้ฟัง” ที่ดี ฝึกการฟังที่มีวินัย ไม่สรุปโดยเอาตัวเอง เป็ น ที่ ตั้ ง ฝึ ก การสอบถามอย่ า งเป็ น กลาง การบันทึกโดยการเขียนหรือโดยวิธีอื่น เช่น บันทึกเสียงหรือวิดีโอ และนำเสนอในเวทีที่ นำไปสู่ ก ารเปลี่ ย นแปลงที่ เ ป็ น เชิ ง บวกได้ ทำเสียงเหล่านี้ให้มีผู้ฟัง และทำให้เสียงเหล่า นี้ให้มีส่วนร่วมในกำหนดทางเลือก เมื่อพิจารณาแล้ว เราก็มีการทำงาน กระบวนการเช่นนี้อยู่ระดับหนึ่ง เพราะมูลนิธิ รั ก ษ์ ไ ทยเริ่ ม เป็ น ที่ รู้ จั ก ว่ า เป็ น องค์ ก รที่ จับกลุ่มเป้าหมายคนด้อยโอกาสซึ่งเข้าถึงยาก แต่ ยั ง ไม่ เ พี ย งพอสำหรั บ การที่ จ ะได้ ชื่ อ ว่ า ทำงานกับคนเหล่านั้น องค์กรและพวกเรา ทุกคนควรจะต้องนับความสำเร็จ เมื่อเสียง และทางเลือกของกลุ่มเป้าหมายได้มีการรับ ฟั ง และมี ผ ลในการกำหนดทิ ศ ทางงาน พัฒนาอย่างแท้จริง

พร้อมบุญ พานิชภักดิ์ : เลขาธิการ มูลนิธิรักษ์ไทย

10


Project Scoop

คืนถิ่น...อีสาน

คืนถิ่น...อีสาน

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาจาก การนำทรัพยากรมาใช้อย่างไม่บันยะบันยัง การปล่อยกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม การใช้สารเคมีในการเกษตร โดยไม่มีแผนรองรับ ทั่วโลกต่างเร่งพัฒนาประเทศของตน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย โดยเฉพาะภาคอีสาน ซึ่งแต่เดิมก็ขึ้นชื่อเรื่องความแห้งแล้งอยู่แล้ว 3 - 4 ปี ที่ผ่านมาชาวอีสาน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ต้องพึ่งพาน้ำฝนจากธรรมชาติ ต้องประสบกับภาวะภัยแล้ง ฝนฟ้าแปรปรวนไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชผลที่ปลูกไว้ ไม่ได้ผลตามที่หวัง ฝนขาดช่วงเป็นระยะเวลานาน แต่พอจะตกก็กระหน่ำมามากเกินจนท่วมพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายหนัก หน่วยงานที่รับผิดชอบก็แก้ปัญหาเฉพาะหน้า พอหน้าแล้งก็จัดรถบรรทุกน้ำไปแจกจ่าย พอน้ำท่วมก็จ่ายเงินชดเชย เป็นอย่างนี้มาตลอด เมื่ อ ประสบปั ญ หาภั ย แล้ ง ต่ อ เนื่ อ ง ผลผลิ ต ตกต่ำ ขายผลผลิตได้ราคาต่ำ ทำให้หนี้สินที่ไปกู้ยืมมาทั้งในระบบและ นอกระบบเพื่อประกอบอาชีพเริ่มพอกพูนขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ก็ ฝืดเคือง งานอื่นๆ ที่พอจะมีรายได้ในพื้นที่ก็ไม่มี ทางออกของคน อีสานคือ พอผ่านพ้นฤดูการเก็บเกี่ยว คนอีสานจะพากันอพยพไป

ทำงานยังส่วนต่างๆ ของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ เหนือ ใต้ กลาง ตะวันออก ตะวันตก ทั้งงานขับแท็กซี่ ก่อสร้าง กรรมกร โรงงาน ประมง ตัดอ้อย กรีดยาง เก็บเงาะ เก็บลำไย ทำงาน ตามบ้าน ขายส้มตำ ไม่เว้นแม้แต่ทำงานกลางคืน เรียกว่าอะไร ที่เป็นเงินทำหมด โดยทิ้งลูกและบ้านเรือนไว้ให้คนเฒ่าคนแก่เป็น

11


คนดูแล ซึ่งหากใครมีโอกาสขับรถผ่านเข้าไปในชุมชนชนบทของ ภาคอีสาน ส่วนใหญ่จะเห็นได้ว่า หมู่บ้านจะเงียบเหงา มองไป ทางไหนจะเห็นแต่คนแก่และเด็ก หาคนหนุ่มคนสาวได้ยาก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมางานพัฒนาชุมชนอีสานเป็นงาน สำคัญที่ทุกหน่วยงานให้ความสนใจ แต่จะทำอย่างไรเมื่อคนหนุ่ม สาววัยแรงงานที่เป็นเจ้าของพื้นที่ และเป็นส่วนสำคัญที่จะร่วม แก้ไขปัญหาท้องถิ่นของตน ยังต้องดิ้นรนแก้ไขปัญหาปากท้องของ ตนและครอบครัว เมื่อในท้องถิ่นตนเองไม่มีงานทำ จำเป็นต้องไป หางานทำที่อื่น ทำอย่างไรจึงจะชักชวนคนให้อยู่ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อมี ส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเองได้ คำตอบหนึ่งที่รักษ์ไทย และหลายหน่วยงานร่วมกันคิดคือ จะต้องทำให้ชาวบ้านสามารถ มี ง านทำ มี ร ายได้ ใ นชุ ม ชนของตนเอง เมื่ อ มี ง านทำ มี ร ายได้ ในชุมชนของตนเอง สภาพเศรษฐกิจ การค้าขายภายในชุมชนก็ จะดีขึ้น การเคลื่อนย้ายไปทำงานต่างถิ่นก็จะลดน้อยลง แล้ ว งานอะไรที่ จ ะสามารถทำให้ ค นวั ย แรงงานในชุ ม ชน จำนวนมากสามารถทำด้วยกันได้ งานลักษณะอุตสาหกรรมใน ชุมชน น่าจะเป็นงานที่สามารถรองรับกับคนจำนวนมากได้ จากแนวคิดดังกล่าว จึงเกิดเป็นโครงการเพื่อสร้างงานสร้าง อาชีพขึ้นมา บางพื้นที่เรียกว่า โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งโรงงาน ซึ่งเกิดขึ้นโดยความร่วมมือจากองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กร ส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน ชาวบ้านในชุมชน ในการที่จะ ช่วยแก้ไขปัญหาการอพยพแรงงาน

12

มูลนิธิรักษ์ไทย เป็นองค์กรหนึ่งที่ทำงานร่วมกับหน่วยงาน อื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันผลักดันให้เกิดอาชีพรองรับให้ กับกลุ่มชาวบ้าน โดยจัดกระบวนการวิเคราะห์ชุมชนและทาง เลือกอาชีพในแต่ละชุมชน เพื่อให้ชาวบ้านได้วิเคราะห์อาชีพตาม ศั ก ยภาพและความพร้ อ มของคนในท้ อ งถิ่ น เช่ น ผลิ ต เสื้ อ ผ้ า เย็บกระเป๋า รองเท้า ซึ่งมักเป็นอาชีพที่ผู้หญิงชาวบ้านมักได้ทักษะ มาจากการเคยไปรับจ้างในเมือง และกลับมาอยู่ในชุมชนเมื่อเข้า วัยกลางคนโดยไม่มีอาชีพรองรับ เมื่อสรุปความต้องการของชาว บ้านได้แล้ว มูลนิธิรักษ์ไทยช่วยพัฒนาศักยภาพพื้นฐานของกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นด้านการวางแผนการผลิต การจัดทำบัญชี การติดต่อ ประสานงาน การบริหารจัดการ การออมทรัพย์ เพื่อที่กลุ่มจะ สามารถบริหารจัดการกิจกรรมการผลิตได้ จากนั้นประสานงาน กับภาคเอกชน เช่น โรงงานผู้ผลิต จัดจำหน่าย ที่มีความพร้อมที่ จะสนั บ สนุ น งานให้ กั บ ท้ อ งถิ่ น ชั ก ชวนให้ เ กิ ด ความร่ ว มมื อ สนับสนุนหรือรับซื้อผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านในพื้นที่ โดยมีองค์กร ส่วนท้องถิ่นและผู้นำชุมชน เป็นผู้สนับสนุนความพร้อมของอาคาร สถานที่ แ ละสิ่ ง อำนวยความสะดวกในการผลิ ต พื้ น ฐานในการ ทำงาน ขณะที่หลายหน่วยงานภาครัฐ เช่น ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรม ศู น ย์ ส งเคราะห์ แ ละฝึ ก อาชี พ สตรี ได้ มี ส่ ว นช่ ว ยสนั บ สนุ น งบประมาณในการพัฒนาทักษะฝีมือของกลุ่มชาวบ้านที่เข้าร่วม โครงการ จุดผลิตที่ตั้งขึ้นนี้ มีทั้งแบบที่ชาวบ้านเป็นเจ้าของเองโดย การลงหุ้ น และบริ ห ารจั ด การกั น เอง แบบที่ เ ป็ น หุ้ น ส่ ว นร่ ว ม


ระหว่างผู้ประกอบการกับชาวบ้าน ร่วมกันบริหารงาน และแบบที่ ผู้ประกอบการเป็นเจ้าของทั้งหมด โดยซื้อที่ก่อสร้างโรงงานขึ้นมา จากปี 2540 มู ล นิ ธิ รักษ์ไทย ได้ร่วมกับหน่วย ง า น แ ล ะ ชุ ม ช น ต่ า ง ๆ ดำเนินการเพื่อให้เกิดการ สร้ า งงานในลั ก ษณะดั ง กล่ า ว ครอบคลุ ม พื้ น ที่ 7 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ อุ บ ลราชธานี ศรี ส ะเกษ อำ น า จ เ จ ริ ญ ย โ ส ธ ร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสาร คาม รวมกว่า 40 แห่ง ใน 40 ตำบล แต่ละแห่งมีชาว บ้ า นเข้ า ร่ ว มตั้ ง แต่ 20 คนจนถึ ง พั น คน รวมแล้ ว กว่า 3,500 ชีวิตที่มีรายได้ เ พิ่ ม ขึ้ น แ ล ะ ไ ด้ อ ยู่ ใ น ห มู่ บ้ า น กั บ ค ร อ บ ค รั ว

พร้ อ มหน้ า พร้ อ มตา แต่ ล ะคนมี ร ายได้ เ ฉลี่ ย ตั้ ง แต่ 100 – 250 บาทต่ อ วั น ตามระดั บ ความสามารถ และระยะเวลาที่ ทำงาน ไม่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำของจังหวัด เช้าออกมาส่งลูกไปโรงเรียนหรือเข้าศูนย์เด็กก่อนไปทำงาน หลังเลิกงาน ยังมีเวลาเตรียมอาหารให้กับครอบครัว ได้มีเวลา ดูแลลูก สอนการบ้านลูก ได้ปลูกผัก เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา เป็นราย ได้เสริมอีกทาง รายได้ที่ได้รับบวกกับเงินที่ออมร่วมกับสมาชิก คนอื่นๆ ก็สามารถนำมาชำระหนี้ ซ่อมแซมบ้าน ซื้อรถไถ ซื้อปุ๋ย รายได้จากส่วนนี้ยังส่งผลไปถึงสภาพคล่องในชุมชน ทำให้ร้านค้า ในชุมชนค้าขายดีขึ้นอีกด้วย ด้ ว ยความคาดหวั ง ว่ า เมื่ อ ท้ อ งอิ่ ม มี เ งิ น ในกระเป๋ า คนอีสานจะไม่ไปจากบ้านเกิดเมืองนอน จะอยู่ร่วมกันพัฒนา ชุมชนของตนเอง เมื่อนั้น ไม่ว่าปัญหาใดๆ ใหญ่แค่ไหน จะได้รับ การแก้ไขด้วยพลังใจและสองมือของพี่น้องชาวอีสานเอง

13


scoop

ค่ายธรรมะเพื่อน้อง

ธรรมะเพื่อน้อง

“ธรรมะ ทำให้หนูเป็นคนดีมีสติ ธรรมะทำให้หนูไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมยของ ไม่พูดปด ไม่เสพสิ่งเสพย์ติด และธรรมะยังช่วยทำให้หนูจิตใจสงบ และเข้าใจโลกมากขึ้น” จากเสียงเล็กๆ และเรียบง่าย ด้วยสำเนียง ช้าๆ ของกลุ่มเยาวชนในภาคเหนือที่กำลังเข้าสู่ วิ ถี ธ รรมอั น เงี ย บสงบ ผ่ า นเส้ น เสี ย งอั น สุ ขุ ม นุ่ ม ลึ ก ของกลุ่ ม ครู วิ ท ยากร และครู พี่ เ ลี้ ย ง ใน โครงการ “ค่ายธรรมะเพื่อน้อง” (ที่ได้รับผลกระ ทบจาก HIV/AIDS) ของมูลนิธิรักษ์ไทย ใต้เรือน ไม้อันร่มเย็นภายในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพปุย จังหวัดเชียงใหม่ เด็กๆ กำลังเรียนรู้แนวทาง การดำเนินชีวิตภายใต้วิถีแห่งธรรม “ครู แ อน” สิ เ รี ย ม ภั ก ดี ดำรงฤทธิ์ ทูตมูลนิธิรักษ์ไทยและครูวิทยากร เล่าถึงจุด ริเริ่มของค่ายธรรมะแห่งนี้ว่า “หลังจากที่แอนได้ เข้ า ไปเยี่ ย มน้ อ งๆ ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจาก HIV/AIDS ที่ พ ะเยาและเชี ย งใหม่ ของมู ล นิ ธิ รักษ์ไทยแล้ว รู้สึกว่าเด็กๆ เหล่านี้ไม่ต่างกับเด็ก

14

ธรรมดาทั่วไป จริงๆ แล้วในใจเขาต้องการความรัก ความอบอุ่น เป็นอย่างมาก ซึ่งธรรมะเป็นสิ่งที่สามารถยึดเหนี่ยวจิตใจของ เด็กๆ เหล่านี้ ให้เขาได้รับรู้ว่าตัวเองยังมีคุณค่าต่อสังคมและ สังคมไม่ทอดทิ้งเขา และค่ายธรรมะนี้เองจะช่วยให้พวกเขาเข้าถึง


หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น และที่สำคัญยังเป็นการ หล่อหลอมจิตใจของเด็กๆ ให้มีความอ่อนโยน ละเอียดอ่อน รู้จัก บาปบุญคุณโทษ มีหิริโอตัปปะ มีการควบคุมสภาวะทางจิตและ อารมณ์ ที่ เ ป็ น ส่ ว นสำคั ญ ของการดำเนิ น ชี วิ ต ในสั ง คมปั จ จุ บั น อีกทั้งยังช่วยให้เด็กๆ รู้จักที่จะอยู่กับตัวเองมากขึ้น แม้สภาพ ร่ า งกายจะอ่ อ นแอจากโรคร้ า ย แต่ ถ้ า เด็ ก ๆ มี จิ ต ใจเข้ ม แข็ ง ก็สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติ” “ค่ า ยธรรมมะเพื่ อ น้ อ ง” (ที่ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจาก HIV/AIDS) จึงเริ่มต้นด้วยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิรักษ์ไทย และยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุน จาก พระศรีศาสนวงศ์ (ท่านเจ้าคุณมีชัย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วั ด อรุ ณ ฯ ธนาคารแห่ ง ประเทศไทย และวุ ฒิ ศั ก ดิ์ ค ลิ นิ ก ที่เล็งเห็นถึงประโยชน์ของธรรมะที่มีต่อเยาวชน โดยเราเน้นที่จะจัด ค่ายธรรมะกับกลุ่มเยาวชนที่ติดเชื้อและได้รับผลกระทบ HIV/AIDS ทางภาคเหนือจำนวน 60 คน เพราะตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งเป็นช่วง ที่มีการระบาดของเชื้อ HIV/AIDS อย่างรุนแรง ทำให้มีผู้ป่วย และเสียชีวิตจากเชื้อ HIV/AIDS ในภาคเหนือเป็นจำนวนมาก ส่ ง ผลมายั ง กลุ่ ม เด็ ก และเยาวชนที่ ป ระสบปั ญ หาการติ ด เชื้ อ HIV/AIDS จากครรภ์มารดา โดยกลุ่มดังกล่าวจะอยู่ในช่วงอายุ 7-14 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่กำลังเติบโตเป็นวัยรุ่น และส่วน ใหญ่อาศัยอยู่กับผู้สูงอายุ เนื่องจากบิดาหรือมารดาเสียชีวิตจาก เชื้อ HIV/AIDS ในขณะที่ผู้ดูแลเองก็ประสบปัญหาการสื่อสารกับ เด็กเพราะช่องว่างระหว่างวัย และการที่สังคมเลือกปฏิบัติ ทำให้ เด็ ก ขาดความอบอุ่ น ความรัก ทำให้เด็กมี พฤติกรรมก้าวร้าว ไม่เข้าใจตัวเอง คิดว่าสังคมทอดทิ้งพวกเขา รู้สึกไร้คุณค่า ขาด ทักษะทางด้านสังคม และขาดโอกาสที่เด็กทั่วไปควรได้รับตามวัย อาจารย์ละเอียด พรหมสาขา ณ สกลนคร จากยุวพุทธิก สมาคมแห่ ง ประเทศไทย ครู วิ ท ยากรผู้ นำการฝึ ก ปฏิ บั ติ “ค่ายธรรมะเพื่อน้อง” บอกเล่าถึงหลักธรรมที่เด็กๆ เหล่านี้จะได้รับ ว่า กิจกรรมส่วนใหญ่เน้นการปฏิบัติธรรมและวิปัสสนากรรรมฐาน อาทิ การเจริญสติด้วยการยืน เดิน นั่ง นอน และรับประทาน อาหาร ซึ่งถือเป็นฐานของชีวิตที่เด็กๆ จะได้นำความรู้ติดตัวไปใช้ ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมนิทานธรรมะ ทำให้เด็กระลึกถึงการ ทำความดีละเว้นความชั่ว การสำนึกในบาปบุญคุณโทษ และ กิจกรรมเทียนส่องใจระลึกถึงพระคุณผู้ที่ดูแลเลี้ยงเรามา โดย เฉพาะกิจกรรมเจริญสติ ที่เด็กๆ ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ขณะนี้ เขากำลังทำอะไร อย่างไร ทำไม เพื่ออะไร และรู้สึกอย่างไร ด้วย เหตุนี้เองเขาจะมีสติอยู่กับตัวเองตลอดเวลา ทำให้รู้สึกไม่เหงา โดดเดี่ยวหรือว้าเหว่ ส่งผลให้เด็กไม่ก้าวร้าว และรู้จักมอบความ รัก เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หลักธรรมดัง กล่าวเป็นข้อปฏิบัติง่ายๆ ที่เด็กๆ ควรมีโอกาสเรียนรู้และเข้าถึง ช่วยส่งเสริมจิตใจของเด็กๆ ได้ดี และสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยธรรมะในใจเรา สุดท้ายนี้อาจารย์อยากให้ข้อคิดสำหรับผู้ที่

คิดจะปฏิบัติธรรมว่า “การปฏิบัติธรรมสามารถ ทำได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะห้องปฏิบัติธรรมที่ เงียบและสงบที่สุดอยู่ที่หัวใจของเราเอง” น้องเอ หนึ่งในเยาวชนที่ร่วมโครงการเล่า ถึ ง ความรู้ สึ ก ในการเข้ า ค่ า ยธรรมะในครั้ ง นี้ ว่ า “ แรกๆ ก็ รู้ สึ ก ไม่ ค่ อ ยชอบเท่ า ไหร่ เหมื อ นถู ก บังคับให้อยู่นิ่งๆ จะเดิน จะนอน จะนั่ง จะกิน ข้ า ว หรื อ แม้ แ ต่ จ ะอาบน้ำ ต้ อ งกำหนดจิ ต และใช้สติตลอดเวลา แต่ผ่านมาได้ 1 คืนเริ่มดี ขึ้น รู้สึกสนุกที่ได้ฟังพระอาจารย์เล่านิทานธรรมะ มี ก ารเล่ น เกมธรรมะที่ ไ ม่ ทำให้ รู้ สึ ก เบื่ อ เลย สนุกดีที่ได้เข้าค่ายครั้งนี้ ทำให้หนูรู้จักการทำดี เป็นอย่างไร ทำชั่วเป็นอย่างไร รู้จักการรักษาศีล 5 และการเข้าสังคมกับคนอื่นๆ ซึ่งก่อนที่จะมา เข้ า ค่ า ยธรรมะ ไม่ ค่ อ ยมี เ พื่ อ นเลย หนู ก็ ไ ม่ รู้ เหมือนกันว่าทำไม ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนเอง จะมี เ พื่ อ นก็ ต อนไปรั บ ยาที่ โ รงพยาบาลเท่ า นั้ น แต่ พ อมาเข้ า ค่ า ยครั้ ง นี้ ทำให้ ห นู รู้ สึ ก ว่ า ครู วิทยากร และครูพี่เลี้ยงมอบความรักและเอาใจ ใส่หนูมาก สอนให้รู้จักธรรมะ ที่แต่ก่อนตัวหนู เองก็ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร เข้าใจยาก แต่พอ เริ่มรู้ ก็สนุกดี และจะกลับไปปฏิบัติธรรมเหมือน ที่ครูวิทยากรอบรมและสอนมา” ร่วมบริจาคเงินเพื่อเด็กที่ติดเชื้อและได้รับ ผลกระทบจาก HIV/AIDS มี โ อกาสเข้ า ถึ ง หลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อจิตใจที่ดีงาม ของเด็ก ได้ที่โครงการ “ค่ายธรรมะเพื่อน้อง” ฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ มูลนิธิรักษ์ไทย โทร 02-265-6833, 02-265-6854

15


Scoop

ประกวดหนังสั้น

Short Film Competition Project

ประกาศผลกั น ไปเรี ย บร้ อ ยแล้ ว สำหรั บ โครงการประกวดภาพยนตร์ สั้ น Short Film Competition Project ชิ ง ถ้ ว ยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ของมู ล นิ ธิ รั ก ษ์ ไ ทย ในหั ว ข้ อ “โลกร้ อ น นาฏกรรมแห่งชีวิต...หลังสึนามิ”

16

หนังสั้นคุณภาพหลากหลายเรื่อง หลากหลายมุมมองที่ส่ง เข้ า ประกวดในครั้ ง นี้ ทำหน้ า ที่ เ ป็ น ตั ว แทนบอกเล่ า เรื่ อ งราว แง่มุมการใช้ชีวิตของชาวบ้านผู้ประสบภัย หลังผ่านพ้นเหตุการณ์ คลื่นยักษ์สึนามิ ให้ผู้ชมได้รับรู้ข้อเท็จจริงจากเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งทางด้านการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ การช่วยเหลือตนเอง อย่างยั่งยืน รวมถึงแง่มุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า ด้วยหวังว่าโครงการนี้จะสามารถเป็นเวทีเล็กๆ และ เป็ น กำลั ง ใจสำคั ญ ให้ กั บ เยาวชนรุ่ น ใหม่ ได้ เ ติ บ โตเป็ น นั ก ผลิ ต ภาพยนตร์ มื อ อาชี พ ต่ อ ไป และที่ สำคั ญ วั น นี้ ภาพยนตร์ ไ ม่ ไ ด้ ทำหน้ า ที่ เ ป็ น เพี ย งสื่ อ เพื่ อ ความบั น เทิ ง อย่ า งเดี ย วเท่ า นั้ น แต่ ยั ง ทำหน้ า ที่ เ ป็ น สื่ อ กลางในการ ถ่ายทอดเรื่องราวของวิถีคนเล็กๆ ที่อยู่ตามมุมใดมุมหนึ่ง ของสังคมอีกด้วย ฉบับนี้มีเรื่องย่อของ หนังสั้นที่ได้รับรางวัลชนะเลิศมา ฝาก ผู้ที่สนใจหนังสั้นในโครงการนี้ สามารถติดต่อได้ที่... ฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ มูลนิธิรักษ์ไทย โทร. 02-265-6852


ทรงกลม (นามธรรมแห่งท้องทะเล) ทรงกลม (นามธรรมแห่งท้องทะเล) เป็นเรื่องราวของ 2 พี่ น้ อ ง “มาตร” กั บ “ก้ า ง” ผู้ สู ญ เสี ย พ่ อ กั บ แม่ ไ ปหลั ง ภั ย พิ บั ติ สึนามิ ทำให้เขาทั้งสองมีรอยแผลเป็นในจิตใจ มาตร คนพี่ได้รับการฟื้นฟูการประกอบอาชีพการเลี้ยงปูของ ผู้ประสบภัยพิบัติสึนามิ จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้เขารู้คุณค่า ของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น เขาจึงยืนหยัดใช้ชีวิต ในบ้านเกิดของเขาเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรให้กลับมา แม้ทุกวันมาตร ต้องขึ้นเขาเพื่อกลับบ้านที่สร้างไว้หนีภัยสึนามิ เพราะในส่วนลึก แล้วเขาก็ยังรู้สึกเจ็บปวดกับเหตุการณ์ที่ผ่านมา ส่วน ก้าง มีอาการเสียสติจากเหตุการณ์ครั้งนั้น เขาต้องการ สร้ า งบ้ า น และวางแนวหิ น เพื่ อ ป้ อ งกั น บ้ า นที่ ส ร้ า งไว้ ใ นทะเล เพราะน้ำทะเลท่วมที่ดินเดิมไปแล้ว เขาพยายามทำทุกทางด้วย ความหวังลึกๆ ว่าจะให้พ่อแม่กลับมาอยู่ด้วยกันเหมือนเดิม มีแต่ มาตรที่เข้าใจน้องดี แม้รู้ว่าสิ่งที่น้องทำจะไร้ประโยชน์ เพราะมัน ทำให้มาตรได้เรียนรู้ว่า เราต้องใช้เวลาที่ต่างกันเพื่อเรียนรู้และ ยอมรับความจริงว่า ความสุขนั้นมันไม่มีจริง มันมีแค่ “ความทุกข์ที่เรารับมันได้ กับ ความทุกข์ที่เรารับมันไม่ได้”

ผลการประกวดภาพยนตร์สั้น Short Film Competition Project หัวข้อ “โลกร้อน...นาฏกรรม แห่งชีวิต...หลังสึนามิ” รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีมหัวเห็ดสด จากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม ชื่อเรื่อง...ทรงกลม (นามธรรมท้องทะเล) รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Smart TSU จากมหาวิทยาลัยทักษิณ ชื่อเรื่อง...ห่วงโซ่ชีวิต รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีมบารมี จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ชื่อเรื่อง...ลุงผี รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม SPU Film จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ชื่อเรื่อง...บางสิ่งที่หายไป “The something is lost” ทีม Smart 003 จากมหาวิทยาลัยทักษิณ ชื่อเรื่อง...ความอยู่รอด “Survivor” ทีม Sripatum B’49 จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ชื่อเรื่อง... THE NIGHTMARE OF TSUNAMI ทีม RAISOM 50 จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชื่อเรื่อง...มอแกน..ยิปซีและคนทะเล

17


Interview เครือซิเมนต์ไทย SCG ป้อมปราณณ์ เนตยวิจิตร์

เครือซิเมนต์ไทย SCG

กับการทำ CSR กว่า 30 ปี เพื่อสังคมไทย

ฉบับนี้ รักษ์ไทยภูมิใจนำเสนออีกหนึ่งพันธมิตรจากภาคธุรกิจที่มุ่งมั่นในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยถือเป็นนโยบายและหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ เครือซิเมนต์ไทย (SCG) กับ “โครงการรักษ์น้ำ เพื่ออนาคต” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

คุ ณ มั ท นา เหลื อ งนาคทองดี ผู้ อำนวย การสำนั ก งานสื่ อ สารองค์ ก ร กล่ า วถึ ง SCG กั บ งานพั ฒ นาสั ง คมไทยที่ ดำเนิ น การมากว่ า 30 ปี ในแง่ มุ ม ต่ า งๆ ที่ น่าสนใจว่า SCG มีนโยบายในการทำงานพัฒนา เพื่อสังคมไทย ก่อนจะมาเป็นโครงการ “รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต” อย่างไร SCG มีปรัชญาในการดำเนินธุรกิจเพื่อ สร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนให้ กับชุมชน สังคมและยังมุ่งสร้างคุณค่าให้ แก่ลูกค้า พนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุ ก ฝ่ า ย (Stakeholders) ภายใต้ 4 อุ ด มการณ์ ห ลั ก ได้ แ ก่ ตั้ ง มั่ น ในความ

18

เป็ น ธรรม มุ่ ง มั่ น ในความเป็ น เลิ ศ เชื่ อ มั่ น ในคุ ณ ค่ า ของคนและถื อ มั่ น ใน ความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งงานพัฒนา สังคมและชุมชน ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ จะนำไปสู่ ค วามยั่ ง ยื น (Sustainable Development-SD) โดยมีหัวใจสำคัญ คือ การดำเนินธุรกิจที่สร้างความสมดุล ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ที่ ผ่ า นมา SCG มี ก ารทำโครงการ ด้ า นใดบ้ า งและดำเนิ น การเองหรื อ ร่วมมือกับองค์กรใด SCG มีนโยบายเสริมสร้างประโยชน์สุข ของคนในสั ง คมและยั ง สนั บ สนุ น ให้ พนั ก งานมี ส่ ว นร่ ว มสร้ า งสรรค์ กิ จ กรรม

ต่างๆ เพื่อชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่ ง SCG แบ่ ง ประเภทกิ จ กรรมและ โครงการต่างๆ ออกเป็น 3 ด้านหลัก คือ ด้ า นการพั ฒ นาศั ก ยภาพของมนุ ษ ย์ โดยเล็ ง เห็ น ว่ า การศึ ก ษาคื อ พื้ น ฐานที่ สำคัญในการพัฒนามนุษย์ จึงมีโครงการ ในการมอบทุ น การศึ ก ษาโดยไม่ มี ข้ อ ผู ก มั ด ใ ห้ กั บ นั ก เ รี ย น ที่ ข า ด แ ค ล น ทุนทรัพย์ เพื่อให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อจน จบปริ ญ ญาตรี ในโครงการ SCG Foundation Scholarship, โครงการ Overseas Scholarship สนั บ สนุ น นั ก ศึ ก ษาต่ า งชาติ ที่ เ ข้ า มาศึ ก ษาใน ประเทศไทย เพื่อให้มีความรู้นำกลับไป พัฒนาประเทศ, โครงการ SCG Talent Scholarship เพื่ อ เป็ น การสร้ า งขวั ญ กำลังใจให้กับนักศึกษาที่มีผล การเรียน เ ป็ น เ ลิ ศ น อ ก จ า ก นั้ น ยั ง ม อ บ ทุ น สนั บ สนุ น การทำงานมู ล นิ ธิ แ ละองค์ ก ร สาธารณกุ ศ ลในหลากหลายสาขา ใน โครงการ SCG วาดอนาคต ซึ่งมูลนิธิ รักษ์ไทยก็ได้รับการสนับสนุนใน “โครง การอนุรักษ์ลุ่มน้ำและพัฒนาทรัพยากรน้ำ โดยเครือข่ายจัดการลุม่ น้ำชุมชนแม่ละอุป อำเภอแม่ แ จ่ ม จั ง หวั ด เชี ย งใหม่ ” ด้ า นการส่ ง เสริ ม ศั ก ยภาพ SCG ได้ ส่ ง เสริ ม ศั ก ยภาพให้ กั บ เยาวชนในด้ า น


ต่างๆ เช่น ด้านวิชาการ เทคโนโลยีและ ศิลปะผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการ SCG Thailand Rescue Robot Championship เป็ น การจั ด แข่ ง ขั น ประกวดหุ่ น ยนต์ กู้ ภั ย ในประเทศไทย และค้ น หาตั ว แทนไปแข่ ง ขั น ระดั บ โลก, โครงการการพั ฒ นา เด็ ก ปฐมวั ย ด้ ว ย หนั ง สื อ ผ่ า นกิ จ กรรมต่ า งๆ โครงการ Young Thai Artist Award เพื่ อ สนับสนุนให้เยาวชนในการสร้างงานศิลปะ เพื่ อ ก้ า วสู่ ร ะดั บ สากล เป็ น ต้ น ด้ า น สาธารณประโยชน์ SCG สนั บ สนุ น กิจกรรมสาธารณประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อบรรเทาภัยพิบัติและส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น โดยร่วมกับองค์กร และสื่อมวลชนต่างๆ และริเริ่มดำเนินการ เอง รวมถึ ง การให้ ค วามช่ ว ยเหลื อ ตาม สถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น SCG มี แ นวคิ ด ในการริ เ ริ่ ม “โครง การน้ำคือชีวิต” จนมาเป็นโครงการ “SCG รักษ์น้ำ เพื่ออนาคต” อย่างไร SCG ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์น้ำ เพราะน้ำเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดทั้ง ในภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม และเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ธรรมชาติ มี ค วามสมดุ ล ดั ง คำที่ ว่ า “น้ำ คื อ ชี วิ ต ”

ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ SCG จึงดำเนินโครงการ ด้ า นการอนุ รั ก ษ์ น้ำ อย่ า งจริ ง จั ง และ ต่อเนื่อง ภายใต้ชื่อ “SCG รักษ์น้ำ เพื่อ อนาคต” และในปี 2550 ซึ่งเป็นปีมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ได้ ริ เ ริ่ ม โครงการ 3 ปี 10,000 ฝาย ด้วยงบประมาณกว่า 50 ล้านบาทและ ความร่ ว มมื อ จากพนั ก งาน SCG กว่ า 25,000 คน ร่วมกันจัดกิจกรรมอนุรักษ์ น้ำตามแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับน้ำและบรรเทาภาวะโลกร้อนเพื่อ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวฯ โดยมีกิจกรรมหลัก คือ การสร้างฝายชะลอน้ำซึ่งเป็นแนวทางการ อนุรักษ์น้ำตามแนวพระราชดำริ ปัจจุบัน สามารถสร้างฝายชะลอน้ำได้แล้วทั้งสิ้น 7,914 ฝาย (ณ เมษายน 2551) จ า ก ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ ก า ร ทำ C S R มากว่า 30 ปีของ SCG มีคำแนะนำ และข้ อ เสนอแนะให้ ผู้ ริ เ ริ่ ม หรื อ ต้ อ ง ก า ร ข ย า ย ผ ล ก า ร ทำ C S R อย่างไรบ้าง โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs นับว่าเป็นเรื่องที่ดีที่หลายองค์กรทั้งภาค รั ฐ และเอกชนให้ ค วามสำคั ญ กั บ CSR มากขึ้น ซึ่งจะเป็นความร่วมมือที่ดีที่ก่อ

ให้ เ กิ ด ประโยชน์ ต่ อ สั ง คม สำหรั บ การ ดำเนิ น กิ จ กรรมย่ อ มต้ อ งประสบปั ญ หา บ้าง แต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคที่ทำให้ต้อง ล้ ม เลิ กโครงการ สำหรับ ผู้ ป ระกอบการ บริษัทอื่นๆ ก็สามารถที่จะทำ CSR ได้ โดยควรมองว่า CSR เป็นส่วนหนึ่งของ ธุ ร กิ จ ไม่ ใ ช่ เ ป็ น เพี ย งกิ จ กรรมและเมื่ อ ดำเนิ น การได้ อ ย่ า งเข้ ม แข็ ง แล้ ว ก็ ค วร ถ่ายทอดให้เป็นประโยชน์ ต่อไป SCG มี แ ผนและนโยบายในการทำ CSR ระยะยาวให้ยั่งยืนต่อไปอย่างไร สำหรั บ SCG จะยั ง คงดำเนิ น กิ จ กรรม อนุรักษ์น้ำอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากที่ เราได้ ถ่ า ยทอดเรื่ อ งของ “คน ต้ น น้ำ ” ที่ร่วมมืออนุรักษ์ด้วยการสร้างฝายชะลอ น้ำแล้ว เราก็จะรณรงค์ให้ “คนปลายน้ำ” ช่วยกันดูแลฟื้นฟูน้ำที่เสียให้กลับดีและน้ำ ที่ดีอยู่แล้วไม่ให้เน่าเสียเพื่อที่จะได้มีน้ำที่ เพียงพอกับทุกชีวิต เพราะ SCG เชื่อว่า เป้ า หมายสู ง สุ ด ขององค์ ก รไม่ ใ ช่ เ พี ย งทำ กำไร แต่กำไรจากการดำเนิน ธุรกิจเปรียบ เสมือนทางผ่านไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้องค์กรยังจะ ต้องสร้างความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ให้ กั บ ชุ ม ชนและสั ง คมควบคู่ ไ ปกั บ การ ดำเนินธุรกิจด้วย 19


ข่าวประชาสัมพันธ์

อยุธยา อัลลิอันซ์ ซี.พี. จับมือมูลนิธิรักษ์ไทยช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ สืบเนื่องจากภัยธรรมชาติร้ายแรงที่คร่าชีวิตและทำลายทรัพย์สินของพี่น้องชาวใต้ ทำให้เกิด ความร่วมมือระหว่างบริษัทประกันชีวิตยักษ์ใหญ่ผู้ให้ความสนใจด้าน CSR เสมอมาอย่างอยุธยา อัลลิ อันซ์ ซี.พี.กับมูลนิธิรักษ์ไทยในการพัฒนาโครงการ “Strengthening Community Disaster Risk Management” ในพื้นที่เสี่ยงภัย 3 ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ ได้แก่ ชุมชนหาดทรายดำ ชุมชนเกาะสินไห และชุมชนเกาะลาว ในจังหวัดระนอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างศักยภาพให้ชุมชน เตรียมความพร้อมในการรับมือและป้องกันตนเองจากภัยธรรมชาติ เพื่อลดการสูญเสียชีวิตและ ทรัพย์สินอันเนื่องจากภัยพิบัติในชุมชน

SCNYL ริเริ่มโครงการส่งเสริมอาชีพและศักยภาพเยาวชนไทย หลั ง จากเปิ ด ตั ว โครงการ SCNYL อาสาใจดี ของบริ ษั ท ไทยพาณิ ช ย์ นิ ว ยอร์ ค ไลฟ์ จำกั ด (มหาชน) โครงการดีดีที่ชักชวนให้พนักงานและตัวแทนบริษัทร่วมเป็นอาสาสมัครทำความดีและ ช่วยเหลือสังคม SCNYL ยังคงเดินหน้าต่อไปในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมกับโครงการเสริม สร้างภาวะผู้นำและทักษะอาชีพในกลุ่มเยาวชนตำบลคุระ จังหวัดพังงา โดยมีเป้าหมายที่ต้องการให้ เยาวชนด้อยโอกาสสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัย มีการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมกับความ เปลี่ยนแปลงของสังคมปัจจุบันและมีแนวทางการประกอบอาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต (ในภาพ) มร.โดนอลด์ คาร์ ดี น กรรมการผู้ จั ด การใหญ่ บมจ.ไทยพาณิ ช ย์ นิ ว ยอร์ ค ไลฟ์ ประกันชีวิต มอบเงินบริจาคจำนวน 400,000 บาท ให้กับคุณพร้อมบุญ พานิชภักดิ์ เลขาธิการ มูลนิธิ รักษ์ไทย เพื่อนำเงินช่วยเหลือโครงการเสริมสร้างภาวะผู้นำเยาวชน และทักษะอาชีพในกลุ่มเยาวชน จ.พังงา

แฟมิลี่มาร์ทฉลองครบรอบ 16 ปี กับกิจกรรมดีดี คืนกำไรให้สังคม บริษัท สยามแฟมิลี่มาร์ท จำกัด ฉลองครบรอบ 16 ปี ด้วยกิจกรรมเพื่อสังคมกับมูลนิธิรักษ์ไทย ณ โรงเรียนเทศบาลเขาพิทักษ์ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยผู้บริหารและคณะพนักงานจากแฟมิลี่ มาร์ทเดินทางไปมอบทุนการศึกษาให้กับนักเรียนที่มีความประพฤติและผลการเรียนดี จำนวน 16 ทุน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้น้องๆ นอกจากนี้ยังร่วมเลี้ยงอาหารกลางวันน้องๆ นักเรียนทุกระดับ ชั้น กิจกรรมนี้ผ่านพ้นไป ด้วยรอยยิ้มและคำขอบคุณจากน้องๆ ให้กับพี่ๆ แฟมิลี่มาร์ททุกคน

สมาชิกครอบครัวรักษ์ไทยส่งใจและร่วมแรง ในโครงการ “กล่องของขวัญ...เติมฝันให้น้อง” มู ล นิ ธิ รั ก ษ์ ไ ทยกั บ พี่ ๆ ใจดี ส มาชิ ก ครอบครั ว รั ก ษ์ ไ ทย อาสาเฉพาะกิ จ ร่ ว มกั บ 6 ภาคธุ ร กิ จ จัดกิจกรรม หนึ่งความดีรวมใจถวายทำดีเพื่อพ่อหลวงเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 80 พรรษา ในโครงการ “กล่องของขวัญ...เติมฝันให้น้อง” ณ โรงเรียนหลวงพ่อแช่มอุปถัมภ์ อ.สามพราน จ.นครปฐม ซึ่งเป็นกิจกรรมมอบทุนการศึกษา ให้กับน้องๆ ที่มีความประพฤติดีแต่ยากจนระดับอนุบาล ถึงชั้นประถมศึกษา จำนวน 12 ทุน เลี้ยงขนมและอาหารกลางวัน กิจกรรมครูอาสาและแข่งขันกีฬาสี โดยมีพี่ๆ อาสาและสมาชิกครอบครัวรักษ์ไทยคอยเป็นพี่เลี้ยงและครูเฉพาะกิจ สร้างความสนุกสนาน และความประทับใจให้กับน้องๆ ส่งท้ายช่วงเวลาดีๆ ด้วยการ์ดแทนคำขอบคุณฝีมือน้องๆ ถ่ายทอด ความรู้สึกของตัวเอง ส่วนพี่ๆ อาสาก็มอบ “กล่องของขวัญ” แทนความรักและกำลังใจให้กับน้องๆ ทุกคน และกิจกรรมดีๆ แบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดผู้ใหญ่ใจดีให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน), บริษัท เซ็นทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท อมรพันธ์นคร – สวนสยาม จำกัด, บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ดี เอช เอ สยามวาลา จำกัด (มหาชน) และบริษัท ฟู้ดส์ สตาร์ จำกัด ขอขอบคุณจริงๆ ครับ

20


การเดินทางของเหรียญบาท ตอน ภารกิจต้านโลกร้อน

ใบอนุญาตเลขที่ ปน.(ต.)/2434 ปณจ. บางรัก ถ้าฝากส่งในประเทศไม่ต้องผนึกตราไปรษณียากร

“ทุกความช่วยเหลือ คือ พลังใจ สร้างสรรค์สังคมไทยยั่งยืน”

บริการธุรกิจตอบรับ

มูลนิธิรักษ์ไทย ตู้ ปณ. 19 ไปรษณีย์บางรัก 10500

21

21

185 ประดิพัทธ์ซอย 6 ถนนประดิพัทธ์ สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 02-265-6888 โทรสาร 02-271-4467

ภาวะโลกร้อนเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งหลายๆ องค์กรร่วมกันรณรงค์และช่วยกันแก้ไขปัญหาเพื่อลดภาวะโลก ร้อน ซึ่งมูลนิธิรักษ์ไทยได้ลงพื้นที่ทำงานส่งเสริมชุมชนที่มีถิ่นฐานในป่าต้นน้ำ เพื่อการฟื้นฟูป่าไม้ เสริมสร้างเครือข่ายชุมชนอนุรักษ์ต้นน้ำ ส่งเสริมอาชีพเพื่อไม่ให้ชาวบ้านผูกติดกับการพึ่งพิงป่าอย่างเดียว และฝึกทักษะชีวิตให้กับเยาวชนเกิดความรู้ความเข้าใจและหวงแหน ทรั พ ยากรธรรมชาติ อี ก ทั้ ง ได้ ร ณรงค์ แ ละสร้ า งความร่ ว มมื อ ต่ า งๆ จากทุ ก ภาคส่ ว นเพื่ อ ให้ ค นไทยเกิ ด ความตระหนั ก และมี ค วาม กระตือรือร้นในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ภารกิ จ นี้ ย ากที่ จ ะสำเร็ จ ได้ หากเจ้ า เหรี ย ญบาทขาด พั น ธมิ ต รทางภาคเหนื อ ที่ ร่ ว มสนั บ สนุ น ในการรวบรวม เพื่อนๆ ของเจ้าเหรียญบาท มูลนิธิรักษ์ไทย ขอขอบพระคุณ จีรัง เฮล์ท รีสอร์ท บ้านกลางดอย โรงแรมวิสต้า ร้านริเวอร์ไซด์และพันธมิตร อีกหลายท่านที่ไม่สามารถกล่าวถึงได้หมดที่อนุเคราะห์ให้ วางกล่ อ งรั บ บริ จ าค เพื่ อ ร่ ว มสนั บ สนุ น โครงการเพื่ อ สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสังคมไทยให้ยั่งยืน


Scoop

ประกวดหนังสั้น

ขอเชิญนักพัฒนาทุกท่านเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ สังคมกับพวกเราผ่านทางหลากหลายกิจกรรม • งานอาสาสมัคร ร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนาของมูลนิธิรักษ์ไทย • ร่วมบริจาคสมทบทุนเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาด้านต่างๆ • สมัครเป็นสมาชิกครอบครัวมูลนิธิรักษ์ไทยและร่วมกิจกรรมใน วาระโอกาสต่างๆ • รับสาระข่าวสารการพัฒนาผ่าน Raks Thai Magazine ราย 3 เดือน มูลนิธิรักษ์ไทยขอเชิญชวนภาคธุรกิจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ ช่วยเหลือเยาวชนและผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในชุมชนที่ห่างไกล ให้พวกเขามีความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืน บรรเทาความทุกข์เข็ญ และได้รับโอกาสที่ดีในการรับการÈึกษาและการประกอบอาชีพ และร่วมกันฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดภาวะ โลกร้อน ให้มนุษย์และธรรมชาติได้อยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน เพราะ ท่านคือกำลังสำคัญที่จะพลิกฟื้นธรรมชาติ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส เพื่อการพัฒนาสังคมและประเทÈต่อไป µŒÍ§¡ÒÃÃÙŒ¨Ñ¡ÁÙŹԸÔÃÑ¡É ä·ÂáÅЧҹ¢Í§àÃÒ ËÃ×͵ŒÍ§¡ÒÃʹѺʹع§Ò¹¢Í§ÁÙŹԸÔÃÑ¡É ä·Â Êͺ¶ÒÁ¢ŒÍÁÙÅà¾ÔèÁàµÔÁä´Œ·Õè ½†Ò¾Ѳ¹ÒáËÅ‹§·Ø¹ ÀÒ¤¸ØáԨàÍ¡ª¹ â·ÃÈѾ· 0-2265-6859, 0-2265-6837, 0-2265-6840

ชื่อ – สกุล  ด.ช.  ด.ญ. นาย  นาง นางสาว ........................................................................................................................ Name  Mr.  Mrs.  Ms. ………………………………………............................……. วัน/เดือน/ปี เกิด................................................ ชื่อครอบครัว / กลุ่ม – ชมรม .................................................................. ที่อยู่ที่ติดต่อได้ ............................................................................... ................................................................................................................ โทรศัพท์............................................... โทรสาร........................... • มีความประสงค์บริจาคเพิ่มเติม จำนวน ...................................... บาท รวมทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน............................................บาท บริจาคโดย  เงินสด  เช็ค สั่งจ่าย “มูลนิธิรักษ์ไทย” จำนวน ..................................... บาท  ธนาณัติ สั่งจ่าย “มูลนิธิรักษ์ไทย” / ปท.กระทรวงการคลัง จำนวน............................. บาท  โอนเงิน จำนวน ................................. บาท ผ่านบัญชี “มูลนิธิรักษ์ไทย”  ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีสัมพันธ์ เลขที่บัญชี 056-2-21065-4  ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักพหลโยธิน เลขที่บัญชี 799-2-50785-8  ธนาคารยูโอบี รัตนสิน จำกัด (มหาชน) สาขาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เลขที่บัญชี 036-2-09293-4  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี 127-4-05900-3  บัตรเครดิต  กสิกรไทย  กรุงเทพ  VISA  MASTERCARD  AMERICAN EXPRESS หมายเลขบัตร ....................................................................รหัส 3 หลัก .................. บัตรหมดอายุ.............. ลายเซ็น ....................................................................... • ข้าพเจ้าต้องการสมัครสมาชิกประเภท  นักเรียน / นักศึกษา อัตรา 300 บาท/ปี  บุคคลทั่วไป อัตรา 500 บาท/ ปี  ครอบครัว อัตรา 2,000 บาท/ปี  กลุ่ม / ชมรม อัตรา 3,000 บาท/ปี • เมื่อโอนเงินแล้ว กรุณาส่งโทรสารหรือสำเนาใบโอนเงินพร้อมแบบฟอร์มตอบรับมายังมูลนิธิฯ เพื่อจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ท่านต่อไป • มูลนิธิรักษ์ไทย เป็นองค์กรสาธารณกุศลลำดับที่ 399 ของกระทรวงการคลัง เงินบริจาคของท่านสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ • ร่วมบริจาคผ่า นคะแนนสะสมจากบัตรเครดิตธนาคาร HSBC และธนาคารกรุงไทย


วิถีที่แปรเปลี่ยน ÇÔ¶Õ·Õèá»Ãà»ÅÕè¹仵ÒÁ¡ÒÅàÇÅÒ ¤ÇÒÂä·ÂÇѹ¹Õé¶Ù¡á·¹·Õ贌ǤÇÒ¹µ µÑÇà¢×èͧ ¡Ô¹¹éÓÁѹ᷹¡Ô¹ËÞŒÒ ËÅÒºŒÒ¹ ËÅÒ¤Ãͺ¤ÃÑÇ ÂÍÁ໚¹Ë¹Õé¹Ò·عËÅÒÂËÁ×蹺ҷ à¾×èÍáÅ¡¡Ñº¤ÇÒ¹µ µÑÇãËÁ‹ ´ŒÇµÑé§ã¨ËÇѧNjÒÁѹ¨Ðª‹Ç·؋¹áç ·Ó§Ò¹ä´ŒÃÇ´àÃçÇáÅдբÖ鹡NjÒà´ÔÁ ÊÓËÃѺªÐµÒ¡ÃÃÁ¢Í§à¨ŒÒ·ØÂã¹Çѹ¹Õé ·Ó˹ŒÒ·ÕèʺÒÂæ ¡Ô¹ËÞŒÒãËŒ·ŒÍ§ÍÔèÁ à´Ô¹àÅ‹¹Â‹ÍÂÍÒËÒà ŧ»ÅÑ¡ÂÒÁÌ͹µÍ¹¡ÅÒ§Çѹ áÅŒÇÃÍàÇÅÒ¶Ù¡á»ÃÁÙŤ‹Ò໚¹ÃÒÂä´Œ¡ŒÍ¹âµ


Let,s shop

เครือข่าย¼ลิตÀั³±์รักÉ์ไทย

เครือข่ายผลิตภัณฑ์รักษ์ไทย เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้านในชุมชน โดยได้รับการพัฒนาด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์และการ ตลาด จากมูลนิธิรักษ์ไทย แต่ละกลุ่มจะมีผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ มีจุดเด่นเฉพาะตัว บนพื้นฐานความหลากหลายทั้งเรื่องการผลิตและ การตลาด อาทิเช่น ผ้าพันคอมัดหมี่, ผ้าคลุมไหล่มัดหมี่, ที่รองแก้วและรองจานเสื่อถัก, กล่องทิชชูผ้าไหม เป็นต้น จากด้ายแต่ละเส้น ค่อยๆ ถักทอ เรียงร้อยเป็นผืนผ้าอันสวยงาม ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นล้วนประดิษฐ์มาจากความตั้งใจ วันนี้กลุ่ม แม่บ้านชุมชนเครือข่ายผลิตภัณฑ์รักษ์ไทยมีรอยยิ้ม มีอาชีพเสริมที่สร้างรายได้อย่างยั่งยืน ลดการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อเข้าไปประกอบ อาชีพในเมือง ท่านสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาสังคมไทยให้เข้มแข็ง ได้โดยการสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากชุมชนเครือข่าย ผลิตภัณฑ์รักษ์ไทย เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนให้แก่ชุมชน

ผ้าพันคอย้อมสีธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์จากชาวบ้าน อำเภอแม่แจ่ม เชียงใหม่ เนื้อนุ่มน่าใช้ เหมาะเป็นของฝาก ของขวัญ ขนาด 19” x 58” Item Code : NC0009 ราคาผืนละ 180 บาท

ผ้าพันคอย้อมคราม ผลิตจากผ้าฝ้ายเข็น ย้อมด้วยสีครามธรรมชาติ ขนาด 60 cm x 190 cm Item Code : NEC0019 ราคาผืนละ 300 บาท

กระเป๋าคล้องคอ ย้อมด้วยสีธรรมชาติ ผลิตจากผ้าฝ้าย มีลายรูปสัตว์ และลายขิด คละสี เหมาะสำหรับ คล้องติดตัวใส่ของจุกจิก เป็นกระเป๋าการประชุม ขนาด 5” x 6” Item Code : NEC0002 ราคาใบละ 80 บาท

ผ้าพันคอไหมไทย ลายมัดหมี่โบราณ มีหลายสี ผลิตจากไหมแท้ ฝีมือชาวบ้าน จังหวัดอุดรธานี ขนาด 60 cm x 190 cm Item Code : NES0017 ราคาผืนละ 450 บาท

ที่รองจาน (สำหรับ 4 ที่) ผลิตจากเสื่อกกอย่างดี อบ รมควันแล้ว เหมาะเป็นของฝากที่ระลึก ขนาด Item Code : NE0018 ราคาชุดละ 350 บาท

ผ้าอเนกประสงค์ลายขิด เหมาะเป็นผ้าพันคอ ผ้าปูโตะ หรือ ตกแต่งบ้าน ย้อมด้วยสีธรรมชาติ ขนาด 35 cm x 180 cm Item Code : NEC0013 ราคาฝืนละ 350 บาท

สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ที่....... คุณสุรัตนา กอบชัยสวัสดิ์ 185 ซอยประดิพัทธ์ 6 ถนนประดิพัทธ์ สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทร. 02-265-6888


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.